11 MBA Connected

Page 1

Jun-Aug

2014

เปิดทุกกลยุทธ์ ประสบความส�ำเร็จ แบบฉบับ

Biz on the Move SEACON GROUP : โครงการที่ ไม่ล้มเหลว

Logistics Intelligence Halal Logistics for Containerization “โลจิสติกส์กับมาตรฐานฮาลาลปลอดภัย”

HR Focus ความท้าทายของ SMEs ไทย

คุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์

Chief Executive Officer บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด


CREATE PROFESSIONALS BY PROFESSIONALS

สรางมืออาชีพ ดวยมืออาชีพ เนนภาคปฏิบัติ Work-based Learning เรียนรูผานกรณีศึกษาจากมืออาชีพ สรางเครือขายทางธุรกิจ มีทุนการศึกษาใหเปลา โอกาสรวมงานกับ CP

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สถาบันการจัดการปญญาภิวัฒน การจัดการ ธุรกิจคาปลีก

การจัดการ โลจิสติกส

RETAIL BUSINESS MANAGEMENT

LOGISTICS MANAGEMENT

รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค อธิการบดีสถาบันการจัดการ ปญญาภิวัฒน (PIM)

ไปรยา ณ รังษี Personal Assistant to Chief Operation Officer สายการบิน Business Air นักศึกษา MBA in S-HRM

อาจารยอาณัติ จุลินทร ผูอำนวยการบริหาร (ธุรกิจน้ำด�ม) บริษัท เนสทเล (ไทย) จำกัด

อาจารยวิเศษ วิศิษฏวิญู รองกรรมการผูจัดการอาวุโส บริษัท ซีพี แรม จำกัด

กอศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน)

กลยุทธการบริหาร

ทรัพยากรมนุษย และองคการ STRATEGIC HUMAN

RESOURCE & ORGANIZATION MANAGEMENT

อาจารยมนูญ สรรคคุณากร ที่ปรึกษาดานการบริหารงานบุคคล บริษัทชั้นนำ

พิชยา เตชะสวัสดิ์วิทย ทายาทธุรกิจ หางหุนสวนจำกัด เอสวีเอ็น เอ็นจีเนอรริ่ง

นักศึกษา MBA in Retail Business Management

ฐิติ รัตนธำรง กรรมการบริษัท บริษัท นมสดแดรี่ฟารม จำกัด นักศึกษา MBA in S-HRM

สิทธิวัฒน คีรีวัชรินทร System & Solution Portfolio Assistant Manager

บริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑกอสราง จำกัด นักศึกษา MBA in Logistics Management

Mr. Edmund Lo กรรมการผูจัดการ UPS SCS Services (Thailand) Limited

อาจารยพิษณุ เหรียญมหาศาล MR.China ของเมืองไทย ที่ปรึกษาดานโลจิสติกส

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ 0 2832 0413, 0 2832 0416 หรือ 081 481 7317

www.pim.ac.th/mba

mbapanyapiwat E-mail : mba@pim.ac.th


Jun-Aug

2014

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รศ.ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช คุณสยาม โชคสว่างวงศ์ รศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย ผศ.ดร.ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล คุณปาริชาต บัวขาว

คอลัมนิสต์กิตติมศักดิ์

ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ ดร.กิตติ เศรษฐวรพันธุ์ อาจารย์วิเชศ คำ�บุญรัตน์

บรรณาธิการ

ดร.ภญ.ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย

หัวหน้ากองบรรณาธิการ ธมลวรรณ อัศเวศน์

กองบรรณาธิการ

ภัทรกมล คีรีวัชรินทร์ เหมือนฝ้าย ปัญญวานิช เพชรไพลิน สายสุวรรณ วรานี จรูญลักษณ์คนา ภูริมาศ สว่างเมฆ อรุณรัตน์ มงคลพิทักษ์กุล

ศิลปกรรม

เอกภพ สุขทอง

การได้อ่านและศึกษาชีวประวัติของบุคคลที่ประสบความส�ำเร็จช่วยให้ทราบถึงแนวคิดในการ ด�ำเนินชีวิต การท�ำธุรกิจ รวมถึงแง่มุมต่างๆ ในชีวิตของบุคคลเหล่านั้นที่อาจจะช่วยจุดประกาย ทางความคิดและสร้างแรงบันดาลใจให้กบั ผูอ้ า่ นได้ เชือ่ ว่าทุกท่านคงเคยได้อา่ นผ่านตากันมาบ้าง แล้วส�ำหรับเคล็ดลับความส�ำเร็จของมหาเศรษฐีระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น โดนัลด์ เจ ทรัมพ์ เจ้าพ่อ อสังหาริมทรัพย์, บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์, โยชิเอกิ ซึซึมิ อดีตมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกชาวญี่ปุ่น และสตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ล บุคคลทีก่ ล่าวถึงข้างต้นนัน้ มีทงั้ ผูท้ เี่ ป็น ผูบ้ กุ เบิกกิจการ (Entrepreneur) และผูท้ เี่ ป็นทายาททาง ธุรกิจ (Descendant of family business) ทุกคนต่างเคยท�ำผิดพลาดโดยที่ความผิดพลาดนั้น เกิดจากตนเองเป็นผู้ก่อ แต่สิ่งนี้กลับท�ำให้เขาเหล่านั้นเดินอย่างระมัดระวังมากขึ้นและมองเห็น จุดบกพร่องของตนเอง ความผิดพลาดทีเ่ กิดขึน้ นัน้ จึงกลายเป็นสิง่ ทีค่ มุ้ ค่าเพราะมันท�ำให้เขาเหล่า นั้นเปลี่ยนแปลง นักปราชญ์ชาวจีน สวินจื่อ เคยกล่าวไว้ว่า “ฟ้าไม่ได้แบ่งคนออกเป็นยอดคนกับปุถุชน ยอดคนจะ ปรากฏขึ้นเสมอ แต่นั่นไม่ใช่เพราะฟ้าก�ำหนด ยอดคนคือผู้ที่มาจากปุถุชนคนธรรมดาแต่เป็นผู้ที่ ได้ผ่านการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว ในความเป็นจริงคนธรรมดาก็เป็นยอดคนได้ แต่ที่เขายังคงเป็น คนธรรมดาอยู่อย่างนั้นก็เพราะเค้าไม่ได้ฝึกฝนและเรียนรู้ที่จะเป็นยอดคน” ค�ำกล่าวข้างต้นนี้เอง ทีเ่ ป็นแรงบันดาลใจให้ MBA Connected by PIM ฉบับนีเ้ ลือกทีจ่ ะน�ำเสนอเรือ่ งราวของนักธุรกิจ หนุม่ รุน่ ใหม่ไฟแรง คุณต๊อบ อิทธิพทั ธ์ พีระเดชาพันธ์ ผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั เถ้าแก่นอ้ ย ฟูด๊ แอนด์มาร์เก็ต ติง้ จ�ำกัด ทีพ่ ลิกผันตัวเองด้วยการเรียนรูจ้ ากความผิดพลาด เก็บเกีย่ วประสบการณ์ ฝึกฝนตนเอง ลองผิดลองถูก จนวันนีก้ ลายมาเป็นนักธุรกิจทีป่ ระสบความส�ำเร็จ เป็นเจ้าของธุรกิจระดับพันล้าน ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงเป็นตัวอย่างที่ดีส�ำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้เอาเป็นแบบอย่าง ส�ำหรับทายาททางธุรกิจนั้นอาจมีข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนที่มีมากกว่าคนอื่น เพราะไม่ต้อง เริ่มต้นการเป็นเจ้าของธุรกิจจากศูนย์ และมีบทเรียนรอบข้างคอยสอน แต่ข้อได้เปรียบนั้นก็ต้อง แลกมาด้วยแรงกดดันที่ต้องดูแลรับผิดชอบและรักษามรดกตกทอดทางธุรกิจให้เติบใหญ่ต่อไป อาจกล่าวได้ว่า ที่มาอย่างไร ไม่ได้บ่งบอกที่ไปของคนๆ นั้น สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตต่างหากที่จะ เป็นตัวกลั่นกรองมุมมองไปเรื่อยๆ และช่วยให้ค้นพบหนทางที่แท้จริงของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ บุกเบิกหรือทายาททางธุรกิจ การที่จะท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จได้นั้น ต่างคนต่างมีวิธีที่ต่าง กัน แต่การท�ำให้ล้มเหลว มีแค่วิธีเดียว ดร.ภญ.ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย บรรณาธิการ


by Bluebearry

9.05.57

ประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “อนาคตของประเทศไทยกับยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจ”

ส�ำนักวิจัยและพัฒนาร่วมกับคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดการประชุมวิชาการปัญญา ภิวัฒน์ ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “อนาคตของประเทศไทยกับยุทธศาสตร์ พืชเศรษฐกิจ” เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2557 ณ หอประชุม ปัญญาภิวัฒน์ โดยกิจกรรมในช่วงเช้าเป็นการน�ำเสนอผลงาน วิชาการในสาขาวิชา จ�ำนวน 7 สาขา ได้แก่ บริหารธุรกิจ วิทยาการ จัดการ นิเทศศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นวั ต กรรมการจั ด การเกษตร ซึ่ง เป็น ผลงานจากอาจารย์ และ นักศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

ช่วงเสวนาในหัวข้อ “2030 วิกฤตพืชพลังงานและพืชอาหารโลก” โดย ดร.พรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ สารสนเทศ (องค์การมหาชน) อ.มนตรี คงตระกูลเทียน รองประธาน กรรมการ กลุม่ ธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และคณบดี คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร PIM และคุณพัชรี คงตระกูล เทียน ประธานคณะทํางาน กกร. ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ภายใต้คณะกรรมการรวมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ช่วงบ่ายเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความสมดุลพืชอาหาร และรองกรรมการ ผูจ้ ดั การอาวุโส สํานักพัฒนาความยัง่ ยืนองค์กร พืชพลังงาน เพือ่ อนาคตของไทย” โดยคุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล เครือเจริญโภคภัณฑ์ รองประธานกรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย และต่อด้วย

4


15.05.57

บรรยายพิเศษหัวข้อ “ข้าวหงษ์ทอง : การสร้างแบรนด์สินค้า ตราหงษ์ทอง” ส�ำนักทรัพยากรมนุษย์ PIM ร่วมกับ ส�ำนักบริหารเครือข่ายทาง ธุรกิจ บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด(มหาชน) จัดโครงการบรรยายพิเศษ Knowledge Sharing ภายใต้โครงการปัญญาพารวย ในหัวข้อ “ข้าวหงษ์ทอง : การสร้างแบรนด์สินค้า ตราหงษ์ทอง” ที่ว่ากัน ว่าการกินข้าวแล้วมีความสุข เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ โดยได้รับ เกียรติจาก คุณโสพรรณ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557

ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ โดยคุณโสพรรณได้ให้ความรู้เรื่อง แนวคิ ด การพั ฒ นานวั ต กรรมเพื่ อ การต่ อ ยอด แนวคิ ด การท� ำ Customer Insight Survey กลยุทธ์การท�ำการตลาด การบริหาร ต้นทุน รวมทั้งโอกาส ความท้าทาย และความเสี่ยงในการท�ำการ ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จนสามารถขยายตลาด และเป็นผู้น�ำตลาด

31.05.57 กิจกรรมปฐมนิเทศและรายงานตัวนักศึกษาใหม่ Panyapiwat MBA ปีการศึกษา 2557 ผ่านไปแล้วกับกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ Panyapiwat MBA ปีการศึกษา 2557 เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พ.ค. 2557 ณ อาคาร All Academy กับการต้อนรับนักศึกษาใหม่จ�ำนวน 103 คน จากทั้ง 3 หลักสูตร ได้แก่ สาขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจค้า ปลีก และการจัดการโลจิสติกส์ และสาขาวิชากลยุทธ์การบริหาร

ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี PIM กล่าวต้อนรับและให้โอวาท จากนั้น จึงเป็นการแนะน�ำข้อมูลต่างๆ เช่น ทุนการศึกษา กฎระเบียบ สิ่ง อ�ำนวยความสะดวก และรูปแบบการเรียนการสอนตลอด 2 ปีจาก คณาจารย์ของหลักสูตร

5


27.03.57 ตอบโจทย์องค์กรธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาคนแบบ “Work-based Learning” ส�ำนักบริหารเครือข่ายทางธุรกิจ บริษทั ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ศูนย์เครือข่ายเยอรมัน และส�ำนักทรัพยากรมนุษย์ PIM ร่วมกับ บริ ษั ท บี เ อเอสเอฟ (ไทย) จ� ำ กั ด และ บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย วิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดโครงการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ ตอบโจทย์องค์กรธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาคนแบบ “Work-based Learning” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 13.00-16.30 น. ณ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ งานนี้ได้รับ เกียรติจากคุณบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต ประธานกรรมการและ

ซีพี ออลล์ มอบทุนปริญญาโทแก่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆ นี้ คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคน ไทย มอบทุ น การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโท (MBA) หลั ก สู ต ร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มูลค่า 500,000 บาท ประจ�ำปีการศึกษา 2557 ให้แก่ สมาคมผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจ โดยมีคุณล�ำยอง ปกป้อง นายกสมาคมฯ และคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ เป็นผู้แทนรับมอบ ณ ปัญญาภิรมย์ สโมสร 6

กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีเอเอสเอฟ (ไทย) จ�ำกัด อ.พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ PIM และ ผศ.ดร. สุ ร เมธ เฉลิ มวิ สุ ต ม์ กุ ล อาจารย์ /นั ก วิ จั ย หลั ก สู ต รวิ ศ วกรรม โทรคมนาคม บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยการเสวนาได้ให้ความรู้ถึงการบูรณาการการศึกษาภาคทฤษฎี เข้าสูภ่ าคปฏิบตั ผิ า่ นความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และแนวโน้มความ เปลีย่ นแปลงรูปแบบการศึกษาในยุค AEC ผ่านกรณีศกึ ษาจากภาค ธุรกิจและการศึกษาเยอรมัน

20.06.57 กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ขององค์กรด้วยระบบ ERP : Enterprise Resource Planning Implementation ศูนย์พัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจ ส�ำนักบริการวิชาการ จัดงาน บรรยายพิเศษหัวข้อ “กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ องค์กรด้วยระบบ ERP” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2557 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ วิทยากรโดยคุณวิโรจน์ ชูโชติถาวร ผูบ้ ริหารประจ�ำส�ำนักอธิการบดี ให้เกียรติมาแชร์ประสบการณ์ของ ท่านในการท�ำและใช้งานระบบ ERP และบอกเล่าถึงความส�ำคัญ อย่างยิง่ ของการมีระบบงานทีด่ ใี นองค์กรทีจ่ ะช่วยเพิม่ ศักยภาพการ แข่งขันได้อย่างยั่งยืน


27.02.57

24.03.57

Pacific Healthcare

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

31.03.57

23.04.57

Andrew Biggs Academy

การประปานครหลวง

24.04.57

30.04.57

Heritage Snacks & Food เบทเตอร์เวย์

เอ็นเอ็นซี โปรดักส์ โรงงานแม่ละมาย 7


เปิดทุกกลยุทธ์ ประสบความส�ำเร็จ แบบฉบับ

“ทางเดินของผม โชคชะตาให้มาเป็นแบบนี้ ผมเลือกที่จะ เอาปัญหามาเปลี่ยนเป็นโอกาสในชีวิต” ประโยคสั้นๆ ที่บ่ง

บอกถึงตัวตนที่ไม่หยุดนิ่งและเผชิญทุกปัญหาด้วยความกล้า จาก บทสัมภาษณ์นักธุรกิจหน้าใสขวัญใจสาวๆ ทั่วประเทศอย่าง ต๊อบ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ นักธุรกิจหนุ่มที่ก้าวสู่เส้นชัยแห่งวงการ ธุรกิจ ด้วยวัยเพียง 20 ปี จากจุดเริม่ ต้นด้วยการเป็นเจ้าของกิจการ ของตัวเอง ไปสูก่ ารเป็นผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั เถ้าแก่นอ้ ย ฟูด๊ แอนด์มาร์เก็ต ติ้ง จ�ำกัด ธุรกิจสาหร่ายทะเลอบกรอบ ภายใต้แบรนด์ “เถ้าแก่ น้อย” ด้วยการฉีกกฎเกณฑ์ตลาดขนมขบเคี้ยวแบบเดิมๆ กับการ วางกลยุทธ์ 4P แบบฉบับที่ไม่เหมือนใคร ท�ำให้ “เถ้าแก่น้อย” ประสบความส�ำเร็จมหาศาล มุง่ สูก่ ารเป็นนักธุรกิจพันล้าน กับสินค้า ประเภทขนมขบเคี้ยวยอดนิยมที่ครองใจคนทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศทั่วโลก และนี่คือเหตุผลที่ต๊อบได้รับ เลือกเข้ามาเป็น Cover Story ในแบบฉบับของผู้ที่สร้างธุรกิจแบบ ครอบครัวด้วยตัวเองที่ประสบความส�ำเร็จอย่างสูงสุดในทุกวันนี้

8


จากตี๋น้อยสู่ “เถ้าแก่น้อย” ต๊อบ อิทธิพทั ธ์ พีระเดชาพันธ์ เริม่ ต้นชีวติ จากการหาเงินได้ดว้ ยตัว เองตั้งแต่อายุ 18 ปี ด้วยการขายของจากเกมส์ออนไลน์ ที่รายได้ ต่อเดือนกว่าสี่แสนบาท แต่ชีวิตมีขึ้นก็ต้องมีลง จากเกมส์ออนไลน์ ที่เคยเฟื่องฟูก็กลับซบเซา บวกกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มย�ำกุ้ง ใน ปี 2540 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักกับธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ของครอบครัว จึงท�ำให้ครอบครัวไม่มีเงินส่งเสียส�ำหรับการเรียน ต่อจนจบปริญญาตรีได้ “ทางเดินของผม โชคชะตาให้มาเป็นแบบ นี้ ผมเลือกเอาปัญหามาเปลี่ยนเป็นโอกาสในชีวิต ผมจึงพยายาม คิดวิธีที่จะช่วยเหลือที่บ้าน ด้วยการท�ำแฟรนไชส์ธุรกิจเกาลัด โดย เริ่มต้นจาก 5 สาขาแรก และเชี่อว่าธุรกิจก�ำลังไปได้สวย หลังจาก นั้นผมจึงตัดสินใจพักการเรียน เพื่อมุ่งท�ำธุรกิจอย่างจริงจัง แต่โชค ชะตาเหมือนจะเล่นตลกกับผมอีกครั้ง ยอดขายเกาลัดตกฮวบจาก ข้อก�ำหนดใหม่ของห้างสรรพสินค้า ทีไ่ ม่ให้มกี ารคัว่ สดและการย้าย ท�ำเลที่ตั้งใหม่ แต่ผมกลับไม่ยอมแพ้ คิดค้นหาวิธีสร้างรายได้เพิ่ม โดยน�ำสาหร่ายอบกรอบมาขายควบคู่กับ เกาลัด แต่ผลที่ได้คือ สาหร่ายกลับมียอด ขายสูงกว่าเกาลัดทีเ่ ป็นสินค้าหลัก จึงท�ำให้ ผมตัดสินใจทิง้ แฟรนไชส์เกาลัด และทุม่ สุด ตัวกับการท�ำธุรกิจสาหร่ายอบกรอบ ภาย ใต้บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด”

ก้าวผ่านทุกปัญหา สู่ธุรกิจพันล้าน บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ� ำกั ด เริ่ ม ก้ า วเข้ าสู่ต ลาดขนมขบเคี้ยว เพราะเห็นช่องทางของสาหร่ายทะเลอบ กรอบในตลาดอาหารว่าง ที่ยังไม่มีคู่แข่งรายใดที่มีการผลิตและ จ�ำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยประสบการณ์ที่มีน้อยของต๊อบ จึงท�ำให้ในช่วงแรกต้องเผชิญกับปัญหามากมาย บวกกับปัญหาใหญ่ อีก 3 ส่วนหลักคือ การขยายตลาดของสินค้า เพราะสินค้าไม่ สามารถเก็บได้นาน รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไม่สวยงาม ไม่สามารถน�ำ มาขายในห้างสรรพสินค้าได้ และสุดท้าย ไม่สามารถส่งขายได้ เนื่องจากขั้นตอนการผลิตในโรงงานไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัญหา ทางการตลาดที่ต้องแก้ หลังจากที่บริษัทเริ่มรู้ปัญหา บริษัทก็เริ่ม ปรับปรุงพัฒนา จนท�ำให้สว่ นขยายทางการตลาดเจริญเติบโตแบบ ไม่หยุดยัง้ ทัง้ ภายในประเทศและพุง่ สูต่ ลาดต่างประเทศครอบคลุม กว่า 30 ประเทศทั่วโลก ในสัดส่วน 50 : 50 และมีแนวโน้มในการ ส่งออกต่างประเทศเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ด้วยเงินรายได้ 20 ล้านบาท ในปีแรก กับการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดกับเงินรายได้กว่า 3,000 ล้านบาทต่อปีในปัจจุบัน

อร่อยดีมีประโยชน์ ครองใจคนทั่วประเทศ “ตอนที่เริ่มท�ำสาหร่าย เป็นการเริ่มท�ำจากความชอบของ ผมเอง เพราะผมมองว่า ในตลาดขนมขบเคี้ยว ผู้บริโภคจะ มองสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยวว่าไม่มีสารอาหารที่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราขายสินค้า ประเภทสาหร่ายแล้ว ความคิดของผู้บริโภคอาจจะเปลี่ยน ไป ด้วยตัวสาหร่ายเองนอกจากจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยัง มีประโยชน์และสามารถเจาะตลาดได้ทกุ เพศทุกวัย บวกกับ ช่วง 10 ปีก่อน เทรนด์ญี่ปุ่นมาแรง ผู้บริโภคส่วนใหญ่มอง อาหารญี่ปุ่นเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและมีประโยชน์ ด้วย ความโชคดีอกี อย่างหนึง่ คือ สาหร่ายเป็นส่วนประกอบส�ำคัญ ในอาหารญี่ปุ่น ท�ำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จดจ�ำอาหารญี่ปุ่น เป็นสินค้าระดับพรีเมียมคุณภาพดีและ มีประโยชน์ จึงเป็นผลพลอยได้ที่ท�ำให้ สาหร่ายขายดีไปด้วย” “ตัง้ แต่ผมท�ำเถ้าแก่นอ้ ยมา ผมแทบไม่ ต้องเหนือ่ ยหรือกังวลเลยในเรือ่ งสินค้า ขายยาก เพราะเหมือนกับว่า สินค้า ขายได้ด้วยตัวสินค้าเอง ซึ่งผมมองว่า ผมมาถูกทางแล้ว”

กระจายสินค้า เจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย

ป่าล้อมเมือง กลยุทธ์ในการกระจายสินค้า ให้ครอบคลุมผู้บริโภคสไตล์เถ้าแก่น้อย “คือผมคิดว่า ป่าน่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านสะดวกซื้อต้องมี สินค้าของเรา” 7-Eleven จึงกลายเป็นเป้าหมายหลักของบริษัท เพราะ 7-Eleven เป็ น ร้ า นสะดวกซื้ อ ที่ มี ส าขามากที่ สุ ด ใน ประเทศไทย และจากนั้นจึงรุกเจาะตลาดเข้าไปในโมเดิร์นเทรด และซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ Family Mart, Watsons, The Malls, Tops, Bic C และอีกมากมาย ท�ำให้ธุรกิจ สาหร่ายอบกรอบได้แจ้งเกิดพร้อมกันทั่วประเทศ และนอกจากนี้ ยังมีการวางกลยุทธ์ซงึ่ เป็นความเชือ่ ของบริษทั เพือ่ ให้เข้าถึงลูกค้า มากยิง่ ขึน้ “ผมเชือ่ อย่างหนึง่ ว่า ในการทีเ่ ราผลิตสินค้าขึน้ มา

เราจะต้องลงไปคลุกคลี พูดคุยกับลูกค้า เดินส�ำรวจตลาด ด้วยตัวเอง หรือแม้กระทัง่ ในการโฆษณาซึง่ ผมตัดสินใจร่วม เอง ในจุดนี้เราต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความความจริงจัง และตั้งใจในการท�ำสินค้า อันนี้คือความเชื่อของบริษัทเรา” 9


กลยุทธ์ สร้างนักธุรกิจหน้าใหม่ สู่เส้นทางแห่งความส�ำเร็จ แบบฉบับเถ้าแก่น้อย “ส�ำหรับผม ผู้ที่จะประสบความส�ำเร็จทางด้าน ธุรกิจได้ ผมมองว่าคุณต้องยึดหลัก 4P ถึงจะประสบความส�ำเร็จ คือ

Passion คือความหลงใหลในงานที่คุณท�ำ

การมีความสุขและสนุกกับงาน สามารถอยู่ กับงานได้เป็นเวลานาน จนกระทั่งรู้รายละเอียดของ งานในส่วนต่างๆ เมื่อคุณรู้รายละเอียดของธุรกิจ คุณ ก็จะรู้แนวการสร้างธุรกิจอย่างไรให้มีความแตกต่าง รู้ ว่าอะไรที่ท�ำน้อยแล้วได้มาก และที่ส�ำคัญคือ คุณ ต้องรู้ตัวเองว่า ตัวคุณเองสามารถทุ่มกับ ธุรกิจได้ระดับไหน ซึ่งส่วนนี้จะช่วย ป้องกันความเสี่ยงในการท�ำธุรกิจ ของคุณด้วย

Product คือตัวสินค้า คุณต้องสร้างหรือค้นหา

Product ขึ้นมาก่อน เพื่อสร้าง Demand ความต้องการในตัวสินค้า และสร้างสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าจริงๆ รวมถึงมองการได้เปรียบทางการตลาด ในตัวสินค้า ซึ่งจะท�ำให้ธุรกิจของคุณไม่ เหนื่อยเกินไป เพราะสินค้าขายได้ ด้วยตัวมันเอง

Partnership คือคุณต้องหา Partnership

ที่มีความแข็งแกร่งและมีความได้เปรียบ ในธุรกิจที่คุณจะสร้าง ซึ่ง Partnership จะเป็นส่วนส�ำคัญมากในการผลักดัน ให้ธุรกิจของคุณเจริญเติบโตได้ อย่างรวดเร็ว 10

People คนคือหัวใจหลักในการประกอบธุรกิจ

คุณต้องคัดเลือกบุคคลที่ร่วมสร้าง Vision ที่ดีในองค์กร รวมถึงเป็นคนที่มองไปในทิศทาง เดียวกันและพร้อมเดินหน้าธุรกิจไปด้วยกัน ซึ่งถ้านักธุรกิจรุ่นใหม่สามารถยึดหลัก 4P ที่ผมบอกไปได้ ผมมั่นใจได้เลยว่า เขาจะต้องประสบความส�ำเร็จ แบบผมแน่นอน”



คุณไปรเทพ ซอโสตถิกุล

กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีคอน

โครงการที่ ไม่ล้มเหลว การสร้าง ความเข้มแข็งของธุรกิจ ณ วันนี้ หลายคนคงต้องหันกลับมามองที่ ตนเองบ้างว่า กระบวนการภายในขององค์กรของเรามี ประสิทธิภาพและตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีเพียงพอหรือยัง? การสร้างอะไรใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อน�ำไปสู่ ผลลัพธ์สองเรื่องข้างต้น ท�ำให้หัวหน้าหรือบุคลากรมี โครงการ (Project) ล้นมือเป็นแน่ แล้วจะท�ำอย่างไรให้ โครงการที่หมายมั่นปั้นมือนั้นไม่ล้มเหลว MBA Connected ขอน�ำเสนออีกหนึ่งมุมมองสนุกๆ ผ่าน ประสบการณ์ของนักบริหารโครงการมือดีท่านนี้ คุณไปรเทพ ซอโสตถิกุล กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ซีคอน ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ที่นั่งแท่นบริหาร ธุรกิจครอบครัวอีกด้วย

ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในการ บริหารโครงการ ท�ำให้มเี พือ่ นๆ ถามผมเป็นประจ�ำว่า งานโครงการ (Project) กับ งานทีไ่ ม่ใช่โครงการ (Non-project) ต่างกันอย่างไร? ผมก็ตอบเชิงเล่นเชิงจริงว่า งานที่ช่วยแฟนของฉันนะ คือโครงการ ส่วนงานทีช่ ว่ ยสามี/ภรรยาของฉันส�ำหรับผมนัน้ ไม่ใช่โครงการ แล้ว โครงการคืออะไร? ท่านผูอ้ า่ นลองพิจารณาจากนิยามของโครงการ ทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้

แต่เมือ่ เป็นสามี-ภรรยากันแล้วอยูก่ นั ไปนานๆ คูค่ รองส่วนมากก็จะ เริ่มขาดบางข้อใน 3 ข้อนี้ไป ดังนั้นในมุมมองของนักบริหาร โครงการ เมื่อขาดข้อใดข้อหนึ่งไปจะไม่ถือว่ างานนั้นเป็นงาน โครงการ

ค�ำถามต่อไปของเพื่อนผมก็คือ แล้วมีเกร็ดดีๆ ง่ายๆ อะไรบ้างที่จะ ท�ำให้โครงการไม่ลม้ เหลว? (หรือใจจริงอาจอยากถามว่า มีเกร็ดดีๆ อะไรบ้างที่ท�ำให้จีบแฟนส�ำเร็จ?) ค�ำตอบของผมก็คือ การบริหาร 1.เป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น คนเป็นแฟนกันก็ต้องมีเป้าหมายว่าจะ ความเสีย่ งหรือการลดความเสีย่ ง ในมุมมองของผมต้องเริม่ ท�ำก่อน ได้แต่งงานกับแฟน) ทีจ่ ะมีการอนุมตั โิ ครงการ ทีส่ ำ� คัญผูเ้ กีย่ วข้องต้องตอบค�ำถามเหล่า 2.กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน (ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมต่างๆ ที่ นี้ให้ได้ ท�ำร่วมกันก่อนที่จะแต่งงาน) 3.มีจุดเริ่มและจบ (เปรียบได้ถึงการเริ่มจีบกัน และปลายทาง ระหว่างเราคือหวังว่าจะได้แต่งงานกันนั่นเอง) มีขั้นตอนอย่างไร โครงการนี้ ในการท�ำ มีราคาเท่าไร โครงการนี้

How?

What?

12

โครงการนี้ เกี่ยวกับอะไร

Why?

ท�ำไม เราถึงอยากท�ำ โครงการนี้

How much?


เมื่อเพื่อนๆ เหล่านั้นฟังจบ..ก็จะบ่นว่า กว่าจะท�ำสี่หัวข้อที่กล่าวนั้นมันจะเสียเวลาเกินไป ไม่อยากยืดยาด แล้วมีเกร็ดอะไรดีๆ อีกที่ สามารถท�ำได้ในขณะปฏิบัติโครงการได้เลย หรือช่วยให้โครงการไม่ล้มเหลว? มาถึงตรงนี้ผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องเล่าเชิงเปรียบเทียบถึง ภาพยนตร์ที่มีพระเอกอย่าง Mr.007 ผู้ที่มีภารกิจไปช่วยนางเอกที่โดนผู้ร้ายลักพาตัวไปขังไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง สังเกตว่า Mr.007 ไม่เคย หลงทาง และไม่เคยท�ำภารกิจล้มเหลว ถ้าอธิบายเหตุผลในแบบนักบริหารโครงการ ก็มองว่าการที่พระเอกจะไปช่วยนางเอกถือเป็น โครงการแบบหนึ่ง เพราะมีทั้ง 3 ข้อที่กล่าวไปเบื้องต้นครบ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง หลังจากสืบได้แล้วว่านางเอกโดนขังไว้ที่ใด Mr.007 ก็จะต้องศึกษาแผนที่ของเมืองหรือสถานที่ที่กักขังนางเอกก่อนออกเดินทางแน่นอน เช่น ถ้า Mr.007 ต้องมาที่ประเทศไทยเพื่อช่วย นางเอกและไม่เคยเดินทางมาประเทศไทยมาก่อน แต่ต้องขับรถไปช่วยนางเอกที่โดนขังไว้บนถนนแจ้งวัฒนะ ดังรูป PIM

>>>

ที่กักขัง

ถนนแจ้งวัฒนะ

ซีคอน

>>>

เพื่อลดความเสี่ยงที่จะขับรถเลยพิกัดสถานที่กักขังตัวนางเอก Mr.007 ควรจะศึกษาและมีขอ้ มูลไว้ในใจว่า ถ้าขับผ่านตึกของ PIM แล้วก็ต้อง “เตรียมหยุดรถ” และถ้าหากขับรถไปจนถึงส�ำนักงาน ซีคอนแล้ว นัน่ ก็แปลว่า Mr.007 ได้ขบั เลยสถานทีก่ กั ขังมาแล้ว ขัน้ ตอนต่อไปก็คือ ต้องแก้ไขปัญหาด้วยการกลับรถ ดังนั้นจะเห็นได้ ว่า ตึก PIM ในที่นี้ก็คือ จุดลดความเสี่ยงที่จะขับเลย (เรียกว่า Preventive) และส�ำนักงานซีคอนคือจุดทีจ่ ะต้องน�ำแผนส�ำรองมา ใช้ (เรียกว่า Contingent) การบริหารความเสี่ยงแบบนี้เป็นตัวอย่างหรือขั้นตอนหนึ่งในอีก หลายๆ ขัน้ ตอนทีค่ วรเขียนไว้ให้ชดั เจนในแผนโครงการในส่วนของ “อย่างไร หรือ How?” นั่นเอง จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า หาก Mr.007 ไม่ท�ำการบ้านหรือศึกษา เส้นทางมาก่อน แม้จะขับรถได้ช�ำนาญคล่องแคล่วแค่ไหน ก็คงไป ถึงพิกัดที่หมายไม่ส�ำเร็จ ตามผลการค้นคว้าในเรื่องการบริหาร โครงการนั้นพบว่า เกร็ดดีๆ ที่เราจะพบในระหว่างขณะปฏิบัติการ โครงการนัน้ หาได้ยาก แต่เกร็ดดีๆ ทีช่ ว่ ยให้โครงการไม่ลม้ เหลวนัน้ มีมากมายและหาได้ง่ายกว่าเมื่อท�ำก่อนเริ่มปฏิบัติการโครงการ ฉะนัน้ ผมคงสรุปง่ายๆ ว่า หากเราไม่อยากให้โครงการล้มเหลว ควร มีการ “ลดความเสี่ยง” คือเราต้องท�ำการบ้านแบบเข้มข้น โดยน�ำ ขั้นตอนต่างๆ ของการบริหารโครงการมาพิจารณาตั้งแต่ก่อนเริ่ม ภาคปฏิบัติ เมื่อผู้เกี่ยวข้องได้ค�ำนึงถึง อะไร ท�ำไม อย่างไร เท่าไร ของโครงการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหญ่ๆ ไปจนถึงเล็กๆ หรือ แม้กระทัง่ โครงการจีบแฟนให้สำ� เร็จของเพือ่ นผม ก็คงไม่เสีย่ งทีจ่ ะ ล้มเหลวอย่างแน่นอนครับ 13


กลุ่มบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์

HALAL LOGISTICS FOR CONTAINERIZATION “โลจิสติกส์กับมาตรฐานฮาลาลปลอดภัย”

ชาวไทยพุทธทัว่ ๆ ไป หากคิดจะรับประทานอะไรสักอย่างก็คงนึกถึง และมองหาเพียงแค่ป้ายหรือโลโก้เชลล์ชวนชิมที่ติดอยู่หน้าร้าน หรือบนซอง Packaging ของผลิตภัณฑ์อาหารนัน้ ๆ แต่ถา้ หากเป็น ชาวไทยมุสลิมคงจะต้องมองหาตรา “ฮาลาล” เพิ่มขึ้นอีกด้วย ผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านีม้ กี ารเดินทางทีน่ า่ สนใจอย่างยิง่ ก่อนจะมา ถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ “ฮาลาล” เป็นค�ำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจ�ำหน่ายใดๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของ ศาสนา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหาร ที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการท�ำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง ปัจจุบันหลายประเทศได้ให้ความสนใจ ในการขยายตลาดสินค้าฮาลาลอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นตลาด เฉพาะที่มีศักยภาพในการขยายตัวสูง อีกทั้งประชากรชาวมุสลิมที่ มีมากกว่า 1,900 ล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคนั้นท�ำให้ มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ.2568 ชาวมุสลิมจะมีสัดส่วน ประมาณ 30% ของประชากรโลก และจากการที่ประชากรชาว มุสลิมจะมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นนี้ ท�ำให้ตลาดสินค้าฮาลาลทั้งที่เป็น อาหารและไม่ใช่อาหาร ตั้งแต่เครื่องส�ำอาง เครื่องดื่ม ซอสปรุงรส น�ำ้ ผลไม้ เสือ้ ผ้า กลายเป็นตลาดเนือ้ หอมทีห่ ลายๆ ประเทศให้ความ สนใจในขณะนี้ ส�ำหรับประเทศไทย ทางรัฐบาลเองก็ได้ให้ความ ส�ำคัญกับตลาดสินค้าฮาลาล จึงได้มีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริม การส่งออกสินค้าฮาลาล ตลอดจนเร่งสร้างเครือ่ งหมายฮาลาลของ ไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก รวมถึงยังให้ความส�ำคัญในการ เร่งพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพือ่ ให้สามารถแข่งขัน ในตลาดได้ 14

จากการที่ไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้ าอาหารที่ส�ำคัญ รัฐบาลจึงมีความมุง่ หวังทีจ่ ะให้ไทยเป็นประเทศครัวโลก โดยมีการ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนให้ความส�ำคัญกับตลาดอาหารฮาลาลมาก ขึ้น เนื่องจากอาหารฮาลาลเป็นอาหารที่ชาวมุสลิมหรือผู้ที่นับถือ ศาสนาอิสลามบริโภค ซึ่งในปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาลในโลกมี มูลค่ากว่า 580,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส�ำหรับในประเทศไทย การ ส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ของฮาลาลเริ่มมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นที่รู้จักในประเทศมุสลิม และเพื่อเตรียมความพร้อม การขยายตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าฮาลาลในตลาดโลก เรา จึงจ�ำเป็นต้องเร่งผลักดันให้มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฮาลาลที่ ได้มาตรฐานควบคู่กันไป เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพใน การขนส่งสินค้าฮาลาล


ส�ำหรับในส่วนของการขนส่งผลิตภัณฑ์สินค้าฮาลาลนั้นจะมี ความเข้มงวดมากกว่าสินค้าอื่นๆ นอกจากสินค้าฮาลาลจะต้อง ผ่านการผลิตที่ถูกต้องตามกฎบัญญัติแล้ว สิ่งจ�ำเป็นอีกประการ หนึง่ คือ ขัน้ ตอนการขนส่งสินค้าผ่านระบบ “โลจิสติกส์” (Logistics) ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ผ่านตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การบรรจุหีบห่อ การขนส่งไปในเส้นทางต่างๆ ทั้งทางบก เรือ อากาศ การเก็บรักษา การกระจายสินค้า ตลอดจนการจัด จ�ำหน่าย สภาพความเป็นสินค้าฮาลาลจะต้องได้รบั การรักษาไว้ จนถึงมือผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เอง “โลจิสติกส์ฮาลาล” (Halal logistics) จึงได้รับความสนใจมากขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นอีกหนึ่ง มาตรฐานฮาลาลปลอดภัย โดยสิง่ ส�ำคัญในฮาลาลโลจิสติกส์ ทีค่ วร ค�ำนึงถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาล คือต้องมีการแยกออกจากผลิตภัณฑ์ที่ ไม่ฮาลาล เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจาก “นะญิส” ซึ่งก็คือสิ่ง โสโครกปฏิกูล เช่น โลหิต น�้ำเหลือง น�้ำหนอง อาเจียน สุนัข สุกร ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ บริโภคที่เป็นมุสลิม ซึ่งหมายถึงการจัดเก็บการขนส่ง การจัดการ ผลิตภัณฑ์ฮาลาลทีด่ แี ละเหมาะสม รวมทัง้ ความซือ่ สัตย์ของเจ้าของ แบรนด์ที่ไม่น�ำสินค้าฮาลาลมาปนเปื้อนกับสินค้าไม่ฮาลาลซึ่งมี นะญิสปนเปื้อนอยู่ ทั้งยังต้องครอบคลุมกับการจัดหาและการจัด จ�ำหน่ายสินค้าทีส่ อดคล้องกับมาตรฐานของฮาลาลเข้าด้วยกันอีกด้วย

บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จ�ำกัด ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ การได้การรับรองมาตรฐานฮาลาลในขัน้ ตอนการขนส่งสินค้าไปยัง กลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งมีอัตราการการส่งออกปีละเกือบ 25,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการได้ รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล ทางบริษัทฯ จึงได้เข้าร่วม โครงการกับศูนย์วทิ ยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึง่ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านวิชาการและให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับฮาลาล มาให้ค�ำแนะน�ำในการวางระบบการจัดการ รวม ถึงมาบรรยายให้ความรูเ้ กีย่ วกับมาตรฐานฮาลาลและให้คำ� ปรึกษา ที่ถูกต้องให้กับทางบริษัทฯ ปัจจุบนั ทางบริษทั ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จ�ำกัด ได้รบั การรับรอง ระบบบริหารจัดการเพื่อการจัดเตรียมอาหารฮาลาลปลอดภัย (HAL-Q) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากสามารถวางระบบและจัด ท�ำแผนงาน รวมถึงปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และนับ เป็นรายแรกของบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ได้รับการรับรอง ระบบบริหารจัดการเพื่อการจัดเตรียมอาหารฮาลาลปลอดภัย (HAL-Q) ในส่วนของบริการท�ำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ด้วย สบูด่ นิ ทัง้ นี้ บริการท�ำความสะอาดตูค้ อนเทนเนอร์ทใี่ ช้ในการขนส่ง สินค้าฮาลาลด้วยสบูด่ นิ นีม้ คี วามส�ำคัญมากส�ำหรับผูส้ ง่ ออกอาหาร ไปยังทุกประเทศที่เป็นมุสลิม โดยเฉพาะสินค้าฮาลาลประเภท อาหาร เนื่องจากเป็นการรับประกันคุณภาพอาหารฮาลาลให้กับผู้ ซื้อของพวกเขา ให้มั่นใจในกระบวนการของการผลิตตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงกระบวนการโลจิสติกส์ไปยังผู้ซื้อปลายทาง ซึ่งถือเป็นหลัก ส�ำคัญในการขนย้ายหรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปยังกลุ่ม ประเทศมุสลิม อีกทั้ง การรักษาอุปกรณ์ในการขนส่งสินค้าฮาลาล ให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนอุปกรณ์ตา่ งๆ ต้องไม่ ปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนาเช่นกัน จากการที่ ท างกลุ ่ ม บริ ษั ท ลี โ อ โกลบอล โลจิ ส ติ ก ส์ ได้ รั บ ประกาศนียบัตรรับรอง HAL-Q ในครั้งนี้ จึงเป็นการตอกย�้ำได้ว่า กลุ่มบริษัทฯ สามารถให้บริการได้ครอบคลุมกับทุกความต้องการ ของลูกค้า และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้มี มาตรฐานสากล สมกับที่เป็น The Smart Logistics Solution ที่ สามารถรองรับและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่าง ครอบคลุมและครบวงจร

Data Source: สถาบันมาตราฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย http://www.halal.or.th/ http://www.acfs.go.th/

15


ดร.เลิศชัย สุธรรมนนท์

ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา และผู้อำ�นวยการหลักสูตร MBA S-HRM

ความท้าทายของ SMEs ไทย ในการบริหารคนและบริหารทีมงาน

ธุรกิจ SMEs หรือ Small and Medium Enterprises หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจทีเ่ ป็นอิสระ มีเอกชนมาเป็นเจ้าของ ด�ำเนินการโดยเจ้าของเอง มีตน้ ทุนในการด�ำเนินการต�ำ่ และมีพนักงานจ�ำนวนไม่มากนัก ใน ปัจจุบันมีความส�ำคัญและมีบทบาทต่อเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2558 ไทยร่วมอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนหรือ AEC

ความส�ำคัญของ ธุรกิจ SMEs ต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน การก้าวเข้าสูก่ ารเป็น AEC ท�ำให้การท�ำธุรกิจ SMEs ในปัจจุบนั ไม่ใช่แค่เล็กๆ ในท้องถิน่ อีกต่อไป แต่ตอ้ งพร้อมรับมือ ในการแข่งขันธุรกิจกับนานาชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ ความจริงแล้ว SMEs มีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่าง มาก คือเป็นแหล่งสร้างงานแหล่งใหญ่ เศรษฐกิจจะมั่นคงหรือไม่ ต้องอาศัยธุรกิจ SMEs เหล่านี้ แล้วในโลกธุรกิจ ธุรกิจ SMEs ก็จะไป plug in กับธุรกิจใหญ่ในบางเรื่อง เช่น รับเป็นโลจิสติกส์ให้ เป็นคลังสินค้าให้ หรือขายวัตถุดิบ บางอย่างให้ เพราะฉะนั้นธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้กับธุรกิจใหญ่นั้นผูกพันกันจนแยกไม่ออก

AEC กระตุ้นการแข่งขัน SMEs สู่นานาชาติ ปัจจุบันการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการท�ำธุรกิจในยุคนี้อย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการบริโภค การเติบโตทางธุรกิจ และ AEC ที่ก�ำลังมา ท�ำให้รูปแบบธุรกิจเป็นการแข่งขันแบบนานาชาติ SMEs ขนาดอาจจะเล็ก แต่การให้บริการเป็นระดับนานาชาติ ตอนนี้ไม่ใช่แค่แข่งขันระดับต�ำบลหรือจังหวัดอีกต่อไปแล้ว ขนาดอาจจะเล็ก แต่มาตรฐานต้องเป็นระดับชาติ เราอาจมีลูกค้าเป็นต่างชาติมากขึ้น

ความท้าทายของ SMEs ในการบริหารคน ปัญหาส�ำคัญของธุรกิจก็คือเรื่องของคน หากมีปัญหามากๆ ในการจัดการคน ก็เป็นตัวแปรส�ำคัญต่อความเจริญ ก้าวหน้าของธุรกิจอย่างมาก ปกติเจ้าของ SMEs มักเก่งเรือ่ งของการตลาด เก่งผลิต เก่งเรือ่ งบริการ ถึงได้กอ่ ร่างสร้าง ตัวได้ แต่ที่ขาดอยู่คือทักษะการบริหารจัดการ รวมถึงการจัดการเรื่องคน ด้วยความเป็น SME ก็ยากในการดึงคนที่ มีความสามารถเข้ามาท�ำงาน ในขณะที่ SMEs ต้องการคนเก่งๆ เข้ามาท�ำงาน แล้วถึงมีคนเก่งๆ ร่วมงาน ก็รักษาไว้ ได้ยากมากๆ

วิธีการบริหารคน เจ้าของ SMEs นอกจากทักษะในเรื่องการตลาด การผลิต การบริการที่มีอยู่แล้ว ถึงเวลาแล้วที่ต้องมาเรียนรู้เรื่องการ บริหารจัดการคนหรือทีมงาน ซึ่งมีอยู่ 5 เรื่องใหญ่ๆ 16


1. (Recruitment) การสรรหาและการคัดเลือกคน

3.(Performance การบริหารผลงานและการพัฒนา 5. การจัดการความรู้ Development) (Knowledge Management)

ด้วยการที่ SMEs ต้องการคนเก่งๆ เข้ามา ท�ำงาน SMEs ต้องสามารถสร้างแบรนด์ให้ เป็นที่รู้จักขึ้นมาได้ ในสังคมไทยเรามีความ สัมพันธ์แบบ connection มีเพือ่ นพ้องน้อง พี่ Internal Employer Brand ในความ หมายนี้ก็คือ คุณภาพสร้างการท�ำงานให้มี ความสุข ให้คนบอกต่อ ให้ชวนญาติมา ท�ำงานด้วย ไม่ใช่แค่ขายของอย่างเดียว เพราะส�ำหรับคนรุ่นใหม่ บางครั้งไม่จ�ำเป็น ต้องเป็นองค์กรทีใ่ หญ่ แต่เป็นองค์กรทีท่ ำ� ดี ให้สงั คม ก็จะท�ำให้คนอยากมาร่วมงานด้วย ได้ ส่วนการใช้ Social Media ให้มากๆ จะ ได้ดึงคนในรุ่นเจนวาย (Gen Y) เข้าท�ำงาน อีกทั้งต้องมีเครื่องมือที่คัดเลือกคน คุณก็ ต้องมีความรู้ว่าจะสัมภาษณ์คนยังไง ซึ่งมี ศาสตร์มีวิธีการของมัน”

เมือ่ มีคนท�ำงานแล้ว การพัฒนาคนก็เป็นสิง่ ส�ำคัญต่อธุรกิจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา การเตรียมคนให้พร้อมเป็นสิ่ง ส�ำคัญ บางธุรกิจคิดว่าการพัฒนาคนเป็น ภาระ เป็นการลงทุนสูง เพราะแต่ก่อนเรา แยกส่ ว นการท� ำ งานให้ มี ผ ลงานกั บ การ พัฒนา คือการจัดเทรนนิ่งในระหว่างการ ท�ำงานมักคิดกันว่าท�ำให้เสียงาน เสียรายได้ เสียโอกาส จริงๆ ต้องมองการท�ำงานและ การพั ฒ นาคนเป็ น เรื่ อ งเดี ย วกั น ต้ อ งมี โปรแกรมพัฒนาที่ไม่แยกจากการท�ำงาน อย่างสิน้ เชิง มันควรจะเป็นเนือ้ เดียวกันด้วย อย่ า งเข้ า มาท� ำ งานวั น แรกก็ ค วรมี ก าร ปฐมนิเทศให้เขารูจ้ กั องค์กร รูจ้ กั ตัวเรา แล้ว มีโปรแกรมทีต่ อ่ เนือ่ ง ในระหว่างการท�ำงาน ก็มีพี่เลี้ยงสอนงานประจ�ำตัวเขา เพื่อให้ ปรับตัวเข้ากับ SMEs ได้ แล้วในการท�ำงาน ให้เขามีอำ� นาจตัดสินใจตามพัฒนาการของ วิธีการจูงใจคน (Motivation) เขา อ� ำ นาจการตั ด สิ น ใจสอดคล้ อ งกั บ แน่นอนว่าแรงจูงใจที่ส�ำคัญก็คือ ค่าตอบ ต�ำแหน่งและความสามารถ ไม่ใช่การตัดสิน แทน การสร้ า งค่ า ตอบแทนที่ มี ร ะบบ ใจไปอยู่ที่เจ้าของคนเดียวทุกอย่าง บรรยากาศการท�ำงานและสถานทีท่ ำ� งานที่ ดี บ่อยครั้งที่เจ้าของ SMEs ละเลยในบาง การรักษาคน (Retention) เรื่องที่ส�ำคัญ เช่น ระบบของการท�ำค่า ตอบแทน เพราะค่าตอบแทนเป็นทุนก้อน การย้ายเข้าย้ายออกของบุคลากรเกิดขึ้น ใหญ่ที่ธุรกิจต้องแบกรับ การท�ำค่าจ้างต้อง บ่อยมากในองค์กร คนเก่ง คนที่มีแวว เรา เป็นระบบ มีโครงสร้างและวิธีการอยู่ ซึ่ง อาจจะสูญเสียเขาไปหรือกลายเป็นคูแ่ ข่งเรา ตรงนี้เรียนรู้ได้ไม่ยากแต่ต้องท�ำ เมื่อเรามี ในอนาคต เราหาวิธีการจัดการยังไงดี บาง เงินไม่มากแต่จ่ายผิดที่ ผิดคน ผิดเวลา ธุรกิจสามารถขยายสาขาของเขาเองได้ จด แทนทีจ่ ะได้จา่ ยคนเก่ง กลายเป็นจ่ายคนไม่ ทะเบียนตัง้ บริษทั ใหม่ในเครือเดียวกัน โดย เก่ง เวลาบริหารค่าตอบแทนต้องอิงตามผล ให้คนเก่งก้าวขึน้ มาดูแลสาขาหรือตัง้ บริษทั งานให้มาก ก็คอื ต้องมีระบบประเมินผลงาน ใหม่ในเครือเดียวกัน ส่วนเจ้าของกลายเป็น อาจจะมีการจ่ายค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น แต่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ลูก ต้ อ งผู ก กั บ ผลประกอบการอย่ า งชั ด เจน น้อง ที่เก่งๆ ก็ขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการ นอกจากเรื่ อ งของเงิ น แล้ ว การสร้ า ง เพราะบางคนมีทักษะความสามารถในการ วัฒนธรรมการท�ำงาน สร้างได้โดยเจ้าของ ท�ำงาน แต่ถ้าเราไม่มีเวทีให้เขาโต อยู่ใน ธุรกิจนั้นเอง ซึ่งสามารถดึงคนที่เป็นคน องค์กรไม่ได้แล้ว เขาอาจต้องออกไป เรา เก่งๆ อยู่กับองค์กรได้ ต้องหาเวทีใหม่ให้เล่น เติมความสามารถใน การจัดการให้เขา วิธีการเติบโตแบบเครือ ข่ายแบบนี้จะท�ำให้ธุรกิจของเราเข้มแข็ง

2.

4.

เราไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น สูตรลับ เคล็ ด ลั บ ที่ เ ป็ น จุ ด เด่ น ของสิ น ค้ า จะต้ อ ง จัดการอย่างไร การจัดการความรูถ้ อื เป็นสิง่ ส�ำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารคน เราต้อง วิเคราะห์ให้ดีว่า อะไรคือความรู้ของ Core Business ของเรา เช่น ในการท�ำขนม สูตร การท�ำขนมเหล่านี้แยกเป็นส่วน แบ่งเป็น 2-3 คนดูแล แล้วมารวมกันได้ขนม 1 อย่าง ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ลกู น้องรู้ แต่ให้รใู้ น ภาคส่วนทีเ่ ราควบคุมได้ เมือ่ วันหนึง่ เขาเป็น บริษทั ย่อยของเรา เขาค่อยรูท้ งั้ หมด เพราะ ผูกพันด้วยการถือหุน้ แล้ว เจ้าของธุรกิจต้อง พัฒนาตัวเองตลอดเวลาเช่นกัน เจ้าของต้อง เรียนรู้มากขึ้น นอกจากเป็น CEO แล้วต้อง เป็น CPO (Chief People Officer) ด้วย ในการแสวงหาความรู้เรื่องคน เรื่องการ จัดการ พัฒนาหัวหน้างานให้มคี วามเป็นผูน้ ำ� แล้วเมื่อองค์กรโตขึ้น ใหญ่ขึ้น ต้องสร้าง ระบบใหม่ ต้องพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐาน เพือ่ ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่ ยั่งยืน ขอขอบคุณข้อมูล จากนิตยสารเปิดร้าน ฉบับที่ 58 เดือนมีนาคม 2557

17


by AngieMamy MBA Connected ฉบับนี้ ว่ากันด้วยเรือ่ งของการท�ำธุรกิจครอบครัว หรือ Family Business ให้เติบโตและยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างใน การบริหารจัดการธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้วา่ สิง่ หนึง่ ทีส่ ำ� คัญ และมีอิทธิพลสูงมากต่อการก้าวย่างของธุรกิจ นั่นก็คือหัวเรือใหญ่ของ องค์กร ซึ่งมักรับบทบาทเป็นทั้งเจ้าของ ผู้บริหารสูงสุด หรือเจ้านายของ ลูกน้องนับสิบนับร้อย แต่การจะน�ำพาเรือใหญ่ลอยล�ำข้ามมหาสมุทรอัน เชีย่ วกรากคงไม่ใช่เรือ่ งง่าย ด้านหนึง่ ของหัวเรือใหญ่กค็ อื การเล่นบทบาท ของ “หัวหน้าคน” Believe it or Not ในฉบับนี้ จึงขอน�ำเกร็ดความรู้ที่ น่าสนใจอย่างยิ่งผ่านประสบการณ์ของหัวเรือใหญ่ของกลุ่มธุรกิจซีพี ออลล์ ที่ว่าด้วยเรื่องของเทคนิคการเป็นหัวหน้าที่ดี โดยขอคัดลอก บทความของคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ ที่ท่านได้พูดถึง การเป็นโค้ชและการชมเชยทีมงานค่ะ คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

ว่าด้วยการเป็นโค้ชและการชมเชย

ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์

การเป็นโค้ชในการท�ำงานที่เรียกกันว่า “Business Coaching” นัน้ จะต่างจากการเป็นโค้ชในวงการกีฬาอย่างมาก เพราะไม่ใช่การ สอนเทคนิคและควบคุมการฝึกฝน แต่เป็นการรับฟังปัญหาหรือ ประเด็นต่างๆ ของลูกทีม แล้วกระตุ้นให้เขาคิดวิเคราะห์หลาก หลายแง่มมุ จนค้นพบค�ำตอบได้ดว้ ยตัวเอง ในขณะทีผ่ บู้ งั คับบัญชา โดยทัว่ ไป ไม่มคี วามอดทนเพียงพอทีจ่ ะรับฟังเรือ่ งราวให้ครบถ้วน และเข้ า ใจในสถานการณ์ อ ย่ า งกระจ่ า งแจ้ ง เท่ า กั บ ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ น เหตุการณ์ แต่ชอบที่จะตัดบทแล้วก็ออกค�ำสั่งตามใจนาย ซึ่ง เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่รอบคอบและขาดประสิทธิภาพ

นี่แหละคือ “Business Coaching” ซึ่งจะเป็นคนละเรื่องกับการ ให้คำ� ปรึกษาทัว่ ไป การโค้ชชิง่ (Coaching) จะไม่ให้คำ� แนะน�ำอะไร เลย

ผมซักถามต่อว่า รักผู้หญิงคนนี้มากแค่ไหน หรือสวยแค่ไหนเมื่อ เทียบกับคนนั้นคนนี้ ค�ำตอบที่ได้คือ ก็ไม่เท่าไหร่ เมื่อถามว่าเธอมี จุดเด่นอะไรถึงท�ำให้หลงใหลได้ขนาดนี้ รักเธอที่ตรงไหนกันแน่ ก็ ตอบไม่ได้สาระเป็นชิ้นเป็นอัน

ฟังก็คงจะหน้างอเป็นหมากรุก

ผมซึ่งเป็นหัวหน้า ถ้าใช้วิธีแบบเก่าๆ ก็คือต้องรีบแสดงภูมิรู้ ให้ค�ำ สัง่ สอนจิปาถะ ต้องจีบอย่างนัน้ อย่างนี้ ท�ำไมไม่ทำ� อย่างนัน้ อย่างนี้ สุดท้ายก็ไม่ได้เรือ่ งได้ราวอะไร นีเ่ ป็นตัวอย่างคลาสสิคของจริงทีจ่ ะ เปรียบเทียบให้เห็นว่า การ Coaching นัน้ ถูกต้องและได้ผลดีกว่า การตะบีต้ ะบันออกค�ำสัง่ อยูฝ่ า่ ยเดียว ในการโค้ชชิง่ โดยการรับฟัง ปัญหา จะให้ได้ผลดีก็ควรต้องรู้จักให้ก�ำลังใจทีมงานด้วย ถ้าเขามี ผมนึกถึงเรื่องเมื่อสมัยนานมาแล้ว ที่ผมเริ่มเข้ามาท�ำงานในเครือ เรื่องดีๆ ที่น่าชมเชย เราก็อย่าขี้เหนียวน�้ำลายที่จะกล่าวค�ำ เจริญโภคภัณฑ์ มีลกู น้องคนหนึง่ เพิง่ อกหักมาอย่างสาหัส เจ็บปวด ชมเชยจากใจจริง ปานจะขาดใจตายอยูน่ านเป็นสัปดาห์ ผมจึงกระตุน้ ให้เค้าคุยให้ฟงั ในชีวติ ประจ�ำวัน ถ้าเราทักใครว่าวันนีแ้ ต่งตัวดีนะ หน้าตาสดชืน่ จัง ว่า ผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร เรียนที่ไหน รู้จักกันได้อย่างไร ท�ำให้ผม นะ ถูกรางวัลที่หนึ่งมาเหรอ ผู้ฟังก็มักจะหน้าบาน อย่าไปบอกว่า ทราบว่าทั้งคู่เป็นเพื่อนบ้านกัน หน้าตาซึมเซา คิดมาก นอนไม่หลับเพราะถูกแฟนทิ้งมาเหรอ คน การชมเชยในสิ่งที่เป็นจริง เรียกว่า “Recognition” แต่การ ชมเชยทีไ่ ม่เป็นความจริง ชมเชยส่งเดช เรียกว่า “ประจบ” แถม ถ้าไปพูดกับผู้บังคับบัญชา ยกยอในเรื่องที่ไม่จริงก็ต้องเรียกว่า ในที่สุดเขาก็ตอบตัวเองได้ว่า ที่จริงแล้วเขาไม่ได้รักเธอมากมาย “สอพลอ” เหมือนทีพ่ ร�ำ่ พรรณนา แต่ประเด็นส�ำคัญคือ ไม่อยากรับความพ่าย ทั้ง “Business Coaching และ Recognition” เป็นสองปัจจัย แพ้ ไม่อยากเสียเชิงชายขายหน้าคนอืน่ เมือ่ ได้คำ� ตอบทีแ่ ท้จริงแล้ว ส�ำคัญในหลายๆ ปัจจัยทีจ่ ะก่อให้เกิด Harmony อันเป็นเป้าหมาย เขาก็โล่งอก ไม่ต้องจมปลักอยู่กับความรู้สึกที่ทึกทักเอาเองว่า ทีจ่ ะช่วยสร้างให้ทที่ ำ� งานเป็นสถานทีแ่ ห่งความสุข ทีพ่ นักงานอยาก “อกหัก” อีกต่อไป จะมาท�ำงานกัน เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดีให้เกิดขึ้นทุกๆ วัน

18



iMBA@PIM

Create Professionals by Professionals

FAMILY BUSINESS ธุรกิจครอบครัว... จากเรื่องในบ้านสู่รากฐานเศรษฐกิจ Family Business หรือธุรกิจครอบครัวนั้น แม้จะดูวา่ เป็นการด�ำเนินการโดยครอบครัว ซึง่ เป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึง่ ของสังคม แต่ ความส�ำคัญของธุรกิจครอบครัวนั้นเป็น เรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย เพราะธุรกิจ ครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ นานาประเทศ โดยข้ อ มู ล จากเว็ บ ไซต์ www.pwc.com เปิดเผยโดย นาย ศิระ อินทรก�ำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์ เฮาส์คูเปอร์ส) ว่า ธุรกิจครอบครัวถือเป็น ฟันเฟืองที่ส�ำคัญของเศรษฐกิจโลก โดยมี สัดส่วนคิดเป็น 30% ของบรรดาธุรกิจโลก ระดับพันล้าน และยังเป็นรากฐานในการขับ เคลื่อนสังคมและระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยมีธุรกิจและรายได้รวมกันคิดเป็น 7090% ของจีดีพีโลก ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การบริหารธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืนเปรียบ เป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับโลก ได้เช่นกัน

ใกล้ชิดโดยเฉพาะคนในครอบครัวนับเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องค�ำนึง ถึงเนื่องจากอาจน�ำไปสู่ความอ่อนไหวในความสัมพันธ์ เช่น การบริหารการเงิน หน้าที่รับ ผิดชอบ ความคาดหวังและความทุม่ เทในการท�ำงาน รวมไปถึงเรือ่ งการสือ่ สารและบริหาร อารมณ์สำ� หรับคนในครอบครัว ต้องใช้ทงั้ ศาสตร์และศิลป์เพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืนของธุรกิจ พร้อมรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว จนหลายสถาบันการศึกษาได้เปิดหลักสูตรเพื่อ บริหารธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืนโดยเฉพาะ เช่น Family Business Program ของ มหาวิทยาลัย Queen's University ประเทศไอร์แลนด์ หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยเรา เองก็มีรายการโทรทัศน์จัดร่วมกับสถาบันการศึกษา ที่สะท้อนเนื้อหาการบริหารธุรกิจกับ ความสัมพันธ์ในครอบครัวว่า สามารถต่อยอดไปสูท่ ศิ ทางใดของสังคมได้บา้ ง ดังนัน้ จะเห็น ได้ว่า ธุรกิจครอบครัวหรือ Family Business เป็นเรื่องการบริหารที่เกี่ยวข้องตั้งแต่คนใน ครอบครัวสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคมระดับกว้าง การสืบทอดกิจการจากรุ่นสู่รุ่นให้ประสบความส�ำเร็จ ต้องอาศัยตัวแปรหลายอย่าง การ ศึกษาและประสบการณ์ถือเป็นส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สามารถสร้างการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายเจนวิทย์ หงส์ปิติเจริญ หรือ “เกี๋ยง” นักศึกษาหลักสูตร iMBA ของสถาบันการ จัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้แบ่งปันข้อมูลจาก ประสบการณ์ตรงในฐานะผู้สืบทอดธุรกิจ รุ่นสอง “เดิมครอบครัวผมรับผลิตสินค้า อย่างไรก็ตาม การบริหารธุรกิจครอบครัว ประเภทครีมบ�ำรุงผิวแนวสมุนไพรให้กบั ลูก เป็นเรื่องในบ้านที่แลดูเหมือนเป็นเรื่องใกล้ ค้าหลายๆ ราย พอมาถึงรุ่นพี่สาวและผม ตัว แต่ถ้ามองให้ลึกแล้ว การท�ำงานกับคน ซึง่ เรามีความสนใจจะต่อยอดสิง่ ทีบ่ า้ นเรามี

20

อยู่แล้วให้พัฒนาไปมากขึ้น พี่สาวผมเลย เรียนต่อเกีย่ วกับการผลิตเวชส�ำอางโดยตรง ส่ ว นผม พอเรี ย นจบปริ ญ ญาตรี ก็ ไ ปหา ประสบการณ์ทำ� งานนอกบ้านสักพัก ซึง่ ตรง กับความรู้ที่เรียนมาคือแนววิศวะ แต่พอ ตัดสินใจจะมาช่วยต่อยอดธุรกิจที่บ้านเต็ม ตัวผมก็เริ่มหาข้อมูล ส�ำรวจตลาดสินค้าที่ ใกล้เคียงกับของที่เราคิด และเรียนด้าน ธุรกิจเพิ่มเติม เพราะพื้นฐานบ้านเราเป็นผู้ ผลิตอย่างเดียว ไม่มีใครรู้เรื่อง Branding หรือ Marketing ใดๆ ผมเลยมาเรียนที่ iMBA เพราะคอนเซ็ปต์ตรงกับทีผ่ มต้องการ คือ เป็นการเรียนที่เน้นน�ำไปใช้จริง ผมกับ พี่สาวต้องการสร้างแบรนด์สินค้าเป็นของ เราเอง ดังนั้น เราต้องรู้ว่าจะต้องค�ำนึงถึง อะไรบ้าง จากที่เคยเป็นผู้ผลิตอย่างเดียว แต่วันนี้เราต้องการเป็นผู้ประกอบการเต็ม ตัว เราต้องมีพื้นฐานเรื่องการท�ำธุรกิจ”


เราค่อนข้างโชคดีที่ทั้งพ่อและแม่สนับสนุน สิ่งที่เราสนใจ เลยไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งอะไร กันมาก เพราะบ้านเราค่อนข้างชัดเจน คือ ธุ ร กิ จ เดิ ม ที่ รั บ เป็ น ผู ้ ผ ลิ ต เราก็ ยั ง คงไว้ เพราะเรายังมีฐานลูกค้าเก่าเหนียวแน่น โดยพ่อกับแม่ดูแลชัดเจน ส่วนธุรกิจใหม่ที่ ผมและพี่สาวคิดแตกไลน์ออกมากัน ท่านก็ ไม่คัดค้าน แต่อาจจะเป็นห่วงบ้างเรื่องการ ลงทุนต่างๆ และจากประสบการณ์ของท่าน ทั้งสอง ก็สามารถให้ค�ำแนะน�ำที่ต่อยอดได้ เช่น พวกสมุนไพร ดอกไม้หอมๆ เช่น กลิ่น ดอกมะลิ ข องไทยนี่ แ หละที่ ค นต่ า งชาติ สนใจ เพราะบ้านเขาไม่มี ซึ่งจากการท�ำ แบรนด์แรก Laily เราค่อนข้างไปได้ดี ทั้ง จากหน้าตา packaging ทัง้ จากคุณภาพตัว สินค้า เราวาง positioning อยูใ่ นระดับ B+ เราได้ลูกค้าที่เข้ามาหาเราทั้งจากอเมริกา ฝรั่งเศส และไต้หวัน ทั้งๆ ที่เรามีหน้าร้าน ยังไม่มากนัก และก�ำลังอยู่ในระหว่างการ คุยว่าจะเปิดหน้าร้านอีกแห่งในกรุงเทพ แต่

พอมาท�ำแบรนด์ตัวที่สองของเรา Maj ซึ่ง เป็นแบบ Medical Skincare ผมไปพลาด เรือ่ งการท�ำตลาดซึง่ มันค่อนข้างเฉพาะทาง จากจุดนั้นเราเข้าใจเลยว่าการท�ำ survey เกีย่ วกับ Customer Behavior ส�ำคัญจริงๆ แต่สุดท้ายเราก็ต้องหาช่องทางการขายให้ ได้ ซึ่งตลาดออนไลน์ก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่คน ให้ความสนใจมากเหมือนกัน ซึ่งตอนนี้ของ ของเราก็มีขายใน shop@7 จากบทเรียน ของแบรนด์ที่สอง ก็เลยเป็นที่มาของการ ต่อยอดมาที่โปรดักท์แบรนด์ที่สามของเรา Aminé ตัวนี้เราวาง positioning ให้ตอบ โจทย์ตลาด mass มากขึน้ ให้คนหาซือ้ ใช้ได้ ง่ายขึน้ ซึง่ ตอนนีเ้ รามองตลาดของสินค้าเรา สามตัวชัดเจนแล้วทั้งกลุ่ม B+ กลุ่มเฉพาะ ทาง และกลุ่ม mass”

“ส�ำหรับอนาคต ตอนนี้เราก�ำลังพยายาม เปิดตลาดฝั่งเอเชียเพิ่มขึ้น เริ่มมีการติดต่อ จะไปลงที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า และลาว ซึ่งจากที่ผมเรียน iMBA ช่วย ให้ผมวิเคราะห์ตลาดเพื่อเปิดตัวสินค้าเรา ให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากเลย ลูกค้าแต่ละ พื้ น ที่ ก็ มี ค วามต้ อ งการแตกต่ า งกั น ไป ส�ำหรับเราผู้ประกอบธุรกิจต้องท�ำความ เข้าใจและหาวิธีสนองความต้องการนั้นให้ ได้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายอีกแบบหนึ่ง เช่น กรณีการต่อรองจากลูกค้าชาวฟิลปิ ปินส์ ผม ต้องอาศัย negotiation skills จากวิชา “Networking and Managing People” ที่เรียนมาลองพูดคุยกับเขา ถึงแม้จะคุยกัน อยู่นานแต่สุดท้ายก็ win-win กันทั้งคู่ สุดท้ายแล้ว หากพูดถึงค�ำว่า Family Business หรือธุรกิจครอบครัว ความมัน่ คงและ ยั่ ง ยื น ทั้ ง ในเชิ ง บริ ห ารธุ ร กิ จ และบริ ห าร ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวก็มคี ณ ุ ค่า ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คนรุ่นพ่อแม่แนะน�ำ โดยใช้ประสบการณ์ คนรุ่นลูกร่วมคิดโดย ใช้ความรู้ใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่ อ ต่ อ ยอด ดั ง นั้ น ไม่ ว ่ า การท� ำ ธุ ร กิ จ ครอบครัวจะเป็นแบบใด หากทีมเวิร์คเข้ม แข็งทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ก็สามารถน�ำพา ให้สิ่งที่สร้างจากครอบครัวหนึ่งมีคุณค่าสู่ สังคมได้จริงๆ

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร iMBA สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมของหลักสูตร iMBA ได้ที่ Facebook fanpage: iMBA@PIM และ interprogram.pim.ac.th หรือติดต่อมาที่ Email: iMBA@pim.ac.th โทร. 02 832 0944-5, 02 832 0486


by Bluebearry

สวัสดีชาว Panyapiwat MBA ทุกท่านค่ะ ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร�ำๆ แม้ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องเพียงใดก็ตาม Alumni's Corner ก็ยังคงมีข่าวสารเรื่องราวของพี่น้องรั้ว PIM มาอัพเดตกันอยู่เสมอค่ะ

PANYAPIWAT MBA จัดกิจกรรม BYENIOR ภายใต้ชื่องาน

“น้องยินดี พี่ลั๊ลล๊า”

บรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความเฮฮา สนุกสนานและซาบซึ้ง กับกิจกรรม BYENIOR ของนักศึกษา MBA รุ่นน้อง สาขาวิชา บริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าปลีก รุ่น 7 และวิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์ รุ่น 3 พร้อมใจกันจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ฉลองความส�ำเร็จ (ล่วงหน้า) ให้กับรุ่นพี่ MBA สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจค้าปลีก รุ่น 6 และวิชาเอกการจัดการ โลจิสติกส์ รุ่น 2 ภายใต้ชื่องาน “น้องยินดี พี่ลั๊ลล๊า” เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2557 ณ ริมสระว่ายน�้ำ ธาราพาร์ค ในธีมงาน POOL PARTY ก่อนเริ่มงานทุกคนถูกต้อนรับด้วยฝนที่ตกกระหน�่ำอย่างไม่ได้รับ เชิญ แต่ก็ไม่ได้ท�ำให้งานนี้หมดสนุกแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับ สร้างความชุ่มชื่นให้กับบรรยากาศปาร์ตี้ริมสระน�้ำมากยิ่งขึ้น ช่วง แรกเป็นการแสดงความยินดีกับรุ่นพี่อย่างเป็นทางการ โดยได้รับ เกียรติจาก อ.พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการ PIM กล่าวเปิดงานและแสดงความยินดีพร้อมให้โอวาทและข้อคิด ต่างๆ กับนักศึกษารุ่นพี่ที่ใกล้จบการศึกษาแล้ว จากนั้นเป็นช่วง ซาบซึ้งใจที่นักศึกษารุ่นพี่ คุณอู๋ (ศรายุทธ พุทธรักษา) เป็นตัวแทน กล่าวความรู้สึกประทับใจในการเป็นนักศึกษาของ Panyapiwat MBA และกล่ า วค� ำ ขอบคุ ณ และมอบพวงมาลั ย ดอกไม้ ใ ห้ กั บ คณาจารย์ แสดงถึงการระลึกถึงพระคุณของอาจารย์ทุกท่านที่

ประสาทวิชาและดูแลเป็นอย่างดีตลอดมา ถัดมาคุณวิทย์ (สุวิทย์ ราชเดิม) ประธานรุ่น LG เป็นตัวแทนของรุ่นน้องกล่าวแสดงความ ยินดีกับรุ่นพี่ที่ใกล้เรียนจบแล้ว และเตรียมดอกไม้มาให้กับรุ่นพี่ หมดกิจกรรมในช่วงพิธีการไปแล้วก็มาถึงช่วงปล่อยผี เอ๊ย! ไม่ใช่ ช่วงกิจกรรมสุดมันส์กันในยามค�่ำคืนซึ่งได้รับเกียรติจากวง PIM พิมพ์ใจอีกเช่นเคย น�ำทีมสร้างสรรค์ความมันส์โดย รศ.ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนงานวิชาการ PIM กิจกรรม ในวันนีน้ อกจากจัดขึน้ เพือ่ ให้รนุ่ น้องได้แสดงความยินดีกบั รุน่ พีแ่ ล้ว ยังท�ำให้นักศึกษาทั้งสองรุ่นได้สนุกสุดเหวี่ยงและท�ำความรู้จักกัน อย่างสนิทสนมมากขึ้นด้วย ดูความสนุกสุดเหวี่ยงจากภาพได้ ทีม งานก็ขอแสดงความยินดีกับเหล่ารุ่นพี่มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

ยินดีกับรุ่นพี่กันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูฝั่งน้องใหม่กันบ้าง ต้องขอต้อนรับนักศึกษาใหม่ทุกท่านเข้าสู่รั้ว PIM ของเรา Alumni’s Corner ฉบับนี้เรามาดูกันหน่อยว่า น้องใหม่ MBA ของเรามาจากที่ไหนกันบ้าง คุณณธเดช ธีระการย์

นักวิเคราะห์การเงิน ฝ่ายบริหารเงินทุน บริษัท การบินไทย จ�ำกัด MBA in Retail Business Management

จากประสบการณ์ท�ำงานของผมกับองค์กรเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ความรู้ที่เรียนทางทฤษฎีกับการน�ำ ความรู้มาปรับใช้ในการท�ำงานจริงนั้นต่างกันมาก เราต้องพบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่หลากหลาย ต้อง พร้อมแก้ปัญหาให้ได้ทันที PIM มีจุดแข็ง คือ เป็น Corporate University ซึง่ เป็นแหล่งรวมองค์ความ 22

รูม้ หาศาลทีเ่ กิดจากการคิดและการฝึกปฎิบตั จิ ริง ดังนัน้ ผม คิดว่าการศึกษาจากสถาบันคุณภาพแห่งนี้ เป็นวิธกี ารทีช่ ว่ ย ท�ำให้คนมีกระบวนการคิดและการท�ำงานที่ถูกต้องอย่างมี ประสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง เป็ น หั ว ใจหลั ก ในการสร้ า งองค์ ก รให้ ก้าวหน้า และส่วนที่ส�ำคัญไม่แพ้ด้านวิชาการ คือ วิสัยทัศน์ ของสถาบัน PIM ที่มุ่งสร้างคนเก่งและจะต้องเป็นคนดีมี คุณธรรมต่อผู้อื่นเคียงคู่กันเสมอ


จิตตวีร์ โสภณเมธีฐิติกุล

ติดตามความสนุกครั้งต่อไปได้ทาง ค้นหาค�ำว่า “Panyapiwat MBA”

ผู้จัดการส�ำนักสหกิจศึกษา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) MBA in Strategic Human Resource and Organization Management

เลือกเรียนที่ PIM เพราะชอบในจุดเด่นทั้ง 3 ประการของ PIM คือ 1.ความเป็น Corporate University ของบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) 2.มีการเรียนการสอนแบบ Work-Based Education ซึ่งเน้นทั้ง Work-Based Learning และ Work-Based Teaching ผสมผสานเข้าด้วยกัน และสุดท้ายคือความเป็น Networking University ที่จะ ท�ำให้เราได้เรียนจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจของเครือ CP และธุรกิจพันธมิตรอื่นๆ คุณบวรวัสส์ นาคปาน

Commercial Manager HL-E AMORN ELECTRONIC CENTER SPARE PART Co., LTD. MBA in Logistics Management

ต้องยอมรับว่า PIM คือ สุดยอดสถาบันแห่งการเรียนรู้ของผม ประมาณเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม "หลักสูตรเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานธุรกิจ" หรือ BSD รุ่นที่ 2 กับ PIM ผมได้รับความรู้ใหม่ทั้งจากอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมรุ่น ทุกๆ คนน�ำประสบการณ์จริงมาแบ่งปันกัน สุด ยอดจริงๆ ครับ ด้วยเหตุนี้เอง ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ผมจึงตัดสินใจที่จะเรียนต่อปริญญาโทกับ PIM แห่งนี้ โดยมีเป้า หมายเพื่อพัฒนาความรู้ของตนเอง และน�ำความรู้ที่ได้กลับมาใช้ประโยชน์ทั้งกับตนเอง การท�ำงาน รวมไปถึงสังคม และประเทศชาติต่อไป ขอบคุณมากครับ คุณศิริวรรธน์ กระโจมทอง

Key Account บริษัท มาลีเอ็นเตอร์ไพร์ส จ�ำกัด MBA in Retail Business Manegement

ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาเป็นจ�ำนวนมาก แต่ละสถาบันมีจุดแข็งด้านการศึกษาเฉพาะของสถาบัน แต่ที่ ดิฉันเลือกเรียนที่ Panyapiwat MBA เป็นเพราะจุดเด่นที่แตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่น ในแง่มุมการท�ำธุรกิจ ค้าปลีกทีป่ ระสบความส�ำเร็จ และคณาจารย์ทมี่ คี วามรูค้ วามสามารถ อีกทัง้ วิทยากรทีเ่ ป็นผูเ้ ชีย่ วชาญจากภาคธุรกิจ และที่ส�ำคัญคือ Panyapiwat MBA มีเครือข่ายหรือพันธมิตรทางการค้าที่แข็งแกร่งจาก CP All ท�ำให้ได้เรียนรู้จาก ความส�ำเร็จของผู้บริหารตัวจริง ดิฉันจึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ในหลักสูตร MBA สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการ จัดการธุรกิจค้าปลีกอย่างมั่นใจ ตามมาด้วยข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ส�ำหรับ Panyapiwat MBA รุ่น 6 จากสาขาวิชา Retail Business Management กับคู่รัก 2 คู่ เริ่มที่คู่แรก คุณทรงวุฒิ กุดดีและคุณรวีวรรณ ภรรยาสาวสวยที่เข้าพิธีมงคลสมรสกันไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 กับบรรยากาศ การแต่งงานแบบไทย ณ เรือนเจ้าสาว (ปากเกร็ด) และคู่ที่ 2 ก็ไม่น้อยหน้าเช่นเดียวกัน กับคู่ของคุณศิระ กัลยาหัตถ์และคุณพรพลอย ที่ลั่น ระฆังวิวาห์กนั ไปเมือ่ วันที่ 18 พฤษภาคม 2557 ทีก่ รมชลประทาน คูน่ ตี้ อ้ งบอกเลยว่า เจ้า บ่าวเป็นหนุ่มโรแมนติกมาก ตั้งแต่ลงมือท�ำ presentation บรรยายความรักของเราสอง คนเอง และไฮไลท์อยู่ที่ Surprise จากเจ้าบ่าวของเราที่ร้องเพลงถ่ายทอดความรักที่มีต่อ เจ้าสาว แถมยังให้ผู้เข้าร่วมงานในวันนั้นได้ร่วมร้องเพลงไปกับเขาด้วย โรแมนติกขนาดนี้ เจ้าสาวต้องประทับใจมากแน่เลย และสุดท้าย ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณพ่อคุณแม่ป้ายแดง คุณแสบ-เฉลิมชัย และคุณ สา-พุฒธิ าดา ศิรนิ นั ทวิทยา MBA สาขา Retail Business Management รุน่ 6 กับลูกชาย “น้องศีลฉัตร ศิรินันทวิทยา หรือน้องมีศีล” ที่น่ารักน่าชังด้วยน�้ำหนักแรกคลอด 4,044 กรัม ดูเค้าหน้าตาแล้วคงหล่อเหลาเอาการเหมือนคุณพ่อแน่เลย ในนามของ Panyapiwat MBA จึงขอแสดงความยินดีย้อนหลังมา ณ ที่นี้ด้วย ขอให้ทั้ง 3 ครอบครัวมีความสุขมากๆ ทั้งกายและใจนะคะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษา สุขภาพกันด้วย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ 23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.