การทำและตกแต่งยอดโลงแบบ ๓ ยอด

Page 1


การทาและตกแต่ งยอดโลงแบบ ๓ ยอด การทาและตกแต่งยอดโลงเพื่อนาไปประดับตกแต่งโลงศพ เป็ นการเสริ มให้โลงศพดูสวยงาม และอลังการมากขึ้นกว่าเดิม นอกเหนือจากการติดลายกนกโลงบนหน่วยโลง และฐานโลง โดยช่าง ต้องเตรี ยมไม้ที่มีน้ าหนักเบา ซึ่งเป็ นไม้ที่ได้หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้สาคู ไม้นุ่น หรื อไม้ระกา มาใช้ทา ส่ วนประกอบของยอดโลง ยอดโลงแบ่งเป็ น ๒ ส่ วน คือ ยอดเหม (ส่ วนที่อยู่ติดกับปากหน่ วยโลง) และยอดบนสุ ด (ยอดแหลม) ความสู งของยอดเหมและยอดแหลมรวมกัน ๑๔๐ เซนติเมตร ยอดเหมจะแต่งเป็ นซุ ้มสี่ เหลี่ยม ลดหลัน่ กันขึ้นไป ๓ - ๕ ชั้น ติดด้วยกระดาษสี ต่าง ๆ ตกแต่งด้วยดอกไม้ไหว เกลียวลม ใบจัง ให้ดูสวยงาม ยอดบนสุ ด หรื อยอดแหลม ทาเป็ นแท่งปริ ซึมหรื อจะกลึ งให้กลมมนก็ได้ ติดกระดาษทองเกรี ยบสี ต่าง ๆ ให้เรี ยบ และติดดอกไม้หรื อลูกแก้วไว้บนปลายยอดให้ดูเด่นสวยงามตา การทายอดโลงให้ดูสวยงาม ยอดโลงต้องมีความเหมาะสมพอดีกบั หน่วยโลง และมีเครื่ องประดับที่สวยงามเช่นกัน

ภาพที่ ๖.๑ ภาพยอดโลงแบบ ๓ ยอด ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๑๕๒


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

การทายอดโลงแบบ ๓ ยอด ลักษณะของยอดโลงแบบ ๓ ยอดนั้น มีความสู งลดหลัน่ กัน ยอดที่อยูต่ รงกลางสู งกว่ายอด ที่อยูท่ างด้านซ้าย และด้านขวาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร แต่ละยอดทาฐานยอดเป็ นซุ ้มสี่ เหลี่ ยมลดหลัน่ กันขึ้นไป ๓ - ๕ ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมสวยงาม ฐานยอดที่เป็ นซุ ้มสี่ เหลี่ยมนี้ จะอยูต่ ิดกับฝาโลง เรี ยกว่า ยอดเหม ความสู งประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ถัดจากยอดเหมขึ้นไปเป็ นส่ วนยอดบนสุ ด บ้างก็ทา เป็ นทรงสี่ เหลี่ ยมปลายแหลมขึ้ นไป บ้างก็กลึ งกลมมน ยอดบนสุ ดนี้ บางครั้งก็เรี ยกว่า ยอดแหลม ความสู งประมาณ ๘๐ เซนติเมตร รวมความสู งโดยรวมของยอดเหม และยอดแหลมทั้งหมดประมาณ ๑๔๐ เซนติเมตร วัสดุที่นามาทายอดโลงนิยมใช้เป็ นไม้เนื้ ออ่อน เช่น ไม้ระกา หรื อไม้สาคู ทาเป็ นยอดเหม และไม้เนื้อแข็งทาเป็ นยอดแหลม ส่ วนเครื่ องประดับตกแต่งจะทาเป็ นดอกไม้เกลียวลม ใบจัง หรื อก้านจัง ลูกแก้ว ดอกไม้สี เป็ นต้น

ภาพที่ ๖.๒ ภาพลักษณะของยอดเหมและยอดแหลมที่ประกอบกันเข้าด้วยกัน ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

๑๕๓


ขั้นตอนการทาและตกแต่ งยอดโลงแบบ ๓ ยอด ยอดบนสุ ด (ยอดแหลม) การทายอดบนสุ ด นาไม้ที่มีน้ าหนักเบา เช่น ไม้นุ่น ไม้ทองหลาง บางแห่ งก็ใช้เป็ นไม้เนื้ อแข็ง มากลึงเป็ นแท่งสี่ เหลี่ ยมปริ ซึม หรื อให้กลมมนปลายแหลม สู งประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ซึ่ งทาไว้ใช้ เป็ นการถาวร

ภาพที่ ๖.๓ ลักษณะยอดบนสุด (ยอดแหลม) ๓ แบบ ที่มา : “โลงศพ ” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒

๑๕๔


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

การตกแต่ งยอดบนสุ ด

ภาพที่ ๖.๔ ภาพยอดบนสุดตกแต่งด้วยกระดาษสี ลูกแก้ว และดอกไม้สี ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

หลังจากเตรี ยมไม้ยอดบนสุ ดรู ปปริ ซึม หรื อกลมมนปลายแหลมแล้ว ให้ติดด้วยกระดาษทองเกรี ยบ สี ทอง สี แดง สี เขียว สี น้ าเงินและสี ชมพู ตามที่เห็นว่าสวยงามให้เรี ยบสนิ ท ปลายยอดบนสุ ดปั กด้วย ดอกไม้หรื อลูกแก้วอีกชั้น แล้วนาไปเสี ยบลงบนซุม้ ยอดเหมที่เตรี ยมไว้ เพื่อให้ดูสวยสง่า (บางทียอดบนสุ ด จะทาเป็ นยอดฉัตร ๓-๕ ชั้นก็ได้)

๑๕๕


ยอดเหม

ภาพที่ ๖.๕ ภาพจาลองลักษณะยอดเหม ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

การทายอดเหม ยอดเหมจะมีความสู ง ๖๐ - ๘๐ เซนติเมตร มีข้ นั ตอนการทา ดังนี้ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ได้แก่ ๑. ทางไม้สาคูหรื อทางไม้ระกาตากแดดให้แห้ง พอสมควร ๒. มีดระ (มีดเหลาตอกหรื อเหลาไม้) ๓. ค้อน ๔. ตะปู ๕. เลื่อย

ภาพที่ ๖.๖ ภาพทางต้นสาคู ภาพที่ ๖.๗ ภาพทางไม้สาคูตากแห้ง ที่มา : ภาพถ่ายโดยสุกญั ญา รัตนสุภา, ๒๕๕๐

๑๕๖


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

วิธีการทา ๑. นาไม้ที่มีน้ าหนักเบา เช่น ทางไม้ระกาที่ตากแห้งพอสมควรมาปอกเปลือกออก แล้วตัดไม้ให้มีขนาดต่าง ๆ ตามลักษณะของการใช้งาน ดังนี้ ๑.๑ ไม้ยาวเท่ากับ ความกว้างของปากหน่วยโลง จานวน ๘ ท่อน ๑.๒ ไม้ยาวเท่ากับ ความยาวของปากหน่วยโลง จานวน ๒ ท่อน ๑.๓ ไม้ยอดเหมที่มีความสู ง ๖๐, ๘๐ ซ.ม. ๓ ยอด จานวน ๑๒ ท่อน ๑.๔ ไม้ประกอบยอดเหมเป็ นซุม้ สี่ เหลี่ยมที่มีขนาดลดหลัน่ กัน จานวน ๔๐ ท่อน ๒. นาไม้ดา้ นกว้าง ๘ ท่อน และด้านยาว ๒ ท่อน มาประกอบกันเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยม ผืนผ้าขนาดเท่ากับปากหน่วยโลงเพื่อทาเป็ นฐานวางยอดโลง ๓. ประกอบโครงยอดเหมด้วยไม้ที่มีความสู งลดหลัน่ กันจานวน ๑๒ ท่อน ลงบน ฐานวางยอดโลง จานวน ๓ ยอด ๔. นาไม้ซุ้มสี่ เหลี่ยมมาประกอบเป็ นยอดเหม ยอดละ ๓ ซุ ้ม ยอดกลางใช้ ๔ ซุ ้ม แล้วนายอดแหลมที่เตรี ยมไว้เสี ยบลงไปบนยอดเหมแต่ละยอด

ไม้ดา้ นยาว ๑๘๐ ซ.ม. ไม้ดา้ นกว้าง ๖๐ ซ.ม. ภาพที่ ๖.๘ ภาพจาลองโครงไม้ยอดเหม แบบ ๓ ยอด ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐

ดูภาพประกอบขั้นตอนการทายอดเหมจากภาพจริ ง ในหน้าถัดไป

๑๕๗


๑ ตัดทางไม้ระกาเป็ นท่อน ๆ ตามจานวนที่ตอ้ งการ

๒ นาทางไม้ที่ตดั ไว้มาประกอบฐานวางยอดโลง

๓ ประกอบโครงไม้ยอดเหม

๔ นายอดแหลมมาเสี ยบลงบนยอดเหม

๕ นาไม้ซุม้ สี่ เหลี่ยมมาประกอบโครงไม้ยอดเหมให้ลดหลัน่ กันขึ้นไป ภาพที่ ๖.๙ ภาพแสดงวิธีการทายอดเหม ๑ - ๕ ที่มา : ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๑๕๘


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

การตกแต่ งยอดเหม เมื่ อประกอบโครงไม้ย อดเหม ๓ ยอด เสร็ จเรี ยบร้ อยแล้ ว ให้ น ามาตกแต่ ง ด้ ว ย เครื่ องประดับให้สวยงามก่อนที่จะนาไปวางไว้บนหน่วยโลง ซึ่ งมีข้ นั ตอน ดังนี้ ๑. เตรี ยมเครื่ องประดั บตกแต่ งยอดเหม และอุ ปกรณ์ ต่ า ง ๆ ได้แก่ ใบจัง ดอกไม้ไหว หรื อ เกลี ย วลม กระดาษทองเกรี ย บ กระดาษโปสเตอร์ สี บ าง กระดาษย่นสี ต่ า ง ๆ กรรไกร แป้ งเปี ยกหรื อกาว ๑ ใบจังหรื อก้านจัง

๒ ดอกไม้ไหวหรื อเกลียวลม

๓ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง

ส่ วนประกอบของเกลียวลม ประกอบด้วย ๑ . ลูกปัด ๒. ก้านเกลียวลม ๓. ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง

ไม้หมอน ดอกขี้แรด ๔ ก้านเกลียวลม

ภาพที่ ๖.๑๐ ภาพแสดงเครื่ องประดับตกแต่งยอดเหม ๑ - ๔ ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๑๕๙


๒. วิธีการตกแต่ ง ๒.๑ ตัดกระดาษทองเกรี ยบสี แดง หรื อสี น้ าเงิ น ทากาว หรื อแป้ งเปี ยก ติดลงบนซุม้ สี่ เหลี่ยมทุกอันให้เรี ยบร้อย แต่งขอบซุ ้มสี่ เหลี่ยมด้วยกระดาษสี ขาวเส้นเล็ก ๆ ให้รอบทุกชั้น (หรื อจะตัดโฟมบางสี ขาวขนาดเท่ากับซุ ม้ สี่ เหลี่ยมแล้วติดไปที่ดา้ นข้างของซุ ม้ ตัดกระดาษทองเกรี ยบ สี แดงหรื อน้ าเงินเป็ นแถบยาว ให้เล็กกว่าโฟมเล็กน้อยนาไปทากาวแล้วติดลงไปที่โฟมอีกที ก็ได้เช่นกัน) ช่องว่างระหว่างซุ ม้ สี่ เหลี่ยมแต่ละชั้นปิ ดด้วยกระดาษทองเกรี ยบสี แดง สี ทอง และสี น้ าเงินสลับกัน ๒.๒ นาใบจัง หรื อก้านจังสี ทอง สี แดง สี เขียว สี น้ าเงิ น ปั กสลับกัน บนซุม้ สี่ เหลี่ยมในแต่ละชั้นให้รอบทุกซุ ม้ ๒.๓ นาเกลียวลม และดอกไม้เงินดอกไม้ทองที่ร้อยเสร็ จเรี ยบร้อยแล้ว ปั กแทรกระหว่างก้านจังแต่ละก้านให้หอ้ ยย้อยลงมา

๑ ติดกระดาษสี ต่าง ๆ บนโครงยอดเหม

๒ ปั กก้านจังสี ต่าง ๆ บนซุม้ สี่ เหลี่ยม

๓ ปั กเกลียวลมแทรกระหว่างก้านจังให้หอ้ ยย้อยลงมา

๔ ยอดโลงสามยอดที่ตกแต่งเสร็ จสวยงาม

ภาพที่ ๖.๑๑ ภาพแสดงขั้นตอนการตกแต่งยอดเหม ๑ - ๔ ที่มา : สุรินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ, ๒๕๕๐ ๑๖๐


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

เทคนิคการทาดอกไม้เงินดอกไม้ทอง (ขอม ทิพย์โพธิ์, ๒๕๕๐) มีข้ นั ตอน ดังนี้ ๑. นากระดาษทองเกรี ยบสี่ เหลี่ ยมมาพับ ทบกัน พับริ มด้านข้างเข้าไปสองครั้ งเท่า ๆ กัน หลังจากนั้นพับ อี ก ด้านหนึ่ งเหมื อนกัน ให้เข้า มาชนกับ ส่ วนที่ พ บั แล้วประกบเข้าหากัน ดังภาพ ที่ ๑ - ๘ แสดงวิธีการพับกระดาษ

๑๖๑


๒. ใช้กรรไกรตัดส่ วนเกิ นออกจากรู ปสามเหลี่ ยมที่พบั ไว้ ให้เสมอกัน ตัดกลีบจากด้านริ ม ของสามเหลี่ยม ดังภาพที่ ๙ - ๑๒ แสดงวิธีการตัดกระดาษ

๑๐

๑๑

๑๒

๓. ค่อย ๆ คลี่กระดาษออก จะได้รูปดอกไม้ตามแบบที่ตดั กระดาษ ดังภาพที่ ๑๓ - ๑๖

๑๓

๑๔

๑๕

๑๖ ภาพที่ ๖.๑๒ ภาพแสดงขั้นตอนการทาดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ๑ - ๑๖ ที่มา : ขอม ทิพย์โพธิ์ และทิพย์สุดา ศรี อ่อน, ๒๕๕๐

๑๖๒


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

ลักษณะดอกไม้เงินดอกไม้ทองและส่ วนประกอบ

ดอกไม้ ไม้หมอน ดอกขี้แรด ดอกไม้เงินดอกไม้ทองแบบต่าง ๆ

ส่วนประกอบการร้อยพวงดอกไม้

ภาพที่ ๖.๑๓ ภาพดอกไม้เงินดอกไม้ทองและส่วนประกอบการร้อยพวงดอกไม้ ที่มา : ขอม ทิพย์โพธิ์ และทิพย์สุดา ศรี อ่อน, ๒๕๕๐

ส่ วนประกอบในการร้อยดอกไม้เงินดอกไม้ทองเพื่อทาเป็ นดอกไม้ไหวหรื อเกลียวลม ปัจจุบนั จะใช้ลูกปั ดแทนไม้หมอนและดอกขี้แรด เพราะสะดวก หาง่าย มีจาหน่ายในท้องตลาดทัว่ ไป

สรุ ป ยอดโลงแบบ ๓ ยอด ทาขึ้นเพื่อใช้ในการประดับโลงศพแบบโลงนอนและโลงสามส่ วน ประกอบด้วยยอดเหม และยอดบนสุ ด ยอดที่อยูต่ รงกลางมีความสู งประมาณ ๑๔๐ เซนติเมตร ส่ วนยอด ทางด้านซ้าย และด้านขวา ความสู งจะลดหลัน่ กันลงมาด้านละ ๒๐ เซนติเมตร ยอดบนสุ ดสู งประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ทาเป็ นรู ปแท่งปริ ซึมหรื อแบบกลมมน ตกแต่งด้วยกระดาษทองเกรี ยบสี ต่าง ๆ สลับสี กนั ให้ดูสวยงาม ปลายยอดติดดอกไม้หรื อลูกแก้ว ถ้าไม่ทาเป็ นแท่งปริ ซึมหรื อกลมมนปลายแหลม จะทา เป็ นยอดฉัตร ๓ – ๕ ชั้น ก็ได้ ยอดบนสุ ดนี้ช่างจะทาเก็บไว้เป็ นการถาวร เผือ่ ใช้ในงานอื่นอีก ส่ วนยอดเหม สู งประมาณ ๔๐ - ๖๐ เซนติเมตร ทาฐานยอดเป็ นซุ ้มสี่ เหลี่ยมลดชั้นขึ้นไป ซุ ้มนี้ บางแห่ งทาด้วยไม้กระดาน บางแห่ งทาด้วยไม้ระกา เพราะมีน้ าหนักเบา เมื่อช่ างประกอบยอดโลงเสร็ จเรี ยบร้อย จึงนาเครื่ องประดับ เช่น ใบจัง ดอกไม้ไหว เกลียวลม ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง มาปักตามซุม้ สี่ เหลี่ยมให้รอบ โดยการปั ก ก้านจังสลับกับดอกไม้เกลียวลม หรื อดอกไม้ไหวแล้วแต่ความเหมาะสมสวยงาม หลังจากนั้นจึงนาไป ประดับไว้บนหน่วยโลงที่ตกแต่งเรี ยบร้อยแล้ว ๑๖๓


คาถามทบทวน การทายอดโลงต้องใช้ไม้นุ่น ไม้สาคู ไม้ระกา หรื อไม้ทองหลาง เพราะอะไร ส่ วนประกอบของยอดโลงมีกี่ส่วน แต่ละส่ วนเรี ยกว่าอะไร ยอดโลงที่ทาในลักษณะลดชั้น ส่ วนนี้เรี ยกว่าอะไร ยอดแหลมหรื อยอดบนสุ ดช่างจะทาในรู ปลักษณะใดได้บา้ ง ๕. เครื่ องประดับตกแต่งยอดโลงมีอะไรบ้าง ๑. ๒. ๓. ๔.

๑๖๔


ศิลปะกนกโลง

ศิลปะกนกโลง

บัตรกิจกรรมที่ ๖ คาสั่ ง จงอธิ บายและตอบคาถามต่อไปนี้มาให้เข้าใจ ( ๑๐ คะแนน ) ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

การทายอดโลงแบบ ๓ ยอด ช่างต้องเตรี ยมอะไรบ้าง ไม้ที่นามาใช้ทายอดโลงต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ได้แก่ไม้อะไรบ้าง การเตรี ยมไม้สาหรับทายอดเหมทาอย่างไร การทายอดเหมมีข้ นั ตอนในการทาอย่างไร เครื่ องประดับตกแต่งยอดโลงมีอะไรบ้าง และนาไปตกแต่งอย่างไร

๑๖๕


อ้างอิง ขอม ทิพย์โพธิ์ . (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๑๕๗ หมูท่ ี่ ๖ ตาบลทุง่ โพธิ์ อาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๕ สิ งหาคม. ทิพย์สุดา ศรี อ่อน. (๒๕๕๐). ลายกนกโลงศพ. โรงเรี ยนร่ อนพิบูลย์เกียรติวสุ นธราภิวฒั ก์ อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๓๐ พฤศจิกายน. ประภาส คชนูด และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๒๐๔/๖ หมู่ที่ ๖ ตาบลทุ่งโพธิ์ อาเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๘ มิถุนายน. สุ กญั ญา รัตนสุ ภา. (๒๕๕๐). ภาพถ่ าย. โรงเรี ยนร่ อนพิบูลย์เกียรติวสุ นธราภิวฒั ก์ อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สุ รินทร์ รณศิริ และคนอื่น ๆ. (๒๕๕๐). ช่ างทากนกโลง. บ้านเลขที่ ๗๑ หมู่ที่ ๓ บ้านหนองปอ ตาบลควนชุม อาเภอร่ อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรี ธรรมราช. สัมภาษณ์, ๑๑ ตุลาคม.

๑๖๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.