วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2

Page 1


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2558 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 7 No.2 May-August 2015 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2558 PANYAPIWAT JOURNAL Volume 7 No.2 May-August 2015

จัดท�ำโดย

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2832-0908 โทรสาร 0-2832-0392

พิมพ์ที่

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-3549-50 โทรสาร 0-2215-3612 http://www.cuprint.chula.ac.th E-mail: cuprint@hotmail.com

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ


ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558 Vol.7 No.2 May - August 2015 ISSN 1906-7658 วารสารปัญญาภิวัฒน์ ได้ด�ำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันเป็นวารสารที่อยู่ ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุ่มที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ล�ำดับที่ 126 โดยมีนโยบายการจัดพิมพ์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการ จัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร และนวัตกรรม การจัดการเกษตร 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่สังคม ทั้งในแวดวงวิชาการและผู้สนใจทั่วไป ขอบเขตผลงานที่รับตีพิมพ์ ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร และนวัตกรรมการจัดการเกษตร ประเภทผลงาน ประกอบด้วย บทความวิจยั (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทศั น์ (Review article) นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ 1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขา ที่เกี่ยวข้อง จ�ำนวนอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ 2. บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องไม่เคยตีพมิ พ์เผยแพร่ทใี่ ดมาก่อนและต้องไม่อยูใ่ นกระบวนการพิจารณา ของวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด 3. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความ รับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แต่อย่างใด 4. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร ก�ำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม ติดต่อกองบรรณาธิการ ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์: 0-2832-0908 โทรสาร: 0-2832-0392 อีเมล: research@pim.ac.th เว็บไซต์: http://journal.pim.ac.th


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ISSN 1906-7658

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558 Vol.7 No.2 May - August 2015

ที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล

รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักวิจัยและพัฒนา

รองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา สงวนสัตย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

กองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นุ่มทอง รองศาสตราจารย์ ดร.ปพฤกษ์บารมี อุตสาหะวาณิชกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิวัตถ์ มณีโชติ รองศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ สันติประชา รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง รองศาสตราจารย์ ดร.สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์ รองศาสตราจารย์ ดร.เอ็จ สโรบล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ รองศาสตราจารย์ ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคลชัย วิริยะพินิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี อร่ามวิทย์ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ ดร.ลูกจันทร์ ภัครัชพันธุ์ ดร.สาธิมา ปฐมวิริยะวงศ์ Dr.Kelvin C.K. LAM

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม บริษทั เครือเจริญโภคภัณฑ จ์ าํ กัด นักวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ทรงคุณวุฒิภายในสถาบัน รองศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ สิริพลวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ เกษมศุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรคุง อนัคฆกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภัสพร แสงพายัพ ดร.เปรมฤทัย แย้มประเสริฐ

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร คณะนิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร


ดร.วีริสา โชติยะปุตตะ ดร.หม่อมหลวงสรสิริ วรวรรณ ดร.อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ อาจารย์จิรภัทร กิติธนพัต อาจารย์จิรวุฒิ หลอมประโคน อาจารย์วินัยชาญ สรรพโรจน์พัฒนา อาจารย์สาธิตา ธนทรัพย์เกษม

วิทยาลัยนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์

ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Reviewers) รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ศตวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.นาตยา ปิลันธนานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.บุษยา วีรกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ประพนธ์ เจียรกูล รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุณโยภาส รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ รองศาสตราจารย์ชนัดดา เหมือนแก้ว รองศาสตราจารย์ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ รองศาสตราจารย์นาวาโท ไตรวัฒน์ วิรยศิริ รองศาสตราจารย์ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช รองศาสตราจารย์ยุพาวรรณ วรรณวานิช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช ศรีอัษฎาพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลทรัพย์ นาคนาคา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลภา สบายยิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพร ศุภราทิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์ใจ รื่นเริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพร ตันติสันติสม ดร.นิเวศ จิระวิชิตชัย ดร.วันชัย ปานจันทร์ ดร.สุมน จรณสมบูรณ์ อ.ดร.อรดล แก้วประเสริฐ

มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


บทบรรณาธิการ

สู่ความส�ำเร็จด้วยกรอบความคิดแบบเปิดกว้าง วารสารวิชาการจัดเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการ สร้างกรอบความคิด (Mindset) ที่เป็นส่วนส�ำคัญต่อ การพัฒนาศักยภาพของบุคคล ทุกเพศทุกวัย เนื่องจาก กรอบความคิดจะเป็นตัวขับเคลื่อนการด�ำเนินชีวิต ด้วย การเรียนรู้จากตนเอง ไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และ โลกในยุคปัจจุบัน ด้วยความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้ รับจะเป็นปัจจัยน�ำเข้า (Input) ส่งผลต่อกรอบความคิด ของบุคคล (Mindset) และท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มุมมองต่างๆ ของบุคคล (Perspective) ดังนั้น บุคคล สามารถเปลี่ยนกรอบความคิดได้ เพื่อให้ได้รับความ พึงพอใจและความส�ำเร็จ โดยทีบ่ คุ คลทีม่ กี รอบความคิด แบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) นั้นจะมีความคิด ที่อยากจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีความพยายามและ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค วารสารวิชาการของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มุ ่ ง หวั ง ในการมี ส ่ ว นร่ ว มพั ฒ นากรอบแนวคิ ด ของ ผูอ้ า่ นอย่างต่อเนือ่ ง โดยเพิม่ ประสิทธิภาพให้กบั ผูอ้ า่ นให้ ได้รับด้านความสะดวก ความรวดเร็ว ในการเข้าถึง ด้วยรูปแบบ e-journal ท�ำให้เป็นช่องทางในการพัมนา กรอบแนวความคิดของบุคคลได้แบบไร้พรหมแดน โดย วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 นี้ ได้รวบรวม

บทความทางวิชาการที่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรง คุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและเป็น ประโยชน์ในหลากหลายสาขา ประกอบด้วยบทความ วิ จั ย ที่ มี อ งค์ ค วามรู ้ กั บ การจั ด การองค์ ก ร ในเรื่ อ ง ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การจัดการด้านพนักงาน ด้านสินค้าและตราสินค้า การออกแบบระบบการจัดการ เป็นต้น และยังน�ำเสนอองค์ความรูท้ พี่ ฒ ั นาด้านการเรียน การสอนในระดับต่างๆ น�ำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษา ที่ ส อดคล้ อ งกั บ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ ประเทศ ปิดท้ายเล่มด้วยบทความทางวิชาการเรื่อง การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง องค์ความรู้เหล่านี้สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับ ผูส้ นใจ น�ำไปใช้พฒ ั นากรอบแนวความคิดเพือ่ สร้างความ พึงพอใจและความส�ำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ กองบรรณาธิการ วารสารปัญญาภิวัฒน์หวังเป็น อย่างยิ่งว่า เนื้อหาของวารสารจะเป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างความส�ำเร็จให้กบั บุคคลในการเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง อันจะส่งเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมีการ พัฒนากรอบแนวคิดที่สามารถขับเคลื่อนปัจเจกบุคคล ชุมชน สังคมไปข้างหน้าอย่างก้าวไกล มีความต่อเนื่อง และยั่งยืน บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล tippapornmah@pim.ac.th


สารบัญ บทความวิจัย การพัฒนาแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานให้ตรงกับวุฒิการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม ณัฏฐา ผิวมา

1

การด�ำเนินงานและปัญหาของโรงสีข้าวชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร, มลฤดี จันทรัตน์

17

ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับ การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ สุปัญญดา สุนทรนนธ์

28

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า ภูมิภัทร รัตนประภา

43

ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร เขมมารี รักษ์ชูชีพ, จิตรลดา ตรีสาคร

57

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์, อรรนพ เรืองกัลปวงศ์

71

แบบจ�ำลองเชิงสาเหตุของความต้องการลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ฉันธะ จันทะเสนา

84

ตัวแบบความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร: กรณีศึกษาธุรกิจบริการรับช�ำระบริษัท XYZ จ�ำกัด เลิศชัย สุธรรมานนท์, เกศยา โอสถานุเคราะห์

96

การออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจสาขาพลังงานแห่งหนึ่ง วิเชศ ค�ำบุญรัตน์, ภานุวัฒน์ กลับศรีอ่อน

108

ตัวแบบสมรรถนะแฟรนไชซี กรณีศึกษาแฟรนไชซีร้านค้าปลีกบริษัท XYZ จ�ำกัด เลิศชัย สุธรรมานนท์, กีรติกร บุญส่ง

121

การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม พิมพ์ยิหวา จ�ำรูญวงษ์

135

การบริหารจัดการสหกิจศึกษาส�ำหรับมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์

146


การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ยุภาดี ปณะราช

157

รูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ 169 วิชญา รุ่นสุวรรณ์, ดวงกมล โพธิ์นาค, ปรวัฒน์ วิสูตรศักดิ์ การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก 182 พันทิพย์ รัตนราช ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด 196 อดิเรก นวลศรี, ปิยนันต์ คล้ายจันทร์ ผลของการใช้ชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะทางพุทธ และลักษณะทางพุทธ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กิตดา ปรัตถจริยา, อุบล เลี้ยววาริณ

207

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ เมษ รอบรู้, ลักษณพันธ์ บ�ำรุงรัตนกุล

221

บทความวิชาการ A STUDY OF COLLOCATION USAGE IN FOOD AND BEVERAGE ADVERTISEMENTS Rootjiporn Buakaew

232

การน�ำเสนอรายการโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์

245

กองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย พัชรพงศ์ สอนใจ

258

การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน, พนมพร จันทรปัญญา

267


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

1

การพัฒนาแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานให้ตรง กับวุฒกิ ารศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม DEVELOPING A MODEL FOR FORECASTING TRENDS OF MATCHING BETWEEN A JOB APPLICATIONS AND A COMPUTER DEGREE USING ARTIFICIAL NEURAL NETWORK ณัฏฐา ผิวมา1 Nattha Phiwma1 บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขา คอมพิวเตอร์ และเพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาที่เรียนในสาขา นี้มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน และบางคนมีบุคลิกภาพที่ไม่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ท�ำให้ผลการเรียนเฉลี่ยไม่ดี ส่งผลต่อการสมัครงานที่ตรงกับวุฒิการศึกษาในองค์กรที่มีความ น่าเชือ่ ถือ ซึง่ มีการก�ำหนดผลการเรียนเฉลีย่ ในการรับสมัครงาน ดังนัน้ งานวิจยั นีจ้ งึ ท�ำการพัฒนาแบบจ�ำลองพยากรณ์ แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒกิ ารศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม ซึง่ ชุดข้อมูลทีน่ ำ� มาใช้ คือ ข้อมูลของนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ วิธีการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมข้อมูล น�ำเข้าใช้ข้อมูลของนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยคะแนนแบบทดสอบบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนเฉลีย่ ในกลุม่ สาระการเรียนรูใ้ นระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ขั้นตอนต่อไปสร้าง แบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบ หลายชั้น และขั้นตอนสุดท้ายทดสอบประสิทธิภาพของแบบจ�ำลองพยากรณ์ ผลการวิจยั พบว่า แบบจ�ำลองทีม่ คี า่ ความถูกต้องมากทีส่ ดุ คือ 75.63% มีปจั จัยส�ำคัญประกอบด้วยบุคลิกภาพ ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ผลจากการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บุคลิกภาพที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิต ของสาขาคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่า 26.32% 21.05% และ 18.42% ตามล�ำดับ ค�ำส�ำคัญ: แบบจ�ำลองการพยากรณ์ แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา โครงข่ายประสาทเทียม

1 อาจารย์ประจ�ำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, Lecturer in the Faculty of Science and Technology, Suan Dusit Rajabhat University, E-mail: phewma@hotmail.com ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


2

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Abstract

This research aims to develop a model for forecasting trends of matching between a job application and a computer degree and to identify factors that affect education in computer major. Currently, students in this field have a different background knowledge and someone has a personality that is not suitable to graduate in computer major. These factors lead to low grade point average (GPA). They also affect the job application to the qualified organization. Therefore, this research developed a model for forecasting by using artificial neural network. The dataset is collected from the computer-major undergraduate student. The process consists of three steps as follows: Firstly, pre-processing step for preparing input data that contain the score of personality compatibility test for computer degree, GPA of standard subjects in their high school, including Thai language, mathematics, science, occupations and technology and foreign languages; subsequently, creating the forecasting model using artificial neural network; finally, evaluating the performance of this forecasting model. The experimental results show that the forecasting model achieves the highest accuracy rate at 75.63%. The important factor consists of the personality compatibility test for computer degree, GPA of standard subjects in their high school, including occupations and technology, Thai language, mathematics, science, and foreign languages. According to these results, the most influencing factors are Thai language, the personality compatibility test, and occupations and technologies, which are 26.32% and 21.05% and 18.42% of influence, respectively. Keywords: forecast model, job application trends that match to the qualification, artificial neural network

บทน�ำ

การศึกษาระดับอุดมศึกษามีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และความสามารถในการ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพือ่ น�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ิ ทัง้ ด้านวิชาการ และวิชาชีพ ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีการปรับตัวจากระบบ การเรี ย นในโรงเรี ย นระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษามาสู ่ ร ะบบ การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เช่น การเข้าเรียน และ วิธกี ารสอนของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย กลุม่ เพือ่ น การท�ำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมของสาขา ที่ตนเองเรียน เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลกับ การเรียน การส�ำเร็จการศึกษา และการประกอบอาชีพ ที่เหมาะสมในอนาคต ปัจจุบัน เมื่อนักศึกษาได้เข้ามาศึกษาต่อในสาขาที่

ตนเองเลือกแล้ว นักศึกษาบางคนอาจจะมีปญ ั หาในการ เรียน เช่น ไม่ชอบวิชาที่ต้องเรียน หรือผลการเรียนเฉลี่ย ไม่ดี เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านีอ้ าจมาจากหลายสาเหตุ เนื่องจากภูมิหลังของการศึกษา ความรู้พื้นฐานในการ เรียนวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาการงานและเทคโนโลยี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ ไม่เท่ากัน นอกจากนีบ้ คุ ลิกภาพและพฤติกรรมของแต่ละ บุคคลก็แตกต่างกัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจจะท�ำให้ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเมื่อส�ำเร็จการศึกษาไม่ดี ซึ่ง ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเป็นปัจจัยส�ำคัญส�ำหรับการ สมัครงานให้ตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ถ้านักศึกษาทราบแนวโน้มของตนเอง ในการสมัครงาน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ทีต่ รงกับสาขาก็จะท�ำให้สามารถปรับเปลีย่ นบุคลิกภาพ และพฤติกรรมในการเรียนของตนเองได้ทนั เวลา เพือ่ ให้ ผลการเรียนเฉลีย่ สะสมของตนเองอยูใ่ นเกณฑ์ทสี่ ามารถ สมัครงานได้ตรงกับสาขาทีส่ ำ� เร็จการศึกษาในองค์กรทีม่ ี ความน่าเชื่อถือ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาแบบจ�ำลองการ พยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม ทั้งนี้เพื่อให้ผลการวิจัยที่ ได้สามารถน�ำไปใช้ในการพัฒนาระบบพยากรณ์แนวโน้ม การสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การวิจยั ในครัง้ นีไ้ ด้นำ� ผลการเรียนเฉลีย่ ในกลุม่ สาระ การเรี ย นรู ้ ใ นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายมาใช้ เป็ น ข้ อมู ล พั ฒ นาแบบจ�ำลองการพยากรณ์แนวโน้ม การสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ เนือ่ งจากการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มี ก ารใช้ ห ลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน พุทธศักราช 2551 ซึง่ พัฒนาหลักสูตรโดย คณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ พัฒนาเด็ก และ เยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี คุ ณ ภาพในด้ า นความรู ้ และทั ก ษะที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการด� ำ รงชี วิ ต ในสั ง คมที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง อย่ า งต่ อเนื่ องตลอดชีวิต (ส�ำนัก งานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ก� ำ หนดให้ ผู ้ เรี ย นทุ ก คนในระดั บ การศึ ก ษา ขั้ น พื้ น ฐานจ� ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย นรู ้ ก ลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ โดยแต่ละกลุ่ม วิชามีองค์ความรู้ ทักษะที่สำ� คัญ และคุณลักษณะดังนี้

3

1. วิชาภาษาไทย ความรู้ทักษะ และวัฒนธรรม ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความ ชื่นชม การเห็น คุณค่า ภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจ�ำชาติ 2. คณิ ต ศาสตร์ การน� ำ ความรู ้ ทั ก ษะ และ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา การด�ำเนินชีวิต และศึกษาต่อ การมีเหตุมีผล มีเจตคติ ที่ดีต่อคณิตศาสตร์ พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและ สร้างสรรค์ 3. วิทยาศาสตร์ การน�ำความรู้ และกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุ เป็นผล คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และจิตวิทยา 4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การอยูร่ ว่ ม กันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็น พลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็น คุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติและ ภูมิใจในความเป็นไทย 5. สุขศึกษาและพลศึกษา ความรู้ ทักษะ และ เจตคติในการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยของตนเอง และผู้อื่น การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อ สุขภาพอย่างถูกวิธี และทักษะในการด�ำเนินชีวิต 6. ศิ ล ปะ ความรู ้ และทั ก ษะในการคิ ด ริ เริ่ ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ สุนทรียภาพ และ การเห็นคุณค่าทางศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการท�ำงาน การจัดการ การด�ำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยี 8. ภาษาต่ า งประเทศ ความรู ้ ทั ก ษะ เจตคติ และวัฒนธรรมการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ และการประกอบอาชีพ ในการจัดการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียน จะได้เรียนรายวิชาพื้นฐานเหมือนกัน มีจ�ำนวนหน่วย การเรียนเท่ากัน ส่วนวิชาเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้โรงเรียนจะก�ำหนดเอง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

4

จากการศึกษา การกรอกระเบียนแสดงผลการเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง 2555) แนบท้ายค�ำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 5/2556 มีวธิ กี ารค�ำนวณผลการเรียนเฉลีย่ รายกลุม่ สาระ การเรียนรู้ ดังสมการที่ (1) GPA กลุ่มสาระการเรียนรู้ =

∑(credit*Grade) ∑credit

(1)

โดย

GPA กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ผลการเรียนเฉลี่ยของแต่ละ

รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ Grade คือ ผลการเรียนแต่ละรายวิชาในกลุม่ สาระ การเรียนรู้ Credit คือ หน่วยกิตของแต่ละรายวิชาในกลุ่ม สาระการเรียนรู้ จากการศึ ก ษาเอกสารและงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง พบว่า ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษามีส่วนส�ำคัญ ในการศึกษาระดับปริญญาตรี จากงานวิจัยของ ปัญจา ชูช่วย (2551: 88-89) ศึกษาผลงานวิจัยเรื่อง ปัจจัย เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและ ทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิท์ างการเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญ คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาสูงเป็นผู้ที่มี ความรู้พื้นฐานดี ก็ย่อมสามารถน�ำความรู้มาใช้ได้อย่าง ต่อเนือ่ ง ช่วยให้เกิดการเรียนรูใ้ นเนือ้ หาใหม่ๆ ซึง่ มีความ ส�ำคัญมากในการเรียนระดับปริญญาตรี จากการศึกษา ของ มิณภา เรืองสินชัยวานิช (2551) พบว่า ตัวแปรที่มี อิทธิพลทางตรง ได้แก่ ความรูพ้ นื้ ฐานเดิม เวลาทีใ่ ช้ศกึ ษา เพิ่มเติม คุณภาพการสอน ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สภาพแวดล้อมทางบ้าน มโนภาพแห่งตน ความเอาใจใส่ของผูป้ กครอง ความตัง้ ใจ เรียน ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ความถนัดทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน และผล จากการวิจัยของ ปฐมา อาแว และคณะ (2557) ได้

ท�ำการวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผลการสอบ คั ด เลื อ กเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย และผลการเรี ย นระดั บ มหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณฑิต มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขตปั ต ตานี ปี ก ารศึ ก ษา 2546-2550” พบว่ า ผลสั ม ฤทธิ์ ท าง การเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี อย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ Noeth, Stocktor และ Henry (1974: 213) ได้ศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการ พยากรณ์ความส�ำเร็จในภาคเรียนแรกในคณะสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยเปอร์คู กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต ปีที่ 1 พบว่า ตัวแปรที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ คะแนนผลการ เรียนก่อนเข้าศึกษาในคณะนี้ นอกจากนี้ นิธิภัทร กมลสุข และวรญา สร้อยทอง (2556) ได้น�ำเสนองานวิจัยเรื่อง ปั จ จั ย ที่ มี ต ่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของนั ก ศึ ก ษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การ ถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ที่ก่อนเข้าศึกษาใน สถาบันมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีจะมีความน่าจะเป็น ที่จะได้เกรดเฉลี่ยสะสมต�่ำกว่า 2.00 น้อยกว่านักศึกษา ที่มีผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาที่สถาบันในเกณฑ์ไม่ดี เมื่อระดับการศึกษาขั้นสูงสุดก่อนเข้าศึกษาในสถาบัน คงที่ จะเห็ น ได้ ว ่ า ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นระดั บ มัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับปริญญาตรี ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงน�ำ ข้อมูลผลการเรียนเฉลีย่ ในระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแบบจ�ำลอง พยากรณ์แนวโน้มในการสมัครงานตรงกับวุฒกิ ารศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ บุคลิกภาพของผู้เรียน บุคลิกภาพ และการมีเจตคติต่อสาขาที่เรียนเป็น ปัจจัยที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งในการเรียน เนื่องจากปัจจัย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

เหล่านี้ส่งผลต่อผลการเรียน และความส�ำเร็จในการ ศึ ก ษา ซึ่ ง แต่ ล ะบุ ค คลจะมี ลั ก ษณะที่ แ ตกต่ า งกั น ไป สวนา พรพัฒน์กุล (2525: 295) กล่าวว่า บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะส่วนรวมทั้งหมดของบุคคลแต่ละคน ที่สามารถมองเห็นจากภายนอกและซ่อนเร้นอยู่ภายใน ได้แก่ รูปร่างหน้าตา ท่าทางแนวความคิด การพูดจา ความสนใจ อารมณ์ เจตคติ รสนิยม ตลอดจนความ สามารถในการท�ำงาน และวารุณี ธนวราพิช (2534) ได้ ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะทีป่ รากฏ ภายนอก และลักษณะภายในของบุคคล ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง เจตคติ แรงจูงใจ สติปัญญาความ คิดเห็น ความสามารถ ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ ลั ก ษณะประจ� ำ ตั ว ต่ า งๆ ความรู ้ สึ ก ที่ บุ ค คลมี ต ่ อ ประสบการณ์ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า เจตคติ และลักษณะประจ�ำตัวต่างๆ จัดเป็นบุคลิกภาพอย่างหนึง่ ถ้านักศึกษามีเจตคติและลักษณะประจ�ำตัวอื่นๆ ที่ดีต่อ สาขาทีต่ นเองศึกษาอยูก่ จ็ ะท�ำให้นกั ศึกษาสามารถเรียน ในสาขาทีต่ นเองเลือกอย่างมีความสุข และมีผลการเรียนดี เพื่อจะได้มีแนวโน้มสามารถสมัครงานที่ตรงกับวุฒิการ ศึกษา ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา, 2552) ได้ ก� ำ หนด คุณลักษณะและคุณสมบัตขิ องบัณฑิตสาขาคอมพิวเตอร์ ไว้ในมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2552 ประกอบด้วย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถน�ำไป ประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพ มี ความรู ้ ที่ ทั น สมั ย สามารถพั ฒ นาตนเอง พั ฒ นางาน และสั ง คมได้ สามารถท� ำ งานและติ ด ต่ อ สื่ อ สารกั บ ผูอ้ นื่ ได้เป็นอย่างดี วิเคราะห์ผลกระทบของการประยุกต์ คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านกฎหมายและ จริ ย ธรรม มี ค วามสามารถใช้ ภ าษาไทยและภาษา ต่างประเทศในการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์ออกแบบ พัฒนา ติดตัง้ ปรับปรุงระบบ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กร

5

สามารถบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร และพัฒนา โปรแกรมให้สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังมีการก�ำหนดผลการเรียนรู้ในหมวด วิ ช าเฉพาะด้ า นต่ า งๆ คื อ การเรี ย นรู ้ ด ้ า นคุ ณ ธรรม จริยธรรม การเรียนรู้ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้ า นทั ก ษะความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คลและความ รั บ ผิ ด ชอบ และด้ า นทั ก ษะการวิ เ คราะห์ เชิ ง ตั ว เลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งน�ำมาใช้เป็น ข้ อ ค� ำ ถามในการสร้ า งแบบทดสอบบุ ค ลิ ก ภาพของ นักศึกษา จากการศึกษาของบลูม (Bloom, 1976: 167-176 อ้างถึงใน ธีราภรณ์ กิจจารักษ์, 2553: 22-23) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมี 3 ปัจจัย คือ (1) พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ ที่จ�ำเป็นต่อการเรียน และมีมาก่อนเรียน ได้แก่ ความ ถนัดและพื้นความรู้เดิมของผู้เรียน (2) พฤติกรรมทาง ด้านจิตพิสัย หมายถึง สภาพที่ผู้เรียนแสดงออกเมื่อ ผูเ้ รียนได้เรียน เช่น ความสนใจและเจตคติตอ่ วิชาทีเ่ รียน การยอมรับความสามารถและบุคลิกภาพ (3) คุณภาพ การสอน หมายถึง ประสิทธิภาพซึง่ ผูเ้ รียนได้รบั ผลส�ำเร็จ ในการเรียนรู้ ได้แก่ การได้รับค�ำแนะน�ำ การให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแก้ไขข้อผิดพลาด และการรู ้ ผ ลสะท้ อ นกลั บ ของการกระท� ำ ว่ า ถู ก ต้ อ ง หรือไม่ ดังนั้น การที่นักศึกษามีความรู้สึกที่ดีต่อสาขาที่ ตนเองเรียน และมีบุคลิกภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะ บั ณ ฑิ ต ของสาขาคอมพิ ว เตอร์ ก็ จ ะท� ำ ให้ นั ก ศึ ก ษา ประสบความส�ำเร็จในการเรียนมากยิง่ ขึน้ การวิจยั ในครัง้ นี้จึงน�ำบุคลิกภาพมาเป็นปัจจัยหนึ่งในการวิเคราะห์ ข้อมูล ต�ำแหน่งงานทีต่ รงกับวุฒกิ ารศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ เป้ า หมายในการศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี เ มื่ อ ส�ำเร็จการศึกษาแล้ว คือ การท�ำงานที่ตรงกับวุฒิการ ศึกษาของตนเองในองค์กรทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือ เช่น บริษทั

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


6

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี) บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง ประเทศไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ เป็นต้น ซึ่ ง หน่ ว ยงานที่ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ ส่ ว นใหญ่ จ ะมี ก าร ก�ำหนดผลการเรียนเฉลีย่ สะสม ในการรับสมัครงาน จาก การส�ำรวจการประกาศรับสมัครงานในต�ำแหน่งทีต่ รงกับ

วุฒิการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ ต�ำแหน่งที่รับสมัคร และเกรดเฉลี่ยสะสมที่ก�ำหนด ดังตารางที่ 1 พบว่า ต�ำแหน่งงานที่ตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ของบริษัทต่างๆ จะก�ำหนดคุณสมบัติท่ัวไปของผู้สมัคร โดยต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไป

ตารางที่ 1 ตารางแสดงต�ำแหน่งงาน และผลการเรียนเฉลี่ย ตำ�แหน่งงาน Application Analyst Web Programmer IT Consultant IT Support Programmer

ผลการเรียนเฉลี่ย สะสมที่กำ�หนด 3.00 ขึ้นไป 2.75 ขึ้นไป 2.70 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป

ตำ�แหน่งงาน iOS Developer IT Network Support UX / Web Designer Web/CSS Designer Mobile Developer

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ที่กำ�หนด 2.50 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป 2.50 ขึ้นไป

ที่มา: จ็อบท็อปกัน (2558) จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่มีความส�ำคัญส�ำหรับแนวโน้ม การสมัครงานที่ตรงกับวุฒิการศึกษา คือ ผลการเรียน เฉลี่ยตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไป ดังนั้นเพื่อเป็นการผลักดันให้ นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น สามารถวางแผนอนาคตของตนเองได้ ผูว้ จิ ยั จึงน�ำข้อมูล นั ก ศึ ก ษาในอดี ต มาวิ เ คราะห์ เ พื่ อ สร้ า งแบบจ� ำ ลอง พยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) การท�ำงานของระบบโครงข่ายประสาทเทียมนั้น เป็นการเลียนแบบการท�ำงานของสมองมนุษย์ผา่ นกลไก ของการเรียนรู้ โดยการใช้ประโยชน์จากตัวอย่างที่ผ่าน มาหลายๆ ตัวอย่างในการฝึกฝน ซึ่งองค์ประกอบของ โครงข่ายประสาทเทียม ดังรูปที่ 1 ประกอบด้วย 1. ข้อมูลน�ำเข้า (Input) หมายถึง ข้อมูลที่ระบบจะ น�ำเข้ามาประมวลผล

2. น�้ำหนัก (Weight) หมายถึง ค่าเฉพาะที่ก�ำหนด ให้ข้อมูลน�ำเข้าแต่ละตัว เพื่อใช้แยกแยะความแตกต่าง ของข้อมูลน�ำเข้า 3. ฟังก์ชันการรวม (Summation Function) เป็น ผลรวมของข้อมูลป้อนเข้า และค่าน�้ำหนักในแต่ละชั้น (Layer) เพื่อใช้ส�ำหรับสรุปผลความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลน�ำเข้าทั้งหมด 4. ฟังก์ชนั การแปลง (Transformation Function) เป็นการค�ำนวณการจ�ำลองการท�ำงานของโครงข่าย ประสาทเทียม โดยจะน�ำสารสนเทศมาแปลง เพื่อน�ำไป ใช้ส�ำหรับการแสดงผลลัพธ์ซึ่งฟังก์ชันในองค์ประกอบนี้ เรียกว่า “Activation Function” ส�ำหรับฟังก์ชันการ แปลงแบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่ Linear, Threshold และ Sigmoid 5. ข้อมูลส่งออก (Output) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง แสดงผลให้แก่ผู้ใช้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

โครงข่ า ยประสาทเที ย มมี ค วามยื ด หยุ ่ น และ มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบภายในของ โครงข่าย ประสาทเทียมประกอบไปด้วยโหนดต่างๆ เชื่อมต่อกัน

7

โดยในแต่ ล ะโหนดคอยรั บ ค่ า ข้ อ มู ล น� ำ เข้ า และค่ า น�้ำหนัก เข้ามาวิเคราะห์ ดังสมการที่ (2)

รูปที่ 1 องค์ประกอบของโครงข่ายประสาทเทียม p

n = (∑i=1xiwi)+b

(2)

เมื่อ p เป็นจ�ำนวนโหนดของข้อมูลน�ำเข้า ทั้งหมด, xi คือ ข้อมูลน�ำเข้าตัวที่ i, wi คือ ค่าน�้ำหนักของข้อมูล น�ำเข้าตัวที่ i และ b คือ ค่าความโน้มเอียง (bias) ที่เพิ่ม เข้าไปในผลรวมของ nโหนดนัน้ จากนัน้ ผลรวมของข้อมูล น�ำเข้าทีถ่ กู ปรับเปลีย่ นค่าน�ำ้ หนักแล้วจะถูกประมวลผล ผ่านฟังก์ชันการกระตุ้น เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลส่งออก และส่งไปยังโหนดในชั้นถัดไป ดังสมการที่ (3)

p

y = f(n) = f [(∑i=1xiwi)+b]

(3)

เมื่อ y คือ ข้อมูลส่งออก n คือ ผลรวมของค่าน�้ำ หนักข้อมูลน�ำเข้า และ f คือ ฟังก์ชนั การกระตุน้ มีหลาย

รูปแบบ เช่น linear function, threshold function และ sigmoid function สามารถเลือกได้วา่ จะใช้ฟงั ก์ชนั อะไร ตามความเหมาะสมของงาน เพอร์เซปตรอนหลายชัน้ (Multi-Layer Perceptron) เพอร์ เซ็ ป ตรอนแบบหลายชั้ น (Multi-Layers Perceptron) ใช้สําหรับงานที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยชั้นข้อมูลน�ำเข้า (input layer) ชั้นซ่อน (hidden layer) และชั้นข้อมูลส่งออก (output layer) โดยใช้ขั้นตอนการส่งค่าย้อนกลับ (Backpropagation) ส�ำหรับการฝึกฝน ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 เพอร์เซ็ปตรอนแบบหลายชั้น ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


8

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบแพร่ย้อนกลับมีหลักการ ท�ำงาน คือ เป็นการปรับค่าน�ำ้ หนักทีเ่ ส้นเชือ่ มต่อระหว่าง โหนดให้เหมาะสมจนกว่าค่าความผิดพลาดจะอยูใ่ นช่วง ทีย่ อมรับได้ ซึง่ กระบวนการส่งค่าย้อนกลับประกอบด้วย การส่งผ่านไปข้างหน้า (Forward Pass) โดยข้อมูลจะ ถูกส่งเข้าสูโ่ ครงข่ายประสาทเทียมทีช่ นั้ ข้อมูลน�ำเข้า และ จะส่งผ่านจากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่งจนกระทั่งถึงชั้น ข้อมูลส่งออก ส่วนการส่งผ่านย้อนกลับ (Backward Pass) จะท�ำการประมวลผลค่าของข้อมูลน�ำเข้าก่อน ท�ำการตรวจสอบค่าความผิดพลาด (Error) ที่จะน�ำไป พิ จ ารณาเปรี ย บกั บ ค่ า ความผิ ด พลาดที่ ย อมรั บ ได้ เนื่ อ งจากเพอร์ เซ็ ป ตรอนแบบหลายชั้ น จะมี ชั้ น ซ่ อ น (ณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ และณรงค์ ล�่ำดี, 2552: 253) หากค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วงที่รับได้ก็ให้ท�ำการ รั บ ข้ อ มู ล น� ำ เข้ า ชุ ด ถั ด ไป แต่ ห ากค่ า ความผิ ด พลาด มากกว่าค่าที่ยอมรับได้ ให้ท�ำการปรับค่าน�้ำหนัก และ ค่าความโน้มเอียงใหม่ เพือ่ ให้ผลลัพธ์ของแบบจ�ำลองใกล้ เคียงกับค่าความจริงมากที่สุด จากการทบทวนงานวิจยั พบว่า นักวิจยั ได้นำ� เทคนิค ต่างๆ มาใช้การพยากรณ์โอกาสส�ำเร็จการศึกษาของ นักศึกษา หรือผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักศึกษา เช่น เทคนิคเหมืองข้อมูล (data mining) เทคนิคการตัดสิน ใจแบบต้นไม้ (Decision Trees) เทคนิคซัพพอร์ต เวกเตอร์ แมชชีน (SVM) และโครงข่ายประสาทเทียม เป็นต้น เช่น งานวิจัยของ เมตตา คงคากูล (2550) ได้ น�ำเสนอเทคนิคการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนั กศึ กษาจากพฤติก รรมการใช้อินเทอร์เ น็ตโดย วิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น มาประยุกต์ใช้ ในการพยากรณ์ ผลจากการศึกษาพบว่า โครงข่าย ประสาทเทียมให้ค่าประสิทธิภาพการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 58 และจากงานวิจัยของ ธนาวุฒิ ประกอบผล (2555) เรือ่ ง การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์เกรดเฉลีย่ ระหว่างวิธีโครงข่ายประสาทเทียมกับวิธีการถดถอย พหุคูณ จากพฤติกรรมการใชอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว

เฉลิมพระเกียรติ ผลการวิจยั พบว่าการพยากรณ์ดว้ ยวิธี โครงข่ายประสาทเทียมจะให้ผลการพยากรณ์ที่แม่นย�ำ กว่าวิธกี ารถดถอยพหุคณ ู จากงานวิจยั ทีก่ ล่าวมา จะเห็น ได้ว่านักวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้เทคนิคโครงข่ายประสาท เทียมในการพยากรณ์แนวโน้มเหตุการณ์ต่างๆ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงน�ำข้อมูลผลการเรียนเฉลี่ย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคะแนนจากการท�ำแบบ ทดสอบบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิต ของสาขาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างแบบจ�ำลองการ พยากรณ์ โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม

วัตถุประสงค์

1. เพื่ อ พั ฒ นาแบบจ� ำ ลองพยากรณ์ แ นวโน้ ม ที่ นักศึกษาสามารถสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขา คอมพิวเตอร์ 2. เพื่อให้ทราบตัวแปรที่มีผลต่อการศึกษาสาขา คอมพิวเตอร์

กรอบแนวคิดของการวิจัย

กรอบแนวคิดของการวิจัยนี้ประกอบด้วย

ตัวแปรอิสระ

1. คะแนนแบบทดสอบ บุคลิกภาพของนักศึกษา 2. คะแนนผลการเรี ย น เฉลีย่ กลุม่ สาระการเรียนรู้ ที่ เ กี่ ย ว ข ้ อ ง กั บ ส า ข า คอมพิวเตอร์ที่สุด 5 วิชา ได้แก่ การงานอาชีพและ เทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ตัวแปรตาม แนวโน้ ม การ สมัครงานตรง กั บ วุ ฒิ ก า ร ศึ ก ษ า ส า ข า คอมพิวเตอร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

วิธีการวิจัย

วิธีการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การจัดเตรียมข้อมูล การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่น�ำมาทดสอบ คือ ข้อมูลของนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการสุ่ม กลุม่ ตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยการเก็บข้อมูลผลการเรียน ของนักศึกษาจากระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย โดยพิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จ�ำนวน 100 คน ประกอบด้ ว ยคะแนนผลการเรี ย นเฉลี่ ย กลุ ่ ม สาระ การเรียนรูท้ เี่ กีย่ วข้องกับสาขาคอมพิวเตอร์มากทีส่ ดุ 5 วิชา ได้แก่ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ รวมทั้งผลคะแนน จากการท� ำ แบบทดสอบบุ ค ลิ ก ภาพที่ ส อดคล้ อ งกั บ คุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ 2. การสร้างแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการ สามารถสมั ค รงานตรงกั บ วุ ฒิ ก ารศึ ก ษาสาขา คอมพิวเตอร์ ขั้นตอนของการออกแบบและสร้างแบบจ�ำลอง พยากรณ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) การสร้ า งแบบสอบถาม ผู ้ วิ จั ย ได้ อ อกแบบ สอบถาม และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพของ นั กศึ กษา จากการศึก ษารายละเอียดของมาตรฐาน คุณวุฒริ ะดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2552 มาใช้เป็นข้อค�ำถามในการสร้างแบบทดสอบ บุคลิกภาพ จ�ำนวน 20 ข้อ จากนั้นน�ำค�ำตอบที่ได้มา ท�ำการแปลงเป็นค่าคะแนนว่านักศึกษามีบุคลิกภาพที่ สอดคล้องกับสาขาคอมพิวเตอร์ดว้ ยคะแนนเท่าไหร่ โดย คิดคะแนนจากการตอบค�ำถามที่ถูกต้อง จากนั้นน�ำ คะแนนที่ได้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) การคั ด เลื อ กตั ว แปรที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ แบบ จ�ำลองการพยากรณ์แนวโน้มที่นักศึกษาสามารถสมัคร งานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ น�ำข้อมูลน�ำเข้าทัง้ หมด มาท�ำการจับคูส่ มาชิกต่างๆ

9

ของชุ ด ข้ อ มู ล น� ำ เข้ า ไปยั ง สมาชิ ก ตั ว อื่ น ในชุ ด ข้ อ มู ล เดี ย วกั น ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ผลคะแนนแบบทดสอบ บุคลิกภาพ และคะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาสาระการเรียนรู้ ได้ แ ก่ การงานอาชี พ และเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ โดย ใช้วิธีเรียงสับเปลี่ยน ดังสมการที่ (4) Pn,r = Pn,r n r

n! (n–r)!

(4)

แทนจ�ำนวนวิธีเรียงสับเปลี่ยน จ�ำนวนตัวแปรทั้งหมด จัดเรียงครั้งละ r ตัวแปร

ซึ่งได้ชุดข้อมูลตัวแปรทั้งหมด 63 รูปแบบ ที่จะน�ำ ไปใช้ในการสร้างแบบจ�ำลองการพยากรณ์ 3) สร้างแบบจ�ำลองการพยากรณ์ด้วยโครงข่าย ประสาทเทียมแบบหลายชั้น (Multilayer Perceptron Neural Network) ประกอบด้วย 3.1) ชั้นข้อมูลน�ำเข้า (input layer) มีจ�ำนวน โหนดของชัน้ ของข้อมูลน�ำเข้าจ�ำนวน 6 ปัจจัย ประกอบ ด้วย ผลคะแนนแบบทดสอบบุคลิกภาพ คะแนนเฉลี่ย กลุ่มวิชาสาระการเรียนรู้ ได้แก่ การงานอาชีพและ เทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาต่างประเทศ 3.2) ชั้นซ่อน (hidden layer) 1 ชั้น 3.3) ชั้นข้อมูลส่งออก (output layer) คือ ผลการเรียนของนักศึกษามีค่ามากกว่า 2.5 หรือไม่ เพื่อที่จะวัดแนวโน้มในการได้สมัครงานที่ตรงกับสาขา คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการสมัครงานต�ำแหน่งที่ตรงกับ สาขาคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือจะมีการ ก�ำหนดผลการเรียนเฉลีย่ มากกว่า 2.5 ขึน้ ไป ดังตัวอย่าง ในตารางที่ 1 ส�ำหรับงานวิจยั นีใ้ ช้ฟงั ก์ชนั การกระตุน้ คือ sigmoid function และแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูล ส�ำหรับการเรียนรู้ (training set data) 70% และการ ทดสอบ (testing set data) 30%

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


10

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

3. ทดสอบแบบจ�ำลองพยากรณ์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ท�ำการวัดค่าความถูกต้อง แบบจ� ำ ลองการพยากรณ์ โ ดยใช้ เ กณฑ์ ก ารวั ด ประสิ ท ธิ ภ าพของแบบจ� ำ ลองด้ ว ยวิ ธี Predictive Modeling (Brame, 2007) คื อ ค่ า ความแม่ น ย� ำ (Accuracy)

ผลการวิจัย

ผลการวิจยั พบว่าแบบจ�ำลองการพยากรณ์แนวโน้ม การสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ 63 รูปแบบ มีดังนี้

ตารางที่ 2 แสดงค�ำอธิบายรายละเอียดของตัวแปร ตารางที่ 3 ค่าความถูกต้องของแบบจ�ำลองพยากรณ์ และ ตารางที่ 4 การสังเคราะห์ปจั จัยทีม่ ผี ลต่อการศึกษาสาขา คอมพิวเตอร์ ตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่า ผลการทดสอบแบบจ�ำลอง พยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษา สาขาคอมพิ ว เตอร์ มี ค ่ า ความถู ก ต้ อ งมากที่ สุ ด คื อ 75.63% ตั ว แปรส� ำ คั ญ ประกอบด้ ว ยบุ ค ลิ ก ภาพที่ สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ กลุม่ สาระการเรียนรู้ ได้แก่ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิ ต ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ และภาษา ต่างประเทศ

ตารางที่ 2 รายละเอียดของตัวแปร Pers Tha Math Sci Tech Eng

ตัวแปร

ค�ำอธิบาย บุคลิกภาพที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ตารางที่ 3 ผลการทดสอบแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ แบบจำ�ลอง Tha Math Sci Tech Eng Pers Tha, Math Tha, Sci

ค่าความถูกต้อง (%) 69.19 62.30 68.00 59.85 61.33 62.82 70.52 70.96

แบบจำ�ลอง Math, Sci, Eng Math, Sci, Pers Math, Tech, Eng Math, Tech, Pers Math, Eng, Pers Sci, Tech, Eng Sci, Tech, Pers Sci, Eng, Pers

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ค่าความถูกต้อง (%) 66.07 68.96 62.22 64.37 60.82 66.44 67.78 63.85


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

11

ตารางที่ 3 (ต่อ) ผลการทดสอบแบบจ�ำลองพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับวุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ แบบจำ�ลอง Tha, Tech Tha, Eng Tha, Pers Math, Sci Math, Tech Math, Eng Math, Pers Sci, Tech Sci, Eng Sci, Pers Tech, Eng Tech, Pers Eng, Pers Tha, Math, Sci Tha, Math, Tech Tha, Math, Eng Tha, Math, Pers Tha, Sci, Tech Tha, Sci, Eng Tha Sci Pers Tha, Tech, Eng Tha, Tech, Pers Tha, Eng, Pers Math, Sci, Tech

ค่าความถูกต้อง (%) 69.26 67.85 68.52 68.30 62.82 60.22 60.67 68.22 65.93 67.85 63.48 66.00 60.74 68.30 68.96 68.07 71.93 68.89 68.22 68.52 69.04 74.37 66.96 64.59

แบบจำ�ลอง Tech, Eng, Pers Tha, Math, Sci, Tech Tha, Math, Sci, Eng Tha, Math, Sci, Pers Tha, Math, Tech, Eng Tha, Math, Tech, Pers Tha, Math, Eng, Pers Tha, Sci, Tech, Eng Tha, Sci, Tech, Pers Tha ,Sci, Eng, Pers Tha, Tech, Eng, Pers Math, Sci, Tech, Eng Math, Sci, Tech, Pers Math, Sci, Eng, Pers Math, Tech, Eng, Pers Sci, Tech, Eng, Pers Tha, Math, Sci, Tech Eng Tha, Math, Sci, Tech, Pers Tha, Math, Sci, Eng, Pers Tha, Math, Tech, Eng, Pers Tha, Sci, Tech, Eng, Pers Math, Sci, Tech, Eng, Pers Tha, Math, Sci, Tech, Eng, Pers

ค่าความถูกต้อง (%) 64.15 66.00 65.78 67.33 67.48 73.70 67.04 68.52 70.81 64.30 71.70 66.89 66.30 64.52 62.30 66.74 66.37 71.48 65.19 73.04 68.07 64.52 75.63

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


12

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตารางที่ 4 การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ บุคลิกภาพที่สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ รวม

จากผลการทดสอบแบบจ�ำลองพยากรณ์ ผู้วิจัยน�ำ ค่าความถูกต้อง 10 ล�ำดับแรกมาท�ำการสังเคราะห์ปจั จัย ที่มีผลต่อการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ดังตารางที่ 4 ผลจากการสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษามาก ที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 26.32 รองลงมา คือบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ บัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21.05 กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 18.42 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 15.79 กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 10.53 และกลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ร้อยละ7.89

อภิปรายผลและสรุป

จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับการ พยากรณ์ต่างๆ มีเทคนิคที่นิยมน�ำมาใช้หลายวิธี เช่น โครงข่ายเพอร์เซ็ปตรอนแบบหลายชั้น เทคนิคต้นไม้ ตัดสินใจ (Decision Tree) และซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (Support Vector Machines) ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบมี การสอน (Supervised Learning) เหมือนกัน แต่ เนื่องจากเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจเหมาะกับข้อมูลแบบ ไม่ตอ่ เนือ่ งมากกว่าข้อมูลแบบต่อเนือ่ งเพราะหากท�ำการ แบ่งช่วงไม่ดีพอจะมีผลต่อประสิทธิภาพ และไบแอส กับตัวอย่างฝึกฝนมากเกินไป และเทคนิคซัพพอร์ต

ความถี่ 8 7 10 6 4 3 38

ร้อยละ 21.05 18.42 26.32 15.79 10.53 7.89 100

เวกเตอร์แมชชีนมีความแตกต่างกับโครงข่ายประสาท เที ย มในส่ ว นของการเก็ บ ตั ว อย่ า งฝึ ก ฝนที่ เรี ย กว่ า เวกเตอร์ซพั พอร์ตในขณะทีโ่ ครงข่ายประสาทเทียมไม่ได้ ท�ำการเก็บตัวอย่างฝึกฝนไว้ในแบบจ�ำลองแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองเทคนิคนี้สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในระบบ ช่วยตัดสินใจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดีการพัฒนาแบบ จ� ำ ลองการพยากรณ์ แ นวโน้ ม การสมั ค รงานตรงกั บ วุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ในบทความนี้เลือกใช้ โครงข่ายเพอร์เซ็ปตรอนแบบหลายชั้นที่มีฟังก์ชันการ กระตุน้ คือ sigmoid function และมีการแบ่งข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลส�ำหรับการเรียนรู้ (training set data) 70% และการทดสอบ (testing set data) 30% โดยมี ข้อมูลน�ำเข้า คือ ผลคะแนนแบบทดสอบบุคลิกภาพ ข้อมูลผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 วิชา ได้แก่ การงานและเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ และข้อมูลส่งออก คือ ผลการเรียนของนักศึกษามีค่ามากกว่า 2.5 หรือไม่ เพื่ อ ที่ จ ะพยากรณ์ แ นวโน้ ม การสมั ค รงานตรงกั บ วุฒิการศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้โครงข่าย เพอร์เซ็ปตรอนแบบหลายชั้นมีข้อดี คือ มีความสามารถ ในการจ�ำแนกข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อน�ำมาใช้ในการ ทดลองนี้ท�ำให้ได้ค่าความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วน ข้อเสียของเทคนิคนี้ คือไม่มหี ลักการชัดเจนในการเลือก จ�ำนวนของชั้นซ่อนและจ�ำนวนโหนดของแต่ละชั้นซ่อน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ให้เหมาะสมกับข้อมูลจึงต้องมีการปรับค่าของจ�ำนวน ชั้นซ่อนจนกว่าจะพบจ�ำนวนที่เหมาะสม จากผลจากการสังเคราะห์ปจั จัยทีม่ ผี ลต่อการศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ พบว่าปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการศึกษาสาขา คอมพิวเตอร์มากทีส่ ดุ คือ กลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย ร้อยละ 26.32 รองลงมา คือ บุคลิกภาพที่สอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21.05 กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 18.42 และน้อยที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา อังกฤษ ร้อยละ 7.89 ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะและ คุณสมบัติของบัณฑิตสาขาคอมพิวเตอร์ ที่ก�ำหนดไว้ใน มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2552 เช่น ต้องมีความสามารถในการสือ่ สาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทัง้ การมีบคุ ลิกภาพทีด่ ี สามารถประกอบอาชีพทีเ่ หมาะสมได้ในอนาคต และจาก งานวิจยั ของ ปัญจา ชูชว่ ย (2551: 88-89) พบว่า ตัวแปร ที่มีอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนอย่างมีนัยส�ำคัญ คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ มัธยมศึกษา ซึ่งมีความส�ำคัญมากในการเรียนระดับ ปริญญาตรี นอกจากนี้ ผลจากการวิจัยของ ปฐมา อาแว และคณะ (2557) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับปริญญาตรี อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

13

ผลจากการวิ จั ย นี้ ท� ำ ให้ ท ราบว่ า บุ ค ลิ ก ภาพที่ สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ สาขาคอมพิวเตอร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ แ ก่ การงานอาชี พ และเทคโนโลยี ภาษาไทย คณิ ต ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ และภาษาต่ า งประเทศ เป็ น ตั ว แปรที่ ท� ำ ให้ นั ก ศึ ก ษาได้ ผ ลการเรี ย นเฉลี่ ย ที่ อยู ่ ใ นเกณฑ์ ส ามารถน� ำ ไปสมั ค รงานในองค์ ก รที่ มี ความน่าเชื่อถือได้

ข้อเสนอแนะ

ในการวิ จั ย ครั้ ง ต่ อ ไป ผู ้ วิ จั ย เสนอให้ เ พิ่ ม ปั จ จั ย หรือตัวแปรที่จะท�ำให้การพัฒนาแบบจ�ำลองพยากรณ์ แนวโน้ ม การสมั ค รงานตรงกั บ วุ ฒิ ก ารศึ ก ษาสาขา คอมพิวเตอร์มีความถูกต้องมากขึ้น โดยการเพิ่มข้อมูล น�ำเข้าด้วยตัวแปรผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละภาคเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิชาในกลุ่มสาระ การเรี ย นรู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สาขาคอมพิ ว เตอร์ แ ต่ ล ะ ภาคเรียน รวมทั้งเก็บจ�ำนวนตัวอย่างให้มากขึ้น ซึ่งจะ ท�ำให้แบบจ�ำลองทีไ่ ด้พฒ ั นาขึน้ มานัน้ สามารถน�ำไปใช้ใน การสร้างระบบพยากรณ์แนวโน้มการสมัครงานตรงกับ วุฒกิ ารศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ได้ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์ กับนักศึกษาต่อไป

บรรณานุกรม

จ็อบท็อปกัน. (2558). ค้นหางานตามอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://jobtopgun.com/search/ jobFieldList.jsp ณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ และณรงค์ ล�่ำดี. (2552). ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์แอนด์ คอนซัลท์. ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2555). เรื่องการเปรียบเทียบผลการพยากรณเกรดเฉลี่ยระหวางวิธีโครงขายประสาทเทียมกับ วิธีการถดถอยพหุคูณจากพฤติกรรมการใชอินเทอรเน็ตของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(31), 49-64. ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


14

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

นิธิภัทร กมลสุข และวรญา สร้อยทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสถาบัน การจัดการปัญญาภิวฒ ั น์โดยวิธวี เิ คราะห์การถดถอยพหุแบบโลจิสติค. วารสารปัญญาภิวฒ ั น์, 5(1), 108-120. ปฐมา อาแว และคณะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิท์ างการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผลการสอบ คั ด เลื อกเข้ามหาวิท ยาลัยและผลการเรียนระดับมหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณ ฑิต มหาวิ ท ยาลัยสงขลานครินทร์วิท ยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2546-2550. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 20(2), 245-272. ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปูนซิเมนต์ไทย (เอสซีจี). (2558). สมัครงาน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://e-application.scg.co.th/ ERECRUIT_WEBFROM/ FrmFindJobsnotLogon.aspx มิณภา เรืองสินชัยวานิช. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เมตตา คงคากูล. (2550). การพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตโดยวิธี โครงข่าย ประสาทเทียม กรณีศกึ ษา: นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบ่ า้ นจอมบึง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารุณี ธนวราพิช. (2534). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. สวนา พรพัฒน์กุล. (2525). อิทธิพลของตัวแบบที่มีต่อพัฒนาการด้านความคิดและการเรียนรู้ทางสังคมของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.obec.go.th/ _______. (2554). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการวัดและประเมินผล การเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. _______. (2556). เอกสารค�ำอธิบายการกรอกระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง 2555) แนบท้ายค�ำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 5/2556. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://academic.obec.go.th/web/govdoc/d/1205 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พุทธศักราช 2552. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2558, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/ FilesNews6/computer_m1.pdf Bloom, B. S. (1976). Hunan Characteristics and School Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company. Brame, M. (2007). Principles of Data Mining. London: Springer-Verlag London Limited. Hagan, M. T. & Mehnaj, M. B. (1994). Training Feed forward Networks with the Marquardt Algorithm. IEEE Transaction on Neural Networks 1994, 5(6). Noeth, R. J., Stockton, J. J. & Henry, C. A. (1974). Predicting Success in the study of Veterinary Science and Medicine. The Journal of Educational Research, 67(5), 213-215. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

15

Translated Thai References

Arwae, P. et al. (2014). Relationships among Secondary Education’s Learning Achievement, Entrance Examination Score, University Education’s Learning Achievement, and Academic Achievement of Graduates at Prince of Songkla University, Pattani Campus (Academic Year 2003-2007). Songklanakarin Journal of Social Science and Humanities, 20(2), 245-272. [in Thai] Basic Education Commission. (2007). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Retrieved February 1, 2015, from http://www.obec.go.th/ [in Thai] _______. (2011). Document for the Basic Education Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008): measurement and evaluation. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Limited. [in Thai] _______. (2013). Description document for filling of record transcript the Basic Education Core Curriculum. (Revised 2012) attached to the Ministry of Education (5/2013). Retrieved February 1, 2015, from http://academic.obec.go.th/web/govdoc/d/1205 [in Thai] Chuchuay, P. (2008). Causal Factors Influencing Academic Achievement of Undergraduate Students at Prince of Songkla University Pattani Campus. Degree of Master of Education, Prince of Songkla University. [in Thai] Jobtopgun. (2015). Job Field Search. Retrieved February 1, 2015, from http://jobtopgun.com/search/ jobFieldList.jsp [in Thai] Kitjarak, T. (2010). Factors effecting English speaking abilities of Second yearEnglish major students in the Faculty of Education, Rajabhat universities in Bangkok. Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] Kongkakul, M. (2007). GPA Achievement Forecasting from Internet Usage Behavior Using Neural Network. A Case Study of Undergraduate Student Muban Chombueng Rajabhat University. Philosophy. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Kamolsuk, N. & Sroythong, W. (2013). Factors Affecting Learning Achievement Of Undergraduate Students At Panyapiwat Institute Of Management: An Application Of Multiple Logistic Regression Analysis. Panyapiwat Journal, 5(1), 108-120. [in Thai] Office of the Higher Education Commission. (2009). Thai Qualifications for Higher Education B.E. 2552 (A.D. 2009). Retrieved February 1, 2015, from http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/ news/FilesNews/FilesNews6/computer_m1.pdf [in Thai] Pornpatkul, S. (1982). Influence of the model on the thinking and learning development of Children of Thailand. Bangkok: Department of Psychology, Srinakharinwirot University. [in Thai] Prakobpol, T. (2012). A Comparison Of Forecasting Grade Point Average Between Neural Network And Multiple Regression Methods From Internet Usage Behavior Among Students In Faculty of Science And Technology Huachiew Chalermprakiet University. HCU Journal. 16(31), 49-64. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


16

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Ruengsinchaiwanij, M. (2008). The Causal Factors Influencing Mathematics Learning Achievement of Matthayomsueksa 3 Students in the Si Sa Ket Municipal Area, Changwat Si Sa Ket. Degree of Master of Education, Mahasarakham University. [in Thai] Tanavarapit, V. (1991). Personality Development. Bangkok: Ruenkaewprinting. [in Thai] The Siam Cement Public Company Limited. (2015). Career@SCG. Retrieved February 1, 2015, from http://e-application.scg.co.th/ERECRUIT_WEBFROM/FrmFindJobsnotLogon.aspx [in Thai] Vareepasert, N. & Lumdee, N. (2009). Artificial Intelligence. Bangkok: KTP. Comp & Consulting. [in Thai]

Nattha Phiwma received her Master Degree of Computer Science and Ph.D. Degree in Information Technology from Rangsit University, in 2002 and 2011 respectively. She is currently a full time lecturer in Faculty of Science and Technology, Suan Dusit Rajabhat University.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

17

การด�ำเนินงานและปัญหาของโรงสีขา้ วชุมชนในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ OPERATIONS AND PROBLEMS OF COMMUNITY RICE MILL IN NORTHEASTERN PROVINCES วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร1 และมลฤดี จันทรัตน์ 2 Viwat maikaensarn1 and Monruedee Chantharat2 บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการด�ำเนินงานและปัญหาของโรงสีข้าวชุมชนในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เพือ่ น�ำผลทีไ่ ด้มาเป็นแนวทางพัฒนาและปรับปรุงการด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชนเพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน ของการด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นรายบุคคล (Individual-Depth Interview) ของผู้จัดการโรงสีข้าวชุมชนเชิงการค้าที่ใช้เครื่องสีข้าวรุ่น CPR500 และ CPR1000 จ�ำนวน 7 โรง ผลการศึกษาพบว่า โรงสีข้าวชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความ สามารถในด้านการตลาด การขาย และการโฆษณา รวมถึงขาดแคลนบุคลากรทีม่ ที กั ษะในการด�ำเนินการในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสีขา้ ว การบรรจุถงุ เป็นต้น นอกจากนีโ้ รงสีขา้ วส่วนใหญ่ขาดทักษะและแรงจูงใจทางด้าน การวิจัยและพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ ขาดอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมาใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น เครื่องตรวจวัดคุณภาพ ข้าวเปลือก และที่ส�ำคัญโรงสีชุมชนส่วนใหญ่ขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการ ด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชนเพือ่ น�ำไปสูค่ วามยัง่ ยืน คือ การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน การพัฒนาศักยภาพ ทางด้านการตลาดและการโฆษณา การพัฒนาศักยภาพทางด้านการวิจัยและพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ การหาอุปกรณ์ที่ได้ มาตรฐานมาใช้ในกระบวนการ การหาแหล่งเงินทุนเพิ่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ค�ำส�ำคัญ: แนวทางการพัฒนา โรงสีข้าวชุมชน ห่วงโซ่คุณค่า การจัดการ

Abstract

The objective of the study was to study the operation and problems of community rice mill in Northeastern Provinces. The results will be used to develop and improve the sustainability of community rice mill operation in Northeastern Provinces. This research is qualitative research. The research tool was the Individual-Depth Interview with 7 managers of community rice mill in Northeastern Provinces who used rice milling machine CPR500 and CPR1000. The result showed that most of the community rice mil’s human resources were deficient skill in the marketing sales and promotion skill, high efficiency operation skill such as rice milling process and packing, lacked 1 รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Associate Dean for Academic Affairs in Faculty

of Innovative Agricultural Management, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: viwatmai@pim.ac.th สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Faculty of Innovative Agricultural Management, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: monreudeecha@pi.ac.th

2 อาจารย์ประจ�ำคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


18

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

of skill and inspiration in research and development of the product, lacked of high standard equipments such as paddy quality measurement, and the most important factor was the lack of capital. In order to contribute sustainably, the development should focus on 1) developing the capacity of the human resources 2) developing the potential of human resources in marketing and advertising 3) developing the capacity for conducting research and development of the product 4) supporting high quality equipments and 5) supporting capital for improving all processes. Keywords: Development approach, Community rice mill, Value chain, Management

บทน�ำ

เกษตรกรของไทยส่วนใหญ่ของประเทศปลูกข้าว เป็นอาชีพหลัก อีกทัง้ คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหาร หลักและรายได้ประชาชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของ สินค้าส่งออกได้มาจากการขายข้าว (ทรงเชาว์, 2545) จึงกล่าวได้วา่ ข้าวมีความส�ำคัญเป็นอย่างยิง่ ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยพื้ น ที่ ป ลู ก ข้ า วส่ ว นใหญ่ อ ยู ่ ใ นเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมา คือ ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ ตามล�ำดับ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, 2546) อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยั ง คงถู ก เอารั ด เอาเปรี ย บจากการส่ ง ข้ า วขายให้ กั บ โรงสีใหญ่ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องมาแบกรับภาระ ค่าขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีใหญ่ซึ่งอยู่ไกลจากชุมชน อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีโรงสีข้าวเกิดขึ้นมากมายเพื่อช่วยลด ปัญหาดังกล่าวของเกษตรกรรวมถึงเพื่อลดปัญหาความ ยากจนและยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกรโดย มุ่งหวังที่จะให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถที่จะพึ่งพา ตนเองได้ (รุ้งนภา, 2548) ดังนั้นในปี พ.ศ. 2549 ทางบริษัท เกรทอะโกร จ�ำกัด จึงได้ศึกษาและพัฒนา นวัตกรรมโรงสีชุมชนขึ้น ซึ่งเครื่องจักรโรงสีข้าวชุมชนนี้ ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องจักรโรงสีข้าวขนาดใหญ่ให้ เหมาะกับการใช้งานของเกษตรกรกลุม่ ย่อย ซึง่ เครือ่ งจักร สีข้าวที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้มีก�ำลังการผลิต 500 และ 1,000 กิโลกรัม (ข้าวเปลือก) ต่อชั่วโมง โดยที่ข้าวสารที่ผลิตได้ นั้นมีคุณภาพดีและมีต้นทุนต�่ำ ซึ่งเครื่องจักรโรงสีข้าว

ชุมชนนี้สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและ เป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งมากส� ำ หรั บ เกษตรกรกลุ ่ ม ย่ อ ย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าผลการ ด� ำ เนิ น การของโรงสี ข ้ า วชุ ม ชนในบางพื้ น ที่ เ ท่ า นั้ น ที่ ประสบความส�ำเร็จ จึงท�ำให้การด�ำเนินงานของโรงสีขา้ ว ชุ ม ชนไม่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ เท่ า ที่ ค วร งานวิ จั ย ชิ้ น นี้ จึ ง มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและปัจจัยที่มี ผลต่อการจัดการโรงสีขา้ วชุมชน เพือ่ ทราบกระบวนการ ด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชนและเพื่อวิเคราะห์หา ปัจจัยที่เป็นตัวก�ำหนดความส�ำเร็จและความล้มเหลว จากสภาพแวดล้ อ มภายในของแต่ ก ระบวนการใน โรงสีข้าวชุมชน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อทราบกระบวนการด�ำเนินงานของโรงสีข้าว ชุมชนและเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นตัวก�ำหนดความ ส�ำเร็จและความล้มเหลวจากสภาพแวดล้อมภายในของ แต่กระบวนการในโรงสีข้าวชุมชน

ทบทวนวรรณกรรม

แนวคิดเกีย่ วกับสภาพแวดล้อมของระบบธุรกิจเกษตร ในการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สามารถจ�ำแนกการวิเคราะห์ออกได้เป็น 2 ประเภท (อนิวัช แก้วจ�ำนงค์, 2551: 5) ดังนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

1. สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) เป็นปัจจัยภายในขององค์กรทีม่ ผี ลโดยตรงต่อการด�ำเนิน การขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ 2. สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) เป็นปัจจัยภายนอกขององค์กรที่มีผลโดยตรงต่อองค์กร และเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แนวความคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) แนวคิด SWOT Model ได้ถูกรวบรวมโดย Henry Mintzberg ซึ่ง SWOT Model เป็นการประเมินจุดแข็ง และจุดอ่อนที่มีในองค์กรเพื่อน�ำมาวิเคราะห์สถานของ องค์กรกับคู่แข่งและน�ำจุดแข็งขององค์กรมาฉวยโอกาส และหลีกเลีย่ งอุปสรรค น�ำจุดอ่อนทีอ่ าจท�ำให้เสียเปรียบ คู่แข่งมาปรับปรุง แก้ไขได้ (ปกรณ์ ปรียากร, 2551) โดยการวิเคราะห์ SWOT นีจ้ ะเป็นการวิเคราะห์และ ประเมินจุดแข็ง (strengths) จุดอ่อน (weakness) โอกาส (opportunities) และอุปสรรค (threats) ของ องค์ ก รเพื่ อ ท� ำ การวิ เ คราะห์ ศั ก ยภาพรวมถึ ง ความ สามารถขององค์กร เพือ่ น�ำไปสูก่ ารวางแผนกลยุทธ์และ ใช้ในการเพิม่ ขีดความสามารถขององค์กรต่อไป (Bartol, Kathryn, M. & David C. Martin, 1994) ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ห่วงโซ่คุณค่า หมายถึง กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ และเชือ่ มโยงกันเพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั ปัจจัยการผลิต โดยในการเพิม่ มูลค่าเพิม่ นัน้ จะเริม่ ตัง้ แต่กระบวนการรับ วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต ไปสู่กระบวนการจัด จ�ำหน่าย และไปสูก่ ระบวนการจัดส่งสินค้าไปยังผูบ้ ริโภค นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการบริการหลังการขาย โดยแนวความคิดเกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่านี้ได้มาจาก ศาสตราจารย์ Michael E. Porter ซึ่งได้เสนอแนวคิดนี้ ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับห่วง โซ่คณ ุ ค่าไว้วา่ เป็นคุณค่าหรือราคาสินค้าทีล่ กู ค้าหรือผูซ้ อื้ ยอมจ่ายให้กับสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งคุณค่าของสินค้า

19

เหล่านีเ้ ป็นผลจากการโยงใยคุณค่าต่างๆ ในกระบวนการ ผลิต หรือด�ำเนินงานของบริษัทเจ้าของสินค้า ซึ่งมี กิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายระหว่างการด�ำเนินงาน โดยมีความสัมพันธ์กนั คล้ายลูกโซ่แบบต่อเนือ่ ง การทีจ่ ะ ตรวจสอบว่า สินค้าและบริการมีค่ามาก (จุดแข็ง) จาก กิจกรรมใด และมีคุณค่าน้อย (จุดอ่อน) จากกิจกรรมใด ก็อาจศึกษาได้จากกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า จะพิจารณาถึงความ ได้เปรียบของกิจกรรมต่างๆ ระหว่างองค์กรและคู่แข่ง โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็นสองประเภท คือ กิจกรรมหลัก (Primary activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support activities) กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย 5 กิจกรรมย่อยดังนี้  การน�ำวัตถุดิบเข้า (Inbound logistics) จะ เกีย่ วข้องกับการขนส่ง ตรวจรับ เก็บรักษา และแจกจ่าย วัตถุดิบต่างๆ ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งจะรวมถึง ระบบคลังสินค้าด้วย  การผลิต (Operations) จะเกี่ยวกับการแปรรูป วัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะรวมถึงการบรรจุ ภัณฑ์ การตรวจคุณภาพสินค้า การบ�ำรุงรักษาเครือ่ งจักร ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น  การส่งผลิตภัณฑ์ออก (Outbound logistics) จะเป็นการรวบรวมสินค้า การเก็บรักษาสินค้าในคลัง สินค้า การขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค และการส่งมอบ สินค้า เป็นต้น  การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) จะเป็นการเชิญชวนให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจะ รวมถึ ง การจั ด กิ จ กรรมโฆษณาและส่ ง เสริ ม การขาย เป็นต้น  การให้ บ ริ ก าร (Customer services) จะ เป็นการให้บริการเพือ่ เพิม่ มูลค่า เช่นบริการหลังการขาย ต่างๆ ดังนี้

กิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

20 

โครงสร้างพืน้ ฐานของบริษทั (Firm infrastructure) จะเป็นกิจกรรมการบริหารงานทัว่ ๆ ไป เช่น การวางแผน การจัดท�ำระบบงาน การท�ำบัญชีและการเงิน เป็นต้น  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) จะเป็ น กิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา และ การเลื่อนต�ำแหน่งให้กับบุคลากรในองค์กร เป็นต้น  การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology development) จะเป็นกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการเพิม่ คุณค่าให้กบั สินค้า และบริการ เช่นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ เทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น  การจั ด ซื้ อ จั ด หา (Procurement) จะเป็ น กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ การจั ด หาปั จ จั ย ต่ า งๆ เพื่ อ ท� ำ ให้ กระบวนการต่างๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าในทุกๆ กระบวนการ กิจกรรม หลักทุกส่วนจะต้องท�ำงานประสานกันอย่างลงตัวและ ต้องอาศัยกิจกรรมสนับสนุนมาสนับสนุนเพื่อก่อให้เกิด คุณค่า โดยองค์ประกอบที่ส�ำคัญของห่วงโซ่คุณค่า คือ ระบบสารสนเทศ และในการสร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันนั้นจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ ในการวางแผน การด�ำเนินงาน การตัดสินใจ และการ ควบคุม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในแต่ละกิจกรรมที่เป็น องค์ประกอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่า โดยการวิเคราะห์หว่ ง โซ่คุณค่านี้จะท�ำให้ผู้ประกอบการทราบว่า กิจกรรมใด ขององค์กรมีความส�ำคัญ จากนั้นพิจารณาต่อว่าใน กิจกรรมนัน้ ๆ ได้มกี ารด�ำเนินการทีด่ หี รือไม่อย่างไร หาก ยังมีข้อบกพร่องก็สามารถก�ำหนดแนวทาง หรือกลยุทธ์ ในการพัฒนากิจกรรมนัน้ ๆ ให้ดขี นึ้ (ยรรยง ศรีสม, 2553)

วิธีศึกษา

ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ได้จากการสัมภาษณ์ เชิงลึกเป็นรายบุคคล (Individual-Depth Interview) โดยแบบสั ม ภาษณ์ ที่ อ อกแบบมาจะมี โ ครงสร้ า งอยู ่ ภายใต้กรอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่า และเน้นสัมภาษณ์

ผู้จัดการโรงสีข้าวชุมชน การเลือกพื้นที่สัมภาษณ์ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เลือกจากตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มี การปลูกข้าวมากที่สุดในประเทศไทย

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การศึกษากระบวนการด�ำเนินงานของโรงสีข้าว ชุมชน จะใช้การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงพรรณา (Descriptive Method) 2. การศึ ก ษาสภาพแวดล้ อ มภายในของแต่ ล ะ กระบวนการของโรงสีขา้ วชุมชนจะใช้การวิเคราะห์ขอ้ มูล เชิ ง พรรณา (Descriptive Method) และใช้ SW Analysis ภายใต้กรอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่า

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์การบริหารจัดการ โรงสีข้าวชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อ วิเคราะห์จดุ แข็งและจุดอ่อน (SW Analysis) โดยใช้แบบ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล (IndividualDepth Interview) ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพโรงสีข้าวชุมชนภายใต้ กรอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่า ประชากรกลุม่ ตัวอย่าง คือ ผูจ้ ดั การโรงสีขา้ วชุมชน เชิงการค้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใช้เครื่อง สีข้าวรุ่น CPR500 และ CPR1000 จ�ำนวน 7 โรง ได้แก่ 1) โรงสีข้าวทรัพย์ทวีคูณผล อ.ล�ำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 2) โรงสี ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ้ า วชุ ม ชน อ.ล�ำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 3) โรงสีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ 4) โรงสีศูนย์ส่งเสริมและ ผลิตพันธุ์ข้าว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ 5) โรงสีโครงการ ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชด�ำริบ้านยางน้อย อ.เขื่อง ใน จ.อุบลราชธานี 6) โรงสีสหกรณ์การเกษตรศรีบุญเรือง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวล�ำภู และ 7) โรงสีสหกรณ์ การเกษตรสูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ซึง่ มีการเก็บ ข้อมูลในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ผลการศึกษา

การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพของสถานการณ์การ บริหารจัดการโรงสีขา้ วชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทยครั้งนี้ได้ท�ำการศึกษาถึงข้อมูล ทั่วไปของการด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชนเพื่อทราบ ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการด�ำเนินงานของโรงสีข้าว ชุมชน จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร จัดการโรงสีข้าวชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผูป้ ระกอบการในโรงสีขา้ วชุมชนเชิงการค้าในเขต พื้ น ที่ ภ าคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ที่ เ ป็ น กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง ส่ ว นใหญ่ มี ก ารศึ ก ษาอยู ่ ใ นระดั บ ต�่ ำ กว่ า ปริ ญ ญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.1 รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 42.9 ตามล�ำดับซึ่งสาขาที่จบมา คือ บริหารจัดการทั่วไป บัญชีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความรู้หรือ ทักษะเรื่องการบริหารและกระบวนการสีข้าว เท่ากัน ทั้ง 2 ทักษะคิดเป็นร้อยละ 17.2 รองลงมา คือ การเงิน การบัญชี และการตลาด เท่ากันทั้ง 3 ทักษะคิดเป็น ร้อยละ 13.8 ตามล�ำดับ โดยก่อนที่จะมาท�ำโรงสีข้าว ผูใ้ ห้ขอ้ มูลร้อยละ 57.1 เคยมีประสบการณ์เกีย่ วกับการท�ำ โรงสี หรือเกีย่ วกับข้าวโดยตรง เช่น เคยท�ำกิจการโรงสีขา้ ว มา 10 ปี เคยท�ำนา และเคยเป็นรับจ้างขนข้าวเปลือก มาก่อน ทีเ่ หลืออีกร้อยละ 42.9 มีประสบการณ์เกีย่ วกับ โรงสีขา้ ว หรือเกีย่ วกับข้าวบ้าง แต่มอี าชีพอืน่ ๆ เป็นหลัก ได้แก่ พนักงานฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายสินเชือ่ ของบริษทั และผู้น�ำท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งผู้ให้ข้อมูลมีประสบการณ์ การท�ำงานในโรงสีข้าวเฉลี่ย 9 ปี คิดเป็นส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 5.354 โดยร้อยละ 57.0 มีประสบการณ์ การท�ำงานในโรงสีข้าวน้อยกว่าสิบปี และร้อยละ 43.0 มี ป ระสบการณ์ การท�ำงานในโรงสีข ้าวมากกว่าหรือ เท่ากับ 10 ปี ในส่วนของผลการศึกษาเกี่ยวกับอายุของโรงสีข้าว พบว่า โรงสีขา้ วชุมชนมีอายุเฉลีย่ ประมาณ 13 ปี คิดเป็น ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.803 โดยร้อยละ 43.0 มีอายุของโรงสีขา้ วน้อยกว่าสิบปี และร้อยละ 57.0 มีอายุ

21

ของโรงสีข้าวมากกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี โดยเครื่องจักร ที่ใช้ในโรงสีข้าวของทุกรายเป็นเครื่องใหม่จากบริษัท ซึ่งโรงสีข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจชุมชน คิดเป็น ร้อยละ 57.1 และรองลงมา คือ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 42.9 และโรงสีข้าวชุมชนส่ว นใหญ่ มีทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการเฉลี่ย 4,408,333 บาท คิดเป็นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7,705,350 บาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการลงหุน้ กัน ร้อยละ 50 รองลงมา คือ การกู้ยืมร้อยละ 33.3 และจากทั้งทุน ส่วนตัวและการกู้ยืม ร้อยละ 16.7 ตามล�ำดับ โดยที่มา ของแหล่งลงทุน ได้มาจากการกู้ยืมจากธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และได้รบั การ บริจาคเงินลงทุน เป็นต้น การด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชน พบว่า ร้อยละ 57.0 มีพนักงานน้อยกว่า 10 คน และอีกร้อยละ 42.0 มีจำ� นวนพนักงานมากกว่า 10 คน โดยพนักงานส่วนใหญ่ ท�ำงานวันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 71.4 และท�ำงาน มากกว่า 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 28.6 และโรงสีข้าว ชุมชนส่วนใหญ่มีเครื่องสีข้าว จ�ำนวน 1 เครื่อง คิดเป็น ร้อยละ 71.4 และมีเครื่องสีข้าวจ�ำนวน 2 เครื่อง คิดเป็น ร้อยละ 28.6 ตามล�ำดับ ส�ำหรับจ�ำนวนข้าวเปลือกที่ รับซือ้ พบว่า ส่วนใหญ่รบั ซือ้ ข้าวเปลือกปริมาณมากกว่า 101-3,000 กก./วั น ร้ อ ยละ 50.0 รองลงมา คื อ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 กก./วัน ร้อยละ 33.3 และ มากกว่า 3,000 กก./วัน ร้อยละ 16.7 ตามล�ำดับ โดย จ�ำนวนผลผลิตของโรงสีขา้ วส่วนใหญ่มปี ริมาณน้อยกว่า 5 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 42.8 และมีปริมาณผลผลิต 5-10 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 28.6 และมากกว่า 10 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 28.6 ตามล�ำดับ ในขณะที่ รายได้ของโรงสีชมุ ชนส่วนใหญ่มรี ายได้ตอ่ เดือน 10,00030,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.6 และมากกว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.7 และมีผู้ประกอบการที่ไม่เปิด เผยรายได้ คิดเป็นร้อยละ 28.7 ตามล�ำดับ ในส่วนของการจัดจ�ำหน่าย พบว่า โรงสีข้าวชุมชน ส่วนใหญ่จำ� หน่ายทัง้ ข้าวกล้องและข้าวขาว ร้อยละ 80.0

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


22

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ส่วนอีกร้อยละ 20.0 จ�ำหน่ายข้าวขาวอย่างเดียว ตาม ล�ำดับ โดยขนาดที่จ�ำหน่ายก็มีตั้งแต่ 1, 2, 5 และ 50 กิโลกรัมต่อถุง ซึง่ วิธกี ารจัดจ�ำหน่ายส่วนใหญ่ขายทัง้ ปลีก และส่ง ร้อยละ 83.3 และขายปลีกอย่างเดียว ร้อยละ 16.7 ตามล�ำดับ การวิเคราะห์ถงึ ประสิทธิภาพ ปัญหา และขีดจ�ำกัด ในการด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชน โดยได้วเิ คราะห์ถงึ จุดแข็งและจุดอ่อน (SW Analysis) ของการด�ำเนินงาน ของโรงสีขา้ วชุมชนได้ถกู วิเคราะห์ขนึ้ เพือ่ รวบรวมข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของการบริหาร โรงสีข้าวชุมชนต่อไป โดยกรอบแนวคิดของการศึกษา ครั้ ง นี้ มุ ่ ง ที่ จ ะศึ ก ษาการด� ำ เนิ น งานของโรงสี ชุ ม ชน ภายใต้กรอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมหลัก (การน�ำเข้าผลิตภัณฑ์ การผลิต การส่ง ผลิตภัณฑ์ออก การบริการ การตลาด และการโฆษณา) และกิจกรรมสนับสนุน (โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท การจั ด การทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ การพั ฒ นาเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหา) ตารางที่ 1 และตารางที่ 2 แสดงผล การวิเคราะห์จดุ แข็งและจุดอ่อนของการด�ำเนินงานของ โรงสีข้าวชุมชนภายใต้กรอบของห่วงโซ่แห่งคุณค่าของ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมสนับสนุนตามล�ำดับ จากการวิเคราะห์ พบว่า จุดแข็งของโรงสีขา้ วชุมชน ในกิจกรรมหลักมีในส่วนของการน�ำวัตถุดบิ เข้ามีดงั นี้ คือ การมีระบบสมาชิกท�ำให้มีวัตถุดิบอย่างสม�่ำเสมอและ เพียงพอต่อความต้องการของผูบ้ ริโภค มีระบบตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลเกี่ยวกับการรับซื้อวัตถุดิบ มี คอมพิ ว เตอร์ ช ่ ว ยในการจดบั น ทึ ก อย่ า งมี ม าตรฐาน และคนรับซื้อวัตถุดิบมีความรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ อย่างไรก็ตามก็ยงั มีจดุ อ่อนอยูห่ ลายประการ เช่น ไม่มีอุปกรณ์วัดคุณภาพของข้าวเปลือก ตาชั่งไม่ได้ มาตรฐาน สถานทีเ่ ก็บข้าวเปลือกไม่เพียงพอ สถานทีเ่ ก็บ ไม่ได้มาตรฐาน พนักงานรับซือ้ วัตถุดบิ ไม่มคี วามรูใ้ นการ คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และพนักงานไม่มีความ ละเอียดรอบคอบในการจดข้อมูลเกี่ยวกับการรับซื้อ วัตถุดิบ

จุดแข็งในส่วนของการผลิตมีดังนี้ คือ เครื่องสีข้าว ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ในขณะที่จุดอ่อน คือ ไม่มีระบบการ ซ่ อ มบ� ำ รุ ง และการท� ำ ความสะอาดที่ ดี ไม่ มี ก ารส่ ง พนักงานไปอบรมเพิ่มเกี่ยวกับการซ่อมแซมเครื่องจักร พนักงานหนึ่งคนท�ำงานหลายหน้าที่ท�ำให้ไม่มีเวลาไป เรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมบ�ำรุงเครื่องสีข้าว และพนักงาน ไม่สามารถซ่อมบ�ำรุงเครื่องสีข้าวได้ จุดแข็งในการส่งผลิตภัณฑ์ออก คือ ท�ำการตรวจนับ สินค้าทุกเดือนเพื่อให้มีสินค้าอย่างเพียงพอต่อความ ต้องการของผู้บริโภค มีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสินค้า ก่อนจ�ำหน่าย มีระบบการบรรจุที่ยืดหยุ่นตามความ ต้องการของลูกค้า ในขณะที่จุดอ่อน คือ ไม่มีสถานที่ เก็บผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ สถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ ไม่สะอาด บรรจุภณ ั ฑ์สำ� หรับเก็บข้าวสารไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีพนักงานดูแลความสะอาดคลังสินค้า จุดแข็งในด้านการตลาดและการขาย คือ มีการ ท�ำการส่งเสริมการขายและส่วนลดเพื่อท�ำการตลาด มีการท�ำการตลาด โดยออกไปแนะน�ำสินค้าตามสถานที่ ต่างๆ พร้อมมีการหุงให้ชิม มีบริการส่งสินค้า ในขณะที่ จุดอ่อน คือ ไม่มีรถเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า พนักงาน ไม่มีความรู้ในเรื่องการท�ำการตลาด พนักงานไม่มีทักษะ ในการท�ำการประชาสัมพันธ์ พนักงานไม่ทราบข้อมูล เชิงลึกเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ และพนักงานขาดประสบการณ์ ในการท�ำการตลาด จุดแข็งในด้านการให้บริการ คือ มีการเก็บข้อมูล เกี่ยวกับการติชมสินค้าเพื่อพัฒนาสินค้าต่อไป ให้ความ ส�ำคัญกับการให้บริการหลังการขาย เช่น หากสินค้า เสียหายสามารถเปลี่ยนได้ และบริหารน�ำไปเปลี่ยนให้ ถึงที่ ในขณะทีจ่ ดุ อ่อน คือ ไม่มบี คุ ลากรฝ่ายบริการ ท�ำให้ ไม่สามารถให้บริการได้ทันกับความต้องการของลูกค้า ส� ำ หรั บ การวิ เ คราะห์ จุ ด แข็ ง และจุ ด อ่ อ นของ กิจกรรมสนับสนุน พบว่า จุดแข็งของโครงสร้างพื้นฐาน ของบริษัท คือ มีระบบจัดเก็บและส�ำรองข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์ทสี่ ามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และมีการ จ้างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบการท�ำบัญชี ในขณะที่

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จุดอ่อน คือ พนักงานไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่าง คล่องแคล่ว และไม่มพี นักงานทีม่ คี วามรูท้ างด้านการท�ำ บัญชีโดยตรง จุดแข็งของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ ผูจ้ ดั การ โรงสีข้าวส่วนมากสามารถท�ำได้ทุกต�ำแหน่งรวมถึงมี ความสามารถในการจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ได้ดี ในขณะที่จุดอ่อน คือ พนักงานขาดความรู้ในเรื่อง การบริหารจัดการ การตลาด และถนัดแค่ในส่วนของ การผลิต และแรงงานบางส่วนเป็นแรงงานรายวัน ท�ำให้ บางวันขาดแคลนแรงงานในการท�ำงาน จุดแข็งของการพัฒนาเทคโนโลยี คือ เครื่องสีข้าว

23

ง่ายต่อการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้กระบวนการผลิต มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่จุดอ่อน คือ ไม่มีแผนการ พั ฒ นาเทคโนโลยี เนื่ อ งจากขาดแคลนงบประมาณ ขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะและความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาเทคโนโลยี และพนักงานให้ความส�ำคัญ เฉพาะกระบวนการผลิ ต แต่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาระบบ จุดแข็งของการจัดซื้อจัดหา คือ มีสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกเท่าที่จ�ำเป็น ในขณะที่จุดอ่อน คือ ขาดแคลน งบประมาณในการจัดหาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกอย่าง ครบถ้วนเพื่อให้การท�ำงานเป็นไปด้วยความราบรื่น

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์จดุ แข็ง จุดอ่อน ในการด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กิจกรรมหลัก) กิจกรรม การน�ำวัตถุดิบเข้า (การรับซื้อข้าวเปลือก และ การเก็บรักษาข้าวเปลือก)

การผลิต (การสีข้าว)

การส่งผลิตภัณฑ์ออก (การเก็บรักษาข้าวเปลือก)

การตลาดและการขาย (การขายข้าวเปลือกและ การท�ำการตลาด การท�ำสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์)

จุดแข็ง * มีระบบสมาชิกท�ำให้มีวัตถุดิบอย่างสม�่ำเสมอ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค * มีระบบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เกี่ยวกับการรับซื้อวัตถุดิบ * มีคอมพิวเตอร์ช่วยในการจดบันทึกอย่างมี มาตรฐาน * คนรับซื้อวัตถุดิบมีความรู้ในการคัดเลือก วัตถุดิบที่มีคุณภาพ * เครื่องสีข้าวใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

SW Analysis

จุดอ่อน * ไม่มีอุปกรณ์วัดคุณภาพของข้าวเปลือก * ตาชั่งไม่ได้มาตรฐาน * สถานที่เก็บข้าวเปลือกไม่เพียงพอ * สถานที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน * พนักงานรับซื้อวัตถุดิบไม่มีความรู้ในการคัดเลือกวัตถุดิบ ที่มีคุณภาพ * พนักงานไม่มีความละเอียดรอบคอบในการจดข้อมูล เกี่ยวกับการรับซื้อวัตถุดิบ * ไม่มีระบบการซ่อมบ�ำรุงและการท�ำความสะอาดที่ดี * ไม่มีการส่งพนักงานไปอบรมเพิ่มเกี่ยวกับการซ่อมแซม เครื่องจักร * พนักงานหนึ่งคนท�ำงานหลายหน้าที่ท�ำให้ไม่มีเวลา ไปเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมบ�ำรุงเครื่องสีข้าว * พนักงานไม่สามารถซ่อมบ�ำรุงเครื่องสีข้าวได้ * ท�ำการตรวจนับสินค้าทุกเดือนเพื่อให้มีสินค้า * ไม่มีสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ อย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค * สถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ไม่สะอาด * มีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนจ�ำหน่าย * บรรจุภัณฑ์ส�ำหรับเก็บข้าวสารไม่ได้มาตรฐาน * มีระบบการบรรจุที่ยืดหยุ่นตามความต้องการ * ไม่มีพนักงานดูแลความสะอาดคลังสินค้า ของลูกค้า * มีการท�ำ promotion และส่วนลดเพื่อ * ไม่มีรถเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า ท�ำการตลาด * พนักงานไม่มีความรู้ในเรื่องการท�ำการตลาด * มีการท�ำการตลาด โดยออกไปแนะน�ำสินค้า * พนักงานไม่มีทักษะในการท�ำการประชาสัมพันธ์ ตามสถานที่ต่างๆ พร้อมมีการหุงให้ชิม * พนักงานไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ * มีบริการส่งสินค้า * พนักงานขาดประสบการณ์ในการท�ำการตลาด ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


24

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558 กิจกรรม

การให้บริการ (บริการหลังการขาย การ รับฟังข้อเสนอแนะและ ความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ จากลูกค้า)

SW Analysis จุดแข็ง จุดอ่อน * มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการติชมสินค้าเพื่อ * ไม่มีบุคลากรฝ่ายบริการ ท�ำให้ไม่สามารถให้บริการได้ทัน พัฒนาสินค้าต่อไป กับความต้องการของลูกค้า * ให้ความส�ำคัญกับการให้บริการหลังการขาย เช่น หากสินค้าเสียหายสามารถเปลี่ยนได้ และบริหารน�ำไปเปลี่ยนให้ถึงที่

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์จดุ แข็ง จุดอ่อน ในการด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กิจกรรม สนับสนุน) กิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (มีหน่วยโครงสร้างพื้นฐาน ของโรงสีข้าว เช่น มีห้อง ทำ�งาน มีพนักงานบัญชี การ มีพนักงานฝ่ายบุคคล) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (มีฝ่ายบุคคลที่คอยคัด พนักงานที่มีความรู้ความ สามารถเข้ามาทำ�งาน รวมถึง ดูแลในเรื่องของการฝึกอบรม ต่างๆ) การพัฒนาเทคโนโลยี (มีการพัฒนา ปรับปรุงเครื่อง สีข้าว รวมถึงกระบวนการ ต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ลดต้นทุน) การจัดซื้อจัดหา (การจัดซื้อ จัดหาสิ่งอำ�นวยความสะดวก ต่างๆ เพื่อให้การสีข้าวเป็น ไปด้วยความราบรื่น)

SW Analysis จุดแข็ง จุดอ่อน * มีระบบจัดเก็บและสำ�รองข้อมูลด้วย * พนักงานไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว คอมพิวเตอร์ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ * ไม่มีพนักงานที่มีความรู้ทางด้านการทำ�บัญชีโดยตรง * มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบการทำ� บัญชี * ผู้จัดการโรงสีข้าวส่วนมากสามารถทำ�ได้ ทุกตำ�แหน่ง รวมถึงมีความสามารถในการ จัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ได้ดี

* พนักงานขาดความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด และถนัดแค่ในส่วนของการผลิต * แรงงานบางส่วนเป็นแรงงานรายวัน ทำ�ให้บางวัน ขาดแคลนแรงงานในการทำ�งาน

* เครื่องสีข้าวง่ายต่อการพัฒนาและปรับปรุง * ไม่มีแผนการพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องจากขาดแคลน เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น งบประมาณ * ขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะและความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาเทคโนโลยี * ให้ความสำ�คัญเฉพาะกระบวนการผลิตแต่ไม่ได้ให้ความ สำ�คัญกับกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาระบบ * มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกเท่าที่จำ�เป็น * ขาดแคลนงบประมาณในการจัดหาสิ่งอำ�นวยความ สะดวกอย่างครบถ้วนเพื่อให้การทำ�งานเป็นไปด้วย ความราบรื่น

จากตารางการวิเคราะห์จดุ แข็งและจุดอ่อนของการ ด�ำเนินงานของโรงสีขา้ วชุมชน ท�ำให้ทราบว่า การด�ำเนิน งานของโรงสีข้าวชุมชนยังต้องมีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน เพื่อให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับโรงสีข้าวและท�ำให้ ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการก�ำหนดกลยุทธ์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของโรงสีข้าว ชุมชน ดังรายละเอียดในตารางที่ 3

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

25

ตารางที่ 3 กลยุทธ์และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชน กลยุทธ์

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการด�ำเนินงานของโรงสีข้าวชุมชน

การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน

จัดอบรมและให้ความรูก้ บั พนักงานทัง้ ในด้านของกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลและการท�ำบัญชีอย่างถูกต้อง

การพัฒนาศักยภาพทางด้านการตลาดและการ โฆษณา

จัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานในองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาด การประชาสัมพันธ์และ การขาย

การพัฒนาศักยภาพทางด้านการวิจัยและพัฒนา ตัวผลิตภัณฑ์

จั ด อบรมให้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ การพั ฒ นาเทคโนโลยี เ พื่ อ ประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการพั ฒ นา ตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ควรกระตุ้นให้พนักงานคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนา กระบวนการผลิตที่ท�ำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มผลก�ำไร และมีคุณภาพ ที่ดีขึ้น ส่งเสริมและสนันสนุนในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมาใช้ในกระบวนการ

การหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานมาใช้ในกระบวนการ การหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการปรับปรุง กระบวนการต่างๆ

สรุป

ให้ความรู้ในเรื่องของที่มาแหล่งเงินทุน

จากการศึกษาข้อมูลทัว่ ไปเกีย่ วกับการบริหารจัดการ โรงสีข้าวชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผู้ประกอบการในโรงสีข้าวชุมชนเชิงการค้าในเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการศึกษาอยู่ในระดับต�่ำกว่าปริญญาตรี ซึง่ สาขาทีจ่ บมา คือ บริหารจัดการทัว่ ไป บัญชีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการท�ำ โรงสีข้าว โดยโรงสีข้าวส่วนใหญ่ด�ำเนินการประมาณ 13 ปี ซึง่ เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในโรงสีขา้ วของทุกรายเป็นเครือ่ ง ใหม่จากบริษทั โดยโรงสีขา้ วชุมชนส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจ ชุมชน และโรงสีข้าวชุมชนส่วนใหญ่มีทุนหมุนเวียน ในการประกอบกิจการเฉลี่ย 4,408,333 บาท โดย เงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการลงหุ้นกัน การด� ำ เนิ น งานของโรงสี ข ้ า วชุ ม ชนส่ ว นใหญ่ มี พนักงานน้อยกว่า 10 คนต่อโรงสีข้าวหนึ่งแห่ง โดย พนักงานส่วนใหญ่ท�ำงานมีจ�ำนวนชั่วโมงการท�ำงาน 8 ชั่ ว โมง และโรงสี ข ้ า วชุ ม ชนส่ ว นใหญ่ มี เ ครื่ อ งสี ข ้ า ว จ�ำนวน 1 เครื่อง ซึ่งโรงสีข้าวส่วนใหญ่รับซื้อข้าวเปลือก วันละ 101-3,000 กก. โดยโรงสีข้าวส่วนใหญ่สามารถ ผลิตเป็นข้าวสารได้น้อยกว่า 5 ตันต่อวัน ในขณะที่

รายได้ของโรงสีชมุ ชนส่วนใหญ่มรี ายได้ตอ่ เดือน 10,00030,000 บาท ในส่วนของการจัดจ�ำหน่าย พบว่า โรงสีข้าวชุมชน ส่วนใหญ่จ�ำหน่ายทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว โดยขนาดที่ จ�ำหน่ายของโรงสีข้าวส่วนใหญ่มีทั้ง 1, 2, 5 และ 50 กิโลกรัมต่อถุง ซึง่ วิธกี ารจัดจ�ำหน่ายส่วนใหญ่ขายทัง้ ปลีก และส่ง ส�ำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการด�ำเนินงาน ของโรงสีข้าวชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพือ่ ให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนัน้ โรงสีข้าวชุมชนจึงควรมุ่งเน้นที่จะพัฒนาและปรับปรุง ในด้านดังต่อไปนี้ 1) การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานให้มี ความรูค้ วามสามารถในด้านกระบวนการผลิตให้มากขึน้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และในเรื่องของ การซ่อมบ�ำรุงเครื่องจักร เนื่องจากการศึกษา พบว่า โรงสีขา้ วชุมชนส่วนใหญ่ไม่มพี นักงานทีส่ ามารถซ่อมแซม เครื่องจักรเบื้องต้นด้วยตนเอง ท�ำให้ต้องปิดโรงสีและ หยุดการผลิตจนกว่าจะมีช่างจากบริษัทมาซ่อมบ�ำรุงให้ ท�ำให้ขาดโอกาสในการขาย นอกจากนี้โรงสีข้าวชุมชน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


26

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ส่วนใหญ่ขาดพนักงานที่มีความรู้ในด้านการบัญชีโดยตรง ส่วนมากจะเป็นพนักงานที่นำ� มาอบรมเพิ่มเติม ท�ำให้มี ข้อผิดพลาดในการท�ำบัญชี อีกทัง้ ท�ำให้ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ย ในการจ้างพนักงานบัญชีอาชีพมาช่วยตรวจสอบบัญชี อีกด้วย 2) การพัฒนาศักยภาพทางด้านการตลาดและการ โฆษณาของพนักงานเพื่อให้สามารถเข้าใจกลไกตลาด และสามารถแข่งขันกับคู่ต่อสู้ได้ จุดอ่อนอย่างหนึ่งของ พนักงานในโรงสีข้าวชุมชน คือ มีความรู้ความสามารถ ในการผลิตในระดับหนึ่ง แต่ไม่มีความรู้ในเรื่องของการ ท�ำการตลาด การประชาสัมพันธ์และการขาย ซึง่ มีความ ส�ำคัญมาก ในการที่จะประสบความส�ำเร็จในการท�ำโรง สีข้าวชุมชน 3) การพั ฒ นาศั ก ยภาพทางด้ า นการวิ จั ย และ พัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงการพัฒนาเครื่องจักรและ

กระบวนการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ตรงตาม ความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อเป็นการลดต้นทุน รวมถึงการเพิ่มผลก�ำไร 4) การจัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานต่างๆ มาใช้ใน การด�ำเนินงาน เช่น เครือ่ งวัดคุณภาพข้าวเปลือกเพือ่ ให้ สามารถคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตาชั่งที่ได้มาตรฐาน เพื่ อ จะได้ ท ราบปริ ม าณของวั ต ถุ ดิ บ ที่ แ น่ น อน และ เครื่องบรรจุผลิตภัณฑ์สุญญากาศเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ทีม่ คี ณ ุ ภาพและสามารถยืดอายุสนิ ค้าได้นานขึน้ เป็นต้น การหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการปรับปรุงในด้าน ต่างๆ พนักงานส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านเงินทุน ท�ำให้ไม่ สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ได้ ใน ส่วนนีภ้ าครัฐและภาคเอกชนควรยืน่ มือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้โรงสีข้าวชุมชนสามารถมีเงินทุนมาปรับปรุงและ พัฒนากระบวนการผลิตรวมถึงผลิตภัณฑ์ได้

บรรณานุกรม

ทรงเชาว์ อินสมพันธ์. (2545). “ข้าว”. เอกสารประกอบการสอนพืชไร่ส�ำคัญของประเทศไทย. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปกรณ์ ปรียากร. (2551). การวางแผนกลยุทธ์: แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม. อ้างถึง Wheelen & Hunger. (2008). Strategic Management and Business Policy. New Jersey: Pearson Prentice Hall. ยรรยง ศรีสม. (2553). “ห่วงโซ่คุณค่า (ตอนจบ) value chain ในงานโลจิสติกส์”. Technology promotion, 37(211). รุ้งนภา นาคเพ็ง. (2548). ลักษณะของสมาชิกที่มีผลต่อความส�ำเร็จของโรงสีข้าวชุมชน จังหวัดพิจิตร. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2546). สถิติการค้าสินค้าเกษตรกรรมไทยกับต่างประเทศปี 2546. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อนิวัช แก้วจ�ำนงค์. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management). กรุงเทพฯ: น�ำศิลป์โฆษณา. Bartol, K. M. & Martin, D. C. (1994). Management. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill, Inc. Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.

Translated Thai References

Centre for Agricultural Information. (2003). Thailand foreign agricultural trade statistics 2003. Bangkok: Centre for Agricultural Information Office of Agricultural Economic. Ministry of Agriculture and Co-operatives. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

27

Insomphun, S. (2002). “Rice”. Lecture material of important crop in Thailand. Devision of Agronomy. Faculty of Agriculture. Chiang Mai University. [in Thai] Kaewjumnong, A. (2008). Strategic Management. Bangkok: Numsilkosana. [in Thai] Nakpheng, R. (2005). Member’s characteristics affecting the success of community rice mills, Phichit province. Chiang Mai University. [in Thai] Preeyakorn, P. (2008). Strategy Planing: The concept and application guidelines. Bangkok. Sematham; cited in Wheelen & Hunger. (2008). Strategic Management and Business Policy. New Jersey: Pearson Prentice Hall. [in Thai] Srisom, Y. (2010). “Value chain for logistics (The last chapter)”. Technology promotion, 37(211). [in Thai]

Viwat Maikaensarn received his MBA from the National Institution Development Administration (NIDA), Thailand in 1990. He earned his Bachelor Degree of Science Program in Agricultural Economics from Kasetsart University, Thailand in 1974. He is currently an Associate Dean for Academic Affairs and full-time lecturer in Faculty of Innovative Agricultural Management, Panyapiwat Institute of Management. Monruedee Chantharat received her Ph.D. in Environmental Science and Engineering from Gwangju Institute of Science and Technology, Republic of Korea in 2012. She earned her Master of Science (Environmental Engineering and Management) from Asian Institute of Technology, Thailand in 2007 and Bachelor Degree of Science (Industrial Management Technology) from Prince of Songkla University (Surat Thani campus), Thailand in 2005. She is currently a full time lecturer in Faculty of Innovative Agricultural Management, Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


28

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ THE INFLUENCE OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP, HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT AND READINESS FOR CHANGE ON JOB PERFORMANCE OF EMPLOYEES IN THAI AUTONOMOUS UNIVERSITIES สุปัญญดา สุนทรนนธ์1 Supunyada Suntornnond1 บทคัดย่อ

การศึกษาครัง้ นี้ มีวตั ถุประสงค์หลัก คือ 1) เพือ่ ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง (ประกอบ ด้วย 4 ตัวแปรย่อย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ประกอบด้วย 5 ตัวแปรย่อย) ความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง (ประกอบด้วย 5 ตัวแปรย่อย) ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ และ 2) เพื่อศึกษา รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยต่างๆ ในปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ จากการวิจยั พบว่า 1) ตัวแปรย่อยเกือบทุกตัวในปัจจัยภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง (รวม 13 ตัวแปรย่อย) ยกเว้นแต่ กิจกรรมการศึกษา (Education) มีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากร อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 โดยการค�ำนึงถึงปัจเจกบุคคล (Individual Consideration) ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางตรงเชิง บวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมากที่สุด และ 2) ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์มีทั้งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรผ่านทางปัจจัยความพร้อมส�ำหรับ การเปลี่ยนแปลงโดยปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 14 ตัวแปรย่อย สามารถอธิบายความผันแปร ของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐได้ร้อยละ 72.9 (R2 = 0.729) จึงกล่าวได้ว่าปัจจัย หลักทั้ง 3 ปัจจัยที่ศึกษา มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในระดับสูง ค�ำส�ำคัญ: ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง ผลการ ปฏิบัติงาน บุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ

1 นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, Doctoral Candidate, School of Public Administration,

National Institute of Development Administration (NIDA), E-mail: dr.supunyada@gmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

29

Abstract

The major purposes of this research were 1) to investigate both direct and indirect influences of transformational leadership, human resource development, and readiness for change factors on job performance of employee 2) to study relationship among these four key variables. Multi-stage sampling method was used to acquire the samples. The samples of 334 out of 400 sampling from full-time employees in 12 Thai autonomous universities were completely collected by using closed-end questionnaire. The research results indicated that 1) Most of sub-factors of transformational leadership, human resource development, and readiness for change, except education, directly influenced job performance of employees. Individual consideration, which is sub-factors of transformational leadership, had the highest direct positively influence on employees’ job performance and 2) Transformational leadership and human resource development factors had both positively direct and indirect influence on employees’ job performance through a mediating function of readiness for change factors. This proposed conceptual model could explain 72.9 percent (R2 = 0.729) of employees’ job performance in Thai autonomous universities. Keywords: Transformational Leadership, Human Resource Development, Readiness for Change, Job Performance, Employee in Autonomous Universities บทน�ำ ในปัจจุบัน องค์การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือ องค์การเอกชน ล้วนจ�ำเป็นต้องปรับตัวเพือ่ ความอยูร่ อด ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ รุนแรง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา องค์การต่างๆ ทั่วโลก ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความเปลี่ ย นแปลงทั้ ง ทางการเมื อ ง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว ดังนัน้ การผลักดันให้เกิดความเปลีย่ นแปลง ในองค์การตามที่องค์การวางแผนไว้ จึงมีความส�ำคัญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ ความอยู ่ ร อดขององค์ ก าร (Lawler & Worley, 2006) ส�ำหรับในประเทศไทยนั้น หนึ่งใน องค์การภาครัฐที่มีความส�ำคัญและก�ำลังต้องเผชิญกับ ความเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับตัวในด้านต่างๆ ของ องค์การอย่างชัดเจน ก็คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยหนึง่ ในรูปแบบการเปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญของสถาบัน อุดมศึกษาไทยที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ก็คอื การเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ (Autonomous university) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘มหาวิทยาลัยนอก ระบบราชการ’

ทั้งนี้เพื่อให้องค์การสามารถอยู่รอดได้ห ลังจาก ออกนอกระบบราชการแล้ ว มหาวิ ท ยาลั ย ในก� ำ กั บ ของรัฐต้องมีการปรับตัวและด�ำเนินการเปลี่ยนแปลง ต่ า งๆ เพื่ อ ให้ ส ามารถตอบสนองต่ อ สภาพแวดล้ อ ม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในอนาคต อันใกล้ เมื่อไทยต้องเปิดเสรีทางการศึกษาตามข้อตกลง เขตการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใน พ.ศ. 2558 หรือ ค.ศ. 2015 มหาวิทยาลัยในก�ำกับ ของรัฐในไทยทุกแห่งจ�ำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพือ่ ปรับตัว ให้ส ามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น การเตรียมตัวให้มหาวิทยาลัยเปิดภาคการศึกษา ให้ตรงกับการเปิดภาคเรียนที่เป็นสากล หรือการเปิด หลักสูตรนานาชาติหรือการเรียนการสอนผ่านระบบ ออนไลน์เพิ่มมากขึ้น กล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ นีเ้ ป็นเพียงตัวอย่างความท้าทายต่อการ บริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงของสถาบันการศึกษา ในไทยทุกแห่ง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


30

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ผลการศึ ก ษาที่ ผ ่ า นมา พบว่ า ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลอย่ า งยิ่ ง ต่ อ ผลปฏิ บั ติ ง านของทุ ก องค์ ก าร ที่ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็คือ ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลง (Transformational Leadership) ของผู้บริหารทุกระดับ และความพร้อม ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร (Employees’ Readiness For Change) ในองค์การ งานวิจยั หลายชิน้ ยังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงองค์การ ในรู ป แบบใดๆ ก็ ต ามให้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ได้ นั้ น องค์การต้องให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาความสามารถ ให้ กั บ บุ ค ลากรซึ่ ง เป็ น ทรั พ ยากรที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของ องค์การ ดังนัน้ อีกปัจจัยส�ำคัญทีม่ นี กั วิชาการหลายท่าน ให้ความสนใจเมื่อศึกษาถึงปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อ ความพร้ อ มส� ำ หรั บ การเปลี่ ย นแปลงของบุ ค ลากร ในองค์การ ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) นัน่ เอง (Kotler & Cohen, 2002) ปัจจุบันมีการศึกษาจ�ำนวนมาก ชี้ให้เห็นถึงความ เชื่ อ มโยงระหว่ า งปั จ จั ย ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับ การเปลี่ยนแปลงของบุคลากรว่าเป็นปัจจัยส�ำคัญที่มี อิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน องค์การ อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงอิทธิพลและความ สัมพันธ์ต่างๆ ดังกล่าว มักเป็นการศึกษาวิจัยในบริบท ขององค์การภาคธุรกิจในประเทศตะวันตก อีกทั้งงาน ศึกษาวิจยั ส่วนใหญ่ ยังเป็นการมุง่ ศึกษาในระดับองค์การ เป็นหลัก และยังไม่ให้ความส�ำคัญกับการวิจัยในระดับ บุคคลมากนัก จากความไม่เพียงพอในการศึกษาประเด็น เหล่ า นี้ ใ นบริ บ ทขององค์ ก ารภาครั ฐ ในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงศึกษาถึงปัจจัยด้านภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ ย นแปลง ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ผลการปฏิ บั ติ ง านของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่ อ ศึ ก ษาถึ ง อิ ท ธิ พ ลของปั จ จั ย ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลงการพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ และ ความพร้ อ มส� ำ หรั บ การเปลี่ ย นแปลงที่ มี ต ่ อ ผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากร 2. เ พื่ อ ศึ ก ษ า ถึ ง รู ป แ บ บ ค ว า ม สั ม พั น ธ ์ ใ น องค์ ป ระกอบย่ อ ยต่ า งๆ ระหว่ า งปั จ จั ย ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลง การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ความพร้ อ มส� ำ หรั บ การเปลี่ ย นแปลง และผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากร

ทบทวนวรรณกรรม

ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมใน 4 ประเด็นหลักที่ เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1. ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง แนวคิ ด และทฤษฎี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู ้ น� ำ ได้ ถู ก พั ฒ นาขึ้ น มาเรื่ อ ยๆ ท� ำ ให้ มี แ นวคิ ด และทฤษฎี ที่ เกี่ยวข้องกับผู้น�ำที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่าทฤษฎีผู้น�ำสร้างความเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theories) เป็นทฤษฎี เกี่ยวกับผู้น�ำที่สามารถน�ำมาอธิบายถึงการบริหารการ เปลีย่ นแปลงในองค์การได้มากทีส่ ดุ (Beer, 2010: 151) ส�ำหรับทฤษฎีผู้น�ำสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น บาสและ อาโวลิโอ (Bass & Avolio) ได้น�ำเสนอโมเดลภาวะ ผู ้ น� ำ พิ สั ย สมบู ร ณ์ (Model of Full Range of Leadership) ประกอบด้วยภาวะผู้น�ำ 3 แบบ (Bass & Avolio, 1994: 19) ได้แก่ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ภาวะผู้น�ำแบบ แลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) และภาวะ ผูน้ ำ� แบบปล่อยตามสบาย (Laissez-faire Leadership) ในงานวิ จั ย ครั้ ง นี้ ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลง (Transformational Leadership) หมายถึง พฤติกรรม ของผู้น�ำที่พยายามจะกระตุ้นและจูงใจให้ลูกน้องเกิด ความปรารถนาหรือเกิดแรงบันดาลใจที่จะท�ำงานโดย ผู้น�ำจะมีลักษณะที่มีบารมี (Charisma) เพื่อสามารถ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

กระตุน้ ความรูส้ กึ ด้านอารมณ์ของพนักงานหรือผูต้ ามให้ เกิดการลอกเลียนแบบผู้น�ำ โดยผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงนี้ มีลักษณะส�ำคัญ 4 ประการ (4Is) ได้แก่ (1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence: II) คือ พฤติกรรมบ่งชีท้ แี่ สดงว่าผูน้ ำ� เป็นผูน้ ำ� ที่มีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ที่ส�ำคัญ ได้แก่ การที่ผู้ตาม เชื่อในความถูกต้องของความคิดของผู้น�ำ ผู้ตามมีความ เชื่อคล้ายกับผู้น�ำ ผู้ตามยอมรับผู้น�ำโดยไม่สงสัย ผู้ตาม รักใคร่ผู้น�ำ ผู้ตามเต็มใจเชื่อฟังผู้น�ำ ผู้ตามมีความผูกพัน กับภารกิจขององค์การ ผูต้ ามมีเป้าหมายสูงในการปฏิบตั ิ งาน และผูต้ ามเชือ่ ว่าผูน้ ำ� จะช่วยให้ผตู้ ามปฏิบตั งิ านของ องค์การได้ส�ำเร็จ (2) การสร้ า งแรงบั น ดาลใจ (Inspiration Motivation: IM) โดยการสร้างแรงบันดาลใจนี้ มักมี ความใกล้ชิดกับการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ เพราะ เป็นวิธีการที่ผู้น�ำสามารถท�ำให้ผู้ร่วมงานทราบว่า ใน อนาคต ถ้าทุกคนมีสว่ นร่วมในการท�ำงานตามทีผ่ นู้ ำ� สร้าง แรงบันดาลใจไว้ ก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับให้ ส�ำเร็จลุล่วง (3) การกระตุ ้ น การใช้ ป ั ญ ญา (Intellectual Stimulation: IS) เป็นพฤติกรรมที่ผู้น�ำแสดงออกถึง การกระตุ้นให้ผู้ตามมีการใช้ปัญญาหรือใช้ความคิดของ ตน โดยทีผ่ นู้ ำ� จะเปลีย่ นสภาพเป็นผูส้ ร้างเงือ่ นไขและให้ ผู้ตามแก้ไขปัญหานั้นด้วยปัญญา หรืออาจเป็นการ กระตุ้นการพัฒนาระบบความคิดของผู้ตาม ซึ่งนับเป็น วิธกี ารแบบใหม่ทชี่ ว่ ยให้ผตู้ ามเรียนรูว้ ธิ กี ารแก้ปญ ั หาได้ อย่างสร้างสรรค์ (4) การค�ำนึงถึงปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration: IC) เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มุ่งสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้น�ำกับผู้ตาม โดยจะส่งผลถึง ความพอใจของผู้ตาม ทั้งระดับกลุ่ม และเน้นรายบุคคล

31

มนุ ษ ย์ ร ะดั บ มหภาค (Macro Perspective) และ การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ร ะดั บ จุ ล ภาค (Micro Perspective) โดยการวิจัยครั้งนี้ เน้นศึกษาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระดับจุลภาค จะเป็นการศึกษาการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ซึง่ เน้นไปทีก่ ารพัฒนา ให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายต่างๆ ขององค์การ ทัง้ เป้าหมายระยะสัน้ และระยะยาวผ่านทาง กิจกรรมต่างๆ ที่องค์การจัดขึ้นอย่างเป็นระบบส�ำหรับ การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยให้ความสนใจเป็นพิเศษในการ พัฒนาระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ได้มา ซึ่งความรู้ทักษะและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ เกิดผลในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น การพัฒนาปัจเจกบุคคลจะเป็นกิจกรรมการพัฒนา พนักงาน ทั้งกิจกรรมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยเสริม สร้างความรู้และเกิดทักษะใหม่ที่จะช่วยเพิ่มผลงาน และอาจรวมถึงการพัฒนาความรู้ทักษะและพฤติกรรม ไม่เหมาะสมหรือยังไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ซึ่ง ประกอบไปด้วยการฝึกอบรม (Training) การศึกษา (Education) และการพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development) นอกจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งสามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมามีนักวิชาการหลาย ท่ า น ได้ มี ค วามเห็ น สอดคล้ อ งให้ ป รั บ ปรุ ง เพิ่ ม เติ ม กิจกรรมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคล โดยเพิ่มกิจกรรมที่เน้นเชื่อมโยงกับการพัฒนาองค์การ มากขึน้ เช่น กิจกรรมการพัฒนาอาชีพ และกิจกรรมการ พัฒนาองค์การ (Armstrong, 2006: 332) จากการ ทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยสามารถสรุปทฤษฎีแนวคิด ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ข อง นักวิชาการที่ส�ำคัญได้ดังตารางต่อไปนี้

2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่ง ระดับการศึกษาเป็น 2 มิติ คือ การพัฒนาทรัพยากร ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


32

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตารางที่ 1 สรุปแนวคิดของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Nadler (1984)

Pace, Smith & Mills (1991)

Gilley, Eggland & Maycunich (2002)

Yorks (2005)

Noe (2008)

Mondy (2009)

การฝึกอบรม (Training)

การศึกษา (Education)

การพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) การพัฒนาองค์การ (Organization Development)

แนวทาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Approaches)

จากตารางที่ 1 จะพบว่า กิจกรรมหลักๆ ของการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่นักวิชาการส่วนใหญ่พบว่า องค์การต่างๆ มีการน�ำไปใช้จริงในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมย่อย ได้แก่ (1) กิจกรรมการฝึกอบรม (Training) คือ กิจกรรม การเรียนรูท้ กี่ อ่ ให้เกิดการปรับปรุงการปฏิบตั งิ านในปัจจุบนั ให้ ดีขนึ้ ซึง่ เป็นกิจกรรมทีม่ งุ่ พัฒนาความรูแ้ ละทักษะเพือ่ การ ปฏิบตั งิ านในปัจจุบนั (2) กิจกรรมการศึกษา (Education) คือ กิจกรรม การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมส�ำหรับปฏิบัติงานใน อนาคตเป็นการเรียนรูใ้ นลักษณะเข้าศึกษาในสถาบันการ ศึกษาอย่างเป็นทางการ (3) กิจกรรมการพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development) คือ กิจกรรมที่เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ตามความต้ อ งการของพนั ก งานเองเพื่ อ รองรั บ การ เปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นการเรียนรู้ท่ี หวังผลในระยะยาว ซึง่ อาจเกีย่ วหรือไม่เกีย่ วข้องกับการ ท�ำงานในปัจจุบันก็ได้ (4) กิจกรรมการพัฒนาอาชีพ (Career Development) คือ กิจกรรมเพื่อน�ำมาสู่ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพ ของบุคลากรภายในองค์การ

(5) กิจกรรมการพัฒนาองค์การ (Organization Development) คือ กิจกรรมที่องค์การมุ่งให้เกิดการ เปลีย่ นแปลงในระยะยาว โดยมีวตั ถุประสงค์ทจี่ ะพัฒนาความ รูค้ วามสามารถแบบองค์รวมให้บคุ ลากร โดยในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะน�ำทั้ง 5 กิจกรรมดัง กล่าวมาศึกษาว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีผลต่อ ปัจจัยอื่นๆ ในการกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างไร 3. ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง งานวิจยั หลายชิน้ แสดงให้เห็นว่า หนึง่ ในปัจจัยหลักที่ ท�ำให้องค์การจะประสบความส�ำเร็จหรือล้มเหลวในการ ผลักดันให้เกิดความเปลีย่ นแปลงตามทีอ่ งค์การต้องการได้นนั้ ก็คอื ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง (Readiness For Change) ของบุคลากรในองค์การ ซึง่ มีบทบาทส�ำคัญในการ ด�ำเนินกิจกรรมการต่างๆ เพือ่ ผลักดันให้เปลีย่ นแปลงใน องค์การนัน่ เอง (Pellettiere, 2006: 39) ปัจจุบนั นักวิชาการ ได้ศึกษาและให้ความหมายของความพร้อมส�ำหรับการ เปลีย่ นแปลง สรุปได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1) ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงระดับบุคคล หมายถึง ความปรารถนาแรงจูงใจและจุดมุง่ หมายทีส่ มาชิก ในองค์การมีตอ่ การเปลีย่ นแปลง โดยมีนกั วิชาการหลายท่าน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ให้ทศั นะเพิม่ เติมว่า ความพร้อมส�ำหรับความเปลีย่ นแปลงเป็น ความเชือ่ ของพนักงานทีเ่ ห็นว่า ความเปลีย่ นแปลงนัน้ เป็น สิง่ จ�ำเป็นและเห็นคุณค่าต่อการเปลีย่ นแปลงนัน้ นอกจากนี้ ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงยังหมายความรวมถึง ระดับการมีสว่ นร่วมของพนักงานในกิจกรรมการประเภทต่างๆ ทีส่ ง่ ผลถึงความเปลีย่ นแปลงขององค์การด้วย (Armenakis et al., 2007) 2) ความพร้อมในการเปลีย่ นแปลงในระดับองค์การ หมายถึง ความสามารถขององค์การทัง้ ในเชิงสังคมเทคโนโลยี หรือความคิดเชิงระบบในความพยายามน�ำเอาสิง่ ใหม่ๆ เข้ามา ในองค์การและเพือ่ เปลีย่ นแปลงองค์การในรูปแบบต่างๆ (Smith, 2005: 409) ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับความพร้อมส�ำหรับการ เปลีย่ นแปลงนัน้ ได้รบั ความสนใจในฐานะปัจจัยส�ำคัญตาม หลักแนวคิดเรือ่ งการบริหารความเปลีย่ นแปลง (Change Management) โดย Armenakis และ Harris (2002) ได้นำ� เสนอว่า การบริหารความเปลีย่ นแปลงภายในองค์การ ประกอบ ไปด้วย 3 ระยะทีต่ อ่ เนือ่ งและทับซ้อนกัน ได้แก่ ระยะสร้างความ พร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง (Phase Of Readiness) ระยะ การยอมรับต่อการเปลีย่ นแปลง (Phase Of Adoption) และ ระยะการท�ำให้ความเปลีย่ นแปลงกลายเป็นส่วนหนึง่ ของ องค์การ (Phase Of Institutionalization) โดยพวกเขายังได้ อธิบายเพิม่ เติมว่า การทีบ่ คุ ลากรในองค์การจะมีความพร้อม ส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงนัน้ บุคลากรจะต้องได้รบั รูแ้ ละเข้าใจ เกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงใน 5 ประเด็นส�ำคัญ ได้แก่ (1) การเปลีย่ นแปลงเป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับองค์การ (Discrepancy) โดยต้องตอบได้วา่ ท�ำไมต้องเปลีย่ นแปลง (Why change?) (2) การมีศกั ยภาพในการสร้างความเปลีย่ นแปลงที่ องค์การต้องการ (Self-Efficacy) โดยต้องตอบได้วา่ เราสามารถ เปลีย่ นแปลงได้อย่างไร? (How can we change?) (3) ความเปลี่ยนแปลงที่องค์การเสนอมามีความ เหมาะสมกับองค์การ (Appropriateness) โดยเป็นการตอบ ค�ำถามให้ได้วา่ ท�ำไมสิง่ นีต้ อ้ งเปลีย่ น? (Why this change?) (4) การมีผนู้ ำ� ทีส่ นับสนุนต่อความเปลีย่ นแปลงต่างๆ

33

ในองค์การ (Principle Support) โดยเป็นการตอบค�ำถาม ให้ได้วา่ ใครทีส่ นับสนุนการเปลีย่ นแปลง? (Who support the change?) และ (5) ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในองค์การเป็นสิง่ ที่ ก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ ตนเองและสมาชิกองค์การ (Valence) โดยเป็นการตอบค�ำถามได้วา่ อะไรทีเ่ ราจะได้รบั จากการ เปลีย่ นแปลง? (What is in this change for us?) ซึง่ ในการวิจยั ครัง้ นีผ้ ว้ ู จิ ยั ได้นำ� แนวคิด Armenakis et al. (2007: 482) เกีย่ วกับความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงของ บุคลากร (Employee’s Readiness For Change) มาปรับใช้ 4. ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร แนวคิดเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน องค์การนั้นมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางและหลาก หลายประเด็น โดยทั่วไปผลการปฏิบัติงานของบุคลากร หมายถึง ผลงาน พฤติกรรม และคุณลักษณะอื่นๆ ภาย ใต้ ก ารด� ำ เนิ น งานของบุ ค ลากร ที่ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ (Rotundo & Sackett, 2002: 66) ส� ำ หรั บ ในงานวิ จั ย นี้ ผลการปฏิ บั ติ ง าน (Job Performance) หมายถึง ผลการท�ำงานของบุคลากรในฐานะ พนักงานประจ�ำแบบเต็มเวลา โดยเป็นการประเมินจากการ รับรูข้ องบุคลากรเอง จากตัวชีว้ ดั 2 องค์ประกอบหลัก (1) พฤติกรรมการท�ำงานของบุคลากร (Work Behavior) (2) ผลลัพธ์ในการท�ำงาน (Work Outcome) ในการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ของปัจจัยหลักทัง้ 4 ด้านทีท่ ำ� การศึกษาในครัง้ นีน้ นั้ ปัจจุบนั มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงของ ผูบ้ ริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมส�ำหรับ การเปลีย่ นแปลง มีอทิ ธิพลต่อผลการปฏิบตั งิ านของพนักงาน ส�ำหรับการศึกษาว่า ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรนั้น มีงานศึกษาที่ยืนยันได้เป็น จ�ำนวนมาก (Beer, 2010) ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความพร้อมส�ำหรับความเปลีย่ นแปลงกับผลการปฏิบตั งิ าน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


34

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ของบุคลากรนัน้ มีการศึกษาพบว่า เมือ่ เกิดความเปลีย่ นแปลง ขึ้นในองค์การความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของ บุคลากรจะมีอทิ ธิพลทางบวกต่อผลลัพธ์ในการเปลีย่ นแปลง องค์การ (Change Consequences) ในสองด้าน ได้แก่ 1. ผลลัพธ์เกีย่ วกับงาน (Work-Related Consequences) ซึ่งประกอบด้วย ความพึงพอใจในการท�ำงาน (Job Satisfaction) ความผูกพันต่อองค์การ (Organizational Commitment) และผลการปฏิบตั งิ าน (Job Performance) ของพนักงาน และ 2. ผลลัพธ์สว่ นบุคคล ประกอบด้วย การมี ชีวติ ทีด่ ี (Well-Being) เนือ่ งจากมีความเครียดจากการ เปลีย่ นแปลงในระดับต�ำ่ กว่าผูท้ ขี่ าดความพร้อมส�ำหรับการ เปลีย่ นแปลง ดังนัน้ จึงกล่าวได้วา่ ความพร้อมส�ำหรับการ เปลีย่ นแปลงของบุคลากรจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญทีม่ อี ทิ ธิพลต่อ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง - การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence: II) - การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation: IM) - การกระตุ้นภูมิปัญญา (Intellectual Stimulation: IS) - การค�ำนึงถึงปัจเจกบุคคล (Individual Consideration: IC) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - การฝึกอบรม (Training: TRA) - กิจกรรมการศึกษา (Education: EDU) - กิจกรรมการพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development: ID) - กิจกรรมการพัฒนาอาชีพ (Career Development: CD) - กิจกรรมการพัฒนาองค์การ (Organization Development: OD)

ผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากร (Pellettiere, 2006) ทัง้ นีย้ งั มีการศึกษาทีแ่ สดงให้เห็นว่า ภาวะผูน้ ำ� การ เปลีย่ นแปลงของผูบ้ ริหารในองค์การ มีความสัมพันธ์ตอ่ การ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การอีกด้วย เนื่องจาก ผูบ้ ริหารในองค์การเป็นผูก้ ำ� หนดนโยบายและแนวทางในการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการบริหารการเปลีย่ นแปลงของ องค์การ หากผูน้ ำ� มีภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลงระดับสูง ย่อมเป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในฐานะผูส้ ร้างและสนับสนุนความ เปลีย่ นแปลงในองค์การผ่านแนวทางต่างๆ รวมทัง้ การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (Miller, 2001) และจากการทบทวน วรรณกรรมต่างๆ ผูว้ จิ ยั จึงน�ำมาพัฒนากรอบแนวคิดการวิจยั (Conceptual Framework) ดังนี้

ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง - การรับรู้ถึงความจ�ำเป็นในการ เปลี่ยนแปลง (Discrepancy: DIS) - การรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงมีความ เหมาะสม (Appropriateness: APP) - การรับรู้ถึงศักยภาพของตนในการ เปลี่ยนแปลง (Self-efficacy: SEL) - การรับรู้ว่าผู้น�ำสนับสนุนให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง (Principal Support: PS) - การรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดประโยชน์ (Valence: VAL)

รูปที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผลการปฏิบตั งิ าน ของบุคลากร (Employees’ Job Performance: PER)


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

สมมติฐานการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้มีสมมติฐานการวิจัย 3 ข้อดังนี้ 1) ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ทั้ง 4 องค์ ประกอบย่อย ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 5 องค์ประกอบย่อย และปัจจัยความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ยนแปลงของบุคลากร ทั้ง 5 องค์ประกอบย่อย มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อผลการปฏิบัติงานของ บุคลากร 2) ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวก ต่อปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ 3) ปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงและปัจจัย กิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อ ผลการปฏิ บั ติ ง านของบุคลากรผ่านทางความพร้อม ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร

35

วิธีการวิจัย

1. ประชากรในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ท�ำงาน แบบเต็มเวลาของมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ 12 แห่ง จ�ำนวน 61,082 คน (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา, 2556) 2. ก�ำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของ Yamane ซึ่งจะได้จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง จากนั้น ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) ตามสัดส่วนประชากร ดังในตารางที่2 3. เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบปลายปิด ซึ่งประกอบด้วยข้อค�ำถาม 80 ข้อ โดย ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และน�ำไปทดสอบ น�ำร่อง (Pretesting) เพื่อทดสอบค่าความน่าเชื่อถือ (Reliability) ซึ่ ง จากการวิ เ คราะห์ ค ่ า สั ม ประสิ ท ธิ อัลฟาครอนบัค (Cronbach’s Coefficient Alpha) ของข้ อ ค� ำ ถามในแบบสอบถามทั้ ง ฉบั บ มี ค ่ า เท่ า กั บ 0.896 จึงถือว่าแบบสอบถามมีระดับความน่าเชื่อถือ ที่ดี และยอมรับได้ในการใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย

ตารางที่ 2 รายชื่อมหาวิทยาลัยในก�ำกับรัฐและจ�ำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย รายชื่อมหาวิทยาลัยในกำ�กับของรัฐ 1. มหาวิทยาลัยมหิดล 2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. มหาวิทยาลัยบูรพา 5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 8. มหาวิทยาลัยพะเยา 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 10. มหาวิทยาลัยทักษิณ 11. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 12. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวม

จำ�นวนประชากร 26,967 11,437 8,093 2,889 2,153 2,136 2,092 1,239 1,165 1,068 1,045 798 61,082

จำ�นวนกลุ่มตัวอย่าง 177 75 52 19 14 14 14 8 8 7 7 5 400

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


36

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

4. เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามโดยตรง และส่งทางไปรษณีย์ โดยได้รับแบบสอบถามที่มีความ สมบูรณ์คนื จ�ำนวน 334 ฉบับ จาก 400 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 83.50 ซึง่ เป็นอัตราการตอบกลับทีด่ แี ละเพียงพอ ในการน�ำข้อมูลไปวิเคราะห์ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (215 คน) มีอายุเฉลี่ยประมาณ 35 ปี มีวฒ ุ กิ ารศึกษาระดับปริญญาตรีมากทีส่ ดุ (185 คน) มี ส ถานะในการจ้ า งงานเป็ น พนั ก งานมหาวิ ท ยาลั ย มากที่สุด (218 คน) โดยส่วนใหญ่ท�ำงานสายสนับสนุน (231 คน) ส่วนใหญ่มีต�ำแหน่งเป็นพนักงานในระดับ ปฏิบตั กิ ารมากทีส่ ดุ (251 คน) และมีอายุงานในหน่วยงาน เฉลี่ยประมาณ 9 ปี 5. วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และต�่ำสุด ในส่วนสถิติอ้างอิง ใช้การ วิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์พหุถดถอย และการ วิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS for Window

ผลการวิจัย

จากการศึกษา ในส่วนปัจจัยภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง พบว่า กลุม่ ตัวอย่างรับรูว้ า่ ภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลงของ ผู้บริหาร (ระดับหัวหน้างานขั้นต้นขึ้นไป) ในมหาวิทยาลัย ในก�ำกับของรัฐอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ภาวะผู้น�ำ การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบย่อยส่วนใหญ่ กลุ่ม ตัวอย่างรับรู้ว่าอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยมีเพียง การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation) ที่มีระดับสูง ส�ำหรับปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งรั บ รู ้ ว ่ า มี ก ารพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐอยูใ่ นระดับปานกลาง โดย กิจกรรมย่อยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่

มีคา่ เฉลีย่ อยูใ่ นระดับปานกลาง มีเพียงกิจกรรมการพัฒนา ของบุคลากร (Individual Development) ทีอ่ ยูร่ ะดับสูง ในส่วนปัจจัยความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าตนเองมีความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อม ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบย่อย ส่วนใหญ่ อยูใ่ นระดับปานกลางเช่นกัน มีเพียงองค์ประกอบ การรับรู้ ว่าความเปลีย่ นแปลงเป็นสิง่ จ�ำเป็น (Discrepancy) ทีอ่ ยูใ่ น ระดับสูง ส�ำหรับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (Good) ในส่ ว นผลการทดสอบสมติ ฐ านการวิ จั ย เพื่ อ เป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยในทั้งข้อ 2 คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลและรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัย ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้ อ มส� ำ หรั บ การเปลี่ ย นแปลง ที่ มี ผ ล ต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ภายใต้บริบทของ มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐในประเทศไทยนั้น ผู้วิจัย ปฏิเสธสมมติฐานการวิจยั ข้อ 1 ทีว่ า่ ปัจจัยภาวะผูน้ ำ� การ เปลี่ยนแปลง ทั้ง 4 องค์ประกอบย่อย ปัจจัยการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 5 องค์ประกอบย่อย และปัจจัย ความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร ทั้ง 5 องค์ประกอบย่อย มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อผล การปฏิบัติงานของบุคลากรเนื่องจากพบว่า การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) มีเพียง 4 กิจกรรมย่อยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิ ติ ใ นระดั บ .05 โดยพบว่ า กิ จ กรรมการศึ ก ษา (Education) ไม่มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติในระดับ .05 กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

37

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยตามสมการโครงสร้างแบบจ�ำลอง ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย ปัจจัยภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (II) .121 การสร้างแรงบันดาลใจ (IM) .202 การกระตุ้นการใช้ปัญญา (IS) .297 การคำ�นึงถึงปัจเจกบุคคล (IC) .306 ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการฝึกอบรม (TRA) .157 กิจกรรมการศึกษา (EDU) .091 กิจกรรมการพัฒนาส่วนบุคคล (ID) .283 กิจกรรมการพัฒนาอาชีพ (CD) .151 กิจกรรมการพัฒนาองค์การ (OD) .189 ปัจจัยความพร้อมสำ�หรับการเปลี่ยนแปลง การรับรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำ�เป็น (DIS) .182 การรับรู้ว่าตนเองมีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลง (SEL) .269 การรับรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงมีความเหมาะสม (APP) .124 การรับรู้ว่าผู้นำ�สนับสนุนต่อความเปลี่ยนแปลงในองค์การ (PS) .242 การรับรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ (VAL) .221 ค่าคงที่ (Constant) R = .854, R2 = .729, SEE = .586, F = 94.288, Sig = .000 หมายเหตุ *P< 0.05

ส�ำหรับการทดสอบตามสมมติฐานข้อที่ 2 และ 3 นั้น ผู้วิจัยยอมรับสมมติฐานดังกล่าว โดยพบว่า ปัจจัย ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งพบว่า ภาวะผู้น�ำการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพล ทางอ้อมต่อผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากรผ่านทางความ พร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรจริง ดังผล

t

Sig.

3.267 4.809 8.950 9.523

.002* .001* .000* .000*

3.834 1.695 6.903 2.923 4.116

.002* .101 .000* .004* .001*

3.903 8.718 2.481 6.058 4.962 5.316

.000* .000* .003* .000* .001* .000

จากการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และน�ำค่า สัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) มาแสดงไว้ ในรูปที่ 2 ซึ่งแสดงถึงรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการพัฒนา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ แ ละปั จ จั ย ความพร้ อ มส� ำ หรั บ การ เปลี่ยนแปลงที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐดังต่อไปนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


38

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

รูปที่ 2 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และปัจจัยความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

อภิปรายผลการวิจยั

จากรูปที่ 2 อธิบายได้ว่า ตัวแปรอิสระย่อย 13 ใน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง (4 ตัวแปรย่อย คือ II, IM, IS, IC) การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ (4 ตัวแปรย่อย คือ TRA, ID, CD, OD) และความ พร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง (5 ตัวแปรย่อย คือ DIS, SEL, APP, PS, VAL) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (PER) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีเพียงกิจกรรมการศึกษา (EDU) ที่ ไ ม่ มี อิ ท ธิ พ ลทางตรงต่ อ ผลการปฏิ บั ติ ง าน

ของบุ ค ลากร (PER) อย่ า งมี นั ย ส� ำคั ญ ทางสถิ ติ แ ละ เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวแปรย่อยที่มีอิทธิพลต่อผลการ ปฏิบัติงานอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ พบว่า การค�ำนึงถึง ปัจเจกบุคคล (IC) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรมากที่สุด (β=.306) รองลงมา ได้แก่ การกระตุ้น การใช้ปัญญา (IS)(β=.297) และ กิจกรรมการพัฒนาส่วนบุคคล (ID) (β=.283) ตามล�ำดับ โดยการมีอทิ ธิพลอย่างมีอดุ มการณ์ (II) มีอทิ ธิพลทางตรง เชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุค ลากรน้อยที่สุด (β=.121)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ทั้งนี้กิจกรรมการศึกษา (EDU) แม้ไม่มีอิทธิพล ทางตรงเชิ ง บวกต่ อ ผลการปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากร (PER) อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ แต่ ก็ มี อิ ท ธิ พ ล ทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานผ่านทางการรับรู้ ว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจ�ำเป็น (DIS) ซึ่งเป็น หนึ่งในองค์ประกอบย่อยของความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ยนแปลงของบุคลากร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการวิจัยจะไม่เป็นไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อ 1 แต่หากพิจารณาถึงค่าความ สัมพันธ์ทวิระหว่างกิจกรรมการศึกษากับผลการปฏิบัติ งานของบุคลากร (Correlation) ก็ยงั พบว่ากิจกรรมการ ศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยก�ำกับรัฐ เพียงแต่มีอิทธิพล ทางตรงที่น้อย และในการวิเคราะห์ต่อไป ยังพบว่า กิจกรรมการศึกษามีผลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากร ผ่านทางปัจจัยความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ยนแปลง (ด้านการรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น สิ่ ง จ� ำ เป็ น ) อี ก ด้ ว ย ซึ่ ง ตรงกั บ แนวความคิ ด ของ นักวิชาการด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลายท่าน ที่ว่า กิจกรรมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมให้ พนั ก งานเกิ ด การเรี ย นเพื่ อ พั ฒ นาตนเองส� ำหรั บ งาน ในอนาคต ที่แตกต่างจากงานปัจจุบัน ซึ่งท�ำให้อาจจะ ไม่ส่งผลดีทันทีต่อการท�ำงานในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจาก เป้าหมายกิจกรรมการศึกษาของพนักงานที่องค์การ ต้องการก็เพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานในการ เลื่อนขั้นเลื่อนต�ำแหน่ง หรือให้ท�ำงานในหน้าที่ใหม่เพื่อ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับองค์การว่ามีพนักงานที่มี ความรู้ความสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของงาน ในอนาคต (Noe, 2008)

สรุปผลการวิจัย

โดยสรุปแล้ว ตัวแปรอิสระทั้ง 14 ตัวแปรในสาม ปัจจัยหลัก ได้แก่ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง (4 ตัวแปร ย่อย) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (5 ตัวแปรย่อย) และ ความพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลง (5 ตัวแปรย่อย) ซึง่

39

เป็นตัวแปรอิสระตามกรอบแนวคิดการวิจัย มีความ สัมพันธ์ในทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ของมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ และเกือบทุกตัวแปร อิสระยกเว้นตัวแปรกิจกรรมการศึกษา (Education) มี อิ ท ธิ พ ลทางตรงเชิ ง บวกกั บ ผลการปฏิ บั ติ ง านของ บุ ค ลากรอย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 โดยพบว่ า การค� ำ นึ ง ถึ ง ปั จ เจกบุ ค คล (Individual Consideration) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การ กระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation) และกิ จ กรรมการพั ฒ นาส่ ว นบุ ค คล (Individual Development) ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตามแม้วา่ กิจกรรมการศึกษา (Education) ไม่มอี ทิ ธิพลในทางตรงกับผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากร อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ก็มีอิทธิพล ทางอ้ อ มเชิ ง บวกต่ อ ผลการปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากร ผ่านทางการรับรู้ว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจ�ำเป็น (Discrepancy) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบย่อยของ ความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร และพบว่า ทั้งภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงในทุก องค์ ป ระกอบย่ อ ยมี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มเชิ ง บวกต่ อ ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผ่านทั้งทางกิจกรรม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับการ เปลี่ ย นแปลง ส่ ว นกิ จ กรรมพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในทุ ก กิ จ กรรมย่ อ ยก็ มี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มเชิ ง บวกต่ อ ผลการปฏิบัติงานของบุค ลากรผ่านทางความพร้อม ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการวิจัย กล่าวได้ว่า ปัจจัยหลักทั้ง 3 ปัจจัย คือ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ และความพร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง มี อิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน ระดับสูง ทั้งนี้หากมหาวิทยาลัยใดก็ตามต้องการเพิ่ม ระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้ดีขึ้น จ�ำเป็น

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


40

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ต้องให้ความส�ำคัญในการพัฒนาให้ผู้บริหารทุกระดับ ในมหาวิ ท ยาลั ย ในก�ำกับ ของรัฐ ให้มีภาวะผู้น�ำการ เปลีย่ นแปลงซึง่ ปัจจุบนั พบว่ายังอยูใ่ นระดับปานกลางให้ มีระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในด้านการมีอิทธิพลอย่างมี อุดมการณ์ (Idealized Influence) ซึ่งบุคลากรใน มหาวิทยาลัยในก�ำกับรัฐรับรูว้ า่ หัวหน้างานขัน้ ต้นของตน มี อ งค์ ป ระกอบด้ า นนี้ น ้ อ ยที่ สุ ด เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ องค์ประกอบอื่นๆ ในปัจจัยภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง โดยการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ ด้ า นการมี อิ ท ธิ พ ลอย่ า งมี อุ ด มการณ์ นั้ น องค์ ก ารควรเน้ น การสร้ า งค่ า นิ ย มให้ ผู้บริหารทุกระดับให้ความส�ำคัญกับการประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดี (Good Role Model) เน้นการเสีย สละเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยอาจก�ำหนดให้ นโยบายการให้แรงจูงใจส่งเสริมแก่ผทู้ เี่ ป็นแบบอย่างทีด่ ี ในองค์การ เช่น รางวัลผูน้ ำ� ดีเด่นต้นแบบ โดยให้บคุ ลากร ทั้งองค์การเป็นผู้สรรหาและลงคะแนนเลือก หรือจัด มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ท�ำให้ผู้บริหารได้ร่วม กิจกรรมกับบุคลากรในทุกระดับ ซึ่งท�ำให้บุคลากรมี ความใกล้ชิดและเห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้บริหาร เช่น มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่ทั้งผู้บริหารและพนักงาน ในทุกระดับ ได้มีโอกาสท�ำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรวางแผนน�ำ การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ม าใช้ ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะกิจกรรมการพัฒนาอาชีพ (Career Development) ซึ่งพบว่ามีระดับการรับรู้ของบุคลากร ว่าได้รับกิจกรรมนี้จากองค์การในระดับน้อยที่สุดเมื่อ เปรียบเทียบกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกิจกรรม อื่นๆ ในขณะเดียวกันก็ควรส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนา ส่วนบุคคล (Individual Development) เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลในเชิงบวกทั้งทางตรงและ ทางอ้อมต่อผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากรมากทีส่ ดุ โดย อาจเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการก�ำหนด กิจกรรมการพัฒนาตนเองที่เกิดขึ้นจากความต้องการ ของพนักงานโดยตรง เช่น การท�ำแผนการพัฒนาผลการ ปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล (Individual Development

Plan) ซึ่งพนักงานจะค้นคว้าเพิ่มเติมพยายามแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการท�ำงาน เพื่อหาช่องว่างในการ พัฒนาตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับสมรรถนะที่องค์การ คาดหวัง (Competency Gap) และพัฒนาตนเองได้ อย่างเหมาะสม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ส�ำหรับการเตรียมและเพิม่ ระดับความพร้อมส�ำหรับ การเปลีย่ นแปลงของบุคลากรนัน้ มหาวิทยาลัยในก�ำกับ ของรัฐ ควรมีแนวทางในการพัฒนาความพร้อมส�ำหรับ การเปลี่ ย นแปลงโดยเฉพาะในด้ า นการรั บ รู ้ ว ่ า ผู ้ น� ำ สนับสนุนต่อความเปลี่ยนแปลง (Principle Support) เนื่องจากมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าปัจจัยด้านอื่นๆ โดย ผู ้ บ ริ ห ารควรเพิ่ ม การสื่ อ สารระหว่ า งผู ้ น� ำ กั บ ผู ้ ต าม เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ รวมถึงให้การ สนับสนุนในเรื่องอื่นๆ เช่น ผู้บริหารก�ำหนดเวลาในการ ให้คำ� ปรึกษาแก่พนักงานเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ในองค์การ การให้รางวัลจูงใจเมื่อบุคลากรสามารถ ด�ำเนินการเปลี่ยนแปลงตามที่องค์การวางแผนไว้ได้ ส� ำเร็ จ เป็ น ต้ น โดยองค์ ก ารอาจมี น โยบายส่ ง เสริ ม เรื่องการสร้างความเปลี่ยนแปลงจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom-UpChange) อั น จะส่ ง ผลท� ำ ให้ บุ ค ลากร ในมหาวิ ท ยาลั ย มี ก ารรั บ รู ้ แ ละมี ส ่ ว นร่ ว มในการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การมากขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป 1. ในการศึกษาครัง้ นีก้ ารประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ของบุคลากรเป็นการประเมินผลในภาพรวมทัง้ หมดจาก กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีการแบ่ง สายงานและการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากร ออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็นสายสนับสนุน (Support Staff) กับสายวิชาการ (Academic Staff) ดังนั้นการศึกษาในอนาคตอาจจะแบ่งกลุ่มบุคลากรใน การเก็บข้อมูล เพือ่ ศึกษาเปรียบเทียบผลการวิจยั ระหว่าง บุ ค ลากรสายสนั บ สนุ น กั บ บุ ค ลากรสายวิ ช าการ ใน มหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาอืน่ ๆ ของไทยต่อไป

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

2. การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ เป็นหลัก ในการศึกษาครั้งหน้าอาจใช้ระเบียบวิจัยเชิง คุณภาพเป็นหลักในการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกใน ประเด็นต่างๆ ให้มากขึ้น หรืออาจเพิ่มการเก็บข้อมูลใน เชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก

41

จากทุกมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ 3. อาจจะศึกษาโดยเลือกศึกษาองค์การทีม่ ลี กั ษณะ อืน่ ๆ นอกเหนือไปจากมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ เช่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การภาคเอกชน เพือ่ ขยาย ขอบเขตของความรู้

บรรณานุกรม

ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2556). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกปี พ.ศ. 2555: ระดับอุดมศึกษา. สืบค้นเมือ่ 4 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/ unversity.php Armenakis, A., Bernerth, J., Pitts, J. & Walker, H. (2007). Organizational change recipients’ beliefs scale. The Journal of Applied Behavioral Science, 43(4), 481-503. Armenakis, A. & Harris, S. (2002). Crafting a change message to create transformational readiness. Journal of Organizational Change Management, 15(2), 169–183. Armstrong, M. (2006). Strategic Human Resource Management: A Guide to Action. (3rd ed.). Philadelphia: Kogan Page. Avolio, B. J. & Bass, B. M. (2004). Multifactor Leadership Questionnaire: Third Edition Manual. New York: Mind Garden INC. Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks: SAGE Publication Beer, M. (2010). Managing Change and Transition. Boston: Harvard Business School. Gilley, J. W., Eggland, S. A. & Maycunich, A. M. (2002). Principle of Human Resource Development. Cambridge: Perseus. Kotter, J. P. & Cohen, D. S. (2002). The Heart of Change. Boston: Harvard Business School. Lawler, E. E. & Worley, C. G. (2006). Built to Change. New York: John Wiley & Sons. Madsen, S., John, C. & Miller, D. (2007). Influential factors in individual Readiness for change. Journal of Business and Management, 12(2), 93-110. Miller, B. P. (2001). Leadership, Organizational Culture, and Managing Change. Doctoral Dissertation, North Carolina University. Mondy, R. W. (2009). Human Resource Management. Upper Saddle River, New York: Prentice Hall. Nadler, L. (1994). The Handbook of Human Resource Development. New York: Wiley & Son. Noe, R. A. (2008). Employee Training and Development. New York: McGraw-Hill. Northouse, P. G. (2007). Leadership: Theory and Practice. Thousand Oaks: SAGE Publication Pace, R. W., Smith, P. C. & Mills, G. E. (1991). Human Resource Development: The Field. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


42

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Pellettiere, V. (2006). Organizational Self-assessment to Determine the Readiness and Risk for a Planned Change. Organizational Development Journal, 24, 38-43. Rotundo, M. & Sackett, P. R. (2002). The Relative Importance of Task, Citizenship, and Counter-Productive Performance to Global ratings. Journal of Applied Psychology, 87, 66-88. Smith, I. (2005). Achieving Readiness for Organizational Change. Library Management, 26(6), 408-412. Yorks, L. (2005). Strategic Human Resource Development. New York: Thomson Press.

Translated Thai References

Office for National Education Standards and Quality Assessment: ONESQA. (2012). External Committee’s Quality Assessment Report: Higher Education Institutes. Retrieved May 4, 2013, from http://www.onesqa.or. th/university.php [in Thai].

Supunyada Suntornnond received her Bachelor Degree of Arts in Social Science, major in History and minor in Political Science with the 2nd of honor from Kasetsart University in 1999. She graduated Master of Science major in Administration Technology with the 1st class of honor from National Institute of Development Administration (NIDA) in 2002. She also graduated Master of International Relations from Macquarie University, Sydney, Australia in 2005. She is currently a doctoral candidate, major in Human Resource Development at School of Public Administration, National Institute of Development Administration (NIDA).

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

43

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจของผูใ้ ช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า THE RELATIONSHIP BETWEEN BRAND EQUITY, MARKETING MIX AND CUSTOMER SATISFACTION OF THAI COMMERCIAL BANK’S CREDIT CARD INFLUENCE ON STRATEGIES TO BUILD BRAND LOYALTY ภูมิภัทร รัตนประภา1 Phumiphat Rattanaprapha1

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า โดยการใช้ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย จ�ำนวน 400 ชุด โดยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง ทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ตามแนวคิดของครอนบัค (Cronbach Alpha Formula) จ�ำนวน 30 ชุด ได้ผลการทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงมีค่าการทดสอบที่ 0.925 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบ ความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test, ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิตทิ ดสอบแบบ Pearson’s Correlation Coefficient ระดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรูปทางสถิติ น�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและ การแปลผลในรูปแบบตารางประกอบค�ำอธิบาย จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์การสร้าง ความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านการ รับรู้ตราสินค้า (ค่าเฉลี่ย = 3.92) มีความสัมพันธ์สูงที่สุด รองลงมา ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า (ค่าเฉลี่ย = 3.81) และ ด้านการรับรู้คุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.76) ตามล�ำดับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์ การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยปัจจัยส่วนประสมทางการ ตลาด ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย (ค่าเฉลี่ย = 3.82) มีความสัมพันธ์สูงที่สุด รองลงมา ด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย = 3.76) ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.75) และด้านราคา (ค่าเฉลี่ย = 3.48) ตามล�ำดับ และปัจจัยด้านความ พึงพอใจต่อการใช้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์การสร้างความภักดีตอ่ ตราสินค้าของผูใ้ ช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ 1 นักศึกษาปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม และผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่าย ฝ่ายสินเชื่อรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, Student of Doctor’s degree, Doctor of Business Administration Program in Marketing, Siam University. Assistant Vice President, Retail Financing Department, Islamic Bank of Thailand, E-mail: phumiphat1969@hotmail.com ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

44

(ค่าเฉลี่ย = 3.76) มีความสัมพันธ์สูงที่สุด รองลงมา ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.73) และด้านพนักงาน ผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.72) ตามล�ำดับ ค�ำส�ำคัญ: บัตรเครดิต คุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของ ธนาคารพาณิชย์ไทย ความภักดีต่อตราสินค้า

Abstract

These research studies the relationship between brand equity, marketing mix and customer satisfaction of Thai commercial bank’s credit card for their influences on strategies to build brand loyalties. The sample is a credit card in Thailand to 400 samples using judgemental sampling. Reliability testing of According to the Cronbach (Cronbach Alpha Formula) were 30 sets of test results are reliable, high levels were tested at 0.925 analyzed using descriptive statistics such as parsing, frequency, percentage, mean, standard deviation, and analyzed quantitatively. To test the difference by statistical model t–test, F-test, test mean difference pairs using LSD (Least Significant Difference) and correlations using statistical tests. Pearson’s Correlation Coefficient is significant level of 0.05 processing of statistical data on the computer. Present the results of data analysis and interpretation in a table format explanatory. The correlation test showed that the brand equity has a positive relationship with strategies to build brand loyalties to the brand of customer satisfaction of Thai commercial bank’s credit card by the factors of brand equity, the brand awareness (Mean = 3.92), the relationship is highest, followed by the brand association (Mean = 3.81) and the perceived quality (Mean = 3.76), respectively. The marketing mix has a positive relationship with strategies to build brand loyalties to the brand of customer satisfaction of Thai commercial bank’s credit card by the factors of the marketing mix, the place (Mean = 3.82), the relationship is highest, followed by the promotion (Mean = 3.76), the product (Mean = 3.75) and the price (Mean = 3.48), respectively. The satisfaction of the service has a positive relationship with strategies to build brand loyalties to the brand of customer satisfaction of Thai commercial bank’s credit card, by the factors of the marketing mix, the physical evidence (Mean = 3.76), the relationship is highest, followed by the service process (Mean = 3.73) and the staff or people (Mean = 3.72), respectively.

Keywords: Credit Card, Brand Equity, Marketing Mix, Customer Satisfaction of Thai Commercial Bank’s Credit card, Brand Loyalty

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

บทน�ำ

การแข่ ง ขั น ในอุ ต สาหกรรมการธนาคารส่ ง ผล กระทบต่อการด�ำเนินธุรกิจ และความยัง่ ยืนของธนาคาร ท�ำให้ปจั จุบนั ธนาคารต่างๆ ได้นำ� กลยุทธ์และแนวความ คิดทางการตลาดเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพการ แข่งขันและลดปัญหาการพลาดโอกาสส�ำคัญในการ ขายข้ามกับฐานลูกค้าที่มีอยู่ การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ของชนชัน้ กลางในตลาดเกิดใหม่รวมกับช่องทางดิจติ อล ท�ำให้ง่ายต่อการซื้อสินค้า สร้างโอกาสมากที่จะขายให้ ลูกค้ารายใหม่ ในทางกลับกันก็เป็นเรื่องง่ายที่ลูกค้า รายเดิมจะเปลี่ยนใจไปใช้บริการจากธนาคารอื่น (Bain & Company, 2013: 2) มูลค่าของอุตสาหกรรม 20,000,000 18,000,000 16,000,000 14,000,000 12,000,000 10,000,000 8,000,000 6,000,000 4,000,000 2,000,000 -

จำนวนบัตร เครดิต (บัตร)

2552 2553 2554 2555 2556

รูปที่ 1 แสดงจ�ำนวนบัตรเครดิตระหว่าง ปี พ.ศ. 2552-2556 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2557) ในปี พ.ศ. 2556 มีจำ� นวนบัตรเครดิตในประเทศไทย ทัง้ สิน้ 18.5 ล้านบัญชี (บัตร) เพิม่ ขึน้ จาก 16.9 ล้านบัญชี (บัตร) ในปี พ.ศ. 2555 และ 15.3 ล้านบัญชี (บัตร) ในปี พ.ศ. 2554 (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2557) ซึ่ง บัตรเครดิตเหล่านีน้ อกจากจะออกโดยผูป้ ระกอบการเอง แล้ว ยังมีทั้งบัตรเครดิตที่ออกร่วมกับร้านค้าต่างๆ และ บัตรกดเงินสดที่ถูกใช้ส�ำหรับการเบิกถอนเงินสดเท่านั้น

45

โดยธุรกิจบัตรเครดิตยังคงเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโต ต่อไปได้ในอนาคต เนื่องจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต�่ำ และเงินเดือนข้าราชการ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2555 ท�ำให้ผู้มีคุณสมบัติในการถือบัตรเพิ่มขึ้น ส่ง ผลให้ในปี พ.ศ. 2556 จ�ำนวนผู้มีคุณสมบัติในการขอ สมัครบัตรเครดิตมีจำ� นวนเพิม่ มากขึน้ สะท้อนถึงโอกาส ในการขยายตัวของฐานลูกค้า โดยคาดว่าการแข่งขันของ ตลาดบัตรเครดิตในปี พ.ศ. 2557 ยังคงมีการแข่งขันสูง และไม่ใช่การแข่งขันทางด้านราคาเท่านั้น เนื่องจากมี การควบคุมดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่คงเป็นการแข่งขันด้านโปรโมชั่นที่ผู้ประกอบการ บัตรเครดิตแต่ละราย รวมทั้งการน�ำเสนอสิทธิพิเศษ ต่างๆ ของผู้ประกอบการเพื่อดึงดูดให้มีการใช้จ่ายผ่าน บัตรเครดิตอย่างต่อเนื่อง (http://www.kaohoon. com/online/82041/KTC) สุพรรณิการ์ มรรคาสกุล (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัย ที่มีผลต่อการเกิดความจงรักภักดีในการใช้บัตรเครดิต กรณีศึกษา ผู้ใช้บัตรเครดิตในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความ จงรักภักดีในการใช้บัตรเครดิตที่มีนัยส�ำคัญในทางบวก ได้แก่ เพศชาย ความสะดวกในการช�ำระค่าบริการ ส่วนลดร้านค้า การให้ความส�ำคัญกับต้นทุนด้านการเงิน การให้ความส�ำคัญกับต้นทุนค่าเสียโอกาส และการให้ ความส�ำคัญกับต้นทุนในการด�ำเนินการ ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่า การตัดสินใจเลือกใช้บริการบัตรเครดิตใบใดนั้น ผู ้ ใช้ บ ริ ก ารส่ ว นใหญ่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ โปรโมชั่ น ส่ ว นลด และความสะดวกในการช� ำ ระค่ า บริ ก าร นอกจากนี้ สาเหตุที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงตัดสินใจ เลือกใช้บัตรเครดิตใบเดิมต่อ โดยที่ไม่คิดจะเปลี่ยนไป สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ที่อาจมีโปรโมชั่น หรือข้อเสนอ ที่ดีกว่า เนื่องจากผู้ใช้บริการได้ให้ความส�ำคัญต่อต้นทุน ด้านการเงิน คือ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นหาก สมัครบัตรใบใหม่ ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ สูญเสียโอกาส ในการสะสมคะแนนในบัตรใบเดิมหากเปลี่ยนไปใช้บัตร เครดิตใบใหม่และต้นทุนในการด�ำเนินการ คือ เวลาที่

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


46

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ต้องสูญเสียไปเพื่อจัดเตรียมเอกสารหรือขั้นตอนในการ ด�ำเนินการอื่นๆ ส�ำหรับสมัครบัตรเครดิตใบใหม่ อาระตี ตั น มหาพราน และยุ บ ล เบ็ ญ จรงค์ กิ จ (2552) ได้ศึกษาการวัดคุณค่าตราสินค้าในกลุ่มธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ในตรา สินค้าด้านการระลึกถึงโดยไม่มีการแนะพบว่า ธนาคาร กรุงเทพเป็นตราสินค้าที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นึกถึงได้ เป็นอันดับแรกอันเนื่องมาจากเป็นธนาคารที่มีสินค้า สินทรัพย์ และฐานลูกค้าที่มากที่สุด จึงส่งผลให้ผู้ตอบ แบบสอบถามสามารถนึกถึงได้โดยง่าย ซึง่ เป็นส่วนส�ำคัญ ของการเชื่อมโยงตราสินค้าให้ผู้บริโภคนึกจากความ ทรงจ�ำได้ง่าย ด้านการระลึกถึงตราสินค้าโดยมีการแนะ จากสัญลักษณ์และสีของธนาคาร พบว่า ตราสินค้า ธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยเป็นตราสินค้า ที่กลุ่มตัวอย่างระลึกได้มากที่สุดตามล�ำดับ Grace Kavengi Onyancha (2013) ได้ศกึ ษาความ สัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ธนาคาร ความพึงพอใจของ ลูกค้า และความจงรักภักดีของสถาบันธนาคารพาณิชย์ เคนยา (KCB) ผลการศึกษา พบว่า ภาพลักษณ์ธนาคาร ได้ผลในเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าและความ จงรักภักดี ซึง่ หมายความว่า ภาพลักษณ์ธนาคารไม่เพียง แต่เพิม่ ความภักดีของลูกค้าโดยตรง แต่ยงั ช่วยเพิม่ ความ พึงพอใจของลูกค้าผ่านการรับรู้ในคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์ธนาคารจึงเป็นตัวแทนน�ำปัจจัยในการพัฒนา คุ ณ ภาพบริ ก าร ความพึ ง พอใจของลู ก ค้ า และความ จงรักภักดี กลยุ ท ธ์ เ กี่ ย วกั บการสร้างตราสินค้า ทั้ง ในด้าน คุณค่าตราสินค้า ความจงรักภักดีตอ่ ตราสินค้า และภาพ ลักษณ์ตราสินค้าถูกน�ำมาใช้ในอุตสาหกรรมธนาคาร รวม ถึงการศึกษาวิจัยทางด้านเจตคติและพฤติกรรมของ ลูกค้า เนื่องจากนักการตลาดเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ไม่ควรมองข้าม และอาจกลายเป็นปัญหาส�ำคัญส�ำหรับ ธนาคารในวันนี้ (Grace, 2013: 35-39) เนื่องจาก ปัจจุบนั ธนาคารไม่เพียงแต่ให้บริการทางการเงินเท่านัน้ ยังมีการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ของธนาคารและบริษทั

ในเครือ อาทิ ประกันชีวิต ประกันภัย และบัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับผลส�ำรวจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ของธนาคาร ในปี พ.ศ. 2555 ทีพ่ บว่า ประมาณครึง่ หนึง่ ของลูกค้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว และอีกร้อยละ 84 ในประเทศเกิดใหม่ มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ ธนาคารเมื่อปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2554) เพิ่มสูงขึ้นโดย ลูกค้าทีซ่ อื้ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากธนาคารเหล่านัน้ ส่วนใหญ่ เป็นการซือ้ จากธนาคารหลักทีล่ กู ค้าเปิดบัญชีหรือมีการ ท�ำธุรกรรมอย่างต่อเนือ่ ง และมีการซือ้ ผลิตภัณฑ์เพิม่ เติม จากธนาคารอื่นด้วย (Bain & Company, 2013: 2) จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสม ทางการตลาด และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ การสร้างความภักดีตอ่ ตราสินค้า ซึง่ เป็นกลยุทธ์ทสี่ ำ� คัญ กลยุทธ์หนึง่ ในทางการตลาดโดยคาดว่าจะน�ำผลการวิจยั นีไ้ ปประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการแข่งขันให้กบั องค์กรต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพือ่ ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ ซึง่ ประกอบ ด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส จ�ำนวนบุตร ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ใช้บริการบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย 2. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า และกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสม ทางการตลาดและกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตรา สินค้า 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ ของผูใ้ ช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยและ กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า

สมมติฐานในการวิจัย

1. ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ซึง่ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส จ�ำนวนบุตร ศาสนา ระดับ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

การศึกษา อาชีพ และรายได้ ทีแ่ ตกต่างกันมีผลต่อความ ภั ก ดี ต ่ อ ตราสิ น ค้ า ของผู ้ ใช้ บ ริ ก ารบั ต รเครดิ ต ของ ธนาคารพาณิชย์ไทย 2. คุณค่าตราสินค้า มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การ สร้างความภักดีต่อตราสินค้า 3. ส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับ กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า 4. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีความสัมพันธ์กบั กลยุทธ์การสร้าง ความภักดีต่อตราสินค้า

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. การวิ จั ย ในครั้ ง นี้ ส ามารถระบุ ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่างกลยุทธ์การสร้างความภักดีตอ่ ตราสินค้า คุณค่า ตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยอัน

ลักษณะประชากรศาสตร์ - เพศ - อายุ - สถานภาพสมรส - จำ�นวนบุตร - ศาสนา - ระดับการศึกษา - อาชีพ - รายได้

47

เป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในเรื่องความ ภักดีตอ่ ตราสินค้าของผูใ้ ช้บริการบัตรเครดิตของธนาคาร พาณิชย์ไทย 2. การวิจยั ในครัง้ นีส้ ามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในการ วางแผนเพื่ อ ก� ำ หนดกลยุ ท ธ์ ก ารสร้ า งความภั ก ดี ต ่ อ ตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด ความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย และ คุณค่าตราสินค้า เพื่อให้สอดคล้องและเป็นทิศทาง เดียวกัน อันจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ในการประกอบธุรกิจและศักยภาพในการแข่งขันอย่าง ยั่งยืนในอนาคต

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ในการศึกษาวิจยั ครัง้ นี้ มีกรอบแนวคิดในการวิจยั ที่ ศึกษาถึงกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยดังนี้

คุณค่าตราสินค้า - การรับรู้ตราสินค้า - การรับรู้คุณภาพ - การเชื่อมโยงตราสินค้า

ส่วนประสมทางการตลาด - ผลิตภัณฑ์ - ราคา - ช่องทางการจัดจำ�หน่าย - ราคา

กลยุทธ์การสร้างความภักดี ต่อตราสินค้า - ความเชื่อมั่นในตราสินค้า - การโดนใจผู้บริโภคใน ตราสินค้า - กระบวนการซื้อซ�้ำใน ตราสินค้า

ความพึงพอใจของผู้ใช้บัตรเครดิตของ ธนาคารพาณิชย์ไทย - กระบวนการให้บริการ - ลักษณะทางกายภาพของการบริการ - พนักงานผู้ให้บริการ ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


48

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

วิธีการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย จ�ำนวน 400 คน โดยใช้สตู รการค�ำนวณขนาดตัวอย่างด้วยวิธกี าร ของ (Taro Yamane, 1973) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เขตกรุงเทพฯ และเขตปริ ม ณฑล 5 จั ง หวั ด ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม โดยการแจก แบบสอบถาม (Questionnaire) กับผู้ที่ใช้บริการบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย

ทดสอบค่ า เฉลี่ ย ความแตกต่ า งรายคู ่ โ ดยวิ ธี LSD สมมติฐานที่ 2-4 ท�ำการทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ทดสอบแบบ Pearson’s Correlation Coefficient ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิตทิ ี่ 0.05 ประมวลผลข้อมูลจาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรูปทางสถิติ

ผลการวิจัย

2. การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย และการทดสอบ ความเที่ยงตรงของเนื้อหา ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามน�ำเสนออาจารย์ประจ�ำ หลักสูตรบริหารธุรกิจ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดย ประเมิ น ผล (IOC) เพื่ อ ทดสอบค่ า ความสอดคล้ อ ง ของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนน�ำไปทดสอบ ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เมื่อผู้วิจัยได้แก้ไข แบบสอบถามตามที่ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ะบุ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว จึงท�ำการแจกกับกลุ่มตัวอย่างที่มีสภาพความเป็นกลุ่ม ตัวอย่างจ�ำนวน 30 คน จากนั้นจึงน�ำมาทดสอบความ เชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปทาง สถิตใิ นการหาความเชือ่ มัน่ โดยใช้สตู รหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ได้เท่ากับ 0.925 ซึ่งมากกว่า 0.70 ถือว่าแบบสอบถามมีความน่าเชื่อถือสูง

1. ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึ ก ษาลั ก ษณะส่ ว นบุ ค คลกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง พบว่ า เป็ น เพศชาย ร้ อ ยละ 58.50 และเพศหญิ ง ร้อยละ 41.50 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 65.00 รองลงมา อายุ 20-30 ปี ร้อยละ 21.50 น้อยที่สุด อายุ 50 ปี ขึ้นไป มีสถานภาพโสด ร้อยละ 47.00 รองลงมา สมรส ร้อยละ 43.00 น้อยที่สุด หม้ายหรือหย่าร้าง ส่วนใหญ่มีบุตรจ�ำนวน 1-3 คน ร้อยละ 53.75 และไม่มี บุตร ร้อยละ 46.25 โดยนับถือศาสนาพุทธ เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.75 รองลงมา ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 16.50 มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 43.00 รองลงมา ระดับมัธยมปลาย/ปวช./เทียบเท่า ร้อยละ 21.25 น้อยทีส่ ดุ สูงกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 43.50 รองลงมา ค้าขาย หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 24.00 และข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 19.25 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8.25 และด้าน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ส่วนใหญ่รายได้ 15,00030,000 บาท ร้อยละ 37.50 รองลงมา 30,001-50,000 บาท ร้อยละ 35.75 และ 50,001-75,000 บาท ร้อยละ 14.50 น้อยที่สุด มากกว่า 150,000 บาท

3. สถิติที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) สมมติฐานที่ 1 ท�ำการทดสอบ ความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test และ

2. พฤติกรรมการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคาร พาณิชย์ไทย ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย ในด้านการใช้บริการบัตร เครดิต พบว่า มีใช้บริการ จ�ำนวน 1 ใบ ร้อยละ 84.25 และมากกว่า 1 ใบ ร้อยละ 15.75 ธนาคารผู้ให้บริการ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

บัตรเครดิตมากที่สุด คือ ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัดฯ ร้อยละ 25.68 รองลงมา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ�ำกัดฯ และ ธนาคารกสิกรไทย จ�ำกัดฯ มีระยะเวลาใช้บัตรเครดิต มากที่สุด จ�ำนวน 1-2 ปี ร้อยละ 50.50 รองลงมา น้อยกว่า 1 ปี น้อยที่สุด จ�ำนวน 3-4 ปี โดยประเภทของ บัตรเครดิตที่ใช้เป็นบัตรเครดิตหลัก ร้อยละ 72.25 และ บัตรเครดิตเสริม ร้อยละ 27.75 วงเงินบัตรเครดิต

49

มากที่สุด คือ น้อยกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 62.50 รองลงมาวงเงิน 30,001-50,000 บาท และวงเงิน 50,001-80,000 บาท และมีความถีใ่ นการใช้บตั รเครดิต 1-2 ครั้ง มากที่สุด ร้อยละ 64.00 รองลงมา 3-4 ครั้ง น้อยทีส่ ดุ 5-6 ครัง้ และมีความต้องการสมัครบัตรเครดิต เพิ่มเติม ร้อยละ 61.50 และไม่ต้องการสมัคร ร้อยละ 38.50 ตามล�ำดับ

ตารางที่ 1 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคาร พาณิชย์ไทย ในภาพรวม (n = 400) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ในการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย

ค่าเฉลี่ย

ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน

แปลค่า

อันดับ

ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ภาพรวม

3.75 3.48 3.82 3.76 3.70

0.47 0.67 0.48 0.49 0.42

มาก มาก มาก มาก มาก

3 4 1 2

3. ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดในการใช้ บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย จากการศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ในการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า

ผู้ใช้บริการให้ความส�ำคัญในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 ส่วนในรายด้าน สูงที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย รองลงมา ด้านการส่งเสริม การตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามล�ำดับ

ตารางที่ 2 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้าบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ในภาพรวม (n = 400) ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย

ค่าเฉลี่ย

ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน

แปลค่า

อันดับ

ด้านการรับรู้ตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพ ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า ภาพรวม

3.92 3.76 3.81 3.83

0.50 0.60 0.62 0.48

มาก มาก มาก มาก

1 3 2

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


50

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

4. ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้าบัตรเครดิตของธนาคาร พาณิชย์ไทย จากการศึ ก ษาปั จ จั ย ด้ า นคุ ณ ค่ า ตราสิ น ค้ า บั ต ร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผู้ใช้บริการให้

ความส�ำคัญในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.83 ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.48 ส่วนในรายด้าน สูงที่สุด คือ ด้านการรับ รู้ตราสินค้า รองลงมา ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า และ ด้านการรับรู้คุณภาพ ตามล�ำดับ

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ไทยในภาพรวม (n = 400) ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ภาพรวม 5. ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย จากการศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้ บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผู้ใช้ บริการให้ความส�ำคัญในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74

ค่าเบี่ยงเบน ค่าเฉลี่ย มาตรฐาน 3.73 0.49 3.76 0.60 3.72 0.58 3.74 0.48

แปลค่า

อันดับ

มาก มาก มาก มาก

2 1 3

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ส่วนในรายด้าน สูงที่สุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ รองลงมา ด้านกระบวนการให้บริการและด้านพนักงานผูใ้ ห้บริการ ตามล�ำดับ

ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความภักดีต่อตราสินค้าบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ในภาพรวม (n = 400) ความภักดีต่อตราสินค้าในการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย ด้านความเชื่อมั่นในตราสินค้า ด้านการโดนใจผู้บริโภคในตราสินค้า ด้านกระบวนการซื้อซ�้ำในตราสินค้า ภาพรวม 6. ความภักดีตอ่ ตราสินค้าในการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย จากการศึกษาความภักดีต่อตราสินค้าในการใช้ บริ ก ารบั ต รเครดิ ต ของธนาคารพาณิ ช ย์ ไ ทย พบว่ า ผู้ใช้บริการมีความภักดีต่อการใช้บริการในระดับมาก

ค่าเบี่ยงเบน ค่าเฉลี่ย มาตรฐาน 3.74 0.51 3.61 0.62 3.60 0.68 3.65 0.47

แปลค่า

อันดับ

มาก มาก มาก มาก

1 2 3

มีค่าเฉลี่ย 3.65 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 ส่วน ในรายด้านสูงที่สุด คือ ด้านความเชื่อมั่นในตราสินค้า รองลงมาด้านการโดนใจผู้บริโภคในตราสินค้า และ ด้านกระบวนการซื้อซ�้ำในตราสินค้าตามล�ำดับ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

51

ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการทดสอบสมมติฐานข้อ 1 ตัวแปรอธิบาย เพศ อายุ สถานภาพสมรส จ�ำนวนบุตร ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้

สถิติที่ใช้ในการทดสอบ t-test 3.663 F-test 2.895 0.006 -0.261 1.259 6.078 2.064 0.88

จากตารางที่ 5 ผลการทดสอบปั จ จั ย ลั ก ษณะ ส่วนบุคคล ด้านเพศ พบว่า มีค่า t-test = 3.663, Significant = 0.00 < 0.05 จึงสรุปผลการทดสอบได้ว่า เป็นการยอมรับ H1 หรือลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ ที่ต่างกันมีผลต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อการใช้ บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยทีต่ า่ งกัน ส่วน ผลการทดสอบปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุและ

Significant

สมมติฐาน

0.00

ยอมรับ H1

0.035 0.994 0.794 0.288 0.00 0.056 0.492

ยอมรับ H1 ยอมรับ H0 ยอมรับ H0 ยอมรับ H0 ยอมรับ H1 ยอมรับ H0 ยอมรับ H0

ด้านระดับการศึกษา พบว่า มีค่า F-test = 2.895, Significant = 0.035 < 0.05 และค่า F-test = 6.078, Significant = 0.00 < 0.05 ตามล�ำดับ จึงสรุปผลการ ทดสอบได้วา่ เป็นการยอมรับ H1 หรือลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ และด้านระดับการศึกษา ที่ต่างกันมีผลต่อ กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ต่างกัน

ตารางที่ 6 ตารางแสดงผลการทดสอบสมมติฐานข้อ 2- 4 ตัวแปรอิสระ ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านการรับรู้ตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพ ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า รวม ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำ�หน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด รวม

กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย Pearson Significant การแปลค่า Correlation (r) 0.377 0.00 มีความสัมพันธ์ 0.530 0.00 มีความสัมพันธ์ 0.634 0.00 มีความสัมพันธ์ 0.630 0.00 มีความสัมพันธ์ 0.562 0.582 0.443 0.663 0.714

0.00 0.00 0.00 0.00 0.00

มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


52

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตัวแปรอิสระ ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ รวม

กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย 0.599 0.503 0.631 0.667

จากตารางที่ 6 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านคุณค่า ตราสินค้าและปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการ กับกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson Correlation ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 โดย ทดสอบในภาพรวม พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการ ตลาด มีคา่ r = 0.714, Significant = 0.00 < 0.05 ปัจจัย ด้านคุณค่าตราสินค้า มีค่า r = 0.630, Significant = 0.00 < 0.05 และปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้ บริการ มีค่า r = 0.667, Significant = 0.00 < 0.05 จึง สรุปผลการทดสอบทัง้ 3 ปัจจัยได้วา่ เป็นการยอมรับ H1 หรือปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้าน คุณค่าตราสินค้าและปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้ บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลยุทธ์การสร้างความ ภักดีต่อตราสินค้าบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย

สรุปและอภิปรายผล

1. ผลการศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผูใ้ ช้บริการ บัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพโสด มีบุตร จ�ำนวน 1-3 คน นับถือศาสนาพุทธ ระดับการศึกษา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพพนักงานบริษทั เอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท 2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิ ช ย์ ไ ทย พบว่ า ส่ ว นใหญ่ มี ก ารใช้ บัตรเครดิต จ�ำนวน 1 ใบ ธนาคารผูใ้ ห้บริการบัตรเครดิต มากทีส่ ดุ คือ ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัดฯ รองลงมา ธนาคาร

0.00 0.00 0.00 0.00

มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์

กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา จ� ำ กั ด ฯ มี ร ะยะเวลาใช้ บั ต รเครดิ ต มากที่สุด จ�ำนวน 1-2 ปี 3. ผลการศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการ ตลาดในการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ไทย พบว่า ผู้ใช้บริการให้ความส�ำคัญในระดับมาก โดย สูงที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย รองลงมา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามล� ำ ดั บ ผลการศึ ก ษาสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ Kotler (2000:172) ที่กล่าวว่า สิ่งกระตุ้นทางการตลาด เป็นสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาด และเป็นสิ่งกระตุ้นซึ่งนักการตลาดสามารถควบคุมและ ต้องจัดให้มมี ากขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะส่งผลต่อพฤติกรรมและความ ต้องการของผู้บริโภค 4. ผลการศึกษาปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้าบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผู้ใช้บริการให้ ความส�ำคัญในระดับมาก โดยสูงที่สุด คือ ด้านการรับรู้ ตราสินค้า รองลงมา ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า และ ด้านการรับรูค้ ณ ุ ภาพ ผลการศึกษาสอดคล้องกับแนวคิด ของเสรี วงษ์มณฑา (2542: 99) ที่กล่าวว่า คุณค่าของ ตราสินค้าเป็นการทีจ่ ะท�ำให้ตราสินค้าของบริษทั มีความ หมายเชิงบวกในสายตาของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อ โดยเป็น หน้าทีข่ องนักการตลาดทีจ่ ะต้องพยายามสร้างคุณค่าให้ ตราสินค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 5. ผลการศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการ ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตให้ความส�ำคัญในระดับมากโดย สูงที่สุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ รองลงมา ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านพนักงาน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ผู้ให้บริการ ตามล�ำดับ ผลการศึกษาสอดคล้องกับ แนวคิดของจิตตินันท์ เดชะคุปต์ (2539) ที่กล่าวว่า คุณภาพการให้บริการถือเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิด ความภั ก ดี ใ นตราสิ น ค้ า คุ ณ ภาพการให้ บ ริ ก ารเป็ น กิจกรรมหรือกระบวนการด�ำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลหรือองค์กร เพือ่ ตอบสนองความต้องการของ บุ ค คลอื่ น และก่ อ ให้ เ กิ ด ความพึ ง พอใจจากผลของ การกระท�ำ 6. ผลการศึกษาความภักดีตอ่ ตราสินค้าบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผูใ้ ช้บริการ มีความภักดี ในระดั บ มาก โดยสู ง ที่ สุ ด คื อ ด้ า นความเชื่ อ มั่ น ใน ตราสิ น ค้ า รองลงมา ด้ า นการโดนใจผู ้ บ ริ โ ภคใน ตราสินค้า และด้านกระบวนการซื้อซ�้ำในตราสินค้า ตามล� ำ ดั บ ผลการศึ ก ษาสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541) ที่กล่าวว่า ความ ภักดีต่อตราสินค้าเป็นความซื่อสัตย์ และความภักดีต่อ ตราสินค้าจะมีผลต่อการซื้อสินค้านั้นซ�้ำ ถ้ามีความภักดี ต่อตราสินค้าสูงเรียกว่า มีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า 7. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยลักษณะ ส่วนบุคคลทีแ่ ตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการบัตร เครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่แตกต่างกัน 8. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้าน คุณค่าตราสินค้า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านความพึงพอใจในการใช้บริการบัตรเครดิต มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ กลยุ ท ธ์ ก ารสร้ า งความภั ก ดี ต ่ อ ตราสิ น ค้ า ของผู ้ ใช้ บ ริ ก ารบั ต รเครดิ ต ของธนาคาร พาณิชย์ไทย โดยปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า ผู้ใช้บริการ ให้ความส�ำคัญในระดับสูงทีส่ ดุ โดยมีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 3.83 รองลงมา ปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการบัตร เครดิ ต โดยมี ค ่ า เฉลี่ ย เท่ า กั บ 3.74 และปั จ จั ย ด้ า น ส่วนประสมทางการตลาดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ตามล�ำดับ จากภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจของผู้ใช้

53

บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีอิทธิพล ต่อกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้า จากการ ทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านการรับรู้ตราสินค้ามีความสัมพันธ์สูงสุด ปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย มีความสัมพันธ์สูงสุด และปัจจัยด้านความพึงพอใจต่อ การใช้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพของการบริการ มีความสัมพันธ์สูงสุด ตามล�ำดับ โดยมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับกลยุทธ์การสร้างความภักดีตอ่ ตราสินค้าของ ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ข้อเสนอแนะ 1. จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสม ทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย มีความ สัมพันธ์สูงที่สุดกับความภักดีต่อตราสินค้าส�ำหรับผู้ใช้ บริ ก ารบั ต รเครดิ ต ของธนาคารพาณิ ช ย์ ไ ทย ดั ง นั้ น สถาบันการเงินและผูป้ ระกอบธุรกิจให้บริการบัตรเครดิต ควรให้ความส�ำคัญกับการเพิ่มช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ให้ ม ากขึ้ น จู ง ใจให้ ลู ก ค้ า มี ค วามพึ ง พอใจและเกิ ด พฤติ ก รรมการใช้ บ ริ ก ารบั ต รเครดิ ต มากยิ่ ง ขึ้ น เช่ น การเพิ่มช่องทางในการใช้บริการบัตรเครดิต การเพิ่ม ช่องทางในการสมัครบัตรเครดิต ตลอดจนควรให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ การโฆษณาผ่ า นสื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ต ่ า งๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดการรับรู้ข้อมูลการให้บริการและ กิจกรรมต่างๆ ในการให้บริการบัตรเครดิต 2. จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านคุณค่าตรา สินค้าบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย ด้านการรับรู้ ตราสินค้ามีความสัมพันธ์กบั กลยุทธ์การสร้างความภักดี ต่ อ ตราสิ น ค้ า สู ง ที่ สุ ด ดั ง นั้ น สถาบั น การเงิ น และ ผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการบัตรเครดิต ควรให้ความ ส�ำคัญกับตราสินค้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการบัตรเครดิต ที่จะต้อง สร้างคุณค่าตราสินค้าของตนให้มีความหมายเชิงบวก ในสายตาของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ใช้บริการบัตรเครดิตโดย ให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก อย่ า งแพร่ ห ลาย อี ก ทั้ ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


54

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ในการที่ จ ะท� ำ ให้ บั ต รเครติตมีความพร้อมในการให้ บริการลูกค้าอยู่เสมอ 3. จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ต่อการใช้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ กลยุ ท ธ์ ก ารสร้ า งความภั ก ดี ต ่ อ ตราสินค้า โดยด้านลักษณะทางกายภาพของการสร้าง ความภักดีต่อตราสินค้า มีความสัมพันธ์สูงที่สุด ดังนั้น สถาบันการเงินและผู้ประกอบการธุรกิจการให้บริการ บัตรเครดิต ควรให้ความส�ำคัญการพัฒนาลักษณะทาง กายภาพของการบริการในการให้บริการ ซึง่ มักต้องอาศัย องค์ประกอบต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์อยู่ในสภาพดีหรือไม่ เครื่องปรับอากาศท�ำงานได้ดีหรือไม่ โทรทัศน์มีภาพ ทีช่ ดั เจนหรือไม่ รวมถึงมีเจ้าหน้าทีใ่ นการให้บริการเพียง พอหรือไม่ เป็นต้น หากบริการอื่นๆ ของธนาคารดี เช่น พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพ และให้บริการอย่าง รวดเร็ว แต่สภาพแวดล้อมภายในธนาคารไม่ดี และเครือ่ ง ปรับอากาศเสียงดังและไม่ค่อยเย็น องค์ประกอบทาง กายภาพเหล่านีก้ จ็ ะลดระดับคุณภาพของการให้บริการ ได้ แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม หากองค์ประกอบทาง กายภาพดีและการบริการอื่นๆ ดีด้วย องค์ประกอบ ทางกายภาพก็จะช่วยเสริมระดับคุณภาพของการบริการ

ให้ สู ง มากขึ้ น ในความรู ้ สึ ก ของผู ้ ใช้ บ ริ ก ารเพื่ อ ให้ ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกในการใช้บริการและเกิด ความพึงพอใจในการใช้บริการอันจะส่งผลต่อความภักดี ในการใช้บริการบัตรเครดิตมากยิ่งขึ้น 4. จากการศึกษาความภักดีต่อตราสินค้าในการใช้ บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย พบว่า ผู้ใช้บริการ มีความภักดีต่อการใช้บริการในระดับมาก โดยสูงที่สุด คือ ด้านความเชื่อมั่นในตราสินค้า ดังนั้นสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการบัตรเครดิตควรให้ ความส�ำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการ บัตรเครดิต ควรมีการให้บริการทีม่ คี วามรวดเร็ว มีความ ถูกต้องของข้อมูล ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาในการ ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ควรให้ความส�ำคัญกับการสร้าง ความเชื่อมั่น เชื่อถือ และความไว้วางใจในใช้บริการ บัตรเครดิต โดยมีการน�ำเสนอบริการที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้ บริการ รวมทั้งพยายามศึกษาให้เข้าใจถึงความต้องการ ของผู้ใช้บริการ และให้ความสนใจตอบสนองความ ต้องการของผูใ้ ช้บริการให้ตรงต่อความต้องการมากทีส่ ดุ ตลอดจนควรมีการติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะน�ำไปสู่การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าในการใช้ บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยให้มากยิง่ ขึน้

บรรณานุกรม

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2539). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. เอกสารการสอนชุดจิตวิทยาการบริการ หน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). สถิติระบบการช�ำระเงิน. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.bot.or.th มีนา อ่องบางน้อย. (2553). คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจ และความพึงพอใจที่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า CAT CDMA (แคท ซีดีเอ็มเอ). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2(1), 52-69. ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์พัฒนาศึกษา. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond in business world. ศุภชาติ เกตุแค. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและความภักดีต่อตราสินค้าโทรศัพท์มือถือ. สาขาวิชา บริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จ�ำกัด. สุพรรณิการ์ มรรคาสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความจงรักภักดีในการใช้บัตรเครดิต กรณีศึกษา ผู้ใช้บัตร เครดิตในเขตกรุงเทพมหานคร. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

55

อาระตี ตันมหาพราน และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2552). การวัดคุณค่าตราสินค้าในกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์. วารสาร การประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 2(2), 109-126. อัมพล ชูสนุก. (2555). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อคุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจและความ จงรักภักดีของลูกค้าบริษัท ทรูมูฟ จ�ำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร. RMUTT Global Business and Economics Review, 7(2), 10-27. อัมพล ชูสนุก และอังศุมาลิน เฮงมีชัย. (2556). อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการโรงเรียนสอนศิลปะดินสอสี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2), 10-23. โฟกัสหุ้นเด่นรายสัปดาห์. (2557). KTC ก�ำไรปี 56 ทะลัก! 1.28 พันล้านบาทจากธุรกิจสินเชื่อ-บัตรเครดิต ขยายตัว โดดเด่น. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.kaohoon.com/online/82041/KTC Aaker, D. A. (1996). Building Strong Brands. London: Simon & Schuster. Bain & Company. (2013). Customer Loyalty in Retail Banking : Global Edition 2014. Boston, Massachusetts. Cobb-Walgren, C. J., Ruble, C. A. & Donthu, N. (1995). Brand Equity, Brand Preference, and Purchase Intent. Journal of Advertising, 24(3), 25-40. Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. New York: Hanpercollins College. Onyancha, G. K. (2013). The Impact of Bank Brand Image on Customer Satisfaction and Loyalty: A Case of Kenya Commercial Bank. European Journal of Business and Management, 5(21), 35-39. Kotler, P. (2000). Marketing Management, Millennium Edition. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall. Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Translated Thai References

Aongbangnoi, M. (2010). Brand value the trust and satisfaction that affect brand loyalty CAT CDMA. Panyapiwat Journal, 2(1), 52-69. [in Thai] Bank of Thailand. (2014). Statistical payment system. Retrieved July 15, 2557, from http://www.bot. or.th [in Thai] Choosanook, A. (2012). The influence of the marketing mix for a brand value. Customer satisfaction and customer loyalty True Move Company Limited in Bangkok. RMUTT Global Business and Economics Review, 7(2), 10-27. [in Thai] Choosanook, A. & Hengmechai, A. (2013). The influence of the quality of service brand image: Brand equity, customer satisfaction and loyalty of customers using pencil art schools. Panyapiwat Journal, 4(2), 10-23. [in Thai] Dachakhup, J. (1996). Attitudes and satisfaction in service. In psychological services unit 8-15. (2nd ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


56

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Kaohoon. (2014). KTC earnings of 56 blowout! 1.28 billion baht from credit - credit cards. Retrieved July 1, 2557, from http://www.kaohoon.com/online/82041/KTC [in Thai] Kedcare, S. (2009). The relationship between satisfaction and loyalty to your brand mobile phone. Business Administration. Graduate School, Chiang Mai University. [in Thai] Mongkolsiri, S. (2004). Brand Management. Bangkok: Band Age. [in Thai] Munkasakul, S. (2012). Factors that affect the fidelity of credit card case credit card users in Bangkok. Faculty of Ecomomics, Thammasat University. [in Thai] Searirat, S. (1996). Organization and management. Bangkok: The publisher of education. [in Thai] Searirat, S. et al. (1998). Marketing management: a new era. Bangkok. Diamond in business world. [in Thai] Tunmahaparn, A. & Penjarongkit, Y. (2009). Measuring brand value in the banking business. Journal of Public Relations and Advertising, 2(2), 109-126. [in Thai] Wongmoltha, S. (1999). Marketing Strategies: Marketing Planning. Bangkok: Theera film and Scitex Co., Ltd. [in Thai]

Phumiphat Rattanaprapha graduated in Bachelor Degree of Science, Major in Statistics Administration from Thammasat University, Thailand in 1994. In additional, graduated in Master of Business Administration (Program in Marketing), Srinakharinwirot University in 2004. Presently, studying in Doctoral Degree in Doctor of Business Administration Program in Marketing, Siam University, with currently is Assistant Vice President, Retail Financing Department, Islamic Bank of Thailand.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

57

ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร THE MANAGEMENT EFFICIENCY TOWARDS UNIVERSAL COVERAGE HEALTH SECURITY SYSTEM IN BANGKOK METROPOLITAN AREA

เขมมารี รักษ์ชูชพ ี 1 และจิตรลดา ตรีสาคร2 Khemaree Rugchoochip1 and Chitralada Trisakhon2

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เพือ่ ศึกษาปัญหาอุปสรรค และ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็น การศึกษาวิจยั เชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนผูท้ ใี่ ช้สทิ ธิของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุม่ ตัวอย่างจ�ำนวน 400 คน ใช้วธิ กี ารสุม่ ตัวอย่างตามสะดวก เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุ ผลการวิจยั พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นในปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวมในระดับปานกลางและในด้านบริการยาและเวชภัณฑ์เป็นล�ำดับแรก และมีระดับ ความคิดเห็นในประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวม ในระดับปานกลาง และในด้านการท�ำงานต้องเชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็น หลักฐานเป็นล�ำดับแรก พบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ล้วนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่า ปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวมกับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ ในระดับสูง ส่วนปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพกับระดับประสิทธิภาพการ บริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ส�ำหรับปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการตติยภูมิ ด้านการแพทย์แผนไทย และด้านบริการยาและเวชภัณฑ์กับระดับ ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง ปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์สง่ ผลท�ำให้เกิดอิทธิพลต่อระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 1 Assistant Professor Dr., Department Head, Business Administration Faculty, Rajamangala University of Technology Thanyaburi,

E-mail: Khemaree2012@hotmail.co.th

2 Assistant Professor, Business Administration Faculty, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, E-mail: Chitlada_19@

hotmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


58

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ค�ำส�ำคัญ: ประสิทธิภาพการบริหาร ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กรุงเทพมหานคร

Abstract

The research on “Management Efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok” had the objectives as follows: 1.To study on the Universal Coverage Health Security System in Bangkok 2. To study on Management Efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok 3. To study the problems and obstacles as well as provide the recommendations related to management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok. This research was the quantitative study on 400 samples who applied the Universal Coverage Health Security System rights in Bangkok. The convenience sampling technique was applied while questionnaire was used as a tool for data collection. The statistics used here were frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, F test, correlation, and multiple regression. The research results found that overall the respondents had the moderate levels of opinion toward the factors of Universal Coverage Health Security System in Bangkok and the first priority was on drugs and pharmaceuticals service. They tended to have the overall opinions on the management efficiency towards Universal Coverage Health Security System at the moderate level and priority was on the aspect of work that it should be reliable, immediate, capable, and having registered evidences. It was found that from the factors of gender, age, education levels, occupation and incomes; all seem to have the relationship with management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok. In addition, it was found that the overall factors of the Universal Coverage Health Security System and the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the high level of relationship. While the factors of Universal Coverage Health Security System regarding the healthcare service units and the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the moderate relationship level. For the factors of Universal Coverage Health Security System regarding the Tertiary care units, Traditional Thai medical, and drugs and pharmaceuticals service and the level of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System had the high relationship level. The factors of the Universal Coverage Health Security System had the relationship that influenced on the levels of management efficiency towards Universal Coverage Health Security System in Bangkok at the statistical significant level of 0.05. Keywords: Management efficiency, Universal Coverage Health Security System, Bangkok Metropolitan Area

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

บทน�ำ

สุขภาพเป็นสิ่งส�ำคัญและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายทางสังคมที่ยอมรับกันทั่ว โลกทุ ก คนไม่ ว ่ า จะมี ค วามแตกต่ า งกั น ทางเชื้ อ ชาติ ศาสนา ฐานะ เศรษฐกิจ และสังคมหรือความเชื่อถือ ทางการเมืองย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองให้มี “สุขภาพดี” อันหมายถึงการมีภาวะสมบูรณ์แข็งแรงทั้ง ทางร่างกายและจิตใจมิใช่เพียงแต่ปราศจากโรคหรือไม่มี ความพิการเท่านั้น แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่ในสังคม อย่างดี ในประเทศไทยนับว่าเป็น ประเทศทีโ่ ชคดี เพราะว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิทธิ ในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ตามมาตรา 51 จึงได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ เสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษา พยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จา่ ย บุคคลย่อมมีสทิ ธิได้รบั การบริการสาธารณสุข จากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ อันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและ ทันต่อเหตุการณ์” ในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา ระบบประกันสุขภาพของไทย มีการพัฒนาไปมาก ในระดับก้าวกระโดด ครอบคลุม ประชากร 64 ล้านคนของประเทศ นอกจากนีย้ งั มีระบบ ประกันสุขภาพภาคอืน่ ๆ เช่น ทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชน เช่น กองทุนผูป้ ระสบภัยจากรถยนต์ กองทุนเงินทดแทน (เจ็บป่วยจากการท�ำงาน) เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทย มีระบบประกันสุขภาพหลัก 3 ระบบดังนี้ ระบบสวัสดิการข้าราชการ เป็นระบบแรกจัดตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2521 เพือ่ ดูแลสวัสดิการลูกจ้างในภาครัฐ ทีม่ รี าย ได้นอ้ ย และเป็นขวัญก�ำลังใจให้อยูท่ ำ� งานราชการต่อไป ซึ่งผู้ที่ท�ำงานราชการส่วนใหญ่ต่างหวังในสิ่งนี้ เพราะไม่ เพียงแต่ดูแลค่ารักษาพยาบาลตนเองเท่านั้น แต่รวมถึง พ่อแม่ ภรรยา และลูก ที่ใช้สิทธิเบิกจ่ายจากภาครัฐได้

59

ทั้งหมด แม้ว่าค่ารักษาบางรายการจะแพงลิบลิ่ว แต่ก็ ไม่มีข้อจ�ำกัดระบบประกันสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2533 ผลักดันจากเครือข่ายองค์กรลูกจ้างและแรงงานภาค เอกชนที่เรียกร้องสวัสดิการคุ้มครองดูแลเพื่อเป็นความ มั่นคงทางสังคม โดยลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐเป็น ผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนนี้ ซึ่งในส่วนการรักษาพยาบาล จะมีรูปแบบของการร่วมจ่ายค่ารักษาในบางรายการ ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จัดตั้งขึ้น เมื่อปี 2545 มีแนวคิดสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้คนไทยเข้า ถึงการรักษาพยาบาล ยกเว้นผู้ที่อยู่ในระบบสวัสดิการ ข้ า ราชการและประกั น สั ง คม โดยน� ำ เงิ น มาจากงบ ประมาณของประเทศในการน�ำมาบริหาร (รายงานการ สร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจ�ำปี 2554) ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพการ บริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขต กรุงเทพมหานคร เพื่อที่จะได้รวบรวมผลที่ได้จากการ ศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป

วัตถุประสงค์ในการวิจัย

1. เพือ่ ศึกษาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ใน เขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกีย่ วกับประสิทธิภาพระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร

สมมติฐานการวิจัย

1. ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า มี ค วาม สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอิทธิพล ต่อประสิทธิภาพการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


60

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ทบทวนวรรณกรรม

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิภาพการบริหารงานด้านธุรกิจในความหมาย อย่างแคบว่า หมายถึง การลดต้นทุนในการผลิตและใน ความหมายอย่างกว้าง หมายถึง คุณภาพของการมี ประสิทธิผล (Quality of Effectiveness) และความ สามารถในการผลิต (Competence and Capability) การด�ำเนินงานทางด้านธุรกิจที่จะถือว่าประสิทธิภาพ สูงสุดนัน้ ก็เพือ่ สามารถผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณ และคุณภาพที่ต้องการที่เหมาะสมและต้นทุนน้อยที่สุด เพือ่ ค�ำนึงถึงสถานการณ์และข้อผูกพันด้านการเงินทีม่ อี ยู่ ดังนั้น แนวความคิดของค�ำว่า ประสิทธิภาพทางด้าน ธุรกิจในที่นี้จึงมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ต้นทุน (Cost) คุณภาพ (Quantity) และวิธีการ (Method) ในการผลิตให้ความหมายโดย Elmore Perterson และ E. Grosvenor Plowman (1953 อ้างถึงใน จรัล บางประเสริฐ, 2544: 6) ประสิทธิภาพ หมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่ท�ำให้ เกิดความพึงพอใจ และได้รับผลก�ำไรจากการปฏิบัติ เป็นการให้ความหมายของ John D. Millet (1954: 4 อ้างถึงใน จรัล บางประเสริฐ, 2544: 6) นั ก ทฤษฎี 2 ท่ า นได้ ใ ห้ ท รรศนะเกี่ ย วกั บ ประสิทธิภาพไว้คล้ายคลึง คือ ถ้าพิจารณาว่างานใด มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ให้ดูจากความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยน�ำเข้า (Input) กับผลผลิต (Output) ที่ได้รับออก มา เพราะฉะนั้นตามทรรศนะนี้ ประสิทธิภาพจึงเท่ากับ ผลิตผล ลบด้วยปัจจัยน�ำเข้าและถ้าเป็นการบริหาร ราชการและองค์การของรัฐก็ควรบวกกับความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ (Satisfaction) เข้าไปด้วย ให้ความหมาย โดย Herbert A. Simon (1960: 180-181 อ้างถึงใน จรัล บางประเสริฐ, 2544: 7) และ Millet ซึ่งอาจเขียน เป็นสูตรได้ดังนี้ E = (O-I) + S E = EFFICIENCY คือ ประสิทธิภาพของงาน O = OUTPUT คือ ผลิตผลที่ได้รับออกมา

I = INPUT คือ ปัจจัยน�ำเข้า S = SATISFACTION คือ ความพึงพอใจ ประสิทธิภาพของบุคคล (Human Efficiency) ว่า เป็นความสัมพันธ์ในแง่บวกกับสิ่งที่ทุ่มเทให้กับงาน ซึ่ง ประสิทธิภาพในการท�ำงานนั้นมองจากแง่มุมของการ ท�ำงานของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับ สิง่ ทีใ่ ห้กบั งาน เช่น ความพยามยาม ก�ำลังงาน กับผลลัพธ์ ทีไ่ ด้รบั งานนัน้ ผูก้ ล่าวคือ T. A. Ryan และ D. C. Smith (1994: 276 อ้างถึงใน โสฬส ปัญจะวิสุทธิ์, 2541: 8) ประสิ ท ธิ ภ าพ คื อ ส่ ว นประกอบส� ำ คั ญ ของ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพขององค์กรนั้นถ้าจะวัดจาก ปัจจัยน�ำเข้าเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้นั้น จะท�ำให้ การวัดประสิทธิภาพคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ประสิทธิภาพขององค์กร หมายถึง การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment) ขององค์กร ในการบรรลุเป้าหมาย นั้ น ปั จ จั ย ต่ า งๆ คื อ การฝึ ก อบรม ประสบการณ์ ความรู ้ สึ ก ผู ก พั น ยั ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ประสิ ท ธิ ภ าพ ขององค์กรด้วย กล่าวโดย Katz และ Kahn (1978 อ้างถึงใน ชุมศักดิ์ ชุมนุม, 2541: 9) ประสิทธิภาพได้คล้ายคลึงกับการบริหารด้านธุรกิจ แต่เป็นการบริหารงานในระบบราชการและบวกกับ ความพึงพอใจไว้ดว้ ย กล่าวคือ ประสิทธิภาพเป็นแนวคิด หรือความมุ่งมาดปรารถนาในการบริหารงานในระบอบ ประชาธิปไตยในอันที่จะให้การบริหารราชการได้ผล สูงสุด คุ้มกับการที่ได้ใช้จ่ายเงินภาษีอากรในการบริหาร งานของประเทศ และจะต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ ประชาชน ให้ความเห็นโดย ชุบ กาญจนประการ (2509: 40 อ้างถึงใน จรัล บางประเสริฐ, 2544:7) แนวคิดเกี่ยวกับสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีแนวคิด พื้นฐานที่ส�ำคัญ คือ การให้สิทธิในการใช้บริการสุขภาพ แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ ที่จ�ำเป็นได้ โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน ซึ่งในการให้ สิทธิดงั กล่าวแก่ประชาชน การสร้างหลักประกันสุขภาพ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ถ้วนหน้าจ�ำเป็นต้องใช้กลไกทางการเงิน การคลัง โดย แหล่งเงินส่วนใหญ่จะต้องมาจากภาครัฐ เพื่อเป็นการ ปกป้องภาระทางการเงินของครัวเรือนและเพื่อสร้าง ความเป็นธรรมในการใช้บริการสุขภาพที่จ�ำเป็น โดย เฉพาะอย่ า งยิ่ ง เพื่ อ เป็ น การปกป้ อ งคนจนที่ อ าจจะ ไม่สามารถจ่ายค่าบริการสุขภาพที่ราคาแพงได้ ทั้งนี้ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าหรือการขยาย หลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนและบริการ สุขภาพ ประกอบด้วย การขยายขอบเขตของหลักประกัน สุ ข ภาพใน 3 มิ ติ ได้ แ ก่ (ส� ำ นั ก นโยบายและแผน ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2555: 3) 1. การขยายขอบเขตของหลักประกันสุขภาพให้ ครอบคลุมประชาชน 2. การขยายขอบเขตของหลักประกันสุขภาพให้ ครอบคลุมบริการสุขภาพ 3. การขยายขอบเขตของหลักประกันสุขภาพให้ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสุขภาพ ดังนั้นในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึ ง ควรค� ำ นึ ง ถึ ง การขยายความครอบคลุมทั้ง 3 มิติ เนื่องจากในการปกป้องภาระรายจ่ายทางด้านสุขภาพ ของประชาชนนัน้ นอกจากการให้สทิ ธิแก่ประชาชนแล้ว สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมโดยหลักประกันสุขภาพ ก็มี ความส�ำคัญในการปกป้องคุ้มครองประชาชนเช่นกัน รวมถึงความครอบคลุมในด้านเท่าใช้จ่ายสุขภาพที่เกิด ขึน้ ทัง้ หมดว่าเป็นการจ่ายจากระบบหลักประกันสุขภาพ หรือจ่ายจากกระเป๋าของประชาชนเอง หน่ ว ยบริ ก ารสุ ข ภาพและคุณภาพของผู้ใ ห้บริการ สุขภาพ 1. หน่วยบริการสุขภาพ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจาก การให้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพกับประชาชนในการไปใช้ บริการสุขภาพแล้ว หัวใจส�ำคัญอีกประการหนึง่ ทีจ่ ะช่วย ให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่ตนมี ในการใช้บริการสุขภาพได้ ก็คือ การจัดหาหน่วยบริการ

61

สุขภาพทีจ่ ะเป็นผูใ้ ห้บริการสุขภาพกับประชาชนผูม้ สี ทิ ธิ โดยหน่ ว ยบริ ก ารภายใต้ ร ะบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ แห่งชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจ�ำ และหน่วยบริการรับส่งต่อ โดย หน่วยบริการปฐมภูมิมีทั้งสิ้น 11,301 แห่ง โดยร้อยละ 95.04 เป็ น หน่ ว ยบริ ก ารในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงสาธารณสุข ส�ำหรับหน่วยบริการประจ�ำมี ทั้งสิ้น 1,158 แห่ง โดยร้อยละ 73.40 อยู่ในสังกัด ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และร้อยละ 18.22 เป็นหน่วยบริการเอกชน ส�ำหรับหน่วยบริการรับส่งต่อมี จ�ำนวน 955 แห่ง ร้อยละ 87.33 อยู่ในสังกัดส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 7.85 อยู่ในสังกัด นอกกระทรวงสาธารณสุ ข และร้ อ ยละ 4.61 เป็ น หน่วยบริการเอกชน ส�ำหรับหน่วยบริการประจ�ำที่ไม่ใช่คลินิกชุมชน อบอุ่นในส่วนของสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัด ภาครัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข มีจำ� นวนค่อนข้างคงที่ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นหน่วยบริการประจ�ำ มีจ�ำนวนลดลงจาก 2547 เป็น 167 แห่งในปี 2544 ส�ำหรับคลินิกชุมชนอบอุ่นของภาครัฐนอกกระทรวง สาธารณสุข มีจำ� นวนลดลงจาก 40 แห่งในปี 2547 เหลือ 7 แห่ง ในปี 2544 2. หน่วยบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน นอกเหนือจากหน่วยบริการสุขภาพที่เป็นหน่วย บริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจ�ำ และหน่วยบริการ รับส่งต่อ ที่เป็นหน่วยบริการหลักที่ประชาชนจะไป ใช้บริการเมื่อเจ็บป่วย ผ่านระบบการส่งต่อที่เหมาะสม ตามลักษณะความเจ็บป่วยแล้ว การพัฒนาหน่วยบริการ ระดับตติยภูมิเฉพาะด้านก็มีความส�ำคัญเช่นกัน โดย เฉพาะส�ำหรับกลุ่มโรคที่มีปัญหาด้านการเข้าถึงบริการ และมีอัตราตายสูง โดยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้มี การสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาระบบบริการตติยภูมิ เฉพาะด้านชัดเจนมากขึน้ โดยมีการสนับสนุนการพัฒนา หน่วยบริการและเครือข่ายบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน ใน 4 ด้าน ได้แก่ บริการโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


62

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

บริการโรคมะเร็ง บริการทารกแรกเกิด และบริการเจ็บ ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้มีหน่วยบริการระดับตติยภูมิเฉพาะ ด้านกระจายอย่างทั่วถึงในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยในปี 2554 มีหน่วยบริการโรคหัวใจและหลอดเลือด จ�ำนวน 62 แห่ง หน่วยบริการโรคมะเร็ง จ�ำนวน 35 แห่ง หน่วยบริการทารกแรกเกิด จ�ำนวน 26 แห่ง และหน่วย บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จ�ำนวน 31 แห่ง โดยหน่วยบริการ ตติยภูมเิ ฉพาะด้านแต่ละด้านกระจายอยูใ่ นทุกเขตพืน้ ที่ ของ สปสช. อย่างน้อย 1 แห่งในแต่ละเขต ยกเว้น บริการ ทารกแรกเกิดยังไม่มีใน สปสช. เขต 10 อุบลราชธานี 3. หน่วยบริการแพทย์แผนไทย ในการจัดบริการสุขภาพ นอกเหนือจากบริการรักษา พยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ ทีจ่ ดั บริการโดยหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจ�ำ และหน่วยบริการรับส่งต่อแล้ว การจัดบริการแพทย์ แผนไทย ก็ควรที่จะได้รบการสนับสนุนเพื่อให้บริการ แก่ประชาชน ในฐานะเป็นทางเลือกในการรักษาและ ฟื้นฟูสภาพ ทั้งนี้ในปี 2554 มีหน่วยบริการที่สามารถให้ บริการแพทย์แผนไทยได้ทงั้ สิน้ 3,626 แห่ง โดยส่วนใหญ่ เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ (สถานีอนามัย ศูนย์บริการ สาธารณสุข หรือ รพ.สต.) จ�ำนวน 2,857 แห่ง (ร้อยละ 78.79) และหน่วยบริการประจ�ำ 769 แห่ง โดยเป็นโรง พยาบาลชุมชน 680 แห่ง (ร้อยละ 18.75) โรงพยาบาล ทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ 77 แห่ง และโรงพยาบาลอื่นๆ 12 แห่ง 4. การรับรองและประเมินคุณภาพของหน่วยบริการ หน่วยบริการที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนควร จะมีคณ ุ ภาพมาตรฐานทีเ่ พียงพอ โดยหน่วยบริการทีข่ นึ้ ทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มี

การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้กระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital accreditation: HA) เป็นกระบวนการหลักในการพัฒนา คุณภาพโรงพยาบาล ทัง้ นีโ้ รงพยาบาลทีข่ นึ้ ทะเบียนเป็น หน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 29.86 ในปี 2554 และร้อยละ 63.56 ผ่านการ รับรองในขั้นที่ 2 โดยโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง คุณภาพตาม HA และที่ผ่านการรับรองขั้นที่ 2 รวมกัน เท่ากับร้อยละ 93.42 5. การประเมินหน่วยบริการด้านบุคลากร ส�ำหรับ คุณภาพของหน่วยบริการ ส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพหรือ ศักยภาพของบุคลากรผูใ้ ห้บริการในหน่วยบริการเหล่านัน้ ทั้งนี้จากการประเมินหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ที่ผ่าน เกณฑ์การประเมินด้านบุคลากร โดยจ�ำแนกตามประเภท บุคลากรตามวิชาชีพ พบว่า หน่วยบริการปฐมภูมริ อ้ ยละ 95.52 ผ่านเกณฑ์ในส่วนของแพทย์ 85.87 ผ่านเกณฑ์ ในส่วนของบุคลากรที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 96.72 ผ่านเกณฑ์ในส่วนของบุคลากรที่มีวุฒิประกาศ แสดงว่า หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ ในด้านบุคลากรผู้ให้บริการ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ในการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี และผลงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้น�ำความรู้จากการศึกษา ดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการก�ำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย ดังต่อไปนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ตัวแปรอิสระ (X)

ปัจจัยส่วนบุคคล - เพศ - อายุ - ระดับการศึกษา - อาชีพ - รายได้

63

ตัวแปรตาม (Y) ประสิทธิภาพการบริหารระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 1. ด้านค�ำปรึกษาแนะน�ำ 2. ด้านรักษาระเบียบวินัยในการท�ำงาน 3. ด้านปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม 4. ด้านการท�ำงานเชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็น หลักฐาน 5. ด้านงานส�ำเร็จทันเวลา 6. ด้านผลงานได้มาตรฐาน 7. ด้านการด�ำเนินงานสามารถยึดเป็นมาตรฐานได้

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1. หน่วยบริการสุขภาพ 2. หน่วยบริการตติยภูมิเฉพาะ 3. หน่วยบริการแพทย์แผนไทย 4 ด้านบริการยาและเวชภัณฑ์

รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจ�ำปี 2554 แนวคิด Harring Emerson (อ้างถึงใน จรัล บางประเสริฐ, 2544: 10)

วิธีด�ำเนินการวิจัย

ในการวิจยั เรือ่ ง “ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร” การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ใช้ รู ป แบบการศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง ส� ำ รวจ “Survey Research” ผู้วิจัยได้ก�ำหนดขั้นตอนการวิจัย และรายละเอียด ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ทีใ่ ช้ในการศึกษาครัง้ นี้ จะศึกษาเฉพาะ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร 2. กลุม่ ตัวอย่าง (Sample) กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการ ศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้ที่ใช้สิทธิของระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วน จ�ำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เป็ น แบบสอบถาม (Questionnaire) ประสิทธิภาพการ

บริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขต กรุงเทพมหานคร

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การวิเคราะห์ข้อมูล 1.1 การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การ วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบีย่ งเบนมาตรฐาน เพือ่ วิเคราะห์ขอ้ มูลลักษณะตัวอย่าง เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร 1.2 การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติ t-test, F-test, Correlation และ Multiple Regression ส�ำหรับข้อค�ำถามแบบปลายเปิด (Open-ended Questionnaire) ผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการพรรณนาบรรยายสรุปเป็นประเด็นใช้ ทฤษฎีและประสบการณ์ในการวิเคราะห์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


64

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

สรุปผลการวิจัย

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล 1. พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จ�ำนวนร้อยละ 55.63 (890 คน) มีระดับการศึกษา ต�่ำกว่าอนุปริญญา (ม.6, ปวช.) จ�ำนวนร้อยละ 51.00 (204 คน) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต�่ำกว่า 10,000 บาท จ�ำนวนร้อยละ 58.25 (233 คน) 2. พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากที่สุด มีอายุ 31-45 ปี จ�ำนวนร้อยละ 35.75 (143 คน) มีอาชีพรับจ้าง ทั่วไปจ�ำนวนร้อยละ 27.25 (109 คน) ส่วนที่ 2 ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขต กรุงเทพมหานคร ในด้านต่างๆ 1. พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น ในระดับปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน ภาพรวมในระดับปานกลาง ( X 3.14 ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 0.67) โดยมีระดับความคิดเห็นในปัจจัยย่อย ด้านบริการยาและเวชภัณฑ์เป็นล�ำดับแรกในระดับปาน กลาง ( X 3.18) รองลงมาเป็นด้านบริการการแพทย์แผน ไทยในระดับปานกลาง ( X 3.15) และล�ำดับสุดท้าย (ล�ำดับ 4) เป็นด้านหน่วยบริการตติยภูมิในระดับปาน กลาง ( X 3.11) ส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านต่างๆ จ�ำนวน 7 ด้าน 1. พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น ในระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวม ในระดับปานกลาง ( X 3.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) โดยมีระดับความคิดเห็นในปัจจัยย่อยด้านการ ท�ำงานต้องเชือ่ ถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และ มีการลงทะเบียนเป็นหลักฐานเป็นล�ำดับแรกในระดับ ปานกลาง ( X 3.29) รองลงมาเป็นด้านรักษาระเบียบ วินัยในการท�ำงานในระดับปานกลาง ( X 3.28) และ

ล�ำดับสุดท้าย (ล�ำดับ 7) เป็นด้านงานส�ำเร็จทันเวลา ในระดับปานกลาง ( X 3.15) สมมติฐานการศึกษา 1. ในการทดสอบสมมติฐานด้านปัจจัยส่วนบุคคลมี ความสัมพันธ์กบั ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ล้วนมีความสัมพันธ์กบั ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. พบว่า ปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าในภาพรวมกับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อ ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ ในระดับสูง ส่วนปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพกับระดับประสิทธิภาพ การบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความ สัมพันธ์ในระดับปานกลาง ส�ำหรับปัจจัยของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการตติยภูมิ ด้านการแพทย์แผนไทย และด้านบริการยาและเวชภัณฑ์ กับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง 3. พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R Square) มีค่าเท่ากับ 0.600 สามารถอธิบายได้ว่า ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความ สัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ มีอิทธิพลส่งผลต่อระดับ ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร และสามารถอธิบาย ความผันแปรของตัวแปรได้ร้อยละ 59.60 (Adjuster R Square = .596) เมือ่ พิจารณาค่าสัมประสิทธิก์ ารถดถอย (Beta) ในภาพรวมพบว่า เท่ากับ .729 และในด้าน หน่วยบริการตติยภูมิ (Beta = .127) ด้านบริการการแพทย์ แผนไทย (Beta = .220) และด้านบริการยาและเวชภัณฑ์ (Beta = .561) ในทิศทางบวกและด้านหน่วยบริการ สุขภาพ (Beta = -.110) ในทิศทางลบมีความสัมพันธ์ ส่งผลท�ำให้ปจั จัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

มีอิทธิพลส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อ ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ในเขตกรุ ง เทพ มหานคร อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การ วิเคราะห์สัมประสิทธิ์ ท�ำให้ทราบว่า ปัจจัยของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าบทบาทของภาครัฐมีความ สัมพันธ์ส่งผลท�ำให้เกิดอิทธิพลต่อระดับประสิทธิภาพ การบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขต กรุงเทพมหานครอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 ส่วนที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นจ�ำแนก ตามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เรียงล�ำดับจาก มากมาหาน้อยสิบล�ำดับแรกจากจ�ำนวนผู้ให้ข้อคิดเห็น 279 คนดังนี้ 1. ใส่ใจผู้มารับบริการดี จ�ำนวนร้อยละ 20.43 (57 คน) 2. แพทย์ควรให้ค�ำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมากขึ้น และ เป็นมิตร จ�ำนวนร้อยละ 16.85 (47 คน) 3. ควรใส่ใจ และบริการด้วยความเต็มใจต่อผู้รับ บริการกว่านี้ จ�ำนวนร้อยละ 11.83 (33 คน) 4. ด�ำเนินงานเร็ว สะดวก จ�ำนวนร้อยละ 11.11 (31 คน) 5. ปรับปรุงเรื่องการด�ำเนินงานบริการ จ�ำนวน ร้อยละ 8.96 (25 คน) 6. ควรด�ำเนินงานให้เร็วปรับปรุงเรื่องเวลาจ�ำนวน ร้อยละ 7.17 (20 คน) 7. ควรปรั บ ปรุ ง เรื่ อ งการรั ก ษาการให้ ย า และ ควบคุมโรคได้ทันเวลา จ�ำนวนร้อยละ 3.94 (11 คน) 8. บริการด้วยความเต็มใจจ�ำนวนร้อยละ 3.23 (9 คน) 9. อยากให้ แ พทย์ ใ ห้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ โรคต่ า งๆ จ�ำนวนร้อยละ 2.87 (8 คน) 10. ให้ความรู้เรื่องต่างๆ ดี จ�ำนวนร้อยละ 2.87 (8 คน)

65

อภิปรายผลการวิจัย 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมี ระดับความคิดเห็นในระดับปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวมในระดับปานกลาง ( X 3.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67) โดยมีระดับความคิดเห็น ในปัจจัยย่อยด้านบริการยาและเวชภัณฑ์เป็นล�ำดับแรก ในระดับปานกลาง ( X 3.18) รองลงมาเป็นด้านบริการ การแพทย์แผนไทยในระดับปานกลาง ( X 3.15) และ ล�ำดับสุดท้าย (ล�ำดับ 4) เป็นด้านหน่วยบริการตติยภูมิ ในระดับปานกลาง ( X 3.11) แสดงให้เห็นว่า บริการยา และเวชภัณฑ์ หมายถึง การสนับสนุนยาจ�ำเป็นและยา ทีม่ ปี ญั หาการเข้าถึงยาของผูป้ ว่ ย ตามแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่ สปสช. ก�ำหนด รายการยา ต่างๆ ได้แก่ ยาที่มีการประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตร โดยรัฐ (Compulsory licensing: CL) ยาตามบัญชี ยาหลักแห่งชาติ ยาจ�ำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง อื่นๆ เช่น ยาก�ำพร้า เป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผู้รับบริการ ทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ ความส�ำคัญมาเป็นล�ำดับแรกเพราะผู้รับบริการทางการ แพทย์เชื่อว่า การหายป่วยย่อมเป็นผลมาจากการเข้าถึง ยาของผูป้ ว่ ยว่าเป็นไปอย่างสะดวกมากน้อยเพียงไร ส่วน การให้ความส�ำคัญกับบริการการแพทย์แผนไทยเป็น ล�ำดับสองเพราะการให้บริการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ เป็นการให้บริการในหน่วยบริการ และเป็นการให้บริการ ในชุมชน โดยบริการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่เป็นการ นวด และรองลงมาคือการประคบสมุนไพร และการอบ สมุนไพร ซึ่งผู้ป่วยพิจารณาว่า เป็นการรักษาทางการ แพทย์ทางเลือกซึ่งสามารถรักษาควบคู่ไปกับการรักษา ทางการแพทย์หลักซึ่งเป็นแบบสากลโดยไม่ขัดแย้งกัน 2. จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นในระดับประสิทธิภาพการบริหาร ต่ อ ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ในเขต กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมในระดับปานกลาง ( X 3.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) โดยมีระดับความ คิ ด เห็ น ในปั จ จั ย ย่ อ ยด้ า นการท� ำ งานต้ อ งเชื่ อ ถื อ ได้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


66

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็น หลักฐานเป็นล�ำดับแรกในระดับปานกลาง ( X 3.29) รองลงมาเป็นด้านรักษาระเบียบวินัยในการท�ำงานใน ระดับปานกลาง ( X 3.28) และล�ำดับสุดท้าย (ล�ำดับ 7) เป็นด้านงานส�ำเร็จทันเวลาในระดับปานกลาง ( X 3.15) แสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการทางการแพทย์พิจารณาว่า ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นผลมาจากปัจจัย ด้ า นการท� ำ งานต้ อ งเชื่ อ ถื อ ได้ มี ค วามฉั บ พลั น มี สมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็นหลักฐานเป็น ล�ำดับแรกเพราะเป็นปัจจัยที่ผู้รับบริการทางการแพทย์ รู้สึกได้ง่ายเพราะความเป็นรูปธรรมของการกระท�ำใน การให้ บ ริ ก ารทางการแพทย์ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ปั จ จั ย ด้ านรั กษาระเบี ย บวินัยในการท�ำงานซึ่ง ผู้รับ บริก าร ทางแพทย์ให้ความส�ำคัญในล�ำดับสองรองลงมา ส�ำหรับ ล�ำดับสุดท้าย (ล�ำดับ 7) เป็นด้านงานส�ำเร็จทันเวลาอาจ เป็นผลจากการทีผ่ รู้ บั บริการทางการแพทย์ในระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าส่วนใหญ่เข้ารับบริการทางการ แพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐซึ่งมีผู้เจ็บป่วยขอเข้ารับ บริการทางการแพทย์จ�ำนวนมาก ความล่าช้าในการให้ บริการทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ผู้รับบริการจ�ำยอมรับ สภาพที่เป็นจริงได้เพราะความไม่สมดุลระหว่างจ�ำนวน ผู้ให้บริการและผู้รับบริการทางการแพทย์ 3. ในการทดสอบสมมติฐานด้านปัจจัยส่วนบุคคลมี ความสัมพันธ์กบั ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ล้วนมีความสัมพันธ์กบั ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ผู ้ รั บ บริ ก ารทางการแพทย์ ซึ่ ง มี ปั จ จั ย บุ ค คลที่ แ ตกต่ า งกั น พิ จ ารณาประสิ ท ธิ ภ าพ การบริ ห ารระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ใน เขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน 4. จากผลการวิ จั ย ที่ พ บว่ า ปั จ จั ย ของระบบ หลั ก ประกั น สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า ในภาพรวมกั บ ระดั บ

ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง ส่วนปัจจัยของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพ กับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุ ข ภาพถ้ ว นหน้ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ นระดั บ ปานกลาง ส�ำหรับปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านหน่วยบริการตติยภูมิ ด้านการแพทย์แผนไทย และ ด้ า นบริ ก ารยาและเวชภั ณ ฑ์ กั บ ระดั บ ประสิ ท ธิ ภ าพ การบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความ สัมพันธ์ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการทางการ แพทย์พิจารณาว่า แม้ปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพกับระดับ ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางสืบเนื่องจาก ในการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากการ ให้สิทธิหลักประกันสุขภาพกับประชาชนในการไปใช้ บริการสุขภาพแล้ว หัวใจส�ำคัญอีกประการหนึง่ ทีจ่ ะช่วย ให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่ตนมี ในการใช้บริการสุขภาพได้ ก็คือ การจัดหาหน่วยบริการ สุขภาพทีจ่ ะเป็นผูใ้ ห้บริการสุขภาพกับประชาชนผูม้ สี ทิ ธิ โดยหน่ ว ยบริ ก ารภายใต้ ร ะบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ แห่งชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจ�ำ และหน่วยบริการรับส่งต่อ ซึ่ง ผู้รับบริการการแพทย์พิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพการบริหารดังกล่าวในระดับปานกลาง เพราะอาจไม่ได้รับความสะดวกเมื่อขอเข้ารับบริการ หน่วยบริการสุขภาพ 3 ระดับไม่ว่ากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน การขอการส่งต่อฯลฯ แต่ในปัจจัยอื่น เช่น หน่วยบริการ ตติยภูมิเฉพาะ หน่วยบริการแพทย์แผนไทย และด้าน หน่วยบริการยาและเวชภัณฑ์ ผูร้ บั บริการอาจได้รบั ความ สะดวกมากกว่าในการขอเข้ารับบริการทางการแพทย์ 5. จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า ค่าสัมประสิทธิก์ ารตัดสิน ใจ (R Square) มีค่าเท่ากับ 0.600 สามารถอธิบายได้ว่า ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยของระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ มีอิทธิพล

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตและสามารถอธิบายความ ผันแปรของตัวแปรได้ร้อยละ 59.60 (Adjuster R Square = .596) เมือ่ พิจารณาค่าสัมประสิทธิก์ ารถดถอย (Beta) ในภาพรวมพบว่าเท่ากับ .729 และในด้านหน่วย บริการตติยภูมิ (Beta = .127) ด้านบริการการแพทย์แผน ไทย (Beta = .220) และด้านบริการยาและเวชภัณฑ์ (Beta = .561) ในทิศทางบวกและด้านหน่วยบริการ สุขภาพ (Beta = -.110) ในทิศทางลบมีความสัมพันธ์ส่ง ผลท�ำให้ปจั จัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามี อิทธิพลส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์ ท�ำให้ทราบว่า ปัจจัยของระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าบทบาทของภาครัฐมีความสัมพันธ์ ส่ ง ผลท� ำ ให้ เ กิ ด อิ ท ธิ พ ลต่ อ ระดั บ ประสิ ท ธิ ภ าพการ บริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขต กรุงเทพมหานคร อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับข้อค้นพบข้อก่อนหน้าเมื่อ พบว่า ด้านหน่วยบริการสุขภาพ (Beta = -.110) ใน ทิศทางลบมีความสัมพันธ์ส่งผลท�ำให้ปัจจัยของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอิทธิพลส่งผลต่อระดับ ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ในเขตกรุงเทพมหานครในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งข้อค้นพบในข้อก่อนหน้า พบว่า ปัจจัยของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพ กับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง 6. พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามมีความคิดเห็นจ�ำแนก ตามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เรียงล�ำดับจาก มากมาหาน้อยสิบล�ำดับแรกจากจ�ำนวนผู้ให้ข้อคิดเห็น 279 คนดังนี้ 1. ใส่ใจผู้มารับบริการดี จ�ำนวนร้อยละ 20.43 (57 คน) 2. แพทย์ควรให้คำ� ปรึกษาแก่ผปู้ ว่ ยมากขึน้ และเป็น

67

มิตร จ�ำนวนร้อยละ 16.85 (47 คน) 3. ควรใส่ใจ และบริการด้วยความเต็มใจต่อผู้รับ บริการกว่านี้ จ�ำนวนร้อยละ 11.83 (33 คน) 4. ด�ำเนินงานเร็ว สะดวก จ�ำนวนร้อยละ 11.11 (31 คน) 5. ปรับปรุงเรื่องการด�ำเนินงานบริการ จ�ำนวน ร้อยละ 8.96 (25 คน) 6. ควรด�ำเนินงานให้เร็วปรับปรุงเรื่องเวลา จ�ำนวน ร้อยละ 7.17 (20 คน) 7. ควรปรั บ ปรุ ง เรื่ อ งการรั ก ษา การให้ ย า และ ควบคุมโรคได้ทันเวลา จ�ำนวนร้อยละ 3.94 (11 คน) 8. บริการด้วยความเต็มใจ จ�ำนวนร้อยละ 3.23 (9 คน) 9. อยากให้ แ พทย์ ใ ห้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ โรคต่ า งๆ จ�ำนวนร้อยละ 2.87 (8 คน) 10. ให้ความรู้เรื่องต่างๆ ดี จ�ำนวนร้อยละ 2.87 (8 คน) ข้อค้นพบในข้อนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยในข้อ ก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็น 1. ใส่ใจผู้มารับบริการดี จ�ำนวนร้อยละ 20.43 (57 คน) ซึ่งสอดคล้องกับระดับความคิดเห็นในปัจจัย ย่อยด้านการท�ำงานต้องเชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มี สมรรถภาพ และมีการลงทะเบียนเป็นหลักฐาน เป็นต้น

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

1. จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ตอบแบบ สอบถามมี ระดั บ ความคิ ด เห็ น ในปั จ จั ย ย่ อ ยด้ า นบริ ก ารยาและ เวชภัณฑ์เป็นล�ำดับแรกในระดับปานกลาง ( X 3.18) โดย บริการยาและเวชภัณฑ์ หมายถึง การสนับสนุนยาจ�ำเป็น และยาที่มีปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วย ตามแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่ สปสช. ก�ำหนด รายการยาต่างๆ ได้แก่ ยาที่มีการประกาศใช้สิทธิตาม สิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory licensing: CL) ยา ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาจ�ำเป็นและยาที่มีปัญหา

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


68

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การเข้าถึงอื่นๆ เช่น ยาก�ำพร้า เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ ผู้รับบริการทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าให้ความส�ำคัญมาเป็นล�ำดับแรกเพราะผู้รับ บริการทางการแพทย์เชื่อว่า การหายป่วย ย่อมเป็นผล มาจากการเข้าถึงยาของผูป้ ว่ ยว่าเป็นไปอย่างสะดวกมาก น้อยเพียงไร ดังนั้นจึงสมควรที่รัฐบาลและผู้บริหารใน กระทรวงสาธารณสุขจะให้ความส�ำคัญในการพัฒนาการ ให้บริการยาและเวชภัณฑ์ให้ผปู้ ว่ ยเพิม่ ความมัน่ ใจว่าจะ สามารถเข้าถึงยาได้สะดวกมากขึ้นกว่าเดิม 2. จากผลการวิจัยที่พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ ความส�ำคัญกับบริการการแพทย์แผนไทยเป็นล�ำดับสอง เพราะการให้บริการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่เป็นการให้ บริการในหน่วยบริการ และเป็นการให้บริการในชุมชน โดยบริการแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่เป็นการนวด และ รองลงมาคือ การประคบสมุนไพร และการอบสมุนไพร ซึ่งผู้ป่วยพิจารณาว่า เป็นการรักษาทางการแพทย์ทาง เลือกซึ่งสามารถรักษาควบคู่ไปกับการรักษาทางการ แพทย์หลักซึง่ เป็นแบบสากลโดยไม่ขดั แย้งกันนัน้ จึงควร ที่รัฐบาลและผู้บริหารในกระทรวงสาธารณสุขจะให้ ความส�ำคัญโดยด�ำเนินการพัฒนาการให้บริการการ แพทย์แผนไทยในการรักษาผูป้ ว่ ยมิใช่เพียงเป็นการรักษา ทางการแพทย์ทางเลือกเพราะการเจ็บป่วยบางกรณีอาจ ใช้เป็นวิธีหลักในการรักษาผู้ป่วยทดแทนวิธีการรักษา ทางการแพทย์ แ บบสากลเพราะประหยั ด ค่ า ใช้ จ ่ า ย ได้มากและอ�ำนวยความสะดวกให้แก่คนป่วยที่เดินทาง มาโรงพยาบาลไม่สะดวกเพราะสามารถรักษาได้ในชุมชน 3. จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมี ระดับความคิดเห็นในปัจจัยย่อยด้านการท�ำงานต้อง เชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการ ลงทะเบี ย นเป็ น หลั ก ฐานเป็ น ล� ำ ดั บ แรกในระดั บ ปานกลาง ( X 3.29) แสดงให้เห็นว่า ผู้รับบริการทาง การแพทย์พจิ ารณาว่า ประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขตกรุงเทพมหานครเป็น ผลมาจากปัจจัยด้านการท�ำงานต้องเชื่อถือได้ มีความ ฉั บ พลั น มี ส มรรถภาพ และมี ก ารลงทะเบี ย นเป็ น

หลักฐานเป็นล�ำดับแรกเพราะเป็นปัจจัยที่ผู้รับบริการ ทางการแพทย์รู้สึกได้ง่ายเพราะความเป็นรูปธรรมของ การกระท�ำในการให้บริการทางการแพทย์ จึงควรที่ รัฐบาลและผูบ้ ริหารในกระทรวงสาธารณสุขจะให้ความ ส�ำคัญโดยด�ำเนินการพัฒนาการให้บริการการแพทย์ ที่ท�ำให้ผู้รับบริการทางการแพทย์มีความเชื่อถือและ เชือ่ มัน่ ว่าตนเองก�ำลังได้รบั บริการการแพทย์ชนั้ ยอดจาก กระทรวงสาธารณสุข และมีความพึงพอใจต่อระบบ บริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น 4. จากผลการวิ จั ย ที่ พ บว่ า ปั จ จั ย ของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านหน่วยบริการสุขภาพ กับระดับประสิทธิภาพการบริหารต่อระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางสืบ เนื่ อ งจากในการสร้ า งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ นอกจากการให้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพกับประชาชนใน การไปใช้บริการสุขภาพแล้ว หัวใจส�ำคัญอีกประการหนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้ประชาชนสามารถใช้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพ ที่ตนมีในการใช้บริการสุขภาพได้ ก็คือ การจัดหาหน่วย บริการสุขภาพทีจ่ ะเป็นผูใ้ ห้บริการสุขภาพกับประชาชน ผู้มีสิทธิ โดยหน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หน่วยบริการ ปฐมภูมิ หน่วยบริการประจ�ำ และหน่วยบริการรับส่งต่อ ซึ่งผู้รับบริการการแพทย์พิจารณาว่า มีความสัมพันธ์ กับประสิทธิภาพการบริหารดังกล่าวในระดับปานกลาง เพราะอาจไม่ได้รับความสะดวกเมื่อขอเข้ารับบริการ หน่วยบริการสุขภาพ 3 ระดับไม่ว่ากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน การขอการส่งต่อฯลฯ จึงควรที่รัฐบาลและผู้บริหารใน กระทรวงสาธารณสุขจะให้ความส�ำคัญโดยด�ำเนินการ พั ฒ นาการให้ บ ริ ก ารการแพทย์ ที่ ท� ำ ให้ ผู ้ รั บ บริ ก าร ทางการแพทย์มีความเชื่อถือและเชื่อมั่นว่า ตนเองก�ำลัง ได้รับบริการการแพทย์ด้านหน่วยบริการสุขภาพที่มี คุณภาพจนเกิดความพึงพอใจทีม่ ากขึน้ กว่าเดิมมิใช่เพียง มีระดับความคิดเห็นปานกลางต่อหน่วยบริการสุขภาพ ดังที่ปรากฏในผลการวิจัยนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ข้อเสนอแนะให้ท�ำงานวิจัยต่อไป

ผู ้ วิ จั ย ควรท� ำ งานวิ จั ย ในเรื่ อ งของคุ ณ ภาพการ

69

บริหารและการบริหารกองทุนประกันสังคมให้ละเอียด อาจจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างเดียวก็ได้

บรรณานุกรม

จรัล บางประเสริฐ. (2544). ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าทีต่ รวจคนเข้าเมือง: ศึกษากรณี ด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์. ชุมศักดิ์ ชุมนุม. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของส�ำนักงานศึกษาธิการอ�ำเภอ: กรณีศึกษา เขตการศึกษา 10. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. พิพฒ ั น์ เอกภาพันธ์. (2536). ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ านตามโครงการใช้จา่ ยเงินอุดหนุนหมูบ่ า้ น ของคณะกรรมการหมูบ่ า้ นอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (กม.อพป.). ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ส�ำนักนโยบายและแผน ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). รายงานการสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจ�ำปี 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จ�ำกัด. สุรสม กฤษณะจูฑะ และคณะ. (2550). สิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชน. นนทบุรี: ส�ำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).

Translated Thai References

Bangprasert, J. (2009). Factor Affecting Performance Efficiency of Immigration Officer: A Case Study of North East Immigration House. Independent Study Globalization. Bangkok: Banpraarthit Printing Office. [in Thai] Chumnung, C. (1998). Factors Affecting Performance Efficiency of Amphur Educational Office: A Case Study of Educational Region Ten. Independent Study (Master Degree), National Development Institute. [in Thai] Ekpapan, P. (1993). Factors Affecting Performance Efficiency of Moban Spending Subsidy of Development Volunteer and Self Protection Committee. Independent Study (Master Degree), National Development Institute. [in Thai] Krisanajecta, S. et al. (2007). Health Rights Human Rights. Nonthaburi: Social Research and Health Offie (SVSS). Policy and plan office National health. Security Sysem (BE 2555). Universal Coverage Health. Security Annual Report (BE 2554) (First Print). Bangkok: Sahamitprinting and Publishing Co.,Ltd.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


70

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Asst. Prof. Dr.Khemaree Rugchoochip received her Bachelor Degree of Economics in Public Finance from Ramkhamhaeng University in 1977, Master Degree in Liberal Arts, major Business Communication and Management from University of The Thai Chamber of Commerce Studied International Program in 1988, and Doctor of philosophy Program, School of Public Administration, National Development Institute, Studied International Program, in 2007. Asst. Prof. Chitralada Trisakhon received her Bachelor Degree from Rajaphat University, Faculty of Liberal Arts, Major Management in 1995, and Master of Business Administration, Major Management, from Ramkhamhaeng University, in 2003.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

71

ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร FACTORS INFLUENCING THE INTENTION TO BUY A COOKED AND FROZEN HALAL FOOD PRODUCTS OF THE MUSLIM CONSUMERS IN BANGKOK METROPOLITAN AREA สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์1 และอรรนพ เรืองกัลปวงศ์2 Sarawan Ruangkalapawongse1 and Annop Ruangkalapawongse2 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร วิธดี ำ� เนินการวิจยั ใช้การวิจัยเชิงส�ำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ มุสลิมในกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1) สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภค มุสลิมในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความเชื่อถือที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบการ ความเชื่อถือต่อ สถาบันรับรองฮาลาล ครอบครัว และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ด้านอธิบายการ ผันแปรของความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิมได้ร้อยละ 42.9 โดยเรียงค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานจากมากไปน้อยตามล�ำดับ แสดงเป็น สมการได้ดังนี้ ความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภค มุสลิมในกรุงเทพมหานคร = 0.703 + 0.250 (ความเชื่อถือต่อผลิตภัณฑ์) + 0.192 (ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบการ (+ 0.131 (ความเชื่อถือต่อสถาบันรับรองฮาลาล) + 0.127 (ครอบครัว) + 0.096 (ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม) ค�ำส�ำคัญ: ความตั้งใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคมุสลิม ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง เครื่องหมาย รับรองฮาลาล

1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, Assistant Professor Faculty Of Management Science Of Suan Dusit Rajabhat Uiversity, E-mail: saruangk@hotmail.com 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, Assistant Professor Faculty Of Management Science Of Suan Dusit Rajabhat Uiversity, E-mail: aruangk@hotmail.com ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


72

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Abstract

This research aims to study about the factors that influence the intention to buy ready to cook frozen product under the Halal certification of the Muslim consumer in Metropolitan area. The research is quantitative research. The Sample of the research is 400 Muslims in Metropolitan area. The tool of the research is questionnaires. The quantitative data analysis used 1) descriptive statistics such as Percentage, means, and standard deviation. 2) Inferential statistics such as multiple regression analysis. The research found that the factor that influencing the intention to buy the ready to cook frozen food under Halal certification of the Muslims in Metropolitan area are product reliability, entrepreneur reliability, Halal certification institution reliability, family, and the efficacy of behavioral control. The variation of 5 factors describes the intention to buy ready to cook frozen food under Halal certification of the Muslim consumer in Metropolitan area about 42.9 percent. Coefficient regression standard express by descending sequence as the following equation. The intention to buy ready to cook frozen food under Halal certification of Muslim consumer in Metropolitan area = 0.703 + 0.250 (Product reliability) + 0.192 (Entrepreneur reliability) + 0.131 (Halal certification institution reliability) + 0.127 (Family) + 0.096 (The efficacy of behavioral control) Keywords: Intention to buy of the muslims consumer, ready to cook frozen food, Halal certification

บทน�ำ

ศูนย์วิจัยพิวในสหรัฐอเมริกา (Pew Research Center) รายงานการวิจัยว่า ประชากรมุสลิมทั่วโลกมี จ�ำนวนประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทัง้ โลกโดยมุสลิม ทั่วโลกมีจ�ำนวนประมาณ 1.57 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจ�ำนวนประชากรทัง้ โลก คือ 6.8 พันล้านคน และ ชุมชนมุสลิมอยูใ่ นทวีปเอเชียมากกว่าส่วนอืน่ ๆ อัตราการ เพิ่มขึ้นของจ�ำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลกมีแนวโน้มจะ สูงถึงปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้า คาดการณ์ว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 สัดส่วนชาวมุสลิมใน โลกจะเพิ่มขึ้นจาก 23.4 เปอร์เซ็นต์ในขณะนี้ เป็น 26.4 เปอร์เซ็นต์ (2.2 พันล้านคน) หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของ ประชากรทั้งโลก (มุสลิมไทยโพสต์, 2557) ประเทศไทยมีมสุ ลิมซึง่ นับถือศาสนาอิสลามจ�ำนวน 3.93 ล้านคน (จ�ำนวนประชากรมุสลิมในประเทศไทย, 2557) คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของประชากรทั้งประเทศ ทีม่ ี 64.87 ล้านคน (สถิตดิ า้ นประชากรของประเทศไทย,

2557) ซึ่งชาวมุสลิมจ�ำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาล ส�ำหรับการผลิตอาหารฮาลาลในระยะแรกนั้นเป็นเรื่อง ของผู้ประกอบการมุสลิมผลิตเพื่อจ�ำหน่ายแก่ผู้บริโภค มุสลิมด้วยกันจึงไม่จำ� เป็นต้องมีการรับรองอาหารฮาลาล ต่อมาเมือ่ จ�ำนวนประชากรมุสลิมมีมากขึน้ ความต้องการ อาหารฮาลาลเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการผลิตอาหารซึ่งมิใช่ มุสลิมมองเห็นช่องทางการตลาดในหมู่ผู้บริโภคมุสลิม จึงต้องการผลิตอาหารฮาลาลเพือ่ จ�ำหน่ายแก่มสุ ลิม โดย ผู้ประกอบการได้ขอให้มีการรับรองการใช้เครื่องหมาย ฮาลาลเพือ่ แสดงบนผลิตภัณฑ์อนั จะท�ำให้ผบู้ ริโภคมุสลิม สามารถแยกแยะได้ง่ายขึ้นและรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการ เลือกบริโภคสินค้า (พิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์, 2557) อาหารฮาลาล ถื อ เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ของวิ ถี ก าร ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของมุ ส ลิ ม ทั่ ว โลกที่ ทุ ก คนจะต้ อ งบริ โ ภค อาหารที่ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามตั้งแต่ แหล่งทีม่ าของวัตถุดบิ จะต้องได้มาอย่างถูกต้องตามหลัก

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

การศาสนาอิสลามและถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน สากล ตลอดจนต้องค�ำนึงถึงความถูกต้องในกระบวนการ ปรุงแต่ง กระบวนการผลิตอย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน (สมยศ หวังอับดุลเลาะ, 2557) ในแง่ของเศรษฐกิจแล้วอาหารฮาลาลถือว่าเป็นตลาด ทีใ่ หญ่และเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ โดยตลาดอาหารฮาลาลได้รบั การยอมรับ และเติบโตมากขึ้น (พิทักษ์ สุภนันทการ, 2552) ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ส�ำคัญ ของโลก ดังนั้นอาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด ที่ส�ำคัญซึ่งควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่ม ส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริม อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและได้แปลง นโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งในด้านการพัฒนา วัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการการแสวงหาตลาด และการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็น ที่ น ่ า เชื่ อ ถื อ ยอมรั บ ของผู ้ บ ริ โ ภคทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ โดยอ�ำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและ อนุญาตให้ใช้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลเป็นอ�ำนาจหน้าที่ ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือ คณะกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปท�ำให้ วิถชี วี ติ ของคนรวมทัง้ วัฒนธรรมการบริโภคเปลีย่ นแปลง ไป พฤติกรรมการบริโภคทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปส่งผลด้านบวก ต่ออุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร แปรรูปพร้อมปรุง พร้อมทาน (สถาบันอาหาร, 2557) ที่มี การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่ท�ำให้ผู้บริโภค ทัว่ ไปและผูบ้ ริโภคทีเ่ ป็นมุสลิมสามารถบริโภคอาหารได้ สะดวกยิ่ ง ขึ้ น และจากพฤติ ก รรมการซื้ อ อาหารนั้ น ผู้บริโภคมุสลิมไม่ต้องการอ่านรายละเอียดส่วนผสมทุก ครั้งก่อนการตัดสินใจซื้อว่ามีส่วนผสมที่ผิดหลักการ ศาสนาอิสลามหรือไม่ แต่ผู้บริโภคต้องการความมั่นใจ และความสะดวกจึงเลือกซือ้ เฉพาะผลิตภัณฑ์ทผี่ า่ นการ ตรวจสอบและได้รับการรับรองฮาลาลเท่านั้น (Riaz, 1998) การใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลบนฉลากของ ผลิตภัณฑ์ฮาลาลทุกชนิดมีบทบาทส�ำคัญที่ช่วยส่งเสริม

73

การขายแม้ว่าผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจไม่จ�ำเป็นที่จะต้อง แสดงเครื่องหมายรับรองฮาลาล เช่น ผลิตภัณฑ์จาก อาหารทะเล ผัก และผลไม้สด แต่ถา้ มีเครือ่ งหมายรับรอง ฮาลาลแสดงอยู่ที่ฉลากก็จะมีผลต่อการเลือกซื้อของ ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น (วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ, 2548) ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซน (Ajzen, 2002) ได้อธิบายว่า บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใดได้ย่อม ต้องมีสาเหตุ สาเหตุดงั กล่าวคือ ทัศนคติหรือความเชือ่ ที่ มีตอ่ พฤติกรรมนัน้ บรรทัดฐานเชิงอัตวิสยั หรือการคล้อย ตามอิทธิพลของคนรอบข้างทั้งใกล้และ/หรือไกล และ การรับรู้หรือเชื่อว่า ตนสามารถแสดงพฤติกรรมนั้นได้ ในทิศทางทีเ่ หมาะสม หรือการรับรูค้ วามสามารถในการ ควบคุมพฤติกรรม ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 นี้ส่งผลโดยตรงต่อ ความตั้งใจหรือเจตนาที่จะแสดงพฤติกรรม และเจตนา ดังกล่าวจะผลักดันให้เกิดการแสดงพฤติกรรม และด้วย เหตุผลดังกล่าวจึงท�ำให้คณะผูว้ จิ ยั สนใจทีจ่ ะศึกษาปัจจัย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความตั้ ง ใจในการเลื อ กซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความเชื่อ ปัจจัยด้านบรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย ปัจจัยด้านการรับรู้ ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจ ในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่ แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภคมุสลิม ในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมใน กรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัย วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิจัยครั้งนี้ได้ก�ำหนด

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


74

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตัวแปรอิสระได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วยเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ ลักษณะ ความเป็นมุสลิม 2) ปัจจัยด้านความเชื่อ 3 ด้าน คือ ด้าน ความเชื่ อ ถื อ ที่ มี ต ่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ า นความเชื่ อ ถื อ ต่ อ ผู้ประกอบการ และด้านความเชื่อถือต่อสถาบันรับรอง ฮาลาล และ 3) ปัจจัยด้านบรรทัดฐานเชิงอัตวิสยั 2 ด้าน คือ ด้านกลุ่มอ้างอิง และด้านครอบครัว 4) ปัจจัยด้าน การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ตัวแปรตาม คือ ความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มุสลิมในกรุงเทพ มหานคร จ�ำนวน 382,385 คน (ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ, 2557) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ มุสลิมใน กรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความ ตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อม ทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภค มุสลิมในกรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ 1) สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง พร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของ ผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร

ผลการวิจัย

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมใน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมุสลิม ในกรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย (ร้อยละ 52.00) อายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 53.50) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.

(ร้อยละ 33.25) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 47.00) อาชีพ ค้าขาย/รับจ้าง (ร้อยละ 32.50) และธุรกิจส่วนตัว (ร้อย ละ 32.50) รายได้ครอบครัวต่อเดือนระหว่าง 20,00125,000 บาท (ร้อยละ 41.25) ลักษณะความเป็นมุสลิม เป็ น มุ ส ลิ ม ดั้ ง เดิ ม (เป็ น อิ ส ลามโดยก� ำ เนิ ด (ร้ อ ยละ 71.75)) ปัจจัยด้านความเชื่ออาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน แช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (X¯ = .53, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้านอันดับแรก คือ ด้านความเชือ่ ถือต่อสถาบันรับรองฮาลาล (X¯ = 3.60, S.D.= 0.36) รองลงมา คื อ ด้ า นความเชื่ อ ถื อ ต่ อ ผู้ประกอบการ (X¯  = 3.56, S.D. = 0.36) ส่วนด้านความ เชื่อถือที่มีต่อผลิตภัณฑ์เป็นอันดับสุดท้าย (X¯ = 3.43, S.D. = 0.32) ปัจจัยด้านบรรทัดฐานเชิงอัตวิสัยในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (X¯ = 3.52, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้านอันดับแรก คือ ด้านครอบครัว รองลงมา คือ ด้านกลุ่มอ้างอิง ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติ ก รรมในภาพรวมอยู ่ ใ นระดั บ มาก (X¯ = 3.64, S.D. = 0.37) เมือ่ พิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อยูใ่ น ระดับมาก อันดับแรก คือ หากตกอยู่ในสภาพแวดล้อม ทีไ่ ม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการซือ้ ผลิตภัณฑ์ฮาลาลยังคงแสวงหา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา รองลงมา คือ ได้รับข่าวสาร เพียงพอส�ำหรับตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง พร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลและ สามารถควบคุมตนเองให้บริโภคเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาล ตามล�ำดับ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ ความต้องการ บริโภคอาหารที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของอิสลามเป็น สาเหตุที่ท�ำให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาล ส่วนความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรอง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X¯ = 3.51, S.D. = 0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ มีความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครื่องหมายรับรองฮาลาล ในช่วงที่มีกิจกรรมส่งเสริม การขาย รองลงมา คือ หากต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งจะเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลเท่านัน้ และจะแนะน�ำ ผลิตภัณฑ์ที่มีตรารับรองฮาลาลให้เพื่อน/คนรู้จักอื่นๆ ที่ไม่ใช่มุสลิมซื้อผลิตภัณฑ์ โดยประเด็นมีความพยายาม ค้นหาผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้ เ ครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาล เพื่ อ ที่ จ ะซื้ อ เป็ น อันดับสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลาง ส�ำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของผู ้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ใน กรุงเทพมหานคร = 0.703 + 0.250 (ความเชื่อถือต่อ ผลิตภัณฑ์) + 0.192 (ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบการ) + 0.131 (ความเชือ่ ถือต่อสถาบันรับรองฮาลาล) + 0.127 (ครอบครัว) + 0.096 (ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุ ม พฤติ ก รรม) (สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ เชิงซ้อน: R = 0.655, สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ: R2 = 0.429, สั ม ประสิ ท ธิ์ ก ารตั ด สิ น ใจที่ ป รั บ ค่ า : Adj R2 = 0.422)

สรุปและอภิปรายผล

จากการวิจยั เรือ่ งปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อความตัง้ ใจในการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานภายใต้ เครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของผู ้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ใน กรุงเทพมหานครสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชายอายุ ร ะหว่ า ง 31-40 ปี การศึ ก ษาระดั บ มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. สถานภาพสมรสอาชีพ ค้ า ขาย/รั บ จ้ า งและธุ ร กิ จ รายได้ ค รอบครั ว ต่ อ เดื อ น ระหว่าง 20,001-25,000 บาท ลักษณะความเป็นมุสลิม เป็นมุสลิมดั้งเดิม (เป็นอิสลามโดยก�ำเนิด)

75

ปัจจัยด้านความเชื่ออาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน แช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลในภาพรวม อยู่ในระดับมากอันดับแรก คือ ด้านความเชื่อถือต่อ สถาบันรับรองฮาลาลรองลงมา คือ ด้านความเชื่อถือต่อ ผู้ประกอบการ ส่วนด้านความเชื่อถือที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เป็นอันดับสุดท้ายปัจจัยด้านบรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย ในภาพรวมอยูใ่ นระดับมากอันดับแรก คือ ด้านครอบครัว รองลงมา คือ ด้านกลุ่มอ้างอิง ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติ ก รรมและความตั้ ง ใจในการเลื อ กซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภคมุสลิมในภาพรวมอยูใ่ นระดับ มาก ส่วนปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของผู ้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ใน กรุงเทพมหานคร พบว่า มี 5 ปัจจัย คือ ความเชื่อถือต่อ ผลิตภัณฑ์ความเชือ่ ถือต่อผูป้ ระกอบการความเชือ่ ถือต่อ สถาบันรับรองฮาลาลครอบครัว และการรับรู้ความ สามารถในการควบคุมพฤติกรรมตามล�ำดับ โดยผู้วิจัย ได้น�ำผลการวิจัยมาอภิปรายได้ดังนี้ 1. การศึกษาปัจจัยด้านความเชื่ออาหารพร้อม ปรุ ง พร้ อ มทานแช่ แข็ ง ภายใต้ เ ครื่ อ งหมายรั บ รอง ฮาลาล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความเชื่อในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก โดยมีความเชือ่ ถือต่อสถาบันรับรองฮาลาล เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบ การ และความเชื่อถือที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ตามล�ำดับ ซึ่ง สอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมตามแผน ของ ไอเซน (Ajzen, 1991) ที่ได้อธิบายว่า การแสดง พฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะเกิดเป็นผลของความเชื่อและสอดคล้องกับ ชิฟแมน และกานุค (Schiffman & Kanuk, 2000) ซึ่ง ได้ท�ำการวิจัยมุมมองเกี่ยวกับทัศนคติ ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบร่วมกัน ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวกับความเชื่อ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


76

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

หรื อ ความเข้ า ใจ ส่ ว นของความรู ้ สึ ก และส่ ว นของ พฤติ ก รรม นอกจากนี้ ยั ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ พิเชษฐ์ พรหมใหม่ (2557) ได้ทำ� การวิจยั เรือ่ งความตัง้ ใจ ก่อพฤติกรรมของชาวไทยมุสลิมที่มีต่อการซื้ออาหาร ที่ มี เ ครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลตามทฤษฎี พ ฤติ ก รรม ที่มีการวางแผน พบว่า ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลของชาวไทยมุสลิม จะ ประกอบด้วยปัจจัยด้านความเชือ่ อันได้แก่ ความเชือ่ ถือ ต่อผู้ประกอบการ และความเชื่อถือต่อสถาบันรับรอง ฮาลาลเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้ 1.1 ด้ า นความเชื่ อ ถื อ ต่ อ สถาบั น รั บ รองฮาลาล ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า สถาบัน รั บ รองฮาลาลสามารถสร้ า งความเชื่ อ มั่ น ด้ า นความ ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่อกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมได้เป็น อย่างดี รองลงมา คือ การออกเครือ่ งหมายหรือใบรับรอง อาหารฮาลาลนัน้ ไม่มผี ลประโยชน์เข้ามาเกีย่ วข้องเพราะ ถือว่าผิดหลักการของศาสนาอิสลามและสถาบันรับรอง ฮาลาลมี ค วามซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ตามล� ำ ดั บ ทั้ ง นี้ เ พราะ สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลอยูภ่ ายใต้การก�ำกับดูแล ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และมี บทบาทและความรับผิดชอบที่ส�ำคัญ คือ การพัฒนา มาตรฐานการตรวจสอบการออกใบรับรองอาหารฮาลาล ของประเทศไทยเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้ผลิตและ ผู้บริโภค ดังนั้นสถาบันรับรองฮาลาลจึงต้องด�ำเนินการ ตามระเบียบของการรับรองฮาลาลมีระบบการติดตาม ผู้ประกอบการให้ด�ำเนินการตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด และมี ม าตรการลงโทษผู ้ ป ระกอบการที่ ฝ ่ า ฝื น อย่ า ง เด็ดขาด รวมถึงมีการสื่อสารกับผู้บริโภคมุสลิมอย่างทั่วถึง ซึ่งจะท�ำให้สถาบันรับรองฮาลาลได้รับความน่าเชื่อถือ และได้ รั บ ความไว้ ว างใจจากผู ้ บ ริ โ ภคชาวมุ ส ลิ ม ซึ่ ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ (2548) ศึกษาเรือ่ งปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อระดับความส�ำคัญทีใ่ ห้ กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยผู้บริโภคชาวมุสลิม ในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษาของ

ชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ระดับความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานผู้ออกตราเครื่องหมาย รับรองฮาลาลมีผลกระทบต่อระดับความส�ำคัญที่ให้กับ เครื่องหมายรับรอง ฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ อาหาร 1.2 ความเชื่ อ ถื อ ต่ อ ผู ้ ป ระกอบการ ผู ้ ต อบ แบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับอาหารฮาลาล รองลงมา คือ ผู้ประกอบการมี มาตรฐานการควบคุมคุณภาพการผลิตทีด่ แี ละมีระเบียบ ข้อปฏิบัติเคร่งครัดที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีความเชี่ยวชาญ ในการด�ำเนินธุรกิจฮาลาลตามล�ำดับ ทัง้ นีเ้ พราะผูบ้ ริโภค มุสลิมเชื่อว่า การที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายรับรองฮาลาลนั้นผู้ประกอบการจะต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ตลอดสายการผลิตและด�ำเนินการถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งศาสนาอิสลาม  นอกจากนีอ้ าหารทีไ่ ด้รบั เครือ่ งหมาย รับรองฮาลาลอย่างถูกต้องตามกฎหมายจะเป็นการ รับประกันว่าชาวมุสลิมโดยทัว่ ไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้โดยสนิทใจ ซึง่ ใคร จะเป็ น ผู ้ ผ ลิ ต หรื อ ปรุ ง ได้ ก็ ไ ม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเป็ น มุ ส ลิ ม (อาหารมุสลิมกับอาหารฮาลาล, 2557) สอดคล้องกับ งานวิจัยของพิเชษฐ์ พรหมใหม่ (2557) ซึ่งผลการศึกษา พบว่ า ตั ว แปรที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ความตั้ ง ใจซื้ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหารที่ มี เ ครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของ ชาวไทยมุสลิมประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้าน ความเชื่อ ได้แก่ วิถีชีวิตตามหลักศาสนาบางประการ ทัศนคติต่อการซื้อ ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบการ และ ความเชื่อถือต่อสถาบันรับรองฮาลาล 1.3 ความเชือ่ ถือทีม่ ตี อ่ ผลิตภัณฑ์ผตู้ อบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณา เป็นรายประเด็น พบว่า ราคาของผลิตภัณฑ์เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นรองลงมา คือ ราคาของ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ผลิตภัณฑ์มคี วามเหมาะสมกับปริมาณและคุณค่าทีไ่ ด้รบั สบายใจและมั่นใจเมื่อบริโภคอาหารพร้อมปรุงพร้อม ทานแช่แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาล ทัง้ นีเ้ พราะ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครือ่ งหมายรับรองฮาลาล มีราคาไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ ที่ไม่มีเครื่องหมายรับรอง ฮาลาล สอดคล้องกับงานวิจัย ของพีระกานต์ วสุธรพิพฒ ั น์ (2553) ศึกษาเรือ่ งพฤติกรรม การบริโภคอาหาร “ฮาลาล” ของผูบ้ ริโภคคนไทยในเขต กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ราคามีความ สัมพันธ์กบั พฤติกรรมความถีใ่ นการบริโภคอาหารฮาลาล ของผู้บริโภคคนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยราคา ที่จ�ำหน่ายเหมาะสมกับคุณภาพโดยรวม ส่วนผู้บริโภค มุสลิมสบายใจและมัน่ ใจเมือ่ บริโภคพร้อมปรุงพร้อมทาน แช่แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาล เพราะผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลจะต้องผ่านกระบวนการ ตรวจสอบ ก�ำกับ ดูแล และติดตามอย่างเข้มงวด 2. ปัจจัยด้านบรรทัดฐานเชิงอัตวิสัย จากการวิ จั ย พบว่ า ปั จ จั ย ด้ า นบรรทั ด ฐานเชิ ง อัตวิสัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านอันดับแรก คือ ด้านครอบครัว รองลงมา คือ ด้านกลุ่มอ้างอิง โดยด้าน ครอบครัวนั้น พ่อแม่คู่สมรสจะมีอิทธิพลมาก รองลงมา คือ บิดา และแฟนคู่สมรส ทั้งนี้เนื่องจากมุสลิมส่วนมาก มักจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ และปัจจุบันใน สภาวการณ์ที่เร่งรีบไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารจึง ต้องการความสะดวกสบายในการบริโภค ดังนั้นพ่อแม่ ของคู่สมรสจึงมีอิทธิพลในการก�ำหนดการบริโภคของ สมาชิกทุกคนในครอบครัว สอดคล้องกับวราภรณ์ เอื้อ การณ์ และอิสระ อุดมประเสริฐ (2553) ได้กล่าวว่า ปัจจัยทางสังคม ด้านครอบครัวซึง่ เป็นหน่วยสังคมทีเ่ ล็ก ที่ สุ ด แต่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การก� ำ หนดพฤติ ก รรมและการ ตัดสินใจซื้อมากที่สุด ส่วนด้านกลุ่มอ้างอิง ได้แก่ นักวิชาการด้านอาหาร ที่เป็นมุสลิม คือ อิหม่ามประจ�ำมัสยิดในชุมชนหรือ

77

หมู่บ้านและเพื่อนสนิทจะมีอิทธิพลมาก ทั้งนี้เนื่องจาก วิถีชีวิตของชาวมุสลิมนั้นจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ อิสลาม ดังนั้นนักวิชาการด้านอาหารที่เป็นมุสลิมจะมี ความรู้เกี่ยวกับอาหารต่างๆ ที่มุสลิมสามารถบริโภคได้ มุสลิมจึงให้ความไว้วางใจ ส่วนอิหม่ามประจ�ำมัสยิดใน ชุมชนหรือหมู่บ้านเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทางศาสนาให้ กับมุสลิมในชุมชนหรือหมู่บ้าน โดยชาวมุสลิมต่างให้ ความเคารพนับถือ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ไอเซน (Ajzen, 2002) ซึ่งสนับสนุนว่ากลุ่มของความเชื่อที่เกิด จากบรรทัดฐานเชิงอัตวิสัยหรือการคล้อยตามสิ่งอ้างอิง หรื อ อิ ท ธิ พ ลของสิ่ ง อ้ า งอิ ง นั บ เป็ น ปั จ จั ย หนึ่ ง ในการ ท�ำนายความตั้งใจในการกระท�ำด้วยและสอดคล้องกับ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่ได้อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความตั้งใจไว้ประการหนึ่ง คือ ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างทั้งใกล้และ/หรือ ไกล (Ajzen, 2002) อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ไซเอ็ดและนาซูลา (Syed & Nazura, 2011) ได้ท�ำการ วิจยั เรือ่ งการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนในการ จัดซื้ออาหารฮาลาล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลุ่ม อ้างอิงทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนยั ส�ำคัญ กับความตั้งใจที่จะซื้อ โดยพบว่า กลุ่มอ้างอิงทางสังคม มีความส�ำคัญที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 3. ปั จ จั ย ด้ า นการรั บ รู ้ ค วามสามารถในการ ควบคุมพฤติกรรม ผลการวิจยั พบว่า  ปัจจัยด้านการรับรูค้ วามสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรมในภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก เมือ่ พิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า อันดับแรก คือ ถ้าตกอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ ฮาลาลก็ยงั คงแสวงหาเพือ่ ให้ได้ผลิตภัณฑ์นนั้ มา รองลงมา คือ ได้รับข่าวสารเพียงพอส�ำหรับตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาล และสามารถควบคุมตนเองให้บริโภค เฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาล ตามล�ำดับ ทัง้ นีเ้ พราะ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


78

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

มุสลิมที่ตอบแบบสอบถามมีลักษณะความเป็นมุสลิม โดยก�ำเนิด ดังนั้นจึงเคร่งครัดในการบริโภคอาหารที่มี การผลิ ต ถู ก ต้ อ งตามบทบั ญ ญั ติ ข องอิ ส ลามเท่ า นั้ น สอดคล้องกับงานวิจยั ของบอนเน่ และเวอร์เบก (Bonne & Verbeke, 2006) พบว่า ชาวมุสลิมมีความเต็มใจที่จะ ใส่ความพยายามอย่างมากในการได้รับอาหารฮาลาล (Karijin, 2008) ส่ วนประเด็ น การได้รับ ข่าวสารเพียงพอส�ำหรับ ตัดสินใจซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลนั้น ผู้บริโภคมุสลิม ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี อยู่ในวัยท�ำงานจึง สามารถหาข่าวสารจากช่องทางต่างๆ ได้โดยไม่ยาก ส� ำ หรั บ ความสามารถควบคุ ม ตนเองให้ บ ริ โ ภค เฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง ภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลนั้น เป็นเพราะอิสลาม เป็นทั้งศาสนาและแนวทางในการด�ำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ ของมุสลิมที่ปฏิบัติตามศาสนา ดังนั้นผู้ที่มีความศรัทธา ในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮฺ) จึงต้องด�ำเนินชีวิตทุกย่าง ก้าวของเขาไปตามค�ำบัญชาของพระองค์ สอดคล้องกับ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซน (Ajzen, 2002) ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ถ้าบุคคลเชื่อว่า มีความสามารถที่จะกระท�ำพฤติกรรม ในสภาพการณ์นั้นได้และสามารถควบคุมให้เกิดผลดัง ตั้งใจ เขาก็มีแนวโน้มที่จะท�ำพฤติกรรมนั้น (สุวรรณา วิริยะประยูร, 2557) อีกทั้งยังสอดคล้องกับบอนเน่ และ เวอร์เบก (Bonne & Verbeke, 2006) พบว่า ชาวมุสลิม มีความเต็มใจที่จะใส่ความพยายามอย่างมากในการ ได้รับอาหารฮาลาล (Karijin, 2008) ซึ่งหมายถึงการ รับรู้การควบคุมพฤติกรรมเป็นปัจจัยส�ำคัญที่มีอิทธิพล ต่อผู้บริโภคในการซื้ออาหารฮาลาล 4. ความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครือ่ งหมายรับรอง ฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิม จากการวิ จั ย พบว่ า ความตั้ ง ใจในการเลื อ กซื้ อ

ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลของผูบ้ ริโภคมุสลิมในภาพรวม อยู่ในระดับมากอันดับแรก คือ ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รั บ รองฮาลาล ในช่ ว งที่ มี กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การขาย รองลงมา คือ หากเกิดความต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็ง จะเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลเท่านัน้ และจะแนะน�ำ ผลิตภัณฑ์ที่มีตรารับรองฮาลาลให้เพื่อน/คนรู้จักอื่นๆ ที่ไม่ใช่มุสลิมซื้อผลิตภัณฑ์ โดยความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รั บ รองฮาลาล ในช่ ว งที่ มี กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การขาย สอดคล้องกับทฤษฎีตัว แบบพฤติกรรมผู้บริโภคของ คอตเลอร์ (Kotler, 2006) คือ สิง่ กระตุน้ ด้านการส่งเสริม การตลาด เช่น การโฆษณาสม�ำ่ เสมอ การใช้ความพยายาม ของพนักงานขาย การลดแลกแจกแถม การสร้างความ สัมพันธ์อันดีกับบุคคลทั่วไป เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งกระตุ้น ความต้องการซื้อ ประเด็นหากเกิดความต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งจะเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครือ่ งหมายรับรองฮาลาลเท่านัน้ เนือ่ งจากผูบ้ ริโภค มุสลิมต้องบริโภคอาหารที่อนุมัติตามหลักการของศาสนา และผู้บริโภคมุสลิมมีทัศนคติที่ดีต่อตราเครื่องหมาย รับรองฮาลาล สอดคล้องกับฮาวาร์ด (Haward, 1994) ทีก่ ล่าวว่า  ความตัง้ ใจซือ้ เป็นกระบวนการทีเ่ กีย่ วข้องกับ จิตใจทีบ่ ง่ บอกถึงแผนการของผูบ้ ริโภคทีจ่ ะซือ้ ตราสินค้า ใดตราสินค้าหนึ่งในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ความ ตั้ ง ใจซื้ อ เกิ ด ขึ้ น มาจากทั ศ นคติ ที่ มี ต ่ อ ตราสิ น ค้ า ของ ผู้บริโภคและความมั่นใจของผู้บริโภคในการประเมิน ตราสินค้าที่ผ่านมา ส่วนประเด็นจะแนะน�ำผลิตภัณฑ์ที่มีตรารับรอง ฮาลาลให้เพื่อน/คนรู้จักอื่นๆ ที่ไม่ใช่มุสลิมซื้อผลิตภัณฑ์ เป็นเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายรับรองฮาลาล นั้ น เป็ น การรั บ ประกั น ว่ า อาหารนั้ น มี ค วามสะอาด ถูกสุขอนามัย มีคุณค่าอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และปลอดภัยในการบริโภค

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

5. ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของผู ้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ใน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า มี 5 ปัจจัย คือ ความเชื่อถือต่อ ผลิตภัณฑ์ ความเชื่อถือต่อผู้ประกอบการความเชื่อถือ ต่อสถาบันรับรองฮาลาล ครอบครัว และการรับรู้ความ สามารถในการควบคุมพฤติกรรมตามล�ำดับ รายละเอียด ดังนี้ ความเชือ่ ถือทีม่ ตี อ่ ผลิตภัณฑ์ เป็นปัจจัยตัวแรกทีส่ ง่ ผลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อม ปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ของผูบ้ ริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร เนือ่ งจากผลิตภัณฑ์ อาหารภายใต้เครือ่ งหมายรับรองมาตรฐานฮาลาล มีการ จัดท�ำตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเพื่อให้ผู้บริโภค มุสลิมมั่นใจได้ว่า ตลอดสายการผลิตมีความถูกต้องตาม หลักการแห่งศาสนาสามารถบริโภคและใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ขัดต่อหลักการของอิสลามตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุด ตลอด “สายโซ่การผลิต” ความเชือ่ ถือต่อผูป้ ระกอบการ นับเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร พร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร เพราะ ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ไม่ใช่มสุ ลิม อาจขาดความรูค้ วาม เข้าใจเกี่ยวกับอาหารฮาลาล นอกจากนี้ผู้ประกอบการ ทีเ่ คยได้รบั อนุญาตให้ใช้เครือ่ งหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ฮาลาลยังได้น�ำเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล ไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ได้รับการรับรอง ดังนั้น ผู้บริโภคมุสลิมจึงไม่ค่อยมั่นใจในตัวผู้ผลิตหากไม่ใช่ มุสลิม ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ให้เกิดขึน้ ด้วยการมีความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้องและเพียง พอเกีย่ วกับอาหารฮาลาลรวมถึงมีมาตรฐานการควบคุม คุณภาพการผลิตที่ดี มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและ ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ความเชื่อถือต่อสถาบันรับรองฮาลาลนับเป็นอีก ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

79

อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมาย รับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากสถาบันรับรองฮาลาลภายใต้การก�ำกับดูแล ของคณะกรรมการกลางอิ ส ลามแห่ ง ประเทศไทย มีบทบาทและความรับผิดชอบที่ส�ำคัญ คือ การพัฒนา มาตรฐานการตรวจสอบการออกใบรั บ รองอาหาร ฮาลาลของประเทศไทยเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมใน ประเทศ (สันติ บางอ้อ, 2556 และสถาบันมาตรฐาน อาหารฮาลาล, 2557) ครอบครัวนับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความ ตัง้ ใจในการเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน แช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภค มุสลิมในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมุสลิมมีการอยู่ รวมกั น เป็ น ครอบครั ว ใหญ่ บุ ค คลในครอบครั ว จึ ง มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ส่วนการรับรูค้ วามสามารถในการควบคุมพฤติกรรม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้ เครื่ อ งหมายรั บ รองฮาลาลของผู ้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ใน กรุงเทพมหานคร เนื่องจากมุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็น มุสลิมมาแต่ดั้งเดิมหรือมุสลิมใหม่ที่เข้ารับอิสลามใน ภายหลัง ต่างให้ความส�ำคัญกับการประพฤติปฏิบัติตน ตามหลักการของศาสนา เนื่องจากอัลลอฮฺได้ทรงตรัส ความว่า “และจงบริโภคจากสิง่ ทีอ่ ลั ลอฮฺได้ทรงให้เครือ่ ง ยังชีพแก่สู่เจ้า ซึ่งสิ่งที่อนุมัติและที่ดีมีประโยชน์และ จงย�ำเกรงต่ออัลลอฮฺ ผู้ซึ่งพวกเจ้าศรัทธาในพระองค์” ดังนัน้ มุสลิมผูศ้ รัทธาทุกคนจึงต้องควบคุมพฤติกรรมของ ตนให้บริโภคเฉพาะอาหารฮาลาล ซึ่งเป็นอาหารที่ผลิต ขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติของอิสลามเท่านั้น ส�ำหรับด้านกลุ่มอ้างอิงที่ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจ ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทาน แช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภค มุสลิมในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ ให้ความส�ำคัญกับผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ทีม่ เี ครือ่ งหมายรับรอง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


80

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ฮาลาล ซึ่งผู้บริโภคเชื่อถือและมั่นใจว่า สามารถบริโภค ได้โดยไม่ต้องได้รับค�ำแนะน�ำหรือบอกกล่าวจากกลุ่ม อ้างอิงใดๆ ดังนั้นปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงจึงไม่ส่งผลต่อ

ความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง พร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของ ผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร

บรรณานุกรม

ส�ำนักพิมพ์ เนชั่น. (2557). จ�ำนวนประชากรมุสลิมในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2557, จาก http://www. oknation.net/blog/photo-sigree/2009/10/10/entry-2 ชนาธิป ผลาวรรณ์ และจิรวรรณ ดีประเสริฐ. (2556). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่ร้าน สะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 121-134. พิเชษฐ์ พรหมใหม่. (2557). ความตั้งใจก่อพฤติกรรมของชาวไทยมุสลิมที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเครื่องหมาย รับรองฮาลาล ตามทฤษฎีพฤติกรรมที่มีการวางแผน. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2557, จาก http://dric.nrct. go.th/bookdetail.php?book_id=179281 พิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์. (2557). ศักยภาพด้านการผลิตอาหารฮาลาล: ศึกษากรณีจังหวัดปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2557, จาก http://www.halalthailand.com/halal/subindex.php?page=content&ca tegory=&subcategory=2&id=20 พิทักษ์ สุภนันทการ. (2552). แนวโน้มตลาดอาหารฮาลาลสู่ความเป็นไลฟ์สไตล์. กรุงเทพฯ: แฟรนไชส์ วิชั่น. พีระกานต์ วสุธรพิพัฒน์. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลานของผู้บริโภคคนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มุสลิมไทยโพสต์. (2557). โลกมุสลิมในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557, จาก http://info.muslim thaipost. com/main/index.php?page=sub&category=29&id=5311 วราภรณ์ เอื้อการณ์ และอิสระ อุดมประเสริฐ. (2553). การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อซ�้ำของ ผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต�่ำ. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ. (2548). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความส�ำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยผู้บริโภค ชาวมุสลิมในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษาของชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้. BU Academic Review, 4(1). สมยศ หวังอับดุลเลาะ. (2557). การพัฒนาทักษะการเลือกบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557, จาก http://bkkthon.ac.th/userfiles/file/lib_ artB22554/4_2-1-2.pdf สถิติด้านประชากรของประเทศไทย. (2557). สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2557, จาก http://www.BOT.or.th สถาบันอาหาร. (2557). แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารพร้อมปรุง-พร้อมทานในตลาดโลกกับอนาคตที่สดใส. สืบค้นเมื่อ 29 ธั น วาคม 2557, จาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache: c5DCkvstcUJ:library.dip.go.th/multim1/ebook สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย. (2557). การผลิตเพือ่ การบริโภค. สืบค้นเมือ่ 6 ธันวาคม 2557, จาก http:// www.halal.or.ththmainsubindex.phppage=sub&category=11&id=68 ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ส�ำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ14 ธันวาคม 2557, จาก http:// service.nso.go.th/nso/nso_center/project/table/files/C-pop/2553/000/10_C-pop_ 2553_000_010000_00400.xls ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

81

สันติ บางอ้อ. (2556). สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล: ความคาดหวังของภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สถาบันมาตรฐานฮาลาล แห่งประเทศไทย. สุวรรณา วิริยะประยูร. (2557). พฤติกรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ตามแนวทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. สืบค้น เมื่อ 15 กันยายน 2557, จาก http://www.hss.moph.go.th/km/upload_file/data1/hdd1 อัมพล ชูสนุก และอังศุมาลิน เฮงมีชยั . (2556). อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสิน ค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการโรงเรียนศิลปะดินสอสี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2), 10-23. อาหารมุสลิมกับอาหารฮาลาล. (2557). สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557, จาก http://th.jobsdb.com/th/EN/ Resources/JobSeekerArticle/hospitality48.htm?ID=761 Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organization Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211. ----------. (2005). Attitudes, Personality and Behavior. New York: The Dorsey Press. ----------. (2002). Perceived Behavioral Control, Self-efficacy, Locus of Control, and the Theory of Planned Behavior. Journal of Applied Social Psychology, 32(4), 1-20. Bonne, K. & Verbeke, W. (2006). Muslim Consumer’s Motivations Towards Meat Consumption in Belgium: Qualitative Exploratory Insights from Means-end Chain Analysis. Anthropology of Food, 5. Haward, J. A. (1994). Buyer Behavior in Marketing Strategy. New Jersey: Prentice Hall. Karijn, B. W. (2008). Muslim Consumer Trust in Halal Meat Status and Control in Belgium. Science Direct. Meat Science, 79, 113-123. Kotler, P. (2006). Marketing Management. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall. Riaz, M. N. (1998). Halal Food - An Insight into a Growing Food Industry Segment. Food Marketing & Technology, (December). Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2000). Customer Behavior. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall. Syed, S. A. & Nazura, M. S. (2011). Applying the Theory of Planned Behavior (TPB) in Halal Food Purchasing. International Journal of Commerce and Management, 21(1), 8-20.

Translated Thai References

Auegarn, V. & Udomprasert, I. (2010). The Study of Marketing Factors Affecting the Repurchasing of Low-Cost Airline. Thesis, Kasetsart University. [in Thai] Bangauo, S. (2013). The Halal Standard Institute: Priorities of Government. Bangkok: The Halal Standard Institute of Thailand. [in Thai] Khokeatpitak, P. (2014). Potential Halal Food Production: The case of Pattani. Thesis. NIDA Institute. Retrieved December 28, 2014, from http://www.halalthailand.com/halal/sub index.php?pa ge=content&category=&subcategory=2&id=20 [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


82

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Muslim Food and Halal Food. (2014). Retrieved December 6, 2014, from http://th.jobsdb.com/th/ EN/Resources/JobSeekerArticle/hospitality48.htm?ID=761 [in Thai] Muslimthaipost. (2014). Muslim World Today. Retrieved December 25, 2014, from http://info. muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=5311 [in Thai] National Food Institute. (2014). Industry Trends, Prepared Food - Ready to Eat in the World Market with a Bright Future. Retrieved December 29, 2014, from http://webcache. googleusercontent. com/search?q=cache:c5DCkvstcUJ:library.dip.go.th/multim1/ebook [in Thai] National Statistical Office. (2014). Population and Housing Census 2010. Retrieved December 14, 2014, from http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/table/files/C-pop/2553/ 000/10_C-pop_2553_000_010000_00400.xls [in Thai] OKNation. (2014). Muslim Population in Thailand. Retrieved December 28, 2014, from http://www. oknation.net/blog/photo-sigree/2009/10/10/entry-2 [in Thai] Palawan, C. & Deeprasert, J. (2013). Purchasing Behavior of Baby Boomer Group at Convenience Stores in Bangkok Metropolitan Areas. Panyapiwat Journal, 5(1), 121-134. [in Thai] Phrommai, P. (2015). The Behavioral Intention of Thai Muslims Towards The Purchase of Certified Halal Food Products with Respect to the Theory of Planned Behavior. Retrieved December 28, 2014, from http://dric. nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=179281 [in Thai] Pisuwan, V. (2005). Factors Affecting the Level of Significance given to the Halal Logo by Muslim Consumers in Making Purchase Decisions on Food Products: A Case Study of the Thai Muslims Living in the Four Most Southern Provinces. Thesis, Bangkok University. [in Thai] Shoosanuk, A. & Hengmeechai, A. (2013). Influence of Service Quality on Brand Image, Brand Equity Customer Satisfaction and Customer Loyalty of Din Sor See Art School. Panyapiwat Journal, 4(2), 10-23. [in Thai] Statistics of population. (2014). Retrieved December 28, 2014, from http://www.BOT.or.th [in Thai] Supanontakarn, P. (2009). Muslim population in Thailand Halal food market trends into a lifestyle. Bangkok: Franchise vision. [in Thai] The Halal Standard Institute of Thailand. (2014). Production to consumption. Retrieved December 6, 2014, from http://www.halal.or.ththmainsubindex.phppage=sub&category=11&id=68 [in Thai] Vasuthornpipat, P. (2010). Thai Consumers on Consumption Behaviour on Halal Food in Bangkok Metropolitan Area. Thesis, Srinakharinwirot University. [in Thai] Viriyaprayu, S. (2014). Knowledge Sharing Behavior Based on the Theory of Planned Behavior. Retrieved December 15, 2014, from http://www.hss.moph.go.th/km/upload_file/data1/hdd1 [in Thai] Wangubdulaug, S. (2014). Development of Halal food choices of Muslims in Bangkok. Retrieved December 6, 2014, from http://bkkthon.ac.th/userfiles/file/lib_artB22554/4_ 2-1-2.pdf [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

83

Assistant Professor Sarawan Ruangkalawongse received her Bachelor Degree of Business Administration, major in finance and minor in marketing from Dhurakij Pundit University in 1991. In 1996, she graduated MBA major in Financial Management from Dhurakij Pundit University. She is currently a full time lecturer in Faculty Of Management Science Of Suan Dusit Rajabhat University. Program in Medical Secretary. Academic performance has been appointed to the position of Assistant Professor: Strategic management and Small business. Scholarly works published (Authors): Strategic management, Production management and operations, Project Management and Budget and Human relations in the workplace. Assistant Professor Annop Ruangkalawongse received her Bachelor Degree of Business Administration, major in finance and minor in marketing from Dhurakij Pundit University in 1991. In 1996, she graduated MBA major in Financial Management from Dhurakij Pundit University. She is currently a full time lecturer in Faculty Of Management Science Of Suan Dusit Rajabhat University. Program in Medical Secretary. Academic performance has been appointed to the position of Assistant Professor: Organization and management Project Management. Scholarly works published (Authors): Strategic management, Production management and operations, Project Management and Budget and Human relations in the workplace.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


84

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

แบบจ�ำลองเชิงสาเหตุของความต้องการลาออกของพนักงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ THE CAUSAL MODEL OF INTENTION TO QUIT OF RAJABHAT UNIVERSITY EMPLOYEE

ฉันธะ จันทะเสนา1 Chanta Jhantasana1 บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจในงาน ความผูกพัน ต่อองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตัง้ ใจลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจในงานมีอทิ ธิพลทางบวกต่อความภักดีตอ่ องค์การและการรับรูก้ ารสนับสนุน จากองค์การตามล�ำดับ จากการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจ�ำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตั้งใจ ลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควส์เท่ากับ 85.95 องศาอิสระเท่ากับ 79 ความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 27.74% จากค่าไคสแควส์และองศาอิสระแสดงว่า ข้อมูลมีความสอดคล้องกับ แบบจ�ำลองดีมาก เมื่อพิจารณาค่าสถิติความคลาดเคลื่อนของส่วนเหลือ (RMSEA) เท่ากับ 0.008 ค่าดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1 และ SRMR เท่ากับ 0.007 ค�ำส�ำคัญ: พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ และความต้องการลาออก

Abstract

There are two main objective. First, to develop causal model of job satisfaction, job commitment, perceive organizational support and intention to quit of university employee of Rajabhat university. Second, Evaluating the construct validity of theoretical model of intention to quit of university employee of Rajabhat university and empirical data. The result show that; job satisfaction are positively related to organizational commitment, and perceive organizational support, respectively. The theoretical model of intention to quit of university employee of Rajabhat university fits the empirical data very well. The chi-squares, degree of freedom and p-value are 85.95, 79 and 27.74% respectively while Root mean square error of approximation (RMSEA), comparative fit index(CFI), standardized root mean square residual (SRMR) are 0.008, 1 and 0.007, respectively. 1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปทุมธานี, E-mail: zhandhak3@gmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

85

Keywords: university employee of Rajabhat university, job satisfaction, organizational commitment, perceive organizational support, and intention to quit

บทน�ำ

องค์การที่มีอัตราการหมุนเวียนของพนักงานสูง จะขาดประสิ ท ธิ ภ าพในการด� ำ เนิ น งาน รวมถึ ง ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่สุด แต่เงินเดือนและสวัสดิการ ยังมีมาตรฐานต่างกันในแต่ละแห่ง รวมถึงพฤติกรรม การบริหารงานของผู้น�ำ อาจส่งผลกระทบต่อขวัญก�ำลัง ใจ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพัน และ การรับรู้การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย จนอาจกระทบ ต่ อ ความต้ อ งการลาออกของพนั ก งานมหาวิ ท ยาลั ย ความพึงพอใจในงานแสดงถึงอารมณ์ด้านบวกต่องาน (Dunnette & Locke, 1976) Locke และ Henne (1986) เสนอว่า ความพึงพอใจในงาน คือ อารมณ์ ประทับใจที่ได้รับจากมูลค่าของงาน Meyer และ Allen (1990), Hellman (1997), Ghiselli และคณะ (2001) และ McBey และ Karakowsky (2001) ทดสอบอิทธิพล ของความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และ ความต้องการลาออก ซึ่งเป็นตัวแปรที่นิยมใช้ศึกษา เกี่ยวกับทัศนคติงาน และการรับรู้การสนับสนุนจาก องค์ ก าร เป็ น ตั ว แปรส� ำ คั ญ ในการท� ำ งาน เพราะมี นัยส�ำคัญว่า พนักงานเชื่อในองค์การว่าเห็นคุณค่าใน การทุ่มเทท�ำงานของตน แล้วองค์การจะตอบแทนด้วย ผลประโยชน์ต่างๆ เช่น เงินเดือน ผลตอบแทน และ สวัสดิการ (Eisenberger et al., 1986) การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การนั้น พนักงานวิเคราะห์ว่า องค์การเป็นดัง่ ผูม้ เี มตตาหรือโหดร้าย โดยพิจารณาจาก นโยบายและการกระท�ำขององค์การ (Eisenberger et al., 2001) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การเป็น ความเชื่ อ ของพนั ก งานว่ า องค์ ก ารให้ ผ ลประโยชน์ โดยรวมเหมาะสม ท� ำ ให้ พ นั ก งานทุ ่ ม เทท� ำ งานให้ องค์การอย่างเต็มความสามารถ ท่ามกลางปัญหาเรื่องผลประโยชน์และสวัสดิการ

ต่างๆ ของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน การศึกษานี้ต้องการศึกษาความพึงพอใจในงาน ความ ผูกพันต่อองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ว่ า มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความต้ อ งการลาออกของพนั ก งาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างไร วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ หนึ่งพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ความพึงพอใจในการปฏิบตั งิ าน ความผูกพันต่อองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่มีอิทธิพลต่อความ ตัง้ ใจลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ สองตรวจ สอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของความตัง้ ใจลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ความพึงพอใจในงาน งานวิจยั ส่วนใหญ่เสนอแนะว่า ความพึงพอใจในงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีนัยส�ำคัญกับองค์ประกอบ ของความผูกพันต่อองค์การ (Bagossi, 1980; Reichers, 1985) Shore และ Martin (1989) พบว่า ทั้งความ พึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพล ทางลบกับความต้องการลาออก และ Moser (1997) เสนอแนะว่า ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส�ำคัญ ที่ท�ำให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ คือ ความพึงพอใจ ในงานกับความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรส�ำคัญ ที่ ท� ำ ให้ พ นั ก งานคงอยู ่ ห รื อ ลาออก จึ ง นิ ย มใช้ เ ป็ น ปัจจัยพยากรณ์ความต้องการลาออกของพนักงานได้ดี ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ (Babakus et al., 1996 and Piercy et al., 2006)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


86

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ความผูกพันต่อองค์การ ความผูกพันต่อองค์การนิยามโดย Meyer และ Allen (1997) คือ การยึดติดทางอารมณ์ตอ่ องค์การ โดย มีความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อท�ำให้องค์การไปถึงเป้า หมายหรือมูลค่าที่ต้องการ การศึกษาความผูกพันต่อ องค์การมีแพร่หลายมากขึ้นเมื่อ Meyer และ Allen (1991) เสนอองค์ประกอบของความผูกพันต่อองค์การ สามประการ คือ ความผูกพันด้านจิตใจ (Affective commitment) ความผูกพันด้านบรรทัดฐานของสังคม (Normative commitment) และความผูกพันด้านต่อ เนื่อง (Continuance commitment) ซึ่งความผูกพัน ด้านจิตใจ คือ พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การและ แสดงออกโดยการทุ ่ ม เทพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลขององค์ก าร (O’Reilly & Chatman, 1986) ความผูกพันด้านบรรทัดฐานทางสังคม คือ ความรูสึก ส�ำนึกในบุญคุณที่ได้ท�ำงานในองค์การและความผูกพัน ด้านต่อเนื่อง คือ การตระหนักถึงผลได้ที่ท�ำงานต่อใน องค์การ โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์การท�ำงานต่อกับการ ออกจากองค์การ (McGee & Ford, 1987) ความผูกพัน ต่ อ องค์ ก ารนั้ น มี ผ ลต่ อ การลาออกโดยตรง คื อ ถ้ า พนักงานผูกพันต่อองค์การสูงความต้องการลาออกจะ น้อยลง (Buck & Watson, 2002) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรั บ รู ้ ก ารสนั บ สนุ น จากองค์ ก าร คื อ การที่ พนักงานรับรู้ว่า องค์การใส่ใจความอยู่ดีมีสุขจากการที่ ตนทุ่มเทท�ำงานเพียงใด (Eisenberger et al., 1986) การสนับสนุนจากองค์การเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานมี ทัศนคติพึงพอใจในงาน (Witt, 1991) มีความผูกพันกับ องค์การ (Rhodes & Eisenberger, 2002) และมี พฤติกรรมเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ รวมถึงลดความ ตั้งใจลาออกจากงาน (Turnover intentions) (Wayne et al., 1997) แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรม การลาออกที่แท้จริง (Actual turnover behavior) Tekleab และ Chiaburu (2011) ศึกษาพฤติกรรม

องค์การ พบว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการรับรู้ การสนั บ สนุ น จากองค์ ก ารกั บ ความพึ ง พอใจในงาน Rhoades และคณะ (2001) เสนอว่า มีปัจจัยหลายตัว ที่เป็นบุพปัจจัย (Antecedents) ของการรับรู้การ สนับสนุนจากองค์การ ได้แก่ การรับรู้ขององค์การ เช่น ความยุตธิ รรม และการเมือง (Moorman, et al., 1998) เงื่อนไขการท�ำงาน (Eisenberger, et al., 1999) การ สนับสนุนจากผู้น�ำ (Wayne et al., 1997) บุคลิก (Aquino & Griffeth, 1999) และระบบการบริหารงาน บุคคล2 (Wayne et al., 1997) Eisenberger และคณะ (1990) เสนอว่า ถ้าพนักงานมีการรับรูก้ ารสนับสนุนจาก องค์การมากจะท�ำให้มีการลาออกต�่ำ และถ้าพนักงาน ได้รับรู้การสนับสนุนจากองค์การ พนักงานจะตอบแทน กลับคืนสู่องค์การ ซึ่งวิธีการตอบแทนอย่างหนึ่ง คือ การท�ำงานอยู่กับองค์การต่อไป แต่ถ้าพนักงานรับรู้ว่ามี การสนับสนุนจากองค์การต�ำ่ พนักงานจะต้องการลาออก จากองค์การเพิ่มขึ้น (Wayne et al., 1997) Rhoades และคณะ (2001) พบว่า ความผูกพันต่อองค์การเป็น ตัวแปรคัน่ กลางระหว่างการรับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การ และความต้องการลาออก ความต้องการลาออก ความต้องการลาออกในรายงานนี้เป็นการลาออก แบบสมัครใจ งานวิจัยจ�ำนวนมากพบความสหสัมพันธ์ เชิงลบของความต้องการลาออกและความพึงพอใจใน งานอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ เช่น Rahman และคณะ (2008), Korunka และคณะ (2005) และ Brough และ Frame (2004) แต่ Khatri และ Fern (2001), Sarminah (2006) และ Karsh, Booske และ Sainfort (2005) พบว่า 2 หมายถึง

Human resource practices ซึ่งมีองค์ประกอบส�ำคัญ คือ (1) ความมั่นคงในงาน (job security) (2) การเลือกจ้าง (selective hiring) (3) ทีมบริหารตนเอง (self-managed teams) (4) ผลประโยชน์ตอบแทน (compensation policy) (5) การอบรม แบบเข้มข้น (extensive training) และ (6) การแบ่งปันข้อมูล สารสนเทศ (information sharing)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานและความ ต้องการลาออกเพียงเล็กน้อย คือ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์การเป็นตัวแปรสาเหตุสำ� คัญทีม่ ี ผลกระทบต่อความต้องการลาออก อย่างไรก็ตาม Bartle และคณะ (2002) และ Parker และ Kohlmeyer (2005) พบว่า ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยส�ำคัญของความต้องการ ลาออก จากวรรณกรรมข้างต้นอาจแปลความหมายได้วา่ พนักงานทีม่ คี วามพึงพอใจต่อองค์การสูงจะปฏิบตั งิ านมี ประสิทธิภาพมากกว่า มีความทุ่มเทให้กับองค์การได้ มากกว่า อาจกล่าวได้ว่า พนักงานที่มีความผูกพันกับ องค์การสูง จะไม่ต้องการลาออกจากงาน สมมติฐาน จากวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้นักวิจัยพัฒนาขึ้น เป็นสมมติฐานได้ 5 ประการดังนี้ สมมติฐาน 1 ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลด้าน บวกกับความผูกพันต่อองค์การ (H1) สมมติฐาน 2 ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลด้าน ลบต่อความต้องการลาออก (H2) สมมติฐาน 3 ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลด้าน บวกต่อการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ(H3) สมมติฐาน 4 ความผูกพันต่อองค์การมีอทิ ธิพลด้าน ลบต่อความต้องการลาออก (H4) สมมติฐาน 5 การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมี อิทธิพลด้านลบต่อความต้องการลาออก (H5) Organization Commitment

H1 Job satisfaction

H4 H2

H3

H5 Perceive organization support

รูปภาพที่ 1 สมมติฐานทั้งหมด

Intention to Quit

87

วิธีศึกษา

ข้ อ มู ล เก็ บ จากพนั ก งานมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ 10 แห่ง แห่งละ 200 ตัวอย่าง ได้รับแบบสอบถามกลับ มาทัง้ หมด 1,281 ใช้วธิ กี ารสุม่ ตัวอย่างอย่างง่าย จ�ำนวน ตัวอย่างที่ได้ครอบคลุมจ�ำนวนตัวแปรและพารามิเตอร์ ตามวิธีการศึกษาสมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้สูตรของ Lindeman และคณะ (1980) อ้างถึงใน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2542: 54) ที่ก�ำหนดว่า การวิเคราะห์สถิติ ประเภทพหุตวั แปรควรก�ำหนดตัวอย่างประมาณ 20 เท่า ของตัวแปรงานวิจัยนี้มีตัวแปรที่สังเกตได้จ�ำนวน 26 ตัวแปร ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ปีของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งสถิติพรรณนาและ สถิตอิ นุมาน ในสถิตอิ นุมานวิเคราะห์ดว้ ยตัวแบบสมการ โครงสร้าง เพื่อตอบค�ำถามวิจัยเรื่องความสัมพันธ์เชิง สาเหตุโดยใช้โปรแกรม MPLUS มีบุพปัจจัย คือ ความ พึงพอใจในงาน ผลลัพธ์คอื ความต้องการลาออก ตัวแปร คัน่ กลางคือ การรับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การและความ ผูกพันต่อองค์การ ตัวแปรต่างๆ ใช้การวัด 7 ระดับ ผลการศึกษา จ�ำนวนตัวอย่าง 1,281 คน เป็นหญิงและชายจ�ำนวน 790 และ 491 คนตามล�ำดับ ปฏิบตั งิ านในมหาวิทยาลัย ราชภัฏมาประมาณ 1-6 ปี ส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือน ประมาณ 10,000-20,000 บาท แหล่งที่มางบประมาณ ส่วนใหญ่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน โดยพนักงาน มหาวิ ท ยาลั ย เป็ น สายวิ ช าการ และสายสนั บ สนุ น ร้อยละ 60 และ 40 ตามล�ำดับ มีวฒ ุ ปิ ริญญาตรี 802 คน หรือร้อยละ 62.6 ระดับปริญญาโท 359 คน หรือ ร้อยละ 28 รูปภาพที่ 2 การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างครั้ง ที่สอง พบว่า ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อ ความผูกพันต่อองค์การ ความต้องการลาออก และการ รับรู้การสนับสนุนจากองค์การเท่ากับ 0.73, 0.16 และ 0.58 ตามล�ำดับ ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.01 แต่ อิทธิพลของความพึงพอใจในงานต่อความต้องการลาออก

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

88

ไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติและค่าความสัมพันธ์ไม่เป็นลบ ตามงานวิ จั ย ส่ ว นใหญ่ (Rahman, et al., 2008; Korunka et al., 2005; Brough & Frame, 2004) อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การต่อความต้องการ ลาออกมีขนาดเท่ากับ 0.04 ซึ่งมีขนาดค่อนข้างเล็กและ ไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามผลของงานวิจัย ส่วนใหญ่ (Bartle, et al., 2002; Parker & Kohlmeyer, 2005) ในขณะที่การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมี อิทธิพลต่อความต้องการลาออกเท่ากับ 0.50 ที่ระดับ นัยส�ำคัญ 0.01 แต่ทิศทางความสัมพันธ์ไปในทิศทาง เดียวกันไม่เหมือนผลการศึกษาของงานวิจัยส่วนใหญ่ (Eisenberger et al., 1990; Wayne et al., 1997) ในการตรวจสอบความสอดคล้ อ งของรู ป แบบความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตั้งใจลาออกของพนักงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏค่าสถิติของการวิเคราะห์แสดงว่า แบบจ�ำลองที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดีมาก อิทธิพลทางตรงทุกตัวมีระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 เมื่อปรับแบบจ�ำลองแล้ว ค่าไคสแควส์ เท่ากับ 85.95 ค่าองศาอิสระเท่ากับ 79 ค่า P-value เท่ากับ 27.74 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 และ SRMR เท่ากับ 0.01 Organization Commitment

0.73

0.04

0.06

Job satisfaction

0.58 Perceive organization support

Intention to Quit

0.50

Chi-square = 85.95, Degree of freedom = 79, P-value = 0.2774 RMSEA = 0.01, CFI = 1, SRMR = 0.01

รูปภาพที่ 2 ผลการศึกษา ตารางที่ 1 เมื่อพิจารณาค่าน�้ำหนักองค์ประกอบ ของตัวแปรสังเกตได้ ในตัวแปรแฝงความพึงพอใจในงาน

ตัวแปรทีส่ ำ� คัญ ซึง่ มีคา่ น�ำ้ หนักองค์ประกอบสูงมากและ มีคา่ ใกล้เคียงกัน คือ “ความมีอสิ ระ” “ความสัมพันธ์กบั เพือ่ นร่วมงาน” และ “ธรรมชาติของงาน” ซึง่ มีคา่ เท่ากับ 1.23, 1.12 และ 1.213 ตามล�ำดับโดยข้อค�ำถามที่ใช้ สอบถามที่ส�ำคัญ คือ “ความภูมิใจในต�ำแหน่งงานใน ปัจจุบนั ” “การประสบความส�ำเร็จในหน้าทีก่ ารงานและ การได้รับความยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน” “การตั้งใจ ปฏิบัติงานอย่างเอาใจใส่” “งานที่ปฏิบัติในปัจจุบันมี ความเหมาะสมกับตนเอง” “การเข้ากันได้ดกี บั เพือ่ นร่วม งาน” ในขณะที่ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่าต�่ำค่อนข้างมาก เมือ่ เทียบกับสามตัวแปรสังเกตได้ขา้ งต้น คือ มีคา่ เท่ากับ 0.34 และ 0.43 ส�ำหรับตัวแปรสังเกตได้ คือ “การ สนับสนุนการจัดการ” และ “เงือ่ นไขในการท�ำงาน” โดย มีข้อค�ำถามที่ส�ำคัญ คือ “ผู้บังคับบัญชายอมรับความรู้ ความสามารถ” “การมีโอกาสก้าวหน้าในต�ำแหน่งงาน ในปัจจุบัน” “การได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับวุฒิการ ศึกษา ประสบการณ์ กับต�ำแหน่งหน้าทีร่ บั ผิดชอบ” “ได้ รับเงินเดือนถูกต้องตามกฎหมายก�ำหนด” “การประเมิน ขึ้นเงินเดือนมีความยุติธรรม” “ความพึงพอใจในระบบ สวัสดิการต่างๆ ทีม่ หาวิทยาลัยก�ำหนดให้” “การจัดสรร บ้านพักและสวัสดิการต่างๆ มีความยุติธรรม” “ความ พึงพอใจในสถานที่ท�ำงานโดยรวม” “ความพึงพอใจใน สัญญาจ้างงานในปัจจุบนั ” “ความพึงพอใจในพฤติกรรม การบริหารงานของผูบ้ ริหาร” ในตัวแปรแฝงความผูกพัน ต่อองค์การประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ 8 ตัว ทุกตัว มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบสูงใกล้เคียงกัน ตัวแปรที่มี ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ “ท่านภูมิใจที่จะ บอกใครๆ ว่า ท่านเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี”้ มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.93 และตัวแปร ที่มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดเท่ากับ 0.79 คือ “ท่ า นพร้ อ มจะท� ำ ทุ ก อย่ า งเพื่ อ ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้” ในตัวแปรแฝงการรับรู้การ 3 ค่าน�้ำหนักตามคะแนนมาตรฐาน

ได้ (Jereskog, 1999)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

(Standardized) สามารถเกิน 1


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

สนับสนุนจากองค์การ ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมีค่าใกล้ เคียงกับความผูกพันต่อองค์การ โดยตัวแปรทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ “มหาวิทยาลัยสนับสนุนและเห็นคุณค่าในผลงาน ของท่าน” มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดเท่ากับ 0.97 และตั ว แปรสั ง เกตได้ “มหาวิ ท ยาลั ย มี ส ภาพ แวดล้อมที่ดีต่อการท�ำงาน” มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบ น้อยที่สุดเท่ากับ 0.82 ในความต้องการลาออกนั้น ใน การศึกษานี้ไม่ได้ท�ำให้เป็นตัวแปรแฝง เพราะใช้ตัวแปร สังเกตได้เพียงตัวแปรเดียว คือ “ท่านอาจจะลาออกจาก มหาวิทยาลัยแห่งนีถ้ า้ มีโอกาส” ดังนัน้ จึงไม่มคี า่ น�ำ้ หนัก องค์ประกอบ ตารางที่ 1 ค่าน�้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้ ตัวแปรสังเกตได้ ความพึงพอใจในงาน การสนับสนุนการจัดการ ความมีอิสระ ความสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมงาน ธรรมชาติของงาน เงื่อนไขในการทำ�งาน ความผูกพันกับองค์การ ท่านเชื่อมั่นในภาวะผู้นำ� ของผู้บริหาร ท่านพอใจในนโยบายการ บริหารงานของผู้บริหาร มีการสร้างวัฒนธรรมและ ค่านิยมที่ดีขององค์การให้ แก่บุคลากร ท่านชอบพูดถึงความดี งามของมหาวิทยาลัยแห่ง นี้ให้เพื่อนๆ ฟัง ท่านภูมิใจที่จะบอกใครๆ ว่า ท่านเป็นบุคลากรของ มหาวิทยาลัยแห่งนี้

b

t-stat p-value

0.34 1.23 1.12

8.65 19.42 25.71

0.00 0.00 0.00

1.21 0.43

20.03 8.77

0.00 0.00

0.90

51.10

0.00

0.92

44.71

0.00

0.90 135.46

0.00

0.92 155.18

0.00

0.93 169.73

0.00

ตัวแปรสังเกตได้ ท่านพร้อมจะทำ�ทุกอย่าง เพื่อความเจริญรุ่งเรือง ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มหาวิทยาลัยมีการบริหาร จัดการที่ดี มหาวิทยาลัยคำ�นึงถึง ผลประโยชน์และ ความรู้สึกของพวกท่าน การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ มหาวิทยาลัยมี สภาพแวดล้อมที่ดีต่อ การทำ�งาน มหาวิทยาลัยจัดให้ท่าน ได้อบรมและพัฒนาความ สามารถอย่างเหมาะสม และทั่วถึง มหาวิทยาลัยสนับสนุน และเห็นคุณค่าในผลงาน ของท่าน มหาวิทยาลัยสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่อง มือในการทำ�งานที่ทัน สมัย มหาวิทยาลัยสร้างความ ปลอดภัยในการทำ�งาน ให้ท่าน ความต้องการลาออก ท่านอาจจะลาออกจาก มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถ้ามีโอกาส

89

b 0.79

t-stat p-value 35.33 0.00

0.89

29.82

0.00

0.81

26.45

0.00

0.82

59.24

0.00

0.94 179.48

0.00

0.97 113.83

0.00

0.93

85.99

0.00

0.93 171.71

0.00

-

-

-

ตารางที่ 2 เมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลความพึงพอใจ ในงานมี ค ่ า อิ ท ธิ พ ลทางตรงบวกต่ อ ความผู ก พั น ต่ อ องค์การเท่ากับ 0.73 ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.01 นับว่าเป็นค่าอิทธิพลสูงสุดในรายงานนี้ นอกจากนั้น

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


90

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงบวกต่อการรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การเท่ากับ 0.58 ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ 0.01 และความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทาง ตรงบวกต่อความต้องการลาออกเท่ากับ 0.06 ซึง่ คิดเป็น ค่ า น�้ ำ หนั ก ที่ น ้ อ ยมากและไม่ มี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ นอกจากนั้ น เครื่ อ งหมายความสั ม พั น ธ์ เ ป็ น บวกซึ่ ง ไม่เป็นไปตามการศึกษาส่วนใหญ่ (Rahman et al., 2008; Korunka et al., 2005; Brough & Frame, 2004) โดยมีอทิ ธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.32 ซึง่ เป็นผลรวม ของอิทธิพลทางอ้อมผ่านความผูกพันต่อองค์การเท่ากับ

0.029 (0.73*0.06) และอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การเท่ากับ 0.29 (0.58*0.49) ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารมี อิ ท ธิ พ ลทางบวกต่ อ ความ ต้องการลาออกเท่ากับ 0.06 โดยค่าความสัมพันธ์ไม่เป็น ลบตามการศึกษาส่วนใหญ่ (Parker & Kohlmeyer, 2005) และไม่มนี ยั ส�ำคัญทางสถิติ ในขณะทีก่ ารรับรูก้ าร สนั บ สนุ น จากองค์ ก ารมี ค ่ า ความสั ม พั น ธ์ กั บ ความ ต้องการลาออกเป็นบวก 0.50 และมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

ตารางที่ 2 ค่าอิทธิพล Independent Variables Perceive Job Organization Organization Dependent Variable R2 Effect satisfaction Commitment Support Organization Commitment 0.53 DE 0.73 NA NA IE NA NA TE 0.73** NA NA Perceive Organization 0.33 DE 0.58 NA NA IE NA NA Support TE 0.58** NA NA Intention to quit 0.32 DE 0.06 0.06 0.50 IE 0.32 TE 0.38 0.06 0.50 ** ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ< 0.01 (DE = Direct effect, IE = Indirect effect, TE = Total effect) ตารางที่ 3 สมมติฐาน สมมติฐาน 1. ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ (H1) 2. ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงลบต่อความต้องการลาออก (H2) 3. ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (H3) 4. ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลเชิงลบต่อความต้องการลาออก (H4) 5. การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลเชิงลบต่อความต้องการลาออก (H5) ** ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ< 0.01 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

b 0.73** 0.06 0.58** 0.04 0.50

t-stat สรุป 25.36 สนับสนุน 2.33 ปฏิเสธ 21.07 สนับสนุน 0.98 ปฏิเสธ 13.88 ปฏิเสธ


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์สมมติฐาน สมมติฐานที่ 1 ความพึงพอใจในงานมีอทิ ธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อ องค์การ (H1) งานวิจัยจ�ำนวนมากพบความสัมพันธ์เชิง บวกระหว่างความพึงพอใจในงานกับความผูกพันต่อ องค์การ (Bagossi, 1980; Reichers, 1985) ในการ ศึกษานี้ก็เช่นเดียวกันที่พบว่า ความพึงพอใจกับความ ผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกัน เท่ากับ 0.73 ทีร่ ะดับความเชือ่ มัน่ 0.01 ดังนั้นจึงสนับสนุนสมมติฐานที่หนึ่ง ในสมมติฐาน ที่ 2 ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลเชิงลบต่อความ ต้องการลาออก (H2) ผลการศึกษาพบว่า ค่าอิทธิพล เท่ากับ 0.06 ซึง่ นับว่าน้อยมาก รวมถึงไม่มนี ยั ส�ำคัญทาง สถิติและเครื่องหมายเป็นบวก ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัย ส่วนใหญ่ (Rahman et al., 2008; Korunka et al., 2005; Brough & Frame, 2004) ดังนั้นจึงปฏิเสธ สมมติฐานที่สองในสมมติฐานที่ 3 ความพึงพอใจในงาน มีอิทธิพลเชิงบวกการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (H3) ผลการศึกษาพบว่า ค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.58 ทีร่ ะดับ นัยส�ำคัญ 0.01 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ซึง่ สอดคล้องกับ การศึกษาส่วนใหญ่ (Babakus et al., 1996; Piercy et al., 2006; Tekleab & Chiaburu, 2011) ดังนั้นจึง สนับสนุนสมมติฐานที่สาม สมมติฐานที่ 4 ความผูกพัน ต่อองค์การมีอิทธิพลเชิงลบต่อความต้องการลาออก (H4) ผลการศึกษาพบว่า ความผูกพันต่อองค์การมี อิทธิพลเชิงบวกกับความต้องการลาออกเท่ากับ 0.04 และไม่มนี ยั ส�ำคัญทางสถิติ ซึง่ ต่างจากงานวิจยั ส่วนใหญ่ (Buck & Watson, 2002) ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐาน ทีส่ ี่ ในสมมติฐานที่ 5 การรับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การ มีอิทธิพลเชิงลบต่อความต้องการลาออก (H5) ผลการ ศึกษาพบว่า การรับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การมีอทิ ธิพล เชิงบวกต่อความต้องการลาออกเท่ากับ 0.50 ที่ระดับ นัยส�ำคัญทางสถิติ 0.01 แต่ผลการศึกษาของนักวิจัย ส่วนใหญ่ พบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมี ความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการลาออก (Wayne et al., 1997) ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ห้า

91

อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษาพบว่า แบบจ�ำลองที่สร้างขึ้นมี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก แต่มีการ ปฏิเสธสมมติฐาน 3 ข้อ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความ ต้องการลาออก คือ อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การ ที่มีต่อความต้องการลาออก อิทธิพลของความพึงพอใจ ในงานทีม่ ตี อ่ ความต้องการลาออก และอิทธิพลของการ รับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อความต้องการ ลาออก อาจกล่าวได้ว่าความความผูกพันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน และการรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความต้องการลาออก ของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ แต่ความพึงพอใจ ในงานมีอทิ ธิพลทางตรงอย่างมีนยั ส�ำคัญต่อความผูกพัน ต่อองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ งานวิจัยส่วนใหญ่ก�ำหนดให้การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การเป็นบุพปัจจัยของความพึงพอใจในงาน แต่ รายงานนี้ ก� ำ หนดให้ ค วามพึ ง พอใจต่ อ องค์ ก ารเป็ น บุพปัจจัยของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้วย เหตุผลว่า ตัวแปรสังเกตได้ของความพึงพอใจในงานล้วน เป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะบ่งบอกว่า พนักงานมหาวิทยาลัย ควรมีความพึงพอใจในงานก่อนที่จะรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ เช่น เรือ่ งเงินเดือน สวัสดิการ และการบริหาร งานของผู้บริหาร คือ พนักงานควรมีความพึงพอใจในงาน ก่อนทีจ่ ะรับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การ ดังนัน้ การก�ำหนด นโยบายต่างๆ ของผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับ การสร้างนโยบายให้พนักงานประสบความส�ำเร็จใน หน้าที่การงานและภูมิใจในต�ำแหน่งงาน รวมถึงการได้รับ การยอมรั บ จากเพื่ อ นร่ ว มงาน ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา และ ก�ำหนดเส้นทางการเจริญเติบโตในต�ำแหน่งหน้าที่ให้ ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ก�ำหนดเงินเดือนให้เหมาะสมกับ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และต�ำแหน่งหน้าที่ ครบถ้วน ตามกฎหมายก�ำหนด นอกจากนั้นระบบประเมินผล ขึ้นเงินเดือน ระบบการจัดสรรบ้านพัก ระบบสวัสดิการ ต่างๆ ต้องมีความยุติธรรม และระบบการบริหารงาน ของผู้น�ำต้องมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลเพื่อให้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


92

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

พนักงานมหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจในพฤติกรรมการ บริหารงาน รายงานนีป้ ระกอบด้วยตัวแปรแฝงสามตัว คือ ความ พึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการรับรูก้ าร สนับสนุนจากองค์การ เป็นการวิเคราะห์สมการเชิง โครงสร้างครั้งที่สอง ครั้งแรกเป็นการวิเคราะห์องค์ ประกอบของแต่ละตัวแปรแฝง ส่วนในตัวแปรความ ต้องการลาออกนัน้ มีขอ้ ค�ำถามหรือตัวแปรสังเกตได้เพียง ตัวแปรเดียว จึงไม่ได้มกี ารวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ในครัง้ แรกและมีการน�ำเอาตัวแปรสังเกตได้มาวิเคราะห์ ร่วมกับตัวแปรแฝง คือ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพัน ต่อองค์การ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ จึง อาจท�ำให้คา่ สถิตแิ ละพารามิเตอร์ตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วกับความ ต้ อ งการลาออกมี ค วามผิ ด พลาดได้ ดั ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ สมมติฐานที่ 2, 4 และ 5 ประเด็นทีน่ า่ สนใจอีกประการ คือ ตัวแปรการลาออก นัน้ อาจหมายถึง การลาออกทีแ่ ท้จริง (Actual turnover) เพราะความต้องการลาออกและการลาออกที่แท้จริงมี ความสัมพันธ์ตรงข้ามกัน เมื่อศึกษาความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ การรับรู้ การสนับสนุนต่อองค์การ หรือพฤติกรรมการเป็นสมาชิก ที่ดีต่อองค์การ ซึ่ง Mobley และคณะ (1979), Bergh (1993), Morita, Lee และ Mowday (1993) รวมถึง

Marsh และ Mannari (1977) พบว่า การวัดการลาออก นัน้ สัมพันธ์กบั ระยะเวลาในการวัดตัวแปรตามทีใ่ ช้ศกึ ษา ด้วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ความผูกพันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงาน และการ รับรูก้ ารสนับสนุนจากองค์การไม่มอี ทิ ธิพลทางตรงต่อ ความต้ อ งการลาออกของพนั ก งานมหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏ

สรุปและเสนอแนะ

1. ผูบ้ ริหารควรก�ำหนดนโยบายทีเ่ กีย่ วกับความพึง พอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจนและ เป็นธรรม เพราะปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นมีผลกระทบต่อ มหาวิทยาลัยมากทั้งความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการรับรู้การสนับสนุนจาก องค์การ 2. การศึกษาในอนาคตควรมีการก�ำหนดตัวแปร สังเกตได้ของความต้องการลาออกให้มคี วามชัดเจนและ มีจ�ำนวนพอประมาณ 3. ควรวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบก่ อ นมี ก ารน� ำ มา วิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างครั้งที่สอง และควรมีการ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บให้ ชั ด เจนระหว่ า งความต้ อ งการ ลาออก (Intention to quit, Turnover intention) กับ การลาออกที่แท้จริง (Actual turnover)

บรรณานุกรม

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18. Aquino, K. & Griffeth, R. W. (1999). An exploration of the antecedents and consequences of Perceived organizational support: A longitudinal study. Unpublished manuscript, University of Delaware. Babakus, E., Cravens, D. W., Johnston, M. & William C. M. (1996). Examining the role of organizational variables in the salesperson job satisfaction model. Journal of Personal Selling & Sales Management, 16(3), 33-46. Bagossi, R. P. (1980). Causal models in marketing. New York: John Wiley & Sons. Bartle, S. A., Dansby, M. R., Landis, D. & McIntyre, R. M. (2002). The effect of equal opportunity fairness attitudes on job satisfaction, organizational commitment, and perceived work group efficacy. Military Psychology, 14(4), 299-319. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

93

Bergh, D. D. (1993). Don’t “waste” your time! The effects of time-serious errors in management research: The case of ownership concentration and research development spending. Journal of Management, 19(4), 897-914. Brough, P. & Frame, P. (2004). Predicting police job satisfaction and turnover intentions: The role of Social support and police organizational variables. New Zealand Journal of Psychology, 33(1), 8-16. Buck, J. M. & Watson, J. L. (2002). Retaining staff employees: The relationship between human resources management strategies and organizational commitment. Innovative Higher Education, 26(3), 175-193. Eisenberger, R., Hungtington, R., Hutchinson, S. & Sowa, D. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71, 500-507. Eisenberger, R., Fasolo, P. M. & Davis-LaMastro, V. (1990). Effects of perceived organizational support on employee diligence, innovation, and commitment. Journal of Applied Psychology, 75(1), 51-59. Eisenberger, R., Rhoades, L. & Cameron, J. (1999). Does pay for performance increase or decrease perceived self-determination and intrinsic motivation?. Journal of Personality and Social Psychology, 77(5), 1026-1040 Eisenberger, R., Armeli, S., Rexwinkel, B., Lynch, P. D. & Rhoades, L. (2001). Reciprocation of perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 86(1), 42-51. Ghiselli, R., La Lopa, J. M. & Bai, B. (2001). Job satisfaction, life satisfaction and turnover intent: Among food-service managers. The Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 42(2), 28-37. Dunnette, M. D. & Locke, E. A. (1976). The Nature and Causes of Job Satisfaction. Handbook of Industrial and Organizational Psychology, In Dunnette, M.D., (Ed.), Rand McNally College Publishing Company Chicago, 1297-1349. Hellman, C. M. (1997). Job satisfaction and intent to leave. Journal of Social Psychology, 137(6), 677-689. Jereskog, K. G. (1999). How large can a standardized coefficient be. Retrieved December 12, 2014, from http://www.ssicentral.com/lisrel/techdocs/HowLargeCanaStandardizedCoefficientbe.pdf Karsh, B., Booske, B. C. & Sainfort, F. (2005). Job and organizational determinants of nursing home Employee commitment, job satisfaction and intent to turnover. Ergonomics, 48(10), 12601281. Korunka, C., Hoonakker, P. L. T. & Carayon, P. (2005). A universal turnover model for the IT work force A replication study. Human Factors in Organizational Design and Management, VIII, edited by Carayon, Kleiner, Robertson and Hoonakker. Santa Monica, CA: IEA Press, 467-472. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


94

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Khatri, N. & Fern, C. T. (2001). Explaining employee turnover in an Asian context. Human Resource Management Journal, 11(1), 54-74. Lindeman, R. H., Merenda, P. F. & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariate and multivariate analysis. Glenview: Scott Foresman & Co. Locke, E. A. & Henne, D. (1986). Work motivation theories. In: International Review of Industrial and Organizational Psychology, Cooper, C. L. & Robertson, T. (Eds.)., Wiley, Chichester, 1-35. Marsh, R. M. & Mannari, H. (1977). Organizational commitment and turnover: A prediction study. Administrative Science Quarterly, 22, 57–75. Mathieu, J. & Zajac, D. (1990). A review of meta-analysis of the antecedents, correlates and consequences of organizational commitment. Psychological Bulletin, 108(2), 171-94. McBey, K. & Karakowsky, L. (2001). Examining sources of influence on employee turnover in the part-time work context. Career Development International, 6(1), 39-47. McGee, M. & Ford, R. (1987). Two (or more?) dimensions of organizational commitment: Reexamination of the affective and continuance commitment scales. Journal of Applied Psychology, 72, 638-642. Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61-89. Meyer J. P. & Allen, N. J. (1997). Commitment in the workplace: theory, research, and application. Thousand Oaks, CA: Sage Publications. Mobley, W. H., Griffeth, R. H., Hand, H. H. & Meglino, B. M. (1979). Review and conceptual analysis of the employee turnover process. Psychological Bulletin, 86(3), 493–522. Moorman, R. H., Blakely, G. L. & Niehoff, B. P. (1998). Does perceived organizational support mediate the relationship between procedural justice and organizational citizenship behavior?. The Academy of Management Journal, 41(3), 351-357. Morita, J. G., Lee, T. W. & Mowday, R. T. (1993). The regression-analog to survival analysis: A selected application to turnover research. Academy of Management Journal, 36(1), 1430-1464. Moser, K. (1997). Commitment in organizations. Psychologies, 41(4), 160-170. Parker, R. J. & Kohlmeyer, J. M. (2005). Organizational justice and turnover in public accounting firms: A research note. Accounting, Organizations and Society, 30(4), 357-369. Piercy, N. F., Cravens, D. W., Lane, N. & Vorhies, D. W. (2006). Driving organizational citizenship behaviors and sales person In-role behavior performance: The role of management control and perceived organizational support. Journal of the Academy of Marketing Science, 34(2), 244-262. Rahman, A., Naqvi, S. M. M. R. & Ismail Ramay, M. I. (2008). Measuring turnover intention: A study of IT professionals in Pakistan. International Review of Business Research Papers, 4(3), 45-55. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

95

Reichers, A. E. (1985). A review and reconceptualization of organizational commitment. The Academy of Management Review, 10(3), 465-476. Rhoades, L. & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: A review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87, 698-714. Rhoades, L., Eisenberger, R. & Armeli, S. (2001). Affective commitment to the organization: the contribution of perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 86(5), 825836. Sarminah, S. (2006). The contribution of demographic variables: Job characteristics and job satisfaction on turnover intentions. Journal of International Management Studies, 1(1), 1-12. Shore L. M. & Martin, H. J. (1989). Job satisfaction and organizational commitment in relation to work performance and turnover intentions. Human Relations, 42(7), 625-638. Tekleab, A. G. & Chiaburu, D. S. (2011). Social exchange, empirical examination of form and focus. Journal of Business Resarch, 64, 460-466. Wayne, S. J., Shore, l. M. & Liden, R. C. (1997). Perceived organizational support and leader-member exchange: a social exchange perspective. Academy of Management Journal, 40(1), 82-111. Witt, L. A. (1991). Exchange ideology as a moderator of job-attitudes-organizational citizenship behaviors relationships. Journal of Applied Social Psychology, 21(18), 1490-1501.

He received his B.B.A. (Money & Banking), M.A. Economics and Ph,D. Economics from Ramkhamhang university, KRIRK university and University Utara Malaysia, respectively. His research interests are in the area of governance, corruption and organizational development in Rajabhat university. He is teaching Economics at faculty of management science, Valaya Alongkorn Rajabhat University.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


96

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตัวแบบความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร: กรณีศึกษาธุรกิจ บริการรับช�ำระบริษัท XYZ จ�ำกัด EMPLOYEES ENGAGEMENT MODEL: A CASE STUDY OF BILL PAYMENT SERVICE BUSINESS XYZ COMPANY LIMITED เลิศชัย สุธรรมานนท์1 และเกศยา โอสถานุเคราะห์2 Lertchai Suthammanon1 and Kesaya Osathanugrah2 บทคัดย่อ

การวิจยั นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการ สังเกตการปฏิบตั งิ านจากเป้าหมายทีเ่ ป็นตัวแทนพนักงานและผูบ้ ริหารระดับต่างๆ จากหน่วยงานทีแ่ ตกต่างกันจ�ำนวน 19 คน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจบริการรับช�ำระบริษัท XYZ จ�ำกัด ประกอบด้วย ส่วนแรก คือ ปัจจัยสร้างความผูกพัน (Engagement Drivers) จ�ำนวน 4 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านลักษณะงาน (Job Characteristics) 2) ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People/Social) 3) ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) 4) ด้านสภาพแวดล้อมขององค์กร (Organization Climate) ส่วนที่สอง คือ การแสดงออกถึงความผูกพันต่อองค์กร ใน 2 มิติ คือ 1) ความรู้สึกผูกพัน (Feeling Engaged) และ 2) พฤติกรรมความผูกพัน (Behavior Engaged) และ ส่วนที่สาม คือ การแสดงผลลัพธ์ของความผูกพัน เป็นผลการปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมาย ทั้งในระดับบุคคล ทีมงาน และองค์กร องค์กรที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันสามารถน�ำปัจจัยนี้ไปวัดระดับความผูกพันและค้นหาปัจจัยสร้างความ ผูกพันที่มีความส�ำคัญเฉพาะแต่ละองค์กร เพื่อน�ำไปพัฒนายกระดับความผูกพันให้สูงขึ้นได้ ค�ำส�ำคัญ: ตัวแบบความผูกพัน พนักงาน ธุรกิจบริการรับช�ำระ

Abstract

This study is conducted in qualitative approach, collecting data by in-depth interview and performance observation on the targeted samples of 19 staffs and executives from various business units. The results showed that the organization’s engagement model of the bill payment service business is mainly comprised of 3 factors; engagement drivers, expression of engagement and business results. Engagement drivers are composed of 1) job characteristics 2) people and social 1 อาจาย์ประจ�ำสาขาวิชาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์กร

คณะวิทยาการจัดการ, Lecturer of Strategic People and Organization Management Faculty of Management Science, E-mail: lertchaisut@gmail.com 2 อาจารย์ประจ�ำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ, Lecturer of Human Resources Management Faculty of Management Science, E-mail: kesayaosa@pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

97

3) organization practice and 4) organization climate, expression of engagement is composed of 1) feeling engaged and 2) behavior engaged and business results are performance achievement in individual level, team level and Organization level. The similar organizations are able to apply this engagement model to evaluate engagement and to obtain its significant engagement drivers to enhance employee engagement level ultimately. Keywords: Engagement Model, Employees, Bill Payment Service Business.

บทน�ำ

ความผูกพันต่อองค์กรเป็นสิ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งใน สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงในการสร้างการ เติบโตในอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของโลกธุรกิจ เพราะ ความผูกพันเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้องค์กรมีความ พร้อมจากภายใน นัน่ คือความพร้อมด้านบุคลากรซึง่ เป็น ผู้สร้างสรรค์ผลงานให้กับองค์กร ทุ่มเทเต็มก�ำลังความ สามารถ เพื่อน�ำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับองค์กรอย่าง ต่อเนื่อง บุคลากรผูส้ รรค์สร้างผลิตภาพผลิตผลให้กบั องค์กร อย่างเต็มศักยภาพล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อ องค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่าวได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์ ในกลุ่มธุรกิจบริการที่ต้องท�ำงานด้วยสมองและหัวใจ บริการอย่างแท้จริง เพื่อส่งมอบสิ่งที่เรียกว่าเหนือกว่า มาตรฐานการให้บริการทั่วไปแก่ลูกค้านั้นเป็นปัจจัย ส�ำคัญหลักของความส�ำเร็จขององค์กรอย่างแท้จริง ธุรกิจบริการรับช�ำระบริษัท XYZ จ�ำกัด คือ ธุรกิจ ตัวแทนรับช�ำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการผ่านจุดให้ บริการ ซึง่ ครอบคลุมทัว่ พืน้ ทีเ่ พือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้ แก่ผใู้ ช้บริการทุกคน ซึง่ ในปัจจุบนั ธุรกิจประเภทนี้ มีรา้ น สาขารับช�ำระเงิน 8,000 กว่าสาขา รองรับลูกค้าได้ วันละ 10 ล้านคน ธุรกิจดังกล่าวจึงตระหนักถึงความ ส�ำคัญและคุณค่าของบุคลากร เพราะเป็นส่วนส�ำคัญ ในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการต่อลูกค้า จึง มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เริ่มด้วยการ ปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม สะท้อนการเป็นองค์กร ของคนรุ่นใหม่ บุคลากรมีความรู้สึกตื่นตัว ทันสมัย

พร้อมเรียนรูต้ ลอดเวลา รวมถึงการสร้างให้บคุ ลากรเกิด ความผูกพันต่อองค์กร มีความสุข มีแรงบันดาลใจในการ ท�ำงาน พร้อมทุ่มเทเพื่อสร้างผลงานอย่างเต็มความ สามารถ เป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้า ส่งผลให้องค์กรมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน

วัตถุประสงค์การวิจัย

โครงการวิจยั นี้ มีวตั ถุประสงค์สำ� คัญ 2 ประการ คือ 1. ศึกษาตัวแบบความผูกพันต่อองค์กรที่เหมาะสม กับธุรกิจบริการรับช�ำระของบริษัท XYZ จ�ำกัด 2. ศึกษาแนวทางน�ำตัวแบบมาใช้ในการยกระดับ ความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจบริการรับช�ำระของ บริษัท XYZ จ�ำกัด

ทบทวนวรรณกรรม

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวความคิดทฤษฎีและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับ การสร้างความผูกพันต่อองค์กร ส่วนที่ 2 คือ วรรณกรรม เกี่ยวกับธุรกิจบริการรับช�ำระดังจะได้น�ำเสนอต่อไป การสร้างความผูกพันต่อองค์กร การสร้างความผูกพันต่อองค์กร เป็นระบบการ จัดการทรัพยากรมนุษย์ในเชิงกลยุทธ์ทมี่ พี ฒ ั นาการอย่าง ต่อเนื่องจากแนวความคิดทฤษฎีพื้นฐานด้านการสร้าง แรงจูงใจของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ ของ Maslow (1970) ที่กล่าวถึงความต้องการพื้นฐาน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


98

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

(Hierarchy of Need) 5 ระดับ ประกอบด้วย ความ ต้องการทางกายภาพ (Physiological) ความต้องการ ด้านความปลอดภัย (Safety) ความต้องการทางสังคม (Belonging) ความต้องการการยอมรับ (Esteem) และ ความต้องการบรรลุเป้าหมายสูงสุดตามเป้าหมายที่วาง ไว้ (Self-Actualization) หรือแนวความคิดทฤษฎีสองปัจจัยของ Hersberg (1968) ซึ่งได้เสนอถึงปัจจัยที่สร้างความรู้สึกผูกพัน ส่วนบุคคลของพนักงานไว้ดังนี้ 1. ปัจจัยจูงใจ (Motivators Factors) ได้แก่ ความ พอดีกบั วัฒนธรรมองค์กร เสียงสะท้อนของพนักงานและ การให้การยอมรับ ความสอดคล้องของแบรนด์ ความ ก้าวหน้าในอาชีพการงาน งานทีม่ คี วามหมายและท้าทาย และความมีอิสระในการท�ำงาน 2. ปัจจัยธ�ำรงรักษา (Hygiene Factors) ได้แก่ ค่า ตอบแทนและสวัสดิการ สภาพแวดล้อมในการท�ำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สมกับบทบาทต�ำแหน่ง ความ สัมพันธ์กบั ผูบ้ งั คับบัญชา กลุม่ ท�ำงาน และความสัมพันธ์ กับผู้ร่วมงาน พั ฒ นาการในระดั บ ต่ อ มาของการบริ ห ารความ ผูกพันต่อองค์กร ในระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์ได้มีการน�ำเสนอปัจจัยสร้างความผูกพันของ พนักงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานและความ ส�ำเร็จขององค์กร ทั้งนี้ นิยามความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร จึ ง หมายถึ ง การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) การดึ ง ดู ด (Attraction) การสร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว ม (Involement) การท�ำให้เกิดการยึดมั่นในข้อตกลง (Commitment) การเกิดแรงจูง ใจ (Motivation) ทุม่ เท มุ ่ ง มั่ น ปฏิ บั ติ ง านให้ บ รรลุ เ ป้ า หมายในระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น (Balain & Sparrow, 2009; Harter & Schmidt, 2008) การสร้างความผูกพันต่อองค์กร จึงเป็นการแสวงหา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน 3 ส่วน คือ 1 ปัจจัยที่สร้าง ความผูกพัน 2 ลักษณะของการแสดงออกถึงความผูกพัน และ 3 ผลลัพธ์ของความผูกพัน ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ปัจจัยสร้างความผูกพันและผลลัพธ์ของความ ผูกพัน ปัจจัยสร้างความ ลักษณะของ การแสดงออก ผูกพัน ถึงความ (Engagement ผูกพัน Drivers) 1. งานที่มีคุณค่า • ความผูกพัน และท้าทาย ต่องาน 2. ความสัมพันธ์ที่ดี • ความผูกพัน ในองค์กร ต่อองค์กร 3. ความสัมพันธ์ที่ดี กับหัวหน้า 4. รางวัลและการ ชื่นชม ยกย่อง 5. ความยุติธรรม 6. ผลการดำ�เนินงาน ที่ส่งผลดีต่อสังคม

ผลลัพธ์ของความ ผูกพัน • ความพึงพอใจ ต่องาน (Job Satisfaction) • ความยึดมั่นต่อ ข้อตกลงกับองค์กร (Organizational Commitment) • การแสดงออก ในฐานะสมาชิก ที่ดีขององค์กร (Organizational Citizenship Behavior)

ที่มา: ปรับปรุงจาก Balain และ Sparrow (2009) จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่า ได้มีการน�ำเสนอปัจจัย สร้างความผูกพันที่องค์กรสามารถบริหารจัดการได้มี 6 ประการดังนี้ 1) งานที่มีคุณค่าและท้าทาย 2) ความ สัมพันธ์ที่ดีในองค์กร 3) ความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้า 4) รางวัลและการชื่นชม ยกย่อง 5) ความยุติธรรม 6) ผลการด�ำเนินงานที่ส่งผลดีต่อสังคม ซึง่ จะท�ำให้มกี ารแสดงออกถึงความผูกพันต่อองค์กร ใน 2 ระดับ คือ ความผูกพันต่องานและความผูกพัน ต่อองค์กร จากนั้นจะส่งผลไปยังความพึงพอใจต่องาน ความยึดมั่นต่อข้อตกลงกับองค์กร และการแสดงออก ในฐานะสมาชิกที่ดีขององค์กรนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อ องค์กรมุง่ สูก่ ารเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง มีการจัดการ เชิงกลยุทธ์ที่มุ่งความส�ำเร็จและความสามารถในการ แข่งขันได้ การสร้างความผูกพันจึงพัฒนาการปรับแนว ความคิดยกระดับสู่การสร้างห่วงโซ่การบริการแห่งก�ำไร Service-Profit Chain ให้กับองค์กรดังปรากฎตาม ข้อเสนอของ Heskett และคณะ (1994) ตามภาพที่ 1

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

99

ภาพที่ 1 ห่วงโซ่การบริการแห่งก�ำไร (The Service-Profit Chain) ที่มา: ปรับปรุงจาก Heskett และคณะ (1994: 164-174) จากภาพที่ 1 การบริ ห ารปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การ ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของพนักงาน สร้างความ พึงพอใจให้กับพนักงาน ท�ำให้องค์กรสามารถรักษา พนั ก งาน และสามารถเพิ่ ม ผลิ ต ภาพผลิ ต ผลในงาน ประกอบด้วย การจัดสภาพแวดล้อมในงาน การออกแบบ งาน และการมอบหมายการตัดสินใจในงาน การคัดเลือก และการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน การมีระบบ สื่อสารภายใน และการจัดเครื่องมือหรืออุปกรณ์การ ท�ำงานที่เพียงพอ เหมาะสมกับการให้บริการลูกค้า ด้วยการบริหารจัดการดังกล่าวจะท�ำให้พนักงานให้ บริการลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ลูกค้าเกิด ความพึงพอใจสูงสุด ลูกค้าเกิดความจงรักภักดี กล่าวคือ องค์กรสามารถรักษาลูกค้าไว้ได้และมีการซื้อซ�้ำซื้อเพิ่ม เกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลสุดท้าย

ไปที่การเติบโตของรายได้ และความสามารถในการท�ำ ก�ำไร ธุรกิจบริการรับช�ำระ ธุรกิจบริการรับช�ำระ เป็นธุรกิจภาคบริการทีอ่ ำ� นวย ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการรับช�ำระค่าสินค้าและ บริการต่างๆ ณ จุดรับช�ำระ ธุรกิจบริการรับช�ำระ บริษัท XYZ จ�ำกัด ด�ำเนิน ธุรกิจบริการรับช�ำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเบีย้ ประกันภัย เป็นต้น โดยสามารถ ช�ำระ ณ จุดรับช�ำระ ที่กระจายอยู่ตามสถานที่ที่ลูกค้า เข้าถึงได้สะดวก เช่น ร้านค้าปลีก ศูนย์การค้าชั้นน�ำ อาคารส�ำนักงาน และย่านชุมชม ซึ่งมีกว่า 8,000 จุด บริการ ครอบคลุมทั่วประเทศ มีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน โดยมีรายการที่สามารถช�ำระได้ประมาณ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


100

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

10,000 รายการ อาทิ ค่าสาธารณูปโภค ค่าธรรมเนียม ของราชการ ค่าเช่าซื้อสินค้า ค่าบัตรเครดิต ค่าสินเชื่อ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ ค่าเคเบิ้ลทีวี (Pay TV) ค่าการศึกษา ค่าสินค้า ค่าเดินทาง คมนาคม เงินบริจาค ค่าบันเทิง ค่าอสังหาริมทรัพย์ และค่าสินค้าและบริการจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ปัจจัยที่ท�ำให้มีผู้ใช้บริการจ�ำนวนมากเกิดจาก 1. การมีสถานที่ตั้งที่สะดวก เข้าถึงง่าย 2. การบริการที่รวดเร็ว ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 3. มีความน่าเชือ่ ถือ กล่าวคือ มีขอ้ มูลและแสดงชือ่ ผูใ้ ช้บริการ แสดงขัน้ ตอนการช�ำระส่งเงินทีเ่ ป็นทีย่ อมรับ มีการออกใบรับเงิน ใบเสร็จที่ชัดเจน 4. การบริการที่เป็นมิตร สุภาพ เป็นกันเอง และ ผู้ให้บริการมีความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ ด้วยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการแข่งขันสูง องค์ ก รจึ ง มุ ่ ง เน้ น การสร้ า งนวั ต กรรมและน� ำ ระบบ

สารสนเทศประสิทธิภาพสูงที่เปรียบเสมือนเส้นเลือด ใหญ่ที่ท�ำให้การปฏิบัติงานในธุรกิจบริการรับช�ำระของ บริษัท XYZ จ�ำกัด เป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และ ถูกต้อง บริษทั ยังมุง่ มัน่ พัฒนาอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ก้าวไปสู่ การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง (High Performance Organization HPO) โดยน�ำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง ชาติ (Thailand Quality Award TQA) เป็นแนวทาง พัฒนาและเป็นเป้าหมายหลักขององค์กร

กรอบความคิดในการวิจัย

เนื่องจากธุรกิจบริการรับช�ำระเงิน บริษัท XYZ จ� ำ กั ด มี เ ป้ า หมายพั ฒ นาองค์ ก รสู ่ ก ารเป็ น องค์ ก ร ประสิทธิภาพสูง (HPO) ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง ชาติ (TQA) ผู้วิจัยจึงบูรณาการแนวความคิดและทฤษฎี ข้างต้น พัฒนาขึ้นเป็นกรอบความคิดในการวิจัยที่มอง การบริหารความผูกพันเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ดังนี้

ภาพที่ 2 ตัวแบบความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเชิงกลยุทธ์ ที่มา: ปรับปรุงจาก Hersberg (1968), Maslow (1970), Macey และคณะ (2009), Heskett และคณะ (1994) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จากภาพที่ 2 แสดงตัวแบบความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กรเชิงกลยุทธ์ทพี่ ฒ ั นามาจากแนวคิด ทฤษฎี และ ผลการวิจัย โดยมีการตรวจสอบยืนยันแล้วโดยการวิจัย ในบริ บ ทขององค์ก รในประเทศไทย โดยศูนย์ใ ห้ค�ำ ปรึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันการจัดการ ปัญญาภิวัฒน์ (PIM HR Excellence Center) แล้ว ตัวแบบนี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาความผูกพันของ พนักงาน เกิดจากที่องค์กรควรด�ำเนินการบริหารปัจจัย ความผูกพัน 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มปัจจัยสนับสนุนความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Hygiene Drivers) ประกอบ ด้วย 1.1 การก�ำหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางธุรกิจ การ จัดการความเปลีย่ นแปลงให้ทนั กับสถานการณ์ทางธุรกิจ (Strategy, Policy and Change) 1.2 การสื่อสารนโยบาย กลยุทธ์ และแผนธุรกิจ ให้บุคลากรทราบ (Communication) 1.3 การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรให้มีขีด ความสามารถตรงกั บ งาน (Competency based Recruitment & Selection) 1.4 การบริหารผลการปฏิบตั งิ านและการพัฒนา บุคลากร รวมถึงการสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้แก่ พนักงาน (Performance Management and Career Development) 1.5 การด�ำเนินการเพือ่ รักษาบุคลากร (Retention) เช่น การบริหารค่าตอบแทนที่จูงใจ การดูแลสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัย และการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ 1.6 การมอบหมายงาน (Deployment) ซึง่ รวม ไปถึงการมีแนวปฏิบตั ใิ นการโอนย้าย หมุนเวียนงาน การ พ้นสภาพการท�ำงาน 2. กลุ ่ ม ปั จ จั ย สร้ า งความผู ก พั น ของพนั ก งาน (Employee Engagement Motivation Drivers) ประกอบด้วย 2.1 งานและสถานทีท่ ำ� งาน  (Job & Workplace)

101

กล่าวคือ ความท้าทายของงาน ความเสี่ยงภัยที่มีโอกาส เกิดในงาน 2.2 ความสามารถในการปฏิบัติงาน (Capability) การมีโอกาสในการริเริม่ สิง่ ใหม่  ความพร้อมด้านเครือ่ งมือ ทรัพยากร สภาพแวดล้อมทางสังคม 2.3 การจูงใจด้วยรางวัล การชื่นชม (Motivation) จากหัวหน้า ผู้ร่วมงาน และความใกล้ชิดสนิทสนมกัน 2.4 การมอบอ�ำนาจการตัดสินใจ (Empowerment) ความยืดหยุ่นในการท�ำงาน การเปิดโอกาสให้เสนอแนว ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2.5 ข้อมูลข่าวสาร (Information) หมายถึง การมี ระบบให้บุคลากรเข้าถึงแหล่งข้อมูลระบบการรายงาน ติดตามผล 2.6 ความเชื่อมั่น เชื่อถือซึ่งกันและกัน (Trust) ใน ที ม งาน การยอมรั บ ในชื่ อ เสี ย งและภาพลั ก ษณ์ ข อง องค์กร ปัจจัยสร้างความผูกพันของพนักงานดังกล่าวข้างต้น จะถูกค้นหาและวิเคราะห์ให้พบว่า มีเรือ่ งใดบ้างทีอ่ งค์กร ต้องปรับปรุง โดยผลการปรับปรุงพัฒนานัน้ จะต้องท�ำให้ เกิดความรู้สึกผูกพันของพนักงาน (Feel Engaged) ซึ่ง วัดได้จาก • การมีปฏิกิริยาตอบรับอย่างฉับพลัน (Urgency) • ความทุ่มเท (Intensity) • ความเอาใจใส่ (Focus) • ความกระตือรือร้น (Enthusiasm) • ความมุ่งความส�ำเร็จ (Achievement) • ความมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) ความรูส้ กึ นึกคิดทีด่ เี หล่านีจ้ ะส่งผลให้เกิดพฤติกรรม ที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบุคคลและระหว่าง หน่วยงาน (Look Engaged) โดยวัดจากความรูส้ กึ นึกคิด ของแต่ละบุคคลต่อผู้ร่วมงานในประเด็น • การส่งมอบงานตรงเวลา (Timeliness) • ผู้ร่วมงานใช้ความรู้ ความสามารถในการท�ำงาน ร่วมกันอย่างเต็มที่ (Competence) • ความมีมิตรภาพ (Friendliness)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


102

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

• ความมีจิตใจเอื้อเฟื้อกัน (Extra Mind) • การปฏิบัติต่อกันอย่างยุติธรรม (Fairness) • มีการประเมินผลการปฏิบัติจากผู้ร่วมงานว่าดี หรือไม่ (Outcome) ผลการปฏิบัติงานด้วยดีดังกล่าวจะส่งผลให้ลูกค้า และผู้รับบริการได้รับสิ่งที่ดี เกิดความผูกพันและภักดี (Customer Engagement) อั น มี ผ ลโดยตรงกั บ ผลประกอบการของบริษัทฯ

วิธีการวิจัย

การวิจยั นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงคุณภาพโดยมีขนั้ ตอนการ วิจัยดังนี้ 1. การวิจัยเชิงคุณภาพมีรายละเอียดการด�ำเนินการ ดังนี้ 1.1 วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก จากผูบ้ ริหารและพนักงานทีเ่ ป็นตัวแทนจากทุก หน่วยงานจ�ำนวน 19 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนา ขึ้นตามกรอบความคิดในการวิจัย 3 ประเด็นส�ำคัญหลัก ประกอบด้วย 1) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยสร้างความ ผูกพันต่อองค์กร 2) พนักงานคิด รู้สึก และมีพฤติกรรม แสดงออกอย่างไร ซึ่งถือเป็นประเด็นส�ำคัญที่สะท้อน ระดับค่าความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และ 3) คือ ผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์ร

1.2 วิธีการเก็บข้อมูลจากการสังเกตขณะการ ปฏิบัติงานจริงของพนักงาน โดยผู้วิจัยได้ลงส�ำรวจภาค สนาม เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานจริงของทุกกลุ่มงาน ทั้ง กลุม่ งานทีป่ ฏิบตั งิ านภายในส่วนส�ำนักงาน และกลุม่ งาน ที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมในการ ปฏิ บั ติ ง านต่ า งกั น อาทิ งานสนั บ สนุ น งานระบบ สารสนเทศ งานการตลาด งานฝ่ายปฏิบัติการ ทั้งนี้ เพื่อ ให้ได้ขอ้ มูลทีค่ รบถ้วนและยังเป็นกระบวนการตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์อีกครั้ง หนึ่ง 1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ เนือ้ หาสาระ (Content Analysis) เป็นการวิเคราะห์การ เชื่อมโยงของข้อมูลที่ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้นได้ผ่านการ สอบทานความถูกต้องด้วยการตรวจสอบด้านวิธรี วบรวม ข้อมูลแบบสามเส้า (Methodological Triangulation) ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ สังเกต และการรวบรวมจาก เอกสารประกอบ ว่ามีความสอดคล้องไปในทิศทาง เดียวกัน โดยจะน�ำเนือ้ หาทีไ่ ด้แยกประเภท จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ผา่ นบริบทหรือสภาพแวดล้อมประกอบทีส่ ำ� คัญ และหาข้อสรุปจากผลการวิเคราะห์ที่มีความเชื่อถือได้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จะถูกพัฒนาเป็นตัวแบบ ความผูกพันต่อองค์กร ส�ำหรับกรณีศึกษาธุรกิจบริการ รับช�ำระ ดังจะได้น�ำเสนอต่อไป

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

103

ภาพที่ 3 ตัวแบบความผูกพันของพนักงานในธุรกิจบริการรับช�ำระ สรุ ป ผลการวิ จั ย เป็ น ตั ว แบบเบื้ อ งต้ น ของความ ผูกพันของพนักงานต่อองค์กรของธุรกิจบริการรับช�ำระ บริษัท XYZ จ�ำกัดได้ดังตัวแบบข้างต้น (ภาพที่ 3) ซึ่ง สามารถอธิบายให้เห็นถึงปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยเพือ่ สร้างความผูกพันของพนักงาน (Engagement Drivers) ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1. ปัจจัยด้านลักษณะงาน (Job Characteristics) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย • การให้อ�ำนาจตัดสินใจ • มีอิสระและคล่องตัว • มีค�ำอธิบายงานและขอบข่ายงานที่ชัดเจน • ท�ำงานที่ตรงกับความรู้ความสามารถ • ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการท�ำงาน • ปริมาณงาน • งานมี ค วามหลากหลาย (งานประจ� ำ กั บ งาน โครงการ)

• งานใหม่และงานทีไ่ ม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ • มีระบบงานและระบบสารสนเทศที่สนับสนุน การท�ำงานที่ท้าทาย 2. ปัจจัยด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People/ Social) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย • บทบาทของผู้บริหารระดับสูงสุด • บทบาทของผู้บริหารระดับกลาง • ความสัมพันธ์ในความหลากหลายในองค์กร 3. ปัจจัยด้านระบบองค์กร (Organization Practice) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย • ค่าตอบแทน • เบี้ ย เลี้ ย งและช่ ว ยเหลื อ ในการปฏิ บั ติ ง าน (Allowance) ที่ เ หมาะสมและสอดคล้ อ ง กับลักษณะของงาน • ความก้ า วหน้ า ในงาน ระบบการพั ฒ นาและ แหล่งความรู้ที่ช่วยในการพัฒนา (Learning and Development)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


104

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

• ระบบบริ ห ารผลงาน (Performance Management) • ระบบการชื่นชมผลงาน 4. ปั จ จั ย หลั ก ด้ า นสภาพแวดล้ อ มขององค์ ก ร (Organization Climate) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย • การสื่อสารนโยบายขององค์กร • การสร้างวัฒนธรรมองค์กร • ชื่อเสียงขององค์กร • ความมั่นคงขององค์กร • บรรยากาศการท�ำงานเป็นทีม • การให้ความส�ำคัญกับข้อเสนอและความคิดริเริม่ • ช่องทางในการสื่อสารข่าวสารภายใน • การสร้างเครือข่าย (Network) ระหว่างองค์กร กับบริษัทแม่ • ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม (Corporate Social Responsibility) และความยั่งยืน Sustainability ปัจจัยสร้างความผูกพันของพนักงานเหล่านี้จะถูก ค้นหาให้พบว่า มีเรื่องใดบ้างที่องค์กรต้องปรับปรุง โดย ผลการพัฒนาปรับปรุงจะต้องท�ำให้เกิดความรูส้ กึ ผูกพัน ของพนักงาน (Feeling) ซึ่งวัดได้จากทัศนะต่อองค์กร ประกอบด้วย • ความรู้สึกเป็นเจ้าของ/ภาคภูมิใจ • การได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม • การเรียนรู้และยอมรับนโยบายขององค์กร • มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันแบบพี่น้อง • การเห็นคุณค่าต่อตัวพนักงาน ความรูส้ กึ ความคิดทีด่ เี หล่านีจ้ ะส่งผลต่อพฤติกรรม ที่แสดงออก (Behavior) ซึ่งวัดได้จากพฤติกรรมการ ปฏิบัติงาน ดังนี้ • การทุ่มเทให้กับการท�ำงาน (เข้างานก่อนเวลา เลิกงานหลังเวลา) • การท�ำงานทีป่ ริมาณมากขึน้ และความยากมากขึน้ • การมีส่วนร่วมในการท�ำงาน • ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสู่คุณภาพ

• ช่วยเหลือและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน พฤติกรรมการปฏิบัติงานต่างๆ ดังกล่าวนี้ ท�ำให้ ผลการปฏิบัติงาน (Performance) ร่วมกันของบุคคล ทีมงาน และองค์กรเป็นไปอย่างดี โดยวัดจากผลการ ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ บุคคล (Individual Performance) • ระดับบุคคล (งานตามเป้าหมายที่ก�ำหนดกับ งานที่เพิ่มขึ้นที่อาจไม่ได้วางแผนล่วงหน้า) ทีมงาน (Team Performance) • ระดับทีม (งานตามเป้าหมายที่ทีมงานก�ำหนด กับงานที่เพิ่มขึ้นที่อาจไม่ได้วางแผนล่วงหน้า) องค์กร (Business Performance) • ผลประกอบการมีความก้าวหน้า • มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นสม�่ำเสมอ • ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น • เป็นผู้น�ำตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการ รับจ่าย • ท�ำประโยชน์ให้สังคมและความยั่งยืน

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

ตัวแบบที่อธิบายความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจ บริการรับช�ำระบริษัท XYZ จ�ำกัด ประกอบด้วยปัจจัย สร้างความผูกพัน 4 ด้าน 1) ด้านลักษณะงาน (Job Characteristics) 2) ด้านบุคคลและสังคมในองค์กร (People/Social) 3) ด้านระบบองค์กร (Organization Practice) และ4) ด้ า นสภาพแวดล้ อ มขององค์ ก ร (Organization Climate) ถึงแม้วา่ จะไม่พบความแตกต่าง จากแนวคิดทฤษฎีทพี่ ฒ ั นาเป็นกรอบความคิดในการวิจยั ขัน้ ต้นมากนัก แต่ในรายละเอียดจะมีลกั ษณะเฉพาะของ องค์กรในธุรกิจบริการรับช�ำระเท่านั้น อนึง่ การแสดงออกถึงความผูกพันต่อองค์กรทีอ่ ยูใ่ น กรอบความคิดเกี่ยวกับความรู้สึก (Feeling Engaged) กับพฤติกรรมที่แสดง (Behavior Engaged) สอดคล้อง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ตามกรอบความคิดการวิจยั แต่รายละเอียดย่อยก็พบว่า เป็นลักษณะเฉพาะขององค์กรนี้เท่านั้น ผลลัพธ์ของการสร้างความผูกพันแสดงออกเป็น 3 ระดับ คือ ผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลที่บรรลุเป้า หมายทีบ่ ริษทั ก�ำหนด ผลการปฏิบตั งิ านระดับทีมเป็นไป ตามเป้าหมายทีบ่ ริษทั คาดหวัง และผลลัพธ์ทเี่ ป็นผลงาน ในระดับองค์กรโดยรวมดีขึ้น ซึ่งในธุรกิจบริการรับช�ำระ บริษัท XYZ จ�ำกัด วัดความส�ำเร็จจากผลประกอบการ ที่มีความก้าวหน้า เกิดธุรกิจใหม่อย่างสม�่ำเสมอ สร้าง ความพึงพอใจให้ลูกค้า เป็นผู้น�ำด้านผลิตภัณฑ์และ บริการรับช�ำระ และเป็นองค์กรที่พร้อมท�ำสิ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคม

105

อย่างไรก็ตามข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสร้างตัวแบบ อธิบายความผูกพันต่อองค์กร โดยการวิเคราะห์จาก ข้อมูลเชิงคุณภาพเท่านัน้ การทีอ่ งค์กรจะบรรลุเป้าหมาย การสร้างความผูกพันได้อย่างแท้จริง ควรต้องด�ำเนินการ อีก 2 เรือ่ ง คือ ทดสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์โดยเฉพาะ ที่ เ ป็ น เชิ ง ปริ ม าณ ซึ่ ง เป็ น การเก็ บ ข้ อ มู ล จากกลุ ่ ม ประชากรที่กว้างขวางกว่านี้ เพื่อตรวจสอบและยืนยัน ตัวแบบอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงน�ำตัวแบบดังกล่าวไป วั ด ค่ า ระดั บ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ร ณ สถานการณ์ ปัจจุบันว่าอยู่ในระดับใด และปัจจัยส�ำคัญใดมีอิทธิพล ต่อความผูกพันในระดับสูง ที่ควรเลือกมาด�ำเนินการ พัฒนาต่อเป็นต้น

บรรณานุกรม

ธุรกิจบริการรับช�ำระ. (2557). เอกสารแนะน�ำธุรกิจบริการรับช�ำระ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักทรัพยากร บุคคล บริษัท XYZ จ�ำกัด. รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). เกณฑ์คุณภาพเพื่อความเป็นเลิศ (TQA). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557, จาก http://www.tqa.or.th ส�ำนักบริการวิชาการศูนย์ให้ค�ำปรึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ PIM HR Excellence Center. (2557). การสร้างความผูกพันต่อองค์กร. กรุงเทพฯ: ส�ำนักบริการวิชาการ. Albrecht, S. L. (2010). Employee engagement: 10 Key questions for research and practice. In Albrecht, S. L. (ed.). Handbook of employee engagement: Perspectives, issues, research and practice. UK: Edward Elgar. Armstrong, M. & Taylor, S. (2014). Armstrong’s handbook of human resource management practice. USA: Kogan Page Publishers. Balain, S. & Sparrow, P. (2009). Engaged to perform: A new perspective on employee engagement: Academic report. Centre for Performance-led HR, Lancaster University Management School. De Lacy, J. C. (2009). Employee engagement: The development of a three dimensional Model of engagement and an exploration of its relationship with affective leader behaviours. Queensland University of Technology. Guest, D. E. & Conway, N. (2002). Communicating the psychological contract: An employer perspective. Human Resource Management Journal, 12(2), 22-38. Harter, J. K. & Schmidt, F. L. (2008). Conceptual versus empirical distinctions among constructs: implications for discriminant validity. Industrial and Organizational Psychology, 1, 36–39. Heskett, J. L. & Schlesinger, L. A. (1994). Putting the service-profit chain to work. Harvard business review, 72(2), 164-174. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


106

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Herzberg, F. (1968). One more time: how do you motivate employees?. Harvard Business Review, 46, 53–62. Hundley, S. P., Jacobs, F. & Drizin, M. (2007). Workforce engagement: Strategies to attract, motivate and retain talent. Washington, DC: World at Work Press. Karson, R. & Kruse. F. (2011). WE: How to increase performance and profits through full engagement. New Jersey: Wiley & Sons. Kessler, S. & Bayliss, F. (1992). Contemporary British Industrial Relation. London: Macmillan. Macey, W. H., Schneider, B., Barbera, K. & Young, S. A. (2009). Employee engagement: Tools for analysis, practice, and competitive advantage. London, England: Blackwell. Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper. Perrin, T. (2006). Engaged employees help boost the bottom line. US: Towers Perrin-ISR. Society for Human Resources Management (2011) Module 3: Employee relation and communication. Florida: SHRM.

Translated Thai References

Bill payment service business. (2014). Introduction of bill payment Service business document. Bangkok: HR department of XYZ company limited. [in Thai] HR Excellence Center. Panyapiwat institute of management (2014). Employee Engagement. Bangkok: Academic Service. [in Thai] Thailand Qulity Award. (n.d.). Criteria for Performance Excellence (TQA). Retrieved December 20, 2014, form TQA website http://www.tqa.or.th [in Thai]

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

107

Lertchai Suthammanon received his Bachelor Degree in Public Administration (Second Class Honors) from Prince of Songkla University and Master Degree in Personal Administration (NIDA). With outstanding educational record, he also graduated Doctor of Philosophy in Human Resource Development from Ramkhamhaeng University. He is currently an Assistant President of Panyapiwat Institute of Management and Acting in Director of MBA Program: People Management & Organization Strategy (POS) in Panyapiwat Institute of Management. Kesaya Osathanugrah received her Bachelor Degree of Arts Program (English), major in Business Management (Second Class Honors) from Bangkok University. She graduated Master Degree of Social Development, major in Management from National Institute of Development Administration (NIDA). She is currently a full time lecturer in Human Resource Management Faculty of Management Science, Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


108

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา รัฐวิสาหกิจสาขาพลังงานแห่งหนึ่ง THE PERFORMANCE MANAGEMENT SYSTEM DESIGN: CASE STUDY OF A STATE ENTERPRISE IN THE POWER SECTOR วิเชศ ค�ำบุญรัตน์1 และภานุวัฒน์ กลับศรีอ่อน2 Wichet Khambunrat1 and Panuwat Klubsri-on2 บทคัดย่อ

รัฐวิสาหกิจประเภทพลังงานเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ เพื่อด�ำเนินการด้านการผลิตและ จ�ำหน่ายพลังงาน ก�ำกับดูแลโดย ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้บรรลุตัวแปรและเป้า หมายในการด�ำเนินการ รัฐวิสาหกิจประเภทพลังงานแห่งนี้จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ที่เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ และเชื่อมโยงกับระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์อ่ืน โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจประเภทพลังงานให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบัติผลงานต้องมี 6 ประการ คือ (1) การวางแผนเพื่อการจัดการผลการปฏิบัติงาน (2) การสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงาน (3) การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ (4) การบริหารผลการปฏิบัติงานและปรับปรุงงาน (5) การประเมินและทบทวนผลการปฏิบัติงาน และ (6) การบูรณาการระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานกับระบบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์อนื่ ข้อค้นพบจากการวิจยั นีม้ ปี ระโยชน์นำ� ไปใช้ในการน�ำระบบไปทดลองปฏิบตั ิ ตัง้ แต่การ วางแผนเพือ่ การจัดการผลการปฏิบตั งิ าน การด�ำเนินการตามระบบทีไ่ ด้วางไว้ มีการประเมินและทบทวนผลการปฏิบตั ิ งาน การรวบรวมผลการปฏิบัติงาน และการเชื่อมโยงบูรณาการกับระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่น ค�ำส�ำคัญ: ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน รัฐวิสาหกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์

Abstract

A state enterprise in the power sector is an organization established by the Act to carry out the production and distribution of energy governed by State Enterprise Policy Office (SEPO), Ministry of finance. In order to conform with SEPO’s policy, the organization has set its vision, mission and 1 อาจารย์ประจ�ำ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Human Resource

Management, Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: wichetkha@pim.ac.th

2 อาจารย์ประจ�ำ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Human Resource

Management, Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: panuwatklu@pim.ac.th

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

109

strategic issues. For achieving the organizational goals, the organization needs to develop a performance management system. This research aims to design a performance management system of a state enterprise in the power sector to run effectively and meet the standards of best practice. The results indicate that the design of performance management system requires 6 steps: (1) performance management planning (2) participatory creation and development to drive performance management system (3) communication for raising awareness and understanding (4) performance management and improvement (5) performance evaluation and review and (6) the integration of performance management systems and related human resource management systems. The findings from this research are useful to apply the system into practice in various ways, from planning for management performance, implementing planned system, evaluating and reviewing performance, gathering performance to integrating with other related human resource management systems. Keywords: Performance management system, State enterprise, Human resource management

บทน�ำ

รัฐวิสาหกิจเป็นองค์การ หน่วยงานทางธุรกิจ บริษทั หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รัฐเป็นเจ้าของ หรือมีทุน รวมกันแล้วต้องมากกว่าครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน (พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502, 2502; พระราชบัญญัติ คุ ณ สมบั ติ ม าตรฐานส� ำ หรั บ กรรมการและพนั ก งาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518, 2518) รั ฐ วิ ส าหกิ จ ประเภทพลั ง งานเป็ น รั ฐ วิ ส าหกิ จ ที่ จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ เพื่อด�ำเนินการด้านผลิตและ จ�ำหน่ายพลังงาน (นันทวัฒน์ บรมานนท์, 2551) มี 3 หน่ ว ยงานที่ ก� ำ กั บ ดู แ ลประกอบด้ ว ยส� ำ นั ก งาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สั ง คมแห่ ง ชาติ และพิ จ ารณาแผนการลงทุ น ของ รั ฐ วิ ส าหกิ จ กระทรวงการคลั ง โดยส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะผู้ถือหุ้น และกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานก�ำกับดูแล รัฐวิสาหกิจ ได้ร่วมจัดท�ำแนวนโยบายของผู้ถือหุ้น/ ภาครัฐ (Statement of Direction: SOD) ขึน้ เพือ่ สร้าง

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการก�ำหนด แนวทางการพั ฒ นา และกรอบการประเมิ น ผลการ ด�ำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ให้มีความสัมพันธ์ในเชิง บูรณาการ ครอบคลุมภารกิจหลักของรัฐวิสาหกิจ และ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยก�ำหนด หลั ก การการประเมิ น ผลการด� ำ เนิ น งานรั ฐ วิ ส าหกิ จ ประกอบด้วย การจัดท�ำบันทึกข้อตกลงการประเมินผล การด�ำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement) ส�ำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งก่อนเริ่มปีงบประมาณ ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อก�ำหนดตัวแปรและเป้าหมายใน การด�ำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในแต่ละปี โดยมีคณะ กรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นผูก้ ำ� กับดูแลให้รฐั วิสาหกิจ ด� ำ เนิ น การให้ บ รรลุ ต ามเป้ า หมายที่ ก� ำ หนด ในการ ก� ำ หนดตั ว แปรและเป้ า หมายในการด� ำ เนิ น การ จะ ครอบคลุมด้านส�ำคัญทุกด้านของรัฐวิสาหกิจ รวมถึง คุณภาพในการบริการ (ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ, 2553) เพือ่ ให้บรรลุตวั แปรและเป้าหมายในการด�ำเนินการ รัฐวิสาหกิจประเภทพลังงานแห่งนี้จ�ำเป็นต้องมีการ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


110

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

พัฒนาระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงสู่ การปฏิบัติ และเชื่อมโยงกับระบบการบริหารทรัพยากร มนุษย์อื่น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจประเภท พลังงานให้มปี ระสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานของแนว ปฏิบัติที่ดี (Best Practice)

การทบทวนวรรณกรรม

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ านส่วนที่ 2 คือ วรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ ผลการปฏิบัติงาน แนวคิ ด ทฤษฎี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ระบบการจั ด การ ผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management System มีคำ� แปลในภาษาไทยหลากหลายชือ่ เช่น ระบบ การบริหารจัดการผลการปฏิบตั งิ าน ระบบบริหารผลงาน เป็นต้น ซึง่ มีความหมายคล้ายคลึงกัน โดยมีผใู้ ห้คำ� นิยาม เช่น ปิ ย ะชั ย จั น ทรวงศ์ ไ พศาล (2551: 14) ให้ ความหมายของระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ านไว้วา่ การบริ ห ารจั ด การเชิ ง บู ร ณาการด้ ว ยการเชื่ อ มโยง กระบวนการวางแผน การด�ำเนินงาน การประเมินผล การปรับปรุงแก้ไข และการทบทวนผลการปฏิบตั งิ านทัว่ ทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่องค์กร มุ่งมั่นต้องการ อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2551: 12) ให้ความหมายว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็น กระบวนการประเมินค่าของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในด้าน ต่างๆ ทั้งผลงานและคุณลักษณะอื่นๆ ที่มีคุณค่าต่อการ

ปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้อย่างแน่นอน ภายใต้การสังเกต จดบันทึก และประเมินโดยหัวหน้า โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบและมีมาตรฐาน เดียวกัน มีเกณฑ์การประเมินที่มีประสิทธิภาพในทาง ปฏิบัติให้ความเป็นธรรมโดยทั่วกัน ผุ ส ดี รุ ม าคม (2551: 4) การประเมิ น ผลการ ปฏิบตั งิ าน คือ กระบวนการทีด่ ำ� เนินไปอย่างต่อเนือ่ งใน การประเมินและการบริหารพฤติกรรม (Behavior) และ ผลที่ได้ (Outcomes) จากการปฏิบัติงานของพนักงาน American National Standards Institute (2012: 11) ได้ให้นิยามว่า เป็นระบบของการรักษาหรือการ ปรับปรุงงานให้มปี ระสิทธิภาพผ่านกระบวนการวางแผน งาน การให้ค�ำปรึกษา การเป็นพี่เลี้ยง และการให้ข้อ เสนอแนะอย่างต่อเนื่อง สรุปได้ว่า ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน คือ ระบบการบริหารจัดการทีเ่ ชือ่ มโยงกระบวนการวางแผน การด�ำเนินงาน การประเมินผล การปรับปรุงแก้ไข และ การทบทวนผลการปฏิบตั งิ านทัว่ ทัง้ องค์กรอย่างต่อเนือ่ ง มีมาตรฐาน เกณฑ์การประเมินเดียวกัน เพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ 2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการ จัดการผลการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน นับเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุดในการด�ำเนินการ เนื่องจากการ ออกแบบระบบที่ดีท�ำให้กระบวนการต่างๆ ด�ำเนินการ ไปได้ด้วยดี ผุสดี รุมาคม (2551) ได้ก�ำหนดหลักการออกแบบ ระบบการประเมินไว้ 5 หลักการ ประกอบด้วย 1) ให้ บุ ค คลที่ ต ้ อ งใช้ ร ะบบการประเมิ น มี ส ่ ว นร่ ว มในการ ออกแบบ 2) มองระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ านเป็น ระบบย่อยหนึ่งของระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานต้องน�ำไปปฏิบัติ และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4) ระบบการจัดการ ผลการปฏิบตั งิ านต้องมีความคล่องตัวในการส่งเสริมงาน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ของบุคลากร และ 5) มีความอดทนต่อการเรียนรู้ระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ ทั้ ง นี้ ก ระบวนการออกแบบระบบการจั ด การผลการ ปฏิบัติงาน 7 ขั้นตอนที่ใช้ร่วมกับหลักการออกแบบ 5 หลักการเพื่อความส�ำเร็จในการออกแบบและน�ำไป ใช้ปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) คัดเลือกกลุ่มบุคคลมาร่วม ออกแบบระบบประกอบด้วย ผูบ้ ริหารระดับสูง มืออาชีพ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และผู้ใช้ระบบ 2) ด�ำเนินการ ตัดสินใจเลือกกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบจาก 3 ทางเลือก ประกอบด้วย การใช้ที่ปรึกษาจากภายนอก การด�ำเนินการโดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือการจัดตั้ง คณะท�ำงาน 3) ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันภายใน องค์การ 4) ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของระบบการประเมิน ที่เฉพาะเจาะจง 5) ออกแบบระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงาน 6) ทดลองด้วยการน�ำไปสู่การปฏิบัติ และ 7) ประเมินและตรวจสอบระบบการประเมินเพือ่ น�ำไปสู่ การพัฒนาต่อไป ปิ ย ะชั ย จั น ทรวงศ์ ไ พศาล (2551) กล่ า วถึ ง กระบวนการของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานว่า ควรแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนระบบการ จั ด การผลการปฏิ บั ติ ง าน ที่ ต ้ อ งเชื่ อ มโยงวิ สั ย ทั ศ น์ และพั น ธกิ จ ไปยั ง ตั ว ชี้ วั ด ผลการปฏิ บั ติ ง าน มี ก าร กระจายตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน มีการก�ำหนดตัวชี้วัด ผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และการจัดเตรียม งบประมาณให้เพียงพอส�ำหรับระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงาน 2) การด�ำเนินงานระบบการจัดการผลการ ปฏิบตั งิ าน ทีต่ อ้ งมีการประกาศจัดตัง้ คณะท�ำงานระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงาน การค้นหาตัวชี้วัดต่างๆ การจัดท�ำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน การเชื่อมโยงตัวชี้วัด ผลการปฏิ บั ติ ง านตามกลยุ ท ธ์ ที่ อ งค์ ก ารจั ด ขึ้ น ไป ในสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการจัดเก็บ และบันทึกข้อมูล 3) การประเมินผลระบบการจัดการ ผลการปฏิบัติงานใน 2 รูปแบบคือ การวัดผลเชิงผลผลิต ที่จะวัดค่าเป็นตัวเลขจากผลการด�ำเนินงาน และการ วัดผลเชิงพฤติกรรมทีใ่ ช้ในการประเมินผลการปฏิบตั งิ าน

111

ของพนักงาน 4) การจัดการกับผลการใช้ระบบการ จัดการผลการปฏิบัติงานไปเพื่อการจ่ายผลตอบแทน และการพัฒนาบุคลากร และ 5) การทบทวนระบบการ จัดการผลการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงาน Norhayati และ Siti-Nabiha (2009) ได้ศึกษา เกี่ยวกับกรณีศึกษาระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ของรัฐบาลประเทศมาเลเซียที่สัมพันธ์กับรัฐวิสาหกิจ พบว่ า ระบบการจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง านใหม่ ยั ง ไม่สามารถเปลีย่ นมุมมองของพนักงานต่อการด�ำเนินงาน ในองค์การได้ Metz (2000) ได้ศึกษาการออกแบบระบบการ จัดการผลการปฏิบัติงานที่ดี ประกอบด้วย 1) การก�ำหนด ผลลัพธ์ที่ชัดเจนในผลและความมีความอดทนในการท�ำ ระบบให้สำ� เร็จ 2) การออกแบบระบบต้องค�ำนึงถึงปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอกองค์การ 3) ต้องเชิญหัวหน้างาน ในหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบ และ 4) ผูบ้ ริหารระดับสูงสุดขององค์การเป็นปัจจัยส�ำคัญ ต่อความส�ำเร็จของระบบ Schoonover (2011) สรุปปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ การน�ำระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานมาใช้ประสบ ความส�ำเร็จ คือ 1) ทําการวิเคราะห์เหตุผลทางธุรกิจและ อุปสรรคที่เกี่ยวข้องหากน�ำระบบมาใช้ 2) สร้างกรณี ศึกษาทางธุรกิจส�ำหรับการพัฒนาระบบ 3) มีผสู้ นับสนุน ระบบ (Sponsorship) และเป็นเจ้าของ (Ownership) อย่างเพียงพอ 4) ก�ำหนดกระบวนการออกแบบทีน่ า่ เชือ่ ถือ 5) สร้างแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงก่อนการน�ำระบบ มาใช้ 6) มุ่งเน้นการบูรณาการของเป้าหมายและวิธีการ ในการประเมินผล 7) เน้นการให้ค�ำปรึกษาเพื่อการ ใช้ระบบ 8) ระบุกระบวนการจัดท�ำระบบ นโยบาย กฎเกณฑ์ทางธุรกิจหลักเกณฑ์และบทบาทให้ชัดเจน 9) ชี้แจงแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ 10) ทดสอบระบบก่อนน�ำไปใช้จริง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


112

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

American National Standards Institute (2012) ได้ ท� ำ การศึ ก ษาระบบการจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง าน พบว่า องค์ประกอบขั้นต�่ำของระบบที่ควรมี 3 ประการ คือ 1) การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ที่ต้องการให้ ผลงานส�ำเร็จตามช่วงเวลา 2) การตรวจสอบผลการ ปฏิบัติงาน (Performance Review) ในด้านขั้นตอน ของการประเมินความคืบหน้ากับเป้าหมายที่ก�ำหนด และ 3) แผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงาน (Performance Improvement Plan) Cheng, Dainty และ Moore (2006) ได้ศึกษา การน�ำระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานใหม่ไปใช้ใน องค์กรมีลักษณะของการท�ำงานที่เป็นแบบโครงการๆ พบว่า อุปสรรคของการน�ำระบบไปใช้ คือ การขาดความ มุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงการสนับสนุนการท�ำงาน การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการไม่อ�ำนวยความ สะดวกในการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการเรียนรู้ ระบบ Longo และ Mura (2008) ได้ศึกษาการบริหาร จัดการผู้ถือหุ้นกับการพัฒนาและน�ำระบบการจัดการ ผลการปฏิบัติงานไปใช้ในองค์การ พบว่า นโยบายของ บริษัทและการให้คุณค่าต่อการพัฒนาจากพนักงาน

ในด้านการให้ความไว้วางใจ การสร้างความพึงพอใจ ในงาน การสื่อสาร การท�ำงานเป็นแบบกลุ่มมีความ สัมพันธ์กันอย่างสูง KeongChoong (2013) ศึกษาระบบการจัดการ ผลการปฏิ บั ติ ง านกั บ การจั ด การกระบวนทางธุ ร กิ จ พบว่า จุดอ่อนของการน�ำระบบมาใช้ คือ การใช้ระบบ เฉพาะเรื่องไม่ครอบคลุมทุกกระบวนการทางธุรกิจ Tung, Baird และ Schoch (2011) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการน�ำระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ไปใช้ พบว่า การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ส่งผล ต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของระบบในส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ผลลัพธ์ของงาน และการฝึกอบรมเกีย่ วข้องกับพนักงาน ส่งผลต่อผลลัพธ์ของงานเช่นกัน Baird, Schoch และ Chen (2012) ได้ศึกษา ประสิทธิภาพของระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ านของ รัฐบาลท้องถิ่นประเทศออสเตรเลีย พบความสัมพันธ์ ระหว่างการวัดผลงานแบบหลายมิติ การเชือ่ มโยงผลงาน กับรางวัล การฝึกอบรมและวัฒนธรรมองค์กรในด้าน การท�ำงานเป็นทีม ความเคารพในตัวบุคคล และผลลัพธ์ ของงานกับระบบที่มีประสิทธิภาพ แต่พบว่า ปัจจัย เหล่านี้มีความแตกต่างตามขนาดของหน่วยงาน

จากวรรณกรรมข้างต้น ผู้วิจัยจึงพัฒนากรอบความคิดในการวิจัย ดังนี้

ภาพที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จากการพัฒนาข้างต้น กระบวนการออกแบบระบบ การจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง านเริ่ ม จากการก� ำ หนด ยุทธศาสตร์องค์กรโดยผูบ้ ริหารทีต่ อ้ งวิเคราะห์ทงั้ ปัจจัย ภายในและภายนอก ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ความ สามารถขององค์กร เพื่อก�ำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และโครงการเชิงกลยุทธ์หรือแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ยุทธศาสตร์องค์กรแปลงไปสู่การปฏิบัติต้องใช้ กระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงาน อันประกอบด้วย - การวางแผน (Performance Planning) เพือ่ การ จัดการผลการปฏิบัติงานที่เป็นการแปลง (Cascading) จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์การอย่างสอด ประสานกั น (Alignment) ซึ่ง เป็นภารกิจ หลัก ของ โครงการนี้ - การด� ำ เนิ น การตามระบบการจั ด การผลการ ปฏิบัติงาน (Performance Implementation) ซึ่ง เป็นการสื่อสาร สร้างการยอมรับ พัฒนาทักษะ และ พัฒนาทัศนคติ ด้วยกระบวนการบริหารการเปลีย่ นแปลง - การประเมิ น และทบทวน (Assessment & Review) ผลการปฏิ บั ติ ง าน และการปรั บ ปรุ ง โดย ต่อเนื่อง - การรายงานผลการปฏิบัติงาน (Performance Report) อย่างเป็นทางการ - การเชือ่ มโยงบูรณาการ ระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงาน (Integration) สู่ระบบการบริหารทรัพยากร มนุษย์อื่น เช่น ค่าตอบแทน จูงใจ ค่าตอบแทนตาม ผลงาน เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาระบบการจัดการผลการปฏิบัติ งานมีประสิทธิภาพจ�ำเป็นต้องมีสมรรถนะในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ (Competency-based Management) ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนระบบ พร้อมกับก�ำหนดให้ มีการจัดการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ด้วยการท�ำ P-DC-A (Plan-Do-Check-Act) ตามแนวทางการบริหาร เพื่อความเป็นเลิศ (SEPA) ที่กล่าวถึงการมี ApproachDeployment- Learning-Integration และน�ำผลข้อมูล ย้อนกลับ (Forward Feedback) รวมถึงต้องมีระบบ

113

สารสนเทศทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ (Human Resource Information System: HRIS) เพือ่ ให้การจัดการผลการ ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพโดยสามารถรองรับทั้งในส่วน ผลการปฏิบัติงาน (Performance) และส่วนสมรรถนะ บุคลากร (Competency) ตั้งแต่กระบวนการวางแผน งาน การด�ำเนินการ การประเมินและทบทวนผลการ ปฏิบตั งิ าน การรายงานผล และการน�ำผลการปฏิบตั งิ าน ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ

วิธีการด�ำเนินการวิจัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยได้มีขั้นตอนการท�ำวิจัย ดังนี้คือ 1. ศึกษาข้อมูลเอกสารจากแผนวิสาหกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน นโยบายและแนวทางการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ประเภทพลังงาน และกระบวนการจัดการผลการปฏิบตั ิ งาน 2. สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ระดับผู้ว่าการและ รองผู้ว่าการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Focus Group) กับ ผู ้ บ ริ ห ารผู ้ ช ่ ว ยผู ้ ว ่ า การและกลุ ่ ม ผู ้ บ ริ ห ารที่ มี ค วาม สามารถระดับสูงเพื่อหาความต้องการในด้านระบบการ จัดการผลการปฏิบัติงาน 3. ศึ ก ษาหลั ก การแนวปฏิ บั ติ ที่ ดี ข องระบบการ จัดการผลการปฏิบตั งิ าน (Research/Benchmark) กับ องค์กรชั้นน�ำ 4. พัฒนาเป็นหลักการที่ใช้ในการออกแบบระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงาน 5. สรุประบบการจัดการผลการปฏิบัติงานและ น�ำเสนอ

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นผู้บริหารระดับ สูงระดับผู้ว่าการ จ�ำนวน 1 คน รองผู้ว่าการ จ�ำนวน 5 คน ผู้ช่วยผู้ว่าการ จ�ำนวน 10 คน และกลุ่มผู้บริหารที่มี ความสามารถระดับสูง จ�ำนวน 30 คน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


114

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ผลการวิจัย

น� ำ กรอบความคิ ด การจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง าน มาใช้ในการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ความสามารถหลัก ขององค์การและการศึกษาหลักการแนวปฏิบัติที่ดีของ ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน พบว่า รัฐวิสาหกิจประเภทพลังงานเป็นรัฐวิสาหกิจทีจ่ ดั ตัง้ โดยพระราชบั ญ ญั ติ เพื่ อ ด� ำ เนิ น การด้ า นผลิ ต และ จ�ำหน่ายพลังงาน และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง จากการสัมภาษณ์ผู้ว่าการได้มีแนวนโยบายและ แนวทางการบริหารมีสาระส�ำคัญ ดังนี้ 1) พัฒนาองค์การ สมรรถนะสูง โดยจะต้องเป็น 1 ใน 3 ของรัฐวิสาหกิจ 2) การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) และระบบสารสนเทศทีท่ นั สมัย 3) ปรับชุดความคิดของ บุคลากร (Mind Set) มุง่ ความส�ำเร็จตามเป้าหมายสูงสุด คือ คุณภาพชีวติ ของประชาชน เป็นเป้าหมายร่วมจนเกิด วัฒนธรรมการท�ำงาน “อะไรทีป่ ระชาชนได้” 4) ปรับปรุง คุณภาพของระบบไฟฟ้าและการให้บริการ 5) พัฒนา ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อการเติบโต และต้องสามารถจัดการ ให้เป็น Operational Excellence 6) ท�ำ CSR ที่มุ่งเน้น ด้านสิง่ แวดล้อม และ 7) พัฒนาบุคลากรและการจัดการ ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อรองรับ อนาคตสรุปได้วา่ นโยบายของผูว้ า่ การนัน้ เป็นการพัฒนา องค์การทั้งในด้านปฏิบัติการ ธุรกิจ และกระบวนการ บริหารภายใน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบตั ิ การพบความต้องการในด้านระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงาน องค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ด้านการวางแผน เพื่อการจัดการผลการปฏิบัติ งาน (Performance Planning) - ควรมีการแปลงแผนยุทธศาสตร์ สู่แผนปฏิบัติ การอย่างเป็นระบบลงถึงระดับผู้อ�ำนวยการฝ่าย ด้าน สาระส� ำ คั ญ ของแผนและคุ ณ ภาพตั ว ชี้ วั ด ที่ มุ ่ ง เน้ น กระบวนการ (Process) ค่อนข้างมากกว่าการวัดด้าน ผลลัพธ์ (Strategic Result)

- ควรมีระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ านทีเ่ ชือ่ มโยง กับการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Focus) เพื่อ ผลักดันแผนยุทธศาสตร์องค์กรที่ต้องการความท้าทาย ของเป้าหมาย และตัวชี้วัดความส�ำเร็จอย่างจริงจัง - ควรมีระบบการทบทวนแผนและตัวชี้วัด ปีละ 2 ครัง้ หรือเมื่อสถานการณ์ขององค์กรเปลี่ยนแปลง - ควรมีการก�ำหนดตัวชี้วัดร่วมกันในระหว่างทีม งานทีต่ อ้ งท�ำงานร่วมกัน (Coordinate KPI) แต่ตอ้ งการ ความเป็นระบบและความชัดเจน - ควรมีตัวชี้วัดระดับองค์กรที่ส�ำคัญที่เป็นตัวชี้วัด ระดับองค์กรที่มีน�้ำหนักเพียงพอ - ตัวชี้วัดต้องสะท้อนเป้าหมายขององค์กร หรือมี ลักษณะเป็นนามธรรม ไม่สามารถวัดได้ - ช่วงเวลาของการประเมินผลการปฏิบัติงานกับ การรับตัวชีว้ ดั (KPI) มาปฏิบตั ิ ต้องการการจัดให้มคี วาม สอดคล้องกัน และมีเวลาในการจัดการผลการปฏิบตั งิ าน มากยิ่งขึ้น 2. การด� ำ เนิ น การตามระบบการจั ด การผลการ ปฏิบัติงาน (Performance Implementation) - ควรมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมาย ในเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับกลาง ควรแสดงบทบาท ในฐานะ Performance Driver & Change Agent - ควรมีการสือ่ สารการสร้างค่านิยมหรือวัฒนธรรม องค์การมุ่งความส�ำเร็จ (Result Oriented Culture) และการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในการประเมิน ผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนในทุกระดับ - ควรมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมาย ในเชิงกลยุทธ์ ยกระดับการปฏิบัติงานให้สูงกว่าภารกิจ ปกติ สู่เป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ - ควรมีระบบสารสนเทศที่อ�ำนวยความสะดวก ในการจัดการผลการปฏิบัติงาน 3. การประเมิ น และทบทวนผลการปฏิ บั ติ ง าน (Assessment & Review) - ควรมีรอบของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี ความถี่ในการประเมินมากกว่าปีละ 2 ครั้ง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

- ควรมีกลไกของการทบทวนผลการปฏิบัติงาน อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการอย่างต่อเนื่อง - ควรมีกระบวนการในการยกระดับผลการปฏิบตั ิ งานที่มีการด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง - ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนผลงานที่ใช้ Strategic Focus & Alignment และส่วนพฤติกรรม - ด้ า นการประเมิ น สมรรถนะบุ ค ลากร ควร พิจารณาการน�ำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมพัฒนา มาประยุกต์ใช้ในการท�ำงาน 4. การรายงานผลการปฏิบัติงาน (Performance Report) - การรายงานผลการปฏิบัติงานแยกส่วนระหว่าง แผนงาน และแผนยุทธศาสตร์กับผลการปฏิบัติงาน - รายงานผลการปฏิ บั ติ ง านควรน� ำ ไปใช้ ใ น กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านอื่น - ควรน�ำข้อมูลย้อนกลับมาใช้เป็นกระบวนการทีม่ ี ความต่อเนื่องในชีวิตการท�ำงานประจ�ำวัน 5. การเชื่อมโยงบูรณาการระบบการจัดการผลการ ปฏิ บั ติ ง าน สู ่ ร ะบบการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ อื่ น (Integration) - ควรน�ำผลการจัดการผลการปฏิบตั งิ านไปบริหาร ค่าตอบแทนตามผลงานอย่างจูงใจมากเพียงพอ - การจั ด ระบบผลตอบแทนในรู ป แบบอื่ น ต้ อ ง เชื่อมโยงกับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานอย่าง ชัดเจน - ควรน�ำผลจากระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ าน ไปใช้ในเรื่องอื่น เช่น การพัฒนา การบริหารผู้มีความ สามารถ การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การสร้าง ความผูกพันต่อองค์การ การศึกษาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices Benchmarking) ด้านระบบการจัดการ ผลการปฏิบตั งิ านกับองค์กรชัน้ น�ำ 3 องค์การ ประกอบด้วย บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และ Public Service Electric & Gas พบว่า

115

ต้องมีการจัดระบบและกรอบของเวลาในการจัดการ ผลการปฏิบัติงาน วางกลไกขับเคลื่อนระบบการจัดการ ผลการปฏิบัติงานในรูปคณะกรรมการ ท�ำระบบให้ง่าย ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และการวัดผลเป็นตัวเลข สร้าง ดุลยภาพ เชื่อมโยงทั้งองค์กร

สรุปและอภิปรายผล

จากการศึ ก ษาดั ง กล่ า วข้ า งต้ น สามารถใช้ เ ป็ น แนวทางในการออกแบบระบบการจัดการผลการปฏิบตั ิ งาน 6 ประการ คือ 1. การวางแผนเพื่อการจัดการผลการปฏิบัติงาน จากผลการวิจัย พบว่า ควรมีการแปลงแผนยุทธศาสตร์ สูแ่ ผนปฏิบตั กิ ารอย่างเป็นระบบลงถึงระดับผูอ้ ำ� นวยการ ควรมีระบบที่เชื่อมโยงกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ และ การมีตัวชี้วัดที่ส�ำคัญสะท้อนเป้าหมายระดับองค์การ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะว่าทุกรัฐวิสาหกิจมีการก�ำกับดูแล โดย 3 หน่วยงาน คือ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และกระทรวง ต้นสังกัด โดยมีการจัดท�ำบันทึกข้อตกลงการประเมินผล การด�ำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement) ก่อนเริ่มปีงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นหากมีการ แปลงตัวแปรและเป้าหมายสู่แผนปฏิบัติการ ย่อมท�ำให้ ตัวแปรและเป้าหมายประสบความส�ำเร็จ สอดคล้องกับ งานวิจัยของ ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2551) ที่พบว่า การวางแผนระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ที่ต้อง เชื่ อ มโยงวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละพั น ธกิ จ ไปยั ง ตั ว ชี้ วั ด ผลการ ปฏิ บั ติ ง าน มี ก ารกระจายตั ว ชี้ วั ด ผลการปฏิ บั ติ ง าน มีการก�ำหนดตัวชีว้ ดั ผลการปฏิบตั งิ านให้มปี ระสิทธิภาพ และการจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอส�ำหรับระบบ การจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง าน ทั้ ง นี้ ก ่ อ นมี ก ารแปลง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยของ ผุสดี รุมาคม (2551) และ Schoonover (2001) พบว่ า ต้ อ งประเมิ น สถานการณ์ปัจจุบันภายในองค์การวิเคราะห์เหตุผล ทางธุรกิจและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องหากน�ำระบบมาใช้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


116

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

สร้ า งกรณี ศึ ก ษาทางธุ ร กิ จ ส� ำ หรั บ การพั ฒ นาระบบ ก�ำหนดกระบวนการออกแบบที่น่าเชื่อถือสร้างแผน บริหารการเปลี่ยนแปลงก่อนการน�ำระบบมาใช้ และ ทดสอบระบบก่อนน�ำไปใช้จริงอีกทัง้ ยังสอดคล้องกับการ ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices Benchmarking) จากองค์กรชัน้ น�ำ 3 องค์การ ประกอบ ด้วย บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และ Tenaga Nasional Berhad ที่พบว่า ต้องมีการจัดระบบและกรอบของเวลาในการจัดการ ผลการปฏิบัติงาน การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย และการ วัดผลเป็นตัวเลข สร้างดุลยภาพ เชื่อมโยงทั้งองค์กร ทั้งนี้ American National Standards Institute (2012) ได้ท�ำการศึกษา พบว่า ต้องตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ที่ต้องการให้ผลงานส�ำเร็จตามช่วงเวลา และ ต้องน�ำระบบนีม้ าใช้ครอบคลุมทุกกระบวนการทางธุรกิจ ดังงานวิจัยของ Keong Choong (2013) โดยผุสดี รุมาคม (2551) เสนอทางเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบ ประกอบด้วย การใช้ที่ปรึกษาจากภายนอก การด�ำเนิน การโดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือการจัดตัง้ คณะท�ำงาน 2. การสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบ การจัดการผลการปฏิบัติงาน ผลการวิ จั ย พบว่ า ต้ อ งเน้ น การมี ส ่ ว นร่ ว มของ ผู ้ บ ริ ห าร น่ า จะมี ส าเหตุ ม าจากการจั ด ท� ำ บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงการประเมิ น ผลการด� ำ เนิ น งานรั ฐ วิ ส าหกิ จ (Performance Agreement) ก่อนเริ่มปีงบประมาณ ของรัฐวิสาหกิจ ที่มีการก�ำหนดตัวแปรและเป้าหมาย ในการด�ำเนินการ ครอบคลุมด้านส�ำคัญทุกด้านของ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงคุณภาพในการบริการ ดังนั้นจึงต้อง อาศัยการมีสว่ นร่วมของคนในองค์การทุกภาคส่วน ตัง้ แต่ การวางแผนงานจนถึงการรายงานผลการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2551), Metz (2000), ผุสดี รุมาคม (2551) และการ ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices Benchmarking) จากองค์กรชัน้ น�ำ 3 องค์การ ประกอบด้วย บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด

(มหาชน) และบริษัท Tenaga Nasional Berhad ที่ว่า การด�ำเนินงานระบบการจัดการผลการปฏิบตั งิ าน ทีต่ อ้ ง มีการประกาศจัดตั้งคณะท�ำงาน โดยการให้บุคคล หรือ หั ว หน้ า งานในหน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ ต ้ อ งใช้ ร ะบบการ ประเมินมีส่วนร่วมในการออกแบบเพื่อให้ระบบการ จั ด การผลการปฏิ บั ติ ง าน การจั ด ท� ำ ตั ว ชี้ วั ด ผลการ ปฏิบัติงาน การเชื่อมโยงตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานตาม กลยุทธ์ที่องค์การจัดและการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การมีส่วนร่วมนี้ Schoonover (2011) เสนอให้ มี ก ารก� ำ หนดให้ มี ผู้สนับสนุนระบบ (Sponsorship) และเป็นเจ้าของ (Ownership) อย่างเพียงพอ Cheng, Dainty และ Moore (2006) พบว่า อุปสรรคของการน�ำระบบไปใช้ คือ การขาดความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงในการ สนับสนุนการท�ำงานสอดคล้องกับงานของ Tung, Baird และ Schoch (2011) ที่พบว่า การสนับสนุนจาก ผู้บริหารระดับสูงส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบ 3. การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ จากผลการวิจัยที่พบว่า ควรมีการสื่อสารการสร้าง ค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์การมุ่งความส�ำเร็จ (Result Oriented Culture) และการสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน ในทุกระดับ โดยผู้บริหารระดับกลาง ควรแสดงบทบาท ในฐานะ Performance Driver & Change Agent ทัง้ นี้ เป็นไปได้ว่า ผู้บริหารระดับกลางมีความใกล้ชิดกับ พนักงานเป็นอย่างมาก หากผู้บริหารระดับกลางมีความ เข้าใจในรับการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ย่ อ มสื่ อ สารให้ พ นั ก งานระดั บ ต�่ ำ กว่ า เข้ า ใจได้ ง ่ า ย สอดคล้องกับ Longo และ Mura (2008) ที่พบว่า การสือ่ สาร และการท�ำงานเป็นแบบกลุม่ มีความสัมพันธ์ กั น อย่ า งสู ง กั บ ความส� ำ เร็ จ ของระบบ อี ก ทั้ ง Metz (2000), Cheng, Dainty และ Moore (2006) ที่ได้พบว่า ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง สุ ด ขององค์ ก ารเป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ต่ อ ความส� ำ เร็ จ ของระบบที่ จ ะลดการต่ อ ต้ า นการ เปลี่ ย นแปลงของพนั ก งาน ดั ง นั้ น หากการสื่ อ สาร

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ไม่เพียงพอ Norhayati และ Siti-Nabiha (2009) ศึกษา พบว่ า ระบบการจั ด การผลการปฏิ บั ติ ง านใหม่ ข อง รัฐวิสาหกิจ ยังไม่สามารถเปลี่ยนมุมมองของพนักงาน ต่อการด�ำเนินงานในองค์การได้ โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices Benchmarking) ด้านระบบการจัดการผล การปฏิบตั งิ านกับองค์กรชัน้ น�ำ 3 องค์การ ประกอบด้วย บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และ Public Service Electric & Gas เสนอให้ มีการท�ำระบบให้ง่ายเพื่อง่ายต่อการท�ำความเข้าใจ 4. การบริหารผลการปฏิบัติงานและปรับปรุงงาน จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า ควรมีการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่มีเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ ยกระดับการปฏิบัติ งานให้สูงกว่าภารกิจปกติ สู่เป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ สอดคล้ อ งกั บ งานของ ผุ ส ดี รุ ม าคม (2551) และ American National Standards Institute (2012) ที่พบว่า ต้องมีการประเมินและตรวจสอบระบบการ ประเมินเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนา มีการตรวจสอบผลการ ปฏิบัติงาน (Performance Review) ในด้านขั้นตอน ของการประเมินความคืบหน้ากับเป้าหมายที่ก�ำหนด 5. การประเมินและทบทวนผลการปฏิบัติงาน จากผลการวิจัยที่พบว่า ควรมีระบบการทบทวน แผนและตัวชี้วัด ปีละ 2 ครั้ง หรือเมื่อสถานการณ์ของ องค์กรเปลี่ยนแปลงควรมีกลไกของการทบทวนผลการ ปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการอย่าง ต่อเนือ่ ง ควรมีกระบวนการในการยกระดับผลการปฏิบตั ิ งานที่มีการด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการรายงาน ผลการปฏิ บั ติ ง านแยกส่ ว นระหว่ า งแผนงาน และ แผนยุทธศาสตร์กับผลการปฏิบัติงานและควรน�ำข้อมูล ย้ อ นกลั บ มาใช้ เ ป็ น กระบวนการที่ มี ค วามต่ อ เนื่ อ ง ในชีวิตการท�ำงานประจ�ำวัน สาเหตุอาจเกิดจากระบบ การทบทวนแผนและตัวชี้วัดแม้จะท�ำปีละ 2 ครั้ง แต่ อาจยังไม่เพียงพอ เพราะสถานการณ์ทั้งในและนอก องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องปรับปรุง ตัวชี้วัดให้ทันต่อสถานการณ์ และมีการสื่อสารมากขึ้น

117

สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2551) ทีเ่ สนอให้มกี ารทบทวนระบบการจัดการผลการ ปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ American National Standards Institute (2012) ที่เสนอให้มี แผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการท�ำงาน (Performance Improvement Plan) 6. การบูรณาการระบบการจัดการผลการปฏิบัติ งานกับระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่น จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า ควรมีการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ทมี่ เี ป้าหมายในเชิงกลยุทธ์มกี ารน�ำผลการจัดการ ผลการปฏิบตั งิ านไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากร มนุษย์ด้านอื่น เช่น การบริหารค่าตอบแทนตามผลงาน อย่ า งจู ง ใจมากเพี ย งพอ การจั ด ระบบผลตอบแทน ในรูปแบบอื่น การพัฒนา การบริหารผู้มีความสามารถ การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การสร้างความผูกพัน ต่ อ องค์ ก ารน่ า เป็ น ไปได้ ว ่ า การน� ำ ผลการจั ด การ ปฏิบตั งิ านไปบริหารค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงินตามผลงาน ต้ อ งไปตามหลั ก เกณฑ์ ที่ ก ระทรวงการคลั ง ก� ำ หนด ส่วนการจัดระบบผลตอบแทนในรูปแบบอื่นยังไม่ได้มี การเชื่ อ มโยงอย่ า งชั ด เจน สอดคล้ อ งกั บ งานของ Schoonover (2011) ที่ เ สนอให้ มี ก ารบู ร ณาการ ของเป้าหมายและวิธีการในการประเมินผล ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2551) เสนอให้น�ำผลการใช้ระบบ การจัดการผลการปฏิบตั งิ านไปเพือ่ การจ่ายผลตอบแทน และการพัฒนาบุคลากรเช่นเดียวกับ Baird, Schoch และ Chen (2012) ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างการวัด ผลงานแบบหลายมิติ การเชือ่ มโยงผลงานกับรางวัล การ ฝึกอบรมและวัฒนธรรมองค์กรในด้านการท�ำงานเป็นทีม ความเคารพในตัวบุคคล และผลลัพธ์ของงานกับระบบ ที่มีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ

การศึกษาเพื่อออกแบบระบบการจัดการผลการ ปฏิ บั ติ ง านของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ประเภทพลั ง งานให้ มี ประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานของแนวปฏิบัติที่ดี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


118

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

(Best Practice) เป็ น หนึ่ ง ในระบบที่ เ หมาะสมกั บ รัฐวิสาหกิจนี้ ผูว้ จิ ยั เสนอแนะให้รฐั วิสาหกิจควรน�ำระบบ นี้ไปสู่การปฏิบัติจริงตามการออกแบบที่ได้จัดท�ำขึ้น อีก ทั้งรัฐวิสาหกิจอื่นหรือส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบาย

รัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ที่ได้ก�ำกับดูแล รัฐวิสาหกิจอืน่ ควรน�ำผลการออกแบบไปเป็นแนวปฏิบตั ิ ที่ดี เพื่อพัฒนาระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ต่อไป

บรรณานุกรม

นันทวัฒน์ บรมานนท์. (2551). ครั้งที่ 7 รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2557, จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1241 ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2551). การบริหารผลงาน ท�ำจริง...ท�ำอย่างไร?. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์. ผุสดี รุมาคม. (2551). การประเมินการปฏิบัติงานฉบับปรับปรุงแก้ไข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส. พระราชบัญญัตคิ ณ ุ สมบัตมิ าตรฐานส�ำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518. (2518). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 92, ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ, 2-3. พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502. (2502). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 76, ตอนที่ 69, 2. ส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2553). หลักการระบบประเมินผลการด�ำเนินงานรัฐวิสาหกิจ. สืบค้น เมื่อ 12 มกราคม 2558, จาก http://www.sepo.go.th/2011-06-07-09-19-39/2011-07-24-05-34-03.htm อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงาน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). American National Standards Institute. (2012). Performance Management Programs. Retrieved January 12, 2015, from https://www.shrm.org/hrstandards/documents/performance%20 management%20ans%20%282012%29.pdf Baird, K., Schoch, H. & Chen, Q. (2012). Performance management system effectiveness in Australian local government. Pacific Accounting Review, 24(2), 161-185. Cheng, M. I., Dainty, A. & Moore, D. (2006). Implementing a new performance management system within a project-based organization: A case study. International Journal of Productivity and Performance Management, 56(1), 60-75. Franceschini, F., Galetto, M. & Turina, E. (2013). Techniques for impact evaluation of performance measurement systems. International Journal of Quality & Reliability Management, 30(2), 197-220. James, W. (2009). Rationality, institutionalism and accounting change: understanding a performance management system within an Australian public sector entity. Journal of Accounting & Organizational Change, 5(3), 362-389. KeongChoong, K. (2013). Are PMS meeting the measurement needs of BPM?. A literature review. Business Process Management Journal, 19(3), 535-574. Longo, M. & Mura, M. (2008). Stakeholder management and human resources: development and implementation of a performance measurement system. Corporate Governance: The international journal of business in society, 8(2), 191-213. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

119

Metz, E. J. (2000). Using strategic design concepts to create a best-in-class performance management system. National Productivity Review, 19(2), 51-62. Norhayati, M. A. & Siti-Nabiha, A. K. (2009). A case study of the performance management system in a Malaysian government linked company. Journal of Accounting & Organizational Change, 5(2), 243-276. Schoonover, C. S. (2011). Performance Management Best Practices: Part One, Program Design. Retrieved January 17, 2015, from http://www.inspireone.in/pdf/Performance/PerformanceManagement-Best-Practices.pdf Tung, A., Baird, K. & Schoch, H. P. (2011). Factors influencing the effectiveness of performance measurement systems. International Journal of Operations & Production Management, 31(12), 1287-1310.

Translated Thai References

Boramanon, N. (2008). Public enterprise, public organization and service delivery unit. Retrieved December 26, 2014, from http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1241 [in Thai] Chantarawongpaisarn, P. (2008). Performance management… how to?. Bangkok: HR Center. [in Thai] Meesuttha, A. & Sachukorn, S. (2008). Performance evaluation (revised ed.). Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan). [in Thai] National economic and social development board act. (1959). Government gazette, 76, 2. [in Thai] Qualification Standard for state enterprise’s committee and employee act. (1975). Government gazette, 92, 2-3. [in Thai] Rumakhom, P. (2008). Performance evaluation. (revised ed.). Bangkok: Thana press. [in Thai] State enterprise policy office. (2010). Principle of performance management system for state enterprise. Retrieved January 12, 2015, from http://www.sepo.go.th/2011-06-07-09-1939/2011-07-24-05-34-03.htm [in Thai]

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


120

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Wichet Khambunrat received his Master degree of Labour and Welfare Development from Thammasat university and Bachelor degree in Industrial psychology from Chiangmai university. From his over 20 years precious experiences in private company as a Human Resource functions. He is currently Chair Person, Department of Human Resource Management in Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management. Panuwat Klubsri-on graduated his Bachelor of Journalism and Mass Communication with 1st class honor from the faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University in 2007. Afterwards, he continued study and received his M.A. in Industrial and Organizational Psychology, Chulalongkorn University in 2011. At present, he is a full time lecturer in Faculty of Management Science (Human Resource Management) at Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

121

ตัวแบบสมรรถนะแฟรนไชซี กรณีศึกษาแฟรนไชซีร้านค้าปลีก บริษัท XYZ จ�ำกัด FRANCHISEE’S COMPETENCY MODEL: A CASE STUDY OF FRANCHISEE XYZ COMPANY LIMITED เลิศชัย สุธรรมานนท์1 และกีรติกร บุญส่ง2 Lertchai Suthamanon1 and Keeratikorn Boonsong2 บทคัดย่อ

ร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีความส�ำคัญต่อธุรกิจของประเทศอย่างมาก มีรายได้ภาพรวมของอุตสาหกรรม เป็นอันดับสองรองจากภาคอุตสาหกรรม และมีการจ้างงานมากเป็นอันดับสามรองจากภาคเกษตรและภาคบริการ การเจริญเติบโตของการค้าปลีกส่วนหนึ่งเกิดจากการด�ำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ โดยการมอบสิทธิในการบริหารให้ บุคคลภายนอกทีเ่ รียกว่าแฟรนไชซี ดังนัน้ การพัฒนาสมรรถนะของแฟรนไชซี ให้อยูใ่ นระดับสูงสุดจึงสร้างความสามารถ ในการแข่งขันทีย่ งั ยืน บทความวิจยั นีเ้ ป็นการศึกษาเพือ่ สร้างตัวแบบสมรรถนะทีเ่ ป็นเลิศของแฟรนไชซีรา้ นค้าปลีก และ ออกแบบการพัฒนาที่ท�ำให้แฟรนไชซีที่มีผลประกอบการระดับปานกลางถึงต�่ำ สามารถเข้ามารับการพัฒนาเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการด�ำเนินธุรกิจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อสร้าง ตัวแบบสมรรถนะ (Competency Model) ของแฟรนไชซีที่มีขีดความสามารถสูง และ (2) เพื่อน�ำตัวแบบสมรรถนะ ทีค่ น้ พบไปใช้ในการสรรหาและพัฒนาแฟรนไชซี โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมเพือ่ ก�ำหนดกรอบแนวความคิด ซึง่ การ วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ด้วยวิธีเทคนิค Critical Incident Interview แฟรนไชซีที่มีผลประกอบการระดับดีมากในระดับ 90 เปอร์เซ็นไทล์ขึ้นไป จ�ำนวน 9 คน และสัมภาษณ์ แฟรนไชซี ทีม่ ผี ลประกอบการระดับดี คือ ระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 40-60 จ�ำนวน 6 คน และยืนยันโดยผูบ้ ริหารระดับการ ก�ำกับดูแลร้านสาขาโดยตรง จ�ำนวน 18 คน สามารถสรุปเป็นสมรรถนะของแฟรนไชซีได้ 3 กลุ่ม คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบด้วยทักษะความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurial Skill) ความเชื่อมั่นในบริษัท (Trust) และการมีใจเปิดกว้าง (Open Mind) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency) ประกอบด้วย มาตรฐานร้าน (Store Standard) และสมรรถนะด้านผู้น�ำ (Leadership Competency) ประกอบด้วยการน�ำโดยท�ำ เป็นแบบอย่าง (Lead by Example) และการดูแลพนักงาน (Leading People) ข้อเสนอจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ ในการน�ำไปใช้ในการสรรหา คัดเลือกแฟรนไชซีที่มีความรู้ ความสามารถ อีกทั้งใช้ในการก�ำหนดแนวทางการพัฒนาที่ สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจแฟรนไชส์ การจัดท�ำแผนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรรายบุคคลให้ถูกต้อง ตามความจ�ำเป็น ตรงกับวัตถุประสงค์ เพื่อให้การด�ำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ได้ตามมาตรฐานที่ก�ำหนด การจัดท�ำเส้นทาง 1 อาจารย์ประจ�ำคณะวิทยาการจัดการ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: bamrungsar@pim.ac.th 2 อาจารย์ประจ�ำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Faculty of Management Sciences, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: keeratikornboo@pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


122

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ความก้าวหน้าในอาชีพ เพื่อให้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ตามที่ก�ำหนดไว้ได้ก้าวไปสู่หน้าที่การงานที่สูงขึ้นได้ อย่างเป็นธรรม และการพัฒนาศักยภาพ แฟรนไชซีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ค�ำส�ำคัญ: ร้านค้าปลีก ตัวแบบสมรรถนะ แฟรนไชส์ แฟรนไชซี

Abstract

Retail business is vital to the country’s business. It has the largest overall revenue industrial sector and the largest employment rate third from agricultural and service second sectors. Franchise business is one of the largest growth business by outsourcing business management to the third parties. Therefore, the development of the franchisee competency to the highest level is the sustainable competitive advantage. This paper aims to study and create a model of excellence competency for retail franchisee and to design a development program that allows the moderate to low business performance franchisee to be developed for enhancing the business capability continuously. The purposes of this study are: (1) to generate a competency model of high capability franchisee, and (2) to utilize competency model in recruitment and development of franchisee. This qualitative research is conducted by a literature review to determine the conceptual framework and the critical incident interview is applied to excellent performance franchisee of the 90 percentile (total of 9 persons), good performance franchisee of the 40 – 60 percentile (total of 6 persons) and validated by branch executives, supervising franchisee directly (total of 18 persons). The franchisee competency can be summarized into 3 dimensions as follow: (1) Core competency includes entrepreneurial skill, trust in company and open-minded, (2) Functional competency includes store standard and (3) Leadership competency includes leading by example and leading people. The findings from this research are useful in franchisee recruitment and selection, determining the course of learning and development in order to keep the standard of franchise business as well as to increase franchisee’s potential for competitiveness in the future. Keywords: Retail business, Competency Model, Franchise, Franchisee

บทน�ำ

ร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างมาก มีรายได้ภาพรวมของอุตสาหกรรม เป็นอันดับสองรองจากภาคอุตสาหกรรม มีการจ้างงาน มากเป็นอันดับสามรองจากภาคเกษตรและภาคบริการ (สถาบั น พั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม, 2557)

วิวัฒนาการร้านค้าปลีกของไทยเริ่มจากการก�ำเนิด ห้างไดมารูในปี พ.ศ. 2507 และการขยายตัวของห้าง สู ่ ช านเมื อ งและต่ า งจั ง หวั ด ในระยะต่ อ มา และในปี พ.ศ. 2532 ได้มีการขยายตัวของธุรกิจประเภทร้าน สะดวกซื้อ (Convenience Store หรือ Gas Store) ที่มีบริษัทหรือบุคคลทั่วไปเป็นเจ้าของ เน้นการจัดร้าน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

การบริหารจัดการที่ทันสมัย สินค้าที่วางจ�ำหน่ายมักจะ เป็นสินค้ากลุม่ อาหารและของใช้ประจ�ำวัน กระจายตาม ชุ ม ชนหรื อ แหล่ ง ชุ ม นุ ม ของทั่ ว ไป (สถาบั น พั ฒ นา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2557) การเจริญเติบโตของร้านค้าปลีกส่วนหนึ่งเกิดจาก การด�ำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ (Franchise) คือ ธุรกิจ ทีแ่ ฟรนไชซอร์ (Franchisor) ให้สทิ ธิผอู้ นื่ ในการประกอบ ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการได้ ภายใต้สิทธิประโยชน์ใน การใช้ชอื่ การค้า ตราสินค้า เทคนิคในการผลิตสินค้าหรือ การให้บริการและวิธีการในการด�ำเนินธุรกิจของตน (ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2556) ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง ระบบธุ ร กิ จ ที่ ก�ำลังเป็นที่สนใจในปัจุบัน ระบบนี้ถือเป็นหนึ่งในการ จัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยผู้ประกอบการ อิ ส ระที่ ต ้ อ งการมี ธุ ร กิ จ สามารถเข้ า มาซื้ อ แฟรนไชส์ กั บ บริ ษั ท แม่ โดยทางบริ ษั ท แม่ จ ะมอบสิ ท ธิ ก ารใช้ เครื่องหมายการค้า ระบบ แผนงาน การบริหารจัดการ การอบรม รวมทั้งให้ความรู้พร้อมทั้งความเชี่ยวชาญ และการให้คำ� ปรึกษา โดยอยูใ่ นรูปแบบสาขาทีม่ หี น้าร้าน และมาตรฐานเดียวกัน สมาคมแฟรนไชส์ไทยได้ท�ำการส�ำรวจแฟรนไชส์ใน ประเทศไทย พบว่า มีแฟรนไชส์อยู่ระหว่าง 400-600 ราย มีสาขามากกว่า 90,000 แห่ง มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี หรือมีรา้ นใหม่ๆ เปิดเพิม่ ขึน้ ทัง้ สาขาของบริษทั แม่ เอง และสาขาของผู้ประกอบการแฟรนไชซี ประมาณ 13,000-15,000 แห่งต่อปี หรือเท่ากับเปิดเพิม่ ขึน้ 35-40 แห่งต่อวัน โดยแฟรนไชส์ร้านอาหารระดับกลางที่มีการ ลงทุนระหว่าง 100,000-3,000,000 บาท ยังคงมีโอกาส ในการพัฒนา ส�ำหรับแฟรนไชส์ด้านบริการที่ต้องใช้ ทักษะการท�ำงานเป็นหลัก ยังมีความขาดแคลนอยู่มาก ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ด ้ า นร้ า นค้ า ปลี ก ยั ง มี ผู ้ ข าย แฟรนไชส์ (Franchisors) อยู่ประมาณ 25 ราย แต่สร้าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisees) ได้เป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากผู้ขายแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ในกลุ่ม คอนวีเนียนสโตร์ (ผู้จัดการออนไลน์, 2558)

123

บริษทั XYZ จ�ำกัด ด�ำเนินธุรกิจค้าปลีก และท�ำการ ขยายกิจการโดยใช้ระบบแฟรนไชส์ หรือการให้อนุญาต สิทธิช่วง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาบริหาร กิจการที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ภายใต้ระบบอันทันสมัย โดยจะให้ความช่วยเหลือในการด�ำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชดิ ให้ความรูค้ วามเข้าใจในการบริหารงาน หลักการคัดเลือก สิ น ค้ า ระบบการเงิ น มี แ ผนส่ ง เสริ ม การขายและ แผนการโฆษณาทั่วประเทศอย่างสม�่ำเสมอ รวมทั้ง จัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการไปช่วยแนะน�ำและแก้ ปัญหาต่างๆ บริษทั XYZ จ�ำกัด ได้กำ� หนดแผนธุรกิจ 6 ปี (25562561) ที่ต้องการขยายร้านค้าปลีกของสาขาออกไป จ�ำนวนมาก โดย 60% จะด�ำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ กล่าวคือ มอบสิทธิในการบริหารให้บุคคลภายนอกที่ได้ ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ และการพัฒนาให้ เข้าใจระบบการท�ำงานในขั้นต้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการ บริหารปกติแฟรนไชซี (Franchisee) เป็นหลักในการ บริหารจัดการร้านสาขา โดยที่บริษัท XYZ จ�ำกัด จะมี ทีมงานให้ค�ำปรึกษา ติดตามผล โดยตลอดระยะเวลา ที่ ผ ่ า นมาการบริ ห ารร้ า นค้ า ปลี ก ด้ ว ยตั ว แบบธุ ร กิ จ (Business Model) ดังกล่าวจะประสบความส�ำเร็จ ด้วยปัจจัยด้านการบริหารจัดการเป็นส�ำคัญ การท�ำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความส�ำเร็จนั้น แฟรนไชซีต้องลงมือท�ำธุรกิจเองอย่างตั้งใจ โดยมีผู้ขาย แฟรนไชส์ชว่ ยเริม่ ต้นและช่วยเหลือให้รา้ นด�ำเนินงานไปได้ แต่ผลก�ำไรหรือยอดขาย จะอยู่ที่ความเอาใจใส่ของ เจ้าของร้าน ต้องเดินตามข้อแนะน�ำ และวิธีการที่ผ่าน ความส�ำเร็จมาแล้ว ดังนัน้ การพัฒนาสมรรถนะของแฟรนไชซี ให้อยูใ่ น ระดับดีมากจึงจะเป็นความสามารถในการแข่งขันทีย่ งั่ ยืน ผู้วิจัยเล็งเห็นความส�ำคัญดังกล่าว จึงจัดท�ำงานวิจัยใน การสร้างตัวแบบสมรรถนะที่เป็นเลิศของแฟรนไชซี ร้านค้าปลีก และออกแบบการพัฒนาที่ท�ำให้แฟรนไชซี ทีม่ ผี ลประกอบการระดับปานกลางถึงต�ำ่ สามารถเข้ามา รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการด�ำเนิน ธุรกิจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


124

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างตัวแบบสมรรถนะ (Competency Model) ของแฟรนไชซีที่มีขีดความสามารถสูง 2. เพื่อน�ำตัวแบบสมรรถนะที่ค้นพบไปใช้ในการ สรรหาและพัฒนาแฟรนไชซี

การทบทวนวรรณกรรม

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ สมรรถนะ ส่วนที่ 2 คือ วิธีการก�ำหนดสมรรถนะ ส่วนที่ 3 คือ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนี้ 1. แนวคิ ด ทฤษฎี แ ละวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สมรรถนะ มีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับสมรรถนะไว้มาก เช่น Green (1999) ได้ให้ความหมายว่า เป็นคุณลักษณะ บุคคล (Characteristics of a Person) ที่สามารถเขียน พรรณนาออกมาได้ ตั้ ง แต่ ยี่ สิ บ ค� ำ ขึ้ น ไปที่ บ ่ ง บอกถึ ง พฤติกรรม ทักษะซึ่งสามารถวัดได้ ใช้ในการท�ำงานให้ บรรลุผล อีกความหมายที่ได้รับการยอมรับและอ้างอิง มาก คือ Spencer และ Spencer (1993) ได้ก�ำหนดไว้ กล่าวคือ สมรรถนะเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่อยู่ใน เบื้องลึกและฝังแน่น เป็นแนวพฤติกรรม แนวความคิด ทีจ่ ะน�ำมาใช้ในสถานการณ์ตา่ งๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ (Characteristics) คือ 1. แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สิง่ ทีบ่ คุ คลคิดค�ำนึง ถึง หรือต้องการ ซึง่ เป็นสิง่ ขับดันให้แสดงพฤติกรรม เป็น แรงจู ง ใจเป็ น แรงส่ ง เสริ ม ให้ เ ลื อ กที่ จ ะท� ำ หรื อ แสดง พฤติกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ และเป็น เหตุที่ท�ำให้แต่ละบุคคลแสดงพฤติกรรมแตกต่างกัน 2. คุณลักษณะเฉพาะ (Traits) หมายถึง ลักษณะ ทางกายภาพ (Physical) และลักษณะนิสัยของบุคคล ที่ต้องแสดงออกต่อสถานการณ์ต่างๆ เป็นรูปแบบอย่าง นั้นๆ สม�่ำเสมอ 3. อัตมโนทัศน์ (Self Concept) หมายถึง ทัศนคติ

(Attitudes) ค่านิยม (Values) หรือจินตนาการ (Selfimage) 4. ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ข้อมูลหรือองค์ ความรู้อย่างเฉพาะเจาะจงที่บุคคลนั้นๆ มีความรู้เป็น สมรรถนะที่มีความซับซ้อน ดังพบได้ว่า การวัดความรู้ โดยการทดสอบ บ่อยครั้งที่ไม่สามารถพยากรณ์การ ท�ำงานได้ ทั้งนี้เพราะ ประการแรก การทดสอบเป็นการ วัดความจ�ำ ประการที่สอง เป็นการวัดว่า จะแสดงออก ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร โดยไม่ได้วัดความสามารถ ในการใช้ความรู้นั้นเป็นพื้นฐาน ประการที่สาม การ ทดสอบความรูเ้ ป็นเพียงการพยากรณ์ความสามารถทีจ่ ะ ท�ำ แต่ไม่ได้วัดว่าบุคคลนั้นจะลงมือท�ำ 5. ทักษะ (Skill) เป็นความสามารถในการท�ำงาน ที่ใช้ความสามารถทางร่างกาย หรือความสามารถใน กระบวนการทางความคิด (Mental or Cognitive) เช่น ความคิดในเชิงวิเคราะห์ ความคิดรวบยอด (Conceptual Thinking) เป็นต้น Spencer และ Spencer (1993) เปรียบเทียบ สมรรถนะประเภทที่เป็นทักษะ (Skill) และความรู้ (Knowledge) เป็นยอดภูเขาน�้ำแข็งที่ล อยในทะเล ซึ่งเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งหมด แต่สังเกตเห็น ได้ง่าย และพัฒนาได้ง่าย ในขณะที่สมรรถนะประเภท อัตมโนทัศน์ (Self Concept) คุณลักษณะเฉพาะ (Traits) และแรงจูงใจ (Motive) เปรียบได้กับส่ว นล่างของ ภูเขาน�ำ้ แข็งทีเ่ ป็นส่วนใหญ่เมือ่ เทียบกับทัง้ หมด เป็นส่วน ที่ส�ำคัญมาก แต่สังเกตเห็นได้ยาก และพัฒนาได้ยาก ตามที่ได้นำ� เสนอมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าสมรรถนะ ของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ มี ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ ความส� ำ เร็ จ ของงาน ซึง่ สอดคล้องกับ Dubois และ Rothwell (2004) ที่ได้เสนอว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน ต้ อ งออกแบบระบบบนฐานสมรรถนะของบุ ค คล (Competency or Person Oriented) มากกว่าการ ออกแบบระบบบนฐานของงาน (Job Oriented) แบบเดิม โดยระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนฐานสมรรถนะ ดังกล่าวมีความส�ำคัญต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

แทบทุกกระบวนการ คือ การสรรหา (Recruitment) การคัดเลือก (Selection) การบรรจุแต่งตัง้ (Placement) การฝึกอบรม (Training) การบริหารผลงาน (Performance Management) และการให้รางวัลตอบแทน (Reward) จนอาจจะกล่าวได้ว่า นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค ปัจจุบันจะต้องมีสมรรถนะที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ สมรรถนะในการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ บ นฐาน สมรรถนะ (Competency Based Human Resource Management) จากการศึกษาของ Lim และ Frazer (2004) เกี่ยวกับ สมรรถนะในด้านต่างๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี พบว่า แฟรนไชซอร์ต้องการสมรรถนะจากแฟรนไชซีในด้าน ต่างๆ ดังนี้ มีเงินทุนเพียงพอส�ำหรับธุรกิจ ความมุ่งมั่นที่ จะเรียนรู้ ยินดีทจี่ ะปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ มีจริยธรรมทาง ธุรกิจและท�ำงานหนักอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับมีความ รับผิดชอบสูงกับธุรกิจ เพื่อความส�ำเร็จของธุรกิจ Dickey, McKnight และ George (2008) ได้ศึกษา ถึงความไว้วางใจของแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี พบว่า ความเชือ่ มัน่ ไว้วางใจจะช่วยลดการไม่ปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ ได้ ความเชื่ อ มั่ น ไว้ ว างใจและความเชื่ อ มั่ น ในความ ซือ่ สัตย์สจุ ริตจะเพิม่ ความพึงพอใจระหว่างแฟรนไชซอร์ และแฟรนไชซี โดยการสร้างการรับรู้ถึงความมุ่งมั่น ระหว่างกันในระยะยาวเป็นวิธีที่มีนัยส�ำคัญที่จะสร้าง ความเชื่อมั่นระหว่างแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี Davies, Lassar, Manolis, Prince และ Winsor (2011) ได้ทำ� การศึกษาถึงตัวแบบด้านความไว้วางใจและ การปฏิบัติตามที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ ผลการศึ ก ษาพบว่ า ความไว้ ว างใจในความซื่ อ สั ต ย์ ของแฟรนไชส์​​ และความไว้วางใจในความสามารถของ แฟรนไชส์​​ จ ะ แตกต่างกันตามความขัดแย้งและความ สัมพันธ์ใกล้ชิด โดยความไว้วางใจเป็นปัจจัยที่แข็งแกร่ง ของแฟรนไชส์​​ในการปฏิบัติตามบรรทัดฐานขององค์กร Davis (2012) พบ 7 กลยุทธ์ (7Cs) ที่จะสร้างความ สมานฉันท์ให้กบั แฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี ประกอบด้วย

125

1) การสื่ อ สาร (Communication) ในรูปแบบการใช้ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ และรูปแบบดั้งเดิม 2) การร่วมมือ (Cooperation) โดยแฟรนไชซอร์ควรให้ทางแฟรนไชซี สามารถที่ จ ะส ร้างเครือข่ายในพื้นที่ของตน เพื่อสร้าง โอกาสทางธุ รกิ จ และมีส่วนร่วมในการก�ำหนดกลยุทธ์ ด้วยตนเอง 3) การให้คำ� ปรึกษา (Consultation) ซึง่ เป็น ปัจจัยที่ ส่ง ผ ลโดยตรงต่อการสร้างความสัมพันธ์และ ผลลัพธ์ทางธุรกิจ 4) การท�ำงานร่วมกัน (Collaboration) ในด้านสัญลักษณ์ (Symbolic) ด้านท�ำธุรกรรม (Business Transaction) ด้านการก�ำเนิด (Generative) การบริหาร ความเสี่ย ง ใน ห ลายๆ ด้าน เช่น ด้านกฎหมาย ด้าน สุขภาพ แล ะ คว า มปลอดภัย เป็นสิ่งที่แฟรนไชซอร์ จะเป็นผู้ พิจ า รณา เพื่อน�ำสิ่งเหล่านี้มาเลือกและสร้าง ประโยชน์สู งสุ ด และด้านหลักเหตุผล (Rational) โดย น�ำข้อมูลจากแฟรนไชซีมาวิเคราะห์ เพื่อท�ำกลยุทธ์และ ด�ำเนินการตามกลยุทธ์ที่ได้ก�ำหนด 5) การประสานงาน (Coordination) ทีต่ อ้ งประสานงานระหว่างกันให้เป็นไป ในทิศทางเดี ย วกั น โดยการน�ำกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ ผูใ้ ห้สทิ ธิตอ้ งยืดหยุน่ เพือ่ ให้เหมาะกับแฟรนไชซี 6) การ สัมปทาน (Co n ce s sion) เพื่อให้แฟรนไชซีสามารถ ด�ำเนินงานได้อย่างตรงตามสัญญาที่ได้รับ 7) สมรรถนะ (Competence) แฟรนไชซีตอ้ งมีสมรรถนะในด้านทักษะ และความรู้ใน ก าร บ ริหารแฟรนไชส์ ซึ่งแฟรนไชซอร์ ต้องจัดหลักสู ตร ก ารพัฒนา เริ่มจากการลงมือปฏิบัติ ในธุรกิจเพิ่ ม ขึ้ นจนถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งอาจใช้ การฝึกอบรมหรื อการโค้ช เพื่อสร้างผู้ประกอบการให้มี สมรรถนะ Scott, Frazer และ Weaven (2006) ได้ศึกษา ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของการท�ำธุรกิจแฟรนไชส์ พบว่า ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของแฟรนไชซี คือ ต้องมีทักษะ ความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurial Skills) โดย แฟรนไชซอร์ต้องส่งเสริมและพัฒนาให้แฟรนไชซอร์มี ทักษะผู้ประกอบการ โดยผ่านฝึกอบรมหรือผ่านคู่มือ การปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ของแฟรนไชส์ ระบบและแฟรนไชส์ที่มีอยู่และคาดหวังของแฟรนไชซี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


126

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Dant, Weaven และ Baker (2013) ได้ท�ำการวิจัย โดยศึกษาอิทธิพลของลักษณะบุคลิกภาพกับคุณภาพ ความสัมพันธ์ของการรับรูข้ องแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี พบว่ า บุ ค ลิ ก ภาพที่ เ ป็ น ลั ก ษณะของบุ ค คลที่ ช อบมี ความผ่อนปรนกับผู้อื่น (Agreeableness) มีลักษณะ ความน่าไว้วางใจ มีความรับผิดชอบ ไว้วางใจได้ เสมอต้น เสมอปลาย (Conscientiousness) และบุคลิกภาพแบบ สามารถรองรับแรงกดดัน ควบคุมอารมณ์ สุขุม สงบ มัน่ คง เชือ่ มัน่ ในตนเอง (Emotional Stability) จะท�ำให้ คุณภาพความสัมพันธ์ของการรับรูข้ องแฟรนไชซอร์และ แฟรนไชซีเป็นไปในทางบวก ส่วนบุคลิกภาพแบบชอบ สัมพันธภาพ ชอบเข้าสังคม อยูเ่ ป็นกลุม่ (Extroversion) มีผลทางลบ 2. วิธีการก�ำหนดสมรรถนะ หลักการทั่วไปในการก�ำหนดสมรรถนะ จากการ ศึกษาของ Rothwell และ Lindholm (1999) พบว่า การก�ำหนดสมรรถนะในสหรัฐอเมริกาทีไ่ ด้รบั ความนิยม มี 5 วิธีการ (Approaches) คือ 1. The Process Driven Approach เป็นวิธีการที่ มีชื่อเสียงมากภายใต้การน�ำของบริษัทที่ปรึกษา Hay/ McBer โดยมีขั้นตอน คือ การตรวจสอบ (Investigate) หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของต� ำ แหน่ ง งาน การแยก คุณลักษณะ (Characteristic) ของบุคคลที่ต้องการใช้ ออกมา และการตรวจสอบความถูกต้อง (Verify) 2. The Output Driven Approach เป็นวิธีการที่ เน้นผลลัพธ์ โดยมีกระบวนการก�ำหนดสมรรถนะ คือ การ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของงาน จัดตัง้ คณะผูเ้ ชีย่ วชาญ (Expert Panel) การพิจารณาถึง ความเปลี่ยนแปลงของงานในอนาคต รวบรวมผลลัพธ์ ของงาน จัดท�ำรายการความต้องการทีจ่ ะท�ำให้ได้ผลงาน ที่ มี คุ ณ ภาพ การก� ำ หนดสมรรถนะที่ ต ้ อ งการจั ด ท� ำ รายละเอี ย ดของบทบาทในการพั ฒ นางานจากการ วิเคราะห์กลุม่ ของผลงานทีต่ อ้ งการ และร่างรูปแบบของ สมรรถนะ (Draft Competency Model)

3. The Invention Driven Approach วิธีการนี้ อาจมีความเทีย่ ง (Reliability) และความตรง (Validity) ต�ำ่ แต่ทำ� ได้รวดเร็ว กล่าวคือ แทนทีจ่ ะศึกษาจากรายงาน โดยตรง แต่ ใช้ ดุ ล ยพิ นิ จ ของผู ้ เชี่ ย วชาญ (Subject Matter Expert) ในการลงความเห็ น ถึ ง สมรรถนะ ของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ ต ้ อ งการทั้ ง ในปั จ จุ บั น และ ในอนาคต 4. The Trends Driven Approach วิธีการนี้มุ่ง พิจารณาถึงสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่จ�ำเป็นใน สถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต 5. The Work Responsibility Driven Approach มีหลักการพื้นฐานในการก�ำหนดสมรรถนะของทรัพยากร มนุษย์ดังนี้ 5.1 ก�ำหนดกลุ่มงานเป้าหมาย 5.2 ตั้งคณะกรรมการจากกลุ่มงาน 8-12 คน อาจรวมถึงผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของกลุ่มงานดังกล่าว คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาถึงรายละเอียดและความ รับผิดชอบ (Responsibility) ของกลุม่ งานดังกล่าว โดย อาจเลือก Facilitator และผูช้ ว่ ย 2 คนในการด�ำเนินการ ประชุ ม และจั ด การประชุ ม คณะกรรมการ สรุ ป ให้ คณะกรรมการฟังถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงและ สิ่งที่ท้าทายเกี่ยวกับงานนั้น แล้วให้คณะกรรมการท�ำ รายการเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานและพฤติกรรม ในการท�ำงาน ท�ำการบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่คณะกรรมการ เขี ย นขึ้ น บนกระดาน ระดมสมองร่ ว มกั น เขี ย นขึ้ น กระดานจนไม่มีข้อมูลใดเพิ่ม คัดเลือกรายการความ รับผิดชอบและพฤติกรรมการท�ำงาน ท�ำการตรวจสอบ ความถู ก ต้ อ ง ทบทวนแต่ ล ะความรั บ ผิ ด ชอบและ พฤติกรรม จัดกลุ่มและเรียงล�ำดับความรับผิดชอบและ พฤติกรรมให้คณะกรรมการพิจารณากลุ่มและการจัด เรียงล�ำดับ 5.3 จัดพิมพ์ แล้วส่งให้คณะกรรมการทบทวน 5.4 จัดเตรียมท�ำการส�ำรวจ (Survey) จาก ข้อมูลที่จัดท�ำ 5.5 ด�ำเนินการส�ำรวจและประมวลผล

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ การท�ำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ส�ำเร็จนั้นเกิดจากปัจจัย หลายอย่าง ดังผลการศึกษาของ พลานุภาพ พสุธาภูวดล (2552) อาจจัดได้เป็นสองกลุ่ม คือ 1. กลุ่มการบริหาร ประกอบด้วย มีความรู้พื้นฐาน การรั ก ษาเอกลั ก ษณ์ การปรั บ เปลี่ ย นทั ศ นคติ แ ละ วิสัยทัศน์ในทางบวก มีความสามารถท�ำงานให้บรรลุ ท�ำงานตามระบบปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ และมีการ ฝึกอบรม 2. กลุม่ การจัดการธุรกิจ ประกอบด้วย ราคาไม่แพง ก�ำไรที่มีศักยภาพ การบริหารการเงิน และท�ำเลที่ดี อภิรดี สัตตะรุจาวงษ์ (2556) ศึกษาความสนใจธุรกิจ แฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่น พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ สนใจธุรกิจแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่น เนื่องจากต้องการ มีธรุ กิจเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ไม่มปี ระสบการณ์ในการ ด�ำเนินธุรกิจมาก่อน รู้จักธุรกิจแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่น มาจากทางร้านเซเว่นอีเลฟเว่นโดยตรง แหล่งที่มาของ เงินทุนที่จะใช้ลงทุนจากเงินเก็บสะสมของตนเอง และ สมาชิกครอบครัวส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ต่อการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่น ส�ำหรับ ปัจจัยด้านประเภทของธุรกิจ ด้านการขยายตัวและการ บริหารงาน ด้านโอกาสความก้าวหน้าในธุรกิจ ด้านการ ลงทุนและค่าใช้จ่ายและด้านเนื้อหาในสัญญา พบว่า มีผลในการเลือกแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่นอยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านการให้ความช่วยเหลือ พบว่า มี ผ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจในระดั บ มาก จากการทดสอบ สมมติฐาน พบว่า ผูท้ สี่ นใจในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันจะให้ความส�ำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการ เลือกแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่นแตกต่างกัน ส่วนปัจจัย ส่วนบุคคลด้านอื่นๆ จะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน Meiseberg (2010) ได้ศึกษาการถ่ายโอนทุนทาง

127

สั ง คมและประสิ ท ธิ ภ าพในธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ พบว่ า ผู้ประกอบการที่สามารถถ่ายโอนลูกค้าจากอาชีพเดิม สู่การท�ำแฟรนไชส์จะสร้างความได้เปรียบในการเริ่ม ธุรกิจ และจะเป็นประโยชน์มากหากแฟรนไชซีเข้ ​​ าใจการ ใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เป็นแหล่งที่มา ของข้อมูล Lim และ Frazer (2004) ได้ศึกษาความเชื่อมโยง ระหว่ า งเป้ า หมายและความพึ ง พอใจในช่ อ งทาง แฟรนไชส์ พบว่า จุดที่จะท�ำให้เป้าหมายและความ พึงพอใจมาบรรจบกันแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ก่อน ท� ำ ธุ ร กิ จ คื อ ชื่ อ เสี ย งและสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารที่ ดี ขึ้ น 2) เมื่อเริ่มต้นท�ำธุรกิจ คือ สถานที่ตั้งอุปกรณ์และ สินค้าคงคลัง แนวทางการรับสมัครงาน การฝึกอบรม เริ่มต้น และการเปิดตัวธุรกิจ 3) ระหว่างการท�ำธุรกิจ คือ การให้ค�ำแนะน�ำและการสนับสนุนในระหว่างการ ฝึกอบรม การสนับสนุนด้านการบริหารและทางเทคนิค การเงินและการบัญชี การวิจัยและพัฒนา โฆษณาและ โปรโมชั่น การออกเยี่ยมชมร้านค้าและการตรวจสอบ และการมีคู่มือการด�ำเนินงาน สุนันทา ไชยสระแก้ว (2553) ได้ศึกษาความส�ำคัญ ของการสนั บ สนุ น ของแฟรนไชซอร์ กั บ วั ฒ นธรรม องค์กรที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์ของแฟรนไชซอร์แฟรนไชซี พบว่า วัฒนธรรมองค์กรแฟรนไชซีมีลักษณะ ของวัฒนธรรมแบบยืดหยุ่น (Supportive) ในระดับ สูงกว่าแบบไม่ยืดหยุ่น (Bureaucratic Culture) เช่น เดียวกับวัฒนธรรมของแฟรนไชซอร์ โดยลักษณะแบบ ยืดหยุ่นที่พบมาก ได้แก่ ความเชื่อใจกันในระดับสูงสุด มีการร่วมมือช่วยเหลือกันในองค์กร มีการมุ่งเน้นความ สัมพันธ์ในองค์กร มีความมัน่ คงปลอดภัย พนักงานได้รบั การปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีการสนับสนุน ส่งเสริมพนักงาน จากวรรณกรรมข้างต้น ผู้วิจัยจึงพัฒนากรอบความ คิดในการวิจัย ดังนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


128

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ภาพที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย จากการพัฒนาข้างต้น การสร้างตัวแบบสมรรถนะ ส�ำหรับแฟรนไชซี (Franchisee) เริ่มจากการวิเคราะห์ ตัวแบบธุรกิจ (Business Model) ความสามารถของ องค์การที่ท�ำธุรกิจ แฟรนไชส์ (Franchise) เพื่อก�ำหนด ตั ว แบบเบื้ อ งต้ น แล้ ว น� ำ ไปสั ม ภาษณ์ แ บบเจาะลึ ก (Depth Interview) ด้วยวิธีเทคนิค Critical Incident Interview จากแฟรนไชซีทมี่ ผี ลประกอบการระดับดีมาก (Superior Franchisee) กับแฟรนไชซีทมี่ ผี ลประกอบการ ระดับปานกลาง (Averaged Franchisee) เพือ่ หาความ แตกต่าง โดยจะน�ำส่วนต่างมาก�ำหนดเป็นสมรรถนะของ แฟรนไชซี (Competent Franchisee Model) โดยแบ่ง ออกเป็น 3 กลุม่ คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะด้านผู้น�ำ (Leadership Competency) ก่ อ นน� ำ มายื น ยั น โดยผู ้ บ ริ ห ารระดั บ การก� ำ กั บ ดู แ ล ร้ า นสาขาโดยตรง และน� ำ มาออกแบบการพั ฒ นา (Development Road Map) ต่อไป

วิธีการด�ำเนินการวิจัย

การวิจยั นีจ้ ะเป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผูว้ จิ ยั ได้มขี นั้ ตอนการท�ำวิจยั (Spencer & Spencer, 1993) ดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลเอกสารร่วมกับการวิเคราะห์ งานได้รายการสมรรถนะของแฟรนไชซี ขั้ น ที่ 2 การสั ม ภาษณ์ แ บบเจาะลึ ก (Depth Interview) ด้วยวิธเี ทคนิค Critical Incident Interview แฟรนไชซี ที่ มี ผ ลประกอบการระดั บ ดี ม ากในระดั บ 90 เปอร์เซ็นไทล์ขึ้นไป จ�ำนวน 9 คน ขั้นที่ 3 สัมภาษณ์แฟรนไชซี ที่มีผลประกอบการ ระดับปานกลาง คือ ระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 40-60 จ�ำนวน 6 คน เพือ่ หาความแตกต่างระหว่างสมรรถนะทีแ่ ตกต่าง ของแฟรนไชซี ขั้ น ที่ 4 ตรวจสอบความถู ก ต้ อ งของสมรรถนะ (Validate The Competency Model) โดยผู้บริหาร ระดับการก�ำกับดูแลร้านสาขาโดยตรง จ�ำนวน 18 คน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ขั้นที่ 5 สรุปตัวแบบสมรรถนะของแฟรนไชซี ขั้นที่ 6 จัดท�ำแนวทางการพัฒนา (Development Road Map) ตามตัวแบบข้อ 5 ตรวจสอบความถูกต้อง ของแนวทางการพัฒนาโดยผูบ้ ริหารระดับการก�ำกับดูแล ร้านสาขาโดยตรง อีกครั้งหนึ่ง

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นแฟรนไชซี ที่มี ผลประกอบการระดับดีมาก ในระดับ 90 เปอร์เซ็นไทล์ ขึน้ ไป จ�ำนวน 9 คน แฟรนไชซี ทีม่ ผี ลประกอบการระดับ ปานกลาง คือ ระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 40-60 จ�ำนวน 6 คน เพื่อหาความแตกต่างระหว่างสมรรถนะที่แตกต่าง ของแฟรนไชซี และผู้บริหารระดับการก�ำกับดูแลร้าน สาขาโดยตรง จ�ำนวน 18 คน

ผลการวิจัย

การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ด้วยวิธีเทคนิค Critical Incident Interview กับ แฟรนไชซี ที่ มี ผ ลประกอบการระดั บ ดี ม ากในระดั บ 90 เปอร์เซ็นไทล์ขึ้นไป จ�ำนวน 9 คนและแฟรนไชซี ที่มี ผลประกอบการระดับปานกลางในระดับเปอร์เซ็นไทล์ ที่ 40-60 จ�ำนวน 6 คน พบว่า 1. ด้านทัศนคติ พบว่า แฟรนไชซี ที่มีผลประกอบ การระดับดีมาก ต้องมีความเชื่อมั่นในบริษัท มั่นใจใน นโยบาย ทัศนคติทดี่ มี ใี จเปิดกว้างตามวัฒนธรรมองค์กร มองว่าการบริหารร้านเป็นงานประจ�ำ สนุก ไม่น่าเบื่อ กล้าเผชิญปัญหา ซื่อสัตย์ต่อบริษัทและลูกค้า 2. ด้านความเป็นเจ้าของ พบว่า แฟรนไชซี ที่มีผล ประกอบการระดั บ ดี ม าก ต้ อ งทุ ่ ม เทกั บ การท� ำ งาน เหมือนกับร้านค้าปลีกเป็นของตัวเอง ชอบการค้าขาย รักการขาย และกล้าตัดสินใจในการลงทุน 3. ด้านการท�ำงานตามเป้าหมาย พบว่า ต้องเป็นคน ที่เสียสละเวลาเพื่อที่จะมาทุ่มเทกับงาน ท�ำงานได้บรรลุ ตามเป้าหมาย และมีความอดทน 4. ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แบ่งออกเป็น หลายด้าน ดังนี้

129

4.1 ด้านการสรรหาพนักงาน มีการเลือกคนให้ เหมาะสมกับงาน ใช้ช่องทางเครือข่ายของตนในการ ประกาศรับสมัครงาน และสัมภาษณ์พนักงานด้วยตนเอง 4.2 ด้านการรักษาพนักงาน มีการสร้างร้านให้มี ความอบอุ่น ดูแลพนักงานเหมือนเป็นญาติพี่น้อง ให้ ความช่วยเหลือแก่พนักงานในด้านต่างๆ 4.3 ด้านการสร้างแรงจูงใจในการท�ำงาน จัดให้ มีระบบจูงใจ เช่น มีการเพิ่มคะแนน หากไม่ขาด ลา มา สาย การให้รางวัลหากให้บริการได้ 100% 4.4 ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ก�ำหนดให้ มีฐานเงินเดือนที่ใกล้เคียงกับบริษัท ก�ำหนดเงินเดือน ตามความสามารถของพนักงาน การขึ้นเงินเดือนตาม ผลงาน การจ่ายค่าล่วงเวลาตามจริง มีโบนัสและเบีย้ ขยัน หากท�ำงานครบ 1 ปี จ่ายโบนัสให้ตามผลก�ำไรของร้าน 4.5 ด้านการพัฒนาบุคลากร ก�ำหนดให้มพี เี่ ลีย้ ง สอนงานพนักงานใหม่ มีการสอนงานหน้างาน โดยสอน จากคู่มือการท�ำงาน และส่งอบรมตามรอบมาตรฐาน บริษัท 5. ด้านความเป็นผู้น�ำ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของ พนักงานภายในร้าน เป็นผูน้ ำ� เป็นตัวอย่างในการบริการ การขายสินค้า ต้องวางแผนการพัฒนาและการเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ มีความกระตือรือร้น และเปิดใจรับฟังแก้ไขปัญหา ทันที 6. ด้านมาตรฐานและการบริการ พบว่า ต้องเข้าใจ ใส่ใจ และปฏิบตั ติ ามในเรือ่ งมาตรฐานของร้านตัง้ แต่การ ตั้งเป้าหมาย การจัดโครงสร้างก�ำลังคนภายในร้าน และ การปฏิบัติตามมาตรฐานร้านอย่างเคร่งครัด เมื่อน�ำผลการสัมภาษณ์ทั้ง 6 ประเด็นไปยืนยันกับ ผูบ้ ริหารในระดับการก�ำกับดูแลร้านสาขาโดยตรง พบว่า แฟรนไชซี ต้องมีสมรรถนะ ดังนี้ 1. มีความเป็นเจ้าของ 2. การค้าขายเก่ง 3. ท�ำงานเป็นทีม 4. คิ ด บวก ทั ศ นคติ ดี มั่ น ใจในองค์ ก ร ท� ำ ตาม นโยบาย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


130

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

5. เปิดใจรับฟัง 6. มุ ่ ง เป้ า หมาย ผลประกอบการดี ตั้ ง เป้ า ให้ พนักงาน 7. ติดตามข่าวสาร 8. สื่อสาร ถ่ายทอด 9. มุ่งมั่นที่จะท�ำงานให้ส�ำเร็จ 10. เข้าใจกฎระเบียบ มาตรฐานร้าน 11. รักร้าน รักงาน เข้าร้านจัดประชุมสม�่ำเสมอ จัด ประชุมทุกผลัด 12. ลงมือท�ำเป็นตัวอย่างที่ดี 13. การดูแลพนักงาน ให้มีการสรรหาพนักงานเอง สอน ทดลองท�ำ ให้ค�ำแนะน�ำ ส่งไปฝึกอบรม ใส่ใจทั้ง งานและส่วนตัว อยู่กันแบบครอบครัวดูแลกันเหมือนพี่ น้อง รู้จักพนักงานทุกคน และลักษณะที่แตกต่างของ พนักงาน จากข้อมูลการสัมภาษณ์และการยืนยันกับผูบ้ ริหาร ระดับการก�ำกับดูแลร้านสาขาโดยตรงสามารถสรุปเป็น สมรรถนะของแฟรนไชซีได้ 3 กลุ่ม คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะด้านผู้น�ำ (Leadership Competency) ดังนี้ 1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบ ด้วย 1.1 ทักษะความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurial Skill) 1.2 ความเชื่อมั่นในบริษัท (Trust) 1.3 การมีใจเปิดกว้าง (Open Mind) 2. สมรรถนะตามบทบาทหน้ า ที่ (Functional Competency) ประกอบด้วย มาตรฐานร้าน (Store Standard) 3. สมรรถนะความเป็ น ผู ้ น� ำ (Leadership Competency) ประกอบด้วย 3.1 การน�ำโดยท�ำเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) 3.2 การดูแลพนักงาน (Leading People)

สรุปและอภิปรายผล จากผลการศึกษาดังกล่าวแฟรนไชซีควรมีสมรรถนะ 3 กลุม่ หลัก เพือ่ สร้างสมรรถนะ (Competency Model) ของแฟรนไชซีที่มีขีดความสามารถสูง 1. จากผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบด้วย ทักษะความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurial Skill) ความเชื่อมั่นในบริษัท (Trust) และการมีใจเปิดกว้าง (Open Mind) 1.1 ทักษะความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurial Skill) คือ มีคุณภาพและมีทัศนคติที่ดีในการทุ่มเทอุทิศ กายใจให้องค์กร รวมถึงต้องมีทัศนคติในการท�ำงาน เหมือนเป็นเจ้าของธุรกิจเอง สอดคล้องกับงานวิจัยของ Scott, Frazer และ Weaven (2006) ที่ได้ศึกษาพบว่า ปั จ จั ย แห่ ง ความส� ำ เร็ จ ของการท� ำ ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ของแฟรนไชซี คื อ ต้ อ งมี ทั ก ษะความเป็ น เจ้ า ของ (Entrepreneurial Skills) โดย Lim และ Frazer (2004) ได้ศึกษาพบว่า ที่แฟรนไชซอร์ต้องการสมรรถนะจาก แฟรนไชซี คื อ การมี เ งิ น ทุ น เพี ย งพอส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ มี จ ริ ย ธรรมทางธุ ร กิ จ และท� ำ งานหนั ก อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง พร้อมกับมีความรับผิดชอบสูงกับธุรกิจ เพือ่ ความส�ำเร็จ ของธุรกิจสอดรับกับงานวิจยั ของ พลานุภาพ พสุธาภูวดล (2552) พบว่า ปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ส�ำเร็จ เกิดจากการทีแ่ ฟรนไชซี มีความสามารถท�ำงานให้บรรลุ โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของ Davis (2012) ที่พบว่า หนึง่ ในกลยุทธ์ทจี่ ะสร้างความสมานฉันท์ให้กบั แฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี คือ การร่วมมือ (Cooperation) โดย แฟรนไชซอร์ควรให้ทางแฟรนไชซีสามารถที่จะสร้าง เครือข่ายในพืน้ ทีข่ องตน เพือ่ ท�ำให้งานประสบผลส�ำเร็จ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Meiseberg (2010) ที่พบว่า แฟรนไชซีที่ประสบความส�ำเร็จต้องสามารถถ่ายโอน ลูกค้าจากอาชีพเดิมของสู่การท�ำแฟรนไชส์ และต้อง เข้าใจการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เป็น แหล่งที่มาของข้อมูล 1.2 จากผลการวิ จั ย พบว่ า ความเชื่ อ มั่ น ใน บริษัท (Trust) เป็นสมรรถนะหลักหนึ่งของแฟรนไชซี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ที่ประสบความส�ำเร็จ เนื่องจากแฟรนไชซอร์มีนโยบาย ทิศทางการบริหาร ตลอดจนระเบียบและแนวทางปฏิบตั ิ ที่เข้มงวด เพื่อเป็นหลักประกันในความส�ำเร็จของธุรกิจ แฟรนไชส์ หากแฟรนไชซีขาดความเชื่อมั่นในแฟรนไชซอร์ ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน สอดคล้อง กับงานวิจัยของ Lim และ Frazer (2004), Dickey, McKnight และ George (2008), Davies, Lassar, Manolis, Prince และ Winsor (2011), Dant, Weaven และ Baker (2013) และสุนันทา ไชยสระแก้ว (2553) ที่พบว่า ความเชื่อมั่นไว้วางใจระหว่างแฟรนไชซีต่อ แฟรนไชซอร์จะช่วยลดการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้ เพิ่มความพึงพอใจระหว่างกันอันเป็นปัจจัยที่แข็งแกร่ง ของแฟรนไชส์ 1.3 การมีใจเปิดกว้าง (Open Mind) เป็น สมรรถนะหลักหนึ่งของแฟรนไชซี เนื่องจากการเปิดใจ กว้างท�ำให้แฟรนไชซียินดีที่จะเรียนรู้ และปรับตนเอง ให้ ส อดคล้ อ งกั บ แฟรนไชซอร์ และสถานการณ์ ที่ เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับงานวิจัยของ พลานุภาพ พสุธาภูวดล (2552) ที่พบว่า การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวิสยั ทัศน์ในทางบวก จะส่งผลให้แฟรนไชซอร์ประสบ ความส�ำเร็จ และ Lim และ Frazer (2004) พบว่า สมรรถนะที่สร้างความพึงพอใจในด้านความสัมพันธ์ ระหว่างแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี คือ มีความมุ่งมั่น ที่จะเรียนรู้ 2. ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ (Functional Competency) คือ มาตรฐานร้าน (Store Standard) เป็ น สมรรถนะตามบทบาทที่ ส� ำ คั ญ เนื่ อ งจากเป็ น มาตรฐานการปฏิ บั ติ ง านที่ ค รอบคลุ ม การตั้งเป้าหมายของร้าน การจัดโครงสร้างการท�ำงาน ในแต่ ล ะผลั ด และล� ำ ดั บ ขั้ น ตอนของการปฏิ บั ติ ง าน สอดคล้องกับงานวิจยั ของ Davis (2012) และพลานุภาพ พสุธาภูวดล (2552) ที่พบว่า ทักษะและความรู้ในการ บริหารแฟรนไชส์ และท�ำตามมาตรฐานร้านอย่างเป็น ระบบ ท�ำให้แฟรนไชซีประสบความส�ำเร็จ ซึง่ แฟรนไชซอร์ ต้องจัดหลักสูตรการพัฒนา เริ่มจากการลงมือปฏิบัติ

131

ในธุรกิจ เพิ่มขึ้นจนถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งอาจใช้ การฝึกอบรมหรือการชี้แนะ เพื่อสร้างผู้ประกอบการให้ มีสมรรถนะ 3. ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะความเป็นผู้น�ำ (Leadership Competency) ประกอบด้วยการน�ำโดย ท�ำเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) และการดูแล พนักงาน (Leading People) 3.1 การน�ำโดยท�ำเป็นแบบอย่าง (Lead by Example) เป็นหนึ่งในสมรรถนะด้านความเป็นผู้น�ำที่ แฟรนไชซีควรมี เนื่องจากการท�ำตัวเป็นแบบอย่างผ่าน การกระท�ำจะท�ำให้พนักงานในร้านเกิดความศรัทธา และปฏิบัติตาม ดั่งงานวิจัยของ WEI-WEN WU (2009) ที่พบว่า แฟรนไชซีขนาดเล็กจะสร้างกลไกในการพัฒนา ความสามารถของตนเอง ส่วนแฟรนไชซีขนาดใหญ่ จะเน้นการแก้ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ และงานวิจัย ของ Dant, Weaven และ Baker (2013) ศึกษาพบว่า บุ ค ลิ ก ภาพแบบสามารถรองรั บ แรงกดดั น ควบคุ ม อารมณ์ สุขุม สงบ มั่นคง เชื่อมั่นในตนเอง (Emotional Stability) จะท�ำให้คุณภาพความสัมพันธ์ของการรับรู้ ของแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซีเป็นไปในทางบวก 3.2 การดูแลพนักงาน (Leading People) เนื่องจากพนักงานเป็นทรัพยากรที่ส�ำคัญที่สุดของการ ประกอบกิจการแฟรนไชส์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การ ของร้านทีด่ จี ะท�ำให้พนักงานมีความรักและความผูกพัน ต่ อ องค์ ก าร โดยแฟรนไชซี ต ้ อ งสื่ อ สารกั บ พนั ก งาน ทั้ ง อย่ า งเป็ น ทางการและไม่ เ ป็ น ทางการ ตรงกั บ งานวิ จั ย ของ Davis (2012) ที่ พ บว่ า การสื่ อ สาร (Communication) ในรู ป แบบการใช้ เ ทคโนโลยี สมัยใหม่ และรูปแบบดั้งเดิม เป็น 1 ใน 7 กลยุทธ์ ที่จะ สร้างความสมานฉันท์ให้กับแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี และการศึกษาของ สุนันทา ไชยสระแก้ว (2553) พบว่า วัฒนธรรมองค์กรแฟรนไชซีมีลักษณะของวัฒนธรรม แบบยืดหยุ่น (Supportive) ได้แก่ มีการร่วมมือช่วย เหลือกันในองค์กร มีการุม่งเน้นความสัมพันธ์ในองค์กร มีความมั่นคงปลอดภัย พนักงานได้รับการปฏิบัติอย่าง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


132

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

เสมอภาคเท่าเทียมกัน มีการสนับสนุนส่งเสริมพนักงาน จะส่ ง ผลต่ อ อั ต ราการลาออกของพนั ก งาน และผล ประกอบการของบริษัท

ข้อเสนอแนะ

การบริหารร้านค้าปลีกในระบบแฟรนไชส์มีความ ส�ำคัญมากขึน้ ระบบการบริหารแฟรนไชส์เป็นระบบการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ระบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ของตัวเอง แต่มีพื้นฐานส�ำคัญจากการใช้สมรรถนะเพื่อ การบริหารจัดการ (Competency based Human Resource Management) ข้อค้นพบในการวิจัยนี้ มีประโยชน์ส�ำหรับคัดเลือกแฟรนไชซีในการน�ำไปใช้ ดังนี้ 1. การสรรหา คั ด เลื อ กแฟรนไชซี ที่ มี ค วามรู ้ ความสามารถ

2. การก�ำหนดแนวทางการพัฒนา (Competency Gap Assessment) ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของธุรกิจแฟรนไชส์ 3. การจัดท�ำแผนการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร รายบุคคล (Individual Training & Development Plan) ให้ถูกต้อง ตามความจ�ำเป็น ตรงกับวัตถุประสงค์ เพื่ อ ให้ ก ารด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ไ ด้ ต ามมาตรฐาน ที่ก�ำหนด 4. การจั ด ท� ำ เส้ น ทางความก้ า วหน้ า ในอาชี พ (Career Path) เพือ่ ให้บคุ ลากรทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ตามที่ก�ำหนดไว้ได้ก้าวไปสู่หน้าที่การงานที่สูงขึ้นได้ อย่างเป็นธรรม 5. การพั ฒ นาศั ก ยภาพแฟรนไชซี เ พื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

บรรณานุกรม

ผูจ้ ดั การออนไลน์. (2558). ส�ำรวจสถานการณ์แฟรนไชส์ดาวรุง่ ปี 58. สืบค้นเมือ่ 5 มกราคม 2558, จาก http://www. manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000147884 พลานุภาพ พสุธาภูวดล. (2552). แฟรนไชส์กับความส�ำเร็จของผู้น�ำร้านสะดวกซื้อ. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญา เศษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). เริม่ ต้นธุรกิจด้วยแฟรนไชส์. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.sme.go.th/ SiteCollectionDocuments/บทความ/sep-2556/5.เริ่มต้นธุรกิจ ด้วยแฟรนไชส์(สง.).pdf ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). รายงานภาวะเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สาขาการค้าปลีกและค้าส่ง. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์. สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). รายงานการศึกษาขั้นสุดท้าย (Final Report) การจัดท�ำ ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนากกลางและขนาดย่อม. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์. สุนันทา ไชยสระแก้ว. (2553). ความส�ำคัญของการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพ ความสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม. อภิรดี สัตตะรุจาวงษ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเป็นแฟรนไชส์เซเว่นอีเลฟเว่นของผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. Dant, R. P., Weaven, S. K. & Baker, B. L. (2013). Influence of personality traits on perceived relationship quality within a franchisee-franchisor context. European Journal of Marketing, 47(1/2), 279302. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

133

Dickey, M. H., McKnight, D. H. & George, J. F. (2008). The role of trust in franchise organizations. International Journal of Organizational Analysis, 15(3), 251-282. Dubois, D. & Rothwell, W. (2004). Competency-Based Human Resource Management. California: Davies-Black Publishing. Davis, P. J. (2012). A model for strategy implementation and conflict resolution in the franchise business. Strategy & Leadership, 40(5), 32-38. Davies, M. A., Lassar, W., Manolis, C., Prince, M. & Winsor, R. D. (2011). A model of trust and compliance in franchise relationships. Journal of Business Venturing, 26(3), 321-340. Drucker, P. F. (2006). The Effective Executive: The Definitive Guide to Getting the Right Things Done. New York: HarperCollins Publishers. Green, P. C. (1999). Building robust competencies. San Francisco, CA: Jossey-Bass. Lim, J. & Frazer, L. (2004). Exploring the link between goal congruence and satisfaction in the franchising channel. In The Academy of World Business, Marketing and Management Development. The Academy of World Business, Marketing, and Management Development. Lim, J. & Frazer, L. (2004). Matching franchisor-franchisee roles and competencies. In 18th Annual International Society of Franchising Conference, Las Vegas. Maxwell, J. C. (2007). The 21 Indispensable Qualities of a Leader: Becoming the Person OthersWill Want to Follow. Tennessee: Thomas Nelson. Meiseberg, B. (2010). Social capital transfer and performance in franchising. In Robert Mittelstaedt Doctoral Symposium Proceedings (p. 99). Rothwell, W. J. & Lindholm, J. E. (1999). Competency identification, modelling and assessment in the USA. International journal of training and development, 3(2), 90-105. Scott, D. L., Frazer, L. & Weaven, S. K. W. (2006). Franchise unit success factors. In ANZMAC 2006 Conference. Queensland University of Technology. Spencer, L. M. & Spencer, S. M. (1993). Competency at work. New York: John Wiely & Sons. Wu, W. W. (2009). A competency-based model for the success of an entrepreneurial start-up. WSEAS Transactions on Business and Economics, 6(6), 279-291.

Translated Thai References

Chaisrakaew, S. (2010). The Important of Franchisor Support and Organizational Culture toward Franchisor-Franchisee Relationship Quality. Sripatum University. [in Thai] Manager Online. (2558). Explore the situation of rising star franchise’s 58. Retrieved January 5, 2015, from http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000147884 [in Thai] Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2009). Small and Medium Enterprises Economic Report: Retail and Wholesale. Publisher does not appear. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


134

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2013). Starting a franchise business. Retrieved November 26, 2013, from http://www.sme.go.th/ SiteCollectionDocuments/บทความ/sep2556/5.เริ่มต้นธุรกิจด้วยแฟรนไชส์(สง.).pdf [in Thai] Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (2014). Final Report of Small and Medium Enterprises Promotion’s the Strategy and Action Plan. Publisher does not appear. [in Thai] Pasuthaphuwadon, P. (2009). The franchise ‘s success with leading convenience store. Master Project, Master of Economic. Ramkamhaeng University. [in Thai] Sattarujawong, A. (2556). Factors Influencing The Decision of The Franchise’s 7 ELEVEN of Those Interested in a Franchise Business. Master of Business Administration (Business Administration). Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management. [in Thai]

Lertchai Suthammanon received his Bachelor Degree in Public

Administration (Second Class Honors) from Prince of Songkla University and Master Degree in Personal Administration (NIDA). With outstanding educational record, he also graduated Doctor of Philosophy in Human Resource Development from Ramkhamhaeng University. He is currently an Assistant President of Panyapiwat Institute of Management and Acting in Director of MBA Program: People Management & Organization Strategy (POS) in Panyapiwat Institute of Management Keeratikorn Boonsong graduated bachelor degree of Arts in Tourism and Hotel Studies (1st Class Honors) from Bangkok University and also finished Master Degree in Applied Management from National Institute of Development Administration. Presently, she is a lecturer in Faculty of Management Sciences, BBA Program: Human Resource Management in Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

135

การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม MODIFICATION OR EXPANSION OF TOWN HOUSE/TOWN HOME พิมพ์ยิหวา จ�ำรูญวงษ์1 Pimyiwa Jumroonvong1 บทคัดย่อ

ที่พักอาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม มักพบกันทั่วไปว่ามีการต่อเติมหรือดัดแปลง ท�ำให้เกิดความสนใจ ว่าเหตุใดจึงไม่ออกแบบหรือก่อสร้างให้มีพื้นที่ที่เพียงพอ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยตั้งแต่แรก เพื่อไม่ต้องต่อเติมหรือดัดแปลงพื้นที่ในภายหลัง ซึ่งอาจมีหลากหลายเหตุผล จึงท�ำให้ต้องศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เกิด ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์หาหลักเกณฑ์เปรียบเทียบและปรับแก้ไขต่อไปในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมในกรุงเทพมหานครถึง การใช้ประโยชน์ของพืน้ ที่ และเพือ่ ศึกษาว่าการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมนัน้ ตรงตามทีก่ ฎหมายก�ำหนด โดยมีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการอ้างอิงกับทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ได้ส�ำรวจมา พบว่า การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม ด้านหน้ามักเป็นที่จอดรถยนต์ ด้านหลังมักเป็น ห้องครัว และร้อยละ 95 ไม่ตรงตามกฎหมาย อาจเป็นเพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ หรือความเพิกเฉยในกฎหมาย แต่ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะช่วยชี้น�ำและให้ความรู้ความเข้าใจในการต่อเติม หรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมได้ไม่มากก็น้อย ค�ำส�ำคัญ: ทาวน์เฮ้า/ทาวน์โฮม การต่อเติมหรือดัดแปลง ผู้อยู่อาศัย

Abstract

The expansion or modifications this moment are very general. Especially Townhouse/ Townhome. To think, why not designed or constructed to have adequate space and respond to the needs of the residents. So do not expansion or modification to the area later. This may be a lot of reasons so requires study to be able to understand, analyze, compare and adjust the rules in the future. This research aims to study the expansion or modification Townhouse/Townhome in Bangkok to take advantage of the area. And to study the expansion or modification Townhouse/Townhome meets the regulation. A study of the relevant regulation in reference to the Townhouse/Townhome was explored. 1 อาจารย์ประจ�ำ

สาขาวิชาการจัดการอสังหาริมทรัพย์และทรัพยากรอาคาร คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer in Major of Realestate and Facility Management, Faculty of Management Science, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: pimyiwajum@pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


136

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Found that the expansion or modification Townhouse/Townhome 95 percent did not meet the law. May be due to a misunderstanding, ignorance or disregard of the law. But no matter, for any reason It is hoped that the study. This article will help guide and provide a better understanding of the relevant laws of the expansion or modification Townhouse/Townhome, more or less. Keywords: Townhouse/Townhome, Expansion or Modification, Resident

บทน�ำ

ปัจจุบันที่พักอาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม เกิ ด ขึ้ น เป็ น จ� ำ นวนมากในกรุ ง เทพมหานคร ทั้ ง ที่ ปลูกสร้างเองเพื่ออยู่อาศัย และทั้งที่จัดสรรที่ดินแล้ว ปลู ก สร้ า งเพื่ อ แบ่ ง ขาย หรื อ ที่ รู ้ จั ก กั น โดยทั่ ว ไปว่ า หมู่บ้านจัดสรร ที่พักอาศัยเหล่านี้มักมีการต่อเติมหรือ ดัดแปลง เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานให้มากขึ้น หรือตรงตาม ความต้องการของผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ส่งผลต่อสภาพ อาคารทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ภาพลักษณ์ของโครงการ ความ ไม่ถกู ต้องตามกฎหมาย ตลอดจนผลกระทบต่อเพือ่ นบ้าน หรือผู้อยู่อาศัยข้างเคียง ดังนัน้ ผูศ้ กึ ษาจึงท�ำการส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม ในกรุงเทพมหานคร ว่ามีการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร เพือ่ อะไร และตรงตามทีก่ ฎหมายก�ำหนดหรือไม่ โดยน�ำ ข้อกฎหมายมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา ข้างต้น จากการทบทวนวรรณกรรม มี แ นวคิ ด ทฤษฎี ที่ เกี่ยวข้อง และจ�ำเป็นต้องน�ำมาใช้ ดังนี้ • แนวคิดเกีย่ วกับทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม (ประกอบ ด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 55) • กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องในการออกแบบทาวน์เฮ้าส์/ ทาวน์โฮม ได้แก่ กฎหมายควบคุมอาคาร (ประกอบด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 และข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2544) • กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการต่อเติมหรือดัดแปลง ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม ได้แก่ กฎหมายการต่อเติมอาคาร (ประกอบด้วย พระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 11)

วิธีการศึกษา

การศึ ก ษานี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาถึ ง การใช้ ประโยชน์ของพื้นที่ที่เกิดจากการต่อเติมหรือดัดแปลง ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมในกรุงเทพมหานคร และเพือ่ ศึกษา ว่าการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมนั้น ตรงตามที่กฎหมายก�ำหนด โดยใช้วิธีการศึกษาแบบ การก�ำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กล่าวคือ เป็นการ ส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมทีม่ กี ารต่อเติมหรือดัดแปลง ในเขตลาดพร้าว จังหวัดกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 100 หลัง ในการส�ำรวจมีเครือ่ งมือทีใ่ ช้ คือ แผนการเก็บข้อมูล โดยการก�ำหนดประเด็นส�ำคัญเพื่อเก็บข้อมูล ได้แก่  มีการต่อเติมหรือดัดแปลงเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ การใช้งานหรือไม่  ต่อเติมหรือดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์อะไร  มีลักษณะการต่อเติมหรือดัดแปลงอย่างไร เมื่อได้ผลการศึกษาแล้ว จึงน�ำมาวิเคราะห์ในเชิง คุณภาพ โดยน�ำข้อมูลที่ได้จากการส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ ทาวน์โฮมทีม่ กี ารต่อเติมหรือดัดแปลงมาเปรียบเทียบกับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อจ�ำกัดของการศึกษาในครั้งนี้ คือ ระยะเวลา ในการเก็ บ ข้ อ มู ล ที่ สั้ น ท� ำ ให้ ต ้ อ งจ� ำ กั ด ขอบเขตจึ ง ไม่สามารถส�ำรวจพื้นที่ทั้งหมดในกรุงเทพมหานครได้ และหากมี ก ารสอบถามผู ้ อ ยู ่ อ าศั ย ถึ ง ความเข้ า ใจใน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์ เฮ้าส์/ทาวน์โฮม จะท�ำให้รู้ถึงเหตุผ ลในการต่อเติม หรือดัดแปลงทีไ่ ม่ตรงตามกฎหมาย ซึง่ อาจเป็นแนวทาง ที่ควรท�ำในการศึกษาครั้งถัดไป

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

แนวคิดเกี่ยวกับทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม เมื่อกล่าวถึงค�ำว่า “ทาวน์เฮ้าส์” หลายคนคงนึกถึง อาคารพักอาศัยหรืออาคารส�ำนักงานทีต่ ดิ กันหลายคูหา มีพื้นที่ด้านหน้าส�ำหรับจอดรถ โดยมีรั้วแบ่งแนวเขตที่ ชัดเจน แต่เมื่อกล่าวถึง “ทาวน์โฮม” ท�ำให้เกิดข้อสงสัย ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ท�ำไมบางโครงการใช้คำ� ว่า “ทาวน์เฮ้าส์” และบางโครงการใช้ค�ำว่า “ทาวน์โฮม” ทั้งที่พิจารณาดูแล้วก็เหมือนกัน หากวิเคราะห์ตามกฎหมายจะไม่พบค�ำว่า “ทาวน์ เฮ้าส์” และ “ทาวน์โฮม” แต่จะพบค�ำว่า “ห้องแถว” “ตึกแถว” และ “บ้านแถว” เป็นนิยามศัพท์ทบี่ ง่ บอกถึง ลั ก ษณะทางกายภาพของอาคาร ถู ก ระบุ ไว้ ใ นกฎ กระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามพระราช บัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กล่าวคือ “ห้องแถว” และ “ตึกแถว” เป็นอาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถว ตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งเป็นคูหา ต่างกันตรง ที่ “ตึกแถว” ประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ แต่ “ห้องแถว” ประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ “บ้านแถว” คือ ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขต ที่ดินกับตัวอาคาร และมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ดังนั้น จึง สรุปได้ว่า “ทาวน์เฮ้าส์” และ “ทาวน์โฮม” อาจเป็น “ห้องแถว” หรือ “ตึกแถว” หรือ “บ้านแถว” ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพว่าตรงตามนิยามศัพท์ ประเภทไหน ผู้ศึกษาจึงตีความตามกฎหมายว่า “ทาวน์เฮ้าส์” และ “ทาวน์โฮม” ถือเป็นอาคารประเภทเดียวกัน โดย หากเป็นที่พักอาศัย สูงไม่เกิน 3 ชั้น จัดว่าเป็นบ้านแถว ซึง่ ในบทความเรือ่ งกฎหมายกับการต่อเติมหรือดัดแปลง ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมในปัจจุบันนี้จะท�ำการส�ำรวจ เฉพาะอาคารประเภทบ้านแถวเท่านั้น

ผลการศึกษา

137

หรือดัดแปลง เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งาน หรือปรับเปลี่ยน พืน้ ทีใ่ ห้เหมาะสมกับความต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัยมากขึน้ พบว่า  มีการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม เพือ่ ใช้ประโยชน์พนื้ ที่ ได้แก่ ทีจ่ อดรถยนต์, ห้องรับแขก/ ห้องนั่งเล่น, ร้านขายของ, ร้านเสริมสวย, ส�ำนักงาน, สวน, ห้องเก็บของ, ห้องครัว, ที่ซักล้าง ฯลฯ  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหน้า อันดับที่ 1 คือ การต่อเติมหลังคา หรือกันสาดครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดจนถึงแนวประตูรั้ว เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นที่จอดรถยนต์  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหน้า อันดับที่ 2 คือ การต่อเติมห้อง บริ เวณด้ า นหน้ า ทั้ ง หมดจนถึ ง แนวประตู รั้ ว เพื่ อ ใช้ ประโยชน์เป็นห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหน้า อันดับที่ 3 คือ การต่อเติมห้อง บริ เวณด้ า นหน้ า ทั้ ง หมดจนถึ ง แนวประตู รั้ ว เพื่ อ ใช้ ประโยชน์เป็นร้านขายของ เช่น ร้านขายของช�ำ ร้าน กาแฟสด ร้านขายอาหารตามสั่ง เป็นต้น  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหลัง อันดับที่ 1 คือ การต่อเติมห้อง บริเวณด้านหลังทัง้ หมดจนถึงแนวรัว้ เพือ่ ใช้ประโยชน์ใน การเป็นห้องครัว  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหลัง อันดับที่ 2 คือ การต่อเติมหลังคา หรือกันสาดครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดจนถึงแนวรั้ว เพื่อใช้ ประโยชน์ในการเป็นพื้นที่ซักล้าง  การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม บริเวณพื้นที่ด้านหลัง อันดับที่ 3 คือ การต่อเติมหลังคา หรือกันสาดครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดจนถึงแนวรั้ว เพื่อใช้ ประโยชน์ในการเป็นห้องเก็บของ

จากการส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม จ�ำนวน 100 หลัง ย่านลาดพร้าว ในกรุงเทพมหานคร ที่มีการต่อเติม ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

138

ตารางที่ 1 การใช้ประโยชน์พื้นที่ในการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม การใช้ประโยชน์พื้นที่

ภาพประกอบ

ด้านหน้า (จำ�นวนหลัง) ด้านหลัง (จำ�นวนหลัง)

1. ที่จอดรถยนต์

42

0

2. ห้องรับแขก/ห้องนั่งเล่น

17

0

3. ร้านขายของ

10

0

4. ร้านเสริมสวย

5

0

5. สำ�นักงาน

8

0

6. สวน

4

3

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015 การใช้ประโยชน์พื้นที่

ภาพประกอบ

139

ด้านหน้า (จำ�นวนหลัง) ด้านหลัง (จำ�นวนหลัง)

7. ห้องเก็บของ

3

18

8. ห้องครัว

6

42

9. ที่ซักล้าง

3

31

ฯลฯ เช่น ที่เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

2

6

100 (หลัง)

100 (หลัง)

รวม

ตารางที่ 2 การต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมตามที่กฎหมายก�ำหนด จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์เฮ้าส์/ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ ทาวน์โฮมที่ตรงตาม น�ำพิจารณาตาม ไม่ตรงตาม กฎหมาย ข้อกฎหมาย กฎหมาย

ข้อก�ำหนดตามกฎหมาย

1. อาคารใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนน สาธารณะอย่ า งน้ อ ย 3 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคแรก)

100

49

51

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


140

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ข้อก�ำหนดตามกฎหมาย

จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์เฮ้าส์/ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ ทาวน์โฮมที่ตรงตาม น�ำพิจารณาตาม ไม่ตรงตาม กฎหมาย ข้อกฎหมาย กฎหมาย

2. อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ใกล้ถนน สาธารณะที่ มี ค วามกว้ า งน้ อ ยกว่ า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคสอง)

n/a

n/a

n/a

3. อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ใกล้ถนน สาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ ไม่เกิน 20 เมตร ให้รน่ แนวอาคารห่างจากเขตถนน สาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของ ถนนสาธารณะ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคสอง)

n/a

n/a

n/a

4. อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ใกล้ถนน สาธารณะทีม่ คี วามกว้างเกิน 20 เมตรขึน้ ไป ให้รน่ แนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคสอง)

n/a

n/a

n/a

5. ระยะห่างของ “ช่องเปิด” กับแนวเขตทีด่ นิ ส�ำหรับ ชั้น 2 ลงมาหรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างเขต ที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร และส�ำหรับชั้น 3 ขึ้นไป หรือสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 54)

100

49

51

6. ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินกับผนังที่มีช่องเปิด โดยอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือ ระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่หากสูงเกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยูห่ า่ ง เขตที่ ดิ น ไม่ น ้ อยกว่า 3 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 50)

100

49

51

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์ จ�ำนวนทาวน์เฮ้าส์/ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ ทาวน์โฮมที่ตรงตาม น�ำพิจารณาตาม ไม่ตรงตาม กฎหมาย ข้อกฎหมาย กฎหมาย

ข้อก�ำหนดตามกฎหมาย

7. บ้านแถว ต้องมีที่ว่างด้านข้างกับแนวเขตที่ดิน ของผู้อื่นกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ยกเว้นบ้าน แถวที่ก่อสร้างขึ้นทดแทนอาคารเดิม (ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร ข้อ 48)

18

4

14

8. บ้านแถว ต้องมีที่ว่างด้านหน้าระหว่างรั้วหรือ แนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และต้องมีทวี่ า่ งด้านหลังอาคารระหว่างรัว้ หรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อย กว่า 2 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41)

100

5

95

การอภิปรายผล

141

หากพิจารณาข้อก�ำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายควบคุมอาคาร (ประกอบด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 และข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร เรือ่ งควบคุม อาคาร พ.ศ. 2544) และกฎหมายการต่อเติมอาคาร (ประกอบด้วย พระราชบัญญัตคิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 11) พบว่า 1. จากการส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมทีม่ กี ารต่อ เติมหรือดัดแปลง จ�ำนวน 100 หลัง สามารถน�ำมา พิจารณาในข้อก�ำหนดตามกฎหมายได้หลายข้อ กล่าว คือ จากตารางที่ 2 เมื่อน�ำทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมมา พิจารณาในข้อ 1 แล้ว ก็ต้องน�ำมาพิจารณาในข้อ 5-8 ร่วมด้วย หากเข้าข่ายอยู่ในเกณฑ์ตามข้อกฎหมายนั้น 2. จากการส�ำรวจทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมทีม่ กี ารต่อ เติมหรือดัดแปลง จ�ำนวน 100 หลัง ไม่เข้าข่ายเกณฑ์ ตามข้อกฎหมายที่ 2-4 เลย (ตารางที่ 2) จึงไม่น�ำมา พิจารณา 3. จากตารางที่ 2 ข้อกฎหมายที่ 1, 5, 6 จ�ำนวน ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ได้จากการส�ำรวจเป็นจ�ำนวน

เดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ดูจากข้อกฎหมาย พบว่า ข้อ กฎหมายทั้งสามข้อมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ อาคาร ที่ใกล้ถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่าง จากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร หากท�ำตรงตาม กฎหมายข้อนี้ การร่นระยะห่างจากช่องเปิด (ในข้อ 5) และการร่นระยะห่างจากผนัง (ในข้อ 6) ถึงแนวเขตทีด่ นิ ก็มีแนวโน้มที่จะท�ำตรงตามกฎหมายในข้อ 5, 6 ไปด้วย ถึงแม้ตัวเลขที่ออกมาจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ เมือ่ พิจารณาถึงจุดมุง่ หมายของกฎหมายในแต่ละข้อแล้ว จะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ  จากตารางที่ 2 (ข้อ 1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคแรก อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่น แนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร กฎหมายในข้อนี้ นอกจากเพื่อไม่ให้แนวอาคาร ยืน่ ไปรบกวนถนนสาธารณะแล้ว ยังมุง่ เน้นเพือ่ ประโยชน์ ในการขยายถนนหรือระบบสาธารณูปโภคในอนาคต

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

142

รูปที่ 1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 วรรคแรก จากตารางที่ 2 (ข้อ 5) ข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร ข้อ 54 ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น เป็นระยะห่าง ของ “ช่องเปิด” กับแนวเขตที่ดิน ส�ำหรับชั้น 2 ลงมา หรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยูห่ า่ งเขตทีด่ นิ ไม่นอ้ ยกว่า 2 เมตร และส�ำหรับชั้น 3 ขึ้นไปหรือสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร กฎหมายในข้อนี้ เป็นการ 

ป้องกันไม่ให้อาคารมีการรุกล�ำ้ หรือรบกวนทีด่ นิ ของผูอ้ นื่ ทัง้ ยังเป็นการเว้นทีว่ า่ งให้เกิดการระบายอากาศทีด่ ี และ เป็นการป้องกันความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ยกตัวอย่าง เช่น หากอาคารเกิดเพลิงไหม้ อาจท�ำให้ไฟลุกลามไปยัง อาคารที่อยู่ใกล้กันได้เร็วขึ้น เป็นต้น

รูปที่ 2 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 54 ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น จากตารางที่ 2 (ข้อ 6) กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 50 ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น เป็นระยะห่าง ของแนวเขตทีด่ นิ กับผนังทีม่ ชี อ่ งเปิด โดยอาคารทีม่ คี วาม สูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดิน 

ไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่หากสูงเกิน 9 เมตร ผนังหรือ ระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 3 เมตร หาก อาคารเป็นผนังทึบ สามารถอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินได้ ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร แต่หากต้องการก่อสร้าง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ชิดแนวเขตทีด่ นิ ต้องได้รบั ความยินยอมเป็นหนังสือจาก เจ้าของที่ดินข้างเคียงด้วย กฎหมายในข้อนี้ มุ่งเน้นเพื่อ ประโยชน์เหมือนกันกับกฎหมายในข้อทีผ่ า่ นมา แตกต่าง

143

กันทีก่ ล่าวถึง แนวผนังทีม่ ชี อ่ งเปิด หรือผนังทัง้ ผนัง ไม่ใช่ เฉพาะช่องเปิด

รูปที่ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 50 ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น 1. การพิจารณาเรือ่ งทีว่ า่ งด้านข้างกับแนวเขตทีด่ นิ ของผู้อื่นในข้อ 7 (ตารางที่ 2) มีทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมที่ เข้าข่าย สามารถน�ำมาพิจารณาได้ จ�ำนวน 18 หลัง พบ ว่า มี 14 หลัง ที่ไม่ตรงตามกฎหมาย กล่าวคือ มักมีการ ต่อเติมพืน้ ทีด่ า้ นข้าง เพือ่ ใช้ประโยชน์พนื้ ที่ เช่น ห้องเก็บ ของ ห้องนั่งเล่น เป็นต้น อ้างอิงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 48 บ้านแถว ต้องมีที่ว่างด้านข้างกับแนวเขตที่ดินของผู้อื่น

กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ยกเว้นบ้านแถวที่ก่อสร้างขึ้น ทดแทนอาคารเดิม โดยมีพนื้ ทีไ่ ม่มากกว่าอาคารเดิม และ สูงไม่เกิน 12 เมตร และในข้อ 52 (1) ยังก�ำหนดด้วยว่า อาคารอยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของที่ดิน กฎหมายในข้อนี้ มุ่งเน้นเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านความ ปลอดภัยด้านอัคคีภัย แต่พบว่า มักถูกต่อเติมเป็นห้อง จนไม่เหลือที่ว่างด้านข้าง

รูปที่ 4 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อ 48 ที่ว่างด้านข้างกับแนวเขตที่ดินผู้อื่น ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


144

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

2. การพิจารณาเรือ่ งทีว่ า่ งด้านหน้าและด้านหลังกับ แนวเขตที่ดินในข้อ 8 (ตารางที่ 2) ในจ�ำนวน 100 หลัง มีถึง 95 หลัง ที่ไม่ตรงตามกฎหมาย กล่าวคือ มีการ ต่อเติมหรือดัดแปลงพื้นที่ว่างด้านหน้าและด้านหลัง อาคาร เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ ท�ำพื้นที่ด้านหน้าและ ด้านหลังไม่มีที่ว่างเหลือตามที่กฎหมายก�ำหนด อ้างอิงตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 บ้านแถว ต้องมีทวี่ า่ งด้านหน้าระหว่างรัว้ หรือแนวเขตทีด่ นิ กับแนว ผนังอาคารกว้างไม่นอ้ ยกว่า 3 เมตร และต้องมีทวี่ า่ งด้าน หลังอาคารระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนัง

อาคารกว้างไม่นอ้ ยกว่า 2 เมตร กฎหมายในข้อนี้ มุง่ เน้น ให้มีที่ว่างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อช่วยในการ ระบายอากาศ เนื่องจากบ้านแถวเป็นอาคารที่ติดกัน ท�ำให้ไม่มชี อ่ งเปิดด้านข้างเพือ่ ระบายอากาศ มีเพียงช่อง เปิดด้านหน้าและด้านหลังเท่านัน้ แต่พบว่า มักถูกต่อเติม ให้เป็นที่จอดรถ ครัว ซึ่งเกิดจากความจ�ำเป็นในการ ใช้งานของผูอ้ ยู่อาศัย อาจเป็นเพราะผูอ้ อกแบบไม่ได้จดั เตรียมไว้ หรือเหตุผลทางด้านต้นทุนการก่อสร้าง หรือ ขาดการบริหารจัดการพื้นที่ใช้งานของโครงการหรือ ท้องถิ่น

รูปที่ 5 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ข้อ 41 ที่ว่างด้านหน้า และด้านหลังบ้านแถว

บทสรุป

ในปัจจุบันการต่อเติมหรือดัดแปลงทาวน์เฮ้าส์/ ทาวน์ โ ฮม เพื่ อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใ ห้สามารถใช้ ประโยชน์ได้ตามความต้องการของผูอ้ ยูอ่ าศัยมากขึน้ มัก พบว่า มีการต่อเติมหรือดัดแปลงพื้นที่ด้านหน้า เพื่อใช้ เป็ น ที่ จ อดรถยนต์ ม ากที่ สุ ด และมี ก ารต่ อ เติ ม หรื อ ดัดแปลงพืน้ ทีด่ า้ นหลัง เพือ่ ใช้เป็นห้องครัวมากทีส่ ดุ โดย ร้อยละ 95 ไม่ตรงตามที่กฎหมายได้ก�ำหนดไว้ กล่าวคือ พืน้ ทีด่ า้ นหน้าต้องเป็นทีว่ า่ งอย่างน้อย 3 เมตร และพืน้ ที่

ด้านหลังต้องเป็นทีว่ า่ งอย่างน้อย 2 เมตร อาจเป็นเพราะ การตีความข้อกฎหมายที่หลายคนเข้าใจว่า “ที่ว่าง” คือ การร่นระยะห่างของแนวรัว้ กับแนวผนัง ไม่ได้หมายรวม ถึงหลังคาหรือกันสาด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงมีการต่อเติม หลังคาหรือกันสาดมากกว่าการต่อเติมห้อง ทั้งนี้ หาก เจ้าพนักงานมีการตรวจพบ หรือที่ดินข้างเคียงมีการ ร้องเรียนว่า ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮมมีการต่อเติมหรือ ดัดแปลงที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจโดนปรับ หรือ รับบทลงโทษดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

145

บรรณานุกรม

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557, จาก http://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr43-55r-bm.pdf ข้อบัญญัตกิ รุงเทพมหานคร เรือ่ งควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544. สืบค้นเมือ่ 28 พฤศจิกายน 2557, จาก http://download. asa.or.th/03media/04law/cba/bb/bb44-03.pdf พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557, จาก http://download.asa.or. th/03media/04law/cba/cba22.pdf สถาบันสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยามฯ. (2556). คู่มือกฎหมายใช้บ่อย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. วิเชษฎ์ สุวิสิทฐ์ และขวัญชัย โรจนกนันท์. (2554) กฎหมายจัดสรรที่ดินและอาคารชุดที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Translated Thai References

BangkokRoyal Act code The Building Control Act 2001. Retrieved November 28, 2014, from http:// download.asa.or.th/03media/04law/cba/bb/bb44-03.pdf [in Thai] Building Control Act 1979. Retrieved November 28, 2014, from http://download.asa.or. th/03media/04law/cba/cba22.pdf [in Thai] Institute of Architecture The Association of Siamese Architects. (2013). Common Law Guide. Bangkok: The Association of Siamese Architects. [in Thai] Regulation No. 55 (2000). Issued under the Building Control Act 1979. Retrieved November 28, 2014, from http://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr43-55r-bm.pdf [in Thai] Suwisit, W. & Rojjanoknan, K. (2011). Land and condominium law related to real estate. Bangkok: Amarin Printing & Publishing. [in Thai]

Pimyiwa Jumroonvong received her Bachelor Degree of Architectural

from Kasetsart University in 2005. In 2008, she graduated Master of Architectural Management from Chulalongkorn University. She is currently a full time lecturer in Major of Realestate and Facility Management, Faculty of Management Science, Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


146

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การบริหารจัดการสหกิจศึกษาส�ำหรับมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

THE MANAGEMENT OF COOPERATIVE EDUCATION FOR UNIVERSITY: A CASE STUDY OF BUSINESS EDUCATION DIVISION, FACULTY OF EDUCATION, CHULALONGKORN UNIVERSITY สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์1 Sirichan Sathirakul Tachaphahapong1 บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาสภาพปัจจุบนั และปัญหาของการบริหารจัดการสหกิจศึกษา วิเคราะห์ กิจกรรมและกระบวนการ บริหารจัดการสหกิจศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษาสาขาวิชาธุรกิจ และอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ นิสิตสหกิจศึกษา จ�ำนวน 17 คน คณาจารย์นิเทศก์ จ�ำนวน 3 คน และผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ 17 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา คือ ปิดภาคเรียนก่อนขึ้นชั้นปีที่ 4 โดย ปฏิบัติงานต่อเนื่องกันจนครบ 4 เดือนมีการนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง นิสิตสหกิจศึกษาทั้งหมดมีความพึงพอใจกับการ ปฏิบัติงานและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานในระดับมาก ผู้นิเทศงานเห็นว่า ความรู้ของนิสิตที่ได้รับจาก มหาวิทยาลัยเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระดับปานกลาง นิสิตสหกิจศึกษาช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระงานในระดับมาก และมีความประสงค์ที่จะรับนิสิตจากสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ต่อไป ส่วนปัญหาการบริหารจัดการสหกิจศึกษา พบว่า มีด้านการเตรียมการและการวางแผน ด้านสถานประกอบการ และด้านนิสิตสหกิจศึกษา กิจกรรมส�ำคัญและกระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนหรือการเตรียมตัวก่อนการปฏิบตั งิ าน (Plan) 2) การปฏิบตั งิ าน (Do) 3) การติดตามความก้าวหน้าและ การประเมินผล (Check) และ 4) การด�ำเนินการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (Act) ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษา บริหารจัดการ ธุรกิจและอาชีวศึกษา

Abstract

This research purposes were to study current status and problems of cooperative education, to analyze the activities and management process of cooperative education; and to develop 1 อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Assistant Professor in Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University, E-mail: sirichant@gmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

147

management system of cooperative education, Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The sample consisted of 17 cooperative students, 3 university supervisors and 17 entrepreneurs. Questionnaires and Interviews were used for data collection; and data were analyzed by using percentages, mean, and content analysis. The findings showed that the appropriate time for cooperative education is during summer break before entering senior year in four consecutive month and observing once a month from university supervisor. Cooperative students are satisfied with the performance and benefit from the operation at the high level. The university supervisors perceive that knowledge of students from the university benefits to the operational at the moderate level. Cooperative students help and reduce workload at the high level. The entrepreneurs are willing to accept students from Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University in next year. Problems in Cooperative Education Management were in preparation and planning, entrepreneurs and cooperative students. The key activities and management processes of cooperative education consist of 4 components which are Plan, Do, Check and Act. Keywords: Cooperative Education, Management, Business Education

บทน�ำ

ปั จ จุ บั น สถานการณ์ ข องโลกเปลี่ ย นแปลงไป อย่างรวดเร็วการแข่งขันของตลาดแรงงานค่อนข้างสูง คุณลักษณะของบัณฑิตที่ตลาดแรงงานต้องการ ได้แก่ ความรู้ความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ และทักษะการ พัฒนาตนเอง ทักษะเหล่านี้จะเรียนรู้และพัฒนาได้เมื่อ นิสิตได้มีโอกาสไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ทั้ ง นี้ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในฐานะผู ้ ผ ลิ ต บั ณ ฑิ ต และ สถานประกอบการจึงต้องร่วมมือกันเพือ่ สร้างและพัฒนา ความรูค้ วามสามารถของผูเ้ รียนให้ตรงกับความต้องการ ของสถานประกอบการ โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนา วิธีการจัดประสบการณ์ดังกล่าวแพร่หลายทั่วโลก เรียกว่า สหกิจศึกษา (Cooperative Education) ซึ่งบูรณาการ การท�ำงานกับการเรียนรู้ (Work Integrated Learning) แนวคิดของสหกิจศึกษาเป็นการเตรียมพัฒนาผู้จะเป็น บัณฑิตให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน โดย นิสิตสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ ได้ และมีความพร้อมในการท�ำงานเมื่อส�ำเร็จการศึกษา

การจัดให้นสิ ติ มีประสบการณ์ตรงโดยการปฏิบตั งิ านจริง ในสถานประกอบการเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตามหลัก “การเรียนรู้จากการกระท�ำ” (Learning by doing) สหกิจศึกษาจึงมีความส�ำคัญมากขึ้น โดยสถาบัน อุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศใช้สหกิจศึกษาเป็น แนวทางการจั ด การศึ ก ษาเกื อ บทุ ก สาขาวิ ช า โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ตามมาตรฐาน วิชาการและวิชาชีพ เตรียมความพร้อมของนิสติ ด้านการ พัฒนาอาชีพ เสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมทีจ่ ะ เข้าสู่ระบบการท�ำงาน เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการ เรียนการสอนทีท่ นั สมัย เปิดโอกาสให้สถานประกอบการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ ซึ่งจะน�ำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ต่อไป จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสหกิจศึกษา คือ นิสิต สถาบัน การศึกษา และสถานประกอบการ โดยนิสิตจะได้รับ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


148

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ประสบการณ์วิชาชีพตรงตามวิชาเอก เกิดการพัฒนา ตนเองให้เป็นบัณฑิตทีม่ ศี กั ยภาพและความพร้อมในการ ท�ำงานสูงได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบตั ิงาน และได้รับ การเสนองานก่อนส�ำเร็จการศึกษา ส�ำหรับสถาบันการ ศึกษา สหกิจศึกษาท�ำให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการ และความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ ช่วยให้ สถาบันได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน ส่วนสถาน ประกอบการได้รับประโยชน์ คือ มีนิสิตช่วยปฏิบัติงาน ท�ำให้พนักงานประจ�ำมีเวลาท�ำงานส�ำคัญได้มากขึน้ เกิด ภาพพจน์ทดี่ ดี า้ นการส่งเสริมการศึกษา (วิจติ ร ศรีสอ้าน, 2552: 8-9) หลั ก สู ต รครุ ศ าสตรบั ณ ฑิ ต (หลั ก สู ต รปรั บ ปรุ ง พ.ศ. 2552) สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา ได้เริม่ ตระหนัก และเห็นความส�ำคัญดังกล่าว จึงได้เปิดรายวิชา 2751400 ปฏิบตั งิ านด้านธุรกิจศึกษา ซึง่ จัดเป็นโครงการปฏิบตั งิ าน วิชาชีพ เพือ่ ให้นสิ ติ ทีก่ ำ� ลังจะขึน้ ชัน้ ปีที่ 4 ออกไปปฏิบตั ิ งานในองค์กรของรัฐและเอกชน เป็นเวลา 16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน หรือ 400 ชั่วโมง ประสบการณ์ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ทงั้ การน�ำความรูไ้ ปใช้ในการปฏิบตั กิ าร วิชาชีพ (ฝึกสอน) ในชั้นปีที่ 5 และการออกไปประกอบ อาชีพต่อไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับปรัชญาสาขาวิชา ธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจ และอาชีวศึกษาให้มีความรอบรู้ในทักษะวิชาชีพ และ ทักษะในการพัฒนาตนเอง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถน� ำ ไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการจั ด การเรี ย นรู ้ แ ละ การท�ำงานในอนาคตได้ รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและ จริยธรรมอันจะเป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โครงการสหกิจศึกษามีการ บริหารจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพจึงได้น�ำ แนวคิดการบริหารวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มาใช้ ในขั้นกระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งมีขั้นตอนในการ ด�ำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Plan) หมายถึง การตัง้ จุดมุง่ หมาย การจัดท�ำวิธกี าร การเตรียมการในการ ท�ำงาน 2) การปฏิบัติงาน (Do) หมายถึง การด�ำเนินการ

ตามแผนการทีก่ ำ� หนด 3) การติดตามความก้าวหน้าและ การประเมินผล (Check) หมายถึง การตรวจสอบผลการ ปฏิบัติการว่า เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ก�ำหนดหรือไม่ และ 4) การด�ำเนินการหลังการปฏิบัติงาน (Act) หมายถึง การทบทวนกระบวนการด�ำเนินงาน และการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2541: 30-36) ดังนั้น ซึ่งแนวคิดวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) จะท�ำให้ คุณภาพในการบริหารจัดการสหกิจศึกษามีการปรับปรุง ดีขึ้น และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ของการบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมและกระบวนการบริหาร จัดการสหกิจศึกษาสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิธีการวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา 2751400 ปฏิบัติงานด้านธุรกิจศึกษา จ�ำนวน 17 คน คณาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ�ำนวน 3 คน และผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ จ�ำนวน 17 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพ ปัจจุบัน ปัญหา ความพึงพอใจ และความเหมาะสมของ การบริห ารจัดการด้านการปฏิบัติงานวิชาชีพ คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ส�ำหรับนิสิต ชุดที่ 2 ส�ำหรับคณาจารย์นิเทศก์ และชุดที่ 3 ส�ำหรับผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ และแบบสัมภาษณ์กิจกรรมและกระบวนการบริหาร จัดการสหกิจศึกษา ส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวัดความตรง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ของเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 5 ท่าน ปรับปรุงแก้ไขตามค�ำแนะน�ำ จากนัน้ จึงน�ำไปเก็บ ข้อมูลจริง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสภาพ ปัจจุบัน ปัญหา ความคิดเห็น และความเหมาะสม ของการบริหารจัดการด้านการปฏิบัติงานวิชาชีพ คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ส�ำหรับนิสิตสหกิจศึกษา จ�ำนวน 17 คน ชุดที่ 2 ส�ำหรับคณาจารย์นิเทศก์ จ�ำนวน 3 คน และชุดที่ 3 ผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ จ�ำนวน 17 คน และ จากการสัมภาษณ์คณาจารย์นเิ ทศก์ สาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จ�ำนวน 2 คน ผู้นิเทศงาน ของสถานประกอบการ จ�ำนวน 3 คน และนิสิตสหกิจ ศึกษา จ�ำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 8 คน การวิเคราะห์ขอ้ มูลจากแบบสอบถามสภาพปัจจุบนั ปั ญ หา ความคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจ และความ เหมาะสมของการบริ ห ารจั ด การด้ า นการปฏิบัติงาน วิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย การวิเคราะห์หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ และวิเคราะห์ ข้ อ มู ล จากแบบสั ม ภาษณ์ กิ จ กรรมและกระบวนการ บริหารจัดการสหกิจศึกษา โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย

สภาพปัจจุบนั การบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขา วิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พบว่า นิสิตมีความคิดเห็นว่า เวลาที่ เหมาะสมในการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา คือ ช่วงเวลาปิด ภาคเรียนก่อนขึน้ ชัน้ ปีที่ 4 (ร้อยละ 58.82) และปฏิบตั งิ าน ต่อเนื่องกันจนครบ 4 เดือน (ร้อยละ 76.47) การนิเทศ ของคณาจารย์นิเทศก์ควรเป็นเดือนละ 1 ครั้ง (ร้อยละ 94.12) คณาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นว่า เอกสาร ข้ อ มู ล แบบฟอร์ ม เกี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติ ง านและการ ประเมินผลมีความเหมาะสมมาก (ร้อยละ 100) ขณะที่ ผู้นิเทศงานเห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.82) นิสติ สหกิจศึกษาทัง้ หมดมีความพึงพอใจ

149

กับการปฏิบตั งิ านและได้รบั ประโยชน์จากการปฏิบตั งิ าน ในระดับมาก (ร้อยละ 100) โดยสิ่งที่นิสิตสหกิจศึกษา ได้รับในระดับมาก คือ การถ่ายทอดความรู้และเทคนิค การปฏิบัติงาน และความเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงาน ส่วนความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเป็นประโยชน์ต่อการ ปฏิ บั ติ ง านอยู ่ ใ นระดั บ ปานกลาง (ร้ อ ยละ 64.71) ประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากการปฏิบตั เิ รียงตามล�ำดับจากมาก ไปน้อยดังนี้ 1) ได้รับความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการ ประกอบอาชีพในอนาคต 2) ได้รบั ประสบการณ์ในอาชีพ ทีส่ นใจ 3) รูจ้ กั การปรับตัวให้เข้ากับผูอ้ นื่ 4) มีความเข้าใจ ในทฤษฎีที่เรียนมากขึ้น ผู้นิเทศงานของสถานประกอบ การมีความคิดเห็นว่า ความรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระดับปานกลาง และ นิสติ สหกิจศึกษาได้มโี อกาสช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระงาน ในระดับมาก สถานประกอบการมีความประสงค์ทจ่ี ะรับ นิสิตสหกิจศึกษาอีกในปีต่อไป ปัญหาการบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชา ธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย พบว่ า ด้ า นการเตรี ย มการและการ วางแผนสถานประกอบการมีความคิดเห็นว่า สถาบัน ควรประสานงานกับหน่วยงานก่อนล่วงหน้า 1 ภาคการ ศึกษาส่วนคณาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นว่า คณะมี งบประมาณไม่เพียงพอส�ำหรับการเบิกจ่ายค่าพาหนะ นิเทศ ในกรณีทจี่ ะต้องดูแลนิสติ จ�ำนวนเพิม่ ขึน้ หรือนิสติ ย้ายสถานประกอบการและการจัดปฐมนิเทศก่อนการ ปฏิบตั งิ านมีรปู แบบทีไ่ ม่ชดั เจนด้านสถานประกอบการ นิสติ และคณาจารย์นเิ ทศก์ มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ว่า ผูน้ เิ ทศงานของสถานประกอบการไม่มเี วลาดูแลและ สอนงาน สถานประกอบการบางแห่งไม่มอบหมายงาน ให้กับนิสิต บางแห่งให้นิสิตท�ำงานที่ไม่เหมาะสมงานที่ท�ำ เป็นงานซ�้ำไม่หลากหลาย ไม่ได้ใช้ทักษะความรู้ความ สามารถ เช่น เดินเอกสาร ใช้ให้ท�ำงานส่วนตัว ด้านนิสิต สหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นว่า นิสิต สหกิจศึกษาพบปัญหาแต่ไม่แจ้งปัญหาให้คณาจารย์ นิเทศก์ทราบ จึงท�ำให้แก้ปญ ั หาไม่ทนั โดยมีขอ้ เสนอแนะ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


150

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

คือ คณาจารย์นเิ ทศก์ควรมีการติดต่อสอบถามนิสติ สหกิจ สม�่ำเสมอผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือไลน์ นิสิตไม่มี ความตั้งใจในการออกไปปฏิบัติงาน ไม่รักษาเวลา และ ข้อบังคับของการปฏิบัติงาน โดยมีข้อเสนอแนะ คือ คณาจารย์นิเทศก์ควรมีการดูแลก�ำชับนิสิตให้มากขึ้น รวมถึงพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่มีการดูแล เอาใจใส่นิสิตอย่างดีส่วนสถานประกอบการมีความเห็นว่า นิสติ สหกิจศึกษามีปญ ั หาเรือ่ งการแต่งกายทีไ่ ม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ในบางงานที่ให้ท�ำ กิ จ กรรมและกระบวนการบริ ห ารจั ด การสหกิ จ ศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนตามหลัก PDCA คือ 1) การวางแผนหรือการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงาน (Plan) 2) การปฏิบัติงาน (Do) 3) การติดตามความ ก้าวหน้าและการประเมินผล (Check) 4) การด�ำเนินการ หลังการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา (Act) แสดงผลในตาราง ที่ 1 ระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชา ธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 1. ตัวป้อน (Input) อันได้แก่ 1.1 นิสติ ทีก่ ำ� ลังขึน้ ชัน้ ปีที่ 4 สาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.2 คณาจารย์นเิ ทศก์ประจ�ำสาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.3 ผูน้ เิ ทศงานของสถานประกอบการ อันได้แก่ พี่เลี้ยง หัวหน้างานที่นิสิตไปปฏิบัติงานและฝ่ายบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ หรือฝ่ายบุคคล 1.4 เจ้าหน้าทีส่ หกิจศึกษา ท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูร้ บั ผิดชอบ ประสานงาน เตรียมเอกสารต่างๆ จัดประชุม และอ�ำนวย ความสะดวกแก่คณาจารย์นิเทศก์ สถานประกอบการ

และนิสิตที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษาในเรื่องต่างๆ 2. กระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา (Process) อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอนตามหลัก PDCA ดังนี้ 2.1 การวางแผนหรื อ การเตรี ย มความพร้ อ ม ของนิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และสถาน ประกอบการ 2.2 การปฏิ บั ติ ง านของนิ สิ ต สหกิ จ ศึ ก ษา คณาจารย์นิเทศก์ และสถานประกอบการ 2.3 การติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล ของนิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และสถาน ประกอบการ 2.4 การด�ำเนินการหลังการปฏิบัติงานสหกิจ ศึกษาของนิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และ สถานประกอบการ 3. ผลผลิต (Output) ประกอบด้วย 3.1 ผลการประเมิ น การปฏิ บั ติ ง านของนิ สิ ต สหกิจศึกษาจากคณาจารย์นิเทศก์ และสถานประกอบ การ 3.2 รายงานการปฏิบัติงานประจ�ำสัปดาห์และ ประจ�ำภาคการศึกษา 3.3 การจั ด การสั ม มนาและการจั ด บอร์ ด นิทรรศการ หรือโปสเตอร์ 3.4 นิ สิ ต สหกิ จ ศึ ก ษาที่ ผ ่ า นการปฏิ บั ติ ง าน ในสถานประกอบการ 3.5 ประสบการณ์ทนี่ สิ ติ สหกิจศึกษาได้รบั ซึง่ จะ น�ำไปใช้ในการท�ำงานในอนาคตและการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพในชั้นปีที่ 5 4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการศึกษา ความพึงพอใจของนิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และสถานประกอบการ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

151

ตารางที่ 1 กิจกรรมส�ำคัญและกระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา ตามหลัก PDCA กิจกรรม

นิสิตสหกิจศึกษา

คณาจารย์นิเทศก์

การวางแผนหรือ การเตรียมตัว ก่อนการปฏิบัติ งาน (Plan)

1. การวิเคราะห์ประเภท งานที่มีความสนใจ 2. การศึกษาลักษณะและ หน้าที่ของงานที่สนใจ 3. การเลือกสถานที่ปฏิบัติ งาน 4. การติดต่อสถานที่ปฏิบัติ งาน 5. การสมัครงาน 6. การสัมภาษณ์งาน

1. การประชุมอาจารย์ที่ เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการ ด�ำเนินงาน 2. การจัดท�ำคู่มือสหกิจศึกษา และเอกสารการประเมินผล 3. การให้ค�ำแนะน�ำนิสิตในการ เลือกสถานประกอบการ 4. การติดต่อประสานงานกับ สถานประกอบการ 5. การปฐมนิเทศคณาจารย์ นิเทศก์และผู้นิเทศงาน สถานประกอบการ 6. การจัดการอบรมเตรียม ความพร้อม 7. การปฐมนิเทศนิสิต 8. การท�ำจดหมายขอบคุณ และเตรียมของที่ระลึก

การปฏิบัติงาน (Do)

1. การปฏิบัติงานตามที่ได้รับ มอบหมายที่ปรากฏในค�ำ อธิบายภาระงาน 2. จัดท�ำรายงานความ ก้าวหน้าประจ�ำสัปดาห์ส่ง ทุกสัปดาห์ 3. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับงานที่ได้รับ มอบหมาย

1. การส่งตัว 2. การให้ค�ำปรึกษา 3. การนิเทศการปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา 4. การรับตัวกลับ

ผู้นิเทศงานของ สถานประกอบการ 1. การก�ำหนดเกณฑ์คุณสมบัติ นิสิตที่ต้องการรับเข้ามา ปฏิบัติงาน 2. จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อ ก�ำหนด นโยบายหรือก�ำหนด สิ่งที่ต้องท�ำ 3. เตรียมสถานที่อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม ส�ำหรับการปฏิบัติงาน ได้แก่ ที่นั่ง และอุปกรณ์ส�ำนักงาน ที่จ�ำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องใช้ส�ำนักงาน 4. เตรียมจัดสรรงานที่จะ มอบหมายให้ท�ำ 5. เตรียมผู้นิเทศงานที่จะดูแล สอนงาน 6. เตรียมจัดการปฐมนิเทศนิสิต สหกิจศึกษา 7. เตรียมเอกสารใบสมัครงาน และการสัมภาษณ์พนักงาน 8. เตรียมค่าตอบแทนและ สวัสดิการส�ำหรับนิสิตสหกิจ ศึกษา 1. คัดเลือกนิสิตสหกิจศึกษา 2. จัดปฐมนิเทศ 3. จัดสรรงานและสอนงานตามที่ ปรากฏในค�ำอธิบายภาระงาน (Job Description) 4. ตรวจและลงนามในรายงาน ความก้าวหน้าประจ�ำสัปดาห์ ที่ส่งทุกสัปดาห์และ ให้ข้อเสนอแนะ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


152

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558 กิจกรรม

นิสิตสหกิจศึกษา

คณาจารย์นิเทศก์

4. การเรียนรู้วิธีการท�ำงาน จากผู้นิเทศงานและเพื่อน ร่วมงาน

ผู้นิเทศงานของ สถานประกอบการ 5. การมอบหมายงานและ ก�ำหนดเป้าหมายในการ ท�ำงานให้ส�ำเร็จ 6. ให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษา ชี้แนะ ติดตาม เพื่อปรับปรุงและ พัฒนา

การติดตามความ ก้าวหน้าและการ ประเมินผล (Check)

1. การรับการประเมินจาก ผู้นิเทศงานของสถาน ประกอบการ และ ปรับปรุงการท�ำงานตาม ค�ำแนะน�ำ 2. การพัฒนาและปรับปรุง แก้ไขการท�ำงานของ ตนเองให้มีความถูกต้อง และดียิ่งขึ้น 3. การปรับปรุงพฤติกรรม ของตนเอง

1. การติดตามความก้าวหน้า ของการปฏิบัติงาน 2. การประเมินผลการปฏิบัติ งาน 3. การตรวจสอบรายงานการ ปฏิบัติงานประจ�ำสัปดาห์ และประจ�ำภาคการศึกษา

1. ตรวจสอบการท�ำงานที่ได้ มอบหมาย พร้อมให้ค�ำ แนะน�ำ 2. ประเมินผลการท�ำงาน ตาม แบบประเมินพฤติกรรมการ ปฏิบัติงาน จ�ำนวน 3 ครั้ง 3. ประเมินผลรายงานการ ปฏิบัติงานประจ�ำสัปดาห์ และประจ�ำภาคการศึกษา 4. ประเมินผลรวมตามแบบ ประเมินพฤติกรรมรวมการ ปฏิบัติงาน 5. เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงาน หัวหน้างานหรือผู้นิเทศงาน ประเมินผลภาพรวมทุก กิจกรรมที่มอบหมายให้ไป ด�ำเนินการ เพื่อให้นิสิตได้ รับทราบผลการปฏิบัติงาน

การด�ำเนินการ หลังการปฏิบัติ งานสหกิจศึกษา (Act)

1. จัดท�ำและส่งรายงาน การปฏิบัติงาน 2. การจัดประชุมสัมมนานิสิต สหกิจศึกษา 3. การสรุปปัญหา อุปสรรค และประโยชน์ที่ได้รับจาก การปฏิบัติงาน 4. จัดบอร์ด นิทรรศการ หรือ โปสเตอร์การปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา

1. การสัมมนาสหกิจศึกษา 2. การส�ำรวจความพึงพอใจ ของนิสิต สถานประกอบการ และคณาจารย์นิเทศ 3. การจัดท�ำและปรับปรุงข้อมูล สถานประกอบการ

1. ประชุมสรุปผลจากการที่รับ นิสิตสหกิจศึกษามาปฏิบัติงาน เพื่อหาแนวทางในการรับ นิสิตสหกิจศึกษาใน ปีการศึกษาต่อไป 2. ตอบแบบสอบถามความ พึงพอใจในการรับนิสิตสหกิจ ศึกษาเข้าปฏิบัติงาน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

สรุปและอภิปรายผล

การบริหารจัดการสหกิจศึกษาสาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลการวิจยั พบว่า รายวิชา 2751400 ปฏิบตั งิ านด้าน ธุรกิจศึกษา มีจ�ำนวน 6 หน่วยกิต ช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา คือ ปิดภาคเรียนก่อนขึ้น ชั้ น ปี ที่ 4 ต้ อ งปฏิ บั ติ ง านเต็ ม เวลาต่ อ เนื่ อ งจนครบ 4 เดือน หรือ 16 สัปดาห์ และเปิดโอกาสให้เลือก สถานประกอบการตามความสมัครใจ ซึ่งสอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนการสอน ในมาตรฐานขั้นต�่ำของ มาตรฐานและการประกั น คุ ณ ภาพการด� ำ เนิ น งาน สหกิจศึกษา (2552: 13) ทีก่ ล่าวว่า รายวิชาสหกิจศึกษา ต้องมีจำ� นวนหน่วยกิตไม่นอ้ ยกว่า 6 หน่วยกิต สถานศึกษา ต้องเปิดโอกาสให้เลือกสถานประกอบการตามความ สมัครใจ ช่วงเวลาทีน่ กั ศึกษาปฏิบตั สิ หกิจศึกษาไม่ตำ�่ กว่า 16 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง และเป็นการปฏิบัติงานเต็ม เวลา ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นได้ เพื่อให้ นิสติ ปฏิบตั งิ านได้อย่างเต็มทีเ่ สมือนเป็นพนักงานคนหนึง่ ในสถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม จากผลการวิจยั พบ ว่า สภาพปัจจุบัน สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษายังไม่ ได้มีการก�ำหนดคุณสมบัติของนิสิตที่ไปปฏิบัติงานไว้ อย่างชัดเจน และในการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิต ก่อนออกปฏิบัติสหกิจศึกษามีเพียงการปฐมนิเทศ จึงไม่ สอดคล้องกับในมาตรฐานขั้นต�่ำของมาตรฐานและการ ประกันคุณภาพการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา (2552: 14) ทีก่ ล่าวว่า สถานศึกษาต้องก�ำหนดคุณสมบัตแิ ละเงือ่ นไข ทางวิ ช าการของนั ก ศึ ก ษาที่ ส ามารถไปปฏิ บั ติ ส หกิ จ ศึกษา และสถานศึกษาต้องมีกระบวนการเตรียมความ พร้อมให้กบั นิสติ ก่อนออกปฏิบตั สิ หกิจศึกษาโดยใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง และนิสิตต้องมีเวลาในการเข้ารับ การอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สาขาวิชาธุรกิจและ อาชีวศึกษาจึงควรมีการก�ำหนดคุณสมบัติของนิสิตที่ไป ปฏิบัติงานให้ชัดเจน ได้แก่ เป็นนิสิตที่ก�ำลังขึ้นชั้นปีที่ 4 ผ่านรายวิชาที่ก�ำหนดและได้เกรดเฉลี่ย 3.00 มีทักษะ ทางวิ ช าชี พ ที่ จ�ำ เป็น เช่น การใช้แป้นพิมพ์ การใช้

153

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส�ำนักงาน มีความประพฤติ เหมาะสมและต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียม ความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 30 ชั่วโมง โดยต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และได้รับ ความเห็นชอบจากกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา ส่วนรูปแบบ การจัดการอบรมควรเป็นการเชิญวิทยากรมาบรรยาย หัวข้อเกี่ยวกับการเตรียมตัวในการท�ำงาน การพัฒนา ทักษะทางอาชีพ และการพัฒนาบุคลิกภาพ รวมถึงให้ รุ่นพี่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยมี การจัดท�ำแบบส�ำรวจความพึงพอใจของนิสิตหลังการ เข้าอบรมด้วย ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ จากผล การวิจัยพบว่า คณาจารย์นิเทศก์และผู้นิเทศของสถาน ประกอบการมีความเห็นว่า ควรมีการวางแผนการปฏิบตั ิ งานร่วมกัน และสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ ค่าตอบแทนแก่นิสิตสหกิจศึกษา สอดคล้องกับผลงาน วิจัยของ ศิริพร ทองแก้ว (2553: 190) ที่กล่าวว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมยังไม่มีการด�ำเนินการสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในรูปแบบ สหกิจศึกษาให้สถานประกอบการได้รบั ทราบและเข้าใจ หลักการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาอย่างแท้จริง ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การด�ำเนินงานสหกิจศึกษา (2552: 117) ที่กล่าวว่า สถานศึกษาควรจัดให้มีการพบปะและสัมมนาแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา สถานประกอบการ และ คณาจารย์ นิ เ ทศก์ ดั ง นั้ น สถานศึ ก ษาต้ อ งมี ห น้ า ที่ ประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อให้เกิด ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา และทราบ บทบาทหน้าทีข่ องตน อีกทัง้ ควรท�ำความตกลงกับสถาน ประกอบการให้ ทุ ก ต� ำ แหน่ ง งานมี ค ่ า ตอบแทนและ สวัสดิการตามความเหมาะสม โดยก่อนที่จะส่งนิสิตไป ปฏิบัติงานประมาณ 1 เดือน สถานศึกษาควรจัดประชุม โดยเชิญสถานประกอบการมาเพื่อชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา รับฟังและแลกเปลี่ยน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


154

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ความคิดเห็นกับสถานประกอบการ รวมถึงได้พบปะพูด คุย สัมภาษณ์นสิ ติ ทีจ่ ะไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาทีส่ ถาน ประกอบการนั้นๆ ด้านการนิเทศสหกิจศึกษา จากผลการวิจัย พบว่า คณาจารย์นิเทศก์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การนิเทศ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ออกไปนิเทศการปฏิบตั งิ านเดือน ละครั้งหรือนิเทศทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง โดยใช้เวลา ประมาณครั้งละ 1 ชั่วโมง ประโยชน์ที่ได้รับจากการไป นิเทศของคณาจารย์นิเทศก์ คือ ช่วยให้มีความเข้าใจใน การปฏิบัติงานมากขึ้น ช่วยประสานงานและแก้ปัญหา ทีเ่ กิดกับสถานประกอบการ และช่วยให้มกี ำ� ลังใจในการ ท�ำงาน ซึง่ สอดคล้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การด� ำ เนิ น งานสหกิ จ ศึ ก ษา (2552: 18) ที่ ก ล่ า วว่ า คณาจารย์นเิ ทศก์ตอ้ งเป็นคณาจารย์ประจ�ำ มีประสบการณ์ การสอนไม่นอ้ ยกว่า 1 ภาคการศึกษา คณาจารย์ไปนิเทศ การปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ครั้ง ณ สถานประกอบการ และใช้เวลาในการนิเทศไม่นอ้ ยกว่า 1 ชัว่ โมง ส่วนปัญหา ทีค่ ณาจารย์นเิ ทศก์พบ คือ ภาระงานมาก มีนสิ ติ ในความ ดูแลทีต่ อ้ งนิเทศจ�ำนวนมาก และปัญหาเรือ่ งการเดินทาง ไปสถานประกอบการ ท�ำให้ไปนิเทศได้ไม่ครบ 3 ครั้ง ตามที่ก�ำหนด จึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับลดจ�ำนวนครั้งที่ คณาจารย์นิเทศก์จะต้องไปนิเทศให้ลดลงเหลือเพียง การไปส่งตัวและการรับตัว ส่วนช่วงเวลาระหว่างการ ปฏิ บั ติ ง าน คณาจารย์ นิ เ ทศก์ ส ามารถให้ ค�ำ ปรึ ก ษา โดยผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล และไลน์ ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ศิริพร ทองแก้ว (2553: 190) ที่กล่าวว่า การนิเทศงานสัปดาห์ที่ 1-14 ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทรศัพท์ หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนสัปดาห์ที่ 15-16 คณาจารย์นิเทศก์ไปนิเทศที่สถานประกอบการ ด้านการประเมินผลการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา จาก ผลการวิ จั ย พบว่ า นิ สิ ต ได้ รั บ การประเมิ น ผลจาก คณาจารย์นิเทศก์ และผู้นิเทศงานเพื่อปรับปรุงและ พัฒนาเป็นระยะ โดยนิสิตมีการประเมินพัฒนาการ ตนเองในด้านพฤติกรรมการท�ำงาน แต่ไม่ได้เป็นส่วน หนึ่งของการวัดประเมินผลรายวิชา โดยสัดส่วนการวัด

และประเมินผลของผู้นิเทศของสถานประกอบการร้อย ละ 50 และคณาจารย์นิเทศก์ร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้อง กับมาตรฐานและการประกันคุณภาพการด�ำเนินงาน สหกิจศึกษา (2552: 29) ทีก่ ล่าวว่า สัดส่วนการประเมินผล ของสถานประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ผู้นิเทศ งานควรให้ความคิดเห็นต่อจุดเด่นและข้อควรปรับปรุง ของนักศึกษา นักศึกษาควรประเมินพัฒนาการของ ตนเอง แต่การประเมินไม่เป็นส่วนหนึง่ ของระบบการวัด และประเมิ น ผลของรายวิ ช าสหกิ จ ศึ ก ษา และยั ง สอดคล้องกับ Peach และคณะ (2014: 241-252) ที่ กล่าวว่า การประเมินตนเองของนิสิตสหกิจศึกษาเป็น มิติใหม่ของการมีส่วนร่วมในการให้ผลย้อนกลับการ ท�ำงานของนิสิตในองค์กร ซึ่งจะท�ำให้นิสิตได้ปรับปรุง และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยคณาจารย์นเิ ทศก์ และผู้นิเทศงานจะต้องประเมินผลการท�ำงานให้นิสิต ทราบอีกทางหนึ่งด้วย ระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษา เป็นโครงสร้าง เชิงระบบที่ประกอบด้วย ตัวป้อน หรือปัจจัยน�ำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Product) และข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) จากผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการสหกิจ ศึกษา ประกอบด้วย ตัวป้อน (Input) ได้แก่ นิสิต คณาจารย์นิเทศก์ ผู้นิเทศงานของสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา ส่วนกระบวนการบริหารจัดการ สหกิจศึกษา (Process) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนตาม หลัก PDCA คือ 1) การวางแผนหรือการเตรียมตัวก่อน การปฏิบัติงาน (Plan) 2) การปฏิบัติงาน (Do) 3) การ ติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล (Check) 4) การด�ำเนินการหลังการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา (Act) และ ผลผลิต (Output) ประกอบด้วย ผลการประเมินการ ปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษาจากคณาจารย์นิเทศก์ และสถานประกอบการ รายงานการปฏิบัติงานประจ�ำ สัปดาห์และประจ�ำภาคการศึกษา การจัดการสัมมนา และการจัดบอร์ดนิทรรศการ หรือโปสเตอร์ ข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) เป็นการศึกษาความพึงพอใจของ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

นิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศก์ และสถานประกอบ การ สอดคล้องในด้านหลักการของระบบกับงานวิจยั ของ สมชาย ธ�ำรงสุข และคณะ (2554: 236-244) ที่น�ำเสนอ รู ป แบบการบริ ห ารสหกิ จ ศึ ก ษาหลั ก สู ต รเทคโนโลยี บัณฑิต หมวดวิชาเฉพาะ สาขาปิโตรเคมี เป็นโครงสร้าง เชิ ง ระบบว่ า ประกอบด้ ว ย ปั จ จั ย น� ำ เข้ า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Product) และข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) โดยมีรายละเอียดแตกต่างกัน ตามบริบทของการบริหารจัดการดังนี้ ตัวป้อน ได้แก่ นั ก ศึ ก ษา ผู ้ ส อน สถานศึ ก ษา สถานประกอบการ ศูนย์สหกิจศึกษา กระบวนการ เป็นการบริหารความร่วม มือ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านวัสดุอุปกรณ์-ครุภัณฑ์ ด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติและทฤษฎี ด้านการรับนักศึกษา ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการวัดประเมินผล ผลผลิ ต ประกอบด้ ว ย ประสิ ท ธิ ภ าพของหลั ก สู ต ร

155

ฝึ ก อบรมการพั ฒ นาผู ้ ส อนในระบบสหกิ จ ศึ ก ษา ประสิ ท ธิ ภ าพการจั ด การเรี ย นรู ้ ความพึ ง พอใจของ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ความคิดเห็นของผู้บริหารต่อ คุณภาพการฝึกอบรมของวิทยากร และข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ การประเมินผลรูปแบบการบริหารสหกิจศึกษา เพื่อน�ำผลการประเมินไปปรับปรุงตัวป้อน กระบวนการ หรือผลผลิตต่อไป อย่างไรก็ตาม กระบวนการบริหารจัดการสหกิจ ศึกษาที่มีประสิทธิภาพต้องมีการประสานงานร่วมกัน อย่างใกล้ชดิ ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยสถานศึกษาต้องรับผิดชอบเตรียมความพร้อมนิสิต ด้านความรู้ ทักษะ และบุคลิกภาพ โดยการจัดการเรียน การสอนต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสถาน ประกอบการ และสถานประกอบการควรสนับสนุน การรับนิสิตเข้าปฏิบัติงานด้วย

บรรณานุกรม

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2552). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย. ศิริพร ทองแก้ว. (2553). การศึกษารูปแบบการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาของคณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การวิจัยแบบผสม.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาย ธ�ำรงสุข และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกิจศึกษา หมวดวิชาชีพเฉพาะ หลักสูตรเทคโนโลยี บัณฑิต สาขาปิโตรเคมี. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 636-644. สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการ, 1(4), 30-36. สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา. นครราชสีมา: สมาคม สหกิจศึกษาไทย. Peach, D. et al. (2014). Feedback on student performance in the workplace: The role of workplace supervisor. Asia-Pacific Journal of Cooperative Education, 15(3), 241-252.

Translated Thai References

Tumrongsuk, S. et al. (2011). The Development Model of Cooperative Education Management in the Major Subjects in the Bachelor’s Degree in Science and Technology Major in Petrochemical. The Journal of KMUTNB, 21(3), 636-644. [in Thai] Sinturavej, S. (1998). The Quality Assurance. Academic Journal, 1(4), 30-36. [in Thai] Srisa-an, W. (2009). Processing Material of Training Kit in Cooperative Education. Bangkok: Thai Association for Cooperative Education. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


156

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Thai Association for Cooperative Education. (2009). Standard and Quality Assurance Operations in cooperative education. Nakhon Ratchasima: Thai Association for Cooperative Education. [in Thai] Thongkaew, S. (2010). A Study of the Operational Model of Cooperative Education in the Faculty of Technical Education, Rajamagala University of Technology Thanyaburi: Mixed Method Research. Thesis for the Degree of Master Education Program in Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai] Sirichan Sathirakul Tachaphahapong received her Bachelor Degree with second class honors in Education (major in Business Education) at Chulalongkorn University in 1988 and then graduated M.Ed. in Business Education from University of Missouri, Columbia, USA in 1992. She received her Ph.D. in Higher Education from Chulalongkorn University in 2007. She is currently an assistant professor in Faculty of Education at Chulalongkorn University. Her research interests are cooperative education, business education and higher education.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

157

การพั ฒ นารู ป แบบการสอนคณิต ศาสตร์ ที่เ น้ น กระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน DEVELOPMENT MODEL FOR LEARNING AND ENJOYING IN MATHEMATICS ยุภาดี ปณะราช1 Yupadee Panarach1 บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาโปรแกรม วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งร่วมพัฒนารูปแบบการสอน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดเจตคติ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบ ค่าที การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลพบว่า รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสอน (Teach) การท�ำกิจกรรมกลุ่ม (Team) การแข่งขัน (Tournament) การทดสอบ (Test) และการสร้างความมัน่ ใจ (To build confidence) เรียกว่า 5T Model หลังการทดลองนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ และมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับมาก การปรับปรุงรูปแบบการสอน ในขั้นการแข่งขันอาจต้องใช้กระดาษทด ให้เวลาเขียนตอบแล้วแสดง ค�ำตอบพร้อมกัน ผลการสังเกตพบว่า รูปแบบการสอนช่วยลดความแตกต่างเรื่องเพศและระดับความสามารถของ ผู้เรียน และขั้นที่ 5 การสร้างความมั่นใจ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเพิ่มขึ้น เพราะทุกคนได้มีโอกาสทบทวนซ�้ำ ค�ำส�ำคัญ: โมเดล 5T การเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ วงจรเดมมิ่ง

Abstract

The purposes of this study were to develop and improve a teaching model for learning and enjoying in Mathematics, to study the achievement, and attitude toward mathematics. The participants consisting of pre-service teachers who constructed and improved the model, and using with Grade 6 students from primary school. The instruments were lesson plan, achievement test, attitude test, and focus group. Data were analyzed by t-test, mean, standard deviation, and content analysis. The results found that: Model for learning and enjoying in Mathematics consisted of 5 steps; Teach, Team, Tournament, Test, and to build confidence, are called the “5T Model”. After using the 5T Model, the subjects had significantly achieved in mathematics higher than 60%, and they got high 1 รองศาสตราจารย์

สังกัดโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร, Associate Professor, Mathematics Department, Faculty of Education, Kamphaeng Phet Rajabhat University, E-mail: yupadee.kpru@gmail.com ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


158

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

level scores in attitude towards mathematics. For improvement of the 5T Model, it was found that in the step of “Tournament” could be enhanced if participants are allowed to use paper to write the answer simultaneously. Through observation of the teaching process of 5T Model appeared to reduce the difference in gender and abilities of learners. In the step of, “To build confidence” the students reviewed knowledge and more understanding and confidence. Keywords: 5T Model, Model for Learning and Enjoying, Attitude towards Mathematics, Deming Cycle

บทน�ำ

คณิตศาสตร์มบี ทบาทส�ำคัญต่อการพัฒนาความคิด มนุษย์ ท�ำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่าง มีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้ คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และน�ำไปใช้ ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (กระทรวง ศึกษาธิการ, 2551) ประกอบกับผลการประเมินมาตรฐาน การศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในทุกระดับมี คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 22.13-56.57 คะแนน และใน ระดับช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 6) วิชาคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 35.77 คะแนน (สถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), 2556) ผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผูส้ อนจ�ำเป็นต้องหาวิธกี าร สอนทีส่ ง่ เสริมและพัฒนาให้ผเู้ รียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ และสามารถผ่ า นการประเมิ น มาตรฐานในระดั บ ที่ น่าพอใจ ท�ำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะหาวิธีการสอนที่ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดแทรกความ สนุกสนาน ไม่รู้สึกเครียดในการเรียน และไม่เป็นภาระ ผู้สอนในการตรวจผลงาน จึงได้ประยุกต์แนวคิดการ จัดการเรียนรูท้ เี่ น้นให้ผเู้ รียนสร้างองค์ความรูด้ ว้ ยตนเอง (CIPPA Model) ซึง่ เป็นแนวคิดทีเ่ ปิดโอกาสให้ผเู้ รียนได้ มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นจนสามารถสร้างองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเองและสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ (ทิศนา แขมมณี, 2552) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรูแ้ บบแบ่งกลุม่ ผลสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Divisions: STAD) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบเป็นทีมที่ผสม

ความรู้ความสามารถสนุกสนาน มีการปฏิสัมพันธ์กัน (Slavin, 1995) ซึ่งแนวคิดส�ำคัญของการเรียนรู้แบบนี้ คือ การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนช่วยเหลือเพื่อนสมาชิก ในกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นให้เห็นความ ส�ำคัญของการเรียน เกิดความสุนกสนานในการเรียนรู้ (ชานนท์ ศรีผอ่ งงาม, 2549) และรูปแบบการเรียนรูแ้ บบ กลุม่ แข่งขัน (Team Game Tournament: TGT) ทีเ่ น้น การท�ำงานร่วมกันเป็นทีม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพือ่ ชัยชนะของทีม ผูเ้ รียนทีเ่ ก่งจะช่วยเหลือผูท้ อี่ อ่ นกว่า จนเข้าใจ และต้องยอมรับซึง่ กันและกันเสมอ ความส�ำเร็จ ของทีมขึ้นอยู่กับสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม (Slavin, 1995) โดยหวังว่าผลการประยุกต์ดังกล่าวจะได้รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสูงขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวได้นำ� นักศึกษาวิชาชีพครูรว่ มด�ำเนินการ ในทุกกระบวนการของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการท�ำวิจยั ซึง่ จะมีสว่ นส�ำคัญในการพัฒนานักศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ที่เน้นการพัฒนาความสามารถเกี่ยวกับ การวิจัยและความรู้ทางทฤษฎีในสาขาที่ศึกษา ซึ่งเป็น ส่ ว นส� ำ คั ญ และจ� ำ เป็ น ในการพั ฒ นาด้ า นการเรี ย น การสอนคณิตศาสตร์ต่อไป

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน 2. เพื่ อ ศึ ก ษาผลสั ม ฤทธิ์ ก ารเรี ย นคณิ ต ศาสตร์ หลังการใช้รปู แบบการสอนคณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน 3. เพือ่ ศึกษาเจตคติตอ่ วิชาคณิตศาสตร์ หลังการใช้ รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ คู่ความสนุกสนาน 4. เพื่อปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่กับความสนุกสนาน

สมมติฐานการวิจัย

หลั ง การใช้ รู ป แบบการสอนคณิ ต ศาสตร์ ที่ เ น้ น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน นักเรียนมีผล สัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 60

ขอบเขตการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ ่ ม ที่ เ ป็ น ผู ้ ช ่ ว ยนั ก วิ จั ย เป็ น นั ก ศึ ก ษาโปรแกรม วิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ก�ำแพงเพชร และกลุ่มที่เป็นกลุ่มทดลอง เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ จังหวัด ก�ำแพงเพชร กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุม่ ได้แก่ 1. กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งในการพั ฒ นารู ป แบบการสอน คณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน ได้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาโปรแกรมวิ ช าคณิ ต ศาสตร์ คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏก�ำแพงเพชร ชั้นปีที่ 2-4 จ�ำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็น นักศึกษาที่มีความสนใจร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัย 2. กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน ได้ แ ก่ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 โรงเรี ย นวั ด พระบรมธาตุ จังหวัดก�ำแพงเพชร ทั้งหมด จ�ำนวน 11 คน

159

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน ผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชา คณิตศาสตร์

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

การพั ฒ นารู ป แบบการจั ด การเรี ย นการสอน คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน ประยุกต์แนวคิดทฤษฎี ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ซึง่ เป็นรูปแบบการสอนทีพ่ ฒ ั นาโดย ทิศนา แขม มณี รองศาสตราจารย์ประจ�ำคณะครุศาสตร์จฬุ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2547 โดยได้นำ� แนวคิดการสรรค์ สร้างความรู้ แนวคิดเรือ่ งกระบวนการกลุม่ และการเรียน แบบร่วมมือ แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ และแนวคิด เกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้มาประสานกัน โดยการ จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ใ นลั ก ษณะที่ ใ ห้ ผู ้ เรี ย นเป็ น ผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง นอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ และพึ่ ง พาตนเอง แล้ ว ยั ง ต้ อ งพึ่ ง พาการปฏิ สั ม พั น ธ์ กับเพื่อนหรือบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้ง ทักษะกระบวนการต่างๆ มาสร้างความรู้ และให้มีการ เคลื่อนไหวทางกายอย่างเหมาะสม (ทิศนา แขมมณี, 2552) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (ทิศนา แขมมณี, 2542 และอาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553) ดังนี้ C: Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตาม แนวคิดของ Constructivism กิจกรรมที่จัดจึงควรเป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ สรุปสาระความรู้ และสร้างความรูด้ ว้ ยตนเอง เพราะการ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจะท�ำให้ผู้เรียนเกิดความ เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเกิดการเรียนรูท้ มี่ คี วามหมายต่อ ตนเอง กิจกรรมการสร้างความรูจ้ ดั เป็นกิจกรรมทีผ่ เู้ รียน ได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


160

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

I: Interaction หมายถึง การมีปฏิสมั พันธ์กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมรอบตัว กิจกรรมที่จัดขึ้นจึงควรเป็น กิ จ กรรมที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู ้ เรี ย นได้ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ท าง สังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งท�ำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสังคม P: Physical Participation หมายถึง การมีสว่ นร่วม ทางร่างกาย เป็นการให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพที่มีความพร้อม ในการรับรู้และเรียนรู้ มีความตื่นตัวและไม่เฉื่อยชา ซึ่งจะท�ำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี กิจกรรมที่จัดขึ้นจึงควร ให้ ผู ้ เรี ย นได้ มี โ อกาสเคลื่ อ นไหวร่ า งกายจากการท� ำ กิจกรรมในลักษณะต่างๆ P: Process Learning หมายถึ ง การเรี ย นรู ้ กระบวนการต่ า งๆ ที่ จ� ำ เป็ น ต่ อ การด� ำ รงชี วิ ต เช่ น กระบวนการแสวงหาความรู ้ กระบวนการคิ ด กระบวนการกลุ ่ ม กระบวนการแก้ ป ั ญ หา เป็ น ต้ น การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทางสติปัญญาอีกทางหนึ่ง A: Application หมายถึง การน�ำความรู้ที่ ไ ด้ ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งท�ำให้ผู้เรียนมีโอกาสเชื่อมโยงทฤษฎี ไปสู่การปฏิบัติ ท�ำให้การเรียนรู้มีความหมาย มีความ ลึกซึ้งและมีความคงทน 2. การจั ด การเรี ย นการสอนแบบแบ่ ง กลุ ่ ม ผล สัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Division: STAD) เป็นเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ที่พัฒนาโดย Robert E. Slavin โดยมีแนวคิดส�ำคัญ คือ การสร้างแรง จูงใจให้ผู้เรียนช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มให้เกิดการ เรียนรู้ เห็นความส�ำคัญของการเรียนและเกิดความ สนุกสนานในการเรียนรู้ เนื่องจากกลุ่มจะประสบความ ส� ำ เร็ จ ก็ ต ่ อ เมื่ อ สมาชิ ก ทุ ก คนเกิ ด การเรี ย นรู ้ เพราะ คะแนนของกลุม่ มาจากคะแนนพัฒนาการของสมาชิกใน กลุ่มทุกคนในการสอบแต่ละครั้ง ความรับผิดชอบของ ผู้เรียน คือ การอธิบายความรู้ให้เพื่อนเข้าใจ (Slavin, 1995) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเสนอเนือ้ หา (Class Presentation) ผู้สอน

ทบทวนบทเรียนทีเ่ รียนมาแล้วและน�ำเสนอเนือ้ หาสาระ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ด้วยวิธกี ารทีเ่ หมาะสมเพือ่ ให้ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา 2. การท�ำงานเป็นกลุ่ม (Teams) ผู้สอนจัดผู้เรียนที่ มีความสามารถต่างกัน จัดให้คละกันและชีแ้ จงให้ผเู้ รียน ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มที่จะต้องช่วย เหลือสมาชิกให้เข้าใจเนือ้ หาอย่างชัดเจน ให้ทกุ คนพร้อม ที่จะท�ำข้อสอบ เพราะผลการเรียนของสมาชิกแต่ละคน ส่งผลรวมต่อคะแนนของกลุ่ม 3. การทดสอบย่อย (Quizzes) ผู้เรียนทุกคนท�ำ แบบทดสอบย่อยเป็นรายบุคคลหลังจากเรียนรู้หรือ ท�ำกิจกรรม 4. คะแนนพั ฒ นาการของผู ้ เรี ย น (Individual Improvement Scores) เป็นคะแนนความก้าวหน้าของ ผูเ้ รียนแต่ละคน ซึง่ ผูส้ อนและผูเ้ รียนอาจร่วมกันก�ำหนด คะแนนการพัฒนาเป็นเกณฑ์ขึ้นมาก็ได้ 5. ความส�ำเร็จของกลุม่ (Team Recognition) เป็นการ รับรองผลงานและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่ม ด้วยการ ประกาศผลงานของทีมเพื่อรับรองและยกย่องชมเชย 3. การจั ด การเรี ย นการสอนแบบกลุ ่ ม แข่ ง ขั น (Teams Games Tournament: TGT) เป็นเทคนิคการ เรียนแบบร่วมมือที่พัฒนาโดย Robert E. Slavin โดยมี แนวคิดส�ำคัญ คือ การเรียนให้ผู้เรียนช่วยเหลือเพื่อนใน กลุ่มให้เกิดการเรียนรู้ คะแนนของกลุ่มจะมาจากการ แข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มจะส่งตัวแทนที่มี ความสามารถสูง ปานกลาง และต�่ำ เข้าแข่งขันกับกลุ่ม อื่นที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน ซึ่งจะท�ำให้ผู้เรียนมี โอกาสประสบความส�ำเร็จได้เท่าเทียมกัน โดยคะแนน ของแต่ละคนจะน�ำมารวมเป็นคะแนนของกลุ่ม ซึ่งจะ เป็นการเพิ่มความตื่นเต้นน่าสนใจในการเรียนเนื่องจาก สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องเตรียมความพร้อมกับการ แข่งขัน โดยการช่วยเหลือ อธิบายให้เพือ่ นเข้าใจ (Slavin, 1995) ดังนั้น ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบเพื่อที่จะ ให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (สุวิทย์ มูลค�ำ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

และอรทัย มูลค�ำ, 2547; ชัยวัฒน์ สุทธิรตั น์, 2554) ดังนี้ 1. การเสนอเนือ้ หา (Class Presentation) เป็นการ น�ำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนใหม่ รูปแบบการน�ำเสนอ อาจจะเป็นการบรรยายอภิปราย กรณีศกึ ษาหรืออาจจะ มีสื่อการเรียนอื่นๆ ประกอบด้วยก็ได้ โดยที่ผู้สอนต้อง เน้นให้ผู้เรียนทราบว่า ผู้เรียนต้องให้ความสนใจมาก ในเนื้อหาสาระ เพราะจะช่วยให้ทีมประสบความส�ำเร็จ 2. การจัดทีม (Teams) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนโดย ให้คละกันทั้งเพศและความสามารถ ทีมมีหน้าที่ในการ เตรียมตัวสมาชิกให้พร้อมเพื่อการเล่นเกม หลังจากจบ ชั่วโมงการเรียนรู้แต่ละทีมจะนัดสมาชิกศึกษาเนื้อหา โดยมีแบบฝึกหัดช่วย ผู้เรียนจะผลัดกันถามค�ำถามใน แบบฝึกหัดจนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด โดยที่จุดเน้น ในทีม คือ ท�ำให้ดีท่ีสุดเพื่อทีม จะช่วยเหลือให้ก�ำลังใจ เพื่อนร่วมทีมให้มากที่สุด 3. เกม (Game) เป็นเกมตอบค�ำถามง่ายๆ เกีย่ วกับ เนือ้ หาสาระทีผ่ เู้ รียนได้ศกึ ษาเรียนรูใ้ นการเล่นเกมผูเ้ รียน ที่เป็นตัวแทนจากทีมแต่ละทีมจะมาเป็นผู้แข่งขัน 4. การแข่งขัน (Tournament) การจัดการแข่งขัน อาจจะจัดขึ้นปลายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียนก็ได้ ซึ่งจะ เป็นค�ำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว และผ่านการ เตรียมความพร้อมจากกลุ่มมาแล้ว การจัดโต๊ะแข่งขัน จะมีหลายโต๊ะ แต่ละโต๊ะจะมีตัวแทนของทีมแต่ละทีม มาร่วมแข่งขันทุกโต๊ะ การแข่งขันควรเริ่มด�ำเนินการ พร้อมกัน แข่งขันเสร็จแล้วจัดล�ำดับผลการแข่งขันแต่ละ โต๊ะน�ำไปเทียบหาคะแนนโบนัส 5. การยอมรั บ ความส� ำ เร็ จ ของที ม (Team Recognition) มีการน�ำคะแนนโบนัสของสมาชิกแต่ละ คนมารวมกันเป็นคะแนนของทีมและหาค่าเฉลี่ยทีมที่มี คะแนนสูงสุดจะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศกับ รองลงมา ควรมีการประกาศผลและเผยแพร่สสู่ าธารณะ รวมทั้งการมอบรางวัลยกย่อง ชมเชย เป็นต้น ในการประยุกต์แนวคิดข้างต้นผูว้ จิ ยั พิจารณาลักษณะ ที่สอดคล้องกันและล�ำดับของการจัดกระบวนการสอน ของแต่ละแนวคิด ประกอบกับลักษณะของเนื้อหาวิชา

161

คณิตศาสตร์ ซึง่ การจัดการเรียนการสอนเนือ้ หาส่วนใหญ่ ผูส้ อนจะต้องอธิบาย แนะน�ำเพือ่ ให้ผเู้ รียนเข้าใจหลักการ แล้วจึงฝึกปฏิบตั กิ จิ กรรมเพือ่ ให้มคี วามเข้าใจเพิม่ มากขึน้ จนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้

วิธีด�ำเนินการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ได้ ประยุกต์ใช้แนวคิดของวงจรการพัฒนาคุณภาพงาน (Deming Cycle) ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน (Plan) เป็นการหารูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้ช่วย นักวิจัย และการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1.1 การหารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ด้วยการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (CIPPA Model) รูปแบบการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มแข่งขัน (TGT) แล้ ว วิ เ คราะห์ แ ละสั ง เคราะห์ เ ป็ น รู ป แบบการสอน คณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน (5T Model) ดังภาพที่ 1 1.2 การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้วิจัย และผู ้ ช ่ ว ยนั ก วิ จั ย โดยการท� ำ ความเข้ า ใจร่ ว มกั น เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการของรูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คคู่ วามสนุกสนาน (5T Model) ทีก่ ำ� หนดรายละเอียดในแผนการจัดการ เรียนรู้ 1.3 การสร้างแผนการจัดการเรียนรูต้ ามรูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความ สนุกสนาน (5T Model) เรือ่ ง ทศนิยมในระดับชัน้ ประถม ศึกษาปีที่ 6 จ�ำนวน 12 แผน 1.4 การก�ำหนดหน้าทีฝ่ กึ ปฏิบตั กิ ารสอนร่วมกัน ระหว่างผูว้ จิ ยั และผูช้ ว่ ยนักวิจยั โดยก�ำหนดผูช้ ว่ ยนักวิจยั 1 คน เป็นผู้สอน ส่วนผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยอีก 4 คน เป็นผู้สังเกตการสอน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


162

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

2. ด�ำเนินการสอน (Do) เป็นการทดลองใช้รูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความ สนุกสนาน (5T Model) เรื่อง ทศนิยม จ�ำนวน 12 ครั้ง

ครั้งละ 50 นาที โดยในแต่ละครั้งจะใช้วงจรการพัฒนา คุณภาพงาน (Deming Cycle) ใน 4 ขั้นตอนดังนี้

รูปที่ 1 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน 2.1 การเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) ผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยร่วมกันเตรียมสื่อและอุปกรณ์ การสอนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และให้นกั ศึกษา ที่เป็นผู้สอนฝึกทดลองสอน 2.2 การสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ (Do) เป็นการสอนตามแผนการจัดการเรียนรูแ้ ต่ละแผน ซึง่ ใช้ เวลาสอน 50 นาที โดยผู้ช่วยนักวิจัย ผู้วิจัย และผู้ช่วย นักวิจัยอีก 4 คน ท�ำหน้าที่สังเกตการสอน การด�ำเนิน การสอนในแต่ละแผนมีขั้นตอนดังนี้ 1. การสอนเนือ้ หา (T: Teach) ผูส้ อนทบทวน ความรู้ อาจเป็นเนือ้ หาทีเ่ คยเรียนมาแล้ว หรือเนือ้ หาอืน่ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ 2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม (T: Team) โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แต่ละ กลุ่มร่วมกันศึกษาเนื้อหาใหม่จากที่ครูเตรียมไว้ จนทุกคน เกิดความเข้าใจร่วมกัน 3. การแข่งขัน (T: Tournament) เป็นการ จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน

ออกมาตอบค�ำถาม และผู้สอนเตรียมข้อค�ำถามเท่ากับ จ�ำนวนกลุ่ม เพื่อให้ตัวแทนทุกกลุ่มได้มีโอกาสตอบเป็น คนแรก การให้คะแนนดังนี้ สมมติมีผู้เรียน 3 กลุ่ม และมีข้อค�ำถาม 3 ข้อ ทุกกลุ่มมีคะแนนเต็ม 6 คะแนน ข้อที่ 1 กลุ่มที่ 1 ตอบล�ำดับที่ 1 ถูกได้ 3 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 2 ตอบล�ำดับที่ 2 ถูกได้ 2 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 3 ตอบล�ำดับที่ 3 ถูกได้ 1 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน ข้อที่ 2 กลุ่มที่ 2 ตอบล�ำดับที่ 1 ถูกได้ 3 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 3 ตอบล�ำดับที่ 2 ถูกได้ 2 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 1 ตอบล�ำดับที่ 3 ถูกได้ 1 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน ข้อที่ 3 กลุ่มที่ 3 ตอบล�ำดับที่ 1

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ถูกได้ 3 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 1 ตอบล�ำดับที่ 2 ถูกได้ 2 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน กลุ่มที่ 2 ตอบล�ำดับที่ 3 ถูกได้ 1 คะแนน ผิดได้ 0 คะแนน 4. การทดสอบ (T: Test) ให้ผู้เรียนแต่ละ คนท�ำแบบทดสอบที่ครูเตรียมไว้ 5. ก ารสร้ า งความมั่ น ใจ (T: To build confident) ให้ผู้เรียนสลับกันเป็นผู้ตรวจข้อสอบ โดย ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลยแบบทดสอบ พร้อมให้ คะแนนส�ำหรับข้อถูก และแก้ไข พร้อมวิธกี ารหาค�ำตอบ ข้อที่ผิด หลังจากนั้นรวมคะแนน ชมเชยผู้เรียนที่ได้ คะแนนสูงสุด และให้ก�ำลังใจผู้เรียนที่มีคะแนนต�่ำกว่า 2.3 การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ (Check) เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย เพือ่ พิจารณาว่าแผนการจัดการเรียนรูแ้ ต่ละแผนสามารถ ด�ำเนินการสอนไปตามขัน้ ตอนทีเ่ ตรียมไว้มากน้อยเพียง ใด ขั้นตอนใดควรปรับปรุง 2.4 การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ (Action) เป็ น การน� ำ ผลจากขั้ น ของการประเมิ น มาปรั บ ปรุ ง แผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน 3. การตรวจสอบ (Check) เป็นการประชุมร่วมกัน ระหว่างนักวิจยั และผูช้ ว่ ยนักวิจยั หลังจากการด�ำเนินการ สอนตามแผนการสอนครบ 12 แผน เพื่อพิจารณาขั้น ตอนการสอนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (5T Model) มี ความต่อเนือ่ งมากน้อยเพียงใด ควรเพิม่ เติมรายละเอียด ใดบ้าง 4. การปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการน�ำผลจากขัน้ การตรวจสอบมาปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ทีเ่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ คู่ วามสนุกสนาน (5T Model) ให้มีความสมบูรณ์

163

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การหารู ป แบบการสอนคณิ ต ศาสตร์ ที่ เ น้ น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน โดยประยุกต์ใช้ วงจรการพัฒนาคุณภาพงาน (Deming Cycle) และการ วิเคราะห์เนื้อหา 2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ หลัง การใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน ใช้การวิเคราะห์ความถี่และ ร้อยละ 3. การศึกษาเจตคติตอ่ วิชาคณิตศาสตร์ หลังการใช้ รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการเรียนรูค้ ู่ ความสนุ ก สนาน ใช้ ก ารวิ เ คราะห์ ค ่ า เฉลี่ ย และส่ ว น เบี่ยงเบนมาตรฐาน 4. การปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรูค้ กู่ บั ความสนุกสนานการประชุมร่วม กันระหว่างนักวิจยั และผูช้ ว่ ยนักวิจยั ใช้การสนทนากลุม่

สรุปผลการวิจัย

1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ เรียนรู้คู่กับความสนุกสนาน (5T Model) เป็นวิธีการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มในการสร้างองค์ ความรู้ มีกิจกรรมการแข่งขันระหว่างกลุ่มเพื่อให้เกิด ความสนุกสนาน และการทดสอบประเมินองค์ความรู้ รวมถึงการได้มโี อกาสตรวจสอบความรูจ้ ะช่วยให้ผเู้ รียน เกิดความเข้าใจมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ T: Teach หมายถึง การสอน เป็นการทบทวนความ รู้ อาจเป็นเนื้อหาที่เคยเรียนมาแล้ว หรือเนื้อหาอื่นที่ เกีย่ วข้อง ซึง่ เป็นพืน้ ฐานในการเรียนรูเ้ นือ้ หาใหม่ โดยครู เป็นผู้สอน T: Team หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็น กลุม่ โดยแบ่งผูเ้ รียนเป็นกลุม่ กลุม่ ละ 3-4 คน แต่ละกลุม่ ร่วมกันศึกษาเนื้อหาใหม่จากที่ครูเตรียมไว้ หรือจาก แหล่งความรู้ต่างๆ จนทุกคนเกิดความเข้าใจร่วมกัน T: Tournament หมายถึง การแข่งขัน เป็นการ จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


164

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ออกมาตอบค�ำถาม และผู้สอนเตรียมข้อค�ำถามเท่ากับ จ�ำนวนกลุ่ม เพื่อให้ตัวแทนทุกกลุ่มได้มีโอกาสตอบเป็น คนแรก T: Test หมายถึง การทดสอบ ให้ผู้เรียนแต่ละคน ท�ำแบบทดสอบที่ครูเตรียมไว้ T: To build confident หมายถึง การสร้างความ มั่นใจ ให้ผู้เรียนสลับกันเป็นผู้ตรวจข้อสอบ โดยผู้สอน และผู้เรียนร่วมกันเฉลยแบบทดสอบ พร้อมให้คะแนน ส�ำหรับข้อถูก และแก้ไข พร้อมวิธกี ารหาค�ำตอบข้อทีผ่ ดิ หลังจากนัน้ รวมคะแนน ชมเชยผูเ้ รียนทีไ่ ด้คะแนนสูงสุด และให้ก�ำลังใจผู้เรียนที่มีคะแนนต�่ำกว่า 2. หลังการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ เ น้ น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน นักเรียนมีผล สัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60.28 3. หลังการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ เ น้ น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน นักเรียนมีเจตคติ ต่อวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X¯ = 4.27) 4. การปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน พบว่า ในขั้นของ การแข่งขัน (Tournament) ซึง่ บางครัง้ นักเรียนอาจต้อง ใช้กระดาษทดช่วย ควรจะให้เวลาเขียนตอบ แล้วแสดง ค�ำตอบพร้อมกัน ผลการสังเกตเพิ่มเติม พบว่า รูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความ สนุกสนานยังช่วยลดความแตกต่างในเรื่องเพศ และ ระดับความสามารถของผู้เรียน และในขั้นที่ 5 การสร้าง ความมั่นใจ นอกจากจะเป็นการให้ก�ำลังใจนักเรียนแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกคนได้มี โอกาสทบทวนอีกครั้ง

อภิปรายผลการวิจัย

1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ เรียนรู้คู่กับความสนุกสนาน (5T Model) เป็นวิธีการ จั ด การเรี ย นรู ้ ที่ เ น้ น กระบวนการกลุ ่ ม ในการสร้ า ง องค์ความรู้ มีกิจกรรมการแข่งขันระหว่างกลุ่มเพื่อ ให้เกิดความสนุกสนาน และการทดสอบเพื่อประเมิน

องค์ความรู้ รวมถึงการได้มีโอกาสตรวจสอบความรู้จะ ช่วยให้ผเู้ รียนเกิดความเข้าใจมากขึน้ ซึง่ รูปแบบดังกล่าว สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของกระบวนการจั ด การเรี ย น การสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) (ทิศนา แขมมณี, 2552) การจัดการเรียนการสอนแบบแบ่งกลุม่ ผลสัมฤทธิ์ (STAD) การจัดการเรียนการสอนแบบกลุม่ แข่งขัน (TGT) (Slavin, 1995) ที่เริ่มด้วยการทบทวนความรู้เดิมหรือ การสอนเนื้อหาซึ่งเป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียน ในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการ เชือ่ มโยงความรูใ้ หม่กบั ความรูเ้ ดิม (T: Teach) และให้ ผู้เรียนแบ่งกลุ่มศึกษาเนื้อหาจนเกิดความเข้าใจร่วมกัน (T: Team) แล้วจัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยแต่ละ กลุ่มส่งตัวแทนของกลุ่มที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน มาตอบค�ำถามเดียวกัน ซึ่งเป็นการให้ผู้เรียนเกิดความ สนุกสนานในการท�ำกิจกรรม (T: Tournament) และมี การทดสอบย่อยเพือ่ วัดความรูค้ วามเข้าใจของผูเ้ รียนเป็น รายบุคคล (T: Test) แล้วให้ผู้เรียนสลับกันเป็นผู้ตรวจ ข้อสอบ โดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลยแบบทดสอบ พร้อมให้คะแนนส�ำหรับข้อถูก และแก้ไข พร้อมวิธีการ หาค�ำตอบข้อที่ผิด ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับ ผู้เรียนเพิ่มเติม และการชมเชยผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงสุด พร้อมให้ก�ำลังใจผู้เรียนที่มีคะแนนต�่ำกว่า (T: To build confident) (สุวิทย์ มูลค�ำ และอรทัย มูลค�ำ, 2547; ทิศนา แขมมณี, 2552; ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2554) 2. หลังการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรี ย นรู ้ คู ่ ค วามสนุ ก สนาน นั ก เรี ย นมี ผลสัมฤทธิ์การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของ สุรินทร์ ตันสกุล (2552) และพวงเพ็ญ น้อยอาษา (2553) พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการ แก้ โจทย์ ป ั ญ หาทางคณิ ต ศาสตร์ สู ง ขึ้ น งานวิจัยของ ชานนท์ ศรีผอ่ งงาม (2549), นันทชัย นวลสอาด (2554) และทิพย์ภาภรณ์ อินทรอักษร (2554) พบว่า การจัดการ เรี ย นการสอนแบบแบ่ ง กลุ ่ ม ผลสั ม ฤทธิ์ (STAD)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 70 และมีความก้าวหน้า ในการเรียนคณิตศาสตร์ และงานวิจัยของวรรณภา สุขส�ำราญ (2553) และกาญดาร์ สงดวง (2554) พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบกลุม่ แข่งขัน (TGT) ช่วยให้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 3. หลังการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน นักเรียนมีเจตคติ ต่อวิชาคณิตศาสตร์ โดยรวมอยูใ่ นระดับมาก ผลดังกล่าว สอดคล้องกับงานวิจัยของ พวงเพ็ญ น้อยอาษา (2553) ที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ช่ ว ยให้ ผู ้ เรี ย นมี ค วามพึ ง พอใจต่ อ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้งาน และวิจัยของ นันทชัย นวลสอาด (2554) และทิพย์ภาภรณ์ อินทรอักษร (2554) พบว่า การจั ด การเรี ย นการสอนแบบแบ่ ง กลุ ่ ม ผลสั ม ฤทธิ์ (STAD) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจต่อการเรียน และงานวิ จั ยของ กาญดาร์ สงดวง (2554) พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบกลุม่ แข่งขัน (TGT) ช่วยให้ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน 4. การปรับปรุงรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน พบว่า ในขั้นของ การแข่งขัน (Tournament) บางครัง้ นักเรียนอาจต้องใช้ กระดาษทดช่วย ควรจะให้เวลาเขียนตอบ แล้วแสดง ค�ำตอบพร้อมกัน เพราะไม่สามารถคิดในใจได้ เนือ่ งจาก โจทย์ปัญหาต้องคิดหลายขั้นตอน และรูปแบบการสอน ดังกล่าว ยังช่วยลดความแตกต่างในเรื่องเพศและระดับ ความสามารถของผู้เรียน ผลจากการท�ำกิจกรรมกลุ่มที่

165

ทุกคนต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจ (ชนาธิป พรกุล, 2552; สุรินทร์ ตันสกุล, 2552) และอธิบายเพื่อให้ ทุกคนในกลุ่มเข้าใจตรงกัน (อาภรณ์ ใจเที่ยง, 2553; ทิ ศ นา แขมมณี , 2552) และการสร้ า งความมั่ น ใจ นอกจากจะเป็นการให้ก�ำลังใจนักเรียนแล้วยังช่วยให้ ผูเ้ รียนเข้าใจเพิม่ มากขึน้ เพราะทุกคนได้มโี อกาสทบทวน เนื้อหาอีกครั้ง สอดคล้องกับแนวการสอนแบบแบ่งกลุ่ม แข่งขันทีใ่ ห้มกี ารตรวจผลงานซึง่ กันและกัน เมือ่ ผิดพลาด เพื่อนในกลุ่มต้องร่วมกันอธิบายให้เข้าใจ (สุวิทย์ มูลค�ำ และอรทัย มูลค�ำ, 2547)

ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัย

ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ การน�ำรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ทเี่ น้นกระบวนการ เรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (5T Model) ไปใช้ ในขั้นตอน การแข่งขันควรพิจารณาว่า หากข้อค�ำถามมีการคิด ค�ำนวณ ควรให้กระดาษทดด้วย ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยต่อไป 1. ควรน� ำ รู ป แบบการสอนคณิ ต ศาสตร์ ที่ เ น้ น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (5T Model) ไป ใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในเนือ้ หาอืน่ ๆ และระดับอื่นๆ 2. ควรศึกษารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (5T Model) ร่วมกับทักษะทางคณิตศาสตร์อื่นๆ 3. ควรศึกษารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (5T Model) ร่วมกับศึกษาทักษะทางสังคมต่างๆ

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชมุ นุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กาญดาร์ สงดวง. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (TGT) ร่วมกับวิธี สอนการแก้ปัญหาแบบเอสเอสซีเอส (SSCS) ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และความคิด สร้ างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณ ฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


166

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แด เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. ชนาธิป พรกุล. (2552). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชานนท์ ศรีผอ่ งงาม. (2549). การพัฒนาชุดการเรียนแบบแบ่งกลุม่ สัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Division: STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จ�ำนวนจริง ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทิพย์ภาภรณ์ อินทรอักษร. (2554). ผลการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ทักษิณ. ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL), วารสาร วิชาการ, 2(5), 2-30. ------------. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์. นันทชัย นวลสอาด. (2554). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือด้วย เทคนิค STAD ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. พวงเพ็ญ น้อยอาษา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA Model). ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วรรณภา สุขส�ำราญ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค ที จี ที กับวิธีสอนแบบปกติ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). รายงานประจ�ำปี 2556. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2558, จาก http://www.niets.or.th/index.php/aboutus_th/view/14 สุรินทร์ ตันสกุล. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการท�ำงานเป็นกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สุวิทย์ มูลค�ำ และอรทัย มูลค�ำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice. (2nd ed.) Boston: Allyn & Bacon. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

167

Translated Thai References

The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai Ltd. [in Thai] Songdong, K. (2011). The effects of cooperative learning techniques between Team Game Tournament (TGT) and Search Slove Create Share (SSCS) thought ability to solve problems and mathematical creativity of Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai] Suttirat, C. (2011). 80 Innovations for Child-Centered. (4th ed.). Bangkok: Danex Inter-corporation. [in Thai] Pornkul, C. (2009). Instruction design, Integration, Reading, Analytical thinking, and writing. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University printing house. [in Thai] Sripongam, C. (2006). The development of learning pages through student teams achievement division to promote Mathayomsuksa IV students mathematical communication skills on “Real Numbers”. M.Ed. in Secondary Education, Srinakharinwirot University. [in Thai] Intraaugsorn, T. (2011). The effects of cooperative learning techniques between Students Teams Achievement Divisions (STAD) and Math games toward to mathematics achievement of Prathomsuksa VI students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai] Kamanee, T. (1999). Child-Centered: CIPPA MODEL, Academic Journal, 2(5), 2-30. [in Thai] ------------. (2009). Science of Teaching: Knowledge to the learning process effective. (11th ed.). Bangkok: Dansutha printing. [in Thai] Nuansa-ard, N. (2011). Instructional activity package on trigonometric ratio by using cooperative learning with STAD technique for Mathayomsuksa IV students. M.Ed. in Secondary Education, Srinakharinwirot University. [in Thai] Noiarsa, P. (2010). The effects of learning activity on Mathematics in equation and equation solving for Prathomsuksa IV students by using CIPPA Model. M.Ed. in Education, Mahasarakham University. [in Thai] Suksamran, W. (2010). A comparison of Mathematical achievement in equation and equation solving between Teams Games Tournament (TGT) and traditional teaching method of Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai] National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2013). Annual Report 2013. Retrieved January, 12, 2015, from http://www.niets.or.th/index.php/aboutus_th/view/14 [in Thai] Tunsakul, S. (2007). The effects of using CIPPA Model though ability in solving mathematics problem and ability to group working for Prathomsuksa III students. M.Ed. in Education, Thaksin University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


168

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Moonkum, S. & Moonkum, O. (2004). 19 Learning process for develop knowledge and skills. (5th ed.). Bangkok: Pappim. [in Thai] Jaitinang, A. (2010). Principles of teaching. (5th ed.). Bangkok: Odien Store. [in Thai]

Yupadee Panarach received Ph.D. in Applied Behavioral Science Research from Srinakharinwirot University in 2008, she graduate M.Ed. in Educational Administration from Vongchavalitkul University in 2007 and M.Ed. in Mathematics Education from Chulalongkorn University in 1998 and B.Ed. in Mathematics Education from Rajabhat Institute Loei in 1995. She is current work at Mathematics Department in Faculty of Education, Kampheang Phet Rajabhat University.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

169

รูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ The Affordance of Computer Instruction System for Promoting Computer Learning Through Cloud Computing วิชญา รุ่นสุวรรณ์1, ดวงกมล โพธิ์นาค2 และปรวัฒน์ วิสูตรศักดิ์3 Wichaya Roonsuwan1, Duangkamol Phonak2 and Porawat Visutsak3 บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์ 1) เพือ่ สังเคราะห์รปู แบบระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีกอ้ นเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบระบบการจัดการเรียน การสอนบนเทคโนโลยีกอ้ นเมฆเพือ่ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ จากกลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั เป็น ผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวนทั้งหมด 7 ท่าน มีขั้นตอนในการศึกษาดังนี้ 1) ศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาหลัก การท�ำงานเทคโนโลยีก้อนเมฆ 3) สังเคราะห์รูปแบบ 4) น�ำเสนอรูปแบบขั้นตอนการพัฒนากรอบแนวคิดการพัฒนา ระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีกอ้ นเมฆเพือ่ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ และ 5) ประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบพบว่า ค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 3.85 มีค่าเฉลี่ยอยู่ ที่ระดับมากและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 จากการประเมินผู้วิจัยจะท�ำการพัฒนารูปแบบและปรับปรุงเพื่อ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้พัฒนาต่อไป ค�ำส�ำคัญ: การจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีก้อนเมฆ ทักษะการวิเคราะห์

Abstract

The purpose of conduct these researches are 1) to conduct the synthesis of the format of computer instruction system for promoting computer learning through cloud computing technology, 1 นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, Doctoral

degree Student in Department of Technology Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, E-mail: wichaya.r@fitm.kmutnb.ac.th 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, Lecturer in Department of Computer Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, E-mail: tantawan_ple@hotmail.com 3 อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, Computer and Information Science, Faculty of Applied Science, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, E-mail: porawat.v@ fitm.kmutnb.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


170

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

and 2) To assess the appropriateness of the format of computer instruction system for promoting computer learning through cloud computing technology from the sample group used in conduction the research to be 7 experts altogether. The There are steps for studying as follows: 1) study the relevant principles and theories. 2) Study the principle of cloud computing technology. 3) Conduct the synthesis of the format. 4) the process of developing a framework for development of computer instruction system for promoting computer learning through cloud computing technology. 5) Assess the suitability of model. The assessment found that suitability of the mean value of 3.85 there is a high level at mean and standard deviation was 0.37. By on assessment, the researchers will develop and improve the efficiency and to be the guideline for managing further. Keywords: Instruction System, Cloud Computing technology, Analyze Thinking

บทน�ำ

การจัดการเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21 ต้อง ค�ำนึงถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ระบบสารสนเทศสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ได้รับความนิยมใช้ในด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย เป็น เครื่องมือที่ส�ำคัญระหว่างผู้สอน และผู้เรียน คือ มูเดิล (Moodle) ย่อมา จาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ เสรี เ พื่ อ จั ด การสภาพแวดล้ อ มการศึ ก ษาผ่ า นสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Learning Management System หรือ Virtual Learning Environment มูเดิลเดิมได้ พัฒนาโดย Martin Do ugiamas มีจุดประสงค์เพื่อช่วย ผู้สอนหรือผู้ที่ท�ำงานด้านการศึกษาให้สามารถสร้าง บทเรียนออนไลน์ได้ ความสามารถของมูเดิลเน้นไปที่ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา และการร่วม กันพัฒนาเนื้อหาบทเรียน การเรียนการสอนในปัจจุบัน มี ก ารน� ำ มู เ ดิ ล มาจั ด การสนั บ สนุ น ผู ้ ส อนในด้ า นการ จัดการเรียนการสอนมีนักวิชาการได้ท�ำการศึกษางาน วิจัยไว้หลายท่าน ดังนี้ อรรคเดช โสสองชัน้ (2554) ได้กล่าวไว้วา่ การพัฒนา โมดูลน�ำเสนอภาพนิ่งส�ำหรับมูเดิลเป็นกระบวนการ บริหารการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ในปัจจุบัน การพัฒนาโมดูลใหม่ๆ จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการน�ำมูเดิลไปใช้ส�ำหรับการเรียนการสอน การติดตั้งระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี และทดสอบประสิทธิภาพนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาจ�ำนวน 37 ท่านใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความตรงความต้องการ 2) ความสามารถท�ำงานได้ตรง ความต้องการ 3) ความง่ายต่อการใช้งาน 4) ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการใช้งาน และ 5) ความปลอดภัย ของข้อมูล พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมประสิทธิภาพการ ท�ำงานของโมดูลอยู่ในระดับดี โดยการทดสอบเรื่อง ความปลอดภัยของข้อมูลได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ สูงสุด ส่วนด้านความถูกต้องและรวดเร็วในการท�ำงาน ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยสุด สุเนตร สืบค้า (2552) ได้ศึกษาความพึงพอใจของ นักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วย โปรแกรม มูเดิล (Moodle e-Learning) ได้กล่าวไว้ในข้อเสนอแนะ ว่า ควรมีการจัดเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หากอุปกรณ์และระบบ เครือข่ายไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการจัดการที่ดีอาจ ส่งผลล่าช้าในการเข้าสูบ่ ทเรียน ส่งผลให้ความสนใจและ ตั้งใจเรียนลดลง เป็นต้น เครื่องมือสนับสนุนการเรียน การสอนมูเดิล (Moodle) ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ท� ำความเข้าใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในส่วนของ Backend และมักเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้เสมอ ด้วย ความที่เราไม่ได้พัฒนาเครื่องขึ้นมาเอง ก็ต้องค้นหา จุดบกพร่องดังกล่าวจากแหล่งข้อมูลต่างๆ หากเป็น เวอร์ชั่นใหม่ๆ ความรู้ท่ีเป็นภาษาไทยค่อนข้างมีน้อย บางครั้งอาจไม่ตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด เช่น เมื่ อ ต้ อ งการสร้ า งแบบฟอร์ ม กรอกข้ อ มู ล จากหน้ า เว็บไซต์ และส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลค่อนข้างท�ำได้ ล�ำบาก บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมูเดิล ก็ยังไม่มี ความยืดหยุ่นในด้านการจัดการตัวเนื้อหารายวิชา และ สนับสนุนผู้สอนและผู้เรียน จากการศึกษางานวิจัยผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่าการ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มูเดิล (Moodle) ยังขาดความยืดหยุน่ ในส่วนของโมดูลต่างๆ รูปแบบของ แบบฟอร์มกรอกข้อมูล การเข้าถึงฐานข้อมูลและการ จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลยังมีความยุง่ ยาก ตลอดจนจึง มีการสนับสนุนเรื่องการจัดการระบบเครือข่าย การน�ำ เทคโนโลยีเครือข่ายก้อนเมฆ (Cloud Computing Technology) และโปรแกรมประยุกต์ หรือ Web Application Mobile มาใช้ ด ้ า นการจั ด การและ สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ให้กับผู้สอนด้านการจัดการเรียนการสอนตลอดจนเพิ่ม ประสิทธิภาพด้านการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งสอดคล้อง กับงานวิจัยของ ปณิตา วรรณพิรุณ (2556: 213-219) ได้ศกึ ษาการพัฒนาระบบสนับสนุนการแลกเปลีย่ นเรียน รู้ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิงเพื่อส่งเสริม สมรรถนะการวิจัยและทักษะการใช้สารสนเทศอย่างมี วิจารณญาณ พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ ระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่าย สังคมและคลาวด์เลิรน์ นิงมีผลการประเมินสมรรถนะการ วิจัยและทักษะการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเครือข่าย ก้อนเมฆ (Cloud Computing Technology) ดวงกมล โพธิน์ าค (2555: 216-220) ได้กล่าวไว้วา่ รูปแบบการให้ บริ ก ารของเทคโนโลยี เ ครื อ ข่ า ยก้ อ นเมฆ (Cloud

171

Computing Technology) ยึดตามแนวคิดหลัก 3 ประการดังนี้ 1) IaaS (Infrastructure as a Service) คือ Hardware ส�ำหรับเครือ่ งแม่ขา่ ยอุปกรณ์จดั เก็บหรือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายที่น�ำเสนอใน รูปแบบของบริการโดยทัว่ ไปแล้ว Hardware โครงสร้าง พื้ น ฐานถู ก ท� ำ ให้ เ ป็ น แบบ Virtualized โดยใช้ สถาปัตยกรรม Grid Computing ดังนั้น Software ส�ำหรับ Virtualized ระบบ Cluster และการจัดสรร ทรัพยากรแบบ Dynamic จึงถูกรวมไว้ใน IaaS ด้วย เช่นกัน เช่น Amazon Web Services เพื่อเพิ่มความ ยื ด หยุ ่ น ให้ แ ก่ อ งค์ ก ารต่ า งๆ ในการเลื อ กที่ จ ะปรั บ เป็นต้น 2) ไคลเอนต์ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ Relies บน Cloud Computing Technology ส� ำ หรั บ แอพพลิ เ คชั่ น ที่ ส ่ ง ให้ ห รื อ ก� ำ หนดการออกแบบส� ำ หรั บ การรั บ บริ ก าร Cloud Computing Technology ตัวอย่างได้แก่ มือถือ เช่น Android, iPhone Windows Mobile, Thin client เช่น CheeryPal, Zonbu, ระบบ gOS, Thick client หรื อ Web browser เช่ น Microsoft Internet Explorer, Google Chrome, Mozilla Firefox เป็นต้น 3) การบริการของ Cloud ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ การบริการ และโซลูชนั่ ทีส่ ง่ ผ่านการใช้งานในแบบเรียลไทม์ โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตตัวอย่างเช่น Web Service ที่ ออกแบบมาเพื่อให้สนับสนุนการท�ำงานโต้ตอบระหว่าง เครื่องกับเครื่องผ่านทางเน็ตเวิร์ก ตัวอย่างของบริการ เช่ น Identity (OAuth, OpenID), Integration (Amazon Simple Queue Service) เป็นต้น จากความเป็นมาและรูปแบบความส�ำคัญดังกล่าว ข้างต้น ผูว้ จิ ยั จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาระบบการจัดการ เรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการ เรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ (The Affordance of Computer Instruction System for Promoting Computer Learning Through Cloud Computing) ของภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยี และการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


172

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

พระจอมเกล้าพระนครเหนือวิทยาเขตปราจีนบุรี ใน รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมภาษาทาง คอมพิวเตอร์ เช่น PHP, C, C#, C++, JAVA เป็นต้น ซึ่ง จะท�ำให้การจัดการเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนและผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทร่วม ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพือ่ สังเคราะห์รปู แบบระบบการจัดการเรียนการ สอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการ สอนด้านคอมพิวเตอร์ 2. เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบระบบ การจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์

ขอบเขตการวิจัย

การพัฒนารูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านคอมพิวเตอร์ มีขอบเขตการวิจัยดังรายละเอียด ต่อไปนี้ 1. ประชากร คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 7 ท่าน ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์และผู้มี ประสบการณ์ทำ� งานด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ได้แก่ 1.1 ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความรู้ และ ประสบการณ์การวิเคราะห์และออกแบบระบบไม่น้อย กว่า 5 ปี โดยคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะ เจาะจงจ�ำนวน 4 ท่าน 1.2 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากภาคเอกชนจ�ำนวน 3 ท่าน 2. รู ป แบบระบบการจั ด การเรี ย นการสอนบน เทคโนโลยี ก ้ อ นเมฆเพื่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นการสอน ด้านคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งรูปแบบที่พัฒนาระบบ สารสนเทศได้ 6 โมดูลดังนี้

โมดูลที่ 1 Media Management on Cloud Computing ระบบในส่วนนี้จะท�ำการจัดการสื่อต่างๆ ให้เก็บข้อมูลบน Cloud Computing โมดูลที่ 2 Testing Management System ระบบ การจัดการคลังข้อสอบ โมดูลที่ 3 Message Chartrooms Tools เป็น เครื่องมือสังคมเครือข่าย โมดูลที่ 4 Classroom Management System เป็นระบบการจัดห้องเรียน โมดูลที่ 5 Supporting Student System on Cloud Computing เป็นระบบสนับสนุนผู้เรียน โมดูลที่ 6 Assessment Management System เป็นระบบการจัดการประเมินผู้สอนและผู้เรียน 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 3.1 ตัวแปรต้น คือ การประเมินรูปแบบระบบ การจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ 3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลการประเมินตามความ เหมาะสมของรูปแบบระบบการจัดการเรียน การสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านคอมพิวเตอร์

วิธีการด�ำเนินการวิจัย

ในการศึกษารูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องโดยศึกษา การจัดการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็นพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นแก่ผเู้ รียนทีน่ ำ� ความรูค้ วามเข้าใจ ไปใช้ในการเรียนรายวิชาอืน่ ๆ ในสาขาด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเห็นได้ว่า ความถนัดหรือทักษะการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้เรียนต้องมีความรู้ความ เข้าใจ และการคิดวิเคราะห์การเขียนโปรแกรมได้ 1.1 ศึกษาหลักการเทคโนโลยีก้อนเมฆ และ องค์ประกอบส�ำคัญของเทคโนโลยีกอ้ นเมฆประกอบด้วย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

6 ส่วน ได้แก่ 1) Clients 2) Services 3) Application 4) Platform 5) Storage และ 6) Infrastructure 1.2 รูปแบบของเทคโนโลยีกอ้ นเมฆ ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) Public Cloud 2) Hybrid Cloud 3) Private Cloud ซึ่งในการศึกษาน�ำมาใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนอาจจะใช้รปู แบบของ Hybrid Cloud 2. ศึกษาหลักการจัดการความรู้ กลยุทธ์การใช้ เทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการความรู้ (Technology & KM Techniques Strategies) ซึ่งน�ำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บมาช่วยในการรวบรวมและแพร่กระจาย ความรูแ้ ละหลักการจัดการความรู้ 5 ขัน้ ตอน คือ 1) การ นิยามความรู้ (Knowledge Defining) 2) การแสวงหา ความรู้ (Knowledge Acquisition) 3) การแบ่งปัน ความรู้ (Knowledge Sharing) 4) การจัดเก็บและ ค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage & Retrieval) 5) การใช้ประโยชน์จากความรู้ (Knowledge Utilization) ซึ่งท�ำให้ความรู้ได้เผยแพร่ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ตรวจสอบได้ง่าย 3. สังเคราะห์รูปแบบระบบการจัดการเรียนการ สอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการ สอนสามารถแบ่ ง รู ป แบบที่ พั ฒ นาระบบสารสนเทศ สามารถแบ่งได้ 6 โมดูลดังนี้ โมดูลที่ 1 Media Management on Cloud Computing ระบบในส่วนนี้จะท�ำการจัดการสื่อต่างๆ ให้ เ ก็ บ ข้ อ มู ล บน Cloud Computing และระบบ สามารถท�ำการจัดการสื่อได้ 6 รูปแบบดังนี้ 1) เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ที่รวมทั้งภาพวิดีโอ 2) เอกสารน�ำเสนอ งาน 3) เอกสารในรูปแบบ PDF 4) เอกสารตารางงาน 5) สื่อวิดีโอ 6) สื่อการเรียนการสอน (CAI) โมดูลที่ 2 Testing Management System ระบบ การจัดการคลังข้อสอบ ระบบนี้จะท�ำหน้าที่ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1) รวบรวมและจัดการข้อสอบในรูปแบบ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) และสามารถแปลง เอกสาร (Document File) ให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร

173

อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (PDF File) ได้ 2) ระบบสามารถ เก็บข้อมูลข้อสอบของแต่ละรายวิชาในรูปแบบปรนัย เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้กับระบบการจัดการประเมิน ผู ้ เรี ย น โดยผู ้ ส อนสามารถก� ำ หนดวิ ธี ก ารสอบได้ หลายประเภท เช่น สอบก่อนเรียน สอบหลังเรียน ก�ำหนดระยะเวลาสอบ ก�ำหนดจ�ำนวนผู้สอบ เป็นต้น โมดูลที่ 3 Message Chartrooms Tools เป็น เครื่องมือสังคมเครือข่าย ระบบนี้ผู้สอนสามารถก�ำหนด กลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยได้ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ กับการจัดการสอบ เช่น การทดสอบแบบกลุ่มย่อย การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระดับเก่ง ระดับปานกลาง ระดับอ่อน เป็นต้น โมดูลที่ 4 Classroom Management System เป็นระบบการจัดห้องเรียน โดยระบบนี้ผู้สอนสามารถ ก�ำหนดหรือเลือกห้องเรียนและตรวจสอบสถานการณ์ใช้ งานห้องเรียนได้ โมดูลที่ 5 Supporting Student System on Cloud Computing เป็นระบบสนับสนุนผู้เรียนโดย ระบบนี้ผู้เรียนสามารถ Upload หรือ Download File ต่างๆ ของผู้สอนได้ เช่น เอกสารประกอบการเรียนการ สอน การบ้าน เป็นต้น ผูส้ อนยังสามารถก�ำหนดเวลาการ Upload หรือ Download File ต่างๆ ได้โดยจะมีความ สั ม พั น ธ์ กั บ Media Management on Cloud Computing โมดูลที่ 6 Assessment Management System จะมีด้านการจัดการ 2 รูปแบบดังนี้ 1) การจัดการ ประเมิ น ผู ้ เรี ย น ระบบนี้ ผู ้ ส อนสามารถก� ำ หนดช่ ว ง คะแนนเก็บในรายวิชาต่างๆ ที่ผู้สอนรับผิดชอบ และ บันทึกคะแนนในรูปแบบเอกสาร (Document File) ตลอดจนสามารถตัดเกรดผ่านระบบได้ 2) การจัดการ ประเมินผูส้ อน ระบบนีผ้ สู้ อนสามารถก�ำหนดหัวข้อหรือ วัตถุประสงค์การประเมินความพึงพอใจในแต่ละด้าน และก�ำหนดระยะเวลาให้ผู้เรียนประเมินได้ 4. น�ำเสนอรูปแบบระบบการจัดการเรียน การสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


174

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

รูปที่ 1 รูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของกรอบแนวคิดขั้นต้น การพัฒนา ระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ทั้ง 6 โมดูล สามารถขยายทั้ง 6 โมดูลดังต่อไปนี้ 1) Media Management on Cloud Computing ระบบในส่วน นี้จะท�ำการจัดการสื่อต่างๆ ให้เก็บข้อมูลบน Cloud Computing 2) Testing Management System ระบบ

การจัดการคลังข้อสอบ 3) Message Chartrooms Tools เป็นเครื่องมือสังคมเครือข่าย ระบบนี้ผู้สอน สามารถก� ำ หนดกลุ ่ ม ผู ้ เรี ย นออกเป็ น กลุ ่ ม ย่ อ ย 4) Classroom Management System เป็นระบบการจัด ห้องเรียน 5) Supporting Student System on Cloud Computing เป็นระบบสนับสนุนผูเ้ รียน 6) Assessment Management System ระบบการจัดการประเมิน

รูปที่ 2 ส่วนขยายทั้ง 6 โมดูลรูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

5. ประเมิ น ความเหมาะสมของรู ป แบบจากผู ้ เชี่ยวชาญจ�ำนวน 7 ท่าน ขอบเขตของการประเมินจะ ท�ำการประเมินองค์ประกอบรูปแบบระบบการจัดการ เรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการ เรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ 3 ด้านดังนี้ 1) ความ เหมาะสมในองค์ประกอบของกรอบแนวคิดขั้นต้น การ พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีกอ้ น เมฆเพือ่ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ทงั้ 6 โมดูล 2) ความเหมาะสมด้านวัตถุประสงค์การท�ำงาน ของแต่ละโมดูล 3) ความเหมาะสมภาพรวมของกรอบ แนวคิดขั้นต้น 6. การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่า เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วน�ำค่าเฉลี่ยมา

175

เปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย ของคะแนนความเหมาะสมดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 เท่ากับระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 เท่ากับระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 เท่ากับระดับ สมปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 เท่ากับระดับ น้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 เท่ากับระดับ น้อยที่สุด

สรุปผลการวิจัย

การประเมินรูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ด้านคอมพิวเตอร์จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผูเ้ ชีย่ วชาญ จ�ำนวนทัง้ หมด 7 ท่านสามารถสรุปผลได้ดงั นี้

ตารางที่ 1 แสดงความเหมาะสมในองค์ประกอบของกรอบแนวคิดขั้นต้น การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน บนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ทั้ง 6 โมดูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน แปลความ มาตรฐาน หมายเหมาะสม

รายการ ความเหมาะสมในองค์ประกอบของกรอบแนวคิดขั้นต้น การพัฒนาระบบการ จัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีกอ้ นเมฆเพือ่ สนับสนุนการเรียนการสอนด้าน คอมพิวเตอร์ทั้ง 6 โมดูล ความเหมาะสมของโมดูลที่ 1 Media Management on Cloud Computing ความเหมาะสมของโมดูลที่ 2 Testing Management System ความเหมาะสมของโมดูลที่ 3 Message Chartrooms Tools ความเหมาะสมของโมดูลที่ 4 Classroom Management System ความเหมาะสมของโมดูลที่ 5 Supporting Student System on Cloud Computing ความเหมาะสมของโมดูลที่ 6 Assessment Management System ภาพรวมของกรอบแนวคิดขั้นต้น

จากผลการประเมินรูปแบบระบบด้านความเหมาะ สมในองค์ประกอบของกรอบแนวคิดขั้นต้น การพัฒนา ระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นการสอนด้ า นคอมพิ ว เตอร์

3.57

0.53

มาก

3.57

0.53

มาก

3.57 3.85 3.85

0.53 0.37 0.37

มาก มาก มาก

3.57

0.53

มาก

3.5

0.53

มาก

3.85

0.37

มาก

ทั้ง 6 โมดูลจากผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวนทั้งหมด 7 ท่าน พบว่ า ค่ า เฉลี่ ย มี ค ่ า เท่ า กั บ 3.85 มี ค ่ า เฉลี่ ย อยู ่ ที่ ระดับมากและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


176

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตารางที่ 2 ความเหมาะสมด้านวัตถุประสงค์การท�ำงานของแต่ละโมดูล รายการ 2.1 Media Management on Cloud Computing ระบบในส่วนนี้จะท�ำการจัดการสื่อต่างๆ ให้เก็บข้อมูลบน Cloud Computing และระบบสามารถท�ำการจัดการสื่อได้ 7 รูปแบบดังนี้ 1) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมทั้งภาพวิดีโอ 2) เอกสารน�ำเสนองาน 3) เอกสารในรูปแบบ PDF 4) เอกสารตารางงาน 5) สื่อวิดีโอ 6) สื่อการเรียนการสอน (CAI) 7) การแปลงเอกสารต่างๆ 2.2 Testing Management System ระบบการจัดการคลังข้อสอบ ระบบนี้จะท�ำหน้าที่ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1) รวบรวมและจัดการข้อสอบในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) และสามารถแปลงเอกสาร (Document File) ให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) ได้ 2) ระบบสามารถเก็บข้อมูลข้อสอบของแต่ละรายวิชาในรูปแบบปรนัยเพื่อ สนับสนุนข้อมูลให้กับระบบการจัดการประเมินผู้เรียนโดยผู้สอนสามารถ ก�ำหนดวิธีการสอบได้หลายประเภท เช่น สอบก่อนเรียน สอบหลังเรียน ก�ำหนดระยะเวลาสอบ ก�ำหนดจ�ำนวนผู้สอบ เป็นต้น 2.3 Message Chartrooms Tools เป็นเครื่องมือสังคมเครือข่ายระบบนี้ผู้สอนสามารถก�ำหนดกลุ่มผู้เรียน ออกเป็นกลุ่มย่อยได้ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการจัดการสอบ เช่น การทดสอบแบบกลุ่มย่อย การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระดับเก่ง ระดับปานกลาง ระดับอ่อน เป็นต้น 2.4 Classroom Management System เป็นระบบการจัดห้องเรียนโดยระบบนี้ผู้สอนสามารถก�ำหนดหรือเลือก ห้องเรียนและตรวจสอบสถานะภาพใช้งานห้องเรียนได้ 2.5 Supporting Student System on Cloud Computing เป็นระบบสนับสนุนผู้เรียนโดยระบบนี้ผู้เรียนสามารถ Upload หรือ Download File ต่างๆ ของผู้สอนได้ เช่น เอกสารประกอบการเรียน การสอน การบ้าน เป็นต้น ผู้สอนยังสามารถก�ำหนดเวลาการ Upload หรือ Download File ต่างๆ ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ค่าเบี่ยงเบน แปลความ ค่าเฉลี่ย มาตรฐาน หมายเหมาะสม 3.85

0.37

มาก

3.57 3.42 3.42 3.42 3.57 3.71 3.28

0.53 0.53 0.53 0.53 0.53 0.48 0.48

มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง มาก มาก ปานกลาง

3.28

0.48

ปานกลาง

3.14

0.37

ปานกลาง

3.71

0.48

มาก

3.71

0.48

มาก

3.42

0.53

3.57

0.53

ปานกลาง

มาก


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

177

ค่าเบี่ยงเบน แปลความ ค่าเฉลี่ย มาตรฐาน หมายเหมาะสม

รายการ

2.6 Assessment Management System จะมีด้านการจัดการ 2 รูปแบบดังนี้ 3.85 1) การจัดการประเมินผู้เรียนระบบนี้ผู้สอนสามารถก�ำหนดช่วงคะแนนเก็บ ในรายวิชาต่างที่ผู้สอนรับผิดชอบ และบันทึกคะแนนในรูปแบบเอกสาร 3.85 (Document File) ตลอดจนสามารถตัดเกรดผ่านระบบได้ 2) การจัดการประเมินผู้สอน ระบบนี้ผู้สอนสามารถก�ำหนดหัวข้อหรือ วัตถุประสงค์การประเมินความพึงพอใจในแต่ละด้าน และก�ำหนด 3.71 ระยะเวลาให้ผู้เรียนประเมินได้

จากผลการประเมินรูปแบบระบบด้านความเหมาะสม ด้ า นวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารท� ำ งานของแต่ ล ะโมดู ล จาก ผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวนทั้งหมด 7 ท่าน พบว่า ระบบในส่วนนี้ จะท�ำการจัดการสื่อต่างๆ ให้เก็บข้อมูลบน Cloud Computing Technology และระบบสามารถ ท�ำการจัดการสื่อได้ 7 รูปแบบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 อยู่ ที่ระดับมากและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 ระบบการจัดการคลังข้อสอบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 อยู่ที่ ระดับปานกลางและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 เครื่องมือสังคมเครือข่ายค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 อยู่ที่ ระดั บ มากและค่ า เบี่ ย งเบนมาตรฐานเท่ า กั บ 0.48 ระบบการจัดห้องเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 อยู่ที่ระดับ ปานกลางและค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ระบบ สนับสนุนผู้เรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.53 ระบบการจัดการประเมินค่าเฉลีย่ เท่ากับ 3.85 อยู่ที่ระดับมากและเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.37 จากการศึกษางานวิจยั และทฤษฎีทเี่ กีย่ วข้องตลอดจน การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่านท�ำให้ได้รูปแบบ ระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ ผูว้ ิจยั ได้ด�ำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการพัฒนา โดย การน�ำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ท�ำให้เกิดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็น แนวทางการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และ

0.37

มาก

0.37

มาก

0.48

มาก

ส่งเสริมทักษะตลอดจนกระบวนการคิด ท�ำให้เกิดวิธกี าร เรียนการสอนที่หลากหลายและเหมาะสมกับการเรียน การสอนในปัจจุบัน

สรุปและอภิปรายผล

จากการศึกษารูปแบบระบบการจัดการเรียนการ สอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการ สอนด้านคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยได้ด�ำเนินงานตามขั้นตอน และกระบวนการพัฒนาด้วยการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ตลอดจนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้น�ำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์พร้อมทั้งประเมิน จากผู ้ เชี่ ย วชาญด้ า นคอมพิ ว เตอร์ ท� ำ ให้ ไ ด้ รู ป แบบ ระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆ เพื่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นการสอนด้ า นคอมพิ ว เตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบระบบ การจั ด การเรี ย นการสอนบนเทคโนโลยี ก ้ อ นเมฆ เพื่ อ สนั บ สนุ น การเรี ย นการสอนด้ า นคอมพิ ว เตอร์ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบระบบการ จั ด การเรี ย นการสอนบนเทคโนโลยี ก ้ อ นเมฆเพื่ อ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ จากการ วิจัยครั้งนี้สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1. ผลการสั ง เคราะห์ รู ป แบบระบบการจั ด การเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุน การเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด 6 โมดูล ประกอบด้วย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


178

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

โมดูลที่ 1 Media Management on Cloud Computing โมดูลที่ 2 Testing Management System โมดูลที่ 3 Message Chartrooms Tools โมดูลที่ 4 Classroom Management System โมดูลที่ 5 Supporting Student System on Cloud Computing โมดูลที่ 6 Assessment Management System เนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษาใช้แนวคิดการพัฒนาใน รูปแบบระบบประมวล การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing Technology) และเครือข่าย เชื่อมโยงการกระจายทรัพยากร (Grid Computing) กล่าวคือ การประมวลผลแบบกริด จะเป็นการแบ่งปัน ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์ซึ่งสอดคล้อง บุญอนันต์ ปองศรี (2556) การจัดสรรทรัพยากรบน ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆโดยใช้วิธีขยายขนาด เซิร์ฟเวอร์เสมือน พบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของการ จัดสรรทรัพยากรบนระบบประมวลผลแบบกลุม่ เมฆโดย ใช้วธิ ขี ยายขนาดเซิรฟ์ เวอร์เสมือน และได้ทำ� การทดลอง เปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มทรัพยากรโดยใช้วิธีขยาย ขนาดเซิร์ฟเวอร์เสมือนและวิธีเพิ่มจ�ำนวนเซิร์ฟเวอร์ เสมือน โดยผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า การจัดสรร ทรัพยากรโดยใช้วิธีขยายขนาดนั้นจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่าเมื่อจ�ำนวนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ จะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันเมื่อจ�ำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้น อย่างช้าๆ 2. ผลการประเมินรูปแบบระบบการจัดการเรียน การสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอนด้านคอมพิวเตอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะ ในส่ ว นของ Media Management on Cloud

Computing และ Assessment Management System มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.85 เนื่องจากผู้วิจัยได้ มีแนวคิด ส่วน Management on Cloud Computing โดยการออกแบบทั้งส่วนนี้เพื่อน�ำไปช่วยในการจัดการ ระบบการจัดการเรียนการสอนทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ให้ตอบสนอง การใช้งานการจัดการสื่อต่างๆ ให้เก็บข้อมูลบน Cloud Computing และระบบสามารถท�ำการจัดการสื่อได้ 7 รูปแบบ 1) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมทั้งภาพวิดีโอ 2) เอกสารน�ำเสนองาน 3) เอกสารในรูปแบบ PDF 4) เอกสารตารางงาน 5) สื่อวิดีโอ 6) สื่อการเรียนการสอน (CAI) และ 7) การแปลงเอกสารต่างๆ ท�ำให้สะดวกแก่ การใช้งานมากยิ่งขึ้นส�ำหรับผู้เรียนและผู้สอนในการ เรียนการสอนทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และในส่วน Assessment Management System มีด้านการจัดการ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดการประเมินผู้เรียนระบบนี้ ผู้สอน สามารถก�ำหนดช่วงคะแนนเก็บในรายวิชาต่างที่ผู้สอน รั บ ผิ ด ชอบ และบั น ทึ ก คะแนนในรู ป แบบเอกสาร (Document File) ตลอดจนสามารถตัดเกรดผ่านระบบ ได้ และ 2) การจัดการประเมินผู้สอน ระบบนี้ผู้สอน สามารถก�ำหนดหัวข้อหรือวัตถุประสงค์การประเมิน ความพึงพอใจในแต่ละด้าน และก�ำหนดระยะเวลาให้ ผูเ้ รียนประเมินได้ ท�ำให้การเรียนการสอนมีผลตอบกลับ แก่ผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วแม่นย�ำ และถูกต้อง สามารถ ตรวจปรับการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนเพื่อการปรับปรุง การเรียนการสอนได้อย่างดียิ่งขึ้น ส�ำหรับการวิจยั ครัง้ ต่อไป คือ การน�ำรูปแบบนีไ้ ปใช้ ในการเรียนการสอนด้านวิชาการเขียนโปรแกรมทาง คอมพิวเตอร์ ส�ำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อ สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการคิด และการเรียนรู้ตลอด จนวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย และเหมาะสมกับ การเรียนการสอนในปัจจุบัน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

179

บรรณานุกรม

กรรวิภา หวังทอง. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง, 5-7 สิงหาคม 2556 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี. กรุงเทพ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ส�ำนักคณะกรรมการอุมศึกษา. โกศล กิ จ วั ฒ นาพานิ ช . (2549). ระบบการจั ด การเนื้ อ หาและการบริ ก ารข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ ห้ อ งสมุ ด ออนไลน์ . สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ดวงกมล โพธิ์นาค. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับการจัดการความรู้บนฐานเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติด้าน อีเลิร์นนิง, 14-15 สิงหาคม 2555 อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี. กรุงเทพ: โครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย ส�ำนักคณะกรรมการอุมศึกษา. เบ็ญญาภา ศรีเรืองพันธ์. (2551). การพัฒนาตัวประสานงานผูใ้ ช้สำ� หรับระบบการจัดการเนือ้ หาการเรียนรู.้ วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. บุญอนันต์ ปอศรี. (2556). การจัดสรรทรัพยากรบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆโดยใช้วิธีขยายขนาดเซิร์ฟเวอร์ เสมือน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 23(1), 180-187. ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การพัฒนาระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยและทักษะการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ. การประชุมวิชาการระดับ ชาติดา้ นอีเลิรน์ นิง, 5-7 สิงหาคม 2556 อาคารอิมแพค ฟอรัม่ เมืองทองธานี. กรุงเทพ: โครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย ส�ำนักคณะกรรมการอุมศึกษา. พรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2554). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเว็บช่วยสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต กาเย่ วิชา การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติบนระบบ Mobile LMS. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2557). ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในงานทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร, 16(1), 149-157. สรกนก จันทร์ดาประดิษฐ์. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน (LMS กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ). ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สุเนตร สืบค้า. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วย โปรแกรมมูเดิล (Moodle e-Learning). วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. อรรคเดช โสสองชั้น. (2554). การพัฒนาโมดูลน�ำเสนอภาพนิ่งส�ำหรับมูเดิล. วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. Danielson, K. (2008). Cloud Computing. Retrieved August 22, 2010, from http://th.wikipedia.org

Translated Thai References

Akeearmwattanakun, P. (2011). The development and performance of the Web to teach the learning processes of Robert Yue Department of Statistics with Computer Applications on Mobile LMS. Master of Science Information Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


180

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Huangtong, K. (2013). The development of information systems for knowledge sharing through Cloud computing. National e-Learning Conference 2013, 5-7 August 2012 Impact Muang Thong Thani forum. Bangkok: Thailand Cyber University. [in Thai] Jundapadit, S. (2010). The development of information systems for teaching and learning (LMS case studies graduate student. Information Technology King Mongkut’s University of Technology North Bangkok). Special problems Master of Science Information Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Kritwattapanit, G. (2006). The content management system for libraries and information services online. Master of Science Thesis Information Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Meesuwan, V. (2014). The cloud processing system in education. Journal of Education Naresuan University, 16(1), 149-157. [in Thai] Phonak, D. (2012). The learning activities integrated with knowledge management based on cloud technology to promote critical thinking skills in computer programming. National e-Learning Conference 2012, 14-15 August 2012 Impact Muang Thong Thani forum. Bangkok: Thailand Cyber University. [in Thai] Porsri, B. (2013). Cloud Computing Resources Provisioning Using Virtual Server Size Expansion Method. The Journal of MKUTNB, 23(1), 180-187. [in Thai] Sosongchan, A. (2011). The developed a module for Moodle slide presentation. Master of Computer Science, Naresuan University. [in Thai] Srileangpun, B. (2008). The development coordinator for a system to manage learning content. Bachelor’s Degree Computer Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai] Suebka, S. (2009). Satisfaction of students on the course via the web. Program Moodle (Moodle e-Learning). Master of Engineering, Maejo University. [in Thai] Wanpirun, P. (2013). The system supports knowledge sharing through social networking and cloudlearning to enhance performance and research skills, critical information. National e-Learning Conference 2013, 5-7 August 2012 Impact Muang Thong Thani forum. Bangkok: Thailand Cyber University. [in Thai]

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

181

Wichaya Roonsuwan received him Bachelor Degree of Computer Technology, Major in Computer Education From King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Master’s Degree of Computer Technology, Major in Computer Education From King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, and Currently is Doctoral degree Student in Department of Technology Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. He is currently a full time lecturer in Information Technology Department, Faculty Industrial Technology and Management of King Mongkut’s University Technology North Bangkok.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


182

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา เพื่อการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก DEVELOPING VOCATIONAL EDUCATION STANDARDS PRACTICES FOR INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SMALL VOCATIONAL COLLEGES

พันทิพย์ รัตนราช1 Phanthip Rattanaraj1

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก และเพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติฯ ภายหลังการน�ำไปใช้ในสถานศึกษาแล้ว กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ได้แก่ บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพอัมพวา จ�ำนวน 24 คน และบุคลากร วิทยาลัยสารพัดช่าง สมุทรสงคราม จ�ำนวน 19 คน การด�ำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1: R1 การวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2: D1 การสร้างร่างแนวปฏิบัติฯ ระยะที่ 3: R2 การน�ำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 4 D2 การสร้างแนวปฏิบัติฯ ที่สมบูรณ์ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ผล การวิจัยจากแบบสอบถาม พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ด้านลดความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายมีค่าเฉลี่ย มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการบรรลุเป้าหมาย และด้านความพึงพอใจ ตามล�ำดับ เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การน�ำแนวปฏิบัติไปใช้ในการประกันคุณภาพช่วยลด/ป้องกัน/ขจัด ความเสีย่ งในการบรรลุเป้าหมายด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ การน�ำแนวปฏิบตั ฯิ ไปใช้ในการประกันคุณภาพ จะช่วยลด/ป้องกัน/ขจัดความเสีย่ งในการบรรลุเป้าหมายด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ ได้ทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติ t-test เพื่อหาความแตกต่างค่าเฉลี่ยของทั้งสองสถานศึกษา สรุปว่า ด้านความพึงพอใจของสถานศึกษาทั้งสอง แห่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลจากการสัมภาษณ์มีข้อสรุปที่สอดคล้องกัน คือ แนวปฏิบัติ ช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในมากกว่าร้อยละ 80 ค�ำส�ำคัญ: แนวปฏิบัติ ประกันคุณภาพอาชีวศึกษา

Abstract

The purposes of this research were to study developing a framework according to the vocational education standards for self quality assurance of small colleges; and evaluate the framework efficiency after implementing it in colleges. The samples of this study consisted of 24 personnel of Ampawa Industrial and Community Education College and consisted of 19 personnel 1 ข้าราชการครู

สังกัดวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม, Teacher in Rajasitaram Technical College, E-mail: Zealand@hotmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

183

of Samutsongkram Polytechnic College. The study was divided into 4 phases as follows. Phase 1(R1) was the analysis and synthesis of the related literature. Phase 2(D1) was the draft of the framework. Phase 3(R2) was the framework implementation in the two colleges. And Phase 4(D2) was the creation of the complete framework. The research instruments used for data collection wear the questionnaires and in-depth interview. The statistical procedures employed included frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings revealed that the framework was of high quality. In terms of issues to consider, the results showed that the respondents strongly agreed with lessening risks to achieve the goals, participation, goal achievement, and satisfaction respectively. However, when checking each issue, most respondents accepted that the implementation of the framework for quality assurance could lessen/ prevent/ get rid of the risks to achieve the goals of administration and the risks to achieve the goals of academic and vocational services. Moreover, the mean difference of the two colleges assessed by t-test indicated that their average satisfaction was not significantly different at 0.05. In addition, the interviews yielded similar results that the framework enabled the colleges to achieve more than 80% of the goals of self quality assurance. Keywords: Framework, Quality Assurance Vocational Education

บทน�ำ

การศึกษาเป็นรากฐานทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในกระบวนการ พัฒนาของมนุษยชาติ ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ทุกประเทศต้องมีการศึกษาที่มี คุณภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ของ โลกในแต่ละยุคสมัย ดังนั้นกระบวนการศึกษาจึงจ�ำเป็น ต้องได้รับการพัฒนา การตรวจสอบ และประเมินผล ผู้เรียนและผู้สอนตลอดเวลา เพื่อให้กระบวนการศึกษา นัน้ บรรลุผลส�ำเร็จและผลสัมฤทธิอ์ ย่างแท้จริง (นลินี ทวี สิน, 2555: 4) ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการประกันคุณภาพ เพราะการประกัน คุณภาพเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมในเรื่อง คุณภาพของผู้ส�ำเร็จการศึกษาที่ได้มาตรฐาน นั่นคือ คุณภาพของผูส้ ำ� เร็จการศึกษาต้องตรงตามมาตรฐานการ ศึกษาของชาติ ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร และ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ ดังนัน้ การด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

จึงเป็นการด�ำเนินงานที่ทุกภาคส่วนให้ความส�ำคัญ เพื่อ เปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นสังคมคุณภาพ ซึ่งประเทศ ที่พัฒนาแล้ว อาทิ เยอรมัน สหราชอาณาจักร แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ต่างให้ความส�ำคัญ ในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษา อาชีวศึกษา รัฐบาลจะเข้ามาดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิด และถือว่า การประกันคุณภาพอาชีวศึกษาเป็นนโยบาย แห่ ง ชาติ มี ก ารก� ำ หนดมาตรฐานที่ ชั ด เจนและเป็ น รูปธรรม มุ่งเน้นที่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การวัดผล รวมทั้งมีการพัฒนาทางด้านการอาชีวศึกษา อย่างต่อเนือ่ ง (Commonwealth of Australia, 2009) ส�ำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการเห็นความ ส�ำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงได้ก�ำหนด เรื่องการประกันคุณภาพสถานศึกษาไว้ในพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และได้ออกกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


184

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การศึกษา พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษา ทุ ก สั ง กั ด ใช้ เ พื่ อ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ สถานศึ ก ษา (ส� ำ นั ก มาตรฐานการอาชี ว ศึ ก ษาและ วิชาชีพ, 2555: 28-29) ด้ ว ยเหตุ ที่ ก ฎกระทรวงก� ำ หนดแนวทางในการ ด�ำเนินงานด้านประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไว้ ดั ง นั้ น สถานศึ ก ษาในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจึงต้องด�ำเนินการตามศักยภาพของ สถานศึกษาเอง ซึ่งมีทั้งหมด 421 แห่ง จ�ำแนกเป็น สถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ (ศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและก�ำลังคนอาชีวศึกษา ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2557) ส�ำหรับ สถานศึกษาขนาดเล็กมีจ�ำนวน 229 แห่งนั้นมีปัญหา มากกว่าสถานศึกษาขนาดอื่น กล่าวคือ งบประมาณใน การด�ำเนินงานไม่เพียงพอ (คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร, 2556: 3) ทั้งนี้เพราะรัฐจ่ายเงิน ค่าด�ำเนินการให้แก่สถานศึกษาตามจ�ำนวนผูเ้ รียนทีม่ อี ยู่ รวมทั้งสถานศึกษามีความขาดแคลนทรัพยากรในการ จัดการศึกษาเป็นเบือ้ งต้น (ส�ำนักติดตามและประเมินผล การอาชีวศึกษา, 2556: 2) สรุปว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก มีปัญหาหลายประการ คือ งบประมาณไม่พอเพียง ส�ำหรับการจัดการศึกษา จ�ำนวนครูไม่ครบชัน้ และไม่ครบ สาระวิชาตามหลักสูตร ขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยี ใหม่ด้านคอมพิวเตอร์ และผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ บุตรหลานของตน (สมบัติ ธ�ำรงธัญวงศ์, 2557) จากการที่ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ส�ำรวจและคาดประมาณความต้องการก�ำลัง คนเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ ในปี พ.ศ. 2558 พบว่า มีความต้องการก�ำลังคนรวม 1,268,516 คน แต่อาชีวศึกษาผลิตได้ 360,946 คน คิดเป็นร้อยละ 28.45 จากตัวเลขดังกล่าวเห็นได้ว่า ประเทศไทยขาดแคลนอัตราก�ำลังคนที่ส�ำเร็จการศึกษา ในสายอาชีพอยู่เป็นจ�ำนวนมาก (คณะกรรมาธิการการ ศึกษา สภาผู้แทนราษฎร, 2556: 1) นอกจากนั้นเมื่อ ประเทศทั้ ง 10 ประเทศ รวมตัวกันเป็นประชาคม

เศรษฐกิจอาเซียน ทั้งหมดได้ลงนามยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreements: MRAs) ในสาขา วิชาชีพต่างๆ รวม 7+1 วิชาชีพ จาก 4 ภาคบริการภายใต้ กรอบด้านการบริการ 12 สาขา คือ 1) การบริการด้าน สุขภาพ จ�ำนวน 3 อาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล 2) การบริการด้านการก่อสร้าง จ�ำนวน 3 อาชีพ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร ช่างส�ำรวจ 3) การบริการด้าน การเงิน จ�ำนวน 1 สาขา คือ นักบัญชี และการบริการ ด้านการท่องเที่ยว จ�ำนวน 32 อาชีพ จ�ำแนกเป็นสาขา การโรงแรม 23 ต�ำแหน่ง และสาขาการท่องเที่ยว 9 ต�ำแหน่ง (อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2556) เมื่อพิจารณา วิชาชีพทั้ง 4 ด้านแล้ว พบว่า นอกเหนือจากการบริการ ด้านสุขภาพแล้ว ปรากฏว่าการบริการด้านอื่นล้วนแล้ว แต่การอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานที่ผลิตก�ำลังคนเข้าสู่ อาชีพทั้งสิ้น ทั้งด้านก่อสร้าง ด้านการเงิน และด้านการ ท่องเทีย่ ว จึงอาจกล่าวได้วา่ การอาชีวศึกษาเป็นพืน้ ฐาน ส�ำคัญด้านอาชีพ และเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนา ประชาคมอาเซี ย น รวมทั้ ง ในความเป็ น จริ ง พบว่ า อาเซียนเป็นภูมภิ าคทีต่ อ้ งการแรงงานคนระดับกลาง คือ ระดับ ปวช. และระดับ ปวส. เป็นจ�ำนวนมาก เพือ่ พัฒนา ปัจจัยโครงสร้างพืน้ ฐานในการเพิม่ ขีดความสามารถการ พัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนใน ภูมิภาค ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายชัดเจนให้เร่งผลิต ก�ำลังคนสายอาชีพเพิ่มจากร้อยละ 36 เป็นร้อยละ 50 ภายในปี 2559 ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวง แรงงานผลิตก�ำลังคนด้านฝีมอื และกึง่ ฝีมอื สูต่ ลาดแรงงาน และเข้าสูต่ ลาดการค้าเสรีอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (นวรัตน์ รามสูต และบัลลังก์ โรหิตเสถียร, 2556) ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานศึกษาขนาดเล็กซึ่งมีจ�ำนวน ถึงร้อยละ 42.04 ของสถานศึกษาทัง้ หมด หากพัฒนาให้ มีคณ ุ ภาพจะสามารถผลิตก�ำลังคนป้อนตลาดแรงงานได้ เป็นจ�ำนวนมาก ดังนั้น สอศ.จึงได้จัดท�ำโครงการสร้าง เสริ ม คุ ณ ภาพสถานศึ ก ษาขนาดเล็ ก ให้ ไ ด้ ม าตรฐาน อาชีวศึกษา ประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ขึ้นโดยจัดสรร

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

งบประมาณ 150 ล้านบาท ให้แก่สถานศึกษาขนาดเล็ก รวมทั้ ง สิ้ น 229 แห่ ง เพื่ อ ใช้ ใ นการแก้ ป ั ญ หาการ ขาดแคลนและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงสถานศึกษา พัฒนาระบบการบริหารจัดการเพือ่ เพิ่มและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาครูและบุคลากร เพื่อยกระดับการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานทัดเทียม กับสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่ และรองรับ การก้าวสูป่ ระชาคมอาเซียน (ส�ำนักติดตามและประเมิน ผลการอาชีวศึกษา, 2556: 1-5) และสอศ.ได้จัดท�ำ โครงการนีต้ อ่ เนือ่ งในปีงบประมาณ 2557 ใช้งบประมาณ 84,496,000 บาท (ส�ำนักติดตามและประเมินผลการ อาชีวศึกษา, หนังสือด่วนที่สุด) ดั ง นั้ น เพื่ อ ตอบสนองต่ อ นโยบายของต้ น สั ง กั ด ดังกล่าว ผูว้ จิ ยั จึงสนใจพัฒนาสถานศึกษาขนาดเล็กให้ได้ มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดย เจาะจงด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดย ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามและสุ่มตัวอย่างสอบถาม สถานศึกษาขนาดเล็กทัว่ ประเทศ จ�ำนวน 116 แห่ง และ การสัมภาษณ์เชิงลึกผูบ้ ริหาร หัวหน้างานประกันคุณภาพ และครูผู้สอน ได้ผลที่ตรงกันว่า สถานศึกษามีปัญหา เรือ่ งเครือ่ งมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประเมิน คุณภาพ เพราะไม่มเี ครือ่ งมือทีม่ คี ณ ุ ภาพ ทีผ่ า่ นมาสถาน ศึกษาใช้เครื่องมือที่จัดท�ำเองแบบง่ายๆ และบางครั้ง ขอยืมเครื่องมือจากสถานศึกษาอื่นที่ไม่สอดคล้องกับ บริบทของสถานศึกษา เพราะครูไม่เข้าใจเรือ่ งการประกัน คุณภาพภายใน ซึ่งสาเหตุมาจากครูมีการเปลี่ยนแปลง บ่อย เนือ่ งจากส่วนใหญ่เป็นครูจา้ งสอนทีม่ ปี ระสบการณ์ น้อย จึงส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของสถานศึกษา ดังนัน้ ถ้าสามารถหาแนวปฏิบตั ทิ สี่ ถานศึกษาสามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ได้ทันที มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย และมีตัวอย่าง ทีช่ ัดเจนจะช่วยทุ่นเวลาในการด�ำเนินงานของสถานศึกษา รวมทัง้ ส่งเสริมให้สถานศึกษามีคณ ุ ภาพด้านการประกัน คุณภาพมากยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมา ทั้งภารกิจและนโยบายของ สอศ. เกีย่ วกับการยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษา การจัดท�ำ

185

โครงการสร้างเสริมคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็กให้ได้ มาตรฐานอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ 2556 และใน ปีงบประมาณ 2557 รวมทั้งผลการส�ำรวจของผู้วิจัยที่ สอบถามสถานศึกษาขนาดเล็ก ตลอดจนการสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้บริหารและผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพสถานศึกษา ท�ำให้ได้ข้อมูลในการปรับปรุง พัฒนาการด�ำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาแนวปฏิบัติ ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขนาดเล็กขึน้ ซึง่ ผลทีไ่ ด้จากการศึกษา วิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาขนาดเล็กใน สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทีส่ ามารถ น�ำแนวปฏิบัติฯ ไปประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อ ด�ำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ ส่งผล ให้ผลการประเมินคุณภาพภายในทั้งโดยตนเองและ ต้ น สั ง กั ด พั ฒ นาขึ้ น รวมทั้ ง ผลการประเมิ น คุ ณ ภาพ ภายนอกจะได้รับการรับรองคุณภาพสถานศึกษา และมี คะแนนผลการประเมินมากกว่าในรอบการประเมินที่ ผ่านมา

วัตถุประสงค์

1. เพื่ อ พั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาน ศึกษาขนาดเล็ก 2. เพื่ อ ประเมิ น ประสิ ท ธิ ผ ลของแนวปฏิ บั ติ ต าม มาตรฐานการอาชีวศึกษาเพือ่ การประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาขนาดเล็กหลังการน�ำไปใช้ในการปฏิบตั ิ

วิธีการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประกอบด้วย ผูบ้ ริหารและครูใน สถานศึกษาขนาดเล็กทีต่ งั้ อยูใ่ นภาคกลาง จ�ำนวน 15 แห่ง สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่มีผลประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐาน การศึกษาด้านการอาชีวศึกษารอบสาม ในตัวบ่งชี้ที่ 1.3

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


186

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การพั ฒ นาสถานศึ ก ษาจากผลการประเมิ น คุ ณ ภาพ ภายใน ในระดับที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม 1.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จ�ำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา และวิทยาลัย สารพัดช่างสมุทรสงคราม 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 2.1 เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณคุณภาพ ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จ�ำนวน 5 ตัวเลือก ได้แก่ 5-4-3-2-1 สอบถามเนื้อหา 4 ข้อหลัก ได้แก่ การบรรลุเป้าหมาย การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจ และความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย แต่ละข้อหลักมี ค�ำถามข้อหลักละ 5 ข้อย่อย รวม 20 ข้อ 2.2 เครือ่ งมือในการวิจยั เชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) มีลักษณะเป็น แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured interview) ข้อค�ำถามยืดหยุน่ ได้ตามความเหมาะสม แต่ ยึดเนื้อหา 4 ข้อหลักเป็นแนวในการสัมภาษณ์ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล การด�ำเนินงานเพือ่ เก็บรวบรวมข้อมูลได้แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 3.1 ระยะที่ 1 R1: การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสาร และสอบถามผูเ้ ชีย่ วชาญเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลพืน้ ฐาน ในการสร้างแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา และสร้างเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3.2 ระยะที่ 2 D1: การสร้างร่างแนวปฏิบัติตาม มาตรฐานการอาชีวศึกษาเพือ่ การประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขนาดเล็ก 3.3 ระยะที่ 3 R2: การน�ำแนวปฏิบตั ฯิ ไปทดลอง ใช้ ใ นสถานศึ ก ษาที่ เ ป็ น กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง หลั ง จากนั้ น ได้ ส อบถามผลการใช้ จ ากผู ้ บ ริ ห ารและครู โดยใช้ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก

3.4 ระยะที่ 4 D2: การสร้างแนวปฏิบัติให้ สมบูรณ์ โดยเติมเต็มรายละเอียดของแนวปฏิบัติฯ ภาย หลังได้ข้อมูลป้อนกลับจากการน�ำไปใช้แล้ว รวมทั้งให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาอีกครั้งหนึ่ง 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูล ที่ได้จากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ ค�ำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล และทดสอบความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test แบบ Separated variance 4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการ 3 ลักษณะ คือ การลดทอนขนาดและปริมาณของข้อมูล (Data Reduction) ให้เหลือแต่ประเด็นส�ำคัญ การแสดง ข้อมูล (Data Display) เพื่อน�ำประเด็นส�ำคัญมาเรียง ล�ำดับเนื้อหาให้เป็นสารสนเทศ และการสร้างข้อสรุป และยืนยันผลสรุป (Conclusion and Verification) เพื่อตรวจสอบข้อมูลด้านเนื้อหาและเหตุผลที่ถูกต้อง

ผลการวิจัย

การพัฒนาแนวปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการอาชีวศึกษา มีผลการด�ำเนินงานดังต่อไปนี้ 1. การพั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาน ศึกษาขนาดเล็ก สรุปผลวิจัยได้ว่า 1.1 ระยะที่ 1 R1 ได้ใช้ทฤษฎีเชิงระบบ ประกอบ ด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) และผลย้อนกลับ (feedback) เป็นหลักในการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัย ทีเ่ กีย่ วข้อง น�ำมาผนวกกับการสอบถามความคิดเห็นของ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ท�ำให้ได้ขอ้ มูลในการสร้างแนวปฏิบตั ิ 3 ด้าน คือ ด้านรูปแบบ ด้านเนือ้ หา และวิธกี ารสร้างแนวปฏิบตั ิ หลังจากนัน้ ได้สร้างเครือ่ งมือการวิจยั คือ แบบสอบถาม และแบบสั ม ภาษณ์ ซึ่ ง ผ่ า นการตรวจประเมิ น จาก

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ผูเ้ ชีย่ วชาญโดยใช้วธิ กี ารตรวจความตรงตามเนือ้ หาแบบ CVI (Content Validity Index) ปรากฏว่าเครื่องมือทั้ง สองชนิดมีคา่ ดัชนีความตรงตามเนือ้ หาแบบ CVI เท่ากับ 1.00 และตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) จากการ น�ำไปทดลองใช้กับสถานศึกษาอื่น ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.937 1.2 ระยะที่ 2 D1 เป็นการสร้างแนวปฏิบัติตาม มาตรฐานการอาชี ว ศึ ก ษาเพื่ อ ต่ อ ยอดข้ อ มู ล จาก มาตรฐานการอาชีวศึกษาที่ก�ำหนดไว้ โดยเริ่มจากการ ตีความและจับประเด็นการเก็บข้อมูลแต่ละตัวบ่งชี้ เพื่อ สร้างแนวปฏิบัติฯ ให้สอดคล้องกัน คือ เครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจ�ำนวน 7 มาตรฐาน 35 ตัวบ่งชี้ โดย สร้ า งตารางก� ำ หนดแนวปฏิ บั ติ เพื่ อ ก� ำ หนดหน้ า ที่ การด�ำเนินงานที่ชัดเจนของผู้ปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้อง และ สร้างเอกสารการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสรุป แบบรายงาน แบบประเมินความพึงพอใจ แบบเก็บข้อมูล หลังจากนัน้ ตรวจสอบคุณภาพของแนวปฏิบตั ฯิ โดยตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาแบบ CVI (Content Validity Index) จากผูท้ รงคุณวุฒิ ได้คา่ ดัชนีความตรงตามเนือ้ หาเท่ากับ 0.89 2. การประเมิ น ประสิ ท ธิ ผ ลของแนวปฏิ บั ติ ต าม มาตรฐานการอาชีวศึกษา สรุปผลการวิจัยได้ว่า 2.1 ระยะที่ 3 R2 เป็ น การน� ำ แนวปฏิ บั ติ ฯ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสถานศึกษา จ�ำนวน 2 แห่ง ได้สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จ�ำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านการ มีสว่ นร่วม ด้านความพึงพอใจ และด้านความเสีย่ งในการ บรรลุเป้าหมาย พบว่า ในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถาม เห็ น ว่ า แนวปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการอาชี ว ศึ ก ษามี ประสิทธิผลในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.43 เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านความเสี่ยงในการ บรรลุเป้าหมาย มีความคิดเห็นระดับมากทีส่ ดุ มีคา่ เฉลีย่ 4.50 ส่วนด้านการมีส่วนร่วม ด้านการบรรลุเป้าหมาย และด้านความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก เท่ากับ 4.46, 4.45 และ 4.33 ตามล�ำดับ ส�ำหรับความคิดเห็น

187

จากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มีความเห็นสอดคล้อง กัน คือ แนวปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการอาชีวศึกษาช่วยให้ บรรลุเป้าหมายเพราะแยกหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องอย่าง ชั ด เจน เครื่ อ งมื อ รวบรวมข้ อ มู ล ที่ ผู ้ วิ จั ย สร้ า งขึ้ น มี ประโยชน์ ต ่ อ สถานศึ ก ษาในการรวบรวมข้ อ มู ล การ ด�ำเนินงานด้านประกันคุณภาพภายใน ท�ำให้ผู้ปฏิบัติมี ความพึงพอใจในการน�ำไปใช้ และลดความเสี่ยงในการ บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษามากกว่าร้อยละ 80 นอกจากนั้น ในการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test เพื่อ หาความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองสถาน ศึกษา พบว่า ด้านความพึงพอใจ สถานศึกษาทัง้ สองแห่ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ส่วนด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านการมีสว่ นร่วม และด้ า นความเสี่ ย งในการบรรลุ เ ป้ า หมายมี ค วาม แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 2.2 ระยะที่ 4 D2 เป็นการสร้างแนวปฏิบัติฯ ทีส่ มบูรณ์ หลังจากน�ำแนวปฏิบตั ฯิ ไปใช้กบั กลุม่ ตัวอย่าง แล้ว โดยเพิม่ เนือ้ หาเบือ้ งต้นด้านการประกันคุณภาพเพือ่ สร้างความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติให้มากขึ้น และ เพิ่มแบบนิเทศติดตามการด�ำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ที่มี เนื้อหาประกอบด้วยความตระหนัก ความพยายาม และ ความส�ำเร็จ ส�ำหรับเป็นแบบติดตามการด�ำเนินงานของ ผูร้ บั ผิดชอบแต่ละตัวบ่งชี้ หลังจากนัน้ ได้นำ� แนวปฏิบตั ฯิ ที่สมบูรณ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00

การอภิปรายผล

1. ผลการพั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขนาดเล็ก ประกอบด้วยการด�ำเนินงาน 4 ระยะ โดยที่ ระยะที่ 1 และ 2 เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติ ส่วนระยะ ที่ 3 และ 4 เป็นการประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบตั ฯิ โดยมีประเด็นส�ำคัญของผลการพัฒนาแนวปฏิบตั ฯิ ดังนี้ 1.1 ผลการวิเคราะห์สงั เคราะห์เอกสารในระยะ ที่ 1: R1 ได้ด�ำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


188

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนา กลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญ และสังเคราะห์นโยบายด้านการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบเป็น แนวทาง เพราะทฤษฎีเชิงระบบมีกระบวนการเป็นขั้น ตอนตามล�ำดับก่อน-หลังชัดเจน ช่วยให้เกิดความมั่นใจ ในการด�ำเนินงาน เริม่ จากตัวป้อน (input) ได้แก่ เอกสาร งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง แล้วจึงเข้าสูก่ ระบวนการ (process) คือ แยกแยะข้อมูลเพือ่ สกัดใจความส�ำคัญทีเ่ ป็นประเด็น หลัก ประเด็นรองออกมา แล้วจึงสังเคราะห์หรือรวบรวม ให้ได้ผลผลิต (output) คือ เนื้อหาความรู้ด้านประกัน คุณภาพ และใช้ขั้นตอน ผลย้อนกลับ (feedback) ในการตรวจสอบความสมบูรณ์และการปรับปรุงข้อมูล สารสนเทศ การน�ำทฤษฎีเชิงระบบมาใช้นี้สอดคล้องกับ แนวคิดของเคส และโรเซนเวียก (Kast & Rosenzweig, 1972 in Ansari, S., 2004: 5) ที่อธิบายว่า ต้องจัด องค์ประกอบแต่ละส่วนให้สัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกัน นั่น คือ จัดกระบวนการ (process) ให้เป็นตัวแปลงตัวป้อน (input) ไปสู่ผลลัพธ์ (output) ส่วนกระบวนการย้อน กลับ (feedback) เป็นสิ่งช่วยให้ระบบบรรลุผลตาม เป้าประสงค์ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ เมื่อเกิดปัญหาแล้วจึง ควบคุมแก้ไข และควบคุมปัญหาล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ เกิดขึ้น ทฤษฎีเชิงระบบนี้ช่วยสร้างภาวะความสมดุล หมายถึง ป้องกันไม่ให้ย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น แต่จะหา ทางแก้ปญ ั หาเพือ่ เดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับทองอินทร์ วงศ์โสธร (2553: 2-19 – 2-22) ได้เสนอเรื่องทฤษฎีเชิง ระบบสรุปว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1) ตัวป้อน (input) หมายถึง เครื่องมือที่น�ำเข้าสู่ระบบ ในด้านการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล เช่น นักเรียน เด็ก ทรัพยากรวัตถุ เช่น วัสดุ ครุภัณฑ์ ทรัพยากรการเงิน เช่ น งบประมาณ ทุ น การศึ ก ษา และสารสนเทศ 2) กระบวนการ (process) เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ที่ จั ด ให้ มี ขึ้ น ในระบบเพื่ อ แปรสภาพตั ว ป้ อ นให้ เ ป็ น ผลผลิต (output) มีหลายกระบวนการที่ส�ำคัญ ได้แก่ การจัดโครงสร้างองค์กร การตัดสินใจ การวางแผน การควบคุ ม นโยบายขององค์ ก ร กฎ ระเบี ย บ

กระบวนการผลิต กระบวนการให้บริการ รวมทั้งระบบ ต่างๆ เช่น ระบบการวางแผน ระบบการตัดสินใจ ระบบ การควบคุม ระบบการผลิต ระบบการพัฒนาองค์กร เป็นต้น 3) ผลผลิต (output) เป็นผลที่เกิดจากการจัด กิ จ กรรมหรื อ กระบวนการ เป็ น สิ่ ง ที่ ร ะบบผลิ ต แล้ ว ส่งออกสู่สภาพแวดล้อม มี 2 ประเภท คือ ผลผลิตตรง ตามวัตถุประสงค์และพึงพอใจ และผลผลิตไม่ตรงตาม วัตถุประสงค์ 4) ผลย้อนกลับ (feedback) เมื่อผลผลิต ไม่ ต รงตามวั ต ถุ ป ระสงค์ จะใช้ ผ ลย้ อ นกลั บ เป็ น ตัว ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ 1.2 ผลการสร้างร่างแนวปฏิบัติตามมาตรฐาน การอาชีวศึกษาในระยะที่ 2: D1 พบว่า จากการตีความ และจับประเด็นการเก็บข้อมูลแต่ละตัวบ่งชี้ ผู้วิจัยได้น�ำ มาเป็นแนวทางในการสร้างแนวปฏิบตั ิ ซึง่ ประมวลได้วา่ แนวปฏิบัติมีลักษณะเป็นคู่มือส�ำหรับการปฏิบัติ ด้าน เนื้อหา ประกอบด้วยค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติ วิธีการ ปฏิบัติตามขั้นตอน และด้านการสร้างแนวปฏิบัติฯ ได้ สร้างให้ครอบคลุมตามประเด็นการพิจารณา แยกให้เห็น เด่นชัดว่าผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร หัวหน้างาน ครู ต้อง ท�ำตามขัน้ ตอนอะไรบ้าง และก�ำหนดแนวทางการปฏิบตั ิ แบบ PDCA ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดของนักวิชาการ นัก วิจยั ทีไ่ ด้วเิ คราะห์ สังเคราะห์เอกสารงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง ทั้งของในประเทศและต่างประเทศ สรุปว่า แนวปฏิบัติ หมายถึง งานหรือค�ำแนะน�ำ ข้อเสนอแนะเป็นข้อๆ ที่ เป็นแนวทางปฏิบตั ิ มีขนั้ ตอนการด�ำเนินงานทีม่ หี ลักการ มีระเบียบแบบแผน และเป็นประโยชน์ตอ่ หน่วยงาน และ แนวปฏิบัติประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 เรื่อง ได้แก่ 1) ขั้ น ตอนการด� ำ เนิ น งาน 2) ตั ว อย่ า ง เอกสาร 3) หลั ก เกณฑ์ กฎ ระเบี ย บ 4) ความส� ำ คั ญ 5) วัตถุประสงค์ จุดมุง่ หมาย และ 6) หลักการ โครงสร้าง ดังนั้นในการสร้างแนวปฏิบัติฯ ผู้วิจัยจึงก�ำหนดเนื้อหา ให้สอดคล้องกันแต่เป็นไปตามบริบทของการประกัน คุณภาพ คือ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ตารางก�ำหนด แนวปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ซึง่ ประกอบด้วย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ผู้ปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้อง ประเด็นการปฏิบัติ แนวทางการ ปฏิบัติ และเอกสารการเก็บข้อมูลรวมทั้งตัวอย่างของ เอกสารเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีรูปแบบที่ หลากหลาย และให้ครอบคลุมประเด็นการพิจารณา ทีแ่ ต่ละตัวบ่งชีก้ ำ� หนด ซึง่ แนวปฏิบตั ทิ สี่ ร้างขึน้ นีไ้ ด้ผา่ น การตรวจสอบความตรงตามเนื้ อ หาจากผู ้ เชี่ ย วชาญ การด� ำ เนิ น งานขั้ น ตอนนี้ ส อดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ บุญใจ ศรีสถิตนรากูร (2555: 119) ที่กล่าวว่า ความตรง ตามเนื้อหาเป็นคุณสมบัติที่ส�ำคัญของเครื่องมือวิจัย ทุกประเภทที่ต้องด�ำเนินการก่อนน�ำเครื่องมือวิจัยไป รวบรวมข้อมูล ซึ่งควรตรวจความตรงตามเนื้อหาเป็น อันดับแรก ในการสร้างแนวปฏิบัติฯ ให้มีคุณภาพนี้ สอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดของจุแรน (Juran) (อ้างถึงใน ช่วงโชติ พันธุเวช, 2550: 30-31) ปรมาจารย์ ด้านการจัดการคุณภาพ ทีใ่ ห้ความหมายของคุณภาพว่า คือ ความเหมาะสมกับการใช้งาน หรือ fit for us ในการ บริหารจัดการคุณภาพต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) เจตคติด้านคุณภาพ 2) ด้านวิธีการ สร้างคุณภาพ และ 3) ด้านการวางแผนและควบคุม คุณภาพ ซึ่งจุแรนได้สรุปว่า องค์ประกอบของคุณภาพ ต้องประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ 1) การวางแผนคุณภาพ โดยผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง 2) การควบคุ ม คุ ณ ภาพโดย ผู้บริหารระดับกลาง และ 3) การปรับปรุงคุณภาพโดย ผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง นอกจากนั้นจุแรนยังได้พบสถิติ ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการท�ำงานขององค์กร ร้อยละ 85 เกิดจากความบกพร่องของระบบงาน และร้อยละ 15 เกิดจากข้อบกพร่องของคนท�ำงาน ในขณะที่เดมมิงให้ ความส�ำคัญกับระบบและกระบวนการท�ำงานถึงร้อยละ 94 และร้อยละ 6 เป็นข้อบกพร่องที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ อย่างไรก็ตามทั้งจุแรนและเดมมิงมีแนวคิดที่สอดคล้อง กัน คือ ให้ความส�ำคัญกับการวางระบบงานมากกว่าการ ปฏิบตั งิ านของคน ด้วยเหตุนี้ ในการสร้างแนวปฏิบตั ติ าม มาตรฐานการอาชีวศึกษา ผูว้ จิ ยั จึงให้ความส�ำคัญกับการ วางแผนสร้างแนวปฏิบตั ฯิ อย่างเป็นระบบเพือ่ ให้ได้แนว ปฏิบัติฯ ที่มีคุณภาพส�ำหรับให้สถานศึกษาน�ำไปปฏิบัติ

189

2. ผลการประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติตาม มาตรฐานการอาชีวศึกษา เป็นการด�ำเนินงานในระยะที่ 3 และ 4 ดังนี้ 2.1 ผลการน� ำ แนวปฏิ บั ติ ฯ ไปทดลองใช้ ใ น สถานศึกษา ในระยะที่ 3 R2 ผูว้ จิ ยั ได้รบั ความอนุเคราะห์ จากสถานศึกษาขนาดเล็ก 2 แห่ง ที่มีความพร้อมใน การพัฒนาด้านการประกันคุณภาพภายในให้ประสบ ผลดี เพื่อน�ำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอก ที่ส�ำคัญคือ ผู้บริหาร สถานศึกษาเชื่อมั่นในความคิดและวิจารณญาณของ ผูเ้ ชีย่ วชาญทัง้ 5 ท่านทีต่ รวจประเมินความตรงของแนว ปฏิบตั ฯิ เพราะเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญทีม่ ปี ระสบการณ์ดา้ นการ ประกันคุณภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากทุกท่านท�ำงาน ในแวดวงอาชีวศึกษา คือ เป็นผู้บริหารระดับสูงของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นผู้บริหาร สถานศึกษา เป็นตัวแทนจาก สมศ. เป็นผู้ประเมิน ภายนอก และเป็นผู้ประเมินโดยต้นสังกัด ส�ำหรับการ วิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การด� ำ เนิ น งานนี้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ สมหวัง พิธิยานุวัตร (2551: 96) ที่กล่าวว่า เหตุที่ต้องมี การประเมิน เพราะส่วนหนึ่งผู้บังคับบัญชาสั่งการให้มี การประเมิน รวมทั้งหน่วยงานต้องการทราบสัมฤทธิ์ผล ของกิ จ กรรมที่ ด� ำ เนิ น งานว่ า ได้ ผ ลตามเป้ า หมาย ที่ก�ำหนดไว้หรือไม่ ต้องการทราบข้อดี ข้อบกพร่อง ความเหมาะสม อุปสรรคต่างๆ เพื่อแก้ไขและปรับปรุง การด�ำเนินงานให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับแนวคิดของ ศิริชัย กาญจนวาสี (2550) ได้เสนอทฤษฎีจุดมุ่งหมายของการ ประเมิน (A Theory of Evaluation Goal) เป็นทฤษฎี ที่ มุ ่ ง เน้ น จุ ด มุ ่ ง หมายของการประเมิ น ซึ่ ง หมายถึ ง วัตถุประสงค์ (objective) เป้าหมาย (goal) และบทบาท ของการประเมิน ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ บทบาทการ ประเมินความก้าวหน้าหรือกระบวนการ (Formative Evaluation) และบทบาทของการประเมินผลสรุปรวม (Summative Evaluation) ซึง่ บทบาททัง้ สองนีก้ ำ� หนด ขึ้ น เพื่ อ ตอบสนองการตั ด สิ น ใจของผู ้ บ ริ ห ารในการ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


190

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ปรับปรุงกลไกการด�ำเนินงาน ดังนั้นในการประเมินจึง ต้องให้สอดคล้องกับบทบาททัง้ สองลักษณะนี้ นอกจาก นัน้ การสร้างแบบสอบถามเพือ่ ประเมินประสิทธิผลของ แนวปฏิ บั ติ ฯ ในครั้ ง นี้ ยั ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล (2554: 59-73) ที่เสนอแนวคิดการประเมินผลโครงการในระบบเปิด ให้ ค รอบคลุ ม องค์ ป ระกอบของการประเมิ น คื อ การประเมิ น หลั ง เสร็ จ สิ้ น การปฏิ บั ติ ง าน (PostImplementation Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อ สรุปโครงการ (Summating) การประเมินลักษณะนีค้ วร ค� ำ นึ ง ถึ ง ผลผลิ ต (output) อั น เป็ น ผลโดยตรงจาก โครงการและผลลั พ ธ์ (outcome) และเป็ น ผลต่ อ เนื่องจากภายนอกซึ่งเป็นผลพลอยได้ ควรค�ำนึงถึงผล กระทบระยะยาว ซึ่งตัวบ่งชี้ผลส�ำเร็จที่ส�ำคัญ ได้แก่ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจ ส�ำหรับ เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นเกณฑ์พจิ ารณา ระดั บ การบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ประกอบด้ ว ยตั ว ชี้ วั ด 4 ประการ คือ (1) ระดับการบรรลุเป้าหมาย (2) ระดับ การมีส่วนร่วม (3) ระดับความพึงพอใจ (4) ความเสี่ยง ของโครงการ หลั ง จากสถานศึ ก ษาน� ำ แนวปฏิ บั ติ ฯ ไปทดลองใช้แล้ว ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร สถานศึกษาได้พบว่า สิง่ ทีผ่ บู้ ริหารพึงพอใจมากทีส่ ดุ คือ แนวปฏิบัติฯ นี้ช่วยลดความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย ได้ถึงร้อยละ 80 ทั้งนี้เพราะแนวปฏิบัติฯ ช่วยให้สถาน ศึกษามีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ครอบคลุม ทุกตัวบ่งชี้ หากสถานศึกษาน�ำไปใช้จริง จะท�ำให้เก็บ รวบรวมข้ อ มู ล ได้ ค รบถ้ ว นตามที่ เ กณฑ์ ก ารประกั น คุณภาพภายในก�ำหนด นอกจากนีเ้ มือ่ พิจารณาเป็นราย ข้อในด้านการลดความเสีย่ ง ซึง่ สอบถาม 5 ข้อย่อย ได้แก่ ความเสีย่ งด้านผูเ้ รียน ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริการวิชาการ และวิชาชีพ และด้านการประกันคุณภาพ ได้พบว่า ความเสีย่ งด้านการบริหารจัดการมีคา่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ คือ ค่าเฉลี่ย 4.58 ท�ำให้เห็นว่า บุคลากรทุกฝ่ายในสถาน ศึกษาเห็นพ้องต้องกันว่า การด�ำเนินการประกันคุณภาพ

ภายในสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพได้ตอ้ งเริม่ จากการ บริหารจัดการโดยผูบ้ ริหารสถานศึกษาทีจ่ ะเป็นผูก้ ำ� หนด ทิศทาง แนวนโยบายให้บุคลากรปฏิบัติ สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิม่ เติม (ฉบับ 2) พ.ศ. 2545 (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2555: 29) ก�ำหนดไว้ว่า ระบบประกันคุณภาพภายใน เป็นการ บริหารงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ ก�ำหนดไว้ในมาตรฐานสถานศึกษา ใช้กระบวนการ ด�ำเนินงานแบบ PDCA ให้สถานศึกษาประเมินตนเอง และให้หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินการด�ำเนินงานอีกครัง้ หนึง่ รวมทัง้ สอดคล้องกับ กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อ 22 ก�ำหนด ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การประกั น คุณภาพภายในการอาชีวศึกษา (ส�ำนักมาตรฐานการ อาชีวศึกษาและวิชาชีพ, 2555: 29) ซึ่งการด�ำเนินการ ทั้ ง 7 ข้ อ นี้ ต้ อ งเริ่ ม ต้ น จากการบริ ห ารงานอย่ า งมี ประสิทธิภาพและการเป็นผู้น�ำของผู้บริหาร จึงจะท�ำให้ การประกั น คุ ณ ภาพด� ำ เนิ น ไปอย่ า งมี ร ะบบและถู ก ทิศทาง นอกจากนัน้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ Sapru (2008: 38-39) ทีค่ น้ พบว่า การพัฒนาไม่สามารถด�ำเนิน การได้ส�ำเร็จถ้าปราศจากการบริหาร ในขณะเดียวกัน การบริ ห ารก็ ไ ม่ ส ามารถกระท� ำ ได้ ถ ้ า ปราศจากแผน แนวทาง หรื อ โครงการในการพั ฒ นา การพั ฒ นา การบริหารนี้ถือว่าเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดที่ต้องพัฒนาเป็น ล�ำดับแรก ทัง้ นีเ้ พราะหมายรวมถึงการวางโครงสร้างการ บริหาร กระบวนการบริหารจัดการทีต่ อ้ งใช้ทกั ษะวิธกี าร หลายรูปแบบผสมผสานกัน ทั้งการวางแผน กลยุทธ์ ในการพัฒนา และล�ำดับสุดท้ายของการพัฒนา คือ การ วิเคราะห์วัตถุประสงค์ว่าได้พัฒนาขึ้นหรือไม่อย่างไร ซึ่ง การพัฒนาการบริหารนีเ้ ป็นประโยชน์ในเรือ่ งการก�ำหนด นโยบายของรัฐ การด�ำเนินงานตามแผนหรือนโยบาย ของรัฐ เช่นเดียวกับ ติน ปรัชญพฤกษ์ (2550: 8-9) และ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์ (2555: 23-24) ที่เห็นความ ส�ำคัญของการบริหารเพื่อการพัฒนาว่า เป็นการน�ำเอา สมรรถนะหรือความสามารถที่มีอยู่ในตัวของผู้บริหาร และความสามารถด้านระบบบริหารมาลงมือปฏิบตั ติ าม นโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนา จริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ ผลจากการประเมินที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ค่าเฉลี่ย สูงสุดในด้านความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย มีความ สอดคล้องกับแนวคิดและหลักการของความทันสมัยของ นักสังคมวิทยาชื่อ เวเบอร์ (Max Weber) และพาร์สัน (Talcot Parson) (อ้างถึงใน Chuanqi, 2004: 4-5) ที่ก�ำหนดลักษณะของภาวะทันสมัยว่า มีองค์ประกอบ ส�ำคัญ คือ ด้านโครงสร้างและภาระหน้าที่ ด้านการจัด องค์กรที่ค�ำนึงถึงความสมเหตุสมผล มีกฎระเบียบที่ รัดกุม ควบคุมความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ ทุกด้าน ด้านบุคคล ทันสมัย เป็นบุคคลทีม่ ที ศั นคติทดี่ ี ค่านิยมทีถ่ กู ต้อง และ การเรียนรูท้ จี่ ำ� เป็นต่อการสร้างประสิทธิภาพการท�ำงาน ที่ ส� ำ คั ญ คื อ หลั ก การของความทั น สมั ย ควรมี ค วาม แตกต่างกันในเรือ่ งแนวคิด วิธกี าร กระบวนการสร้างสรรค์ ทัง้ นีเ้ พราะวัฒนธรรมของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ดังนัน้ ผลจากการประเมินทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้ แบบสอบถามสอบถามความคิ ด เห็ น จึ ง ได้ ผ ลลั พ ธ์ ที่แตกต่างกันทั้งสามด้าน 2.2 การสร้างแนวปฏิบตั ฯิ ทีส่ มบูรณ์ อยูใ่ นระยะ ที่ 4: D2 เป็นการเติมเต็มรายละเอียดของแนวปฏิบัติฯ ให้มคี วามสมบูรณ์ตามข้อเสนอแนะของสถานศึกษา และ ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพราะแนวปฏิบัติฯ ที่ สร้างขึน้ นี้ เกิดจากความคิดของผูว้ จิ ยั เพียงผูเ้ ดียว จึงอาจ มีบางส่วนทีเ่ นือ้ หาไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วน ดังนัน้ การ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิรู้ด้านประกัน คุณภาพ และจากสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง จึงท�ำให้แนวปฏิบัติฯ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สอดคล้อง กับแนวคิดของเดมมิง นัน่ คือ การด�ำเนินงานทีม่ คี ณ ุ ภาพ ต้องใช้วงล้อคุณภาพ P-D-C-A เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ มีการวางแผนปฏิบัติงาน (P) การด�ำเนินงานตามแผน (D)

191

การตรวจสอบประเมินผล (C) และการน�ำผลการประเมิน มาปรับปรุงงาน (A) ซึ่งผู้วิจัยได้น�ำผลการประเมินจาก สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมาปรับปรุงแนวปฏิบัติฯ ให้ครบถ้วนมากขึ้น และน�ำผลจากการตรวจสอบความ ตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแนวปฏิบัติให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐาน การอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษาขนาดเล็ก มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. ข้อเสนอแนะทางวิชาการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามารถน�ำ แนวปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการอาชี ว ศึ ก ษาไปพั ฒ นา ต่อยอดให้เป็นคู่มือการปฏิบัติ ที่เป็นเอกสารให้สถาน ศึกษาขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อย และมีความขาดแคลน เกือบทุกด้านน�ำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของ หน่วยงานนั้น เพื่อใช้เป็นคู่มือส�ำหรับศึกษา ส�ำหรับการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน อีกทั้งสถานศึกษา สามารถปรับปรุงให้สอดคล้องกับระเบียบ วิธี และ เทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นไปในอนาคตได้ การมีคมู่ อื การปฏิบตั ิ จะท�ำให้การปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็กเป็น มาตรฐานเดียวกัน ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานด้าน ประกันคุณภาพได้ทนั ที โดยไม่ตอ้ งเสียเวลาสร้างเครือ่ งมือ เก็บรวบรวมข้อมูลเอง ท�ำให้สถานศึกษารู้ว่า ควรท�ำ สิ่งใดก่อนหลัง ควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อใด รวมทั้งจะช่วย ลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการท�ำงานที่ไม่มีระบบได้ 2. ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ 2.1 แนวปฏิ บั ติ ฯ นี้ เ ป็ น เสมื อ นแนวทางการ ด�ำเนินงานที่เกิดจากการตีความและจับประเด็นของ ผู้วิจัยและก�ำหนดเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ อ ให้ ก ารด� ำ เนิ น งานประกั น คุ ณ ภาพภายในของ สถานศึกษามีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ของ สถานศึกษา ดังนั้นสถานศึกษาอาจน�ำแนวปฏิบัติฯ ที่ ผูว้ จิ ยั สร้างขึน้ นีเ้ ป็นพืน้ ฐานในการสร้างแนวปฏิบตั ิ หรือ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


192

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

น�ำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถาน ศึกษาแต่ละแห่ง โดยให้ครู บุคลากร สถานประกอบการ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง หรือผูม้ สี ว่ นได้เสีย (Stakeholders) มีสว่ นร่วมในการด�ำเนินงานในรูปแบบของ Benchmarking คื อ น� ำ แนวปฏิ บั ติ ที่ ผู ้ วิ จั ย สร้ า งขึ้ น ให้ เ ป็ น กลไก (Mechanism) ในการวัดหรือเปรียบเทียบ เพื่อค้นหา Benchmark ส�ำหรับสถานศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่มี รูปแบบ (model) เฉพาะของสถานศึกษาแต่ละแห่ง จะได้ขั้นตอนการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ส�ำหรับน�ำไปปรับใช้ในการเสริมจุดเด่น พัฒนาจุดด้อย ของสถานศึกษาเพื่อน�ำไปสู่สถานศึกษาที่เป็นเลิศใน อนาคต 2.2 สถานศึกษาสามารถใช้แนวปฏิบัติฯ นี้เป็น เครื่องมือและกลไกในการตรวจสอบและประเมินการ ปฏิบัติงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาน ศึกษาได้ โดยบุคลากรในสถานศึกษาทั้ง 3 ฝ่ายควรมี จิตส�ำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผู้บริหารเป็น ผู้วางนโยบาย แผนงาน และสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติ งานโดยค�ำนึงถึงปัจจัยการด�ำเนินงานทีป่ ระกอบด้วย 4M และ 1E คือ Men, Machine & Tool, Material, Method and Environment หัวหน้างาน ซึ่งมีหน้าที่ น�ำนโยบาย และแผนงานถ่ายทอดให้กับพนักงาน เจ้า หน้าทีไ่ ด้รบั ทราบและก�ำหนดแนวปฏิบตั ทิ กุ ขัน้ ตอน อาจ ใช้ กิ จ กรรมคุ ณ ภาพ เช่ น ISO (International Organization of Standardization), TQM (Total Quality Management), QCC (Quality Control Cycle), Q Day (Quality Day), PDCA (Plan-DoCheck-Act) และพนักงาน เจ้าหน้าทีม่ หี น้าทีป่ ฏิบตั ติ าม แผนงาน กิจกรรมที่ก�ำหนดไว้ทุกขั้นตอน 2.3 แนวปฏิบัติฯ นี้ได้ออกแบบส�ำหรับให้สถาน ศึกษาอาชีวศึกษาขนาดเล็กไปใช้ ดังนั้นส�ำหรับสถาน ศึกษาขนาดใหญ่ทมี่ ผี บู้ ริหารทีม่ ศี กั ยภาพสูง อาจน�ำแนว

ปฏิบัติฯ นี้เป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่ายและเป็น ผู ้ น� ำ ให้ แ ก่ ส ถานศึ ก ษาอื่ น ในการด� ำ เนิ น การประกั น คุณภาพภายใน โดยใช้ทฤษฎีการแลกเปลีย่ น (Exchange Theory) เป็ น หลั ก ในการแลกเปลี่ ย นผลประโยชน์ ระหว่างกัน และทฤษฎีการผนึกก�ำลัง (Synergy Theory) ในการรวมพลังท�ำงานร่วมกัน ทัง้ นีอ้ าจใช้รปู แบบเครือข่าย ที่หลากหลาย อาทิ เครือข่ายแบบนกป้อนเหยื่อ แบบ พี่ช่วยน้อง แบบเพื่อนร่วมทาง แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบหุน้ ส่วนภาคี แบบพีเ่ ลีย้ งน้อง แบบรวมพลังรอบทิศ เพื่อให้ทุกสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาร่วมกันผลิต นักศึกษาอาชีวศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพ มีศกั ยภาพเพียงพอใน การประกอบอาชีพ 3. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ในการวิจัย ครั้งต่อไปเกี่ยวกับแนวปฏิบัติฯ มีข้อเสนอแนะดังนี้ 3.1 การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขนาดเล็ก ในครัง้ นีไ้ ด้ดำ� เนินการเฉพาะสถานศึกษาขนาด เล็กเท่านัน้ ในการวิจยั ครัง้ ต่อไปควรท�ำการวิจยั ในสถาน ศึกษาขนาดกลางและสถานศึกษาขนาดใหญ่ โดยการ เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ประชากรที่แตกต่าง กัน 3.2 การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขนาดเล็ก ในครัง้ นีเ้ น้นเฉพาะการสร้างรูปแบบเครือ่ งมือ ในการน�ำไปใช้ในการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการบริหารจัดการแนวปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการ อาชีวศึกษาสูค่ วามส�ำเร็จ ว่ามีกระบวนการในการบริหาร จัดการอย่างไรให้บรรลุผลเป้าหมาย คือ ให้สถานศึกษา ผ่ า นเกณฑ์ ก ารประเมิ น คุ ณ ภาพภายในสถานศึ ก ษา ทั้งโดยการประเมินตนเอง การประเมินโดยต้นสังกัด และผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก เพือ่ ก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโอกาส ต่อไป

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

193

บรรณานุกรม

คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผูแ้ ทนราษฎร. (2556). สรุปการประชุมคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผูแ้ ทนราษฎร ครัง้ ที่ 79 10 กรกฎาคม 2556, จาก http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/education/ more_news.php?cid=9&filename=index ช่วงโชติ พันธุเวช. (2550). แม่แบบการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฎ์. (2555). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามมาพร จ�ำกัด. ติน ปรัชญพฤกษ์. (2550). การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปรัชญา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2553). ทฤษฎีระบบ. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 2. 2-22. นลินี ทวีสิน. (2555). การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี. การประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ. 2555 การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี, วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการ และการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน). นวรัตน์ รามสูต และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2556). ข่าวส�ำนักงานรัฐมนตรี เรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พบผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.moe. go.th/websm/2013/apr/114.html บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครือ่ งมือวิจยั คุณสมบัตกิ ารวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2554). การประเมินผลในระบบเปิด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จ�ำกัดสหบล้อกและการพิมพ์. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและก�ำลังคนอาชีวศึกษา. (2557). รายงานข้อมูลสถิติส�ำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2557, จาก http://techno.vec.go.th/ สมบัติ ธ�ำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเร่งรัดแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2557, จาก http:// www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส�ำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หนังสือด่วนที่สุด ที่ศธ 0603/020, วันที่ 12 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2557, จากงานสารบรรณ วิทยาลัย เทคนิคราชสิทธาราม. ส�ำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา. (2556). โครงการสร้างเสริมคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็กให้ได้มาตรฐาน อาชีวศึกษา. (เอกสารอัดส�ำเนา). สืบค้นเมือ่ 12 ธันวาคม 2556, จากงานสารบรรณ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม. ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสาม ด้านการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน). ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


194

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ส�ำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (2555). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 เพื่อการประเมินคุณภาพ ภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2556). สื่อยุทธศาสตร์หลักของการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ, จาก http://www.nesdb.go.th/ Default.aspx?tabid=427 Chuangi, E. H. (2004). Proceeding of International Conference on Geoinformatics and Modeling Geographical Systems & Fifth International Workshop on GIS’ Beijing. China. Commonwealth of Australia. (2009). Comparisons of International Quality Assurance Systems. Australia Government. Department of Education, Employment and Workplace Relation. Sapru, R. K. (2008). Development Administration. India: Sterling Publishers Privak Limited. Shahid, A. (2004). Systems Theory and Management Control. Retrieved October, 2013, from http:// faculty.darden.virginia.edu/ansaris/System%20Theory%20and%20MCS.TN

Translated Thai References

Bureau of Monitoring and Evaluation of Vocational Education. Office of the Vocational Education Commission. (2014). Urgent No.ED 0603/020. March 12, 2014. Retrieved May 19, 2014, from Documents Section at Rajasitaram Technical College. [in Thai] Bureau of Monitoring and Evaluation of Vocational Education. (2014). Project of Improvement Quality small Educational Institution for Vocational Standard. (Mimeographed). Retrieved December 12, 2013, from Documents Section at Rajasitaram Technical College. [in Thai] Bureau of Vocational Education Standards and Qualification. (2013). Vocational Standard 2013 for Internal Quality Assessment. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission. [in Thai] Committee of Education, House of representatives. (2013). Report summarize from committee of education 79th, July 10, 2013, from http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/ education/more_news.php?cid=9&filename=index [in Thai] Information Technology and Vocational Manpower Center. (2014). Statistical Information Reports for Office of the Vocational Education Commission. Retrieved October 31, 2014, from http:// techno.vec.go.th/ [in Thai] Jantarasorn, V. & Phattranaragul, P. (2011). Open Evaluation System. (10th ed.). Bangkok: Sahablock Karnpim Press. [in Thai] Karnjamavasri, S. (2007). Theorical Evaluation. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] Pratchayapruk, T. (2007). Development Administration, Meaning, Substance, Guidelines and Philosophy. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

195

Phantuwayt, C. (2007). Quality Education Model. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] Phitiyanuwat, S. (2008). How to Evaluation, Valuable Science. (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] Rammasud, N. & Rohitasatean, B. (2012). Education Minister meted Vocational all Administrator. Office of the Minister News. Retrieved May 5, 2013, from http://www.moe.go.th/websm/2013/ apr/114.html [in Thai] Srisatitnaragul, B. (2012). Development and checking research tools, Measurement Property of Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] Thamrongthanyawong, S. (2014). Small School Repairable Problem. Retrieved July 1, 2014, from http://www.facebook.com/Prof.Sombat Thamrongthanyawong/ [in Thai] Thaveesin, N. (2012). Educational Quality Assurance under the King. International Academic Conference proceeding report 2012. The Office for National Education Standards and Quality Assessment, May 10-11, 2012. Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC. Bangkok: The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). [in Thai] The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2013). The Manual of Assessor for Vocational Education three External Assessment. Bangkok: The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). [in Thai] Wongsotorn, T. (2010). Theorical System. Theory and Practice in Educational Administration. Unit 2, Nonthaburi: Sukhathai Tammathirat Open University. 2-22. [in Thai] Yanmanovisit, N. (2012). Education Administration. Bangkok: Siamaporn Co., Ltd. [in Thai] Termphitayaphisit, A. (2013). Communicate and main Strategy for AEC, May 31, 2013, Royal Princess Larn Lung Bangkok Hotel, from http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=427 [in Thai]

Phanthip Rattanaraj received Bachelor Degree of Education, Major in Language and minor in Educational Measurement from Ramkhamhaeng University, received Master Degree of Curriculum and Instruction from Sukhothai Thammathirat Open University and she graduated Doctor of Philosophy Program in Development Administration, major in Quality Management from Suan Sunandtha Rajabhat University. She is currently a teacher at Rajasitharam Technical College in Bangkok. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


196

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ความต้ อ งการในการจั ด การเรี ย นการสอนภาษาจี น ระดั บ ประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด THE NEEDS OF CHINESE TEACHING AND LEARNING IN THE ELEMENTARY SCHOOL IN MUNICIPALITY PAKKHET CITY AREA

อดิเรก นวลศรี1 และปิยนันต์ คล้ายจันทร์2 Adirek Nuansri1 and Piyanun Klaichun2 บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาความต้องการและศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ในการเก็บรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด เห็นว่า ควรจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างยิ่งเพื่อให้นักเรียนจะได้มีทักษะทางภาษาเพิ่มมากขึ้น มีความรู้ เพิ่มเติมทางภาษาจีน รวมถึงเพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ควรเริ่มจัดการเรียนการสอนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ในลักษณะวิชาเพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นเนื้อหาทักษะทางภาษา เพื่อการสื่อสาร สอดแทรกสาระเกี่ยวกับ ท้องถิ่นของเทศบาลนครปากเกร็ด โดยครูผู้สอนควรมีทั้งชาวไทยและชาวจีนที่ผลิตแบบเรียนขึ้นมาใช้เองในท้องถิ่น ส่วนประโยชน์และความคาดหวังต่อการเรียนภาษาจีน คือ ให้ผเู้ รียนมีความรูพ้ นื้ ฐานเกีย่ วกับภาษาจีน และเมือ่ นักเรียน จบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ควรจะมีการจัดสอบวัดระดับความรู้ด้วยระบบมาตรฐานสากล (HSK) และ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด ด้านแนวคิด เชิงนโยบายในการส่งเสริมจัดการเรียนการสอนภาษาจีนควรยึดตามแผนนโยบายจากผูบ้ ริหารสูงสุดในการมอบนโยบาย การด�ำเนินการต่างๆ โดยทีเ่ ทศบาลควรมีการบริหารจัดการทีเ่ ป็นรูปธรรม มีแผนการด�ำเนินงานทีช่ ดั เจนเพือ่ สร้างความ เข้าใจและแนวปฏิบัติร่วมกัน ด้านเนื้อหาและรูปแบบ ควรเน้นเรื่องของการน�ำมาใช้จริงในชีวิตประจ�ำวัน เน้นทักษะ ภาษาเพื่อการสื่อสาร รวมถึงการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่นของเทศบาล ด้านความคาดหวังต่อ การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนนั้น ควรพัฒนาเป็นแหล่งการศึกษาชั้นดี โดยมีการสนับสนุนงบประมาณและปัจจัย อื่นๆ เพื่อให้มีการจัดการศึกษาที่เข้มแข็งทางด้านภาษาจีน และการด�ำเนินงานของเทศบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมี การประสานงานระหว่างสถานศึกษาต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนาต่อยอดให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดด้านภาษาจีนต่อไป ได้ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น

1 อาจารย์ประจ�ำสาขาการสอนภาษาจีน

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer, Faculty of Education, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: aj.nott.pim@gmail.com 2 อาจารย์ประจ�ำสาขาการสอนภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Lecturer, Faculty of Education, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: piyanunkla@pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

197

ค�ำส�ำคัญ: ความต้องการในการจัดการเรียนการสอน ความคาดหวังต่อการเรียนภาษาจีน การสอนภาษาจีนระดับ ประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด

Abstract

The objectives were to study the needs and guidelines of Chinese teaching and learning in the elementary school in Pakkhet City Municipality through mixed methodology for data collection and data analysis using statistics, percentage, standard deviation and content analysis. The findings revealed that 1) The needs of Chinese teaching and learning in the elementary school in Pakkhet City Municipality - Chinese teaching and learning must be conducted so that the students can gain higher language skills, additional knowledge in Chinese language and be ready to enter AEC. Chinese teaching and learning should be initiated since the children enter their education in Primary 1 as an additional subject. The teaching and learning focus on language skill, communication and local issues about Pakkhet City Municipality. The instructors are both Thai and Chinese who self-produce for local usage. The benefits and the expectations towards Chinese learning are to allow the learners to gain basic Chinese knowledge. When the learners graduate from their Chinese teaching and learning curriculum, HSK-standard assessment tests should be held and; 2) The guidelines of Chinese teaching and learning in elementary school in in Pakkhet City Municipality – In term of policy concepts promoting Chinese teaching and learning, policy plans should be based from the ones enacted by top management. Municipality should have concrete management and clear action plan to create mutual understanding and practices. In terms of content and form, practical usage should be emphasized. Also, language skills should be stressed for communication and content linkage of local curriculum of the municipality. In term of the expectations towards Chinese teaching and learning, it should be developed to be a high-level education source with budget supports and other factors to achieve strong Chinese language management and municipal procedures. Moreover, related parties should cooperate with different educational institutes to improve the learners’ language skills towards higher educational level. Keywords: the needs of Chinese teaching and learning, the expectations towards Chinese teaching and learning, Chinese teaching in elementary level, Pakkhet Municipality School

บทน�ำ

ภาษาจี น เป็ น อี ก ภาษาที่ ค นทั่ ว โลกใช้ กั น มาก เนื่องจากเป็นภาษาที่มีประชากรจ�ำนวนมากใช้ในการ สื่อสาร ด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จีนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีการคาดการณ์ว่า จีนจะ

กลายเป็นเจ้าเศรษฐกิจโลกแทนทีป่ ระเทศยักษ์ใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกาในปี 2020 อย่างแน่นอน นอกจากนี้จีน ยังมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปี ฉบับที่ 12 ซึง่ จะเข้ามามีอทิ ธิพลต่อเศรษฐกิจโลกในด้าน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


198

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การลงทุน อีกทั้งการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม อาเซียน plus ซึ่งจะมีผลต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระดับภูมภิ าคโดยเฉพาะในเขตทะเลจีนใต้ ได้แก่ ประเทศ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และ ประเทศไทย ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศจีนก�ำลัง เข้ามามีอิทธิพลต่อการค้า การลงทุนในอนาคต และส่งผล ให้ภาษาจีนกลายเป็นภาษาทีค่ นส่วนใหญ่ให้ความส�ำคัญ มากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะเด็กรุน่ ใหม่ในปัจจุบนั ทีเ่ รียนภาษาจีน เพิม่ เติมเป็นภาษาทีส่ ามนอกจากภาษาอังกฤษ ซึง่ ความ ส�ำคัญของภาษาจีนในขณะนีท้ ำ� ให้ในหลายๆ ประเทศให้ ความส�ำคัญกับภาษาจีนกันมากขึน้ (ศูนย์ขอ้ มูลเพือ่ ธุรกิจ ไทยจีน, 2557: ออนไลน์) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ก�ำหนดแนวทางและหลักการดังปรากฏในหมวดที่ 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าทีท่ างการศึกษา ได้บญ ั ญัตไิ ว้วา่ การ จัดการศึกษา ต้องจัดให้บคุ คลมีสทิ ธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และหมวดที่ 4 ว่าด้วย แนวทางการจัดการศึกษา โดยได้ กล่าวถึงการจัดการศึกษาที่ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรูแ้ ละพัฒนาตนเองได้ และให้ถอื ว่า ผู้เรียนมีความส�ำคัญที่สุด โดยใช้กระบวนการพัฒนา ตามธรรมชาติและอย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงการเน้น คุณธรรมจริยธรรม กระบวนการเรียนรู้และการบูรณาการ ทีเ่ หมาะสมในแต่ละระดับการศึกษา ทัง้ นีค้ วามรูน้ นั้ ต้อง เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับตนเองและสังคมโดยรอบ โดยเน้น กระบวนการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการและ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผเู้ รียนได้มปี ระสบการณ์ตรง  รวมถึง หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา ส่วนที่ 1, 2 และ 3 ได้ระบุอ�ำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และของเอกชน โดยได้ระบุไว้ว่า ในทุกหน่วยงานข้างต้นที่กล่าวสามารถ จัดการศึกษาในทุกระดับตามความเหมาะสมและตาม ความพร้อม โดยทีก่ ระทรวงมีอำ� นาจเกีย่ วกับการส่งเสริม และก� ำ กั บ ดู แ ลการศึ ก ษาทุ ก ระดั บ และทุ ก ประเภท

ก�ำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา ให้ สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิม่ เติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) และ (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553), 2557) สถาบั น การศึ ก ษาเล็ ง เห็ น ถึ ง การเพิ่ ม ศั ก ยภาพ ในการผลิตผู้เรียน หรือบัณฑิตให้มีความสามารถในการ ใช้ ภ าษาอาเซี ย นโดยเฉพาะภาษาจี น เพื่ อ เพิ่ ม ความ แข็งแกร่งให้แก่ประชากรไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้ ประชากรไทยสามารถแข่งขันในเวทีอาเซียนได้แต่ทผี่ า่ นมา การจัดการเรียนการสอนด้านภาษาจีนมักจะจ�ำกัดอยู่ ในสถาบันการศึกษาในขั้นอุดมศึกษาเท่านั้น ซึ่งอาจจะ ไม่เป็นการเพียงพอในการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ ของผูเ้ รียนให้มคี วามแข็งแกร่งถึงขัน้ ทีจ่ ะก่อให้เกิดความ สามารถในการแข่งขันได้ ซึ่งการด�ำเนินการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในช่วงระยะเวลาที่ผู้เรียนศึกษาในขั้น อุดมศึกษา 4 ปี จึงไม่นา่ จะมีความเพียงพอ การจัดการเรียน การสอนด้านภาษาจีน ผูเ้ รียนควรได้รบั การฝึกฝนมาตัง้ แต่ ศึกษาอยูใ่ นระดับชัน้ มัธยมศึกษา มีนกั การศึกษาบางท่าน กล่าวไว้วา่ น่าจัดการเรียนการสอนตัง้ แต่ระดับชัน้ ประถม ปัจจุบนั มีโรงเรียนทัง้ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ที่ให้ความสนใจบรรจุให้ภาษาจีนเป็นสาระหนึ่งในการ เรียนรู้ที่จะเตรียมคนให้พร้อมสู่การแข่งขันในอนาคต อย่างไรก็ดีจากประสบการณ์ของผู้วิจัยและข้อมูล ที่ ได้รบั จากกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า จ�ำนวนสถานศึกษา ไม่ว่าจะสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้ น ฐาน ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาเอกชน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษา ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา และสังกัดองค์กรปกครอง ท้องถิ่น มีผู้เรียนภาษาจีนราวกว่า 9 แสนคน ซึ่งเป็นการ ส�ำรวจข้อมูลเมื่อปี 2556 (นโยบายการส่งเสริมการสอน ภาษาจีน สถาบันการแปลและส่งเสริมการสอนภาษาจีน ส� ำ นั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษา กระทรวง ศึกษาธิการ, 2556: ออนไลน์)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

โรงเรี ย นในสั ง กั ด องค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในจังหวัดนนทบุรี ยังไม่มีสถานศึกษาใดที่จัดการเรียน การสอนภาษาจีน และด้วยความส�ำคัญและประโยชน์ ของการเรียนภาษาจีนที่จะเกิดต่อเยาวชนในอนาคตนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความต้องการในการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนการ สอนภาษาจี น ระดั บ ประถมศึ ก ษาในโรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลนครปากเกร็ด 2. เพื่ อ ศึ ก ษาแนวทางการจั ด การเรี ย นการสอน ภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครปากเกร็ด

วิธีด�ำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนและ ผู้ปกครองในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด จ�ำนวนทั้งสิ้น 1,490 คน และกรรมการสถานศึกษา จ�ำนวน 7 คน การก�ำหนดกลุม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ใช้วิธีการจ�ำแนกตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling) และได้มีการก�ำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางส�ำเร็จรูปของเคร็ซซี่ และมอร์แกน (Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. 1970: 608 อ้างใน พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2554) รวมเป็น 254 ชุด และผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลนคร ปากเกร็ ด ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาระดั บ ประถมศึ ก ษา ศึกษานิเทศก์สงั กัดกองการศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด คณะกรรมการสถานศึกษา และหัวหน้างานวิชาการ โรงเรี ย นระดั บ ประถมศึ ก ษาในสั ง กั ด เทศบาลนคร ปากเกร็ด รวมเป็น 29 คน

199

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นีเ้ ป็นเครือ่ งมือทีผ่ วู้ จิ ยั สร้างขึ้นประกอบด้วย 1. แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียน การสอนภาษาจีน จ�ำนวน 3 ตอน ประกอบด้วย 1) ข้อมูล พืน้ ฐานของผูต้ อบแบบสอบถาม 2) ความต้องการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร ปากเกร็ด มีลกั ษณะเป็นแบบตรวจรายการ (Checklist) และ 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อใช้ เป็นข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด 2. แบบสั ม ภาษณ์ แ ละประเด็ น การสนทนากลุ ่ ม แนวทางการจั ด การเรี ย นการสอนภาษาจี น ระดั บ ประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด ประกอบด้วย 1) ความส�ำคัญ ความจ�ำเป็น และความ ต้องการต่อการเรียนภาษาจีนในปัจจุบัน 2) แนวคิด เชิงนโยบายในการส่งเสริมจัดการเรียนการสอนภาษาจีน 3) รูปแบบ เนือ้ หา และลักษณะเด่นของการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในท้องถิ่น และ 4) ความคาดหวังต่อ การจั ด การเรี ย นการสอนภาษาจี น ในโรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลฯ ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ด�ำเนินการ ดังนี้ แบบสอบถาม 1. น�ำหนังสือจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เพื่อขอความร่วมมือจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนคร ปากเกร็ด จ�ำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา), โรงเรียนวัดกู้ (นันทาภิวัฒน์วิทยา) และ โรงเรี ย นผาสุ ก มณี จั ก รมิ ต รภาพที่ 116 ที่ เ ป็ น กลุ ่ ม ตัวอย่างทั้งหมดในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยส่งแบบสอบถาม พร้อมหนังสือขอความร่วมมือจากเทศบาลนครปากเกร็ด ไปยั ง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งทุ ก โรงเรี ย น และด� ำ เนิ น การเก็ บ รวบรวมด้วยตนเอง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


200

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

3. ผู ้ วิ จั ย ส่ ง แบบสอบถามไปเป็ น จ� ำ นวนทั้ ง สิ้ น 254 ชุ ด ผู ้ วิ จั ย ได้ รั บ คื น แบบสอบถามเป็ น จ� ำ นวน 233 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.73 แบบสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่ม 1. ผู้วิจัยนัดหมายผู้บริหารเทศบาลนครปากเกร็ด ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา กลุ ่ ม งานศึ ก ษานิ เ ทศก์ ครู ฝ่ายวิชาการ ด�ำเนินการสัมภาษณ์ (Indepth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยใช้ประเด็นที่ ก�ำหนดไว้ จ�ำนวน 14 คน ผูว้ จิ ยั น�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาพิจารณา น�ำมาเรียบเรียงข้อมูลวิเคราะห์เนือ้ หาในการในการวิจยั การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติ ในการเสนอผลงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนือ้ หา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มตัวอย่าง โดยการถอดบทสัมภาษณ์จากเครือ่ งบันทึกเสียงสัมภาษณ์ จากนั้ น จึ ง คั ด เลื อ กข้ อ ความและประเด็ น ส� ำ คั ญ เพื่ อ น�ำมาตีความหมาย และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย

ผลการวิจัย

1. ความต้ อ งการในการจั ด การเรี ย นการสอน ภาษาจีนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาล นครปากเกร็ด 1.1 ความคิ ด เห็ น จากผู ้ ป กครองนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 สรุปผลได้ดังนี้ 1) มีความประสงค์ทจี่ ะได้รบั ข้อมูลข่าวสาร ในการชี้แจงท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาจีนในด้านการ กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนภาษาจีน ที่มีประสิทธิภาพ และต้องการให้มีช่องทางในการรับรู้ ข่าวสารที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน อาทิ อบรม สัมมนา รวมถึงข่าวสารทีเ่ กีย่ วกับการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีนจากโรงเรียน 2) คิดเห็นว่า เยาวชนรุน่ ใหม่มคี วามจ�ำเป็น ต้องได้เรียนรู้ภาษาจีน โดยมีเหตุผลที่ควรจัดการสอน

ภาษาจีนเพือ่ ให้นกั เรียนได้มที กั ษะทางภาษาเพิม่ มากขึน้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก และโรงเรียนใน สังกัดเทศบาลนครปากเกร็ดควรเริม่ จัดการเรียนการสอน ภาษาจีนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เนือ้ หาทีค่ วรจัดสอนประกอบด้วย ความ รู้ด้านทักษะทางภาษา โดยเน้นในทักษะการสื่อสาร และการเชื่อมโยงสอดแทรกสาระเกี่ยวกับท้องถิ่นของ เทศบาลนครปากเกร็ดเพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมท้องถิ่นของตน รวมถึงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ สถานที่หรือบุคคลส�ำคัญในท้องถิ่น 4) การเลือกใช้แบบเรียน แบบเรียนที่ใช้ใน การสอนควรเป็นแบบเรียนที่ผลิตโดยครูผู้สอนเองเพื่อ เป็นเอกลักษณ์และตอบสนองต่อการเรียนในท้องถิ่น รูปแบบและลักษณะการจัดการเรียนการสอนควรเป็น ลักษณะวิชาเพิ่มเติม 2 คาบต่อสัปดาห์ โดยจัดให้มี กิจกรรมเสริมทักษะทางด้านภาษาจีน และควรจัดหา บุคลากรที่เป็นครูชาวไทยและครูชาวจีน 5) ประโยชน์และความคาดหวังต่อการเรียน ภาษาจีน คือ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาจีน และ เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ควรจะมีการจัดสอบวัดระดับความรูภ้ าษาจีนด้วยระบบ มาตรฐานสากล (HSK) และในอนาคตทางเทศบาลนคร ปากเกร็ดควรมีความร่วมมือทางการศึกษาด้านการเรียน การสอนภาษาจีนกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศใน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน และเห็นควรมี ความร่วมมือทางการศึกษาด้านการเรียนการสอนภาษาจีน กับคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน สถาบัน การจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในการพัฒนาและส่งเสริมการ เรียนการสอนภาษาจีนซึ่งถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาใน พื้นที่ต่อไป 1.2 ความคิดเห็นจากนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 สรุปผลได้ดังนี้ 1) ความต้องการและความจ�ำเป็นในการ จั ด การเรี ย นการสอนภาษาจี น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น บทบาท ของภาษาจีนมีความส�ำคัญต่อสังคมโลก ภาษาจีนมี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ความส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวติ และมองว่าเยาวชนรุน่ ใหม่ มีความจ�ำเป็นต้องได้เรียนรู้ภาษาจีน ดังนั้นโรงเรียนใน สังกัดเทศบาลนครปากเกร็ดควรจัดให้มีการเรียนการ สอนภาษาจี น โดยที่เ หตุผลที่ควรจัดอย่างยิ่ง เพราะ นักเรียนจะได้เรียนรู้ภาษาจีน มีความรู้หลายๆ ภาษา ได้น�ำไปใช้ต่อไปในอนาคต โดยที่ควรเริ่มจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) สาระเนื้อหาที่ควรจัดสอน คือ ความรู้ ด้านทักษะทางภาษา รองลงมา คือ ความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม โดยมีจุดเน้นในทักษะการพูด และเนื้อหา สาระในการเรียนการสอนภาษาจีนควรสอดแทรกสาระ เกี่ ย วกั บ ท้ อ งถิ่ น ของเทศบาลนครปากเกร็ ด เพราะ นักเรียนจะได้มีความรู้และเรียนรู้วัฒนธรรมเกี่ยวกับ ท้องถิ่น 3) การเลือกใช้แบบเรียนที่ผลิตจากแบบ เรียนส�ำเร็จ รูปจากประเทศจีน ซึ่งรูปแบบและลักษณะ การจัดการเรียนการสอน ควรใช้ลักษณะวิชาพื้นฐาน จั ด หาบุ ค ลากรที่ เ ป็ น ครู ช าวไทยและครู ช าวจี น สอน ร่วมกัน สอนภาษาจีน 2 คาบต่อสัปดาห์ และควรจัดให้ มีกิจกรรมเสริมทักษะทางด้านภาษาจีนเพิ่มเติม 4) ประโยชน์ แ ละความคาดหวั ง ต่ อ การ เรียนภาษาจีน คือ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาจีน รองลงมา คือ มีทกั ษะในการสือ่ สารด้วยภาษาจีนในชีวติ ประจ� ำ วั น และเมื่ อ นั ก เรี ย นจบหลั ก สู ต รการเรี ย น การสอนภาษาจีน ควรจะมีการจัดสอบวัดระดับความรู้ ภาษาจีนด้วยระบบมาตรฐานสากล (HSK) และในอนาคต ทางเทศบาลนครปากเกร็ ด ควรมี ค วามร่ ว มมื อ ทาง การศึกษาด้านการเรียนการสอนภาษาจีนกับสถาบัน ต่างประเทศในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน และควรมี ค วามร่ ว มมื อ ทางการศึ ก ษาด้ า นการเรี ย น การสอนภาษาจีนกับคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอน ภาษาจีน สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ ในการพัฒนา และส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนต่อไป 1.3 คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็น ดังนี้

201

1) มีความประสงค์ทจี่ ะได้รบั ข้อมูลข่าวสาร ในการชีแ้ จงท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับภาษาจีนในด้านแนว โน้มและทิศทางการสอนภาษาจีนในประเทศไทย โดย ผ่านช่องทางในการรับรู้ข่าวสารจากเว็บไซต์ หรือแหล่ง ข้อมูลในการจัดให้ความรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีน คือ โรงเรียน และมองว่า ปัจจุบนั บทบาทของภาษาจีนมีความส�ำคัญต่อสังคมโลกค่อนข้าง มาก จึงเห็นว่า เยาวชนรุ่นใหม่มีความจ�ำเป็นต้องได้ เรียนรู้ภาษาจีนในระดับมาก โรงเรียนในสังกัดเทศบาล นครปากเกร็ดจึงควรจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีน ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 2) เนือ้ หาสาระของการเรียนการสอนภาษา จีน ควรจะประกอบไปด้วย ความรู้ด้านทักษะทางภาษา โดยเน้นการพูด สอดแทรกสาระเกี่ยวกับท้องถิ่นของ เทศบาลนครปากเกร็ด เพือ่ การน�ำไปใช้ประโยชน์จริงใน ชีวิตประจ�ำวัน ประกอบกับสร้างความเป็นเอกลักษณ์ ของท้ อ งถิ่ น ควรใช้ แ บบเรี ย นที่ ผ ลิ ต จากแบบเรี ย น ส�ำเร็จรูปทีผ่ ลิตภายในประเทศและแบบเรียนทีผ่ ลิตโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ 3) รูปแบบและลักษณะการจัดการเรียน การสอน ควรจัดให้นกั เรียนทุกคนเรียนภาษาจีน โรงเรียน ควรจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในลักษณะวิชาเพิ่มเติม ควรจัดหาบุคลากรทีเ่ ป็นครูชาวจีน ควรจัดให้มกี ารเรียน การสอนภาษาจีน 2 คาบต่อสัปดาห์ และเมื่อโรงเรียน จัดให้มกี ารสอนภาษาจีนควรจัดให้มกี จิ กรรมเสริมทักษะ ทางด้านภาษาจีนเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนได้เพิ่มพูน ทักษะ 4) คุณภาพของผูเ้ รียนทีค่ าดหวังเมือ่ ศึกษา ครบตลอดหลักสูตร ควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษา จีน เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ควรจัดให้มีการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนด้วย ระบบมาตรฐานสากล (HSK) อี ก ทั้ ง ในอนาคตทาง เทศบาลนครปากเกร็ดควรมีความร่วมมือทางการศึกษา ด้านการเรียนการสอนภาษาจีนกับสถาบันต่างประเทศ ในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนต่อไป และ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


202

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

คณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นว่า ในอนาคต ทางเทศบาลนครปากเกร็ดควรมีความร่วมมือทางการ ศึกษาด้านการเรียนการสอนภาษาจีนกับคณะศึกษา ศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน สถาบันการจัดการ ปั ญ ญาภิ วั ฒ น์ ซึ่ ง ผลิ ต ครู ส อนภาษาจี น ในพื้ น ที่ ข อง จังหวัดนนทบุรี ในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการ สอนภาษาจีนต่อไป 2. แนวทางการจัด การเรีย นการสอนภาษาจีน ระดั บ ประถมศึ ก ษาในโรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลนคร ปากเกร็ด ซึ่งจากการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1) แนวคิดเชิงนโยบายในการส่งเสริมจัดการ เรียนการสอนภาษาจีน โดยหลักการด�ำเนินการประการ ส�ำคัญ คือ การยึดตามแผนนโยบายจากผู้บริหารระดับ สูงสุดในการมอบนโยบายการด�ำเนินการต่างๆ พร้อมทัง้ ความเข้าใจของทีมผูบ้ ริหารส�ำนักงานเทศบาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งฝ่ายงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็น ยุ ท ธศาสตร์ ก ารด� ำ เนิ น การเชิ ง นโยบายที่ ส� ำ คั ญ และ พร้ อ มที่ จ ะด� ำ เนิ น การตอบสนองนโยบายทั น ที ซึ่ ง เทศบาลควรมีการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม 2) แนวการบริหารจัดการภายในองค์กรสู่การ ด�ำเนินการของโรงเรียน อ้างอิงจากแนวคิดเชิงนโยบาย ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลฯ หน่ ว ยงานหรื อ ผู ้ ที่ มี ห น้ า ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งในส� ำ นั ก งาน เทศบาลควรมีการบริหารจัดการตามสายงานอย่างมี ประสิ ท ธิ ภ าพทั้ ง ในส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ บุ ค ลากร งบประมาณ และส่วนอืน่ ๆ ทีจ่ ะสนับสนุนให้สถานศึกษา ด� ำ เนิ น การได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ การท�ำความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง จนน� ำ ไปสู ่ ก ารปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น รู ป ธรรม อาทิ การจั ด การอบรมสัมมนาให้กับครูผู้สอนก่อนที่จะเปิดการจัด การเรียนการสอนเพื่อเป็นการชี้แจง ให้รับทราบข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงความส�ำคัญในการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ น�ำไปสู่การปฏิบัติที่ดีในการบริหาร จัดการและส่งเสริมการสอนภาษาจีนในโรงเรียน และ ในอนาคตควรมี ก ารจั ด สรรต� ำ เหน่ ง บรรจุ ค รู จ บเอก ภาษาจีนเพื่อการพัฒนาต่อไป

3) แนวทางการจัดการเรียนการสอน ประเด็นหลัก คือ การตั้งเป้าหมายของหลักสูตรจะเป็นตัวก�ำหนด หลักสูตร สาระ คุณภาพของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นที่ มีความเหมาะสมและชัดเจน อันจะน�ำไปสูก่ ระบวนการ จัดการเรียนรู้ เทคนิคและการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพ ซึง่ สอดคล้องตามสภาพบริบทของสังคมชุมชนและก่อให้ เกิดการใช้จริงในชีวิตประจ�ำวันของผู้เรียนที่สามารถ น�ำไปปรับประยุกต์ใช้ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อม ให้เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการ ปลูกฝังทัศนคติให้เด็กได้เกิดการซึมซับเพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้ ซึง่ ทางหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต้องมีการบริหาร จัดการวางแผนในการสร้างและอ�ำนวยให้เกิดสิ่งเอื้อต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน 4) รูปแบบ เนื้อหา และลักษณะเด่นของการ จัดการเรียนการสอนภาษาจีนในท้องถิน่ พบว่า ควรเน้น เนื้ อ หาที่ ส ามารถน� ำ มาใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น และการ ด�ำเนินชีวิตได้จริง และเน้นทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร รวมถึงการเชือ่ มโยงถึงเนือ้ หาสาระของหลักสูตรท้องถิน่ ที่ทางเทศบาลได้จัดท�ำขึ้นและมอบเป็นนโยบายในการ เรียนการสอนที่เหมือนกันทุกโรงเรียน ส่วนรูปแบบการ จัดการเรียนการสอนนัน้ มุง่ ใน 2 ลักษณะ คือ วิชาเพิม่ เติม และกิ จ กรรมพั ฒ นาผู ้ เรี ย น ซึ่ ง ควรมี ก ารจั ด ท� ำเป็ น หลักสูตรของสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษา จีน) ที่เป็นแกนกลาง ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสาระ ท้องถิ่นของเทศบาล ที่ได้ด�ำเนินการจัดท�ำและใช้ใน การจัดการศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยผ่านกระบวนการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษาจากสถาน ศึกษาต่างๆ เป็นต้น 5) ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล พบว่า ผู้บริหารมี ความคาดหวังในการที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งการ ศึกษาชั้นดี ดังวิสัยทัศน์ของเทศบาลที่กล่าวถึงการสร้าง แหล่งการศึกษาชั้นดีในท้องถิ่น โดยพร้อมสนับสนุน งบประมาณและปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้มีการจัดการศึกษา ทีเ่ ข้มแข็ง และนอกเหนือจากการเรียนการสอนภาษาจีน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ที่มุ่งเน้นการใช้จริงแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษายังได้มอง ถึงเรื่องการต่อยอดทางการเรียนภาษาของผู้เรียนใน ระดับที่สูงขึ้น ที่จะสามารถน�ำความรู้พื้นฐานเหล่านี้ไป ใช้ในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ส�ำนักงาน เทศบาลนครปากเกร็ ด ควรมี ค วามร่ ว มมื อ ระหว่ า ง เทศบาลกั บ สถาบันการจัดการปัญ ญาภิวัฒ น์ซึ่ง เป็น สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ในการที่จะบริหารจัดการให้ เกิดการพัฒนาจัดหาบุคลากรในการเรียนการสอน หรือ จัดหานักศึกษาเพือ่ มาปฏิบตั กิ ารสอน รวมถึงจัดกิจกรรม ทางภาษาในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

อภิปรายผล

จากการด�ำเนินการวิจยั ในครัง้ นี้ มีประเด็นส�ำคัญใน การอภิปรายผล ดังต่อไปนี้ 1. ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความประสงค์ที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารในการชี้แจง ท� ำ ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ภาษาจี น ในด้ า นการกระตุ ้ น และส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การเรี ย นการสอนภาษาจี น ที่ มี ประสิทธิภาพ มีช่องทางในการรับรู้ข่าวสารจากอบรม สัมมนา และเว็บไซต์แหล่งข้อมูลในการจัดให้ความรู้ ข่าวสารทีเ่ กีย่ วกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน คือ โรงเรียน ความต้องการ และความจ�ำเป็นในการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีนในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ เห็นว่า ปัจจุบนั บทบาทของภาษาจีนมีความส�ำคัญต่อสังคมโลก โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ดควรจัดให้มีการ เรียนการสอนภาษาจีนอย่างยิง่ เพือ่ ให้นกั เรียนได้มที กั ษะ ทางภาษาเพิ่มมากขึ้น มีความรู้เพิ่มเติมทางภาษาจีน และเป็นการเตรียมความพร้อมสูป่ ระชาคมอาเซียน และ สังคมโลกได้ในระดับกว้าง โดยควรเริ่มจัดการเรียนการ สอนภาษาจีนในระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ในลักษณะ รายวิชาเพิ่มเติม จ�ำนวน 2 คาบต่อสัปดาห์ เนื้อหาที่ควร จัดสอนประกอบด้วย ความรู้ด้านทักษะทางภาษา และ ความรู้ด้านศิลปะวัฒนธรรมตามล�ำดับโดยเน้นทักษะ

203

การพูดเพื่อการสื่อสารรวมถึง สอดแทรกสาระเกี่ยวกับ ท้องถิ่นของเทศบาลนครปากเกร็ดเพื่อเกิดเอกลักษณ์ ในการเรี ย น อี ก ทั้ ง ควรเพิ่ ม เนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ท้ อ งถิ่ น ในประเด็น สถานทีแ่ ละบุคคลส�ำคัญในท้องถิน่ แบบเรียน ที่ใช้ในการเรียนการสอนควรเป็นแบบเรียนที่ผลิตโดย ครูผสู้ อนเอง ซึง่ ครูผสู้ อนควรเป็นชาวไทยและครูชาวจีน สอนร่วมกัน ประโยชน์และความคาดหวังต่อการเรียน ภาษาจีน คือ ให้ผเู้ รียนมีความรูพ้ นื้ ฐานเกีย่ วกับภาษาจีน รวมถึงมีทกั ษะในการสือ่ สารด้วยภาษาจีนในชีวติ ประจ�ำวัน มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์และสังคมจีน มีความรู้ด้าน ศิลปะวัฒนธรรมจีน มีความรู้ด้านเศรษฐกิจจีน และมี ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจีน และเมื่อนักเรียน จบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ควรจะมีการ จัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนด้วยระบบมาตรฐาน สากล (HSK) ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกับที่กระทรวง ศึกษาธิการ (2551) ได้บรรจุภาษาจีนไว้ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ผู้เรียนสามารถเลือก เรียนรู้ได้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการ จัดการเรียนการสอนภาษาจีนสามารถเปิดหลักสูตรใน รูปแบบต่างๆ ได้และผูเ้ รียนทีม่ คี วามสนใจก็สามารถทีจ่ ะ เลือกเรียนในหลักสูตรนั้นๆ ได้ตามความสนใจ รวมถึง สอดคล้ อ งกั บ นโยบายการปฏิ รู ป การสอนภาษาจี น ของกระทรวงศึกษาธิการ (2557) และดังที่ประพิณ มโนมัยพิบูลย์ (2548) กล่าวว่า ปัญหาจากการเรียนการ สอนภาษาจีนที่ยังไม่ได้มาตรฐานของโรงเรียนในพื้นที่ ต่างๆ เนื่องจากยังไม่มีการก�ำหนดมาตรฐานกลางของ การจัดการเรียนการสอน ประกอบกับเอกสารต�ำราเรียน ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็มีความหลากหลาย อันส่งผลให้ เกิดรูปแบวิธีการสอน และเนื้อหาที่หลากหลายด้วย มี การจัดการเรียนการสอนในลักษณะต่างคนต่างท�ำ ซึ่ง ส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะทางภาษาของ นักเรียนที่เรียนภาษาจีน 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ ประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด ซึง่

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


204

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

พบว่าภาษาจีน มีอิทธิพลต่อการด�ำเนินชีวิตในปัจจุบัน ในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การสื่อสาร รวมถึงการ ค้ า ขาย ประกอบกั บ ปั จ จุ บั น การรวมกลุ ่ ม กั น ทาง เศรษฐกิจในกลุม่ ภูมภิ าคอาเซียน และอาเซียนบวก ภาษา จีนจึงควรเป็นภาษาต่างประเทศอันดับที่ 2 ที่เยาวชน ควรมีโอกาสได้ศึกษา และให้ความส�ำคัญเทียบเท่ากับ ภาษาอังกฤษ ยึดตามแผนนโยบายจากผูบ้ ริหารสูงสุดใน การมอบนโยบายการด�ำเนินการต่างๆ ซึ่งเทศบาลควรมี การบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม โดยเริ่มตั้งแต่การ จัดการอบรม สัมมนาให้กับครูผู้สอนก่อนที่จะเปิดการ จัดการเรียนการสอนเพือ่ เป็นการชีแ้ จง ให้รบั ทราบข้อมูล ร่วมกัน รูปแบบ เนือ้ หา และลักษณะเด่นของการจัดการ เรียนการสอนภาษาจีนในท้องถิ่น พบว่า ในการจัดการ เรียนการสอนควรเน้นเนื้อหาที่สามารถน�ำมาใช้ในชีวิต ประจ�ำวันและการด�ำเนินชีวิตได้จริง และเน้นทักษะ ภาษาเพือ่ การสือ่ สาร รวมถึงการเชือ่ มโยงถึงเนือ้ หาสาระ ของหลักสูตรท้องถิน่ ทีท่ างเทศบาลได้จดั ท�ำขึน้ และมอบ เป็นนโยบายในการเรียนการสอนทีเ่ หมือนกันทุกโรงเรียน ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนใน โรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยทีม่ คี วามคาดหวังในการทีจ่ ะ สามารถพั ฒ นาเป็ น แหล่ ง การศึ ก ษาชั้ น ดี ควรมี ก าร ประสานงานระหว่างสถานศึกษาต่างๆ ในการร่วมกัน พัฒนา รวมถึงเมื่อนักเรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนจะ สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ เพือ่ เป็นการ ต่อยอดด้านภาษาจีนของผูเ้ รียนต่อไป ดังทีโ่ รจน์รวี พจน์ พัฒนผล (2549) ให้ลักษณะส�ำคัญของการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ 1) การเรียนรูเ้ ป็นกระบวนการเปลีย่ นแปลง พฤติกรรม 2) การเรียนรู้เป็นผลของการฝึกหัด และ ประสบการณ์เป็นผลจากกระบวนการให้การเรียนรู้ทั้ง ทางตรงและทางอ้ อ ม และ 3) การเรี ย นรู ้ เ ป็ น การ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมทีค่ อ่ นข้างถาวร การเปลีย่ นแปลง

พฤติกรรมต้องผ่านกระบวนการทางความคิด ความ เข้าใจ และเป็นความทรงจ�ำในระยะเวลาที่ยาวนาน พอสมควร และดังที่ประเวศ วะสี (2532) กล่าวว่า การพัฒนาตัวคนเป็นสิ่งจ�ำเป็น ในขณะที่บ้านเมืองมี การเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาต้องเป็นไปตามกาลสมัย การพัฒนาแบบทันสมัยจะต้องด�ำเนินต่อไปซึ่งคนเรา ไม่อาจถอยหลังไปมีชวี ติ แบบครัง้ โบราณอีกได้จงึ ควรจะ เป็นการพัฒนาที่ทันสมัยแบบล้าหลัง คือ การพัฒนา แบบเอาง่ายเข้าว่า ทอดทิ้งปัญหาของคนส่วนใหญ่หรือ สังคมและระบบนิเวศซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไปไม่ได้ไกล จะท�ำให้เกิดวิกฤตการณ์ขนึ้ ได้ ส่วนการพัฒนาทีท่ นั สมัย และก้าวหน้าเป็นการพัฒนาที่ได้สมดุลระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยค�ำนึงถึงความเติบโตทาง เศรษฐกิจ ความถูกต้องทางสังคม และระบบนิเวศควบคู่ กันไปด้วย

ข้อเสนอแนะ

ข้ อ เสนอแนะการน� ำ ผลการศึ ก ษาไปใช้ จ ากการ ศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่อาจเป็นประโยชน์ ต่อการเรียนการสอนและการศึกษาครั้งต่อไป ดังนี้ 1. การวิ จั ย ครั้ ง ต่ อ ไปควรศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การน� ำ แนวทางการจัดการเรียนการสอนไปใช้กบั โรงเรียนระดับ ประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครปากเกร็ด หรือใช้กับ โรงเรียนระดับประถมศึกษาต่างสังกัด เพื่อศึกษาผลการ ใช้แนวทางดังกล่าว และเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น 2. ควรศึกษาเกี่ยวกับการน�ำแนวทางการจัดการ เรียนการสอนไปใช้ กับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วย เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางดังกล่าว 3. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการ สอนภาษาจีนในโรงเรียนต่างๆ เพื่อดูผลที่เกิดหลังจาก การน�ำแนวทางการจัดการเรียนการสอนไปใช้ด้วย

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

205

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มีสท์. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น. ประเวศ วะสี. (2532). กรอบของเเนวทางการจัดการศึกษา. วารสารการศึกษาเเห่งชาติ, 24(1), 11-14. ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2548). ระบบภาษาจีนกลาง. วารสารภาษาจีนพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร, 2, 215-330. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). งานบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท. ศุภชัย ใจแจ้ง. (2552.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนของผู้เรียนสาขาวิเทศธุรกิจจีนและสาขาจีนศึกษา คณะวิเทศศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต. ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยจีน. (2557). สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.thaibizchina.com/ thaibizchina/th/index.php สถาบันการแปลและส่งเสริมการสอนภาษาจีน ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, นโยบาย การส่งเสริมการสอนภาษาจีน. (2556). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก http://academic.obec.go.th/ web/node/15 สถาบันเอเชียศึกษาศูนย์จนี ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับ ประถม - มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา. สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการ ปฏิรปู การเรียนการสอนภาษาจีน. (2557). สืบค้นเมือ่ 10 มีนาคม 2558, จาก http://samakomarcheewa. or.th/news_detail.php?news_id=392 ส�ำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.bic.moe.go.th/ ส�ำนักประเมินผลการจัดการศึกษา ส�ำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท เพลิน สตูดิโอ จ�ำกัด. โรจน์รวี พจน์พัฒนพล และคณะ. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Translates Thai References

Evaluated Education Affairs, Office of Education Council. (2008). The report of Education administration of Depatment of Local Administration of B.E. 2551. Bangkok: Phloen-studio-co-LTD. [in Thai] Institute of Asian Studies Chulalongkorn University. (2008). Teaching Chinese in Thailand: Primary and Secondary Education. Bangkok: Chinese Studies Center. [in Thai] International Relationship affairs, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2014). Retrieved February 2, 2015, from http://www.bic.moe.go.th/ [in Thai] Jaijeng, S. (2009.) Factors Affecting Learning Chinese of International Business: China and Chinese Studies Studens at the Faculty of International Studies. PSU, Phuket. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


206

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Jaiteng, A. (2003). Principles of Teaching. (3rd ed.). Bangkok: Odeon Store. [in Thai] Manomaiwibun, P. (2005). “The Mandarin”. Chinese Journal of Communication, 2, 215-330. [in Thai] Ministry of Education. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Kurusapa Landprao Printing Press. [in Thai] Potpatanawon, R. et al. (2006). Basic of Psychology. Bangkok: Triper Group. [in Thai] Ritjaroon, P. (2011). Research Methodology in Social Sciences. (3rd ed.). Bangkok: House of kermyst. [in Thai] Srisaart, B. (2002). The Basic of Research. (7th ed.). Bangkok: Suveerayasat. [in Thai] ThaiBiz in China Thailand Business Information Center in China. (2014). Retrieved February 5, 2015, from http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/index.php [in Thai] The Association of Private Technological and Vocational Education Colleges of Thailand. The announce Ministry of Education; Policy reform teaching Chinese. (2014). Retrieved March 10, 2015, from http://samakomarcheewa.or.th/news_detail.php?news_id=392 [in Thai] Translation Institute and Chinese Promotion, Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, The promotion Policy of Teaching Chinese. (2013). Retrieved March 10, 2015, from http:// academic.obec.go.th/web/node/15 [in Thai] Vasri, P. (1989). Education administration Frame work. National Education Journal, 24(1), 11-14. [in Thai] Wongnanutarroot, P. (1992). Academic administration. Bangkok: Sahamid offset. [in Thai]

Adirek Nuansri earned his Master of Education in Curriculum and Teaching Methodology from Beijing Language and Culture University. He also finished Mater of Art in Teaching Chinese as a Foreign Language from Asssumption University. He is currently a full time lecturer in Faculty of Education, Panyapiwat Institute of Management. Piyanun Klaichun earned her Master of Education in Educational Psychology from Srinakharinwirot University. She is currently a full time lecturer in Faculty of Education, Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

207

ผลของการใช้ชดุ ฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธเพือ่ เสริมสร้าง จิตลักษณะทางพุทธ และลักษณะทางพุทธ ของนักศึกษาระดับ อุดมศึกษา RESULT OF THE IMPLEMENTATION OF THE BUDDHIST MIND TRAINING MODULE ENHANCING THE PSYCHOLOGICAL AND BUDDHIST CHARACTERISTICS OF THE UNDERGRADUATE STUDENTS กิตดา ปรัตถจริยา1 และอุบล เลี้ยววาริณ2 Kitda Praraththajariya1 and Ubol Leowarin2 บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธที่มีต่อจิตลักษณะ ทางพุทธและลักษณะทางพุทธของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง คือ Pretest - Posttest Control Group Design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จ�ำนวน 199 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 98 คน กลุ่มควบคุม 101 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบคะแนนค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธแบบสอบถามจ�ำนวน 6 ฉบับ ที่หาค่าความเที่ยงแบบครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.70-0.88 ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า ภายหลังการฝึกอบรมการบริหารจิต ตามแนวพุทธนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึก มีจิตลักษณะทางพุทธ ได้แก่ ความศรัทธาในพุทธศาสนาและความ เชื่อเรื่องกรรม ลักษณะทางพุทธ ได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญู รู้คุณต่อบุคคล และความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 ค�ำส�ำคัญ: ชุดฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ จิตลักษณะทางพุทธ ลักษณะทางพุทธ

Abstract

The purpose of this research was to study the result of the implementation of the Buddhist mind training module towards the psychological and Buddhist characteristics, the religious characteristics of the undergraduate students. The samples of the study were consisted of 199 first year students of Suan Sunandha Rajabhat University whom were randomly divided into 2 groups: 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, Assistant Professor Faculty of Humanities and

social sciences SuansunandhaRajabhat University, E-mail: kitda@hotmail.com Assistant Professor College of Teacher Education PhranakornRajabhat University, E-mail: Bonwarin@gmail.com

2 ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ วิ ท ยาลั ย การฝึ ก หั ด ครู ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนคร,

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


208

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

98 students of an experimental group and 101 students of a control group by the stratified random sampling. The research design was Pretest-Posttest Control Group Design. The statistical analysis were Percentage, Mean, StandardDeviation, t-test.The research instruments were composed of the Buddhist mind training module, and 6 series of questionnaires were examined the reliability of the test by Cronbach’s Coefficient Alpha at 0.70-0.88 After the termination of the training module implementation, it was found out that the experimental group had increased the higher scores level on psychological and Buddhist characteristics in 2 aspects namely: the general Buddhist belief and Buddhist belief in Krama; Religious characteristics in 4 aspects namely: Buddhist practices, Buddhist lifestyles, gratefulness to person and motherlandmore than the untrained students at the statistical significance of 0.05 Keywords: Buddhist mind training module, Psychological and Buddhist characteristic, Religious characteristics

บทน�ำ

ในสังคมไทยปัจจุบนั ประชาชนคนไทยก�ำลังประสบ ปัญหาวิกฤตค่านิยม จริยธรรม และพฤติกรรม ซึ่งมี ผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิต ความประพฤติ ความคิด ทัศนคติ และคุณธรรมของคนในสังคม โดยเฉพาะในกลุม่ เยาวชน เนือ่ งจากเยาวชนเป็นวัยหัวเลีย้ วหัวต่อและอาจ ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย การสร้างภูมิคุ้มกันแก่ เยาวชนต้องเริ่มต้นจากการพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็น ที่มาของปัญหา ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากการที่ เยาวชนรุ่นใหม่ขาดภูมิคุ้มกันและขาดความรู้ที่ถูกต้อง ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ไ ม่ ส ร้ า งปั ญ หาทางด้ า นค่ า นิ ย ม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม และความรูท้ ถี่ กู ต้อง คือ ความรู้ที่จะท�ำให้มนุษย์ไม่เบียดเบียนกัน ความรู้ ทีท่ ำ� ให้มนุษย์ไม่เห็นแก่ตวั ความรูท้ ที่ ำ� ให้มนุษย์มคี า่ นิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่ดีงาม เช่น ความ ซื่อสัตย์ ความเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น ความรู้เหล่านี้เป็นความรู้ที่ส�ำคัญที่จะ ช่วยสร้างสันติสุขและสันติภาพให้แก่มวลมนุษย์ กล่าวโดย สรุปความรู้ที่ถูกต้องดังกล่าว คือ ค�ำสอนระดับศีลธรรม ที่มีอยู่ในทุกๆ ศาสนา ศีลธรรมจึงเป็นความหวังเดียว ที่จะมาช่วยสร้างสันติสุขให้แก่มวลมนุษย์ชาติ ดังนั้นจึง

ต้องมาช่วยกันเผยแพร่ศลี ธรรมให้กลับมาสูส่ งั คมไทยให้ มากขึ้นโดยเร็ว จากความตระหนักในหน้าที่ในฐานะคณาจารย์ ระดับอุดมศึกษาทีต่ อ้ งมีสว่ นช่วยพัฒนานักศึกษานอกเหนือ จากด้านวิชาการแล้ว การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาก็มีความส�ำคัญมากเช่นกัน ผู้วิจัยจึงได้ ท�ำการพัฒนาชุดฝึกอบรมการบริหารจิตส�ำหรับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาโดยใช้หลักการทางพุทธศาสนา ตาม กระบวนการวิจัยและพัฒนาในส่วนของงานวิจัยก่อน หน้านี้และในงานวิจัยส่วนนี้เป็นการน�ำชุดฝึกอบรมการ บริหารจิตตามแนวพุทธทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาทดลองใช้กบั กลุม่ นักศึกษา เพือ่ ศึกษาผลของการใช้ชดุ ฝึกอบรมการบริหาร จิตตามแนวพุทธต่อการเสริมสร้างจิตลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ ความศรัทธาในพุทธศาสนา และความเชือ่ เรือ่ ง กรรม ลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ การปฏิบตั ติ นตามหลัก บุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ การมีความ กตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ต่ อ บุ ค คล และการมี ค วามกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ต่อแผ่นดิน ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทัง้ นีด้ ว้ ยความ คาดหวังว่าผลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา คุณภาพนักศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณธรรม

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

พื้นฐานของการเป็นคนดีซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพของ ประชากรไทยสืบไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมการบริหารจิตตาม แนวพุทธทีม่ ตี อ่ จิตลักษณะทางพุทธอัน ได้แก่ ความศรัทธา ในพุทธศาสนาและความเชือ่ เรือ่ งกรรม ลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ การปฏิบตั ติ นตามหลักบุญสิกขา การใช้ชวี ติ ใน วิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และความ กตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

สมมติฐานของการวิจัย

สมมติ ฐ านที่ 1 เมื่ อ ท� ำ การวั ด ทั น ที ห ลั ง การฝึ ก นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนว พุทธมีจติ ลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ ความศรัทธาในพุทธ ศาสนาและความเชื่อเรื่องกรรม สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้ รับการฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ

จิตลักษณะทางพุทธและ ลักษณะทางพุทธ วัดก่อนการฝึกอบรม - ความศรัทธาในพุทธศาสนา - ความเชื่อเรื่องกรรม - การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา - การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ - ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล - ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน

209

สมมติฐานที่ 2 เมือ่ การฝึกผ่านไป 1 เดือน นักศึกษา ที่ได้รับการฝึกอบรมการบริห ารจิตตามแนวพุทธ มี ลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักบุญ สิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณ ต่ อ บุ ค คล และความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ต่ อ แผ่ น ดิ น สู ง กว่ า นักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนว พุทธ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

กลุ่มตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 2 ประเภท คือ 1) ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระจัดกระท�ำ คือ การฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธ 2) ตัวแปรตาม ประกอบด้วย จิตลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ ความศรัทธา ในพุทธศาสนาและความเชือ่ เรือ่ งกรรม ลักษณะทางพุทธ อันได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิต ในวิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และ ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดินดังภาพ 1

ตัวแปรอิสระ จัดกระทำ� - การฝึกอบรม บริหารจิต ตามแนวพุทธ

จิตลักษณะทางพุทธ วัดหลังฝึกทันที - ความศรัทธาในพุทธศาสนา - ความเชื่อเรื่องกรรม ลักษณะทางพุทธ วัดหลังฝึก 1 เดือน - การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา - การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ - ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล - ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน

ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัยนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


210

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรมในทีน่ ปี้ ระกอบด้วยแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับจิตลักษณะทางพุทธ แนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับลักษณะทางพุทธและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของ การฝึกอบรมบริหารจิตดังนี้ 1. แนวคิ ด ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ จิ ต ลั ก ษณะทางพุ ท ธ ตัวแปรด้านจิตลักษณะทางพุทธที่ศึกษาในงานวิจัยนี้มี 2 ตัวแปร คือ ความศรัทธาในพุทธศาสนา และความเชือ่ เรื่องกรรม โดยคาดว่าตัวแปรเหล่านี้จะมีการพัฒนาใน ทางทีเ่ หมาะสมมากขึน้ ในผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรมภายหลัง การฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธ 1.1 ความศรัทธาในพุทธศาสนา เป็นลักษณะ ทางจิตใจของบุคคลประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นความเชื่อที่มี เหตุผล มั่นใจในความจริง ความดีของสิ่งที่นับถือหรือ ปฏิบตั ิ โดยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจะเป็นขัน้ ต้น ของกระบวนการ พัฒนาทางปัญญา เป็นปัจจัยที่น�ำไปสู่ การมีสมาธิ การมีปัญญา เกิดความพากเพียรในการ ปฏิบตั ทิ ดลองสิง่ ทีเ่ ชือ่ ด้วยศรัทธานัน้ ให้เห็นผลประจักษ์ แก่ตน ซึง่ จะน�ำไปสูป่ ญ ั ญาในทีส่ ดุ (พุทธทาสภิกขุ, 2536: 3) ความศรัทธาในหลักค�ำสอนของพุทธศาสนาที่ส�ำคัญ ได้แก่ ความเชื่อในพระรัตนตรัยหรือไตรสรณาคมน์ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม กฎแห่งการเวียนว่าย ตายเกิด นรกสวรรค์ และความเชื่อในเรื่องนิพพาน ซึ่ง เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา (พระราชธรรมนิเทศ, 2531: 34) 1.2 ความเชื่อเรื่องกรรม ตามหลักค�ำสอนใน พุทธศาสนา ชาวพุทธควรมีหลักความเชือ่ ทีป่ ระกอบด้วย ปัญญา 4 ประการ คือ 1) กัมมสัทธา คือ ความเชื่อกรรม ได้แก่ ความเชือ่ การกระท�ำของตนเองทีแ่ สดงออกได้ทาง กาย ทางวาจา และทางใจ ว่าการแสดงออกทางกาย ทาง วาจา และทางใจนั้น เมื่อท�ำแล้วเป็นอันท�ำ ไม่ใช่ท�ำแล้ว ไม่เป็นอันท�ำ หมายความว่า การกระท�ำทางกาย เรียกว่า กายกรรม การกระท�ำทางวาจา เรียกว่า วจีกรรมการ กระท�ำทางใจ เรียกว่า มโนกรรมกรรม เป็นค�ำกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ได้แก่ กิริยาอาการนั้นๆ กรรมจะดีหรือชั่ว

ได้นนั้ ก็ขนึ้ อยูก่ บั เจตนาของผูก้ ระท�ำ 2) วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม ได้แก่ เชื่อว่าท�ำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ท�ำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว รวมไปถึงกรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว ก็จะได้รับผล เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ความส�ำเร็จที่เกิด จากการกระท�ำนั้นๆ 3) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว หมายความว่า กรรมใดใครเป็นผู้กระท�ำ ผู้น้ันต้องเป็น ผู้รับผล จะรับผลแทนกันไม่ได้ หรือจะรับผลแต่กรรมดี แล้วโยนผลกรรมชั่วให้แก่คนอื่น ก็ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะ ตน ตนต้องรับผลของการกระท�ำนั้น จึงเชื่อว่า สัตว์มี กรรมเป็นของของตน 4) ตถาคตโพธิสทั ธา คือ เชือ่ ปัญญา การตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า หมายถึง การเชือ่ และยอมรับ ว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญาตรัสรู้จริง และธรรมที่ พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นเป็นของจริง เมื่อประพฤติปฏิบัติ ตามแล้วย่อมได้รับผลจริง (พระธรรมปิฎกป.อ.ปยุตฺโต, 2543: 164) 2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธตัวแปร ด้านลักษณะทางพุทธที่ศึกษาในงานวิจัยนี้มี 4 ตัวแปร ได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตใน วิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และความ กตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน โดยคาดว่าตัวแปรเหล่านี้จะมี การพัฒนาในทางที่เหมาะสมมากขึ้นในผู้เข้ารับการฝึก อบรมภายหลังการฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธ 2.1 การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา หมายถึง การกระท�ำของบุคคลในชีวติ ประจ�ำวันตามหลักธรรมค�ำ สอนของพระพุทธเจ้า โดยหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ส�ำหรับคฤหัสถ์หรือชาวบ้านทั่วไปจะอยู่ในรูป ทาน ศีล ภาวนา หรือเรียกชื่อต่างไปว่า บุญสิกขา หมายถึง การ ฝึกหัดท�ำความดี การท�ำให้เจริญงอกงามขึ้นในความดี ต่างๆ ด้วยการบริจาคทาน การรักษาศีล และเจริญ ภาวนา หลักปฏิบัติทาน ศีล ภาวนา นี้เน้นส่วนภายนอก มากขึ้ น เริ่ ม จากทานซึ่ ง เป็ น การจั บ เอาของนอกตั ว เป็นการเอาสิ่งของไปให้ผู้อื่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วย เหลือกัน ส่วนศีลมาอยู่ที่ตัว แล้วภาวนาก็เข้าไปในตัว โดยภาวนาจะรวมทั้งจิตภาวนา หรือการฝึกอบรมด้าน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จิตและปัญญาภาวนา หรือการฝึกอบรมด้านปัญญา พูดง่ายๆ ก็คือ สมาธิ และปัญญานั่นเอง การปฏิบัติใน ระบบบุญสิกขา หรือทานศีลภาวนานีเ้ น้นข้อปฏิบตั เิ บือ้ ง ต้นที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางกาย วาจา การปฏิบัติ ต่ อ กั น ระหว่ า งมนุ ษ ย์ ห รื อ ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คม ซึ่งเป็นการกระท�ำที่ปรากฏรูปร่าง มองเห็นได้ชัดปฏิบัติ ง่ายกว่า มุง่ ขัดเกลาจิตใจภายในให้ประณีตเจริญงอกงาม โดยใช้การกระท�ำภายนอกที่หยาบกว่าเป็นเครื่องมือ เรียกตามส�ำนวนทางธรรมว่า เพื่อก�ำจัดกิเลสหยาบ การปฏิบัตินี้ท่านจัดให้เหมาะกับคฤหัสถ์หรือชาวบ้าน (พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต, 2542: 596) 2.2 การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ วิถีชีวิต ซึ่ง หมายถึง พฤติกรรมและนิสัยของบุคคลในการใช้เวลา ชีวิตประจ�ำวัน โดยเป็นการกระท�ำของบุคคลอย่างมี รูปแบบที่คงที่และเป็นแบบแผนที่สอดคล้องกัน โดย บุคคลจะรู้ตัวว่าได้เลือกที่จะกระท�ำสิ่งนี้บ่อยครั้งกว่าที่ จะกระท�ำอย่างอื่นๆ วิถีชีวิตของบุคคลได้รับอิทธิพล จากภายนอกและภายในตนเอง จากภายนอก คือ คนอืน่ สังคม ประเพณี และสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนภายใน ตนเอง คือ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ความต้องการ การยอมรับหลักปฏิบัติจากครอบครัว โรงเรียน ศาสนา เป็นต้น วิถีชีวิตแบบพุทธ ในงานวิจัยนี้จึงหมายถึง การ ประพฤติปฏิบตั ใิ นการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันของบุคคลที่ มีความสอดคล้องตามหลักความเชื่อและการปฏิบัติของ พุทธศาสนา เช่น การน�ำหลักความเชื่อ และการปฏิบัติ มาประกอบการตัดสินใจในการเลือกอาชีพ เลือกการคบ เพื่อน เลือกกระท�ำกิจกรรมในยามว่าง เลือกวิธีพักผ่อน หย่ อ นใจ ตลอดจนเลื อ กที่ จ ะกระท� ำ หรื อ ไม่ ก ระท� ำ พฤติกรรมผิดศีลธรรมในสถานการณ์ต่างๆ 2.3 ความกตัญญูรู้คุณ ค�ำว่ากตัญญู ซึ่งหมายถึง ผู้รู้อุปการะที่ท่านท�ำให้ผู้รู้คุณท่าน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546: 6) มั ก ใช้ คู ่ กั น กั บ ค� ำ ว่ า กตเวที ซึ่ ง หมายถึ ง ผู้ประกาศคุณท่าน ผู้สนองคุณท่าน พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2540: 2) ได้ให้ความหมายของ “กตัญญู กตเวที” ว่าหมายถึง ผู้รู้อุปการะที่ท่านท�ำแล้ว และ

211

ตอบแทนแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ กตัญญูรู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน พระครูศรีสตุ โสภณ (เงิน ชาตเมธี) (2549: 4-15) ได้ขยายความว่า กตัญญู หมายถึง การส�ำนึกรูใ้ นบุญคุณของผูอ้ นื่ หรือสิง่ อืน่ นับเป็น ภาวะทางจิตใจ ส่วนกตเวที หมายถึง การตอบแทนคุณ เป็นการแสดงการตอบแทนคุณผูอ้ นื่ หรือสิง่ อืน่ แสดงออก มาทางภายนอกทั้งทางการกระท�ำและการพูด ดังนั้น กตัญญู จึงจัดเป็นมโนกรรม ส่วนกตเวที จัดเป็นกายกรรม และวจีกรรม ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมพืน้ ฐานทีท่ กุ ๆ คน ควรมีในระดับต้นๆ เป็นธรรมอันเป็นมงคลข้อที่ 25 ที่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ความกตัญญูกตเวทีเป็นตัวบ่งชี้ พื้นฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะความเป็นคนดีตามหลัก ค�ำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นบ่อเกิดของคุณธรรมอืน่ ๆ และเป็นฐานช่วยเกื้อหนุนส่งเสริมให้คนกระท�ำความดี ยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นคุณธรรมของสัตบุรุษ กล่าวคือ บุคคล ทีม่ คี วามกตัญญูกตเวที จะแสดงพฤติกรรมตอบแทนคุณ ต่อบุคคลหรือสังคมหรือสิ่งอื่นๆ โดยไม่ต้องมีการบังคับ ควบคุม นับเป็นการกระท�ำหน้าทีข่ องตนอันเป็นบทบาท ที่ พึ ง ประสงค์ ใ นสั ง คมไทย ความกตั ญ ญู ก ตเวที ซึ่ ง แสดงออกถึงการรู้จักหน้าที่ของตนและมุ่งมั่นในการ ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ ห้สำ� เร็จลุลว่ งจัดเป็นคุณลักษณะหนึง่ ทีช่ ว่ ย เกื้อหนุนให้บุคคลปฏิบัติตนสอดคล้องกับกฎจริยธรรม และหลักเกณฑ์ของสังคม จากการศึกษาพระไตรปิฎกเรื่อง ความกตัญญูกตเวที (มงฺคล) (2535: 276) พบว่า ความกตัญญูรู้คุณ มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อาจารย์ และญาติ 2) ความกตัญญูรู้คุณต่อสถาบัน ได้แก่ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ 3) ความ กตัญญูรู้คุณต่อสัตว์ ได้แก่ สัตว์ดิรัจฉาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น และ 4) ความกตัญญูรู้คุณต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความกตัญญูรู้คุณสามารถจ�ำแนกได้ตาม ความละเอียดอ่อนของจิตใจ การรับรู้ประโยชน์ที่ตนได้รับ จากสิง่ ทีใ่ กล้ตวั ทีส่ ดุ จนถึงไกลตัวออกไปทีม่ คี วามสัมพันธ์

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


212

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

กัน ความกตัญญูรคู้ ณ ุ มีความสัมพันธ์กบั ระดับสติปญ ั ญา ในการจ�ำแนกสิง่ ทีร่ บั รูท้ เี่ ป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น ความกตัญญูรู้คุณของผู้มีพระคุณที่เป็นบุคคล ได้แก่ ความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา ความกตัญญูรู้คุณครูบา อาจารย์ ความกตั ญ ญูรู้คุณผู้อื่นที่มีพระคุณหรือที่มี บุญคุณ เป็นต้น ความกตัญญูรู้คุณสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความกตัญญูรู้คุณชาติ ความกตัญญูรู้คุณศาสนา ความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ แผ่ น ดิ น เกิ ด ความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสภาพแวดล้ อ มรอบตั ว เรา เป็นต้น ในงานวิจยั นี้ ผูว้ จิ ยั ได้จำ� แนกความกตัญญูรคู้ ณ ุ เป็น 2 ประเภท คือ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และความ กตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน โดยความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล หมายถึง ภาวะทางจิตใจของบุคคลที่รับรู้ ถึงประโยชน์ หรือคุณค่าทีต่ นได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างดีจากบุคคลอืน่ ซึง่ อาจจะเป็นบิดามารดา ครูอาจารย์ เพื่อนพี่น้อง ญาติ ผูม้ พี ระคุณ ผูม้ บี ญ ุ คุณทัง้ หลาย ก่อให้เกิดความตระหนัก ความระลึกรู้ ความซาบซึง้ และมีแนวโน้มทีจ่ ะตอบแทน คุณ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมส่วนความกตัญญูรู้คุณต่อ แผ่นดิน หมายถึง ภาวะทางจิตใจของบุคคลที่รับรู้ถึง ประโยชน์หรือคุณค่าที่ตนได้รับจากสังคม ประเทศ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความตระหนัก ความระลึกรู้ ความซาบซึ้ง และมีแนวโน้มที่จะกระท�ำ การตอบแทนคุณ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของการฝึกอบรมการ บริหารจิต ได้มงี านวิจยั ทีศ่ กึ ษาเกีย่ วกับผลของการฝึกจิต ในรูปแบบต่างๆ อาทิ งานวิจยั ของรมณีย์ อาภาภิรม และ คนอืน่ ๆ (2546) ศึกษาผลของการพัฒนาจิตตามแนวทาง มหาสติปฏั ฐาน 4 ทีม่ ตี อ่ ประสิทธิภาพในการท�ำงานโดย เปรียบเทียบความแตกต่างประสิทธิภาพในการท�ำงาน ก่อนและหลังฝึกพัฒนาจิตของผู้ฝึกในด้านวุฒิภาวะทาง ปัญญา ทางสังคม และทางอารมณ์ ผลวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ฝึกพัฒนาจิตซึ่งเป็นบุคลากรของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและบุคคลทั่วไป ทีเ่ ข้ารับการฝึก มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการท�ำงาน

โดยพบผลต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาจิต อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.01 ทัง้ สามด้าน ได้แก่ ด้านวุฒิภาวะทางปัญญา ด้านวุฒิภาวะทางสังคม และ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุภาภรณ์ พงศธรบริรักษ์ (2553) ศึกษาผลของ การปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบการฝึกสติกับกลุ่มเยาวชน ที่กระท�ำผิดในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 7 เชียงใหม่ จ�ำนวน 40 คน ระยะเวลา 6 เดือนพบผลวิจัย ว่า คะแนนความเป็นผู้มีสติของกลุ่มทดลองหลังการ เข้าร่วมโครงการสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยมี ค่าเฉลีย่ เพิม่ ขึน้ 0.52 และจากการติดตามพฤติกรรมของ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น โครงการ พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นจากที่เคยกระท�ำผิดบ่อยครั้ง ก็ กระท�ำผิดลดลง และมีคะแนนผลการประเมินสูงขึน้ กว่า เดิม เยาวชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ฯ มาก ขึ้น สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี Jain และคณะ (2007) ได้ประเมินผลจากการ รายงานตนเองของผู้ฝึกสมาธิเป็นเวลา 1 เดือน พบว่า การท�ำสมาธิแบบฝึกสติและการท�ำสมาธิแบบผ่อนคลาย ส่งผลต่อการลดความทุกข์ การลดความรู้สึกโดดเดี่ยว การเพิ่มขึ้นของอารมณ์เชิงบวกด้านความมั่นคงทาง อารมณ์ ส่วน Mascaro (2011) พบผลวิจัยว่า การท�ำ สมาธิแบบเมตตาภาวนาของทิเบตมีผลต่อการลดระดับ ความกระวนกระวายใจ การเพิ่มขึ้นของความเอื้ออาทร ต่อบุคคลอื่นและมีพฤติกรรมเมตตา ส�ำหรับ Manotas (2012) ศึกษาประโยชน์ของการท�ำสมาธิแบบฝึกสติ เป็น เวลา 4 สัปดาห์ ในกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างที่ท�ำหน้าที่ดูแล สุขภาพในเมืองโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย จ�ำนวน 83 คน พบผลวิจัยว่า การท�ำสมาธิภาวนาแบบฝึกสติ ส่งผล ต่อการลดลงของความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และ ความเครียด การเพิ่มขึ้นของการช่างสังเกต และการไม่ ตัดสินผู้อื่น หรือเรื่องราวต่างๆ ก่อนรับรู้ข้อมูลจริง นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาผลของการฝึกอบรม

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ในรูปแบบอืน่ ๆ ทีส่ ง่ ผลดีตอ่ การพัฒนาทางด้านจิตใจ เช่น กาญจนา จนาพิระกนิฎร์ (2550) ศึกษาผลของการใช้ชดุ กิจกรรมแนะแนวตามไตรสิกขาเพื่อพัฒนาความกตัญญู กตเวทีของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามัคคี วิทยาคม 2 จังหวัดเชียงราย พบผลวิจัยว่า นักเรียนกลุ่ม ทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวไตรสิกขามี ความกตัญญูกตเวทีสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .01งานวิจยั ของ McCullough และ Emmons (2004) ซึ่งท�ำการวิจัยเชิงทดลองเพื่อ พัฒนาความกตัญญูรู้คุณโดยใช้วิธีการบันทึกอนุทินเป็น เวลา 21 วัน กับกลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งบันทึก เหตุการณ์ทั่วไปที่พบในชีวิตประจ�ำวัน กลุ่มสองบันทึก เหตุการณ์ทตี่ นไม่พอใจ ไม่ชอบใจทีพ่ บในชีวติ ประจ�ำวัน และกลุม่ ทีส่ ามบันทึกเหตุการณ์ทที่ ำ� ให้ตนรูส้ กึ ดีมคี วาม สุขและพึงพอใจที่พบในชีวิตประจ�ำวัน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มบุคคลที่บันทึกเหตุการณ์เชิงบวกมีการให้ความ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น มี ค วามก้ า วหน้ า ในชี วิ ต มี ค วามรั ก ความเมตตามากกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้มีความหดหู่ ซึมเศร้า ความเครียด น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ผลจากงานวิจัยต่างๆ ที่ประมวลมาข้างต้นพบผลดี ของการฝึกอบรมพัฒนาจิตในรูปแบบทีแ่ ตกต่างกันทัง้ ใน รู ป แบบการปฏิ บั ติ ส มาธิ ภ าวนา การฝึ ก สติ การใช้

213

ชุดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาของ ประสิ ท ธิ ภ าพในการท� ำ งานการเพิ่ ม ขึ้ น ของอารมณ์ เชิงบวกการเพิ่มขึ้นของความเอื้ออาทร เป็นต้น ผู้วิจัย จึงคาดว่า ในงานวิจยั นีจ้ ะพบผลดีของการใช้ชดุ ฝึกอบรม การบริหารจิตตามแนวพุทธทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ต่อการเสริมสร้าง คุณลักษณะทางพุทธศาสนา อาทิ ความศรัทธาในพุทธ ศาสนา ความเชื่อเรื่องกรรม การปฏิบัติตนตามหลักบุญ สิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ และความกตัญญู รู้คุณของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

วิธีการวิจัย

แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองในงานวิจัยนี้แสดงใน ตาราง 1 โดยมีกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และมีการสอบวัดก่อนและหลังการทดลอง (Pretest - Posttest Control Group design) (Creswell, 2003: 170) ประกอบด้วยตัวแปรอิสระจัด กระท�ำ คือ การฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธ แบ่ง เป็น การฝึกและการไม่ฝึก ตัวแปรตาม 6 ตัวแปร คือ ความศรัทธาในพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องกรรม การ ปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบ พุทธ ความกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อบุคคล และความกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อแผ่นดิน

ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองในงานวิจัยนี้ R

O1 O2 O1 O2 X O3 O4

X

O3 กลุ่มทดลอง (Experimental Group) O4 กลุ่มควบคุม (Control Group) = การทดสอบคุณลักษณะก่อนการทดลอง (Pretest) = การด�ำเนินการทดลอง = การทดสอบคุณลักษณะหลังการทดลอง (Posttest)

กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ ก�ำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2557

กลุม่ ตัวอย่างในการวิจยั ครัง้ นี้ ประกอบด้วย 2 กลุม่ คือ กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่มได้มา โดยวิ ธี ก ารสุ ่ ม แบบแบ่ ง ชั้ น (Stratified Random Sampling) ใน 3 ขั้นตอน คือ สุ่มจากคณะ สุ่มจาก

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


214

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

สาขาวิชา และสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เข้ากลุ่ม ทดลองจ�ำนวน 98 คน และกลุม่ ควบคุมจ�ำนวน 101 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ 199 คน

สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลีย่ ค่าส่วนเบีย่ งเบน มาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ผลการวิจัย

เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรม การบริหารจิตตามแนวพุทธ และเครือ่ งมือวัดตัวแปรตาม ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะชีวสังคม แบบวัดความ ศรัทธาในพุทธศาสนา แบบวัดความเชื่อเรื่องกรรม แบบ วัดการปฏิบัติทางพุทธศาสนาในหลักบุญสิกขา แบบวัด วิถีชีวิตแบบพุทธ แบบวัดความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล แบบวัดความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน แบบสอบถาม ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิและวิธีการทางสถิติโดยหาค่าความ เทีย่ งแบบครอนบาคได้คา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟา 0.70-0.88

ผลวิจัยส�ำคัญมี 2 ประการ คือ ประการที่ 1 ก่อนการฝึกอบรมการบริหารจิตตาม แนวพุทธมีการวัดตัวแปรตามด้านจิตลักษณะทางพุทธ 2 ตัวแปร ทัง้ ของกลุม่ ทดลองและกลุม่ ควบคุมพบว่า ไม่มี ความแตกต่างกันทางสถิตทิ รี่ ะดับความมีนยั ส�ำคัญ 0.05 (ตามตารางที่ 2) ส่วนการวัดตัวแปรตามภายหลังการ ฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธสิ้นสุดทันที พบว่า นักศึกษากลุม่ ทดลองทีไ่ ด้รบั การฝึกอบรมการบริหารจิต ตามแนวพุทธ มีความศรัทธาในพุทธศาสนาและความ เชือ่ เรือ่ งกรรม สูงกว่านักศึกษากลุม่ ควบคุมทีไ่ ม่ได้รบั การ ฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธอย่างเชือ่ มัน่ ได้ทางสถิติ ที่ระดับความมีนัยส�ำคัญ 0.01 และ .001ตามล�ำดับ ( X 45.38 และ X 43.61; X 98.86 และ X 94.04 ตามล�ำดับ) ดังแสดงในตารางที่ 3

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติท่ใี ช้

ภายหลังการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ของการวิจยั โดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูป

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจิตลักษณะทางพุทธของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดก่อนการฝึก อบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ กลุ่มทดลอง (n = 98)

ตัวแปร

กลุ่มควบคุม (n = 101)

X

SD

X

SD

t

p

43.19

5.21

44.29

5.17

-1.49

.13

ความเชื่อเรื่องกรรม 96.53 * P < .05 ** p < .01 *** p < .001

9.41

94.45

7.58

1.71

.08

ความศรัทธาในพุทธศาสนา

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

215

ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจิตลักษณะทางพุทธของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดภายหลังการ สิ้นสุดการฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธทันที กลุ่มทดลอง (n = 98)

ตัวแปร

SD

X

SD

t

p

5.23 9.34

43.61 94.04

5.16 7.96

2.41** 3.92***

.01 .001

X

ความศรัทธาในพุทธศาสนา 45.38 ความเชื่อเรื่องกรรม 98.86 * P < .05 ** p < .01 *** p < .001

กลุ่มควบคุม (n = 101)

มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การ ใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน สูงกว่านักศึกษากลุ่ม ควบคุมทีไ่ ม่ได้รบั การฝึกอบรมอย่างเชือ่ มัน่ ได้ทางสถิตทิ ี่ ระดับความมีนัยส�ำคัญ 0.001 และ .01 ตามล�ำดับ ( X 45.93 และ X 43.64; X 47.46 และ X 44.29; X 60.17 และ X 57.71; X 51.65 และ X 49.64 ตาม ล�ำดับ) ดังแสดงในตารางที่ 5

ประการที่ 2 ก่อนการฝึกอบรมการบริหารจิตตาม แนวพุทธมีการวัดตัวแปรตามด้านลักษณะทางพุทธ 4 ตัวแปรทั้งของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่มี ความแตกต่างกันทางสถิตทิ รี่ ะดับความมีนยั ส�ำคัญ 0.05 (ตามตารางที่ 4) ภายหลังการฝึกอบรมการบริหารจิต ตามแนวพุทธผ่านไป 1 เดือน ได้วัดตัวแปรตามด้าน ลักษณะทางพุทธทั้ง 4 ตัวแปร พบว่า นักศึกษากลุ่ม ทดลองทีไ่ ด้รบั การฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ

ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ คะแนนลักษณะทางพุทธของกลุม่ ทดลอง และกลุม่ ควบคุมวัดก่อนการฝึกอบรม การบริหารจิตตามแนวพุทธ กลุ่มทดลอง (n = 98)

ตัวแปร X

การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถชี วี ติ แบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน * P < .05 ** p < .01 *** p < .001

43.62 46.04 58.46 50.07

SD 4.55 5.24 6.73 4.73

กลุ่มควบคุม (n = 101) X

43.50 44.83 58.08 50.38

SD 5.13 5.77 6.33 4.21

t .17 1.54 .41 -.49

p .86 .12 .68 .62

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


216

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ตารางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนลักษณะทางพุทธของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมวัดภายหลังการฝึก อบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ 1 เดือน

กลุ่มทดลอง (n = 98)

ตัวแปร X

การปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถชี วี ติ แบบพุทธ ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล ความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน

45.93 47.46 60.17 51.65

กลุ่มควบคุม (n = 101)

SD 4.75 5.58 6.61 5.05

X

43.64 44.29 57.71 49.64

SD 5.06 5.70 6.40 4.58

t p 3.29*** .001 3.96*** .001 2.67** .01 2.94** .01

* P < .05 ** p < .01 *** p < .001

การสรุปและอภิปรายผลการวิจัย

ในงานวิ จั ย นี้ ผู ้ วิ จั ย ได้ ศึ ก ษาผลของการใช้ ชุ ด ฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธกับกลุ่มนักศึกษา โดยเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับ การฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ และนักศึกษา กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านการบริหารจิต ตามแนวพุทธ ในกระบวนการฝึกอบรมการบริหารจิต ตามแนวพุ ท ธประกอบด้ ว ย กิ จ กรรมปฐมนิ เ ทศ 1 กิจกรรม กิจกรรมภาคปฏิบัติ 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมฐานคุณธรรม ซึ่งเป็นการทบทวนและฝึกวิธี การไหว้ และการกราบอย่างไทย เพื่อฝึกมารยาทไทยใน การท�ำความเคารพอย่างไทย 2) กิจกรรมการสวดมนต์ 3) กิจกรรมการปฏิบัติสมาธิภาวนา ในการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ และ 4) กิจกรรมการเจริญเมตตาภาวนา กิจกรรมภาคทฤษฎี 8 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรม การบรรยายธรรมเพื่อให้ความรู้หลักค�ำสอนทางพุทธ ศาสนาที่ ส� ำ คั ญ ต่ อ การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ในเรื่อง 1) อานิสงส์การฟังธรรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึก อบรมได้ตระหนักในคุณค่าของการเป็นผู้ฟังที่ดี และ ประโยชน์ที่จะได้จากการฟังธรรม 2) พุทธประวัติ เพื่อ ให้ ผู ้ เข้ า รั บ การฝึ ก อบรมได้ ส ะท้ อ นคิ ด เกี่ ย วกั บ พุ ท ธ ประวัติเพื่อมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า 3) กฎแห่ง

กรรม เพือ่ ให้ผเู้ ข้ารับการฝึกอบรมได้มคี วามรูค้ วามเข้าใจ และตระหนักในผลของการกระท�ำของตนเอง 4) มิตร 5 และศัตรู 5 ของการปฏิบตั หิ รือพละ 5 และนิวรณ์ 5 เพือ่ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจและมี ก�ำลังใจที่จะเพียรปฏิบัติต่อไป 5) พระคุณแม่ เป็นการ ชมดีวีดี เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สะท้อนคิดจาก การชมเรื่ อ งสั้ น เกี่ ย วกั บ แม่ และได้ ร ะลึ ก ถึ ง คุ ณ ของ พ่อแม่ 6) อานิสงส์ของศีลเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ตระหนักเห็นคุณค่าของการมีศีลและการรักษาศีล 7) บุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ท�ำบุญ 10 วิธีและ 8) กระดาษชีวิต เพื่อให้ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมได้สะท้อนคิดจากกิจกรรมในการวางแผน เพื่อสู่เป้าหมายในการใช้ชีวิตในอนาคตของตน และ กิจกรรมสุดท้ายก่อนปิดการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมตอบ ข้อข้องใจ 1 กิจกรรม รวมเป็นกิจกรรมทั้งสิ้น 14 กิจกรรม รวมระยะเวลาการด�ำเนินการฝึกอบรม 21 ชัว่ โมง (3วัน) ผลวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกอบรมการบริหารจิต ตามแนวพุทธ นักศึกษากลุม่ ทดลองทีไ่ ด้รบั การฝึกอบรม การบริ ห ารจิ ต ตามแนวพุ ท ธ มี จิ ต ลั ก ษณะทางพุ ท ธ 2 ด้าน คือ ความศรัทธาในพุทธศาสนาและความเชื่อ เรื่องกรรม ลักษณะทางพุทธ 4 ด้าน คือ การปฏิบัติตน ตามหลั ก บุ ญ สิ ก ขา การใช้ ชี วิ ต ในวิ ถี ชี วิ ต แบบพุ ท ธ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ความกตัญญูรู้คุณต่อบุคคล และความกตัญญูรู้คุณต่อ แผ่นดินสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึก อบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธ อย่างเชื่อมั่นได้ทาง สถิติ ผลการวิจัยดังกล่าวสนับสนุนสมมุติฐานการวิจัย ทั้ง 2 ข้อเป็นอย่างมาก จึงยืนยันได้ว่า ชุดฝึกอบรมการ บริหารจิตตามแนวพุทธในงานวิจัยนี้สามารถเสริมสร้าง จิตลักษณะทางพุทธด้านความศรัทธาในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องกรรม และลักษณะทางพุทธด้านการ ปฏิบัติตนตามหลักบุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบ พุทธ ความกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อบุคคล และความกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อแผ่นดินของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้จริง นอกจากนีผ้ ลจากงานวิจยั นีย้ งั สอดคล้องกับผลจาก งานวิจัยอื่นๆ ที่ศึกษาผลของการฝึกอบรมพัฒนาจิตใน รูปแบบต่างๆ ทีส่ ง่ ผลดีตอ่ ผูร้ บั การฝึกอบรมในด้านต่างๆ ตามลักษณะของการฝึก เช่น งานวิจยั ของรมณีย์ อาภาภิรม และคนอืน่ ๆ (2546) ซึง่ ศึกษาผลของการฝึกอบรมพัฒนา จิตตามแนวทางมหาสติปฏั ฐาน 4 ของบุคลากรวัยท�ำงาน พบว่า มีการเพิม่ ขึน้ ของประสิทธิภาพในการท�ำงานด้าน วุฒภิ าวะทางปัญญา ทางสังคม และทางอารมณ์ งานวิจยั ของ Jain และคณะ (2007) ซึง่ ศึกษาผลของการท�ำสมาธิ แบบฝึกสติและแบบผ่อนคลาย พบว่า ส่งผลต่อการ เพิม่ ขึน้ ของความมัน่ คงทางอารมณ์ งานวิจยั ของ Mascaro (2011) พบว่า การฝึกอบรมการท�ำสมาธิแบบเมตตา ภาวนาส่งผลต่อการเพิม่ ขึน้ ของความเอือ้ อาทรต่อบุคคล อื่น งานวิจัยของ Manotas (2012) พบว่า การฝึกอบรม การท�ำสมาธิแบบฝึกสติส่งผลต่อการลดลงของความซึม เศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด และงานวิจยั ของ สุภาภรณ์ พงศธรบริรกั ษ์ (2553) พบว่า การปฏิบตั สิ มาธิ ภาวนาแบบการฝึกสติของเยาวชนส่งผลต่อการมีสติ และ มีการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมในทางทีด่ ขี นึ้ ดังนัน้ สามารถ สรุปได้ว่า การฝึกอบรมพัฒนาจิตในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่า จะเป็น การฝึกอบรมบริหารจิตตามแนวพุทธในงานวิจยั นี้ หรือในงานวิจยั อืน่ ๆ ทีก่ ล่าวมา ล้วนก่อให้เกิดผลดีตอ่ ผู้รับการฝึกไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชน กลุ่มนักศึกษา กลุ่มบุคคลวัยท�ำงาน กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นในการพัฒนา

217

คุณภาพของบุคคลไม่ว่าจะเป็นวัยใดๆ ก็ตาม แนวทาง หนึ่งที่สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ การฝึกอบรม พัฒนาจิต หรือการฝึกอบรมบริหารจิต โดยพัฒนาเป็น ชุดฝึกอบรม หรือชุดกิจกรรมการฝึกอบรม หรือรูปแบบ การฝึกอบรม ทั้งนี้ควรพิจารณาและพัฒนาให้เหมาะสม กับบุคคลในวัยต่างๆ และสอดคล้องกับบริบททางสังคม ที่ แ ตกต่ า งกั น ทั้ ง นี้ ด ้ ว ยความส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นา คุ ณ ภาพทางจิ ต ใจที่ ดี ข องบุ ค คลจะส่ ง ผลต่ อ การมี พฤติกรรมที่ดีของบุคคลสืบไป

ข้อเสนอแนะของการวิจัย

1. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1.1 ควรมีการวิจยั เชิงทดลองเพือ่ หารูปแบบชุด ฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธกับกลุ่มตัวอย่าง ประชากรทีม่ ลี กั ษณะแตกต่างไปจากกลุม่ ตัวอย่างในงาน วิจัยนี้ เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้ใหญ่ หรือกลุ่มอื่นๆ เพื่อ ให้มีความแน่ใจว่า ลักษณะการฝึกเช่นนี้เหมาะสมกับ การเสริมสร้างจิตลักษณะทางพุทธ และลักษณะทางพุทธ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลใดก็ตาม 1.2 ควรมีการวิจยั ทีม่ กี ารติดตามผลหลังการฝึก 3 เดื อ น หรื อ 6 เดื อ น เพื่ อ ดู ค วามคงทนหรื อ การ เปลี่ยนแปลงไปของจิตลักษณะทางพุทธ และลักษณะ ทางพุ ท ธ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ไ ด้ รู ป แบบการพั ฒ นาที่ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุดต่อบุคคล 1.3 ควรมีการวิจยั เชิงทดลองทีใ่ ช้เทคนิคการฝึก อบรมการบริ ห ารจิ ต ตามแนวพุ ท ธในงานวิ จั ย นี้ ไ ป ประยุกต์ใช้รว่ มกับการพัฒนาคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์อื่นๆ 2. ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ 2.1 สถาบั น ทางการศึ ก ษาหรื อ หน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการพัฒนาบุคลากร ควรน�ำ วิธกี ารในการฝึกอบรมการบริหารจิตตามแนวพุทธในงาน วิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาจิตลักษณะ ทางพุทธด้านความศรัทธาในพุทธศาสนาและความเชื่อ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


218

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

เรือ่ งกรรม ลักษณะทางพุทธ ด้านการปฏิบตั ติ นตามหลัก บุญสิกขา การใช้ชีวิตในวิถีชีวิตแบบพุทธ ความกตัญญู รู้คุณต่อบุคคล และความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดินเพื่อ ส่ ง ผลดี ต ่ อ การเป็ น ประชากรไทยที่ มี คุ ณ ภาพและมี คุณธรรมสืบไป 2.2 สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาควร

น� ำ แนวทางฝึ ก นี้ ไ ปขยายผลเพื่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ นักศึกษาโดยการฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานให้มี ความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อการฝึกจิต เป็ น การเฉพาะ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สามารถขยายผลการใช้ ชุ ด ฝึ ก อบรมการบริ ห ารจิ ต ตามแนวพุ ท ธในวงกว้ า ง ต่อไปได้

บรรณานุกรม

กาญจนา จนาพิระกนิฎร์. (2550). ผลของการใช้ชดุ กิจกรรมแนะแนวตามหลักไตรสิกขาเพือ่ พัฒนาความกตัญญูกตเวที ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พุทธทาสภิกขุ. (2536). กตัญญูกตเวทีเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา. พระครู ศ รี สุ ต โสภณ (เงิ น ชาตเมธี ) . (2549). ความกตั ญ ญู ก ตเวที ใ นฐานะคุ ณ ธรรมค�้ ำ จุ น สั ง คมจากมุ ม มอง พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก (มงฺคล). (2535). ข้อ 363. ใน มงฺคลตฺถทีปนี (เล่มที่ 2, หน้า 276). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2540). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จ�ำกัด. พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระราชธรรมนิเทศ. (2531). พระธรรมน�ำชีวติ . กรุงเทพฯ: ศูนย์สง่ เสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัดบวรนิเวศ. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค. รมณีย์ อาภาภิรม และคนอื่นๆ. (2546). ผลของการพัฒนาจิตที่มีต่อประสิทธิภาพในการท�ำงาน. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สุภาภรณ์ พงศธรบริรักษ์. (2553). ผลการพัฒนาสติของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 เชียงใหม่ ด้วยกระบวนการปฏิบตั สิ มาธิภาวนา. ปริญญานิพนธ์พทุ ธศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. Andres, M. M. (2012). Brief mindfulness training to improve mental health with Colombian healthcare professionals. California Institute of Integral Studies, ProQuest, UMI Dissertations Publishing 3545006. Creswell, J. W. (2003). Research Design Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches. (2th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage. Jain, S.,Shapiro, S. L., Roesch, S. C., Mills, P. J. et al. (2007). A Randomized Controlled Trial of Mindfulness Meditation Versus Relaxation Training: Effects on Distress, Positive States of Mind, Rumination, and Distraction. Annals of Behavioral Medicine, 33(1), 11-21. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

219

McCullough, M. E., Tsang, J. & Emmons, R. A. (2004). Gratitude in intermediate affective terrain links of grateful moods to individual differences and daily emotional experience. Journal of Personality and Social Psychology, 86(2), 295-309. Streiffer, M. J. (2011). A Longitudinal Investigation Empathic Behavior and Neural Activity and Their Modulation by Compassion Meditation. Emory University, ProQuest, UMI Dissertations Publishing.

Translated Thai References

Arpapirom, R. et al. (2003). The Results of Mental Development Affected to Working Efficiency. Research Report. Faculty of Industrial Education, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. [in Thai] Buddhathaspikhu. (1993). Gratitude is the Protector of the World. Bangkok: Dhamma Council. Buddhist Scriptures (Mongkol). (1992). Article 363 in Mongkoltatatipani. (Vol. 2 p. 276). Bangkok: Maharajawithayalai Printing. [in Thai] Janaphirakanid, K. (2007). The Result of the Implementation of the Guidance Module in line with Threefold Method of training in Morality for Developing the Students’ Gratitude in Lower Secondary Level of Samaukkiwithayakom 2 Chiengrai Province. Master Degree Thesis in Education, Guidance, Sukhothaidhamathidrach Open University. [in Thai] Phradhamapidok. (P.O. Payutto). (1997). Buddhist Means in Teaching. Bangkok: Sahathamic Co.,Ltd. [in Thai] Phradhamapidok. (P.O. Payutto). (1999). Buddhist Moral Code (Revised version 8th printing) Bangkok: Chulalongkornrajawitayalai Publisher. [in Thai] Phradhamapidok. (P.O. Payutto). (2000). Dictionary of Buddhism pra-muan-dhaama.pd. (Revised version 9th printing). Bangkok: Chulalongkornrajawitayalai Publisher. [in Thai] PhrakhruSrisutasopon (Ngeng Chatamethi). (2006). The Gratitude in the Condition of Morality Uphold Society in the Buddhism Perspective. Master Degree Thesis in Buddhism, Chulalongkornrachawithayalai. [in Thai] Phrarachadhammanithad. (1998). Buddhist Doctrine Leads Life. Bangkok: Thailand Buddhist Promotion Centre, Watbowornniwes. [in Thai] Pongthornborirak, S. (2010). The Results of Mind Development of Youth through Meditation Process in the Child and Youth Training Centre Zone 7, Chiengmai. Master Degree Thesis in Buddhism. Bangkok: Chulalongkornrachawithayalai. [in Thai] Royal Institute of Thailand. (2003). Dictionary Royal Institute of Thailand Version 1999. Bangkok: Nanmee Book. [in Thai]

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


220

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Assistant Professor Kitda Praraththajariya was an AFS Exchange teacher, Central Coast Grammar School: Sydney, Australia in 19861987. She had graduated Master of Education Degree, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand in 1996. Then, she received an outstanding research reward from Srinakharinwirot University in 1997. After that, she studied and worked to be a coordinator at Dallas Baptist University Texas, USA in 2004. Then, she had received the scholarship from International Rotary, the United State of America in 2005-2006 and also graduated Technology Occupation Education: Human Services (Education Specialist) from Central Missouri State University, Missouri, USA in 2006. She had a good opportunity to present her research in the international conferences in many countries such as Netherlands, Italy and the United Kingdom. At present, she is a lecturer at Suan Sunandha Rajabhat University, Faculty of Humanities and Social Science.

Assistant Professor Ubol Leowarin holds a Doctorate in Education from Srinakharinwirot University, a Master’s Degree in Teaching Science from Chulalongkorn University, and her Bachelor’s Degree in Teaching Science in Srinakharinwirot University, Bangkok,Thailand. She received an outstanding research reward from Srinakharinwirot University in 1994. Furthermore, she was awarded a research prize from the National Research Council of Thailand in 1995. She is interested in conducting research in the areas of ethical behavior and morals. She had a good opportunity to present her research in the international conferences in various countries such as New Zealand, Malaysia and Switzerland. Currently, she is a full time lecturer in College of Teacher Education Phranakorn Rajabhat University, Bangkok, Thailand.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

221

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ THE DESIRED CHARACTERISTICS OF THE GRADUATES IN THE FIELD OF ENGLISH FOR BUSINESS COMMUNICATION

เมษ รอบรู1้ และลักษณพันธ์ บ�ำรุงรัตนกุล2 Mett Robrue1 and Luksaphan Bamrungratanakul2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทางธุรกิจ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวม ข้อมูล และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ค�ำถามในการสัมภาษณ์ส�ำหรับการเก็บข้อมูลแบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้างานและพนักงานบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทต่างๆ ในเครือจ�ำนวน 141 คน โดยสรุปผล ได้ว่า ภาษาอังกฤษมีความส�ำคัญอย่างมากต่อองค์กรในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีค่าเฉลี่ย อยูท่ ี่ 4.82 บุคลากรต้องสามารถน�ำความรูภ้ าษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้เพือ่ ติดต่อสือ่ สารในการท�ำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมได้ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.62 และบุคลากรต้องมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 ค�ำส�ำคัญ: คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ บุคลากร

Abstract

This research aimed at studying the importance of English to business sectors and the desired characteristics of graduates. This is a mixed research design employing both the quantitative and qualitative methodologies. For quantitative research, questionnaires were used as the data collection tool; while for qualitative research, an in-depth interview was used. The sample group consisted of 141 heads of departments and employees of CP All Public Co., LTD. and its affiliated companies. The study found that English was the important mean for any company for joining the upcoming Asean Economic Community with the average mean of 4.82. Employees must be able to apply the knowledge of English to communicate with government sector, private sector and industrial sector, with the average mean of 4.62. Employees should have good attitudes toward 1 อาจารย์ประจ�ำส�ำนักการศึกษาทั่วไป

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Full-time instructor, Office of General Education, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: mettrob@pim.ac.th 2 อาจารย์ประจ�ำคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, Full-time instructor, Faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management, E-mail: luksanaphanbam@pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


222

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

their organization. They should have virtues and morality to themselves and others, with the average mean of 4.67. Keywords: Desired Characteristics of graduates, English for Business Communication, Employee

บทน�ำ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เป็นสถาบันการ ศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตให้กับบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) รวมทั้งบริษัทในเครือและบริษัทที่เป็น คู่ค้า มีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นผู้ที่ คิดเป็น ท�ำงานเป็น มีความรู้ทางวิชาการควบคู่ไปกับ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริง โดยมีการจัดการ เรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้จากการท�ำงานจริง (Work-based Education) ซึ่งนักศึกษาต้องท�ำงาน ควบคู่ไปกับการเรียนในทุกภาคการศึกษา เพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมสู่การท�ำงานจริงหลังจากส�ำเร็จการ ศึกษา โดยบัณฑิตที่เรียนจบจากสถาบันฯ มีโอกาสเข้า ท�ำงานกับสถานประกอบการในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และสถานประกอบการอื่นที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจค้าปลีก (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2557) การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 ท�ำให้ภาคธุรกิจมีความ ตืน่ ตัวอย่างมาก ก่อให้เกิดโอกาสในการท�ำธุรกิจระหว่าง ประเทศมากขึ้น โดยภาษาอังกฤษถือได้ว่า เป็นภาษา หนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการติดต่อสื่อสารและ เจรจาทางธุ ร กิ จ ระหว่ า งประเทศในกลุ ่ ม ประชาคม เศรษฐกิ จ อาเซี ย น หากบั ณ ฑิ ต คนใดเป็ น ผู ้ มี ค วาม เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและสามารถน�ำความรู้ภาษา อังกฤษไปปรับใช้กับการท�ำงานด้านธุรกิจได้ บัณฑิตคน นั้นจะเป็นที่ต้องการของบริษัทต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2556 สถาบันการจัดการ ปั ญ ญาภิ วั ฒ น์ จึ ง มี ค วามต้ อ งการที่ จ ะเปิ ด หลั ก สู ต ร ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพือ่ การสือ่ สาร ทางธุรกิจขึ้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัท

ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่มีการติดต่อท�ำธุรกิจกับ ประเทศต่างๆ ในอาเซียน และเพื่อตอบสนองความ ต้องการของบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ในด้าน การผลิตบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทาง ธุรกิจ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อทราบถึงคุณลักษณะ ของบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ ที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยน�ำ ผลวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการ จัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพือ่ การ สื่อสารทางธุรกิจต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพือ่ ศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ตรงกับความต้องการ ของสถานประกอบการ 2. เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการ จัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพือ่ การ สื่อสารทางธุรกิจ ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเรื่องบัณฑิตที่พึงประสงค์ บัณฑิตที่พึงประสงค์ หมายถึง บัณฑิตที่มีความรู้ และความสามารถในการพัฒนาหน่วยงาน องค์กรให้มี ความเจริญก้าวหน้า การให้ได้มาซึ่งความรู้และความ สามารถดังกล่าวนั้น บัณฑิตจะต้องมีการเรียนรู้ พัฒนา ฝึ ก ฝนตั้ ง แต่ เ กิ ด จนโต ผ่ า นการเรี ย นรู ้ ป ลู ก ฝั ง จาก ครอบครัว ประสบการณ์ชีวิตและจากการเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม สั่งสอนจากอาจารย์ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่ง

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ก่ อ ให้ เ กิ ด คุ ณ สมบั ติ ต ่ า งๆ ในตั ว บั ณ ฑิ ต (กฤตยา ฐานุวรภัทร์, 2555: 3) ได้แก่ ความสามารถเฉพาะทาง ความสามารถพิเศษ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ เชาวน์ ปัญญา สติ ทักษะในการคิด การพินจิ พิเคราะห์ การแก้ไข ปัญหา และความเป็นผู้น�ำ คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของสถาน ประกอบการ บุคลากรที่จะปฏิบัติงานได้ดีนั้นจ�ำเป็นที่จะต้อง เข้าใจสิ่งที่นายจ้างมองหาในตัวของบุคลากรให้ได้ ซึ่งมี อยู่ 10 ข้อ คือ (จ�ำเนียร จวงตระกูล, 2542 อ้างใน กฤตยา ฐานุวรภัทร์, 2555: 4-5) 1. มีความขยันหมัน่ เพียรดี เป็นคนลงมือท�ำ บากบัน่ พากเพียรในการท�ำงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ตรงต่อ เวลา ท�ำงานบรรลุเป้าหมายเป็นที่ยอมรับของนายจ้าง 2. สร้างผลงานมีคุณภาพ เป็นคนที่ท�ำงานส�ำเร็จ ตรงตามเกณฑ์ทอี่ งค์กรตัง้ ไว้ และท�ำงานได้ถกู ต้อง ไม่กอ่ ให้เกิดข้อผิดพลาด และมีการตรวจสอบผลงานที่ท�ำ อยู่เสมอ 3. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง และองค์กร เป็นผู้ที่นายจ้าง ไว้วางใจที่จะให้รับผิดชอบงานและแก้ไขข้อผิดพลาด ในการท�ำงานได้ 4. มีความรู้ เป็นคนทีเ่ ข้าใจในงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย รูว้ ธิ กี ารท�ำงาน ศึกษาหาความรูเ้ กีย่ วกับงานทีท่ ำ� เพิม่ เติม พร้อมที่จะเข้าไปถามผู้รู้เมื่อไม่เข้าใจ 5. มีความสามารถในการเรียนรูง้ านเป็นอย่างดี ปรับ ตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี ศึกษา แนวคิดใหม่ๆ เพื่อน�ำมาปรับปรุงใช้กับการท�ำงานอยู่ ตลอดเวลา 6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจและ มุมานะ สามารถแสดงความเห็นเกีย่ วกับงานทีท่ ำ� ได้อย่าง มั่นใจ 7. มีสามัญส�ำนึก มีดุลยพินิจ ไหวพริบ ท�ำสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุมีผลโดยพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว

223

8. มี ม นุ ษ ยสั ม พั น ธ์ ดี รู ้ จั ก กาลเทศะ อารมณ์ ดี มารยาทดี อ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวได้เหมาะสม เข้ากับ นายจ้างและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี 9. ให้ความส�ำคัญกับการท�ำงานเป็นกลุ่ม สามารถ ติดต่อประสานงานให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี ยอมรับ ความเห็นของเพื่อนร่วมงาน นายจ้าง ลูกค้าได้ 10. มีทัศนคติที่ดีต่องานและองค์กร เป็นคนมองสิ่ง ต่างๆ ในแง่บวก ซึ่งจะน�ำไปสู่การท�ำงานที่ดี จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล (2553: 34-35) กล่าวว่า บุคคลที่มาท�ำงานกับองค์กรใดก็ตาม ถือเป็นทรัพยากร ที่ มี ค ่ า และสร้ า งประโยชน์ ใ ห้ กั บ องค์ ก รได้ จ ะต้ อ งมี คุณสมบัติ 3 ข้อ คือ 1. มีคุณลักษณะเฉพาะบุคคล (Personal Traits) คือ มีความกล้าแสดงออกและมีความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ 2. มีคุณสมบัติที่ตรงกับงาน (Qualification) คือ มี ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ที่ตรงกับสายงานที่ท�ำ 3. มีคุณค่า (Value) คือ มีค่านิยม ความเชื่อและ ทัศนคติที่เป็นไปในทางเดียวกับวัฒนธรรมขององค์กร แนวคิดเรือ่ งทักษะในการเรียนรูข้ องบัณฑิตในศตวรรษ ที่ 21 ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2556: 6-14) กล่าวถึง ความหมายของค�ำว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ส�ำหรับ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า อาจหมายถึง การ ติดอาวุธให้กับนักศึกษาด้วยทักษะต่างๆ ที่จ�ำเป็นและ ส�ำคัญในการใช้ชีวิตหลังจบการศึกษา เพื่อให้บัณฑิต สามารถทีจ่ ะก้าวเดินต่อไปในโลกแห่งการท�ำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันได้อย่าง มีความสุข ความหมายที่เฉพาะเจาะจงเพื่อน�ำไปสู่การ ปฏิบัติทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน ส�ำหรับ มหาวิทยาลัย จึงอาจหมายถึงการพัฒนาบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยให้ถงึ พร้อมด้วยแนวคิด ความรู้ ทักษะและ เจตคติส�ำคัญต่างๆ ที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมทักษะการจัดการสารสนเทศ สื่อและไอซีที การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


224

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ท�ำงานร่วมกัน เนื่องจากเป็นทักษะที่ส�ำคัญมากส�ำหรับ ผู้เรียนในยุคนี้ แนวคิดเรื่องการสรรหาบุคคล การสรรหา คือ กระบวนการกลัน่ กรองและคัดเลือก บุคคลทีม่ คี ณ ุ สมบัติ คุณวุฒทิ างการศึกษา มีความรูค้ วาม สามารถ และประสบการณ์ในการท�ำงาน ซึง่ มาสมัครงาน ในต�ำแหน่งต่างๆ ที่องค์กรเปิดรับสมัคร (มารดารัตน์ สุขสง่า, 2554: 24-26) องค์กรต้องเริ่มจากการมีกรอบแนวคิดที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่จะสามารถ จะช่วยให้องค์กรได้คนคุณภาพที่ต้องการ หรือต้องมี กรอบแนวคิดที่เรียกว่า “ความสอดคล้องกันระหว่าง องค์กร งาน บุคคล” (ชูชัย สมิทธิไกร, 2547: 115-135) และประเด็นส�ำคัญที่ควรพิจารณา คือ ประการแรก ลักษณะเฉพาะของแต่ละองค์กร ไม่วา่ จะเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัฒนธรรมองค์กร ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นสิ่งก�ำหนดค่านิยม ความเชื่อและทัศนคติของบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติงาน ประการที่สอง ลักษณะงานและข้อก�ำหนดของ แต่ละต�ำแหน่ง ซึง่ จะเป็นตัวก�ำหนดคุณสมบัตขิ องผูท้ จี่ ะ เข้ามาปฏิบัติงาน ประการที่สาม คุณลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้าน ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ว่าเหมาะกับองค์กรหรือไม่ ประการที่สี่ ความสอดคล้องกันระหว่างองค์กร งาน และบุคคล คือ ผู้ปฏิบัติงานจะมีแรงจูงใจในการ ท�ำงาน มีผลงานดี มีความพึงพอใจในการท�ำงานและ เกิดความผูกพันต่อองค์กร

วิธีการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการวิจัยเชิง คุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยประชากรและ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รูปแบบการสอบถามข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ตัวแทนระดับหัวหน้างานจาก

บริษัท H Thai จ�ำกัด บริษัท Textile Gallery Co., Ltd. โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ โรงแรมสิวาเทล และบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 15 คน ในส่วนของ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบการสอบถามเชิงส�ำรวจกับ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือต่างๆ จ�ำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ทีผ่ วู้ จิ ยั สร้างมาจากการศึกษาแนวคิด เรื่องการสรรหาบุคคลของ มารดารัตน์ สุขสง่า และ แนวคิดเรื่องทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของ ถนอมพร เลาหจรัสแสง และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่ง แบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ของผูต้ อบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ค�ำถามที่ใช้เป็นเกณฑ์ ประกอบร่างหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทาง ธุรกิจในด้านต่างๆ และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะและความ คิดเห็นเพิ่มเติม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การเก็บข้อมูลจาก แบบสอบถามที่มีค�ำถามที่ใช้เป็นเกณฑ์ประกอบร่าง หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจในด้านต่างๆ และเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์ตัวแทนของบริษัทต่างๆ ระหว่างช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการอธิบายการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทัว่ ไปของกลุม่ ตัวอย่างวิเคราะห์โดย การหาค่าร้อยละ (Percentage) โดยกลุ่มตัวอย่าง พนักงานของบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัทในเครือต่างๆ จ�ำนวน 141 คน ตารางที่ 1 จ�ำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จ�ำแนกตามเพศ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เพศ หญิง ชาย รวม

จ�ำนวน 99 42 141

ร้อยละ 70.2 29.8 100.00


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ตารางที่ 2 จ�ำนวนร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จ�ำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา วุฒิการศึกษา ต�่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม

จ�ำนวน 21 90 29 1 141

4 หมายถึง เห็นด้วยมาก 3 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง 2 หมายถึง เห็นด้วยน้อย 1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด การแปลความค่าความเห็น ใช้เกณฑ์ดังนี้ 4.51-5.00 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด 3.51-4.50 หมายถึง เห็นด้วย 2.51-3.50 หมายถึง ไม่แน่ใจ 1.51-2.50 หมายถึง ไม่เห็นด้วย 1.01-1.50 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ร้อยละ 14.9 63.8 20.6 0.7 100.00

ส่วนที่ 2 คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ตรงกับความต้องการของ สถานประกอบการ โดยการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณและการอนุมานค่าสถิตโิ ดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูป ทางสถิติ (SPSS) โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ซึ่งได้มีการ ก�ำหนดระดับคุณลักษณะของบัณฑิตทีส่ ถานประกอบการ เห็นด้วย ดังนี้ 5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด

225

ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ซึ่งมีค�ำถาม ที่ใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพือ่ การสือ่ สารทางธุรกิจ ของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งจะเปิดสอนในปีการศึกษา 2558

ตารางที่ 3 แสดงจ�ำนวนร้อยละ ค่าเฉลีย่ และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานของความคิดเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามจ�ำนวน 141 คนที่มีต่อความส�ำคัญของภาษาอังกฤษ ด้านความคิดเห็นที่มีต่อ ภาษาอังกฤษ

ระดับความเห็น X¯

SD

0 (0.00)

4.82 (เห็นด้วย มากที่สุด)

0.407

0 (0.00)

0 (0.00)

4.67 (เห็นด้วย มากที่สุด)

0.500

0 (0.00)

0 (0.00)

4.60 (เห็นด้วย มากที่สุด)

0.520

เห็นด้วย อย่างยิ่ง

เห็นด้วย

ไม่แน่ใจ

ไม่เห็น ด้วย

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง

1. ภาษาอังกฤษมีความส�ำคัญ อย่างมากต่อองค์กรในยุค AEC

116 (82.3)

24 (17.0)

1 (0.7)

0 (0.00)

2. ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ยังมีความ ต้องการก�ำลังคนที่มีความรู้ด้าน ภาษาอังกฤษ

97 (68.8)

42 (29.8)

2 (1.4)

3. บุคลากรต้องมีความรู้ด้านภาษา อังกฤษควบคู่กับความรู้ทางธุรกิจ

86 (61.0)

52 (36.9)

2 (1.4)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


226

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558 ด้านความคิดเห็นที่มีต่อ ภาษาอังกฤษ

4. บุคลากรที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ และความรู้ในการด�ำเนินธุรกิจจะ มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น ในอนาคต

ระดับความเห็น เห็นด้วย อย่างยิ่ง 94 (66.7)

เห็นด้วย

ไม่แน่ใจ

43 (30.5)

4 (2.8)

ไม่เห็น ด้วย 0 (0.00)

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง 0 (0.00)

SD

4.64 (เห็นด้วย มากที่สุด)

0.538

4.68 (เห็นด้วย มากที่สุด)

รวม

จากตารางที่ 3 ด้ า นความคิ ด เห็ น ที่ มี ต ่ อ ภาษา อังกฤษ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ รวมเท่ากับ 4.68 ซึง่ อยูใ่ นระดับ เห็ น ด้ ว ยมากที่ สุ ด เมื่ อ พิ จ ารณาเป็ น แต่ ล ะประเด็ น สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องความส�ำคัญของภาษาอังกฤษต่อ องค์กรในยุค AEC โดยมีค่าเฉลี่ย 4.82 ซึ่งอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด ประเด็นที่ 2 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ในเรือ่ งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ยังมีความต้องการก�ำลังคนที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ

0.41

โดยมีค่าเฉลี่ย 4.67 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ประเด็นที่ 3 ความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม และผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องบุคลากรต้องมีความรู้ด้าน ภาษาอังกฤษควบคู่กับความรู้ทางธุรกิจ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.60 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ประเด็นที่ 4 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องบุคลากรที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ และความรู ้ ใ นการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ จะมี โ อกาสก้ า วหน้ า ในอาชีพมากขึ้นในอนาคต โดยมีค่าเฉลี่ย 4.64 ซึ่งอยู่ ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

ตารางที่ 4 แสดงจ�ำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม และ ผู้ให้สัมภาษณ์ในส่วนความคาดหวังด้านความสามารถในการท�ำงานของบุคลากร ความคาดหวัง ด้านความสามารถในการท�ำงานของ บุคลากร 1. บุคลากรต้องสามารถน�ำ ความรู้ภาษาอังกฤษไปประยุกต์ ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในการ ท�ำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคอุตสาหกรรมได้ 2. บุคลากรมีความรู้และความ สามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานบริหารส�ำนักงาน

ระดับความเห็น

SD

0 (0.00)

4.62 (เห็นด้วย มากที่สุด)

0.501

0 (0.00)

4.35 (เห็นด้วย)

0.656

4.48 (เห็นด้วย)

0.578

เห็นด้วย อย่างยิ่ง

เห็นด้วย

ไม่แน่ใจ

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง

89 (63.1)

51 (36.2)

1 (0.7)

0 (0.00)

63 (44.7)

66 (46.8)

11 (7.8)

1 (0.7)

รวม ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

จากตารางที่ 4 ความคาดหวังด้านความสามารถใน การท�ำงานของบุคลากร พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นแต่ละ ประเด็นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องบุคลากรต้องสามารถน�ำความรู้ ภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในการ

227

ท�ำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมได้ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.62 มากที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วย ประเด็นที่ 2 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู ้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ใ นเรื่ อ งบุ ค ลากรมี ค วามรู ้ แ ละความ สามารถด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศและงานบริ ห าร ส�ำนักงานโดยมีค่าเฉลี่ย 4.35 อยู่ในระดับเห็นด้วย

ตารางที่ 5 แสดงจ�ำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม และ ผู้ให้สัมภาษณ์ในส่วนบุคลิกภาพและคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร บุคลิกภาพและคุณสมบัติด้าน คุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร

ระดับความเห็น เห็นด้วย อย่างยิ่ง

เห็นด้วย

ไม่แน่ใจ

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง

1. บุคลากรต้องมีบุคลิกภาพที่ดีสร้าง ความน่าเชื่อถือแก่องค์กร

83 (58.9)

56 (39.7)

1 (0.7)

1 (0.7)

0 (0.00)

2. บุคลากรต้องมีทัศนคติที่ดีต่อ องค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวม

96 (68.1)

43 (30.5)

2 (1.4)

0 (0.00)

0 (0.00)

3. บุคลากรต้องสามารถปรับตัวให้ เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้

86 (61.0)

48 (34.0)

5 (3.5)

0 (0.00)

0 (0.00)

รวม

จากตารางที่ 5 ด้านความคิดเห็นที่มีต่อบุคลิกภาพ และคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร พบว่า มีคา่ เฉลีย่ ทีเ่ กีย่ วกับบุคลิกภาพและคุณสมบัตดิ า้ น คุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.60 อยูใ่ นระดับเห็นด้วยมากทีส่ ดุ เมือ่ พิจารณา เป็นแต่ละประเด็นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ในเรือ่ งบุคลากร ต้องมีบคุ ลิกภาพทีด่ สี ร้าง ความน่าเชื่อถือแก่องค์กร โดยมีค่าเฉลี่ย 4.57 อยู่ใน ระดับเห็นด้วยมากที่สุด

X¯ 4.57 (เห็นด้วย มากที่สุด) 4.67 (เห็นด้วย มากที่สุด) 4.58 (เห็นด้วย มากที่สุด) 4.60 (เห็นด้วย มากที่สุด)

SD

0.552

0.502

0.563

0.539

ประเด็นที่ 2 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู ้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ใ นเรื่ อ งบุ ค ลากรต้ อ งมี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ องค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งด้านส่วนตัวและ ส่วนรวม โดยมีค่าเฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ทีส่ ดุ ประเด็นที่ 3 ความเห็นของผูต้ อบแบบสอบถามและ ผู้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องบุคลากร ต้องสามารถปรับตัวให้ เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.58 อยู่ใน ระดับเห็นด้วยมากที่สุด ส่วนที่ 2 สรุปข้อมูลทีไ่ ด้จากการสัมภาษณ์หวั หน้างาน จ�ำนวน 15 คนของบริษทั ในเครือบริษทั ซีพี ออลล์ จ�ำกัด

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


228

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

(มหาชน) และบริษทั ทีเ่ ป็นพันธมิตรจ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โรงแรมสิวาเทล โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สุขมุ วิท 22 บริษทั

H Thai (H&M Thailand) บริษัท Textile Gallery Co., Ltd. และบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน)

ตารางที่ 6 บทสรุปข้อมูลและความเห็นที่ได้รับจากผู้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ข้อ

ค�ำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

ข้อสรุป

1

ท่านคิดว่าบุคลากรทีจ่ ะช่วยน�ำพาองค์กรของท่านเข้าสูย่ คุ บุคลากรควรมีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและควรมีความรู้ AEC นั้นควรจะมีคุณสมบัติด้านภาษาอังกฤษเท่านั้นหรือ ด้านอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ความรู้ภาษาที่สาม การจัดการ ต้องมีความรู้ด้านการท�ำงานเชิงธุรกิจด้วยหรือไม่ อย่างไร บริหาร ควรมีความถนัดหลายๆ ด้าน มีความใฝ่รู้อยู่เสมอ

2

ท่านคาดหวังว่าบุคลากรของท่านจะสามารถใช้ภาษา บุคลากรควรมีความรู้ในการใช้โปรแกรม Microsoft Office อั ง กฤษควบคู ่ ไ ปกั บ ความสามารถด้ า นเทคโนโลยี และสามารถใช้อุปกรณ์ส�ำนักงานต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สารสนเทศและงานบริหารส�ำนักงานในระดับใด

3

ท่านคิดว่า บุคลากรต้องมีบุคลิกภาพ ทัศนคติ จริยธรรม บุคลากรควรมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม และคุณธรรมในการท�ำงานในองค์กรของท่านอย่างไร มีการวางตัวอย่างเหมาะสม มีความคิดแง่บวก มีความเป็นผูใ้ หญ่ รู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลและมีจิตใจรักการ บริการ

สรุปและอภิปรายผล

จากการศึกษาสรุปได้วา่ คุณลักษณะทีบ่ ณ ั ฑิตสาขา วิชาภาษาอังกฤษธุรกิจจ�ำเป็นต้องมี คือ 1) ความรู้ทาง ธุรกิจควบคู่กับความรู้ภาษาอังกฤษ ในกรณีนี้ พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 2) ความ สามารถในการน�ำความรูภ้ าษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้เพือ่ ติดต่อสื่อสารในการท�ำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาค อุตสาหกรรม ในกรณีนพี้ บว่า มีคา่ เฉลีย่ 4.62 อยูใ่ นระดับ เห็นด้วยมากที่สุด 3) ความรู้และความสามารถด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและงานบริหารส�ำนักงาน ในกรณีนี้ พบว่า มีคา่ เฉลีย่ 4.35 อยูใ่ นระดับเห็นด้วย 4) บุคลิกภาพ ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถือแก่องค์กร ในกรณีนี้พบว่า มี ค่าเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 5) ทัศนคติ ที่ดีต่อองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งด้านส่วนตัว และส่วนรวม ในกรณีนพี้ บว่า มีคา่ เฉลีย่ 4.67 อยูใ่ นระดับ เห็นด้วยมากที่สุด 6) ความสามารถในการปรับตัวให้ เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ในกรณีนพี้ บว่า มีคา่ เฉลีย่ 4.58 อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด นอกจากนี้เมื่อพิจารณา

ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์หัวหน้างานของ บริษัทต่างๆ ในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษทั คูค่ า้ ต่างๆ พบว่า มีความสอดคล้องกันในเรือ่ ง คุณลักษณะของบัณฑิตสาชาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจดังนี้ 1) บุคลากรควรมีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและควร มีความรูด้ า้ นอืน่ ๆ ประกอบด้วย เช่น ความรูภ้ าษาทีส่ าม การจัดการบริหาร ควรมีความถนัดหลายๆ ด้าน เช่น การตลาด การท�ำธุรกิจระหว่างประเทศ ความรู้ทั่วไป และการเจรจาต่อรอง 2) บุคลากรควรมีความรูใ้ นการใช้ โปรแกรม Microsoft Office และสามารถใช้อุปกรณ์ ส�ำนักงานต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว 3) บุคลากรควรมี ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการ วางตัวอย่างเหมาะสม มีความคิดแง่บวก มีความเป็น ผู้ใหญ่ รู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลและ มีจิตใจรักการบริการ ส�ำหรับแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการจัดการ เรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพือ่ การสือ่ สาร ทางธุรกิจ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ตารางที่ 4 จะเห็นว่า ความรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการ ติ ด ต่ อสื่ อสารในการท�ำงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคอุตสาหกรรม โดยมีค่าเฉลี่ย 4.62 มากกว่าความรู้ และความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและงาน บริหารส�ำนักงาน โดยมีคา่ เฉลีย่ 4.35 สามารถตีความได้ ว่า ควรมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในด้าน การสือ่ สารทีจ่ ำ� เป็นต่อการติดต่อธุรกิจกับภาคต่างๆ และ ในขณะเดียวกันก็ควรมีการสอนเรื่องการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ออฟฟิศและเทคโนโลยีสารสนเทศและการ ท� ำ งานในส� ำ นั ก งานควบคู ่ ไ ปด้ ว ย โดยในประเด็ น นี้ มี ความสอดคล้องกับงานวิจยั ของ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2556: 6-14) ทีก่ ล่าวว่า บุคลากรต้องสามารถใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ โปรแกรมส�ำนักงาน ดูแลรักษา เครื่ อ งมื อ และ/หรื อ ระบบต่ า งๆ ได้ ใ นระดั บ พื้ น ฐาน ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสื่อสารโทรคมนาคมในการ เรี ย นรู ้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ครอบคลุ ม ทั ก ษะต่ า งๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทักษะในการสืบค้น (Search Skills) ทักษะในด้านการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารผ่าน ICT และ/หรือ ทักษะในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม จากการสั ม ภาษณ์ หั ว หน้ า งานของบริ ษั ท ต่ า งๆ ในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทคู่ค้า ต่างๆ พบว่า การมีความรู้ภาษาที่สามเป็นสิ่งที่จ�ำเป็น ในการท�ำงาน ซึ่งอาจเป็นภาษามลายู ภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ ปุ ่ น ก็ ไ ด้ ผู ้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ห ลายคนเห็ น ด้ ว ย เหมือนกันว่า ผู้ที่มีความรู้ภาษาที่สามจะมีข้อได้เปรียบ ในการท�ำงาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริวรรณ สิรพิ ทุ ไธวรรณ (2547) ซึง่ พบว่า นายจ้างมีความพึงพอใจ กับบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ นอกจากความรู้ด้านวิชาการแล้วควรมีการสอน

229

นักศึกษาเรื่องศีล ธรรมจรรยา มารยาท บุค ลิกภาพ การวางตัวในทีท่ ำ� งานและการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นเหตุ เป็นผล ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ ายจ้างหรือผูป้ ระกอบการต้องการ จากบัณฑิต ได้แก่ การมีคณ ุ ธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ในอาชี พ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายด้ ว ยความ ซื่อสัตย์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบเอาใจใส่ในการท�ำงาน (สุวะณา ศิลปารัตน์, 2551 อ้างใน กฤตยา ฐานุวรภัทร์, 2555: 9-10)

ข้อเสนอแนะ

จากผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอ เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจเพื่อตอบสนอง ความต้องการของสถานประกอบการ ดังนี้ 1. หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และวิ ช าในหลั ก สู ต รควรมี ก ารพั ฒ นาให้ ทั น สมั ย สอดคล้องกับการท�ำงาน โดยผู้พัฒนาหลักสูตรสามารถ ใช้ขอ้ เสนอแนะและความเห็นทีไ่ ด้รบั จากผูป้ ระกอบการ ที่กล่าวว่า ควรสร้างนักศึกษาที่มีทั้งความเชี่ยวชาญ ด้านภาษาและงานส�ำนักงาน และความถนัดด้านอื่นๆ ด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรได้ 2. กิจกรรมการเรียนการสอนควรเน้นให้นักศึกษา ได้ลงมือฝึกปฏิบตั จิ ริง เน้นความรูท้ เี่ กิดจากการได้ลงมือ ท� ำ ด้ ว ยตนเองและใช้ ก ารบรรยายโดยอาจารย์ ห รื อ กิจกรรมที่เป็นภาคทฤษฎีเป็นตัวเสริม น�ำนักศึกษาออก ไปดู ง านในสถานประกอบการที่ ต รงกั บ สายงานที่ นักศึกษาเรียนเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้นักศึกษา ให้ทราบถึง เป้าหมายในการเรียนและเป็นการเตรียมพร้อมสู่การ ท�ำงานจริงหลังจากจบการศึกษา

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


230

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

บรรณานุกรม

กฤตยา ฐานุวรภัทร์. (2555). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ส�ำหรับสถานประกอบการ กรณีศึกษาบัณฑิตสาขาวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. สืบค้น เมื่ อ 25 กั น ยายน 2557, จาก http://research.northcm.ac.th/attachments/summary_ project/130325110936.pdf ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). ลักษณะบุคลิกภาพและความส�ำเร็จในการท�ำงานของบุคคลในหลายอาชีพ. วารสาร จิตพฤติกรรมศาสตร์ : ระบบพฤติกรรมไทย, 1(2), 115-135. จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2553). บริหารคนเหนือต�ำรา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Bizbook. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น เมือ่ 10 มกราคม 2558, จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/201404-10ทักษะแห่งศตวรรษที่%2021%20เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.pdf มารดารัตน์ สุขสง่า. (2554). ขีดความสามารถหลักที่พึงประสงค์ในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรขององค์กรชั้นน�ำ ในประเทศไทย กรณีศกึ ษาบริษทั ปูนซีเมนต์ไทย จ�ำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา. ศิรวิ รรณ สิรพิ ทุ ไธวรรณ. (2547). คุณลักษณะของบัณฑิตทีม่ ผี ลต่อการจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้น เมื่อ 25 กันยายน 2557, จาก http://www2.tsu.ac.th/coop/files/bandit.doc สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. (2557). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www. pim.ac.th/th/pages/about_us

Translated Thai References

Itthiarvatchakul, J. (2010). How to manage People Successfully. Bangkok: Bizbook. [in Thai] Laohajarassang, T. (2013). Twenty First Century Skills for developing Chiangmai University’s Instructors. Retrieved January 10, 2015, from http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_ download/2014-04-10ทักษะแห่งศตวรรษที่%2021%20เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่.pdf [in Thai] Panyapiwat Institute of Management. (2014). About Us. Retrieved February 15, 2015, from http:// www.pim.ac.th/th/pages/about_us [in Thai] Smithikrai, C. (2004). Personalities and Success of People in Various Occupations. Journal of PsychoBehavioural Science: Thai Behavioural System, 1(2), 115-135. [in Thai] Siripoothaiwan, S. (2004). Characteristics of TSU Graduates Affecting Job Employment Opportunities. Retrieved September 25, 2014, from http://www2.tsu.ac.th/coop/files/bandit.doc [in Thai] Suksanga, M. (2011). Core Competencies Desirable for Recruitment and Selection of Leading Organization in Thailanda Case Study of TheSiam Comment Public Company Limited. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

231

Thanuvorapat, K. (2012). Preferable Qualifications of the English for Communication Graduates, Faculty of Social Sciences and Liberal Arts, North-Chiang Mai University. Retrieved September 25, 2014, from http://research.northcm.ac.th/attachments/summary_ project/130325110936.pdf [in Thai]

Mett Robrue has currently worked as a full-time lecturer at Faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management. He received his Master Degree of Arts in Translation from Mahidol University. His Bachelor Degrees of Arts is English major from Burapha University. His main interests are translation and interpretation. Luksanaphan Bamrungratanakul received her Master Degree of Arts in English for Professions from Rangsit University in 2012. She is currently a full-time lecturer in Faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management. Her research interests are in the areas of English pronunciation, and English for communication, and Classroom research.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


232

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

A STUDY OF COLLOCATION USAGE IN FOOD AND BEVERAGE ADVERTISEMENTS การศึกษาการใช้ค�ำปรากฏร่วมในโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม

Rootjiporn Buakaew1 Abstract

As food and beverage business has been popular and increasingly evolved in education system. Educational programs in this area have been developed rapidly in Thailand, a parallel to the upgrade to become A World Kitchen. Therefore, it is essential for students to ably convey their knowledge and experience in English as a native-like. This study aimed to 1) investigate the use of collocations in food and beverage advertisements, 2) analyze types of lexical and grammatical collocations, and the frequently used ones, and 3) prove that lexical collocations and grammatical collocations in food and beverage advertisements are independent of each other. The purposing sampling was used to collect data. The sources of data in the study were the food and beverage advertisements taken from the Bangkok Post published in 2012, and the Internet advertisements from 2008 to 2012 to get 300 words as expected. The words were chosen by referring to Benson et al.’s theory. The data were analyzed by chi square. The research results were as follows: 1) there were 183 lexical collocations and 59 grammatical collocations, and lexical collocations were used more frequently than grammatical collocations, 2) more subcategories of standard patterns of both collocations, it was found that “adjective + noun” occurred most frequently, and 3) the numbers of lexical collocations and grammatical collocations were significantly different at 0.001 proving that they were independent of each other. Keywords: Lexical Collocations, Grammatical Collocations, Food and Beverage, Advertisements

บทคัดย่อ

ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก�ำลังได้รับความนิยมและมีความเกี่ยวข้องในระบบการศึกษา การจัดการ ศึกษาสาขาวิชานี้เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับการก้าวสู่การเป็นห้องครัวโลก ด้วยเหตุนี้จึง จ�ำเป็นส�ำหรับนักศึกษาที่จะต้องมีความสามารถในการใช้ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเป็น ภาษาอังกฤษได้ถูกต้องเหมือนเจ้าของภาษา งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สืบค้นรูปแบบการใช้ค�ำปรากฏร่วมใน 1 A

teacher in Foreign Languages Department of General Education Section, Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Krungthep, E-mail: rujy_jj_t@hotmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

233

โฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม 2) วิเคราะห์ประเภท และความถี่ในการใช้ค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์และเชิงไวยากรณ์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์และเชิงไวยากรณ์ในโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม ข้อมูล ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในหนังสือพิมพ์ที่หาได้ง่าย เช่น บางกอกโพสต์ ปี พ.ศ. 2555 และโฆษณาในอินเทอร์เน็ตระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 เพือ่ ให้ได้จำ� นวนค�ำตามทีก่ ำ� หนด ประมาณ 300 ค�ำ การเลือกค�ำปรากฏร่วมใช้อ้างทฤษฎีของเบ็นสันและคณะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์ 183 ค�ำ และค�ำปรากฏร่วมเชิงไวยากรณ์ 59 ค�ำ ค�ำปรากฏร่วม เชิงค�ำศัพท์มีความถี่ในการใช้มากกว่าค�ำปรากฏร่วมเชิงไวยากรณ์ 2) รูปแบบค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์และ เชิงไวยากรณ์ในโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มมีมากกว่าทฤษฎีของเบ็นสัน คือ มีคำ� คุณศัพท์ขยายค�ำนามพบมากที่สุด และ 3) ค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์และเชิงไวยากรณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.001 ค�ำส�ำคัญ: ค�ำปรากฏร่วมเชิงค�ำศัพท์ ค�ำปรากฏร่วมเชิงไวยากรณ์ อาหารและเครื่องดื่ม การโฆษณา

Introduction

One of the most important aspects of learning a language is learning the vocabulary of that language and its appropriate use. It is not possible to learn a language without learning its vocabulary. Abadi (1990) claimed that the learning of individual words or memorizing bilingual vocabulary list appeared to be no longer tenable, and that researchers suggested ways for learning multiword phrases and chunks instead. In other words, they underlined the importance of focusing on the association between lexical items in order to develop vocabulary learning. As an English word does not usually have only one meaning, its meaning can change when it’s an idiomatic expression. Another difficulty arising from vocabulary uses is “collocation” which is commonly used by the native speakers, but it’s quite difficult for an EFL/ESL learners and non-native speakers to use it correctly. Prosad (2009) explained that a piece of language conveys its dictionary meaning, connotations beyond the dictionary meaning,

information about the social context of language use, Thai EFL/ESL learners lack the abilities in interpreting the meaning; although, accurate grammar is used, problems concerning areas such as lexical selection still remain. It is reasonable that learners continue to make such mistakes considering the teachers’ focus on grammar rather than collocation instruction. It is self evident that the teaching of collocation should be a top priority in every language course. Abadi (1990) studied the importance of collocation in the learning of a foreign language and the problems that L2 learners face in using collocations. The study has devoted special attention to lexical and grammatical collocations. The results showed that there was a significant difference between the performance of the learners on using different subcategories of collocations. Woolard (2000) claimed that an effective way to raise awareness of collocations was to help EFL/ESL learners pay more attention to

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


234

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

their mis-collocations in their production of the language. The participants’ perceptions about the types of collocation which were different from these error types that the participants made in their writing samples. Ignorance of rule restrictions was the major source of wrong usage of collocation, even though foreign language learners as Thai learners realize the significance of English in daily life, for example play online games, text messages, go window shopping, or have meals in foreign restaurants. These activities normally involve English usage, but some Thai learners still cannot use English naturally. A collocation is the way in which words go together to produce natural language. Giang (2010) mentioned collocations play an important part of advertising in convincing people to use particular products. The figurative and literal meaning of a word may share some collocations as Collocations and Syntax, Collocations and Pragmatics, Collocation and their Classification, and Characteristics of Advertising Language. The success or failure of an advertisement is determined by the type of language used in it. The use of advertising has created a special style, with unique features and simple language. It is an immense attraction, which separates it from other kinds of language.

Review of Related Literature Collocations

A collocation is derived from the Latin words ‘collocationem’ and ‘collocatio’, noun forms of the Latin verb meaning ‘to arrange.’

When common English words are combined with each other, these word combinations are known as ‘collocations’. (Rundell, 2010: vii) Collocations consist of two words, which are called bi-gram collocations, while n-gram collocations consist of more than two words. Within each collocation, at least one content word is called the base or headword, which is used to determine the collocated words, or collocates. Both the headword and the collocates are referred to as co-words. (Claire, 2007: 2) It can be said that a ‘collocation’ consists of words or phrases which can co-occur or be combined and used naturally by the users of the language.

Definition of collocations

Rundell defined collocations as ‘the property of language whereby two or more words seem to appear frequently in each other’s company’. (Rundell, 2010: vii) McIntosh added that collocations are also a way in which words combine in language to produce naturalsounding speech and writing. (McIntosh, 2009: v) Collocations are those pairs of words which occur frequently together in the same environment and have a high overall frequency in language, but do not contain lexical items (McKeown & Radev, 2000: 4)

Types of collocations

Lexical Collocations Language usage is full of partially rigid word combinations, which we know as lexical

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

collocations. The term collocation is also used for word combinations that are lexically determined and constitute particular syntactic dependencies, such as verb-object, verb-

235

subject, adjective-noun relations etc. (Krenn, 2000) There are also common types of lexical collocations, as classified by Benson et al. (1986, quoted in Kuo, 2009).

Table 1 Types of Lexical Collocations Type Pattern L1 Verb + noun/pronoun L2 Verb + Noun L3 Adjective + noun L4 Noun + verb L5 Noun1 + noun2 L6 Adverb + adjective L7 Verb + adverb L = Lexical collocation types Source: Kuo, C. L. (2009: 141-155) Grammatical Collocations A grammatical collocation is a type of construction in which a verb or an adjective must be followed by particular preposition, or

Example Set a menu Dress salad Strong tea Bombs explode Lunch box Over tender Beat down

a noun must be followed by particular form of the verb. (Firth, 1957) Benson et al. (1986 quoted in Abadi, 1990) believed that there are eight major types of grammatical collocations.

Table 2 Types of Grammatical Collocations Type Categories G1 Noun + preposition G2 Noun + to + infinitive G3 Noun + That Clause G4 Preposition + Noun G5 Adjective + preposition G6 Adjective + to + infinitive G7 Adjective + That Clause G8 Verb + Preposition G = Grammatical collocation Source: Abadi, H. (1990)

Examples

sugar in a problem to do We reached an agreement that … In a diet Rich in Ready to eat She was delighted that … Spiked with

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


236

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Research Objectives

The research objectives were as follows: 1. To collect the collocations of words concerning Food and Beverage from the advertisements in the newspaper and on the Internet, and categorize them into two groups of Lexical Collocations and Grammatical Collocations. 2. To discuss the frequencies used of Lexical Collocation and Grammatical Collocation in Food and Beverage Advertisements. 3. To prove that Lexical Collocations and Grammatical Collocations are independent of each other.

Research Questions

This research addressed the following questions: 1. How many types of lexical and grammatical collocations are used in food and beverage advertisements? 2. Which types of collocations are frequently used in food and beverage advertisements? 3. Are there any relationships among lexical collocations and grammatical collocations?

Research Methodology

A study of collocations used in food and beverage advertisements is a descriptive research for which the data were collected from the written advertisements in newspapers, and on the Internet. It aimed to investigate the use of collocations in food and beverage advertisements, and to analyze the types and the frequency of collocations found in advertisements.

Research Materials

This research aims to analyze the uses or occurrences of collocations in food and beverage advertisements, and to collect the English collocations in food and beverage for ESP students. Therefore, the materials of this research are the data from the newspaper advertisements in 2012, and advertisements on the Internet from 2008 to 2012. The selected 300 advertisements consist ed of the written information which involved cooking, and tasting the essence or ingredients of food or beverage. The 300 words of collocations, both lexical and grammatical, were data for the study.

Research Instruments

The instruments for data analysis were categories of collocations divided into lexical and grammatical collocations according to Benson et al.’s patterns (1986). Then analyze and pick up words concerning food and beverage from newspapers and the Internet advertisements according to the research objectives and research hypotheses, the statistics used in this research are percentage and chi square.

Data Collection

To fulfill the research objectives, the researcher investigated the use of collocations for food and beverage in advertisements from the Bangkok Post in 2012 which is popular newspaper. About 250 words were picked out. Another 250 words were taken from the Internet from 2008 to 2012. The data from both

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

newspaper and on the Internet were analyzed. Then the data were classified into categories of Lexical and Grammatical Collocations according to Benson et al. (1986). Frequencies were calculated into percentages.

Data Analysis

This study is a descriptive research with the main sources of data transcribed from English advertisements in types of collocation, and the frequency of each type. After collecting the data by following Benson et al.’s (1986) theories, the data were checked for accuracy by using the Oxford Collocation Dictionary (2009) and by a native American teacher and a British teacher.

Research Results

The results of the study are presented in accordance with the three research objectives as follows: Part 1 To collect the collocations of food and beverage from the Internet and newspapers advertisements, and categorize them into two groups of lexical collocations and grammatical collocations. Part 2 To analyze the frequency use of lexical collocations and grammatical collocations in food and beverage advertisements. Part 3 To prove that lexical collocations and grammatical collocations are independent.

The Findings

Part 1 To answer the research question1, How many types of lexical or grammatical

237

collocations are used in food and beverage advertisements? The analysis reveals that among the 183 words of lexical collocations, there are 144 words (= 78.69%) that followed Benson’s theory and each pattern is described as the followings. Type L1 (verb + noun / pronoun), there are 8 words (= 4.37%). Type L2 (verb + noun), there are 11 words (= 6.01%). Type L3 (adjective + noun), there are 84 words (= 45.90%). Type L4 (noun + verb), no word is found (= 0.00%). Type L5 (noun1 + noun2), there are 29 words (= 15.85%). Type L6 (adverb + adjective), there are 2 words (= 1.09%). Type L7 (verb + adverb), there are 10 words (= 5.46%). According to Benson et al. (1986) lexical patterns, type L4 (noun + verb) is not found in food and beverage advertisements. Moreover, there are some Lexical Collocations differ from Benson et al.’s theory (1986) as the following patterns. 1. Noun + adjective (e.g. end up, food fresh, a brand-new, taste good). 2. Verb + adjective (e.g. keep clear, keep fresh, delivered fresh, get better, bite sized, make better, stay active, stay fit, keep moist, make delicious) 3. Adjective + verb (e.g. slow-cooked, perfect made, deep-fried) 4. Adverb + verb (e.g. cold snap, gently bake)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


238

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

5. Noun + adverb (e.g. year round, reason why) 6. Adverb + noun (e.g. of the sort) 7. Adjective + noun1 + noun2 (e.g. black winter truffle, slender tea bag, real beef stew, leftover bread dishes) 8. Adjective + adjective + noun (e.g. crispy tender puff, authentic Italian dining, tender fresh oyster, a deep-fried fish) 9. Verb + pronoun + adjective (e.g. keep you regular, make it pure, boost your health, awaken your palate) 10. Noun phrase (e.g. a fig-like texture, a nut-like flavor, home-cooked flavor) 11. Verb phrase (e.g. pick and pack, ripened and browned) It implies that there are 11 patterns, 39 words (= 21.31%) which do not follow Benson et al.’s theory (1986). The 47 grammatical collocations words (= 79.66%) out of 59 grammatical collocations, are described as the followings: Type G1 (Noun + preposition), there are 8 words (= 13.56%). Type G2 (Noun + to + infinitive), there is no word found (= 0.00%). Type G3 (Noun + that clause), there is no word found (= 0.00%). Type G4 (Preposition +noun), there are 9 words (= 15.25%). Type G5 (Adjective + preposition), there are 3 words (= 5.08%). Type G6 (adjective + to + infinitive), there is one word (= 1.69%). Type G7 (Adjective + that clause), there is no word found (= 0.00%).

Type G8 (Verb + preposition), there are 26 words (= 44.06%). According to Benson et al.’s grammatical patterns, there are 47 words (= 79.65%). It’s found that type G8 (Verb + preposition) are more frequently used. Opposite to type G2 (noun + to + infinitive), G3 (Noun + that clause) and G7 (Adjective + that clause) are not found in food and beverage advertisements. Moreover, there are some Grammatical Collocations differ from Benson et al.’s theory (1986) as the following patterns. 1. Verb + noun + preposition (e.g. left dishes out, top it of with) 2. Verb + adverb + preposition (e.g. made right of, feel right up) 3. Verb + preposition + noun (e.g. rich in protein, be in the mood) 4. Adverb + verb + preposition (e.g. as featured in, enjoy stocking up with) 5. Adverb + preposition + noun (e.g. out of oil) 6. Preposition + to + infinitive (e.g. on to go) 7. Prepositional phrase (e.g. in a bowl of, from cover to cover) The results reveal that there are 7 patterns, 12 words (20.35%), this finding does not follow Benson et al.’s theory (1986). Part 2 To discuss the frequency usage of lexical and grammatical collocations as appeared in the selected advertisements. They are presented in Table 3 and Table 4.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

239

Table 3 Comparative analysis of Lexical Collocation Patterns Pattern L1 Verb + noun / pronoun L2 Verb + noun L3 Adjective + noun L4 Noun + verb L5 Noun1 + noun2 L6 Adverb + adjective L7 Verb + adverb L8 Noun + adjective L9 Verb + adjective L10 Adjective + verb L11 Adverb + verb L12 Noun + adverb L13 Adverb + noun L14 Adjective + noun1 + noun2 L15 Adjective + adjective + noun L16 Verb + pronoun + adjective L17 Noun phrase L18 Verb phrase

Total

Table 3 reveals that L1 to L7 were lexical collocation patterns found in food and beverage advertisements according to Benson et al.’s theory and L8 to L18 were lexical collocation patterns found in this

Frequency 8 11 84 0 29 2 10 4 10 3 2 2 1 4 4 4 3 2 183

Percentage 4.37 6.01 45.90 0.00 15.85 1.09 5.46 2.19 5.46 1.64 1.09 1.09 0.55 2.19 2.19 2.19 1.64 1.09 100%

research. The “adjective + noun” pattern (84 words) are the most frequently used (45.90%). In contrast, “Noun + verb” collocation pattern is not found in this research but may be in daily use.

Table 4 Comparative analysis of Grammatical Collocation Patterns G1 G2 G3 G4

Pattern Noun + preposition Noun + to + infinitive Noun + that clause Preposition + noun

Frequency 8 0 0 9

Percentage 13.56 0.00 0.00 15.25

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


240

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Pattern G5 Adjective + preposition

G6 adjective + to + infinitive G7 Adjective + that clause G8 Verb + preposition G9 Verb + noun + preposition G10 Verb + adverb + preposition G11 Verb + preposition + noun G12 Adverb + verb + preposition G13 Adverb + preposition + noun G14 Preposition + to + infinitive G15 Preposition phrase Table 4 reveals that G1 to G8 were grammatical collocation patterns found in food and beverage advertisements according to Benson et al.’s theory, and G9 to G15 were grammatical collocations found in this research. Type G8 (Verb + preposition) are the most frequently used 26 words (44.06%) out of 59 words. In contrast, G2 (Noun + to + infinitive), G3 (Noun + that clause) and G7 (Adjective + that clause) patterns are not found in this research.

Frequency 3

Total

1 0 26 2 2 2 2 1 1 2 59

Percentage 5.08

1.70 0.00 44.06 3.39 3.39 3.39 3.39 1.70 1.70 3.39 100%

Part 3 To prove that lexical collocations and grammatical collocations are independent of each other, the data were classified into its semantic meanings and functions. It’s found that the collocation of words can be classified into 10 groups: 1) kinds of food and beverage, 2) taste of food and beverage, 3) ingredient, 4) cooking method, 5) place / atmosphere, 6) quality / benefit, 7) dessert / fruit, 8) service, 9) storing / container, and 10) others, to find the correlations, the result is showed in Table 5.

Table 5 Comparative Analysis of Lexical and Grammatical Collocation Functions Meanings / Functions Kinds of food and beverage Taste of food and beverage Ingredients Cooking method Place / Atmosphere

Lexical 40 (30.25) 13 (10.59) 20 (16.64) 18 (21.93) 3 (7.56)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

Frequency Grammatical 0 (9.75) 1 (3.41) 2 (5.36) 11 (7.07) 7 (2.44)

Total 40 14 22 29 10


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

Meanings / Functions Quality / Benefit Dessert / Fruit Service Storing / Container Others Total Lexical collocations and grammatical collocations are proved to show that they are independent by chi-square analysis as follow: r c (O − E )2 2 x = ∑∑ E i =1 j =1 = 55.69 df = (10 - 1)(2 - 1) = 9 From the chi square results, this Chi- Square is 55.69 with the probability = 0.000 (for alpha = 0.0001). The hypothesis is accepted. This means that there are significant differences between distributions of meanings and functions of lexical and grammatical collocations. Thus, it is confirmed that there is a significant difference between lexical collocations and grammatical collocations used with different meanings and functions of the ten aspects.

Conclusions

To reach all the purposes of this research, these research questions were posed to support the purposes in line with the research objectives. This research applied Benson et al.’s theory (1986) as the framework for data analyses. It

Lexical 36 (33.27) 11 (9.07) 23 (36.30) 6 (6.05) 13 (11.34)

Frequency Grammatical 8 (10.73) 1 (2.93) 25 (11.70) 2 (1.95) 2 (3.66)

Total 44 12 48 8 15

183

59

242

241

separated collocations into two types: lexical collocations and grammatical collocations. There are totally seventeen patterns of lexical collocations and twelve patterns of grammatical collocations in food and beverage advertisements. The findings of this research express distinctive different frequencies of usage between lexical collocations and grammatical collocations in food and beverage advertisements. The total 242 collocational words can be categorized into 183 Lexical Collocations (75.62%) and 59 Grammatical Collocations (24.38%). This means that Lexical Collocations are more frequently used than Grammatical Collocations. Table 4 shows the 17 Lexical collocation patterns found that “Adjective + noun” pattern appeared more often by 84 words (45.90%) which are nearly half of the lexical collocations, “noun1 + noun2” pattern appearing in 29 words (15.85%). These two types of lexical collocations follow Benson et al.’s patterns while “Noun + verb” pattern does not appear in food and beverage advertisements. On the other hand, table 5 presents only 59 grammatical collocations, which are about one third of lexical collocations. This research found

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


242

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

that G8 “Verb + preposition” pattern appeared the most frequently of all 12 Grammatical Collocations patterns by 26 words (44.06%). In food and beverage advertisements, “Noun + to + infinitive”, “Noun + that clause”, and “adjective + that clause” were not found in this research. In conclusion, the results indicated that the number of collocations in food and beverage advertisements, lexical collocations occurred more frequently than grammatical collocations (Lexical183: Grammatical59). And the top one of each pattern, “Adjective + noun” of lexical collocations were more often used than “Verb + preposition” of grammatical collocations (Lexical84: Grammatical26). The result of this research shows there is statistical significant difference between lexical collocations and grammatical collocations. The results of the Chi square shows that the difference between the frequency usage of lexical collocations and grammatical collocations are significant. The findings show that most lexical collocations are high frequency used in opposite to the grammatical collocations which are low, except “Service” the frequency usage of grammatical collocation is a little higher than that of lexical collocations.

Recommendations

There are several recommendations for further research on the following topics so that the studies of collocations in advertising or in other textbooks can have clearer findings: 1. A study of collocation use in any service careers such as designing, engineering, marketing,

and so on. According to the results of lexical and grammatical collocations show that collocations in “Service” is most frequently used. Because these fields are involved to services industry in daily lives. 2. A study of the semantic features of career collocations that may be useful for teaching English for specific purposes (ESP) by focusing on the technical terms of each career. 3. A study of lexical pattern to support technical term knowledge because each field has its own language nature, the same words may not use in the same patterns in each career. 4. A comparative study between English and Thai collocations in everyday use because there are some differences in semantic meanings between Thai and English. A word in Thai language may not hold the meaning as use to collocate with one as in English. Now Thailand is becoming one of the ASEAN member countries. However, most of the Thais are still weak in using English for communication. Therefore the uses of collocations can help to make communication sound natural. There are some recommendations for developing the learners’ abilities in English vocabulary, especially collocations as follows: 1. The glossary list of collocation in food and beverage of this research can help the learners know more English collocations in food and beverage used in daily life. 2. There are many sources that the learners can access to English vocabulary not only from the Bangkok Post or on the Internet but also they can learn from the other newspapers, magazines, brochures and other sources.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

3. There should be more researches studying on various kinds of English collocations in Thailand as in other countries such as

243

Vietnam, Japan, Taiwan, and China where collocations’ researches are popular area of investigation.

References

Abadi, H. (1990). A study of the Learning of English Lexical and Grammatical Collocations by Iranian EFL Learners. Iran: The University of Science and Aeronautical Technology Tehran. Bahns, J. (1993). Lexical collocations: A contrastive view. ELT Journal, 47(1), 57. Benson, M., Benson, E. & Ilson, R. (1986). Lexicographic Description of English. Amesterdam and Philadeiphia: John Benjamins. Claire, L. W. (2007). Chinese Collocation Extraction and its Application in Natural Language Processing. Doctor of Philosophy Thesis, The Hong Kong Polytechnic University. Farrokh, P. & Alizadeh, M. (2013). English Grammatical Collocations in Azeri. AEL, 2(2), 123. Firth, J. R. (1957). Modes of meaning. London: Oxford University Press. Giang, H. T. H. (2010). A Study on the Pragmatic Features of Collocation Used in Advertising Hair Care Product in English and Vietnamese. Doctor of Philosophy Thesis in The English Language, University of Danag. Hoey, M. (2005). Lexical priming: A new theory of words and language. London: Routledge. Krenn, B. (2000). Collocation Mining: Exploiting Corpora for Collocation Identification and Representation. Journal of Monetary Economics, Proceedings of KONVENCS 2000, Ilmenau, Deutschland. Kuo, C. L. (2009). An Analysis of The Use of Collocation by Intermediate EFL College Students in Taiwan. ARECLS. (6), 141-155. McIntosh, C. (2009). Oxford Collocations Dictionary for students of English. (2nd ed.). London: Oxford University Press. McKeown K. R. & Radev D. R. (2000). Collocations. Department of Computer Science. New York: Columbia University. Oxford English Dictionary of Collocations (2002), London: Oxford University Press. Prosad, L. (2009). Seven Types of meaning in Semantics. AM.A Project. Retrieved May 30, 2013, from http://universeofenglish.blogspot.com/2009/02/seven-types-of-meaning-in-semantics.html Prowriting.aids. (2012). Collocations Dictionary. Retrieved October 1-31, 2012, from http:.// prowritingaids.com/Collocations.aspx Rundell, M. (2010). Macmillan Collocations Dictionary. Oxford: Macmillan Publishers Limited. Woolard, G. (2000). Collocation-encouraging learner independence. Teaching collocation: further developments in the lexical approach. London: Language Teaching publications. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


244

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Rootjiporn Buakaew is an English teacher at Rajamangala University of Technology Krungthep. She received her Bachelor’s degree in English Teaching from BanSomdejChaopraya Teacher College, Master’s degree in Teaching English As a Second Language from Silpakorn University, Nakhonprathom, and Doctoral degree in Linguistics, (Applied Linguistics and TESOL) from Suansunandha Rajabhat University. Her area of interest is ESP teaching.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

245

การน�ำเสนอรายการโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล TV PROGRAM IN THE DIGITAL AGE

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์1 Supasil Kuljitjuerwong1 บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน ให้มีประสิทธิภาพ เกิดความน่าสนใจ สอดคล้องตรงกับพฤติกรรมการรับชมของผู้ชมในปัจจุบัน และสามารถแย่งชิงฐานจ�ำนวนผู้ชมให้ ติดตามรายการของตนได้เป็นจ�ำนวนมาก ซึง่ ผูผ้ ลิตรายการโทรทัศน์สามารถน�ำข้อเสนอแนะมาปรับใช้เพือ่ เป็นแนวทาง ในการผลิตรายการให้เกิดประสิทธิภาพได้ต่อไป อีกทั้งผู้ชมก็จะมีโอกาสในการเลือกรับชมรายการที่มีคุณภาพ และ เหมาะสมกับรูปแบบการด�ำเนินชีวิตของแต่ละคน ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านการผลิตรายการโทรทัศน์นั้นสูงขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากพัฒนาการของระบบ ดิจิทัลและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับชมของผู้ชม และจ�ำนวนคู่แข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้น ดังผลส�ำรวจของเว็บไซต์ Vouchercodespro.co.uk (2012) พบว่า กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนการใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์และดิจิทัลวิดีโอเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.07 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ วิดีโอออนไลน์ รวมไปถึงหนังสือพิมพ์ออนไลน์และวิทยุออนไลน์ พบว่า เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและเริ่มมีสัดส่วนการใช้งาน เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างปี 2010-2013 ในขณะที่สัดส่วนของสื่อประเภทอื่นในรูปแบบออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร กลับได้รับความนิยมลดลง ดังนั้น ผู้ผลิตรายการต่างต้องสร้างสรรค์ กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และมีความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น เพื่อเพิ่มฐานผู้ชม โดยอยู่บนพื้นฐานของ แนวคิดเรื่องกระบวนการสื่อสาร ทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร และปฏิกิริยา ตอบกลับ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวสามารถน�ำมาก�ำหนดเป็นแนวทางในการผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีประสิทธิภาพ ได้ด้วยการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างแนวคิดและมุมมองใหม่ การเล่าเรื่องข้ามสื่อ การน�ำเสนอรายการควรผ่าน ช่องทางหรือสื่อที่หลากหลาย การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ชม และการให้ความส�ำคัญกับปฏิกิริยาตอบกลับของผู้ชม ค�ำส�ำคัญ: การผลิตรายการโทรทัศน์ ดิจิทัล

Abstract

This paper aims to present the guidelines of today’s television production in order to be efficient, attractive, and appropriate to the viewing behavior of audience and be competitive to take the large number of the audience of their programs. The television producers can apply the 1 อาจารย์ประจ�ำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการสือ ่ สาร (นิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตเพชรบุร,ี Fulltime Lecturer

of Liberal Arts major in Communication (Communication Arts), Stamford International University, Petchaburi Campus, E-mail: Supasil@stamford.edu ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


246

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

suggestion for the effective guidelines of television production in the future. Moreover, the audience will have an opportunity to choose the quality programs and appropriate to their lifestyle of today's society. The present TV production has been more competitive than the past because of several factors such as the development of digital system and technology, the change of the viewing behavior of the audience and the increasing of the business competition. As the survey result of website: Vouchercodespro.co.uk (2012) has found that the internet users had the increasing proportion of online social media using and digital video up to 3.07 hours per person per day. During 20102013, it found that the us of online social media, online videos, including online newspapers and online radio was found to be popular activities and had the average usage proportion increasing steadily. Contrastingly, the proportion of other offline media forms such as television, radio, newspapers and magazines were decreasing in popularity. Therefore, the producers must create the efficient production processes and the competitive differentiation for increasing the number of the audiences by focusing on the 5 key factors: the sender, the content, the communication channel, the receiver and the feedback. These key factors can be the guidelines of the efficient television production with the feedback to create new ideas and perspectives, transmedia storytelling, one content Multiscreen-Multiplatform, the analysis of audience behavior and the important of audience reactions. Keywords: television production, digital ปัจจุบนั มีรายการโทรทัศน์ให้ผชู้ มสามารถเลือกชม เป็นจ�ำนวนมาก ตามความชอบของแต่ละบุคคล ทั้ง รายการที่ผลิตในประเทศ และรายการที่ซื้อลิขสิทธิจ์ าก ต่างประเทศ รายการโทรทัศน์จึงท�ำหน้าที่เป็นสื่อกลางใน การเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสาร ทัง้ สาระ และความบันเทิงให้ กับผู้ชมได้ทุกเพศทุกวัย (วนิดา ฉัตรสกุลไพรัช, 2557: 175) หากเปรียบเทียบจากในอดีตแล้ว สื่อโทรทัศน์ ในประเทศไทยมีจ�ำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งโทรทัศน์แบบ ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) โทรทัศน์ผ่าน ดาวเทียม (Satellite Television) เคเบิ้ลทีวี (Cable Television) และโทรทัศน์ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol Television) รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ แบบภาคพื้นดินเข้าสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital Television) ซึ่งจะท�ำให้โทรทัศน์ประเภทรับชมฟรี

(Free TV) จาก 6 ช่อง เพิ่มขึ้นเป็น 48 ช่อง ในอนาคต ในขณะที่ผู้ชมมีจ�ำนวนเท่าเดิม ส่งผลให้ผู้ประกอบการ โทรทัศน์ต่างต้องปรับตัวเพื่อช่วงชิงฐานจ�ำนวนผู้ชมให้ สนใจติดตามรายการจากสถานีของตน “การผลิ ต รายการโทรทั ศ น์ ” จึ ง นั บ ได้ ว ่ า เป็ น กระบวนการที่ ส� ำ คั ญ ที่ จ ะส่ ง ผลให้ ร ายการที่ ผ ลิ ต ออกมานั้นมีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้ชม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวล้วนมีความสลับซับซ้อน อาศัย กลุม่ งานผลิตรายการเป็นจ�ำนวนมาก ในการประสานงาน ไปยังภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน (สุทิติ ขัตติยะ, 2555: 215) ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนา ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ อยู่เสมอ ทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื้อหารายการ และ วิธีการน�ำเสนอที่น่าสนใจ ยิ่งในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ด้วยสื่อและรายการโทรทัศน์ที่มีจ�ำนวนมาก ผู้ชมมี โอกาสเลือกชมรายการที่ตนสนใจ และเลือกปฏิเสธ การรับชมรายการที่ตนไม่สนใจได้โดยง่ายด้วยการกด เปลี่ยนช่องด้วยรีโมท (Remote) อีกทั้งการเข้ามา มีบทบาทของระบบดิจิทัล ช่วยเอื้ออ�ำนวยความสะดวก ในการรับชมมากขึ้น ผู้ชมไม่จ�ำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอ โทรทัศน์เพื่อรับชมรายการที่ตนชื่นชอบเสมอไป แต่ สามารถรับชมผ่านอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ มื อ ถื อ อั จ ฉริ ย ะ หรื อ แท็ บ เล็ ต โดยไม่ จ� ำ กั ด สถานที่ และเวลาในการรั บ ชม รายการโทรทั ศ น์ ข องผู ้ ช ม ในปัจจุบนั ท�ำได้ทกุ ที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) (แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร, 2555) ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยี อาจเป็นตัวแปรส�ำคัญ ที่ท�ำให้ผู้ชมมีพฤติกรรมการรับชมที่เปลี่ยนแปลงไป เร็วกว่าผูผ้ ลิตรายการจะตามทัน โดยทีผ่ า่ นมาพบว่าผูช้ ม ใช้เวลาในการรับชมรายการโทรทัศน์เฉลี่ยน้อยลง และ เปลี่ยนไปรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ใช่ โ ทรทั ศ น์ ม ากขึ้ น ซึ่ ง พฤติ ก รรมเหล่ า นี้ เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันคนไทยมีการใช้งาน ผ่านมัลติสกรีน (Multi-screen) ในเวลาเดียวกันกับ การใช้งานผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร (Device) หลายๆ เครื่อง ถือเป็นพฤติกรรมปกติที่ใช้ตลอดทั้งวัน (สุวิทย์ สาสนพิจิตร์, 2557) ดังนั้น ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ควร ทบทวน และหาวิธกี ารผลิตรายการโทรทัศน์ในยุคดิจทิ ลั เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการรับชมของผู้ชมที่ เปลี่ยนไป ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางการผลิตรายการ ในยุคดิจิทัลที่ผู้ผลิตรายการควรค�ำนึงถึงไว้ 5 ประการ ได้แก่ ผู้ผลิตรายการ เนื้อหา สื่อ ผู้ชม และปฏิกิริยา ตอบกลับ โดยมีรายละเอียดส�ำคัญ ดังนี้ 1. ผู ้ ส ่ ง สาร (Sender) หรื อ ผู ้ ผ ลิ ต รายการ (Producer) สิ่งที่ผู้ผลิตรายการควรพิจารณา คือ สร้าง การปฏิสมั พันธ์ (Interactive) ให้เกิดขึน้ ระหว่างผูช้ มกับ ผู้ผลิตรายการ ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์นั้นจะเป็นระดับ ที่สูงกว่าการมีส่วนร่วม (Participation) กล่าวคือ การมี

247

ส่ ว นร่ ว มนั้ น จะเป็ น การแสดงบทบาทของผู ้ ช มต่ อ รายการเพียงผิวเผิน และสิ้นสุดลงเมื่อจบรายการ อาทิ การส่งข้อความชิงรางวัล (SMS) การเป็นแขกรับเชิญใน รายการ ขณะที่การมีปฏิสัมพันธ์นั้นผู้ชมจะเข้ามามี บทบาทกับรายการมากขึ้น และมีความต่อเนื่อง เช่น การที่ผู้ชมเลือกมุมมองในการรับชม (Multi-view) และ เลือกจัดผังรายการเองได้ (เสมือนเป็นผู้ผลิตรายการ) การที่ ผู ้ ช มได้ ร ่ ว มท� ำ กิ จ กรรมต่ า งกั บ รายการอย่ า ง ต่ อ เนื่ อ ง เป็ น ต้ น ดั ง นั้ น การสร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ จึ ง เปรียบเสมือนการสร้างประสบการณ์ร่วมกันระหว่าง ผู้ผลิตรายการและผู้ชม ท�ำให้ผู้ผลิตรายการสามารถ ดึงดูดผูช้ มเข้าสูร่ ายการและประเมินผลการมีปฏิสมั พันธ์ จากผู้ชมได้ว่า ผู้ชมรู้สึกอย่างไรกับรายการที่ผลิตขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการรับชมของผู้ชม ยุคดิจิทัล ที่มักเปิดรับสื่อหลายหน้าจอ (Multi-screen) ทุกที่ทุกเวลา (ปัทมวรรณ สถาพร, 2557) ซึ่งข้อมูล ทีไ่ ด้รบั ก็สามารถน�ำมาพัฒนาประสิทธิภาพของรายการ ต่อไป ส่วนด้านผู้ชมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการสร้าง ปฏิสัมพันธ์กับรายการ เช่น การที่ผู้ชมเลือกมุมมองใน การรับชมเองได้ ท�ำให้ตอบสนองความต้องการของผูช้ ม ที่มีมุมมองในการรับชมที่หลากหลายและแตกต่างกัน ส่วนการเลือกก�ำหนดผังรายการเองได้ ท�ำให้ผู้ชมรับชม รายการที่ ต นชื่ น ชอบตามช่ ว งเวลาที่ ผู ้ ช มสะดวกได้ เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “โทรทัศน์ให้อ�ำนาจผู้ชม และสร้างปฏิสมั พันธ์ระหว่างผูด้ ู ผูส้ ร้างได้อย่างแท้จริง” (ธาม เชื้อสถาปนาศิริ, 2557ค: 80) 2. สาร (Message) หรื อ เนื้ อ หารายการ (Content) สารที่น�ำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์บาง รายการได้รับอิทธิผลมาจากปัจจัย 2 ส่วน คือ 2.1 อิทธิพลจากแนวความคิด และประสบการณ์ ดั้งเดิมของผู้ผลิตรายการเอง ที่ได้หล่อหลอมขึ้นเป็น กรอบในการก�ำหนดเนื้อหาและรูปแบบรายการ ซึ่งอาจ ขาดการค�ำนึงถึงความต้องการในการรับชมของผู้ชม ท�ำให้เนื้อหาที่น�ำเสนอออกไปนั้นไม่สอดคล้องกับความ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


248

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ต้องการในการรับชมของผู้ชมที่แท้จริง สอดคล้องกับ ค�ำอธิบายของธาม เชื้อสถาปนศิริ (2557ค: 66) ได้อธิบาย ว่า ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่มักตกหลุมพราง ของตนเอง โดยการน�ำความคิด ความเชี่ยวชาญของ ตนเอง หรืออิทธิพลจากผู้สนับสนุนรายการเป็นที่ตั้ง เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกระบวนการผลิตรายการ โทรทัศน์บนแนวคิดของตนเอง โดยลืมพิจารณาว่าผู้ชม กลุ่มเป้าหมายนั้นจะชอบ หรือไม่ชอบอย่างไร ท�ำให้ เนื้อหารายการที่ผลิตออกมานั้นอาจไม่ตรงกับความ ต้องการของผู้ชมได้ 2.2 อิ ท ธิ ผ ลจากผู ้ อุ ป ถั ม ภ์ ร ายการ การผลิ ต รายการโทรทัศน์ เป็นกระบวนการที่ใช้งบประมาณ ในการผลิตสูง เพื่อน�ำมาเป็นทุนในการสนับสนุนส่วน ต่างๆ อาทิ ทีมงาน เทคโนโลยี และการจัดการ ซึ่งรายได้ หลักของรายการมักมาจากการซื้อเวลาค่าโฆษณาของ ผู้อุปถัมภ์รายการ ส่งผลให้ผู้อุปถัมภ์รายการเข้ามามี บทบาทในการก�ำหนดเนือ้ หา และรูปแบบรายการให้เป็น ไปตามทีต่ นต้องการ ด้วยเหตุนี้ ผูอ้ ปุ ถัมภ์รายการจึงเข้ามา มีบทบาทต่อองค์กรสือ่ ยิง่ องค์กรสือ่ ต้องพึง่ พาสนับสนุน ทางด้านการเงินจากผู้อุปถัมภ์รายการมากเท่าไร ความ อิสระในการผลิตและด�ำเนินงานก็จะยิ่งน้อยลงไปมาก เท่านั้น เพราะในฐานะที่ผู้อุปถัมภ์รายการเป็นองค์กร ธุรกิจ ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งแสวงหาก�ำไร โดยการเสนอ สินค้าหรือบริการของตนผ่านสื่อที่มีผู้ชมรู้จักให้มาก ที่สุด (ศศิวิมล กุมารบุญ, 2542: 6-7) และสอดคล้องกับ การศึกษาของ ประพิม คล้ายสุบรรณ์ (2542) เรื่อง ระบบอุปถัมภ์กับวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดี สิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ พบว่า ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพล ต่อการท�ำงานตามวิชาชีพของผู้ผลิตรายการสารคดี สิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ผลิตรายการ ตั้งแต่การวางแผนการผลิต ก่อนการผลิต รายการ การผลิตรายการ และหลังการผลิตรายการ หรือ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ระบบอุปถัมภ์มีอิทธิพลในระดับสูง ต่อกระบวนการผลิตรายการ อย่างไรก็ตาม จากทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า เนื้อหารายการที่น�ำเสนอออกมานั้น อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผูช้ มอย่างแท้จริง ซึ่ ง หากผู ้ ผ ลิ ต รายการมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ จ ะน� ำ เสนอ เนื้อหารายการให้ผู้ชม จึงควรให้ความส�ำคัญกับผู้ชม เป็นหลัก โดยค�ำนึงถึงว่า ผู้ชมชอบหรือไม่ชอบเนื้อหา ในลักษณะใด ดั ง นั้ น การออกแบบสาร (Message Design) ควรสร้ า งบนพื้ น ฐานประสบการณ์ ข องผู ้ ช ม (ธาม เชือ้ สถาปนศิร,ิ 2557ข) และควรศึกษาพฤติกรรมในการ รับชมของผู้ชมด้วย ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้องสามารถ น�ำเสนอเนื้อหาที่ส ามารถสร้างประสบการณ์ในการ รั บ ชม และเชื่ อ มโยงสื่ อ ต่ า งๆ เข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น อย่ า ง สอดคล้อง บนแก่นของสาร หรือเนื้อหาหลักได้อย่าง เหมาะสม หรืออาจเรียกว่า “การเล่าเรื่องข้ามสื่อ” คือ การเล่าเรื่องเอกเรื่องหนึ่งผ่านเรื่องย่อยหลายๆ เรื่อง โดยใช้เทคนิคผ่านรูปแบบช่องทางสื่อต่างๆ ซึ่งค�ำนึง ถึงธรรมชาติของสื่อ พฤติกรรมของผู้รับสาร กิจวัตร ประจ�ำวัน โดยเรื่องย่อยหนึ่งๆ นั้น มีความครบถ้วน สมบรูณ์ในตัวเอง เรื่องต่างๆ จะถูกเชื่อมโยง สัมพันธ์ และบูรณาการ โดยผู้ใช้เอง ผู้ส่งสารเพียงให้ก�ำเนิด เนื้อเรื่องหลัก แต่ผู้รับสารจะพัฒนาเรื่องนั้นๆ ต่อด้วย ประสบการณ์และจินตนาการของผู้รับสารเอง (ธาม เชื้อสถาปนศิริ, 2557ก: 78) เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ATM เออรัก เออเร่อ โดยมีการน�ำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ เป็นหลัก แต่มีการเชื่อมโยงด้วยวิธีการให้ผู้ชมได้เข้ามา มีส่วนร่วมผ่านสื่อ หรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ ช่วย สร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชม และยังเป็นการสร้าง แนวทางไปสู่ภาพยนตร์ในภาคต่อไปด้วย (ดังแผนภาพ ที่ 1)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

249

ร่วมตอบค�ำถามเพื่อลุ้นชิงบัตร ชมภาพยนตร์ฟรี หลังชมภาพยนตร์ ATM 2 คู่เว่อ… เออเร่อ…เออรัก ให้ผู้ชมโพสภาพ หรือมุขที่ประทับใจลงในเพจของ GTH เพื่อลุ้นชมภาพยนตร์เรื่อง ATM 2 คู่เว่อ…เออเร่อ…เออรัก EP.21 ตอนพิเศษ ATM Special กับนักแสดงในเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์

สื่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

แก่นเรื่อง

ชมภาพยนตร์เรื่อง ATM 1 เออรัก…เออเร่อ สื่อโรงภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่อง ATM 2 คู่เว่อ…เออ เร่อ…เออรัก ทางช่อง GMM Z สื่อเคเบิ้ลทีวี

แผนภาพที่ 1 การเล่าเรื่องข้าม ผลของการเล่ า เรื่ อ งข้ า มสื่ อ ดั ง กล่ า ว เป็ น องค์ ประกอบหนึ่งที่ท�ำให้ภาพยนตร์เรื่อง ATM เออรัก เออ เร่อ ติดอันดับภาพยนตร์ท�ำเงินอันดับ 1 ในปี 2555 (เว็บไซต์กระปุกดอทคอม, 2555) ซึง่ เข้าฉายเพียง 25 วัน สามารถสร้างรายได้กว่า 145.85 ล้านบาท และยัง สามารถท�ำลายสถิติในวงการภาพยนตร์ไทย คือ 1) เป็น ภาพยนตร์รกั ทีท่ ำ� เงินสูงสุดตลอดกาลของภาพยนตร์ไทย และ 2) เข้าสู่ท�ำเนียบภาพยนตร์ท�ำเงินสูงสุดของไทย ในอันดับที่ 8 รองจาก สุริโยทัย ตํานานสมเด็จนเรศวร มหาราช ภาค 1 2 และ 3 ต้มย�ำกุ้ง บางระจัน และ นางนาก (วิสูตร พูลวรลักษณ์, 2555) ซึ่งสอดคล้องกับ ค�ำอธิบายของทรงศักดิ์ เปรมสุข (2557) กรรมการ ผู้อ�ำนวยการ บริษัท วอยซ์ทีวี จ�ำกัด ได้อธิบายว่า ผู้ บริโภคในยุคดิจิตอล มีความเป็นผู้น�ำทางความคิดและ การใช้ชวี ติ ทีก่ ระหายในการรับข้อมูลข่าวสาร และมีการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารแบบครอส มีเดีย สกรีน (Cross Media Screen) หรือข้ามสื่อมากขึ้น ซึ่งใช้มือถือเป็น อุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ การรับข้อมูล

ข่าวสารจะเป็นแบบมิกซ์ คอนเทนต์ (Mix Content) หรือเนื้อหาผสม 3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) หรือสื่อ (Media) ผูช้ มในยุคปัจจุบนั นัน้ มีพฤติกรรมการรับชมที่ หลากหลาย ซับซ้อน และไม่คงที่ ซึ่งต่างจากพฤติกรรม การรับชมของผูช้ มในอดีตทีม่ แี บบแผนทีช่ ดั เจนกว่า เช่น การชมรายการทางโทรทัศน์หลังเลิกงาน การฟังวิทยุ ขณะก�ำลังเดินทางไปท�ำงาน และการอ่านหนังสือพิมพ์ ในตอนเช้า เป็นต้น แต่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศ ได้มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาท�ำให้ พฤติ ก รรมของผู ้ ช มเปลี่ ย นไป เช่ น พั ฒ นาการของ เทคโนโลยีอันทันสมัย การด�ำเนินชีวิตที่เร่งรีบ แหล่ง ข้อมูลข่าวสารทีม่ จี �ำนวนเพิ่มขึ้น เป็นต้น เพือ่ สนองตอบ ต่อความต้องการในการรับข้อมูลข่าวสารของผู้ชม เช่น การรับชมรายการโทรทัศน์ย้อนหลังผ่านวิดีโอออนไลน์ (YouTube) หรือการรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางสือ่ สังคม ออนไลน์ (Online Social Media) การรับข้อมูลข่าวสาร

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


250

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ดังกล่าว อาจเกิดพฤติกรรมในด้านอืน่ ๆ ตามมา เช่น การ แบ่งปัน (Share) การเสนอแนะ (Comment) และการ เชื่อมต่อไปยังข้อมูลอื่นๆ (Link) เป็นต้น ซึ่งสอดคล้อง กับข้อมูลของ Voucher Codes Pro (2012) ทีไ่ ด้อธิบาย ว่ า การใช้ ง านสื่ อ สั ง คมออนไลน์ แ ละวิ ดี โ อออนไลน์ นับว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลกับ ผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในกลุ่มผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และ วิดีโอออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.07 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ซึง่ เพิม่ ขึน้ เฉลีย่ ราว 22-30 นาทีตอ่ ปี การใช้งานสือ่ สังคม ออนไลน์ วิดีโอออนไลน์ รวมไปถึงหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และวิทยุออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสื่อออนไลน์ พบ ว่า เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและเริ่มมีสัดส่วนการ ใช้งานเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ที่ท�ำการส�ำรวจตั้งแต่ปี 2010-2013 ในขณะที่สัดส่วน การสื่อประเภทอื่นในรูปแบบออฟไลน์ เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร กลับได้รับความนิยมลดลง สวนทางกับการใช้สอื่ ออนไลน์อย่างชัดเจน (thumbsup, 2012) ดั ง นั้ น การผลิ ตรายการโทรทัศน์ใ นปัจ จุบันนั้น ผู้ผลิตรายการควรน�ำเสนอเนื้อหารายการผ่านช่องทาง หรือสื่อที่หลากหลาย (One Content Multiscreen-

Multiplatform) เพือ่ ให้ผชู้ มทีม่ พี ฤติกรรมในการรับชม ทีต่ า่ งกันสามารถเข้าถึงเนือ้ หาในช่องทางต่างๆ ได้หลาย รูปแบบ จะผลิตเนื้อหารายการเพื่อน�ำเสนอผ่านทาง หน้าจอโทรทัศน์อย่างเดียวอย่างในอดีตไม่ได้ แต่ต้อง น�ำเสนอผ่านทางหน้าจอ หรือแพลตฟอร์ม (Platform) อื่นๆ ด้วย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภครับชมโทรทัศน์ น้อยลง (ธาม เชื้อสถาปนศิริ, 2557ข) ดังจะเห็นได้จาก กรณีศึกษาของบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) (Nation Broadcasting Corporation) ทีใ่ ช้กลยุทธ์ “5 จอ” (5 Screen Strategy) ด้วยวิธกี ารน�ำ เสนอเนื้อหารายการผ่านหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ โทรทัศน์ โทรศัพท์มอื ถืออัจฉริยะ (Smartphone) คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต (Tablet) และสื่อดิจิตอลที่อยู่ ภายนอกสถานที่ โดยสามารถเข้าถึงผู้ชมในมิติต่างๆ ได้แก่ โทรทัศน์ส�ำหรับผู้ชมทางบ้าน โทรศัพท์มือถือ อั จ ฉริ ย ะและแท็ บ เล็ ต ส� ำ หรั บ ผู ้ ช มที่ ก� ำ ลั ง เดิ น ทาง คอมพิวเตอร์ส�ำหรับผู้ชมที่อยู่ที่ท�ำงาน และสื่อดิจิตอล ที่อยู่ภายนอกสถานที่ส�ำหรับผู้ที่พบเห็นทั่วไป (รัตติยา อังกุลานนท์, 2557) ซึ่งท�ำให้รายการโทรทัศน์สามารถ เข้าถึงผู้ชมได้กว้างขวางขึ้น ทุกช่องทาง ทุกเวลา และ ท�ำให้ผู้ชมมีตัวเลือกที่หลากหลาย โดยมีเนื้อหาเป็น องค์ประกอบที่ส�ำคัญ (สุทธิชัย หยุ่น, 2557)

โทรทัศน์ (Television) โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ (Smartphone) สื่อดิจิตอลที่อยู่ภายนอก สถานที่ (Digital Media Outdoor)

เนื้อหา (Content) แท็บเล็ต (Tablet) คอมพิวเตอร์ (Computer)

แผนภาพที่ 2 กลยุทธ์ 5 Screen Strategy บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (มหาชน) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

4. ผู้รับสาร (Receiver) หรือผู้ชม (Audience) ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ควรค�ำนึงถึงผู้รับสารเป็นส�ำคัญ ว่า ผูร้ บั สารมีพฤติกรรมในการเปิดรับสือ่ อย่างไร รวมไปถึง องค์ประกอบพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะ ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคม และวัฒนธรรม (พงษ์ วิเศษสังข์, 2552: 24) ยิง่ ในสถานการณ์ปจั จุบนั พฤติกรรมของผูร้ บั สารมีความซับซ้อนมากขึ้น ท�ำให้กลุ่ม (Segment) ของ ผู้รับสารมีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น กลุ่มที่มี อุดมการณ์ทางการเมืองด้านใดด้านหนึ่ง หรือกลุ่มเด็ก ในยุคดิจิทัล (Gen C: Generation Connectedness) ทีม่ คี วามกระตือรือร้นในการใช้สอื่ ดิจทิ ลั สูง เป็นต้น และ หากพิจารณาจากอัตราการเติบโตของสื่อเคเบิ้ลท้องถิ่น และสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล ที่มีการแบ่งช่องรายการเฉพาะ อย่างชัดเจน เป็นภาพสะท้อนทีแ่ สดงให้เห็นว่า ผูร้ บั สาร เปิดรับรายการที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ดังนั้น หากผู้ผลิตรายการสามารถสร้างสรรค์รายการที่มีลักษณะ เจาะจง โดยเข้าใจพฤติกรรมผูช้ มรายการนัน้ จะเกิดความ แตกต่างอย่างมีคณ ุ ภาพ และสามารถเติบโตได้ในระยะยาว (จาตุรนต์ อ�ำไพ, 2556) การเข้าใจถึงพฤติกรรมของผูช้ ม จึงเป็นสิ่งส�ำคัญ โดยเฉพาะกับแนวทางการท�ำรายการ โทรทัศน์ในปัจจุบัน การเข้ามามีบทบาทของโทรทัศน์ ดิ จิ ทั ล ท� ำ ให้ เ กิ ด การแข่ ง ขั น สู ง สื่ อ มี จ� ำ นวนมากขึ้ น ในขณะที่ผู้ชมมีจ�ำนวนเท่าเดิม และมีพฤติกรรมการ รับชมทีซ่ บั ซ้อน ผูผ้ ลิตรายการจึงมีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง เข้าใจพฤติกรรมของผู้ชมในเชิงลึก ดังกรณีศึกษาของ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ที่ได้น�ำเสนอ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสริมสร้างแนวทาง การพัฒนาโทรทัศน์ดิจิทัล และสร้างมูลค่าแก่ข้อมูลของ องค์การ ซึ่งสามารถท�ำให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัล สามารถวิเคราะห์กลุม่ เป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงมากขึน้ และสามารถก�ำหนดกิจกรรม หรือกลยุทธ์ที่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้ชมได้อย่างตรงจุดอีกด้วย (ทวีศักดิ์ แสงทอง, 2557) 5. ปฏิกริ ยิ าตอบกลับ (Feedback) ปฏิกริ ยิ าตอบ กลับ หรือผลสะท้อนของผูช้ มหลังจากทีร่ บั ชมรายการใด

251

รายการหนึง่ จากนัน้ จึงแสดงออกมาว่า ปฏิกริ ยิ าตอบกลับ ของผู ้ ช มเป็ น หลั ก การเบื้ อ งต้ น ของการพั ฒ นาและ สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เนื่องจากปฏิกิริยาของผู้ชม เปรียบเสมือน “เข็มทิศ” ที่ท�ำให้ผู้ผลิตรายการได้รู้ว่า รายการในลักษณะใดน่าจะเป็นที่ต้องการของผู้ชมมาก ที่สุด (สุทิติ ขัตติยะ และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร, 2552: 135) ผู้ชมมีความรู้สึกนึกคิด พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ หรือ อยากเสนอแนะอย่างไร ซึ่งมีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากยึดเอาความคิดเห็นของผูร้ บั สารเป็นเกณฑ์ปฏิกริ ยิ า ตอบกลับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปฏิกิริยา ตอบกลั บ ในเชิ ง บวก (Positive Feedback) และ ปฏิกิริยาตอบกลับในเชิงลบ (Negative Feedback) (พงษ์ วิเศษสังข์, 2552: 25) ซึง่ ผูผ้ ลิตรายการทุกคนย่อม อยากให้ผลของปฏิกริ ยิ าตอบกลับออกมาในเชิงบวก อัน แสดงออกถึงความเห็นด้วย ความชืน่ ชอบ ติดตาม แนะน�ำ และสร้างแรงจูงใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของโทรทัศน์ดิจิทัลนั้น สามารถเชือ่ มต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้ ท�ำให้สามารถ สร้างช่องทางเพือ่ เชือ่ มต่อระหว่างผูช้ มทางบ้านและผูผ้ ลิต รายการ ให้สามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับระหว่างกัน ได้ทันที เช่น ช่องรายการ Dish Station ทีไ่ ด้สอบถามผูช้ ม ทางบ้านว่า คุณลักษณะในการรับชมของผู้ชมเป็นแบบใด โดยมีตัวเลือกให้ผู้ชมได้เลือกทั้ง 9 รูปแบบ พร้อม ค�ำอธิบายในแต่ละรูปแบบ ซึง่ ผูช้ มสามารถเลือกผ่านการ รับชมได้ทันที จากนั้นข้อมูลที่ได้เลือกจะถูกส่งมายัง สถานี ซึ่งท�ำให้ผู้ผลิตรายการนั้นได้ทราบข้อมูลทันที

ภาพที่ 1 การแสดงปฏิกริ ยิ าตอบกลับผ่านโทรทัศน์ดจิ ทิ ลั ที่มา: https://informitv.com/2005/06/28/dishgets-interactive-tv-101/

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


252

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

จากตัวอย่างข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า การแสดง ปฏิกิริยาตอบกลับ ผ่านโทรทัศน์ดิจิทัลนั้นท�ำได้สะดวก และรวดเร็ว ดังนั้น ภายหลังการน�ำเสนอรายการไปยัง ผู ้ ช ม หากได้ รั บ ปฏิ กิ ริ ย าตอบกลั บ ในเชิ ง ลบ ผู ้ ผ ลิ ต รายการก็มิควรเพิกเฉย หรือไม่สนใจผลสะท้อนกลับ ดังกล่าว ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้ชมในอดีตกับปัจจุบันนั้น ต่างกัน กล่าวคือ ในอดีตยังมีสอื่ จ�ำนวนไม่มาก เทคโนโลยี ยังไม่ทันสมัย และมีราคาสูง ผู้ชมคือฐานะของผู้รับสาร คนหนึง่ ซึง่ มีหน้าทีใ่ นการรับชม และมีกรอบของกฎหมาย และจริ ย ธรรมเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการก� ำ กั บ ดู แ ลและ ตรวจสอบ แต่ปัจจุบัน สื่อมีจ�ำนวนเพิ่มสูงขึ้นมาก ท�ำให้ เกิดการแข่งขันสูง เทคโนโลยีมีความทันสมัย และมี ราคาถูก อีกทัง้ การเข้ามามีบทบาทของสือ่ ดิจทิ ลั ทีท่ ำ� ให้ การแสดงออกต่อประเด็นใดประเด็นหนึง่ ไปยังสาธารณะ เป็นเรื่องง่าย หรืออาจกล่าวได้ว่า ผู้ชมในปัจจุบันมีเครื่องมือในการสะท้อนปฏิกิริยา ตอบกลับให้กับสาธารณะชนได้รู้ โดยไม่ต้องผ่านการ กลั่นกรอง (Filter) จากผู้ผลิตรายการ อีกทั้งผลของ การกระท�ำดังกล่าว ยังน�ำพามาซึ่งผู้ชมคนอื่นๆ ที่มี ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึง่ เรียกปรากฏการณ์

นี้ว่า “พฤติกรรมการเหมารวม” หรือ “Halo Effect” (นิเวศน์ เหมวชิรวรากร, 2555) ซึง่ หมายถึง คุณลักษณะ เด่นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีผลต่อการรับรู้โดยภาพ รวมของบุ ค คลอื่ น ท� ำให้ เ กิ ด ความเอนเอี ย ง (Bias) วิจารณญาณของบุคคลหนึง่ ทีม่ ตี อ่ อีกบุคคลหนึง่ ในภาพ รวมถูกบดบังโดยลักษณะพิเศษเสียหมด ปรากฏการณ์นี้ มนุษย์เผชิญอยูโ่ ดยอาจไม่รตู้ วั และเกิดขึน้ ในทุกวงการใน ทุกเวลา (วรากรณ์ สามโกเศศ, 2556) หรืออาจอธิบาย ได้ว่า การที่บุคคลหนึ่งมีปฏิกิริยาตอบกลับในเชิงลบกับ รายการหนึ่ง และได้แสดงปฏิกิริยาตอบกลับของตน ใน พื้นที่สาธารณะหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บบอร์ด (Web board) เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือวิดีโอออนไลน์ (YouTube) อาจน�ำพามาซึ่งผู้ชมอื่นๆ อีกเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน จน เกิดขึ้นเป็นกระแสของสังคม เช่น ผู้ชมที่ไม่ชื่นชอบ กราฟิกละครโทรทัศน์ของสถานีหนึง่ จนเกิดเป็นประเด็น วิพากษ์วจิ ารณ์ในเว็บไซต์พนั ทิป (www.panthip.com) สุดท้ายผู้ผลิตรายการต้องออกมายอมรับข้อผิดพลาดที่ เกิดขึ้น พร้อมน�ำค�ำวิพากษ์วิจารณ์ไปปรับปรุงแก้ไข ต่อไป (ดังภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในเว็บไซต์พันทิป ที่มา: http://pantip.com/topic/13111101 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

โดยสรุป

ปัจจุบนั อุตสาหกรรมสือ่ โทรทัศน์มกี ารแข่งขันทีส่ งู ขึ้นกว่าอดีต ทั้งนี้เพราะจ�ำนวนช่องรายการที่มากขึ้น ท� ำ ให้ ผู ้ ช มมี ท างเลื อ กในการรั บ ชมมากขึ้ น โดยเกิ ด การแข่งขันที่สูงขึ้นระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง ทุ ก สถานี ต ่ า งปรั บ กลยุ ท ธ์ วิ ธี ก ารในการน� ำ เสนอ รวมทั้ ง กระบวนการผลิ ต เพื่ อ สร้ า งความแตกต่ า ง อย่างสร้างสรรค์ และสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชม เพื่อช่วงชิงฐานผู้ชม (Eyes ball) ซึ่งนับว่าเป็นข้อดี และประโยชน์ของผู้ชมที่มีรายการให้เลือกรับชมเป็น จ�ำนวนมาก

253

อย่างไรก็ตาม การเข้ามามีบทบาทของระบบดิจิทัล และเทคโนโลยี ได้สง่ ผลให้พฤติกรรมการรับชมของผูช้ ม มีความซับซ้อนมากขึ้น อาทิ พฤติกรรมการรับหลาย หน้าจอพร้อมๆ กัน (Multi-screen) การรับชมรายการ โทรทัศน์ผ่านสื่ออื่นๆ และการรับชมรายการโทรทัศน์ ย้อนหลัง ผู้ผลิตรายการจึงควรศึกษาพฤติกรรมของ ผู้ชมต่างๆ ในเชิงลึก เพื่อสามารถน�ำข้อมูลที่ได้ศึกษา มาวิเคราะห์และสร้างเป็นแนวทางในด้านต่างๆ ได้แก่ การออกแบบสาร การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้รับสาร และปฏิกิริยาตอบกลับ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในการรับชมของผู้ชมได้อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

จาตุรนต์ อ�ำไพ. (2556). อนาคตทีวีทางเลือกไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวี. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2557, จาก http://www.scbeic.com/THA/document/note_ 20131121_digital_tv/ ทรงศักดิ์ เปรมสุข. (2557). ผูบ้ ริโภคยุคดิจติ อลชอบเนือ้ หาผสมผสานข้ามสือ่ . สืบค้นเมือ่ 8 มีนาคม 2557, จาก http:// www.dailynews.co.th/Content/IT/221608/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8 %9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B 8%B8%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0% B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0 %B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%AA% E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89 %E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD ทวีศักดิ์ แสงทอง. (2557). แนะระบบวิเคราะห์ข้อมูล เสริมแกร่งธุรกิจดิจิตอล. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2557, จาก http://www. thairath.co.th/content/425735 ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557ก). เล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia Storytelling). สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2557, จาก https://docs.google.com/a/stamford.edu/file/d/0B-p6c4-SjqXlUVBhOS1oT3ZGTHc/edit ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557ข). การผลิตรายการโทรทัศน์ในยุคภูมิทัศน์สื่อใหม่. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2557, จาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152246878123732&set=a.483861243731.26 1519.720008731&type=1&theater ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557ค). สื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล เรื่อง 7Cs ความท้าทายคนโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล!. (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร. (2555). ต้นแบบของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าของไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2557, จาก http://vithai-master.blogspot.com/2012/08/halo-effect.html ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


254

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ปัทมวรรณ สถาพร. (2557). มายด์แชร์ประกาศการเข้าสู่อีกระดับของการตลาดดิจิตอล ด้วยการเปิดตัว YouTube แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2557, จาก http://www.mindshareworld. com/thailand/ news/mindshare-thailand-take-digital-marketing-new-heights-launch-youtube-thailand ประพิม คล้ายสุบรรณ์. (2542). ระบบอุปถัมภ์กับวิชาชีพนิยมของผู้ผลิตรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงษ์ วิเศษสังข์. (2552). ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับการสือ่ สาร. (พิมพ์ครัง้ ที่ 9). ปทุมธานี: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. รัตติยา อังกุลานนท์. (2557). เนชั่นทีวีชูกลยุทธ์ ‘5 จอ’ ปั้นเรตติ้งผู้น�ำทีวีดิจิตอล. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2557, จาก http://www. komchadluek.net /mobile/detail/20140127/177651.html เว็บไซต์กระปุกดอทคอม. (2555). 20 อันดับหนังไทยท�ำเงินประจ�ำปี 2555. สืบค้นเมือ่ 17 มิถนุ ายน 2557,จาก http:// movie.kapook.com/view53141.html วนิดา ฉัตรสกุลไพรัช. (2557). ผลการชมละครโทรทัศน์เกาหลีกบั การซึมซับค่านิยมและการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 175-185. วรากรณ์ สามโกเศศ. (2556). รูจ้ กั Halo Effect. สืบค้นเมือ่ 18 มิถนุ ายน 2557, จาก http://www.bangkokbiznews. com/home/detail/politics/opinion/varakorn_s/20131105/540745/%E0%B8%A3%E0%B8% B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-HaloEffect.html วิสตู ร พูลวรลักษณ์. (2555). ATM เออรัก…เออเร่อ สุดเจ๋ง!!ขึน้ แท่นหนังรักท�ำเงินสูงสุด. สืบค้นเมือ่ 17 มิถนุ ายน 2557, จาก http://www.dek-d.com/lifestyle/27659/ ศศิวมิ ล กุมารบุญ. (2542). อิทธิพลของผูอ้ ปุ ถัมภ์รายการทีม่ ผี ลต่อรายการสารคดีการเกษตรทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร. (2555). “วีดิโอคอนเทนท์” จุดเปลี่ยนโฆษณาโทรทัศน์. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2557, จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20120605/455059/%E0%B8%A7% E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD %E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%8 8%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9% 88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8 %B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B 8%99%E0%B9%8C.html สุทิติ ขัตติยะ และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชา การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 14 เรือ่ ง การพัฒนาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์. (พิมพ์ครัง้ ที่ 3). นนทบุร:ี ส�ำนักพิมพ์สโุ ขทัยธรรมาธิราช. สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัท ประยูรวงศ์ พริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด. สุทธิชัย หยุ่น. (2557). เครือเนชั่น ย�้ำวิชั่นลุยดิจิตอลมีเดีย ชูกลยุทธ์โฟกัส 5 หน้าจอ. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2557, จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/news/press-center/detail.php?id=536216 สุวิทย์ สาสนพิจิตร์. (2557). ทีวีดิจิตอลทุบไพรม์ไทม์ไลฟ์สไตล์สู่มัลติสกรีน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2557, จาก http://www.manager.co.th /iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068533 ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

255

Thumbsup. (2012). The statistics showed that in 2012 online media increased against the other media which declined obviously. Retrieved June 16, 2014, from http://thumbsup.in. th/2013/06/ impact-social-media-and-digital-video-web-usage/ Voucher Codes Pro. (2012). The impact of social media and digital video on web usage. Retrieved June 16, 2014, from http://www.vouchercodespro.co.uk/infographics/impact-on-web-usage

Translated Thai References

Aungalanon, R. (2014). Nation TV raised up the strategy ‘5 screens’ and promoted the rating of digital TV leader. Retrieved June 16, 2014, from http://www.komchadluek.net/mobile/ detail/20140127 /177651.html [in Thai] Chatsakulpairach, V. (2014). The effects of Korean T.V. dramas on Korean values assimilation and culture imitation of the thai youth. Panyapiwat Journal, 6(1), 175-185. [in Thai] Chuastapanasiri, T. (2014A). Transmedia Storytelling. Retrieved June 17, 2014, from https://docs. google.com/a/stamford.edu/file/d/0B-p6c4-SjqXlUVBhOS1oT3ZGTHc/edit [in Thai] Chuastapanasiri, T. (2014B). Television production in the era of new media landscape. Retrieved June 16, 2014, from https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152246878123732&set =a.483861243731.261519.720008731& type=1&theater [in Thai] Chuastapanasiri, T. (2014C). Television in Digital Era. (1st ed.). Bangkok: Parbpim Ltd., Part. [in Thai] Kapook.com. (2015). Twenty list of highest-grossing films 20 lists. Retrieved June 17, 2014, from http://movie.kapook.com/view53141.html [in Thai] Kewaleewongsatorn, S. (2012). “Video Content” The Turning Point of TV Advertisement. Retrieved June 19, 2014, from http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/ global/20120605/4550 59/%E0%B 8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B 8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%97%E0% B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0 %B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E 0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1% E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C.html [in Thai] Khattiya, S. & Nitikasetsuntorn, P. (2009). Creative for Television Program unit 14 chapter Television Program Development. (3th ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Press. [in Thai] Khattiya, S. (2012). Principle of Broadcasting. (1st ed.). Nonthaburi: Prayoonwong-printing Press. [in Thai] Klysubun, P. (1999). Sponsorship system and professionalism of television environmental documentary program producers. Thesis of Master of Communication Arts Program, Chulalongkorn University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


256

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Kumarnbun, S. (1999). The Program Sponsor’s Influence in Television Agricultural Documentary Programs. Thesis of Master of Communication Arts Program, Chulalongkorn University. [in Thai] Meochinwarakon, N. (2012). Principal of investors with Thai value highlight style. Retrieved June 18, 2014, from http://vithai-master.blogspot.com/2012/08/halo-effect.html [in Thai] Poolvoralak, W. (2012). Movie “ATM Erruk Error”, the highest-grossing romantic movie. Retrieved June 17, 2014, from http://www.dek-d.com/lifestyle/27659/ [in Thai] Premsuk, S. (2014). The media consumer in digital era is fond of cross media screen. Retrieved March 8, 2014, from http://www.dailynews.co.th/Content/IT/221608/%E0%B8%9C%E0%B8 %B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B 8%84%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0% B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0 %B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E 0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99% E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88 %E0%B8%AD [in Thai] Samakoses, V. (2013). Know Halo Effect. Retrieved June 18, 2014, from http://www.bangkokbiznews. com/home/detail/politics/opinion/varakorn_s/20131105/540745/%E0%B8%A3%E0%B8% B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-HaloEffect.html [in Thai] Sangtong, T. (2014). Suggestion for Data Analysis System to strengthens Digital Business. Retrieved June 18, 2014, from http://www.thairath.co.th/ content/425735 [in Thai] Sasanapichit, S. (2014). Digital TV hit primetime lifestyle into multiscreen. Retrieved June 19, 2014, from http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068533 [in Thai] Sataporn, P. (2014). Mindshare announced the next level of digital marketing with the launch of YouTube Thailand. Retrieved October 7, 2014, from http://www.mind shareworld.com/ thailand/news/mindshare-thailand-take-digital-marketing-new-heights -launch-youtubethailand [in Thai] Umpai, J. (2013). Future of Thai alternative TV in the transiting era of digital TV. Retrieved June 17, 2014, from http://www.scbeic.com/THA/document/note_20131121_digital_tv/ [in Thai] Wisessang, P. (2009). Introduction of Communication. (9th ed.). Pathumthani: Bangkok University Press. [in Thai] Yoon, S. (2014). Nation group repeated visions through digital media and raised up the strategy of 5 screens. Retrieved June 16, 2014, from http://www.bangkokbiznews.com/home/news/ press-center/detail.php?id=536216 [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

257

Supasil Kuljitjuerwong received his Bachelor Degree of Communication Arts Program major in Television Broadcasting from Chandrakasem Rajabhat University in 2005. I worked graphic design at Srisiam Printing Press Company in 2006 and I worked full time lecturer Program in Advertising and Public relations at Chaopraya University in 2007. In 2008, he graduated Master of Arts Program in Communication Administration from Krirk University. He is currently a full time lecturer in Faculty of Liberal Arts, Stamford International University.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


258

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

กองทรัพย์สนิ ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย

PROPERTY OF THE ESTATE IN BANKRUPTCY CASE

พัชรพงศ์ สอนใจ1 Patcharapong Sonjai1

บทคัดย่อ

กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ได้แก่ ทรัพย์สินต่างๆ ของลูกหนี้ที่จะต้องถูกรวบรวมไว้เพื่อจัดสรร ช�ำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ดังนั้นขอบเขตและขนาดของกองทรัพย์สินย่อมมีความส�ำคัญต่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะมันส่งผลกระทบต่อเจ้าหนีใ้ นการทีจ่ ะได้รบั ช�ำระหนีอ้ ย่างเต็มทีแ่ ละเป็นธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สง่ ผลกระทบ ต่อลูกหนีใ้ นการทีจ่ ะสามารถฟืน้ ตัวขึน้ มาใหม่ได้มากเพียงใด ด้วยเหตุนี้ การก�ำหนดขอบเขตและขนาดของกองทรัพย์สนิ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิดของกฎหมายล้มละลาย ไม่เพียงแต่จะท�ำให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ แต่ยังท�ำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดในคดีล้มละลาย ตลอดจนเป็นการสนับสนุน ระบบเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย ค�ำส�ำคัญ: กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น ทรัพย์สินที่ไม่ต้องตกอยู่ในกองทรัพย์สิน

Abstract

Property of the estate in bankruptcy case is composed of all of a debtor’s legal and equitable interests in property which will be collected to divide to all creditors. Therefore, the scope of estate property is important for both the creditor and the debtor because it has effect on the creditor to receive payment with fully and fairly, while it has effect on how far the debtor can rehabilitate too. Whereas, it is deemed beneficial to arrange the scope of estate property which is proper and compatible with the concept in the bankruptcy law will not only be fair to all creditors and other interested persons, including the debtor, but will also allow the overall effective and beneficial in the bankruptcy case which in turn will support economic system as well. Keywords: property of the estate, Exemptions, Bankruptcy exemptions

1 ผู ้ พิ พ ากษาศาลแขวงดอนเมื อ ง

ส� ำ นั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม, Judge of The Don Mueang Kwaeng Court, Courts of Justice, E-mail: itti.patchara@gmail.com

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

บทน�ำ

เมื่อต้องตกอยู่ใน “ภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัว”2 และ ถูกฟ้องล้มละลาย ลูกหนีไ้ ม่วา่ จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคลก็ตาม หากไม่เข้าสู่ระบบการฟื้นฟูกิจการ 3 ก็ ต ้ อ งเข้ า สู ่ ก ระบวนการล้ ม ละลาย ท� ำ การจั ด สรร ทรัพย์สนิ เพือ่ ช�ำระหนีใ้ ห้แก่บรรดาเจ้าหนีอ้ ย่างเป็นธรรม (Fair treatment for creditor) ในการจัดสรรทรัพย์สนิ ช�ำระหนี้ให้เจ้าหนี้นั้น กฎหมายล้มละลายก�ำหนดให้ มี ก ระบวนการรวบรวมทรั พ ย์ สิ น ต่ า งๆ ของลู ก หนี้ เข้ า เป็ น กองทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ และให้ อ ยู ่ ภ ายใต้ การจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน จากนั้น จึงค่อยท�ำการจัดสรรให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ต่างๆ อย่าง เต็มที่และเป็นธรรม ปัญหาที่ว่า ทรัพย์สินใดบ้างของ ลูกหนี้ที่จะต้องถูกรวบรวมเข้าไปในกองทรัพย์สินนั้น จึงขึน้ อยูก่ บั ระบบกฎหมายล้มละลายของแต่ละประเทศ ทีจ่ ะก�ำหนดให้มคี วามเหมาะสมกับแนวคิดและนโยบาย ในเรื่องนี้ ตลอดจนมีความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผูม้ สี ว่ นได้เสียในคดี เพราะทรัพย์สนิ ทีถ่ กู ก�ำหนดให้ ต้องถูกรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นจะต้อง ถูกน�ำไปแบ่งปันและจัดสรรให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ส่วน ทรัพย์สินที่ไม่ได้ถูกก�ำหนดให้ต้องถูกรวบรวมเข้ากอง ทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ ก็จะยังคงเป็นของลูกหนีอ้ ยูเ่ ช่นเดิม ลูกหนีย้ อ่ มมีสทิ ธิครอบครองและใช้สอยทรัพย์สนิ นัน้ ต่อ ไปได้และส่งผลต่อการฟื้นตัวกลับขึ้นมาใหม่ของลูกหนี้ ได้เร็วขึ้น ดังนั้น การก�ำหนดหลักเกณฑ์ว่าทรัพย์สินใด ของลูกหนี้ที่จะต้องถูกรวบรวมเข้ากองทรัพย์สิน และ ทรัพย์สินใดที่ได้รับการยกเว้น เพื่อก�ำหนดขอบเขต ของกองทรัพย์สนิ จึงเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีต่ อ้ งพิจารณาและ ก�ำหนดให้ชดั เจนเพือ่ ให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับ แนวคิดและนโยบายในเรื่องนี้ ทั้งมีความเป็นธรรมต่อ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในคดีด้วย 2 ภาวะที่ลูกหนี้มีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน

3 ตามกฎหมายของประเทศไทยให้เฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจ�ำกัด

บริษัทมหาชน หรือนิติบุคคลอื่นตามที่ก�ำหนดไว้ในกฎกระทรวง

259

กองทรัพย์สินลูกหนี้ ตามกฎหมายประเทศไทย พระราชบั ญ ญั ติ ล ้ ม ละลาย พุ ท ธศั ก ราช 2483 มาตรา 109 เป็นกฎหมายส�ำคัญทีใ่ ช้กำ� หนดว่าทรัพย์สนิ ใดบ้ า งที่ จ ะต้ อ งถู ก รวบรวมเข้ า กองทรั พ ย์ สิ น ลู ก หนี้ ตามมาตรานี้ได้แบ่งทรัพย์สินที่จะต้องถูกรวบรวมเข้า กองทรัพย์สินลูกหนี้ไว้ 3 ประเภท ก. ทรัพย์สินทั้งหลายที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้น แห่งการล้มละลาย4 ซึ่งได้แก่ วันที่ศาลมีค�ำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์นั้นเอง นอกจากนี้ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นยังรวมถึง สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ที่เรียกว่า บุคคลสิทธิอีกด้วย เพียงแต่สิทธิเรียกร้อง ดังกล่าวจะต้องไม่เกิดขึน้ ภายหลังวันทีศ่ าลมีคำ� สัง่ พิทกั ษ์ ทรัพย์ เพราะหลังจากวันดังกล่าวแล้วลูกหนี้ไม่มีอ�ำนาจ ท�ำนิติกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อีก5 แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นทรัพย์สินบางรายการไว้ว่า แม้จะอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว แต่ก็ไม่ต้องถูกรวบรวมเข้า กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ลูกหนี้สามารถเก็บและใช้สอย ทรัพย์สินเหล่านี้ต่อไปได้ ได้แก่ 1. เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจ�ำเป็นแก่การด�ำรงชีพ ซึ่ ง ลู ก หนี้ ร วมทั้ ง คู ่ ส มรสและบุ ต รผู ้ เ ยาว์ ข องลู ก หนี้ จ�ำเป็นต้องใช้ตามสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ โทรศัพท์ เข็มขัด เป็นต้น ซึ่งจะต้องมี มูลค่าที่ไม่แพงเกินความจ�ำเป็น 2. สัตว์ พันธุ์พืช เครื่องมือ และสิ่งของส�ำหรับใช้ ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ราคารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

4 พระราชบัญญัติล้มละลาย

มาตรา 62 บัญญัติไว้ว่า “การล้มละลาย ของลูกหนี้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีค�ำสั่งพิทักษ์ทรัพย์” 5 พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24 บัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลสั่ง พิทกั ษ์ทรัพย์ของลูกหนีแ้ ล้ว ห้ามมิให้ลกู หนีก้ ระท�ำการใดๆ เกีย่ วกับ ทรัพย์สินของตนอีก เว้นแต่ตามค�ำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล”

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


260

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ข. ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้น แห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากการล้มละลาย6 ทรัพย์สินประเภทนี้ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้มาจาก การรับมรดก การรับพินัยกรรม หรือการยกให้ เป็นต้น ค. สิ่งของที่อยู่ในอ�ำนาจสั่งการหรือจ�ำหน่ายของ ลูกหนี้ในทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความ ยินยอมของเจ้าของอันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งท�ำให้ เห็ น ได้ ว ่ า ลู ก หนี้ เ ป็ น เจ้ า ของในขณะที่ มี ก ารขอให้ ลูกหนี้นั้นล้มละลาย ทรัพย์สินตามข้อนี้เป็นข้อยกเว้น หลักทั่วไปของการบังคับคดีในทางแพ่ง เพราะตามหลัก แล้วทรัพย์สินที่จะถูกเอามาบังคับคดีได้นั้นจะต้องเป็น ทรัพย์ของลูกหนี้เท่านั้น แต่ในคดีล้มละลายได้ก�ำหนด เรื่องนี้ไว้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของ ลูกหนีถ้ กู เบียดบังให้นอ้ ยลง ด้วยการอ้างว่าเป็นทรัพย์สนิ ของผู้อื่น แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่า กฎหมายใช้ค�ำว่า “สิ่งของ” แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินที่จะเข้าเงื่อนไขตาม ข้อนี้ ได้แก่ ทรัพย์สนิ ประเภท สังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ ที่เคลื่อนที่ได้เท่านั้น โดยสรุปแล้ว กองทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม ระบบกฎหมายล้มละลายของไทยนั้น ได้แก่ ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่ศาลมีค�ำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไป จนถึงศาลมีค�ำสั่งปลดจากล้มละลายหรือการปลดล้ม ละลายโดยผลของกฎหมายเมื่อล้มละลายครบก�ำหนด 3 ปีนบั แต่วนั ทีศ่ าลมีคำ� พิพากษาให้ลม้ ละลาย รวมไปถึง สิง่ ของทีบ่ คุ คลอืน่ เป็นเจ้าของแต่อยูใ่ นอ�ำนาจสัง่ การหรือ จ� ำ หน่ า ยของลู ก หนี้ ใ นขณะที่ มี ก ารขอให้ ล ้ ม ละลาย นั้นเอง โดยมีข้อยกเว้น ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว ทีจ่ ำ� เป็นต่อการด�ำรงชีพตามฐานานุรปู กับพันธุพ์ ชื สัตว์ เครื่องมือ และสิ่งของใช้ประกอบวิชาชีพที่รวมมูลค่า ไม่เกิน 100,000 บาท 6 พระราชบั ญ ญั ติ ล ้ ม ละลาย

มาตรา 67/1 บัญญัติการปลดจาก การล้มละลายไว้ 2 วิธี ได้แก่ 1. พ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาล มีค�ำพิพากษาว่าล้มละลาย และ 2. เมื่อมีการแบ่งทรัพย์สินให้แก่ เจ้าหนีท้ ขี่ อรับช�ำระหนีไ้ ว้เกินกว่าร้อยละ 50 และลูกหนีไ้ ม่เป็นบุคคล ล้มละลายทุจริต และศาลมีค�ำสั่งให้ปลดจากการล้มละลาย

กองทรัพย์สนิ ลูกหนี้ ตามกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหา ภาวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ (Great Depression) ในปี ค.ศ. 1933 ที่ท�ำให้ธุรกิจต่างๆ ประสบปัญหาด้านการเงินทั้งระบบ ซึ่งเป็นปัญหาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก มิใช่ปัญหา จากการทุ จ ริ ต ของลู ก หนี้ แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ กฎหมาย ล้มละลายและการฟืน้ ฟูกจิ การเริม่ เปลีย่ นไปในแนวทาง ที่ว่า การล้มละลายเป็นเรื่องน่าเห็นใจ มากกว่าที่จะต้อง ลงโทษลู ก หนี้ จึ ง มี ก ารแก้ ไขและปรั บ ปรุ ง กฎหมาย ล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ ให้ผ่อนปรนและเปิดกว้าง ยิ่งขึ้น เพื่อประคับประคองลูกหนี้ที่ประสบปัญหาให้ สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตการเงินไปได้ โดยแยกกอง ทรัพย์สนิ ทีจ่ ะน�ำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนีแ้ ละทรัพย์สนิ อืน่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการเลีย้ งชีพของลูกหนีอ้ อกจากกันอย่าง ชัดเจน ทั้งอนุญาตให้ลูกหนี้สามารถเก็บรักษาทรัพย์สิน ทีจ่ ำ� เป็นและเพียงพอต่อการเลีย้ งชีพได้ภายใต้กระบวนการ ล้มละลาย ซึ่งได้ก�ำหนดไว้ดังนี้ ก. ทรัพย์สนิ ทีต่ อ้ งตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ การก�ำหนดรายการ ประเภทของทรัพย์สินและ สิทธิประโยชน์ทตี่ อ้ งตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ลูกหนี้ มาตรา ส�ำคัญที่ก�ำหนดไว้ว่า ทรัพย์สินใดของลูกหนี้ที่จะต้อง ตกอยู่ในกองทรัพย์สินลูกหนี้เพื่อน�ำไปแบ่งปันให้แก่ เจ้าหนี้ของกฎหมายล้มละลายสหรัฐอเมริกา ได้แก่ มาตรา 541 (a) (1)7 ที่บัญญัติเป็นใจความหลักไว้ว่า กองทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ได้ แ ก่ “ทรั พ ย์ สิ น และผล ประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายในทรัพย์สินของลูกหนี้ ณ เวลาแห่งการเริม่ ต้นคดี” การตีความตามมาตรานี้ ต้อง ตีความอย่างกว้างขวางครอบคลุมถึงสิทธิต่างๆ ที่ลูกหนี้ 7

11 U.S. Code § 541-Property of the estate (a) The commencement of a case under section 301, 302, or 303 of this title creates an estate. Such estate is comprised of all the following property, wherever located and by whomever held: (1) Except as provided in subsections (b) and (c) (2) of this section, all legal or equitable interests of the debtor in property as of the commencement of the case.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

มีสิทธิได้รับด้วย แต่อย่างไรก็ตามคงมีหลักที่ส�ำคัญต่อ การพิจารณาว่าสิง่ ทีจ่ ะถูกรวบรวมเข้ากองทรัพย์สนิ ของ ลูกหนี้นั้นจะต้อง 1. เป็นทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์สินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ และ หมายความรวมถึงทรัพย์ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ตลอดจนสิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ 2. ของลูกหนี้ หมายถึง ทรัพย์สินที่เป็นของลูกหนี้ ไม่วา่ จะเป็นทรัพย์สนิ ทีล่ กู หนีไ้ ด้มาโดยไม่มคี า่ ตอบแทน เช่น สินค้าตัวอย่าง หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกหนี้ มีสทิ ธิได้รบั เช่น สิทธิการเช่า เป็นต้น หรือสิทธิการได้รบั ผลประโยชน์ร่วมกันกับบุคคลอื่น เช่น การเป็นเจ้าของ ร่วมในกิจการ หรือทรัพย์สินต่างๆ แม้กระทั่งสิทธิการ ครอบครองทรัพย์สินต่างๆ ของลูกหนี้ เป็นต้น โดยไม่ ค�ำนึงว่าทรัพย์สินนั้นจะตั้งอยู่ที่ใด และใครเป็นเจ้าของ และ 3. มี อ ยู ่ ณ เวลาแห่ ง การเริ่ ม ต้ น คดี หมายถึ ง การก�ำหนดว่าผลประโยชน์และทรัพย์สนิ ดังกล่าวนัน้ จะ ต้องมีอยู่และเป็นของลูกหนี้ “ณ เวลาที่ลูกหนี้ยื่นขอ ล้มละลายหรือถูกฟ้องล้มละลาย” อันถือเป็นการเริม่ ต้นคดี ดังนั้น การที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ อยู่ในเวลาที่มีการเริ่มต้นคดี แม้ในขณะนั้นลูกหนี้อาจ ยั ง ไม่ ส ามารถใช้ ท รั พ ย์ สิ น นั้ น หรื อ ได้ สิ ท ธิ นั้ น ก็ ต าม ย่อมถือว่าทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์นั้น จะต้องถูก รวบรวมเข้ากองทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้ ถูกฟ้องวันที่ 1 เมษายน และในวันดังกล่าวลูกหนี้มีสิทธิ ตามตัว๋ สัญญาใช้เงินทีจ่ ะครบก�ำหนดในวันที่ 1 มิถนุ ายน สิ ท ธิ ข องลู ก หนี้ ที่ จ ะได้ รั บ เงิ น ตามตั๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น ดังกล่าวย่อมตกอยู่ในกองทรัพย์สินลูกหนี้ แต่ถ้าหาก ทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์ต่างได้หมดสิ้นไปก่อนวันที่ มีการยืน่ หรือฟ้องให้ลกู หนีล้ ม้ ละลาย ทรัพย์สนิ หรือสิทธิ ประโยชน์ดงั กล่าวนัน้ ย่อมไม่สามารถถูกรวบรวมเข้ากอง ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ไ ด้ หรื อ หากเป็ น กรณี ลู ก หนี้ ไ ด้ ทรัพย์สนิ หรือสิทธิประโยชน์มาในภายหลังการเริม่ ต้นคดี แม้จะอยู่ในระหว่างการด�ำเนินคดีทรัพย์สินหรือสิทธิ

261

ประโยชน์ดังกล่าวย่อมไม่ตกอยู่ในกองทรัพย์สิน ลูกหนี้ ยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์นั้น แต่ อย่างไรก็ตามทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์ที่ลูกหนี้ได้มา ภายหลังการเริ่มต้นคดีนี้ มีข้อยกเว้นบางประการตาม ประเภทหรือเงื่อนไขที่กฎหมายล้มละลายก�ำหนดไว้ เฉพาะว่าแม้จะได้มาภายหลังการเริ่มต้นคดีแต่ก็ต้องตก อยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น ผลประโยชน์ และ ดอกผลใดๆ เป็นต้น ที่เกิดจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ที่แม้จะได้มาภายหลังการเริ่มต้นคดีก็ตาม แต่ก็ต้องตก อยู่ในกองทรัพย์สิน8 หรือกรณีเป็นทรัพย์สินและสิทธิ ประโยชน์ทลี่ กู หนีไ้ ด้มาจากการรับมรดก ข้อตกลงในการ หย่า และจากสัญญาประกันชีวติ หากเป็นสิทธิประโยชน์ ที่ลูกหนี้มีอยู่ในวันเริ่มต้นคดี และได้มาภายใน 180 วัน นับแต่วนั เริม่ ต้นคดี ก็ตอ้ งตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ เช่นกัน9 ข. ทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั ยกเว้นไม่ตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ เมือ่ มีการก�ำหนดรายการ และประเภทของทรัพย์สนิ และสิ ท ธิ ป ระโยชน์ ข องลู ก หนี้ ที่ จ ะต้ อ งตกอยู ่ ใ น กองทรัพย์สนิ ของลูกหนีแ้ ล้ว ก็ตอ้ งมีการก�ำหนดรายการ 8

11 U.S. Code § 541-Property of the estate (a) ... (6) Proceeds, product, offspring, rents, or profits of or from property of the estate, except such as are earnings from services performed by an individual debtor after the commencement of the case. (7) Any interest in property that the estate acquires after the commencement of the case. 9 11 U.S. Code § 541-Property of the estate (a) ... (5) Any interest in property that would have been property of the estate if such interest had been an interest of the debtor on the date of the filing of the petition, and that the debtor acquires or becomes entitled to acquire within 180 days after such date - (A) by bequest, devise, or inheritance; (B) as a result of a property settlement agreement with the debtor’s spouse, or of an interlocutory or final divorce decree; or (C) as a beneficiary of a life insurance policy or of a death benefit plan.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


262

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

และประเภทของทรัพย์สนิ และสิทธิประโยชน์ของลูกหนี้ บางชนิดทีไ่ ด้รบั การยกเว้นไม่ตอ้ งตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ แม้ทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของลูกหนี้ ดังกล่าวนั้นจะเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์ที่ลูกหนี้ มีอยู่ ณ เวลาเริ่มต้นแห่งคดีก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อประคับ ประคองและเอื้ออ�ำนวยให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสกลับไปเริ่ม ด�ำเนินชีวติ ใหม่ได้โดยเร็วตามแนวคิดทีเ่ ปลีย่ นไป มาตรา ส�ำคัญที่ก�ำหนดไว้ว่าทรัพย์สินใดของลูกหนี้ได้รับยกเว้น ไม่ตอ้ งตกอยูก่ องทรัพย์สนิ ลูกหนีต้ ามกฎหมายล้มละลาย ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ มาตรา 522 ที่ได้บัญญัติ ถึงประเภท ลักษณะ ตลอดจนเงื่อนไขของทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับการยกเว้นไว้ โดยได้ก�ำหนด ข้อยกเว้นไว้ตามกฎหมายล้มละลายเพื่อให้มลรัฐต่างใช้ และยังอนุญาตให้มลรัฐต่างๆ เลือกทีจ่ ะก�ำหนดข้อยกเว้น ขึน้ เองตามแต่มลรัฐแล้วเลือกทีจ่ ะใช้ขอ้ ยกเว้นทีก่ ำ� หนด ขึ้นเอง ใช้กับประชาชนภายในรัฐนั้น โดยไม่ใช้ข้อยกเว้น ตามกฎหมายล้มละลาย ดังนี้ 1. ข้ อ ยกเว้ น ตามกฎหมายล้ ม ละลาย 10 เป็ น 10

11 U.S. Code § 522 - Exemptions (d) The following property may be exempted under subsection (b)(2) of this section: (1) The debtor’s aggregate interest, not to exceed $15,000 in value, in real property or personal property that the debtor or a dependent of the debtor uses as a residence, in a cooperative that owns property that the debtor or a dependent of the debtor uses as a residence, or in a burial plot for the debtor or a dependent of the debtor. (2) The debtor’s interest, not to exceed $2,400 in value, in one motor vehicle. (3) The debtor’s interest, not to exceed $400 in value in any particular item or $8,000 in aggregate value, in household furnishings, household goods, wearing apparel, appliances, books, animals, crops, or musical instruments, that are held primarily for the personal, family, or household use of the debtor or a dependent of the debtor. (4) The debtor’s aggregate interest, not to exceed $1,000 in value, in jewelry held primarily for the personal, family, or household use of the debtor or a dependent of the debtor.

ข้อยกเว้นในกฎหมายล้มละลายที่ก�ำหนดให้ทรัพย์สิน หรือสิทธิประโยชน์บางรายการได้รับการยกเว้นไม่ต้อง ตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ลูกหนี้ โดยมีรายการทรัพย์สนิ และ เงื่อนไขต่างๆ ที่แตกต่างกันไป เช่น ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ใช้ ส�ำหรับอยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน $ 15,000 รถยนต์มูลค่า ไม่เกิน $ 2,400 เฟอร์นิเจอร์ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย เครื่องดนตรี หนังสือ ในมูลค่าไม่เกิน $ 400 ต่อรายการ หรือรวมทั้งหมดไม่เกิน $ 8,000 เครื่องประดับรวม ทุกรายการไม่เกิน $ 1,000 เป็นต้น 2. ข้อยกเว้นตามกฎหมายมลรัฐ11 เป็นข้อยกเว้น (5) The debtor’s aggregate interest in any property, not to exceed in value $800 plus up to $7,500 of any unused amount of the exemption provided under paragraph (1) of this subsection (6) The debtor’s aggregate interest, not to exceed $1,500 in value, in any implements, professional books, or tools, of the trade of the debtor or the trade of a dependent of the debtor... 11 11 U.S. Code § 522 - Exemptions (b) (1) Notwithstanding section 541 of this title, an individual debtor may exempt from property of the estate the property listed in either paragraph (2) or, in the alternative, paragraph (3) of this subsection. In joint cases filed under section 302 of this title and individual cases filed under section 301 or 303 of this title by or against debtors who are husband and wife, and whose estates are ordered to be jointly administered under Rule 1015(b) of the Federal Rules of Bankruptcy Procedure, one debtor may not elect to exempt property listed in paragraph (2) and the other debtor elect to exempt property listed in paragraph (3) of this subsection. If the parties cannot agree on the alternative to be elected, they shall be deemed to elect paragraph (2), where such election is permitted under the law of the jurisdiction where the case is filed. (2) Property listed in this paragraph is property that is specified under subsection (d), unless the State law that is applicable to the debtor under paragraph (3) (A) specifically does not so authorize. (3) Property listed in this paragraph is— (A) subject to subsections (o) and (p), any property that is exempt under Federal law, other than subsection (d) of this section, or State or local law that is applicable on the date of the filing of the petition to

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ทีก่ ฎหมายล้มละลายอนุญาตให้มลรัฐแต่ละมลรัฐก�ำหนด ข้อยกเว้นขึ้นใช้ในมลรัฐนั้นๆ โดยไม่ต้องใช้ข้อยกเว้น ตามกฎหมายล้มละลายได้ ซึ่งมลรัฐส่วนใหญ่ได้ก�ำหนด ข้อยกเว้นขึ้น เพื่อ (ก) ใช้กับประชาชนในมลรัฐนั้นเอง เท่านั้นประชาชนในมลรัฐนั้นไม่มีสิทธิที่จะใช้ข้อยกเว้น ของกฎหมายล้มละลายได้12 หรือ (ข) เพื่อให้ประชาชน ในมลรั ฐ ของตนมี โ อกาสเลื อ กที่ จ ะใช้ ข ้ อ ยกเว้ น ของ มลรัฐหรือของกฎหมายล้มละลายก็ได้13 เช่น มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย (California Bankruptcy Law-State Exemption) และมลรัฐอิลลินอยส์ (Illinois Bankruptcy Law-State Exemption) ที่เลือกที่จะก�ำหนดข้อยกเว้น ของมลรัฐขึ้นใช้เอง ส่วนมลรัฐนิวยอร์ก (New York Bankruptcy Law-State Exemption) นั้นเลือกที่จะ ก�ำหนดข้อยกเว้นของมลรัฐขึ้นเอง แต่ก็เปิดโอกาสให้ ประชาชนในมลรัฐเลือกทีจ่ ะใช้ขอ้ ยกเว้นทีม่ ลรัฐก�ำหนด ขึน้ หรือข้อยกเว้นตามกฎหมายล้มละลายก็ได้ นอกจากนี้ ในแต่ละมลรัฐก็ยังก�ำหนดรายการทรัพย์สินตลอดจน มูลค่าทีไ่ ด้รบั การยกเว้นไว้แตกต่างกันไปตามแต่ลกั ษณะ สภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ของแต่ละมลรัฐ เช่น ทรัพย์สนิ ทีล่ กู หนีใ้ ช้เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยนัน้ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก�ำหนดมูลค่าทีไ่ ด้รบั การยกเว้นไว้ไม่เกิน $ 75,000 ส�ำหรับ ผูท้ มี่ คี รอบครัวจะเพิม่ มูลค่าเป็นไม่เกิน $ 100,000 ส่วน the place in which the debtor’s domicile has been located for the 730 days immediately preceding the date of the filing of the petition or if the debtor’s domicile has not been located in a single State for such 730-day period, the place in which the debtor’s domicile was located for 180 days immediately preceding the 730-day period or for a longer portion of such 180-day period than in any other place; (B) any interest in property in which the debtor had, immediately before the commencement of the case, an interest as a tenant by the entirety or joint tenant to the extent that such interest as a tenant by the entirety or joint tenant is exempt from process under applicable nonbankruptcy law; and... 12 11 U.S. Code § 522 (b) (2). 13 11 U.S. Code § 522 (b) (3) (A).

263

มลรั ฐ อิ ล ลิ น อยส์ ก� ำ หนดมู ล ค่ า ไว้ ไ ม่ เ กิ น $ 15,000 ส�ำหรับผูท้ มี่ คี รอบครัวจะเพิม่ มูลค่าเป็นไม่เกิน $ 30,000 ในขณะที่ ม ลรั ฐ นิ ว ยอร์ ก ก� ำ หนดมู ล ค่ า ไว้ ไ ม่ เ กิ น $ 150,000 ส�ำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขต King New York Queens Bronx Richmond ฯลฯ และไม่เกิน $ 125,000 ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ อ าศั ย อยู ่ ใ นเขต Dutchess Albany Columbia Orange Saratoga และ Ulster และไม่เกิน $ 75,000 ส�ำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตอื่นๆ ส่วนผู้ที่มี ครอบครัวนั้นจะเพิ่มมูลค่าเป็นไม่เกินสองเท่าของมูลค่า ที่ก�ำหนดไว้ในแต่ละเขต แต่หากเป็นทรัพย์สินที่เป็น ยานพาหนะนัน้ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก�ำหนดมูลค่าทีไ่ ด้รบั การยกเว้นไว้ไม่เกิน $ 2,725 ส่วนมลรัฐอิลลินอยส์กำ� หนด มูลค่าไว้ไม่เกิน $ 2,400 ในขณะทีม่ ลรัฐนิวยอร์กก�ำหนด มูลค่าไว้ไม่เกิน $ 4,000 นอกจากนี้ยังมีการก�ำหนด รายการทรัพย์สินอื่นๆ ไว้แตกต่างกันทั้งรายการและ มูลค่า

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย ของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกามีขอบเขต และข้อจ�ำกัดที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากหลักเกณฑ์ที่ ใช้กำ� หนดว่าทรัพย์สนิ ของลูกหนีร้ ายการใดบ้างทีจ่ ะต้อง ตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ลูกหนีน้ นั้ แตกต่างกัน โดยใช้ “วัน เริ่มต้นแห่งคดี” เป็นเหลักเกณฑ์ที่ส�ำคัญในการก�ำหนด ดังนี้ 1. กองทรัพย์สนิ ของลูกหนีต้ ามกฎหมายล้มละลาย ของประเทศไทย จะใช้หลักเกณฑ์ที่ว่า กองทรัพย์สิน ได้แก่ ทรัพย์สินต่างๆ ของลูกหนี้ ที่มีอยู่ ณ วันเริ่มต้น แห่งคดี และทรัพย์สินต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้มาภายหลังจาก วันดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ทรัพย์สินทุกชนิดที่ลูกหนี้ได้มา ไม่ว่าจะก่อนหรือภายหลังการล้มละลาย ตราบใดที่ยัง ไม่มีการปลดหรือพ้นจากการล้มละลาย หากลูกหนี้ได้ ทรัพย์สินใดๆ มา ทรัพย์สินนั้นจะต้องตกอยู่ในกอง ทรัพย์สนิ ลูกหนี้ โดยมีขอ้ ยกเว้นไว้ให้ทรัพย์สนิ บางประการ ทีก่ ำ� หนดไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงว่าไม่ตอ้ งตกอยูใ่ นกอง ทรัพย์สินของลูกหนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


264

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

2. กองทรัพย์สนิ ของลูกหนีต้ ามกฎหมายล้มละลาย ของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า จะใช้ ห ลั ก เกณฑ์ ที่ ว ่ า กองทรัพย์สิน ได้แก่ ทรัพย์สินต่างๆ ของลูกหนี้ ที่มีอยู่ ณ วันเริ่มต้นแห่งคดี เท่านั้น โดยอาจมีข้อยกเว้นให้ ทรั พ ย์ สิ น บางรายการที่ ลู ก หนี้ ไ ด้ ม าภายหลั ง ภายใน ระยะเวลาทีก่ ำ� หนดต้องตกอยูใ่ นกองทรัพย์สิน แต่กโ็ ดย จ�ำกัดเฉพาะรายการทีก่ ำ� หนดไว้เท่านัน้ ดังนัน้ ทรัพย์สนิ ที่จะตกอยู่ในกองทรัพย์สินลูกหนี้ จะต้องเป็นทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้ได้มาและมีอยู่ก่อนวันเริ่มต้นแห่งคดี ซึ่งหาก ตีความตามกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย ได้แก่ วันที่ศาลมีค�ำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นเอง ส่วนทรัพย์สินที่ ลูกหนี้ได้มาภายหลังวันดังกล่าวโดยหลักย่อมไม่ตกอยู่ ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยมีข้อยกเว้นให้ทรัพย์สิน บางรายการทีก่ ำ� หนดไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงเท่านัน้ ว่า ต้องตกอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวท�ำให้กองทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีขอบเขตที่ กว้างขวางกว่าของประเทศสหรัฐอเมริกา เนือ่ งจากทรัพย์สนิ ต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้มาในภายหลังจากวันเริ่มต้น ไม่ว่าจะ เป็นระยะเวลานานเท่าใดหากยังไม่พน้ จากการล้มละลาย ก็ย่อมตกอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้เสมอ นอกจากนี้ ใ นเรื่ อ งของข้ อ ยกเว้ น ที่ ก� ำ หนดให้ ทรัพย์สินบางรายการไม่ต้องตกอยู่ในกองทรัพย์สินนั้น ตามกฎหมายล้มละลายของประเทศไทยนั้นได้ก�ำหนด ข้ อ ยกเว้ น ไว้ เ พี ย งทรั พ ย์ สิ น ที่ เ ป็ น เครื่ อ งใช้ ส ่ ว นตั ว ที่ จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีพตามฐานานุรูป กับพันธุ์พืช สัตว์ เครื่องมือ และสิ่งของใช้ในการประกอบวิชาชีพที่รวม มูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท อันเป็นการก�ำหนดไว้คร่าวๆ ขาดรายละเอียดและความชัดเจน แตกต่างจากของ ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าที่ มี ก ารก� ำ หนดรายละเอี ย ด เกี่ยวกับรายการทรัพย์สินตลอดจนมูลค่าของทรัพย์สิน ที่ได้รับการยกเว้นไว้อย่างชัดเจน โดยค�ำนึงถึงสภาพ ความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ด้วย การก�ำหนดรายการที่เห็นว่าจ�ำเป็น และมูลค่าที่เห็นว่า สมควรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และสภาพ

เศรษฐกิจของพื้นที่นั้นด้วยอันเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และยืดหยุ่นมากกว่า ท�ำให้ไม่เกิดข้อโต้แย้งว่าทรัพย์สิน รายการใดและมูลค่าเพียงใดจะต้องตกอยูใ่ นกองทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ และยังสอดรับกับหลักเกณฑ์เรือ่ งการก�ำหนด ให้ทรัพย์สินของลูกหนี้เฉพาะที่ลูกหนี้มีอยู่ ณ วันเริ่มต้น แห่งคดีเท่านั้นเป็นทรัพย์สินที่ตกอยู่ในกองทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่ากองทรัพย์สินลูกหนี้ตาม กฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกามีขอบเขต และขนาดที่ จ� ำ กั ด กว่ า กองทรั พ ย์ สิ น ตามกฎหมาย ล้มละลายของประเทศไทย เรือ่ งนีส้ ง่ ผลดีตอ่ ลูกหนีท้ จี่ ะ สามารถได้รับโอกาสในการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ลูกหนี้ ได้มาภายหลังการเริม่ ต้นแห่งคดี และทรัพย์สนิ ทีม่ คี วาม จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตและการประกอบอาชีพหรือ กิจการได้ ท�ำให้ลูกหนี้มีทุนรอนและความสามารถที่จะ เริ่มต้นประกอบอาชีพหรือกิจการใหม่ จนสามารถตั้งตัว ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว กว่ า ลู ก หนี้ ต ามกฎหมายล้ ม ละลาย ของไทย ทีเ่ ป็นเช่นนีผ้ เู้ ขียนเห็นว่า คงเป็นเพราะกฎหมาย ล้ ม ละลายของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าได้ รั บ อิ ท ธิ พ ล จากแนวคิดที่ว่าลูกหนี้ที่ล้มละลายนั้น โดยหลักแล้ว ไม่ใช่ผู้ที่กระท�ำทุจริต ต้องถูกต�ำหนิ หรือลงโทษ แต่เป็น ผู ้ ที่ น ่ า เห็ น ใจ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากปั จ จั ย ที่ ไ ม่ อ าจ คาดหมายได้ เช่น การด�ำเนินธุรกิจผิดพลาด การเจ็บป่วย การถูกออกจากงาน หรือการได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจตกต�่ำ เป็นต้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากกว่า ที่จะลงโทษและต�ำหนิติเตียน แต่สมควรที่จะได้รับการ แก้ ไข ประคั บ ประคองให้ ผ ่ า นพ้ น ความยากล� ำ บาก ดังกล่าวไปได้ หรือหากไม่สามารถประคับประคองได้ก็ ต้องท�ำให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้เร็วที่สุด มากกว่าลงโทษ ลู ก หนี้ แ ละจ� ำ กั ด สิ ท ธิ ใ นทรั พ ย์ สิ น หรื อ การประกอบ กิจการไว้ อันเป็นแนวคิดใหม่ภายหลังจากที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ นัน้ เอง ซึ่งเรื่องนี้น่าจะตรงกันข้ามกับแนวคิดตามกฎหมาย ล้มละลายของประเทศไทยที่ยังคงยึดแนวคิดดั่งเดิม ที่ว่าลูกหนี้ที่ล้มลายนั้น เป็นผู้ที่กระท�ำความผิดพลาด

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ทุ จ ริ ต สมควรถู ก ลงต� ำ หนิ ลงโทษ และถู ก ควบคุ ม พฤติกรรมมิให้ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นได้อีก เมือ่ ในภาวะปัจจุบนั โลกมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เชือ่ มโยงกันไปทัว่ โลก และมีแนวโน้มทีเ่ ป็นไปในทิศทาง เดียวกัน การพิจารณาและปรับปรุงกฎหมายล้มละลาย ซึง่ เป็นกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบเศรษฐกิจสาขาหนึง่

265

ให้สอดคล้องกับแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นเรื่อง ทีน่ า่ พิจารณาและท้าทายอย่างยิง่ ว่าจะสามารถปรับปรุง ให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจนได้ หลั ก เกณฑ์ ที่ เ หมาะสมและเป็ น ที่ ย อมรั บ ในนานา อารยประเทศได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ขัดแย้งกับค่า นิยมและความเชื่อดั่งเดิมจนสุดโต่งเกินไปได้อย่างไร

บรรณานุกรม

ภูมิวุฒิ พุทธสุอัตตา. (2539). กฎหมายฟื้นฟูกิจการของสหรัฐอเมริกา. วารสารดุลพาห, 43(2), 38-48. มนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต. (2542). มาตรการฟื้นฟูลูกหนี้ตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกา. วารสารดุลพาห, 46(1), 32-37. วิชา มหาคุณ. (2551). ค�ำอธิบายกฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติ บรรณาการ. วิชา มหาคุณ. (2546). กฎหมายล้มละลายและธุรกิจประกันชีวิต. จุฬาลงกรณ์วารสาร, 14(53), 11-13. วิชัย วิวิตเสรี. (2514). โน้ตทบทวนกฎหมายล้มละลาย ตอน 2 วิธีจัดการทรัพย์สินลูกหนี้. พระนคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ. (2554). กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ. เอกสารการบรรยายวิชากฎหมายฟื้นฟูกิจการและล้ม ละลาย หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาคเรียนที่ 2, 2554. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. สมชัย ฑีฆาอุตมากร. (2553). พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและ วิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พุทธศักราช 2542 ฉบับสมบูรณ์ พร้อมแนวค�ำพิพากษาของศาลฎีการายมาตรา และข้อสังเกต. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย). เอื้อน ขุนแก้ว. (2556). กฎหมายล้มละลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จ�ำกัด. เอือ้ น ขุนแก้ว. (2552). คูม่ อื การศึกษากฎหมายล้มละลาย. กรุงเทพฯ: Pholsiam Printing and Publishing (Thailand) Partnership. Bosomworth, T. N. (1982). Federal Exemption and the Opt-Out Provisions of Section 522: A Constitutional Challenge. Indiana Law Journal, 58(1), 143-148. Brubaker, R. (2014). U.S. Solutions to Bankruptcy Problems. University of Illinois College of Law. Cornell University Law School, Legal Information Institute. (1992). U.S. Code: Title 11 - Bankruptcy. Retrieved May 27, 2014, from http://www.law.cornell.edu/uscode/text/11/522 Renauer, A. (2014). U.S. Bankruptcy Law & Information v.3.1, 50 State Homestead Exemptions & Other Bankruptcy Exemptions. Retrieved May 28, 2014, from http://www. Legalconsumer. com/bankruptcy/law/ Tabb, C. J. (2009). The Law of Bankruptcy. (2nd ed.). New York: Thomson Reuters/Foundation Press. Tabb, C. J. (2010). Bankruptcy Law Principle, Policies, and Practice. (3rd ed.). San Francisco: Matthew Bender & Company, Inc., a member of The LexisNexis Group. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


266

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Translated Thai References

Phutthasu-utta, P. (1996). The United States Reorganization Law. Dulpharha Journal, 43(2), 38-48, Bangkok. [in Thai]. Slipmahabandit, M. (1999). Rehabilitation Measurement in Bankruptcy Law of The United States, Dulpharha Journal, 46(1), 32-37, Bangkok. [in Thai]. Mahakun, V. (2008). The Explanation of Bankruptcy and Reorganization Law. Bangkok: Nittibannakan. [in Thai] Mahakun, V. (2003). Bankruptcy and Life Insurance Business Law. Chulalongkorn Review, 14(53), 11-13. Bangkok. [in Thai]. Vivitseri, V. (1971). Bankruptcy Law, The Second Part: Means to Manage a Debtor’s property: Review Notes. Phranakhon: Faculty of Law, Thammasat University, Bangkok. [in Thai]. Wisitsora-at, W. (2011). Cross-Border Insolvency Law: Reorganization and Bankruptcy Law. Handout of Master of Law program, Faculty of Law. Thammasat University, Bangkok. [in Thai]. Thikha-utamakorn, S. (2010). The Bankruptcy Act B.E.2483 (1940), Act on The Establishment of and Procedure for Bankruptcy Court B.E.2542 (1999), (Complete Version), Including The Supreme Court Judgment, Section by Section and Suggestion. Bangkok: Pholsiam Printing Publishing. [in Thai]. Kunkeaw, A. (2013). Bankruptcy Law. (11th ed.). Bangkok: Krungsiam Publishing Limited. [in Thai]. Kunkeaw, A. (2009). Bankruptcy Law: handbook. Bangkok: Pholsiam Printing and Publishing (Thailand) Partnership. [in Thai].

Patcharapong Sonjai received his Master of Law from Thammasat University, his Barrister-at-Law from The Thai bar. He is currently a judge of the Don Mueang Kwaeng Court and a part-time lecturer in Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

267

การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา STUDENTS’S IDENTITY CONSTRUCTION IN HIGHER EDUCATION

ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน1 และพนมพร จันทรปัญญา2 Chattip Suwannachin1 and Panomporn Jantarapanya2 บทคัดย่อ

การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นกระบวนการส�ำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และสามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุข อัตลักษณ์ของผู้เรียนถือเป็นอัตลักษณ์บุคคล (Individual Identity) ซึ่งเกี่ยวข้องกับมิติภายใน ที่บุคคลรู้จักและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง และอัตลักษณ์ทางสังคม (Social Identity) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมของบุคคล ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้เรียนที่อธิบายไว้ในบทความนี้ ได้แก่ นโยบายการพัฒนา บัณฑิตอุดมคติไทย พ.ศ. 2554-2558 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และจากแนวคิดเกีย่ วกับอัตลักษณ์ของผูเ้ รียนดังกล่าว พบว่า มีการก�ำหนดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนสอดคล้องใกล้เคียงกัน และได้น�ำมาสรุปจ�ำแนกประเภทเป็น อัตลักษณ์ทางวิชาการ (Academic Identity) และอัตลักษณ์ทางวิชาชีพ (Professional Identity) ส�ำหรับการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนนั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การศึกษาทั้งด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านวิธีการสอน ด้านหลักสูตร และด้านผู้บริหาร รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการทัง้ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านระบบประกันคุณภาพการศึกษาทีม่ ปี ระสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และส่งผลให้ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ตามที่สถาบันก�ำหนดได้ประสบความส�ำเร็จ ค�ำส�ำคัญ: การสร้างอัตลักษณ์ อัตลักษณ์ของผู้เรียน อุดมศึกษา

Abstract

Studying in higher education is an important process to construct student Identity with desirable characteristic being relevant to enterprises’ needs and can live harmoniously with others in societies. Student identity is considered as individual identity dealing with internal dimension of a person who knows and recognizes themself and social identity involving in social interaction of individuals. Student identity concept explained in this article includes development policy of Thai 1 คณบดี

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, Dean of Education Faculty, The Far Eastern University, E-mail: chattip.sc@ feu.edu 2 อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, Lecturer of Master of Education Program in Education Administration, Education Faculty, The Far Eastern University, E-mail: panomporn.py@feu.edu ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


268

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ideal graduates B.E. 2011-2015 of Higher Education Commission Office and in National Qualifications Framework for Higher Education B.E. 2009. Student identity concepts as mentioned have to define similar desirable characteristics of student and can be summarized and classified as academic identity and professional identity. Student identity construction associates closely with learning process and learning environment. Therefore, both of the education administration factors including the student aspect, the teacher aspect, the teaching methods aspect, the curriculum aspect, the administrator aspect and the management factors including the environmental aspect and the quality assurance systems in education will be the key factors allowing students to learn and lead them to have identities according to institutions’ rules successfully. Keywords: Identity Construction, Student Identity, Higher Education บทน�ำ การศึ ก ษาในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาเป็ น การศึ ก ษา ในระดับทีส่ ำ� คัญ เนือ่ งจากเป็นการศึกษาทีเ่ ตรียมบุคคล เข้าสู่อาชีพ บัณฑิตที่ส�ำเร็จการศึกษาจะต้องเป็นบุคคล ทีม่ คี ณ ุ ลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการ ของสถานประกอบการ และสามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วม กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข เมื่อเข้าสู่การศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ผูเ้ รียนจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อม และการด�ำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมทั้งมี การเปลี่ยนแปลงบุคลิกและพฤติกรรมค่อนข้างมาก ซึ่ง จะต้องอาศัยการพิจารณาตรวจสอบ คัดเลือกตอบสนอง ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสิง่ ทีต่ นรับรู้ การเรียนในระดับ อุดมศึกษาจึงอยู่ในช่วงเวลาแห่งการแสวงหาอัตลักษณ์ (Identity) ของผู้เรียน (สมชาย รัตนทองค�ำ, 2556: 62; อัมพร ศรีประเสริฐสุข, 2545: 1 อ้างถึงในสุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, 2554: 1; Lairio, Puukari & Kouvo, 2013: 115) Chickering และ Reisser (1993: 38-49 อ้างถึง ในสุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, 2554: 6, 32) ได้แสดงทัศนะว่า การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นกระบวนการส�ำคัญ ในการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนซึ่งค้นหาประสบการณ์ ในรูปแบบที่ท�ำแล้วตนรู้สึกพอใจ รู้สึกปลอดภัย เกิด ความมั่ น ใจในตนเอง รวมไปถึ ง ความรู ้ สึ ก พึ ง พอใจ

ในรูปร่างลักษณะ การปรับตัวทางเพศ การยอมรับ และเข้าใจในบทบาทของตนเอง ตลอดจนการมั่นใจใน บุคลิกภาพของตน ดังนั้นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จึงเป็นช่วงเวลาส�ำคัญในการสร้างพืน้ ฐานชีวติ ของผูเ้ รียน ทัง้ ด้านชีวติ การท�ำงาน ชีวติ ครอบครัว และความสัมพันธ์ ทางสังคมผ่านกระบวนการเรียนการสอน และการมีสว่ น ร่วมในกิจกรรม นอกจากนีก้ ารศึกษาในระดับอุดมศึกษา ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนความรับผิดชอบ และ การใช้ ชี วิ ต แบบผู ้ ใ หญ่ รวมทั้ ง ได้ ท ดลองท� ำ หน้ า ที่ ในบทบาททีม่ คี ณ ุ ค่าและมีความส�ำคัญต่างๆ ซึง่ ล้วนเป็น องค์ประกอบส�ำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ทางวิชาการ (Academic Identity) และอั ต ลั ก ษณ์ ท างวิ ช าชี พ (Professional Identity) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการ ประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย (Lairio, Puukari & Kouvo, 2013: 115-116) ความหมายและประเภทของอัตลักษณ์ (Identity) 1. ความหมายของอัตลักษณ์ (Identity) ในพจนานุกรมภาษาไทย - อังกฤษ หรือพจนานุกรม อังกฤษ - ไทย ฉบับรวบรวมและเรียบเรียงโดย วิทย์ เที่ยงบูรณะธรรม ได้ให้ค�ำแปลของ “Identity” ว่า “เอกลักษณ์” ซึ่งมีความหมายตรงกับค�ำว่า “Identity”

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

ในพจนานุ ก รม Oxford Advanced Learner’s Dictionary ปีพิมพ์ 1973 และพจนานุกรม Collins Dictionary ปีพมิ พ์ 1996 (ธงชัย สมบูรณ์, 2551: 6 และ อภิญญา เฟือ่ งฟูสกุล, 2546: 1) ส่วนในพจนานุกรม The Concise Dictionary of Psychology ปีพิมพ์ 1998 ได้ให้ความหมายของ “Identity” ว่า ลักษณะเฉพาะ ทีส่ ำ� คัญทีฝ่ งั แน่นในตัวบุคคล เป็นพืน้ ฐานทีห่ ลอมรวมเป็น บุคลิกภาพ สะท้อนภาพลักษณ์ของบุคคล (Statt, 1998) นอกจากนี้ ราชบัณฑิตยสถานยังได้บัญญัติศัพท์ค�ำว่า “Identity” ว่า “เอกลักษณ์” โดยในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “เอกลักษณ์” ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน (ค�ำศัพท์บัญญัติ, 2537: 71 และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, 2546) ในวงการสังคมศาสตร์ยุคปัจจุบันมีการใช้ค�ำว่า “อัตลักษณ์” แทนค�ำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมาย ของค�ำว่า “Identity” ซึ่งอภิญญา เฟื่องฟูสกุล (2546: 1) ได้อธิบายว่า แนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) ท�ำให้ความหมายของค�ำว่า “Identity” เปลี่ยนแปลง โดยไม่ได้หมายถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวอีกต่อไป ทั้งนี้ เนื่ อ งจากเกิ ด การตั้ ง ค� ำ ถามเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารมองโลก การเข้ า ถึ ง ความจริ ง ของสิ่ ง ต่ า งๆ รวมทั้ ง ความเชื่ อ ในความจริ ง ที่ เ ป็ น “แกนหลั ก ” ของปั จ เจกบุ ค คล ความเป็นปัจเจกกลายเป็นเรื่องของการนิยามความ หมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามบริบท ดังนั้น ค�ำว่า “อัตลักษณ์” จึงมีความเหมาะสมกว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายของค�ำว่า “Identity” ส� ำ หรั บ ความหมายของ “อั ต ลั ก ษณ์ ” ได้ มี ผู ้ ใ ห้ ความหมายไว้ ดังนี้ McCall (1987: 134 อ้างถึงใน ฤดี นิยมรัตน์, 2554: 4) ได้ให้ความหมายของ “อัตลักษณ์” ว่า เป็นลักษณะ อย่างใดอย่างหนึง่ ในตัวบุคคล หรือชนชาติใดชนชาติหนึง่ ที่ทําให้บุคคลนั้นรู้ตัวว่า เขาเป็นบุคคล เป็นตัวเขาเอง แตกต่างจากคนอื่น และทําให้คนอื่นรู้จักว่าเป็นใคร อั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเองจึ ง มี ค วามสํ า คั ญ เพราะเป็ น

269

เครื่องรักษาบุคคลแต่ละคนให้มีความเป็นตัวตนของ ตนเองโดยแท้จริง อภิญญา เฟือ่ งฟูสกุล (2546: 1-2) กล่าวว่า อัตลักษณ์ แปรเปลี่ยนตามบริบทของวัฒนธรรมยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารท�ำให้มิติเวลาเร่งเร็วขึ้น และ มิตพิ น้ื ทีห่ ดแคบเข้ามา เกิดการเคลือ่ นไหวทางวัฒนธรรม อย่างรวดเร็ว หลากหลายและซับซ้อน การเปลี่ยนแปลง นี้แสดงออกได้หลายลักษณะและหลายมิติ ในระดับ จุลภาคจะพบการปรับเปลี่ยนแบบแผนชีวิตประจ�ำวัน ของปัจเจกบุคคลซึ่งเชื่อมโยงกับการปรับปฏิสัมพันธ์ กั บ ผู ้ อื่ น ในระดั บ มหภาคจะพบการเคลื่ อ นไหวทาง ศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมใหม่ๆ มากมาย และ มี ก ระบวนการสร้ า งตั ว ตนและอั ต ลั ก ษณ์ จ ากการ ผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อน ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2542: 1-2 อ้างถึงใน ฤดี นิยมรัตน์, 2554: 4) กล่าวว่า“อัตลักษณ์” หมายถึง สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นเรา หรือพวกเราแตกต่างจากเขา พวกเขา หรือคนอื่น อัตลักษณ์ไม่จําเป็นต้องมีหนึ่งเดียว แต่อาจมีหลายอัตลักษณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา หรือ พวกเรา อัตลักษณ์ไม่ใช่สงิ่ ทีม่ อี ยูต่ ามธรรมชาติแต่เป็นสิง่ ที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น โดยสั ง คม (Social - Constructed) อัตลักษณ์จงึ จําเป็นต้องมีกระบวนการสร้างความเหมือน และความแตกต่างระหว่างพวกเราหรือคนอื่น จากความหมายของอัตลักษณ์ ดังกล่าวข้างต้น สรุป ได้ว่า อัตลักษณ์ หมายถึงลักษณะเฉพาะ หรือลักษณะ ทีเ่ หมือนกันของบุคคล หรือกลุม่ บุคคลทีส่ ามารถบ่งบอก ความแตกต่างและสร้างความจดจําได้ ซึง่ เป็นผลจากการ ยอมรับและเข้าใจบทบาทหน้าทีต่ นเองผ่านกระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2. ประเภทของอัตลักษณ์ (Identity) จากความหมายของอัตลักษณ์ที่บุคคลมีลักษณะ เฉพาะ หรือลักษณะที่เหมือนกันของบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลอันเป็นผลจากกระบวนการทางอารมณ์ ความรูส้ กึ ภายในตนเอง และกระบวนการปฏิสมั พันธ์ทางสังคมนัน้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


270

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

สามารถน�ำมาจ�ำแนกประเภทของอัตลักษณ์ ได้ดังนี้ (Smith, 2006, 85-88; Erikson, 1968 อ้างถึงใน สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, 2554: 24-25; Woodward, 1997 อ้างถึงในธงชัย สมบูรณ์, 2551: 10) 2.1 อัตลักษณ์บุคคล (Individual Identity) เกี่ยวข้องกับ “มิติภายใน” ของบุคคล อันได้แก่ อารมณ์ ความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด ซึ่ ง บุ ค คลมี ต ่ อ ตนเอง เป็ น การให้ ความหมายหรื อ เปลี่ ย นแปลงความหมายเกี่ ย วกั บ ตนเองผ่านกระบวนการที่เขาสัมพันธ์กับโลกซึ่ง Erving Goffman นักสังคมวิทยา ได้จำ� แนกอัตลักษณ์บคุ คลตาม ทฤษฎีจิตสังคมของ Erik H. Erikson ไว้ดังนี้ 1) สิง่ ทีบ่ คุ คลมองว่า เป็นตัวตนของตนเอง ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเฉพาะ และแตกต่ า งจากผู ้ อื่ น (Ego Identity) 2) ภาพหรือลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ในสายตาผู ้ อื่ น (Personal Identity)ซึ่ ง สั ง คมมี กระบวนการแจกแจง และระบุอตั ลักษณ์บคุ คลแตกต่าง กันไป เช่น ในสังคมสมัยใหม่ใช้บัตรประจ�ำตัวประชาชน หรือการพิมพ์ลายนิ้วมือเป็นต้น 2.2 อัตลักษณ์ทางสังคม (Social Identity) คือ สถานภาพทางสังคม เช่น อาชีพ ชนชัน้ เพศ ชาติพนั ธุ์ หรื อ ศาสนาที่ บุ ค คลนั้ น สั ง กั ด อั ต ลั ก ษณ์ บุ ค คลและ อัตลักษณ์ทางสังคมมีการซ้อนทับกันอยู่ เช่น การทีส่ งั คม ก�ำหนดบทบาทหน้าทีแ่ ละต�ำแหน่งทางสังคม อาทิ ความ เป็นลูก ความเป็นเพือ่ น หรือต�ำแหน่งทางสังคมแก่บคุ คล ส่งผลให้บคุ คลเรียนรูแ้ ละเลือกนิยามตนเองให้เหมาะสม กับสังคม และมีการปรับเปลี่ยนไปตามบริบท สัญลักษณ์ ที่บุคคลน�ำมาใช้นิยามตนเองทั้งต่อสังคมและต่อตนเอง เช่น การเลือกแต่งกายเพื่อแสดงความเป็นสมาชิกของ สถาบั น หรื อ แต่ ล ะสถานศึ ก ษาเลื อ กใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ หรือเครื่องแบบที่แตกต่างกันเพื่อแสดงความเป็นตัวตน ให้ผู้อื่นรับรู้ ทั้งนี้การนิยามความหมายเพื่อแสดงถึง ความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคลกับสิ่งที่ผู้อื่นมองเห็น อาจไม่สอดคล้องกันเสมอไป โดย Erving Goffman นักสังคมวิทยา ได้จ�ำแนกอัตลักษณ์สังคมนี้ออกเป็น สองส่วน ได้แก่ (Smith, 2006: 85-86)

1) สิ่งที่สังคมเรียกร้องและคาดหวังจาก บุคคล (Virtual Social Identity) 2) สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริงของบุคคล นั้น (Actual Social Identity) กล่าวโดยสรุป อัตลักษณ์แบ่งเป็นสองประเภท คือ อัตลักษณ์บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับมิติภายในของบุคคล ที่รู้จักและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง และอัตลักษณ์ทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล ทั้งนี้บุคคลจะนิยามและแสดงตนเองจากอารมณ์ ความ รูส้ กึ ภายในของตนเอง และจากความคาดหวังของสังคม ดังนั้น อัตลักษณ์บุคคลและอัตลักษณ์ทางสังคมจึงมี ความเชื่อมโยง และส่งผลซึ่งกันและกัน แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์บุคคล อัตลักษณ์บคุ คลไม่ได้มลี กั ษณะถาวรแต่มกี ารก่อตัว และปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามบริบทของเวลาและ สถานที่ที่บุคคลได้มีปฏิสัมพันธ์ (Ivanic, 1998, 2006 cited in Burgess, 2010: 20) โดย Erick H. Erikson เชื่ อ ว่ า การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ บุ ค คลเป็ น กระบวนการ ตลอดทั้งชีวิต (A Life Long Process) และได้แบ่งขั้นตอน การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ ไ ว้ 8 ขั้ น ตอน โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ วัยทารกจนถึงวัยชรา (สุรางค์ โค้วตระกูล, 2544: 40-45) ซึ่งในการสร้างอัตลักษณ์บุคคลนี้ มีความเกี่ยวข้องกับ มิติภายในที่ปัจเจกบุคคลรู้จักและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง และมิติภายนอกที่ปัจเจกบุคคลให้และเปลี่ยนแปลง ความหมายเกีย่ วกับตนเองจากการมีปฏิสมั พันธ์กบั สังคม (อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, 2546, 5-6) ดังแนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างอัตลักษณ์บุคคลที่ผู้เขียนรวบรวมมาน�ำเสนอ ดังนี้ 1. กระบวนการที่ อั ต ลั ก ษณ์ บุ ค คลกลายเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ท างสั ง คม และกระบวนการที่ สั ง คม หล่อหลอมอัตลักษณ์บุคคลขึ้นมา Rom Harré ได้ อ ธิ บ ายถึ ง กระบวนการที่ อัตลักษณ์บุคคลกลายเป็นอัตลักษณ์ทางสังคม และ

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

กระบวนการที่สังคมหล่อหลอมอัตลักษณ์บุคคลขึ้นมา ดังนี้ (Harré, 1983 cited in Stables, 2003: 5; Harré, 1983 cited in Murray, 2003; Harré, 1990 อ้างถึง ในอภิญญา เฟื่องฟูสกุล, 2546: 105) 1.1 กระบวนการที่ เ ด็ ก ซึ ม ซั บ เอาค่ า นิ ย ม ผ่ า นกระบวนการขั ด เกลาจากพ่ อ แม่ ห รื อ โรงเรี ย น (Appropriation) 1.2 กระบวนการที่ ค ่ า นิ ย มเกี่ ย วกั บ บทบาท หน้าที่ต่างๆ ผนวกเข้ามาในมิติภายในของบุคคล และ ก่อตัวขึ้นเป็นอัตลักษณ์บุคคล (Transformation) 1.3 กระบวนการทีอ่ ตั ลักษณ์บคุ คลถูกถ่ายทอด หรือแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ (Publication) 1.4 กระบวนการทีป่ ระสบการณ์ในกระบวนการ ทั้ ง สามข้ า งต้ น ได้ก ลายเป็นประสบการณ์สาธารณะ ผ่านกลไกบางอย่าง เช่น การพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติ ออกมาจ�ำหน่าย (Conventionalization) ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวทั้งหมดจะครอบคลุมทั้ง ส่วนทีบ่ คุ คลถูกก�ำหนดจากสังคม และส่วนทีบ่ คุ คลเลือก ให้ความหมายและกระท�ำภายในกรอบทีถ่ กู ก�ำหนดด้วย 2. วงจรแห่งวัฒนธรรม (The Circuit of Culture) กับกระบวนการสร้างอัตลักษณ์บุคคล กระบวนการสร้างอัตลักษณ์บุคคลด�ำเนินไปอย่าง ต่อเนื่องภายใต้วงจรแห่งวัฒนธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยจุดเริ่มต้นของ วงจรนีจ้ ะเริม่ ต้น ณ องค์ประกอบใดก่อนได้ ดังนี้ (Stuart, 1997 cited in Leve, 2012: 4 และขวัญฟ้า ศรีประพันธ์, 2551: 24-25) 2.1 การผลิต (Production) คือ การที่บุคคล ให้ความหมายและเปลี่ยนแปลงความหมายจากการ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมในสถานการณ์ แ ละรู ป แบบ ที่หลากหลาย 2.2 การบริโภค (Consumption) คือ การบริโภค ทางวั ฒ นธรรม ที่ ใ ห้ ค วามหมายจากการสร้ า งภาพ ตัวแทน และในการบริโภคนี้ สถานที่ อุดมการณ์ เพศ

271

และชนชัน้ ทางสังคมต่างก็หมุนเวียนและมีอทิ ธิพลซึง่ กัน และกัน 2.3 อัตลักษณ์ (Identity) คือ การแสดงออกต่อ ตนเองเกีย่ วกับค�ำถามว่า “เราเป็นใคร” “เรารูส้ กึ อย่างไร” และ “เรารู้สึกร่วมกับกลุ่มไหน” 2.4 กฎระเบียบ (Regulation) คือ ความหมาย ในทางวัฒนธรรมซึง่ ไม่ได้เป็นเพียงสิง่ ทีฝ่ งั อยูใ่ นความคิด แต่กอ่ รูปเป็นระเบียบปฏิบตั ใิ นสังคม (Regulate Social Practice) มีความส�ำคัญและเกีย่ วข้องกับชีวติ ประจ�ำวัน 2.5 ภาพตัวแทน (Representation) เป็นการ สร้างความหมายผ่านภาษา โดยใช้สญ ั ลักษณ์เพือ่ สือ่ สาร กับผูอ้ นื่ และใช้สญ ั ลักษณ์อา้ งอิงถึงความจริงทัง้ สิง่ ทีเ่ ป็น รูปธรรมและนามธรรม 3. อัตลักษณ์องค์กร (Organizational Identity) กับการสร้างอัตลักษณ์บุคคล จากแนวคิดทีว่ า่ อัตลักษณ์บคุ คล และอัตลักษณ์ทาง สังคมมีความเชือ่ มโยง และส่งผลซึง่ กันและกัน โดยบุคคล ให้และเปลี่ยนแปลงความหมายเกี่ยวกับตนเองจากการ มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม หนึ่งในอัตลักษณ์ทางสังคมที่มี ผลต่อการสร้างอัตลักษณ์บุคคล คือ อัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) ของสมาชิกในองค์กรผ่านการ บัญญัติกฎระเบียบ ข้อบังคับ ธรรมเนียม และประเพณี เพื่อก�ำหนดอ�ำนาจและบทบาทหน้าที่ของบุคคลภายใน องค์กร ซึ่งอัตลักษณ์ร่วมนี้มีส่วนในการสร้างอัตลักษณ์ องค์กร (Organizational Identity) (Gee, 2000, 102 cited in McNair, Newswander, Boden & Borrego, 2011: 377) ศุภฤกษ์ รักชาติ (2554: 14) ได้สรุปอัตลักษณ์ องค์กร (Organizational Identity) ว่า เป็นรากฐานของ องค์กรที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) โดยวัฒนธรรมองค์กรนี้จัดเป็นโครงสร้างของ อัตลักษณ์รว่ มอย่างหนึง่ และถูกสือ่ สารต่อสมาชิกองค์กร ผ่านผูบ้ ริหารระดับสูง จากนัน้ จึงถูกตีความและแสดงออก ผ่านสมาชิกขององค์กรทุกระดับ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผล

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


272

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ต่ อ การแสดงออก คื อ รู ป แบบวั ฒ นธรรมองค์ ก ร ประสบการณ์การท�ำงาน และอิทธิพลจากสังคมภายนอก องค์กร ดังนั้น อัตลักษณ์องค์กรจึงมีส่วนในการสร้าง อัตลักษณ์บุคคล และอัตลักษณ์ร่วมของสมาชิกภายใน องค์กร ในขณะเดียวกันอัตลักษณ์บุคคลและอัตลักษณ์

ร่วมก็มีส่วนในการสร้างอัตลักษณ์องค์กรด้วยเช่นกัน โดย Puusa (2006 อ้างถึงใน ศุภฤกษ์ รักชาติ, 2554: 15) ได้ อ ธิ บ ายความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งอั ต ลั ก ษณ์ ทั้ ง สาม ประเภท ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์บุคคล อัตลักษณ์ร่วมและอัตลักษณ์องค์กร ที่มา: Puusa (2006 อ้างถึงในศุภฤกษ์ รักชาติ, 2554: 15) แนวคิดเกีย่ วกับอัตลักษณ์ของผูเ้ รียนในระดับอุดมศึกษา อัตลักษณ์ของผูเ้ รียนในระดับอุดมศึกษามีความส�ำคัญ อย่างยิ่ง เพราะส่งผลต่อการประกอบอาชีพ และการ ด�ำรงชีวติ อยูใ่ นสังคมของผูเ้ รียนดังที่ เกณฑ์การประเมิน คุ ณ ภาพภายนอก รอบที่ ส าม (พ.ศ. 2554-2558) ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ได้ก�ำหนดให้มีการประเมิน เกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ในการ จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) ส�ำหรับแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้เรียนที่จะขอ น�ำเสนอในบทความนี้ คือ แนวคิดตามนโยบายการ พัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย พ.ศ. 2554-2558 และแนวคิด ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ดังนี้

1. นโยบายการพั ฒ นาบั ณ ฑิ ต อุ ด มคติ ไ ทย พ.ศ. 2554-2558 (สกอ. เตรียมพร้อมผลิตบัณฑิตไทย ในศตวรรษที่ 21, 2554: 2) 1.1 บั ณ ฑิ ต ไทยมี ส มรรถนะและทั ก ษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ ต้องมีการเรียนรู้ใน วิชาแกนหลัก ได้แก่ ภาษาแม่ และภาษาส�ำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมศิ าสตร์ และประวัตศิ าสตร์ โดยต้องสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไป ในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้ 1) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ความรูเ้ กีย่ วกับโลก ความรูเ้ กีย่ วกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ ด้านการเป็นพลเมืองทีด่ ี ความรูด้ า้ นสุขภาพ ความรูด้ า้ น สิ่งแวดล้อม 2) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นตัวก�ำหนดความพร้อมของผู้เรียนเข้าสู่โลกการ ท�ำงานทีม่ คี วามซับซ้อนมากขึน้ ในปัจจุบนั ประกอบด้วย ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมี

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

วิจารณญาณ และการแก้ปัญหา การสื่อสารและการ ร่วมมือ 3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี เนือ่ งด้วยในปัจจุบนั มีการเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารผ่านทาง สือ่ และเทคโนโลยีมากมาย ผูเ้ รียนจึงต้องมีความสามารถ ในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวจิ ารณญาณและปฏิบตั ิ งานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้าน เทคโนโลยี และ (4) ทักษะด้านชีวิตและอาชีพในการ ด�ำรงชีวติ และท�ำงานในยุคปัจจุบนั ให้ประสบความส�ำเร็จ ซึ่ ง ผู ้ เรี ย นจะต้ อ งพั ฒ นาทั ก ษะชี วิ ต ที่ ส� ำ คั ญ ดั ง นี้ คื อ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และ เป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็ น ผู ้ ส ร้ า งหรื อ ผู ้ ผ ลิ ต (Productivity) และมี ความรับผิดชอบเชือ่ ถือได้ (Accountability) มีภาวะผูน้ ำ� และความรับผิดชอบ (Responsibility) (วิจารณ์ พานิช, 2555: 16-21 อ้างอึงในทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษ ที่ 21, 2557) 1.2 บั ณ ฑิ ต ไทยมี คุ ณ ลั ก ษณะความเป็ น พลเมืองไทยและพลเมืองโลก 1.3 บัณฑิตไทยมีความเป็นเลิศที่หลากหลาย ตามจุ ดเน้ นของสถาบันอุด มศึกษา กล่าวคือ ผลิต บัณฑิตที่สะท้อนจุดเน้นของสถาบันเป็นบัณฑิตที่เก่ง ทั้งวิชาการและวิชาชีพโดยค�ำนึงถึงเกณฑ์มาตรฐานทาง วิชาการและวิชาชีพนั้นๆ 2. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่ง ชาติ พ.ศ. 2552 ก�ำหนดคุณลักษณะบัณฑิตไว้ 5 ด้าน ดังนี้ (ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552 อ้างถึงในสุภชั ฌาน์ ศรีเอี่ยม, 2554: 35-36) 2.1 ด้ า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม หมายถึ ง ความสามารถในการจั ด การปั ญ หาทางคุ ณ ธรรม จริยธรรม และวิชาชีพ โดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น ค่านิยมพื้นฐาน และจรรยาบรรณ วิชาชีพ

273

2.2 ด้านความรู้ หมายถึง การมีองค์ความรู้ ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนักรู้ หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ส�ำหรับ หลักสูตรวิชาชีพต้องมีความเข้าใจเกีย่ วกับความก้าวหน้า ของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึง งานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและ การต่อยอดองค์ความรู้ ส่วนหลักสูตรวิชาชีพที่เน้น ปฏิบตั ิ จะต้องเน้นหนักในธรรมเนียมปฏิบตั ิ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ 2.3 ด้านทักษะทางปัญญา หมายถึง การมีความ สามารถค้นหาข้อเท็จจริง ท�ำความเข้าใจและสามารถ ประเมินข้อมูล แนวคิดหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูล ที่ ห ลากหลาย และใช้ ข ้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ใ นการแก้ ไขปั ญ หา ด้วยตนเองสามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดย ค�ำนึงถึงความรูภ้ าคทฤษฎี ประสบการณ์จากภาคปฏิบตั ิ และผลกระทบจากการตัดสินใจสามารถใช้ทักษะและ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนือ้ หาสาระทางวิชาการและ วิชาชีพ ส�ำหรับหลักสูตรวิชาชีพ ผูเ้ รียนสามารถใช้วธิ กี าร ปฏิบตั งิ านประจ�ำและหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา ได้อย่างเหมาะสม 2.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นทักษะที่เอื้อต่อการแก้ ปัญหากลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้น�ำ หรือ สมาชิกของกลุ่มสามารถแสดงออก ซึ่งภาวะผู้น�ำใน สถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนและต้องใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ใน การแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหา ได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเอง และของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมี การพัฒนาตนเองและอาชีพ 2.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การ สื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความสามารถในการศึกษา ท�ำความเข้าใจในประเด็น ปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษา

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


274

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปญ ั หา ใช้เทคนิค สารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปล ความหมาย และน�ำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างสม�่ำเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการพูด และการเขียน สามารถเลือกใช้รูปแบบการน�ำเสนอ ที่เหมาะส�ำหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้ จากแนวคิ ด เกี่ ย วอั ต ลั ก ษณ์ ข องผู ้ เรี ย นในระดั บ อุดมศึกษาทัง้ สองแนวคิดดังกล่าวข้างต้นจะพบว่า มีการ ก�ำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผูเ้ รียนสอดคล้อง ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งเป็นสองด้าน คือ คุณลักษณะด้าน ปัญญา เช่น การมีความสามารถในการเรียนรู้ ส�ำรวจและ ประเมินข้อมูล การคิดวิเคราะห์ การมีความคิดสร้างสรรค์ และมีองค์ความรูใ้ นสาขาวิชาทีก่ ว้างขวางและเป็นระบบ และคุ ณ ลั ก ษณะด้ า นอาชี พ และการด� ำ รงชี วิ ต เช่ น การมีความรู้และทักษะในวิชาชีพเฉพาะด้าน มีความ รับผิดชอบ มีทักษะทางสังคม มีคุณธรรม และจริยธรรม ซึง่ ในบทความฉบับนีผ้ เู้ ขียนได้นำ� คุณลักษณะทัง้ สองด้าน มาสรุปจ�ำแนกประเภทอัตลักษณ์ที่สถาบันอุดมศึกษา สร้างให้เกิดแก่ผเู้ รียน โดยยึดตามแนวคิดในงานวิจยั ของ Lairio, Puukari และ Kouvo (2013: 118-119) ดังนี้ 1. อัตลักษณ์ทางวิชาการ (Academic Identity) หมายถึ ง การมี ทั ก ษะในการคิ ด อย่ า งเป็ น ระบบ (Scientific Thinking Skills) และทั ก ษะทั่ ว ไป (Generative Skills) ทีท่ ำ� ให้ผเู้ รียนสามารถเรียนรูไ้ ด้ดว้ ย ตนเองและสร้างความรู้ใหม่ได้ ตลอดจนมีองค์ความรู้ ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ 2. อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ (Professional Identity) หมายถึง การมีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มี ความรับผิดชอบ มีคณ ุ ธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ รวมทั้งมีทักษะทางสังคม การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา Erik H. Erikson เชื่อว่า การสร้างอัตลักษณ์บุคคล เป็นกระบวนการตลอดทั้งชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัย ชรา และการสร้างอัตลักษณ์ในช่วงวัย 12-18 ปี ซึ่งอยู่

ในช่วงวัยรุ่น และเป็นช่วงวัยของบุคคลที่ศึกษาในระดับ อุดมศึกษา ซึ่งนับเป็นช่วงวัยที่มีความส�ำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงวิกฤตระหว่างการมีอัตลักษณ์ที่ลงตัว กับการเกิดความสับสนในบทบาทของตน บุคคลในวัยนี้ ต้ อ งการแสวงหาอั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเอง หากบุ ค คล ไม่สามารถค้นหาอัตลักษณ์ของตนพบ ก็จะเกิดความ สับสนในการแสดงบทบาทหน้าที่ของความเป็นผู้ใหญ่ ในอนาคตได้ ทั้ ง นี้ อั ต ลั ก ษณ์ ข องผู ้ เรี ย นในระดั บ อุดมศึกษาถือเป็นอัตลักษณ์บคุ คล (Individual Identity) ซึ่งเกี่ยวข้องกับมิติภายในที่บุคคลรู้จักและรับรู้เกี่ยวกับ ตนเอง และอัตลักษณ์ทางสังคม (Social Identity) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล (สุรางค์ โค้วตะกูล, 2544: 5-6, 40-45; อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, 2546: 17-19) ส�ำหรับประเภทอัตลักษณ์ที่สร้างให้เกิดแก่ผู้เรียน ที่น�ำเสนอในบทความนี้ คือ อัตลักษณ์ทางวิชาการ และ อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ ซึ่งมีพื้นฐานจากการสร้างความ กระหายใคร่รู้ (Curiosity) และฝึกฝนผู้เรียนให้มีใจเปิด รับทางเลือกในค�ำอธิบายหรือค�ำตอบใหม่เพื่อน�ำมา ปรับปรุงตนเองรวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรรมต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษา (Lairio, Puukari & Kouvo, 2013: 118) นอกจากนี้ การสร้างอัตลักษณ์ของผูเ้ รียนในระดับ อุดมศึกษายังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการจัด กระบวนการเรี ย นรู ้ และสภาพแวดล้ อ มการเรี ย นรู ้ (Nygaard & Serrano, 2009: 233) ดังนั้น จึงกล่าว ได้ ว ่ า การจั ด กระบวนการเรี ย นรู ้ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้าง อัตลักษณ์ของผู้เรียนได้ประสบความส�ำเร็จ ทั้งนี้ใน รายงานการวิจัยเอกสาร เรื่อง การพัฒนากระบวนการ เรียนรูใ้ นระดับปริญญาตรี ได้เสนอกลยุทธ์ในการจัดการ ศึกษาเพือ่ ปฏิรปู การเรียนรูใ้ ระดับอุดมศึกษาไว้ (พันศักดิ์ พลสารัมย์ และวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา, 2543: 110-115; พันศักดิ์ พลสารัมย์, ม.ป.ป.: 7-11) ซึ่งผู้เขียน ได้ประมวลมาน�ำเสนอ ดังนี้

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา 1.1 ด้านผู้เรียน ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ อ าจารย์ ผู ้ ส อนต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง คุ ณ ค่ า ที่ ผู ้ เรี ย นจะ ได้รับเป็นหลักและเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนให้มากที่สุด มีการก�ำหนดคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์เพื่อน�ำ ไปสู ่ เ ป้ า หมายการผลิ ต ที่ ชั ด เจน การปลู ก ฝั ง ทั ก ษะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านการคิดวิเคราะห์ การปลูกฝังนิสยั ใฝ่เรียนรู้ การปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมโดยวิธีการสอดแทรกในการเรียน การสอนทุ กๆ รายวิช านอกจากการจัดเป็นรายวิชา เฉพาะ 1.2 ด้ า นผู ้ ส อน จะต้องลดบทบาทการสอน ในลักษณะของการให้ความรู้ลง และปรับวิธีการสอน โดยเป็นผู้ชี้แนะ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความส�ำคัญกับการวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนการสอนมากขึ้น ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึง่ จากแนวคิดของ Austin (1993 อ้างถึงในสุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, 2554: 33-34, 45) ได้ระบุ ไว้ว่า จ�ำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ กับอาจารย์นอกห้องเรียน เช่น การช่วยอาจารย์สอน การช่วยอาจารย์ท�ำวิจัย ตลอดจนการมีส่วนร่วมของ ผู้เรียนในกิจกรรมทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ในการสร้างอัตลักษณ์แก่ผู้เรียน 1.3 ด้านวิธีการเรียนการสอน ที่เน้นการจัด กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และมีวิธีการจัดการ เรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ มุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะ การคิด การกลั่นกรอง และสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จาก การเรียนรู้ รวมทั้งจัดกระบวนการพัฒนาทักษะในการ สอนของอาจารย์ให้สามารถด�ำเนินการสอนตามหลักการ เรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ โดยก�ำหนดเป็นภาระ งานที่อาจารย์จะต้องมีการพัฒนาทักษะการสอนเป็น ช่วงๆ ส่งเสริมให้มีการใช้ส่ือประกอบกิจกรรมการเรียน รู้ของผู้เรียนมากขึ้น ตลอดจนจัดให้มีรูปแบบการเรียนรู้ ที่หลากหลายแก่ผู้เรียนตามความสนใจและความถนัด

275

ทั้ ง ในระบบ นอกระบบ และตามอั ธ ยาศั ย โดยเน้ น การเรียนรู้ตลอดชีวิต 1.4 ด้ า นหลั ก สู ต ร จั ด หลั ก สู ต รให้ เ ป็ น แบบ บูรณาการ ได้แก่ หลักสูตรที่พัฒนารายวิชาเป็นชุดวิชา (Module) มีความยืดหยุ่น เป็นแบบกว้างและมีความ หลากหลาย เช่น การเพิ่มการจัดหลักสูตรนานาชาติ เน้นการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพ มีความ ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนแบบบูรณาการเชื่อม ประสานกับชีวติ จริง และฝึกปฏิบตั จิ ากประสบการณ์ตรง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพเพื่อดูแลคุณภาพการสอน และ ควบคุมมาตรฐานในการจัดการศึกษา เช่น แพทยสภา สมาคมพยาบาล ส�ำนักงานควบคุมมาตรฐานคุณภาพ กลางเพื่อดูแลคุณภาพการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา สอดคล้องกับทัศนะของ Lairio, Puukari และ Kouvo (2013: 118-119) ที่กล่าวว่า อัตลักษณ์ทางวิชาชีพของ ผู้เรียนเป็นผลจากการฝึกปฏิบัติในสาขาวิชาเฉพาะที่ ค�ำนึงถึงความเป็นอิสระทางวิชาการ ซึง่ การมีปฏิสมั พันธ์ อย่างใกล้ชิดระหว่างชีวิตการท�ำงานกับชีวิตการเรียนมี ความส�ำคัญต่อการสร้างอัตลักษณ์ทางวิชาชีพของผูเ้ รียน 1.5 ด้านผูบ้ ริหาร ผูบ้ ริหารควรก�ำหนดวิสยั ทัศน์ เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ชัดเจน มีนโยบายสนับสนุน ด้านต่างๆ ในการจัดการศึกษาและการพัฒนาการเรียน การสอนมีการวางแผนการจัดการศึกษาโดยก�ำหนด ทิศทาง เป้าหมายทางวิชาการอย่างชัดเจน และที่ส�ำคัญ ต้องมีการก�ำหนดประด็นของอัตลักษณ์และการเรียนรูไ้ ว้ ในแผนการศึกษา (Educational Program) อย่างเป็น ระบบ (Nygaard & Serrano, 2009: 233) นอกจากนี้ ผู ้ บ ริ ห ารยั ง ต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ ร ่ ว ม (Collective Identity) ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ทาง สังคมของสมาชิกภายในองค์กร ผ่านการบัญญัติกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ธรรมเนียม และประเพณีขององค์กร ทั้งนี้เพราะอัตลักษณ์บุคคล และอัตลักษณ์ทางสังคม มีความเชื่อมโยงและส่งผลซึ่งกันและกัน (Gee, 2000: 102 cited in McNair, Newswander, Boden & Borrego, 2011: 377)

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


276

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ 2.1 ด้านสภาพแวดล้อม ทัง้ ทางกายภาพ บุคคล กฎระเบี ย บ ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ และวั ฒ นธรรมของ สถาบันการศึกษาเป็นองค์ประกอบที่ช่วยหล่อหลอม ให้ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ตามที่สถาบันก�ำหนด เนื่องด้วย อัตลักษณ์บคุ คลไม่ได้มลี กั ษณะถาวร แต่มกี ารก่อตัวและ ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามบริบทของเวลาและสถานที่ ที่บุคคลได้มีประปฏิสัมพันธ์การสร้างอัตลักษณ์บุคคล จึงมีความเกี่ยวข้องกับมิติภายในที่บุคคลรู้จักและรับรู้ เกี่ยวกับตนเอง และมิติภายนอกที่บุคคลเปลี่ยนและ นิยามความหมายตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม (Ivanic, 1998, 2006 cited in Burgess, 2010: 20 และอภิญญา เฟือ่ งฟูสกุล, 2546, 5-6) ด้วยเหตุนสี้ ถาบัน อุดมศึกษาจะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น และยังเป็นการปลูกฝังนิสัยในการ เรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้เรียนมีการจัดหาและบริการสื่อ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเพียงพอ รวมทั้ง ต้องมีหน่วยงานที่พัฒนาการเรียนการสอน เช่น ศูนย์ ช่วยเหลือด้านการเรียน ศูนย์พัฒนาการสอน ศูนย์ผลิต สื่ อ อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ตลอดจนต้ อ งเน้ น การมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนหรื อ การพั ฒ นาความร่ ว มมื อ กั บ หน่วยงานอื่น ได้แก่ การร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชน องค์กร หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการศึกษา ซึ่งจาก การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ยังพบว่า สภาพแวดล้ อ มการเรี ย นรู ้ ที่ ดี ยั ง เอื้ อ อ� ำ นวยให้ เ กิ ด ปฏิสมั พันธ์ทดี่ รี ะหว่างผูเ้ รียนด้วยกัน และระหว่างผูเ้ รียน กับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนเกิด ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนการเรียนรู้ และได้รับ ความรู้จากการเรียนรู้ และการฝึกปฏิบัติในสถาบัน อุดมศึกษา ตลอดจนการที่อาจารย์ดูแลเอาใจใส่ผู้เรียน ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง (Whole Person) และการให้ ความสนใจในสภาพความเป็นอยูท่ ดี่ ี (Well-Being) ของ ผูเ้ รียนจะเป็นปัจจัยส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์แก่ผเู้ รียน

(Christie, Tett, Cree, Hounsell & McCune, 2008: 567; Gallacher, Crossan, Field & Merril, 2002; Tam, 2002, 213 & Tinto, 1975 Cited in Lairio, Puukari & Kouvo, 2013: 118) 2.2 ด้ า นระบบประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องมีการพัฒนาระบบ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาตามพั น ธกิ จ หลั ก ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา คื อ ด้ า นการผลิ ต บั ณ ฑิ ต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการ ท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการ เรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการพัฒนา คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังรวมถึงด้าน การบริหารจัดการ ซึง่ จะช่วยพัฒนาให้สถาบันอุดมศึกษา มี ร ะบบการบริ ห ารจั ด การงบประมาณที่ เ หมาะสม นอกจากนีก้ ารทีส่ ถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดระบบการ บริหารกิจการต่างๆ ด้วยตนเองและมีการพึ่งตนเอง มากขึ้นจะท�ำให้การจัดการเกี่ยวกับงบประมาณเป็นไป อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยงบประมาณเกี่ ย วกั บ การ พัฒนาการเรียนการสอนควรได้รับการพิจารณาเป็น ความส�ำคัญในระดับต้นๆ รวมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์กลาง เครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ ข่าวสารระหว่างกัน และมีการประสานงานระหว่าง หน่วยงานทุกระดับในสถาบัน ตัง้ แต่ระดับนโยบาย ระดับ คณะ ศูนย์ และภาควิชา ตลอดจนมีการน�ำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการสร้าง อัตลักษณ์ของผู้เรียนดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ประกอบกับ การประมวลแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ อั ต ลั ก ษณ์ ข องผู ้ เรี ย น ในหัวข้อที่ผ่านมา ผู้เขียนสรุปเป็นรูปแบบการสร้าง อัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ดังภาพที่ 2

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

277

แนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของผู้เรียน นโยบายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย พ.ศ 2554-2558  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบัน

อัตลักษณ์องค์กร

ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับการบริหารการศึกษา  ด้านผู้เรียน  ด้านผู้สอน  ด้านวิธีการเรียนการสอน  ด้านหลักสูตร  ด้านผู้บริหาร

อัตลักษณ์ร่วม

อัตลักษณ์องค์กร

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ  ด้านสภาพแวดล้อม  ด้านระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบัน

อัตลักษณ์ของผู้เรียน ด้านวิชาการ และด้านวิชาชีพ

ภาพที่ 2 รูปแบบการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ที่มา: ผู้เขียน

สรุป

การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา มีความส�ำคัญอย่างยิง่ เพราะเป็นการเตรียมความพร้อม ผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพในอนาคตให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และสามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนนั้น มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อม

การเรียนรู้ ดังนั้น ประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษา และการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาซึง่ ประกอบ ด้วยปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านวิธีการสอน ด้ า นหลั ก สู ต ร ด้ า นผู ้ บ ริ ห าร ด้ า นสภาพแวดล้ อ ม และด้านระบบประกันคุณภาพการศึกษา จะเป็นปัจจัย ส�ำคัญที่ส่งผลให้การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนประสบ ความส�ำเร็จ

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). อัตลักษณ์ เอกลักษณ์กบั การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. สืบค้นเมือ่ 14 ธันวาคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/ detail.php?NewsID=24407&Key=hotnews ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์. (2551). ภาพตัวแทนคนจนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค�ำศัพท์บัญญัติ. (2537). กรุงเทพฯ: ต้นธรรม. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


278

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. (2557). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558, จาก http://www.vcharkarn.com/ varticle/60454 ธงชัย สมบูรณ์. (2551). อัตลักษณ์ “เด็กราม”: รายงานวิจยั . กรุงเทพฯ: สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. พันศักดิ์ พลสารัมย์. (ม.ป.ป.). การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับ ปริญญาตรี. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558, จาก http://www.edu.chula.ac.th/eduinfo/ed_resch/ pansak.pdf พันศักดิ์ พลสารัมย์ และวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). รายงานวิจัยเอกสาร เรื่อง การพัฒนากระบวนการ เรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย. ฤดี นิยมรัตน์. (2554). อัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย: รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. สมชาย รัตนทองค�ำ. (2556). ลักษณะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา: เอกสารประกอบการสอน 475788 การสอนทาง กายภาพบ�ำบัด ภาคต้นปีการศึกษา 2556. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558, จาก http://ams.kku.ac.th/ aalearn/resource/edoc/tech/54/6learner54.pdf ศุภฤกษ์ รักชาติ. (2554). การวิเคราะห์ความต้องการจ�ำเป็นด้านความเข้าใจเกีย่ วกับอัตลักษณ์โรงเรียนและกระบวนการ ก�ำหนดอัตลักษณ์โรงเรียนของผูบ้ ริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สกอ. เตรียมพร้อมผลิตบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21. (2554, 8 สิงหาคม). จดหมายข่าวส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา. 2(27), 2-4. สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม. (2554). การพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎี บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา. Burgess, A. (2010). The use of space-time to construct identity and context. Ethnography and Education. 5(1), 17-31. Lairio, M., Puukari, S. & Kouvo, A. (2013). Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research, 57(2), 115-131. Leve, A. M. (2012). The circuit of culture as a generative tool of contemporary analysis: examining of the construction of an education commodity. [Paper presented at the Joint AARE/APERA Conference, Sydney, 2012]. Retrieved December 14, 2014, from http://www.aare.edu.au/ data/publications/2012/Leve12.pdf Murray, K. (2003). The construction of identity in the narratives of romance and comedy. Retrieved December 14, 2014, from http://home.mira.net/~kmurray/psych/ir&c.htm McNair, L. D., Newswander, C., Boden, D. & Borrego, M. (2011). Student and faculty interdisciplinary identity in self-management teams. Journal of Engineering Education. 100(2), 374-396. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

279

Nygaard, C. & Serrano, M. B. (2009). Student’s identity construction and learning: reasons for developing a learning-centred curriculum in higher education. Journal of Education Research, 3(3), 233-253. Smith, G. (2006). Erving Goffman. New York: Routledge. Stables, A. (2003). Learning, identity and classroom dialogue. Journal of Educational Enquiry, 4(1), 1-18. Statt, D. A. (1998). The Concise Dictionary of Psychology. (3rd ed.). London: Routledge.

Translated Thai References

Fuengfusakul, A. (2003). Identity: theory and concept frameworks review. Bangkok: National Research Council of Thailand. [in Thai] Kowtrakul, S. (2001). Educational psychology. (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai] Ministry of Education Thailand. (2011). Unique and Identity to the third round external assessment. Retrieved December 14, 2011, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail. php?NewsID=24407&Key=hotnews [in Thai] Niyomrath, R. (2011). Identity of Thai Benjarong Pattern: research. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. [in Thai] OHEC. prepare to produce graduated student in 21st century. (2011, 8 August). OHEC Newsletter, 2(27), 2-4. [in Thai] Polsaram, P. (n.d.). Learning and teaching in higher education reform: develop of the undergraduate learning process. Retrieved January 23, 2015, from http://www.edu.chula.ac.th/eduinfo/ ed_resch/pansak.pdf [in Thai] Rattanathongkom, S. (2013). Character of student in higher education: handout in 475788 teaching in physical therapy course academic year 2013. Retrieved January 23, 2015, from http:// ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/54/6learner54.pdf [in Thai] Royal Institute Dictionary 1999. (2003). Bangkok: Office of the Royal Society. [in Thai] Somboon, T. (2008). Identity of “Dek Ram” : research. Bangkok: Research and Development Institute Ramkhamhaeng University. [in Thai] Sreprapandh, K. (2008). Representation of poor people in TV game. Thesis Doctor of Phylosophy (Mass Communication), Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University. [in Thai] Sri-iam, S. (2554). Student identity development in higher education institutions. Thesis Doctor of Philosophy Program in Higher Education, Department of Educational Policy, Management, and Leadership Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai] ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


280

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

Terminology. (1994). Bangkok: Tonthum. [in Thai] 21st century education skills. (2014). Retrieved January 23, 2015, from http://www.vcharkarn.com/ varticle/60454 [in Thai]

Chattip Suwannachin, Ph.D received her Bachelor Degree of Business Administration from Chiangmai University in 1992 and Master Degree of Business Administration from Middle Tennessee State University, USA in 1997. She graduated Ph.D in Educational Administration and Foundation from Illinois State of University, USA in 2012. She is now Dean of Faculty Education, The Far Eastern University. Panomporn Jantarapanya is an Assistant Professor in Education Administration. He got his Ph.D. in Educational Administration from University of Illinois, USA in 1974 and his Master of Educational Administration from Northeast Missouri State University, USA in 1969. He is now lecturer of Education Program in Education Administration, Education Faculty, The Far Eastern University.

ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

281

ค�ำแนะน�ำในการเตรียมบทความ การจัดพิมพ์บทความ

- ความยาวของบทความ 10-12 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว ก�ำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน - บทคัดย่อและบรรณานุกรม พิมพ์ 1 คอลัมน์ เนื้อหาบทความ พิมพ์ 2 คอลัมน์ ย่อหน้า 1 ซม. - ตัวอักษรใช้รูปแบบ TH Sarabun PSK ขนาดและชนิดต่างๆ ดังนี้ ข้อความ

ขนาด ชนิด ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) 18 (CT) ตัวหนา ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ - ตัวพิมพ์ใหญ่) 16 (CT) ตัวหนา ชื่อผู้เขียน 16 (RJ) ตัวหนา ตำ�แหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอีเมลของผู้เขียน (Footnote) 12 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อของบทคัดย่อ/Abstract 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อหาบทคัดย่อ/Abstract 16 (LRJ) ตัวธรรมดา คำ�สำ�คัญ/Keywords 16 (LJ) ตัวธรรมดา หัวข้อเรื่อง (ไม่ลำ�ดับเลข) 16 (LJ) ตัวหนา หัวข้อย่อย 16 (LJ) ตัวหนา เนื้อเรื่อง 16 (LRJ) ตัวธรรมดา บรรณานุกรม 16 (LJ) ตัวธรรมดา ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง) 16 (LJ) ตัวหนา ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ (ระบุชื่อไว้ใต้รูป แผนภูมิ) 16 (CT) ตัวหนา CT = Centre Text, LJ = Left Justified, RJ = Right Justified, LRJ = Left & Right Justified

ส่วนประกอบของบทความ

1) ชื่อเรื่องบทความ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมระบุต�ำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ต�ำแหน่งงาน หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล ที่ Footnote (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 3) บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 250 ค�ำ และค�ำส�ำคัญ (Keywords) 3-5 ค�ำ (ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ) ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


282

วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจ�ำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558

4) เนื้อเรื่อง 4.1) บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทน�ำ เนื้อหา และบทสรุป 4.2) บทความวิจัย ประกอบด้วย บทน�ำ ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปราย และ สรุปผลการวิจัย 5) เอกสารอ้างอิง 6) ถ้ามีรูปภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออื่นๆ ต้องมีหมายเลขก�ำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งที่มาของ ข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ด�ำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่าย ต้นฉบับหรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบมาพร้อมกับบทความด้วย

การอ้างอิงเอกสาร

1) การอ้างอิงในเนือ้ หา เพือ่ บอกแหล่งทีม่ าของข้อความนัน้ ให้ใช้วธิ กี ารอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชอื่ ผูเ้ ขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2546: 147) ….. หรือ ..... (Newman & Cullen, 2007: 18-19) หรือ ..... (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2546: 217-219) 2) การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวบรวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ เรียงตามล�ำดับอักษรชื่อผู้เขียน โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA ดังนี้ วารสารและนิตยสาร รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย ค�ำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30(2), 29-36. Acton, G. J., Irvin, B. L. & Hopkins, B. A. (1991). Theory-testing research: building the science. Advance in Nursing Science, 14(1), 52-61. หนังสือ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: ส�ำนักพิมพ์. ตัวอย่าง: วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม. Chakravarthy, B., Zaheer, A. & Zaheer, S. (1999). Knowledge Sharing in Organizations: A Field Study. Minneapolis: Strategic Management Resource Center, University of Minnesota. รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ รูปแบบ: ชือ่ ผูแ้ ต่ง. (ปีทพี่ มิ พ์). ชือ่ เรือ่ ง. ชือ่ เอกสารรวมเรือ่ งรายงานการประชุม, วัน เดือน ปี สถานทีจ่ ดั . เมืองทีพ่ มิ พ์: ส�ำนักพิมพ์. ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


Panyapiwat Journal Vol.7 No.2 May - August 2015

283

ตัวอย่าง: กรมวิชาการ. (2538). การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, 25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ. Deci, E. L. & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol. 38. Perspectives on Motivation (pp. 237-288). Lincoln: University of Nebraska Press. บทความจากหนังสือพิมพ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่น�ำมาอ้าง. ตัวอย่าง: สายใจ ดวงมาลี. (2548, มิถนุ ายน 7). มาลาเรียลาม 3 จว. ใต้ตอนบน สธ.เร่งคุมเข้มกันเชือ้ แพร่หนัก. คม-ชัด-ลึก, 25. Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore modern society using the world of Star Trek. Los Angeles Time, p. A3. วิทยานิพนธ์ รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา, สถาบันการศึกษา. ตัวอย่าง: พันทิพา สังข์เจริญ. (2528). วิเคราะห์บทร้อยกรองเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม-พรรษา 5 ธันวาคม. ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Darling, C.W. (1976). Giver of Due Regard: The Poetry of Richard Wilbur. Ph.D. Thesis, University of Conecticut, USA. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ: ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ......., จาก URL Address ตัวอย่าง: ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2551). การจัดการความรู้...สู่อนาคตที่ใฝ่ฝัน. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2552, จาก http://www. si.mahidol.ac.th/km/admin/add_information/document_files/95_1.pdf Treeson, L. (2009). Exploring a KM Process for Retaining Critical Capabilities. Retrieved February 11, 2009, from http://kmedge.org/2009/03/ knowledge-management-processretaining-critical-capabilities.html

การส่งบทความ

ผู้สนใจเสนอบทความสามารถจัดส่งบทความถึงกองบรรณาธิการวารสารปัญญาภิวัฒน์ ผ่านระบบ “Paper Submission” ได้ที่เว็บไซต์ http://journal.pim.ac.th ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุม่ ที่ 1) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.