Isamare dec web

Page 1

IS AM ARE

1 issue 95 december 2015

ฉบับที่ 95 ธันวาคม 2558 www.Fosef.org


ฑีฆายุโกโหตุ มหาราชา เนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า มูลนิธิครอบครัวพอเพียง 2 IS AM ARE www.ariyaplus.com


“หลักของคุณธรรม คือการคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะท�ำสิ่งไร จ�ำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวม สติให้ตั้งมั่น และให้จิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยช�ำนาญแล้ว จะกระท�ำได้คล่องแคล่ว ช่วยให้สามารถแสดงความรู้ ความคิด ในเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิดทั้งหลักวิชาทั้งหลักคุณธรรม” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ในพิ ธี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต รของจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

3 issue 95 december 2015


Editorial

ฉบับสุดท้ายของปีมะแม แต่เป็นเดือนเริ่มต้นปีที่สองของศูนย์ครอบครัว พอเพียง ใน ๗๖ จังหวัด ๗๖ โรงเรียนทั่วประเทศและอีก ๔๗ โรงเรียนในเขต กรุงเทพมหานคร ถึงวันนี้เมื่อเปิดเข้าเฟสบุ๊ค ครอบครัวพอเพียง จะพบกับศูนย์ครอบครัว พอเพียง_โรงเรียน................. เรียกว่าอยากจะเห็นกิจกรรมใดๆ ที่เยาวชนระดับ มัธยมปลายจังหวัดไหนหรือโรงเรียนอะไร เช่น โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นต้น พวกเขาท�ำอะไรกันและท�ำทีไหน ท�ำกับใคร ท�ำเมื่อไรและสิ่งที่พวกเขาท�ำ นั้นเขาได้อะไรกลับมา เช่น ได้ความซื่อสัตย์ ได้รับผิดชอบอะไรกับใคร และได้เรื่อง ของจิตอาสาอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของประเทศเมื่อเยาวชนครอบครัวพอเพียง เหล่านี้เติบใหญ่ในสังคม เรากล้าบอกได้เลยว่า ประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัดจากเครือข่ายครอบครัวพอเพียง เครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่ว ประเทศ เครือข่ายความดีที่พวกเขาท�ำแบบปิดทองหลังพระและสักวันหนึ่งทองที่ พวกเขาปิดบนองค์พระนั้นก็จะท่วมท้นไปทั้งองค์พระและสุดท้ายองค์พระนั้นก็จะ มีความงามเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น ทองที่ปิดบนองค์พระนั้นก็ เปรียบดั่งความดีที่พวกเขาได้ท�ำในวันนี้

mookkarsa@gmail.com www.fosef.org

ครอบครั ว พอเพี ย ง คื อ รากแก้ ว ของแผ่ น ดิ น ครอบครัวพอเพียงไม่มีวันตาย ตราบใดที่ผืนแผ่นดินนี้ยังคงมีคนไทยอาศัยอยู่ ตราบใดที่คนไทยไม่ขายชาติ ขายแผ่นดินเกิด หรือร่วมกันคอร์รัปชันจนชาติต้องล่มสลาย ตราบนั้นครอบครัวพอเพียงก็ยังอยู่ ยิ่งนานวันสมาชิกครอบครัวพอเพียงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น มากขึ้นและมีความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นเครือข่ายของคนที่มีความคิด เดียวกัน มีความรักและศรัทธาที่ใหญ่หลวงบวกกับความเชื่อมั่นต่อหลักคิดที่ว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้เรามีความสุขที่ มั่นคง และสร้างความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน พวกเราค้นพบความสุขได้โดยง่ายและง่ายที่สุดเพียงแค่คิด คิดว่าเราคือครอบครัวพอเพียง เท่านี้ก็สุขแล้ว ปีใหม่ก�ำลังจะมาเยือนท�ำให้เราคิดต่อไปอีกว่าในปีหน้าที่จะมาถึงนี้จะมีพี่ๆครอบครัวพอเพียงจ�ำนวนมากจบการศึกษากัน แล้วและก็คงจะเหมือนกับรุ่นพี่ที่ผ่านมา ที่ปัจจุบันท�ำงานมีหน้าที่อยู่ในหลายองค์กรแต่ก็ยังบอกกับทุกคนว่า พวกเขาคือครอบครัว พอเพียง และในปีใหม่ที่ก�ำลังจะมาถึงนี้พวกเราจะได้มีสมาชิกใหม่ที่มาร่วมเป็นครอบครัวพอเพียงกันอีกกี่หมื่นคน แค่คิดก็มีความสุข เปี่ยมล้นในจิตใจเลยทีเดียว อย่าลืมนะค่ะเข้าเฟสบุ๊คดูลูกหลานเพื่อนพ้องและน้องพี่ของเราครอบครัวพอเพียงหรือจะไปตามเชียร์ โรงเรียนใดก็กดติดตามในเพจครอบครัวพอเพียงได้เลยค่ะ. และมาถึงเรื่องราวของการเดินทางกับคาราวานครอบครัวพอเพียงมอบไออุ่น ครั้งที่ ๑ ในเดือนหน้าที่จะถึงนี้ น้องๆ สมาชิก ครอบครัวพอเพียงทางภาคเหนือเรียกร้องมาว่าโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน ที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีจ�ำนวนนักเรียนรวมแล้วประมาณ ๑๑๐ คน สภาพครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน เขามีความต้องการเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่เขาได้บ้าง สมาชิกครอบครัว พอเพียงในเขตกรุงเทพฯ จึงได้ริเริ่มที่จะรวบรวมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและสิ่งของใช้จ�ำเป็นบวกกับรองเท้าผ้าใบ กางเกงยีนส์และใจ ถึงๆ ค่ายนี้เราจะไปกันแค่ ๙๐ คน ๓ วัน ๒ คืน กติกาของคนร่วมการเดินทางครั้งนี้ พี่ๆค่ายบอกมาว่า อยากจะชวนคุณพ่อ-คุณแม่ ไปด้วย ตามมติที่ประชุม ครอบครัวใดสนใจที่พร้อมจะเดินทางไปกับครอบครัวพอเพียง เตรียมตัว เตรียมใจกันไว้เนิ่นๆนะค่ะ และถ้า ตกขบวนนี้ก็ต้องรอไปขบวนหน้ากับค่าย Friend camp @ Bangkok ครั้งที่ ๓ กันนะค่ะ 4 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกิตติมศักดิ์ นางสุชานี แสงสุวรรณ ประธานกรรมการ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ รองประธานกรรมการ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง รองประธานกรรมการ นางสาวเอื้อมพร นาวี กรรมการและเลขาธิการ นายเอกรัตน์ คงรอด กรรมการและเหรัญญิก ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ นายอภีม คู่พิทักษ์ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ กรรมการ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร กรรมการ นางรจนา สินที กรรมการ นายธงชัย วรไพจิตร กรรมการ นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์,

ประธานด�ำเนินการ : บรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ :

ศิลปกรรม : ภาพปก :

ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

นิพนธ์ ก้องเวหา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรวิก อุนะพ�ำนัก อภีม คู่พิทักษ์ พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด กิตติ พลศักดิ์ขวา ชาวจังหวัดเลย (เทคนิค สีน�้ำมัน) นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

Start and Enjoy!

5 issue 95 december 2015


Hot Topic

26

ความในใจของผู ้ก�ำกับมือ หนึ่งแห่งยุ ค ไก่ วรายุ ท มิลินทจินดา

68

58

หลับไหล สุรชั ย จันธิมาธร

ปรัชญา ชี วิต แนวคิดและจิตใจ รัฐมนตรีมังสวิรัติ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

Don’t miss

10

ในยามที่พระเจ้า

18 20 40 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com

34


Table Of Contents

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ หนึ่งที่มีผลการเรียนดีมาตั้งแต่เด็ก ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทยในสมัยของท่าน ทั้งยัง ร่วมกับภรรยา ทญ.สุภาพร เจริญเศรษฐศิลป์ ส่งต่อความรู้ความสามารถสู่ลูกชายทั้งสอง ให้เป็นคนไทยสองคนแรกที่ได้ไปเรียนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศ อังกฤษในระดับปริญาตรี ท่านเป็นจิตแพทย์เด็กชาวไทยที่ท�ำงานในประเทศอังกฤษ และ เป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยลอนดอน หนังสือ “ค�ำภีร์การเลี้ยงลูก”

7 issue 95 december 2015

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คุณเป็นแบบไหน เด็กก่อนค่าย เด็กหลังค่าย ตัวไกล...หัวใจอยู่ไกล้ ประโยชน์ของการขี่จักรยานล้อเดียว หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน Dhamma Today พร 5 ข้อ จากท่าน ว. Cartoon Let’s Talk ความในใจของผู้ก�ำกับมือหนึ่งแห่งยุค ไก่ วรายุท มิลินทจินดา สัมภาษณ์พิเศษ นพ.เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา เรื่องราวรอบตัว เศรษฐกิจไทยกับบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ ทางอยู่รอดที่มั่นคงยั่งยืน Is Am Are ต�ำบลเขาคอก จังหวัดบุรีรัมย์ Cover Story นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ บทความพิเศษ สุรชัย จันทิมาธร มูลนิธิชัยพัฒนา มหาราชกับพระราชธิดา ผู้ทรงด�ำเนินตามรอย พระยุคลบาท Round About

8 12 18 17 20 22 26 34 40 46 50 58 68 74 80


ฑีฆายุโกโหตุ มหาราชา เนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 8 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คุณเป็นแบบไหน

› เด็กชาย 14 ปี + จักรยานยนต์ + ซิ่ง = แว้น › เด็กชาย 15 ปี + แต่งตัวล�้ำยุค + ชอบโก้, โดดเด่น + มั่นในตัวเอง = ฮาร์ด › สาวน้อย 16 ปี + ใส่แว่นหนา + เอาแต่เรียน + แต่งตัวเชยๆ+ อยู่แต่ หอ,บ้าน = เนิร์ด › หนุ่มน้อย 17 บ้าคอมพิวเตอร์ สุดๆ + ไม่สนใจสังคม + ไม่เอาใคร + ไม่ ค่อยท�ำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน = กี๊กค์ › สาวน้อย 18 ปี + ตัดผมแบบ ผู้ชาย + เสื้อผ้า รองเท้า ผู้ชาย + มั่น = ทอม › สาวน้อย 19 ปี + ชอบคบเพื่อน เป็นทอม = ดี้

ในยุ ค สมั ย ที่ โ ลกนี้ เต็ ม ไปด้ ว ย สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ห ลากหลาย ความเป็ น เมืองระบาดไปทั่ว มีระบบการสื่อสารที่ รวดเร็ว และ worldwide ผ่าน internet ชี วิ ต บู ช าความเร็ ว และความเร่ ง รี บ ครอบครั ว มี ข นาดเล็ ก ลงและต่ า งคน ต่ า งอยู ่ ปั จ จั ย เหล่ า นี้ ส ่ ง ผลต่ อ บุ ค คลิ ค ภาพของคนในด้านที่ท�ำให้เกิด “ความ เคยชิน, ความชอบ, ลักษณะเฉพาะตัว” ทั้งในด้านเสื้อผ้า, แฟชั่น, ทรงผม, ความ สนใจเฉพาะด้ า นและทุ ก ๆอย่ า งที่ เ ป็ น “บุคลิกภาพ” ของเรา ....ค�ำว่า “เด็กฮาร์ด” นั้น ผู้รู้บอก ว่ า เป็ น เรื่ อ งของแฟชั่ น ที่ ช อบโก้ ชอบ เด่น เช่น เมื่อคลั่งไคล้ดาราหรือนักร้อง 9 issue 95 december 2015

www.nhso.go.th

คนใดคนหนึ่ ง ก็ จ ะแต่ ง ตั ว ตามอย่ า ง กลายเป็นแต่งตัวแปลกๆ ย้อมผมสีต่างๆ แต่ยังดีที่เด็กไทยยังไม่ฮาร์ด แบบเจ็บตัว เจาะหู เจาะจมูก ใส่โน่นนี่แบบฝรั่ง ค�ำว่า เด็กฮาร์ดในเมืองไทย จึงไม่ใช่เรื่องของ เด็กที่มีปัญหา หรือ ไม่มีปัญหา เพราะ ออกไปทางแนวแฟชั่น + พฤฒิกรรมมั่น (ใจ) เสียมากกว่า บางทีก็ออกไปทางโจ๊ก นิดๆ บางคนหาอะไรมาคาดหัวหน่อย เอา เชือกมาคาดแขนนิด ก็กลายเป็นเด็กฮาร์ด ผู้ใหญ่ฮาร์ด หรือ อาจารย์ฮาร์ดก็ได้ มีคนตั้งข้อสังเกตว่า เด็กฮาร์ดมี ทั้งฮาร์ดสุ กับ ฮาร์ดโส ฮาร์ดสุ คือ สุภาพ พวกนี้จะพูดจาดี แต่งตัวสะอาด (แต่ชอบ โก้, อวด) เด็กกลุ่มนี้บางคนก็เรียนหนังสือ


หนังหาตามปกติ อีกกลุ่มเป็นพวกฮาร์ดโส คือ โสโครก มักแต่งตัวดูไม่ค่อยเรียบร้อย ท�ำอะไรแปลกๆ บางคนก็เรียกร้องความ สนใจทางลบ บางคนมี จิ ต ใจที่ ไ ม่ ค ่ อ ย เป็นปกตินัก ส่วนเด็กเนิร์ด (Nerd) นั้น คือ คนที่ ท� ำ อะไรด้ ว ยความชอบเป็ น หลั ก ใช้ เ หตุ ผ ลและตั ด สิ น ใจบนพื้ น ฐานของ ความชอบ หรือ ความหมกหมุ่น โดยไม่ ได้ใส่ใจเรื่องเงินทอง หรือ การได้รับการ ยอมรับจากสังคม เด็กเนิร์ด มักมีทักษะ โดยเฉพาะ ทางด้ า นเทคนิ ค บางอย่ า งสู ง เป็ น พวก ที่ มั ก มี จิ น ตนาการสู ง บางคนฉลาด หลั ก แหลมกว่ า คนธรรมดามาก เด็ ก เนิร์ดมักชอบความแปลกใหม่ ของใหม่ ใช้คอมพิวเตอร์คล่อง ในสายตาคนทั่ ว ไปมั ก มองว่ า พวกเด็กเนิร์ดงุ่มง่าม ขี้อาย และไม่ค่อย มี เ สน่ ห ์ ตั ว อย่ า งของเด็ ก เนิ ร ์ ด ที่ เ ป็ น ตั ว ละครดั ง ๆในหนั ง และหนั ง สื อ คื อ เวลมา ดิ ง ก์ เ ลย์ (Scoopido), โทบี ย ์ แม็กไกวร์ (Spiderman) และ เอ็มม่า วัตต์สัน (Harry Potter) ค�ำว่า เนิร์ด ถูกน�ำมาเรียกขาน ราวปี 1950 จากการที่สถาบันการศึกษา ทางวิ ท ยาศาสตร์ & เทคโนโลยี ข อง อเมริกา แบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม พวกแรก คือ กลุ่มDrunk ที่ไม่ชอบเรียน เอาแต่ปาร์ตี้ เมาหัวราน�้ำ กลุ่มที่สองเป็น พวก Knurd (เขียนกลับหลังค�ำว่า Drunk) เพราะกลุ่มนี้มักเอาแต่เรียน แล้วกลับหอ ไม่สนใจกิจกรรมสังคม ต่อมามีการตัดตัว K ออกไป Bill Gates, Steve Jobbs เป็น ตัวอย่างของเนิร์ดที่ประสบความส�ำเร็จ ในชี วิ ต และเป็ น แบบอย่ า งของคนทั่ ว โลก แพทย์, วิศวกร ดังๆหลายคนก็เป็น ตัวอย่างของเด็กเนิร์ดมาก่อน

ส่วนค�ำว่า กี๊กค์ (Geek) มาเกิด ราวปี 1980 พวกนี้มีความสนใจหลาก หลาย กว้างกว่าพวกเนิร์ด (เนิร์ด มัก ใส่ ใจด้ า นวิ ช าการ, เทคโนโลยี ) พวก Geek จะสนใจเรื่ อ งที่ ห ลากหลายกว่ า เช่น ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภูมิศาสตร์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องมือ ถ่ายภาพ บางคนมองว่าพวกเนิร์ดเป็นเพียงแค่ใส่ใจ ให้เวลาศึกษาเรียนรู้กับเรื่องที่ตัวเองชอบ แต่พวก Geek จะถึงขนาด “หมกหมุ่น” และเอาเป็นเอาตายกว่า บางคนอาจรู้สึก ว่าพวก Geek มักจะไม่ค่อยท�ำอะไรเป็น ชิ้นเป็นอัน เพราะมัวแต่ลุ่มหลงอย่างสุดๆ จนใส่ใจกับสังคมน้อยมากๆ จริ ง ๆ แล้ ว ค� ำ ว่ า Nerd และ Geek มีบางอย่างที่ซ�้ำซ้อน เหลื่อมกัน ใน อเมริกาเองมีการใช้ค�ำ 2 ค�ำนี้ที่แตกต่าง กันระหว่างฝั่งตะวันออก กับฝั่งตะวันตก และบางทีก็ท�ำให้คนสับสน บางคนก็มอง เด็กเนิร์ด และ กี๊กค์ เป็นทางลบ บางคน ก็มองในเชิงเอ็นดู ปั จ จุ บั น นี้ ค วามหมายของค� ำ ว่ า Nerd และ Geek เริ่มเปลี่ยนไปในทาง บวกมากขึ้น และเป็นค�ำที่ใช้เรียกหาได้ ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง ส่วนทอมและดี้ซึ่งมักเห็นคู่กัน ก็ เป็นปรากฎการณ์ที่เพิ่งเป็นที่ยอมรับของ สังคมในช่วงไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมานี้เอง ก่อนหน้านั้นผู้หญิงที่ชอบแต่งตัวทรงผม เลียนแบบผู้ชาย มีบุคคลิคถึงไหนถึงกัน ห้ า ว มั ก ถู ก มองจากสั ง คมด้ ว ยสายตา ต�ำหนิติเตียน... สาวทอมมีระดับความอ่อน แก่ ตั้งแต่เพียงแค่ชอบแต่งตัวแบบผู้ชาย แต่ นิสัยอาจสลับไปสลับมาระหว่างเป็นหญิง ชาย ไปจนถึงบางคนที่ชาตินี้ขอเป็นผู้ชาย ให้มากที่สุดในทุกๆด้าน ผู้ปกครองหลาย คนอาจปวดหั ว ที่ ลู ก สาวกลายเป็ น สาว ทอม แต่สังคมทุกวันนี้ท่ียอมรับในความ 10 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เสมอภาคทางเพศมากขึ้ น ก็ ใ ห้ คุ ณ ค่ า สาวทอมไปในทางบวกมากขึ้น บางคนก็ เป็นนักร้องชื่อดัง บางคนก็เป็นคนมีหน้า มีตาในสังคม... ปรากฎการณ์เกือบทุกอย่างด้าน บุคคลิกภาพที่ถูกเรียกชื่อไปต่างๆนานา ที่ผมอธิบายไปเบื้องต้นนั้น บางอย่างเป็น แฟชั่น บางอย่างเป็นชั่วครู่ชั่วยาม สังคม ใส่ ใจอยู ่ ไ ม่ น าน บางอย่ า งอยู ่ น านเป็ น สิบๆปี บางอย่างกลายเป็นศัพท์ปกติใน พจนานุกรม สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ชอบ การ “จับกลุ่ม” ชอบการคัดแยก ชอบ ตัดสินคนเพื่อความสะดวกในการเรียกหา และหล่อหลอมสังคมอยู่ร่วมกัน สิ่งที่เคย ถูกมองด้านลบ อาจกลายเป็นบวกหรือ น่าเอ็นดูไปในต่างกรรมต่างวาระ นี่คือ ปรากฏการณ์ ท างสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลง อยู่ตลอดเวลา สิ่งส�ำคัญที่สุด คือ เราควรค้นหา ตัวเองให้เจอ ท�ำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ เป็นโทษภัยต่อตัวเอง และคนที่อยู่รอบๆ ตัว มองโลกอย่างชาญฉลาด ใฝ่เรียนรู้ ใน ความเป็นไปของสังคมและโลกอยู่ตลอด เวลา อย่าปล่อยตัวเองให้จมปลัก และ ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือบาง เรื่องมากเกินไป... คนที่เอาแต่หมกหมุ่นกับชีวิตตัว เองมากเกินไป มักไม่ค่อยมีความสุขและ สงบในบั้นปลายของชีวิต...

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา


11 issue 95 december 2015


สิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์อยู่ตรงหน้า ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงของเด็ ก หญิ ง -ชาย ที่ ไ ด้ ม าท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น ในค่ า ย แม้ ระยะเวลาเพียง ๒ วัน ๑ คืนหรือเพียง แค่ ๑ วันก็ตาม ความแตกต่างจากสถาน ศึกษาไม่ได้เป็นอุปสรรคในการที่เด็กค่าย จะท�ำความรู้จักกัน ความร่วมมือในการ ท� ำ กิ จ กรรมต่ า งๆ ให้ ส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว งหรื อ การท�ำกิจกรรมสันทนาการเพื่อให้รู้จัก กันพี่ค่ายที่ได้รับการฝึกอบรมในการจัด สันทนาการมาเป็นอย่างดี หลักจิตวิทยา ที่ได้ร�่ำเรียนมาก็ได้น�ำมาใช้ในการน�ำค่าย อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ผสมผสานเพื่อ

ให้ เ กิ ด สี สั น ความสนุ ก สนานและได้ รั บ ความประทับใจหรือบางครั้งยังสร้างหลัก คิดให้แก่เยาวชนได้อีกทางหนึ่ง เริ่ ม ต้ น จากความต้ อ งการหรื อ การจ�ำใจที่จะมาค่ายในวันหยุดปิดเทอม วันเสาร์-อาทิตย์ น้องๆหลายคนแค่คิด ก็ล้มตัวนอนไปกับหมอนหลายครั้งกว่า จะฉุดร่างกายให้มีความพยายามลุกขึ้น ซึ่งบางค่ายนัดพบกันในเวลาที่ฟ้ายังมืด เสี ย ด้ ว ยซ�้ ำ แถมจุ ด รวมพลก็ ไ กลจาก บ้ า นมากมายจนบางครั้ ง ต้ อ งรบกวนผู ้ ปกครองให้ ม าส่ ง ยั ง จุ ด นั ด พบหรื อ ต้ อ ง ต่ อ รถหลายต่ อ พร้ อ มกั บ แบกกระเป๋ า 12 IS AM ARE www.ariyaplus.com

สั ม ภาระใบใหญ่ ที่ ช าวค่ า ยบอกว่ า ทุ ก อย่ า งที่ น� ำ มานั้ น “จ� ำ เป็ น ” หมดเลย หลายครั้งเมื่อเทกระเป๋าออกมาก็พบว่า มีทั้งไดร์เป่าผม พาว์เวอร์แบงค์ ๒-๓ อัน ที่ชาร์จโทรศัพท์ สายพ่วง ครีมกันแดด ครีมอาบน�้ำ ครีมถนอมผิว ครีมล้างหน้า มอยซ์เจอร์ไรซ์เซอร์ ครีมลดริ้วรอย ครีม บ�ำรุงผิวกลางวัน ครีมบ�ำรุงผิวกลางคืน กรรไกรตัดเล็บ ยาทาเล็บ แว่นสายตา ชุดนอน ชุดใส่เล่น ผ้าคลุมตัวไปอาบน�้ำ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้า ผ้าใบ รองเท้ายาง หรือบางคนเป็นเอา มากคือต้องมีหมอนส่วนตัวหรือนายเหม็น


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย (ตุ๊กตาที่ตัวด�ำๆ หูขาดบ้าง ขาเป็นรูบ้าง ขนาดเล็กใหญ่แล้วแต่ใจของเจ้าของ)และ อื่นๆ อีกมากมาย จากความพยายามที่ จ ะลุ ก จาก หมอนหลายคนท�ำส�ำเร็จและหลายคนก็ ล้มเหลว ค่ายหลายค่ายเราจะพบปะกับ น้องๆ ซึ่งท�ำหน้าที่เป็นพี่ค่ายที่หน้าตาคุ้น เคยเรียกว่าเห็นกันจนเบื่อ ก็จะอะไรเสีย อีกทั้งพี่ค่ายชาย-หญิงที่เราเห็นอยู่บ่อย นั้นเขามักจะบอกกับน้องๆที่มาค่ายใหม่ๆ ว่า กิจกรรมค่ายคือบ้านที่สองของพี่ เมื่อ เราได้ยินเราก็นึกยิ้มในใจ ถ้าเป็นค่ายอื่น ที่มีการเรียกเก็บเงินครั้งละหลายๆร้อย คงเห็นหน้าพี่ค่ายแค่ครั้งเดียว แต่กับค่าย ครอบครัวพอเพียง น้องๆจะไปกี่ครั้ง กี่ หนก็ไม่เคยเก็บเงินแม้แต่บาทเดียว เรียก ว่าไปสนุกลุกนั่งสบาย แถมสุขใจที่ได้ท�ำ กิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ทั้งต่อตนเอง หรือผู้อื่น และอีกประการที่ส�ำคัญได้พบ เพื่ อนดี ๆ ใหม่ๆอยู่เสมอ แถมปลอดภัย เพราะทุกค่ายที่เราจัดจะมีผู้ใหญ่ใจดีจาก หลายหน่วยงานมาประสานเพื่อการเดิน ทางให้ปลอดภัยอยู่เสมอ และอี ก ค่ า ยที่ อ ยากจะเล่ า ให้ สมาชิ ก ครอบครั ว พอเพี ย งได้ อ ่ า นคื อ ค่ า ยสร้ า งฝาย ที่ จั ง หวั ด ราชบุ รี ค่ า ย นี้ ใช้ เวลา ๒ วั น ๑ คื น แต่ ต ้ อ งบอก ก่ อ นนะค่ ะ ว่ า ที่ น� ำ มาเล่ า นี้ คื อ ค่ า ยครั้ ง แรกที่ เราจั ด ขึ้ น จั ง หวั ด ราชบุ รี ไ ม่ ไ กล จากกรุงเทพมหานครสักเท่าไร แต่กว่า จะถึ ง ที่ ห มายก็ เ ล่ น เอาผู ้ เ ดิ น ทางเสี ย ง แหบจากการร้องเพลงและเอวเคล็ดกัน หลายคนจากการที่ เวลารถวิ่ ง แล้ ว ต้ อ ง เลี้ยวซ้ายที ขวาที จากถนนเพชรเกษม ลึ ก เข้ า ไปกว่ า ๘๐ กิ โ ล ก็ ถึ ง ที่ ห มาย คือ โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอัน เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ ส มเด็ จ พระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ�ำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่าง

จากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๑๙๐ กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุใน ความดูแลของกองทัพบก พื้นที่โครงการ มีประมาณ ๑๓๒,๙๐๕ ไร่ หรือประมาณ ๒๑๐ ตารางกิโลเมตร โครงการนี้ เ กิ ด ขึ้ น จากแนวพระ ราชด�ำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานไว้เมื่อ ครั้งเสด็จพระราชด�ำเนินทอดพระเนตร การด�ำเนินงานโครงการ เมื่อวันที่ ๒๔ มี น าคม ๒๕๓๘ ส� ำ หรั บ เป็ น แนวทาง ด� ำ เนิ น งานโครงการอุ ท ยานธรรมชาติ วิทยา ดังนี้ ๑. การปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ เ พื่ อ ใช้ เป็ น สถานที่ ศึ ก ษาสภาพธรรมชาติ จะ ต้ อ งก� ำ หนดให้ มี รู ป แบบและวิ ธี ก ารที่ ชัดเจน โดยให้เริ่มด�ำเนินงานในพื้นที่ซึ่ง 13 issue 95 december 2015

มี ข นาดเล็ ก ก่ อ นแล้ ว จึ ง ขยายผลไปใน พื้นที่อื่นๆ ๒. ท�ำการส�ำรวจทรัพยากรทาง ชี ว ภาพและกายภาพในพื้ น ที่ แ ห่ ง นี้ ใ ห้ ละเอียด และเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบ ถ้วน ๓. น� ำ ผลการส� ำ รวจและข้อมูล ที่ ร วบรวมได้ ม าท� ำ การศึ ก ษาและวิ จั ย เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ รวม ทั้งให้น�ำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น ๔. การด� ำ เนิ น งานทุกขั้นตอน ควรที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการด�ำเนินงานด้วย วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องโครงการ ๑. อนุ รั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ส ภาพ


๔. ส่งเสริมให้ประชาชน และองค์กรราชการส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการ และมีหน่วยงานรับผิดชอบคือ ส�ำนักพระราชวัง/กองพล พัฒนาที่ ๑ และเมื่อเราได้ประสานไปยังผู้รับผิดชอบโครงการ เรียบร้อยเราก็ได้น�ำเยาวชนกว่า ๑๒๐ คนไปท�ำกิจกรรม คือไป ธรรมชาติในพื้นที่โครงการ เพื่อเป็นสถานที่ส�ำหรับการศึกษา สร้างฝายกั้นน�้ำขนาดเล็ก จากจุดที่เราใช้เป็นที่พักค้างและจุด ที่ต้องไปสร้างฝายนั้นอยู่ห่างกันเกือบ ๓ กิโล และมีทางเดียว สภาพธรรมชาติในรูปแบบของโรงมหรสพทางธรรมชาติ ๒ . ท� ำ ก า ร ส� ำ ร ว จ ศึ ก ษ า วิ เ ค ร า ะ ห ์ วิ จั ย ที่จะไปถึงคือ เดิน พวกเราใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯมาถึงราชบุรีเพียง ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่โครงการ เพื่อประโยชน์ ทางด้านวิชาการ รวมถึงน�ำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ๑ ชั่วโมงเศษ และเราก็มาถึงที่นี่ในเวลา ๙ โมงเช้า เมื่อได้พักรับ ประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป โดยระมัดระวังไม่ให้ ประทานอาหารเช้าเรียบร้อย เราก็เริ่มกิจกรรมเพื่อท�ำความรู้จัก เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรในภายหลัง และสร้างความภาค กันและจับคู่บัดดี้ เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน เยาวชนทุกคนใส่เสื้อผ้า สีเดียวกันเพื่อการดูแลที่สะดวกและเห็นได้ชัดและไกล ทุกคนมี ภูมิใจในทรัพยากรที่มี ๓. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องความส�ำคัญ ป้ายคล้องคอ เขียนชื่อเล่นเพื่อแนะน�ำตัวเอง และเมื่อถึงเวลา ของทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม รวมทั้ ง ผลกระทบ ออกเดินทางเพื่อไปท�ำภารกิจที่เราได้วางไว้คือ การสร้างฝาย ที่เกิดจากการท�ำลายสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับ เราได้มอบถุงอาหารส�ำหรับทุกคนซึ่งในนั้นมี ข้าวเหนียวหมู ๑ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการและประชาชนทั่วไปทราบ ห่อ ไข่ต้ม ๑ ฟองพร้อมน�้ำดื่มคนละ ๑ ขวดและเราได้เก็บรักษา และตระหนัก อันจะน�ำมาซึ่งการเสริมสร้างจิตส�ำนึกรักและ กระเป๋าสตางค์ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเพราะในบริเวณนั้นไม่มี คลื่นสัญญาณใดๆ ทุกคนจึงไม่จ�ำเป็นต้องใช้ หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ 14 IS AM ARE www.ariyaplus.com


น้องๆ ที่เป็นเด็กสาวกลัวผิวจะด�ำ ก็จะใส่เสื้อแขนยาวไว้ข้างในและใส่เสื้อ ค่ายทับอีกตัวส่วนกางเกงก็ขายาวทุกคน ที่เป็นผู้ชายก็ใส่กางเกงขาสั้นบ้างยาวบ้าง สวมเสื้อค่ายซึ่งเป็นเสื้อยืดคอกลมแขนสั้น เราเริ่ ม ออกเดิ น จนถึ ง ที่ ห มาย เกือบเที่ยงแล้ว ทุกคนนั่งพักเอาแรงและ หยิบอาหารมารับประทานกัน บรรยากาศ ที่ได้รับเรียกว่าหลายคนในปัจจุบันโหยหา ที่จะกลับไปที่นั่นกันอยู่ และแล้วกิจกรรม ที่หลายคนคิดว่าไม่น่าจะหนักหนาก็เริ่ม ต้น ตั้งแต่แยกย้ายกลุ่มตามหน้าที่บาง กลุ่มตัดตะข่ายมัดตะข่ายให้เป็นรูปทรง ที่ ต ้ อ งการ บางกลุ ่ ม ขุ ด ดิ น เป็ น ล่ อ งใน บริเวณทางน�้ำที่เจ้าหน้าที่ชี้จุดไว้ บ้างก็ ต้องช่วยกันกดทับตะข่าย บ้างก็หาหิน และแบกหินจากบริเวณป่าที่หาได้ บ้างก็ หากิ่งไม้ใหญ่ในบริเวณป่าข้างทาง เราเริ่มมองเห็นรูปร่างของฝายที่ กักกั้นน�้ำไม่ให้ไหลลงไปได้เร็วนัก และ น�้ำในส่วนบนของฝายก็เริ่มมีจ�ำนวนมาก ขึ้น พวกเรามองสิ่งที่พวกเราร่วมกันสร้าง และชื่นชมสิ่งนั้นด้วยกัน น้องบางคนมี

แผลจากการถูกเศษไม้ต�ำมือ แต่ก็ไม่มี เสียงบ่นหรือคร�่ำครวญใดๆ และเมื่อทุก อย่ า งเสร็ จ สมบู ร ณ์ เราเก็ บ ทุ ก อย่ า งคื น ธรรมชาติ และเก็บขยะลงในถุงด�ำและ น�ำกลับมาพร้อมกับเราที่ค่ายพัก ทุกคน เดินกลับมาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม บางคน หน้าด�ำเพราะท่อนไม้ที่เก็บมีฝุ่นด�ำ บาง คนเสื้อผ้าเปรอะเปื้อน และหลายคนตัว เปียกปอนเพราะลงไปแช่ในล�ำน�้ำ และ ทุกคนมีเหมือนกันคือ ความสุข เมื่ อ ถึ ง ที่ พั ก เราให้ น ้ อ งๆ รี บ อาบน�้ำก่อนค�่ำ และทุกคนก็มารวมกันที่ ห้องโถงของที่พักเพื่อรับประทานอาหาร มื้อค�่ำคือ ข้าวไข่เจียวและแกงส้มที่ไม่มี เนื้อปลา เมื่อทุกคนอิ่มเรียบร้อย เราก็ เริ่มกิจกรรมแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆที่อยากจะ บอกแก่กันและเล่นเกมส์เพื่อให้เรารู้จัก กันมากขึ้น ซึ่งแต่ละเกมส์ต้องใช้ความ สามัคคีเป็นหลักทั้งสิ้น และคื น นี้ ก็ จ บลงด้ ว ยบทสวด มนต์ภาวนานั่งสมาธิ อธิษฐานจิตแผ่บุญ กุ ศ ลที่ ไ ด้ ท� ำ และเข้ า นอนตามห้ อ งพั ก หญิง-ชาย

15 issue 95 december 2015

เช้ า วั น รุ ่ ง ขึ้ น เราตื่ น นอนพร้ อ ม กั น และออกก� ำ ลั ง กาย บริ ห ารร่ า งกาย รับประทานอาหารเช้าและพอสายหน่อย เจ้าหน้าที่ก็มาพาเราไปเรียนรู้โครงการ พระราชด� ำ ริ และประโยชน์ ข องฝายที่ พวกเราได้ ท� ำ เมื่ อ วานนี้ จากจุ ด นี้ เ อง ท� ำ ให้ เ ยาวชนจิ ต อาสาบางคนถึ ง กั บ ร้องไห้ เพราะที่ที่เรามานี้ สมเด็จพระเทพ รัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่าน ได้เคยเสด็จมาและทรงพระด�ำเนินเป็น ระยะทางที่ไกลกว่าเราถึง ๒ เท่าเพื่อการ ศึกษาภูมิศาสตร์เพื่อช่วยเหลือประชาชน ในบริเวณนั้น นี้คือสิ่งที่ไม่ธรรมดา สถาบันพระ มหากษัตริย์ที่ใครหลายคนคิดว่าน่าที่จะ มีความสุขสบาย ไม่น่าที่จะต้องล�ำบาก อะไร แต่สิ่งที่เราได้เห็นได้เรียนรู้ ท�ำให้ เยาวชนทั้ง ๑๒๐ คนที่มาค่ายวันนี้ได้รับ รู้ถึงความ ส�ำคัญของตนเอง รับรู้ถึงหน้าที่ ของประชาชนที่ ต ้ อ งรั ก ษาแผ่ น ดิ น เกิ ด รักษาธรรมชาติ ดิน น�้ำและป่าไม้ เพื่อ อนาคตของลูกหลานสืบไป.


เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้ ว ยเกล้ า ด้ ว ยกระหม่ อ ม ขอเดชะ ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า คณะผู ้ บ ริ ห ารและพนั ก งาน การท่ า เรื อ แห่ ง ประเทศไทย 16

IS AM ARE www.ariyaplus.com


กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบันเทิง ความสุขมากมายที่ได้ รับจากการอ่านนิตยสารเพื่อสังคมฉบับ IS AM ARE นี้ เพื่อเป็นการตอบแทนท่านผู้อ่านและ สมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะแจกของ สมนาคุณเล็กๆแก่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกันเข้า ของสมนาคุณที่ว่า คือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อมสลักชื่อ-นามสกุล เรี ย บร้ อ ย ซึ่ ง ค� ำ ถามในฉบั บ นี้ คื อ ความรู ้ ที่ ไ ด้ จ ากบทความ “คุณเป็นแบบไหน” หน้า 8-9 จากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ในฉบับที่ปรากฏ แล้ว ตั ด ส่ ง มากั น นะค่ ะ ในฉบั บ หน้ า ของสมนาคุ ณ อาจมี ก าร เปลี่ยนแปลงตามค�ำเรียกร้อง ของคนขี้ เ หงา ซึ่ ง น่ า จะเป็ น Furby เพื่อนช่างคุย ของเรา เอง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า นะค่ะ 1

issue 95 december 2015

ฉบับที่ 95 ธันวาคม 2558 www.Fosef.org

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com, www.fosef.org แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง คุณเป็นแบบไหน

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 17

issue 95 december 2015

1169


ผลดีของการขี่จักรยานล้อเดียว เรื่องโดย ดร. ไสว บุญมา

18 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ไ กล้

ย้อนไปกว่าทศวรรษ กิจกรรมการ ขี่จักรยานล้อเดียวของนักเรียนในอ�ำเภอ บ้านนา จังหวัดนครนายก เริ่มซบเซาลง มากเนื่ อ งจากโรงเรียนที่เป็น ศูน ย์ก ลาง ของการขี่จักรยานถูกยุบ มูลนิธินักอ่าน บ้ า นนาและกั ล ยาณมิ ต รมองเห็ น ความ ส�ำคัญของการขี่จักรยานล้อเดียว จึงได้ จัดหาจักรยานและอุปกรณ์การฝึกไปให้ โรงเรียนชั้นประถม 2 แห่งด้วยเป้าหมาย ที่ จ ะให้ ร้ื อ ฟื ้ น กิ จ กรรมส� ำ คั ญ ยิ่ ง นั้ น ณ วันนี้ การขี่จักรยานล้อเดียวของนักเรียน ในอ�ำเภอบ้านนาได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก ครั้งอย่างเต็มภาคภูมิที่โรงเรียนวัดแหลม ไม้ย้อย การฝึ ก และขี่ จั ก รยานล้ อ เดี ย ว ของนักเรียนมีประโยชน์หลายอย่างรวม ทั้งความมุ่งมั่น ความมานะ ความอดทน ความมี ส มาธิ ความมี วิ นั ย ความมี สุ ข ภาวะแข็งแกร่ง ความเชื่อมั่น ความกล้า หาญ ความเด็ ด เดี่ ย ว ความสุ ข ความ

สนุกสนานและความสามัคคี สิ่งเหล่านี้ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นนักจิตวิทยาการศึกษา ก็ ส ามารถมองเห็ น ได้ ใ นนั ก เรี ย นของ โรงเรียนวัดแหลมไม้ย้อย ส่วนนักจิตวิทยา การศึกษาย่อมทราบทันทีว่าสิ่งเหล่านั้น จะปู ฐ านไปสู ่ ก ารเรี ย นที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ล และเด็กจะมีโอกาสเติบโตไปเป็นพลเมือง ดีสูงมาก ส�ำหรับนักเรียนของโรงเรียนวัด แหลมไม้ ย ้ อ ยซึ่ ง เป็ น ลู ก หลานของชาว ชนบทที่มีอาชีพท�ำนา การขี่จักรยานล้อ เดียวนอกจากจะเกิดประโยชน์ดังกล่าว ต่อพวกเขาแล้ว ยังเปิดทางให้พวกเข้าได้ มีหูตาสว่างขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญอีกด้วย พวกเขาได้รับเชิญให้ไปร่วมงานส�ำคัญ ๆ ทั้งในท้องถิ่นและต่างถิ่นรวมทั้งการได้ไป แสดงความช�ำนาญออกโทรทัศน์ โอกาส แบบนี้เด็กชนบทน้อยนักที่จะได้รับ ใน หลาย ๆ กรณี เด็กยังได้ค่าตอบแทนอีก ด้วย เช่น จักรยานสองล้อ 20 คันที่พวก

19 issue 95 december 2015

เขาได้ รั บ เมื่ อ เป็ น ตั ว แทนของจั ง หวั ด ไปขี่ จั ก รยานในกรุ ง เทพฯ เนื่ อ งในงาน เทิดไท้องค์ราชันย์ ๖๓ พรรษามหาวชิรา ลงกรณ์ โดยชาวไทยเชื้อสายจีน เยาวราช จักรยานเหล่านั้นมีประโยชน์ส�ำหรับเด็ก ชนบทมากเนื่ อ งจากใช้ ขี่ ไ ปโรงเรี ย นได้ ทุกวัน นอกจากนั้ น เมื่ อ มี ผู ้ ม าดู ง าน ฝึกหัดขี่จักรยานล้อเดียวซึ่งมีปีละหลาย ครั้งรวมทั้งผู้สร้างรายการโทรทัศน์ ทั้ง นักจักรยานและนักเรียนของโรงเรียนวัด แหลมไม้ย้อยที่ยังไม่มีโอกาสแสดงการขี่ จักรยานให้ผู้อื่นชม ยังได้ฝึกการต้อนรับ ขั บ สู ้ แขกที่ ม าดู ง านอี ก ด้ ว ย การรู ้ จั ก ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยอัธยาศัยไมตรีเป็น สิ่ ง ที่ เ ด็ ก ของโรงเรี ย นแห่ ง นี้ เริ่ ม มี ติ ด ตั ว ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นต้น ๆ ความมีอัธยาศัย จะติ ด ตั ว พวกเขาไปตลอดชี วิ ต ฉะนั้ น หากเป็นไปได้ ควรเปิดโอกาสให้เด็กฝึก ขี่จักรยานล้อเดียว


พร ๔ ข้อ

จากท่าน ว.วชิ รเมธี

20 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

๑. อย่ า เป็ น นั ก จั บ ผิ ด คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ‘กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้ จักตัวอีก’ คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส ‘จิตประภัสสร’ ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี ‘แม้ในสิ่งที่เป็น ทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข’ ๒. อย่ า มั ว แต่ คิ ด ริ ษ ยา ‘แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน’ คนเราต้องมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยา เป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า ‘เจ้ากรรมนายเวร’ ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟ ริษยา เป็น ‘ไฟสุมขอน’ (ไฟเย็น) เราริษยา ๑ คน เราก็มีทุกข์ ๑ ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี ‘แผ่เมตตา’ หรือ ซื้อโคมลอยมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป ๓. อย่ า เสี ย เวลากั บ ความหลั ง ๙๐ % ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย�้ำคิดย�้ำท�ำ ‘ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น’ มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่ เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องภาระต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ ‘อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน’ ‘อยู่กับปัจจุบันให้เป็น’ ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี ‘สติ’ ก�ำกับตลอดเวลา ๔. อย่ า พั ง เพราะไม่ รู ้ จั ก พอ ‘ตัณหา’ ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน�้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติ ของตัณหา คือ ‘ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม’ ทุกอย่างต้องดู ‘คุณค่าที่แท้จริง’ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกาคืออะไร ? คือไว้ดูเวลาไม่ใช่ใส่เพื่อความโก้หรู คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือคืออะไร ? คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่ คุณค่าที่แท้จริงของโทรศัพท์ เราต้ อ งถามตั ว เองว่ า ‘เกิ ด มาท� ำ ไม’ คุ ณ ค่ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ของการเกิ ด มาเป็ น มนุ ษ ย์ อ ยู ่ ต รงไหน ตามหา ‘แก่ น ’ ของชี วิ ต ให้ เ จอ ค� ำ ว่ า ‘พอดี ’ คื อ ถ้ า ‘พอ’ แล้ ว จะ ‘ดี ’ รู ้ จั ก ‘พอ’ จะมี ชี วิ ต อย่ า งมี ค วามสุ ข ที่มา : www.dhammajak.net/

21 issue 95 december 2015


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 95 december 2015


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 95 december 2015


Let’s talk

ความในใจของผู้ก�ำกับมือหนึ่งแห่งยุค

ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา

คงไม่ ต ้ อ งแนะน� ำ อะไรมากส� ำ หรั บ ไก่ วรายุ ฑ มิ ลิ น ทจิ น ดา ผู ้ ส ร้ า งและผู ้ ก� ำ กั บ แห่ ง ยุ ค ในวงการบั น เทิ ง อี ก คนหนึ่ ง ที่ ไ ม่ ว ่ า จะจั บ ละครอะไรขึ้ น มาสร้ า งให้ ผู ้ ช มดู ก็ ล ้ ว นเป็ น ที่ พู ด ถึ ง มากมาย ดารารุ ่ น เล็ ก รุ ่ น ใหญ่ ล ้ ว นอยากร่ ว มงานด้ ว ยทั้ ง สิ้ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า โรงเรี ย น วั ด บวรนิ เ วศคนนี้ ได้ รั บ การถ่ า ยทอดความรู ้ ค วามสามารถด้ า นงานละครจาก คุ ณ เล็ ก ภั ท ราวดี มี ชู ธ น ตั้ ง แต่ ส มั ย เรี ย นอยู ่ ช ่ า งศิ ล ป์ กรมศิ ล ปากร

26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


27 issue 95 december 2015


อนนั้ น โรงเรี ย นส่ ง ไปฝึ ก งาน ก็ ไ ด้ ไ ปท� ำ ฉากละครเรื่ อ งมั ท นะพาธาเรื่ อ งแรก ที่ โ รงละครแห่ ง ชาติ ในช่ ว งนั้ น มี เ พื่ อ นเรี ย นนาฏศิ ล ป์ ผู ้ ห ญิ ง ได้ อ อกรายการมิ ว สิ ค สแควร์ เต้ น บั ล เล่ ต ์ เต้ น แดนซ์ เรา ก็ ไ ปเที่ ย วไปดู เ พื่ อ น แล้ ว ก็ เ จอคุ ณ เล็ ก ภั ท ราวดี ท� ำ ละครอยู ่ ที่ นั่ น แล้ ว ก็ ไ ด้ รู ้ จั ก กั บ คุ ณ เล็ ก ได้ ไ ป ฝึ ก งานตรงนั้ น แล้ ว ก็ ก ลั บ มาท� ำ ฉากละครที่ ตั ว เองท� ำ จนจบแล้ ว ก็ เ รี ย นจนจบ ตอนนั้ น ไม่ ไ ด้ คิ ด ถึ ง วงการ ละครเลย ก็ ไ ปท� ำ งานที่ โ รงแรมมณเฑี ย ร แผนกกราฟฟิ ก ดี ไ ซน์ ท� ำ ได้ สั ก ปี ก ว่ า ๆ ทางคุ ณ น�้ ำ ตาลโทรศั พ ท์ มาเพราะยั ง ติ ด ต่ อ คุ ณ น�้ ำ ตาลอยู ่ บ้ า นคุ ณ น�้ ำ ตาลอยู ่ ต รงข้ า มกั บ บ้ า นคุ ณ เล็ ก ภั ท ทราวดี คุ ณ เล็ ก เคยรู ้ ว ่ า ไก่ รู ้ จั ก กั บ คุ ณ น�้ ำ ตาล ก็ เ ลยให้ คุ ณ น�้ ำ ตาลโทรมาชวนท� ำ ละคร เลยเข้ า ไปท� ำ ละครกั บ คุ ณ เล็ ก ช่ อ ง 3 ใน ต� ำ แหน่ ง ทั่ ว ไป ท�ำทุกอย่าง เสิร์ฟน�้ำ ท�ำหลายอย่างที่คุณเล็กอยากให้ท�ำ สอนเราให้เรารู้งานละครเป็นยังไง อยู่กับคุณเล็กได้หลายปี ทั้ง สอนอ่านบทเขียนบท สอนก�ำกับสอนดูเสื้อผ้าดูฉาก คอสซูม ดูต่างๆ นานา เกี่ยวกับละครทั้งหมด ได้วิชาจากคุณเล็กทั้งหมดและ ส�ำคัญกับชีวิตไก่มาก เปลี่ยนแปลงชีวิตไก่ทั้งหมด ท�ำละครเรื่องแรก เรื่องรักริษยา ที่ท�ำกับคุณเล็ก ท�ำประมาณ 6-7 ปี ก็ได้วิชา ความรู้มาเยอะจากช่อง 3 ไก่ วรายุฑ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดละครเรื่องแรกคือ ทะเลเลือด หนังแนวฆาตรกรรม สืบสวนบนเรือ เป็นเรื่องแรกที่ลงทุนด้วย ตัวเอง และประสบความส�ำเร็จในทันที ท� ำ ไมเรื่ อ งแรกเป็ น แนวฆาตรกรรม ? ‘เพราะเราท� ำ มาเยอะแล้ ว หลายแนวแล้ ว ตอนอยู ่ กั บ คุณเล็ก พี่ก้อย พี่จิ๋ม ทีนี้ไก่อยากท�ำเป็นของตัวเองก็เลยท�ำให้ มันแหวกแนวถึงจะได้การอนุมัติ ก็หาอะไรที่มันแปลก ก็เลย ได้เรื่องนี้มา แล้วก็ยังท�ำละครอยู่เรื่อยๆ ของช่อง 3 แต่ไม่เคย สร้างหนังเลย’ ประสบการณ์ กั บ ดารารุ ่ น ใหม่ ๆ เป็ น ยั ง ไงบ้ า ง ? ‘เด็กรุ่นนี้จะมีความคิดเป็นของตัวเองเยอะมาก มีความ สามารถบ้าง บางคนก็มาก มีพรสวรรค์ก็มี พรแสวงก็มี แต่เราก็ ต้องรู้ว่าถ้าเราจะหยิบเอาอะไรมาใช้ ต้องใช้ตรงไหนให้ถูกทาง” หนั ก ใจไหมกั บ เด็ ก รุ ่ น ใหม่ ? ‘หนั ก ใจในการเรื่ อ งใช้ ภ าษา เพราะสมั ย นี้ เขาพู ด ภาษาไทยที่ค่อนข้างห้วน ภาษาไทยแปลงมันจะผิดเพี้ยนกับ สมัยที่เราเรียนหรือสมัยที่เราใช้กันในชีวิตประจ�ำวัน มันเป็น ภาษาแฟชั่นมากว่า ที่เราเคยเห็นกัน เช่นค�ำว่า ครับ ก็จะเป็น คราฟ คราบ หร๊า อะไรแบบนี้ ต้องแก้ไขกัน เพราะในละครเรา ต้องพูดให้ถูก’

ไก่ อ ยู ่ ว งการบั น เทิ ง มาแล้ ว สามสิ บ กว่ า ปี ท� ำ ละคร มาแล้ ว ทั้ ง หมด 140 เรื่ อ ง ถื อ ว่ า เยอะที่ สุ ด ใน ประเทศไทยก็ ว ่ า ได้ ดาราคนไหนที่ ช อบเป็ น พิ เ ศษ ? “อยู่ในจังหวะและช่วงของงานนะ เป็นยุคๆ ไป คุณ ฉัตรชัย คุณจินตหรา คุณหมิว ลลิตา คุณวิลลี่ อะไรอย่างนี้ เป็นยุคๆ น่ะ คุณกาญจนาและต่อมาเรื่อยๆ ยุคนี้ก็จะเป็น สน แพทริเซียกู๊ด จอย รินลณี คุณดอม มันอยู่ที่เรา แต่ละคนแต่ละ ยุค คือเป็นโอกาสที่ค่อนข้างดีเพราะท�ำงานมาตั้งแต่เด็กๆ จะได้ พบดาราหลายยุคหลายรุ่น

ละครอะไรที่ มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ท� ำ แล้ ว ชอบมากที่ สุ ด ? ‘ชอบทุกเรื่องเพราะเป็นงานของตัวเอง จะรักงานที่ตัว เองท�ำที่สุด’

28 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ไก่ อ ยู ่ ว งการบั น เทิ ง มาแล้ ว สามสิ บ กว่ า ปี ท� ำ ละครมาแล้ ว ทั้ ง หมด 140 เรื่อง ถือว่าเยอะที่สุดในประเทศไทย ก็ว่าได้ ไม่คิดที่จะสร้างหนังเพราะว่ายาก มากคนละแบบกั น เลย ความสามารถ ไม่พอ” 140 เรื่ อ งที่ ส ร้ า งมานี้ ป ระสบ ความส� ำ เร็ จ ทั้ ง หมดไหม ? ‘มันก็ไม่ทุกเรื่องนะ มันมีอะไรที่ แป้ก มันมีอะไรที่คนไม่พูดถึง มันมีอะไร ที่ไม่ถูกใจคนก็มีอยู่บ้าง’ ละครประเภทไหนที่ ช าวบ้ า นพู ด ถึ ง ตลอดเวลา ? ‘แนวเพ้ อ ฝั น เป็ น อะไรที่ ข ายได้ ดี ชาวบ้านจะชอบ อย่างปริศนา ในยุค นั้นคนจะชอบมาก คุณหมิว ลลิตา คุณ ฉัตรชัย ทรงผมปริศนาหมดเลยในยุคนั้น แต่ในยุคนี้เหตุการณ์มันก็เปลี่ยนไป ก็มี หลายแบบหลายแนวบางเรื่องก็น�ำเสนอ ในด้านชีวิตดาร์กของตัวละคร ชีวิตสวย

พระองค์ ท ่ า นเป็ น ที่ ห นึ่ ง ในจั ก รวาล เป็ น ที่ ห นึ่ ง ของคนทั้ ง ประเทศ ท่ า น เป็ น ที่ ห นึ่ ง ของประชาชนและคนทั้ ง โลก ไม่ มี ใ ครไม่ รู ้ จั ก พระองค์ ท ่ า น ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ส ่ ว นไหนของโลกก็ ต าม ถ้ า เอ่ ย ถึ ง พระมหากษั ต ริ ย ์ ไ ทย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 ของเรา ไม่ มี ซี ก โลกไหนที่ ไม่ รู ้ จั ก พระองค์ ท ่ า น ชี วิ ต อะไรแบบนี้ มั น ก็ ต ้ อ งเปลี่ ย นให้ ทั น โลกของยุคสมัย ของการด�ำเนินชีวิตใน สังคม’ ละครยาวใช้ เ วลาสร้ า งนานไหม ? ‘สมัยก่อนแค่ 4-5 เดือน สมัยนี้ จะเป็น 7-9 เดือน หรือ 10 เดือน หรือ 1 ปี อยู่ที่แต่ละเรื่อง บางทีพอออกอากาศ เดื อ นกว่ า ก็ จ บ สมั ย นี้ ก ารท� ำ งานมั น ยากขึ้ น มั น แข่ ง กั น เพราะว่ า สมั ย ก่ อ น ช่องมันมีแค่ 4 ช่อง เดี๋ยวนี้มันมีเป็นสิบ ยี่สิบช่อง แล้วมีดิจิตอลขึ้นมาอีก เพราะ ฉะนั้นการท�ำงานมันก็ยากขึ้นเราก็ต้อง แข่ ง กั บ ทุ ก ช่ อ งกั บ ทุ ก คน แข่ ง กั บ ผู ้ จั ด รายอื่นๆ ด้วย’ 29 issue 95 december 2015

คุ ณ ไก่ ท� ำ หนั ง ให้ กั บ ช่ อ งเดี ย ว หรื อ ท� ำ ให้ ช ่ อ งอื่ น ด้ ว ย ? ‘ไก่เกิดจากช่อง 3 แต่จะมีน้องๆ ที่ท�ำอยู่ช่องอื่นก็จะปรึกษากันจะคุยกัน ดูแลกัน เราไม่ได้ท�ำส่งที่อื่นแต่น้องๆ ไป ท�ำ’ ธุ ร กิ จ ส่ ว นตั ว เป็ น ยั ง ไงบ้ า ง ? “มีรายการวาไรตี้โชว์ ตั้งแต่ดาว ล้านดวง แล้วก็รายการโชว์ต่างๆ และ Bangkok Gossip เป็ น รายการตอน กลางวัน เวลาในการพั ก ผ่ อ น วิธีพักผ่อนคือนอนหลับ เวลาไป ถ่ายละครต่างจังหวัด นั่นแหละคือการ


ในที่กันดารพระองค์ท่านก็ทรงเสด็จไป พระองค์เสด็จไปที่ใด ที่นั้นก็จะเจริญ สมบูรณ์ แล้วประชาชนก็อยู่อย่างมีความสุขด้วยค�ำสอนของพระองค์ท่าน ทุกอย่างมันเป็นอะไรที่เราเป็นคนไทยต้องรู้ ไก่คิดว่าทรงเป็นที่สุดของชีวิตเรา

30 IS AM ARE www.ariyaplus.com


พักผ่อน ไปเที่ยว ไปไหนก็ได้ที่มีเพื่อน เป็นคนติดเพื่อน เพื่อน นอกเพื่อนในเพื่อนอะไรก็ได้ที่เป็นเพื่อน” ไก่ วรายุฑ เป็นอีกคนหนึ่งที่ยอมรับและน้อมน�ำค�ำสอน ของพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิตจนประสบความ ส�ำเร็จทั้งในและนอกวงการ เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติที่ จะมาถึง ผู้จัดละครแถวหน้าของช่อง 3 ท่านนี้ก็มีความในใจ ที่ตัวเขารู้สึกต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉกเช่นคนไทย ทั้งประเทศที่มีในหลวงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เรียกว่าพูดแทน ความรู้สึกคนไทยทั้งประเทศก็ว่าได้ “พระองค์ท่านเป็นที่หนึ่งในจักรวาล เป็นที่หนึ่งของคน ทั้งประเทศ ท่านเป็นที่หนึ่งของประชาชนและคนทั้งโลก ไม่มีใคร ไม่รู้จักพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม ถ้าเอ่ย ถึงพระมหากษัตริย์ไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ของเรา ไม่มีใครในโลกที่ไม่รู้จักพระองค์ท่าน เพราะพระองค์ ท่านได้ท�ำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและ ประเทศชาติ ในทุกๆ ด้าน ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งด้านบันเทิง ด้าน การศึกษา อุตสาหกรรม วิศวกรรมทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่พระองค์ ท่านจะไม่รู้ ไม่มีอะไรที่พระองค์ท่านจะไม่ช่วยเหลือประเทศชาติ นึกไม่ถึงว่าท่านได้สอนอะไรเราบ้าง ท่านออกทรงงานเราก็เห็น ข่าวในพระราชส�ำนัก บางทีก็ไม่ได้ออกข่าว แต่เราก็ยังรู้ว่าท่าน ของพระองค์ ท่านรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง “ท�ำให้คนได้น�ำค�ำสอนของพระองค์ท่านในทุกๆ ด้าน ไปท�ำอะไรให้เกิดสิ่งที่สมบูรณ์ “ในที่กันดารพระองค์ท่านก็ทรงเสด็จไป พระองค์เสด็จ บางคนจะติดค�ำว่า เศรษฐกิจพอเพียง แต่มีมากกว่านั้น ที่เรา ไปที่ใด ที่นั้นก็จะเจริญ สมบูรณ์แล้วประชาชนก็อยู่อย่างมีความ สุขด้วยค�ำสอนของพระองค์ท่าน ทุกอย่างมันเป็นอะไรที่เรา เป็นคนไทยต้องรู้ ไก่คิดว่าทรงเป็นที่สุดของชีวิตเรา อย่าว่าแต่ คนไทยเลย ชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยก็อยู่ด้วยพระองค์ ไม่ ได้อยู่ด้วยตัวเองหรือว่ารักประเทศไทย อยู่ด้วยรักในหลวง จึง อยากอยู่เมืองไทย “มีคนที่เคยคิดจะล้มล้างสถาบัน ไก่คิดว่าแค่คิดเขาก็ ตายไปแล้ว เขาไม่สามารถท�ำอะไรได้เลย อย่าพูดอะไรออก มาที่จะท�ำให้สถาบันเสื่อมเสีย ถ้าคุณเอ่ยปากออกมาตรงไหน ก็ตามอาจจะถูกประทุษร้ายหรืออาจจะถูกประชาทันฑ์โดยที่ คุณไม่รู้ตัว ถ้าคุณคิดออกมาเป็นค�ำพูดไก่บอกได้เลยคุณตาย ได้ทันที ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในวงแวดล้อมของพวกคุณ ถ้าคุณอยู่ ในวงแวดล้อมของพวกคุณ คุณอาจจะพูดได้ แต่ถ้าคุณหลุด ออกมาแล้วคุณมาพูดคุณลองสิ ถ้าคุณเดินไปในตลาดแล้ว คุณพูดอะไรที่ดูหมิ่นสถาบันขึ้นมา ถ้าไม่โดนแม่ค้าตบหรือด่า มาเอาหัวไก่ไปได้เลย อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ต้องพิสูจน์ แต่ทุกคนรู้ ทุกคนเห็น ของสูงที่สุดเอาไว้บนหัวแล้วเราจะเจริญ แค่นึก เราก็เจริญแล้ว เราไม่ต้องท�ำสิ่งที่ท่านสั่งสอน แค่เรานึกถึง พระองค์ท่านไก่ก็คิดว่าทุกคนก็เจริญแล้วล่ะ” 31 issue 95 december 2015


ฑีฆายุโกโหตุ มหาราชา เนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าผู้บริหารและพนักงาน นิตยสารครอบครัวพอเพียง 32 IS AM ARE www.ariyaplus.com


33 issue 95 december 2015


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

ตามแนวพระราชด�ำริ

ยุวะ แปลว่า เยาวชน สถิร คือ มั่นคง คุณ คือ ความดี

นพ.เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณ ความหมายโดยรวมของมู ล นิ ธิ ยุ ว สถิ ร คุ ณ ก็ คื อ ต้ อ งการให้ เ ยาวชนมั่ น คงอยู ่ ใ นความดี ความหมายดั ง กล่ า วเปรี ย บเป็ น จุ ด หมายของมู ล นิ ธิ ฯ ที่ ต ้ อ งการเสริ ม สร้ า งสนั บ สนุ น ให้ โ รงเรี ย นต่ า งๆ สร้ า งคนดี ใ ห้ กั บ บ้ า นเมื อ ง ตามพระราชประสงค์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว

34 IS AM ARE www.ariyaplus.com


35 issue 95 december 2015


องคมนตรี นพ.เกษม วั ฒ นชั ย ประธานมูลนิธิยุวสถิรคุณกล่าวว่า เมื่อ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.2555 พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด�ำริ ให้ตั้งกองทุนการศึกษาขึ้น และมีรับสั่ง ให้ประธานองคมนตรีและองคมนตรีส่วน หนึ่งเข้าเฝ้า มีพระราชประสงค์ว่า อยาก ให้ ใช้ พ ระราชทรั พ ย์ ส ่ ว นหนึ่ ง ไปพั ฒ นา โรงเรียนหรือสถานศึกษาให้สร้างคนดีคืน สู่บ้านเมือง

โรงเรี ย นเป้ า หมายในการสร้ า ง รูปแบบการพัฒนาสร้างคนดีคือโรงเรียน ที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ ทุ ร กั น ดาร ยากจน และ ขัดสนในเขตภาคกลาง ก่อนจะขยายไป ภาคอื่นๆ โดยจัดตั้งโครงการกองทุนการ ศึกษาขึ้น และได้รับความร่วมมือจากทีม อดี ต ข้ า ราชการเกษี ย ณอายุ หรื อ คณะ กรรมการอาสาสมัครน�ำโดย ดร.คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา และข้าราชการ ผู้ใหญ่จากกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถึง

36 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ครูต้นแบบในพื้นที่ต่างๆ มาช่วย “โรงเรี ย นส่ ว นใหญ่ จ ะติ ด ชายแดน บางแห่ ง อยู ่ ใ นอ� ำ เภอที่ ทุ ร กั น ดาร เราจะใช้ พ ระราชทรั พ ย์ ที่ พระราชทานมา สนั บ สนุ น ให้ เขามี ฐานะที่ดีพอสมควร เช่น สิ่งที่ครูเดือด ร้อนมากก็คือบ้านพักครู เพราะว่าครู ส่วนใหญ่ เป็นครูที่มาจากที่อื่น แล้ว มี น โยบายสมั ย ก่ อ นว่ า ถ้ า ครู ไ ปสอน ที่ไหนเกินสองปี มีสิทธิ์ย้าย ดังนั้นครู ทุกคนวันๆ ก็จะพูดแต่เรื่องย้าย ความ สนใจที่จะสอนก็ไม่มี อันนี้เป็นปัจจัยลบ ของคุณภาพการศึกษา เราก็ไปเจอเขา และพบว่า การกินการอยู่เป็นสิ่งส�ำคัญ ก็ ข อพระราชทานพระราชทรั พ ย์ แ ล้ ว สร้างบ้านพักครูให้ ทุกคนจึงถอนใบย้าย หมด ปลูกผักสวนครัว ปลูกสวนดอกไม้ ทั้งครูนักเรียนก็มีความสุข” ท่านองคมนตรี นพ.เกษม กล่าว ว่ า การเข้ า ไปช่ ว ยพั ฒ นาโรงเรี ย นต่ า งๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่พร้อมทั้งในการเรียน และการสอน เป็ น สิ่ ง ที่ เข้ า ไปแบ่ ง เบา


ครู ต ้ อ งรั ก นั ก เรี ย น นั ก เรี ย นต้ อ งรั ก ครู ซึ่ ง เราก็ ม าคิ ด กั น ว่ า ถ้ า ครู รั ก นั ก เรี ย นรั บ รองได้ ว ่ า การสอนต้ อ งดี แ ล้ ว การอบรมลู ก ศิ ษ ย์ ก็ ดี ถ้ า จะให้ นั ก เรี ย นรั ก ครู ไ ด้ การเรี ย นก็ ต ้ อ งดี ถู ก ไหมครั บ ถ้ า นั ก เรี ย นเกลี ย ดครู เรี ย นยั ง ไงก็ ไ ม่ รู ้ เ รื่ อ งครั บ ภาระของกระทรวงศึกษาธิการ ท�ำให้ผู้ สอนและผู้เรียนมีความพร้อม เมื่อครูและ นักเรียนมีความพร้อมก็สามารถลดปัญหา พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของโรงเรียน ลงได้ ผลที่ตามมาก็คือคะแนน O-NET ดี ขึ้น เด็กจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 มีโอกาส เข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศ มากมาย “เราไปทดสอบโรงเรียนคุณธรรม ที่ อื่ น ๆ ยกตั ว อย่ า งเช่ น โรงเรี ย น ลาดบั ว หลวงเป็ น โรงเรี ย นของเด็ ก มุ ส ลิ ม เดิ ม ในอ� ำ เภอมี โรงเรี ย นประถม ศึกษาอยู่ประมาณ 27 โรง คะแนนสอบ O-NET ของเขาจะอยู่ที่ 27 26 25 เพราะ ไม่ มี ใ ครสนใจ พอเข้ า มาในโครงการ พระเจ้ า อยู ่ หั ว (โครงการกองทุ น การ

ศึกษา) ผ่านไปปีเดียวจากที่ยี่สิบกว่าขึ้น ไปเป็ น ที่ ส าม คะแนนขึ้ น มาพรวดเลย เด็กทุกคนมีความหวังอยากจะเรียนต่อ ปีที่ผ่านมาได้ข่าวว่าเด็กประถมศึกษาปี ที่ 6 มีคะแนนเป็นที่ 1 ของจังหวัดอยุธยา ไม่ใช่เฉพาะอ�ำเภอลาดบัวหลวงนะ ทั้ง จังหวัดเลย ประสบการณ์ชี้ให้เห็นผลดี ที่เกิดขึ้น เหตุที่มันเกิดมูลนิธิยุวสถิรคุณ ก็เพราะว่า โรงเรียนที่อยู่ในโครงการของ พระเจ้าอยู่หัวมีจ�ำกัด เพราะว่าพระราช ทรัพย์มีจ�ำกัด “พอตอนหลั ง มาตั้ ง เป็ น ศู น ย์ สถานศึ ก ษาพอเพี ย ง และโรงเรี ย น คุ ณ ธรรมที่ จ ะมาพั ฒ นา เน้ น การเรี ย น การสอน ยกตัวอย่าง เราไปเอาโรงเรียน วัดรางบัวเป็นตัวอย่างปีแรกๆ วัดรางบัว 37 issue 95 december 2015

ก็อยู่ในสลัม แล้วก็ไม่มีใครอยากส่งลูกไป เรียน แต่ตอนนี้ก็เป็นที่ชื่นชมของโรงเรียน ใน กทม. “แล้วคุณหมอธีระเกียรติ เจริญ เศรษฐศิ ล ป์ ท่ า นรั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การ กระทรวงศึกษาธิการ ก็เอาเรื่องแนวคิด ใหม่ ๆ ของการเรี ย นการสอนเข้ า ไปที่ โรงเรียนนี้ เกิดผลดีมากมาย ตอนนี้รุ่น พี่สอนรุ่นน้องแล้วก็มีครูเป็นผู้ช่วยสอน แล้วเอาสามคนคือ พ่อแม่ นักเรียนและ ครูมาพูดคุยท�ำความเข้าใจกัน เพราะว่า เป็นเด็กในสลัม ที่ผ่านมาสามคนหันหลัง ให้ กั น แล้ ว กล่ า วโทษอี ก สองฝ่ า ย พอ ช่วงหลังจึงหันหน้ามาหารือ ชีวิตเด็กจึง เปลี่ยนไปหมดเลย พ่อแม่ในชุมชนสลัม ก็มองลูกในแง่ของสิ่งมีค่า “ผมเชื่อว่า ตรงนี้จะลบเรื่องความ รุ น แรงในครอบครั ว ความรุ น แรงใน โรงเรียน สิ่งที่งผมคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ ในบ้านเรา เมื่อเร็วๆ นี้ข่าวเรื่องผู้บริหาร ไปตบศรี ษ ะลู ก ศิ ษ ย์ แต่ ใ นจดหมาย


38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


พระเจ้าอยู่หัวฉบับหนึ่งมีใจความว่า ครู ต้องรักศิษย์ ครูต้องรักนักเรียน นักเรียน ต้ อ งรั ก ครู ประโยคนี้ มี พ ลั ง มาก ถ้ า ท� ำ แบบพระอยู ่ หั ว ได้ ก็ จ ะไม่ มี ค วาม รุนแรง “ที่ครูปฏิบัติต่อลูกศิษย์ เรื่องนี้เรา ควรต้องเรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัวมากๆ ท่ า นพระราชทานมาให้ ส ามเรื่ อ ง เป็ น หัวใจการศึกษาไทย “หนึ่ ง คื อ ครู ต ้ อ งรั ก นั ก เรี ย น นักเรียนต้องรักครู ซึ่งเราก็มาคิดกันว่า ถ้ า ครู รั ก นั ก เรี ย นรั บ รองได้ ว ่ า การสอน ต้ อ งดี แ ล้ ว การอบรมลู ก ศิ ษ ย์ ก็ ดี ถ้ า จะ ให้นักเรียนรักครูได้ การเรียนก็ต้องดีถูก ไหมครับ ถ้านักเรียนเกลียดครูเรียนยัง ไงก็ไม่รู้เรื่องครับ ข้อที่สอง ท่านรับสั่ง ว่า ให้ครูสอนนักเรียนให้มีน�้ำใจต่อเพื่อน

ยกตัวอย่างเช่น ในชั้นหนึ่งๆ ไม่ควรไปส่ง เสริมให้แข่งที่หนึ่งที่สอง แต่ให้นักเรียน ที่ เรี ย นเก่ ง ไปติ ว เพื่ อ นที่ เรี ย นช้ า และ รับสั่งว่าเพราะทุกคนต้องแข่งกับตัวเอง

มาเป็นหลักในการท�ำงานท�ำอย่างไรให้ ผู้บริหารเป็นคนดี มีความพร้อม แล้ว บริ ห ารโรงเรี ย นให้ ดี ที่ สุ ด ท� ำ อย่ า งไร ให้ ค รู เ ป็ น คนดี ค นเก่ ง ตั้ ง ใจสอนให้ ดี

ในจดหมายพระเจ้ า อยู ่ หั ว ฉบั บ หนึ่ ง มี ใ จความว่ า ครู ต ้ อ งรั ก ศิ ษ ย์ ครู ต ้ อ งรั ก นั ก เรี ย น นั ก เรี ย นต้ อ งรั ก ครู ประโยคนี้ มี พ ลั ง มาก ถ้ า ท� ำ แบบพระอยู ่ หั ว ได้ ก็ จ ะไม่ มี ค วามรุ น แรง ตรงนี้จะเป็นหัวใจของการปฏิรูปในการ ศึกษา “มูลนิธิยุวสถิรคุณ เราประมาณ ตนเองว่าเราไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการ แล้ ว เงิ น ที่ ท� ำ ก็ เ ป็ น เงิ น CSR ของ ส� ำ นั ก งานทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นพระมหา กษั ต ริ ย ์ เราจะท� ำ เป็ น รู ป แบบโดยอั น เชิญพระราชกระแสของพระเจ้าอยู่หัว

ที่สุดทุกชั่วโมง ท�ำอย่างไรให้นักเรียน มี ค วามพร้ อมแล้ ว กลายเป็นคนดีแ ละ คนเก่ง มีน�้ำใจกับเพื่อน อันนี้คือสาม ข้อของเราในโครงการพระราชด�ำริ เรา จะต้องได้คนไทยรุ่นใหม่ที่ดีมาก่อนเก่ง” ท่านองคมนตรี นพ.เกษม กล่าว

มูลนิธิยุวสถิรคุณ ก่อตั้งขึ้นเพื่อ ภูมิล�ำเนาของตน 5.ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การเผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ และการสื่อสารเพื่อการสร้างภาคีเครือข่ายครู บุคลากรทางการ ศึกษา เด็กและเยาวชน รวมทั้ง จัดท�ำและผลิตสื่อการเรียน การสอนที่หลากหลาย และการจัดอบรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อ เสริมสร้างความเข้าใจและเห็นคุณค่าในปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 6.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันการเรียน รู้เพื่อการศึกษาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เด็ก และเยาวชนมีความรู้และคุณธรรมทั้งในและนอกประเทศ 7.ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและให้ทุนเพื่อ พั ฒ นาการเรี ย นการสอนที่ ส นั บ สนุ น ให้ ค รู แ ละเด็ ก มี ค วามรู ้ และคุ ณ ธรรม สามารถน้ อ มน� ำ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จพอเพียงไป ประยุกต์ใช้และเผยแพร่ขยายผลอย่างมีประสิทธิภาพ 8.ด�ำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อ การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมการศึกษา การสาธารณสุข และกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่น 9.ไม่ด�ำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

1.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เสริม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ แ ละการเรี ย นรู ้ ร ะหว่ า งครู แ ละนั ก เรี ย น ในสถานศึ ก ษากลุ ่ ม เป้ า หมาย เพื่ อ ให้ มี ค วามรู ้ แ ละคุ ณ ธรรม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการปลูกฝังอบรม จริ ย ธรรมให้ เ ด็ ก และเยาวชนเป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรม รวมทั้ ง กิจกรรมด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังและบ่มเพาะความ ซื่อสัตย์สุจริต 2.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู และเด็ก ให้ครูรักเมตตาและห่วงใย เด็ก และให้เด็กเคารพนับถือครูตามจารีตประเพณี 3.ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างเกียรติยศศักดิ์ศรี และอุดมการณ์ของครูเพื่อให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของ คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวม 4.ส่งเสริมและสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และทุนการศึกษาส�ำหรับนักศึกษา สาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ เพื่อให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ เป็ น ครู ห รื อ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษาในชุ ม ชนหรื อ ท้ อ งถิ่ น 39

issue 95 december 2015


40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

การขับเคลื่อนหลักคิด ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สู่ระบบการศึกษาชาติ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา

41 issue 95 december 2015


เรื่องราวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย เป็ น ที่ รั บ รู ้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลาย แต่ ก ารน� ำ ไปใช้ เ ป็ น หลั ก คิ ด ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ดู เ หมื อ นยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ ความสนใจเท่ า ที่ ค วร โดยเฉพาะในกลุ ่ ม เยาวชน แม้ ก ระทั่ ง ในตั ว ผู ้ ใ หญ่ ห ลายคน ก็ ยั ง เข้ า ใจว่ า เป็ น เรื่ อ งของการท� ำ เกษตร ปลู ก ผั ก ปลู ก หญ้ า หล่อเลี้ยงชีวิต ค�ำถามก็คือท�ำอย่างไรให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็น ที่เข้าใจของคนไทยอย่างถ่องแท้ เป็นหลักส่องน�ำการด�ำเนินชีวิต ให้กับคนทุกชนชั้นได้อย่างยั่งยืน ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผู้อ�ำนวยการศูนย์สถานศึกษา พอเพี ย ง มู ล นิ ธิ ยุ ว สถิ ร คุ ณ และกรรมการมู ล นิ ธิ มั่ น พั ฒ นา เป็นผู้หนึ่งที่ขับเคลื่อนเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน ประเทศไทยมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2550 โดยมีเป้าหมายหลักให้ ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งบรรจุ อ ยู ่ ใ นหลั ก สู ต รของการ ศึกษาชาติ เพื่อเยาวชนรุ่นใหม่ได้คุ้นเคยและเข้าใจ เป็นหลักใน การด�ำเนินชีวิตในอนาคตต่อไป “เรารู้แล้วว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องการด�ำเนิน ชีวิต แต่เราก็พบว่ายังมีการน�ำไปใช้น้อยอยู่ หรือน�ำไปใช้ก็อาจจะ ยังไม่เข้าใจ บางทีตัวเองใช้ชีวิตพอเพียงอยู่แต่ไม่รู้ตัว ท�ำอย่างไร ที่จะให้เรื่องนี้อยู่กับสังคมไทยไปอย่างเข้มแข็ง หมายความว่า ไม่ ว่าจะมีการเปลี่ยนนโยบาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิด

ตั้งแต่ ป.1 – ม.6 แล้ว นักเรียนจะต้องยึกหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำเนินชีวิต เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของ ประเทศไทย ตรงนี้เราก็น่าจะมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า เมื่ออยู่ใน หลักสูตรแล้ว น่าที่จะไปท�ำให้เยาวชนไทยที่เข้าโรงเรียน ตั้งแต่ ปี 2550 หรือ ป.1 ขึ้นไป น่าจะน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้” งานวิ จั ย ต่ า งๆ ของโครงการวิ จั ย เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ถูกน�ำมาใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อน โดยเรียนรู้จากหลักการ ท�ำงานของในหลวงคือ ต้องรู้จริง ท�ำจากเล็กไปใหญ่ ทั้งยัง ศึกษาตัวอย่างจากโครงการในส่วนพระองค์ ที่สวนจิตรลดา ซึ่ง ดร.ปรียานุชยึดเป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน ท� ำ ไปบ่ อ ยๆเข้ า เด็ ก ก็ จ ะเกิ ด ความตระหนั ก รู ้ แ ล้ ว ก็ ซึ ม ซั บ ไปเองว่ า อะไรก็ ต ามแต่ ท่ี ส� ำ เร็ จ เพราะว่ า เขาท� ำ อย่ า งพอเหมาะพอดี กั บ ก� ำ ลั ง ของเขา กั บ ชุ ม ชน กั บ เวลาที่ เ ขามี ทุ ก อย่ า งต้ อ งเป็ น เหตุ เ ป็ น ผล ต้ อ งมี ก ารวางแผนอย่ า งรอบคอบ “ยกตัวอย่าง เรื่องปลานิล พระเจ้าอยู่หัวท่านทรง ศึกษาจนกระทั่งพวกเรารู้จริงว่า ถ้าปลานิลไปแพร่พันธุ์ใน แม่น�้ำในประเทศไทย ล�ำคลอง หนอง บึงต่างๆ จะไม่เป็น อั น ตรายต่ อ พื ช และสั ต ว์ พื้ น บ้ า น แล้ ว ก็ เ ป็ น แหล่ ง โปรตี น ได้ สามารถแพร่พันธุ์ได้ ราคาไม่แพงนัก ทดลองจนรู้จริง ในพระราชวังสวนจิตรลดา โครงการส่วนพระองค์แล้วก็น�ำ ไปเผยแพร่ ท�ำจากเล็กไปใหญ่ ค่อยๆ ขยายไปเรื่อยๆ เราก็ ยึดหลักนั้นมาว่า เราต้องรู้จริง ท�ำให้การท�ำงานขับเคลื่อน ด้านการศึกษาอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยก่อน ตัวอาจารย์ เอง นักวิชาการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ ก็จะมา ร่วมมือกัน ในบางเรื่องเราก็จ้างนักวิชาการมาวิจัย ที่จุฬาฯ บ้าง ที่ มศว.บ้าง”

ขึ้นแล้วจะไม่ลืมหายไป เราก็เลยคิดว่าเรื่องนี้ต้องอยู่ในหลักสูตร ของการศึกษาชาติ ในช่วงปฎิรูปการศึกษา ปี 2551 หัวข้อหลักคือต้องมีการ ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้เข้ากับสถานการณ์ของประเทศไทย เรา ได้ท�ำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ก็มีการน�ำเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงเข้าไปเป็นปรัชญาในการน�ำทางการศึกษาชาติ อันนี้ เป็นหัวใจใหญ่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจุดหมายระบุ ชั ด เจนเลยว่ า เมื่ อจัด การศึก ษาตามหลัก สูต รการศึกษาชาติ 42

IS AM ARE www.ariyaplus.com


สอดแทรกหลั ก ความพอเพี ย งคู ่ ไ ป กั บ รายวิ ช า จากการขั บ เคลื่ อ นที่ ผ ่ า นมา ดร.ปรี ย านุ ช และที ม วิ จั ย พบว่ า การ บ่มเพาะหรือสอดแทรกเรื่องราวปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไม่อาจท�ำได้โดย การให้เด็กท่องจ�ำอย่างเดียว สิ่งส�ำคัญ คื อ การน� ำ ไปปฏิ บั ติ ใช้ อ ย่ า งเห็ น คุ ณ ค่ า เหล่ า นี้ ดร.ปรี ย านุ ช มองว่ า ตั ว แปรที่ ส�ำคัญอยู่ที่ครูผู้สอน “ช่วงปี 2550-2552 เราจะยุ่ง เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งการให้ คุ ณ ครู จั ด กิ จ กรรม ออกแบบการเรียนรู้ เช่น คุณครูสอนให้ เด็กเรียนรู้เรื่องดิน สมมุติครูวิทยาศาสตร์ เด็กต้องทดสอบดินในท้องถิ่นตัวเองเป็น ยังไง เป็นกรดเป็นด่างมีประโยชน์อย่างไร มีสารอะไร สมมุติเขาเรียนเคมี แล้วครู วิทยาศาสตร์จะสอดแทรกเรื่องพอเพียง ไปได้อย่างไร

การจะช่ ว ยผู ้ อื่ น ได้ ต ้ อ งมี ศั ก ยภาพในการเป็ น วิ ท ยากรพี่ เ ลี้ ย ง ต้ อ ง มี จิ ต เมตตา ต้ อ งมี จิ ต อาสา แล้ ว ช่ ว ยผู ้ อื่ น งานตั ว เองก็ ไ ม่ ต ้ อ งเสี ย มั ว แต่ ไ ปช่ ว ยเหลื อ โรงเรี ย นอื่ น ให้ เ ป็ น โรงเรี ย นพอเพี ย ง ปรากฏว่ า โรงเรี ย นตั ว เองก็ แ ย่ อย่ า งนี้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ อี ก คุณครูเขาช่วยคิดกับเรา คุณครู ก็บอกเด็กต้องท�ำการทดลอง จะทดลอง อย่างไร จะเอาดินจากไหนมาทดลอง วิธี การทดลองจะต้องเตรียมอุปกรณ์อย่างไร บ้าง (นี่คือภูมิคุ้มกัน) และจะใช้สัดส่วน ปริมาณเท่าไหร่ ใช้วิธีการอย่างไร แล้วใช้ หลักเหตุผลอย่างไรในการพิจารณาตัดสิน ใจว่ า ดิ น ประเภทนี้ เ ป็ น กรดเป็ น ด่ า ง อย่างไร จะแก้ความเค็มของดินได้อย่างไร ต่างๆ นานาใช้หลักวิชาการหมด พอเด็ก เรียนรู้เสร็จก็จะถามว่า ที่เด็กท�ำงานไป แล้วประสบความส�ำเร็จ เขาใช้หลักพอ เพียงรึเปล่า ท� ำ ไปบ่ อ ยๆ เข้ า เด็ ก ก็ จ ะเกิ ด ความตระหนั ก รู ้ แ ล้ ว ก็ ซึ ม ซั บ ไปเองว่ า 43 issue 95 december 2015

อะไรก็ตามแต่ที่ส�ำเร็จ เพราะว่าเขาท�ำ อย่ า งพอเหมาะพอดี กั บ ก� ำ ลั ง ของเขา กับชุมชน กับเวลาที่เขามี ทุกอย่างต้อง เป็นเหตุเป็นผล ต้องมีการวางแผนอย่าง รอบคอบ เขาก็ จ ะเริ่ ม เห็ น คุ ณ ค่ า ของ หลัก 3 ห่วงขึ้นมา (พอเพียง มีเหตุผล มี ภูมิคุ้มกัน) ว่าอะไรที่ประสบความส�ำเร็จ จะสอดคล้องกับความพอเพียง 3 ประการ อะไรที่ไม่ประสบความส�ำเร็จ เช่น ใช้เวลา สั้นเกินไป มีการเตรียมความพร้อมน้อย เกินไป หรือว่ารีบด่วนสรุป ไม่มีเหตุผล ไม่ประสบความส�ำเร็จ กระบวนการตรง นี้ท�ำให้เด็กเริ่มเข้าใจเรื่องความพอเพียง มากขึ้น”


สถานศึ ก ษาพอเพี ย ง เมื่ อ เริ่ ม ขั บ เคลื่ อ นหลั ก พอเพี ย ง เข้าสู่สถานการศึกษา ก็เริ่มมีเสียงสะท้อน จากกลุ ่ ม ครู ถึ ง บรรยากาศในโรงเรี ย น หลายแห่ ง ไม่ เ อื้ อ อ� ำ นวย เพราะเรื่ อ งนี้ ไม่สามารถเรียนรู้อยู่แค่ในห้องเรียนได้ ทั้งบางโรงเรียนผู้บริหารไม่ได้เน้นเรื่อง การใช้ทรัพยากรอย่างพอประมาณ เช่น การจั ด กี ฬ าสี เด็ ก ๆ ยั ง ไม่ รู ้ จั ก การใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แข่งขันกันจนบาง ครั้งทะเลาะกัน เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าหลัก ปรั ช ญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ถูก น�ำมาใช้ให้สอดคล้องเท่าที่ควร ดร.ปรียานุช กล่าวว่า จากการ ศึ ก ษาวิ จั ย ก็ พ บแนวทางแก้ ไข โดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐานในการขั บ เคลื่ อ น ถึ ง จะเกิดการบ่มเพาะได้ จึงเป็นที่มาของ “สถานศึกษาพอเพียง” “แต่ ก ่ อ นเราท� ำ แค่ ห ้ อ งเรี ย น เพราะเราไปจับที่หลักสูตร แต่หลักสูตร เป้ าหมายใหญ่ คื อ นัก เรียนต้องใช้ชีวิต อย่างพอเพียง แต่เราลงไปแค่ในหลักสูตร

ในสาระ พอออกนอกห้องเรียนเด็กๆ ไป ท�ำกิจกรรมกีฬาสีบ้าง ท�ำชมรมบ้าง ไม่ เกี่ยวเลย ครึ่งๆ ของชีวิตในโรงเรียน นอก ห้ อ งเรี ย นมั น มี อี ก ครึ่ ง หนึ่ ง เราก็ ม าคิ ด นวัตกรรมที่เรียกว่าสถานศึกษาพอเพียง ขึ้ น มา นี่ คื อ ที่ ม าที่ ไ ปว่ า ผู ้ บ ริ ห ารต้ อ ง เอาหลั ก พอเพี ย งไปบริ ห ารจั ด การ จน กระทั่งเกิดวัฒนธรรมองค์กรของการอยู่ ร่วมกันอย่างพอเพียง ผู้บริหารก็ต้องเป็น แบบอย่าง เท่านั้นไม่พอ ชุมนุมต่างๆ ใน โรงเรียนต้องสนับสนุนด้วย เพราะว่าใน ห้องเรียนอย่างเดียวไม่พอ เด็ ก นั ก เรี ย นอาจจะได้ ไ ปเรี ย น รู ้ เรื่ อ งสวนสมุ น ไพรในโรงเรี ย น สวน สมุนไพรนั้นก็ต้องเป็นฐานการเรียนรู้ของ ความพอเพียงด้วย สมมุติเป็นโรงเรียน ในภาคอีสาน อาจจะปลูกสมุนไพรภาค อีสานไว้มากมาย เด็กก็เรียนรู้หลักความ พอประมาณ ไม่ใช่เอาสตอเบอรี่มาปลูก ในโรงเรี ย นทางภาคอี ส าน ซึ่ ง ไม่ ใช่ พื ช ท้องถิ่น เด็กก็จะ เอ๊ะ ความพอประมาณ มั น อยู ่ ต รงไหน ทุ ก อย่ า งต้ อ งใช้ ห ลั ก 44 IS AM ARE www.ariyaplus.com

พอเพียงในการบริหารจัดการการศึกษา ทั้งโรงเรียน” จากการเริ่มประเมินสถานศึกษา พอเพียงครั้งแรกในปี 2551 จนถึงการ ปรับตัวเกณฑ์การศึกษาในปี 2553 ท�ำให้ เกิ ด โรงเรี ย นสถานศึ ก ษาพอเพี ย งกว่ า พันแห่ง หมายความว่ามีโรงเรียนที่เข้าใจ และน� ำ ไปใช้ ไ ด้ อ ย่ า งโดดเด่ น ทั้ ง กลุ ่ ม บุคลากรผู้บริหารและครูก็เริ่มเข้าใจและ ตอบรับมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงใน โรงเรียน ท�ำให้เกิดจิตอาสาจากครูหลาย ภาคส่วนในการที่จะช่วยขยายผล ท�ำให้ เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาคือ โรงเรียนศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพี ย งกระทรวงก็ ไ ด้ พั ฒ นาการ ศึกษา “โรงเรี ย นพอเพี ย งคื อ โรงเรี ย น ที่ พึ่ ง ตั ว เองได้ นั ก เรี ย นใช้ ชี วิ ต อย่ า ง พอเพี ย ง อยู ่ อ ย่ า งพอเพี ย ง ท� ำ อย่ า ง พอเพี ย ง คิ ด อย่ า งพอเพี ย ง พู ด อย่ า ง พอเพียง เขาเริ่มเห็นหนทาง เขาก็ค่อยๆ สั่ ง สมประสบการณ์ เ พิ่ ม ความลุ ่ ม ลึ ก ไป


เรื่อยๆ แต่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ต้องเป็นผู้ที่สามารถช่วย เหลื อ ผู ้ อื่ น ได้ เขาพึ่ ง ตั ว เองได้ เขาก็ พ ร้ อ มจะช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น หลายโรงเรียนอาจจะเก่งท�ำเองได้ แต่ช่วยผู้อื่นไม่ได้ เพราะ การจะช่วยผู้อื่นได้ต้องมีศักยภาพในการเป็นวิทยากรพี่เลี้ยง ต้องมีจิตเมตตา ต้องมีจิตอาสา แล้วช่วยผู้อื่น งานตัวเองก็ไม่ ต้องเสีย มัวแต่ไปช่วยเหลือโรงเรียนอื่นให้เป็นโรงเรียนพอเพียง ปรากฏว่าโรงเรียนตัวเองก็แย่ อย่างนี้ก็ไม่ได้อีก มันยาก ถ้าเราจะวัดความส�ำเร็จของการขับเคลื่อนเรื่องพอเพียง คนขับเคลื่อนต้องบอกตัวเองได้ว่า การขับเคลื่อนจะส�ำเร็จเมื่อ ไหร่ เราต้องบอกตัวเองได้ว่า เมื่อไหร่ที่เราไม่อยู่ ระบบต้องเดิน ถ้ า เราจะวั ด ความส� ำ เร็ จ ของการขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ ง พ อ เ พี ย ง ค น ขั บ เ ค ลื่ อ น ต ้ อ ง บ อ ก ตั ว เ อ ง ไ ด ้ ว ่ า การขั บ เคลื่ อ นจะส� ำ เร็ จ เมื่ อ ไหร่ เราต้ อ งบอกตั ว เองได้ ว ่ า เมื่ อ ไหร่ ที่ เ ราไม่ อ ยู ่ ระบบต้ อ งเดิ น ได้ ด ้ ว ย ตนเอง นี่ คื อ ประสบความส� ำ เร็ จ

ได้ด้วยตนเอง นี่คือประสบความส�ำเร็จ ถ้าเราไปสร้างระบบที่ เขาต้องพึ่งพาเราตลอดเวลา อันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเราก็ไปท�ำตัว เหมือนคอยไปยื่นความช่วยเหลือให้ ไม่โตสักที อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่อง ง่ายที่จะคิดท�ำเรื่องแบบนี้ แต่เราก็พยายามคิดว่า ท�ำอย่างไรที่ ระบบการขับเคลื่อนเรื่องพอเพียง มันมีหลักสูตร มีสถานศึกษา พอเพี ย ง มี โรงเรี ย นศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ท� ำ อย่ า งไรจึ ง จะให้ เขา หมุนได้ด้วยตนเอง ตรงนี้กระทรวงศึกษาธิการ โดยส�ำนักปลัด อาจารย์ รจนา สินที ก็มีส่วนร่วมอย่างมากในการน�ำเรื่องสถาน ศึกษาพอเพียงและโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการ ประเมินวิทยฐานะของผู้บริหารและครู อันนี้กระทรวงเขาจะไป ผูกเอาไว้ด้วย” ดร.ปรียานุชกล่าวทิ้งท้าย และในฉบับนี้เราก็ได้รับรู้แนวทาง ความเป็นมาและที่ ก�ำลังจะเป็นไป ของหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา ซึ่งผู้คุมบังเหียนหรือเจ้ากระทรวง คงต้องสั่งการ หาคณะท�ำงานเพื่อร่วมขับเคลื่อนการท�ำงานไปพร้อมๆ กัน การปฏิรูปประเทศตามที่ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถึงเป้าหมายสุดท้ายคือ ประชาชนมีความ มั่นคง มั่งคั่งอย่างยั่งยืน จะส�ำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรมและ สะดวกโยธินก็คงต้องมารับฟังที่ท่าน ดร.ปรียานุชบอกไว้ดังๆ ว่า การปฏิรูปประเทศเพื่อให้ ประชาชนมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจาก ครูผู้สอน จึงจะส�ำเร็จได้ แน่นอน.

45 issue 95 december 2015


เรื่ อ งราวรอบตั ว

เรื่องและภาพโดย นงนาท สนธิสุวรรณ

เศรษฐกิจไทยกับบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ..

ทางอยู่รอดที่มั่นคงยั่งยืน

ข้าพเจ้าในฐานะศิษย์เก่าผู้หนึ่ง ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญ ให้ ไ ปร่ ว มงานสั ม มนาวิ ช าการประจ� ำ ปี ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๑๖ ที่ได้ไปร่วมงานต่อ เนื่องทุกปี เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ โดยในปี นี้ เ ป็ น การจั ด ขึ้ น ร่ ว มกั น สอง หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย คือสายนโยบายการเงิน และสถาบันวิจัย เศรษฐกิ จ ป๋ ว ย อึ๊ ง ภากรณ์ เพื่ อ ผลั ก ดั น งานวิ จั ย ด้ า นเศรษฐศาสตร์ และ ส่ ง เสริ ม วงการวิ ช าการในประเทศไทย ส� ำ หรั บ ในปี นี้ เ ป็ น การน� ำ เสนอภายใต้

หั ว ข้ อ “เศรษฐกิ จ ไทยกั บ บริ บ ทใหม่ ทางเศรษฐกิจ” (The Thai Economy under the New Normal)ทีป่ ระเทศไทย ก�ำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงการชะลอ ตัวลงของการค้าระหว่างประเทศ อัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ถดถอย และ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวม ทั้ ง การท้ า ทายที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ต่ อ การด� ำ เนิ น นโยบายการเงิ น จากโลกาภิ วั ต น์ ภ าค การเงิ น การเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า ง ตลาดแรงงานไทย และโครงสร้ า ง ประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์ 46 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เหล่ า นี้ เป็ น สั ญ ญาณที่ อ าจบ่ ง บอกถึ ง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบ เศรษฐกิ จ ไทยในระยะยาวในแต่ ล ะมิ ติ และกล่าวได้ว่าเป็นบรรทัดฐานใหม่ หรือ New Normal อันเป็นความท้าทายที่ กระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ดร.ประสาร ไตรรั ต น์ ว รกุ ล ผู ้ ว ่ า การธนาคารแห่ ง ประเทศไทย ได้ กล่ า วเปิ ด งาน อาจสรุ ป ว่ า ได้ ชี้ ใ ห้ ทุ ก ภาคส่วนได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง ข้างต้นเชิงลึก (Deep Parameters)ใน ระบบเศรษฐกิจผ่านปัจจัยการผลิตทาง


เศรษฐกิจ ได้แก่ แรงงาน ทุน และเทคโนโลยี หากมองในระดับ โลก การค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างเห็น ชัดเจน ส่วนหนึ่งสะท้อนการอิ่มตัวของการขยายฐานการผลิต ผ่านห่วงโช่อุปทานโลก และบทบาทที่ลดลงของจีนในการผลัก ดันการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเอเซีย ในขณะที่ ก ารรวมตั ว ทางการเงิ น ระหว่ า งประเทศที่ ปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ได้ เ สริ ม ความเชื่ อ มโยงระหว่ า ง ภาคการเงิ น ในแต่ ล ะประเทศ ซึ่ ง ในแง่ ห นึ่ ง เป็ น การเพิ่ ม ประสิทธิภาพและสภาพคล่องในตลาดการเงิน และเสริมช่อง ทางในการกระจายความเสี่ ย ง แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น เป็ น ช่ อ ง ทางในการส่งผ่านแรงกระแทก หรือ shocks ต่างๆจากตลาด การเงินโลก ซึ่งเพิ่มความผันผวนในตลาดการเงินมากขึ้น ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเหล่านี้่ นโยบาย ภาครัฐมีบทบาทส�ำคัญ ทั้งผ่านมาตรการระยะสั้นและระยะ ปานกลาง ที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และมาตรการเชิงรุก อันจะสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาว เช่น ในเรื่องการส่งออก โดยที่บทบาทของประเทศไทยในห่วงโซ่อุปทาน เป็นปัจจัยที่ จะส่งผลส�ำคัญต่อการส่งออก และจะเป็นแรงขับเคลื่อนส�ำคัญ ของเศรษฐกิจ หากสามารถจัดการบริหารได้ดี ดังนั้น การเลือก เข้าไปร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลก ที่เพิ่ม value added เช่น กิจกรรมก่อนการผลิต ที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนา หรือการ ออกแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและทักษะ แรงงานที่สูง เป็นต้น จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญยิ่งต่อศักยภาพการ ส่งออกในระยะยาว การท� ำ งานของภาครั ฐ ที่ ส มควรมี ก ารปรั บ ปรุ ง เป็ น ล�ำดับต้น คือประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ ที่มีขนาดใหญ่มาก และถือครองทรัพย์สินเชิงยุทธศาสตร์ส�ำคัญๆของประเทศ เช่น ไฟฟ้า ระบบขนส่ง หรือคลื่นความถี่ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานส�ำคัญ ส�ำหรับกิจการอื่นๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน อีกทั้งรัฐวิสาหกิจ ยังถูกแทรกแซงจากการเมืองปัญหาเชิงโครงสร้างขาดทุน และ คุณภาพของสินค้าและบริการยังด้อยอยู่ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นเรื่องจ�ำป็นเร่งด่วน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไป ข้างหน้าได้ ในกรณี ก ารเชื่ อ มโยงทางการเงิ น ที่ สู ง ขึ้ น มาตรการ ที่ รั บ มื อ ได้ แ ก่ ก ารประยุ ก ต์ ใช้ เ ครื่ อ งมื อ การด� ำ เนิ น นโยบาย การเงินต่างๆที่เหมาะสม เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ย การ บริหารจัดการความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุน เคลื่อนย้าย หรือการใช้มาตรการ macro prudential ส่วน มาตรการเชิงรุก ได้แก่การมีกรอบด�ำเนินนโยบายการเงิน และ การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่มีความยืดหยุ่น เพื่อลดการ

กระบวนการเรี ย นรู ้ ข องเด็ ก แต่ ล ะคนไม่ เ หมื อ นกั น การมี แ ผนแม่ แ บบเดี ย ว ไม่ ส ามารถน� ำ ไปสู ่ ก ารให้ เด็ ก แต่ ล ะคนเข้ า สู ่ ส มรรถนะสู ง สุ ด ของตนได้ ระบบ ที่ ดี ไ ม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งพึ่ ง การก� ำ หนดหลั ก สู ต รส่ ว นกลาง หรื อ การสอบมาตรฐาน แต่ ส ่ ง เสริ ม การทดลองวิ ธี การสอนต่ า งๆ ส่งต่อความผันผวนจากระบบการเงินไปสู่ยังภาคเศรษฐกิจจริง และสามารถต้านทานภาวะวิกฤต การเปลี่ ย นแปลงย่ อ มน� ำ มาซึ่ ง ความรู ้ สึ ก ของความ หวาดระแวง และการต่อต้าน แต่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกอย่างมี การพัฒนาเร็วมาก ทุกคนต้องวิ่งเพื่อความก้าวหน้า เราจึงควร รับรู้ ยอมรับ และอ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลง คุณอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญ เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สู่บริบทใหม่ของประเทศ ด้วยธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย” อาจสรุปได้ว่า เราก�ำลังอยู่ในช่วงรอยต่อที่ส�ำคัญทางการเมือง ซึ่งหลายคน อาจก�ำลังตั้งค�ำถามว่า เมื่อผ่านรอยต่อนี้ไปแล้ว บรรทัดฐาน ใหม่ (New Normal) จะเป็นอย่างไรโดยส่วนตัวคงจะยังให้ ค�ำตอบไม่ได้ เพราะเท่าที่ผ่านมาในอดึต กระแสโลกาภิวัตน์ 47

issue 95 december 2015


แข่งขันกับเอกชน หรือไม่ออกกฏเกณท์ที่บั่นทอนกลไกตลาด ซึ่งที่จริงแล้วมีหลักการสะท้อนอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ปี ๒๕๔๒ แต่การบังคับใช้กฏ หมายไม่เคร่งครัด ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ๒. การเปลี่ ย นแปลงต้ อ งน� ำ ไปสู ่ สั ง คมที่ เ ปิ ด และ การมีส่วนร่วมของคนในสังคมในการก�ำหนดทิศทางในการ พัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีความรู้สึกเป็น เจ้าของประเทศ และพร้อมที่จะตรวจสอบการท�ำงานของภาค รัฐตลอดเวลา ทั้งนี้ สิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกันนั้น มิได้หมาย ถึงแต่เพียงการที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง แต่รวมไปถึง การยอมรับและให้ความส�ำคัญต่อข้อคิดเห็นของประชาชนหรือ ข้อเรียกร้องโดยชอบธรรมของทุกฝ่าย มิใช่แต่เฉพาะส่วนที่ได้ รับเลือกตั้งข้างมาก...ระบบการปกครองโดยเสียงข้างมาก ไม่ ได้หมายถึงการปกครองลักษณะผู้ชนะกินรวบ (winners take all)นอกจากนี้ หากจะให้ประชาธิปไตยคงอยู่ได้ในระยะยาว และเกิดความสงบสุข ต้องมีขันติธรรม คือการยอมรับความ หลากหลายในสังคม กลุ่มเสียงข้างน้อยต้องได้รับผลประโยชน์ อย่างเท่าเทียมจากกระบวนการเลือกตั้ง ฝ่ายที่ชนะการเลือก ตั้ง ต้องตระหนักว่าตนเป็นตัวแทนของของประชาชนทั้งประเทศ และมีหน้าที่รักษาและส่งเสริมฉันทามติที่สมดุลในสังคม ซึ่งเป็น ศิลปะอย่างหนึ่ง

บริโภคนิยม ความฟุ้งเฟ้อ ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต และการใช้ จ่ายโดยไม่ประมาณตนเอง เป็นต้นเหตุของความล้มเหลวใน การบริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชน ฉะนั้นสมควรถึงเวลาแล้ว ที่ เราจะต้ อ งจริ ง จั ง กั บ การปรั บ บทบาทและจิ ต ส� ำ นึ ก ของเรา เข้าสู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะหลักคิดใน เรื่อง การพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไขของคุณธรรมควบคู่ความรู้ เพื่อช่วยให้เราสามารถ เผชิญกับปัญหาและวิกฤตต่างๆ พร้อมกับสามารถหาค�ำตอบ และทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ได้ จึงอยากขอถือโอกาสนี้เสนอ องค์ประกอบสี่ประการ ที่จะขาดไม่ได้ส�ำหรับบันทัดฐานใหม่ ของเส้นทางการพัฒนาประเทศไทยที่จะน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่แท้จริงและทรงพลัง ๑. บรรทัดฐานใหม่ของประเทศไทยต้องตั้งอยู่บนพื้น ฐานของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง โดยมุ่ง เน้นมิติด้านคุณภาพ และแบ่งสรรผลประโยชน์และรายได้ให้ทั่ว ถึง ลดความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจ เสริมสร้างขีดความสามารถ การแข่งขันที่แท้จริงผ่านกลไกตลาดที่มีคุณภาพ การพัฒนาฝีมือ แรงงาน ยกระดับการศึกษาและวิจัย รัฐสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนาของภาคเอกชน รัฐเป็นผู้ก�ำกับดูแลในการ ป้องกันการผูกขาด และคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ประกอบกิจการ

๓. การท�ำให้สังคมปกครองโดยหลักนิติธรรม ไม่ใช่ ค�ำนึงถึงเฉพาะตัวบทกฏหมาย แต่พิจารณาถึงเจตนารมณ์ แห่ ง กฏหมายและความเป็ น ธรรมด้ ว ย กฏกติ ก าเหล่ า นั้ น ต้ อ งบั ง คั บ ใช้ อ ย่ า งตรงไปตรงมากั บ ทุ ก คนโดยไม่ มี ก รณี ยกเว้ น กระบวนการร่ า งกฏหมายและบั ง คั บ ใช้ ต ้ อ งมี ค วาม 48

IS AM ARE www.ariyaplus.com


โปร่งใส กระบวนการยุติธรรม ซึ่งรวม ถึ ง กระบวนการตุ ล าการ ต้ อ งมี อิ ส ระ มี คุ ณ ภาพ ไม่ ล� ำ เอี ย ง มี ค วามเป็ น เที่ยงธรรม ไม่ชักช้า ที่ส�ำคัญ กฏหมาย ไม่ ค วรถู ก น�ำมาใช้เป็น เครื่องมือในการ บรรลุเป้าหมายทางการเมือง ๔. การปรับสมดุลในโครงสร้าง เชิงอ�ำนาจระหว่างภาครัฐกับประชาชน กล่ า วคื อ รั ฐ บาลที่ ต อบสนองความ ต้ อ งการของประชาชน เป็ น ผลลั พ ธ์ ของการมี ป ระชาธิ ป ไตยที่ แ ท้ จ ริ ง ซึ่ ง จะเกิ ด ขึ้ น ได้ ด ้ ว ยการกระจายอ� ำ นาจ อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ ให้ แ ก่ ก ลุ ่ ม ผลประโยชน์ ที่ ห ลากหลาย มากขึ้ น อี ก ทั้ ง เป็ น วิ ธี ที่ ล ดอิ ท ธิ พ ลของ กลุ่มพลังทางการเมือง ทั้งนี้จ�ำเป็นต้อง ปฏิรูปองค์กรท้องถิ่นให้ตอบสนองความ ต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ไม่ใช่ ความต้องการจากส่วนกลาง ทั้งนี้ความ

ส�ำเร็จของการกระจายอ�ำนาจนั้น ขึ้นอยู่ กับการมีกระบวนการกลั่นกรอง และน�ำ เสนอข้อมูลที่รอบด้าน และเป็นที่มาของ บทบาทภาคประชาชนที่ส�ำคัญยิ่ง การมี ภ าคส่ ว นประชาคมที่ เข้ ม แข็ ง ย่ อ มต้ อ งมี ป ระชาชนที่ มี ก าร ศึกษา ความรู้ และความรู้จักนึกคิด เราจึง ต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อ เสริมสร้างความสามารถของประชาชน ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ดีของ สังคม การศึกษาจะต้องเปลี่ยนจากการ เน้นท่องจ�ำ ไปสู่การคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการปรั บ ตั ว การสอน วิธีการเรียนรู้จะส�ำคัญกว่าการให้ความรู้ ศัตรูส�ำคัญของความสร้างสรรค์ คือการ ติเตียนความผิดพลาด การพัฒนามนุษย์นั้น ไม่ได้เป็น ไปตามเส้นตรง เราไม่ควรมองว่า ทุกคน ควรจะเดินตามขั้นตอนเดียวกัน เพื่อไปสู่ 49 issue 95 december 2015

ความส�ำเร็จ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละคนไม่เหมือนกัน การมีแผนแม่แบบ เดียว ไม่สามารถน�ำไปสู่การให้เด็กแต่ละ คนเข้าสู่สมรรถนะสูงสุดของตนได้ ระบบ ที่ดีไม่จ�ำเป็นต้องพึ่งการก�ำหนดหลักสูตร ส่วนกลาง หรือการสอบมาตรฐาน แต่ส่ง เสริมการทดลองวิธีการสอนต่างๆ โดย ให้อ�ำนาจโรงเรียนในแต่ละท้องถิ่น เป็น ผู้ก�ำหนดแนวทางการสอนและส่งเสริม ความถนัดของเด็กมากกว่าการจัดล�ำดับ หากการศึ ก ษาสร้ า งเด็ ก ให้ มีทักษะการ เรียนรู้ที่ดี เขาย่อมมีทักษะในการเรียน รู้บริบทของประเทศ รวมทั้งแก่นสารที่ ส� ำ คั ญ ในประเด็ น ต่ า งๆ ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ เขามีศักยภาพ ที่จะตัดสินใจบนพื้นฐาน ของเหตุและผล รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ของ ประชาชนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อย่างสมบูรณ์


50 IS AM ARE www.ariyaplus.com


51 issue 95 december 2015


สภาพแวดล้อม

ต�ำบลเขาคอก อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในต�ำบลน�ำร่อง ของโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิ ถี พ อเพี ย ง ซึ่ ง เข้ า มาด� ำ เนิ น กิ จ กรรม พั ฒ นาในต� ำ บลเขาคอกตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. 2550 ในลั ก ษณะของการหนุ น เสริ ม ต่ อ ยอดการพั ฒ นาให้ กั บ ชาวบ้ า นใน พื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มท�ำกิจกรรมพัฒนา พึ่งพาตนเองอยู่ก่อนแล้ว และถือเป็นอีก ต�ำบลหนึ่งในท้องถิ่นอีสานที่มีต้นทุนการ พัฒนาที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะแกนน�ำและ ก�ำลังคน ซึ่งมีการพัฒนามาจากการลุก ขึ้นต่อสู้กับนายทุน เพื่อรักษาผืนป่าที่เคย อุดมสมบูรณ์มากแต่ถูกบุกรุกท�ำลายจน เหลือแต่เพียงป่าชุมชนที่ชาวบ้านช่วยกัน อนุรักษ์ไว้จ�ำนวน 2,700 ไร่ ในนามเครือ ข่ า ยอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรและสิ่ ง แวดล้ อ ม ต� ำ บลเขาคอก โดยมี ประมวล มาลั ย (เจริญยิ่ง) เป็นแกนน�ำส�ำคัญ พร้อมกับ มี ก ารรวมกลุ ่ ม ด� ำ เนิ น กิ จ กรรมพั ฒ นา คุณภาพชีวิตด้านต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากหลายหน่ ว ยงาน ต� ำ บลเขาคอกจึ ง

เป็นอีกหนึ่งต�ำบลที่จ�ำเป็นต้นแบบของ รูปธรรมความส�ำเร็จบนวิถีพอเพียง เพื่อ ขยายผลสู่ต�ำบลอื่นๆ ทั่วท้องถิ่นไทยใน อนาคต ต�ำบลเขาคอก ตั้งอยู่ห่างจากตัว อ�ำเภอประโดนชัยประมาณ 30 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเนิน ดินต�่ำๆ พื้นที่ที่เป็นเนินจะเป็นที่ตั้งของ ชุม ชนและเป็ น พื้ น ที่ ป่ า ชุ มชนซึ่ ง มี พื้ น ที่ มากกว่า 6,100 ไร่ ผืนป่าจะถูกล้อมรอบ ด้วยชุมชน ส่วนพื้นที่ราบจ�ำเป็นพื้นที่ท�ำ กินของชาวบ้าน ต�ำบลเขาคอกแบ่งออก เป็น 15 หมู่บ้าน ประชากรมีประมาณ 9,800 คน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์ เขมร ส่วย (กวย) และลาว จึงมีความ หลากหลายทางวัฒนธรรมผสมผสานกัน อยู่ในต�ำบล อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม ท� ำ นา ท� ำ ไร่ มั น ส� ำ ปะหลั ง อ้ อ ย สวน ยางพาราและเลี้ ย งสั ต ว์ นอกจากนี้ ยั ง ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ทอผ้าและ จักสาน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และมีหนี้สินเรื้อรัง ท�ำให้เกิดการอพยพ ไปขายแรงงานต่างถิ่นตามฤดูกาล

ความเป็นมา

ในอดีตต�ำบลแห่งนี้มีป่าไม้ที่อุดม สมบูรณ์กระจายอยูท่ วั่ พืน้ ที่ ประกอบด้วย ป่าเขาคอก ป่าละหอกกระสัง ป่าโคกโมง ป่าโคกกรวด ป่าโคกสวาย ป่าหนองหิน ป่าละเวี้ย และป่าโคกสูงพื้นที่ป่านับหมื่น ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพในด้าน อาหาร สมุนไพร สัตว์ป่าจึงมีผู้คนอพยพ เข้ า บุ ก รุ ก จั บ จองที่ ดิ น ประกอบกั บ ภาค รัฐเปิดให้มีการสัมปทานป่าไม้ ท�ำให้ผืน ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว เกิดความแห้งแล้ง และแหล่ ง อาหารตามธรรมชาติ ล ดลง ชาวบ้ า นจึ ง เกิ ด การร่ ว มมื อ กั น อนุ รั ก ษ์ ฟื ้ น ฟู ป ่ า โดยจดทะเบี ย นเป็ น ป่ า ชุ ม ชน เพื่ อ ฟื ้ น คื น ความสมบู ร ณ์ ใ ห้ ผื น ป่ า และ ต่อยอดการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ไปพร้อมกันท�ำให้พัฒนาการของต�ำบล เขาคอกแยกไม่ออกจากสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ พ.ศ. 2492 – 2513 ยุ ค บุ ก เบิ ก จั บ จองที่ ท� ำ กิ น ผืนดินและผืนป่ายังไม่มีเจ้าของ ครอบครองจนมีชาวไทยเขมร ส่วน และ ลาว จากจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ แ ละจั ง หวั ด ข้างเคียงอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนจับจอง ที่ท�ำกินกันอย่างอิสระ ท�ำให้ผู้ที่มาใหม่ ในราคาถูกๆ แล้วตนเองก็แผ้วถางผืนป่า แห่งใหม่ต่อไปเรื่อยๆ พ.ศ. 2514 – 2532 ยุ ค ให้ สั ม ปทานป่ า และปราบปราม คอมมิ ว นิ ส ต์ เป็นยุคที่ป่าถูกบุกรุกท�ำลายอย่าง ถูกต้องตามกฎหมายโดยภาครัฐเปิดให้ สัมปทานป่าและสัมปทานถ่านแก่นายทุน ท�ำให้ไม้ในป่าทั้งไม้ขนาดใหญ่และขนาด เล็กถูกตัดโค่นท�ำลายอย่างรวดเร็วผู้คน

52 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ต่างถิ่นอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ท�ำกินเพิ่มมากขึ้น กระทั่งปี พ.ศ. 2532 เกิดภัยพิบัติธรรมชาติที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจาก การบุกรุกท�ำลายป่า รัฐบาลจึงประกาศยกเลิกสัมปทานป่าทั่วประเทศ ในยุคนี้เองที่พื้นที่ป่าบริเวณนี้กลายเป็นแหล่งหลบซ่อนของ กลุ่มคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวมวลชลและการล้อมปราบในบริเวณป่าแถบนี้ พ.ศ. 2533 – 2540 ยุ ค ลั ก ลอบตั ด ไม้ แ ละลุ ก ขึ้ น สู ้ ข องชาวบ้ า นเพื่ อ รั ก ษา ผื น ป่ า เป็นยุคมืดฝืดเคือง ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงยึดอาชีพลักลอบ ตั ด ไม้ เ พื่ อ หารายได้ ม าเลี้ ย งครอบครั ว แม้ ว ่ า จะมี เจ้ า หน้ า ที่ ป่าไม้เข้ามาตรวจจับตามกฎหมายแต่ก็ไม่ทั่วถึง ปี พ.ศ.2540 ได้มีนายทุนน�ำคนงานเข้ามาลักลอบตัดไม้ในป่าใกล้ชุมชนละ หอกกระสังชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันโดยมีแกนน�ำส�ำคัญ 2 คน คือบุญมาก ภาลี และประมวล มาลัย (เจริญยิ่ง) น�ำชาวบ้านใน พื้นที่เข้าแจ้งความกับกองร้อยต�ำรวจตระเวนชายแดนที่ 616 อ�ำเภอประโคนชัย ให้เข้าจับกุมและยึดของกลางไว้ กระตุ้นให้ ชาวบ้านเกิดแนวคิดอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าด้วยการพึ่งพาตนเอง และ มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยมีกิจกรรมพัฒนาป่าชุมชนเรื่อยมา

53 issue 95 december 2015


การคิดแบบมีเหตุผล ด�ำเนินชีวิตไม่เกินตัว พอประมาณจากการเก็บออม โดย มีความรู้และคุณธรรมเป็นเงื่อนไขส�ำคัญในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันจากความ เข้าใจเชื่อมั่น และยึดถือหลักเป็นหลักปฏิบัติ

54 IS AM ARE www.ariyaplus.com


พ.ศ. 2541 – 2545 ยุ ค พั ฒ นาชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านละหอกกระสัง ที่จัดตั้ง ขึ้นได้รวมกลุ่มกันจัดท�ำกติกาในการอนุรักษ์และท�ำป้ายประกาศไว้ทั่วป่า ท�ำกิจกรรม ปลูกป่าในวันส�ำคัญๆ และก่อให้เกิดการขยายแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไปสู่ชุมชน ใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังได้ขยายกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น อบรมการแปรรูปอาหาร การจักสานและการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมของชุมชนโดยส่งเสริมการละเล่นตามภูมิปัญญาพื้นบ้านในระยะนี้เริ่มได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากภาคีภายนอกหลายหน่วยงาน เช่น กองทุนเพื่อการลงทุนทาง สังคม (Social Investment Fund : SIF ) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พ.ศ. 2546 – 2550 ยุ ค ร่ ว มมื อ กั บ ภาคี เ ครื อ ข่ า ยวิ ถี พ อเพี ย ง ตลอดระยะเวลาของการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาคอกกว่า 10 ปี โดย นอกจากแกนน�ำและชาวบ้านจะรวมตัวกันด�ำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าอย่างเข้มแข็ง แล้ว ภาคีพัฒนาหลายหน่วยงานได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุนท�ำกิจกรรมพัฒนาในประเด็น อื่น เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสหกรณ์ร้านค้า ท�ำให้เกิดการ เรียนรู้และพัฒนาความคิดความเข้าใจในวิถีพอเพียงพึ่งตนเองมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อ ประมวล มาลัย (เจริญยิ่ง) แกนน�ำของเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่ง แวดล้อมต�ำบลเขาคอก ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประเภทบุคคลสร้างสรรค์ดีเด่นครั้งที่ 6 ประจ�ำปี พ.ศ. 2547 จากบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ท�ำให้ผลงานของเครือข่าย ถูกน�ำไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกท้องถิ่นเข้ามา ให้การสนับสนุนเครือข่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ส�ำคัญในปี พ.ศ. 2548 ได้รับการสนับสนุน จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อ ศึกษาการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเรื่อง “กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ละหอกกระสัง” โดยมีชุมชนเข้าร่วมศึกษาวิจัยครั้งนี้ 5 ชุมชน 2 โรงเรียน เป็นการร่วม

55 issue 95 december 2015


ทุนต�ำบล

สืบค้นมูลค่าการใช้ประโยชน์จากป่ามูลค่าทางเศรษฐกิจภาย จากพั ฒ นาการของต� ำ บลจะเห็ น ว่ า ชาวบ้ า นมี ก าร หลังจากการวิจัยสิ้นสุดลง ช่วยให้ชุมชนได้ชุดความรู้มากมาย อาทิ ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์ป่าเห็นความสัมพันธ์ รวมกลุ ่ ม กั น ท� ำ กิ จ กรรมพั ฒ นาพึ่ ง พาตนเองมาก่ อ นแล้ ว โดยมี ระหว่างคนกับป่า ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ชุมชนรู้เหตุรู้ผลของการ หน่วยงานภาคีทั้งภายในภายนอกชุมชนเข้ามาหนุนเสริมอย่าง อนุรักษ์ป่าที่ถูกต้องรวมทั้งรู้จักประมาณการใช้ประโยชน์จากป่า ต่อเนื่อง สามารถสรุปเป็นต้นทุนส�ำหรับการพัฒนาชุมชนได้ดังนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แกนน�ำต�ำบลเข้มแข็ง

เหตุ ก ารณ์ เ มื่ อ ปี พ.ศ. 2540 ได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด กลุ ่ ม แกน น� ำ ชุ ม ชนที่ หั น มาใส่ ใจต่ อ เรื่ อ งส่ ว นรวม และเป็ น แกนหลั ก ใน การเคลื่อนไหวผลักดันกิจกรรมพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่ หลากหลายอย่างต่อเนื่องแกนน�ำชุมชนที่ส�ำคัญ ได้แก่ ประมวล มาลั ย (เจริ ญ ยิ่ ง ), สุ ภ าพ ศรี ภ า, จวงจั น ทร์ ยิ่ ง ดี , บุ ญ ศรี ประเมินชัย, วุฒิชัย มาลัย, ณรงค์ ประมวลพันธ์ และอ�ำนวย ทิพย์โอสถ เป็นต้น

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต� ำ บลเขาคอกเป็ น ต� ำ บลน� ำ ร่ อ ง 1 ใน 9 ต� ำ บลของ โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบลวิถีพอเพียงโดยเข้าร่วม โครงการฯ มาจากประมวล มาลัย(เจริญยิ่ง) แกนน�ำคนส�ำคัญของ ต�ำบล เคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 6 จากบริษัท ปตท. 56 IS AM ARE www.ariyaplus.com


จ�ำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2547 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมระดมความคิด เพื่อพัฒนากรอบความคิดและแนวทางการด�ำเนินงาน ในระยะแรกของโครงการฯ ท�ำให้ต�ำบลเขาคอกเป็นที่รู้จักของ ปตท. เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการที่ชุมชนนี้มีต้นทุนการพัฒนา ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

กลไกการขับเคลื่อน

กลไกลการขับเคลื่อนงานโครงการฯ ในต�ำบลเขาคอก มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งที่ท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและคอย ติดตามสนับสนุน โดยสรุปบทบาทการท�ำงานของแต่ละส่วนดังนี้

คณะกรรมการโครงการฯ

มีบทบาทในการเป็นกลไกลหลักขับเคลื่อนงาน รับผิดชอบบริหารจัดการโครงการฯ และวางแผนปฏิบัติการให้เป็นไปตาม แผนต�ำบลวิถีพอเพียงที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจาก ปตท. คณะ กรรมการโครงการฯ มีจ�ำนวน 30 คนโดยคัดเลือกจากตัวแทนครัว เรือนพอเพียงอาสา หมู่บ้าน 2-3 คน เป็นคณะกรรมการโครงการฯ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องจริงจังประมาณ 10 คน โดยมี โครงสร้างการบริหารจัดการแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆ

รณรงค์งานศพปลอดเหล้า

ด้วยเล็งเห็นสภาพการจัดงานศพ ซึ่งมีการเลี้ยงเหล้าเป็นต้น เหตุของปัญหามากมายและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ทั้งๆ ที่เป็นงาน ที่มีแต่ความเศร้าโศกเสียใจ จึงเห็นควรอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกัน สร้างความเข้าใจปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็น ตัวน�ำปัญหามาสู่สังคม แม้ว่าคนในสังคมปัจจุบันคิดว่าเป็นประเพณี แบบใหม่ ด้วนความเชื่อแบบผิดๆ ว่า ถ้าไม่มีเหล้า จะไม่มีใครมา ช่ ว ยงานและถ้ า ไม่ มี เ หล้ า ไม่ มี ค นมาช่ ว ยหามผี โดยไม่ ค� ำ นึ ง ถึ ง วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม หรือการช่วยเหลือกันในชุมชนที่เคย ได้ปฏิบัติมาเมื่อครั้งอดีต เมื่อคณะกรรมการโครงการฯ มีโอกาสไปศึกษาเรียนรู้ดูงาน ในต�ำบลเสียวซึ่งเป็นต�ำบลต้นแบบแนวคิดเรื่องการจัดงานศพงด เหล้า และงานบุญประเพณีหนึ่งในต�ำบลเครือข่ายโครงการฯ นั้น ได้ น� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ก ลั บ มารณรงค์ ใ นต� ำ บลเขาคอก มี ก ารเตรี ย ม แผนการด� ำ เนิ น งาน ก� ำ หนดคุ ณ สมบั ติ ที่ เ หมาะสมของคณะ กรรมการที่จะมารับผิดชอบกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า เพื่อเป็น ด้วยและตอบรับเข้าร่วมโครงการฯ กิจกรรมงานศพปลอด ตัวแทนประสานความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนต�ำบลเขาคอก เหล้า แม่จะมีเสียงต่อต้านจากคนบางกลุ่ม ผู้น�ำชุมชน คณะสงฆ์และทุกส่วนเกี่ยวข้อง จัดเวทีชี้แจงวัตถุประสงค์ ของกิจกรรม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกลุ่มผู้น�ำบางส่วนไม่เห็นความ ส�ำคัญในการจัดกิจกรรมท�ำให้การด�ำเนินงานต้องหยุดชะงักไป แต่ ด้วยความมุ่งมั่นของคณะกรรมการที่อยากเห็นกิจกรรมบรรลุผล จึง ปรับเปลี่ยนวิธีการท�ำงานใหม่ โดยใช้วิธีการลงเวทีประชาคมทั้ง 15 หมู่บ้านและจัดท�ำแบบประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมให้ผู้เข้า ร่วมเวทีประชาคมทุกคน ผลจากแบบประเมินพบว่าส่วนใหญ่เห็น 57 issue 95 december 2015


58 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cover Story

ปรัชญา ชี วิต แนวคิดและจิตใจ รัฐมนตรีมังสวิรัติ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นพ.ธี ร ะเกี ย รติ เจริ ญ เศรษฐศิ ล ป์ รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เป็ น ผู ้ ห นึ่ ง ที่ มี ผ ลการเรี ย นดี ม าตั้ ง แต่ เ ด็ ก ติ ด อั น ดั บ ต้ น ๆ ของประเทศไทย ในสมั ย ของท่ า น ทั้ ง ยั ง ร่ ว มกั บ ภรรยา ทญ.สุ ภ าพร เจริ ญ เศรษฐศิ ล ป์ ส่ ง ต่ อ ความรู ้ ค วามสามารถสู ่ ลู ก ชายทั้ ง สองให้ เ ป็ น คนไทยสองคนแรกที่ ไ ด้ ไ ป เรี ย นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เคมบริ ด จ์ ประเทศอั ง กฤษในระดั บ ปริ ญ ญาตรี ท่ า นเป็ น จิ ต แพทย์ เ ด็ ก ชาวไทยที่ ท� ำ งานในประเทศอั ง กฤษ และ เป็ น อาจารย์ พิ เ ศษให้ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ลอนดอน หนั ง สื อ “ค� ำ ภี ร ์ ก ารเลี้ ย ง ลู ก ” จึ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ผลงานที่ ผ ่ า นสายตาผู ้ อ ่ า นมาตั้ ง แต่ ปี พ.ศ.2537 หลายท่ า นใช้ เ ป็ น แนวทางในการเลี้ ย งลู ก จนถึ ง ปั จ จุ บั น ประวั ติ ค วามเป็ น มา ตลอดจนแนวคิ ด ในการด� ำ เนิ น งานและชี วิ ต จนประสบความส� ำ เร็ จ ของ นพ.ธี ร ะเกี ย รติ เจริ ญ เศรษฐศิ ล ป์ เป็ น อย่ า งไร เชิ ญ ท่ า นผู ้ อ ่ า นค้ น คว้ า เอา ในบทสั ม ภาษณ์ ดั ง ต่ อ ไปนี้ เ ถิ ด ครั บ

59 issue 95 december 2015


ก็มีครูภาษาอังกฤษที่ดี มีบุญคุณกับผมมากคือ อาจารย์สงวน วงศ์สุชาติ ตอนผมเรียน ม.3 ผมเริ่มตะหนักว่าภาษาอังกฤษผม ไม่เก่ง โดยดูจากผลสอบแล้ว ผมพึ่งโรงเรียนรัฐไม่ได้ ซึ่งปัจจุบัน นี้ผมก�ำลังตามแก้ปัญหานี้อยู่ในฐานะรัฐมนตรี ท่านนายกก็มอบ ให้ผมดูแลเรื่องภาษาอังกฤษของประเทศ ผมก็รู้ตัวว่าไม่เก่งก็ เลยเที่ยวเสาะแสวงหา สมัยก่อนนี้ก็ไม่มีโรงเรียนพิเศษเยอะแยะ เหมือนในปัจจุบันนะครับ ก็มีอาจารย์สงวน วงศ์สุชาติ ซึ่งสอน โรงเรียนเสริมหลักสูตรผมก็ไปสมัครเรียนที่วังบูรพา ผมก็เป็นลูก ศิษย์จนผมอยู่ ม.5 ผมเรียนทุกวันเลย เรียนคอร์สที่สูงสุดของ เขา คอร์สโทเฟล สมัยนั้นผมอยู่ ม.5 แต่ว่าเรียนเพราะว่าสนุก มากเลย อาจารย์สอนดีมาก อาจารย์สงวนก็ยังสอนอยู่ทุกวันนี้ ผมได้กลับไปหาท่านแล้วผมชวนท่านมาพักที่บ้านผม มาเที่ยวที่ ประเทศอังกฤษ ท่านแก่แล้วแต่ว่าท่านยังเตรียมการสอนอยู่ ก็เป็นอาจารย์ที่ทุ่มเท เป็นแรงบันดาลใจที่ดี ก็จากภาษาอังกฤษ ที่ท�ำให้ผมได้ดีจนทุกวันนี้

ลู ก คนจี น ไม่ ข ยั น แต่ ไ ม่ ขี้ เ กี ย จ เกิดที่กรุงเทพฯ ครับ ที่บางรัก บ้านอยู่ตรอกซุง เกิดใน โรงพยาบาลจีนแห่งหนึ่ง (จ�ำชื่อไม่ได้) เรียนหนังสือในโรงเรียน คริ ส ต์ แล้ ว ก็ เรี ย นแถวบ้านโรงเรียนสัจจศึก ษา แล้วไปต่ อ ที่ โรงเรียนวัดสวนพลู แล้วก็โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เป็นศิษย์เก่า ทั้งวัดสวนพลูและวัดสุทธิวราราม ครอบครัวเป็นคนจีน โตมา แบบคนจีนธรรมดาไม่ได้มีอะไรพิเศษครับ มีพี่น้อง 5 คน ผมเป็น คนโต มีน้องสาว 2 คน น้องชาย 2 คน น้องสาวสองคนปัจจุบัน ก็ เ ป็ น หมอ น้ อ งชายคนที่ สี่ เ ป็ น หุ ้ น ส่ ว นใหญ่ ใ นเชี ย งใหม่ ซู อควาเรียม ที่มีอุโมงค์ใต้น�้ำที่ยาวที่สุด ถือว่าเป็นนักธุรกิจ น้อง ชายคนเล็กอยู่กับแม่ ดูแลแม่เพราะแม่อายุมากแล้ว ตอนเรียนที่วัดสุทธิวราราม เรียนดี โรงเรียนเขาก็ไม่ อยากให้ผมไปสอบที่อื่น ตอน ม.3 เราก็เลือกเรียนที่เดิมเพราะ อยู่ใกล้บ้าน ผมคิดว่าเราไม่ได้เกิดในครอบครัวร�่ำรวย ก็ต้องเรียน โรงเรี ย นของรั ฐแล้ ว ก็เรียนใกล้บ ้าน ก็คิด ว่าเป็น โรงเรี ย นวั ด สุ ท ธิ ว รารามแห่ ง นี้ ก็ ดี อ ยู ่ แ ล้ ว ผมจ� ำ ได้ มี ค รู ดี ๆ หลายคน อาจารย์ ส มานสอนฟิ สิ ก ส์ น ะครั บ อาจารย์ เ สี ย ชี วิ ต ไปแล้ ว อาจารย์ดรุณี สอนคณิตศาสตร์ ผมว่าในโรงเรียนทั้งหมดคน ไม่ได้ประทับใจโรงเรียน คนประทับใจครูดี อาจารย์สมานขนาด อาจารย์ป่วยเป็นโรคไต อาจารย์ยังทุ่มเทการสอน เรียกว่าท�ำให้ เราเข้าใจฟิสิกส์ได้ดีเลยครับ ผมได้คะแนนฟิสิกส์ระดับต้นๆ ของ ประเทศ แล้วผมก็ชอบวิชาฟิสิกส์ แล้วก็มาเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ก็ไปเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นคนขยันแต่ก็ไม่ขี้เกียจนะครับ ชอบอ่านหนังสือแต่ว่า ไม่ได้เป็นหนอนหนังสือ อ่านแต่หนังสือเรียน ชอบเล่นปิงปอง เตะฟุตบอลเล็กน้อย ตอนนั้นชอบภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้เพื่อนๆ ที่วัดสุทธิฯ และเพื่อนๆ ที่คณะแพทย์เขาจะบอกผมว่า คนอะไร ไม่รู้ท่องศัพท์ในดิกชันนารีได้ทั้งเล่มเลย สมัยก่อนถ้าจะเป็นแรง บันดาลใจน้องๆ ได้ก็คือ ผมว่างๆ ผมเอาดิกชันนารีมาท่องแล้ว

ผมบ้ า งาน แล้ ว เวลาท� ำ งานซี เ รี ย สคื อ เอาจริ ง เอาจั ง ต้ อ งศึ ก ษาให้ รู ้ จ ริ ง ไม่ รู ้ ก็ ถ ามผู ้ รู ้ อย่ า งผมสนใจ เรื่ อ งประเมิ น ผมไม่ คิ ด ว่ า ผมรู ้ ม าก ไปนั่ ง อ่ า นหนั ง สื อ อ่ า นแล้ ว คนไหนเก่ ง ผมก็ เ ชิ ญ เขามาพบ เราก็ ข อ ความรู ้ ค วามช่ ว ยเหลื อ มี แ ฟนวั ย เรี ย นใช่ ว ่ า จะเสี ย การเรี ย น พอจบจุฬาฯ ก็ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น เพราะว่ามีแฟนแล้ว (หันไปมองภรรยา) จะได้เดินทางไปมา ง่ายหน่อย เขาเรียนคณะทันตแพทย์ ผมจีบเขาตั้งแต่เขาเป็น นักเรียนเตรียมอุดม ผมอยู่คณะแพทย์จุฬาฯ ผมก็จีบเด็กเตรี ยมฯ เขาเป็นเพื่อนน้องสาวผมที่เป็นหมอ น้องสาวผมเขาเรียน เตรียมอุดมฯ ก็เลยสนิทกัน ผมก็จีบเขาเป็นแฟน จนกระทั่งเรียน จบแพทย์ ช่วงนั้นช่วยกันเรียน เรียนดีทั้งคู่เลย คือเราทั้งสองคน ไม่เที่ยว ไม่ได้หลงแสงสีเสียง จุ ด เปลี่ ย น ตามรอย ดร.อาจอง ชุ ม สาย ณ อยุ ธ ยา ตอนนั้นผมอยู่ปี 5 ชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปเพราะว่าได้รู้จัก ดร.อาจอง ชุ มสาย ณ อยุ ธ ยา ถึ ง จุ ด หนึ่ ง ผมก็ เ ดิ น ตามรอย อาจารย์อาจองตั้งแต่เริ่มทานมังสวิรัติ เริ่มแสวงหาครูอาจารย์ที่ สอนเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ก็เลยไปอินเดียหลายครั้งมาก ส่วนใหญ่ ไปกับ ดร.อาจอง แสวงหาความจริงตั้งแต่ปี 4 ปี 5 จนกระทั่ง เรียนจบ รู้จักอาจารย์ตั้งแต่แกมาบรรยายที่ชมรมจิตศึกษาใน มหาวิทยาลัย ผมชอบค�ำสอน แกสอนให้เราท�ำดี มีชีวิตพอเพียง 60

IS AM ARE www.ariyaplus.com


มีความสงบสุข ผมก็เลยมีครูทางชีวิตที่ดี อีกท่านหนึ่ง เราถือว่าการเรียนพูดง่ายๆ ก็คือปฏิบัติธรรมไปด้วย อาจารย์สอนเรื่องสมาธิ แต่ผมเอง เป็นคนชอบท�ำงานก็เลยคิดหาสมาธิใน งานดี ก ว่ า พอจบปี ที่ 6 ผมก็ ไ ปใช้ ทุ น จิตเวชที่ขอนแก่น อยู่ได้ 2 ปี ก็สอบได้ทุน รั ฐ บาลไทยไปเรี ย นต่ อ สาขาจิ ต เวชเด็ ก และวั ย รุ ่ น ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ลอนดอน ประเทศอั ง กฤษ เลยไปอยู ่ ที่ ป ระเทศ อังกฤษ ตามไปทั้งคู่ ไปแต่งงานมีลูกที่โน้น อยู่ที่อังกฤษเป็นช่วงๆ ช่วงแรก 4 ปี กลับ มาเมืองไทยได้ 2 ปี ทางอาจารย์ก็ชวน กลับไปอยู่อีกปี 1 กลับมาได้อีก 4-5 ปี ทีน้ีทางอังกฤษก็ชวนให้ผมไปอยู่ที่อังกฤษ เป็นการถาวร ไปเป็นอาจารย์สอนแล้วก็ เป็นแพทย์อาวุโส ได้ต�ำแหน่งสูงสุดที่มหา ลัยลอนดอนแล้วก็เป็นจิตแพทย์เด็กและ วัยรุ่นระดับอาวุโสสุดของเมืองเล็กๆ เมือง หนึ่ ง ใกล้ ๆ ลอนดอนชื่ อ เมื อ งโคล์ เชส เตอร์ ก� ำ เ นิ ด สั ต ย า ไ ส ค� ำ ส อ น เ รื่ อ ง คุ ณ ค่ า มนุ ษ ย์ กลั บ มาจากอั ง กฤษปี แรกๆ ก็ สร้ า งโรงเรี ย นสั ต ยาไสร่ ว มกั บ อาจารย์ อาจอง สั ต ยาไสเกิ ด จากค� ำ สอนเรื่ อ ง คุณค่าการเป็นมนุษย์ที่อาจารย์อาจองได้

กั บ ต� ำ แหน่ ง รั ฐ มนตรี ที่ ดู แ ลครู ทั้ ง ประเทศ หนึ่งเราต้องโฟกัส สองเราท�ำเรื่อง ใหญ่ ๆ ที่ เ ป็ น รากฐาน ผมก� ำ หนดที่ เป้าหมายเลย เปลี่ยนแปลงการประเมิน เช่ น ปี แรกจะมี ก ารออกข้ อ สอบแบบ อัตนัย 20 เปอร์เซ็นต์ เด็กจะได้เขียนเป็น คิดเป็น ไม่งั้นเขาก็นั่งวงอยู่นั่นแหละ ครั้ง แรกจะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงการประเมิ น เดี๋ยวเราเริ่มวิชาเดียวก่อน เดี๋ยวเขาไม่ ม นุ ษ ย ์ เ ร า มี ห น ้ า ที่ ห ล า ย ห น ้ า ที่ ใ น ก า ร ท� ำ ห น ้ า ที่ ห นึ่ ง ห น ้ า ที่ อื่ น ห้ า มเสี ย นะ คนที่ ท� ำ งานไม่ เ ป็ น คื อ พออ้ า งว่ า เป็ น รั ฐ มนตรี บ ้ า งาน หน้ า ที่ ต ่ อ ครอบครั ว ก็ เ สี ย ในฐานะเป็ น ลู ก ก็ เ สี ย ในฐานะเป็ น พ่ อ ก็ เ สี ย ในฐานะสามี ก็ เ สี ย บรรยาย แล้วก็มีอาจารย์ผมอีกท่านคือ ท่านสัตยาไสที่อินเดีย ท่านบอกว่าเราควร ใช้ชีวิตนี้ในการสอนเด็ก ท่านสัตยาไสเป็น นั ก บุ ญ ที่ ป ระเทศอิ น เดี ย ที่ เ ราเคารพ นับถือ เลยเอาชื่อท่านเป็นชื่อโรงเรียน เพราะว่ า มี โรงเรี ย นที่ ใช้ ชื่ อ ท่ า นทั่ ว โลก แล้ ว มี ป รั ช ญาหนึ่ ง คื อ เรี ย นฟรี เสี ย เฉพาะค่าใช้จ่ายตัวเอง รับเด็กทั่วประเทศ ตอนแรกๆ ไม่ค่อยมีคนมาเรียน ตอนนี้ แย่งกัน เพราะเรารับ 30 คนต่อปี ถึงตอน นีเ้ รามีครบทุกชัน้ แล้ว อนุบาลจนถึงมัธยม ปลาย ที นี้ ค ่ า ใช้ จ ่ า ยเยอะมาก ไม่ พ อ หลั ง จากผมกลั บ มาเมื อ งไทยผมก็ ไ ด้ หาเงินให้กับโรงเรียนโดยผู้มีจิตศรัทธาทั้ง หลาย ส่วนใหญ่เป็นบริษัทห้างร้านต่างๆ เช่ น ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ บริ ษั ท ปู น ซี เ มนต์ หลายที่ ช ่ ว ยกั น และความ กรุณาจากคุณอานันท์ ปันยารชุน ช่วยให้ โรงเรี ย นตอนนี้ อ ยู ่ ไ ด้ ค ่ อ นข้ า งดี เด็ ก ที่ โรงเรี ย นพู ด ภาษาอั ง กฤษได้ ทุ ก คนเลย เนื่องจากเรามีครูฝรั่ง โดยเราจะเปิดสอน ให้มีปรัชญาทางการศึกษา ฉะนั้นคนฝรั่ง เขาก็อยากมาดูมาเรียน สัตยาไสถึงวันนี้ก็ 23 ปีแล้ว 61 issue 95 december 2015

เคยชิน เริ่มจากภาษาไทย เขาไม่เคยชิน แต่ถ้าเราไม่สอบเขา เขาก็จะไม่เป็นเลย ผมก็ได้รับมอบหมายเรื่องของกลยุทธ์การ ยกระดั บ ภาษาอั ง กฤษทั่ ว ประเทศซึ่ ง ก็ เดิ น ไปเยอะแล้ ว เรื่ อ งการประเมิ น คุ ณ ภาพโรงเรี ย น เรื่ อ งการดู แ ลหน่ ว ย ประเมิ น ไม่ ว ่ า จะเป็ น สมศ.หรื อ การ ประเมินภายใน การประกันคุณภาพว่า โรงเรียนเรามีคุณภาพนะ สิ่งเหล่านี้ก�ำลัง เดินหน้าอยู่ รั ฐ มนตรี หน้ า ที่ คื อ หน้ า ที่ เรามี ห น้ า ที่ ก็ ต ้ อ งท� ำ ตามหน้ า ที่ คือผมไม่อยากจะดัดจริตว่าห่วงประเทศ แต่ถือว่า หนึ่ง งานมันท้าทาย สอง งาน มันมีปัญหาอยู่ แล้วท่านนายกไว้ใจเป็น เรื่องท้าทายแล้วก็เป็นหน้าที่ที่จะช่วยให้ เด็ ก ยกระดั บ การศึ ก ษาโดยเฉพาะ มาตรฐานให้สูงขึ้น ก็คิดว่าใช้โอกาสนี้ท�ำ เต็มที่ ก่อนเปลี่ยนเด็กต้องเปลี่ยนครูก่อน คือมีขบวนการที่จะต้องเปลี่ยนครูเพราะ ครูจะต้องเกษียณอีกเยอะ สองแสนคนใน สิบปี


ไปถูกทิศถูกทางหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่อง ส� ำ คั ญ ที่ ผ มว่ า คนท� ำ งานทุ ก คนต้ อ งคิ ด อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เราคิดแล้วตั้งใจดีมันจะ ได้ผลตามต้องการ ต้องถามตัวเองว่าสิ่งที่ เราคิดนี่ท�ำไมคนอื่นต้องอยากท�ำสิ่งที่เรา คิด นโยบายต่างๆ ท�ำไมครูต้องท�ำเรื่องที่ ผมบอก ไม่ใช่ไปสั่งแล้วเขาจะเปลี่ยนเรา ก็คิดแล้วก็ต้องออกแบบระบบ

พระเจ้ า อยู ่ หั ว บอกเศรษฐกิ จ พอเพี ย งคนมี น ้ อ ยก็ ใ ช้ น ้ อ ย คนมี ม ากก็ ใ ช้ มาก คนมี ม ากในที่ นี้ คื อ เอาเงิ น มาท� ำ อย่ า งอื่ น ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คม แล้ ว ก็ รู ้ จั ก ประมาณตน คื อ ผมคิ ด ว่ า ถ้ า ชี วิ ต เราไม่ ติ ด อยู ่ กั บ เรื่ อ งกิ น เที่ ย วฟุ ้ ง เฟ้ อ นะ ทุ ก คนก็ จ ะเหลื อ มั น จะใช้ อ ะไร มันมีหลายเรื่อง เรื่องธรรมาภิบาล เรื่องการทุจริต คือผมสังเกตดูข้าราชการ เขาคิดถึงตัวเองก่อนเด็ก จ�ำนวนหนึ่งนะ ครับ ครูดีๆ ก็มีแต่ว่าเราโทษเขาไม่ได้ เรา ก็ ส ร้ า งระบบเพื่ อ ให้ ร ะบบมั น ออกแบบ เพื่อเด็ก ไม่ใช่ระบบมันออกแบบเพื่อครู ยกตัวอย่างเช่น เงินที่กระทรวงเพิ่มขึ้นไป ดู สิ ค รั บ มั น เพิ่ ม ที่ ค รู มั น ไม่ ไ ด้ เ พิ่ ม ที่ เด็ก เงิ น เดื อ นครู ไ ทยมากไม่ แ พ้ ประเทศอื่ น นะครั บ คื อ ถ้ า แพ้ ก็ แ พ้

สิงคโปร์กับมาเลเซีย แต่ที่เหลือเราไม่แพ้ ยืนยัน จริงๆ แล้วครูรายได้มากพอที่จะ เลี้ยงดูตัวเองได้ แต่เราก็มีครูหนี้เยอะที่สุด ของออมสินก็ 5 แสนล้าน รวมทั่วประเทศ ก็มากกว่านี้ การยกระดั บ คุ ณ ภาพครู ก็ เ ป็ น เรื่องท้าทาย คิดว่าท�ำได้ แต่ว่าแค่ไหน ก็ ต้องประเมินตัวเองเป็นระยะ พูดตรงๆ คื อ เราก็ ต ้ อ งดู หนึ่ ง เราได้ ผ ลแค่ ไ หน เพราะว่านโยบายที่ออกไปบางทีมันไม่ได้ ผลตามที่ต้องการ เราก็ต้องคอยดูว่ามัน 62 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ส ร ้ า ง แ ร ง บั น ด า ล ใ จ ใ ห ้ เ ด็ ก ใ น ระบบการศึ ก ษา ทราบไหมอย่างผมไปถามท�ำไม ค น ถึ ง อ ย า ก เ ป ็ น ก ร ร ม ก า ร ส ภ า มหาวิทยาลัยรัฐ ซึ่งมีแต่เรื่องไปหมดนะ สุดท้ายผมพึ่งทราบว่าต�ำแหน่งนี้ท�ำให้เขา ได้สายสะพาย แค่เขาอยากได้สายสะพาย เขาอยากได้เกียรติ สมัยก่อนก็มีเรื่องการ ซื้อขายสายสะพายคือหลายคนอยากได้ แต่ไม่อยากท�ำงานหรือเข้ามาทุจริตก็มี เพราะฉะนั้นค�ำถามของผมก็คือว่า ท�ำไม เขาต้ อ งท� ำ นโยบายนี้ ด ้ ว ย เช่ น ภาษา อังกฤษ ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่เริ่มจากเรื่อง พวกนี้นะ ท�ำไมเด็กต้องพูดภาษาอังกฤษ ด้วย ไปบอกเด็กบ้านนอกอาเซียนส�ำคัญ ท�ำไมต้องพูด ถ้าเขาไม่มีความจ�ำเป็นต้อง พูดเลยเขาไม่สนใจจะเรียนหรอกครับ เขา ต้องเห็นตัวอย่างที่ดีว่าเรียนภาษาอังกฤษ ดี อย่ า งเช่ น สมมุ ติ ค นที่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา แพทย์ ห รื อ หลายคนที่ ท� ำ งานกั บผมเขา เห็ น ผมเป็ น ตั ว อย่ า งการที่ ผ มใช้ ภ าษา อังกฤษได้ดีท�ำให้ผมประสบความส�ำเร็จ ในต่างประเทศ ก็มีรุ่นน้องอยากเป็นแบบ นี้ แต่ตัวผมจะเป็นตัวอย่างให้เด็กที่อยู่ ไกลก็คงจะยากหน่อย เราก็ต้องหาคนใกล้ เคียงเขาที่ประสบความส�ำเร็จ ซึ่งเดือน หน้ า ก็ จ ะเริ่ ม เป็ น แคมเปญใหญ่ ทั่ ว ประเทศ ท�ำไงให้เด็กเขาพูดภาษาอังกฤษ อยากเรียนภาษาอังกฤษก่อน


63 issue 95 december 2015


2 ล้านกว่าคน เรียกว่ามีตัวเลขที่ชัดเจน บางชุมชนลองไปสิครับ เข้าไปไม่มีคนไทยเลย หลั ก ในการท� ำ งาน คื อ บ้ า งาน คือผมยึดหลักอันเดียว น้องๆ ก็คงเห็นผมท�ำงาน คือผม บ้างาน แล้วเวลาท�ำงานซีเรียสคือเอาจริงเอาจังต้องศึกษาให้รู้ จริง ไม่รู้ก็ถามผู้รู้อย่างผมสนใจเรื่องประเมินผมไม่คิดว่าผมรู้มาก ไปนั่งอ่านหนังสืออ่านแล้วคนไหนเก่งผมก็เชิญเขามาพบ เราก็ ขอความรู้ความช่วยเหลือ คือเราก็ต้องท�ำหน้าที่ของเรา ผมก็ไม่ อยากบอกว่าให้ดีที่สุดเพราะใครจะบอกได้ว่าดีที่สุด แต่เราก็มี ภาระหน้าที่ ผมไม่ชอบเลยบอกท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดมันนามธรรม เกินไป คือเป็นรูปธรรมคือคุณต้องหาให้ได้หน้าที่คุณนี่ คือสิ่งที่ ยกตัวอย่างทีมที่ปรึกษาผมเขาจะเอาคุณจา พนม หรือ เราเข้ า ไปผู ก พั น แล้ ว ในกรณี ที่ ผ มเป็ น รั ฐ มนตรี ผ มก็ ต ้ อ งดู ว ่ า โทนี่ จา แต่ก่อนเขาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แต่เดี๋ยวนี้ภาษา หน้าที่ผมคืออะไร หน้าที่รัฐมนตรีไม่ใช่ไปล้วงลึกลงไปแล้วท�ำใน อังกฤษสื่อสารระดับชั้นยอด สามารถให้สัมภาษณ์นักข่าวฝรั่งที่ รายละเอียด เราเป็นผู้ก�ำหนดนโยบาย บางเรื่องเขาจะลากเรา ฮอลลีวูดเป็นภาษาอังกฤษได้ จา พนมจากเด็กยากจนตอนนี้ผม ลงไปจัดซื้อจัดจ้างอะไรอย่างนี้มันไม่เกี่ยว คนที่เข้าไปยุ่งเขา ว่ารายได้เป็นหลักล้าน เขาก็จะมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้ แล้วก็จะ ต้ อ งการผลประโยชน์ ผมมี ห น้ า ที่ ว างนโยบายต้ อ งรู ้ จ ริ ง มีอีกหลายคนที่ประสบความส�ำเร็จ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ว่านโยบายนั้นมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร จะท�ำกันอย่างไร ท�ำไป แรงกระตุ้น ท�ำทุกวิถีทางที่จะท�ำให้เด็กโดยเฉพาะ ให้เด็กบ้าน แล้วมันจะเกิดผลอะไร ท�ำไมต้องมาท�ำนโยบาย มันต้องคิดเยอะ นอกอยากเรียนภาษาอังกฤษ คือเราสร้างแรงบันดาลใจก่อน เวลาที่ ผ ่ า นไปมั น ซื้ อ ด้ ว ยเงิ น ไม่ ไ ด้ ใครจะเลี้ ย งลู ก ได้ ไม่ใช่มาร์เก็ตติ้งนะ ฉะนั้นเราก็ต้องไปเตรียมที่ครู ประเทศไทยจริงๆ เข้าถึงระบบการศึกษาได้เกือบ 100% ดี เ ท่ า เรา สิ่ ง มี ชี วิ ต เลี้ ย งลู ก ได้ เ องมี ไ ม่ กี่ ช นิ ด เราเอา แต่ว่าหลุดไปกลางทางเยอะมาก ที่หลุดส่วนใหญ่ยากจน ต้อง ไปให้ ค นอื่ น เลี้ ย งคิ ด ว่ า เขาจะรั ก เหมื อ นเราหรื อ เงิ น ออกมาช่วยถิ่นฐานพ่อแม่เขา คือเด็ก 10 คน พอเข้า ม.1 ตัวเลข มั น ซื้ อ คนใช้ ม าเลี้ ย งลู ก ได้ แ ต่ มั น ซื้ อ ความรั ก ไม่ ไ ด้ ที่เป็นทางการก็คือ 4 คนแค่นั้นที่เข้ามหาวิทยาลัย แล้วพอ 4 เงิ น ซื้ อ ยาได้ แ ต่ ซื้ อ สุ ข ภาพไม่ ไ ด้ คนมีคนเดียวแค่นั้นที่พอจบแล้วปีแรกได้งานท�ำ แต่ตัวเลขที่ ชัดเจนที่สุด มันสัมพันธ์กับความยากจน ความเหลื่อมล�้ำ จาก เพราะฉะนั้ น การท� ำ หน้ า ที่ ข องเราต้ อ งรู ้ มั น จริ ง ๆ ว่ า 10 ตกไป 6 ส�ำเร็จ 4 มหาลัย 1 แต่ 6 คนที่ตกไป มีบางคนไป หน้าที่เรามีอะไรเกี่ยวข้อง แล้วเรามีช่องว่างอะไรที่เราต้องการ เข้าอาชีวะประมาน 2-3 คน ไปเข้าอาชีวะลดลงแต่ก็ไม่ได้แปล ความช่วยเหลือ แต่อย่าอวดเก่ง แต่ถ้าเราท�ำเพื่องานท�ำเพื่อ ว่าเราจะให้คนออกจากโรงเรียนกลางคัน มันก็คนละเรื่องกัน ทีนี้ หน้าที่มันก็ไม่มีเรื่องของเรา ก็ไม่มีสิ่งที่ท่านพระพุทธทาสสอน กศน. ก็ไปเกี่ยวข้องกับคนที่หลุดออกไปหรือว่าคนที่ไม่จบ ใน ตัวกูของกู แล้วก็ไม่ต้องมีเครดิตอะไรถามว่าคุณมีสิทธิ์ภูมิใจไหม ระบบเข้าดูก็มีตัวเลขเยอะหรือเด็กบางคนก็เรียน กศน.เหมือน มี แต่ห้ามเคลมเครดิต เพราะว่าคุณมีหน้าที่ท�ำ แต่เราต้องรู้ว่า สมั ย ผมเด็ ก ๆ ไปเรี ย นสอบเที ย บข้ า มไปข้ า มมามั น มี ตั ว เลข เรามีหน้าที่ต่ออะไร ซ�้ำซ้อนอยู่เยอะ มนุ ษ ย์ เรามี ห น้ า ที่ ห ลายหน้ า ที่ ในการท� ำ หน้ า ที่ ห นึ่ ง เออีซีอย่าไปคิดเรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียว มีหลาย หน้าที่อื่นห้ามเสียนะ คนที่ท�ำงานไม่เป็นคือ พออ้างว่าเป็น เรื่องที่ต้องเตรียม กระบวนการคิด กระบวนการเตรียม เรื่องงาน รัฐมนตรีบ้างาน หน้าที่ต่อครอบครัวก็เสีย ในฐานะเป็นลูกก็เสีย เรื่องแรงงาน เรื่องเราจะอยู่กันอย่างไร เรื่องกฎหมาย สารพัด ในฐานะเป็นพ่อก็เสีย ในฐานะสามีก็เสีย เราต้องแบ่ง พูดง่ายๆ เรื่องเออีซี ตอนนี้ไม่เออีซีก็เหมือนเออีซีอยู่แล้ว เรามีแรงงานต่าง มนุษย์เรามีหน้าที่หลายอย่าง ในการท�ำหน้าที่ในแต่ละด้านนี้ เรา ชาติอยู่ 3 ล้านคน รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลชุดแรกที่จดทะเบียน ต้องใช้ปัญญามันจะเกี่ยวพันธ์กันเวลาเราพูดถึงธรรมะหรือการ 64 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เพราะฉะนั้ น สองหนุ ่ ม นี่ ก็ เ ป็ น เด็ ก ดี ม าก แล้ ว ก็ ท าน มังสวิรัติตั้งแต่เกิดไม่เคยทานเนื้อ เหมือนกันเขาท�ำอะไรก็เหมือน ผม เอาจริงเอาจัง คนโตจะจบแล้ว จบแล้วก็คงจะอยู่อังกฤษ เพราะเขามาเมืองไทยแล้วผมคิดว่าเขาเป็นคนที่ใฝ่รู้ ให้ผมเดา เส้ น ทางคงใกล้ ๆ ผม พอตั้ ง ตั ว ตั้ ง สติ ไ ด้ เขายั ง อยากที่ จ ะ ความภู มิ ใ จของพ่ อ ด้วยความภูมิใจคือลูกผมเกิดที่ประเทศอังกฤษทั้งคู่แล้ว หาความรู้อยากจะท�ำวิจัย เขามาดูเมืองไทยแล้วมันท�ำไม่ได้ เรา เขาก็กลับมาอยู่เมืองไทยช่วงหนึ่ง แล้วเขาก็ตามผมกลับไป เรียน ไม่พร้อม เขาเลยคิดว่าจะไปอังกฤษหรือว่าสหรัฐอเมริกา อันนี้ แพทย์ทั้งคู่เรียนที่เคลมบริดจ์ เป็นคนไทยสองคนแรกที่ได้เรียน คือความปรารถนาของเขา แต่ได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง ที่เคมบริดจ์ แล้วเป็นคนไทยสองคนแรกที่ได้เรียนที่เคมบริดจ์ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ไปเรี ย นปริ ญ ญาโทเอกมี เ ยอะแยะ แต่ เทคนิ ค ลู ก เก่ ง เป็ น คนดี พ่ อ แม่ ต ้ อ งเลี้ ย งลู ก เอง ผมให้เครดิตส�ำคัญที่สุดคือภรรยา ส�ำคัญที่สุดพ่อแม่ต้อง ปริญญาตรีเข้ายากมากคนอังกฤษเองก็เข้ายากมาก คนโตอยู่ปี 6 คนเล็กอยู่ปี 3 แล้ว ลูกก็เหมือพ่อเหมือนแม่มากเลยคือเขาใฝ่ เลี้ยงลูกเอง ภรรยาผมจบทันตแพทย์เป็นหมอฟัน แต่ถ้าตั้งหน้า หาความรู้ เขาสนใจเรื่องการเมืองการปกครองทั้งคู่เลย อย่าง ตั้ ง ตาหาเงิ น ป่ า นนี้ ค งมี เ งิ น เพิ่ ม ขึ้ น อี ก หลายล้ า น แต่ ไ ม่ มี ลูกชายผมเล่าให้ฟังวันก่อน ลูกชายผมนั่งรถอยู่กับผมแล้วเห็น ประโยชน์ เวลาที่ผ่านไปมันซื้อด้วยเงินไม่ได้ ใครจะเลี้ยงลูกได้ รถเบนซ์ข้างหน้าถูกจับแล้วเห็นต�ำรวจท�ำความเคารพให้ คือ ดีเท่าเรา สิ่งมีชีวิตเลี้ยงลูกได้เองมีไม่กี่ชนิด เราเอาไปให้คนอื่น คนขับรถเบนซ์ขับรถผิดกฏหมายเมื่อถูกต�ำรวจเรียกตรวจหรือ เลี้ยงคิดว่าเขาจะรักเหมือนเราหรือ เงินมันซื้อคนใช้มาเลี้ยงลูก จับ แต่สุดท้ายก็รอดรอดเพราะใช้เส้นสาย ลูกชายก็พูดกับผมว่า ได้แต่มันซื้อความรักไม่ได้ เงินซื้อยาได้แต่ซื้อสุขภาพไม่ได้ ก็ นี่ ไ ง ประเทศไม่ มี อ นาคตเพราะขาดธรรมมาภิ บ าล มั น ไม่ ดี เหมือนกัน แม่ไม่เลี้ยงลูกใครจะเลี้ยงดีได้เท่าแม่นี่คือปรัชญา ลูกชายคนเล็กก็เตือนผมตั้งนานแล้ว ระวังนะป๋าจะทุจริตได้ ผม สองหนุ่มจะใกล้ชิดแม่มากแต่ไม่ได้ติดแม่นะ การที่แม่เลี้ยงท�ำให้ ถามท�ำไมหล่ะ ตอนนั้นเขาอายุสัก 10 ขวบเศษๆ เขาบอกผม เขาเป็นตัวของตัวเองสูงขึ้น มั่นใจในตัวเองอะไรต่อมิอะไรโดยไม่ เขาสังเกตุเมืองไทยยังซื้อดีวีดีที่ห้างเลย ที่มาบุญครองมันของ หยิ่งยโส เขาเสียสละมาก ทุกวันนี้เขายังบอกผมว่าชีวิตเขาสบาย อยู่แล้วที่อังกฤษ เพราะชีวิตเรานั้นสบายที่อังกฤษ สงบ ท�ำงาน เถื่อนนะป๋า ถ้าเล็กๆ น้อยยังเอาต่อไปจะแย่ เขาก็สอนผมนะ ด�ำรงชีวิตนี้ การที่เราจะต้องอยู่ด้วยกันเราควรจะท�ำหรือไม่ท�ำ อะไรมันต้องมาคิด คุณต้องรู้หน้าที่คืออะไร แล้วก็ต้องรู้ตัวเอง ขาดอะไรที่จะท�ำให้หน้าที่ตรงนั้นส�ำเร็จ

65 issue 95 december 2015


เก้าโมงถึงห้าโมง ก็เป็นชีวิตที่ดีครอบครัว อยู่พร้อมหน้า ผมอยู่โคลเชสเตอร์จากเคม บริดจ์แค่ 40 ไมล์เอง คือผมไปหาเขาได้ ทุ ก อาทิ ต ย์ ชั่ ว โมงนิด ๆ ก็ถึงแล้ว เคม บริดจ์ก็เป็นเมืองที่สวยคืออยู่สบายๆ อยู่ แล้ ว เขาบอกเขาก็ มี ห น้ า ที่ ภ รรยาผมก็ ต้องตามผมมาไทย เห็นลูกปิดเทอมเขาก็ กลั บ ไปอยู ่ กั บ ลู ก ที่ อั ง กฤษไปๆ มาๆ ภรรยาของผมเขาเก่ง ผ่านการฝึกอบรม มาเยอะจบภาษาอั ง กฤษสู ง สุ ด ของ เคมบริดจ์ที่อังกฤษ เทนนิ่งทางด้านการ เรียนการสอน มุ ม มองด้ า นปรั ช ญของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งตามหลั ก จิ ต วิ ท ยา คือน้องที่ท�ำงานด้วยกันเขาจะรู้ดี

กลางวันผมกินมาม่าผัดเจ 35 บาท ผมกิน น้อยไม่ค่อยใช้ตังค์ กินเจตลอด 31 ปีแล้ว ก็ ทุ ก วั น มั น จะได้ ง ่ า ยไง ผมไม่ อ ยากใช้ เวลากับการกินเยอะ พระเจ้าอยู่หัวบอก เศรษฐกิจพอเพียงคนมีน้อยก็ใช้น้อย คน

ทุกวันนี้กินกี่บาทเอง กลางวันผมกิน 35 บาท ตอนเย็นส่วนใหญ่ภรรยาท�ำ หรือ ออกไปซื้อร้านเจ ง่ายๆ ไม่เห็นต้องคิด แล้วก็ไม่ต้องคิดอะไรถ้าไม่มีร้านไหนก็สั่ง ผัดผักก็ได้ ตื่นขึ้นมาก็คิดแต่เรื่องงานทั้ง

เ อ อี ซี อ ย ่ า ไ ป คิ ด เ รื่ อ ง ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ อ ย ่ า ง เ ดี ย ว มี ห ล า ย เ รื่ อ ง ที่ ต้ อ งเตรี ย ม กระบวนการคิ ด กระบวนการเตรี ย ม เรื่ อ งงาน เรื่ อ ง แรงงาน เรื่ อ งเราจะอยู ่ กั น อย่ า งไร เรื่ อ งกฎหมาย สารพั ด เรื่ อ ง เออี ซี มีมากก็ใช้มาก คนมีมากในที่นี้คือเอาเงิน มาท�ำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แล้วก็รู้จักประมาณตน คือผมคิดว่าถ้า ชี วิ ต เราไม่ ติ ด อยู ่ กั บ เรื่ อ งกิ น เที่ ย ว ฟุ้งเฟ้อนะ ทุกคนก็จะเหลือมันจะใช้อะไร

66 IS AM ARE www.ariyaplus.com

วันทั้งคืนมาท�ำงานก็มีรถบริการ ก็ถึงบอก ว่าอย่าไปบ้ากับตัวเองเลยมันก็พอเพียง แล้ว ถูกไหม คนที่ไม่พอเพียงเพราะมัน บ้าอยู่กับตัวเอง อยากจะให้คนอื่นเขาชม ว่าสวยหล่อก็เอาเงินไปซื้อเครื่องส�ำอางค์ เยอะ อยากจะให้ ตั ว เองมี ชื่ อ เสี ย งก็ พยายามท�ำทุกวิถีทางให้มันดัง อยากจะ ท�ำให้ตัวเองมีความสุขทางเพศเยอะๆ ถ้า ผู้ชายก็ไปหาเมียน้อย อยากจะกินดีๆ ก็ ไปเที่ยวแสวงหากินก็ไม่พอ ก็แค่นั้น จริงๆ หลักพอเพียงง่ายนิดเดียว ตามหลักจิตวิทยา ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นี้ คือทุกครั้งที่คุณกินของอร่อยก็จะติดโดย ไม่ รู ้ ตั ว มั น ก็ จ ะเป็ น วิ ถี ชี วิ ต ชอบของ อร่อย ของสวยๆ อะไรต่อมิอะไร ชอบของ หอมๆ แต่ว่าถ้าเราไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้มาก คือดูตามหน้าที่ ผมเป็นรัฐมนตรีวันนี้ไป ประชุมเขาก็สั่งมาแล้ว เขาบอกว่าแต่งตัว แบบไหน พอเพี ย งไม่ ใช่ ผ มใส่ ม ่ อ ฮ่ อ ม เข้าไปประชุม เขาบอกให้ใส่สูทผมก็ไปหา สูทมาใส่ก็แค่นั้น แล้วเราก็ไม่ต้องมากังวล กั บ เรื่ อ งพวกนี้ ก็ พ อแล้ ว ให้ เ หมาะกั บ สถานะตัวเอง ที่เหลือมันก็ไม่ได้ใช้อะไร มาก ผมไม่ได้คิดเรื่องเชิงปรัชญามาก แล้ว ก็ท�ำหน้าที่ตัวเองให้ดี วันก่อนมีคนมาถามผมบอกว่าใน ที่สุดเราก็ท�ำเพื่อเด็ก ผมก็บอกว่าผมไม่ แน่ใจว่าผมท�ำเพื่อเด็กหรือเปล่า ตลอด เวลาท�ำงานเด็กเป็นผลทีหลังว่าหน้าที่เรา


ลับหลัง

มีต่อเด็กอย่างไร เราก็ท�ำหน้าที่ของเรามันก็ไปถึงเด็กเอง แต่ถ้า เราอยากท�ำเพื่อเด็กจริงๆ มีเมตตา แผ่เมตตาพวกนี้ผมว่ามัน นามธรรมเกินไป นึกอะไรให้มันเห็นจับต้องได้ดีที่สุด นี่คือหลัก ปรัชญาที่ชัดเจน อันนี้ทุกคนก็จะถามว่าถ้านักการเมืองใหม่ไม่ เห็นด้วยให้มารื้อได้ไหม ท�ำไมต้องมารื้อถามต่อ ส่วนใหญ่เป็น เรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น ดูดีๆ นะถ้านโยบายมันดีมนุษย์ที่ดีก็จะ ไม่ยอมให้รื้อง่ายๆ ถ้านโยบายนี้โดนใจผู้ปกครอง เราได้ช่วย เหลือสาธารณชน คนมารื้อก็ต้องคิดหนักนั้นแปลว่าเราต้องท�ำ สิ่งที่ถูกแล้วดี ซึ่งคนมารื้อทีหลังจะหนักใจมาก อย่างเช่น ตอน นี้ผมท�ำเรื่องประเมินอยู่ผมก็ต้องมีระบบประเมินที่เป็นธรรมแล้ว ดีมากจนกระทั่งทุกคนบอกข้อสอบแบบนี้ดีใครจะรื้อให้เลวลง หรือ เราต้องท�ำสิ่งที่ถูกแล้วสุดท้ายคือเราต้องสร้างระบบให้ใน ที่สุดคนชั่วมันอยู่ไม่ได้ อย่างที่พระเจ้าอยู่หัวบอก

สุดท้ายถ้าจะให้ผมสรุปนอกจากสามข้อนี้แปลว่าอะไร ในที่สุดมันเปลี่ยนชีวิตว่า ชีวิตคุณต้องตรวจสอบได้ทั้งในชีวิต ส่วนตัวสถานะจะต้องไม่ต่างกัน ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดผมทั้งหมดเขา จะรู้ บางคนมาอยู่บ้านผมเป็นเดือนๆ ก็มีทั้งที่อังกฤษและไทย ผมคิดว่าผมได้ใจหลายๆ คนที่นี่เขาเห็นทั้งต่อหน้าและลับหลัง เหมือนกัน คือเราไม่สามารถแบ่งต่อหน้าแบบหนึ่ง ลับหลังแบบ หนึ่ง พวกนี้ส่วนใหญ่ขี้โกงทั้งนั้นแหละ ต่อหน้าผมเป็นยังไง ต่อ หน้าพวกเขาเห็นผมกินมาม่า ลับหลังผมก็กินมาม่าเหมือนกัน ต่อหน้าผมท�ำเป็นกินมังสวิรัติลับหลังไปแอบกินเนื้อสัตว์อะไร อย่างนี้มันไม่ใช่. มาถึงบรรทัดนี้ท่านผู้อ่านคงเห็นบางอย่างในตัวรัฐมนตรี ช่วยว่าการท่านนี้แล้วว่าไม่ธรรมดา ตัวท่านทานมังสวิรัติไม่พอ ลูกชายทั้งสองที่เก่งเหลือประมาณก็ทานมังสวิรัติตั้งแต่เกิด โดย มีคุณแม่เป็นลมใต้ปีกเติมเต็มซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นตัวอย่าง ที่ดีให้กับหลายครอบครัวทีเดียว เมื่อถาม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ว่าตอนเด็กๆ คุณแม่เลี้ยงท่านด้วยอะไรมา ถึงได้เก่งขนาดนี้ ท่านตอบว่า “ต้ อ งไปถามคุ ณ แม่ คุ ณ แม่ ก็ จ ะบอกถั่ ว งอกหั ว โต (หัวเราะ) เป็นอาหารที่ผมชอบ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการของเรายิ้มส่งท้าย

ระบบที่ ดี โ ปร่ ง ใสทั้ ง ต่ อ หน้ า และลั บ หลั ง ระบบที่ดีต้องเอื้อให้คนดีๆ เข้าสู่อ�ำนาจได้ ต้องมีระบบ ตรวจสอบเรียกว่าธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ใหญ่ๆ หนึ่งคือต้องมีความรับผิดชอบ คือถ้าคุณท�ำหน้าที่คุณไม่ ส�ำเร็จคุณจะอธิบายยังไง คุณจะรับผิดชอบยังไง สองคือโปรงใส่ ใครก็ดูเราได้ผมอธิบายกี่ครั้งๆมันก็เหมือนกัน ใครก็ตรวจสอบ ได้ข้อมูลเปิดเผย ผมไม่ได้ลับๆ ล่อๆ เราโปร่งใสทั้งต่อหน้าและ

67 issue 95 december 2015


68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


บทความพิเศษ

ในยามพระเจ้าหลับไหล สุรชัย จันทิมาธร

“...กองเกวียนคนทุกข์ในยุคจักรกล สองขาดั้นด้นใต้โค้งฟ้าคราม ก�ำเนิดในยามพระเจ้าหลับไหลภายใต้แสงไฟฟืนไม้บง...”

69 issue 95 december 2015


กิ

นนร เพลิ น ไพร คื อ นามปากกาสุ ด ท้ า ยของนายผี อั ศ นี พลจั น ทร์ ซึ่ ง สุ ร ชั ย จั น ทิ ม าธร ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ สาขาวรรณศิ ล ป์ ปี พ.ศ.2553 กล่ า วว่ า “ขอเชิ ญ มาให้ เ ป็ น มงคลกั บ ตั ว เองหน่ อ ย” ด้ ว ยความนั บ ถื อ จึ ง น� ำ นามปากกานายผี ม าตั้ ง เป็ น ชื่ อ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ข องตนเอง เพื่ อ จะขายหนั ง สื อ รวมเรื่ อ งสั้ น ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ.2508 – 2558 ทั้ ง หมด 80 เรื่ อ ง และเพิ่ ม เรื่ อ งใหม่ ที่ ยั ง ไม่ เ คยตี พิ ม พ์ ที่ ไ หนอี ก สองเรื่ อ ง เป็ น หนั ง สื อ เล่ ม หนาไม่ แ พ้ นิ ย ายแฮร์ รี่ พอตเตอร์ หน้ า ปกหนั ง สื อ ใช้ ชื่ อ ว่ า “ในยาม พระเจ้ า หลั บ ไหล” “พระเจ้ า คงไม่ ไ ด้ ดู แ ลเรา เรา ถึ ง ได้ ล� ำ บากขนาดนั้ น คงหลั บ อยู ่ มั้ ง พระเจ้า” สุรชัยย้อนความเป็นมาตั้งแต่ ในยุคแรกๆ ที่ก่อตั้งวงคาราวานร่วมกับ เพื่อนๆ และเข้าป่าในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2519 ก่อนที่สมาชิกในวงบาง ส่วนจะทยอยแยกย้ายกันไป คุณวีระศักดิ์ สุนทรศรี หนึ่งในสมาชิกวงออกจากป่ามา ก่อนและได้เขียนหนังสือถึงวงคาราวานไว้ เล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนั้นหลุดเข้าไปในป่าสู่ สายตาเพื่อนร่วมวงที่ใช้เวลาอยู่ในป่าถึง 5 ปีกว่า ก่อนจะกลับสู่เมืองอีกครั้ง “คงไม่ ไ ด้ ม ารวมกั น อี ก แล้ ว ” สุรชัยหวนคิดถึงวงคาราวานเมื่อได้อ่าน หนังสือของเพือ่ นในป่า ก่อนจะเขียนเพลง คาราวานขึ้นมาเพื่อระลึกถึงความเป็นมา ของวงและมิตรสหายร่วมก่อตั้ง “คล้ายๆ กั บ ว่ า เราเกิ ด เอาแบบพระเจ้ า ไม่ รั บ ทราบ พวกเรามันช�ำแรกเกิดมาเอง ซึ่ง ไม่มีใครยอมรับเท่าไหร่นัก โน๊ตสักตัวก็ ไม่กระดิกหู ความรู้ทางด้านดนตรี ความ รู้จักมักคุ้นในแวดวงก็ไม่มี อยู่ดีๆ ก็คว้า กีต้าร์ขึ้นมาร้องเพลงท�ำวง” จากที่ ม าดั ง กล่ า วสู ่ ชื่ อ หนั ง สื อ เล่มใหม่ แต่ทว่าคงมีไม่กี่คนหรอกที่เปิด ส�ำนักพิมพ์เพื่อจะขายหนังสือของตัวเอง ที่ ส� ำ คั ญ ขายกั น แบบ Direct คื อ ไม่ พึ่ ง แผงหนังสือทั่วไปเหมือนที่เคยเป็นมาอีก แล้ว สุรชัย จันทิมาธร ท�ำอย่างนั้น ใน ยุคที่งานเขียนต่างๆ ของเขาถูกถ่ายทอด สู ่ โ ลกออนไลน์ ทุ ก เช้ า ผ่ า นการจิ้ ม นิ้ ว ลงบนกระดานชนวนอิ เ ล็ ก ทรอนิ ค (ไอ แพด) แทนการเขียนบนกระดาษจนมือ หงิกเหมือนก่อน

“ในยามพระเจ้าหลับไหล” จึง เป็นชื่อหนังสือที่ย�้ำเตือนเรื่องราวความ เป็ น มาของผู ้ เขี ย นได้ ค ่ อ นข้ า งชั ด เจน ตลอด 50 ปีในวงการขีดเขียน และ 40 ปีบนถนนสายดนตรี ขายเอง มั น เท่ ห ์ น ะ แต่นั่นแหละ ส�ำนักพิมพ์ในหลาย ประเทศ หนังสือนิตยสารหลายเล่มหลาย ฉบับพากันปิดตัวลง ด้วยผลกระทบจาก สื่อออนไลน์ แต่สุรชัยก็ยังหันมาจับธุรกิจ ทางด้านนี้ ราวกับจะท้าทายกระแสก็ปาน “คื อ เปิ ด เพื่ อ จะขาย (หั ว เราะ หนักมาก) แล้วก็เอากันดื้อๆ ง่ายๆ ซึ่ง พวกนักธุรกิจคิดไม่ได้ ไม่มีใครกล้าคิด อย่ า งนี้ ห รอก ก็ คื อ ไม่ ว างตลาดแล้ ว ขายเอง มันเท่ห์นะ (หัวเราะ) แต่ผม มี ต ลาดจริ ง ๆ ผมก็ ไ ปได้ แต่ ว ่ า ไม่ ถึ ง ขั้นตูมตามอะไร แบบผมไปเล่นดนตรี อาชีพ เล่นร้านเหล้าถึงจะขายได้ คือ 70 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ประกาศบนเวทีงานของเรา แต่ถ้าไป เล่ น คอนเสิ ร ์ ต ใหญ่ มี ห ลายวงเราก็ ไ ม่ กล้าไปขาย ยกเว้นคนที่เขารู้ข่าว เขา ก็จะมากระซิบเอง คือหนังสืออยู่หลัง รถตลอด เขาก็มาติดต่อซื้ออุดหนุนกัน อ่ า นไม่ อ ่ า นก็ ช ่ า งมั น เถอะ เห็ น ใจกั น แบบนี้ก็เยอะ ประกาศไปก็มีคนมาซื้อก็ เยอะ บางแห่งเป็นสิบเล่มก็มี ซึ่งมันดีใจ เพราะเล่มมันใหญ่ขายแพงด้วย ขาย แปดร้อยบาท” สุ ร ชั ย เริ่ ม หั น หน้ า เข้ า หาแวดวง หนั ง สื อ เพราะผิ ด หวั ง จากการสอบเข้ า เพาะช่างในสายธารศิลปะที่ตนเองชอบ และเริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่ปลายปี 2507 จนได้รับการตีพิมพ์เรื่องสั้นเรื่องแรก ในปี 2508 เนื่องจากการอ่านหนังสือในวัยเด็ก สะสมจนเริ่มเขียนและได้รับการตอบรับ จากบรรณาธิการเรื่อยมา กว่า 50 ปีแล้ว ที่เขาได้พบได้เห็นความเป็นไปในแวดวง วรรณกรรม ได้พบปะนักเขียนรุ่นใหม่ที่


อ่ า นฟรี ค่ า เรื่ อ งคื อ กดไลค์ ในยุ ค โซเชี ย ลเน็ ต เวิ ร ์ ค แวดวงหนั ง สื อ หรื อ งาน วรรณกรรมต่างๆ จ�ำเป็นต้องปรับตัวร่วมสมัย เราจะเห็นงาน เขียนอันหลากหลายปลิวว่อนอยู่ในโลกออนไลน์อย่างเฟสบุ๊ค ซึ่งทุกคนสามารถเป็นเจ้าของหน้าเพจของตัวเองได้ และส�ำหรับ นักเขียน หน้าเพจก็เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ ซึ่งผู้เขียนสามารถ น�ำเสนอเรื่องราวต่างๆ ในแบบของตนเองได้โดยไม่ต้องผ่าน บรรณาธิการใดๆ สุรชัย จันทิมาธรก็คือหนึ่งในนั้น เขาไม่ได้ส่ง งานเขียนใหม่ไปตีพิมพ์ที่ใดแล้ว นอกจากในเพจของเขาที่ใช้ชื่อ ว่า ท.เสน สัญจร อันเป็นนามปากกาของเขาเอง “เขียนลงในเฟสตัวเองดีกว่า เรามีหน้าของเรา มีพื้นที่ ของเราอยู่เป็นส่วนตัว เราว่าก็ออกอย่างนี้ดีกว่า มีผู้อ่านที่เขา อ่าน มีผู้ติดตาม อาจจะกดไลค์ อ่านมั่งไม่อ่านมั่ง แต่มันมีตัวเลข ที่ค่อนข้างจะแน่นอนสองร้อยถึงสามร้อยคน คนอ่านแค่นี้เรา ก็ดีใจนะ ส�ำหรับงานที่เราคิดขึ้นมา ทุกวันนี้อยู่อย่างนี้โดยไม่มี ค่าเรื่องค่าอะไร อ่านฟรีว่างั้นเถอะ ค่าเรื่องก็คือกดไลค์หรือว่า คอมเม้นท์ (หัวเราะ) เราท�ำงานที่ตัวเองอยากเขียน แล้วก็ไม่ต้องไปอาศัย พื้นที่ของใคร เราเป็นบรรณาธิการเราเอง อาจจะมาตรฐานไม่ มาตรฐานก็ช่างหัวมัน เพราะเฟสบุ๊คเป็นของเราหนิ เรามีหนังสือ ออกเองทุ ก วั น เป็ น รายวั น ด้ ว ยซ�้ ำ ไป มั น ก็ คื อ ทางออกของ

ได้ ท� ำ งานที่ ตั ว เองรั ก ชอบ เป็ น ความสุ ข ที่ พ อเพี ย ง อยู ่ พ อสมควร คื อ ไม่ ไ ด้ ผิ ด ไปจากความตั้ ง ใจในชี วิ ต เท่ า ไหร่ นั ก บางคนก็ อ ยากจะท� ำ แบบเราแต่ ก็ ต ้ อ งไป เป็ น ลู ก จ้ า งเขาใช่ ไ หม ก็ ล� ำ บาก ล� ำ บากทางความคิ ด มั น เลื อ กไม่ ไ ด้ แต่ เ ราเลื อ กที่ จ ะท� ำ ที่ จ ะเป็ น อั น นี้ คื อ น่ า จะเรี ย กว่ า ความสุ ข เนาะ พยายามก้าวไปบนถนนสายนักเขียนเมืองไทย แม้จะเป็นถนน อันขรุขระทุรกันดาร แต่ล้วนมีค่าในแง่ของ “คนท�ำงานศิลปะ” ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการด�ำรงอยู่ของมนุษยชาติ “ความอยากเป็นนักเขียนมันเกิดจากการอ่าน ตั้งนาน มาแล้วตั้งแต่เด็ก พอเริ่มต้นเขียนก็รู้สึกว่าตัวเองเขียนได้ ด้วย ใจรักใจชอบนะ แล้วก็ได้รับการตอบรับจากบรรณาธิการมา พอสมควร ท�ำให้เรามีพลังอยู่ได้จนทุกวันนี้ในนามค�ำว่านัก เขียน ถึงแม้ว่าเราจะห่างจากวงการนี้มาในระดับหนึ่ง แต่เรา ก็ยังอยากพูดอยากคุยกับคนที่เป็นนักเขียน โต๊ะตัวนี้ก็ยังมีนัก เขียนมาอยู่ วันไหนที่นักเขียนมาผมจะมีความสุข เหมือนได้คุย กับตัวเอง ถ้าโต๊ะอื่นมาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โต๊ะนักกิจกรรมมา ก็ได้คุยเรื่องการเมือง โต๊ะศิลปินวงดนตรีมาก็ตั้งวงอย่างเดียว ตั้งวงแล้วก็ปรับทุกข์กัน แต่ว่าโต๊ะนักเขียนมาผมคุยดึกคุยดื่น ยุงกัดก็ยอม แล้วก็มีความสุขที่ได้เห็นน้องๆ รุ่นใหม่” 71

issue 95 december 2015


นักเขียนอย่างหนึ่ง ก็สบายใจในแง่เราได้ท�ำงาน ดีกว่าไม่รู้จะไป ไหน ไม่รู้จะท�ำอะไร ถ้ามัวแต่นั่งรอค่าเรื่อง นั่งรอการพิจารณา จากบรรณาธิการก็คงไม่ไหว เสียเวลา!” เป็ น นั ก เขี ย น แม้จะเดินทางมายาวนานบนถนนสายดนตรีกว่า 40 ปี จนเป็นที่รู้จักและยกย่องว่าเป็น “อาจารย์ใหญ่หรือเสาหลัก แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต” แต่ลึกแท้แล้ว สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน ก็ยังคงเรียกตัวเองว่า “นักเขียน” ไม่เคยผันแปร แม้หลายคนจะรู้จักเขาจากงานเพลงที่เขาแต่งก็ตาม แต่เนื้อหา ในงานเพลงทั้งหลายที่ออกมานั้น สุรชัยมองว่ามันมีพื้นฐานมา จากความเป็นนักเขียนนั่นเอง “ผมเริ่มต้นจากนักเขียน จริงๆ แล้วก็คือนักเขียน แต่พอมาเริ่มเขียนเพลงแล้วก็ร้องเพลงได้บ้าง ครั้งแรกก็ร้อง ไม่ค่อยถนัด คือไม่มีความคิดว่าจะมาเป็นนักร้องมาก่อนเลย ว่างั้นเถอะ แต่ก็ชอบ ชอบฟังเพลง ก็เล่น แต่เมื่อร้องออกไป มีคนฟังมันก็ติด ก็เหมือนว่าเราท�ำตรงนี้มีอะไรยอมรับ เราน่า จะท�ำต่อ มันก็พัฒนา จากเขียนงูๆ ปลาๆ มันก็เขียนเก่งขึ้น เขียนจากสิบเพลงเป็นยี่สิบเพลงเป็นร้อยเพลง ประสบการณ์

ดนตรี ท่องไปในหลากหลายวงการ สุรชัย จันทิมาธรไม่เคยทิ้ง การเขียนหนังสือ เขาถ่ายทอดออกมาในรูปเรื่องสั้นตั้งแต่เล่ม แรก มาจากที่ราบสูง เดินไปสู่หนไหน ความบ้ามาเยือน ข้าง ถนน จนถึง ทางเส้นเก่า และ “ในยามพระเจ้าหลับไหล” ก็ได้คัดสรรรวบรวม เรื่องสั้นจากห้าเล่มดังกล่าวเอาไว้ประหนึ่งบทบันทึกการเดินทาง และวิถีชีวิตของสุรชัย จันทิมาธร นั่นเอง ในระหว่างการเดินทาง และบรรดากิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สุรชัยพูดถึงความ สุขของตัวเองไว้ว่า “ได้ท�ำงานที่ตัวเองรัก ชอบ เป็นความสุขที่พอเพียง อยู่พอสมควร คือไม่ได้ผิดไปจากความตั้งใจในชีวิตเท่าไหร่ นัก บางคนก็อยากจะท�ำแบบเราแต่ก็ต้องไปเป็นลูกจ้างเขา ใช่ไหม ก็ล�ำบาก ล�ำบากทางความคิด มันเลือกไม่ได้ แต่เรา เลือกที่จะท�ำ ที่จะเป็น อันนี้คือน่าจะเรียกว่าความสุขเนาะ ถึง แม้การตอบรับเรื่องธุรกิจมันจะน้อยก็ไม่เป็นไร เพราะเราก็ท�ำ มาหากินอยู่ มีวงตระเวนเล่นอันนี้อยู่ได้” “นักเขียนคือคนที่มีชีวิตอิสระ คิดก็อิสระ ไม่ขึ้นต่อ... เสน่ห์ตรงนี้ยังมีอยู่ ผมว่ามันท้าทายให้คนท�ำเยอะ” สุรชัย จันทิมาธรยิ้มพราย

ชั่วโมงบินมันก็มากขึ้น มันก็ง่ายที่จะท�ำงาน คงเหมือนอย่าง อื่น เหมือนเขียนรูป เขียนหนังสือ เขียนวันแรกก็ลงตระกร้า ไปไม่รู้เท่าไหร่ ไม่ใช่อยู่ดีๆ เขียนได้เลยนะ เศษกระดาษเต็ม กรงเลย กรงกระต่ายที่เขาไม่ใช้ เป็นขยะในห้อง กระดาษ ขยุ้มๆ เต็มไปหมด ตอนนั้นเขียนใหม่ๆ สมัยก่อนมันไม่มีจิ้ม หนิ ปากกากระดาษอย่างเดียว มือหงิกหมดหนะ” การเดินทางจากชนบทสู่เมือง จากสิบปีเป็นยี่สิบปี สามสิบปี ห้าสิบปี ชีวิตผกผันต้องไปอาศัยอยู่ในป่า ไปเป็นนัก 72

IS AM ARE www.ariyaplus.com



74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


75 issue 95 december 2015


76 IS AM ARE www.ariyaplus.com


77 issue 95 december 2015


78 IS AM ARE www.ariyaplus.com


79 issue 95 december 2015


ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนอยุ ธยาวิทยาลัยจัดกิจกรรมบอกรักพ่อผ่าน facebook

แกนน�ำเยาวชนครอบครัวพอเพียงโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยจัดกิจกรรมสุดน่ารักบอกรักพ่อผ่านแฟนเพจ “ศูนย์ครอบครัว พอเพียง_อยุธยาวิทยาลัย” โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยที่โพสรูปถ่ายคู่กับคุณพ่อหรือครอบครัวพร้อมค�ำ บรรยายน่ารักๆ เพื่อร่วมชิงรางวัลจากมูลนิธิครอบครัวพอเพียง

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยจัดเดินรณรงค์ต่อต้านการท้อง แท้งและทอดทิ้ง

แกนน�ำเยาวชนครอบครัวพอเพียงโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ร่วมกับ ส�ำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ จัดกิจกรรมเดินขบวนให้ความ รู้เรื่องการต่อต้านการท้องแท้งและทอดทิ้งให้กับประชาชนในเขตสัมพันธวงศ์ 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

รัฐบาลจะจัดงานวันต่อต้านคอรัปชั่ นสากล “ประเทศไทยโปร่งใส” ลดปั ญหาการทุจริตในสังคมไทย และมุ่งปรับค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั นให้ได้ร้อยละ 50 ในปี 2560 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าว การจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยโปร่งใส” โดย กล่าวว่า รัฐบาลให้ความส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาการทุจริต โดยก�ำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการ จัดท�ำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้การท�ำงานมีความเป็นเอกภาพสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน คือการลดปัญหาการ ทุจริตในสังคมไทย สร้างความปรองดอง เพื่อวางรากฐานให้ประเทศในอนาคต ตลอดจนมุ่งปรับค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ของไทยให้ได้ร้อยละ 50 ในปี 2560 ยุทธศาสตร์ในระยะที่ 2 ก�ำหนดให้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ สร้างกระแสต่อต้านการทุจริต เป็นมาตรการเสริม ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคมและประชาชน ด้านนายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า การจัด งานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิดประเทศไทยโปร่งใส จะจัดวันที่ 8 - 9 ธันวาคม 2558 ที่ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ อาคารอาคารบี ส่วนภูมิภาคจะจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ โดยภายในงานมีกิจกรรมที่น่า สนใจ อาทิ ปาฐกถาพิเศษ โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กิจกรรมโชว์วาทีปัญหาการติดสินบน การ แสดงงิ้วธรรมศาสตร์ต้านคอร์รัปชัน การเสวนา พิธีมอบรางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 5 (NACC Integrity Awards) และคอนเสิร์ต ต้านคอร์รัปชัน จากศิลปิน AF นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งการจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ การจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) กรมประชาสัมพันธ์ จะถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 8 ธันวาคม ส่วนการจัดงานวันที่ 9 ธันวาคม จะถ่ายทอดสดการ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังจัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ อาทิ แผ่นพับ สติ๊กเกอร์ติดรถยนต์ ป้ายประชาสัมพันธ์ และสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งส่วนกลางและสวนภูมิภาค 81 issue 95 december 2015


ที​ีฆายุโกโหตุ มหาราชา

เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


83 issue 95 december 2015


84 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.