IS AM ARE FEB62

Page 1

IS AM ARE

การอ่านพระไตรปิ ฎก

กับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มองโลกทางต�่ำ มองธรรมทางสูง

รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล

อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


2 IS AM ARE www.fosef.org


ความคิ ด นั้ น เป็ น แม่ บ ทใหญ่ ข องการพู ด และการกระท� ำ เพราะกิ จ ที่ จ ะท� ำ ค� ำ ที่ จ ะพู ด ทุ ก อย่ า งล้ ว นส� ำ เร็ จ มาจากความคิ ด การคิ ด ก่ อ นพู ด และก่ อ นท� ำ จึ ง ช่ ว ยให้ บุ ค คลสามารถยั บ ยั้ ง ค� ำ พู ด ที่ ไ ม่ ส มควร หยุ ด ยั้ ง การกระท� ำ ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ในพิ ธี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต รของจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย วั น ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐

3 issue 133 FEBRUARY 2019


Editorial ทักทายกันในเดือนแห่งความรัก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในการไปพบปะพูดคุยกับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมปลาย ,อาชีวศึกษาและอุดมศึกษากว่า ๑๔ ปี ที่ผ่านมาบนผืนแผ่นดินไทย ไปมาทุกจังหวัดและหัวข้อที่ใช้ในการพูดคุยก็เริ่มต้นที่ “ศรัทธา” แน่นอนว่าไม่ใช่ไปเป่าหูให้เด็ก เยาวชนมาศรัทธาในตัวเราหรือค�ำพูดของเรา หรือศรัทธาความคิดของเราหลาย ท่านคงอยากจะรู้ว่าแล้ว “ศรัทธา” ที่ บก.พยายามจะบอกนั้นคืออะไร “ศรัทธา” ที่ว่านั้นก็คือ “ศรัทธา” ในความดีงาม , “ศรัทธา” ในสิ่งที่เห็นจริง , “ศรัทธา” ในความจริง และ “ศรัทธา”จากก้นบึ้งของจิตใจ ซึ่ง “ศรัทธา” นี้มีพลัง พลังมหาศาลที่จะเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนชีวิตและเปลี่ยนสภาพความ เป็นอยู่ได้อย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้จริง ส่วนสาเหตุที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านและไปในทางที่ดีแถมบอก ว่าสามารถจับต้องได้จริงนั้นก็เพราะ “ศรัทธา” ท�ำให้เกิด “ปัญญา” “ปัญญา” เป็นเครื่องน�ำทางของทุกสิ่งหรือใครจะเถียงว่าไม่จริง ลองว่าใครก็ตามมี “ปัญญา” รับรองได้เลยว่าไม่มี อด ไม่มีจน ไม่มีเจ็บ(เจ็บใจ เจ็บกาย) และหากมี “ปัญญา”เสริมด้วยความมุมานะ อุตสาหะหมั่นเพียรเสริมเติมความรู้ใน ทุกๆ ด้านอยู่เสมอ ความคิดเรื่อง “ความไม่เท่าเทียม” “เหลื่อมล�้ำ” ไม่ปรากฏบนแผ่นดินไทยแน่นอน แต่ก็คงจะเหลือเพียง “เลือกเกิดไม่ได้” เท่านั้นที่จะท�ำให้คนต่างกันที่ความ “เหนื่อย” เกิดบนกองเงินกองทองก็จะมีความเหนื่อยไปแบบหนึ่ง หาก เกิดบนกองดินกองทรายก็จะมีความเหนื่อยอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งถามว่าหากอยากที่จะเลือกเกิดได้คน คนนั้นในชาติภพนี้ก็ต้อง มีความเข้าใจกับค�ำว่า “หิริโอตัปปะ” อย่างถ่องแท้และปฏิบัตอยู่เป็นเนืองนิจ หลังจากเกิด “ปัญญา” กันแล้วสิ่งที่จะตาม ติดมาโดยไม่ต้องมีใครบอกหรือต้องมีค�ำสั่งจากใคร เพราะทุกคนที่เกิด “ศรัทธา” แล้วน�ำมาให้เกิด “ปัญญา” ได้ คนๆ นั้น จะเกิดจิตส�ำนึกของ “จิตอาสา” โดยธรรมชาติ “อาสา” ค�ำสั้นๆ ง่ายๆ แต่ใครก็ตามเมื่อได้ใกล้ ได้รับ ได้ท�ำ คนๆ นั้นจะมี “ความสุข” แล้วทุกวันนี้ที่คนเราเกิดมา นั้น เกิดมาแล้วแสวงหาอะไรถ้าไม่ใช่ “ความสุข” “อาสา” อะไรได้บ้าง ถ้าให้เขียนเรื่องนี้คงต้องเขียนเป็นพ๊อกเก็ตบุ๊คล่ะ เพราะยาวมากๆ แต่ถ้าจะจ�ำกัดความก็คง บอกได้แค่ว่า “ท�ำไปเถอะเท่าที่พอจะมีเวลาที่เหลือใช้ เพื่อผู้อื่นได้รับประโยชน์ รับความสุขจากสิ่งที่เราท�ำ โดยที่เราไม่หวัง สิ่งตอบแทน” “ศรัทธา” ก่อให้เกิด “ปัญญา” และเป็นจุดเริ่มต้นของ “อาสา” สามค�ำนี้มาจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ หลักคิดที่ท่านมอบให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และในวันนี้กับเครือข่าย จิตอาสาที่มากที่สุดบนแผ่นดินไทย “ครอบครัวพอเพียง” ครอบครั ว พอเพี ย ง คื อ รากแก้ ว ของแผ่ น ดิ น

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายเอกรัตน์ คงรอด นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดร.เชิดศักดิ์ ดร.กัมปนาท ดร.นฤมล ดร.อ�ำนาจ ดร.ชลพร ดร.กาญจนา ดร.ปิยฉัตร ดร.คุณานันท์

ศุภโสภณ บริบูรณ์ พระใหญ่ วัดจินดา กองค�ำ สุทธิเนียม กลิ่นสุวรรณ ทยายุทธ

Let’s

Start and Enjoy!

ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

5 issue 133 FEBRUARY 2019

นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0 2939 5995 0 2939 5996 www.fosef.org


Hot Topic

8

ขอให้คิดถึง ประชาชน เหมือนลูก

16

การอ่านพระไตรปิ ฎก กับ หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

20

มองโลกทางต�่ำ มองธรรม ทางสูง รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มศว

Don’t miss

44

54

76

64 6 IS AM ARE www.fosef.org

68


Table Of Contents

รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มศว

7 issue 133 FEBRUARY 2019

เกร็ดการทรงงาน ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก ความส�ำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การอ่านพระไตรปิฎก กับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Cover Styory มองโลกทางต�่ำ มองธรรมทางสูง รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มศว Cartoon มูลนิธิชัยพัฒนา น�้ำพระทัย สู่ชาวโนนไทย นครราชสีมา บทความพิเศษ “ท�ำไมอนุสาวรีย์จึงล้ม? ข้อคิดจากบทพระราชนิพนธ์ “รูปสลักหินวีรบุรุษโบราณ” ศาสนา กับ ความรัก พุทธภารตี จิตเป็นสภาวะที่ยากต่อการเรียนรู้ ภาพเล่าเรื่อง ผู้น�ำจิตอาสาครอบครัวพอเพียง Leader Volunteer ความเป็นคน ความเป็นครู เป็นครูทั้งชีวิต สุวรรณา ธานี อาชีพทางเลือก การผลิตพริกสด เสียงเล็กๆ ความฝันของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 70 เส้นทางตามรอยพระบาท โดย ททท. ศูนย์ส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ ตามโครงการพระราชด�ำริ จังหวัดนครราชสีมา สังคมคนดี Round About

8 12 16

20 30 34

42 44 48 50 54 64 72

74 78 80


ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก ทฤษฎีโดมิโนที่ว่า อุปมาขึ้นจากลักษณะของ เกมไพ่ต่อแต้ม ซึ่งถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่นๆ ก็จะล้มเป็นแถบติดต่อเป็นลูกโซ่ ย้ อ นเวลากลั บ ไปเมื่ อ ครั้ ง หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องยุ ติ ล ง ในปี ๒๔๘๘ สั ง คมโลกก็ เ ข้ า สู ่ ยุ ค ที่ เ รี ย กว่ า “สงครามเย็ น ” เป็ น การต่ อ สู ้ กั น ระหว่ า งกลุ ่ ม ประเทศ ๒ กลุ ่ ม ที่ มี อุ ด มการณ์ ท างการเมื อ งและระบอบ การเมื อ งต่ า งกั น ระหว่ า งกลุ ่ ม ประเทศโลกเสรี ป ระชาธิ ป ไตย น� ำ โดยสหรั ฐ อเมริ ก า และกลุ ่ ม ประเทศ คอมมิ ว นิ ส ต์ น� ำ โดยสหภาพโซเวี ย ต 8 IS AM ARE www.fosef.org


เกร็ ด การทรงงาน ระหว่างนี้ประเทศมหาอ�ำนาจทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ท�ำการ สงครามกันโดยตรง แต่จะพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการ ทหารของตนไว้ ข ่ ม ขู ่ ฝ ่ า ยตรงข้ า มและสนั บ สนุ น ให้ ป ระเทศ พันธมิตรของตนเข้าท�ำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า สงครามตัวแทน (Proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอ�ำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้น�ำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยก�ำลังทหารโดยตรง แต่ใช้วิธีการ โฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนท�ำลาย การประณาม การ แข่งขันกันสร้างก�ำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศ เล็ก สงครามเย็นได้แพร่เข้ามาในทวีปเอเชีย และแทบจะทันที ทั น ใดที่ ฝ รั่ ง เศสปราชั ย ที่ ศึ ก เดี ย นเบี ย นฟู ใ นเวี ย ดนามเหนื อ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๙๗ ประธานาธิบดีไอเซนเฮาเวอร์ ของ สหรัฐอเมริกาได้ประกาศ “ทฤษฎีโดมิโน” (Domino Theory) ในเดือนเมษายน ๒๔๙๗ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้า แทรกแซงเวียดนามใต้ ทฤษฎีโดมิโนที่ว่า อุปมาขึ้นมาจากลักษณะของเกมตั้ง ไพ่ต่อกัน ถ้ามีไพ่ล้มหนึ่งใบ ไพ่ใบอื่นๆ ก็จะล้มเป็นแถบติดต่อ เป็นลูกโซ่ จึงน�ำมาอธิบายเปรียบเทียบปรากฏการณ์จากกรณี การขยายตั ว ของลั ท ธิ แ ละระบอบคอมมิ ว นิ ส ต์ ใ นทวี ป เอเชี ย กล่าวคือ เมื่อจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือ กลายเป็น คอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเช่น ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ฯลฯ ก็จะถูกครอบง�ำโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ตามไปด้วย ซึ่งเหตุการณ์ก็ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อปี ๒๕๑๘ ลาว และกัมพูชา ต่างก็ตกอยู่ใต้การปกครองของพวก นิยมคอมมิวนิสต์ ยกเว้นประเทศไทย เพราะถึงที่สุดแล้วระบอบการปกครองของไทยก็มิได้ พั ง ทลาย กลายเป็ น คอมมิ ว นิ ส ต์ ไ ปตามที่ ท ฤษฎี โ ดมิ โ นคาด ไว้

นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ เล่าถึงเรื่องนี้ว่า “วันหนึ่งที่จังหวัดนราธิวาส มีพระราชด�ำรัสว่า รู้ไหมว่าท�ำไมโดมิโนจึงมาหยุดที่เมืองไทย ท�ำไมจึงไม่เป็นไปตาม ทฤษฎีที่อเมริกันท�ำนายไว้.. รู้ไหมว่าท�ำไมมันถึงหยุดที่นี่ เพราะ สังคมไทยและคนไทยนั้นยังเป็นสังคมที่ให้กันอยู่บ้านเมืองสงบ ลงได้ เพราะเรา ‘ให้’ กับแผ่นดิน” สถานการณ์ประเทศไทยในวันนั้นเป็นอย่างไรพลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ได้เขียนเล่าไว้ในบทความเรื่อง “ยอดกษัตริย์จอมทัพไทย” พอให้เห็นภาพสถานการณ์ของ ประเทศในช่วงเวลานั้น ความตอนหนึ่งดังนี้ว่า “ตั้ ง แต่ นั้ น ทุ ก ภู มิ ภ าคของประเทศไทยก็ ต กอยู ่ ภ าย ใต้ สถานการณ์สู้รบ รัฐบาลส่งก�ำลังทั้งทหารและต�ำรวจออก ควบคุ มสถานการณ์ แต่ ก ลายเป็ น ว่ า ยิ่ ง ทวี ค วามรุนแรงขึ้น ทุกที เมื่อก�ำลังทหารไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องประกาศจัดตั้ง กองร้อยชาวเขา กองก�ำลังทหารพราน และราษฎรอาสาสมัคร เพื่อยับยั้งและต่อต้านการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย...” ทว่ า ในท่ า มกลางสถานการณ์ บ ้ า นเมื อ งดั ง กล่ า ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใย ได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎรและ ทหารเพื่อเป็นขวัญและก�ำลังใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะราษฎรได้ พระราชทานความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้อยู่ดีกินดี ดังที่พลเอกพิจิตรได้เขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�ำรัสว่า “หากปากท้องของเขาอิ่ม เขาก็จะไม่เป็น คอมมิวนิสต์” 9

issue 133 FEBRUARY 2019


ทหารราบ กรมผสมที่ ๒๓ ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่ภูพานน้อย อ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม นับเป็นการเยี่ยมเยียนหน่วย ทหารในพื้ น ที่ สู ้ ร บเป็ น ครั้ ง แรก และในครั้ ง นั้ น ได้ มี พ ระราช กระแสรับสั่งกับพันเอกอาทิตย์ ก�ำลังเอก ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๒๓ และพันโทพิศิษฐ์ เหมะบุตร ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรม ผสมที่ ๒๓ ในขณะนั้นที่เฝ้าฯ รับเสด็จเป็นความว่า “ขอให้คิดถึงประชาชนเหมือนลูก ขอให้ทหารช่วยดูแล ประชาชน นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการป้องกัน ประเทศ” พลเอกสนั่น มะเริงสิทธิ์ ซึ่งขณะนั้นมียศร้อยเอกและเป็น นายทหารผู้ใต้บังคับบัญชาของพันเอกอาทิตย์กล่าวว่า ได้รับการ บอกเล่าจากพันเอกอาทิตย์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการเสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือประชาชนทั้ง ในเรื่องชีวติ ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการศึกษา และ ในครั้งนั้นได้มีพระราชกระแส รับสั่งว่า “ฉันชอบวิธีการอย่างนี้ วิธีการนี้จะเป็นต�ำราเล่มใหม่ ส�ำหรับการปฏิบัติในระยะต่อไป”

นอกจากเรื่องความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่สู้รบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังให้ความส�ำคัญกับการศึกษา ของเด็กๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ที่ขาดแคลนโรงเรียน และขาดครู เข้าไปสอน โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้าง อาคารเรียนแห่งแรกขึ้นที่บ้านหนองแคน ต�ำบลดงหลวง อ�ำเภอ นาแก จังหวัดนครพนม ในขณะนั้นซึ่งมีราษฎรข้าราชการอ�ำเภอ นาแก และทหารสังกัดกองทัพภาคที่ ๒ ร่วมมือกันสร้างขึ้น

เมื่ อ วั น ที่ ๒๐ พฤศจิ ก ายน ๒๕๑๙ เสด็ จ ฯ ไป ทอดพระเนตรความก้ า วหน้ า การก่ อ สร้ า งอาคารเรี ย นที่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โรงเรี ย นที่ ก ่ อ สร้ า งโดยพระราชทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียน ร่มเกล้า”นับเป็นโรงเรียนพระราชทานแห่งแรกของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ และนับเป็นโรงเรียน “ร่มเกล้า” หลังแรกของ ประเทศไทย ที่ ต ่ อ มาได้ มี ก ารก่ อ สร้ า งโรงเรี ย นเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ สนองพระราชด�ำริ ในพื้นที่สู้รบอีกหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียน ร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก, โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดสระแก้ว, โรงเรียนร่มเกล้าบ้านชมเจริญ จังหวัดเลย, โรงเรียนร่มเกล้าเขา ค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์, โรงเรียนร่มเกล้า ๒ จังหวัดตาก, โรงเรียน ร่มเกล้า จังหวัดปราจีนบุรี, โรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดมุกดาหาร, และโรงเรียนร่มเกล้า จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น เมื่อคราวเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียน ร่มเกล้าแห่งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๖ นั้น นอกจาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปกรณ์การศึกษา และสิ่งของแก่ครูใหญ่ เพื่อน�ำไปแจกจ่ายนักเรียนแล้ว พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรม ราชินีนาถ ยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพัน

เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๑เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร กิจการ และพระราชทานอุปกรณ์แก่นักเรียนโรงเรียนร่มเกล้า บ้านบูเก๊ะกอตอ อ�ำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

10 IS AM ARE www.fosef.org


ต่อมา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมหน่วยทหารในพื้นที่ สู ้ ร บเป็ น แห่ ง ที่ ส อง คื อ ที่ บ ้ า นหมากแข้ ง ต� ำ บลกก สะท้อน อ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งมีสถานการณ์สู้รบกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ ในครั้งนี้มีพระราชด�ำริให้จัดตั้งโครงการ “เย็นศิระ” และ ได้พระราชทานทุนทรัพย์ให้ก่อสร้างโรงเรียน และเมื่อก่อสร้าง โรงเรี ย นเสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ พ ระราชทานชื่ อ โรงเรี ย นว่ า “โรงเรี ย นเย็ น ศิ ร ะบ้ า นหมาก แข้ง” ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งขณะนั้นด�ำรง พระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินทรเทพ รัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งขณะนั้นด�ำรงพระอิสริยศักดิ์ พระเจ้าลูกเธอเจ้า ฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ พลเอกสนั่น ได้เล่าย้อนให้ฟังว่า ทั้งสองเหตุการณ์นี้ ที่สุดได้กลายมาเป็นแนวพระราชด�ำริที่กองทัพบกได้น้อมน�ำ มาใช้ แ ละพั ฒ นาไปสู ่ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาเพื่ อ ความมั่ น คง ที่ ใช้ “การพั ฒ นาควบคู ่ กั บ การทหาร”และได้ พั ฒ นามาเป็ น “การเมื อ งน� ำ การทหาร”และเป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ก ารต่ อ สู ้ ใ หม่ คื อ การดึ ง ประชาชนและนั ก ศึ ก ษาที่ เ ป็ น แนวร่ ว มของพรรค คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ห่ ง ประเทศไทย ให้ ก ลั บ มาเป็ น แนวร่ ว มของ ราชการ ซึ่งเป็นการพลิกกลับมุมมองเดิม จาก “ศัตรูผู้แย่งชิง อ�ำนาจรัฐ” มาเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ในที่สุด ทั้งนี้เป็นไป ตามพระบรมราโชบายที่ให้คนไทยรู้จักการอะลุ้มอล่วยปรองดอง และให้อภัยกันและกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า “ขอให้คิดถึง ประชาชนเหมือนลูก”เป็นคติการปกครองของไทยที่มีมานับ ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยโบราณ โดยที่ประชาชนนับถือพระเจ้าแผ่นดิน เยี่ยงบิดาที่เรียกกันว่า “พ่อขุน” เช่นเดียวกับพระกระแสรับสั่ง ข้างต้นที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าประชาชนเหมือนลูก เฉกเช่นเดียวกับบูรพมหากษัตริย์ ไทยในอดีต แนวพระราชด�ำริในการพัฒนาด้านต่างๆ จึงเป็น พระราชด�ำริในการสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่บรรดาลูกๆ เพื่อให้ลูกๆ เติบโตอย่างเข้มแข็งแกร่งกล้า พอเพียงที่จะเลี้ยง ตัวเองได้สืบไป 11 issue 133 FEBRUARY 2019


ความส�ำคัญของ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 12 IS AM ARE www.fosef.org


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโบราณราชประเพณีที่ ต้องท�ำเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ดังความใน “จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่า “...ตามราชประเพณีในสยามประเทศนี้ ถือเป็นต�ำราแต่ โบราณว่า พระมหากระษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพ ต้องท�ำพระราช พิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเป็นพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์ ถ้า ยังมิได้ท�ำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ตราบใด ถึงจะได้ทรง รับรัชทายาทเมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็ เสด็จอยู่เพียง ณ ที่พักแห่งหนึ่ง พระนามที่ขานก็คงใช้พระนาม เดิม เป็นแต่เพิ่มค�ำว่า “ซึ่งทรงส�ำเร็จราชการแผ่นดิน” เข้าข้าง ท้ายพระนาม แลค�ำรับสั่งก็ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะ ได้สรงมุรธาภิเษก ทรงรับพระสุพรรณบัฏจารึกพระบรมราชนา มาภิธัยกับทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์จากพระมหาราชครูพราหมณ์ ผู้ท�ำพิธีราชาภิเษกแล้ว จึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร ครอบ ครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศแห่งพระราชา มหากษัตริย์แต่นั้นไป...” พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก เป็ น พระราชพิ ธี ส� ำ คั ญ ที่ แสดงถึ ง ความเป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ โ ดยสมบู ร ณ์ ใ น พระราชพงศาวดารไม่ ไ ด้ ก ล่ า วว่ า มี ลั ก ษณะอย่ า งไร ในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ เ มื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธ ยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชเสด็ จ ขึ้ น ครองราชสมบั ติ ในพ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้ ตั้ ง การพระราชพิ ธี อ ย่ า ง สั ง เขปเรี ย กว่ า “พระราชพิ ธี ป ราบดาภิ เ ษก”

ค�ำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็น พระราชพิธีส�ำคัญที่ แสดงถึ ง ความเป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ โ ดยสมบู ร ณ์ ใ นพระราช พงศาวดารไม่ได้กล่าวว่ามีลักษณะอย่างไร ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ ในพ.ศ. ๒๓๒๕ โปรดให้ตั้งการพระราชพิธี อย่างสังเขปเรียกว่า “พระราชพิธีปราบดาภิเษก” ต่อมาโปรด ให้ ข ้ า ราชการที่ รั บราชการมาแต่ ค รั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาสอบสวน แบบแผนการพระราชพิธีครั้งกรุงศรีอยุธยาได้สมบูรณ์แล้ว จึง โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๓๒๘ เรียก ว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” ความส�ำคัญของพระราชพิธีอยู่ ที่ ท รงรั บน�้ ำ อภิ เ ษกที่ พ ระที่ นั่ ง อั ฐทิ ศ อุ ทุ มพรราชอาสน์ (อัตถะ-ทิด-อุ-ทุม-พอน-ราด-ชะ-อาด) เพื่อแสดงความเป็นใหญ่ใน ทิศทั้ง ๘ และได้ยึดถือพระราชพิธีครั้งนั้นเป็นแบบแผนต่อมา ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เรียก พระราชพิธีราชาภิเษกนี้ว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” 13

issue 133 FEBRUARY 2019


ความส� ำ คั ญ ของพระราชพิ ธี อ ยู ่ ที่ ท รงรั บ น�้ ำ อภิ เ ษก ที่ พ ระที่ นั่ ง อั ฐ ทิ ศ อุ ทุ ม พรราชอาสน์ (อั ต -ถะ-ทิ ด อุ - ทุ ม -พอน-ราด-ชะ-อาด) เพื่ อ แสดงความเป็ น ใหญ่ ใ นทิ ศ ทั้ ง ๘ และได้ ยึ ด ถื อ พระราชพิ ธี ค รั้ ง นั้ น เป็ น แบบแผนต่ อ มา ถึ ง สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว โปรดให้ เ รี ย กพระราชพิ ธี ราชาภิ เ ษกนี้ ว ่ า “พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก”

ความส� ำ คั ญ ของพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษก หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จ พระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี-สิ-สิน-มะ-หา-วะชิ-รา-วุด พระ-มง-กุด-เกล้า-เจ้า-หยู่-หัว) กล่าวถึงความส�ำคัญ ของราชพิธีบรมราชาภิเษก “...ถือเปนต�ำรามาแต่โบราณว่า พระมหากษัตริย์ซึ่ง เสด็จผ่านพิภพ ต้องท�ำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะ เป็นพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์ ถ้ายังมิได้ท�ำพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกอยู่ตราบใด ถึงจะทรงรับรัชทายาท เมื่อเสด็จเข้าไป ประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็เสด็จอยู่เพียงณที่พักแห่งหนึ่ง พระนามขานก็คงใช้พระนามเดิม เปนแต่เพิ่มค�ำว่า “ ซึ่งทรง ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน” เข้าข้างท้ายพระนาม แลค�ำรับสั่งก็ ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะได้สรงมุรธาภิเษก ทรงรับ

พระสุพรรณบัฏจารึกพระบรมราชนามาภิธัย กับทั้งเครื่องราช กกุธภัณฑ์ (เครื่อง-ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน) จากพระมหาราช ครู พ ราหมณ์ ผู ้ ท� ำ พิ ธี ร าชภิ เ ษกแล้ ว จึ ง เสด็ จ ขึ้ น เฉลิ ม พระราช มณเฑียร ครอบครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ แห่งพระราชามหากระษัตริย์แต่นั้นไป...”

14 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

15 issue 133 FEBRUARY 2019


การอ่านพระไตรปิ ฎก

กับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปั จ จุ บั น มี ก ารผลิ ต พระไตรปิ ฎ กเผยแพร่ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ มากมาย เพื่ อ ให้ เ ข้ า ถึ ง ประชาชนคนไทยได้ อย่ า งสะดวกมากยิ่ ง ขึ้ น ก็ ด ้ ว ยจุ ด ประสงค์ ส� ำ คั ญ ให้ ป ระชาชนเข้ า ถึ ง หลั ก ธรรมทางพุ ท ธศาสนาอย่ า งถู ก ต้ อ งแท้ จ ริ ง ท่ า มกลางกระแสโลกที่ ผั น เปลี่ ย นอยู ่ ต ลอดเวลา สิ่ ง เดี ย วที่ จ ะเป็ น หลั ก ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของ ชาวพุ ท ธได้ ไ ม่ เ ปลี่ ย นแปลงก็ คื อ พระไตรปิ ฎ ก

16 IS AM ARE www.fosef.org


5 ค� ำ 5 ข้ อ กั บ การอ่ า นพระไตรปิ ฎ ก ท� ำ ไมเราต้ อ งอ่ า นพระไตรปิ ฎ ก

เช่นนี้ การอ่านพระไตรปิฎกจะช่วยเตือนให้ชาวพุทธรู้จัก เติมเต็มคุณธรรมให้ตัวเอง และสามารถน�ำไปปฏิบัติต่อผู้อื่นโดย ง่ายที่สุดคือการหาความสุขอันเกิดจากการไม่เบียดเบียนผู้อื่น อั น เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ ค รอบครั ว สั ง คม ประเทศชาติ เ กิ ด ความสงบสุข

1.มีความรู้ - รู้หน้าที่ชาวพุ ทธ

สิ่ ง ที่ ช าวพุ ท ธอาจจะหลงลื ม ไปก็ คื อ การนั บ ถื อ 3 ประการ นั่นคือ นับถือพระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือ พระสงฆ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ส�ำคัญของชาวพุทธ แต่เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานไปแล้ว พระองค์ให้ชาวพุทธนับถือธรรมะที่ ได้ ส อนไว้ เ ป็ น “ศาสดา” เหมื อ นกั บ เคยนั บ ถื อ ท่ า น ฉะนั้ น พระพุ ท ธศาสนาจึ ง ไม่ มี ก ารตั้ ง ประมุ ข ของศาสนาสื บ ต่ อ จาก พระพุทธเจ้า จึงเป็นที่มาของการรวบรวมค�ำสอนบรรจุไว้ใน หนังสือพระไตรปิฎก อันเสมือนตัวแทนของศาสดาที่แท้จริง หาใช่ความงมงายหลงผิดในเล่ห์กลพุทธพาณิชย์รูปแบบต่างๆ เช่นนี้ หากชาวพุทธไม่สนใจอ่านพระไตรปิฎก หรือไม่รู้ว่าจะ ศึกษาพระธรรมค�ำสอนไปท�ำไม ก็ได้ชื่อว่า ละเลยหน้าที่ของ ชาวพุทธ โดยไม่รู้ตัว

3.มีความพอประมาณ – น�ำมาใช้เฉพาะที่เป็ น ประโยชน์เท่านัน้

เรื่องราวและค�ำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก มี ม ากมาย ผู ้ อ ่ า นสามารถหยิ บ ยกค� ำ สอนหรื อ เรื่ อ งราวใด เรื่ อ งราวหนึ่ ง มาปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น ได้ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ความเหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ ไม่จ�ำเป็นต้องน�ำมาปฏิบัติทั้งหมด ยกตัวอย่าง ในสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ป่า ไม้ประดู่ลาย เขตเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงใช้ฝ่า พระหัตถ์ถือใบประดู่ลาย แล้วทรงตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า ใบประดู่ลายในฝ่าพระหัตถ์กับที่อยู่บนต้น อย่างไหนมีมากกว่า กัน พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า ใบประดู่ลายที่อยู่บนต้น นั้นมีมากกว่า

ค� ำ กล่ า วที่ ว ่ า ชาวพุ ท ธโชคดี ก็ คื อ ยั ง มี ค� ำ สอนใน พระไตรปิ ฎ กเสมื อ นเกราะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ช าวพุ ท ธ หลงทางไปโดยง่ า ย การอ่ า นหรื อ ศึ ก ษาพระไตรปิ ฎ ก จึ ง เสมื อ นภู มิ คุ ้ ม กั น ของผู ้ ค นให้ ส ามารถด� ำ รงอยู ่ ได้ อ ย่ า งไม่ เ ป็ น ทุ ก ข์ ต ่ อ ความเปลี่ ย นแปลงของโลก ใบนี้

2.มีคุณธรรม – มีความสุขโดยไม่เบียดเบียน

สิ่ ง หนึ่ ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า เน้ น ย�้ ำ เสมอ คื อ “การ ไม่ เ บี ย ดเบี ย นซึ่ ง กั น และกั น ” อั น จะเห็ น ได้ จ ากค� ำ สอนใน พระไตรปิฎก เช่น หนังสือพระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน หน้า 298 : ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก กล่าวคือ ครั้นครบ 7 วัน แล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธ ไป ยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้จิกนั้นตลอด 7 วัน ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพร�่ำเจือด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน พญานาคชื่อมุจลินท์มาวงด้วยขนดรอบพระกายของพระ ผู้มีพระภาค 7 รอบ เพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง เป็นต้น ทรงเปล่ ง อุ ท านปรารภสุ ข 4 ประการ คื อ สุ ข เพราะความ สงัด สุขเพราะไม่เบียดเบียน สุขเพราะปราศจากราคะ ก้าวล่วง กามเสียได้ และประการสุดท้าย สุขอย่างยอด คือการน�ำความ ถือตัวออกเสียได้

17 issue 133 FEBRUARY 2019


18 IS AM ARE www.fosef.org


พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ใบไม้ในก�ำมือของพระองค์ก็คือ ธรรมที่พระองค์น�ำมาสู่โลก เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ หลุดพ้น จากการเวี ย นว่ า ยตายเกิ ด ในสั ง สารวั ฏ นี้ แ ต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว เท่านั้น ส่วนใบไม้นอกก�ำมือ ต่อให้มีมากมายเต็มป่า พระองค์ ก็ไม่ทรงน�ำมาสอน เพราะไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ เช่นนี้ ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นเพียงใบไม้ในก�ำมือ เท่านั้น ยังมีใบไม้เต็มป่าเสมือนสิ่งที่พระองค์ยังไม่ได้บอกแม้จะ รู้ก็ตาม เพราะพระองค์ทรงสอนเฉพาะที่จ�ำเป็นต่อการหลุดพ้น เท่านั้น อย่างอื่นนอกจากนั้นรู้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

มนุษย์และการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 2,600 ปี ซึ่ง ปัจจุบันปัญหาหรือเรื่องราวนั้นๆ ก็ยังคงมีอยู่ แนวทางและวิธีแก้ ปัญหาก็ยังคงใช้ได้อยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่อ่านพระไตรปิฎก จึงได้รับประโยชน์เรื่องวิธีในการด�ำเนินชีวิตให้เกิดสุขแน่นอน

5.มีภูมิคุ้มกัน – รู ้วิธีพ้นทุกข์ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลง

แม้ว่าเรื่องราวและค�ำสอนในพระไตรปิฎกจะเกิดขึ้นมา แล้วกว่า 2,600 ปี แต่ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ไว้สามารถใช้ได้จนถึงปัจจุบัน ชาวพุทธจึงโชคดีที่มีสัจธรรมและ 4.มีเหตุผล – ได้รับประโยชน์ แนวทางพ้นทุกข์ให้ได้ศึกษาจวบจนทุกวันนี้ จะเห็นว่าโลกทุกวัน มี ผู ้ ก ล่ า วว่ า อ่ า นหนั ง สื อ ร้ อ ยเล่ ม ก็ ไ ม่ เ ท่ า อ่ า น นี้เต็มไปด้วยสิ่งเร้าให้หลงทางมากมาย มีค�ำสอนใหม่ๆ เกิดขึ้น พระไตรปิฎกเล่มเดียว เพราะสิ่งที่พระพุทธเจ้าทิ้งไว้ให้เป็น จากผู้ที่ตั้งตนเป็นศาสดา มีสิ่งยั่วยุใหม่ๆ เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ศาสดาแทนพระองค์เองก็คือพระธรรมค�ำสอนในพระไตรปิฎก มีค่านิยมแปลกๆ เกิดขึ้นให้หลงตาม ฯลฯ ค�ำกล่าวที่ว่าชาวพุทธ ซึ่งตรัสรู้และน�ำมาสอนแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการดับทุกข์ โชคดีก็คือ ยังมีค�ำสอนในพระไตรปิฎกเสมือนเกราะป้องกันไม่ให้ เท่านั้น เรื่องอื่นแม้ท่านจะรู้แต่ก็ไม่น�ำมาบอกเพราะบอกไปก็ ชาวพุทธหลงทางไปโดยง่าย การอ่านหรือศึกษาพระไตรปิฎกจึง ไม่มีประโยชน์ เช่นนี้ ผู้ที่อ่านพระไตรปิฎกก็สามารถเลือกมา เสมือนภูมิคุ้มกันของผู้คนให้สามารถด�ำรงอยู่ได้อย่างไม่เป็นทุกข์ ปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ทันที เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับ ต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้

19 issue 133 FEBRUARY 2019


cover story

มองโลกทางต�่ำ มองธรรมทางสูง รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล

อธิการบดี มศว

20 IS AM ARE www.fosef.org


21 issue 133 FEBRUARY 2019


คอนเวนต์ และระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอ�ำนวยศิลป์ ปริ ญ ญาตรี ด ้ า นเทคนิ ค การแพทย์ จ ากมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ปริญญาโทด้านพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2537 เพื่อศึกษาทางด้าน Microbiology จาก Virginia Polytechnic Institute and State University, Blacksburg, Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล เริ่มรับราชการที่ มศว เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ในฐานะอาจารย์ประจ�ำภาควิชาพยาธิ วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มศว มีความเชี่ยวชาญวิชาพยาธิ วิทยา วิชาทางพรีคลินิก ชีวภาพทางการแพทย์ ประกอบกับ รั ก การสอนหนั ง สื อ เพื่ อ ถ่ า ยทอดวิ ช าความรู ้ ท างการแพทย์ แก่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาในสถาบั น ต่ า งๆ ด้ ว ยการเป็ น อาจารย์ พิเศษ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์และคณะ เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาลัยพยาบาลราชบุรี มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อีกทั้งยังเป็นกรรมการฝ่ายประเมิน ผลการจัดอบรมแพทยศาสตร์ศึกษา คณะท�ำงาน Medical informatics ของกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย เป็น กรรมการสอบข้อเขียนและภาคความเหมาะสมกับต�ำแหน่ง และ ก้าวขึ้นเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัย มศว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นับเป็นอธิการบดีคนที่ 11 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

“ตั้งแต่เด็ก ผมมีนิสัยถ้าว่างแล้วชอบท�ำการบ้านให้เสร็จ พอกลับบ้านจะได้ว่าง มีเวลาท�ำอย่างอื่น” รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มศว มองย้อนชีวิตวัยเด็ก ในครอบครัวค้าขายย่านเยาวราช ภาพที่เห็นคือลูกชายคนสุด ท้องในจ�ำนวนพี่น้อง 6 คน ขะมักเขม้นคละกระดาษสีท�ำจาก ลังไม้ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว กระทั่งติดสอยห้อยตามไปกับ รถเพื่อส่งของให้ลูกค้าตามที่ต่างๆ “ตอนเด็กๆ เราต้องช่วยครอบครัวท�ำงาน เราเองก็ชอบ ค้าขาย เห็นซองจดหมายสมัยก่อนมีเหลือๆ อยู่ที่บ้าน เขาไม่ค่อย ได้ขาย เราก็หยิบมาเดินเร่ขายเป็นรายได้เสริม” อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ท่านใช้เวลาว่างที่มีในการ ท�ำการบ้านให้เสร็จ เพราะภารกิจที่บ้านยังคงรอให้ช่วยอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นลูกคนเล็กหรือคนโต ทุกคนต้องช่วยครอบครัว และ อยู่ในกรอบวินัยเสมอกัน และต้องท�ำหน้าที่รับผิดชอบการเรียน หนังสือของตนเองให้ดีที่สุด รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล ได้รับอิสระในการเลือก เรียนจากครอบครัวตั้งแต่เล็กจนโตควบคู่ไปกับการท�ำงานและ ความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง ก่อเกิดเป็นวินัยติดตัว มาจนถึงปัจจุบัน ท่านเริ่มการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟ 22

IS AM ARE www.fosef.org


“แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้ง ตอนปีพ.ศ. 2528 ผมมาท�ำงานวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ตอนนั้ น ยั ง รวมอยู่ในวชิรพยาบาล, วชิรพยาบาลเริ่ มต้ น โดย ท่านอาจารย์ปราโมทย์ วีรานุวัตติ์ ท่านอยากให้มีคณะแพทย์ ที่วชิรพยาบาล จึงต้องการภาคี เลยมาเสนอกับ มศว ซึ่งเขา ตอบตกลง ก็เลยได้มาอยู่กับ มศว เพราะฉะนั้นทางฝั่งแพทย์ คลินิกจึงไปตั้งที่วชิรพยาบาล ผมเข้าไปท�ำงานอยู่ที่วชิรพยาบาล ประมาณ 13 ปี ปัจจุบันคณะแพทย์ มศว ก่อตั้งมา 32 ปีแล้ว ครับ” หากพูดถึงการเรียนด้านพยาธิวิทยา เป็นการศึกษาและ วินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (ชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายัง หมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการด�ำเนินโรค ซึ่งหมาย ถึงพยาธิวิทยาทั่วไป พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการ ศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) แต่หลายคนมัก เข้าใจว่าวิชาพยาธิวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิต เนื่องจากมีค�ำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยว กับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทาง ด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพทย์

ถ้ า เรายั ง มี ค วามสามารถมี แ ขนมี ข า มี พ ลั ง กายพลั ง ใจที่ ส ามารถท� ำ ได้ ดั ง ค� ำ ที่ ว ่ า มองทางโลกให้ ม อง ทางต�่ ำ มองทางธรรมให้ ม องทางสู ง มองทางโลก ให้ ม องทางต�่ ำ ก็ คื อ เมื่ อ ยามที่ เ รารู ้ สึ ก มี ค วามทุ ก ข์ ลองดู สิ ว่ า มี ค นข้ า งหลั ง ที่ ทุ ก ข์ ก ว่ า เราอี ก เยอะ นับเป็นสายการเรียนที่ไม่ง่าย ทั้งยังมีผู้จบด้านนี้ไม่มาก รศ.ดร.สมชาย มองว่า ผู้ที่จะเข้ามาเรียนต้องมีใจรักจริงๆ เพราะ เนื้องานจ�ำเป็นต้องตรวจคนตายหรือชิ้นเนื้อที่ศัลยแพทย์หรือ หน่วยงานอื่นส่งมา เป็นต้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าท่านอธิการบดีสมชายเป็น ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นนักวิจัยในงานวิจัยเกี่ยวกับโรค ติดเชื้อ การเพาะเชื้อ จนท�ำให้ผลงานวิจัยด้านนี้ได้รับรางวัล ทั้งในและต่างประเทศในระดับชาติและระดับประเทศมากมาย รวม 49 รางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่ได้สร้างชื่อเสียง รางวัลและได้รับการยอมรับจากสังคมไทยและต่างประเทศว่า มีประโยชน์ต่อชีวิตและสุขภาพของคนทั่วไปเป็นอย่างมากใน ปัจจุบัน คืองานวิจัยเรื่อง “ชุดตรวจวัณโรคและวัณโรคดื้อยา” (TB & MDR-TB test kit) เป็นต้น 23

issue 133 FEBRUARY 2019


24 IS AM ARE www.fosef.org


โดยมหาวิ ท ยาลั ย มศว มี ร ะบบบริ ห ารจั ด การในรู ป วิทยาเขตมาจนถึง พ.ศ. 2533 รวมเวลา 16 ปี วิทยาเขตจึงเริ่ม แยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระโดยมีการบริหารจัดการและ งบประมาณเป็นของตนเอง ดังนี้ พ.ศ. 2533 วิทยาเขตบางแสน และวิทยาเขตพิษณุโลก ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาและ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พ.ศ. 2536 ยุบรวมวิทยาเขตปทุมวัน บางเขน และประสานมิตรเข้าเป็นวิทยาเขตกลาง, พ.ศ. 2537 วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ พ.ศ. 2539 วิทยาเขตสงขลายกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ทักษิณ ขณะที่มหาวิทยาลัยแม่ก็ขยายตัวไปที่อ�ำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ.2539 จากอดีตที่มีคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะ สังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย ช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ.2535 – 2539) จัดตั้งคณะ วิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) จัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์และ คณะพยาบาลศาสตร์ ทั้งนี้ จึงท�ำให้มหาวิทยาลัย มศว เป็นแหล่งรวมความรู้ ที่หลากหลาย เพื่อสร้างนิสิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของ ประเทศในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม

“ตั้ ง แต่ เ ด็ ก ผมเรี ย นได้ เ ลขตั ว เดี ย ว ถ้ า ได้ เ ลขสองตั ว คุณพ่อจะไม่ค่อยแฮปปี้” ท่านอธิการบดี มศว ยิ้มให้กับภาพ ในวัยเด็กและการศึกษาตลอดชีวิตที่ผ่านมา

เจริ ญ เป็ น ศรี ส ง่ า แก่ ม หานคร รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล กล่าวว่า มหาวิทยาลัย ศรี น คริ น ทรวิ โรฒ เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ในก� ำ กั บ ของรั ฐ เป็ น อาณาจักรแห่งความรู้ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ งานวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

ความเป็ น มาของมหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ ปีพ.ศ. 2516 ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในช่ ว งเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุ ด ใจ เหล่ า สุ น ทร ด� ำ รง ต�ำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และ ข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัย วิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครอง ที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่อง ตัวในการพัฒนาโครงสร้างการบริหารและการเรียนการสอน ที่จ�ำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความ หลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในปีถัดมา (29 มิถุนายน 2517) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี (พ.ศ. 2512 – 2521) 25

issue 133 FEBRUARY 2019


ผ่านองค์ความรู้และศาสตร์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จาก อาจารย์และครูสู่ศิษย์ จากบัณฑิตสู่ชุมชน ส่งทอดกันต่อไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จากพัฒนาการของมหาวิทยาลัยที่เริ่มต้นจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง สู่วิทยาลัยวิชาการศึกษา และก้าวหน้า จวบจนมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยได้มี ส่วนส�ำคัญในการผลิตบัณฑิตคุณภาพออกไปรับใช้สังคมในด้าน ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง “นโยบายในการบริ ห ารงานในปั จ จุ บั น ยั ง คงให้ ก าร สนั บ สนุ น การวิ จั ย ที่ มุ ่ ง เน้ น ไปสู ่ ก ารพั ฒ นานวั ต กรรมการ เรียนรู้ครอบคลุมในมิติต่างๆ การส่งเสริมให้นิสิตมีองค์ความรู้ ทางวิชาการและมีอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับบริบทและจริยธรรม ของสั ง คม การส่ ง เสริ ม การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ซึ่ ง กั น และกั น ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน รวมถึงความร่วมมือในระดับ สากลและเครือข่ายทางวิชาการ อันสอดคล้องกับทิศทางใน การพัฒนามหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นในเชิง ‘คุณค่า’ ไปสู่การเป็น มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ปั ญ ญา เพื่ อ คุ ณ ธรรม เพื่ อ ความพอเพี ย ง และเป็ น ที่ พึ่ ง ของประชาชนได้ อ ย่ า งสง่ า งาม ให้ ส มกั บ นาม พระราชทานจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันมีมงคล ความหมายว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยที่ เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร”

ด� ำ เนิ น ชี วิ ต - บริ ห ารงานด้ ว ยมุ ม มองธรรมะ “คนเราเกิดมามีกรรม - ก�ำอะไรมาไม่ได้สักอย่าง ตายไป มือแบ แบไปก็เอาอะไรไปไม่ได้” คือหลักคิดของ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มศว คนปัจจุบัน แม้จะผ่านการเรียน การศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ มามากมาย จนกระทั่งก้าวขึ้นเป็น อธิการบดี แต่ รศ.ดร.สมชายก็ยังเตือนสติตัวเองด้วยหลักคิด คติธรรมดังกล่าวอยู่เสมอ หากจะถามว่าอธิการบดีท่านนี้น้อมน�ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตยังไง ค�ำตอบคือ หลักคิดดังกล่าวนี้เอง ช่วยให้ผู้คิดรู้จักประมาณตนเอง ไม่โลภ อย่างมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กล่าวคือ การระลึกถึงความตาย มีค่ามากกว่าที่คิด เพราะปัจจุบันหลายคนใช้ชีวิตเพลิดเพลินจน ลืมไปว่าไม่สามารถน�ำอะไรติดตัวไปได้เมื่อสิ้นอายุไข “จริงๆ เรามองแบบนี้ครับ เรามีความพออยู่ในตัวอยู่ แล้ว ไม่รู้ว่าในชีวิตนี้เราจะเอาอะไร เพราะว่าคนเราเกิดมามี กรรม ก�ำอะไรมาไม่ได้สักอย่าง ตายไปมือแบ แบไปก็เอาอะไร ไปไม่ได้ สิ่งที่เอาไปได้ก็คือบุญกับบาปที่ติดตัวเราไปทุกภพทุก ชาติ แต่ถ้าเราติดอยู่กับบุญกับบาปเราก็จะไม่นิพพาน เพราะ เราติดอยู่กับมัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าถึงนิพพานเราก็จะ ต้องล้างบุญล้างบาป “ผมเป็นคนที่สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรม ต้องมีพรหม วิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหลักในการท�ำงาน พระพุทธเจ้าสอนว่าเมตตาชนะทุกสิ่ง ที่ส�ำคัญ เราเป็นคนที่อยู่ ในอ�ำนาจต้องเป็นคนที่มีความยุติธรรม ต้องเป็นคนที่มีความ เมตตา ยุติธรรมก็ต้องยุติธรรมแบบเปาบุ้นจิ้น ถ้าหากว่าเราท�ำ อะไรที่ไม่ยุติธรรม คนอื่นก็จะมองเราไม่ดี ซึ่งจริงๆ ไม่ควรจะ เป็นอย่างนั้น 26

IS AM ARE www.fosef.org


ได้ สามารถฝันฝ่าในทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยความพยายามและ ความมุ่งมั่นของเรา หากเราไม่มีแรงบันดาลใจ ก็ลองดูว่าคนที่ ตกทุกข์ได้ยากที่ต�่ำต้อยมากกว่าเรา พิกลพิการขอทานอยู่ เขา ยังมีชีวิตอยู่ได้เลย แม้แต่สัตว์ยังมีชีวิตที่อยากจะอยู่รอดอยู่ได้ แล้วเราเป็นคนท�ำไมเราจึงจะไม่อยากอยู่ ท�ำไมเราจึงไม่ท�ำให้ เกิดอะไรที่ดีกว่านั้น “ถ้าเรายังมีความสามารถมีแขนมีขา มีพลังกายพลังใจ ที่สามารถท�ำได้ ดังค�ำที่ว่า มองทางโลกให้มองทางต�่ำ มองทาง ธรรมให้มองทางสูง มองทางโลกให้มองทางต�่ำก็คือ เมื่อยามที่ เรารู้สึกมีความทุกข์ลองดูสิ ว่ามีคนข้างหลังที่ทุกข์กว่าเราอีก เยอะ แล้วทุกข์กว่าเรามากกว่าอีกเยอะ เพราะฉะนั้นตรงนี้จะ เป็นก�ำลังใจให้เรารู้สึกว่า เราไม่ใช่เป็นคนทุกข์คนเดียวในโลก นี้ มีคนทุกข์มากกว่าเราอีกเยอะ มองทางธรรมให้มองทางสูง หมายถึงว่า เมื่อเราจะไปถึง เราก็ต้องไปดูเห็นไหมว่าข้างบนมี คนที่ไปถึงระดับพระนิพพาน อย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ นั่นคือมองทางธรรมให้มองทางสูงแล้วเราก็ ปฏิบัติให้ถูกในอีกระดับหนึ่ง ก็จะน�ำชีวิตไปในทางที่ดีที่สูงขึ้น ได้” อธิการบดี มศว กล่าวทิ้งท้าย

“เรื่องความยุติธรรม ผมบอกทุกคนเสมอ ทุกคนต้อง ท�ำตามระเบียบข้อบังคับอย่าไปหลีกเลี่ยง ให้ท�ำให้ถูกต้อง อีก หน่อยมันก็สบายใจ ทุกคนต้องท�ำตาม ต้องมีความอดทนอดกลั้น คือขันติ แล้วต้องมีโสรัจจะ ละอายต่อการท�ำชั่วและท�ำบาป ซึ่ง ส�ำคัญมาก ผมเป็นคนถือศีล 5 ตั้งแต่ผมกลับมาจากอเมริกา ผม บวชที่วัดเทพศิรินทราวาส สึกมาปี 2542 เพราะว่าบนให้แม่หาย ตอนแม่ไม่สบายหนัก ซึ่งแม่ก็ดีขึ้นมาตลอด ตอนสึกก็รู้สึกว่าศีล 227 ข้อยังรักษาได้ แค่ศีล 5 ข้อท�ำไมยังรักษาไม่ได้ เลยตั้งสัตย์ กับพระอุปัชฌาย์ว่าจะถือศีล 5 ตลอดชีวิต ซึ่งก็ถือมาตลอด “เรารู้สึกว่าชีวิตมันก็มีแค่นี้ เกิดมาเดี๋ยวก็ต้องตาย ใน ชีวิตตั้งใจไว้ว่าจะไม่มาเกิดอีกแล้ว ถ้าเป็นไปได้จะขอชาตินี้เป็น ชาติสุดท้าย เพราะฉะนั้น การรักษาศีล 5 เป็นก้าวหนึ่งของ การเข้าอริยสมบัติก็คือ โสดาบันเป็นเบื้องต้น ปฏิบัติไปเรื่อยๆ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์” ฝากถึ ง เยาวชน : มองโลกให้ ม องทางต�่ ำ มองทาง ธรรมให้ ม องทางสู ง “คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราสามารถก�ำหนดตัวเราเอง

27 issue 133 FEBRUARY 2019


28 IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 29 issue 133 FEBRUARY 2019


30 IS AM ARE www.fosef.org


31 issue 133 FEBRUARY 2019


32 IS AM ARE www.fosef.org


33 issue 133 FEBRUARY 2019


34 IS AM ARE www.fosef.org


35 issue 133 FEBRUARY 2019


36 IS AM ARE www.fosef.org


37 issue 133 FEBRUARY 2019


38 IS AM ARE www.fosef.org


39 issue 133 FEBRUARY 2019


40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 133 FEBRUARY 2019


ภาพวาดโดย : พลเดช วรฉัตร

“ท�ำไมอนุสาวรีย์จึงล้ม? ข้อคิดจากบทพระราชนิพนธ์ “รูปสลักหินวีรบุรุษโบราณ” 42 IS AM ARE www.fosef.org


เมื่ อ วั น ที่ 26 มี น าคม 2562 สมเด็ จ พระเทพรั ต น ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็น ประธาน และร่วมทรงดนตรีในการบรรเลงปี่พาทย์ดึกด�ำบรรพ์ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 102 ปีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในการนี้ได้พระราชทานการแสดงประจ�ำปีชุด “รูป สลักหินวีรบุรุษโบราณ” ซึ่งนอกจากจะทรงอ�ำนวยการแสดง ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังพระราชทานบทกลอนพระราชนิพนธ์ ส�ำหรับเป็นบทร้องด้วย ทั้งนี้ทรงน�ำเนื้อเรื่องของบทกลอนพระราชนิพนธ์มาจาก งานของนักประพันธ์จีนนาม “เย่เซิงเถา” ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2473) มีความเล่าโดยย่อว่า: กรมการเมืองเห็นควรให้สร้างรูปสลักหินวีรบุรุษไว้เพื่อ เป็ น อนุ ส รณ์ เ ตื อ นใจให้ ป ระชาชนท� ำ ความดี ด� ำเนิ น รอยตาม จึงได้ว่าจ้างให้ประติมากรมากฝีมือคัดเลือกหินและแกะสลัก อนุสาวรีย์นั้น ประติมากรได้เลือกหินใหญ่จากภูเขาก้อนหนึ่ง เมื่อสลักประติมากรรมวีรบุรุษแล้วก็ได้น�ำเศษหินก้อนเล็กก้อน น้อยที่เหลือจากหินก้อนเดียวกันมาท�ำฐานอนุสาวรีย์ กาลผ่านไปเมื่อรูปสลักหินวีรบุรุษได้รับการเคารพกราบ ไหว้จากชาวเมืองก็บังเกิดความหยิ่งผยองล�ำพองใจ พูดจาอวด ข่มดูแคลนหินก้อนเล็กก้อนน้อยที่เป็นฐานอนุสาวรีย์ ท�ำให้ บรรดาหินก้อนเล็กก้อนน้อยไม่พอใจ กล่าวว่าทั้งรูปสลักวีรบุรุษ และพวกตนล้วนมาจาก “หินก้อนเดียวกัน” และแล้วกลางดึกคืนนั้นอนุสาวรีย์ก็ล้มทลายลงมาเป็น เศษเล็กเศษน้อย ทางกรมการเมืองจึงน�ำเศษหินไปสร้างถนน ไปภาคเหนือ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เหล่าหินที่เคยเป็นฐานอนุสาวรีย์ต่าง พอใจใน “ความเท่าเทียม” ทว่าประติมากรผู้สร้างรูปสลักกลับ เสียใจเป็นอันมากที่ผลงานชิ้นเอกของตนพังเสียหายไม่เหลือ ชิ้นดี และสาบานกับตนเองว่าชาตินี้จะไม่ท�ำงานศิลปะอีกแล้ว

ในท้ายบทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนฯ ได้ทรง ตั้งค�ำถามชวนคิดไว้ว่า “ท�ำไมอนุสาวรีย์จึงล้ม?” หลังจากได้ชมการแสดงพระราชทานนี้แล้ว พสกนิกร นิสิตเก่าคนนี้ก็ยิ่งชื่นชมในพระอัจฉริยภาพขององค์ผู้พระราช นิพนธ์มากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ที่พระองค์ท่านได้พระราชทาน “ข้อคิดสะกิดใจ” ผ่านการแสดงพระราชทานได้อย่างแนบเนียน จึงใคร่ขออนุญาตตีความตัวบทพระราชนิพนธ์ดังนี้ว่า รูปสลักวีรบุรุษโบราณ หมายถึง “ผู้ใหญ่” ทั้งในแง่ของ สถานภาพทางสังคม (ความเป็นวีรบุรุษสูงส่ง) และในแง่ของ วัยวุฒิ (ความโบราณ) หินก้อนเล็กฐานอนุสาวรีย์ หมายถึง คนธรรมดาสามัญใน สังคม (ความเป็นฐาน) และคนรุ่นใหม่ (ความเป็นหินก้อนเล็ก) การที่เคยเป็นหินก้อนเดียว หมายถึง ความเท่าเทียม กันในฐานะมนุษย์ เมื่อสัญลักษณ์ในตัวบทเป็นดังนี้แล้ว คติธรรมจากบท พระราชนิพนธ์จึงได้แก่...ผู้ใหญ่ไม่พึงล�ำพองใจ หลงติดในความ ดีวิเศษ ความเหนือกว่าของตนจนดูถูกกดขี่ผู้น้อย เพราะนั่น เท่ากับการท�ำลายตนเองอย่างโง่เขลาเปล่าประโยชน์ ส่วนผู้น้อยนั้นแม้ว่าการ “ท�ำลายผู้ใหญ่” อันรวมไป ถึง “มรดกทางวัฒธรรมประเพณี” (สื่อแทนด้วย “ฝีมือของ จิตรกร”) จะน�ำมาซึ่งสิ่งที่ตนคิดว่าเป็น “ความเท่าเทียม” ทว่าก็ สร้างความสูญเสีย “ความหมายและความงามทางจิตวิญญาณ” ของสังคมแบบที่ไม่สามารถน�ำกลับคืนมาได้เช่นกัน (สื่อด้วยการ ที่ประติมากรเลิกสร้างงานศิลปะ) นี่ ถ ้ า ประชาชนคนไทยทุ ก หมู ่ เ หล่ า มี โ อกาสได้ชมการ แสดงพระราชทานชุดนี้ด้วยปัญญาและดวงใจอันปราศจากอคติ คงจะดีไม่น้อยเลย ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 43

issue 133 FEBRUARY 2019


ศาสนา กับ ความรัก

ความรั ก เป็ น อารมณ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความเสน่ ห า ความผู ก พั น ทางอารมณ์ อ ย่ า งแรงกล้ า ในบริ บ ททาง ปรั ช ญา ความรั ก เป็ น คุ ณ ธรรมสะท้ อ นถึ ง ความเมตตา ความเห็ น อกเห็ น ใจและความเสน่ ห าทั้ ง หมดของ มนุ ษ ย์ ในบางศาสนา ความรั ก ใช่ เ พี ย งคุ ณ ธรรมอย่ า งหนึ่ ง เท่ า นั้ น หากเป็ น พื้ น ฐานทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งของ การมี อ ยู ่ เป็ น จุ ด ก� ำ เนิ ด ของกฎสวรรค์ และในแต่ ล ะศาสนาก็ มี แ นวคิ ด มุ ม มอง และหลั ก ค� ำ สอนที่ แ ตก ต่ า งกั น ไป อาจบางที จ ะช่ ว ยให้ ผู ้ อ ่ า นมี มุ ม มองความรั ก ที่ ส มบู ร ณ์ ยิ่ ง ขึ้ น หรื อ แตกต่ า งออกไป ก็ แ ล้ ว แต่ จะพิ จ ารณา ไม่ มี ผิ ด หรื อ ถู ก 44 IS AM ARE www.fosef.org


ศาสนาพุ ท ธ : ความรั ก คื อ ความทุ ก ข์ ความรักในมุมมองศาสนาพุทธ กล่าวว่า ความรักคือ ความทุกข์ รักน้อยทุกข์น้อย รักมากทุกข์มาก ไม่รักเลยไม่ทุกข์ เลย ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ หากแต่ค�ำกล่าวนี้ แท้จริงไม่ได้ห้าม คนรักกัน แต่ความรักที่ให้แก่กันควรเป็นความรักที่มอบให้อย่าง บริสุทธิ์ใจ มีเมตตา ไม่คิดยึดติดในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง หรือความรู้สึกต่อความรักนั้นๆ การแผ่เมตตาก็ถือเป็นความ รักรูปแบบหนึ่ง ศาสนาพุทธแบ่งความรัก (ปิยัง) เป็น 4 อย่าง คือ 1. สิเนหา ความรักที่เกิดจากความต้องการทางเพศหรือ ลุ่มหลงเทิดทูน 2. ปิยะ ความรักที่เกิดจากสัญชาติญาณหรือความรัก ในเครือญาติ 3. เปมัง ความรักที่เกิดจากความผูกพัน และช่วยเหลือ กันมา 4. เมตตา ความรักที่เกิดจากการฝึกให้คุณธรรมเกิดมีขึ้น ในจิตใจให้รักผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว พุทธศาสนา จึงสอนว่า... ความรัก เป็น อนิจจัง คือไม่เที่ยงมีก ารเปลี่ ย นแปลง ตลอดเวลา ความรัก เป็นทุกข์ เพราะเมื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เรารับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ จึงเกิดทุกข์ ความรัก เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แน่นอน เพราะมี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดในโลกนี้...คือ ศาสนาคริ ส ต์ : รั ก คื อ สิ่ ง สู ง สุ ด ความไม่แน่นอนนั่นเอง ศาสนาคริสต์ถือว่า ความรักคือสิ่งสูงสุด คือทุกสิ่ง คือ พระลักษณะของพระเจ้า คือพระเจ้า พระเจ้าคือความรัก ความ รักของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือนความรักที่พระเยซูมี ต่อเรา โดยลงมาตายบนไม้กางเขน ที่หาค่าไม่ได้ และไม่ต้องการ สิ่งใดตอบแทน พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าที่ปรารถนาจะท�ำทุก อย่างเพื่อให้ได้กลับคืนดีกับเราอีก นอกจากนี้ ความรักเป็นสิ่ง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และนอกจากนั้นพระคัมภีร์ยังเตือนว่า การมีทุก สิ่งทุกอย่างนั้นก็ดี แต่ถ้าหากปราศจากความรักแล้วจะมีคุณค่า ก็หาไม่ ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ แม้การเผยพระวจนะก็จะเสื่อม สลายไป แม้การพูดภาษาแปลกๆ ก็จะเลิกพูดกัน แม้วิชาความ รู้ก็จะเสื่อมสลายไป พระองค์เองยังทรงย�้ำอีกว่า คนที่เป็นสาวก ของพระองค์ต้องมีความรัก ความรักในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ไม่ใช่การตามใจ แต่คือ การเตือนสติกันด้วยความรัก เพื่อมุ่ง ปรารถนาให้คนๆ นั้นกลับตัวกลับใจเสียใหม่ในเรื่องที่ท�ำผิด 45 issue 133 FEBRUARY 2019


“ความรั ก ” เป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วามหมายลึ ก ซึ้ ง ไม่ ว ่ า จะเป็ น ความรั ก ของใคร ในระดั บ ใด เมื่ อ เอ่ ย ค� ำ ว่ า “รั ก ” ออกมาจากใจแล้ ว แทบจะไม่ ส ามารถ นิ ย าม ความหมายเป็ น ค� ำ พู ด หรื อ ตั ว อั ก ษรได้

46 IS AM ARE www.fosef.org


ใจแล้ว แทบจะไม่สามารถนิยาม ความหมายเป็นค�ำพูดหรือ ตัวอักษรได้ “ศาสนา” เมื่ อ เอ่ ย ถึ ง ค� ำ นี้ ย่ อ มคิ ด ไปได้ ใ นหลายสิ่ ง หลายประการ บางคนอาจคิดถึงค�ำสอนของศาสนา บางคน คิดถึงอ�ำนาจที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ บางคนคิดถึงความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องในวิถีชีวิต ความจริงศาสนากับมนุษย์เป็นสิ่งที่ผูกพัน กันแนบแน่น ความส�ำคัญจึงอยู่ที่ว่า ท�ำอย่างไรเราจึงจะอยู่ร่วมกัน ได้ด้วยความรัก ความเข้าใจ และความเอื้ออาทรต่อกัน แม้ว่า เราจะต่างศาสนากัน เพราะ “ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็น คนดี” ความรักในศาสนาเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ เป็นความรัก ที่ปรารถนาให้เพื่อนร่วมโลกมีความสุข และเข้าถึงเป้าหมาย สูงสุดในชีวิต มิใช่ความรักต่อมวลมนุษย์หรอกหรือ ที่พระพุทธเจ้า ยอมสละความสุข ในโลกียวิสัย มุ่งสู่ความหลุดพ้นจากกิเลส เครื่ อ งร้ อ ยรั ด และกามคุ ณ ทั้ ง หลาย และได้ เ ป็ น ที่ พึ่ ง ของ พุทธศาสนิกชนมาจนถึงทุกวันนี้

ศาสนาอิ ส ลาม : รั ก คื อ การเติ ม เต็ ม ระหว่ า งชายหญิ ง ความรั ก ที่ อั ล กุ ร อานและท่ า นนบี ใ ห้ ค วามหมาย คื อ การเติมเต็มระหว่างชายหญิง ให้หัวใจที่รุ่มร้อนและอารมณ์ รบเร้าของบุรุษ ‘สงบ’ อยู่กับ ‘นาง’ ของเขา ในขณะที่นางก็ไม่ สามารถที่จะปฏิเสธ ‘เขา’ ได้ เพราะนางเป็นส่วนหนึ่งที่ดั้งเดิม แล้ว มาจากตัวของเขาเอง มีการอธิบายในลักษณะนี้อย่างชัด เจนในอัลกุรอานความว่า (อบู ดาวูด 236) “พวกนางเป็นอาภรณ์ให้แก่พวกเจ้า และพวกเจ้าก็เป็น อาภรณ์ให้แก่พวกนาง” ในภาษาอาหรับมีค�ำที่เกี่ยวข้องกับค�ำว่า ‘รัก’ มากกว่า สี่สิบค�ำตามที่อิบนุล ก็อยยิมได้หยิบยกมาในหนังสือของท่าน เราะเฎาะตุลมุหิบบีน วะ นุซฮะตุล มุชต๊ากกีน “...ข้าพเจ้าว่าไม่จ�ำเป็นที่เราต้องให้ความหมายว่า อะไร คือความรัก เพราะในที่สุดแล้ว พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าความ รักคืออะไร และพระองค์เท่านั้นที่ก�ำหนดว่าความรักอันเที่ยงแท้ และสูงส่งเป็นเช่นไร อย่าได้รู้สึกอัศจรรย์ใจ ถ้าหากพบว่ามีการ กล่าวถึงความรักในค�ำสอนของอิสลาม อันที่จริงมีเรื่องราวต่างๆ มากมายที่เป็นความงดงามสมบูรณ์ในค�ำสอนอันบริสุทธิ์ น่า เสียดายที่ไม่มากคนเคยได้รับรู้ เพราะน้อยคนนักที่สามารถเผย ความงดงามที่สมบูรณ์นี้ได้ อาจจะเป็นเพราะเราไม่ได้ปรารถนา ที่จะรู้ตั้งแต่ต้น...”

ความรั ก คื อ ความทุ ก ข์ รั ก น้ อ ยทุ ก ข์ น ้ อ ย รั ก มาก ทุ ก ข์ ม าก ไม่ รั ก เลยไม่ ทุ ก ข์ เ ลย ที่ ใ ดมี รั ก ที่ นั่ น มี ทุ ก ข์ หากแต่ ค� ำ กล่ า วนี้ แท้ จ ริ ง ไม่ ไ ด้ ห ้ า มคนรั ก กั น แต่ ความรั ก ที่ ใ ห้ แ ก่ กั น ควรเป็ น ความรั ก ที่ ม อบให้ อ ย่ า ง บริ สุ ท ธิ์ ใ จ มี เ มตตา ไม่ คิ ด ยึ ด ติ ด ในอารมณ์ รู ป รส กลิ่ น เสี ย ง หรื อ ความรู ้ สึ ก ต่ อ ความรั ก นั้ น ๆ

มิใช่ความรักต่อมวลมนุษย์หรอกหรือ ที่พระเยซูยอมสละ ชีพของพระองค์บนไม้กางเขน เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ มิ ใช่ ค วามรั ก ต่ อ มวลมนุ ษ ย์ ห รอกหรื อ ที่ ท ่ า นศาสดา มูฮัมหมัดยอมอดทนต่อสู้ความยากล�ำบากเพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก พระเจ้าและเข้าถึงพระองค์ ใช่หรือไม่ ด้วยความรักที่พระพุทธเจ้า พระเยซู และท่าน ศาสดามูฮัมหมัด มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสิ่ง-โลกนี้จึงอยู่รอด มาได้ตราบจนปัจจุบัน

รั ก คื อ การเสี ย สละ “ความรัก” เป็นสิ่งที่มีความหมายลึกซึ้งไม่ว่าจะเป็น ความรักของใคร ในระดับใด เมื่อเอ่ยค�ำว่า “รัก” ออกมาจาก 47 issue 133 FEBRUARY 2019


ตฺตํ นาม ญาตํุ ทุกฺกรํ โหติ. จิตเป็นสภาวะที่ยากต่อการเรียนรู ้ สุญฺเญกปญฺจทฺวิวสฺเส, เวสาเข กาฬปกฺขเก, ทุติเย ครุวารมฺหิ, ปาฐสาลา สุมาปิตา. ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนบาลีใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค�่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๕๑๐ มหาเถ.ราสโภ หิ โภนฺโต อมฺหากํ ปาฬิวาจโก โหติ โอวาทา นุสานีทายโก อาจริยวโร สาสนจกฺขุโท สาสนสฺส ปิตา วิย. พระมหาเถระผู้ประเสริฐนั้นคือบรมครูผู้สอนบาลีใหญ่ให้แก่ เราทั้งหลาย เป็นผู้อบรมพร�่ำสอนทั้งธรรมและวินัยให้แก่พระ ภิกษุสามเณร เป็นผู้ให้ดวงตาในพระศาสนา เป็นดุจบิดาแห่ง ศาสนาของเราครับ

อาจริยคุณํ สกฺกจฺจํ อหํ วนฺทามิ. ขอน้อมไหว้พระคุณของครูด้วยความเคารพ

สาธุ อาธุนิโก ชโน พุทฺธสาสนํ ญาตุกาโม ปาฬิภาสํ ชาเนยฺยาถ. ดีครับ, คนรุ่นใหม่ถ้าต้องการรู้พระพุทธศาสนา จ�ำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาบาลีก่อนครับ

อยญฺหิ มหาเถรวโร ธมฺมานนฺโทตินามิโก โหติ. พระมหาเถระผู้ประเสริฐท่านนี้มีนามว่า “ธัมมานันทะ”

สุขิโต โหหิ ปุพฺพณฺเห, สายณฺเห สุขิโต สทา. ขอให้มีความสุขทั้งในยามเช้าและยามเย็นทุกเมื่อเทอญ

โส ชาติยา มรมฺมิโก โหติ. ท่านเป็นพระเถระชาวเมียนม่าโดยก�ำเนิด

กจฺจิ โว ขมนียํ, กจฺจิ ยาปนียํ? ท่านทั้งหลายสบายดีนะครับ

วิชฺชาย สาสนธชสิรีปวรธมฺมาจริโยปาธิโก โหติ. ท่านมีวุฒิการศึกษาจากประเทศเมียนมาว่า “สาสนธชสิรีปวรธัมมาจริยะ”

อาจริยํ วนฺทามิ = สวัสดีคะคุณครู อตฺตโน จิตฺตํ วิชานาม. เรา ทั้งหลาย จงพยายามเรียนรู้สภาวะจิตใจของตนเองเถิด

โนสุญฺญปญฺจสตทฺวิสหสฺเส พุทฺธวสฺเส “ท่ามะโอ” วิหาราธิปติ โหติ. ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ในปีพุทธศักราช 2509

จิตฺตํ นาม ญาตํุ ทุกฺกรํ โหติ. จิตเป็นสภาวะที่ยากต่อการเรียนรู้ครับ ปุญฺญํ นาม อมฺหากํ นิสฺสโย โหติ. บุญคือบ้านเป็นที่อาศัยเป็นที่หลบภัยในสังสารวัฏ ของเราทั้งหลายครับ

จตุตฺโถ อารามาธิโป โหติ. เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ 48

IS AM ARE www.fosef.org


พุ ท ธภารตี by. จ� ำ รู ญ ธรรมดา

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโยติ ภควตา วุตฺตํ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า “การสั่งสมบุญ คือที่มาแห่งความสุข”

สิ่งแต่ก็ท�ำตนเองเป็นดุจผู้โง่เขลา ไม่ยอมพูดจาใดๆ ง่ายๆ ประพฤติตนมิให้ข้องติดอยู่กับสิ่งใดๆประดุจลมที่พัดไปตลอด กาลเวลาฉันนั้น

สพฺพคํ ปรมตฺตานํ, ญาณจกฺขุ นิริกฺขเต, อญฺญาณจกฺขุ นิกฺเขยฺย, ภานุมนฺโธว ภานุมํ. ผู้มีญาณจักษุ ย่อมพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ทุกที่ เป็นสภาวธรรม, ส่วนคนพาลผู้ปราศจากญาณจักษุย่อมไม่เห็น ซึ่งสภาวะนั้น ราวกะว่าคนตาบอดไม่เห็นแม้กระทั่งดวงอาทิตย์ ที่มีรัศมีเจิดจ้าฉันนั้น ญาณจักขุ ก็คือ ปัญญาจักษุ องค์ธรรม หมายถึง ปัญญา ครับ

ตุมฺเห โภนฺโต อีทิสํ ปาฬึ ทิสฺวา กึ กโรถ. ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย, เมื่อท่านเห็นบาลีแต่ละบทที่กระผมบรรจงมอบให้แล้ว ท่านควรท�ำอย่างไร บาลีนั้นจึงจะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ ท่านทั้งหลายได้ครับ ๑.ฝึกอ่าน ๒.ฝึกแปลเป็นค�ำๆ ๓.ฝึกท�ำความเข้าใจค�ำที่ยังไม่รู้ ๔.ฝึกแปลเป็นส�ำนวนไทยให้สุดเจ๋ง ๕.ฝึกน้อมน�ำเอาสิ่งที่เป็นสาระไปปฏิบัติให้เกิดผล

อุฏฺฐหิตฺวาน อตฺตานํ, วีมํเส’ว ขเณ ขเณ, อุชุโก สติมา ปญฺโญ, “อิทานาหํ กโรมิ กึ”. ทุกครั้งที่ตื่นนอนตอนเช้าให้เราหมั่นพิจารณาตนเองอยู่เนืองๆ อย่างซื่อตรง มีสติและรอบคอบดังนี้ว่า:“ตอนนี้เราก�ำลังท�ำอะไรอยู่”

วายเมหิ จงเพียรพยายามครับ

อุปาธิฏฺโฐปิ ตทฺธมฺม- นิลฺลิตฺโต ขํ ยถา มุนิ, สพฺพญฺญู มุฬฺโหว ติฏฺเฐ, อสตฺโต วายุ วา จเร. พระมุนีนั้นแม้จะด�ำรงอยู่ในขันธ์อันเป็นที่ยึดมั่นถือมั่นของ กิเลสแต่ท่านก็ไม่ติดข้องอยู่ใน ขันธ์นั้น ประดุจท้องฟ้าอัน ไม่มีการติดข้องกับสิ่งใดๆ, พระมุนีนั้นแม้จะเป็นผู้ที่รู้ทุกสรรพ

สกฺกจฺจสวนํ พุทฺธสาสนสมฺปตฺติ. ความสมบูรณ์แห่งพระพุทธศาสนามาพร้อมกับความตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียนของพุทธบริษัทครับ พบกันฉบับต่อไปครับ

จ�ำรูญ ธรรมดา หรือ อาจารย์จ�ำรูญ ธรรมดา นักวิชาการ (ประกาศนียบัตรบาลี ใหญ่วัดท่ามะโอ อันดับ ๑ รุ่นที่ ๔, สาสนธชธัมมาจริยะ (ปาฬิ), ปร.ด. (กิตติมศักดิ์), B.Ed) ที่ปรึกษา พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ( ป.ธ.๙, ประกาศนียบัตรบาลีใหญ่วัดท่ามะโอ อันดับ ๑ รุ่นที่ ๕, สาสนธชธัมมาจริยะ, อุภโตวิภังคธระ, อุภโตวิภังคโกวทะ, วินยปาฬิ ปารคู) ผู้บริหารและคณาจารย์อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มจร. วัดมหาธาตุฯ อาจารย์จ�ำรูญ ธรรมดา สามารถเขียน อ่าน พูด ภาษาบาลีในชีวิตประจ�ำวัน ได้ ด้วยความช�ำนาญ ท่านเป็นลูกศิษย์ พระมหาเถระชาวเมียนมา นามว่า “ธัมมานันทะ” เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ วัดท่ามะโอ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนบาลีใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๑๐ อาจารย์จ�ำรูญ เชื่อว่า หากต้องการศึกษาพระพุทธศาสนาจ�ำเป็นต้องรู้ภาษาบาลี เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง แต่ ทว่า เยาวชนไทยกับภาษาบาลีอาจะยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก อาจารย์จ�ำรูญจึงยกประโยคสั้นๆ ในชีวิตประจ�ำวันพร้อมสอด แทรกมุมมองพระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีและภาษาไทยควบคู่กันในคอลัมน์นี้ เพื่อเป็นตัวอย่างในการท�ำความเข้าใจและ เรียนรู้ภาษาบาลีของผู้สนใจต่อไป ปรึกษาเรื่องภาษาบาลีเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook - จ�ำรูญ ธรรมดา 49 issue 133 FEBRUARY 2019


บทเรียนชี วิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 21 : ผู้น�ำจิตอาสาครอบครัวพอเพียง Leader Volunteer

กิจกรรม “ศึกษาเรียนรู้การสร้างแนวความคิดด้านจิตอาสา” ร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ระหว่างวันที่ 23 - 26 มกราคม 2562 ณ โรงเรียนฉือจี้ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รวมพลรวมทีมครูผู้น�ำจิตอาสาครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ ครูผู้ร่วมอุดมการณ์ ฝึกศิษย์ให้เป็น “ผู้ให้” ร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวความคิด เสริมแรงบันดาลใจ ครูพร้อมให้ ศิษย์พร้อมรับ ครูครอบครัวพอเพียง สร้างเด็กและเยาวชน สร้างคนดีให้แผ่นดิน ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญเท่าส่วนรวม เมื่อส่วนรวมพ้นทุกข์ เราจะสุขร่วมกัน เพื่อศิษย์ New gen so good ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ จิตอาสา ครูไทยหัวใจพอเพียง เพิ่มมิตรเสริมแรง พร้อมๆค่ะ

50 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่ า เรื่ อ ง

ครูผู้น�ำจิตอาสา Teacher Leader volunteer มูลนิธิครอบครัวพอเพียง ชวนคิด ฝึกฝนปฏิบัติ จากหนึ่งเป็นสอง เป็นหนึ่ง ทีม รวมพลรวมทีม ทุกทีม ร้อยรัก รวมใจ เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียว สื่อใจ สื่อสารไร้สาย พัฒนาคน พัฒนาใจ คิดดี ท�ำดี พูดดี พอดี ดีต่อใจ พัฒนาตน พัฒนาทีม สร้างเครือข่ายผองมิตรครูผู้ร่วมอุดมการณ์ สร้างศิษย์ จิตอาสาครอบครัวพอเพียง ขอขอบคุณทุกภารกิจที่ได้ ร่วมท�ำ ขอขอบคุณทุกโอกาสที่ได้รับ ขอขอบคุณทุกก�ำลังใจให้แก่กัน

51 issue 133 FEBRUARY 2019


ถนนเด็กเดิน ผู้น�ำอาสาครอบครัวพอเพียงร่วมด้วยช่วย เดิน เพลิดเพลินวัฒนธรรม ร้องเล่นเต้นร�ำ น้อมน�ำศาสตร์พ่อ นครศรีฯ “พอเพียง” เด็กคิด ผู้ใหญ่หนุน ชวนเครือข่าย สานต่อ แนวคิด จิตอาสา “5 ค�ำ 5 ข้อที่พ่อสอน” 5 พันธกิจ พี่กัลป์ฯ ปันสุข ปันความรู้สู่สังคม

โรงเรียนบ้านเกาะนกเภา โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ร่วมเป็น ครอบครัวเดียว ครอบครัวพอเพียงนครศรีธรรมราช ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ อาสา คิดดี ท�ำดี พูดดี ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญเท่าส่วน รวม เมื่อส่วนรวมมีความสุข เราจะสุขร่วมกัน ปันแนวคิด ปัน อุดมการณ์ ร่วมปันสุข ร่วมภาคภูมิใจ ร่วมกัน

Love Care Share Smile โครงการครอบครัว พอเพียงสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

5 ฐาน 5 พันธกิจ ครอบครัวพอเพียงนครศรีธรรมราช สื่อสารแนวคิด ทุกพันธกิจ ทุกกิจกรรม คือหนึ่งเดียว ท�ำดีเริ่มต้นที่ใจ ท�ำแล้วสบายใจ ได้รัก ได้แคร์ ได้แชร์ ได้ยิ้ม ปันสุข แชร์ยิ้ม...พอเพียง อย่างพอดี ท�ำ หนึ่งได้ 5 น้อมน�ำศาสตร์พระราชา 5 ค�ำ 5 ข้อที่พ่อสอน สู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืน

พี่ กั ล ป์ ฯ ปั นสุ ข Love Care Share Smile ปั นความรู้สู่สังคม

ผู ้ ใ ห้ ผู ้ รั บ มี ค วามสุ ข สุ ข ที่ ใ ห้ สุ ข ที่ รั บ เครื อ ข่ า ย ครอบครัวพอเพียง ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ให้น้อง ให้พี่ ได้มี โอกาส ได้เป็นผู้ให้ ให้น้องได้รับ น้องได้มีสุข น้องมีรอยยิ้ม น้อง ยิ้ม พี่สุข ร้อยยิ้ม เครือข่ายครอบครัวพอเพียง โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร 52 IS AM ARE www.fosef.org


Love พันธกิจที่ 1 ด้านศาสนา วัฒนธรรมและสถาบันพระมหากษัตริย์ Care พันธกิจที่ 2 ด้านสิ่งแวดล้อม Share พันธกิจที่ 3 ด้านประชาธิปไตย Smile พันธกิจที่ 4 ด้านสังคม Love care share smile พันธกิจที่ 5 ด้านเศรษฐกิจ พี่ Mentor น้อง Volunteer ครู Commentator มีสุขสบายใจ เป็น Leader ผู้น�ำจิตอาสาครอบครัวพอเพียง บทเรียน ชีวิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ภาพเล่าเรื่อง สื่อสารไร้สาย แชร์ภาพ แชร์สุข ขอขอบคุณ ครอบครัวพอเพียง ทุก“โอกาส” ได้ท�ำ ได้ รับ ได้ให้ ได้มีความสุข ครอบครัวพอเพียง เราร่วมกัน ได้หัดคิด หัดท�ำ ได้ Love ได้ Care ได้ Share ได้ Smile พันธกิจทั้ง 5 ครอบครัวพอเพียง พวกเราสุขจัง บทเรียนเล่าประสบการณ์ ภาพเล่าเรื่อง เล่าความสุข ชวนคิด ชวนท�ำ ผู้ใหญ่หนุนน�ำ Leader พอเพียง ความภาคภูมิใจ ออมความสุข ปันสุข ยิ่งออม ยิ่งให้ ยิ่งสุข ปันสุข แชร์ยิ้ม พอเพียงพอดี ...ศาสตร์ “พ่อ” งาน “พ่อ” สานต่อ ยิ่งท�ำ ยิ่งสุข มีเรื่องเล่าไม่รู้จบ...

53 issue 133 FEBRUARY 2019


เป็นครู ทั้งชี วิต สุวรรณา ธานี ครู สุ ว รรณา ธานี ครู ช� ำ นาญการพิ เ ศษ รองหั ว หน้ า กลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ ภ าษาต่ า งประเทศ ปั จ จุ บั น สอน วิ ช าภาษาอั ง กฤษ ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 5 โรงเรี ย นปิ ย ะมหาราชาลั ย จั ง หวั ด นครพนม หนึ่ ง ใน “ซู เ ปอร์ ครู ” มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย ง ผู ้ ยึ ด ถื อ คติ “ตั ว อย่ า งที่ ดี มี ค ่ า กว่ า ค� ำ สอน” ในการยึ ด ถื อ อาชี พ ครู ต ลอดระยะ เวลา 29 ปี ฉบั บ นี้ ท่ า นพร้ อ มจะแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ที่ ผ ่ า นมาของตนเอง อย่ า งน้ อ ย ก็ เ พื่ อ เป็ น แนวทาง ในการเป็ น ครู แ ก่ ค นรุ ่ น ใหม่ ที่ ก� ำ ลั ง ก้ า วขึ้ น มาประกอบอาชี พ ครู ใ นยุ ค ปั จ จุ บั น ที่ มี ค วามเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คม อย่ า งหลากหลาย ประสบการณ์ ที่ ผ ่ า นมาของท่ า นจะเป็ น อย่ า งไร ติ ด ตามได้ จ ากบทสั ม ภาษณ์ นี้ 54 IS AM ARE www.fosef.org


ความเป็ น คน ความเป็ น ครู ท� ำ ไมถึ ง เลื อ กอาชี พ ครู “ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าค�ำสอน” อาชีพครู เป็นอาชีพ ที่มีความใฝ่ฝันมาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา เนื่องจากมี ความประทับใจจากภาพลักษณ์ของคุณครูท่านหนึ่งที่เคยสอน มา ซึ่งข้าพเจ้าได้คลุกคลีกับท่านมาโดยตลอดทั้งที่โรงเรียนและ ที่บ้าน เขาคนนั้นไม่ใช่ใครที่ไหน ท่านคือ คุณพ่อของข้าพเจ้าเอง คุณพ่อที่เป็นคุณครูและเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประถมศึกษา แห่งหนึ่งในชนบท ท่านมีความเมตตา ความปรารถนาดี การ วางตัวที่เหมาะสมกับความเป็นครู การเสียสละ ค�ำพูดค�ำจาที่ แฝงด้วยความรัก ความหวังดี มีคุณธรรม จริยธรรม สุภาพ ให้ เกียรติ ให้ก�ำลังใจต่อศิษย์ รวมถึงการแต่งกายของท่าน สุภาพ เรียบร้อยสมบุคลิก มีวินัยในตัวเองสูงเสมอต้นเสมอปลาย ตรง ต่อเวลา และเห็นความส�ำคัญของเวลาและงานที่รับผิดชอบเสมอ ดูในภาพรวมแล้ว ท่านมีความสุขทั้งในหน้าที่การงาน ในส่วนตัว ในครอบครัว และในสังคม ไม่ปรากฏว่าท่านมีความทุกข์ในชีวิต ให้เราได้เห็น จึงตัดสินใจว่า ถ้าตนได้มีอาชีพครูแล้ว จะประพฤติ ปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ท่านได้ปฏิบัติให้เราเห็น จึงมั่นใจว่า วิชาชีพครู น่าจะเหมาะกับชีวิตตนเองมากที่สุด แม้เป็นอาชีพที่ ไม่ต้องร�่ำรวยเงินทอง แต่เป็นอาชีพที่รวยความดี รวยความสุข รวยลูกศิษย์ ตลอดจนเป็นวิชาชีพที่มีแนวทางการด�ำเนินชีวิตที่ พึงระมัดระวังตนเองในทุกลมหายใจว่าเราจะเป็น “ครูทั้งชีวิต” คือจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนอื่นให้ได้ตลอดไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่

ในชีวิต ที่ได้มีโอกาสสอนบุคคลอื่นให้มีความรู้ ความสามารถ มี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี มีก�ำลังใจในชีวิตที่เห็นศิษย์แต่ละคนมี ความรู้ ความสามารถ ความชอบ ความถนัด ความสนใจ ความ มุ่งมั่น และพรสวรรค์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เพื่อ ให้เขาก้าวไปสู่อนาคตในสิ่งที่เขาใฝ่ฝันด้วยความมั่นใจ จึงท�ำให้ ข้าพเจ้าด�ำรงอยู่ในวิชาชีพครูมาจนถึงปัจจุบัน

ปั จ จั ย อะไรที่ ท� ำ ให้ ป ระกอบอาชี พ ครู จ นถึ ง ทุ ก วั น นี้ บรรจุเป็นข้าราชการครูตั้งแต่ พ.ศ.2533 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 29 ปี ปัจจัยที่ท�ำให้ด�ำรงอยู่ในวิชาชีพครูมาจนถึง ปัจจุบันนี้ เนื่องจาก วิชาชีพครู เป็นอาชีพแห่งความภาคภูมิใจ

สั ง คมภายนอกเปลี่ ย นแปลงไปเร็ ว มาก ครู มี ก าร ปรั บ ตั ว อย่ า งไร ถึงแม้ว่า ในสังคมปัจจุบัน จะมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง ด้านต่างๆ ไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ครู ควรเรี ย นรู ้ อ ยู ่ ต ลอดเวลาไม่ ห ยุ ด นิ่ ง เพื่ อ ให้ รู ้ เ ท่ า ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาสังคมบ้านเมือง ทั น วิ ท ยาการที่ ก ้ า วหน้ า อย่ า งรวดเร็ ว ในยุ ค ปั จ จุ บั น เราก็ต้องปรับตัวเรียนรู้พัฒนาตนเองในสิ่งเหล่านี้ แต่จะต้องมี ไม่ ป ิ ด กั้ น ตนเองจากความรู ้ ที่ ม าจากหลากหลาย หลักชีวิตที่ม่ันคง อยู่ในพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม ความพอ ช่ อ งทาง แล้ ว น� ำ มาวิ เ คราะห์ สิ่ ง ใด ที่ เ ป็ น ประโยชน์ เพียง ความไม่ประมาท อยู่ในหลักค�ำสอนของศาสนา ซึ่งเป็น แก่ ต นเอง ประโยชน์ ต ่ อ ผู ้ เ รี ย น หรื อ ต่ อ สั ง คม “อกาลิโก” ไม่ลุ่มหลงในสิ่งที่ล�้ำยุคล�้ำสมัย แต่เราเรียนรู้ในสิ่ง ส่ ว นรวม ก็ น� ำ มาปรั บ ใช้ ต ามสถานการณ์ ที่ เ หมาะสม แปลกใหม่ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และเลือกเอาส่วนใดบ้างที่เป็น และพั ฒ นาตนเองตามวิ ถี ที่ เ ห็ น ว่ า สมควร ประโยชน์มาปรับใช้ในชีวิต และไม่ควรเลือกเอาส่วนใดมาใช้บ้าง อันจะเป็นโทษต่อตนเอง สังคม ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ซึ่งจะต้อง มีสติควบคุม ให้อยู่ในความพอดี 55 issue 133 FEBRUARY 2019


คิ ด ว่ า ระบบมี ส ่ ว นต่ อ คุ ณ ภาพของนั ก เรี ย นหรื อ ไม่ ระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบัน มีส่วนอย่างยิ่ง ต่อ คุณภาพด้านการศึกษาของนักเรียนซึ่งยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากหลักสูตร มีการก�ำหนดสัดส่วนของชั่วโมงเรียนค่อน ข้ า งมากเกิ น ความจ� ำ เป็ น เพราะไปมุ ่ ง เน้ น เนื้ อ หาความรู้ให้ ครบตามที่ ก� ำ หนด ผู ้ เรี ย นถู ก บั ง คั บ ให้ อ ยู ่ ใ นห้ อ งเรี ย น ต้ อ ง เรียนภาคทฤษฎีจนครบเกณฑ์ เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทดสอบ วั ด ความรู ้ ด ้ า นทฤษฎี จึ ง ท� ำ ให้ ข าดกระบวนการเรี ย นรู ้ ท าง ด้านทักษะที่จ�ำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจ�ำวันในการอยู่ร่วมกัน ในสังคม และบริบทของทักษะชีวิตด้านการท�ำงานตามความ ถนั ด สนใจ และความไม่ ชั ด เจนในอนาคตที่ เ หมาะสมของ แต่ละคน แต่ถ้าหากผู้เรียนแต่ละคน ได้รับกระบวนการค้นหา ตัวเองให้พบอย่างถูกต้องที่สุด จะเกิดการตั้งเป้าหมายในชีวิต เห็นลู่ทางที่จะต้องพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายนั้น พร้อมมุ่ง พัฒนาทักษะ เพื่อรองรับอาชีพของตนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ แน่นอน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แข่งขันกับตนเอง ไม่ใช่อยู่ ในระบบที่กว้าง เผื่อเลือก ตามบุญวาสนา ซึ่งคุณภาพจะไม่ เป็นที่พึงประสงค์นัก อีกทั้ง รัฐพึงมีข้อมูลเสนอให้ชัดเจนว่า ใน อนาคตระยะเวลาที่พอดีกับผู้เรียนแต่ละรุ่นจบการศึกษา จะ มีตลาดอาชีพที่จ�ำเป็นต้องรองรับผู้จบการศึกษามาในปริมาณ เท่ า ใด ควรจ� ำ กั ด จ� ำ นวนในการผลิ ต คนเพื่ อ เข้ า สู ่ อ าชี พ นั้นๆ เท่าใด และมุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะเพื่ออาชีพนั้นๆ ให้มีคุณภาพสูงสุดอย่างเต็มที่ ดังนั้น ระบบการจัดการศึกษา ตามแนวทางเช่นนี้ จะท�ำให้ผู้เรียนมุ่งมั่นพัฒนาตนเองสู่อาชีพได้ อย่างสุดความสามารถ ไม่เป็นการสูญเปล่าในการจัดการศึกษา และทุกคนมีอนาคตที่เหมาะสมกับตนเองอย่างแน่นอน

ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการเรี ย นการสอนและแนวทาง การแก้ ไ ขปั ญ หาในวั น นี้ เป็ น อย่ า งไร ในการเรียนการสอนที่พบมากและบ่อยที่สุด คือ จะท�ำ อย่างไรให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีความสุขและสนุกสนานใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาที่เป็นนามธรรม และ ความรู้ที่ได้ไม่สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง แต่เป็นพื้น ฐานของความรู้ที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้นไปและหลักสูตรได้ ก�ำหนดไว้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายส�ำหรับครูในยุคปัจจุบันนี้มาก เพราะสภาพการณ์ ข องสั ง คมในทุ ก วั น นี้ มี สิ่ ง ยั่ ว ยุ แ ละปั จ จั ย เสี่ยงให้กับนักเรียนรอบด้าน จึงจ�ำเป็นที่ครูต้องหากลยุทธ์ที่ ดีและเหมาะสมในการแก้ไขปัญหานี้ เพื่อน�ำไปสู่จุดมุ่งหมาย อย่างแท้จริงและยั่งยืน ข้าพเจ้ามักจะสอนวิชาการที่สอดแทรก คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมไปด้ ว ยอยู ่ เ สมอ อาจเป็ น เพราะข้ า พเจ้ า เป็นอาจาริยสาที่สอนครูสมาธิด้วย จึงใช้หลักธรรม การมีสติ สมาธิ บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในกระบวนการเรียนการสอนและการแก้ปัญหาไปด้วยเพราะ สามารถบูรณาการไปได้ทุกวิชาสาขาอาชีพ ซึ่งก็ได้ผลดีเป็น มรรคผลถึงแม้ว่าต้องใช้เวลา ความพยายามความอดทนอย่าง มากก็ตาม

ในความคิ ด เห็ น ของข้ า พเจ้ า คิ ด ว่ า ถ้ า เราอยากหลุ ด พ้ น ปั ญ หาต่ า งๆ เหล่ า นี้ ง่ า ยนิ ด เดี ย ว เพี ย งแค่ ใ ช้ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น แค่ นี้ เ อง ก็ จ ะสามารถด� ำ รงชี วิ ต ได้ โ ดยการ พึ่ ง ตนเองอย่ า งมี ค วามสุ ข โดยไม่ มี ก ารเบี ย ดเบี ย น คนอื่ น ครู มี เ ทคนิ ค การสอนเฉพาะตั ว อย่ า งไรให้ ไ ด้ ผ ลตาม ต้ อ งการ ครู คือผู้เป็นต้นแบบในการพัฒนาทุกด้านของผู้เรียน ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีที่ถูกต้องของครูในทุกด้าน ที่แฝงไป ด้วยความรัก ความเมตตา ความเอาใจใส่ เอื้ออาทร สนใจใน 56

IS AM ARE www.fosef.org


ปัญหาของผู้เรียน จะเป็นที่ศรัทธา สนใจของผู้เรียนได้เรียนรู้ และน�ำสู่การปฏิบัติต่อตนเอง อีกทั้งชี้ทาง ส่งเสริม ให้ก�ำลังใจ ต่อผู้เรียน ในการพัฒนาตนเอง ต่อยอดจากสิ่งที่เขามี เขาเป็น เขาถนัด เขาสนใจ หรือพรสวรรค์ เพื่อให้เขามีความชัดเจนใน ความหวัง จะเกิดพลังให้ผู้เรียนแต่ละคนพัฒนาตนเองได้อย่าง เต็มความสามารถของแต่ละบุคคลได้ในที่สุด มี แ นวทางพั ฒ นาตนเองอย่ า งไร ครู ควรเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้รู้เท่าทัน วิทยาการที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ไม่ปิดกั้นตนเอง จากความรู้ที่มาจากหลากหลายช่องทาง แล้วน�ำมาวิเคราะห์ สิ่งใด ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ประโยชน์ต่อผู้เรียน หรือต่อ สังคมส่วนรวม ก็น�ำมาปรับใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม และ พัฒนาตนเองตามวิถีที่เห็นว่าสมควร การใฝ่รู้ใฝ่เรียน หมั่นศึกษา หาความรู้แปลกใหม่เพิ่มเติมอยู่เสมอ เป็นคนที่รู้เท่าทันทั้งด้าน ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยี เมื่อมีจังหวะโอกาส มีเวทีที่ ต้องใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการหรือวิทยากร รวมกระทั่งถึงแหล่งเรียนรู้ที่ดีเหมาะสม จะรีบไขว้คว้าและน�ำ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเกือบทุกครั้งเสมอ

ในการเรี ย นการสอนที่ พ บมากและบ่ อ ยที่ สุ ด คื อ จะ ท� ำ อย่ า งไรให้ นั ก เรี ย นเกิ ด การเรี ย นรู ้ มี ค วามสุ ข และสนุ ก สนานในการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอน รายวิ ช าที่ เ ป็ น นามธรรม และความรู ้ ที่ ไ ด้ ไ ม่ ส ามารถ น� ำ ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นชี วิ ต จริ ง แต่ เ ป็ น พื้ น ฐานของ ความรู ้ ที่ จ ะเรี ย นในระดั บ ที่ สู ง ขึ้ น ไปและหลั ก สู ต ร ได้ ก� ำ หนดไว้ นั บ เป็ น สิ่ ง ที่ ท ้ า ทายส� ำ หรั บ ครู ใ นยุ ค ปั จ จุ บั น นี้ ม าก

ปั จ จุ บั น เรื่ อ งปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาแรง มาก ครู มี วิ ธี ท� ำ ให้ เ ด็ ก เข้ า ใจอย่ า งไร “ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง” หรือ “มัชฌิมา ปฏิปทา” เป็นแนวทางการด�ำเนินชีวิตที่มีความเหมาะสมที่สุด ไม่หย่อน ไม่เคร่งจนเกินไป ภายใต้ความมีสติสัมปชัญญะ ไม่ ตกอยู่ในอ�ำนาจของกิเลส ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เกินความพอดี ไม่ตามกระแสของสังคมที่ไหลไปตามกันแต่ละ ยุคสมัย ต้องระลึกเสมอว่า ปัจจัยที่จ�ำเป็นในการด�ำเนินชีวิตที่

เหมาะสมนั้น ควรมีอะไรบ้าง อะไรที่เกินมาบ้าง อะไรที่จ�ำเป็น อะไรที่ไม่จ�ำเป็น พึงมีสติคอยก�ำกับอยู่อย่างสม�่ำเสมอ ไม่ลืมตัว ส่วนที่เกินความพอดี ควรจุนเจือ ช่วยเหลือ สงเคราะห์ ตาม เหมาะสม ครูเมื่อประพฤติตนเป็นไปตามนี้ ผลที่ผ่านการพิสูจน์ ปฏิบัติมาอย่างสม�่ำเสมอ ย่อมเกิดเป็นประจักษ์ เป็นแบบอย่าง แก่ศิษย์หรือสังคมแผ่กว้างออกไป นั่นหมายความว่า ความพอ เพียงมีอยู่ในตัวครู ผลย่อมรู้สู่สังคม จะเกิดความเข้าใจและน�ำ มาปฏิบัติตามต่อไป จากการที่ข้าพเจ้าได้ท�ำงานเป็นเลขานุการ มูลนิธิครอบครัวพอเพียงของโรงเรียนมานานถึง 5 ปี ท�ำให้ได้ เรียนรู้และน�ำนักเรียนให้ตระหนักถึงความรู้ ความส�ำคัญของ การใช้ทักษะชีวิตที่ดีภายใต้พื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงในเชิง ประจักษ์ ท�ำให้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและสามารถเรียนรู้ได้เร็ว ง่ายขึ้น เข้าใจ เข้าถึง และสามารถปรับปรุงพัฒนางานได้จริง ปัจจุบัน โลกของความรู้กว้างขวางมาก เด็กสามารถ ค้นเองได้เกือบทุกอย่าง ฉะนั้น ในห้องเรียนควรเป็นที่ถก แลก เปลี่ยน วิเคราะห์มากกว่าเเลคเชอร์/ท่องจ�ำแล้วหรือไม่ ครู คิด เห็นเรื่องนี้ อย่างไร ปัจจุบัน โลกของความรู้กว้างขวางมาก เด็กสามารถ ค้นเองได้เกือบทุกอย่างก็จริง เพราะในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยี 57

issue 133 FEBRUARY 2019


58 IS AM ARE www.fosef.org


ที่ก้าวไกล ล�้ำหน้าไปมาก เมื่อครูได้มอบหมายภาระงานต่างๆ ไป นักเรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูลได้หลากหลายช่องทาง ตาม ความถนัดความสนใจ ความเหมาะสม จะท�ำให้นักเรียนมีความ สุขในการท�ำงาน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ห้องเรียนจึงกลายเป็นที่ ถก แลกเปลี่ยน วิเคราะห์มากกว่าแลคเชอร์/ท่องจ�ำ เหมือน ที่เคยเป็นมา ข้าพเจ้าเห็นด้วย แต่การจัดการกับกระบวนการ เรี ย นการสอนที่ ต ้ อ งใช้ ห ้ อ งเรี ย นเป็ น สถานที่ ใ นการน� ำ เสนอ งาน การถก แลกเปลี่ยน วิเคราะห์งานขอให้มีเช่นเดิม เพียง แต่อาจจะมีการเปลี่ยนเป็นสถานที่อื่นได้บ้าง อาทิ ห้องประชุม เล็ก หอประชุมใหญ่/กลางของโรงเรียนก็ได้ตามความเหมาะสม ปรั ช ญา หรื อ หลั ก ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต การด�ำรงชีวิตของมนุษย์ จ�ำเป็นต้องมีหลักการให้ยึดถือ และปฏิบัติ ในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยก�ำลังประสบ ปัญหาหลายๆอย่างโดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจมายาวนาน หลายๆคนอาจจะมีปัญหาในชีวิตหลายๆด้าน แต่จะมีปัญหาใหญ่ หนักมากมายสักเพียงใด ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าคิดว่า ถ้า เราอยากหลุดพ้นปัญหาต่างๆเหล่านี้ ง่ายนิดเดียว เพียงแค่ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจ�ำวันแค่นี้ เอง ก็จะสามารถด�ำรงชีวิตได้โดยการพึ่งตนเองอย่างมีความสุข โดยไม่มีการเบียดเบียนคนอื่น โดยการมีความพอประมาณ คือ ทางสายกลางทั้งชีวิตการเงินและความเป็นอยู่ รู้จักเหตุและผล มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ชีวิต คือการเตรียมตัวให้พร้อมรับ

ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ของ สถานการณ์ต่างๆ รู้จักเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย รู้จักฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ มีความพอเพียงด้วยวิถีพุทธ โดยการรู้จัก ลด ละ เลิก จากอบายมุขต่างๆ ซึ่ง “ความพอเพียง” จะเป็นสิ่งที่จะท�ำให้ เราใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้

ครู ใ นอุ ด มคติ เ ป็ น อย่ า งไร ลั ก ษณะของครู ดี ต ามอุ ด มคติ ข องข้ า พเจ้ า หมายถึ ง การเป็นครูที่สมบูรณ์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถท�ำได้ ครูใน อุดมคตินั้น ควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 1. มีความรอบรู้ คือเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ใน วิชาการต่างๆ ที่ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากมหาวิทยาลัยเป็นอย่าง ดี และมีความแม่นย�ำในวิชาที่จะสอน “ความรู ้ จั ก พอ เป็ น ทรั พ ย์ อ ย่ า งยิ่ ง ” หรื อ “มั ช ฌิ ม า 2. มีอารมณ์ขันคือ เป็นผู้มีความสามารถแสดงความรู้สึก ปฏิ ป ทา” เป็ น แนวทางการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ มี ค วามเหมาะ ในสิ่งที่ท�ำให้ขบขันหรือท�ำให้การสอนสนุกสนาน สมที่ สุ ด ไม่ ห ย่ อ น ไม่ เ คร่ ง จนเกิ น ไป ภายใต้ ค วามมี 3. มีความยืดหยุ่นผ่อนปรน คือเป็นผู้มีความสามารถใน สติ สั ม ปชั ญ ญะ ไม่ ต กอยู ่ ใ นอ� ำ นาจของกิ เ ลส ความ การเปลี่ยนแปลง แก้ไขปรับหรือเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้ อยากได้ อยากมี อยากเป็ น เกิ น ความพอดี ไม่ ต าม เหมาะสมกับสถานการณ์ กระแสของสั ง คมที่ ไ หลไปตามกั น แต่ ล ะยุ ค สมั ย 4. มีวิญญาณความเป็นครู คือ เป็นผู้มีความรักในตัวเด็ก และยินดีเต็มใจในภารกิจทางการสอน 5. มีความซื่อสัตย์ คือ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อคน ทุกคน ต่อหน้าที่การเรียนการสอน 6. มีความสามารถท�ำให้เข้าใจได้ชัดเจนและรวบรัด คือ เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีหรือเป็นผู้มีความสามารถในการใช้ ภาษาทั้ ง ภาษาพู ด และภาษาเขี ย นรวมทั้ ง การแสดงออกทาง ภาษาท่าทาง หรือกริยาอาการ เพื่อให้เกิดการสื่อสารความ หมายที่ถูกต้อง 7. เป็นคนเปิดเผย คือ เป็นผู้ที่เต็มใจเปิดเผยเรื่องราวให้ ผู้อื่นรับรู้และรู้จักรับความคิดของผู้อื่นด้วย 59 issue 133 FEBRUARY 2019


สามารถเฉพาะตัวที่จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูอาจจะต้อง ใช้เพื่อช่วยให้งานในหน้าที่ครูมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 13. แต่งกายเรียบร้อย สะอาด สง่าผ่าเผย และมีสุข อนามัยส่วนตัวดี คือการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สะอาดอยู่ เสมอ ใส่เสื้อผ้าถูกต้องตามกาลเทศะ และมีความเหมาะสมกับ การเป็นครู หรือ ตามรูปแบบที่ทางสถานศึกษาได้ก�ำหนดไว้ นอกจากนี้ สุขภาพทางร่างกายและจิตใจของครูก็มีผลท�ำให้การ สอนประสบความส�ำเร็จด้วย ระยะเวลาที่ ยั ง ท� ำ หน้ า ที่ ค รู อ ยู ่ อ ยากเห็ น อะไรเกิ ดขึ้น กับการศึกษาบ้าง ในตัวนักเรียน ครู หรือบทบาทของโรงเรียน อยากเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากผลงานของครู ดังนี้ 1. ครูสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แบบเห็นผล ชัดเจน ลองนึกภาพ จากเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่ประ สีประสาในชั้นอนุบาล แต่เมื่อได้มาพบครู เด็กคนนั้นกลายเป็น ผู้ใหญ่ที่รู้เรื่องรู้ราว รู้ว่าอะไรดี–ไม่ดี และพร้อมจะก้าวไปข้าง หน้า เผลอๆ ถึงขั้นไปเป็นหมอ หรือ วิศวกร หรือนักวิจัยที่คิดค้น สิ่งใหม่ๆ จะเป็นเพราะใครถ้าไม่ใช่เพราะครู

8. มีความอดทน คือ เป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามหรือ ขยันขันแข็งในการงาน 9. ท�ำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี คือ เป็นผู้ที่กระท�ำตนให้เป็น แบบอย่างที่ดี งามแก่ศิษย์และสังคม ลูกศิษย์ต้องมีแบบอย่างที่ ถูกต้องดีงามเพื่อเป็นแนวทางในการด�ำรงชีวิตของตน 10. สามารถน�ำความรู้ทางทฤษฎีไปปฏิบัติได้ คือ เป็น ผู้น�ำเอาความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการ ศึกษาไปใช้ในโรงเรียนจริงๆ ให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง บางครั้งสภาพความจริงอาจจะไม่เหมือนกับทฤษฎีที่เรียนมาครู ต้องสามารถประยุกต์ ทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเหมาะสม 11. มีความเชื่อมั่นในตนเอง คือ การทดสอบตัวเอง และพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง โดยการสั่งสมประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอนให้มากที่สุด ครูต้องเชื่อมั่นในสิ่ง ที่ตนสอนด้วย 12. มีความสามารถพิเศษในศิลปะและวิทยาการหลาย ๆ ด้าน คือ เป็นผู้มีความสามารถพิเศษในหลายๆ ด้าน เช่น การ เขียนภาพระบายสี ดนตรี กีฬา ความรู้เครื่องยนต์กลไก การ ใช้คอมพิวเตอร์ หรืองานอดิเรกอื่นๆ ความรู้พิเศษเป็นความ 60

IS AM ARE www.fosef.org


2. ครูคือผู้สร้างอนาคต ครูจะเป็นผู้สร้างอนาคตให้ท้ังส่วนบุคคล สังคม และ ระดับชาติ เด็กๆ จะเป็นเด็กที่ดี มีความรู้ มีครูธรรม สังคมนั้น จะเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีรายได้มั่นคง มีความซื่อสัตย์ ประเทศชาติ จ ะมี ป ระชากรที่ มี คุ ณ ภาพ รู ้ ห น้ า ที่ เคารพกฎ ระเบียบของสังคม จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหา กษัตริย์ และขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ โดยเริ่มจากกลุ่มเด็กที่ ครูได้สั่งสอนมานั่นเอง 3. สร้างผลกระทบอย่างรุนแรง หมอหนึ่งคน ช่วยชีวิตคนไข้ได้ครั้งละ 1 ราย แต่เรา สามารถสอนหมอได้ 10 คนในครั้งเดียว บรรดาหมอของครูจะ สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ 10 รายในเวลาเดียวกัน เราคิดว่ามัน แตกต่างกันแค่ไหน แล้วถ้าครูสอนหมอได้มากกว่านี้ 4. เป็นบุคคลส�ำคัญ ครูจะได้รับการยกย่องว่ามีความส�ำคัญสูงสุดอยู่เสมอ เพราะต่อจากพ่อแม่ ก็เป็นครูนี่แหละที่จะท�ำให้คนพัฒนาความ รู้สึกความคิดและจิตใจให้ดีขึ้นได้ ถ้าจะวัดกันที่อิทธิพลต่อตัวเด็ก แล้ว ครูมีอิทธิพลมากกว่าพ่อแม่เด็กด้วยซ�้ำไป เพราะพวกเค้าใช้ เวลาอยู่กับครูมากกว่า

ด้วย ครูจะเป็นที่นับถือในฐานะผู้สั่งสอนลูกหลานของพวกเค้า ทุกคนจะให้เกียรติเราตลอดเวลาแม้แต่ตอนที่เราใส่เสื้อกล้าม นุ่งกางเกงเตะบอลไปซื้อของที่เซเว่นฯ ครูจะมีคนไหว้ตั้งแต่เริ่ม เป็นครู ไปจนตาย ขนาดนายกรัฐมนตรีก็ยังยกมือไหว้ครูได้แบบ อาชี พ ครู คื อ อาชี พ ที่ ใ ช้ ค วามรู ้ ถ่ า ยทอดความรู ้ ไม่กระดากใจเลย 8. ได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ด้ ว ยวิ ธี ก ารสอนและการจั ด การเรี ย นรู ้ ห ลากหลาย เวลาที่ ค รู ต ้ อ งเตรี ย มตั ว เพื่ อ ที่ จ ะไปสอนเด็ ก เราจะ รู ป แบบ เพื่ อ ให้ ม นุ ษ ย์ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ และพั ฒ นา ศั ก ยภาพของตนให้ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น ครู เ ป็ น สรรหาวิธีใหม่ๆ ที่จะถ่ายทอดให้กับพวกเค้า จะท�ำให้ครูมีการ เรียนรู้เพิ่มขึ้นไปด้วย ผู ้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด พลเมื อ งที่ ดี 9. ได้เป็นแบบอย่างที่ดี ครูจะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก โดยไม่จ�ำเป็นต้องรูปร่าง หน้าตาดี หรือมีชื่อเสียง เด็กก็มองครูเป็นตัวอย่างที่เค้าอยาก 5. ดูเด็กกว่าอายุจริง อันนี้เรื่องจริง เด็กคือสิ่งมีชีวิตที่มีพลังงานสูง น่าเอ็นดู เป็นเหมือนครู มีครูหลายคนที่มีแรงบันดาลใจจากการที่เห็นครู และไร้เดียงสา ซึ่งครูจะซึมซับมันได้ แล้วครูจะได้ใช้เวลาวันละ ของตัวเองในตอนเด็ก 10. มีโอกาสแก้ตัวใหม่ได้ 8 ชั่วโมงกับพวกเค้า ครูจะเจอเรื่องน่ารักๆ ชวนให้หัวเราะทุกวัน ถ้าครูรู้สีกว่าครูท�ำพลาดอะไรไป ครูจะมีโอกาสแก้ตัว ซึ่งไม่มีมีอาชีพไหนที่มีสิ่งแวดล้อมแบบนี้ได้เลย ใหม่ได้ในชั้นปีถัดไป หรือในนักเรียนชั้นถัดไป หรือแม้แต่ตอน 6. รายได้มั่นคง เราจะมีรายได้ประจ�ำสม�่ำเสมอ เบิกค่ารักษาพยาบาล เริ่มเรียนเนื้อหาบทใหม่ 11. รู้รอบ ของตนเองและพ่อแม่ได้ เจ็บป่วยก็ไม่ต้องควักสักบาท สแกน ครูจะหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา และสนุกกับการ ลายนิ้วมืออย่างเดียว ถ้ามีลูกใช้สิทธิเบิกค่าเทอมได้จนจบ ป.ตรี มีกองทุนให้กู้อีก จะเรียนต่อก็มีทุนให้ เกษียณไปมีบ�ำนาญให้อีก เรี ย นรู ้ เพราะครู ไ ม่ ไ ด้ แค่ ถ ่ า ยทอดสิ่ ง ที่ อ ยู ่ ใ นหนั งสือเท่า นั้น แต่ครูจะต้องสอนสิ่งที่อยู่รอบตัว สถานการณ์ปัจจุบัน หรือ คิดดีๆ ครูสามารถประหยัดเงินได้เป็นจ�ำนวนมาก เทคโนโลยี ใ หม่ ๆ ให้ เ ด็ ก อยู ่ ต ลอด ท� ำ ให้ ค รู ไ ด้ มี ค วามรู ้ ร อบ 7. เป็นที่เคารพ ไม่ใช่แค่กับเด็กๆ แต่จะรวมไปถึงพ่อแม่ของพวกเด็กๆ ด้าน 61 issue 133 FEBRUARY 2019


12. มีวันปิดเทอม มีอาชีพไหนบ้างที่ยังจะมีเวลาปิดเทอม หลังจากที่เรียน จบจนออกมาท�ำมาหากินแล้ว ก็เป็นครูไง ครูจะได้ลิ้มรสความ สุขของการปิดเทอม ได้สัมผัสการรอคอยวันปิดภาคเรียนอย่าง ใจจดใจจ่ออีกครั้ง และได้ลิ้มรสความขี้เกียจของการเปิดภาค เรียนวันแรกเช่นกัน 13. ครูจะมีบุคลิกที่ดี ถ้ าเราเป็ น ครู เราจะส�ำนึก ได้ว ่าสิ่งที่เราก�ำลังท� ำ จะ มี(นักเรียน)คนมองตาแป๋วอยู่ตลอดเวลา และนั่นจะท�ำให้ครู ปรับปรุงบุคลิกของตัวเองแบบอัตโนมัติ รวมถึงเสื้อผ้าของเรา ด้วย โยนเสื้อเกาะอก กางเกงขาสั้นเต่อของครูทิ้งไปเลย ปัจจุบัน ครู ยังขาดแคลนคนที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาเป็นครูมาก ขึ้น เพราะวิชาความรู้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความ จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งพั ฒ นาวิ ช าความรู ้ ใ ห้ ทั น ต่ อ โลกยุ ค ปั จ จุ บั น นอกจากนั้นยังขาดบุคคลที่จะท�ำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในด้าน การเรียนการสอน เช่น ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน ขาด เรียนโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ทั้งหมด นี้ต้องการผู้ที่จะมาช่วยพัฒนาและแก้ไขให้การศึกษามีครูที่มี ข้าพเจ้าขอชื่นชมกับหลายองค์กรทั้งหน่วยงานราชการ คุณภาพมากขึ้น และเอกชนที่สนับสนุน พร้อมทั้งตั้งปณิธานครูดีไม่มีอบายมุข โรงเรียนดีไม่มีอบายมุข 4 ภาคและประกาศเจตนารมณ์ ยื่นข้อ ให้ ค� ำ แนะน� ำ ส� ำ หรั บ ผู ้ ส นใจจะเป็ น ครู หรื อ ครู รุ ่ น ใหม่ เสนอให้เกิดการจัดการศึกษา เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเหล้า บุหรี่ ที่ ก ้ า วขึ้ น อบายมุขให้ประเทศ โดยท่านนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ “เป็นครูใช่ไหม...ขอฝากเด็กๆ ด้วยนะ ช่วยสอนให้เขา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “อย่าประมาท เป็นคนดี” หนึ่งในพระราชด�ำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ ความชั่วร้ายหรือกิเลสของตัวเอง” โดยวิธีการควบคุมอารมณ์ พระองค์ทรงฝากถึงคุณครูทุกคน ให้สอนเด็กเป็นคนดี และครู ที่ ดี ที่ สุ ด คื อ การไม่ พ าตั ว เองไปเจอสิ่ ง ยั่ ว ยุ เ หล่ า นั้ น ตั้ ง แต่ แรก จะต้องเป็นต้นแบบที่ดีเพื่อสอนศิษย์ให้เป็นคนดี ดังค�ำขวัญเนื่อง การมีสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากอบายมุข เหล้า บุหรี่ สิ่งเสพติด ในโอกาสวันครู พ.ศ. 2562 ที่ระบุว่า “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา จะท�ำให้เด็กและเยาวชนไม่มีความคิดที่จะเดินทางผิด ดังนั้น ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี” เราต้องช่วยกันท�ำสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่มีอบายมุขเพื่อ อนาคตของชาติ จะเห็นได้ว่า คนที่สนใจจะเป็นครูหรือครูรุ่นใหม่ที่ก�ำลัง ก้าวขึ้นก็ตาม สิ่งส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ การมีหัวใจ รักและจรรยาบรรณความเป็นครู เพราะเมื่อใครก็ตามที่รักในสิ่ง นั้นแล้ว จะสามารถน�ำไปสู่จุดมุ่งหวังในสิ่งที่เป็นอย่างดีมีความ สุขในสิ่งที่ตนรักและคาดหวัง ถึงแม้ว่าจะประสบกับอุปสรรค ปัญหาใดๆ ก็ตาม ขอให้ใช้หัวใจภายใต้คุณธรรมที่ดีงาม ความ ตั้งมั่น ความแน่วแน่ อดทน อดกลั้นในการท�ำงาน โดยทั้งหลาย ทั้งปวงนี้อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะ สามารถน�ำพาชีวิตประสบความส�ำเร็จในชีวิตและจะเป็นครูที่ดี ของประเทศชาติได้ดีและยั่งยืนในที่สุด 62 IS AM ARE www.fosef.org


ฝากถึ ง เยาวชนไทย อาชีพครู คือ อาชีพที่ใช้ความรู้ ถ่ายทอดความรู้ ด้วย วิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ครูเป็นผู้ให้ก�ำเนิดพลเมืองที่ดี คือ เป็นผู้ชุบพลเมือง ให้เป็นนักรู้ นักท�ำงาน นักพูด นักเขียน นักต�ำรา นักประดิษฐ์ นักค้นคว้าเหตุผล นักวิชาการ ฯลฯ เป็นต้น ความสามารถในการด�ำเนินการสอนของครูนั้นถือว่า.. การสอนเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด และครูที่ดีจะต้องมีความสามารถ ในวิทยาการหลายๆ ด้าน เพื่อน�ำมาสั่งสอนศิษย์ได้ อาชีพครู ยังสามารถจ�ำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอน และลักษณะของสังกัดอีกด้วย คณะครุศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่า ด้วยการจัดการศึกษาและวิชาชีพครู โดยมีจุดมุ่งหมายในการ ด�ำเนินการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดี และสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุขอย่างแท้จริง โดยมีสาขาให้ เลือกเรียนได้ว่า..เราอยากเป็นครูสอนอะไร ที่ส�ำคัญที่อยากจะ ฝากถึงเยาวชนไทยในการที่จะประกอบอาชีพอะไร เราต้องมี ความรอบรู้ถึงคุณลักษณะเบื้องต้นที่ส�ำคัญในแต่ละรายวิชาชีพ อย่างเช่นอาชีพครู ควรตรวจสอบตนเองว่ามีคุณสมบัติต่างๆ เบื้องต้นของการเตรียมพร้อมส�ำหรับอาชีพครู ดังนี้

• มีอายุไม่ต�่ำกว่า 18 ปี • เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและตระหนักในคุณค่า ของอาชีพ • มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และเนื้อหาวิชา เฉพาะในแต่ละสาขา • มีความเสียสละ มีความเป็นเหตุเป็นผล สามารถใช้ เหตุ ผ ลในการแสดงความคิ ด เห็ น อย่ า งมี ขั้ น ตอน มี ร ะเบี ย บ ชัดเจนและรัดกุม • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี • เป็นผู้รักงานสอน มีความรักและเมตตาต่อลูกศิษย์ • มีโลกทัศน์กว้างไกล • สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ฯลฯ เหล่ า นี้ คื อ คุ ณ สมบั ติ พื้ น ฐานของการเตรี ย มพร้ อ มใน การประกอบวิชาชีพครู ที่ทุกคนควรมี ถึงจะไม่เตรียมตัวในการ ประกอบวิชาชีพครู ก็ควรจะศึกษาและตรวจสอบคุณสมบัติของ ตนว่า เหมาะสมหรือพร้อมในการประกอวิชาชีพนั้นดีพอหรือ ยัง เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นและสังคมน่าอยู่ ประเทศชาติก้าวหน้าพัฒนาก้าวไกลกับเยาวชนมืออาชีพที่มี คุณภาพต่อไป 63

issue 133 FEBRUARY 2019


การผลิตพริกสด

พริ ก เป็ น ผั ก ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของคนไทยเป็ น อย่ า งมาก คนไทยนิ ย มใช้ พ ริ ก ในการประกอบ อาหารประจ� ำ วั น เพราะพริ ก สามารถใช้ ไ ด้ เ ป็ น ทั้ ง พื ช ผั ก และเครื่ อ งปรุ ง แต่ ร ส นอกจากนี้ ยั ง มี ป ระโยชน์ ในด้ า นอุ ต สาหกรรมผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป เครื่ อ งปรุ ง แต่ ง รสอาทิ พริ ก แห้ ง พริ ก ป่ น พริ ก แกง น�้ ำ พริ ก เผา ซอสพริ ก และที่ ส� ำ คั ญ พริ ก เป็ น พื ช ผั ก เพื่ อ ส่ ง ออกเป็ น ที่ ส� ำ คั ญ โดยสามารถน� ำ เงิ น เข้ า ประเทศปี ล ะหลาย ล้ า นบาท ทั้ ง ในรู ป พริ ก สด พริ ก แห้ ง และผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป พริ ก จึ ง นั บ เป็ น พื ช ผั ก ที่ ส ามารถท� ำ รายได้ ใ ห้ กั บ ผู ้ ป ลู ก ได้ เ ป็ น อย่ า งดี

64 IS AM ARE www.fosef.org


อาชี พ ทางเลื อ ก พั น ธุ ์ พ ริ ก สามารถแบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท ได้ แ ก่ ประเภทผลเรียวยาวเล็กถึงปานกลาง อาทิ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลืองประเภทผลเป็นรูประฆัง และเผ็ดน้อย หรือไม่เผ็ด เลยได้แก่พริกยักษ์หรือพริกหวาน ปั จ จั ย จ� ำ เป็ น ที่ ต ้ อ งใช้ พื้นที่ปลูกพริกควรเป็นที่โล่งแจ้งได้รับแสงตลอดทั้งวัน ไม่ควรเป็นที่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือที่สูง ดินแห้งแล้วพื้นที่ดังกล่าว ไม่ควรเป็นที่ที่เคยปลูกพริกติดต่อกันหลายปี เพราะอาจเป็นที่ สะสมโรคแมลงได้ แต่ถ้าจ�ำเป็นต้องปลูกซ�้ำที่เดิมควรปลูกพืช ตระกูลถั่วหมุนเวียน พริกสามารถเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่อินทรียวัตถุสูง มีการระบายน�้ำ ได้ดี สามารถเก็บความชื้นได้พอเหมาะความเป็นกรดเป็นด่าง ของดิน(pH) อยู่ระหว่าง 6.0-6.8 โดยทั่วไปพริกเป็นพืชที่ชอบ อากาศร้อน ขั้ น ตอนการด� ำ เนิ น งาน 1)การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะความกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวขึ้นกับความต้องการ และความสะดวกในการดูแล รักษาควรขุดพลิกดินลึก 8-10 นิ้ว ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ 4-5 กิโลกรัมต่อ พื้นที่ 1 ตร.ม. พรวนคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินเกลี่ยหน้าดินให้ เรียบ ส�ำหรับการเพาะในกะบะใช้ดินร่วมซุยผสมปุ๋ยคอกที่แห้ง และละเอียด ในอัตรา 2:1 ถ้ามีแกลบเผาสีด�ำให้น�ำมาผสมอีก 1 ส่วน จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วรดน�้ำตากทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงท�ำการเพาะเมล็ด

2)การเพาะเกล้า การปลูก ส่วนมากเพาะกล้าก่อนปลูก แล้วจึงย้ายไปปลูกในแปลง หรืออาจย้ายกล้าเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ลงในถุงพลาสติก (หรือสูงประมาณ 15 ซม.) จึงย้ายปลูก ลงแปลง ถ้าความงอก 90% และต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 50-100 กรัม โรยเป็นแถวในแปลงเพาะที่ท�ำรอยเป็นตื้นๆ ลึก 0.5 ซม. และควรจะขวางความยาวของแปลง การเพาะกล้าเพื่อย้าย ลงแปลงปลูกโดยตรงควรมีระยะห่างมากขึ้นประมาณ 8-10 ซม. หลังจากโรยเมล็ดแล้วโรยดินกลบเมล็ดให้ดินเสมอหน้าดิน คลุมด้วยฟางใหม่บาง ก�ำจัดเชื้อราและแมลงด้วยสารสกัดจาก ธรรมชาติ รดน�้ำแปลงเพาะวันละ 1-2 ครั้ง (เช้า-เย็น) กรณีย้าย กล้าลงถุงพลาสติก ดินที่ใส่ลงถุงใช้ส่วนผสมของดินเช่นเดียวกับ การเตรียมกะบะเพาะ 3)การเตรี ย มแปลงเพาะปลู ก ควรเตรี ย มแปลงปลู ก ตั้งแต่เริ่มเพาะกล้า โดยครั้งแรกไถตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์แล้ว จึงท�ำการไถพรวนดินเก็บซากวัชพืชที่ไม่ตาย และสลายตัวยาก ออกจากดินทิ้งไว้อีก 1-2 สัปดาห์ ถ้าดินมีความเป็นกรดมาก (pH ต�่ำ) ก็ปรับความเป็นกรดเป็นด่างให้สูงขึ้นมาอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 โดยใส่ปูนขาวตามค�ำวิเคราะห์ดิน หรือ ประมาณไม่ เกินไร่ละ 300 กิโลกรัม 65

issue 133 FEBRUARY 2019


5.3 หลังปลูกให้ดูแลและก�ำจัดแมลงศัตรูพืช ประเภท เพลี้ยไฟ ไรขาว และเชื้อรา อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ผลผลิ ต หลังจากปลูกลงแปลงแล้ว 90 วัน พริกจะเริ่มแก่เป็นสี แดงและเริ่มเก็บผลผลิตรุ่นแรกเมื่ออายุประมาณ 100 วัน และ เก็บต่อไปเรื่อยๆ 15 วันต่อครั้ง โดยเฉลี่ยจะได้พริกสดครั้งละ 100 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าดูแลรักษาดี และให้น�้ำเพียงพอ พริกจะ มีอายุเก็บเกี่ยวได้นานถึง 8 เดือน

พริ ก แห้ ง ผลเล็ ก เป็ น ที่ ต ้ อ งการของผู ้ บ ริ โ ภคภายใน ประเทศและเป็ น ที่ ต ้ อ งการของตลาดต่ า งประเทศ การระบายสิ น ค้ า จึ ง คล่ อ งตั ว กว่ า พริ ก แห้ ง ผลใหญ่ ส� ำ หรั บ ตลาดต่ า งประเทศพบว่ า มี ก ารส่ ง ออกทั้ ง ใน รู ป แบบพริ ก เล็ ก ชนิ ด ขี้ ห นู ส ่ ว นพริ ก แห้ ง จะเป็ น พริ ก ป่ น ชนิ ด เผ็ ด น้ อ ยถึ ง ปานกลางและพริ ก แห้ ง ผลใหญ่ สี แ ดง

ตลาดและผลตอบแทน ถ้าวันได้พริกสดเข้าสู่ตลาดมากจนไม่สามารถระบาย ออกให้หมดในวันนั้นราคาพริกสดจะต�่ำ โดยประมาณกิโลกรัม ละ 6-15 บาท ส�ำหรับพริกแห้งราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท เพราะพริ ก แห้ ง เก็ บ รั ก ษาไว้ ไ ด้ น าน พริ ก แห้ ง ผลเล็ ก เป็ น ที่ ต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศและเป็นที่ต้องการของ ตลาดต่างประเทศ การระบายสินค้าจึงคล่องตัวกว่าพริกแห้งผล ใหญ่ ส�ำหรับตลาดต่างประเทศพบว่ามีการส่งออกทั้งในรูปแบบ พริกเล็กชนิดขี้หนูส่วนพริกแห้งจะเป็นพริกป่นชนิดเผ็ดน้อยถึง ปานกลางและพริกแห้งผลใหญ่สีแดง

4)การปลูกและระยะปลูก การย้ายกล้าจากแปลงเพาะ ไปปลูกควรท�ำเมื่ออายุกล้า 30-40 วันหรือสูงประมาณ 12 ซม. ก่อนถอนกล้าควรรดน�้ำแปลงเพาะกล้าให้ชุ่มก่อน แล้วใช้เสียม แซะข้างๆแถว หลังปลูกควรมีวัสดุช่วยคลุมกล้า อาทิ กรวยหรือ ใบไม้ 3-4 วันจะท�ำให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น ถ้าไม่มีวัสดุคลุมกล้า ควรตัดยอดที่มีใบอ่อนออก ส่วนการย้ายกล้าจากถุงพลาสติกลง แปลงปลูกควรระวังเวลาฉีกถุงพลาสติกออกอย่าให้ดินแตก และ ปลูกให้ลึกกว่าระดับเดิมที่อยู่ในถุงเล็ก การปลูกทั้ง 2 วิธีหลังจาก ปลูกเสร็จให้รดน�้ำตามทันทีจะท�ำให้กล้าตั้งตัวเร็ว และมีอัตรา การอดทนสูงหลุมที่ปลูกควรลึก 1 หน้าจอบ (ขนาด 30x30x30) อาจปลูกเป็นแถวคู่ หรือแถวเดี่ยว แถวคู่ ใช้ระยะห่างระหว่างแถวคู่ 12 ซม. ระหว่าง แถว 80 ซม. และระหว่าง ต้น 50 ซม. แถวเดี่ยว ใช้ระยะห่างจากแถว 100 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. ทั้ง 2 วิธีใน 1 ไร่ปลูกได้ 3,200 ต้น ก่อนย้ายปลูกควร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ต้นไร่ 5)การดูแลรักษา 5.1 หลั ง จากการปลู ก ควรให้ น�้ ำ ทุ ก วั น ในระยะ 1 เดือนแรกเมื่อล�ำต้นเริ่มแตกกิ่งก้าน จึงค่อยงดการให้น�้ำได้บ้าง โดยสังเกตความชื้นของดิน 5.2 หลังจากพริกตั้งตัวแล้ว หรืออายุ 15-20 วันหลัง ปลูกควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสมโดยโรย รอบต้นแล้วพรวนดินกลบพร้อมทั้งก�ำจัดวัชพืชทุกๆ 20 วัน 66

IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 133 FEBRUARY 2019


ผนึกพลัง 6 กระทรวง เดินหน้าประกาศยุทธศาสตร์ชาติแผน 20 ปี

ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ” รับมือสังคมสูงวัยในอนาคต

การผนึกพลัง 6 กระทรวง เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชาติ รั บ สั ง คมสู ง วั ย ที่ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น คาดการณ์ ป ี 2574 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุที่มีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อย ละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลเดินหน้า “ประกาศ ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” เพื่อเตรียมความ พร้อมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคม ไทยให้ เ ป็ น สั ง คมสู ง อายุ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ให้ ป ระชากร ไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของสังคม นับเป็นการผนึกความร่วมมือครั้ง ส�ำคัญของประเทศไทยในการรับมือเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต อันใกล้ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็น ประธานในพิธีงานประกาศ “ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคม

สูงอายุ” เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมสูงอายุที่ มีความพร้อม โดยมี ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (นายปรเมธี วิมลศิริ) อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางไพรวรรณ พลวัน) รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (นางสาว แรมรุ้ง วรวัธ) ผู้บริหาร 6 กระทรวงหลัก ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และคณะทูต พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วม เป็นเกียรติภายในงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สังคม สูงอายุ ส�ำหรับคนทุกวัย เพื่อประเทศที่ยั่งยืน” โดยรองนายก รัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่ง 68

IS AM ARE www.fosef.org


ชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคม สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชากรไทยมีคุณภาพชีวิต ที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ของสังคม พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ในงานการ “ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูง อายุ” กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรทั้งโลกก�ำลังมีอายุสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว จากผลส�ำรวจในปี 2560 มีสัดส่วนประชากรสูงอายุ ทั่ว โลกที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ส�ำหรับประเทศไทย มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจาก ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และในปีพ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุกว่า 11.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งประเทศ และในป พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่าง สมบูรณ์ คือมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 20 ของ ประชากรทั้งหมด และยังมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะเป็ น สั ง คมสู ง อายุ ที่ มี จ� ำ นวนเพิ่ ม ขึ้ น มากกว่ า ร้อยละ 28 รัฐบาลเล็งเห็นความส�ำคัญของสถานการณ์ปัญหา กระทรวง พม. เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ที่ ด� ำ เนิ น การ ให้ ก ารช่ ว ยเหลื อ ผู ้ สู ง อายุ ที่ ไ ด้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ น และอั น ตรายจากการกระท� ำ ความรุ น แรง หรื อ ผู ้ สู ง อายุ ถู ก ทอดทิ้ ง รวมทั้ ง ให้ ค� ำ แนะน� ำ ปรึ ก ษา ปั ญ หาครอบครั ว และได้ เ ก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล สถิ ติ ส ถ า น ก า ร ณ ์ ป ั ญ ห า ก า ร ก ร ะ ท� ำ ค ว า ม รุ น แ ร ง ใ น ครอบครั ว ทางสั ง คมที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ผู ้ สู ง อายุ ที่ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่อง จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “สังคมสูงอายุ” โดยก�ำหนดยุทธศาสตร์การรองรับสังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ ส�ำหรับการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ เป็นประเด็นส�ำคัญ ล่าสุดได้จัดงานการ “ประกาศระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” โดยการผนึกพลังของ 6 กระทรวง ร่วมด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง มหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน ในการ เดินหน้าประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม และได้มอบหมายให้หน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งร่ ว มกั น ก� ำ หนดและขั บ เคลื่ อ นระเบี ย บวาระแห่ ง 69 issue 133 FEBRUARY 2019


ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ ดังกล่าวจึงเปรียบ เสมือนเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุช่วงปีพ.ศ. 2562-2564 ที่มุ่งให้ผู้สูงอายุไทยเป็นพฤฒพลัง ( Active Ageing) : Healthy, Security, and Participation เพื่อเป็นอีกหนึ่ง ก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยมาตรการ ขับเคลือ่ น ระเบียบวาระแห่งชาติดังกล่าวประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก (หรือ 6 Sustainable และ 4Change) ได้แก่ มาตรการหลัก ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนทุกวัย ซึ่งประกอบ ด้วย มาตรการย่อย 6 มาตรการ (6 Sustainable)ได้แก่ S1 การสร้างระบบคุ้มครองและสวัสดิการผู้สูงอายุ S2 การท�ำงาน จากผลส� ำ รวจในปี 2560 มี สั ด ส่ ว นประชากรสู ง และการสร้ างรายได้ ส�ำ หรับผู้ สู งอายุ S3 ระบบสุ ขภาพเพื่อ อายุ ทั่ ว โลกที่ มี อ ายุ 60 ปี ขึ้ น ไปเกิ น กว่ า ร้ อ ยละ รองรับสังคมสูงอายุ S4 ปรับสภาพแวดล้อมชุมชน และบ้าน 10 ส� ำ หรั บ ประเทศไทยมี สั ด ส่ ว นประชากรผู ้ สู ง ให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ S5 ธนาคารเวลาส�ำหรับการดูแลผู้สูง อายุ สู ง เป็ น อั น ดั บ 2 ในอาเซี ย น รองจากประเทศ อายุประเทศไทย S6 การสร้างความรอบรู้ให้คนรุ่นใหม่เตรียม ความพร้อมในทุกมิติ สิ ง คโปร์ มาตรการหลักที่ 2 การยกระดับขีดความสามารถ สู่ ชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ ไปสู่การปฏิบัติทั้งนี้เพื่อเตรียมความ การบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ประกอบด้วย มาตรการย่อย 4 พร้อมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนสังคม Change ได้แก่ C1 ยกระดับความร่วมมือ เสริมสร้างพลังสังคม ไทยให้ เ ป็ น สั ง คมสู ง อายุ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ให้ ป ระชากร สูงอายุ C2 การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันและเท่าทันต่อสถานการณ์ ให้เอื้อต่อการท�ำงานด้านผู้สูงอายุ C3 ปฏิรูประบบข้อมูลเพื่อขับ การเปลี่ยนแปลงของสังคม นับเป็นการผนึกความร่วมมือครั้ง เคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ อย่างมีประสิทธิภาพ และ C4 ผลิกโฉม ส�ำคัญของประเทศไทยในการรับมือเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต นวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำในสังคมสูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้การด�ำเนินการตามมาตรการหลักได้อย่าง อันใกล้ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง บรรลุผลจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาค การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าว ส่วนในการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการดูแล ว่ า กระทรวง พม. เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ที่ ด� ำ เนิ น การให้ ก าร คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทุกมิติ ทั้งมิติทาง ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อน และอันตรายจาก ด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูง การกระท�ำความรุนแรง หรือผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง รวมทั้งให้ค�ำ อายุสามารถด�ำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข มีความมั่นคง แนะน�ำปรึกษาปัญหาครอบครัว และได้เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ และเป็นพลังส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป สถานการณ์ปัญหาการกระท�ำความรุนแรงในครอบครัว ภายใต้ การด�ำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุ ที่มีภารกิจส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้ สูงอายุในการวางแผนงาน นโยบาย การพัฒนางานวิชาการ องค์ ความรู้ และนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งการพัฒนา ศักยภาพสังคมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ภายในงานจะมีจัดการแสดงบูธนิทรรศการที่ แสดงให้เห็นถึงการด�ำเนินงานส�ำคัญในแต่ละมาตรการของการ ขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องสังคมสูงอายุ อาทิ การ ส่งเสริมการมีงานท�ำในผู้สูงอายุ ความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ และเอกชนผ่านประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มาตรการขับเคลื่อน 70 IS AM ARE www.fosef.org


71 issue 133 FEBRUARY 2019


ความฝั นของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ หากว่ า กั น ตามชื่ อ ก็ ค วรท� ำ หน้ า ที่ ส ่ ง เสริ ม สุ ข ภาพให้ กั บ ประชาชนใน พื้ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ ห รื อ ? แต่ วั น นี้ เ สี ย งสะท้ อ นจากโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บลบ้ า นฉาง อ� ำ เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ปทุ ม ธานี กลั บ ไม่ ดั ง อย่ า งนั้ น นายศั ก ดิ์ ช าย ธนะรั ช ต์ นั ก วิ ช าการสาธารณสุ ข ช� ำ นาญการ ผู ้ อ� ำ นวย การโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บลบ้ า นฉาง มองว่ า โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บลต่ า งๆ ในวั น นี้ ไม่ ส ามารถท� ำ งานเชิ ง รุ ก ได้ ม ากเท่ า ที่ ค วร กล่ า วคื อ งานส่ ว นใหญ่ ห นั ก ไปทางการรั ก ษา ซึ่ ง เป็ น การแก้ ปั ญ หาที่ ป ลายทางแล้ ว ไม่ ส ามารถท� ำ งาน “หั ว เมื อ งด่ า นหน้ า ” ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพหรื อ ป้ อ งกั น อาการเจ็ บ ป่ ว ย ที่ ต ้ น เหตุ ไ ด้ เ ท่ า ที่ ค วร 72 IS AM ARE www.fosef.org


เสี ย งเล็ ก ๆ “มติที่ 3 คือมิติทางด้านการรักษาเฉพาะทาง หน่วย บริการเฉพาะทางควรเป็น specialize (ผู้เชี่ยวชาญ) จริงๆ เช่น สมองก็ดูแลเรื่องสมอง หัวใจก็ดูแลเรื่องหัวใจ ไม่ควรเอาหน่วย โรงพยาบาลที่เป็นเฉพาะทางมาปนเปในการรักษาโรคทั่วไป มัน จะท�ำให้เกิดความล่าช้าในการรับบริการ มันไม่เกิดการกรอง ในระบบบริการ ดังนั้น การสร้างระบบบริการสุขภาพ ควรเป็น ลักษณะการท�ำแบบหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นกลาง และหัว เมืองชั้นใน เพื่อเป็นการกรองผู้รับบริการ จากคนไข้ทั่วไป เข้า สู่เฉพาะทาง จากนั้น เข้าสู่แบบช�ำนาญการจริงๆ จะท�ำให้ไม่ ต้องรอนาน คนทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ตามความเจ็บป่วยของตนเอง แค่นี้ก็แก้ปัญหาได้แล้ว

“สิ่งที่ผมอยากพัฒนาหลักประกันสุขภาพในพื้นที่จริงๆ คือ ผมอยากให้ทุกคนที่เป็นคนไทย เข้าถึงสิทธิ์หลักประกัน สุขภาพอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจ็บป่วย เรื่อง ภาวะฉุกเฉิน หรือแม้กระทัง่ รูปแบบการดูแลทางด้านจิตเวช หรือ การลงเยี่ยมบ้าน หรือโครงการต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำของ คนไทย ในการล้มละลายจากการรักษาพยาบาล

“ผมอยากน�ำเสนอว่า ถ้าผู้มีอ�ำนาจในระบบหลักประกัน สุขภาพได้รับทราบ ผมอยากจะท�ำระบบการดูแลให้เป็น 3 มิติ มิติแรกคือ การดูแลในเชิงปฐมภูมิ อยากให้มีการส่งเสริมสุข ภาพจริงๆ ในระดับปฐมภูมิ เพราะไม่อย่างนั้นประเทศเราจะ กลายเป็นคนป่วยหมด การส่งเสริมคือการป้องกันไม่ให้คน ป่วย เมื่อกระบวนการนี้ดี คนป่วยจะน้อยลง เมื่อคนป่วยน้อย ลง มิติที่ 2 ก็คือ การดูแลผู้ป่วยในภาวะเจ็บป่วย ระบบตรงนี้ จะช่วยเหลือคนที่ป่วยจริงๆ ให้เข้าถึงบริการตามสิทธิเสรีภาพที่ เขาควรได้ ตามความจ�ำเป็น เช่น มะเร็ง ไต (ควรได้รับการฟอก ไต) โดยไม่มีเงื่อนไขส่วนต่าง ตอนนี้ถามว่าดีไหม ดี แต่ยังมีส่วน ต่างให้เสียอยู่ 500 บาท ต่อครั้งในการเข้ารับบริการ อันนี้คือมิติ ในการดูแลรักษาพยาบาล

“สิ่งส�ำคัญที่ผมเน้นคือ ในหน่วยบริการปฐมภูมิควรสร้าง เสริมสุขภาพ ควรสร้าง น�ำ ซ่อม แต่ความเป็นจริงไม่สามารถ ท�ำได้อย่างนั้น เพราะเราถูกตัวชี้วัดต่างๆ ที่เป็นลักษณะของการ ดูแลมาจัดการเรา ให้หน่วยบริการปฐมภูมิไม่สามารถท�ำงานส่ง เสริมได้มากเท่าที่ควร หรือที่อยากจะเป็น ดังค�ำที่เราเรียกตัว เองว่า ‘โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ’ แต่เราท�ำแต่การรักษา แล้วเมื่อไหร่เราจะส่งเสริมสุขภาพ เมื่อไหร่เราจะเป็นด่านหน้าที่ ป้องกันคน นั่นคือจุดอ่อนของเรา

73 issue 133 FEBRUARY 2019


“เราเปรียบเสมือนพลทหารระดับ รพ.สต. ถ้าพลทหาร ลุยรบชนะถือว่าชนะเลยนะครับ แต่ตอนนี้เราไม่สามารถท�ำงาน เชิงรุกได้ รุกน้อย รับเยอะ ระบบสุขภาพเราถึงเป็นอย่างนี้ “กรอบตรงนี้ ก� ำ ลั ง เป็ น ที่ ถ กเถี ย งกั น แต่ ผ มเชื่ อ ว่ า ในอนาคตผู้ใหญ่เริ่มเห็นแล้วว่า ระดับ รพ.สต.ควรต้องเพิ่ม ศักยภาพ ท�ำเชิงรุกให้มาก ป้องกันคนป่วยให้มาก แล้ววันนั้นจะ เป็นความส�ำเร็จของระบบสุขภาพไทย จุดแตกหักอยู่ตรงนี้ จุด แตกหักของสุขภาพคือการป้องกันไม่ให้คนป่วย ประหยัด ไม่สิ้น เปลือง คนรู้จักดูแลตัวเอง แค่นี้เองครับ ให้คนไทยได้รู้จักดูแล สุขภาพตนเอง ไม่ต้องเจ็บป่วย อันนี้คือสิ่งที่ผมคิดฝันว่าอยาก ให้มันเกิดขึ้นในยุคที่เรายังมีชีวิตอยู่ “เราไม่จ�ำเป็นต้องท�ำใหญ่นะครับ แค่ทุกๆ รพ.สต.ท�ำ ในพื้นที่เล็กๆ ของตัวเองให้สวยงาม วันหนึ่งเขาจะเห็นความ สวยงาม แล้วมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ เราท�ำแค่ ในพื้นที่ของเรา ในขอบเขตของเรา แล้วเรามีความสุขกับสิ่งที่ เราท�ำ “อีกเรื่องหนึ่งคือ ขวัญก�ำลังใจของระดับ รพ.สต.ก็ยัง น้อยอยู่ แต่คนท�ำงานเหนื่อยมาก แต่เราเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา เราไม่มองเรื่องนั้นอยู่แล้วว่าเราจะต้องได้อะไร แต่เราถามว่า ประชาชนในพื้นที่เราจะได้อะไร ชุมชนเราจะได้อะไร ถ้าเราตี โจทย์ตรงนี้แตกเราจะท�ำงานกันอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อย วันนี้ เราท�ำอย่างมีอุดมการณ์ เราท�ำอย่างมีทิศทาง เชื่อว่าคนไทย จะดีขึ้น”

การสร้ า งระบบบริ ก ารสุ ข ภาพ ควรเป็ น ลั ก ษณะการ ท� ำ แบบหั ว เมื อ งชั้ น นอก หั ว เมื อ งชั้ น กลาง และหั ว เมื อ งชั้ น ใน เพื่ อ เป็ น การกรองผู ้ รั บ บริ ก าร จาก คนไข้ ทั่ ว ไป เข้ า สู ่ เ ฉพาะทาง จากนั้ น เข้ า สู ่ แ บบ ช� ำ นาญการจริ ง ๆ จะท� ำ ให้ ไ ม่ ต ้ อ งรอนาน คนทุ ก คนเข้ า ถึ ง สิ ท ธิ์ ต ามความเจ็ บ ป่ ว ยของตนเอง แค่ นี้ ก็ แ ก้ ป ั ญ หาได้ แ ล้ ว น่ า คิ ด ว่ า ถ้ า หั ว เมื อ งชั้ น นอกอย่ า ง รพ.สต. ได้ ท� ำ หน้าที่ส่งเสริมสุขภาพได้อย่างแท้จริง คือการเป็นแนวหน้าให้ ประชาชนรู้จักดูแลสุขภาพตนเอง ห่างไกลจากโรคภัยได้มาก ที่สุด แนวหลังก็อาจจะไม่ต้องเหนื่อย ประชาชนก็สามารถเข้า ถึงสิทธิ์การรักษาต่างๆ ได้ตรงตามความเหมาะสมเพราะผ่าน การคัดกรองมากแล้ว ไม่ต้องชะเง้อคอรอคอยหมอเรียกคิวตา ปริบๆ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ “เราเปรี ย บเสมื อ นพลทหารระดั บ รพ.สต. ถ้ า พล ทหารลุ ย รบชนะถื อ ว่ า ระบบบริ ก ารสุ ข ภาพชนะเลย นะครั บ ” ผู ้ อ� ำ นวยการโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ต� ำ บลบ้ า นฉาง กล่ า วทิ้ ง ท้ า ย

74 IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 133 FEBRUARY 2019


ศูนย์ส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษตามโครงการพระราชด�ำริ จังหวัดนครราชสีมา ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม กสิ ก รรมไร้ ส ารพิ ษ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ภ ายใต้ แ นวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งตามแนวพระราชด� ำ ริ จั ง หวั ด นครราชสี ม าเป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ส ถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วให้ เ ลื อ กพั ก ผ่ อ นมากมาย โดยเฉพาะอ� ำ เภอวั ง น�้ ำ เขี ย ว คื อ แหล่ ง ตากอากาศแอบอิ ง ธรรมชาติ ย อดนิ ย มแห่ ง หนึ่ ง และถ้ า พู ด ถึ ง แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง เกษตร คงจะ ไม่ มี ที่ ไ หนส� ำ คั ญ ไปกว่ า การได้ ม าชมสวนผั ก ออร์ แ กนิ ก ณ ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม กสิ ก รรมไร้ ส ารพิ ษ ตามโครงการ พระราชด� ำ ริ อี ก แล้ ว โครงการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2541 เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในอ�ำเภอวังน�้ำเขียว ที่ทราบถึงผลกระทบ ในการใช้สารเคมีหรือสารพิษในการท�ำการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพแวดล้อมและภาวะสุขภาพของผู้คนในละแวก ใกล้เคียง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ต้นน�้ำ จึงริเริ่มที่จะหันมาท�ำการเกษตรปลอดสารพิษ รวมถึงตั้งตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนที่พึ่งพา ตัวเองได้อย่างยั่งยืน ก่อนได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการอันเนื่องในพระราชด�ำริปัจจุบันมีเครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอ�ำเภอวังน�้ำเขียวสีคิ้ว อ�ำเภอขามทะเลสอ และอ�ำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 76 IS AM ARE www.fosef.org


70 เส้ น ทางตามรอยพระบาท โดย ททท. การแวะมาชมพื้ น ที่ ก ารเกษตรในแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์แบบนี้ ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีรูป แบบหนึ่ง ที่ช่วยชาร์ตพลังความสดชื่นคืนกลับสู่ร่างกายได้ดีไม่ แพ้สิ่งใด

ทริปตัวอย่าง 2 วัน 1 คืน เส้นทางท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา

วั น แรก ช่วงเช้า • สักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่สุดในโลกอุทยานลาน บุญมหาวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) • เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน แห่งแรกของเมือง ไทย หนึ่งในเจ็ดแห่งของโลก • เยี่ยมชมอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) วีรสตรีผู้กล้า

ช่วงบ่าย • ชมศูนย์ส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจาก พระราชด�ำริ • เยี่ยมชมมอนทาน่าฟาร์ม แหล่งเที่ยวบรรยากาศดี ท่ามกลางขุนเขา

ที่เที่ยวห้ามพลาด

แปลงผั ก ออร์ แ กนิ ก ชมการปลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ ในโครงการ

ช่วงบ่าย • ชมวัดศาลาลอย พระอุโบสถรูปส�ำเภาโต้คลื่น • เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ ค่ายสุรนารี สถานที่เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและงาน ศิลปาชีพ

กิจกรรมห้ามพลาด

• สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณอ�ำนาจ หมายยอด กลาง ผู้อ�ำนวยการศูนย์ฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรปลอด สารพิษ • ชมกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ และการ เผาถ่านเพื่อผลิตน�้ำส้มควันไม้ส�ำหรับใช้ไล่แมลง • ทดลองปลูกผักเกษตรอินทรีย์ หรือออร์แกนิกด้วย ตัวเอง

วั น ที่ ส อง ช่วงเช้า • เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ อาร์ต ออฟ โคราช ฝีมือ คนไทย แห่งแรกของอีสาน • เลือกซื้อเครื่องปั้นดินเผาที่หมู่บ้านด่านเกวียน

ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม กสิ ก รรมไร้ ส ารพิ ษ ตามโครงการพระ ราชด�ำริ 14 ม. 11 บ้ า นน�้ ำ ซั บ ต.วั ง น�้ ำ เขี ย ว อ.วั ง น�้ ำ เขี ย ว จ.นครราชสีมา โทร. 08 1977 8699, 08 1966 4247 เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. ฤดูท่องเที่ยว : ตลอดปี

การเดินทาง

จากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข304 ผ่านอ�ำเภอ ปั ก ธงชั ย ก่ อ นถึ ง ที่ ว ่ า การอ� ำ เภอวั ง น�้ ำ เขี ย ว ประมาณหลั ก กิโลเมตรที่ 71 เลี้ยวขวาไปบ้านน�้ำซับ เมื่อถึงวัดบ้านน�้ำซับให้ เลี้ยวซ้ายไปยังศูนย์ส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษฯ Lat. : 14.506234 Long. : 101.952236 77 issue 133 FEBRUARY 2019


แกนน�ำเยาวชนจิตอาสาครอบครัวพอเพียง ที่ผ่านการคัดเลือกรอบ PORTFOLIO (ยื่นผลงาน) สู่รั้วมหาวิทยาลัย

นางสาวปั ญ จรั ต น์ ฉิ ม ทั บ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์

นางสาวณั ฐ วดี มณี ส าร โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล 78 IS AM ARE www.fosef.org


สั ง คมคนดี

นายวรภั ท ร ขั น มี โรงเรียนทวีธาภิเศก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะพัฒนาสังคม

นายภู วิ น ท์ ยงกู ล โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะพัฒนาสังคม

นางสาวณั ฐ ชยานั น ท์ โรงเรียนปัญญาวรคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะอุตสาหกรรม 79 issue 133 FEBRUARY 2019


กิจกรรมรมณีย์ท่ีเรา

กิจกรรมรมณีย์ที่เรา มูลนิธิครอบครัวพอเพียงร่วมกับปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ แกนน�ำเยาวชนครอบครัวพอเพียงได้จัดอาสา สมัครช่วยเหลือในส่วนต่างๆ ภายในงานรมณีย์ที่เรา ณ เกาะลอย สวนลุมพินี วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีศูนย์ครอบครัว พอเพียงร่วมกิจกรรมดังนี้ 1.โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2.โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ 3.โรงเรียนวัดรา ชาธิวาส 4.โรงเรียนสตรีนนทบุรี 5.โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย 6.โรงเรียนสมุทรปราการ 7.โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม 8.โรงเรียน รัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน 9.โรงเรียนสตรีวัดระฆัง 10.โรงเรียนทวีธาภิเษก 11.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)2 12.โรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี 13.โรงเรียนศึกษานารี 14.โรวเรียนรัตนาธิเบศร์ 15.โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี 16.โรงเรียน สตรีสมุทรปราการ 17.โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ 18.โรงเรียนสตรีวิทยา 19.โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ 20.โรงเรียนไตรมิตร วิทยา 21.โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา 1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา 3.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 4.มหาวิทยาลัยมหิดล 5.มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด 6.สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง 7.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 80 IS AM ARE www.fosef.org


Round About

โครงการ Do for D. เพราะเรามีพ่อคนเดียวกัน

โครงการครอบครั ว พอเพี ย งสู ่ ส ถานศึ ก ษาและชุ ม ชน ร่วมกับ ซ.โซ่ อาสา ได้จัดแกนน�ำเยาวชนจิตอาสาครอบครัว พอเพี ย งท� ำ กิ จ กรรมสอนหนั ง สื อ และให้ ค วามสนุ ก สนานกั บ น้องๆ ภายในชุมชนหัวรถจักรตึกแดง บางซื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดง บางซื่อ

มี แ กนน� ำ เยาวชนครอบครั ว พอเพี ย งประกอบไปด้ ว ย ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนสตรีนนทบุรี โรงเรียน พระหฤทัยนนทบุรี โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)นนทบุรี โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางเขน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โรงเรี ย นดอนเมื อ งจาตุ ร จิ น ดา โรงเรี ย นศึ ก ษานารี โรงเรียน บางมดวิทยา โรงเรียนบดินทรเดชา สิงห์ สิงหเสนี 2 แกนน�ำ ศูนย์ครอบครัวพอเพียงระดับอุดมศึกษา จ�ำนวน 4 มหาวิทยาลัย มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นานาชาติ แ สตม ฟอร์ด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา 81 issue 133 FEBRUARY 2019


82 IS AM ARE www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดีๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 83

issue 133 FEBRUARY 2019


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.