DCE Talk #1 “ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง”
น�ำเสนอประเด็นในหนังสือ Finnish lessons 2.0 โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ปัจจัยในการประสบความส�ำเร็จของการศึกษาฟินแลนด์วไม่ ใช่ปาฏิหาริย์แต่เกิดจากท�ำงานหนักของทุกภาคส่วนของสังคม ผ่านปัจจัย 5 ประการ ส�ำคัญ ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ผ่านแนวการจัดการศึกษาที่เป็น Inclusiveness การศึกษาที่ครอบคลุมไม่แบ่งแยกให้แก่ทุกคน สิ่งที่ โดดเด่นของการศึกษา ของฟินแลนด์ ในมุมความเท่าเทียม คือ การศึกษาพิเศษ ซึ่งการศึกษาพิเศษนั้นเป็นสิ่งปกติของฟินแลนด์ มีนักเรียนเกินกว่า ครึ่งของฟินแลนด์ที่รับการศึกษาพิเศษ ในมุมมองของฟินแลนด์การศึกษาพิเศษไม่ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษหรือแตกต่างจากคนอืน่ แต่เกิดจากความต้องการช่วยเหลือนักเรียนทุกคนทีม่ ปี ญ ั หาด้านการเรียนรู้ เพื่อให้ช่วยเขาสามารถปรับตัวเข้าสู่ห้องเรียนปกติ ได้ จึงไม่ ใช้การตีตรานักเรียนที่ ใช้การศึกษาพิเศษว่าด้อยหรือ เด่นแตกต่างจากคนอื่น 2) ภาวะผู้น�ำในวิชาชีพการศึกษา วิชาชีครูในฟินแลนด์เป็นกลุ่มวิชาชีพที่เข้มแข็ง ครูต้องจบขั้นต�่ำปริญญาโทในสายการวิจัย เน้นการท�ำวิจัย มี โปรแกรม การฝึกสอนที่เข้มงวด นอกจากนี้สถาบันฝึกหัดครูยังท�ำงานเชิงนโยบายในฐานะตัวกลางเชื่อมร้อยห้องเรียนกับเขตพื้นที่ และครูเข้าด้วยกัน ครูที่จบออกมาจึงมีความเป็นนักวิชาการและมีความยึดมั่นในวิชาชีพสูง คุณกุลธิดาได้ ให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีสหภาพครูซึ่งเป็นสหภาพอาชีพที่เข้มแข็ง มีการคัดเลือกตัวแทนอย่างเข้มงวด มีการฝึกอบรม เป้าหมายคือเพื่อท�ำงาน lobby เชิงนโยบาย งัดข้อกับกลไกในฐานะวิชาชีพที่เข้มงวด จึงท�ำให้ ได้รับความไว้ ใจจากสังคม DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง
3) ความเสมอภาคของผลการเรียนรู้ ด้วยฐานคิดความเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมในการปฏิรูปการศึกษา ท�ำให้เกิดพัฒนาการการจัด การศึกษาในฟินแลนด์อย่างเด่นชัด เดิมในช่วงปี 1970 การศึกษายังมีความเหลื่อมล�้ำอยู่มาก โรงเรียนเอกชนมีจ�ำนวนมาก ในระบบ แบ่งสายอาชีพกับสายสามัญออกจากกันชัดเจน หากอยากเรียนต่อระดับสูงต้องเข้ามาในเอกชนที่เป็น grammar school ท�ำให้เกิดการกระจุกตัวของเด็กวัยเรียนในเขตเมือง คุณกุลธิดาได้ ให้ข้อมูลพิ่มเติมว่าในตอนนั้นภาวะเศรษฐกิจที่ ตกต�ำ่ ทรัพยากรทีม่ อี ย่างจ�ำกัด และปัจจัยเชิงวัฒนธรรมทีม่ องว่าตัวเองแตกต่าง และเป็น underdog จากประเทศรอบๆ ตัว ท�ำให้ทุกส่วนของสังคมมีแรงผลักดันที่จะยกคุณภาพการศึกษาส�ำหรับทุกคนในฐานะอนาคต โดยเป้าตัวชี้วัดความส�ำเร็จที่ฟินแลนด์ ใช้ ในการปฏิรูปการศึกษา คือ การท�ำให้การศึกษาดีจนท�ำให้ โรงเรียนเอกชน หายไป เชื่อในการท�ำ Public Education หรือก็คือการท�ำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโรงเรียนของรัฐอย่างมีคุณภาพ ซึ่งกว่าจะส�ำเร็จต้องใช้เวลามากกว่า 60 ปี จนมาถึงปี 2015 ผลส�ำเร็จของการปฏิรปู การศึกษาเริม่ ปรากฏ การศึกษาภาคบังคับ 16 ปี มีอตั ราการออกกลางคันทีต่ ำ�่ มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเป็นรัฐสวัสดิการของสังคมเอง โดย คุณกุลธิดาพูดถึงประเด็นที่รัฐจะต้องแบกรับภาษีหลายล้าน เหรียญต่อนักเรียนหนึ่งคนที่ออกกลางคันและไม่มีอาชีพ ในขณะที่สังคมไทยมองว่าคนที่ออกจากการศึกษากลางคันนั้นเป็น เพียงผู้แพ้ ในระบบ keyword ส�ำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาฟินแลนด์ที่ท�ำให้การออกกลางคันมีน้อย คือ “ทาง เลือก” ซึ่งหัวใจของมันคือการท�ำให้นักเรียนมี โอกาสได้ค้นพบตัวเองในตลอดเส้นทางการศึกษา ดังนั้น สายอาชีพ และสามัญที่เคยแยกขาดกันก็สามารถเรียนแบบสลับปรับเปลี่ยนได้ตลอด และมีระบบการแนะแนวที่ท�ำให้นักเรียนได้ค้น พบตัวเอง การสอบวัดผลเมือ่ จบการศึกษาภาคบังคับ นอกจากนักเรียนจะสามารถเลือกสอบวิชาบังคับได้อย่างอิสระตามความต้องการ ของนักเรียเพือ่ น�ำไปใช้ตอ่ ในการศึกษามหาวิทยาลัยแล้ว นักเรียนยังสามารถเลือกได้วา่ จะสอบในระดับความยากง่ายแค่ ไหน บางคนอาจเลือกระดับยากเพือ่ ไปเข้าเรียนต่อ ในขณะทีบ่ างคนอาเลือกระดับง่ายทีเ่ พียงพอต่อการใช้ ในชีวติ ประจ�ำวันก็ ได้ มี การจัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากวิชาที่บังคับแล้ว นักเรียนยังสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้อิสระ และสามารถจัด ตารางเรียนทีส่ อดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนได้ ทัง้ ยังมี gap year 1 ปี หลังการศึกษาบังคับ ที่ ให้ โอกาสนักเรียน ได้คิดทบทวนตนเองเพื่อค้นหาสิ่งที่ ใช่ส�ำหรับชีวิตของเขา
DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง
4) การสร้างแรงบันดาลใจ หนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจของการศึกษาฟินแลนด์ คือ การมีวิสัยทัศน์ร่วมในทุกภาคส่วนในการใช้การศึกษาเป็นตัว ขับเคลื่อนสังคมซึ่งมีปัญหาในขณะนั้นร่วมกัน การที่สังคมให้ความไว้วางใจประกอบกับการสร้างสถาบันครูที่เข้มงวด ท�ำให้มคี นอยากเป็นครูมากขึน้ ในฐานะอาชีพทีม่ คี วามหมายต่อสังคมและสามารถสร้างการเปลีย่ นแปลงต่อสังคมได้ ซึ่งพบว่าเงินเดือนของครูไม่ ได้สูงมากกว่าค่าเฉลี่ยถ้าเทียบกับเงินเดือนเฉลี่ยของครูประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่คนที่เก่งเลือก ที่จะเป็นครูด้วยแรงบันดาลใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมฟินแลนด์มากกว่า 5) การสร้างมาตรฐานที่รับผิดชอบอย่างชาญฉลาด สิง่ ส�ำคัญในการสร้างมาตรฐานการศึกษาของฟินแลนด์ คือ การสร้างมาตรฐานในฐานะวิชาชีพแบบ autonomous เมื่อครูได้รับการไว้ ใจจากสังคม ท�ำให้ครูต้องตอบแทนด้วยการจัดการศึกษาที่ดีต่อสังคม และระบบที่ ให้อิสระในการจัด การเรียนการสอน เชื่อใจและเชื่อมั่นในวิชาชีพของครู ท�ำให้ครูน�ำความรู้ความสามารถมาใช้จัดการเรียนการสอนตามหลัก วิชาชีพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังเน้นการร่วมมือมากกว่าการแข่งขันและส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน
DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง
ช่วงแลกเปลี่ยน : ความแตกต่างระหว่างการศึกษาไทยกับฟินแลนด์ การศึกษากับชุมชน ในช่วงแลกเปลี่ยนได้มีมุมมองการศึกษาไทยที่ว่า ไทยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมคนสู่ระบอบการปกครองผ่านการจัดการศึกษา โดยใช้รูปแบบราชการ ดังนั้นรูปแบบการจัดการโรงเรียน คือ แยกการศึกษาออกจากชุมชน (เดิมวัดท�ำหน้าที่จัดการศึกษา) มาสู่ โรงเรียนของรัฐ ซึ่งเป็นการแยกท้องถิ่นออกจากโรงเรียน โรงเรียนจึงเหมือนเป็นอาคารที่มีก�ำแพงแยกออกจากชุมชน ในขณะที่ฟินแลนด์ การศึกษาถูกท�ำให้เป็นโจทย์ ใหญ่ที่ส�ำคัญของทุกภาคส่วน มีความใกล้ชิดกับชุมชน เป้าหมายส�ำคัญคือ การสร้างโรงเรียนใกล้บ้านให้เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด มีการออกแบบให้ โรงเรียนต้องใช้งบประมาณและร่วมมือกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ชุมชนนั้น ๆ โดย คุณกุลธิดาได้ยกตัวอย่างโรงเรียนแห่งหนึ่งในฟินแลนด์ ในช่วงนั้นมีชุมชนหนึ่งซึ่งมีปัญหาเรื่องอาวุธและยาเสพติด โรงเรียนก็ ได้ประสานกับต�ำรวจในท้องทีใ่ นการจัดการเรียนการ สอนร่วมกับโรงเรียนเกี่ยวกับทักษะการเอาตัวรอดและรับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ เป็นการจัดหลักสูตรการสอนที่จริงจัง ตลอด 1 ภาคการศึกษา ซึ่งต่างจากไทยที่ โรงเรียนทอดทิ้งชุมชน โรงเรียนและห้องเรียนมีสภาพเป็นสุญญากาศที่ ลอยห่างจากชุมชนและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ค่านิยมทางสังคม ประเด็นหนึง่ ทีถ่ กู พูดถึงเมือ่ เปรียบเทียบกับไทย คือ เรือ่ งค่านิยมของสังคมเกีย่ วกับการศึกษา ในฟินแลนด์นนั้ วิชาทีเ่ กีย่ วกับ อาชีพและทักษะชีวิตจะถูกเน้นและบังคับเรียนในฐานะวิชาส�ำคัญวิชาหนึ่ง คุณกุลธิดาพูดถึงวิชาทักษะในชีวิตประจ�ำวันว่ามี ความส�ำคัญมาก รัฐจะส่งเสริมให้วัยรุ่นออกมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยตัวเองนอกบ้าน รวมถึงค่านิยมของคนฟินแลนด์ที่ ไม่ ได้มอง ว่าจ�ำเป็นต้องเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และไม่ ได้มองว่าสายอาชีพด้อยกว่าสายสามัญ ขณะที่การศึกษาไทยนั้นลดทอน ความส�ำคัญของสายอาชีพ เน้นวิชาการ ท�ำให้วิชาทักษะชีวิตเดิมที่ ไทยก็เคยมีหายไป ความหลากหลายของหลักสูตร การศึกษาที่เดิมเคยมีสายสามัญกึ่งอาชีพ เช่น สายวิทย์-อุตสาหกรรม ก็หายไป ส่งผลให้คนมีค่านิยมว่าในการใช้วุฒิการ ศึกษาเพือ่ ยกระดับชนชัน้ ทางสังคม เกิดการตีตราทางสังคมในกลุม่ เด็กอาชีวศึกษา ท�ำให้เด็กส่วนมากมุง่ หน้าสูก่ ารเรียนต่อ ในระดับมหาวิทยาลัยมโดยไม่รู้ความต้องการของตนเอง
DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง
การศึกษากับการเตรียมการทางสังคม อาจารย์อรรถพลเพิ่มเติมในส่วนของการศึกษากับการเตรียมการทางสังคมว่า ไทยไม่มีอุดมการณ์ที่ชัดเจนว่าการศึกษาจะ ตอบโจทย์สังคมได้อย่างไร เช่น ในญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้วนั้น โรงเรียนมีส่วนอย่างมากในการจัดการศึกษา เพื่อ ให้นักเรียนมีความเกื้อกูลและผูกพันกับผู้สูงอายุผ่านการมีส่วนร่วมกับสถานที่พักคนชรา มีการท�ำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ เพื่อท�ำให้เด็กไม่รู้สึกถึงความเป็นภาระในวันที่พวกเขาจะต้องจ่ายภาษี ในการดูแลผู้สูงวัยในอนาคต หรือในฟินแลนด์ จาก ภาพยนตร์เรือ่ ง where to invade next? ได้พดู ถึงการเข้าเรียนโรงเรียนใกล้บา้ น ทีม่ เี ด็กฐานะรวยและยากจนมาอยูร่ วมกัน ท�ำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้ ในความแตกต่างของกันและกัน เข้าใจถึงความเหลื่อมล�้ำที่เกิดขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อเติบโตขึ้นเด็กที่ ร�่ำรวยจะได้ ไม่เอาเปรียบเด็กที่ยากจนเพราะต่างก็เป็นเพื่อนกันมาก่อน ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา ในวงคุยได้พดู ถึงปัญหาหนึง่ ทีส่ ำ� คัญ คือ ปัญหาเรือ่ งมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาทีต่ า่ งกัน ระบบการสอบของ ฟินแลนด์ไม่มกี ารประเมินจากส่วนกลางทีท่ ดสอบเด็กทัง้ รุน่ ส่วนทีม่ กี จ็ ะเป็นการสุม่ ตัวอย่างเพือ่ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การศึกษาเท่านั้น แต่ของไทยมีการประเมินตั้งแต่ O-net GAT PAT รวม 9 วิชา ผลก็คือเป็นการประเมินที่หลอกกันเอง คือ ครูเอาเด็กมาติวก่อนสอบสามอาทิตย์ พอคะแนนมากขึ้นก็บอกว่าคุณภาพการศึกษาดีขึ้น โดยที่การเรียนการสอนใน ห้องไม่ ได้เปลี่ยนแปลง และคะแนนที่ ได้ก็ ไม่ ได้น�ำมาปรับปรุงการเรียนการสอน โดยเฉพาะช่วงนี้ ข้อสอบมีปัญหาเรื่อง ความน่าเชื่อถือจากสังคม คนก็ยิ่งไม่เชื่อใจระบบการสอบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความพยายามทีจ่ ะใช้คนนอกโรงเรียนเข้าไปประเมินภายในโรงเรียน แทนทีจ่ ะให้คนภายในทีเ่ ข้าใจโรงเรียนดี เป็นผูป้ ระเมิน ในขณะทีฟ่ นิ แลนด์ไม่ประเมินครูเพราะเชือ่ ใจครูทผี่ า่ นจากการสถาบันฝึกหัดอย่างเข้มงวดมาแล้ว การประเมิน ส่วนใหญ่จงึ ไม่เป็นทางการมากนัก เป็นการประเมินระหว่างคนภายในโรงเรียนร่วมกัน ความแตกต่างนีจ้ งึ สะท้อนวัฒนธรรม เรื่องความกลัวและความไม่เชื่อใจของคนไทย ในวงคุยมีการตัง้ ค�ำถามต่อว่า หรือเป็นเพราะเราไม่สามารถควบคุมคุณภาพครูได้? จึงไปมุง่ ทีก่ ารประเมินปลายทาง ซึง่ รวม ถึงการประเมินครูที่เชื่อมกับการเพิ่มฐานเงินเดือน เงินเดือนครูในฟินแลนด์นั้นเริ่มต้นจะสูงในระดับหนึ่งเพื่อให้ครูมีความ มั่นคงในชีวิต หากต้องการเพิ่มเงินเดือน ครูจ�ำเป็นต้องรับผิดชอบงานมากขึ้นโดยคิดอัตราการเพิ่มเงินเดือนตามงานจริง ที่ครูต้องท�ำ ในขณะที่ ไทย ผู้เข้าร่วมที่เป็นครูมองว่าการท�ำวิทยฐานะเพื่อขึ้นเงินเดือนนั้นไม่ ได้เกี่ยวข้องกับงานสอน ซึ่งถ้า ไม่ท�ำก็รู้สึกไม่มั่นคงในชีวิต ต้องถูกบีบให้ ไปสอนพิเศษเพื่อหาเงินเพิ่ม จึงมักพบว่าครูที่สอนดี ๆ ใช้เวลากับการเตรียมการ สอนนั้น ส่วนมากมักจะมีปัญหากับระบบการประเมินและไม่มีเวลาท�ำวิทยฐานะ
DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง
ปิดท้าย ช่วงสุดท้าย อาจารย์อรรถพลพูดถึงอนาคตในการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทยว่าการศึกษาเป็นปัญหาที่สังคมต้องรับรู้ ด้วยกันว่าเป็นปัญหาทีซ่ บั ซ้อน และต้องใช้เวลาในการเปลีย่ นแปลง ไม่มฮี ี โร่หรือนักการเมืองคนใดทีจ่ ะมาท�ำให้เปลีย่ นได้ ข้ามคืน แต่เป็นหน้าทีข่ องคนในสังคมทุกคนทีจ่ ะต้องตัง้ ค�ำถามกับกระบวนทัศน์การศึกษา เพือ่ ออกแบบการศึกษาที่ ประเทศไทยต้องการ เหมือนกับที่ Pasi พูดว่า เราไม่สามารถขโมยความฝันของคนอื่นมาใช้ ได้ ท�ำได้แค่เพียงรับ และหาวิธกี ารทีเ่ หมาะสมมาใช้ นอกจากนีย้ งั พูดถึงกระแสความสนใจเรือ่ งการศึกษาในปัจจุบนั ของไทยว่าได้รบั ความสนใจ มากขึน้ มาก ทีน่ า่ สนใจ คือ ส�ำนักพิมพ์ open worlds แปลหนังสือเกีย่ วกับการศึกษากีเ่ ล่มก็ขายหมดทุกครัง้ และข้อสังเกต อีกอย่างหนึ่ง คือ คนที่สนใจส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ ไม่ ได้เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่ จ�ำนวนมากที่มองหาว่าตัวเองจะสามารถท�ำอะไรบางอย่างเพื่อท�ำให้การศึกษาไทยดีขึ้นได้ ท้ายที่สุด อาจารย์อรรถพล มองว่าการท�ำ public school ให้ดนี นั้ ไม่ ใช่แค่ตอบโจทย์การศึกษาทีด่ หี รือสร้างฝันของใครกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ แต่ตอ้ ง ท�ำให้เกิดโรงเรียนที่เชื่อมโยงความฝันส�ำหรับทุกคนเอาไว้และเป็นการสร้างอนาคตที่ส�ำคัญส�ำหรับการศึกษาไทย
DCE Talk #1 ว่าด้วยการศึกษาฟินแลนด์ไม่มีค�ำว่าปาฏิหาริย์ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง