IS AM ARE August60

Page 1

IS AM ARE

1 issue 115 August 2017

ฉบับที่ ๑๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“การด� ำ รงชี วิ ต ที่ ดี จ ะต้ อ งปรั บ ปรุ ง ตั ว ตลอดเวลา การปรั บ ปรุ ง ตั ว จะต้ อ งมี ค วามเพี ย รและความอดทน เป็ น ที่ ตั้ ง ถ้ า คนเราไม่ ห มั่ น เพี ย ร ไม่ มี ค วามอดทน ก็ อ าจจะท้ อ ใจไปโดยง่ า ย เมื่ อ ท้ อ ใจไปแล้ ว ไม่ มี ท างที่ จ ะมี ชี วิ ต เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งแน่ ๆ ”

พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ พระราชทานแก่ ค รู แ ละนั ก เรี ย น โรงเรี ย นจิ ต รลดา ๒๗ มี น าคม ๒๕๒๓

3 issue 115 August 2017


Editorial

จากปกฉบับเดือนสิงหาคม เดือนแห่งวันแม่ของปวงชนชาวไทย บก.ได้น�ำค�ำขวัญวันแม่แห่งชาติปี ๒๕๖๐ ซึ่งสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทาน เพื่ออัญเชิญเผยแพร่ลงในหนังสือวันแม่แห่งชาติปี ๒๕๖๐ ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ความว่า “สอนให้ลูก เรียนรู้ สู้ปัญหา พัฒนา ด้วยตน จนเติบใหญ่ เพราะคนแกร่ง จะก้าว ได้ยาวไกล เพื่อมาเป็น ก�ำลังไทย ให้แข็งแรง” ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง , สมาชิกครอบครัวพอเพียงและศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ ล้วนมีความปลื้มปิติโสมนัสยินดีเป็นล้นพ้น ที่โอกาสมหา มงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่าง ชื่นชมในพระบุญญาบารมี และส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมหาที่สุดมิได้ จากพระราชกรณียกิจทั้งปวง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรงบ�ำเพ็ญด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตร�ำพระวรกาย เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของพสกนิกร และความมั่นคงของประเทศ ทรงเป็นขวัญและก�ำลังใจของปวงอาณาประชาราษฎร์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติ ไม่ ว่าโดยธรรมชาติหรือโดยมนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทประทับใกล้ชิดพสกนิกร โดยไม่ทรงหวาดหวั่นต่อภัย อันตราย ด้วยน�้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาธิคุณทรงชี้แนะแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีสมัครสมานสามัคคีอย่าง สันติ เป็นที่ซาบซึ้งประทับในทุกดวงใจของประชาชนชาวไทย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด นับถือศาสนาใด พระราชอัจฉริยภาพ และพระปณิธานอันแน่วแน่มั่นคง ในการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีแก่ราษฎร ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่แผ่นดินนานัปการ ดังเป็นที่ประจักษ์ชื่นชมทั้งประเทศและนานาประเทศ ในโอกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ นี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทาน พระบรมราชานุ ญ าต ถวายพระพรชั ย มงคล ด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี ขออาราธนาคุ ณ พระศรี รั ต นตรั ย และอานุ ภ าพ แห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลประทานพรชัยมงคล ให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย สถิตเป็น “พระแม่” มิ่งขวัญของปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตราบชั่วนิรันดร์กาล ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน ๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๕ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๖ www.fosef.org

5 issue 115 August 2017

Photo by Indranil Roy on Unsplash


Hot Topic

ตามรอยยุ วกษัตริย์

๓๒

เรื่องเล่าจากครู ใหญ่ โรงเรียนในหลวง คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์

๑๒

พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชิ นีนาถในพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Don’t miss

๓๖ ๑๘ ๕๔ ๗๔ 6 IS AM ARE www.fosef.org

๔๔


Table Of Contents

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

7 issue 115 August 2017

ตามรอยยุวกษัตริย์ พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เรื่องเล่าจากเกร็ดการทรงงาน ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก Cover Story เรื่องเล่าจากครูใหญ่โรงเรียนในหลวง คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ Cartoon หลักธรรมแห่งความพอเพียง ใช้อสุภะให้มีสันโดษ พอใจแต่คู่ชีวิตของตน บทความพิเศษ ริ้วขบวนทั้ง ๖ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช Is Am Are ต�ำบลพิมาน จังหวัดนครพนม เปลี่ยนสนามรบเป็นป่าอนุรักษ์ เพื่อการท่องเที่ยว กระจกส่องใจ แม่กับลูกสาว มูลนิธิชัยพัฒนา แม่ผู้สร้างป่าของแผ่นดิน เยาวชนของแผ่นดิน เด็กวัด หัวใจอาสา ฤทธิชัย โบระณี Round About

Photo by Photo by Brady Bellini on Unsplash

๑๒ ๑๘ ๒๒ ๓๐ ๓๔

๓๖

๔๔ ๕๔ ๖๒ ๗๔ ๘๐


ผืนน�้ำสีฟ้าครามที่ลาคเลมอง (Lac Leman) ลาคเลมอง เป็ น ชื่ อ ทะเลสาบที่ ต ่ อ จากทะเลสาบเจนี ว า และเป็ น ทะเลสาบทางทิ ศ ใต้ ข องเมื อ งโลซานน์ ซึ่ ง อยู ่ สู ง กว่ า ระดั บ น�้ ำ ทะเล ๓๐๐ เมตร แล้ ว ลาดขึ้ น ไปเรื่ อ ยๆ ถึ ง เขตเมื อ งทางเหนื อ สู ง ถึ ง ๖๐๐ เมตร เนื่ อ งจากเส้ น กั้ น พรมแดนระหว่ า งสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ กั บ ฝรั่ ง เศสผ่ า ผ่ า นทะเลสาบ เทื อ กเขาแอลป์ ท างใต้ ของทะเลสาบฝั ่ ง ตรงข้ า มกั บ โลซานน์ ซึ่ ง มองเห็ น อยู ่ ไ ม่ ไ กล จึ ง เป็ น เขตแดนของฝรั่ ง เศส

8 IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ บรรยากาศริ ม ทะเลสาบที่ เ มื อ งโลซานน์ เ งี ย บ สงบ สวยงาม ไม่พลุกพล่าน อย่างทะเลสาบที่เราพบเห็นที่เจนีวา ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศ ผู้คนที่เดินเที่ยว หรือพักผ่อนอยู่ริมทะเลสาบจึงมีลักษณะนานาชาติ หลากหลาย สีผิว ส่วนเมืองซูริค หรือลูเซิร์น ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจมีผู้คน พลุกพล่านกว่า ในขณะที่โลซานน์สงบ สะอาด อบอวลด้วย ธรรมชาติที่สดชื่น คณะของเราพากันเดินเลียบทะเลสาบ อากาศในช่วง เดือนพฤษภาคมก�ำลังดี แม้ก่อนหน้านี้สองสามวันจะมีฝนตก ซึ่งจะท�ำให้อากาศหนาวลง พวกเราเคยเจอฝนที่ซูริคในวันแรก ที่มาถึงสวิตฯ ได้ประสบการณ์มาแล้วว่า ฝนเป็นอุปสรรคต่อ การเดินชมเมืองและการถ่ายรูป เพราะฉะนั้นวันหลังๆ พวก เราก็ภาวนากันเกือบทุกวัน ขออย่าให้เจอฝนเลย และทุกวันก็ จะได้ข้อสรุปว่า เพราะพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นแน่ ท�ำให้เรา เดินทางได้สะดวก ริมทะเลสาบ มีรูปปั้นงามๆ หลายแห่ง พวกเราได้ถ่าย แสงแดดก�ำลังดี และการเดินทางตลอดโปรแกรมไม่มี อุปสรรค แถมยังจะเป็นใจให้อีกต่างหาก ทั้งธรรมชาติและผู้คน รูปไว้เท่าที่จะมีเวลา ประติมากรรมสวยๆ ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ได้พบปะ เรียกว่าดีเกินกว่าที่เตรียมการ และคาดหวังไว้แต่ ส่วนมากเป็นรูปคน และในจ�ำนวนนี้งานศิลปะมักเน้นสรีระของ มนุษย์ด้วยรูปเปลือย อันเป็นอิทธิพลศิลปะแบบยุคเรอเนสซองส์ แรกด้วยซ�้ำไป (Renaissance) ของยุโรป ที่เชื่อมั่นความสามารถของมนุษย์ ตามแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) และชื่นชมความงาม ของสรีระมนุษย์ มีการศึกษากายวิภาค กระดูกและกล้ามเนื้อ ศิลปินยุคนั้นจึงสร้างผลงานบันลือโลกให้ได้ชื่นชมกันจนทุกวันนี้ ริมทะเลสาบลาคเลมอง เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระบรม ราชชนนีและพระโอรสธิดา ได้ทรงพักผ่อนและออกพระก�ำลัง ด้วยการเดิน แล่นเรือ ตีกรรเชียงที่ทะเลสาบ หรือทรงจักรยาน อยู ่ เ สมอ รวมทั้ ง หลายคนคงได้ เ คยเห็ น รู ป พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์กับลิงสาม ตัวนี้ ที่อยู่ในอาการปิดตา ปิดหู ปิดปาก ซึ่งหมายถึง ปิดตาปิด หูปิดปากจากการท�ำชั่ว พวกเราเดินเล่นเลียบทะเลสาบมาจนถึงสวนที่มีรูปปั้น ลิงสามตัว และได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก เป็นรูปปั้นและสถาน ที่ ที่ ยั ง คงเหมื อ นเดิ ม อย่ า งที่ เ คยเห็ น พระบรมฉายาลั ก ษณ์ ในหนั ง สื อ พระราชนิ พ นธ์ ของสมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนาฯ หากยืนหันหลังให้ทะเลสาบ เราจะเห็นโรงแรมโบริวาจ (Beau Rivage) ซึ่งเป็นโรงแรมริมทะเลสาบที่เห็นเด่นเป็นสง่า และสวยงามอยู่จนถึงทุกวันนี้ เป็นโรงแรมที่สมเด็จพระบรมราช 9 issue 115 August 2017


บรรยากาศริ ม ทะเลสาบที่ เ มื อ งโลซานน์ เ งี ย บ สงบ ส ว ย ง า ม ไ ม ่ พ ลุ ก พ ล ่ า น อ ย ่ า ง ท ะ เ ล ส า บ ที่ เ ร า พบเห็ น ที่ เ จนี ว า ซึ่ ง เป็ น เมื อ งที่ ตั้ ง ขององค์ ก าร ระหว่ า งประเทศ ผู ้ ค นที่ เ ดิ น เที่ ย วหรื อ พั ก ผ่ อ นอยู ่ ริ ม ทะเลสาบจึ ง มี ลั ก ษณะนานาชาติ หลากหลายสี ผิ ว ส่ ว นเมื อ งซู ริ ค หรื อ ลู เ ซิ ร ์ น ซึ่ ง เป็ น เมื อ งเศรษฐกิ จ มี ผู ้ ค นพลุ ก พล่ า นกว่ า ในขณะที่ โ ลซานน์ ส งบ สะอาด อบอวลด้ ว ยธรรมชาติ ที่ ส ดชื่ น

ชนนี ได้เคยเสด็จมาประทับหลังอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม เมื่อ ปี ๒๔๖๓ (ค.ศ.๑๙๒๐) ทรงเสด็จฯ ยุโรปและเลือกประทับที่ โรงแรมนี้ ซึ่งนับว่าเป็นโรงแรมที่หรูและเก๋มากในเวลานั้น หน้าโรงแรมโบริวาจด้านติดทะเลสาบแห่งนี้ ใครได้มา เยือนอย่าลืมแวะชมให้ได้ ที่นี่จะมีสาวสวยยืนเปลือยกายโดย ไม่อายสายตาใครทั้งสิ้นในใต้หล้า เธอจะยืนโชว์เต้าและเอวองค์ ท้าแดดลม จนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติอดใจไม่ไหว ถึง กับต้องขอสัมผัสเธอสารพัด ทั้งโอบกอดซบแนบเรือนกายอัน งามไปทั้งร่าง และสุดท้ายก็ถ่ายรูปร่วมกับเธอ หากศิลปินผู้ปั้น ประติมากรรมเปลือยนี้จะหยั่งรู้เห็นได้ คงแอบภูมิใจมิสร่างซา ตราบทุกวันนี้ ทางด้ า นขวามื อ ของโรงแรมโบริ ว าจ เป็ น ที่ ตั้ ง ของ พิพิธภัณฑ์โอลิมปิก (Musee Olympique) ที่บอกเล่าเรื่อง ราวประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ส�ำคัญต่างๆ ของการแข่งขัน โอลิมปิก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้น�ำเสนอเรื่องราวน่ารู้แบบไฮเทคผสม ผสานกับงานศิลปะ เริ่มจากลานหินริมทะเลสาบสีครามลาคเล มองจะมีรูปปั้นของมนุษย์ห้าคนชูผืนผ้าหรือธงโอลิมปิก ที่ศิลปิน รังสรรค์ขึ้นมาได้อย่างสวยงาม

เหนือป้ายก�ำแพงพิพิธภัณฑ์โอลิมปิก ประดับด้วยดอกไม้ หลากพันธุ์และน�้ำพุ มีรูปปั้นสัดส่วนชายครึ่งตัวบนหญ้าเขียว โชว์กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ ได้อย่างน่าชื่นชม ส่วนภายในสวนโอลิมปิกนั้น รูปปั้นคนขี่จักรยานแข่งขัน กันบนก้อนหิน รูปปั้นมนุษย์ผู้ชายครึ่งตัวหกชิ้น ที่ศิลปินใช้ เทคโนโลยีทันสมัยหมุนรูปปั้นให้วนช้าๆ แลเห็นกล้ามเนื้อทุก มิติของมนุษย์ก็สวยน่าทึ่งทีเดียว นอกนั้นยังมีงานศิลปะที่สร้างสรรค์ทั้งจากไม้และโลหะ หลากลีลา แสดงถึงกีฬานานาชนิดที่มีแข่งในโอลิมปิกไว้ให้ชมอีก 10

IS AM ARE www.fosef.org


แต่เดินส�ำรวจว่าเขารับประทานอะไรกันบ้าง บนเวทีมีการแสดงดนตรีและเต้นแบบสไตล์วัยรุ่น ส่วน ข้างๆ เวทีมีกลุ่มวัยรุ่นทั้งชายและหญิงมาฝึกซ้อมกันเป็นกลุ่มๆ พวกเราหาที่นั่งริมน�้ำดูบรรยากาศคึกคักรอบตัว ท่ามกลางเสียง อื้ออึงของผู้คน แล้วก็เตรียมตัวกลับซึ่งก็กลับโดยรถเมล์ดังที่ ตั้งใจไว้ แต่โกลาหลหน่อยก็ตรงที่ต้องหาเหรียญให้พอดีกับค่ารถ เพราะต้องหยอดเหรียญให้พอดีกับค่าโดยสาร ไม่มีการทอน เงิน ควักกระเป๋าหากันเท่าไรก็ไม่พอครบทุกคน ขณะที่ก�ำลัง วุ่นๆ อยู่นั้น เรียกว่านางฟ้ามาโปรด เพราะพี่แอ๊ดกับน้องเพลิน ลูกสาว ซึ่งมีบ้านอยูไม่ไกลทะสาบนักเป็นห่วงพวกเรา จึงได้ซื้อ การ์ดค่ารถมาให้ที่ป้ายรถเมล์ ทุกอย่างจึงผ่านไปอย่างสะดวก กลับถึงโรงแรมที่พักได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจะเก็บเวลาที่เหลือไว้ พักผ่อนนอนหลับให้เต็มที่ จะได้ตื่นมาชมเมืองโลซานน์อย่าง สดชื่นในเช้าวันรุ่งขึ้น

มากมาย ศิลปะนานาชนิดเหล่านี้ถูกสร้างโดยศิลปินนานาชาติ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อมอบให้กับ พิพิธภัณฑ์กีฬาโอลิมปิก ซึ่งมีส�ำนักงานใหญ่ถาวรอยู่ ณ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์นี่เอง โชคดีที่ในคืนวันเสาร์เราพักอยู่ที่โลซานน์ ริมทะเลสาบมีการจัดงานเทศกาลเบียร์ เย็นวันนั้นถึงจะเดินกัน มาเมื่อยล้าแค่ไหน แต่ใจยังสู้ หลังรับประทานอาหารเย็นซึ่งเป็น อาหารจีนที่ถึงอย่างไรก็อร่อยสู้ที่บ้านเราไม่ได้ แถมเจ๊เจ้าของ ร้านออกจะดุอีกต่างหาก พวกเราพากันเดินจากสถานีรถไฟไป ยังริมทะเลสาบ ขาเดินลงเนินมานี่ถือว่าไม่ล�ำบากนัก แต่คิดไว้ ในใจว่า ขากลับต้องเดินขึ้นเนินนี่สิเห็นทีจะยากกว่าขาไป อย่า กระนั้นเลยขากลับควรจะลองนั่งรถเมล์กลับท่าจะดีแน่ ปรากฏว่าเป็นเทศกาลเบียร์ที่รวมพลคนรักวัยรุ่นเป็น ส่วนใหญ่ มีอาหารประเภทไส้กรอก เบียร์ เครื่องดื่ม ที่แต่ละ ร้านคนแน่นเสียจนคนวัยไม่สะรุ่นอย่างพวกเราต้องล่าถอย ได้

11 issue 115 August 2017


12 IS AM ARE www.fosef.org


พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ พระนาม เดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ิ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันศุกร์ ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยา วงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยา กร ตั้งอยู่ที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามที่ ๖ อ�ำเภอปทุมวัน จ.พระนคร

หญิง บุษบา กิติยากร ส� ำ ห รั บ พ ร ะ น า ม “ สิ ริ กิ ติ์ ” เ ป ็ น ชื่ อ ที่ ไ ด ้ รั บ พระราชทานจากสมเด็ จ พระนางเจ้ า ร� ำ ไพพรรณี พระบรม ราชิ นี ใ นรั ช กาลที่ ๗ อั น มี ค วามหมายว่ า “ผู ้ เ ป็ น ศรี แ ห่ ง กิ ติ ย ากร” มี ชื่ อ เล่ น ว่ า “คุ ณ หญิ ง สิ ริ ส่ ว นพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงเรียกว่า “แม่สิริ” เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์มีอายุราว ๒ ปี ขณะที่พี่เลี้ยงอุ้มอยู่นั้นก็มีแขกเลี้ยงวัว เข้ามาท�ำนายทายทัก ว่าเด็กผู้หญิงคนนี้จะมีบุญวาสนาได้เป็น ราชินีในอนาคต ดังที่ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้เล่าไว้ ความว่า “วันหนึ่งขณะที่พี่เลี้ยงอุ้ม ม.ร.ว.สิริกิติ์ เดินเล่น พอดี ขณะนั้นมีแขกเลี้ยงวัว ซึ่งเป็นเพื่อนของแขกยามประจ�ำบ้านมา หากัน พอแขกที่มาเหลือบเห็น ม.ร.ว.สิริกิติ์ ก็จ้องมองพร้อมทั้ง กวักมือเรียกพี่เลี้ยงขอให้เห็นใกล้ ๆ หน่อย เมื่อเข้ามาใกล้มองดู สักครู่ก็พูดว่า ต่อไปจะเป็นมหารานี พี่เลี้ยงได้ฟังก็ชอบใจเที่ยว

จอมพลหญิ ง จอมพลเรื อ หญิ ง จอมพลอากาศหญิ ง สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ (พระนาม เดิ ม หม่ อ มราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ กิ ติ ย ากร, ๑๒ สิ ง หาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็น ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่พระราชสวามีเสด็จออก ผนวช ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม – ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคมปีเดียวกันนั้น ถือเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถใน รัชกาลที่ ๕ (ภายหลังคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) พระราชประวั ติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงษา นุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามที่ ๖ ต�ำบลวังใหม่ อ�ำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร อันเป็นบ้านของพระอัยกาฝ่ายพระมารดาพระองค์เป็นพระธิดา องค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ภายหลังได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ประสูติแต่หม่อม หลวงบัว กิติยากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์) มีพระพี่น้องคือ หม่อม ราชวงศ์กัลยาณกิติ์, หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ และหม่อมราชวงศ์ 13

issue 115 August 2017


เล่าให้คุณยายและใครต่อใครฟัง ถึงไม่เชื่อแต่ก็ปลื้มใจ ต่อมาเมื่อ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เจริญวัยขึ้น เลยเป็นเหตุให้คุณพี่ชายทั้งสองคนเอา มาล้อเลียนเป็นที่ขบขันว่าเป็นราชินีแห่งอบิส-ซีเนีย [เอธิโอเปีย ในปัจจุบัน] บางครั้งถึงกับท�ำให้ผู้ถูกล้อต้องนั่งร้องไห้ด้วยความ อายและเจ็บใจ แต่พี่ชายทั้งสองก็ยังไม่หยุดล้อ กลับเอาเศษผ้า ขาด ๆ มาท�ำเป็นธงโบกอยู่ไปมา พร้อมทั้งบอกว่าเป็นธงประจ�ำ ตัวของราชินี...” ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

แต่งตั้งให้ไปรับต�ำแหน่งเลขานุการเอกประจ�ำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาส่วนหม่อมหลวงบัวซึ่งมี ครรภ์แก่ยังคงอยู่ในประเทศไทย แต่ได้เดินทางไปสมทบหลัง จากให้ก�ำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้ ๓ เดือน โดยมอบหม่อม ราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ และท้ า ววนิ ด าพิ จ าริ ณี บิ ด าและมารดาของหม่ อ มหลวงบั ว ดังนั้นจึงต้องอยู่ไกลจากบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย บางคราว ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น พ.ศ. ๒๔๗๖ หม่อมเจ้าอัปษรส มาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรง สอดคล้องกับหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ที่กล่าว รับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไป ถึงเกี่ยวกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้เพื่อน ๆ อยู่ที่จังหวัดสงขลา จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ที่ย้ายมาเรียนต่อที่ ปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๗ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออก โรงเรียนมาแตร์เดอีฟังว่ามีหมอดูมาที่ต�ำหนักของท่านพ่อ แล้ว จากราชการแล้วกลับมาประเทศไทย จึงท�ำให้หม่อมราชวงศ์ ทายทักว่าจะได้เป็นราชินี โดยที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองและ สิริกิติ์ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๒ ชันษา ๖ เดือน ได้กลับมาอยู่รวม เพื่อนฝูงก็มิได้ใส่ใจนัก แต่เพื่อน ๆ ก็ขนานนามว่า “ราชินีสิริกิ ติ์” มาแต่นั้น แม้จะเป็นเรื่องขบขันของราชสกุลกิติยากร แต่ไม่มีใคร คาดถึงว่าในอีก ๑๕ ปี ต่อมาค�ำท�ำนายของแขกเลี้ยงวัวผู้นั้น จะเป็นความจริง ในระหว่ า งยั ง ทรงพระเยาว์ สถานการณ์ บ ้ า นเมื อ ง ไม่ สู ้ ส งบนั ก เนื่ อ งจากเพิ่ ง พ้ น จากช่ ว งของการเปลี่ ย นแปลง การปกครอง ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่นาน หม่อมเจ้า นั ก ขั ต รมงคลต้ อ งทรงออกจากราชการทหาร โดยรั ฐ บาล

14 IS AM ARE www.fosef.org


ปีที่ ๓ แล้ว ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปีย โนกับครูพิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไปเดนมาร์ก และฝรั่งเศส ตามล�ำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียน การศึ ก ษา พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ทรงมีอายุ เปียโนและตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียง ได้ ๔ ชั น ษา ก็ ไ ด้ เข้ า รั บ การศึ ก ษาครั้ ง แรกในชั้ น อนุ บ าลที่ ของกรุงปารีสระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์ โรงเรี ย นราชิ นี ทว่ า ในขณะนั้ น แม้ เ หตุ ก ารณ์ ด ้ า นการเมื อ ง หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในประเทศไทยจะสงบลง แต่สถานการณ์ระหว่างประเทศ ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์หลัง ก็ไม่สงบ กล่าวคือ สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มแผ่ขยายมาถึง จากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีสเพื่อ ประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้ง ทอดพระเนตรโรงงานท�ำรถยนต์ ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จ จนการคมนาคมไม่สะดวก พระบิดาจึงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดการดนตรีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์ ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ หญิงสิริกิติ์ก็สนใจศิลปะเช่นกัน ท�ำให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น ใกล้วังพระบิดา ได้เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จนถึง ชั้นมัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่ง อภิ เ ษกสมรส พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิพ ลอดุ ลยเดช และ เรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาภาษาอังกฤษ สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถในพระราชพิ ธี และภาษาฝรั่งเศสด้วย พ.ศ. ๒๔๘๙ ครั้ น เมื่ อ สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องสงบลง ราชาภิเษกสมรส วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ พระบาทสมเด็จ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปด�ำรงต�ำแหน่งอัครราชทูตผู้ พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศ มีอ�ำนาจเต็มประจ�ำส�ำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษทั้งนี้โดย สวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดย ได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ในเวลานั้นหม่อมราชวงศ์ มีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยม หญิงสิริกิติ์ มีอายุได้ ๑๓ ปีเศษ และเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา พระอาการเป็นประจ�ำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์ พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ณ ต�ำหนักใน วังเทเวศร์ บริเวณถนน กรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา

15 issue 115 August 2017


ทรงรดน�้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยา กรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่ อ มา สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ โปรดเกล้ า ฯ ให้ อ าลั ก ษณ์ อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์” พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรือง ยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุ ล ยเดชทรงพระราชด� ำ ริ ว ่ า ตามโบราณราชประเพณี เ มื่ อ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิ เ ษกแล้ ว ย่ อ มโปรดให้ ส ถาปนาเฉลิ มพระเกี ย รติ ยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนา เฉลิ ม พระเกี ย รติ ย ศสมเด็ จ พระราชิ นี สิ ริ กิ ติ์ ขึ้ น เป็ น สมเด็ จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ ได้ เ สด็ จ ฯ กลั บ ไปยั ง สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ เ พื่ อ ทรงรั ก ษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติกาลสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ ๓ เดือน พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ และสมเด็ จ พระบรมราชิ นี จึ ง เสด็ จ นิวัติประเทศไทย

สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่สวิต เซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระนามใน เวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้า ศึกษาในโรงเรียน PensionnatRiante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียน ประจ�ำแห่งหนึ่งของโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหายจากอาการประชวร แล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ หลั ง จากทรงหมั้ น แล้ ว หม่ อ มราชวงศ์ ห ญิ ง สิ ริ กิ ต์ิ ยั ง คงศึ ก ษาต่ อ กระทั่ ง พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ าอยู ่ หั ว ฯ เสด็จพระราชด�ำเนิน นิวัต พระนครเพื่ อ ร่ ว ม พระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อม ราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชด�ำเนินกลับด้วย เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษก สมรสขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมีสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จเป็นองค์ประธาน ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงลง พระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลัง จากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธี ถวายน�้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ 16

IS AM ARE www.fosef.org


สมเด็ จ พระบรมราชิ นี น าถ พระองค์และพระราชสวามี ขณะเสด็จเยือนประเทศ เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระ ราชประสงค์จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน เป็นระยะ เวลา ๑๕ วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชด�ำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระ ราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้ส�ำเร็จราชการ แทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ปีเดียวกัน นี้ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ มี พ ระบรมราชโองการ ประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินี ได้ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ เคย มีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชิ นี น าถ และทรงพระราชด� ำ ริ ว ่ า สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้ส�ำเร็จราชการแทน พระองค์ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทน พระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่ เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า “สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ ๒ ของประเทศไทย โดยพระองค์ แรก คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) พระประชวร เช้าตรู่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเวียนพระเศียรและเซขณะทรง ออกพระก�ำลัง ณ โรงพยาบาลศิริราชที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ ปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชประทั บ อยู ่ คณะแพทย์ ต รวจ พระองค์โดยวิธีสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กแล้วแถลงว่า ทรงประสบภาวะพระสมองขาดเลือด (ischemic stroke) พ ร ะ อ ง ค ์ จึ ง ป ร ะ ทั บ รั ก ษ า พ ร ะ ว ร ก า ย อ ยู ่ ณ โรงพยาบาลศิริราชและทรงงดเว้นพระราชกิจนับแต่นั้น รวม ถึงการเสด็จออกมหาสมาคมในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดชที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ต่อมาในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรง เผยถึงพระอาการว่าทรงได้รับการรักษาและบ�ำบัดจนทรงหายดี ขึ้นเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ ทรงพระด�ำเนินได้คล่องแคล่วและ ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ แต่ทางแพทย์ก็ยังคงให้พระองค์ เว้นพระราชกิจไปก่อนระยะหนึ่ง 17

issue 115 August 2017


“...ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก...” พลเอกสนัน่ มะเริงสิทธิ์ ย้ อ นเวลากลั บ ไปเมื่ อ ครั้ ง หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องยุ ติ ล ง ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ สั ง คมโลกก็ เ ข้ า สู ่ ยุ ค ที่ เรี ย กว่ า “สงครามเย็ น ” เป็ น การต่ อ สู ้ กั น ระหว่ า งกลุ ่ ม ประเทศ ๒ กลุ ่ ม ที่ มี อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งและ ระบอบการเมื อ งต่ า งกั น ระหว่ า งกลุ ่ ม ประเทศโลกเสรี ป ระชาธิ ป ไตย น� ำ โดยสหรั ฐ อเมริ ก าและกลุ ่ ม ประเทศ คอมมิ ว นิ ส ต์ น� ำ โดยสหภาพโซเวี ย ต ระหว่ า งนี้ ป ระเทศมหาอ� ำ นาจทั้ ง ๒ ฝ่ า ย ไม่ ท� ำ การสงครามกั น โดยตรง แต่ จ ะพยายามสร้ า งแสนยานุ ภ าพทางการทหารของตนไว้ ข ่ ม ขู ่ ฝ ่ า ยตรงข้ า มและสนั บ สนุ น ให้ ป ระเทศ พั น ธมิ ต รของตนเข้ า ท� ำ สงครามแทน หรื อ ที่ เ รี ย กอี ก อย่ า งหนึ่ ง ว่ า สงครามตั ว แทน (Proxy War) 18 IS AM ARE www.fosef.org


เรื่ อ งเล่ า เกร็ ด การทรงงาน เหตุ ที่ เรี ย ก สงครามเย็ น เนื่ อ งจากเป็ น การต่ อ สู ้ กั น ระหว่างมหาอ�ำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้น�ำพาไปสู่การต่อสู้ ด้ ว ยก� ำ ลั ง ทหารโดยตรง แต่ ใช้ วิ ธี ก ารโฆษณาชวนเชื่ อ การ แทรกซึมบ่อนท�ำลาย การประณาม การแข่งขันกันสร้างก�ำลัง อาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก สงครามเย็นได้แพร่ เข้ามาในทวีปเอเชีย และแทบจะทันทีทันใดที่ฝรั่งเศสปราชัย ที่ศึก “ทฤษฎีโดมิโน” (Domino Theory) ทฤษฎีโดมิโนที่ว่า อุปมาขึ้นจากลักษณะของเกมไพ่ต่อแต้ม ซึ่งถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่นๆ ก็จะล้มเป็นแถบติดต่อเป็นลูกโซ่ ที่เมืองเดียนเบียน ฟูในเวียดนามเหนือ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๙๗ ประธานาธิ บ ดี ไ อเซนเฮาเวอร์ ของสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ประกาศ “ทฤษฎีโดมิโน” (Domino Theory) ในเดือน เมษายน ๒๔๙๗ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้าแทรกแซง เวียดนามใต้ ทฤษฎีโดมิโนที่ว่า อุปมาขึ้นมาจากลักษณะของ เกมตั้งไพ่ต่อกัน ถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่นๆ ก็จะล้มเป็นแถบ ติดต่อเป็นลูกโซ่ จึงน�ำมาอธิบายเปรียบเทียบปรากฏการณ์จาก กรณีการขยายตัวของลัทธิและระบอบคอมมิวนิสต์ในทวีปเอเชีย กล่าวคือ เมื่อจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือ กลายเป็น คอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศ อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ฯลฯ ก็จะถูกครอบง�ำโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ตามไปด้วย ซึ่งเหตุการณ์ก็ดูจะเหมือนจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อปี ๒๕๑๘ ลาว และกัมพูชา ต่างก็ตกอยู่ใต้การปกครองของพวก นิยมคอมมิวนิสต์ ยกเว้นประเทศไทย เพราะถึงที่สุดแล้วระบอบ การปกครองของไทยก็มิได้พังทลายกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป ตามที่ทฤษฎีโดมิโนคาดไว้

นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ เล่าถึงเรื่องนี้ว่า “วันหนึ่งที่จังหวัดนราธิวาส มีพระราชด�ำรัสว่า รู้ไหมว่าท�ำไมโดมิโนจึงมาหยุดที่เมืองไทย ท�ำไมจึงไม่เป็นไปตาม ทฤษฎีที่อเมริกันท�ำนายไว้... รู้ไหมว่าท�ำไมมันถึงหยุดที่นี่ เพราะ สังคมไทยและคนไทยนั้นยังเป็นสังคมที่ให้กันอยู่ บ้านเมืองสงบ ลงได้เพราะเรา ‘ให้’ กับแผ่นดิน” สถานการณ์ประเทศไทยใน วันนั้นเป็นอย่างไร พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ได้ เขียนเล่าไว้ใน บทความเรื่อง “ยอดกษัตริย์จอมทัพไทย” พอ ให้เห็นภาพสถานการณ์ของประเทศในช่วงเวลานั้น ความตอน หนึ่งดังนี้ว่า “...ตั้งแต่นั้น ทุกภูมิภาคของประเทศไทยก็ตกอยู่ ภายใต้สถานการณ์สู้รบ รัฐบาลส่งก�ำลังทั้งทหารและต�ำรวจ ออกควบคุมสถานการณ์ แต่กลายเป็นว่า ยิ่งทวีความ รุนแรง ขึ้นทุกที เมื่อก�ำลังทหารไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องประกาศจัดตั้ง กองร้อยชาวเขา กองก�ำลังทหารพราน และราษฎรอาสาสมัคร เพื่อยับยั้งและต่อต้านการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย...” ทว่ า ในท่ า มกลางสถานการณ์ บ ้ า นเมื อ งดั ง กล่ า ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใย ได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร และ 19

issue 115 August 2017


ทหารเพื่อเป็นขวัญและก�ำลังใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะราษฎรได้ พระราชทานความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้อยู่ดีกินดี ดังที่พลเอกพิจิตรได้เขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�ำรัสว่า “หากปากท้องของเขาอิ่ม เขาก็จะไม่เป็น คอมมิวนิสต์” นอกจากเรื่องความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่สู้รบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังให้ความส�ำคัญกับการศึกษา ของเด็กๆ ในพื้นที่ดังกล่าวที่ขาดแคลนโรงเรียน และขาดครู เข้าไปสอน โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์ ก่อสร้างอาคารเรียนแห่งแรกขึ้นที่บ้านหนองแคน ต�ำบลดงหลวง อ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น ซึ่งมีราษฎรข้าราชการ อ�ำเภอนาแก และทหารสังกัด กองทัพภาคที่ ๒ ร่วมมือกันสร้าง ขึ้น โรงเรียนที่ก่อสร้างโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนร่ม เกล้า” นับเป็นโรงเรียนพระราชทานแห่งแรกของภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือ และนับเป็นโรงเรียน “ร่มเกล้า” หลังแรกของ ประเทศไทย ที่ต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงเรียนเพิ่มเติมเพื่อสนอง พระราชด�ำริ ในพื้นที่สู้รบอีกหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก, โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดสระแก้ว, โรงเรียนร่ม เกล้าบ้าน ชมเจริญ จังหวัดเลย, โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ จังหวัด เพชรบูรณ์, โรงเรียนร่มเกล้า ๒ จังหวัดตาก, โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดปราจีนบุรี, โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดมุกดาหาร, และ โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น เมื่อคราวเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร เรียนร่ม เกล้าแห่งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๖ นั้น นอกจากทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปกรณ์การศึกษาและสิ่งของ 20

IS AM ARE www.fosef.org


แก่ครูใหญ่ เพื่อน�ำไปแจกจ่ายนักเรียนแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถยัง ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพันทหารราบ กรมผสมที่ ๒๓ ซึ่ง ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่ภูพานน้อย อ�ำเภอ นาแก จังหวัดนครพนม นับเป็นการเยี่ยมเยียนหน่วยทหารใน พื้นที่สู้รบเป็นครั้งแรก และในครั้ ง นั้ น ได้ มี พ ระราชกระแสรั บ สั่ ง กั บ พั น เอก อาทิตย์ ก�ำลังเอก ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๒๓ และพันโทพิศิษฐ์ เหมะบุตร ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ ๒๓ ในขณะ นั้นที่เฝ้าฯ รับเสด็จเป็นความว่า “ขอให้คิดถึงประชาชนเหมือน ลูก ขอให้ทหาร ช่วยดูแลประชาชน นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ที่ ต้องปฏิบัติ ในการป้องกันประเทศ” พลเอกสนั่น มะเริงสิทธิ์ ซึ่ง ขณะนั้นมียศร้อยเอกและเป็นนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชาของ พันเอกอาทิตย์กล่าวว่า ได้รับการบอกเล่าจากพันเอกอาทิตย์ ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงโปรดการเสด็ จ ฯ ไป เยี่ยมเยียนและช่วยเหลือประชาชนทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการศึกษา และในครั้งนั้นได้มีพระราช กระแสรับสั่งว่า “ฉันชอบวิธีการอย่างนี้ วิธีการนี้จะเป็นต�ำรา เล่มใหม่ ส�ำหรับการปฏิบัติในระยะต่อไป”

ต่อมา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมหน่วยทหารในพื้นที่สู้รบเป็น แห่ ง ที่ ส อง คื อ ที่ บ ้ า นหมากแข้ ง ต� ำ บลกกสะท้ อ น อ� ำ เภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งมีสถานการณ์สู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ ในครั้งนี้มีพระราชด�ำริให้ จัดตั้งโครงการ “เย็นศิระ” และได้พระราชทานทุนทรัพย์ให้ ก่อสร้างโรงเรียน และเมื่อก่อสร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนเย็นศิระบ้านหมากแข้ง” ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุ ม ารี ซึ่ ง ขณะนั้ น ด� ำ รงพระอิ ส ริ ย ศั ก ดิ์ เ ป็ น สมเด็ จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินทรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งขณะ นั้นด�ำรงพระอิสริยศักดิ์ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ พลเอกสนั่น ได้เล่าย้อนให้ฟังว่า ทั้งสองเหตุการณ์นี้ ที่สุดได้กลายมาเป็นแนวพระราชด�ำริที่กองทัพบกได้น้อมน�ำ มาใช้ แ ละพั ฒ นาไปสู ่ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาเพื่ อ ความมั่ น คง ที่ใช้ “การพัฒนาควบคู่กับการทหาร” และได้พัฒนามาเป็น “การเมืองน�ำการทหาร” และเป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ใหม่ คื อ การดึ ง ประชาชนและนั ก ศึ ก ษาที่ เ ป็ น แนวร่ ว มของพรรค คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ห่ ง ประเทศไทย ให้ ก ลั บ มาเป็ น แนวร่ ว มของ ราชการ ซึ่งเป็นการพลิกกลับมุมมองเดิม จาก “ศัตรูผู้แย่งชิง อ�ำนาจรัฐ” มาเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ในที่สุด ทั้งนี้เป็นไป ตามพระบรมราโชบายที่ให้คนไทยรู้จักการอะลุ่มอล่วยปรองดอง และให้อภัยกันและกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก” เป็นคติการปกครองของไทยที่มีมานับ ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยโบราณ โดยที่ประชาชนนับถือพระเจ้าแผ่นดิน เยี่ยงบิดาที่เรียกกันว่า “พ่อขุน” เช่นเดียวกับพระกระแสรับสั่ง ข้างต้น ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถื อ ว่ า ประชาชนเหมื อ นลู ก เฉกเช่ น เดี ย วกั บ บู ร พ-มหา กษัตริย์ไทยในอดีต แนวพระราชด�ำริในการพัฒนาด้านต่างๆ จึ ง เป็ น พระราชด� ำ ริ ใ นการสร้ า งความร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข ให้ แ ก่ บรรดาลูกๆ เพื่อให้ลูกๆ เติบโตอย่างเข้มแข็งแกร่งกล้า พอเพียง ที่จะเลี้ยงตัวเองได้สืบไป ร้อยเรื่องเล่า เกร็ดการทรงงาน : ส�ำนักงาน กปร. 21

issue 115 August 2017


ตั ว ละครเด็ ก ๆ ของเราก็ เ ปลี่ ย นไปทุ ก ปี จะดี ขึ้ น หรื อ เลวลงก็ ส รุ ป ไม่ ไ ด้ คงเป็ น ไปตามยุ ค ตามสมั ย มากกว่ า ถ้ า เราปรั บ ตั ว เราให้ เ ข้ า กั บ ยุ ค สมั ย หรื อ คนและสิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นไปได้ เราก็ ค งพออยู ่ ไ ด้ ท� ำ อะไรก็ ไ ด้ ถ้ า ไม่ คิ ด ถึ ง ตั ว เรา

22 IS AM ARE www.fosef.org


Cover story

เรื่องเล่าจากครูใหญ่โรงเรียนในหลวง คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ “คุณแม่ก็เป็นคุณครู จึงรักอาชีพครูและมีความตั้งใจจะเป็นคุณครูก็ได้เป็น ถ้านับเวลาตั้งแต่เริ่มสอนหนังสือครั้งแรกใน ชีวิต ก็รวมแล้วประมาณ ๔๔ ปี จนเกษียณ เมื่ออายุ ๖๐ ปี ปัจจุบันอายุ ๗๘ ปีแล้ว ก็ยังเป็นคุณครูนะ ได้ท�ำงานในสิ่งที่ตนเองรัก อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีคุณค่า เป็นอาชีพที่มีความสุขได้ การให้ความรู้ ให้แนวทางในการด�ำเนินชีวิตกับเด็ก ได้สอนให้เด็ก รู้จักสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี อาชีพครูครอบครัวของครูทุกคนถ้ารู้จักตนเอง รู้จักความพอประมาณ มีเหตุผลในการใช้จ่ายไม่ก่อหนี้ อยู่ได้ อย่างดีแน่นอนและมีความ สุขด้วยนะ ครอบครัวครูมีความสุขทุกคน” (นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ธันวาคม ๒๕๕๒) ก่ อ นจะมาเป็ น ครู ใ หญ่ : เป็น ลูก สาวคนโตต้องช่ว ยคุณพ่อคุณ แม่ ดูแลน้ อ งๆ ด้ ว ย คุ ณ แม่ เ ป็ น คุ ณ ครู เป็ น ครู ใ หญ่ ค ่ ะ เพราะโรงเรี ย นเป็ น ของครอบครัว เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่จังหวัดพัทลุง พอเรียนจบ ม.๘ ก็สอบเข้ามหาวิทยาลัย สอบได้ที่จุฬาฯ แต่ว่าเป็นช่วงสมัย สงครามโลก พอสอบเสร็จเป็นห่วงบ้าน ก็กลับไปบ้าน พอเพื่อน ส่งข่าวไปว่าสอบติดมหาวิทยาลัยก็มาสัมภาษณ์ไม่ทันแล้ว ก็ ไม่เป็นไรจึงท�ำงานก็ไปช่วยสอนหนังสือที่โรงเรียนของคุณแม่ สอนอยู่ปีหนึ่ง ก็เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการเรียนภาคค�่ำ จบ ป.ป. (ประโยคครูประถม) ก็กลับไป สอนที่พัทลุงอีก กลับไปใช้ทุน ๑ ปี และได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพ ตอนนั้นอายุ ๑๗ ปีเอง มาอยู่กรุงเทพฯ ก็เป็นครูโรงเรียนเทเวศน์ วิทยาลัย สอนมัธยมปลาย เริ่มเข้ารับราชการเมื่ออายุ ๓๐ ก็สอบ เข้าส่วน กลางเข้ากรมสามัญ สมัยท่านเกรียง กิรติกร เป็นอธิบดี กรมสามัญศึกษาในขณะนั้น แล้วก็ขอย้ายออกไปสอนในโรงเรียน โรงเรียนแรกที่ได้สอน คือโรงเรียนวัดรวก บางบ�ำหรุ สอนภาษา อังกฤษ สอนได้ ๔ ปี ก็ไปเรียนต่อปริญญาโท ที่ฟิลิปปินส์ ที่ University of Manila จบภายในเวลา ๑๑ เดือน ก็กลับมา ตอนนั้นต�ำแหน่งก็ยังอยู่ที่โรงเรียนวัดรวก บางบ�ำหรุ ขณะนั้น ทางกรมได้มีการวางแผนที่จะสร้างโรงเรียนราชวินิตขึ้นมา ก็เลย ได้มาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนราชวินิต ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ เริ่มสร้าง โรงเรียนเลยทีเดียว ตั้งแต่สร้างอาคารทุกอย่างยังไม่มี สนามก็ ไม่มี ต้องปลูกหญ้าเองเลยนะ ก็ท�ำเองหมดเลย เพื่อเตรียมรับ เสด็จปีแรก ก็มีเรื่องประทับใจ สมัย ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีใน ขณะนั้น ท่านก็สั่งว่า คุณครูรู้จักต้นไม้ทุกต้นหรือไม่ ประวัติของ

ศาล ครูรู้ไหม ส่วนท่านเกรียงก็เดินตรวจห้องเรียนทุกห้อง คือ ประทับใจที่ว่า สมัยก่อนเวลารับเสด็จ ผู้ใหญ่ตั้งแต่เจ้ากระทรวง ลงมาเลย มาดูแลเอง ซึ่งปัจจุบันไม่มี ถ้าเป็นปัจจุบันครูต้องท�ำ เองหมดแล้วถึงเชิญผู้ใหญ่มาตรวจ ก็เป็นประสบการณ์ที่ท�ำให้ เรารู้ถึงการเตรียมเรื่องการรับเสด็จเป็นเรื่องส�ำคัญทุกขั้นตอน ก็ได้เรียนรู้มาตั้งแต่นั้น

23 issue 115 August 2017


ก� ำ เนิ ด โรงเรี ย นราชวิ นิ ต : พระราชทานโรงเรี ย นว่ า ราชวิ นิ ต เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยพระ บารมีปกเกล้า คือพระองค์ท่านเสด็จเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๑ ตอนนั้นมีอาคารตามที่กระทรวงสร้าง เตรียมไม่พร้อม ๓ หลัง แต่ในบริเวณนั้นมีสระน�้ำใหญ่อยู่สระ หนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อจ�ำนวนนักเรียนขยายมากขึ้นก็เลยต้องถม สระเพื่อขยายอาคาร แล้วท่านก็มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จ มาเปิดอาคารเรียนอีกครั้งหนึ่ง คล้ายๆ กับทรงติดตามความ ก้าวหน้า แต่ในการเสด็จครั้งแรกที่เสด็จเปิดโรงเรียนราชวินิต พระองค์ท่านนอกจากเสด็จเยี่ยมตามห้องเรียนต่างๆ แล้ว ก็ยัง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จ�ำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เป็น เงินสด เป็นแบงค์ร้อยห่อมาเลย ให้ครูใหญ่รับไปเพื่อเป็นทุนตั้ง เป็นกองทุนพระราชทาน แล้วก็โปรดให้ผู้ปกครองหรือผู้มีจิต ศรัทธาได้โดยเสด็จพระราชกุศลได้ด้วย ทุนนี้ก็จะจัดสรรเป็นทุน พระราชทานให้นักเรียนทุกปี โดยปีแรก ๙ ทุน จนบัดนี้ก็ขยาย ไปหลายโรง ก็ได้รับเป็นร้อยๆ ทุน ความประทั บ ใจที่ ไ ด้ เ ข้ า เฝ้ า เพื่ อ ถวายรายงานในครั้ ง แรก : ครั้งแรกที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขณะนั้นเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนราชวินิต ที่ประทับใจคือ เราคิดว่า ต้องเป็นผู้ใหญ่เท่านั้นนะถึงจะได้เข้าเฝ้า เมื่อต้องถวายรายงาน ผู้ใหญ่จะคอยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ เราจะต้องเป็นคนถวาย รายงานเอง เราจะต้องท�ำทุกอย่างด้วยตัวเอง กราบทูลพระองค์ ท่านด้วยตัวเอง เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของชีวิต

ท่านทรงมีพระราชด�ำรัสถามว่าไม่มีที่ให้เด็กท�ำครัวหรือ จึงได้ จ�ำตั้งแต่นั้นมาว่า เด็กราชวินิตต้องได้เรียนเกษตร ไม่ใช่ว่าอยู่ ในเมืองแล้วไม่เรียน ไม่รู้เรื่องของการเกษตร ครู ใ หญ่ โ รงเรี ย นในหลวง : เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่ว่าให้ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียน ในหลวง พูดสั้นๆ นะคะ ก็ตื่นเต้น แล้ววันที่รับเสด็จนั้น ท่าน ผู้ใหญ่ก็บอก ‘ครูใหญ่รับเอาเอง’ คือให้ถวายรายงาน พระองค์ ท่านก็สนพระทัยมาก เสด็จทุกห้องเรียน เช่น พอถึงห้องเรียนที่ เด็กเรียนศิลปะก่อน ท่านก็ทรงพระสรวล ท่านตรัสว่า ‘วาดรูป ตามแบบหรือ’ คือเรายังเรียนแบบสมัยโบราณใช่ไหม อาจจะมี แจกันและสิ่งต่างๆ วางแล้วให้เด็กวาดรูปตาม เพราะพระองค์ ท่านจะสนพระทัยในเรื่องนี้มาก ชอบศึกษาศิลปะ เราก็จ�ำไว้ว่า แสดงว่าท่านคงจะมีอะไรที่ท้วงติงหรือเสนอแนะ พอถึงห้องเรียน ภาษาไทยท่านก็ซักถามว่า ‘เด็กอ่านหนังสือไปนานเท่าไหร่’ ครู ใหญ่ก็กราบทูลท่านว่า ‘สามถึงสี่เดือนพระพุทธเจ้าข้าฯ’ ‘อ่าน ไปอย่างนี้เรื่อยๆ หรือ’ ‘อ่านไปสามถึงสี่เดือนพระพุทธเจ้าข้าฯ แล้วจึงจะให้สะกดการัน’ ท่านรับสั่ง ‘เสียเวลา น่าจะให้สะกด การันไปพร้อมกัน’ คือพระองค์ท่านในเรื่องภาษา วัฒนธรรม ท่านจะทรงยึดมั่นในแบบแผน ต้องมีหลักภาษาก�ำกับนะถึงจะ อ่านออกเขียนได้ชัดเจนถูกต้อง ท่านก็ทรงท้วงติงในเรื่องนี้ พอไป 24

IS AM ARE www.fosef.org


โรงฝึกงานท่านก็ซักครูที่สอนด้วยพระองค์เองเลย เขาสอนอะไร สอนวิชาช่างไม้ ช่างซ่อมสิ่งต่างๆ ที่จะใช้ในบ้านได้ ท่านก็ทรง สนพระทัย แล้วก็บอกดี สอนอย่างนี้ดี ได้ประโยชน์ พอทอดพระเนตรห้ อ งเรี ย นเสร็ จ แล้ ว ท่ า นก็ บ อกว่ า ‘ไม่มีที่ให้นักเรียนท�ำสวนครัวหรือ’ เพราะท่านสนพระทัยเรื่อง การเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานของประเทศ ก็กราบทูลท่านว่ายังไม่มี เพคะ ก�ำลังพยายามที่จะใช้พื้นที่บางส่วนจัดอยู่ นี่เป็นการเสด็จ พระราชด�ำเนินครั้งที่ ๑ ซึ่งตัวเองตอนนั้นอายุสามสิบกว่า จบ ปริญญาโทมา ผู้ใหญ่ก็สั่งให้มาสอน ให้มาอยู่โรงเรียนนี้ โดยที่ ตัวเองก็ไม่เข้าใจว่าโรงเรียนในหลวงนี้เป็นยังไง แต่เห็นผู้ใหญ่ สนใจมาก แล้ววันนั้นท่านรับสั่งท่านก็ไม่ให้ท่านรัฐมนตรีท่าน อธิบดีช่วยตอบเลย ให้ครูใหญ่ตอบคนเดียว ก็รู้สึกเหมือนกับ ตัวเองเหมือนกับลอยๆ ไปเพราะว่าตื่นเต้น แต่ก็จบลงด้วยดี ด้วยพระบารมีปกเกล้า แล้วก็ด้วยพระเมตตา ซึ่งท่านทรงพระ เมตตาสูงมากกับผู้ที่ต�่ำผู้ที่ด้อยโอกาส อะไรต่างๆ เราจะรับรู้ได้

เด็ก ต่อมาคือให้ไปช่วยงานโรงเรียนวังไกลกังวล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งพอไปอยู่ที่โรงเรียนวังฯ ก็มีโอกาสรับเสด็จอีกสองสาม ครั้งที่เฝ้าพระเจ้าอยู่หัวใกล้ชิด ก็อยากจะถ่ายทอดที่พระองค์ ท่านสนพระทัยเรื่องเด็กเพราะว่าเราเป็นครู นักวิชาการว่ายังไง เราก็จัดนิทรรศการไปตามนั้น เช่นว่า วัยทองของเด็ก ๒-๖ ขวบ แต่พระองค์ท่านทรงอัจฉริยะทุกเรื่องอย่างที่ว่านะคะ พระองค์ ท่านรับสั่ง ‘ไม่ใช่นะ หนึ่งถึงห้าขวบ ว่าที่จริงแล้วเด็กเรียนรู้ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์มารดา’ แล้วพระองค์ท่านยังรับสั่งอีกว่า ‘เด็กมีสี ต่างๆ กัน’ คือให้เราสังเกตเด็ก เด็กแต่ละคนเวลาอบรม สอน อะไรก็ต้องดูแลเป็นรายคนไม่ใช่เหมารวม เขามีพื้นฐานมาต่าง กัน แล้วพระองค์ท่านรับสั่งว่า ‘จากบ้านมาโรงเรียนเด็กผ่านใคร มาบ้าง’ คือสนพระทัยเรื่องเด็กมาก แล้วก็เรื่องการอบรม เด็กรอ รับเสด็จอยู่ เด็ก ป.๑ ก็ค่อนข้างจะสัปหงกหน่อย พระองค์ท่าน ก็รับสั่งว่า ‘บทเรียนบทที่หนึ่งเรื่องความอดทน’ คือเห็นด้วยที่ให้ เด็กมารับเสด็จ ที่เราฝึกเด็กในลักษณะนี้ เพราะเด็กจะได้มีความ อดทน มีวินัย มีระเบียบ รู้จักวัฒนธรรมไทย

ถวายงานที่ โ รงเรี ย นราชวิ นิ ต : ท�ำงานอยู่ที่ราชวินิตนี้นาน ที่นานก็นานด้วยว่าเราก็มี ความสุขด้วย และฟังว่า พระองค์ท่านรับสั่งว่า ‘มาอยู่ๆ แล้ว เดี๋ยวพอเก่งก็ย้ายไป’ คือในพระราโชบายต้องการให้ครูที่ท�ำงาน กับโรงเรียนให้อยู่นานๆ ไม่ว่าครูหรือผู้บริหาร ซึ่งก็เป็นผลดีแก่

ถวายงานที่ โ รงเรี ย นวั ง ไกลกั ง วล และโครงการการ เรี ย นการสอนผ่ า นดาวเที ย ม : โรงเรี ย นวั ง ไกลกั ง วลมี ม าตั้ ง แต่ ส มั ย รั ช กาลที่ ๘ พระองค์ท่านทรงสร้าง เพื่อรับเด็กลูกหลานมหาดเล็ก ก็ได้มี 25

issue 115 August 2017


ถอยมาข้างหลังคนหนึ่ง อย่างเร็วและเรียบร้อย พระองค์ท่านก็ ทรงชมมากเลย ชมไปถึงคุณครู ถึงผู้ปกครอง ถึงโรงเรียน ก็ปลื้ม แต่ละปีมีพระราชด�ำรัสมาเราก็จ�ำมาบอกต่อ มาเล่ากัน เพราะ ว่าการที่ท�ำหน้าที่เป็นครูใหญ่โรงเรียนในหลวง พูดกันภาษาชาว บ้านนะคะ เราก็ต้องศึกษาว่าพระองค์ท่านสนพระทัยเรื่องอะไร พระราโชบายเป็นยังไง ท�ำไมจึงตั้งโรงเรียนประถมศึกษา จุดใหญ่ คือการพัฒนาคนใช่ไหม คนที่พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์ นั้นควรจะเป็นยังไง ต้องเป็นคนไทยที่รู้จักอนุรักษ์ พูดภาษาชาว บ้าน ไม่เวอร์ พอเพียงอะไรประมาณนี้ เพราะฉะนั้นทุกเช้าครูใหญ่ก็ต้องมีหน้าที่สอนหน้าแถว พูดทุกวันว่าพระราชกรณียกิจหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเราทรงงานยังไงอะไรต่ออะไรนะคะ แล้วก็หลังจากนั้นก็ ให้คุณครูประจ�ำชั้นโฮมรูมต่อ นี่คือที่เราปฏิบัติต่อเนื่องมา ซึ่ง พระองค์ก็ทรงทราบ เพราะว่าในบางครั้งบางคราวก็เหมือนกับ ได้รับสัญญาณมาว่าโรงเรียนเขาท�ำดีแล้วเป็นที่พอพระทัย เมื่ อ ได้ รั บ พระราชทานเป็ น ‘คุ ณ หญิ ง ’ : ขณะนั้นอยู่ที่บ้าน ก็ได้รับทราบจากส�ำนักพระราชวัง ได้รับหนังสือแจ้ง ซาบซึ้งใจมาก และมาทราบภายหลังว่าการ แต่งตั้ง ‘คุณหญิง’ นั้น เรียกได้ว่าเป็นพระราชวินิฉัยของพระองค์ เอง แต่ว่าพระองค์ท่านจะพระราชทานโดยพระองค์เองไม่ได้ ต้องมีผู้ขอ ซึ่งผู้ที่ขอให้คือสมเด็จย่า

ส่วนเข้ามาช่วยพัฒนา โดยมีท่านขวัญแก้ว เป็นประธาน เราเป็น ผู้ช่วย เมื่อพัฒนาไปได้ระยะหนึ่งส�ำเร็จตามพระประสงค์ ก็เชิญ เสด็จทรงเปิดโรงเรียน ปัจจุบันมีนักเรียนมากกว่า ๑,๐๐๐ คน ทั้งระดับประถมและมัธยม และยังมีเครือข่ายการเรียนการสอน ผ่านดาวเทียมอีกกว่าหนึ่งหมื่นโรง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นก�ำลังใจ ขณะ ที่เกิดความท้อ เหนื่อยใจ ก็จะได้รับพระราชทานก�ำลังใจ มัน อยู่เหนือค�ำบรรยาย ไม่สามารถจะบรรยายได้ กราบพระองค์ ท่านทุกวันทุกคืนขอกราบพระบาทและถวายงานจนกว่าชีวิต จะหาไม่” ทรงพระราชทานทุ น การศึ ก ษา : ทรงเสด็จพระราชทานเงินทุน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ด้วย ทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ เราก็ ป ระชาสั ม พั น ธ์ เพราะว่ า เราก็ มี กรรมการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นสมาคมผู้ปกครองและครู ช่วย กันรณรงค์หาทุนจัดสรรให้เด็กในปีแรก ๙ ทุน ก็เพิ่มมาเรื่อยๆ นั่นคือพระมหากรุณาธิคุณที่ไปถึงตัวเด็ก และในปีแรกๆ นั้น คนที่ได้รับก็ปลื้มมาก เพราะว่าเวลารับทุนไปรับบนพระต�ำหนัก จิตรลดาเลย ชั้นสอง เวลาต่อมาจ�ำนวนนักเรียนมากขึ้นเราต้อง ไปที่ศาลาดุสิดาลัย เราก็สอนเด็กให้หมอบกราบ หมอบคลาน กันเข้าไป พื้นที่ก็ไม่กว้างมาก เด็กก็จะคลานไปข้างหน้าคนหนึ่ง 26

IS AM ARE www.fosef.org


27 issue 115 August 2017


ความรู ้ สึ ก กั บ การท� ำ งาน : ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ราชวินิต แต่ในความรู้สึก ดูเหมือนเร็วๆ นี้เอง เพราะเราท�ำงานด้วยความสนุก ถึงแม้ไม่ได้ เปลี่ยนสถานที่ แต่เราก็เปลี่ยนฉาก จัดฉาก ให้มีอะไรใหม่ๆ ทุก ปี ตัวละครเด็กๆ ของเราก็เปลี่ยนไปทุกปี จะดีขึ้นหรือเลวลงก็ สรุปไม่ได้ คงเป็นไปตามยุคตามสมัยมากกว่า ถ้าเราปรับตัวเรา ให้เข้ากับยุคสมัยหรือคนและสิ่งแวดล้อมที่ก�ำลังเปลี่ยนไปได้ เรา ก็คงพออยู่ได้ ท�ำอะไรก็ได้ ถ้าไม่คิดถึงตัวเรา

ความซาบซึ้ ง : เราเป็นคนไทย ในครอบครัว ในตระกูลนี่ก็สอนกันอยู่ แล้ว ว่าให้มีความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ก็รับทราบเรื่อง นี้ต่อๆ กันมา แต่เมื่อได้มาปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนอย่างที่ว่า นี้ ก็ต้องพูดกันในบรรดาครูด้วย แม้กระทั่งผู้ปกครองก็สะท้อน ให้ เ ห็ น ว่ า สิ่ ง ที่ เราพยายามท� ำ นั้ น ถู ก ผิ ด ยั ง ไงเราก็ พ ยายาม ศึกษาแล้วก็ท�ำตาม แล้วก็อ่านพระราชประวัติ ติดตามพระ ราชกรณียกิจต่างๆ เราท�ำกันเป็นประจ�ำ อย่างเช่น ท่านทรง เลี้ยงปลานิล เราก็จะมีอ่างเป็นสระเล็กๆ หน้าอาคารแล้วก็ปัก ป้ายว่าตรงนี้เป็นที่เลี้ยงปลานิลพระราชทานโดยพระจักรพรรดิ ญี่ปุ่นมาถวาย คือเรื่องเล็กเรื่องน้อยเราก็ติดตามแล้วก็ปลูกฝัง เด็ก นิทรรศการท�ำยังไงให้เด็กเห็นพระราชกรณียกิจพระองค์ ท่าน ว่าพระองค์ท่านทรงงานยังไงบ้าง ก็พาครูไปดูโครงการ ส่ ว นพระองค์ ทั้ ง ในสวนจิต รลดาและที่ต ่างๆ แล้ว ครู ก็ มาจั ด นิทรรศการสอนเด็ก ก็เป็นแห่งแรกเหมือนกัน ก็มีการพัฒนา ไปแบบนี้โดยที่เราไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่เราคิดเราเรียนรู้นั้นเราได้ มากมายแค่ไหน อย่างไร จากพระองค์ท่าน ที่พระองค์ท่านทรง สอนพวกเราคนไทยทุกคน

ความหวั ง ที่ อ ยากเห็ น ต่ อ ไป : เด็กๆ เขาแยกแยะไม่ได้ว่าสิ่งที่เขาเห็นนั้นภายในหรือ ความจริงใจเป็นอย่างไร น่าเห็นใจเพราะเขาเป็นเด็ก แต่พ่อ แม่ ครูได้ช่วยวิเคราะห์ ช่วยให้เด็กตระหนักในความจริง และ ความส�ำคัญในสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ผู้ใหญ่มีค่านิยม อย่างไร เด็กมักคล้อยตามได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่เราหวังที่จะเห็นใน ราชวินิตต่อไป คือสิ่งที่ดีงามทั้งหลายในด้านจิตใจที่เราช่วยกัน สร้างให้ อาคาร สถานที่ สื่อ หรือวัตถุต่างๆ เป็นส่วนที่ช่วยเสริม ให้ดูดี แต่ที่ส�ำคัญเหนืออื่นใดคือภายใน คือจิตใจ ท�ำอย่างไรให้

28 IS AM ARE www.fosef.org


ราชวินิตเป็นสถานศึกษาที่เจริญงดงาม ทั้งภายนอกและภายใน สมดังนามพระราชทาน ขอฝากคุณครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และ ศิษย์ปัจจุบันทุกคน ศิษย์เก่าและผู้ปกครองเก่า นานๆ ครั้งก็จะเข้ามาบอก ว่าโรงเรียนเจริญและขยายใหญ่โตมาก นั่นเป็นความรู้สึกที่ท่าน วัดด้วยสายตา แต่เราอยากจะบอกจากภายในว่าคนเปลี่ยนไป มาก เราจะท�ำงานเหมือนเดิมหรือใช้วิธีเดิมๆ นั้นคงไม่ได้ ทุก คนต้ องปรั บ ตัว ตลอดเวลาจึงจะอยู่ไ ด้ เราจะหวั ง ให้ ลู ก ศิ ษ ย์ เราว่าง่ายเหมือนรุ่นแรกๆ ก็คงไม่ได้ เพราะเด็กเดี๋ยวนี้เขาถูก หล่อหลอมด้วยสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คนนิยมนับถือวัตถุมาก ขึ้น รวมทั้งเด็กตัวเล็กๆ ด้วย พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ มี ต ่ อ ชาวไทย : ที่เป็นห่วง เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นห่วง ที่เป็นห่วง ก็คือการจัดการศึกษาปัจจุบันนี้นะคะ เราควรจะได้เรียนรู้ใน อดีต ส่วนใดที่ดี ส่วนใดที่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่ฟังหรือเดินตาม ฝรั่ง พูดตรงๆ อย่างนี้นะคะ หลักสูตรอะไรไม่ใช่ว่าเราจะหวือ หวา เราสอนได้คอมพิวเตอร์ สอนอะไรต่างๆ แต่ว่าอะไรที่มัน

เป็นรากเหง้ารากฐานของประเทศเราของคนไทยเราไม่ควรทิ้ง เราควรให้เด็กเรียนรู้ เช่น ภาษาไทย เราสอนภาษาอังกฤษให้ เก่งได้ แต่ก็ไม่ควรทิ้งภาษาไทยที่สอนให้ถูกวิธี อยากจะน�ำค�ำ ที่พระองค์ท่านรับสั่งมาฝากต่อ พระองค์ท่านรับสั่งหลังจากที่ เราท�ำงานถวายเรื่องดาวเทียมมาระยะหนึ่ง ให้คณะอาจารย์ที่ จัดท�ำคู่มือดาวเทียมอะไรต่างๆ ครั้งสุดท้ายพระองค์ท่านรับสั่ง ว่า ‘ขอครูคนเดิม’ “ความปราบปลื้ ม ใจนี้ บ รรยายเป็ น ตั ว อั ก ษรไม่ ไ ด้ น ะ คะ แต่ที่ประพฤตปฏิบัติมาตลอดก็คือ ตามรอยพระบาท เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ในเรื่องนี้พบกับตัวเองว่า เราด�ำเนิน ชีวิต ไม่ว่าครอบครัว ไม่ว่าเรื่องส่วนตัวใดใดโดยใช้หลักเศรษฐกิจ พอเพียง แล้วเรามีความสุขมาก” ที่มา : หนังสือ คุณหญิงนักการศึกษา (เนื่องในวาระ เกษียณอายุ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์), นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ธันวาคม ๒๕๕๒, ร้อยเรื่องเล่าองค์ ราชัน ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ 29 issue 115 August 2017


ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ

30 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

31 issue 115 August 2017


32 IS AM ARE www.fosef.org


33 issue 115 August 2017


ใช้อสุภะช่วยให้มีสันโดษ พอใจแต่คู่ชีวิตของตน (๑)

ท่ า นเจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ ได้ ท รงแนะน� ำ ไว้ ดั ง นี้ “ความเข้ า ใจ” เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ไม่ ว ่ า จะท� ำ อะไรทั้ ง นั้ น ต้ อ งมี ค วามเข้ า ใจเสี ย ก่ อ น จึ ง จะท� ำ ได้ ถู ก ต้ อ ง หน้ า ตาที่ แ อบแฝงของโมหะ ความหลง การจะแก้โมหะหรือความหลงก็เช่นกัน จ�ำเป็นจะต้องท�ำความเข้าใจ ให้รู้จักหน้าค่าตากันเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร แอบแฝง อยู่ตรงไหน ถ้าไม่เข้าใจไม่รู้หน้าตาของความหลง ก็จะไม่รู้ไม่เข้าใจว่ามีแอบแฝงอยู่ตรงไหน เมื่อไม่รู้จักหน้าตาที่ซ่อนของผู้ร้าย จะ จับผู้ร้ายออกมาไม่ได้ฉันใด เมื่อไม่รู้จักหน้าตาที่แอบแฝงของโมหะ ก็จะจับโมหะออกไม่ได้ ฉันนั้น ความหลงที่เป็นเหตุแห่งความรัก ความชอบ หรือที่มีอยู่ในความรักความชอบ ก็คือ ความหลงที่เป็นความรู้ความคิดว่าผู้นั้น หรือสิ่งนั้นน่ารัก น่าชอบ เป็นคนหนุ่ม คนสาว เป็นคนสวย เป็นของงาม เหล่านี้เป็นต้น 34 IS AM ARE www.fosef.org


หลั ก ธรรมแห่ ง ความพอเพี ย ง เหตุที่กล่าวว่า ความรู้ความคิดที่ท�ำให้เกิดความรักความ ชอบตามมานั้น เป็นโมหะหรือความหลง ก็เพราะความรู้ความ คิดเช่นนั้นผิดจากความจริง คือที่รู้ ที่คิด ว่าผู้นั้นหรือสิ่งนั้นน่า รัก น่าชอบ เป็นคนสวย เป็นของงามนั้น ไม่ถูกต้อง ตามความจริงไม่มีผู้นั้น ไม่มีสิ่งนั้น ที่น่ารัก น่าชอบ เป็น คนสวย เป็นของงาม มีแต่ความเป็นสิ่งปฏิกูล มีแต่ความเปื่อย เน่าผุสลาย นี้คือความจริง แต่ก็เป็นความจริงที่สามัญชนผู้อบรม ปัญญาบารมีไม่เพียงพอ ยากที่จะเข้าใจให้รู้ถูก คิดถูก ตามเป็น จริงได้ สามัญชนจึงยังมีโมหะคือความหลงที่น�ำให้เกิดความรัก ความชอบในผู้นั้น ในสิ่งนั้นอยู่ทั่วไป ยังต้องได้รับทุกข์เพราะ ความหลงนี้อยู่ทั่วไปเป็นอันมาก

โทษของความหลง อันโมหะนี้มีโทษมาก มีโทษกว้างขวาง คนละเมิดสามี ภริยาของเขา ลูกหลานเขา ก็เพราะเห็นสวยงาม น่ารัก น่า ปรารถนา คนที่ลักขโมย ฉ้อโกง ไม่ว่าของเล็กของใหญ่ เงินน้อย วิ ธี แ ก้ ค วามหลง เงินมากก็เพราะเห็นเป็นสิ่งมีค่า สวยงาม น่าครอบครองเป็น วิธีแก้ความหลงที่แทรกอยู่ในความรัก ความชอบ อัน เจ้าของ เห็นเป็นสิ่งที่จะท�ำให้ตนมั่นคงยิ่งขึ้นในฐานะอันสูงอันดี เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ก็ต้องพยายามคิดให้ถูกตามความเป็น ซึ่งจะต้องยั่งยืน ด้วยตั้งอยู่บนรากฐานอันตนได้พยายามก่อสร้าง จริงว่า ผู้นั้นหรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งปฏิกูล เป็นสิ่งเปื่อยเน่า ผุสลาย ทุกวิถีทาง ไม่ค�ำนึงว่าจะเป็นการได้มาอย่างสุจริตหรือทุจริต ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบ นี้เป็นขั้นยาก แต่ก็ต้องยาก เพราะเป็นการ ก็ตาม ความคิดความเห็นเช่นนั้นมาแล้ว และก็ก�ำลังคิดก�ำลังเห็น แก้รากเหง้าของกิเลสทีเดียว ผู้ปรารถนาจะได้มีสุขเพราะพ้น เช่นนั้นอยู่ ถ้าต้องการจะบริหารจิตให้เป็นจริงที่สมบูรณ์ เบาบาง จากโทษของความรักความชอบ จ�ำเป็นต้องอบรมให้สม�่ำเสมอ จากกิเลสทั้งหลาย อันจะเป็นเหตุให้คิด พูด ท�ำความผิดความ ความตั้งใจจริงประกอบด้วยการใช้ปัญญาอย่างมีความ ชั่วทั้งปวง จ�ำเป็นจะต้องแลให้เห็นโมหะในใจตนเองเสียก่อน เพียรไม่ขาดสาย จะท�ำให้ได้รับความส�ำเร็จเป็นล�ำดับไป ยอมรับเชื่อเสียก่อนว่า การคิดการเห็นนั้นไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ควรจะแก้ไข เปลี่ยนแปลงเสียที ผู้ใด สิ่ง ใด ที่เห็นเป็นสวยเป็นงาม น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ก็ให้ คิดให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวย ไม่มีอะไรงาม ไม่มีอะไรน่าใคร่ น่า ปรารถนา น่าพอใจ คนที่ เ ห็ น สวยงามจนเกิ ด ความรั ก ความใคร่ ความ ปรารถนา ต้องการ ก็ให้แลลงไปให้เห็นตามความเป็นจริง เพียง หนังบางๆ ที่ห่อหุ้มอยู่ท่ัวไปฉีกขาดออก แม้เพียงในบริเวณหนึ่ง บริเวณใดของร่างกายเพียงเล็กน้อย ก็จะอาจเห็นความไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนาได้แล้ว เนื้อก็แดงมีเลือด มีน�้ำเหลืองเปรอะเปื้อน หาได้เห็นผิวพรรณผุดผ่องสวยงามไม่ ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่ต้อง ลองลอกหนังที่หุ้มอยู่ออก ทุกคนก็สามารถนึกภาพความจริงอัน ไม่สวยงาม น่ารังเกียจนั้นได้ชัดเจนด้วยกันทั้งนั้น เมื่อนึกภาพบริเวณเล็กๆ ที่หนังหลุดหายไป เหลือแต่ เนื้อสกปรกเปรอะเปื้อนด้วยเลือดและน�้ำเหลืองได้แล้ว ก็ให้นึก ภาพบริเวณที่ใหญ่ออกไปอีกที่หนังหลุดหายไป ก็จะได้เห็นภาพ อันเป็นปฏิกูล ไม่สวยงามน่าปรารถนาอย่างใดเลยชัดเจนขึ้น พระธรรมนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 35 issue 115 August 2017


ริพระราชพิ ้วขบวนทั ง ้ ๖ ธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วั น เวลาใกล้ เ ข้ า มาแล้ ว ส� ำ หรั บ พระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหา ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ในวั น ที่ ๒๖-๒๙ ตุ ล าคม ๒๕๖๐ ซึ่ ง จะมี ก ารอั ญ เชิ ญ พระบรมศพจากพระมหาปราสาทไป สู  พ ระเมรุ ม าศ หรื อ อั ญ เชิ ญ พระบรมอั ฐิ จ ากพระเมรุ ม าศมาสู ่ พ ระบรมมหาราชวั ง พระบรมราชสรี ร างคารไป บรรจุ ห รื อ ลอยพระอั ง คาร ตามโบราณกาลจะอั ญ เชิ ญ ด้ ว ยขบวนพระราชอิ ส ริ ย ยศ ซึ่ ง เรี ย กว่  า “ริ้ ว ขบวน” โดยแต่ ล ะริ้ ว ขบวนมี ค นหามและคนฉุ ด ชั ก จํ า นวนมาก พร้ อ มด้ ว ยเครื่ อ งประกอบพระอิ ส ริ ย ยศ 36 IS AM ARE www.fosef.org


การจั ด ริ้ ว ขบวนเครื่ อ งประกอบพระบรมราชอิ ส ริ ย ยศในพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพ พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มี ข บวนพระบรมราชอิ ส ริ ย ยศ จ� ำ นวน ๖ ริ้ ว ขบวน โดยมี ก าร บู ร ณะตกแต่ ง ราชรถ ราชยาน และเครื่ อ งประกอบพระบรมราชอิ ส ริ ย ยศ เพื่ อ ให้ พ ร้ อ มส� ำ หรั บ การอั ญ เชิ ญ พระบรมศพ พระบรมอั ฐิ และพระบรมราชสรี ร างคาร รวมทั้ ง ซั ก ซ้ อ มการเคลื่ อ นขบวนให้ ง ดงามประหนึ่ ง ราชรถเคลื่ อ นบนหมู ่ เ มฆส่ ง เสด็ จ สู ่ ส วรรค์

พระยานมาศสามล�ำคาน (ริ้วขบวนที่ ๑)

พระยานมาศสามล�ำคาน เป็นยานที่มีคานหามขนาด ใหญ่ ท�ำด้วยไม้จ�ำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ ๓ ด้าน และมีคานหาม ๓ คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสาม ล�ำคาน อยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ ๑ ใช้ส�ำหรับ อัญเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรม มหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ที่จอดเทียบ รออยู่ใกล้พลับพลายก บริเวณทิศตะวันออกของวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม พระราชยานองค์ นี้ ส ร้ า งขึ้ น ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมโกศพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นครั้งแรก

เกรินบันไดนาค (ริ้วขบวนที่ ๒)

เกรินบันไดนาค คืออุปกรณ์ที่ใช้เชิญพระโกศพระบรม ศพขึ้นหรือลงจากราชรถและพระเมรุมาศแทนการใช้นั่งร้านไม้ ต่อยกสูงแบบสมัยโบราณ ที่ใช้ก�ำลังคนยกขึ้นลงซึ่งมีความยาก ล�ำบาก ไม่สะดวก โดยท�ำเป็นรางเลื่อนขึ้นลงด้วยกว้านหมุน ลั ก ษณะการใช้ ง านเหมื อ นลิ ฟ ต์ ใ นปั จ จุ บั น มี แ ท่ น ที่ ว างพระ โกศเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ลักษณะเป็นแท่น สี่เหลี่ยมขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกริน เป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่ส�ำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลา ขึ้นนั่งประคองพระโกศพระบรมศพ มีลักษณะคล้ายท้ายส�ำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง มีราวทั้งสองข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า “เกรินบันไดนาค” เกรินบันไดนาค คิดค้นโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในสมเด็จพระพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ ใช้ ค รั้ ง แรกในงานพระเมรุ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุฬาโลกมหาราช พ.ศ. ๒๓๕๕ เกรินบันไดนาค มีความกว้าง ๑.๕๒๕ เมตร ยาว ๒.๓๖๕ เมตร สูง ๔.๔๐ เมตร ส่วนฐานมี ความกว้าง ๑.๗๘๖ เมตร ยาว ๓.๐๖ เมตร จ�ำนวนพลในการ ควบคุม ๒๐ นาย 37

issue 115 August 2017


แรก และครั้งหลังสุดในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรา มาธิบดินทร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ในหมายก�ำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพ เรียกราชรถนี้ ว่า “ราชรถปืนใหญ่รางเกวียน” ส่วนใน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เรียก ว่า “รถปืนใหญ่” “เกวียนรางปืน” “รถปืนใหญ่รางเกวียน” และ “รางเกวียน ปืนใหญ่”

พระมหาพิชัยราชรถ (ริ้วขบวนที่ ๒)

พระมหาพิชัยราชรถอยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ ๒ ในงานพระราชพิธี วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ พระมหา พิชัยราชรถมีลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบก ท�ำด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้เพื่อการอัญเชิญพระโกศ พระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๓๙ ต่อมาใช้อัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตร ย์ และพระโกศพระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน พระมหาพิชัยราชรถเป็นราชรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในริ้ว ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ด้วยความสูง ๑๑.๒๐ เมตร กว้าง ๔.๘๔ เมตร ยาว ๑๘ เมตร เเละด้วยน�้ำหนักถึง ๑๓.๗ ตัน จึง ต้องใช้พลฉุดชักเพื่อเคลื่อนพระมหาพิชัยราชรถทั้งหมด ๒๑๖ นาย แบ่งเป็นส่วนด้านหน้า ๑๗๒ นาย ด้านหลัง ๔๔ นาย เเละ พลควบคุม ๕ นาย การบ�ำรุงรักษาพระมหาพิชัยราชรถนั้น ขณะนี้ทางกรม ศิลปากรได้ท�ำการซ่อมแซมแล้วเสร็จ ร้อยละ ๗๐ โดยมีการ ประดับกระจกเเละลงสีใหม่ไปเเล้วในบางส่วน

พระที่น่ังราเชนทรยาน (ริ้วขบวนที่ ๔)

พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่ใช้ประดิษฐาน พระโกศพระบรมอัฐิในขบวนพระบรมราชอิสสริยยศ ริ้วที่ ๔ และริ้วที่ ๕ ดังนี้ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ ๔ เชิญพระ โกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ ๕ เชิญพระโกศพระบรมอัฐิ ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท ขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานบนพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่สร้างขึ้นในรัช ่ ราชรถปื นใหญ่ (ริ้วขบวนที ๓) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะ ราชรถปืนใหญ่ เป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพ เป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน ๕ ชั้น สร้างด้วย พระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่ทรงรับราชการ ไม้ แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจัง ทหารเมื่อครั้งด�ำรงพระชนม์ชีพ แทนพระยานมาศสามล�ำคาน ปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพนมไว้ตรงกลาง และมีรูปครุฑ ตามธรรมเนียมเดิมจากพระบรมมหาราชวังหรือวังของพระบรม ยุดนาคประดับที่ฐาน มีคานส�ำหรับหาม ๔ คาน ใช้คนหาม ๕๖ วงศ์ พระองค์นั้น ๆ สู่พระเมรุมาศ หรือพระเมรุ และแห่อุตรา คน แต่เวลาปกติจะคงคานประจ�ำไว้ ๒ คาน ใช้ในการเสด็จ วัฏ (เวียนซ้าย) รอบพระเมรุมาศ ๓ รอบ ซึ่งธรรมเนียมใหม่นี้ พระราชด�ำเนิน โดยขบวนแห่อย่างใหญ่ที่เรียกว่า “ขบวนสี่สาย” เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะเสด็จพระราชด�ำเนิน การพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพจอมพล พระเจ้าบรม จากพระราชมณเฑียรไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตน วงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นครั้ง ปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 38 IS AM ARE www.fosef.org


ปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ ยังใช้ในการ เชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี และพระอัฐิพระบรมวงศ์ จากพระเมรุมาศ พระเมรุ ท้องสนาม หลวง ไปยังพระบรมมหาราชวังอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหา กษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี และพระอัฐิพระบรมวงศ์ จาก พระเมรุมาศ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราช วังอีกด้วย พระราเชนทรยานน้ อ ย เป็ น พระราชยานที่ ใ ช้ ใ น การประดิ ษ ฐานพระบรมราชสรี ร างคาร เข้ า สู ่ วั ด พระ ศรี รั ต นศาสดาราม พระบรมมหาราชวั ง พระราเชนทรยาน น้อยมีลักษณะเป็นทรงบุษบก สร้างด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ประดับกระจกทั้งองค์ ขนาดกว้าง ๑๐๐ เซนติเมตร ยาว ๕๔๘ เซนติเมตร รวมคานหาม สูง ๔๑๔ เซนติเมตร มีคานส�ำหรับหาม ๔ คาน จ�ำนวนคนหาม ๕๖ คน

ขบวนกองทหารม้า (ริ้วขบวนที่ ๖)

ขบวนกองทหารม้า เชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระ ศรีรตั นเจดีย์ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม โดยรถยนต์พระทีน่ งั่ ออก จากพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวเิ ศษไชยศรี ไปยังวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร

พระที่น่ังราเชนทรยาน (ริ้วขบวนที่ ๕)

พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่สร้างขึ้นในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะ เป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน ๕ ชั้น สร้างด้วย ไม้ แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจัง ปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพนมไว้ตรงกลาง และมีรูปครุฑ ยุดนาคประดับที่ฐาน มีคานส�ำหรับหาม ๔ คาน ใช้คนหาม ๕๖ คน แต่เวลาปกติจะคงคานประจ�ำไว้ ๒ คาน ใช้ในการเสด็จ พระราชด�ำเนิน โดยขบวนแห่อย่างใหญ่ที่เรียกว่า “ขบวนสี่สาย” เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะเสด็จพระราชด�ำเนิน จากพระราชมณเฑียรไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตน 39 issue 115 August 2017


40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 115 August 2017


“ต้องเรียน และอ่านเพื่อให้ทันต่อโลก และสังคม”

บัณฑิตอายุมากที่สุดในการรับพระราชทานปริญญาบัตร มสธ.ปี ๒๕๖๐ ในวันซ้อมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ก่อนจะมีการรับจริงในวันที่ ๘-๙ สิงหาคม ปรากฏบัณฑิตอายุมากที่สุดคือ คุณยายกิมหลั่น จินา กุล วัย ๙๑ ปี ซึ่งเดินทางมาพร้อมครอบครัวจินากุลจากจังหวัด พะเยา เพื่อมารอรับพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ ย้ อ นกลั บ ไปเมื่ อ ปี ๒๕๔๑ คุ ณ ยายกิ ม หลั่ น สมั ค ร เป็นนักศึกษา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช หลังจากนั้นไม่นานก็ติด ธุระครอบครัว จึงต้องพักการเรียนไปและกลับมาเริ่มใหม่ใน ปี ๒๕๕๔ และจบการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในระดับ ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกพัฒนาการ มนุษย์และครอบครัว แม้คุณยายจะอายุถึง ๙๑ ปี แต่ยังมีสุขภาพดี เพราะ น�ำองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาพัฒนาตนเอง คุณยายกิมหลั่น บอก ว่า การเรียนหนังสือ คือความฝันตั้งแต่เด็ก เมื่อมีโอกาส จึงต้อง เรียนให้ส�ำเร็จ โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องล�ำบาก เพราะความรู้คือสิ่ง ส�ำคัญของการพัฒนาตนเอง “ถ้าเราไม่เรียน เราไม่อ่าน ไม่รู้ เราก็จะพูดอะไรไม่รู้ เรื่อง ถ้าหากเราเรียนหนังสืออยู่เสมอ พร้อมทั้งอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านข่าวคราว เราก็จะรู้ความเป็นไป จะรู้ข่าวสารของโลก ของ

ประเทศชาติ และสังคม” ยายกิมหลั่นกล่าว เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การศึ ก ษาให้ กั บ ผู ้ สู ง อายุ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โขทั ย ธรรมาธิ ร าช ยกเว้ น ค่ า ธรรมเนี ย มแรก เข้า ๘๐๐ บาท และมีนโยบายการศึกษาที่สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้สูงอายุ เช่น ระบบการศึกษาทางไกล และหลักสูตร การศึกษา รศ.ภาณุมาศ ขัดเงางาม รักษาการแทนอธิการบดี มสธ. กล่าวว่า ส�ำหรับผู้สูงอายุ เราจะเน้นทางด้านการปฎิบัติมากกว่า ทางวิชาการ เรียกว่าเรียนแล้วน�ำไปใช้ได้เลยในวิชาชีพ เช่น การเกษตร ถ้าไม่มีความรู้เรื่องปลูกผัก เราก็จัดโครงการเรียน หลักสูตรระยะสั้นให้ ด้าน รศ.รัชนีกร โชติชัยสถิตย์ ปธ.กรรมการประจ�ำสาขา วิชามนุษยนิเวศศาสตร์ กล่าวว่า การเรียนของผู้สูงอายุ เพียงแต่ ลงทะเบียน รอรับเอกสารการเรียนที่บ้าน สามารถเรียนด้วยตัว เองโดยมหาวิทยาลัยมีสื่ออื่นๆ เสริมทั้งรายการวิทยุและรายการ โทรทัศน์ ส�ำหรับการอ�ำนวยความสะดวกด้านการศึกษาให้แก่ผู้ สูงอายุ ท�ำให้ปัจจุบันมีผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปลงทะเบียนเรียนที่ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช จ�ำนวน ๑๙๙ คน แล้ว 42

IS AM ARE www.fosef.org


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน นิตยสารครอบครัวพอเพียง 43

issue 115 August 2017


44 IS AM ARE www.fosef.org


45 issue 115 August 2017


สภาพแวดล้อม

เชื่อทางศาสนา วัดจึงเป็นสถานที่รวมจิตใจของประชาชนใน หมู่บ้าน ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่าง ช้านานซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลัก มีอาชีพท�ำนา บางครัวเรือนจะปลูกพืชไร่ พืชสวน แต่ ปัจจุบันชาวบ้านนิยมปลูกยางพารา ส่วนแหล่งน�้ำในชุมชนจะ มี ๒ แหล่ง คือ คลองชลประทาน และหนองน�ำสาธารณะใน ทุกหมู่บ้าน พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ในเทือกเขาภูพานมีลักษณะ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าปลูก เป็นสวนผลไม้ สวน ยางพารา รวมทั้งป่าไผ่บริเวณริมน�้ำก�่ำ สภาพพื้นดินค่อนข้าง เป็นทราย อุ้มน�้ำได้ต�่ำ มักพบปัญหาในการขาดแคลนน�้ำในฤดู เพาะปลูก และในบริเวณพื้นที่ลุ่มน�้ำไหลบ่าท่วมขังสูงในช่วง ฤดูฝน

วิ ถี ดั้ ง เดิ ม ของชุ ม ชนที่ เรี ย บง่ า ย ชี วิ ต แห่ ง ความพอ ประมาณ การเลี้ยงหมู ปลูกผักสวนครัว และความเอื้ออาทรของ ผู้คน รอยยิ้มยามมีงานบุญประเพณี สิ่งเหล่านี้ เริ่มเลือนหายไป จากชุมชนต�ำบลพิมานหลังจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็ว และกระแสแห่งทุนนิยมที่ถาโถม ระบบซื้อขายจาก นายทุน การเกษตรจากการใช้สารเคมี ส่งผลให้วิถีแบบดั้งเดิม ความพออยู่พอกินเปลี่ยนแปลงไป ยิ่งความสะดวกสบายเข้ามา มากเท่าไร ยิ่งท�ำให้ผู้คนในชุมชนเกิดหนี้สิน จนหลายครอบครัว ต้องย้ายถิ่นฐาน เพื่อไปท�ำงานในถิ่นอื่น ท�ำให้หน่วยงานต่างๆ จึง ต้องมีการพลิกฟื้นพัฒนาให้ความรู้ น�ำไปสู่การช่วยเหลืออย่าง ยั่งยืนด้วยการกลับสู่แนวคิดในการพึ่งพาตนเอง และการด�ำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ต�ำบลพิมาน ตั้งอยู่ในอ�ำเภอนาแก ห่างจากตัวจังหวัด นครพนมประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมายาวนาน มีเนื้อที่ทั้งหมด จ�ำนวน ๓๐,๑๔๕ ไร่ มี ประชากรประมาณ ๖,๖๐๐ คน มีเขตปกครองทั้งหมด ๑๐ หมู่บ้าน ชาวบ้านต�ำบลพิมานมีลักษณะทางชาติพันธุ์ ที่เรียกว่า ชาวภูไท ที่พูดส�ำเนียงคล้ายๆ ภาษาย้อ มีความผูกพันกับความ

ความเป็นมา

พั ฒ นาการของต� ำ บลพิ ม านนั้ น เริ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จากเดิมของพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสภาพป่าไม้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คนพึ่งพาอาศัยกันและกันช่วย เหลือเกื้อกูล มีความเอื้ออาทรต่อกัน แต่เมื่อนโยบายการพัฒนา จากภาครัฐที่ขยายตัวเข้ามาจากส่วนกลางสู่ระดับภูมิภาค จึง 46

IS AM ARE www.fosef.org


ส่งผลมาถึงต�ำบลพิมาน ได้มีการพัฒนาการเป็นยุคตาม ล�ำดับ

พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๒๔

ยุ ค เริ่ ม ต้ น ปรั บ เปลี่ ย นวิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชน ชาวบ้านเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีผลิตการเกษตรมาปลูก พืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ครั้งนั้นชาวบ้านได้ถางป่าเพื่อพื้นที่ปลูก ปอ และเป็นที่อยู่อาศัย ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์สิ่งมีชีวิตทั้ง พืชและสัตว์ ถูกท�ำลายส่งผลต่อวิถีการด�ำรงชีวิตของคนใน ชุมชนที่อาศัยพึ่งพาอาหารจากป่าที่ลดน้อยลง และเริ่มเข้า ยุคการขยายผลสู่สังคมของการกู้ยืม ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ด้วย การพัฒนาการเกษตรเชิงเดี่ยวได้ขยายผลอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้น เริ่มมีการกู้ยืมเงินเพื่อ ใช้ในการขยายพื้นที่การผลิต ส่วนทางด้านสังคมเริ่มมีไฟฟ้า เข้ามาในชุมชน มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกมากขึ้น ท�ำให้จาก เดิมที่ชุมชนเคยพึ่งตนเอง ตามวิถีความเป็นอยู่แบบเรียบ ง่าย กลายเป็นสังคมกู้ยืมเพื่อน�ำมาใช้ในการลงทุน ส่งผล ท�ำให้คนเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น

พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๓๕

ชุมชน แต่การด�ำเนินงานยังขาดการติดตามและขาดความต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มกองทุนเพื่อการส่ง เสริมการยังชีพนอกเหนือภาคการเกษตร และน�ำไปลงทุนประกอบ กิจการขนาดเล็ก มีการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน เกิดการขยายตัว ทางเศรษฐกิจชาวบ้านมีเงินหมุนเวียนใช้กันภายในชุมชน หลังจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ชาว บ้านเกิดภาวะหนี้สินสะสมหน่วยงานของรัฐและเอกชนเข้ามาช่วย พัฒนาอย่างเป็นระบบด้วยเริ่มการจัดตั้งโรงเรียนชาวนามีการส่ง เสริมการท�ำบัญชีครัวเรือนให้กับเกษตรกรส่งผลท�ำให้ชุมชนเริ่ม ตระหนักและลุกขึ้นมาจัดการตนเอง โดยให้ความส�ำคัญกับการ เรียนรู้ อบรมดูงาน มีการรวมกลุ่มผู้น�ำและหาแนวทางมาปฏิบัติให้ เป็นแบบอย่างให้เป็นรูปธรรม โดยได้รับการช่วยเหลือด้านเครื่อง มือ อุปกรณ์ ทุน ท�ำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น

ทุนต�ำบล

ต�ำบลพิมานเป็นพื้นที่ที่มีทุนเดิมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะ เป็นความอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม น�้ำ ป่า ดิน ลักษณะ ทางภูมินิเวศที่ดี รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ทั้งในด้านการ อยู่อาศัยและการเกษตร ชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับการ

ยุ ค การย้ า ยถิ่ น ฐานและกระแสทุ น นิ ย ม ชุมชนเริ่มมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรส่งผลกระ ทบต่อระบบนิเวศ การอยู่การกินเริ่มพึ่งพาภายนอกมาก ขึ้น สภาพสังคมเป็นแบบต่างคนต่างอยู่มีการอพยพย้าย ถิ่นอย่างต่อเนื่อง มีทั้งชั่วคราวและถาวร ในปี พ.ศ.๒๕๓๐๒๕๓๕ เริ่มใช้เครื่องมือทุ่นแรง เครื่องจักรกลในการเกษตร ท�ำให้ชาวบ้านละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้านเดิม ท�ำให้วิถีชีวิต เปลี่ยนไปไม่มีการพึ่งพาอาศัยกัน การว่าจ้างแรงงานที่ท�ำให้ เกิดรายได้หมุนเวียนของคนในชุมชน ถูกเปลี่ยนไปเป็นรถ รับจ้างจากพ่อค้านายทุนจากต่างถิ่น ยิ่งท�ำให้ต้นทุนในการ ผลิตสูงขึ้น คนเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นผลผลิตถูกพ่อค้าคนกลาง เอารัดเอาเปรียบ ผลจากการใช้เครื่องจักรและต้องเร่งรีบ ท�ำให้กระทบต่อรายได้ที่ลดลง

พ.ศ.๒๕๓๖-๒๕๕๑

ยุ ค ฟื ้ น ฟู มุ ่ ง สู ่ ก ารพั ฒ นา ในช่วงต้น หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือชาว บ้านในการจัดตั้งรวมกลุ่มองค์กรด้านการประกอบอาชีพ เสริมรายได้ชาวบ้านเกิดการพึ่งพาตนเอง โดยได้รับการ สนับสนุนจาก ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ ส�ำนักงานพัฒนา 47 issue 115 August 2017


48 IS AM ARE www.fosef.org


และกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ รวม ถึงการประสานงาน หาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และสรุปบท เรียนที่เกิดขึ้นจากการด�ำเนินงาน เพื่อน�ำไปพัฒนาการด�ำเนิน งาน จะประกอบด้วยตัวแทนจากทุกหมู่บ้านที่เข้าร่วม โดยมีองค์ ประกอบ ๓ ส่วนหลักๆ ส่วนที่ ๑ คือแกนน�ำ ที่เป็นปราชญ์และ ตัวแทนครัวเรือนพอเพียงอาสา จะเป็นผู้ที่มีความตั้งใจ ทุ่มเท เสี ย สละ และมี จิ ต อาสาท� ำ งานเพื่ อ ชุ ม ชนจนได้ รั บ คั ด เลื อ ก ส่วนที่ ๒ คือ ภาคส่วนของผู้น�ำท้องถิ่น ท้องที่ที่เข้ามาเป็นคณะ กรรมการด้วยเหตุส�ำคัญ คือ ต้องการพัฒนาวิถีชีวิต ความเป็น อยู่ที่ดี ส่วนที่ ๓ ส่วนของที่ปรึกษาภาคีหลายส่วน ตั้งแต่พระคุณ เจ้าที่ให้ข้อคิด คติ และให้สติในการท�ำงาน

สืบสาน ช่วยหล่อหลอมจิตใจของคนให้เป็นหนึ่งเดียว มีความ สามัคคีของคนในชุมชนเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจในการพัฒนา ด้วย ระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เข้มแข็ง รวมทั้งทุนบุคคล ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ร่วมถ่ายทอดการปฏบัติที่เป็นแบบ อย่างกลายเป็นคนต้นแบบในการพึ่งพาตนเองในชุมชนด้วยการ ยอมรับและเชื่อมั่นในวิถีพอเพียง แต่เมื่อมีการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและสังคมทั้ง ความเจริญด้านวัตถุและทุนนิยม ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวคิด ความพออยู ่ พ อกิ น ความพอประมาณในวิ ถี ดั้ ง เดิ ม ที่ เ คยมี ก็ เปลี่ยนไป จนกระทั่งการเข้ามาให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้แนวคิดของการใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักของทุนเดิมที่มีมาเป็นหลักเชื่อม โยงสร้างความรู้ และขยายผลจากสิ่งที่มีอยู่ ท�ำให้เกิดแนวคิด ในการพึ่งพาตนเอง เกิดการรวมตัวและท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วม กัน อีกทั้ง ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานซึ่งเป็นภาคีในการ ท�ำงานและกลุ่มคนในพื้นที่ มีความเข้าใจหลักของความพอเพียง อย่างถ่องแท้ เป็นก�ำลังส�ำคัญในการกระตุ้นการพัฒนาประกอบ เป็นกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ช่วยผลักดันและสนับสนุน มุ่งสู่การเรียน รู้ในการด�ำรงชีวิต ด้านการเกษตรและอาชีพ ท�ำให้ชุมชนเริ่มมี ความเข้มแข็งและพร้อมที่จะไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

ทีมงานภาคสนาม ปตท.

กลไกหลักอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนงานโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ ทีมงานภาคสนามปตท. ซึ่ง จะเข้ามาช่วยสนับสนุนกระบวนการท�ำงานของคณะกรรมการ โครงการฯ ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนคือ เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล ในการคัดเลือกเจ้าหน้าที่โครง การฯ เพื่อเป็นตัวแทนในการเชื่อมประสานและสร้างความเข้าใจ ในการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนต�ำบลวิถีพอเพียงของต�ำบล พิมานได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ลูก หลานบ้านพิมานและมีแนวคิดต้องการกลับมาพัฒนาบ้านเกิด เป็นผู้ท�ำงานด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีวิธีที่อ่อนน้อม ถ่อมตน เคารพผู้อาวุโส เข้าหาทั้งแกนน�ำและผู้น�ำชุมชนทั้งท้องที่และ ท้องถิ่นรู้จักเชื่อมประสาน สามารถท�ำงานร่วมกับทั้งคณะท�ำงาน

ก้าวเดิน ด้วยความพอเพียง

การก้าวเข้าสู่โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ต�ำบล วิถี พอเพียงของต�ำบลพิมานนั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๑ ในระยะ ที่ ๒ โดยการแนะน�ำของ จุมพล ช่างอินทร์ นักวิชาการป่า ไม้ ซึ่งเป็นเครือข่ายโครงการลูกโลกสีเขียวได้เข้ามาให้ข้อมูล และแนะแนวทางการท�ำงานกับ ธีระพล กลางประพันธ์ ปลัด อบต.พิมาน โดยแนวทางการพัฒนาของพื้นที่พิมานนั้นมีความ สอดคล้องกับแนวทางการท�ำงานของโครงการฯ การท�ำงานจึง เริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์ มีการพบ ชักชวนผู้น�ำชุมชนใน แต่ละหมู่บ้าน เพื่อเข้าร่วมเวทีชี้แจงท�ำความเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการขั้นตอนการด�ำเนินงาน พร้อมจัดรับ สมัครเจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล และมีการท�ำข้อมูลเศรษฐกิจและ พลังงาน (ECEN) กับครัวเรือนพอเพียงอาสา เพื่อน�ำไปวิเคราะห์ ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลพลังงาน อีกทั้งยังมีการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ชุมชน ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และกิจกรรม ต่างๆ ที่น�ำไปสู่การพึ่งตนเองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ต�ำบลวิถีพอเพียงในช่วงถัดไป ในการขับเคลื่อนแผนงาน คณะกรรมการโครงการฯ มี ฐานะบทบาทเป็นแกนหลักในการคิดและขับเคลื่อนแผนงาน 49

issue 115 August 2017


กันก่อน และไปศึกษาผลงานของผู้คนที่ท�ำส�ำเร็จ แล้วน�ำมา เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานและวางแผนการท�ำงานของตน โดยในปี พ.ศ.๒๕๕๓ มีการเพิ่มผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและครู ให้เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๔ มีการปรับ เพิ่มคณะกรรมการโรงการฯ ที่มาจากครัวเรือนพอเพียงอาสา ขึ้นมาเป็นกรรมการร่วมกับกรรมการโครงการฯ ชุดเดิมของ แต่ละหมู่บ้าน รวมทั้งมีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมขับเคลื่อนงาน โครงการฯ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ

ระดับต�ำบล และภาคีเครือข่าย โดยมีบทบาทเป็นผู้ประสานเรื่อง แนวนโยบาย และระเบียบปฏิบัติ กับเจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค ผู้ เป็นตัวแทนโครงการระดับภาคในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้าง ความเข้าใจ และความสัมพันธ์กับชุมชนให้เข้าใจบริบท ทุนทาง สังคม ทรัพยากร รวมถึงแนวคิดเพื่อการพัฒนาโดยวางแผนให้ สอดคล้องเหมาะสม เจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค มีบทบาทของการสนับสนุนทั้ง รูปแบบ เนื้อหากระบวนการท�ำงานต�ำบลวิถีพอเพียง และการ บริหารจัดการ โดยเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนการท�ำงาน เสริมสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน และเป็น ที่ปรึกษาให้แก่เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบล ตลอดจนการติดตามและ วิเคราะห์ผลการด�ำเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ ที่ปรึกษาภาค มีบทบาทในการบริหารงานระดับภาค ก�ำกับการด�ำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบและกฏเกณฑ์ของโค รงการฯ ติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงานตามแผนต�ำบลฯ ให้ค�ำเสนอแนะด้านต่างๆ เช่น แนวทางการแก้ไขปัญหาใน พื้นที่ และการขับเคลื่อนงานจัดท�ำและประเมินความเป็นไปได้ ของแผนต�ำบลวิถีพอเพียงร่วมกับ ๒๒ ต�ำบลในภาคอีสานขณะ เดียวกันก็มีบทบาทในการเป็นตัวแทนภาคในการสื่อสารกับฝ่าย บริหารโครงการฯ ในส่วนนี้มีเลขานุการคอยช่วยงานด้านธุระ การและจัดเตรียมการต่างๆ ที่เอื้อต่อการประสานงานระหว่าง เจ้าหน้าที่ภาคอีสานกับส่วนกลาง การขับเคลื่อนงานที่ผ่านมาของต�ำบลพิมานมีการปรับ เพิ่มจ�ำนวนคณะกรรมการโครงการฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การท�ำงานขับเคลื่อนโครงการฯ โดยใช้วิธีการท�ำความเข้าใจ

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่ ครัวเรือนพอเพียงอาสา

สิ่งหนึ่งที่ถือว่า เป็นส่วนส�ำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถี ชุมชนของต�ำบลพิมานให้เป็นตามวิถีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง คือ แผนงานพัฒนาครัวเรือนพอเพียงอาสา ด้วยวิถีชีวิต ของคนในต�ำบลพิมานมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายพึ่งพาอาศัย กันในระบบเครือญาติมีความสุขตามอัตภาพ ส่วนใหญ่มีอาชีพ หลักคือ เกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ เพื่อบริโภคในครัวเรือนเมื่อมี หน่วยงานที่เข้ามา ส่งเสริมในเรื่องของทักษะอาชีพ ส่วนใหญ่ได้ เข้ามาสนับสนุนเป็นเงินทุนเพื่อท�ำกิจกรรม แต่ชุมชนขาดการเต รียมความพร้อมเคยชินกับการรอคอยความช่วยเหลือ อีกทั้งการ ท�ำกิจกรรมขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนมีภาระ หนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมทั้งการลงทุนด้านการเกษตร และการ ลงทุนเพื่อน�ำมาสร้างอาชีพ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยโดย ไม่มีการวางแผน 50

IS AM ARE www.fosef.org


หมักชีวภาพ การท�ำของใช้ในครัวเรือน การท�ำพลังงานชุมชน ด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ในการเข้ามาของโครงการฯ จึงร่วมกันก�ำหนดแผนงาน พัฒนาครัวเรือนพอเพียงอาสาขึ้น โดยมุ่งเน้นกระบวนการเรียน รู้อันน�ำไปสู่การพึ่งพาตัวเอง ซึ่งมีหลายครัวเรือนให้ความสนใจ โดยเริ่มจากเวทีชี้แจง และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีเครื่อง มือที่ใช้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของครัวเรือนพอเพียงอาสาที่ ส�ำคัญ คือ บัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือนท�ำให้เกิดการวิเคราะห์ ตนเองรู้ตัวรู้ตน และยังมีกระบวนการติดตามอย่างต่อเนื่องโดย เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ ใน กระบวนการเรียนรู้จะมีวิทยากรที่เป็นปราชญ์อยู่ในชุมชนคอย ให้ความรู้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้เห็นคุณค่าความส�ำคัญและ สนับสนุนให้ทกุ คนมีการจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นก็จะเป็นการออกติดตามครัวเรือนพอ เพียงอาสารวมถึงการพาไปเรียนรู้ดูงานทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิดและผสานเครือข่ายของคนที่มี วิถีการด�ำเนินชีวิตแบบพอเพียง ผลจากกระบวนการเรี ย นรู ้ ท� ำ ให้ ค รั ว เรื อ นพอเพี ย ง อาสาได้รู้จักตนเองเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดประสบการณ์ สู่การพึ่งพาตนเอง ลดอบายมุขสิ่งฟุ่มเฟือยมีการปลูกอยู่ปลูก กิน เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค รวมทั้งรู้จักวางแผนชีวิตของตนเอง ครอบครัว กลายเป็นแบบอย่างของคนในชุมชน และเกิดเป็นก ลุ่มการผลิตภัณฑ์เพื่อลดรายจ่าย ขยายผลไปสู่กิจกรรมการพึ่ง ตนเองรูปแบบอื่น เช่น การเลี้ยงปลา-กบ การท�ำปุ๋ยหมัก น�้ำ

การจัดการทรัพยากรป่าภูพานน้อย

จากผืนป่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งค่ายของทหาร ฐาน ปฏิบัติการกองก�ำลังผสมในการต่อสู้กับ ผกค.ของกองทัพภาค ที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ และหลังจากการถอนก�ำลังจังหวัดได้ มอบให้ อบต.พิมานเป็นผู้บริหารจัดการ โดยได้พัฒนาให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เชิงอนุรักษ์ แต่เมื่อมีเข้าร่วมกับ โครงการฯ ป่าภูพานน้อยจึงเพิ่มบทบาทและความส�ำคัญ ด้วย กลายเป็นตัวเชื่อมร้อยกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชน โดยสร้าง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่ ส่งเสริมกิจกรรมค่าย เยาวชน กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ดิน น�้ำ ป่าขึ้น การเรียนรู้จาก ธรรมชาติและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของภูพาน การปลูกเพิ่มพันธุ์ ไม้ให้กับป่า ซึ่งผลจากการเรียนรู้ของเยาวชน สามารถถต่อยอด ขยายผลน�ำไปสู่แนวคิดในการดูแล อนุรักษ์ หวงแหน ผืนป่าของ ชุมชนในวงกว้างต่อไป

พลังงานทางเลือก

จากข้อมูลบัญชีครัวเรือนพอเพียงอาสาพบว่า คนใน ชุมชน ต.พิมาน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้แก๊สหุงต้มซึ่งใน การใช้พลังงานเชื้อเพลิงนั้นชุมชนสามารถประยุกต์โดยน�ำวัสดุ

51 issue 115 August 2017


52 IS AM ARE www.fosef.org


เหลือใช้อื่นมาทดแทนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากวัสดุเหลือ ใช้ในชุมชน ดังนั้นในการพัฒนาด้านพลังงาน โครงการฯ จึงได้ เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้กับกลุ่มครัวเรือนพอเพียง อาสา น�ำชุมชนไปศึกษาดูงานที่จังหวัดมหาสารคาม และที่บ้าน สะพานหิน ต�ำบลนาบอน อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อีกทั้งสนับสนุนอุปกรณ์เป็นถัง ๒๐๐ ลิตร ให้ครัวเรือนพอเพียง อาสาได้น�ำไปท�ำการเผาถ่านและขยายผลสู่คนอื่นๆ พร้อมกับ พัฒนาเป็นจุดเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์จากน�้ำส้มควันไม้ ซึ่ง หลังจากเรียนรู้จนเข้าใจแล้วก็ได้มีการขยายผลน�ำไปประยุกต์ใช้ โดยเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เช่น กิ่งเศษไม้ งดการตัด ต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อน�ำมาเผาถ่าน ต่อมาได้พัฒนาต่อยอดในการ ผลิตเตาซุปเปอร์อ้ังโล่เพื่อใช้ในครัวเรือน เนื่องจากดินในพื้นที่ ต�ำบลพิมานเป็นดินเหนียวเหมาะสมที่จะใช้ผลิตเตาซุปเปอร์ อั้งโล่ คณะกรรมการจึงได้ไปศึกษาเรียนรู้รูปแบบวิธีการต่างๆ และจั ด อบรมการปั ้ น เตาให้ กั บ ครั ว เรื อ นพอเพี ย ง อาสา มีการเชิญวิทยากรมาอบรมให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ เพื่อออกแบบให้ใช้งาน ได้ทั้งการใช้ฟืนและใช้ถ่านจนกระทั่งได้คิดค้นและออกแบบ เป็นการผลิตแกนเตาของคนในพื้นที่เอง จากวัสดุอุปกรณ์ในท้อง ถิ่น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้คือ การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อ เตาจากข้างนอก เกิดองค์ความรู้ชุมชนในการประยุกต์และผลิต ออกแบบแกนเตา เพื่อใช้เองในชุมชนและขยายผลให้ครัวเรือน พอเพียงอาสาคนอื่นๆ และมีการขยายผลให้ครัวเรือนพอเพียง อาสาคนอื่นๆ และมีการขยายผลการเรียนรู้เรื่องแก๊สชีวภาพจาก ถัง ๒๐๐ ลิตร มาเป็นแก๊สชีวภาพโอ่งแดงเพื่อใช้ในครัวเรือนและ ขยายผลเป็นจุดเรียนรู้ให้ผู้สนใจทั้งครัวเรือนพอเพียงอาสาและ หน่วยงานภาคีในพื้นที่

ลดรายจ่ า ย = เพิ่ ม รายได้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและพลังงาน ใน ภาพรวมของต�ำบลระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ พบว่ารายจ่าย รวมในปี ๒๕๕๓ ลดลง ๙.๘ ล้านบาท คิดเป็น ๔๓% ของราย จ่ายรวมปี ๒๕๕๒ มาจากการลดรายจ่ายในชีวิตประจ�ำวันด้าน สุขอนามัย ภาคการผลิต และการช�ำระคืนหนี้สิน รายจ่ายพลังงานรวมในปี ๒๕๕๓ ลดลง ๑.๑๕ ล้านบาท คิดเป็น ๗๖% ของรายจ่ายรวมปี ๒๕๕๒ รายจ่ายที่ลดลงมาก ที่สุด มาจากการลดรายจ่ายด้านพลังงานส�ำหรับยานพาหนะ การใช้แก๊สหุงต้ม และหลังงานชีวมวล ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง จากการ ท�ำกิจกรรมตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการฯ ต� ำ บลพิ ม านลดการปล่ อ ยคาร์ บ อนไดออกไซด์ ล ดได้ ๕๐๐,๒๘๖ กิโลกรัม จากกิจกรรการท�ำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูก ต้นไม้ พลังงานทดแทนที่ใช้แทนแก๊สหุงต้ม กิจกรรมรณรงค์การ ประหยัดพลังงาน และการตั้งจุดรับซื้อพืชผลทางเกษตร

พั ฒ นาจิ ต ใจ : งานศพปลอดเหล้ า งานศพปลอดเหล้า ได้กลายเป็นประเด็นร่วมเรียนรู้ของ ต�ำบลพิมานกับอีกหลายต�ำบลในพื้นที่ภาคอีสานที่มีด�ำเนินการ ในลักษณะนี้ เกิดเป็นเครือข่ายช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งด้านความ รู้ ความคิด และก�ำลังใจ เพื่อผนึกก�ำลังแก้ไขปัญหาการดื่มสุรา การสร้างกระแส “งานศพปลอดเหล้า ไม่มีน�้ำเมา มีแต่น�้ำใจ” กลายเป็นพลังส�ำคัญช่วยขับเคลื่อนกลไกในการพัฒนาจิตใจ ปรับพฤติกรรมสู่วิถีพอเพียง และขยายคุณธรรมให้ทั่วทั้งต�ำบล เพื่อสร้างชุมชน “อยู่เย็นเป็นสุข” อย่างยั่งยืน

53 issue 115 August 2017


แม่กับลูกสาว! “สวั ส ดี ค ่ ะ อาจารย์ อ รอนงค์ หนู มี เรื่ อ งเรี ย นปรึ ก ษา อาจารย์ดังนี้ คือ เรื่องมีอยู่ว่าพ่อหนูเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้ ประมาณ ๖ เดือน หนู พี่สาว และแม่เสียใจเป็นอย่างมาก ตัว หนูและพี่สาวต่างก็มีครอบครัวแล้ว พ่อได้ท�ำประกันชีวิตไว้ให้ ลูกๆ แม่หนูก็ได้สมบัติจากยายที่มีฐานะร�่ำรวยหลายล้านบาท แต่ตอนนี้เงินหมดลงแล้ว พ่อกับแม่รักกันมากๆ ดูแลกันจนถึง วาระสุดท้ายของพ่อ แต่เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากที่พ่อเสีย แม่เริ่มคบ กับเพื่อนข้างบ้านคนหนึ่งซึ่งแต่งตัวเก่งมาก และมาสนิทสนมกับ แม่หนู พาแม่หนูออกเที่ยวทุกคืน ทุกวัน บางทีก็มีค้างนอกสถาน ที่ จนหนูทราบมาว่าแม่มีผู้ชายคนใหม่แล้ว และขาดการติดต่อ หนูกับพี่สาวไม่ยอมรับในสิ่งที่แม่กระท�ำ เตือนสติแม่ก็แล้ว แม่ ไม่ฟังและให้ยอมรับในสิ่งที่ก�ำลังจะเกิด หนูเสียใจอย่างมาก ไม่ คิดว่าแม่จะเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้ ทั้งการกระท�ำที่ดูจัดจ้าน ค�ำพูด การแต่งกาย มันไม่ใช่แม่หนูคนเดิม เขาพยายามจะบอกว่าให้ ยอมรับ ผู้ชายคนนั้นเป็นคนดี แต่ทราบมาว่าผู้ชายคนนั้นเป็น

พ่อหม้ายเมียตาย ลูกเพิ่งเรียนจบปริญญา ซึ่งเคยเป็นเพื่อนแม่ มาก่อน หนูบอกกับแม่ว่าถึงหนูตายหนูก็ไม่ยอมรับ และถึงแม่จะ ตายแล้วมีคนนี้หนูก็ไม่ยอมรับ ตอนนี้หนูติดต่อแม่ไม่ได้ หนูกลัว ว่าแม่จะโดนผู้ชายคนนี้หลอก เพราะรู้ว่าแม่หนูมีเงินมาก ชีวิต หนูตอนนี้หนูมีแม่เพียงคนเดียว หนูอยากให้แม่เป็นเสาหลักให้ หนูกับพี่สาว ไม่ได้ต้องการสมบัติอะไรจากแม่เลย อยากดูแลแม่ อยากให้แม่เป็นก�ำลังใจให้ในการเริ่มต้นท�ำมาหากินของหนู กับ พี่สาว หนูเสียใจและร้องไห้ทุกวัน ตอนหนูเด็กๆ แม่รักหนูมาก ตามใจ และฟังหนูทุกอย่าง ตอนนี้แม่เปลี่ยนไปมาก หนูควรจะ ท�ำอย่างไรดีคะอาจารย์ หนูสับสนชีวิตมากๆ แม่เที่ยวไปพูดให้ ใครต่อใครฟังว่าหนูว่าแม่เสียๆ หาย แต่หนูไม่เคยด่าแม่เลย คน อื่นเข้าใจหนูผิด แม่ท�ำเเบบนี้เพื่ออะไร หนูเสียใจมากที่สุดเลย” เป็นเรื่องน่าสนใจหากลูกๆ ที่โตขึ้นมา แล้วลองหันกลับ ไปมองวันเวลาที่เติบโตขึ้นภายใต้การปกป้องดูแลของพ่อแม่ โดย 54

IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่ อ งใจ เฉพาะกับ “แม่” ของเรา เด็กๆ จะรู้สึกว่าแม่เป็นเจ้าของ ลูกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอดออกมาดูโลก ดูเหมือนการที่ จะได้ชื่อว่า “เป็น อยู่ คือ” นั่นคือความเป็นตัวตนของเรา นั้นได้รับการถ่ายทอดจาก “แม่” ของเรา แม่เป็นผู้สร้าง และก�ำหนดชะตากรรมของเรามากกว่าพ่อหรือสิ่งแวดล้อ มอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่เลี้ยงยาก หลังคลอดออก มาอาจมีสาเหตุจากระหว่างอยู่ในครรภ์ แม่มีความเครียด สูง อารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่าย ท�ำให้เด็กในครรภ์ดูดซับเอา อารมณ์เหล่านั้นเข้าไว้ในตัวด้วย ผู้ใหญ่แต่โบราณหรือนัก จิตวิทยาจึงมักแนะน�ำให้หญิงตั้งครรภ์ฝึกควบคุมอารมณ์ ของตนให้ปลอดโปร่งใจเย็น อย่าเครียด พยายามหารูป หรือของสวยๆ งามๆ มาไว้อยู่ในสายตารอบ ๆ ตัวเราเพื่อ รักษาอารมณ์ตัวเองให้สดชื่นแจ่มใสเสมอๆ เด็กในครรภ์ ก็จะมีอารมณ์แจ่มใสเลี้ยงง่ายไปด้วย โดยปกติ “มนุ ษ ย์ ” ตั้ ง แต่ เ กิ ด มานั้ น ต้ อ งอาศั ย ระยะเวลาในการโอบอุ ้ ม อุ ป ถั ม ภ์ ค�้ ำ ชู ดู แ ลอย่ า งใกล้ ชิ ด จากมารดา ต่างจากสัตว์โลกอื่นๆ ที่เมื่อลืมตาดูโลกไม่ นานก็สามารถลุกขึ้นเดินวิ่งหาอาหารช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เด็กตัวน้อย หรือมนุษย์ตัวน้อยนั้นยังต้องอาศัยให้พ่อ แม่เลี้ยงดูส่งเสียไปจนโต หลายคนอายุเกือบสามสิบปีก็ ยังต้องพึ่งพ่อแม่อยู่ เพราะฉะนั้นความผูกพันใกล้ชิดหรือ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก หรือพ่อแม่ลูกในความเป็น มนุษย์แนบแน่นใกล้ชิดกันมากกว่าสัตว์โลกทั่วไป นั่นเป็น เพราะพ่อแม่หรือแม่นั้นมักจะคิดว่า ตัวเองนั้นเป็นเจ้าของ ลูก หรือลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพ่อแม่ เป็นเสมือนสมบัติ หรือทรัพย์สินส่วนตัวที่จะต้องดูแลรับผิดชอบไปจนกว่าลูก จะช่วยเหลือตัวเองได้ เช่นเดียวกับลูกหรือเด็กที่ถูกเลี้ยงดู มาอย่างทะนุถนอมจากแม่ มักจะคิดแบบเดียวกับแม่ว่า ลูกเป็นของแม่ และแม่ก็เป็นของลูก ระหว่างการเจริญ เติบโต แม่มีอ�ำนาจในการบงการชีวิตลูก ลูกต้องรับฟังท�ำ ตามค�ำสั่งค�ำแนะน�ำของแม่ เช่นเดียวกันเพราะรักลูก แม่ จึงตามใจลูกอยากได้อะไรหรือต้องการอะไรแม่จัดหาให้ ได้ทุกอย่าง และเมื่อแม่อายุมากขึ้น ในทางกลับกันลูก ๆ จะต้องท�ำหน้าที่ส่งเสียดูแลแม่หรือพ่อแม่ แม่จึงเหมือน กับได้สละอ�ำนาจในตัวเองให้อยู่ในการดูแลของลูก หรือ ท�ำตามความคาดหวังของลูกๆ เหมือนกับที่ลูกก็เคยอยู่ใน โอวาทของแม่เช่นกัน! ทั้งนี้ ทัศนคติหรือความคิดความเชื่อดังกล่าวเป็น

ที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งต่าง จากพ่อแม่หรือครอบครัวในประเทศตะวันตกที่การอบรม เลี้ ย งดู เ ด็ ก ๆ จะส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก ได้ เรี ย นรู ้ แ ละยอมรั บ ใน ความเป็นตัวเองและของผู้อื่น เด็กๆ จะถูกปฏิบัติอย่างมี เกียรติมีศักดิ์ศรีในฐานะของคนที่มีสิทธิเท่าเทียมกันตาม หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก และ สิทธิสตรี อย่ า งไรก็ ต าม ทั้ ง สิ ท ธิ ท างกายภาค และความ เชื่อในจิตวิญญาณว่า “ลูกเป็นของแม่ และแม่เป็นของ ลูก” อาจเป็นความรู้สึกและส�ำนึกที่จ�ำเป็น แต่ทุกอย่าง ก็มีขอบเขตในตัวของมันเอง เหมือนดังเช่นคนรุ่นเก่ามัก จะพูดให้คิดไว้เสมอว่า “พ่อแม่นั้นเลี้ยงลูกได้แต่กาย แต่ เลี้ยงใจไม่ได้” เพราะแต่ละคนย่อมมีจิตวิญญาณของความ

55 issue 115 August 2017


เชื่อที่ไม่เหมือนกัน หรือจิตวิญญาณและความเชื่อ ของเขานั้น อยู่ในบ้านของวันพรุ่งนี้ บ้านที่ไม่มีวันที่เราจะ ก้าวไปถึง! (คาห์ลิล ยิบราล) แต่ในกรณีที่ปรึกษามาข้างบนนี้ดูเหมือนคนที่ยึด มั่นถือมั่นกับการเป็นเจ้าของนั้นคือ “ลูก” ในขณะที่ผ่าน มาเราจะได้ยินเสมอๆ ว่า “ลูกสาวบ้านนั้น แม่หวงมาก ไม่ ย อมให้คบหาผู้ช าย!” หรือ “บ้านนี้หวงลู ก ชายมาก ขนาดลูกชายแต่งงานแล้ว แม่ยังเข้าไปนอนในห้องนอน ด้วย!” และอีกหลายเรื่องราวที่ความรักของแม่อาจกลาย เป็นปัญหาเมื่อวันเวลาผ่านไป แต่แม่ยังไม่ยอมรับว่าลูก เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว และต้องการการยอมรับและความ เคารพในสิทธิของตนในฐานะของคนคนหนึ่ง! แล้วสิทธิของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “แม่” แม่ที่ต้องคอย ดูแลรับใช้ให้บริการกับทั้งสามี และลูกๆ แม้ในยามที่สามี ป่วยหนักและเสียชีวิต ลูกๆ เติบใหญ่มีครอบครัวของตัว เองแยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวตัวเอง บ้านที่เคยอบอุ่น วุ่นวายด้วยเสียงหัวเราะและเสียงร้องไห้ของลูกๆ บัดนี้ กลับเงียบเหงาว่างเปล่า มีเพียงความทรงจ�ำของสุขและ

ทุกข์ที่ยังจัดเก็บอยู่ข้างหลัง แล้วคนที่เป็นแม่จะใช้ชีวิตต่อ ไปอย่างไร เธอยังอยากใช้ชีวิตอยู่กับความทรงจ�ำในอดีต หรือเธอต้องการจะเปลี่ยนแปลง ตั้งต้นเลือกทางใหม่ที่ไม่ เหมือนเดิมหรือท�ำอะไร เคยมีใครถามเธอบ้างหรือเปล่า ว่าแม่ต้องการท�ำอะไร จะใช้ชีวิตอย่างไหนต่อไป ? ทั้งนี้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ครอบครัวในสังคมไทย มากมายที่ลูกๆ เติบโตมีลูกหลานของตัวเอง แต่เพราะคน รุ่นใหม่ทั้งสามีภรรยาต้องออกไปท�ำงานนอกบ้าน เพื่อจะ ได้มีรายได้เพียงพอ จึงจ�ำเป็นจะต้องส่งลูกไปให้ปู่ย่าหรือ ตายายเลี้ยง ซึ่งในอดีตผู้สูงวัยยอมรับหน้าที่เลี้ยงดูหลาน เป็นงานของตน แต่ปัจจุบันปู่ย่าตายายมากมาย ที่เคยมี ต�ำแหน่งหน้าที่การงานท�ำ มีความเหนื่อยยากตลอดมา ถึงจุดหนึ่งมักรู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตที่วุ่นวายสับสน เมื่อถึง วัยเกษียณแล้ว อาจไม่ต้องการจะรับผิดชอบในการเลี้ยง หลานๆ ยิ่งหากตัวเองมีฐานะทางการเงินที่ไม่ต้องพึ่งพิง ลูกหลาน อาจต้องการเลือกทางชีวิตใหม่ตามล�ำพัง หรือ พบคนใหม่ที่ถูกใจ อยากมีคนใหม่ดูแลหรือพร้อมจะมีคน ถูกใจใหม่มาเดินอยู่เคียงข้าง เหมือนดังในกรณีของคุณแม่ ของผู้ที่ปรึกษามาคนนี้ แน่นอน...การที่ “แม่” จะพบผู้ชายคนใหม่ จะ คบหาเป็ น แฟนหรื อ จริ ง จั ง จนถึ ง ใช้ ชี วิ ต คู ่ ร ่ ว มกั น ไม่ ได้ ห มายความเสมอไปว่ า เธอจะลื ม สามี เ ก่ า ซึ่ ง เป็ น พ่ อ ของลู ก สาวทั้ ง สอง หรื อ หมดรั ก ลู ก ทั้ ง สองแล้ ว แต่ ที่ “มนุ ษ ย์ ” ตั้ ง แต่ เ กิ ด มานั้ น ต้ อ งอาศั ย ระยะเวลา ในการโอบอุ ้ ม อุ ป ถั ม ภ์ ค�้ ำ ชู ดู แ ลอย่ า งใกล้ ชิ ด จากมารดา ต่ า งจากสั ต ว์ โ ลกอื่ น ๆ ที่ เ มื่ อ ลื ม ตา ดู โ ลกไม่ น านก็ ส ามารถลุ ก ขึ้ น เดิ น วิ่ ง หาอาหาร ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองได้ แต่ เ ด็ ก ตั ว น้ อ ย หรื อ มนุ ษ ย์ ตั ว น้ อ ยนั้ น ยั ง ต้ อ งอาศั ย ให้ พ ่ อ แม่ เ ลี้ ย งดู ส ่ ง เสี ย ไปจนโต

56 IS AM ARE www.fosef.org


ผ่านมาไม่ว่าจะทุกข์มากกว่าสุขหรือ สุ ข มากกว่ า ทุ ก ข์ ผู ้ ห ญิ ง คนนี้ ก็ ไ ด้ ท� ำ หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบในฐานะ ภรรยาและแม่อย่างดีที่สุดแล้ว ถึงวัน นี้สามีเธอเสียชีวิตไปแล้ว ลูกสาวทั้ง สองได้รับการศึกษาตามฐานะ และ แต่งงานมีครอบครัวที่มีความสุข จึง ไม่เหลือเงื่อนไขหรือความรับผิดชอบ ในครอบครั ว ที่ เ ธอจะต้ อ งท� ำ ต่ อ ไป โดยเฉพาะหากเธอไม่ ต ้ อ งการที่ จ ะ มี ชี วิ ต อยู ่ กั บ บรรยากาศเก่ า ๆ หรื อ ความทรงจ�ำเก่า ๆ อีกต่อไป “แม่” ก็ มีสิทธิ์จะเลือกที่จะก้าวไปในหนทาง ใหม่ไม่ใช่หรือ? แม้ ลู ก สาวสุ ด ที่ รั ก ทั้ ง สอง ของแม่ จะไม่ชอบผู้ชายใหม่ของแม่ ไม่ ต ้ อ งการให้ แ ม่ แ ต่ ง งานใหม่ ไม่ สามารถยอมรับพฤติกรรมและการก ระท�ำของแม่ได้ แต่แม่ก็บอกลูกๆ ว่า เธออยากให้ลูกยอมรับว่าแม่ชอบเขา และเขาเป็นคนดี แต่ดูเหมือนความ ต้องการและความคิดของแม่ จะไม่ อยู ่ ใ นวิ สั ย ที่ลูก จะยอมรับ ด้ว ยความ เคารพรักได้ เธอยื่นค�ำขาดให้แม่เลิก ความคิด ยุติความสัมพันธ์การคบหา กับชายคนนั้น ทั้งที่ลูกสาวไม่เคยรู้จัก ฝ่ายชายมาก่อน แม่บอกลูกว่าผู้ชาย คนนั้นเป็นพ่อหม้ายเมียตาย ลูกสาว เขาเพิ่งเรียนจบปริญญา เขาเคยเป็น เพื่อนแม่มาก่อน และแม่อยากจะได้ โอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่กับเขา แต่ ลู ก สาวไม่ ย อมเธอบอกกั บ แม่ ว ่ า “ถึ ง ลู ก ตายก็ จ ะไม่ ย อมรั บ ผู ้ ช ายคน นี้ !” ....หัวอกแม่ หากได้ยินลูกยื่น ค�ำขาดเช่นนี้ ไม่ว่าลูกจะเจตนาหรือ ไม่เจตนาก็ตาม หัวอกแม่ย่อมจะปวด ร้าวและทุกข์ใจที่ลูกไม่เข้าใจแม่ แม่ คงต้องมองย้อนกลับไปเพื่อทบทวนว่า แม่เคยยื่นค�ำขาดด้วยค�ำพูดที่ก้าวร้าว อย่างนี้หรือเปล่า หรือเพราะแม่รักลูก

มากเกินไป...... “ตอนเด็ ก ๆ แม่ รั ก หนู ม าก ตามใจและฟังลูกทุกอย่าง แต่วันนี้แม่ เปลี่ยนไป.... “ที่ผ่านมา คงเพราะแม่ รักลูกมาก อยากให้ลูกมีความสุข ไม่ เคยขัดใจ แม่เคยยอมลูกทุกอย่าง จน ลูกลืมตัว และหลงคิดว่าตัวเองเป็น “เจ้ า ชี วิ ต ” ของแม่ ต้ อ งการให้ แ ม่ เป็นอย่างที่ลูกต้องการ โดยไม่ต้องการ ได้ยินและรับรู้ว่า แม่ก็มีชีวิต มีจิตใจที่ เป็นของแม่เอง และแม่ก็มีสิทธิ์ที่จะ เลือกทางเดินให้ชีวิตตนเองได้ และสิ่ง ที่แม่ร้องขอก็เพียง “โอกาส..” แม่ ร ้ อ งขอโอกาสที่ ลู ก จะ ยอมรับและเข้าใจความต้องการของ แม่ แม่ ใ นฐานะของผู ้ ห ญิ ง คนหนึ่ ง แม้เธอจะเป็น “แม่” ของลูกสาวสอง

57 issue 115 August 2017

คน แต่ตอนนี้ลูกเติบใหญ่มีครอบครัว ของตัวเอง ...ลูกทั้งสองเลือกชีวิตและ เส้นทางของตนเองด้วยตนเอง แล้ว ท�ำไม แม่จึงจะเลือกทางใหม่ของตัว เองไม่ได้! “...หนูกลัวว่าแม่จะโดนผู้ชาย คนนี้ ห ลอก เพราะรู ้ ว ่ า แม่ ห นู มี เ งิ น มาก..” ค�ำถามเกิดขึ้นว่า ลูกห่วงแม่ หรื อ ห่ ว งเงิ น ของแม่ ? จริ ง อยู ่ การ ตั ด สิ น ใจจะคบหาผู ้ ช ายใหม่ ถึ ง แม่ จะมี ป ระสบการณ์ ชี วิ ต มายาวนาน รู ้ จั ก ผู ้ ค นมากมาย แต่ ก็ ไ ม่ มี อ ะไร เป็ น เครื่ อ งยื น ยั น ว่ า การตั ด สิ น ใจ เลือกครั้งนี้ แม่จะต้องถูกต้องถึงร้อย เปอร์เซ็นต์ คนโบราณเตือนใจเราว่า “คนเรา รู้หน้าไม่รู้ใจ” หรือบ้างก็ว่า


หน้าเนื้อ ใจเสือ” คือคนที่ปกติดูดีไปทุกอย่าง แต่ใจของ เขาอาจะคิดสิ่งชั่วร้ายก็ได้!” และสิ่งที่ลูกทั้งสองกังวลใน วันนี้ว่า ผู้ชายคนนี้จะมาหลอกเอาเงินจากแม่ อาจเป็น เรื่องจริงได้ในอนาคต แต่ก็ไม่มีใครยืนยันได้ เพราะ “ชีวิต คู่” เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเสี่ยงต่อความสมหวัง และเสี่ยง ต่อความผิดหวัง แม่ย่อมจะต้องเข้าใจกฎข้อนี้ดี และเมื่อ “แม่” ตัดสินใจเลือกแล้ว แม่ก็จะต้องยอมรับ “ผลลัพธ์” ที่จะตามมาภายหลัง ที่ส�ำคัญ นี่คือชีวิตของแม่ นี่คือเงิน ของแม่ ท�ำไมไม่ให้โอกาสหรือสนับสนุนให้แม่ได้เป็นและ ได้ท�ำในสิ่งที่แม่ต้องการจะท�ำ สักครั้งเดียว ท�ำไมไม่เชื่อ มั่นในตัวของแม่บ้าง? เสียงลูกสาวคร�่ำครวญต่อ..... “ชีวิตหนูตอนนี้หนู มีแม่เพียงคนเดียว หนูอยากให้แม่เป็นเสาหลักให้หนูกับ พี่สาว ไม่ได้ต้องการสมบัติอะไรจากแม่เลย อยากดูแลแม่ อยากให้แม่เป็นก�ำลังใจให้ในการเริ่มต้นท�ำมาหากินของหนู กับพี่สาว หนูเสียใจและร้องไห้ทุกวัน ตอนหนูเด็กๆ แม่รัก หนูมาก ตามใจ และฟังหนูทุกอย่าง ตอนนี้แม่เปลี่ยนไป มาก หนูควรจะท�ำอย่างไรดีคะ?” อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ เ สี ย งร้ อ งไห้ ค ร�่ ำ ครวญของลู ก สาว เกี่ยวกับมารดาของเธอ สะท้อนให้เห็นเรื่องราวมากมาย ค�ำถามที่เกิดขึ้นคือ “สรุปแล้ว ลูกสาวห่วงแม่จริง ๆ หรือ ห่วงตัวเธอเองกันแน่?” เธอบอกว่าตอนนี้เธอสองคนมีแม่ เพียงคนเดียว พ่อเสียชีวิตไปแล้ว แล้วสามีของเธอสองคน

ในสั ง คมไทย เรื่ อ งของความคาดหวั ง ที่ ลู ก ๆ มี กั บ พ่ อ แม่ เป็ น เรื่ อ งเจ็ บ ปวดส� ำ หรั บ “หั ว อกของคนเป็ น แม่ ” ทั้ ง เลี้ ย งลู ก ท� ำ งานจนลู ก เติ บ ใหญ่ ต่ า งแต่ ง งานแยก ครอบครั ว กั น ไปแล้ ว แม่ อ ยากอยู ่ ส บายได้ เ ป็ น ตั ว ของ ตั ว เองบ้ า ง ลู ก ก็ บ อกว่ า อยากให้ แ ม่ ไ ปอยู ่ ด ้ ว ย เป็ น หลั ก เป็ น ร่ ม โพธิ์ ท องให้ ลู ก หลาน เล่าไปไหนหรือ ท�ำไมเขาจึงเป็นเสาหลักให้เธอไม่ได้ พี่สาวเธอก็มีสามี แล้วเขาไปอยู่ที่ไหน เมื่อครอบครัวตัวเองอยู่ดีมีความสุข เธอก็ไม่น่า ที่จะร้องไห้คร�่ำครวญเหมือนเด็กๆ ที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ อยากให้แม่ มาอยู่ใกล้ๆ พอไม่ได้ดังใจก็อาละวาด หรือว่าเธอมีปัญหาครอบครัว ที่ต้องการความช่วยเหลือจากแม่!?! เป็นเรื่องน่าสนใจส�ำหรับคนไทยที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่สมาชิกในครอบครัวมีความผูกพันแนบแน่น แต่กลับไม่ได้ให้ความ ส�ำคัญหรือให้ความเคารพในความเป็นตัวตนของคนคนหนึ่ง ที่มีสิทธิที่ จะเลือกตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตหรือก�ำหนดชะตากรรมของตัวเอง ได้ แต่กลับขึ้นอยู่กับความพอใจและการยอมรับของคนรอบ ๆ ว่าจะ เห็นด้วยหรือไม่มากกว่า ที่ส�ำคัญในความแนบแน่นนั้นเหมือนจะเป็น ความผูกพันที่แข็งแกร่ง แต่แท้ที่จริงอาจเป็นเพียงความอ่อนแอที่ แอบแฝงอยู่ในความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพิงกันและกัน โดยเฉพาะความ สัมพันธ์ระหว่าง “แม่กับลูกสาว” เจ้าของจดหมายฉบับนี้ เขียนจดหมายมาปรึกษาด้วยความรัก ความห่วงใยในฐานะของลูกที่มีต่อแม่ โดยลืมที่จะมองย้อนกลับไปว่า 58

IS AM ARE www.fosef.org


ตลอดชีวิตของการเจริญเติบโตของลูกสองคนนั้น แม่ท�ำหน้าที่อย่าง สมบูรณ์แบบจึงท�ำให้เธอได้เรียนจบมีงานท�ำและแต่งงานมีครอบครัว ที่ตัวเองตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง แม่ไม่ได้ขัดขวางหรือท้วงติงอะไร แม่ให้ความเคารพยอมรับการตัดสินใจของลูก ทั้งในชีวิตส่วนตัว แม่ เลือกแต่งงานกับสามี กับพ่อของลูกและสองคนใช้ชีวิตสมรสอย่างมี ความสุข ช่วยกันดูแลเลี้ยงดูลูกแม้ในยามพ่อเจ็บป่วย แม่ก็ดูแลพ่อ อย่างดี แม่ได้ท�ำหน้าที่ของตนอย่างครบถ้วนไม่บกพร่อง ถึงวันนี้แม่ ยังไม่ได้ท�ำอะไรผิดพลาดจนต้องกลัวว่าแม่จะถูกผู้ชายใหม่หลอก! โดย เฉพาะแม่ขอโอกาสให้ลูกได้รู้จักเขา ยอมรับให้ความเคารพเขาบ้าง เพื่อเห็นแก่ความสุขของแม่ ท�ำไมลูกทั้งสองจึงให้ไม่ได้!?! ถึ ง หากวั น หนึ่ ง ปรากฏว่ า ผู ้ ช ายหลอกลวงจริ ง ๆ แม่ ก็ ค ง ยอมรับความผิดหวังในการตัดสินใจของตนเองได้ ชีวิตที่ผ่านมาแม่ ได้ท�ำดีที่สุด ทั้งทุกข์และสุขจะมากน้อยกว่ากันไม่ส�ำคัญ แม่เข้าใจ ชีวิตและพร้อมจะก้าวเดินต่อกับผู้ชายคนใหม่ที่แม่พอใจ แต่ลูกกลับ บอกว่าแม่ท�ำไม่ได้ ไม่ให้แม่ท�ำ ท�ำไมลูกจึงต้องการให้แม่ท�ำอย่าง ที่ลูกต้องการ ต้องเป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตของลูกต่อไปจนกว่า ชีวิตจะหาไม่หรือ ลูกๆ ลืมไปแล้วหรือว่า แม่ก็มีชีวิตของตัวเองที่ จะต้องเดิน ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่แม่อยากท�ำ และแม่มีสิทธิ์ ที่จะท�ำ โดยไม่ต้องรบกวนหรือขอให้ลูกช่วย แม่เพียงต้องการการ ยอมรับจากลูก ต้องการให้ลูกเคารพในสิทธิส่วนตัวของแม่บ้าง ท�ำ ไม่ได้เลยหรือ?

ในสังคมไทย เรือ่ งของความคาดหวังทีล่ กู ๆ มีกบั พ่อ แม่ เป็นเรื่องเจ็บปวดส�ำหรับ “หัวอกของคนเป็นแม่” ทั้ง เลี้ยงลูกท�ำงานจนลูกเติบใหญ่ ต่างแต่งงานแยกครอบครัว กันไปแล้ว แม่อยากอยู่สบายได้เป็นตัวของตัวเองบ้าง ลูกก็ บอกว่า อยากให้แม่ไปอยู่ด้วย เป็นหลักเป็นร่มโพธิ์ทองให้ ลูกหลาน ในอีกความหมายหนึ่งคือ “คอยรับใช้ให้บริการ กับลูกหรือเลี้ยงหลาน เพราะคงจะหาคนเลี้ยงเด็กได้ดีอย่าง แม่ไม่ได้!” บ้างก็ว่า ช่วงนี้หนูก�ำลังท�ำงานหนักสร้างฐานะ แม่ต้องมาอยู่ดูแลหลานๆ รอให้หนูตั้งหลักได้เสียก่อนแม่ ค่อยพักผ่อน บ้างก็ว่า ถ้าแม่ไม่ยอมมาเลี้ยงหลาน หนูจะ ส่งหลานไปที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก! เ ป ็ น เ รื่ อ ง น ่ า ส น ใ จ ส� ำ ห รั บ ค น ไ ท ย ที่ เ ติ บ โ ต ขึ้ น ม า ใ น แน่นอน....เป็นเรื่องดีที่เด็กๆ หรือหลานๆ จะได้ ครอบครั ว ที่ ส มาชิ ก ในครอบครั ว มี ค วามผู ก พั น แนบแน่ น รับการดูแลเลี้ยงดูจากตายายอย่างใกล้ชิด แต่ลูกๆ มัก แต่ ก ลั บ ไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ หรื อ ให้ ค วามเคารพในความ จะลืมหรือมองข้ามว่าพ่อแม่ก็แก่เฒ่า เหนื่อยล้า ถึงเวลา เป็ น ตั ว ตนของคนคนหนึ่ ง ที่ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะเลื อ กตั ด สิ น ใจ จะต้องดูแลตรวจสุขภาพของตัวเองและได้พักผ่อนตาม เลื อ กเส้ น ทางชี วิ ต หรื อ ก� ำ หนดชะตากรรมของตั ว เองได้ วัย หรือได้มีโอกาสจะใช้ชีวิตในการท่องเที่ยวพักผ่อนหรือ แต่ ก ลั บ ขึ้ น อยู ่ กั บ ความพอใจและการยอมรั บ ของคน ได้ท�ำในสิ่งที่อยากท�ำบ้าง แต่ปัจจุบันทั้งในกลุ่มคนชนบท รอบ ๆ ว่ า จะเห็ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ ม ากกว่ า หรือคนเมือง คนหนุ่มสาวต้องผลักดันตนเองออกไปท�ำมา หากิน ท�ำงานนอกบ้านหรือนอกประเทศ และต้องฝากลูก สิ่งที่แม่ท�ำต่อไปนี้ ลูกอาจไม่ชอบไม่พอใจเพราะไม่อยากให้ เล็กๆ ให้อยู่กับพ่อแม่แก่ชราที่บ้าน ด้วยช่องว่างระหว่าง แม่เสียใจ ทุกข์และผิดหวัง แต่แม่ก็อยากลองอยากเสี่ยง หลายปีของ วัยท�ำให้ความสัมพันธ์กลายเป็นความขัดแย้ง หรือคนรุ่น การมีชีวิตที่เคร่งเครียดในการปกป้องดูแลลูก ดูแลรักษาสามีที่เจ็บ ปู่ย่าตายาย ก็เลี้ยงหลานแบบคนรุ่นเก่า ท�ำให้เด็กๆ ขาด ป่วย ยิ่งนานวันก็เหมือนแม่จะค่อย ๆ ตายไปด้วยพร้อมกับเขา แต่ ความใกล้ชิดอบอุ่น การถูกเลี้ยงให้ผ่านไปวันๆ ในที่สุดโต ตอนนี้สามีที่รักและเคยเคียงข้างก็ได้จากไปแล้ว แต่แม่ยังต้องมีชีวิต ขึ้นมาก็ทิ้งบ้านทิ้งตายายปู่ย่าไปท�ำงานหากินเอง ปล่อยผู้ อยู่ต่อไป และเมื่อมีทางเลือกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมแม่ก็อยากลอง อยาก สูงวัยไว้ตามล�ำพัง เสี่ยงด้วยตัวเองอีกสักครั้งหนึ่ง หากลูกรักแม่ และอยากให้แม่มีความ ส�ำหรับประเทศที่ก�ำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย มอง สุข ก็น่าจะปล่อยให้แม่ได้ท�ำอย่างที่ต้องการ หากแม่พลาดผิดหวัง ย้อนไปกว่า ๘๐ ปีของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจาก มา ลูกทั้งสองคนก็ต้องพร้อมจะยืนเคียงข้าง คอยปลอบใจเป็นก�ำลัง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่ระบอบประชาธิปไตยใน ใจให้แม่เหมือนที่แม่เคยเป็นก�ำลังใจของลูกที่ผ่านมา ท�ำได้ไหมลูก? ปัจจุบัน แต่ละช่วงวัยหรือแต่ละรุ่นต่างก็ผันผ่าน 59 issue 115 August 2017


สถานการณ์ ค วามเปลี่ ย นแปลง ทางการเมื องที่ มี อิ ทธิพลต่อการด�ำเนิน ชีวิตของสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกัน ไป สมัยที่ประเทศไทยยังค่อนข้างยากจน ผู้คนพ่อแม่ล�ำบากต้องอดทนอดออมใน การท� ำ งานเลี้ ย งครอบครั ว เมื่ อ มี ลู ก ๆ ชีวิตเข้าสู่ช่วงสะดวกสบายมากขึ้น พ่อ แม่ก็เลี้ยงดูลูกตามใจ ได้ทุกอย่างที่พ่อ แม่ให้ได้ เหมือนจะชดเชยความไม่มีใน อดีตของพ่อแม่ ลูกหลานรุ่นนี้จึงคาดหวัง และเรียกร้องสูงจนเหมือนจะเป็นคนรุ่น ใหม่ที่ไม่ยอมโต พ่อแม่ก็ต้องยอมตามใจ ท�ำให้จนเหมือนลูกๆ จะลืมไปว่า พ่อแม่ก็ ต้องการมีชีวิตของตัวเอง การแสดงความ รักความห่วงใยโดยคาดหวังว่าพ่อแม่จะ ต้องท�ำตามใจตามความต้องการของลูก อาจกลายเป็นความเห็นแก่ตัว ขาดความ เคารพและไม่ยอมรับสิทธิส่วนบุคคลของ พ่อแม่ได้ดังในกรณีนี้ เพราะฉะนั้น การที่ลูกมากมาย อาจรู ้ สึ ก ผิ ด หวั ง ในการกระท� ำ หรื อ

เป็ น เรื่ อ งดี ที่ เ ด็ ก ๆ หรื อ หลานๆ จะได้ รั บ การดู แ ลเลี้ ย งดู จ ากตายาย อย่ า งใกล้ ชิ ด แต่ ลู ก ๆ มั ก จะลื ม หรื อ มองข้ า มว่ า พ่ อ แม่ ก็ แ ก่ เ ฒ่ า เหนื่ อ ย ล้ า ถึ ง เวลาจะต้ อ งดู แ ลตรวจสุ ข ภาพของตั ว เองและได้ พั ก ผ่ อ นตาม วั ย หรื อ ได้ มี โ อกาสจะใช้ ชี วิ ต ในการท่ อ งเที่ ย วพั ก ผ่ อ นหรื อ ได้ ท� ำ ใน สิ่ ง ที่ อ ยากท� ำ บ้ า ง พฤติ ก รรมของพ่ อ แม่ นั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ เกิดขึ้นได้ และแลเห็นได้มากมายในทุก วันนี้ แต่หากลูกจะมีหัวใจแห่งความรัก ความเมตตาและความเข้าใจพื้นฐานการ อบรมเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวคนไทย ที่สวัสดิการของรัฐยังมีให้น้อยมาก พ่อ แม่ต้องท�ำงานหนักเพื่อให้ลูกมีกินมีอยู่ มีที่เล่าเรียน แต่ ไ ม่ ใช่ ทุ ก คนจะประสบ ความส� ำ เร็ จ เสมอไปเพราะปั ญ หาช่ อ ง ว่างระหว่างประชาชนผู้ยากจนกับฝ่ายที่ ร�่ำรวยยังมีสูงในประเทศไทย จึงส�ำคัญ ที่ ลู ก ๆ จะต้ อ งเข้ า ใจและลดความคาด หวังในพ่อแม่ให้น้อยลง ทั้งตระหนักใน บทบาทหน้าที่ของตนเองในการปกป้อง ช่วยเหลือดูแลพ่อแม่ โดยเฉพาะจงเคารพ 60 IS AM ARE www.fosef.org

ในความเป็นตัวตนของเขาในฐานะของ คนคนหนึ่งที่ต้องการจะเลือก จะท�ำ จะ เป็น อย่างที่เธออยากเลือก อยากท�ำ แต่ อาจไม่เคยมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัว เองมาก่อน และไม่ใช่แต่ในฐานะพ่อหรือ แม่อย่างที่เราอยากเห็นอยากให้เขาเป็น เท่านั้น! อรอนงค์ อินทรจิตร www.hotline.or.th ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

61 issue 115 August 2017


62 IS AM ARE www.fosef.org


63 issue 115 August 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 115 August 2017


66 IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 115 August 2017


68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 115 August 2017


E.Q. สร้างได้ เพื่อลูก

“I.Q. หรื อ ระดั บ สติ ป ั ญ ญานั้ น ขึ้ น กั บ ปั จ จั ย หลั ก คื อ สมองและระบบประสาทที่ ดี พร้ อ มที่ จ ะรั บ รู ้ ข ้ อ มู ล และ เรี ย นรู ้ อิ ท ธิ พ ลที่ มี ผ ลของระดั บ สติ ป ั ญ ญาขึ้ น กั บ พั น ธุ ก รรม (Gene) ค่ อ นข้ า งมาก พู ด ง่ า ยๆ ก็ คื อ ถ้ า พ่ อ แม่ เ ฉลี ย วฉลาดย่ อ มมี โ อกาสสู ง ที่ ลู ก จะเฉลี ย วฉลาดเช่ น กั น ปั จ จั ย อื่ น ๆ ก็ คื อ การได้ รั บ สารอาหารเพี ย ง พอต่ อ การเจริ ญ เติ บ โตของสมองตั้ ง แต่ เ ด็ ก ยั ง อยู ่ ใ นครรภ์ แ ละตลอดช่ ว งวั ย เด็ ก นอกจากนั้ น ยั ง ต้ อ งได้ รั บ การกระตุ ้ น อย่ า งเหมาะสมด้ ว ย จะเห็ น ว่ า เรื่ อ งของพั น ธุ ก รรมเป็ น เรื่ อ งที่ เ ราควบคุ ม ไม่ ไ ด้ แต่ เ รื่ อ งของ E.Q. นั้ น เราสร้ า งเสริ ม ให้ ลู ก ได้ ทั้ ง สิ้ น ” ๒. ครอบครัวมีสุข ไปในทิศทางเดียวกัน คือการที่คุณพ่อ และคุณแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และรวมถึงการมีทัศนคติ ความคิดเห็นในการเลี้ยงดูอบรม สั่งสอนลูกไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน หรือถ้ามีความขัดแย้งบ้างก็จะมีการพูดคุยกัน ตกลงกันให้เป็นทิศทางเดียวกันคือเป็นทีมเดียวกันนั่นเอง ผมขอ ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ขัดกันเองในการวางกฎ เกณฑ์ มีครอบครัวหนึ่งลูกอายุประมาณ ๒-๓ ขวบ ร้องไห้เพราะ อยากเล่นลิปติกของแม่ คุณผู้หญิงทั้งหลายคงทราบดีว่าที่คุณแม่ ไม่ยอมให้ลูกเล่นเพราะลิปติกจะหัก เสียหาย แต่เวลาอยู่กับพ่อ พ่ออนุญาติให้ลูกเล่นได้หรือพ่อเห็นลูกร้องไห้ ก็ต่อว่าแม่ต่อหน้า

นพ.กมล แสงทองศรีกมล กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและ วัยรุ่น ได้เผยเคล็ดลับ ๑๒ วิธี ส�ำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการสร้าง ลูกให้มี E.Q. หรือความฉลาดทางอารมณ์สูง ซึ่งจะว่าไปแล้ว การสร้าง E.Q. นั้น มีความส�ำคัญไม่แพ้ I.Q. เลยทีเดียว ๑. ให้ความรัก เป็นข้อแรกที่ส�ำคัญมากและไม่เพียงแต่ ให้ความรักเท่านั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสม อีกด้วย บางคนรักลูกแต่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความรักออกมา ให้ลูกเห็นเลย การยิ้มให้ การสัมผัส การกอด โอบไหล่ ล้วนแล้ว แต่เป็นภาษากายซึ่งบ่งบอกถึงความรักได้เป็นอย่างดี 70

IS AM ARE www.fosef.org


ลูกว่า “เรื่องแค่นี้เอง ก็ให้ลูกเล่นไปสิ” เด็กเองก็จะสับสน ไม่ เข้าใจกฎเกณฑ์ว่าเรื่องนี้ควรท�ำหรือไม่ควรท�ำ ดังนั้นผู้ใหญ่จึง ควรตกลงกันด้วยเหตุผลให้เรียบร้อยก่อน จะได้ควบคุมเด็กให้ ไปในทิศทางเดียวกัน ๓. มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของลูก จะท�ำให้ เราเข้าใจและปฏิบัติต่อลูกได้ถูกต้องและเหมาะสม ท่านผู้อ่าน เชื่อหรือไม่ครับว่าพัฒนาการไม่ได้หยุดหรือหมดไปเมื่อพ้นวัย อนุบาล แต่มีต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นก็มีพัฒนาการของวัย และส�ำคัญมากด้วย น่าเสียดายที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนปฏิบัติ ต่อลูกที่เข้าวัยรุ่นแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะคิดว่าลูกก็เหมือน เมื่อ ๒-๓ ปีก่อน ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่บางคนอยากรู้ เรื่องของลูกก็ใช้วิธีแอบฟังโทรศัพท์เวลาลูกคุยกับเพื่อน แอบ เปิดค้นกระเป๋า แอบดูไดอารี่ สมุดบันทึกของลูก เกือบร้อยทั้ง ร้อยครับที่ลูกวัยรุ่นจะโกรธเป็นอย่างมาก เพราะไปกระทบกับ พัฒนาการของวัยรุ่นที่ส�ำคัญมากคือความเป็นส่วนตัว (Privacy) เห็นรึยังครับว่าถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการ ของลูกจะช่วยให้เราปฏิบัติต่อเขาได้เหมาะสมอย่างไร ๔. คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก ให้ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น บางครอบครัวพ่อแม่ ต้องท�ำงานทั้งคู่จึงจ�ำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงดูแลช่วงกลางวัน แต่ คุณพ่อคุณแม่บางคนเลิกงานกลับมาบ้านแล้วเหนื่อย กลางคืน เด็ ก ที่ E.Q. ดี มั ก อยู ่ ใ นครอบครั ว ที่ พ ่ อ แม่ ใ ห้ ค วาม รั ก ความเข้ า ใจ ในขณะเดี ย วกั น ก็ ส อนรู ้ ว ่ า อะไรควร อะไรไม่ ค วร และควบคุ ม เรื่ อ งของกฎเกณฑ์ ร ะเบี ย บ วิ นั ย ในลั ก ษณะของทางสายกลางตามหลั ก พระพุ ท ธ ศาสนา ไม่ ค วบคุ ม มากเกิ น ไปหรื อ น้ อ ยเกิ น ไป ก็ฝากพี่เลี้ยงดูแลอีก ควรอยู่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ อย่างน้อยช่วงกลางคืนจะได้มีประสบการณ์ได้รับรู้ความ รู้สึกของการตื่นมาให้นมลูกเวลาลูกร้องกลางคืน ได้โอบกอด และปลอบให้เขาหลับต่อ เมื่อได้รู้จักจะยิ่งรักและเข้าใจในตัว ลูก ๕. สร้างเสริมความภาคภูมิใจในตัวเอง หรือความรู้สึก ว่าตนเองมีคุณค่า (self esteem) ให้ลูก นั่นหมายถึงเมื่อลูกท�ำ ดีหรือประสบความส�ำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ต้องชม เมื่อเขาท้อแท้ ก็ให้ก�ำลังใจ บางคนบอกว่าชมมากเดี๋ยวเหลิง ไม่ต้องกลัวครับ การชมอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผลไม่มีผลเสียแน่นอน จะช่วยให้ เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเองซึ่งมีค่าต่อเด็กมากครับ 71 issue 115 August 2017


คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งให้ ลู ก ท� ำ สิ่ ง ดี ๆ ตาม ลู ก จะเรี ย นรู ้ โ ดยอั ต โนมั ติ แ ทบไม่ ต้ อ งพู ด สอนเลย ตั ว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ ชั ด คื อ นิ สั ย รั ก การอ่ า น ส่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากพ่ อ แม่ เ ป็ น แบบอย่ า ง เช่ น อยู ่ บ ้ า นว่ า งๆ ก็ ห ยิ บ หนั ง สื อ มาอ่ า น ชอบที่ จ ะอ่ า นนิ ท านให้ ลู ก ฟั ง พู ด คุ ย กั บ ลู ก ถึ ง เรื่ อ งในหนั ง สื อ ที่ อ ่ า น

๖. ให้อิสระและโอกาสในการตัดสินใจกับลูก จะช่วย ให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าท�ำ ไม่พยายามบังคับ ความคิดลูก (ถ้าเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย นะครับ) ๗. สอนลูกให้รู้จักรักและดูแลตนเองเช่นเดียวกันกับผู้ อื่น ซึ่งข้อนี้ก็คือส่วนส�ำคัญข้อหนึ่งของ E.Q. ซึ่งรวมไปถึงการ สอนลูกให้รู้สึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เช่นการที่คุณพ่อคุณแม่ บางคนพาลูกไปให้ของเด็กพิการตามสถานสงเคราะห์ หรือให้ผู้ สูงอายุที่บ้านพักคนชรา ๘. ส่งเสริมให้ลูกรู้จักคิดด้วยหลักการและเหตุผล โดย ส่งเสริมทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจ�ำวันและเรื่องส�ำคัญๆ ด้วย ตัวอย่าง ถ้าลูกอยากจะซื้อของเล่น ของใช้ที่แพงๆ หรือเป็น ของที่มีอยู่แล้วก็สอนให้ลูกรู้จักใช้หลักการและเหตุผลว่าควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อ เพราะอะไร ๙. สอนลูกให้รู้จักการผ่อนคลายและหาความสุขให้ตัว เองด้วย ข้อนี้ก็มีความส�ำคัญมากครับเพราะเด็กหลายคนที่เก่ง ประสบความส�ำเร็จในการเรียน กีฬา แต่ไม่มีความสุข เนื่องจาก เครียดอยู่ตลอดเวลาในการที่จะรักษาความเก่งของตัวเองไว้ให้ ได้ตลอดไป หรือให้เก่งมากขึ้นเพื่อเอาชนะคนอื่น ๑๐. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก (modeling) คุณพ่อคุณ

แม่เป็นตัวอย่างให้ลูกท�ำสิ่งดีๆ ตาม ลูกจะเรียนรู้โดยอัตโนมัติ แทบไม่ ต้องพูดสอนเลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนิสัยรักการอ่าน ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่เป็นแบบอย่าง เช่น อยู่บ้านว่างๆ ก็หยิบ หนังสือมาอ่าน ชอบที่จะอ่านนิทานให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูกถึง เรื่องในหนังสือที่อ่าน ไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าก็มักแวะเข้าร้าน หนังสือบ่อยๆ แบบนี้ลูกก็มักจะติดนิสัยรักการอ่านหนังสือไป โดยไม่รู้ตัว ผมมีอีกตัวอย่างหนึ่งคือการฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือ ตัวเองและรับผิดชอบ เช่น หลังกินข้าวเสร็จ ถึงแม้ว่าจะมีคน งานที่บ้านก็ควรจะยกจานที่ทานเสร็จแล้ว ช่วยเขี่ยเศษอาหาร ใส่ถังขยะแล้ววางบนอ่างล้างจานในบ้าน (ให้คนงานล้างต่อไป) คุณพ่อคุณแม่ควรท�ำเป็นตัวอย่าง ลูกเห็นก็อยากท�ำตาม แล้วยัง สอนการมีน�้ำใจต่อคนงานอีกด้วย ท่านผู้อ่านลองนึกภาพนะครับ 72

IS AM ARE www.fosef.org


ว่าถ้าพ่อแม่ไม่ท�ำเป็นตัวอย่าง กินตรงไหนเสร็จแล้วก็ลุกออกไป ให้คนงานมาตามคอยเก็บ แต่สั่งให้ลูกท�ำลูกจะคิดอย่างไร ๑๑. กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย พบว่าเด็กที่ E.Q. ดีมักอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักความเข้าใจ ในขณะเดียวกันก็สอน รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร และควบคุมเรื่องของกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยในลักษณะของทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่ ควบคุมมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญและมีรายละเอียดมากครับ รวมไปถึงการฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบ และ ช่วยเหลือตัวเองตามวัย ๑๒. ระบบการศึกษา เราคงเคยได้ยินค�ำพูดที่ว่าการศึกษาสร้างคน เห็นด้วยใช่ไหมครับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและมีผล ต่อ E.Q. ของลูกด้วย จะมีประโยชน์มากครับหากเราจะท�ำความเข้าใจกับระบบการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กคงจะมี โอกาสได้พูดคุยเรื่องนี้กันต่อไปครับ นอกจากนี้ นพ.กมล แสงทองศรีกมล ยังย�้ำว่า สิ่งที่ส�ำคัญมากต่อ E.Q. ของลูกและมีอิทธิพลต่อเด็กมาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ หลายคนอาจนึกไม่ถึง ก็คือ ระบบการศึกษา นั่นเอง

73 issue 115 August 2017


เด็กวัด หัวใจอาสา

ฤทธิชัย โบระณี มี ค นเคยพู ด ไว้ ว ่ า “หญ้ า ขึ้ น อยู ่ ที่ ต�่ ำ ฉั น ใด น�้ ำ ใจก็ ไ หลลง สู ่ ที่ ต�่ ำ ฉั น นั้ น ” กล่ า วคื อ ผู ้ ที่ พึ ง ตั ว ว่ า ต�่ ำ ต้ อ ย ไม่ ห ยิ่ ง ยโส ย่ อ มได้ รั บ น�้ ำ ใจจากผู ้ อื่ น ฤทธิ ชั ย โบกระณี หรื อ แบงค์ หนุ ่ ม อายุ ๒๐ ปี จากคณะวิ ท ยาการจั ด การ เอก นิ เ ทศศาสตร์ สาขาวิ ท ยุ - โทรทั ศ น์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฎ สวนสุ นั น ทา ก็ เ ป็ น อี ก คนหนึ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ โอกาสและน�้ ำ ใจ จากคนรอบข้ า ง ด้ ว ยบุ ค ลิ ก อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตน และขยั น ขั น แข็ ง พร้ อ มที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น อยู ่ เ สมอ

74 IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนของแผ่ น ดิ น แต่ ชี วิ ต ความเป็ น มาของแบงค์ ไ ม่ ร าบรื่ น นั ก เขาเริ่ ม เข้ า กรุ ง เทพฯ มาเรี ย นมั ธ ยมปลายที่ โรงเรี ย นวั ด ราชาธิ ว าส ราชวรวิหาร, ในวัย ๑๖ ปี เขาจากบ้านที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อ เรียนหนังสือต่อตามความฝันอยากจะเป็นช่างภาพ แม้พ่อกับ แม่จะไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะมองไม่เห็นว่าการถ่ายภาพจะ ไปหากินเลี้ยงตัวเองได้อย่างไร แต่แบงค์ก็ยืนยันไม่ขอเรียนสาย อาชีพตามที่ผู้ปกครองปรารถนา โดยยินยอมจากบ้านมาอาศัย อยู่กับลุงและป้าสะใภ้ที่เปิดร้านอาหารอยู่ในกรุงเทพ แบงค์ช่วย งานทุกอย่างแลกกับที่อยู่อาศัยและข้าวในแต่ละมื้อ แม้ลึกๆ แล้ว จะรู้สึกเกรงใจและไม่สบายใจที่ต้องอาศัยอยู่บ้านคนอื่นก็ตาม แต่นั่นแหละ แบงค์ไม่มีทางเลือกส�ำหรับความฝันมากนัก พื้นฐานครอบครัวแบงค์เป็นชาวสวน มีพี่น้อง ๓ คน แบงค์เป็นลูกคนกลาง พี่ชายคนโตเรียนจบและท�ำงานแล้ว เหลือ น้องสาวที่ยังอยู่ชั้นมัธยมต้น หลังจากที่ลุงเสียชีวิต แบงค์กับ ป้าสะใภ้ก็ไม่ค่อยลงรอยกันเท่าไหร่ แบงค์ถูกจ�ำกัดให้ช่วยงาน ร้านอาหาร น้อยครั้งที่จะออกไปเที่ยวเล่นเหมือนเพื่อนคนอื่น ได้ แล้ววันหนึ่งก็มาถึง

คนเรามั น คงไม่ ไ ด้ เ ลื อ กสมใจทุ ก อย่ า งนะครั บ ผม ว่ า เรามี ทุ ก วั น นี้ ไ ด้ ก็ พ อใจแล้ ว ได้ ช ่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น ทุ ก วั น ได้ แ บ่ ง เบาภาระครอบครั ว แม้ ก ารเรี ย นผมจะไม่ ดี เ หมื อ นใคร แต่ ผ มก็ ไ ด้ อ บรมและส� ำ รวจตั ว เองอยู ่ เสมอเหมื อ นที่ พ ระท่ า นสอน หากไม่ ไ ด้ ม าอาศั ย อยู ่ ที่ วั ด นี้ ไม่ รู ้ เ หมื อ นกั น ชี วิ ต ผมจะเป็ น ยั ง ไง” “วันนั้นสอบเสร็จวันสุดท้ายของชีวิตมัธยม ผมบอกป้า ว่าวันนี้จะขอไปนอนค้างที่บ้านเพื่อน แต่ป้าไม่พอใจ โทรไปบอก แม่ว่า ลูกชายขี้เกียจ ไม่ช่วยงานเลย เอาแต่นอนดูทีวี” ร้อนถึงผู้ เป็นแม่ต้องเดินทางมาจากนครราชสีมาในภายหลัง แต่ขณะที่แบงค์ทราบเรื่องที่ป้าโทรไปบอกแม่ เขาจึง เก็บเสื้อผ้าออกจากบ้านหลังนั้นในทันที โดยไม่โต้แย้งแก้ตัว เพื่อให้เจ้าของบ้านสบายใจ จุดหมายของแบงค์มุ่งตรงไปที่วัด ราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งมีเพื่อนมาอาศัยวัดเพื่อเรียนหนังสือ อยู่ก่อนแล้ว แบงค์ไปขอพักด้วยถึง ๓ สัปดาห์ ก่อนจะแจ้ง พระผู้ดูแลว่าตนประสงค์มาขอพึ่งใบบุญวัดเป็นที่อยู่อาศัยใน ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย พระผู้ดูแลทราบว่าแบงค์เคยเรียนที่ นี่และคนในละแวกวัดก็รู้จักเขา จึงให้แบงค์ติดต่อผู้ปกครองมา ขออนุญาตเจ้าอาวาสให้เรียบร้อยก่อนเข้าอยู่ จากนั้นแม่แบงค์ ก็เดินทางมาฝากลูกชายด้วยตนเอง พร้อมก�ำชับลูกว่า “เป็น คนดีนะลูก” เหตุการณ์ท�ำท่าว่าจะดีขึ้นเมื่อมาอยู่วัด แต่แบงค์กลับ พบว่าตนเองโดดเดี่ยว ไร้ที่ปรึกษาเวลามีปัญหา การเรียนใน ระดับอุดมศึกษาที่เริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่าย ค่าอุปกรณ์การ เรียนเกี่ยววิทยุโทรทัศน์ที่สูงลิ่ว ค่างานกลุ่มในมหาวิทยาลัย สิ่ง ต่างๆ ประเดประดัง แต่แบงค์ก็ไม่เคยปริปากขอเงินทางบ้าน ปล่อยให้ที่บ้านเข้าใจว่าอยู่วัดสบาย มีข้าวกิน มีที่นอน ไม่ต้อง 75

issue 115 August 2017


จ่ายตังค์สักบาท อย่างมากก็ช่วยค่าน�้ำค่าไฟ ๑๐๐ บาทเท่านั้น เพื่อให้พ่อกับแม่มุ่งเป้าไปที่น้องสาวคนเดียว ไม่ต้องห่วงตนให้ ล�ำบากใจ ใครเลยจะเข้าใจความรู้สึกผู้จากบ้านมาอยู่วัด ระหว่าง ที่เขาทุกข์ใจเกี่ยวกับเรื่องการเรียนหรือความเหงาตามประสา วัยรุ่น แบงค์มักจะได้ยินค�ำเทศน์ค�ำสอนจากพระในวัดเสมอ ตามงานบุญต่างๆ ที่ประชาชนเข้ามาท�ำบุญ เขาเก็บค�ำพระ เหล่านั้นมากระตุ้นเตือนจิตใจตัวเองว่าต้องมีสติอยู่เสมอ ต้อง สู้อย่างเดียว “เวลาผมเครียดๆ ผมจะออกมาเดินเล่นในวัด ไปดูต้นไม้ ดู พ ระอาทิ ต ย์ ต ก มั น ก็ ช ่ ว ยผ่ อ นคลายได้ ค รั บ ” วิ ธี รั บ มื อ กั บ ความเครียดของแบงค์เรียบง่าย เขาบอกเสมอว่าสติส�ำคัญที่สุด และชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้คือสติ ดูเหมือนแบงค์จะซึมซับหลายสิ่ง หลายอย่างในวัดมาอย่างน่าประหลาด ค�ำพระสอนอาจถูกใคร หลายคนละเลย ทว่ามันเข้าหูแบงค์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “ก่อนจะมาอยู่วัดผมเป็นคนใจร้อน ใครว่ามาผมว่ากลับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่แล้ว ใครอยากว่าว่าไป ใครดูถูกก็ดูไป ผมนึกถึงตอน ที่ออกมาจากบ้านป้า มันเป็นพลังใจ เขาคิดว่าผมไม่มีที่ไปหรอก ในกรุงเทพถ้าไม่อยู่กับเขา ที่ไหนได้ผมเก็บกระเป๋าเดินเข้าวัดเลย อยากให้เขารู้ว่าผมก็อยู่ได้นะ แต่ที่อยู่กับเขาเพราะเห็นว่าลุงเสีย

แล้ว ไม่มีผู้ชายอยู่ที่บ้านนั้นเลย” ภาพที่ ป ระชาชนย่ า นวั ด ราชาธิ ว าสราชวรวิ ห ารมั ก พบเห็นอยู่ทุกเช้าก็คือ เด็กวัดตัวด�ำๆ เดินตามพระบิณฑบาต แบงค์ตื่นตั้งแต่ตีห้าครึ่ง จัดแจงตัวเองก่อนจะออกเดินตามพระ บิณฑบาตในเวลาหกโมงเช้า พระท่านจึงเมตตาปัจจัยที่โยมถวาย มาให้แบงค์ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันเป็นค่าตอบแทน เพราะมีแต่ แบงค์คนเดียวที่พระทุกรูปในวัดสามารถเรียกให้ช่วยเหลือได้ทุก เวลา เขาไม่เคยปฏิเสธงานหรือกิจกรรมในวัดเลย แม้จะต้องเดิน ทางต่างจังหวัดแบงค์ก็ติดสอยห้อยตามพระไปรับใช้ทุกสถานที่ จนแบงค์ไม่ต้องขอเงินทางบ้านใช้นอกจากค่าเทอม “ผมอยู่วัดชีวิตผมเปลี่ยนเลยครับ พระท่านไม่ได้สอนผม โดยตรง แต่ผมฟังเอาจากที่ท่านเทศน์ให้ชาวบ้านที่มาท�ำบุญฟัง เราไม่ใช่คนธรรมะธรรมโมนะ แต่ลองเอามาคิดด้วยเหตุผลตาม ที่ท่านพูด มันก็จริงทุกเรื่อง ทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่น มารยาทต่างๆ ท�ำให้ผมรู้สึกว่าถูกสอนไปด้วยแม้ไม่ได้เข้าไปนั่งฟังข้างใน” การเรียนของแบงค์อยู่ในระดับปานกลาง เขาแบ่งน�้ำ หนักไปใช้หลายเรื่อง หลักๆ ก็คือการช่วยงานวัด และท�ำกิจกรรม จิ ต อาสากั บ มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย งทั้ ง ในกรุ ง เทพและต่ า ง จังหวัดตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม ๔ ท�ำให้แบงค์มีเพื่อนต่างจังหวัด และต่างโรงเรียนมากมาย ด้วยความอัธยาศัยดีและอ่อนน้อม

76 IS AM ARE www.fosef.org


77 issue 115 August 2017


ผมอยู ่ วั ด ชี วิ ต ผมเปลี่ ย นเลยครั บ พระท่ า นไม่ ไ ด้ สอนผมโดยตรง แต่ ผ มฟั ง เอาจากที่ ท ่ า นเทศน์ ใ ห้ ชาวบ้ า นที่ ม าท� ำ บุ ญ ฟั ง เราไม่ ใ ช่ ค นธรรมะธรรมโม นะ แต่ ล องเอามาคิ ด ด้ ว ยเหตุ ผ ลตามที่ ท ่ า นพู ด มั น ก็ จ ริ ง ทุ ก เรื่ อ ง

ถ่อมตน ทั้งยังช่วยงานพระพุทธศาสนาไม่เคยขาด ท�ำให้แบงค์ เป็นที่ไว้วางใจจากส�ำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย เปิดโอกาสให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิต รายการ “รู้ธรรมน�ำชีวิต” ออกอากาศทางช่อง ๙ ซึ่งแบงค์ได้ ท�ำหน้าที่เป็นช่างภาพสมใจตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ เขาทุ่มเทให้กับ รายการด้วยเหตุผลว่า “ผมอยากให้พ่อกับแม่ได้ดูรายการที่ผมท�ำ แต่ก็ยังไม่ ได้บอกท่านหรอก เป็นรายการธรรมะตอนเช้ามืดครับ ถ้าแม่รู้ ว่าผมเป็นส่วนหนึ่งก็คงสบายใจขึ้น การมาท�ำรายการอย่างนี้ก็ เหนื่อยครับต้องไปต่างจังหวัดทุกเทป แต่ก็เป็นรายได้มากพอ ให้ผมช่วยสมทบค่าเทอมตัวเองได้ครับ” แบงค์ถูกดึงตัวเข้าไปช่วยงานด้วยความเมตตา เพราะ เขาไม่เคยท�ำให้วัดเสื่อมเสีย ด้วยบุคลิกที่เรียบง่ายในการด�ำเนิน ชีวิตและรักความสงบดุจเดียวกับพระ ท�ำให้แบงค์กลับรุ่งโรจน์ ด้านงานอาสาต่างๆ จนก่อเกิดเป็นรายได้เลี้ยงตัวจากการเป็น ช่างภาพที่เขาใฝ่ฝัน “บางครั้งเพื่อนในมหาวิทยาลัยไม่เข้าใจนะครับว่าผม ท�ำไมไม่มาช่วยงานกลุ่ม แต่ผมก็ไม่รู้จะอธิบายเขายังไง บางครั้ง มีงานในวัดบ้าง นอกวัดบ้าง กว่าจะเสร็จผมก็ไม่มีแรงไปเรียน แล้ว ถ้าไม่ท�ำผมก็ไม่รู้จะไปหาเงินจากไหน จะไปขอที่บ้านเขา ก็ยังต้องส่งน้องสาวอีกคนหนึ่ง ผมดูแลตัวเองมาจนชินแล้วครับ”

หากประเทศเราต้องการจิตอาสาจริงๆ แบงค์ก็เป็นคน หนึ่งที่ก้าวถึงสิ่งนั้นเต็มภาคภูมิ เขากล่าวสั้นๆ ว่า “จิตอาสา คือการท�ำประโยชน์” และเขาได้ท�ำประโยชน์ด้านพุทธศาสนา มากมายโดยไม่เคยเกี่ยงงานหรือออกหน้า ท�ำให้แบงค์ได้รับ ความเมตตาทั้งจากพระและชาวบ้านที่ให้ปัจจัยมาสนับสนุน สิ่งนี้เองท�ำให้แบงค์ไม่กล้าที่จะท�ำผิด หรือท�ำความเสื่อมเสียให้ แก่ใครโดยเฉพาะวัด น้องๆ ที่เคยมาร่วมค่ายกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง จะ รู้จักพี่แบงค์เป็นอย่างดี นอกจากกิจกรรมในวัด แบงค์ยังแบ่ง เวลามาท�ำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงอีก ด้วย ในนามของ “รุ่นพี่สตาฟ” ที่คอยดูแลแนะน�ำน้องๆ ที่มาเข้า ค่าย แบงค์คือคนหนึ่งที่มาช่วยถ่ายภาพกิจกรรมให้ หากกล่าว ลึกลงไปในรายละเอียดของความเป็นจิตอาสา อุปกรณ์ถ่ายภาพ ต่างๆ แบงค์เตรียมมาเองทั้งสิ้น เดินทางมาเองทุกอย่าง โดย 78

IS AM ARE www.fosef.org


ไม่เคยหวังค่าตอบแทนหรือคิดค่าเสื่อมของกล้องซึ่งจริงๆ แล้ว ราคาสูงมาก เขาแค่ต้องการความสนุกในการท�ำจิตอาสากับพี่ น้องผองเพื่อนที่นานๆ จะว่างเจอกันสักที เมื่อเสร็จงานส่วนตัว แบงค์ก็กลับวัดตามปกติ ช่วยหอบ หิ้วสิ่งของพะรุงพะรังตามหลังพระบิณฑบาตเหมือนเคย แบงค์ กล่าวถึงชีวิตที่ผ่านมาว่า รู้สึกภาคภูมิใจ คนหนึ่งคนจะเดินมาถึง ขนาดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะต้องออกจากบ้านมาดูแลตัว เองตั้งแต่ชั้นมัธยม ประคองตัวไม่ให้หลงผิด ใช่ว่าผู้มาอยู่วัดทุก คนจะเป็นคนดีได้ หากต้องผ่านความสับสน เปลี่ยวเหงา ว้าเหว่ ผ่านสิ่งยั่วยุมากมายที่พร้อมจะเชิญให้หลงผิด “คนเรามันคงไม่ได้เลือกสมใจทุกอย่างนะครับ ผมว่า เรามีทุกวันนี้ได้ก็พอใจแล้ว ได้ช่วยเหลือผู้อื่นทุกวัน ได้แบ่งเบา ภาระครอบครัว แม้การเรียนผมจะไม่ดีเหมือนใคร แต่ผมก็ได้ อบรมและส�ำรวจตัวเองอยู่เสมอเหมือนที่พระท่านสอน หากไม่ ได้มาอาศัยอยู่ที่วัดนี้ ไม่รู้เหมือนกันชีวิตผมจะเป็นยังไง” แบงค์ กล่าวทิ้งท้าย “ต้นหญ้าขึ้นอยู่ที่ต�่ำฉันใด น�้ำใจย่อมไหลลงสู่ที่ต�่ำฉัน นั้น” หลายคนอาจมองว่า “เด็กวัด” ไม่น่าไว้ใจ เพราะมีโอกาส เจอกับความเสี่ยงหลายรูปแบบ ความอิสระนานับประการคือ สิ่งที่น่ากลัวที่สุด หากควบคุมจัดการตัวเองอย่างอ่อนแอ เด็ก วัดย่อมหาโอกาสสร้างตัวได้อยาก แต่หากกล่าวถึงแบงค์ สิ่งที่ ดีที่สุดของเขาคือการเก็บเอาค�ำสอนพระมาพิจารณา เอามา น�ำทางในการด�ำเนินชีวิต เขาอาจไม่ใช่คนที่ประสบความส�ำเร็จ ที่สุด แต่แบงค์มีความพอใจในชีวิตของตัวเองมากที่สุดโดยไม่คิด เบียดเบียนใคร

เขาบอกเสมอว่ า สติ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด และชี วิ ต อยู ่ ไ ด้ ทุ ก วั น นี้ คื อ สติ ดู เ หมื อ นแบงค์ จ ะซึ ม ซั บ หลายสิ่ ง หลาย อย่ า งในวั ด มาอย่ า งน่ า ประหลาด ค� ำ พระสอนอาจ ถู ก ใครหลายคนละเลย ทว่ า มั น เข้ า หู แ บงค์ อ ยู ่ ทุ ก เมื่ อ เชื่ อ วั น

79 issue 115 August 2017


Round About สปสช. จั บ มื อ มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย ง รุ ก สร้ า ง “เครื อ ข่ า ยเยาวชนหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ” ปี ที่ ๔

สปสช. จับมือ มูลนิธิครอบครัวพอเพียง รุกสร้าง “เครือ ข่ายเยาวชนหลักประกันสุขภาพ” ในสถาบันศึกษาต่อเนื่องปีที่ ๔ ขยายครอบคลุม ๔ ภูมิภาค ทั้งผู้บริหาร ครู และนักเรียนกว่า ๘๐๐ คน เผย ปี ๖๐ เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจ ช่วย ปชช. เข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพยิ่งขึ้น พร้อมบูรณาการงานส่ง เสริมสุขภาพป้องกันโรคเชื่อมโยงกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับพื้นที่ฯ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย – เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ และประธานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถาน ศึกษาและชุมชน มูลนิธิครอบครัวพอเพียง เป็นประธานพิธีลง นามบันทึกความร่วมมือ “เพื่อสร้างกิจกรรมเรียนรู้การใช้สิทธิ หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในศู น ย์ ค รอบครั ว พอเพี ย งในโรงเรี ย น” ระหว่างส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ มูลนิธิครอบครัวพอเพียง โดยมี นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช.และ นายภูวนาศ เผ่าจินดา รองประธาน มูลนิธิครอบครัวพอเพียง เป็นผู้แทนองค์กรในการร่วมลงนาม ครั้ ง นี้ โดยมี ผู ้ บ ริ ห าร สปสช. ผู ้ บ ริ ห ารมู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอ เพียง ผู้บริหารและคณาจารย์ ตลอดจนนักเรียนโรงเรียนวัฒนา วิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สปสช.

ตระหนักถึงความส�ำคัญการสร้างความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ และการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อคนไทยเข้าถึง บริการสาธารณสุขทั้ง ๔ มิติ คือ การสร้างเสริมสุขภาพ การ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ จ�ำเป็นต่อสุขภาพและการด�ำรงชีวิต ตาม พ.ร.บ.หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ แต่ที่ผ่านมาสังคมไทยยังขาด ความเข้าใจในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะการรับ รู้การใช้สิทธิ จึงต้องมีการสื่อสารสาธารณะ เน้นการสร้างเครือ ข่ายประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านหลัก ประกันสุขภาพที่ถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กมัธยมศึกษาตอน ปลายซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ค้นหากิจกรรมจิตอาสาและการ เข้ากลุ่มเพื่อนใหม่ ดั ง นั้ น ที่ ผ ่ า นมา สปสช.จึ ง ได้ จั ด กิ จ กรรมค่ า ย UHC Young Camp เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบหลักประกัน สุขภาพร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ในการรับสมัครเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ มี จิ ต อาสาและสนใจกิ จ กรรมด้ า นสุ ข ภาพในเขตกรุ ง เทพฯ และปริ ม ณฑลเพื่ อ เข้ า อบรม เยี่ ย มชุ ม ชน ส� ำ รวจตรวจสอบ สิทธิ แนะน�ำบริการสายด่วน สปสช. และปี ๒๕๕๘ นอกจาก กิจกรรมค่าย UHC Young Camp ยังได้คัดเลือกแกนน�ำเด็ก 80

IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชน UHC Young Camp เข้าอบรมหลักสูตร Senior UHC ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสมดุลชีวิต เสริม ศักยภาพองค์ความรู้ด้านหลักประกันสุขภาพ สร้างความรอบรู้ ด้านสุขภาพ พร้อมฝึกทักษะถ่ายทอดความรู้และการใช้สื่อเพื่อ เป็ น ต้ น แบบพลเมื อ งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ “จากผลประเมิ น กิจกรรม UHC Young Camp และ Senior UHC นี้ นักเรียน ที่ เข้ าร่ ว มต่างมีความรู้เข้าใจสิทธิหลัก ประกันสุ ข ภาพ ให้ ค� ำ แนะน�ำปรึกษาเรื่องหลักประกันสุขภาพให้กับเพื่อน ครอบครัว และชุ ม ชนได้ เ ป็ น อย่ า งดี ซึ่ ง ปั จ จุ บั น กลุ ่ ม UHC Young มี จ�ำนวนกว่า ๕๐๐ คน กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางส่วนเติบโต เข้าสู่ระดับอุดมศึกษาและมีส่วนร่วมในการเสริมพลังเพื่อสร้าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดความยั่งยืน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า ในปี ๒๕๖๐ นี้ เพื่อให้การ ด�ำเนินงานที่มีประสิทธิผลต่อเนื่อง จึงได้มีการจัดกิจกรรมค่าย Senior UHC รุ่นที่ ๓ และค่าย UHC รุ่นใหม่ในต่างจังหวัด ๔ ภูมิภาค จ�ำนวนครั้งละไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน (เชียงใหม่ เพชรบุรี นครพนม ๒๘-๒๙ ก.ค.๒๕๖๐ สงขลา ๑๙-๒๐ ส.ค.๒๕๖๐) ภาย ใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายเด็กเยาวชนและครูในโรงเรียน มัธยมในเขตเมือง ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ สร้างความรู้และมั่นใจการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นการ เชื่ อ มโยงเรื่ อ งสิทธิหลัก ประกัน สุขภาพกับ ศูน ย์ ค รอบครั ว พอ เพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ส่งเสริมให้เด็ก UHC Young ได้มี ส่วนร่วมเผยแพร่ความรู้และสร้างกิจกรรมเรียนรู้การใช้สิทธิหลัก

ประกันสุขภาพในการแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน และชุมชน โดยเฉพาะบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สามารถบูรณาการงานสร้างสุขภาพตามกลุ่มวัยกับกองทุนหลัก ประกันสุขภาพในระดับพื้นที่และท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานระบบ สุขภาพชุมชนให้ยั่งยืน ป้องกันการเจ็บป่วยและลดค่าใช้จ่ายการ รักษาพยาบาลในระยะยาว จึงน�ำมาสู่การลงนามบันทึกความ ร่วมมือในวันนี้ ด้าน นายภูวนาศ กล่าวว่า ระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ตรง กับวัตถุประสงค์ศูนย์ครอบครัวพอเพียงในการท�ำหน้าที่เป็นสื่อ กลางเรียนรู้และเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถน�ำ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันเพื่อดูแลครอบครัวได้อย่างถูก ต้อง รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงให้กับสังคมเช่น กัน ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาภายใต้เครือข่ายครอบครัว พอเพียง ๓๖๙ แห่งทั่วประเทศ โดยมีทั้งผู้บริหาร ครู และ นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วม ทั้งนี้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นั บเป็ น ระบบที่ มีส� ำ คั ญต่ อ ประชาชนอย่ า งยิ่ ง ช่ วยให้เข้า ถึง การรักษาอย่างครอบคลุมและทั่วถึง หากมีความรู้และเข้าใจ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพ ยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี ๒๕๖๐ นี้ ศูนย์ครอบครัวพอเพียงจึงบูรณ าการด�ำเนินงานร่วมกับ สปสช.ต่อเนื่องเป็นปีที่ ๔ นอกจาก ให้สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านระบบหลักประกัน สุขภาพอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังส่งเสริมให้มีการจัดท�ำกิจกรรม ด้านต่างๆ เพื่อท�ำให้เกิดเรียนรู้หลักประกันสุขภาพ วิธีการเข้า ถึงสิทธิด้านสุขภาพ และสามารถให้ค�ำแนะน�ำปรึษาเรื่องหลัก ประกันสุขภาพให้กับเพื่อน ครอบครัว และชุมชน เป็นพลเมือง หลักประกันสุขภาพ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเดินหน้าให้ระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นหลักประกันด้านสุขภาพส�ำหรับ ประชาชนอย่างยั่งยืน 81

issue 115 August 2017


พิ ธี ม อบรางวั ล กิ ต ติ คุ ณ สั ม พั น ธ์ “สั ง ข์ เ งิ น ” ครั้ ง ที่ ๒๕ ประจ� ำ ปี ๒๕๕๙

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ครั้งที่ ๒๕ โดยมี นาย อภินันท์ จันทรังษี นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวรายงาน ในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม ๑ อาคาร หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ นายอภินันท์ จันทรังษี นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ขึ้นกล่าวเปิดงานว่า สังข์ เป็นสิ่งมงคลที่เชื่อถือกัน มายาวนานว่าถือก�ำเนิดมาจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนพระคัมภีร์เวท ตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ใน พิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์ เพื่อความเป็นสิริมงคล สอดคล้องกับการประชาสัมพันธ์ที่เป็นการเผยแพร่ข่าวสารให้ ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวาง เปรียบเทียบกับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมเหล่าเทวดา ส�ำหรับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” เป็นรางวัลที่สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ริเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จนถึงปัจจุบัน เป็นครั้งที่ ๒๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ บุคคล องค์กร และโครงการ ที่มีผลงานดีเด่นใช้หลัก การประชาสัมพันธ์ สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ เพื่อเป็นการให้ก�ำลังใจผู้ปฎิบัติงานด้านการ ประชาสัมพันธ์ที่เห็นความส�ำคัญของภารกิจ นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมมาตรฐาน และคุณค่าของวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ ในยุคสังคมข่าวสาร และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่ ง เป็ น ปี ที่ ๒๕ ของการจั ด พิ ธี ม อบรางวั ล นี้ มี ผู ้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ๗ ราย ดั ง นี้ ประเภทบุคคล ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัญฑิต นายมนัส แจ่มเวหา นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ประเภทองค์กร ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประเภทโครงการ ได้แก่ โครงการสื่อสารกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ของการประปานครหลวง และโครงการเผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการประชาสัมพันธ์ของสถาบันพัฒนาสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ (IMPR) 82 IS AM ARE www.fosef.org


ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี

เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า มูลนิธิครอบครัวพอเพียง และ ศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ 83 issue 115 August 2017


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.