IS AM ARE dec 2559

Page 1

IS AM ARE

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า มูลนิธิครอบครัวพอเพียง และศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.fosef.org


“..ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้..”

พระราชบันทึก เมื่อครั้งเสด็จฯไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มิถุนายน ๒๔๘๙


Editorial

ข้ า พเจ้ า นาง อริ ย สิ ริ พิ พั ฒ น์ น รา บรรณาธิ ก ารบริ ห าร นิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ขอน้ อ มเกล้ า น้ อ มกระหม่ อ มถวายความจงรั ก และภั ก ดี อ ย่ า งหาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ขอสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร รั ช กาลที่ ๑๐

ทรงพระเจริ ญ

4 IS AM ARE www.fosef.org


ขอน้ อ มถวายด้ ว ยบทเพลงสรรเสริ ญ พระบารมี

สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร รั ช กาลที่ ๑๐ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนานมิ่งขวัญชาวไทย พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ เป็นศูนย์รวมใจของไทยทั่วหล้า พระจักรีวงศ์ มั่นคงคู่ไทยนานมา องค์พระสยามเทวา ปกปักรักษาชั่วกาลนิรันดร์ พระทัยหมายมั่น สืบปณิธานพระราชบิดา ทศพิธราชธรรมน�ำหน้า เพื่อปวงประชาชาติไทยเรานั่น ทุกถิ่นใกล้ไกล พระทรงห่วงใยทั่วกัน สยามมกุฎราชกุมาร ถวายสัตย์ปฏิญาณ ครองราชย์โดยธรรม พระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร เป็นบุญไทยล�้ำ รัชกาลที่ 10 ประหนึ่งน�้ำทิพย์ ผสมแสงธรรม ขวานทองเมื่อมองแล้วงาม ทั้งขวานและด้าม ด้วยน�้ำพระทัย ทรงพระเจริญ คู่ฉัตรทองและผองปวงชน เทวาอารักษ์เบื้องบน ต่างช่วยดล มนต์ทิพย์มาให้ เถลิงถวัลยราชสมบัตินานไกล ปวงข้าถวายพรชัย ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญ พระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร เป็นบุญไทยล�้ำ รัชกาลที่ 10 ประหนึ่งน�้ำทิพย์ ผสมแสงธรรม ขวานทองเมื่อมองแล้วงาม ทั้งขวานและด้าม ด้วยน�้ำพระทัย ทรงพระเจริญ คู่ฉัตรทองและผองปวงชน เทวาอารักษ์เบื้องบน ต่างช่วยดล มนต์ทิพย์มาให้ เถลิงถวัลยราชสมบัตินานไกล ปวงข้าถวายพรชัย ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญ ค�ำร้อง ท�ำนอง : เจษฎา เรืองนาม

5 issue 107 DECEMBER 2016


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ นางสุชานี แสงสุวรรณ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางพิมพ์ลดา ไชยสุวรรณ นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

Let’s

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Start

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

and Enjoy!

6 IS AM ARE www.fosef.org


Table Of Contents

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งประเทศไทย พระราชประวัติ ในหลวงรัชกาลที่ 10 บทความพิเศษ สาส์นจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ข่าวสารครอบครัวพอเพียง Let’s Talk มองผ่าระบบการศึกษา เลขามูลนิธิไทยรัฐ นายวิเชน โพชนุกูล บทสัมภาษณ์พิเศษ ความพอเพียงในแบบครอบครัว บทความพิเศษ ร่วมชูพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 9 ณ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า

8

ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ รายงานจากบ้านนอกคอกนา ภาพเล่าเรื่อง New Gen น�้ำใจคลอน�้ำตา บทสัมภาษณ์พิเศษ ผ่าหลักสูตรไทยรัฐวิทยา นางจิรา จิตชาญวิชัย ท่องเที่ยวตามศูนย์การพัฒนาตามพระราชด�ำริ มูลนิธิชัยพัฒนา เสาเข็มของบ้าน เสียงจากชุมชน ลด ละ เลิก สร้างชุมชนเข็มแข็ง เพื่อพ่อ เพื่อเรา Round About

18 22 28 36 42

7 issue 107 DECEMBER 2016

48 54 60 66 72 79 82


8 IS AM ARE www.fosef.org


พระราชประวัติ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระราชสมภพ วั น จั น ทร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เมื่ อ เวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวัง ดุ สิ ต พระราชโอรสเพี ย งพระองค์ เ ดี ย ว ในพระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ตรงกับ วันจันทร์ ขึ้น 6 ค�่ำ เดือน 9 ปีมะโรง จัตวาศก อธิกวาร จุลศักราช 1314 นับ เป็นปีที่ 7 แห่งการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

เวลา 17 นาฬิกา กับ 45 นาที ในนาทีเดียวกันนั้นเอง ฝนที่แล้ง มาตลอดฤดูก็เริ่มโปรยปรายละอองลงมา ดูคล้ายๆ ฟ้าก็รู้เห็น เป็นใจกับการประสูติครั้งนี้ อารามดีใจสมประสงค์ของดวงใจ ทุกๆ ดวง นายแพทย์ที่ถวายการประสูติ ซึ่งพร้อมที่จะบอกแก่ ที่ประชุม ณ พระที่นั่งอัมพรสถานว่า พระราชโอรส หรือ พระ ราชธิดา กล่าวออกมาด้วยเสียงอันตื่นเต้นกังวานว่า ผู้ชาย แทนที่จะว่า พระราชโอรส ฝนโปรยอยู่ตลอดเวลา แตรสังข์ ดุริยางค์เริ่มประโคม ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี มีปืนใหญ่ทั้งบกและเรือยิงสะเทือนเลื่อนลั่น เสียงไชโยโห่ร้อง ก็ดังอยู่สนั่นหวั่นไหว สมใจประชาชนแล้ว...ดวงใจทุกดวงมี ความสุข...” นับแต่นั้นมา ประชาชนชาวไทยต่างเฝ้าติดตาม ข่าวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ด้วย ความจงรักภักดี และต่างปลาบปลื้มปีติ ชื่นชมโสมนัสยิ่งขึ้นเมื่อ พระองค์ทรงเจริญพระชันษา มีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เพียบพร้อมด้วยพระราชจริยวัตรและพระปรีชาสามารถเป็นที่ ประจักษ์ตลอดมา ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินี 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระนามเมื่อแรกประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธ�ำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ขณะเมื่อทรงพระราชสมภพนั้น ประชาชนชาวไทยทั้ง ประเทศที่เฝ้ารอคอยพระประสูติการต่างปลาบปลื้มปีติ ชื่นชม โสมนัส แซ่ซ้องในพระบุญญาธิการ ดังที่ ศาสตราจารย์หม่อม ราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้บรรยายถึงบรรยากาศก่อนเวลา เสด็จพระราชสมภพ ตราบจนถึงนาทีอันเป็นมงคลฤกษ์ว่า “... วันนี้ ครึ้มฟ้าครึ้มฝนตั้งแต่เช้า ฝนไม่ได้ตกมานาน นายแพทย์ ผู้ถวายการประสูติเข้าประจ�ำที่สักครู่ก็ประสูติพระราชกุมาร

สมเด็ จ พระยุ พ ราช วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ปวงชนชาวไทยต่าง ปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นด�ำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร มีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฎว่า

9 issue 107 DECEMBER 2016


“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลง กรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศ ยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร” ในมงคลวาระนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณในการพิธีถือน�้ำ พระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นจะบ�ำเพ็ญพระ ราชกรณียกิจเพื่อชาติบ้านเมือง และประชาชนชาวไทย เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจพสกนิกรยิ่ง ดังความว่า “ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอพระราชทานกระท� ำ สั ต ย์ ปฏิญาณสาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า ข้าพเจ้า ผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอิสริย ศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ด้วย ชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มก�ำลังสติปัญญา ความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ สงบสุ ข และความมั่ น คงไพบู ล ย์ ข องประเทศไทย จน ตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”

การศึ ก ษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดรภาค พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถม ศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา ระหว่าง พ.ศ. 2499-2505 ทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษระหว่าง พ.ศ. 2509-2513 หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่ โรงเรียนคิงส์ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2515 ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้น สูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา หลักสูตร ของวิทยาลัยการทหารแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาค วิชาการทหาร รับผิดชอบและด�ำเนินการโดยกองทัพบก ออสเตรเลี ย ส่ ว นอี ก ภาคหนึ่ ง เป็ น การศึ ก ษาวิ ช าสามัญ ระดับปริญญาตรี โดยมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์รับผิดชอบ วางหลักสูตร ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรง ส�ำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2519 ส�ำหรับการศึกษาทางการทหาร พ.ศ. 2519 ทรง เข้ารับการฝึกเพิ่มเติมและทรงศึกษางานด้านการทหารใน ประเทศออสเตรเลีย และทรงประจ�ำการ ณ กองปฏิบัติการ ทางอากาศพิเศษที่นครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย

10 IS AM ARE www.fosef.org


นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหาร บกหลักสูตรประจ�ำชุดที่ 5-6 ระหว่าง พ.ศ. 2520-2521 และทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2531 ครั้น ถึง พ.ศ.2533 ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักรด้วย พระราชโอรส-พระราชธิ ด า พระเจ้ า หลานเธอ พระองค์ เ จ้ า พั ช รกิ ติ ย าภา ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพร สถาน พระราชวังดุสิต พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 พระเจ้ า หลานเธอ พระองค์ เจ้ า ที ป ั ง กรรั ศ มี โชติ ประสูติเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 กาลเวลาผ่านไปได้เป็นที่ประจักษ์ว่า ตลอดระยะ เวลานั บ แต่ ยั ง ทรงพระเยาว์ ต ราบจนปั จ จุ บั น สมเด็ จ ประชาชนชาวไทยต่ า งเฝ้ า ติ ด ตามข่ า วเกี่ ย วกั บ สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า วชิ ร าลงกรณฯ ด้ ว ยความจงรั ก ภั ก ดี และต่ า งปลาบปลื้ ม ปี ติ ชื่ น ชมโสมนั ส ยิ่ ง ขึ้ น เมื่ อ พระองค์ ท รงเจริ ญ พระ ชั น ษา มี พ ระสุ ข ภาพพลานามั ย แข็ ง แรง เพี ย บ พ ร ้ อ ม ด ้ ว ย พ ร ะ ร า ช จ ริ ย วั ต ร แ ล ะ พ ร ะ ป รี ช า สามารถเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ต ลอดมา พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงยึด มั่นในพระปฏิญญา ทรงพระวิริยอุตสาหะ มุ่งมั่นปฏิบัติ พระราชกรณี ย กิ จ นานั ป การ เพื่ อ ประเทศชาติ แ ละ ประชาชนชาวไทย โดยมิได้ย่อท้อ ดังปรากฏว่า สมเด็จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ได้ ท รง เจริ ญ รอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็ จ พระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขแก่อาณา ประชาราษฎร์ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้โดยเสด็จพระบรม ชนกนาถและสมเด็ จ พระบรมราชชนนี ไปในการเยี่ ย ม ราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศตลอดมา ทรงสั่งสม พระประสบการณ์เกี่ยวกับบ้านเมืองและราษฎร ดังนั้น จึง ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้เป็นผลส�ำเร็จลุล่วง นับตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ เช่น เมื่อพระชนมพรรษา 11 พรรษา ได้

ทรงน�ำกองลูกเสือส�ำรองโรงเรียนจิตรลดาเข้าร่วมพิธีสวนสนาม ลูก เสือไทย ณ สนามกีฬาแห่งชาติ และเมื่อทรงพระเจริญวัยได้ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ นานัปการ ทั้งที่ทรงปฏิบัติแทนพระองค์ และทรงปฏิบัติในส่วนพระองค์เอง พระราชกรณียกิจทั้งปวงล้วนมี การสร้างสรรค์ความผาสุกสงบแก่ประชาชน น�ำความเจริญไพบูลย์ และความมั่นคงมาสู่ประเทศ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา การศาล การสังคมสงเคราะห์ การพระศาสนา การต่าง ประเทศ การศึกษา ฯลฯ ด้ า นการแพทย์ และการสาธารณสุ ข ในด้ า นการแพทย์ แ ละการสาธารณสุ ข นั้ น ทรงตระหนั ก ว่า สุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยส�ำคัญของการ สร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลอันมีคุณภาพไว้เป็นพลังในการพัฒนา ประเทศ จึ ง สนพระราชหฤทั ย ในการประกอบพระราชกรณี ย กิ จ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส 11

issue 107 DECEMBER 2016


แนะน�ำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนด�ำเนินโครงการอันเป็น ประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชน ใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการ ศึกษา ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตาม ผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ เสมอ ทั้งนี้ด้วยน�้ำพระหฤทัย ที่ทรงพระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ส่วนในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้เสด็จพระราชด�ำเนิน แทนพระองค์ ไ ปพระราชทานปริ ญ ญาบั ต รแก่ บั ณ ฑิ ต ของ มหาวิทยาลัยต่างๆ ปีละเป็นจ�ำนวนมากทุกปี

จ�ำนวน 21 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ก็ได้ทรง พระอุ ต สาหะเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปทรงเยี่ ย มโรงพยาบาล สม�่ำเสมอ พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์ การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยเพื่อสามารถให้บริการ ที่ ดี แ ก่ ป ระชาชนและเมื่ อ พ.ศ. 2537 ทรงรั บ เป็ น ประธาน กรรมการอ� ำ นวยการจั ด สร้ า งอาคารศู น ย์ โรคหั ว ใจ สมเด็ จ พระบรมราชินีนาถ เป็นต้น ด้ า นการศึ ก ษา ในด้านการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม มกุฎราชกุมาร ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อย โอกาสในการศึ ก ษา กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ก่ อ ตั้ ง โรงเรี ย น มัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนมัธยม พั ช รกิ ติ ย าภา จั ง หวั ด นครพนม ก� ำ แพงเพชร สุ ร าษฎร์ ธ านี โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และฉะเชิงเทรา ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุ อุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ พระราชทานค�ำ

ด้ า นสั ง คมสงเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรง พระกรุณาห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดย เฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน ได้ทรงพระอุตสาหะ เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ หลาย แห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่อง 12

IS AM ARE www.fosef.org


13 issue 107 DECEMBER 2016


สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้ทรงพระวิริยอุตสาหะประกอบพระราชกรณีย กิจส�ำคัญๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เสมอมา ได้เสด็จ พระราชด�ำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยือนมิตรประเทศ ทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจ�ำทุกปีปีละหลายครั้ง เช่น เสด็จ พระราชด�ำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525 ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 8 มีนาคม พ.ศ. 2530 เสด็จ พระราชด�ำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ทรงพบนายเติ้ ง เสี่ ย วผิ ง ณ มหาศาลาประชาคม กรุ ง ปั ก กิ่ ง เสด็ จ พระราชด�ำเนินทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ทรงพบสมเด็จพระจักรพรรดิ และ สมเด็จพระจักรพรรดินี ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรง เจริญสัมพันธไมตรีในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เอง มี อีกเป็นจ�ำนวนมาก เช่น อิหร่าน เนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมศรีลังกา สหพันธ์เอกวาดอร์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก(กรีซ) ออสเตรเลีย และเมื่อวันที่ 2-4 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ได้เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระราชธิดา ทั้งสองพระองค์ไปทรงเยือนประเทศสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ในการเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปทุ ก ครั้ ง ต้ อ งทรงเตรี ย มพระองค์ ด้วยการทรงศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศที่จะเสด็จฯ ไปทรงเยือน และระหว่างประทับอยู่ในประเทศนั้นๆ นอกจากทรงมุ่งมั่นที่จะทรงเจริญ สัมพันธไมตรีแล้ว ยังสนพระราชหฤทัยในการทอดพระเนตรและศึกษา กิจกรรมต่างๆ ที่จะทรงน�ำมาเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบ้านเมืองไทย ด้วย เช่น เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชมกิจการทหาร การจราจรทางอากาศ เมื่อ ทรงเยือนประเทศในทวีปอเมริกาใต้, ทอดพระเนตรสถานที่ส�ำคัญทาง กีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารใน บังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนา สิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง ยั ง พระราชทานพระราชทรั พ ย์ สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนา เด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติด ในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย เพื่อให้เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและเป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อ ไปในอนาคต ด้ า นการต่ า งประเทศ การมีสัมพันธไมตรีอันดีกับมิตรประเทศ เป็น รากฐานส�ำคัญของความสงบสุขและความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ 14 IS AM ARE www.fosef.org


พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม ด้านอุตสาหกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน เมื่อทรงเยือนสาธารณรัฐ สังคมนิยมศรีลังกา, ทอดพระเนตรการ ด�ำเนินงานด้านการป้องกันสาธารณภัย ที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น ด้ า นการพระศาสนา สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ได้ ท รงแสดง พระองค์ เ ป็ น พุ ท ธมามกะที่ วั ด พระ ศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงศึ ก ษาที่ ป ระเทศอั ง กฤษ และมี พระราชศรั ท ธาทรงพระผนวชในบวร พระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ระหว่างทรงพระผนวช ทรง ศึกษา และทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัด กาลเวลาผ่ า นไปได้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว ่ า ตลอดระยะเวลานั บ แต่ ยั ง ทรง พระเยาว์ ต ราบจนปั จ จุ บั น สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ได้ ท รงยึ ด มั่ น ในพระปฏิ ญ ญา ทรงพระวิ ริ ย อุ ต สาหะ มุ ่ ง มั่ น ปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ นานั ป การ เพื่ อ ประเทศชาติ แ ละประชาชน ชาวไทย โดยมิ ไ ด้ ย ่ อ ท้ อ น อ ก จ า ก นั้ น ไ ด ้ เ ส ด็ จ พระราชด� ำ เนิ น แทนพระองค์ ไปทรง ปฏิ บั ติ พ ระราชกิ จ ทางศาสนาเป็ น ประจ� ำ เสมอ เช่ น ทรงเปลี่ ย นเครื่ อ ง ทรงพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น แทนพระองค์ ไ ป ทรงบ� ำ เพ็ ญ พระราชกุ ศ ลในวั น ส� ำ คั ญ ทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วั น วิ ส าขบู ช า วัน อาสาฬหบูช า วัน เข้า พรรษา และการถวายพระกฐินหลวงตาม วัดต่างๆ เป็นต้น

ด้ า นการกี ฬ า ทรงปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ ทั้ ง ในฐานะผู ้ แ ทนพระองค์ แ ละในส่ ว น ของพระองค์ เ องนานั ป การ เช่ น การ พระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬาเยาวชน แห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นักกีฬาไทยผู้น�ำความส�ำเร็จน�ำเกียรติยศ มาสู ่ ป ระเทศชาติ เข้ า เฝ้ า ทู ล ละออง พระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬา ยอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรง แสดงความชื่นชมยินดี ซึ่งนักกีฬาของไทยต่างส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ มีความปลาบปลื้มใน สิริมงคลและมีขวัญก�ำลังใจที่จะน�ำความ 15 issue 107 DECEMBER 2016

ส�ำเร็จและน�ำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ ตระกูล และประเทศชาติต่อไป เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ได้เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไป ทรงประกอบพิ ธี เ ปิ ด กี ฬ าเอเชี่ ย นเกมส์ ท�ำให้นักกีฬามีขวัญและก�ำลังใจในการ แข่งขัน ประสบชัยชนะน�ำเหรียญรางวัล มาสู่ประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ด้ า นการทหาร สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สนพระราชหฤทัยใน วิทยาการด้านการทหารมาตั้งแต่ยังทรง พระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทาง ด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลีย แล้ ว ยั ง ทรงพระวิ ริ ย อุ ต สาหะในการ เพิ่มพูนความรู้และพระประสบการณ์อยู่ ตลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิทยาการ การบิน กล่าวคือ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึก เพิ่มเติม และทรงศึกษางานทางการทหาร


ในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนกระทรวงกลาโหม ทรง ประจ�ำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ ที่นครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรวิชา อาวุธพิเศษ การท�ำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตร ต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ เดือนธันวาคม 2522–มกราคม 2523 ทรงเข้ารับ การศึกษาหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยูเอช–1 เอช และหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ เอเอช–1 เอส คอบรา ของบริษัทเบลล์ นอกจากนั้น ยังทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่างๆ ทางด้านการบินอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงเชี่ยวชาญการบิน ในระดับสูงมาก สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราช กุมาร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้าเป็นนายทหารประจ�ำกรม ข่าว ทหารบก กระทรวงกลาโหม วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง รอง ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหาร ราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู ้ บั ญ ชาการหน่ ว ยบัญ ชาการทหารมหาดเล็ก ราชวัลลภ รักษาพระองค์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษา พระองค์ ส�ำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่ อ งด้ ว ยทรงพระปรี ช าชาญในวิ ท ยาการ ด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทาง อากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูง มาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากส�ำหรับนักบินทั่วโลกจะท�ำได้ พระองค์ทรงพระกรุณาปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบิน ขับไล่ แบบเอฟ–5 อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็น

ความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงด�ำรง พระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพล อากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดย ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกัน พื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ่งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความ ที่ทรงเป็นชายชาติทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของ พสกนิกร และเพือ่ มนุษยธรรมต่อผูป้ ระสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบตั พิ ระ ราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชก�ำลัง ทรงเป็ น แบบอย่ า งของลู ก นับจากทรงพระเยาว์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม มกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงตามเสด็ จ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปยังท้องถิ่นต่างๆ อยู่เสมอ รวมถึงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน 16

IS AM ARE www.fosef.org


พระองค์อยู่นานัปการ รวมทั้งทรงจัดเที่ยวบินมหากุศลโดย ทรงประจ�ำในต�ำแหน่งนักบินที่ 1 เที่ยวบินพิเศษของบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) น�ำคณะพุทธศาสนิกชนไปสัก การะปูชนียสถานส�ำคัญ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อ ประโยชน์ทางศาสนา จึงมีผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสมทบทุนเพื่อการกุศลอื่นๆ เป็นจ�ำนวนมาก และในปี พ .ศ. 2558 มี กิ จ กรรมที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ นั่นคือเมื่อ วันที่ 16 สิงหาคม มีกิจกรรม Bike for Mom-ปั่นเพื่อแม่ กิ จ กรรมปั ่ น จั ก รยานเฉลิ ม พระเกี ย รติ สมเด็ จ พระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558 โดยมี วัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้ แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการร่วมแสดงออกของประชาชนถึงความรักที่มี ต่อแม่และแม่ของแผ่นดิน เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้ มีโอกาสร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติอย่างทั่ว ถึง และเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะร่วมกัน

จัดกิจกรรมถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ในการร่วมออกก�ำลังกาย ท�ำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกก�ำลังกาย และ เสริมสร้างความมีน�้ำใจเป็นนักกีฬา อีกทั้งได้น�ำกิจกรรม ดังกล่าวไปต่อยอดขยายผลต่อไป หลังจากนั้น วันที่ 11 ธันวาคม 2558 มีกิจกรรม ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 และทรง น�ำขบวนพสกนิกรผู้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระ เกียรติฯ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช กุมาร มีพระราชปณิธานที่จะจัดกิจกรรมจักรยานถวาย พระเกี ย รติ และถวายความจงรั ก ภั ก ดี เ นื่ อ งในวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย เพื่อถวายเป็นราชสดุดี โดยทรงเป็นประธานน�ำขบวนในวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม 2558 เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ แ ละแสดงความจงรั ก ภั ก ดี กตัญญูกตเวทิตาต่อพระมหากษัตริย์ ทรงร่วมเทิดพระคุณ พ่อและเพื่อความสามัคคีของชาวไทยทั้งชาติ 17

issue 107 DECEMBER 2016


18 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิเศษ

“...ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญเท่าส่วนรวม เมื่อส่วนรวมพ้นทุกข์เราจะสุขร่วมกัน...”

สาส์นจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน (ครอบครัว)

พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุ ล ยเดชพระราชทาน “หลั ก เศรษฐกิ จ พอ เพี ย ง” ให้ พ สกนิ ก รใช้ ใ นการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ก า ร ยึ ด ห ลั ก เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง เ ป ็ น แนวปฏิ บั ติ ไม่ ว ่ า บุ ค คลจะอยู ่ ใ นกิ จ กรรมหรื อ อาชีพใด จะเป็นนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นัก ธุรกิจ ข้าราชการ หรือคนธรรมดา สามารถน้อมน�ำ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ โดยยึดวิถีไทยอยู่ แต่พอดี อย่าฟุ่มเฟือยอย่างไร้ประโยชน์ อย่ายึดวัตถุ เป็นที่ตั้ง ยึดเส้นทางสายกลาง ตั้งอยู่บนหลักของ “รู้ รัก สามัคคี” ใช้สติปัญญาปกป้องตนเองไม่ให้หลง กระแสโลกาภิวัตน์ โดยไม่รู้ถึงเหตุและผลตามสภาพ แวดล้อมของไทย ใ น ส ถ า น ก า ร ณ ์ ป ั จ จุ บั น ก ร ะ แ ส โลกาภิ วั ต น์ ท� ำ ให้ พ ฤติ ก รรมในการด� ำ รงชี วิ ต ของ คนไทยในสั ง คมเปลี่ ย นไป วั ฒ นธรรมตะวั น ตกที่ เข้าครอบง�ำ ท�ำให้เป็นสังคมวัตถุนิยมและบริโภค นิยม เลียนแบบต่างประเทศ มีโรคตามแฟชั่นเกิด ขึ้น เป็นกระแสที่มาจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล ท�ำให้ คนไทยไม่ยึดวัฒนธรรมไทย ไม่ใช้จ่ายอย่างประหยัด ค�ำนึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม จึงมีปัญหา การทุ จ ริ ต และประพฤติ ช อบเกิ ด ขึ้ น พร้ อ มกั บ เกิ ด ปัญหาสังคมนานาประการ

เด็ ก นั ก เรี ย น และเยาวชนควรประพฤติ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งไร เป็ น ที่ ท ราบกั น ดี ว ่ า เด็ ก นั ก เรี ย น และ เยาวชน จะเป็นก�ำลังส�ำคัญของประเทศในอนาคต จึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งรู ้ บ ทบาทและหน้ า ที่ ข องตนว่ า ควร ปฏิบัติอย่างไร วัยเด็กเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นวัยส�ำคัญ ส�ำหรับวางรากฐานเพื่อ ความส�ำเร็จ ความเจริญ ความสุข ความมั่น คงในชีวิต หน้า ที่ ห ลั ก ของเด็ ก นักเรียน และเยาวชนคือ การศึกษาหาความรู้ ซึ่ง ไม่เพียงการศึกษาหาความรู้เท่านั้น เด็กๆ ยังต้อง ฝึกหัดการท�ำงานต่างๆ ให้เป็น อบรมขัดเกลาความ ประพฤติ ความคิดจิตใจ ให้ตั้งอยู่ในความงามความ ดี ความมีระเบียบวินัย มีสติปัญญา รู้เหตุ รู้ผล ขยัน อดทน ซื่อสัตย์สุจริต เมื่อได้ด�ำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีการศึกษา มีความรู้ความ สามารถพึ่งตนเองได้ ดูแลตนเองได้ ดูแลครอบครัว เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และเป็นก�ำลังส�ำคัญใน การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมของประเทศ เป็ น พลังส�ำคัญในการปกป้องบ้านเมือง เป็นผู้สืบทอด วั ฒ นธรรมจารี ต ประเพณี ไ ทยเพื่ อ น� ำ ไปใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ต่อความอยู่รอดปลอดภัยของสังคมไทย ในอนาคต

19 issue 107 DECEMBER 2016


ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คนไทยทุก คนต้องด�ำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง เศรษฐกิจพอเพียงคือการปูรากฐานในชีวิต ตัดราย จ่ายเสียก่อนในเบื้องต้น อยู่แต่พอเพียงกับรายได้ที่ ได้รับ ลดความฟุ่มเฟือย อยู่ด้วยเหตุด้วยผล เงินก็ เหลือก็จะเป็นการออมของเรา การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ ยึดอยู่ใน ความพอดี ซึ่งมีค�ำที่เกี่ยวข้อง คือมีเหตุมีผล ใช้สติ และปัญญาเป็นเครื่องน�ำทาง ไม่ว่าคนหรือประเทศ อย่าท�ำอะไรที่เกินล้น ถ้าเราไม่มีฐาน เราไม่มีเหตุผล ขาดสติ ทุ ก อย่ า งก็ พั ง มี ค วามพอประมาณ คื อ ประมาณตนว่ามีเงินอยู่เท่าใดก็ท�ำไปเท่านั้น ไม่ใช่ ไปกู้เขายืมเขา แล้วสูญเสียอิสระและต้องมีเกราะ ให้มีภูมิคุ้มกัน คืออย่าประมาท สรุปก็คือ เราต้อง ก�ำหนดในเรื่องพอเพียงด้วยเหตุด้วยผลว่าควรอยู่ ตรงไหน แล้วก็ท�ำเต็มศักยภาพของเราและการกระ ท�ำนั้นต้องอยู่บนฐานของความรู้ รอบรู้ รอบคอบ มี คุณธรรม และจริยธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รับสั่งว่า ค�ำที่ส�ำคัญที่สุด คือค�ำว่าพอ ทุกคนต้องก�ำหนดเส้นความพอกับตัวเอง ให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง ความพอเพี ย งของนั ก เรี ย น นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา • ต้องรักการเรียน คิดเป็น ท�ำเป็น มีคุณธรรม เป็นคน ดี คนเก่ง ของสังคม • ต้องรู้จักแบ่งเวลาเรียน เล่น และด�ำเนินชีวิตอย่าง เหมาะสม และพอประมาณกับตนเอง • ใฝ่หาความรู้ ใช้หลักวิชาและความรู้จริงในการตัดสิน ใจลงมือท�ำสิ่งต่างๆ • ประพฤติดีมีระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักแบ่งปัน มีความกตัญญู • ใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ • สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง อาทิ ประหยัดอดออม ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ไม่เสพของ มึนเมาหรือสิ่งเสพติด

ในสถานการณ์ ป ั จ จุ บั น กระแสโลกาภิ วั ต น์ ท� ำ ให้ พฤติ ก รรมในการด� ำ รงชี วิ ต ของคนไทยในสั ง คม เปลี่ ย นไป วั ฒ นธรรมตะวั น ตกที่ เ ข้ า ครอบง� ำ ท� ำ ให้ เป็ น สั ง คมวั ต ถุ นิ ย มและบริ โ ภคนิ ย ม เลี ย นแบบต่ า ง ประเทศ มี โ รคตามแฟชั่ น เกิ ด ขึ้ น

ความพอเพี ย งของประชาชน (ครอบครั ว ) • ด�ำรงชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคิดพึ่งพา ตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ • ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสอดคล้องกับหลักค�ำสอนของทุก ศาสนาที่ให้ด�ำเนินชีวิตตามกรอบคุณธรรม 20 IS AM ARE www.fosef.org


• ไม่กระท�ำการใดๆ ที่เบียดเบียน ตนเองหรือผู้อื่น ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือท�ำอะไร ที่เกินตน • ประหยัดอดออม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ อบายมุข ไม่เสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติด • รู ้ จั ก แบ่ ง ปั น และช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่นตามความเหมาะสมและก�ำลังความ สามารถของตน • ด� ำ เนิ น ชี วิ ต บนทางสายกลาง คือ ค�ำนึงถึงความพอดีไม่มากเกินไปหรือ น้อยเกินไป นั ก เรี ย น นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาต้ อ งเห็ น แก่ ป ระโยชน์ ส ่ ว นรวม ก า ร ด� ำ เ นิ น ชี วิ ต ต า ม ห ลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ พ ระราชทานนั้ น หลักส�ำคัญก็คือ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรม มี การแบ่งปัน ต้องรู้จักเสียสละ รู้จักเป็นผู้

การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ พ ระราชทานนั้ น หลั ก ส� ำ คั ญ ก็ คื อ ต้ อ งเป็ น ผู ้ มี คุ ณ ธรรม มี ก ารแบ่ ง ปั น ต้ อ งรู ้ จั ก เสี ย สละ รู ้ จั ก เป็ น ผู ้ ใ ห้ ต ามรอยพระยุ ค ลบาทพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 ต้ อ งเป็ น ผู ้ มี จิ ต ใจเป็ น “จิ ต อาสา” ที่ อ ยากจะช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น หรื อ สั ง คมส่ ว นรวม ให้ตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ต้องเป็นผู้มี จิตใจเป็น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วย เหลือผู้อื่นหรือสังคมส่วนรวม เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือ ด้วยก�ำลังแรงกายแรงสมอง ซึ่งเป็นการ เสี ย สละ สิ่ ง ที่ ต นเองมี แ ม้ ก ระทั่ ง เวลา เพื่อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่นไม่เฉพาะให้กับพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา ญาติพี่ น้อง เพื่อนฝูง หรือคนรู้จักเท่านั้น แต่ควร ต้องเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่นซึ่งเราอาจจะไม่เคย รู้จักมาก่อนก็ได้ แต่เขาประสบความทุกข์ 21 issue 107 DECEMBER 2016

ยากล�ำบาก ความเดือดร้อน ซึ่งแม้ก�ำลัง เราน้อยนิด เมื่อไปประสมรวมกับคนอื่นๆ เราก็อาจจะช่วยเขาได้บ้าง และที่ส�ำคัญ ที่สุดคือการได้ช่วยเหลือสังคมส่วนรวมให้ เกิดประโยชน์ และความสุขมากขึ้น ไม่มี ส่วนไหนส�ำคัญเท่าส่วนรวม เมื่อส่วนรวม พ้นทุกข์เราจะสุขร่วมกัน เมื่อเราท�ำความ ดีมีเมตตากรุณา ผลจากการที่เราท�ำความ ดีก็จะสนองเรา ท�ำให้เรามีความสุขความ เจริญตลอดไป


ก้าวเพื่อ ๙ สืบสานพระราชปณิธาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นักเรียนจิตอาสาในโครงการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง จ�ำนวน 999 คน จาก 70 สถาบัน ร่วมสักการะพระบรมราชา นุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 หน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง อย่างพร้อมเพรียง ภายใต้ กิจกรรม “ก้าวเพื่อ 9 สืบสานพระราชปณิธานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ก่อนเริ่มงานอาสาช่วยเหลือคนที่มา ถวายสักการะพระบรมศพ

22 IS AM ARE www.fosef.org


ข่ า วสารครอบครั ว พอเพี ย ง ในกิจกรรมครั้งนี้ นักเรียนทั้งหมดก�ำหนดจุดรวมพล ณ สนามกีฬาโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ก่อนเดินเท้าตามเส้นทางถนน ราชด�ำเนินสู่พระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ ได้เชิญครูที่ปรึกษา จ�ำนวน 2 ท่าน และเยาวชนแกนน�ำครอบครัวพอเพียง จ�ำนวน 40 คน เข้าร่วมขบวนก้าวเพื่อ 9 โดยจัดแถวเยาวชนแกนน�ำ แถวละ 9 คน ผูกข้อมือเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความพร้อมที่จะก้าว ไปด้วยกัน และความมุ่งมั่น ด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อเยาวชนแกนน�ำครอบครัวพอเพียงต่างถิ่น ต่างที่เกิดการรวมพลัง และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นที่จะ น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น�ำไปสู่การปฏิบัติต่อตนเอง สังคมและชุมชน 3. เพื่อให้เยาวชนรู้รักชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ มีจิตส�ำนึกต่อการตอบแทนคุณของแผ่นดิน และด�ำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมอันดีงาม มีจิตสาธารณะร่วมกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์

23 issue 107 DECEMBER 2016


24 IS AM ARE www.fosef.org


ขอขอบคุณภาพจากเนชั่น

25 issue 107 DECEMBER 2016


“บิ๊ ก ครี น นิ่ ง ท� ำ ดี เ พื่ อ พ่ อ ”

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม เยาวชนครอบครัวพอเพียงจากหลายโรงเรียนร่วมท�ำจิตอาสา “บิ๊กครีนนิ่ง ท�ำดีเพื่อพ่อ” เพื่อท�ำความ สะอาดพื้นที่ท้องสนามหลวงและบริเวณโดยรอบ หลังจากส�ำนักพระราชวังประกาศงดการเข้าถวายสักการะพระบรมศพและงด จ�ำหน่ายบัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวัง ส�ำหรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1-2 ธ.ค. โดยมีเจ้าหน้าที่ กทม. ทหาร ต�ำรวจ หน่วยงานภาค รัฐและเอกชน รวมทั้งจิตอาสา กว่า 4,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

26 IS AM ARE www.fosef.org


27 issue 107 DECEMBER 2016


มองผ่าระบบการศึกษา เลขาธิการมูลนิธิไทยรัฐ

นายวิเชน โพชนุกูล 28 IS AM ARE www.fosef.org


Let’s Talk ทิ ศ ทางในการด� ำ เนิ น งานกิ จ กรรมเสริ ม ของโรงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยาทั่ ว ประเทศเป็ น อย่ า งไร ? ที่มูลนิธิไทยรัฐท�ำคือการสนับสนุนโดยรวม เป็นหลัก มีแผนยุทธศาสตร์ให้ขับเคลื่อน แต่ก็ไม่ได้ ทิ้งโครงการที่นอกเหนือจากที่เราให้ อยู่ที่ศักยภาพ ของแต่ ล ะโรงเรี ย นแต่ ล ะโรงว่ า เขาจะรั บ ไหวไหม เพราะว่าเดี๋ยวครูไม่มีเวลาสอน อย่างเช่น สาธารณสุข เขาไปจัดกิจกรรมรณรงค์ไข้เลือกออกอะไรต่างๆ เป็น งบของสาธารณสุขแต่มาอาศัยโรงเรียนช่วยนับลูกน�้ำ ยุงลายบ้าง ท�ำโน้นท�ำนี่บ้าง แต่ผลงานก็กลายเป็น ของสาธารณสุข เป็นต้น สิ่งไหนที่เกี่ยวข้องกับการ ศึกษาโดยตรงให้เขาเลือกเอา กิจกรรม โครงการต่างๆ หรือแนวทางในการ สนับสนุนส่วนใหญ่เราจะเน้นในส่วนที่นอกเหนือจาก ที่กระทรวงศึกษาธิการท�ำ ไม่งั้นมันจะซ�้ำซ้อนและ สิ้นเปลือง เราจะไม่พยายามที่จะโอบอุ้มโรงเรียน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าเขาจะไม่โต ฉะนั้น อาจ จะมีเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยน สมมุติว่า ในแง่ของ วัตถุ โรงเรียนอยากจะมีรั้วเพื่อความปลอดภัย เรา อาจจะไม่ให้รั้ว แต่ว่าคุณไปค�ำนวณมา ค่าปูน ค่า หิน ค่าทรายเท่าไหร่ แต่แรงงานชาวบ้านท�ำ เพราะ เขาจะได้มีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ ก็จะใช้ วิธีนี้เป็นหลัก

ในส่วนของกิจกรรมนอกเหนือจากกระทรวงศึกษาธิการ ปัญหา ที่เจอจริงๆ ขณะนี้ สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงคือ เราจะไม่ให้กระทบกับการสอน ของครูและเวลาเรียนของเด็ก เพราะว่าโครงการเยอะจริงๆ ของกระทรวง ศึกษาธิการ ขนาดที่ว่าปีหนึ่งเราจัดกิจกรรมเพิ่ม 2-3 ครั้ง ก็ยังบอกว่ามัน เยอะ ไม่มีเวลา ต้องไปท�ำโน้นท�ำนี่ คือเราเป็นภาคเอกชน พอจะท�ำอะไร ถ้าทางการเขาสั่งมาเขาก็ต้องไปทางโน้นก่อน บางทีเราตั้งเป้าสูงไม่ได้ อยู่ ในวงการศึกษาไทยต้องท�ำใจ กิ จ กรรมใดๆ ที่ ล งสู ่ ผู ้ เ รี ย นหรื อ สู ่ โ รงเรี ย น เช่ น กิ จ กรรมค่ า ย อาสาพั ฒ นาผู ้ เ รี ย นที่ ก รุ ง เทพมหานคร 3 วั น 2 คื น คุ ณ ครู ที่ พ าเด็ ก มาสามารถเบิ ก ค่ า ใช่ จ ่ า ยจากต้ น สั ง กั ด ได้ ไ หม ? ไม่ได้ครับ 1.เขาไม่อยากมาเพราะว่า เบียดเบียนเด็ก หมายความ ว่า รายหัวที่เขาให้เด็กต่อปี สมมุติว่า ม.ต้น เขาให้ 2,800 บาทต่อปี พอ จัดโครงการเหล่านี้เขาจะเบียดเบียนรายหัวมาเป็นค่าใช้จ่ายตรงนี้ละ คือ โรงเรียนไม่มีกองทุนที่จะสนับสนุนแบบนี้เลย ฉะนั้น ใครจะท�ำกิจกรรมที่ บอกว่าให้โรงเรียนมาแล้วออกตังค์เอง ไม่มีมาหรอกครับ เบิกต้นสังกัดก็ ไม่ได้ ต้องระดับรัฐมนตรีหรือ สพฐ.อนุมัติ แล้วสั่งการมา แล้วเขาต้องตั้ง งบประมาณรองรับ เอาง่ายๆ ผมสัมมนาครูผู้บริหารแค่โรงเรียนละ 1 คน รวม 101 คน เราก็บอกค่าใช้จ่ายเราออกให้หมดแต่เขาออกค่าพาหนะ บางปีเขาก็บอกว่า ไม่มีงบ คือเขาต้องกันงบประมาณล่วงหน้า 2 ปีให้ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ปีนี้จะมา แล้วเอามาได้เลย ขนาดเราท�ำให้ทุกอย่างแล้ว ออกแค่ค่าพาหนะ ยังไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ผมเชื่อมั่นว่าใครไปจับตรงนี้ ไม่ได้รับความร่วมมือหรอก เขา จะนอนแบว่า เงินหล่นตูมแล้วจะไป ผมอยู่ในวงการการศึกษามา 30 กว่า ปีแล้ว วงการการศึกษามันถึงไม่พัฒนาไปไหน ถ้าประเภทที่ท�ำ CSR เอาอะไรไปใส่ให้ ชอบ ขนาดเอาโอวัลติลไป แจก เซเว่นอีเลฟเว่นเอากระบอกน�้ำไปแจก ชอบ หารู้ไม่เด็กเอากระบอก 29

issue 107 DECEMBER 2016


หน่ ว ยงานที่ เ ข้ า มาจั บ กั บ การศึ ก ษาอย่ า งโรงเรี ย นดู เหมื อ นมี อุ ป สรรคเยอะ ? อย่างที่ 1 คือ เราไม่ได้ให้คุณให้โทษ เมื่อหน่วยงานที่ ให้คุณให้โทษสั่งการมาเขาต้องท�ำก่อน อย่างเรามูลนิธิไทยรัฐ ดูแล แต่ สพฐ.ให้เงินเดือน เราบอกว่าสอนแบบนี้สิ เราเซ็ทอัพ มาให้มันจะได้ผลนะ สพฐ. บอกต้องอย่างนี้สิถึงจะผ่านประเมิน จะเชื่อใคร ฉะนั้น ที่ผมท�ำคือกิจกรรมเสริม ให้ครูเหนื่อยน้อย ลง ท�ำหลักสูตรให้ หลักสูตรความเป็นพลเมืองดี ให้สอนอย่าง นี้สิ เอาวิชาหน้าที่พลเมืองมาหลอมรวมกัน เป็นวิชาพลเมืองดี พลเมืองดีมันกว้างกว่าหน้าที่ศีลธรรม สอนตั้งแต่อนุบาล พอ เขียนแผนการจัดกิจกรรม ถ้าคุณจัดอย่างนี้แล้วมันจะเกิดอย่าง นี้ โรงเรียนไหนที่ฉลาดก็เอาไปใช้ เพราะไม่ต้องใช้สมองคิดแล้ว สิ่ ง ที่ ไ ทยรั ฐ หวั ง ก็ คื อ ให้ โ รงเรี ย นทั้ ง 101 โรงเรี ย น แล้วผลผลิตก็น�ำเสนอแลกเปลี่ยนกัน มี ค วามเข้ ม แข็ ง สามารถคื น คนดี สู ่ สั ง คมได้ ? ใช่ครับ คือ 1.ความจ�ำเป็นพื้นฐาน เราดูแลอยู่นอกเหนือ ผลสั ม ฤทธิ์ ส ่ ง ถึ ง กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ ไ หม ใน จากรัฐช่วย เช่น เสื้อผ้า อาหารกลางวัน ซึ่งก็ได้รายหัวรายละ 20 การประเมิ น ? เรามีคณะกรรมการร่วมในการประเมิน เยี่ยมโรงเรียน บาท ถามว่ารายหัว 20 บาท เด็กได้กินอิ่มไหม ถ้าไม่อ่ิม เอาเงิน ที่เราให้ไปอีกส่วนหนึ่งไปหาอาหารเสริม อาหารกลางวันหัวละ ตรวจโรงเรียนว่าท�ำไปถึงไหน แต่พวกที่ไปประเมินก็คือจาก 20 บาท ไปซื้อแก๊สได้ไหม ไม่ได้ ซื้อหม้อหุงข้าวให้เด็กก็ไม่ได้ สพฐ. เพราะฉะนั้นเขาจะเชื่อใคร นี่คือความเหลื่อมล�้ำของระบบ อีก ก็ต้องมาเบียดเบียนตรงอื่นอีก บอกว่าท�ำไมหัวละ 20 บาท การกระจายอ�ำนาจที่ล้มเหลวของบ้านเมือง คือให้อ�ำนาจเขา ให้เด็กกินแค่นี้ เขาไม่คิดว่ากินแค่นี้ ค่าแก๊ส ค่าอะไร เอาเงิน มากเกินไป เห็นไหม ย้ายที เก็บเงินกัน ก็ถูกยุบเพราะเขาใช้ ที่ไหนซื้อ เขาก็ต้องเจียดตรงนี้ให้เด็กได้กินอาหารสมบูรณ์ครบ อ�ำนาจไม่เป็นธรรม 5 หมู่ ในทางปฏิบัติมันลึกมาก น�้ำไปเติมเซเว่นกี่ครั้ง เขาเอาเงินคืนไปเท่าไหร่ แม้แต่ CP เอง สนับสนุนให้เลี้ยงไก่ ลงไก่แม่พันธุ์ให้ เอาอาหารรุ่นแรกให้ พอ รุ่นสองปลดระวาง อาหารไก่ก็ต้องซื้อ แม่ไก่ก็ต้องซื้อเขา คือ ทั้งนั้นเลย โครงการเขาเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน เอาไข่ที่ได้ ท�ำอาหารให้เด็กกิน แล้วพอรุ่น 2 เอาอะไรไปซื้ออาหารให้ไก่ เพื่อเอาไข่ให้เด็กกิน ผมถึงบอกว่าใครที่โดดลงไปจับกับโรงเรียน แล้ว ไม่ง่าย แล้วอย่าไปหวังผล ไม่งั้นเขาปฏิรูปการศึกษาส�ำเร็จ ไปนานแล้ว เงื่อนไขเยอะมาก ยิ่งเราเป็นภาคเอกชนนะ เรายิ่ง เป็นผู้ให้เท่าไหร่เขายิ่งชอบ แต่เขาจะท�ำตามเราหรือไม่เราไม่ใช่ ผู้บังคับบัญชา เขาไม่มาก็ได้

30 IS AM ARE www.fosef.org


แม้แต่ อบต.ที่ประกาศปลด ม.44 ทั้งหลาย ก็คือระบบ การกระจายอ�ำนาจบ้านเราล้มเหลวหมดทุกอย่าง เพราะเราไม่ สร้างฐาน เราเพิ่งมาสร้างฐานความเป็นพลเมืองดีให้เด็กรุ่นหลัง ไม่ต้องไปนึกถึงคนปัจจุบันหรอก มันไม่ทันแล้ว สร้างคนใหม่ คิ ด อย่ า งไรเกี่ ย วกั บ กิ จ กรรมค่ า ยที่ ห น่ ว ยงานต่ า งๆ เข้ า ไปจั ด ในโรงเรี ย น ? อย่างที่พูดถึง การจัดกิจกรรมเข้าค่าย มหาวิทยาลัยก็ ไปจัด ใครก็ไปจัด แล้วเด็กก็เฮ้วๆ แล้วกิจกรรมที่พวกนักศึกษา จัดปิดเทอมเป็นหลัก ประสบการณ์เขาน้อยเขาจะสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม ก็น้อยตาม ลองประเมินดู พอกลับไปแล้ว หายหมด ขนาดผมท�ำกิจกรรมเด็กรักษ์ป่า วันเฉลิม 5 รอบ ในหลวง ร.9 รณรงค์ปลูกต้นไม้ทั้งในชุมชนทั้งในโรงเรียนนะ ให้ตังค์เด็กอีกคนละ 20 บาท ดูแลต้นไม้ของตัวเอง เพื่อสร้าง แรงจูงใจ แล้วอะไรเกิดขึ้น พอหลังจากนั้น 20 ปี ต้นไม้โต ผู้ บริหารย้ายมาใหม่ ตัดต้นไม้เลย นี่เจอด้วยตัวเอง ท�ำไมคุณไม่ ถามก่อนตัด นี่ต้นไม้ในหลวง เห็นไหม แล้วมันจะไปสร้างชาติ ได้ยังไง ผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐเกษียณปีหนึ่งประมาณ 10 คน คือต้องไปทบทวนใหม่ ส�ำหรับกิจกรรมแบบนี้ ของเรา จึงใช้วิธีขับเคลื่อนเป็นยุทธศาสตร์แล้วต้องท�ำ MOU กับ สพฐ. เลย คุณต้องไปดูแลให้นะมันถึงจะได้ผล ความจริงกิจกรรมเสริมต่างๆ ถ้าผลักดันได้ ผลักดันให้ ไปอยู่ในลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ แล้วท�ำเป็นเครือข่ายในระดับ อ�ำเภอ เข้าค่ายในระดับอ�ำเภอใกล้ๆ ก่อน แล้วแข่งขันในระดับ อ�ำเภอจะดีกว่าจะข้ามน�้ำข้ามทะเลมาเจอกันไม่รู้จากไหนแล้ว ก็ ก ลั บ ไปก็ ห ายกั น ไปหมด มั น เป็ น อะไรที่ อ ลั ง การจนเกิ น ไป จนฝ่ายปฏิบัติอย่างพวกเราตามไม่ถึงหรอก มันกลายเป็นต�ำ น�้ำพริกละลายแม่น�้ำ

อย่ า งแรกต้ อ งเข้ า ใกล้ ตั ว เด็ ก ให้ ม ากที่ สุ ด สร้างวินัย คุณธรรม จิตอาสา เอาใกล้ๆ ก่อน แค่ กลั บ ไปบ้ า นไปช่ ว ยอะไรพ่ อ แม่ บ ้ า ง แค่ นั้ น ก่ อ น อย่ า งที่ ส อง ท� ำ ยั ง ไงให้ ผู ้ ป กครองมี ส ่ ว นร่ ว มกั บ โรงเรียนมากขึ้น อย่างที่เราท�ำอยู่พยายามรณรงค์ เชิญชวนเครือข่ายผู้ปกครอง เช้าขึ้นมามายืนรับเด็ก หน้าโรงเรียนพร้อมกับครูเวร ผู้ปกครองชายที่เข้ม แข็ ง หน่ อ ยมาเป็ น จราจรหน้ า โรงเรี ย นสร้ า งความ ปลอดภัยให้ลูกเขาเอง ห ลั ง จ า ก ที่ คิ ด แ บ บ นี้ ท า ง ไ ท ย รั ฐ มี ก า ร ติ ด ตามอย่ า งไร เราติ ด ตามเอง เรามี ที ม ติ ด ตาม เราไม่ ท� ำ เหวี่ยงแห คือจะไม่ท�ำทีเดียว 101 โรงเรียน อย่าง หลั ก สู ต รเราท� ำ เหวี่ ย งแหคื อ โคฟเวอร์ เ ลย 101 โรงเรียน แต่เราไปเจาะสุดยอดของแต่ละโรงเรียน เราก็เลยท�ำต้นแบบโรงเรียนไทยรัฐวิทยา แต่ถาม ว่าต้นแบบคืออะไร ไม่ใช่โรงเรียนต้นแบบ เป็นต้น แบบด้านคุณธรรม ด้านจริยธรรม ไม่ต้องไปดูผล สัมฤทธิ์นะ เด็กอาจจะเรียนไม่เก่งก็ได้ แต่ว่าถ้าคุณไป โรงเรียนนี้แล้วถอดรองเท้าไม่เป็นที่นะ เด็กจัดให้เข้า ที่เรียบร้อยหมดเลย คุณเดินออกมาจากห้องน�้ำเด็ก เข้าไปท�ำความสะอาดให้เรียบร้อยหมดเลย เราท�ำได้ ขนาดนั้น เราท�ำมา 3 ปีแล้ว เลือกแค่ 5 โรงเรียน ขณะนี้ได้มาแล้ว 1 โรงเรียน สิ้นปีนี้น่าจะได้อีก 4-5 31

issue 107 DECEMBER 2016


โรงเรียน อีก 3 ปีข้างหน้าผมเพิ่มอีก 13 โรงเรียน มันต้องค่อยขยับไปอย่าง นี้ โรงเรียนไหนยังไม่พร้อมเอาไว้ก่อน เอาพื้นฐานก่อน ถ้ า มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย ง หรื อ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ เข้ า ไปมี ส ่ ว น ร่ ว มกั บ โรงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยาบางแห่ ง แล้ ว เห็ น การพั ฒ นา มากขึ้ น เป็ น รู ป ธรรมอย่ า งชั ด เจน ตรงตามที่ ท างไทยรั ฐ ต้ อ งการ จะเป็ น ไปได้ ไ หม ? ถ้าท�ำได้นี่ดี แต่เราจะป้องกันได้รึเปล่าหากเขาไม่เดินตามเราจน บรรลุเราท�ำใจได้ไหม ก่อนจะตัดสินใจไปท�ำ เพราะว่าฐานของเราก็คือ เด็ก ของเราคือเด็กรากหญ้าจริงๆ สร้างดินให้เป็นดาวมันสร้างยาก ร้อยพ่อพัน แม่ ผู้ปกครองอยู่ในโรงเรียนเขาก็เลือกโรงเรียนที่มีรถรับส่งเข้าไปในอ�ำเภอ ในเมืองหมด เพราะฉะนั้นของเราก็จะเป็นรากหญ้าจริงๆ พ่อแม่ท�ำงาน กรุงเทพฯ อยู่กับปู่กับยายอะไรอย่างนี้ พื้นฐานการดูแลเด็กก็ไม่ดีนัก เพราะ ฉะนั้นท�ำยังไงให้เด็กเป็นคนดี ลองท�ำแบบน�ำร่องดู อย่าเพิ่งไปปูพรม เพราะว่าการที่จะสร้างความ ตระหนักให้ได้ในระดับผู้บริหารก่อนมันก็ยากอยู่แล้ว เมื่อเขาตระหนักแล้ว เมื่อลงมือท�ำเขาก็ต้องแสวงหาความร่วมมือจากครูจากชุมชน อันนั้นคือสิ่ง ที่เขาคิดว่าเป็นภาระ ฉะนั้นบางทีเขาคิดว่าไม่เอาดีกว่า คือมันยากในการ สร้างให้เกิดมรรคเกิดผล เพราะว่าคนไม่มีอุดมการณ์ท�ำไม่ได้ ถ้าให้ผมแนะน�ำ ท�ำโปรเจค แล้วลองรับสมัครโรงเรียนไทยรัฐ 101 โรงเรียนดู จะเข้ามากี่โรง แค่นั้นก่อน เพราะว่าทุกคนมา ก็ไม่ใช่จุดสุดท้าย ในอาชีพราชการ เขาจะเป็นทางผ่าน พอเขาท�ำได้ 2-3 ปี พอมีช่องผ่าน โรงเรียนไทยรัฐมาเขาก็มีศักยภาพเป็นบันไดไต่ขึ้นไป ถามว่าเขาอาสาเพื่อ ท�ำโครงการนี้จบแล้วเขาจะได้ย้าย เรารู้สึกยังไง คือเขาไม่มีใจที่จะท�ำงานก่อน แต่มีเป้าก่อนว่าถ้าท�ำแล้วจะไปตรง โน้น คนไทยจะคิดแบบนี้มาก จะล้างคนพวกนี้วิธีการก็คืออย่างที่ผมบอก รับสมัครเลย 101 โรงเรียน แล้วบอกว่าภาระที่คุณต้องรับผิดชอบภายใน 3 ปีมีอะไรบ้าง เอาให้รับรู้ไว้ก่อนว่าเข้ามาแล้วเจออย่างนี้นะ เอาก็เอา ไม่ เอาเราหาคนอื่น แต่ถ้าคิดจะท�ำจริงๆ แค่ 10-20 โรงเรียนก็ถือว่าสูงแล้ว ปัจจัยที่มี ปัญหาในการท�ำงานพวกนี้ก็คือ เราไม่มีบุคลากร สมัยผมเด็กๆ โรงเรียน 1 โรง มีครู 3-4 คน จนผม 60 แล้วยังมีอยู่ โรงเรียนไทยรัฐยังมีอยู่ ป.1 กับ ป.2 เรียนห้องเดียวกันครู 1 คน ป.3 กับ ป.4 ห้องเดียวกันครู 1 คน ถามว่า สอนอยู่ 8 ระดับ อนุบาล 2 ห้อง ป.1-ป.6 อีก 6 ห้องเป็น 8 ห้อง มีครูอยู่ 3 คน รวม ผอ.เป็น 4 คน ถามว่าการศึกษาเราเมื่อไหร่มันจะไปได้ กระทรวงศึกษาเขาเอาอัตราจ�ำนวนนักเรียน 25 คนต่อครู 1 คน เด็ก โรงเรียนไทยรัฐบางโรงมีอยู่ 60 คน ถามว่าครู 2 คนครึ่งแล้วมันจะไปถึงไหน วิธีเราแก้เราก็ช่วยได้บ้าง จ้างครูแทนหลวง 20-30 คน ปีหนึ่งก็หลายล้าน แล้วมันไปสิ้นเปลืองตรงนั้นท�ำไม หน้าที่ของคุณ ท�ำไมไม่ให้เราดูแลด้าน 32 IS AM ARE www.fosef.org


อื่น แต่พอเป็นชื่อโรงเรียนไทยรัฐจะไม่ให้ โรงเรียน ไทยรัฐเห็นบอกว่าช่วยโน้นช่วยนี่ครูท�ำไมมีแค่นี้เอง เขาไม่ได้โทษหลวงนะ เขาโทษไทยรัฐนะ ประสบการณ์ 30 ปี ในแวดวงการศึ ก ษา พบเห็ น หรื อ มี มุ ม มองแก้ ไ ขอย่ า งไร ? การศึกษาเรามันสวนทางกันหมด วงการการ ศึกษาของเรา 1.ประชากรที่เป็นครูเป็นบุคลากรน้อย 2.ไม่ตรงกับสายงาน 3.ไปเอา STEM มาให้เขาใช้ อีก ครูที่มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยศาสตร์ ต่างๆ ในประเทศไทยมีกี่คน เพราะฉะนั้นอย่างแรก เลยคืนครูให้เด็กให้เขาสอนเด็กอย่างเต็มที่ แล้วก็ใน 20 กระทรวงประมาณ 64 โครงการที่ให้โรงเรียนท�ำ คุณลดให้เหลือสัก 10 โครงการได้ไหม เดินรณรงค์ เลือกตั้งก็เด็ก อะไรก็เด็ก แล้วเอาเงินไหน มหาดไทย เบิก ให้เด็กเดินฟรี นับลูกน�้ำยุงลาย สาธารณสุขให้ เด็กหาลูกน�้ำให้ คุณท�ำเรคคอร์ดแล้วก็ไปเบิก ก็รู้กัน อยู่ ท�ำไมเขาไม่ห้าม ฉะนั้ น ถึ ง บอกว่ า ใครที่ คิ ด จะช่ ว ยวงการ ศึกษา ถ้าไม่คิดแก้ปัญหารากหญ้าจริงๆ 1.คืนครูให้ เด็ก 2.ให้ครูสอนอย่างเต็มที่ เอาคนมาประเมินไม่ เคยสอนประถมวัย คุณรู้ไหมว่าพื้นฐานประถมมัน เป็นอย่างไร คุณบอกอย่างนี้ไม่ใช่ๆ ก็คนละทาง นี่

คือปัญหาการศึกษา เดิ ม บริ ษั ท ประเมิ น น่ า ตลกมากเลยนะ มี ผอ.บางโรงเรียนที่ผมรู้จัก ตอนเขาประเมิน ตัวเองไม่ ผ่าน แต่พอตัวเองเกษียณไปได้เป็นกรรมการประเมิน นี่โรงเรียนไทยรัฐเอง 101 โรง ไม่ผ่าน สมศ.เกือบ 20 โรง ว่าครบไม่ครบ สอนไม่ตรงวิชาเอก ถามว่าคุณให้ อะไรมา มันจะตรงได้ไง มันก็ตก ค ว า ม ค า ด ห วั ง ข อ ง ไ ท ย รั ฐ กั บ 1 0 1 โรงเรี ย นคื อ อะไร ? เราอยากตอบแทนโดยการเป็ น หยดน�้ ำ อี ก หยดหนึ่ ง ที่ ไ ปสนั บ สนุ น ภาครั ฐ ก็ คื อ กระทรวง ศึกษาธิการ หรือ สพฐ.เพราะว่าศรัทธาของประชาชน ทั่ ว ประเทศเขาเห็ น ว่ า ท� ำ บุ ญ กั บ ไทยรั ฐ แล้ ว มั น ถึ ง เขาก็อยากจะเอามาให้ เมื่อให้แล้วเราก็ท�ำให้เขา เห็นว่า นี่คุณให้แล้วนะ คุณท�ำแล้วนะ ก็เป็นแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เราเติมให้เขา ขนาดเติมเท่านี้ แล้ว 101 โรงเรียน มูลค่าปีหนึ่งไม่ต�่ำกว่า 50 ล้าน แล้วถามว่าเห็นแค่ไหน ฉะนั้นท�ำบุญกับคนสร้างคน พัฒนาคน 20 ปีข้างหน้าคอยดู ลูกเราบางทีสอนมา 20 ปี บางทียังไม่ได้เรื่อง นี่แหละเพราะเราสร้างคน มาผิดตั้งแต่ต้น

33 issue 107 DECEMBER 2016


ความหวั ง ในการเปลี่ ย นแปลงด้ า นการ ศึ ก ษา ? สิ่ ง ที่ อ ยากเห็ น การเปลี่ ย นแปลงมากที่ สุ ด ณ ขณะนี้ ก็คือ ให้ทุกหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม มาให้ความส�ำคัญกับการศึกษาก่อน อย่าให้ ความส�ำคัญกับกระทรวงตัวเองก่อน เพราะว่าขณะ นี้กระทรวงตัวเองเป็นตัวตั้งแล้วก็ไปใช้งานกระทรวง ศึกษาหมด ทุกอย่างครูท�ำได้หมด ที่ท�ำไม่ได้อยู่อย่าง เดียวคือสอนหนังสือ เพราะถูกใช้งานหมดแล้ว ฉะนั้น ท�ำอย่างไรถึงให้การศึกษาพัฒนา ก็คือ 1.คืนภาระ หน้าที่การจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ ให้แก่โรงเรียน ชุมชนให้ ความร่วมมือ ภาครัฐทุกภาคส่วนให้ความส�ำคัญ อย่า เอาโรงเรียนเป็นเครื่องมือในการประกอบกิจกรรมที่ ตัวเองด�ำเนินการอยู่ ท�ำได้ แต่คิดว่าเบียดเบียนเวลา

34 IS AM ARE www.fosef.org

เด็กและคุณครูรเึ ปล่า มันหลายองค์ประกอบมากทีไ่ ม่ สามารถแก้ได้ แล้วมันฝังลึกมาก เมื่ อ ปี ที่ แ ล้ ว เขาพู ด ถึ ง BBL จ้ า งวิ ท ยากร อบรม 2 ปี พออบรมได้ปีเดียว เปลี่ยนเป็น STEM อีก แล้ว ค่าสี ไปบอกให้โรงเรียนทาเป็นลูกกวาดยังไม่ได้ จ่ายเขาเลย เอาคุณธรรม 12 อย่าง กับเด็กเอ๋ยเด็กดี รวมเป็น 24 อย่าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์อีก 8 อย่าง รวมเป็น 32 อย่าง ถามว่าจ�ำได้ไหม ผู้ใหญ่ยัง จ�ำไม่ได้เลย ไปสุมหมดเลย แล้วก็ยุคใครยุคมัน ยุคนัก วิชาการก็เอาความรู้วิทยาการใหม่ๆ มาให้ ผู้บริหาร บางคนคิดว่าของเก่าดีแล้ว เอาของเก่ารื้อมา ท�ำไม ไม่สั่งราชภัฏทั้งหลายว่าให้ไปสอนอย่างนี้อย่างนั้น นะ ท�ำไมคุณมาสั่งตรงนี้แล้วเขาสอนมาอย่างนั้น นี่ คือแสวงหาความร่วมมือแล้วท�ำให้เป็นเอกภาพก่อน ที่จะลงสู่เด็ก แค่นั้นเองครับ


ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน


ความพอเพียงในแบบครอบครัว ดร.สราณีย์ สุทธิศรีปก ความพอเพี ย งตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เป็ น สิ่ ง ที่ แ ต่ ล ะบ้ า น แต่ ล ะ บุ ค คล แต่ ล ะครอบครั ว จะน� ำ ไปปรั บ ใช้ ใ นบริ บ ทชี วิ ต ของตนเอง ไม่ ว ่ า จะมี อ าชี พ ใดก็ ต ามสามารถได้ รั บ ประโยชน์ จ ากหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง หรื อ ที่ หลายคนเรี ย กสั้ น ๆ ว่ า “ความพอเพี ย ง” ได้ ทั้ ง สิ้ น

36 IS AM ARE www.fosef.org


บทสั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พาผู้อ่าน ไปพบกับครอบครัวของ ดร.สราณีย์ สุทธิศรีปก หรือคุณกุ๊ก อาจารย์ประจ�ำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นครอบครัวเล็กๆ ที่น่ารัก ประกอบด้วยลูกชาย 2 คน สามี และคุณแม่ของคุณกุ๊ก ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของครอบครัวไทย ที่ใช้ชีวิตเรียบ ง่ายตามฐานะและบริบทต่างๆ แต่จะมีการน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในเรื่องใดบ้าง เชิญผู้อ่านค้นหา ค�ำตอบดูครับ คุ ณ กุ๊ก เกิด และเติบ โตในกรุงเทพมหานคร ย่ า น เสนานิคม 1 เป็นบุตรคนโตในพี่น้อง 3 คน ของคุณแม่ กรรณี ดุลยกนิษฐ และคุณพ่อสท้าน ดุลยกนิษฐ คุณแม่ เป็นอาจารย์ที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันเป็น ข้ า ราชการบ� ำ นาญ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคล กรุ ง เทพ) และคุ ณ พ่ อ เป็ น ทนายความของส� ำ นั ก งาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) นับว่าคุณกุ๊กเกิดในครอบครัวข้าราชการที่มีการเลี้ยงดูที่ดี ถึงขนาดมีเพื่อน ๆ ล้อว่า “ไข่ในหิน” คุณแม่กรรณีให้เหตุผลว่า สมัยนั้นต้องท�ำงาน ไม่ ค่อยมีเวลา จึงต้องมีพเี่ ลีย้ งดูแลลูกมาตลอด คุณกุก๊ จึงมีหน้า ที่เดียวคือการเรียนหนังสือเริ่มตั้งแต่เข้าเรียนที่โรงเรียน อนุบาลสวนเด็ก (ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ก่อนจะเข้าเรียน ชั้นเด็กเล็กที่โรงเรียนราชวินิตจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นรุ่นแรก เข้าเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา สอบเข้าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้ตามค�ำแนะน�ำของคุณแม่มาตลอด คุณ แม่ให้ความส�ำคัญอย่างมากในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแต่ละช่วง ของชีวิตลูกๆ เช่น การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งคุณแม่จะ เน้นมากๆ คอยแนะน�ำสถานที่เรียนให้ลูก พาไปติว พาไป สอบ ไปรับไปส่ง ทุกกระบวนการเพื่อให้ลูกประสบความ ส�ำเร็จในการเรียนและอยู่ในสังคมที่ดี ซึ่งลูกๆ เองก็ไม่ทัน รู้ตัวว่า คุณแม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกไว้แล้วตั้งแต่เนิ่นๆ แม้จะไม่มีเวลาดูแลลูกๆ มากนักก็ตาม “ความอดทนเป็นสิ่งที่ขมขื่น แต่ผลของมันหวาน ชื่นเสมอ” เป็นค�ำสอนของคุณแม่ ที่คุณกุ๊กจดจ�ำและน�ำ มาใช้ในชีวิตการเรียน ในการดูหนังสือ และเธอพบว่ามัน เป็ น ความจริ ง กั บ ทุ ก เรื่ อ ง แม้ ก ระทั่ ง ช่ ว งสมั ย เป็ น นิ สิ ต

ครอบครัวสุทธิศรีปก ภาพใต้แบบอย่างที่ดีของคุณแม่กรรณี

จุฬาลงกรณ์ ที่มีทั้งกิจกรรม และการเรียนอันเข้มข้น ด้วยอุปนิสัยเป็น คนเรียบร้อยไม่นอกลู่นอกทาง ท�ำให้อดทนเรียนต่อจนจบปริญญาโท คุณกุ๊กแทบไม่เคยเดินเที่ยวเล่น ดูหนัง กินข้าวในแหล่งบันเทิงใกล้ที่ เรียนเลย ชีวิตซึ่งอาจดูจ�ำเจมีระยะทางระหว่างบ้านกับที่เรียนซ�้ำๆ แต่เธอก็ยอมรับว่า มีความสุขกับการเล่นสนุกอย่างเด็กบ้านนอก กับ ธรรมชาติแวดล้อมบริเวณบ้าน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้เล็กใหญ่รอบบ้าน และงานฝีมือ การที่เป็นครอบครัวข้าราชการ มีการด�ำเนินชีวิตพอ เพียงแบบข้าราชการ และประกอบกับการจากไปของคุณพ่อในขณะ เป็นนิสิตชั้นปีหนึ่ง ท�ำให้ต้องประหยัด อดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ ท�ำให้เธออดออม ใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า ค�ำสอนเรื่องความอดทน คุณ กุ๊กก็ได้ถ่ายทอดสู่ลูก ลูกศิษย์และคนรอบข้างอยู่เสมอ ให้มีก�ำลังใจ ต่อสู้กับความล�ำบากในการเรียน เพราะเธอพิสูจน์แล้วว่าผลของมัน หอมหวานจริงๆ จนประสบความส�ำเร็จในการงานที่มั่นคงในวันนี้ 37

issue 107 DECEMBER 2016


ตลอดระยะเวลา 54 ปี ตั้งแต่เกิด คุณกุ๊กอาศัยอยู่กับคุณแม่ที่บ้านหลังเดิม มาตลอด โดยมีแผนหลายครั้งที่จะปลูก บ้านใหม่ในพื้นที่ติดกันที่คุณแม่ยกให้ แต่ ก็มีอันยกเลิกไปทุกครั้ง เธอให้เหตุผลว่า คุณแม่รักและผูกพันกับบ้านหลังนี้มาก เพราะเริ่มแรกมาซื้อที่นากับคุณพ่อ ก่อ ร่างสร้างบ้านมาด้วยกัน ทั้งยังเห็นว่า ที่ คุณแม่แข็งแรงและยังคงเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในวั ย 79 ปี อ ย่ างนี้ น่าจะเป็น ผลจาก ความสุ ข อย่ า งพอเพี ย งที่ ไ ด้ จ ากการท� ำ สวนผสมบนพื้นที่ราว 100 ตารางวา ที่ยก ให้คุณกุ๊กปลูกบ้านนั่นเอง ความพอเพียง ของคุณแม่ “หญิงเหล็กของลูก” ได้ถูก ปลูกฝังลงในตัวลูกหลานไปด้วย คุณแม่ มีกิจวัตรที่เน้นความประหยัดตลอดเวลา เธอเล่าว่าชุดนักเรียนและชุดไปเที่ยวทุก ชุดในวัยเด็กมีคุณแม่เป็นผู้ตัดเย็บทั้งสิ้น เมื่อมองย้อนกลับไปจึงพบว่า ตนเองโชคดี ที่สุดที่ได้ใส่ชุดนักเรียนฝีมือแม่ ด้วยความ รักความเอาใจใส่ที่แฝงความพอเพียงคือ

การพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด สิ่งไหน ท� ำ เองได้ ก็ ค วรท� ำ ประยุ ก ต์ ดั ด แปลง ไม่จ�ำเป็นต้องซื้อหาใหม่ สมัยนี้เรียกเสีย โก้เก๋ว่า DIY เรื่ อ ง ค ว า ม ป ร ะ ห ยั ด คุ ณ แ ม ่ กรรณีจะเน้นย�้ำกับลูกเสมอ “เราไม่ได้ เริ่มต้นจากเงินถุงเงินถังนะ สมัยที่แม่เริ่ม รับราชการที่เทคนิคกรุงเทพเงินเดือน 1,100 บาท จนมาจบทีส่ หี่ มืน่ กว่า ท�ำมา 36 ปี คือเงินมันน้อยเราก็ต้องอยู่ให้พอ ให้พอให้ได้ บ้านเราปลูกอะไรได้ก็ปลูก แต่เราไม่ได้หวงนะ ฟักแฟงแตงกวาก็ แจกชาวบ้านแถวนี้ด้วย แรกเริ่มที่เรา มาอยู่ที่เสนานิคม 1 เข้ามาครึ่งทางก็ เห็นบ้านเราแต่ไกลแล้ว เพราะสมัยนั้นมี แต่ท้องนาทั้งหมดสุดสายตา น�้ำประปา ก็ไม่มี เราก็เป็นคนเอาเข้ามา มีเพื่อน บ้านอยู่กัน 5-6 ครอบครัว เราก็รักใคร่ กันดี เราไม่มีอะไรเขาก็มาช่วยเรา เขา ไม่มีอะไรเขาก็มาเอาที่เราได้แลกเปลี่ยน กัน เราขุดสระกว้างใหญ่ไว้ใช้น�้ำ ก็ชวน

เด็กๆ เพื่อนบ้านลงเล่นกัน ใครจะใช้น�้ำ ก็มาตักไป อยู่แบบพี่น้องเลย” คุ ณ แม่ จึ ง เป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ยิ่ ง ส�ำหรับลูกหลาน เป็นตัวอย่างของความ พอเพียง พอประมาณ รู้ใช้จ่ายอย่างมี เหตุมีผล เหมาะสมแก่ฐานะ ไปในทาง สายกลางโดยไม่เบียดเบียนใคร ในมุมมองเรื่องความรัก คุณกุ๊ก เปรียบเทียบให้เห็นว่า ความพอเพียงใน เรื่องความรักสามารถด�ำเนินไปด้วยกัน ได้ กล่าวคือ สามีของเธอ คุณพงศ์ศักดิ์ สุทธิศรีปก เป็นเพื่อนโรงเรียนราชวินิตที่ เคยได้รับทุนเรียนดีจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แต่มารู้จักกัน มากขึน้ ทีจ่ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะ คุ ณ กุ ๊ ก เป็ น น้ อ งใหม่ ที่ ค ณะครุ ศ าสตร์ ส่ ว นคุ ณ พงศ์ ศั ก ดิ์ สอบเที ย บเข้ า คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ เป็ น รุ ่ น พี่ ม าก่ อ น 1 ปี ได้ถือโอกาสมาดูหน้ารุ่นน้องซึ่งเป็น บทเริ่มต้นของความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน “สมัยเรียนไม่เคยไปเที่ยวหรือออกเดท ดร.สราณีย์ สุทธิศรีปก

38 IS AM ARE www.fosef.org


ความภาคภูมิใจของคุณพงศ์ศักดิ์ เคยได้รับทุนเรียนดีจากในหลวงรัชกาลที่ 9

39 issue 107 DECEMBER 2016


คุยด้วยกับเธอก็คงหลงรักเธอ” ช่วงที่ยังเรียนนี้ทั้งคู่แม้จะได้คบกัน แต่ก็เป็นการคบกันแบบห่างๆ ด้วยทั้งคู่ต่างก็มุ่งมั่นในการเรียนให้ ดีที่สุด และเมื่อจบจากจุฬาฯ แล้ว ก็มีช่วงเวลาที่ต่างต้องแยกย้าย กันไปท�ำงาน เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว เมื่อมีความพร้อมทั้งวัยวุฒิ และ คุณวุฒิ จึงได้มีการติดต่อกัน คบหากันมากขึ้น เพื่อเรียนรู้อุปนิสัยใจคอ ซึ่งกันและกันมากขึ้น จนกระทั่งมั่นใจว่า คนนี้แหละคือคู่ชีวิตของเรา ที่จะร่วมใช้ชีวิตกันจนแก่เฒ่า และสิ่งนี้เองก็เป็นบทพิสูจน์ได้ว่า ความ รักไม่ใช่เรื่องที่จะต้องรีบร้อน ควรรักอย่างมีสติและอดทน จะน�ำมาสู่ ความส�ำเร็จในการใช้ชีวิตคู่ บนพื้นฐานของความรักและความเข้าใจ อย่างที่คุณกุ๊กได้น�ำค�ำสอนของคุณแม่มาใช้ ครอบครัวคุณกุ๊กมีลูกชาย 2 คน คนโตก�ำลังเรียนชั้นปี 4 ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามรอยคุณพ่อ คน เล็กเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 แน่นอนว่าวิธีการ เลี้ยงก็ได้แบบอย่างมาจากคุณแม่กรรณี นั่นคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ คุณพงศ์ศักดิ์ สุทธิศรีปก ลูกๆ ด้วยการสนับสนุนและดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้เข้าเรียนใน กับใครเลย ถ้าเรามีใจชอบใครก็ได้แต่ส่งจดหมายพูดคุย สถานที่ที่ดีเหมาะสมแก่ตัวของลูกๆ และฐานะของเรา คุ ณ พงศ์ ศั ก ดิ์ พ ยายามเป็ น แบบอย่ า งให้ กั บ ลู ก ๆ โดยหวั ง กัน เหมือนการใช้ Facebook หรือ Line ในสมัยนี้ แต่ ความรักในสมัยก่อนก็ต้องใช้ระยะเวลาและความอดทน เอาไว้ลึกๆ ว่าอยากให้ลูกเป็นคนดีก็เพียงพอแล้ว “จริงๆ เราไม่ได้ มากกว่าสมัยนี้ เราจะใช้สมองมากกว่าหัวใจเล็กน้อย เคร่งครัดอะไร เราก็อยากให้เขาเป็นคนดี อะไรที่ดีเหมาะสมกับ (หัวเราะ) การจะเลือกใครสักคนเข้ามาในชีวิตมันหมาย วัยเราไม่เข้มงวด ให้เขาเลือกทางของเขา เราเน้นท�ำตนเป็นแบบ ถึงอนาคตต้องดูองค์ประกอบอื่นด้วย ไม่ใช่คุยถูกใจ...จบ อย่าง คอยติดตาม ให้ค�ำปรึกษาและข้อเสนอแนะ” ซึ่งคุณกุ๊กช่วย เขา(สามี)เรียนเก่งอย่างน้อยคนเรียนเก่งต้องมีความรับ เสริมว่า “เราพยายามเลี้ยงลูกโดยใช้แบบอย่างและบรรทัดฐานของ ผิดชอบ เพื่อนก็รัก คุณครูก็รัก ประกอบกับอุปนิสัยที่น่า สังคมในการพัฒนาเขาตามวัยและสังคม เช่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึงพอใจ รักเรา ดูแลเรา คนนี้ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ การรู้จักช่วยกันท�ำงานบ้าน การใกล้ชิดกับญาติพี่น้องทั้ง 2 ฝ่าย การอดทนไตร่ตรองหาเหตุผลในเรื่องความรักนี้ ได้น�ำ ตลอดจนการสอดแทรกในเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไปใช้แนะน�ำลูกๆ และลูกศิษย์ด้วย ไม่ชอบใจเรื่องคุณ ไว้ในการด�ำเนินชีวิตของลูกๆ เสมอ” แม่วัยใส อดห่วงลูกๆ ไม่ได้ เพราะสมัยนี้การสื่อสาร มันเร็ว ท�ำให้คนคิดเร็ว ไม่รู้จักอดทน ไม่ยับยั้งชั่งใจ ถ้า คบกับใครแล้วชีวิตต้องดีขึ้น ต้องชวนกันเรียน ชวนกัน ท�ำการบ้าน ใครชวนเหลวไหลให้เลิกเลย อย่าคบ ชีวิต จะไปไม่รอด” นี่คือความรักแบบพอเพียง รู้จักพอประมาณ มีเหตุผล บนเงื่อนไขของการใช้ความรู้ ความคิดที่รอบคอบ ในการตัดสินใจ ด้านคุณพงศ์ศักดิ์ เผยถึงการตัดสินใจเลือกคุณกุ๊ก เป็นคู่ชีวิตว่า เริ่มต้นภายใต้รั้วจามจุรี และเมื่อได้พบกัน ก็เริ่มมีความสนใจคุณกุ๊กมากขึ้น เธอเป็นคนน่ารักคุยด้วย แล้วสบายใจ และเมื่อได้คบกันไปก็ได้พบว่า “พื้นเพเขา เป็นคนที่มีจิตใจดี มีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความ หวังดีต่อทุกๆ คน ดังนั้นใครก็ตามที่ได้คบกับเธอพูด

คุณแม่ กรรณี ดุลยกนิษฐ 40

IS AM ARE www.fosef.org


“ในเรื่องที่ลูกจะไปชอบใครหรือยังไง เราจะสอน เขาเสมอว่า ต้องท�ำตัวให้เป็นสุภาพบุรุษไม่ต้องรีบร้อน จะเตือนเขาว่าถ้าไม่ได้ชอบใครจริงจังก็อย่าเพิ่งไปสนิท มาก เพราะการผูกพันกันไปเรื่อยๆ ท�ำให้ฝ่ายหญิงเข้าใจ ผิด ทั้งสองฝ่ายยังเด็กยังเรียนไม่จบ ยังต้องไปเจอโลก กว้างอีกมากและยังมีโอกาส...เปลี่ยนใจ ก็บอกเขาว่า ถ้าหนูยังไม่รู้สึกว่าหนูชอบคนนี้มากมาย ก็อย่าไปท�ำให้ ผู้หญิงเขาเสียเวลา” นี่คือภูมิคุ้มกัน ที่อยู่บนเงื่อนไขของ เหตุผลและคุณธรรมที่ถ่ายทอดสู่ลูกชาย ส�ำหรับชีวิตคู่ของคุณกุ๊กตลอดระยะเวลา 23 ปี ก็ สามารถเป็นตัวอย่างให้ลูกได้มากมายทีเดียว เมื่อถามถึง หลักในการอยู่ร่วมกัน คุณกุ๊กให้ค�ำตอบว่า “เขาเป็นคน ใจเย็นพูดน้อย คุณแม่ถามทะเลาะกันบ้างไหม (หัวเราะ) จริงๆ ก็มีเหมือนกัน แต่จะใช้วิธีเงียบ ออกห่างมานิดนึง อย่าโกรธข้ามวันข้ามคืน มันจะเป็นทิฐิ ดีกันยาก อีก อย่างหนึ่ง คือมีความเกรงใจเขาที่เขาต้องมาอยู่บ้านเรา ต้องปรับตัวเยอะ ช่วยเราดูแลซ่อมแซมบ้านช่อง ซ่อม น�้ำ ซ่อมไฟ เขาไม่เคยท�ำเลย แต่ต้องมาหัดท�ำเพื่อเรา (หัวเราะ) ก็ต้องขอบคุณเขาอย่างมาก เขาเป็น Family man ที่น่ารักมาก” ส่วนคุณพงศ์ศักดิ์มองว่า “ชีวิตคู่เมื่อเริ่มอายุมาก ขึ้นก็จะใจเย็นขึ้น ปรับตัวได้ดีขึ้น บางครั้งรู้สึกว่าเรา ไปโมโหท�ำไม คุณกุ๊กเขาเป็นอาจารย์ก็จะพูดเยอะกว่า เรา เราก็ปรับไม่พูดแข่งกับเขา เราก็จะพูดน้อยกว่า เขา ใจร้อนมา เราก็ต้องใจเย็น คือปรับเข้าหากัน ไม่เผชิญ หน้าหรือปึงปังใส่กัน” ส�ำหรับความคาดหวังในตัวลูก คุณกุ๊กมองว่าเป็น เรื่องของอนาคตซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ “เราไม่หวัง แม้กระทั่งเขาจะมาเลี้ยงเรานะ เพราะอนาคตยังมีอะไร ต้องเปลี่ยนอีกเยอะ หวังแต่ว่าให้เขาช่วยตัวเองได้ เป็น

คนดีของสังคม ประกอบอาชีพสุจริต มีครอบครัวที่ดี ด�ำรงชีวิตใน สังคมได้อย่างมีความสุข” นี่คือเรื่องราวของครอบครัวที่น่ารักอีกครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเป็น เสมือนตัวแทนของหลายๆ ครอบครัว จะเห็นว่าความพอเพียง แท้จริง แล้วเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ สมัยคุณพ่อคุณแม่เราท่าน ปฏิบัติมา กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่พอจะมีพื้นที่ภายในบ้าน เหมือนที่คุณแม่กรรณี อดทนเย็บเสื้อผ้าให้ลูกใส่ ประหยัดน�้ำ-ไฟ ใช้ ของอย่างคุ้มค่า เสื้อตัวหนึ่งซ่อมแล้วซ่อมอีก เพราะมีเหตุผลในการใช้ ของในการด�ำรงชีวิต รู้จักกาลเทศะ และเมื่อเพียงพอก็แบ่งปัน เหล่า นี้แหละเป็นความพอเพียงซึ่งเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้เห็นได้ น�ำมาปฏิบัติสืบทอดกันต่อไป หากเราอยากได้บรรยากาศแห่งความเอื้อเฟื้อของคนไทยใน อดีตกลับมา เพื่อนบ้านรักกันเหมือนญาติ สังคมไม่ปิดประตูใส่กัน เหมือนทุกวันนี้ ก็ดูจะมีอยู่หนทางเดียวก็คือการน้อมน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชมาใช้ในการด�ำเนินชีวิต ให้สมกับที่เรารักและเทิดทูน ร่วม กัน “ตามรอยพ่อ” 41

issue 107 DECEMBER 2016


ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี รัชกาลที่ ๙

ณ เมืองเชี ยงตุง ประเทศพม่า ที ม งานมู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย งมี โ อกาสไปเยื อ นเชี ย งตุ ง กั บ คณะ เจ้ า วรจั ก ร ณ เชี ย งตุ ง ท� ำ ให้ มี โ อกาสได้ ร ่ ว มงานเลี้ ย งต้ อ นรั บ อย่ า งสมเกี ย รติ ยิ่ ง จากชาวเมื อ งที่ นั่ น มี ก ารท� ำ บุ ญ ร่ ว มกั น ตาม พิ ธี โ บราณ สวดมนต์ ปล่ อ ยโคมที่ ส ร้ า งพิ เ ศษเป็ น รู ป ช้ า งใหญ่ ก ว่ า ขนาดจริ ง ขึ้ น สู ่ ท ้ อ งฟ้ า ชาว เชี ย งตุ ง หมู ่ บ ้ า นใกล้ เ คี ย งแห่ กั น มาต้ อ นรั บ และช่ ว ยงานกั น มากมาย

42 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

43 issue 107 DECEMBER 2016


โบสถ์ ชูพระฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ข้าพเจ้าถาม เอาจากพรทิพย์ซึ่งเป็นไกด์ชาวเชียงตุง ได้รับค�ำตอบว่า เธอ รักและชื่นชมในการช่วยเหลือผู้อื่นของพระองค์ท่านเช่นคน อื่นๆ โครงการเกี่ยวกับน�้ำของพระองค์ถูกน�ำมาปรับใช้ในพื้นที่ การเกษตรของเชียงตุงด้วย การชูพระฉายาลักษณ์ในเวลานี้ จึงบอกอะไรได้มากกว่าค�ำพูด เป็นสัญลักษณ์ต้อนรับที่อบอุ่น แสดงถึงความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทั้งของชาวเชียงตุง และคณะผู้มาเยือน “รู้สึกใจหายนะคะ ได้เห็นในทีวี วันที่สิบสามบ้านพร ทิพย์เงียบหมดเลย ไม่รู้ท�ำไมเหมือนกัน พูดไม่ออกเลยค่ะ พร ทิพย์เสียดาย โครงการของท่านดีดีทั้งนั้นนะคะ” บางค�ำของ ไกด์เชียงตุง ท�ำให้เรากลับมาดูตัวเองอีกที ว่าเข้าใจโครงการอะไร บ้าง มากกว่าคนที่นี่ หรือไม่เข้าใจเลยกันแน่ แต่อย่างไรก็รู้สึกสุข ที่รู้ว่าคนแดนไกลมีความรู้สึกดีต่อไทย “คนไทยโชคดีมากค่ะ” พรทิพย์กล่าว “คนเชียงตุงไม่ชอบแอร์ อากาศยังไงก็อยู่อย่างนั้น ถ้า ร้อนจริงๆ ก็เปิดพัดลมค่ะ” พรทิพย์พูดขณะพาคณะท่องเที่ยว ในที่ต่างๆ รอบตัวเมือง ที่ว่าไม่ชอบแอร์ก็จริงอยู่ เชียงตุงเทือกเขาล้อมหนาว เย็นตลอดปี อีกอย่างแอร์ใช้ก�ำลังไฟเยอะ ไฟที่นี่ต้องปั่นใช้เอา ไม่ว่าโรงแรมหรือร้านค้า ไฟส่วนกลางก็มีแต่จะดับเมื่อไหร่ไม่มี

สาวๆ บ้านไหนสวยงามก็ขนกันมาฟ้อนบนเวที เครื่อง ปั่นไฟถูกสตาร์ท บรรเลงเพลงร�ำวงพื้นบ้านเชียงตุงบ้าง เพลง ไทยบ้าง อาหารพื้นเมืองท้องถิ่นเมนูแปลกๆ วางเรียงเป็นบุพเฟ่ ชาวบ้านบางส่วนกอไฟต้มน�้ำยาท�ำขนมจีนและ “ต้มเส้น” แจก กันอย่างเอร็ดอร่อย วัดดอยหลวงกลายเป็นงานประจ�ำปีใน พริบตา ส�ำหรับ เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง เป็นบุตรของเจ้าฟ้าสิริ สุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) กับเจ้าทิพ วรรณ ณ เชียงตุง ส�ำเร็จการศึกษาชัน้ มัธยมจาก วชิราวุธวิทยาลัย และได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เจ้าวรจักรเคย รับราชการเป็นอาจารย์ประจ�ำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตรขึ้น และ ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เจ้ า วรจั ก ร มี บ ทบาทในฐานะเจ้ า นายฝ่ า ยเหนื อ สาย เชียงตุง และเป็นกรรมการมูลนิธินวราชด�ำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ในหลวงหัวรัชกาล 9 มีพระราชด�ำริให้จัดตั้งขึ้น เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของฝ่ายเหนือ ต่อมาเจ้าวรจักร ได้รับ หน้าที่เป็นรองประธานมูลนิธินวราชด�ำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ภาย หลังการถึงแก่อนิจกรรมของคุณหญิง เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล หนึ่งในไฮไลท์ก่อนงานเลี้ยงต้อนรับเริ่มขึ้น ชาวบ้านและ ผู้น�ำหมู่บ้านกว่าร้อยชีวิตรวมถึงเจ้าวรจักรต่างมารวมตัวกันหน้า 44

IS AM ARE www.fosef.org


ใครรู้ ต้องพร้อม “นั่งรถแอร์ไม่ได้นะคะ จะอ้วกเลย ต้องเปิดหน้าต่างค่ะ” พรทิพย์รู้ดีว่าเชียงตุงและไทยใหญ่มาถึงวันนี้ เพราะอะไร ระบบเจ้าฟ้าและภาษาเขียนของตนเอง สูญหายไปได้ยังไง แต่เธอไม่อาจพูดถึงความจริงเหล่า นั้นให้ลูกทัวร์ฟังได้ ด้วยเหตุผลความมั่นคงระดับ ประเทศที่ปกครองเธออยู่ “อย่าแอบนินทานะคะ” พรทิพย์ท�ำตาค้อน “คนที่นี่ฟังรู้เรื่อง แต่เขาไม่ค่อยกล้าพูดไทย เหมือน แกล้งพูดไม่เป็น” เธอข�ำยิ้มสุดมุมปาก พรทิพย์ก็คล้ายคนเชียงตุงทั่วไป ที่รู้ความ เคลื่ อ นไหวมากมายจากที วี ไ ทย ดู จ นพู ด และฟั ง ภาษาไทยได้โดยไม่ต้องเรียน แต่อ่านเขียนไม่ได้ เธอ ถนั ด ภาษาอั ง กฤษมากกว่ า เพราะเรี ย นโดยตรงใน มหาวิทยาลัยเชียงตุง

เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง หนุ่มสาวส่วนใหญ่มองว่าการศึกษาเป็นเพียงใบปริญญา ที่เสียเวลา ถึงเรียนไปทุกคนก็ต้องท�ำงานหาเลี้ยงชีพเท่าเทียมกัน อยู่ดี ไม่ใช่จบอันนี้แล้วท�ำงานนี้ เงินเดือนเท่านี้เหมือนไทย ไม่มี อะไรรองรับในประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอนด้านความมั่นคง และเชื้อชาติ อาชีพที่ท�ำได้คือไกด์ท่องเที่ยว ซึ่งมักจะชักชวน กันมาท�ำ ส�ำหรับนักศึกษาเชียงตุงที่แข็งแรงภาษาอังกฤษ นี่ เป็นใบเบิกทางที่จะพาตัวเองสู่โลกกว้างสร้างตัวสร้างอาชีพอีก ระดับได้ น่าจะจริงอย่างที่เธอว่า เธอไม่ใช่พม่า ไม่ใช่ไทย แต่ให้ เทียบชั่งดูแล้ว เธอยอมรับว่าส่วนผสมเชิงอิทธิพลคือไทย 70% พม่า 30% แต่ด้านศาสนาพุทธค่อนข้างเข้มข้น วัดเป็นเสมือน ทุกสิ่งทุกอย่างส�ำหรับสิ่งส�ำคัญในชีวิตพรทิพย์ ตั้งแต่จ�ำความ ได้ เติบโต พบชายที่ชอบ เด็กผู้ชายต้องบวชทุกคนไม่ต้องรอถึง อายุยี่สิบ หนุ่มสาวหลายคนก็พบรักกันที่วัด แต่ไม่ใช่การแตะ เนื้อต้องตัวขนาดใช้ค�ำว่า “สวีท” ศีลห้าต่างหาก สิ่งสูงสุดใน การด�ำรงชีวิตที่เธอถูกปลูกฝังให้ระลึกถึง เธอรู้ดีว่าเธอเป็นใคร ข้าพเจ้าพยายามหว่านล้อมว่า เธอคือ “คนไทย” ที่แยกจากกันสมัยเจงกีสข่านไล่ตี แต่เธอ ไม่เออออด้วย เช่นเดียวกับการแต่งกายของเธอซึ่งไม่ไปทางใด นอกจากตนเอง ไม่ปะแป้งอย่างพม่า ไม่น้อมน�ำค่านิยมต่าง ชาติมาประทินโฉม ข้าพเจ้าต่างหากที่ยังนุ่งกางเกงยีนส์ หมวก เสื้อ รองเท้า ล้วนน�ำเข้าจากค่านิยมผู้อื่นทั้งสิ้น ท�ำให้คิดว่าคน เชียงตุงไม่ได้ล้าหลัง หากแข็งแกร่งในตัวตนและวัฒนธรรมของ ตนเอง น่าชื่นชมอย่างยิ่ง 45

issue 107 DECEMBER 2016


เจ้าโสภาวดี ศาลยาชีวิน (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) (หญิงคนกลาง), เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง (ชายคนขวา) 46 IS AM ARE www.fosef.org


“เชียงตุง” หรือ “นครเขมรัฐ” เป็นเมืองส�ำคัญอันดับ ต้นๆ ของเมืองไตในอดีต ปัจจุบันคือเมืองท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ รัฐฉาน โดยเฉพาะชาวไทยที่แห่กันไปเที่ยวหลังจากมีละครอิง ประวัติศาสตร์เชียงตุงเผยแพร่ในโทรทัศน์ ในอดีตเชียงตุงมีความ เจริญมาก มีเมืองบริวารหลายสิบเมือง สมัยที่เจ้าฟ้ารัตนะก้อน แก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลงเป็นเจ้าฟ้าครองเมืองคือช่วงที่ เชียงตุงเรียกได้ว่ารุ่งเรืองถึงขีดสุด และในช่วงนี้เองที่มีการสร้าง หอหลวงเชียงตุงซึ่งมีความงดงามใหญ่โตและมีชื่อเสียงที่สุดแห่ง หนึ่งในบรรดาหอหลวงทั้งหลายในเมืองไต ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลพม่าได้ปรับเปลี่ยน “หอ หลวงเชียงตุง” ให้กลายเป็น “โรงแรมนิวเชียงตุง” จนถึง ปัจจุบัน ในอดีต ดินแดนไทยใหญ่ หรือ เมืองไต มีอาณาเขตที่ กว้างใหญ่ไพศาล แบ่งเป็น 33 เมือง แต่ละเมืองปกครองด้วย เจ้าฟ้ารวมทั้งหมด 33 พระองค์ ซึ่งระบบเจ้าฟ้ามีความผูกพันกับ ผู้คนในเมืองไตมาช้านาน เจ้าฟ้าส�ำหรับผู้คนในเวลานั้นเปรียบ เสมื อ นเจ้ า ชี วิ ต และได้ รั บ การยกย่ อ งให้ อ ยู ่ เ หนื อ ประชาชน ธรรมดา หอหลวง หรือ พระราชวังของเจ้าฟ้าผู้ครองเมืองจึง เปรียบเสมือนสถานที่อันทรงคุณค่า เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของ เจ้าฟ้า และรากฐานวัฒนธรรมไทยใหญ่ หอหลวงส�ำคัญของ ไทยใหญ่นั่นคือ “หอหลงเชียงตุง” วังเก่าเจ้าฟ้าที่เหลือเพียง ความทรงจ�ำ เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ผู้สร้างหอหลวงเชียงตุง

หอหลวงเมืองเชียงตุง เมืองเชียงตุง มีระยะทาง 168 กิโลเมตรจากชายแดน อ�ำเภอแม่สาย สภาพถนนลาดยางตะปุ่มตะป�่ำและคดเคี้ยว ขนานกับสายน�้ำเชี่ยวกราก โอบล้อมด้วยขุนเขาและนาขั้นบันได เขียวชะอุ่ม การเดินทางไปยังเมือง “เชียงตุง” หากเดินทางด้วย รถยนต์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

โรงแรมนิวเชียงตุง

47 issue 107 DECEMBER 2016


ดร.ไสว บุญมา คนไทยในอเมริกา

รายงานจากบ้านนอกคอกนา เมื่ อ วั น ที่ 11 พฤศจิ ก ายนที่ ผ ่ า นมา กลุ ่ ม โรงเรี ย นรั ฐ บาลในอ� ำ เภอบ้ า นนา จั ง หวั ด นครนายก รวมตั ว กั น อย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการจั ด งานประกวดนั ก อ่ า นบ้ า นนาครั้ ง ที่ 11 และนั ก เขี ย นบ้ า นนาครั้ ง ที่ 3 (น� ำ ร่ อ ง) การประกวดนี้ เ ป็ น กิ จ กรรมประจ� ำ ปี ที่ ไ ด้ รั บ การ สนั บ สนุ น จากมู ล นิ ธิ นั ก อ่ า นบ้ า นนาและกั ล ยาณมิ ต รโดยปี นี้ โ รงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยา 73 (วั ด บ้ า นพร้ า ว) รั บ จั ด งาน ตามธรรมดางานจะใช้ เ วลาสองวั น แต่ ป ี นี้ ฝ ่ า ยโรงเรี ย นต้ อ งการ ทดลองจั ด ในรู ป แบบใหม่ โ ดยให้ เ สร็ จ สิ้ น ภายในวั น เดี ย วเพื่ อ ลดทั้ ง เวลา ค่ า ใช้ จ ่ า ยและ แรงงาน ผลปรากฏว่ า ท� ำ ได้ ต ามเป้ า หมายที่ ต้ั ง ไว้ แ ต่ ต อนต้ น ผลของการจั ด งานยื น ยั น อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ว่ า เด็ ก ๆ ที่ เ กิ ด ในท้ อ งทุ ่ ง นาจะไม่ น ้ อ ยหน้ า ใครหากได้ รั บ โอกาส การชี้ น� ำ ที่ ดี แ ละการสนั บ สนุ น อย่ า งเต็ ม ที่ จ ากผู ้ ใ หญ่ 48 IS AM ARE www.fosef.org


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้

(เวทีการประกวด)

(นักเรียนโรงเรียนวัดแหลมไม้ย้อยน�ำจักรยานล้อเดียว เข้าสู่เวทีการแสดง)

โครงการนี้มีที่มาจากชาวบ้านนาซึ่งไปท�ำมาหากินใน ท้องถิ่นห่างไกลปรารถนาจะหาทางทดแทนคุณแผ่นดิน การ ปรึ ก ษาหารื อ กั น ได้ ม ติ ว ่ า เราจะช่ ว ยกั น สนั บ สนุ น การศึ ก ษา ของเยาวชนในย่ า นบ้ า นเกิ ด ผ่ า นการส่ ง เสริ ม การอ่ า นเป็ น หลักเนื่องจากเราเชื่อว่า การอ่านยังมีความส�ำคัญยิ่งในยุคที่ เทคโนโลยีใหม่ท�ำให้โลกเปลี่ยนไปจนดูเสมือนว่าไร้พรมแดน แล้ว โครงการครอบคลุมโรงเรียนรัฐบาลในเขตอ�ำเภอบ้านนา ทั้ง 38 แห่ง เริ่มด้วยการประกวดนักอ่านในระดับชั้นประถมซึ่ง มีโรงเรียนรัฐบาลอยู่ในข่าย 35 แห่งที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ห้อมล้อมด้วยทุ่งนา หรืออยู่ไม่ห่างทุ่งนาและนักเรียนส่วนใหญ่ อาศั ย อยู ่ ใ นหมู่บ ้านกลางทุ่งนามากกว่าในเขตเทศบาลเมื อ ง บ้านนา การสนับสนุนท�ำผ่านมูลนิธินักอ่านบ้านนาซึ่งมีเว็บไซต์ แนววิทยาทานอยู่ที่ www.bannareader.com หลังจากโครงการนี้ด�ำเนินไปได้ระยะหนึ่ง เราเริ่มได้รับ การสนับสนุนจากกัลยาณมิตรที่ไม่มีพื้นเพเป็นชาวบ้านนามา ก่อน การสนับสนุนแตกออกไปในหลายด้าน เช่น การสนับสนุน ให้มีการประกวดการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมต้น การส่งเสริมให้นักเรียนเล่นลูกรูบิคซึ่งตอนนี้พัฒนาไปจนกลาย เป็นกีฬานักเรียนของโรงเรียนชั้นประถมในอ�ำเภอบ้านนาแล้ว การสนับสนุนให้รื้อฟื้นการขี่จักรยานล้อเดียวซึ่งเกือบจะสูญหาย ไปเมื่อโรงเรียนที่มีกิจกรรมนี้ถูกยุบ ณ วันนี้ มีกิจกรรมขี่จักรยาน ล้อเดียวอย่างมั่นคง ณ โรงเรียนวัดแหลมไม้ย้อยซึ่งน�ำนักเรียนไป แสดงการขี่จักรยานล้อเดียวให้ชมกันในงานด้วย นอกจากจะเป็นศูนย์การรื้อฟื้นการขี่จักรยานล้อเดียวใน โรงเรียนซึ่งให้ประโยชน์มากมายแก่เด็กแล้ว โรงเรียนวัดแหลมไม้ ย้อยยังเป็นศูนย์การพัฒนาสวนครัวอินทรีย์ในพื้นที่หลังอาคาร เรียนที่โครงการของเราสนับสนุนอีกด้วย โครงการนี้ได้ชี้ให้เด็ก ๆ

(และหวังว่าผู้ใหญ่ด้วย) เห็นแล้วว่า สารเคมีโดยเฉพาะยาฆ่า หญ้าที่ใช้อยู่ในทุ่งนารอบโรงเรียนนั้นท�ำลายแม้แต่ไส้เดือนและ มะละกอต้นค่อนข้างใหญ่ในสวนครัว เป้าหมายต่อไปได้แก่การ เผยแพร่ความคิดที่ว่า เมื่อใช้สารเคมีมากจนไส้เดือนตายไปจาก พื้นดิน ยากที่การเกษตรและสังคมไทยจะอยู่ได้

(ส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นท�ำสวนครัวขนาดใหญ่) ในงานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน โรงเรียน 31 แห่งส่ง นักเรียนชั้นประถมเข้าประกวดการอ่านซึ่งแต่ละแห่งส่งนักเรียน ที่อ่านเก่งที่สุด 1 คนเข้าประกวด หนังสือที่เราก�ำหนดให้นักเรียน อ่านได้แก่เรื่อง “บ้านไม้ชายคลอง” ของจันทรา รัศมีทอง ซึ่งได้ รับรางวัลรองชนะเลิศ แว่นแก้ว ประจ�ำปี 2553 นักเรียนที่เข้า ประกวดต้องผ่านการท�ำข้อสอบในตอนเช้าของวันประกวดก่อน ได้รับคัดเลือกให้น�ำเสนอแก่นของเนื้อเรื่องบนเวทีและสัมภาษณ์ เชิงลึกกับคณะกรรมการ ผู้ชนะและผู้เข้าประกวดทุกคนได้รับ 49

issue 107 DECEMBER 2016


(เด็กหญิงวนัฐพร เลิศณรงค์ อ่านเรียงความชนะเลิศ) แก้วเบญจธาราม เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าผู้ชนะเลิศเขียน เรียงความได้ดีเป็นพิเศษ (ภาพ) จึงเชิญเธอให้ขึ้นอ่านเรียงความ นั้นบนเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานฟังอย่างทั่วถึงกัน จากเสียงปรบมือที่ ตามมา เราอนุมาณได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผู้ฟังพอใจมาก เป็นที่น่าสังเกตว่านักเรียนที่ชนะเลิศทั้งการอ่านและ การเขี ย นมาจากโรงเรี ย นวั ด บ้ า นพริ ก ซึ่ ง เป็ น โรงเรี ย นขยาย โอกาสจากระดั บชั้ น ประถมถึ ง ชั้ น มั ธ ยมต้ น นั บเป็ น ครั้ ง แรก (ผู้เข้ารอบสุดท้ายการประกวดนักอ่านและประธานกรรมการ ที่ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจทั้งนี้เพราะ ประกวดนายสมศักดิ์ ช�ำนาญกิจ) นักเรียนของโรงเรียนวัดบ้านพริกมักได้รับรางวัลระดับต้น ๆ รางวัลเป็นทุนการศึกษาในจ�ำนวนลดหลั่นกันไปจาก 10,000 เสมอ หลั ง จากได้ สั ง เกตและพู ด คุ ย กั บ ครู แ ละผู ้ อ� ำ นวยการ โรงเรียนในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผมสรุปคร่าว ๆ ได้ว่า บาทถึง 500 บาท ในการประกวดปี นี้ มี นั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ คั ด เลื อ กให้ น� ำ โรงเรี ย นวั ด บ้ า นพริ ก มั ก กวาดรางวั ล ด้ ว ยปั จ จั ย 3 ประการ เสนอแก่นของเนื้อเรื่องของหนังสือบนเวทีและสัมภาษณ์เชิง คือ ประการแรก ผู้บริหารใส่ใจในด้านการเรียนการสอนภาษา ลึกโดยคณะกรรมการรวม 8 คน ผลของการประกวดออกมา ไทยอย่างแท้จริงและให้โอกาสแก่ครูและนักเรียนเตรียมตัวเข้า ดังในตาราง (ด.ญ. กมลรัตน์ บุญประกอบ ยืนชิดครูสมศักดิ์ใน แข่งขันอย่างเพียงพอ ประการที่สอง โรงเรียนมีครูที่เรียนเอก ภาษาไทยหลายคนซึ่งใส่ใจในการอ่านและการเรียนการสอน ภาพต่อไป) ส� ำ หรั บ การประกวดนั ก เขี ย นของชั้ น มั ธ ยมต้ น คณะ พร้อมทั้งยังแนะน�ำนักเรียนเกี่ยวกับการแข่งขันอย่างใกล้ชิดอีก กรรมการก�ำหนดรางวัลทุนการศึกษาให้ทุกคนจาก 3,000 บาท ด้วย และประการสุดท้าย นักเรียนมีความปราดเปรื่องเบื้อง ลดหลั่นกันลงมาถึง 500 บาท ปีนี้โรงเรียน 7 ใน 9 แห่งที่สอนถึง ต้นสูงและเอาใจใส่ในการเรียนภาษาไทยมากกว่าผู้อื่นในรุ่น ชั้นมัธยมส่งเข้าประกวดแห่งละ 1 คน คณะกรรมการก�ำหนดให้ เดียวกัน หลังจากคลุกคลีกับโครงการนี้และนักเรียนในท้องทุ่งนา นักเรียนเขียนเรียงความให้เสร็จภายในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งในตอน เช้าเมื่อนักเรียนเข้าห้องประกวดแล้วโดยนักเรียนไม่รู้มาก่อนว่า มานานเสริมด้วยผลของการจัดงานประกวดนักอ่านบ้านนาและ นักเขียนบ้านนาที่เพิ่งจบลงหมาด ๆ ผมสรุปได้ง่าย ๆ ว่า ไม่ว่า คณะกรรมการจะให้เขียนเรื่อง “ในหลวงรัชกาลที่ ๙” ผลปรากฏว่า เด็กหญิงวนัฐพร เลิศณรงค์ นักเรียนชั้น ม. เด็กจะเกิดและเติบโตที่ไหนรวมทั้งในบ้านนอกคอกนา พวกเขา 2 ของโรงเรียนวัดบ้านพริกชนะเลิศ ตามด้วยเด็กหญิงภัทรลดา จะสามารถท�ำอะไร ๆ ได้ไม่ต่างกันหากผู้ใหญ่ให้โอกาสแก่พวก สุขชม นักเรียนชั้น ม. 3 ของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” เขาเท่า ๆ กัน ชี้น�ำพวกเขาไปในทางที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีและ และเด็กหญิงนาตยา วิเศษ นักเรียนชั้น ม. 2 ของโรงเรียนวัดโพธิ สนับสนุนพวกเขาอย่างเต็มที่ในด้านที่พวกเขาสนใจ 50 IS AM ARE www.fosef.org


51 issue 107 DECEMBER 2016


52 IS AM ARE www.fosef.org


พระมหาธาตุ เ จดี ย ์ ภั ก ดี ป ระกาศ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคี รี ขั น ธ์

พระมหาธาตุ เ จดี ย ์ แ ห่ ง ในหลวง รั ช กาลที่ 9 ยิ่ ง ใหญ่ ส วยงามสง่ า สมพระเกี ย รติ

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ภายในวัดทางสาย ใกล้กับหาดบ้านกรูด ต�ำบลธงชัย อ�ำเภอ บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระมหาธาตุเจดีย์ ที่ คณะสงฆ์วัดทางสาย ประชาชนชาวไทยทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกันสร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี โดยความพิ เ ศษของพระมหาธาตุ เจดี ย ์ ภั ก ดี ป ระกาศ คือ มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามวิจิตรตระการตาการออกแบบ ทั้งภายในและภายนอกมีความละเอียดและวิจิตรบรรจง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้ า ฯให้ ห ม่ อ มราชวงศ์ มิ ต รารุ ณ เกษมศรี นายช่ า ง สถาปนิ ก ประจ� ำ ส� ำ นั ก พระราชวั ง เป็ น ผู ้ อ อกแบบ จึ ง ท� ำ ให้

พระมหาธาตุ เจดี ย ์ ภั ก ดี ป ระกาศมี ส ถาปั ต ยกรรมไทยแบบ กรุงรัตนโกสินทร์ สวยโดดเด่นไม่เหมือนใคร พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ มีลักษณะเป็นอาคาร หลังเดียวขนาดใหญ่ อยู่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ ฐานอาคารเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 50 เมตร สูง 50 เมตร หมายถึงการ ครองราชย์ครบ 50 ปีของในหลวง รัชกาลที่ 9 อาคารนี้ประกอบ ด้วยหมู่เจดีย์ 9 องค์ ซึ่งก็หมายถึง รัชกาลที่ 9 ด้วยเช่นกัน จะ มีเจดีย์ประธานองค์ใหญ่รูปทรงกลมอยู่ตรงกลาง ภายในบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุวางในบุษบกใต้โดมของอาคาร โดยมีเจดีย์ รายล้อมอยู่ 4 ทิศ ทั้งหมด 8 องค์ ซึ่งเจดีย์ทั้ง 8 องค์นี้ มีศิลปะ ทรงลังกา และการออกแบบพระมหาธาตุเจดีย์แห่งนี้ยังมีแนวคิด แปลกใหม่ ด้วยการรวมอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญมา ไว้ในอาคารเดียวกัน 53

issue 107 DECEMBER 2016


บทเรียนชี วิตจริง : น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 2 NEW GEN น�้ำใจคลอน�้ำตา

ทูตความดีนครศรีธรรมราช ครอบครัวพอเพียง อยู่ด้วยความรัก 100 % อิคคิวซังเณรน้อยเจ้าปัญญาใช้วิธีการนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา แก้ไข สถานการณ์ไปได้ทุกครั้ง เรามาใช้สมอง นั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาใช้สื่ออินเทอร์เน็ตจากมือถือ มารอบรู้ เรื่อง“น�้ำ” กันคะ น�้ำพระหฤทัยของในหลวง น�้ำเพื่อคนไทย น�้ำคือชีวิต พ่อหลวง บอกว่า น�้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้น ยังมีอยู่ เพียงแต่ต้อง บริหารให้ดี ถ้าบริหารดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว ไปแยกแยะตัวเลข เหมือน ที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น�้ำในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่ง ส่วนหมื่นของน�้ำที่มีอยู่ ต้องบริหารให้ดี หลักส�ำคัญว่าต้องมี น�้ำบริโภค น�้ำใช้ น�้ำ เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่า ถ้ามีน�้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน�้ำ คนอยู่ไม่ได้ และพ่อหลวง ท่านทรงแนะวิธีให้แยก น�้ำ 3 รส น�้ำเค็ม น�้ำกร่อย น�้ำจืด ออก จากกัน จุดเริ่มต้นของระบบชลประทานในโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน�้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ประกอบด้วยเส้น ทางน�้ำ 3 สาย ได้แก่ คลองชะอวดต้นก�ำเนิดน�้ำจากเทือกเขา และป่าพรุควนเคร็ง คลองการะเกด รับน�้ำส่วนหนึ่งไปออกอ่าว ไทยที่แม่น�้ำปากพนัง และคลองชะอวด-แพรกเมือง คลองรับ และระบายน�้ำเปรี้ยวจากพรุควนเคร็ง พ่ อ หลวงบอกว่ า “ฉั น ท้ อ ไม่ ไ ด้ เดิ ม พั น ของฉั น คื อ บ้ า นเมื อ ง คื อ ความสุ ข ของคนไทย” น�้ ำ พระหฤทั ย ยิ่ ง ใหญ่ เหตุ ผ ลของพ่ อ หลวงมี ข ้ อ เดี ย ว พ่ อ หลวง ...รั ก และห่ ว งประชาชน น�้ำ เป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี คือ H2O มีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน 1 : 8 โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส ทีมจรวดขวดน�้ำ ต้องเติมน�้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อ ใช้น�้ำเป็นแรงผลักดันให้จรวดขวดน�้ำเคลื่อนที่ไป โดราเอมอน หรือ โดเรม่อน โดราจัง โดราม่อน โดราเอ ม่อน แมวจอมยุ่ง ที่มีน้องสาว ชื่อว่า โดเรมี่ ซึ่งเดิมโดราเอมอน 54 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่ า เรื่ อ ง มีสีเหลือง และมีหู แต่โดนหนูแทะใบหูจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง โนราเมียโกะ แฟนสาวของโดราเอมอนหัวเราะล้อเลียน โดราเอมอน เสียใจมาก แก้ปัญหาโดยการดื่มยาเสริมก�ำลัง แต่ขาด ความรอบคอบ หยิบยาผิด ดื่มยาโศกเศร้าแทน ร้องไห้ 3 วัน 3 คืน สีลอก กลายเป็นสีฟ้า แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นส�ำคัญ โดเรม่อน มีสิ่งของอยู่ ในกระเป๋าด้านหน้า เยอะมาก สามารถเลือกหยิบใช้ได้ตลอด เราเองก็ต้อง หมั่นเรียนรู้ เก็บสิ่งดีใส่กล่อง ใส่ลัง ให้พร้อมที่จะหยิบใช้ได้ตลอดเวลา ใช้ เพื่อตนเอง เพื่อส่วนร่วม เลือกมอบสิ่งของในลัง มอบแต่สิ่งดี ให้ด้วยใจ ให้ ด้วยความรัก วันที่ 26 กันยายน 2559 จรวดขวดน�้ำสู่สังคมเพื่อน้องๆโรงเรียน บ้านคลองแคว อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช พ่อหลวง..แนะให้รอบรู้ข่าวสาร ไม่เป็นน�้ำเต็มแก้ว Search and Use ใช้ทุกช่องสื่อทุกปราชญ์ ครูแนะน�ำคลังความรู้ น้องๆ หนูๆเรียนรู้ให้ รอบรู้รอบด้าน สร้างสรรค์ชิ้นงานใส่ลัง ใส่กล่อง พร้อมหยิบใช้ ใช้เพื่อตน มอบเพื่อสังคม Independent Study for All… พ่ อ หลวง บอกว่ า น�้ ำ ในประเทศไทยที่ ไ หลเวี ย นนั้ น ยั ง มี อ ยู ่ เพี ย งแต่ ต ้ อ งบริ ห ารให้ ดี ถ้ า บริ ห ารดี แ ล้ ว มี เ หลื อ เฟื อ มี ตั ว เลขแล้ ว ไปแยกแยะตั ว เลข เหมื อ น ที่ ไ ด้ แ ยกแยะตั ว เลขของคาร์ บ อน น�้ ำ ในโลกมี ม าก แล้ ว ที่ ใ ช้ จ ริ ง ๆ มั น เป็ น เศษหนึ่ ง ส่ ว นหมื่ น ของน�้ ำ ที่ มี อยู ่ ต้ อ งบริ ห ารให้ ดี อย่างเช่น การรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ณ ช่วงที่ประเทศไทยเกิดภาวะขาดน�้ำ พ่อหลวงทรงแนะให้บริหาร จัดการน�้ำ เพื่อ กักเก็บน�้ำ กันภัยแล้ง เก็บน�้ำเพื่อป้องกันปัญหา น�้ำท่วม โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ 1) ส่วนยอดเขาลงมาสู่ กลางเขา 2) กลางเขาลงมาถึงเชิงเขา 3) พื้นที่ไร่นา และ 4) พื้นที่น�้ำเสีย

55 issue 107 DECEMBER 2016


พื้นที่ส่วนยอดเขาลงมาสู่กลางเขา จะเป็นพื้นที่อนุรักษ์ คือ อนุรักษ์น�้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน โดยการสร้างฝาย ต้นน�้ำล�ำธาร เพื่อช่วยชะลอความเร็วของน�้ำ ป้องกันการชะล้าง พังทลายของหน้าดิน และที่ส�ำคัญ เมื่อผืนดินชุ่มชื้นแล้ว พืชพันธุ์ ต้นไม้ต่างๆ ก็จะเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนที่สอง พื้นที่กลางเขาลงมาถึงเชิงเขา จะเป็นเขต ป่าเศรษฐกิจ เพื่อปลูกต้นไม้เศรษฐกิจหรือพืชพันธุ์ที่สามารถใช้ ประโยชน์ได้ ที่ทรงเรียกว่า ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ เพื่อรองรับน�้ำฝน ได้ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์ พออยู่ หมายถึง ปลูกไม้เศรษฐกิจ ปลูกไว้ท�ำที่อยู่อาศัย และ จ�ำหน่าย พอกิน หมายถึง ปลูกไม้กินได้ เพื่อการกิน และปลูก พืชสมุนไพร เพื่อการรักษา พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้สอย เพื่อเป็น ใช้สอยโดยตรง หรือพลังงาน ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้าง ความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ น�้ำจากฝนหลวง พ่อทรงให้น�้ำ น�้ำเพื่อดับความแห้งแล้ง ของผืนดิน เพื่อดับความทุกข์ยากของประชาชน น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ร้อยสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจช่วยกันรักษาน�้ำ ไม่ใช่เพื่อใคร ที่ไหน แต่เพื่อโลกที่เราอาศัยอยู่ เพื่อตัวเราและลูกหลานของเรา เพื่อให้มีน�้ำ น�้ำเพื่อชีวิต น�้ำจากฝนหลวง เกิดจากน�้ำพระหฤทัย ของในหลวง

จะขอตามรอยของพ่ อ สอนศิ ษ ย์ ใ ห้ เ พี ย งและพอให้ ตรึ ง จากหั ว ใจ ให้ เ ป็ น ลู ก ที่ ดี ข องพ่ อ ด้ ว ยความรั ก ด้ ว ยความภั ก ดี จะสื บ สานและติ ด ตาม จากรอยที่ พ่ อ ตั้ ง ใจ เหงื่ อ เราจะเทไป จากหั ว ใจ จะช่ ว ยกั น สาน ต่ อ งานที่ พ ่ อ สร้ า งไว้ จะร่ ว มกั น สร้ า งความดี ด้ ว ย ใจและกาย ชาวกั ล ยาณี จึ ง ชวนกั น สร้ า งฝายชะลอน�้ ำ เป็ น หนึ่ ง ในกิ จ กรรมที่ บู ร ณาการกั บ กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมและ สาธารณประโยชน์ เราไปท�ำกิจกรรมกันด้วยความสุข เพื่อกัลฯ และกัน ส่วนที่สาม พื้นที่ไร่นา ทรงให้สร้างเขื่อนเพื่อรองรับน�้ำ ฝนที่ตกใหม่และน�้ำที่ไหลมาจากยอดเขา เพื่อเป็นน�้ำส�ำรอง ส�ำหรับการปลูกข้าว หรือพืชพันธุ์ต่างๆ การสร้างเขื่อนเก็บ น�้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรน�้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ปล่อยให้น�้ำดีไหลลง คลอง หรือทะเลโดยเปล่าประโยชน์ ทรงแนะน�ำให้เกษตรกรที่ มีที่ดินไม่มากให้ท�ำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ควบคู่ไปกับการ บริหารจัดการน�้ำให้พอเพียงและสมดุลกับพืชที่ปลูก พื้นที่สุดท้าย จากพื้นที่ยอดเขาลงสู่พื้นที่ราบ เราใช้ ทรัพยากรน�้ำกันอย่างมากมายมหาศาล สิ่งที่ตามมาจากการ 56

IS AM ARE www.fosef.org


ใช้ คือ น�้ำเสีย น�้ำที่ไม่สามารถใช้การใดๆ พ่อหลวงทรงคิดหา แนวทางการบ�ำบัดน�้ำเสียให้กลับสภาพเป็นน�้ำดีโดยวิธีธรรมชาติ น�้ำดีไล่น�้ำเสีย ก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเล น�้ำจากฝนหลวง พ่อทรงให้น�้ำ น�้ำเพื่อดับความแห้งแล้ง ของผืนดิน เพื่อดับความทุกข์ยากของประชาชน น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ร้อยสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจช่วยกันรักษาน�้ำ ไม่ใช่เพื่อใคร ที่ไหน แต่เพื่อโลกที่เราอาศัยอยู่ เพื่อตัวเราและลูกหลานของเรา เพื่อให้มีน�้ำ น�้ำเพื่อชีวิต น�้ำจากฝนหลวง เกิดจากน�้ำพระหฤทัย ของในหลวง ชาวกั ล ยาณี จึ ง ชวนกั น สร้ า งฝายชะลอน�้ ำ เป็ น หนึ่ ง ในกิ จ กรรมที่ บู ร ณาการกั บ กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมและ สาธารณประโยชน์ เราไปท�ำกิจกรรมกันด้วยความสุข เพื่อกัลฯ พระทรงชั ย ใดจะโศก.. เท่ า ไทย.. และกัน สิ้ น ใบบุ ญ “ พ ร ะ เจ ้ า อ ยู ่ หั ว ใ น น�้ำพักน�้ำแรง คือแรงที่เกิดจากความมานะพยายามของ พระบรมโกศ”สดับโสต.. สะเทือน ตนเองเพื่อบุคคลในครอบครัวอันเป็นที่รัก ใจ ในอกอุ ่ น ส� ำ นึ ก ใน พระมหา ทุ ก ครอบครั ว 100% เรี ย นรู ้ เ พื่ อ อาชี พ หาตั ง ค์ เพื่ อ กรุณาธิคุณ..“ใจ” เป็นจุณ “ดับ” ครอบครัว ตลอด 10 ปี ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ศิษย์รัก ลูกรัก ลง ตรง“แผ่นดิน” พ่อแม่ ครู ชวนท�ำ จรวดขวดน�้ำ เพื่อลูก ก่อเกิดเทคนิค PDCS กวีที่ถูกลืม : จาก P : PLAY เล่นเป็น D : Do It Yourself ท�ำได้ด้วยตนเอง น.ส.กานดามณี รัตนพล C:Competition แข่งขันในระดับโรงเรียน เขตการศึกษา ระดับ 5960812 ภาค สู่ระดับประเทศ และ S : SHOW & SHARE น�ำเสนอและ แบ่งปันความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น วันที่ 13 ตุลาคม 2559 พ่อของแผ่นดินไทยจากไปแล้ว “แผ่ น ดิ น ” ใดจะสุ ข เท่ า ถิ่ น “แผ่ น ดิ น ” เกิ ด ใด จะเลิ ศ เท่ า ร่ ม ฉั ต ร พั ฒ น์ ส มั ย ใดจะประเสริ ฐ กว่ า องค์ ถึงแม้จะหลายวันมาแล้ว น�้ำตาของคนไทยยังไหลท่วมแผ่นดิน 57 issue 107 DECEMBER 2016


จะขอเป็ น ข้ า รองบาท จงรั ก ภั ก ดี 3 ห่ ว ง 2 เงื่ อ นไข จะรู ้ ใ ห้ ร อบรู ้ จะท� ำ ให้ ร อบคอบระมั ด ระวั ง จะมี เหตุ ผ ล หาภู มิ คุ ้ ม กั น เน้ น คุ ณ ธรรม พอประมาณให้ พอดี ..ภารกิ จ นี้ ศู น ย์ ค รอบครั ว พอเพี ย ง ด้ ว ยน�้ ำ ใส ใจจริ ง หนั ก แน่ น ในใจ ด้ ว ยหั ว ใจคลอน�้ ำ ตา เพื่ อ พระ ราชาผู ้ ท รงธรรมตลอดไป

เสียงบอกรักพ่อ ถึงพ่อบนสวรรค์ ทุกคนหัวใจเดียวกัน จะขอ ตามรอยของพ่อ สอนศิษย์ให้เพียงและพอให้ตรึงจากหัวใจ ให้ เป็นลูกที่ดีของพ่อ ด้วยความรัก ด้วยความภักดี จะสืบสานและ ติดตาม จากรอยที่พ่อตั้งใจ เหงื่อเราจะเทไป จากหัวใจ จะช่วย กันสานต่องานที่พ่อสร้างไว้ จะร่วมกันสร้างความดี ด้วยใจและ กาย จะก้าวตามรอยบาทของพ่อ พระราชาผู้ทรงธรรม ผู้ทรง เป็นนิยามแห่งความดี ผองไทยจะมุ่งมั่นท�ำหน้าที่ ท�ำดี มอบ ทุกครั้งที่อ่านหนังสือพิมพ์ เปิดสื่อทีวี วิทยุ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต ชีวิตด้วยกายและใจ จะเหนื่อยล้า โรยแรงเท่าไร จะขอเป็นข้า หรือมองรูปที่แขวนไว้ในบ้าน หรือจะท�ำกิจกรรมอะไรก็ตาม รองบาท จงรักภักดี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข จะรู้ให้รอบรู้ จะท�ำให้ น�้ำตาคลอไป ท�ำหน้าที่ด้วยใจหมองเศร้า แต่ไม่ท้อ เพราะพ่อ รอบคอบระมัดระวัง จะมีเหตุผล หาภูมิคุ้มกัน เน้นคุณธรรม พอ หลวงไม่เคยท้อ พ่อหลวงบอกว่า “ฉันท้อไม่ได้ เดิมพันของ ประมาณให้พอดี ..ภารกิจนี้ ศูนย์ครอบครัวพอเพียง ด้วยน�้ำ ฉันคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทย” น�้ำพระหฤทัยยิ่ง ใสใจจริง หนักแน่นในใจ ด้วยหัวใจคลอน�้ำตา เพื่อพระราชา ใหญ่ เหตุผลของพ่อหลวงมีข้อเดียว พ่อหลวง ...รักและห่วง ผู้ทรงธรรมตลอดไป ประชาชน แต่หลังจากวันนั้น 70 ปี ที่พ่อหลวงไม่เคยทิ้ง โดย นางสาวรุ่งทิพ จันทร์มุณี ประชาชน จากสีสันสดใส เป็นสีด�ำทั้งแผ่นดิน จากเสื้อหลาก ข้าราชการครูทุน สควค. รุ่นที่ 5 สี นั่งท�ำริบบิ้นผ้าสีด�ำผูกด้านซ้าย จากน�้ำเสียง เริงร่า ท�ำงาน ครูสอน IS3 ศูนย์ครอบครัวพอเพียง ยิ้มแป้น มาเป็นน�้ำตาคลอ หลั่งเป็นสาย หลั่งไม่อายใคร เพียง โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช พ่ออยู่บนฟ้า น�้ำตาของลูกอยู่บนดิน บอกรักพ่อ พ่อไม่ต้องห่วง เราคนไทยจะรักกัน เสียงร้องสรรเสริญพระบารมี เสียงเดียวกัน 58 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายน่ารู ้...กระทรวงยุ ติธรรม

หมิ่นประมาท เหยียดหยาม

วันนี้มีอุทาหรณ์จากค�ำพิพากษาศาลฎีกามาเล่าสู่กันฟังครับ ลัดดา ภรรยาของ สมชัย มีอุปนิสัยคิด เล็กคิดน้อย ชอบคอยจับผิดสามีอยู่เป็นประจ�ำ

หมิ่ น ประมาท เหยี ย ดหยาม วันนี้มีอุทาหรณ์จากค�ำพิพากษาศาลฎีกามาเล่าสู่กันฟังครับ ลัดดา ภรรยาของ สมชัย มีอุปนิสัยคิด เล็กคิดน้อย ชอบคอยจับผิดสามีอยู่เป็นประจ�ำ ครั้งหนึ่งที่สามีเดินทางไปดูงานต่างจังหวัดกับเพื่อนร่วมชั้น เรียนปริญญาโท ลัดดาก็เกิด หึงหวงไม่เข้าท่า จึงได้ไปกล่าวกับเพื่อน ๆ นักศึกษาของสมชัยว่า สมชัยมักมาก ในกาม โหดร้ายอ�ำมหิต อย่าแนะน�ำหญิงอื่นให้รู้จักกับสมชัย แม้แต่เมียของตนเองก็ตาม สมชัยจะหลอก เอาท�ำเมียอีกคน โดยที่สมชัยมิได้มีพฤติการณ์ใด ๆ ที่ท�ำให้ลัดดาต้องพูดจาดังกล่าวเลย ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า ลัดดาได้หมิ่นประมาทสมชัยอย่างร้ายแรง หาใช่เป็นเพียงค�ำพูดธรรมดาที่ภรรยามีความรักต่อสามี พึงกระท�ำ ด้วยความหึงหวงไม่ สมชัยจึงมีสิทธิฟ้องหย่าลัดดาได้ครับ

59 issue 107 DECEMBER 2016


60 IS AM ARE www.fosef.org


บทสัมภาษณ์พิเศษ

ความรุนแรง สงคราม การให้ และพลเมืองดี ผ่าหลักสูตรโรงเรียนไทยรัฐวิทยา นางจิรา จิตชาญวิชัย ผู้เขียนหลักสูตร อดีตครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ปั ญ หาบ้ า นเมื อ งแต่ ล ะยุ ค สมั ย มี บ ริ บ ทที่ แ ตกต่ า งกั น ไป ท� ำ ให้ ห ลายสิ่ ง หลายอย่ า งจ� ำ เป็ น ต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ เข้ า ยุ ค สมั ย นั้ น ๆ โดยเฉพาะเรื่ อ งการเรี ย นการสอน ยั ก ษ์ ใ หญ่ อ ย่ า งไทยรั ฐ ที่ ก ้ า วเข้ า มาสนั บ สนุ น โรงเรี ย น ด้ อ ยโอกาสทั่ ว ประเทศในนาม “โรงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยา” ภายใต้ “มู ล นิ ธิ ไ ทยรั ฐ ” ได้ ส ร้ า งหลั ก สู ต รขึ้ น มา จากปั ญ หาเหตุ ก ารณ์ บ ้ า นเมื อ งที่ ผ ่ า นมา เพื่ อ กระตุ ้ น เตื อ นให้ เ ด็ ก ได้ รู ้ จั ก รั บ มื อ อย่ า งเช่ น ความอดทนคื อ อะไร ใครจะเชื่ อ ว่ า วั น นี้ เ ราต้ อ งย้ อ นกลั บ มาสอนเด็ ก ให้ รู ้ จั ก ความอดทน อดกลั้ น เพราะหากใครไม่ รู ้ จั ก สิ่ ง นี้ ก็ อ าจจะพลาดชี วิ ต พั ง ได้ ง ่ า ยๆ เหมื อ นในข่ า วที่ เ ราเจอกั น ทุ ก วั น นี้ เราก็ให้ดูตัวอย่างเด็กอาชีวะหรือมัธยมปลายยกพวกตีกัน เราท�ำ ยังไงจะขจัดความขัดแย้งเหล่านั้นได้ เราก็ใช้วิธีการสอนให้เด็ก เข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันท�ำให้เกิดผลเสียต่อสังคมอย่างไร เอาเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นบทเรียน อย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่จะท้องก่อนแต่ง เราก็ให้เด็กท�ำโครงงานรักนวลสงวนตัว แล้วเขาก็จะเข้าสู่ชุมชน หรือชนบทที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณที่โรงเรียนตั้งอยู่ เพื่อที่จะเผย แพร่ความรู้ที่ตัวเองมีให้กับชุมชนด้วย

หลักสูตรไทยรัฐวิทยาเป็นยังไง มีความมุ่งหมายไปทาง ไหน สอดแทรกอะไรบ้าง นางจิรา จิตชาญวิชัย มีค�ำตอบ หลั ก สู ต รไทยรั ฐ วิ ท ยามี ก ารสอดแทรกหรื อ มุ ่ ง เน้ น เรื่ อ งใด ? เราบรรจุในโครงสร้างหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือบูรณาการไปในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้อิสรภาพของ แต่ละโรงเรียนว่า คุณจะบรรจุโครงสร้างเวลาเรียนอย่างไร แต่ ส่วนใหญ่จะจัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วน ป.1-ป.6 เราสอนให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม สอน เรื่องความอดทน มีวิธีการยังไงที่จะสอนให้เด็กรู้ว่าความอดทน คืออะไร แล้วมีวิธีการปฏิบัติแบบไหน รู้จักเคารพนบนอบ รู้จัก มารยาทไทยตั้งแต่การยืน เดิน นั่ง ทุกอย่างเลยที่เราท�ำให้ เด็กอ่อนน้อมถ่อมตนกับผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่สูงวัยกว่า เพื่อน ก็ เ คารพในสิ ท ธิ ข องเพื่ อ น ไม่ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง เรามี วิ ธี ก าร สอนแบบใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างให้เด็กของเรามีลักษณะ เป็นคนดีของสังคม ส่วนใหญ่เน้นคุณธรรม จริยธรรม ของชั้น มัธยมศึกษา อย่างมัธยมศึกษาปีที่ 2 เราก็สอนให้เด็กไม่ยกพวกตีกัน

เห็ น ว่ า มี ก ารเน้ น เรื่ อ งจิ ต อาสาและคุ ณ ธรรมมาก ขึ้ น ? ใช่ เราจะสอนให้เด็กมีจิตอาสา มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ท�ำให้เด็กเข้าใจว่าเราจะอยู่ในสังคมอย่างสงบสุขได้อย่างไร และเราก็สอนให้เด็กนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วย เด็ก นักเรียนเดี๋ยวนี้ไหว้พระก็ไม่เป็น ไหว้ผู้ใหญ่ก็ไม่เป็น สวดมนต์ แผ่เมตตาก็ไม่เป็น และไม่ช่วยเหลือซึ่งกันละกัน เราเห็นปัญหา เหล่านี้ จึงได้เขียนหลักสูตรนี้ขึ้นมา พอเขียนหลักสูตรนี้เสร็จ ท่าน ว.วชิรเมธี เป็นผู้ทรง คุณวุฒิของเรา ท่านให้ค�ำอนุโมทนามา (ค�ำน�ำ) ว่าโรงเรียน ไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศท�ำยังไง 61

issue 107 DECEMBER 2016


หลั ก สู ต รตรงนี้ เ ข้ า ไปสู ่ โ ครงสร้ า งของ สพฐ.ไหม ? ให้บูรณาการในคุณธรรม จริยธรรม ในกลุ่มสาระการเรียน รู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แต่ว่าเราสอนให้เด็กของเรามี ความรู้สึกว่าท�ำอย่างไรเราถึงจะแก้ปัญหาในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ในทางที่ถูกต้อง เราปลูกฝังตั้งแต่เด็กเล็กชั้นประถมวัย ยกตัวอย่าง อย่างรัก กันไว้เถิด เราตั้งชื่อหัวข้อกิจกรรมไว้ แล้วเราจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เด็กของเราด�ำเนินการสอนยังไง ซึ่งเรามีขั้นตอนการสอนอยู่แล้ว ว่าสาระส�ำคัญที่จะติดกับตัวเด็กในการที่จะให้เด็กมีความรัก ความ สามัคคี แล้วจุดประสงค์ในครั้งนี้เราต้องการอะไรบ้าง เนื้อหาสาระมี อะไร แล้วขั้นตอนการสอนทั้งหมดสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียน รู้แล้วมีการวัดและประเมินผล มีสื่อผลิตให้เสร็จเลย (เปิดรูปในหนังสือให้ดูรูป แม่ไก่) อย่างรูปนี้ เราอยู่ด้วยกัน อย่างมีความสุขเป็นยังไง ประถมวัยนะ เราต้องสื่อความด้วยรูปภาพ มากที่สุด การปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกัน เราก็สอนเด็ก มีเพลง มี ภาพให้เด็กดู มีเกมให้เล่น แล้วก็มีแบบฝึกทักษะ เราก็ให้เด็กดูแล้ว เขาก็ตอบ เพราะประถมวัยเขายังเขียนไม่ได้ เราจะสอนเรื่องนี้ อย่าง ขอโทษ สวัสดี เป็นต้น หลั ก สู ต รที่ เ ราเขี ย นขึ้ น มาเราใช้ เ คจจากที่ อื่ น สอนจากนิ ท าน ฯลฯ คื อ เอาให้ เ หมาะสมกั บ วั ย ของเด็ ก คุ ณ ไปถึ ง สอนอดทน อดทนคื อ อะไร เด็ ก ไม่ เ ข้ า ใจ ต้ อ งสอนจากปฏิ บั ติ จ ริ ง แล้ ว ครู เ ป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ใ ห้ แ ก่ เ ด็ ก เราพั ฒ นาตั ว นี้ เรื่ อ ยมา เราเริ่มท�ำโครงการนี้ตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 3 เพราะโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศมี 101 โรงเรียน เขาแบ่งเป็น 13 กลุ่มตามหลักภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ มีกลุ่มล้านนา กลุ่มสี่แคว กลุ่มสักทอง ภาคใต้มีกลุ่มพร อันดามัน กลุ่มศรีวิชัยฯ สี่จังหวัดภาคใต้ แล้วภาคกลาง กลุ่มเจ้าพระยาป่าสัก กลุ่มลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มเพชรแม่ กลอง กลุ่มไทยรัฐบูรพา แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ แล้ว แต่ละกลุ่มเป็นเครือข่ายซึ่งกันและกัน เราจึงท�ำโครงการ “ความเป็นพลเมืองดี” จุดเน้น ก็คือโรงเรียนไทยรัฐวิทยาเป็นโรงเรียนสอนคนดีมีคุณธรรม โดยหลักสูตรเดียวกัน เพราะต้องการให้เด็กไทยรัฐวิทยาใน วันนี้เป็นคนดีของสังคมในวันหน้า นี่คือธีม หลังจากนั้นก็ได้รับมอบหมายให้จัดท�ำแผนขึ้นมา เหมือนแผนการสอนครู แต่เรียกว่าคู่มือการจัดกิจกรรม 62 IS AM ARE www.fosef.org


การเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผล โดยตลอด อย่างเช่น เราบอกว่าเด็ก มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรับผิด ชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว ก็ให้ไป ท�ำ-สอนเรื่องนี้ก่อน ให้ตระหนักก่อน หลังจากนั้นให้ปฏิบัติจริง เช่น คุณไป ที่บ้านวันนี้คุณช่วยอะไรมา เหมือน บันทึกความดี วันนี้ช่วยคุณแม่เลี้ยง น้อง ท�ำนั่นท�ำนี่ เพราะเด็ ก โรงเรี ย นไทยรั ฐ วิทยาส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ฐานะยากจน คัดเลือกโรงเรียนที่อยู่ในชนบท เอา พื้ น ฐานจากโรงเรี ย นที่ ย ากจนก่ อ น โรงเรียนแต่ละโรงเป็นของกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารร่ ว มถึ ง ครู ด ้ ว ย เพี ย ง แต่ ช ่ ว ยในเรื่ อ งของการพั ฒ นาครู นักเรียน ผู้บริหาร ให้พร้อมจัดการ ศึกษาในระดับพื้นฐาน นอกจากสอนเด็ ก แล้ ว ก็ ส อน ผู ้ ใ หญ่ ไ ปด้ ว ย ? เราเน้นให้ผู้บริหารเป็นคนดี ครูเป็นคนดี นักเรียนเป็นคนดี แล้วก็ สู่ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง ที่ ม าของหลั ก สู ต ร ? หลักสูตรที่เราเขียนขึ้นมาเรา ใช้เคจจากที่อื่น สอนจากนิทาน ฯลฯ คือเอาให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก คุณ ไปถึงสอนอดทน อดทนคืออะไร เด็ก ไม่เข้าใจ ต้องสอนจากปฏิบัติจริง แล้ว ครู เ ป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ใ ห้ แ ก่ เ ด็ ก เรา พัฒนาตัวนี้เรื่อยมา หลั ง จากที่ เราใช้ 1 ปี เรา เขี ย นรายงานการวิ จั ย แล้ ว ผลออก มาดี พ อสมควร ปีนี้เราต่อยอดสอน ต่ อ อี ก ไม่ ใช่ เ ท่ า นี้ เขายั ง ผลิ ต สื่ อ การเรี ย นรู ้ ป ระกอบแผนนี้ ไ ปให้ กั บ ครู ทุ ก โรงเรี ย นด้ ว ย บางอย่ า งครู

เราปลู ก ฝั ง ตั้ ง แต่ เ ด็ ก เล็ ก ชั้ น ประถมวั ย ยกตั ว อย่ า ง อย่ า งรั ก กั น ไว้ เ ถิ ด เราตั้ ง ชื่ อ หั ว ข้ อ กิ จ กรรมไว้ แล้ ว เราจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ใ ห้ เ ด็ ก ของเรา ด� ำ เนิ น การสอนยั ง ไง ซึ่ ง เรามี ขั้ น ตอนการสอนอยู ่ แ ล้ ว ว่ า สาระส� ำ คั ญ ที่ จ ะ ติ ด กั บ ตั ว เด็ ก ในการที่ จ ะให้ เ ด็ ก มี ค วามรั ก ความสามั ค คี ต้ อ งผลิ ต เองก็ ต ้ อ งท� ำ อย่ า งไหนที่ มู ล นิ ธิ ไ ทยรั ฐ สามารถผลิ ต ได้ เขา ก็ ใ ห้ เ ทคโนโลยี ท� ำ ให้ แล้ ว ก็ ส ่ ง เป็ น แผ่ น ไปให้ ทุ ก โรงเรี ย น ปี แรกมี เ งิ น สนับสนุนโรงเรียนละ 5,000 บาท ให้ จัด กิจ กรรมส่ ง เสริ มให้ เ ด็ ก เป็ น คนดี จากผลพวงวันนั้นเขาก็น�ำสิ่งที่มันเกิด ขึ้น แบ่งเป็นสองส่วน ส่ ว นหนึ่ ง การบริ ห ารจั ด การ ในโรงเรี ย น ผอ.มี ค� ำ สั่ ง มอบหมาย ให้ใครด�ำเนินการโครงการ “ความ เป็นพลเมืองดีในโรงเรียน” แล้วการ จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามคู่มือ ที่ไ ด้รับ ไปหรื อ ไม่ และหลั ง จากเด็ ก เรี ย นจบไปแล้ ว มี ผ ลผลิ ต อะไรบ้ า ง บางโรงเรี ย นเขาสอนจนไม่ มี ข ยะใน โรงเรียนเลย แล้วเขาก็ได้เป็นโรงเรียน พระราชทาน ได้เป็นโรงรียนต้นแบบ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา หลั ง จากนั้ น ส่ ว นที่ ส อง มีสิ่งใดที่เป็นกิจกรรมสนับสนุนความ 63 issue 107 DECEMBER 2016

เป็ น พลเมื อ งดี ใ นโรงเรี ย นของเราที่ ท� ำ ดี ที่ สุ ด ของโครงการความเป็ น พลเมืองดี เช่น ไปเข้าค่ายคุณธรรม ท�ำบุญทุกวันพระ ไปเป็นจิตสาธารณะ ให้กับชุมชน กวาดลานวัด ท�ำความ สะอาด ตามลักษณะของเด็กเล็ก หรือ นักเรียนในโรงเรียนที่มีระเบียบวินัยสูง มาก เขาก็เอาสิ่งนั้นมาเป็นส่วนที่สอง ในการน�ำเสนอในวันนี้ เ นื้ อ ห า ข อ ง ห ลั ก สู ต ร เ ป ็ น อย่ า งไร ? เราเป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรี ย นไทยรั ฐ ทั่ ว ประเทศมี แ ค่ ม. 3 จุดประสงค์ก็คือ ให้รู้จักปฏิบัติตน มี ว าจากิ ริ ย าสุ ภ าพเรี ย บร้ อ ย สาระ ส� ำ คั ญ หรื อ เนื้ อ หาที่ จ ะสอน สอน ให้ พู ด สุ ภ าพ พู ด เรื่ อ งความจริ ง ไม่ โกหก พอเราจัดกิจกรรมอย่างเช่น ให้ นักเรียนดูแผนภูมิภาพ “แม่ไก่ก�ำลัง กินข้าวกับลูกไก่” ครูร่วมสนทนาใน


ภาพ อันนี้ ป.3 ในภาพแม่ไก่กับลูกไก่ก�ำลังท�ำอะไร นักเรียน เคยหว่านข้าวให้ไก่หรือไม่ ครูเล่าพฤติกรรมของแม่ไก่ เมื่อ มีผู้เลี้ยงหว่านข้าวลงไปแม่ไก่ก็จะร้องเรียกให้ลูกๆ มากิน ข้าวร่วมกัน ส่วนใหญ่แม่ไก่จะไม่กินก่อน เมื่อลูกกินเสร็จ แล้วก็กางปีกปกป้องลูกของมัน แล้วก็ช่วยกันระดมความ คิดว่านักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร กับความสัมพันธ์ระหว่าง แม่ไก่กับลูกไก่ สอนแบบนี้จะเห็นภาพเลย ความสัมพันธ์แม่ ไก่กับลูกไก่เวลาใกล้ใครแล้วมีความอบอุ่น ดั ง นั้ น คนเราควรท� ำ ตั ว เป็ น ไก่ อยู ่ กั น ด้ ว ยความ รักและมีปฏิสัมพันธ์แบบแม่ไก่ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน คือสอนแบบนี้ ไม่ใช่อยู่เฉยๆ เธอจะต้องท�ำอย่างนี้อย่าง นั้น อย่างเช่น “เม่น” ครูก็จะพูดว่าในภาพเป็นสัตว์ อะไรนักเรียนเคยเห็นไหม ครูเล่าลักษณะของเม่น เม่นมี สีขาวมีขนแหลมคมเวลาใครเดินเข้าไปใกล้เพียงระยะ 1 เมตร จะสลัดขนใส่ เปรียบเหมือนคนพูดจาไม่ไพเราะ ใคร ก็ไม่อยากอยู่ใกล้ นี่เป็นการเปรียบเทียบนะ คือกลเม็ดใน การสอนของครู เป็นต้น

หนังสือพิมพ์สู่สาธารณชน ฉบับเล็ก ก็เอาเรื่องเหล่านี้ไปให้ เ ร า จ ะ ส อ น ใ ห ้ เ ด็ ก มี จิ ต อ า ส า มี คุ ณ ธ ร ร ม พ่อแม่ดู เช่น ของท่าน ว.วชิรเมธี “...ปากของเราคือประตู จริ ย ธรรม ที่ ท� ำ ให้ เ ด็ ก เข้ า ใจว่ า เราจะอยู ่ ใ น แห่งความส�ำเร็จ และปากของเราคือประตูแห่งความล้ม สั ง คมอย่ า งสงบสุ ข ได้ อ ย่ า งไร และเราก็ ส อน เหลว ถ้าใช้ปากไม่เป็นจะมีปัญหาทั้งชีวิต...” เด็กอ่านก็ ให้ เ ด็ ก นึ ก ถึ ง การอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมไทยด้ ว ย ดี ผู้ปกครองอ่านก็ดี นี่คือกลเม็ดในการสอน เราจัดท�ำเป็น เด็ ก นั ก เรี ย นเดี๋ ย วนี้ ไ หว้ พ ระก็ ไ ม่ เ ป็ น ไหว้ ผู ้ ใ หญ่ ลักษณะอย่างนี้หมด ก็ ไ ม่ เ ป็ น ในชั้น ม.2 เรามีก�ำหนดการที่จะสอนทั้งปี ไทยรัฐ พัฒนาก็สร้างจิตสาธารณะ พัฒนาตนเองก็คือเรื่อง ความ หลังจากนั้นเราก็ให้เด็กนักเรียนดูว่า พูดสื่อสาร มีเหตุผล ความรับผิดชอบ สืบค้นเป็นกลุ่มท�ำงานร่วมกัน ที่ดีเป็นยังไง และแบบไม่ดีเป็นยังไง แต่เวลาสอนเขาจะ เดินอย่างไทยเป็นยังไง มารยาท เดินปกติ เดินตามผู้ใหญ่ มีเครื่องมือครบ ให้เด็กลองคิดท�ำงานเป็นระบบกลุ่ม ฝึก เดินกับผู้ใหญ่ เดินน�ำผู้ใหญ่ เดินสวนกับผู้ใหญ่ เดินผ่าน ความเป็นผู้น�ำผู้ตามที่ดี มีการวางแผนงาน มีมารยาทใน ผู้ใหญ่ เดินเข้าสู่ชุมชน แล้วให้เด็กนักเรียนเป็นฐานเดิน การอยู่ร่วมกัน หมุนในแต่ละฐานด้วยการปฏิบัติ หลังจากนั้นเราจะมีใบ สมมุติสถานการณ์นี้พ่อกับลูกคุยกัน ควรจะใช้ค�ำ ความรู้ให้ เดินปกติเป็นยังไง ชายเป็นยังไง หญิงเป็นยังไง พูดอะไร ถึงจะสื่อสารในทางที่ดี เด็กเห็นภาพนี้แล้วจะพูด ทุกคนก็จะรู้ แล้วหลังจากนั้นเราก็ประเมินเด็ก มารยาทใน ยังไง นี่คือ ป.3 หลังจากนั้นให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไป การเดินเป็นยังไง นี้แล้วพิจารณาว่าข้อความใดเป็นค�ำพูดที่ดี ให้วาดภาพ ประกอบ เช่น ทราบว่ า มี ก ารสอดแทรกเรื่ อ งความเท่ า เที ย ม “ฉันจะฟังเธอพูด” “หุบปากเดี๋ยวนี้” “นี่เป็น ความเสมอภาคด้ ว ย ? ความเห็นของฉัน” ให้เด็กพิจารณาดูว่าอันไหนดี ไม่ดี แล้ว อย่างความเท่าเทียม เคารพหลักความเสมอภาค เราก็มีใบความรู้ให้ครูผู้สอนและผู้ปกครองด้วย โรงเรียน นี่ก็คือความเป็นพลเมือง ซึ่งผู้ใหญ่เดี๋ยวนี้มีไหม ไม่มีนะ ไทยรัฐวิทยาจะมีหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” จัดท�ำ อีกอย่างเราให้เด็กมีความกตัญญูต่อองค์พระมหากษัตริย์ 64 IS AM ARE www.fosef.org


เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันแย่แล้วไง ในหนังสือเรียนบอกว่าการ กตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ หมายถึง การรู้คุณ และรวม ถึ ง การทดแทนคุ ณ ของพระมหากษั ต ริ ย ์ ด ้ ว ยการแสดง ความจงรักภักดี ปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ตั้งใจปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของชาติ เราก็ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาท เช่น “โอกาสทองของ ชีวิต” “ท�ำดีที่พ่อท�ำ” เราเอามาจากหนังสือ มาให้เด็ก อ่าน ให้รู้ ซาบซึ้งว่าพระองค์ท่านยากล�ำบาก เราเลือก ช็อตเด็ดๆ มา พอเด็กอ่านเสร็จแล้ว ในฐานะที่เธอเป็นพสกนิกร เธอจะท�ำตนเป็นคนดีอย่างไรบ้าง ให้เขาเขียนมา ด้วยความ ดีความซื่อสัตย์โดยใช้เวลา 1 เดือน เด็กก็เอาไปท�ำความ ดี ไม่ท�ำชั่ว

ปัญหาโดยสันติวิธี จัดท�ำโครงงานเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีใน หมู่คณะ เราก็สอนเขาไป นี่คือจุดมุ่งหมายของเรา ถ้าเหตุการณ์เป็น อย่างนี้ นักเรียนจะเลือกหนทางแบบไหน ให้เขาวิเคราะห์แล้วก็เฉลย ให้เขาดูว่าเรื่องนี้ควรวิเคราะห์แบบไหน แล้วเราก็เล่าให้เขาฟังถึงความทุกข์ของสงคราม การรักษา สันติภาพเป็นยังไง นี่คือระดับมัธยมต้น สามารถสอนให้เขาวิเคราะห์ ได้ จุดประสงค์ก็คือต้องการให้เด็กเดินทางไปสู่จุดหมายเดียวกัน เพียงแต่ว่าเพิ่มความเข้มข้นความยากตามศักยภาพของเด็กนั่นเอง ยากนะ แต่เราท�ำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ท�ำเรื่องนามธรรมให้เป็น รูปธรรม ยอดนักเรียนไทยรัฐ 101 โรงเรียนตอนนี้ประมาณ 2.6 หมื่นคนทุกจังหวัดยกเว้นหนองคาย(ตอนแรกมีแต่แยกจังหวัดไปอยู่ บึงกาฬ) ส่วนโครงการความเป็นพลเมืองดีถูกบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธต้องการให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรม ตามสโลแกนของไทยรัฐ ว่า “นักเรียนไทยรัฐวิทยาในวันนี้ คือคนดีของสังคมในวันหน้า” จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นแล้วมอบหมายให้คณะท�ำงานเขียนหลักสูตรขึ้น มา ให้ทุกโรงเรียนน�ำไปใช้ บรรจุในโครงสร้างเวลาเรียน 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เขาจะไปบูรณาการกับจิตสาธารณะก็ได้ ในหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เขาจะมีกิจกรรมสาธารณะสร้าง ประโยชน์ ประถมศึกษา 10 ชั่วโมง มัธยมศึกษา 15 ชั่วโมง เราก็เอา ตัวนี้ไปบูรณาการ หลักสูตรตัวนี้เป็นแม่แบบให้ครูใช้เป็นแนวทางใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ที่ ม าของหลั ก สู ต รมาจากบทเรี ย นประเทศไทย ที่ ผ ่ า นมา ? บทเรียนมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราลงลึกสอนเรื่อง นี้ โ ดยเฉพาะเลย อย่ า งในต� ำ ราจะเห็ น ว่ า เยาวชนไทย ในปัจจุบันมักใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ท�ำให้เกิดความ เสี ย หายต่ อทรัพย์สิน และชีวิต เพื่อให้เกิด ความสงบสุ ข เรี ย บร้ อ ยในสั ง คม ควรปลู ก ฝั ง ให้ เ ยาวชนปฏิ เ สธความ รุ น แรง และแสวงหาสั น ติ โ ดยไม่ ต กเป็ น เหยื่ อ ความไม่ ยุติธรรม และการคุกคาม สามารถก�ำจัดปัญหาได้ แก้ 65 issue 107 DECEMBER 2016


ชุมพร

เรื่องเล่าจากชายทะเล

กลางเดื อ นสิ ง หาคม ลมมรสุ ม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ พั ด มาเยื อ นชายทะเลชุ ม พร มองออกไป ทะเลสี ครามห่ ม คลุ ม ด้ ว ยริ้ ว เมฆสี เ ทา ฝนโปรยลงมาตั้ ง แต่ เ ช้ า ทะเลชุ ม พรกลางเดื อ นสิ ง หาเป็ น เช่ น นี้ ในบางปี ลมมรสุ ม นั้ น พั ด มาเพี ย งพลิ้ ว แผ่ ว น� ำ พาความเย็ น มาปะทะความชื้ น ของผื น แผ่ น ดิ น ใหญ่ ค่ อ ยๆ กลายเป็ น สายฝนชุ ่ ม เย็ น ริ น รดผื น ดิ น และพรรณไม้ น านา ทว่ า บางปี ลมมรสุ ม ก็ พั ด พาความรุ น แรงและเลวร้ า ย ย้ อ น กลั บ ไปเมื่ อ ปี 2532 พายุ ใ ต้ ฝุ ่ น เกย์ โ หมซั ด เข้ า มากวาดชายฝั ่ ง ชุ ม พร ทุ ก อย่ า งพั ง ราบพนาสู ญ ทั้ ง บ้ า น เรื อ นและไร่ น า ชี วิ ต ผู ้ ค นล้ ม ตายสู ญ หายไปอย่ า งน่ า ตื่ น ตระหนก ว่าความทุกข์ยากนี้ช่างยากเข็ญเกินจะเยียวยาได้ การจะควบคุม ความเสียหายจากลมมรสุมอันใหญ่โตนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นไป ไม่ได้ ภายในเดื อ นที่ พ ายุ ซี ต ้ า โหมเข้ า มานั่ น เอง พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชกระแส รับสั่ง ให้ผู้อ�ำนวยการกองงานส่วนพระองค์ เร่งขุดคลอง “หัว

ผ่ า นไปเพี ย ง 8 ปี ในวั น ที่ 23-31 สิ ง หาคม 2540 พายุโซนร้อนซีต้าก็โหมกระหน�่ำเข้ามาอีก ตัวเมืองชุมพรซึ่งมี ลักษณะเป็นแอ่งกระทะจึงท่วมนองไปด้วยน�้ำที่ไหลมาจากทุก ทิศทาง บ้านเรือนและสวนผลไม้ที่เพิ่งฟื้นฟูกันมาได้ ต้องล้ม ละลายไปกับสายน�้ำเชี่ยวกราก ยิ่งกว่าครั้งที่ผ่านมา ดูเหมือน 66

IS AM ARE www.fosef.org


ท่องเที่ยวศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชด�ำริ วัง-พนังตัก” ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน เพื่อให้ทัน ระบายน�้ำจากลมมรสุมซึ่งยังปรากฏอย่างไม่น่าไว้วางใจได้ ถัดมาอีกเพียงสองเดือน กรมอุตุวิทยาก็ประกาศเตือนว่า พายุลิน ดาจะโหมซัดเข้าฝั่งชุมพรอีกในวันที่ 3 พฤศจิกายน เมื่ อ ทรงเห็ น เค้ า ลางของความเสี ย หาย พระองค์ ไ ด้ เ สด็ จ พระราชด�ำเนินไปทอดพระเนตรและติดตามการขุดคลองหัววัง-พนังตัก ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้ขุดคลองนี้ให้ถึงทะเลในคืนวัน ที่ 2 ก่อนพายุไต้ฝุ่นลินดาจะพัดมาถึง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดมาเยือนชุมพร มองออกไป ทะเล ครามห่มคลุมด้วยริ้วเมฆสีเทา ฝนโปรยลงมาตั่งแต่เช้า กลางเดือนสิงหาคม สภาพอากาศชุมพรเป็นเช่นนี้ ทว่าไม่มีชาวชุมพรคนใดรู้สึกหวาดหวั่นต่อ คลื่นลมพายุร้าย เมื่อครั้งเผชิญพายุไต้ฝุ่นลิดดา พวกเขามี “พระราชา” ผู้คอยห่วงใยอยู่เคียงข้าง และเมื่อคลองหัววัง-พนังตักขุดส�ำเร็จในคืนวัน ที่ 2 พฤศจิกายน 2540 น�้ำฟ้าที่โปรยปรายลงมาก็ไหลรี่ผ่านคลองสายนี้ ออกสู่ทะเล ในคราวนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นหนทางในการแก้ปัญหาอุทกภัยโดยสมบูรณ์ ดังพระ ราชด�ำรัสความว่า “...เมื่อดูแผนที่ ก็เห็นมีที่แห่งหนึ่งที่ควรจะท�ำเป็นแก้ม ลิงได้ โดยมีธรรมชาติ คือมีหนองใหญ่ หนองใหญ่นั้นเป็นที่ กว้างใหญ่สมชื่อ แต่ก็ไม่ใหญ่พอเพราะมีการบุกรุกเข้าไป และตื้นเขิน..” พระองค์มีพระราชด�ำริ ให้สร้างประตูระบายน�้ำขุดลอก หนองใหญ่และดูคลองรอบๆเพื่อเตรียมพร้อมรับพายุใหญ่ที่จะ มาเยือนชุมพรได้ทุกเมื่อ.. ยามบ่าย หลังฝนโปรยละออง ภาพหนองใหญ่ที่ปรากฏ เบื้องหน้า คือบึงน�้ำกว้างไกลสุดปลายตา รายรอบด้วยพื้นที่สี เขียวและหมู่ไม้ นกนางแอ่นบ้านบินร่อนนกยางโทรน้อยยืนนิ่ง หาอาหารอยู่ตรงโน้นตรงนี้ นอกจากหนองใหญ่จะเป็น “แก้มลิง” อันส�ำคัญแล้ว มัน ยังกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นพื้นที่ “ดูงาน” ที่ คนชุมพรภาคภูมิใจ ลมเย็ น พั ด โบกโบย ที่ มุ ม หนึ่ ง ของหนองใหญ่ พื้ น ที่ ถูกปรับปรุงให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์ ปรากฏแปลงพืชผักนานา แซมแทรกระหว่างบ้านดิน ร่องน�้ำ และหมู่ไม้น้อยใหญ่แผ่เงา ร่มเย็น 67 issue 107 DECEMBER 2016


พันธ์ุข้าวพื้นเมืองซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี ทรงรับไว้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ขณะเดินไปตามคันดินรอบๆ แปลงนา ข้าวเหลืองปะทิว ก�ำลังแตกผลิตต้นกล้าเขียวขจี ไกลออกไป หนองใหญ่ดูราวภาพ วาดสีคราม ท้องน�้ำกว้างสะท้อนท้องฟ้า ดูชุ่มชื่น เย็นตาเพราะ รู้ว่า หนองใหญ่นี้มีความหมายเพียงใด บนทางหลวงหมายเลข 318 มองออกไปด้านทิศตะวัน ออก ทะเลสีครามห่มคลุมด้วยริ้วเมฆสีเทา ทะเลชุมพรกลาง เดือนสิงหาคมเป็นเช่นนี้ ถนนเลาะเลียบชายทะเล ผ่านหาดทุ่ง วัวแล่น-ชายหาดเลื่องชื่อของที่นี่ แนวชายหาดสีขาวทอดยาว บรรยากาศเงียบสงบ ทิวสนเอนไหวในสายลมยามเช้า ผ่าน ชุมชนประมงในเวิ้งอ่าวเล็กๆ มาไม่ไกล เบื้องหน้าก็ปรากฏ เรือนยอดไม้แผ่กว้างราวผืนพรมสีเขียวนุ่มหนา ที่นี่คือ โครงการ พัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัด ชุ มพร พื้นที่ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงกระท�ำเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า มนุษย์อยู่กับธรรมชาติอย่างมีความสุขได้อย่างไร... ในเนื้อที่ 448 ไร่ ด้านทิศใต้นั้นปรากฏ “ภูเขาทราย” เม็ดเล็กละเอียดที่ทับถมสะสมจนสูงเหนือระดับน�้ำทะเลขึ้นมา ร่วม 30 เมตร ภูเขาทรายบริเวณนี้เกิดขึ้น 14,000 ปีมาแล้ว จุด ที่เกิดลมมรสุมพัดมาเป็นประจ�ำ ลมกระหน�่ำหนักค่อย ๆ พัดพา เม็ดทรายมาสะสมทับถมจนเกิดเป็นเนินทรายชายฝั่ง ผ่านกาล เวลานับหมื่นปี เม็ดทรายเล็กละเอียดนับล้าน ๆ เม็ดจึงก่อรูป เป็นภูเขา-ภูเขาทราย

ในโรงเรือนเล็กๆ ริมแปลงผัก เด็กๆชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษกก�ำลังสนุกสนานกับการปั้น EM Ball กล่าวส�ำหรับ EM Ball (Effective Microorganism Bell)คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการบ�ำบัดน�้ำเสียช่วย ปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ โดยเฉพาะการ ย่อยสลาย “ตอนพายุเกย์ คนกรุงเทพฯ ช่วยเราไว้มาก เมื่อคราว น�้ำท่วม เราก็ส่งน�้ำใจโดยปั้น EM Ball ไปช่วยพวกเขาบ�ำบัด น�้ำเสีย” ลุงแดงบอกกับเด็กๆนักเรียนด้วยน�้ำเสียภูมิใจ ถัดจากฐาน “ก้อนจุลินทรีย์” เป็นโรงเรือนผลิตสบู่และ แชมพู เด็กๆอีกกลุ่มก�ำลังเพลินกับการท�ำแชมพูใช้เอง ส�ำหรับ ที่ นี่ กล่ า วได้ ว ่ า ทุ ก สิ่ ง ด� ำ เนิ น ไปตามปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือปลูกในสิ่งที่กิน-กินในสิ่งที่ปลูก ทั้งน�้ำยาล้างจานและแชมพู สระผมก็ท�ำขึ้นจากมะกรูดและว่านหางจระเข้ที่ปลูกไว้รายรอบ บ้านดินนั่นเอง “นี่คือ ส้วมพระราชา” ลุงแดงบอกพลางระบายยิ้ม มันคือ ส้วมเปี่ยมประโยชน์ยิ่ง เมื่อของเสียถูกระบายลงในบ่อ พัก EM Ball จะช่วยย่อยสลาย กลิ่นไม่พึงประสงค์จะละลาย หาย ที่เหลือคือ ปุ๋ยชั้นดีส�ำหรับนาข้าวเหลืองปะทิว ซึ่งอยู่ใกล้ๆ 68

IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 107 DECEMBER 2016


“เห็นแล้วใช่ไหมครับว่ามหัศจรรย์แค่ไหน” ชัยรัตน์ รัตนด�ำรงภิญโญ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ฯ หันหลังให้ทะเล ทอดตามองภูเขาทรายที่ไล่ระดับซับซ้อนเข้าไปใน ผืนแผ่นดิน ลงจากภูเขาทราย ทางเดินศึกษาธรรมชาติทอดลงไปใต้เรือนยอดไม้ ลมพัดเย็นชื่น เสียงนกร้องหวานใส ตามเปลือกไม้ห่มคลุมด้วยมอสและฝอยลม ดูชุ่มชื้นขึ้นราวป่าโบราณ “เมื่อยด�ำ” พืชเมล็ดเปลือยซึ่งจัดเป็นไม้ โบราณแตกผลิใบตามใต้ร่มไม้ อีกทั้งเฟิร์นและข้าหลวง พืชโบราณร่วมยุคไดโนเสาร์ ช่วงปี 2525-2541 หลายหน่วย งานราชการเข้ามาทดลองพัฒนาการเกษตรในพื้นที่นี้ พืชเกษตรหลายชนิดถูกน�ำมา ทดลองปลูกในป่าทรายฯ ผ่านไป หลายปีจึงพบว่าไม่มีพืชใดเหมาะที่จะปลูกในพื้นที่พิเศษนี้ได้ผล “ส�ำหรับพืชเกษตร เราจะต้องประคบ ประหงมเป็นพิเศษหากมองในเชิงรายได้ คงจะไม่คุ้มทุน” ชัยรัตน์ อธิบาย หลังจากนั้นวิธีคิดต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป “เราหันกลับมามองแล้วพบว่า การอนุรักษ์สภาพพื้นที่นี้ไว้เป็นหนทาง ที่ดีที่สุด” ป่าสันทรายฯ ให้ประโยชน์มากกว่าที่คิด นอกจากเป็นปราการป้องกันลมพายุแล้ว พรรณไม้ในป่ายังสามารถ น�ำมาแปรรูปได้มากหลาย ใยเสม็ดชุนน�ำมาสกัดเป็นยากันยุง ใบเสม็ดสกัดเป็น “น�้ำมันเขียว” สรรพคุณแก้ฟกช�้ำ ใบ เตยทะเลน�ำมาท�ำเป็นเครื่องจักสาน ยังพืชสมุนไพรอีกมากมาย รวมถึงระบบนิเวศป่าสันทรายฯ ซึ่งแทบไม่เหลือที่ใด ในบ้านเราอีกแล้ว

70 IS AM ARE www.fosef.org


“นี่คือคุณค่าที่แท้จริง งานของเราจึงเปลี่ยนเป็นด้าน การอนุรักษ์ คิดแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ให้ชาวบ้านเห็นว่า ผืนทรายนี้มีคุณค่า พวกเขาจะได้รักและหวงแหนป่าผืนนี้” ชัยรัตน์ฯ อธิบาย ลงจากภูเขาทราย ชัยรัตน์พาไปชมชายหาดบางเบิดรูป จั น ทร์ เ สี้ ย ว ลมทะเลพั ด เย็ น ชื่ น บนผื น ทรายนุ ่ ม หนา เบื้ อ ง หน้าปรากฏเวิ้งอ่าวทอดโค้งสุดสายตา ในบางคนก็ได้ค้นพบ “คุณค่า” ที่มีอยู่ใกล้ตัว คุณค่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรง ค้นพบและถ่ายทอดสู่พสกนิกรของพระองค์มาเนิ่นนาน คุณค่า ซึ่งรอคอยให้เราค้นพบ “คุณค่า”

ราชด� ำ ริ อยู ่ ห ่ า งจากตั ว เมื อ งชุ ม พรราว 13 กิ โ ลเมตรตาม ทางหลวงหมายเลข 318 ชุมพร-ปะทิว ภายในเปิดให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าไปเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีร้านสวัสดิการ ขายผลิตภัณฑ์ท�ำเอง เช่น สบู่และแชมพู ไข่ไก่ ผักสดๆ รวมถึง ไอศกรีมมังคุดรสน่าลอง สอบถามได้ ที่ ศู น ย์ ป ระสานงานโครงการตามพระ ราชด�ำริจังหวัดชุมพร ศาลากลางจังหวัดชุมพร ถนนไตรรัตน์ ต�ำบลนาชะอัง อ�ำเภอเมืองชุมพร โทรศัพท์ 0-7751-1551, 0-7750-3975 โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร เปิดให้ ผู้สนใจเข้าชมและดูงาน มีบ้านพักรับรอง 2 หลัง 20 เตียง) และ จุดกางเต้นท์ให้บริการ สอบถามได้ที่โทรศัพท์ 08-19587842

คู ่ มื อ เดิ น ทาง โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่อันเนื่องมาจากพระ71

issue 107 DECEMBER 2016


72 IS AM ARE www.fosef.org


73 issue 107 DECEMBER 2016


74 IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 107 DECEMBER 2016


76 IS AM ARE www.fosef.org


77 issue 107 DECEMBER 2016


ลด ละ เลิก สร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อพ่อ เพื่อเรา ประธานชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย

นริทร์ แป้นประเสริฐ

การพั ฒ นาต่ า งๆ ในวั น นี้ หลายภาคส่ ว นเริ่ ม ตื่ น ตั ว โดยเฉพาะชุ ม ชนต่ า งๆ เริ่ ม ปรั บ เปลี่ ย น สภาพที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของชุ ม ชนตั ว เองให้ ป ลอดภั ย เป็ น สั ง คมที่ น ่ า อยู ่ ม ากขึ้ น ลดโอกาสเสี่ ย ง ที่ จ ะท� ำ ให้ ชุ ม ชน “ล่ ม สลาย” อั น เกิ ด จาก ยาเสพติ ด การใช้ ค วามรุ น แรง และการด� ำ รง อยู ่ อ ย่ า งไร้ จิ ต สาธารณของผู ้ ค น 78 IS AM ARE www.fosef.org


เสียงจากชุ มชน ชุ ม ชนวั ด โพธิ์ เรี ย ง เขตบางกอกน้ อ ย ก็ เ ป็ น อี ก ชุมชนหนึ่งที่ได้ผู้น�ำชุมชนที่เข้มแข็ง กล้าลุกขึ้นมาน�ำชาว บ้านแก้ปัญหาเหล่านี้โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนน�ำร่อง ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรุงเทพมหานคร ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าปัญหาในชุมชนเกิดจากการ ติดสุรา ก่อนลุกลามไปถึงปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด และปัญหาอื่นๆ นริ ท ร์ แป้ น ประเสริ ฐ ประธานชุ ม ชนวั ด โพธิ์ เรียง เขตบางกอกน้อย กล่าวถึงที่มาของชุมชนว่า เขต บางกอกน้อยมีชุมชนทั้งหมด 42 ชุมชน ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เป็นชุนชนหนึ่งอยู่ในเขตบางกอกน้อย เป็นชุมชนขนาด ใหญ่มีทั้งหมด 1,600 หลังคาเรือน ประเภทชุมชนแออัด สมัยก่อนนี้ชุนชมมีปัญหาเรื่องยาเสพติดเยอะมาก หลังจาก ปี 2540 เป็นต้นมา ตนและชาวบ้านเริ่มเห็นว่าหากอยู่เฉย ยาเสพติดจะเข้ามาถึงครอบครัวและตัวเยาวชนในชุมชน

มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย งเข้ า มาให้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ปลู ก ฝั ง เยาวชนให้ มี ภู มิ คุ ้ ม กั น ในชี วิ ต วั น นี้ ท างชุ ม ชนเราใหม่ ๆ เจอความ รุ น แรงเยอะ ตอนนี้ ห มดไปแล้ ว เพราะว่ า เราให้ ค วามรู ้ ว่ า อะไรผิ ด อะไรถู ก พ่ อ จะตี ลู ก ไม่ มี เ หตุ ผ ลไม่ ไ ด้ ผั ว จะตี เ มี ย ไม่ มี เ หตุ ผ ลไม่ ไ ด้ การด่ า กั น ไม่ ไ ด้ เราพยายาม ก� ำ จั ด สิ่ ง นี้ ทั้ ง หมด ณ วันนี้จึงเริ่มจัดกระบวนการให้ความรู้กับชาวชุมชน มีการประชุม กันบ่อยขึ้น หาแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ “พอปี 2554 น�้ำท่วมชุมชนไปกว่า 800 หลังคาเรือน เรา เห็นแล้วว่าน�้ำที่ขึ้นมาเป็นน�้ำเน่าจากบ้านเราใช้กันเอง ไม่ใช่น�้ำที่ อื่นเลย เราเริ่มท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อมชุมชนก่อน เริ่มบ�ำบัดน�้ำเสีย ไม่ ทิ้งขยะลงในคลอง ซึ่งชุมชนวัดโพธิ์เรียงมีทั้งหมด 3 คลอง คลอง มอญ คลองนางฟ้า คลองเทวดา ซึ่งเป็นคลองเดิมก่อนนี้เคยใช้ ล�ำเลียงดอกไม้ไปส่งที่ปากคลองตลาด หลังจากท�ำได้ระยะหนึ่ง เรา จึงเริ่มรณรงค์ให้คนในชุมชนใช้จักรยานมากขึ้น โดยใช้งบ SML ซื้อ จักรยาน 30 คัน เพื่อคนในชุมชน ได้ออกก�ำลังกายด้วย” 79 issue 107 DECEMBER 2016


หลังจากได้รับความร่วมมือจาก ชาวชุมชน ก็มีการประชุมกันถึงปัญหา ต่างๆ ไล่เรียงจากสิ่งที่พอจะแก้ไขได้ก่อน เช่น การส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัวหน้า บ้าน และก�ำแพงต่างๆ นอกจากจะเป็น แนวทางมีอยู่มีกินโดยไม่ต้องซื้อแล้ว ยัง เป็ น การปรั บ ภู มิ ทั ศ น์ ข องชุ ม ชนให้ น ่ า มองยิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนจากหน่วย งานต่างๆ น�ำศิลปินมาช่วยชาวบ้านวาด ก�ำแพงให้ดูสวยงามน่ามองยิ่งขึ้น “พอท�ำได้ช่วงหนึ่งก็เห็นว่าเรา ยังมีเรื่องของทะเลาะวิวาท พ่อแม่เมา ตีกับลูก ทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ก็ เข้ามาเสริมเติมเรา ให้ความรู้ให้มีห้อง ส� ำ หรั บ เป็ น ที่ ป รึ ก ษาส� ำ หรั บ ลด ละ เลิก ความรุนแรง ได้มูลนิธิครอบครัว พอเพียงเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝัง เยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันในชีวิต วันนี้ทาง

เป็ น จุ ด เรี ย นรู ้ อ ย่ า งหนึ่ ง ว่ า คนงดเหล้ า แล้ ว ท� ำ อะไร วั น นี้ ค นงดเหล้ า ของชุ ม ชนวั ด โพธิ์ เ รี ย งเปิ ด ตลาดขายของท� ำ ทั ว ร์ ท ่ อ งเที่ ย ว มี ก ารปั ่ น จั ก รยานเรี ย นรู ้ ชุ ม ชน มี มั ค คุ เ ทศก์ จิ๋ ว ปั ่ น จั ก รยานพาชม เราจะเปิ ด เป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วของชุ ม ชนด้ ว ย เพราะอนาคตจะเชื่ อ มระหว่ า ง ชุ ม ชนครั บ ตอนนี้ เ ราคิ ด ว่ า เราจะท� ำ ไงให้ ฝ ั ่ ง ธนฯ เรามี เ ศรษฐกิ จ ที่ ดี ขึ้ น ประชาชนพู ด คุ ย กั น มากขึ้ น วั ด บ้ า น โรงเรี ย น ต้ อ งท� ำ งานร่ ว มกั น ชุมชนเราใหม่ๆ เจอความรุนแรงเยอะ ตอนนี้หมดไปแล้ว เพราะว่าเราให้ความ รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก พ่อจะตีลูกไม่มี เหตุผลไม่ได้ ผัวจะตีเมียไม่มีเหตุผลไม่ ได้ การด่ากันไม่ได้ เราพยายามก�ำจัด สิ่งนี้ทั้งหมด” ประธานชุมชนวัดโพธิ์เรียง กล่าว ว่า เมื่อเห็นชุมชนมีผักสวนครัวกินแล้ว ก็ขยายโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามามี ส่ ว นร่ ว มในการค้ า ขายกั น เองในชุ ม ชน ปลูกเอง กินเอง ขายเอง โดยให้คนใน ชุมชนเป็นผู้มาขาย สร้างความสัมพันธ์ 80 IS AM ARE www.fosef.org

ในชุมชนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ภายใต้ ชื่ อ “ตลาดคุ ณ ธรรม คนเห็ น คน ลด ปัจจัยเสี่ยง ชุมชนวัดโพธิ์” โดยมีหน่วย งานต่างๆ เข้าสนับสนุน แวะเวียนมาให้ ความรู้ทุกๆ เดือน เช่น มูลนิธครอบครัว พอเพียง สสส. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และอีกหลายหน่วยงานที่มองเห็นว่า วัน นี้ชุมชนวัดโพธิ์เรียงมีการก�ำหนดกรอบ อบายมุ ข อย่ า งชั ด เจน โดยเฉพาะการ สนับสนุนให้คน “เลิกเหล้า” “คนที่เคยกินเหล้าตามแยกก็หนี ไปกินในบ้าน ร้านค้าในชุมชนขายเหล้า


ปั่นจักรยานพาชม เราจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ด้วย เพราะอนาคตจะเชื่อมระหว่างชุมชนครับ ตอนนี้เราคิด ว่าเราจะท�ำไงให้ฝั่งธนฯ เรามีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประชาชนพูด คุยกันมากขึ้น วัด บ้าน โรงเรียน ต้องท�ำงานร่วมกัน ‘บวร’ คนที่มาร่วมงานแต่ละเดือนคือคนงดเหล้าหมดเลยครับ รวม ถึงเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาให้ความรู้แก่คนใน ชุมชนด้วย” นริทร์ แป้นประเสริฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า การแก้ปัญหา ต้องกล้าที่จะเผชิญด้วยความจริงใจ ให้ชาวบ้านเห็นถึงความ ตั้งใจที่จะแก้ปัญหา เพื่อประโยชน์และความสุขร่วมกันอย่าง ยั่งยืน

บุหรี่ เป็นเวลา ไม่ขายนอกเวลา วันนี้เรามีกติกาชุมชน แล้วก็เรื่อง ของการปรับภูมิทัศน์ เรื่องของสุขภาพ เรื่องของการให้ความรู้ เรื่องของ ลด ละ เลิก ปัจจัยเสี่ยงและลด ละ เลิก ความรุนแรง ทุกประเภท เรื่องนี้เราให้ความส�ำคัญเพราะเราถือว่า ‘คนคือคน เหมือนกัน’ วันนี้ก็เลยมีหน่วยงานเข้ามาเสริมเติมให้ วันนี้ก็จัด สัมมนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เป็นครั้งที่ 5 แล้วครับ เดือนละ ครั้ง วันนี้เครือข่ายจาก 8 เขต ในฝั่งธนฯ ทั้งหมดมาดูงาน เอา คนงดเหล้ามาให้ก�ำลังใจร่วมกัน “เป็นจุดเรียนรู้อย่างหนึ่งว่า คนงดเหล้าแล้วท�ำอะไร วันนี้คนงดเหล้าของชุมชนวัดโพธิ์เรียงเปิดตลาดขายของท�ำ ทัวร์ท่องเที่ยว มีการปั่นจักรยานเรียนรู้ชุมชน มีมัคคุเทศก์จิ๋ว

81 issue 107 DECEMBER 2016


Round About

ครอบครัวพอเพียงจับมือชุ มชนบางกอกน้อย เติมรัก สร้างความสามัคคีในชุ มชน มูลนิธิครอบครัวพอเพียง ร่วมมือกับภาค รัฐและชุมชนบางกอกน้อย จัดโครงการ “สายใย รักครอบครัวพอเพียงต้นแบบ รุ่นที่ 1” ระหว่าง วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2559 ณ หอประชุมวา สุกรี โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย เพื่อสืบสานพระราช ปณิ ธ านตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนและ เยาวชนในพื้นที่บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มพลเมืองใหม่ที่มีจิตอาสา พร้อมที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย มีทัศนะคติการมองเรื่องของตนเองน้อยลงและมอง สิ่งใดที่ได้ท�ำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมากขึ้น เกิดความสามัคคีในครอบครัวจากการท�ำกิจกรรมร่วมกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมนั้นก่อให้เกิด ความสมานฉันท์ รักใคร่ปรองดองและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่มีความแตก ต่างทางด้านภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์ โลกทัศน์ที่กว้างใหญ่ ความเป็นอัตลักษณ์ของถิ่นอาศัยสร้างแรงบันดาลใจในหลายมิติ มีสุขภาพกายและจิตใจดี สร้างความเข้มแข็งของสังคมในอนาคต มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างยั่งยืน

มู ลนิธิ IKEA บริจาค 1 ยู โรต่อตุ๊กตาผ้าหนึ่งตัวช่ วยโรงเรียนใน 7 ประเทศของแอฟริกา โครงการ Soft Toys เพื่อการศึกษาเป็นโครงการระดับโลก ที่จัดขึ้นทุกๆ สิ้นปีและมีระยะเวลาประมาณสองเดือน โครงการ นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง IKEA และมูลนิธิ IKEA (IKEA Foundation) ที่มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมเงินช่วยเหลือและสร้างความ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการศึกษาเยาวชนที่มีต่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตของพวกเขา ให้หลุดพ้นจากวงจรความยากจน ความ ส�ำเร็จของโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมใจของลูกค้า IKEA ทุกคน เพราะมูลนิธิ IKEA ได้บริจาค 1 ยูโรต่อตุ๊กตาผ้าหนึ่ง ตัวที่ลูกค้าช่วยกันซื้อในช่วงเวลาดังกล่าว UNICEF น�ำเงินบริจาคที่ได้จากโครงการ Soft Toys เพื่อ การศึกษาของปีที่แล้วไปสนับนุนโรงเรียนต่างๆใน 7 ประเทศของ ทวีปแอฟริกา ปัญหาที่พบทั่วไป เช่น ปัญหาขาดแคลนโรงเรียนและ อุปกรณ์การเรียนการสอน ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการออกจากโรงเรียนก่อนส�ำเร็จการศึกษาสูงขึ้น UNICEF ก�ำลังด�ำเนินการเพื่อก่อตั้งโรงเรียนในชุมชนที่ขาดแคลน และให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนที่มีอยู่เดิมให้สามารถ จัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในระดับประถมศึกษาได้อย่างสมบูรณ์

82 IS AM ARE www.fosef.org


“ขออวยพรให้ทุกท่านมีก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และก�ำลังปัญญา ตลอดจนขวั ญ และความสุ ข เพื่ อ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ พื่ อ ประเทศและ ประชาชน ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ดี มีความตั้งใจ มีความขันติ มีความอดทน ตลอดจนมี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะศึ ก ษาปั ญ หาและแก้ ปัญหาก็จะได้ผลต่อประเทศ และเป็นบุญเป็นกุศลที่ท่านได้ท�ำให้ กับตนเองด้วย เพราะว่าการปฏิบัติงานนั้นไม่ว่าจะปฏิบัติงานใดย่อม มีปัญหา ย่อมมีอุปสรรค ซึ่งปัญหาและอุปสรรคนั้น คือบททดสอบ และบททดสอบอันนี้จะเป็นบทเรียน และจะเป็ น สิ่ ง ที่ เ พิ่ ม ความสามารถให้ กั บ ท่ า น มี อ ะไรก็ ปรึกษากัน หาข้อมูลที่ถูกต้อง และปฏิบัติด้วยความรอบคอบให้ สมกับสถานการณ์และเหตุผล ก็ขอให้พร และขอพระบารมีแห่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงคุ้มครอง

ได้ทรงชี้แนะ และปกปักษ์รักษาพวกท่าน” “เพราะว่ า ตลอดระยะเวลา 70 ปี ได้ ท รงมี พ ระ มหากรุณาธิคณ ุ ได้ทรงปฏิบตั มิ ามาก และหลายอย่างได้พระราชทาน พระราชด�ำริ และพระราชทานแนวทางไว้ ก็ขอฝากให้ท่านได้ศึกษา พระราชด�ำริ ศึกษาวิเคราะห์ พระราชปณิธานและศึกษาพระราช กรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติมา อั น นี้ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ เ ป็ น สิ ริ ม งคลและเป็ น ยิ่ ง กั บ พระที่ คุ ้ ม ครองพวกเรา การปฏิ บั ติ ต ามหรื อ การระลึ ก ถึ ง พระ มหากรุ ณ าธิ คุ ณ ระลึ ก ถึ ง พระราชด�ำ ริ ห รื อ พระราชปณิ ธ านของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นี้จะเป็นพระ เป็นแสงสว่าง ที่คุ้มครองหรือแนะน�ำพวกเราต่อไป”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี น�ำคณะรัฐมนตรี ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ จ�ำนวน 12 คน เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 83 issue 107 DECEMBER 2016


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.