บทที่ 2 ศิลปะกนกโลง

Page 1


ศิลปะกนกโลง ศิลปะกนกโลง หรื องานแกะลายกนกโลง เป็ นงานศิลปะที่ประยุกต์วิธีการแกะกระดาษมาจาก งานสลักกระดาษของช่างสมัยกรุ งศรี อยุธยาที่ใช้สิ่ว และค้อนไม้เป็ นเครื่ องมือ ปั จจุบนั ช่างทากนกโลง หันมาใช้เครื่ องมือที่ทาขึ้นเองเรี ยกว่า มีดขุด มาขุดกระดาษแทนการสลักกระดาษด้วยสิ่ ว วิธีการแกะ ลายกนกโลงบนกระดาษทอง ในภาษาท้องถิ่นใช้คาว่าว่า ดาษขุด หมายถึงงานขุดกระดาษ ลายกนกโลง หรื อลายโลง เป็ นคาที่ช่างและชาวบ้านในท้องถิ่ นภาคใต้ใช้เรี ยกกัน หมายถึ ง ลายที่ถูกประดิษฐ์ข้ ึนมาจากลวดลายไทยพื้นฐาน เช่น ลายบัวลายกระหนก ลายประจายาม ลายลูกฟัก โดยช่างจะนาลวดลายเหล่านี้มาประกอบกันเป็ นลายใหม่ในลักษณะหน้ากระดาน ได้แก่ ลายประจายาม ก้ามปู ลายลูกฟั กก้ามปู ลายบัวปากฐาน ลายกรุ ยเชิ ง ฯลฯ ในการเรี ยกชื่ อลายกนกโลงนี้ จะเรี ยกตาม ตาแหน่งที่ประดับหรื อตามภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ เชิงผ้าลาย ไต หน้าดาน รางมุม ล่องไฟ เป็ นต้น

ความเป็ นมา ความหมายของคาว่า “ศิลปะกนกโลง” งานศิล ปะกนกโลง หรื องานแกะลายกนกโลงศพ มี ล ักษณะเด่ นที่ ตวั โลง และลายกนก ที่นามาประดับตกแต่งโลง ก่อนที่จะได้รู้จกั งานศิลปะกนกโลงให้มากขึ้นกว่านี้ เราควรทาความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของคาว่า “ศิลปะกนกโลง” เสี ยก่อน คาว่า ศิลปะ ซึ่ งได้กล่าวถึงความหมายไว้ใน บทที่ ๑ คือ งานฝี มือทางการช่าง คาว่า กนก หรื อ กระหนก เป็ นคาที่มีเสี ยงพ้องกัน อ่านว่า กะ-หนก ใช้เรี ยกชื่อลายไทยชนิดหนึ่ง จากความหมายของคาว่า กนก (เสน่ห์ หลวงสุ นทร, ๒๕๔๒: ๘) เขียนไว้วา่ คาว่า กระหนก ในภาษาสันสกฤต แปลว่า หนาม ซึ่ งการเขียนลายไทย มีการบากลาย ลักษณะคล้ายหนาม และในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคาว่า กระหนกไว้ คือ ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ส่ วนคาว่า กนก นี้ แต่เดิมโบราณาจารย์ ได้ให้ความหมายต่างไปอีก โดยท่านหมายถึง ดงนกและดงไม้ อันเนื่องมาจากประดิษฐ์จาก ธรรมชาติ อ่านว่า กอนก แต่เขียนลดรู ปพยัญชนะตัว อ เสี ย ต่อมาคนรุ่ นหลังขาดการสังเกต ว่า แต่เดิมเขาอ่านอย่างไรและมีความหมายอย่างไรเลยอ่านออกเสี ยงเป็ น กะ-หนก บางคน สันนิ ษฐานคาว่า กนก แปลว่า ทอง ไปก็มี เพราะลวดลายที่ผกู เขียนขึ้นเป็ นเถา สะบัดปลาย รู ปเปลวไฟส่ วนมากมักลงรักปิ ดทอง คนรุ่ นหลังเลยเข้าใจว่าแปลว่า ทอง และอ่านคาว่า กนก เป็ น กะ-หนก มาจนทุกวันนี้ ... และเมื่อดูจากพจนานุกรมไทย คาว่า กนก นั้นเป็ น ภาษามคธ แปลว่า ทองคา ๒๐


อีกความหมายหนึ่ง คาว่า กนก ( คณะอาจารย์ มหาวิทยาลัยช่างศิลปะ, ๒๕๑๗: ๘-๑๐ ) หมายถึง แม่ ลาย เนื่องมาจาก กนก เป็ นต้นบทของการแตกลวดลายไทยอื่น ๆ ลายไทย หรื อลายกนก มีอยูห่ ลายแบบหลายสมัยด้วยกัน ลายกนก คือ คาที่ใช้เรี ยก กันในสมัยโบราณ ลายไทยหรื อลายกนกที่เรารู ้ จกั กันดี น้ ัน เป็ นลายที่นิยมกันมาตั้ง แต่ สมัยอยุธ ยาตอนปลาย ลายไทยในสมัยทวาราวดี ก็ได้แบบอย่าง และดัดแปลงแก้ไขมาจาก ลายของอินเดียต่อหนึ่ง เพราะบรรดาศิลปะที่มีอยูใ่ นสุ วรรณภูมิลว้ นมาจากอินเดียก่อนทั้งนั้น ต่อมาจึงคิดรู ปแบบขึ้นมาใหม่เป็ นของตนเองในแผ่นดินสุ วรรณภูมิ ลายไทยที่เรารู ้จกั กันทัว่ ไป ล้วนได้ดดั แปลงแก้ไขให้เหมาะกับความนิยมของแต่ละสมัยเสมอมา ลายกนกหรื อลายไทยนั้นถูกดัดแปลงเรื่ อยมาตามยุคสมัย ตั้งแต่สมัยลพบุรี อยุธยา จนมาถึง กรุ งรัตนโกสิ นทร์ ลายไทยถูกประดิษฐ์ข้ ึนมา เพื่อใช้ในงานประดับตกแต่งสิ่ งของต่าง ๆ ให้สวยงาม ซึ่ งได้กลายเป็ นเอกลักษณ์ประจาชาติของไทยที่มีคุณค่าอย่างมาก การเรี ยกชื่อลายไทยมักเรี ยกไปตาม ลักษณะของสิ่ งของนั้น ๆ เช่น ลายเพดาน ลายผนัง ลายฐาน ลายขอบ ฯลฯ การเรี ยกชื่อลายไทยนอกจากจะเรี ยกตามลักษณะของสิ่ งของต่าง ๆ แล้ว ชื่ อลายยังมีแตกย่อย ออกไปอีกตามรู ปลักษณ์ ของลายที่เขียนขึ้น ซึ่ งพ้องกับรู ปแบบของธรรมชาติ เช่น ลายผักกูด ลายก้ามปู ลายบัว ลายน่องสิ งห์ ลายตาอ้อย ฯลฯ จากความเป็ นมาของลายไทยในอดีตจนถึงปั จจุบนั ซึ่ งครู อาจารย์แต่ละท่านเขียนเอาไว้โดยสังเขป ได้ให้ความหมายของคาว่า กนก (กะ-หนก) หมายถึง ชื่อลายไทย แม่ลาย หรื อทอง ส่ วนคาว่า โลง หมายถึง โลงศพที่ใช้บรรจุผตู้ าย กนกโลง จึงมีความหมายอยูส่ องนัย คือ โลงทอง หรื อ โลงลายไทย แต่ถา้ เรานาความหมายทั้งสองคามารวมกัน ก็จะได้ความหมายที่ตรงกับรู ปลักษณะของงานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ อย่างสวยงาม ตระการตา คือ โลงลายไทยสี ทอง หรื อโลงที่ประดับด้วยลายไทยสี ทอง สรุ ปว่า ศิลปะ “กนกโลง” หรื องานแกะลายกนกโลงศพ เมื่อนาคาว่า กนก และคาว่า โลง มารวมกันได้ความหมายว่า โลงศพลายไทยสี ทอง ใช้วิธีการแกะกระดาษทองเป็ นลายไทยชนิ ดต่าง ๆ แล้วนาไปประดับที่โลงศพ เรี ยกลายไทยที่นาไปประดับโลงว่า ลายกนกโลง หรื อลายกนกโลงศพ แต่คา ที่ชาวบ้านทัว่ ไป และช่างในท้องถิ่นเรี ยก ลายกนกโลงศพ สั้น ๆ ว่า ลายกนกโลง หรื อลายโลง ซึ่ งวิธีการ แกะ หรื อสลักเป็ นวิธีการหนึ่งที่ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะ ดังนั้นคาว่า “ศิลปะกนกโลง” หรื องานแกะ ลายกนกโลง ในที่น้ ีจึงหมายถึง งานแกะลายไทยสี ทองประดับโลงศพ

๒๑


ทีม่ า ของงานศิลปะกนกโลง งานศิลปะกนกโลงหรื อการทากนกโลง เป็ นงานแกะหรื อขุดลายไทยบนกระดาษทองเพื่อ นามาประดับตกแต่งโลงศพของชาวปั กษ์ใต้ สันนิษฐานว่ามีวธิ ี การทามาตั้งแต่สมัยกรุ งศรี อยุธยา เป็ น งานช่างฝี มือที่อยูใ่ นกรมช่างสิ บหมู่ คือ ช่างสลัก ซึ่ งมีงานสลักอยู่ ๓ ประเภท คือ สลักไม้ สลักหนัง และสลักกระดาษ งานสลักกระดาษจัดทาขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งสิ่ งของเครื่ องใช้ ในงานพระราชพิธี ประเพณี ต่าง ๆ ของพระมหากษัตริ ย ์ ช่างทากนกโลงได้ประยุกต์งานสลักกระดาษมาเป็ นงานขุดกระดาษ ของ ชาวบ้านในท้องถิ่นภาคใต้ จากข้อความตอนหนึ่งในหนังสื อสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑ (จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์, ๒๕๔๒: ๓๕-๓๗, ๑๘๔๙-๑๘๘๑) เขียนไว้วา่ ครั้งรัชสมัยพระรามาธิ บดีที่ ๑ แห่งกรุ งศรี อยุธยา มีช่างหลวงรับราชการถวายงานตาม พระราชประสงค์ ได้จดั รวมตาราช่ างประเภทต่าง ๆ เป็ นกรมขึ้น ชื่ อว่า “ กรมช่ างสิ บหมู่ ” เป็ นกรมที่บรรดาข้าราชการทาราชการจาเพาะด้านการช่างที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทางวิจิตรศิลป์ และประณี ตศิลป์ ลาดับความสาคัญตามทาเนียบของราชการ ดังนี้ ๑. ช่างเขียน ๒. ช่างปั้ น ๓. ช่างแกะ ๔. ช่างสลัก ๕. ช่างหล่อ ๖. ช่างกลึง ๗. ช่างหุ่ น ๘. ช่างรัก ๙. ช่างบุ และ ๑๐. ช่างปูน จนกระทัง่ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้า ให้ตรา พระไอยการตาแหน่งนาพลเรื อนและนาทหารขึ้นให้เป็ นระเบียบในการบริ หารราชการเป็ น “ กรมช่างสิ บหมู่ ” ตั้งแต่น้ นั เป็ นต้นมา (คาว่าช่างสิ บหมู่ ตามความหมายของคาว่า “ สิ ปป ” มาจากภาษาบาลีซ่ ึงมีความหมายในภาษาสันสกฤต หมายถึง ศิลปะ) ช่างสลัก แบ่งงานสลักตามวัสดุ ดังนี้ ๑. สลักไม้ ๒. สลักหนัง และ ๓. สลักกระดาษ ศิลปะการสลักกระดาษเป็ นประเพณี นิยม ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้สอยในโอกาส ต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ประดับเครื่ องแสดงอิสริ ยยศ ได้แก่ ฉัตรทองแผ่ลวด ฉัตรปรุ บังสู รย์ บังแทรก จามร ๒. ประดับเครื่ องอุปโภค ได้แก่ พานแว่นฟ้ า ตะลุ่ม กระจาดเครื่ องกัณฑ์เทศน์ ๓. ประดับเครื่ องตกแต่งงานสถาปั ตยกรรม ได้แก่ ม่าน ฉาก หน้าบันพลับพลา เพดานปะรา ๔. ประดับเครื่ องศพ ได้แก่ ลูกโกศ เมรุ ราษฎร เมรุ หลวง จิตกาธาน เป็ นต้น งานสลักกระดาษ มีข้ นั ตอนการทา ดังนี้ ๑. การเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ๑.๑ วัสดุ ได้แก่ กระดาษชนิดต่าง ๆ เช่น กระดาษอังกฤษ กระดาษทองเงิน กระดาษ ทองตะกูหรื อกระดาษทองน้ าตะโก กระดาษแผ่ลวดหรื อกระดาษทองแผ่ลวดหรื อในลวด กระดาษทองย่น กระดาษสี กระดาษฟาง กระดาษว่าว

๒๒


๑.๒ เครื่ องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ สิ่ ว ตุด๊ ตู่ เหล็กปรุ เหล็กหมาด มีดบาง หรื อกรรไกร ค้อนไม้ เขียงไม้ ลวดดอกไม้ไหว และแป้ งเปี ยก ๒. ขั้นตอนการปฏิบัติงานสลักกระดาษ อย่างโบราณวิธี มีลาดับขั้นตอน ดังนี้ ๒.๑ การเตรี ยมลาย คือ การผูกเขียนลายหรื อลวดลายสลักกระดาษมีอยู่ ๒ วิธี คือ ๒.๑.๑ การผูกเขียนรู ปภาพหรื อลวดลายแบบเจาะช่องไฟ (ผูกลายทิ้งพื้น) ๒.๑.๒ การผูกเขียนรู ปภาพหรื อลวดลายแบบเจาะตัวลาย (ผูกลายทิ้งลาย) ๒.๒ การทาแบบร่ าง คือ แบบอย่างที่ผกู เขียนลายเรี ยบร้อยแล้ว มีขนาดเท่าของจริ ง มีลายชัดเจน การผูกเขียนลายบนแบบร่ าง เรี ยกว่า “ แม่ลาย ” แบบร่ างควรมีจานวนมาก เพราะ ถ้าต้องการนาแม่ลายชนิดเดียวกันมาต่อเรี ยงกันเป็ นแนวยาว ๒.๓ การสลักกระดาษ ๒.๓.๑ การเตรี ยมกระดาษ ตัดกระดาษชนิ ดที่เลือกสาหรับใช้งานสลัก และ ตัดกระดาษฟางให้มีขนาดเท่ากันกับแม่ลาย เท่ากับจานวนแบบร่ าง กระดาษฟางที่นามาตัด เพื่อใช้ในงานสลักกระดาษ เรี ยกว่า กระดาษซับ ๒.๓.๒ นากระดาษที่จะสลักมาเรี ยงซ้อนกัน โดยกระดาษที่จะใช้สลักแต่ละแผ่น ให้คนั่ ด้วยกระดาษซับ เป็ นการป้ องกันไม่ให้กระดาษที่สลักติดกัน และนาแบบร่ างมาวางไว้ ด้านบน ๒.๓.๓ ใส่ หมุดไว้ที่มุมกระดาษสี่ มุม ที่จดั เรี ยงไว้เรี ยบร้อยแล้ว มาวางบนเขียงไม้ ๒.๓.๔ สลักกระดาษให้เป็ นลวดลายตามแบบร่ างด้วยสิ่ ว และค้อนไม้ เจาะหรื อ สลักลงไปตามลายเส้นของแบบร่ าง ตอนใดต้องการให้เป็ นรู เป็ นดวงจะใช้ตุด๊ ตู่เจาะปรุ ลงไป หรื อหากต้องการทาเป็ นเส้นแสดงส่ วนละเอียดเป็ นเส้นไข่ปลา ก็ใช้เหล็กปรุ ตอกดุนขึ้นมาจาก ด้านหลังของตัวลายหรื อรู ปภาพ ซึ่ งการดุ นนี้ ตอ้ งทาหลังจากสลักเป็ นลวดลายหรื อรู ปภาพ ครบถ้วนแล้ว ๒.๓.๕ การรื้ อกระดาษ แกะหมุดที่ติดกับกระดาษออก ค่อย ๆ แกะกระดาษออก มาทีละแผ่น ๓. การตกแต่ งงานสลักกระดาษ จะใช้กระดาษสี ต่าง ๆ มารองรับอยูข่ า้ งใต้กระดาษทอง เป็ นการตกแต่งให้สวยงาม มีคุณค่าเสมอเหมือนหรื อทดแทนงานปิ ดทองประดับกระจกได้ ราชพิธีโบราณในประเพณี การจัดงานพระศพให้กบั พระมหากษัตริ ย ์ พระบรมวงศานุวงษ์ และ ผูท้ ี่ทาประโยชน์ให้แก่ชาติบา้ นเมือง จะมีการสลักกระดาษทองเพื่อใช้ประดับตกแต่งพระเมรุ มาศให้สวยงาม จากข้อความตอนหนึ่งในหนังสื องานพระเมรุ มาศสมัยกรุ งรัตนโกสิ นทร์ (ยิม้ บัณฑยางกูร และคนอื่นๆ, ๒๕๒๘: ๕๙-๖๒) เขี ยนไว้ว่า ๒๓


ประเพณี ทาศพตามแบบแผนที่สืบทอดต่อกันมานั้น วัฒนธรรมไทยแต่โบราณกาล ปลูกฝั งให้มีจิตใจเคารพยึดมัน่ ในความกตัญญูกตเวทีต่อผูท้ าประโยชน์ให้แก่ชาติบา้ นเมือง โดยเฉพาะพระมหากษัตริ ยาธิ ราชเจ้า ฉะนั้นจึงมีประเพณี เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริ ย ์ เมื่อทรงพระราชสมภพถือเป็ นทิพยเทวตาร ครั้นถึ งวาระสุ ดท้ายแห่ งพระชนม์ชีพ เมื่อทรง เสด็จสวรรคต หมายถึง เสด็จไปสู่ เทวาลัยสถาน ณ เขาพระสุ เมร ตามราชประเพณี จะจัดการถวาย พระเพลิงพระบรมศพ ตามคติความเชื่อที่มีสืบมาแต่โบราณกาล โดยอันเชิญพระบรมศพไป ถวายพระเพลิง ณ พระเมรุ กลางใจพระนคร และถือการบาเพ็ญพระราชกุศลตามหลักพุทธศาสนา ...ในการนี้พระบรมศพ หรื อพระศพจะได้รับการบรรจุไว้ในพระโกศทอง มีการประดิษฐาน พระโกศตามพระเกียรติยศ เมื่อถึงกาลอันควรก็อนั เชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ พระเมรุ มาศ การสร้างพระเมรุ มาศจะมีขนาด และแบบที่งดงามวิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัย... จนถึงปัจจุบนั

ภาพที่ ๒. ๑

ภาพที่ ๒.๒

ภาพที่ ๒.๓

ภาพที่ ๒.๑ ภาพพระเมรุ มาศ Queen_of_King_Rama7_Merumart ที่มา : http://siamsilkroad.blogspot.com/2012/12/blog-post_9194.html ภาพที่ ๒.๒ ภาพพระโกศจันทน์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นาฯ ภาพที่ ๒.๓ ภาพพระเมรุ มาศ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นาฯ ที่มา : http://www.stks.or.th/hrh/?paged=12/supaporn

อีกส่ วนหนึ่งของจดหมายเหตุ ได้เขียนเรื่ องราวเกี่ยวกับงานสลักลายไทยบนกระดาษทองย่น และ การประดับตกแต่งส่ วนต่าง ๆ ของพระเมรุ และพระโกศ (จดหมายเหตุพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้า ราไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗, ๒๕๒๙: ๒๗๙-๒๙๙) ไว้ดงั นี้ ๒๔


ลักษณะพระเมรุ มาศเป็ นแบบสถาปั ตยกรรมไทยทรงปราสาทจัตุรมุข ยอดทรงมณฑป ประกอบพรหมพักตร์ ตัวอาคารประกอบด้วยฐานทักษิณ องค์พ ระเมรุ มาศ ส่ วนหลังคา ประกอบมุขทิศ และเครื่ องยอดประดับตกแต่งด้วยลวดลายกระดาษทองย่นฉลุ …ฐานทักษิณ ประกอบหน้ากระดาน ท้องไม้ เส้นลวดบัว หน้ากระดานล่างและหน้ากระดานบนประดับ ลายฉลุกระดาษทองย่นสาบสี น้ าเงินลายประจายามก้ามปูเส้นลวดเดินเส้นทอง บัวคว่าบัวหงาย ลวดบัวเดินเส้นทอง ท้องไม้ประดับลายเข้มขาบชนิดรักร้อยฉลุกระดาษทองย่นสาบสี น้ าเงินแวว สี เงินเดินเส้นทองในแนวตั้ง พื้นลานข้างบันไดใหญ่ทิศตะวันตกตั้งเสาหงส์ คาบพระภูษาโยง สองเสา ฐานเสาหงส์ ผนังฐานประดับลายฉลุ กระดาษทองย่นสาบสี แดงแววสี เงินลายกระจัง เดินเส้นทอง เชิงฐานประกอบหน้ากระดานประดับลายฉลุกระดาษทองย่นสาบสี แดง ลายบัวคว่า บัวหงาย ลายประจายามก้ามปูลายฉลุกระดาษทองย่นสาบสี ชมพู ลวดบัวเดินเส้นทอง ตัวเสา ทาสี แดงประดับลายฉลุกระดาษทองย่นสาบสี ชมพู ลายดอกลอยพุม่ ข้าวบิณฑ์ ยอดเสาหงส์ ประดับฉัตรโลหะทรงกลมสี ทอง ๙ ชั้น ขนาดเล็ก ระบายฉัตรประดับตุง้ ติ้งไหมพรหมสี เหลือง โดยรอบทุกชั้น… พระโกศจันทร์มีลกั ษณะเป็ นโกศแปดเหลี่ยม มียอดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๘๖ เมตร สู ง ๑.๖๑ เมตร ประกอบด้ว ยโครงลวดตาข่ า ยประดับ ลายฉลุ เ ป็ นลายซ้ อ นไม้ท้ งั องค์ องค์พระโกศจันทน์สามารถถอดแยกได้เป็ น ๓ ส่ วน คือ ฐานพระโกศจันทน์ ประกอบ หน้ากระดานบน ล่าง เส้นลวดบัวคว่า หน้ากระดานล่างประกอบเส้นลวดประดับกระจังตาอ้อย บัวคว่าประกอบเส้นลวดประดับลายกลี บบัว ลายใบเทศลวดบัว ส่ วนหน้ากระดานบน เป็ นลู กแก้วประดับลายประจายามก้ามปูลูกโซ่ เชิ งพระโกศจันทร์ ประดับกระจังใบเทศ องค์พ ระโกศจัน ทน์ป ระดับลายบัวกลี บ ขนุ น ภายในลายบัวกลี บขนุ น ประดับ เกสรบัว ขอบองค์พระโกศจันทน์ประดับกระจังตาอ้อยห้อยหัวลง เสริ มลายเฟื่ องอุบะ ขอบฝาพระโกศจันทน์ ประกอบหน้ากระดานประดับลายประจายามลูกโซ่ เหนื อขึ้นไปเป็ นชั้นกระจังเสริ มลายบัวคว่า ประดับดอกไม้ไหว บัวคว่าประดับลายกลีบบัวใบเทศ ยอดฝาพระโกศจันทน์ประดับลูกแก้ว ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ เดินเส้นลวดท้องไม้เชิงบาตรประดับลายบัวเกสร เส้นลวดท้องไม้ หน้ากระดานบน ประดับลายประจายาม เหนื อหน้ากระดานบนประดับกระจังตาอ้อยและดอกไม้ไหว ชั้นที่ ๒ เดินเส้นลวดท้องไม้เชิงบาตรประดับลายบัวเกสร เส้นลวดท้องไม้ หน้ากระดานบนประดับ ลายประจายามก้ามปูลูกโซ่ เหนื อหน้ากระดานบนประดับกระจังตาอ้อยและดอกไม้ไหว ชั้นที่ ๓ ประดับลายเหมือนชั้นที่ ๒ บัวชั้นรองปลียอดเป็ นท้องไม้เชิง บาตรประดับลายบัว เกสรเส้นลวดท้องไม้ ปลียอดประดับลายกาบบัวใบเทศ...

๒๕


จากข้อความที่ กล่าวถึ งในหนังสื อสารานุ กรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑ หนังสื อ งานพระเมรุ มาศสมัยกรุ งรัตนโกสิ นทร์ และจดหมายเหตุพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ นี้ ทาให้เราทราบถึงเรื่ องราว และความสาคัญเกี่ยวกับความเชื่อในประเพณี ศพ การปลูกฝั งความกตัญญู แก่ผทู ้ าคุณประโยชน์ และมีคุณงามความดี โดยเฉพาะพระมหากษัตริ ยาธิ ราชเจ้า รวมถึงที่มาของงานสลักกระดาษทอง ในงานพระโกศ และพระเมรุ มาศ ชาวปั กษ์ใต้ที่นบั ถือพระพุทธศาสนา มีคติ ความเชื่อต่อสิ่ งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่นกัน จึงได้นาเอารู ปแบบ วิธีการ รวมถึงลวดลายไทยชนิดต่าง ๆ ที่สลักขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งส่ วนประกอบของพระเมรุ มาศ และพระโกศจันทน์ของพระมหากษัตริ ย ์ แต่ชาวบ้าน ในท้องถิ่นภาคใต้น้ นั ได้นาเอาศิลปะการสลักกระดาษหรื อการแกะลายไทยบนกระดาษทอง มาใช้ตกแต่ง เฉพาะส่ วนประกอบหลักของโลง ผูเ้ ขียนขอเรี ยกงานแกะลายไทยบนกระดาษทองของชาวปั กษ์ใต้วา่ “ศิลปะกนกโลง” หรื อในภาษาท้องถิ่นเรี ยกว่า การทาหนกโลง ส่ วนลายไทย หรื อแม่ลายที่นามาประดับโลง เรี ยกว่า ลายโลง หรื อ ลายกนกโลง

ภาพที่ ๒.๔

ภาพที่ ๒.๕ ภาพที่ ๒.๖ ภาพที่ ๒.๗ ภาพที่ ๒.๔ ภาพงานสลักกระดาษ หรื องานปรุ กระดาษ ภาพที่ ๒.๕ ภาพงานสลักกระดาษทองแผ่ลวด ภาพที่ ๒.๖ ภาพตกแต่งผนังฐานพระเมรุ มาศด้วยงานสลักกระดาษทอง ภาพที่ ๒.๗ ภาพตกแต่งเครื่ องใช้ของพระมหากษัตริ ยด์ ว้ ยงานสลักกระดาษทองแผ่ลวด ที่มา : http://www.google.co.th/ "http://changsipmu.com/engraving_p05.html" ๒๖


ข้ อมูลจากการบอกเล่ าเกี่ยวกับที่มาของงานศิลปะกนกโลง ศิลปะการแกะลายไทยบนกระดาษทองมาอยู่ทางภาคใต้ไ ด้อย่า งไรนั้น จากการบอกเล่ า ของคนในท้องถิ่นมีที่มาอยูห่ ลายกระแส พอจะนามาประมวลตามเหตุการณ์ ของการเกิดงานศิลปะกนกโลง ได้ดงั นี้ (ครู เฉลี ยว สุ วรรณบ ารุ ง , ๒๕๕๐) ต้นตระกู ลอยู่บ ้านสามต าบล อ าเภอจุ ฬาภรณ์ จังหวัด นครศรี ธรรมราช เล่าว่า “ เมื่อครั้งที่กรุ งศรี อยุธยาแตกเป็ นครั้งที่ ๒ ปี พุทธศักราช ๒๓๑๐ มีทหารหนีทพั ลงมา ทางใต้ นาโดยเจ้าฟ้ าหมอบุญได้มาสร้างบ้านเรื อนอาศัยอยูท่ ี่บา้ นสามตาบล ประกอบด้วย วังนาหมอบุญ วังไส วังฆ้อง ปั จจุบนั บ้านสามตาบลอยูใ่ นเขตอาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช ชาวบ้านจึงได้รับอิทธิพลการสื บทอดศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี หลายอย่างมาจากคนในวังหลวง โดยดูได้จากการแต่งกาย ผูห้ ญิงจะไว้ผมสั้น นุ่งโจงกระเบน กินหมากปากแดง ผูช้ ายมีบุคลิกท่าทาง ทะมัดทะแมงอย่างนักรบ จะพกอาวุธตลอดเวลาใช้ชี วิตแบบนักรบ นักเลงเพราะต้องคอย ระมัดระวังข้าศึกที่จะมาถึ งตัว และเมื่อมีคนตายจะมีการจัดพิธีศพด้วยการตกแต่ง ประดับประดา เครื่ องประกอบพิธีศพตามอย่างคนในวังหลวง ” ข้อมูลอีกกระแสหนึ่ งจาก (ครู โสภณ แก้วเรื องฤทธิ์ , ๒๕๕๐) ต้นตระกูลอยูท่ ี่บา้ นสามตาบล เช่ นกัน เล่าว่า “ การสื บทอดประเพณี วัฒนธรรมการจัดพิธีศพอย่างคนในวังนั้น มาจากพระเจ้าตากสิ นมหาราช ได้นาทหารมาปราบกบฏที่เมืองนครศรี ธรรมราช และมาตั้งถิ่ นฐานอยู่ที่บา้ นสามตาบล สร้างวังขึ้น ๓ วัง นอกจากนี้ ยงั มีหลักฐานที่ใช้ในการออกรบ คือ พระนางพญา และพระยอดธง ใช้ติดที่ยอดธงเวลาออกรบ มีหลักฐานอยูท่ ี่วดั เนกขัมมารามหรื อที่ชาวบ้านเรี ยกว่า วัดหน้ากาม อยูใ่ นเขตอาเภอร่ อนพิบูลย์ ซึ่ งเป็ นเขตติดต่อกับบ้านสามตาบล อาเภอจุฬาภรณ์ เมื่อแม่ทพั เสี ยชีวติ ลงจึงได้จดั พิธีศพตามประเพณี ตามแบบอย่างของชาววังหลวง ” และอีกกระแสหนึ่ งจาก (ครู อรุ ณีย ์ วงศ์ศรี ปาน, ๒๕๕๐) ต้นตระกูลอยู่ที่อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัด นครศรี ธรรมราช เล่าว่า “ สมัยกรุ งศรี อยุธยาเป็ นราชธานี มีคนทางปั กษ์ใต้ไปรับราชการอยู่ในกรมช่ างสิ บหมู่ เมื่อเกษียณอายุราชการ ได้กลับมาอยูบ่ า้ นเดิมที่จงั หวัดนครศรี ธรรมราช นาวิชาความรู ้ทางด้าน งานสลักกระดาษกลับมาทาเป็ นอาชีพ และได้เผยแพร่ ไปยังจังหวัดใกล้เคียง ”

๒๗


ถึงอย่างไรก็ตามงานศิลปะกนกโลง นับได้วา่ เป็ นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาไทย ที่คน ในท้องถิ่นภาคใต้ปฏิบตั ิสืบทอดต่อกันมานาน บ้างก็ทาเป็ นอาชีพ บ้างก็ทาเพื่ออุทิศส่ วนบุญกุศลให้กบั ผูต้ าย ซึ่ งจัดทาขึ้นแก่ผสู ้ ู งศักดิ์หรื อผูส้ ู งอายุดว้ ยการตกแต่งโลงศพให้สวยงามตามแบบอย่างของชาววังหลวง ลักษณะของโลงศพคล้ายกับโลงสามส่ วน ชาวบ้านเรี ยกว่า โลงแหนว : มีลกั ษณะเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า ทรงสู ง ส่ วนกลางหรื อเอวโลงคอดเข้า ( แหนว ) ส่ วนปากโลงหรื อส่ วนบนและส่ วนล่างหรื อตีนโลง มีลกั ษณะผายออก (ภณิ ดา วิบูลย์กาญจน์, ๒๕๕๐: ๓๐) โดยช่างจะนาไม้กระท้อนที่มีขนาดใหญ่มาขุด ทาเป็ นโลงและตกแต่งด้วยลายกนกโลงที่แกะสลักจากกระดาษทอง ติดลงไปบนหน่วยโลงและฐานวางโลง เพื่อเพิม่ ความสวยงาม วิจิตรบรรจงให้แก่โลงศพ บนฝาโลงจะตกแต่งด้วยยอดแหลมมีท้ งั แบบยอดเดียว และสามยอดตามความเหมาะสม บริ เวณรอบ ๆโลงศพจะประดับด้วยฉัตร ๕ ชั้น หรื อ ๗ ชั้น ตั้งอยู่ ๔ ทิศ ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ยศตาแหน่งของผูต้ าย ประเพณี การจัดงานศพของชาวปั กษ์ใต้ ที่ดูเป็ นเอกลักษณ์นอกจากการตกแต่งโลงศพที่สวยงาม ด้วยการแกะสลักหรื อขุดลายกนกโลงแล้ว ยังมีดนตรี มาบรรเลงประกอบงานพิธีดว้ ย เรี ยกว่า วงกาหลอ มีเครื่ องดนตรี เพียง ๓ ชนิด คือ กลองทน ฆ้อง ปี่ อ้อ และมีการ ว่ าเพลงบอก เพื่อแสดงการไว้อาลัย และ ยกย่องคุณงามความดีของผูต้ ายอีกด้วย (ขอม ทิพย์โพธิ์ , ๒๕๕๐) เจตนารมณ์ ในการสื บทอดงานศิลปะกนกโลง มีเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน คือ ๑. เพื่อแสดงออกถึงประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม วิธีการจัดตกแต่งโลงศพตามอย่าง บรรพบุรุษที่มียศตาแหน่งหรื อผูส้ ู งศักดิ์ ๒. เพื่อแสดงออกถึงความมีฐานะ วรรณะของผูต้ าย ๓. เพื่อให้ผตู ้ ายได้ไปตกอยูใ่ นสรวงสวรรค์ที่สวยงามซึ่งเป็ นความเชื่อตามหลัก พุทธศาสนาเกี่ยวกับภพจักรวาล ๔. เพื่อแสดงความกตัญญูและระลึกถึงผูต้ ายจากลูกหลานและญาติ ๆ ๕. เพื่อถ่ายทอดงานศิลปะจากช่างทากนกโลงที่มีใจรัก และอยากร่ วมอุทิศส่ วนบุญ ส่ วนกุศลให้แก่ผตู้ าย ๖. เพือ่ การประกอบอาชีพโดยการถ่ายทอดศิลปะการทากนกโลงมาสู่ ลูกหลาน และ ผูส้ นใจ

๒๘


องค์ ประกอบของงานศิลปะกนกโลง ศิลปะกนกโลง เป็ นงานศิลปะที่มุ่งเน้นความงามที่วิจิตร ตระการตา และเพื่อประโยชน์ใน การใช้สอย องค์ประกอบของงานศิลปะกนกโลงที่สาคัญ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ โลงศพ และลายกนกโลง ๑. โลงศพ โลงศพที่ใช้อยูท่ วั่ ไป จะมี ๓ ชนิ ด คือ โลงนอน โลงนัง่ และโลงสามส่ วน (โลงกึ่งนัง่ กึ่งนอน) โลงนอนนิ ยมใช้ทวั่ ไป มีอยู่แพร่ หลาย เพราะทาง่าย เวลาบรรจุศพจะวางในท่านอนตามยาว โลงนัง่ เวลาบรรจุศพจะจัดศพให้นงั่ งอเข่าพนมมือขึ้น และโลงสามส่ วนเวลาบรรจุศพจะวางศพกึ่งนัง่ กึ่งนอน โลงนัง่ และโลงสามส่ วน จะนิยมใช้กบั ผูส้ ู งอายุ และผูม้ ีฐานะดีหรื อผูส้ ู งศักดิ์เท่านั้น เพราะทา ค่อนข้างยากกว่าแต่มีความสวยงามสะดุดตามาก ลักษณะของโลงศพแต่ละชนิ ด จะมีลกั ษณะต่างกัน ดังนี้ ๑.๑ โลงนอน มี ล ักษณะเป็ นรู ปทรงสี่ เหลี่ ยมผืนผ้า ขนาดความยาวประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร สู ง ๕๐ เซนติเมตร

ภาพที่ ๒.๘ ภาพโลงนอนรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า บนฐานเครื่ องชั้นประดับด้วยยอดโลงสามยอด ที่มา : “โลงศพ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒

๒๙


๑.๒ โลงนั่ง ฐานโลงเป็ นรู ปสี่ เหลียมจัตุรัสทรงสู ง ปากโลงผายออกเล็กน้อย คล้ายกับ รู ปทรงสี่ เหลี่ ยมคางหมู ฐานโลงกว้าง ยาวประมาณ ด้านละ ๖๕ เซนติเมตร สู ง ๑๕๐ เซนติเมตร ปากโลงเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสขนาด กว้าง ยาว ด้านละ ๗๐ เซนติเมตร

ภาพที่ ๒.๙ ภาพโลงนัง่ ทรงสูง บนฐานเครื่ องชั้นประดับด้วยยอดโลงหนึ่งยอด ที่มา : “โลงศพ ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒

๓๐


๑.๓ โลงสามส่ วน มีลกั ษณะผสมระหว่างโลงนัง่ กับโลงนอน ฐานโลงเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยม ผืนผ้า ปากโลงผายออกเล็กน้อย ขนาดฐานโลงกว้างประมาณ ๕๕ เซนติเมตร ยาว ๑๐๐ เซนติเมตร ความสู งของโลง สู ง ๑๓๐ เซนติเมตร ปากโลงกว้างประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๑๐๕ เซนติเมตร

ภาพที่ ๒.๑๐ ภาพโลงสามส่วนรู ปสี่ เหลี่ยมคางหมู บนฐานเครื่ องชั้นประดับด้วยยอดโลงสามยอด ที่มา : “โลงศพ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒

๓๑


องค์ ประกอบหลักของโลงศพ นอกเหนื อจากหน่วยโลงที่ใช้บรรจุศพแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นมาประกอบเพื่อความเหมาะสม สวยงามอีก นัน่ คือฐานวางโลงและยอดโลง ดังนั้นองค์ประกอบหลักของโลงศพจึงมี ๓ ส่ วน คือ หน่วยไม้หรื อหน่วยโลง ฐานวางโลง และยอดโลง (๑) ยอดโลง เป็ นส่ วนที่ต้ งั อยู่บนหน่ วยโลงที่มีความงามวิจิตรโลงนัง่ จะทาเพียง ๑ ยอด ส่ วนโลงนอน และโลงสามส่ วน จะทายอด ๓ ยอด ลดหลัน่ กันลงมาเท่า ๆ กันทั้งด้านซ้ายและขวา ยอดที่อยู่ตรงกลางจะสู งกว่ายอดข้าง ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร แต่ละยอดทาฐานยอดเป็ นซุ ้มสี่ เหลี่ ยม ยอดแหลมบนฝาโลงเรี ยกว่า “ ยอดเหม ” ส่ วนนี้ อาจทาลดชั้นลงก็ได้ ซุ ้มนี้ บางแห่ งทาด้วยไม้กระดาน แต่บางแห่ งทาด้วยไม้ระกา เพราะมีน้ าหนักเบา ความสู งของซุ ้มยอดเหม ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร จากนั้นใส่ ยอดซึ่ งมีลกั ษณะเป็ นทรงสี่ เหลี่ ยมปริ ซึมยอดแหลม บางครั้งก็ทาเป็ นทรงกรวยกลมต่อขึ้น ไปอีก ชั้นยอดบนสุ ดนี้ สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร เป็ นยอดแหลม จะใช้ไม้ระกา ไม้ทองหลาง เพราะ มีน้ าหนักเบา หรื อจะใช้เป็ นไม้เนื้ อแข็งก็ได้ ส่ วนยอดนี้ ช่างที่ประดับตกแต่งโลงจะเก็บไว้เองไม่ตอ้ ง นาไปเผา เผือ่ ใช้ในงานอื่นอีก

ภาพที่ ๒.๑๑ ภาพยอดโลงแบบสามยอดกลมมน ที่มา : “โลงศพ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้, ๒๕๔๒

ภาพที่ ๒.๑๒ ภาพยอดโลงแบบสามยอดยุคปัจจุบนั ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๓๒


(๒) หน่ วยไม้ หรื อหน่ วยโลง (ใช้บรรจุศพ) เมื่อกาลเวลาผ่านไป วัสดุ ทางธรรมชาติ ลดน้อยลง ขนาดของต้นไม้ที่เหมาะสม หาได้ยากขึ้น วิธีการทาโลงจึงเปลี่ยนไป เดิมทีนาไม้ท้ งั ต้น มาขุด ก็เปลี่ยนเป็ นนาไม้กระดานอัดมาเลื่อยให้เป็ นชิ้นส่ วน เพื่อนามาประกอบโลงในแต่ละด้าน การนา ส่ วนประกอบของโลงมาประกอบกันเรี ยกว่า “การเข้าหน่วยไม้” จะต้องประกอบให้แน่นสนิ ท โดยใช้ โครงไม้ภายในและตอกไม้กระดานประกบนอก ลักษณะของโลงจะมีส่วนล่างคอดเอวเข้าไปเล็กน้อย ชาวบ้านเรี ยกโลงลักษณะนี้วา่ โลงแหนว (ประยุกต์มาจากโลงสามส่ วน)

หน่วยโลงแหนวทรงสู ง

หน่วยโลงแหนวแนวนอน

ภาพที่ ๒.๑๓ ภาพหน่วยโลงแหนวทรงสูง และหน่วยโลงแหนวแนวนอน ที่มา : โลงศพ,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒; ขอม ทิพย์โพธิ์, ๒๕๕๐

ภาพที่ ๒.๑๔ ภาพหน่วยไม้หรื อหน่วยโลงแหนวแนวนอน ในปัจจุบนั ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๓๓


(๓) ฐานโลงหรือฐานวางโลง มี ๒ แบบ แบบหนึ่ งเรี ยกว่า “ ตีนอยอง ” (อ่านว่า ตีนอะ- ยอง) มีลกั ษณะคล้ายพาน ฐานพานผายคว่าลงคล้ายบัวคว่าและปากฐานผายขึ้นคล้ายบัวหงาย โดยมี “ เอว ” ใช้ไม้กระดานสี่ เหลี่ยมยาวตีทาบลงไป ระหว่างบัวคว่าและบัวหงาย นอกจากนี้ ที่รอบเอว ทั้งสี่ ดา้ น จะมี “ อกไก่ ” เป็ นไม้กระดานตีทาบลงไปเป็ นรู ปสามเหลี่ยม บริ เวณปากฐานจะมี “ พนัก ” เป็ นแผ่นกระดาน กว้างราว ๑๕ เซนติเมตร ตีตรงขึ้นไปทั้ง ๔ ด้าน และมี “ ตีนวางโลง ” วางทั้งสี่ มุม ฐานวางโลงอีกแบบหนึ่งเรี ยกว่า “เครื่ องชั้น” มีลกั ษณะเป็ นชั้นลดขึ้นไปตามลาดับ มีต้ งั แต่ ๓ - ๕ ชั้น ทุกชั้นตีไม้กระดานติดกันทั้งหมด ชั้นล่างสุ ดใช้ไม้กว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ชั้นถัดขึ้นไป ลดความกว้าง ลงเรื่ อย ๆ พองาม ฐานโลงส่ วนมากจะทาไว้เป็ นการถาวร เก็บไว้ที่วดั ช่างจะไปนา มาใช้เมื่อเจ้าภาพ งานศพว่าจ้าง

ฐานโลงแบบตีนอยอง

ฐานโลงแบบเครื่ องชั้น

ภาพที่ ๒.๑๕ ภาพฐานโลงแบบตีนอยองและฐานโลงแบบเครื่ องชั้น ที่มา : “โลงศพ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒

ภาพที่ ๒.๑๖ ภาพฐานโลงแบบเครื่ องชั้นยุคปัจจุบนั ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๓๔


๒. ลายกนกโลง ลายกนกโลงเป็ นอีกองค์ประกอบหนึ่งของงานศิลปะกนกโลง ที่ช่วยให้การตกแต่งโลงศพ มีความสวยงามวิจิตรตระการตา ลายที่นามาประดับตกแต่งบนโลงเรี ยกว่า ลายกนกโลงหรื อลายโลง คือ ลวดลายไทยแบบต่าง ๆ ที่ช่างเลือกนามาเป็ นแบบในการแกะสลักลงบนกระดาษทอง วิธีแกะสลักลาย ลงบนกระดาษทอง เรี ยกกันตามภาษาท้องถิ่นว่า การขุดกระดาษ หรื อ “ดาษขุด” ลายกนกโลงเป็ นลาย ที่ประดิษฐ์มาจากลวดลายไทยชนิดต่าง ๆ เช่น ลายบัว ลายกระจัง ลายกรวยเชิง ลายกระหนกสามตัว ลายประจายาม ลายแข้งสิ งห์ ลายหน้ากระดาน เป็ นต้น ความงามของลายกนกโลงนี้ ข้ ึนอยูก่ บั ช่ าง ในแต่ละยุคสมัยที่จะดัดแปลงลวดลายไทยให้มีลีลา มีจงั หวะ และมีสีสัน เพื่อการประดับตกแต่งโลงศพ ให้สวยงามตามความนิยมของคนในท้องถิ่น ลายกนกโลงมีชื่อเรี ยกต่าง ๆ กัน ดังนี้ ภาพที่ ๒.๑๗

๑. แม่ ลาย เป็ นลายเอก ประดิษฐ์มาจากลายลูกฟักประจายามก้ามปู ภาพที่ ๒.๑๘

๒. บัวปากถ้ วย ประดิษฐ์มาจากลายบัวหงาย บัวปากพาน ตัวลายมีขนาดใหญ่เท่ากับ แม่ลาย ภาพที่ ๒.๑๙

๓. หน้ าดาน ประดิษฐ์มาจากลายหน้ากระดาน มีท้ งั ใหญ่และเล็ก ลายหน้ากระดานเล็ก พัฒนามาจากลายลูกขนาบขยายใหญ่ ใช้ตกแต่งตามขอบต่าง ๆ ขอบบนเรี ยกว่าหน้าดานบน ขอบล่าง เรี ยกว่าหน้าดานล่าง เช่ น ลายกนกเกลี ยวประจายาม ลายประจายามก้ามปู ลายก้านต่อดอกก้ามปู ลายก้านต่อดอกเปลว ลายดอกแกมใบ ลายประจายามลูกโซ่ ถ้าเป็ นลายหน้ากระดานใหญ่จะนามาแต่ง เหนือฐานสิ งห์ เรี ยกว่า ลายหลังสิ งห์ ภาพที่ ๒.๒๐

๔. หลังสิ งห์ เป็ นลายเหนือฐานสิ งห์ข้ ึนไป จะใช้ลายหน้ากระดานแบบต่าง ๆ มีขนาด ใหญ่กว่าลายขอบ แต่จะไม่เด่นไปกว่าแม่ลาย ๓๕


ภาพที่ ๒.๒๑

๕. เชิงผ้าลาย ประดิษฐ์มาจากลายกรุ ยเชิงหรื อลายกรวยเชิง ลายช่อแทงลาย ภาพที่ ๒.๒๒

๖. รางมุม คือ บริ เวณมุมเหลี่ยมด้านข้างของหน่วยไม้ท้ งั สี่ ดา้ น ใช้ลายที่ประดิษฐ์มาจาก ลายบัวร้อยจะประดับในแนวตั้ง ภาพที่ ๒.๒๓

๗. ไต อยูถ่ ดั จากรางมุมเข้าไป ประดิษฐ์มาจากลายเถา เช่น ลายกนกเกลียว ลายกนก เกลียวใบเทศ ลายน่องสิ งห์ใบเทศ ลายแข้งสิ งห์เปลว และลายกนกก้ามปู ภาพที่ ๒.๒๔

๘. ตุกตู่ ประดิษฐ์มาจากลายกระจังหรื อลายบัวขนาดเล็ก วางเรี ยงต่อกันเป็ นแถวยาว ๙. รั ดพัด อยู่บริ เวณรอยต่อระหว่างฐานหน่ วยโลงกับฐานวางโลง ใช้ลายบัวขนาดเล็ก หรื อลายกระจัง ถ้าไม่ติดด้วยตัวลาย จะใช้กระดาษสี ติดไว้เรี ยบ ๆ ก็ได้เช่นกัน ๑๐. บัวขบ ประดิษฐ์มาจากลายบัวคว่า มีขนาดเล็กกว่าบัวปากถ้วยเล็กน้อย ภาพที่ ๒.๒๕

๑๑. ล่องไฟ หรื อบัวหลังสิ งห์ ประดิษฐ์มาจากลายบัวแวง ลายบัวกลีบขนุน บ้างก็ใช้ลายบัว ยอดแทงขึ้นสลับแทงลง คล้ายช่อแทงลาย ซึ่งเดิมทีล่องไฟนี้ เป็ นเพียงแถบสี ดาเท่านั้น ภาพที่ ๒.๒๖

๑๒. ลายสิ งห์ ประดิ ษฐ์มาจากลายฐานสิ งห์ มีลกั ษณะคล้ายขาสิ งห์ ช่ างจะดัดแปลง ลวดลายไปตามจินตนาการ เช่น เป็ นรู ปพญานาค ภาพที่ ๒.๑๗ -๒.๒๖ ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๓๖


ช่างแกะสลักลายกนกโลงจะเรี ยกชื่อลายตามภาษาท้องถิ่นภาคใต้ หรื อตามตาแหน่งพื้นที่โลง ที่นาลายกนกโลงไปประดับ ลักษณะของลายสามารถดัดแปลงไปตามความสวยงามของช่างแต่ละคน การนาลายกนกโลงมาประดับตกแต่ งโลงศพ (๑) หน่ วยโลงหรือหน่ วยไม้ การประดับตกแต่งหน่วยโลงทั้งสี่ ดา้ นจะปิ ดด้วยกระดาษสี ขาวขุ่น ทุกด้านเป็ นสี พ้ืนก่อนโลงนอนมีลกั ษณะเป็ นรู ปสี่ เหลี่ ยมผืนผ้าและโลงสามส่ วนมีลกั ษณะคล้ายกับรู ป สี่ เหลี่ ย มคางหมู แนวนอน จะติ ดกนกเป็ นทางตามแนวนอน ทั้ง ด้า นยาวและด้า นกว้า งเหมื อนกัน ทั้งสองด้าน ตัวลายที่ใช้ก็จะเป็ นลายเซาะ (ลายกนกโลง)แถบหนึ่ งสลับลายลูกหนาม (ลูกขนาบ) หรื อ ล่องน้ าแถบหนึ่ง ส่ วนกลางโลงหรื อ “ท้องโลง” ทั้งสี่ ดา้ นจะเน้นลายนูนที่โดดเด่น มีลกั ษณะห้อยย้อย คล้ายพวงมาลัย (ลายเฟื่ องอุบะ) ใช้ลายลูกแก้วติดกระดาษพื้น แล้วปั กด้วยลายดอกไม้ร่วงเป็ นระยะ หรื อจะติดด้วยลายไตและประดับกระจก “รางมุม” ทั้งสี่ ดา้ นของหน่ วยโลงตกแต่งด้วยกนกลายทาง ตามแนวตั้งเหมือนกันทุกด้าน โลงนัง่ นิยมเล่นลายในแนวยืน จะใช้ลายคาดขวางบ้างในบางส่ วนแต่จะไม่เด่น ไปกว่า ลายยืน ซึ่ ง ตัวลายจะมี ค วามละเอี ย ดมากเพราะมี พ้ื นที่ ตกแต่ ง แคบ บริ เวณปากหน่ วยโลง จะแต่งด้วยลายบัวปากถ้วย (บัวหงาย) และจะตีไม้ขนาบตามยาวเป็ นอกไก่แต่งด้วยตีนตุกตู่ หรื อใบจัง (ลายบัวหรื อกระจังใบเทศ) อกไก่จะทากี่ช้ นั ก็ได้ แล้วแต่ความสวยงาม และความพอใจ แต่ปัจจุบนั การประดับตกแต่งโลงศพเปลี่ยนไปมาก ลดตัดทอนส่ วนที่ยุ่งยากออกไป เช่ น ลายเฟื่ องอุบะที่ห้อยย้อย คล้ายพวงมาลัยบริ เวณท้องโลง แต่จะประดิษฐ์ใบโพธิ์ หอ้ ย หรื อในภาษาถิ่นเรี ยกว่า ตัวเติน มาตกแต่งแทน

ใบโพธิ์ ห้อย

ภาพที่ ๒.๒๗ ภาพหน่วยโลงประดับด้วยลายกนกโลงชนิดต่าง ๆ ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๓๗


(๒) ฐาน จะมีสองลักษณะคือ แบบเครื่ องชั้น (มีลกั ษณะคล้ายกับฐานย่อเก็จ) และแบบตีนอยอง ฐานแบบเครื่ องชั้นจะตกแต่งด้วยกนกลายทางอย่างหยาบ ในแต่ละชั้นลดหลัน่ กัน เช่น ลายกระจังตาอ้อย ลายกระจังฟันปลา ลายแข้งสิ งห์ ลายเท้าสิ งห์ ลายช่อแทงลาย ลายประจายามลูกโซ่ ลายลูกฟัก ฯลฯ ส่ วนฐานแบบตีนอยอง อยองผายขึ้นจะแต่งด้วยลายบัวหงาย อยองคว่าลงแต่งด้วยลายบัวคว่า(บัวขบ) บริ เวณอกไก่ที่อยูร่ ะหว่างบัวคว่าและบัวหงายจะแต่งด้วยกนกลายทางหรื อลายหน้ากระดานแนวนอน เช่ น ลายกระดูกงู (ลายบัวร้ อย) เพื่อให้กลมกลื นกับลายบัวหงายและบัวคว่า บริ เวณพนักที่ อยู่ติด กับตีนวางโลงแต่งด้วยกนกลายทางแนวนอนแบบบัวร้อยเช่นกัน บางแห่ งตกแต่งด้วยลายแบบเครื่ องชั้น และแบบตีนอยองผสมผสานก็มี แล้วนาไปเสริ มฐานโลงอีกทีหนึ่ง เพื่อความสง่างามตามความพึงพอใจ ของช่างแต่ละคน

ภาพที่ ๒.๒๘ ภาพฐานโลงแบบเครื่ องชั้นประดับด้วยลายกนกโลงชนิดต่าง ๆ ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

ภาพที่ ๒.๒๙ ภาพฐานโลงแบบตีนอยองประดับด้วยลายกนกโลงชนิดต่าง ๆ ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๓๘


(๓) ยอดโลง จะประกอบไปด้วยยอดเหมและยอดบนสุ ด ยอดโลงจะอยูบ่ นฐานแบบลดชั้น ซึ่ งแต่ละชั้นนิยมปิ ดลายตีนตุกตู่ (ลายกระจัง) มีกา้ นจังเสี ยบเป็ นแถวทุกยอด ปลายก้านจังผูกเกลียวลม เป็ นริ้ วกระดาษทองหรื อดอกไม้เงิ นดอกไม้ทอง ถัดขึ้นไปเป็ นไม้ยอดเหมปิ ดกระดาษลายในตัว และ ยอดบนสุ ดปั กก้านจังอีก แต่ถา้ ยอดเหมไม่ทาแบบลดชั้น ก็จะปิ ดกระดาษทองลายในตัวเพียงอย่างเดียว ช่างโดยทัว่ ไปจะเก็บ ส่ วนยอดไว้ใช้ในการรับจ้างครั้งต่อไป ส่ วนฐาน เจ้างาน (เจ้าภาพ) จะยืม มาจากวัดใดวัดหนึ่งแล้วนาไปคืนวัดเพื่อไว้ใช้ในงานศพอื่น ๆได้อีก ราคาค่าจ้างสาหรับช่างขุดลายกนกโลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จะตกประมาณ ลูกละ (โลงละ) ๔,๐๐๐ บาท แต่ช่างบางคนก็เรี ยกไม่ถึง เพราะจะ ทาบุญไปกับเจ้าภาพด้วย ปั จจุบนั ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ราคาลูกละ ๑๐,๐๐๐- ๑๓,๐๐๐ บาท

ยอดบนสุด ดอกไม้เกลียวลม ยอดเหม (ลดชั้น ) ใบจัง

ภาพที่ ๒.๓๐ ภาพประดับตกแต่งยอดโลงแบบสามยอด ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๓๙


พิธีกรรม

พิธีไหว้ครู โดยครู ขอม ทิพย์โพธิ์

เครื่ องสังเวยครู “ที่สิบสองหรื อข้าวสิ บสอง”

ภาพที่ ๒.๓๑ ภาพพิธีไหว้ครู หมอดาษ ครู หมอตา ยาย ที่มา : ขอม ทิพย์โพธิ์, ๒๕๕๐

ในการประดับตกแต่งโลงด้วยกระดาษขุด ก่อนลงมือประดับตกแต่งโลงช่างต้องไหว้ครู หมอดาษ (ครู ผรู ้ ู ้ ผูช้ านาญเกี่ยวกับงานกระดาษ) ครู หมอตายาย (บรรพบุรุษที่มีความรู้ความชานาญ) บอกกล่าว ให้ทราบว่าจะขุดกระดาษตกแต่งโลง พิธีไม่มีอะไรมากเพียงแต่กาศ (ประกาศหรื อบอกกล่าว) ให้รับรู้ เท่านั้น เจ้างานจะต้องเตรี ยมขันหมากซึ่ งประกอบไปด้วย หมาก พลู ๑๒ คา ดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าขาว ๑ ผืน หมอน ๑ ใบ เสื่ อ ๑ ผืน ขันน้ ามนต์ โดยช่างจะปูเสื่ อลงข้างโลงระลึกถึงครู หมอดาษ ครู หมอตายาย กาศให้ทวั่ กันเป็ นเสร็ จพิธี และเมื่อตกแต่งโลงเสร็ จแล้วก็ทาพิธีไหว้ครู เหมือนตอนแรก เพิ่มเข้ามาแต่ เครื่ องสังเวยครู (เครื่ องใช้บูชาครู ) เป็ นที่สิบสองหรื อข้าวสิ บสอง (อาหารคาวหวานและผลไม้ที่ไม่ซ้ ากัน ๑๒อย่าง) เงินค่ าราด (ราดหรื อค่าราด คือ ค่าตอบแทน เงินค่ายกครู หรื อค่าแสดงมหรสพ) ตามที่ตกลงกัน ช่างจะตั้งนะโม ชุมนุมเทวดา ไหว้สัสดีใหญ่ แล้วกาศครู (เชิญครู ) รับเครื่ องสังเวย เป็ นเสร็ จพิธี

๔๐


คุณค่ าของศิลปะภูมปิ ัญญาไทย ภูมปิ ัญญาท้ องถิ่น ศิลปะกนกโลง ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะกนกโลง มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อกลุ่ม คนไทยที่อาศัยอยูใ่ นชุมชนเดียวกัน ตามคติ ความเชื่อ ความศรัทธา และค่านิยม ดังนี้ ๑. คุณค่ าทางด้ านจิตใจ งานศิลปะภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ หลายแขนงถูกเชื่อมโยง ความงามที่มีอยูต่ ามธรรมชาติผสมผสานเข้ากับจินตนาการ คติ ความเชื่ อ ความศรัทธา ทั้งนี้ เพื่อความงาม ความสุ ข ความสบายใจของตนเองและผูอ้ ื่น การทากนกโลง เป็ นงานศิลปะที่เกิ ดจากคติ ความเชื่ อ ทางพุทธศาสนาผสมผสานกับความงดงามทางธรรมชาติ ด้วยลีลาลวดลายอันอ่อนช้อยของลายกนก ที่ปรากฏอยูบ่ นโลงศพ ซึ่งแสดงออกถึงจิตใจอันละเอียดอ่อนและความรู้สึกที่ดีของลูกหลาน ที่ได้ทาไว้ ให้กบั ผูต้ าย ด้วยความกตัญญู และระลึกถึงคุณงามความดี ของผูต้ าย ปรารถนาให้ผตู้ ายได้ไปสู่ สุคติ ในสัมปรายภพที่งดงาม นอกจากนี้ยงั ช่วยยกระดับจิตใจของผูท้ ี่ได้ชื่นชมความงาม ให้มีความละเอียดอ่อน คล้อยตามไปด้วย และยังช่วยจรรโลงสังคมไทยให้มีความน่าอยูม่ ากขึ้น ๒. คุณค่ าทางสภาพแวดล้ อมภายนอกหรือประโยชน์ ใช้ สอย พอสรุ ปได้ ดังนี้ ๒.๑ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาค้นคว้า ทาให้ทราบถึงเรื่ องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิถีชีวติ ความเป็ นอยูข่ องกลุ่มชนในท้องถิ่นภาคใต้ที่มีคติความเชื่อในการสร้างสรรค์งานศิลปะ การสื บทอด ประเพณี วฒั นธรรมที่ดีงาม ดังเช่น ประเพณี งานศพ ที่สืบทอดงานศิลปะกนกโลง จนเป็ น เอกลักษณ์ประจาท้องถิ่นมาถึงปั จจุบนั ๒.๒ เพื่อการตกแต่งสิ่ งของเครื่ องใช้ ด้วยการนาลวดลายกนกมาประดับตกแต่งโลงศพ ให้สวยงามสาหรับผูท้ ี่ล่วงลับจากโลกนี้ไป ตามอุดมคติและความเชื่อทางพุทธศาสนา ๒.๓ เพื่อประกอบเป็ นอาชีพ งานศิลปะกนกโลงเป็ นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ที่ตกทอดมาสู่ ลูกหลานและผูส้ นใจ จึงนามาซึ่งการเสริ มสร้างรายได้ให้กบั ตนเองและครอบครัว ศิลปะภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะกนกโลง นับว่าเป็ นงานศิลปะที่มีคุณค่า และ คุณประโยชน์แก่คนไทยเป็ นอย่างมาก ที่ทาให้คนรุ่ นหลังได้รู้ถึงวิถีชีวิตความเป็ นอยู่ ศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของตนเอง โดยเฉพาะประเพณี การจัดงานศพของกลุ่มคนไทยพุทธทางภาคใต้ ของไทย ที่ลูกหลานได้แสดงความกตัญญู และยกย่องเชิดชูคุณงามความดี ด้วยการทากนกโลงให้กบั ผูต้ าย นอกจากนี้การสื บทอดศิลปะภูมิปัญญา การทากนกโลง ยังสร้างความภาคภูมิใจให้กบั คนใกล้ชิด และ คนในสังคมอีกด้วย

๔๑


สรุ ป ศิลปะกนกโลงหรื อการทากนกโลง เป็ นงานศิลปะที่พฒั นาฝี มือมาจากงานช่างสลักกระดาษ ในสมัยกรุ งศรี อยุธยาที่ได้สลักลายกระหนกหรื อกนกบนกระดาษทองย่น กระดาษทองแผ่ลวด เพื่อนามา ประดับตกแต่งเครื่ องประกอบพิธีพระศพของพระมหากษัตริ ยแ์ ละพระบรมวงศานุ วงศ์ เช่น พระเมรุ มาศ พระโกศ ฯลฯ ลายกระหนกหรื อกนกที่สลักบนกระดาษทองย่นนั้นมีความวิจิตร บรรจงเป็ นอย่างมาก จัดเป็ นงานศิลปกรรมชั้นสู ง คนไทยพุทธทางภาคใต้ได้นาศิลปะการสลักลายกระหนกบนกระดาษทองย่น ตามแบบอย่างชาววังหลวงมาใช้กบั งานศิลปะกนกโลง ในประเพณี การจัดงานศพให้กบั เจ้านายชั้นสู ง ผูม้ ียศศักดิ์หรื อผูม้ ีฐานะดี รวมไปถึงผูส้ ู งอายุ โดยนามาตกแต่งเฉพาะส่ วนที่เกี่ยวข้องกับโลงศพเท่านั้น ได้แก่ หน่วยโลงหรื อหน่วยไม้ ฐานโลงและยอดโลง การแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรม การทา กนกโลงเป็ นการยกย่อง เชิดชูคุณงามความดีและเป็ นการแสดงความกตัญญูในครั้งสุ ดท้ายของลูกหลาน แก่ผตู้ าย เพื่อให้ผตู้ ายได้ไปอยูบ่ นดินแดนแห่ งสรวงสวรรค์ที่สวยงาม ตามคติ ความเชื่ อของกลุ่มคน ในสังคมเดียวกัน

๔๒


ทีม่ าและวิธีเขียนลายกนกโลง ทีม่ าของลายกนกโลง ความหมายของคาว่าลายกนกโลง คือ ลายโลงทองหรื อลายไทยประดับโลง ดังที่กล่าวไว้ ในตอนต้น ทาให้ทราบถึงที่มาของลายกนกโลง ดังนี้ ลายกนกโลงมีที่มาจากการเขี ยนลวดลายไทย ที่ถูกดัดแปลงมาจากรู ปร่ างของธรรมชาติ หลายชนิด โดยเฉพาะรู ปร่ างของดอกบัว ซึ่ งถื อว่าเป็ นรู ปร่ างพื้นฐานในการแตกลวดลายไทยชนิ ดต่าง ๆ การฝึ กเขียนลวดลายไทยจึงต้องฝึ กลากเส้นให้มีความโค้งและมีปลายแหลมเหมือนดอกบัว ดอกบัวมี หลายชนิ ด เช่ น ดอกบัวหลวง ดอกบัวสาย ดอกบัวสัตตบุษย์ ดอกบัวสัตตบงกช การนารู ปร่ าง ของดอกบัวมาดัดแปลงให้เป็ นลวดลายไทยนั้น มีปรากฏอยูห่ ลายลาย เช่น ลายกนก ลายกระจังตาอ้อย ลายบัวหงาย ลายพุ่ม ลายบัวร้อย ลายกระจังใบเทศ ลายประจายาม เป็ นต้น นอกจากนี้ ยงั นาเอา รู ปร่ างของพันธุ์ไม้ ดอกไม้ชนิ ดต่าง ๆ รวมถึ งรู ปร่ าง และลีลาของสัตว์อีกหลายชนิ ดมาดัดแปลงให้เป็ น ลวดลายไทยอีกหลายลาย เช่น ลายก้ามปู ลายดอกพุดตาน ลายลูกฟัก ลายดอกจอก ลายใบเทศ ฯลฯ ลักษณะของดอกบัวชนิดต่าง ๆ ที่คนไทยนามาดัดแปลงให้เป็ นลวดลายไทย

ภาพที่ ๒.๓๒ ภาพลายเส้นดอกบัวหลวง ดอกบัวสัตตบงกช ดอกบัวสัตตบุษย์ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

จากความงามในรู ปร่ างของดอกบัวนี้ เอง จึงทาให้ช่างนาเอามาเป็ นพื้นฐานของการเขียนลายไทย นอกจากจะฝึ กเขียนเส้นโค้งตามรู ปร่ างของดอกบัวแล้ว ช่างยังได้พลิกแพลงรู ปดอกบัวด้วยการตัด ต่อ เติมแต่ง ให้เกิดเป็ นลวดลายอื่น ๆ อีก เช่น เขียนเป็ นลายกระหนก ลายที่เกิดจากรู ปร่ างของดอกบัวผ่าซี ก ซึ่งมีลกั ษณะท่าทางต่าง ๆ เช่น เอนเอียง บิดซ้าย บิดขวา กลับหน้า กลับหลัง ปลายชี้ ข้ ึน ปลายชี้ ลง ดังนั้น หากจะเขียนหรื อประดิษฐ์ลายกนกโลงให้ได้ดี จึงต้องฝึ กหัดเขียนลายบัว ลายกระหนกให้ชานาญ และสวยงามเสี ยก่อน ๔๓


รู ปร่ างของดอกบัวชนิดต่าง ๆ

ภาพที่ ๒.๓๓ ภาพรู ปร่ างดอกบัวหลวง ดอกบัวสัตตบงกช ดอกบัวสัตตบุษย์ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

รู ปร่ างของดอกบัวที่นามาเป็ นแบบในการเขียนลายไทย เช่น ๑. รู ปร่ างดอกบัวหลวง เขียนเป็ นลายพุม่ ลายกระจังรวน ลายกระจังหู ลายกระจังปฏิญาณ ๒. รู ปร่ างดอกบัวสัตตบงกช เขียนเป็ นลายกระจังตาอ้อย ลายกระจังเจิม ลายกระจังใบเทศ ลายบัวถลา ลายบัวปากปลิง ๓. รู ปร่ างดอกบัวสัตตบุษย์ เขียนเป็ นลายกรวยเชิง ตัวอย่ าง ลายไทยที่นามาประดิษฐ์เป็ นลายกนกโลง คัดลอกภาพประกอบ (จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔) ๑. ลายกระหนก เช่น ลายกระหนกสามตัว ลายกระหนกใบเทศ ลายกระหนกเปลว นามา ประดิษฐ์เป็ นลายไต เป็ นส่ วนประกอบของแม่ลาย และลายหน้ากระดานชนิดต่าง ๆ เป็ นต้น

ภาพที่ ๒.๓๔ ภาพลายกระหนกในรู ปดอกบัวผ่าซีก ลายกระหนกตัวเดียว ลายกระหนกสามตัว ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔ ๔๔


๒. ลายบัว เช่น บัวปากฐาน บัวกาบขนุนหรื อบัวกลีบขนุน บัวแวง บัวหงาย บัวคว่า บัวร้อย นามาประดิษฐ์เป็ นลายบัวปากถ้วย ลายรางมุม และลายล่องไฟ เป็ นต้น

บัวหงาย

บัวแวง

บัวร้อย

บัวกลีบขนุน

บัวปากฐาน

ภาพที่ ๒.๓๕ ภาพลายบัวชนิดต่าง ๆ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

๔๕


๓. ลายกระจัง เกิดจากลายบัววางเรี ยงต่อกันเป็ นแถวหน้ากระดานอย่างมีจงั หวะ เรี ยกว่า กระจัง เช่น กระจังตาอ้อย กระจังฟันปลา กระจังใบเทศ กระจังเจิม นามาประดิษฐ์เป็ นลายตุกตู่

ภาพที่ ๒.๓๖ ภาพกระจังตาอ้อย ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

๔. ลายพุม่ เป็ นลายที่ดดั แปลงมาจากรู ปดอกบัว

ภาพที่ ๒.๓๗ ภาพลายพุม่ ทรงข้าวบิณฑ์ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

๔๖


๕. ลายช่อแทงลาย ลายกรวยเชิงหรื อลายกรุ ยเชิ​ิง นิยมใช้ตกแต่งส่ วนล่างสุ ดของลายผนัง หรื อชายผ้านุ่ง ช่างบางคนเรี ยกว่า ลายเชิงผ้า (ช่างทากนกโลงทางภาคใต้เรี ยกว่า เชิงผ้าลาย)

ภาพที ๒.๓๘ ภาพช่อแทงลาย

ภาพที่ ๒.๓๙ ภาพกรุ ยเชิงหรื อกรวยเชิงปลายของกรวยยาวกว่าช่อแทงลาย ภาพที่ ๒.๓๘ -๒.๓๙ ภาพช่อแทงลาย ภาพกรุ ยเชิงหรื อกรวยเชิง ที่มา : ศิลปศึกษา “ลายไทย”, มานะ สอดแสง, ๒๕๓๔

๔๗


๖. ลายดอกดวงประเภทต่าง ๆ เช่น ลายดอกประจายามสี่ กลีบ ลายดอกจอก ฯลฯ นามา ประกอบการประดิษฐ์ลายหน้ากระดานหรื อลายขอบแบบต่าง ๆ

ภาพที่ ๒.๔๐ ภาพลายดอกดวงชนิดต่าง ๆ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

๗. ลายลูกฟัก มีลกั ษณะยาวรี เหมือนลูกฟัก นามาประดิษฐ์เป็ นแม่ลาย ลายหน้ากระดาน หรื อลายขอบแบบต่าง ๆ

ลูกฟัก ภาพที่ ๒.๔๑ ภาพลายลูกฟัก ที่มา : ศิลปศึกษา “ลายไทย”, มานะ สอดแสง, ๒๕๓๔

๘. ลายเกลียวและลายเถา เช่น ลายกนกเกลียวใบเทศ ลายเถาใบเทศ

ภาพที่ ๒.๔๒ ภาพลายกนกเกลียวใบเทศ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔ ๔๘


๙. ลายหน้ากระดาน เกิดจากการนาลายไทยพื้นฐานมาประกอบกัน เช่น ลายประจายาม ก้ามปู ลายลูกฟั กประจายามก้ามปู ลายประจายามปี กค้างคาว นามาประดิ ษฐ์เป็ นแม่ลาย ลายขอบ ลายหลังสิ งห์

ภาพที่ ๒.๔๓ ภาพลายประจายามก้ามปู

ภาพที่ ๒.๔๔ ลายประจายามปี กค้างคาว

ภาพที่ ๒.๔๕ ภาพลายลูกฟักประจายามก้ามปู

ภาพที่ ๒.๔๖ ภาพลายลูกฟักประจายามก้ามปู ภาพที่ ๒.๔๓ - ๒.๔๔ ภาพลายประจายามก้ามปู ลายประจายามปี กค้างคาว ภาพที่ ๒.๔๕ - ๒.๔๖ ภาพลายลูกฟักประจายามก้ามปู ที่มา : ศิลปศึกษา “ลายไทย”, มานะ สอดแสง, ๒๕๓๔

๑๐. ลายเท้าสิ งห์ ลายแข้งสิ งห์ นามาประดิษฐ์เป็ นลายสิ งห์ (ฐานสิ งห์)

ภาพที่ ๒.๔๗ ภาพฐานสิ งห์ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

๔๙


การนาลายไทยมาประดับตกแต่งส่ วนประกอบของงานสถาปั ตยกรรม หรื อสิ่ งของเครื่ องใช้ เช่น การตกแต่งฐานหรื อแท่นรองสิ่ งต่าง ๆ ตกแต่งฝาผนัง เป็ นต้น

ภาพที่ ๒.๔๘ ภาพการตกแต่งฐานสิ งห์ ที่มา : ศิลปะประจาชาติ, จีรพันธ์ สมประสงค์, ๒๕๒๔

ตกแต่งฐานปั ทม์บวั

กรุ ยเชิงประดับงานเล็ก

กรุ ยเชิงประดับงานใหญ่

ภาพที่ ๒.๔๙ ภาพลายกรุ ยเชิงประดับงานเล็ก (เชิงชายผ้า) และงานใหญ่ (ฝาผนังภายในโบสถ์) ที่มา : ศิลปศึกษา “ลายไทย”, มานะ สอดแสง, ๒๕๓๔

๕๐


วิธีเขียนลายกนกโลง การเขียนลายกนกโลงจาเป็ นต้องหัดเขียนลายบัว ลายตาอ้อย ลายใบเทศ ลายลูกฟั ก และ ลายกนกตัวเดียวให้ชานาญเสี ยก่อน เพราะลายเหล่านี้ จะเป็ นส่ วนประกอบของลายไทยลายอื่น ๆ ควรศึกษา และสังเกตให้ดี เช่น ลายดอกประจายามสี่ กลีบ ประกอบด้วยลายบัว หรื อลายตาอ้อย ลายประจายามก้ามปู ประกอบด้วยลายกนกแนวนอนกับลายดอกประจายาม เป็ นต้น ขั้นตอนการเขียนลายกนกโลงง่าย ๆ มีดงั นี้ ๑. ร่ างแบบรู ปลายไทยอย่างคร่ าว ๆ ๒. กาหนดขนาดของลาย ( ส่ วนใหญ่จะเขียนลงในกระดาษกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร เพราะเป็ นขนาดมาตรฐานของช่ างแกะลาย ซึ่ งมีขนาดเท่ากับกระดาษทองอังกฤษ ที่นามาใช้แกะสลักลาย ) ๓. ตีโครงร่ างตามขนาดที่ตอ้ งการ เพื่อความสมดุลของตัวลาย ๔. เขียนลายตามที่ร่างไว้ลงในโครงร่ าง ๕. แบ่งตัวและสอดไส้ลงไปในตัวลาย ๖. ถมลายทิง้ พื้นด้วยสี ต่าง ๆ เพี่อให้เห็นส่ วนที่ตอ้ งการแกะและขุดออกได้ชดั เจน การฝึ กหัดเขียนลายกนกโลงจาเป็ นต้องรู้ที่มาและลักษณะของลายไทยแต่ละชนิ ด จึงจะเขียนได้ สวยงาม การเขียนลายมักจะเกิดปั ญหาเรื่ องความสมดุลทางด้านซ้ายขวา แต่เมื่อรู ้จกั และเข้าใจลักษณะ ของลายไทยดีแล้ว ช่างจะมีเทคนิ คง่าย ๆในการเขียนลายกนกโลงให้มีความสมดุลกันได้ท้ งั ซ้ายและขวา ซึ่ งจะกล่าวไว้ในบทต่อไป ตัวอย่าง การเขียนลายบัวปากถ้วย ประยุกต์มาจากลายบัวหงายหรื อลายบัวปากฐาน

ภาพที่ ๒.๕๐ ภาพแม่แบบลายบัวปากถ้วย ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๕๑


ภาพต้ นแบบ

ลายบัวหงาย

๑ ร่ างภาพดอกบัว

๒ ตีโครงร่ าง

๓ เขียนภาพดอกบัวลงไป

๕๒


๔ แบ่งตัวลาย

๕ สอดไส้และบากตัวลาย

๖ ใส่รายละเอียด

๗ ลงสี ถมลายทิ้งพื้น ภาพที่ ๒.๕๑ ภาพแสดงขั้นตอนการเขียนลายบัวปากถ้วย (กนกโลง) ๑-๗ ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

หมายเหตุ การสอดไส้และบากตัวลายขึ้นอยูก่ บั ความงามตามจินตนาการของช่างแต่ละคน

๕๓


ตัวอย่าง การประดิษฐ์ลายกนกโลง แบบต่าง ๆ จากลวดลายไทย

ภาพที่ ๒.๕๒ ภาพแม่แบบแม่ลาย ประดิษฐ์มาจากลายลูกฟักประจายามก้ามปู

ภาพที่ ๒.๕๓ ภาพแม่แบบลายบัวปากถ้วย ประดิษฐ์มาจากลายบัวหงาย ลายบัวปากฐาน

ภาพที่ ๒.๕๔ ภาพแม่แบบลายหน้าดานบน ล่าง(ลายขอบ) ประดิษฐ์มาจากลายประจายามก้ามปู ภาพที่ ๒.๕๒ - ๒.๕๔ ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๕๔


ภาพที่ ๒.๕๕ ภาพแม่แบบลายช่อหรื อเชิงผ้าลาย ประดิษฐ์มาจากลายช่อแทงลาย

ภาพที่ ๒.๕๖ ภาพแม่แบบลายหลังสิ งห์ หรื อลายประกอบ ประดิษฐ์มาจากลายประจายามลูกโซ่

บัวขบ

ภาพที่ ๒.๕๗ ภาพแม่แบบลายบัวขบ ประดิษฐ์มาจากลายบัวคว่า ภาพที่ ๒.๕๕ – ๒.๕๗ ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๕๕


ภาพที่ ๒.๕๘ ภาพแม่แบบลายรางมุม ประดิษฐ์มาจากลายบัวร้อย

ภาพที่ ๒.๕๙ ภาพแม่แบบลายไต แบบที่ ๑ ประดิษฐ์มาจากลายประจายามก้ามปู

ภาพที่ ๒.๖๐ ภาพแม่แบบลายไต แบบที่ ๒ ประดิษฐ์มาจากลายน่องสิ งห์เปลวใบเทศ ภาพที่ ๒.๕๘ – ๒.๖๐ ที่มา : สุเทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๕๖


ภาพที่ ๒.๖๑ ภาพแม่แบบลายตุกตู่ ประดิษฐ์มาจากลายกระจังตาอ้อยหรื อบัวขนาดเล็ก

ภาพที่ ๒.๖๒ ภาพแม่แบบลายสิ งห์ (ฐานสิ งห์) ประดิษฐ์มาจากลายแข้งสิ งห์ ลายเท้าสิ งห์ ภาพที่ ๒.๕๙ – ๒.๖๐ ที่มา : ขอม ทิพย์โพธิ์, ๒๕๕๐

๕๗


สรุ ป ลายกนกโลงหรื อลายโลงประดิษฐ์และพัฒนาขึ้นมาจากลวดลายไทยชนิ ดต่าง ๆ เช่ น ลายกนก ลายกระจังตาอ้อย ลายกระจังใบเทศ ลายลูกฟัก ลายประจายาม ลายบัว ลายแข้งสิ งห์ โดยนามาประกอบ กันเป็ นลายหน้ากระดานชนิ ดต่าง ๆ เช่ น ลายลูกฟั กประจายามก้ามปู (แม่ลาย) ลายบัวร้อย (รางมุม) ลายกระจัง (ตุกตู่) ลายบัวปากถ้วย ลายกนกเกลียวประจายาม (ลายขอบ) ลายประจายามลูกโซ่ (หลังสิ งห์) ลายช่อแทงลาย (เชิงผ้าลาย) เป็ นต้น ลายกนกโลงหรื อลายโลงแต่ละลายล้วนเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ของช่างแต่ละคนที่มองเห็นความงามแตกต่างกันออกไป ซึ่ งต้องอาศัยความรู้พ้ืนฐานในเรื่ องของลายไทย จึงจะสามารถสร้างสรรค์ลายกนกโลงได้อย่างสวยงาม และหลากหลาย

๕๘


คาถามทบทวน ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗.

คาว่า “ศิลปะกนกโลง” หมายถึงอะไรมีที่มาอย่างไร ลายกนกโลงหรื อลายโลงประยุกต์รูปแบบมาจากสิ่ งใด เจตนารมณ์ของการทากนกโลงมีอะไรบ้าง การนาลายกนกไปตกแต่งบนโลงศพของชาวไทยพุทธภาคใต้มีพิธีกรรมอย่างไร ทาไมศิลปะการแกะกนกโลงจึงไม่เป็ นที่แพร่ หลายในสังคมไทยปั จจุบนั งานศิลปะกนกโลงมีคุณค่ากับคนไทยหรื อไม่ เพราะเหตุใด การสร้างสรรค์ลายกนกโลงควรมีความรู ้พ้ืนฐานเกี่ยวกับเรื่ องใด เพราะอะไร

๕๙


บัตรกิจกรรมที่ ๒.๑ คาสั่ ง จงตอบคาถามต่อไปนี้ ( ๒๐ คะแนน ) ๑. ศิลปะการทากนกโลงทางภาคใต้มีที่มาอย่างไร................................................................... ๒. งานแกะลายกนกโลงพัฒนามาจากงานใดของกรมช่างสิ บหมู่............................................ ๓. ศิลปะกนกโลงเป็ นศิลปะภูมิปัญญาไทยซึ่งปัจจุบนั ได้รับการสื บทอดโดยชาวบ้านใน ท้องถิ่นใด............................................................................................................................ ๔. ศิลปะกนกโลงเป็ นงานที่นาไปใช้ในโอกาสใด................................................................... ๕. ไม้ที่นามาขุดทาโลงในสมัยก่อนคือไม้อะไร....................................................................... ๖. ปั จจุบนั ยังพอมีการทากนกโลงให้เห็นอยูบ่ า้ งในจังหวัดนครศรี ธรรมราช เพราะเหตุใด ............................................................................................................................................ ๗. องค์ประกอบของงานศิลปะกนกโลงท้องถิ่นภาคใต้ มีอยู่ ๒ อย่าง คืออะไร ๑.......๒......... ๘. รู ปแบบของโลงมีอยู่ ๓ แบบ อะไรบ้าง ๑....................๒........................๓........................ ๙. โลงรู ปสี่ เหลี่ยมคางหมูทรงสู งเป็ นโลงที่ใช้บรรจุศพในลักษณะใด..................................... ๑๐. รู ปแบบของโลงที่นามาแต่งด้วยกนกโลงทางภาคใต้มีลกั ษณะอย่างไร............................... ๑๑. การนาลายกนกโลงไปตกแต่งโลงศพ จะตกแต่งบนส่ วนประกอบหลักของโลง ๓ ส่ วน คือส่ วนใดบ้าง ๑...............................๒....................................๓.................................... ๑๒.ฐานโลงมีกี่แบบ................อะไรบ้าง.................................................................................. ๑๓.ยอดโลงที่นามาตั้งบนหน่วยโลงมีกี่แบบ................ อะไรบ้าง............................................ ๑๔.ลายไทยที่นามาดัดแปลงเป็ นลายกนกโลงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ลายอะไรบ้าง.......................... ๑๕. “ ลายหน้าดาน ” และ “ ลายตุกตู่ ” หมายถึงลายอะไร..................................................... ๑๖. การนาลายกนกโลงมาตกแต่งโลง ส่ วนใหญ่มีการจัดวางลายกนกในแนวใด..................... ๑๗.การประดับตกแต่งโลงศพช่างจะทาพิธีอะไร...................................................................... ๑๘.เครื่ องประกอบพิธีกรรมในการประดับโลงศพ มีอะไรบ้าง................................................. ๑๙.พิธีกรรมที่ตอ้ งทาก่อนลงมือประดับตกแต่งโลงทาอย่างไร................................................. ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ๒๐.ปั จจุบนั อาชีพการทากนกโลงได้รับค่าจ้างทาลูกละเท่าไร...................................................

๖๐


บัตรกิจกรรมที่ ๒.๒ คาสั่ ง จงเขียนลวดลายไทยพื้นฐานและตอบคาถามต่อไปนี้

( ๒๐ คะแนน )

๑. เขียนรู ปดอกบัวหลวง ดอกบัวสัตตบุษย์ และดอกบัวสัตตบงกช จานวน ๑๐ ชุ ด ดังนี้

ดอกบัวหลวง

ดอกบัวสัตตบงกช

ดอกบัวสัตตบุษย์

ลายไทยที่ดดั แปลงมาจากรู ปร่ างของดอกบัวหลวง ได้แก่ลายอะไรบ้าง.................................................. และนาไปประดิษฐ์เป็ นลายกนกโลง ได้แก่ลายอะไร.............................................................................. ลายไทยที่ดดั แปลงมาจากรู ปร่ างของดอกบัวสัตตบงกช ได้แก่ลายอะไรบ้าง.......................................... และนาไปประดิษฐ์เป็ นลายกนกโลง ได้แก่ลายอะไร.............................................................................. ลายไทยที่ดดั แปลงมาจากรู ปร่ างของดอกบัวสัตตบุษย์ได้แก่ลายอะไรบ้าง............................................. และนาไปประดิษฐ์เป็ นลายกนกโลง ได้แก่ลายอะไร.............................................................................. ๒. เขียนรู ปร่ างลูกฟัก จานวน ๑๐ รู ป ดังนี้

ลูกฟัก รู ปร่ างของลูกฟักนาไปประกอบเป็ นลายหน้ากระดานได้หลายลาย เช่น ลายอะไรบ้าง........................ ......................................................................................................................................................... ...

๖๑


๓. เขียนลายกระจังปฏิญาณและลายประจายาม ลงในโครงร่ าง ด้านล่างนี้

กระจังปฏิญาณ

ลายประจายาม

๖๒


๔. เขียนลายกระหนกตัวเดียว ในท่าทางต่าง ๆ ท่าละ ๑๐ ตัว ด้วยมือเปล่า

...........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

๖๓


บัตรกิจกรรมที่ ๒.๓ คาสั่ ง

ฝึ กเขียนลายกนกโลงตามตัวอย่าง ลงในโครงร่ างพร้อมทั้งระบายสี ให้สวยงาม ( ๑๐ คะแนน ) ภาพตัวอย่าง

๑ แม่ลาย

๒ เชิงผ้าลาย หรื อลายช่อ

๓ บัวปากถ้วย

๖๔


ตีโครงร่ างลายกนกโลง

๖๕


แบบประเมินเชิงวิเคราะห์ คาสั่ ง วิเคราะห์ผลการปฏิบตั ิกิจกรรมเขียนลายกนกโลงโดยตอบคาถาม ดังต่อไปนี้ ( ๑๐ คะแนน ) ๑. การเตรี ยมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานเขียนลายกนกโลง ทาอย่างไร ........................................................................................................................................... ........................................................................................................................................... ๒. มีข้ นั ตอน/วิธีการเขียนลายกนกโลงแบบเต็มตัวอย่างไร ........................................................................................................................................... .......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................... ........................................................................................................................................... ๓. การฝึ กเขียนลายกนกโลงแบบเต็มตัวมีขอ้ ดีอย่างไร ........................................................................................................................................... ............................................................................................................................................ ๔. ข้อเสี ยของการเขียนลายกนกโลงแบบเต็มตัวมีอะไรบ้าง และมีวธิ ี การแก้ไขข้อเสี ยนี้ ได้อย่างไร ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ๕. นักเรี ยนมีความรู ้สึกอย่างไรหลังจากปฏิบตั ิกิจกรรมและได้ผลงานตามที่ตอ้ งการ ........................................................................................................................................... ............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................ ๖. นักเรี ยนคิดว่าควรนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ............................................................................................................................................ ........................................................................................................................................... ............................................................................................................................................ . ๖๖


อ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๒๙). จดหมายเหตุงานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ าราไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. กรุ งเทพฯ: กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. ขอม ทิพย์โพธิ์ . ช่ างทากนกโลง. (๒๕๕๐). บ้านเลขที่ ๑๕๗ หมู่ที่ ๖ ตาบลทุ่งโพธิ์ อาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๕ สิ งหาคม. คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยช่างศิลป. (๒๕๑๗). ศิลปะลายไทย. กรุ งเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. จีรพันธ์ สมประสงค์. (๒๕๓๒). ศิลปะประจาชาติ ศป. ๒๓๑. กรุ งเทพฯ: โอ.เอส.พิ้นติ้ง เฮ้าส์. จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์. (๒๕๔๒). “กรมช่างสิ บหมู่,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. ๑: ๓๕-๓๗. . (๒๕๔๒). “ ช่างสิ บหมู่,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. ๔: ๑๘๔๙-๑๘๘๑. เฉลียว สุ วรรณบารุ ง. (๒๕๕๐). บ้านเลขที่ ๓๘๗ หมู่ที่ ๖ ตาบลหินตก อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๖ มกราคม. ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง บ้านเลขที่ ๒๐๔/๖ หมู่ที่ ๖ ตาบลทุ่งโพธิ์ อาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๘ มิถุนายน. ภณิ ดา วิบูลย์กาญจน์. (๒๕๕๐). “การทาโลงทอง.” สารนครศรีธรรมราช. ๓๗(๑๐): ๒๙-๓๔. มานะ ทองสอดแสง. (๒๕๓๔). ศิลปศึกษาลายไทย. กรุ งเทพฯ: รวมสาส์น. ยิม้ บัณฑยางกูร และคนอื่น ๆ. (๒๕๒๘). งานพระเมรุ มาศสมัยกรุ งรัตนโกสิ นทร์ . กรุ งเทพฯ: กองวรรณคดี และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. สุ เทพ ประชุมทอง และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๑๖๐ หมู่ที่ ๖ ตาบลทุ่งโพธิ์ อาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๖ สิ งหาคม. สุ มน คชนูด และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๘๔/๑ หมู่ที่ ๔ ตาบลควนเกย อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๘ มิถุนายน. สุ รินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๗๑ หมู่ที่ ๓ บ้านหนองปอ ตาบลควนชุม อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๑ ตุลาคม. เสน่ห์ หลวงสุ นทร. (๒๕๔๒). ศิลปไทย. กรุ งเทพฯ: วาดศิลป์ . โสภณ แก้วเรื องฤทธิ์ . (๒๕๕๐). บ้านเลขที่ ๗๖๓ / ๒ หมู่ที่ ๑๓ ตาบลร่ อนพิบูลย์ อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๖ มกราคม. อรุ ณีย ์ วงษ์ศรี ปาน. (๒๕๕๐). บ้านเลขที่ ๔๙๘ / ๒ หมู่ที่ ๑๓ ตาบลร่ อนพิบูลย์ อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๖ มกราคม. ๖๗


อุดม หนูทอง. (๒๕๔๒). “โลงศพ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ . ๑๔:๗๐๓๖-๗๐๓๙. Changsipmu.com. (๒๕๕๑). “งานสลักกระดาษ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://changsipmu.com/engraving_p05.html. สื บค้น ๓๑ กรกฎาคม. Siamsilkroad.blogspot.com. (๒๕๕๑). “ พระเมรุ มาศ Queen_of_King_Rama7_Merumart.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://images.google.co.th/images. สื บค้น ๒ พฤษภาคม. Supaporn. (๒๕๕๑). “ พระโกศจันทน์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นาฯ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stks.or.th/hrh/?paged=12. สื บค้น ๓๐ พฤศจิกายน. . (๒๕๕๑). “ พระเมรุ มาศ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นาฯ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stks.or.th/hrh/?paged=12. สื บค้น ๓๐ พฤศจิกายน.

๖๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.