พลเมืองโลกศึกษา: การเรียนรู้เพื่อสร้าง การเปลี่ยนแปลง พจนา อาภานุรักษ์
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center
พจนา อาภานุรักษ์ (นักวิจัย)
พลเมืองโลกศึกษา: การเรียนรู้เพื่อสร้าง การเปลี่ยนแปลง เคยตั้งคำ�ถามกันไหมว่า เราเป็นใคร? ต้นกำ�เนิดของเรา มาจากไหน? เรามีความสัมพันธ์กับโลกใบนี้และมนุษย์ คนอื่น ๆ อย่างไร? หากใครเคยดูภาพยนตร์สารคดี เรือ่ ง ‘Home’ ทีพ่ ดู ถึง ‘โลกในฐานะบ้านของมนุษยชาติ’ น่าจะพอเห็นภาพพัฒนาการกิจกรรมของมนุษย์ทง้ั ในแง่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ค่อย ๆ ก่อรูป ขึ้นภายใต้ระบบคิดแบบทุนนิยม และส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมทั้งในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมอิ ากาศโลก (climate change) การนำ�มาซึง่ ความ เหลื่อมล้ำ�และความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร รวมไปถึงการเอารัดเอาเปรียบกันในสังคมมนุษย์ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center
“ Education is the most powerful weapon which you can use to change the world Nelson Mandela
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center
จากประเด็ น ความไม่ เ ป็ น ธรรมในการเข้ า ถึ ง ทรัพยากรนัน้ ได้กอ่ ให้เกิดความขัดแย้งสะสม และ อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ปูทางไปสู่การใช้ข้ออ้าง เรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ความคิดความเชื่อต่าง ๆ เพือ่ กันคนทีแ่ ตกต่างจากคนหมูม่ ากออกไป คนที่ ถูกกีดกันเหล่านี้ล้วนถูกทำ�ให้กลายเป็นพลเมือง ชัน้ 2 หรือ 3 ของรัฐ ซึง่ ไม่สามารถเข้าถึงปัจจัย ในการดำ�รงชีวิตหรือแม้กระทั่งสวัสดิการพื้นฐาน เท่าที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะได้รับ แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร??? เนลสัน เมดาลาเชื่อว่าการศึกษาคือเครื่องมือที่มี พลังมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงโลก และมีพลัง มากพอที่จะช่วยติดตั้ง mindset ของคนให้ ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์และมี สำ�นึกในการเป็นเจ้าของโลกร่วมกัน จากโจทย์นี้ UNESCO ในฐานะองค์การด้านการศึกษาของ องค์การสหประชาชาติ จึงมีความพยายามใน การผลักดันแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง พลเมืองโลก (Global Citizenship Education) มาตั้งแต่ 2012 และในปี 2015 ได้มีการ เผยแพร่ ‘Global Citizenship Education: Topics and learning objectives’ ซึ่ง เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรูพ้ ลเมืองโลกศึกษา เพือ่ เตรียมผูเ้ รียนสูค่ วามท้าทายในศตวรรษที่ 21 โดยเอกสารชุดนี้เกิดขึ้นจากการวิจัยและรวบรวม ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทั่วทุกมุมโลก ได้มีการ ทดลองใช้ในประเทศแต่ละภูมภิ าคทีม่ คี วามแตกต่าง ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ บริบทสังคมและวัฒนธรรม
ใครคือพลเมืองโลก พลเมืองโลกคือใคร? พลเมืองโลกตามแนวคิดของ UNESCO ได้ กล่าวถึง ‘ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของของ ชุมชนและมนุษยชาติ โดยเน้นย้ำ�เรือ่ งการพึง่ พา อาศัยกันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงกันในระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก’ สำ�หรับ แนวทางในการจัดการเรียนรู้พลเมืองโลกศึกษานี้ ได้มกี ารกำ�หนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Domains of Learning) ทั้งในด้านความรู้ (Cognitive Domain) อารมณ์ความรูส้ กึ (Socio-Emotional Domain) และพฤติกรรม (Behavioural Domain) รวมถึงหัวข้อการเรียนรูแ้ ละวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ตามแต่ละช่วงชั้น
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center
ซึ่งการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์จากการ เรียนรูแ้ ละมีคณ ุ ลักษณะความเป็นพลเมืองโลกนัน้ สามารถสร้างได้ตง้ั แต่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างเช่น ด้านความรู้ นักเรียนประถมต้น สามารถเรียนรู้ในหัวข้อ ‘ประเด็นที่มีผลกระทบ เชือ่ มโยงกันตัง้ แต่ระดับท้องถิน่ จนถึงระดับโลก’ โดยครูอาจให้นกั เรียนค้นหาประเด็นในระดับท้องถิน่ ระดับชาติ และระดับโลก และลองหาว่าแต่ละประเด็น มีความเชือ่ มโยงสัมพันธ์กนั อย่างไร ด้านอารมณ์ ความรูส้ กึ ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย นักเรียน สามารถเรียนรู้หัวข้อ ‘ความแตกต่างและการ เคารพในความหลากหลาย’ เพื่อให้นักเรียน บ่มเพาะความสัมพันธ์ทด่ี ที า่ มกลางความแตกต่าง หลากหลายทั้งในระดับบุคคลและในระดับกลุ่มคน หรือ ด้านพฤติกรรม ในหัวข้อ ‘การรับผิดชอบ อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม’ นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลายต้องสามารถคิดวิเคราะห์ถงึ ประเด็น ความยุ ติ ธ รรมทางสั ง คมและความรั บ ผิ ด ชอบ อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม รวมไปถึงมีการ แสดงออกเพื่อท้าทายการเลือกปฏิบัติและความ ไม่เท่าทียมกัน (อ่านเพิม่ เติมได้ในเอกสาร Global Citizenship Education: Topics and learning objectives หน้า 31) ในยุ ค ที่ โ ลกยั ง คงเต็ ม ไปด้ ว ยความไม่ เ ท่ า เที ย ม การเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เข้าใจกัน และการ แบ่งเขาแบ่งเรา อาจทำ�ให้หลาย ๆ คนเริม่ ไม่มน่ั ใจ กับให้กับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นในสังคม แต่ UNESCO ยังมีความ เชื่อมั่นว่าการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจน
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center
คือหนทางสำ�คัญในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีวิธีคิดและมีมุมมอง ต่อโลกที่กว้างไปกว่าการสนใจเฉพาะเรื่องใกล้ตัว หรือสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ตัวเอง แต่ตอ้ งไปให้ไกล ถึงการเป็นพลเมืองโลกที่เรียนรู้ในระดับ global issue สามารถต่อสู้และแสดงออกเพื่อสร้างการ เปลี่ยนแปลงให้กับสังคมโลกได้ ในส่วนประเทศไทย ศูนย์ประสานงานเครือข่าย การศึกษาเพือ่ สร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center) มีความเชื่อใน แนวคิดเรื่องการสร้างพลเมืองผ่านการจัดการ ศึกษาเช่นเดียวกัน โดยในแต่ละปีจะมีการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการในประเด็นต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับ ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่า จะเป็นประเด็นการเมือง สิทธิมนุษยชน แนวคิด สังคมพหุวฒ ั นธรรม สิง่ แวดล้อม การรูเ้ ท่าทันสือ่ ตลอดจนประวัตศิ าสตร์ เพือ่ เปิดโอกาสให้ผมู้ สี ว่ น ในการจัดการศึกษาให้กับสังคมไทยทั้งที่นักการ ศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา และกระบวนกรด้านการศึกษา ได้เข้ามามีสว่ นร่วม โดยมุง่ หวังให้คนเหล่านีเ้ ป็นผูข้ ยายแนวคิดตัง้ ระดับ ห้องเรียนไปสู่สังคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ เกิดขึน้ ซึง่ ถือเป็นอีกหนึง่ ความหวังของสังคมไทย ในการพัฒนาพลเมืองไทยให้มคี วามรู้ ทักษะ และ วิธีคิด เพื่อก้าวสู่ความเป็นพลเมืองโลก
“
“Global citizenship refers to a sense of belonging to a broader community and common humanity. It emphasises political, economic, social and cultural interdependency and interconnectedness between the local, the national and the global”. ที่มา: UNESCO (2014). Global citizenship education: Preparing learners for the challenges of the 21st century
พจนา อาภานุรักษ์ ‘ซี’ นักวิจัยจากศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ประชาธิปไตย (TCE) มีประสบการณ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและมีความสนใจเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาเพือ่ พัฒนาพลเมืองและการพัฒนารูปแบบการทำ�งานร่วมกันของครู ตอนนีก้ ำ�ลัง สนใจวัฒนธรรมเกาหลีและชอบกินอาหารเกาหลีเป็นชีวิตจิตใจ
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย Thai Civic Education (TCE) Center