บทที่ 1 ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Page 1


ศิลปะกนกโลง ๒

ศิลปะภูมปิ ัญญาไทย ภูมปิ ัญญาท้ องถิ่น ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความหมาย ที่มา และคุณประโยชน์ตามลักษณะ รู ปแบบ และความงาม ดังต่อไปนี้

ความหมาย ศิลปะภูมิปัญญาไทย เป็ นคาที่ มาจาก ศิลปะ + ภูมิปัญญา + ไทย ซึ่ งแต่ละคามีความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ (อ้างถึงใน วัฒนะ จูฑะวิภาต, ๒๕๔๕) ดังนี้ ศิลปะ (Art) หมายถึง น. ฝี มือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างงดงาม น่าพึงชมและก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ศิลปะ หมายถึง ฝี มือทางการช่าง การทาให้วิจิตรพิสดาร การแสดงออกซึ่ งอารมณ์สะเทือนใจ ให้ประจักษ์ดว้ ยสื่ อต่าง ๆ ภูมิปัญญา หมายถึง พื้นฐานความรู ้ความสามารถ ท้องถิ่น หมายถึง ที่อยูข่ องกลุ่มชนในบริ เวณกว้างใหญ่กลุ่มหนึ่ ง ไทย หมายถึง คนไทยหรื อประเทศไทย ดังนั้น เมื่อเรานาความหมายของคาว่า ศิลปะ + ภูมิปัญญา + ไทย มาผสมกันก็จะได้ความหมาย ที่ครอบคลุมในเชิงศิลปะ ดังนี้ ศิลปะภูมิปัญญาไทย หมายถึง ผลงานอันวิจิตรพิสดารที่เกิดขึ้นจากฝี มือการช่างของคนไทย โดย ใช้ความรู้ ความสามารถ สื่ ออารมณ์และความรู้สึกออกมาให้เห็นเป็ นความงดงามที่น่าพึงชม ส่ วนคาว่า ศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดจากคาว่า ศิลปะ + ภูมิปัญญา + ท้องถิ่น มีความหมาย พอสรุ ปได้ ดังนี้ ศิลปะภูมิปัญญาท้ องถิ่น หมายถึง ผลงานอันวิจิตรพิสดารที่เกิดขึ้นจากฝี มือการช่างของคน ในชุ มชนกลุ่มหนึ่ งที่มีพ้ืนฐานความรู ้ ความสามารถเดียวกัน แสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาให้เห็น เป็ นความงดงาม ความพอใจ น่าพึงชม ท้องถิ่นใหญ่ ๆ ในประเทศไทยแบ่งออกเป็ นสี่ ภาค กลุ่มชนที่อาศัยอยูใ่ นแต่ละภาคของประเทศ ต่างก็มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานตามคติ ความเชื่อ ความศรัทธาเดียวกัน เพียงแต่รูปแบบของ งานที่ทานั้นต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยูอ่ าศัย และค่านิยมของคนในชุมชน ๒


แผนผังความสัมพันธ์ของศิลปะภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ศิลปะภูมิปัญญาไทย

ศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคอีสาน

ภาคใต้

ภาพที่ ๑.๑ ภาพแผนผังความสัมพันธ์ของศิลปะภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มา : ภาพวาดลายเส้นโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์งานศิลปะภูมิปัญญาไทยมี ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ เพื่อสนองความงาม ความสุ ข สนุ กสนาน เพลิดเพลิน ความพึงพอใจ ผลงานที่เกิดขึ้นจะให้คุณค่าทางด้านจิตใจมากกว่าคุณประโยชน์ทางการใช้สอย เช่น จิตรกรรมไทย ประติมากรรมไทย สถาปั ตยกรรมไทย การแสดงพื้นบ้าน นิ ทานพื้นบ้าน นิ ทานชาดก รวมถึงงาน ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และพิธีกรรมต่างๆ ประการที่ ๒ เพื่อประโยชน์การใช้สอยในชีวิตประจาวัน ผลงานที่สร้ างขึ้นจะเน้น คุณประโยชน์การนาไปใช้ เพื่อก่อให้เกิดความสุ ข ความสะดวกสบายทางด้านร่ างกายมากกว่าคุณค่า ทางด้านจิตใจ เช่น สิ่ งของ เครื่ องมือ เครื่ องใช้ เครื่ องนุ่งห่ ม รวมไปถึงการรักษาโรค เช่น การนวด แผนไทย การใช้สมุนไพรไทยในรู ปแบบต่าง ๆ เรี ยกได้วา่ เป็ นปัจจัยสี่ สาหรับการดารงชีวติ ของมนุษย์ ไม่ว่าผลงานที่คนไทยสร้ างขึ้นจะมีวตั ถุ ประสงค์ใด ย่อมมีที่มาและแรงบันดาลใจด้วยกัน ทั้งสิ้ น ซึ่ งในที่น้ ี จะขอกล่าวถึงที่มาและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์ผลงาน เฉพาะท้องถิ่นภาคใต้ ของประเทศไทยเท่านั้น


ศิลปะกนกโลง ๔

ทีม่ าและแรงบันดาลใจ ทีม่ า ศิลปะภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่ นภาคใต้ เกิดขึ้นได้ดว้ ยอิทธิ พลทางคติความเชื่ อ ความศรัทธา อีกทั้งขนบธรรมเนี ยม ประเพณี วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยูใ่ กล้ตวั รวมถึงระบบเศรษฐกิจ ซึ่ งเป็ นสาเหตุของการคิดรู ปแบบ ลักษณะ และวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อประโยชน์ทางด้านการใช้สอยและความงาม ที่นามาซึ่ งความสุ ข ความพึงพอใจ ภายใต้อิทธิ พล ของสิ่ งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ภาพที่ ๑.๒ ภาพครู ขอม ทิพย์โพธิ์ กับวิถีชีวติ ธรรมชาติ ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐


๑. ระบบเศรษฐกิจ

ภาพที่ ๑.๓ ภาพการทาอาชีพพื้นเมืองของคนไทยในภาคใต้ ที่มา : www.klongdigital.com/gallery/2.html

ระบบเศรษฐกิจ เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับเงิน ๆ ทอง ๆ การมีรายได้ การจับจ่ายใช้สอย เพื่อเลี้ยงปาก เลี้ยงท้องในการดารงชีวติ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยูต่ ามชนบทในท้องถิ่นภาคใต้ส่วนใหญ่มีอาชี พทาสวน เช่น สวนมังคุด สวนเงาะ สวนทุเรี ยน สวนลองกอง สวนยาง เป็ นต้น การทานา เลี้ยงสัตว์ ทาเหมืองแร่ ทาประมง รายได้ดงั กล่าวได้ค่าตอบแทนไม่มากนัก เป็ นเหตุให้พวกเขาต้องหันมาพึ่งพาธรรมชาติ ด้วยการมองหาวัตถุดิบที่อยูใ่ กล้ตวั มาผลิตเป็ นเครื่ องมือ เครื่ องใช้ เพื่อประโยชน์ในการทามาหากิ น รวมไปถึงการทาเครื่ องประดับตกแต่งความงามและที่อยูอ่ าศัย ด้วยเหตุผลนี้ เองรู ปแบบของงานศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงทาขึ้นเกิดอย่างมากมาย ได้แก่ เครื่ องมือ เครื่ องใช้ เช่น พร้า จอบ ปาดหญ้า นาง แกะ (เครื่ องมือเก็บข้าว) คันไถ ค้อน เลียง (ภาชนะร่ อนแร่ ทาด้วยไม้เป็ นรู ปกลม ตรงกลางบุ๋มลักษณะ คล้ายกระทะ) กุบหมาก (กล่องใส่ หมาก) เจ้ย (ภาชนะที่จกั สานด้วยไม้ไผ่หรื อหวายใช้ใส่ ของ) หมาตักน้า (ภาชนะตักน้ าพื้นบ้านทาจากกาบหมากใช้แทนถังตักน้ า) รวมไปถึงพาหนะ เช่น เรื อกอและ ประเภท เครื่ องประดับ เช่น สร้อยมุก สร้อยลูกปัดที่ร้อยจากหิ นสี ต่าง ๆ ประเภทเครื่ องนุ่งห่ม เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าทอพุมเรี ยง ผ้าทอนาหมื่นศรี ประเภทที่อยูอ่ าศัยแบบถาวรและแบบชัว่ คราว เช่น เรื อนไทยปั้ นหยา ขนา หรื อหนา (บ้านเล็ก ๆ ที่ทาด้วยไม้มะพร้าวหรื อไม้ไผ่ หลังคาบ้านทรงหัวตัก๊ แตนทาด้วยใบจาก หรื อ ใบสาคู ใช้เป็ นที่อยูช่ วั่ คราวในการเฝ้ าสวน เฝ้ าไร่ ) ซึ่งสิ่ งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเกิดจากฝี มือและภูมิปัญญา ของชาวบ้านอย่างแท้จริ ง อย่างไรก็ตามด้วยบุคลิกลักษณะนิสัยของคนไทยนั้นเป็ นผูม้ ีน้ าใจ รู้จกั เอื้อเฟื้ อ เผือ่ แผ่ มีอะไรก็มกั หยิบยืน่ ให้แก่กนั จึงทาให้ทุกคนดารงชีวติ อยูใ่ นสังคมได้อย่างมีความสุ ข โดยไม่จาเป็ น ต้องใช้เงิน


ศิลปะกนกโลง ๖

๒. ทรัพยากรทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้ อมทางภูมิศาสตร์

ภาพที่ ๑.๔ ภาพสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ภาคใต้ของไทย

ที่มา : www.klongdigital.com/gallery/2.html

ทรัพยากรธรรมชาติหรื อวัตถุดิบที่นามาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่ องใช้ มีอิทธิพลต่อรู ปแบบ และลักษณะของงานศิลปะในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน คือ เพื่อประโยชน์การใช้สอยและความงาม การสร้างหรื อประดิษฐ์สิ่งของเครื่ องใช้ต่าง ๆ จะใช้วตั ถุดิบ ที่มีอยูใ่ นธรรมชาติใกล้ตวั หรื อตามแหล่งชุ มชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกและประหยัด ปรัชญาในการดารงชี วิตของคนชนบทไม่ได้คานึ งถึงสิ่ งตอบแทนที่เป็ นเงินทอง ต้องการเพียงเพื่อให้ตนเอง และครอบครัวได้อยูอ่ ย่างสงบสุ ขและเรี ยบง่าย ดังนั้นการเลือกสรรวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตเครื่ องมือ เครื่ องใช้จึงหาได้ไม่ยากประกอบกับความได้เปรี ยบทางสภาพภูมิประเทศ ซึ่ งทางภาคใต้ของไทยค่อนข้าง มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ ไม่วา่ จะเป็ นฝั่งตะวันออกหรื อฝั่งตะวันตกที่อยูต่ ิดกับทะเล มีภูเขา ป่ าไม้ พันธ์ไม้นานาชนิด เช่น ย่านลิเภา หวาย กะพ้อ กระจูด กก มะพร้าว สาคู ยางพารา กระท้อน ปาล์ม ยูคาลิปตัส รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เช่น หอยมุก ฯลฯ แม้กระทัง่ แร่ หิ นสี ต่าง ๆ ซึ่ งทรัพยากรทางธรรมชาติเหล่านี้ ได้ถูกนามาใช้ในการผลิตเป็ นผลงานที่ให้คุณค่า คุณประโยชน์ ทางด้านการใช้สอยและความงามในรู ปแบบของงานศิลปะที่หลากหลาย เช่น พัดจากใบพ้อ กระเป๋ า จากย่านลิเภา ตะกร้าจากหวาย สร้อยจากหอยมุก เป็ นต้น


๓. คติ ความเชื่อ ความศรัทธา

ภาพที่ ๑.๕ ภาพพิธีบวงสรวงองค์ทา้ วจตุคามรามเทพและการแห่เปรตในวันสารทเดือนสิ บ ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

คติ ความเชื่อ ความศรัทธา เป็ นเรื่ องของจิตใจที่แต่ละคนจะยึดถือและปฏิบตั ิ เพื่อให้ตนเอง มีความสุ ข ความสบายใจในขณะที่ยงั มีชี วิตอยู่หรื อในชาติหน้า เป็ นเรื่ องเกี่ ยวกับการนับถื อ บูชา การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็ นกาลังใจในการดาเนิ นชีวิต ให้แคล้วคลาดปราศจากสิ่ งชัว่ ร้ายทั้งหลาย ทั้งปวงที่จะเข้ามาในชีวิตของตนและคนในครอบครัว รวมไปถึงสังคมที่ตนเองอาศัย อยูด่ ว้ ย คนไทย ภาคใต้ส่วนใหญ่นบั ถือศาสนาพุทธ และมีบางส่ วนที่นบั ถือศาสนาอิสลาม คนไทยที่นบั ถือศาสนาพุทธ โดยมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็ นเครื่ องยึดเหนี่ยวทางใจ พวกเขามีคติ ความเชื่อเกี่ยวกับชาติภพ ต่าง ๆ กิจกรรมที่แสดงออกในความเลื่อมใส ศรัทธาทางศาสนาหลายอย่างล้วนเป็ นกิจกรรมที่สนอง ต่อความต้องการทางด้านจิตใจทั้งสิ้ น มีการประกอบพิธีกรรม การกราบไหว้บูชาตามที่ คนในสังคม ได้ปฏิบตั ิสืบทอดต่อกันมา สิ่ งของเครื่ องใช้ที่นามาประกอบพิธีกรรมและการบูชาจะมีความสวยงาม วิจิตรบรรจงกว่าสิ่ งของเครื่ องใช้ที่ใช้อยูใ่ นชี วิตปกติประจาวัน ดังนั้นในการประดิษฐ์ตกแต่งสิ่ งของ เครื่ องใช้เพื่อการประกอบกิจกรรมดังกล่าว จึงจาเป็ นต้องใช้ฝีมืออันประณี ต ละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานอันงดงาม ตระการตา ต้องอาศัยความใจเย็น ความตั้งใจ ต้องมีจินตนาการ และ มีความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ที่พิเศษกว่าคนอื่น ๆ เช่น การทาและตกแต่งเรื อพระเพื่อใช้ลากพระออกจากวัด ในวันออกพรรษา การทากนกโลงเพื่อใช้ประดับตกแต่งโลงศพ การบวงสรวงบูชาองค์ทา้ วจตุคามรามเทพ ซึ่ งสิ่ งเหล่านี้ ลว้ นแล้วแต่เกิดขึ้นจากคติ ความเชื่อ ความศรัทธาแทบทั้งสิ้ น อาจกล่าวได้วา่ คติ ความเชื่ อ ความศรัทธานั้น มีอิทธิ พลต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่ควบคู่อยูก่ บั การดาเนิ นชี วิตของคนไทย มาโดยตลอด


ศิลปะกนกโลง ๘

๔. ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

ภาพที่ ๑.๖ ภาพวิถีชีวิตเกี่ยวกับประเพณี และวัฒนธรรมไทย ที่มา : http://thaiculturebuu.wordpress.com

ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเป็ นสิ่ งดีงามที่ผคู ้ นในสังคมยอมรับและปฏิบตั ิสืบทอด ต่อกันมารุ่ นแล้วรุ่ นเล่า มีความสัมพันธ์กบั กิจกรรมของมนุ ษย์ต้ งั แต่เกิดไปจนตาย เช่น พิธีบายศรี สู่ขวัญ กล่อมเด็ก บวชนาค แต่งงาน งานศพ ประเพณี ทาบุญตักบาตร เวียนเทียน แห่ เทียนในวันสาคัญต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา วัฒนธรรมการกินอยู่ การแต่งกาย การใช้ภาษา การละเล่นพื้นเมือง การแสดง ฯลฯ ซึ่ งภาคใต้ของไทยมีประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ทั้งทางด้านองค์ประกอบ ของการจัดกิจกรรมและการปฏิบตั ิ ทั้งนี้ ข้ ึนอยูก่ บั สิ่ งที่บรรพบุรุษของคนในท้องถิ่นได้สืบทอด และ ปฏิบตั ิไว้ เช่น ประเพณี การทาบุญสารทเดือนสิ บ การแห่หฺมรับ การลากเรื อพระ หรื อชักพระ การชิงเปรต การให้ทานไฟ แม้กระทัง่ การปรุ งอาหารพื้นเมืองรสจัด เช่น การแกงขี้ดี แกงคัว่ กลิ้ง ฯลฯ การทาขนม ในวันสารทเดือนสิ บ เช่น ขนมไข่ปลา ขนมบ้า ขนมพอง ขนมลา ซึ่ งนับว่าเป็ นสิ่ งที่ดีงาม ในด้าน การแสดงและการละเล่นพื้นเมืองนั้นมีอยูห่ ลายอย่าง เช่น การราโนรา การว่ าเพลงบอก (“ว่า” เป็ นภาษา ท้องถิ่นภาคใต้ หมายถึงการขับการร้อง) การเชิ ดหนังตะลุง การเล่นสะบ้า การแข่งเรื อพาย ฯลฯ นอกจากนี้ ในการจัดงานศพยังมีการทากนกโลงที่ดูสวยงาม อลังการอีกด้วย

ภาพที่ ๑.๗ ภาพขบวนแห่หฺมรับในวันสารทเดือนสิ บของชาวบ้านในจังหวัดนครศรี ธรรมราช ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐ ๘


แรงบันดาลใจ มนุ ษ ย์ทุ กคนเกิ ดมาเพื่ อดิ้ นรนแสวงหาความสุ ข กายสบายใจให้ก ับ ตนเอง ปั จจัย ส าคัญ ที่เป็ นแรงบันดาลใจให้มนุ ษย์สร้ างสรรค์ผลงาน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการดังกล่ าวนั้น มี อยู่ ๒ ประการ คือ ความจาเป็ นและความประทับใจ ๑. ความจาเป็ น ทางด้านประโยชน์ใช้สอย เป็ นความต้องการภายนอกหรื อความต้องการ ทางกาย และเป็ นปั จจัยสี่ ที่มนุษย์ทุกคนต้องการ เช่น อาหารการกิน เครื่ องนุ่งห่ ม ยารักษาโรค และ ที่อยูอ่ าศัย มนุษย์เป็ นสัตว์ธรรมชาติที่มีปัญญาเหนือกว่าธรรมชาติอื่น ๆ ในธรรมชาติของมนุษย์มีความรู้สึก เปลี่ยนแปลงอยูเ่ สมอ ร้อน หนาว หิ วโหย ดังนั้น ความจาเป็ น ในการต่อสู ้กบั การเปลี่ ยนแปลงนี้ จึงเป็ นเหตุเป็ นปั จจัยที่ทาให้มนุษย์ คิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อช่วยในการขจัดทุกข์ และเพิ่มพูน ความสุ ขให้กบั ชีวติ ของตน โดยอาศัยธรรมชาติที่อยูร่ อบ ๆ ตัว ๒. ความประทับใจ เป็ นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทาให้มนุษย์คิดและกระทาสิ่ งต่าง ๆ ขึ้นเพื่อสนองตอบ ต่อความต้องการทางด้านจิตใจ นัน่ คือความประทับใจ ซึ่ งเป็ นความรู้สึกที่มนุษย์ได้สัมผัสกับความงดงาม ความไพเราะที่มีอยู่ในธรรมชาติ ความรัก ความศรัทธาในศาสนาและตัวบุคคล รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี ที่ได้ปฏิบตั ิสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ความประทับใจ นับว่ามีความสาคัญไม่นอ้ ยไปกว่า ความจาเป็ นทางด้านปั จจัยสี่ รู ปแบบของงานศิลปะที่เกิ ดจากความประทับใจ จะเน้นการแสดงออก ทางด้านความงาม ความไพเราะ เช่น การว่าเพลงบอก การราโนรา การจัดตกแต่งเรื อพระ การจัดตกแต่ง โลงศพ ฯลฯ โดยอาศัยความงดงาม ความไพเราะ จากธรรมชาติเป็ นปัจจัยพื้นฐานแทบทั้งสิ้ น ดังนั้น ธรรมชาติจึงเป็ นแรงบันดาลใจอีกประการหนึ่ง ที่ทาให้มนุษย์ได้นาสิ่ งเหล่านี้ มาใช้สร้างสรรค์เป็ นผลงาน ศิลปะด้วย สรุ ปได้วา่ สิ่ งที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้นมานั้น ล้วนได้รับแรงบันดาลใจ มาจาก ธรรมชาติท้ งั สิ้ น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่ างกาย จิตใจ หรื อเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกอันสุ นทรี ยข์ องมนุษย์นนั่ เอง


ศิลปะกนกโลง ๑๐

ภาพที่ ๑.๘ ภาพศิลปะการแสดง “ราโนราหรื อมโนราห์” จังหวัดนครศรี ธรรมราช ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

ภาพที่ ๑.๙ ภาพศิลปะการจัดตกแต่ง “หฺ มรับ” ประเพณี สารทเดือนสิ บ จังหวัดนครศรี ธรรมราช ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

๑๐


ภาพที่ ๑.๑๐ ภาพศิลปะการจัดตกแต่งเรื อพระ “ประเพณี การชักพระหรื อลากพระ” จังหวัดนครศรี ธรรมราช ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

ภาพที่ ๑.๑๑ ภาพศิลปะการจัดตกแต่งโลงศพ “ กนกโลง ” จังหวัดนครศรี ธรรมราช ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐ ๑๑


ศิลปะกนกโลง ๑๒

ประเภทและลักษณะของศิลปะภูมปิ ัญญาท้ องถิ่นภาคใต้ การแบ่งประเภทของศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ต่างจากงานศิลปะโดยทัว่ ไป เพราะผลงานที่สร้างขึ้น มีวตั ถุประสงค์เหมือนกัน ๒ ประการ คือ เพื่อความงาม ความสุ ข ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน และเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวติ ประจาวัน ๑. เพื่อความงาม ความสุ ข ความเพลิดเพลิน ความพึงพอใจ เรี ยกว่า งานวิจิตศิลป์ เป็ นงานที่ตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกภายในใจ ๒. เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจาวัน เรี ยกว่า งานประยุกต์ ศิลป์ เป็ นผลิตภัณฑ์ และผลิตผลที่เกิดขึ้นจากฝี มือและความคิดของคนไทย เพื่อสนองตอบต่อความต้องการภายนอกทางด้าน ร่ างกาย ได้แก่ อาหารการกิน ที่อยูอ่ าศัย สิ่ งของเครื่ องใช้ เครื่ องนุ่งห่ม และการรักษาโรค เรี ยกได้วา่ เป็ นปัจจัยสี่ ที่จาเป็ นสาหรับมนุษย์ งานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ แบ่งเป็ น ๒ ประเภท ใหญ่ ๆ ตามความต้องการ ดังนี้ ๑. งานวิจิตรศิ ลป์ (Fine Arts) เป็ นงานที่สร้ างขึ้นเพื่อความงาม ความพึงพอใจ ความสุ ข สนุกสนาน เน้นคุณค่าทางใจมากกว่าคุณประโยชน์ภายนอก ส่ วนใหญ่เป็ นงานที่เกี่ยวข้องกับ การประดับตกแต่ง ความไพเราะ ความสวยงาม ซึ่ งทาให้มนุ ษย์เกิ ดอารมณ์ สุนทรี ย ์ รู ปแบบ และ ลักษณะของงานขึ้นอยูก่ บั ความเหมาะสม และความพึงพอใจ มีดงั นี้ ๑.๑ ภาษา เป็ นตัวอักษร และคาพูดที่ใช้ในการสื่ อสารเป็ นภาษาพื้นเมือง ที่มี สาเนียงไพเราะไม่เสแสร้ ง จริ งใจ อักษรไทย ภาษาไทย และคาที่ใช้สื่อสาร มักเป็ นคาโดด เช่น คาที่ใช้ เรี ยกแทนตัวบุคคลว่า บ่าว ไข่นุย้ สาว ทอง เป็ นต้น ๑.๒ วรรณกรรม เป็ นสื่ อที่แสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็ นตัวอักษร เช่น โคลง กลอน บทกวีต่าง ๆ หรื อเป็ นการบอกเล่า เช่น นิทาน ตานาน สุ ภาษิต ปริ ศนา คาพังเพย และวรรณกรรม ที่โดดเด่น เช่น พระรถเมรี พระสุ ธน มโนราห์ เงาะป่ า เป็ นต้น ๑.๓ จิตรกรรม เป็ นภาพเขียนฝี มือชาวบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็ นอยู่ และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของคนในถิ่น เช่น ภาพวาดตามผนังถ้ า ภาพวาดเกี่ยวกับชาดกตามผนังโบสถ์ ในวัดวาอารามต่าง ๆ รวมไปถึงภาพเขียนสี บนภาชนะ สิ่ งของเครื่ องใช้ชนิ ดต่าง ๆ ลวดลายไทยบน ถ้วย จาน ไห ตูพ้ ระไตรปิ ฎก เป็ นต้น ๑.๔ สถาปั ตยกรรม เป็ นงานที่เกี่ยวข้องกับที่อยูท่ ี่อาศัย ของพระมหากษัตริ ย ์ พระสงฆ์ ชาวบ้านทัว่ ไป เช่น ปราสาท พระราชวัง โบสถ์ วิหาร บ้านเรื อนไทยหลังคาทรงปั้ นหยา จัว่ หางปลา เป็ นต้น ๑๒


๑.๕ ประติมากรรม เป็ นงานแกะสลัก งานฉลุ งานปั้ น งานหล่อ ส่ วนมากมักทาขึ้น เพื่อใช้ในการประดับตกแต่งสิ่ งของเครื่ องใช้และตกแต่งงานสถาปั ตยกรรมที่ เกี่ ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น งานแกะสลักภาพไทยหรื อลวดลายไทยที่ประดับอยูต่ ามประตู หน้าต่าง งานแกะสลักลายกนกโลง งานปั้ นหม้อ งานปั้ นกระถาง ฯลฯ รวมถึงงานปั้ นหรื องานหล่อพระพุทธรู ปอีกด้วย ๑.๖ นาฏศิลป์ เป็ นการแสดงความรู ้สึกออกมาทางการร่ ายราและการแสดงละคร เช่น ราโนรา ระบาร่ อนแร่ รารองเง็ง หนังตะลุง ลิเกป่ า ฯลฯ ๑.๗ คีตกรรม เป็ นศิลปะเกี่ยวกับงานดนตรี เพลงที่มีความไพเราะ เช่น เพลงบอก (บทกลอนที่มีฉนั ทลักษณ์เฉพาะ มีจงั หวะและลีลาในการขับร้อง มีลูกคู่รับ ร้องเดี่ยวหรื อร้องโต้ตอบกัน) เพลงช้าน้อง(ช้าน้องหรื อชาน้อง หมายถึง กล่อมเด็ก) กาหลอ (วงดนตรี พ้ืนเมืองที่ใช้ประโคมในงานศพ มีเครื่ องดนตรี ๓ ชนิด คือ กลองทน ฆ้อง ปี่ อ้อ หรื อปี่ กาหลอ) ฯลฯ ๒. งานประยุกต์ ศิลป์ (Applied Arts) เป็ นงานที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการนาไป ใช้สอยมากกว่าเพื่อความงาม เกี่ ยวข้องกับงานหัตถกรรมหรื อช่ างฝี มือซึ่ งบางครั้งก็แฝงความงดงาม เอาไว้ดว้ ย มีรูปแบบและลักษณะตรงกับประโยชน์ของการนาไปใช้ โดยใช้วสั ดุ ที่หาได้ในท้องถิ่ น มาประดิ ษฐ์เป็ นผลงานแบบต่าง ๆ ในที่ น้ ี จะกล่ าวถึ งงานหัตถกรรมประเภทสิ่ งของ เครื่ องใช้ และ เครื่ องนุ่งห่ม ดังนี้ ๒.๑ งานเย็บ ปัก ถัก ร้ อย เป็ นผลิตกรรมที่เกิดจาก การเย็บ ปั ก ถัก ร้อย เช่น การนาลูกปัดสี หรื อหินสี มาร้อยให้เป็ นกระเป๋ า กาไล สร้อยคอ เสื้ อผ้าเครื่ องนุ่งห่ม เป็ นต้น ๒.๒ งานแกะ สลัก ฉลุ เป็ นผลิตกรรมที่เกิดจากวิธีการแกะ สลัก ฉลุ จากวัสดุที่อยู่ ใกล้ตวั เช่น ไม้ หนัง กระดาษ ให้เป็ นเครื่ องใช้มีการตกแต่งให้สวยงาม เช่น งานแกะรู ปหนัง งานสลัก รู ปสัตว์ต่าง ๆ ไว้บนเหล็กขูด (กระต่ายขูดมะพร้าว) งานสลักหัวไม้เท้ารู ปพญานาค หัวฤาษี เป็ นต้น ๒.๓ งานทอผ้ า เป็ นการนาเส้นไหม ฝ้ าย ป่ าน ปอ ทอง มาทอเป็ นเครื่ องนุ่งห่ ม เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าทอนาหมื่นศรี ผ้าทอพุมเรี ยง ผ้าสัมมะรส ๒.๔ งานจักสาน เป็ นผลิตกรรมที่เกิดขึ้นจากการจักสานด้วยวัสดุที่มีความอ่อน เหนี ยว มีลกั ษณะเป็ นเส้นยาว เช่ น ไม้ไผ่ หวาย กก กระจูด ย่านลิ เภา มาจักสานเป็ นสิ่ งของเครื่ องใช้ ภายในบ้านและของใช้ส่วนตัว เช่น ค้อมไก่ (สุ่ มไก่) พัดใบพ้อ สะหมุกยาเส้น (กล่องยาเส้น) กระเป๋ า หมวก ฯลฯ ๒.๕ งานเครื่ องถม เป็ นผลิ ตกรรมที่เกิดจากโลหะประเภทเงินและทอง เรี ยกว่า งานถมเงินถมทอง เช่น กาไล เชี่ยนหมาก ขันตักบาตร กล่องบุหรี่ หัวเข็มขัด คนโฑกรวดน้ า เป็ นต้น ๒.๖ งานทอเสื่ อ เป็ นการนาเอาวัสดุที่มีความยาวขนาดเล็กหาได้จากธรรมชาติ เช่น การนากก กระจูด มาทอด้วยมือเป็ น เสื่ อจูด เสื่ อกก เป็ นต้น ๑๓


ศิลปะกนกโลง ๑๔

๒.๗ งานเครื่องปั้นดินเผา เป็ นผลิตกรรมที่ได้จากดินเหนี ยวนาไปปั้ นด้วยมือ หรื อแป้ นหมุน แล้วเผาไฟให้เป็ นเครื่ องใช้ เครื่ องประดับ เช่น หม้อทะนน(หม้อน้ ามนต์) หม้อดินเผา กระถาง กาไล ต่างหู สร้อยคอ ฯลฯ ๒.๘ งานเครื่ อ งมุ ก เป็ นการนาหอยมุกมาทาเป็ นเครื่ องประดับต่าง ๆ เช่ น สร้อยข้อมือ สร้อยคอ แหวน เข็มกลัดติดเสื้ อ กิ๊บติดผม ฯลฯ

การอนุรักษ์ และสื บสานศิลปะภูมปิ ัญญาไทย ภูมปิ ัญญาท้ องถิ่น ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็ นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ ของชาวบ้านที่อาศัยอยูใ่ นท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในชี วิตประจาวัน ไม่วา่ จะเป็ นสิ่ งอานวย ความสะดวกสบาย รวมไปถึงสิ่ งที่ให้ความสุ ข ความเพลิดเพลิน ความสบายใจ ความงามที่เกิดจาก การตกแต่ง ความไพเราะของเสี ยงเพลง เสี ยงดนตรี ซึ่ งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษของพวกเขา ด้วยฝี มืออันประณี ตละเอียดอ่อน รังสรรค์เป็ นงานศิลปะขึ้น เราสามารถช่วยกันอนุ รักษ์ และสื บสาน ให้งานศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยูต่ ่อไปได้ดว้ ยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ ๑. สื บทอดต่อจากปู่ ย่าตายาย มาสู่ รุ่นพ่อแม่และมาสู่ รุ่นลูกหลานอย่างไม่ขาดสาย ภายในหมู่สมาชิกในครัวเรื อนหรื อในหมู่บา้ นเดียวกัน โดยสร้างเป็ นอาชีพใช้เลี้ยงครอบครัว ๒. ให้ผมู้ ีใจรักในงานศิลปะได้อุทิศตน เพื่อส่ งเสริ มเด็กรุ่ นหลังให้ร่วมกันอนุ รักษ์ และสื บ สานไว้ โดยให้เด็กมาฝึ กหัดเรี ยน ฝึ กปฏิ บตั ิ ที่บ้านของตนเอง หรื อที่ แหล่ ง ผลิ ตงานฝี มื อ เหล่านี้ดว้ ย ๓. สถานศึกษาให้ความสาคัญ มองเห็นคุณค่างานศิลปะที่อยูใ่ กล้ตวั ศิลปะภูมิปัญญา ชาวบ้าน โดยให้การอนุ รักษ์ สื บสาน ด้วยการเชิ ญผูม้ ีความรู้ มีทกั ษะความชานาญมาเป็ นวิทยากร ถ่ายทอดความรู ้งานศิลปะให้กบั นักเรี ยนที่อยูใ่ นท้องถิ่นนั้น ๆ ๔. สถานศึกษาจัดทาเป็ น “หลักสู ตรท้องถิ่น” ให้นกั เรี ยนได้เรี ยนได้ฝึกและปฏิบตั ิ จนเกิดความชานาญ หลังจบการศึกษาแล้วสามารถนาไปประกอบเป็ นอาชีพได้ ๕. เก็บรวบรวมข้อมูลในรู ปแบบต่าง ๆ จากแหล่งค้นคว้า จากสถานที่จริ ง จากบุคคล และจากเอกสาร การสอบถามช่างผูช้ านาญหรื อผูร้ ู ้ การจดบันทึก การถ่ายรู ป บันทึกเทป โดยรวบรวมตาม สภาพจริ งไม่บิดเบือน สามารถนาไปเผยแพร่ ให้คนรุ่ นหลังได้รู้ และเข้าใจในคุ ณค่าของศิลปะที่เกิ ด จากภูมิปัญญาของบรรพชน

๑๔


สรุ ป ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถูกสร้างขึ้นมาตามความจาเป็ นและความประทับใจ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการ ภายใต้อิทธิ พลทางธรรมชาติ เศรษฐกิ จ ความเชื่ อ ความศรัทธา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม สิ่ งของเครื่ องใช้หรื อกิจกรรมบางอย่างถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ สนองตอบต่อความเชื่อ ความศรัทธาเพียงอย่างเดียว เช่น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรื อการบูชา พวกเขาจะใช้ศิลปะมาช่ วยในการจัดตกแต่งสิ่ งของนั้น ๆ ให้สวยงาม ที่ปรากฏในประเพณี ทอ้ งถิ่ น ของชาวปั กษ์ใต้ ได้แก่ การตกแต่งเรื อพระ การจัดหฺ มรับ การประดับตกแต่งโลงศพ ที่ตอ้ งอาศัย ความงดงามตามความนิ ยม รู ปแบบและลักษณะของงานที่ ทาขึ้นมานั้นนับว่าเป็ นภูมิปัญญาท้องถิ่ น โดยแท้ มีความเรี ยบง่ายและงดงามตรงตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ ข้ ึนอยูก่ บั ความพึงพอใจและการตอบสนอง ต่อความเชื่อของแต่ละบุคคล รวมถึงความเชื่อของสังคมในท้องถิ่นนั้นด้วย งานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ที่ถูกสร้างสรรค์ข้ ึนจากความจาเป็ นและความประทับใจ ทางธรรมชาติ ส่ งผลให้รูปแบบและลักษณะของผลงานมีความแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ แบ่งเป็ น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ งานวิจิตรศิลป์ และงานประยุกต์ศิลป์ ซึ่ งงานศิลปะทั้งสองประเภทนี้ มีคุณค่าต่อการดาเนินชีวติ ของมนุษย์เป็ นอย่างมาก อย่างไรก็ตามศิ ลปะบางอย่างได้มีการประยุกต์ให้เข้ากับสมัยนิ ยม แต่ยงั คงแฝงกลิ่ นอาย ของความเป็ นไทยเอาไว้ ยังใช้รูปแบบและวิธีการสร้างงานศิลปะแบบโบราณวิธีดว้ ยฝี มืออันประณี ต อย่างแท้จริ ง ถึงแม้จะไม่ทนั สมัยแต่ก็มีคุณค่าทางด้านจิตใจและความงาม ดังเช่นงานศิลปะกนกโลง ศิลปะที่กาลังจะเลือนหายไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ที่ถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี อันทันสมัย ในฐานะลูกหลานของคนไทยเราควรได้ร่วมกันอนุรักษ์ และสื บสานศิลปะมรดกภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่ นของคนปั กษ์ใต้น้ ี ไว้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสื บทอดจากหมู่สมาชิ กในครัวเรื อน การศึกษาจากแหล่งเรี ยนรู้จริ ง ได้แก่ ครู ภูมิปัญญา หรื อวิทยากรท้องถิ่น เป็ นต้น

๑๕


ศิลปะกนกโลง ๑๖

คาถามทบทวน ๑. ศิลปะภูมิปัญญาไทยและศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกันหรื อเหมือนกันอย่างไร ๒. อิทธิพลที่ทาให้รูปแบบและลักษณะของเครื่ องใช้สอยมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น คืออะไร จงอธิบาย ๓. แรงบันดาลใจที่ทาให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆขึ้นเพื่อสนองต่อความต้องการภายใน และภายนอกคืออะไร ๔. ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบ่งประเภทและลักษณะของงานศิลปะได้อย่างไร ๕. นักเรี ยนมีวธิ ีการอนุรักษ์และสื บสานศิลปะภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง

๑๖


บัตรกิจกรรมที่ ๑

คาสั่ ง จงตอบคาถามต่อไปนี้ ( ๑๕ คะแนน ) ๑. งานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ แบ่งตามวัตถุประสงค์ได้กี่ประเภท.....................อะไรบ้าง ................................................................................................................................................... ๒. งานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ มีลกั ษณะอย่างไร........................................................................ ................................................................................................................................................... ๓. ภาษาใต้ ที่เป็ นคาโดด มีอะไรบ้าง จงบอกมา ๓- ๕ คา.............................................................. ๔. ศิลปะการแสดงของภาคใต้ ประเภทการร่ ายรา มีอะไรบ้าง จงบอกมา ๒ อย่าง......................... ๕. วงดนตรี หรื อการขับร้องบทเพลงทางภาคใต้มีอะไรบ้าง จงบอกมา ๒ อย่าง............................. ๖. งานประเภทช่างฝี มือหัตถกรรมทางภาคใต้มีอยูห่ ลายงาน เช่น อะไรบ้าง.................................. ................................................................................................................................................... ๗. งานเครื่ องถมทาจากวัสดุประเภทใด.......................................................................................... ๘. งานศิลปะที่เกิดจากหอยมุกมีอะไรบ้าง...................................................................................... ๙. ผ้าทอเมืองนครที่มีชื่อ คือผ้าอะไร.............................................................................................. ๑๐. ต้นสาคูนาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บา้ ง..................................................................................... ๑๑. งานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ประเภทงานแกะ ฉลุ มีอะไรบ้าง จงบอกมา ๓ อย่าง........... ................................................................................................................................................... ๑๒. ลูกปัดและหินสี นามาทางานศิลปะอะไรได้บา้ ง....................................................................... ๑๓. วัสดุทางภาคใต้ ที่นามาใช้ในงานประเภทจักสานมีอะไรบ้าง................................................... ๑๔. เครื่ องมือหรื อเครื่ องใช้ ที่เกิดจากการจักสานของภาคใต้ มีอะไรบ้าง จงบอกมา ๕ อย่าง.......... ................................................................................................................................................... ๑๕. นักเรี ยนรู้จกั ใครบ้างที่สร้างงานศิลปะทางภาคใต้ บอกมา ๑ ชื่อ.............................................. ผลงานที่สร้างคืออะไร...............................................................................................................

๑๗


ศิลปะกนกโลง ๑๘

อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุ งเทพฯ: นานมีบุค๊ ส์พบั ลิเคชัน่ ส์. วัฒนะ จูฑะวิภาต. (๒๕๔๕). ศิลปะพืน้ บ้ าน. กรุ งเทพฯ: สิ ปประภา. สุ กญั ญา รัตนสุ ภา. (๒๕๕๐). ภาพถ่ าย. โรงเรี ยนร่ อนพิบูลย์เกียรติวสุ นธราภิวฒั ก์ อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. หมี่เป็ ด ผูช้ ายนัยน์ตาสนิมเหล็ก. (๒๕๔๙). “ ลายกนก ไว้อาลัยกนกพงศ์ ความตายเป็ นความโศกเศร้า เสี ยใจโดยแท้.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.softganz.com/meeped/indexphp?&obj=forum.topic.forprint(1045). สื บค้น ๒๖ สิ งหาคม. Klongdigital.com. (๒๕๕๐). “ภาพทิวทัศน์ภาคใต้.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.klongdigital.com/gallery/2.html. สื บค้น ๑๕ กันยายน. Thaiculturebuu.wordpress.com. (๒๕๕๐). “ภาพประเพณี และวัฒนธรรมไทย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://thaiculturebuu.wordpress.com. สื บค้น ๑๕ กันยายน.

๑๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.