เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอน ประชาธิปไตยในออสเตรเลีย
ภาพถ่ายปก : ©LapipatPangphuthipong จัดรูปเล่ม : อรสุมน ศานติวงศ์สกุล
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education-TCE Center) เป็นการรวมตัวของหน่วยงาน ที่ทำ�งานด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างสรรค์สังคมโดยไม่สังกัดการเมืองฝ่ายใด
คำ�นำ� หนังสือรวมบทความ เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มนี้ เป็นความพยายามสรุปบทเรียนจากการศึกษาดูงานของคณะครู และนักการศึกษา ด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่ได้รับโอกาสร่วมในโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ กับ ดร.เดวิด ซิงเยอร์ (David Zynger) มหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ตลอด ๖ วันเต็มของโครงการเราได้มีโอกาส สังเกตการณ์ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ได้แลกเปลี่ยนกับคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยโมนาช และมีโอกาสได้เข้าสังเกตการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระดับมลรัฐ พบปะกับตัวแทนพรรคการเมือง ตลอดจนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมอง กับผู้ที่รับผิดชอบงานด้านหลักสูตรระดับมลรัฐ และผู้แทนจากสถาบัน ACARA ที่ดูแล การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ นอกจากนี้ ดร.เดวิด ซิงเยอร์ ยังจัดช่วงเวลาให้เราได้รว่ ม กิจกรรมวันแรงงานสากลที่ผู้คนออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นต่างๆ นับว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่มีความหมายอย่างยิ่ง ขอขอบคุณ ดร.เดวิด ซิงเยอร์ จากมหาวิทยาลัยโมนาชที่ให้ความช่วยเหลือดูแล โปรแกรมการศึกษาดูงานตลอดทั้งรายการ ขอบคุณ Australia-ASEAN Council (AAC) กระทรวงการต่างประเทศและการค้า ประเทศออสเตรเลีย Department of Foreign Affairs & Trade (DFAT) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในโครงการ และ ขอบคุณมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ต ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมตลอดทั้งโครงการและดูแล การจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้เผยแพร่ ท้ายสุดนี้คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามุมมองและประสบการณ์ที่ได้น�ำมาสื่อสาร เผยแพร่ แลกเปลี่ยนครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อครู อาจารย์ นักการศึกษา และผู้ที่มี ส่วนเกีย่ วข้องในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพือ่ สร้างพลเมืองประชาธิปไตยไทยต่อไป
คณะผู้เขียน
สารบัญ พลเมืองหลากอัตลักษณ์: ตัวตน ความเป็นพลเมืองและการอยู่ร่วมกันในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม อรรถพล อนันตวรสกุล
01
หลักสูตร: เข็มทิศ พิมพ์เขียว และแผนที่ในการพัฒนาพลเมืองของประเทศ เฉลิมชัย พันธ์เลิศ
17
แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม คุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมทางสังคม: บทเรียนจากประเทศออสเตรเลีย ชัยรัตน์ โตศิลา
33
หน้าต่างของโอกาส กับการพัฒนาโรงเรียนสร้างพลเมืองประชาธิปไตย: บทสะท้อนประสบการณ์จากออสเตรเลีย เสถียร พันธ์งาม
41
เปิดโลกการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย: มุมมองของครูประถมฯ ไทย ต่อโรงเรียนในออสเตรเลีย ซาลีนา โต๊ะลูโบ๊ะ และศิริขวัญ เพ็ญจิตต์
49
การศึกษาที่ไม่ทอดทิ้งความเป็นมนุษย์ สังคม และความเปลี่ยนแปลง: บทสังเคราะห์ประสบการณ์จากออสเตรเลียถึงการศึกษาไทย อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล
59
ส่องวิถี (สร้าง) พลเมืองประชาธิปไตย บน “พื้นที่สาธารณะ” รัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
75
การศึกษาเพื่อสร้าง “พลเมือง” กรณีศึกษาโรงเรียนและพิพิธภัณฑ์ในรัฐวิกตอเรีย ปราศรัย เจตสันต์
75
พลเมืองหลากอัตลักษณ์: ตัวตน ความเป็นพลเมือง และการอยู่ ร่วมกันในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม อรรถพล อนันตวรสกุล
ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ประสานงานเครือข่าย การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education-TCE Center)
ที่มา: http://changeuurrlife.weebly.com/contact.html
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง เนื่องจากประชากร ของออสเตรเลียส่วนใหญ่นั้นมาจากการอพยพเข้าจากหลากหลายประเทศและผสาน รวมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนพื้นถิ่น จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของการผสมผสาน และอยูร่ ว่ มกันของผูค้ นมากกว่า 200 กลุม่ วัฒนธรรม การสร้างส�ำนึกความเป็นพลเมือง ออสเตรเลียจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของรัฐ ในการสร้างความรู้สึกยึดโยงกับสังคม (Sense of Belonging) แก่ประชาชนทีม่ อี ตั ลักษณ์ (Identity) แตกต่างกัน ให้ตระหนัก ในฐานะสมาชิกคนหนึง่ ของสังคม (Membership) ซึง่ เป็นรากฐานส�ำคัญของการสร้าง ความเป็นพลเมือง (Citizenship) บทความนี้เรียบเรียงจากประสบการณ์การศึกษาดูงานของ Thai Civic Education ที่ได้ร่วมเรียนรู้จากคณะครู ผู้บริหาร นักการศึกษา และนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพลเมืองประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะน�ำเสนอความสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่างบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีต่อการออกแบบการจัดการศึกษา ในการสร้างพลเมืองเป็นส�ำคัญ 01
เมืองใหญ่แห่งความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม เมลเบิร์น ซึ่งเป็นเมืองที่คณะศึกษาดูงานของ Thai Civic Education ได้มีโอกาส ไปเรียนรู้ในโครงการกิจกรรมนี้ เป็นเมืองหลวงของรัฐวิกตอเรีย ตั้งอยู่ทางใต้ของ รัฐนิวเซาธ์เวลส์ ปัจจุบันมีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 4.5 ล้านคน มีกลุ่มวัฒนธรรม ทีห่ ลากหลายกว่า 140 กลุม่ ทัง้ วัฒนธรรมของชาวพืน้ เมืองเดิมในรัฐวิกตอเรีย ผูอ้ พยพ กว่า 180 ประเทศ เป็นชาวยูโรเปียน ชาวเอเชียนและชาวแอฟริกนั นอกเหนือจากภาษา อังกฤษที่ใช้เป็นภาษาราชการแล้วยังมีภาษาที่ใช้ในการประกอบอาชีพอีกมากกว่า 233 ภาษา (ข้อมูลปี 2015 จากhttp://www.melbourne.vic.gov.au) ในด้านศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก รองลงมา คือ กลุ่มที่ไม่นับถือ ศาสนา 20% คริสต์นิกายแองกลิกัน 12% คริสต์นิกายอีสเทิร์นออธอดอกซ์ 5.9% อีก 7.5% เป็นศาสนาพุทธ อิสลาม ยิว และฮินดู (ข้อมูลจาก Census records ปี 2006) จึงกล่าวได้วา่ เมลเบิรน์ เป็นเมืองทีม่ คี วามหลากหลายทางวัฒนธรรมมากทีส่ ดุ เมืองหนึง่ ของโลก
ที่มา: https://www.border.gov.au/Citizenship/PublishingImages/australia-local-hero-3.jpg
02
ความหลากหลายของประชากรในเมลเบิร์นนั้นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประวัติศาสตร์ การสร้างชาติและพัฒนาการของประเทศออสเตรเลีย เริ่มจากกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่อพยพจากเอเซียเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนแห่งนี้ กลุ่มชนพื้นเมืองเหล่านี้มีความ เกี่ยวข้องทางชาติพันธุ์ร่วมกันกับบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1830 ชาวยุโรปซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติแองโกลเซลติก ได้เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนดินแดนของชนพื้นเมือง และได้เกิดการอพยพเข้ามา ครั้งใหญ่จากผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกและหลากหลายเชื้อชาติ ในช่วงยุคตื่นทอง 1850 โดยเฉพาะกลุม่ ผูอ้ พยพชาวจีนทีม่ จี ำ� นวนเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ภายหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นจากยุโรปได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ใน ปี 1976 มีประชากรประมาณร้อยละ 20 ของออสเตรเลียที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็น ภาษาในการสือ่ สาร จนถึงปัจจุบนั ออสเตรเลียยังคงเป็นประเทศทีเ่ ป็นจุดหมายส�ำคัญของ คลื่นผู้อพยพจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โลกอาหรับ แอฟริกา ยุโรป และจากทั่วทุก มุมโลก การเติบโตของเมือง และการย้ายถิ่นเข้าของประชากรท�ำให้เมลเบิร์น และ เมืองใหญ่อีกหลายแห่งของออสเตรเลียได้กลายเป็นเมืองแห่งความหลากหลายทาง วัฒนธรรม และเป็นเมืองของโลก (Global City)
บนท้องถนนและตามตรอกซอยต่างๆของเมลเบิร์นเต็มไปด้วยร้านอาหารนานาชาติและผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรม ©ThaiCivicEducation
03
พลเมืองออสเตรเลียคือใคร Marc Pryun อาจารย์ทางด้านการสอนสังคมศึกษา ของมหาวิทยาลัยโมนาช ซึ่งเป็น มหาวิทยาลัยเจ้าภาพให้กรต้อนรับคณะดูงานของเรา ได้ชวนตัง้ ข้อสังเกตส�ำคัญเกีย่ วกับ ค�ำถามว่า “พลเมืองออสเตรเลียคือใคร” โดยเขาได้แลกเปลี่ยนข้อค้นพบบางส่วนจาก งานวิจัยว่า เราอาจพูดถึงผู้คนที่มีกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ ที่ยึดโยงกับความเป็นพลเมือง ออสเตรเลีย (Australian Citizenship Identities) หรือที่เรียกกันสั้นๆ อย่างไม่เป็น ทางการ ว่า ออสซี่ (Aussie) ได้ถงึ 6 ประเภท ซึง่ ผูเ้ ขียนได้คน้ คว้าข้อมูล และเรียบเรียง เพิ่มเติมจากบทสนทนากับ Marc Pryun ไว้ดังนี้
ที่มา: http://changeuurrlife.weebly.com/contact.html
1. Aussie Aussie หมายถึง คนที่เกิดในออสเตรเลีย ไม่รู้สึกเชื่อมโยงกับ เชือ้ ชาติ วัฒนธรรมเดิมของบรรพบุรษุ ทีอ่ พยพย้ายถิน่ เข้ามา ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสาร เป็นคนผิวขาวที่มีรากเหง้ามาจากเกาะบริเตน หนุ่มสาวและคนรุ่นใหม่ จ�ำนวนมากของออสเตรเลียมักจะรับรู้ตนเองในลักษณะนี้ 2. The ‘Nation X Aussies’ หมายถึง คนออสซี่ที่ยังยึดโยงกับเชื้อชาติ วัฒนธรรมเดิมของตน มีอัตลักษณ์ร่วมกับคนที่นี่ และวัฒนธรรมเดิม เช่นกลุ่มที่เป็น Italian Root Australian, Greek Root Australian, Irish Australian, Chinese Australian หรือ British Australian โดยพวกเขายังคงรักษาไว้ซงึ่ วัฒนธรรมและภาษา ตามกลุ่มชาติพันธุ์ ดั้งเดิมควบคู่ไปอัตลักษณ์ความเป็นออสซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้อพยพมาจากเอเซียที่มักพบการอยู่รวมกันเป็นชุมชนตามเมืองต่างๆ เช่นโซนที่ อยู่อาศัยของคนญี่ปุ่น คนจีน และคนเกาหลี ในเมืองใหญ่ของออสเตรเลีย เป็นต้น 04
3. The ‘Visitors’ หมายถึง ผู้มาเยือน มาเรียน มาอยู่ชั่วคราว ซึ่งอาจเป็น ผู้คนที่มาจากยุโรป เอเชีย เพื่อมาศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพ พวกเขาตระหนักดีว่า จะมาอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว และไม่ได้มีเป้าหมายหลักที่จะอาศัยอยู่ในฐานะพลเมือง ของรัฐในระยะยาว การเพิม่ ขึน้ ของพลเมืองกลุม่ นีเ้ กิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งหลังจากทีร่ ฐั บาล ส่งเสริมให้การจัดการศึกษาเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีมาตรการรองรับนักศึกษา ต่างชาติ และมีผสู้ ำ� เร็จการศึกษาจ�ำนวนมากเลือกเริม่ ต้นประกอบอาชีพในออสเตรเลีย ก่อนจะตัดสินใจโยกย้ายถิ่นฐานต่อไป 4. Low Profile Residence Racism หมายถึง พลเมืองออสเตรเลียแต่รบั รู้ ว่าตนเองถูกเหยียดและดูหมิ่นในชาติพันธุ์ หรือวัฒนธรรม เช่น ชาวซิกข์ ชาวมุสลิม คนกลุม่ นีจ้ งึ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความภาคภูมใิ จในการเป็นคนออสเตรเลียน และยังคงรักษา อัตลักษณ์เดิมของตนไว้อย่างเข้มแข็ง คนกลุ่มนี้มักถูกท�ำร้ายรังแก และถูกมองว่าเป็น “คนอืน่ ” โดยคนออสเตรเลียนด้วยกัน ในระยะหลังเกิดปรากฏการณ์ความขัดแย้งระหว่าง พลเมืองกลุม่ นีก้ บั พลเมืองกลุม่ อืน่ ๆ และมีแนวโน้มจะมีความตึงเครียดมากขึน้ เป็นผลจาก กระแสตืน่ กลัวอิสลามและการก่อการร้าย 5. Aspiration Aussie หมายถึง กลุ่มผู้คนที่มุ่งมั่นจะโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐาน และต้องการเป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามกฏหมายของออสเตรเลีย พวกเขามองเห็น ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการตั้งถิ่นฐานเป็นส�ำคัญ จึงมีความพยายามปรับตัว และอยู่ร่วมกับสังคมที่ยังคงมีผู้คนที่เต็มไปด้วยอคติ การกลั่นแกล้งรังแก และเหยียด ทางชาติพันธุ์วัฒนธรรม พวกเขามีอัตลักษณ์บางอย่างร่วมกับบรรดาผู้มาเยือน และ พลเมืองออสเตรเลียที่ดูเหยียดและหมิ่นทางชาติพันธุ์ แต่ก็มีความต่างตรงความมุ่งมั่น ในการปรับตัวทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และรูปแบบการใช้ชวี ติ เพือ่ ให้กลมกลืนไปกับ สังคมออสเตรเลีย และมีความมุง่ หวังจะได้สถานภาพในฐานะพลเมืองทีถ่ กู ต้องตามกฎหมาย 6. Aboriginal Aussie หมายถึง กลุม่ ชาติพนั ธุด์ งั้ เดิมผูอ้ ยูม่ าก่อน ซึง่ ในกลุม่ นี้ ยังประกอบด้วยผู้คนหลากชาติพันธุ์ มีตระกูลภาษาย่อยที่ใช้สื่อสารกันนับร้อยตระกูล ภาษา และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันมีพลเมืองกลุ่มนี้มากกว่า 600,000 คน หรือราวร้อยละ 3 ของพลเมืองออสเตรเลีย ในอดีตคนกลุ่มนี้ถูกเลือก ปฏิบัติและจ�ำกัดพื้นที่อยู่อาศัย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รัฐบาลออสเตรเลียได้ก�ำหนด นโยบายแยกเด็กอะบอริจนิ ออกจากครอบครัวแล้วน�ำมาจัดการศึกษาแบบตะวันตกให้ จนเกิดเป็น “คนรุน่ ทีถ่ กู ขโมยไป” (Stolen Generation) พวกเขาเติบโตมาในวิถคี นขาว ได้รบั การศึกษาแบบตะวันตกเพือ่ เตรียมสูก่ ารเป็นแรงงาน ใช้ภาษาอังกฤษในการสือ่ สาร แต่กลับถูกตัดขาดจากรากเหง้าวัฒนธรรมดั้งเดิม จนท�ำให้พวกเขากลายเป็นคนแปลก 05
แยกทางวัฒนธรรมและส่งผลต่อการปรับตัวอยูใ่ นสังคมเมือง ต่อมามีการต่อสูเ้ คลือ่ นไหว จากภาคสังคมจนรัฐบาลยกเลิกนโยบายดังกล่าว และเริม่ มีการผลักดันให้เกิดกระบวนการ เยียวยา ในปี 1998 โดยนายกรัฐมนตรี จอห์น โฮเวิร์ด ที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ส�ำคัญ ระบุถึงความเสียใจต่อผลของนโยบายที่คนรุ่นก่อนได้กระท�ำต่อกลุ่มอะบอริจิน และ ในปี 2008 นายกรัฐมนตรีเควิน รัดด์ ได้ท�ำหน้าที่ผู้แทนรัฐบาลกล่าวขอโทษอย่างเป็น ทางการต่อความผิดพลาดดังกล่าว และได้เริ่มผลักดันกระบวนการเยียวยาสมานฉันท์ ผ่านนโยบายสาธารณะทีจ่ ะเอือ้ ประโยชน์ให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียม และเป็นธรรม ต่อชาวอะบอริจินให้มากที่สุด
ภาพถ่ายจากนิทรรศการใน Bunjilaka Aboriginal Cultural Center ซึ่งตั้งอยู่ใน Melbourne Museum ©ThaiCivicEducation
06
สร้างความเป็นพลเมือง ในสังคมแห่งความหลากหลาย ข้อสังเกตเรื่องอัตลักษณ์พลเมืองออสเตรเลียน จากงานวิจัยของ Marc Pryun นั้น ชวนให้เราทบทวนถึงนิยามความหมายของ พลเมือง ที่ Koopman (2005) ได้เคย เสนอไว้ว่า “ความเป็นพลเมือง (Citizenship) นั้นครอบคลุมถึงสิทธิ หน้าที่ และ อัตลักษณ์ที่ยึดโยงกับความเป็นรัฐ-ชาติ” การสร้างส�ำนึกเรื่องการอยู่ร่วมกันของ พลเมืองออสเตรเลียนที่มาจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และ วัฒนธรรม ให้ยังคงยึดโยงกับความเป็นรัฐ-ชาติ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของสังคม ออสเตรเลีย เพราะความเป็นออสเตรเลียน หรือออสซี่นั้นไม่ได้มีมิติเดียว แต่กลับผสม ผสานกันระหว่างพลเมืองในมิติวัฒนธรรม และพลเมืองในมิติสมาชิกของชุมชนทาง การเมืองทีเ่ รียกว่ารัฐ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชุมชนเมืองของออสเตรเลียนนัน้ ได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นเมืองใหญ่ของโลก (Global City) การสร้างส�ำนึกความเป็น พลเมืองโลก จึงเป็นอีกโจทย์ทซี่ อ้ นทับเข้ากับความเป็นพลเมืองของชาติอย่างเลีย่ งไม่ได้
(รูปซ้าย) นิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑ์ผู้อพยพของเมลเบิร์น ชูประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย (รูปขวา) ป้ายประชาสัมพันธ์การจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวันแห่งพุทธะของนครเมลเบิร์น ©ThaiCivicEducation
07
Lynette Shultz (2007) James A. Banks (2008) Alveena Malik (2012) Paola Dusi, et al, (2012) และ Mary-Frances Winters (2016) เป็นนักการศึกษาด้านการ ศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมืองทีส่ นใจถกเถียงในประเด็น “พลเมืองโลก” พวกเขาชี้ ประเด็นร่วมกันว่ามโนทัศน์ส�ำคัญที่มีร่วมกันระหว่างความเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรม ความเป็นพลเมืองของชาติ และความเป็นพลเมืองโลก คือ การเคารพและเห็นคุณค่า ของเพือ่ นมนุษย์ในฐานะเป็น “พวกเดียวกัน” ไม่วา่ จะแตกต่างกันด้วยชาติพนั ธุ์ ภาษา ศาสนาหรือวัฒนธรรม แต่เราต่างมีความเป็นมนุษย์ที่ต้องการการเคารพยอมรับ และ ได้รบั การปฏิบตั ติ อ่ กันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่เฉพาะแต่เรือ่ งของสิทธิในความเป็น พลเมือง แต่ต้องยอมรับและเคารพในอัตลักษณ์หรือตัวตนทางวัฒนธรรม (Cultural Identity) ทีแ่ ตกต่าง เห็นคุณค่าและรักษาอัตลักษณ์แห่งตน (Self Identity) ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้อัตลักษณ์ที่ต่างจากตน เพราะท้ายที่สุดมนุษย์ทุกคนต่างก็มีอัตลักษณ์ที่ หลากหลาย (Multiple Identity) ทีต่ อ้ งแบกรับไว้และพยายามสร้างสมดุลให้แก่ตนเอง ในกรณีของการถกเถียงเรื่อง “พลเมืองออสเตรเลียคือใคร” จึงไม่จ�ำเป็นต้องมีค�ำตอบ เดียว เพราะท้ายที่สุด คนรุ่นใหม่ชาวออสเตรเลียนที่เติบโตมาจากครอบครัวผู้อพยพ ย้ายถิน่ ก็ตอ้ งเติบโตขึน้ มาเป็นทัง้ พลเมืองทีร่ ากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง มีความ เป็นพลเมืองออสเตรเลียนทั้งมิติวัฒนธรรมและการเมือง และปรับตัวอยู่ร่วมผู้คนใน สังคมหลากหลายวัฒนธรรมในฐานะพลเมืองโลกไปพร้อมๆ กัน “ผมนิยามตัวเองในฐานะคนอะบอริจิน และคนจ�ำนวนมากกลับไม่คิดว่าผมเป็น อะบอริจิน พวกเขาคิดว่าผมมาจาก อินเดีย ซามัวร์ เลบานอน มันขึ้นอยู่กับ ว่าเราพบเมื่อไหร่ และพวกเขามาจาก ที่ไหนต่างหาก” Dale Weegberg ภาพถ่ายจากนิทรรศการใน Bunjilaka Aboriginal Cultural Center ซึ่งตั้งอยู่ใน Melbourne Museum ©ThaiCivicEducation
ขณะที่สังคมเรียกร้องการเรียนรู้และปรับตัวของพลเมืองเพื่อการอยู่ร่มกัน ผ่านการ เรียนรู้ทั้งจากระบบการศึกษาและการเรียนรู้จากชีวิตจริง ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกัน ว่าสังคมจ�ำเป็นต้องมีกลไกทีเ่ อือ้ ต่อการอยูร่ ว่ มกันของพลเมืองทีห่ ลากหลาย รัฐจ�ำเป็น 08
ต้องบริหารจัดการ ดูแลชีวิตความเป็นอยู่บนหลักการและค่านิยมบางอย่างที่จะเป็น ระบบคุณค่าร่วมที่ผู้คนในสังคมเห็นชอบร่วมกัน อัตลักษณ์ของผู้คนจะด�ำรงอยู่ร่วมกัน กับผู้อื่นที่แตกต่างจากตนได้ และยังคงยึดโยงกับสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ จ�ำเป็นต้องอาศัย สิ่งที่ Marc Pryun เรียกว่า ‘Sense of Belonging’ ซึ่งก็คือ ความรู้สึกยึดโยงเป็น ส่วนหนึ่งของสิ่งนั้นๆ โดยเขาได้ขยายความไว้ว่า ‘ความเป็นพลเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับ ส�ำนึกยึดโยงเป็นส่วนหนึง่ ของสังคม มีสว่ นร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม ทีเ่ ราอยูร่ ว่ ม ความเป็นพลเมืองยังหมายถึงการช่วยเหลือผูอ้ นื่ และเป็นบุคคลทีด่ ที สี่ ดุ ในแบบของคุณเพื่อร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้น’ ขณะเดียวกันสังคมก็ต้องสร้าง ค่านิยมทางสังคมที่จะรองรับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายด้วย ค่านิยม ดังกล่าวได้แก่ ยอมรับ (Acceptance) ในความแตกต่าง เห็นคุณค่า (Worth) ของกันและกัน อบอุ่นเป็นมิตร พร้อมต้อนรับ (Welcomed) ผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ตอบสนองต่อความต้องการจ�ำเป็น (Needed) ที่แตกต่างกัน นับรวมทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และไม่ทอดทิ้งกัน (Inclusion) แลกเปลี่ยนมุมมองและความเชื่อ (Shared beliefs)
“การมีชีวิตอยู่ในชนบทที่ทุรกันดาร อาจท�ำให้รู้สึกยากล�ำบากบ้าง แต่ขณะเดียวกัน มันกลับท�ำให้ฉันรู้สึก มีความสุข และรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน ฉันภูมิใจที่ได้อยู่ที่นั่น และไม่รู้สึกว่า อยู่ในดินแดนอื่นเลย” Ky-ya Ward ภาพถ่ายจากนิทรรศการใน Bunjilaka Aboriginal Cultural Center ซึ่งตั้งอยู่ใน Melbourne Museum ©ThaiCivicEducation
09
ออสเตรเลียกับการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความพลเมืองในสังคมพหุวัฒนธรรม การเตรียมความพร้อมและพัฒนาความเป็นพลเมืองให้อยู่ร่วมกันท่ามกลางความ หลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมเป็นภารกิจทีท่ า้ ทายของการจัดการศึกษาออสเตรเลีย ที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มีรัฐบาลกลางท�ำหน้าที่ก�ำหนดนโยบายและทิศทางหลัก ในการจัดการศึกษา แต่เปิดโอกาสให้แต่ละมลรัฐปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นได้ตามบริบทที่ ต่างกัน โดยมี Australian Curriculum, Assessment and Reporting Authority (ACARA) ท�ำหน้าทีป่ ระสานงานการจัดท�ำกรอบหลักสูตรแห่งชาติ ทัง้ ในส่วนของเป้าหมาย โครงสร้าง และกรอบการพัฒนาจ�ำแนกตามสาระวิชา ปัจจุบนั ออสเตรเลียได้มกี ารก�ำหนด สมรรถนะทั่วไป (General Capability) ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายส�ำคัญของกรอบ หลักสูตรในการจัดการศึกษาทีเ่ ป็นแกนในทุกสาระวิชาไว้ 7 ประการ ได้แก่ 1. สมรรถนะในการคิดค�ำนวณ (Numeracy) 2. สมรรถนะทางภาษา (Literacy) 3. สมรรถนะทางเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศ (ICT Capability) 4. สมรรถนะการคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดสร้างสรรค์ (Critical and Creative Thinking) 5. สมรรถนะการจัดการตนเอง และสมรรถนะทางสังคม (Personal and Social Capability) 6. สมรรถนะความเข้าใจเชิงจริยธรรม (Ethical Understanding) 7. สมรรถนะความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Understanding)
ที่มา: http://www.australiancurriculum.edu.au/
10
ในสมรรถนะทัว่ ไป 7 ประการ จะเห็นได้วา่ มีสมรรถนะทีเ่ กีย่ วข้องกับ ‘ความเป็นพลเมือง ในมิติของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม’ ปรากฎอยู่ถึง 3 ประการ ได้แก่ (5) สมรรถนะการจัดการตนเอง และสมรรถนะทางสังคม (Personal and Social Capability) (6) สมรรถนะความเข้าใจเชิงจริยธรรม (Ethical Understanding) และโดยเฉพาะ อย่างยิง่ (7) สมรรถนะความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Understanding) ทีเ่ ป็นสมรรถนะพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญทีต่ อ้ งปลูกฝังพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่วยั เด็ก นอกจาก การก�ำหนดไว้ในสมรรถนะพืน้ ฐานแล้ว กรอบหลักสูตรของออสเตรเลียยังได้มกี ารก�ำหนด ให้มีประเด็นบูรณาการข้ามวิชา (Cross-curriculum Priorities) โดยจัดล�ำดับตั้งแต่ ประเด็นใกล้ตัวจนถึงประเด็นที่เป็นวาระสากล (Global Agenda) ได้แก่ 1. ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นถิ่นและชาวหมู่เกาะที่ห่างไกล (Aboriginal and Torres Strait Islander Histories and Cultures) 2. เอเชีย และการมีสว่ นร่วมของออสเตรเลียในเอเชีย (Asia and Australia’s Engagement with Asia) 3. ความยั่งยืน (Sustainability) เมื่อน�ำสมรรถนะทั่วไป (General Capability) และประเด็นบูรณาการข้ามวิชา (Cross-curriculum Priorities) มาน�ำเสนอร่วมกับประสบการณ์การเรียนรู้จากสาระ วิชาทั้ง 8 กลุ่ม จะเห็นเป็นรูปสามมิติดังนี้
ที่มา: http://www.australiancurriculum.edu.au/
11
ในส่วนของด้านค่านิยมและจิตพิสยั การจัดการศึกษาของออสเตรเลียได้สง่ เสริมค่านิยม หลัก 9 ประการ ผ่านเอกสาร National Framework for Values Education in Australian Schools ซึ่งค่านิยมหลักดังกล่าวไม่จ�ำเป็นต้องจัดสอนแยกเป็นวิชา แต่ สามารถบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระวิชา และส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ผ่านวิถีวัฒนธรรมในชั้นเรียน และในโรงเรียน ค่านิยมหลัก 9 ประการ ประกอบด้วย 1. เอื้ออาทรและเมตตา (Care and Compassion) 2. ท�ำดีที่สุดในแบบของตนเอง (Doing Your Best) 3. ค�ำนึงถึงความเป็นธรรม (Fair Go) 4. รักษาเสรีภาพ (Freedom) 5. ซื่อสัตย์สุจริต และไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Honesty and Trustworthiness) 6. หนักแน่นมั่นคง มีคุณธรรม และมีเกียรติ (Integrity) 7. เคารพผู้อื่น (Respect) 8. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) 9. เข้าอกเข้าใจ อดทนอดกลั้น และไม่ทอดทิ้งกัน (Understanding, Tolerance and Inclusion)
ที่มา: http://www.curriculum.edu.au/values/val_national_framework_nine_values,14515.html
12
ชุดค่านิยมหลักทัง้ 9 ประการและกรอบการจัดหลักสูตรได้สะท้อนนัยยะส�ำคัญของการ สร้างพลเมืองในมิตขิ องการอยูร่ ว่ มกันในสังคมหลากหลายวัฒนธรรมไว้อย่างชัดเจน และ เมือ่ มีการน�ำไปใช้ระดับมลรัฐ และโรงเรียน ทัง้ หมดนีค้ อื แก่นหรือแกนในการจัดการศึกษา ทีต่ อ้ งยึดถือไว้รว่ มกัน ขณะเดียวกันก็เอือ้ ให้มลรัฐและโรงเรียนปรับเปลีย่ นยืดหยุน่ ตาม บริบททางสังคม กลุม่ สาระวิชาบางกลุม่ เช่น กลุม่ ภาษา ในกรอบหลักสูตรได้เสนอไว้ มากถึง 16 ภาษา ขึน้ อยูก่ บั ความพร้อมของโรงเรียนในการจัดสอนตามความต้องการ ของผูเ้ รียน จากประสบการณ์การเยีย่ มชัน้ เรียนในโครงการศึกษาดูงาน ที่ Wooranna Park Primary School ซึง่ เป็นโรงเรียนทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการเรียนรูท้ ยี่ ดึ เด็กเป็นตัวตัง้ ผูอ้ ำ� นวยการ ของโรงเรียนและคณะครูได้แลกเปลีย่ นและน�ำพวกเราเข้าสังเกตการณ์ชนั้ เรียน ได้พบว่า โรงเรียนเน้นย�้ำการจัดบรรยากาศของโรงเรียนและห้องเรียนส�ำคัญในฐานะบริบทที่ ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่ตื่นตัว หลักสูตรมีความยืดหยุ่น เนื่องจากหลักสูตร ระดับมลรัฐได้จดั เป็นระดับคูช่ นั้ คือ ประถมศึกษาปีที่ 1-2 / 3-4 / 5-6 และมัธยมศึกษา ปีที่ 1-2 / 3-4 เพือ่ เอือ้ ต่อการทีโ่ รงเรียนจะจัดห้องเรียนคละชัน้ เพือ่ ให้เด็กทีม่ รี ะดับ ความสามารถแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยเรียนรูร้ ว่ มกัน และเรียนทันกันได้ โรงเรียนได้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสอื่ สารสนเทศ หรือ ICT ในการพัฒนาสมรรถนะแก่ผเู้ รียน และ ได้กำ� หนดเป้าหมายส�ำคัญในการพัฒนาผูเ้ รียน 6 ประการ คือ 1. คิดอย่างมีวจิ ารณญาณ 2. สือ่ สารชัดเจน 3. ท�ำงานร่วมกับผูอ้ นื่ ได้ 4. เคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม 5. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 6. ใช้เทคโนโลยีเพือ่ การเรียนรูแ้ ละเชือ่ มโยงกับโลกกว้าง ปัจจุบนั Wooranna Park Primary School จัดให้นกั เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ยังมีการเรียนแยกตามชัน้ เรียน แต่จะจัดมุมกิจกรรมทีห่ ลากหลาย ให้เหมาะสม กับความถนัดและความสนใจของเด็ก ส่วนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3-6 จัดเรียนคละชัน้ เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูร้ ว่ มกัน และพัฒนาการของเด็กอาจมีความเร็วช้าต่างกัน จึงจัด เป็นแบบคละชัน้ มีครู 5 คน ต่อเด็ก นักเรียน 2 ระดับ สอนเป็นทีม แบ่งพืน้ ทีเ่ รียนเป็น มุมๆ มีทงั้ ช่วงทีเ่ รียนร่วมกัน และแยกตามความสนใจ ในกรณีทมี่ เี ด็กซึง่ ประสบความ ยากล�ำบากในการเรียน (Children with difficulties) เช่น เด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ กลุม่ ต่างๆ เด็กทีม่ ปี ญ ั หาพฤติกรรม และรวมถึงเด็กนักเรียนใหม่ทมี่ าจากต่างวัฒนธรรม มาเริม่ ชัน้ เรียน จะมีการจัดครู ครูผชู้ ว่ ย หรืออาสาสมัครผูป้ กครองช่วยประกบดูแล 13
โรงเรียนจัดตารางเรียนแบ่งออกเป็น 3 ช่วง แต่ละช่วงใช้เวลา 100 นาที เพือ่ ให้มคี วาม ต่อเนือ่ ง และเอือ้ ต่อการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล แม้จะเป็นประสบการณ์ เดียวกัน ก็ยงั สามารถแยกกลุม่ ย่อยได้อกี เช่น การอ่านวรรณกรรม นักเรียนสามารถเลือก ได้วา่ จะอ่านเรือ่ งได้จากรายการหนังสือแนะน�ำและจะมีคณ ุ ครูทเี่ ป็นชวนคุยประจ�ำสัปดาห์ ของแต่ละวง ในส่วนของกลุม่ ภาษา นอกจากการเรียนภาษาหลักคือภาษาอังกฤษ เด็กๆ ยังสามารถเลือกเรียนภาษาทีส่ องหรือสาม ได้อกี 6 ภาษา
บรรยากาศชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1และ 3 นักเรียนได้เรียนร่วมกัน ได้เรียนรู้จากกันและกัน ©ThaiCivicEducation
การจัดการศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมืองในสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของออสเตรเลีย จึงเป็นทัง้ อุดมการณ์ หลักการทีเ่ ป็นข้อตกลงร่วมกัน เป็นแนวทางทีย่ ดึ ถือปฏิบตั ิ และ เป็นวิถชี วี ติ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมใกล้ตวั ผูเ้ รียน ตัง้ แต่ระดับชัน้ เรียนจนถึงในชุมชน การสร้าง คุณลักษณะ สมรรถนะ และวัฒนธรรมพลเมืองและการอยูร่ ว่ มกันท่ามกลางความหลาก หลาย ไม่ใช่แค่การจัดรายวิชาใดวิชาหนึง่ เพิม่ เติมเข้าไปในหลักสูตร แต่ระบุไว้ตงั้ แต่เป้า หมายการจัดการศึกษา โครงสร้างและจุดเน้นของหลักสูตร และน�ำไปสูก่ ารออกแบบ โรงเรียนและชั้นเรียนให้จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นทางการผ่านการเรียนการ สอนและการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการผ่านบรรยากาศชั้นเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน วัฒนธรรมองค์กร และแนวปฏิบตั ใิ นการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ทัง้ หมดนีค้ อื ประสบการณ์ทจี่ ดั ผ่านเด็กๆ จะได้เรียนรูผ้ า่ นระบบโรงเรียน (School Education) ผสานกับการเรียนรูน้ อกโรงเรียนจากชุมชนและสังคม (Social Education) ทีม่ กี าร ก�ำหนดเป็นแนวนโยบายของทุกรัฐในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลาก หลายบนอุดมการณ์ ความเชือ่ และวัฒนธรรมประชาธิปไตย ทีเ่ คารพในศักดิศ์ รีของ มนุษย์และเชือ่ มัน่ ในการอยูร่ ว่ มกันท่ามกลางความหลากหลายอย่างเคารพและสมานฉันท์ 14
(ซ้ายบน) โลโก้ของคณะกรรมาธิการด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมของมลรัฐวิคตอเรีย พร้อมสโลแกน “สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนของเรา” (ซ้ายล่าง) บรรยากาศการเดินขบวนในวันแรงงานสากลที่ผู้คนทุกกลุ่มสามารถร่วมใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อการเคลื่อนไหว เรียกร้อง ต่อรองเชิงนโยบายได้อย่างเท่าเทียม (ขวา) โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการนานาชาติ เป็นการประชุมทุก 3 ปี ที่ส่งเสริมการพูดคุยถกเถียงในประเด็นเรื่องการตั้งถิ่นฐาน และความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม ที่มา: http://www.multicultural.vic.gov.au/ และ https://www.refugeecouncil.org.au/
15
เอกสารอ่านประกอบการเรียบเรียง All of Us: Victoria’s Multicultural Policy. Victorian Multicultural Commission. Melbourne, 2008 Alveena Malik (2012). ‘Citizenship Education, Race and Community Cohesion’. In James Arthur and Hilary Cremin (Ed.). Debates in Citizenship Education. (pp.67-79). New York: Routledge James A. Banks (2008). ‘Diversity, Group Identity, and Citizenship Education in a Global Age’. Educational Researcher. Vol.37, No.3, pp.129-139 Koopmans, R., Statham, P.,Giugni, M. & Passy, F. (2005). Contested Citizenship: Immigration and Cultural Diversity in Europe. Minniapolis: University of Minnesota Press Lynette Shultz (2007). ‘Education for Global Citizenship: Conflict Agendas and Understandings’. The Alberta Journal of Educational Research. Vol.53, No.3, pp.248-258 Mary-Frances Winters (2016). http://www.diversityjournal.com/10188-trend-6-who am-i-the-rise-of-multiple-identities/ Paola Dusi, Marilyn Steinbach and Giuseppina Messettil (2012). ‘Citizenship Education in Multicultural Society: Teachers’ Practices’. Procedia – Social and Behaviour Science. Vol.69, pp.1410-1419 Ralph Leighton (2012). Teaching Citizenship Education: A Radical Approach. London: Continuum http://www.melbourne.vic.gov.au http://www.numeracyskills.com.au/numeracy-in-the-nsw-syllabuses-for-the australian-curriculum
16
หลักสูตร : เข็มทิศ พิมพ์เขียว และแผนที่ ในการพัฒนาพลเมืองของประเทศ เฉลิมชัย พันธ์เลิศ
ผู้อ�ำนวยการสถาบันสังคมศึกษา ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
©ThaiCivicEducation
การพัฒนาพลเมืองเป็นเรื่องส�ำคัญมาก เพราะคุณภาพของประเทศชาติบ้านเมือง ย่อมขึ้นตรงต่อคุณภาพของพลเมืองด้วย กลไกส�ำคัญในการพัฒนาพลเมืองคือ การจัด การศึกษา โดยเฉพาะประเทศทีป่ กครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คุณภาพของพลเมือง มีความส�ำคัญมาก ระบบการจัดการศึกษาและระบบการเรียนรู้ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองจึงจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงหลักประสิทธิภาพเพื่อรับ ประกันผลว่าจะได้พลเมืองตามที่ต้องการได้จริง กระบวนการให้การศึกษาแก่พลเมือง จ�ำเป็นต้องใช้เวลาต่อเนื่องและยาวนานจึงจะ เกิดผล ด้วยเหตุนี้ การวางระบบหรือโครงสร้างในการพัฒนาในแต่ละช่วงวัยจึงมีความ ส�ำคัญ เพื่อให้เนื้อหา วิธีการ และเป้าหมายในการพัฒนานั้น ๆ เหมาะสมกับระดับ พัฒนาการและวัยของพลเมืองในแต่ละช่วงอายุ เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและ ตลอดชีวติ (Lifelong learning) ระบบหรือโครงสร้างของการจัดการศึกษานัน้ อาจเรียก ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “หลักสูตร” 17
หลักสูตร: ความเป็นมาและความหมาย หลักสูตร เป็นค�ำทีเ่ กิดขึน้ มาในคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 และเริ่มใช้ค�ำนี้อย่างแพร่หลายใน ช่วงศตวรรษที่ 20 ต�ำราเล่มแรกที่เขียน อธิบายเกีย่ วกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิท (Frinkin Bobbits) ในปี ค.ศ. 1918 ได้อธิบายแนวความคิดของหลักสูตรไว้ว่า “เป็นการกระท�ำและประสบการณ์ของผู้ที่ ก�ำลังเปลี่ยนผ่านจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ที่จัดให้ มีขึ้นเพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความส�ำเร็จ ของสังคมในอนาคต นอกจากนี้หลักสูตร ยังครอบคลุมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน รวมไปถึง ประสบการณ์ทไี่ ด้รบั โดยบังเอิญ ประสบการณ์ ทีไ่ ม่ได้ชนี้ ำ� และประสบการณ์ทมี่ จี ดุ มุง่ หมาย เพื่ อ สร้ า งผู ้ ใ หญ่ ใ ห้ กั บ สั ง คมในอนาคต” ความหมายนีม้ นี ยั ยะถึงว่าประสบการณ์ตา่ ง ๆ ในการพัฒนาเด็กไปจนถึงวัยผูใ้ หญ่มเี ป้าหมาย หรือเจตจ�ำนงบางอย่างในการพัฒนา มิได้ เกิดขึน้ อย่างไม่มคี วามหมาย ดังนัน้ เรือ่ งของ หลักสูตรจึงเป็นเรื่องของ “ความจงใจ” ที่ ท�ำให้เกิดมีขึ้นมา ส่วนวินกินส์ และแม็คไท (Wiggins & McTighe, 2005, p.6) ได้กล่าวว่า หลักสูตรหมายถึง “the course to be run” ซึง่ อาจกล่าวได้วา่ หลักสูตรเป็น แผนการหรือพิมพ์เขียว (Blueprint) ที่มี ลักษณะเฉพาะเพื่อการเรียนรู้และเป็นแผน ทีก่ ำ� หนดผลการเรียนรูท้ คี่ าดหวัง และมักเป็น มาตรฐานการเรียนรู้ที่ก�ำหนดโดยหน่วยงาน กลางด้านการจัดการศึกษาของชาติ ซึ่ง 18
ความหมายอันหลังนี้เน้นที่การจัดการเรียน การสอน และให้ความส�ำคัญกับการวาง เป้าหมายการพัฒนาทีเ่ รียกว่า “ผลการเรียนรู้ ทีค่ าดหวัง” ต้องชัดเจน เป็นแก่นความรูส้ ำ� คัญ ทีส่ ามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ความส�ำคัญของหลักสูตรจึงไม่ใช่เพียงแต่ เป็นเอกสารเท่านั้น แต่ยังเป็นเอกสารเชิง วิสัยทัศน์(visionary document) ที่แสดง ให้เห็นว่าผูก้ ำ� หนดนโยบายการศึกษาของชาติ มีความปรารถนาจะสร้างพลเมืองแบบใด มีกระบวนการและวิธีการในการพัฒนาไปสู่ พลเมืองแบบนัน้ ได้อย่างไร จึงอาจกล่าวได้วา่ ตัวหลักสูตรการศึกษาของชาติเป็นเหมือน “พิมพ์เขียว” ที่จ�ำลองภาพฝันถึงพลเมือง ของชาติและสังคมที่ต้องการในอนาคตเลย ทีเดียว และหลักสูตรการศึกษาของชาตินเี่ อง
ที่เป็นเสมือน “แผนที่” ที่จ�ำเป็นต้องมี “เข็มทิศ” เพื่อบ่งชี้ว่าชาติต้องการพัฒนา พลเมืองมุง่ ไปในทิศทางใด ขณะทีภ่ าพจ�ำลอง ใน “พิมพ์เขียว” ก็เป็นตัวก�ำหนดโครงร่าง ส�ำคัญส�ำหรับการด�ำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครู การผลิตเอกสาร ต�ำรา การจัดการเรียนการสอนทั้งระบบ เพือ่ บรรลุเป้าหมาย คือ พลเมืองประชาธิปไตย ทีม่ กี ารพัฒนาไปตามล�ำดับขัน้ อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาหลักสูตรทีผ่ า่ นมา ก็ยงั มีความเข้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นอยูใ่ นตัวเอง กล่าวคือ ผูค้ นมักมองเห็นผลลัพธ์ทเี่ ป็นเพียง กระดาษเอกสารชุดหนึง่ เท่านัน้ แต่สงิ่ ทีถ่ กู ต้อง และส�ำคัญมากกว่ากลับถูกละเลยไป คือ การมีส่วนร่วมในการออกแบบสร้างอนาคต ของพลเมืองร่วมกันผ่านตัวหนังสือที่บรรจุ ในเอกสารหลักสูตรตลอดจนการแสวงหา แนวทางเพือ่ ให้สงิ่ ทีบ่ รรจุในเอกสารดังกล่าว เป็นจริงได้ ไม่ใช่เพียงความเพ้อฝันทีว่ างอยู่ บนหิง้ ดังนัน้ กระบวนการขัน้ ตอนต่างๆ ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรจึงส�ำคัญ และ ควรที่จะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องด้วยเช่นกัน
©ThaiCivicEducation
19
เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เขียนขอน�ำเสนอ นิทานเรื่องหนึ่ง ที่บรรดาผู้ที่ศึกษาร�่ำเรียนมาทางสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมักจะ กล่าวถึง คือเรื่อง “หลักสูตรเสือเขี้ยวดาบ” The Saber-tooth Curriculum ของ ศาสตราจารย์ Abner J. Pediwell ที่เป็นหนังสือขายดีมากในปี 1939 แต่เนื้อหาก็ยัง คงน�ำสมัยช่วยให้เห็นพัฒนาการของปรัชญาในการจัดการศึกษาและการจัดการหลักสูตร เรื่องมีอยู่ว่า... มนุษย์ยุคหินคนหนึ่ง ชื่อ “ค้อนใหม่” ชายผู้นี้นับได้ว่าเป็นนักการศึกษาคนแรกของโลก ค้อนใหม่เป็นนักคิดนักท�ำ สมัยนั้นค้อนหินเป็นเครื่องมือส�ำคัญอย่างหนึ่ง ค้อนใหม่มีชื่อเสียงขึ้นก็ เพราะเขาคิดท�ำค้อนที่ใช้ได้ดีกว่าของเดิม ตะบองที่เขาใช้ล่าสัตว์ก็ดีกว่าของคนอื่น วิธีที่เขาใช้ไฟ ให้เป็นประโยชน์กเ็ ฉียบแหลมกว่าวิธขี องคนอืน่ นอกจากเป็นนักคิดแล้วยังเป็นนักท�ำด้วย อาจกล่าว ได้ว้าเขาเป็นผู้ก้าวหน้าและเป็นนักพัฒนามากในสมัยนั้น อยู่มาวันหนึ่ง ค้อนใหม่นั่งดูลูก ๆ เล่นกันอยู่หน้าถ�้ำ เขาเห็นว่าเด็กเล่นกระดูก กิ่งไม้ ก้อนกรวดสีต่าง ๆ เพื่อความสนุก ในขณะที่ผู้ใหญ่ล่าสัตว์เพื่อให้มีกิน ผู้ใหญ่ต้องการอาหาร ที่อยู่ อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เพื่อการด�ำรงชีวิต เด็กเล่นเพื่อให้พ้นจากความเบื่อหน่าย ส่วนผู้ใหญ่ท�ำงาน เพื่อให้พ้นจากความหิวโหย ความหนาวเย็น และอันตรายจากสัตว์ร้าย ค้อนใหม่คิดว่า เวลาเด็กพวกนี้โตขึ้น เราอยากให้เด็กเหล่านั้นมีสภาพเป็นอย่างไร แล้ว เขาก็ตอบตัวเองว่า “เราอยากให้มีเนื้อกินมากขึ้น มีหนังสัตว์นุ่งห่มมากขึ้น มีถ�้ำดี ๆ อยู่และมี ความปลอดภัยมากขึ้น” ซึ่งเป็นการวางจุดมุ่งหมายของการศึกษาขึ้นครั้งแรกในโลก จากนั้น เขาก็ เริ่มการสร้างหลักสูตรด้วยการถามตัวเองต่อไปว่า “คนเราจะต้องรู้จักท�ำอะไรบ้าง เพื่อให้ท้องอิ่ม ตัวอุ่น และใจสบาย” เขานึกตอบตัวเองเป็นข้อๆ ไปว่า “เรากินปลาเป็นส่วนใหญ่ ฉะนัน้ เราต้องรูจ้ กั วิธจี บั ปลา” ดังนั้น วิชาแรกในหลักสูตรของค้อนใหม่ คือ วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า “เราใช้หนังม้าแกลบมาท�ำเสื้อผ้า เนื้อม้าเราก็เอามากินด้วย ฉะนั้นเราจะต้องรู้วิธีล่า ม้าแกลบ โดยใช้ตะบองทุบหัว” ดังนั้นวิชาทุบหัวม้าแกลบจึงเป็นวิชาที่สองในหลักสูตรนี้ “เสือเขีย้ วดาบเป็นสัตว์ทเี่ รากลัวทีส่ ดุ เราต้องคอยไล่เสืออยูต่ ลอดเวลา ถ้าเสือมาทีป่ ากถ�ำ้ เราก็จุดไฟไล่ ถ้าอยู่กลางป่า แล้วเจอเสือ เราก็จุดคบ ถ้าเจอเสือที่บ่อน�้ำก็โบกคบไฟไล่ เราจะต้อง ไล่เสือ และเราใช้ไฟไล่เสืออยู่ตลอดเวลา” วิชาที่สามจึงเป็นวิชาใช้ไฟไล่เสือ เมื่อคิดหลักสูตรได้แล้ว ค้อนใหม่ก็เริ่มให้การศึกษาแก่ลูก ๆ ของเขา ไม่ว่าเขาจะไปไหน เขาจะพาลูกๆ ไปด้วย เขาแสดงวิธีจับปลา ทุบหัวม้า ไล่เสือให้เด็กๆ แล้วให้เด็กลองท�ำดูด้วย เด็กๆ ชอบมาก เพราะรูส้ กึ สนุกว่าเล่นกับก้อนกรวดเป็นไหนๆ ลูกของค้อนใหม่เรียนรูว้ ชิ าทัง้ สามนี้ ได้เป็นอย่างดี นับว่าระบบการศึกษาของค้อนใหม่นี้ประสบความส�ำเร็จอย่างงดงาม 20
เมื่อลูกๆ ของค้อนใหม่โตขึ้น ก็เห็นได้ว่าได้เปรียบคนที่ไม่ได้รับการศึกษาตั้งแต่เด็ก คนอื่นๆ ในเผ่านั้นก็เริ่มเอาอย่างค้อนใหม่ ระบบการศึกษานี้ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น และวิชาที่ ถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาก็คือ วิชาจับปลา ทุบหัวม้า และใช้ไฟไล่เสือ นับตัง้ แต่นนั้ มา การศึกษาสมัยหิน จึงเป็นทีย่ อมรับว่า หัวใจของการศึกษา คือวิชาทัง้ สาม ได้แก่ การจับปลาด้วยมือเปล่า การทุบหัวม้า และการใช้ไฟไล่เสือ ต่อมาค้อนใหม่และคนรุ่นเขาก็ ชราลง ในที่สุดก็ตายไป คนรุ่นหลังยังคงสนับสนุนระบบการศึกษาสมัยหินของค้อนใหม่ด้วยการให้ บุตรหลานของตนศึกษาหาความรู้ความช�ำนาญในวิชาทั้งสาม คนเผ่าก็รุ่งเรืองมีความสุข มีเนื้อ กินอย่างพอเพียง มีหนังสัตว์นุ่งห่มอย่างอบอุ่น มีความปลอดภัยจากเสือเขี้ยวดาบ
นิทานข้างต้นเป็นการอธิบายพัฒนาของหลักสูตรจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติ มาสู่ การวางกรอบในการเรียนรู้ของคนอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มพูนคุณภาพของคน และให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไปพร้อมกัน อาจเรียกอย่างหนึ่งว่าเป็นวิศวกรรม สังคม (Social engineering) ด้วยเหตุนี้ ศาสตร์วา่ ด้วยการพัฒนาหลักสูตรทัง้ ตัวความรู้ และกระบวนการท�ำงานจึงมีความส�ำคัญมาก ไม่ควรติดอยู่แต่เพียงเอกสารหลักสูตร แต่เป้าหมายคือคุณภาพชีวิตของคนอันเป็นเป้าหมายในการพัฒนานั่นต่างหากคือสิ่งที่ หลักสูตรทุกหลักสูตรปรารถนาจะเห็น และทุ่มสรรพก�ำลังทั้งหมดเพื่อพัฒนาไปสู่ เป้าหมายนั้นให้ได้ ในสังคมไทยนั้น ทุกหน่วยงานและองค์กรต่างให้ความส�ำคัญกับหลักสูตรการศึกษา ของชาติอย่างมาก จนมีความเพียรพยายามทีจ่ ะบรรจุเนือ้ หาและความรูใ้ นส่วนทีต่ นเอง รับผิดชอบอยูน่ นั้ เข้าไปในหลักสูตร ซึง่ ในความเป็นจริงในหลักสูตรก็ไม่สามารถจะบรรจุ สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ทั้งหมด ภาระทั้งหมด จึงเป็นเรื่องของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะ ต้องร่วมกันเลือกแก่นสาระส�ำคัญ (Essential element) ซึ่งต้องมีกระบวนการที่จะ เลือกสิ่งส�ำคัญได้เฉพาะบางสิ่ง ไม่สามารถน�ำทุกสิ่งลงในหลักสูตรได้ (a must something, not a must everything) ด้วยเหตุที่การศึกษาส�ำหรับพลเมืองเป็นเรื่องที่ส�ำคัญ แต่ละประเทศจึงมีหน่วยงานที่ ท�ำงานด้านการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติ ท�ำหน้าทีเ่ ลือกสรรสิง่ ส�ำคัญทีพ่ ลเมือง ควรรู้ มาจัดวางกรอบและล�ำดับของการเรียนเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย (Scope and sequence) ที่จะเป็นแม่บทส�ำคัญของการจัดการศึกษาทั้งหมดต่อไป 21
หลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ของประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศเครือรัฐออสเตรเลียแบ่งการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ เป็น 3 ระดับ คือระดับประเทศหรือระดับสหพันธรัฐ (Federal) ระดับรัฐ (State) หรือเขตปกครอง พิเศษ (Territory) และระดับท้องถิน่ (Local) ระดับประเทศหรือระดับสหพันธรัฐ จะมี การเลือกตั้ง โดยมี 2 สภาคือสภาผู้แทน ราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งได้จากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชน พรรคทีไ่ ด้เสียงข้างมาก ในสภาล่าง จะได้รับเชิญให้ตั้งรัฐบาล (Federal Government) เพือ่ ท�ำการบริหาร ประเทศ โดยจะมีการก�ำหนดขอบเขตอ�ำนาจ หน้าที่ของการบริหารงานแต่ละระดับ และ ผู้น�ำของฝ่ายบริหารในระดับ Federal คือ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ระดับมลรัฐ (State) Australia ประกอบด้วย 2 รัฐ(states) และ 2 เขตปกครองพิเศษ (Territories) ซึ่งรัฐจะมีอ�ำนาจอธิปไตยของ รัฐตัวเอง คือมีทั้งรัฐบาลของรัฐ (State Government) สภาของรัฐ (State Parliament) และศาลสูงของรัฐ (State high court) โดยผู้น�ำฝ่ายบริหารของรัฐ เรียกว่า Premier 22
ระดับท้องถิ่น เป็นการบริหารระดับท้องถิ่น ตามขอบอ�ำนาจที่ระดับรัฐก�ำหนด ได้แก่ การอนุญาตการเลี้ยงสัตว์ ก่อสร้างอาคาร การระบายน�ำ้ ก�ำจัดน�ำ้ เสีย บ�ำรุงรักษาถนน ที่ จ อดรถเป็ น ต้ น ซึ่ ง ความเป็ น อิ ส ระและ ขอบเขตในการบริหารจัดการท้องถิ่นของ ตนเองน้อยกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของไทย และต้องอยู่ภายใต้การก�ำกับอย่าง มากจากระดับรัฐ
©ThaiCivicEducation
ในเรือ่ งของการพัฒนาหลักสูตร มีหน่วยงาน ที่ ดู แ ลทั้ ง ในระดั บ ชาติ แ ละระดั บ มลรั ฐ กล่าวคือในระดับชาติ คือ Australian Curriculum, Assessment and Reporting Authority หรือ ACARA ในระดับมลรัฐ ของวิคทอเรียมีหน่วยงานคือ Victoria curriculum and assessment authority (VCAA) ก่อนหน้านั้น แต่ละรัฐของ ออสเตรเลียมีอิสระในการจัดการศึกษาของ ตัวเอง ขาดหน่วยงานกลางที่จะพิจารณา ภาพรวมของการพัฒนาพลเมือง จนกระทั่ง ปี ค.ศ.2008 จึงมีการก่อตัง้ ACARA เพือ่ ให้ เกิดเอกภาพ และเป็นการยกระดับมาตรฐาน การจัดการศึกษาของประเทศ เนื่องจาก ประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย มีกลุ่มชาติพันธุ์ จ�ำนวนมาก บางรัฐอยู่ในชนบทที่ห่างไกล และสังคมที่มีความแตกต่างกัน อย่างไร ก็ ต ามในแต่ ล ะรั ฐ ก็ ส ามารถปรั บ กรอบ หลักสูตรระดับชาติให้เหมาะสมกับสภาพ บริบทของแต่ละรัฐได้เอง รายละเอียดเป็นดังนี้
ACARA มีภารกิจหลัก คือ พัฒนาการเรียนรู้ ของเด็กและเยาวชน ด้วยการพัฒนาหลักสูตร การด�ำเนินการจากหลักสูตรสู่สถานศึกษา ซึง่ มีการประเมินและรายงานผลทีน่ า่ เชือ่ ถือได้ หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบหลักของ ACARA 1 ดูแลเรือ่ งหลักสูตรและการเรียนการสอน ตัง้ แต่ละดับชัน้ อนุบาลถึงระดับชัน้ มัธยมศึกษา ตอนปลายของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่ รับผิดชอบ 2 ประเมินผลระดับชาติทสี่ อดคล้องกับ หลักสูตรระดับชาติ เพือ่ การพัฒนาความ ก้าวหน้าของนักเรียน 3 รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินผล และรายงานผลการประเมิน 4 วิจยั และรายงานผลการวิจยั เกีย่ วกับ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนและรายงานผลการ ทดสอบระดับชาติ 23
ACARA มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบการพัฒนาหลักสูตร ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งด�ำเนินการ ตามกรอบแนวทาง 2 ฉบับ คือ The 2008 Melbourne Declaration on Educational Goals for Young Australians เป็นเอกสารที่ให้ความเห็นชอบโดยรัฐมนตรี ว่ากระทรวงศึกษาธิการ ซึง่ ให้เป็นความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะสนับสนุนส่งเสริมเยาวชนชาวออสเตรเลีย ให้เป็นผู้เรียนที่ประสบความส�ำเร็จ (Successful learner) เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจ และสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ และมีความรับผิดชอบ (Active and informed citizen) The Shape of Australian Curriculum เอกสารฉบับร่างฉบับแรกที่จัดท�ำขึ้นในปี 2009 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ฉบับปรับปรุงได้จัดการ เรือ่ งแนวทางการน�ำหลักสูตรไปสูก่ ารปฏิบตั ิ และบริบทต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ต่อมาปลายปี 2012 คณะกรรมการของ ACARA ได้พจิ ารณาเอกสารฉบับร่าง ฉบับที่ 4 และมี ก ารประชุ ม ประจ� ำ ปี เ พื่ อ พิ จ ารณา ภาพรวมทั้งหมดของเอกสารร่างหลักสูตร ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวได้แนวทางการ พัฒนาจากเอกสาร 2 ฉบับคือ เอกสารว่า ด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และการ ออกแบบหลักสูตร 24
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการด�ำเนินการ เป็นวงจร (Curriculum cycle) กล่าวคือ ในภาพรวม แต่ละสาขาวิชาจะมีระยะเวลา ในการพัฒนาประมาณ 8 ปี โดยมีจุดเริ่มต้น ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ ความจ�ำเป็น ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลักสูตรเป็นพลวัต ทั้งนี้ ในแต่ละวงจร แบ่งการท�ำงานออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะก�ำหนดกรอบแนวคิด (Shaping phase) เป็นการก�ำหนดแนวทางกว้างๆ ของหลักสูตรตัง้ แต่ระดับพืน้ ฐานจนถึงปีที่ 12 รวมทั้ ง กรอบรายวิ ช าที่ จ ะอยู ่ ใ นหลั ก สู ต ร ซึง่ เป็นเอกสารทีพ่ ฒ ั นาโดยผูเ้ ชีย่ วชาญ มีการ ก�ำหนดทิศทาง โครงสร้างของกลุม่ การเรียนรู้ ต่าง ๆ ซึ่งในขั้นนี้เอกสารชื่อ Curriculum Design Paper ท�ำหน้าที่เป็นกรอบแนวทาง ให้แก่คณะผูเ้ ขียนหลักสูตร รวมทัง้ ให้รายการ อ้างอิงส�ำหรับการตัดสินคุณภาพหลักสูตร ฉบับสมบูรณ์ ในระยะนี้มีการรับค�ำปรึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนที่ เรียกว่า Public consultation จากผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ
และครูผู้สอนได้เตรียมการการใช้หลักสูตร ในระยะนีม้ หี น่วยงานทีร่ บั ผิดชอบทัง้ ระดับรัฐ เขตปกครอง และหน่วยงานด้านหลักสูตร เข้ามาร่วมสนับสนุนการท�ำงาน ระยะการติดตามและประเมินผล (Moni toring and evaluation) เป็นกระบวนการ ที่มีการติดตามและทบทวนการใช้หลักสูตร โดยทั้ง ACARA และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน ระดับต่าง ๆ ด�ำเนินการเพื่อรวบรวมข้อมูล ©ThaiCivicEducation
ระยะการเขียน (Writing phase) ด�ำเนินการ โดยประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (advisory panels) และคณะพัฒนาหลักสูตร มีการ เขียนรายละเอียดเนื้อหาและมาตรฐานผล สัมฤทธิ์ ซึ่งคณะผู้เขียนจะใช้กรอบเอกสาร การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Design Paper) และค�ำแนะน�ำจากคณะกรรมการ ของ ACARA นอกจากนี้คณะผู้เขียนต้องมี การพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบด้วย ได้แก่ หลักสูตรระดับชาติและนานาชาติงานวิจัย เชิงประเมินต่าง ๆ และสื่อประกอบการใช้ หลักสูตรต่าง ๆ ในระยะนี้มีการรับฟังความ คิดเห็นจากสาธารณชน และมีการปรับตาม ข้อมูลที่ได้รับมา ระยะการน�ำไปใช้ (Implementation) หลั ก สู ต รมี ก ารส่ ง ให้ แ ก่ ส ถานศึ ก ษาและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรในแต่ละระยะ เน้นการ มีส่วนร่วมจากกลุ่มบุคคลจ�ำนวนมาก ได้แก่ ในระยะพัฒนาเอกสารกรอบแนวคิด มีคน ร่วมแสดงความคิดคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณภาพผูเ้ รียนของเยาวชนออสเตรเลีย งาน วิจัยส�ำคัญ ทักษะการเรียนรู้ที่ส�ำคัญใน ศตวรรษที่ 21 และผลการศึกษาเกี่ยวกับ หลักสูตรทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ กว่า 7,339 คน ในช่วงการเขียนเอกสาร หลักสูตรฉบับร่างใช้เวลา 18 เดือน และใช้ เวลาอีก 10 สัปดาห์ เพือ่ เปิดรับฟังความคิดเห็น มีคนร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 12,301 คน ทั้งในนามบุคคลและในนามขององค์กรต่างๆ ผลการประเมินน�ำไปสู่การปรับเอกสารให้มี ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อันแสดงถึงความ พยายามในการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้ มั่ น ใจได้ ว ่ า จะได้ ห ลั ก สู ต รที่ มี คุ ณ ภาพ สามารถพั ฒ นาเยาวชนไปสู ่ เ ป้ า หมายที่ ต้องการได้จริง 25
หลักสูตรระดับชาติของออสเตรเลียน�ำเสนอกรอบแนวคิดเป็นภาพใหญ่ (Big picture) แบบภาพ 3 มิติ ประกอบด้วย 1 วิชาต่าง ๆ 8 วิชา ประกอบด้วยวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปะ ภาษา สุขศึกษาและพลศึกษา และเทคโนโลยี 2 สมรรถนะหลัก 7 เรื่อง คือ การรู้หนังสือ การคิดค�ำนวณ ทักษะการใช้ เทคโนโลยี การคิดวิจารณญาณและสร้างสรรค์ สมรรถนะส่วนบุคลและสังคม ความ เข้าใจระหว่างวัฒนธรรม ความเข้าใจด้านจริยธรรม 3 เนือ้ หา หลักการ และแนวคิดทีส่ อดแทรกในหลักสูตร 3 เรือ่ งคือ (1) ประวัติ และวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินและหมู่เกาะ (2) การเชื่อมโยงระหว่างออสเตรเลีย และเอเชีย และ (3) การพัฒนาที่ยั่งยืน
ภาพที่ 1 กรอบหลักสูตรระดับชาติของประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย ที่มา: http://www.acara.edu.au
ระดับรัฐวิกทอเรีย หน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรและประเมินผล การศึกษาของรัฐ คือ Victoria curriculum and assessment authority (VCAA) เป็นหน่วยงานอิสระ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการของรัฐวิกทอเรีย โดยดูแลโรงเรียน ทั้งของรัฐและเอกชน มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพสูง ประเมินและ รายงานผลทีส่ ามารถพัฒนาผูเ้ รียนให้เป็นบุคคลทีเ่ รียนรูต้ ลอดชีวติ งานของหน่วยงานนี้ มีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หลักสูตรในด้านต่างๆ ได้แก่ 26
1 กรอบการพัฒนาการเรียนรู้ระดับการศึกษาปฐมวัย Victorian Early Learning and Development Framework (VEDF) 2 มาตรฐานหลักสูตรของออสเตรเลียและวิกทอเรีย (Australian Curriculum /Victorian Essential Learning Standards : AUsVELS) 3 โปรแกรมการประเมินระดับชาติในด้านการรู้หนังสือและการคิดค�ำนวณ (National Assessment Program – Literacy and Numeracy (NAPLAN) นอกจากนี้ยังมีระบบการให้วุฒิบัตรรับรองทางการศึกษา และการมอบรางวัล ต่างๆ ซึ่งเป็นการท�ำงานอย่างเป็นระบบคล้าย ACARA แต่มีการปรับการท�ำงาน เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของ มลรัฐ โดยยังคงก�ำหนดกรอบวิชาส�ำหรับการเรียนรู้ 8 เรือ่ ง คือ ศิลปะ ภาษาอังกฤษ สุขศึกษาและพลศึกษา มนุษยศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ อื่นๆ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง (Civic and Citizenship) อยู่ในวิชามนุษยศาสตร์ (The Humanities) นอกจากนี้หลักสูตรยัง ก�ำหนดสมรรถนะที่น�ำไปสู่การบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนในทุกวิชาอีก 4 เรื่อง คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ คุณธรรมจริยธรรม ความเข้าใจ ระหว่างวัฒนธรรม และเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสังคม ดังภาพ
ภาพที่ 2 กรอบหลักสูตรของรัฐวิกทอเรีย ประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย ที่มา: http://victoriancurriculum.vcaa.vic.edu.au
27
©ThaiCivicEducation
จุดเน้นส�ำคัญของหลักสูตรของมลรัฐวิกทอเรีย มี 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก หลักสูตร ก� ำ หนดให้ เ ป็ น หลั ก สู ต รอิ ง สมรรถนะ (Competency-based curriculum) ที่ ช่วยให้การจัดการเรียนรู้และการประเมิน ไม่ ติ ด ยึ ด ที่ เ นื้ อ หาสาระจนมากเกิ น ไป ประการที่สองคือ การออกแบบให้เป็นช่วง ชัน้ ปี ช่วงละ 2 ปี ซึง่ เอือ้ ต่อการจัดการศึกษา แบบคละชั้น เราจะพบว่าในโรงเรียนใน มลรัฐนี้ ส่วนหนึง่ จัดให้นกั เรียนได้เรียนร่วมกัน หลายชั้นปี ซึ่งเอื้อให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน การอยูร่ ว่ มกันกับคนทีต่ า่ งวัยและการเรียนรู้ ที่แตกต่างกัน หลักสูตรของรัฐวิกทอเรียก�ำหนดให้เรียนเรือ่ ง ความเป็นพลเมือง (Civic and Citizenship) ในวิชามนุษยศาสตร์ (The Humanities) ประกอบด้วย 3 สาระ (Strands) คือ รัฐบาล และประชาธิปไตย (Government and Democracy) กฎหมายกับพลเมือง (Law 28
and Citizen) และพลเมือง ความหลากหลาย และอัตลักษณ์ (Citizen, Diversity and Identity) ในเว็บไซต์ของหลักสูตรการศึกษา ของรัฐวิกทอเรีย (http://victoriancurri culum.vcaa.vic.edu.au) น�ำเสนอแนวคิด ส�ำคัญ และค�ำอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ สามารถเลื อ กใช้ ข ้ อ มู ล จากหลั ก สู ต รได้ หลากหลายรูปแบบ ทั้งเป็นรายชั้นปีหรือดู เป็นภาพตลอดแนวในแต่ละเรื่อง แม้ว่าในหลักสูตรการศึกษาของออสเตรเลีย ก�ำหนดเรื่องความเป็นพลเมือง ไว้ในวิชาว่า ด้วยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แต่เรา ก็จะพบว่าการขับเคลื่อนงานด้านนี้กลับเป็น ภารกิจของบุคลากรทุกฝ่ายทีเ่ ข้ามามีสว่ นร่วม ในการพัฒนา ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าคิดและ ตั้ ง ค� ำ ถามต่ อ การท� ำ งานด้ า นการพั ฒ นา ความเป็นพลเมืองของไทยต่อไป
บทเรียนและความท้าทายการพัฒนา หลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของไทย เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาหลั ก สู ต รและท่ า ที ต ่ อ การพัฒนาความเป็นพลเมืองไทย ดังนี้
©ThaiCivicEducation
จากประสบการณ์เมื่อปี 2556 กลุ่ม Thai Civic Education ได้พัฒนากรอบแนวคิด หลักสูตรการศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของไทย โดยเชิญ Prof. Dr.Murray Print จาก Centre for Research and teaching in civic ผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านการจัดท�ำหลักสูตรการศึกษาเพื่อความ เป็นพลเมือง แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ เครือรัฐ ออสเตรเลีย มาเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งจาก ประสบการณ์ท่ีได้ไปเรียนรู้การด�ำเนินการ ด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิ ป ไตยทั้ ง ที่ ซิ ด นี ย ์ แ ละ เมลเบิรน์ น�ำมาสู่ “การมองเขาย้อนมองเรา” จากครั้งนั้น มีข้อสังเกตเรื่องความเข้าใจ
ประการแรก ค�ำว่า “การศึกษา” คนส่วนมาก มั ก นึ ก ถึ ง ภาพของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร โรงเรียน คุณครู อาจารย์ นักเรียน ห้องเรียน ต�ำราเรียน ซึ่งเป็นความเข้าใจแนวแคบอยู่ มีแนวคิดเรือ่ งปวงชนเพือ่ การศึกษา (All for education) กล่าวคือ ทุกส่วนของสังคม ต้องตระหนักว่าการให้การศึกษาเป็นหน้าที่ ของทุกคน การเป็นแบบอย่าง และกระบวนการ หล่อหลอมของคนในสังคมก็เป็นเรื่องส�ำคัญ แต่ผู้ใหญ่กลับท�ำสิ่งที่ตรงกันข้ามให้เด็กเห็น ก็ย่อมเป็นแนวทางการพัฒนาเด็กไม่ถูกต้อง พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องตระหนักว่าการมอบ หมายงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้บุตรหลานท�ำ ก็เป็นการบ่มเพาะหน่ออ่อนของความรับ ผิดชอบมาจากทีบ่ า้ น สภาพแวดล้อมในสังคม นอกรั้วบ้าน นอกรั้วโรงเรียน ก็ต้องจัดให้ เอื้อต่อการส่งเสริมคุณลักษณะที่อยากจะ เห็นนั้นด้วย ดังนั้นหลักสูตรจึงไม่เป็นแต่ เพียงหลักสูตรส�ำหรับใช้จดั การเรียนการสอน ในโรงเรียนเท่านั้น แต่ควรเป็นหลักสูตร ส�ำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาคนของ สังคมด้วย ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรจึง ต้องการมีส่วนร่วมกับคนทุกภาคส่วนเข้ามา ร่วมกันวาดภาพพลเมืองและสังคมทีต่ อ้ งการ ร่วมกัน 29
ประการที่สอง ความหมายของ “พลเมือง” ก็มักนึกถึงการเป็นคนดี เคารพเชื่อฟัง เคารพกฎกติกา ว่านอนสอนง่าย เป็นแนวคิด การพัฒนา “คนดี” มีลักษณะเป็นการให้ การศึกษาทีเ่ น้นหนักไปด้านคุณธรรมจริยธรรม (Moral education) หรือการศึกษาเพื่อ พัฒนาคุณลักษณะ (Character education) ซึ่ งยังไม่เ พี ย งพอส� ำ หรั บ การเป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพได้ หากต้องขยายการพัฒนา คุ ณ ลั ก ษณะให้ ค รอบคลุ ม ไปสู ่ ค วามเป็ น พลเมืองด้วย มิติส�ำคัญมากของการศึกษา วิชาหน้าพลเมืองจึงต้องมีความรูค้ วามเข้าใจ เชิงการเมือง (Political literacy) ประกอบ อยู่ด้วย ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง การมีส่วนร่วมทางการเมืองใน ระดับต่างๆ แนวคิดเหล่านี้เป็นเรื่องของ นักพัฒนาหลักสูตรที่ต้องศึกษาและหาแก่น ความรู้ (Essential Element) มาใช้ในการ พัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนา ความเป็นพลเมือง คนมักนึกเป็นเพียงมิตขิ อง การพัฒนาปัจเจกบุคคล เป็นคนดีมีคุณภาพ เพราะเชือ่ ว่าหลายๆ คน รวมกันเข้าภาพรวม ก็จะดีไปเอง แต่การพัฒนาทีม่ งุ่ เน้นการพัฒนา 30
แนวนี้ ย่อมไร้พลังไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างที่เกิดความยั่งยืนได้ การให้ การศึกษาต้องค�ำนึงถึงใน 2 ระดับ คือ (1) ระดับที่เป็นสมาชิกของรัฐและชุมชน มีสิทธิ และความรับผิดชอบตามก�ำหนดในกฎหมาย เช่น การเคารพกฎหมาย การออกเสียง เลือกตั้ง การช�ำระภาษี และการเป็นทหาร และ (2) ระดับทีม่ สี ว่ นร่วมในกิจการสาธารณะ (Public life) ทีต่ อ้ งการให้สว่ นรวมดีขนึ้ มีการ แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์อย่าง สร้างสรรค์ มีสว่ นร่วมเชิงการเมือง การวิพากษ์ วิจารณ์ การรวมกลุม่ เพือ่ ท�ำงานเชิงการเมือง หรือกิจการสาธารณะการก�ำหนดนโยบาย หรือกฎหมาย การเคลื่อนไหวทางการเมือง การยืนหยัดทางการเมืองในประเด็นต่างๆ หรื อ การแสดงพลั ง ในการผลั ก ดั น ทิ ศ ทาง การเมือง พลเมืองตามความหมายใหม่จงึ เป็น พลเมืองที่มีส่วนเป็นผู้กระท�ำอย่างแข็งขัน (Active citizen) เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบ และเป็นผู้น�ำการเปลี่ยน แปลงในทุกระดับ โดยไม่ปล่อยให้กิจการ สาธารณะเป็นเพียงเรื่องของนักการเมือง หรือรัฐบาล เท่านั้น
©ThaiCivicEducation
©ThaiCivicEducation
ประการที่สาม แนวทางการจัดการศึกษา ในสถานศึกษา การสอนให้รู้และจดจ�ำข้อมูล จากเนื้อหาในหนังสือเรียนเท่านั้น ก็ย่อมไม่ เพียงพอส�ำหรับความเป็นพลเมือง ยิ่งเรามี ความคาดหวั ง กั บ พลเมื อ งรุ ่ น ใหม่ ใ ห้ มี คุณลักษณะที่ต่างไปจากเดิม ย่อมต้องมีวิธี การพัฒนาที่ต่างไปจากเดิม จ�ำเป็นต้องฝึก ให้นักเรียนได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองจาก สื่อต่างๆ วิพากษ์หรือแสดงความคิดเห็น ตั้งค�ำถามต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคม ถกเถียงหรืออภิปรายอย่างเป็นเหตุ เป็นผล ท�ำกิจกรรมเชิงการเมืองที่เหมาะสม กับช่วงวัย ได้แก่ การเป็นสมาชิกสภานักเรียน การร่วมท�ำกิจกรรมสหกรณ์ การรวมกลุ่ม ท�ำกิจกรรมชุมชุมหรือชมรม ซึ่งการสอน เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะ หรือการสอน ทักษะกระบวนการ ซึ่งมีวิธีการที่ต่างไปจาก การสอนเนือ้ หาสาระ และต้องใช้เวลายาวนาน และต่อเนื่อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ที่เป็นเรื่องสดใหม่ น่าเรียนรู้ ก็จะถูกน�ำมา เป็นประเด็นในการเรียนรู้มากขึ้น ทุกพื้นที่ ของโรงเรียนก็เป็นพื้นที่ส�ำหรับฝึกความเป็น พลเมืองให้แก่นกั เรียน ขยายไปสูบ่ า้ น ชุมชน และสังคม ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องของ การ
วางโครงสร้างของหลักสูตรว่าจะมีลำ� ดับขัน้ ตอน อย่างไรในแต่ละช่วงวัย ซึ่งเป็นกรอบที่น�ำ ไปสู่การออกแบบประสบการณ์และการจัด การเรียนรู้ จ�ำเป็นต้องออกแบบให้รอบด้าน ตามความเห็นของ David Kerr ได้อธิบาย การศึกษาส�ำหรับพลเมืองว่ามี 3 แบบ คือ การศึกษาเกีย่ วกับการเป็นพลเมือง (Education about Citizenship) เน้นการจัดการศึกษา ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ เกี่ยวกับสาระประวัติศาสตร์ โครงสร้างและ กระบวนการท�ำงานของรัฐ และระบบการ ปกครอง การศึกษาผ่านการเป็นพลเมือง (Education through Citizenship) เน้นการ ให้ นั ก เรี ย นได้ เ รี ย นผ่ า นการลงมื อ ปฏิ บั ติ โดยมีประสบการณ์มีส่วนร่วมทั้งในระดับ โรงเรียน ชุมชน โดยมีการกระตุ้นให้มีการ เรี ย นรู ้ อ ย่ า งเพี ย งพอกั บ การท� ำ งานให้ มี คุณภาพ และการศึกษาส�ำหรับความเป็น พลเมือง (Education for Citizenship) เน้นการให้เครือ่ งมือใน การเรียนรู้ ให้ผเู้ รียน มีสว่ นร่วมทัง้ ในบทบาทและความรับผิดชอบ ในการเป็นผูใ้ หญ่ทมี่ คี ณ ุ ภาพ เหมือนเป้าหมาย ที่ต้องไปให้ถึง 31
เพราะหลักสูตรคือ “แม่บท” ของการจัดการศึกษาในการพัฒนาพลเมือง ในฐานะที่ การศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาหลักในการพัฒนาคุณภาพพลเมืองของประเทศ จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษามากขึ้น ร่วมกันก�ำหนดภาพพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบ ไทยให้มีความชัดเจน ปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาในวิชาหน้าที่พลเมือง ให้เจือไป ด้วยแนวคิดของ “การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยให้ มากยิ่งขึ้น กระตุ้น ส่งเสริมให้โรงเรียนรู้สึกว่าตนเองมีพลังและอิสรภาพที่จะจัดการ ศึกษาเพื่อเตรียมพลเมืองได้ การทะลายพรมแดนความรู้จากเพียงในเอกสารต�ำราไปสู่ การเรียนรูจ้ ากเหตุการณ์ปจั จุบนั และโลกกว้าง กระบวนการเหล่านีใ้ นการพัฒนาหลักสูตร และการน�ำหลักสูตรไปใช้กต็ อ้ งใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยในการเข้ามามีสว่ นร่วม จากทุกภาคส่วนในสังคม ให้ถกเถียง อภิปราย และร่วมกันแสวงหาแนวทางในการพัฒนา พลเมืองร่วมกัน
รายการอ้างอิง เลขาธิการสภาการศึกษา, ส�ำนักงาน. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น พลเมือง พ.ศ. 2553-2561. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด วี.ที.ซี. คอมมูนิเคชั่น. ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (9 พฤศจิกายน 2553). พลเมืองและความเป็นพลเมือง กับมุมมองที่แตกต่าง ระหว่างเสรีนิยมและชุมชนนิยม. ท่าพระจันทร์สหวิทยาการปริทัศน์. สืบค้นได้ที่ http://www.kpi.ac.th/kpith/pdf David Kerr. (1999). Citizenship Education in the Curriculum: An International Review. The School Field: National Foundation for Educational Research. Plate, K.C. (2010). Civic Education: Methodology guidelines for school teachers. Virgam Worldpress: Democracy starts with you. Westheimer, J. and Kahne, J. (2004). Educating the “Good” Citizen: Political Choice and Pedagogical Goals. The American Political Science Association : Political Science and Politics 32
©ThaiCivicEducation
แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทีส่ ง่ เสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมือง ที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมทางสังคม: บทเรียนจากประเทศออสเตรเลีย ชัยรัตน์ โตศิลา
อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
33
บทนำ� เจตจ�ำนงแห่งเสรีภาพเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาส�ำหรับปัจเจกบุคคลทั้งหลายในการใช้ชีวิตของ พวกเขา และคงปฏิเสธไม่ได้วา่ เสรีภาพนีเ้ องเป็นช่องทางทีจ่ ะช่วยให้บคุ คลสามารถสร้างสรรค์ สิ่งดีงามทั้งหลายเพื่อเหนี่ยวน�ำตนเอง สังคม และประเทศชาติให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น กว่าที่ควรจะเป็น ภาพของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยย่อมให้ค�ำตอบได้ดีแก่ บุคคลผู้แสวงหาเสรีภาพอันชอบธรรมนั้น หากแต่จะมีช่องทางใดที่จะสามารถช่วยเติมเต็ม ความปรารถนาอันล�้ำลึกของปัจเจกบุคคลในเรื่องนี้ได้นอกจากการให้การศึกษาแก่บุคคล เพื่อให้เขาเกิดความตระหนักรู้ถึงสิทธิ และความชอบธรรมที่เขาเหล่านั้นจะสามารถเข้าถึงได้ และสัมผัสถึงพลานุภาพแห่งเสรีภาพอย่างเสมอภาคที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันนั้น สามารถด�ำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีดุลยภาพ ท่ามกลางสังคมไทยทีเ่ ต็มไปด้วยปัญหาอาชญากรรม การล่วงละเมิดในมิตติ า่ งๆ การคอรัปชัน่ และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน สะท้อนถึงประสิทธิภาพการท�ำงานของกลไกใน แต่ละสถาบันทางสังคมทีไ่ ม่สามารถไปถึงเป้าประสงค์แห่งแนวคิดทีส่ งั คมร่วมกันสร้างขึน้ มาได้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่สถาบันต่าง ๆ ทางสังคมควรจะประสานสัมพันธ์และขับเคลื่อน ให้บคุ คลได้รบั การเติมเต็มตามเป้าหมายแห่งการมีชวี ติ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ แต่เมือ่ ไม่สามารถจะไปถึง จุดมุง่ หมายดังกล่าวได้เราควรจะท้อใจ หยุดเดิน แล้วน�ำตัวเองไปสูก่ ารวิพากษ์ ตัดสิน กล่าวโทษ สถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่เป็นไปอย่างที่มันควรจะเป็นเพียงอย่างเดียวหรือไม่ อันที่จริง การท�ำ เช่นนั้นก็ย่อมสามารถจะท�ำได้ หากแต่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นย่อมน้อยกว่าการลุกขึ้นมา ขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ตามที่เราจะสามารถท�ำได้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับจุลภาคโดย เริ่มต้นจากตัวเราแล้วขยายไปสู่ในระดับที่ใหญ่ขึ้นต่อไป ค�ำถามคือ พลเมืองแบบใดที่มีความ จ�ำเป็นต่อการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาความ อยุติธรรมหลากรูปหลายชนิดตามที่กล่าวมาข้างต้น
34
การออกแบบการจัดการเรียนรู้: คำ�ตอบของการพัฒนาพลเมือง
©ThaiCivicEducation
โจทย์ที่ท้าทายส�ำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาโดยเฉพาะครูผซู้ งึ่ มีผลกระทบ อย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่ถูกเรียกว่า นักเรียน คือ การจัดการจัดเรียนรู้แบบใดที่จะช่วย ส่งเสริมให้นกั เรียนเกิดคุณลักษณะของความ เป็นพลเมืองตามที่สังคมต้องการได้ โจทย์นี้ ก็จะโยงไปสูค่ ำ� ถามในช่วงท้ายของบทน�ำทีว่ า่ “พลเมื อ งแบบใดที่ มี ค วามจ� ำ เป็ น ต่ อ การ พัฒนาและส่งเสริมความเป็นธรรมให้เกิดขึน้ ในสังคมได้”
ข้อพิจารณาที่ส�ำคัญในที่นี้ มาจากข้อเสนอ ของ Westheimer and Kahne (2004, pp. 239-245) นักวิชาการศึกษาทางด้านการ ศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง ซึ่งได้จัด ประเภทของพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยไว้ ทั้งสิ้น 3 แบบ ได้แก่ 1) พลเมืองที่มีความ รับผิดชอบ (Personally Responsible Citizen) 2) พลเมืองที่มีส่วนร่วม (Partici patory Citizen) 3) พลเมืองที่มุ่งเน้นความ เป็นธรรมในสังคม (Justice-Oriented Citizen) พลเมืองทัง้ 3 แบบนีม้ คี วามส�ำคัญ ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ทว่า พลเมืองทีม่ งุ่ เน้นความเป็นธรรมในสังคมนัน้ มีคณ ุ ลักษณะพิเศษทีจ่ ะน�ำการเปลีย่ นแปลง มาสู่สังคมในเชิงมหภาคได้มากกว่าพลเมือง ระดับอื่นๆ เนื่องจากพลเมืองที่มุ่งเน้นความ เป็นธรรมในสังคมจะเป็นพลเมืองทีม่ แี นวคิด ในการแก้ ป ั ญ หาและพั ฒ นาสั ง คมเพื่ อ เปลี่ยนแปลงเชิงระบบหรือโครงสร้างที่เป็น อยูข่ องสังคมเพือ่ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อ กลุม่ คนในทุกระดับ พลเมืองกลุม่ นีจ้ ะมุง่ เน้น ไปที่การคิดเชิงวิพากษ์ต่อโครงสร้างสังคม นโยบายและเศรษฐกิ จ โดยพิ จ ารณา ปรากฏการณ์ในเชิงลึก มีการสืบสอบ วิเคราะห์ ติดตามความเคลื่อนไหวทางสังคมและผล กระทบเชิงระบบทีเ่ กิดขึน้ ตลอดจนน�ำเสนอ ประเด็นที่ไม่เป็นธรรมต่อสังคม 35
©ThaiCivicEducation
การจะท�ำให้นักเรียนมีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมใน สังคมได้นั้น กระบวนวิธีในการออกแบบการจัดการเรียนรู้จึงมีความจ�ำเป็นอย่าง ยิ่งยวดที่ครูควรจะให้ความส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน เพราะการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนวิธีในการสร้างสรรค์แนวทางใน การจัดประสบการณ์เพือ่ พัฒนากระบวนการเรียนรูใ้ ห้เกิดขึน้ กับนักเรียนอย่างเป็นระบบ การด�ำเนินการดังกล่าวเป็นงานที่ต้องใช้ความทุ่มเทแรงกายและแรงใจ เนื่องจาก การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นเบื้องหลังของความล้มเหลวหรือความส�ำเร็จใน การจัดการเรียนรู้ทั้งปวง หากจะเปรียบคุณลักษณะของความเป็นเมืองที่เกิดขึ้นกับ นักเรียนเป็นอาหารเลิศรสที่พ่อครัวได้รังสรรค์ขึ้นมา ก็สามารถเปรียบการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ได้กับการวิเคราะห์ผู้บริโภคและเตรียมวัตถุดิบที่มีคุณภาพให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้การที่ครูจะจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ ความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมได้นั้นยิ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนวิธีของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ คุณลักษณะของความเป็น พลเมืองดังกล่าวไม่ได้จ�ำกัดบทบาทอยู่ที่ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น หากแต่เป็น คุณลักษณะที่ครูทุกกลุ่มสาระวิชาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ (Barton & Levstik, 2015, p. 39)
36
กระบวนวิธีในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความยุติธรรมในสังคม ภาพความส�ำเร็จในการพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความ เป็นธรรมในสังคมจากทีโ่ รงเรียนประถมศึกษาวูรานนา (Wooranna Park Primary School) โรงเรียนมัธยมด้านวิทยาศาสตร์จอห์น โมนาช (John Monash Science School) ประเทศ ออสเตรเลีย และการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย โมนาช (Monash Universtiy) เป็นบทเรียนเชิงรูปธรรมที่ได้รับจากการศึกษาดูงานใน โครงการ Learning about Civic & Citizenship Education in Australian Schools and University Programme โดยความร่วมมือระหว่างกลุ่ม Thai Civic Education มูลนิธิ Friedrich Ebert Stiftung และมหาวิทยาลัยโมนาช ยิ่งตอกย�้ำให้เห็นถึงการให้ ความส�ำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมือง ข้างต้น กระบวนวิธีในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ ความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคมควรด�ำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1 การวิเคราะห์ผเู้ รียน ปรากฏการณ์ทางสังคมทีส่ มั พันธ์กบั นักเรียนเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญทีค่ รูควรน�ำมาพิจารณาใน การออกแบบการเรียนการสอน ครูตอ้ งสังเกตสภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม เพราะปัญหาโดยส่วนใหญ่ ล้วนแต่มคี วามเกีย่ วข้องกับความเป็นพลเมืองในวิถปี ระชาธิปไตยแทบทัง้ สิน้ การคัดเลือกปัญหาที่ เร่งด่วนมาบูรณาการกับเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนในวิชาทีต่ นรับผิดชอบจึงมีความจ�ำเป็น ที่จะส่งให้การเรียนการสอนมีความหมายมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียน ประถมศึกษาวูรานนา (Wooranna Park Primary School) ประเทศออสเตรเลีย ทีม่ กี ารน�ำประเด็น ส�ำคัญเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคนในประเทศต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศ ออสเตรเลียเป็นหัวข้อส�ำคัญในการจัดการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง กับวิชาสังคมศึกษา และโรงเรียนมัธยมด้านวิทยาศาสตร์จอห์น โมนาช (John Monash Science School) ที่จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาก็ได้มีการน�ำประเด็นเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน อย่างยั่งยืนมาเป็นประเด็นที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในวิชาต่างๆ
37
2 การวิเคราะห์เนือ้ หา การวิเคราะห์เนื้อหาจัดเป็นขั้นตอนส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมให้แก่ผู้เรียน หลักการส�ำคัญของการ ด�ำเนินการในส่วนนี้คือการที่ผู้สอนควรตั้งค�ำถามแก่ตนเองก่อนว่า “นักเรียนจะได้รับอะไรจาก การเรียนเนื้อหานี้” “เนื้อหานี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ อย่างไรบ้าง” และ “เนื้อหานี้จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้น ความเป็นธรรมในสังคมได้อย่างไรบ้าง” เป็นต้น เพราะโดยส่วนใหญ่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ มักจะค�ำนึงถึงเฉพาะในส่วนของเนื้อหาที่เป็นเชิงพุทธิปัญญา (Cognitive Domain) เป็นหลัก ทว่ามักจะขาดการคิดต่อยอดการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหากับการน�ำไปใช้จริงในชีวิตประจ�ำวันและ การบูรณาการเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน
3 ก�ำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาความเป็นพลเมืองทีม่ งุ่ เน้นความเป็นธรรมใน สังคม เป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ณ ทีน่ ที้ นี่ อกเหนือจากมาตรฐาน ตัวชีว้ ดั และจุดประสงค์ เฉพาะตามธรรมชาติของแต่ละวิชาแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่ครูทุกคนซึ่งมีภารกิจในการพัฒนานักเรียน ให้เกิดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมควรด�ำเนินการคือ การเชื่อมโยง คุณลักษณะที่บ่งชี้ถึงการที่นักเรียนจะเกิดความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมให้ประสาน เป็นเนื้อเดียวกันกับจุดประสงค์การเรียนรู้ของการสอนในเนื้อหาที่ตนรับผิดชอบร่วมด้วย ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดก็ตามย่อมสามารถน�ำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากครูสอนพละศึกษาในเนื้อหากีฬาวอลเลย์บอล ครูก็สามารถวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเชื่อมโยง จุดประสงค์การเรียนรูใ้ ห้มคี วามสัมพันธ์กบั คุณลักษณะของพลเมืองทีม่ งุ่ เน้นความเป็นธรรมในสังคม ได้ว่า “นักเรียนสามารถวิพากษ์ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลใน ระดับต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล” เป็นต้น ทั้งนี้หากไม่มีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อก�ำหนดจุดประสงค์ ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ต้องการให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปได้ยากที่คุณลักษณะ ดังกล่าวจะเกิดขึ้น
38
4 ก�ำหนดกลยุทธ์การออกแบบการจัดการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาความเป็นพลเมืองทีม่ งุ่ เน้นความ เป็นธรรมในสังคม การก�ำหนดกลยุทธ์การออกแบบการจัดการเรียนรู้จัดเป็นขั้นตอนส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ใน การออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพราะการที่นักเรียนจะบรรลุถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่ มุง่ เน้นความเป็นธรรมได้มากน้อยเพียงใดนัน้ ย่อมขึน้ อยูก่ บั การทีค่ รูนำ� รูปแบบ กระบวนการ วิธสี อน กิจกรรมและเทคนิคการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์พื้นฐานในการออกแบบการจัดการ เรียนรู้ กลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรม ควรมีลักษณะที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมต่อการรับรู้ปัญหาสังคมในระดับต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่ใช่เพียงแค่การทีค่ รูนำ� ข้อมูลมาให้นกั เรียนเท่านัน้ แต่นกั เรียนควรมีทกั ษะในการสืบสอบ เสาะค้น ตลอดจนการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ การคัดเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ตีความ การเรียบเรียง และการน�ำเสนอข้อมูล แนวทางการจัดการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาส สืบสอบและอภิปรายร่วมกันอย่างลุม่ ลึก โดยเฉพาะประเด็นทีล่ อ่ แหลมต่อความรูส้ กึ ของคนในชาติ หรือยังไม่ชัดเจนยิ่งจ�ำเป็นต้องมีการน�ำมาจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการอภิปรายและหาทางออก ร่วมกันในฐานะของพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ซึ่งควรมีความตระหนักถึงความจ�ำเป็นในการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มสังคมในระดับต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล อันจะน�ำไปสู่การอยู่ร่วมกัน อย่างสันติและมีดุลยภาพ (Westheimer, 2015, pp. 120-125) ดังเช่น การออกแบบจัดการ เรียนรู้ที่โรงเรียนประถมศึกษาวูรานนา ได้มีการน�ำกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็น ฐานมาเป็นกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความ เป็นธรรมในประเด็นเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานของชนชาติต่างๆ เข้ามาในออสเตรเลีย ซึ่งมีการฝึก ให้นกั เรียนได้มสี ว่ นร่วมในทุกๆ ขัน้ ตอนของกระบวนการเรียนรู้ ไม่วา่ จะเป็นการตัง้ ค�ำถามเกีย่ วกับ การด�ำรงอยู่ของผู้อพยพในออสเตรเลีย ใครบ้างที่ควรจะถูกเรียกว่าเป็นพลเมืองของออสเตรเลีย ที่แท้จริง จากนั้นให้นักเรียนได้มีโอกาสในการสืบสอบข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อน�ำข้อมูลมา อภิปรายร่วมกัน เพื่อหาทางออกจนน�ำไปสู่การอยู่กับคนกลุ่มต่าง ๆ ในออสเตรเลียที่มีความเป็น พหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติต่อไป
39
บทส่งท้าย การออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมใน สังคมเปรียบเสมือนสมอเรือที่คอยยึดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชาไม่ให้เป็นไป อย่างไร้ทิศทาง แต่เป็นการด�ำเนินการอย่างมีเป้าหมาย เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ของ นักเรียนเต็มไปด้วยความหมายต่อตัวเขามากที่สุด ในช่วงแรกของการน�ำไปปฏิบัติอาจจะดู ยากและน�ำความท้อใจมาสู่ครู อย่างไรเสีย ผู้เขียนเชื่อว่า ย่อมไม่เกินความอดทนและหัวใจ แห่งความปรารถนาดีที่อยากเห็นนักเรียนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตตนได้รับความส�ำเร็จและเป็น พลเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพทีไ่ ม่ได้มแี ค่ความรู้ หากแต่พลเมืองทีม่ จี ติ ส�ำนึกในการรับผิดชอบ มีสว่ นร่วม และมีความคิดที่จะเห็นสังคมเต็มไปด้วยความเสมอภาคซึ่งสัมพันธ์กับคุณลักษณะพลเมืองที่ มุ่งเน้นความเป็นธรรมซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในระดับโครงสร้างมากที่สุด
รายการอ้างอิง วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ส�ำนัก. (2557). พลังเยาวชน พลังพลเมือง: การจัดการศึกษาเพือ่ สร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การการเกษตรแห่งประเทศไทย. Barton, K and Levstik, L. (2015). “Why Don’t More History Teachers Engage Students in Interpretation?” in Walter C. Parker. (Editor). Social Studies Today: Research and Practice. New York: Routledge Taylor & Francis Group. Westheimer, J. and Kahne, J. (2004). “What Kind of Citizen? The Politics of Educating for Democracy”. American Educational Research. 41(2), pp. 237-269. Westheimer, J. (2015). “Should Social Studies Be Patriotic?” in Walter C. Parker. (Editor). Social Studies Today: Research and Practice. New York: Routledge Taylor & Francis Group. Keith, C and Linda, L. (2010). Why Don’t More History Teacher Engage Students in Interpretation. Social Studies Today Research and Practice. 22(2), pp. 35-42. 40
©ThaiCivicEducation
หน้าต่างของโอกาส กับการพัฒนา โรงเรียนสร้างพลเมืองประชาธิปไตย: บทสะท้อนประสบการณ์จากออสเตรเลีย เสถียร พันธ์งาม
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเมืองคง(คงคาวิทยา) อ�ำเภอราษีไศล เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
การได้ไปศึกษาดูงานในโครงการโรงเรียนประชาธิปไตยภายใต้การสนับสนุนจากส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช แอแบรท์ สหพันธรัฐเยอรมัน และมหาวิทยาลัยโมนาช มลรัฐวิคตอเรีย เครีอรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2559 เป็นหน้าต่างแห่งโอกาสที่เปิดไปสู่ ประสบการณ์ครั้งส�ำคัญของผมนับตั้งแต่เริ่มรับราชการครูมากว่า 35 ปี บทความนี้ ต้องการสะท้อนสิ่งที่ได้เห็นและเรียนรู้จากการก้าวพ้นพรมแดนของประเทศไทยไปสู่ สังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และปลูกฝังคุณลักษณะ ของพลเมืองประชาธิปไตยบนฐานความหลากหลายของสังคมออสเตรเลียเพือ่ จะได้นำ� มาพัฒนาโรงเรียนของไทยให้เป็นแหล่งสร้างพลเมืองประชาธิปไตยที่ทัดหน้าเทียมตา กับนานาประเทศได้บ้าง 41
ประชาธิปไตย กับเพื่อนร่วมทาง พืน้ ฐานของสังคมการเมืองไม่วา่ จะในระบอบ ใดก็ตาม เพื่อนสมาชิกร่วมอุดมการณ์ส�ำคัญ โดยเฉพาะในสั ง คมที่ ก� ำ ลั ง ต้ อ งการเพื่ อ น ร่วมทางเพื่อการสร้างสังคมการเมืองที่อยู่ใน ร่องรอยของประชาธิปไตยอย่างสังคมไทย นอกจากนี้ การปกครองแบบประชาธิปไตย ก็ยังต้องการเพื่อนร่วมทางจ�ำนวนมากพอที่ จะร่วมคิดร่วมสร้างสังคมการเมืองที่น่าอยู่ ร่วมกัน อย่างไรก็ดี การออกเดินทางครั้งนี้ ของกลุ่มพวกเราก็ไม่ได้มากไปกว่า 10 คน ด้วยเหตุผลทางงบประมาณและการบริหาร จัดการ แต่ถึงอย่างนั้น ก็เป็น 10 คนที่ไม่ได้ โดดเดี่ยวเพราะทุกคนต่างเป็นตัวแทนของ ทีมงานทีม่ พี นั ธะผูกพันทางใจกันว่าหลังจาก ที่พวกเรากลับมาจากดูงานแล้วจะร่วมกัน ลงมือท�ำให้โรงเรียนสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เติบโตขึ้น คณะของเราจึงประกอบไปด้วย อาจารย์ จ ากสถาบั น การศึ ก ษาชั้ น น� ำ ของ ประเทศไทย ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหิดล ศิลปากร ราชภัฏพิบลู สงคราม แห่งละ 1 คน ผู้แทนครูสายผู้สอนจากภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคละ 1 คน ผูป้ ระสาน งานกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) 1 คน และผู้ประสานงานของออสเตรเลีย 1 คน และผมซึ่งเป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ของประเทศไทยเพียงคนเดียวทีไ่ ด้รบั โอกาส ร่วมเดินทางไปกับคณะฯ 42
จากอีสานบ้านเฮา เข้าสู่เมืองประชาธิปไตย คงต้องกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ตลอดชีวติ การรับราชการในกระทรวงศึกษาธิการไทย ของผม 15 ปีแห่งการเป็นสายครูผู้สอน และอีก 20 ปีที่ท�ำงานในต�ำแหน่งผู้บริหาร สถานศึกษา ส�ำหรับคนทั่วไปในสังคมไทยที่ คุ้นชินกับวิถีวัฒนธรรมไทยที่มีฐานมาจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และโครงสร้าง สังคมแบบราชการนิยม ผมอาจดูเหมือน ยิ่งใหญ่ไม่น้อยในสายตาของคนทั่วไป โดย เฉพาะในภูมิภาคที่ผมเกิดและเติบโตมาเช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกสัน้ ๆ ว่า ภาคอีสานซึง่ มักถูกมองอย่างดูแคลนมาเสมอ ว่าเป็นดินแดนล้าหลัง ไม่พฒ ั นา ครัน้ เมือ่ จะลุก ขึน้ มาเรียกร้องอะไรก็ตามก็มกั จะถูกกล่าวหา ว่าเป็นพวกขบถบ้าง เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง เป็นลาวบ้าง เป็นอะไรก็ตามสารพัดแต่ไม่เคย มีใครบอกว่าพวกเราชาวอีสานก็มีความคิด และต้องการมีสทิ ธิมเี สียงและอยากมีสว่ นร่วม ทางการเมืองไม่น้อยไปกว่าคนภาคอื่นๆ
©ThaiCivicEducation
ส�ำหรับผมแล้ว การได้ไปศึกษาดูงานต่างบ้านต่างเมืองครั้งนี้ท�ำให้ผมรู้ว่า ที่ผ่านมาผม เหมือนกบทีอ่ ยูใ่ นกะลามาตลอด ไม่เคยได้มโี อกาสไปดูการจัดการศึกษาในประเทศทีน่ บั ว่า เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว จนกระทั่งได้ไปประจักษ์ด้วยตนเองว่า ในสังคมที่ เขาเป็นประชาธิปไตย คุณภาพชีวิตของประชากรเขาดีมาก บ้านเมืองเขาสงบปลอดภัย ระบบการศึกษาของเขาก็นา่ เอามาเป็นต้นแบบในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ�ำนวนทั้งสิ้น 10 คนประกอบด้วยอาจารย์จากสถาบัน การศึกษาชั้นน�ำของประเทศไทย ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหิดล ศิลปากร ราชภัฏ พิบูลสงคราม แห่งละ 1 คน ผู้แทนครูสายผู้สอนจากภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคละ 1 คน ผูป้ ระสานงานกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) 1 คน และผูป้ ระสานงานของออสเตรเลีย 1 คน ประสบการณ์ที่ได้ก้าวออกจากกะลาไปศึกษาดูงาน ในเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อ ความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่เมืองเมลเบิร์น มลรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลียใน ครั้งนี้ ท�ำให้โลกของผมกว้างขึ้นอย่างมหาศาล และไม่เพียงแค่ได้เรียนรู้การจัดการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวคือ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเท่านั้น ยังได้ เห็นบรรยากาศการเรียนรูข้ องพลเมืองออสเตรเลียและคนอืน่ ๆ ในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย
43
การศึกษาออสเตรเลีย กับการศึกษาไทย ส�ำหรับผมซึ่งตลอดชีวิตคลุกคลีกับระบบการศึกษาไทยมาตลอด สิ่งที่ได้เรียนรู้จากระบบ การศึกษาของออสเตรเลียท�ำให้ต้องหันมาเปรียบเทียบกับการศึกษาไทยที่ผมคุ้นเคย ซึ่งผม จะแบ่งเป็นประเด็น ดังนี้ เป้าหมายทางการศึกษาออสเตรเลีย ในภาพรวม พบว่าเป้าหมายทางการศึกษาของออสเตรเลีย มุง่ เน้นทีก่ ารสอนให้ผเู้ รียนมีความคิด ริเริม่ สร้างสรรค์ มีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ รูจ้ กั การตัง้ ค�ำถามต่อสิง่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซึ่งเห็นได้ชัดจากระบบการท�ำบัตรพิเศษส�ำหรับนักเรียน โรงเรียนประถม Wooranna ที่ไม่ต้องการอยู่ในห้องเรียนร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ อาจจะด้วยไม่ อยากเรียน ไม่อยากรู้ ไม่พร้อมจะเรียน ก็สามารถไปขอบัตรจากครูเพื่อไปค้นคว้าท�ำงานส่วนตัว หรืออ่านหนังสือในห้องสมุดได้ และคนที่ถือบัตรดังกล่าวก็ต้องซื่อตรงและรับผิดชอบต่อสิทธิที่ ตนเองได้รับมาพร้อมกับบัตรนั้น หากไม่ท�ำตามข้อตกลง ก็จะถูกเรียกบัตรคืน นี่เป็นวิธีการหนึ่งที่ ฝึกให้เด็กที่นี่เป็นพลเมืองที่รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นพลเมืองที่รู้หน้าที่ปฏิบัติตาม ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม นอกจากนี้ เป้าหมายของการศึกษาออสเตรเลียยังดูสอดคล้องกับ เป้าหมายของการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ที่จ�ำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะเห็นได้จากการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนของโรงเรียนมัธยมที่เน้นการใช้สื่อเทคโนโลยี สมัยใหม่ในการสื่อสาร ทั้งส่งการบ้าน รับการบ้าน รับข่าวสารและประกาศต่างๆ จากโรงเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากโรงเรียนมัธยมแห่งนี้เป็นโรงเรียนที่เน้นความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ผมสังเกตว่า แม้วา่ ทัง้ สองโรงเรียนทีไ่ ปดูจะใช้เทคโนโลยีทที่ นั สมัย ทัง้ โทรศัพท์ แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออื่นๆ รวมถึงที่โรงเรียนประถมซึ่งเด็กๆ มีความสามารถทาง การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก ถึงระดับที่ว่าเด็กๆ ประถม 2-3 สามารถผลิตหุ่นยนต์บังคับวิทยุได้ ก็ตาม แต่ในระหว่างการเรียนก็ไม่เห็นการใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านั้นเหมือนอย่างเช่นที่เด็กไทย ชอบแอบหยิบมาใช้ในระหว่างเรียน ที่น่าทึ่งคือ ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมด้วยกระบวนวิธีการแบบการวิจัย ที่สอนให้เด็กๆ รู้จักตั้งค�ำถามวิจัย และค้นหาค�ำตอบด้วยการอ้างอิงผลงานของนักวิทยาศาสตร์ ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับค�ำถามวิจัยนั้นๆ ทีเดียว ในโรงเรียนมัธยมนั้น ยิง่ ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า เหตุใดนักเรียนมัธยมของเขาจึงสามารถตัง้ ค�ำถามวิจยั และค้นคว้าหาค�ำตอบ ด้วยวิธีการวิจัยจนสามารถเขียนบทความวิชาการไปน�ำเสนอในการประชุมนานาชาติได้ 44
ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา สถานศึกษาในออสเตรเลีย มีความเป็นอิสระสูงมากในการบริหารจัดการ ผู้บริหารสามารถที่จะ ออกแบบ ก�ำหนดนโยบาย และบริหารจัดการได้ค่อนข้างอิสระ ผมคิดว่าพวกเขาไม่ต้องถูกเรียก ไปประชุมกับหน่วยงานต้นสังกัดบ่อยครั้งเหมือนบ้านเรา ท�ำให้การบริหารจัดการโรงเรียนเป็นได้ สะดวกและตอบสนองต่อผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามที่หลักสูตรแกนกลาง ระดับชาติ และระดับมลรัฐก�ำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ และอาจเพราะไม่ตอ้ งถูกเรียกประชุมบ่อยๆ เหมือนผู้บริหารสถานศึกษาของไทย ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีเวลาทุ่มเทให้กับงานบริหารภายใน และ มีเวลามาพูดคุยปรึกษาหารือกับครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาของตนเองมากขึ้น ซึ่งก็ส่งผล ให้นโยบายต่างๆ ของโรงเรียนได้รับการผลักดันลงสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจังและได้ผล
ครู: ภาระหน้าที่ และบทบาทของครูผู้สอน ในโรงเรียนที่คณะของพวกเราได้ไปเยี่ยมชมทั้งสองแห่ง สิ่งที่เห็นเหมือนกันคือ ภาระหน้าที่และ บทบาทของครูมีความชัดเจนมาก กล่าวคือ ครูเป็นผู้ที่ท�ำหน้าที่เป็นเสมือนผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูทนี่ ไี่ ม่ได้มงี านเอกสารให้ตอ้ งท�ำมากนัก หากแต่ครูตอ้ งทุม่ เทกับการท�ำหน้าทีค่ รูอย่างหนักเพือ่ จะ เป็นคนกลางในการน�ำให้เด็กๆ คิด วิเคราะห์ และมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและสร้าง บรรยากาศการเรียนรูท้ ดี่ รี ว่ มกัน ซึง่ ต่างจากครูไทยทีว่ นั ๆ ต้องทุม่ เทท�ำงานเอกสารและปล่อยเด็กๆ ให้เล่นกันไป บทบาทของครูในโรงเรียนที่คณะของเราได้เข้าไปเยี่ยมชม พบว่ามิใช่บทบาทของครูที่จะท�ำหน้าที่ สัง่ สอนถ่ายทอดความรูใ้ นแบบเดิมๆ ทีค่ รูจะยืนอยูห่ น้าห้องและ “สัง่ ” “สอน”หรือ “บอก”ค�ำตอบ แต่ครูที่นี่จะท�ำหน้าที่คล้ายกับผู้อ�ำนวยความสะดวก ประสานงาน เชื่อมโยงความรู้กับกิจกรรมเข้า ด้วยกันเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิธีที่จะค้นหาค�ำตอบได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีแบบนี้ พลเมืองเด็กที่นี่ จึงรู้จักคิดวิเคราะห์และวิธีสืบเสาะหาความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ไม่ต้องรอให้ครูเป็นผู้มาเฉลย ค�ำตอบให้
45
การสอนแบบ Team teaching สิ่งที่ประทับใจและเป็นการเรียนรู้ใหม่ของผม คือ ระบบการสอนแบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจกันอย่างมากทีเ่ รียกว่า ทีมสอน “Team Teaching” หรือสอนกันเป็นทีม ทีมทีว่ า่ นีค่ อื 2 คน ต่อห้อง และเป็นสองคนต่อห้องทีม่ บี ทบาทเท่าๆ กันในเวลาเดียวกัน ในห้องเรียนเดียวกัน ในขณะที่ โรงเรียนในสังคมไทย เมื่อพูดถึงการสอนเป็นทีม เรามักจะเห็นภาพครูคนหนึ่งสอนอยู่หน้าห้อง ครูอีกคนอยู่หลังห้องเพื่อควบคุมก�ำกับจับจ้องเด็กคนไหนที่ไม่สนใจเรียนมากกว่า หากแต่การสอน เป็นทีมในออสเตรเลียไม่ใช่เช่นนั้นเลย พวกเขาจะช่วยกันสอน ผลัดกันส่งไม้ต่อ สลับบทบาทกัน อย่างลื่นไหล ท�ำให้การเรียนการสอนยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้นไปอีก ที่น่าสนใจอีกประการคือ การให้ความส�ำคัญกับการพูดคุยเพือ่ สะท้อนปัญหา แลกเปลีย่ นความคิดเห็นระหว่างเพือ่ นครูดว้ ยกัน ทัง้ ในระหว่างวันอย่างทีเ่ ห็นในโรงเรียนประถม Wooranna และในระหว่างสัปดาห์ของครูโรงเรียน มัธยม จอห์น โมนาช ท�ำให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนครูด้วยกันเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะช่วย ให้ครูท�ำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งกว่านั้น ยังมีการใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การสอนโดยใช้ฐานการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศของโรงเรียน ใครก็ตามทีค่ ดิ ว่า ป้ายชือ่ โรงเรียนในออสเตรเลียจะต้องใหญ่โตและท�ำด้วยหินอ่อน หินแกรนิต หรือ ทองค�ำเพราะออสเตรเลียเป็นเมืองที่มีเหมืองแร่ทองค�ำจ�ำนวนมาก และประเทศนี้ก็ร�่ำรวยขึ้นมา เพราะการท�ำเหมืองแร่หรือเพราะคุน้ เคยกับป้ายชือ่ หรือซุม้ ประตูทางเข้าโรงเรียนแสนแพงของไทย อาจต้องผิดหวัง เพราะโรงเรียนที่คณะของเราไปเยี่ยมชมทั้งสองแห่ง ไม่ได้ให้ความส�ำคัญมากนัก กับป้ายชื่อโรงเรียน มีป้ายเล็กๆ พอให้รู้เท่านั้นว่าเป็นโรงเรียน อาคารสถานที่ของเขาก็ออกแบบ ง่ายๆ ไม่เน้นความสูง และไม่มีอาคารใหญ่โต หรือหอประชุมอลังการ หากแต่การใช้พื้นที่ของ โรงเรียนกล่าวได้ว่า คุ้มค่ามากที่สุด ยิ่งกว่านั้น ในโรงเรียนประถม Wooranna Park Primary School ซึ่งออกแบบอาคารให้มีซอก หลืบ มุมหลายจุดที่เด็กๆ สามารถเข้าไปเล่น ไปใช้พื้นที่ท�ำ กิจกรรมต่างๆ ได้ ยิง่ อาจเป็นทีข่ ดั ใจส�ำหรับนักการศึกษาไทยบางคนทีบ่ อกว่า จะออกแบบอาคารเรียน ต้องเป็นรูปตัวแอล (L) หรือตัวยู (U) และต้องจัดพื้นที่ให้เด็กๆ อยู่ในสายตาตลอดเวลา ห้ามมี ซอกหลืบ หรือห้ามมีพนื้ ทีท่ จี่ ะให้เด็กเล็ดลอดไปใช้หลังอาคาร เพราะครูจะดูไม่ทนั และเด็กๆ อาจจะ ท�ำอะไรที่มิดีมิงาม เป็นต้น ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมในโรงเรียน หากจะกล่าวว่า สังคมในโรงเรียนของออสเตรเลียเป็นสังคมที่เสมอภาคเท่าเทียม ไม่มีวัฒนธรรม แบบเจ้าขุนมูลนาย หรือเจ้านายกับลูกน้องก็คงไม่เกินจริงนัก เพราะตั้งแต่เหยียบเท้าลงสนามบิน เมืองเมลเบิรน์ คนทีข่ บั รถมารับคณะของเราคืออาจารย์ Dr.David Zyngier อาจารย์มหาวิทยาลัย โมนาชซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และตลอดหลายวันที่เราไปดูงานหลายที่ อาจารย์ David เป็นผู้ที่ 46
ลงมือท�ำทุกอย่างด้วยตนเอง เมื่อเข้าไปในโรงเรียนมัธยม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนก็ออกมาต้อนรับ ด้วยตัวเอง และพูดคุยกันอย่างที่ไม่มีพิธีรีตองใดๆ ไม่มีใครชงกาแฟให้ใคร ทุกคนเสมอภาคกัน รับผิดชอบและช่วยเหลือตนเอง ในขณะที่เมื่อคณะของเราไปที่โรงเรียนประถมศึกษา ผู้อ�ำนวยการ อายุ 72 ปีกบั เด็กนักเรียนประถมก็สามารถจะพูดคุยต่อรองกันได้อย่างชนิดทีไ่ ม่เห็นช่องว่างระหว่าง ต�ำแหน่ง สถานะทางสังคม หรือช่องว่างทางชนชั้นใดๆ ซึ่งผิดกับสังคมไทยที่ผมคุ้นเคยอย่างยิ่ง บรรยากาศแบบนีใ้ ช่ไหมทีเ่ รียกว่าเป็นพลเมืองประชาธิปไตยเสมอภาคเท่าเทียมกัน สังคมประชาธิปไตย ควรต้องวางอยูบ่ นความสัมพันธ์ทถี่ อื ว่าคนเราเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งชนชัน้ ใช่หรือไม่ แต่มไิ ด้หมายความ ว่า เด็กๆ ไม่เคารพผู้อ�ำนวยการ ตรงข้ามพวกเขาให้เกียรติและเคารพกันอย่างน่าชื่นชม ยิ่งกว่านั้น การจัดบรรยากาศในโรงเรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย และส่งเสริมเรื่องการเคารพ สิทธิของแต่ละคน โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล เช่นที่พบในโรงเรียนประถม เมื่อเราเห็นแฟ้ม สะสมผลงานส่วนตัวของนักเรียนและอยากรูว้ า่ ข้างในแฟ้มมีอะไรบ้าง นักเรียนทีพ่ าเราไปดูโรงเรียน ลังเลที่จะหยิบมาเปิดด้วยเธอให้เหตุผลว่า “เป็นแฟ้มส่วนตัวของนักเรียน คนที่จะเปิดดูได้ต้องขอ อนุญาตก่อน” ในขณะทีก่ ารมีสว่ นร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียนนัน้ ไม่เป็นทีต่ อ้ งสงสัย เพราะเด็กๆ กระตือรือร้น สนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างมาก และมิใช่แค่เพียงที่โรงเรียนจัดขึ้นเท่านั้น เด็กๆ มีสิทธิที่จะเสนอให้จัดกิจกรรมได้ และผู้ปกครองของนักเรียนที่นี่ก็ให้ความสนใจเข้ามามี ส่วนร่วมสนับสนุน ในโรงเรียนประถมเราได้เห็นผลงานที่นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันท�ำคือ บ่อส�ำหรับเล่นเกม และเตาส�ำหรับอบพิซซ่า เป็นต้น การประเมินความส�ำเร็จของการจัดการศึกษา เมือ่ กล่าวถึงการประเมินผลส�ำเร็จในการจัดการศึกษาของออสเตรเลีย เราอาจสงสัยว่า ในเมือ่ แต่ละ โรงเรียนมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการดังกล่าวไปแล้วข้างต้น แล้วจะใช้เกณฑ์มาตรฐานใด มาประเมินผู้เรียน และคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ที่จริงการประเมินของเขาอาจแบ่งออกได้เป็น การประเมินแบบภายใน และการประเมินตามแบบ ของรัฐ การประเมินภายในจากที่ได้เข้าชมทั้งสองโรงเรียน พบว่าครูมีบทบาทส�ำคัญในการประเมิน จากความสามารถของผูเ้ รียนโดยตรง และจากการทีค่ รูจะนัง่ คุยกันทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ดี การประเมิน ในระดับรัฐคล้ายๆ กับทีเ่ รามีการสอบ O-net หรือ A-net แต่ไม่ได้บงั คับให้นกั เรียนทุกคนต้องสอบ หากแต่เป็นการสุ่มสอบเท่านั้น สิ่งส�ำคัญยิ่งกว่าคือ การประเมินที่ยึดเอาตัวผู้เรียนเป็นส�ำคัญ เช่น โรงเรียนทีเ่ น้นสร้างเด็กให้มคี วามสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ นโยบายของโรงเรียน มีว่า เด็กจะเก่งวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ไม่ ไม่ใช่เรื่องส�ำคัญ แต่จะท�ำอย่างไรจะท�ำให้เด็กรักที่จะ เรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ต่างหาก 47
หน้าต่างของโอกาส กับการพัฒนาการศึกษาไทย ส�ำหรับข้อคิดมุมมองทีไ่ ด้จากการไปศึกษาดูงานในมลรัฐวิคตอเรีย โดยเฉพาะในส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับงานที่ผมมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในโรงเรียน ผมได้เรียนรู้จากโรงเรียนมากที่สุด และคิดว่า อยากจะน�ำประสบการณ์ดๆี ทีไ่ ด้มาปรับใช้กบั การบริหารสถานศึกษาให้เป็นโรงเรียนทีพ่ ฒ ั นา พลเมืองให้มคี ณ ุ ภาพมากขึน้ โดยเฉพาะในมิตทิ สี่ ง่ เสริมคุณลักษณะและจิตส�ำนึกแบบพลเมือง ประชาธิปไตยทีเ่ น้นการคิดวิเคราะห์ และมีสว่ นร่วมในการก�ำหนดทิศทางของสังคมทีเ่ ราเป็น สมาชิกอยู่ ดังนัน้ การปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์ทางการศึกษาในโรงเรียนเป็นหัวใจส�ำคัญมาก ทีค่ วรต้องเน้นเรือ่ งการสอนคนให้ทำ� งานโดยอิสระได้และเชือ่ มัน่ ในศักยภาพของแต่ละคนทีม่ ี ไม่เหมือนกัน การให้โอกาสและการสนับสนุนกันเป็นสิง่ จ�ำเป็น นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศ ในโรงเรียนให้มีกลิ่นไอของความเป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้นด้วยการเปิดโอกาสให้ทุกคนมี ส่วนร่วมคิดร่วมท�ำ มีส�ำนึกถึงความเป็นธรรมทางสังคม รู้หน้าที่และเคารพสิทธิของผู้อื่น โรงเรียนสร้างพลเมืองประชาธิปไตยควรมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ ความเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะประชาชนพลเมือง คือหัวใจหลัก ของการขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทีส่ ำ� คัญต้องสร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนทีก่ ระตือรือร้น (Active school) อย่าเป็นโรงเรียน ตายซาก (Nummified school) แล้วทุกคนจะเห็นคุณค่าของตนเองและท�ำงานกันอย่าง กระตือรือร้นมีความสุข ประเทศไทยมีอะไรทุกอย่างไม่แพ้ออสเตรเลีย แต่สงิ่ ทีท่ งั้ สองประเทศ ต่างกันคือ วิธีคิดและกระบวนการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประเทศไทยพัฒนา การศึกษาแบบปัจเจก คือ มอง สร้าง และพัฒนาทีละเรือ่ งทีล่ ะมิติ ในขณะทีป่ ระเทศออสเตรเลีย พัฒนาแบบองค์รวม มองทุกมิติ รอบคอบ รอบด้าน ออสเตรเลียจัดการศึกษาด้วยการยึดหลักการ อุดมการณ์ ตรรกะ แล้วลงมือปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากหน้าต่างของโอกาสที่ส�ำคัญยิ่งคือ โครงสร้างทางสังคมการเมืองที่มิได้ มองการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนที่มีจุดเด่นเป็นของตนเองซึ่งมีความแตกต่างไปจาก รัฐว่าเป็นพิษภัยต่อความมั่นคง และสังคมประชาธิปไตยของเขา ดังนั้น โรงเรียนและผู้เรียน จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ ฝึกฝนทีจ่ ะคิดวิเคราะห์ และค้นพบสิง่ ใหม่ๆ ทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ ความเจริญ ก้าวหน้าของสังคม และขณะเดียวกันก็เสริมพลังความเข้มแข็งให้พลเมืองมากขึ้นไปด้วย ความเจริญก้าวหน้าของสังคมประชาธิปไตยออสเตรเลียจึงก้าวหน้าจนน่าเรียนรู้และน�ำมา เป็นแบบอย่างในการพัฒนาการศึกษาไทย 48
เปิดโลกการศึกษาเพือ่ สร้างพลเมือง ประชาธิปไตย: มุมมองของครูประถมฯ ไทย ต่อโรงเรียนในออสเตรเลีย ซาลีนา โต๊ะลูโบ๊ะ ครูโรงเรียนบาโงปาแต จังหวัดนราธิวาส ศิริขวัญ เพ็ญจิตต์ ครูโรงเรียนบ้านเงา สพป.แม่ฮ่องสอนเขต 2 ©ThaiCivicEducation
ค�ำกล่าวทีว่ า่ “โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังทีส่ องของเด็ก” มีนยั ยะของการจัดบรรยากาศ ที่อบอุ่น ปลอดภัย และเป็นที่ไว้วางใจได้ของทั้งผู้ปกครองและเด็กที่จะเข้ามาใช้ชีวิตเพื่อ เรียนรูจ้ กั การใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกันกับคนอืน่ ทีม่ ใิ ช่ญาติของตน โรงเรียนจึงเป็นพืน้ ทีจ่ ำ� ลองสังคม ทีใ่ หญ่มากขึน้ ทีเ่ ด็กๆ จะมีโอกาสได้มาฝึกฝนทักษะ เพิม่ พูนความรูท้ จี่ ำ� เป็นส�ำหรับการเติบโต ไปอยู่ในสังคมการเมืองที่กว้างใหญ่มากขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้นด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า ส�ำหรับ การสร้างพลเมืองประชาธิปไตยแล้ว โรงเรียนเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ สี ำ� หรับการสืบทอดอุดมการณ์ และวิถชี วี ติ ทีเ่ ป็นประชาธิปไตย และเช่นเดียวกับระบบการเมืองการปกครองอืน่ ๆ ทีต่ า่ งมุง่ หวัง จะใช้โรงเรียนเป็นแหล่งหล่อหลอมพลเมืองที่ตนต้องการ หากแต่ในสังคมที่เชื่อมั่นศรัทธาใน ระบอบประชาธิปไตยเช่นออสเตรเลีย การจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาทีเ่ อือ้ ต่อการสร้าง พลเมืองประชาธิปไตยเป็นแนวทางที่พวกเขาเลือก และในบทความนี้ ผู้เขียนจะน�ำเสนอ ประสบการณ์จากที่ได้ไปศึกษาดูงานทางด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยโดย ใช้แว่นของครูประถมศึกษาของไทยเป็นเครื่องมือในการมอง 49
โรงเรียนประถมสอนพลเมืองเรื่องใดได้บ้าง
©ThaiCivicEducation
ก่ อ นที่ จ ะได้ มี โ อกาสมาเข้ า ร่ ว มโครงการ โรงเรียนสอนพลเมืองประชาธิปไตย อาจจะ จินตนาการไม่ออกว่า โรงเรียนประถมเล็กๆ และครูประถมตัวน้อยๆ อย่างผูเ้ ขียน จะสอน เด็กตัวเล็กตัวน้อยวัย 7–12 ปีให้เป็นพลเมือง ประชาธิปไตยได้อย่างไร แค่จะสอนให้เด็กๆ เรียนรูจ้ กั การท�ำหน้าทีเ่ ป็นนักเรียน พาตัวเอง ให้มาโรงเรียนให้ทันเข้าแถว ตั้งใจเรียน ท�ำการบ้านมาส่ง เชื่อฟังครู ก็ยังถือว่ายาก อย่างไรก็ดี เมื่อมีโอกาสได้ก้าวไปสู่โลกกว้าง และเห็นการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถม ในออสเตรเลียแห่งหนึ่งแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ทีจ่ ริงโรงเรียนประถมศึกษามีความส�ำคัญมาก ต่อการสอนพลเมืองเด็กน้อยให้เติบใหญ่ไป เป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ค�ำถามที่ว่าจะสอนอะไรดี จึงคลี่คลายลงไป เมือ่ ได้เห็นว่าโรงเรียนนีเ้ ขาสอนอะไรกันบ้าง ซึ่งผู้เขียนอยากแบ่งปันให้ได้รู้กันดังนี้คือ 50
เริ่มจากบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นความจริงที่ว่า เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม กับการได้รับการศึกษา เวลาส่วนใหญ่ของ เด็กจะถูกใช้ไปในเขตรัว้ โรงเรียน แต่โรงเรียน แบบใดที่ผู้ปกครองจะไว้ใจส่งลูกไปเรียนรู้ เป็นค�ำถามทีไ่ ม่มคี ำ� ตอบส�ำเร็จรูป แต่สว่ นใหญ่ ผู้ปกครองมักจะคาดหวังว่าโรงเรียนนั้นๆ ต้องสามารถท�ำให้ลูกๆ ของตนได้มีความรู้ และสามารถวางใจได้วา่ ลูกๆ ของตนจะได้รบั การพัฒนาอย่างดี จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะ เห็นว่า ไม่ว่าโรงเรียนใดๆ ต่างก็พยายามจะ น�ำเสนอภาพลักษณ์ด้านที่ดีที่สุดที่จะช่วย ดึงดูดความสนใจของผู้ปกครองให้ตัดสินใจ เลือกที่จะส่งบุตรหลานมาเรียนด้วย ส�ำหรับโรงเรียนประถมที่ผู้เขียนได้มีโอกาส ไปศึกษาดูงานในรัฐวิตคอเรียเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ชื่อว่า Wooranna Park Primary School ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กๆ ใน เขตชานเมือง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียน การสอนในระดับประถมศึกษา มีนักเรียน ไม่มากไม่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับพื้นที่ของ โรงเรียน กล่าวคือ มีนกั เรียนอยูร่ าว 300 คน ภาพลักษณ์ภายนอกเมื่อแรกเห็น ไม่ได้มี ความโดดเด่นอะไรนัก แต่เมือ่ ก้าวเข้าไปข้าง ในโรงเรียนแล้วกลับได้พบกับบรรยากาศ การเรี ย นรู ้ ที่ น ่ า ประทั บ ใจหลายประการ โดยเฉพาะบรรยากาศทีน่ า่ ไว้วางใจว่า หากส่ง ลูกหลานมาเรียนที่นี่แล้วคงไม่ผิดหวังเป็นแน่
มิตคิ วามเสมอภาคและให้เกียรติกนั และกัน ภาพผู้บริหารสูงวัยแต่ยังคงกระฉับกระเฉง ภายในประดับตกแต่งด้วยเศษวัสดุเหลือใช้ นานัปการอย่างสวยงาม การต้อนรับของครู และผู้บริหารที่นี่ไม่มีอะไรที่หวือหวา ไม่มี พิธีการใดๆ ท�ำให้บรรยากาศผ่อนคลายเป็น กันเองเหมือนรู้จักกันมาก่อนหน้านี้ และเมื่อ คณะของเราทักทายกันครบหมดทุกคนแล้ว ผู้บริหารก็แนะน�ำให้เราได้รู้จักกับกลุ่มเด็กๆ จ�ำนวนกว่า 20 คนที่ยืนโปรยยิ้มด้วยอยาก เชือ้ เชิญให้เราเดินชมโรงเรียนโดยให้พวกเขา ได้เป็นผู้น�ำพา ภาพเด็กๆ ที่ยืนเสนอตัว อย่างอาสาน�ำพาผู้มาเยือนอย่างมั่นใจ และ ด้วยท่าทีสภุ าพ ภาพการสนทนาอย่างอบอุน่ ฉันมิตร เป็นภาพประทับใจที่ชวนให้คิดถึง บรรยากาศของบ้านหลังที่สองขึ้นมาทันใด บรรยากาศของการสร้างพลเมืองวัยใสที่ได้ สัมผัสในโรงเรียนแห่งนี้ ท�ำให้ครูประถมฯ จากเมืองไทยอย่างผู้เขียนตกหลุมรักเด็กๆ ที่โรงเรียนนี้อย่างจัง
©ThaiCivicEducation
ส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นผู้น�ำ นักเรียนตัวน้อยๆ ที่นี่มีคุณสมบัติของผู้น�ำ อย่ า งชนิ ด ที่ เ รี ย กว่ า ยากจะหาในเด็ ก ไทย ของเรา โดยเฉพาะในวัยที่เท่าๆ กัน เท่าที่ สังเกต ครูและผู้บริหารที่นี่จงใจฝึกให้เด็ก เป็นเช่นนี้จริงๆ เท่าที่ได้เดินตามนักเรียน ตัวน้อยท�ำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ชมโรงเรียน ทุกท่วงท่าหรือถ้อยค�ำ ล้วนบ่งบอกถึงความ มั่นใจในการน�ำที่คงได้ผ่านการเปิดโอกาสให้ ได้ฝึกฝนมาพอสมควรทีเดียว แม้เราจะถาม ค�ำถามที่ดูเหมือนจะยากเกินเด็กวัยประถม จะตอบได้ แต่สิ่งที่ได้พบคือ เด็กๆ มีวิธีที่จะ ตอบค�ำถาม และมีวิธีที่จะยอมรับว่าพวกเขา ไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าค�ำตอบทีเ่ ขาให้กบั เรานัน้ ถูกหรือไม่ แต่พวกเขามีทกั ษะในการตัง้ ค�ำถาม ชวนคิดวิเคราะห์ต่อด้วยท่าทีที่ไม่เสียความ มัน่ ใจในตัวเองแม้แต่นอ้ ย คิดถึงเด็กๆ บ้านเรา หากเจอคนแปลกหน้า หากต้องมาเดินอาสา พาเราชมโรงเรียน ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเด็กๆ จะท�ำได้ดีเท่าที่นี่หรือไม่ จะกล้าตอบค�ำถาม
51
อย่างมั่นใจหรือไม่ นี่เป็นข้อสังเกตเล็กๆ ที่ เห็นว่า โรงเรียนประถมศึกษาที่นี่ไม่ได้สอน แค่เรื่องความรู้ตามแบบเรียน หากแต่สอน ทักษะของชีวิตจริงๆ และที่ส�ำคัญ คือ การสอนให้เด็กเป็นพลเมืองที่มีความเป็น ผู้น�ำ กล้าคิด กล้าน�ำ กล้าตั้งค�ำถามอย่าง ชนิดที่ไม่ได้มีช่องว่างให้กับความอาวุโสกว่า หรือการเป็นคนแปลกหน้าเลย พวกเขาท�ำ หน้าทีเ่ ป็นผูน้ ำ� อย่างธรรมชาติ การทีโ่ รงเรียน สอนและฝึกเด็กให้เป็นผู้น�ำได้นี้ เชื่อว่าครู ต้องใจกว้าง กล้าหาญพอสมควร ที่ส�ำคัญ ครูน่าจะเป็นผู้ให้โอกาสและมอบความไว้ วางใจเชื่อ มั่ น ในศั ก ยภาพของเด็ก ไม่น้อย ทีเดียว มิเช่นนั้นแล้ว เด็กๆ คงไม่มีความ เชื่อมั่นในตนเองได้ขนาดนั้น ที่ส�ำคัญคือ การสอนให้ เด็ ก เป็ น ผู ้ น� ำที่มีความคิดและ รู้จักใช้เหตุผล
สอนให้คิดวิเคราะห์และมีเหตุผล สิง่ ส�ำคัญส�ำหรับการสอนพลเมืองเด็กให้เป็น พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่ดีที่สุด คือ การสอนให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ ตั้งค�ำถาม และค้นหาหลักฐาน ใช้เหตุผลเป็นหลัก การ สอนแบบกระตุน้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ ลงมือท�ำ และมีสถานการณ์ที่ท�ำให้เด็กเกิด การเรียนรู้ด้วยตัวเอง และมีการร่วมมือกัน ท�ำงานเป็นทีมถือเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะที่ โรงเรียนได้ท�ำให้เราเห็นผ่านตัวนักเรียนที่ เราได้สัมผัสในการดูงานครั้งนี้
©ThaiCivicEducation
52
ฝึกทักษะการแสดงความคิดเห็น แทบจะไม่นา่ เชือ่ ว่า ในโรงเรียนประถมศึกษา เล็กๆ จะมีบรรยากาศที่เอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่เปิดให้มีสิทธิมีเสียงแสดงความคิดเห็นได้ ตั้งแต่ยังเป็นพลเมืองตัวน้อยๆ และอย่างที่ ได้รับการพิทักษ์ปกป้องสิทธิส่วนตัว หรือ จะเรียกได้ว่ามีพื้นที่ปลอดภัยส�ำหรับแสดง ออกซึง่ อารมณ์ความรูส้ กึ นึกคิดผ่านห้องเรียน ที่มีกล่องรับความคิดเห็นจากเด็กนักเรียนที่ อยากบอกหรืออยากเล่าสิ่งที่ตนเองก�ำลัง กังวลอยู่ โดยไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ นั่นแสดง ถึงว่า โรงเรียนได้ให้ความส�ำคัญกับการ หล่อหลอมพลเมืองเด็กด้วยการรับฟัง ใส่ใจ ในปัญหาของเด็กๆ ด้วยมิได้เพิกเฉยละเลย เสียงเล็กเสียงน้อย อีกด้านหนึง่ ท�ำให้มองเห็น ว่าผูใ้ หญ่ในโรงเรียน คือ ผูบ้ ริหารและครูเอง ก็เปิดใจรับฟังเสียงเด็กๆ ด้วย ทักษะการ แสดงความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตย จ�ำเป็นต้องประกอบด้วยอย่างน้อยๆ คือ สองฝ่าย ทั้งคนพูดและคนฟังจึงเห็นได้ ค่อนข้างชัดจากการบ่มเพาะของโรงเรียน
พลเมืองที่มีจิตอาสา ดังกล่าวแล้วว่า การเข้าชมภายในโรงเรียน Wooranna นีอ้ ยูภ่ ายใต้อาสาสมัครตัวน้อยๆ ที่อาสามาพาคณะของเราชมโรงเรียนของ พวกเขา ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่า โรงเรียน ประถมฯ เป็นแหล่งที่หล่อหลอมให้เด็กๆ มี จิตอาสาทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือผูอ้ นื่ ในขณะที่ คณะของเราเดินไปชมทีจ่ ดุ ใดก็ตาม เมือ่ เด็กๆ เห็นคณะของเรา พวกเขาต่างมีทีท่าหรือ เอ่ยปากเสนอให้ความช่วยเหลือไม่วา่ จะเป็น เรื่องของการบอกทางไปจุดต่างๆ การขอให้ แสดง หรืออธิบายบางอย่าง เด็กๆ ไม่วา่ จะใน ระดับชัน้ ใดก็ตาม ต่างพร้อมอาสาตอบสนอง ความต้องการของพวกเราเสมอ นอกจากนี้ พวกเขายังคอยมองว่า เราจะต้องการอะไร อีกหรือไม่ เมื่อให้ความช่วยเหลือเราแล้ว พวกเขาก็ไม่ได้อดิ ออดทีจ่ ะอยูต่ อ่ แต่จะขอตัว ไปท�ำหน้าทีข่ องตนตามปกติ เช่น ในห้องเรียน หนึง่ ซึง่ ตบแต่งเป็นเครือ่ งบิน พวกเราอยากรู้ ว่ามันท�ำงานอย่างไรก็มีเด็กหญิงตัวเล็กๆ ที่ ก�ำลังนั่งเรียนอยู่ในบริเวณนั้นขออนุญาตครู เพื่อมารับอาสาสาธิตให้พวกเราชม และเมื่อ เสร็จภารกิจ เธอก็กลับไปนั่งเรียนต่อราวกับ ว่าไม่ได้มีการถูกขัดจังหวะจากคณะของเรา แต่อย่างใด 53
©ThaiCivicEducation
รู้เวลา รู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ สิง่ ทีเ่ ห็นเด่นชัดอีกเรือ่ งคือ โรงเรียนประถมฯ แห่งนี้สอนให้เด็กๆ รู้หน้าที่ของตนเองและ มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และส่วนรวม อย่างยิ่งยวดทีเดียว เห็นได้จากหลายสิ่ง หลายอย่าง เช่น เมือ่ ถึงเวลาพัก เราไม่ได้ยนิ เสียงออดดังๆ เหมือนโรงเรียนในไทย แต่เด็กๆ ก็พร้อมใจกันไปพักและเมือ่ หมดเวลาพัก ก็ไม่มี เสียงกระดิง่ ดังลัน่ ทุง่ แต่เด็กๆ ทุกคนพร้อมกัน วิ่งเข้าห้องเรียน เวลาพักของนักเรียน ครูก็ พักด้วยเช่นกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ ครูก็เข้าไป พักในห้องพักครู ไม่มีครูอยู่เฝ้าเวรที่สนาม เด็กเล่น ต่างกับทีเ่ ราเคยชินว่าเมือ่ ถึงเวลาพัก ครูจะต้องไปยืนเวร เพื่อเฝ้าดูเด็กๆ และเมื่อ หมดเวลาพัก กระดิ่งที่ดังบาดหูนั้นอาจจะ ไม่ ไ ด้ ร ะคายต่ อ โสตประสาทของเด็ ก ไทย ด้วยซ�ำ้ ไป น่าสนใจว่า ภาพทัง้ หมดทีเ่ ล่ามานัน้ คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากโรงเรียนและครูไม่ได้ ให้ความไว้วางใจว่าเด็กๆ จะมีรเู้ วลา รูห้ น้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองได้ 54
ฝึกทักษะพลเมืองในอนาคต ความโดดเด่นของโรงเรียน Wooranna อีกประการ คือ กระบวนการจัดการเรียน การสอนที่เน้นให้เด็กมีความสามารถในการ ใช้ เ ทคโนโลยี ร ะดั บ สู ง ในอนาคตได้ อ ย่ า ง คล่องแคล่ว มีการสอนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์ ในการสืบค้นความรู้ด้วยตนเองตั้งแต่ระดับ อนุบาล และเมื่อเด็กๆ ขึ้นชั้นที่สูงขึ้นไป จึง ไม่ตอ้ งสงสัยว่าเหตุใด นักเรียนของโรงเรียนนี้ จึงได้รับรางวัลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีชั้น สูงๆ ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เด็กๆ ใน วันนีต้ อ้ งอยู่ คือโลกของอนาคตทีค่ วามเจริญ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปไกลกว่าโลกใน วันนีม้ าก อย่างไรก็ดี โรงเรียนก็ไม่ได้สอนให้ เด็กๆ มัวเมากับเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว ตรงข้าม โรงเรียนพยายามส่งเสริมให้เด็กๆ ได้ เรียนรูท้ จี่ ะอยูก่ บั สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แบบพืน้ ฐานทีส่ ดุ ทีน่ า่ สังเกตอีกประการหนึง่ คือ ในวันที่ไปเยี่ยมชมโรงเรียน ไม่เห็นมีเด็ก คนใดใช้โทรศัพท์มอื ถือในโรงเรียน ไม่เห็นครู หรือใครนั่งเฝ้าหน้าจอสี่เหลี่ยมในมืออย่างที่ เราอาจจะได้เคยเห็นในโรงเรียนของบ้านเรา บ่อยครั้ง
พลเมืองไม่ทอดทิ้งกัน ในระดับชัน้ ปีทสี่ งู ขึน้ เช่น ระดับประถมศึกษา ปีที่ 5-6 ซึ่งสามารถเรียนรวมกันได้โรงเรียน ได้ใช้ระบบเพือ่ นสอนเพือ่ น เพราะในโรงเรียน แห่งนีไ้ ด้รบั เด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษเข้ามา เรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปด้วย โรงเรียนจัด ให้มหี อ้ งส�ำหรับเด็กนักเรียนทีเ่ รียนอ่อน หรือ ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในด้าน การเรียนรู้ นักเรียนที่เก่งกว่าจะอาสามา สอนให้เพื่อนที่เรียนด้อยกว่าหรือต้องการ ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการฝึกฝน เด็กๆ ให้เป็นพลเมืองทีเ่ อาใจใส่ซงึ่ กันและกัน ในสังคมไปด้วยในตัว ที่ส�ำคัญคือ โรงเรียน ไม่ได้แบ่งห้องเด็กด้วยระบบการคัดแยกเป็น ห้องเด็กเก่ง หรือไม่เก่ง หรือห้องเด็ก Gifted หรือห้องเด็กทั่วไป ประเด็นนี้ท�ำให้คิดถึง การเคารพสิทธิของเด็กๆ ทุกคนไม่วา่ จะยากดี มีจนหรือมีความบกพร่องทางร่างกายหรือสติ ปัญญาหรือไม่ แต่สทิ ธิทเี่ ด็กทุกคนมี คือ สิทธิ ทีจ่ ะได้รบั การศึกษาซึง่ เป็นสิง่ ทีส่ มควรจะน�ำ มาเป็นแบบอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนพลเมืองประชาธิปไตยมาก
การมีส่วนร่วมในการก�ำหนดประเด็นที่ อยากเรียนรู้ของนักเรียน ในระดับชัน้ ปีทสี่ งู ขึน้ เช่น ระดับประถมศึกษา ปีที่ 5-6 นักเรียนได้รับการเปิดโอกาสให้มี ส่วนร่วมในการก�ำหนดสิง่ ทีอ่ ยากจะเรียนรูไ้ ด้ ด้ ว ยการจั ด ตารางเรี ย นแบบยื ด หยุ ่ น ของ โรงเรียน ดังนั้น บางวิชานักเรียนจะมาเรียน รวมกัน บางวิชาก็เรียนเป็นกลุ่ม ในวันที่เรา ไปเยี่ยมชม นักเรียนในห้อง ป.5-6 ก�ำลังจะ เรียนวรรณกรรม ซึง่ นักเรียนสามารถเลือกได้ ว่าจะเรียนเรือ่ งอะไรบ้าง วิธกี ารเรียน ครูจะ มอบหมายให้นักเรียนไปอ่านวรรณกรรม แล้วมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆ ในห้องฟัง เมื่อสิ้นปีการศึกษา ก็จะมีการน�ำเสนอ วรรณกรรมด้วยปากเปล่าด้วย ถือว่าเป็น การจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง ©ThaiCivicEducation
55
สอนพลเมืองให้พร้อมรับเหตุฉุกเฉิน น่าสนใจว่า โรงเรียนให้ความส�ำคัญกับการ ฝึกเด็กให้เป็นพลเมืองที่พร้อมรับมือกับภัย ต่างๆ ที่ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจาก ธรรมชาติ หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างที่เรียนรู้อยู่ด้วยกันในโรงเรียน การ เตรียมพร้อมทีว่ า่ นีค้ รอบคลุมไปถึงการเตรียม พร้อมรับมือกับเด็กทีม่ ปี ญ ั หาด้านสุขภาพด้วย เพราะโรงเรียนได้ใช้พื้นที่ในโรงยิม น�ำเสนอ ข้อมูลของนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนได้รู้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ ข้อมูลสุขภาพเหล่านั้นจะระบุว่า เด็กแต่ละคนมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างไร เช่น แพ้อาหารอะไร มีโรคประจ�ำตัวอะไร เพื่อที่จะได้รู้วิธีที่จะช่วยเหลือปฐมพยาบาล เบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น คุณครูที่ สอนวิชาพละศึกษาจึงต้องต้องส�ำรวจข้อมูล สุขภาพเด็กด้วย ©ThaiCivicEducation
นอกจากนี้ โรงเรียนยังฝึกให้เด็กนักเรียน พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน มีการซ้อมแผน หนีภัยฉุกเฉินปีละ 2 ครั้ง และโรงเรียนยังมี ความรอบคอบ จัดเตรียมแผนผังทางออก ฉุกเฉินของโรงเรียนไว้ด้วย เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า หากเกิดกรณีฉกุ เฉินขึน้ มา เช่น ไฟไหม้ จะได้ หนีภัยเอาตัวรอดได้ทัน นับเป็นความใส่ใจ ของสถาบันการศึกษาในออสเตรเลียทีน่ า่ หยิบ มาเป็นตัวอย่าง 56
ข้อสังเกตต่อบทบาทของครู จากการเยี่ยมชมโรงเรียนประถมดังกล่าว ผู้เขียนสังเกตว่า ครูผู้สอนซึ่งมีบทบาทส�ำคัญต่อ การสร้างพลเมืองที่จะเติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม เพราะหากครูไม่ใส่ใจอย่างจริงจัง ในการให้การศึกษาแก่เด็ก การจะดึงเอาศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวเด็กมาพัฒนาให้โดดเด่น ดังทีเ่ ราได้เห็นในโรงเรียนแห่งนีค้ งเป็นเรือ่ งยาก วิธที คี่ รูของโรงเรียนนีท้ ำ� คือ การให้ความสนใจ กับประวัติความเป็นมาของเด็ก ว่ามีพื้นฐานโครงสร้างทางครอบครัวอย่างไร เพราะที่โรงเรียน แห่งนี้มีเด็กที่มาจากพื้นเพที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยครูจะเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่า ประวัตขิ องครอบครัวตนเอง และจะฟังอย่างใส่ใจ เมือ่ มีปญ ั หาอะไรเกิดขึน้ ครูจะไม่ดว่ นตัดสิน หรือไม่โทษสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ว่าเป็นปัญหาของเด็ก แต่จะพยายามใช้วธิ กี ารค่อยๆ รือ้ ถอนอคติ หรือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ติดตัวเด็กมาเพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะยอมรับวัฒนธรรมที่ต่างไป จากตน มิตรภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นอีกประการที่โดดเด่นของที่โรงเรียนนี้ สังเกตได้จากการ ที่เด็กๆ มีความมั่นใจที่จะเดินเข้าไปหยอกเล่นกับครู ถามครู โต้ตอบกับครูในลักษณะที่แทบ ไม่เห็นช่องว่างระหว่างการเป็น “ครู” กับ “นักเรียน” อย่างที่คุ้นเคย เพราะนักเรียนบ้าน เราเมื่อเห็นครูส่วนมากจะแสดงอาการหวั่นเกรง ไม่กล้าจะโต้เถียงกับครู และหลายคนก็ถึง ขนาดกลัวครูทีเดียว สิ่งที่เห็นอีกประการคือ ครูไม่ได้เป็นผู้ที่ออกค�ำสั่งให้นักเรียนท�ำโน่นท�ำนี่ สิ่งที่เห็นคือ ครู กระตุ้น ให้ก�ำลังใจนักเรียนด้วยท่าทีที่เชื่อมั่นว่านักเรียนจะท�ำได้ มีค�ำชมบ่อยครั้งให้ได้ยิน และครูใช้ค�ำถามในเชิงที่แสดงให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นแบบถกเถียงให้เหตุผลมากกว่า ทีจ่ ะตัง้ ค�ำถามแบบใช่หรือไม่ใช่ และครูมกั จะไม่เฉลยค�ำตอบแต่กระตุน้ ให้นกั เรียนไปค้นคว้า หาค�ำตอบด้วยตนเองก่อน เป็นต้น
57
©ThaiCivicEducation
เรียนรู้โลกกว้างเพื่อมาปรับใช้ จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานในออสเตรเลียหลายแห่ง แต่ที่ผู้เขียนน�ำเสนอ คือ การดูงานใน โรงเรียนประถมศึกษา Wooranna Park Primary School เพราะนีเ่ ป็นพืน้ ทีท่ ผี่ เู้ ขียนคุน้ เคย มากที่สุด และยังคงต้องท�ำงานในพื้นที่เล็กๆ ของโรงเรียนประถมฯ ต่อไป อย่างไรก็ดี การไป ดูงานครั้งนี้ก็ท�ำให้ผู้เขียนมองเห็นเค้าร่างว่าจะสอนพลเมืองเด็กประถมศึกษาให้เติบโตไป เป็นพลเมืองผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าต่อสังคมการเมืองที่เราก�ำลังคาดหวังกันว่าจะก้าวไปสู่ระดับ ความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้นได้อย่างไรซึ่งได้น�ำเสนอไปแล้วข้างต้น อย่างไรก็ดี ยังคง ต้องการบรรยากาศและการสนับสนุนในเชิงระบบอีกมากเพื่อจะให้การประยุกต์ความรู้ที่ได้ จากการศึกษาดูงานกับบทบาทหน้าที่ที่ผู้เขียนต้องรับผิดชอบ
58
การศึกษาที่ไม่ทอดทิ้งความเป็นมนุษย์ สังคม และความเปลี่ยนแปลง: บทสังเคราะห์ประสบการณ์จาก ออสเตรเลียถึงการศึกษาไทย อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล
อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
©ThaiCivicEducation
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีเป้าหมายเพื่อน�ำเสนอประสบการณ์จาก “โครงการศึกษารูปแบบ โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย” โดยในระยะเริม่ ต้นโครงการได้มกี ารจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและก�ำหนดทิศทางในการ ด�ำเนินงานร่วมกัน ส่วนหนึง่ ของโครงการคือโอกาสในการเดินทางไปแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ในประเด็นของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองที่เครือรัฐออสเตรเลีย จากประสบการณ์ดังกล่าวผู้เขียนได้สังเคราะห์ประสบการณ์ผ่านมุมมองของผู้เขียน น�ำเสนอใน 3 ประเด็น ส�ำคัญ ได้แก่ 1) บนเส้นทางแห่งการเรียนรู้ ผูค้ น สังคม ท้องถนน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ 2) “โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย” ภาพที่เห็น และเป็นไปในบริบทไทย สู่มุมมองใหม่จากออสเตรเลีย และ 3) สู่เป้าหมายโรงเรียน สร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: การจัดการศึกษาที่ไม่ทอดทิ้งความเป็นมนุษย์ สังคม และความเปลี่ยนแปลง 59
©ThaiCivicEducation
บทนำ� เมื่อกล่าวถึง “โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย” ก็ชวนให้นึกถึงงานเขียนของ นักการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาไทยสมัยใหม่จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เรื่องราวใน หนังสือ Democracy and Education: An Introduction to the Philosophy of Education ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1916 ล่วงมาจนถึงปี ค.ศ. 2016 100 ปีที่ ข้อคิด ส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้เน้นย�้ำว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตย โรงเรียน ในความหมายของ Dewey จึงเป็นแหล่งบ่มเพาะประชาธิปไตย เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมมนุษย์ให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรม ค�ำถามส�ำคัญ ที่ว่าท�ำไมการศึกษาจึงไม่ควรทอดทิ้งประชาธิปไตย ค�ำตอบอย่างง่ายก็เพราะการศึกษาคือ การพัฒนาความเป็นมนุษย์ ขณะที่ “ประชาธิปไตย” เป็นระบอบที่ประกันว่ามนุษย์จะอยู่ ร่วมกันอย่างเท่าเทียม เสมอภาค และเป็นธรรม เคารพสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ด้วย เหตุนี้ “โรงเรียน” แหล่งบ่มเพาะความเป็นพลเมืองจึงควรเป็นพื้นที่ที่ความเป็นมนุษย์จะ เติบโตได้อย่างงดงาม โรงเรียนในนิยามของดิวอี้เมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วจึงเปรียบเสมือน พื้นที่ในการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเด็กๆ ดังนั้นโรงเรียนจึงควรสร้างบรรยากาศความเป็น ประชาธิปไตยในทุกมิติของการจัดการศึกษา เด็กๆ ควรได้เรียนรู้ว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมที่เขาอยู่ได้อย่างไร และพวกเขาจะเติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ 60
ที่เห็นคุณค่าของตัวเองได้อย่างไร แนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา อาทิ แนวคิด การจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ แนวคิดการจัดการเรียนรูท้ เี่ น้นการบูรณาการ แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Constructivism) หรือแม้แต่แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแห่งศตวรรษใหม่ก็ ล้วนเป็นส่วนเสี้ยวส�ำคัญของการส่งเสริมบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยและส่งเสริม การสร้างพลเมืองที่ศรัทธาในวิถีประชาธิปไตย หันกลับมามองในบริบทไทย โรงเรียนของเราเป็นแหล่งบ่มเพาะพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นพื้นที่ผลิตซ�้ำวัฒนธรรมอ�ำนาจนิยมและส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ที่มีนัยยะของการจัด ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจทางสังคมเพื่อตอกย�้ำการเป็นพลเมืองในหน้าที่ และภูมิใจในการ เป็นพลเมืองดีที่ว่านอนสอนง่ายของรัฐหรือไม่อย่างไร เป็นค�ำถามที่ยังวนเวียนและอยาก เชิญชวนเราทุกคนร่วมกันค้นหาค�ำตอบ บนเส้นทางการเรียนรู้ของ “โครงการศึกษารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนสร้างพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย” ในระยะเริ่มต้นนักวิชาการด้านการศึกษาและครูในโครงการได้มี โอกาสในการเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ผู้เขียนได้น�ำเสนอประเด็นต่างๆ วิเคราะห์ เนื้อหาผ่านการสังเกต สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การศึกษาเอกสาร และการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สังเคราะห์เป็นบทประสบการณ์เพื่อชักชวนให้ผู้อ่านได้ย้อนทบทวนและตั้งค�ำถามที่ แตกต่างเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองในบริบทไทยจากมุมมองใหม่ ที่ได้จากออสเตรเลีย
61
ก่อนจะถึงโรงเรียน การศึกษามักตกเป็นจ�ำเลยของประเทศอยู่ เสมอในฐานะต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ในสังคม การคิดหรือกล่าวเช่นนั้นคงไม่ใช่ความคิด ที่ผิดแต่เพราะมันเป็นค�ำตอบที่ถูกอยู่เสมอ ค�ำถามส�ำคัญที่น่าขบคิดยิ่งกว่านั้น คือ ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมาการศึกษาเราเรียนรู้ ในแบบไหน และปรับตัวอยู่อย่างไร หรือที่ ผ่านมาการศึกษาประเทศเราไม่เคยเรียนรู้ และมันท�ำให้โรงเรียนของเราไม่เคยเรียนรู้ อย่างที่ทราบกันดีว่าการศึกษาเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม แน่นอนว่าโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน จนประเทศไทยมีแนวคิดบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) หรือแนวคิดบ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด โรงเรียน จะอย่างไรก็แล้วแต่แนวคิดนี้ ก�ำลังเน้นย�ำ้ ถึงโรงเรียนนัน้ เป็นส่วนหนึง่ ของ สังคม แต่สงิ่ ทีห่ ายไปจากแนวคิดนีค้ อื “รัฐ” เราไม่สามารถบอกได้วา่ ล�ำพังตัวบทกฎหมาย เกีย่ วข้องกับการศึกษา การมีกระทรวงศึกษา ธิการ โรงเรียนที่เป็นของรัฐและได้เด็กๆ รับ การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เป็นรายหัว และนโยบายต่างๆ นั้นส่งเสริมการเรียนรู้ที่ แท้จริง เฉพาะภายในโรงเรียนนัน้ ไม่เพียงพอ ต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กๆ หาก รั ฐ คือตัว แทนของประชาชนอย่างแท้จ ริง บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้น เป็นบทบาททีร่ ฐั พึงสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดขึน้ 62
©ThaiCivicEducation
และมีคณ ุ ค่าต่อการเรียนรูม้ ากกว่าทรัพยากร หลายอย่างที่สูญสิ้นตามปีงบประมาณ แม้ กระทัง่ รัฐเองทีม่ กั แสดงบทบาทเป็นผูม้ อี ำ� นาจ ยืนอยู่เหนือประชาชนมากกว่าอยู่เคียงข้าง ประชาชน ประชาธิปไตยที่บกพร่องและ เผด็ จ การทหารจึ ง มี ค วามเหมื อ นกั น ที่ ไ ม่ สามารถสะท้ อ นความเป็ น ตั ว แทนของ ประชาชนทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริง และ ยังคงมองการศึกษาเป็นเครือ่ งมือทางการเมือง มากกว่าระบบทีส่ ง่ เสริมและพัฒนาศักยภาพ ความเป็นมนุษย์ให้ก้าวสู่การเป็นพลเมือง เพื่อสังคม
ถ้าอยากจะรู้จักสังคมในพื้นถิ่นไหนให้ดีพอ ให้มองทีภ่ มู หิ ลังของสังคมนัน้ ประวัตศิ าสตร์ ของสังคม ออสเตรเลียให้ความส�ำคัญกับ การสร้างประวัตศิ าสตร์ประชาชน ด้วยบริบท ของผู้คนในประเทศนี้ที่มีที่มาจากการอพยพ ทั้งจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย อเมริกา มี ประวัตศิ าสตร์ทขี่ มขืน่ ระหว่างคนขาวทีอ่ พยพ เข้ามาแย่งชิงทรัพยากรชนพื้นเมืองดั้งเดิม (ชาวอะบอริจิ้น) เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ดังนั้นรัฐจึงส่งเสริมค่านิยมพหุวัฒนธรรม และการอยู ่ ท ่ า มกลางความหลากหลาย การใช้พนื้ ทีส่ าธารณะทีเ่ อือ้ ให้ทกุ คนในสังคม มีโอกาสเข้าถึง อาทิ ห้องสมุดที่ทุกๆ คน สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ฟรี ไม่มีพิธีรีตอง สัญญาณอินเตอร์เน็ตสาธารณะที่ฟรีและมี ประสิทธิภาพ เครื่องกดน�้ำที่มีน�้ำสะอาด ส�ำหรับทุกคนฟรี พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ทุกคน และที่ส�ำคัญที่สุดบรรยากาศประชาธิปไตย
ที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่าง หลากหลาย โดยผู้เขียนมีโอกาสได้สัมผัสกับ บรรยากาศในวันแรงงานของชาวเมืองเมลเบิรน์ ถ้าในประเทศไทยเราก็จะพบว่าจะมีเฉพาะ ประเด็นที่เกี่ยวกับแรงงาน แต่ที่นี่ประเด็นใน การขับเคลื่อนต่างออกไป พวกเขาเรียกร้อง ผ่านประเด็นเรือ่ งของความเป็นธรรมทางสังคม การเคารพในสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค ของกลุ่มชนพื้นเมือง การต้อนรับผู้อพยพ ย้ายถิ่น ประเด็นด้านการศึกษาที่เสมอภาค ความเท่าเทียมทางเพศ เศรษฐกิจทีเ่ ป็นธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แน่นอนว่า การเดินขบวนต่างๆ นั้นเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่คิดอยากจะเดินก็เดิน มีจุดเริ่มต้นและ จุดสิ้นสุด เหมือนเดินพาเหรด มีต�ำรวจไม่ถึง สิบนายในการช่วยดูแลความปลอดภัย ถัด จากนั้ น ไม่ ถึ ง สิ บ วั น เราเห็ น ภาพข่ า วการ ประท้วงของคนขับรถแท็กซี่ที่หน้ารัฐสภา มลรัฐวิคตอเรีย แน่นอนผมไม่เห็นภาพการบุก เข้าไปในสถานทีร่ าชการ ทุกอย่างอยูใ่ นกรอบ ของกฎหมายที่ทุกคนต้องเคารพ สิ่งส�ำคัญ ที่จะบอกในย่อนี้ทั้งหมดก็คือสังคมที่ห่อหุ้ม การศึกษานัน้ ส�ำคัญมาก และสังคมจะดีได้นนั้ ก็เพราะมีรฐั ทีเ่ ปิดพืน้ ทีใ่ ห้ประชาชนได้สง่ เสียง แสดงความคิดเห็น และเรียนรูป้ ระชาธิปไตย ในวิถีชีวิต ถ้าเราจะบอกว่าการศึกษาของ เราล้มเหลวมันก็คงไม่ผิด แต่ถ้าจะบอกว่า รัฐของเราล้มเหลวก็น่าจะเป็นค�ำตอบที่ถูก มากกว่า ค�ำถามก็คอื จะเป็นไปได้ไหมทีพ่ นื้ ที่ ของสังคมไทยในทุกมิติจะกลายเป็นพื้นที่ สาธารณะเพื่อให้ผู้คนได้เข้ามามีส่วนร่วม 63
©ThaiCivicEducation
©ThaiCivicEducation
เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมร่วมกัน ประวัติศาสตร์ที่ประชาชนเป็นคนเขียนเพื่อ บ่งบอกตัวตนที่หลากหลาย สามัคคีด้วย ความรู้คิดและความรักที่มีต่อกันไม่ใช่เพราะ การบังคับหรือถูกกล่อมเกลาให้เชือ่ ห้องสมุด ของรัฐทีท่ กุ คนเข้าถึงได้แม้จะแต่งกายไม่สภุ าพ หรือเป็นคนไร้บ้านที่อยากเข้ามาใช้ห้องน�้ำ หรือแม้กระทั่งกฎหมายที่ถูกบังคับใช้อย่าง เป็นธรรม แหล่งเรียนรู้ในชีวิตจริงเป็นสิ่ง จ�ำเป็นและต้องถูกส่งเสริมโดยรัฐที่อยู่เคียง ข้างประชาชนอย่างแท้จริง หากเราจะบอก ว่าวันนีก้ ารศึกษาของเราล้มเหลว นัน่ ก็เท่ากับ เราก�ำลังบอกว่ารัฐของเราเรียนรู้ช้าหรือรัฐ ของเราเลือกที่จะไม่เรียนรู้เพื่อให้การศึกษา ที่ล้มเหลวหล่อเลี้ยงระบอบอ�ำนาจนิยมให้ คนที่เข้าถึงระบอบอุปถัมภ์ผ่านอ�ำนาจทาง การเมืองในรูปแบบต่างๆ ยังคงสถานะที่อยู่ เหนือและได้เปรียบเพื่อนร่วมสังคมคนอื่นๆ ต่อไป และนั่นเป็นสาเหตุของการศึกษาใน ประเทศที่สังคมยังไม่เป็นประชาธิปไตยว่า ครูจะสอนแค่ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย แบบผิวเผินไม่ได้ แต่ต้องเป็นการสอนเพื่อ ประชาธิปไตย1 ดังนั้นพลเมืองที่สังคมไทย ต้องการจึงไม่ใช่พลเมืองว่านอนสอนง่ายที่ รัฐกล่อมเกลาให้เชื่องแต่ต้องเป็นพลเมืองที่ มุง่ เน้นการปฏิบตั เิ พือ่ มุง่ สร้างสังคมทีเ่ ป็นธรรม (Westheimer, 2004; Zyngier, 2015)
David Zyngier ได้เน้นย�ำ้ ถึงการสอนประชาธิปไตยแบบผิวเผิน (Thin Democracy) ว่าสอนเพียงแค่เกีย่ วกับประชาธิปไตย นัน้ ไม่เพียงพอ ครูตอ้ งให้ผเู้ รียนรูเ้ พือ่ สร้างสังคมประชาธิปไตย (Thick Democracy) อ่านเพิม่ เติมในบทความ What teachers belive about democracy and why it is important – how (should) we prepare students for democracy and citizenship? Lessons from Australia. 64 1
โรงเรียนสร้างพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย ประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงเรียนมัธยมด้านวิทยาศาสตร์จอห์น โมนาช (JOHN MONASH SCIENCE SCHOOL) และโรงเรียนประถมศึกษาวูรานนา (WOORANNA PARK PRIMARY SCHOOL) ส�ำหรับผู้เขียนแล้วพบว่าการเดินทางครั้งนี้ได้ช่วยตอกย�้ำว่า แนวคิดโรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นยังคงเป็นความหวังและเป็น ทางออกสู่การปฏิรูปการศึกษาอย่างยั่งยืน โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แนวคิดใหม่ อย่างน้อยๆ ในงานเขียนของดิวอี้ก็มีมากว่า 100 ปี และที่จริง แนวคิด ดังกล่าวควรจะปรากฏในเป็นมาตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มก่อตั้งโรงเรียน หากแต่สิ่งที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 พบว่าความมุ่งหมายของการศึกษาไทย “ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”2 ค�ำถามส�ำคัญมีว่า การศึกษาของ ประเทศไทยที่ผ่านมาห่างไกลหรือเข้าใกล้จุดมุ่งหมายดังกล่าวเพียงใด ข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดอีกประการหนึ่งคือ ที่ผ่านมาโรงเรียนไทยรับนวัตกรรมทางการศึกษา ต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามามากมาย อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ทผี่ เู้ ขียนประสบ โครงการ BBL โครงการลดเวลาเรียนเพิม่ เวลารู้ แนวทางจัดการสอนแบบ STEM และอีกมากมายก็ลว้ น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเดียวก็คือ “การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ” ฟังดู เหมือนกับว่าครูของเรามีอาวุธครบมือแต่ปัญหาคืออาวุธเหล่านี้กลับกลายเป็นอุปสรรคเมื่อ เข้าสู่สนามรบ เราสับสน เราไม่รู้จะใช้อะไร เราไม่เข้าใจ เราไม่รู้ว่าจะตอบโจทย์ผู้มีอ�ำนาจ ผูบ้ งั คับบัญชาอย่างไร และสุดท้ายเราเลือกเครือ่ งมือทีเ่ ป็นทางลัดทีง่ า่ ยทีส่ ดุ นัน่ ก็คอื การบรรยาย ใช้แบบฝึกหัด สอนท�ำข้อสอบ สอนให้จ�ำท�ำข้อสอบให้ได้ ครูไทยภายใต้ระบอบอ�ำนาจนิยม จึงอยู่อย่างปลาผิดน�้ำ นอกจากจะท�ำสิ่งใหม่ไม่ได้การท�ำตามๆ กันจึงเป็นอะไรที่ผู้บริหาร และผูบ้ งั คับบัญชาผูค้ อยประเมินจะพึงพอใจมากกว่า แม้เขาจะพร�ำ่ บอกให้ครูไทยเปลีย่ นแปลง ก็ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมในการด�ำรงชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข” แต่ในมุมมองของผู้เขียนนั้น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” ยังเป็นถ้อยค�ำน่ากังขาทั้งในแง่ของคุณค่าที่แท้จริง และความ สมบูรณ์ที่ไม่มีอยู่จริงในโลกที่หลากหลาย 65 2
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในออสเตรเลีย ผู้เขียนพบว่า “ครู” มีอิสระใน การสอน หลักสูตรที่ยืดหยุ่น ระบบการศึกษาและผู้บริหารไว้วางใจในศักยภาพของครู ท�ำให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่มีงานประกันคุณภาพมุ่งเน้น การวัดและประเมินตามเอกสารจนท�ำให้ครูตอ้ งเสียเวลาสอนมานัง่ “ประกอบสร้าง” เอกสาร เพื่อตอบค�ำถามผู้มีอ�ำนาจภายนอกแบบในประเทศไทย หรือมีงานธุรการอื่นๆ ที่พรากครูไป จากชั้นเรียนและนักเรียน อาจจะเป็นเงื่อนไขเหล่านี้ที่ท�ำให้คุณครูมุ่งมั่นและใส่ใจกับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมไปกับเด็กๆ และถึงแม้จะมีโครงการนวัตกรรมการสอนต่างๆ เข้ามา ในโรงเรียน แต่สิ่งหนึ่งที่จะท�ำให้แต่ละโครงการประสบความส�ำเร็จนั่นคือ การเข้าถึงแนวคิด “ผู้เรียนเป็นส�ำคัญ” เมื่อผู้เรียนส�ำคัญที่สุด ครูย่อมไม่ปล่อยให้ตัวเองสอนแบบเดิมๆ ครูต้อง สร้างสรรค์และออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพือ่ พัฒนาศักยภาพของผูเ้ รียนอย่างแท้จริง และเราจะไม่มีทางเห็นภาพการสอนให้เด็กท�ำข้อสอบปรนัยในเวลาเรียนที่นี่ ประเด็นน่าสนใจส�ำหรับการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตยที่ผู้เขียนใคร่ขอน�ำเสนอ จากประสบการณ์ดูงานในออสเตรเลีย คือ • โรงเรียนมัธยมด้านวิทยาศาสตร์จอห์น โมนาช (JOHN MONASH SCIENCE SCHOOL) การเรียนรูว้ ชิ ามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences)3 โดยใช้ประเด็น เป็นฐาน (Issues Studies) ประเด็นน่าสนใจส�ำหรับเด็กมัธยมปลายคือการให้พวกเขาได้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ผ่านประเด็นที่ตนเองสนใจ และครูก็สามารถเพิ่มเติมประเด็น ส�ำคัญทีส่ อดคล้องกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบนั ให้ผเู้ รียนได้เรียนรูอ้ ย่างทันท่วงที โดยในปีการศึกษา 2016 ครูได้นำ� เสนอหัวข้อประเด็นทีน่ า่ สนใจ เช่น เด็กๆ กับเหล่าหมีขวั้ โลก (Children and Polar Bears)4 เมืองยั่งยืน (Sustainable Cities) ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซึ่งข้อดีของ การเรียนผ่านประเด็นคือ เนื้อหาไม่ล้าสมัย ผู้เรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้กับชีวิตจริงได้ทันที และยัง สนับสนุนต่อกระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียน และที่ส�ำคัญการเรียนแบบประเด็นจะช่วยให้ เด็กๆ บูรณาการองค์ความรู้ให้สามารถน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี รวมถึงการพัฒนา ต่อยอดในประเด็นที่ตนสนใจในระดับต่อไป ในรัฐวิคตอเรียวิชาสังคมศึกษาถูกเรียกในชือ่ The Humanities ตามความคิดผูเ้ ขียนน่าสนใจว่าค�ำนีม้ นี ยั ยะทีใ่ ห้ความส�ำคัญ กับความเป็นมนุษย์สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ดูเพิม่ เติมใน http://victoriancurriculum.vcaa.vic.au/copyrigth 4 Children and Polar Bears เป็นประเด็นทีเ่ น้นให้ผเู้ รียนเรียนรูป้ ระเด็นเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศผ่านชีวติ ของหมีขวั้ โลก เพือ่ ให้ผเู้ รียนเห็นว่าวิถชี วี ติ มนุษย์ได้สง่ ผลต่อความเป็นอยูข่ องหมีขวั้ โลกอย่างไร ดูเพิม่ เติมใน http://sites. google.com/a/jmss.vic.edu.au/issues-studies-2016/home 3
66
• โรงเรียนประถมศึกษาวูรานนา (WOORANNA PARK PRIMARY SCHOOL) จากค�ำพูด ของ Richard Gerver ทีว่ า่ “School should be as exciting as Disney world” ท�ำให้โรงเรียน ประถมเล็กๆ แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่เล่นสนุกของเด็กประถม เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างมีจินตนาการ ทุกส่วนในโรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทั้งหมด แม้ว่าวูรานนาจะมีนวัตกรรมการสอนที่ ทันสมัยหลายอย่าง โดยเฉพาะการน�ำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน แต่ เทคโนโลยีต่างๆ ก็ไม่สามารถพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเด็กๆ เมื่อได้ลองไปสัมผัสวิธีการสอน ของครูกบั เด็กประถมจะพบว่าทีน่ เี่ น้นการพัฒนาให้ผเู้ รียนมองเห็นคุณค่าในตัวเอง กล้าทีจ่ ะแสดงออก ในความเป็นตัวเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันคนอื่นท่ามกลางการเคารพกติกาที่พวกเขาร่วมกัน สร้างขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง ส่งเสริมให้อ่านหนังสือนอกเวลาที่ช่วยเปิด โลกของความคิดและจินตนาการของเด็กๆ การเรียนการสอนที่เด็กๆ มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงมิใช่ เพียงแค่ฟังบรรยาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ท�ำให้เด็กๆ ที่นี่ รักคุณครูและรักโรงเรียนของพวกเขา ความเป็นพลเมืองและวิถีประชาธิปไตย ส�ำหรับที่นี่อาจจะเริ่มต้นจากความสุขของเด็กๆ ความสุข ที่ได้จากการเห็นคุณค่าในตัวเองและคุณค่าที่ได้เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
©ThaiCivicEducation
67
โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: อะไรคือเป้าหมาย? เราคาดหวังอะไรจากการศึกษาในปัจจุบัน กันแน่ ? ผูเ้ ขียนอยากจะลองให้ผอู้ า่ นทบทวนเป้าหมาย ของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาสมัย ใหม่คือทางลัดในการเรียนรู้ของมนุษย์ใน โลกทุนนิยม มนุษย์ยุคหินดูจะเป็นตัวอย่าง ที่ไกลไป แต่หากลองเทียบกับปู่ ย่า ของเรา ก็จะพบว่าพวกเขาเรียนรู้ที่จะด�ำเนินชีวิต เทคนิคการตัง้ ถิน่ ฐาน เพาะปลูก ท�ำนา และ ภูมปิ ญ ั ญาในการด�ำรงชีพ ทัง้ หมดคือผลผลิต ของการเรียนรู้ หรือแม้กระทัง่ เด็กๆ ก็เรียนรู้ ทีจ่ ะสือ่ สารกับผูค้ นรอบข้างก่อนเข้าโรงเรียน การเรียนรู้จึงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ใน หนังสือโรงเรียนบันดาลใจ ได้ยกค�ำพูดของ เจอร์รี มินซ์ (Jerry Mintz) ที่กล่าวถึง กระบวนทัศน์สองขั้วที่คนทั่วไปมักใช้มอง การศึกษา หนึง่ ก็คอื “แนวคิดทีว่ า่ เด็กเรียนรู้ เองโดยธรรมชาติ” ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่มี งานวิจัยจ�ำนวนมากและเราก็รู้ว่ามันเป็น ความจริง แต่อีกกระบวนทัศน์หนึ่งซึ่งแทบ จะทุ ก โรงเรี ย นยึ ด ถื อ เป็ น แนวคิ ด หลั ก คื อ แนวคิดทีว่ า่ “เด็กนัน้ เกียจคร้านโดยธรรมชาติ และจ�ำเป็นต้องถูกบังคับให้เรียน” สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงระยะเจ็ดถึงแปดปีหลังก็คือ กระบวน ทัศน์นี้ได้กลายมาเป็นความจริงในตัวมันเอง เพราะในทีส่ ดุ การบังคับให้เด็กเรียนรูใ้ นสิง่ ที่ 68
เขาไม่สนใจ ผลก็คือโรงเรียนได้ท�ำลาย ความสามารถในการเรียนรูท้ มี่ ตี ามธรรมชาติ ของเด็กไปจนหมดสิน้ (โรบินสัน และอะโรนิกา, 2559) ผู้เขียนขอกล่าวว่า โรงเรียนสร้างพลเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่โรงเรียนเพือ่ สร้าง นั ก การเมื อ งเด็ ก หรื อ ปลู ก ฝั ง ทั ศ นคติ ท าง การเมืองทีย่ ดึ ตัวบุคคลหรืออย่างหนึง่ อย่างใด แบบที่รัฐบาลกังวล หรือแบบที่หลายคน เข้าใจกัน หากแต่เป็นโรงเรียนที่ใช้หลักการ และแนวคิดประชาธิปไตยเป็นกระบวนการ ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมรับผิด และชอบอย่างเข้าใจในแก่นสาระที่แท้จริง เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่อยู่ ร่วมกันกับผู้อื่นได้ ร่วมเป็นแรงพลังในการ สร้างสังคมให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม และให้ผู้เรียนได้ค้นพบความหมายแห่งชีวิต ผ่านการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากตัวพวกเขาเอง มิใช่จากการยัดเยียดหรือสั่งการ
ความท้าทายประการแรกของครูในความเห็น ของผู้เขียน คือ การเปิดใจทบทวน เราเป็น ครูเพื่ออะไร เราสอนไปเพื่ออะไร สิ่งที่เราท�ำ ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง หรือไม่ และเรามีทัศนคติกับเด็กแค่ไหน เรา เชือ่ ในศักยภาพของเขาโดยเปิดพลังด้านบวก หรือเราถนัดใช้ทศั นคติดา้ นลบเพียงเพือ่ จับผิด และบังคับให้เขาท�ำตามกฎหรือธรรมเนียม ทีท่ ำ� ต่อๆ กันมา โดยปราศจากการตัง้ ค�ำถาม ถึงเหตุและผล ผู้เขียนเห็นว่าโรงเรียนสร้าง พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในบริบทไทย อาจจะต้องเริ่มจากการท�ำให้โรงเรียนเป็น พืน้ ทีก่ ารเรียนรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญอย่าง แท้จริง แนวคิดที่ครูไทยได้ยินมาหลายสิบปี แต่เราไม่เคยเข้าใจหรือท�ำให้เกิดขึ้นได้อย่าง แท้จริงเลย เพราะถ้าเพียงเราเน้นผู้เรียน เป็นส�ำคัญในทุกมิติของการศึกษาได้อย่าง แท้จริง นั่นก็เป็นประตูบานแรกที่ครูได้เปิด สู่การเป็นโรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย ประการต่อมา ถ้าเราคาดหวังว่าการศึกษา จะเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม ไม่มีสังคมไหน
จะดีไปกว่าสังคมที่เป็นธรรม “พลเมืองที่มุ่ง เน้นความเป็นธรรม” (ทัง้ ความเป็นธรรมทาง สังคมและสิ่งแวดล้อม) การปฏิรูปการศึกษา เพือ่ สังคมจึงต้องเริม่ ต้นจากครู ซึง่ แน่นอนว่า หากเราจะสร้างพลเมืองที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ เพือ่ ความเป็นธรรมทางสังคมและสิง่ แวดล้อม ครูจำ� เป็นต้องมีแรงขับจากภายใน การตระหนัก ในคุณค่าของความเป็นครูที่เปลี่ยนแปลง ตามยุคสมัย และมองเห็นการเปลี่ยนแปลง ของบริบทรอบตัว ไม่ใช่ครูในแบบเก่าทีม่ งุ่ เน้น พิธีกรรม รูปแบบพิธี และความสัมพันธ์เชิง อ�ำนาจแบบเผด็จการอ�ำนาจนิยม ถ้าครูไม่ สร้างสรรค์ ถ้าครูยงั ยึดแต่ตำ� รา หรือสอนเพือ่ ความมุ่งหมายอื่นที่ไม่ใช่การพัฒนาผู้เรียน และสังคม การปฏิรูปทางการศึกษาย่อม ไม่มีทางเกิดขึ้น บทเรียนส�ำคัญบทหนึ่งจาก ออสเตรเลียทีม่ หาวิทยาลัยโมนาช (MONASH University) เราได้มีโอกาสได้เรียนรู้กับ อาจารย์ลิบบี้ ทัดบอล (Libby Tudball) ในประเด็น Citizenship education and teacher education: teaching about human rights and active citizenship ผู้เขียนสนใจในประเด็นที่ว่า การศึกษาไม่ใช่
69
แค่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสภาพสังคม แต่ที่ส�ำคัญที่สุดการศึกษาต้องเป็นตัวชี้น�ำอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าทิศทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development) เป็นประเด็นส�ำคัญและจะยังเป็นอยู่ต่อไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและ เปราะบางของสังคมมนุษย์และระบบนิเวศโลก ซึ่งอาจารย์ได้เน้นย�้ำถึงมิติเนื้อหาการศึกษา เพือ่ พัฒนาความเป็นพลเมือง (Contents of Multidimensional Citizenship Education) ซึง่ เป็นแนวคิดของโคแกน (Cogan, 2000) ใน 3 มิตทิ ตี่ อ้ งหลอมรวมกันในการเรียนรู้ กล่าวคือ พลเมืองศึกษา (Civic Education) เป็นการเรียนบนฐานความรู้เพื่อใช้ความรู้นั้นเป็นฐาน ของความคิดความเชื่อ และพัฒนาทักษะเพื่อการแสดงออกในฐานะพลเมือง ค่านิยมศึกษา (Values Education) เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถสร้างค่านิยมซึ่งเป็นพื้นฐานของ ความเชือ่ และเจตคติในความเป็นพลเมืองด้วยตนเอง และ สิง่ แวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ซึ่งเป็นกระบวนการในการพัฒนาความเข้าใจ ทักษะ และคุณค่าเกี่ยวกับ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน (สิง่ แวดล้อมศึกษาเพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน)ผูเ้ ขียนใคร่ขอเสนอมิตเิ พือ่ ก้าวสู่ โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในบริบทไทย จากการตกผลึกและเรียนรู้ใน ช่วงแรก โดยใช้แนวคิดการน�ำเสนอของอาจารย์ลิบบี้เป็นฐาน วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโรงเรียน สร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
70
การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม ศักยภาพความเป็นมนุษย์
นโยบายและการบริหาร อย่างมีส่วนร่วม
หลักสูตรที่มุ่งพัฒนาศักยภาพ ความเป็นพลเมือง
การสร้างการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนในชุมชน
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องเริ่มต้นจาก การท�ำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรูท้ แี่ ท้จริง วัฒนธรรมต้องเริม่ จากสร้างพืน้ ทีใ่ ห้ครูและนักเรียน ได้พดู คุยและเรียนรูท้ จี่ ะเดินไปด้วยกัน ครูตอ้ งพูดคุยและเป็นกัลยาณมิตรต่อผูเ้ รียนสร้างพืน้ ที่ ในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกติกา ปัญหาในโรงเรียน ครูต้องทลายก�ำแพงอ�ำนาจนิยม ในตัวครูลง ปลดอาวุธที่เรียกว่าไม้เรียวสร้างคน ทัศนคติที่เชื่อว่าการต�ำหนิด้วยอารมณ์คือ การสั่งสอนทิ้งไป ครูต้องหันกลับมาเปิดมุมองด้านบวก เน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียนและชวนให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะเคารพความเป็นมนุษย์จาก คุณค่ามากกว่าการใช้อ�ำนาจ • นโยบายและการบริหารโรงเรียนอย่างมีสว่ นร่วม นโยบายของโรงเรียนทุกอย่างครูทกุ คน และนักเรียนทีเ่ ป็นตัวแทน หรือนักเรียนทุกคน ตลอดจนตัวแทนผูป้ กครองควรต้องรับรูแ้ ละมีสว่ นร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และมีสว่ นในการตัดสินใจ จากการมีสว่ นร่วมตรงนีจ้ ะท�ำให้โรงเรียนมี อ�ำนาจในการรับหรือไม่รบั หรือจะด�ำเนินนโยบายต่างๆ ได้อย่างแท้จริงๆ – ผูบ้ ริหารควรบริหาร โรงเรียนแบบประชาธิปไตย คือสร้างและสนับสนุนให้เกิดพืน้ ทีข่ องการแลกเปลีย่ นความคิดเห็น และน�ำพาโรงเรียนเพือ่ ประโยชน์ของทุกคนอย่างแท้จริง
• หลักสูตรที่มุ่งเน้นศักยภาพความเป็นพลเมือง โดยธรรมดาครูไทยจะท�ำหลักสูตร สถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานและสร้างรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนแบบ รายวิชาดั้งเดิมนั้นเป็นแนวคิดของการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม ซึ่งท�ำให้ครูและผู้เรียนสนใจแต่ ตัวหนังสือที่เป็นเนื้อหาตามมาตรฐานแต่ขาดการพัฒนาเชิงกระบวนการ ตลอดจนเข้าถึงคุณค่า ที่แท้จริงของศาสตร์ การบูรณาการท�ำด้วยความยากล�ำบากเพราะแต่ละกลุ่มสาระจะยึดถือศาสตร์ ของตัว หลักสูตรจึงต้องทบทวนใหม่ในเชิงบูรณาการ (ความจริงหลักสูตรชาติยดื หยุน่ อยูใ่ นระดับหนึง่ แต่จากการเข้าใจผิดๆ ของเหล่าวัดและประเมินผลก็ดี ท�ำให้เราขาดความคิดสร้างสรรค์ไปอย่าง น่าใจหาย เช่น การจัดเวลาเรียนในหลักสูตรไม่ได้บังคับให้ต้องจัดโดยแบ่งเป็นคาบละ 1 ชั่วโมง หลักสูตรแค่บอกจ�ำนวนเวลาในการเรียนมา ความจริงโรงเรียนมีอิสระในการท�ำงานค่อนข้างมาก แต่เราถูกยึดตรึงจากการท�ำงานแบบไม่ไว้วางใจมากจนเกินไป ดังนัน้ ในโรงเรียนทีเ่ น้นวิทยาศาสตร์ อาจจะจัดวิชา นักวิทยาศาสตร์นอ้ ยเปลีย่ นโลก หรือวิทยาศาสตร์เพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อม ซึง่ ทัง้ หมด ควรยึดเป้าหมายของการสร้างพลเมืองเป็นส�ำคัญ หลักสูตรต้องตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง และมีเจตจ�ำนงแห่งอนาคตแฝงอยู่ แต่แน่นอนนี่เป็นสิ่งที่ท�ำได้ยากในสถานการณ์จริง ดังนั้นใน ส่วนของการปฏิบตั แิ ม้จะถูกแยกเป็นรายวิชา แต่การจัดหลักสูตรให้เป็นหน่วยการเรียนรูท้ บี่ รู ณาการ เชื่อมโยงกันก็มีความเป็นไปได้อยู่บ้าง 71
• การจัดการเรียนการสอนทีส่ ง่ เสริมศักยภาพความเป็นมนุษย์ ถ้าครูเชือ่ ในความเป็นมนุษย์ วิถีประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ เน้นกระบวนการคิด กระบวนการกลุม่ กระบวนการสืบสอบ เน้นการเรียนรูจ้ ากการปฏิบตั ิ การเรียนรู้ ผ่านโครงงาน กระบวนการสร้างความรู้แบบน�ำตนเอง จนมาถึงการเลือกวิธีสอนและการใช้แหล่ง เรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและประเมินตามสภาพจริง ต่างๆ เหล่านี้ล้วนตั้งอยู่บนฐานของความ ไว้เนือ้ เชือ่ ใจในศักยภาพความเป็นมนุษย์ของผูเ้ รียน และเป็นการเรียนการสอนในวิถปี ระชาธิปไตย ในตัวเองอยู่แล้ว ในบริบทไทยครูต้องลดบทบาทของการบรรยาย และการสั่งสอนแบบดั้งเดิม (Traditional Education) การสอนเพื่อพิธีกรรมสอบซึ่งไม่มีทางที่คะแนนเหล่านั้นจะวัดคุณค่า ทีแ่ ท้จริงของความเป็นมนุษย์ได้ ย่อมต้องถูกทบทวน การคาดหวังคะแนนจากการสอบวัดระดับชาติ เพื่อผลประโยชน์บางประการควรละทิ้งภายใต้ จรรณยาบรรณที่เข้มแข็ง การปฏิรูปในห้องเรียน คือการปฏิรูปการศึกษาที่เริ่มต้นได้เสมอ การเรียนการสอนที่มีชีวิตชีวาส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรง บันดาลใจ และมีโอกาสเป็นส่วนหนึง่ ในการแก้ปญ ั หาพัฒนาสังคมย่อมเริม่ ต้นได้จากความกล้าหาญ และทัศนคติของความเป็นครูเพื่อสังคม
• การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชน การจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม เป็นแนวทางที่มีความหมาย เพราะเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกความเป็นจริงของสังคมที่ห้อมล้อม รอบตัวผู้เรียนกับการเรียนรู้ของผู้เรียน บางครั้งชุมชนก็อยู่ในห้องเรียน บางครั้งห้องเรียนก็อยู่ที่ ชุมชน โรงเรียนสามารถสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ของเด็กๆ โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่แยกขาดกับชุมชน
ข้อเสนอแนะทัง้ หมดในบทนีไ้ ม่ได้สงั เคราะห์เพือ่ หาวิธกี ารหนึง่ เดียวใช้ได้ทกุ ที่ การเปลีย่ นแปลง ที่แท้จริงย่อมอยู่กับบริบทของพื้นที่ ผู้อ�ำนวยการที่เข้าอกเข้าใจถึงเป้าหมายและภาวการณ์ เป็นผูน้ ำ� ทีส่ ร้างแรงบันดาลใจให้ครูขบั เคลือ่ นไปร่วมกันและเข้าใจความเปลีย่ นแปลงของสังคม ครูทไี่ ม่ทอดทิง้ ความเป็นมนุษย์ของเด็กๆ มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าทีจ่ ะท�ำในสิง่ ทีถ่ กู ต้อง เพื่อผู้เรียน การเป็นโรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้เริ่มต้นจากทุนที่ไม่มี อย่างน้อยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญก็ถูกกล่าวถึงตลอดเวลา เพียงแต่ทัศนคติ วิธีคิด และวิธีปฏิบัติที่ครูจะต้องหันกลับมาทบทวนถึงเป้าหมายและวิธีการ ด้วยตนเองอีกครั้ง ไม่มีวิธีการภายนอกใดใดจะใช้ได้กับผู้ปฏิบัติ ครูภายในโรงเรียนต้องสร้าง มันขึ้นมาด้วยตนเอง 72
บทส่งท้าย บทความชิน้ นีเ้ น้นการสังเคราะห์ผา่ นประสบการณ์ภาคสนามทีผ่ เู้ ขียนสัมผัสจากกระบวนการ เริ่มต้นของโครงการศึกษารูปแบบโรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย มุมมองที่ น�ำเสนอจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรายละเอียด หากแต่ใจความหลักของโรงเรียนสร้าง พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือการคืนโรงเรียนที่แท้จริงให้กับเด็กๆ คืนห้องเรียนที่มี ชีวติ ชีวาการศึกษาทีม่ คี วามหมาย คืนคุณค่าของความเป็นครูในสังคมไทย ไม่ใช่การทีน่ กั เรียน หมอบกราบถือพานเคารพ แต่คือคุณค่าที่ท�ำให้เด็กๆ โตขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่เห็นคุณค่าของ ตัวเอง เคารพผูอ้ นื่ และเป็นพลเมืองทีส่ ร้างและพัฒนาสังคมและสิง่ แวดล้อมให้อยูอ่ ย่างยัง่ ยืน แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยอาจจะบกพร่องนั่นก็เพราะมนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ พวกเราผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง แต่ทางออกในวิถีประชาธิปไตยก็เชื่อในการเรียนรู้และเชื่อใน ความเป็นมนุษย์ ท่ามกลางกติกาและหาทางออกอย่างสันติ ความเลวร้ายของเผด็จการและ ประชาธิปไตยที่บกพร่องที่ผ่านมาไม่ใช่เฉพาะแค่การท�ำอะไรตามอ�ำเภอใจเพื่อพวกพ้องหรือ เครือข่ายของตัวเอง แต่คือการละเมิดความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐและทุกคนต้องปกป้อง ดูแล คุณภาพของการศึกษาจึงไม่ได้ตอบด้วยคะแนนปลายทาง แต่ปรัชญาการศึกษาตั้งต้น ของเราก็เป็นอะไรที่น่าขบคิดทบทวนว่ากระดุมเม็ดแรกที่กลัด เราค�ำนึงถึงความเป็นมนุษย์ มากน้อยแค่ไหน ถึงบรรทัดนี้ผมนึกถึงนิทานที่ ดร.วัฒนา อัคคพานิช เล่าในวันแรกของ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “รู้เท่าทันการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย” อาจารย์ได้เล่านิทานเรือ่ ง “มนุษย์ถำ�้ ” ของเพลโต เรือ่ งมีอยูว่ า่ พวกเราทัง้ หลาย ก็เหมือนกับมนุษย์ที่ถูกล่ามโซ่จองจ�ำอยู่ในถ�้ำ ถูกบังคับให้หันหน้าเข้าหาก�ำแพง ด้านหลัง ของพวกเรามีกองไฟขนาดใหญ่อยู่ เราไม่มีสิทธิที่จะหันหลังมาดูอะไรได้ วันๆ เราได้แต่มอง สิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนผ่านกองไฟจากเงาที่กระทบผนังถ�้ำ นานวันเราทั้งหลายก็เห็นแต่เพียงเงา จนในที่สุด “เงา” ที่เราเหล่านั้นได้กลายเป็นจริงในความคิดของเรา จนกระทั่งมีมนุษย์ถ�้ำ คนหนึ่ง เริ่มตั้งค�ำถามและปลดโซ่ตรวนที่ล่ามตัวเขา เขาหันหลังมองเห็นแสงไฟและออกไป ข้างนอกถ�้ำ ได้เจอกับโลกอีกใบภายนอกและเขาตระหนักได้ทันทีว่าสิ่งที่เขาเห็นบนผนังถ�้ำ มาตลอดเป็นแค่เพียงเงาของความจริง ด้วยหัวใจทีต่ นื่ เต้นเขารีบวิง่ เข้าถ�ำ้ เพือ่ ไปบอกเพือ่ นๆ ให้เลิกมองเงาและออกจากถ�้ำเพื่อสัมผัสโลกที่แท้จริง แต่ท้ายที่สุดนอกจากเพื่อนๆ จะไม่ เชื่อเขาแล้ว ยังหัวเราะเยาะเย้ย ทั้งยังคงยึดมั่นในความคิดของตนต่อไปว่าเงาบนก�ำแพงนั้น คือความจริงสูงสุด แม้เพลโตอาจจะมีมุมมองอื่นๆ เกี่ยวกับนิทานเรื่องนี้ของเขา แต่ผมก็จ�ำ นิทานเรือ่ งนีแ้ ละได้ขอ้ คิดจาก ดร. วัฒนา และขบคิดต่อในบริบทของการศึกษาไทย ว่าทุกวันนี้ 73
และครูส่วนใหญ่ของเราก�ำลังกลายเป็นมนุษย์ถ�้ำ เรามีชุดความเชื่อซึ่งถูกใช้ต่อๆ กันมาโดย ไม่ถกู ตัง้ ข้อสงสัยว่าเมือ่ เวลาเปลีย่ น ยุคสมัยเปลีย่ น เด็กๆ เปลีย่ น เรายังมุง่ มัน่ สอนและท�ำกัน ในแบบเดิมประหนึ่งว่านั่นคือความจริงสูงสุด ที่ไม่มีอะไรมาลบล้างได้ ใครล่ามโซ่ตรวน การศึกษาของเราไว้นนั่ ยังไม่สลดใจเท่ากับเราเลือกทีจ่ ะล่ามตัวเองเพราะเรากลัวทีจ่ ะแตกต่าง กลัวที่จะออกไปโลกภายนอก โรงเรียนสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยก็คงไม่สามารถ เปลีย่ นได้หากเรายังคงหนักแน่นกับวิธคี ดิ ของเรา โดยปราศจากการเปิดรับเสียงของภายนอก ถ้าเราท�ำโรงเรียนให้เป็นเหมือนถ�้ำของเพลโต ไม่ใช่แค่เพียงชีวิตของเราจะไร้ความหมาย แต่ชีวิตของเด็กๆ ที่จะมีอายุไปอีกในอนาคต พวกเขาควรได้ออกจากถ�้ำ และเรียนรู้โลก ทีแ่ ท้จริงโดยมีครูทเี่ ป็นเพือ่ นร่วมทางในการเรียนรู้ เพือ่ ให้การเรียนรูพ้ าให้เขาค้นพบความหมาย ของและตระหนักต่อคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ประชาธิปไตยจึงจะมีชวี ติ และเป็นกระบวนการ เรียนรู้ในหน้ากากของระบอบการปกครองที่มุ่งหวังให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขอย่าง เป็นธรรม รายการอ้างอิง ปฤณ เทพนรินทร์. (2559) อ�ำนาจนิยมในระบบการศึกษา เข้าถึงใน http://prachatai.com/journal /2015/08/60993 สืบค้น เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 พระไพศาล วิสาโล. (2550) วิถีสู่สังคมคุณธรรม เข้าถึงใน http://www.visalo.org/article/ PosttoDay255001.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559 สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558) ย้อนยุคอ�ำนาจนิยม สะท้อนการศึกษาไทย.เข้าถึงใน http://www. sujitwongthes.com/2016/05/siam10052559/ สืบค้นเมือ่ วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 โรบินสัน และอะโรนิกา. แปลโดย วิชยา ปิดชามุก.(2559). โรงเรียนบันดาลใจ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิร์ล พับลิชชิ่ง เฮาส์ Dewey, J.(1916). Democracy and Education: An Introduction to the Philosophy of Education. Accessed at: http://s3.amazonaws.com/arena-attachments/ 190319/2a5836b93124f200790476e08ecc4232.pdf UNESCO. Teaching and Learning for a Sustainable Future: a multimedia teacher education programme. Accessed at: http://www.unesco.org/education/ tlsf/mods/theme _b/mod07.html Westheimer, J. and Kahne, J.(2004) What kind of Citizen? The politic of education for democracy. Accessed at: www.civicsurvey.org/sites/defalt/files/ publications/what_kind_of_citizen.pdf Zyngier, D. (2015).What teachers believe about democracy and why it is important – how (should) we prepare students for democracy and citizenship? Lessons from Australia. 74
©ThaiCivicEducation
ส่องวิถี (สร้าง) พลเมืองประชาธิปไตย บน “พื้นที่สาธารณะ” รัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
อาจารย์ประจ�ำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
75
เกริ่นนำ� เมื่อคิดถึงการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เงื่อนไขและองค์ประกอบตลอดจนคุณสมบัติหลาย ประการผุดสะพรัง่ ในการรับรูข้ องผูเ้ ขียน ตัง้ แต่เงือ่ นไขทางโครงสร้างสังคมการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจและวิถชี วี ติ ทางสังคมวัฒนธรรม บรรยากาศแวดล้อมตลอดจนพืน้ ทีส่ าธารณะ ส�ำหรับเรียนรูฝ้ กึ ฝนทักษะการเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ด้วยระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบ การเมืองทีม่ งุ่ เน้นการค�ำนึงประโยชน์รว่ มกันของคนในสังคม และเป็นระบอบทีต่ อ้ งการการมี ส่วนร่วมในการออกแบบ ก�ำหนด กฎกติกา ตัง้ ค�ำถามกับระบบทีด่ ำ� เนินไป วิเคราะห์วพิ ากษ์บน ฐานความรูแ้ ละข้อมูลทีเ่ ชือ่ ถือได้ ตรวจสอบและรับผิดชอบทางสังคมร่วมกัน ดังนัน้ จึงต้องการ โครงสร้างทางสังคมการเมืองที่เปิด “พื้นที่สาธารณะ”1 ให้เอื้ออ�ำนวยต่อการสร้างบรรยากาศ ของการถกเถียงแลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ รือ่ งราวต่างๆ ในชีวติ ประจ�ำวันทีเ่ กีย่ วข้องกับการเป็นพลเมือง ประชาธิปไตย บทความสั้นๆ นี้จะน�ำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้นอกต�ำราเรียนในสังคม ประชาธิปไตยแห่งมลรัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลียระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2559 โดยมองผ่านวิถีการสร้างพลเมืองประชาธิปไตยผ่านพื้นที่สาธารณะรูปแบบต่างๆ
©ThaiCivicEducation
พืน้ ทีส่ าธารณะ (public space) ในทีน่ ี้ หมายถึง พืน้ ทีใ่ นโลกทางสังคมซึง่ ปัจเจกบุคคลมาพบปะพูดคุยและอภิปรายกัน อย่างเสรีในประเด็นปัญหาทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ประเด็นจากการอภิปรายโต้เถียงปัญหาในพืน้ ทีส่ าธารณะ ก่อให้ เกิดการรับรูร้ ว่ มกันและน�ำไปสูก่ ารตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมทางการเมืองของสาธารณชนในอันดับต่อไป พืน้ ทีส่ าธารณะเป็นได้ทงั้ พืน้ ทีท่ างรูปธรรม คือ พืน้ ทีท่ างกายภาพทีก่ ำ� หนดขอบเขตไว้แน่นอน เช่น รัฐสภา ร้านกาแฟ ลาน ประชาชน จัตรุ สั กลางเมือง สวนสาธารณะ โรงละคร พิพธิ ภัณฑ์ และพืน้ ทีท่ างนามธรรม เช่น สือ่ มวลชน สือ่ สังคมออนไลน์ กลุม่ ทางสังคม หรือพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม เป็นต้น 76 1
พื้นที่สาธารณะ (Public sphere) กับการเรียนรู้ของพลเมืองประชาธิปไตย “เจอร์เก้น ฮาเบอร์มาส” (Jürgen Harbermas) ได้เคยเสนอไว้ว่า มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ เราต้องเปิดให้มีพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้คน ได้เข้ามาแลกเปลี่ยน ถกเถียง หรือแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็น การมาพูดคุยถึงเรื่องส่วนตัว แต่เป็นปัญหา สาธารณะหรื อ ผลประโยชน์ ส าธารณะได้ อย่างอิสระ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ส่วนรวม” เพราะ ‘พื้นที่สาธารณะ’ จะน�ำ ไปสูก่ ารสร้างความรูข้ องชุมชนขึน้ มาชุดหนึง่ ที่ผ่านการคัดสรร คัดกรองและกลั่นกรอง จนตกผลึก จนกลายเป็นประเด็นร่วมของคน ที่มาหารือร่วมกัน เกิดการน�ำไปสู่การพัฒนา เป็นนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมกับชุมชน ต่อไปในอนาคต ดังนั้น การสร้างบรรยากาศ ของการ ‘สานเสวนาสาธารณะ’ ที่ยอมรับ ในความแตกต่างทางความคิดของสมาชิก มี บรรยากาศการสื่อสารแบบเผชิญหน้าต่อกัน ผ่านรูปแบบการสนทนา อภิปราย แลกเปลีย่ น ความคิดเห็น อันจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนรวมหรือของสาธารณะให้เกิดขึน้ โดยไม่มี การบังคับข่มขู่ ชักจูง คุกคาม หรือออกค�ำสัง่ ให้ตอ้ งพูดแต่อย่างใด” (วิสทุ ธิ บุญญะโสภิต, ม.ป.ป.) จึงเป็นหัวใจส�ำคัญของการสร้างวิถี ชีวติ ทีเ่ ป็นประชาธิปไตยให้พลเมืองได้ฝกึ ฝน หรือดังที่ Zyngier et al (2015) ได้สะท้อน ไว้ในชื่อบทความของเขาที่เขียนร่วมกับ
นักวิชาการอีกสองคนว่า “ประชาธิปไตยมิใช่ อะไรทีจ่ ะหล่นลงมาจากฟากฟ้า” ทว่าพลเมือง ที่มีจิตส�ำนึกอย่างแข็งขันและเชื่อมั่นศรัทธา ในวิถีประชาธิปไตยต่างหากที่จะเป็นผู้สร้าง สังคมประชาธิปไตยขึน้ มาและทีส่ ำ� คัญในงาน ของ Zyngier et al (2015) ยังชี้ให้เห็น ความส�ำคัญของครูผู้มีบทบาทส�ำคัญในการ สร้างพลเมืองประชาธิปไตยตั้งแต่ในพื้นที่ สาธารณะระดับห้องเรียน กับนักเรียนซึ่งจะ เป็ น พลเมื อ งที่ เ ป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของสั ง คม ประชาธิป ไตยในวั นข้ า งหน้ า เมื่ อ พวกเขา เติบโตขึ้นด้วย ในแง่นี้ บนฐานของการท�ำให้ “พืน้ ทีส่ าธารณะ เป็นประชาธิปไตย” ได้ถูกน�ำไปเชื่อมโยงกับ การขับเน้นในเรือ่ งการมีสว่ นร่วมทางการเมือง ของพลเมือง ในฐานะที่เป็นแกนหลักของ สังคมประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง และในฐานะ ที่เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญในการพัฒนา ตนเองของปัจเจกชน (สมเกียรติ ตั้งนโม, 2549) จึงเป็นวิถีและพื้นที่แห่งการสร้าง พลเมืองทีท่ งั้ เข้าใจในสาระส�ำคัญของหลักการ และแนวคิด ตลอดจนวิถปี ฏิบตั ขิ องพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยทีค่ ำ� นึงถึงผลประโยชน์ ทีใ่ ฝ่ฝนั ร่วมกันของสังคมทีต่ นเป็นสมาชิกอยู่ 77
สหภาพแรงงาน: พื้นที่สาธารณะกับพละก�ำลังของเมือง หากจะให้นิยามค�ำว่า พลเมือง ตามแบบที่ สังคมไทยคุ้นชินว่า หมายถึง บุคคลที่เป็น พละก�ำลังของเมือง วันแรงงานสากลก็น่าจะ มีความหมายเพิ่มขึ้นส�ำหรับพลเมืองทุกคน ไม่เว้นว่าจะเป็นผู้ใช้แรงงานหรือเป็นคนที่ ท�ำงานในระดับผู้บริหารในส�ำนักงาน แต่ ส�ำหรับพลเมืองที่อยู่ในกลุ่มใช้แรงงานคงจ�ำ ได้ดีว่า ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็น วันแรงงานสากล หลายแห่งทั่วโลกมักมีการ เคลือ่ นไหวในเรือ่ งการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน ไม่เว้นแม้แต่ ประเทศไทยทีเ่ มือ่ ถึงวันที่ 1 พฤษภาคมก็จะ มีสหภาพแรงงานที่นั่น ที่นี่นัดรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องการขึ้นเงินเดือนและสวัสดิการ ต่างๆ ที่ตนปรารถนา ทว่าที่เมืองเมลเบิร์น เมืองเอกของมลรัฐวิคตอเรียมีความพิเศษ มากกว่านัน้ ด้วยในวันดังกล่าวทีห่ น้าส�ำนักงาน สหภาพแรงงานออสเตรเลีย รัฐวิคตอเรีย (The Australian Workers Union - Victoria Office) ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสเป็นเซอร์ตะวันตก (West Spencer St.) กลับเป็นพืน้ ทีร่ วมตัวกัน ของบรรดาสมาชิกผู้ใช้แรงงานและคนมาก หน้าหลายตาที่ต่างพากันมา “มีส่วนร่วม” แสดงสัญลักษณ์ของการต่อสู้อย่างหนักของ บรรดาผู ้ ใ ช้ แ รงงานในอดี ต เพื่ อ สิ ท ธิ แ ละ สวัสดิการที่ดีของผู้ใช้แรงงาน บ้างหอบลูก จูงหลานมาพร้อมกับป้ายข้อความเล็กๆ ที่ บ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดของตน แต่ที่ น่าสนใจคือ แทบไม่เห็นป้ายข้อความที่เรียก 78
©ThaiCivicEducation
ร้องผลประโยชน์ เงินเดือน หรือสวัสดิการ เพือ่ ตนเองเลย หากแต่สงิ่ ทีเ่ ห็นคือ การเรียก ร้องสิทธิอนั ชอบธรรมในการประท้วง (Rights to Protest) การเรียกร้องประชาธิปไตย และสันติภาพ (Democracy and Peace) การยินดีตอ้ นรับผูอ้ พยพ (Welcome Refugee) และไม่ เ พี ย งแค่ ก ารแสดงป้ า ยสั ญ ลั ก ษณ์ ข้อความต่างๆ เท่านัน้ กลุม่ ผูใ้ ช้แรงงานและ ผู้สนับสนุนคนอื่นๆ ทั้งที่เป็นคนหนุ่มสาว เด็กผู้เข้าร่วมขบวนที่หลากหลายทั้งศาสนา ชาติ พั น ธุ ์ แ ละน่ า จะหมายรวมถึ ง สั ญ ชาติ และเชื้อชาติด้วย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะว่า ใน ขบวนมีการใช้ภาษาที่หลากหลาย ทั้งฮินดี สเปน อาหรับ ยิ่งกว่านั้น พื้นที่ท�ำการของสหภาพแรงงาน แห่งนี้ยังเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะส�ำหรับใคร ก็ตามที่ต้องการใช้เป็นห้องประชุมกลุ่ม หรือ จั ด กิ จ กรรมสาธารณะประโยชน์ ใ ดก็ ต าม
สามารถมาใช้ได้ ขอเพียงแค่แจ้งมาล่วงหน้า เท่านัน้ และทีส่ ำ� คัญคือ รัฐวิคตอเรียสนับสนุน การบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ อ าคารที่ ท� ำ การซึ่ ง มี ความเก่าแก่มาก แต่เขาเห็นความส�ำคัญว่า พลเมืองไม่ว่าจะชนชั้นใดก็ตาม ต่างก็เป็น พลเมืองในสังคมของเขาเช่นกัน แม้วา่ แนวคิด หรือข้อเรียกร้องบางอย่างของสหภาพแรงงาน จะไม่ ไ ด้ ส อดคล้ อ งกั บ แนวทางของสั ง คม ประชาธิปไตยไปเสียทัง้ หมด หากเราพิจารณา ว่าฐานคิดของสหภาพแรงงานวางอยูบ่ นฐาน ของมาร์กซิสต์ซึ่งออกจะไปทางสังคมนิยม เสียมากกว่าก็ตามที แต่การเปิดพื้นที่และ ยอมรับให้ความเห็นต่างได้มที ที่ างแสดงออก กลั บ เป็ น เรื่ อ งที่ ดี ส� ำ หรั บ วิ ถี พ ลเมื อ ง ประชาธิปไตยที่ควรต้องอดทนอดกลั้นได้ใน ความเห็นที่แตกต่างกัน ผู้เขียนอดคิดถึง สังคมไทยไม่ได้วา่ ทีผ่ า่ นมาสวัสดิการของผูใ้ ช้ แรงงานไทยไม่ได้มีโอกาสเติบโตเท่าใดนัก และทีห่ นักหนากว่านัน้ คือ แรงงานไทยกลาย เป็นพลเมืองทีถ่ กู มองข้ามความส�ำคัญไปและ ถูกมองในเชิงลบด้วยซ�้ำ การออกมาใช้พื้นที่ สาธารณะของแรงงานมักถูกก�ำกับ ควบคุม (หรือกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์) และหาทาง สกัดกั้นแทบทุกครั้งไป ซึ่งอันที่จริง สังคม การเมื อ งประชาธิ ป ไตยจะเกิ ด ขึ้ น ได้ ค ง มิ ใ ช่ แ ค่ มิ ติ ข องฝ่ า ยที่ ก ล่ า วอ้ า งว่ า ชื่ น ชม ประชาธิปไตยหรือชนชัน้ นายทุนหรือกลุม่ อืน่ ๆ หากแต่ ก ารเรี ย นรู ้ จ ากสั ง คมออสเตรเลี ย ท�ำให้เห็นว่าผูใ้ ช้แรงงานต่างหากเป็นกลจักร ส�ำคัญส�ำหรับการสร้างเมืองทีเ่ จริญก้าวหน้า และใส่ใจในคุณค่าประชาธิปไตย
ขณะทีก่ ารร�ำลึกถึงสาระส�ำคัญของวันแรงงาน สากลในวันดังกล่าวก็นา่ สนใจไม่นอ้ ยไปกว่ากัน เพราะอนุสาวรีย์ที่บรรจุความทรงจ�ำถึงการ เคลื่ อ นไหวเรี ย กร้ อ งเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง สิ ท ธิ มนุษยชนสากลโดยเฉพาะในเรื่องสิทธิและ สวัสดิการของแรงงานซึง่ ด้านบนจารึกไว้ดว้ ย ตัวเลข 8 8 8 ฐานด้านล่างมีพนื้ ทีว่ า่ งส�ำหรับ กิจกรรมสาธารณะ แต่ในวันดังกล่าว ที่ฐาน ของอนุสาวรีย์มีพวงหรีด ช่อดอกไม้สดวาง อยู่พร้อมข้อความที่แสดงถึงความขอบคุณ ต่อผู้ใช้แรงงานในอดีตที่ได้เรียกร้องปกป้อง สิทธิของแรงงานจนได้มาซึ่งการเคารพสิทธิ และค�ำนึงการใช้แรงงานอย่างรู้คุณค่า และ สมเหตุสมผล เช่น ข้อความแสดงความ ขอบคุณ ข้อความถึงความเป็นปึกแผ่นของ แรงงานทัว่ โลก ข้อความทีส่ ง่ ถึงบรรดานายทุน ผู้ค้าให้เคารพสิทธิการท�ำงานของแรงงาน เรื่องการท�ำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นต้น ©ThaiCivicEducation
79
ซึง่ หากเงยหน้ามองขึน้ ไปด้านบนของอนุสาวรีย์ จะพบตัวเลข 8 สามตัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แสดงความหมายว่า ในการท�ำงานแต่ละวัน อย่างที่เคารพสิทธิแรงงานซึ่งเป็นพละก�ำลัง ของการขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆ ของสังคม การเมืองอย่างมีคณ ุ ภาพ แรงงานควรมีคณ ุ ภาพ ชีวติ ทีด่ เี พียงพอด้วยการจัดแบ่งเวลาส�ำหรับ การท�ำงานวันละ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง ส่วนอีก 8 ชั่วโมงที่เหลือไว้ส�ำหรับ การนอนหลับพักผ่อน พืน้ ทีส่ าธารณะแห่งนี้ จึงมิได้ท�ำหน้าที่เพียงเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น หากแต่ยงั บอกเล่าเรือ่ งราวสิทธิพลเมืองทีพ่ งึ ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองอย่างมีศักดิ์ศรีเท่า เทียมกับพลเมืองทั่วไปด้วย ทีน่ า่ สนใจมากคือ กิจกรรมการเดินขบวนเชิง สัญลักษณ์ในวันแรงงานกลางเมืองเมลเบิร์น ที่ผู้เข้าร่วมมีทุกเพศวัยและหลากชาติพันธุ์ และที่ส�ำคัญคือ เราเห็นพลเมืองคนรุ่นใหม่ที่ อยูใ่ นวัยรุน่ วัยเรียนทีเ่ ข้ามาร่วมขบวนในฐานะ ของนักปราศรัยรณรงค์ ถือโทรโข่งตัวน้อย ตะโกนปลุกสังคมให้ตระหนักถึงสิทธิของคน
80
กลุม่ น้อย สิทธิในการมีชวี ติ ของผูอ้ พยพ สิทธิ ของแรงงาน สังคมประชาธิปไตยทีเ่ ปิดพืน้ ที่ ให้การแสดงความคิดเห็นทีต่ า่ งไปจากรัฐได้รบั การฟัง การเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ประชาธิปไตย ฯลฯ และท�ำให้เห็นการปะทะ สังสรรค์กันในพื้นที่สาธารณะที่ผู้คนต่างออก มาใช้รว่ มกันในเวลาเดียวกัน การจัดรูปขบวน ท�ำให้ต้องปิดถนนบางเส้นส�ำหรับผู้เข้าร่วม เดินขบวน ซึ่งก็เป็นเส้นส�ำคัญส�ำหรับเมือง ที่ทันสมัย มีความส�ำคัญด้านการท่องเที่ยว และการค้าเช่นนัน้ แน่นอนว่า กิจกรรมนีต้ อ้ ง แจ้งขออนุญาตจากทางฝ่ายทางการ แต่คงด้วย เป็นกิจกรรมส�ำคัญทีจ่ ดั ขึน้ ทุกปีและพร้อมๆ กันทั่วโลก เพราะเป็นวันแรงงาน “สากล” สังคมทีพ่ ลเมืองคุน้ ชินกับวิถชี วี ติ ประชาธิปไตย บนความแตกต่างหลากหลายจึงทนกันได้ เมื่อหลายคนต้องการจะท่องเที่ยวเดินทาง ในถนนสายที่กลุ่มผู้เดินขบวนต้องการใช้ เช่นกัน สองข้างทางทีเ่ ดินสวนกับนักท่องเทีย่ ว กับชาวออสเตรเลีย และผู้สัญจรไปมาที่ต้อง เดินด้วยเท้าแทนที่จะได้นั่งสบายบนรถไฟ รถราง หรือรถยนต์สว่ นตัวหากแต่สหี น้าและ ท่าทางของคนเหล่านัน้ มิได้แสดงอาการรังเกียจ หรือร�ำคาญต่อกลุ่มผู้ร่วมขบวน หลายคน ทักทายและให้ก�ำลังใจ หลายคนสนใจเข้ามา ถ่ายภาพ หลายคนหยุดยืนส่งยิ้มจนขบวน เดินผ่านไป บรรยากาศพื้นที่สาธารณะใน วันแรงงานสะท้อนวิถีการเคารพให้เกียรติ ซึง่ กันและกันไม่พอ แต่สะท้อนถึงความเข้าใจใน วิถปี ระชาธิปไตยทีพ่ ลเมืองมีสทิ ธิทจี่ ะใช้พนื้ ที่ สาธารณะร่วมกันได้อย่างถ้อยทีถอ้ ยอาศัยกัน
©ThaiCivicEducation
พิพิธภัณฑ์: ความทรงจ�ำสาธารณะของพลเมือง หากจะชวนคนไทยสักคนไปเยีย่ มชมพิพธิ ภัณฑ์ สักแห่งในเมืองไทยเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ สร้างพลเมืองประชาธิปไตย ผู้เขียนค่อนข้าง แน่ใจว่าอาจจะได้รบั การปฏิเสธกลับมา ด้วย ภาพลักษณ์พิพิธภัณฑ์ในการรับรู้ของสังคม ไทยเป็นอะไรที่น่าเบื่อหน่าย ภาพอาคารเก่า อับทึบ และค่อนไปทางวังเวงเสียด้วยซ�้ำใน บางแห่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับพิพิธภัณฑ์ที่รัฐ วิคตอเรียกลับมีความน่าสนใจอย่างยิง่ ทัง้ ด้าน อาคารสถานที่ที่โอ่โถง สวยงามดึงดูดใจ ภายในพิพิธภัณฑ์ Bunjilaka ซึ่งเป็นส่วนที่ บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บรรจุ ด้วยความทรงจ�ำล�้ำค่าทีสะท้อนภูมิปัญญา ของผูผ้ า่ นเข้ามาตัง้ รกรากจากนานาชาติพนั ธุ์ อย่างทีร่ กู้ นั ทัว่ ไปว่าโครงสร้างสังคมออสเตรเลีย ประกอบด้วยพลเมืองสองส่วนหลักคือ ผูอ้ พยพ เข้ามาใหม่ กับ ผู้ที่ด�ำรงอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม (Indigenous) เช่น ชนเผ่าอะบอริจนิ อันเป็น ส่วนหนึง่ ของพิพธิ ภัณฑ์เมลเบิรน์ (Melbourne Museum) บนถนน Nicholson นอกจากจะ บรรจุความทรงจ�ำในอดีตตั้งแต่ก่อร่างสร้าง เครือรัฐออสเตรเลียที่เปิดให้เข้ามาชมภาพ
ในอดีต ยังมีส่วนที่ส่งเสริมการเรียนการสอน พลเมืองประชาธิปไตยทีเ่ ข้าใจรากเหง้าความ เป็นมาของตน เคารพและให้เกียรติใน ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แล้วยังมีส่วนที่ สนับสนุนการจัดกิจกรรมส�ำหรับครูผู้สอน นักเรียนและแม้แต่ผปู้ กครอง ด้วยสือ่ การเรียน การสอนและพื้นที่สาธารณะส�ำหรับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้กับพลเมืองเด็ก ซึ่ง กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น ก็นา่ ตืน่ ตาตืน่ ใจกระตุน้ การเรียนรูช้ นิดทีแ่ ทบ ไม่ซ�้ำ ผู้สนใจอาจจะเข้าเยี่ยมชมได้จากหน้า เว็บไซต์ของพิพธิ ภัณฑ์เพือ่ ศึกษารายละเอียด ก่อนเป็นการล่วงหน้าได้ด้วยผ่านช่องทาง https://museumvictoria.com.au/ melbournemuseum/learning/ นับว่า สังคมออสเตรเลียเป็นสังคมทีใ่ ห้ความส�ำคัญ กับการเรียนรูผ้ า่ นพืน้ ทีส่ าธารณะทุกรูปแบบ จึงไม่แปลกใจนักที่พลเมืองของออสเตรเลีย จึงเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เพราะระบบ การเมืองการปกครองทีเ่ ห็นคุณค่ากับการให้ การศึกษาแก่พลเมืองในทุกรูปแบบทั้งการ ศึกษาในระบบ และนอกระบบ เช่นทีป่ รากฏ ในสื่อการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรม ต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ 81
ห้องสมุด: แหล่งบ่มเพาะคุณภาพพลเมือง ประชาธิปไตย ห้องสมุดแห่งรัฐวิคตอเรียตัง้ อยูบ่ นถนน เป็น ห้องสมุดที่ใหญ่โตมาก และเพียบพร้อมไป ด้วยสิ่งอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ามาใช้ บริการพื้นที่สาธารณะแห่งนี้เพื่อการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท ซึ่งก็มีเครื่อง คอมพิ ว เตอร์ แ ละสั ญ ญาณอิ น เตอร์ เ น็ ต ที่ พร้อมใช้ หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือแท็ปเล็ต หรือโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ (smart phone) ก็สามารถจะเชือ่ มต่อสัญญาน Free WiFi ของห้องสมุดได้ทันทีโดยไม่ต้อง เข้ารหัสหรือจ่ายเงินแต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้น ไม่ ว ่ า จะน�้ ำ ดื่ ม ฟรี ก็ มี บ ริ ก ารในห้ อ งสมุ ด ห้องน�้ำที่สะอาดและมีปริมาณเพียงพอ ที่ประทับใจที่สุด คือ ส่วนของการให้บริการ ค้นคว้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนกระตือรือร้นที่ จะตอบค�ำถาม ช่วยแนะน�ำการค้นคว้าหา ข้อมูลด้วยใจรักในการให้บริการ และห้องสมุด แห่งนี้เปิดรับนักศึกษาที่อยากท�ำงานเพื่อใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อ สังคมด้วย ©ThaiCivicEducation
82
กล่าวถึงการจัดแบ่งพื้นที่สาธารณะส�ำหรับ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ห้องสมุดแห่งนี้ จัดแบ่งพืน้ ทีก่ ารใช้งานส�ำหรับพลเมืองทุกคน อย่างน่าสนใจ มีลิฟท์และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกส�ำหรับผู้พิการทุกชั้น และจัดพื้นที่ 2-3 ชั้นด้านล่างนอกจากจะเป็นพื้นที่อ่าน หนังสือ ท�ำการบ้าน ค้นคว้าท�ำรายงาน อย่างสะดวกสบายด้วยชุดโต๊ะเก้าอีท้ มี่ ปี ลัก๊ ไฟ ให้สามารถเติมพลังงานให้กบั เครือ่ งมือส่วนตัว ของคุณได้อย่างสะดวกแล้ว ยังมีพน้ื ทีส่ ำ� หรับ การท�ำงานกลุ่มที่สามารถส่งเสียงถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างชนิดที่ เป็นอิสระสมควรและไม่รบกวนสมาธิของผูท้ ี่ ต้องการพื้นที่ท�ำงานที่มีความเงียบพอควร
©ThaiCivicEducation
ความหลากหลายของหนังสือและสื่อการ เรียนรูส้ ำ� หรับห้องสมุดแห่งนีน้ บั ว่าน่าชืน่ ชม อย่างยิง่ ผูเ้ ขียนใช้เวลาสัน้ ๆ ส�ำหรับการค้นคว้า (อันที่จริงอยากใช้เวลากินนอนในห้องสมุด สักสัปดาห์หากท�ำได้) พบว่า หนังสือทีห่ อ้ งสมุด แห่งนี้มีหลากหลายหมวดมาก จัดแบ่งตาม หมวดและแสดงให้เห็นที่ป้ายไม่ใหญ่นักของ แต่ละชั้น ในครั้งแรกที่แวะไปชมเพียงสั้นๆ มาก ผู้เขียนคว้าหนังสือใหม่ที่จัดแสดงบน พืน้ ทีส่ ำ� หรับหนังสือเข้าใหม่ และพบว่าหนังสือ ที่เพิ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 คือต้นปีนี้เอง ก็เข้ามาสู่ห้องสมุดแห่งนี้แล้ว จินตนาการถึง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในบ้านเรา หนังสือใหม่สดุ ทีจ่ ะเข้ามาในระบบให้หยิบยืม อ่านได้น่าจะใหม่สุดคือหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2014 หรือ 2015 ซึ่งก็อาจจะมีน้อย มากด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะผู้เขียนเองมี ประสบการณ์ตรงกับห้องสมุดหลายแห่งใน เมืองไทย ท้ายที่สุด อยากได้หนังสือใหม่ก็ จ� ำต้อ งควั ก กระเป๋ า ตนเองซื้อไปก่อนเสีย ทุกครั้งไปก็ว่าได้
นอกเหนือจากความสะดวกสบาย ห้องสมุด แห่งนีย้ งั จัดแบ่งพืน้ ทีก่ ารใช้งานเพือ่ สาธารณะ ประโยชน์รว่ มกันอย่างคุม้ ค่า กล่าวคือ ในชัน้ 4-6 ได้จัดแบ่งพื้นที่เป็นโดมแห่งการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการจารึก ความรู ้ ใ นรู ป ของสิ่ ง พิ ม พ์ ที่ พั ฒ นามาเป็ น หนังสือทีเ่ ราท่านได้หยิบจับอ่านอย่างสะดวก มือในปัจจุบัน เริ่มต้นจากการเล่าเรื่องราว การบันทึกความรู้ศาสตร์ต่างๆ ของคนใน อดีตผ่านการวาด การเขียนด้วยมือ พัฒนามา เป็นการพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ และมิเพียง เท่านั้น เรื่องราวการต่อสู้ทางการเมืองเรื่อง ความยุติธรรมทางสังคมในยุคที่ออสเตรเลีย ยังอยูใ่ นยุคการขุดแร่ทำ� เหมืองซึง่ มีการบังคับ ใช้แรงงานอย่างหนัก สิทธิพลเมืองของชนชัน้ แรงงานกับชนชัน้ นายทุนทีไ่ ม่เท่าเทียมกันก็ได้ รับการบอกเล่าจัดแสดงในพื้นที่สาธารณะ 2-3 ชั้นนี้ด้วย เรียกว่า หากมาค้นคว้าอ่าน หนังสือในพื้นที่ชั้นล่างๆ แล้วเกิดเบื่อหน่าย หรื อ ง่ ว งเหงาหาวนอนก็ ส ามารถเปลี่ ย น อิริยาบถมาเดินชมเรื่องราวต่างๆ ที่น่าตื่นตา ตื่นใจได้บนชั้น 4-6 นี้ได้ 83
สิง่ ส�ำคัญของการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ส�ำหรับผู้เขียน คือ การส่งเสริมบรรยากาศ การเรียนรูบ้ นฐานข้อมูลทีห่ ลากหลาย เข้าถึง ได้อย่างเพียงพอและมีคณ ุ ภาพ เพราะหลักการ ขัน้ พืน้ ฐานของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย คือ พลเมืองที่ใช้เหตุและผลในการพูดคุย ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันบนฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง ซึ่งห้องสมุดถือเป็นแหล่งการ เรียนรู้ที่ส�ำคัญที่จะท�ำหน้านั้นได้อย่างดี และเพราะห้องสมุดนั้นเปิดกว้างมากกว่า ห้องเรียนของโรงเรียนใดๆ เพียงแค่คุณอ่าน ออกเขียนได้ ก็จะสามารถเข้าถึงความรู้ได้ อย่างไม่จ�ำกัด ผู้เขียนเชื่อว่า การอ่านเป็น หนทางหนึ่งที่จะท�ำให้พลเมืองรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและรู้เท่าทันการใช้ ชีวติ ทางการเมืองในชีวติ ประจ�ำวัน พลเมืองที่ ชาญฉลาดและจะช่วยน�ำพาสังคมการเมือง ไปสู่สภาพที่น่าอยู่ ปราศจากการใช้ความ รุนแรงในการตัดสินปัญหาได้ ควรจะได้รับ โอกาสในการพัฒนาบนฐานของความรู้ที่ เปิดกว้างในบรรยากาศที่สนับสนุนเช่นที่ผู้ เขียนได้ประสบในห้องสมุดของรัฐวิคตอเรีย
84
หลายคนอาจจะตัง้ ค�ำถามว่า รัฐบาลของรัฐเอา งบประมาณจากส่วนใดมาจัดสาธารณูปโภค ที่สะดวกครบครันบริการพลเมืองของเขา และผู้มาเยี่ยมชม ค�ำตอบเบื้องต้น คือ การ จัดเก็บภาษีของรัฐบาลทีม่ ปี ระสิทธิภาพและ การใช้จ่ายงบประมาณที่คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความ ว่าผู้เขียนเข้าข้างออสเตรเลีย แต่เมื่อลอง สืบค้นเรือ่ งความโปร่งใส ปัญหาคอรัปชัน่ จะ พบว่าในออสเตรเลียมีปัญหาเหล่านี้น้อยมาก ขณะเดียวกัน พลเมืองที่มีงานท�ำ มีรายได้ ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในออสเตรเลียจะจ่าย ภาษีในอัตราที่สูงมากเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น ระบบการติดตามตรวจสอบการบริหารงาน ของรัฐจากภาคประชาชนก็เข้มแข็งเพราะ พวกเขาตระหนักในสิทธิความเป็นพลเมือง ของพวกเขาซึง่ ผูเ้ ขียนจะขยายความในส่วนที่ พูดถึงรัฐสภา ©ThaiCivicEducation
รัฐสภา: พื้นที่ และผู้คนสาธารณะ เป็นที่รู้กันว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองที่เอื้อประโยชน์ต่อพลเมืองที่เป็น สมาชิกมากที่สุด ดังนั้น การมีส่วนร่วมของ พลเมืองจึงส�ำคัญมากตามไปด้วย ในยุคแรกๆ ที่ เอเธนส์ เราทราบกันดีวา่ เป็นยุคทีประชาธิปไตย ทางตรง คือ พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมในการ เมืองการปกครองโดยตรง ส�ำหรับระบอบ ประชาธิปไตยในโลกร่วมสมัย คงยากที่จะใช้ ประชาธิปไตยทางตรงที่พลเมืองทุกคนจะ สามารถเข้าไปถกเถียงในสภาแห่งรัฐเฉกเช่น ที่เป็นวิถีประชาธิปไตยทางตรงยุคกรีกได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลเมืองที่มากเกินกว่าที่ จะเปิดให้ใช้สิทธิอ�ำนาจทางตรง ดังนั้น ประชาธิปไตยผ่านระบบตัวแทนจึงเป็นกลไก ที่นิยมใช้ คุณภาพของพลเมืองสะท้อนคุณภาพของผูแ้ ทน ในทางกลับกัน คุณภาพของผู้แทนก็สะท้อน ภาพของพลเมืองด้วย คงเป็นค�ำกล่าวที่ยัง คงใช้ได้ส�ำหรับสังคมการเมืองออสเตรเลีย ด้วยเช่นกัน แม้ว่าความเป็นตัวแทนของ ปวงชนมีสาระส�ำคัญอยู่ที่การท�ำหน้าที่เป็น ปากเป็นเสียง เป็นคนปกป้องผลประโยชน์ ให้ปวงชนพลเมืองทั้งที่เลือกตนเข้าไปเป็น ตัวแทน หรือไม่ได้เลือกตนเข้าไปก็ตาม เพราะจุดประสงค์ของการเลือกผู้แทนคือ การเลือกคนที่อาสาจะไปท�ำหน้าที่อย่างมี สามัญส�ำนึกถึงความเป็นตัวแทนในระบอบ ประชาธิปไตย หน้าที่และความรับผิดชอบ
©ThaiCivicEducation
ของผู้แทน จึงมิไม่เพียงการท�ำหน้าที่แทน ประชาชนทั้งปวงในกิจการต่างๆ ที่จะมีผล กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพลเมือง แต่ยังมีหน้าที่ต้องให้ความรู้ ท�ำความเข้าใจ ในประเด็นต่างๆ ตอบค�ำถามต่อพลเมือง ฟัง ความต้องการ ท�ำงานแทนพลเมือง ยิง่ พลเมือง ที่มีคุณภาพมีความเป็นประชาธิปไตยมาก ผู้แทนก็ต้องท�ำงานหนักเพิ่มขึ้น ดังที่สมาชิก สภาล่าง Mr.Steve Dimopoulosin ได้เล่า ภารกิจการงานในต�ำแหน่งผู้แทนในสภาล่าง (Legislative Assembly-LA) ให้คณะของ เราฟังว่านอกจากการเข้าร่วมประชุมสภา ในสมัยเปิดประชุมแล้ว เวลาที่เหลือเขาต้อง ไปท�ำงานกับภาคพลเมืองอย่างใกล้ชิดเพื่อ รับฟังปัญหาความต้องการของพลเมืองเพื่อ จะมาน�ำเสนอในสภา ยิง่ พลเมืองมีความเป็น ประชาธิปไตยมากเท่าใด ผู้แทนก็ยิ่งต้อง ท�ำงานหนักมากขึน้ ตามไปด้วย เพราะพลเมือง ทีม่ คี ณ ุ ภาพจะใส่ใจท�ำหน้าทีต่ ดิ ตาม ตรวจสอบ การท�ำงานของผู้แทนเป็นระยะๆ แต่เขาก็ กล่าวว่า เขาเต็มใจที่จะท�ำงานนี้ 85
การผ่า นการเลื อกตั้ ง เข้ ามาเป็นผู้แทนไป ท�ำงานในสภา มิได้รับประกันระดับความ เป็นประชาธิปไตยได้มากนัก หากบรรยากาศ ไม่เอือ้ หรือไม่สง่ เสริมให้ตวั แทนของพลเมือง ทีม่ งุ่ มัน่ จะท�ำงานในวิถปี ระชาธิปไตย ทีก่ ล่าว เช่นนี้เพราะส�ำหรับคนไทยที่คุ้นชินกับภาพ ของนักการเมืองในสภาทีม่ กี ารจัดแบ่งระดับ ความอาวุโส หรือสถานภาพการเป็นหัวหน้า กลุ่มหรือมุ้งการเมืองต่างๆ ที่มีศักดิ์ศรี สิทธิ อ�ำนาจไม่เท่ากันอาจจะยากทีจ่ ะจินตนาการ ถึงบรรยากาศการเมืองแบบประชาธิปไตยใน สภาของรัฐวิกตอเรีย Mr.Dimopoulosin ชีใ้ ห้ เห็นความส�ำคัญของบรรยากาศประชาธิปไตย ที่เสมอภาคเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติในสภา ทีเ่ อือ้ ให้วถิ ปี ระชาธิปไตยเดินหน้าไปได้อย่าง มั่นใจด้วยการเล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่เขา เป็น ส.ส. น้องใหม่ ประสบการณ์น้อย แต่ สมาชิกในสภาก็ไม่ได้ปดิ กัน้ โอกาสหรือมองว่า เขาเป็นเด็ก หากแต่แม้กระทั่งหัวหน้าพรรค ของเขาเองก็เปิดโอกาสให้เขาได้นั่งสนทนา อย่ า งเป็ น กั น เองไม่ ไ ด้ มี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า ง หัวหน้าพรรคกับ ส.ส.มือใหม่อย่างเขาหรือ คนอืน่ ๆ และทุกครัง้ ทีส่ ภาจะมีการจัดประชุม หรือเลือกหัวหน้าคณะในการท�ำงานประเด็น ใดก็ตาม ก็จะมีการลงคะแนนเลือกตัง้ ภายใน สมาชิกสภาด้วยกัน โดยทีส่ มาชิกทุกคนมีสทิ ธิ ที่จะได้รับเลือกเสมอกันไม่ว่าจะเป็น ส.ส. อาวุโส หรือ ส.ส.ที่มีประสบการณ์น้อยๆ ท�ำให้เขามีความสบายใจที่จะท�ำงานในสภา เพราะบรรยากาศที่ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตย (5 พฤษภาคม 2559) 86
ย้อนกลับไปถึงบรรยากาศการเข้ามาฟังการ อภิปรายสดในสภา ผู้เขียนสังเกตว่า พื้นที่ รัฐสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ ไม่ได้มีข้อจ�ำกัด หรือพิธีรีตองใดที่เป็นอุปสรรคขัดขวางให้ การเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการ ท�ำงานของสภาโดยประชาชน ผู้ที่อยากจะ เข้ามา เพียงแค่ยนื ต่อคิวเพือ่ ตรวจอาวุธเท่านัน้ หากจะเข้าเป็นหมูค่ ณะสามารถติดต่อล่วงหน้า เพื่ออ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ให้การเข้าชม มีความสะดวกยิง่ ขึน้ และเมือ่ เข้าไปในอาคาร รัฐสภาแล้ว ก็มีห้องโถงกลางที่เป็นพื้นที่ให้ ภาคประชาชนได้เข้ามาใช้ส�ำหรับจัดแสดง ผลงาน หรือกิจกรรมต่างๆ คล้ายๆ กับการ จัดแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน กิจกรรม ส�ำหรับเด็ก หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีประโยชน์ ต่อสาธารณะ เป็นต้น พืน้ ทีร่ ฐั สภากลายเป็น พืน้ ทีส่ าธารณะเปิดทีง่ า่ ยต่อการเข้าถึง ถือได้วา่ เป็นอีกสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่เอื้อต่อการปลุก จิตส�ำนึกรักและศรัทธาในวิถีประชาธิปไตย ที่ไม่มีช่องว่างระหว่างนักการเมือง ตัวแทน ทางการเมือง และพลเมือง
©ThaiCivicEducation
ขณะเดียวกัน “การตรวจสอบ” ก็เป็นหัวใจ ส�ำคัญของการด�ำเนินต่อไปของสังคมการ เมืองประชาธิปไตยซึง่ ก็ตอ้ งการการตรวจสอบ จากสาธารณะ ในมลรัฐวิกตอเรีย ทุกวัน พฤหัสบดีที่อยู่ในสมัยการเปิดประชุมสภา โดยเฉพาะ “สภาสูง” (Legislative Counci - LC) หรืออาจเทียบได้กบั “วุฒสิ ภา” ของ เมืองไทย พื้นที่สาธารณะส�ำหรับการตรวจ สอบการท�ำงานของภาคประชาชนเปิดให้ ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ อย่างใกล้ชดิ เพือ่ ติดตาม ตรวจสอบการท�ำงาน ของบรรดาผู้แทนในสภา ในช่วงที่คณะของ เราไปเยี่ยมชมรัฐสภาแห่งมลรัฐวิกตอเรีย เป็นช่วงที่เปิดให้เข้าฟังการซักถามอภิปราย พอดี บนพืน้ ทีช่ นั้ สองของห้องประชุมวุฒสิ ภา
คือพื้นที่ที่ท�ำให้เราได้เห็นการตรวจสอบการ ท� ำ งานจากฝ่ า ยค้ า นและตั ว แทนพรรค การเมืองต่าง ๆ ที่ท�ำหน้าที่ตรวจสอบแทน ประชาชน นอกจากการเข้ามาสังเกตการณ์ ในห้องประชุมสภาแล้ว ยังมีการถ่ายทอดสด ไปตามเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ รับรู้รับฟังอย่างไม่ต้องมีช่วงเวลาของการ “ประชุมลับ งดถ่ายทอดสัญญาณ” อีกด้วย ทั้งตารางการท�ำงาน การนัดหมายประชุม และกิจกรรมต่างๆ ก็เปิดให้สามารถเข้าถึง ได้เสรีผา่ นพืน้ ทีส่ าธารณะอีกแบบคือ เว็บไซต์ ของรัฐสภา www.parliament.vic.gov.au
87
กล่าวถึงความหลากหลายของพรรคการเมือง ที่เป็นตัวแทนของประชาชนในรัฐวิกตอเรีย ก็น่าสนใจยิ่งนัก นอกจากจะมีตัวแทนจาก พรรคการเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น พรรคแรงงาน (Australian Labor Party) พรรคลิเบอรัล (Liberal Party) พรรคแรงงานประชาธิปไตย (Democrat Labor Party) พรรควิกตอเรีย เขียว (Victorian Greens Party) ยังมีพรรค ทีเ่ ป็นตัวแทนคนกลุม่ เล็กกลุม่ น้อยอีกมากมา ยที่สามารถเข้ามามีที่นั่งในสภาได้พรรคละ เพียงหนึ่งที่ เช่น พรรค Vote 1 Local Job ซึ่งมีนโยบายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของ คนท้องถิ่น พรรค Shooters and Fishers Party ที่เน้นเกี่ยวกับเรื่องการล่าสัตว์และ การประมง ที่น่าสนใจคือ พรรค Sex Party ที่หัวหน้าพรรค MP Fiona Patten สตรีที่ ท�ำงานเพือ่ สิทธิความเท่าเทียมและการปกป้อง สิทธิทางเพศ ตลอดจนงานปกป้องการค้าเด็ก มานานก่อนที่จะก่อตั้งพรรคการเมือง2 และ ได้รับเลือกให้เข้ามาท�ำหน้าที่เป็นตัวแทนใน สภา และเธอได้มาพบปะพูดคุยกับคณะของ เราในวันทีเ่ ข้าเยีย่ มชมรัฐสภาด้วย บรรยากาศ ทางการเมืองที่ส่งเสริมสิทธิ์และเสียงของ พลเมืองอย่างเท่าเทียมกันเช่นนี้ นอกจาก จะมีสว่ นท�ำให้สงั คมการเมืองในรัฐวิกตอเรีย แทบจะไม่ ผ ลั ก พลเมื อ งออกไปจากความ รับผิดชอบทางการเมืองร่วมกันของคนใน สังคม เพราะไม่วา่ พวกเขาจะเป็นคนต�ำ่ ต้อย ด้อยสิทธิเพียงใด พวกเขาก็ยังมีตัวแทนที่จะ เป็นปากเป็นเสียง เรียกร้องการปกป้องสิทธิ ให้พวกเขาอยู่ในสภาได้อย่างเสมอหน้ากับ 88
พลเมืองอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น เมื่อ พิจารณาคุณลักษณะของพลเมืองที่ Zyngier et al. (2015) เสนอพร้อมยกตัวอย่างอธิบาย ไว้ใน 5 ระดับ (ในตาราง) ยิ่งเปิดให้เห็นมิติ ของพลเมืองทีม่ งุ่ เน้นความเป็นธรรมทางสังคม (Justice-oriented citizenship) ที่มีอยู่ใน ตั ว ของนั ก การเมื อ งหญิ ง ที่ ลุ ก ขึ้ น มาอาสา ท�ำงานเพื่อความยุติธรรมทางสังคมให้กับ คนที่ถูกกระท�ำจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและ รากเหง้าที่เอื้อให้เกิดความเหลื่อมล�้ำและ ความไม่เป็นธรรมในสังคม อันจะน�ำไปสู่ ความขัดแย้งในรูปแบบอื่น ๆ ตามมา และ ไม่เพียงแค่นกั การเมืองหญิงคนดังกล่าวเท่านัน้ หากสืบค้นต่อไปในประวัติการท�ำงานของ ผูแ้ ทนหลายคน จะพบว่ามีไม่นอ้ ยทีม่ ผี ลงาน การท�ำงานเพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมทาง สังคมมาก่อนที่จะได้รับการเลือกเข้ามาเป็น ผู้แทนเพื่อมาท�ำหน้าที่ในสภา ในแง่นี้ อาจ กล่าวได้ว่า ผู้แทนเหล่านี้สะท้อนคุณภาพ ของพลเมืองในสังคมของมลรัฐวิกตอเรียได้ ไม่น้อย
ดูรายละเอียดของพรรคนี้ได้จาก http://australiansexparty.org/ 1
www.thaiciviceducation.org
89
โรงเรียน: สร้างพลเมืองหลายแบบ การศึกษาดูงานในโรงเรียนทั้งสองแห่ง ทั้งในระดับที่จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย และระดับประถมศึกษา ทั้งสองโรงเรียนให้คุณค่าความส�ำคัญกับการใช้พื้นที่ สาธารณะของโรงเรียนร่วมกันหากแต่แตกต่างกันในรายละเอียด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะช่วงวัย ของผู้เรียนและวัตถุประสงค์ของโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าสองโรงเรียน จัดบรรยากาศคล้ายกันเพื่อหล่อหลอมพลเมืองเด็กในเรื่องต่อไปนี้คือ 1 ระเบียบวินยั แน่นอนว่าทัง้ สองโรงเรียนและทีจ่ ริงโรงเรียนอืน่ ๆ ในออสเตรเลียผูเ้ รียนต้องสวมใส่ เครื่องแบบของโรงเรียน ถือกระเป๋าของโรงเรียนเพื่อให้รู้ว่านักเรียนคนนั้นๆ เรียนที่ใดซึ่งก็ง่ายต่อ การจะช่วยกันดูแลหากเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้น หากเปรียบเทียบกับเมืองไทยก็คงไม่ต่างกันที่ เด็กนักเรียนต้องสวมเครื่องแบบไปโรงเรียน ทว่าที่ออสเตรเลียไม่มีการบังคับในเรื่องยิบย่อยและ ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสายตาของผู้เขียน เช่น เรื่องทรงผม ถุงเท้ามีลายหรือ ไม่มีลาย หรือ สีใดสีหนึ่ง รองเท้าก็เช่นกัน นักเรียนจะสวมรองเท้าสีใดมาเรียนก็ได้ เป็นต้น นั่นคือ ภาพกว้างของระเบียบวินัยในสังคมภายนอก แต่เมื่อเข้ามาในระดับโรงเรียนและห้องเรียนแล้ว ระเบียบวินัยมีทั้งส่วนที่ทางโรงเรียนสร้างขึ้นและส่วนที่ทั้งผู้เรียนและครูตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎติกาในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ในโรงเรียนมัธยม ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ไม่มีการกั้นแบ่งห้อง ระเบียบวินัยที่จ�ำเป็นมากๆ คือ การรักษาระดับการใช้ เสียงของตนเองไม่ให้ไปรบกวนการเรียนรู้ของห้องเรียนที่อยู่ข้างๆ ในขณะที่ โรงเรียนประถมก็ เช่นกัน การจัดการห้องเรียนแบบเปิดโล่งและเรียนในเป็นฐานการเรียนรู้ใกล้ๆ กัน ระเบียบวินัย เรื่องการใช้เสียงจึงเป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังในตัวผู้เรียนอย่างเป็นธรรมชาติ ครูไม่จ�ำเป็นต้องตะโกนแข่ง กับเด็กๆ ให้เหนื่อยเหมือนอย่างที่เห็นในโรงเรียนไทยหลายแห่ง เป็นต้น
©ThaiCivicEducation
90
2 หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง ในเรื่องหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นพลเมืองในวัยเรียน เป็นต้นการรักษาเวลา การตรงต่อเวลาในสังคมออสเตรเลียเป็นเรื่องส�ำคัญมากเพราะออสเตรเลีย ได้รบั อิทธิพลความคิดเรือ่ งเวลามาจากตะวันตก การมาสายเป็นเรือ่ งน่าอับอายมากส�ำหรับพลเมือง ที่นี่ (รวมถึงเมื่อเข้าสู่ระบบการท�ำงานด้วย) แต่ไม่ได้มีการประจานการมาสายของผู้เรียนต่อหน้า เสาธงหรือต่อหน้าใคร ที่น่าสนใจมากคือ ในโรงเรียนมัธยมการเข้าสู่โรงเรียนทุกครั้งมีการบันทึก เวลาเข้าเรียนด้วยตัวนักเรียนเองผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าตาคล้ายตู้กดเงินสด (ATM) บ้านเรา หากใครที่มาสายบ่อยๆ ก็จะมีการเชิญมาพูดคุยเพื่อหาสาเหตุแห่งการมาสาย และหากยัง ปรับปรุงไม่ได้ผู้ปกครองก็จ�ำต้องได้รับรู้เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วย สภาพของโรงเรียนมัธยมที่ไป ดูงาน นักเรียนมาจากหลากหลายพื้นที่ไกลบ้าง ใกล้บ้าง และเป็นโรงเรียนที่ไม่มีแผนกนักเรียนอยู่ ประจ�ำ ทุกคนต้องเดินทางทุกวันไปกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียน ดังนัน้ การมาสายก็เป็นปัญหาหนึง่ ทีท่ างโรงเรียนประสบ หากแต่วธิ กี ารแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้การเดินเข่า การยืนตากแดด หรือการลงโทษ หน้าเสาธง เพราะโรงเรียนที่นี่ไม่มีการเข้าแถวหน้าเสาธง โรงเรียนมีเรื่องราวจะประชาสัมพันธ์ใดๆ ให้นกั เรียนทราบก็จะท�ำผ่านชัว่ โมงโฮมรูม และสือ่ สารผ่านช่องทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) เป็นต้น นี่เป็นการฝึกความรับผิดชอบของพลเมืองที่อาจกล่าวได้ว่า วางอยู่บนพื้นฐานของการให้ เกียรติกันและเชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนว่ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เพียงพอ นอกจากนี้หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองในเรื่องการเคารพกฎกติกาที่ทุกคนในโรงเรียน ช่วยกันก�ำหนด และกฎกติกาทีส่ งั คมก�ำหนดก็เป็นสิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั ว่า ระบบการศึกษาของออสเตรเลีย ได้ให้ความส�ำคัญกับการสร้างพลเมืองที่มีจิตส�ำนึกและยึดมั่นในวิถีประชาธิปไตยเพราะหากผู้เรียน ร่วมกันสร้างกฎกติกาขึน้ มาแล้วไม่ปฏิบตั ติ าม เมือ่ เกิดปัญหาพวกเขาก็ตอ้ งรับผิดชอบร่วมกัน ส�ำนึก ของการเป็นเจ้าของกฎกติกาของสังคมร่วมกันเป็นคุณสมบัตสิ ว่ นหนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้เมือ่ พวกเขาเติบโต ไปเป็นพลเมืองของสังคมที่กว้างใหญ่กว่านั้นจะได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกันในสิ่งต่างๆ ที่จะ กระทบต่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมที่พวกเขาเป็นสมาชิกด้วย 3 การเคารพสิทธิของผู้อื่น อันที่จริงเรื่องการเคารพสิทธิของผู้อื่นผู้เขียนได้สะท้อนในข้อระเบียบ วินัยไปบ้างแล้ว และที่เห็นชัดมากคือ ในโรงเรียนประถม โดยเฉพาะการเคารพสิทธิของกลุ่มคนที่ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ดังกล่าวแล้วว่า เครือรัฐออสเตรเลียเกิดขึ้นมาจาก การอพยพของผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย การด�ำรงอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยเดียวกันได้ การเรียนการสอนเรื่องการเคารพสิทธิของกันและกันจึงเป็นประเด็นที่ส�ำคัญและจ�ำเป็น นักเรียน ที่นี่จึงต้องเรียนรู้ที่จะรู้จัก เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมของคนที่แตกต่างไปจากตน ซึ่งโรงเรียนประถมได้ น�ำเสนอพื้นที่สาธารณะส�ำหรับการเรียนรู้เรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจ ผ่านผนังห้องเรียนที่แปรสภาพ เป็นพื้นที่เรียนรู้ และไม่เพียงเท่านั้น ในวิถีของนักเรียนด้วยกันเอง เด็กๆ เรียนรู้ที่จะอยู่กับเพื่อนที่ มีความบกพร่องทางความสามารถบางประการ หรือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เป็นต้น 91
4 การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น เอาเข้าจริงๆ พลเมืองที่ตระหนักในสิทธิและหน้าของตน จ�ำเป็นต้องมีคณ ุ สมบัตขิ อ้ นีค้ อื การกระตือรือร้นทีจ่ ะมีสว่ นร่วมในประเด็นต่างๆ ทีเ่ ป็นเรือ่ งสาธารณะ ของสังคมที่ตนสังกัด เพราะสังคมประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากพลเมืองเป็นเพียงผู้รับค�ำสั่ง และเฉยเมยต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว นักการเมืองหรือผู้น�ำทางการเมือง ก็จะได้สนใจความต้องการของพลเมือง และในทีส่ ดุ การเมืองการปกครองนัน้ ก็จะเปลีย่ นรูปกลายร่าง เป็นอย่างอื่นที่มิใช่การค�ำนึงถึงผลประโยชน์เพื่อพลเมืองอย่างที่เราได้เห็นตลอดประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครองในที่ต่างๆ ของโลกใบนี้ และที่ส�ำคัญของสังคมไทยเอง 5 การสอนเรื่องสันติศึกษา ผู้เขียนประทับใจในโรงเรียนประถม Woorana Primary School ที่ ให้ความส�ำคัญกับการสอนเรื่องสันติภาพ และสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่อง สื่อการสอนที่ก้าวล�้ำขนาดที่ผู้เขียนเองซึ่งมาจากฟากของสันติวิธีรู้สึกมากกว่า โรงเรียนแห่งนี้ท�ำได้ดี เทียบเท่าระดับอุดมศึกษาในบ้านเราทีเดียว จากการสนทนากับนักเรียนชัน้ ป.5 ของโรงเรียนแห่งนี้ เธอเล่าว่าเด็กทุกคนที่นี่สามารถเป็นทูตสันติภาพได้ทุกคน และเธอพูดถึงสังคมสันติภาพที่ต้องมี ความยุติธรรมเชิงโครงสร้าง ซึ่งในแวดวงของนักศึกษาสันติภาพจะรู้ทันทีว่านั่นคือ ความหมายของ สันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) ที่ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพอย่าง Johan Galtung ได้ น�ำเสนอไว้ ซึง่ น้อยคนจะเข้าใจในกรอบแนวคิดนี้ นอกจากนี้ เธอยังอ่านหนังสือทีเ่ ป็นต�ำราหลักของ นักเรียนสันติภาพทีเ่ ขียนโดย Leo Tolstoy เรือ่ ง War and Peace แถมยังให้คำ� แนะน�ำแก่ผเู้ ขียน ว่า หากอยากจะให้นักศึกษาอ่านหนังสือเล่มนี้ควรจะท�ำอย่างไรได้บ้าง เช่น อาจจะเล่าประวัติที่ น่าสนใจของ Tolstoy บางตอนให้นักเรียนฟัง หยิบบางฉากของหนังสือมาเล่าให้ฟังเพื่อกระตุ้น ความสนใจนักเรียน เป็นต้น แน่นอนว่าส�ำหรับการสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยซึง่ มีหวั ใจหลัก คือเรื่องการใช้เหตุผลมิใช่ใช้ความรุนแรง การสอนสันติศึกษาเป็นรากฐานส�ำคัญที่ต้องวางให้กับ พลเมืองตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับที่นักสันติภาพส�ำคัญๆ ของโลกได้กล่าวไว้ว่า “ ด้วยทัศนคติเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความรุนแรงและสันติภาพ เริ่มต้นจากวัยเด็ก... การศึกษาด้านสันติภาพจึงควรเริ่มตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น...เด็กจะต้องปรับตัวต่อวัฒนธรรมความรุนแรง ในรูปแบบต่างๆ และเรียนรู้ที่จัดการกับความขัดแย้งที่เพิ่มความซับซ้อน จากบุคคลถึงนานาชาติ ดังนั้นการศึกษาเรื่องสันติภาพจึงควร เริ่มตั้งแต่เด็กและด�ำเนินต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่ ” (Nelson, 2006, p.207)
92
จากมลรัฐวิคตอเรียหันมองสังคมไทย ผู้เขียนไม่อยากจะสรุปความอันใด นอกจากอยากชวนให้หวนทบทวนว่าอันที่จริง สังคมไทย เราเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยจากต�ำรับต�ำรากันมานานทว่าสังคมไทยของเราก็ดูเหมือนว่า จะไม่ได้ด�ำเนินวิถีชีวิตอย่างที่น่าจะเป็นตามกรอบอุดมการณ์ของพลเมืองประชาธิปไตยกัน เท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจเป็นได้ว่าสังคมเราขาด “พื้นที่สาธารณะ” ทั้งพื้นที่ในทางความคิด และพืน้ ทีท่ างกายภาพทีเ่ ปิดให้วถิ ชี วี ติ ทีเ่ ป็น “ประชาธิปไตย” ได้หยัง่ รากและยืนต้นแผ่กงิ่ ก้าน สาขาผลิดอกออกผลก็เป็นได้ โดยเฉพาะในบรรยากาศทางสังคมการเมืองภายใต้การปกครอง แบบทหารที่มาจากรัฐประหารในปัจจุบัน
รายการอ้างอิง วิสทุ ธิ บุญญะโสภิต. (ม.ป.ป.). พืน้ ทีส่ าธารณะ พืน้ ทีป่ ระชาธิปไตยทางตรง. เข้าถึงวันที่ 5 มิถนุ ายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/584134. สมเกียรติ ตัง้ นโม. (2549). ฮาเบอร์มาส : พืน้ ทีส่ าธารณะทีถ่ กู รัฐและทุนนิยมปล้นเอาไป. เข้าถึงวันที่ 5 มิถนุ ายน 2559, จาก http://v1.midnightuniv.org/midnight2544/0009999927.html. Biesta, Gert, De Bie, Maria, and Wildemeersch, Danny., (Eds.). (2014). Civic Learning, Democratic Citizenship and the Public Sphere. Dordrecht, Heidelberg, New York, and London: Springer Nelson, L. Lindel. (2006). Adding peace to the curriculum: Preschool through college. In R.M.; MacNair (Ed.), Working for peace: A handbook of practical psychology and other tools (pp. 207-219). California: Impact Publishers. Zyngier et al. (2015). ‘Democracy will not fall from the sky.’ A comparative study of teacher education students’ perceptions of democracy in two neo-lib eral societies: Argentina and Australia. Research in Comparative & International Education. DOI: 10.1177/1745499915571709 93
©ThaiCivicEducation
94
95
96
©ThaiCivicEducation
97
©ThaiCivicEducation
98
©ThaiCivicEducation
99
©ThaiCivicEducation
100
©ThaiCivicEducation
101
©ThaiCivicEducation
102
©ThaiCivicEducation
103
©ThaiCivicEducation
104
©ThaiCivicEducation
105
106
©ThaiCivicEducation
107
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education-TCE Center คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์/โทรสาร : 02-218-2620 ต่อ 207 Website : www.thaiciviceducation.org Facebook : Thai Civic Education Youtube : Thai Civic Education