พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน - ปที่ 4 ฉบับที่ 22 - ตุลาคม 2556
วิศวกรรมศาสตร ที่ทำงานเปน
เรียนปริญญาตรีที่ PIM
เปด ร ปกา นักศึก ับสมัค รศึก ษาให ร ษา ม 255 7
สถาบันอุดมศึกษาในกลุมบริษัท ซีพี ออลล จำกัด (มหาชน) www.pim.ac.th โทร. 0 2832 0200 ถึง 14
มั่นใจ : ในหลักสูตรคุณภาพและอาจารยมืออาชีพจากโลกธุรกิจ มานะ : ดวยการเรียนรูควบคูการทำงานจริง (Work-based Learning) มั่นคงCP : โอกาสทำงานในกลุมธุรกิจซีพี เม�อสำเร็จการศึกษา
คณะบริหารธุรกิจ
การจัดการธุรกิจคาปลีก : การจัดการธุรกิจอาหาร : การจัดการโลจิสติกส
คณะนิเทศศาสตร
การส�อสารองคกร : การส�อสารแบรนด : วารสารศาสตรคอนเวอรเจนท
คณะวิศวกรรมศาสตรและเทคโนโลยี
วิศวกรรมอุตสาหการ : วิศวกรรมคอมพิวเตอร : เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมการผลิตยานยนต
คณะศิลปศาสตร
ภาษาจีีนธุรกิจ : ภาษาญี่ปุนธุรกิจ
คณะวิทยาการจัดการ
การจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ : การจัดการทรัพยากรมนุษย การจัดการโรงแรมและการทองเที่ยว การจัดการธุรกิจการบิน
คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร นวัตกรรมการจัดการเกษตร
คณะศึกษาศาสตร การสอนภาษาจีน
Issue October 2013
06 14 16 17 18 20 22 23
PIM Highlight คนเก่ง PIM Letter From Osaka Our Network : SAMMITR เรื่องจีนจากซีหนาน โลกใบกว้าง : “ที่นั่ง” นั้นสำ�คัญไฉน Living with Innovation : ฟาร์มในอนาคต PIM Underline : วิศวะ PIM ชนะเลิศ WRO
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) PIM Magazine : พี ไอ เอ็ม แมกกาซีน ปีที่ 4 ฉบับที่ 22 เดือนตุลาคม 2556 สำ�นักสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษา พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล บรรณาธิการบริหาร ปาริชาต บัวขาว บรรณาธิการ วรินทรา วิริยา กองบรรณาธิการ คทาเทพ พงศ์ทอง ทิพวรรณ อภิวันท์วรรัตน์ ชนติกาญ วนารักษ์สกุล จุฬนี ศิริขันธ์ พิสูจน์อักษร สุธาสินี พ่วงพลับ กันย์อักษร ชื่นชมภู อรทัย ทับทองห้วย ศิลปกรรม เอกภพ สุขทอง
วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม วาร์วี ชานวิทิตกุล ภูริมาศ สว่างเมฆ คทาเทพ พงศ์ทอง ชนติกาญ วนารักษ์สกุล ภูริมาศ สว่างเมฆ
สวัสดีค่ะ สมาชิก PIM Magazine เจอกันเดือนที่ 10 ของปี 2556 วันเวลาผ่านไป รวดเร็ ว จริ ง ๆ ค่ ะ PIM Magazine ฉบั บ นี้ มาท� ำ ความรู ้ จั ก 3 สาขาวิ ช ายอดนิ ย มด้ า น วิ ศ วกรรมศาสตร์ และอี ก 1 สาขาวิ ช าใหม่ คื อ สาขาวิ ศ วกรรมการผลิ ต ยานยนต์ ของ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี PIM มหาวิ ทยาลั ย Corporate ในเครื อของกลุ่ม ซีพี ออลล์ ซึ่งแน่นอนมีความเฉพาะตัวด้วย หลั ก สู ต ร Work-based Learning เรี ย นรู ้ ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง มาดูกันค่ะสาขายอดฮิต เหล่านี้เรียนอะไรบ้าง และจะเข้าใจด้วยว่านี่คือ วิชาชีพที่มีความส�ำคัญต่อสังคมอย่างไร พร้อมกันนี้ขอแนะน�ำ 2 คอลัมน์ใหม่ “โลกใบ กว้าง” คอลัมน์ที่ว่าด้วยแง่มุมทางสังคมหลาก วั ฒ นธรรมจากหลายมุ ม โลก และคอลั ม น์ “Living with Innovation” คอลัมน์เพื่อการรู้จัก และเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เกิดเป็นนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคน ยุคใหม่อย่างเรา รักษาสุขภาพนะคะ เป็นห่วงเหมือนเดิมค่ะ บก.แอมป์
85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0200 ถึง 14 โทรสาร 0 2832 0391 85/1, Moo 2, Chaengwattana Road, Bang-Talad, Pakkred, Nonthaburi, 11120 THAILAND Tel. 0 2832 0200 to 14 Fax 0 2832 0391 www.pim.ac.th www.facebook/pimfanpage
3
PIM Executive Lounge ครั้งที่ 4 รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี PIM ให้เกียรติเป็น ประธานในงานเลี้ยงอาหารค�่ำ “PIM Dinner Talk” ใน โครงการ PIM Executive Lounge ครั้งที่ 4 พร้อมคณะ ผู้บริหาร PIM ให้การต้อนรับและรับประทานอาหารค�่ำ แบบเป็นกันเองกับสื่อมวลชนหลายส�ำนัก PIM Dinner Talk เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ถ่ายทอดประสบการณ์ดา้ นการศึกษาในแบบเฉพาะของ PIM พร้อมให้ขอ้ มูลความเคลือ่ นไหวของสถาบันฯ ด้านต่างๆ โดย ครั้งนี้เน้นแนะน�ำสาขาวิชาใหม่ล่าสุด คือสาขาการจัดการ โรงแรมและการท่องเทีย่ ว และสาขาการจัดการธุรกิจการบิน คณะวิทยาการจัดการ ซึ่งพร้อมจะเปิดการเรียนการสอน อย่างเป็นทางการ ในปีการศึกษา 2557
คุณชนิตร ภู่กาญจน์ หัวหน้าข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์ แนวหน้า นายกสมาคมผู้สื่อข่าวการศึกษา (ที่ 4 จากซ้าย) คุณวิวัฒน์ สุทธิภาศิลป์ คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าว การศึกษา (ที่ 3 จากขวา) คุณกมลทิพย์ ใบเงิน บรรณาธิการ อาวุโสข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก (ที่ 5 จากซ้าย) คุณสาโรจน์ มณีรัตน์ หัวหน้าข่าว (ที่ 4 จากขวา) และคุณ วิทวัส เนตรแสนสัก ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (ที่ 2 จากซ้าย)
4
อธิการบดี PIM ร่วมเสวนาการประชุม เสนอผลงานวิจัย มสธ. รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี PIM ร่วมงานการประชุม เสนอผลงานวิจยั ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา ธิราช (มสธ.) ครั้งที่ 3 โดยรับเชิญเป็นวิทยากรร่วมเสวนาและ บรรยายทางวิชาการเรื่อง “การวิจัยแบบสหวิทยาการเพื่อเข้าสู่ ประตูอาเซียน” โดยมี อ.เกียรติชัย พงษ์พานิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วม บรรยาย ด�ำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สุรีย์ เข็มทอง การเสวนากล่าวถึงพื้นฐานข้อก�ำหนดงานวิจัยด้านต่างๆ เน้นที่ ทิศทางแนวการวิจัยที่ควรจะต้องด�ำเนินการเมื่อเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน แต่ละประเทศอาเซียนจะต้องมีโอกาสท�ำวิจัย ร่วมกันอย่างแน่นอน เพือ่ เกือ้ กูลข้อมูลระหว่างกัน ช่วยให้อาเซียน มีความเข้มแข็งมากยิง่ ขึน้ โดยการใช้หลักสหวิทยาการตอบโจทย์ การเปลี่ ย นแปลงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ประเทศไทยจะกลายเป็ น ศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า Mainland ASEAN ซึ่งจะก่อให้เกิดการ เคลื่อนย้ายเสรีหลายด้าน อาทิ การน�ำเข้าส่งออก การลงทุน การ ท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า และที่ส�ำคัญคือด้านการศึกษาที่จะ สามารถแลกเปลี่ยนโครงการวิจัยระหว่างกันได้
PIM Young Creative Program จัดสัญจรน�ำความรู้ สู่ด้ามขวานไทย ตอน ตะลุยแดนมังกรกับ PIM ส� ำ นั ก สื่ อ สารองค์ กร ร่วมกับคณะศิล ป ศาสตร์ สาขาภาษาจี น ธุ ร กิ จ PIM จั ด โครงการ PIM Young Creative Program (YCP) ครั้งที่ 14 ตอน “ตะลุยแดนมังกร กับ PIM” สัญจรสู่ภาคใต้เพื่อบริการงาน วิชาการให้กับสังคม เผยแพร่องค์ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับประเทศจีน ณ ห้องสิงห์ ทอง โรงแรมสิงห์ โกลเด้น เพลส หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยคุณวรินทรา วิรยิ า รักษาการ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักสือ่ สารองค์กร กล่าวเปิด งาน และ อ.โอฬาร สุมนานุสรณ์ อาจารย์ ประจ�ำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษา จีนธุรกิจ บรรยายพิเศษเปิดโลกทัศน์เกี่ยว กับประเทศจีน แนวทางการศึกษาต่อและ ประกอบอาชีพในอนาคตให้กับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน มัธยมเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการฯ และ น้ อ งๆ ได้ เ รี ย นรู ้ แ ละสั ม ผั ส วั ฒ นธรรม ภาษาและการออกเสียงภาษาจีน จาก เจ้าของภาษา โดยอาจารย์ฝึกสอน Wang Anni มหาวิ ท ยาลั ย ซี ห นาน พร้ อ มฟั ง ประสบการณ์ ก ารฝึ ก งานและการเป็ น นั ก ศึ ก ษาแลกเปลี่ ย นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ซี ห นาน สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น โดย พี่กอล์ฟ นายกิตติศักดิ์ ค�ำเครือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 YCP ครั้งที่ 14 สัญจรภาคใต้ครั้งนี้ได้รับ การตอบรับจากโรงเรียนมัธยมเครือข่ายซึง่ เดินทางมาจากหลายจังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล ตรัง และสงขลา กิจกรรมสัญจรครั้งนี้ถือเป็น กิจกรรมสร้างเครือข่ายนักเรียนภาษาจีน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทางภาคใต้ครั้ง แรกของ PIM อีกด้วย
PIM Open House ครั้งที่ 10 เจาะลึกแนวทางการศึกษาใหม่ Corporate University กรณีศึกษาสถาบัน การจัดการปัญญาภิวัฒน์ ส�ำนักสือ่ สารองค์กร PIM จัดโครงการ PIM Open House ครั้งที่ 10 ตอน “ผู้จัดการ อาคาร อาชีพแนวใหม่ อนาคตไกล” โดย คุ ณ วริ น ทรา วิ ริ ย า ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ อ� ำ นวยการ ส�ำนักสื่อสารองค์กร กล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมบรรยายเรื่อง “เจาะลึกแนวทางการ ศึกษาใหม่ Corporate University” และ บรรยายพิ เ ศษ เจาะลึ ก สาขาวิ ช าการ จั ด การอาคารและทรั พ ยากรกายภาพ (BFM) โดย อ.ฐาปณีย์ พันธุ์เพชร หัวหน้า สาขาวิชาการจัดการอาคาร
จากนั้นเดินทางเยี่ยมชมกิจการบริษัท ซีพี แลนด์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทผู้เชี่ยวชาญ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้บริการ พัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อการขายและให้ เช่าพื้นที่ประกอบธุรกิจ ณ ชั้น 10 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ 2 (ฟอร์จนู ทาวน์) และศึกษา ดูงานในหัวข้อ Facility & Property Management โดยคุณศัลย์ มูลศาสตร์ รอง กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริหารอาคาร บริษัท ซี.พี.แลนด์ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าว ต้อนรับ คุณวิวัฒน์ อิ้วสมจิตร ผู้จัดการ อาวุโสฝ่ายบริหารอาคาร 2 และคุณศาลิดา เสรเมธากุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด บรรยายภาพรวมของธุรกิจ สร้างความ ประทับใจให้คณาจารย์ที่เข้าร่วมงานเป็น อย่างมาก
Ritsumeikan Asia Pacific University
โครงการมิตรภาพเยาวชน อนุภาคลุ่มแม่น�้ำโขง ประจ�ำปี 2556
ผู้บริหารจากมูลนิธิ พุทธฉือจี้ ไต้หวันในประเทศไทย
อาจารย์พูลศักดิ์ เทศนิยม อดีตผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ส�ำนักพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรอาชีวศึกษา 5
Hig PIM hlig ht
วิศวกรรมศาสตร์ที่ทำ�งานเป็น วิศวกรรมศาสตร์ คณะยอดฮิต มีสาขาหลากหลาย แต่จะมีกี่คนเข้าใจว่าอาชีพวิศวกรเรียนอะไร จบไปทำ�อะไรกันบ้าง รู้จัก 3 สาขา ยอดนิยมและคลาสสิค กับอีก 1 สาขาที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น ที่ PIM และเหตุผลที่ซีพี ออลล์ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจค้าปลีก มุ่งมั่นสร้าง วิศวกรมืออาชีพ
รู้จักวิศวะ PIM กับ
รศ.ดร.พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี PIM
http:/
ธุรกิจหลักของซีพี ออลล์เกีย่ วกับธุรกิจค้าปลีกก็จริง แต่เบือ้ งหลัง มีฝ่ายท�ำงานสนับสนุนเยอะมาก ด้านเทคโนโลยีที่ปัจจุบันขาด ไม่ ไ ด้ เ ลยคื อ ไอที ที่ แ ทรกซึ ม ไปทุ ก หย่ อ มหญ้ า ทุ ก ขั้ น ตอน ทุกกระบวนการจะเปลี่ยนมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์กันหมด ดังนั้น วิ ศ วกรรมคอมพิ ว เตอร์ จึ ง เป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ของธุ ร กิ จ ทุ ก ชนิ ด ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ 7-Eleven มีร้าน 7 พันกว่าสาขา แต่ละสาขา มีเครื่องไม้เครื่องมือด้านคอมพิวเตอร์อยู่ 2-3 เครื่อง ซึ่งแต่ละ เครือ่ งต้องเชือ่ มไปยังศูนย์กลางเพือ่ อัพเดทข้อมูลการซือ้ การขาย แต่ละสาขาต้องน�ำส่งข้อมูลไปยังฐานข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ใหญ่ที่ ส่วนกลาง ผ่านโปรแกรมแอพพลิเคชัน่ โดยระบบเครือข่ายล�ำเลียง ข้อมูล และระบบฐานข้อมูลทีฐ่ านเซิรฟ์ เวอร์กลาง ซึง่ นีค่ อื งานของ ไอทีและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งนั้นเลย หลายท่ า นอาจไม่ รู ้ ว ่ า ซี พี อ อ ล ล ์ มี บ ริ ษั ท ลู ก เ ป ็ น โรงงานขนาดใหญ่ ห ลาย โรงงาน อย่ า งบริ ษั ท ซี พี แรม จ� ำ กั ด เป็ น โรงงาน ขนาดใหญ่ ผ ลิ ต อาหาร พร้ อ มทานหลายรู ป แบบ ที่ ป ั จ จุ บั น เติ บ โตจนไม่ ไ ด้ ผลิตให้แค่ 7-Eleven เท่านัน้ แต่ยงั ผลิตเพือ่ ส่งออกด้วย ซึง่ โรงงานเหล่านี้ ต้องใช้วศิ วกรอุตสาหการทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ จัดระบบการท�ำงาน ดูแล เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการท�ำงานไม่ใช่เฉพาะกับโรงงานอย่างเดียว แต่ต้องสามารถประยุกต์ใช้กับทุกรูปแบบได้
6
ปีหน้า PIM จะเปิดวิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นสาขาวิชา ที่ประเทศไทยมีความต้องการสูง ขณะนี้ในเครือซีพีมี แผนจะลงทุนร่วมกับเซี่ยงไฮ้มอเตอร์เปิดโรงงานผลิต รถยนต์ ข นาดใหญ่ ถึ ง แม้ เ ครื อ ซี พี จ ะไม่ ล งทุ น ใน อุตสาหกรรมนี้ ประเทศไทยก็มคี วามต้องการวิศวกรดูแล การผลิตยานยนต์จำ� นวนมากอยูแ่ ล้ว เพราะเราเป็นฐาน ผลิตยานยนต์อนั ดับต้น ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก PIM จึ ง ต้ อ งสร้ า งวิ ศ วกรผลิ ต ยานยนต์ มื อ อาชี พ ให้ กั บ อุตสาหกรรมด้วย ซึง่ หลักสูตรการเรียนแบบ Work-based Learning เรียน รู้คู่การปฏิบัติของ PIM จะท�ำให้ทุกสาขาวิชาได้ฝึกงาน อย่างจริงจัง
Work-based Learning ทำ�ให้วิศวะ PIM แตกต่าง ลักษณะพิเศษของวิศวะที่ PIM คือการฝึกงาน น่าจะเป็น สถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีระยะการ ฝึกงานยาวนานอันดับแรกๆ ของประเทศไทย การฝึกงาน เริม่ จากการฝึกทีย่ งั ไม่ตอ้ งใช้ทกั ษะเฉพาะมากนัก แต่ยงั เกีย่ วข้องกับความเป็นวิศวะอยูด่ ว้ ย และเพิม่ ความเข้มข้น ขึน้ จนชัน้ ปี 4 นักศึกษาอาจได้ฝกึ งานยาวนานถึง 9 เดือน อย่างต่อเนื่องในสถานประกอบการจริง
m
epart
c.th/d
ch.a
.ste /www
tml
_2.h
age2
w_p
D/ne
B ent/A
วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering - IE)
สถานประกอบการหลายทีบ่ อกว่า วิศวกร ที่มาท�ำงานส่วนใหญ่ทนสภาพแวดล้อม ในโรงงานไม่คอ่ ยได้ ท�ำงานได้ 1-2 เดือน ก็ทนไม่ไหว เพราะในโรงงานร้อน เหนือ่ ย เสียงดัง บางคนต้องวางแผนผลิตก็นงั่ อยู่ ในออฟฟิศ ไม่เคยลงไปในโรงงานจริงๆ เลยว่าเป็นอย่างไร ส่งงานมาเลยคลาด เคลือ่ นเพราะตัวเลขในรายงานไม่ตรงกับ ของจริงที่มีในโรงงาน
เรียนรู้การวางแผนควบคุมการผลิต การปรับปรุงกระบวนการ และการคิดวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงานคือการวางแผนบริหารจัดการ คน วิธีการ และเครื่องจักร ให้ท�ำงานผสานกันอย่างเกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยต้นทุนต�่ำที่สุด เพิ่มยอดผลิต และลดของเสีย วิศวกรรมอุตสาหการสามารถเรียนรู้เพื่อท�ำงานได้ทั้งในโรงงาน อุตสาหกรรมและในการบริหารต่างๆ
มาตรฐานการเรียนที่ PIM
หลักสูตรการเรียน รายวิชา จ�ำนวนหน่วยกิตของเรามี มาตรฐานตามกรอบของสภาวิศวกร ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว สามารถไปสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกร (กว.) ได้เช่น เดียวกับสถาบันการศึกษาอื่น
ถ้าอยากเป็นวิศวกรอุตสาหการที่มีฝีมือ มันก็ตอ้ งคลุกฝุน่ นิดนึง จะใส่สทู ผูกไทอยู่ ในห้ อ งแอร์ อ ย่ า งเดี ย วก็ ไ ม่ น ่ า จะเป็ น อย่างนั้น การฝึกงานจึงจะท�ำให้ได้เจอ ความจริง ได้ฝึกความอดทนก่อน ผศ.ดร.ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร หัวหน้าสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
Work-based Learning ดูแลใกล้ชิด ส่งถึงโรงงาน เริ่มต้นจากการฝึกงานนาน 3 เดือนที่ 7-Eleven ในชั้นปี 1 และเข้มข้นด้วยเวลาที่นานขึ้นของแต่ละชั้นปี จะท�ำให้ นักศึกษารู้จักอาชีพมากขึ้น การฝึกงานของวิศวกรรมอุตสาหการจะไม่ใช่การฝึกเบาๆ สบายๆ ในออฟฟิศ นักศึกษา จะได้ฝึกงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งก็คือโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้รู้จักว่าโรงงานเป็นยังไง เข้างานกี่โมงเลิก กี่โมง ต้องไปรู้จักเพื่อน คุยภาษาอะไรกัน ไปให้เห็นสภาพของจริงว่าในโรงงานเป็นยังไง จะได้ทดลองและรู้ก่อน คนอื่นว่า ท�ำงานนี้ต้องเหนื่อย ล�ำบาก และต้องอดทน เพราะสภาพแวดล้อมในโรงงานไม่ใช่ที่อยู่ได้สบายๆ แต่การฝึกงานของนักศึกษาทุกคนจะได้รบั การดูแลอย่างใกล้ชดิ จากอาจารย์ประจ�ำสาขา ตัง้ แต่ตดิ ต่อ คัดเลือกสถาน ประกอบการทีจ่ ะไปฝึกงาน ดูแลสถานทีพ่ กั ในกรณีฝกึ ต่างจังหวัด ก่อนจะไปส่งถึงโรงงาน เพือ่ นักศึกษาได้เรียนรูต้ าม แบบ Work-based Learning ได้ดีที่สุด
7
วิศวกรอุตสาหการ ยังเป็นวิชาชีพ ที่ขาดแคลน วิศวกรอุตสาหการสำ�คัญกับสังคม
วิศวกรอุตสาหการเป็นวิชาชีพท่ี่ต้องมีใบประกอบ วิชาชีพ เพราะต้องดูแลเรือ่ งความปลอดภัยของคน อย่างการออกแบบโรงงานให้คนงานปลอดภัยเมือ่ ไฟไหม้ รู้จักการใช้เครื่องจักรอย่างปลอดภัย เพื่อ ให้การบริหาร 4 ปัจจัยหลัก คือ คน เครื่องจักร วิธีการ และวัตถุดิบในโรงงานเกิดประโยชน์สูงสุด และคนท�ำงานปลอดภัย รวมถึงส่งผลกระทบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยด้วย
วิศวกรอุตสาหการที่ดี ต้องมองในเชิงวิศวกร ใช้หลักการและเหตุผล ไม่ ต้องเน้นความรู้เชิงเทคนิคอะไรมาก สามารถใช้ หลักวิทยาศาสตร์ทเี่ ป็นพืน้ ฐานก่อน อย่างเจอของ เสีย ต้องมองสภาพปัญหาให้ออก และรู้ว่าจะ แก้ไขอย่างไร
คุณภาพบัณฑิต IE ของ PIM ทักษะทีบ่ ณ ั ฑิตต้องมีอย่างน้อยคือความรูพ้ นื้ ฐาน ทางวิศวกรรม สามารถคิดเชิงวิศวกรรมและมอง ภาพรวมทางวิศวกรรมได้ ใช้หลักการและเหตุผล พูดในทางวิศวกรรมได้
8
ปีการศึกษานี้ บางรายวิชาด้าน วิศวกรรมศาสตร์เริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเติมพื้นฐานและสร้างความคุ้นเคย ภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษา
มาตรฐานการเรียน
หลักสูตรไอทีของ PIM เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และมุ่ง เน้นการฝึกภาคปฏิบัติตามโมเดล Work-based Learning ท� ำ ให้ ห ลั ก สู ต รมี ลั ก ษณะเฉพาะที่ แตกต่างจากที่อื่น
ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ลงทุนพัฒนา ไอทีเพือ่ สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และสนั บ สนุ น การท� ำ งาน ท� ำ ให้ ต ้ อ ง อาศัยบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ เพื่อ พัฒนาและประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ ขององค์กรได้อย่างเหมาะสม สาขาวิชา จึงมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และพัฒนา ทั ก ษะที่ จ� ำ เป็ น โดยมุ่งเน้นการเรีย นรู้ ควบคู ่ กั บ การปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ บั ณ ฑิ ต ที่ ส�ำเร็จการศึกษาเกิดความช�ำนาญและ สามารถท�ำงานได้ตรงกับความต้องการ ของสถานประกอบการ
Work-based Learning กับไอที เรียนภาคทฤษฎีในห้องอาจท�ำให้เกิดค�ำถามทีย่ าก จะอธิบายค�ำตอบ แต่ค�ำถามนั้นอาจได้ค�ำตอบ โดยอั ต โนมั ติ เ มื่ อ ท� ำ งานจริ ง ในการฝึ ก งาน ซึ่ ง ประสบการณ์ทเี่ จอระหว่างฝึกงานถูกน�ำกลับมาใช้ เรียนรู้ในห้องเรียนด้วย
อ.วรรณวิภา วงศ์วิไลสกุล หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไอที - เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT)
เรียนรูว้ า่ เทคโนโลยีมคี วามส�ำคัญอย่างไร แล้วการจะได้มาซึ่งเทคโนโลยีมีกระบวน การอะไรบ้าง และองค์กรต่างๆ จะน�ำไป ประยุกต์ใช้ท�ำงานหรือสร้างข้อได้เปรียบ ในการแข่งขันของแต่ละองค์กรได้อย่างไร นักศึกษาจะได้เรียนรู้งานพัฒนาระบบ งานจัดการฐานข้อมูล งานจัดการระบบ เครือข่ายและความปลอดภัย งานสนับ สนุนด้านเว็บไซต์ และงานสนับสนุนผู้ใช้ เป็นต้น โดยเน้นการบริการจัดการด้าน ซอฟต์แวร์เป็นหลัก
ใครอยากเรียนไอทีอ่านตรงนี้ 1. ชอบเรี ย นรู ้ ต ลอดเวลา ตื่ น ตั ว เรื่ อ ง เทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีในการแสวงหา และถ่ายทอดความรู้ได้ดี เพราะมีความ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอด 2. ชอบสื่อสารกับคน นี่คือทักษะจ�ำเป็น อย่างหนึ่ง เพราะทุกต�ำแหน่งในงานไอที ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น นักไอทียุคใหม่ อาจไม่ต้องเป็นนักพรีเซนต์ที่เก่ง แต่ต้อง สื่อสารได้
ตอนนี้สถานประกอบการหลายแห่งเข้าใจว่า PIM พัฒนาบัณฑิตที่มีรูปแบบเฉพาะตัว จึงให้ความ สนใจและยิ น ดี รั บ นั ก ศึ ก ษาไอที PIM ฝึ ก งาน นักศึกษาจึงมีโอกาสเลือกฝึกงานทีช่ อบในบริษทั ที่ ตัวเองสนใจ โดยหลายบริษัทเริ่มแบ่งโปรเจ็คต์ให้ นักศึกษาพัฒนาโครงการด้วยตัวเอง
ฝึกงาน ทำ�งานที่ ใช้ได้จริง สถานประกอบการชั้ น น� ำ หลายแห่ ง ยิ น ดี รั บ นั ก ศึ ก ษาไอที PIM เข้ า ฝึ ก งาน อาทิ บริ ษั ท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท แพคกอน จ�ำกัด บริษทั ซีพี รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จาํ กัด และ บริษัท NEC (ประเทศไทย) จ�ำกัด เป็นต้น โดย นักศึกษาจะมีโครงงานระหว่างฝึกปฏิบัติงานเพื่อ ให้สถานประกอบการสามารถน�ำผลงานไปใช้ ประโยชน์ได้จริง ล่าสุดนักศึกษาไอทีทฝี่ กึ งานทีบ่ ริษทั ซีพี รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ได้รับมอบหมายให้พัฒนา โครงการ e-learning ซึง่ ผลลัพธ์คอื งานทีบ่ ริษทั น�ำ ไปใช้ได้จริง
ไอที PIM พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้นกั ศึกษามีทกั ษะการใช้ภาษาอังกฤษและได้รบั ประกาศนียบัตรมาตรฐาน วิชาชีพไอทีจากค่ายต่างๆ อาทิ ITPE, CISCO, JAVA และ Oracle เป็นต้น โดยทาง คณะมีโครงการติวสอบและสนับสนุนค่าสอบส�ำหรับนักศึกษาเพื่อให้เด็กไอที PIM เรียนจบพร้อมอาวุธครบมือ ทั้งปริญญา ประสบการณ์ และประกาศนียบัตรรับรอง พร้อมรับ AEC และทีส่ ำ� คัญตอนนีส้ าขาไอทีได้สนับสนุนนักศึกษาสูก่ ารแข่งขันระดับ ประเทศในหลายเวที อาทิ การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย และโครงการ Thailand Animation Contest เป็นต้น ท�ำให้นักศึกษามีโอกาสสร้าง ชื่อเสียงให้แก่ตนเองและสถาบัน
9
ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขาดแคลนคน ท�ำงานอยูม่ ากทีเดียว หลายสถาบันผลิต บัณฑิตออกไป ไม่ตรงตามความต้องการ ของผู้ประกอบการ เพราะฉะนั้น PIM จะ พยายามป้อนให้ตรงกับความต้องการใน ตลาดงาน ผศ.ดร.ปริญญา สงวนสัตย์ หัวหน้าสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering - CPE)
หลายคนอาจสงสัยว่าระหว่างไอทีกบั วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 สาขาวิ ช านี้ แ ตกต่ า งกั น ที่ จุ ด ไหน เรี ย นเกี่ ย วกั บ คอมพิวเตอร์ต้องใช้ทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์เหมือน กัน ความแตกต่างอยู่ตรงนี้ ที่วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เรียน เกี่ยวกับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบสื่อสารอย่าง LAN และ Wireless โดยวิศวคอมฯ เน้ น ศึ ก ษาในระดั บ ลึ ก ถึ ง การสร้ า งและควบคุ ม การใช้ ฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นส่วนโครงสร้างที่ใกล้ชิดคอมพิวเตอร์ มากกว่าไอที
จะมาเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นเด็กวิทย์-คณิต และจะดีมากถ้าชอบคณิตศาสตร์ เพราะคอมพิวเตอร์คือคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่ง
Work-based Learning ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมฯ PIM เน้นการฝึกงานทีต่ รงความต้องการของ นักศึกษาและผูป้ ระกอบการ ปี 1 เริม่ จากฝึกระดับพืน้ ฐานใน ร้าน 7-Eleven เจออุปกรณ์ต่างๆ และฝึกความอดทน จาก นัน้ ชัน้ ปี 2 และ 3 ฝึกงานตรงตามทักษะและความสนใจมาก ขึ้น และฝึกงานยาวนานขึ้นไปอีก พอถึงชั้นปี 4 จะฝึกงาน 9 เดือนอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ หมายถึงโอกาสพัฒนาตัวเองให้เข้ากับ วัฒนธรรมขององค์กรที่ฝึกงาน และบริษัทก็ได้เห็นศักยภาพ การท�ำงานของนักศึกษาด้วย
วิศวกรคอมพิวเตอร์ทำ�งานที่ ไหนได้บ้าง นอกจากบริษทั ผูผ้ ลิตคอมพิวเตอร์แล้ว ทุกองค์กรทีม่ งี านไอที หรืองานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถ เข้าไปดูแลได้ครบขัน้ ตอนทัง้ ซ่อม บ�ำรุงอุปกรณ์ ปรับแต่งเชิง ลึกเกี่ยวกับเน็ตเวิร์ค ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายความว่าก็เกือบทุกองค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์ท�ำงาน นั่นแหละ
ทักษะสื่อสารกับวิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ต้องคุยกับลูกค้าได้รู้เรื่อง ทั้งสามารถ สื่อสารให้เข้าใจ และค้นหาความต้องการที่บางทีลูกค้า ไม่ ส ามารถสื่ อ สารออกมาได้ เ พราะไม่ มี ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ คอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับสังคม วันนี้ สังคมโลกเราเกี่ยวข้องกับดิจิตอลแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง ตื่นเช้ามาเจอโทรศัพท์มือถือ ที่ก็ถือเป็นคอมพิวเตอร์ เครือ่ งหนึง่ ข้อมูล รสนิยมความชอบ ความห่วงใย การสือ่ สาร การอ�ำนวยความสะดวก การใช้ชีวิตถูกเปลี่ยนเป็นดิจิตอล เกือบหมด เมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีคนเขียน โปรแกรมควบคุม ต้องมีคนสร้างอุปกรณ์เพื่อติดต่อกับมัน ดังนั้นยังต้องมีคนมาท�ำงานกับคอมพิวเตอร์อีกเยอะ
10
วิศวกรรมการผลิตยานยนต์ สาขาล่าสุดของวิศวะ PIM ปีการศึกษา 2557 ที่กำ�ลังจะมาถึง คณะวิศวกรรมศาสตร์ PIM จะมีสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต ยานยนต์ (Automotive Manufacturing Engineering - AME) เกิดเป็นสาขาวิชาใหม่ เพื่อเตรียม รับความเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตยานยนต์ อันดับต้นๆ ของโลก การเปิด AEC จะส่งผลให้เกิดการลงทุน เพิ่มทั้งผู้ผลิตยานยนต์รายเดิมและราย ใหม่ ไทยจะมีบทบาทเด่นชัดมากขึ้นใน ฐานะศู น ย์ ก ลางการผลิ ต ยานยนต์ นานาชาติของเอเชีย ฉะนั้นโอกาสการ ท�ำงานของบัณฑิตแขนง AME จะเปิด กว้างมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
ตอนนี้มีผู้ผลิตรถยนต์ จากทั่วโลกมาตั้งโรงงาน ผลิตในประเทศไทย ชัยภูมิที่ดี ตั้งอยู่ ใจกลาง ของภูมิภาคอาเซียน เหมาะสมต่อการผลิตและ กระจายสินค้าส่งออก
รศ.ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ผู้อ�ำนวยการหลักสูตรวิศวกรรม การผลิตยานยนต์ PIM
ปัจจุบันและอนาคตอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ ไทย ประเทศไทยมีนโยบายเป็นฐานการผลิตรถนานาชาติ คือเปิดการลงทุนทางตรงที่ เรียกว่า FDI - Foreign Direct Investment เราเลยมีผู้ประกอบการรถยนต์ขนาด ใหญ่ของญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป รวมถึงเกาหลี จีน และอินเดีย ถ้านับเป็นยี่ห้อหรือ แบรนด์ ก็มถี งึ 16-17 แบรนด์ โดยแต่ละแบรนด์มผี ผู้ ลิตชิน้ ส่วนรถยนต์ระดับรอง ลงมาที่ต้องผลิตชิ้นส่วนให้ ซึ่งเรียกทางเทคนิคว่า เทียร์ (Tier) อยู่ 3 ล�ำดับ ดังนี้ เทียร์ 1 มีผู้ผลิต 20-30 ราย เทียร์ 2 มีผู้ผลิตในระดับร้อย และเทียร์ 3 มีผู้ผลิตเป็น ตัวเลขหลักพัน รวมแล้วผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จริงๆ มีถึงประมาณ 3-4 พันราย
อุตสาหกรรมนี้ ใหญ่แค่ไหน และยังเติบโตไปได้อีก วันนี้ ตลาดแรงงานในไทยมีคนท�ำงานทั้ง พนักงานผลิตและวิศวกรถึง 3 แสนกว่าคน โดยวิศวกรมีจำ� นวนอยูท่ ี่ 3-5% ฉะนัน้ ตัวเลข จะเป็น 1-1.5 หมืน่ คน สอดคล้องกับปริมาณ การผลิตรถยนต์ทเี่ พิม่ ขึน้ ปี 2012 มีการผลิต รถยนต์ 2.4-2.5 ล้านคัน ปี 2014 คาดการณ์ ไว้ที่ 2.7 ล้านคัน ปี 2015 น่าจะเพิ่มถึง 3 ล้านคัน และอีก 5 ปีข้างหน้ายอดการผลิต อาจแตะ 4 ล้านคันต่อปี โดยเป็นการผลิต เพือ่ ใช้ในประเทศและส่งออก ซึง่ การส่งออก มีทงั้ ส่งออกเป็นรถทัง้ คันและการส่งออกเป็น ชิ้นส่วนด้วย
กำ�ลังการผลิตรถยนต์ของไทย
2012
2015
กำ�ลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้น บริ ษั ท ผู ้ ผ ลิ ต รถยนต์ ห ลายแบรนด์ มี นโยบายเพิ่มก�ำลังการผลิต โรงงานผู้ผลิต รถยนต์รายใหญ่หลายรายจะเพิม่ การผลิต จากการท�ำงาน 1 กะเป็น 2 กะในปีหน้า ซึ่งหมายถึงจะมีความต้องการคนท�ำงาน เพิม่ เป็นสองเท่า และปีถดั ไปอาจเพิม่ เป็น 3 กะ ฉะนั้นแนวโน้มการขยายตัวจะยังมี อย่างต่อเนื่อง
2013 (คาดการณ์)
2014 (คาดการณ์)
2017 (คาดการณ์)
11
วันนี้วิศวกรผลิตยานยนต์ เป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนมาก โอกาสที่หลากหลายทั้งทำ�งานและเรียนต่อ
นอกจากโอกาสด้านการท�ำงานแล้ว PIM ยังประสานกับสถาบันอื่น อาทิ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งมีหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกด้าน สาขาวิศวกรรมยานยนต์ เรียกว่ามีโอกาสทั้งท�ำงานหรือศึกษาต่อ และเริ่มประสานความ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเยอรมนีอีกด้วย
วิศวกรที่อุตสาหกรรมต้องการ โรงงานผลิ ต รถยนต์ มี ค วามต้ อ งการวิ ศ วกรอุ ต สาหการ ค่อนข้างมาก เพราะเป็นผู้มีส่วนส�ำคัญมากในการวางแผน ควบคุมกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพ และทดสอบทั้ง หลาย เมือ่ ความต้องการเป็นอย่างนี้ PIM จึงตัง้ ใจผลิตวิศวกร เกีย่ วกับยานยนต์โดยมีความรูด้ า้ นวิศวกรรมอุตสาหการเป็น พื้ น ฐาน หลั ก สู ต รวิ ศ วกรรมการผลิ ต ยานยนต์ ข องเราจึ ง เกิดขึ้นจากการน�ำวิศวกรรมอุตสาหการมาวางเป็นฐาน แล้ว เติมความรู้ด้านยานยนต์เครื่องกลเข้าไป จึงท�ำให้ต่างจาก หลั ก สู ต รของมหาวิ ท ยาลั ย อื่ น ที่ เ น้ น วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล เป็นหลัก แต่ PIM เน้นวางรากฐานด้านการบริหารจัดการการผลิต ยานยนต์ในภาคอุตสาหกรรม สามารถประยุกต์ใช้ในการ ท�ำงานหรือศึกษาต่อระดับปริญญาขัน้ สูง โดยมีความร่วมมือ กับสถาบันอื่นทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือความแตกต่าง และเป็นลักษณะเด่นของวิศวกรผลิตยานยนต์ของ PIM
Work-based Learning กับวิศวกรรมผลิตยานยนต์ เมื่อ PIM เน้นการปฏิบัติเป็นหลัก เพราะฉะนั้น จ�ำนวนหน่วยกิตทีเ่ กีย่ วของกับทฤษฎีจะน้อยกว่า ที่อื่น แต่จะมีหน่วยกิตด้านปฏิบัติมากขึ้น ภาพ ที่แท้จริงคือจ�ำนวนเวลา จ�ำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน การท�ำงานจริงๆ ในสถานประกอบการจะค่อน ข้างมากเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ ปี 1 นั ก ศึ ก ษาจะฝึ ก งานขั้ น พื้ น ฐานเหมื อ น นักศึกษาทุกสาขา และเมื่อขึ้นชั้นปี 2, 3 และ 4 จะได้ท�ำงานในโรงงานหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ ด้านยานยนต์จริงๆ
12
ถ้าอยากเรียนวิศวกรรม การผลิตยานยนต์ ต้องมีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เคมี ฟิสิกส์ เป็นพื้น ฐานที่ต้องเรียนอยู่แล้ว และสนใจอยากเรียนรู้เทคโนโลยียาน ยนต์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและอนาคต ทุกวันนีเ้ ทคโนโลยียานยนต์มีความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เยอะ มาก อาทิ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อม มี เ ทคโนโลยี ไ ฮบริ ดผสมผสาน พลังงานทั้งหลาย มีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ประหยัด พลังงานต่างๆ ซึง่ หากใครมีความสนใจเหล่านี้ มาเรียนก็จะเรียน ได้อย่างดีและสนุก
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีท่ีก้าวล้ำ�ไปไม่หยุดยั้ง ทุกๆ วันคนธรรมดาอย่างเรา และท่ า นได้ รั บ ประโยชน์ จ ากเทคโนโลยี ทั้ ง ที่ ล้ำ � ยุ ค และตกยุ ค อยู่ ทุ ก ขณะ การ สร้ า งเทคโนโลยี ใหม่ ๆ รวมทั้ ง รั ก ษาให้ ส มบู ร ณ์ เ ต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ ให้ทุกคนดำ�รงชีวิตได้อย่างปกติสุข งานเหล่านั้นส่วนหนึ่งอยู่ ในความรับผิดชอบ ของบรรดาวิศวกรชำ�นาญงานทั้งหลาย PIM ซึ่งเป็น Corporate University ใน กลุ่มซีพี ออลล์ จึงมุ่งสร้างบุคลากรมืออาชีพด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้วันนี้ เรามีเทคโนโลยีใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไปด้วยความราบรื่น • 13
คนเก่ง PIM
หมิว
สิรินันท์ ปวงอินชัย เข้าสู่โลกแอนนิเมชันได้ อย่างไร
แอนนิเมเตอร์นักล่ารางวัล มาไกลจากเชียงราย ศิษย์เก่า โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า ตั้งแต่เริ่มรู้จักแอนนิเมชัน ตอน เรียน ม.ปลาย สายศิลป์ ห้องแอนนิเมชัน หมิวก็ไม่เคยหยุด เดินหน้าไปพร้อมกับแอนนิเมชันเลย
และทีน่ กี่ ด็ เู ปิดกว้าง หมิวตัง้ ใจ ดูการ์ตนู ค่ะ การ์ตนู ญีป่ นุ่ ทัว่ ไป มาเรียนไอทีแต่อยากเน้นเกี่ยว รู ้ สึ ก ว่ า วิ เ ศษดี การท� ำ ให้ ตั ว กับมัลติมีเดีย และสาขาวิชาก็ สนับสนุนให้ทำ� งานส่งประกวด ละครขยับเคลื่อนไหวได้ ค่ะ ตอน ม.ปลาย เลยเลือกเรียน อะไรท�ำให้อยากเรียน สายศิลป์ ห้องแอนนิเมชัน ซึ่ง มัลติมีเดีย อาจารย์เน้นสอนการท�ำแอนนิ ชอบแอนนิ เ มชั น มาก ดู ม า เมชัน ให้เกรดจากการท�ำแอน ตัง้ แต่เด็ก รูส้ กึ ว่าอยากสร้างได้ นิเมชันส่งเข้าประกวด ไม่ว่ามี บ้าง ก่อนหน้านี้คิดว่าจะเป็น กี่งานที่ทราบก็ส่งเข้าประกวด เกมเมอร์ ก็ฝึกไปบ้าง แต่ว่า หมด การส่งประกวดนีท่ ำ� ให้ได้ แอนนิเมชั่นฝึกและเรียนรู้การ เดินทางมาอบรมเรื่อยๆ ถ้าไม่ สร้างเองได้ง่ายกว่าเกม ได้ เ ข้ า รอบ หมิ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ ม า กรุงเทพฯ แต่เข้ารอบก็ต้องมา เรียนไปเกือบครบเทอม อบรมและแข่งขัน และท�ำให้ แล้วเป็นอย่างไร อาจารย์จริงจังกับการสอนแต่ก็ รู้จัก PIM ด้วย นกันเอง และดูแลเอาใจใส่ เพราะแอนนิเมชันเลยรู้จัก เป็ มากค่ะ เพื่อนในห้องตั้งใจและ PIM ช่วยเหลือกัน พอใกล้สอบรุ่นพี่ รู้จัก PIM ครั้งแรก ตอนมาเข้า ก็นัดติวให้ก่อนสอบด้วย ค่ า ย Thailand Animation 2010 เป็นค่ายอบรม 5 วัน ให้ จบแล้วอยากเป็นอะไร สร้างแอนนิเมชันจาก Open- อยากท� ำ งานแอนนิ เ มชั น ค่ ะ source มีเพื่อนๆ มาจากทุก เคยคิดว่าท�ำงานบริษัท แต่คิด ภาคเลยตั้ ง แต่ เ หนื อ จรดใต้ ไปคิดมาก็คิดว่าการท�ำแอนนิ ตอนนั้ น ได้ ดู วี ดิ ทั ศ น์ แ นะน� ำ เมชัน เราสามารถท�ำเองก็ได้ สถาบันฯ ก็สนใจ พอคุยกับแม่ อาจจะเปิดบริษัทหรือรับงาน และดูรายละเอียดของ PIM แม่ อิสระ ก็โอเค เพราะเชื่อในซีพีค่ะ ถึงจะรู้จักแอนนิเมชันและเข้า นักศึกษาทุนความสามารถ มาข้องเกี่ยวไม่กี่ปี แต่เชื่อว่า พิเศษ แอนนิเมชันคงจะพาหมิวเดิน เลือกมาเรียนที่ PIM ไม่ได้ไป ทางต่อไปเรือ่ ยๆ ไม่มวี นั หยุด • สอบที่ อื่ น เลย เพราะได้ ทุ น ความสามารถพิเศษ ได้รับการ สนับสนุนค่าเทอม 100% ตอน แรกจะเข้าโควต้าที่มหาวิทยา ลัยอื่น แต่จ่ายค่าเทอมไม่ไหว
14
คนเก่ง PIM
ใบไผ่
วสิฐ ธีรภัทรธำ�รง นักศึกษาทุนเจียระไนเพชร ท�ำไมถึงสนใจเรียนรู้ศาสตร์ คอมพิวเตอร์
ผมสนใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก ตอน สอบเข้ามหาวิทยาลัยผมเลือกเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ทกุ อันดับเลย คอมพิวเตอร์ตวั แรกที่ได้จับตอนประถมยังเป็น Windows 3.1 แต่มาชอบจริงๆ ตอนอยู่ ป.6 ทีแ่ ม่ชวน ไปอบรมการเขียนเว็บไซต์อย่างง่าย พอได้ เริ่ ม เขี ย นก็ เ ห็ น ว่ า คอมพิ ว เตอร์ ใ ช้ ส ร้ า ง สรรค์อะไรต่างๆ ได้ เลยชอบคอมพิวเตอร์ นับแต่นั้น
เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับ Corporate University ของซีพี ออลล์
ทีบ่ า้ นให้เลือกตัดสินใจเองว่าจะเรียนอะไร ทีไ่ หน แต่เห็นด้วยทีม่ าเรียน PIM เพราะอยู่ ในเครือซีพี ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ในประเทศ เห็ น โอกาสได้ ท� ำ งานในอนาคต และ เหตุผลหนึ่งที่มาเรียนที่นี่เพราะได้รับทุน การศึกษา ช่วยลดภาระที่บ้านได้ พอมา เรียนก็ดี เพือ่ นในห้องช่วยเหลือกันดี ผมว่า มหาวิทยาลัยเรียนคนเดียว ถ้าไม่เก่งก็ไม่ รอด แต่ถ้าจะอยู่คนเดียวในสังคมก็อยู่ ไม่ได้ ไม่มีทางที่จะอยู่คนเดียวได้ตลอด
ไปท�ำ Robot แข่งขันได้อย่างไร
นี่คือครั้งแรกที่ได้สร้างหุ่นยนต์ ใช้เวลากับ มันไม่มาก แต่หลังจากไปแข่งมาแล้วก็เห็น ไอเดียของทีมอืน่ จะเอาส่วนนัน้ มาดูกบั สิง่ ที่เรามีแล้ววิเคราะห์ว่าเราท�ำได้หรือเปล่า ถ้าท�ำได้จะท�ำหรือเปล่า ถ้าท�ำไม่ได้มแี ผน ส�ำรองมั้ย แล้วถ้าท�ำได้แต่ไม่ท�ำแล้วมีวิธี อื่นมั้ย ต้องดูไปเรื่อยๆ ไปแข่งครั้งหน้าๆ คงจะโหดกว่านี้ การไปแข่ง WRO เป็น โอกาสดีเพราะผมว่าศึกษาเองร้อยวัน ไม่ เท่าเรียนกับคนรู้วันเดียว
Work-based Learning วิศวะคอมพิวเตอร์ ฝึกงานหลากหลายได้เติบโต
ฝึกงานมา 2 ครัง้ ปี 1 ฝึกทีร่ า้ น iStudio ของ บริษทั คอมเซเว่น อินเตอร์เนชันแนล จ�ำกัด ฝึกเป็นเซลล์กับช่าง ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ มากกว่า ผู้จัดการร้านให้ลองจับสินค้าทุก อย่าง ให้ท�ำทุกอย่างเลย เพื่อเราจะได้มี ความรู้ไปขายลูกค้าได้ ในร้านไม่ได้มีแค่ เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า แต่ มี ก ระเป๋ า มี อ ย่ า งอื่ น พอได้จับจะเปรียบเทียบได้ว่าราคาประ มาณนีเ้ ทียบกันแล้วเป็นยังไง เริม่ มองอะไร ละเอียดขึ้น
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เคยเป็ น ประธานชุ ม นุ ม คอมพิ ว เตอร์ ตอน ม.5 จับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกตอน ประถม ปั จ จุ บั น ศึ ก ษาชั้ น ปี 3 สาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรม ศาสตร์ PIM หนึ่งในสมาชิกทีมขนมชั้น ที่เข้าแข่งขัน World Robot Olympiad (WRO) การแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ ระดับนานาชาติ
จากตอนแรกเป็นเซลล์ พอปี 2 มาฝึกที่ บริ ษั ท แพคกอน จ� ำ กั ด บริ ษั ท พั ฒ นา ซอฟต์แวร์ระบบเครือข่าย เรียกว่าได้ท�ำ งานจริงๆ ที่บริษัทรับผิดชอบ เหมือนเป็น พนักงานคนหนึ่งของเขาเลย ได้รู้ว่าท�ำไม ท�ำงานมันล�ำบากอย่างนี้ แต่ทุกครั้งก็ได้ อะไรเพิ่มมาตลอด ผมไม่ได้ฝึกแค่เขียน โปรแกรม ได้รจู้ กั สิง่ ใหม่ในโลกคอมพิวเตอร์ อย่างคนท�ำงาน รู้ช่องทางแก้ปัญหา สรุ ป ว่ า การฝึ ก งานจะได้ ท� ำ อะไรที่ ป กติ ไม่ ไ ด้ ท� ำ ได้ เ รี ย นรู ้ เ พิ่ ม เติ ม เจอความ ท้าทาย เจอความรับผิดชอบเยอะมากๆ เลย ตัวผมมีความรู้น้อย แต่ว่ามีโอกาส มากกว่ า เพื่ อ นเก่ ง ๆ ที่ เ ขี ย น โปรแกรมเป็นตั้งแต่ ป.6 หรือ คนทีไ่ ด้ไปแข่งโอลิมปิกซะอีก เพราะผมได้ ป ระสบการณ์ จากท�ำงานจริง คนส่วนใหญ่ จบมาต้องมาท�ำงาน แต่ผม ได้เจอก่อน เจอมากกว่า ไม่ ได้เจอรูปแบบเดียว ได้อะไร ที่คนอื่นไม่ได้ลอง แล้วได้ ลองเยอะกว่าเขา แล้วก็เห็น path การท�ำงาน และก็อาจ ได้เส้นทางการท�ำงานใหม่ ของตัวเอง ล่ า สุ ด ที ม ขนมชั้ น ชนะเลิ ศ WRO 2013 ประเภทมหาวิทยาลัย และก�ำลังเตรียมตัว ไปแข่ ง ขั น ระดั บ โลก ที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ •
15
Letter From Osaka
40 นาทีจากโอซาก้า พาไปขึ้นเขาที่เกียวโต
พักจากการเรียนและทำ�งานไว้กอ่ น จดหมายจากโอซาก้าฉบับนี้ ชาติ ชลชาติ กำ�เนิดกลาง 1 ใน 5 นักศึกษาทุน Work & Study in Japan รุ่น 3 ขอ พาชาว PIM ขึ้นรถไฟไปเที่ยวเกียวโตด้วยกัน พร้อมกันนี้ มีภาพถ่าย สวยๆ จากกล้องคู่ ใจตัวใหม่ที่ ได้จากเงินเดือนเดือนแรกในญี่ปุ่นมาฝาก
221 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดพอๆ กันกับเกาะสมุยบ้านเรา ประชากร 2.6 ล้านคน แต่จะเพิ่มเป็น 3.7 ล้านคนในชั่วโมงทำ�งาน ในจำ�นวนประชากรทั้งหมด มีชาวต่างชาติ 16% (เรานักศึกษาทุนจาก PIM ทั้ง 5 คนก็อยู่ ในจำ�นวนนี้) 40 นาที จากโอซาก้าโดยรถไฟ เราจะไปเที่ยวเกียวโตกัน ขนาด GDP (ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ) ของโอซาก้าคือ 18.9% อยู่ ในลำ�ดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่นรองจากโตเกียวหรือเท่ากับประเทศไทยทั้งประเทศ
โอซาก้ามีพื้นที่
ฤดูใบไม้ผลิ (ปลายมีนาถึงต้นเมษา)
ระฆัง
โบราณ
เคาะจากบนภูเขา ชาวบ้านรอบๆ ได้ยินกันหมด
นักท่องเที่ยวมาสักการะศาลเจ้า ก่อนรอชมขบวนแห่เทศกาล
กิออง
ช่วงหัวค่ำ�
โอซาก้าดึงดูด นักท่องเที่ยวนับแสน จากทั่วโลกไปชม
ดอกซากุระบาน Maruyamakoem ทิวทัศน์เกียวโตจากบนภูเขาใกล้ๆ กับสวนสาธารณะ สวยและบรรยากาศดีจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง
บรรยากาศรอบๆ ศาลเจ้า
ที่เขาว่ากันว่าคนเราเวลาเครียดๆ ให้มาอยู่กับธรรมชาติ อยู่ ในที่เงียบสงบ จะทำ�ให้เกิดความคิดดีๆ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
เมื่ออยู่ ในโอซาก้าวิธีประหยัดเงินได้มาก อีกวิธีคือการ
ปั่นจักรยาน
16
Gion Matsuri
เทศกาล หรือเทศกาล ประจำ�ศาลเจ้ายะซะคะ (Yasaka Shrine) เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย โรคร้าย และภัยพิบัติ ต่างๆ ให้ออกไปจากเมือง เสมือนเป็นการชำ�ระเมืองให้สะอาด บริสุทธิ์ จะได้มีแต่สิ่ง ดีเข้ามา ทั้งความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำ�รวยมั่งคั่ง และความสุข
ที่มา : ชลชาติ ก�ำเนิดกลาง นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก PIM | www.marumura.com, www.japan-guide.com
Our Network เรื่องเล่าขององค์กรบิ๊กไซส์ : มนตกานต์ วีรชัยเดชอุดม
กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าแห่งความ ส�ำเร็จขององค์กรชั้นน�ำระดับบิ๊ก ในฉบับปลายฝนต้นหนาวนี้ พี่ มี อี ก หนึ่ ง เรื่ อ งเล่ า ขององค์ ก รยั ก ษ์ ใ หญ่ ร ะดั บ ประเทศด้ า น ยานยนต์ หากน้องๆ เคยสังเกตด้านข้างของชิ้นส่วนประกอบ รถยนต์บนท้องถนนหรือรถบรรทุกขนาดใหญ่แล้ว คงจะเคยเห็น สัญลักษณ์ “SMM” หรือ ทีใ่ นวงการธุรกิจกล่าวขานถึงต�ำนานของ บริษัทแห่งนี้ในนาม “บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริ่ง จ�ำกัด (มหาชน)” นั่นเอง จุดเริ่มต้นของ “สามมิตร” เกิดจากการผลิตกลไกส่วนประกอบ ยานยนต์ชิ้นเล็กๆ จนเติบโตมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ และรถบรรทุกในรูปแบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) ให้กับบริษัทยานยนต์ชั้นน�ำ และขยายขอบข่ายความร่วม มือด้านเทคนิคร่วมกับบริษทั ชัน้ น�ำจากประเทศญีป่ นุ่ ไม่วา่ จะเป็น Shin Meiwa Industry หรือ Toyota Auto Body ซึง่ มีสว่ นให้มกี าร พัฒนาเทคนิคการผลิตระบบไฮดรอลิกและระบบกลไกการท�ำงาน รวมทัง้ เทคนิคในการออกแบบและผลิตแม่พมิ พ์ และขยายกิจการ ครอบคลุมการผลิตยานยนต์เพื่อการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ทั้ง การผลิตรถพ่วง รถกึ่งพ่วง และรถบรรทุกชนิดพิเศษ เป็นต้น กว่า 46 ปีที่ผ่านมา วันนี้สามมิตรเติบโตในระดับนานาชาติ โดย เพิม่ ฐานการผลิตในประเทศจีนและทีส่ ำ� คัญ สามมิตรยังเป็นผูถ้ อื หุ้นใหญ่ทั้งหมดอีกด้วย นอกจากอุปกรณ์ด้านยานยนต์แล้ว ยัง คงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านยานยนต์อย่างไม่หยุดยั้ง โดยก้ า วสู ่ โ ครงการวิ จั ย และพั ฒ นาเครื่ อ งยนต์ แ ละอุ ป กรณ์ ดัดแปลงเครื่องยนต์เอ็นจีวี และการประกอบรถบรรทุกเอ็นจีวีทั้ง คัน ซึ่งท�ำให้ได้รับความไว้วางใจจาก FAW W-Volkswagen Automobile Co.,Ltd. ในประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการติดตั้ง
อุปกรณ์ดดั แปลงเครือ่ งยนต์เอ็นจีวี ส�ำหรับรถยนต์สว่ นบุคคลยีห่ อ้ Volkswagen และ Audi สามมิตรยังคงพัฒนาคุณภาพสินค้าและขยายขอบข่ายการผลิต อุปกรณ์ส�ำหรับยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์เพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนได้จากการรับรองคุณภาพจาก องค์กรระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น ISO 9001:2000 ด้านระบบการ จัดการคุณภาพส�ำหรับผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ หลังคาเหล็ก รถดัมพ์ รถพ่วงและรถกึ่งพ่วงเพลาล้อและกระบอกไฮดรอลิก, ISO/TS 16949:2002 ในด้านระบบบริหารคุณภาพส�ำหรับอุตสาหกรรม ยานยนต์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนขึ้นรูปโลหะ หรือ ISO 14001: 2004 ในด้านระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมส�ำหรับการผลิต หลังคาเหล็กและชิ้นส่วนขึ้นรูปโลหะ เป็นต้น วันนี้ สามมิตรก็กลายเป็นหนึ่งในผู้น�ำการผลิตและจ�ำหน่ายรถ บรรทุกเอ็นจีวี พร้อมทั้งให้บริการรับดัดแปลงและติดตั้งเครื่อง ยนต์เอ็นจีวีของประเทศไทย และเติบโตเป็นองค์กรระดับมหาชน ที่มาพร้อมกับต�ำแหน่ง “ผู้น�ำเสนอทางออกด้านโลจิสติกส์แบบ ครบวงจร (One Stop Logistics Solution Provider)” น้องๆ คะ ความส�ำเร็จขององค์กรนี้บอกได้ค�ำเดียวว่า โอ้โห! เบื้องหลัง “สามมิตร” องค์กรด้านวิศวกรรมยานยนต์แห่งนี้ ยังคง มีเรือ่ งราวให้เข้าไปค้นหาอย่างไม่จบสิน้ หากน้องๆ รุน่ ใหม่ไฟแรง คนไหนพร้อมในการเปิดโลกแห่งการเรียนรูเ้ ชิงปฏิบตั ริ ปู แบบใหม่ ทีเ่ น้นประสบการณ์จากการการลงมือปฏิบตั จิ ริง อย่ารอช้านะคะ ครอบครัว PIM ยังคงเปิดรับสมาชิกใหม่อยู่เสมอ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าต้อนรับฤดูหนาวกับเรือ่ งราวขององค์กร ระดับบิ๊กที่ไม่มีวันหมด •
17
เรื่องจีนจากซีหนาน
การใช้ชวี ติ 1 ปีทมี่ หาวิทยาลัยซีหนาน คือโอกาสดีทไี่ ด้พฒ ั นาทักษะ ภาษาจีนในสภาพแวดล้อมจริง และได้เห็นความแตกต่างเรือ่ งการ ด�ำรงชีวิตของชาวจีน สภาพแวดล้อมที่นั่น ท�ำให้ได้เรียนรู้ค้นคว้าอย่างคุ้มค่า นอกจาก ภาษาจีนที่ดีขึ้น ยังได้เพื่อนชาวจีนอีกมากมาย ในเทศกาลต่างๆ ก็ มีโอกาสสัมผัสบรรยากาศจริง โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีนกับ ครอบครัวจีน ท�ำให้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนจีนจริงๆ การเดินทาง ท่องเที่ยวไปยังเมืองต่างๆ แต่ละเมืองแต่ละมณฑลก็มีสภาพ อากาศแตกต่างกัน นอกจากความรู้มากมาย ยังได้ด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเองโดยไม่มี ครอบครัวคอยช่วยเหลือ เป็นประสบการณ์ที่ล�้ำค่ามาก ขอบคุณคุณยายและแม่ที่ให้โอกาสดีกับดิฉัน
พิลาวรรณ พิมพิลา
1 ปีที่แสนคุ้มค่า ท�ำให้ดิฉันพัฒนาความรู้ด้านภาษาจีน อย่างรวดเร็ว สอนให้รจู้ กั ดูแลตัวเอง เป็นผูใ้ หญ่มากขึน้ เป็น คนกล้าแสดงออกและมัน่ ใจในการใช้ภาษาจีนมากขึน้ จาก เมือ่ ก่อนทีเ่ รียนแต่ในหนังสือ พูดภาษาจีนอยูแ่ ค่ในห้องเรียน ผิดๆ ถูกๆ เลยไม่ค่อยกล้าพูด แต่พอไปอยู่ที่โน่น ได้ทั้งพูด และฟังภาษาจีนทุกวัน ความคุน้ เคยทีม่ มี ากขึน้ จึงไม่ใช่เรือ่ ง แปลกเลยทีว่ นั นีก้ ลายเป็นคนชอบภาษาจีนมากขึน้ ขนาดนี้ ขอบคุณโครงการดีๆ PIM กับมหาวิทยาลัยซีหนาน ที่เปิด โอกาสให้พวกเราได้ไปเรียนถึงประเทศจีน ไปเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ และสามารถน�ำความรูน้ นั้ กลับมาพัฒนาตัวเราและประเทศ พีรพรรณ วิสูตรศักดิ์
เมือ่ มองย้อนกลับไปหนึง่ ปีการศึกษาทีผ่ า่ นมา จากเป็นคนทีไ่ ม่กล้าพูดคุยกับคนจีน ก็กลาย เป็นชวนคนจีนคุยได้ทั้งวัน จากที่ไม่เคยสนใจ ไม่เคยท�ำอะไรเอง ก็กลายเป็นท�ำเองได้ทุก อย่าง จากไม่เคยมีเพื่อนคนจีน ก็มีเพื่อนคนจีนนับไม่ถ้วน ได้รับประสบการณ์ทั้งดีและที่ ไม่ดีจากคนจีนมากมาย การซื้อของในแต่ฤดูกาล การโก่งราคา แบงค์ปลอม แท็กซี่จีน การเดินทางในประเทศจีน วัฒนธรรมที่แตกต่าง นั่นคือบางส่วนของการเรียนรู้ ที่ท�ำให้ได้ เรียนรู้การเอาตัวรอดในชีวิตจริงมากขึ้น ถ้าไม่ได้ลงไปสัมผัสจริงไม่เจอกับตัวจริงๆ ก็ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งนั้นได้อย่างถ่องแท้ และ ประสบการณ์เหล่านี้จะอยู่กับตัวเราไปตลอดชีวิต จิตวดี ชูสิทธิ์
18
เรื่องจีนจากซีหนาน
การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยซีหนาน ดิฉันเรียนรู้หลายด้านทั้งเทคนิคการ เรียน ประเพณีควรปฏิบัติของคนจีน และสิ่งอื่นอีกมากมายที่ได้จากการ แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนชาวจีน ฉันเข้าร่วมกิจกรรมชมรมอาสาพัฒนา ในมหาวิทยาลัยซีหนาน โดยทุกวันศุกร์พวกเราจะไปสอนเด็กและท�ำ กิจกรรมพัฒนาความรู้และความคิด ช่วงปิดเทอมเดินทางไปเมืองกวางโจว เพื่อไปตามหาบ้านของบรรพบุรุษ ระหว่างทางได้เพื่อนใหม่หลายคนและได้รับความช่วยเหลือ ที่หมู่บ้านเถา หยวนได้เจอญาติที่ไม่เคยเจอมาก่อน พวกเขาสอนฉันเรื่องวัฒนธรรมและ ประเพณีต่างๆ สิ่งที่ได้จากการเดินทางนี้ คือฉันรู้ว่าการใช้ภาษาจีนที่เรียนมาและความ พยายาม ท�ำให้ได้รับประสบการณ์และความประทับใจอย่างที่ไม่เคยนึก จึงรู้ว่าการเรียนภาษาจีนมีความส�ำคัญกับชีวิตฉันหลายแง่มุม เอื้อการย์ เหรียญชัยเจริญ
ประสบการณ์มากมายทั้งในและนอกห้องเรียน ดิฉันได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ของเพื่อนคนจีน เรียนรู้ภาษาจีนท้องถิ่น วัฒนธรรมความเป็นอยู่ วิธีพัฒนา ภาษาจีนของตนเอง รวมถึงเรียนรู้ที่จะท่องเที่ยวด้วยการหาข้อมูลทาง อินเตอร์เน็ต สิ่งประทับใจมากที่สุดคือมิตรภาพของคนจีน เพราะไม่ว่าฉันจะท่องเที่ยว ไปที่ไหนหรือเดินทางไปไหน ก็มักจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มระหว่างทาง มัทธิดา เมฆศิริ
ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่มากมายทั้งวัฒนธรรม สังคม การเรียน ภาษา และเพือ่ น แน่นอนว่าต่างถิน่ ต่างที่ วัฒนธรรมย่อมแตกต่าง ด้านการเรียน ได้เรียนรู้ ว่ า ประเทศจี น นั้ น เขาเรี ย นเขาสอนกั น อย่ า งไร พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาจีนเป็นอย่างไร ได้เรียนรูแ้ ละซึมซับโดยไม่รตู้ วั ส่วนทีด่ กี น็ ำ� มาปรับ ใช้พัฒนาตัวเรา ท�ำให้พัฒนาศักยภาพตัวเองทั้ง ทักษะภาษา เราใช้ภาษาจีนได้ดขี นึ้ ได้เรียนรูภ้ าษา ใหม่อย่างภาษาเกาหลีและภาษารัสเซีย เพราะที่ มหาวิทยาลัยซีหนานมีนักศึกษาต่างชาติหลาย ประเทศ ได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์ อย่างมาก ที่เราจะน�ำไปปรับใช้ในอนาคตได้ทั้ง ด้านการท�ำงานหรือค้าขาย เพราะการจะท�ำงานให้ ส�ำเร็จหรือค้าขายได้บรรลุผล เรื่องวัฒนธรรมเป็น สิ่งส�ำคัญ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ทีไ่ ด้จากการไปศึกษาทีม่ หาวิทยาลัย ซีหนาน 1 ปีนั้น คือท�ำให้เราแข็งแกร่งมากขึ้น เปิด โลกทัศน์ของตัวเราได้กว้างไกลมากขึ้น พงศกร ตรงปัญญาโชติ
19
โลกใบกว้าง : ทิพวรรณ อภิวันท์วรรัตน์
“ที่นั่ง”นั้นสำ�คัญไฉน
ดิฉันจั่วหัวเรื่อง “ที่นั่ง” ไม่ได้กำ�ลังจะกล่าวถึง เก้าอี้ เบาะ เสื่อ ตั่ง หรือสารพัดที่นั่งที่เราท่านเข้าใจกัน แต่กำ�ลังหมาย ถึงการแสดงสถานะของผู้นั่งว่าเป็นบุคคลสำ�คัญเพียงไร ในวัฒนธรรมการทำ�งานของคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติที่มีระบบ อาวุโสที่เข้มงวดชาติหนึ่งในโลก
ที่นั่งในรถแท็กซี่ หรือรถที่มี พนักงานขับรถ
ที่นั่งในรถซึ่ง ผู้ขับไม่ได้เป็นพนักงานขับรถ ที่นั่งในห้องประชุม
3
5
7
ทางเข้า 1
4
1 3 2
4
4
2
2
3
1
6
ที่นั่งในรถไฟชินคันเซ็น
ถ้าคุณท�ำงานในบริษัทญี่ปุ่น สิ่งที่คุณจะพบเป็นประจ�ำคือ การ ได้รบั มอบหมายให้ไปรับลูกค้า หรือแขกคนส�ำคัญของบริษทั หรือ ไม่กเ็ ข้าร่วมงานเลีย้ งสังสรรค์ของบริษทั ในวันศุกร์สดุ สัปดาห์ หรือ เลี้ยงรับรองแขกที่เข้ามาเยี่ยมเยียนดูงานของบริษัท และเข้าร่วม การประชุมทีม่ เี ป็นประจ�ำเกือบทุกวัน รวมถึงการร่วมท�ำงานแบบ หามรุ่งหามค�่ำ นายไม่กลับลูกน้องก็ไม่ (กล้า) กลับ เป็นต้น ซึ่ง ทุกครั้งของการพบปะ หารือ ประชุมพูดคุยหรือแม้แต่ไปรับแขก ถ้าต้องจัด “ทีน่ งั่ ” ทุกคนต้องให้ความส�ำคัญเพราะเป็นสิง่ สะท้อน ว่าคุณเข้าใจวัฒนธรรมการท�ำงานของคนญีป่ นุ่ หรือไม่นนั่ เอง โดย ในการพบปะแต่ละครั้งมีค�ำสองค�ำที่ใช้เรียก “ที่นั่ง” ที่บ่งบอก สถานะ คือ Kamiza (ที่นั่งของแขกหรือบุคคลส�ำคัญที่สุดของ บริษัทจะอยู่ไกลจากประตูหรือเป็นที่ที่สบายที่สุด ไม่ถูกรบกวน จากผู้คนรอบข้าง) และ Shimoza (ที่นั่งของผู้อ่อนอาวุโสที่สุด มักอยู่ใกล้ประตูทางเข้า)
20
การไปรับลูกค้าซึ่งเป็นแขกหรือบุคคลส�ำคัญของบริษัท โดยเอา รถของบริษทั หรือรถส่วนตัวทีเ่ ราเป็นผูข้ บั เองไปรับยังจุดนัดหมาย ต�ำแหน่งทีแ่ ขกคนส�ำคัญจะนัง่ ในรถคือ เบาะหน้าข้างคนขับ ส่วน เบาะหลังจะเป็นทีน่ งั่ ของผูต้ ดิ ตาม ถ้ามีผตู้ ดิ ตามสามคนผูอ้ าวุโส น้อยทีส่ ดุ จะนัง่ เบาะหลังตรงกลาง แต่หากคุณใช้รถแท็กซีห่ รือรถ บริษัทที่มีคนขับ แขกคนส�ำคัญจะนั่งหลังคนขับ ส่วนผู้ไปรับที่ อาวุโสน้อยที่สุดจะนั่งเบาะหน้าข้างคนขับ เพื่อบอกทางหรือเพื่อ จ่ายค่าโดยสาร ในกรณีของการนั่งรถไฟหัวจรวด หรือชินคันเซ็น ก็เช่นเดียวกัน ทีต่ อ้ งมีการระมัดระวังเรือ่ งการจัด “ทีน่ งั่ ” ด้วย โดย ส่วนใหญ่แล้ว จะจัดให้แขกคนส�ำคัญนั่งริมหน้าต่างที่จะไม่มีคน ลุกเข้าผ่านพลุกพล่าน ยกเว้นว่าแขกท่านนั้นจะต้องลุกเข้าห้อง น�้ำบ่อยๆ เพราะปัญหาสุขภาพ ก็จะจัดให้นั่งริมทางเดิน แต่ต้อง มีการสอบถามกันเสียก่อนเพื่อความเหมาะสม
ถุงผ้าสปันบอลล์
20 บาท การประชุมและงานเลีย้ งทีจ่ ดั ”ทีน่ งั่ ” ก็เช่นเดียวกัน แขกคนส�ำคัญทีส่ ดุ ในการประชุมจะนัง่ ตรงกลางซึง่ เป็นทีน่ งั่ ทีจ่ ะต้องห่างจากประตู ไม่ถกู รบกวนจากการสัญจรไปมาในการประชุม ส่วนผูอ้ อ่ นอาวุโสทีส่ ดุ จะนัง่ ใกล้ประตูทางออก เพือ่ คอยติดต่อประสานงานอ�ำนวยความสะดวกใน การประชุม ทีส่ ำ� คัญคือการพบปะทุกครัง้ ในวัฒนธรรมการท�ำงานของ ญี่ปุ่นนั้นผู้ที่มีต�ำแหน่งรองๆ รวมทั้งผู้อ่อนอาวุโสทั้งหลายจะต้องเข้า ประจ�ำทีใ่ ห้เรียบร้อยก่อนแขกคนส�ำคัญหรือประธานในทีป่ ระชุมจะมา ถึง จุดนี้ค่อนข้างแตกต่างจากวัฒนธรรมของไทยที่ต้องเชิญผู้ใหญ่ เข้าไปก่อนแล้วผูน้ อ้ ยหรือลูกน้องจะตามเข้าไปเป็นพรวน ซึง่ ท�ำให้เกิด ความวุ่นวายชุลมุนในการหาที่นั่ง ดังนั้นจึงควรระวังเมื่อต้องพบปะ ประชุมกับคนญี่ปุ่น
หมวกแก๊ป
130 บาท สมุดบันทึก
45 บาท
ผ้าขนหนู I love PIM
75 บาท ผืนเล็ก 40 บาท ผืนกลาง
ในร้านอาหารแบบญี่ปุ่น
Tokonoma 5
1
ปากกา กระเป๋า I love PIM (ด�ำ, เทา) กระเป๋าเช็คอิน @PIM
3
85 บาท
6
7
พัดสปริง
15 บาท 8
2
4
Entrance Door
ในร้านอาหารก็เช่นเดียวกันเมือ่ ต้องจัดเลีย้ งต้อนรับคนญีป่ นุ่ แขกคน ส�ำคัญของคุณจะต้องนัง่ ห่างจากประตู เพือ่ ไม่ให้ถกู รบกวนจากการ เดินเข้าเดินออกของบริกร หรือของบุคคลอืน่ ๆ ในร้าน จุดสังเกตง่ายๆ คือ ถ้าเป็นร้านสไตล์ญี่ปุ่นที่นั่งบนเสื่อทาทามิจะมีมุมที่เรียกว่า โทะ โคะโนะมะ (Tokonoma) ซึ่งตกแต่งวางแจกันดอกไม้แบบอิเคะบะ นะ (Ikebana ) หรือแผ่นตัวอักษรค�ำคมไว้ ผู้ที่ส�ำคัญที่สุดจะนั่งด้าน หน้าของมุมนี้ ส่วนผู้ที่อาวุโสน้อยที่สุดจะนั่งใกล้ประตูเช่นเดิม เพื่อ คอยประสานบริกร คอยติดต่อเชื้อเชิญแขกที่ยังมาไม่ถึง และคอย จ่ายเงินในขั้นตอนสุดท้าย เป็นต้น กล่าวโดยสรุปว่า “ที่นั่ง” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเป็นเครื่องหมาย สะท้อนความส�ำคัญของผู้นั่ง ดังนั้นเมื่อเราต้องติดต่อกับญี่ปุ่น จึง ควรต้องใส่ใจ เพราะ “ที่นั่ง” นี้มาคู่กับอ�ำนาจที่พร้อมจะบันดาล ให้การเจรจาธุรกิจของคุณราบรื่นประสบผล หรือบันดาลให้การ ท�ำงานของคุณในหน่วยงานญีป่ นุ่ ร่วงหรือรุง่ ได้ทนั ที ...คราวนีท้ กุ ท่าน คงทราบแล้วว่า “ที่นั่ง” นั้นไฉนจึงส�ำคัญนะคะ!!! •
เสื้อยืดคอกลม
100 บาท
เสื้อโปโลขาวเขียว
290 บาท
เสื้อโปโลเช็คอิน @PIM
290 บาท
สนใจของที่ระลึก ติดต่อคุณธนพัฒน์ (ต้น) ส�ำนักสื่อสารองค์กร เปิดจ�ำหน่ายทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
Living with Innovation : วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร
ฟาร์มในอนาคต (FARM of the FUTURE)
ศูนย์วิศวกรรมหุ่นยนต์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Robotics Engineering Center) คาดการณ์ว่าการท�ำฟาร์มในอนาคตของ เกษตรกรชาวอเมริกนั จะต้องใช้นวัตกรรมทันสมัยอย่างหุน่ ยนต์ให้ทำ� งานในฟาร์มอย่างเต็มรูปแบบ ซึง่ จะช่วยลดต้นทุนการท�ำฟาร์ม ลงอย่างมาก ลดความต้องการแรงงานคนท�ำงานลง แต่จะเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงานและผลผลิตมากขึน้ ซึง่ จะท�ำให้สหรัฐฯ ยังคง รักษาความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรในระดับโลกได้ โดยหุน่ ยนต์เกษตรจะช่วยเพิม่ ขีดความสามารถการท�ำฟาร์มหลายๆ เรื่องด้วยกัน ได้แก่
เพิ่มความ ปลอดภัยในการท�ำงาน เพราะท�ำงานได้โดยไม่ต้องมี คนขับผู้ควบคุมอยู่ภายนอก ลดความเสี่ยงจากการฉีดพ่น สารเคมีปราบศัตรูพืชและ อุบัติเหตุต่างๆ
หุ่นยนต์ เกษตรลุยงานได้ทั้งวัน ทั้งคืนไม่มีเหนื่อยล้าไม่ ต้องการวันหยุดสุด สัปดาห์และหยุด พักร้อน
ลดปริมาณ การใช้สารเคมี เพราะการ พ่นสารเคมีของหุ่นยนต์เกษตรถูก ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ จึงฉีด พ่นสารเคมีในพื้นที่ที่ต้องการได้ อย่างแม่นย�ำ ลดการใช้สาร เกินจ�ำเป็น ประหยัด ค่าใช้จ่าย
ช่วยดูแล ป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืช ได้อย่างแม่นย�ำเพราะสามารถใช้ หุ่นยนต์เกษตรติดตามการเจริญเติบโต ของพืชตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกไปจนถึงการ เก็บเกี่ยว หุ่นยนต์ติดตามสามารถนับ จ�ำนวนแมลงและความเสียหายจาก โรคได้ จึงท�ำให้เกษตรกรรู้ปัญหา ก่อนและแก้ไขปัญหา ได้
ลดการพึ่งพา แรงงาน หุ่นยนต์ เกษตรท�ำอย่างที่คนท�ำได้ แม้แต่งานที่ต้องการความ ประณีตระมัดระวังเช่นการ เก็บผลไม้ เป็นต้น
การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับพืชแต่ละประเภท หุ่นยนต์สามารถ เก็บเกี่ยวพืชผลที่ต่างประเภทกันได้ทั้งผลไม้และผักในช่วงเวลา ที่เหมาะสมที่สุด ท�ำให้ได้ผลผลิตคุณภาพ จ�ำหน่ายได้ราคาสูง
หุ่นยนต์ เกษตรจะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ซึ่งผลลัพธ์ ก็คือเกษตรกรรายย่อยมีก�ำไร เพิ่มขึ้น สามารถแข่งขัน กับตลาดโลกได้ เก็บความ ปรับปรุง และภาพประกอบจาก FARM of the FUTURE www.rec.ri.cmu.edu/projects/flyer/farm.pdf
22
สามารถจ�ำแนกการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับ พืชแต่ละชนิด การใช้หนุ่ ยนต์ดแู ลตลอดวงจรชีวติ ของ พืช ท�ำให้ควบคุมคุณภาพพืชได้อย่างเฉพาะจุด ตรวจ สอบได้วา่ แต่ละจุดมีสารอาหารอะไรขาดหรือเกินไป ต้องลดต้องเพิ่มต้องป้องกันแมลงและศัตรูพืชไหม ท�ำให้ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงได้แม่นย�ำ ลดปริมาณสาร เคมี ดูแลได้ตามความต้องการที่แตกต่างของพืช
PIM Underline
ทีมขนมชั้น วิศวะ PIM คว้ารางวัลชนะเลิศ World Robot Olympiad Thailand 2013
ขอแสดงความยินดีกบั ทีมขนมชัน้ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชัน้ ปีที่ 3 ทีไ่ ด้รบั รางวัล ชนะเลิศ การแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ 2556 (World Robot Olympiad - WRO) ประเภทมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต กรุงเทพฯ โดยหลังจากนี้ทีมขนมชั้นต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก ในฐานะตัวแทนของ ประเทศไทย ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายนนี้
ภารกิจ Mars Colony
การแข่งขัน WRO ครั้งนี้ มีโจทย์ว่า Mars Colony เป็นการสมมติสถานการณ์ว่าหุ่นยนต์ (ที่ท�ำงานอย่างอัตโนมัติ ไม่มีคนบังคับ) ลง ไปดาวอังคารในเขตพืน้ ทีข่ องเรา ซึง่ แต่ละเขตย่อยมีแร่ และความต้องการแร่ทแี่ ตกต่างกัน โดยจะต้องท�ำให้เกิดผลก�ำไรสูงสุดในการ แลกเปลี่ยนสินค้าจากอีกที่หนึ่งสู่อีกที่ ภายในการชาร์จแบตเตอรี่เพียงครั้งเดียว ระยะเวลาภารกิจ 300 วินาที ขนาดหุ่นไม่เกิน 300 ลูกบาศก์มลิ ลิเมตร ซึง่ ภารกิจจ�ำลองการท�ำงานของอุตสาหกรรมอัตโนมัตติ า่ งๆ ทีต่ อ้ งท�ำงานตามข้อจ�ำกัดด้านเวลา ระยะทาง ก�ำลัง ล�ำดับขั้นตอน วิธีการ ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมากส�ำหรับหุ่นตัวหนึ่งๆ
บันทึกการแข่งขัน
ในทีมไม่เคยแตะหุน่ ยนต์กนั มาก่อน เป็นเรือ่ งไม่งา่ ยเลย พวกเรามีเวลาเรียนรูก้ นั น้อยมากๆ ต้องใช้ความสามารถของเซ็นเซอร์และส่วนเคลือ่ นไหว ต่างๆ การเขียนโปรแกรมควบคุมตัวหุน่ การท�ำงานก็มบี า้ งทีค่ วามเห็นไม่ตรงกันแต่การมีหนุ่ ตัวเดียว มีทมี เดียว เวลาทีจ่ ำ� กัดไม่สามารถทดลอง ได้ทุกรูปแบบ ทุกความคิดได้ ก็จ�ำเป็นต้องเลือกหนึ่งทางมาพัฒนาต่อ หลังสอบปลายภาคเราท�ำหุ่นกันหามรุ่งหามค�่ำ ผลที่ออกมาคือตื่นสาย แล้วยังไม่คืบหน้าอีก พอตัดสินใจได้ว่าต้องนอนได้แล้ว หลังจากนั้นการพัฒนาหุ่นในช่วงเวลาที่จ�ำกัดก็ท�ำได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ก่อนการแข่งก็คาดเดากันไปต่างๆ นานา ทั้งกลัว กังวล กดดัน พอเริ่มซ้อมในสนามจริงจึงเห็นว่าทีมเรามีข้อได้เปรียบหลายอย่าง แต่ชั่วข้ามคืน หลายทีมปรับตัวได้เร็วอย่างน่ากลัว บางทีมเห็นหุน่ ของเราท�ำภารกิจได้ ก็ทำ� กลไกใหม่ตามแบบของเราทุกประการ แต่ อ.ปอคิดว่าเราได้แนวคิด กลไกนีม้ าตัง้ แต่แรกๆ แล้ว ยังไงก็ได้เปรียบกว่าแน่นอน เพราะได้ซอ้ มและแก้ไขจนสมบูรณ์แล้ว ซึง่ สุดท้ายก็เป็นไปตามทีค่ าดการณ์ไว้ สุดท้าย ก็ต้องขอขอบคุณ อ.ปอ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร ที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่ต้นจนจบ วสิฐ ธีรภัทรธ�ำรง
สมาชิกทีม
นายวสิฐ ธีรภัทรธ�ำรง (หัวหน้าทีม) นายปเชชญา ปั้นสังข์ นายอุดม ได้พร้อม
ทีมงานสนับสนุน
นางสาวบุษยา กัลยาณสิริ นางสาวชัชชญา ฐิติวรากุล
ผู้คุมทีม
ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร
23
คณะวิศวกรรมศาสตรและเทคโนโลยี PIM The Faculty of Engineering and Technology หลักสูตรคุณภาพสูการเปนวิศวกรมืออาชีพ
• เรียนกับคณาจารย วิทยากร และผูบริหารมืออาชีพจากบริษัทเอกชนชั้นนำในประเทศไทย • เรียนรูจากการทำงานจริง (Work-based Learning) ในสถานประกอบการ • โอกาสเริ่มการทำงานสายตรงตามสาขา • มีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเรียนดี
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร แนวทางการประกอบอาชีพ • นักโปรแกรม • นักพัฒนาเว็บไซต • วิศวกรคอมพิวเตอร • ผูดูแลระบบโครงขาย • ผูจัดการโครงการคอมพิวเตอร • นักวิชาการดานวิศวกรรมคอมพิวเตอร • นักวิเคราะหและออกแบบระบบคอมพิวเตอร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางการประกอบอาชีพ • นักพัฒนาเว็บไซต • ผูจัดการซอฟตแวร • นักพัฒนาโปรแกรม • ผูดูแลระบบเครือขาย • นักเทคโนโลยีสารสนเทศ • ผูจัดการโครงการสารสนเทศ • ผูจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ • นักวิชาชีพในองคกรที่มีการใชไอที • นักวิเคราะหและออกแบบระบบงาน
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ แนวทางการประกอบอาชีพ • วิศวกรอุตสาหการ • ผูออกแบบระบบงาน • นักจัดการอุตสาหกรรม • วิศวกรประเมินคุณภาพ • ผูประเมินตนทุนการผลิต • วิศวกรผูปรับปรุงคุณภาพ • วิศวกรสิ่งแวดลอมเชิงอุตสาหกรรม • วิศวกรออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม • วิศวกรปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน NEW!
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต แนวทางการประกอบอาชีพ • วิศวกรการผลิตยานยนต • วิศวกรทดสอบและประกันคุณภาพ • นักวิจัยและพัฒนายานยนต • ผูประกอบการผลิตชิ้นสวนยานยนต
เปดรับสมัครนักศึกษาแลววันนี้ สมัครออนไลนที่ www.pim.ac.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2832 0200 ถึง 14