บทที่ 6 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์.pdf

Page 1

หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทที่ 6 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ 2. จาแนกเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดได้ 3. อธิบายลักษณะการทางานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ได้ 4. อธิบายความหมายและความสาคัญของโพรโตคอลได้ 5. ยกตัวอย่างโพรโตคอลที่ใช้ในปัจจุบันได้ 6. อธิบายความหมายของรูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ 7. จาแนกและเปรียบเทียบรูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละแบบได้ 8. อธิบายหน้าที่และการทางานของอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทได้

บทนา ในการทางานให้มีประสิทธิภาพสูงนั้น หน่วยงานควรเห็นความสาคัญของการทางานเป็นทีม และการ ทางานในปัจจุบันอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานเกือบทุกประเภท เช่น การคานวณ งานเอกสาร งานโฆษณา ประชาสัมพันธ์, การค้าและบริการต่างๆ ดังนั้นมนุษย์จึงรวมเอาการทางานเป็นทีมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ในการทางาน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดระบบการสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการ สื่อสารการทางานทีม ให้สามารถส่งข้อมูลสื่อสารระหว่างกันและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้อย่างประหยัดและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 150


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายและความสาคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทาให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ธรรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกั นเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทางานสร้างสรรสังคม เพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการดาเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว การทางานตลอดจนสังคมและ การเมือง ทาให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความจาเป็นที่จะติดต่อสื่ อสารระหว่าง กัน พัฒนาการ ทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนา คอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคน เปรียบเสมือน เป็นสถานีปลายทาง ที่เรียกใช้ทรัพยากรการคานวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิวเตอร์ ตอบสนองต่อ การทางานนั้น ต่ อ มามี ก ารพั ฒ นาไมโครคอมพิ ว เตอร์ ที่ ท าให้ ส ะดวกต่ อ การใช้ ง านส่ ว นบุ ค คล จนมี ก ารเรี ย ก ไมโครคอมพิว เตอร์ ว่ า พี ซี (Personal Computer : PC) การใช้ ง านคอมพิว เตอร์ จึ ง แพร่ ห ลายอย่ า ง รวดเร็ว เพราะการใช้งานง่ายราคาไม่สูงมาก สามารถจัดหามาใช้ได้ไม่ยาก เมื่อมีการใช้งานกันมาก บริษัทผู้ผลิต คอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการที่จะทางานร่วมกันเป็นกลุ่มใน รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงเป็นวิธีการหนึ่ง และกาลังได้รับความนิยมสูงมาก เพราะทาให้ตอบสนองตรง ความต้องการที่จะติดต่อสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ได้แก่ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ มาเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเล็กลงแต่มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้รับ การพัฒนาให้มีขีดความสามารถและทางานได้มากขึ้น จนกระทั่ง คอมพิวเตอร์สามารถทางานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทางานในรูปแบบ เครือข่าย คอมพิวเตอร์ คือนาเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการหรือที่ เรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ตาม หน่วยงานต่างๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (Client) โดยมีเครือข่าย (Network) เป็น เส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จาก จุดต่างๆ

ภาพที่ 5-1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 151


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในที่สุดระบบเครือข่ายก็จะเข้ามาแทนระบบคอมพิวเตอร์เดิมที่เป็นแบบรวมศูนย์ได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทวีความสาคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้ พอเหมาะกับงาน ในธุรกิจ ขนาดเล็ กที่ไม่มีกาลั งในการลงทุน ซื้อเครื่ องคอมพิว เตอร์ที่มีราคาสู ง เช่น มินิคอมพิว เตอร์ ก็สามารถใช้ ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เป็นสถานี บริการที่ทาให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็สามารถขยายเครือข่ายการใช้ คอมพิวเตอร์โดย เพิ่มจานวนเครื่องหรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์กร ในปัจจุบันองค์การขนาดใหญ่ก็สามารถลดการ ลงทุนลงได้ โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากกลุ่มเล็ก ๆ หลาย ๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายของ องค์การ โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถทาได้ดีเหมือน เช่นในอดีตที่ต้องลงทุนจานวนมาก เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทที่สาคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ดังนี้ 1. ทาให้เกิดการทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม และสามารถทางานพร้อมกัน 2. ให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งทาให้องค์การได้รับประโยชน์มากขึ้น 3. ทาให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน 4. ทาให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้

ภาพที่ 5-2 การเชื่อมต่อแบบ Client-Server

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 152


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายสามารถจาแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูล ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจาแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ 1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้  LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

ภาพที่ 5-3 ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้ กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสานักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทาได้ด้วย ความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทางาน และใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน  MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

ภาพที่ 5-4 ระบบเครือข่ายระดับเมือง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 153


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด เท่านั้ น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขา ห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้ าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมี ความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนาแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล  WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

ภาพที่ 5-5 ระบบเครือข่ายระดับประเทศ เป็ น ระบบเครื อข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่ว โลก เป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันใน ระดับ ประเทศ ข้ามทวีป หรื อทั่ว โลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อ นั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่ อสารของ องค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อ น เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการ ติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่าและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการ สื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย 2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทางานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้  Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้า ด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่ง กันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทางานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่ง เป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การ เชื่อมต่อแบบนี้มักทาในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อ

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 154


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่ เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนามาใช้ได้เป็นอย่างดี

ภาพที่ 5-6 Peer-to-Peer Network  Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เป็นระบบที่มีเครื่อง คอมพิว เตอร์ ทุกเครื่ องมีฐานะการทางานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทาหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทาหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่ าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรื อเครื่ องที่ขอใช้บ ริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภ าพที่ค่อนข้างสู ง ถึงจะทาให้ การให้ บริการมี ประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทากันบนเครื่อง Server เพียง เครื่องเดียว ทาให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกาหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้ บริการ หรือเครื่องClient

ภาพที่ 5-7 Client-Server Networks

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 155


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของ ข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้า ได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัย ของข้อมูล เลย ถ้าทุกคนสามารถเข้า ถึงข้อมูล ที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็ น เครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูล ในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่ง อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่ว นใหญ่จะเป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมี การควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน  อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมี คอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลาย ร้อยล้านคนและผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็น อุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้ อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อม แหล่ งข้อมูล ต่าง ๆ เข้าด้ว ยกัน ไม่ว่าจะเป็ นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลั ย หน่ว ยงานของรัฐ บาล หรือแม้กระทั่ง แหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทาการค้า เช่น การติดต่อซื้อขา ยผ่าน อิ น เทอร์ เ น็ ต หรื อ อี ค อมเมิ ร์ ช (E-Commerce) ซึ่ ง เป็ น อี ก ช่ อ งทางหนึ่ ง ส าหรั บ การท าธุ ร กิ จ ที่ ก าลั ง เป็ น ที่ นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของ ข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่ เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กาหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริ ง การเชื่อมต่อเข้ากับ อินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทาหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทาเอง  อิน ทราเน็ต (Intranet) หรื อเครื อข่า ยส่วนบุค คล ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็น เครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ , อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สาหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และ สายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทาให้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 156


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อินทราเน็ตทางานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้ างขึ้นสาหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กร นั้นสามารถที่จะกาหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลก ภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทาธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทาให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจาก ที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับ อินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็น การเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกัน ได้ ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สาคัญอย่างหนึ่ง ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตของ องค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทาหน้าที่กรองข้อมูลที่ แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกาหนด นโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้ อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทา ให้ เ ป็ น ที่นิ ย มในการประกาศข่า วสารขององค์ ก ร เช่ น ข่ าวภายในองค์ กร กฎ ระเบี ยบ และมาตรฐาน การ ปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทางานร่วมกันได้ ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรื อเครือข่ายร่ วม เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่ าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็น เจ้ าของร่ว มกันระหว่างสององค์กรหรื อบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จากัดด้ว ยเทคโนโลยี แต่จะยากตรง นโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะ อนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะ เน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัส ข้อมูลและสิ่งที่สาคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 157


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสาย สื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของ เครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนาไปใช้จึงมีความจาเป็นที่เรา จะต้องทาการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนาไปใช้ในการออกแบบ พิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้  โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณ แกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของ ทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่อง อื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะ ประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยัง ปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทาหน้าที่ลบล้าง สัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกัน ของข้อมูลอื่นๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยั ง ปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตาแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจ ข้อมูลนั้นตรงกับตาแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่า ยแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่ จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ ข้อดี - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือ ว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ สามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ข้อเสีย - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหาก มี สัญญาณขาดที่ตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่ง ก็จะทาให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ ตามไปด้วย - การตรวจหาโหนดเสีย ทาได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่ สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จานวนมากๆ อาจทาให้เกิดการคับคั่ง ของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทาให้ระบบช้าลงได้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 158


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 5-8 แบบบัส (BUS)  โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้ง

เครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์ มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจาแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทาหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จาเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูล จากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป ข้อดี - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกาหนดตาแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทาการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเอง หรือไม่ - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกัน ของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะ ทาให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้ - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทาการ ตรวจสอบตาแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 159


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 5-9 แบบวงแหวน (RING)  โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันใน

เครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทาหน้าที่เป็น ศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือ เครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทาหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป ข้อดี - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทา ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบ ได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับ ระบบเครือข่าย ข้อเสีย - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายใน การติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทาได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 160


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 5-10 แบบดาว (STAR)  โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR, BUS,

RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนามาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

ภาพที่ 5-11 แบบ Hybrid  โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดี

ที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุก เครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อย มีผู้นิยมมากนัก การเชื่อมโยงแบบเมชนี้เป็นรูปแบบเครือข่ายที่นิยมใช้ในกรณีการสื่อสารข้อมูลถึงกั นในปริมาณสูง เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 161


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

และเป็นการส่งระยะไกล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถ ติดต่อถึงกันได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเครื่อง อื่นๆ หรือผ่านเครื่องอื่นน้อย ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมชนั้นมีการใช้งานน้อยมาก ข้อดี การมีเส้นทางสารองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซ ที่ไม่สมบูรณ์ กล่าว คือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จาเป็นหรือสาคัญเท่านั้น ข้อเสีย การเชื่อมต่อหลายจุด ใช้สายเยอะ ค่าใช้จ่ายสูง

ภาพที่ 5-12 แบบ MESH

อุปกรณ์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ฮั บ (Hub) หรื อ บางที ก็ เ รี ย กว่ า “รี พี ท เตอร์ (Repeater)”

คื อ อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ เ ชื่ อ มต่ อ กลุ่ ม ของ คอมพิวเตอร์ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่ง ไปยังทุกๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้ นยิ่งมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้ากับฮับมาก เท่าใด ยิ่งทาให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมีฮับหลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่างฮับเหล่านี้ก็เป็นจานวนพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ฮับรองรับ ได้ ประเภทของ HUB สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Passive Hub เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใด ๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดีคือราคาถูกและไม่จาเป็นต้องใช้ พลังงานไฟฟ้า

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 162


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. Active Hub ทาหน้าที่เป็นเครื่องทวนซ้าสัญญาณในตัว นั่นคือจะขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมาสามารถ ทาให้ เชื่อมต่ออุป กรณ์ต่าง ๆ ผ่ านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น และเนื่องจากต้องทาการขยายสั ญญาณทาให้ ต้องใช้ พลังงานไฟฟ้าด้วย จึงเป็นข้อเสียที่ต้องมีปลั๊กไฟในการใช้งานเสมอ โดยทั่วไปจะแบ่งตามความเร็ วในการส่งข้อมูลและจานวน พอร์ท (Port) เช่น ฮับ 10 Mbs 5 Port หมายถึง สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbs (เมกกะไบต์ต่อวินาที) และต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 5 เครื่อง ฮับ 10/100 Mbs 8 Port หมายถึง สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbs และขยายได้ถึง 100 Mbs (เมกกะไบต์ ต่อ วินาที) และต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 8 เครื่อง

ภาพที่ 5-13 Ethernet Hub /Firewire Hub/Usb Hub หลักการทางานของ HUB เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ใน เครือข่าย ซึ่งลักษณะการทางาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่งกาลังส่งข้อมูล เครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่อง ซึ่งเมื่อแต่ละ เครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผล ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่ งจาก การทางานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณ จะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกาลังส่งข้อมูล เครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อ ช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ Hub นั้นทางานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณ เพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทาง ไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กาหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆ ที่เป็นไปในทาง physical 305 Hub นั้น จะทางานใน ลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่า จะทาการทาซ้าสัญญาณนั้นอีกครัง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการ ขยายสัญญาณนะครับ พอทาแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ โดยจะมีหลักว่าจะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น port ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมา เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 163


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของ Hub Hub สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า LAN Concentrator เนื่องจาก Hub จะทาหน้าที่เช่นเดียวกับคอนเซน แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN โดยใช้ Hub ในการเชื่อมสัญญาณจากหลายๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวใน โทโปโลยีของ LAN แบบ Star เช่น 10BaseT เป็นต้น HUB และ Switch ต่างกันอย่างไร ลักษณะการทางานของ HUB และ Switch ไม่ต่างกันมากนัก ทั้งคู่มีหน้าตาที่เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางของ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสตาร์ (Star network) หน้าตาจะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่มีช่องหลายช่อง สาหรับต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสาย UTP (CAT5) ที่เข้าหัวด้วย RJ45 คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมี LAN card ที่มี ช่อง RJ45 เพื่อใช้สาย UTP (CAT5) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าไปยัง HUB HUB สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN concentrator เนื่องจาก HUB จะทาหน้าที่อย่างเดียวกันกับคอนเชนแต่จะต่างที่ราคาถูก กว่า Switch หรือที่ เรียกว่า Ethernet switch จะเป็นบริดจ์แบบหลายช่องทาง (Multiport bridge) มักนิยมใช้ในเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน HUB จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมาดั่งเดิม แต่ Switch เป็นอุปกรณ์ยุคใหม่ เพราะการรับส่งข้อมูลจะแตกต่างกัน เนื่องจาก HUB เมื่อรับข้อมูลจะส่งข้อมูลออกไป ให้ทุกเครื่องในเครือข่าย แต่ Switch เมื่อรับข้อมูลจะส่งไปยังเครื่องเป้าหมายเท่านั้นทาให้ Switch ช่วยลด การจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จาเป็น มีความเร็วและความปลอดภัยที่สูงกว่า HUB ถ้ามีผู้ใช้นาโปรแกรม Sniffer มาติดตั้งในเครือข่ายที่ใช้ HUB จะรู้ข้อมูลที่ผู้ใช้ท่านอื่นส่งข้อมูลออก หรือรับเข้า แม้แต่ Username และ Password ที่ส่งไปยังผู้ให้บริการหรือรหัสบัตรเครดิตที่ส่งข้อมูลสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น  สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์สาหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน

(LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน ( Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสั ญญาณ แต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจากัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่ มาก ดังนั้นจึงมีการนาสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่ง domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 164


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบ โดยอาจนาสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจานวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และส่งด้วยความเร็วสูง

ภาพที่ 5-14 สวิทช์ หรือ บริดจ์ การที่สวิตช์สามารถทางานได้เร็วกว่าฮับนั้น นอกจากสวิตช์จะสามารถส่งข้อมูลออกได้มากกว่าแล้ว ใน สวิตช์ยังมี route table ซึ่งเป็นหน่วยความจาของสวิตช์ ที่สามารถจาได้ว่าพอร์ตใดมี IP address หรือ MAC address ใดทาการเชื่อมต่ออยู่บ้าง ซึ่งทาให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่ างรวดเร็ว และยังไม่เป็นการส่งข้อมูลใน ลักษณะกระจายไปทุกเครื่องของเครือข่ายที่เรียกว่า broadcast ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จาเป็น Collision Domain มี ค วามหมายว่ า การชนกั น ซึ่ ง ในทางคอมพิวเตอร์จะหมายความถึง การที่ เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ใ นระบบเครื อ ข่ า ย มากกว่า 1 เครื่องพยายามที่จะทาการส่ง ข้อมูลในเวลาเดียวกัน ทาให้เกิดการชนกัน ของข้ อ มู ล ที่ท าการส่ ง ซึ่ ง ค าว่ า collision domain นั้นจะมีความหมายว่าเครื่องที่อยู่ ในกลุ่มเดียวกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะ ทาให้เกิด collision ขึ้นได้ collision จะมี โอกาสเกิดได้น้อยหากว่าจานวนเครื่องที่อยู่ ใน collision domain เดียวกันมีจานวน น้อย ซึ่งสวิตช์จะทาให้เครือข่ายที่เชื่อมต่อ เข้ากันแยกออกเป็นโดเมนย่อย ๆ ดังรูป ที่ 5-15 ภาพที่ 5-15 Collision Domain เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 165


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Switch จะฉลาดกว่า Hub คือ Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็น ปลายทางเท่านั้น ทาให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทาเช่น นี้ทาให้อัตราการส่งข้อมูล หรื อแบนด์วิธ ไม่ขึ้นอยู่กับจานวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ เข้ากับ Switch คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Switch ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหา เกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย การรับส่งข้อมูลของสวิตซ์ (Switch) จะสามารถทางานได้พร้อมๆ กันกับหลายๆ อุปกรณ์เรียกว่าแทบไม่ ต้องรอให้มีการรับส่งข้อมูลเสร็จก่อนเลย และแน่นอนการทางานของสวิตซ์จะทางานได้เร็วกว่าฮับมาก ส่วนการ เลือกซื้อ Switch นี้จะต้องศึกษาอีกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ รุ่น จานวนช่องในการเชื่อมต่อ และที่สาคัญ Switch ยังมีการแบ่งเป็นรุ่นที่ Manage และ Un-Manage ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ สวิตซ์ให้สูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ราคารจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว? สวิตซ์บางรุ่นราคาเป็นแสนเลยทีเดียว ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของสวิตซ์ เริ่มต้นความเร็วที่ 10 MBPS และบางรุ่นรองรับได้ 100 MBPS ส่วนรุ่นใหม่ๆ รองรับได้ 1000 MBPS เป็ น อุป กรณ์ที่ทางานคล้ าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่ อหรือ สายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับอุปกรณ์อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเลือก หรือกาหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนาส่ง แน่นอนว่าการติดตั้ง ย่อมยุ่งยากขึ้น  เร้ า เตอร์ (Router)

ภาพที่ 5-16 เร้าเตอร์ (Router) หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อ ข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะ เป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 166


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โดยโปรโตคอลที่ทางานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะ บรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะ ตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง คุณสมบัติของ Router 1. ทาหน้าที่คล้าย Switch ทาให้เชื่อมต่อได้หลายเครื่องพร้อมกัน 2. บางรุ่นรองรับการทางาน Wire หรือ Wireless 3. เป็น ADSL Modem ในตัว (เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น) 4. Firewall /IPsec VPN (รองรับการเชื่อมต่อทางไกลแบบมี security) 5. Antivirus (รุ่นใหม่ๆ ของ Router บางรุ่น จะมี antivirus program ฝังอยู่ด้วย) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทาหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับ สวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ เราเตอร์ทางานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทาการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยัง ปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทาตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทาให้เราเตอร์สามารถทางานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวม ข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เ ข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่าน หรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริดจ์กับเราเตอร์ คือ เราเตอร์มีการทางานที่สูงกว่าคือ ในระดับชั้นที่ 3 ของ โมเดล OSI นั่นคือคือ Network Layer โดยจะใช้ logical address หรือ Network Layer address ซึ่งเป็นที่อยู่ ซึง่ ตัง้ โดยซอฟต์แวร์ทผ่ี ใู้ ช้แต่ละเครือ่ งจะตัง้ ขึน้ ให้โปรโตคอลในระดับ Network Layer รู้จัก หน้าที่หลักของเราเตอร์ คือ การหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล และเป็นตัวกลางในการส่งต่อ ข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น โดยในแต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบของ Packet ที่แตกต่างกันตามโปรโตคอลที่ทางานใน ระดับบน (ตั้งแต่เลเยอร์ที่ 3 ขึ้นไป) เช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 เมื่อเราเตอร์ได้รับข้อมูลก็ จะตรวจดูใน packet นี้เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งเราเตอร์จะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 167


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง routing table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดต่อจึงจะถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ตามรูปแบบของเลเยอร์ที่ 2 อีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายถัดไป ข้อดีของการใช้เราเตอร์ 1. ในการใช้เราเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปริมาณการส่งข้อมูลของแต่ละเครือข่ายย่อยจะแยกจาก กันโดยเด็ดขาด นั่นคือปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลในเครือข่าย LAN หนึ่งจะไม่รบกวนการ ไหลเวียนข้อมูลของอีกเครือข่าย LAN หนึ่ง 2. มีความคล่องตัวในการทางานสูง เนื่องจากสามารถทางานร่วมกับโทโพโลยีได้ทุกชนิด 3. สามารถกาหนดความสาคัญในการส่งข้อมูลได้ เช่น สามารถกาหนดได้ว่าหากข้อมูลที่ส่งไปอยู่ใน รูปแบบของโปรโตคอลที่มีลาดับความสาคัญสูง ก็สามารถลัดคิวส่งออกไปได้ก่อน 4. การปิดกั้นเครือข่าย หรือแยกเครือข่ายออกจากเครือข่ายที่ไม่ต้องการจะติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการรักษา ความปลอดภัยวิธีหนึ่ง 5. การเลือกเส้นทางในการที่จะส่งข้อมูล สามารถใช้เราเตอร์ช่วยในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ข้อเสีย 1. เราเตอร์ทางานภายใต้ OSI เท่านั้น และจะไม่ติดต่อหรือส่งข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลที่ไม่รู้จัก 2. ราคาแพงกว่าสวิตช์และฮับมาก  โมเด็ม (Modems) เป็นอุปกรณ์สาหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้

อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สาหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสาร กับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทางานของคุณให้สาเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทาการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ คาว่า โมเด็ม (Modems) มาจากคาว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลง ข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณ ต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

ภาพที่ 5-17 โมเด็ม (Modems) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 168


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความเร็วในการรับ – ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทาการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ โมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่าย ในการพูดและจดจา มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทาให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทาให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจานวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็ว ของโมเด็มในการรับ – ส่งสัญญาณ 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ ดีเช่นเดียวกับการรับ – ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ 4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จาหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ – ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย โมเด็ม(Modems) สามารถแบ่งการใช้งานออกได้เป็น 3 อย่างคือ 1. Internal 2. External 3. PCMCIA 1. Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ด เสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ราคาไม่แพงมากนัก ใช้ไฟเลี้ยงจาก Main board ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทาให้ ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อนในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ ไม่สะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้น ไม่สามารถใช้งานกับ Notebook ได้ ภาพที่ 5-18 Internal Modem เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 169


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ USB ข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่ม ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับ เครื่อง Notebook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทางานของโมเด็ม ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างสูง เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ความสะดวกใน การใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐาน V.90 ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มี ราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทาหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทาหน้าที่นี้แทน ทาให้ เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทาให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสาย หลุดได้ สาหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทาให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่นๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น ข้อดี 1. มีไฟบอกสถานะการทางาน 2. ติดตั้งง่าย เพราะไม่จาเป็นต้องเปิดเครื่อง เพียงแค่ต่อเข้ากับ com port 3. ใช้กับเครื่องรุ่นเก่า ๆ ได้ 4. ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน ข้อเสีย 1. ใช้ COM Port ทาให้เสีย port สาหรับการใช้งานอื่น ๆ 2. เปลืองเนื้อที่ในการวางตัวโมเด็ม 3. ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟต่างหาก (ปกติ modem ภายนอกจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจาก ภายนอก) 4. ราคาแพง 5. จะเปลือง Serial Port เพราะใช้ในการต่อกับโมเด็ม

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 170


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 5-19 External Modem 3. PCMCIA เป็น Card ที่ใช้งานเฉพาะ โดยใช้กับ Notebook เป็น Card เสียบเข้าไปในช่องสาหรับเสียบ Card โดยเฉพาะสะดวกในการพกพา ในปัจจุบัน Modem สาหรับ Notebook จะติดมาพร้อมกันอยู่แล้วทาให้ ความนิยมในการใช้ Card Modem ชนิดนี้ลดน้อยลง การเลือกซื้อโมเด็ม สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 2. เข้ากันได้กับระบบทางาน OS ของคอมพิวเตอร์ 3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 5. การบีบอัดข้อมูล 6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามี สิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ 1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 3. Fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของ ข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 4. serial cable เป็นสาย cable ที่นามาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้อง ตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมีexpansion slot ใช้งาน โดยจะต้อง ถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 171


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน

โดยไม่มีขีดจากัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลง โปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บาง ตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือ แม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทางาน ด้านการรักษา ความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย

ภาพที่ 5-20 เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจากัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้ เกตเวย์เป็นเหมือนนักแปลภาษาที่ทาให้เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกั นได้ หาก โปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลของเครือข่ายทั้งสองไม่เหมือนกันเกตเวย์ ก็จะทาหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับ ปลายทางและเหมาะสมกับอุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ที่แต่ละเครือข่ายใช้งานอยู่นั้นได้ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์เกตเวย์จึงมี ราคาแพงและขั้นตอนในการติดตั้งจะซับซ้อนที่สุดในบรรดาอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมด ในการที่เกตเวย์จะสามารถส่งข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น ตัวของเกต เวย์เองจะต้องสร้างตารางการส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า routing table ขึ้นมาในตัวของมัน ซึ่งตารางนี้จะบอกว่า เซิร์ ฟเวอร์ ไหนอยู่ เครื อข่ายใด และอยู่ ภ ายใต้เกตเวย์ อะไร ตารางนี้จะมีการปรับปรุงข้อมูล ทุกระยะ ส าหรั บ เครือข่ายขนาดใหญ่ อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทางานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกาแพงที่ทาหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อ ลักลอบนาข้อมูลภายในออกไปได้

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 172


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 6: เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ใบงาน บทที่ 6 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. ให้นักศึกษาบอกประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2. จงบอกองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล 3. จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูล 4. จงบอกถึงชนิดของการสื่อสารแบบไร้สาย 5. รูปแบบเครือข่าย (Network topology) มีกี่แบบ ให้นักเรียนวาดรูปพร้อมอธิบาย 6. จงอธิบายเกี่ยวกับเครือข่าย LAN 7. จงอธิบายเกี่ยวกับเครือข่าย MAN 8. จงอธิบายเกี่ยวกับเครือข่าย WAN 9. ให้บอกความแตกต่างระหว่าง เครือข่ายแบบ Peer to Peer กับ Server-base (Client Server) มีอะไรบ้าง 10. อุปกรณ์ในเครือข่าย มีอะไรบ้าง อธิบายให้ชัดเจน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 173


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.