Isamare april web

Page 1

IS AM ARE

ครู ร ่ ว มใจขั บ เคลื่ อ นปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ส ถานศึ ก ษาและชุ ม ชน ภายใต้ โ ครงการ ซุ ป เปอร์ ค รู คุ ณ ธรรมน� ำ คน สู ่ ค วามยั่ ง ยื น

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

เรื่ อ งเล่ า จากอดี ต เลขาธิ ก ารสภาพั ฒ น์

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 1 issue 99 april 2016

ฉบับที่ 99 เมษายน 2559 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“...ความสุขความเจริญที่แท้จริงอันควรหวังนั้น เกิดขึ้นได้จากการกระท�ำและความประพฤติที่เป็นธรรม มีลักษณะ สร้างสรรค์ คืออ�ำนวยผลที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัว แก่ผู้อื่น ตลอดถึงประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย...” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2518

3 issue 99 april 2016


Editorial

จากปกฉบับนี้ เรื่องราวดีๆ ที่ได้สัมภาษณ์ท่าน สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม อดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ หนึ่งในคณะท�ำงานที่ก�ำหนด ยุทธศาสตร์การบริหารบ้านเมืองภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากบทสัมภาษณ์ถ้าน�ำเรื่องราวทั้งหมดมาลงคงต้องเพิ่มหน้า นิตยสารกันเลยทีเดียว จนท่านสรรเสริญ กล่าวว่า เอาไว้ออกเป็นพ๊อคเก็ตบุ๊ค เฉพาะเลยดีกว่า พร้อมกับเสียงหัวเราะ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดที่ส�ำคัญ หากประชาชนหรือผู้บริหารน�ำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตหรือการบริหาร ก็ยืนยันได้เลยว่า จะไม่เกิดการผิดพลาดหรือล่มสลายของธุรกิจ หรือต้องน�ำพาให้ชาติต้องเสียหาย” จากบทสัมภาษณ์นี้ ท�ำให้มีความรู้และรับทราบประเด็นส�ำคัญเพิ่มเติมมากขึ้น และที่ส�ำคัญที่สุดคือ รับรู้อย่างถ่องแท้ว่า การด�ำเนินงานของมูลนิธิครอบครัวพอเพียง นั้นมาถูกต้องและถูกทาง เหมือนกันกับที่ เราคิดและพูดกันอยู่เสมอคือ “ครอบครัวพอเพียงไม่มีวันตาย” เพราะ “ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญเท่า ส่วนรวม” เครือข่ายครอบครัวพอเพียงก�ำลังลงเสาเข็มในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีป้ายที่บ่งชี้อย่างชัดเจนคือ “ศูนย์ครอบครัวพอเพียง” ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเกิดขึ้น เมื่อประชาชนทั้งแผ่นดินสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี มีความรู้และรู้เท่า ทันกับทุกสถานการณ์ เพื่อการหลุดพ้นจากการเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มทุนหรือผู้ที่มาแสวงหาผลประโยชน์ ครอบครั ว พอเพี ย ง คื อ รากแก้ ว ของแผ่ น ดิ น

mookkarsa@gmail.com www.fosef.org

4 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นางสุชานี แสงสุวรรณ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางสาวเอื้อมพร นาวี นายเอกรัตน์ คงรอด ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 99 april 2016


Hot Topic

56

คุณธรรมน�ำคน สู่ความยั่งยืน ดร.วรวุ ฒิ แสงเฟื อง

26

48

ครู ร่วมใจ ขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่สถานศึกษาและ ชุ มชน ภายใต้โครงการ ซุ ปเปอร์ครู

เรื่องเล่าจากอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ ่ม

Don’t miss

18

12

76 20 16 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Table Of Contents

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 7 issue 99 april 2016

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ถีบฉันหน่อยซิ เด็กก่อนค่าย เด็กหลังค่าย ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ ชีวิตเราพึงท�ำสามสิ่ง หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน Dhamma Today เครียดมาปัญญาเกิด Question Of Life ฉันมาจาก-บ้านน�้ำใจ Cartoon Cover Story เรื่องเล่าจากอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม Is Am Are ต�ำบลทุ่งนางโอก จังหวัดยโสธร เปลี่ยนตัวเอง กลับสู่วิธีชีวิตดั่งเดิม ไม่เดิน ตามระบบทุนนิยม เรื่องราวรอบตัว ครูร่วมใจขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ โครงการ ซุปเปอร์ครู คุณธรรมน�ำคน สู่ความยั่งยืน ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง มูลนิธิชัยพัฒนา เจ้าหญิง Wheel Of Life บทความพิเศษ กระจกส่องใจ Round About

8 10 16 18 20 22 26

38

48 56 64 72 76 80


ถีบฉันหน่อยซิ

ลักษณ์แบบที่เห็นทุกวันนี้ และกลายเป็นพาหนะสามัญที่คนทุก ระดับสามารถมีไว้ครอบครองได้ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมานี้ คนไทยหันมาใส่ใจและให้ความ ส�ำคัญกับการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย (มี ตัวเลขประมาณการคร่าวๆว่าในขณะนี้มีอยู่ประมาณ 5 แสน คน) และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเชื่อว่าการปั่น จักรยาน Bike for Dad และ Bike for Mom ที่สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรง เป็นประธานที่ปรึกษาใหญ่ริเริ่มขึ้นในปี 2558 ที่ผ่านมา เป็นตัว ช่วยจุดกระแสที่ส�ำคัญอีกแรงหนึ่ง ท�ำให้กระแสการปั่นจักรยาน พัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ร้านขายจักรยานผุดขึ้น ราวกับดอกเห็ดในทั่วประเทศแทบทุกจังหวัด

“อะไรเอ่ย..... นั่งรถก็เร็วเกินไป ถ้าเดินก็ช้าไป” ? …หลายท่านคงหาค�ำเฉลยไม่ได้ใช่ไหมเอ่ย ค�ำตอบคือ “จักรยานไงครับ” สมั ย ก่ อ นคนไทยรุ ่ น เก่ า ๆหรื อ พี่ น ้ อ งสาธารณรั ฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวเรียกขานพาหนะชนิดนี้ว่า “รถถีบ” ถือเป็นยานพาหนะที่พาไปได้ทุกที่ ไม่ว่าสภาพถนนหนทางจะ เป็นอย่างไร จักรยานถือก�ำเนิดเมื่อราว 120 ปีก่อนในยุโรป ซึ่งยังเป็น ที่ถกเถียงกับตราบเท่าทุกวันนี้ว่าอิตาลี, ฝรั่งเศส หรือเยอรมันกัน แน่ ที่เป็นต้นต�ำรับ มีต�ำนานบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย เริ่ม ต้นสมัยแรกๆ จักรยานจะมีล้อหน้าล้อหลังใหญ่ไม่เท่ากัน แกน ถีบจะอยู่ที่ล้อหน้าและกินแรงมาก แถมมีราคาค่อนข้างสูง จึงมี ใช้เฉพาะในกลุ่มคนมีฐานะ แต่ต่อมาก็พัฒนาแพร่ขยายจนได้รูป

8 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

“สนามเขีย ว” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณขอบรอบนอกของ สนามบินสุวรรณภูมิ กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมที่คอปั่นจักรยาน ทั้งหลาย (โดยเฉพาะแนว Endurance) ต้องไปลิ้มลองสัมผัส บรรยากาศกัน ระยะทาง 26 กม. อาจฟังดูว่ายาวไกลส�ำหรับ มือใหม่ แต่ส�ำหรับคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจ�ำ ถือเป็นระยะทาง ก�ำลังดี ส�ำหรับการทดสอบสมรรถภาพของรถ และก�ำลังวังชา ของผู้ขับขี่... ...ค� ำ ถามที่ ห ลายคนยั ง คาใจคื อ “ท� ำ ไมต้ อ งเป็ น จักรยาน” ในเมื่อเรามีรูปแบบการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ ชนิดอื่นๆอีกมากมายให้เลือก ซึ่งใครชอบแบบไหนขึ้นกับจริต, อายุ, สรีระร่างกาย และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออ�ำนวย โดยสรุปแล้ว การปั่นจักรยานมีข้อดีตรงที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อหลายส่วน (ขา, หลัง, แขน, หน้าท้อง) ลดแรงกระแทกและสึกหรอต่อข้อเข่า (เมื่อเทียบกับการวิ่ง) ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวหลายส่วน ได้เดิน ทางท่องเที่ยวไปในตัว ได้ความสุขจากการชื่นชมธรรมชาติและ ภูมิทัศน์สองฟากข้างทาง (การปั่นแบบ Touring) ที่ส�ำคัญที่สุด คือ เป็นกีฬาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการศึ ก ษาพบว่ า การปั ่ น จั ก รยานด้ ว ยความเร็ ว ปานกลางในเวลา 1 ชั่วโมง เผาผลาญพลังงานได้ 400 – 600 แคลลอรี่ เมื อ งใหญ่ ๆ ทั่ ว โลกหลายเมื อ ง เช่ น โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ค), อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์), สตราสบูร์ก (ฝรั่งเศส) หรือ โบโกต้า (โคลอมเบีย) กลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังใน ฐานะเมืองน่าขี่จักรยาน เมืองเหล่านี้จะมี Bike land มีที่จอด รถและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกกับผู้ขี่จักรยานอย่างดี บางเมือง ประชากร 30-40% ใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักในการเดิน ทางไปท�ำงาน มีการจ�ำกัดความเร็วของรถยนต์เพื่อเพิ่มความ ปลอดภัยบนท้องถนน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีประชากร 5.7 ล้านคน แต่ มีจ�ำนวนรถจักรยานถึง 12 ล้านคัน ถือเป็นประเทศที่มีจ�ำนวน จักรยานต่อประชากรสูงที่สุดในโลก ไต้หวันซึ่งเป็นประเทศใน เอเซียที่เป็นเกาะมีทะเลล้อมรอบประกาศว่าจะท�ำให้ประเทศ เป็น Island of Bicycle รัฐบาลไต้หวันส่งเสริมการปั่นจักรยาน อย่างมุ่งมั่น จริงจัง มีการสร้างเลนจักรยานทั่วประเทศนับพัน กิโลเมตร และก�ำหนดให้วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วัน จักรยานแห่งชาติ” มีการจัดแข่งขัน Tour de Taiwan มา นานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งถือเป็นรายการปั่นจักรยานระดับโลก อีกรายการหนึ่ง…….

www.nhso.go.th

การปั ่ น จั ก รยานมี ข ้ อ ดี ต รงที่ เ สริ ม สร้ า งกล้ า ม เ นื้ อ ห ล า ย ส ่ ว น ( ข า , ห ลั ง , แ ข น , ห น ้ า ท ้ อ ง ) ลดแรงกระแทกและสึ ก หรอต่ อ ข้ อ เข่ า (เมื่ อ เที ย บกั บ การวิ่ ง ) ข้ อ ต่ อ มี ก ารเคลื่ อ นไหวหลายส่ ว น ได้ เ ดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วไปในตั ว ...สิงคโปร์ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเรา เริ่ม สร้างที่จอดจักรยานหลายพันคันตามสถานีรถไฟฟ้า เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกให้ผู้ใช้จักรยาน ภายใต้แผนจักรยานแห่งชาติ (National Cycling Plan) สิงคโปร์ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มโครงข่ายทาง จักรยานให้ได้มากกว่า 700 กิโลเมตรภายใน 2030 บริเวณเกาะ Sentosa เกาะท่องเที่ยวที่คนไทยคุ้นเคยดี มีจักรยานแบบหยอดเหรียญให้เช่าปั่นรอบเกาะและชมชายหาด ได้ แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในสิงคโปร์ก็เช่นเดียวกัน ....ผู้สูงอายุหลายท่านที่มีโรคประจ�ำตัว เช่น ความดัน โลหิ ต สู ง , เบาหวาน, โรคอ้ ว น เมื่ อ หั น มาปั ่ น จั ก รยานอย่ า ง สม�่ำเสมอ อาการต่างๆก็มักจะดีขึ้น เยาวชนที่เคยเป็นโรคติด จอ อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เมื่อหันมาปั่นจักรยานก็ท�ำให้ สุขภาพร่างกายดีขึ้น จิตใจแจ่มใส การเรียนและการท�ำงานก็ดี ขึ้นอย่างชัดเจน ผมมองว่า คนต่างจังหวัดมีความได้เปรียบคนในกรุงเทพ ในเรื่องนี้ เพราะสภาพถนนหนทางที่ยังมีความเป็นธรรมชาติ อยู่ รถยนต์ไม่แยะมากนัก อุปสรรคส�ำคัญของการปั่นจักรยาน คือความกลัวอุบัติเหตุรถล้ม, รถชน เนื่องจากเมืองไทย ผู้ขับขี่ 9

issue 99 april 2016


ผู ้ สู ง อายุ ห ลายท่ า นที่ มี โ รคประจ� ำ ตั ว เช่ น ความดั น โลหิ ต สู ง , เบาหวาน, โรคอ้ ว น เมื่ อ หั น มาปั ่ น จั ก รยานอย่ า งสม�่ ำ เสมอ อาการต่ า งๆก็ มั ก จะ ดี ขึ้ น เยาวชนที่ เ คยเป็ น โรคติ ด จอ อยู ่ ห น้ า จอคอมพิ ว เตอร์ ทั้ ง วั น เมื่ อ หั น มาปั ่ น จั ก รยานก็ ท� ำ ให้ สุ ข ภาพร่ า งกายดี ขึ้ น ยานพาหนะทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ ยั ง ไม่ เ ห็ น คุ ณ ค่ า และตระหนั ก ถึ ง ความ งดงามและมิติทางสังคมด้านบวกของผู้ขี่ จักรยานเหมือนในยุโรป, ไต้หวัน, สิงคโปร์ อย่างไรก็ดี หากเราปั่นจักรยานด้วยความ ระมัดระวัง โดยเฉพาะการปั่นเป็นกลุ่มมี การเตรียมตัวที่ดี และในสภาพถนนที่เอื้อ อ�ำนวย โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็จะลด น้อยลงไปแยะ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับชมรม จั ก รยานแห่ ง ประเทศไทย ได้ ร ่ ว มกั น พั ฒนาโครงการการขับ เคลื่อนนโยบาย สาธารณะการเดิน และการใช้จักรยาน ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น (หมายเลขโทรศั พ ท์ 02-6184434) โดยมีการออกวารสารที่ สามารถให้ ค� ำ แนะน� ำ และข้ อ มู ล ใหม่ ๆ รวมทั้ ง ปฏิ ทิ น กิ จ กรรมประจ� ำ เดื อ น ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ Email : tcc@ thaicyclingclub.org

…จริ ง ๆแล้ ว เด็ ก กั บ จั ก รยานก็ เป็นของคู่กัน การฝึกเด็กให้ขี่จักรยานได้ เป็นทักษะส�ำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ปกครอง ควรใส่ใจ ผู้ใหญ่บางคนขี่จักรยานไม่ได้ เพราะสมัยเด็กผู้ปกครองกลัวล้ม กลัวว่า จะเกิดอุบัติเหตุ เด็กแต่ละกลุ่มแต่ละวัย จะมี จั ก รยานที่ ถู ก ออกแบบ ถู ก พั ฒ นา ขึ้ น มาให้ เ หมาะสมกั บ สรี ร ะและส่ ว น สูง การพาเด็กไปปั่นตามเส้นทางชนบท เลียบชายทุ่ง ชมนกชมไม้ เหมือนการ ได้ออกไปผจญภัยเล็กๆ ท�ำให้เด็กไม่เบื่อ และได้ เรี ย นรู ้ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ แ ตกต่ า งไป จากในละแวกบ้านแบบเดิมๆ ...เป็นที่น่ายินดีว่า รัฐบาลไทยเริ่ม หันมาใส่ใจและตอบสนองต่อกระแสการ ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพมากขึ้น ล่าสุด พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขับเคลื่อน ผ่ า นกรมทางหลวงและกรมทางหลวง ชนบท ให้ตั้งงบประมาณ 1,500 ล้านบาท 10 IS AM ARE www.ariyaplus.com

สร้ า งทางจั ก รยานที่ ล าดด้ ว ยแอสพั ส ต์ ผสมยางพารา ระยะทาง 184 กิโลเมตร จากหน้ า มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ปทุมธานี ไปอยุธยา, อ่างทอง, สิงห์บุรี และไปจบที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ซึ่ ง ถ้ า ท� ำ ส� ำ เร็ จ จะเป็ น เลนจั ก รยานที่ ยาวที่ สุ ด ในเอเซี ย ในส่ ว นต่ า งจั ง หวั ด กระทรวงการท่ อ งเที่ ย วและกี ฬ า ได้ สนับสนุนงบประมาณ 1,200 กว่าล้าน เพื่อพัฒนาเส้นทางจักรยานทั่วประเทศ จังหวัดใหญ่ๆอย่างนครราชสีมา, เชียงใหม่, อุดรธานี ล้วนแล้วมีแผนพัฒนา เส้นทางในพื้นที่รองรับการปั่นจักรยาน ทั้ ง สิ้ น จั ง หวั ด นครราชสี ม ามี แ ผนจะ สร้างเส้นทางจักรยานระหว่างอ�ำเภอวัง น�้ำเขียวผ่านเขาใหญ่ไปปากช่อง จังหวัด เชียงใหม่มีแผนปรับปรุงเส้นทางในเขต เมืองเก่าและถนนนิมมานเหมินท์ เป็น เส้ น ทางจั ก รยาน อี ก เส้ น เลี ย บคลอง ชลประทาน เทศบาลอีกหลายจังหวัดเริ่ม จับมือกับเอกชนเปิดโครงการรถจักรยาน สาธารณะ ยืม คืน เพิ่มทางเลือกในการ เดินทาง... ...คงไม่ เ กิ น เลยความจริ ง ที่ จ ะ กล่าวว่า “จักรยาน” ไม่ได้มีมุมมองเพียง แค่มิติของการเดินทางอีกแล้ว แต่กลาย เป็นวิถีแห่งสุขภาพ การเข้าสังคม (ได้ เพื่อนใหม่ๆ) ความทันสมัยและรสนิยม ส่วนบุคคลที่เฉพาะตัวไปแล้วในขณะนี้ ....ถี บ ฉั น หน่ อ ยซิ แล้ ว คุ ณ จะไม่ เสี ย ใจผิ ด หวั ง เลย...

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา


กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบั น เทิ ง ความสุ ข มากมายที่ ได้ รั บ จากการอ่ า นนิ ต ยสารเพื่ อ สั ง คม ฉบั บ นี้ เพื่ อ เป็ น การตอบแทนท่ า นผู ้ อ่านและสมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะ แจกของสมนาคุณเล็กๆแก่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกันเข้ามา ของ สมนาคุณที่ว่าคือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อมสลัก ชื่อ-นามสกุลเรียบร้อย ซึ่งค�ำถามในฉบับนี้คือ ความรู้ที่ได้จาก บทความ “ถีบฉันหน่อยซิ” หน้า 8-10 จากส�ำนักงานหลักประกัน สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ในฉบั บ ที่ ปรากฏ แล้ ว ตั ด ส่ ง มากั น นะ ค่ะ ในฉบับหน้าของสมนาคุณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามค�ำ เรียกร้องของคนขี้เหงา ซึ่งน่า จะเป็น Furby เพื่อนช่างคุย ของเราเอง แล้ ว พบกั น ใหม่ ฉบับหน้านะค่ะ

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง ถีบฉันหน่อยซิ

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 11 issue 99 april 2016

1169


ฉบับนี้สดๆ ร้อนๆ กับค่ายสร้างคน Friend Camp @ Bangkok ครั้งที่ ๔ ที่มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดขึ้น เยาวชน ครอบครัวพอเพียงจาก ๗๖ จังหวัด จังหวัดละ ๑ โรงเรียนซึ่งเป็น โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและ ชุมชน เป็น ปีที่ ๒ จ�ำนวนกว่า ๖๐๐ คน และเยาวชนครอบครัว พอเพียงในเขตกรุงเทพมหานคร อีก ๔๗ โรงเรียน และมีนักเรียน มาร่วมกิจกรรมกว่า ๑๒๐ คน รวมเยาวชนครอบครัวพอเพียง จากทั่วประเทศที่มาร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ กว่า ๗๐๐ คน สุดเหนือ สุดใต้ ต่างท้องถิ่น ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม และต่างประเพณี แต่ที่พวกเรามีเหมือนกันคือ พวกเราคือ “คน ไทย” “สายเลือดไทย” และมีองค์พระประมุขที่ทรงสถิตย์อยู่ ในจิตใจ เป็นศูนย์รวมดวงใจของเราทุกคน องค์เดียวกัน คือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ” เยาวชนกว่า ๗๐๐ คน ได้มารวมอยู่ในสถานที่ ที่เดียวกัน หอประชุม โรงเรียนสตรีวิทยา ที่มีท่านผู้อ�ำนวยการ ดร.สุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาที่เห็นคุณค่าของการสร้าง คนจากค่าย ได้เอื้อเฝื้อสถานที่ เพื่อเป็นที่พักให้กับเยาวชนใน การจัดค่ายครั้งนี้ ต่างชีวิต ต่างจิตใจ ต่างสังคม ต่างครอบครัว และเกือบ ๙๐ เปอร์เซนต์ที่เข้ากรุงเทพ ฯ เป็นครั้งแรกในชีวิต หลายคน

ที่ได้ทราบข่าว ต่างก็ร้องถามว่าจะดูแลกันอย่างไร ทั้งความ ปลอดภัย จากการเดินทาง ทั้งไปและกลับ และที่น่าจะเป็น เรื่องที่ก่อให้เกิดความกังวลมากขึ้น เพราะการเดินทางเพื่อการ ทัศนะศึกษา บนถนนราชด�ำเนินนอก ถนนราชด�ำเนินใน ถนน พิษณุโลก ถนนหลานหลวง กลางกรุงเทพมหานคร ชั้นในเลย ทีเดียว ซึ่งถ้าใช้รถบัสเพื่อการเดินทางจักต้องใช้รถบัสจ�ำนวน ถึง ๑๖ คัน เพราะมีจ�ำนวนของครูที่มาคอยดูแลนักเรียนอีกถึง ๑๔๐ คน นั่นหมายถึงจ�ำนวนของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายทั้งสิ้น กว่า ๘๐๐ คน มูลนิธิฯ จึงเลือกให้เยาวชน และคุณครู ใช้การ เดินทางโดยรถจักรยาน สภาพวันแรกที่ทุกคนมารวมตัวกัน ในชุดนักเรียน ความ แตกต่างจากสถานศึกษา ท�ำให้นักเรียนแยกแถวแยกกลุ่มกัน นั่ง ต่างคนต่างมองหน้ากัน บ้างก็ยิ้มให้กัน บ้างก็มองแบบเขิน อาย บ้างก็ก้มหน้าไม่สบตาเพื่อน แต่ก็มีหลายคนกล้าพอที่จะ ถามเพื่อนที่มาจากต่างโรงเรียน ว่า “เธอมาจากจังหวัดไหน ชื่ออะไร” แต่ก็บอกได้เลยว่า มีจ�ำนวนไม่ถึง ๑๐ คนที่มีความ กล้า หลังจากทีมวิทยากร อาจารย์ ณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์หรือ ที่เยาวชนเรียกกันติดปากว่า อาจารย์หนุ่ม และอาจารย์เอื้อมพร นาวีหรืออาจารย์ อึ่ง และอาจารย์ อรปภา ชาติน�้ำเพ็ชรหรือ 12

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย นัดดา พระราชวังโลหะปราสาท ขบวนจั ก รยานที่ มี เ ยาวชนจากต่ า งจั ง หวั ด เป็ น ผู ้ ขั บ ขี่ และเยาวชนในกรุงเทพมหานครเป็นผู้ซ้อนท้าย ซึ่งเป็นอย่าง ที่เราคิด เด็กต่างจังหวัดมีความคุ้นชินกับการเดินทางโดยรถ จักรยานและมีความแข็งแรงมากกว่าเด็กกรุงเทพฯ เพราะได้ ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอตามบริบทและภูมิศาสตร์ของถิ่น ที่อยู่อาศัย และแน่นอนว่าการเดินทางครั้งนี้ได้รับการดูแลเป็น อย่างดีจากพี่สต๊าฟครอบครัวพอเพียง กว่า ๑๐๐ คน และมีพี่ๆ ทหาร ต�ำรวจที่มาช่วยดูแลบ้าง

อาจารย์ ตุ๊ก ได้น�ำขบวนการละลายพฤติกรรมและเสริมสร้าง ความกล้าแก่เยาวชน สุดท้ายของคืนวันแรกเยาวชนทุกคนถูก กระจายไปตามหมู่สี ที่มีถึง ๑๐ หมู่ และในสีของตนไม่มีเพื่อน ในโรงเรียนตนเองอยู่ด้วยเลย นั่นหมายถึง เขาจะได้เพื่อนใหม่ อีกในชีวิตและที่ส�ำคัญเยาวชนที่มาจากต่างจังหวัดและมักจะ ได้ยินเรื่องราวของนักเรียนในกรุงเทพฯ ที่เรียนในโรงเรียนที่ มีชื่อเสียง เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนจิตรลดา เป็นต้น ซึ่งแน่นอนในความคิดของเยาวชน ที่ ม าจากต่ า งจั ง หวั ด มั ก จะคิ ด ว่ า นั ก เรี ย นในกรุ ง เทพฯ จะมี ฐานะกว่าตน มีความเป็นอยู่ที่สบายกว่า และคิดเลยไปถึงว่า นักเรียนในกรุงเทพฯ น่าที่จะเข้าถึงยากหรือมีความคิดเรื่อง ความต่างชั้น แต่สิ่งที่เป็นจริงในคืนนั้นเมื่อแยกหญิง ชายและแยกตึก นอนกันเรียบร้อย เยาวชนทุกคนไม่ว่าจะมาจากสถานศึกษาที่ ใด จังหวัดใดก็ได้ใช้ที่พัก ที่เดียวกัน ทานข้าวเหมือนกันเรียกว่า มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน วั น ที่ ส องของค่ า ยเยาวชนทุ ก คนที่ ม าจากโรงเรี ย น เดี ย วกั น จั ก ต้ อ งแยกกั น ต่ า งคนก็ อ ยู ่ ต ่ า งสี เขาจึ ง ต้ อ งเริ่ ม ที่ จ ะท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ เพื่ อ นในกลุ ่ ม เพราะต้ อ งช่ ว ยดู แ ล ซึ่งกันและกัน การเดิ น ทางเริ่ ม ต้ น ขึ้ น โดยการแบ่ ง สายออกเพื่ อ การ ทั ศ นะศึ ก ษา ๖ กลุ ่ ม กลุ ่ ม ที่ ๑. ศึ ก ษาดู ง านโครงการส่ ว น พระองค์ สวนจิตรลดา กลุ่มที่ ๒. ศึกษาดูงานประวัติศาสตร์ชาติ ที่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กลุ่มที่ ๓ ศึกษาดูงานประวัติศาสตร์ชาติ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กลุ่มที่ ๔ ศึกษาดูงานประวัติศาสตร์ ชาติที่พิพิธบางล�ำพู กลุ่มที่ ๕ ศึกษาดูงานที่พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และกลุ่มที่ ๖ ศึกษาดูงานที่วัดราช

ในช่วงบ่ายของวันแรก พวกเรามารวมตัวกันทั้ง ๘๐๐ ชีวิตที่ รัฐสภา สภาอันทรงเกียรติของไทยและได้รับการกล่าว ต้อนรับจากท่านประธาน ในที่ประชุมรัฐสภาในขณะนั้นด้วย ความอบอุ่น และเยาวชนได้เยี่ยมชมในทุกกิจการของรัฐสภา เป็นที่น่าดีใจกันทุกคน 13

issue 99 april 2016


และในค�่ำวันนั้น ในขณะที่พวกเราทุกคนรวมตัวกันอยู่ใน หอประชุม ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา คุณ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ก็ได้มาพบพวกเรา ท่านได้ให้โอวาท แก่เยาวชนและได้ถ่ายรูปร่วมกัน ซึ่งท�ำให้เยาวชนคิดได้ว่า การ เข้าถึงผู้บริหารประเทศไม่ใช่เรื่องยาก หรือเข้าไม่ถึง และในวันที่สองของการทัศนะศึกษา นักเรียนในแต่ละ กลุ่มก็ได้โยกย้ายสับเปลี่ยนเพื่อการศึกษาดูงานได้อย่างครบ ถ้วน ของแต่ละกลุ่ม และในบ่ายวันนี้ พวกเราทุกคนได้มีโอกาส ไปนั่งในท�ำเนียบรัฐบาล ณ ตึกไทยคู่ฟ้า และได้รับฟังโอวาท จากท่านรัฐมนตรี ส�ำนักนายกรัฐมนตรี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล และเย็ น วั น นี้ พ วกเราเข้ า กลุ ่ ม ที่ ส นามกี ฬ า โรงเรี ย น สตรี วิ ท ยาเพื่ อ การแสดง และท� ำ กิ จ กรรมตามที่ พี่ ส ต๊ า ฟได้ ก�ำหนด เยาวชน จ�ำนวน ๑๐ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีมากกว่า ๗๐ คน เสียงของการร้องเพลง ประกอบกับท่าเต้นตามที่พี่สต๊าฟ น�ำ ใครเลยจะคิดว่า ท่านผู้บริหารประเทศ จะมายืนมอง

และแอบยิ้ม เดินไปให้ก�ำลังใจกับเยาวชนทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ท่านเดินดูพวกเราท�ำกิจกรรมและสนุกสนานตามพวก เราด้วย เมื่อเราถึงเวลาที่จะรวมกลุ่มเพื่อเข้าสู่พิธีรับขวัญ หม่อม หลวงปนัดดา ดิศกุล จึงขอตัวกลับ พร้อมกับบอกพวกเราว่า พรุ่ง นี้จะมาหาพวกเราอีก และในวันสุดท้ายของกิจกรรมตรงกับวันคล้ายวันพระ ราชสมภาพของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา ฯ สยามบรมราช กุมารี พวกเราได้จัดพิธีถวายราชสดุดี และร่วมกันร้องเพลงนารี รัตนา ด้วยเสียงอันกึกก้อง ในพิ ธี ม อบเกี ย รติ บั ต ร ท่ า นรั ฐ มนตรี ส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ท่านได้มามอบโลห์และ รางวัลการแข่งขัน I AM HERO แก่เยาวชนที่ชนะเลิศ จาก โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ รองชนะเลิศ จากโรงเรียนพระหฤทัย นนทบุ รี และหม่ อ มปนั ด ดา ดิ ศ กุ ล ท่ า นได้ อ ยู ่ ร ่ ว มงานจน จบพิ ธี ยั ง ความปลาบปลื้ ม ต่ อ เยาวชนและคุ ณ ครู ที่ ม าจากทั่ ว ประเทศ 14

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เสียงเพลงสุดท้าย “เพื่อนกัน” ท�ำให้เยาวชนทุกคนต่าง ร้องไห้ ๔ วัน ๓ คืน กับประสบการณ์ชีวิต ของเยาวชนที่ไม่เคย เข้ามาในเมืองหลวงของประเทศ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ ชาติจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ สร้างความตระหนักคิด ต่อเยาวชน เป็นอย่างดี การเรียนรู้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ท�ำให้เยาวชนเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้าและพร้อมที่จะเดิน ตามรอยพระยุคลบาท เยาวชนจากทั่ ว ทั้ ง แผ่ น ดิ น ได้ มี โ อกาสเรี ย นรู ้ รั บ รู ้ ใ น สิ่งต่างๆ ที่ส�ำคัญของบ้านเมืองและได้รับการต้อนรับอย่างเป็น กันเองจากผู้บริหารประเทศและสิ่งที่เยาวชนเหล่านี้ได้รับจาก ค่าย ๆ นี้คือความคิดบวกต่อผู้บริหารประเทศ ต่อประวัติศาสตร์ ชาติ และต่ อ การเสี ย สละที่ ใ หญ่ ห ลวงของพระมหากษั ต ริ ย ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงในจิตใจของ เยาวชนทุกคน ความสุข ความรักและความสามัคคี จะคืนกลับแผ่นดิน สยามจากเครือข่ายเยาวชนครอบครัวพอเพียงทั่วทั้งแผ่นดิน. ครอบครัวพอเพียง คือ รากแก้วของแผ่นดิน

15 issue 99 april 2016


ชี วิตเราพึงท�ำสามสิ่ง เมื่อไม่นานมานี้ ผมแต่งกลอนบทหนึ่งใส่ไว้ในหน้าสังคมออนไลน์เฟสบุ๊คใจความว่า ชี วิ ต หนึ่ ง พึ ง ท� ำ สามสิ่ ง นี้ หนึ่ ง คื อ มี ท ายาทตามปรารถนา สองได้ แ ก่ เ ขี ย นหนั ง สื อ หรื อ ต� ำ รา สามปลู ก ป่ า หรื อ ต้ น ไม้ ไ ว้ บ ้ า งเอย

ผมไม่ทราบว่าแนวคิดที่จะต้องท�ำสามสิ่งในชีวิตนี้เป็น ของใครและเข้ามาอยู่ในห้วงส�ำนึกลึก ๆ ของผมตั้งแต่เมื่อไร แต่ ค่อนข้างมั่นใจว่ามาจากการอ่านพบที่ไหนสักแห่งหนึ่งหลายสิบ ปีมาแล้ว ก่อนเขียนบทความนี้ ผมเข้าไปสืบค้นดูในกูเกิ้ลแล้ว พบว่าฝรั่งบางคนพูดถึงแนวคิดนี้เช่นกัน แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าใคร เป็นต้นคิด บางคนเห็นว่ามาจากจิตรกรเอก ปาโบล ปีกัสโซ บาง คนบอกว่ามาจากกวีเอกของคิวบา แม้จะไม่ทราบแน่นอนว่ามา จากใคร แต่ผมศรัทธาในแนวคิดนี้ยิ่งขึ้นหลังจากได้ศึกษาความ หมายในหลายบริบท ในบทกลอนที่ เขี ย นไว้ ใ นสั ง คมออนไลน์ ผมใช้ รู ป ประกอบหลายรูปรวมทั้งรูปเด็ก รูปหนังสือและรูปต้นสักปลูก ใหม่ ปรากฏว่าหลังเวลาผ่านไปไม่นาน มีกัลยาณมิตรเข้าไป ให้ความเห็นหลายคน ส�ำหรับเรื่องการมีทายาท หลายคนเห็น ด้วย แต่บอกว่ามีไม่ได้เพราะปัจจัยบางอย่าง ผมตอบไปว่า การมีทายาทในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะการมีลูกเท่านั้น หาก

ครอบคลุมไปถึงการให้ความอุปการะแก่เด็กที่ต้องการความช่วย เหลือ เช่น เด็กก�ำพร้า เด็กในครอบครัวยากจน แม้แต่การเป็น พี่เลี้ยงให้เด็กในช่วงเปลี่ยนผ่านส�ำคัญ ๆ ในชีวิตของเขาก็รวม อยู่ในนี้ด้วย กระบวนการมีทายาทจะเสริมสร้างเราในด้านการ มีความอดทน มานะ และเสียสละให้ผู้อื่น พร้อมกันนั้นก็เปิด โอกาสให้เราถ่ายทอดแนวคิดดี ๆ และหลักยึดส�ำคัญ ๆ ของ เราให้คนรุ่นต่อไปด้วย การมีทายาทมีความส�ำคัญพื้นฐานในด้านการสืบสาย พันธุ์ของมนุษย์ให้คงอยู่ต่อไปในจักรภพ จึงอาจมองได้ว่าเป็น หน้าที่ของทุกคน แต่เนื่องจาก บางคนมีลูกเองไม่ได้ จึงจ�ำเป็น ต้องขยายความหมายให้ครอบคลุมไปถึงการมีลูกบุญธรรมและ การให้ความอุปการะดังกล่าว อนึ่ง เนื่องจากในขณะนี้โลกมีประชากรเกิน 7 พันล้าน คนแล้วซึ่งยังเพิ่มขึ้นต่อไปส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง เริ่มไม่พอใช้รวมทั้งทรัพยากรน�้ำจืด ฉะนั้น การมีทายาทโดยการ ไม่มีลูกในที่นี้จึงมีความส�ำคัญยิ่งขึ้น เราอาจต้องพิจารณาใน 16

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้ ส� ำ หรั บ เรื่ อ งการปลู ก ป่ า หรื อ ต้ น ไม้ เราอาจมอง ได้ จ ากหลายแง่ มุ ม เช่ น เราทุ ก คนมี ชี วิ ต อยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายอย่าง บางอย่างหมดไปโดยที่เรา ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ไม่ว่าจะเป็นน�้ำมันปิโตรเลียม หรือ ก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ดี มีหลายอย่างที่เราสามารถสร้าง ขึ้นมาทดแทนได้โดยเฉพาะป่าไม้ที่ถูกถากถางไปเพื่อน�ำที่ดินมา ใช้ในกิจการต่าง ๆ การปลูกต้นไม้ท�ำได้ง่ายที่สุดซึ่งทุกคนอาจ ท�ำได้ในสถานที่ซึ่งมีอยู่ทั่วไป

บริบทที่ว่าสมควรจะลดจ�ำนวนประชากรโลกลงหรือไม่ หลาย ๆ สังคมได้ควบคุมอัตราการเกิดอย่างจริงจังและประชากรในบาง

สังคมเริ่มลดลง ประเด็นนี้ก�ำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะปล่อย ให้ประชากรลดลงหรือไม่เนื่องจากถ้าประชากรเกิดใหม่มีน้อย ผู้สูงวัยจะไม่ได้รับการสนับสนุนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่าง เพียงพอ ส� ำ หรั บ ทางด้ า นการเขี ย นหนั ง สื อ หรื อ ต� ำ รานั้ น เรา อาจมองกันว่า โลกเราพัฒนามาได้อย่างต่อเนื่องเพราะมนุษย์ เราแต่ละรุ่นได้ค้นคว้าหาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น จากรุ่นก่อนเสมอ เราทุกคนได้รับอานิสงส์จากผลงานที่ส่งผ่าน ต่อ ๆ กันมา ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะค้นคว้าหาความรู้ หรือพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วเพื่อส่งต่อให้รุ่นหลัง

เราทราบกันดีแล้วว่า ต้นไม้มีบทบาทสารพัดด้านจาก การให้ร่มเงา ให้อาหาร ให้พลังงาน ให้ยารักษาโรค ให้การ ฟอกอากาศ ให้ความสมดุลในระบบนิเวศไปจนจึงให้ความสุขที่ หลาย ๆ คนอาจยังไม่ตระหนัก การวิจัยยืนยันแล้วว่า ผู้ที่อยู่ใกล้ ธรรมชาติอันมีต้นไม้เป็นปัจจัยหลักมีความสุขมากขึ้น อนึ่ง รูปต้นสักที่น�ำมาประกอบนี้อยู่ที่สนามของโรงเรียน วัดแหลมไม้ย้อย เป็นต้นหนึ่งในหลายต้นที่ปลูกใหม่ นอกจาก การเขียนในที่นี้อาจจะไม่เป็นในรูปของหนังสือ หรือต�ำรา อาจ นั้น ยังมีต้นไม้อื่นอีกหลายสายพันธ์ที่สมาคมนักเรียนเก่าเอเอฟ เป็นบันทึกประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ แม้กระทั่งวิธีท�ำอาหาร เอสซึ่งเป็นกัลยาณมิตรของมูลนิธินักอ่านบ้านนาและผู้บริหาร บางชนิดที่มีเอกลักษณ์พิเศษและการจดเรื่องราวของครอบครัว โรงเรียนร่วมมือกันปลูกขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไทร สุพรรณิ ไว้ให้ลูกหลาน สิ่งเหล่านี้หากไม่บันทึกไว้ ย่อมจะสูญหายไปกับ การ์ ตะแบก อินทนิล ปีบ ยอ มะรุม มะค่า หรือตะขบ ต้นไม้ กาลเวลา ยุคนี้มีอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่อำ� นวยให้บันทึกอะไร ๆ เหล่านี้มีคุณค่าหลากหลาย ทางโรงเรียนและกัลยาณมิตรจึง ได้สะดวกขึ้นมาก ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรท�ำไว้ให้คนรุ่นหลังมี จะร่วมกันปลูกต่อไปจนส่งผลให้บริเวณโรงเรียนและวัดร่มรื่น โอกาสเรียนรู้โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรไปค้นหา หรือ ตลอดปี หลังจากนั้น เราตั้งใจจะร่วมกันน�ำต้นไม้ไปปลูกให้วัด และโรงเรียนอื่นด้วย ลองผิดลองถูกกันใหม่อีก 17 issue 99 april 2016


เครียดมาปั ญญาเกิด ท� ำ อย่ า งไรดี ค ่ ะ ยิ่ ง เครี ย ดยิ่ ง กิ น ท� ำ ให้ สุ ข ภาพไม่ ดี แล้ ว น�้ ำ หนั ก ก็ เ พิ่ ม ขึ้ น ทุ ก วั น แล้ ว มั ก จะอ่ อ นไหวมากกั บ ค� ำ พู ด ของคนอื่ น ที่ ทั ก ถึ ง น�้ ำ หนั ก ของเรา ไม่ มั่ น ใจเลยค่ ะ หนู ก ลั ว ว่ า จะเป็ น โรคจิ ต อ่ อ นๆ ด้ ว ยคะ

18 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

วิ ธี ค ลายเครี ย ดคื อ ประการ ที่ ๑. แทนที่จะยิ่งเครียด ยิ่งกิน ควรจะน�ำพาตัวเองไปท�ำอย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือที่เรารัก ท�ำงานอดิเรกที่เราชอบ หรือ สนทนากับคนที่เราไว้เนื้อเชื่อใจ การสนทนาจะท�ำให้เราได้พูด ได้ระบายในสิ่งที่อัดอั้นตันใจ ซึ่งจะท�ำให้ช่วยคลายความเครียด ได้มาก รถทุกคันยังมีท่อไอเสีย คนทุกคนก็ต้องมีช่องทางระบายความเครียดออกมาเช่นเดียวกัน ประการ ๒. งดความคิดฟุ้งซ่าน เพราะความคิดฟุ้งซ่านเป็นต้นทางของความยุ่งเหยิง วุ่นวายในชีวิตของคนเรา ความทุกข์ วุ่นวายในชีวิตของคนเรา กว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ นั้น เกิดขึ้นจากการคิดที่ไม่เป็นระบบ การคิดไปตามจิตที่ขาดสติ การหมกมุ่นครุ่นคิด การคิดไปตามสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดตามค�ำพูด หรือตามความคาดหวังของคนรอบข้าง ซึ่งยิ่งคิด ยิ่งเครียด ยิ่งคิด ยิ่งวุ่นวาย ยิ่งคิด ยิ่งบั่นทอนสุขภาพจิต ประการ ที่ ๓. หาอะไรมาท�ำอยู่เสมอ การที่เราหาอะไรมาท�ำอยู่เสมอ คือวิธีการย้ายความสนใจ ความหมกมุ่นครุ่นคิด ซึ่ง เป็นต้นทางของความเครียด ให้มาอยู่กับปัจจุบันขณะ ธรรมชาติของจิตนั้น รู้จักท�ำงานด้วยการคิดทีละเรื่อง เมื่อไหร่ก็ตามที่เรา คิดฟุ้งซ่าน นั่นหมายความว่าจิตย่อมมีโอกาสได้สนใจเรื่องอื่น ในทางกลับกันถ้าเราก้มหน้าก้มตาท�ำอะไรสักอย่าง จิตย่อมจะเกาะ อยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เราก�ำลังท�ำอยู่ในขณะนั้นๆ ฉะนั้น ลองสังเกตให้ดีว่า เมื่อเราก�ำลังท�ำงาน เมื่อเราก�ำลังอ่านหนังสือ เมื่อเรา ก�ำลังพิมพ์งาน เราก�ำลังรดน�้ำต้นไม้ หรือว่าเราก�ำลังท�ำอะไรก็แล้วแต่ หากว่าเราเติมความตั้งใจลงไปในทุกสิ่งที่ท�ำ ทุกค�ำที่พูด จะ พบว่า ในขณะนั้น ความทุกข์ไม่เกิดขึ้น ความทุกข์นั้นไม่เคยมีตัวตนมาแต่ต้นอยู่แล้ว ความทุกข์มีตัวตนมาท�ำร้ายเราอยู่ได้ก็เพราะ เราปล่อยให้จิตใจของเราหลอมรวมกันเป็นส่วนหนึ่งเดียวกันกับความทุกข์ ฉะนั้นถ้าเราแยกจิตของเราไว้กับการท�ำงาน ในขณะ นั้นจิตไม่สามารถไปปรุงแต่งความทุกข์ขึ้นมาเล่นงานตัวเองได้ ดังนั้นการหาอะไรท�ำอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้จิตว่าง จึงเป็นวิธีคลาย เครียดที่ได้ผลที่สุด ประการ สุดที่ ๔. ฝึกสติด้วยการท�ำตามหลักสติปัฏฐาน ๔ เวลาที่คิด เวลาที่พูด เวลาที่ท�ำ เวลาที่เคลื่อนไหวทุกสิ่งอย่าง ขอ ให้เติมความรู้สึกตัว หรือเติมความรู้เนื้อรู้ตัวลง ในทุกๆ กิจกรรมที่ท�ำ เช่น เดิน ก็ให้สังเกตว่าตัวเองก�ำลังเดิน ให้จิตใจของเรานั้น อยู่ที่เท้าของเรา กิน ก็ให้จิตใจของเราอยู่กับการกิน ให้ความตั้งใจทั้งหมดของเราอยู่กับการกินอย่างเดียว ดู ก็ให้สังเกตว่าเราก�ำลัง ดู ให้ใจของเรา ให้สติของเราอยู่กับการดูเพียงอย่างเดียวหรือก�ำลังท�ำงานใดๆก็ตาม ให้จิตของเราอยู่กับการท�ำงานกับสิ่งนั้นๆ วาง จิตวางใจของเราให้อยู่กับทุกสิ่งที่ท�ำ ทุกค�ำที่พูด ทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว เฝ้าดูเงียบๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ก็จะค้นพบว่าเมื่อเราเติม สติลงไปในทุกๆ ความเคลื่อนไหวของเรา ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดปรุงแต่งแทบจะไม่มีช่องเกิดขึ้นเลย เมื่อความคิดฟุ้งซ่าน ความ คิดปรุงแต่ง ความคิดไม่เป็นระบบไม่มีช่องให้เกิดขึ้นได้ นาทีนั้นความทุกข์ก็ไม่มีตัวตน จงจ�ำไว้เสมอว่า ความทุกข์มีตัวตน เพราะ เราเป็นคนคิดฟุ้งซ่าน ความคิดจะไม่มีตัวตนเมื่อเราเลิกเป็นคนที่คิดฟุ้งซ่าน หากท�ำตามวิธีตามที่กล่าวมาได้ก็จะสามารถหยุดความ คิดฟุ้งซ่านได้ เมื่อหยุดความคิดฟุ้งซ่านได้ ความเครียดก็จะพังทลายลง ที่มา... http://vimuttayalaya.net

19 issue 99 april 2016


ฉันมาจาก-บ้านน�้ำใจ

เป็นโรงเรียนชุมชนในหมู่บ้านที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ เป็นโรงเรียนที่ ข้าพเจ้าเรียนตอนเด็กด้วย พอจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่นี้ ข้าพเจ้าก็ไปเรียนต่อ ในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนแม่แจ่ม จนจบมัธยมศึกษาปีท่ี ๖ ที่โรงเรียนมาแจ่ม อ�ำเภอของข้าพเจ้าอยู่ห่างจากตัวเมือง มากกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร การที่ข้าพเจ้าจะเข้าไปสอบเรียนต่อ หรือว่าไปท�ำอะไรก็ตาม แรกๆ ก็จะตื่นเต้นดีใจมาก เพราะใน เมืองมีตึกสูงๆ มีห้างสรรพสินค้ามากมาย แต่ ณ วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้เกิดที่ อ�ำเภอแม่แจ่ม เกิดในที่ที่มีอากาศดี อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีไม่เหมือนที่อื่น

อ�ำเภอแม่แจ่มเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีหมู่บ้านอยู่ตามที่ราบและ กระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาใหญ่น้อยที่ล้อมรอบเรียงรายอยู่ มองจากที่สูงลงมาจะเหมือนแอ่งกระทะ มีล�ำน�้ำไหล ผ่าน ท่ามกลางมวลพฤกษาชาตินานาพันธุ์ที่ปรากฎอยู่ในดิน แดนสุวรรณภูมิ ดิ น แดนแห่ ง นี้ เ ดิ ม เป็ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของข้ า พเจ้ า เอง ข้าพเจ้าเกิดและโตที่นี่ ชีวิตของข้าพเจ้ามีความเป็นอยู่อย่างเรียบ ง่าย อยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ครอบครัวมีอาชีพเกษตรกรรม ข้าพเจ้ามีน้องสาว ๑ คน ตอนนี้เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านทัพ ซึ่ง

20 IS AM ARE www.ariyaplus.com


question of life

แ ล ะ ที่ ส� ำ คั ญ ผู ้ ค น ที่ นี้ ก็ มี น�้ ำ ใ จ เ อื้ อ เ ฟ ื ้ อ เผื่ อ แผ่ กั น อยู ่ อ ย่ า งพึ่ ง พาอาศั ย กั น ซึ่ ง หาจากในเมื อ งหลวง ไม่ได้ ความเป็นอยู่ก็เรียบง่ายไม่วุ่นวายเหมือนในเมือง และ ที่ ส� ำ คั ญ ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ โอกาสดี ๆ จากสมเด็ จ พระเทพรั ต นสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ท่านได้มีพระมหากรุณาธิคุณ ให้ โอกาสเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ดังค�ำกล่าวที่ว่า “ชีวิตคนเราเปรียบเสมือน “ผ้าขาว” ซึ่งจะเปื้อนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าเรารู้จักซักมัน รักษามัน ให้สะอาด ก็จะท�ำให้ผ้านั้นอยู่ได้คงทน และสามารถใช้ได้นาน เพราะฉะนั้นชีวิตคนเราไม่ว่าจะยากดี มีจน สูง ต�่ำ ด�ำ ขาว เมื่อ เกิดมาเป็นคนแล้วต้องรู้จักค�ำว่า “ค่าของคน” ซึ่งทุกคนเลือก เกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะท�ำความดีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดเป็น คนแล้วต้องรู้จักค�ำว่า “อดทน เสียสละ ให้อภัย และมีน�้ำใจ” “ อดทน คือ อดทนต่อสิ่งต่างๆ หลายๆ อย่าง ที่เข้า มาในชีวิตเราอย่าท้อแท้ท้อถอย” “ เสียสละ คือ รู้จักการเสียสละ ให้กับบุคคลที่ควรเสีย สละและไม่ท�ำให้เราเดือดร้อน” “ ให้อภัย คือ คนเราเมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วต้องรู้จัก การให้อภัยกับทุกๆ คนไม่ว่าจะยากดี มีจน และต่างชาติต่าง ศาสนา และจะท�ำให้ใจเราสุขด้วย” “ มีน�้ำใจ คือ ควรมีน�้ำใจต่อคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน และ พ่อแม่ญาติพี่น้อง และกับทุกๆ คน และเราจะสามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ” หรือแม้กระทั่งเวลาที่เรามีความทุกข์ ไม่ควรที่จะทุกข์ กับเรื่องที่ทุกข์อยู่ เพราะความทุกข์มันมาได้ ย่อมแก้ไขให้หาย ไปได้ ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะสามารถแก้ไขได้ อยู่ที่ใจของ เรา “ไม่ใช่วันนี้ล้มแล้ว จะลุกขึ้นไม่ได้” คนเราทุกคน มีโอกาสลุก และลุกยืนได้อย่างสง่างามด้วย ถ้าใจเราเข้มแข็งพอที่จะสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เราควรที่จะลุกขึ้น ดีกว่า “ยอมแพ้” เพราะถ้าใจเราคิดที่จะสู้แล้วก็ไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่จะมาขวางกั้นเรา เราควรให้ก�ำลังใจตัวเอง และจ�ำไว้เสมอเลยว่า “เกิดเป็นคนแล้วอย่าให้เสียชาติเกิด” และอย่ายอมแพ้ อย่าอ่อนแอ ต้อง ลุกขึ้นสู้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น อดีตที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไรก็ช่าง จงท�ำ “ปัจจุบัน” ให้ดีที่สุด แล้ว “วันพรุ่งนี้หรือในอนาคต ข้างหน้าจะดีเอง” เหมื อ นดั ง เพชร ที่ แ ม้ จ ะเกิ ด จากโคลนตม หากประกายของมั น ก็ ยั ง ส่ อ งแจ่ ม จรั ส วั บ วาว........

นางสาวสุนารี รบชนะ โครงการบัณฑิตคืนถิ่น ครูวิทยาศาสตร์คืนถิ่น อ�ำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ 21

issue 99 april 2016


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 99 april 2016


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 99 april 2016


26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cover Story

่ เรืองเล่าจากอดีต เลขาธิการสภาพัฒน์ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ ่ม

27 issue 99 april 2016


ในวัย ๖๘ ปี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ยังคงท�ำงาน ถ่ายทอดประสบการณ์ของตนอย่างต่อเนื่อง นอกจากเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน บริษัท เทเวศ ประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) ประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยอีกหลายแห่งแล้ว ยังท�ำหน้าที่ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี และในฐานะนักเขียนที่มี หนังสือและผลงานวิชาการให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลังได้ค้นคว้าหาความรู้ อาทิ การวางแผนพัฒนาประเทศ (ตุลาคม ๒๕๕๔), แนวคิด “การพัฒนาประเทศ” (เมษายน ๒๕๔๙), เศรษฐกิจพอเพียง : พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, ส�ำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เมษายน ๒๕๔๔) และเล่มล่าสุด เรื่องเล่าจากอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม หากกล่าวถึงเรื่องราวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งถือเป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนประเทศขณะนี้ในยุครัฐบาล คสช. ก็ต้องย้อนกลับมาคุยกับอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ท่านนี้อีกค�ำรบหนึ่ง เพราะนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ในสมัยด�ำรงต�ำแหน่ง เลขาธิการสภาพัฒน์ถือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงร่วมกับคณะร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แผนฯ ๙” ซึ่งมีทั้ง อุปสรรคและประสบการณ์ดีร้ายมากมายซ่อนอยู่ในการท�ำงาน อย่างไรก็ตาม วันวานผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่ประสบการณ์ยังคงอยู่และตกผลึกสู่ชนรุ่นหลังมิรู้วาย เรื่องราวในนิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียงฉบับนี้ ขอถือโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนหนึ่งจาก ๒๘ ปี ในการท�ำงานสภาพัฒน์ของ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ให้เป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิต เติมเต็มความคิดท่านผู้อ่านต่อไป ชี วิ ต วั ย เด็ ก เป็ น ยั ง ไงบ้ า ง ? ผมเกิดโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นคนกรุงเทพฯ แท้ๆ สมัย เรียนเป็นนักเรียนดีเด่นของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิชาเอก : การเงินและการคลัง) คุณพ่อผมเป็นคนแปดริ้ว เป็นต�ำรวจภูธร ดังนั้นคุณ พ่ อ จะอยู ่ ต ่ า งจั ง หวั ด ตลอด คุ ณ แม่ เ ป็ น คนบางละมุ ง ชลบุ รี ตอนเด็กๆ ผมอยู่กับคุณยายมาตลอดที่บางรัก กรุงเทพฯ สมัย เด็กๆ คุณยาย คุณตา เลี้ยงผมแล้วก็มีคุณน้าช่วยเลี้ยง ตอน อายุ ๕ ขวบไปเข้าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยแต่เข้าไม่ ได้เพราะอายุไม่ถึง ต้องไปอยู่โรงเรียนผดุงดรุณี ๑ ปี ไปเรียน กับผู้หญิงหนึ่งปี (หัวเราะ) แต่ก็ไม่รู้เรื่องอะไรนะเรียนกับผู้หญิง แล้วพออีกปีก็ข้ามฟากมาเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรียน ตั้งแต่ ป.๑-ม.๘ เลย ถ้าถามถึงชีวิตตอนเด็กๆ ความจริงผมเป็น คนไม่เด่นดังนะ เรียนก็ปานกลางไม่ได้เก่ง เรียนมหาวิทยาลัย ถือว่าปานกลาง เรียนก็จบ ๔ ปีครึ่งนะ

ก็เรียนเศรษฐศาสตร์ต่ออีก ๓ ปีในสมัยนั้น โชคดีที่ยังได้ฟัง บรรยายของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้ ฟัง เรื่องเทนนิสผมไม่ได้แชมป์อะไร ผมไม่ได้เก่งเลอเลิศ แต่ ผมก็ได้เสื้อสามารถเพราะเป็นหัวหน้าทีม คือไม่ได้เก่งจริงๆ นะ (หัวเราะ) เราเป็นหัวหน้าทีมเราเลยพลอยได้ตามไปด้วย พอจบธรรมศาสตร์ผมไปเรียนต่อปริญญาโท M.B.A. (Business Econ.) University of Bridgeport, Conn., USA. วิชาเอก เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ผมเล่นเทนนิสมาตลอดแล้วก็ต้องมาหยุดตอนที่มาเป็น ผู้บริหาร กีฬาทุกอย่างเลิกหมดเลย กอล์ฟก็เลิก จริงๆ กอล์ฟ ผมตีมาตั้งแต่ตอนอยู่ธรรมศาสตร์ เป็นนักกีฬามาตลอด เลยต้อง

จบไม่ ต รงก� ำ หนดแสดงว่ า เกเรรึ เ ปล่ า ? ที่จบ ๔ ปีครึ่งที่ธรรมศาสตร์เพราะผมเป็นนักเทนนิส ของมหาวิทยาลัย ผมเป็นประธานชมรมเทนนิสมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์มา ๒ ปี เป็นหัวหน้าทีมมา ๒ ปี บางชั่วโมงเรียนผม ลงไปเล่นเทนนิสตลอด มีวันหนึ่งอาจารย์ลงมาตามที่คอร์ท บอก เข้าห้องเรียนบ้างนะ ตอนนั้นเรียนคณะศิลปศาสตร์ปีที่ ๑ แล้ว 28

IS AM ARE www.ariyaplus.com


หยุดเพราะมาเป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ ดี ก รี อ เมริ ก าเริ่ ม ท� ำ งานตั้ ง แต่ เ งิ น เดื อ นเท่ า ไหร่ ? พอจบจากอเมริ ก าแล้ ว ก็ ม าอยู ่ สภาพัฒน์ตอนท�ำแผนฯ ๔ ท�ำงานตอน นั้นเงินเดือน ๑,๒๕๐ บาท สมัยนี้ใช้วัน เดียวหมด (หัวเราะ) สมัยนั้นใช้ ๓ วัน ก็ไม่ต่างกันเลย อยู่ได้เพราะขอแม่ คุณ แม่ยังต้องเลี้ยงมาจนโต เลี้ยงมาจนเป็น ผู้บริหารสภาพัฒน์เลยดีกว่า สมัยผมเป็น เลขาธิการสภาพัฒน์เงินเดือนประมาณ สัก ๕๐,๐๐๐ บาท ถ้าจ�ำไม่ผิดนะ สมัย นี้เป็นแสน ผมเป็นบอร์ดการบินไทยสมัย นั้ น ค่ า ประชุ ม บอร์ ด ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท สมัยนี้น่าจะเป็นหมื่นนะ การเป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ใคร ว่าไม่หนักไม่น่าเป็นไปได้ ผมอยู่สภาพัฒน์ มาทั้งหมด ๒๘ ปี ถ้าพูดแบบกว้างๆ ช่วง ๑๐ ปีแรกเริ่มจากเป็น ซี๔ เป็นชั้นโทใน สมัยนั้นท�ำเรื่องเกี่ยวกับการพาณิชย์และ การท่องเที่ยว ในช่วง ๑๐ ปีที่สองได้มา ท�ำงานเกี่ยวข้องเรื่องคมนาคม ช่วงต่อ มาหลังจาก ๑๐ ปีที่สองถึงได้มาเป็นผู้ บริหาร เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ

รองเลขาธิ ก าร แล้ ว มาเป็ น เลขาธิ ก าร สภาพัฒน์ตอนท�ำแผนฯ ๙ แ ผ น ฯ ๙ ท� ำ ไ ม ถึ ง ใ ช ้ ป รั ช ญ า ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาน� ำ ทาง พั ฒ นาประเทศ ? คื อ แผนฯ ๙ เป็ น แผนฯ แรก และเป็นแผนฯ เดียวที่น�ำพระราชด�ำรัส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มา เป็นปรัชญาน�ำทาง ในอดีตไม่มี ตั้งแต่ แผนฯ ๑-๘ ไม่เคยเขียนลงมา แล้วตอน ช่วงแผนฯ ๘ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็น

29 issue 99 april 2016

เลขาธิการ เกร็ดของแผนฯ นี้มีความรู้ที่ ส�ำคัญนะ แผนฯ ๑-๗ เป็นแผนฯ ทีท่ ำ� จาก ข้างบนลงล่าง จากกลุ่มคน พอมาแผนฯ ๔-๕ ก็เริ่มขยายข้างๆ บ้าง เริ่มเอาเอกชน มาปรึ ก ษาบ้ า ง แต่ ก็ ยั ง ให้ ข ้ า ราชการ เขียนแผนฯ ก่อนเข้า ครม. แล้วก็ลงพระ ปรมาภิไธยก่อนประกาศเป็นแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตรงลงพระ ปรมาภิไธยก็ไม่มีกฎหมายนะ เป็นสิ่งที่เรา ท�ำเป็นประเพณี ทีนี้พอมาเป็นแผนฯ ๘ ดร.สุเมธก็มาดูแล้ว พูดง่ายๆ คือทั้งหมด ในแผนฯ ที่ ท� ำ มานี้ ถื อ ว่ า ไม่ ไ ด้ น� ำ ไปใช้ ประโยชน์อย่างแท้จริง เนื่องจากว่าทาง ด้านการเมืองจะเลือกน�ำไปใช้ประโยชน์ ตามที่ต้องการ ฉะนั้นก็ไม่ได้เอามาเป็น ตัวน�ำทางในการพัฒนา ถ้ า ลองวิ เ คราะห์ ลึ ก ๆ แล้ ว นโยบายรั ฐ บาลและการจั ด สรรงบ ประมาณของประเทศ ไม่ได้อ้างอิงแผนฯ เสียทั้งหมด ทีนี้พอมาแผนฯ ๘ ท่านสุเมธ ก็มาเปลี่ยน ท่านเป็นนักรัฐศาสตร์ ท่าน ก็ ม าคิ ด กั บ กลุ ่ ม คน บอกให้ เราเปลี่ ย น วิ ธี ก ารเขี ย นแผนฯ ท� ำ อย่ า งไรถึ ง จะ เขี ย นให้ มี ป ระโยชน์ ท� ำ เพื่ อ คน อยาก จะท�ำจากข้างล่างขึ้นข้างบน ท่านก็เชิญ คน ก็ไปปรึกษากับกลุ่มนักคิดทั้งหลาย อาจารย์ จ ากมหาวิ ท ยาลั ย นั ก ปราชญ์


สุเมธตั้งใจคือ ไม่อยากเน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก อยากจะเน้น ภาคสังคมเน้นคุณภาพคนให้ดี แต่ยังไม่ได้ก็ต้องกลับมาที่เดิม สมัยนั้น พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต้อง กลับมาพูดเรื่องเศรษฐกิจให้โตเท่าไหร่ ตรงนี้ยังติดอยู่ในสมอง คนไทยหรือคนโลกสมัยปัจจุบัน ทุกอย่างต้องเป็นตัวเลขต้อง เป็นเงิน จึงต้องปรับแผนฯ ก็เอาแผนฯ ส�ำรองขึ้นมา เป็นที่มา ของแผนฯ ๙ ทีนี้การท�ำแผนฯ ต้องเข้าใจว่าแผนฯ มีระยะ ๕ ปี เวลา ท�ำต้องท�ำปีที่ ๓-๔ ของแผนฯ ก่อน เพื่อจะมาใช้ในปีต่อไป ตอนนั้นผมขึ้นมาเป็นเลขาธิการพอดีในปีที่ ๓ ของแผนฯ ๘ ก็ เริ่มท�ำ พอปี ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราช ด�ำรัสเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คนไม่ค่อยรู้คืออะไร ของประเทศ ท่านไปประชุมที่มฤคทายวัน หัวหิน ได้หัวข้อว่า แต่จริงๆ พระองค์ท่านมีพระราชด�ำริเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ อยากให้สังคมไทยเป็นอย่างไร ก็เอาอันนี้มาจัดท�ำตามแผนฯ นานมากแล้ว คือท่านตอกย�้ำว่าคนต้องรู้จักพอ แต่จริงๆ หลัก โดยฟังประชาชน หมายความว่า กลุ่มอาชีพต่างๆ หรือกลุ่มคน ตรงนี้คือ โลภน้อย ต้องอยู่ให้พอดีตัว เราก็คิดว่าเราไปเอาพระ ศาสนา กลุ่มคนพิการ กลุ่มพ่อค้าประชาชน ก็เชิญฟังว่าเขาเห็น ราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ด้วยอย่างไร มีเกร็ดที่เป็นเทคนิคอันหนึ่งคือ ท่านเรียกประชุมที่ พอเพียงมาดูสิว่าสามารถจะเป็นตัวน�ำในการพัฒนาได้ไหม สิ่ง ชะอ�ำว่าแนวคิดแบบนี้เห็นด้วยไหม คนประมาณสองพันคนมา ที่ฝ่ายผมท�ำคือดราฟท์เรื่องขึ้นมา อะไรที่พระองค์ท่านมีพระ ประชุมสัมมนาครึ่งวันแรกมีการพรีเซ็นเทชั่น ครึ่งวันที่สองให้ ราชด� ำ ริ ท่ี เ กี่ ย วข้ อ ง ก็ ต ้ อ งให้ เ ครดิ ต ที ม งานของสภาพั ฒ น์ ที่ ยกมือถาม ยกมือพูด ทุ ก วั น นี้ ร ะ บ บ ทุ น นิ ย ม ส ่ ง เ ส ริ ม ใ ห ้ ค น เ อ า เ งิ น ใ น ใช้ เ ทคนิ ค อะไรให้ ค นสองพั น คนได้ พู ด แสดงความ อนาคตมาใช้ ใช้ บั ต รเครดิ ต เป็ น วั ต ถุ นิ ย มจ๋ า คน ยั ง ประมาท ฉะนั้ น โอกาสที่ จ ะพั ง ทลายมี สู ง แต่ ถ ้ า คิ ด เห็ น ทุ ก คน ? ท่านสุเมธก็คิดขึ้นมา ตอนกินข้าวโต๊ะจีนก็นั่งโต๊ะละ เราเอาปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งดึ ง ส� ำ นึ ก อั น สิบคน พอกินเสร็จบอกไม่ให้ลุก เก็บจานอะไรเสร็จ เจ้าหน้าที่ นี้ ไ ว้ บ ้ า ง แล้ ว เพิ่ ม มากขึ้ น ๆ ก็ จ ะดี เราก็เข้าไปนั่งแทรกโต๊ะละสองคน แล้วทุกคนก็สัมมนากันพูด กันแล้วจดโน๊ตกันว่า คุณอยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไร คุณอยากจะให้ท�ำอะไร อาชีพไหนก็พูดเฉพาะของตัว ก็แปลว่า ไปค้นคว้ามาได้ ขุดค้นมาจนเจอ แล้วก็ช่วยกันเขียนออกมา ทุกคนได้พูดในการสัมมนา แล้วไม่มีสัมมนาไหนท�ำได้แบบนี้ แต่ ตอนนั้นยังไม่ให้ชื่อว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนั้น ถ้าให้ทุกคนนั่งเป็นร้อยๆ แล้วยกมือพูดไม่มีทาง อันนี้คนมาดูงาน ไม่มีชื่อ กระแสพระราชด�ำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีความ แล้วน�ำไปใช้เยอะนะ ตอนผมท�ำแผนฯ ๙ ผมก็ท�ำแบบนี้ ผมท�ำ หมายอย่างไร เอาความหมายออกมาตีแผ่ว่าออกมาเป็นปรัชญา ทุกจังหวัด แต่ของท่านสุเมธท�ำทุกภาค ก็ใช้มาจนทุกวันนี้ เป็น ได้อย่างไร เอามารวบรวม พระองค์ท่านมีพระราชด�ำรัสตั้งแต่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าให้คนอยู่แบบพออยู่พอกิน แล้ว ที่มาของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ที่ผมอยากเล่าคือวิธีการซึ่งคนไม่รู้หรอก เพราะเนื้อหา ท�ำสิ่งที่ตัวเองถนัดก่อน จนกระทั่งร้อยเรียงออกมาผูกเอาเรื่อง เนื้อแท้ของเศรษฐกิจพอเพียง แผนฯ ง่ายไปหาอ่านดู แต่วิธีการอย่างนี้ไม่มีใครบอก จริงๆ แล้วนอกจากเรื่องความหมาย ยังมีเงื่อนไขส�ำคัญ คือ มีความรู้คู่คุณธรรม อันนี้คือหัวใจ แล้วอันนี้จะสอดแทรก ที่ ม าของแผนฯ ๙ เป็ น ยั ง ไง ? ช่วงแผนฯ ๘ ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๔ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เรื่องคุณธรรมไว้เยอะ คือจะเป็นไปได้ต้องมีคุณธรรมนอกจาก ต้มย�ำกุ้ง ก็ต้องปรับแผนฯ ทันทีเพราะแผนฯ ๘ เดิมทีท่าน ความรู ้ แ ล้ ว เพราะความรู ้ ส ามารถเรี ย นทั น กั น หมดแต่ ข าด 30 IS AM ARE www.ariyaplus.com


31 issue 99 april 2016


คุณธรรมไม่ได้ อย่างรัชกาลที่ ๕ ท่านเคยพระราชนิพนธ์ไว้ ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน...ถึงวิไลเลิศฟ้าสง่าศรี ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี.....ถ้าไม่มี “คุณธรรม” ก็ต�่ำคน ก็เลยมาถึงแผนฯ ๙ เอาตัวนี้ใช้เป็นตัวหลัก งานก็ออกมา เวลาท�ำ ถามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเกี่ยวข้อง อะไรหรือเปล่า เกี่ยวข้องมากเลยนะ สภาพัฒน์ โดยความเห็น ชอบของคณะกรรมการบริหาร ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทาง เศรษฐกิ จ และสาขาอื่ น ๆ จ� ำ นวนหนึ่ ง มาร่ ว มกั น ประมวล และกลั่ น กรองพระราชด� ำ รั ส เรื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง รวม ทั้งพระราชด�ำรัสและพระบรมราโชวาทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ เป็ น ข้ อ ความที่ ก ะทั ด รั ด มี ค วามชั ด เจน เพื่ อ เป็ น กรอบใน ความคิ ด ให้ ทุ ก ฝ่ า ยมี ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและตรงกั น และ สามารถน�ำไปปฏิบัติได้ โดยได้เรียบเรียงขึ้นเป็น “ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” และน�ำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๒ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข พระราชทานและทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สภาพัฒน์น�ำไปเผยแพร่แก่ทุกฝ่ายที่ ผมมี ค วามตั้ ง ใจจะท� ำ เพื่ อ ประโยชน์ ส ่ ว นรวม อั น นี้ ข้ า ราชการอื่ น จะคิ ด ยั ง ไงผมไม่ แ น่ ใ จ เพราะผมอาจ จะมี พื้ น ฐานที่ ไ ม่ ไ ด้ ย ากจนมาก พอมี พ อกิ น ดั ง นั้ น ก็ ไม่ เ คยคิ ด จะไปตั ก ตวงอะไรประชาชน

พอเพียงแล้วก็ยกตัวอย่างไปว่าท�ำให้พอดีสิ แล้วก็ไปท�ำทฤษฎี ใหม่ พระองค์ท่านเริ่มจากที่ดิน ๑๕ ไร่ และการแบ่งส่วนการ ใช้ที่ดิน ตอนนี้คนก็สับสน พอเวลาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนต้องไปท�ำไร่ท�ำนาแค่นั้นเอง ก็ไม่มีใครไปแก้ความคิดอัน นั้นก็ปล่อย อันนี้ก็เป็นพื้นฐานความคิด

เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปตามที่ขอพระมหากรุณาฯ ปี ๔๐ ท่ า นพยายามผลั ก ให้ แ ผนฯ ๙ ออกมาเร็ ว ที่ สุ ด ? เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ แผนฯ ๙ เป็นแผนฯ ที่ผมภูมิใจ เพราะเป็นแผนเดียว หลั ง จากที่ เ ผยแพร่ จ ากสภาพั ฒ น์ ไ ป ท� ำ ไมคนเข้ า ใจ ที่ท�ำทันก�ำหนดเวลา แต่บังเอิญพอพร้อมก็ยังท�ำไม่ได้ เพราะ เป็นการยากมากที่จะโน้มน้าวรัฐบาลในช่วงเวลานั้นให้เข้าใจ ว่ า ต้ อ งกลั บ ไปท� ำ เกษตร ? ผมว่ า คนก็ ยั ง ไม่ เข้ า ใจปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และยอมรับหลักการและแนวทางของแผนฯ ผมต้องน�ำแผนฯ คื อ อะไร ผมจึ ง เขี ย นอั น นี้ ขึ้ น มา ความจริ ง คื อ วิ ถี ชี วิ ต ไม่ ใช่ ไปที่รัฐบาลเพื่ออธิบาย แต่ก็ยากมากที่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจ เศรษฐกิจ ผมใช้ค�ำว่า “เป็นทางเลือกในการด�ำเนินชีวิต” ไม่ได้ ร่วมกัน แต่ถึงอย่างไร นโยบายรัฐบาลที่ออกมาหลังจากนั้น อาทิ บังคับให้ใครเชื่อด้วยซ�้ำไป ให้เป็นทางเลือกของเขาในการด�ำเนิน ๑ ต�ำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ก็ดี โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคก็ดี ชีวิต พระองค์ถึงต้องผูกความรู้คู่คุณธรรมเป็นเงื่อนไขส�ำคัญ แล้ว อะไรต่างๆ ที่เกี่ยวกับรากหญ้าก็ดี เป็นแนวคิดในท�ำนองเดียวกัน อันนี้สับสนกับทฤษฎีใหม่ เนื่องจากว่าเมื่อปี ๒๕๔๐ พระองค์ ใกล้ๆ กันกับแผนฯ ท่านก็มาเน้นเรื่องการท�ำเกษตร แล้วก็เผอิญพูดเรื่องเศรษฐกิจ 32 IS AM ARE www.ariyaplus.com


แผนฯ ๙ พยายามชู ธ งปรั ช ญา ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง อ ย ่ า ง ชั ด เจน ? ถูกต้อง จริงๆ เราชูธงเรื่องการ ท�ำให้คนมีส�ำนึกเรื่องความรู้กับคุณธรรม แล้ ว ด� ำ เนิ น ชี วิ ต อย่ า งพอประมาณ ไม่ใช่ประหยัดอย่างเดียว ในชีวิตต้องมี คุณธรรม จริงๆ แล้วทางด้านนักปฏิบัติ นักการเมือง ทุกคนก็มุ่งที่จะเอาเงินลง ไป แล้วการที่เราจะโชว์ไอเดียพวกนี้ให้ เขาเข้าใจยากมาก ผมก็เลยน�ำเสนอว่า เราต้องออกแผนฯ นี้นะเพราะขั้นตอน คือต้องเอาไปเข้า ครม. แล้วนายกฯ ก็ ต้ อ งยอมรั บ โดยประเพณี ป ฏิ บั ติ ต ้ อ ง กราบบั ง คมทู ล ให้ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงลงพระปรมาภิ ไ ธย รัฐบาลในขณะนั้นผมรู้สึกว่าไม่ให้ความ ส�ำคัญกับแผนฯ มากนัก

สมั ย ก่ อ นนี้ น โยบายทุ ก รั ฐ บาล ต้ อ งท� ำ ตามแผนฯ ที่ เ ราท� ำ ไปผ่ า น กระบวนการของประชาชนมาแล้ว อย่าง ที่บอกเราท�ำทุกจังหวัด ของดร.สุเมธก็ท�ำ ทุกภาค ให้คนระดับล่างและผู้น�ำชุมชน ต่างๆ ยอมรับปรัชญาฯ นี้ว่าเป็นแนวทาง ที่ดีส�ำหรับการบริหาร เป็นที่มาของหัว ใจแผนฯ ๙ คือการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ถื อ เป็ น หลั ก ส� ำ คั ญ ในแผนฯ นี้ คื อ ท� ำ จากข้างล่างให้เข้มแข็ง ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ซึ่งจะเข้มแข็งไปเองตามล�ำดับ อัน นี้คือแนวคิดโดยใช้หลักของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็งก็มีแตก ยอดไปอีกว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมพัฒนา ชุ ม ชนตั ว เองนะ ท� ำ แผนชุ ม ชนขึ้ น มา ดังนั้นก่อนจะท�ำอะไรทุกคนต้องเห็นด้วย เป็นหลักการที่มาของการมีส่วนร่วม หลักเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คือทุกคนต้องพอใจ และก็ท�ำในก�ำลังที่ 33 issue 99 april 2016

ตนเองท�ำได้ ความพอดีความพอประมาณ พื้นฐานของความคิดนี้คือการมีจิตส�ำนึก ที่ดีต่อส่วนรวม ซึ่งทุกวันนี้นักการเมือง ขาดไป ดีจริง แต่ไม่มีจิตส�ำนึกที่ดี มีแต่ ผลประโยชน์ โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า แ ห ่ ง สหประชาชาติ (UNDP) เขาก็มาชมเชย เขาเขี ย นไว้ เ องเลยนะว่ า เศรษฐกิ จ พอ เพี ย งเอาไปใช้ อ ะไรบ้ า ง ท� ำ ไมคนไทย ไม่เขียนอย่างนี้ ต้องไปให้คนนอกเขียน แสดงว่าเขาเข้าใจ เห็นว่าประโยชน์ของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเอามาใช้ พัฒนาประเทศได้ หลั ง จากที่ UNDP ยกย่ อ งแล้ ว รั ฐ บาลไม่ ห นุ น ให้ เ ป็ น แก่ น ของ ประเทศ ? แผนฯ ๙ นี้คือเครื่องมือในการ พั ฒ นา แต่ ค นไม่ รู ้ จั ก เครื่ อ งมื อ ในการ


ใช้ พั ฒ นาเพราะแผนฯ ยั ง ไม่ ค ่ อ ยเป็ น รู ป ธรรม เราพยายามท� ำ เรื่ อ งชุ ม ชน เข้ ม แข็ ง เราท� ำ เรื่ อ งโรงเรี ย นคุ ณ ธรรม อั น นี้ พ อเป็ น รู ป ธรรมถึ ง จะเข้ า ใจ ภาค โรงเรียน ภาคชุมชน เป็นภาคที่ไม่ค่อย มี ผ ลประโยชน์ แ อบแฝง เมื่ อ ใช้ ห ลั ก นี้ มาบริหาร อย่างน้อยหลักการมีส่วนร่วม ก็เป็นประชาธิปไตย ถ้าถามว่าแผนฯ นี้ มี ใ ครใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ อย่ า งจริ ง จั ง ไหม ถ้ า ครอบครั ว ไหนไม่ ไ ด้ ก ่ อ หนี้ เ ยอะๆ ผมว่าครอบครัวนั้นอาจเอามาใช้ ไม่ได้ แปลว่ า ก่ อ หนี้ ไ ม่ ไ ด้ แต่ ก ่ อ หนี้ แ ล้ ว คุ ณ ต้องรู้ ต้องใช้คืนได้ ไม่มีหนี้เสีย อาจจะ บอกไม่ได้ว่าคนเอาไปใช้กันแค่ไหน เรา ไม่มีตัววัด แต่เราเชื่อว่าถ้าเกิดใช้แล้วจะ เป็ น การลดความเสี่ ย งในการเสี ย หาย อย่างครอบครัวเวลาเศรษฐกิจตกต�่ำมัก จะมีปัญหา ถ้าคนไม่ใช้หลักอันนี้ก็จะมี ปัญหา

ตอนเป็ น รั ฐ มนตรี วั น แรกก็ มี ค นเอาทองมาให้ แ ล้ ว ผมให้ เ ด็ ก วิ่ ง ตาม ไปคื น เรายอมรั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง ได้ ไ หมว่ า สั ง คมไทยเป็ น สั ง คมอุ ป ถั ม ภ์ และเดี๋ ย วนี้ ก็ ยั ง คงเป็ น อยู ่ แต่ ไ ม่ ไ ด้ แ ปลว่ า ไม่ ดี ทั้ ง หมด คื อ ต้ อ งพอ ประมาณไง เราอุ ป ถั ม ภ์ กั น จนเกิ น เลยหรื อ ว่ า เพื่ อ พวกพ้ อ งจนเกิ น ไป จึ ง มี ป ั ญ หา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งสอดคล้ อ งไป กั บ โลกปั จ จุ บั น ได้ อ ย่ า งไร ? ทุกวันนี้ระบบทุนนิยมส่งเสริมให้ คนเอาเงินในอนาคตมาใช้ ใช้บัตรเครดิต เป็นวัตถุนิยมจ๋า คนยังประมาท ฉะนั้น โอกาสที่จะพังทลายมีสูง แต่ถ้าเราเอา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดึงส�ำนึก อันนี้ไว้บ้าง แล้วเพิ่มมากขึ้นๆ ก็จะดี พระองค์ท่านมีพระราชด�ำรัสหนึ่ง บอกว่า “ถ้าเกิดท�ำได้เศษหนึง่ ส่วนสีข่ อง ประเทศก็ ถื อว่ า ดี แล้ ว ” ก็มีคนถามว่า เศษหนึ่งส่วนสี่แปลว่าอะไร คือหนึ่งส่วนสี่ ของการกระท�ำ อีกอันหนึ่งพระราชด�ำรัส ว่า “ต้องหาคนดีเข้ามาบริหารประเทศ 34 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ต้องกีดกันคนไม่ดีออกไป” จริงๆ แล้ว พระราชด� ำ รั ส ของในหลวง ไม่ ต ้ อ งเอา แผนอะไรหรอกประเทศไทย เอาอั น นี้ ถอดออกมาเป็นเรื่องๆ ท�ำตามได้สักครึ่ง หนึ่งผมว่าประเทศนี้เจริญแน่ๆ ที่ส�ำคัญ คนที่จะถอดพวกนี้ต้องใช้คนที่มีศิลปะใน การถอด เพราะสมัยเปลี่ยน คนไฮเทค โนโลยี ม าก ในสั ง คมดิ จิ ทั ล ตอนนี้ ม อง อะไรเร็ว มองอะไรสั้น ฉะนั้นต้องย่อมาก ไม่มีใครมานั่งอ่านรายละเอียด แต่ ผ มก็ เ ชื่ อ อั น หนึ่ ง ว่ า ต่ อ ให้ เปลี่ ย นแปลงยั ง ไงถ้ า คนไม่ มี คุ ณ ธรรม ประเทศจะเดินล�ำบาก


จากประสบการณ์ คิ ด ว่ า ข้ า ราชการที่ ดี เ ป็ น อย่ า งไร ? คือข้าราชการสมัยก่อนกับสมัยนี้ก็ต่างกันเยอะ พูดไป เหมือนยกตัวเอง แต่ท�ำไมผมรับราชการ นอกจากครอบครัวรับ ราชการแล้ว ผมมีความตั้งใจจะท�ำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันนี้ ข้าราชการอื่นจะคิดยังไงผมไม่แน่ใจ เพราะผมอาจจะมีพื้นฐาน ที่ไม่ได้ยากจนมาก พอมีพอกิน ดังนั้นก็ไม่เคยคิดจะไปตักตวง อะไรประชาชน สมัยนั้นก็มีคนมาให้สินบนเยอะนะ ไม่ใช่ไม่มี ผมก็คืนไปนะ ในฐานะที่ผมอยู่ในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ มีมาสอง สามราย ผมไม่รับ ตอนเป็นรัฐมนตรีวันแรกก็มีคนเอาทองมาให้แล้ว ผม ให้เด็กวิ่งตามไปคืน เรายอมรับข้อเท็จจริงได้ไหมว่าสังคมไทย เป็นสังคมอุปถัมภ์ และเดี๋ยวนี้ก็ยังคงเป็นอยู่ แต่ไม่ได้แปลว่า ไม่ดีทั้งหมด คือต้องพอประมาณไง เราอุปถัมภ์กันจนเกินเลย หรือว่าเพื่อพวกพ้องจนเกินไปจึงมีปัญหา คือพยายามลดให้ น้อยที่สุด แต่ไม่ง่าย ระบบเรายังไม่เอื้ออ�ำนวย องค์กรในบาง ประเทศ คนที่นามสกุลเดียวกันเขายังไม่ให้เข้าท�ำงาน แค่นี้เรา ท�ำได้ไหม ที่ผมยกตัวอย่างก็คือทุกกระทรวงทบวงกรมก็รับกัน ทั้งนั้น ข้าราชการก็เช่นกัน คือระบบอุปถัมภ์ความจริงแล้วยังมี อยู่ แต่ว่าเราท�ำให้ดีได้ คิ ด ว่ า ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งน� ำ พาให้ ค นพ้ น ความยากจนได้ จ ริ ง หรื อ ไม่ อย่ า งไร ? จริ ง ถ้ า ปฏิ บั ติ ต ามผมเชื่ อ ว่ า ได้ ในตั ว ปรั ช ญาก็ ต อบ ค�ำถามนั้นอยู่แล้ว จะเขียนว่าจะต้องมีความขยันหมั่นเพียร แต่ ในทางปฏิบัติผมมานั่งนึกดู ถ้าคนนั้นไม่มีปัจจัยที่เพียงพอในการ ที่จะช่วยให้เขาอยู่ต่อไปได้ เช่นว่า หนึ่ง สมมุตินะเขาเป็นชาวไร่ ชาวนาถ้าเขาไม่มีที่ดิน ก็ต้องไปเช่า แล้วพืชผลเขาเสียหายเขาก็ ไม่มี ซึ่งผมเองทางปฏิบัติ ย้อนกลับไปนิดหนึ่ง ตระกูลพ่อผมเป็น ชาวนา ปู่ของปู่เป็นคนที่รัชกาลที่ ๒ ให้ไปครอบครองพื้นที่รบ กับเขมร และพระราชทานที่แถวนั้นให้ ปัจจุบันเป็นที่นา เหลือ อยู่ไม่เท่าไหร่ ผมก็ให้ลูกนาเช่า ปีไหนไม่มีผลผลิตผมก็ไม่เอาค่า เช่า จริงๆ ได้ค่าเช่าปีหนึ่งได้หมื่นบาทเอง ให้เขาฟรียังได้เลย เขา เป็นญาติผม ผมถามว่าลูกนาผมเขาจะหายจากความยากจนได้ ไหม ผมว่าไม่นะ เพราะเขาไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เขาต้องเช่า ผม ถ้าเจ้าของนาไม่ได้เป็นคนใจบุญนะ ไม่มีตังค์ท�ำก็ติดหนี้เอา ไว้ ปีหน้าคุณก็ต้องหามาใช้ ก็เป็นดินพอกหางหมูอยู่เรื่อย ฉะนั้น เงื่อนไขตรงนี้ค่อนข้างยาก คือเขาต้องมีอะไรเป็นของตัวเอง คือใจผม ผมเคยเขียนไว้ว่า อยากให้คนไทยโดยเฉพาะ เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตัวเอง อย่างที่พระเจ้าอยู่หัวท�ำ แม้แต่ ๑ ไร่เดี๋ยวนี้ก็ท�ำเกษตรทฤษฏีใหม่ได้แล้ว ให้แค่ไร่เดียวให้ไม่ได้

หรือ ใจผมนะ ถามว่าแก้ความยากจนได้ไหม การปฏิบัติได้ แต่ ต้องมีอะไรให้เขาบ้าง ตัวอย่างที่สอง คนในเมืองส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างเขา การ ค้าขายไม่คล่องตัวแล้วแต่เศรษฐกิจ ฉะนั้นถามว่าถ้าปฏิบัติตาม นี้จริงจะแก้ปัญหาความยากจนได้ทั้งหมดไหม ก็อาจจะได้ถ้ามี ปัจจัยเอื้ออ�ำนวย อย่างเช่นถ้าเขาเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนที่มีคุณธรรม ผมเชื่อว่าเขาเอาตัวรอดได้ แล้วเขาก็จะไป เจอคนดีคอยช่วยเหลือสนับสนุน ให้เงิน ลดค่าเช่าให้ ช่วยๆ กันไปอย่างนี้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเขาไม่มีความพากเพียรอดทน เป็น คนไม่ดี ขาดคุณธรรม ก็จะแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ เพราะ คุณธรรมเป็นเงื่อนไขหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วยังมีเงื่อนไข และองค์ประกอบอื่นอีกมาก ถ้าเอาทุกค�ำพูดในปรัชญาฯ ไปตีนะ ทุกค�ำพูดมีความ หมายลึกซึ้งหมดเลย การปฏิบัติตามทุกค�ำพูดอาจเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าปฏิบัติได้เป็นส่วนใหญ่หรือบางส่วน ก็จะเป็นเรื่องที่ดี. 35

issue 99 april 2016




38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


39 issue 99 april 2016


“มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง”

40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


สภาพแวดล้อม

ในอดี ต ดิ น แดนถิ่ น อี ส านแห่ ง นี้ เ ป็ น ทุ ่ ง กว้ า งมี เรื่ อ งเล่ า สื บ ทอดกั น ว่ า เมื่ อ ประมาณ สองร้ อ ยปี ล ่ ว งมาแล้ ว มี ก ารย้ า ยถิ่ น ฐานมาจาก อ�ำเภอหนองบัวล�ำภู จังหวัดอุดรธานี เข้ามาอาศัย อยู่บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเวลานั้น มีพืชเป็นไม้ทรงพุ่มออกดอกสีแดง คนในสมัยนั้น เรียกกันว่า “ต้นอีโอก” ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๒ มี ชาวข่าหนีสงครามมาจาก อ�ำเภอบัวใหญ่ จังหวัด นครราชสี ม า เข้ า มาอยู ่ อ าศั ย ด้ ว ยจนกลายเป็ น ชุมชนขนาดใหญ่ จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านโดยใช้ชื่อ บ้านทุ่งอีโอก ต่อมาทางราชการได้แยกพื้นที่แห่ง นี้ออกจากการปกครองของต�ำบลทุ่งแต้ อ�ำเภอ เมื อ ง จั ง หวั ด ยโสธร มาเป็ น ต� ำ บลทุ ่ ง นางโอก นอกจากนี้ต�ำบลทุ่งนางโอก ยังประกอบด้วยชุมชน ดั้งเดิมอีก ๒ ชุมชน ซึ่งคนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมา จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (นคร เวียงจันทร์) ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองเป้าและชุมชน บ้านหนองไม้ตาย ต� ำ บลทุ ่ ง นางโอกห่ า งจากอ� ำ เภอเมื อ ง ยโสธรเป็ น ระยะทาง ๑๐ กิ โ ลเมตรแบ่ ง การ ปกครองออกเป็น ๙ หมู่บ้าน มีจ�ำนวนประชากร โดยประมาณ ๕,๐๐๐ คนโดยมีสภาพพื้นที่เป็น พื้ น ราบในระดั บ เดี ย วกั น มี ลั ก ษณะเป็ น ทุ ่ ง นา ขนาดกว้าง มีต้นสะแบง ต้นยางนา ขึ้นสลับกัน บางชุมชนได้ก�ำหนดให้เป็นเขตป่าอนุรักษ์และยังมี แหล่งน�้ำขนาดเล็กกระจายอยู่ในพื้นที่ตามหมู่บ้าน ต่างๆ สภาพทั่วไปเป็นที่ราบมีน�้ำขังในฤดูฝน จึงไม่ สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นได้นอกจากข้าว ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพ ปลูก ข้าว และเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมบราซิล ครอบครัว ละ ๒ ถึง ๓ ตัว นอกจากนั้นแล้วเวลาว่างเว้นจาก การท� ำ นา ก็ ท� ำ การจั ก สานกระติ บ ข้ า วเหนี ย ว เลี้ยงสุกร และปลูกผัก เป็นอาชีพเสริมของคนใน ชุมชน

ความเป็นมา

ต�ำบลทุ่งนางโอกมีพัฒนาการของการ รวมกลุ ่ ม คนเพื่ อ ตั้ ง เป็ น ชุ ม ชนมาตั้ ง แต่ อ ดี ต และย้ายถิ่นฐานเพื่อ ให้เกิดความสอดคล้อง เหมาะสมต่ อ การด� ำ รงชี พ เพราะฉะนั้ น พัฒนาการของต�ำบลจึงสอดคล้องกับวิถีการ ผลิต ในปัจจุบันของคนในต�ำบล ดังจะเห็นได้ จากประวัติการพัฒนาต�ำบลทุ่งนางโอก ดัง ต่อไปนี้

พัฒนาการต�ำบล ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๘

ยุ ค การตั้ ง ถิ่ น ฐาน การเข้ า มาตั้ ง ถิ่ น ฐานบริ เวณทุ ่ ง นาง โอก ครั้ ง แรกอยู ่ บ ริ เวณบ้ า นโนนหมากเขื อ ต� ำ บลเดิ ด อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ยโสธรใน ปัจจุบัน ซึ่งคนที่ อพยพมาในกลุ่มนี้มาจาก

41 issue 99 april 2016


หนองบัวล�ำภู ต่อมา ไม่นานประสบเหตุสัตว์ร้ายคุกคามท�ำให้ ต้อง อพยพไปหาทีอ่ ยูใ่ หม่ จึงย้ายมาตัง้ บ้านบริเวณ บ้านหนองตอ และบ้านทุ่งนางโอกปัจจุบัน เมื่อมาอยู่ บริเวณนี้ปรากฏว่าเป็นที่ ลุ่มเกิดน�้ำท่วมขังใน ฤดูฝนท�ำให้ไม่สามารถอยู่ได้อีก ดังนั้นกลุ่ม คน ที่อยู่บริเวณนี้จึงได้อพยพอีกครั้ง โดยทิ้ง เพียงร่องรอยของ บ่อน�้ำไว้ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “ส้างบ้านเก่า” ต่อมาได้อพยพ ไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ห่างจากที่ตั้งเดิมออกไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕ กิโลเมตร ในปัจจุบันนี้คือบริเวณบ้านหัวโสก หรือ บริเวณดอนปู่ตาของบ้านทุ่งนางโอก หลังจากนั้น

ไม่ น านชาวบ้ า นหั ว โสกก็ ไ ด้ ถู ก คุ ก คามจากสั ต ว์ ร ้ า ย ที่มีทั้งยุงและแมลงมารบกวนทั้งคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีการย้าย หมู่บ้านอีกครั้งโดยห่างออกไป ยังทางด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือของหมู่บ้าน เดิมประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร โดยเป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านทุ่งนางโอก และมีการแบ่งการปกครอง ออกเป็น ๕ คุ้ม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ คุ้มหนองไฮ คุ้มสว่าง คุ้มกลาง คุ้มนอก และคุ้มแซะแงะ

พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๓๗

ยุ ค แห่ ง การเปลี่ ย นแปลงและพั ฒ นาในพื้ น ที่ ต�ำบลทุ่งนางโอกมีพื้นฐานอาชีพคือการท�ำนา เป็นหลัก มาตั้งแต่อดีต และมีการจักสานเพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน ตนเอง จนกระทั่งพัฒนามาเป็นการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมเรื่อง การตลาด ให้กับชุมชน ต่อมาได้มีการส่งเสริมการปลูกปอ เพื่อ ขายโดยปลูกทั้งในที่โคกสาธารณะ และที่สวนตนเอง เพื่อน�ำ ไปขายที่โรงปอกิจทวี ซึ่งตั้งอยู่ในตัวจังหวัดยโสธร หลังจากนั้น เริ่มมีไฟฟ้าเข้ามา ในหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๔ ในเวลาต่อมาได้สร้าง ถนน ลูกรังเชื่อมหมู่บ้านกับทางหลวง โดยขอขุดดินลูกรัง จากที่ นาของชาวบ้าน เนื่องจากขณะนั้นเริ่มมี การสร้างทางหลวงเพื่อ ให้สะดวกต่อการขนส่ง

42 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ผลผลิตทางการเกษตร เข้าไปขายในตัวจังหวัด ยโสธร และเนื่องจาก สภาพพื้นที่ที่แห้งแล้งท�ำให้ ผลผลิตข้าวไม่ดี จึงมีการเปลี่ยนวิธีการปลูก ข้าวใหม่ หันมาทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแทน พร้อมกันนี้มีการแจก เมล็ดพันธุ์ข้าว หอมมะลิ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทดลอง ท�ำการเพาะปลูกข้าวแบบใช้สาร เคมี และเปลี่ยนแปลง เมล็ดพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเป็นข้าวหอมมะลิ หลังจากนั้น ไม่นานเกิดปัญหา ข้าวเจ้าแดงพันธุ์พื้นเมือง หายไป ข้าวหอมมะลิมาแทนที่ ทุกแปลงนา เนื่องจาก มีการส่งเสริมการปลูกข้าวและมีแนวทางว่าพื้นที่ ต�ำบลทุ่งนางโอกเหมาะสมที่จะปลูกข้าวเจ้า หอมมะลิ (นนทบุรี) อีกทั้งมี โครงการอีสานเขียว เข้ามาพร้อมกับการส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัส ท�ำให้ ช่วงเวลานั้นมีการกระจายการเพาะปลูก ยูคาลิปตัสไปตามคันนาและป่าหัว ไร่ปลายนาของ ชุมชนจ�ำนวนมาก

พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๕๒

ยุ ค การพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องของการ ใช้สารเคมีเข้ามาเพิ่ม ผลผลิตในการปลูกข้าว ได้ขยายวงกว้างไปทั้งต�ำบล จึงส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นอย่างมาก ท�ำให้สภาพดิน เสื่อมโทรมขาดความอุดม สมบูรณ์ ในช่วงนี้ ชุมชนเริ่มตื่นตัว ได้เริ่มมีการส่งเสริมและแนะน�ำเรื่องปุ๋ย ชีวภาพ เริ่มมีการฝึกอบรมให้กับกลุ่มผู้น�ำในแต่ละชุมชน และมีหน่วยงาน GAP เข้ามาส่งเสริม เรื่องการท�ำนาอินทรีย์ พร้อมกับการอบรมภายใต้ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ อีกทั้งส�ำนักงาน เกษตรจังหวัดก็เริ่มแนะน�ำ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งจะได้รับทั้งพันธุ์กล้าไม้ พันธุ์กบ และพันธุ์ปลา

43 issue 99 april 2016


44 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ไปเลี้ยงในบ่อที่มีการขุดให้ หลังจากนั้นก็เริ่มมี ศูนย์ข้าวชุมชนทุ่ง นางโอก (หอมมะลิ กข ๑๐๕) มีเจ้าหน้าที่เกษตรอ�ำเภอเข้ามาส่ง เสริมและ จัดตั้งการรวมกลุ่มโดยรัฐบาลเป็นผู้ให้ทุนในการ จัดท�ำ ศูนย์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ กข ๑๐๕ กระจายให้ ทั่วทั้งต�ำบล

ทุนต�ำบล

ต�ำบลทุ่งนางโอก ผ่านการลองผิดลองถูก มาหลายยุค หลายสมัยแต่ก็สามารถย้อนกลับมามองตนเองจนค้นพบว่าสิ่ง ที่ต�ำบลทุ่งนางโอกมีอยู่นั้นสามารถพัฒนาให้ผลิดอกออกผลจน เลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ จะเห็นได้ว่าการรู้จักตนเองหรือรู้ตัวรู้ตน เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาและพัฒนาไปสู่ความสุข ของชุมชน ส�ำหรับต้นทุนส�ำคัญที่ต�ำบลนางโอกมีอยู่นั้นประกอบ ไปด้วย

ศูนย์การเรียนรู้ข้าวชุมชนต�ำบลทุ่งนางโอก เริ่มต้น จากการที่ส่วนราชการเข้ามาเห็นการเพาะปลูกข้าวของชาว บ้าน และผลผลิตที่ได้ ไม่ดีเท่าที่ควร ท�ำให้มีการส่งเสริมการ ปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริม การปลูกข้าวหอมมะลิ ศูนย์ข้าวได้รับ เงินสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อจัดตั้งศูนย์กลางของชุมชนในการเก็บเมล็ดพันธุ์ โดยเน้น เรื่องการท�ำนาอินทรีย์เพื่อขยายพันธุ์ข้าว ศูนย์ข้าวคุณธรรมชุมชนทุ่งนางโอก ชุมชนมีการวาง แนวทางร่วมกับ เจ้าหน้าที่เกษตรอ�ำเภอที่เข้ามาส่งเสริม คือ ปีแรกมีการส่งเสริมการปลูกข้าวโดยมีเมล็ดพันธุ์ให้เริ่มต้น ๓ ตัน โดยให้ปลูกในพื้นที่ ประมาณ ๒๐๐ ไร่ ปีที่สอง จาก เมล็ดพันธุ์เดิมที่มีกระบวนการคัดเมล็ดพันธุ์ร่วมกันในกลุ่ม แล้วน�ำเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากปีแรก มาแจกจ่ายขยายพันธุ์ต่อ โดยให้มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด ๑,๐๐๐ ไร่ ปีที่สาม ใช้วิธีการ เดียวกันแต่ให้ได้พื้นที่เพิ่มเป็น ๔,๐๐๐ ไร่ เมื่อ ถึงปี ๒๕๕๐ ทางเจ้าหน้าที่เกษตรอ�ำเภอได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์เพิ่มเติม อีก ๓ ตัน เพื่อน�ำไปสู่การขยายผลในกลุ่มโดยกระบวนการ สนับสนุน จากหน่วยงานรัฐจะมีขั้นตอนการแจกจ่ายเมล็ด พั น ธุ ์ ใ ห้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ จ ะลดปริ ม าณลงเพื่ อ ให้ เกิ ด กระบวนการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ

ทุนทางศักยภาพชุมชนและการพัฒนา

ชาวต�ำบลทุ่งนางโอกได้รับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ และ ผลักดัน โดยองค์การบริหารส่วนต�ำบลทุ่งนางโอก เพื่อให้มีการรวม กลุ่มและผลิตงานจักสานเป็นสินค้า เพื่อส่งออกนอกพื้นที่ ซึ่งใน ต�ำบลทุ่งนางโอก มีการ รวมกลุ่มกันครั้งแรกที่ หมู่ ๓ โดยเริ่มจาก การระดมหุ้นๆ ละ ๔๐ บาท มีผู้เข้าร่วม ๓๐ คน ท�ำให้กลุ่มมีเงิน ทุน ๑,๒๐๐ บาท เพื่อด�ำเนินกิจกรรมการจักสาน และเพิ่มรายได้ ให้กับครัวเรือน มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกันในรูปแบบ ต่างๆ เช่น กระติบข้าวสานลายตัวหนังสือ กระเป๋าสตางค์ กล่องกระดาษ ทิชชู แจกัน และกล่องใส่โทรศัพท์ ปัจจุบันมีสมาชิก ๘๐ คน และ มีกลุ่มย่อยกระจายแต่ละหมู่บ้านอีกรวมทั้งสิ้น ๙ กลุ่มย่อย 45 issue 99 april 2016


ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลทุ่งนางโอกได้เข้าร่วมโครงการรักษ์ ป่ า สร้ า งคน ๘๔ ต� ำ บล วิ ถี พ อเพี ย งระยะที่ ๓ ในปี ๒๕๕๒ โดยการน�ำขององค์การบริหารส่วน ต� ำ บลทุ ่ ง นางโอก เนื่ อ งจากได้ เ ห็ น เป้ า หมาย และแนวทางของโครงการฯ ว่ า จะช่ ว ยคลี่ ค ลาย ปัญหาด้านการท�ำนาที่มุ่งเน้นการท�ำนาเพื่อสนอง ด้ า นเศรษฐกิ จ เป็ น ส� ำ คั ญ ซึ่ ง จากการที่ ช าวบ้ า น ไม่รู้เท่าทัน จึงหลงเข้าไปสู่วัฏจักรการค้าก�ำไรของ นายทุนโดยไม่รู้ตัวอันเป็นต้นเหตุของปัญหาหนี้สิน ภายในครอบครัว เกิดผลกระทบด้านปัญหาสังคม ปัญหาด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ท�ำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคา ผลผลิตตกต�่ำ และภัยธรรมชาติ ต่อมามีหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยกันหาทางออก โดยย้อนมองวิถี การผลิตแบบดั้งเดิม มาปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนในชุมชนและชาวชุมชนมองเห็นว่าการ ย้อนมองตนเอง และการน�ำต้นทุนทรัพยากร ที่มีอยู่ของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดในทิศทางแห่งความพอเพียง จะเป็นทางออกของ การแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยมุ่งหวังว่าการเรียนรู้จะเป็นทางเลือกให้กับคนในชุมชนที่ก�ำลังแสวงหาความสุขแบบยั่งยืนได้

คณะกรรมการโครงการฯ

คณะกรรมการโครงการฯ ถือเป็นองค์ประกอบ ของกลไกการท�ำงาน ที่มีส่วนส�ำคัญที่จะช่วยให้การขับ เคลื่อนงานตามแผนต�ำบลวิถีพอเพียง ของต�ำบลทุ่งนาง โอกเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่ชุมชนต้องการ โครงสร้างคณะกรรมการโครงการฯ ประกอบไป ด้วยบุคคลส�ำคัญ ที่อยู่ภายในชุมชน ที่อาสาเข้ามาท�ำงาน ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานของ โครงการฯ ให้ประสบความ ส�ำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมี หนูอาน โสมณวัฒน์ ด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานคณะกรรมการและคณะกรรมการ ฝ่ายเปิดบัญชี มีสถานะทางสังคมเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่ง นางโอก หมู่ที่ ๑ มีประวัติการท�ำงาน เป็นที่ยอมรับของ ประชาชนในหมู่บ้าน ผู้น�ำชุมชนทั้ง ๙ หมู่บ้าน และ หน่วย งานราชการ

46 IS AM ARE www.ariyaplus.com


รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

ร่วมของคนใน ชุมชน และกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ของคนใน ชุมชน การจัดการทรัพยากรป่ า นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารด� ำ เนิ น งานตามแผนงานการปลู ก เมื่อมีการเข้าไปใช้ทรัพยากรในป่ามากขึ้น ความอุดม สมบูรณ์ของป่าก็ลดลง เนื่องจากไม่มีกฎระเบียบกติกาในการ ต้นไม้เสริมในพื้นที่ว่างในบริเวณป่า ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็น เข้าไปใช้ทรัพยากรในป่า มีเพียงการน�ำความเชื่อในผีปู่ตามา อย่างดีจากทุกภาคส่วนในชุมชน เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่ม ถือปฏิบัติในการรักษาป่า เมื่อโครงการฯ ได้ก�ำหนดแผนในการ ผู้น�ำ กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น กลุ่ม อสม. และคณะครูจากโรงเรียน จัดการป่าดอนปู่ตาเริ่มจากการพาตัวแทนคณะกรรมการ ไปร่วม ในพื้นที่ โดยสร้างกิจกรรมให้ครูและเยาวชนเข้าส�ำรวจและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรกับเครือข่ายภาคอีสาน ศึกษาพรรณไม้ สัตว์ป่าและการเข้าไปใช้ประโยชน์ในป่าดอน ทั้ง ๒๒ ต�ำบล ที่ต�ำบลไทยสามัคคี อ�ำเภอวังน�้ำเขียว จังหวัด ปู่ตาร่วมกับผู้รู้และสืบค้นความเป็นมาของป่าจากผู้รู้ในชุมชน นครราชสีมา จากนั้นก็มีการจัดเวทีพูดคุยสร้างความร่วมมือใน แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาท�ำเป็นท�ำเนียบป่าและจัดท�ำสื่อการ การจัดการป่าชุมชน โดยเชิญ ตัวแทนของครู นักเรียน อบต. เจ้า เรียนรู้ร่วมกับผู้รู้และคณะกรรมการป่า จากนั้นจัดตั้งเป็นจุด หน้าที่สาธารณสุข ผู้น�ำชุมชน ปราชญ์ด้านพิธีกรรมและแกนน�ำ เรียนรู้ท�ำเป็นห้องเรียนป่าชุมชนและแต่งตั้งผู้ดูแลจุดเรียนรู้ จะ ของคนในชุมชน ร่วมหาแนวทางในการจัดการป่าให้เหมาะสม เห็นว่าต�ำบลทุ่งนางโอกได้มีการด�ำเนินงานด้านทรัพยากร ป่าไม้ ทุกคนได้ร่วมกับวางแผนการพัฒนาป่าดอนปู่ตาร่วมกัน โดย มาอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังให้คนในชุมชน ร่วมมือกันอนุรักษ์ป่าให้ ได้ก�ำหนดเป็นกิจกรรมที่ท�ำต่อเนื่องเป็นประจ�ำเน้นการมีส่วน มีความสมบูรณ์อย่าง ยั่งยืนต่อไป

47 issue 99 april 2016


ครูร่วมใจขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน

ภายใต้โครงการ ‘ซุปเปอร์ครู’ เมื่ อ วั น ที่ 25-27 มี น าคม ที่ ผ ่ า นมา มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย งได้ จั ด งาน “การส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพครู เพื่ อ สื บ สานหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งสู ่ ก ารพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น (ซุ ป เปอร์ ค รู ) ณ สถาบั น พั ฒ นาครู คณาจารย์ แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา เพื่ อ น้ อ มน� ำ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาสร้ า งกลไกการ เรี ย นรู ้ และสร้ า งเครื อ ข่ า ยสู ่ ส ถาบั น การศึ ก ษาให้ แ ก่ เ ยาวชน ส่ ง เสริ ม ให้ ค รู แ ละนั ก เรี ย นได้ เ ข้ า ใจ และเข้ า ถึ ง หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งอย่ า งยั่ ง ยื น เป็ น แนวทางในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี ไ ทยต่ อ ไป งานนี้ได้รับความสนใจจากครูทั่วประเทศกว่า 200 คน ภายในงานได้จัดให้มีการส่งเสริมความรู้ และการบรรยายพิเศษ จากผู้ทรงความรู้และผู้ขับเคลื่อนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากหลายท่าน เพื่อสร้างความเข้าใจและความศรัทธาในหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครูทั่วประเทศ โดยมีจุดหมาย เดียวกันคือ สามารถถ่ายทอดให้เยาวชนสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ ผ่านกระบวนการจิตอาสาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นภูมิคุ้มกันใน ชีวิตภายภาคหน้า พลเอก จรั ล กุ ล ละวณิ ช ย์ นายกสมาคม วปอ.ฯ/ ประธานมูลนิธิคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ขึ้นกล่าวบนเวทีว่า ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถรักษาบ้านเมืองไว้ 48 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เรื่ อ งราวรอบตั ว ผ่านการคิดตริตรองมาแล้ว หากเรายังไม่เห็นความส�ำคัญ ประเทศอาจอยู่ไม่รอดเพราะทุกคนเอาแต่ยึดหลักทุนนิยม มากเกินไปจนไม่สนใจคนรอบข้าง หากเราน�ำแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ หรือน�ำเข้าสู่กระบวนการ การศึกษา จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนมากที่สุด นั่นคือสิ่ง ส�ำคัญในงานนี้” ครู คือตัวแปรส�ำคัญในการสร้างเยาวชนให้ไปในทิศทาง ใดทิศทางหนึ่ง ที่ผ่านมาการเรียนการสอนยังไม่เน้นเรื่องปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมากนัก เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจอย่าง แท้จริง ครูหลายท่านที่มาร่วมงานในครั้งนี้ ต่างมองเห็นปัญหา ได้โดยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ทั้งยังมีสถาบันพระมหากษัตริย์ การศึกษาไทย และตระหนักถึงแนวทางการแก้ไขโดยใช้หลัก ซึ่งช่วยเหลือประชาชนคนไทยมาโดยตลอด รวมถึงแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวน�ำทางการศึกษาชาติ และ เศรษฐกิจพอเพียงที่พระเจ้าอยู่หัวประทานลงมาเป็นแนวทาง พร้อมจะกลับไปสร้างความเข้าใจสู่นักเรียน อมรรัตน์ ศิริมิตรตระกูล ด�ำเนินชีวิตให้กับประชาชน ถือเป็นสิ่งล�้ำค่าหากใครรู้จักน�ำไป อาจารย์ประจ�ำโรงเรียนโรงเรียน ปรับให้ในชีวิตจริง บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 “ประเทศไทยมี แ นวคิ ด วั ฒ นธรรม และประเพณี กล่าวว่า ตนยังไม่เข้าใจเศรษฐกิจ เป็นของตัวเองมาอย่างยาวนานก่อนฝรั่ง แต่ปัจจุบันคนไทย พอเพียงอย่างถ่องแท้ ที่ผ่านมา มากมายกลั บ มองข้ า ม หั น ไปยอมรั บ เอาแนวคิ ด ของต่ า ง ก็เข้าใจว่านักเรียนยังขาดคนให้ ชาติโดยหลงลืมความเป็นไทยไป และปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพี ย งที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ท่ า นประทาน ความรู้เรื่องนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องส�ำคัญมากส�ำหรับการด�ำเนินชีวิต ลงมา เป็ น เสมื อ นหลั ก ให้ ค นไทยได้ หั น กลั บ มาสู ่ วิ ถี ข อง และสิ่งที่จะสอนเยาวชนได้ดีที่สุดคือการท�ำเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่ ตนเอง ซึ่งหากลองศึกษาและคิดอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า เพียงแต่บอกสอน “จะเอาทุกความรู้ที่เราได้ไปพัฒนานักเรียน และจะ เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับคนไทยมากที่สุด พระองค์ท่าน ทรงสอนว่าให้ครูรักนักเรียน และให้นักเรียนรักครู หากท�ำได้ ช่วยสานต่อ เสริมสร้าง สิ่งที่ในหลวงตั้งความหวังเอาไว้ให้ อย่างนี้การศึกษาก็จะสัมฤทธิ์ผล เกิดการเรียนการสอนอย่าง เกิดขึ้นให้ได้ แม้ตัวเองจะเหนื่อยแค่ไหนก็จะพยายามท�ำทุก เข้าใจ ทรงสอนว่าให้นักเรียนที่เก่งกว่าสอนเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ ทาง จะน�ำสาส์นจากพระราชาส่งไปถึงครอบครัว ผู้ปกครอง ดีกว่าการสร้างบรรยากาศการแข่งขันในชั้นเรียน แต่ทรงเน้น นั ก เรี ย น ชุ ม ชน เพื่ อ พั ฒ นาประเทศชาติ ใ ห้ มี ค วามเจริ ญ ก้าวหน้า พัฒนาเด็กไทยให้มีความรักชาติ ศาสนา พระมหา ให้แข่งขันกับตัวเองมากกว่า” อริยสิริ พิพัฒนรา ผู้จัดการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง กษัตริย์” กล่ า วถึ ง สถานการณ์ ข องประเทศไทยปั จ จุ บั น ว่ า วั น นี้ ห าก คนไทยยั ง ไม่ เ ห็ น ความส� ำ คั ญ ของหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งน้อยคนจะเข้าใจในหลักคิดนี้ ดังนั้น ครูคือตัวแปรส�ำคัญที่จะสามารถถ่ายทอดให้เยาวชนได้ เข้าใจ ปลูกฝังให้เด็กไทยมีหลักคิดในแบบคนไทย อยู่ในร่อง รอยของความเป็นไทย ไม่ถือเอาแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้ อย่างผิดที่ผิดเวลา “ประเทศไทยมีตัวอย่างที่ดีอยู่แล้วคือพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรู้จักคนไทยดี รู้ว่าอะไรเหมาะสม กับภูมิสังคมของคนไทย สิ่งที่พระองค์ทรงประทานลงมาล้วน 49 issue 99 april 2016


อั ม ริ น ท ร ์ ฟุ ้ ง เ ฟ ื ่ อ ง อ า จ า ร ย ์ ป ร ะ จ� ำ โ ร ง เ รี ย น พระหฤทัย นนทบุรี กล่าวว่า ตน จะปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างในการ ใช้นโยบายหรือพระราชด�ำริเกี่ยว กับเศรษฐกิจพอเพียง และน�ำมา ประยุกต์ใช้กับตัวเอง และจะน�ำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับโรงเรียน และอบรมสั่ง สอนเด็กๆ ให้มีวิสัยทัศน์ หรือมีกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆ จะน�ำ ไปใช้ในการด�ำเนินชีวิตได้ในโรงเรียน และจะน�ำปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไปเผยแพร่แก่ชุมชนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลรอบข้างให้มีการด�ำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามพระ ราชด�ำริของพระองค์

วุ ฒิ นั น ท์ โครตทิ พ ย์ อาจารย์ประจ�ำโรงเรียนร้อยเอ็ด วิทยาลัย กล่าวว่า จากการเข้า อบรมถื อ ว่ า ได้ ค วามรู ้ ม ากมาย จะน�ำไปใช้กับโรงเรียนของตัวเอง เริ่ ม ต้ น จะพั ฒ นาที่ ต นเองก่ อ น โดยน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น�ำมาพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่าง แล้วจะน�ำไปพัฒนาโรงเรียน ขยายให้ความรู้ถือ เป็นวิทยาทาน และจะน�ำไปให้กับนักเรียนเพื่อให้เยาวชนเป็น คนดีของชาติต่อไป โ ส ภิ ณ ศิ ริ ค� ำ น ้ อ ย อาจารย์ประจ�ำโรงเรียนล�ำปาง กั ล ยานี กล่ า วว่ า จากการ อบรมได้ ป ระสบการณ์ ชี วิ ต เรื่ อ งการน้ อ มน� ำ หลั ก ปรั ช ญา ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเข้ า ไปสู ่ โรงเรี ย น เพื่ อ จะน� ำ สู ่ นั ก เรี ย น เพื่อนครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารการศึกษารวมถึง ชุมชน จากนี้ตนจะกลับไปจัดตั้งศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงในระดับ โรงเรียน โดยการน�ำข้อคิด สิ่งที่ได้รับ รวมถึงประโยชน์ต่างๆ ที่ได้ รับจากการอบรมในครั้งนี้เข้าไปเรียนปรึกษากับผู้บริหารและน�ำ

50 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ทั้งจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นมัธยม ประถม และเทศบาล และชุมชนทั้งหมด 76 ชุมชน คิดว่า โครงการนี้มูลนิธิครอบครัวพอเพียงคงจะเข้าไปดูแลอย่างดียิ่ง แน่นอน มั่นใจว่าเราท�ำได้

เสนอกับคณะครูทั้งระดับโรงเรียน และน�ำเสนอสู่ชุมชน เริ่มต้น จากผูป้ กครองและนักเรียน เพือ่ น้อมน�ำหลักปรัชญาของในหลวง เอาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในชีวิตและประเทศชาติต่อไป ส ม ศั ก ดิ์ พ า ห ะ ม า ก อาจารย์ประจ�ำโรงเรียนโรงเรียน ศรี อ ยุ ธ ยา ในพระอุ ป ถั ม ภ์ ฯ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า รู้สึก ยิ น ดี ที่ ไ ด้ เข้ า ร่ ว มสั ม มนาครั้ ง นี้ และจะเอากิ จ กรรมและความ รู้ที่ได้ไปพัฒนาในโรงเรียน โดย เฉพาะกิจกรรม ไอ แอม ฮีโร่ ซึ่งตนจะเอาไปขยายผลเพิ่มเติมที่ โรงเรียน และจะด�ำเนินการจัดตั้งศูนย์ครอบครัวพอเพียง และ ขยายผลให้มากกว่าเดิมเพื่อโครงการนี้จะได้บรรลุผลได้ตามเป้า หมายที่ต้องการ เพ็ ญ สุ ข เสี ย งเพราะ อาจารย์ประจ�ำโรงเรียนตรียะลา กล่ า วว่ า ตนจะกลั บ ไปจั ด ตั้ ง ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียน สตรียะลา และขยายเครือข่าย 51

issue 99 april 2016


‘ระเบิดจากข้างใน’ ก่อนก้าวสู่ สังคมน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ขณะนี้ประเทศไทยในระดับภูมิภาค ในระดับท้องถิ่น ทั้ง ภาคประชาชนและองค์กรก�ำลังปรับตัวสร้างความเชื่อมโยงการ พัฒนาบ้านเมืองไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น “ระเบิดจากข้าง ใน” ทฤษฎีนี้ถูกพูดถึงในวันที่ประเทศชาติมีความจ�ำเป็นต้อง พัฒนาคุณธรรมของประชาชนและชุมชนในประเทศเสียก่อน จึง จะเกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้ ภายใต้การขับเคลื่อน นโยบายรัฐบาล คสช. ต้องนับว่าปรัชญาของเศรษฐพอเพียง ถูกน�ำกลับมาตีความปรับใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ตามแต่ ภูมิประเทศของตน หนึ่งในนโยบายที่พยายามผลักดันอยู่ขณะ นี้คือ “การส่งเสริมคุณธรรมในระดับจังหวัด” นายวี ร ะ โรจน์ พ จรั ต น์ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง วัฒนธรรม กล่าวบนเวทีสัมมนา “ความร่วมมือกลไกประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมจากฐานราก” ว่า ประเทศไทยมี วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามส่งเสริมความเป็นไทย มีหลักธรรม

ของแต่ละศาสนาที่มุ่งสร้างคนไทยให้เป็นคนดี อยู่ร่วมกันอย่าง สงบสุข ร่มเย็น เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้ ความเสื่อม ถอยด้านคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทยในปัจจุบัน แม้จัดได้ว่า อยู่ในขั้นที่ต้องได้รับการเยียวยารักษา แต่ด้วยคุณลักษณะของ ความเป็นไทยที่สืบทอดต่อเนื่องมายาวนาน เชื่อว่าสามารถฟื้นฟู สังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ประชาชนมีจริยธรรมและน�ำพา ประเทศไทยให้มีความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน แนวทางปฏิ รู ป และเป้ า หมายยุ ท ธศาสตร์ ๒๐ ปี ด้านวัฒนธรรมของรัฐบาลโดยคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ น�ำโดย พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายก รัฐมนตรีเป็นประธาน มีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ ที่ดีเป็นสังคมที่ซื่อตรง โปร่งใส มีวินัย และคนไทยต้องเป็นคน ดีมีคุณธรรม มีวินัย น�้ำใจ ไมตรี และพอเพียง นายสิน สื่อสวน ผู้อ�ำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การ

52 IS AM ARE www.ariyaplus.com


มหาชน) มีภารกิจส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายทางสังคม และ สมัชชาคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม คิดค้นและ พัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทย ได้ ออกมาพูดถึงจุดอ่อนของสังคมไทยว่า “ในระยะที่ผ่านมา เวที สมัชชาคุณธรรมประเทศไทย ในครั้งที่ ๗ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ จุดอ่อนของสังคมไทย ด้านปัญหาคุณธรรมจริยธรรม นั่นคือ การขาดบูรณาการพลังทางนโยบาย พลังสังคม พลังศาสนา พลังความรู้ และพลังสื่อสร้างสรรค์ ท�ำให้การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทยขาดประสิทธิภาพ ต่างคนต่างท�ำ ใน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็คาดหวังให้หน่วยงานต่างๆ เป็ น ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ โดยขาดการมี ส ่ ว นร่ ว มและความรั บ ผิ ด ชอบต่อผลจากการขาดคุณธรรมจริยธรรมในสังคม สภาพ การณ์ดังกล่าว สมัชชาคุณธรรมประเทศไทย ในครั้งที่ ๗ จึงมี เจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง บูรณาการทุกภาคส่วนมาสู่การรวมพลัง แก้ปัญหาด้านคุณธรรม มุ่งด�ำเนินอย่างเป็นรูปธรรมในระดับ พื้นที่” จากแนวทางดังกล่าวคณะกรรมการศูนย์คุณธรรมจึง คัดเลือกจังหวัดตัวแทนแต่ละภาคโดยพิจารณาจากจังหวัดที่มี พลังทางเครือข่ายสังคม มีพลังทางนโยบายมุ่งมั่นส่งเสริมสร้าง คุณธรรมโดยสมัครใจ ได้แก่ภาคเหนือ จังหวัดพิจิตร ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี ภาค ใต้ จังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ได้จังหวัดร้อยเอ็ด เพิ่มเข้ามาซึ่งก�ำลังขยายผลถึงจังหวัดศรีสะเกษต่อไป บุรีรัมย์เป็นจังหวัดหนึ่งที่ร่วมส่งเสริมคุณธรรมภายใน จังหวัด โดยยึดหลักแก้ปัญหา “สร้างสังคมสันติสุข ๙ ดี” ประกอบด้วย ๑.เป็นคนดี ๒.มีปัญญา ๓.รายได้สมดุล ๔.สุขภาพ แข็ ง แรง ๕.สิ่ ง แวดล้ อ มสมบู ร ณ์ ๖.สั ง คมอบอุ ่ น ๗.หลุ ด พ้ น อาชญากรรม ๘.กองทุนพึ่งพาตนเอง ๙.คณะกรรมการหมู่บ้าน/ ชุมชน หรือองค์กรเข้มแข็ง นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์กล่าว ว่ า สั ง คมไทยเผชิ ญ วิ ก ฤตความเสื่ อ มถอยด้ า นคุ ณ ธรรมและ จริยธรรม มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย การ แพร่ ร ะบาดของยาเสพติ ด และการเพิ่ ม ขึ้ น ของการพนั น โดย เฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา ด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการศึกษา และอื่นๆ อุปสรรคที่ผ่านมา ได้แก่ แผนงาน หรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ และช่วย แก้ไขปัญหาความต้องการหรือความเดือดร้อนของประชาชนมี การเปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนผู้บริหาร จึงไม่มีความต่อเนื่องส่ง

ผลให้ไม่ประสบผลประโยชน์ตามเป้าหมายเท่าที่ควร ไม่เกิด ความยั่งยืน จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการแต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการและคณะท� ำ งานขึ้ น เพื่ อ วิ เ คราะห์ ปั ญหาและเสนอ แนวทางแก้ไขพัฒนาให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน แผนสังคม สันติสุข ๙ ดี ถูกน�ำมาใช้เพื่อเป้าหมายสูงสุดของจังหวัด คือ “บุรีรัมย์สันติสุขบนความพอเพียง ครอบครัวเดียวกัน สาย เลือดเดียวกัน ลูกหลานรัชกาลที่ ๑” “การสร้างเจดีย์ต้องสร้างที่ฐานราก การสร้างชาติต้อง สร้างที่หมู่บ้าน ประเทศไทยประกอบไปด้วยหมู่บ้าน ๗๕,๐๐๐ หมู่บ้าน บวกกับชุมชนเมืองจะมีตัวเลขถึง ๘๐,๐๐๐ แห่ง หรือ เสาเข็มของประเทศแปดหมื่นต้น ถ้าไปสร้างองค์กรคือสภา 53

issue 99 april 2016


ดีในรูปแบบต่างๆ เหมาะสมกับบริบทของแต่ละจังหวัด เพื่อ น�ำไปสู่การสร้างสังคมคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ด้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแผน แม่บทส่งเสริมคุณธรรมที่จะน�ำมาใช้ ว่า ขณะนี้คณะกรรมการ ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติก�ำลังร่างแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ เป็นเสมือนแผนที่เดินทางของทุกองค์กรและทุกคน ที่จะก้าวไปสู่ประเทศคุณธรรมพร้อมกัน ให้กลไกประชารัฐได้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์ความรู้เพื่อก�ำหนดแผนงานที่ ชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปและเป้าหมายยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี ส่งเสริมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์แก่ประชาชน สังคม องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม แม้จะต้องกลับมาทบทวนคุณธรรมของ คนในชาติ ใ หม่ ยั ง ดี ก ว่ า ไม่ ท� ำ อะไรเลย การด� ำ เนิ น งานของ จังหวัดน�ำร่องต่างๆ ผ่านไปเพียงหนึ่งปี ในงานสัมมนา “ความ ร่วมมือกลไกประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมจาก รากฐาน” ครั้งนี้ เปิดโอกาสให้แต่ละองค์กร แต่ละจังหวัดได้ มาศึกษาเรียนรู้กัน เพื่อผลักดันให้เข้มแข็งและแพร่หลายต่อไป ทฤษฎีระเบิดจากข้างในจะเกิดผลสูงสุดถ้าประชาชนร่วมมือ ร่วมใจเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนาจากตนเอง จากหน่วยเล็กๆ จนเป็นมวลรวมภายใต้คุณธรรมเดียวกัน สร้างสังคมของตนเอง ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้น�ำให้เข้มแข็งทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชนเมืองด้วยสันติสุข ๙ ดี ให้ครบทั้งเก้าข้อ จะท�ำเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ ประเทศไทย อยู่รอดแน่ ถึงแม้จะสร้างยอดเจดีย์ให้สวยงามเพียงใด หาก ฐานไม่แน่นเจดีย์นั้นพังทลายแน่นอน” นายเสรี ศรีหะไตร กล่าว จังหวัดบุรีรัมย์ส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข ๙ ดี ๙๙ ข้อบัญญัติ เป็นเครื่องมือก�ำหนดระบบระเบียบในการ อยู่ร่วมกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนหมู่บ้านรากฐาน ๒,๕๐๐ หมู่บ้าน ใน ๒๓ อ�ำเภอ มีหมู่บ้านปฏิบัติตามธรรมนูญหมู่บ้าน สันติสุขอย่างจริงจัง ๔๐% จากหมู่บ้านทั้งหมด ปัญหาสังคม ชุมชน ครอบครัว และการรับแจ้งเหตุในตัวจังหวัดลดลงกว่าปี ที่แล้ว ๓๐.๙๒% ผู้อ�ำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า จังหวัดคุณธรรม เป็นจังหวัดที่มีกระบวนการและกลไกสนับสนุนให้องค์กร หน่วย งาน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน ท้องถิ่นทุกภาคส่วนเกิดความร่วมมือเพื่อสร้างคุณธรรม ความ 54 IS AM ARE www.ariyaplus.com


55 issue 99 april 2016


Let’s talk

คุณธรรมน�ำคน ่ สู่ความยังยืน ดร.วรวุ ฒิ แสงเฟื อง

56 IS AM ARE www.ariyaplus.com


57 issue 99 april 2016


รู ้ แ บบพอเพี ย ง ผ ม เ กิ ด ที่ จั ง ห วั ด ก า ญ จ น บุ รี คุ ณ ครู ค นแรกของผมคื อ คุ ณ พ่ อ ท่ า น สอนผมโดยใช้ปรัชญา ความรู้คู่คุณธรรม ความทรงจ� ำ แรกที่ ผ มจ� ำ ได้ เ กี่ ย วกั บ จุ ด เริ่มต้นของการเรียนรู้ของผม คือ สมุด ฝึกการอ่าน ก.ไก่ ข.ไข่ ที่คุณพ่อผมท�ำขึ้น มาเอง โดยใช้สมุดที่เค้าทิ้งแล้วน�ำกลับมา ใช้อีกครั้ง ตัว ก.ไก่ ข.ไข่ คุณพ่อผมเขียน เอง ส่วนรูปภาพไก่ หรือภาพประกอบ พยัญชนะตัวอื่นๆ ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ น� ำ มาติ ด กาวติ ด เป็ น ภาพประกอบกั บ ตัว ก.ไก่ ที่คุณพ่อเขียนคุณพ่อท�ำทั้งเล่ม จนถึง ฮ.นกฮูก ตาโต ครับ แล้วก็จะมี ตั ว สระ ตั ว เลข เสี ย ดายที่ ส มุ ด เล่ ม นั้ น สลายไปกับกาลเวลา ไม่อย่างนั้นจะน�ำ มาให้ชม คุณพ่อสอนผมอ่านด้วยตัวเอง การอ่านหนังสือที่คุณพ่อท�ำให้นั้น ผมว่า น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องความพอเพียงใน ครอบครัวของผม ส่วนการอ่านหนังสือ กับคุณพ่อนั้น ผมก็ว่าน่าจะเป็นจุดเริ่ม ต้นของความรู้ทั้งมวลที่ผมได้มาความทรง จ�ำอีกอย่างหนึ่งที่ท�ำให้ผมชอบการอ่าน หนังสือเป็นชีวิตจิตใจก็คือคุณแม่เพราะ เวลาว่างจากการท�ำงานบ้าน ผมก็เห็นคุณ แม่อ่านหนังสือมาตลอด ไม่ได้ซื้อมาอ่าน

หรอกครับ ยืมมาจากห้องสมุดประชาชน นอกจากนี้ คุณพ่อยังมีนโยบาย ๒๐ บาท ต่อเดือน ให้ซื้อหนังสือเข้าบ้าน สมัยนั้น นิทานอีสป เล่มละ ๑ บาท ผมจึงเลือก แต่นิทานอีสปครับ เพราะได้หลายเล่ม จ�ำนวนเงินเพิ่มขึ้นตามระดับชั้น นโยบาย นี้สิ้นสุดตอนผมขึ้นชั้น ม.๑ เพราะต้อง ไปอยู ่ โรงเรี ย นประจ� ำ ลื ม บอกไป ผม เรี ย นระดั บ อนุ บ าลและประถมศึ ก ษาที่ โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี (รุ่นที่ ๔) และ ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียน ภ.ป.ร. ราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่อ�ำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม (รุ่นที่ ๒๐) คุ ณ ธรรมเป้ า หมาย คุ ณ ธรรมที่ ผ มได้ รั บ การปลู ก ฝั ง จากคุณพ่อตั้งแต่เล็กๆ เลย คือ เรื่อง วินัย สัจจะ และซื่อสัตย์ ผมจ�ำได้ว่า วินัยที่คุณ พ่อปลูกฝังให้นั้นท่านจะปลูกฝังผ่านเรื่อง มารยาท เช่น มารยาทในการพูด คือ ไม่ ให้พูดแทรกขณะที่ผู้ใหญ่คุยกัน รวมทั้ง ไม่ พู ด เพ้ อ เจ้ อ พู ด ส่ อ เสี ย ด พู ด หยาบ คาย พูดประชดประชัน มารยาทในการ ไหว้ มารยาทในการเดินผ่านผู้ใหญ่ การ วางของใช้ให้เป็นระเบียบ เก็บของเล่น ทุกครั้งที่เล่นเสร็จเอาไปวางไว้ที่มุมของ 58 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ตัวเอง การจัดเก็บหนังสือที่อ่านเสร็จแล้ว การจัดตารางเรียน การเก็บที่นอน การ พับผ้าห่ม การพับเสื้อผ้า ท่านละเอียด ถึ ง การตากผ้ า ขี้ ร้ิ ว ที่ ใช้ เ สร็ จ แล้ ว เหล่ า นี้ เ ป็ น ต้ น ส่ ว นสั จ จะนั้ น จะถู ก ปลู ก ฝั ง ผ่ า นข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ในบ้ า น กฏกติ ก า ของบ้าน เราคิดกันเองในครอบครัว เช่น ใครมีหน้าที่ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักถุงเท้า รองเท้า วันนี้รับปากคุณพ่อ ว่ า จะท่ อ งสู ต รคู ณ แม่ ส องให้ คุ ณ พ่ อ ฟั ง เวลา ๑๙.๐๐ น. ก่อนถึงเวลานัดต้อง มายืนรอแล้วครับ นัดต้องเป็นนัดห้าม ผิดนัด นัดว่าจะท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ๑๐ ค�ำ ก็ต้อง ๑๐ ค�ำ นัดว่าวันนี้จะท่อง พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวก็ต้องท่อง ยังมีเบญจศีล เบญจธรรม คติ ธ รรม ส� ำ นวนโวหาร ค�ำพังเพย คุ ณ พ่ อ ท่ า นจะมี อ ะไรเพิ่ ม เป็ น โจทย์ใหม่ๆ มาทุกอาทิตย์แบบไม่ซ�้ำเลย ครั บ ส่ ว นความซื่ อ สั ต ย์ นั้ น ผมถู ก ฝึ ก ผ่านการใช้เงินกองกลางครับ เงินจะอยู่ ข้างบนตู้เย็นในตระกร้า สองคนพี่น้อง จะหยิบใช้ตามโค้วต้าของตนเองที่ก�ำหนด ไว้ครับ เงินที่บ้านไม่เคยหาย ค�ำสอนที่ คุณพ่อพูดอยู่บ่อยๆ ผมจ�ำมาจนถึงทุก วันนี้ คือ “ลูกรัก เสื้อผ้าถึงจะเก่าแต่ถ้า สะอาดและมีกลิ่นหอมก็จะท�ำให้เราอยู่ ในสังคมได้นะลูก” นั่นคือค�ำสอนที่คุณ พ่อใช้เปรียบเทียบในเรื่องการใช้ชีวิตและ การท�ำความดี “แบบ” ดี ก ว่ า “บอก” คุณพ่อจะเน้นเป็นพิเศษ คือ เรื่อง การเป็นแบบอย่างที่ดี มีอยู่ครั้งหนึ่งผม จ�ำได้แม่น วันนั้นผมไปกับคุณพ่อเพื่อไป ซื้อวัสดุอุปกรณ์เข้าส�ำนักงานของคุณพ่อ ผมยืนรออยู่ที่รถนอกร้าน แต่นึกขึ้นได้ว่า ต้องซื้อกาวลาเท็กส์ ไปท�ำงานประดิษฐ์ จึ ง เดิ น เข้ า ไปในร้ า น ผมได้ ยิ น เจ้ า ของ


ร้านเสนอส่วนลดให้คุณพ่อ แต่คุณพ่อได้ขอบคุณเขาและแจ้ง กับเจ้าของร้านว่าไม่ประสงค์จะรับส่วนลดนั้น และแนะน�ำกลับ ไปว่าถ้าจะให้ดีก็เพิ่มวัสดุอุปกรณ์บริจาคให้ทางราชการได้ และ วัสดุอุปกรณ์ให้น�ำไปส่งให้กรรมการตรวจรับที่ส�ำนักงานคุณพ่อ ไม่ขอรับของไป เจ้าของร้านหัวเราะ ผมจ�ำภาพนั้นได้ติดตาและ จ�ำเสียงนั้นได้ติดหู ส่วนคุณแม่จะเป็นฝ่ายสนับสนุนและยึดมั่นใน ข้อตกลงมากกว่าใครในบ้าน แบบอย่างของคุณแม่เห็นได้อย่าง ชัดเจนจากเรื่องหนังสือที่คุณแม่ยืมมา คุณแม่ส่งคืนตามเวลา และไม่เคยเอาหนังสือที่ยืมมาเป็นของส่วนตัว คุณแม่บอกว่ามี คนรออ่านเยอะถ้าเราไม่ไปคืนตามเวลาที่เขาก�ำหนด คนที่เขา รอยืมต่อก็จะไม่ได้อ่าน การเป็นตัวแบบที่ดีนี้ คุณพ่อฝึกผมด้วย การให้เป็นตัวอย่างของน้องในทุกๆ เรื่อง ทั้งเรื่องการเรียนและ ความประพฤติ คุณพ่อจึงเน้นหนักเป็นพิเศษ ด้วยค�ำพูดที่กินใจ ผมเสมอ ว่า “พ่อเป็นลูกคนโตของปู่ ลูกเป็นลูกคนโตของพ่อ ตระกูลเราไม่มีอะไร ที่จะไปเทียบกับใครได้ นอกจากความ ซื่อสัตย์ ลูกต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ของวงศ์ตระกูล” จากบ้ า นสู ่ เ มื อ ง เมื่อนึกย้อนกลับไปก็พบว่าวันเวลาล่วงเลยมานานมาก แล้วนะ ต้องขอบคุณ บก. ที่ท�ำให้ผมสามารถระลึกถึงความ หลังเป็นตัวหนังสือได้ ท�ำให้ผมนึกถึงค�ำคมบทหนึ่งเค้าบอกว่า “ความทรงจ�ำที่ดี รึจะสู้ตัวอักษรที่เลือนลาง” จากคุณธรรม เป้าหมายที่ถูกปลูกฝังในวัยเด็ก ผมคิดว่านั่นคือพื้นฐานส�ำคัญ

ที่ ส ่ ง ผลมาจนถึ ง วั ย ท� ำ งาน เมื่ อ ผมทบทวนกลั บ ไปก็ พ บว่ า มี หลักปฏิบัติที่ส�ำคัญคือผมใช้ยึดถือในการปฏิบัติราชการมาโดย ตลอด ก็คือ การน้อมน�ำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะ ท�ำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การท�ำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การ ท�ำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้าน เมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอ�ำนาจไม่ให้ก่อความเดือด ร้อนวุ่นวายได้...” (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อ�ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วัน ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒) พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บทนี้ ก็มาจากการที่คุณพ่อได้มอบหมายให้ท่องจ�ำมาตั้งแต่ตอน เด็กๆ ทั้ง ส่งเสริมคนดี และ ควบคุมคนไม่ดี จึงเป็นหลักการที่ผม 59

issue 99 april 2016


“พ่ อ เป็ น ลู ก คนโตของปู ่ ลู ก เป็ น ลู ก คนโตของพ่ อ ตระกู ล เราไม่ มี อ ะไร ที่ จ ะไปเที ย บกั บ ใครได้ นอกจากความซื่ อ สั ต ย์ ลู ก ต้ อ งเป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ของวงศ์ ต ระกู ล ”

60 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติราชการ ระเบิ ด จากข้ า งใน พ.ศ.๒๕๔๑ ผมได้รับคัดเลือกให้ เข้าร่วมในหลักสูตร การพัฒนาผู้น�ำตาม รอยพระราชด�ำริและปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย ง รุ ่ น ที่ ๓ ของสถาบั น คลั ง สมอง วปอ. เพื่อสังคม ผมได้เรียนรู้วิชา หลั ก การทรงงานของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ท�ำให้ทราบว่า พระองค์ ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “การพัฒนาชนบทต้องระเบิดจากข้าง ในคือ การสร้างความเข้มแข็งให้คนใน ชุ ม ชนที่ เราเข้ า ไปพั ฒ นาให้ มี ส ภาพ พร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน” หลัก การทรงงานเพียงแค่บทเดียวเท่านั้นครับ ท�ำให้วิถีชีวิตของผมเปลี่ยนไปทันที ผม เริ่มค้นคว้าอย่างหนักจนพบว่า ระเบิด จากข้างใน ต้องใช้ต้นทุนความดีเป็นตัว จุดระเบิด และองค์ประกอบของต้นทุน ความดี ก็คือ คุณธรรม จริยธรรม ระเบิ ด สี ข าว ผมจึ ง น� ำ ต้ น ทุ น ความดี ม าสร้ า ง ใหม่ ตั้งชื่อว่า ระเบิดสีขาว กระบวนการ ท�ำงานของระเบิดสีขาว จะแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ ค้นหาต้นทุนระยะ ที่ ๒ เข้าใจตัวตน ระยะที่ ๓ สู่ความยั่งยืน ระยะที่ ๑ ค้นหาต้นทุนการค้นหา ต้นทุนเป็นภาคทฤษฎี มีขั้นตอนในการ ค้นหาต้นทุนความดี๓ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้น ตอนที่ ๑. ก� ำ หนดคุ ณ ธรรมเป้ า หมาย ขั้นตอนที่ ๒. พัฒนาพฤติกรรมบ่งชี้ และ ขั้ น ตอนที่ ๓. สร้ า งกิ จ กรรมส่ ง เสริ ม ความดี ระยะที่ ๒ เข้ า ใจตั ว ตน การ เข้ า ใจตั ว ตนเป็ น ขั้ น ตอนส� ำ คั ญ เพราะ เป็นขั้นปฏิบัติที่ใช้กิจกรรมส่งเสริมความ ดีเป็นฐานการเรียนรู้จิตของตัวเอง โดย ใช้ค�ำถาม ๓ ข้อ แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน

ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑.ประทับใจอะไร รู้สึก อย่างไร เรียนรู้อะไร ขั้นตอนที่ ๒. รู้สึก อย่างไร เรียนรู้อะไร น�ำไปใช้อย่างไร และ ขั้นตอนที่ ๓. รู้สึกอย่างไร เรียนรู้อะไร คุณธรรมที่ได้ ระยะที่ ๓ สู่ความยั่งยืนเป็นขั้น ตอนการสั ง เคราะห์ ตั ว ตนโดยการน� ำ องค์ความรู้ที่ค้นพบจากการพัฒนาฐาน การเรี ย นรู ้ จิ ต ของตนเอง ย้ อ นกลั บ ไป ปรับปรุงพฤติกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าในตัว ตน และน�ำคุณค่านั้นสู่สังคมแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑. ถอดโครงร่าง ขั้นตอนที่ ๒. สร้างนวัตกรรมขั้นตอนที่ ๓. น�ำคุณค่าสู่สังคม ลองของ ผมโชคดีที่ได้ค้นคว้าและค้นพบ ระเบิดสีขาวแต่ยังไม่มีโอกาสได้ทดลอง น� ำ กระบวนการท� ำ งานของระเบิ ด สี ขาวไปใช้ อยู่ในขั้นมีความรู้แล้ว แต่ไม่ สามารถใช้ประโยชน์ได้ก็เปล่าประโยชน์ จนกระทั่ ง ท่ า นอาจารย์ ป ราโมทย์ โชติ มงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน สมัย 61 issue 99 april 2016

นั้ น ท่ า นให้ โ อกาสผมไปร่ ว มพั ฒ นา คุณธรรมให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่ง ท�ำให้ผม มีโอกาสได้ทดลองใช้ระเบิดสีขาวครั้งแรก ที่โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม อ�ำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ระเบิดสีขาว เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิด “บางมูลนาก โมเดล” จากโรงเรี ย นผมน� ำ ไปทดลอง ใช้ ที่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ชื่ อ องค์การบริหารส่วนต�ำบลค�ำแคน อ�ำเภอ มั ญ จาคี รี จั ง หวั ด ขอนแก่ น ส่ ง ผลให้ เกิด “ค�ำแคนโมเดล” จากท้องถิ่นผม ได้ ท ดลองน� ำ ไปใช้ ใ นโครงการของกอง ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งเป็น โครงการที่ มี ก ลุ ่ ม เป้ า หมาย คื อ ฝ่ า ย กิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่งผลให้ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด พิษณุโลก เป็น “มหาวิทยาลัยตัวอย่าง ในการสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ของนั ก ศึ ก ษา กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา” โอกาสยังไม่ หมดแค่นั้น ผมได้รับค�ำแนะน�ำจากท่าน องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ เข้าไปช่วยพัฒนาโรงพยาบาลบางมูลนาก อ� ำ เภอบางมู ล นาก จั ง หวั ด พิ จิ ต ร จึ ง มี


โอกาสได้ทดลองน�ำกระบวนการท�ำงาน ของระเบิดสีขาวไปใช้ในโรงพยาบาล ส่ง ผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาที่เรียกว่า “โรงพยาบาลคุ ณ ภาพสู ่ โรงพยาบาล คุ ณ ธรรม” ยั ง ไม่ ห มดแค่ นั้ น ผมยั ง มี โอกาสน�ำกระบวนการท�ำงานของระเบิด สีขาวไปทดลองใช้ในการพัฒนาองค์กร ต่ า งๆให้ เ ป็ น องค์ ก รคุ ณ ธรรมซึ่ ง มี ทั้ ง โรงงาน โรงสี โรงไฟฟ้า ฯลฯ แบบฝึ ก จริ ย ธรรมขั้ น พื้ น ฐาน ผ ม มี โ อ ก า ส ติ ด ต า ม ท ่ า น องคมนตรี นายแพทย์ เ กษม วั ฒ นชั ย ไปที่ โ รงพยาบาลสมเด็ จ พระยุ พ ราช ตะพานหิ น อ� ำ เภอตะพานหิ น จั ง หวั ด พิจิตร ได้ฟังท่านองคมนตรีบรรยายเรื่อง โรงพยาบาลคุ ณ ธรรม ตอนหนึ่ ง ท่ า น องคมนตรีได้อัญเชิญพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็กประจ�ำปี ๒๕๓๐ ความว่า “เด็ ก ๆ นอกจากจะต้ อ งเรี ย น

ความรู ้ แ ล้ ว ยั ง ต้ อ งหั ด ท� ำ การงานและ ท�ำความดีด้วย เพราะการท� ำ งานจะช่ ว ยให้ มี ความสามารถมี ค วามขยั น อดทน พึ่ ง ตนเองได้ และการท�ำดีนั้นจะช่วยให้มีความ สุ ข ความเจริ ญ ทั้ ง ป้ อ งกั น ตนไว้ ไ ม่ ใ ห้ ตกต�่ำ” นั่ น คื อ แรงบั น ดาลใจส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ผ มคิ ด ถึ ง การสร้ า งเครื่ อ งมื อ ที่ จ ะ น� ำ มาใช้ ใ นการพั ฒ นาคุ ณ ธรรมอย่ า ง ยั่งยืน เพื่อเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ความโชคดี ยั ง แวะเวี ย นเข้ า มาทั ก ทาย ผมอี ก ครั้ ง เมื่ อ ผมได้ มี โ อกาสเข้ า ร่ ว ม โครงการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบในเขต พระนคร เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์ คุณธรรม (องค์การมหาชน) บมจ.เทเวศ ประกันภัย และโรงเรียนวัดตรีทศเทพซึ่ง เป็ น โรงเรี ย นในสั ง กั ด กรุ ง เทพมหานคร อยู่ในเขตพระนคร ผมไม่รอช้าน�ำระเบิด สีขาวมาปรับใช้ในโรงเรียนระดับประถม ศึกษา แต่เปลี่ยนเป็นกระบวนการพัฒนา 62 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ทั ก ษะทางการคิ ด ด้ า นคุ ณ ธรรมแทน และเพิ่มการทดลองใช้แบบบันทึกความ ดี เ ป็ น ครั้ ง แรก จากนั้ น ส� ำ นั ก งานเขต พระนคร และบมจ.เทเวศประกั น ภั ย ภายใต้การสนับสนุนของส�ำนักงานทรัพย สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ตกลงขยาย ผลโครงการโรงเรี ย นคุ ณ ธรรมในเขต พระนคร อีก ๑๑ แห่ง ผมจึงมีโอกาส ได้ พั ฒ นาจากแบบบั น ทึ ก ความดี เ ป็ น สมุ ด บั น ทึ ก ความดี โดยผมน� ำ ความรู ้ เดิมในตอนเด็กๆ* คือ แบบบันทึกความ ดี ข องท่ า นเหลี ย วฝาน มาผสมกั บ หลั ก วิชาการที่เรียนมา คือ พฤติกรรมมนุษย์ ผสานกั บ ประสบการณ์ ใ นการท� ำ งาน คื อ สมุ ด บั น ทึ ก ความดี ที่ เ ด็ ก ๆใช้ ต าม โรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแบบเช็คลิสต์ และแบบไดอะรี่ และประสบการณ์จาก การศึ ก ษาดู ง าน คื อ สมุ ด บั น ทึ ก ความ ดี ข องต่ า งประเทศ สุ ด ท้ า ยผมได้ ส มุ ด บั น ทึ ก ความดี แบบใหม่ ที่ ส อดคล้ อ ง ตามพระบรมราโชวาทของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวมาข้างต้น


โดยเพิ่มการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กๆ ให้ครบทุกด้าน เช่น การ ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์ และความเครียด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นและเพิ่มขีดสมรรถนะให้สมุด บั น ทึ ก ความดี นี้ ไ ปเพิ่ ม กระบวนการพั ฒ นาสมองทั้ ง สองซี ก ด้วยการวาด ระบายสี และการเขียน การล�ำดับเรื่องราว และ สามารถน�ำมาใช้ในการวัดแววความสนใจใฝ่รู้ของเด็ก คือ หาก เด็กได้บันทึกอย่างต่อเนื่องจะเห็นการพัฒนา IQ EQ และ MQ ของเด็ก นอกจากนี้ยังเพิ่มขีดความเอาใจใส่ของคุณครู และผู้ ปกครอง ลงไปในสมุดบันทึกความดีนี้ด้วย สมุดบันทึกความดี ต้นแบบได้น�ำไปทดลองใช้ที่โรงเรียนอนุบาลศุภลักษณ์ อ�ำเภอ เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้น�ำสมุดบันทึกความดีนี้มาใช้ ในโครงการโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนคร ๑๑ แห่ง อย่าง สมบูรณ์แบบ *(ตอนเด็กๆ ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ โอวาทสี่ท่าน เหลียวฝาน เป็นหนังสือของคุณอาน้องคนสุดท้องของคุณพ่อ ในนั้นสอนคุณธรรมหลายอย่างแต่ที่ผมชอบมากที่สุด คือ การ จดบั น ทึ ก ความดี ผมทดลองจดบัน ทึก ความดี และความไม่ ดี ในแต่ละวัน ผมท�ำอยู่นานพอสมควร การท�ำความดีของผมก็ เป็นการท�ำความดีทั่วๆ ไป เช่น ช่วยงานคุณพ่อ คุณแม่ น้อง เพื่อน คุณครู คนข้างบ้าน เป็นต้น โดยผมไม่รู้ว่าการท�ำแบบนั้น จะท�ำให้ผมมีแบบแผนพื้นฐานส่งผลมาถึงปัจจุบัน) สู ่ ค วามยั่ ง ยื น ผมรับราชการมา ๑๕ ปี เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีก ๓ ปี เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ อีก ๔ ปี รวมเวลาที่ผมอยู่ในระบบ ทั้งหมด ๒ ปี ผมพบว่า การเป็นคนตั้งใจท�ำงานที่อาศัยอยู่ใน ระบบมันท�ำให้มีวิธีคิดแบบจ�ำกัด ไม่สามารถลงมือท�ำงานได้อย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนแปลง ไปตามวิธีคิดของผู้บริหาร หาความยั่งยืนไม่ได้ ผมมุ่งเป้าที่จะ ลาออกจากระบบอย่างสิ้นเชิง ผมตั้งเป้าหมายชีวิตใหม่และ ตั้งปณิธานว่าจะขอ “ถวายชีวิตไว้รับใช้งานเป็นข้าเบื้องบท มาลย์ จ นวั น ตาย” ซึ่ ง เป็ น ค� ำ ปฏิ ญ าณที่ ผ มร้ อ งในโรงเรี ย น ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยมาตั้งแต่เด็กๆ ผมเริ่มค้นหาวิธีการเพื่อไปสู่ เป้าหมายที่ผมตั้งไว้และพบว่า การท�ำงานรับใช้พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรับใช้ประเทศชาติ และรับใช้สังคม ตามก�ำลังความ รู้ ตามก�ำลังความสามารถ และตามก�ำลังคุณธรรมของผม ตามที่ ผมตั้งใจไว้สามารถท�ำผ่านโครงการร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและ เอกชน ตลอดจนมูลนิธิฯต่างๆ ได้ในที่สุดผมตัดสินใจลงมือท�ำ ตามที่ผมตั้งเป้าหมายไว้ คือ ลาออกจากระบบมาเป็นราษฎรเต็ม

ขั้น มาเป็นที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนคุณธรรมในเขตพระนคร ให้กับ บมจ.เทเวศประกันภัยภายใต้การสนับสนุนของส�ำนักงาน ทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นวิทยากรกระบวนการพัฒนา องค์กรคุณธรรม ให้กับ มูลนิธิยุวสถิรคุณภายใต้การสนับสนุน ของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีท่านองคมนตรี นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เป็นประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ และ ผมรับอาสาเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งรองประธานกรรมการมูลนิธิ ครอบครัวพอเพียง ที่มีท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิครอบครัวพอเพียง ผู้ซึ่งน�ำหลักการทรงงานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องระเบิดจากข้างในมาจุดประกายความ คิดให้กับผม ผมคิดว่าในเวลาส�ำคัญอย่างนี้ องค์ทั้งสามแห่งที่ผม กล่าวมาข้างต้น คือ องค์กรส�ำคัญที่จะยกระดับคุณธรรมของเด็ก และเยาวชน และจะท�ำให้กระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตามอุดมการณ์ของผม สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็ก ไทยเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และมีความยั่งยืน 63

issue 99 april 2016


64 IS AM ARE www.ariyaplus.com


65 issue 99 april 2016


66 IS AM ARE www.ariyaplus.com


67 issue 99 april 2016


68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


69 issue 99 april 2016


70 IS AM ARE www.ariyaplus.com


71 issue 99 april 2016


ปี ชวด

การงานการงาน-ต้องมั่นใจ คุณสามารถเดินหน้าในการท�ำงานได้อย่างมั่นใจหากคุณรักษาความมุ่งมั่นที่มีต่องาน ไว้ได้ คนปีชวดบางคนอาจพบกับการแข่งขันที่ค่อนข้างสกปรก แต่สงบใจไว้และรักษาจุดยืนของคุณไว้ให้ดี คน ปีชวดที่สามารถลอยอยู่เหนือการต่อสู้ได้จะกลายเป็นผู้ชนะ จงมั่นใจในความสามารถของคุณ และอย่ายอมให้ใครท�ำคุณหวั่นไหวได้ ธุรกิจ-มุ่งมั่นกับเส้นทาง ผลสุดท้ายในทุกสิ่งที่พยามท�ำจะน่าพอใจตราบใดที่คุณไม่ยอมให้เรื่องที่ไม่ส�ำคัญมาบดบังสิ่งส�ำคัญที่คุณก�ำลัง ต้องท�ำอย่าออกนอกประเด็นที่ต้องการปรึกษาหารือและอย่าให้ใครพาคุณพูดออกนอกทะเล มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการแข่งขันอย่างดุเดือด ความรักและความสัมพันธ์-ไม่หวานชื่น ความรักอาจไม่เป็นสีชมพู แต่ใจของคุณก็ดูจะหันไปสนใจเรื่องอื่นจึงยากที่คุณจะใส่ใจใคร ได้อย่างเต็มที่ นี่ไม่ใช่วิธีที่ดีเลยหากคิดจะพิชิตหัวใจใคร คุณอาจต้องยอมวางมือจากเรื่องความรักเมื่อในหัวของคุณคิดถึงแต่เรื่องอื่น พยายามอย่าเอาความรักเมื่อในหัวของคุณคิดถึงแต่เรื่องอื่นพยายามอย่าเอาความเครียดจากเรื่องงานมาระบายลงกับคนที่คุณหมายตาไว้ การศึกษา-สงบใจไว้ให้ได้ อย่าปล่อยให้ตัวเองหงุดหงิดกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณมีโอกาสที่จะท�ำได้ดี แต่ความส�ำเร็จจะเข้ามาหาคน ปีชวดที่นิ่งและไม่วู่วาม

ปี ฉลู

การงาน-ความมั่นใจใหม่ คุณมีความมั่นใจครั้งใหม่ที่ท�ำให้ผู้อื่นพลอยมองโลกในแง่ดีไปกับคุณด้วย ความมั่นใจและ ท่าทีที่เยือกเย็นอย่างเห็นได้ชัดจะพาคุณก้าวไปได้ไกลในเดือนนี้ ผู้อื่นจะรู้สึกมั่นใจเพียงแค่มีคุณอยู่ด้วย อีกทั้งผู้อื่น ก็รับฟังความคิดเห็นของคุณอย่างจริงจังในทุกการสนทนา ธุรกิจ-เสี่ยงด้วยความเชื่อมั่น จงเชื่อมั่นในสัญชาตญาณขงคุณเมื่อต้องตัดสินใจในเดือนนี้คุณอาจต้องลองเสี่ยงด้วยความเชื่อมั่น แต่ คุณก็ยังท�ำได้ด้วยความมั่นใจว่าทุกอย่างจะกลายเป็นดี ดวงดาวของคุณเรียงตัวในแบบที่ช่วยให้คุณเสี่ยงได้ อย่าเลือกทางที่ปลอดภัย เกินไป มิฉะนั้นคุณอาจพลาดโอกาสทอง ความรักและความสัมพันธ์-ตกหลุมรัก ไม่ใช่เวลาที่จะเล่นเกมรัก หากคุณรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร ก็ควรไขว่คว้าสิ่งนั้นมาให้ได้ ฟังเสียงหัวใจของคุณให้ดีในเรื่องของความรัก แม้ว่าด้านที่มีเหตุผลกว่าของคุณอาจบอกคุณอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็ควรให้อีกด้านหนึ่งของ คุณได้แสดงออกมาบ้าง การศึกษา-อยากเป็นอิสระ เดือนนี้คุณอาจรู้สึกอดรนทนไม่ได้ที่จะตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วย ตัวเอง เด็กนักเรียนปีฉลูโตพอที่จะท�ำเช่นนี้ได้ แล้ว แต่ก็ไม่ควรดื้อรั้นเกินไป การรับฟังความคิดเห็นอื่นบ้างก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ยิ่งหากเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญ

ปี ขาล

การงาน-โอกาสที่จะก้าวหน้า แสงสว่างเกิดขึ้นภาพในตัวคุณและมีโอกาสที่คนอื่นจะพลอยมองโลกในแง่บวกตามคุณ ไปด้วยตอนนี้เป็นเวลาที่จะคว้าโอกาสที่มีเข้ามาด้วยสองมือและลุยไปพร้อมกับโอกาสที่ได้รับคุณสามารถรับผิดชอบ งานได้มากกว่าที่คุณคิดจึงไม่ควรถอยหนีจากความท้าทาย ตอนนี้คือโอกาสที่คุณจะได้ก้าวหน้าโชค ด้านการเลื่อนขั้นปรากฏให้เห็นอยู่ ธุรกิจ-ถึงเวลาลงมือ สัญชาตญาณของคุณดี จึงควรเชื่อใจสิ่งที่คุณรู้สึก ไม่จ�ำเป็นต้องเสียเวลาคิดมากเกินไปเมื่อตัดสนใจ หากรู้สึกว่า บางอย่างใช่ จงกล้าที่จะลงมือตามนั้น ตอนนี้คือเวลาแห่งการลงมือ และบางเรื่องก็ต้องท�ำอย่างรวดเร็ว หากคุณไม่ต้องการพลาดโอกาส ก็อยู่เสี่ยงเกินไป แต่ก็ไม่จ�ำเป็นต้องระวังมากเกินไป ความรักและความสัมพันธ์-น่าชื่นใจ หากในปีนี้มีแค่เดือนเดียวที่พิเศษสุดในด้านความรัก เดือนนี้ก็ใช่เลย คุณก�ำลังรู้สึกแข็งแกร่งและ สดใส และมีแนวโน้มจะเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าในความสัมพันธ์หรือชีวิตคู่ในตอนนี้ คุณจะรับบทน�ำได้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ว่าคุณจะเป็น หญิงหรือชาย คนปีขาลที่ยังคงมองหาคู่แท้จะสนใจคนที่ฉลาดทัดเทียมกับคุณ การศึกษา-ตัดสินใจด้วยตัวเอง คุณมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะควบคุมชะตาชีวิตของคุณเอง และการได้ตัดสินใจด้วยตัวเองท�ำให้ คุณปลาบปลื้มจนลืมความผิดพลาดใด ๆ ก็ตามที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปรึกษาใครอื่นเลย 72 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน-ขาดสมาธิ คุณอาจพบว่าคุณไม่มีสมาธิ คนปีเถาะที่ท�ำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงอาจพบ ว่าผู้อื่นฉวยโอกาสจากจุดนี้ คุณจ�ำเป็นต้องท�ำงานหนักขึ้นเพื่อเรียกชื่อเสียงกลับมาเหมือนเดิม เจ้านายอาจไม่ได้ สนับสนุนคุณอย่างเต็มที่เหมือนก่อน และคนปีเถาะที่ท�ำได้ดีเมื่อได้รับค�ำชมอาจรู้สึกหมดแรงใจอย่าปล่อยให้ตัว

เองดิ่งลงและหดหู่ ธุรกิจ-อดทนไว้ อุปสรรคจะปรากฏขึ้นมาหยุดยั้งคุณบนเส้นทางที่เดิน แม้ว่าบางอย่างอาจเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่ก็ส่งผลต่อจิตใจของ คุณท�ำให้คุณต้องกังวล อย่าให้ตัวเองท�ำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีสิ่งใดที่แก้ไขไม่ได้ แม้ว่ายอดขายและรายได้อาจตกลงบ้าง แต่คุณก็แก้ไขปัญหาได้ด้วยการท�ำงานให้มากขึ้นและคิดให้แตกต่างออกไป ความรักและความสัมพันธ์-ล�ำบาก ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีส�ำหรับการเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ การเข้าใจผิดเกิดขึ้นในสายสัมพันธ์ที่ แสนสุขระหว่างคุณกับคู่รัก ไม่ว่าคุณจะคบหากันมานานหรือเพิ่งจะได้พบกันก็ตามจงค่อยเป็นค่อยไปพยายามเข้าใจให้มากขึ้น และ อย่าด่วนสรุปเรื่องใด ไว้ใจอีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนหากมีเรื่องน่าสงสัย การศึกษา-ต้องเยือกเย็น คุณอาจพบว่าวันของคุณเต็มไปด้วยภาระงานต่างๆอย่างรวดเร็วอย่าท�ำมากเกินไปและอย่าจับหลายสิ่งเกินไป ทางที่ดีควรท�ำสักสองสามอย่างให้ดีเลิศ ดีกว่าท�ำได้หลายอย่างแต่ท�ำแย่

ปี มะโรง

การงาน-ค�ำชื่นชม คุณในเดือนนี้คนปีมะโรงที่กระตือรือร้นอาจมีโอกาสได้ก้าวกระโดดไปสู่ขั้นต่อไปและยังอาจได้รับ การเลื่อนต�ำแหน่งในบางลักษณะ จะมีบุคลส�ำคัญเข้ามาในชีวิตของคุณ คนซึ่งสามารถช่วยเหลือคุณได้ ความช่วยเหลือ คุณได้ ความช่วยเหลือที่ได้อาจเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ธุรกิจ-สัญญาชิ้นงาม เดือนที่น่าตื่นเต้นเมื่อโอกาสทองวิ่งมาหาคุณ ปีนี้น�ำดาวมงคลหลายดวงมาสู่ทิศของคุณ และเมื่อดาวสวรรค์ เข้ามร่วมด้วยก็ก่อให้เกิดโชคมหามงคล จงใช้ประโยชน์จากมิตรไมตรีที่คุณได้สร้างขึ้นภายในเครือข่ายผู้ร่วมงานและคนรู้จัก คุณอาจ ต้องการค�ำรับรองหรือค�ำแนะน�ำเพื่อช่วยให้สามารถเดินบนเส้นทางที่เหมาะสม หากคุณเห็นโอกาส จงรีบติดตามไป ความรักและความสัมพันธ์-มีความสุข เป็นเดือนมงคลที่จะสานสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งขึ้น การหมั้นหมายหรือแต่งงานจะน�ำกระแสมงคล มาให้ส�ำหรับอนาคต ยากที่ใครจะต้านทานเสน่ห์ของคุณได้และคนที่ยังโสดจะได้พบคนที่รักคุณได้ไม่ยากเลย การศึกษา-โชคด้านผู้ชี้น�ำ เด็กปีมะโรงจะมีโชคด้านผู้ชี้น�ำ และคนที่มีผู้ชี้น�ำในชีวิตจะพบว่าพวกเขามีบทบาทส�ำคัญในพัฒนาการและ การตัดสินใจของคุณ จงใช้ประโยชน์ จากค�ำแนะน�ำให้เต็มที่ด้วยการรับฟังอย่างตั้งใจ

ปี มะเส็ง

การงาน-สร้างสรรค์ คุณจะไปได้สวยในที่ท�ำงานหากคุณสร้างสรรค์ อย่าลังเลที่จะแสดงความคิดเห็นที่คุณมี จงวาง เป้าหมายให้ชัดเจนและชี้แจงให้เจ้านายทราบถึงเป้าหมายที่คุณมี ความทะเยอทะยานไม่ได้เสียหายอะไร ตราบใดที่ คุณยังคงนอบน้อมถ่อมตัวอย่างเหมาะสม สิ่งพิเศษก็คือ คุณจะสามารถท�ำให้เจ้านายประทับใจได้ไปพร้อมกับรักษาเพื่อนๆ ธุรกิจ-เจรจาได้ส�ำเร็จ ประตูหลายบานจะเปิดกว้าง หากคุณรู้จักผู้คนที่เหมาะสม คุณจึงควรใช้เวลาและพยามยามสานสัมพันธ์ เมื่อ มีเครือข่ายที่รู้จักอย่ากลัวที่จะใช้ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุดก็คือถูกปฏิเสธแต่หากคุณไม่เอ่ยปากขอ คุณก็ถูกปฏิเสธอยู่แล้วโดยปริยาย ก่อนที่จะยื่นข้อเสนอ ใช้เวลาศึกษาความเป็นไปได้ทั้งหมดให้ดีก่อน หากมีสิ่งใดที่ดูแล้วเป็นไปได้ส�ำหรับคุณ ความรักและความสัมพันธ์-ได้ดังใจ คุณจะมีความปรารถนาเป็นพิเศษในเดือนนี้ ไม่ใช่แค่ต้องการให้คนอื่นชื่นชม แต่ต้องการเป็นที่รัก เลยทีเดียว ส�ำหรับคนที่แต่งงานแล้ว หากคู่ครองของคุณไม่ให้ความรู้สึกเช่นนี้แก่คุณคุณก็อาจหนีไปซบในอ้อมกอดของคนอื่น หาทาง รักษาชีวิตคู่ของคุณไว้หากนั่นคือสิ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับคุณ คุณอาจต้องเป็นฝ่ายรุกและพยายามเองมากกว่าครึ่ง การศึกษา-ทุกสิ่งเสร็จลงได้ เด็กปีมะเส็งจะได้รับผลดีจากครูหรือผู้ชี้น�ำที่หวังดีในสิ่งที่คุณท�ำอยู่ลองมองหาบุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้ บุคคลที่จะท�ำให้การเรียนของคุณดีขึ้นและช่วยให้คุณเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 73 issue 99 april 2016


ปี มะเมีย

การงาน-อย่าเป็นจุดสนใจ แม้ว่าคุณจะอยากปล่อยให้สถานการณ์พาไป เดินไปช้าหรือเร็วตามที่สภาพแวดล้อม ก�ำหนด แต่ลึกๆ แล้วคุณคงอยากให้ สิ่งต่างๆ เดินช้าลง ถอยกลับมาประเมินแล้วมองดูปลายทางอย่าท�ำตาม สถานการณ์จนลืมเป้าหมายสูงสุดของคุณอย่าเปิดเผยมากเกินไป ธุรกิจ-ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ท�ำทีละอย่าง คุณควรต้องมีกลยุทธ์ในการเดินหน้าที่ชัดเจน หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจเอง จงใช้เวลา เพื่อคิดให้มากพอๆ กับลงมือ จุดแข็งที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งของคุณคือความสามารถที่จะเดินหน้าต่อไป แต่บางทีการได้หยุดบ้างก็เป็นผล ดีเช่นกัน ชะลอการลงมือก่อน วางแผนก่อนที่จะก้าว ความรักและความสัมพันธ์-อย่าเผลอใจ ชีวิตส่วนตัวช่วยให้คุณได้พักการชีวิตการงานที่อาจน่าหงุดหงิดและไม่เป็นไปอย่างที่คุณหวัง พักใจกับความสัมพันธ์ที่แสนสุขและหาทางกระชับความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น อาจมีสิ่งล่อใจนอกความสัมพันธ์ แต่คุณรู้ดีว่านั่นจะไม่ เป็นผลดี มุ่งทะนุบ�ำรุงสิ่งที่คุณมี การศึกษา-อย่าท�ำมากเกินไป อย่าท�ำตัว “เก่งไปเสียทุกอย่าง”จนลงท้ายด้วยการท�ำทุกอย่างแค่พอรับได้ แต่ไม่มีอะไรสักอย่างที่ดี เยียมจริงๆ

ปี มะแม

การงาน-ไล่ตามความฝัน ชีวิตสังคมหรือแม้แต่ชีวิตรัก จะมีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตคุณในเดือนนี้ คุณจะรู้สึกอยาก อยู่กับผู้อื่นและแสวงหาเพื่อการได้พบปะและพูดคุยกับเพื่อนและคนรู้จักที่คุณไม่ได้ติดต่อมาสักระยะจะช่วยน�ำความ สดชื่นกลับคืนมาสู่ชีวิตของคุณ หากคุณคบหาคนเพียงกลุ่มเล็กๆ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ตอนนี้ได้เวลาที่จะขยายกลุ่มของคุณแล้ว ธุรกิจ-หุ้นส่วนใหม่ เดือนนี้จะน�ำช่องทางมากมายมาให้คุณส�ำรวจคุณมีทางเลือกหลากหลายอยู่เบื้องหน้า แต่ค�ำถามคือ จะเลือกทุ่มเท ให้ทางไหนดีแม้ว่าคุณอาจรู้สึกกลัวอยู่บ้าง แต่นี่ก็ยังดีกว่าไม่มีทางให้เลือกเลย คุณจะเข้าใจความหมายทั้งหมดและรู้สึกว่ามันคุ้มค่าที่ จะลงมือ ความรักและความสัมพันธ์-ยากจะห้ามใจ เดือนที่ดีส�ำหรับคนปีมะแมที่มีรัก คุณจะเป็นคนรักที่เร่าร้อนเมื่อคุณมีอารมณ์และใน เดือนนี้คุณจะมีอารมณ์เช่นนั้นอยู่บ่อยๆ คนปีมะแมที่ยังโสดและมองหารักจะทุ่มเทขึ้นมากเพื่อแสวงหาชีวิตรักที่สนุกสนาน แต่คนที่ แต่งงานแล้วต้องระวังอย่าปล่อยใจท�ำบางสิ่งที่คุณอาจต้องเสียใจ หากชีวิตของคุณเสี่ยงต่อการนอกใจคู่ชีวิตของคุณ การศึกษา-ดีเยี่ยม ดาวหมายเลข4น�ำโชคด้านการศึกษาที่ช่วยให้การเรียนสนุกสนานให้ความรู้มาก และท�ำให้รู้สึกดี คนปีมะแมที่ก�ำลัง จะสอบจะท�ำได้ดี แต่อย่าลืมความพยายามด้วยแม้แต่อัจฉริยะก็ต้องทบทวนบทเรียนเช่นกัน

ปี วอก

การงาน-มิตรไมตรี ข้อได้เปรียบในด้านการงานของคุณคือ การที่คุณสร้างความสนิทสนมกับคนที่ร่วมงานด้วยได้ อย่างง่ายดาย เพื่อนร่วมงานจะไว้ใจบอกความลับให้แก่คุณและเริ่มชอบที่จะร่วมงานกับคุณ และชีวิตการงานก็เริ่ม สนุกขึ้นด้วย การมีเป้าหมายร่วมกันก็ช่วยแบ่งเบาความกดดันที่คุณต้องแบกรับมีการแข่งขันน้อยลง ธุรกิจ-จัดความรับผิดชอบให้ลงตัว ทีมงานที่คอยสนับสนุนอย่างแข็งขันจะช่วยให้คุณได้เปรียบในอีกหลายเดือนนับจากนี้ ลองพยายาม แบ่งงานโดยให้ทุกคนที่ท�ำงานให้คุณหรือร่วมงานกับคุณได้มีส่วนร่วมมากขึ้นในระบบการท�ำงานที่ใหญ่ขึ้น การแจกงานตามความช�ำนาญ และให้ต่างคนต่างรับผิดชอบส่วนของตัวเองจะช่วยให้ทุกคน รวมทั้งตัวคุณ พอใจกับการท�ำงานขึ้น ความรักและความสัมพันธ์-รักแท้ คุณก�ำลังรู้สึกอยากมีเพื่อนคู่ใจ คนปีวอกที่ยังโสดแต่ต้องจดจ่ออยู่กับชีวิตด้านอื่นอาจพบว่าคุณอด คิดถึงเรื่องความรักไม่ได้คนปีวอกบางคนอาจพบรักก่อตัวขึ้นในรูปแบบที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แล้วคุณก็จะได้ลองคบหาดูใจกับคนที่ต่าง จากคนที่คุณเคยคบมาในอดีต การศึกษา-เรียนอย่างฉลาด คุณมีโชคด้านการศึกษาอยู่เคียงข้าง แต่จงเรียนรู้ที่จะท�ำงานอย่างฉลาดแทนที่จะท�ำอย่างหนัก ด้วยบุคลิก แล้วคุณเหมาะกับการเรียนอย่างฉลาดมากกว่าวิธีการขยันอย่างเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขี้เกียจได้ 74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน จงแสดงความคิดเห็นอย่างมั่นใจ บางเรื่องอาจไม่ได้รับการตอบรับที่ดี แต่บางเรื่องก็จะได้รับการตอบรับ อย่างดี แต่ต้องระวังอย่าล่วงเกินใครระหว่างที่ก�ำลังกรุยทางเดินไปข้างหน้า หากคุณพยายามท�ำให้ทุกคนเป็นมิตร กับคุณ คุณก็จะได้เห็นตัวเองประสบความส�ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในปีนี้ ธุรกิจ หลายต่อหลายคนต้องการร่วมงานกับคุณ เพียงแค่เพราะชอบคุณ ตอนนี้ยังเป็นเดือนที่ดีส�ำหรับการลงทุนและขยายธุรกิจ ทุก สิ่งที่คุณตั้งใจท�ำตอนนี้จึงให้ผลดีในเดือนต่อๆ ไป หากมีบางสิ่งที่คุณอยากเปลี่ยนแปลงควรเกิดขึ้นเฉพาะในยามที่โชคของคุณอยู่ในช่วง ขึ้นเท่านั้น มิฉะนั้นผลลัพธ์อาจน่าใจหาย แต่โชคของคุณตอนนี้ก�ำลังดีแบบสุดๆ จึงไม่มี อะไรให้ต้องกังวล ความรัก คุณปรับอารมณ์ให้เข้ากับผู้อื่นได้ดีและส่วนใหญ่ก็มักเป็นอารมณ์รักหวานซึ้ง หากคุณไม่สามารถมีอนาคตร่วมกันได้ ก็ไม่ควร ยุ่งเกี่ยวกันตั้งแต่แรก แม้กระนั้น ก็ไม่มีอะไรเสียหายที่จะมีความสุขกับมหัศจรรย์แห่งความรัก ยิ่งคุณคิดถึงแต่ความรักได้มากเท่าใด ประสบการณ์แห่งรักที่คุณจะได้พบก็จะงดงามยิ่งขึ้น การศึกษา คุณจะได้เห็นผลลัพธ์เป็นชิ้นเป็นอัน หากคุณตั้งใจเรียนอย่างต่อเนื่อง และเมื่อคุณเริ่มประสบความส�ำเร็จครั้งใหญ่ได้คุณจะ รู้ว่าที่จริงมันก็ไม่ได้ยากเย็นเลย เมื่อคุณชินกับการจัดระบบตัวเองให้มีประสิทธิภาพแล้ว คุณก็จะรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียน

ปี จอ

การงาน-ติดปีก คุณก�ำลังมาแรง และยังได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายช่วยให้คุณเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ คุณเป็นที่ ชื่นชอบทั้งในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน คนวัยเดียวกัน และเจ้านาย คนอื่นๆ ชื่นชมและมองคุณเป็นแบบอย่างหากคุณวางตัว ให้ดีพอ ถ้าคุณต้องการเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริงอย่าเอาแต่แข่งขันกับผู้อื่น ธุรกิจ-ติดปีก จะมีกระแสความมั่งคั่งอันมากมายให้คุณได้ตักตวง แต่คุณจะตักตวงได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับอะไรหลายอย่าง บางอย่างก็ อยู่เหนือการควบคุมของคุณ แต่สิ่งที่คุณควบคุมได้คือความรู้และภูมิปัญญา โอกาสที่แสนวิเศษจะผ่านเข้ามาหาคุณ แต่อันดับแรกคุณ ต้องสังเกตให้เห็นเสียก่อนเมื่อโอกาสเปิดทางให้คุณ ความรักและความสัมพันธ์-ให้โชคชะตาน�ำพา จงเรียนรู้ที่จะปล่อยให้สถานการณ์เป็นไป แทนที่จะพยายามควบคุมทุกอย่างตลอดเวลา ในเดือนนี้กระแสโชคชะตาจะเป็นใจให้คุณ อย่าท�ำลายสิ่งต่างๆเพราะมัวแต่วิเคราะห์ทุกอย่างเกินไปในเรื่องความรัก คุณไม่จ�ำเป็นต้อง ท�ำให้ทุกอย่างเป็นสูตรวิทยาศาสต์หรือคณิตศาสตร์ การศึกษา-มั่นใจ คุณจะท�ำได้ดีในการโต้วาทีและแสดงความคิดเห็นที่น่าประทับใจในชั้นเรียนหากคุณสามารถผสมผสานพลังในการพูด โน้มน้าวของคุณเข้ากับเสน่ห์ คุณก็อาจสร้างความสัมพันธ์ที่พิเศษมากกับครูอาจารย์บางท่าน ซึ่งจะคอยส่งเสริมคุณ

ปี กุน

การงาน-เลื่อนขั้น ความส�ำเร็จในเดือนนี้จะมาจากการไวต่อโอกาส พร้อมกับรู้จักอดทนรอรางวัล การท�ำงานอย่าง ไม่เห็นแก่ตัวจะน�ำรางวัลมาให้เอง มีโอกาสดีมากที่คุณจะได้เลื่อนไปสู่ต�ำแหน่งที่สูงขึ้นในตอนนี้ เสริมโชคด้านการ เลื่อนขั้นได้โดยวางเทพเห้งเจียขี่มังกรไว้บนโต๊ะท�ำงาน ท�ำงาน-มีสัญญาณที่ดี โชคด้านความมั่งคั่งดูสดใสมาก หากคุณเป็นเจ้าของบริษัทเองคุณก็มีโอกาสที่จะประสบความส�ำเร็จได้อย่างมาก ตอนนี้เป็นเวลาที่คุณจะมั่นใจได้ในการเสี่ยง ลงทุน หรือขยายธุรกิจไปด้านใหม่ที่มีศักยภาพ อย่ามองข้ามโอกาสที่เข้ามา เพราะเรื่องราว แห่งความส�ำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีความกล้าหาญและความเสี่ยง ความรักและความสัมพันธ์-น่าพอใจ พลังแห่งรักมีให้เหลือเฟือในเดือนนี้ ความสัมพันธ์ทุกอย่างของคุณจึงน่าพอใจจริงๆ คนปีกุน ที่ทุ่มเทเวลาให้กับเรื่องอื่นๆ ที่ส�ำคัญในชีวิตอาจเริ่มคิดถึงความรักและการแต่งงาน คุณไม่ใช่คนที่ชอบมีคู่ควงสนุกไปเรื่อยหรือคู่นอน ข้ามคืน แต่คุณต้องการใครบางคนที่ร่วมชีวิตกับคุณได้ การศึกษา-เรียนรู้ทักษะใหม่ เดือนนี้ดีส�ำหรับการแสวงหาความรู้และเรียนทักษะใหม่ๆ คนปีกุนที่มุ่งมั่นจะสามารถก้าวหน้าไปได้ไกลใน เดือนนี้ คนที่ก�ำลังจะสอบก็จะมาโชคด้านการสอบที่ดี ทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับค�ำชม ทุนการศึกษา รางวัล หรือเกียรติยศในลักษณะเช่นนี้ 75 issue 99 april 2016


กระจกส่องใจ 76 IS AM ARE www.ariyaplus.com


บทความพิ เ ศษ ส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ ก� ำ ลั ง ศึ ก ษา วิ ช าจิ ต วิ ท ยาสาขาการให้ ค� ำ ปรึ ก ษา แนะน�ำ หรือ Counseling และหรือนัก สังคมสงเคราะห์ และหรือครูแนะแนวที่ จะท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำส�ำหรับ เยาวชน เริ่ ม ต้ น ครู อ าจารย์ ผู ้ ส อนก็ มั ก จะบอกว่า “ผู้ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำนั้น ท�ำหน้าที่เปรียบเสมือน กระจกเงา ที่ สะท้ อ นกลั บ ให้ ผู ้ ม าปรึ ก ษาได้ แ ลเห็ น ตัวเองทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึกและ การกระท� ำของเขาเอง” พวกเราส่วน ใหญ่มักจะไม่เข้าใจ สงสัยและกังขาว่า “มันจะเป็นไปได้อย่างไร และท�ำไปเพื่อ อะไร ?” ท� ำ ไ ป เ พื่ อ อ ะ ไ ร ? จ า ก ประสบการณ์ของนักวิชาชีพที่ท�ำหน้าที่ ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ พบว่า ผู้มีปัญหา ส่วนใหญ่ ตระหนักถึงปัญหาของตนเอง และรู ้ ถึ ง ทางออกของปั ญ หาว่ า เขาจะ ต้องท�ำอะไรต่อไป แต่มากมายไม่แน่ใจ ต้องการก�ำลังใจ ต้องการรู้ว่า คนอื่น ๆ คิดอย่างไรและหากมีปัญหาเหมือนเขา คนเหล่านั้นจะเลือกทางออกใด เหมือน เขาหรื อ ไม่ และที่ ส� ำ คั ญ สิ่ ง ที่ เขาเห็ น ว่าเป็นปัญหายิ่งใหญ่นั้น คนอื่น ๆ เห็น เหมือนเขาหรือเปล่า? ผู้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่ มักคิดเข้า ข้างตนเองว่าถูกต้อง ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น ความผิดของฝ่ายตรงข้าม แต่ลึก ๆ แล้ว เขาไม่ แ น่ ใจและอยากให้ มี ค นยื น ยั น ว่ า ความคิดและการกระท�ำของเขานั้นเป็น อย่างไร คนอื่นเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งคนอื่น ในที่นี้อาจเป็นเพื่อน เครือญาติหรือคน รู้จักคุ้นเคย ซึ่งอาจมีความรักใคร่เกรงใจ ไม่อยากให้สะเทือนใจ จึงระมัดระวังที่ จะไม่ พู ด อะไรที่ ท� ำ ร้ า ยจิ ต ใจผู ้ มี ป ั ญ หา แต่การไปพบนักวิชาชาชีพด้านจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นคนอื่น

มีความเป็นกลางไม่มีส่วนได้เสียกับเรื่อง ราวที่เกิดขึ้น นักวิชาชีพจึงสามารถตอบ ค� ำ ถามหรื อ สะท้ อ นความคิ ด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้มาปรึกษาได้อย่าง ตรงไปตรงมา ซึ่ ง จะท� ำ ให้ ผู ้ มี ป ั ญ หา มองเห็นและตระหนักว่า ตนเองมีส่วน เกี่ ย วข้ อ งหรื อ มี ส ่ ว นในการท� ำ ให้ เ กิ ด ปัญหามากน้อยแค่ไหน ที่ส�ำคัญคือปัญหา นั้น ๆ หรือพฤติกรรมของผู้มาปรึกษาส่ง ผลกระทบต่อตนเองและคู่กรณีอย่างไร บ้างเช่นกัน นั่นหมายความว่า คนกลางหรือ ผู้ท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ หรือนัก วิชาชีพด้านจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เป็ น ต้ น อาจสะท้ อ นความจริ ง ซึ่ ง อาจ ขั ด แย้ ง กั บ ความคิ ด ความต้ อ งการ ของผู ้ ม าปรึ ก ษา แต่ ค นกลางมองเห็ น พฤติกรรมและการกระท�ำเป็นอย่างไร ก็ สะท้อนความเป็นจริงออกมาให้ปรากฏ เฉกเช่นเงาสะท้อนจากกระจกเงาฉันใด ก็ฉันนั้น ส่วนผู้มาปรึกษาจะชอบหรือไม่ ชอบ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

อย่ า งไรก็ ต าม การฝึ ก ความ เป็ น กลางและชั ด เจนในการใช้ ทั ก ษะ การสะท้ อ นอารมณ์ และความรู้สึกของ ผู้ใช้บริการ กลับไปให้แต่ละคนมองเห็น ตนเองได้ ชั ด เจน นอกจากจะช่ ว ยผู ้ ใช้ บริการให้ได้เรียนรู้จักตัวเองมากขึ้นแล้ว การที่ ผู ้ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ เข้ า ใจถึ ง หน้าที่ในการเป็นกระจกเงาส่องใจผู้คน แล้ ว ยั ง เป็ น การช่ ว ยให้ ผู ้ ท� ำ หน้ า ที่ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ ไม่ ต ้ อ งแบกรั บ ภาระ และปัญหาของผู้มาปรึกษาเอาไว้ ด้วย ตระหนั ก ในความหมายของกระจกเงา ไว้ดังนี้ กระจกส่ อ งใจ กระจก......ไม่เลือกที่จะสะท้อน ภาพทุกชนิด ฉันใด จิ ต ใจ.......จงเอาเยี่ ย งอย่ า ง กระจก กระจก.......รั บ รู ้ แต่ ไ ม่ ยึ ด ถื อ ครอบครอง

ผู ้ ที่ มี ป ั ญ หาส่ ว นใหญ่ มั ก คิ ด เข้ า ข้ า งตนเองว่ า ถู ก ต้ อ ง ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ความผิ ด ของฝ่ า ยตรงข้ า ม แต่ ลึ ก ๆ แล้ ว เขาไม่ แ น่ ใ จและอยาก ให้ มี ค นยื น ยั น ว่ า ความคิ ด และการกระท� ำ ของเขานั้ น เป็ น อย่ า งไร คน อื่ น เห็ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ เพราะฉะนั้น ทักษะการสะท้อน อารมณ์และความรู้สึก จึงเป็นคุณสมบัติ ที่ ส� ำ คั ญ ล� ำ ดั บ ต้ น ๆ ของผู ้ ท� ำ หน้ า ที่ ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ ทั้ ง นั ก จิ ต วิ ท ยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ จึงต้องมีความ ชัดเจน ซื่อตรงต่อหน้าที่และวิชาชีพของ ตนเอง โดยไม่ ป ล่ อ ยให้ ค วามสั ม พั น ธ์ ส่วนตัวหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคลเข้า มาเกี่ ย วข้ อ งในการท� ำ หน้ า ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร ปรึกษาแนะน�ำ 77 issue 99 april 2016

ดังนั้น.......จึงไม่มีภาพใดใดหลง เหลือติดอยู่ในกระจก สายฝน......ในกระจก หาได้เปียก กระจกไม่ เปลวไฟ.....ในกระจก ก็หาได้เผา ลนกระจกไม่ ทั้งนี้...........เพราะกระจกไม่ให้ อ�ำนาจแก่สายฝน และเปลวไฟ จงท� ำ จิ ต ใจของท่ า นให้ เ ป็ น ดุ จ การรั บ รู ้ ข องกระจก เพราะถ้ า หากจิ ต


ปรึกษาแนะน�ำ เพื่อน ๆ เครือญาติและผู้คนที่รู้จัก มักจะถาม ว่า “ท�ำหน้าที่รับฟังปัญหาผู้คนมากมาย จะไม่ท�ำให้เราต้องมี ความเครียดหรือทุกข์ไปกับผู้มาปรึกษาหรือ ?” เป็นเรื่องยาก ที่จะปฏิเสธว่า เราจะไม่เป็นเช่นนั้น แต่ในฐานะของนักวิชาชีพ ก็ ต้องเรียนรู้ที่จะฝึกใจตนเองให้ได้เปรียบดังกระจกเงาที่สะท้อน ทุกอย่างออกไปไม่เก็บไว้กับตัว แต่ช่วยให้ผู้มีปัญหาสามารถมอง เห็นตัวของเขาได้ชัดเจน ตัวอย่างกรณีนี้ “ผมมีแฟนมาหลายคนครับ แต่ผมไม่เข้าใจว่า ท�ำไม เดี๋ยวนี้หาผู้หญิงที่บริสุทธิ์ยากเหลือเกิน จนมาวันหนึ่งผมเจอ ผู้หญิงคนหนึ่ง ดูท่าทางเธอเรียบร้อยมากเลยครับ ผมก็เลยเริ่ม จีบเธอ เธอดูอ่อนหวานนิ่มนวลมากจนท�ำให้ผมมั่นใจว่าคน นี้แหละที่ใช่แน่นอน! เราคบกันมาหนึ่งปี เธอก็สงวนทีท่ามา โดยตลอด จนมีอยู่วันหนึ่งเราก็ไปเที่ยวค้างคืนด้วยกัน ซึ่งเป็น ครั้งแรกของเรา ผมกะจะไม่ท�ำอะไรเธอแล้ว แต่สุดท้ายก็พลั้ง พลาดจนได้ครับ จึงท�ำให้ผมรู้ว่าเธอไม่บริสุทธิ์ เพราะรู้สึกว่า ผู ้ มี ป ั ญ ห า ส ่ ว น ใ ห ญ ่ ต ร ะ ห นั ก ถึ ง ป ั ญ ห า ข อ ง ตนเอง และรู ้ ถึ ง ทางออกของปั ญ หาว่ า เขาจะต้ อ ง ท� ำ อะไรต่ อ ไป แต่ ม ากมายไม่ แ น่ ใ จ ต้ อ งการก� ำ ลั ง ใจ ต้ อ งการรู ้ ว ่ า คนอื่ น ๆ คิ ด อย่ า งไรและหากมี ป ั ญ หา เหมื อ นเขา คนเหล่ า นั้ น จะเลื อ กทางออกใด ของท่าน หลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของกิเสลเมื่อใด ความทุกข์ ความเศร้าหมองใจย่อมตามมา เมื่อนั้น นี่ คื อ มรรควิ ธี แ ห่ ง การเพ่ ง พิ จ ารณาและรั บ รู ้ ส รรพสิ่ ง ด้วยใจที่สงบบริสุทธิ์ ว่างเปล่าจากการปรุงแต่ง เพื่อปลดปล่อย จิตใจให้ว่างเปล่า หลุดพ้นไปจากภาพมายาธรรมต่าง ๆ ที่คอย ฉุดรั้ง หลอกลวงจิตไม่ให้เห็นถึงความจริง ซึ่งจะต้องพยายาม ท� ำ จิ ต ให้ ห ลุ ด พ้ น จากการยึ ด ติ ด ในสิ่ ง ทั้ ง ปวงเปรี ย บเสมื อ น กระจก ฯ (คุณทัสสี ภิกขุ) จะเห็นว่า หลักค�ำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากความหมายที่ท่านผู้ทรงศีล “คุณทัสสี ภิกขุ” ได้อธิบาย ถ่ายทอดถึงการฝึกจิตไว้นี้ ไม่ต่างจากการท�ำงานของนักวิชาชีพ ด้านสังคมจิตวิทยา ซึ่งจะต้องได้พบได้รับฟังปัญหาของผู้คน มากมาย จึงจ�ำเป็นต้องปล่อยใจว่าง ฝึกให้จิตเป็นกลาง ไม่ยึด ติดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด เปรียบเป็นเช่นกระจกเงา แม้สะท้อน เปลวไฟหรือสายฝน ย่อมไม่ท�ำให้กระจกเงานั้นเปียกน�้ำหรือถูก แผดเผาด้วยเปลวไฟได้ ฉันใดก็ฉันนั้น จากประสบการณ์ ท� ำ งานเป็ น นั ก วิ ช าชี พ ให้ บ ริ ก าร

หลวมมาก และในที่สุดเธอก็สารภาพกับผมว่า เธอเคยมีแฟน มาแล้วถึงสามคน ผมเลยคิดไม่ตกและเครียดว่า ผู้หญิงสมัยนี้ ผู้หญิงดี ๆ หายไปไหนหมดครับ ผมอยากได้แฟนที่บริสุทธิ์เพื่อ มาเป็นแม่ของลูกมาก ผมควรหาได้ที่ไหนครับ ผมมีแฟนมา หลายคนครับ แต่ผมไม่เข้าใจว่า ท�ำไมเดี๋ยวนี้ผู้หญิงที่บริสุทธิ์ หาได้ยากจริง ๆ!” จากปัญหาที่ปรึกษาผ่านทางเวบไซด์มาโดยชายหนุ่ม คนนี้ คนที่อ่านเนื้อเรื่องแล้วก็อาจจะรู้สึกเหมือน ๆ กันเขาคิดว่า ผู้หญิงดี ๆ คือผู้หญิงที่บริสุทธิ์ยังไม่เคยเสียพรหมจรรย์จนคืนวัน แต่งงาน ซึ่งในอดีตอาจเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงต้องรักนวลสงวน ตัวจนกว่าจะได้แต่งงานกับคนที่เธอรักใคร่หรือพ่อแม่เลือกให้ ผู้หญิงในอดีตไม่มีทางเลือกนักเพราะการศึกษาน้อย ไม่มีงานท�ำ พึ่งตนเองไม่ได้ แต่งงานแล้วก็ได้ชื่อว่าสามีเป็นเจ้าของชีวิต ใน ขณะที่ผู้ชายจะเกี่ยวข้องหรือผ่านผู้หญิงและมีเมียเก็บซ่อนไว้จะ กี่คนก็ได้ไม่เสียหาย แต่ชีวิตในสังคมหรือในโลกปัจจุบันเปลี่ยน ไปแล้ว ผู้หญิงมีการศึกษาสูงมีงานการท�ำพึ่งพิงตนเองได้ มีสิทธิ์ เลือกเป็นเลือกท�ำและเลือกคู่ที่ตนเองพอใจได้ ที่ส�ำคัญคือเธอ ตระหนักในความจริงที่ว่า “ผู้หญิงดีไม่ได้อยู่ที่พรหมจรรย์ หรือ 78

IS AM ARE www.ariyaplus.com


การจะเป็นแม่ที่ดีของลูกนั้น ไม่ใช่เพราะ เธอเป็นสาวบริสุทธิ์!” ผู้หญิงสมัยใหม่สามารถแยกแยะ ได้ว่า ความต้องการทางเพศหรือความ ต้องการเซ็กซ์ เกิดขึ้นเพราะฮอร์โมนใน ร่างกาย เธอเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์ตาม ความต้ อ งการตามธรรมชาติ แต่ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่ า เธอจะเลื อ กชายคนนั้ น เป็นคู่สมรสเสมอไป เธอเสี่ยงเพื่อให้ได้ ชายที่เธอถูกใจเท่าที่สิทธิ์ในการเลือกคู่ ครองเป็นของเธอ เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ ที่ชายหนุ่มพูดเหมือน เธอไม่ใช่อยู่ในข่าย ที่เขาจะเลือกเป็นคู่ครอง เช่นกัน เขารู้ หรือไม่ว่าฝ่ายหญิงก็อาจไม่สนใจจะเลือก เขาเป็นคู่เช่นกัน หลังจากคืนนั้น และหลัง จากที่คบหากันต่อไป เธอก็จะยิ่งรู้จักตัว ตนที่แท้จริงของเขามากยิ่งขึ้น

จากที่ เ ขาแสดงความคิ ด เห็ น ผู้ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำสามารถสะท้อนให้ เขาได้ก้มลงมองตนเองว่า เป็นไปได้หรือ ไม่ ที่ ว ่ า เขาเป็ น ผู ้ ช ายที่ ไ ม่ ต ระหนั ก และ ไม่เคารพสิทธิสตรี เขามีความเชื่อแบบ ไทยโบราณว่า ผู้ชายท�ำอะไรไม่เสียหาย จะผ่านผู้หญิงมาสักกี่คนไม่เป็นไร แต่เขา ต้องการแต่งงานเฉพาะกับผู้หญิงบริสุทธิ์ เท่ า นั้ น หากผู ้ ช ายทุ ก คนในประเทศนี้ คิดได้อย่างเขา ก็แน่ใจได้เลยว่า จะไม่ เหลื อ ผู ้ ห ญิ ง พรหมจรรย์ ใ ห้ เ ลื อ กหรอก เพราะผู้ชายไทยประเภทเขานั้น ได้ชื่อ ว่า “เจอผู้หญิงคนไหน ก็ฟันดะ!” ดังที่ เขาเล่ามา ที่ ส� ำ คั ญ มากกว่ า นั้ น คื อ ความ คิ ด หรื อ ทั ศ นคติ เช่ น นี้ แ หละที่ น� ำ ไปสู ่ พฤติกรรมทางเพศของผู้ชายในการ ชอบ 79 issue 99 april 2016

ที่ จ ะฉวยโอกาส เอาเปรี ย บผู ้ ห ญิ ง ใน หลายรูปแบบ เพราะรู้ว่าเพศหญิงอ่อน ไหว อ่อนแอ หากพลาดพลั้งไปก็ไม่กล้า จะเอาความเพราะมีความอับอาย ยิ่ง ท�ำให้ผู้ชายมากมายได้ใจ และหากเขายัง ต้องการที่จะให้สังคมนี้ มีผู้หญิงบริสุทธิ์ เหลืออยู่ให้มาก ตัวเขาในฐานะเพศชาย ก็น่าจะเริ่ม ลด ละ เลิก พฤติกรรมเอา เปรียบทางเพศจากฝ่ายหญิงเสีย และหัน มาเคารพในสิทธิ์ความเสมอภาคระหว่าง หญิ ง ชายให้ ม ากขึ้ น เพื่ อ ที่ เราจะได้ อ ยู ่ กั น ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ สุ ข และหากเป็ น ไปได้ เขาก็ควรรักษาพรหมจรรย์ของตัว เองเอาไว้ เช่นเดียวกับที่เขาคาดหวังจาก ฝ่ายหญิง อรอนงค์ อินทรจิตร 29 มีนาคม 2559


พิธีมอบรางวัลการประกวดการน�ำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ระดับโรงเรียน ประจ�ำปี 2529

ดร.กุ ศ ลิ น มุ สิ กุ ล รั ก ษาการผู ้ ช ่ ว ยผู ้ อ�ำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานใน “พิธี มอบรางวัลการประกวดการน�ำเสนอผลงาน วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ระดั บ โรงเรียน ประจ�ำปี 2529” ให้แก่โรงเรียนระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่เป็น องค์ประกอบของโลก ผ่านการศึกษาวิจัยเกี่ยว กับปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่นของตนอย่างเป็นระบบ ณ ห้องเรนโบว์ ฮอลล์ โรงแรมใบหยกสกาย กรุ ง เทพฯ เมื่ อ เร็วๆ นี้

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียงสร้างเครือข่ายนักเรียนจิตอาสาทั่วประเทศผ่านกิจกรรมค่าย “Friend’s Camp @Bangkok” มู ล นิ ธิ ค ร อ บ ค รั ว พอเพี ย งจั ด กิ จ กรรมค่ า ยการ เรี ย นรู ้ “ Friend’s Camp @Bangkok “ ณ โรงเรี ย น สตรี วิ ท ยา กรุ ง เทพมหานคร โดยได้ น� ำ นั ก เรี ย นที่ เข้ า ร่ ว ม โครงการครอบครั ว พอเพี ย ง สู ่ ส ถ า น ศึ ก ษ า แ ล ะ ชุ ม ช น จากส่ ว นภู มิ ภ าคจ� ำ นวน 56 จังหวัด จ�ำนวนกว่า 700 คน เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมต่ า งๆใน กรุงเทพมหานคร อาทิ ศึกษาดู งานโครงการส่วนพระองค์สวน จิ ต รลดา ศึ ก ษาดู ง านรั ฐ สภา ท�ำเนีบยรัฐบาล ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากท่านกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เดินทางมา พบปะและให้โอวาทกับนักเรียนที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมและในพิธีมอบเกียรติบัตรยังได้รับเกียรติจากหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธีพร้อมทั้งมอบโล่รางวัลในกิจกรรม I’m Hero ให้กับนักเรียนที่เข้า ร่วมโครงการฯ 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียงสร้างเสาหลักของชาติผ่าน “ซุ ปเปอร์ครู ” มูลนิธิครอบครัวพอเพียง ร่วมกับ มูลนิธิ คลั ง สมองวปอ.เพื่ อ สั ง คมและสถาบั น พั ฒ นาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ได้ผสานความร่วมมือผ่านการท�ำบันทึกข้อตกลง (MOU) ในจัดการอบรมหลักสูตร “การส่งเสริม ศักยภาพครู เพื่อสืบสานหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ภายใต้การ น้อมน�ำปรัชญาของเศรษฐกกิจพอเพียงมาสร้าง กลไกการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายสู่สถาบันการศึกษา ให้กับเยาวชนครอบครัวพอเพียงได้เข้าถึง เข้าใจ อย่างยั่งยืน ในฐานะรากแก้วของแผ่นดิน ภายในงานรับเกียรติจากท่านพลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ประธานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ได้มาร่วมพบปะกับคณะครูที่เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน” และมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ที่เข้ารับการอบรมจาก 69 จังหวัด จ�ำนวน 187 คน ทั้งนี้ครูที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมศักยภาพครู เพื่อสืบสานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังได้รับการประดับเข็มซุปเปอร์ครูจากคุณสุชานี แสงสุวรรณ ประธานกรรมการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง รวมถึงการร่วมสร้างพันธ สัญญาร่วมกันในการที่พัฒนาศูนย์ครอบครัวพอเพียงในทุกจังหวัดเพื่อที่จะพัฒนาให้เยาวชนเป็นพลเมืองเข้มแข็งและมีใจอาสาสืบไปใน อนาคต

ซี พี ออลล์ ร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและถุงพลาสติก

ชมรมจิตอาสา พนักงานซีพี ออลล์ และพนัก งานเซเว่น อีเลฟเว่น ในจังหวัด ร่วมกับเทศบาลนคร อุ บ ลราชธานี และพั น ธมิ ต รธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก จั ด งาน ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกพลเยาวชนและประชาชน รณรงค์ ลด ละ เลิก ใช้โฟมและถุงพลาสติก มุ่งสร้าง เมืองคาร์บอนต�่ำ พร้อมรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียง เหนือกว่า 160 สาขา นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าว ว่า การร่วมรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกกิจกรรมส�ำคัญที่ชมรมจิตอาสา พนักงาน ซีพี ออลล์ มีหัวใจอาสาเหมือนกัน ร่วมแรง ร่วมใจท�ำดี เพื่อประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมชุมชนและสังคม ล่าสุดเซเว่นฯ ได้ร่วมกับชาวอุบลราชธานี สนับสนุนจัดงานภายใต้โครงการ “คิดถุ๊ง คิดถุง” หนึ่งในโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเซเว่น อีเลฟเว่น (เซเว่นโกกรีน) โดยมีแนวคิดในการรณรงค์ “ซื้อของชิ้นเล็ก ไม่รับถุง” หรือ “ซื้อของหลายชิ้นใส่รวมถุง” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เคยน�ำร่องใน 5 จังหวัดภาคตะวันออก ล่าสุดขยาย ผลสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มอีก 4 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี , ศรีสะเกษ , อ�ำนาจเจริญ และสุรินทร์ พร้อมเตรียมปูพรม รณรงค์ทั่วประเทศ 81 issue 99 april 2016


82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


“...การที่ ใ นประเทศใด มี ป ระชาชนทั้ ง หมดอยู ่ ร ่ ว มกั น โดยสั น ติ ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ป รารถนาของทุ ก คนไม่ มี ใ ครอยาก ให้ มี ค วามวุ ่ น วายนั้ น เป็ น ความทุ ก ข์ ทุ ก คนต้ อ งการความสุ ข หากความสุ ข นั้ น ก็ จ ะมาจากความปรองดอง และความที่ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง เป็ น ไปโดยยุ ติ ธ รรม...” พระราชด�ำรัส ในโอกาสที่รองประธานศาลฎีกาน�ำผู้พิพากษาประจ�ำกระทรวงเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ครั้งแรก พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพุทธที่ 21 ธันวาคม 2537


84 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.