บทที่ 7 ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์.pdf

Page 1

หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

บทที่ 7 ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายของอินเทอร์เน็ตได้ 2. อธิบายความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตได้ 3. อธิบายความสามารถของอินเทอร์เน็ตได้ 4. อธิบายความสามารถของอินเทอร์เน็ตด้านต่างๆ ได้ 5. อธิบายการบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตได้ 6. อธิบายวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 7. บอกข้อดี ข้อเสียของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 8. อธิบายส่วนประกอบของโปรแกรม Web Browser ได้อย่างถูกต้อง 9. อธิบายการใช้งาน Web Browser ได้อย่างถูกต้อง 10. อธิบายการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง

บทนำ สาหรับบทนี้ เราจะเรียนรู้และทาความรู้จักกับนิยามของอินเทอร์เน็ต ความสามารถของอินเทอร์เน็ต และบริการต่างๆ ของอินเทอร์เน็ต วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต, ส่วนประกอบและการใช้งาน Browser, การสืบค้น ข้อมูล เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 174


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ควำมหมำยของระบบอินเทอร์เน็ต พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย NECTEC's Lexitron Dictionary ได้ให้นิยามความหมายของ อินเทอร์เน็ ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ อานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้ สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอก แฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทาง หลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยวิธีการที่เรียกว่า Internet Protocol (IP) ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่าย ของเครื อข่างต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้ว ยคอมพิวเตอร์นับล้ านเครื่อง และเป็นเสมือนคลั งข้อมูล มหาศาลที่อยู่ใน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

วิวัฒนำกำรของระบบอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต ก่อตั้งขึ้นตามโครงการของอาร์ ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูก ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) อาร์ ป้ าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่ าย และเปลี่ ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และ ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันครั้งแรก คือมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอง แองเจอลิส, สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และมหาวิทยาลัยยูทาห์ การ ทดลองประสบความสาเร็จอย่างมาก ต่อมาจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตได้นาโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ เกิดมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) มีการกาหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP (Internet Service Provider) ช่วยจัดทาฐานข้อมูล ของตนเอง จึงไม่จาเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 175


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อดีตถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่ง เอเซีย (AIT) ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud, เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC, สายโทรศัพท์ทองแดง โดยพัฒนาเครือข่าย วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้น ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้ โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps ทาหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับ เครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้ว ยมหาวิท ยาลั ย ต่ างๆ ใน TCSNet และมหาวิท ยาลั ยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศู นย์ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ" หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวม กับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535 ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทาให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สาหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet ปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทาให้มีผู้ใช้ เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 AIT ทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จากัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสานักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 176


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ปี พ.ศ. 2550 บริการอินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการ ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดย ความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และ สานักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศ ไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย ผู้ใช้ในประเทศไทย ยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสาคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่าน สายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนาแสงในปัจจุบัน Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง ต่อมาเราได้เข้าสู่ยุค อิ น เทอร์ เ น็ ต ความเร็ ว สู ง โดยเริ่ ม เปลี่ ย นแปลงเทคนิ ค การส่ ง ข้ อ มู ล ผ่ า นสายโทรศั พ ท์ เ ดิ ม เข้ า สู่ ยุ ค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้ สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ สามารถรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยั งมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always on) โดยไม่จาเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีก ต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนการ ให้ บ ริ ก ารเป็ น รายเดื อน เทคโนโลยี ไร้ ส ายก าลั งมาแรง ผลั ดเปลี่ ยนกัน ทาหน้ าที่ ส ร้ างความรุ่ง เรื องในวงการ โทรคมนาคมสลับกับเทคโนโลยีผ่านสายอันเป็น วัฏจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทย ได้รั บ ความนิย มมากขึ้น เรื่ อ ย โดยเริ่ มเกิดความนิ ยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิว เตอร์โ น๊ ตบุ๊ค เชื่ อมต่ อ อิน เทอร์ เ น็ ต ไร้ ส ายซึ่งมีค วามสะดวกสบายจึงได้รับ ความนิยมอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ก็ยังมีการเชื่อมต่ อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวง แรก ปัจจุบันเราอาจได้ยินคาว่า WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็ว สูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าว่า WiMax โดยเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 177


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ควำมสำมำรถของระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสาคัญต่อชีวิตประจาวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิช ย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้  ด้ำนกำรศึกษำ - สามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้าน การแพทย์ ด้านธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ที่น่าสนใจ - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทาหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ - นักศึกษา สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กาลังศึกษาค้นคว้า ซึ่งข้อมูลมีทั้งข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  ด้ำนธุรกิจและกำรพำณิชย์ - ค้นหาข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ และการลงทุน - เกิดช่องทางการซื้อขายสินค้า ในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การบริการแบบ Customer Service Online การให้คาแนะนา สอบถามปัญหา ต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น  ด้ำนกำรบันเทิง - การพักผ่อน สันทนาการ เช่น การอ่านวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine online รวมทั้งหนั งสือพิมพ์ ข่าว และอื่นๆ โดยมีทั้งภาพประกอบ เสียง ภาพเคลื่ อนไหว บน จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร และสื่อต่างๆ - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต - สามารถดึงข้อมูล (Download) เพื่อชมภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า - สามารถดูรายการโทรทัศน์ย้อนหลัง หรือแบบเวลาจริง (Real Time)

บริกำรต่ำงๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต  Telnet หรือ SSH เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ติดต่อเครื่องบริการ (Server) เพื่อเข้าควบคุมการทางานของ

เครื่อง ปิดเปิดบริการ รับส่งเมล ใช้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น โปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับการติดตั้ง TCP/IP ผู้ใช้ สามารถเรียกใช้จาก c:\windows\telnet.exe แต่การใช้งานเป็นแบบ Text Mode ที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้คาสั่งให้ เข้าใจก่อนใช้งาน ในอดีตผู้ใช้ มักใช้โปรแกรม Pine ในเครื่องบริการสาหรับรับส่งอีเมล ก่อนการใช้ POP3 และ Web-Based จะแพร่หลาย โปรแกรม PINE ถูกพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย WASHINGTON University เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 178


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ภำพที่ 7-1 แสดงการบริการ Telnet หรือ SSH  อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail) คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ

และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่ น hotmail.com, yahoo.com,thaimail.com, gmail.com บริ ก ารอี เ มล์ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมล์จากเครื่องบริการ เมล์ไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมล์เก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสานักงานที่มี เครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมล์แบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น

ภำพที่ 7-2 แสดงการบริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์  USENET News หรือ News Group ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการ USENET อย่าง

แพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลให้สืบค้นขนาดใหญ่ สามารถส่งคาถาม เข้าไปตอบคาถาม แสดงความคิดเห็น ทา ให้เกิดสังคมของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัจจุบันมีการใช้งาน USENET น้อยลง เพราะผู้ใช้หันไปใช้เว็บบอร์ดซึ่ง เข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายกว่า เช่น เว็บไซด์ http://www.pantip.com เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 179


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

 FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน

browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้า ไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทา รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ

ภำพที่ 7-3 แสดงการบริการโอนย้ายข้อมูล  WWW (World Wide Web) บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape,

Internet Explorer, Opera หรือ Google chrome เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการ สั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive) บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จน นามาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทาข้อสอบ การส่งเมล์ ติดต่อซื้อขาย ชาระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งอิเล็กทรอนิกส์การ์ด เป็นต้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 180


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ภำพที่ 7-4 แสดงการบริการเว็บไซด์เชิงพาณิชย์  Skype, Net2Phone, Cattelecom.com บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่

บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และผู้ให้บริการบางรายยังมี บริการ PC2Fax สาหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สานักงาน โดยชาระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด แต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ ฟรี เพราะมีโปรแกรมหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน

ภำพที่ 7-5 แสดงการบริการ Skype  Netmeeting เป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เพราะทาให้คนสามารถติดต่อกันได้ข้ามซีกโลก

ด้วยภาพ และเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้บริการในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เสียเพียงค่าใช้จ่าย ค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สาคัญในการติดต่อสื่อสารแบบ นี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาด หายระหว่างการสนทนา หากความเร็ว ในการเชื่อมต่อไม่เร็ว พอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 181


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

(WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็ว อีกต่อไป To Open Netmeeting in WinXP : Start, Run, conf.exe

ภำพที่ 7-6 แสดงการบริการ Netmeeting  ICQ (I Seek You) เป็นบริการที่นิยมมากในอดีต โปรแกรม ICQ มีความสามารถในการติดต่อกับเพื่อน

ที่ใช้โปรแกรม ICQ เช่นกันได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันที ว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วย เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ภำพที่ 7-7 แสดงการบริการโปรแกรม ICQ  IRC (Internet Relay Chat) เป็นบริการที่คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC

เพราะทาให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทาผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จาเป็นต้อง เห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 182


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

สื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้อง พร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกัน

ภำพที่ 7-8 แสดงบริการ IRC  Game Online เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจาลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทาให้ผู้ใช้

สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ หรือชื่นชอบในเรื่อง เดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กาลังเติมโตอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะเกมส์ที่ หลากหลายมากขึ้นในโลก อินเทอร์เน็ต และในอนาคต

ภำพที่ 7-9 แสดงบริการ Game Online  Software Updating มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และ

หนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 183


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทา หน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทางานเองจนการ update สมบูรณ์

ภำพที่ 7-10 แสดงบริการ Antivirus Software Updating  Palm หรือ Pocket PC Palm หรือ Pocket PC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า

PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สาเร็จ จึงมีการพัฒนา เรื่อยมา จนถึงปัจจุบันคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทางานได้หลาย ๆ อย่าง ทาให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมี ผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทาหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการ รับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทาให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทางานแบบ offline ไม่เหมือน มือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online

ภำพที่ 7-11 แสดง Palm หรือ Pocket PC Palm

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 184


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

 WAP (Wireless Application Protocal) WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทาให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจ

ที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น

ภำพที่ 7-12 แสดง Wireless Application Protocol

องค์ประกอบของระบบอินเทอร์เน็ต 1. ความเรียบง่าย ได้แก่ มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้สะดวก ไม่มีกราฟิกหรือตัวอักษรที่ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชนิดและสีของตัวอักษรไม่มากจนเกินไปทาให้วุ่นวาย 2. ความสม่าเสมอ ได้แก่ ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เช่น รูปแบบของหน้า สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชันและโทนสี ควรมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์ 3. ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบเว็บไซต์ควรคานึงถึงลักษณะขององค์กร เพราะรูปแบบของเว็บไซต์ จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเว็บไซต์ของทาง ราชการ จะต้องดูน่าเชื่อถือไม่ เหมือนสวนสนุก ฯลฯ 4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ เนื้อหาเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นควร จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ ต้องการให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอเนื้อหาไม่ควรซ้ากับเว็บไซต์อื่น จึงจะดึงดูดความสนใจ 5. ระบบเนวิเกชัน ที่ใ ช้งานง่าย ต้องออกแบบให้ ผู้ ใช้เข้า ใจง่า ยและใช้งานสะดวก ใช้กราฟิกที่สื่ อ ความหมายร่วมกับคาอธิบายที่ชัดเจน มีรู ปแบบและลาดับของรายการที่สม่าเสมอ เช่น วางไว้ ตาแหน่งเดียวกัน ของทุกหน้า เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 185


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

6. ลักษณะที่น่าสนใจ หน้าตาของเว็บไซต์จะต้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่จะต้องสมบูรณ์ การใช้สี การใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา การใช้โทนสีที่เข้ากั น ลักษณะ หน้าตาที่น่าสนใจนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล 7. การใช้งานอย่างไม่จากัด ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด เลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดก็ได้ในการ เข้าถึงเนื้อหา สามารถแสดงผลได้ทุกระบบปฏิบัติการและความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหา เป็ น ลักษณะสาคัญสาหรับผู้ใช้ที่มีจานวนมาก 8. คุณภาพในการออกแบบ การออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ สร้างความรู้สึกว่าเว็บไซต์ มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ 9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง การใช้แบบฟอร์มสาหรับกรอกข้อมูลต้องสามารถกรอกได้จริง ใช้งานได้จริง ลิงค์ต่างๆ จะต้องเชื่อมโยงไปหน้าที่มีอยู่จริงและถูกต้อง ระบบการทางานต่างๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอน และทาหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง 10.พื้ น ฐ า น ใ น ก า รอ อ ก แ บ บ เ ว็ บไ ซ ต์ ที่ ดี มี เ นื้ อห า เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ต ร ง กั บที่ ผู้ ใ ช้ ต้ อ ง ก า ร มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา และพัฒนาเว็บไซต์อยู่ เสมอใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อย แสดงผลเร็ว ใช้งานที่ สะดวก เข้าใจง่าย

องค์ประกอบของระบบเครือข่ำยอินเทอร์เน็ต

ภำพที่ 7-13 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มา : http://www.kty.ac.th องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง ส่วนประกอบสาคัญที่ทาให้การสื่อสารผ่านระบบ เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายระดับโลก เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์จานวนมาก จึงมีรูปแบบการเชื่อมโยงข้ อมูลเฉพาะของตนเอง องค์ประกอบของระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี 5 ส่วนดังนี้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 186


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ

เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลาโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสาหรับการเชื่อมโยงเข้ากับ เครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทาหน้าที่ให้บริการ ข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการ ถ่ายโอนข้อมูล จานวนมาก 2. คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับ-ส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อป ฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็ จัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น

ภำพที่ 7-14 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

ภำพที่ 7-15 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย

 ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สาหรับเชื่อมต่อ

ระหว่ า ง คอมพิ ว เตอร์ แ ม่ ข่ า ยหรื อ ส่ ว นกลางกั บ คอมพิ ว เตอร์ ลู ก ข่ า ย เป็ น ช่ อ งทางส าหรั บ การรั บ -ส่ ง ข้ อ มู ล ประกอบด้วย 1. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและ ดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps 2. สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนาเอาสายสัญญาณเสียบเข้า กับช่องสาหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ 3. สายใยแก้วนาแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทาจากเส้นใยพิเศษที่สามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป 4. คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและ คลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 187


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

มาตรฐานการควบคุ ม และการส่ ง ผ่ า นข้ อ มู ล บนเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต (Control/Internet Protocol) หมายถึง มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกาหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ 1. มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็น โพรโตคอลมาตรฐานสาหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสาหรับการสืบค้น ข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กาหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสาหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือ เบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) 3. มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกาหนด วิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล  โปรแกรมสาหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูล ไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox , Netscape Navigator และ Operaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทาหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือน อ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์ ก ร ผู้ ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารอิ น เทอร์ เ น็ ต แก่ บุ ค คลทั่ ว ไป โดยผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารแต่ ล ะรายจะเป็ น สมาชิ ก ของเครื อ ข่ า ย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ สาหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสาคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. 

กำรทำงำนของอินเทอร์เน็ต การสื่ อ สารข้ อ มู ล ด้ ว ยคอมพิ ว เตอร์ จ ะมี โ ปรโตคอล (Protocol) ซึ่ ง เป็ น ระเบีย บวิ ธี ก ารสื่ อ สารที่ เ ป็ น มาตรฐานของการเชื่อมต่อกาหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสาหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมี หมายเลขประจาเครื่อง ที่ เรีย กว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับในTCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้ จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่าย แล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 255 เท่ า นั้ น เช่ น IP address ของเครื่ องคอมพิ ว เตอร์ข องสถาบัน ราชภั ฎ สวนดุ สิ ต คือ 203.183.233.6 ซึ่ ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 188


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

โดเมนเนม (Domain name system :DNS) เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้ โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัด แบ่ ง เป็ น ส่ ว นๆ แล้ ว ก็ ยั งมี อุป สรรคในการที่ ต้องจดจ า ถ้ าเครื่องที่อยู่ ในเครือ ข่ายมีจานวนมากขึ้น การจดจ า หมายเลข IP ดู จ ะเป็ น เรื่ อ งยาก และอาจสั บ สนจ าผิ ด ได้ แนวทางแก้ปัญ หาคือการตั้ งชื่ อหรื อตัว อัก ษรขึ้ นมา แทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจามากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้ว ยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจาชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจาตัวเลข โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ .com ย่อมาจาก commercial สาหรับธุรกิจ .edu ย่อมาจาก education สาหรับการศึกษา .int ย่อมาจาก International Organization สาหรับองค์กรนานาชาติ .org ย่อมาจาก Organization สาหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากาไร .org ย่อมาจาก Organization สาหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากาไร การขอจดทะเบียนโดเมน ต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถ ซ้ากับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ 1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึง่ เดิม คือ www.internic.net 2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สาหรับสถานศึกษาในประเทศไทย .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สาหรับบริษัทที่ทาธุรกิจในประเทศไทย .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สาหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สาหรับบริษัทที่ทาธุรกิจด้านเครือข่าย .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สาหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากาไร .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สาหรับของบุคคลทั่วๆ ไป กำรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สำย (Wire Internet)  กำรเชื่อมต่ ออิ นเทอร์เ น็ต รำยบุ คคล (Individual Connection) การเชื่ อมต่ออิน เทอร์ เน็ ต รายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 189


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้ โมเด็มที่เชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์ ของผู้ ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึง สามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป

ภำพที่ 7-16 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล 1. โทรศัพท์ 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ 3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน 4. โมเด็ม (Modem) โมเด็ม คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณเนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก(Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทางความเร็วของ ของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ ายได้สะดวก เพราะในปั จจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่ าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบ ติดตั้งภายใน เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 190


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

ภำพที่ 7-17 โมเด็มภายนอก

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ภำพที่ 7-18 โมเด็มภายใน

ภำพที่ 7-19 PCMCIA modem

2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem) เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไป กับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็ม แบบติ ด ตั้ ง ภายนอก เวลาติ ด ตั้ ง ต้ อ งอาศั ย ความช านาญในการเปิ ด เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ และติ ด ตั้ ง ไปกั บ แผงวงจรหลัก 3. โมเด็มสาหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem  กำรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของ ตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรใน หน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ภำพที่ 7-20 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 191


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

 กำรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สำย (Wireless Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทาให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้ 2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) - WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งาน บนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการ คิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง - GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ -ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทาให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึน้ ด้วย - โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับ การสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทาการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่ง ข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย - เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการ สื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการ ผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์ เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี 3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก (Note book) และเครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือ ที่สนับสนุนระบบ GPRS โดยจะทาหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นามาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Notebook หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM cardที่เป็น Internet SIM สาหรับ โทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 192


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ควำมหมำยของสื่อสังคมออนไลน์ ในโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ผู้คนสามารถเดินทางข้ามพรมแดน ข้ามกาลเวลาไปพบปะพูดคุยกับใครก็ได้ ที่ ไหนก็ได้ เวลาใดก็ย่อมได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส โดยเริ่มจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอัตรา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลต่อระบบการศึกษาโดยตรง ทั้งนี้ เนื่ อ งจากเทคโนโลยี ส ารสนเทศจะเกี่ ย วข้ อ งโดยตรงกั บ การรวบรวมข้ อ มู ล ข่ า วสาร ความรอบรู้ จั ด ระบบ ประมวลผล ส่งผ่านและสื่อสารด้วยความเร็วสูงและปริมาณมาก นาเสนอและแสดงผลด้วยระบบสื่อต่างๆ ทั้ง ทางด้านข้อมูล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอ อีกทั้งยังสามารถสร้างระบบการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทาให้การเรียนรู้ในยุคใหม่ประสบผลสาเร็จ ด้วยดี (สาระน่ารู้ประจาสัปดาห์. 2553 : ออนไลน์) ซึ่งในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานั้น ความเจริญก้าวหน้าและการเติบโต อย่างก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้เปลี่ยนวิถีทางการดาเนินชีวิต การดาเนินธุรกิจ และการสื่อสารของคนในสังคมไปอย่างมากมาย โดยงานวิจัย ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารได้บ่งชี้ว่าสื่อหรือเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมในแต่ละช่วงเวลาจะมีอิทธิพลต่อ ความคิดของคนและจะเป็น ปัจจั ยสาคัญที่กาหนดกรอบความคิดและความเข้าใจในการมองโลกรอบๆ ตัว เรา ด้วย (Eid and Ward 2009) ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีจานวนเกือบสองพันล้านคนแล้วในเดือนมิถุนายน ปี 2553 (Internet World Stats, 2010) อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นแหล่งแห่งการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทา ให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารจากยุคการสื่อสารแบบดั้งเดิม ในโลกแห่งความเป็นมาสู่การใช้เทคโนโลยีการ สื่อสารในยุคดิจิทัลแห่งโลกเสมือนจริง (Virtual World) ก่อให้เกิดยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ทาให้คนจานวน มากทั่วโลกมีการดาเนินชีวิตทั้งในสังคมของโลกแห่งความเป็นจริงและสังคมแห่งโลกเสมือนจริงผลจาก ความก้าวหน้าของระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทาง สังคม คือ เครือข่ายสังคมใหม่ที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมออนไลน์” (Online Community) หรือ “สังคม เสมือน” (Virtual Community) หรือ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” (Social Network) โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ นี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สมาชิกซึ่งก็คือคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติและศาสนา ทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาอาชีพ และทุกกลุ่มสังคมย่อยจากทั่วโลกเป็นผู้สื่อสารหรือเขียนเล่าเนื้อหาเรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และ วิดีโอ ที่สมาชิกเขียนและทาขึ้นเองหรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนามาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เครือข่ายสังคมออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วและ ต่ อ เนื่ อ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด วิ วั ฒ นาการด้ า นเทคโนโลยี ข องสื่ อ สั ง คมออนไลน์ ห ลากหลายประเภท ได้ แ ก่ เว็ บ บล็ อ ก (Weblog) หรื อเรี ย กสั้ น ๆ ว่ า บล็ อ ก (Blogเว็ บ ไซต์ เ ครื อ ข่า ยสั งคมออนไลน์ (Social Networking Sites) เช่น Facebook, Myspace และ hi5 เป็นต้น เว็บไซต์สาหรับแบ่งปันวิดีโอ (Video-sharing Sites) และ ผลงา น เ ช่ น YouTubeเ ว็ บ ป ระเ ภ ท Micro Blog เช่ น Twitter วิ กิ (Wikis) แ ละโ ลกเ สมื อ น เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 193


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

เช่น SecondLife และ World WarCraft เป็นต้น จากความก้าวหน้าดังกล่าว จะเห็นว่า ปัจจุบันการสื่อสารบน โลกออนไลน์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี Web 2.0 และการเกิดขึ้นของ สังคมเครือข่ายที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามากาหนดและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้รับสารและผู้บริโภคเกือบสิ้นเชิง ทาให้ เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ เป็นจานวนมาก ในยุ ค ที่ อิ น เทอร์ เ น็ ต ก าลั ง เป็ น ที่ นิ ย มและได้ รั บ การพั ฒ นาอย่ า งไม่ ห ยุ ด นิ่ ง จากการพั ฒ นาของโลก เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) จากยุคแรกหรือเรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นStatic Web คือมีการ นาเสนอข้อมูลทางเดียว ต่อมาเข้าสู่เว็บยุคที่ 2 หรือ Web 2.0 จึงเป็นยุคที่เน้นให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้ งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่ อยู่บนเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลกันได้ทั้งในระดับบุคคล หรือกลุ่มจนกลายเป็นสังคมในโลกอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า สังคมออนไลน์ (Social Network) นั่นเอง สังคม ออนไลน์ (Social Networking) คือสังคมที่ผู้คนสามารถทาความรู้จัก ร่วมแบ่งปันสิ่งที่สนใจ และสามารถเชื่อมโยง กันได้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยรูปแบบการบริการ เรียกว่า “บริการเครือข่ายสังคม หรือ Social Networking Service (SNS)”โดยเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคม สาหรับผู้ใช้งาน ในอินเทอร์เน็ตที่ใช้เขียนและอธิบายความสนใจและกิจกรรมที่ได้ทาและเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของ ผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลส่วนตัว บทความรูปภาพผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรื อความ สนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจานวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นได้ ตามความสนใจของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งหวังจะยกระดับ การศึกษาของชาติให้ได้มาตรฐานและจัดได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีการปฏิรูปครู อาจารย์และบุคลากรทางการ ศึกษา โดยในการปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษาได้หลอมรวมหน่วยงานทางการศึกษา และจัดโครงสร้าง ใหม่ เป็นระดับกระทรวงและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีอานาจ หน้าที่ในการบริหารและการจัดการศึกษาภายเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการกาหนดให้มีเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา 2 ส่ ว น คื อ สานั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาและสานั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มัธยมศึกษา โดยมีผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสานักงานซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ ว การใช้งานอิน เทอร์เน็ ตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุ ค ได้แก่ ยุคแรก เรียกว่า Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะการนาเสนอข้อมูลทางเดียว เนื่องจาก ผู้จัดทาเว็บไซต์จะทาหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูล หรือนาเสนอเนื้อหา ให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้งานไม่สามารถโต้ตอบข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ ต่อมาในยุคที่สอง เรียกว่า Web 2.0 เป็นการเน้นให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้สามารถมี ส่วนร่วมในการโต้ตอบข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ สามารถสร้างข้อมูลหรือเนื้อหาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ทั้ง ระดับ ปัจเจกบุคคล และระดับกลุ่ม การเติบโตของอินเทอร์เน็ต เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 194


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ในยุ คนี้ ทาให้ เกิดครื อข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นสังคม ออนไลน์ที่ช่วยให้คนสามารถทาความรู้จักกัน เปิดเผย ข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ วิดีโอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความสนใจร่วมกัน (Cheung, Chiu, & Lee, 2010) จากสถิ ติ พ บว่ า ปั จ จุ บั น มี ค นกว่ า 100 ล้ า นคนทั่ ว โลกที่ ติ ด ต่ อ ผ่ า นเครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ มี ก าร ใช้ Facebook, MySpace, LinkedIn และเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งแต่ละคน สามารถที่จะสร้าง Profile ของตนเอง และสามารถ เชื่อมต่อกับ Profile ของบุคคลอื่น เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างกันได้ (Cheung & Lee, 2010)เครือข่าย สังคมออนไลน์ได้รับความนิยมสูงสุดไม่เพียงเฉพาะใน กลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น แม้แต่บรรดา ผู้นาองค์กรชั้นนาของโลก กลุ่มคนทางานที่มีหลากหลายวัย ต่างก็ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กันอยู่ เป็นประจา คาว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผู้ให้ ความหมาย ไว้หลากหลาย แต่ในบทความนี้จะใช้ความหมายของ อดิเทพ บุตราช (2553) ซึ่งได้ให้นิยามคาว่าเครือข่าย สังคมออนไลน์ หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมและ มี การทากิจกรรมร่วมกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแพร่ขยายออกไปเรื่อยๆ โดยใช้ รู ป แบบของการติ ด ต่ อ สื่ อ สารผ่ า นเครื อ ข่ า ย อิ น เทอร์ เ น็ ต มี ก ารสร้ า งเครื อ ข่ า ยชุ ม ชนเสมื อ นบน เครื อ ข่ า ย คอมพิว เตอร์ เพื่ อใช้เป็ น เครื่ องมือส าคัญ ในการ ติดต่อ สื่ อสาร การทากิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการใช้ป ระโยชน์ ทางด้านการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง คนในสังคม ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์เพิ่ม มาก ขึ้น มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อบอกเล่า เรื่องราว ประสบการณ์ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้จัดทาขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่อต่างๆ แล้วนามาแบ่งปันให้ กับเพื่อนและผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนได้ทราบผ่าน ทางเว็บไซต์ ของเครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ นอกจากนั้ น เว็ บ ไซต์ ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารเครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ ยั ง สามารถ แบ่ ง ออกเป็น 4 กลุ่ม (สุภาภรณ์ เพชรสุภา, 2554) ได้แก่ 1. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ตัวตน” เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะใช้นาเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของ ตนเองผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือผู้ใช้สามารถเขียน Blog สร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อ นในห้องเรียน และสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์ประเภทนี้คือ myspace.com, hi5.com และ facebook.com เป็นต้น 2. กลุ่มเว็บไซต์เผยแพร่ “ผลงาน” อาจจะเป็นผลงานของกลุ่มหรือผลงานของตัวเอง โดยสามารถนา เสนอในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอ รูปภาพ หรือเสียงอาจารย์สอนที่ได้จากการบันทึกในชั้นเรียน เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น YouTube.com, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr.com, Multiply.com เป็นต้น 3. กลุ่มเว็บไซต์ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ เรื่องเดียวกัน อาจเป็นลักษณะ Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่ เราจะทา Bookmark เว็บไซต์ที่เราชอบ หรือบทความ รายงานที่ เกี่ยวข้องกับการเรียน เก็บไว้ในเครื่องของเรา คนเดียว เราก็สามารถทา Bookmark เก็บไว้บนเว็บไซต์ แทน เพื่อ เป็นการแบ่งให้เพื่อนๆ คนอื่นเข้ามาดูได้ด้วย และเราก็สามารถดูได้ว่าเว็บ ไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมาก หรือเป็นที่ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 195


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

น่าสนใจ โดยดูจ ากจ านวนตัว เลขที่เว็บ ไซต์ นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ ตัว อย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ Delicious, Digg, Zickr, Duocore.tv เป็นต้น 4. กลุ่มเว็บไซต์ที่ใช้สาหรับการทางานร่วมกัน เป็นกลุ่ม การทางานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เปิด โอกาส ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถเข้ามานาเสนอ ข้อมูล ความคิดหรือต่อยอด เรื่องราวต่างๆ ได้ ตัวอย่าง เว็บไซต์นี้ ได้แก่ WikiPedia ซึ่งเป็นสารานุกรมต่อยอด ที่อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไข บทความต่างๆ ได้ ตลอดเวลา ทาให้เกิ ดเป็น สารานุกรม ออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และ เหตุการณ์ต่างๆ ไว้ มากมาย จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการพัฒนาขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ใน การใช้งานในด้านต่างๆและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกัน ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น 5. ในขณะนี้ Facebook จัดเป็นเว็บไซต์เครือข่าย สังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกและมี รายงานผลตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Facebook พบว่า ผู้ที่ใช้งานFacebook มากกว่า 50% ไม่ได้เป็นนักศึกษา กลุ่มอายุที่มีการใช้งานที่เติบโตรวดเร็วมากที่สุดคือ กลุ่ม คนอายุ 30 ปีขึ้นไป เฉลี่ยเวลาในการใช้งาน 20 นาที ต่อ ครั้ง มีผู้ใช้งานมากกว่า 15ล้านคนที่อัพเดทสถานะ อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และในแต่ละเดือนมีการอัพโหลด คลิป วิดีโอมากกว่า 5 ล้านคลิปวิดีโอ (ตัวเลขน่าสนใจจาก Facebook, 2554) ซึ่งจากสถิติที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคม ปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเข้ามามีบทบาท หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนวัยทางานที่ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถใช้งาน ผ่าน โทรศัพท์มือถือได้ จึงทาให้สถิติการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 6. ดังนั้นในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงสามารถกล่าวได้ว่า เครือข่าย สั งคมออนไลน์ เข้ามามีบ ทบาทในชีวิตประจาวันของ คนในทุกระดับ ทุกเพศและทุกวัย นอกจากนั้ นการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ยั งมีผ ลกระทบในหลายๆ ด้าน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลั กษณะการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และผลกระทบจากการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนในสังคมปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ Social networksเกิดจากเว็บไซต์ classmates.com เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์ SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จากัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้าง ประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.comที่พัฒนาโดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 196


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ประเภทของสือ่ สังคมออนไลน์ 1. เครือข่ายข้อมูล แหล่งความรู้ เปรียบเสมือนไดอารี่ออนไลน์ เช่น Blogger.com Bloggang.com 2. เครือข่ายแพร่ภาพและวีดีโอ เช่น Youtube.com Imeem.com Multiply.com 3. เครือข่ายแลกเปลี่ยนรูปภาพ เป็นเว็บไซต์ให้บริการรับฝากรูปเช่น Flickr.com Photobucket.com 4. เครือข่ายซื้อขายสินค้าหรือประมูลออนไลน์ เว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e bay 5. เครือข่ายเพื่อน เน้นพูดคุยกันทั่วไประหว่างเพื่อนเช่น Facebook.com Twitter.com Hi5.com 6. เครือข่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เว็บไซต์ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ผ่านกระดานสนทนา (Webboard) เช่น Pantip.com Mthai.com Kapook.com ประโยชน์ของ Social Network - Blog สารวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิก - ค่าใช้จ่ายถูก - สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย ข้อดีของ Social Network - สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ - เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อม - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว - เป็นสื่อในการนาเสนอผลงานของตัวเอง - ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้า ข้อเสียของ Social Network - เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป อาจถูกผู้ไม่หวังดีนามาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วน บุคคลได้ - Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต - เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง รูปแบบของสื่อสังคม(Social Media) สื่อทางสังคม (Social Media) คือ เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถมีปฏิสัมพันธ์ ทั้งในเรื่อง กิจกรรม กิจวัตร และพฤติกรรมต่างๆ ระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยกันที่มารวมกลุ่มกันในแบบ ออนไลน์เพื่อที่จะแบ่งปันข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความต้องการส่วนลึก และความคิดเห็น โดยการสร้างเนื้อหา ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ วีดีโอ และเสียง เพื่อติดต่อทางธุรกิจหรือเพื่อความเพลิดเพลิน (Safko & Brake, 2009, pp. 3-20) (Strauss & Frost, 2009, p. 326)โดยที่สื่อทางสังคมสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 197


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

1) Reputation aggregators หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องมือค้นหา (Search Engine) คือ เว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลของ เว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ ร้านค้า หรือ เนื้อหาอื่นๆ แล้วนามาจัดอันดับผ่านระบบการ ประเมินของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามาสืบค้นข้อมูลในด้านต่างๆ ตามต้องการได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างของสื่อทางสังคมประเภทนี้ได้แก่ Google, Yahoo!, MSN, Tripadvisor.com, ePinions.com 2) Blogs คือ บันทึกประจาวันในรูปแบบออนไลน์ที่มีการนาเสนอตามลาดับเวลา โดยที่ ผู้อ่านสามารถ แสดงความคิดเห็นผ่าน Blog ได้โดยตรง นอกจากนี้ในบาง Blog นั้นยังใช้ผู้เขียนหลายๆคนช่วยในการเขียนบันทึก ประจ าวัน ออนไลน์ นี้ ตั ว อย่ างของสื่ อทางสั งคมประเภทนี้ ไ ด้แ ก่ WordPress, Engadget, Mashable, TechCrunch 3) Online communities คือ เว็บไซต์ที่รวบรวมกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความสนใจคล้ายๆกัน โดยที่กลุ่มผู้ใช้งานเหล่านี้มักจะกลับมาดูการแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้ใช้งานอื่นๆ ที่มีความคิดคล้ายกับตัวเองผ่าน ระบบออนไลน์อยู่เสมอ ตัวอย่างของสื่อทางสังคมประเภทนี้ได้แก่ CNN, Slate, YouTube, Google Groups, Flickr, Del.icio.us, Wikipedia, Second Life 4) Social networks – เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นโครงสร้างสังคมที่ประกอบด้วย Node (ซึ่ง หมายถึงบุคคลหรือองค์กร) ต่างๆ เชื่อมต่อกัน ซึ่งแต่ละ Node ที่เชื่อมโยงกันก็อาจมีความสัมพันธ์กับ Node อื่นๆ ด้วย โดยที่ประเภทของความสัมพันธ์ของแต่ละ Node นั้นอาจจะมีประเภทเดียวหรือมากกว่า อาทิเช่น ค่านิยม วิ สั ย ทั ศ น์ ความคิ ด การค้ า เพื่ อ น ญาติ เว็ บ ลิ ง ค์ ฯลฯ ตั ว อย่ า งของสื่ อ ทางสั ง คมประเภทนี้ ไ ด้ แ ก่ Twitter, Facebook, Xing, LinkedIn

ผลกระทบในกำรใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จัดเป็นบริการออนไลน์ซึ่งอยู่บน พื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันสะท้อนถึงความสนใจที่คล้ายคลึงกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน ในสั งคม ไม่ว่าจะเป็ น เฟซบุ๊ ค (Facebook) มายสเปซ (MySpace) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือเว็บไซต์เครือข่าย สังคมออนไลน์อื่นๆต่างก็มีลักษณะเด่นที่เหมือนกันในการเปิดให้สมาชิกสร้างแฟ้มประวัติส่วนตัวเป็นเสมือนอีก ตัวตนหนึ่งบนโลกออนไลน์เพื่อใช้ปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆผ่านบริการช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายบน เว็บไซต์ ทาให้ช่ว ง 5 ปีที่ผ่านมาจานวนสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆเพิ่มจานวนขึ้นอย่างมหาศาล เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดอย่างเฟซบุ๊คมีรายชื่อสมาชิกรวมทั้งโลกกว่า 500 ล้านรายชื่อ และมีสถิติรวม การใช้งานจากสมาชิกทุกคนเป็นเวลา 7 แสนล้านนาทีต่อเดือน (สถิติจากเฟซบุ๊ค 2011) ในขณะที่เทคโนโลยีการ สื่อสารได้รับการพัฒนาอย่างก้าวล้า สื่อสังคมออนไลน์กลับส่งอิทธิพลลบต่อชีวิตประจาวันและความสัมพันธ์ของคน ในสังคมอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นประเด็นทางสังคม ที่ทั้งสื่อ บทกฎหมาย และประชาชนเองจะต้องให้ ความสาคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 198


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

1. การคุกคามผ่านสื่อออนไลน์ (Cyber Bullying) คือการคุกคามหรือรังแกกันผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งอีเมลข่มขู่หรือแบล็คเมล การส่งข้อความทางโทรศัพท์ การข่มขู่ทางโทรศัพท์ โปรแกรมออนไลน์ และชัดเจน ที่สุดคือการคุกคามผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แม้ว่าการคุกคามกันบนโลกออนไลน์จะไม่ใช่การทาร้ายร่างกายหรือมีใคร ได้รับบาดเจ็บ แต่เป็นการทาร้ายทางอารมณ์ความรู้สึกซึ่งสามารถสร้างบาดแผลที่รุนแรงมากในทางจิตวิทยาอันจะ ส่งผลให้เกิดอาการหวาดระแวง ซึมเศร้า หดหู่ ไปจนถึงการฆ่าตัวตายในที่สุด 2. การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล (Identity Theft) ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งในสังคมไทยและประเทศ อื่นๆทั่วโลก และยังเป็นอีกสาเหตุของการเติบโตอันรวดเร็วของจานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีรายงานจากกรมสถิติออสเตรเลียเมื่อปี 2008 ว่ามีประชาชนตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรม เอกลั กษณ์บุ คคลหรื อข้อมูล ส่ ว นตัว อื่น ๆรวมกว่า 806,000 คน เช่นเดียวกับที่สื่ อมวลชนไทยรายงานข่าวการ โจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลที่เพิ่มขึ้นใน 5 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งในกรณีของการแอบอ้างต้มตุ๋นเพื่อขูดรีด ทรัพย์สิน ไปจนถึงการล่อลวงไปมีสัมพันธ์เชิงชู้สาว เป็นต้น 3. เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างปั ญหาทางความสัมพันธ์ของคนในสั งคม ทาให้คนห่างไกลกันมากขึ้น เพราะวิธีการสื่อสารกับคนรู้จักและคนแปลกหน้าบนอินเทอร์เน็ตทาให้ความรู้สึกของคนเปลี่ยนไป ผลกระทบทาง ลบอีกอย่างหนึ่งของเครือข่ายสังคมออนไลน์คือความสัมพันธ์ของคนในสังคม แม้มันจะช่วยสร้างสัมพันธภาพให้เรา กับคนที่ไม่สนิทให้รู้จักกันแน่นแฟ้ นได้ง่ายขึ้น แต่คนเรามักจะมองไม่เห็นว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นก็ทาให้เรา ห่างไกลจากคนที่เราสนิทด้วยมากขึ้น ด้วยความเป็น “เครือข่ายสังคม” จึงทาให้สมาชิกส่วนใหญ่คิดว่าเพียงแค่เป็น สมาชิกในเครือข่ายก็เท่ากับเป็นการเข้าสังคมแล้ว 4. สื่อสังคมออนไลน์มีผลกระทบทางลบต่อการทางานทั้งของนายจ้าง ลูกจ้าง และแม้กระทั่งว่าที่พนักงาน ในอนาคต เพราะสื่ อ ที่ เ ป็ น เครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ จ ะคอยรบกวนการท างาน สมาธิ ข องพนั ก งาน ท าให้ ประสิทธิภาพในการทางานลดลง เพิ่มมูลค่าต้นทุนของบริษัท และยังเป็นอันตรายต่อชื่อเสียงอีกทั้งความน่าเชื่อถือ ของบริษัท เพียงแค่พนักงานบางคนลืมตั้งค่าความเ็นส่วนตัวในทะเบียนเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็อาจต้องลงเอย ด้วยการถูกไล่ออกจากบริษัทเพราะไปแสดงข้อความที่ไม่เหมาะสมไว้ก็เป็นได้ ยิ่งไปกว่านั้นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็อาจเป็นภัยแก่คนที่กาลังหางานทา เพราะทั้งเฟซบุ๊คและมายสเปซต่างก็เป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยมของหลายบริษัท ต่างๆในการสอดส่องพฤติกรรมของผู้สมัครงานเพื่อใช้คัดกรองพนักงาน แฟ้มประวัติบนเฟซบุ๊คจานวนมากแสดง ข้ อ มู ล หลายๆสิ่ ง ที่ ค นหางานไม่ อ ยากให้ เ จ้ า นายในอนาคตของตั ว เองรั บ รู้ เว็ บ ไซต์ ห างานชื่ อ ดั ง อย่ า ง Careerbuilder.com ระบุว่ากว่า 45% ของนายจ้างใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการคัดเลือกพนักงาน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 199


หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

บทที่ 7: ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์

ใบงำน บทที่ 7 ระบบอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ ให้นักศึกษาทารายงานค้นคว้าข้อมูล ตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. ให้นักศึกษา ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในประเทศไทย ด้วย Search Engine ที่นักศึกษารู้จัก 2. ให้นักศึกษา ค้นคว้าประวัติความเป็นมาในการพัฒนา การใช้งาน ความแตกต่าง ของโปรแกรมเบราว์เซอร์ ต่อไปนี้ Internet Explorer, Google Chrome, Firefox 3. 4. 5. 6.

จงบอกความหมายของอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ความสามารถของอินเทอร์เน็ตส่งผลดีต่อด้านการศึกษาในปัจจุบันอย่างไรบ้าง บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร

7. สังคมออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ? และมีผลดีและผลกระทบ อย่างไรกับสังคม 8. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการใด 9. ยกตัวอย่างและอธิบายลักษณะของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาเคยใช้มา 2 อย่าง 10. เว็บเพจและเว็บไซต์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 400-13-01 เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ (Integrated Information Technology) หน้า 200


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.