//SHABU LOMTOH //
ชาบูล้อมโต๊ะ MIS MK 18B
ช า บู ล้ อ มโต๊ ะ
1
PREFACE . รายงานฉบับนี้จัดทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา MGMG 505 Management Information Systems โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษาความรู้ในด้านระบบสารสนเทศจากมุมมองของธุรกิจ การระบุ ความต้องการของระบบสารสนเทศขององค์กร การพัฒนาระบบและ การจัดซื้อระบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของธุรกิจและผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรายงานมีเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ นำมาใช้ตอบสนองความต้องการขององค์กรจากระบบปฏิบัติการจนถึง ระกับกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะผู้จัดทำได้เลือกธุรกิจร้านชาบูมาเป็นกรณีศึกษาในการทำ รายงาน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ การทำงานภายในองค์กร คณะผู้จัดทาต้องขอขอบคุณ ดร.วรพรรณ เรืองผกา ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำและแนวทางการศึกษา รวมทั้งร้านชาบู ล้อมโต๊ะที่ให้ข้อมูลและเอื้อเฝื้อสถานที่ในการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับ นี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด คณะผู้จัดทาขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ
2
Group members 5850004 Kanuth Bunkhumyu 5850001 Kanokwan Wongkraphan 5850006 Pimchanok Chaychan 5850275 Weerin Kitopas 5850377 Chonlakarn Imprasittichai 5850383 Phobyindee Pudson 5850384 Porntisa Haruetaivorakul 5850394 Yodsiri Klongdumnurnkid 5850398 Walailuk Boonsom
3
CONTENT +
Chapter 1: Organization Overview PAGE
9
Chapter 2: Information Systems
2.1 Five Force Model 2.2 Strategic Business 2.3 Business Value Chain Model of the Organization
PAGE
15 4
Chapter 3: Problem Statement and Current Work Flow 3.1 Problem Statement and Existing System • Problems/Opportunities/Directives on Information Systems of the Organization And Objective • Fish Bone Diagram • Scope of Work • Benefits for each Stakeholder • Functions of the Proposed Systems 3.2 Current Work Flow • Flow Chart of Current Work Flow • Description of Current Work Flow PAGE
Chapter 4: Business Process Redesign 4.1 Steps in BPM • Identify Processes for Change • Analyze Existing Processes by Defining the Problem and Identifying Causes • Specifying Alternative Solutions 4.2 Identifying Information Requirements from Stakeholders 4.3 Design the new process • Future Work Flow Chart • Future Workflow Description • Graphic Infomation of New Work Flow 4.4 IT Information 4.5 Business Solution Model
PAGE
30
22
Appendix PAGE
46 5
6
7
1
8
- CHAPTER 1 Organization Overview
ประวัติความเป็นมาของ “ชาบูล้อมโต๊ะ จำกัด” จากความนิยมในการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของคน ไทยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การบริโภคอาหาร ญี่ปุ่นแบบบุปเฟต์นั้นได้เริ่ม ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการแข่งขันกันเป็นอย่างสูงทั่ว ประเทศ ทำให้เกิดแรงบันดาลจากกลุ่มเพื่อนที่มีความฝัน และมีความคิดร่วมกัน ในการสร้างร้านชาบูรูปแบบใหม่ที่ คงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของความเป็นไทย และผสมผสาน วัฒนธรรมของตะวันออก ตะวันตก ในรูปแบบที่ลงตัว ชาบู ชาบู หมายถึง เสียงตอนที่เอาตะเกียบคีบ เนื้อแล่บางๆ ลงไปจุ่มน้ำแล้วส่ายมือไปมา ทำให้เกิดเสียง ชาบูชาบู เมื่อรวมกับคำว่าล้อมโต๊ะ จะหมายถึง การนั่ง รวมกันรับประทานอาหาร ย่าง ต้ม อย่างอร่อย อบอุ่น และกลมกล่อม ณ ปี พ.ศ. 2557 ได้ก่อตั้ง บริษัทชาบูล้อมโต๊ะ จำกัดขึ้นเพื่อสร้างและพัฒนาโอกาสของคนรุ่นใหม่ ที่มี ความตั้งใจในการพัฒนาชาบูรูปแบบใหม่ไม่เหมือนใคร เป็นต้นกำเนิดชาบูสายพันธุ์ใหม่ และเป็นหนึ่งเดียวที่สร้าง ความแตกต่างกับร้านชาบูที่อื่น โดยมีน้ำซุปรูปแบบใหม่ แบบไทย ซุปแกงส้ม ชะอมไข่ มันกุ้ง และชีส รวมถึง ซุป สาหร่ายดำ ไม่เหมือนใคร พร้อมกับสโลแกน “อร่อยที่โต๊ะ สุขที่ต้ม”
9
บริษัท ล้อมโต๊ะ จำกัด นิติบุคคลได้เริ่มต้นประกอบกิจการและขึ้นทะเบียน จดชื่อเมื่อ 27/2/2558 เป็นต้นมา จดทะเบียนเป็นจำนวนเงิน: 1,000,000 บาทถ้วน วัตถุประสงค์/ข้อมูลธุรกิจ เพื่อประกอบกิจการจำหน่ายอาหารสด อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง และเครื่องดื่มทุกชนิด ที่อยู่/ที่ตั้ง บริษัท ล้อมโต๊ะ จำกัด 1008 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105558037694 ปัจจุบัน ชาบูล้อมโต๊ะมี 2 สาขา ได้แก่ 1. สาขาลาดพร้าว วังหิน เป็นเมนูแบบบุฟเฟ่ต์ และ ตามสั่ง (อาลาคาส) 2. สาขาอุดมสุข (บางนา) เป็นเมนูแบบ ตามสั่ง (อาลาคาส) เปิดทุกวัน จันทร์ - ศุกร์: 15:00 - 22:30 และ เสาร์ – อาทิตย์ 11:00 - 22:30 เมนูเด็ดของทางร้าน
10
แผนที่ร้านและการเดินทาง
แผนที่สาขา อุดมสุข 02 101 2278
แผนที่สาขา ลาดพร้าว วังหิน 087 506 3416
11
แผนผังองค์กร
12
13
SECOND
14
- CHAPTER 2 Information Systems 2.1 Five Force Model
15
New market entrants สำหรับคู่แข่งหน้าใหม่ที่เข้ามาในธุรกิจ อาหารปัจจุบันสามารถเข้าตลาดได้ ง่ายเนื่องจากร้านอาหารประเภทชา บูมีการดูแลจัดการที่ง่าย ดังนั้นจึงมี คู่แข่งเกิดขึ้นจำนวนมากและมีแนวโน้ม สูงขึ้นเรื่อยๆ ทางร้านมองเห็นปัญหา ในด้านนี้จึงมีการแก้ปัญหาโดยทำการ สร้างเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ของชาบู ล้อมโต๊ะเพื่อดึงดูดลูกค้า ได้แก่ น้ำชาบู แกงส้ม น้ำเย็นตาโฟ ชะอมไข่ทอด และ ชีส เป็นการผสมผสานที่คิดโดยทาง ร้านเอง
Suppliers ในด้าน Supplier ของทางร้านปัจจุบันจะมี Supplier เจ้าประจำที่ทำการค้าขายตั้งแต่เริ่มต้นและไม่มีร้านสำรอง สำหรับปัญหากับ Supplier ที่เคยเกิดขึ้นนั่นคือ มีการ ปรับราคาขึ้นเนื่องจากประสบปัญหาบางอย่างและปัญหา ล่าสุดคือหอยแมลงภู่ที่สั่งมีขนาดเล็กลงจากเดิม ทำให้ ทางร้านต้องแจ้งปัญหานี้ให้ Supplierได้ทำการแก้ไข แต่สำหรับปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นทางร้านก็ได้แก้ไขและ เตรียมแนวทางไว้รองรับปัญหา
16
Competitors ปัจจุบันจำนวนร้านอาหารประเภทชาบูมีจำนวนมากและมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันร้านชาบูบริเวณ ใกล้เคียงมีมากถึง 20 ร้าน ส่งผลให้ทางร้านต้องทำการ แข่งขันกันในด้านราคาและสร้างความพึงพอใจเพื่อจะแย่ง ส่วนแบ่งทางการตลาดนั้น ทางร้านจึงมีการเสนอโปรโม ชั่นตอบสนองความต้องการลูกค้า เพิ่มการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่อยู่สม่ำเสมอ โดยทางร้านจะใส่ในด้าน คุณภาพวัตถุดิบและด้านการบริการที่ดีเยี่ยม เพื่อให้ลูกค้า เกิดความพึงพอใจสูงสุด นอกจากนี้ทางร้านมีการคิดค้น น้ำชาบูสูตรใหม่ ๆ ที่ทางร้านคิดค้นขึ้น นั่นคือ น้ำแกงส้ม น้ำเย็นตาโฟ
Five Force Model
Substitutes การทดแทนที่อาจเกิดขึ้นอาจเกิดจากเทรน
การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า และ อีกปัจจัยหนึ่งคือลูกค้ามองหาความหลาก หลายในการบริโภค แต่ในทางกลับกันการ เปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นนี้อาจเป็นไปได้ยาก ต้องใช้ระยะเวลามากเนื่องจากอาหารประเภท ชาบูเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์และเป็นอาหาร สุขภาพดังนั้นอาหารประเภทชาบูจึงได้รับ ความนิยมอย่างต่อเนื่อง
Customers เนื่องจากร้านอาหารชาบูในปัจจุบันมีความหลากหลาย มากขึ้นทั้งในด้านราคาและวัตถุดิบ ทำให้ลูกค้ามีทางเลือก มากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้บริการ ร้านอื่น ดังนั้นทางร้านจึงต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าที่ มีอยู่และดึงดูดกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ที่ต้องการความหลาก หลายในการบริโภค สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาคิดว่า ทางร้านต้องทำการคิดค้นเมนูให้แปลกใหม่เป็นจุดขาย ของทางร้านต่อไป
17
2.2 Strategic Business จากการที่วิเคราะห์ Five Force Model แล้วทาง กลุ่มเห็นว่า ด้วยทางร้านชาบูล้อมโต๊ะเป็นร้านอาหาร และธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันที่สูง และในปัจจุบัน มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งในด้านราคาและวัตถุดิบ ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น จึงทำให้ทางกลุ่ม เลือกที่จะนำ ISIT (Information System and Information Technology) มาเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนี้
•
Operation Excellence เนื่องด้วยทางร้านชาบูล้อมโต๊ะเป็นธุรกิจร้านอาหารที่มีการสต๊อก สินค้าในแต่ละวัน จึงควรนำระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมา ใช้ให้เกิดประโยชน์ คือการบันทึก Order ในแต่ละวันให้ง่ายต่อ การนำข้อมูลไปใช้งาน โดยใช้ข้อมูลตรงนี้เพื่อการสต๊อกสินค้า ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ Order สินค้าในครั้งต่อๆไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าของธุรกิจ
18
•
Customer Intimacy
ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจด้านการบริหาร จึงควรมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ มาใช้ โดยมีการจัดการระบบจัดการ สต๊อกสินค้าให้เป็นระบบเพียงพอต่อความ ต้องการของลูกค้าในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกค้า เกิดความพึงพอใจสูงสุด
19
2.3
Business Value Chain Model of the Organization
Primary Activities Inbound Logistics การจัดการวัตถุดิบของร้านชาบูล้อมโต๊ะคือทาง ร้านจะมีการเช็คสต๊อกสินค้าทุกวัน เพื่อดูปริมาณสินค้า ที่เหลือในแต่ละวันก่อนที่จะทำการรวบรวมจำนวนที่จะ ต้องสั่งซื้อกับ Supplier ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการ สั่งซื้อในแต่ละรอบการสั่งซื้อ Operations หลังจากที่ได้รับวัตถุดิบตามที่สั่งจาก Supplier แล้วก็มีการเช็คความครบถ้วนถูกต้องของ วัตถุดิบที่ได้รับ และเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมเสิร์ฟแก่ ลูกค้า ในส่วนของขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบนั้นจะมี การคํานึงถึงความพอใจของลูกค้ามาเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็นซิกเนเจอร์ของทางร้าน เช่นน้ำซุปแกงส้ม ซุปสาหร่ายหรือเย็นตาโฟควรจะเข้า ถึงรสชาติที่กลมกล่อมถูกปากลูกค้า ชีส สาหร่าย มัน กุ้งหรือน้ำจิ้มที่เป็นสูตรเด็ดรวมถึงพริกกระเทียมทาง ร้านก็ควรมีพร้อมเพียงพอต่อความต้องการ วัตถุดิบ ต้องสดสะอาดถูกหลักอนามัยด้วยเพราะหัวใจแรกของ ร้านอาหารคือวัตถุดิบต้องสดและสะอาด อีกส่วนที่จะ คํ านึงคือ การเช็ ค สต๊ อกสินค้าในแต่ละวันหลังปิด ร้ า น เพื่อดูความเพียงพอของวัตถุดิบที่จะใช้ขายให้เพียงพอ ต่อความต้องการของลูกค้าวันต่อไป การเก็บเงินค่า ขายเพื่อส่งมอบให้ผู้จัดการร้านเพื่อนำไปฝากในเช้าวัน ถัดไป Outbound Logistics หลั ง จากจั ด เตรี ย มวั ต ถุ ดิ บ แช่ เ ย็ น เ ส ร็ จ เรียบร้อยแล้ว ต่อไปทางครัวจะเตรียมรับ Order ที่ บั น ทึ ก ลงในกระดาษพนั ก งานจะรั บ ใบออเดอร์ จ าก ลู ก ค้ า มาส่ ง ให้ ท างครั ว ทํ า การจั ด วั ต ถุ ดิ บ ใส่ จ านและ เตรียมเสิร์ฟต่อไป
Marketing and Sales ทางร้านชาบูล้อมโต๊ะมีน้ำซุปให้เลือกทาน 2 ชนิด คือ ซุปแกงส้ม, ซุปสาหร่ายดำและชาบูเย็นตาโฟ พร้อมน้ำจิ้มสูตรเด็ด ความพิเศษของร้านนี้อยู่ที่การ ผสมผสานความเป็นไทย โดยเอาแกงส้มที่มีรสชาติ เฉพาะตัว มารวมกับชาบูเป็นความแปลกใหม่ที่ลงตัว แบบสุดๆ และเพื่อให้เข้าถึงความเป็นไทยมากขึ้น ทาง ร้านเลยมีวัตถุดิบที่ใส่ในแกงส้มเช่น ดอกแค ใบตำลึง ดอกขจร หรือผักโขมสั่งมาทานกันได้ โดยสูตรเด็ด ของทางร้ า นคื อ ชะอมไข่ ท อดกั บ มั น กุ้ ง ทานคู่ กั บ น้ํ า แกงส้ม หรือน้ำซุปสาหร่ายที่สูตรเด็ดคือหมูจุ่มชีสดิฟ แต่ก็ยังมีเมนูสารพัดเนื้อทั้ง หมูหมัก หมูสามชั้น เนื้อวัว และผักชนิดอื่นๆ ด้วย รวมถึ ง ได้ มี ก ารจั ด โปรโมชั่ น ตามเทศกาลใน แต่ละเดือนทาง Facebook เพื่อดึงดูดความสนใจ ของลูกค้า รวมถึงให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมกับทางร้าน เพื่อเพิ่มยอดขายและกระตุ้นความต้องการที่จะลองเมนู ใหม่ๆ เช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ทางร้านชาบูล้อมโต๊ะได้มี การชักชวนร่วมเล่นเกมส์ แชร์รูป หรือแอดไลน์และทัก แชทร้านชาบูล้อมโต๊ะแค่เพียงเท่านี้ก็สามารถลุ้นรับของ รางวัลได้ มีซอฟท์แวร์ในการช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล การขาย POS Service ในด้ า นการบริ ก ารทางร้ า นจะมี เ ครื่ อ งดื่ ม ให้ บริการแนวสมุนไพร ทั้งตะไคร้ ใบเตย กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย ชาเขียว เป็นแบบ Refill และจะมีจุดให้บริการ ตั้งอยู่บริเวณกลางร้านให้ลูกค้าบริการตนเองได้ตามใจ ชอบ โดยหลังจากเช็คบิลแต่ละวันจะมีของหวานเสิร์ฟ ให้ทานฟรี และสำหรับลูกค้าที่มารอคิวหน้าร้านก็จะมี ขนมหวานทานเล่นมาบริการในระหว่างรอคิวให้อีกด้วย
20
Support Activities Administrative Management การบริหารจัดการของร้านจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนในครัวที่จะต้องมีการจัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียง พอต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละวันโดยจะต้อง คํานึงถึงความสดใหม่อยู่เสมอเนื่องจากร้านของเรา เป็นร้านที่ เ กี่ ย วกั บ อาหารที่ต้องเน้นสดใหม่เพื่อตอบ โจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันแล้วรวม ถึงต้องถูกต้องในการเสิร์ฟให้ลูกค้าในแต่ละรายด้วย ส่วนให้บริการลูกค้าจะมีพนักงานที่คอยต้อนรับ เสิร์ฟ อาหาร และเช็คบิลช่วยๆกันทำหน้าที่ แต่จะมีเพียง 2 คนที่จะสามารถออกใบเสร็จอาหารได้เพื่อป้องกันความ ผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในหน้าที่สำคัญนี้ โดยทางร้านชาบูล้อมโต๊ะจะมี 2 แบบคือแบบ A la cart ราคาเริ่มต้น 22 บาท และ Buffet มี 3 ราคา โดยเมื่อสั่งอาหารจะมีใบสั่งอาหารเพื่อให้เลือกอาหาร ที่ต้องการสั่งเพื่อเก็บเป็นหลักฐานในการสั่งแต่ละครั้ง เสมอ
Human Resource Management ทางร้านชาบูล้อมโต๊ะจะมีการสร้างความเข้าใจ ในความเป็ น ร้ า นชาบู ล้ อ มโต๊ ะ และฝึ ก ฝนให้ พ นั ก งาน อย่างเป็นพี่เป็นน้องอยู่เสมอ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ ระหว่างผู้บริหารและลูกน้องให้ไปทิศทางที่ดี และ ป้องกันความเข้าใจไม่ตรงกันในข้อมูลต่างๆที่อาจต้อง ตอบคำถามลูกค้าให้ได้ตรงตามกันอยู่เสมอ Technology Development ทางร้ า นชาบู ล้ อ มโต๊ ะ ได้ มี ก ารใช้ เ ทคโนโลยี เคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือในการทำการตลาด) เช่น การ แจ้งข่าวสารและโปรโมชั่นผ่าน Application LINE หรือใช้การสแกนบาร์โค้ดเพื่อร่วมสนุกกิจกรรมหรือรับ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงระบบในการเก็บเงินของทางร้าน ก็ใช้ระบบ POS และสำหรับการสั่งซื้อทางร้านจะนำ Application LINE มาเพื่อติดต่อกับ Supplier Procurement ในขั้นตอนการจัดซื้อของร้านชาบูล้อมโต๊ะนั้นจะมีการ สั่งผ่าน Application LINE ติดต่อกับ Supplier ในแต่ละประเภทและจะมีการส่งวัตถุดิบเป็นรอบๆ เช่น ถ้าเป็นเนื้อสัตว์จะมีมาส่งทุกวันอังคารและพุธ ส่วนผัก นั้นจะมาส่งทุกวันอังคารและศุกร์ ในส่วนของวัตถุดิบ แช่แข็งจะมีการสั่งเดือนละประมาณ 1-2 ครั้ง ดังนั้น ทางร้านต้องมีการเช็คสต๊อกและบริหารการสั่งในแต่ละ ครั้งเพื่อให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุดอีกทั้งยังเพียงพอต่อการ ขายในแต่ละวัน
21
- CHAPTER 3 Problem Statement and Current Work Flow
22
23
3.1 Problem Statement and Existing System
1. Problems/Opportunities/Directives on Information Systems of the Organization ปัจจุบันร้านชาบูล้อมโต๊ะมีระบบการจัดเก็บ Order ร้านที่ช่วยบันทึกยอดขาย จำนวนลูกค้า รวมถึงปริมาณที่ ลูกค้าบริโภคต่อโต๊ะ โดยใช้โปรแกรม POS ในการจัดเก็บ ข้อมูลในกรณีที่ลูกค้าเลือกทานอาหารแบบ A lar carte แต่ในกรณีที่ลูกค้าเลือกทานแบบ Buffet ระบบการจัด เก็บ Order ของทางร้านจะไม่ได้ครอบคลุมในส่วนนี้ ปัญหาที่ทางร้านมักพบเจอเป็นประจำคือ สินค้าขาดหรือ ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า เช่น ลูกค้ากลุ่ม หนึ่งจำนวน 6 คน เน้นทานกุ้งเพียงอย่างเดียว ส่ง ผลให้ทางร้านไม่มีกุ้งเพียงพอสำหรับลูกค้าท่านอื่น และ กรณีที่ไม่สามารถหาซื้อสินค้าได้ทัน (จากตลาดสดใกล้ เคียง) และ สินค้าเน่าเสียหรือการที่สินค้าระบายออกจาก รอบไม่ทันก่อนหมดอายุ การที่ทางร้านไม่สามารถออก คาดคะเนปริมาณ Order ที่จะออกได้ในแต่ละวัน อีกทั้ง ปริมาณลูกค้าที่เข้ามาในแต่ละวันค่อนข้างแตกต่างกันและ ไม่แน่นอน โดยทางร้านไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ลูกค้า จะเข้ามาเยอะในช่วงใดของสัปดาห์ จากการสังเกตของ พนักงานและเจ้าของร้านพบว่า บางอาทิตย์ลูกค้าเข้ามาก ในช่วงวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) แต่บางอาทิตย์ลูกค้ากลับ เข้ามากในวันธรรมดา จากการสอบถามขั้นตอนการทำงานของร้านทำให้ทราบว่า ร้านชาบูล้อมโต๊ะมีการจัดการสินค้าคงคลังและการจัดซื้อ ดังนี้
1. การจัดเก็บข้อมูล ในแต่ละวันแม่ครัวจะเป็นผู้ตรวจ สอบสต๊อกของสินค้าโดยการคาดคะเนสินค้าคงเหลือ และ เขียนบันทึกลงในใบนับสต๊อกและจัดเก็บใส่แฟ้ม ซึ่งทำให้ ยากต่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังและอาจสูญหาย 2. ในส่วนของการจัดเก็บของสดและของแช่แข็งในคลัง ไม่ได้ทำอย่างเป็นระบบ First in First out (FIFO) และ ขาดการบันทึกวันหมดอายุของสินค้า (Shelf life) 3. การจัดซื้อ เนื่องจากจะจัดซื้อตามรอบการส่งของ Supplier ประกอบกับไม่มี Supplier สำรองทำให้ บางครั้งวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการ และแม้ว่า จะมีการจัดเก็บข้อมูลแต่ก็ไม่ได้นําข้อมูลมาประมวลผล เพื่อคำนวณปริมาณการสั่งซื้อ จากกระบวนการทำงานที่ กล่าวมานั้น จะเห็ น ได้ ว่ า ปั ญ หาหลั ก ที่ ร้ า นชาบู ล้ อ มโต๊ ะ เผชิ ญ อยู่ ใ น ปัจจุบันนั้นเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสินค้า (Inventory Management) ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผล ให้กระทบทั้งในส่วนของความพึงพอใจของลูกค้าในกรณี ที่สินค้าขาด และ การมีต้นทุนแฝงที่เพิ่มเข้ามาในกรณีที่ สินค้าเกิดการเน่าเสีย โดยเกิดจากปัจจัยหลัก 2 อย่าง ที่ทางร้านไม่สามารถควบคุมได้ คือ 1. ปริมาณลูกค้าที่ เข้ามาใช้บริการ 2. พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า
24
2. Objectives 1.เพื่ อ ทํ า ให้ ร ะบบการจั ด การข้ อ มู ล สิ น ค้ า คงคลังมีประสิทธิภาพ (ลดปัญหาสินค้าขาด และสินค้าสดเน่าเสีย) 2.เพื่อจัดการข้อมูลสินค้าคงคลังให้เป็นระบบ 3.เพื่ อ สร้ า งฐานข้ อ มู ล สิ น ค้ า คงคลั ง ให้ เ ป็ น มาตรฐาน 4.เพื่ อ ลดความผิ ด พลาดของการสั่ ง สิ น ค้ า ทำให้การสั่งซื้อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องกับความต้องการของทางร้าน 5.เพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลทางสถิติ เพื่อใช้ใน การบริหารจัดการและวางแผนการจัดซื้อได้มี ประสิทธิภาพ
Fish bone Diagram
25
3.Scope of Work หลังจากที่ได้เข้าไปสอบถามปัญหาและการดำเนินงาน กั บ ทางร้ า นและเมื่ อ ทางกลุ่ ม นํ า มาวิ เ คราะห์ ถึ ง สาเหตุ ของปัญหาอย่างแท้จริงพบว่ามีขอบเขตการศึกษาที่จะ ครอบคลุมระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ดังนี้ 1.การวิเคราะห์และลงบันทึกจัดเก็บข้อมูลปริมาณวัตถุดิบ ที่ใช้ในแต่ละวัน และช่วงวันหยุด เทศกาลต่างๆ 2.ออกแบบระบบโดยใช้โปรแกรมในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อ ใช้ในการพยากรณ์ปริมาณการใช้และการสั่งซื้อวัตถุดิบ ล่วงหน้าในปริมาณที่เหมาะสม
26
4.Benefits for each stakeholder ประโยชน์ที่คาดว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับหลังจาก ที่ได้มีการนำระบบที่เสนอไปใช้ดังนี้ 1. เจ้าของ • ค่าใช้จ่ายของร้านลดลง เนื่องจากเจ้าของร้าน สามารถตรวจสอบดูได้ว่าวัตถุดิบใดมีการสั่งมากหรือมี การสั่งน้อย เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการสั่งซื้อวัตถุดิบ นั้น ๆ ทำให้สามารถลดปริมาณวัตถุดิบที่เสียจากการสั่ง ซื้อมามากเกินไปได้ และลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเก็บรักษา วัตถุดิบ • มี ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งและเป็ น ปั จ จุ บั น เพื่ อ ใช้ ใ นการ บริหารจัดการสต๊อกวัตถุดิบ • มีข้อมูลและรายงานที่เกี่ยวข้องกับสต๊อกวัตถุดิบ ที่เหลืออยู่ในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจและวางแผน จัดการวัตถุดิบ • สามารถรู้ได้ว่าวัตถุดิบใดใกล้จะหมด เพื่อสามารถ แก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที • ได้ รั บ ความพึ่ ง พอใจและความจงรั ก ภั ก ดี จ าก ลูกค้า 2. ลูกค้า • ได้ รั บ ความพึ ง พอใจจากการบริ ก ารที่ ส ามารถ ตอบสนองความต้องการได้
3. พนักงาน • ทราบจำนวนวัตถุดิบที่เหลืออยู่อย่างถูกต้อง เพื่อ สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที • ทำงานได้รวดเร็วขึ้นเพราะสามารถเรียกดูข้อมูล ได้ทันที • ลดการทำงานที่ต้องอาศัยข้อมูลการตัดสินใจจาก ตัวบุคคล มาเป็นการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีในระบบ ทำให้การทำงานมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น • จัดการเรื่องของลำดับการเข้า – ออกวัตถุดิบ (First in First out) • ลดความไม่พอใจที่เกิดจากลูกค้า เนื่องจาก วัตถุดิบหมด 4. Supplier • สามารถรู้แนวโน้มในการสั่งวัตถุดิบจากทางร้าน ได้ เพื่อใช้ในการเตรียมวัตถุดิบ 5. Functions of the Proposed Systems สิ่ ง ที่ เ จ้ า ของร้ า นชาบู ล้ อ มโต๊ ะ และผู้ ที่ มี ส่ ว น เกี่ยวข้องต้องการระบบ เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการมี ประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1. ระบบสามารถบันทึกข้อมูลของวัตถุดิบที่เข้ามาได้ อย่างถูกต้องแม่นยำ ทั้งชื่อวัตถุดิบ จำนวน หรือวันที่รับ เข้า 2. ข้อมูลที่บันทึกไว้สามารถเรียกดูได้ทั้ง Online และ Offline 3. ระบบสามารถบันทึกจํานวนวัตถุดิบที่นําออกไป ได้ทุกครั้งและสามารถคำนวณยอดสุทธิได้อัตโนมัติเพื่อ สะดวกต่อการตรวจสอบยอดสุทธิ 4. มีการแจ้งเตือนบอกถึงระดับหรือปริมาณที่ต้อง ซื้อวัตถุดิบเข้ามาเพิ่ม
27
3.2 Current Work Flow
ระบบการจั ด การของร้ า นในส่ ว นการจั ด ซื้ อ และสินค้าคงคลัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน หลักๆ คือ แม่ครัว เจ้าของร้าน และ Supplier เริ่ม ตั้งแต่ แม่ครัวจะทำการนับสต๊อกสินค้า ตรวจสอบว่า สินค้ามีเพียงพอสำหรับการขายในแต่ละวันหรือไม่ โดย จะทำการตรวจสอบสินค้าทุกวันหลังปิดร้าน หากมี ไม่เพียงพอก็สั่งสินค้าเพิ่ม เริ่มจากการเขียนใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ส่งต่อให้เจ้าของร้าน (ผู้จัดการ ร้าน) ปกติการสั่งของกับ Supplier จะทำการสั่งโดย ขึ้นกับลักษณะความสดของสินค้าเช่น หมูสั่งสัปดาห์ละ 2 วัน , อาหารแช่แข็งสั่งเดือนละครั้ง , ผักผลไม้สั่งทุก 1-2 วัน เป็นต้น แต่ก็อาจสั่งเร็วขึ้นหรือช้าลงก็ได้ขึ้น กับ สินค้าคงคลังที่เหลือในวันนั้นๆโดยหลักในการเช็ค ว่าสินค้าใกล้หมด จะนับจากประสบการณ์ของแม่ครัว ในการประมาณสินค้าในแต่ละชนิดก็มีการประมาณไม่ เหมือนกัน เช่น สั่งซื้อหมูเมื่อมีหมูเหลืออยู่ 2 กิโลกรัม, ไข่ไก่เหลือ 2*12 , ผักกาดขาวเหลือ 1 กิโลกรัม เป็นต้น แต่ก็เลี่ยงการสั่งสินค้ามามากเกินไปเพื่อซื้อ สินค้าที่สดและใหม่
28
กรณีที่สินค้าหมดและไม่ทันกับรอบการสั่งของ Supplier ที่ใช้อยู่เป็นประจำ ร้านจะไปซื้อสินค้าที่ขาด ที่ตลาดใกล้เคียงซึ่งมีราคาที่สูงกว่า เพื่อไม่ให้ของขาด โดยจะให้เงินแม่ครัวเป็นครั้งเพื่อไปซื้อของ หรืออาจไป ซื้อให้แทนถ้าแม่ครัวไม่ว่าง กรณี ที่ สิ น ค้ า หมดและทั น รอบการสั่ ง ของกั บ Supplier เจ้าของร้านจะทำการ ตรวจสอบใบ PO กับ สต๊อกที่มีอีกครั้ง ก่อนทำการตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อหรือ ไม่ หากสั่ง เจ้าของร้านจะทำการสั่งซื้อด้วยโปรแกรม Application LINE กับ Supplier Supplier เมื่อตอบรับคำสั่งสินค้าซึ่งค่อนข้างรวดเร็ว ใช้ในการตอบไม่เกิน 2 ชั่วโมงจะทำการจัดส่งสินค้า พร้อมใบกำกับภาษี ให้แก่ร้านอาหารชาบูล้อมโต๊ะในวัน นั้นๆหรือรอบส่งวันถัดไปขึ้นกับเวลาที่ทำการสั่งสินค้า โดยเมื่อสินค้ามาถึง แม่ครัวจะทำการตรวจนับสินค้าให้ ได้ตามปริมาณ และคุณภาพตามข้อกำหนด ก่อนจะลง บันทึกรับสินค้าเข้าร้านในบันทึกรับสินค้าประจำวัน และ ทำการจัดเก็บต่อไปตามแต่ลักษณะสินค้า เกณฑ์การรับสินค้าจาก Supplier อาหารสด จะใช้ตราชั่ง ชั่งเป็นกิโลกรัม ให้ได้ ตามปริมาณที่กำหนด อาหารแช่แข็ง ดูที่ Packaging ว่ามีความเสีย หายขอบรรจุภัณฑ์ หรือ ความเสียหายจากการขนส่ง หรือไม่ ผักผลไม้ จะดูสินค้าที่ความสด ใหม่ ของสินค้า
สินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็ทำการ คืนสินค้านั้นๆทันที แต่หากมาตรวจเจอในภายหลัง เจ้าของร้านจะถ่ายรูปสินค้าที่เสียหายส่งไปให้ Supplier เพื่อทำการคืนสินค้าหรือค่าเสียหายในรอบบิล ถัดไป เมื่อได้สินค้าจาก Supplier แล้ว แม่ครัวและพนักงาน ในร้านจะบันทึกสินค้าลงในบันทึกประจำวันในกระดาษ ว่าได้รับสินค้าครบตามจำนวนตามวันเวลาที่สั่งหรือไม่ และนำกระดาษไปเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน แยกกันเป็น เดือนๆ ซึ่งเจ้าของร้านยังไม่มีเวลาจัดการกับเอกสาร ดังกล่าว แต่อาจนำมาบันทึกเพื่อเก็บเป็นข้อมูลเพื่อใช้ ต่อไปในอนาคต การจัดเก็บสินค้า เมื่อได้รับสินค้ามาจาก Supplier ทางร้านจะจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสมตามชนิดสินค้า ที่ บริเวณครัวและด้านหลังของร้าน แต่ในกรณีที่ตู้เก็บ สินค้า ตู้เย็น หรือตู้แช่แข็งเต็ม เนื่องจากสั่งมาปริมาณ ที่เยอะในช่วง High Season เจ้าของร้านก็จะนำ สินค้าเหล่านั้นไปเก็บไว้ที่บ้านตัวเอง และบ้านเพื่อนๆ เมื่อต้องการจึงค่อยนำมาใช้ (สินค้าจำพวก กระดาษเช็ดปาก ช้อน ส้อม ตะเกียบ กล่อง แก้ว หม้อ ฯ เจ้าของร้านจะไปซื้อด้วยตัวเองที่ Makro หรือร้านค้าส่งทั่วไปโดยไม่ผ่าน Supplier)
29
- CHAPTER 4 Business Process Redesign 4.1 Steps in BPM 1. Identify processes for change
2. Analyze existing processes by Defining the problem and identifying causes
30
3.Specifying alternative solutions จากการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของชาบูล้อมโต๊ะ พบว่ามีปัญหาในขั้นตอนต่าง ๆ และสามารถวิเคราะห์ ปัญหาและวิธีกรแก้ไข ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 Analyze existing processes and identifying causes and Specifying alternative solutions
31
4.2 Identifying information requirements from Stakeholders
จากการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาใน ขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานของร้าน ชาบูล้อมโต๊ะ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องต้องการจากระบบในแง่ต่างๆ ดังนี้ 1. การจัดการที่มีประสิทธิภาพ • เมื่อนําระบบเข้ามาใช้จะสามารถประมวลผลข้อมูลได้ อย่าง Real time มากขึ้นเพราะการตัดสต็อกมีความทันสมัย มากขึ้น ง่ายต่อการใช้งานในการตัดสต็อกตามการสั่งของ ลูกค้า • มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆในรูปแบบไฟล์ข้อมูลที่ ดึงมาจากระบบที่ประมวลในแต่ละวันแล้วไม่ว่าจะเป็นรายการ ขายแต่ละวัน ข้อมูลวัตถุดิบที่มีการสั่งแต่ละวัน ฯลฯ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ • ลดการทำงานที่ต้องอาศัยข้อมูลการตัดสินใจจากตัว บุคคล มาเป็นการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีในระบบตามจำนวน ขั้นต่ำที่ควรจะสั่งในแต่ละครั้งมาเป็นตัวตัดสินใจแทน • ลดการทำงานที่เน้นในความรู้เฉพาะทางของตัวบุคคล ลงเนื่องจากการตัดสต๊อกผ่านระบบการสั่งซื้อจะเป็นใครก็ได้ ที่ว่างในส่วนของพนักงานเสิร์ฟเพราะจะมีการเช็คการสั่งทุก ครั้งภาพรวมผ่านแม่ครัวอยู่แล้ว ช่วยให้พนักงานเสิร์ฟคนอื่น สามารถทำหน้าที่แทนกันได้เมื่อไม่ว่างหรือมีการลางานเกิดขึ้น • หน้ า ที่ ข องแม่ ค รั ว ลดลงจากที่ ต้ อ งคอยเช็ ค ทุ ก วั น ก็ กลายมาเป็นใส่ใจและดูความผิดปกติของสินค้าที่มีการสั่งทุก ครั้งผ่านจอมอร์นิเตอร์แทนที่มีการอัพเดทแบบ Real time
32
2. ลดค่าใช้จ่าย • เมื่ อ มี ก ารนํ า ระบบเข้ า มาใช้ จ ะสามารถบริ ห ารสิ น ค้ า คงคลังได้ถูกต้องมากขึ้น เนื่องจากการตัดสต็อกสินค้าเป็น แบบ Real time ทำให้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในเวลาที่เหมาะ สมต่อการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม • ลดต้นทุนในการจัดเก็บเอกสารเนื่องจากเป็นในรูปแบบ ไฟล์ข้อมูล ไม่ต้องมีการจดข้อมูลการสั่งซื้อผ่านกระดาษซึ่งอาจ มีความเสี่ยงกับการสูญหายของข้อมูลและสิ้นเปลืองทรัพยากร เพิ่มค่าใช้จ่าย การจัดเก็บอีกด้วย • การรับและส่งข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จะมีความ Real time และง่ายต่อการเรียกใช้มากขึ้น ง่ายต่อการค้นหา 3. ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน • การจัดเก็บอยู่ในระบบง่ายต่อการเรียกใช้และดึงข้อมูล ออกมาวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการสั่งซื้อให้มีความประหยัด ต่อการสั่งซื้อมากขึ้นอีกทั้งเข้าใจลูกค้ามากขึ้นสามารถทำการ ตลาดได้อย่างตรงเป้าหมาย • เนื่องจากข้อมูลมีความเป็น Real time มากขึ้นและ มี ก ารมอนิ เ ตอร์ จ ากแม่ ค้ า เพื่ อ ดู ภ าพรวมอี ก ครั้ ง จะได้ ข้ อ มู ล ที่ถูกต้องและสามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้ถูกจุดอย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
33
4.3 Design the new process เมื่อวิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องการจากระบบ ในแง่มุมต่าง ๆ ทำให้สามารถออกแบบกระบวนการทำงานใหม่เมื่อ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
1.
Future Work Flow
2. Future work flow description
จากเดิมที่แม่ครัวจะทําการเช็คสต๊อกและนับสินค้า ทุกวันเพื่อทราบจำนวนสินค้าที่จะต้องสั่งกับ Supplier ทำให้แม่ครัวเสียเวลาและมักเกิดความผิดพลาดจาก การนับสต็อกสินค้าและสั่งสินค้า ทางทีมงานจึงเข้ามา ช่วยแก้ไขปัญหานี้โดยการนำระบบ ITECFood ซึ่งเป็น โปรแกรมสำเร็จรูปที่จะช่วยการบริหารสินค้าคงคลัง และ เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น โปรแกรม ITECFood เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ครบวงจรที่ครอบคลุมการทำธุรกิจร้านอาหารหลากหลาย ประเภท โดย module ที่ถูกเลือกมาใช้ จะเข้ามาช่วยบริหาร การจัดการสินค้าคงคลัง โดยหลังจากที่มีการกรอกจำนวน วัตถุดิบเข้าไปในระบบ ระบบจะบันทึกวัตถุดิบ จำนวน ราคา และต้นทุนค่าใช้จ่ายจาก Supplier ต่างๆ เมื่อพนักงาน เสิร์ฟรับ Order จากลูกค้าผ่าน Tablet จำนวนสินค้า คงคลังจะถูกหักออกอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อแม่ครัวทำการนับ สต๊อกสินค้าจึงสามารถตรวจสอบข้อมูลตัวเลขจากหน้าจอ คอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
34
1.แม่ ค รั ว ตรวจสอบวั ต ถุ ดิ บ คงเหลื อ ผ่ า นหน้ า จอ คอมพิ ว เตอร์ โ ดยโปรแกรมจะแสดงจํ านวนวั ต ถุ ดิ บ ที่มีอยู่แบบ Real time ทำให้จำนวนสินค้าที่แสดง ผลในระบบใกล้เคียงกับจํานวนจริงเมื่อมีการตรวจ สินค้า จำนวนสินค้าในระบบอาจไม่ตรง100% กับ จำนวนจริงเมื่อตรวจสินค้า เพราะอาจมีจำนวนสินค้าที่ เสียหายบ้างจากการจัดเก็บสินค้า 2.ถ้ า พบว่ า มี วั ต ถุ ดิ บ ใดที่ มี เ หลื อ จํ า นวนน้ อ ยกว่ า Safety สต๊อกจริงจะทำการปริ้นใบสั่งซื้อ - ถ้าจำนวนสินค้าคงเหลือมีมากกว่าที่ระบบแสดงก็ไม่ สั่งซื้อ - ถ้าจำนวนสินค้าคงเหลือตรงกับการแสดงผลบน หน้าจอแล้วน้อยกว่า Safety สต๊อกก็จะทำการสั่งซื้อ -แม่ครัวจะปริ้นเอกสาการสั่งซื้อมา เพื่อส่งต่อให้ เจ้าของร้านนำข้อมูลไปใช้ในการทำรายงาน ประเมิน ผล เอาไว้ทำการประชุมกับผู้ถือหุ้น และปรับปรุงการ ทำงานของร้านต่อไป
3. การสั่งซื้อจะทำการส่งผ่าน LINE application ไปสู่ Supplier 4. เมื่อ Supplier อ่าน LINE ก็จะตอบรับข้อความ ลูกค้าและส่งสินค้าพร้อมใบ Invoice กลับมา 5. เมื่อ Supplier มาส่งสินค้า แม่ครัวจะทำการตรวจ เช็คสินค้าและตรวจสอบให้ตรงกับใบสั่งซื้อสินค้า 6. แม่ครัวจะเก็บสินค้าและจัดเรียงสินค้าใหม่แบบ FIFO เพื่อให้สินค้าเก่าถูกนำไปใช้ให้หมดและมีความ สดใหม่ของสินค้า จากการทำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ จะ พบว่าลดเวลา และต้นทุน ที่ใช้ในการทำงาน ทุก ๆ คน ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในกระบวนการสั่งซื้อสินค้า และการเก็บสต๊อกมีเวลามากขึ้น สามารถนำเวลาไปใช้ ทำงานด้านอื่นได้
3. Graphic Information of New Work Flow
35
การออกแบบกระบวนการทํ า งานใหม่ ข องร้ า นชาบู ล้อมโต๊ะ โดยการทำเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้นคือโปรแกรม ITECFood มาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดของโปรแกรมดังต่อ ไปนี้
4.4 IT Information
1.ใข้อมูลเพิ่มเติมของ IT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการ ที่ได้รับจากโปรแกรม ITECFood เนื่ อ งจากทางร้ า นชาบู ล้ อ มโต๊ ะ มี ปั ญ หาด้ า นการตั ด สต๊อกที่ไม่เป็นปัจจุบันส่งผลต่อการมีสินค้าให้บริการไม่เพียง พอต่อความต้องการ ซึ่งผิดกับการให้บริการด้านร้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น จึงใช้โปรแกรม ITEC Food ที่สามารถตอบโจทย์และแก้ ปัญหาในส่วนนี้ได้อย่างตรงจุด โดยโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรม บริหารงานร้านอาหาร ของหวาน ไอศกรีม กาแฟ และเครื่อง ดื่ม มีจุดเด่นในเรื่องของการตัดสต๊อก อีกทั้งรองรับการ ทำงานบนระบบ iOS สามารถรับ Order ผ่าน iPhone iPod และ iPad ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดระบบ การทำงานที่ดี ช่วยบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและ สามารถวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของการตัดสต๊อกสินค้า โดยมีการควบคุมที่ดีเพื่อเช็คความมีประสิทธิภาพโดยรวมของ ทุกด้านให้ตอบสนองกันได้อย่างเหมาะสม 2)
โปรแกรม ITECFood
ITECFood เป็นโปรแกรมบริหารงานร้านอาหาร ของหวาน ไอศกรีม กาแฟ และเครื่องดื่ม ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของการ ตัดสต๊อก รองรับการทำงานบนระบบ iOS สามารถรับ Order ผ่าน iPhone iPod และ iPad ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถนํ า วั ต ถุ ดิ บ มาผลิ ต เป็ น สิ น ค้ า เพื่ อ เพิ่ ม เป็ น เมนู ข าย ป้องกันการทุจริตของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับ ธุรกิจที่มีหลายสาขา สามารถใช้งานพร้อมกันได้ด้วยระบบ Real Time ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในโลก จะเห็นข้อมูลได้ทันที ที่เปิดบิล อีกทั้งโปรแกรมยังสามารถกำหนดราคาในแต่ละสาขา ให้แตกต่างกันได้ มีระบบเข้างานเป็นกะ สามารถส่งรายการ อาหารไปที่ครัวได้ สามารถป้อนคำสั่งพิเศษได้ เช่น ไม่เผ็ด, ไม่ใส่ผงชูรส รวมถึงสามารถรองรับการใช้งานแบบ Touch Screen ได้อีกด้วย
36
คุณสมบัติเด่นของโปรแกรมขาย • ตัดยอด สต๊อก ที่ใช้จริงโดยตั้งชื่อเมนูเพียงแค่ 1 เมนูได้ เช่น ตั้งเมนูขายชื่อว่า “ไอศกรีม 2 ลูก” โดยให้เลือกรสชาติ ไอศกรีมรสใดก็ได้ที่มีอยู่ โปรแกรมจะตัด สต๊อก ไอศกรีมได้ ถูกต้องตามรสชาติที่ขายไป ช่วยป้องกันการทุจริตได้ • นำของที่มีอยู่มาผลิตเป็นเมนูใหม่ได้ โปรแกรมจะตัด สต๊อก ของที่ใช้ผลิตและเก็บ สต๊อก ของที่ผลิตใหม่ให้ เช่น เอา น้ำตาล, นม, กาแฟ มาทำเป็นกาแฟเย็นเพื่อขาย • กำหนดราคาขายแต่ละเมนู แยกตามสาขาได้ สามารถกำหนด ราคาจากส่วนกลาง ไปยังแต่ละหน้าร้านสาขาได้, ชำระบิลตาม โต๊ะ, รวมโต๊ะ, ย้ายโต๊ะ, แยกโต๊ะ, มีระบบเข้างานเป็นกะ • มีรายงานวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ, มีความ แม่นยำทางด้านข้อมูล, ทำงานได้ทั้งแบบ Real Time ขาย ปุ๊บเห็นปั๊บ ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใดในโลก หรือ แบบ Off-Line ส่ง ข้อมูลมาที่ส่วนกลางตามเวลาที่กำหนด • ส่งรายการอาหารไปที่ครัว เพื่อให้ครัวสามารถจัดอาหารตาม ที่ลูกค้าสั่งได้อย่างสะดวก, รวดเร็ว และ ถูกต้อง ป้อนคำสั่ง พิเศษได้ เช่น ไม่เผ็ด, ไม่ใส่ผงชูรส โดยที่ไม่ต้องให้คนรับ Order ตะโกนบอกครัว • สามารถพักการทำรายการต่างๆได้ไม่จำกัด เช่น รับสินค้า เข้าระบบ, ทำรายการขาย, เช็คยอดคงเหลือ หรือเมนูการใช้งา นอื่นๆ ในโปรแกรม • โปรแกรมร้านอาหาร มีระบบ Backup Database อัตโนมัติ เพื่อใช้สำรองข้อมูล
37
2.1) การตัดสต๊อก การกำหนดเมนูของร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือร้านไอศกรีมนั้น มักมีการตั้งชื่อเมนูที่หลาก หลาย เนื่องจากส่วนผสมหรือส่วนประกอบของ อาหารนั้นมีมากมาย ดังนั้น หากร้านมีการกำหนด เมนูให้ครบตามความต้องการขาย อาจกล่าวได้ว่า จะมีชื่อเมนูมากถึง 100 หรือ 1,000 เมนู ยก ตัวอย่าง “ร้านไอศกรีม” หากร้านมีการจำหน่าย ไอศกรีมถึง 10 รสชาติโดยกำหนดแบบใส่ถ้วย (ให้มี 2 ลูกใน 1 ถ้วย) เมื่อมีการกำหนดเมนูจับ คู่แต่ละรสชาติ จะมีมากถึง 45 เมนู นอกจากเมนู ไอศกรีมแล้ว Topping ที่ลูกค้าอาจสั่งเพิ่ม ยิ่ง ทํ า ให้ มี เ มนู ม ากเกิ น ไปและสิ้ น เปลื อ งพื้ น ที่ ใ นหน้ า โปรแกรม ดังนั้น ร้านอาจไม่สามารถที่จะตั้งชื่อเมนูให้ ครบถ้วนตามความต้องการขาย หรือหากมีการตั้ง ครบทุกเมนู ก็อาจจะใช้งานจริงไม่ได้ เนื่องจากเมนูที่มีมาก ยาก ต่อการค้นหา เสียเวลาการทำงาน พนักงานเกิด ความสับสนในการเลือกเมนู ทำให้ผิดพลาดเมื่อคิด รายการชำระเงินจากลูกค้า ที่สำคัญคือ การตัด สต๊อกที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างถูกต้อง รวมถึง ไม่ทราบจำนวนและประเภทของสินค้าว่าพนักงานได้ มีการขายถูกต้องหรือไม่
เพื่อการกำหนดเมนูที่ง่าย ใช้งานได้จริง และยังสามารถตัดสต๊อกได้อย่างถูกต้อง “ITECFood” โปรแกรมสำหรับร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านไอศกรีม และร้านเบเกอรี่ จึงได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อที่จะช่วยให้การคุมและตัดสต๊อก เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการใช้ที่ง่ายและสะดวก โปรแกรมสามารถกำหนดเมนูให้สั้น กระชับ ได้ใจ ความ โดยที่ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันและสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากเป็นการกำหนด เมนู ข องร้ า นไอศกรี ม จะช่ ว ยให้ พ นั ก งานสามารถ เลื อ กรสชาติ ไ อศกรี ม จากระบบได้ อ ย่ า งสะดวก และรวดเร็ว ไม่ผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและ คำนวณเงิน ในกรณีที่มีเมนูให้เลือกมากมาย รวม ถึ ง การตั ด สต๊ อ กของไอศกรี ม ได้ ถู ก ต้ อ งตาม รสชาติที่ขายไป ซึ่งมีผลต่อการสรุปยอดขายและ ยอดสต๊อกคงเหลือของร้าน
จากรูป เป็นการเปรียบเทียบระหว่างการกำหนดเมนูแบบทั่วไป และเมนูระบบ ITECFood จะเห็น ได้ว่า การกำหนดเมนูแบบ ITECFood นั้น สั้น กระชับ ได้ใจความ เข้าใจง่าย และไม่สิ้นเปลือง พื้นที่ในหน้าโปรแกรม
38
ซึ่งในหน้าขายสินค้าจะมีการแยกประเภทของสินค้า เพื่อให้ง่ายต่อการเลือก รายการที่ลูกค้าสั่งและความรวดเร็วในการทำงานของพนักงาน เช่น ประเภทขนม หวาน เครื่องดื่ม และไอศกรีม เป็นต้น จากรูป เป็นการเลือกประเภทไอศกรีม ซึ่งลูกค้าได้มีการสั่งเมนู “ไอศกรีม 2 ลูก” หลังจากนั้นพนักงานต้องไปที่เมนู “เลือกส่วนผสม” เพื่อระบุรสชาติของไอศกรีม ที่ลูกค้าได้ทำการสั่งเสียก่อน
เมื่อกดเมนู “เลือกส่วนผสม” แล้ว จะมีรสชาติของไอศกรีมทั้งหมดที่ร้าน มีขึ้นมาให้พนักงานได้เลือกตามรสชาติที่ลูกค้าต้องการ โดยการระบุรสชาติของ ไอศกรีมต้องตรงกับจำนวนที่ต้องการตามที่ร้านได้กำหนดไว้ใน “เมนูไอศกรีม 2 ลูก” เพื่อให้ช่อง FIN มีเครื่องหมายถูก√ ปรากฏขึ้น และเป็นการยืนยันว่า จำนวน ที่ระบุนั้นถูกต้อง จากรูป ลูกค้าได้สั่งเมนูไอศกรีม 2 โดยเลือกรสช็อคโกแลตและรสมะนาว
39
โปรแกรมมีการกำหนดสูตรสามารถช่วยบริหารสต๊อกสินค้าได้ “การกำหนดสูตร” ทำไมถึงสำคัญ ? สูตรมีไว้เพื่อเป็นตัวช่วยในการนำวัตถุดิบมาประกอบอาหารให้ ได้ตามสัดส่วนและรสชาติที่ต้องการ อีกทั้งยังช่วยให้ร้านสามารถ รักษาคุณภาพและมาตรฐานเอาไว้ได้ หากเจ้าของร้านที่ไม่สะดวก ในการจัดการวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการประกอบอาหารหรือผลิต สินค้าด้วยตนเอง และต้องมอบหมายให้พนักงานรับผิดชอบ หน้าที่แทนตน ซึ่งหากไม่มีการกำหนดสูตรที่แน่นอน อาจทำให้เกิด ปัญหาในกรณีที่พนักงานนั้น ไม่มีความ ชำนาญในการทำอาหาร มากพอ และอาจเกิดความสูญเสีย เช่น การสูญเสียลูกค้า อัน เนื่องมาจากการผลิตผิดสูตร ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป, การ สูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ ทำให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ หากมีการ ผลิตในจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อเจ้าของร้านรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ก็อาจสายเกินไปที่จะแก้ไขได้ทัน “การกำหนดสูตร” ยังคงสำคัญ? เมื่อ “การตัดสต๊อกสินค้า” เป็น ขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการผลิต หากร้านไม่มีสูตรที่แน่นอนในการ ผลิต จะส่งผลให้การตัดวัตถุดิบในคลังผิดพลาด อาจเกินหรือไม่ พอต่อความต้องการในการผลิตของวันถัดไป ทำให้เจ้าของร้าน มีการจัดการที่ยากขึ้น พนักงานไม่มีการทำงานในระดับมาตรฐาน เดียวกัน และส่งผลให้ร้านหมดความน่าเชื่อถือ
“โปรแกรม” สามารถช่วยคุณได้ใช่หรือไม่? “ITECFood” โปรแกรมสำหรับร้านอาหาร ร้านกาแฟ, ร้าน Ice Cream และร้านเบเกอรี่ ที่มีจุดเด่นในเรื่องการคุมสต๊อกสินค้า สามารถตัดยอดสต๊อกที่ใช้จริง สามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่มาผลิต เป็นเมนูใหม่ได้ เช่น การนำข้าว หมู ผัก ไข่ มาทำเป็นข้าวผัด อีก ทั้งยังสามารถระบุจำนวนที่ต้องการผลิต และโปรแกรมจะทำการ ตัดสต๊อกสินค้าที่นำมาใช้ในการผลิตแบบอัตโนมัติตามจำนวนที่ได้ ระบุลงไป โดยเพิ่มสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้ามาในสต๊อกแบบอัตโนมัติ ดั ง นั้ น เจ้ า ของร้ า นจะทราบได้ ว่ า ใช้ วั ต ถุ ดิ บ ในการผลิ ต ไปเท่ า ไร ทราบจำนวนที่สามารถขายได้แม่นยำ และสรุปยอดสต๊อกคงเหลือ ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการคำนวณค่าใช้จ่าย ของต้นทุนและกำไรที่ต้องการ
40
ตัวอย่าง หน้าสินค้า (Product) จากรูป แสดงตัวอย่างการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในสต๊อกสินค้า มาทำการผลิตเป็นสินค้าตัวใหม่ จากหน้าสินค้า (Product) >> เพิ่ม เติม/แก้ไข สูตรการผลิตสินค้า (Add/Edit Product Recipe) คือ “ข้าวผัด” สามารถระบุจำนวนที่ต้องการผลิต ได้แก่ ข้าวสวย 200 กรัม, ไข่ 1 ฟอง, ผัก 100 กรัม และเนื้อหมู 200 กรัม ต่อข้าวผัด 1 จาน
เมื่อได้ทำการใส่สูตรของวัตถุดิบในการผลิตเป็น “ข้าวผัด” แล้ว ในหน้าผลิตสินค้าของโปรแกรมสามารถแก้ไขจำนวนผลิตได้ ดังตัวอย่าง ต้องการผลิตข้าวผัด 5 จาน สูตรส่วนผสมสำหรับใช้ผลิต 1 จาน ได้แก่ ข้าวสวย 200 กรัม, ไข่ 1 ฟอง, ผัก 100 กรัม และเนื้อหมู 200 กรัม แต่เมื่อต้องการผลิต 5 จาน ส่วนผสมจะเพิ่มตามลำดับ โดยการคำนวณ ของโปรแกรม เมื่อกดปุ่ม Produce (ผลิต) ระบบจะจำสูตรดังกล่าว และ เมื่อเกิดการขาย “เมนูข้าวผัด” ระบบจะทำการตัดสต๊อกวัตถุดิบที่นำมาใช้ ในการผลิตแบบอัตโนมัติ
41
4.5 Business solution Business solution / Opportunity การบริหารจัดการข้อมูลการเก็บสต๊อกวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะช่วยให้มีความสะดวกในการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ และมีความถูกต้องแม่นยำ
Management • กลยุทธ์ในเรื่องของ Operational excellence เพื่อให้การดำเนินงานในส่วนของการเก็บสต๊อกวัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เสียเวลาจากการนับสต๊อก สินค้า สามารถตรวจสอบสต๊อกสินค้าคงเหลือได้ทันที แบบ Real Time และมีความถูกต้องแม่นยำ • กลยุทธ์ในเรื่องของ Supplier intimacy เพื่อบริหาร ความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier โดยจะทำให้สามารถ ติดต่อสื่อสารกับ Supplier ได้ทันที และไม่เกิดความ ผิดพลาดจากการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้ Supplier มีความพึงพอใจที่จะขายวัตถุดิบให้เรา • กลยุทธ์ในเรื่องของ Improved decision making เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งจะทำให้สามารถตัดสินใจ สั่งซื้อวัตถุดิบในครั้งต่อไปได้อย่างทันที
42
Organization • จัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บข้อมูล วัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ ให้มีฐานข้อมูลครบวงจร • ใช้โปรแกรม ITECFood โดยบันทึกข้อมูลวัตถุดิบ ที่ใช้ผ่านโปรแกรมนี้ และเมื่อลูกค้ามีการสั่งอาหารตัว โปรแกรมจะมีการตัดสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ และแจ้งเตือน ในกรณีที่วัตถุดิบมีปริมาณต่ำกว่า Safety สต๊อกที่ กำหนด และ หากมีการแก้ไขข้อมูล โปรแกรมก็จะบันทึก ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ทันที • ใช้โปรแกรม ช่วยในการคำนวณต้นทุนและกำไรที่ ต้องการ จากสูตรการผลิตสินค้า ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบ หลายส่วนมาประกอบกันเพื่อผลิตอาหารแต่ละตัว โดย ระบบจะประมวลผลจากการสั่ ง รายการอาหารและ สามารถตัดวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตแบบ อัตโนมัติ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการคำนวณต้นทุนการ ผลิตได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ • โปรแกรมมีระบบ Backup ข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อใช้ สำรองข้อมูล ทำให้ช่วยแก้ปัญหาข้อมูลสูญหาย สามารถ จัดเก็บข้อมูลและนำมาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุด • โปรแกรมสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการสั่งอาหารของ ลูกค้าไปยังแม่ครัว พร้อมทั้งบอกรายละเอียดพิเศษ เช่น เผ็ดน้อย ทำให้ช่วยลดการทำงานผิดพลาด • สามารถกำหนดราคาขายแต่ละเมนู แยกตามสาขาได้ จากการกำหนดราคาจากส่วนกลาง ไปยังสาขาต่างๆ จึง ใช้ในการขยายธุรกิจและเพิ่มมูลค่ากับบริษัทให้ดำเนินการ จัดการอย่างเหมาะสม Technology นำโปรแกรม ITECFood ที่มีจุดเด่นในเรื่องของความ สามารถในการบริหารสต๊อกสินค้าให้มีความพอดีตาม ระดับที่เหมาะสมแบบทันเวลา สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ทันต่อความต้องการ โดยข้อมูลจะอยู่ในระบบ สามารถ เรียกดูได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรืออยู่ในโหมด Offline เป็นต้น จึงถือเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์แก่ผู้มี ส่วนได้เสียทั้งหมด
43
Information Systems • โปรแกรมจะทำการเก็บข้อมูลที่เป็น Raw Data เพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ในอนาคตไว้ในระบบ ผ่านการ ใช้งานที่แสดงเป็นรูปแบบ เพื่อความรวดเร็วในการ ใช้งาน ข้อมูลต่างๆมีการแยกได้ตามราคาของแต่ละ สาขาเป็นการกําหนดให้เหมาะกับทางร้านที่มีการทํา ร้านอาหารเป็นแบบทั้งชาบู และ A La Cart ในส่วน ของสาขาวังหินและเป็นแบบเฉพาะ A la Cart ที่เป็น แฟรนไชส์สาขาอุดมสุข •โปรแกรมมี ส่ ว นช่ ว ยให้ ง่ า ยต่ อ การใช้ ง านเพราะ ออกแบบให้สามารถรองรับกับระบบ IOS ทั้ง I-Pad , I-Phone ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ซึ่งโปรแกรมสามารถจัดการตัดสต๊อกวัตถุดิบได้ทันที แค่เพียงลูกค้าสั่งอาหาร ระบบก็จะตัดสต็อกสินค้า ส่ง ผลให้ทราบปริมาณที่คงเหลือของวัตถุดิบในแต่ละวัน ประเมินได้เบื้องต้นล่วงหน้าโดยไม่ต้องมารอนับสต๊อก เช็คทุกสิ้นวัน •โปรแกรมจะลดระยะเวลาและขั้ น ตอนในการตรวจ สต๊อก และสามารถให้พนักงานทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตอบรับความต้องการ ของลู ก ค้ า ได้ ร วดเร็ ว ถื อ เป็ น อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ของการ บริการที่ดี •มีโปรแกรมเข้ามาช่วยจะลดข้อผิดพลาดได้มากกว่า การทำงานด้วยกำลังคน ลดการสื่อสารด้วยเสียงที่ อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ระหว่างส่งสารนั้น หรือลายมือ ที่จดลงใบออเดอร์ การคิดเงินอาจผิดพลาดได้ ดังนั้น เมื่อมีโปรแกรมที่เข้ามาช่วยจัดการทุกสิ่งจะสามารถ ตอบโจทย์ของลูกค้าให้เกิดความพอใจสูงสุดได้
Business Solution โปรแกรม ITECFood นั้นเป็นระบบการจัดการสต๊อก สินค้าให้มีประสิทธิภาพและมีการตัดสต๊อกได้รวดเร็วเป็น ปัจจุบันเพื่อสามารถวิเคราะห์และทำการสั่งซื้อสินค้านั้น ให้ ทั น และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ ตอบโจทย์ ค วามต้ อ งการ ของลูกค้าในส่วนการบริการที่ดี มีการแสดงออกมาเป็น รายการเรียกดูได้ตามวัน ยอดขาย รายการใดเป็นที่ นิยม โดยสามารถลดข้อผิดพลาดได้อีกทั้งยังมีการเก็บ ข้อมูลไว้ป้องกันการสูญหายได้อีก สามารถนำข้อมูลมา วิเคราะห์ ดูปัญหาและติดตามผลเพื่อวางแผนการขยาย สาขาได้ในอนาคต
Economic Impacts การลงทุนซื้อโปรแกรม ITECFood เข้ามาเพื่อช่วย พัฒนาการทำงานภายในร้านในส่วนของสต๊อกสินค้าให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้น ถือเป็นการลงทุนเพียงครั้ง เดี ย วแต่ ส ามารถนํ า ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ต่ อ ได้ ห ากร้ า นมี ก าร ขยายสาขามากยิ่งขึ้นตามผลตอบรับที่ดีของลูกค้า อีก ทั้งโปรแกรมยังมีการใช้งานได้ร่วมกับระบบ IOS ที่อยู่ ในยุคเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่าอีกทั้งโปรแกรมดัง กล่าวนี้ยังรองรับรูปแบบธุรกิจอื่นได้อีกด้วย
44
Transaction Cost Theory ช่วยลดต้นทุนในการใช้เอกสารในการนับสต๊อก รวม ถึงค่าการจัดเก็บเอกสารต่างๆ เช่น ค่าดูแลรักษา ค่า เช่าพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บบน คอมพิวเตอร์ สามารถดึงข้อมูลได้เมื่อต้องการใช้งานและ ยังสามารถสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันการสูญหาย
Agency Cost Theory ช่วยลดขั้นตอนการทำงานของแม่ครัว และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ยังลดขั้นตอนใน การตัดสินใจของเจ้าของร้านในการสั่งซื้อสินค้า เพื่อ สนับสนุนให้เจ้าของร้านมุ่งเน้นไปที่การบริหารงานในภาพ รวม
45
- Appendix Appendix • ขั้นตอนเบื้องต้นในการเริ่มใช้งานโปรแกรม ITEC Food คำอธิบายแยกตามหมวดหมู่ 1. หมวด Config 1.1 กำหนดเขต (Zone) เพื่อใช้สำหรับแบ่งZone ของสาขา(Branch) , ผู้ขาย (Supplier) , ลูกค้า(Customer) 1.2 กำหนดแผนก (Department) เพื่อใช้สำหรับเลือกแผนกให้กับ พนักงาน(Officer) 1.3 กำหนดพนักงาน(Officer) เพื่อใช้สำหรับกำหนดเลข ID พนักงาน และ Username / Password ในการเข้าใช้งานโปรแกรม และใช้ในการ ใส่ผู้บันทึก ในการทำรายการต่างๆ ในโปรแกรม 1.4 กำหนดสาขา (Branch) ใช้สำหรับแยก Stock ออกเป็น คลัง ต่างๆ และข้อมูลต่างๆ เช่น ชื่อ,ที่อยู่, จะนำไปใช้โชว์ในแบบฟอร์ม ต่างๆ 1.5 กำหนดบริษัท (Company) ใช้สำหรับเป็นข้อมูลโชว์ในบิลใบกำกับ ภาษี 1.6 กำหนดธนาคาร (Bank) , ประเภทบัตรเครดิต(Credit Card Type) เพื่อนำไปใช้เลือกประเภทการจ่ายชำระเงินและการรับชำระเงิน 1.7 กำหนดประเภทสินค้า (Category) เพื่อใช้ในการแบ่งหมวดหมู่ของ สินค้า และใช้ในการใส่เงื่อนไข การดูยอด Stock คงเหลือ หรือ ยอดขาย เฉพาะหมวดนั้นๆ 1.8 กำหนดสินค้า (Product) เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าเข้ามาในระบบ , กำหนดราคาขาย , และนำข้อมูลของ Product นั้นๆ ไปใช้ในแบบฟอร์ม ต่างๆ 1.9 กำหนดกลุ่มสาขาสำหรับตั้งราคาขาย (Branch Group For Set Sale Price) เพื่อใช้ในการกำหนดราคาขาย กรณีที่ราคาขาย แต่ละหน้า ร้านไม่เท่ากัน 1.10 กำหนดราคาขายสินค้าของแต่ละกลุ่มสาขา (Sell Price For Branch Group) เพื่อเวลาเข้าเมนูขาย ราคาขายจะขึ้นให้อัตโนมัติ(ถ้าไม่มี การกำหนดราคาขายก่อน โปรแกรมจะไม่สามารถเปิดบิลขายได้ 1.11 กำหนดโต๊ะอาหาร(Table Food) ใช้สำหรับการขายกรณีที่ลูกค้า นั่งทานที่ร้าน ในเมนูขายจะต้องมีการเลือกโต๊ะที่ลูกค้านั่งก่อน ที่จะเลือก รายการอาหาร 1.12 กำหนดกลุ่มของสิทธิ์ (Privilege Group Management) เพื่อนํ าไปใช้ในการกำหนดสิทธิ์ให้พนักงาน แยกตามแผนกหรือแยกตามหน้าที่การ ใช้งาน ในโปรแกรมของแต่ละคน 1.13 กำหนดสิทธิ์ให้พนักงานแบบกลุ่ม (Give Privilege Group) คือ การนำพนักงานแต่ละคนเข้าไปในกลุ่มของสิทธิ์ที่เราสร้างไว้ในข้อ1.12
46
2. หมวด Buy 2.1 กำหนดกลุ่มผู้ขาย (Supplier Group) เพื่อใช้ในการแบ่งกลุ่มของSupplier เช่น กลุ่ม ขายส่ง , ขายปลีก เป็นต้น 2.2 กำหนดผู้ขาย(Supplier) เพื่อใช้ในการเลือกผู้ขายตอนทำซื้อสินค้า เข้าระบบ 2.3 ซื้อสินค้า , รับสินค้าเข้าคลัง (Buy) ใช้ในการซื้อสินค้าเข้าระบบ และ กำหนดราคาทุน 2.4 แสดงรายการซื้อสินค้าแบบบิล (Buy Bill View) ใช้สำหรับดูรายการ ซื้อสินค้าย้อนหลัง , กำหนดราคาทุน , ดูรายการค้างชำระ , และ Reprint Bill ซื้อย้อนหลัง 2.5 จ่ายเงินสำหรับใบซื้อสินค้า (Voucher Pay For Buy Bill) ใช้ กรณีที่ถึงวันครบกำหนดชำระเงินและได้ทำการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ 2.6 แสดงรายการจ่ายเงินสำหรับใบซื้อสินค้าแบบบิล (Voucher Pay View For Buy Bill View) ใช้ในการดูข้อมูล การจ่ายชำระเงินค่าสินค้า ต่างๆ ย้อนหลัง 3. หมวด Sell 3.1 กำหนดประเภทลูกค้า (Customer Type) เพื่อใช้ในการแบ่งประเภทใน การดูยอดขายและแยกตามประเภทลูกค้าที่เรากำหนด เช่น ประเภท ขายปลีก , ขายส่ง เป็นต้น 3.2 กำหนดกลุ่มลูกค้า (Customer Group) เพื่อใช้ในการแบ่งกลุ่มลูกค้า ในการดูยอดขายและแยกตามกลุ่มลูกค้าที่เรากำหนด เช่น กลุ่มลูกค้า VIP , กลุ่มลูกค้า ขายเชื่อ เป็นต้น 3.3 กำหนดลูกค้า (Customer) เพื่อใช้ในการเปิดบิลขายและกำหนดระดับ ส่วนลดของ Member ที่ลูกค้าจะได้รับ 3.4 เปิดกะ (Working Time Open) ใช้ในการบันทึกเงินในลิ้นชัก ก่อนที่ จะมีการเปิดบิลขาย 3.5 ขายสินค้า (Sell) ใช้สำหรับเปิดบิลขายกรณีที่ลูกค้าไม่ได้นั่งทานที่ร้าน 3.6 ขายสินค้าแบบใช้โต๊ะอาหาร (Sell By Table) ใช้สำหรับเปิดบิลขาย แบบลูกค้านั่งทานที่ร้าน 3.7 พิมพ์ใบจัดอาหาร (Print Cooking Order) ใช้สำหรับให้พ่อครัวดู รายการอาหาร แล้วสามารถ Update สถานะของอาหารได้ (ว่าจานไหนเมนู ไหนทำเสร็จแล้วหรือยัง) 3.8 ปิดกะ ( Working Time Close) ใช้สำหรับปิดยอดการขายและสรุป ยอดขาย 3.9 แสดงรายการขายสินค้าแบบบิล (Sell Bill View) ใช้สำหรับดูยอดขาย แยกเป็นรายบิลย้อนหลัง หรือ ดูยอดขายแยกตามเงื่อนไขที่เราเลือก และ สามารถเลือกช่วงเวลาที่เราต้องการดูได้ 3.10 แสดงรายการขายสินค้าแบบรายการ (Sell Item View) ใช้สำหรับดู รายการขายย้อนหลังแยกเป็นแบบรายการ
47
แนะนำตัวอย่างฟังก์ชั่นการใช้งาน 3 ส่วนหลักของโปรแกรม ITEC 1. การจัดพิมพ์ใบจัดอาหาร ส่งรายการอาหารไปที่ครัว เพื่อให้ครัวสามารถจัดอาหารตามที่ลูกค้าสั่ง ได้อย่างสะดวก, รวดเร็ว และ ถูกต้อง ป้อนคำสั่งพิเศษได้ เช่น ไม่เผ็ด, ไม่ ใส่ผงชูรส โดยที่ไม่ต้องให้คนรับ Order ตะโกนบอกครัว
จากรูปตัวอย่าง เป็นหน้ารายการอาหารที่สั่งไปยังห้องครัว มีการใส่ หมายเหตุพิเศษในแต่ละเมนูที่ลูกค้าสั่ง เมื่อพ่อครัวเห็นใบรายการอาหาร ที่ลูกค้าสั่งก็จะสามารถทราบได้ทันที ไม่ต้องถามคนรับ Order อีกครั้ง เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดทางการทำงานในกรณีที่ทำอาหารไม่ตรงกับ Order ที่ลูกค้าได้สั่งมา ลดการสูญเสียของอาหารที่ทำผิดพลาด และยัง ช่วยสร้างความพึ่งพอใจให้กับลูกค้าเป็นอย่างดี
48
2. หน้าขายสินค้า (Sell) ในหน้าขาย ร้านต้องเลือกลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยทางร้านสามารถ สร้างและแบ่งกลุ่มประเภทลูกค้าตามต้องการ เช่น ลูกค้า a lar cart ลูกค้าแบบบุฟเฟต์ หรือลูกค้าที่เข้ามาทานร่วมกับโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆ ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าของร้าน ซึ่งโปรแกรมสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย
นอกจากการเลือกประเภทของลูกค้าแล้ว การเลือกสินค้าในหน้าขาย ก็ช่วยให้พนักงานใช้งานโปรแกรมได้อย่าง สะดวก เพราะโปรแกรม สามารถแสดงรูปภาพ ประเภท และชื่อของสินค้าแต่ละชนิดได้อย่างครบ ถ้วน โดยดูได้ทั้งแบบรวม ประเภทและแยกประเภท เช่น ดูเฉพาะของ หวาน ดูเฉพาะเครื่องดื่ม ตัวอย่าง
49
แบบรวมประเภทของสินค้า สำหรับการแสดงผลในลักษณะนี้ พนักงานจะเห็นรายการอาหารในภาพรวมของทางร้านโดย พนักงานสามารถเลือกยังเมนูที่ลูกค้าต้องการได้ทันทีที่หน้าจอ
แบบแยกประเภทของสินค้า
นอกจากนี้พนักงานยังสามารถเลือกรายการอาหารตามจำนวนที่สั่งได้ เพียงแค่คลิกตาม จำนวนที่สั่ง เช่น ข้าวผัดอเมริกัน 10 จาน ก็คลิกที่ชื่อข้าวผัดอเมริกัน 10 ครั้ง หรือ คลิกที่ “จำนวนขาย” โดยใส่จำนวนตามที่ลูกค้าสั่ง ก่อนจะคลิกที่รูปสินค้า
50
ซึ่งรายการใบขายจะแสดงชื่อสินค้า จำนวน หน่วย และราคาต่อหน่วย รวมถึง Comment ของลูกค้าที่ร้าน สามารถใส่เพิ่มได้ เช่น เพิ่มหวาน ไม่ใส่ผัก เป็นต้น ส่วนรายการที่ลูกค้าสั่งและต้องการยกเลิกก็สามารถลบ รายการนั้นๆได้ทันที เมื่อทำรายการเสร็จแล้วต้องสังเกตที่ช่อง FIN (Finish) หากมีเครื่องหมายถูก แสดง ว่ารายการนั้นข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน
51
ในกรณีที่ร้านตั้งส่วนลดสำหรับสมาชิก สามารถสังเกตได้จากช่องส่วนลดด้านขวามือ ซึ่งโปรแกรมจะทำการ คำนวณส่วนลดโดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่าง
สำหรับการคิดเงิน เมื่อลูกค้าเลือกรายการอาหารครบแล้ว สามารถกดคิดเงิน (ปุ่มสีเหลืองด้านขวาล่าง) ได้ เลย ซึ่งโปรแกรมจะแสดงราคารวม และพนักงานต้องใส่จำนวนเงินที่ได้รับจากลูกค้า จากนั้นโปรแกรมจะ คำนวณเงินทอนให้ลูกค้า ซึ่งใบเสร็จสามารถเลือกพิมพ์ได้ทันทีหรือพิมพ์ย้อนหลังได้ ดังตัวอย่าง เช่น ราคา สินค้าทั้งสิ้น 180 บาท ลูกค้าให้เงินมา 200 บาท ได้รับเงินทอน 20 บาท
52
การรับเงินจากลูกค้า นอกจากเงินสดแล้ว โปรแกรมยังสามารถคำนวณเงินจากการชำระแบบบัตรเครดิตได้ อีกด้วย โดยกดปุ่มเปลี่ยนเป็นCredit Card หลังจากกดคิดเงิน ซึ่งโปรแกรมรองรับทั้ง VISA, Master Card, American Express Card ฯลฯ เมื่อเลือกประเภทของบัตรแล้ว ต้องใส่เลขที่บัตรเครดิต และเลข ที่สลิปของลูกค้าให้ครบถ้วน
53
เมื่อทำการขายสินค้าแล้ว คลังสินค้าจะตัดสต๊อกของสินค้าที่ถูกขายโดยอัตโนมัติ ซึ่งโปรแกรมสามารถ ตัด สต๊อกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และร้านสามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือในคลัง รวมถึงการนำข้อมูล ไปประกอบการตัดสินใจในการคำนวณระยะเวลาการซื้อสินค้าเข้าคลัง เช่น เมื่อเจ้าของร้านตรวจสอบ สินค้าในคลัง โดยดูจาก View Stock ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจำนวนคงเหลือของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้น เจ้าของร้านจึงประมาณการณ์ได้ว่า ควรซื้อสินค้าเข้าคลังเมื่อใด จำนวนเท่าใด และสินค้าชนิดนั้นสามารถ นำมาใช้ได้ถึงวันไหน กล่าวได้ว่า โปรแกรมช่วยยกระดับการจัดการสินค้าของร้านคุณให้ง่ายขึ้น ด้วย ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยของโปรแกรม การแสดงรายการของสินค้า ทุกรายการจะถูกบันทึกไว้ในโปรแกรม ทางร้านสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ ทั้งการแสดงรายการขายสินค้าแบบบิลและการแสดงรายการขายสินค้าแบบรายการ
54
2.1 การแสดงรายการขายสินค้าแบบบิล (Sell Bill View) เป็นการแสดงรายการของบิลแต่ละบิลในวันที่มีการ จำหน่ายสินค้า ซึ่งรายละเอียดของหน้าแสดงรายการขายสินค้า แบบบิล จะประกอบด้วยสาขา, ชื่อสาขา, เลขที่เอกสาร,เลขที่ใบ กำกับภาษี, วันที่และเวลา, ราคารวม, ส่วนลด, VAT Type, VAT(%), VAT Value, ราคาก่อน VAT, ราคาสุทธิ, ชื่อ ลูกค้า,ชื่อพนักงาน เป็นต้น นอกจากนี้ในบิลแต่ละบิล ยังแสดงให้ เห็นรหัส ชื่อ จำนวน ราคา และประเภทของสินค้าอย่างละเอียด กล่าวได้ว่าโปรแกรมสามารถระบุข้อมูลของรายการขายสินค้าแบบ บิลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะการแสดงวันที่ เวลา และผู้ บันทึกรายการของบิลในแต่ละครั้ง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ตลอด เวลา โปรแกรมยังออกแบบให้สะดวกต่อการดูหรือตรวจสอบ รายการที่เราได้ทำการขายสินค้าไปแล้ว เช่น หากเราต้องการดู รายการเฉพาะของวันใดวันหนึ่ง ก็สามารถเปลี่ยนวันที่ ที่ต้องการ ดูในช่อง Start (CrTime) หลังจากนั้นกด Search นอกจาก การดูรายการเฉพาะของแต่ละวันแล้ว การเลือกดูเฉพาะสาขาก็ สามารถทำได้เช่นกัน โดยไปที่ Branch และเลือกสาขาที่ต้องการ ดังตัวอย่าง เช่น บิลของวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 มีการจำหน่ายสินค้าในเวลา 10:53 น. ณ สาขา 1 สำนักงาน ใหญ่ สินค้าที่ถูกจำหน่ายออกไปคือ สเต็กไก่และสเต็กเนื้อ โดย Owner เป็นผู้บันทึกรายการ และจำหน่ายสินค้าให้กับ คุณบอย
ช่องเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้า สามารถค้นหาได้จากรหัส ชื่อ รูปแบบ และประเภทของสินค้า ทำให้เราทราบว่าสินค้าชนิด ใดขายได้มากหรือน้อย สินค้าชนิดใดที่เป็นที่นิยมหรือไม่ได้ รับความนิยม
55
3. หน้าเมนูซื้อสินค้า, รับสินค้าเข้าคลัง (Buy) ก่อนซื้อสินค้าเข้าคลังนั้น ต้องเพิ่มสินค้าในหมวดสินค้าเป็นรูป แบบ Inventory เนื่องจากสินค้านั้นเป็นวัตถุดิบ หรือซื้อมาเพื่อขาย เมื่อมีการขายสินค้าออกไป โปรแกรมจะทำการตัด Stock สินค้าใน คลังโดยอัตโนมัติ ในหน้าซื้อ ร้านต้องระบุผู้บันทึกรายการ ผู้ขายหรือ Supplier ระบุ เครดิตและประเภทราคา (ไม่มี Vat / รวม Vat / แยก Vat ) หาก มีเลขที่ใบกำกับภาษีและวันที่ใบกำกับภาษี (Doc Ref, Doc Date) รวมถึง Comment ก็สามารถระบุเพิ่มได้ การซื้อสินค้าเข้าคลัง ต้องใส่ชื่อ Product ซึ่งเป็นรหัส (Code) ที่ เราได้กำหนดให้กับสินค้านั้นๆ อาจเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือ ตัวเลข เมื่อใส่ Product แล้ว ชื่อของสินค้าก็จะแสดงให้เห็น ส่วน ในกรณีที่จำรหัสของสินค้าไม่ได้ สามารถ กดF5 > Search (F12) และเลือกสินค้าที่ต้องการซื้อเข้า หรือหากต้องการข้อมูลแบบเฉพาะ เจาะจง ก็สามารถเพิ่มรายละเอียดในการค้นหาเข้าไปได้ โดยกด F5 > เลือก Category > Search (F12) ซึ่งจะทำให้การค้นหาง่าย และเร็วขึ้น หลังจากนั้นระบุจำนวนของสินค้าในช่อง Number โดย ใช้หน่วยที่ร้านได้ทำการขาย ซึ่งเป็นหน่วยที่ย่อยที่สุดและได้ กำหนด ให้กับสินค้าในหน้า Config รวมถึงระบุราคาต่อหน่วยในช่อง Price ดังตัวอย่าง ซื้อเนื้อหมูเข้าคลัง 1 กิโลกรัม เมื่อมีการเพิ่มสินค้า คือ เนื้อหมู เข้าไปในหน้า Config โดยร้านใส่หน่วย (Unit) ที่ต้องการ ขายเป็นกรัม ดังนั้นในหน้าซื้อสินค้าจึงต้องแปลงจากกิโลกรัมให้เป็นก รัม ซึ่งเท่ากับ 1,000 กรัม ราคา 130 บาท และราคาต่อหน่วย 0.13 บาท
เมื่อซื้อสินค้าเข้าคลังเรียบร้อยแล้ว และต้องการชำระเงิน ให้ไปที่ปุ่ม (F7)> หากชำระเป็นเงินสด ให้ระบุจำนวน ในช่อง Cash (เงินสด) ตามที่ได้ชำระจริง แล้วกด OK โปรแกรมจะทำการบันทึกรายการปัจจุบัน
56
การชำระเงินนั้น โปรแกรมยังกำหนดให้มีการเลือกวิธีชำระได้หลายแบบ โดยคลิกที่ปุ่ม Add หรือ (F2) เพิ่มรายการจ่าย จากนั้นเลือกวิธีที่ต้องการหรือสะดวก ซึ่งนอกจากจะชำระเป็น เงินสดได้แล้ว ยังมีบัตรเครดิต, เช็ค และการโอนเงินจากบัญชี โดยทางร้านต้องระบุราย ละเอียดของการชำระแต่ละแบบที่เลือกให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โปรแกรมยังกำหนดให้มีการ ชำระเงินได้มากกว่า 1 วิธี เช่น เมื่อมีเงินสดไม่พอ สามารถใช้บัตรเครดิตชำระในส่วนที่ เหลือได้
57
3.1 การแสดงรายการซื้อสินค้าแบบบิล (Buy Bill View) เป็นการแสดงรายการของบิลแต่ละบิลในวันที่มีการซื้อสินค้า ซึ่ง รายละเอียดของหน้าแสดงรายซื้อสินค้าแบบบิลจะประกอบด้วย สาขา, ชื่อสาขา, เลขที่เอกสาร, เลขที่ใบกำกับภาษี, วันที่และเวลา, ราคารวม, ส่วนลด, VAT Type, VAT(%),VAT Value, ราคาก่อน VAT, ราคาสุทธิ, ชื่อผู้จำหน่าย, ชื่อพนักงาน เป็นต้น นอกจากนี้ในบิลแต่ละบิล ยังแสดงให้เห็นรหัส ชื่อ จำนวน ราคา และประเภทของสินค้า รวมถึงรายละเอียดการชำระเงิน ที่มีการ ระบุถึงประเภทของการชำระ จำนวนเงิน และวันที่ในการชำระ ดัง นั้นทางร้านจึงทราบได้ว่ารายการซื้อสินค้าของบิลใดที่ยังไม่ได้ชำระ หรือมีการชำระไปแล้ว โดยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
กรณีที่มีการชำระเงิน : สังเกตได้จากช่อง Finish มีการแสดงข้อความว่า “ชำระเงินครบแล้ว” รวมถึงราย ละเอียดการชำระเงินจะแสดงประเภทการจ่ายเงิน จำนวนเงิน และวันที่ที่มีการชำระ
58
กรณีที่ยังไม่ได้รับการชำระเงิน : สังเกตได้จากช่อง Finish มีการแสดงข้อความว่า “ยังชำระเงินไม่ครบ”
หากสังเกตเงื่อนไขด้านบน จะเห็นว่าเราสามารถ เลือกค้นหารายการตามหัวข้อได้ ในกรณีที่อาจจดจำ ข้อมูลได้บางส่วน หรือสะดวกที่จะหารายการใน หมวดใดหมวดหนึ่งมากกว่าหมวดอื่นๆ ดังตัวอย่าง ช่องเงื่อนไขเบื้องต้น สามารถค้นหาได้จากเลขที่ของบิล เพื่อให้ เห็นข้อมูลชัดเจนและแคบมากขึ้น อาจระบุสาขา ผู้จำหน่าย รวม ถึงวันที่ของบิลเพิ่มได้
59
ช่องเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้า สามารถค้นหาได้จากรหัส ชื่อ รูปแบบ และประเภทของสินค้า ทำให้เราทราบว่าสินค้าชนิดใด มีการซื้อเข้าคลังไปแล้ว และซื้อมาจำนวนมากน้อยเท่าใด
60
ช่องเงื่อนไขเกี่ยวกับราคา /พนักงาน /ผู้จำหน่าย /ประเภทบิล สามารถค้นหาได้จากชื่อพนักงาน เราจะทราบได้ ว่าพนักงานคนไหน ทำรายการใด ณ วันเวลาเท่าใด โดยกำหนดวันที่เราต้องการ หรืออาจค้นหาจากราคาของสินค้า และประเภทของบิล (มี VAT ไม่มี VAT) รวมถึงการชำระเงินก็สามารถใช้ค้นหาได้ ทั้งชำระเงินครบและยังไม่ครบ
61
GROUP MEMBERS 5850004 Kanuth Bunkhumyu 5850001 Kanokwan Wongkraphan 5850006 Pimchanok Chaychan 5850275 Weerin Kitopas 5850377 Chonlakarn Imprasittichai 5850383 Phobyindee Pudson 5850384 Porntisa Haruetaivorakul 5850394 Yodsiri Klongdumnurnkid 5850398 Walailuk Boonsom