สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

Page 1

สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖


คำ�นำ� หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วน หนึ่งของรายวิชาการออกแบบและพัฒนาสื่อ การศึกษา โดยมีเนื้อหาอยู่ในวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่6 เรื่อง “สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย” จัดทำ�ขึ้น เพื่อนเป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ ซึ่งหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นสื่อที่สามารถเรียนได้ทุก ที่ ทุ ก เวลาเป็ น เทคโนโลยี ส ารสนเทศที่ ไ ด้ รั บ ความนิยมมากในปัจจุบัน

จัดทำ�โดย นางสาวปิยวรรณ ศรีพลราช รหัสนิสิต๕๕๑๐๓๑๒๒๓ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์


สารบัญ เรื่อง

หน้า -เป้าหมาย/ตัวชี้วัด/สาระการเรียนรู้ ๑ -สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ๒ -ทรัพยากรธรรมชาติ ๓ -สิ่งแวดล้อมทางสังคม ๗ -ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ ๑๗ สิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศไทย -แบบทดสอบ ๒๐ -เฉลยแบบทดสอบ ๒๓ -อ้างอิง ๒๔


เป้าหมาย เข้าใจลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยและความ แตกต่างของสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมทางสังคม ตัวชี้วัด

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศไทย

สาระการเรียนรู้ -สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ -สิ่งแวดล้อมทางสังคม -ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทางสังคม


สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย สิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น แสงแดด อากาศ ตัวเรา ป่าไม้ สัตว์ป่า อาคาร บ้านเรือน รถยนต์ วัฒธรรมต่างๆ และศาสนา เป็นต้น สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น๒ประเภทคือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรม โดยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ ป่าไม้ เป็นต้น ๒. สิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดิน น้ำ� อากาศ แร่ธาตุ เป็นต้น


ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น และมีอยู่เองตามธรรมชาติซึ่งมนุษย์สามารถนำ�ไปใช้ ประโยชน์ในการดำ�รงชีวิต และสนองความต้องการ ของมนุษย์ได้ทรัพยากรธรรมชาติมีหลายชนิด รวม ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดย แบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติตามลักษณะ การนำ�มาใช้ได้ ๓ ชนิด คือ


๑.ทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้นหรือทรัพยากรหมุนเวียน คือ ทรัพยากรที่มีปริมาณมากเกินความต้องการที่จะ นำ�มาใช้ประโยชน์หรือใช้แล้วไม่หมดไป โดยธรรมชาติจะ สร้างขึ้นมาทดแทนอยู่เสมอ เช่น อากาศ แสงแดด น้ำ� ดิน เป็นต้น


๒.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้ว สิ้นเปลืองและสามารถหมดไปจากโลกโดยธรรมชาติ ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ หรืออาจจะสร้างทดแทน ได้แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก มนุษย์จะนำ�ทรัพยากร เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันได้แก่ แร่ต่างๆ เช่น ปิโตรเลียม น้ำ�มัน ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ เหล็ก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว เป้นต้น ทรัพยากรประเภท นี้ จ ะต้ อ งใช้ อ ย่ า งประหยั ด และระมั ด ระวั ง เพื่ อ ให้ ใ ช้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ�กัดได้คุ้มค่าที่สุด


๓.ทรั พ ยากรที่ ส ร้ า งทดแทนได้ ห รื อ ทรั พ ยากรที่ รักษาให้คงอยู่ได้ คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปแต่ สามารถสร้างทดแทนขึ้นมาได้อีก เพราะเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลาแต่ ต้ อ งมี ก ารจั ด การหรื อ รั ก ษาให้ อ ยู่ ใ น ระดับที่มีความสมดุลกันตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สัตว์บางประเภท เป็นต้น


สิ่งแวดล้อมทางสังคม มนุ ษ ย์ นำ � สิ่ ง ที่ มี อ ยู่ ต ามธรรมชาติ ทั้ ง ทรั พ ยากร ธรรมชาติ​ิและ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ แ ละสร้ า งสรรค์ สิ่ ง ต่ า งๆให้ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ ตอบ สนองตามต้องการของตนเอง สิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม หมายถึง สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น โดยการใช้ สิ่ ง แวดล้ อ ม ทรัพยากรทางธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของมนุษย์เพื่อความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและความมี ระเบียบ


สิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมแบ่งออก เป็น ๒ ชนิด คือ ๑.วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ ได้แก่ สิ่งต่างๆ ที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น เพื่ อ การใช้ ส อยและอำ � นวยความ สะดวก เช่น อาคาร บ้านเรือน เสื้อผ้า การเพาะปลูก อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น


๒.วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นกรอบให้คนในสังคมปฏิบัติตาม เช่น ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ระบบการศึกษา ระบบ เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น


สิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศจะมีความเหมือนหรือแตก ต่ า งกั น นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มทาง ธรรมชาติ แ ละทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ ทรั พ ยากรในประเทศซึ่ ง เป็ น ตั ว กำ � หนด วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศ นั้นๆ มีดังนี้

๑๐


๑.ลักษณะที่อยู่อาศัย คนไทยมักตั้งบ้านเรือนอยู่ รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า หมู่บ้าน โดยการสร้างบ้าน เรือนของคนไทยจะมีลักษณะเป็นหลังคาสูง เพื่อให้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง ใบจาก หญ้าคา ยกใต้ถุนสูง เพราะในช่วงฤดูฝน แต่เดิมประเทศ จะมีฝนตกมาก ทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วม การยกใต้ถุนสูงทำ�ให้ พ้นจากน้ำ�ได้ ส่วนในหน้าร้อนตอนกลางวันสามารถใช้ เป็นที่ผักผ่อนและนั่งเล่นรวมทั้งใช้เก็บข้าวของเครื่องใช้ ในการทำ�การเกษตรได้ด้วย

๑๑


๒.การแต่งกาย ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณเขต ร้อน จึงมักแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มที่เป็นผ้าฝ้าย เนื้อระบายอากาศได้ดี ส่วนในฤดูหนาวถึงแม้อากาศ หวานเย็นแต่ก็ไม่หนาวเย้นจัดเหมือนประเทศในแถบ ยุโยป จึงมีเครื่องแต่งกายสำ�หรับฤดูหนาวที่เป็นเสื้อ มีลักษณะเเขนยาว ในแต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย สามารถสามารถทอผ้าไว้ใช้เองได้ โดยวัสดุที่ใช้คือ ฝ้ายและไหม มีลักษณะลวดลายการทอเลียนแบบ ธรรมชาติ เช่น ลายต้นไม้ ดอกไม้ หรือสัตว์ เช่น ช้าง เป็นต้น ทำ�ให้แต่ละท้องถิ่นของไทยมีผ้าที่ไว้ใช้แต่ง กายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

๑๒


๓.อาหารการกิน ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณ เขตร้อน สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสำ�หรับการเพาะ ปลูกข้าวคนไทยจึงบริ โ ภคข้ าวเป็ นอาหารหลั ก แม้ ในบางภาคจะบริ โ ภคข้ า วที่ มี ลั ก ษณะแตกต่ า งกั น ออกไป เช่น ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะบริโภค ข้าวเหนียว ส่วนภาคกลางและภาคตะวัน ออก ภาคตะวันตก และภาคใต้จะบริโภคข้าวเจ้า เป็นต้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสภาพอากาศ เหมาะแก่การทำ�เกษตร รวมทั้งการปศุสัตว์ จึงผลิต พืชผลทางการเกษตรได้ หลากหลายชนิด และมีเนื้อ สัตว์ไว้บริโภคในประเทศและส่งออกเป็นจำ�นวนมาก

๑๓


๔.วัฒนธรรมประเพณี ประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกี่ยว กั บ การเกษตรมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มทาง ธรรมชาติจึงมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น

๑๔


๔.๑วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การ ทำ�ขวัญข้าวการลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น

๑๕


๔.๒วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับน้ำ� คือประเพณี ลอยกระทงเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา หรือ แม่น้ำ�ลำ�คลอง เป็นการแสดงถึงความเคารพืรวมทั้ง การขอขมาที่บางคนอาจทำ�ให้แม่น้ำ�ลำ�คลองสกปรก เน่าเสีย

๑๖


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศไทย

มนุ ษ ย์ ต้ อ งดำ � รงชี วิ ต โดยการพึ่ ง พาสิ่ ง แวดล้ อ ม ทางธรรมชาติและทรัพยากรโดยใช้เป็นแหล่งอาหาร เป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นที่อยุ่อาศัย และเป็นยารักษาโรค การใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ของ มนุษย์ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่ เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ขึ้นมา เช่น การ สร้างอาคาร บ้านเรือน การนำ�วัตถุดิบ พืชผัก เนื้อสัตว์ มาแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานขึ้น ชนบ ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้นและสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ ง ความสั ม พั น ธ์ ข องสิ่ ง แวดล้ อ มทางธรรมชาติ แ ละ ทรัพยากรซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ ในประเทศกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมที่ สำ�คัญๆ มีดังนี้

๑๗


๑.ลั ก ษณะทางกายเป็ น ตั ว กำ � หนดรู ป แบบ สังคมและวัฒนธรรมในประเทศ ลักษณะทาง กายภาพที่แตกต่างกันในประเทศส่งผลให้เกิดความ แตกต่างของความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรซึ่งเป็นตัวกำ�หนดรูปแบบของวัฒนธรรม ในประเทศต่างๆ เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนต้องอาศัย สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรเป็นปัจจัยใน การดำ�รงชีวิตของตน โดยในประเทศที่มีความอุดม สมบูรณ์ ประเทศที่มีบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ� ภูมิอากาศ ร้อนชื้น เช่น ประเทศไทยจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ ความอุดมสมบูรณ์ การขอบคุณหรือตอบแทนคุณ ของสิ่งแวดล้อม เช่น ประเพณีทำ�ขวัญข้าว ประเพณี แรกนาขวัญ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น

๑๘


๒.ลั ก ษณะทางกายภาพเป็ น ตั ว กำ � หนดการ ประกอบอาชีพในประเทศไทย ประชาชนในแต่ละท้อง ถิ่นจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ตามสภาพพื้นที่ และลักษณะของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม ประชาชนไทยจึงมัก ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น

๑๙


แบบทดสอบ

๒๐


๑.เอกกำ�ลังเล่นตุ๊กตาอยู่ในห้องนั่งเล่น ห้องนั่งเล่นเป็นสิ่งแวดล้อม ชนิดใด? ก. สิ่งแวดล้อมไม่มีชีวิต ข.สิ่งแวดล้อมมีชีวิต ค.ทรัพยากรธรรมชาติ ง.สิ่งแวดล้อมทั่วไป ๒. “แดงกำ�ลังเล่นน้ำ� สาดน้ำ�ในวันสงกรานต์อย่างสนุกสนาน” ก.ทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น ข.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ค.ทรัพยากรที่สร้างทดแทนได้ ง.ไม่มีข้อถูก ๓.ซากพืชซากสัตว์รวมผสมกับน้ำ�และอากาศกลายเป็นพื้นดิน ดิน เป็นสิ่งแวดล้อมชนิดใด? ก.สิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต ข.สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ค.ทรัพยากรธรรมชาติ ง.สิ่งแวดล้อมที่ไม่หมดสิ้น ๔. “พ่อขับรถยนต์ ไปจอดไว้ที่หน้าโรงเรียนจากนั้นก็เดินไปซื้อ เสื้อผ้าให้กับนักเรียน”สิ่งใดบ้างที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ? ก. รถยนต์ โรงเรียน นักเรียน ข. รถยนต์ โรงเรียน เสื้อผ้า ค.โรงเรียน พ่อ นักเรียน ง.เสื้อผ้า นักเรียน พ่อ

๒๑

๕.ติ๊กมีความเชื่อว่าเมื่อเรียนแล้วจะเกิดความรู้หางานทำ�ได้ง่าย แต่ ไม่เป็นเช่นนั้น ติ๊กถูกจับเพราะทำ�ผิดกฎหมายนักเรียนคิดว่าสิ่งใด บ้างที่เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ก.การศึกษา ตำ�รวจ ข.การศึกษา กฎหมาย ค.กฎหมาย ตำ�รวจ ง.ติ๊ก กฎหมาย


๖.คนไทยสมัยก่อน สร้างบ้านเรือนเพื่อแก้ปัญหาน้ำ�ท่วมได้อย่างไร ? ก.สร้างบ้านโดยใช้เชือดผูกโยงกับต้นไม้ขนาดใหญ่ ข.สร้างบ้านโดยมีกำ�แพงกั้นรอบบ้าน ค.สร้างบ้านโดยยกพื้นสูงขึ้น ง.สร้างบ้านโดยใช้ไม้ไผ่เป็นพื้นสำ�หรับลอยน้ำ� ๗.คนไทยแก้ปัญหาการสร้างบ้านเรือนโดยไม่ให้เกิดความร้อนได้ อย่างไร? ก.ทำ�หลังให้แหลมสูง ข.ยกใต้ถุนสูง ค.ยกใต้ถุนสูงและยกหลังคาให้มีทรงสูง ง.ยกใต้ถุนให้ต่ำ�ลง และลดหลังคาให้ต่ำ�ลง ๘.การกระทำ�ของใครมีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมและ วัฒนธรรม ก.ฝ้ายไม่ตัดไม้ทำ�ลายป่า ข.เฟิร์นร่วมรณรงค์ลดการใช้โฟม ค.มินคาดเข็ดขัดทุกครั้งที่ขับรถ ง.ปุ๋ยปลูกบ้านแบบยุโรป ๙.สิ่งแวดล้อมธรรมชาติใดมีความสัมพันธ์กับประเพณีบุญบั้งไฟของ ชาวอีสานมากที่สุด ก.ดิน ข.น้ำ� ค.ลม ง.ไฟ ๑๐.ความแตกต่างในเรื่องใดทำ�ให้คนไทยในภูมิภาคต่างๆมีวัฒนธรรม และประเพณีแตกต่างกัน ก.เชื้อชาติ ข.ศาสนา ค.รสนิยม ง.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

๒๒


เฉลยแบบทดสอบ

๑.ก. สิ่งแวดล้อมไม่มีชีวิต ๒.ก. ทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น ๓.ข. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ๔.ข. รถยนต์ โรงเรียน เสื้อผ้า ๕.ข. การศึกษา กฎหมาย ๖.ค. สร้างบ้านโดยยกพื้นสูงขึ้น ๗.ค.ยกใต้ถุนสูงและยกหลังคาให้มีทรงสูง ๘.ค.มินคาดเข็ดขัดทุกครั้งที่ขับรถ ๙.ข.น้ำ� ๑๐.ก.เชื้อชาติ

๒๓


-http://www.eppo.go.th/encon/book-encon/book.html -http://www.psmp.co.th/download/manual/history/กลุ่มสาระ%20สังคมศึกษา%20 ศาสนาและวัฒนธรรม%20ป.1-6/คู่มือครู %20วิชาสังคมศึกษา%20ศาสนา%20และ วัฒนธรรม%20ป.6/PDF%20คู่มือครู%20 วิชาสังคมศึกษา%20ป.6/คู่มือครู%20วิชา สังคมศึกษา%20ป.6%20หน่วยที่%2010.pdf -https://suwannasabeloved.wordpress. com/การแต่งกายของประเทศสมา/

๒๔



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.