ISAMARE feb60 web

Page 1

IS AM ARE

ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อม ผู้บริหารและพนักงาน นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“…ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ แ สดงให้ ป รากฏตลอดว่ า ชาติ ใ ดเสื่ อ มสู ญ ย่ อ ยยั บ อั บ ปางไป ก็ เ พราะประชาชาติ ข าด สามั ค คี ธ รรม แตกแยกเป็ น หมู ่ ค ณะ เป็ น พรรคเป็ น พวก คอยเอารั ด เอาเปรี ย บ ประหั ส ประหารซึ่ ง กั น และกั น บางพรรคบางพวกถึ ง กั บ เป็ น ไส้ ศึ ก ให้ ศั ต รู ม าจู ่ โ จมท� ำ ลายชาติ ข องตนดั ง นี้ ข้ า พเจ้ า จึ ง ขอชั ก ชวนพี่ น ้ อ งชาวไทย ทั้ ง หลายให้ ร ะลึ ก ถึ ง พระคุ ณ ของบรรพบุ รุ ษ ซึ่ ง ได้ ก อบกู ้ รั ก ษาบ้ า นเกิ ด เมื อ งนอนของเรามานั้ น ให้ จ งหนั ก แล้ ว ถื อ เอาความสามั ค คี ความยิ น ยอมเสี ย สละส่ ว นตั ว เพื่ อ ประโยชน์ ยิ่ ง ใหญ่ ข องประเทศชาติ เ ป็ น คุ ณ ธรรมประจ� ำ ใจอยู ่ เนื อ งนิ จ จึ ง ขอให้ ช าวไทยทั้ ง หลาย จงบ� ำ เพ็ ญ กรณี ย กิ จ ของตนแต่ ล ะคนด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ขยั น หมั่ น เพี ย ร อดทนและกล้ า หาญ แล้ ว อุ ทิ ศ ความเสี ย สละส่ ว นตั ว ความเหน็ ด เหนื่ อ ยล� ำ บากยากแค้ น เป็ น พลี บู ช าบรรพบุ รุ ษ ผู ้ ซึ่ ง ได้ ก ่ อ สร้ า งชาติ เ ป็ น มรดกตกทอดมาถึ ง พวกเราชาวไทยจนบั ด นี้ . .”

กระแสพระราชด� ำ รั ส พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช พระราชทานแก่ ป ระชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้ น ปี ใ หม่ ๒๔๙๔ วั น ที่ ๓๑ ธั น วาคม ๒๔๙๓


Editorial

มุทิตาพระสังฆราชองค์ที่ ๒๐ มหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๒๐ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา

น้อมกราบ มุทิตา ทรงครองคณะสงฆ์ เทิดทูนพระสังฆราช เพียบพร้อมสิ่งทรงท�ำ อัมพร อมฺพโร ปรีชาชาญเฉิดฉาย สาสนโสภณา ปฐมองค์ทศมินทร์ นอบน้อมศิรเกล้า แด่องค์สังฆราช ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอพรพระรัตนตรัย

พระมหามุนีวงศ์ ธ ทรงเปรื่องเรื่องทางธรรม ผู้น�ำศาสน์ให้เลิศล�้ำ คุณธรรมมีมากมาย ภูมิปัญโญระบือนาม เกียรติเกริกกรายในแดนดิน เลิศล�้ำฟ้ากระแสสินธุ์ พระบดินทร์สถาปนา เพื่อกราบไหว้ด้วยศรัทธา มุทิตาจากดวงใจ ด้วยจิตน้อมถวายชัย สถิตย์ถวายพระองค์เทอญ

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อมฉัน นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา ส.ร.น.(ราชวินิต รุ่น ๙) mookkarsa@gmail.com, www.fosef.org

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๕ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๖ www.fosef.org

5

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


Hot Topic

๕๐

ตามรอยยุ วกษัตริย์

๒๖

๗๐

๔๕ ปี มู ลนิธิ ส่งเสริมการพัฒนาบุ คคล ความในใจบาทหลวง โจเซฟ เอช ไมเออร์

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก พระองค์ท่ี ๒๐

Don’t miss

๓๐

๕๐ ๖๒ ๗๔ 6 IS AM ARE www.fosef.org

๗๒


Table Of Contents

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ ของไทย ข่าวสารครอบครัวพอเพียง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย น�้ำใจจากมิตร จิตอาสาครอบครัวพอเพียง Let’s Talk ๔๕ ปี มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ความในใจบาทหลวงโจเซฟ เอช ไมเออร์ Cartoon กระจกส่องใจ ชีวิตคู่ มูลนิธิชัยพัฒนา ข้ามขอบฟ้ามาสอนภาษาอังกฤษ Is Am Are ต�ำบลโนนภิบาล จังหวัดมหาสารคาม เกิดการตื่นรู้ หันหน้าคุยกัน สร้างสรรค์ชุมชน กฎหมายน่ารู้ สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ข้อ ๒ และ ๓ ท่องเที่ยวศูนย์ศึกษาการพัฒนา ตามพระราชด�ำริ นครศรีธรรมราช เกลอเล เกลอเขา และเรื่องราวของแผ่นดินปากพนัง Round About

7

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

๘ ๑๒ ๒๖ ๓๐ ๓๘ ๔๖ ๕๐ ๕๖ ๖๒ ๗๒

๗๔ ๘๐


สวิตเซอร์แลนด์

กับครอบครัวราชสกุลมหิดล ถ้ อ ยค� ำ ที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ของปวงชนชาวไทย ถ้ อ ยค� ำ ที่ ฝ ั ง ลึ ก อยู ่ ใ นหั ว ใจของปวงชนชาวไทย ถ้ อ ยค� ำ ที่ ป วงชนชาวไทยได้ ยิ น - ได้ ฟ ั ง มาแต่ ค รั้ ง ลื ม ตามองโลกในผื น แผ่ น ดิ น นี้ ถ้ อ ยค� ำ ที่ ด วงใจของปวงชนชาวไทยกว่ า ๖๐ ล้ า นดวง ล้ ว นตราตรึ ง กั บ ความหมาย- คุ ณ ค่ า จากอดี ต ตราบปั จ จุ บั น ถ้ อ ยค� ำ นั้ น คื อ ... เรื่ อ งราวอั น ยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง “พ่ อ ของแผ่ น ดิ น ” และ “ในหลวงของปวงชนชาวไทย” นั่ น เอง แน่ น อน ... เรื่ อ งราวอั น ยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง “พ่ อ ของแผ่ น ดิ น ” และ “ในหลวงของปวงชนชาวไทย” จึ ง เป็ น เรื่ อ งน่ า ค้ น หา-ติ ด ตาม-รั บ รู ้ อ ยู ่ ต ลอดเวลามิ รู ้ จ บ

8 IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์

ขณะนั้นทรงมีพระธิดาและพระโอรส คือ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ซึ่งประสูติที่ลอนดอน ประเทศ อังกฤษ เมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ (ค.ศ.๑๙๒๓) และพระโอรส คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ ประสูติที่ เยอรมนี เมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ (ค.ศ.๑๙๒๕) แต่ในปีเดียวกันนั้นสมเด็จพระบรมราชชนกต้องเสด็จฯ กลั บ เมื อ งไทยแต่ เ พี ย งพระองค์ เ ดี ย ว เพื่ อ ถวายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๖ ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๕) สมเด็จพระบรมราชชนนีขณะนั้นประทับอยู่กับพระ ธิดา และพระโอรสที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งใน เดือน เมษายน ๒๔๖๙ (ค.ศ.๑๙๒๖) สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงตัดสินพระทัยพาครอบครัวไปอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจาก ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr.Francis B.Sayre) ชาวอเมริกัน อดีตที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศของไทย เคย เล่าถวายพระบรมราชชนกว่า ที่เมืองนี้มีสถานที่รับเลี้ยงเด็ก

คณะสื่อมวลชนแขนงต่างๆ นักวิชาการ และนักธุรกิจ ชาวไทยกว่ า ๓๐ คน ได้ มี โ อกาสเดิ น ทางไปประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ เ พื่ อ ตามรอยพระยุ ค ลบาทพระบาทสมเด็ จ พระ ปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ที่ เ มื อ ง โลซานน์ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีความส�ำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระ มหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ไทย เพราะพระมหากษัตริย์ไทย ถึงสองพระองค์ ได้ทรงประทับอยู่ที่นี่นานกว่า ๑๗ ปี นับแต่ยัง ทรงพระเยาว์ ปฐมบทของการเสด็ จ เยื อ นประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ เริ่มแต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ พระบรมราชชนก พร้อมด้วยหม่อมสังวาล พระบรมราชชนนี เสด็จฯ กลับยุโรป เพื่อทรงศึกษาต่อหลังเสร็จพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๓ (ค.ศ.๑๙๒๐) โดยครั้งนั้นทรงแวะโลซานน์เป็น ครั้งแรก และพักที่โรงแรมโบริวาจ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าสวยงาม และโก้มากเปรียบเสมือนสถานที่ฮันนีมูนหลังการอภิเษกสมรส จากนั้นได้มีโอกาสกลับมาแวะท่องเที่ยวเมืองต่างๆ ในสวิตเซอร์ แลนด์ เพื่อเสด็จฯ ดูงานและประชุมกับผู้แทนมูลนิธิต่างๆ ใน ประเทศแถบยุโรป เมืองโลซานน์ อันเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเมืองริมฝั่ง ทะเลสาบใหญ่ที่สวยงามชื่อว่า ลาคเลมอง (Lac Leman) เป็น ทะเลสาบที่ต่อเนื่องกับทะเลสาบเจนีวา นอกจากนี้เมืองโลซานน์ ยังเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเลือกเป็นที่ส�ำหรับ อภิบาลพระธิดาและพระโอรส

9

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


แห่งหนึ่งที่ดูแลเด็กอย่างถูกอนามัย ชื่อ ชองโชเลย์(Champ Soleii) จึงได้ส่งพระธิดาไปประทับที่สถานรับเลี้ยงเด็กแห่งนี้ ส่วนพระองค์ประทับอยู่ที่โรงแรมมอนตานา เมื่อพระโอรสทรงอดพระกษีระแล้ว จึงทรงส่งไปประทับ ที่ชองโชเลย์ พร้อมพระพี่เลี้ยงเนื่อง หรือนางสาวเนื่อง จินตดุล พระสหายสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อครั้งทรงเป็นนักเรียน พยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๙ ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นท้าวอินทรสุริยา เมื่ อ สมเด็ จ พระบรมราชชนกเสด็ จ กลั บ มาจากเมื อ ง ไทย ในราวเดือนมิถุนายน ๒๔๖๙ (ค.ศ.๑๘๒๖) จึงเสด็จฯมา สมทบกับครอบครัวที่เมืองโลซานน์ จากนั้นจึงได้เสด็จฯล่วง หน้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงหาที่ประทับส�ำหรับ ครอบครัวของพระองค์ และศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึง ทรงพระราชสมภพที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเสตต์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ (ค.ศ.๑๙๒๗) เมื่อ สมเด็จพระบรมราชชนกส�ำเร็จการศึกษาแล้วจึงเสด็จฯ กลับ เมืองไทย เมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๗๑ (ค.ศ.๑๙๒๘) สมเด็จพระบรมราชชนกทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒(ค.ศ.๑๙๒๙)ขณะนั้นสมเด็จ พระบรมราชชนนี เพิ่งมีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา ต้องทรง รับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามล�ำพัง ในเวลานั้นพระธิดาองค์โตพระโอรสองค์ที่สองและองค์สุดท้อง

ระยะเวลาปี เ ศษ ทรงด� ำ เนิ น ชี วิ ต อย่ า งสงบ แต่ ชี วิ ต ธรรมดาๆ ต้ อ งเปลี่ ย นไป เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระ ปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงสละราชสมบั ติ และรั ฐ บาล ได้ อั ญ เชิ ญ พระวรวงศ์ เ ธอพระองค์ เ จ้ า อานั น ทมหิ ด ล เสด็ จ ขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ ในเดื อ นมี น าคม ๒๔๗๗ (ค.ศ.๑๙๓๔) มีพระชนมายุไล่เรียงกันคือ ๖ พรรษา ๔ พรรษา และ ๑ พรรษา ๙ เดือน ตามล�ำดับ สถานการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลาต่อมามีความผันแปร ครั้งส�ำคัญ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ.๑๙๓๒) คณะราษฎรก่อการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ จ�ำนวนมาก และข้าราชการบางส่วนต้องออกจากราชการ เจ้า หลายหลายพระองค์เสด็จฯ ออกจากประเทศไทยไปประทับ ในต่างแดน ปลายปี พ.ศ.๒๔๗๕ (ค.ศ.๑๙๓๒) สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงปรึกษากับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีฯ พระราชธิดา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรพระโอรส เลี้ยง ว่าด้วยการศึกษาของพระราชนัดดาที่ทรงมีต่อไป ในเวลา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ ยังทรงพระเยาว์อยู่ นั้น พระอนามัยไม่สู้แข็งแรงมาตลอด จึงเป็นที่ตกลงว่าควรจะ เสด็จฯ ไปศึกษาต่อยังประเทศซึ่งมีอากาศสบายๆ

10 IS AM ARE www.fosef.org


เดือนกันยายน ๒๔๗๖ (ค.ศ.๑๙๓๓) ถึงฤดูหนาวก็ทรงส่งพระ โอรสธิดา ไปอยู่ที่โรงเรียนบนภูเขา จึงมีโอกาสทรงสเก็ตและสกี อากาศที่สวิตฯ มีผลต่อพระสุขภาพของพระโอรสองค์โตมาก ระยะเวลาปี เ ศษ ทรงด� ำ เนิ น ชี วิ ต อย่ า งสงบ แต่ ชี วิ ต ธรรมดาๆ ต้องเปลี่ยนไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ และรัฐบาลได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ในเดือน มีนาคม ๒๔๗๗ (ค.ศ.๑๙๓๔) การด�ำรงพระชนม์ชีพของยุวกษัตริย์และครอบครัวเริ่ม ปรับเปลี่ยน เพื่อให้สมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีทรง ย้ายจากแฟลตที่ถนนทิสโซต์ ซึ่งค่อนข้างคับแคบ ไปประทับ ครั้งแรกสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงคิดจะเสด็จฯ ไป ณ พระต�ำหนักวิลล่าวัฒนา บ้านเช่าค่อนข้างใหญ่ ที่เมืองพุยยี่ ประทับที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่ทรงรู้จัก (Pully) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ อยู่ติดกับโลซานน์ ดี ทรงโปรดและทรงมีพระสหายชาวอเมริกันอยู่มาก แต่พระเจ้า หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุตลิ ง วันเฉลิมพระชนมพรรษา บรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทฯ ไม่ทรงเห็นด้วย เพราะประเทศ ๒๐ กันยายน ๒๔๘๘ (ค.ศ.๑๙๔๕) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั สหรัฐฯ มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ ทรงคิดว่าเจ้านาย อานันทมหิดล ทรงบรรลุราชนิติภาวะ พระประยูรญาติและเหลา ควรเสด็จไปประทับในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ คนไทยที่พ�ำนักอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าราชการและ ประมุข เช่น ประเทศอังกฤษแต่สมเด็จพระบรมราชชนนีไม่โปรด นั ก เรี ย นไทยพากั น ไปเฝ้ า ฯ ถวายพระพรคั บ คั่ ง ในตอนเย็ น ประเทศอังกฤษ เนื่องจากทรงเคยตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรม บรรดาคนไทยได้ร่วมจัดงานเลี้ยงถวาย ณ พระต�ำหนักวิลล่า ราชชนกไปประทับ ณ ประเทศดังกล่าวระยะหนึ่ง ทรงทราบว่า วัฒนา อากาศที่นั่นไม่เหมาะกับพระอนามัยของพระโอรส พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๘ พร้ อ ม ดังนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทฯ จึงทรง ครอบครัวเสด็จนิวัติประเทศไทย ใน พ.ศ.๒๔๘๘ (ค.ศ.๑๙๔๕) แนะน�ำให้เสด็จฯ ไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงแนะน�ำว่า และเสด็ จ สวรรคตในปี ต ่ อ มา จากนั้ น พระบาทสมเด็ จ พระควรเลือกเมืองโลซานน์เป็นที่ประทับ สมเด็จพระราชชนนีก็ทรง ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหา พอพระทัย เพราะนอกจากจะเป็นเมืองที่มีอากาศดี ภูมิประเทศ กษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ สวยงาม และพลเมืองมีอัธยาศัยดีแล้ว ยังเป็นเมืองที่สมเด็จ (ค.ศ.๑๙๔๖) พระบรมราชชนกโปรดมากอีกด้วย สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ยั ง คงเป็ น ประเทศที่ ท รงประทั บ จวบ การเสด็จฯ ไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือน จนทรงส�ำเร็จการศึกษา ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ที่ เมษายน ๒๔๗๖ (ค.ศ.๑๙๓๓) ครั้งนี้ เป็นการเสด็จฯ ไปประทับ โลซานน์ พระราชธิดาพระองค์แรก ทูลกระหม่อมหญิงอุบล ในต่างประเทศที่แตกต่างจากทุกคราว โดยสมเด็จพระบรมราช รั ต นฯ มี พ ระประสู ติ ก าลที่ โ ลซานน์ และเมื่ อ เสด็ จ ฯ เยื อ น ชนนีทรงอยู่ในฐานะผู้น�ำครอบครัวเล็กๆ และเป้าหมายในการ อเมริกาและประเทศในยุโรประหว่าง พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๐๕ (ค.ศ. ประทับเพื่ออนาคตการศึกษาของพระโอรสธิดา ซึ่งกว่าจะทรง ๑๙๖๐-๑๙๖๒) ทรงโปรดให้พระราชโอรสและพระราชธิดา ประ ส�ำเร็จการศึกษาสมบูรณ์ อาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าครั้งใดๆ ทับที่โลซานน์ ณ บ้านฟลองซาเล่ ซึ่งรัฐบาลจัดถวายเพื่อเป็น ในฐานะหั ว หน้ า ครอบครั ว เล็ ก ๆ ที่ โ ลซานน์ สมเด็ จ ศูนย์กลาง และสะดวกในการเสด็จฯ มาประทับ พระบรมราชชนนี ทรงส่งพระธิดาและพระโอรสทั้งสามพระองค์ สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ จึ ง เป็ น ประเทศที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ทาง ไปอยู่สถานรับเลี้ยงเด็กที่ชองโชเลย์ ต่อมาได้เช่าแฟลตเลขที่ ประวัติศาสตร์ของราชสกุลมหิดลเป็นล�ำดับมา เป็นส่วนส�ำคัญ ๑๖ ถนนทิสโซต์ (Tissot) เป็นแฟลตขนาดห้าห้อง ซึ่งส�ำหรับ ในพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มาตรฐานของชาวยุโรปไม่ถือว่าเล็ก และนับเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงให้พระโอรสธิดาไปเรียน ขอบคุ ณ ข้ อ มู ล : หนั ง สื อ ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ หนั ง สื อ ที่ โรงเรี ย นประถมชื่ อ เมี ย ร์ ม องต์ ( Miremont)ตั้ ง แต่ สวิตเซอร์แลนด์, ยุพา ชุมจันทร์, ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย

11

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


cover story

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ ของไทย

พระองค์ที่ ๓ แห่งวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร หลั ง จากคณะสงฆ์ ไ ทยว่ า งเว้ น ประมุ ข สงฆ์ ม าระยะหนึ่ ง จนในที่ สุ ด วั น ที่ ๗ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ สื่ อ หลายส� ำ นั ก รายงานตรงกั น ว่ า พล.อ.ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี กล่ า วถึ ง การแต่ ง ตั้ ง สมเด็ จ พระสั ง ฆราชว่ า ตนได้ น� ำ รายชื่ อ ผู ้ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง พระสั ง ฆราช ๕ พระองค์ ให้ ส มเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ทรงพิ จ ารณา และในคื น วั น ที่ ๖ กุ ม ภาพั น ธ์ ตนได้ รั บ แจ้ ง ว่ า ทรงโปรดเกล้ า ฯ สมเด็ จ พระมหามุ ณี ว งศ์ วั ด ราชบพิ ธ ขึ้ น เป็ น สมเด็ จ พระสั ง ฆราชองค์ ใ หม่ ก� ำ หนดจั ด งาน พิ ธี ส ถาปนาในวั น ที่ ๑๒ กุ ม ภาพั น ธ์ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม โดยสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปประกอบพิ ธี

12 IS AM ARE www.fosef.org


13

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


พระราชพิ ธี ส ถาปนา สมเด็ จ พระมหามุ นี ว งศ์ เป็ น สมเด็ จ พระสั ง ฆราช พระองค์ ที่ ๒๐ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๘.๓๔ น. ใน การพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๒๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไป ยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราช วั ง โดยเข้ า ทางประตู วิ เ ศษไชยศรี รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง เที ย บที่ ประตูเกย หลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย จากนั้นเสด็จฯ ไป ที่อาสน์สงฆ์ ทรงประเคนผ้าไตรแด่สมเด็จพระราชาคณะ ๖ รูป และพระราชาคณะที่ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม ๑๒ รูป รวม ๑๘ รูป สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงรั บ การถวายความเคารพ ของผู้มาเฝ้าฯ ประทับพระราชอาสน์ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ลงจากอาสน์สงฆ์ ไปครองผ้าที่ในพระฉาก จากนั้นกรรมการ มหาเถรสมาคม ออกจากพระอุโบสถ ไปครองผ้าที่พระระเบียง ข้างพระอุโบสถ เมื่อครองผ้าเสร็จแล้ว กลับเข้ามานั่งยังอาสน์ สงฆ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ที่เดิม เจ้า เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ส� ำ นั ก เลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี อ ่ า น หน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรรมการศาสนา นิมนต์พระกรรมการ ประกาศกระแสพระราชโองการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช มหาเถรสมาคมไปนั่งที่อาสน์สงฆ์กลางพระอุโบสถ ทรงศีล สกลมหาสังฆปริณายก ใจความว่า สมเด็จพระราชาคณะถวายศีลจบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “บัดนี้เป็นที่ประจักษ์ว่าสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองอาลักษณ์ และ ผู้เจริญยิ่งด้วยพรรษายุกาล รัตตัญญูมหาสถาวีรธรรม ยินดี ในเนกขัมมปฏิบัติ ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ เป็นอจลพรหมจริยาภิรัต ด�ำรงมั่นในไตรสิกขามิได้เสื่อมถอย มีจริยา การส�ำรวมเรียบร้อย ไม่หวั่นไหวต่อโลกามิส เป็นคุรฐานีย บัณฑิต ผู้มีกิตติประวัติอันผ่องแผ้ว สงเคราะห์พุทธบริษัท ปกครองคณะสงฆ์ เป็นอุปัธยาจารย์ของมหาชนมากมาย มี ศิษยานุศิษย์แพร่หลายไพร่ศาล เป็นที่เคารพสักกรานแห่งมวล พุทธศาสนิก บริษัททั่วสังฆมณฑล ตลอดจนประชาราษฎร์ ทั่วไป สมควรจะได้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกล มหาสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑล เพื่อเป็นศรี ศุภมงคลแห่งพระบวรพุทธศาสนาสืบไป”

14 IS AM ARE www.fosef.org


จึงมีพระราชโองการโปรดสถาปนา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามตามที่จารึกในพระ สุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธ�ำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธาน สังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิ วุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสน สุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช” เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประธานในสังฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรใน สังฆมณฑลทั่วไป โดยสมควรแก่พระอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณะ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติวิรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา เทอญ จากนั้น สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๒๐ เสด็จประทับที่อาสน์สงฆ์ซึ่งปูลาด ไว้ด้านหน้า สมเด็จพระวันรัต กล่าว “สงฺฆราชฏฺฐปนานุโมทนา” แล้วสมเด็จพระธีรญาณมุนีน�ำสวด “โส อตฺถลทฺโธ” เสร็จแล้ว สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปประทับที่อาสน์สงฆ์ พร้อมด้วย พระกรรมการมหาเถรสมาคม ณ ท่ามกลาง สังมณฑล ซึ่งมีเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาคและเจ้าคณะจังหวัด สวดรับพร้อมกันจบแล้ว สมเด็จพระสังฆราช เสด็จจากอาสน์สงฆ์กลางพระอุโบสถไปประทับ ณ อาสนะ ซึ่งปูลาดไว้ข้างพระแท่นเศวตฉัตร หัว อาสน์สงฆ์สังคมณฑล อธิบดีกรมการศาสนาเป็นผู้กราบทูลน�ำเสด็จประทับ พระกรรมการมหาเถระสมาคมตามไปนั่งที่อาสน์สงฆ์ สังฆมณฑลพร้อมแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปถวายน�้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปรินายก สมเด็จพระสังฆราชทรงแบพระหัตถ์โดยมีพานแก้วรองรับ

15

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


16 IS AM ARE www.fosef.org


ขณะนั้ น พระสงฆ์ ใ นสั ง ฆมณฑลเจริ ญ ชั ย มงคล คาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลา แกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ตามพระอารามทั่วราชอาณาจักร ซึ่งชุมนุมในพระ อุโบสถเจริญชัยมงคลคาถา และย�่ำระฆัง โดยมี นายปรีชา ญ อินทรไพโรจน์ ผู้อ�ำนวยการพระคลังข้างที่ รักษาการใน ต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นผู้รับ หน้าที่ย�่ำระฆัง ณ หอระฆัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน พระบรมมหาราชวัง การย�่ำระฆังครั้งนี้ใช้ไม้เหง้าจากไผ่ตง “ตี ๓ ลา” อันเป็นจังหวะจากช้าไปเร็ว เมื่อจบการตีแล้ว จะย�่ำระฆังเป็นจังหวะสม�่ำเสมอจ�ำนวน ๒๐ ครั้ง ฉลอง โอกาสสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่ อ มาเจ้ า หน้ า ที่ ก องอาลั ก ษณ์ แ ละเครื่ อ งราช อิ ส ริ ย าภรณ์ เป็ น ผู ้ เชิ ญ ทู ล เกล้ า ฯ ถวายสมเด็ จ พระ สังฆราช สมเด็จพระสังฆราชทรงรับแล้ว เจ้าหน้าที่กอง ศาสนูปถัมภ์ กรรมการศาสนาเชิญไปตั้งไว้บนพระแท่น เศวตฉัตร ถวายพระตราต�ำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ผู้ อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เชิญ ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระสังฆราชทรงรับแล้ว เจ้าหน้าที่

กองศาสนูปถัมภ์กรมการศาสนา เชิญไปตั้งไว้บนพระแท่นเศวตฉัตร ถวายพัดยศ ไตรแพร เครื่องยศสมณศักดิ์ เจ้าหน้าที่ส�ำนักพระราชวัง เป็นผู้เชิญทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระสังฆราชทรงรับแล้ว เจ้าหน้าที่ กองศาสนูปถัมภ์กรมการศาสนาเชิญไปตั้งที่โต๊ะเคียง ข้างพระแท่น เศวตฉัตร ประทับพระราชอาสน์ที่เดิม พระสงฆ์ในสังฆมณฑลเจริญ ชัยมงคลคาถาจบ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ ฯ ไปถวายใบปวารณาแทน จตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งนั่งอยู่ที่อาสน์สงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ที่เดิม ส่วนพระราชาคณะในสังฆมณฑลจะได้ ลงจากอาสน์สงฆ์ เดินเข้าไปรับตามล�ำดับจ�ำนวน ๑๗๑ รูป สมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงหลั่ ง ทั ก ษิ โ ณทก พระสงฆ์ ใ นสั ง มณฑลถวาย อนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว อธิบดีกรมการศาสนากราบทูลน�ำ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ไปประทับ ณ อาสน์สงฆ์ กลางพระอุโบสถ พระพักตร์ตรงพระทวารกลางพระอุโบสถ เพื่อทรง รับเครื่องสักการะ พระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายคณะธรรมยุต (สมเด็จพระวันรัต) และพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายมหานิกาย (สมเด็จพระพุทธชินวงศ์) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ถวายเครื่องสักการะแด่ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จากนั้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงหัน พระองค์กลับไปทรงกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงกราบ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เชิญพัดยศน�ำเสด็จ ออกจากพระอุโบสถลงทางพระทวารกลาง พระสงฆ์ในสังฆมณฑล ออกจากพระอุโบสถตามสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลงทางพระทวารท้ายอาสน์สงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จลงทางพระ ทวารกลางพระอุโบสถ ทรงรับเครื่องสักการะของบรรพชิตญวณและ จีน

17

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


จากนั้นเวลา ๑๙.๕๘ น. เสด็จ จากพระอุโบสถ ไปประทับรถเบนซ์สีครีม พระราชทานจากสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ป้ายทะเบียน ร.ย.ล.๐๑๙๔ ที่ประตูเกย หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จไป ยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อสมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปรริณายก เสด็จพ้นพระอุโบสถไป ประทับรถยนต์พระประเทียบแล้ว สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้า เครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรง รับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถไปประทับ รถยนต์พระที่นั่งที่ประตูเกย หลังวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม เสด็จฯ กลับ ทั้ ง นี้ เครื่ อ งยศสมณศั ก ดิ์ ข อง สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆ ปรินายก ประกอบด้วย พระตราต�ำแหน่ง สมเด็ จ พระสั ง ฆราช พั ด ยศ ไตรแพร บาตรพร้อมด้วยฝาและเชิงบาตรถมปัด พานพระศรี (มังสี ๒ ตลับพู่ ๑ จอก ๑

ซองพลู ๑ พร้อมพูล), ขันน�้ำพานรองมี จอก ถาดสรงพระพักตร์ ขันน�้ำพานรอง มีจอก คลุมตาดรูปฝาชี หีบตราจักรี (หีบ หลังเจียด) หีบพระโอสถหลังนูน คนโท กาทรงกระบอก หม้อลักจั่น ปิ่นโตกลม ๔ ชั้น สุพรรณราช และสุพรรณศรี ทั้งนี้ ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณโดยรอบพระ อุ โ บสถวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ต่ า ง เปล่งเสียงทรงพระเจริญดังกึกก้อง ความหมายแห่ ง พระนามสมเด็ จ พระสั ง ฆราช พระองค์ ที่ ๒๐ พระนามเต็มของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ จารึกในพระสุพรรณบัฏ คือ “สมเด็จพระ อริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธ�ำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจาร ย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตม สาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต

18 IS AM ARE www.fosef.org

วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสม มุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาส วาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินว รมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช” ในหนั ง สื อ พระประวั ติ ส มเด็ จ พระอริ ย วงศาคตญาณ (อมฺ พ รมหา เถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ซึ่งคณะสงฆ์วัดราชบพิธฯ จัด พิมพ์ถวาย ระบุความหมายไว้ว่า “สมเด็จพระผู้มีญาณสืบมาแต่ วงศ์พระอริยเจ้า ทรงเป็นผู้มีธรรมวิธี อันละเอียดอ่อน ทรงเป็นผู้น�ำพระสงฆ์ หมู่ใหญ่ทั้งปวง ทรงเป็นอาจารย์ผู้ทรง ไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก ปรากฏพระนามฉายาในทางสงฆ์ ว ่ า อมฺพโร ทรงงดงามในพระศาสนา ด้วย ทรงพระปรี ช ากว้ า งขวางในพระอุ ด ม ปาพจน์ คือพระธรรมวินัย ทรงด�ำรง


พระเกียรติโดยปราศจากมลทิน และทรงเป็นครู สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาด้วยเหตุที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใส ทรงเป็นที่พึ่งผู้แกล้ว กล้าและมีพระปรีชาฉลาดเฉลียว ทรงเป็นผู้ยังความเจริญแก่กิจการพระ ธรรมทูต ทรงเป็นใหญ่ในสงฆ์ทั้งปวง (คือทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช) พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานสถาปนาในรัชกาลที่ ๑๐ ทรงยังแสง สว่างแห่งแบบอย่างอันดีงามให้บังเกิด โดยเจริญรอยตามสมเด็จพระ อุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) ทรงเป็นที่ตั้งแห่ง ความเคารพของพุทธบริษัท ทรงงดงามในพระวิปัสสนาธุระ ทรงพระ ศีลาจารวัตรอันไพบูลย์ ทรงเป็นอนุศิษย์ผู้สืบวงศ์สมณะมาแต่พระเจ้าว รวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นเจ้า ผู้เจริญในทางธรรม ทรงเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์” ความพร้ อ มเพรี ย งแห่ ง ชนผู ้ อ ยู ่ ร ่ ว มกั น เป็ น หมู ่ ยั ง ความ เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งให้ เ กิ ด ขึ้ น หลังจากพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ ที่ ๒๐ ผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ทางวัด ราชบพิธสถิตมหาสีมารามจึงเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าถวายสัก การะ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระ สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นเวลา ๓ วัน โดยก�ำหนด ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ทางวัดเปิดให้เข้า ถวายสักการะสองรอบคือ ช่วงเช้าเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. และช่วงบ่ายเวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. และในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลาประมาณ ๑๖.๑๐ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จ พระสังฆราชฯ เสด็จประทับยังหน้าพระอุโบสถ และประทาน พระโอวาทแก่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนที่ ม ารอเข้ า เฝ้ า ถวายสั ก การะ ว่า “ขออ�ำนวยพร พุทธศาสนิกชนทุกท่าน ท่านทั้งหลาย ที่ได้มีสมานฉันท์ มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความมุทิตา ซึ่งเป็น หนึ่งในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ขอ อนุโมทนาแก่ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ที่ได้สละ เวลาอันมีค่าในการท�ำหน้าที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และมา ดูแลความเรียบร้อย เมื่อสองวันก่อนได้พูดถึงความสามัคคี เพราะวัดนี้สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระปิยมหาราชของชาวไทย และหาก ท่านทั้งหลายสังเกต จะเห็นสุภาษิตค�ำหนึ่งติดอยู่ที่ประตูเข้า

19

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


พระอุโบสถ คือ สัพเพสัง สังฆะภูตานัง สามัคคี วุฒิสาธิกา แปลว่า ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้น ธรรมะภิตนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้สมเด็จพระอริยวง ศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม คิดค�ำธรรมะมาเป็นภาษิตประจ�ำใจ และเป็นค�ำเตือนใจทั้งประชาชน ข้าราชการ ทหาร ต�ำรวจ ฝ่ายปกครอง ได้ปฏิบัติยึดถือกันมา ให้ยึดธรรมภาษิตนี้ ขอให้จ�ำค�ำนี้ไว้ นอกจากนี้ขอให้ ทุกท่านอย่าแก่งแย่งกัน ขอให้ช่วยกันคิด ค้นคว้า ที่จะพัฒนาตัวเอง ส่วนรวม ให้ถึงความเจริญรุ่งเรือง รวมทั้งการ พัฒนาจิตใจด้วย”

20 IS AM ARE www.fosef.org


สมเด็ จ พระสั ง ฆราชพระองค์ ที่ ๒๐ ชาวราชบุ รี ประวัติสมเด็จพระสังฆราช องค์ท่ี ๒๐ สมเด็จพระมหา มุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔-๑๕ (ธรรม ยุต) และแม่กองงานพระธรรมทูต ภายหลังเมื่อครั้งด�ำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เจ้า อาวาสวัดราชบพิธฯ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระ มหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนว รางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณ วิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี อรัณย วาสี” สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ หรือ สมเด็จขาว กรรมการมหา เถรสมาคมและแม่กองงานพระธรรมทูต สิริอายุ ๘๙ พรรษา ๖๘ มีพระนามเดิมว่า “อัมพร ประสัตถพงศ์” เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๐ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค�่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ณ ต�ำบลบางป่า อ�ำเภอเมือง จังหวัด

ราชบุรี โยมบิดา-มารดาชื่อ นายนับ และนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย บรรพชาที่ วั ด สั ต ตนารถฯ ในช่วงวัยเยาว์ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวา นุเคราะห์ กองบินน้อยที่ ๔ ต�ำบลโคกกระเทียม อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ณ วัดสัตตนารถ ปริวัตร ต�ำบลหน้าเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีพระธรรม เสนานี (เงิน นันโท) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ย้ายไปจ�ำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต�ำบลพงสวาย เพื่อศึกษาเล่า เรียนพระปริยัติธรรม, พ.ศ.๒๔๘๓ สอบได้นักธรรมชั้นตรี, พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบได้นักธรรมชั้นโท, พ.ศ.๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมชั้น เอก และสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค, พ.ศ.๒๔๘๘ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๙๐ ย้ายมาจ�ำพรรษา ณ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร) เมื่อครั้งด�ำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี พามา ฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกล มหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) และให้สามเณรอัมพรเข้าพิธี

21

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


มีพระขันติมาโล ชาวอังกฤษ เป็นสหธรรมิก พร้อมไวยาวัจกร ตามค� ำ นิ ม นต์ ข องประธานพุ ท ธสมาคมแห่ ง รั ฐ นิ ว เซาธ์ เวลส์ ถือว่าเป็นพระธรรมทูตไปต่างประเทศรุ่นแรกของคณะสงฆ์ธรรม ยุต ได้วางรากฐานพระพุทธศาสนา ตลอดถึงเป็นเนติให้สหธรรมิกที่มาภายหลังได้เผยแผ่อย่างเป็นรูปแบบ ท�ำให้พระพุทธ ศาสนาฝ่ายเถรวาทมีความมั่นคง มีวัดและพระสงฆ์อยู่ประจ�ำ รัฐแห่งนี้ ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อีกหลายเมือง อาทิ กรุง แคนเบอร์รา นครเมลเบิร์น และเมืองดาร์วิน เป็นต้น พระอาจารย์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฏ ราชวิ ท ยาลั ย สมเด็ จ พระมหามุ ณี ว งศ์ เคยเป็ น อาจารย์ ส อนธรรม วินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร, กรรมการสนามหลวงแผนกธรรม และแผนกบาลี, นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) เป็นต้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ สภามหาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฏ ราช วิทยาลัย ถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์, พ.ศ.๒๕๕๓ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิ ท ยาลั ย ถวายปริ ญ ญาพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ อุปสมบท เมือ่ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๑ ณ มหาพัทธสีมาวัดราช บพิธฯ มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกล มหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์, สมเด็จ พระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร) ครั้งด�ำรงสมณศักดิ์ที่ พระจินดากรมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม ในส�ำนักเรียนวัดราชบพิธฯ พ.ศ.๒๔๙๑ สามารถสอบได้เปรียญ ธรรม ๕ ประโยค และ พ.ศ.๒๔๙๓ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค พระธรรมทู ต ประเทศออสเตรเลี ย ต่ อ มา สมั ค รเข้ า เรี ย นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฏ ราช วิทยาลัย (มมร) เป็นนักศึกษารุ่นที่ ๕ จบศาสนศาสตรบัณฑิต พ.ศ.๒๕๐๐ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้เข้าอบรมพระธรรมทูตไป ต่างประเทศ เป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในช่ ว งปี พ.ศ.๒๕๑๖ เป็ น หั ว หน้ า พระธรรมทู ต น� ำ พระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดย

ท่ า นได้ มุ ่ ง มั่ น ศึ ก ษาพระปริ ยั ติ ธ รรมในส� ำ นั ก เรี ย น วั ด ราชบพิ ธ ฯ พ.ศ.๒๔๙๑ สามารถสอบได้ เ ปรี ย ญ ธรรม ๕ ประโยค และ พ.ศ.๒๔๙๓ สอบได้ เ ปรี ย ญ ธรรม ๖ ประโยค งานด้านสาธารณูปการ เป็นประธานอ�ำนวยการฝ่าย บรรพชิต พระมหาธาตุเจดีย์และเขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และฉลองมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภู มิพ ลอดุ ล ยเดช ณ วั ด ธั มมธโร กรุ ง แคนเบอร์ ร า ประเทศ ออสเตรเลีย, เป็นประธานสร้างวัดแหล่งทองแดงพรหมสราราม อ�ำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นรองแม่กองงานพระ ธรรมทูต รูปที่ ๒ ผู้น�ำพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ไปเผยแผ่ใน ประเทศออสเตรเลีย, เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษาส�ำนัก ฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) เป็นต้น ด้านการศึกษาสงเคราะห์และสาธารณสงเคราะห์ ได้ มอบทุนสงเคราะห์แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์, เป็น

22 IS AM ARE www.fosef.org


23

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


รองประธานกองทุนวัดช่วยวัดของมหาเถรสมาคม (มส.) ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีอุบัติภัย วาตภัย อุทกภัย หรือ ภัยแล้ง น�ำเงินบริจาคเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยนั้นตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น งานปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัด ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร, ที่ปรึกษาเจ้าคณะ ภาค ๑๔-๑๕ (ธรรมยุต), กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.), กรรมการคณะธรรมยุต, นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย (มมร), กรรมการบริหารมูลนิธิมหามกุฏราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, แม่กองงานพระธรรม ทูต, ประธานมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดม สมพร จ.สกลนคร นับว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้นที่มีสมณศักดิ์ สูงสุดในปัจจุบัน คือเป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะ, พระ นายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อุปัชฌาย์ เป็นต้น เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ เนื่อ งในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ล� ำ ดั บ สมณศั ก ดิ์ – พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระ ราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระปริยัติกวี – พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตร สุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวร เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสารสุธี – พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ สังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี” สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมา ราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเมธาภรณ์ – พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๑๐ รูป สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เอาใจใส่ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมเมธาภรณ์ – พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ในกิจการงานของพระอารามหลวงด้วยดีตลอดมา ดังจะเห็นได้จาก เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จ ต�ำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ที่รับภารธุระอยู่ ทุกประการล้วนต้องอาศัย พระราชาคณะ ที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทร ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งความตั้งใจจริงอย่าง ดียิ่ง ได้ท�ำหน้าที่ในฐานะแห่งนักปกครองที่เอาใจใส่ดูแลความเป็น ไปของวัดและคนในวัดอย่างดียิ่ง รวมทั้งท่านยังได้สร้างคุณูปการแด่ คณะสงฆ์อย่างมากมาย ศิ ษ ย์ ห ลวงปู ่ ฝ ั ้ น อาจาโร วั ด ป่ า อุ ด มสมพร จั ง หวั ด สกลนคร สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่มี สมณศักดิ์สูงสุดในปัจจุบัน คือเป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะ เป็น พระธรรมทูตไปต่างประเทศรุ่นแรกของคณะสงฆ์ธรรมยุต และเป็น หัวหน้าน�ำพระพุทธศาสนาจากประเทศไทยไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยได้วางรากฐานพระพุทธศาสนาจนมั่นคง มี วัดและพระสงฆ์ไทยอยู่ประจ�ำ ณ นครซิดนีย์ มาจนถึงปัจจุบัน และ

24 IS AM ARE www.fosef.org


“จปร” เพดานภายในเป็นซุ้มโค้งแหลมแบบโกธิก, วิหาร มีรูป แบบเดียวกับพระอุโบสถ แต่บานประตูหน้าต่างเป็นไม้จ�ำหลัก ลวดลายดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อาคารทุกหลังในเขตพุทธาวาส ประดับด้วยกระเบื้อง เคลื อ บเบญจรงค์ ซึ่ ง พระอาจารย์ แดง วั ด หงส์ รั ตนารามเป็น ผู ้ ใ ห้ แ บบลาย แล้ ว สั่ ง ท� ำ จากประเทศจี น ซุ ้ ม ประตู ท างเข้ า เขตพุ ท ธาวาส มี บ านประตู รู ป ทวารบาลแต่ ง กายแบบทหาร ยุโรป ปูชนียวัตถุส�ำคัญ คือ “พระพุทธอังคีรส” ประดิษฐาน ในพระอุโบสถ สร้างจากทองค�ำที่กาไหล่เป็นทองเนื้อ ๘ หนัก ๑๘๐ บาท จากทองค�ำเครื่องแต่งพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ของรัชกาลที่ ๕ เขตสังฆาวาส ประกอบด้วย ต�ำหนักอรุณ ซึ่งเป็นกุฏิเจ้า อาวาส เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็น อาคาร ๓ ชั้น พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ เป็นเก๋งจีน ๓ ชั้น ปัจจุบันเป็น พิพิธภัณฑ์เก็บโบราณวัตถุทรงคุณค่าซึ่งเป็นสมบัติของวัด และ ของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘) และสมเด็จพระอริ ย วงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็ จ พระสั ง ฆราชเจ้ า สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๙) และเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัด ราชบพิ ธ เป็ น สมเด็ จ พระสั ง ฆราชองค์ ที่ ๒๐ และเป็นองค์ที่ ๓ ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ยังความปราบปลื้มแก่ พสกนิกรชาวไทยอย่างท้วมท้น

ได้ขยายไปยังเมืองใหญ่อีกหลายเมือง เช่น กรุงแคนเบอร์รา นคร เมลเบิร์น และเมืองดาร์วิน เป็นต้น วั ด ราชบพิ ธ สถิ ต มหาสี ม าราม ที่ ป ระทั บ ๓ สมเด็ จ พระสั ง ฆราช วั ด ราชบพิ ธ สถิ ต มหาสี ม าราม เป็ น พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุ ง เทพฯ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรง สถาปนาขึ้นเป็นวัดประจ�ำรัชกาล เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ พระองค์ ไ ด้ พ ระราชทานนามพระอารามนี้ ว ่ า “วั ด ราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” ราชบพิธ มีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง สถิตมหาสีมาราม มีความหมายว่า อารามอันมีเขตสีมา กว้างใหญ่ตั้งอยู่ พระเจ้ า วรวงศ์ เ ธอ กรมหลวงชิ น วรสิ ริ วั ฒ น์ สมเด็ จ พระสังฆราชเจ้า ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถาวรวั ต ถุ ส� ำ คั ญ ชิ้ น แรกๆ ของวั ด ราชบพิ ธ ไว้ ใ นหนั ง สื อ “แถลงการณ์คณะสงฆ์” เล่มที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๔๖๖ ความตอน หนึ่งว่า “วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ เริ่มพระราชพิธีสวด ผูกพัธสีมา ๓ วัน ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม เวลายาม ๑ กับ ๓๐ นาที เป็นพระฤกษ์ผูกเสมาเต็มเนื้อที่วิสุงคามสีมา ที่มีก�ำแพงตั้ง สีมาทั้ง ๘ ทิศ เป็นที่หมาย สีมาของวัดนี้เป็นมหาสีมา ภายในพระอาราม แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และสังฆาวาส เขตพุทธาวาส ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาทิ พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นศาลาโถง หน้าบันจ�ำหลักลาย ตราราชวัลลภ , พระเจดีย์ทรงระฆัง ซึ่งมีปลียอดประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ, พระอุโบสถ งดงามด้วยลวดลายบนบาน ประตูหน้าต่างประดับมุก ทุกบานผูกลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ดวง อกเลาของบานประตูมุก ผูกเป็นอักษรพระปรมาภิไธย

ข้อมู ลและภาพส่วนหนึ่งจาก •หนั ง สื อ “วั ด ราชบพิ ธ สถิ ต มหาสี ม าราม พระ อารามประจ� ำ รั ช กาลที่ ๕” เรี ย บเรี ย งโดย บุ ญ เตื อ น ศรีวรพจน์ และ ทิพวรรณ บุญส่งเจริญ •หนังสือ “ดั่งทองชมพูนุท จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่อง ในอภิลักขิตสมัย ๑๕๐ ปีนับแต่วันประสูตื พระเจ้าวรวงศ์ เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

•หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, คม ชัด ลึก •มล.ชัยนิมิตร นวรัตน์ •Aksorn Pichai •www.kaentong.com

25

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


นิทรรศการ “เย็นศิระ เพราะพระบริบาล” ณ บริเวณท้องสนามหลวง กรุ งเทพมหานคร

นิ ท รรศการ “เย็ น ศิ ร ะ เพราะพระบริ บ าล” จั ด ขึ้ น ตามนโยบายของรั ฐ บาล โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส ถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ร วมจิ ต ใจของปวงชนชาวไทย บ� ำ บั ด ทุ ก ข์ บ� ำ รุ ง สุ ข ราษฎร และน� ำ ความเจริ ญ มาสู ่ ป ระเทศ รวมถึ ง เพื่ อ สร้ า งความตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของสถาบั น พระ มหากษั ต ริ ย ์ ที่ จ ะต้ อ งอยู ่ คู ่ กั บ ประเทศไทยตลอดไป และเพื่ อ เป็ น การน้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ที่ ไ ด้ ท รงบรรเทาความทุ ก ข์ ย ากเดื อ ดร้ อ นและสร้ า ง ประโยชน์ สุ ข ให้ แ ก่ ป ระชาชนและประเทศชาติ ม าโดยตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี แห่ ง การครองสิ ริ ร าชสมบั ติ จน ก่ อ เกิ ด เป็ น โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ ม ากมายทั่ ว ประเทศ ถึ ง ๔,๖๘๕ โครงการ

26 IS AM ARE www.fosef.org


ข่ า วสารครอบครั ว พอเพี ย ง

องค์ความรู้ที่ได้พระราชทานในการพัฒนาประเทศที่ สอดคล้องกับลักษณะภูมิสังคมของประเทศไทย ส่งผลให้ราษฎร มีความพออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน บนพื้น ฐานแห่งความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้ า งรากฐานที่ มั่ น คงแก่ สั ง คมไทย จนกระทั่ ง นานา ประเทศน้อมน�ำแนวพระราชด�ำริไปประยุกต์ใช้ถึง ๓๐ ประเทศ ประจักษ์พยานที่ส�ำคัญคือ รางวัลที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย จากทั่วโลกมากมายได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของ พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ของไทย โครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการช่วยเหลือราษฎรทุก ถิ่นฐาน พระบรมวงศ์ทุกพระองค์ได้ร่วมสืบสานและเดินรอย ตามเบื้ อ งยุ ค ลบาทพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช ที่ทรงท�ำเพื่อแผ่นดินมาอย่างยาวนาน จากนี้ต่อไป ประชาชนควรจะต้องรวมพลังความภักดี ความศรัทธา และ ความสามัคคีช่วยกันขับเคลื่อนน�ำพาประเทศชาติอันเป็นที่รัก ของเราไปสู่อนาคตที่รุ่งเรือง มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนตลอด ไป

27

นอกจากนิทรรศการ “เย็นศิระ เพราะพระบริบาล” ที่ จัดแสดงในอาคารกึ่งถาวรแล้ว ยังได้จัดให้ประชาชนได้เห็นถึง แนวพระราชด�ำริด้านการพัฒนาดิน น�้ำ ป่าไม้ และอาชีพ โดย จ�ำลองของจริงมารวมไว้ใน นิทรรศการ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต” ที่น�ำเสนอผลส�ำเร็จแห่งการพัฒนา ประกอบด้วย การ พัฒนาดิน จากสภาพพื้นที่ดินทรายแห้งแล้งสามารถพลิกฟื้น เป็นดินที่สมบูรณ์ สามารถท�ำการเกษตรได้ผลผลิตที่เพียงพอ และจ�ำหน่ายเป็นสินค้าระดับต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัด และระดับ ประเทศไทยได้อีกด้วย การบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชด�ำริก่อเกิด เป็นทฤษฏีการพัฒนามากมาย ดังเช่น ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ภูเขาป่า ป่าเปียก การท�ำฝาย ชะลอความชุ่มชื้น ฝายก้างปลา เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืน ป่า ปัจจุบันเป็นต้นแบบการฟื้นฟูป่าให้กับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม แห้งแล้ง ให้กลับมามีความชุ่มชื้นสู่ระบบนิเวศที่สมบูรณ์อีก ครั้ง การบริหารจัดการน�้ำตามแนวพระราชด�ำริในลักษณะอ่าง ใหญ่เติมอ่างเล็ก อ่างเล็กเติมสระ ส่งผลให้มีน�้ำในการประกอบ อาชีพที่ยั่งยืน ตามหลักการท�ำเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเป็นการ บริหารจัดการที่ดินและแหล่งน�้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อเกิด การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนส่งผลถึงความเข้มแข็งในการต่อสู้ กับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงจากวิกฤติการณ์ต่าง ๆ สร้าง ภูมิคุ้มกันในตัวเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ท�ำให้เกิดความมั่นคงแก่ครอบครัว ส่งผลให้ชุมชนและสังคมเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


28 IS AM ARE www.fosef.org


การนี้ได้จัดรถบริการรับประชาชนที่เข้ากราบพระบรมศพกลับมาเข้าชมนิทรรศการ โดยกรุงเทพมหานครและเจษฎา มิ ว เซี ย มจะจั ด รถบริ ก ารรั บ ประชาชนจากประตู เ ทวาภิ ร มย์ พระบรมมหาราชวังกลับมายังเต็นท์พักคอยเพื่อรอเข้าอาคาร นิทรรศการ ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสงค์เดินทางมาชมนิทรรศการ โดยไม่ได้เข้ากราบพระบรมศพ ขอความร่วมมือให้ แต่งกาย เช่นเดียวกับการเข้ากราบพระบรมศพ คือ สวมใส่ชุดสุภาพสี ด�ำ ไม่สวมรองเท้าแตะ ผู้ชายไม่สวมกางเกงยีน และผู้หญิง ต้องสวมกระโปรงยาวคลุมเข่า เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงหาก หน่วยงานใดประสงค์เข้าชมนิทรรศการเป็นหมู่คณะ สามารถ ท� ำ หนั ง สื อ ถึ ง คณะอนุ ก รรมการพิ จ ารณากลั่ น กรองการขอ อนุญาตจัดกิจกรรมเพื่อแสดงความอาลัยถวายพระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชระบุ วั น ที่ ต ้ อ งการเข้ า ชม

ล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วัน โดยให้ส่งหนังสือไปยังกองการท่อง เที่ยว ส�ำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เลขที่ ๑๗/๑ ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม. ๑๐๒๐๐ โทร. ๐๒ ๒๒๕ ๗๖๑๒-๔ โทรสาร ๐๒ ๒๒๕ ๗๕๔๔ สอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมโทร ๑๘๘๙ หรือสายด่วนกทม. ๑๕๕๕ นิทรรศการทั้ง ๒ รูปแบบ จะเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ เวลา ๐๗.๐๐ ถึง ๑๙.๐๐ โดยในส่วนของนิทรรศการ “เย็นศิระ เพราะพระบริบาล” จะเปิดถึงกลางเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ และ นิทรรศการ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต” จะเปิดบริการถึงวัน ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ โอกาสนี้ ได้มีเยาวชนจิตอาสาและ ศิลปินจิตอาสา สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาถ่ายทอดเรื่องราวถึง พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ นี้อีกด้วย

29

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


บทเรียนชี วิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ ๔ น�้ำใจจากมิตร จิตอาสาครอบครัวพอเพียง

น�้ำ...คราวนี้มาเร็ว มามาก มาแล้วอยู ่นาน คาราวานน�้ำใจช่ วยเหลือผู ้ประสบภัยน�้ำท่วม ครอบคลุมทุกพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทุกฝ่ายเกื้อหนุน ... แกนน�ำครอบครัวพอเพียงร่วมพิธีปล่อยคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม.. โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ ของชาวนครศรีธรรมราช ให้เกียรติเป็นประธานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมให้จิตอาสาครอบครัวพอเพียงมีความสุขทั้งในฐานะ เป็นผู้ให้ ผู้รับ ผู้ส่งมอบ ส่งต่อความดี...ขอพื้นที่นี้ประมวลภาพเล็กๆ ให้ผองเพื่อนครอบครัวพอเพียงให้รับรู้พอสังเขป

30 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่าเรื่อง อุทกวิภาชประสิทธิ ประตูน�้ำของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ น�้ำท่วม จะสูง มามากมายแค่ไหน ระบายน�้ำได้รวดเร็วทันใจ ด้วยน�้ำ พระหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช ทรงพระราชทานไว้ ชาวนครศรีธรรมราชส�ำนึกในพระ มหากรุณาธิคุณยิ่งแล้ว อีกทั้งเหล่าน�้ำใจจากผองมิตร ชาวไทย น�้ำ...คราวนี้มาเร็ว มามาก มาแล้วอยู่นาน นั่นคือน�้ำใจชาว ไทย จิตอาสาครอบครัวพอเพียง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม นครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนเลย พิทยาคม จังหวัดเลย โรงเรียนสตรีศรีน่าน จังหวัดน่าน โรงเรียน ศรีวิชัยวิทยา จังหวัดนครปฐม มูลนิธิครอบครัวพอเพียง และ ครอบครัวพอเพียงนครศรีธรรมราช ร่วมกันบริจาคทั้งเงินทอง เสื้อผ้า สิ่งของ พวกเราศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนกัลยาณี ศรีธรรมราช ตัวแทนผองเพื่อน ได้ส่งมอบไปยังผู้เดือดร้อนเป็น ที่เรียบร้อย และขอสื่อสารความสุขจากผู้รับไปสู่ผู้ให้ จากทุก เป็นที่ทราบกันดีว่า เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัด ศูนย์ครอบครัวพอเพียง จากใจชาวนครศรีฯ ถึงเพื่อนผองน้องพี่ นครนายก ประตูระบายน�้ำธรณิศนฤมิต จังหวัดสกลนคร เขื่อน ครอบครัวพอเพียงทุกคน น�้ำใดๆ ไม่เท่าน�้ำใจจากผองไทยด้วย แควน้อยบ�ำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก อุโมงค์ผันน�้ำล�ำพะยัง กัน... ขอขอบคุณจริงๆ คะ ภูมิพัฒน์ จังหวัดกาฬสินธ์ุ และประตูระบายน�้ำอุทกวิภาชประ สิทธิ จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ๕ นามพระราชทานเขื่อน กั้นน�้ำ “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ” ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ รัชกาลที่ ๙ พระบิดาแห่ง การจัดการทรัพยากรน�้ำ ผู้ทรงให้ความส�ำคัญในลักษณะ “น�้ำ คือชีวิต” พัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อปวงประชาชนของพระองค์ โดย เฉพาะ ประตูระบายน�้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ประตูน�้ำที่ให้ประสบ ความส�ำเร็จในการแยกน�้ำ กรมชลประทานได้เริ่มด�ำเนินงาน ก่อสร้างประตูระบายน�้ำตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ เสร็จ ประตูระบายน�้ำอุทกวิภาชประสิทธิ จังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในห้า นามพระราชทานเขื่อนกั้นน�้ำ สมบูรณ์ใน พ.ศ.๒๕๔๒ มีขนาดช่องระบายน�้ำ ๑๐ ช่อง กว้าง “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ” ช่องละ ๒๐ เมตร พระราชทานเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒ เพราะพระองค์ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ น�้ำเค็มรุก น�้ำจืดขาดแคลน น�้ำเปรี้ยวจากป่าพรุ ฝนตกน�้ำท่วมสูง ยาวนาน จึงได้พระราชทานพระราชด�ำริ ก่อสร้างประตูระบายน�ำ้ ระบบระบายน�้ำ ระบบเก็บกักน�้ำ ระบบส่งน�้ำ รักษาและฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาอาชีพ ส่งเสริมรายได้ ควบคู่กันไป อย่างครบวงจร เพื่อให้ราษฎร มีความเป็นอยู่ที่ดี อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล ณ วันนี้เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปัญหา ๔ น�้ำ ๓ รส น�้ำท่วม น�้ำแล้ง น�้ำเค็ม น�้ำเปรี้ยว มาแล้วหนึ่งน�้ำ น�้ำท่วม ท่วม สูงทุกพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เรามี ประตูระบายน�้ำ

31

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


NEW GEN Kanlayanee น�้ ำ ลั ง ตั ง ค์ ร้ อ ย ร้ อ ยแรง ร่ ว มใจ สุ ข ร่ ว มกั น ก่ อ นส่ ง มอบ ณ ห้ อ งศรี ป ราชญ์ โรงเรี ย นกั ล ยาณี ศ รี ธ รรมราช วั น ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐

32 IS AM ARE www.fosef.org


คาราวานช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบภั ย น�้ ำ ท่ ว ม หลากหลายน�้ ำ ใจ สู ่ พื้ น ที่ น ครศรี ธ รรมราช โรงเรี ย นขอนหาดประชาสรรค์ / โรงเรี ย นบ้ า นขอนหาด ต.ขอนหาด อ.ชะอวด จ.นครศรี ธ รรมราช

33

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


โรงเรี ย นบ้ า นชะอวด ต.ชะอวด อ.ชะอวด จ.นครศรี ธ รรมราช/ โรงเรี ย นชะอวดเคร่ ง ธรรมวิ ท ยา โรงเรี ย นวั ด ปากควน ต.เคร็ ง อ.ชะอวด จ.นครศรี ธ รรมราช/ โรงเรี ย นบ้ า นคอกวั ว อ.ร่ อ นพิ บู ล ย์ จ.นครศรี ธ รรมราช

34 IS AM ARE www.fosef.org


เพราะเราคื อ ครอบครั ว เดี ย วกั น ...ครอบครั ว พอเพี ย ง... พี่แหม่ม จารุวรรณ ส�ำเอียงกาย และคณะ มาสมทบกับ พวกเราพร้อมด้วยของบริจาคอีก ๒ คันรถ ซึ่งผู้ใหญ่เมตตาผู้ใหญ่ บ้านหมู่ ๑ ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ได้รับ บริจาคจากสมาชิกในหมู่บ้าน คนไทยรักใคร่กันจริงๆ คะ

น้องนักเรียน - แม่บ้านกัลยาณีศรีธรรมราช ร่วมกันอาสา ส่งมอบของบริจาคไปยังชุมชนของตนเองทั้งเสื้อผ้า เครื่องเขียน ถุงยังชีพ ชาวชุมชนในเขตเมือง จ.นครศรีธรรมราช ขอขอบคุณ ถึงน�้ำจิตน�้ำใจ ที่หลั่งไหลมาจากทุกทิศ...

เพราะเราคือครอบครัวพอเพียง เสื้อเหลือง ฟ้า และ ทุกสี ปฏิบัติการก่อการดี NEW GEN KANLAYANEE ทูต ความดี นครศรีธรรมราช เราจะร่วมท�ำความดี ทุกเวลา ทุก สถานที่ ...จะมาอีกกี่น�้ำ ของจะมาอีกกี่ลัง ตังค์จะมามากหรือ น้อย เราหัวใจเต็มร้อย .. น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ..จิตอาสาครอบครัว พอเพียงพร้อมคะ

35

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


๓ ห่ ว งให้ พ อดี ทั้ ง งานส่ ว นตน ครอบครั ว และหน้ า ที่ ใ นสั ง คม ชวนกั ล ฯ พั ก เติ ม แรง

เข้าสู่โหมด พักเติมแรง เริ่มด้วยกิจกรรมของพี่คนโต ม.๖ เที่ยวเมืองน�้ำ หาดแขวงเภา อ�ำเภอขนอม จังหวัดนครศรีฯ สู่ เมืองกะปง พังงา ม่านหมอกเมืองใต้ ผลไม้นานา พระนารายณ์ ล�้ำค่า ศรัทธาหลวงพ่อเซ้ง เมื่อท่านนายอ�ำเภอคนใหม่ คนที่ ๔๑ ของชาวอ�ำเภอกะปง จังหวัดพังงา นายสุพงษวิณัย ชูยก ชวนกันเล็กๆ ขับรถชมเมือง วัฒนธรรมถิ่นกะปง แช่น�้ำพุร้อน รมณีย์ ดูหมอกตอนเช้า ทานข้าวพร้อมกัน หนึ่งสัปดาห์ แค่ หนึ่งวัน มีเวลาให้กันและกัน เติมเต็มความสุขให้กับครอบครัว ทั้งงาน ครอบครัว สังคม ๓ ห่วงให้พอดี แค่นี้ก็สุขพอ เพราะ พ่อสอนเราไว้...

36 IS AM ARE www.fosef.org


ภั ท รพั ฒ น์ ภู มิ ใ จเสนอชาใบหม่ อ นจากศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาเขาหิ น ซ้ อ นอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ วิ ธี ช ง

สรรพคุ ณ • ลดระดับน�้ำตาล และไขมันในเลือด • ลดการเกิดลิ่มเลือดอันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ • ช่วยเสริมสร้างกรดอะมิโนที่ส�ำคัญต่อร่างกาย • ช่วยเสริมสร้างแคลเซียม เหล็ก และวิตามิน

• ใส่ชาลงในถ้วยชา ใส่น�้ำร้อน รอ 3-5 นาที แล้วดื่ม หรือชงดื่มแบบชาทั่วไป

ท่ า นสามารถซื้ อ ไว้ รั บ ประทานได้ เ เล้ ว วั น นี้ ที่ ร ้ า นภั ท รพั ฒ น์

37

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


38 IS AM ARE www.fosef.org


let's talk

๔๕ ปี มู ลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุ คคล ศูนย์เมอร์ซ่ี

ความในใจ บาทหลวง โจเซฟ เอช ไมเออร์ บาทหลวง โจเซฟ เอช ไมเออร์ หรื อ “คุ ณ พ่ อ โจ” เกิ ด ณ เมื อ งลองวิ ว รั ฐ วอชิ ง ตั น ประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก า ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษา ปริ ญ ญาตรี ด ้ า นปรั ช ญาและด้ า นเทวศาสตร์ จากสามเณราลั ย ใหญ่ ซึ่ ง เป็ น สถานที่ เ ตรี ย มบุ ค คลเป็ น พระสงฆ์ ที่ เ มื อ ง Oconomowoc มลรั ฐ Wisconsin ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า และจบปริ ญ ญาโทสาขาวิ ช าการพั ฒ นาการตั้ ง ถิ่ น ฐานของมนุ ษ ย์ จาก สถาบั น เทคโนโลยี แ ห่ ง เอเชี ย (Asian Institute of Technology)

39

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


คณะพระมหาไถ่ได้ส่งคุณพ่อโจ มาท�ำงานที่ประเทศไทย และประเทศลาวตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ศึกษาภาษาไทย จาก นั้นได้รับมอบหมายให้ไปท�ำงานในภาคอีสานและหมู่บ้านชาว เขาเผ่าม้งในประเทศลาว และปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้เดินทางกลับ มาท�ำหน้าที่ในประเทศไทย โดยคุณพ่อโจ ดูแลโบสถ์คาทอลิกที่ โรงหมูในสลัมคลองเตย ซึ่งคาทอลิกส่วนใหญ่ก็เป็นคนงานในโรง ฆ่าสัตว์ และอาศัยอยู่ในละแวกนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ คุณ พ่อโจ กับ ซิสเตอร์มาเรีย ฉันทวโรดม ก็ได้เริ่มงานของมูลนิธิส่ง เสริมการพัฒนาบุคคลจวบจนถึงปัจจุบัน จากการอุ ทิ ศ ตั ว และทุ ่ ม เทความรู ้ ความสามารถ แรงกาย แรงใจ ในงานช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชนแออัด คุณ พ่อโจได้รับปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัญฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๔๕ และ ได้ รั บ ปริ ญ ญามนุ ษ ยศาสตร์ ดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต จากมหาวิ ท ยาลั ย ACADIA มลรัฐ Nova Scotia ประเทศ Canada ประจ�ำปีการ ศึกษา ๒๕๔๘ ปัจจุบันศูนย์เมอร์ซี่ด�ำเนินการมาเป็นระยะเวลา ๔๕ ปี แล้ว คุณพ่อโจในวัย ๗๗ ปี ยังคงท�ำงานเพื่อคนยากไร้อย่างต่อ เนื่อง โดยไม่คิดจะออกสื่อแต่อย่างใด ฉบับนี้จึงถือเป็นเกียรติ อย่างยิ่งที่คุณพ่อโจยอมเปิดโอกาสถ่ายทอดความในใจผ่านบท สัมภาษณ์ชิ้นนี้

๔๕ ปี ของศู น ย์ เ มอร์ ซี่ มี อ ะไรที่ อ ยากจะบอกแก่ สั ง คม ? อั น ดั บ แรกคื อ เราต้ อ งเป็ น ผู ้ รั บ ใช้ ข องสั ง คมนะ เรา ต้องถ่อมตัว เราต้องถือว่า ตัวผมเองเป็นฝรั่ง และประเทศไทย อนุญาตให้ผมอยู่ เราต้องขอบคุณประเทศไทยที่รักเรา ที่อนุญาต ให้เราอยู่ในประเทศ เราต้องขอบคุณผู้ปกครองที่ไว้ใจให้เราสอน ลูกหลานเหลนโหลนของเขา แล้วก็เรื่อง “เงิน” เราไม่รวย และเราก็ไม่ได้อยู่ในโลกนี้ เพื่อจะรวย เงินในมูลนิธิฯ ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ของผม เป็นของ โบสถ์ของคณะกรรมการซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมด ฉะนั้นเงินยังอยู่ ในเมืองไทยและก็ต้องอยู่ที่นี่ กฎหรื อ สิ่ ง ที่ เ มอร์ ซี่ ยึ ด ถื อ มาตลอดคื อ อะไร ? มันไม่ใช่เราเป็นผู้ส�ำคัญหรืออะไร หลังจากเราเป็นผู้รับ ใช้ เราต้องปฏิบัติ ที่นี่มีเด็กประมาณ ๒๐๐ คน ก็ต้องถือว่า เด็กเป็นเจ้าของบ้าน สมมุติว่ามีคนจะมาเยี่ยมเด็ก เราต้องขอ อนุญาตจากเด็ก เป็นบ้านเขา ฉะนั้น ไม่ว่ารัฐบาลหรือใครก็เข้า มาไม่ได้ ต้องขออนุญาต ถึงเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ บางทีเขาเห็น ข้อนี้เขาก็ไม่เอา แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ดีดีนะ เขาเข้าใจทันที

40 IS AM ARE www.fosef.org


ก่ อ ตั้ ง มา ๔๕ ปี ท� ำ ไมไม่ เ ห็ น เมอร์ ซี่ อ อกสื่ อ เลย ? เรามี โรงเรี ย น ๒๓ แห่ ง มี เ ด็ ก สามพันกว่าคน เราไม่ได้ชิงดีชิงเด่นนะ เราพยายามไม่อยู่ในหนังสือพิมพ์ เพราะ ว่าถ้าเราอยู่ในหนังสือพิมพ์ เช่น คดีชาว ไทยใหญ่ถูกผู้มีอิทธิพลยิง คนจะยิงเขา ทิ้งไม่ได้ เขาเป็นผู้เสียหาย จะท�ำให้หมด โอกาสจับผู้กระท�ำผิด ฉะนั้น เราเป็นของ เราเงียบๆ เดี๋ยวนี้มีเด็กในสลัมห้าสิบกว่า คน ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ เราส่งร่วมกับรัฐบาล เพชรบุรีบ้าง ลพบุรีบ้าง ที่มีโรงเรียนเด็ก พิเศษของรัฐ ซึ่งมันโอเค บ า ง ค น ท� ำ ง า น กั บ เ ด็ ก ใ ต ้ สะพานพุ ท ธฯ วั น เด็ ก ก็ จ ะเอาของไป ให้เด็กใต้สะพานพุทธฯ ต�ำรวจเขารู้จัก บอกว่ามาจากเมอร์ซี่ก็โอเค ฉะนั้นถ้าอยู่ เงียบๆ ไม่ต้องเอาหน้าเอาตาท�ำงานได้ เยอะนะ เหมือนกับปิดทองหลังพระ เดี๋ยวนี้มีคนที่รู้มาเยี่ยมผู้ป่วยโรค เอดส์ประมาณ ๓๐๐ คนต่อเดือน แต่เราก็

เงียบๆ ไม่ได้พูดอะไรมากมาย เราท�ำแบบ นี้ สอนหนังสือเด็กประมาณ ๓,๕๐๐ คน ต่อวัน มันเยอะนะ แล้วตอนนี้มีโรงเรียน เป็นกระต๊อบในสลัม ซึ่งผิดกฏหมาย ต้อง มี ๑ ตารางเมตรต่อ ๑ คน ต้องมีห้องน�้ำ ส�ำหรับอันนี้อันนั้น ก็มันอยู่ในสลัม มีข้อ จ�ำกัด เ ด็ ก ที่ นี่ มี วี ร ก ร ร ม แ ส บ ๆ กั บ ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า งไหม ? เคยมี รั ฐ มนตรี ส าธารณสุ ข จาก สหรัฐอเมริกามาเลี้ยงไอติมกับเด็ก แล้ว เด็ ก ก็ ถ าม “เอาแปรงสี ฟ ั น มารึ เ ปล่ า เพราะว่ า หลั ง จากกิ น ไอติ ม นะ ยู ต ้ อ ง แปรงฟั น ” แบบนี้ แ หละ ใช้ ไ ด้ เป็ น ตัวอย่างที่ดี (หัวเราะ) โรงเรี ย นของศู น ย์ เ มอร์ ซี่ (รร. ยานุ ส คอร์ ซั ค ) รั บ เด็ ก ประเภท ไหน ? เด็กส่วนใหญ่ก็คือ มีญาติ มีพ่อ

41

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

มีแม่ อยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย แต่ไม่มีเงินส่ง ไปเรียนที่อื่น เขาก็จะส่งมาที่นี่ อย่างของ เรา เริ่มต้นเลยคือเป็นโรงเรียนวันละหนึ่ง บาท จากที่ใกล้ๆ โรงหมู แล้วหลังจากนั้น ก็คือ ผู้ปกครองที่มีเงินเขาอยากช่วยมาก ขึ้นเพิ่มเป็นวันละห้าบาท แล้วตอนนี้เป็น สิบบาท ยี่สิบบาท แล้วแต่ก�ำลังทรัพย์ของ ผู้ปกครอง ถ้าไม่มีเงินเราก็ให้มาโรงเรียน หลักๆ ก็คือต้องมาโรงเรียน ไม่ว่ายังไง มี เงินหรือไม่มีเงินอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องมา โรงเรียน โรงเรี ย นยานุ ส คอร์ ซั ค มี กั น ประมาณ ๓๕๐ คน เป็นโรงเรียนใหญ่ ที่ สุ ด ที่ เรามี เป็ น ระดั บ อนุ บ าล ตั้ ง แต่ ๒ ขวบครึ่ง ถึง ๖ ขวบ หลังจากนั้นผู้ ปกครองจะพาไปเรี ย นที่ อื่ น แต่ ถ ้ า เขา ไม่มีเงินเราก็มีโปรแกรมให้ทุนการศึกษา แก่คนในชุมชน ซึ่งตอนนี้มีอยู่ ๖๐๐ คน ที่อยู่ในชุมชนของเรา และหน้าที่ของเรา ก็คือหาสปอนเซอร์มาสนับสนุนค่าเรียน ๘,๐๐๐ บาท ต่อคน/ต่อปี


เราคิ ด กฎใหม่ ห ลายอย่ า ง แต่ เ ราไม่ ไ ด้ ท� ำ เพื่ อ ตั ว เอง ไม่ ไ ด้ ท� ำ เพื่ อ ส่ ว นตั ว ไม่ ไ ด้ ท� ำ เพื่ อ ได้ ก� ำ ไร ที่ อ่ื น สถานที่ มั น ไม่ เ พี ย งพอ ต้ อ งมี อ ย่ า งนี้ ต้ อ งมี อ ย่ า งนั้ น แต่ ที่ นี่ เราไม่ ต ้ อ งไปท� ำ แล้ ว แต่ ค นจะให้ เรามี อ ยู ่ เ ท่ า ไหนเราก็ โอเค

42 IS AM ARE www.fosef.org


พื้ น ฐานเด็ ก ที่ เ ข้ า มาเรี ย นที่ นี่ เ ป็ น ยั ง ไง ? คุณครูของที่นี่มีประสบการณ์สอนมา ๑๐ ปีขึ้นไป ที่นี่ เป็นโรงเรียนส�ำหรับเด็กที่ไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนในระบบ ได้ ปัญหาของเด็กจะแตกต่างกัน บางคนไม่มีใบเกิด บางคนเรียน ไม่ต่อเนื่อง เกิดจากอารมณ์รุนแรง หรือบางคนบกพร่องทาง สมองด้วย ปัจจุบันนี้ นอกจากเราจะสอนคนไทยแล้ว เรายังสอน เด็กต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นเด็ก กัมพูชา พม่า ลาว จะมีนักศึกษามา ช่วยเหลือบ้างแต่จะเป็นส่วนน้อย ในปีนี้มีมาแค่กลุ่มเดียว จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะโรงเรียนของเราไม่ใช่โรงเรียน แบบเปิด หรือเป็นโรงเรียนที่มาสัมผัสแล้วบอกต่อ อย่างที่นี่คือนอกจากจะสอนวิชาทั่วไป เช่น อ่าน เขียน แล้ว ยังมีการสอนท�ำขนม สอนวิชาชีพต่างๆ อย่างเช่น ช่วงเช้าๆ น้องๆ จะตั้งร้านขายกาแฟ และท�ำขนมขาย เด็กกลุ่มนี้ค่อนข้าง จะไปเรียนต่อในระบบได้ยากเราจึงต้องเสริมวิชาชีพเพื่อที่เขาจะ สามารถไปใช้ชีวิตประจ�ำวันได้

ท� ำ ไมเลื อ กมาใช้ ชี วิ ต ช่ ว ยเหลื อ คนอื่ น แบบนี้ ? ก็คนอื่นเขาช่วยผมมากกว่า ผมคิดแบบนี้นะ ผมไม่ได้ เป็นใหญ่เป็นโต ผมไม่ได้เป็นอะไรในโลกนี้นะ ก็แค่คนธรรมดา แล้วก็มีบุญที่ชาวบ้านเขายอมรับเรา ถ้าชาวบ้านรักเรานี่เป็น บุญ เป็นเกียรติสูงสุดที่จะได้ ไม่ใช่จะเอาโล่ เอานี่ เอานั่น เขา รักเรา เราก็รักเขา อันนี้เป็นพลัง แล้วเราจะเอาเกียรติมากกว่า นี้หรือ มันไม่ใช่ แต่ เ ดิ ม พื้ น ฐานชี วิ ต เป็ น อย่ า งไร ? ทีแรกก็เป็นเด็กที่ยากจนเหมือนกันนะ แล้วก็มีบุญมา เป็นบาทหลวง แล้วเราก็เข้าไปอยู่ในโรงหมู คนที่เป็นชาวคริสต์ รวยๆ ชาวพุทธดีๆ ชาวอิสลามดีๆ จะไม่ทานหมู ผมใช้เวลา เกือบสองปี กว่าชุมชนจะอนุญาตให้ผมเข้าไป ไม่ใช่กูใหญ่โต กูเป็นบาทหลวง ไม่ ไปเยี่ยมเขาก่อนประมาณสองปี เทียวไป เยี่ยมจนเขาไว้ใจ แล้วก็รู้จักกัน แล้วก็ได้รู้จักกับพระภิกษุที่ตาย ไปแล้ว ท่านเป็นคนที่มุ่งมั่น เราเทียวไปจนท่านยอมรับ หลัง จากไม่ไว้ใจผมมายี่สิบกว่าปีนะ จนท่านเห็นว่าเราไม่ได้ท�ำผิด กับชาวพุทธ

ผู ้ ป กครองในชุ ม ชนคลองเตยสนั บ สนุ น ให้ บุ ต รหลาน มาเรี ย นมากน้ อ ยแค่ ไ หน ? ที่นี่เปิดมาปีนี้ครบ ๔๕ ปี ในวันที่ ๑๑ มีนาคม มีสมาชิก เยอะ เนื่องจากเด็กในชุมชนเยอะ และเราต้องการจะช่วยเหลือ เด็กในชุมชน เราจึงต้องช่วยเหลือพ่อแม่เขาด้วย เพราะพ่อ แม่ต้องการให้ลูกอยู่กับเขาเพื่อที่จะช่วยเหลือเรื่องอื่น ในสมัย ก่อนก็จะมีการให้ออกไปขายของ เพราะไม่อยากให้มาโรงเรียน แล้วเราเข้าไปขอเขาว่าให้ส่งลูกมาที่โรงเรียนนะ เขาก็จะปฏิเสธ ว่า ไม่มีเงิน ไม่อยากให้มา สุดท้ายเราก็ช่วยเหลือครอบครัว ด้ ว ย ครอบครัว ขาดแคลนอะไร ถ้าไม่มีงานเราก็ จ ะช่ ว ยเขา หางานที่สามารถท�ำได้ ส่วนใหญ่จะท�ำงานในท่าเรือ พอช่วย เหลือครอบครัว ครอบครัวเขาก็จะไม่มีภาระ เขาก็จะส่งลูกมา ที่โรงเรียน ลูกไม่มีเงินก็ให้มาโรงเรียน

อายุ ๗๗ แล้ ว ไม่ อ ยากพั ก บ้ า งหรื อ ? ก็มีความสุขในเรื่องนี้ ไม่รู้จะไปท�ำอะไร เราเพียงแค่ออก ความคิดอะไรต่างๆ เช่น ในที่ประชุมนี้ เขาไม่กล้า ฉะนั้นเราต้อง ให้เจ้าหน้าที่ของเราต้องกล้า กระตุ้นเขา นอกนั้นก็โอเค เคยถู ก อิ ท ธิ พ ลรั ง แกบ้ า งไหม ? เรามีนักสิทธิเด็ก เรามีทนายความ และเรารู้จักหลายๆ คน แม้แต่คณะกรรมการหมู่บ้าน ชาวบ้าน ไม่มีปัญหา แต่ ถ้าต้องการคนก็เอาเด็กจากโรงหมูก็ได้ (หัวเราะ) เด็กจากใต้ สะพานพุทธฯ ก็ได้ เราไม่เล่น แต่ถ้าอยู่ๆ มีคนท�ำร้ายเด็กเรา หรือคนของเรานะ เราไม่ยอม

43

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


เคยมีครั้งหนึ่งนะที่เราพาเด็กจากพัทยาซึ่งโดนละเมิด มากทีเดียว พอแก๊งที่พัทยามาตามที่นี่นะ เขาโวยวายมึงเอาเด็ก ของเรามาท�ำไม เสร็จแล้วมีเด็กประมาณยี่สิบคนของเรามาจาก โรงหมู โรงควาย บอกที่นี่คือที่ของเรานะ นี่ไม่ใช่ถิ่นของมึงนะ มึง กลับไปได้เลย (หัวเราะ) ปกติเราจะไม่เล่น ถ้าไม่จ�ำเป็น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ส� ำ หรั บ เด็ ก ในโรงเรี ย นของศู น ย์ เ มอร์ ซี่ คื อ อะไร ? ห้องน�้ำส�ำคัญที่สุด ห้องน�้ำต้องปลอดภัย ประตูต้อง มองเห็นจากด้านบนได้ และเปิดปิดได้ตลอด เพราะจะมีผู้ใหญ่ เข้ามาท�ำร้ายเด็กเกี่ยวกับเรื่องเพศตลอด มีการละเมิดตลอด ห้องน�้ำแบบนี้นั่งไปแล้วจะไม่มีใครมองเห็น ในทางเดียวกันก็จะ เจอค� ำ สบประมาทบ้ า งไหม ? ส่วนมากก็ไม่ เราต้องยิ้ม ปลอดภัย เด็กๆ เข้าไปก็จะท�ำธุระของเขา แต่ถ้าเรียกร้องหรือมี ปัญหาอะไรจะเห็นได้ทันที เราคิดกฎใหม่หลายอย่าง แต่เราไม่ได้ท�ำเพื่อตัวเอง ไม่ ๗๗ ปี ที่ ผ ่ า นมา เป็ น ยั ง ไงบ้ า ง ? ก็มีความสุขในชีวิต แล้วก็มีความสุขที่เป็นบาทหลวง ถ้า ได้ท�ำเพื่อส่วนตัว ไม่ได้ท�ำเพื่อได้ก�ำไร ที่อื่นสถานที่มันไม่เพียง พอ ต้องมีอย่างนี้ ต้องมีอย่างนั้น แต่ที่นี่เราไม่ต้องไปท�ำ แล้ว มีลูกเต้าก็ต้องเรียนมหาวิทยาลัย ก็ต้องมีนี่มีนั่น แต่ทีนี้เราอยู่ คนเดียวก็โอเค เช่นที่อยู่ในโรงหมู ๓๐ ปี อยู่คนเดียวได้ อยู่บน แต่คนจะให้ เรามีอยู่เท่าไหนเราก็โอเค คอกหมูได้ แต่ถ้ามีเมียมีลูกแล้ว เราจะเชิญผู้หญิงดีๆ หรือผู้หญิง ที่ไหนเขาจะเข้าไปอยู่กับเราในคอกหมูได้ ฉะนั้น อยู่คนเดียวมัน ก็ดี ตั้งแต่ย้ายมาที่เมอร์ซี่ยังไม่ได้ตรวจสุขภาพด้วย อยู่กับหมู แล้วสุขภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ฝากอะไรถึ ง ผู ้ อ ่ า นหน่ อ ย ก็ให้ท�ำความดี เป็นคนดี แค่นั้นแหละ. ตลอดระยะเวลาที่คุณพ่อโจให้สัมภาษณ์ที่ระเบียงหน้า ศูนย์เมอร์ซี่ เขาจะคอยทักทายเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่มาขอความ ช่วยเหลือจากศูนย์ฯ ตลอดเวลา เราจะได้ยินค�ำว่า “วันนี้เป็น ยังไงบ้าง” “ยายสบายดีไหม วันนี้มีอะไร” “เธออ้วนขึ้นรึ เปล่า” ฯลฯ ภาพของฝรั่งร่างใหญ่ใจดีที่พูดไทยชัดบ้าง ไม่ชัด บ้าง เป็นบุคลิกที่น่ารักส�ำหรับผู้พบเห็น คุณยายท่านหนึ่งถึง กับร้องไห้เมื่อเจอหน้าคุณพ่อโจ เราไม่รู้หรอกว่าหล่อนซาบซึ้ง อะไรในตัวเขาเป็นพิเศษ รู้แต่ว่าเขาช่วยเหลือผู้ยากไร้มาตลอด ระยะเวลา ๔๕ ปี “คุณพ่อโจคะ ดิฉันจะยกบ้านที่อยู่ให้คุณพ่อโจเอาไป ท�ำประโยชน์อะไรก็ได้ ดิฉันจะเอาทะเบียนบ้านมาฝากไว้ที่นี่ ลูกชายดิฉันมันติดยาหนัก มันจะขอเอาไปขายอย่างเดียว” น�้ำตาของคุณยายที่ได้รับการช่วยเหลือมาตลอดจากศูนย์เมอร์ ซี่ไหลอาบแก้ม ท่ามกลางใบหน้ายิ้มแย้มปิติของคุณพ่อโจ

44 IS AM ARE www.fosef.org


45

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ

46 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

47

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


48 IS AM ARE www.fosef.org


49

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


“ชี วิตคู่” “เรี ย นอาจารย์ อ รอนงค์ ที่ นั บ ถื อ ” ดิ ฉั น และสามี แ ต่ ง งานอยู ่ กิ น กั น มา ๓๘ ปี ค ่ ะ สามี รั บ ราชการเป็ น หั ว หน้ า หน่ ว ยงานแห่ ง หนึ่ ง ทาง ภาคอิ ส าน เกษี ย นมาได้ ก ว่ า ๕ ปี แ ล้ ว ค่ ะ ดิ ฉั น อายุ ๖๒ ปี บั้ น ปลายของชี วิ ต ก็ ไ ม่ เ คยคิ ด มาก่ อ นว่ า จะ เกิ ด ปั ญ หา และทุ ก ข์ ท รมานใจมากคุ ณ สามี มี ภ รรยาอี ก คนอายุ อ ่ อ นกว่ า สามี ดิ ฉั น กว่ า ๔๐ ปี

50 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่องใจ

หล่อนคลอดลูกได้ประมาณ ๒ เดือนสามีเขาก็ทิ้งไป ทราบว่าสามีดิฉันเข้าไปปลอบโยนและพาไปเที่ยวยังที่ต่าง ๆ ต่อ มาก็มีอะไรกันจนเกือบปีแล้ว ดิฉันและลูกขอร้องให้สามีออกไป อยู่กับผู้หญิงคนใหม่ เขาไม่ยอมไป ลูกหญิง-ชายของดิฉันเรียน จบปริญญาโททั้งคู่ มีหลานแล้วค่ะ ขณะนี้ดิฉันเจ็บช�้ำน�้ำใจมาก ร้องไห้ทุกครั้งที่สามีไปหา ผู้หญิงคนนั้น(ที่อิสาน) ทุกเดือนประมาณ ๗-๘ วัน ดิฉันก็เลย แยกบ้านมาอยู่ล�ำพัง ภายในรั้วเดียวกัน ไม่พูดกัน อาจารย์ได้ รับทราบปัญหามามากมาย คงจะมีอะไรแนะน�ำดิฉันได้ นอกจาก สวดมนต์ ท�ำใจ รอเวลา คือท�ำมาทุกอย่างก็ยังไม่หายทุกข์ใจค่ะ ขณะนี้เลี้ยงหลานวัย ๑๐ เดือน เวลาเหนื่อยและเบื่อ กับปัญหา ชีวิต ก็จะร้องไห้เหมือนสติแตก เป็นอย่างนี้มาเกือบปีแล้วค่ะ คง ต้องกราบขอให้อาจารย์ช่วยแนะน�ำด้วยนะคะ ๑.อาจารย์มีวิธีไหนบ้างคะที่จะช่วยดับทุกข์ของดิฉันให้ หมดไปโดยเร็ว ๒.คิดว่าโลกนี้ช่างไม่ยุติธรรม ท�ำไมผู้ชายถึงมีแต่ความ สุข จะท�ำอย่างไรให้เขาได้รับความเจ็บช�้ำน�้ำใจเหมือนเราได้บ้าง ๓.กว่าชีวิตจะมาถึง ๓๘ ปี ก็ล�ำบากทุกข์ยากกันมาตลอด พยายามคิดว่าไม่เป็นไร “เรือล่มเมื่อจอด” เราได้ขึ้นฝั่งแล้ว “ตาบอดเมื่อแก่” ก็ไม่เป็นไรเพราะเห็นอะไรมาแยะแล้ว แต่ จะท�ำอย่างไรดีคะ ขณะนี้สามีไม่รักแล้วค่ะ นอกจากหลับแล้ว ไม่ตื่นอีกเลย อาจารย์ช่วยแนะน�ำด้วยนะคะ คิดทบทวนมาหลายวัน ทั้ง ๆ ที่เกรงใจอาจารย์เหลือเกิน แต่เพราะขณะนี้ชีวิตมันมืดมนไปหมดไม่ทราบจะพูดกับใคร ก็คง ต้องขอพึ่งนักจิตบ�ำบัดอย่างอาจารย์ช่วยนะคะ นี่ก็เกือบปีแล้ว แทนที่ความทุกข์ ความเจ็บช�้ำน�้ำใจจะลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น อาจารย์กรุณาช่วยด้วยนะคะ”

“ความรั ก ”เป็ น เรื่ อ งของการเรี ย นรู ้ ที่ จ ะ “ให้ ” เมื่ อ เห็ น คนที่ เ รารั ก เป็ น สุ ข เราก็ สุ ข ด้ ว ย และการให้ ใ ด ๆ ก็ ไ ม่ มี ค ่ า เท่ า กั บ การ “ให้ อ ภั ย ” อภั ย ให้ ใ นสิ่ ง ที่ เ ขาได้ ท� ำ ร้ า ยเราโดยไม่ ตั้ ง ใจ ปั ญ หานี้ ค งจะไม่ ใช่ เรื่ อ งใหม่ ที่ ผู ้ ห ญิ ง ไทยทุ ก ยุ ค ทุ ก สมัยต้องเผชิญ เพราะกฎหมายไทยยังไม่เอื้อให้ผู้หญิงได้รับ การปกป้องอย่างยุติธรรม เมื่อสามีทอดทิ้งหรือไม่รับผิดชอบ ครอบครัว ฝ่ายหญิงหรือภรรยาแม้จะจดทะเบียนสมรสและอยู่ กินมานานขนาดไหนดังในกรณีนี้ หรือมีเรื่องฟ้องร้องให้ฝ่ายชาย จ่ายค่าเลี้ยงดูส่งเสียภรรยาและลูก แต่หากฝ่ายชายไม่ปฏิบัติ ตามค�ำสั่งศาล ก็ไม่มีใครหรือกฎหมายฉบับไหนมาช่วยจัดการ ลงโทษฝ่ายชายได้ ผู้หญิงต้องเผชิญสถานการณ์ตามล�ำพัง ที่ ส�ำคัญในสังคมไทยที่ยังให้ความส�ำคัญกับผู้ชายในฐานะผู้น�ำ ครอบครัว ผู้น�ำชุมชน หรือคาดหวังว่า ผู้ชายจะต้องดูแลปกป้อง การด�ำเนินชีวิตในครอบครัวให้ภรรยาและบุตรได้ ผู้หญิงเป็นผู้ ตามแม้จะมีงานการของตัวเองท�ำ ทั้งยังต้องดูแลรับผิดชอบงาน

51

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


ในบ้านและอ�ำนวยความสะดวกให้กับทุกคนในครอบครัว หาก หญิงใดหลีกเลี่ยงหรือไม่ปฏิบัติตามความคาดหวัง ก็จะถูกมอง ว่าบกพร่องหน้าที่ของการเป็นภรรยาและแม่ที่ดี หรือหากหญิง ใดไปเกี่ยวข้องเชิงชู้สาวกับชายที่มิใช่สามี เธอก็จะถูกประณาม ว่ามีชู้ หรือประพฤติมิชอบ อันจะน�ำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อ เสียงและศักดิ์ศรีของครอบครัว แต่หากฝ่ายชายประพฤติมิชอบ ดังกล่าว ผู้คนส่วนใหญ่จะมองข้ามหรือพิจารณาว่าเป็นเรื่อง ธรรมดาส�ำหรับผู้ชาย! นั่นคือสังคมไทยสามารถยอมรับความ บกพร่องผิดพลาดของฝ่ายชายได้มากกว่าผู้หญิงโดยเฉพาะใน เรื่องชู้สาว ด้วยทัศนคติและความเชื่อในสังคมไทยดังกล่าว ท�ำให้ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องด�ำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง โดย เฉพาะการเลื อ กคู ่ ค รองที่ ดู จ ะมี ค วามเสี่ ย งสู ง จากพฤติ ก รรม มากชู้หลายเมียของชายไทย ดังในกรณีของคุณผู้หญิงท่านนี้ ซึ่ง ท่านบอกว่าได้ใช้ชีวิตคู่กับสามีมากว่า ๓๘ ปี ตั้งแต่ชีวิตเริ่มต้น ด้วยความยากจน เมื่อสามีออกจากบ้านไปท�ำงาน ภรรยาต้อง จัดการดูแลเรื่องการกินอยู่ พาลูก ๆ ไปส่งโรงเรียน ช่วงที่ลูก อยู่โรงเรียนแม่ก็ต้องท�ำความสะอาดบ้านเรือน รีดเสื้อผ้าของทุก คน ได้เวลาไปรับลูกกลับ ช่วยสอนการบ้านและท�ำอาหารเย็น ไว้ส�ำหรับทุกคนตอนเย็น แน่นอนหากชายใดไม่มีครอบครัวและ ต้องท�ำงานย่อมหลีกเลี่ยงหน้าที่เหล่านี้ไม่พ้น ซึ่งเป็นการยาก

“ ก า ร ที่ ผู ้ ห ญิ ง ค น ห นึ่ ง ตั ด สิ น ใ จ แ ต ่ ง ง า น อ ยู ่ กิ น กั บ สามี และทุ ่ ม เทวั น เวลาที่ เ หนื่ อ ยยากเพื่ อ สร้ า ง ครอบครั ว ด้ ว ยความรั ก ด้ ว ยความเชื่ อ มั่ น ศรั ท ธา และที่ ส� ำ คั ญ คื อ ด้ ว ยความหวั ง ว่ า สุ ด ท้ า ยบั้ น ปลาย ชี วิ ต ของเธอจะมี ค วามสุ ข สงบ” จะสร้างความก้าวหน้าโดยไม่มีคนที่บ้านคอยส่งเสริมสนับสนุน เป็นก�ำลังใจและให้ความช่วยเหลือ การที่ ผู ้ ห ญิ ง คนหนึ่ ง ตั ด สิ น ใจแต่ ง งานอยู ่ กิ น กั บ สามี และทุ่มเทวันเวลาที่เหนื่อยยากเพื่อสร้างครอบครัวด้วยความ รัก ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธา และที่ส�ำคัญคือด้วยความหวังว่า สุดท้ายบั้นปลายชีวิตของเธอจะมีความสุขสงบ หลังจากความ เหนื่อยยากในการต่อสู้กับชีวิตอย่างเหน็ดเหนื่อย และหากชีวิต คือสงคราม เธอและสามีก็ได้ผ่านการต่อสู้ในศึกสงครามมาอย่าง โชกโชน และพบว่า “เราทั้งสองมีชัย” ชีวิตครอบครัวมั่นคง ลูก ๆ เรียนจบการศึกษาระดับสูงมีรางวัลชีวิตคือหลานเล็ก ๆ ไว้หล่อเลี้ยงหัวใจ ส่วนเธอในฐานะของคนที่เป็นแม่และเป็น ภรรยา ความทุกข์ยากล�ำบากในการด�ำเนินชีวิตไม่ต่างจากสามี และอาจจะต้องมากกว่าเพราะเธอท�ำหลายหน้าที่ ต้องเก็บราย ละเอียดมากมาย ทุกชีวิตในครอบครัวขึ้นอยู่กับเธอผู้เป็นแม่เป็น

52 IS AM ARE www.fosef.org


หลัก เพราะฉะนั้นย่อมเป็นเรื่องปกติหาก เธอจะหวัง จะรอคอยวันเวลาที่เธอจะได้ ลงนั่งพักผ่อน ได้ก�ำลังใจและความเอื้อ อาทรจากชายที่เธอรักมาตลอดชีวิต เธอ หวังว่าบั้นปลายชีวิตเขาจะยังซื่อสัตย์ต่อ เธอเหมือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับที่เธอผูก จิตมั่นคงต่อเขาเสมอมา เธอไม่เคยคิดว่า เขาจะเปลี่ยนใจไปเป็นอื่น! ดู เ หมื อ นความหวั ง ความสุ ข ความภาคภู มิ ใ จที่ เ ก็ บ สะสมไว้ ต ลอด หลายปีพร้อม ๆ กับความทุกข์ยากของ การด�ำเนินชีวิต ที่เธอไม่เคยคาดคิดมา ก่อน ว่าสามีจะมีผู้หญิงใหม่วัยอ่อนกว่า ๔๐ ปี และรั บ เลี้ ย งดู ลู ก อ่ อ นของเธอ เหมือนกับเป็นลูกของเขาเอง สามีของเธอ ไม่ได้มีความรังเกียจ ไม่ได้ค�ำนึงถึงความ แตกต่างใด ๆ เขาเพียงต้องการจะท�ำให้ สองคนแม่ลูกนั่นมีความสุข! แล้วเธอล่ะ เขาคิดอย่างไร? ผู ้ ห ญิ ง ห ล า ย ค น ที่ ผ ่ า น ประสบการณ์ เช่ น เดี ย วกั บ คุ ณ ผู ้ ห ญิ ง ท่ า นนี้ บอกเล่ า ถึ ง ความรู ้ สึ ก ของเธอ ว่ า “มั น เหมื อ นเราก� ำ ลั ง ปี น ภู เขาสู ง ชัน และเมื่อถึงหน้าผาแห่งนั้น ทันใด เราก็ผลัดหงายหลังร่วงหล่นลงสู่ผืนดิน ร่างกายกระแทกพื้น เรารู้ตัวเลยว่า ทั้ง ร่ า งกายและหั ว ใจของเราแตกสลาย เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มันแหลกละเอียด เกินกว่าจะหยิบขึ้นมาปะติดปะต่อกลับ

คืนได้เหมือนเดิม” ความสูญเสียครั้งนี้ ของคุ ณ ผู ้ ห ญิ ง ท่ า นนี้ ก็ ค งไม่ ต ่ า งกั น นั ก แต่ ห ากจะมองในฐานะของคนที่ ผ ่ า น ชีวิตมามากกว่าหกสิบปี ผ่านร้อนผ่าน หนาวมาจนนับครั้งไม่ถ้วน เราคงจ�ำได้ ว่ า พุ ท ธศาสนาสอนให้ เราได้ ต ระหนั ก ว่า “ชีวิตคือความเปลี่ยนแปลง และ ความเปลี่ยนแปลงคือการเจริญเติบโต” เพราะฉะนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ย่อม เป็ น ธรรมดาโลก หากเราไปยึ ด ติ ด ไม่ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง จิตใจเราย่อม

มีแต่ความทุกข์ จริงอยู่นี่เป็นความผิดหวัง ที่ “เธอ” ไม่ควรได้รับ เมื่อนับวันเวลา แห่ ง ความทุ ก ข์ ย ากที่ เ ธอได้ล งทุนไปใน การแต่งงานอยู่กินกับสามีจนมีลูกหลาน ถึ ง วั น นี้ แต่ ส ามี ข องเธอเองก็ ค งไม่ ไ ด้ วางแผนหรือคาดคิดมาก่อนว่า เขาจะได้ พบผู้หญิงอ่อนวัยที่ปลายอุโมงค์ของชีวิต และไม่ใช่ว่าเขาจะหมดรักภรรยาและลูก หลาน แต่ด้วยกิเลสและตัณหา หรือว่า บุญกรรมน�ำชักให้เขาได้พบกับแม่ลูกคู่ นี้จนมีความปรารถนาจะส่งเสียดูแลทั้ง สองคนให้อยู่รอดปลอดภัย ในขณะที่เขา อาจมองว่า ตัวเขาเองก็ได้ท�ำให้ภรรยามี ทุกอย่างที่ต้องการ เป็นความมั่นคงของ ชีวิต โดยเฉพาะชีวิตที่มีทั้งลูกและหลาน พร้ อ มเพรี ย งแล้ ว หากเขาจะต้ อ งการ รางวัลส่วนตัวบ้าง เหมือนของหวานชิ้น เล็ก ๆ หลังอาหารมื้อเย็น คงไม่จ�ำเป็น ต้ อ งขออนุ ญ าตหรื อ บอกกล่ า วภรรยา และลูก! แน่ น อน....บนเส้ น ทางของการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ แ ม้ จ ะใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น อยู ่

“มั น เหมื อ นเราก� ำ ลั ง ปี น ภู เ ขาสู ง ชั น และเมื่ อ ถึ ง หน้ า ผาแห่ ง นั้ น ทั น ใด เราก็ ผ ลั ด หงายหลั ง ร่ ว งหล่ น ลงสู ่ ผื น ดิ น ร่ า งกายกระแทกพื้ น เรา รู ้ ตั ว เลยว่ า ทั้ ง ร่ า งกายและหั ว ใจของเราแตกสลายเป็ น ชิ้ น เล็ ก ชิ้ น น้ อ ย มั น แหลกละเอี ย ดเกิ น กว่ า จะหยิ บ ขึ้ น มาปะติ ด ปะต่ อ กลั บ คื น ได้ เหมื อ นเดิ ม ”

53

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


บ้านเดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน แต่เส้นทางที่ยุ่งยากด้วยภาระ หน้าที่ จนท�ำให้สองสามีภรรยาเหมือนต่างคนต่างอยู่ต่างคน ต่างเดินต่างเวลาและห่างเหิน เธอจึงเรียกร้องที่จะได้ช่วงแห่ง วันเวลาที่อาจตกหายหรือก้าวข้ามไปให้หวนคืนมา ทว่า.....ฝ่าย ภรรยาก็ต้องผิดหวัง เมื่อสามีเปลี่ยนไป หรืออย่างน้อยเขาก็ได้ ดึงผู้หญิงอีกคนหนึ่งมาร่วมเดินทางและเติมเต็มความสัมพันธ์ที่ ขาดหายไปในชีวิต แทนที่จะเป็นเธอ ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ภรรยา ผู้ร่วมทุกข์ ร่วมสุข” กันมากว่า ๓๘ ปี และท่ า มกลางความทุ ก ข์ จ ากความสู ญ เสี ย ครั้ ง นี้ นอกจากเธอยังท�ำใจยอมรับไม่ได้แล้ว ยังเป็นความโกรธ อาฆาต พยาบาท และความอิจฉาที่สามีสามารถมีความสุขได้โดยไม่มี เธอ เพราะฉะนั้น อารมณ์และความรู้สึกของเธอจึงด�ำดิ่งลง สู่ความมืดมิดมากกว่าความสูญเสียทั่วไป เธอรู้สึกว่าผลจาก การกระท�ำของเขา หรือการที่เขาเลือกจะมีความสุขกับภรรยา วัยเด็กของเขา เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมส�ำหรับเธอ จนเธออยากให้ สามีได้รับความเจ็บช�้ำเช่นเดียวกับเธอ คุณผู้หญิงท่านนี้ต้องการให้ผู้เขียนช่วยดับทุกข์ของเธอ ในฐานะของนักจิตบ�ำบัดซึ่งสามารถท�ำได้ด้วยความร่วมมือของ ผู้มีปัญหา คือตัวเธอ การช่วยให้เธอได้ทบทวน มองเห็น และ ตระหนักในคุณค่าของ “ความรัก” ที่เธอมีต่อสามีเมื่อเริ่มรู้จัก กันใหม่ ๆ จนน�ำไปสู่การผูกสมัครรักใคร่และตัดสินใจใช้ชีวิต

คู่ร่วมกัน ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ยากจนเริ่มต้นรับราชการ ใหม่ ๆ ค�ำถามคือหากเธอสามารถเดินย้อนกลับไปวัยเริ่มต้น อีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่มองเห็นความทุกข์ยากที่รออยู่ในอนาคตขณะ นี้แล้ว เธอจะยังรักและต้องการแต่งงานกับเขาอยู่หรือไม่ เธอ จะเลือกทางนี้ไหม? แน่นอน..หากเธอมองเห็นและรับรู้แล้วว่า ผลจากการ ตัดสินใจของเธอในการใช้ชีวิตคู่กับสามี มีความเหนื่อยยาก แสนเข็ญรออยู่ และสุดท้ายเขาก็จะมีรักใหม่กับคนใหม่เพิ่ม ขึ้นมา เธออาจตอบว่าเธอคงเลือกจะไม่แต่งงานกับเขาเพราะ สุดท้ายคือการเปลี่ยนใจ คือความทุกข์ใจอันมากมายที่รอเธอ อยู่ถึงขณะนี้ที่เธอแทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อยากหลับไปเลย เฉย ๆ .....แต่เธอลืมไปหรือเปล่าว่า หากเธอไม่เลือกแต่งงานกับ สามีหรือตัดใจไม่เอาชีวิตคู่กับเขา เธอก็ต้องแลกด้วยลูกสองคน และหลานอีกหลายคน ที่น่ารักและรักแม่รักย่ายายของเขามาก เธอจะท�ำใจเลิกรักและเลิกที่จะมีลูกหลานกับสามีได้หรือ? เพียง เพราะเธอทนความบาดเจ็บสูญเสียในครั้งนี้ไม่ได้ เธอจึงอาจต้อง แลกด้วยคนใกล้อีกหลายคน แน่นอน...เพราะมีสามี จึงมีลูก สองคนนี้ จึงมีหลานเหล่านี้ จึงมีความทุกข์ที่ผ่านมาและความ สุขอีกมากมายระหว่างทางเดินของชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนั้น สัมพันธ์กันตามลิขิตแห่งกรรมที่เราจะ เลือกรับเอาเฉพาะเรื่องดี ๆ มีแต่ความสมหวังคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นจากผลแห่งการกระท�ำของเราเองทั้งใน

54 IS AM ARE www.fosef.org


เธออาจต้องลดความรักที่มีต่อเขาให้น้อยลง และหันมาให้ความ รักกับตัวเองให้มากขึ้น หรือรักเขาอย่างที่เขาเป็น และไม่คาด หวังจะให้เขารักตอบอย่างที่เราต้องการ ขอเพียงให้เขาได้ใช้ ชีวิตอย่างมีความสุขกับใครก็ได้ เพียงรู้ว่าจะท�ำให้ชีวิตของเขา มีความสุข เราก็พอใจ (ท�ำได้ไหม?) ที่ส�ำคัญ “ความรัก”เป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะ “ให้” เมื่อเห็นคนที่เรารักเป็นสุขเราก็สุขด้วย และการให้ใด ๆ ก็ไม่มี ค่าเท่ากับการ “ให้อภัย” อภัยให้ในสิ่งที่เขาได้ท�ำร้ายเราโดย ไม่ตั้งใจ การที่สามีเธอไม่ยอมย้ายออกไปอยู่กับภรรยาใหม่ ก็ เพราะเขายังรักยังต้องการภรรยาและลูกหลานที่มีอยู่ เขาอาจ ต้องการเวลาเพียงไม่นานในการจัดการเรื่องราวกับหญิงสาวคน นั้นให้เสร็จสิ้นก่อน ขอเพียงภรรยาเข้าใจ ให้อภัยเขาก็เหมือนให้ อภัยตัวเอง และให้เวลาเขาแก้ไขปัญหา ให้เวลาตัวเองในการ เยียวยาจิตใจ เพื่อตัวเธอและทุกคนในครอบครัวจะได้ก้าวต่อ ไปอย่างเข้มแข็งและมั่นคง อรอนงค์ อินทรจิตร www.hotline.or.th

อดีตชาติและปัจจุบันทั้งนั้น ชีวิตจึงประกอบด้วยเรื่องดีและไม่ ดี มีสมหวังและผิดหวัง เราทุกคนจึงต่างต้องเรียนรู้ในการเผชิญ กับความสมหวังและผิดหวังไปพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นการจะบรรเทาความทุกข์ร้อนเจ็บปวดให้ น้อยลง ก็ต้องเริ่มด้วยการยอมรับความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นไป ตามธรรมชาติ หากที่ผ่านมาเป็นเรื่องของ “กรรมลิขิต” เรา ไม่ได้ลิขิตเอง แต่เมื่อชีวิตด�ำเนินตาม “พรหม” หรือ “กรรม ลิขิต” มาแล้วเราไม่พอใจ เราทุกข์ใจและไม่อยากตกอยู่ใน สภาพนี้ต่อไป เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงด้วยการก�ำหนดชะตา กรรมปัจจุบันและอนาคตต่อไปได้ นั่นคือ “จะใช้ชีวิตต่อไป อย่างไรให้ทุกข์น้อยที่สุด” จะท�ำอย่างไรให้ความเจ็บปวดทั้ง ปวงละลายหายไป..... ที่ผ่านมา เธอตระหนักว่าเพราะ “รักสามีมาก จึงทุกข์ มากเมื่อรู้ว่าเขาเปลี่ยนไป” ... เธอไม่อยากให้เขารักหญิง อื่น นอกจากเธอ แต่เขาก็ยอมรับแล้วว่าเขามีผู้หญิงอีกคน จึง ท�ำให้เธอ/ภรรยาเสียใจทุกข์ใจจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ทั้งที่ วันเวลาแห่งความสงบสุขในช่วงปลายชีวิตได้เริ่มขึ้นแล้ว บางที

55

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


56 IS AM ARE www.fosef.org


57

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


58 IS AM ARE www.fosef.org


59

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


60 IS AM ARE www.fosef.org


61

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


62 IS AM ARE www.fosef.org


63

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


สภาพแวดล้อม

ต�ำบลโนนภิบาล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอ�ำเภอ แกด�ำ ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอประมาณ ๖ กิโลเมตร แบ่ง การปกครองออกเป็น ๑๔ หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูงหรือชาวบ้านเรียกว่า เนิน หรือโนน ลาดลงมาจาก ทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ท�ำให้ทางทิศใต้เป็นที่ราบลุ่มลักษณะ เป็นลูกคลื่น ส่วนทางทิศเหนือเป็นที่ลุ่มและเป็นลูกคลื่นสลับ กับที่ดอน รวมทั้งเป็นที่ตั้งชุมชนพื้นที่ทางเกษตรกรรม มี เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๗,๖๔๓ ไร่ และมีจ�ำนวนประชากร ประมาณเกือบ ๔,๐๐๐ คน จ�ำนวนครัวเรือนประมาณ ๔๐๐ ครัวเรือน ประชากรในต� ำ บลโนนภิ บ าลประกอบอาชี พ เกษตรกรรมเป็นหลักควบคู่กับอาชีพค้าขาย โดยผลผลิต ทางการเกษตรที่ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าว พืชไร่ และพืชสวนครัว นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพรับจ้างและรับราชการ การใช้แรงงานเป็นแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งมาจากแรงงาน ในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลผลิตแรงงานจาก ภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะอพยพย้ายเข้ามารับจ้างทั่วไปหรือค้าขายในกรุงเทพฯ

ความเป็นมา

ในอดีตชาวต�ำบลโนนภิบาลอพยพมาจากบ้านหนองแวงยาว อ�ำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่ง นี้ โดยสามารถแบ่งเป็นช่วงเวลาของพัฒนาการต�ำบลได้ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๕๑๙ ยุ คก่อตัง้ บ้านเรือนและขยายถิ่นฐาน

พ่อใหญ่ขุนศรีภิบาลได้อพยพลูกหลานมาจากบ้านหนองกุงน้อย โดยเห็นว่าพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่จะตั้งบ้าน เรือน จึงได้ตั้งบ้านเรือนและให้ชื่อว่า “บ้านโนนภิบาล” ต่อมาการพัฒนาเริ่มขยายตัวเข้าสู่ชนบท แต่การอพยพย้ายถิ่นฐานของ ประชากรยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น ชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงนั้นยังคงพึ่งพาธรรมชาติเป็น หลัก

พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐ ยุ คการพัฒนาตามนโยบายรัฐ

ชาวบ้านเริ่มขยายพื้นที่ท�ำการเกษตรเนื่องจากมีประชากรเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้น มีบริษัทผลิตยาสูบเข้ามาแนะน�ำส่งเสริมให้ ชาวบ้านปลูกยาสูบ หลังนาข้าว สารเคมีทางการเกษตรเริ่มเข้ามาในชุมชนอย่างมาก นอกจากนี้ยังเริ่มปลูกมันส�ำปะหลัง จนเกิด ปัญหาดินเสื่อมโทรมในเวลาต่อมาในยุคนี้เริ่มมีไฟฟ้าเข้ามาในชุมชน ชาวบ้านจึงมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น

พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๕๑ ยุ คการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น

ในยุคนี้เริ่มมีกระแสการอนุรักษ์กบ เพราะเห็นว่าจ�ำนวนกบลดลง และมีคนภายนอกเข้ามาจับกบในพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จึง เริ่มมีการพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น ต่อมาจึงมีการกระจายเขตอนุรักษ์กบจนครบทุกหมู่บ้าน และในที่สุดก็มีการประกาศให้ต�ำบลโนนภิบาลเป็นต�ำบลอนุรักษ์กบ และมีการจัดงานประจ�ำปีวันอนุรักษ์กบขึ้นทุกปี

64 IS AM ARE www.fosef.org


ทุนต�ำบล

ท้องถิ่นในด้านการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยอาศัยองค์ความรู้ท้อง จากการพั ฒ นาการและความเป็ น มาของต� ำ บล ถิ่นเรื่อง “งานฝีมือพื้นบ้าน” เช่น การเย็บพรมเช็ดเท้า การทอ โนนภิบาล ซึ่งมีสภาพความเป็นชนบท การพัฒนาต่างๆ จึง เสื่อกก การผลิตหมอนฟักทอง การผลิตผ้าห่มและการพัฒนา ผ่านมาทางหน่วยงานภาครัฐ จนเกิดกระบวนการเรียนรู้และ แปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกก เป็นต้น การมีส่วนร่วมในงานพัฒนาร่วมกัน ต้นทุนที่ส�ำคัญซึ่งเป็นปัจจัย ผู้น�ำชุมชน ผู้น�ำที่เป็นทางการได้ให้ความสนใจในการ พื้นฐานของการหลอมรวมให้คนมาท�ำงานพัฒนาชุมชนได้แก่ พัฒนาชุมชน และมีส่วนร่วมกับงานพัฒนาจึงให้การสนับสนุน ทุนทางทักษะอาชีพ แต่เดิมนั้นชาวบ้านนิยมการปลูก และให้ ค วามร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี ส่ ว นผู ้ น� ำ ระดั บ หมู ่ บ ้ า นท� ำ พืชเชิงเดี่ยวคือ ปอ และมันส�ำปะหลัง โดยใช้สารเคมีทางการ หน้าที่รักษาผลประโยชน์ให้กับลูกบ้านของตนเอง ทั้งยังเป็น เกษตรค่อนข้างมาก การท�ำการเกษตรเกือบทุกชนิดต้องพึ่งพา แกนน�ำส�ำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาชุมชน เนื่องจากสามารถ สารเคมี แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง การท�ำการเกษตร เข้ า ใจสภาพบริ บทของชุ มชนที่ มีต ่ อ ตนเองและชุ ม ชนได้เป็น เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ท�ำให้ อย่างดี เกิดการรวมกลุ่มขององค์กรชาวบ้านที่ต้องการสร้างรายได้เสริม เครือข่ายภาคีความร่วมมือ เครือข่ายภาคีที่เข้ามาท�ำงาน นอกเหนือฤดูกาลผลิตทางการเกษตร โดยได้รับการสนับสนุน ในต�ำบลส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทส�ำคัญใน อย่างจริงจังและต่อเนื่องจากองค์กรชาวบ้านที่ต้องการสร้าง การพัฒนาชุมชนร่วมกับผู้น�ำชุมชนและชาวบ้านมาเป็นระยะ รายได้เสริมนอกเหนือฤดูกาลผลิตทางการเกษตร โดยได้รับการ เวลายาวนาน ก่อเกิดความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนา สนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากองค์กรการปกครองส่วน งานในต�ำบลให้เป็นรูปธรรมได้ โดยสนับสนุนส่งเสริมตามความ

65

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


ถนัดในสายงานของตน และความต้องการองค์ความรู้ของคนใน ชุมชนที่ต้องมีการให้สภาพชีวิตที่มีอยู่มีกิน มีรายได้ท�ำให้ชาว บ้านสนใจ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในแต่ละกิจกรรม

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลโนนภิบาลมีประสบการณ์ในงานพัฒนาทางด้าน การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ท้องถิ่น และมีทักษะฝีมือในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์พ้ืนบ้าน โดยมีการประสานงานร่วมกับองค์การบริหาร ส่วนต�ำบล หน่วยงานราชการท้องถิ่น เช่น โรงเรียน และการ ศึกษานอกโรงเรียน จากผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า รูป ธรรมที่เป็นทุนเดิมไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมงานพัฒนา หรือ ศักยภาพของผู้น�ำชุมชน สิ่งเหล่านี้น�ำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันของคนในชุมชน จึงได้เห็นผลส�ำเร็จในเรื่องการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและจัดตั้งกลุ่มทางทักษะอาชีพ เมื่อเข้าสู่โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๔๔ ต�ำบล วิถีพอ เพียงในระยะที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โครงการฯ ได้เข้ามาหนุน เสริมให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ คนในชุมชนให้หันมาสนใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และสร้าง การมีส่วนร่วมกับทุกหน่วยงานที่ด�ำเนินการกับชาวต�ำบลโนนภิ

บาลการด�ำเนินงานต่างๆ ของโครงการฯ จึงเกิดขึ้นภายใต้แนว ความคิดในการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน

กลไกการขับเคลื่อน

กลไกการขับเคลื่อนงานในต�ำบลโนนภิบาลนั้น ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐที่เรียกว่าหน่วยงานในท้อง ถิ่น (อบต. อนามัยและโรงเรียน) เข้ามาเกี่ยวข้อง มีทั้งที่ท�ำงาน กันอย่างใกล้ชิดคอยติดตามสนับสนุนเป็นที่ปรึกษาคอยแนะน�ำ และร่วมวางแผนการด�ำเนินงานให้สอดคล้องกัน คณะกรรมการโครงการฯ มีฐานะบทบาทเป็นแกนหลัก ในการด�ำเนินงานตามหลักการของโครงการฯ ที่เน้นให้ชุมชนมี ส่วนร่วมให้มากที่สุด รวมทั้งคณะกรรมการโครงการฯ ต้องรับ ผิดชอบบริหารจัดการ และด�ำเนินงานโครงการให้เป็นไปตาม แผนต�ำบลวิถพี อเพียงทีไ่ ด้รบั อนุมตั สิ นับสนุนงบประมาณมาด้วย เนื่องจากเป็นผู้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) คณะกรรมการต�ำบลโนนภิบาลมีจ�ำนวน ๓๐ คน โดยมาจากส่วนที่เป็นฝ่ายการปกครอง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนต�ำบล

66 IS AM ARE www.fosef.org


นอกจากนั้นมีการผลักดันให้ครัวเรือนพอเพียงอาสามาเป็น คณะกรรมการโครงการฯ เพิ่มขึ้นทั้งนี้คณะกรรมการได้ ออกแบบโครงสร้างการบริหารจัดการด้วยการแบ่งเป็นฝ่าย ต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเงินบัญชีและฝ่ายติดตาม ประเมินผลและฝ่ายจัดซื้อ/จัดจ้าง เป็นต้น คณะกรรมการโครงการฯ จะนัดหมายประชุมกัน เป็นประจ�ำทุกเดือนมีการสรุปติดตามผลการด�ำเนินงาน และก�ำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรอบเดือนที่ ผ่านมา พร้อมกับวางแผนก�ำหนดกลยุทธ์การด�ำเนินงาน ในเดือนถัดไป โดยใช้หลักปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง นอกจากนี้ คนต้นแบบยังเป็นกลยุทธ์หนึ่งและเป็น นโยบายหลักของโครงการฯ ที่เน้นให้มีคุณสมบัติคือ มีการ ด�ำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายด้วยการพึ่งตนเอง มีการปลูกอยู่ ปลูกกิน ปลูกพืชแบบผสมผสาน ท�ำบัญชีครัวเรือน ใช้ปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน เป็นที่ยอมรับของคนใน ชุมชนและเป็นแบบอย่างให้ครัวเรือนพอเพียงอาสาได้เห็น รูปธรรมจริง จนสามารถน�ำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของคนได้ โดยโครงการฯ ลงพื้นที่ร่วมค้นหาบุคคลในชุมชนที่ มีคุณลักษณะดังกล่าวจากนั้นเจ้าหน้าที่โครงการฯ จะเข้าไป ถอดองค์ความรู้คนต้นแบบ เพื่อน�ำองค์ความรู้มาขยายผล โดยใช้บุคคลต้นแบบเป็นรูปธรรมในการอธิบายรูปแบบ และกรอบแนวทางการพัฒนาครัวเรือนพอเพียงอาสาตาม แผนต�ำบลวิถีพอเพียง วิธีนี้นับว่าช่วยสร้างความเข้าใจกับครัวเรือนพอ เพียงอาสาได้ง่ายกว่าการอธิบายตามหลักทฤษฏี เพราะ จะเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น

การฯ นอกจากนั้นโครงการฯ ยังผลิตจัดท�ำแบบฟอร์มการบันทึก รายการรับจ่ายประจ�ำวัน หรือเรียกว่าสมุดบัญชีครัวเรือน ที่มีการ ปรับปรุงและสะดวกต่อการลงบัญชี น�ำไปแจกจ่ายให้ครัวเรือนอาสา จ�ำนวน ๑๐๐ ครัวเรือน หลังจากที่มอบสมุดบันทึกรายการรับจ่ายประจ�ำวันให้ครัว เรือนพอเพียงอาสาไปแล้ว จะมีคณะกรรมการโครงการฯ ที่รับผิด ชอบแต่ละหมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลออกไปเยี่ยมเยียน ให้ก�ำลังใจ กระตุ้นให้แต่ละครอบครัวท�ำการบันทึกให้เป็นวิถีปฏิบัติ และน�ำตัวเลขที่บันทึกได้มาพิจารณาวางแผนชีวิตครอบครัว ว่าจะ ต้องท�ำอะไรบ้างเพื่อประหยัดรายจ่ายและจะต้องท�ำอะไรบ้างเพื่อ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการปรับให้รายรับ-รายจ่ายสมดุล ภาระหนี้ สินจะค่อยๆ ลดลง โดยมีการติดตามทุกๆ ๓ เดือน ผลที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม คือ ท�ำให้ครัวเรือนพอเพียง อาสารู้รายรับ-รายจ่าย เป็นการวางแผนการใช้เงินของครอบครัวที่ ได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเตือนให้รู้จักประหยัด อดออม รู้คุณค่า ของเงิน

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

ที่ผ่านมา มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาแนะน�ำ อบรม วิธีการจัดท�ำบัญชีครัวเรือนให้กับชาวต�ำบลโนนภิบาล แต่ ชาวบ้านยังไม่ได้ให้ความสนใจที่จะบันทึกอย่างจริงจัง จน กระทั่งโครงการฯ เข้ามา ได้มีการน�ำเสนอการบันทึกบัญชี ครัวเรือนขึ้นมาอีกครั้ง รวมทั้งเป็นนโยบายส�ำคัญที่ก�ำหนด ให้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การปรับ วิธีคิด และเปลี่ยนพฤติกรรมของครัวเรือนพอเพียงอาสาได้ ทางโครงการฯ สนับสนุนกิจกรรมด้านการอบรมให้ความรู้ การบันทึกบัญชีครัวเรือนที่ถูกต้อง โดยใช้วิทยากรภายนอก มาอบรมรวมทั้งพาไปศึกษาดูงานในต�ำบลที่เข้าร่วมโครง

67

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


กลุ่มทอเสื่อจากต้นกก

กลุ่มทอเสื่อจากต้นกกของต�ำบลโนนภิบาลค่อนข้างมีชื่อเสียงอย่างมากเป็นที่รู้จักกันอย่างดี โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทางอบต. โนนภิบาลได้ออกมาจัดประชุมชาวบ้านเพื่อจัดตั้ง กลุ่มอาชีพเสริมให้กับชุมชน โดยให้แต่ละหมู่บ้านเสนอ โครงการขึ้นมาและทาง อบต. สนับสนุนงบประมาณให้ชุมชน จึงเสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มทอเสื่อจากต้นกก เนื่องจากชาวบ้านหลาย คนมีพื้นฐานในการทอผ้ามาก่อนและอยากเริ่มทดลองทอเสื่อ จะได้ไม่ต้องไปซื้อจากข้างนอก เมื่อได้งบประมาณสนับสนุน ทาง กลุ่มจึงน�ำไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์มา โดยในระยะแรกมีสมาชิกกลุ่มจ�ำนวน ๔๕ คน เบื้องต้นในการเริ่มทอเสื่อใช้วิธีการสอนกันเอง ใครมีความรู้อะไร อย่างไร เท่าไหร่ น�ำมาและเปลี่ยนกัน ปรึกษาหารือกัน ช่วยเหลือกันท�ำ ซึ่งทางกลุ่มจะด�ำเนินการทอเสื่อร่วม กันในช่วงสิ้นฤดูการท�ำนา คือ หลังเก็บเกี่ยวข้าวประมาณเดือนมกราคม – เมษายน ชื่อเสียงของกลุ่มทอเสื่อจากต้นกกเริ่มกว้าง ไกลออกไป จึงมีการจัดท�ำเพื่อจ�ำหน่ายและจัดตั้งกลไกการบริหารจัดการขึ้น โดยเริ่มแรกนั้นมีการระดมทุนหรือหุ้นจากสมาชิก เมื่อขายได้ก�ำไรจะน�ำมาแบ่งกันตามจ�ำนวนหุ้น เมื่อโครงการฯ เข้ามาด�ำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางคณะกรรมการได้เสนอให้ มีกิจกรรมต่อยอดขยายผลให้กลุ่มทอเสื่อจากกก จนได้รับเข้าไปบรรจุลง ในแผนต�ำบลวิถีพอเพียง ปี พ.ศ.๒๕๕๓ ในเรื่องการจัดอบรมเพิ่มเทคนิค ออกแบบลวดลายการทอเสื่อจากกกขึ้น โดยได้วิทยากรจากบ้านแพง อ�ำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ผลจากการอบรมในครั้งนั้นได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มได้ เป็นอย่างดี และมีชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะได้รับการ อบรมให้ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากต้นกก นอกจาก เสื่อ เช่น ที่รองแก้ว หมวกและที่รองจาก เป็นต้น อีกทั้งเป็นการ เพิ่มมาตรฐานการผลิตให้กับกลุ่มอีกด้วย นอกจากนี้สมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านได้มีโอกาสได้รู้จักกันมากขึ้น เพิ่มความสามัคคีใน ชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากขึ้น

พลังงานทางเลือก

แม้ว่าชุมชนจะเคยมีประสบการณ์ความรู้ในเรื่องพลังงานทาง เลือกมาก่อน แต่ยังไม่เคยได้ทดลองปฏิบัติ กิจกรรมด้านพลังงานจึงอยู่ ในความสนใจของคนในชุมชนตลอดมา จนกระทั่งโครงการฯ ได้เข้ามา

68 IS AM ARE www.fosef.org


ด�ำเนินงานร่วมกัน จึงเป็นการหนุนเสริมและท�ำให้ความคิดของ คนในชุมชนปรากฏผลเป็นรูปธรรม ในการทดลองปรับเปลี่ยนวิถี ชีวิตมาพัฒนางานทางด้านพลังงานทางเลือก ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ เตาเผาถ่าน ๒๐๐ ลิตร เป็นกิจกรรมที่โครงการฯ เข้า มาส่งเสริม ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ หลังจากที่พากรรมการไปศึกษา ดู ง านเรื่ อ งของพลั ง งานทางเลื อ กที่ ศู น ย์ บ ริ ก ารวิ ช าการที่ ๓ จังหวัดมหาสารคาม สังกัดกรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวง พลังงาน เพื่อให้คณะกรรมการได้น�ำความรู้มาปรับใช้ในพื้นที่ ของตน โดยเริ่มที่กรรมการท�ำเป็นแบบอย่างโดยรวมกลุ่มกัน ท�ำกิจกรรมขึ้นและสอบถามความพร้อมของครัวเรือนพอเพียง อาสา จากนั้นได้มีการจัดฝึกอบรม โดยได้เจ้าหน้าที่พลังงานภาค อีสาน มาเป็นวิทยากรกระบวนการให้ และโครงการฯ สนับสนุน เรื่องของวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งพาไปศึกษาดูงานเพิ่มเติมแล้วมีการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันถือว่า เป็นกิจกรรมที่สามารถขยายผลได้ดีมากในต�ำบลเพราะมีการ ขยายผลสู่ครัวเรือนพอเพียงอาสา ทุกหมู่บ้าน และพัฒนาเป็น จุดเรียนรู้ประจ�ำหมู่บ้าน เตาซุปเปอร์อั้งโล่ กิจกรรมการปั้นเตาประสิทธิภาพสูง หรือซุปเปอร์อั้งโล่ เกิดขึ้นโดยการผลักดันของ สมนึก ยิ้มแย้ม คณะกรรมการโครงการฯ แห่งบ้านโสกแดง ซึ่งได้ร่วมไปศึกษา

ผลที่ ป รากฏออกมาเป็ น รู ป ธรรม คื อ ท� ำ ให้ ค รั ว เรื อ น พอเพี ย งอาสารู ้ ร ายรั บ -รายจ่ า ย เป็ น การวางแผน การใช้ เ งิ น ของครอบครั ว ที่ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งมาก อี ก ทั้ ง ยั ง ช่ ว ยกระตุ ้ น เตื อ นให้ รู ้ จั ก ประหยั ด อดออม รู ้ คุ ณ ค่ า ของเงิ น ดูงานที่ต�ำบลเขาคอก อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์จึงได้ เสนอกิจกรรมนี้เข้าไปในแผนต�ำบลวิถีพอเพียงปี พ.ศ.๒๕๕๓ และเสนอตัวเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมทั้งหมด โครงการฯ จึงได้ สนับสนุนกิจกรรมนี้ไปควบคู่ไปกับกิจกรรมเตาเผาถ่าน ๒๐๐ ลิ ต ร โดยได้ เชิ ญ วิ ท ยากรภายนอกจากต� ำ บลทุ ่ ง โป่ ง อ� ำ เภอ อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มาเป็นครูผู้ฝึกถ่ายทอดเทคนิควิธีการ ขั้นตอนต่างๆ และทางโครงการฯ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัด ซื้อวัสดุอุปกรณ์ให้ทั้งหมด เพื่อฝึกให้ครัวเรือนอาสาและผู้สนใจ ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนมีทักษะความสามารถที่จะด�ำเนินการได้ เอง หลังจากอบรมเสร็จแล้วนั้น สมนึก ยิ้มแย้ม ได้นัดหมายผู้เข้า ร่วมอบรมทั้งหมดมาปั้นเตาร่วมกันอีกครั้งเพื่อขยายผล และปั้น เตาแจกจ่ายครัวเรือนพอเพียงอาสาให้ไปทดลองใช้และจัดท�ำ นิทรรศการประชาสัมพันธ์ ความรู้เบื้องต้นในการปั้นเตาให้อีก ๑ ชุด ทางโครงการฯ ได้ก�ำหนดและร่วมกันพัฒนาให้เกิดเป็นจุด

69

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


70 IS AM ARE www.fosef.org


เรียนรู้เรื่องการปั้นเตาจ�ำนวน ๑๑ คน จาก ๑๑ หมู่บ้าน ผลจากการจัดกิจกรรมการอบรมการปั้นเตา คือ ชาวบ้านให้ความสนใจและมีความรู้เรื่องการปั้นเตา สามารถผลิตใช้เองในครอบครัวได้แจกจ่ายกัน ไปใช้ในครัวเรือน และสามารถลดรายจ่ายในครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการน�ำ วัสดุในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ท�ำให้ชุมชนรู้จักถึงคุณสมบัติของดิน ตระหนักถึงความส�ำคัญของ ดิน เกิดเป็นคุณค่าทางจิตใจ ที่จะร่วมกันอนุรักษ์ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถเพาะ ปลูกพืชให้ได้ผล และน�ำมาปั้นเตาให้มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

ลดรายจ่าย = เพิ่มรายได้

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและพลังงานในภาพรวมของต�ำบลระหว่างปี ๒๕๕๒๒๕๕๓ พบว่า รายรับรวมปี ๒๕๕๓ เพิ่มขึ้น ๑๐.๓๘ ล้านบาท คิดเป็น ๓๙% ของรายรับรวมปี ๒๕๕๒ รายรับที่เพิ่มขึ้นมาจากภาคการผลิตและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และการประกอบอาชีพนอกภาคการผลิต ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจากการท�ำกิจกรรมตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วม โครงการฯ ต�ำบลโนนภิบาล ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ ๕๖,๑๕๖ กิโลกรัม จากกิจกรรมการ ปลูกต้นไม้ พลังงานทดแทนที่ใช้แทนแก๊สหุงต้ม กิจกรรมรณรงค์การประหยัดพลังงาน และการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุธรรมชาติ

นิยามความพอเพียงของต�ำบลโนนภิบาล “ปลู ก อยู ่ ป ลู ก กิ น พึ่ ง พาตนเอง แบ่ ง ปั น เกื้ อ กู ล เผื่ อ แผ่ ญ าติ พี่ น ้ อ ง ใช้ ท รั พ ยากรในท้ อ งถิ่ น อย่ า งรู ้ คุ ณ ค่ า ร่ ว มกั น ท� ำ กิ จ กรรมที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ ครอบครั ว และชุ ม ชน ใช้ ชี วิ ต อย่ า งพอประมาณ พออยู ่ พ อกิ น และคอยสะสมความรู ้ ใ หม่ ๆ อยู ่ เ สมอ”

71

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ข้อ ๒ และ ๓ ๒. การรับรองความเสมอภาคของบุ คคล

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะให้ความคุ้มครองประชาชนไทย แห่ ง ความแตกต่ า งในเรื่ อ งถิ่ น ก� ำ เนิ ด เชื้ อ ชาติ ภาษา เพศ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทาง เศรษฐกิ จ หรื อ สั ง คม ความเชื่ อ ทางศาสนา การศึ ก ษาอบรม กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ประกอบด้วย มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่าก�ำเนิด เพศ หรื อ ความคิ ด เห็ น ทางการเมื อ งอั น ไม่ ขั ด ต่ อ บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอนี้ รัฐธรรมนูญจะกระท�ำมิได้ มาตรการที่รัฐก�ำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริม มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิ ให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม เท่าเทียมกัน

72 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายน่ารู ้...กระทรวงยุ ติธรรม

๓. สิทธิในชี วิตและร่างกาย

เลือกอยู่อาศัยที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ตลอดจนสิทธิของบุคคล อื่น ๆ ในครอบครัวได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นกัน ประกอบ ด้วย มาตรา ๓๔ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อ เสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพ ไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบ ถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความ เป็นอยู่ส่วนตัว จะกระท�ำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อ สาธารณชน มาตรา ๓๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุ ค คลย่ อ มได้ รั บ ความคุ ้ ม ครองในการที่ จ ะอยู ่ อ าศั ย และครอบครองเคหสถานโดยปกติสุขการเข้าไปในเคหสถาน โดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้น เคหสถานจะกระท�ำ มิได้เว้นแต่โดยอาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมี เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัยภายใน ราชอาณาจักร การจ�ำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท�ำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความ มั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน การผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ การเนรเทศบุ ค คลผู ้ มี สั ญ ชาติ ไ ทยออกนอกราช อาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคล ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราช อาณาจักรจะกระท�ำมิได้ มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน โดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิด เผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระท�ำด้วย ประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่ บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระท�ำด้วยประการอื่นใด เพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อ ถึงกัน จะกระท�ำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษา ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกาย ตามกฎหมาย โดยห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือลงโทษด้วย วิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ประกอบด้วย มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและ ร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหด ร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระท�ำมิได้ แต่การลงโทษประหาร ชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ การจับ คุมขัง ตรวจค้นบุคคล หรือการกระท�ำใดอัน กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระท�ำมิได้ เว้น แต่โดยอาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใด จะกระท�ำมิได้ เว้นแต่มีค�ำสั่งศาลหรือหมายศาล หรือผู้นั้นได้ กระท�ำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจ�ำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดย ไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติโดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการ แจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า กับจะ ต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ถูกจับไว้วางใจทราบในโอกาส แรก และผู้ถูกจับซึ่งยังถูกควบคุมอยู่ ต้องถูกน�ำตัวไปศาลภายใน สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับน�ำตัวไปถึงที่ท�ำการของ พนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ ตามกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจ�ำเป็นอย่าง อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

หมายจับหรือหมายขังบุ คคลจะออกได้ต่อเมื่อ

(๑) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระท�ำความ ผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ (๒) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระท�ำความ ผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไป ยุ ่ ง เหยิ ง กั บ พยานหลัก ฐาน หรือก่อเหตุอัน ตรายประการอื่ น ด้วย สิ ท ธิ เ สรี ภ าพในครอบครั ว และความเป็ น อยู ่ ส ่ ว นตั ว ประชาชนจะได้ รั บ ความคุ ้ ม ครองในความเป็ น อยู ่ ส ่ ว นตั ว มี เสรี ภ าพในการสื่ อ สารถึ ง กั น มี สิ ท ธิ ที่ จ ะเลื อ กเดิ น ทางหรื อ

73

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


นครศรีธรรมราช เกลอเล เกลอเขา และเรื่องราวบนแผ่นดินปากพนัง

จากขุนเขาสู่ผืนทะเล มากมายไปด้วยเรื่องราวแห่งความผู กพันอันมีมิติน่าหลงใหล บางแห่งแฝงอยู่ด้วยความงดงามราวภาพเขียนนับสิบนับร้อยเรียงรายต่อเดิม ขณะ ที่ลึกลงไปในหลากซอกมุม ล้วนมีสีสันและความจีรังคงทนในคืนวันของผู้คนตัวเล็กๆ ที่ หายใจอยู่ร่วมกับมัน เทือกเขาหลวงอันเหยียดยาวตกทอดเป็นภูมิประเทศสีเขียวแห่งนครศรีธรรมราช ข้ามผ่านความสูงชันรกชัฏต่อยอดถึงที่ราบอีกฟากฝั่งริมทะเลอ่าวไทย หากใครสักคนค่อยๆ พาตัวเองย้อนกลับไปรู้จักหนทางแห่งวันเวลา สายสัมพันธ์ของผู้คนแห่งภูเขาและของคน ที่นี่คือภาพชัดของการ “อยู่ร่วม” อันน่าศรัทธา

74 IS AM ARE www.fosef.org


ท่องเที่ยวศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชด�ำริ ระหว่างลมตะวันออกพลิ้วพัด ที่อ�ำเภอปากพนัง พื้นแผ่นดินที่ราบลุ่มริมทะเลอ่าวไทย เรื่องราวของผู้คน อันผูกพันอยู่กับโลกกสิกรรมโบราณได้ผ่านพ้นเรื่องราวมา ยาวนาน ตกทอดเป็นประวัติศาสตร์แห่งการอยู่กินมากไป ด้วยต�ำนานแห่งข้าวและคืนวันของการเปลี่ยนแปลง ที่ราบลุ่มปากพนังครอบคลุมพื้นที่ต้ังแต่ปากแม่น�้ำ ปากพนัง ไล่เรื่อยไปจนถึงอ�ำเภอเชียงใหญ่ เข้าสู่หัวไทร ลากยาวต่อไปถึงระโนดและแถบทะเลสาบสงขลาแต่ดั้งเดิม ข้าวคือสิ่งหล่อเลี้ยงผู้คนให้มีชีวิตยืนยาว เชื่อมโยงภาพ รวมของเมืองนครฯ ในอดีตให้ดูมีชีวิตชีวา เทือกเขาหลวง ที่ทอดขวางแผ่นดินนครศรีธรรมราชไว้ทั้งจังหวัดนั้นเป็น ดั่งเหตุผลของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความผูกพันของผู้คน หลายกลุ่มทั้งสองฟากเขา แต่ดั้งเดิม ข้าวของจากชาวเหนือทั้งของป่า ผลไม้ สมุนไพร ลงมาถึงปากพนังกันทางเรือ ล่องกันมาตามคลอง ชาวนอกอย่างเราในสมัยโน้นก็เอาข้าวแลกกลับไป “ชาวเหนื อ ” นั้น หมายถึงคนจากแถบสานสกา พิปูน ที่ยังชีพอยู่ด้วยการเพาะปลูกพืชสวนผสมหรือที่เรียก กันว่าสวนสมรม ส่วน ‘ชาวนอก’ ก็คือคนบนพื้นที่ลุ่มริม ล�ำน�้ำปากพนังในฝั่งทะเลด้านตะวันออก ทั้งปลูกข้าวและ ท�ำการประมง ไม่ใช่แค่ ปากพนัง แต่ยังกินพื้นที่ไปถึงหัวไทร ท่าศาลา สิชล และขนอม

ยังมี ‘พวกนอกเขา’ อีกกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่ไกลออก ไปอีกด้านหนึ่งของภูเขา ซึ่งก็คือผู้คนในแถบอ�ำเภอฉวาง ทุ่งสง ชีวิตของพวกเขาโอบล้อมอยู่ด้วยสวนยางพารานับ หมื่นนับแสนไร่ ยางไม้ เครื่องเทศ และไม้ผลบางประเภท จึงเป็นข้าวของที่พวกเขาน�ำขึ้นหลังช้าง ขี่ตัดป่าเขาหลวง ลงมาแลกข้าวกับชาวนอก คื น วั น แลกเปลี่ ย นในอดี ต นั้ น น่ า สนุ ก สนานและ จิ น ตนาการถึ ง ว่ า กั น ว่ า ชาวเหนื อ หรื อ พวกนอกเขาขน ผลิตผลลงมาให้ทีไร ชาวนอกก็จะล�ำเลียงข้าวกลับไปเต็ม ล�ำเรือหรือหลังช้างอย่างเท่าๆ กัน พื้นที่ราบบริเวณลุ่มน�้ำปากพนังจึงเป็นแหล่งเชื่อม โยงคนจากขุนเขาเข้ากับคนพื้นราบ เงื่อนไขของธรรมชาติ ในการเพาะปลูกที่แตกต่างท�ำให้ผลผลิตในแต่ละพื้นที่ได้ สั ม พั น ธ์ แ ลกเปลี่ ย นกั น อย่ า งมี ชี วิ ต ชี ว า จนมี ค�ำ ขานคน จากภูเขาทั้งสองกลุ่มว่า “เกลอเขา” และเรียกคนกลุ่ม ปากพนังว่า “เกลอเล” หรือที่เรียกระบบแบบนี้กันว่า “อ้ายเกลอ” หากแต่ในยุคหลังๆ ราวยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ขณะ ที่โลกเปลี่ยนและเต็มไปด้วยกลไกการค้า พื้นที่อุดมชุ่ม อย่างปากพนังกลับพบปัญหาที่แม้แต่ผู้เฒ่าซึ่งเจนจัดใน การท�ำนายฝนฟ้าตามความเชื่อโบราณของคนใต้เองก็ยัง งุนงงและทรุดลงยอมจ�ำนนกับผืนดินที่ป่วยไข้

75

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


นั บ ร้ อ ยปี ที่ คี รี ว งเติ บ โตผ่ า นเรื อ กสวนและความสมบู ร ณ์ เชิ ง เขาหลวง มากไปกว่ า นั้ น หลั ง ผ่ า นพ้ น อุ ท กภั ย น�้ ำ ท่ ว ม และโคลนถล่ ม ในปี ๒๕๓๑ ความเสี ย หายคลี่ ค ลุ ม แทบทั้ ง หมู ่ บ ้ า น ทว่ า การรวมตั ว ของคนบ้ า นคี รี ว งท� ำ ให้ ห มู ่ บ ้ า น ของพวกเขา “ลุ ก ฟื ้ น ” มากไปด้ ว ยความผู ก พั น ของคน กั บ ภู เ ขาอั น ชาญฉลาด

ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาที่รับรู้กันแต่ในท้องถิ่น หากแต่ยัง ทราบไปถึง “พ่อหลวง” ของพวกเขาอีกด้วย จนถึงกับมี พระราชด�ำรัสว่า “...คนที่ ย ากจนที่ สุ ด ในประเทศนั้ น อยู ่ ที่ นครศรีธรรมราช...คือชาวลุ่มน�้ำปากพนัง...” ไม่เพียงแต่ทรงรับรู้ถึงความทุกข์ยากของราษฎร แห่งลุ่มน�้ำปากพนัง แต่ยังมีพระราชด�ำริที่จะช่วยแก้ไข ความสัมพันธ์ในวิถีชุมชนที่เคยเป็นมาค่อยๆ เลือน โดยเฉพาะครั้งส�ำคัญที่สุด เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ ได้ ราง เรื่องราวของเกลอเลและเกลอเขากลายเป็นเพียงความ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมการบริหาร ฝันอันหอมหวานของสายสัมพันธ์ในอดีตที่คนรุ่นหลังๆ นึก โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระ ราชด�ำริ เข้าเฝ้าฯ ณ พระต�ำหนัก ทักษิณ ราชนิเวศน์ ได้ ภาพตามไม่ค่อยออก ไม่เพียงผืนดินที่เปลี่ยนไปจากการใช้อย่างสาหัส พระราชด�ำริความว่า “...ท� ำ ประตู น�้ ำ ที่ ป ากแม่ น�้ ำ ห่ า งจากอ� ำ เภอ แต่ปัญหาแห่งความแร้นแค้นนี้ยังทับซ้อนอยู่หลายส่วน แม่น�้ำปากพนังที่เคยหล่อเลี้ยงพวกเขาอยู่ก็บอบช�้ำไม่แพ้ ปากพนังประมาณ ๓ กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ไข ผู้คน ปัญหาน�้ำเสียจากการท�ำนากุ้งและน�้ำเค็มหนุนเข้ามา ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเป็นกุญแจส�ำคัญของ จนเพาะปลูกไม่ได้ ท�ำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่หลายครัวเรือน โครงการฯ จะแก้ปัญหาตั้งแต่น�้ำแล้ง น�้ำท่วม น�้ำเค็ม และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน�้ำบริโภค และน�้ำท�ำการ คล้ายเดินมาถึงจุดอับ ห้วงยามเช่นนั้นเอง ที่เรื่องราวความทุกข์ยากของ เกษตร...แม้ว่าประตูน�้ำอันเดียวนี้จะไม่แก้ปัญหาทั้งหมด พี่ น ้ อ งปากพนั ง ล่ อ งลอยไปถึ ง พระเนตรพระกรรณของ ซึ่งจะต้องสร้างหรือท�ำโครงการอย่างต่อเนื่อง หากแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องราวของความล�ำบาก เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด จากอันนี้จะ แร้นแค้นของเมืองที่เคยได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น�้ำอย่างปากพนัง ท�ำอะไรๆ ได้ทุกอย่าง...”

76 IS AM ARE www.fosef.org


ประตูระบายน�้ำอุทกวิภาชประสิทธิและอาคารประกอบ อันได้แก่ บันไดปลา ทางลอด ประตูเรือสัญจร และท�ำนบดิน กั้นล�ำน�้ำเดิมจึงเริ่มก่อร่างขึ้นที่บ้านบางพี้ ต�ำบลอู่ล่อง ภายใต้ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราช ด�ำริพร้อมๆ กับชีวิตชีวาที่ค่อยๆ ฟื้นคืนมาของพื้นที่นากว่าห้า แสนไร่ น�้ ำ เค็ ม ถู ก แยกออกจากน�้ ำ จื ด พร้ อ มๆ กั บ ความอุ ด ม สมบูรณ์ของคุณภาพดินที่ค่อยๆ ดีขึ้นตามล�ำดับ นากุ้งกับนาข้าว ถูกแยกพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วนตามประเภทของน�้ำ เมื่ อแผ่น ดินได้รับการเยียวยา คนลุ่ม น�้ำปากพนั งที่ มี รากเชื่อมโยงอยู่กับท้องนาและผืนน�้ำก็กลับมาเปี่ยมล้นด้วยลม หายใจ หากเราพาตัวเองลงไปเป็นหนึ่งเดียวกับล�ำน�้ำปากพนัง ล่องไปตามความรื่นเย็น ตามเกาะแก่งรกร้างที่ไม้ใหญ่ขึ้นคลุม

77

ล้ ว นเสี ย ดยอดอยู ่ ด ้ ว ยปล่ อ งโรงสี ข ้ า วโบราณที่ ส ะท้อนความ เป็น “เมืองข้าว” ของปากพนังในอดีต บางคนเรียกภาพตรง หน้าว่า “แจกันยักษ์” แต่ เ ดิ ม ตามหมู ่ บ ้ า นที่ ท อดรายอยู ่ ใ นที่ ร าบลุ ่ ม แห่ ง นี้ เฉพาะในเขตอ�ำเภอปากพนังนั้น มีโรงสีอยู่ถึง ๙ โรง ซึ่งถือว่า พอเพียงที่จะรองรับการท�ำกินของผู้คนในอดีต ด้ ว ยท� ำ เลที่ เ หมาะสม เรื อ ขนสิ น ค้ า สามารถล่องจาก ทะเลเข้ามาตามแม่น�้ำและซื้อขายข้าวกันได้ถึงท่าโรงสี ตลาด เมืองปากพนังเติบโตเคียงคู่ ชีวิตที่ดีน�ำพาผู้คนหลากหลายเข้า มาตั้งหลักแหล่ง ตึกเก่าหลายห้องในตลาด คือภาพชัดของพ่อค้า ชาวจีนที่ก้าวมาอยู่ร่วมจากการปักหลักค้าขาย ทุ ก วั น นี้ ภาพของปากพนั ง ปรั บ เปลี่ ย นไปด้ ว ยความ เติบโต “คอนโดนกนางแอ่น” หลากสีผุดพรายคล้ายปากพนัง เป็นเมืองสีลูกกวาด อาชีพเสริมที่มีเงินทองโบยบินอยู่ในอากาศ

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


ค ว า ม ส ม บู ร ณ ์ ยิ่ ง ใ ห ญ ่ ม า ก ไ ป ด ้ ว ย พื ช พ ร ร ณ แ ล ะ สั ง คมป่ า แทบทุ ก ประเภท คื อ ต้ น น�้ ำ อั น หล่ อ เลี้ ย งเมื อ ง ท�ำให้การก่อสร้างคอนโดเพื่อล่อให้นกนางแอ่นเข้ามาท�ำ นครศรี ธ รรมราชให้ อุ ด มชุ ่ ม เขาหลวงไม่ เ คยขาดหาย รังเป็นที่นิยมมาก ยิ่งในตลาดปากพนัง พื้นที่ซึ่งปากแม่น�้ำ ผู ้ ค นมาเยี่ ย มเยื อ น และเปี ่ ย มความหมายยิ่ ง กั บ ค� ำ ว่ า แผ่กว้างสู่ผืนทะเล เป็นท�ำเลหากินของนกนักเดินทางใน บ้ า นส� ำ หรั บ ผู ้ ค นเชิ ง เขารายรอบที่ แ อบอิ ง ฝากชี วิ ต อยู ่ แทบทุกวี่วัน อาศั ย ชี วิ ต เติ บ โตจากยุ ค โบราณ ผ่ า นต� ำ นานและ ถามว่านอกจากภูเขา เรือกสวนสมรม ล�ำคลองอันสวยงาม ประวัติศาสตร์ของนาข้าวและการใช้ชีวิต วันที่แม่น�้ำและ ท้องทะเลได้รับการแบ่งสรรที่ทางด้วยพระมหากรุณาธิคุณ คีรีวงส�ำคัญเพียงใด ค�ำตอบอาจอยู่ที่ความผูกพันอันแนบแน่นของ ผู้คนและภูเขา ชีวิตเก่าใหม่ได้ผสมผสานอย่างมีทิศทาง ย้ อ นลึ ก ไปนั บ ร้ อ ยปี ที่ ค นคี รี ว งตั้ ง รกรากจากบรรพบุ รุ ษ บ้านหลังอุ่นจึงไม่ร้างไร้ผู้คนเช่นห้วงหนึ่งในอดีต ทว่ากลับเนืองแน่นไปด้วยความหลากหลายของชีวิตบน ที่ว่ากันว่า คือเหล่าทหารที่กลับจากศึกรบที่เมืองไทรบุรี ครั้งต้น รัตนโกสินทร์ ความสมบูรณ์หลากหลายของสายน�้ำและผืนป่าเชิง ผืนแผ่นดินเดียวกันอย่างเปี่ยมค่า จากปลายน�้ำ เมื่อย้อนลึกขึ้นไปในเขตภูเขาของ เขาหลวงสืบทอดสู่หมู่บ้านในหุบเขาที่มีเอกลักษณ์ในการท�ำ “สวน อ�ำเภอลานสกา ที่เชิงเขาหลวงอันเป็นเหมือนหลังคาบ้าน สมรม” ที่ปลูกทั้งผัก ผลไม้ รวมไปถึงพืชพรรณต่างแทรกปนอยู่ใน ของคนนคร หมู่บ้านคีรีวง ด�ำรงตนอยู่กับสายน�้ำ ผืนป่า ป่าเขา ทุเรียน มังคุด ลองกอง สะตอ และผักผลไม้นานา คือ ของมี และเทือกเขาหลวงมายาวนานนับร้อยปี ค่าที่คนคีรีวงยืนหยัดเลี้ยงชีพ ก่อเกิดเรื่องเล่าของ “เรือเหนือ” อัน

78 IS AM ARE www.fosef.org


แทบทุกประเภท คือต้นน�้ำอันหล่อเลี้ยงเมืองนครศรีธรรมราชให้ อุดมชุ่ม เขาหลวงไม่เคยขาดหายผู้คนมาเยี่ยมเยือน และเปี่ยม ความหมายยิ่งกับค�ำว่าบ้านส�ำหรับผู้คนเชิงเขารายรอบที่แอบอิง ฝากชีวิตอยู่อาศัย บางคนเลือกมุ่งหน้าไปหาความชื่นเย็นของสายน�้ำพร่าง พรูที่น�้ำตกกรุงชิง น�้ำตกสายใหญ่และงดงามของอุทยานแห่ง ชาติ เขาหลวง ชื่อแสนไพเราะของกรุงชิงมีที่มาจาก “ต้น ชิ ง ” พั น ธุ ์ ไ ม้ ต ระกู ล ปาล์ ม ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ขึ้ น กระจายจนเป็ น เอกลักษณ์ กรุงชิงงดงาม ด้วยสายน�้ำลดหลั่งหลายชั้น ก่อเกิดชื่อ และสายคลองมากมายยามหลากไหลสู่ที่ราบ หอย่า หนาน มัด แพ หนานฝนแสนห่า หนานปลิว หนานโจร หนานต้นตอ หนาน วังเรือบิน และ “หนานฝนแสนห่า” ว่ากันว่างดงามที่สุด ด้วย มวลน�้ำแผ่เป็นผืนกว้าง กระจายหยาดละอองดุจม่านฝน ไม่ จับกันเป็นเกลียวน�้ำดังน�้ำตกทั่วไป โลกอันแสนพิสุทธิ์ยามใคร สักคนผ่านพาตัวเองมาเยือนสายน�้ำแห่งผืนป่าเขาหลวงจึงแสน รื่นรมย์ พูดถึงเรื่องความงดงาม หมู่บ้านกลางหุบเขาที่มีล�ำน�้ำ หลากไหลผ่านแนวก้อนหินอย่างคีรีวงแสนสวยโรแมนติก สายน�้ำ มากมายสีสันยามล่องบรรทุกผลไม้และของป่าลงไปขายแถบ และผืนป่า คือที่มาแห่งความเย็นชื่นอันหล่อหลอมหมู่บ้านเล็กๆ ที่ราบลุ่มของนครศรีธรรมราชอย่างปากพนังความเป็น “ชาว แห่งหนึ่งให้อยู่ยงแนบชิดกับภูเขาที่ให้ก�ำเนิดมันขึ้นมา เหนือ” ที่คนแถบที่ราบลุ่มเรียกขานพวกเขาตกทอดอยู่จนเป็น หากสายน�้ำ คือสิ่งเชื่อมโยงคนจากภูเขาและที่ราบลุ่ม เอกลักษณ์อันเด่นชัดถึงถิ่นที่มา ของเมืองนครเข้าหากัน ใครสักคนอาจเข้าใจถึงคุณค่าอันหลอม นับร้อยปีที่คีรีวงเติบโตผ่านเรือกสวนและความสมบูรณ์ รวมไม่ ว ่ า จะในมิ ติ ข องพื ช พรรณ ประวั ติ ศ าสตร์ หรื อ ความ เชิงเขาหลวง มากไปกว่านั้น หลังผ่านพ้นอุทกภัยน�้ำท่วมและ รื่นรมย์ของชีวิตวัฒนธรรม โคลนถล่มในปี ๒๕๓๑ ความเสียหายคลี่คลุมแทบทั้งหมู่บ้าน เข้าใจเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่ฉายชัดภาพชีวิตเปี่ยมสุข ทว่ า การรวมตั ว ของคนบ้ า นคี รี ว งท� ำ ให้ ห มู ่ บ ้ า นของพวกเขา ตราบที่สิ่งหล่อหลอมให้การด�ำรงอยู่ของเมืองแห่งนั้นยังคงทน “ลุ ก ฟื ้ น ” มากไปด้ ว ยความผู ก พั น ของคนกั บ ภู เขาอั น ชาญ เนิ่นนาน... ฉลาด ผลิตภัณฑ์มากมายก่อเกิดสู่การแปรรูปให้ผู้คนเข้ามา ศึกษาสัมผัส ทั้งงานบาติก มัดย้อม การท�ำสบู่สมุนไพร รวมไป ถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัยขึ้นสู่ยอดเขาหลวงจนคีรี วงกลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับรางวัลกินรี จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปี ๒๕๓๗ เหนือความสูงกว่า ๑,๘๘๓ เมตร จากระดับน�ำ้ ทะเลปาน กลางท่ามกลางม่านฝนและสายลมไหวพัด คนบ้านคีรีวงพาผู้มา เยือนหลากหลายกลุ่มขึ้นไปท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนยอดเขาหลวง อันเป็นมากกว่าความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาเคารพหวงแหน ความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่ มากไปด้วยพืชพรรณและสังคมป่า

79

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


Round About มู ล นิ ธิ ต ่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต จั บ มื อ ครอบครั ว พอเพี ย ง เดิ น หน้ า สร้ า งวั ฒ นธรรมให้ เ ยาวชนไม่ ท นต่ อ การ ทุ จ ริ ต ทุ ก รู ป แบบ หวั ง ขยายเครื อ ข่ า ยต้ า นคอร์ รั ป ชั น พร้ อ มจั ด ตั้ ง หมู ่ บ ้ า นช่ อ สะอาดทั่ ว ประเทศ

ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้าน การทุจริต (ANTI - CORRUPTION FOUNDATION) กล่าวว่า มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจัดงานการประชาสัมพันธ์มูลนิธิต่อต้าน การทุจริตเพื่อเป็นการชี้แจงความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้น และน�ำเสนอแนวทางของการด�ำเนินงานของมูลนิธิ ต่อต้านการทุจริตในอนาคต ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ต้าน โกง ชั้น ๓ ส�ำนักงาน ป.ป.ช. ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ พร้อมกันนี้ยังกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องการคน ที่มีความจริงใจและตั้งใจเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการป้องกันการ ทุจริตทุกรูปแบบ การจัดหาเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆ ส�ำคัญ มาก และที่ผ่านมา ปัญหาการทุจริตได้หยั่งรากลึก และแทรกซึม อยู ่ ใ นทุ ก พื้ น ที่ สร้ า งความเสี ย หายต่ อ สั ง คมไทย และระบบ เศรษฐกิจของประเทศปีละหลายแสนล้านบาท ส�ำหรับการเกิดขึ้นของมูลนิธิต่อต้านการทุจริตนั้น ผู้ ส� ำ เร็ จ การอบรมหลั ก สู ต รนั ก บริ ห ารยุ ท ธศาสตร์ ก ารป้ อ งกั น และปราบปรามการทุจริตระดับสูง หรือ นยปส. ของส�ำนักงาน ป.ป.ช. และผู้ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการด�ำเนินกิจกรรมที่

ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อต้านการทุจริต ได้ร่วมกันจัดตั้ง มูลนิธิต่อต้านการทุจริตขึ้น โดยได้รับการจดทะเบียน เมื่อวัน ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มีชมรม นยปส. เป็นแกนหลัก ในการ จัดตั้ง และส�ำนักงาน ป.ป.ช. เป็นแกนกลางในการประสาน งานการจัดตั้งมูลนิธิ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต มีวัตถุประสงค์ในการด�ำเนิน การเพื่อให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการปลูกฝัง ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมให้กับคนในชาติ โดยเฉพาะ

80 IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนให้เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์และมีความจงรักภักดีต่อ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และมีคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงให้การส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ยกย่องและ เผยแพร่เกียรติคุณ ของหน่วยงานและบุคคลดีเด่น ในด้านการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลก ระทบจากการสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตลอดจนการด�ำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์และสาธารณ กุศล หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ และสาธารณกุศลต่างๆ โดยไม่ด�ำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประการใด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมูลนิธิต่อต้านการทุจริตมีความมุ่ง มั่นในการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมให้กับคนใน ชาติในทุกระดับ โดยผ่านกิจกรรมที่ส�ำคัญ ได้แก่ โครงการจัดท�ำ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการต่อต้านการทุจริต สถานศึกษา องค์กร และมูลนิธิ กว่า ๔๐ สถาบัน งานเสวนา ทางวิชาการในวาระต่างๆ และโครงการค่ายวัยใส ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับและความร่วมมือเป็นอย่างดี จากองค์กรภาคี เครือข่ายทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และ ภาคธุรกิจเอกชน ส�ำหรับในอนาคต มูลนิธิต่อต้านการทุจริตยังคงให้ความ ส�ำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมในการไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูป แบบ โดยผ่านสถาบันหลักทางสังคม และกลุ่มเยาวชน เพื่อเป็น แรงสนับสนุนส�ำคัญ โดยผ่านโครงการต่าง ๆ ได้แก่ ๑.โครงการ จั ด ท� ำ บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ในการต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์กรคุณธรรม องค์กร ต่อต้านการทุจริต และหน่วยงานต่าง ๆ โดยจัดท�ำปีละ ๕ ครั้งๆ ละ ๑๐ สถาบัน และมีการจัดเสวนาบทเรียนการต่อต้านการ ทุจริต เพื่อปลุกจิตส�ำนึกและปลูกฝั่งค่านิยมคุณธรรม จริยธรรม และความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ให้ กั บ เยาวชนในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ๒.โครงการฝึกอบรม คุณธรรม จริยธรรม รู้เท่าทันการทุจริต ส�ำหรับเยาวชนค่ายวัยใส เป็นโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัย มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย โดยเป็นการจัดฝึกอบรมเยาวชน ในระดับชั้นมัธยมต้น-มัธยมปลาย ปีละ ๕ รุ่น ๆ ละ ๑๐๐ คน ตามช่วงวันส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา และช่วงปิดเทอมของ นักเรียน โดยร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงในการคัดเลือกจัด นักเรียนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา แล้ว ๓.โครงการจัดท�ำหมู่บ้านช่อสะอาด โดยร่วมกับส�ำนักงาน ป.ป.ช. ประจ�ำจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ๗๖ จังหวัด คัดเลือก

หมู่บ้านที่มีความพร้อมที่จะปรับการบริหารงานเป็นหมู่บ้านช่อ สะอาด ปีละ ๒๕ จังหวัด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบริหาร จัดการหมู่บ้านตามระบบธรรมาภิบาล ด้วยการด�ำเนินชีวิตตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและน�ำหลักธรรมในพระพุทธ ศาสนามาใช้ในการด�ำเนินชีวิต อย่างมีความสันติสุข รวมทั้งการ ปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตให้ กับแกนน�ำเยาวชนในหมู่บ้าน ให้เป็นก�ำลังส�ำคัญในการต่อต้าน การทุจริต ๔.โครงการอุปสมบท ผู้น�ำเยาวชนช่อสะอาด เดินทาง ไปแสวงบุญและศึกษาพระธรรมวินัย ณ ประเทศอินเดีย โดย คัดเลือกแกนน�ำเยาวชนหมู่บ้านช่อสะอาด หมู่บ้านละ ๑ นาย รวมปีละ ๒๕ นาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างสันติสุข แก่สังคม โดยน�ำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาสร้างสรรค์สังคม หมู่บ้านช่อสะอาด ๕.โครงการปลูกคนดีเริ่มที่ใจ Explosion from within โดยร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง น�ำเยาวชน ที่ผ่านการอบรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแล้ว ใน เขตกรุงเทพมหานคร และนักเรียนในโครงการหมู่บ้านช่อสะอาด ปีละ ๕,๐๐๐ คน มาเข้ารับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและ รู้เท่าทันในการทุจริต โดยได้เรียนรู้จากบทเรียนการทุจริตจาก พิพิธภัณฑ์ต้านโกงและหอจดหมายเหตุการณ์ป้องกัน และปราบ ปรามการทุจริตของส�ำนักงาน ป.ป.ช. อย่างไรก็ตาม ปัญหาการทุจริตไม่ใช่เป็นปัญหาของคน ใดคนหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันขจัดให้หมด สิ้นไป ทั้งนี้ เพื่อสร้างสังคมไทยที่ใสสะอาด ปราศจากการทุจริต โดยทุกท่านสามารถ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้ โดยเริ่มต้นจาก ตัวเอง ที่มุ่งมั่นคิดดี ท�ำดี และแบ่งปันความดี ความซื่อสัตย์สุจริต ไปสู่คนในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

81

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


ม.ล.ปนั ด ดา เปิ ด ศู น ย์ ค รอบครั ว พอเพี ย ง ร.ร.สตรี วั ด ระฆั ง ชู เศรษฐกิ จ พอเพี ย งคื อ รากฐานของคนไทย

เมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ.๖๐ เวลา ๐๗.๓๐ น. หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน เปิดศูนย์ครอบครัวพอเพียง ณ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ตามโครงการ “ครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน” พร้อมบรรยาย พิเศษแก่นักเรียน อาจารย์ และบุคลากรทุกคน โดยเน้นเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ ๙ ซึ่งได้วางรากฐานไว้ให้คนไทยทุกคนในทุกด้าน เปรียบได้กับพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งคนไทยไม่มีวันลืม และยังคง ระลึกถึงคุณงามความดีที่พระองค์มีให้ตลอดไป “ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการก�ำลังมุ่งเน้นอย่างมากเรื่องโรงเรียนคุณธรรม วันนี้เป็นโอกาสที่วิเศษเป็นอย่างยิ่งที่มูลนิธิ ครอบครัวพอเพียง ให้กระผมได้มากล่าวเยี่ยมท่านผู้อ�ำนวยการ ท่านคณาจารย์ และนักเรียนทุกคน กระผมใคร่ขอฝากเรื่อง ๕ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรมให้เกิดขึ้นทั้ง ๗๖ จังหวัด ประการที่ ๑ คือเรื่องความพอเพียง ตามค�ำสอนของรัชกาลที่ ๙ ประการ ที่ ๒ เรื่องความกตัญญู ประการที่ ๓ ว่าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ประการที่ ๔ ว่าด้วยความรับผิดชอบ ข้อสุดท้ายว่าด้วยเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ขอฝากลูกๆ สตรีวัดระฆังไว้นะครับ” ทั้งนี้ หม่อมหลวงปนัดดา ได้กล่าวเน้นให้เยาวชนโรงเรียนสตรีวัดระฆังน้อมน�ำค�ำสอนของรัชกาลที่ ๙ สู่การปฏิบัติอย่าง เป็นรูปธรรม ทั้งมุ่งหวังให้ร่วมปฏิบัติพร้อมกันทั่วทั้งประเทศ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสามารถปรับใช้ในชีวิต ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ เพราะเป็นสูตรส�ำเร็จในการด�ำเนินชีวิต โดยแนะว่ามูลนิธิครอบครัวพอเพียง พร้อมจะให้ความรู้ ให้การอบรม แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเพื่อท�ำความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถ น�ำไปปรับใช้และบอกต่อได้ในที่สุด ส�ำหรับศูนย์ครอบครัวพอเพียง ปัจจุบันมีอยู่ในโรงเรียนมัธยมประจ�ำจังหวัดทั่วประเทศไทย และยังขยายผลไปสู่โรงเรียน คู่มิตรในแต่ละจังหวัด เพื่อบูรณาการด้านความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หล่อหลอมให้ เยาวชนในแต่ละจังหวัดรู้จักเสียสละและมีจิตอาสาเพื่อผู้อื่นต่อไป

82 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

83

ฉบับที่ ๑๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.