บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

Page 1

หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้ 2. อธิบายถึงโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ได้ 3. อธิบายพื้นฐานการทางานของคอมพิวเตอร์ได้ 4. อธิบายความหมายของการประมวลผลข้อมูลได้ 5. อธิบายคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้รับและแสดงผลข้อมูลได้ 6. บอกถึงลักษณะของหน่วยความจาได้ 7. เปรียบเทียบลักษณะที่สาคัญของคอมพิวเตอร์ได้ บทนำ เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวสรุปในเรื่องการประมวลผลข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยหลากหลายวิธีการ เพื่อให้ผู้เรียน ได้เข้าใจในการประมวลผลข้ อมูลว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และกล่าวถึงโครงสร้างภายในคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับหน่วยประมวลผล หน่วยความจาหลัก หน่วยความจาสารอง หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผลข้อมูล โดย ยกตัวอย่างพร้อมชนิดของอุปกรณ์ภายในโครงสร้างคอมพิวเตอร์โดยให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ง่ายขึ้น แต่ใน ส่วนของรายละเอียดลึกๆ นั้นจะมีการกล่าวถึงในเล่มต่อไป

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 40


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

กำรประมวลผลข้อมูลทำงคอมพิวเตอร์ ในการนาข้อมูลไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ หรือการทาข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อที่จะนาไปใช้ประโยชน์ได้ จ าเป็ น ต้ องมี การประมวลผลข้ อ มูล ก่ อ น การประมวลผลข้อ มู ล เป็ นกระบวนการที่มี ก ระบวนการย่ อ ยหลาย กระบวนการประกอบกัน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคานวณ การ จัดลาดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น การประมวลข้อมูลจึงเป็นกิจกรรมที่มีความสาคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรามีเป็นจานวนมาก ในการใช้ งานจึงต้องมีการประมวลผลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศจึงประกอบด้วย กิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการ แบ่งแยกข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคานวณ และกิจกรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้องมีการทาสาเนา หรือทา รายงานเพื่อแจกจ่าย DATA คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น Processing คือ กระบวนการประมวลผล เรียกสั้นๆ ว่า “Process”

ภำพที่ 2-1 การประมวลผลข้อมูล กำรประมวลผล(Data Processing) เป็นการประมวลผลทางข้อมูลเป็นการนาข้อมูล ที่เก็บรวบรวม ได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information) Information คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากข้อมูลที่ได้รวบรวมและนาเข้าสู่กระบวนการประมวลผล ซึ่งผลลั พธ์ที่ ได้นี้ สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ทิศทาง หรือการตัดสินใจได้ทันที ในขั้นตอนการประมวลนั้น ก็ต้องมี หน่วยรับเข้าก่อน ต่อมาก็ประมวลข้อมูลที่รับเข้าและส่งผ่านไปยัง หน่วยส่งออกข้อมูลต่อๆ  ประเภทของข้อมูล ถ้าจาแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล โดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสารวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการต้องจัดหามาด้วย เครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 41


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการ ประมวลผลเพื่ อเป็ น สารสนเทศ เช่น สถิติ จานวนประชากรแต่ ล ะจัง หวั ด สถิ ติก ารนาสิ น ค้า เข้ า และการส่ ง สินค้าออก เป็นต้น  วิธีกำรประมวลผล

วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนาข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่ 1. กำรประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทางานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไป บนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบัน การซื้อสินค้าใน ห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้ เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง 2. กำรประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสารวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาสภาชิกผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสารวจข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้ อมูลได้แล้ว ก็นามาป้อนเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์ แล้วนาข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กาหนดไว้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปผลหาคาตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทาในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ ก่อน ในการประมวลผลทั้งสองแบบนี้ เป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดาเนินการกับข้อมูลจานวนมาเพื่อแยกแยะ คานวณ หรื อดาเนินการตามที่กาหนดไว้ในโปรแกรม การทางานของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลจึงต้องมี ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอยสั่งการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ

ประเภทของกำรประมวลผลข้อมูล 1. กำรประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต โดยใช้อุปกรณ์ ง่าย ๆ สามารถจาแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ  อุปกรณ์ที่อานวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บ เอกสาร  อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคานวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิด เลข เป็นต้น  อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสาเนา เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคานวณไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 42


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

2. กำรประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) จะเป็นวิวัฒนาการมาจาก การประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทางานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทาบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็น เครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record 3. กำรประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP: Electronic Data Processing) หมายถึง การ ประมวลผลด้ ว ยเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ นั้ น เอง ลั ก ษณะงานที่ เ หมาะสมต่ อ การประมวลผลด้ ว ยเครื่ อ ง คอมพิวเตอร์ คือ  งานที่มีปริมาณมาก ๆ  ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว  มีขั้นตอนในการทางานซ้า ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น  มี ก ารค านวณที่ ยุ่ ง ยากและมี ค วามสลั บ ซั บ ซ้ อ น เช่ น งานวิ จั ย และวางแผน งานด้ า น วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

โครงสร้ำงภำยในระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนามาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการรับรู้ การจา การคานวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทางานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์ โครงสร้างภายในคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจา  หน่วยอินพุต เอ้าทพุต  หน่วยประมวลผลกลำง (Central Processing Unit : CPU)

ภำพที่ 2-2 หน่วยประมวลผลกลาง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 43


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สาคัญที่สุด ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยมีการทางานที่สอดคล้องและสัมพันธ์กัน หลายท่านคงสงสัยว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor), ชิป (Chip), โพรเซสเซอร์ (Processor) เหมือนหรือ ต่างจาก ซีพียู (CPU) อย่างไร? คาตอบก็คือเหมือนกัน จะใช้ชื่ออะไรก็ได้ เนื่องจากส่วนประกอบภายในเป็นวงจร อิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนจานวนมาก มีทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว แต่ละชิ้นมีความกว้าง 0.35 ไมครอน ขณะที่เส้นผมคนเรามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ไมครอน โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ 1) อ่านชุดคาสั่ง (Fetch) คือ การอ่านชุดคาสั่งขึ้นมา 1 คาสั่งจากโปรแกรม ในรูปของรหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT) 2) ตีความชุดคาสั่ง (Decode) การตีความ 1 คาสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตาม จานวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทางานด้วยข้อมูลที่ใด 3) ประมวลผลชุดคาสั่ง (Execute) การทางานตาม 1 คาสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทางาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ 4) อ่า นข้ อ มูล จากหน่ ว ยความจ า (Memory) การติด ต่ อกั บหน่ ว ยความจ า การใช้ข้ อ มูล ที่ อยู่ ใ น หน่วยความจาชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคาสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address) 5) เขียนข้อมูล / ส่วงผลการประมวลกลับ (Write back) การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยความจา Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคาสั่งต่อไป ภายหลังมีคาสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่ แต่เดิมส่วนต่างๆ ของหน่วยประมวลผลกลาง จะแยกส่วนกันเป็นชิ้นๆ ต่อมาเทด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) นัก ออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์จากบริษัท Intel ได้มีการพัฒนาส่วนต่างๆ รวมกันภายใน ชิป แผ่นเดียวโดยเรียกว่า "ไมโครโพรเซสเซอร์”และด้วยเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์นี่เองที่ทาให้พัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล ไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนดังนี้

ภำพที่ 2-3 ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 44


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคานวณตรรกะ ทา หน้าที่เหมือนกับเครื่องคานวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทางานเกี่ยวข้องกับ การคานวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคานวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่อง คานวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึงความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คาตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจานวน 2 จานวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะทาตามคาสั่งใดของโปรแกรมเป็น คาสั่งต่อไป  หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทาหน้าที่คงบคุมลาดับขั้นตอนการการ ประมวลผลและการทางานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการ ทางานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นาเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจาสารอง ด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคาสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคาสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคาสั่งดังกล่าวจะถูกนาไปเก็บไว้ในหน่วยความจาหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึง คาสั่งจาก ชุดคาสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจาหลักออกมาทีละคาสั่งเพื่อทาการแปล ความหมายว่าคาสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ ดแวร์ ส่ ว นใด ท างานอะไรกับ ข้อมูล ตัว ใด เมื่ อทราบความหมายของ คาสั่ งนั้นแล้ ว หน่ว ยควบคุมก็จะส่ ง สัญญาณคาสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทาหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทาตามคาสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคาสั่ง ที่เข้า มานั้นเป็นคาสั่งเกี่ยวกับการคานวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คาสั่งไปยังหน่วยคานวณและตรรกะ ให้ทางาน หน่วยคานวณและตรรกะก็จ ะไปทาการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจาหลักเข้ามาประมวลผล ตามคาสั่งแล้วนา ผลลั พธ์ที่ ได้ ไปแสดงยั ง อุป กรณ์แสดงผล หน่ว ยคงบคุมจึงจะส่ งสั ญญาณคาสั่ งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลั พธ์ ที่ กาหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจาหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง

ภำพที่ 2-4 หน่วยควบคุม เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 45


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 หน่วยควำมจำ (Memory Unit) แบ่งเป็นหน่วยความจาหลัก กับ หน่วยความจาสารอง คอมพิวเตอร์จะสามารถทางานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคาสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความจาหลัก เรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทาการประมวลผลข้อมูลตามชุดคาสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนาไป เก็บไว้ที่หน่วยความจาหลัก และก่อนจะถูกนาออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล การทางานของคอมพิวเตอร์ ใช้การเก็บคาสั่งไว้ที่หน่วยความจา ซีพียูอ่านคาสั่งจาก หน่วยความจามาแปล ความหมายและกระทาตามเรียงกันไปทีละคาสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทางานของคอมพิวเตอร์ทั้ง ระบบ ตลอดจนทาการประมวลผล กลไกการทางานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทางานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการ ทางานเป็นส่วน ๆ มีการทางานแบบขนาน และทางานเหลื่อมกันเพื่อให้ทางานได้เร็วขึ้น 1) หน่วยควำมจำหลัก (Main Memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจาข้อมูล ที่อยู่ระหว่าง การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) หรือ หน่วยความจาภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  หน่วยความจาหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็น หน่วยความจาแบบสารกึ่งตัวนาชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถ บั น ทึ ก ซ้ าได้ (อย่ า งง่ า ยๆ) เป็ น ความจ าที่ ซ อฟต์ แ วร์ ห รื อ ข้ อ มู ล อยู่ แ ล้ ว และพร้ อ มที่ จ ะน ามาต่ อ กั บ ไมโคร โพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่ว ยความจาประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่อ อยู่ ข้อมูลก็จะไม่ห ายไปจากน่ว ยความจา (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ที่ควบคุมการทางานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทางานสาหรับ เครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทางานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม วงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

ภำพที่ 2-5 หน่วยความจาหลักอ่านได้อย่างเดียว เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 46


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีรอมที่เป็นชิปพิเศษแบบต่าง ๆ อีก คือ  PROM (Programmable Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจา แบบรอม ที่สามารถบันทึกด้วยเครื่องบันทึกพิเศษได้หนึ่งครั้ง จากนั้นจะลบ หรือแก้ไขไม่ได้  EPROM (Erasable PROM) เป็น หน่ว ยควำมจำรอม ที่ใช้แสง อัลตราไวโอเลตในการเขียนข้อมูล สามารถนาออกจากคอมพิวเตอร์โดยใช้ เครื่องมือพิเศษและบันทึกข้อมูลใหม่ได้  EEPROM (Electrically Erasable PROM) จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดซึ่ง รวมเอาข้อดีของรอมและแรมเข้าด้วยกัน เป็นชิปที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการหล่อ เลี้ยงและสามารถเขียน แก้ไขหรือลบข้อมูลที่เก็บไว้ได้ด้วยโปรแกรมพิเศษ โดย ไม่ต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิว เตอร์ ทาให้ เปรียบเสมือนกับหน่ว ยเก็บ ข้อมูล สารองที่มีความเร็วสูง หน่วยความจาชนิดนี้มีข้อด้อย 2 ประการเมื่อ เทียบกับหน่วยเก็บข้อมูลสารอง นั่นคือราคาที่สูงและมีความจุข้อมูลต่ากว่า มาก ทาให้การใช้งานยังจากัดอยู่กับงานที่ต้องการความเร็วสูงและเก็บข้อมูล ไม่มากนัก ตัวอย่างของหน่วยความจาเป็นแบบที่รู้จักกันดีคือ หน่วยความจา แบบ Flash ซึ่งนิยมนามาใช้เก็บในเครื่องรุ่นใหม่  หน่วยความจาหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตาแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิด อื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจากัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทาตามลาดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกาจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กาลังทางาน หรือ ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กาลังทางานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจาชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เป็นหน่วยความจาชนิด Volatile Memory คือ สามารถเก็ บ ข้ อ มู ล ได้ เ ฉพาะเวลาที่ มี ก ระแสไฟฟ้ า เข้ า มา เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ปิดเครื่องคอมพิว เตอร์ ข้อมูลที่อยู่ใน หน่วยความจาแรมจะสูญหายไปทันที ดังนั้นถ้าต้องการเก็บ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจาแรม จะต้องถ่ายเทข้อมูลเหล่านั้น ภำพที่ 2-6 หน่วยความจาหลักแบบแก้ไขได้ ไปเก็บไว้ในหน่วยความจาสารอง (Secondary Storage) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 47


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

ภำพที่ 2-7 SDRAM

ภำพที่ 2-8 DDR SDRAM

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

แรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน 1) SDRAM (Synchronous DRAM) มี 168 ขา SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกาหนดการ ทางานโดยใช้ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเป็นตัว กาหนด และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที 2) DDR SDRAM หรือ SDRAM II (นิยมเรียก DDR RAM) มี 184 ขา DDR RAM แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลักๆ คือDDR SDRAM สามารถทางานได้ทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณ นาฬิกาเพื่อส่งถ่ายข้อมูล ทาให้อัตราการเพิ่มขึ้น ได้ถึงเท่าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 GB ต่อวินาที

2) หน่วยควำมจำสำรอง (Second Memory) หรือหน่วยควำมจำ (External Memory) เนื่องจากส่วนความจาหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Main Memory/Primary Storage) ที่ใช้บันทึกข้อมูลในขณะ ประมวลผลไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยเก็บ ข้อมู ล ส ารอง จึ ง มีความจ าเป็ น ในอัน ที่ จ ะรั กษาข้อมู ล ไว้ ใช้ใ นอนาคต และทาให้ ส ามารถน าข้อ มูล จากเครื่อ ง คอมพิ ว เตอร์ เ ครื่ อ งหนึ่ ง เคลื่ อ นย้ า ยไปสู่ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ เ ครื่ อ งอื่ น ในระบบเดี ย วกั น ได้ อี ก ด้ ว ย หน่วยเก็บข้อมูลสารอง แบ่งออกตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้  หน่วยเก็บข้อมูลสารองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลาดับ (Sequential Access Storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสารองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลาดับ การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึง ล่าช้า เพราะต้องเป็นไปตามลาดับก่อ นหลั งของการบันทึก ซึ่งหน่ว ยเก็บข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ เทปแม่เหล็ ก (Magnetic Tape)  หน่วยเก็บข้อมูลสารองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Random/Direct Access Storage) เป็ น หน่ ว ยเก็บ ข้อมูลส ารองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ที่ต้องการได้โ ดยตรงโดยไม่ต้องอ่าน เรียงลาดับ เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลแบบโต้ตอบ ที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดีรอม (CDROM) และ ดีวีดี (DVD) นั่นเอง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 48


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสาหรับใช้เก็บข้อมูลสารองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบของ สื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท 1) สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic disk device) 2) สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง (Optical storage device) 3) สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape device) 4) สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other storage device)  สื่อเก็บข้อมูลแบบจำนแม่เหล็ก (Magnetic disk device) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล ประเภททีใ่ ช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก (Disk) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้ - ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy disks) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความ นิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขาย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็น วัสดุอ่อนจาพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และ ภำพที่ 2-9 Floppy disks ห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง แผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาดจานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิก ใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทางานของ แผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต (format) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะ มีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิตแล้ว (ผู้ใช้ไม่จาเป็นต้องทาการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้าอีก) การฟอร์แมตเป็นกระบวนการจัดพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลก่อนใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการ เตรียมพื้นที่สาหรับเก็บบันทึกข้อมูลนั่นเอง โครงสร้างของแผ่นจานแม่เหล็กเมื่อทาการฟอร์แมตแล้วจะมีลักษณะ ดังนี้ - แทรค (Track) เป็นการแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็น ส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือ น้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น ซึ่งแผ่นแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็ก แตกต่างกันทาให้ปริมาณความจุข้อมูลที่จะจัดเก็บต่างกัน ตามไปด้วย ภำพที่ 2-10 โครงสร้างของดิสก์เมื่อทาการฟอร์แมตแล้ว เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 49


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

- เซกเตอร์ (Sector) เป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วน ๆ สาหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว เซกเตอร์ ก็เปรียบได้เหมือนกับห้องพักต่าง ๆ ที่แบ่งให้คนอยู่กันเป็นห้อง ๆ นั่นเอง แผ่นดิสเก็ตต์ที่พบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็น แบบความจุสูงหรือ high density สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.44 MB ซึ่งเราอาจคานวณหาความจุข้อมูลของ แผ่นดิสก์ได้โดยการเอาจานวนด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก (side) จานวนของแทรค (track) จานวนของเซคเตอร์ใน แต่ละแทรค (sector/track) และความจุข้อมูลต่อ 1 เซกเตอร์ (byte/sector) ว่ามีค่าเป็นเท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลข ทั้งหมดมาคูณกันก็จะได้ปริมาณความจุข้อมูลในแผ่นชนิดนั้น ๆ เมื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลแล้วสามารถที่จะป้องกัน การเขียนทับใหม่ หรือป้องกันการลบข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น โดยเลือกใช้ปุ่มเปิด – ปิดการบันทึกที่อยู่ข้าง ๆ แผ่นได้ ซึ่งหากเลื่อนขึ้น (เปิดช่องทะลุ) จะหมายถึงการป้องกัน (write-protected) แต่หากเลื่อนปุ่มลงจะหมายถึง ไม่ต้อง ป้องกันการเขียนทับข้อมูล (not write-protected) นั่นเอง - แผ่นดิสเก็ตต์จะมีอายุการใช้งานที่มากสุดถึง 7 ปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานและการบารุงรักษา ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งข้อแนะนาเพื่อให้แผ่นดิสเก็ตต์มีอายุ การใช้ ง านที่ ย าวนานขึ้ น คื อ ควรเก็ บ รั ก ษาแผ่ น ดิสเก็ตต์ให้มีอายุยาวนานขึ้นคือ ควรเก็บรักษาแผ่น ไว้ในอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ตลอดจนหลี กเลี่ ยงการสั มผั ส กับแผ่ นดิส ก์โ ดยตรง รวมถึงการเก็บรักษาแผ่นดิสเก็ตต์ไว้ในอุปกรณ์จัด ภำพที่ 2-11 การป้องกันการบันทึกข้อมูลในแผ่นดิสก์ เก็บที่ปลอดภัยเช่น กล่องหรือถาดเก็บเฉพาะเป็นต้น ฮำร์ดดิสก์ (Hard disks)เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูล มากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สาหรั บ เก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ฮาร์ดดิสก์ผลิตมาจากวัสดุ แบบแข็งจานวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ (platter) ซึ่งอาจจะ มีจานวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น โครงสร้างฮาร์ดดิสก์ การทางานของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่า หมื่ น รอบต่อ นาที ) โดยที่ หั ว อ่า น/เขีย น ซึ่ง เป็ น อุป กรณ์แ ม่เ หล็ ก จะลอยเหนื อ แผ่ นแพลตเตอร์ ทั้ง สองด้ านใน ระยะห่างที่เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ การทางานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ สนามแม่เหล็ก โดยที่หัวอ่าน/เขียน จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของแพลตเตอร์แต่อย่างใด เพื่อป้องกันการกระทบ กับผิวของแพลตเตอร์ ซึ่งจะทาให้ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ปัจจุบันมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ออกมาจาหน่ายหลายยี่ห้อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 50


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทาให้การจัดเก็บข้อมูลของ ฮาร์ดดิสก์มีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับหลายร้อยกิกะไบต์ (ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้ม ว่า จะเพิ่ ม ขึ้ น อีก ซึ่ งสามารถรองรั บ การเก็ บ ข้ อมู ล ที่ มี ขนาดใหญ่ ห รื อไฟล์ ประเภทมั ล ติ มี เดี ย ต่ างๆ เช่น ไฟล์ ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิก ได้อย่างเพียงพอการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน อาจไม่จาเป็นต้ อง คานึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจาเป็นก็ได้ แต่ควรคานึงถึงรูปแบบการทางานเป็นหลักว่า มีความต้องการ บันทึกข้อมูลประเภทใด และฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ แบบถอดได้มาเพิ่มเติม ตำรำงที่ 2-1 ส่วนประกอบของโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ ชื่อส่วนประกอบ คำอธิบำย platter ส่วนของจานแม่เหล็กแต่ละจานบนฮาร์ดดิสก์ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสอง ด้าน track พื้นที่ตามแนวเส้นรอบวงบนแพลตเตอร์นั้น sector ส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกเป็นท่อนเหมือนกับดิสเก็ตต์ cylinder แทรกที่อยู่ตรงกันของแต่ละแพลตเตอร์ (แต่ละจาน) read/write head หัวสาหรับอ่าน/เขียนข้อมูลบนแพล

ภำพที่ 2-12 โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 51


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ตำรำงที่ 2-2 สรุปข้อแตกต่างระหว่างดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ คุณสมบัติ ดิสเก็ตต์ ฮำร์ดดิสก์ ควำมจุข้อมูล เก็บข้อมูลได้น้อย เนื่องจากกลไกอ่าน เก็บข้อมูลได้มาก และกลไกที่อ่านเขียนก็จะมี เขียนก็มีความแม่นยาไม่สูงนัก ทั้งที่ ความแม่นยาสูงมาก และใช้การเข้ารหัส พื้นที่ไม่จากฮาร์ดดิสก์มากนัก ทาให้ สัญญาณที่ซับซ้อน ทาให้จัดแบ่งแทรคและ แบ่งแทรคและ เซกเตอร์ที่จะใช้เก็บบันทึกข้อมูลได้มาก เซกเตอร์ได้ไม่ละเอียด รำคำ ค่อนข้างถูก เพราะผลิตจาวัสดุ ค่อนข้างสูง เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต พลาสติกชนิดอ่อนและกลไกก็มี ประกอบด้วยวัสดุเหล็กชนิดแข็ง และกลไกอื่น ความเร็วต่า ซึ่งจะมีต้นทุนที่ต่ากว่า อีก ๆ ก็เป็นแบบความเร็วสูงตามไปด้วย ทั้งตัวแผ่นยังถอดเปลี่ยนได้ หัวอ่ำนข้อมูล สัมผัสกับแผ่นจานทุกครั้งที่อ่านหรือ ไม่สัมผัสกับแผ่นจาน จึงไม่สึกหรอเท่ากับ เขียนข้อมูลลงบนแผ่น จึงมีความสึก ดิสเก็ตต์แต่จะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน โดยมี หรอมากกว่าทั้งแผ่นและหัวอ่าน ช่วงห่างที่เล็กมากจนแทบมองไม่เห็นด้วยตา เปล่า กำรเข้ำถึงข้อมูล ทาได้ช้า หัวอ่านทางานเร็ว และแผ่นก็หมุนเร็วมาก ทา ให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า  สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง (Optical storage device) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสารองที่ได้รับความ นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการทางานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมา ด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก

ภำพที่ 2-13 โครงสร้างของสื่อเก็บข้อมูลแบบแสง (มีลักษณะวนเป็นก้นหอย) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 52


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

การอ่านข้อมูลจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกไปกระทบพื้นผิวของแผ่นจานซึ่งจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ( pit ) ซึ่งเป็นมีลักษณะเป็นหลุมไม่สามารถสะท้อนแสงได้กันแลนด์( land ) หรือส่วนที่เป็นผิว เรียบซึ่งสามารถสะท้อนแสงกลับออกได้ เมื่อหัวยิงแสงเลเซอร์ตกลงไปบนส่วนของพิตจึงไม่สามารถสะท้อนกลับได้ (ค่ารหัสเป็น0) ถ้าตกลงส่วนของแลนด์ซึ่งเป็นผิวเรียบจะสามารถสะท้อนกลับออกมาได้(ค่ารหัสเป็น 1) นั่นเอง หลักการนี้จะทาให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจข้อมูลในรหัสค่าดิจิตอล 0 กับ 1 ได้โดยใช้หลักการอ่านส่วนที่เป็ น หลุมทึบแสงและส่วนสะท้อนแสงได้ออกมา ปัจจุบันมีสื่อเก็บข้อมูลแบบแสงที่รู้จักกันอย่างดี ดังนี้ CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่าง แพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งแยกออกได้ดังนี้ - CD-ROM (Compact disc read only memory) เป็นสื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้สาหรับ การเก็ บ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล ทางคอมพิ ว เตอร์ เช่ น ระบบปฏิ บั ติ ก ารหรื อ โปรแกรมประยุ ก ต์ เ พื่ อ ใช้ สาหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์รวมถึงเก็บผลงานไฟล์ มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI – computer assisted instruction) หรือ CDTraining ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ไม่ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลซ้าได้ สามารถจุข้อมูล ภำพที่ 2-14 Compact Disc ได้ถึง 650-750 MB โดยมากแล้วจะเป็นแผ่นที่ปั๊มมา จากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตมาแล้ว - CD-R (Compact disc recordable) อุปกรณ์ทมี่ ีราคาถูกลงอย่างมาก แผ่นแบบนี้ สามารถใช้ไดรซ์เขียนแผ่น (CD Write ) บันทึกข้อมูลได้และหากเขียนข้อมูลลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเขียน เพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้ เนื่องจากเนื้อที่บนแผ่นแต่ละจุดจะเขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว เขียนแล้วเขียนเลยจะลบทิ้งอีกไม่ได้ เหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลเพื่ อเก็บรักษาทั่วไป เช่น ภาพถ่าย จากกล้องดิจิตอล เพลง mp3 หรือไฟล์งานข้อมูลซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว - CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่นชนิดนี้มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับแผ่น CD-R ทุกประการแต่มีข้อดีกว่าคือ นอกจากเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้า ใหม่ได้เรื่อย ๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้าของดิสเก็ตต์ อย่างไรก็ตามแผ่น CD-RW ขณะนี้ยังมีราคาสูงกว่า CD-R อยู่พอสมควร จึงเหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเก็บข้อมูลไว้ใระยะเวลา อันสั้น ไม่ถาวร ซึ่งจะช่วยทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถลบทิ้งแล้วเขียนใหม่อีกได้ถึงกว่าพันครั้ง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 53


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงาน เก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูล จะมี การแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน (sides ) ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB ดังตารางต่อไปนี้ ตำรำงที่ 2-3 ความจุของ DVD ควำมจุของ DVD Sides Layers 1 1 1 2 2 1 2 2

ชื่อที่เรียกกันทั่วไป ควำมจุข้อมูล 4.7 GB 8.5 GB 9.4 GB 17 GB

DVD-5 DVD-9 DVD-10 DVD-17

การใช้งาน DVD มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและคาดว่าจะเข้ามาแทน CD ใน อนาคต เนื่องจากราคาของ DVD มีราคาถูกลงอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันมีการนาแผ่น DVD มาประยุกต์ใช้กันอย่าง แพร่หลายและมีมาตรฐานที่ค่อนข้างแตกต่างกันไม่เหมือนกับแผ่น CD ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้ - DVD-ROM เป็นแผ่น DVD ที่ผลิตจากบริษัทหรือ โรงงานโดยตรง มักใช้สาหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสารองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่ สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้ - DVD-R และ DVD-RW เป็นแผ่น DVD ประเภท ภำพที่ 2-15 แผ่น DVD เขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐานขององค์กร DVD Forum (www.dvdforum.org) มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7 GB เท่านั้น การเขียนข้อมูลสาหรับ DVD-R สามารถเขียน และบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเหมือนกับการเขียนแผ่น CD-R ส่วน DVD-RW จะเขียนและบันทึกข้อมูลซ้า หลาย ๆ ครั้ง วิธีการเขียนข้อมูลอาจเติมเฉพาะข้อมูลใหม่ลงไปโดยลบอันเก่าทิ้งทั้งแผ่นหรือจะ import ข้อมูลอัน เก่ามารวมกับของใหม่แล้วเขียนไปพร้อม ๆ กันก็ได้ - DVD+R และ DVD+RW เป็นกลุ่มของ DVD ที่เขียนข้อมูลได้เช่นเดียวกันแต่เป็น มาตรฐานขององค์กร DVD+RW Alliance (www.dvdrw.com) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง มีความจุสูงสุดคือ 4.7 GB และอาจเพิ่มอีกในอนาคต การเขียนข้อมูลของ DVD+R และ DVD+RW จะคล้าย ๆ กันกับกลุ่มมาตรฐานเดิมแต่ ความเร็วในการเขียนแผ่นจะมีมากกว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 54


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ไดรว์เขียนแผ่น DVD ปัจจุบันมักเขียนได้ทั้งแบบ +RW และ – RW เรียกกันว่าแบบ Dual format นอกจากนี้ยังมีไดรว์และแผ่นรุ่นใหม่ที่บันทึกข้อมูลได้มากถึงเกือบสองเท่าของแบบธรรมดา คือจุได้ 8.5 GB (เทียบเท่า DVD-9 ) โดยบันทึกข้อมูลสองชั้นซ้อนกันในด้านเดียว เรียกว่าแผ่นและไดรว์แบบ Double Layer บางทีก็เรียก (Dual Layer)  สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape device) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่เหมาะสาหรับการ สารองข้อมูล ( backup ) ซึ่งมีราคาถูกและเก็บข้อมูลได้จานวนมาก มีลัษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลาดับ ต่อเนื่องกันไป (sequential access ) เหมือนกับการฟังเทปเพลงที่เราไม่สามารถข้ามเพลงฟังได้ หากต้องการข้าม เพลงใดเพลงหนึ่งก็ต้องใช้การกรอเทปช่วยนั่นเอง เทปที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนี้มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่าง กันไป ซึ่งพอจะสรุปแบบที่นิยมใช้ได้ตามตาราง ดังนี้ ตำรำงที่ 2-4 ความจุของเทป เทปที่พบในปัจจุบัน ชื่อเรียกทำงกำร ชื่อเรียกทั่วไป Digital Audio Tape (หรือ Digital Data Storage ) DAT ( หรือ DDS) Digital Linear Tape DLT Linear Tape-Open LTO Quarter-Inch Cartridge QIC Travan TR

ควำมจุข้อมูล 2 GB-240 GB 20 GB-229 GB 100 GB – 200 GB 40 MB – 25 GB 8 GB – 40 GB

 สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ (Other Storage Device) - อุปกรณ์หน่วนความจาแบบแฟรช ( Flash memory device ) ปัจจุบันนามาใช้บันทึก แทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพา ทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb drive หรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง

ภำพที่ 2-16 อุปกรณ์หน่วยความจาแบบแฟลช เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 55


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์หน่วยความจาแบบแฟรชนี้อาจอยู่ในรูปแบบของ memory card ที่ใช้สาหรับจัดเก็บ ข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิ ตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล หรือพีดีเอ ซึ่งมีหลายฟอร์แมต (ดังรูป) เช่นอ Compact Flash (CF), SmartMedia ( เลิกผลิตแล้ว), Secure Digital และ Multimedia Memory Card (SD/MMC ซึ่งมีขนาดเท่ากัน) และ Memory Stick โดยการอ่านข้อมูล อาจใช้อุปกรณ์ดิจิตอลนั้นต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า card reader ช่วยอ่าน ข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในได้เช่นเดียวกัน  หน่วยอินพุต เอ้ำท์พุต (Input / Output Unit)  หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนที่ทาหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดย จะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ - Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทางาน โดยทั่วไปจะ เป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตาแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสาหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อน วัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2) - แทร็กบอล (trackball) คือลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้าผู้ใช้สามารถบังคับลูกกลม ให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมการทางานของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้และใช้พื้นที่น้อย

ภำพที่ 2-17 Mouse

ภำพที่ 2-18 Trackball

ภำพที่ 2-19 Keyboard

- Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนาข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะ เป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูล จากการกดแป้นแล้วทาการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมี จานวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทาให้การป้อนข้อมูลตัวเลข เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 56


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ท าได้ ง่ า ยและสะดวกขึ้ น การวางต าแหน่ ง แป้ น อั ก ขระ จะเป็ น ไปตามมาตรฐานของระบบ พิ ม พ์ สั ม ผั ส ของ เครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทาให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์ เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกด แป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ - เว็บแคม หรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคน เรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของ เราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่ง สามารถเห็นตัว เราเคลื่ อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจา เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ - ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทาการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผล ในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียง กระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทาให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทาให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็น หลักการทางานตรงข้ามกับลาโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง

ภำพที่ 2-20 Microphone

ภำพที่ 2-21 Bar Code Reader

- Barcode reader หรือตัวอ่าน barcode มีการเรียกว่า Price scanner หรือ pointof-sale (POS) scanner เป็นอุปกรณ์นาเข้าข้อมูลแบบพกพาได้และติดตายใช้ในการจับและอ่านสารสนเทศที่ เก็บ ใน barcode ตัวอ่าน barcode ประกอบด้วยตัวสแกน ตัวถอดรหัส (มีทั้งติดอยู่ในตัวหรือภายนอก) และสาย เคเบิลที่เชื่อมตัวอ่านกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากตัวอ่าน barcode จับและแปล barcode เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ข้อมูลต้องได้รับการส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ดังนั้นซอฟต์แวร์สามารถทาข้อมูลเข้าใจได้ ตัวสแกน barcode สามารถ ได้รับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตพิเศษ พอร์ตแป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อินเตอร์เฟซที่เรียกว่า wedge ตัว อ่าน barcode ทางานโดยลาแสงตรงตัด barcode และวัดจานวนรวมของแสงที่สะท้อนกลับ (แท่งสีดาสะท้อน แสงน้อยกว่าช่องว่างระหว่างแท่ง) ตัวสแกนแปลงกลับพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแปลงไปเป็นข้อมูลโดยตัว ถอดรหัสและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 57


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ตัวอ่าน Barcode มี 5 ประเภทพื้นฐาน 1) pen wand เป็นตัวอ่าน barcode อย่างง่าย โดยเป็นชิ้นย้ายไม่เคลื่อนย้ายและรู้กันว่ามี ความคงทนและราคาต่า pen wand สามารถท้าทายผู้ใช้ เพราะต้องมีติดต่อโดยตรงกับ barcode ต้องมีองศาถูกต้อง และต้องเคลื่อนที่ bar code ด้วยความเร็วคงที่ 2) slot scanner เป็นแบบติดตั้งตายตัวและสินค้าติอ barcode ต้องผลักด้วยมือผ่านสล๊อต โดยปกติ slot scanner ใช้สแกน barcode บนบัตรประจาตัว 3) CCD scanner มีช่วงการอ่านดีกว่า pen wand และมักจะใช้ในร้านค้าย่อย ตามปกติ CCD scanner มีการอินเตอร์เฟซเป็น “ปืน” และต้องจับห่างไม่เกิน 1 นิ้วจาก barcode การ สแกน barcode แต่ละครั้ง เกิดการอ่านหลายครั้งเพื่อลดความผิดพลาด ข้อเสียเรียบของ CCD scanner คือไม่สามารถอ่าน barcode กว้างกว่าผิวหน้านาเข้าได้ 4) image scanner หรือเรียกว่า camera reader ใช้กล้องวิดีโอขนาดเล็กในการจับภาพของ barcode และใช้เทคนิคประมวลผลภาพดิจิตอลทันสมัยในการถอดรหัส barcode การอ่าน barcode สามารถอ่านได้ห่าง 3 – 9 นิ้วและโดยทั่วไปราคาถูกกว่า laser scanner 5) laser scanner มีทั้งแบบพกพาได้และติดตายตัว การอ่านไม่ต้องใกล้กับ barcode การ ทางานใช้ระบบกระจกและเลนส์ในการสแกนเพื่ออ่าน barcode และสามารถอ่านได้ห่างถึง 24 นิ้ว เพื่อลดความผิดพลาด laser scanner อาจจะทาการสแกน 500 ครั้งต่อ 1 วินาที laser scanner ช่วงไกลพิเศษมีความสามารถในการอ่าน barcode ได้ไกลถึง 30 ฟุต

ภำพที่ 2-22 Joystick

ภำพที่ 2-23 Touch Screen

ภำพที่ 2-24 Scanner

- ก้านควบคุม (joystick) เป็นอุปกรณ์นาข้อมูลเข้ารูปแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ มี ลักษณะเป็นคันโยกบนฐาน ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ หรือ pointer บนจอภาพ - ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผล

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 58


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ข้อมูล และอุปกรณ์นาเข้าข้อมูล มักนาไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอ เกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นานิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กด ลงบนตาแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ - สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็น ดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยที่ทาหน้าที่นาผลลัพธ์ที่ได้จากการคานวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือ นาไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สาคัญ ได้แก่ - จอภำพ (Monitor) ใช้ทาหน้าที่แสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการประมวลผล แล้ว ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่ แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอาพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิด มือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพ ผลึกเหลว (Liquid Crystal Display: LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้

ภำพที่ 2-25 จอภาพของไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ภำพที่ 2-26 จอภาพผลึกเหลว (LCD)

- เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็น หน่วยแสดงผล ในรูปแบบผลลัพธ์ของข้อมูลที่ใช้ เทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ และเหมาะสาหรับใช้เวลาต้องการเก็บผลลัพธ์ของงานเอาไว้อ้างอิง ซึ่งเรียกกันว่า เป็นผลลัพธ์ถาวร ( Hard Copy ) เครื่องพิมพ์ที่มีจาหน่ายอยู่เวลานี้มีหลายประเภทเช่น เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด (Line Printer) ตามปกตินิยมใช้ในงานที่ต้องการพิมพ์ผลลัพธ์ จานวนมากๆ สามารถพิมพ์ได้ทีละบรรทัด โดยมีความเร็วตั้งแต่ 300 บรรทัดต่อนาที ขึ้นไป เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 59


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เครื่องพิมพ์แบบเข็ม (Dot Matrix Printer) ตามปกตินิยมใช้กับเครื่อไมโครคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ใช้เข็มพิมพ์ จานวน 9 เข็ม หรือ 24 เข็ม เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) ตามปกตินิยมใช้ใน งานพิมพ์ผลลัพธ์ ที่ต้องการคุณภาพสูง และมีความรวดเร็วในการพิมพ์ โดยการพิมพ์กระดาษขนาด A4 ประมาณ นาทีละ 8-10 แผ่น การ ทางานใช้หลักการแบบเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารชนิดไฟฟ้าสถิต และ อาจพิมพ์ภาพเป็นสีได้ด้วย ภำพที่ 2-27 Dot Matrix Printer

ภำพที่ 2-28 Laser Printer

ภำพที่ 2-29 Ink Jet Printer

ภำพที่ 2-30 Plotter

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็น เครื่องพิมพ์แบบที่ใช้การพ่นละอองหมึก ไปปรากฏบนกระดาษ และสามารถพิมพ์ภาพสีได้ด้วย แต่การพิมพ์ผลลัพธ์อาจใช้ เวลานาน โดยการพิมพ์กระดาษ ขนาด A4ประมาณ 15-30 นาที/แผ่น เครื่องพิมพ์แบบวาด (Plotter) เป็นอุปกรณ์สาหรับ วาดแบบ แผนที่หรือภาพอื่นๆ นิยมใช้งานที่เกี่ยวกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม งานออกแบบ ลาโพง (Speaker) นิยม ใช้แสดงผลลัพธ์ที่เป็นเสียง ทั้งที่เป็นเสียงเพลง เสียงประกอบโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เกมส์ ตลอดจนเป็นเสียงเตือนเมื่อเครื่องต้องการให้เราดาเนินการ ภำพที่ 2-31 Speaker อย่างหนึ่งอย่างใด หรือใช้ระบุเวลาเกิดความผิดพลาดขึ้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 60


หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ใบงำน บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1. 2. 3. 4.

จงอธิบายถึงความสาคัญของ CPU จงบอกความสาคัญของหน่วยความจาหลัก และหน่วยความจาสารอง จงบอกความแตกต่างระหว่าง CD-R และ CD-RW อุปกรณ์สนับสนุนการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง และแต่ละอุปกรณ์ใช้งานด้านใด ให้อธิบายพอ สังเขป 5. ROM กับ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 6. การนาข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทาได้โดยวิธีการใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ 7. พื้นฐานการทางานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ “สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่ เกี่ยวข้องอะไรบ้าง 8. ให้นักศึกษาแต่ละคนบอกถึงประโยชน์ และวิธีการนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียน 9. ให้นักศึกษาเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจาเป็นต่อชีวิตประจาวันของมนุษย์หรือไม่อย่างไร และ นักศึกษาคิดว่าทุกคนมีความจาเป็นที่ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะเหตุใด 10. บอกความแตกต่างของการประมวลผลข้อมูลแต่ละแบบ พอสังเขป

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology)

หน้า 61


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.