Isamare jan59 web

Page 1

IS AM ARE

ทันตแพทย์บนดอย ความภู มิ ใ จบนความล� ำ บาก

บทสัมภาษณ์พิเศษ

พลเอกไพบู ลย์ คุ้มฉายา

รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม 1

issue 96 january 2016

ฉบับที่ 96 มกราคม 2559 www.Fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“ความจริ ง ใจต่ อ ผู ้ อื่ น เป็ น คุ ณ ธรรมส� ำ คั ญ มากส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ต ้ อ งการความส� ำ เร็ จ และความ เจริ ญ เพราะช่ ว ยให้ ส ามารถขจั ด ปั ด เป่ า ปั ญ หาได้ ม ากมาย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ปั ญ หา อั น เกิ ด จากความกิ น แหนงแคลงใจ และเอารั ด เอาเปรี ย บกั น นอกจากนั้ น ยั ง ท� ำ ให้ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ ไว้ ว างใจ และความร่ ว มมื อ สนั บ สนุ น จากทุ ก คนทุ ก ฝ่ า ยที่ ถื อ มั่ น ในเหตุ ผ ล และความดี ผู ้ มี ค วามจริ ง ใจจะท� ำ การสิ่ ง ใดก็ มั ก ส� ำ เร็ จ ได้ โ ดยราบรื่ น ” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๕

3 issue 96 january 2016


Editorial

สวั ส ดี ป ี ใ หม่ ค ่ะ ท่านสมาชิก ครอบครัวพอเพียงและท่านผู้ติดตาม อ่านนิตยสาร IS AM ARE ครอบครัว พอเพี ย ง ฉบั บ นี้ บก.ได้ น� ำ ภาพ พระราชทาน ส.ค.ส. ปี ๒๕๕๙ เพื่อ เป็ น สิ ริ ม งคลแก่ ทุ ก ท่ า นและพวก เรา “ครอบครัวพอเพียง” ทุกคน ด้วยค่ะ เริ่มต้นพุทธศักราช ๒๕๕๙ ปี นี้ “ครอบครัวพอเพียง” เริ่มต้นด้วย การเดินทางไปในหลาย ๆ จังหวัด หลาย ๆ พื้นที่ ไปเพื่อไปพบนักเรียน ในระดับชัน้ มัธยมศึกษา ๔ และมีรนุ่ พี่ แกนน�ำครอบครัวพอเพียง รุ่นที่ ๑ ที่ ก�ำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ๕ รอรับพวกเราอยู่ หลายคนถามว่า ไปพบนักเรียนเพื่ออะไร ได้อะไร ท�ำ ไปท�ำไมและใครจะได้ประโยชน์จาก สิ่งที่เราท�ำ ทุก ๆ ค�ำถามนั้นมีค�ำตอบ คือ เราไปพบนักเรียนเหล่านั้นเพื่อไป ปรับความคิด ปรับทัศนคติในหลักคิด เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความเข้าใจจนสามารถน�ำไปปรับ ประยุกต์ใช้และเมื่อเข้าใจแล้วนักเรียนก็จะน�ำไปเผยแพร่ต่อไป ท�ำแล้วได้อะไร ก็ต้องตอบ ว่าพวกเราท�ำแล้วมีความสุข ความสุขจากการท�ำให้นักเรียนเข้าใจในหลักคิดเรื่องปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถน�ำไปปรับใช้กับชีวิตประจ�ำวันได้อย่างเป็นรูปธรรม ท�ำไป ท�ำไม ที่พวกเราท�ำนั้นไม่มีใครจ้าง พวกเราท�ำก็เพราะพวกเรามีความรัก ความศรัทธาและเชื่อ มั่นในหลักคิดค�ำสอนของพระเจ้าอยู่หัว ว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้องและถ้าเราได้น�ำความ เข้าใจในสิ่งนี้ไปเผยแพร่ต่อประชาชน จนกระทั่งประชาชนเข้าใจเหมือนพวกเรา แล้วมีความ สุขอย่างเรา พอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นและมี สามารถด�ำเนินกิจการงานได้ด้วยตนเองพึ่งพา ตนเองได้อย่างแท้จริงและค�ำถามสุดท้ายคือ สิ่งที่พวกเราท�ำ ใครได้รับประโยชน ก็ขอตอบ ว่าประโยชน์จากความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พวกเราไปให้แนวทาง ไป ปรับความคิดนั้นมีคุณค่ามากมายมหาศาลและเป็นคุณค่าที่ไม่มีวันหมดสิ้นหรือสูญหาย และ เมื่อประชาชนทุกเพศ ทุกวัยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในจิตใต้ส�ำนึกเสมอ ความ ผิดพลาดพลั้งเผลอหรือความล้มเหลวในการด�ำรงตน ด�ำเนินงานก็จะน้อยหรือไม่เกิดขึ้นเลย และยังสามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแบบค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป จนมั่นคง มั่งคั่งและ ยั่งยืนอย่างแน่นอนในทุก ๆ กิจการค้าและทุกอาชีพ ตลอดจนทุกเพศ ทุกวัยด้วยค่ะ. 4 IS AM ARE www.ariyaplus.com

mookkarsa@gmail.com www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นางสุชานี แสงสุวรรณ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางสาวเอื้อมพร นาวี นายเอกรัตน์ คงรอด ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 96 january 2016


Hot Topic

46

จิตอาสาออฟโรด มีดี มากกว่ารถล้อใหญ่

58

26

ทันตแพทย์ บนดอย ความภูมิใจบน ความล�ำบาก ทางชี วิต จากดินสู่ดาว พลเอกไพบู ลย์ คุ้มฉายา

Don’t miss

10

18 20 14 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com

52


Table Of Contents

ทางชีวิต จากดินสู่ดาว

พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม 7 issue 96 january 2016

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บ้านนี้ไม่มีเด็ก เด็กก่อนค่าย เด็กหลังค่าย ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ เรื่องของเมืองน�้ำมันราคาถูก/แพง หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน Dhamma Today ชีวิตที่วิ่งตามความอยาก Question Of Life กลับบ้าน Cartoon Cover Story พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม Is Am Are ต�ำบลค�ำแคน จังหวัดขอนแก่น สัมภาษณ์พิเศษ จิตอาสาออฟโรด มีดีมากกว่ารถล้อใหญ่ เรื่องราวดี ๆ พลังแห่งรัก...แม้วันนี้ไม่มีเขาอยู่ Let’s Talk ทันตแพทย์บนดอย ความภูมิใจบนความล�ำบาก มูลนิธิชัยพัฒนา พืช 3 สาบพันธุ์ใหม่ ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ Wheel Of Life Round About

8 10 14 17 18 20 22 26 36 46 52 58 66 72 80


บ้านนี้ไม่มีเด็ก !

“ความเหงา” ก�ำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัว, สั งคม และมวลมนุษยชาติ ซึ่งนับ วัน จะทวีความรุน แรงมาก ยิ่งๆ ขึ้น ประเทศไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ 1.4 คือจ�ำนวนบุตรที่หญิงไทยมีโดยเฉลี่ย ตลอดช่วงอายุ 15-49 ปีของเธอในปี 2557 นี้ ซึ่งหมายความว่า ครอบครัวจะ หดเล็กลงไปเรื่อยๆ เพราะ พ่อ + แม่ เมื่อชราภาพและเสียชีวิต 2 คนนี้จะ กลับเหลือคนแทนเพียงแค่ 1.4 คน ....ประเทศไทย เคยมีเด็กเกิดใหม่ถึงปีละล้านกว่าคน เคยมี ก ารเพิ่ ม ของประชากรถึ ง 7-8 แสนคนต่ อ ปี ทั้งประเทศ ขณะนี้เรามีเด็กเกิดใหม่เหลือแค่ 7 แสนคนในปี 2557 และส่ อ เค้ า ว่ า จะลดน้ อ ยลงไปเรื่ อ ยๆ ในขณะที่ มี ค นตาย 4 แสนกว่าคนต่อปี (จ�ำนวนคนตายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยหลาย เหตุปัจจัย) เท่ากับว่าในแต่ละปี เราจะมีประชากรเพิ่มขึ้นแค่ 2 แสนกว่าคน ....จั ง หวั ด เล็ ก ๆบางจั ง หวั ด ในภาคเหนื อ เช่ น น่ า น, พะเยา, แพร่ มีจ�ำนวนประชากรทั้งจังหวัด บางอ�ำเภอลดลง

เรื่อยๆอย่างมีนัยส�ำคัญ โรงเรียนหลายแห่งมีเด็กนักเรียนลดลง ไปเรื่อยๆจนต้องปิดโรงเรียน นักประชากรศาสตร์ชาวอินเดียคนหนึ่ง พยากรณ์ไว้ว่า อีก 20 ปีข้างหน้า คือ ในปี 2578 ประเทศไทยจะมีประชากร เหลือแค่ 80% ของที่มีอยู่ในขณะนี้ ....บ้านนี้มีแต่ความเงียบ คือ ความเป็นจริงที่เราก�ำลัง ประสบในขณะนี้ เพราะลูกแยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่น เหลือแค่ พ่อแม่ บางครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศหมด ยิ่งเป็นครอบครัว ที่มีลูกน้อย ครอบครัวในเขตเมือง ยิ่งพบเห็นมากขึ้น คนไทยรุ่นใหม่ แต่งงานมีครอบครัวช้า บางคนแต่งงาน เอาตอนอายุ 40 กว่าปีแล้วและไม่คิดจะแต่งก็มีไม่ใช่น้อย พวก ที่แต่งงานแล้วหลายคู่ก็ไม่อยากจะมีลูก เป็นปรากฏการณ์ที่ พบเห็นจนเกือบจะกลายเป็นวิถีแห่งชาติ (National Trend) ไปแล้ว ...กระทรวงสาธารณสุข พึ่งแสดงท่าทีว่าคนไทยควรมีลูก ให้มากกว่านี้ ไปเมื่อเร็วๆนี้เอง

8 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ส� ำ นั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ แห่ ง ชาติ เ คยให้ สิ ท ธิ ค นคลอดบุ ต รได้ แค่ 2 คน ตอนนี้ เ พิ่ ง เปลี่ ย นมาได้ ไ ม่ จ� ำ กั ด จ� ำ นวนเมื่ อ ไม่ กี่ เ ดื อ นที่ ผ ่ า นมา นี้เอง มีคนตั้งข้อสังเกตว่า กลไกของรัฐ ไทยตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทาง ประชากรศาสตร์ค่อนข้างช้า และมักรอ จนปัญหาเบ่งบานสุกงอมเกินไป ถึงค่อย มาคิดแก้ไข... ....บ้ า นนี้ ไ ม่ มี เ ด็ ก อาจฟั ง ดู ธรรมดาๆ ในสายตาบางคน แต่ จ ริ ง ๆ สะท้อนว่า สังคมนั้นเริ่มเปราะบางและ อาจถึงขั้นพิกลพิการ เพราะเด็กคือความ อบอุ ่ น ในครอบครั ว เด็ ก คื อ คนที่ จ ะมา ทดแทนคนรุ ่ น เก่ า เด็ ก คื อ แรงงานใน อนาคต เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า นั่ น คื อ เด็ ก เป็ น รากฐานของสั ง คม ของประเทศในอนาคต ...ในประเทศญี่ ปุ ่ น ขณะนี้ มี ประชากร 128 ล้ า นคน ประเทศนี้ มี ประชากรลดจ�ำนวนลงไปในปีหนึ่งๆ ถึง 1 ล้านคน และจะลดลงไปเรื่อยๆ เพราะ เป็นสังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุถึงมากกว่า 20%ของประชากรทั้งหมด ในญี่ ปุ ่ น ก� ำ ลั ง มี ป รากฏการณ์ ทางสั ง คมด้ า นประชากรศาสตร์ อ ย่ า ง หนึ่งที่ส่ือมวลชนเรียกว่า Celibacy Syndrome (ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า Sekkusu Shinai Shokogun) ซึ่งหมายถึง สภาวะ (ที่ เ ป็ น แนวโน้ ม ระดั บ ชาติ ) ที่ ค นหนุ ่ ม สาว ถดถอยและไม่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ไม่ใส่ใจเรื่อง โรแมนติค หรือรักๆใคร่ๆ ในปี 2011 ผลการส� ำ รวจโดย Japan Family Planning Association พบว่า ผูห้ ญิงอายุ 16-24 ปี มีมากถึง 45% ที่ไม่ให้ความใส่ใจในเรื่องความส�ำพันธ์กับ เพื่อนต่างเพศ

เมื่ อ เดื อ นที่ แ ล้ ว ผมเขี ย นเรื่ อ ง “คุณเป็นแบบไหน” สะท้อนถึงลักษณะ เฉพาะของเด็กไทยที่ก�ำลังเปลี่ยนแปลง ไปตามกระแสสากลมากขึ้ น อั น ที่ จริ ง วั ย รุ ่ น ไทยมี พ ฤติ ก รรมการแต่ ง ตั ว การใช้ ชี วิ ต เอาอย่ า งเด็ ก ญี่ ปุ ่ น และเด็ ก เกาหลีมากขึ้นเรื่อยๆ คนหนุ่มสาวญี่ปุ่น ทุ ก วั น นี้ สู ญ เสี ย อั ต ลั ก ษณ์ ป ระจ� ำ ชาติ บางอย่ า ง เช่ น ความสุ ภ าพ ความ อยู ่ ใ นกรอบวิ นั ย มากขึ้ น เปลี่ ย นไปสู ่ การหล่ อ เลี้ ย งลั ก ษณะเฉพาะทางเพศ (Gender Stereotype) มากขึ้น เช่น มี ศั พ ท์ เรี ย กเฉพาะ Herbivore Man (ตามศั พ ท์ แปลว่ า ไอ้ ห นุ ่ ม กิ น หญ้ า ) จะหมายถึ ง วั ย รุ ่ น ชายอายุ ร าว 20 ที่ ป ฏิ เ สธการมี เ พื่ อ นต่ า งเพศ ใส่ ใจกั บ การ์ตูนและสื่อ Animation (Anime) เป็นหลัก ส่วน Carnivore woman คือ วัยรุ่นหญิงอายุ 20 ที่จบมหาวิทยาลัยแล้ว ไม่ใส่ใจเรื่องแฟน เอาแต่ท�ำงาน สร้างชีวิต หารายได้ เป็น working woman ….ครอบครัวญี่ปุ่น เป็นครอบครัว ที่เงียบเหงามาก มีการวิจัยพบว่า คู่สมรส ญี่ปุ่นรุ่นใหม่ในสังคมเมืองคุยกันแค่ 17 นาทีต่อสัปดาห์ สามีมักออกจากบ้านไป ท� ำ งานแต่ เช้ า กลั บ มาค�่ ำ สามี บ างคน กลั บ บ้ า นเฉพาะสุ ด สั ป ดาห์ เพราะไป พักค้างคืนใกล้ๆ ที่ท�ำงานเพื่อประหยัด เวลาเดินทาง ท�ำให้มีเวลาซึ่งกันและกัน น้อย มีเหตุผลอยู่ 3 อย่างที่คนญี่ปุ่นมีลูก น้อย คือ ไม่พร้อมเลี้ยงลูกเพราะความ บี บ คั้ น ทางเศรษฐกิ จ ผู ้ ห ญิ ง มั ก ถู ก ให้ ออกจากงานเมื่อตั้งครรภ์และการมีเวลา ซึ่งกันและกันน้อยระหว่างคู่สมรส ผู ้ อ ่ า นบางท่ า นอาจแย้ ง ว่ า ประเทศไทยไม่ เ หมื อ นญี่ ปุ่ น หรอก เรา เป็ น ประเทศที่ ผู ้ ค นในสั ง คมไม่ ไ ด้ บ ้ า งานขนาดนั้ น ครอบครั ว ในชนบทยั ง 9 issue 96 january 2016

www.nhso.go.th

อบอุ ่ น และมี ส ายสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต ่ อ กั น คนไทยเชื้ อ สายมุ ส ลิ ม ยั ง มี ลู ก แยะอยู ่ แต่ความเป็นจริงคือ ตัวเลขต่างๆ ที่เป็น สถิ ติ ท างประชากรศาสตร์ บ ่ ง ชี้ ว ่ า เรา ก� ำ ลั ง เดิ น ตามหลั ง ญี่ ปุ ่ น อยู ่ ติ ด ๆ โดย เฉพาะชี วิ ต แบบสั ง คมเมื อ ง (คนไทย 50% ขณะนี้ อ าศั ย อยู ่ ใ นเขตเมื อ ง) ซึ่ ง ครอบครั ว มี ข นาดเล็ ก ลงเรื่ อ ยๆ และ ต่างคนต่างอยู่ ...สิ ง คโปร์ เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนแต่งงาน กันมากๆ และมีลูกเยอะๆ เพราะสิงคโปร์ ตระหนั ก ดี ว ่ า การขาดแคลนทรั พ ยากร มนุ ษ ย์ ใ นอนาคต จะกลายเป็ น ปั ญ หา ทางสั ง คมและเศรษฐกิ จ ใหญ่ ม ากใน อนาคต รั ฐ บาลสิ ง คโปร์ มี ม าตรการ ทั้ ง ด้ า นการช่ ว ยเหลื อ ด้ า นที่ อ ยู ่ อ าศั ย ด้านการเงินและสวัสดิการต่างๆ ให้กับ คู่หนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่ ซึ่งรัฐบาลไทย ควรศึ ก ษาและน� ำ มาดั ด แปลงประยุ ก ต์ ใช้ในภาวะที่เราก�ำลังขาดแคลนแรงงาน อย่ า งมากมายในขณะนี้ (เรามี แรงงาน ต่ า งชาติ อ ยู ่ ใ นประเทศไทยขณะนี้ 3.5 ล้านคน) ...มาสร้ า งครอบครั ว และมี ลู ก หลานกั น เยอะๆ ประเทศไทยจะได้ มั่งคงและมั่งคั่ง เสียงหัวเราะของเด็กๆ เปรียบเสมือนน�้ำทิพย์ที่ชโลมครอบครัว และสังคมให้งดงามและอบอุ่น...

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา


เรื่องโดย ป้ามุก จากห้ อ งเรี ย นที่ แ ตกต่ า งกั น หลายคนไม่ รู ้ จั ก กั น มาก่ อ นเลย แม้ว่าจะเคยเข้าค่ายที่โรงเรียนเมื่อครั้งที่โรงเรียนจัดขึ้นก่อน การเปิ ด เทอมในภาคเรี ย นแรก กิ จ กรรมสั น ทนาการที่ เรา จั ด ขึ้ น สามารถท� ำ ให้ น ้ อ ง ๆ แกนน� ำ ทุ ก คนสามารถรู ้ จั ก ชื่ อ ของกันและกันได้ในเวลาอันรวดเร็วและเด็กสาวคนนี้ก็เช่นกัน เธอวิ่งและส่งเสียงหัวเราะไป เต้นไปตามจังหวะดนตรีเมื่อกลุ่ม ของเธอถูกลงโทษ แต่เมื่อสิ้นเสียงเพลงเธอกลับนั่งนิ่งและคอย มองออกนอกห้องกิจกรรมอยู่เสมอ และในช่วงเวลาของกิจกรรมก็จบลง วันนั้นเราได้ทราบ ว่าเธอมีชื่อเล่นว่า “สอง” น้องสองเป็นเด็กจังหวัด นนทบุรี คุณพ่อและคุณแม่มีความหวังกับน้องสองมาก น้องสองเลือก ที่ จ ะเรี ย นแผนกวิ ท ย์ - คณิ ต เธอมี ค วามหวั ง ว่ า เธอจะได้ เ ป็ น พยาบาลที่ไหนสักแห่งหนึ่งในอนาคต ส่วนเรื่องกิจกรรมนั้นเธอ ก็ไม่แน่ใจว่าเธอจะมีเวลาให้กับการท�ำกิจกรรมหรือไม่ ค่ายเดย์แคมป์ครั้งแรกเริ่มขึ้นแต่น้องสองไม่ได้มาด้วย และค่ายต่าง ๆ ก็ตามมาแทบทุกอาทิตย์ซึ่งมีทั้งค่ายแบบค้าง คืน ๒ วัน ๑ คืน หรือ ๓ วัน ๒ คืน และในแต่ละค่ายที่เราจัด ขึ้นน้องสองไม่เคยมาร่วมกับเราเลย จนจบการเรียนในปีการ ศึกษานั้นไป

เด็กก่อน...ค่าย เด็ก...หลังค่าย ฉบับนี้ อยากจะเล่าเรื่อง ราวของครอบครัวระดับปานกลางครอบครัวหนึ่ง ครอบครัวนี้ มีลูกเพียงคนเดียว เป็นบุตรสาวที่ก�ำลังเรียนในระดับมัธยม ๔ เมื่อมูลนิธิครอบครัวพอเพียงได้มีโอกาสไปจัดกิจกรรมอีกครั้ง เป็ น ปี ที่ ๗ กั บ โรงเรียนที่เด็ก สาวคนนี้เรียนอยู่แ ละหลั ง จาก ที่เราได้บรรยายให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องหลักปรัชญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งเสร็ จ เรี ย บร้ อ ย ช่ ว งถั ด ไปจะเป็ น ช่ ว งของ การรับเด็กจิตอาสาที่จะมาเป็นแกนน�ำของครอบครัวพอเพียง ในปีนี้ เ ด็ ก ส า ว ค น นี้ ก็ ย ก มื อ ข อ ส มั ค ร เ ป ็ น แ ก น น� ำ จิ ต อาสาครอบครั ว พอเพี ย งกั บ เราด้ ว ย ซึ่ ง วั น นั้ น กั บ โรงเรี ย น แห่งนี้เราได้แกนน�ำจิตอาสาในปีนี้มากถึง ๘๕ คนและในช่วง บ่ายโมงตรงพวกเราก็จะมีโอกาสได้พบกับน้อง ๆ แกนน�ำจิต อาสากลุ่มนี้อีกครั้ง เมื่อถึงเวลาบ่ายโมงตรง เราก็ได้พบกับเด็กสาวคนนี้และ เมื่อสังเกตุรูปร่างของเธอ เธอเป็นเด็กที่จัดว่าผอม ผอมมาก ๆ เลยทีเดียว กิจกรรมช่วงบ่ายเริ่มต้นขึ้นด้วยการร้องเพลงค่าย และ กิจกรรมสันทนาการที่สนุกสนาน นักเรียนทั้ง ๘๕ คน ที่มา 10

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย เมื่อกิจกรรมโครงการครอบครัว พอเพียงเริ่มต้นในปีการศึกษาใหม่ พวก เราก็ ไ ด้ ไ ปจั ด กิ จ กรรมในโรงเรี ย นเดิ ม กับนักเรียนระดับมัธยม ๔ ในปีนั้น นั่น หมายถึงปีนี้น้องสองได้เลื่อนชั้นไปเรียน มัธยม ๕ เราได้พบกับน้องสองอีกครั้งและ การพบครั้ ง นี้ เ ราได้ เ ห็ น เธอตั ว สู ง ขึ้ น ผิวด�ำขึ้นและยังคงความผอมแห้งเช่นเดิม มาในปีนี้น้องสองบอกเราว่าจะไปค่ายกับ เราด้วย เพราะคุณพ่อเพิ่งจะอนุญาตให้ไป ค่ายได้ เราจึงถามเธอว่าที่ผ่านมาที่เธอไม่ ได้ ไ ปร่ ว มค่ า ยกั บ เราเลยนั้ น เป็ น เพราะ คุ ณ พ่ อ ไม่ อ นุ ญ าตใช่ ไ หม เธอตอบว่ า ใช่ ค ่ ะ และเป็ น เพราะตั ว เธอเองก็ ก ลั ว กลั ว การไปค่ า ย กลั ว การพบปะกั บ คน แปลกหน้ า แต่ ก ารที่ เ ธอไม่ ไ ด้ ไ ปค่ า ย กับเรานั้น ไม่ได้หมายความว่าเธอไม่ได้ ติดตามหรือไม่ได้สนใจกิจกรรมค่ายที่เรา จั ด ขึ้ น เพี ย งแต่เธอมัก จะคอยถามจาก เพื่ อ น ๆ และดู รู ป ถ่ า ยที่ เ พื่ อ นไปค่ า ย กันมา เ มื่ อ ถึ ง ก� ำ ห น ด ก า ร จั ด ค ่ า ย ในอาทิ ต ย์ ถั ด มา น้ อ งสองได้ ม าค่ า ย กับเราด้วยและความที่เธอไม่คุ้นชินกับ การที่ จ ะไปท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั บ ผู ้ ค นที่ ไม่คุ้นเคย วันนั้นเธอร้องไห้ เธอบอกว่า เธอเหนื่ อ ยและร้ อ นมาก จนพี่ ๆ ค่ า ย ต้ อ งรี บ พาเธอไปพั ก ผ่ อ น และเมื่ อ ได้ เวลาสั น ทนาการค่ า ย เราจึ ง ให้ เ ธอไป ร่วมและช่วงนี้เองท�ำให้เธอได้เพื่อนใหม่ ต่างโรงเรียน ทั้งหญิงและชาย จ�ำนวน กว่า ๑๐๐ คนและเย็นวันนั้นเธอได้กลับ บ้านพร้อมเพื่อนใหม่เป็นเด็กสาวที่มีรูป ร่างผอม พอ ๆ กับเธอเลยทีเดียว อีกอาทิตย์ถัดมาพวกเราจัดค่าย แบบค้ า งคื น ๒ วั น ๑ คื น ที่ จั ง หวั ด สมุ ท รสาคร เป็ น ค่ า ยที่ มี เ จ้ า ภาพคื อ โรงเรียนประจ�ำจังหวัดสมุทรสาคร เป็น

ความส� ำ เร็ จ ที่ เ ธอได้ รั บ กั บ ความมุ ่ ง มั่ น ที่ เ ธอมี พวกเรามอง ตรงจุ ด นั้ น ว่ า “เธอมาในทางที่ เ ธอหวั ง คื อ ความหวั ง ที่ จ ะท� ำ ให้ ผู ้ อื่ น มี ค วามสุ ข จากที่ เ ธอท� ำ ” ค่ายการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรียนรู้ โครงการพระราชด�ำริและค่ายนี้น้องสอง ก็ได้มาค่ายกับเราด้วย มาครั้งนี้น้องสอง ต้องรับหน้าที่ “สต๊าฟ” ซึ่งเป็นหน้าที่ ของพี่ค่าย ต้องคอยดูแลในทุก ๆ เรื่อง ร่วมกับสต๊าฟคนอื่น ๆ โดยการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบกันไป และในค่ายนี้เอง เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ คนนี้ 11 issue 96 january 2016

เธอกล้ า ที่ จ ะแสดงออกมากขึ้ น เธอเป็ น ผู ้ น� ำ กลุ ่ ม และเธอเป็ น หั ว หน้ า ในการน� ำ น้ อ งออกมาเต้ น เพลงค่ า ย เราได้ ยิ น เธอร้ อ งเพลงร่ ว มกั บ เพื่ อ น ๆ อย่างสนุกสนาน และในค่ายนี้เราไม่เห็น เธอร้องไห้อีกแล้ว เย็ น วั น ที่ เราเดิ น ทางกลั บ เราได้ ถามเธอว่า จะมาค่ายอีกไหม เธอบอก ว่า มาแน่นอนค่ะ และแถมบอกเราอีก


เราได้ ถ ามเธอว่ า จะมาค่ า ยอี ก ไหม เธอบอกว่ า มาแน่ น อนค่ ะ และแถมบอกเราอี ก ว่ า มาคราวหน้ า จะหั ด เต้ น เพลงอื่ น ๆ มาก ๆ และจะร้ อ งเพลงให้ เยอะมากขึ้ น เธอบอกว่ า สั ก วั น หนึ่ ง เธอจะร้ อ งเพลง และเต้ น ให้ ค นไข้ ดู ให้ ไ ด้

12 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ชอบกับตนเองและกับสังคม และในปี นี้ เ องเมื่ อ ผลการสอบเข้ า รั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย ประกาศ เราได้ถามน้องสองว่า สมัครสอบที่ไหนบ้าง เธอตอบ ว่า หนูสมัครสอบที่เดียวค่ะ คือวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และเมื่อประกาศผลสอบ น้องสองได้เป็นนักศึกษาของวิทยาลัย พยาบาลสภากาชาดไทยตามที่เธอตั้งใจไว้ ความส�ำเร็จที่เธอได้รับกับความมุ่งมั่นที่เธอมี พวกเรา มองตรงจุดนั้นว่า “เธอมาในทางที่เธอหวัง คือความหวังที่จะ ท�ำให้ผู้อื่นมีความสุขจากที่เธอท�ำ” สักวันหนึ่งในไม่อีกกี่ปีนี้ ประเทศไทยจะได้ พยาบาลสาวร่างผอมบางที่มีจิตใจที่ประเสริฐ ยิ่ง ในใจของเธอมีแต่เรื่องของคนอื่น ความสุขที่เธอจะได้มอบ ให้แก่ประชาชน ในอนาคตอีกไม่นานนี้หากว่าท่านผู้อ่านได้ผ่านไปแถว ๆ โรงพยาบาลจุฬา และบังเอิญได้ไปพบเห็นพยาบาลสาวร่างเล็ก ก�ำลังยืนร้องเพลงหรือเต้นด้วยท่าทางที่สนุกสนานให้คนไข้หรือ ผู้ป่วย ผู้สูงวัยได้คลายกังวลกับการเจ็บป่วยอยู่ล่ะก้อ ก็อย่าลืม ปรบมือเป็นก�ำลังใจให้เธอด้วยนะค่ะ.

ว่า มาคราวหน้าจะหัดเต้นเพลงอื่น ๆ มาก ๆ และจะร้องเพลง ให้เยอะมากขึ้น เธอบอกว่าสักวันหนึ่งเธอจะร้องเพลงและเต้น ให้คนไข้ดู ให้ได้ และเมื่อเวลาผ่านไปอีกปีหนึ่ง ปีนี้น้องสองเรียนมัธยม ๖ แล้ว เธอและเพื่อน ๆ ต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่เรา ก็ยังคงเห็นน้องสองและเพื่อนๆ มาค่ายที่เราจัด ไม่ว่าจะเป็นค่าย ค้างคืนหรือค่ายไปเช้าเย็นกลับ น้องสองบอกเราว่า การสอบเข้า มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่ไหนก็ตาม เมื่อผ่านการสอบเก็บ คะแนนแล้ว จะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ด้วย และการสอบ สัมภาษณ์นั้นอาจารย์มักจะถามเรื่อง การท�ำกิจกรรมในรูปแบบ “จิตอาสา” หรือการบ�ำเพ็ญประโยชน์ในที่ต่าง ๆ น้องสองบอกกับเราว่า สิ่งที่ครอบครัวพอเพียงท�ำนั้น มีค่าส�ำหรับนักเรียนทุกคน เป็นการบ่มเพาะให้เด็ก เยาวชนมี “จิตอาสา” และเมื่อเด็กหรือเยาวชนรู้จักที่จะ “ให้” “ให้” โดย ไม่หวังผลตอบแทนคือท�ำอะไรก็ตาม ท�ำด้วยใจที่บริสุทธิ์ และท�ำ อย่างต่อเนื่อง ท�ำทุกครั้งที่มีโอกาสก็จะท�ำให้การกระท�ำนั้น ๆ กลายเป็น “นิสัย” หรือจิตภาวะเกิดการรับรู้ เกิดความรับผิด

13 issue 96 january 2016


เรื่องโดย ดร.ไสว บุญมา

เรื่องของเมืองน�้ำมัน ราคาถูก/แพง

ในช่ ว งนี้ มี ก ารต่ อ สู ้ กั น ต่ อ หน้ า รั ฐ บาลเรื่ อ งการปฏิ รู ป ภาคพลั ง งานของประเทศ เป้ า หมายในการปฏิ รู ป ภาค พลั ง งานของผู ้ เ สนอดู จ ะมี ห ลายอย่ า งรวมทั้ ง การมี น�้ ำ มั น ราคาถู ก ไว้ ใ ช้ ในฐานะผู ้ ติ ด ตามดู วิ วั ฒ นาการของ ประเทศที่ มี น�้ ำ มั น ปริ ม าณมากมาเป็ น เวลานาน ขอน� ำ ข้ อ สั ง เกตเรื่ อ งราคาน�้ ำ มั น มาเล่ า

14 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้ ย้ อ นไปเมื่ อ หลายปี ก ่ อ น ผมศึ ก ษาวิ วั ฒ นาการของ ประเทศส่งออกน�้ำมันชั้นน�ำ 13 ประเทศซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่ม “โอเป็ก” (OPEC = Organization of Petroleum Exporting Countries) และน�ำมาเล่าไว้ในหนังสือชื่อ “เล่าเรื่องเมือง น�้ำมัน” (พิมพ์มกราคม 2545) ผู้สนใจอาจเข้าไปดาวน์โหลด ได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader. com หรือที่คลังเอกสารสาธารณะ www.openbase.in.th แม้ จะพิมพ์มากว่า 10 ปี แต่บทสรุปหลักของหนังสือยังไม่ตกยุค วันนี้ขอเล่าเรื่องราวของเวเนซุเอลาซึ่งอยู่ในกลุ่ม “โอเป็ ก ” และนอร์เวย์ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน�้ำมันรายใหญ่แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม นั้น เวเนซุ เ อลามี น�้ ำ มั น ปิ โ ตรเลี ย มที่ ค ้ น พบแล้ ว มากที่ สุ ด ในโลก ผลิตน�้ำมันมาเป็นเวลานานและเคยส่งออกน�้ำมันมาก ที่ สุ ด ในโลก เวเนซุ เ อลามี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นให้ ก่อตั้ง “โอเป็ก” ขึ้นมาเมื่อปี 2503 เพื่อหวังจะควบคุมการ ผลิตของสมาชิกและราคาน�้ำมันในตลาดโลก สมาชิกในกลุ่มนี้ มีความแกร่งมาก ในบางช่วงเวลาสามารถผลักดันให้ราคาน�้ำมัน ในตลาดโลกพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้ มหาศาล แต่ความส�ำเร็จและรายได้แบบส้มหล่นนั้นมิได้ท�ำให้ เวเนซุเอลาพัฒนาได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ตรงข้าม ทุกอย่าง ล้มลุกคลุกคลานจนดูเสมือนตกอยู่ในสภาพ “ยิ่งพัฒนายิ่งจน” ในขณะนี้ เวเนซุเอลามีคนยากจนจ�ำนวนมาก คนอดอยากนับได้ ใกล้ 1 ใน 3 ของประชากร ด้วยเหตุนี้ เมืองหลวงของประเทศ จึงมีแหล่งเสื่อมโทรมอยู่ทั่วไป การมี น�้ ำ มั น ปริ ม าณมากแต่ มี อั ต ราความยากจนสู ง เช่นนั้นบางทีนักวิชาการเรียกกันว่าเป็นผลของ “ค�ำสาปของ ทรัพยากร” (Resource Curse) แนวคิดนี้อาจอธิบายได้จาก หลายแง่ มุ ม เช่ น ผู ้ มี ท รั พ ยากรมากมั ก เป็ น ที่ ห มายตาของ มหาอ�ำนาจซึ่งเข้าไปล่าเพื่อยึดเป็นอาณานิคมของตน เนื่องจาก เวเนซุเอลาพบน�้ำมันหลังได้เอกราชจากสเปนแล้วและมิได้ถูกยึด เป็นอาณานิคมอีก ค�ำอธิบายนี้จึงไม่มีน�้ำหนัก ชาวเวเนซุเอลามักโทษสหรัฐอเมริกาว่าท�ำให้ประเทศ ของตนยากจน แต่ในขณะเดียวกันมีคนละตินอเมริกันโต้แย้ง ว่า นั่นเป็นการใส่ความผู้อื่นเพราะต้นตอของปัญหามาจากการก ระท�ำของชาวละตินอเมริกันเอง เกี่ยวกับประเด็นนี้มีชาวละติน อเมริกัน 3 คนอธิบายไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งได้รับการแปลจาก ภาษาสเปนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Guide to the Perfect Latin American Idiot หรือ “แนะน�ำละตินอเมริกันไร้ปัญญา” (ผู้ สนใจอ่านแต่ไม่มีเวลาอาจอ่านบทคัดย่อภาษาไทยซึ่งดาวน์โหลด

ได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาเช่นกัน) จากมุมมองของ หนังสือ การพบน�้ำมันปริมาณมหาศาลของเวเนซุเอลาน�ำไปสู่ การด�ำเนินนโยบายหลายอย่างที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งนโยบาย ประชานิยมแบบเลวร้ายด้วย นโยบายเหล่านั้นน�ำไปสู่การผลาญ ทั้งน�้ำมันและรายได้จากการขายน�้ำมันจนยากแก่การอธิบาย ตัวอย่างของการใช้น�้ำมันแบบล้างผลาญได้แก่การขายน�้ำมันให้ ชาวเวเนซุเอลาด้วยราคาชนิดหลุดโลกมาเป็นเวลานาน เมื่อต้นเดือนธันวาคม ชาวเวเนซุเอลาซื้อน�้ำมันชั้นดีที่สุด ได้ในราคาลิตรละราว 70 สตางค์เท่านั้น ราคานี้คิดตามอัตรา แลกเปลี่ยนของรัฐบาล หากคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด มืด ราคาอาจจะตกลงมาเหลือลิตรละ 10 สตางค์ ทั้งที่รู้ว่าราคา ชนิดให้เปล่านั้นน�ำไปสู่การผลาญทรัพยากรน�้ำมันแบบไร้เหตุผล แต่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาต่อต้านทุกครั้งที่รัฐบาลจะยอมให้ ขึ้นราคา ในปีหนึ่ง ๆ รัฐบาลจึงต้องหาเงินจ�ำนวนมากมาชดใช้ ให้แก่ผู้ขายน�้ำมันนับหมื่นล้านดอลลาร์ นั่นเป็นการผลาญรายได้จากการขายน�้ำมันเพียงส่วน เดียว ยังมีการผลาญในโครงการแนวประชานิยมอื่น ๆ อีกมาก ด้วยเหตุนี้ การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนในด้านการสร้างความ ก้าวหน้าต่อไปจึงแทบไม่มี ทุกภาคของเศรษฐกิจตกอยู่ในสภาพ ล้มลุกคลุกคลาน หรือไม่ก็ถดถอยไปจนแทบไม่มีความส�ำคัญ เหลืออยู่ เช่น การผลิตกาแฟและโกโก้ซึ่งเวเนซุเอลาเคยส่งออก ได้มากเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม เมื่ อ รายได้ จ ากการขายน�้ ำ มั น ถู ก ผลาญโดยเปล่ า ประโยชน์มาตลอด เวเนซุเอลาจึงไม่มีกองทุนน�้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่ ง ผู ้ ส ่ ง ออกมั ก ใช้ เ ป็ น แหล่ ง สะสมสิ น ทรั พ ย์ ไว้ ใ ห้ เ ป็ น มรดก 15

issue 96 january 2016


ตกทอดถึงชนชั้นลูกหลาน ร้ายยิ่งกว่านั้น เวเนซุเอลายังหยิบ ยืมเงินจากต่างประเทศมาผลาญจนถึงกับเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว อีกด้วย บางครั้งเวเนซุเอลาช�ำระหนี้ไม่ไหวจ�ำเป็นต้องเดินเข้า สู่ภาวะล้มละลายและบากหน้าไปขอความช่วยเหลือจากกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อเปรียบกับเวเนซุเอลา นอร์เวย์เป็นน้องใหม่เพราะ พบน�้ำมันหลังเวเนซุเอลากว่า 50 ปีและมีน�้ำมันนับได้ไม่ถึงร้อย ละ 3 ของเวเนซุเอลา อย่างไรก็ดี นอร์เวย์ มีก๊าซธรรมชาติราว ครึ่งหนึ่งของเวเนซุเอลาและส่งออกทั้งน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ปีละมากกว่าเวเนซุเอลา ปัจจัยที่ท�ำให้นอร์เวย์ส่งออกได้มาก เนื่องจากมีประชากรราวร้อยละ 17 ของเวเนซุเอลาและรัฐบาล มีนโยบายประหยัดการใช้น�้ำมันชนิดเข้มงวดมาก ด้วยเหตุ นี้ รัฐบาลนอร์เวย์จึงเก็บภาษีและขายน�้ำมันในราคาสูงกว่าใน เวเนซุเอลาปานฟ้ากับดิน ในปัจจุบัน น�ำมันชนิดเดียวกันกับที่ชาวเวเนซุเอลาหา ซื้อได้ในราคาลิตรละ 70 สตางค์นั้น ชาวนอร์เวย์ต้องซื้อในราคา กว่า 60 บาท นอกจากจะพยายามประหยัดน�้ำมันที่ตนผลิตได้อย่าง จริ ง จั ง แล้ ว นอร์ เวย์ ยั ง พยายามออมรายได้ ที่ เ กิ ด จากการ ขายน�้ ำ มั น และก๊ า ซธรรมชาติ ไว้ ใ ห้ ค นรุ ่ น หลั ง อย่ า งจริ ง จั ง อี ก ด้ ว ย นอร์ เ วย์ ท� ำ สิ่ ง เหล่ า นั้ น บนฐานของแนวคิ ด ที่ ว ่ า ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติของทั้งคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่น

ต่อ ๆ ไปที่ยังไม่เกิด ฉะนั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่คนรุ่นหลังซึ่ง ยังไม่มีสิทธิ์มีเสียง คนรุ่นปัจจุบันควรสงวนรักษาส่วนหนึ่งของ ทรัพยากรไว้ให้พวกเขา ณ วันนี้ นอร์เวย์ จึงมีกองทุนสะสมจาก รายได้ของการขายน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติถึงกว่า 855 แสน ล้านดอลลาร์ซึ่งนับว่ามากกว่าใครในโลกรวมทั้งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพบน�้ำมันก่อนและมีน�้ำมันมากกว่า นอร์ เวย์ ไ ม่ ประสบปั ญหาที่ นั ก วิ ช าการมั ก เรี ย กกั นว่า “โรคดัทช์” (Dutch Disease) นั่นคือ รายได้จากการขาย ทรัพยากรธรรมชาติมักน�ำไปสู่ความบิดเบือนทางนโยบายจน ก่อให้เกิดปัญหาหนักหนาสาหัส หลังจากพบน�้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติปริมาณมาก รัฐบาลนอร์เวย์ไม่ยอมให้เกิดการบิดเบือน ทางนโยบาย ประเทศจึงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปในแนวเดิมได้จน ในปัจจุบันนี้ชาวนอร์เวย์มีรายได้ต่อคนสูงเป็นล�ำดับ 3 ของโลก หรือราว 8 เท่าของชาวเวเนซุเอลา ทั้งประเทศแทบไม่มีคนจน มี ความเหลื่อมล�้ำต�่ำมากและคนตกยากได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง เรื่ อ งที่ เ ล่ า มานี้ อ าจชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า การมี น�้ ำ มั น ปริ ม าณ มหาศาลและการเข้าถึงน�้ำมันราคาถูกอาจมิใช่ปัจจัยที่จะท�ำให้ ประเทศพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง การตั้งเป้า หมายในการปฏิรูปภาคพลังงานว่าต้องมีน�้ำมันราคาถูกใช้อาจ เป็นการวางกับดักไว้ล่วงหน้า ต่อไปกับดักนั้นจะเป็นอุปสรรค ส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นาเช่ น เดี ย วกั บ กรณี ข องเวเนซุ เ อลาจน ประเทศต้องประสบปัญหาหนักหนาสาหัสแบบไม่รู้จบ 16

IS AM ARE www.ariyaplus.com


กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบันเทิง ความสุขมากมายที่ได้ รับจากการอ่านนิตยสารเพื่อสังคมฉบับ นี้ เพื่อเป็นการตอบแทนท่านผู้อ่านและ สมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะแจกของ สมนาคุณเล็กๆแก่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกันเข้า ของสมนาคุณที่ว่า คือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อมสลักชื่อ-นามสกุล เรี ย บร้ อ ย ซึ่ ง ค� ำ ถามในฉบั บ นี้ คื อ ความรู ้ ที่ ไ ด้ จ ากบทความ “บ้านนี้ไม่มีเด็ก” หน้า 8-9 จากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่ ง ชาติ ในฉบั บ ที่ ป รากฏ แล้วตัดส่งมากันนะค่ะ ในฉบับ หน้ า ของสมนาคุ ณ อาจมี ก าร เปลี่ยนแปลงตามค�ำเรียกร้อง ของคนขี้ เ หงา ซึ่ ง น่ า จะเป็ น Furby เพื่อนช่างคุย ของเรา เอง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า นะค่ะ

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com, www.fosef.org แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง บ้านนี้ไม่มีเด็ก

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 17 issue 96 january 2016

1169


ชี วิตที่วิ่งตามควาอยาก...

ท่ า มกลางกระแสแห่ ง “ความพอเพี ย ง” อั น เชี่ ย วกราก ที่ ไ ม่ ว ่ า จะหั น ไปมุ ม ไหน ก็ ไ ด้ ยิ น ค� ำ ว่ า พอเพี ย งแล่ น เข้ า หู ไ ปซะทุ ก ด้ า น ลองถามตั ว คุ ณ เองดู ว ่ า ชี วิ ต ที่ พ อเพี ย งของคุ ณ เป็ น แบบไหน และชี วิ ต ที่ แ ท้ จ ริ ง เป็ น เช่ น ไร บางที คุ ณ อาจจะพบว่ า เส้ น ทางความพอเพี ย งที่ คุ ณ ยึ ด และปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ เ ข้ า กั บ กระแส เอาเข้ า จริ ง ๆ แล้ ว อาจไม่ ใ ช่ และเข้ า ใจอะไรผิ ด ๆ มาตลอด ลองมาฟั ง มุ ม มองของพระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี หรื อ ท่ า น ว.วชิ ร เมธี ดู บ ้ า ง ว่ า แก่ น แท้ ข องชี วิ ต ที่ พ อเพี ย ง ควรเป็ น อย่ า งไร และครรลองแบบไหนจึ ง จะเรี ย กว่ า เป็ น ชี วิ ต ที่ พ อเพี ย งอย่ า งแท้ จ ริ ง 18 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

“ชีวิตที่วิ่งตามความอยาก จะไม่รู้จักค�ำว่าพอเพียง” ประโยคทองของท่าน ว.วชิรเมธี ที่ให้ข้อคิดเอาไว้ ท่านยังได้ขยายความของค�ำว่า “พอเพียง” ในความหมายทางโลก คือการรู้จักประมาณในการบริโภค ในที่นี้คือให้รู้ประเมินศักยภาพของตัวเอง ว่ามีสถานภาพทางการเงินแค่ไหน จะได้ไม่จ่ายเงินเกินหน้าตัก หรือใช้จ่ายเกินตัว ในทางสังคม ก็ต้องประเมินตนเองได้ ไม่ท�ำอะไรเกินตัว เกินความจริง อาทิเช่น เป็นเลขาฯ ไม่ใช่ท�ำเกินนาย เป็นรัฐมนตรีก็ไม่ใช่ ท�ำเกินรัฐมนโท ถ้าเกินเมื่อไรก็ไม่รู้จักค�ำว่าพอเพียง นอกจากนี้ ท่านว.วชิรเมธีบอกว่า มนุษย์เราต้องบริโภค ปัจจัย 4 อย่างเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับมนุษย์ แต่ปัจจุบันคนทั่วไป บริโภคอย่างไม่พอเพียง เรียกว่ามีการบริโภคปัจจัย 4 ที่ผิด “อาทิเช่น เสื้อผ้าแทนที่จะบริโภคเครื่องนุ่งห่ม ก็กลายเป็นซื้อเสื้อผ้าเพื่อความโก้หรู เพื่อให้ทันสมัย ไม่ให้ตกเทรนด์ หรืออย่างอาหารแทนที่จะบริโภคเพื่อประทังชีวิต แต่กลายเป็นบริโภคเพื่อความอร่อย บริโภคเพื่อให้ดูดีมีรสนิยม ส่วนที่อยู่ อาศัยแทนที่จะเป็นที่พักอาศัย แต่บางคนก็ปลูกบ้านหลังละเป็น 100 ล้าน ยาแทนที่จะมีไว้รักษาโรคภัย แต่กลับมีไว้เพื่อเสริม ความงาม” ท่าน ว.วชิรเมธีบอกว่า เมื่อมีการบริโภคที่ผิด โดยเกิดจากคุณค่าเทียม ถึงจะมีเงินเท่าไรก็ไม่พอใช้ ยิ่งถ้าปล่อยให้ความ อยากเกิดขึ้นอย่างไร้ขีดจ�ำกัด ยังวิ่งตามความอยาก ก็จะไม่รู้จักพอ แต่ถ้าเราด�ำรงชีพโดยใช้ “ความจ�ำเป็น” เป็นตัวตั้ง เราจะพอ ถ้าเอาความอยากเป็นตัวตั้ง ชีวิตเราจะสะกดความพอเพียงไม่เป็น เป็นแง่คิดที่น่าจะท�ำให้คนที่พูดค�ำว่า พอเพียงบ่อยๆ ได้ย้อนดู และส�ำรวจตัวเองอีกครั้ง ว่าคุณได้สัมผัสความพอเพียงที่แท้จริงแล้วหรือยัง http://www.dhammajak.net/

19 issue 96 january 2016


เศษกระดาษแผ่นหนึ่งร่วงลงพื้น อันที่จริงมันคือตั๋วโดยสารสายกรุงเทพฯ ทุ่งช้าง ที่ออกจะยับๆเก่าๆใบหนึ่ง ผม น�ำมันติดตัวมาด้วย ขณะที่เดินทางจาก กรุงเทพฯ สู่บ้านเกิด ยังจ�ำได้ วันนั้นเป็น วั น ที่ 16 ตุ ล าคม รถออกจากหมอชิ ต ประมาณสองทุ ่ ม ครึ่ ง ฝนตกหนั ก และ หนาวมากด้ ว ย ชั่ ว ขณะที่ ร ถวิ่ ง ออกไป นั้น ผมคิดถึงพ่อ แม่ และน้องจับใจ ผม ถือตั๋วใบนี้กลับบ้านด้วยแรงใจและความ หวั ง หลั ง จากที่ ไ ด้ รั บ แจ้ ง จากอาจารย์ ปรารถนา วงศ์ บุ ญ หนั ก ซึ่ ง ท่ า นเป็ น อาจารย์ที่ มศว. ว่า นิสิตโครงการฯ จะ ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครู ผมดีใจ มาก ผมจะได้เป็นครู มีอนาคตที่มั่นคง แล้วก็อยู่เป็นหลักแหล่งเสีย...

กลับบ้าน ที่บ้านผมนั้นสมาชิกในครอบครัว ของเราที่ผ่านมา ล้วนแต่เลี้ยงชีพด้วยการ เพาะปลูกตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเรื่อยมา จนถึงรุ่นพ่อและผม ตลอดระยะเวลาที่ ผ่านมาสภาพความเป็นอยู่ครอบครัวเรา ค่อนข้างล�ำบาก ตอนเด็กๆ พ่อมักจะพา ผมไปช่วยงานในสวนผักเป็นประจ�ำ ทั้งที่ ผมไม่ค่อยเต็มใจเท่าไรนัก แต่ก็จ�ำใจ บ่อย ครั้งที่ผมถูกพ่อตี เพราะผมมักหนีแอบ กลับมาเล่นที่บ้าน ตอนหลั ง เมื่ อ ผมโตขึ้ น ในขณะ ที่ พ ่ อ และแม่ เริ่ ม แก่ ตั ว ลง ผมจึ ง ช่ ว ย งานพ่ออย่างเต็มที่ สงสารมากที่สุดคือ แม่ แม่ ท� ำ งานหนั ก เหมื อ นดั ง เป็ น ชาย อกสามศอกมาหลายสิบปี 20 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ผมแอบฝันเอาไว้ว่า...เมื่อผมโต ขึ้นผมจะหางานดีๆ ท�ำ เพื่อให้ครอบครัว เราสบายขึ้น กลับบ้านคราวนี้ พ่อกับแม่ คงจะดีใจ เพราะบ้านเรายังไม่มีลูกคน ไหนได้รับราชการ ย้ อ นกลั บ ไปหลั ง จากที่ เรี ย นจบ ปริ ญ ญาตรี ส ายครู วิ ท ยาศาสตร์ มศว. ในเดือนมีนาคมปีนั้น ผมกลับบ้านทันที เพราะยั ง ไม่ มี ง านท� ำ และใกล้ จ ะถึ ง เทศกาลสงกรานต์ ห้วงชีวิตในตอนนั้น เป็นช่วงที่ยังมึนๆ งงๆ กับชีวิตอยู่ ไม่มี หลั ก ยึ ด สั บ สน งงๆ อยู ่ อ ย่ า งนั้ น จน กระทัง่ สงกรานต์ผา่ นไป จึงเริม่ หาอะไรท�ำ โดยได้ รั บ ค� ำ แนะน� ำ จากคุ ณ ครู ห ลายๆ ท่านว่า ให้ส่งประวัติและใบสมัครไปที่ โรงเรียนต่างๆ เผื่อเขาก�ำลังขาดครู และ


question of life อาจจ้างเราเข้าท�ำงาน ก็ดีเหมือนกันจะได้ ท�ำงานใกล้บ้าน แต่ แ ล้ ว สองสั ป ดาห์ ผ ่ า นไป ผม เริ่มเข้าใจว่า โรงเรียนแถวบ้านเราขาดครู ก็จริงอยู่ แต่ไม่มีอัตราว่างให้ครูใหม่ และ ไม่มีเงินจ้างครูช่วยสอน ความหวังจบลง ผมไม่รู้จะไปท�ำ อะไร ที่บ้านไม่มีงานให้ท�ำ ก็เลยช่วยพ่อ ท�ำสวนผักอยู่พักหนึ่ง ก็สนุกดี แดดร้อน และเหนื่อยมากๆ โชคดี เพื่ อ นที่ ก รุ ง เทพฯ โทร มา บอกให้ไปสมัครที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ที่นั่นเขาอยากได้ครูอัตรา จ้างไปช่วยสอน ผมก็เลยลองดู เสี่ยงเข้า กรุ ง เทพฯ อี ก ครั้ ง ด้ ว ยความหวั ง ว่ า จะ มีงานท�ำ โชคดีอีกเช่นกันที่ผมสอบผ่าน และเริ่มเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่นั่น ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน สนุก มันยุ่งๆ ดี ด้วยความที่ที่บ้าน ไม่มีเงินมากมายนัก ชีวิตช่วงนั้นจึงค่อน ข้างล�ำบาก เพราะไม่มีเงิน เงินเดือนก็ยัง ไม่ได้ ผมมักเกรงใจพ่อจึงไม่อยากขอเงิน พ่อมาเยอะ ท�ำให้เดือนนั้นมีตังค์ติดตัว อยู่น้อยมาก แต่เรื่องกินอยู่ก็ไม่ล�ำบาก มากนักเพราะอยู่แถวหน้ารามฯ มีของกิน ของใช้ให้เลือกเยอะ พอเงินเดือนออก ก็เริ่มดีขึ้น แม้ เงินเดือนไม่เท่าไหร่ แต่ผมก็ใช้เงินที่ได้ อย่ า งกระเบี ย ดกระเสี ย ร จึ ง พอมี เ งิ น เหลือเก็บอยู่บ้าง ผมสนุกอยู่ที่เมืองกรุง ได้พักใหญ่ กระทั่งปลายเดือนกันยายน จึงลาออก และกลับคืนถิ่นบ้านเกิดเพื่อ มาเป็ น ครู โดยเวลาหกเดื อ นในเมื อ ง หลวงนั้นยาวนานราวกับว่าจากบ้านมา แรมปี... ท่ า มกลางเปลวแดดในบ่ า ยวั น หนึ่งของต้นเดือนธันวาคม ผมบิดคันเร่ง ผ่านโค้งแล้วโค้งเล่าตลอดทางบนถนน สาย ท่าวังผา – เชียงค�ำ เพื่อไปรายงาน

ตัวที่โรงเรียนหลังจากได้รับเอกสารการ รายงานตั ว จากส� ำ นั ก งานเขตฯ แล้ ว โรงเรียนที่ผมเลือกเป็นโรงเรียนเล็กๆ ใน อ�ำเภอสองแคว จังหวัดน่าน โรงเรียนนี้ อยู่ห่างจากบ้านไปเกือบสี่สิบกิโลเมตรซึ่ง ก็ถือว่าใกล้บ้านมากที่สุดที่พอจะเลือกได้ ชาวบ้านแถบนี้ส่วนมากเป็นชนเผ่าต่างๆ เช่น ม้ง เมี่ยน ถิ่น ขมุ ไทลื้อ ก่อ ชีวิต ความเป็นอยู่ที่นี่ไม่ล�ำบากอะไรมากมาย นัก เงียบสงบ ผมจึงเลือกที่จะเริ่มชีวิต ความเป็นครูครั้งแรกที่นี่ หลั ง จากเริ่ ม ท� ำ งานจริ ง จั ง ใน ปลายเดื อ นธั น วาคม ผมเริ่ ม มองเห็ น ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีโอกาสได้เห็น แบบอย่างของครูทดี่ ี ครูทกุ คนต้องท�ำงาน กันอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ส่ง เสริม และช่วยเหลือเด็กทุกคนอย่างไม่รู้ จักเหน็ดเหนื่อย ราวกับว่าเด็กๆ ทุกคน เป็นลูกของพวกเขาเอง ปั ญ หาเดี ย วที่ แ ก้ ไ ขไม่ ไ ด้ คื อ ภู มิ ป ระเทศที่ เ ป็ น เขาสู ง และบ้ า นของ เด็กๆ อยู่ห่างไกลจากโรงเรียนมาก แม้จะ มีหอพักส�ำหรับนักเรียน แต่ก็พอแก้ไขได้ เพียงบางส่วนเท่านั้น ครูหลายๆ คนบอก กับผมว่า ในฐานะครูเรายังมีงานต้องท�ำ อีกมากมายเพื่อให้ท้องถิ่นที่เราอยู่ดีกว่า ทุกวันนี้ 21 issue 96 january 2016

หลายครั้งที่ผมดูข่าวในพระราช ส� ำ นั ก ทุ ก ครั้ ง ที่ ผ มเห็ น เจ้ า ฟ้ า เจ้ า แผ่ น ดินทุกพระองค์เสด็จไปยังโรงเรียนต่างๆ ในท้ อ งถิ่ น ห่ า งไกลแล้ ว ผมรู ้ สึ ก ตื้ น ตั น ใจเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ไ ด้ เ ห็ น ภาพอั น งดงาม เช่ น นี้ มี เ ด็ ก จ� ำ นวนมากที่ ไ ด้ รั บ พระ มหากรุณาธิคุณ ได้รับทุนการศึกษา มี อาหารกลางวันรับประทาน ภ า พ เ ห ล ่ า นี้ ยิ่ ง ท� ำ ใ ห ้ ผ ม ปลาบปลื้มใจ มีก�ำลังใจ รัก และศรัทธาใน การเป็นครู ถอยหลังกลับไปถึงตอนที่ยัง เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ทุกท่านพร�่ำสอนพวกเราที่เป็น นิสิตในโครงการเสมอๆ ว่า อย่าลืมบ้านเกิด อย่าทิ้งบ้านเกิด เพราะที่นั่นให้ชีวิตเรามา เราจึงควรแสดงความขอบคุณต่อ แผ่นดินถิ่นเกิด ด้วยการ กลับมาพัฒนา บ้านเกิดของเรา ตอนนี้ผมได้กลับมารับใช้ ถิ่นเกิดแล้ว และจะอยู่ที่นี่ตลอดไป ผมก้ ม ลงหยิ บ กระดาษแผ่ น นั้ น ขึ้นมา วรชั ย สุ ท ธไชย บั ณ ฑิ ต คื น ถิ่ น ครู วิ ท ยาศาสตร์ คื น ถิ่ น จั ง หวั ด น่ า น


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 96 january 2016


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 96 january 2016


Cover Story

ทางชี วิต จากดินสู่ดาว พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เรื่อง โดย กรวิก อุนะพ�ำนัก

26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


27 issue 96 january 2016


ภาพชี วิ ต

แ ม ่ เ ที่ ย ว ห า บ ผ ล ผ ลิ ต จ า ก ไร ่ น า ข อ ง เร า ไ ป แ ล ก ข ้ า ว เ ป ลื อ ก ข้ า วสุ ก หรื อ เนื้ อ ชนิ ด ต่ า งๆ ใครจะซื้ อ ก็ขาย แตงกวา ฟัก ชะอม พริก และ พื ช ผั ก สวนครั ว ตามแต่ ฤ ดู ก าล ถ้ า เป็ น สมัยนี้เขาเรียกกันให้ดูมีราคาว่าผักปลอด สารเคมี แต่สมัยของเราเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว นั้นยากจน ไม่มีถนนและไฟฟ้าใช้สะดวก สบายเหมือนปัจจุบัน เราไม่เอาเงินที่มี อยู ่ น ้ อ ยนิ ด ไปเสี ย ให้ ปุ ๋ ย เคมี ห รื อ ยาฆ่ า แมลง อะไรจะดีไปกว่าดินและน�้ำ และ หยาดเหงื่อแรงกายที่เรามีอยู่ ตั้งแต่ปลูก ไว้ กิ น ในครอบครั ว พอเหลื อ ก็ เ ก็ บ มา หาบขาย ปากท้องในครอบครัวผลักดัน ให้เราต้องดิ้นรน ไม่มีใครอยู่เฉยได้โดย ไม่ช่วยงาน เสี ย งพ่ อ ปลุ ก พวกเราแต่ เช้ า ตรู ่ พวกเราพี่น้องทั้งหกคนต่างลุกขึ้นเพื่อไป ท�ำงานที่ไร่เหมือนทุกวัน ไร่นาของพ่อก็ เปรียบดั่งตู้เย็นหรือตู้กับข้าวให้เราได้อิ่ม ดูเหมือนพื้นดินจะสัมพันธ์ซึมซับกับชีวิต

จิตใจของเราตั้งแต่การท�ำนา ปลูกพืชผัก การจั บ ปลาตามหนองน�้ ำ และบึ ง ต่ า งๆ ชีวิตของเราสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นมาตั้งแต่ เด็กๆ ไม่ใช่การท�ำเพื่อหวนกลับไปใช้ชีวิต พอเพียงแบบที่คนสมัยนี้เรียกกัน แต่สิ่ง ที่เราท�ำคือชีวิต คือปากท้อง และหน้าที่ ที่ปฎิเสธไม่ได้

ใช้ วิ ธี นี้ เ พื่ อ ให้ ค รอบครั ว อยู ่ ร อด ล� ำ พั ง เงิ น เดื อ นครู ป ระชาบาลสองพั น บาท ในยุ ค นั้ น ไม่ ม ากพอจะซื้ อ เสื้ อ ผ้ า สวยๆ ให้ ลู ก ทุ ก คนใส่ ไ ด้ ม ากมาย เสื้ อ ผ้ า บาง ตั ว ผ่ า นลมหนาวมาแล้ ว ไม่ รู ้ กี่ ฤ ดู เราก็ ยังสวมใส่อยู่ แล้วก็พบว่าให้ความอบอุ่น แก่ เราทุ ก ๆ ครั้ ง ที่ ใ ส่ นี่ ค งเป็ น วิ ธี ส อน

ภาพที่ ช าวบ้ า นพบเห็ น คื อ ลู ก ชายคนที่ ส องใน หมู ่ พี่ น ้ อ งหกคนกลั บ มาช่ ว ยงานที่ บ ้ า นด้ ว ยการ รั บ จ้ า งตั ด อ้ อ ยโดยไม่ เ หลื อ เงาของนั ก เรี ย น นายร้ อ ยโก้ เ ก๋ อ ย่ า งที่ ใ ครปรารถนากั น ครอบครั ว เราผลิ ต อะไรได้ ก็ ต้ อ งท� ำ นั่ น คื อ สิ่ ง ที่ พ ่ อ กั บ แม่ ป ฎิ บั ติ ให้ เ ห็ น ตั้ ง แต่ เราจ� ำ ความได้ ปลาแห้ ง พริกป่น มะนาว ข้าว และอะไรอีกหลายๆ อย่าง ของกิ น ของใช้ เ ล็ ก ๆ น้ อ ยๆ เรา พยายามท� ำ เอง แล้ ว ก็ เรี ย นรู ้ ว ่ า จริ ง ๆ แล้ ว ท� ำ ได้ โดยไม่ ต ้ อ งเสี ย เงิ น ซื้ อ พ่ อ 28 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ลูกของพ่อให้ค�ำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย มากกว่ารูปลักษณ์สวยงาม ที่ เ ราต้ อ งประหยั ด อดออมถึ ง ขนาดนี้ เพราะพ่ อ รู ้ ว ่ า ยั ง มี เรื่ อ งส� ำ คั ญ กว่าชีวิตประจ�ำวันที่สุขสบายนั่นคือการ ศึกษา เงินและหนีส้ นิ ทัง้ หมดในครอบครัว เราเพื่อการศึกษาของลูกทุกคน เมื่อสบตา


ใครแล้วลูกคนนั้นต้องได้เรียนหนังสือเท่าเทียมพี่น้อง ไม่ว่าพ่อ จะเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบเท่าใดก็ตาม ทว่าการศึกษาที่ ลูกทุกคนได้มาก็ต้องแลกกับความยากล�ำบากที่พ่อทุ่มเทด้วย ชีวิต พ่อไม่รู้หรอกว่าลูกคนไหนจะได้เรียนหนังสือจนโตไปเป็น รัฐมนตรี เป็นนักกฎหมาย หรือเป็นอะไรก็ตามที่มีหน้ามีตา ในสังคม สิ่งเดียวที่พ่อต้องการคืออยากให้ลูกมีภูมิคุ้มกันชีวิต ในอนาคต เวลาว่างของเราหมดไปกับงานไร่นา หาเล็กผสมน้อย ไม่ ใช่ เวลาวิ่ ง เล่ น เหมื อ นเด็ ก คนอื่ น เราจะมี พ อกิ น พอใช้ ไ ด้ ก็ด้วยสองมือสร้างท�ำ ระบบของพ่อซึมซับอยู่ในชีวิตจิตใจลูก ทุกคน เมื่อพ่อกู้เงินให้เรียนแล้ว สิ่งที่เราต้องท�ำคือไปเรียน ให้ คุ ้ ม แม้ ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียนในตัวอ� ำ เภอจะยาว ไกลถึงยี่สิบกิโล แต่เราก็ปั่นจักรยานไปจนถึง บนถนนดินตาม ธรรมชาติ แน่นอนว่าเมื่อถึงฤดูฝนทีไรความล�ำบากและเหนื่อย ล้าหาที่เปรียบไม่ได้ เมื่อกลับมาถึงบ้านเราก็วางกระเป๋านักเรียน หั น มาช่ ว ยงานบ้ า นเหมื อ นเดิ ม พอปิ ด เทอมเราก็ ไ ปรั บ จ้ า ง ตัดอ้อย แบ่งเบาเท่าที่จะท�ำได้ กว่าถนนดินแดงที่เขาว่าสะดวก สบายจะเข้าถึงหมู่บ้าน เราก็เรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาแล้ว พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม หยุดเล่าครู่หนึ่งระหว่างการให้สัมภาษณ์ นึกถึงเรื่องราว

ชีวิตอันยากล�ำบากที่ผ่านมากว่าจะถึงวันนี้ หมู่บ้านยาง อ�ำเภอ อู่ทอง ต�ำบลบ้านดอน อันเป็นแหล่งเกิดกายของเขา อยู่ห่างจาก ตัวเมืองสุพรรณราว 60 กิโลเมตร เมื่อ 50 ปีที่แล้วที่นี่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ ไม่มีถนนหนทางสะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ เด็กชายไพบูลย์ นึกเห็นภาพตัวเองช่วยแม่ถือผักหาบไปขายได้ดี

สู ่ โ ลกกว้ า งโรงเรี ย นเตรี ย มทหาร

ทว่าถ้าโลกนี้มีพระเจ้าคอยประทานพรให้แก่มนุษย์จริงๆ พลเอก ไพบูลย์คงมีพรสวรรค์ในด้านการเรียน เขาอาจเรียนอยู่ บนความล�ำบากจากพื้นฐานครอบครัวก็จริง แต่กลับสอบได้ทุน การศึกษาเป็นที่หนึ่งมาตลอด ทั้งยังมีทัศนะรู้เท่าทันสถานการณ์ ชี วิ ต ดั ง ช่ ว งชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาก่ อ นที่ จ ะสอบเข้ า โรงเรี ย น เตรียมทหารได้เป็นคนแรกของโรงเรียน “ผมเรียนประถมที่โรงเรียนวัดยางสว่างอารมณ์ จนจบ ป.7 ก็มาเรียนต่อที่อ�ำเภออู่ทอง ช่วงแรกปั่นจักรยานยี่สิบกว่า กิโลไปเรียน ก็เหนื่อยเริ่มไม่ไหว พอ ม.3 ก็ไปอยู่วัด ต้องอยู่วัด เพราะว่ามีเวลาดูหนังสือ ก็ได้กนิ บ้าง ไม่ได้กนิ บ้าง แต่เราต้องการ ดูหนังสือ เพราะมันเริ่มที่จะต้องเข้าไปสอบแข่งขัน อาศั ย เป็ น เด็ ก เรี ย นเก่ ง พ่ อ ก็ เ ลยให้ ไ ปสอบโรงเรี ย น เตรียมทหาร ก็สอบได้เป็นคนแรกของโรงเรียน ตอนสอบก็นั่งข�ำ คือสอบแล้วผมก็ไม่อยากไปฟังผลนะ มีความรู้สึกว่าคงสู้เขา 29

issue 96 january 2016


ไม่ได้ พอไปดูรายชื่อก็สอบได้เลยได้เรียน พ่อแม่อยากให้ลูกเป็น อ�ำนวยความสะดวก เมื่อก่อนครูบาอาจารย์จะอยู่กรุงเทพฯ นายร้อย ผมสอบได้ชื่อดังทั่วหมู่บ้าน ผมคิดว่าเป็นต้นแบบให้ แต่ เ ทคโนโลยี ท� ำ ให้ เ ด็ ก ต่ า งจั ง หวั ด มี ก ารพั ฒ นาใกล้ เ คี ย งกั น น้องๆ หลังจากนั้นมาโรงเรียนผมไปสอบโรงเรียนเตรียมทหาร มากขึ้น ตลอด ” ไม่ ง ่ า ยที่ เ ด็ ก คนหนึ่ ง จะรู ้ ห น้ า ที่ แ ละความส� ำ คั ญ ของ การเรี ย น พลเอก ไพบู ล ย์ ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิ่ ง เหล่ า นั้ น การย้ า ยมาอยู ่ วั ด เพื่ อ ทุ ่ ม เทให้ กั บ การเรี ย นและท่ อ งต� ำ รา ท� ำ ให้ ช ่ ว ยประหยั ด เวลาและค่ า ใช้ จ ่ า ยในการเดิ น ทางไป โรงเรี ย น แม้ ช ่ ว งหลั ง จะมี ถ นนดิ น แดงเข้ า ถึ ง หมู ่ บ ้ า น มี ร ถ โดยสารรับส่งนักเรียน แต่ก็ต้องใช้เงิน ต้องตื่นแต่เช้ามืดเพื่อ ให้ทันรถ ขากลับจากโรงเรียนต้องรอเพื่อนๆ ที่โดยสารไปด้วย กันมาขึ้นรถจนครบถึงจะออกเดินทางได้ เวลาเหล่านั้นหมดไป โดยเปล่าประโยชน์ กว่าจะถึงบ้านก็เย็นมากแล้ว กว่าจะท�ำงาน บ้านเสร็จก็หมดแรงทบทวนต�ำรา และหลับไหลไปด้วยความ อ่อนเพลียในที่สุด เมื่อเข้าไปอยู่ในโรงเรียนเตรียมทหารได้ พลเอก ไพบูลย์ ไม่ค่อยเข้างานสังคมมากนัก อาทิเช่น งานเต้นร�ำ หรืองานที่ ต้องใช้เสื้อผ้าสวยๆ เพราะตัวเองเป็นเด็กบ้านนอกที่ยากจน มีเสื้อผ้านอกเครื่องแบบอยู่สองตัว และอีกปัญหาคือเรื่องการ เรียนที่มีพื้นฐานมาจากโรงเรียนต่างจังหวัด ซึ่งใครที่ย้ายเข้ามา เรียนในเมืองคงจะสัมผัสได้ไม่ยาก “ต้ อ งยอมรั บ ว่ า โรงเรี ย นต่ า งจั ง หวั ด กั บ โรงเรี ย นใน กรุงเทพฯ ก็เหมือนปัจจุบัน คนอยากจะหนีเข้ามาเรียน แต่ วันนี้ผมกลับไปโรงเรียนเก่า ผมว่าเขาพัฒนาไปเยอะ คือความ เท่ า เที ย มกั น ในด้ า นวิ ช าการ ความเท่ า เที ย มกั น ในเรื่ อ งสิ่ ง ผมเรี ย นวิ ท ยาศาสตร์ ที่ โรงเรี ย นเก่ า ผมไม่ มี เ ครื่ อ งมื อ ถามเพื่อนที่เรียนในเมืองมีห้องแล็บตั้งแต่มัธยม ผมไม่มีครูภาษา อังกฤษ ที่อ่ืนครูฝรั่งมาสอน ของผมครูพละมาสอนภาษาอังกฤษ แต่ใช่ว่าท่านไม่มีความสามารถ แต่ขาดแคลนทั้งครูวิทยาศาสตร์ ครูสังคม แต่ท่านก็ถ่ายทอดให้ผมโตมาทุกวันนี้นะ ผมอยากให้ เห็นภาพความแตกต่าง” เมื่อถึงช่วงปิดเทอม พลเอก ไพบูลย์ กลับมาช่วยงานที่บ้านเหมือนอย่างเคย ภาพที่ชาวบ้านพบเห็น คือลูกชายคนที่สองในหมู่พี่น้องหกคนกลับมาช่วยงานที่บ้าน ด้วยการรับจ้างตัดอ้อยโดยไม่เหลือเงาของนักเรียนนายร้อยโก้เก๋ อย่างที่ใครปรารถนากัน เพราะรากฐานที่แท้จริงของครอบครัว คือเกษตรกร เงินที่ใช้เรียนหนังสือได้ล้วนเป็นหนี้สินกู้ยืมทั้งนั้น จริงๆ แล้วเขายอมรับว่าอยากเรียนกฎหมายมากกว่า เพราะ ชอบความเป็นเหตุเป็นผลและมีตรรกะ แต่ถ้าไม่เข้าไปสู่โลกของ นักเรียนเตรียมทหารตามค�ำของพ่อวันนั้นวันที่ขึ้นมานั่งเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอาจไม่ปรากฏ 30 IS AM ARE www.ariyaplus.com


จากสนามเรี ย นสู ่ สนามรบ

เมื่ อ จบเตรี ย มทหารพลเอก ไพบู ล ย์ เลื อ กทหารราบ จากพื้ น ฐาน เป็ น ลู ก ชาวนามี ชี วิ ต สั ม พั น ธ์ กั บ พื้ น หิ น ดินทรายมาตั้งแต่เด็กๆ ท�ำให้เขาตัดสินใจ เลือกไม่ยาก ทั้งที่จริงความเป็นนักเรียน เหรี ย ญทองของเขาสามารถเลื อ กลงได้ ทุกที่ ทุกทุนที่ทางการมีให้เขาสามารถ สอบพิชิตได้หมดในอันดับต้นๆ แต่ชีวิต คนไม่สามารถก�ำหนดได้ด้วยตนเองเพียง อย่างเดียว ยังมีโชคชะตาอื่นๆ ประกอบ เข้ามาอีกมากมาย พลเอก ไพบูลย์มองย้อน ชีวิตตัวเองอีกครั้ง ความจริงเขาสามารถ สอบชิ ง ทุ น ไปเรี ย นที่ อั ง กฤษได้ แต่ ทุ น นั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิด อี ก ครั้ ง ที่ เขามีสิทธิ์ไ ปเรียนแพทย์ทหาร ได้ แต่ก็มีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2519 เข้ า มาเปลี่ ย นแปลงระบบที่ เ คยเป็ น มา

เมื่อผิดหวังจากโชคชะตาบางอย่างเขาก็ เลือกที่จะอยู่กับปัจจุบัน “ตอนนั้ น เลื อ กเหล่ า ผมเลื อ ก ทหารราบก็ ยั ง ไม่ รู ้ เ ลยจะได้ ไ ปอยู ่ ไ หน เพราะว่ า มั น ปรั บ ใหม่ ช่ ว งนั้ น วิ ก ฤต เหมื อ นกั น มี ก ารตั้ ง หน่ ว ยทหารขึ้ น ใหม่ เ พื่ อ รองรั บ สงครามเวี ย ดนาม เราก็รู้ว่าต้องหนักแน่ เรื่องคอมมิวนิสต์ ยังมีอยู่ ผมเลื อ กลงที่ ก รมทหารราบ ที่ 11 รักษาพระองค์ ที่บางเขน พอลง ได้ ส ามสี่ เ ดื อ นได้ ไ ปอยู ่ ต� ำ บลตาพระยา จั ง หวั ด สระแก้ ว เพราะว่ า หน่ ว ยต้ อ ง ออกไปในพื้นที่ที่มีปัญหาสงคราม เขมร เริ่มอพยพกันที่หนองเขาอีด่าง ต้องไปดู ไปตั้งฐานกันตรงนั้น พอเริ่มแตก โดมิโน่ มันเริ่มมาทีละขั้นๆ” “ผมว่ า ผมโชคดี ที่ เ รี ย นจบ ไม่กี่วันได้ไปอยู่สนามรบ” จากทฤษฎี

31 issue 96 january 2016

ในต� ำ รากลายมาเป็ น ชี วิ ต จริ ง ในพื้ น ที่ สุ่มเสี่ยงสงคราม พลเอก ไพบูลย์ มองว่า เป็นเรื่องดีที่เขาได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมา ทั้งในเรื่องการดูแลลูกน้อง เรียนรู้การเอา ชีวิตรอดจากสนามรบ ซึ่งนายทหารชั้น ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนผ่านสถานการณ์แบบ นั้นมาทั้งสิ้น ผมว่ า นายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ส มั ย ก่อนที่รบ ผมว่าท่านมีประสบการณ์ตั้งแต่ ท่ า นนายกรั ฐ มนตรี ท่ า นผู ้ บั ญ ชาการ ทหารบก ก็ออกรบกันหมดสมัยนั้น รุ่น ผมเรียกว่าสงครามยังมี ท�ำให้เราเรียน จากต�ำราเอามาใช้ได้เลย ผมถึงบอกว่า ผมโชคดี” ที่ช่องพระพลัยเป็นอีกเหตุการณ์ หนึ่งที่จ�ำไม่ลืม ในสมัยที่พลเอก ไพบูลย์ ท�ำหน้าที่ทหารติดตามพลเอก อิสระพงศ์ หนุ น ภั ก ดี ซึ่ ง เป็ น ผู ้ บั ญ ชาการกองพล ทหารราบที่ 6 ขณะนั้น ดูแลแถบอีสานใต้


เวลาว่ า งของเราหมดไปกั บ งานไร่ น า ยุทธการน�ำเรื่องอื่น ผมอยากไปอยู่กรมนี้เพราะได้เรียนรู้ ปีสองปี นผู้พันในกรมทหารราบ 11 แล้วก็เป็นผู้การ หาเล็ ก ผสมน้ อ ย ไม่ ใ ช่ เ วลาวิ่ ง เล่ น ก็กลับมาเป็ ผมเป็นคนแรกทีเ่ ป็นผูก้ ารกรมสามกรม เป็นผูบ้ ญ ั ชาการ เหมื อ นเด็ ก คนอื่ น เราจะมี พ อกิ น กองพลที่ 1 เป็นแม่ทัพที่ 1 แล้วมาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการ และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับ พอใช้ ไ ด้ ก็ ด ้ ว ยสองมื อ สร้ า งท� ำ ระบบ ทหารบก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วย” ของพ่ อ ซึ ม ซั บ อยู ่ ใ นชี วิ ต จิ ต ใจลู ก ภารกิ จ กระทรวงยุ ติ ธ รรม ทุ ก คน “วั น นี้ ผ มพยายามท� ำ ให้ ป ระชาชนเรี ย นรู ้ เ รื่ อ ง

การพิ สู จ น์ ห ลั ก ฐานเข้ า มาใช้ ใ นกระบวนการยุ ติ ธ รรม” พลเอก ไพบูลย์ มองว่า นิติวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังเข้าไม่ถึง ความเข้าใจของประชาชนทัว่ ไป เช่น สิทธิในการเป็นพลเมืองไทย เรื่ อ งสั ญ ชาติ การตรวจสอบการทุ จ ริ ต การติ ด ตามคนหาย รวมถึงการพิสูจน์อัตลักษณ์ต่างๆ แต่ดูเหมือนว่านิติวิทยาศาสตร์ ยังไม่ถูกน�ำไปใช้อย่างแพร่หลายนอกเหนือจากโรงพยาบาล และ หน่วยงานต�ำรวจเกี่ยวกับคดีความ ทั้งที่นิติวิทยาศาสตร์สามารถ น�ำมาช่วยเหลือประชาชนในด้านการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้ “นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ มี บ ทบาทมาก แต่ เราใช้ กั น น้ อ ย ไม่แพร่หลาย จึงกระจุกตัวอยู่ตามโรงพยาบาล และต�ำรวจ แต่การน�ำนิติวิทยาศาสตร์เพื่อใช้แก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำ กั บ สิ ท ธิ ป ระชาชนไม่ มี ใ ครท� ำ เรื่ อ งนี้ เช่ น การคื น สั ญ ชาติ

ทั้งหมด พลเอก ไพบูลย์ เล่าว่าเขาได้เห็นการดูแลการรบ และ เกือบจะทิ้งชีวิตไว้ที่นั่น “กระสุ น ปื น ใหญ่ ต กในอ่ า งเกื อ บสองร้ อ ยลู ก และ ลู ก ที่ ต กใกล้ ตั ว เราไม่ ร ะเบิ ด เราจ� ำ ได้ ว ่ า เราเดิ น ไปแถวนั้ น พอเดินกลับมาและทหารช่างเดินไปตรงที่เราเพิ่งเดินกลับมาแต่ ระเบิดเกิดท�ำงานทหารช่างคนนั้นขาขาด เราก็ว่าเราเพิ่งเดินไป โชคชะตาคน ผมก็เรียนรู้จากตรงนั้น จากนั้ น กลั บ มาเรี ย นเสนาบดี แล้ ว ไปบรรจุ ที่ ก รม ยุ ท ธการทหารบก เพราะผมเห็ น ว่ า กรมยุ ท ธการทหารบก ยุคนั้นคือประเทศไทยจะใช้ยุทธการน�ำกองทัพในความรู้สึกผม เพราะว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การก�ำหนดแนวทางจะใช้ 32

IS AM ARE www.ariyaplus.com


การพิสูจน์อัตลักษณ์ต่างๆ เพื่อติดตามคนหาย รวมถึงสามารถ พิสูจน์หลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับนิติกรรม การฉ้อโกงด้วยลายมือ การปลอมแปลงเอกสารต้องใช้นิติวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วย ในการตรวจพิสูจน์ทั้งนั้น เรามักจะเคยชินกับการพิสูจน์ศพ หรือไปใช้ในโอกาสที่มีภัยพิบัติต่างๆ แต่เราจะไม่เข้าใจในเรื่อง ธุรกิจที่ใช้นิติวิทยาศาสตร์เข้าไปเชื่อมโยง ผมพยายามให้ออก พรบ.นิติวิทยาศาสตร์ที่จะตรวจสอบเรื่องเหล่านี้” ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ภารกิ จ ของกระทรวงยุ ติ ธ รรม มี ม ากมายหลายเรื่ อ ง ซึ่ ง ล้ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ ประชาชนแทบ ทั้ งสิ้ น หนึ่งในนั้นคือกรมราชทัณฑ์ ซึ่งมีจ�ำนวนผู ้ต ้ องขัง ล้น เรือนจ�ำด้วยคดียาเสพติด จากที่รองรับได้ไม่เกิน 200,000 คน ปัจจุบันมีผู้ต้องขังจ�ำนวนกว่า 350,0000 คน พลเอก ไพบูลย์ มองว่ า การจั บ ผู ้ ต ้ อ งคดี ย าเสพติ ด ทั้ ง หมดไม่ ใช่ วิ ธี บ� ำ บั ด หรื อ เยี ย วยาผู ้ ต ้ อ งขั ง ที่ ต รงจุ ด การลงโทษเฉพาะรายใหญ่ จ ริ ง ๆ น่าจะลดจ�ำนวนผู้ต้องขังได้มากขึ้น ส่วนผู้เสพรายย่อยควรถูก บ�ำบัดรักษาในที่ที่เหมาะสม

และแยกเรื อ นจ� ำ พิ เ ศษ เรื อ นจ� ำ เบาหรื อ เรื อ นจ� ำ ชั่ ว คราว โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงประทาน ค�ำแนะน�ำให้หาภาคเอกชนมาร่วมกันท�ำ มีทั้งหมด 17 แห่ง ทั่วประเทศเพื่อดึงคนที่มีโทษลหุโทษ เพื่อจะพักโทษก่อนปล่อย แต่จะมีการฝึกอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ผ ม ก� ำ ลั ง ใ ห ้ ท บ ท ว น โ ด ย ข อ ค ว า ม ร ่ ว ม มื อ กั บ ศาล อั ย การ เพื่ อ ท� ำ ความเข้ า ใจร่ ว มกั น วั น นี้ ก ระทรวง ยุ ติ ธ รรมแก้ ไขร่ า งประมวลกฎหมายยาเสพติ ด และร่ า ง พระราชบั ญ ญั ติ ร าชทั ณ ฑ์ พ.ศ. .... ซึ่ ง จะหนั ก ตรง กระบวนการพิ จ ารณาโทษโดยอั ย การและศาล กฎหมาย ฉ บั บ นี้ ต ้ อ ง ย ก ย ่ อ ง ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ท ่ า น อั ย ก า ร สู ง สุ ด ที่ เ ปิ ด ใจแก้ ป ั ญ หาผู ้ ต ้ อ งขั ง ร่ ว มกั บ กระทรวงยุ ติ ธ รรม กราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งพระกรุณาธิคุณของ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ท่านทรงงานเพื่อ แก้ไขปัญหายาเสพติด และท่านทรงเป็นทูตประจ�ำ ณ กรุงเวียนนา ท่านทรงเป็นองค์ประธานและมีพระด�ำริกับพวกเราหลายเรื่อง รวมทั้งการท�ำความเข้าใจกับศาลยุติธรรม อัยการ ท�ำให้เรา เห็นภาพการแก้ปัญหาที่ถูกต้องทั้งเรื่องของการบ�ำบัด เยียวยา การแยกประเภทของผู้กระท�ำผิด

“ ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใช ้ ร ะ บ บ ก า ร ป ร า บ ก า ร จ� ำ คุ ก การลงโทษ เราก็ พ ยายามท� ำ เรื่ อ งนี้ โ ดยการปรั บ ปรุ ง เรื อ น จ� ำ ที่ แ ออั ด ให้ เ ป็ น เรื อ นจ� ำ ความมั่ น คงประมาณ 4-5 แห่ ง น�ำผู้ต้องขังที่มีโทษสูงออกไปคุมขังภายในเรือนจ�ำความมั่นคง 33

issue 96 january 2016


ครอบครั ว มาช่ ว ยในการบ� ำ บั ด เป็ น เรื่องที่ดีที่สุด เราต้องให้ครอบครัวหรือ สั ง คมเข้ า ใจอย่ า งเรา ไม่ ใ ห้ รั ง เกี ย จ บุ ค คลกลุ ่ ม นี้ ผมก� ำ ลั ง ไปเน้ น ที่ ชุ ม ชน เป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด”

ความพอเพี ย งกั บ ครอบครั ว ของเรา

วั น นี้ เ รารั บ ราชการ เรามี เ งิ น เราไม่ ไ ปกอบโกย ในสิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง เป็ น ภู มิ คุ ้ ม กั น ที่ ผ มอาจจะไม่ ได้ รู ้ สึ ก ตั ว ด้ ว ยก็ ไ ด้ แต่ ถู ก ซึ ม ซั บ ที่ พ ่ อ สอนเรา มาทุ ก คน ท่ า นทรงประทานความเห็ น ว่ า การแก้ ป ั ญ หาไม่ ไ ด้ ง ่ า ยเท่ า กั บ การ ซึมซับเพื่อท�ำความเข้าใจคนในประเทศ เพราะหลายคนอาจถู ก ผู ้ ที่ ใ ช้ ย าเสพ ติ ด กระท� ำ ต่ อ เขา มั ก จะใช้ ก ารปราบ การใช้ ก ฎหมาย การบั ง คั บ ใช้ ด ้ ว ยวิ ธี

รุ น แรง ซึ่ ง ผมเรี ย นว่ า ไม่ ใช่ วิ ธี ก ารแก้ ปัญหา เราเห็ น แล้ ว ว่ า เรื อ นจ� ำ มี ค วาม แออัดและไม่ใช่แหล่งฟื้นฟูผู้ต้องขัง แต่ ถ้าใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอ็ม มาใช้ กั บ ผู ้ ถู ก คุ ม ประพฤติ ดึ ง ชุ ม ชน 34 IS AM ARE www.ariyaplus.com

“ครอบครัวผมไม่ใช่ครอบครัว ที่ร�่ำรวย ครอบครัวผมต้องกู้เงินมาเรียน หนังสือ เด็กๆ พ่อแม่ต้องท�ำนา ต้องขาย ข้าวเพื่อผ่อนหนี้ แต่หนี้นั้นเกิดจากการ ที่พ่อลงทุนให้กับพวกเรา” ถึงวันนี้จาก เด็กที่มีชีวิตอยู่กับพื้นหินดินทราย จนมา เป็นพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรมได้ นั บ ว่ า ผ่ า น อะไรมามากมาย แต่ที่สุดแล้ว พลเอก ไพบู ล ย์ เพี ย งหวั ง ว่ า จะกลั บ ไปใช้ ชี วิ ต หลังเกษียณอายุราชการอย่างเรียบง่าย ที่บ้านเกิด แบบที่พ่อเคยท�ำให้เห็น ชีวิต ในวัยเด็กที่ผ่านมาคือภาพแขวนที่เขาและ พี่น้องหวนระลึกไม่ลืมเลือน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยื น ยั น ว่ า พี่ น ้ อ งทั้ ง หกคนถู ก หล่ อ หลอม เหมือนกันหมดทุกคนนั่นคือพื้นฐานจาก วัยเด็กที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับความล�ำบาก ครอบครัวจึงเสมือนโรงเรียนที่มีพ่อคอย สอนด้ ว ยการกระท� ำ แม้ จ ะมี บ างครั้ ง คราวที่ พี่ น ้ อ งทั้ ง หกคนมานั่ ง คุ ย กั น ถึ ง ความน้ อ ยเนื้ อ ต�่ ำ ใจที่ ไ ม่ มี เ สื้ อ ผ้ า สวยๆ อย่างคนอื่นเขา มีแต่งานและงาน เมื่ อ เวลาผ่ า นไปจึ ง รู ้ ว ่ า สิ่ ง ที่ พ ่ อ ทิ้งไว้ให้คือภูมิคุ้มกันชีวิตที่ไม่มีวันหมด อายุ ชีวิตพ่อและแม่คือตัวแทนแห่งความ พอเพียงอย่างแท้จริงทั้งที่คนในครอบครัว เองก็ไม่รู้ตัวด้วยซ�้ำ “แม้แต่เสื้อผ้าลูกก็ไม่ได้ซื้อให้ อย่างมากมายทั้งๆ ที่ลูกก็อยากจะได้ แล้วลูกก็เกิดความรู้สึกว่าพ่อไม่ได้ดูแล


เราด้วยซ�้ำไป เมื่อโตมาเราก็เข้าใจในสิ่งเหล่านั้น เพราะเขาต้องการให้ครอบครัวเราอยู่รอดมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งได้ แล้วสิ่งที่พ่อ ท�ำก็คือภูมิคุ้มกันที่ในหลวงมีพระราชด�ำรัสไว้ เป็นภูมิคุ้มกันให้กับพวกเรา เพราะเราอดทน ท�ำไร่ท�ำนา วันนี้เรารับราชการ เรามีเงิน เราไม่ไปกอบโกยในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นภูมิคุ้มกันที่ผมอาจจะไม่ได้รู้สึกตัวด้วยก็ได้ แต่ถูกซึมซับที่พ่อสอนเรามา ทุกคน” แม้ผู้เป็นพ่อจะจากไปแล้ว แต่ค�ำสอน การกระท�ำต่างๆ ลูกหลานได้ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น วิถีชีวิตของพ่อเป็นแนวทางให้ กับลูกหลานน�ำไปใช้ในสังคมยุคไหนก็ตามแต่ พวกเขาจะเรียนรู้วิธีการอยู่รอดจากพ่อไม่มีจบสิ้นซึ่งมีค่ายิ่งกว่าสมบัติล้�ำค่าใดๆ เสียอีก “ผมรู้สึกได้ว่าคนในหมู่บ้านอิจฉาแม่ผมมาก เขาพูดกันว่า ‘ลูกหลานจันเป็นรัฐมนตรี เป็นนักบิน ไม่มีใครมีความสุขเท่า ยายจันหรอก’ แม่ผมชื่อจันครับ ผมกับแม่เอาแตงกวาไปแลกข้าวเปลือก แลกข้าวสุก เอาผลผลิตจากไร่ กินเหลือ แม่ก็หาบไป ตอนเย็นหลังเลิกเรียนผมก็แบกไปกับแม่ผม เป็นลูกชายที่เดินไปกับแม่เอาผักเอาอะไรไปแลกข้าวกิน” ทุกวันนี้ต�ำแหน่งหน้าที่วันหนึ่งก็ต้องโรยราไปแต่สิ่งที่เหลือคือเกียรติยศชื่อเสียงต่างหากที่จะด�ำรงอยู่ ไม่ใช่ต�ำแหน่ง หน้าที่ แต่ต�ำแหน่งหน้าที่สร้างเกียรติยศได้ แล้วแต่ใครจะฉวยโอกาสเท่านั้นเอง เมื่อผมเกษียณอายุราชการเหลือไว้คนรุ่นหลัง มาสานต่อ เขาจะคิดถึงผมในเรื่องงานที่ผมท�ำก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมก็อยากจะไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมเหมือนที่ผมเคยเกิดมา ผมเกิด กะดินกะทราย ผมเกิดกับต้นไม้ ผมเกิดมาปลูกผักปลูกหญ้าผมก็อยากกลับไปใช้ชีวิตตรงนั้น” พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ยิ้มให้กับ ชีวิตตัวเองอีกครั้ง.

35 issue 96 january 2016


36 IS AM ARE www.ariyaplus.com


37 issue 96 january 2016


สภาพแวดล้อม

บนพื้นที่ห่างไกล ของดินแดนที่ราบสูง ต�ำบลค�ำแคน อ� ำ เภอมั ญ จาคี รี จั ง หวั ด ขอนแก่ น เป็ น อี ก ต�ำ บลหนึ่ ง ที่ อุ ด ม สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน�้ำ มีผืนป่าสีเขียวที่เรียกว่า “ภูเม็ง” เป็นรากฐานให้ผู้คนได้อาศัยด�ำรงชีพ หากินหาเก็บใช้ ประโยชน์ ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์ป่านานาชนิด รวม ทั้งมีแหล่งน�้ำ ธรรมชาติที่คอยหล่อเลี้ยงไร่นา เป็นต้นทุนส�ำคัญ ในการเพาะปลูกและท�ำการเกษตร แม้จะเกิดปัญหาดินเค็ม ได้ ผลผลิตน้อย ราคาตกต�่ำ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า ปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีให้ได้ผลผลิตมากๆ การถางป่ า จนไปถึ ง เรื่ อ งของหนี้ สิ น และปั ญ หาสั ง คมอื่ น ๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น เยาวชนทะเลาะเบาะแว้ ง ในชุ ม ชน วั ฒ นธรรม ประเพณี ดั้ ง เดิ ม เลื อ นหาย หรื อ แม้ แ ต่ ก ารต่ อ สู ้ ชิ ง ดี ชิ ง เด่ น กันเองของการเมืองท้องถิ่น แต่ชาวค�ำแคนก็สามารถพลิกฟื้น สถานการณ์ขึ้นมาได้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งยึดมั่นในแนวทางแห่ง วิถีพอเพียง ต�ำบลค�ำแคน อ�ำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่าง จากที่ว่าการอ�ำเภอ มัญจาคีรี 28 กิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 14 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 9,120 คน พื้นที่รวม 74,375 ไร่ โดยมีลักษณะเป็นที่ราบและเนินสูงสลับกันแบบลูกคลื่นลอน

ลาดมีล�ำห้วยเกิดจากเทือกเขาภูเม็งที่ทอดแนวนาวอยู่บริเวณ ตอนเหนือและทางตะวันตกของต�ำบล ซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำธาร มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะส�ำหรับปลูกข้าว อ้อย และมันส�ำปะหลัง นอกจากนี้ยังมีแหล่งน�้ำตามธรรมชาติที่ส�ำคัญ ได้แก่ ห้วยปากดาว ห้วยค�ำเสือตาย และห้วยแล้ง รวมทั้งฝาย บ่อน�้ำ ที่สร้างขึ้น เพื่อใช้เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่ง น�้ำกินน�้ำใช้ในชีวิตประจ�ำวัน มีผืนป่าชุมชนภูวัดบ้านค�ำน้อย บ้านหนองขาม และป่าโคกหลวงบนป่าภูเม็งให้ชาวบ้านไปใช้ ประโยชน์ เก็บผัก หาของป่า เสริมกับการท�ำเกษตร เช่นท�ำนาปี ไร่มันส�ำปะหลัง ไร่อ้อย สวนผลไม้ ยางพารา และรับจ้าง

ความเป็นมา

ต�ำบลค�ำแคน เป็นชุมชนเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายา วนานกว่า 100 ปี เดิมเป็นต�ำบลที่ขยายตัวมาจากต�ำบลโพนเพ็ก อ�ำเภอมัญจาคีรี ต่อมามีกลุ่มที่เป็นต้นตระกูลของชาวบ้านต�ำบล ค�ำแคนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จังจองพื้นที่ท�ำกินและตั้งชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2449 ภายหลังจัดตั้งเป็นต�ำบลค�ำแคนในปี พ.ศ. 2508 สมัยก่อนพื้นที่แห่งนี้ มีความอุดมสมบูรณ์มากทั้งป่าไม้และสัตว์ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงผันผวนจากปัจจัยภายนอกและภายใน พื้นที่เอง พอจะสรุปเป็นเรื่องราวส�ำคัญตามช่วงเวลาได้ดังนี้

พ.ศ. 2500 – 2510

ยุ ค ก่ อ ตั้ ง ชุ ม ชน เกิดภัยแล้งขึ้นอย่างรุนแรงสามปีติดต่อกันชาวบ้านอยู่ อย่างล�ำบาก ข้าวที่ปลูกไม่พอกิน พืชพันธุ์ที่ปลูกไว้ไม่ให้ผลผลิต เกิดการอพยพออกนอกพื้นที่ ไปหาอยู่หากินที่อื่นในชุมชนเกิด 38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


นิ ย ามความพอเพี ย งของต� ำ บลค� ำ แคน “เน้ น เรื่ อ งการอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มโดยเฉพาะเรื่ อ งการสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ในการ หวงแหนป่ า ในชุ ม ชนการฟื ้ น ฟู อนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมของชุ ม ชนที่ มี ค วามหลากหลายรวมทั้ ง การพั ฒ นากลุ ่ ม เยาวชนให้ เ ข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาชุ ม ชน”

39 issue 96 january 2016


40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


จ�ำนวน 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ ป่าเสื่อมโทรมจากการถูกบุกรุกแผ้วถางปลูกพืชจนต้องฟื้นฟูขึ้น มาใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2550 มีหน่วยงานเอกชนภายใต้โครงการ พัฒนาลุ่มน�้ำชี (WWF) เข้ามาด�ำเนินงานในเรื่องอนุรักษ์และ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และดิน และในปี พ.ศ.2551 ได้ รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบลวิถีพอ เพียง ของบริษัท ปตท. จ�ำกัด (หมาชน)

การจี้ปล้นกันมาก รวมทั้งกลุ่มโจรขโมยวัว ควาย และยังเกิด อหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรง

พ.ศ. 2511 -2518

ยุ ค พื ช เศรษฐกิ จ กระแสหลั ก มีพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่เข้ามา คือ ปอ ส่งผลให้วิถีการ ผลิตที่เคยปลูกอยู่ปลูกกิน เปลี่ยนไปปลูกพืชเพื่อขายให้ได้เงิน แล้ ว น� ำ เงิ น มาซื้ อ สิ น ค้ า ที่ จ� ำ เป็ น ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น แทน แต่ การปลูกปอต้องใช้พ้ืนที่เพิ่มขึ้นชาวบ้านจึงเริ่มถางป่าเพื่อปลูก ปอ แหล่งน�้ำในการแช่ปอ ภายหลังเริ่มมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ชนิดใหม่ คือมันส�ำปะหลัง เพื่อทดแทนปอที่ราคาตกลง ท�ำให้ ต้ อ งขยายพื้ น ที่ แ ละถางป่ า เพิ่ ม ขึ้ น อี ก ในช่ ว งปี นี้ เ องชาวบ้ า น เริ่มรู้จักแหล่งทุนเพื่อกู้ยืมเงินท�ำการเกษตร ท�ำให้เริ่มมีภาระ หนี้สิน

ทุนต�ำบล

แม้สภาพโดยรวมของชุมชนจะมีปัญหามากมายหลาย ด้านดังกล่าวมาแล้ว แต่ชุมชนแห่งนี้ก็ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ และชาวบ้านเองก็ตระหนักถึงปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนพึ่งพาตนเองได้ และเกิดเป็นต้นทุนการพัฒนาที่ส�ำคัญดังนี้ ต�ำบลค�ำแคนเป็นต�ำบลที่อยู่ในโครงการปลูกป่าฯของ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) และมีหมู่บ้าน ปตท. พัฒนาท�ำให้ เกิดการท�ำกิจกรรมและรวมกลุ่มของชาวบ้าน เช่น กลุ่มทอผ้า ฝ้ายด้วยมือ ราษฎร อาสาสมัครพิทักษ์ป่า

พ.ศ. 2519 – 2538

ยุ ค พั ฒ นา รัฐบาลในยุคนั้นใช้นโยบายเงินผัน มีการปรับปรุงระบบ สาธารณูปโภค ทั้งถนนสายหลักที่เข้ามายังต�ำบลค�ำแคน พัฒนา แหล่งน�้ำมีการสร้างฝายแหลายแห่ง เริ่มมีไฟฟ้าเข้ามาในชุมชน สิ่ ง ที่ ต ามมาก็ คื อ เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า อ� ำ นวยความสะดวกในชี วิ ต ประจ�ำวัน ซึ่งมีผลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของชาวบ้านอย่างมาก ในช่วงปี พ.ศ. 2535 มีพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือ อ้อย เจ้ามาเป็น ทางเลือกใหม่ให้ชุมชน ด้วยราคาผลผลิตที่สูงจึงเป็นแรงจูงใจให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกตามกัน ผืนป่าถูกบุกรุกเพื่อขยายพื้นที่ ปลูกอ้อย กันอย่างกว้างขวาง และเนื่องจากการท�ำไร่อ้อยต้อง ใช้สารเคมีปริมาณมากผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ กบ เขียด ปลา ตามธรรมชาติลดลงสิ่งแวดล้อมเสียหาย และเปลี่ยนสภาพการ ท�ำมาหากินที่เคยพึ่งพิงธรรมชาติ ไปเป็นปลูกพืชเพื่อหาเงินมา ซื้ออาหารมากขึ้น จากนั้นปี พ.ศ. 2538 มีการพัฒนาถนนลูกรัง ในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเดินทางสะดวกสบายขึ้น ชาวบ้าน ยังคงขยายพื้นที่ปลูกอ้อย ยูคาลิปตัส และใช้สารเคมีมากขึ้น เรื่อยๆ ธรรมชาติก็ยิ่งเสื่อมโทรมลง ปลาในล�ำห้วยตายด้วยโรค ระบาด เกิดโรคฉี่หนู ท�ำให้ชุมชนเกิดความหวาดระแวงมากขึ้น

พ.ศ. 2539 – 2551

ยุ ค อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากร บริ ษั ท ปตท. จ� ำ กั ด (มหาชน) จั ด ท� ำ โครงการปลู ก ป่ า ฯ และเลื อ กพื้ น ที่ ป ่ า ภู เ ม็ ง ที่ อ ยู ่ ใ นเขตของต� ำ บลค� ำ แคน 41 issue 96 january 2016


42 IS AM ARE www.ariyaplus.com


มี โ ครงการพั ฒ นาลุ ่ ม แม่ น�้ ำ ชี เป็ น พี่ เ ลี้ ย ง สนั บ สนุ น ความรู ้ แ ละจิ ต ส� ำ นึ ก ในการอนุ รั ก ษ์ ป ่ า ไม้ เกิ ด การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการป่ า ชุ ม ชน ซึ่ ง เป็ น หลั ก ฐานส� ำ คั ญ ในการด� ำ เนิ น งานด้ า นการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ มีบุคคลที่ด�ำเนินวิถีชีวิตพอเพียง เป็นตัวอย่าง ที่ดีส�ำหรับการเรียนรู้ เช่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจของ วิจิตร โกษศรีเรื่องการอนุรักษ์ดิน การท�ำปุ๋ยชีวภาพ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นจุดเรียนรู้ได้ในอนาคต มีปัญญาชนที่สนใจการท�ำงานเพื่อสังคม อาทิ ครู เจ้าหน้าที่ อนามัยประจ�ำต�ำบล ซึ่งเป็นคนในท้อง ถิ่น และเข้ารับราชการในระดับหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่ง จะเป็นกลไกลส�ำคัญในการขับเคลื่อนต่อไป

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

จากการเข้ามาท�ำงานโครงการปลูกป่าฯ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ท�ำให้ ปตท. เห็นถึงความเข้มแข็งของแกน น�ำและความร่วมมือของคนในท้องถิ่น โดยมี กฤษณา ตุ่นค�ำ และพิกุล ไตรมาศ แกนน�ำกลุ่มทอผ้าฝ้ายด้วย มือ เชื่อมโยงพื้นที่ เข้าสู่โครงการฯ และเชื่อมร้อย สู่ องค์การบริหารส่วนต�ำบล ซึ่งคณะกรรมการโครงการฯ 43 issue 96 january 2016

ได้ ป ระเมิ น พื้ น ที่ แ ล้ ว เล็ ง เห็ น ถึ ง ความต่ อ เนื่ อ งจาก โครงการปลูกป่าฯ และรูปธรรมในต�ำบล คือหมู่บ้าน ปตท. พัฒนา (กลุ่มทอผ้าฝ้ายด้วยมือ) จึงคัดเลือกให้ ต�ำบลค�ำแคนเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง ในระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551

กลไกลการขับเคลื่อน

ระยะแรกของการเข้าร่วมโครงการฯ เริ่มต้น ด้วยการสร้างความเข้าใจแนวคิด ทบทวนหลักการ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กับชุมชน โดยเปิดเวทีชี้แจงกับผู้เกี่ยวข้อง โดยมีผู้น�ำทางการ และไม่เป็นทางการ ผู้น�ำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน และครัวเรือนพอเพียงอาสา รวมทั้งหน่วยงานรัฐใน ต�ำบล เช่น ตัวแทนจากโรงเรียน สถานีอนามัย จาก 14 หมู่บ้าน ได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นคณะกรรมการ โครงการฯ ต�ำบลค�ำแคน เน้นผู้มีจิตอาสา เสียสละ มี ภาวะเป็นผู้น�ำ มีความรับผิดชอบเป็นหลัก ท�ำให้ส�ำลี ค�ำวันดี ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการ โครงการฯ โดยตัวแทนส่วนใหญ่ที่ถูกคัดเลือกมาจะ เป็นผู้น�ำทางการเกือบทั้งหมด และอยู่นอกเหนือจาก โครงสร้ า งคณะกรรมการปลู ก ป่ า ฯ ทุ ก คนที่ เข้ า มา


ร่วมโครงการฯ เกิดจากความสมัครใจและความเห็นชอบจากที่ ประชุม โดยมีการจัดสรรฝ่ายต่างๆ เพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาล ในการบริหารงานโครงการฯ

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

ป่าชุมชนภูวัด เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น�้ำ ของคนในชุมชนแม้จะมีพื้นที่เพียง 650 ไร่ แต่การใช้ประโยชน์ ด้านอาหารการกินยังมีไม่ขาดสายและพอกพูนขึ้นท่ามกลาง การจัดการป่าของชุมชนที่มีทั้งคณะกรรมการและชาวบ้านคอย ป้องกันรักษากันอย่างต่อเนื่องการอนุรักษ์ป่าภูวัดโดยชุมชนเริ่ม ก่อรูปร่างให้เห็นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2550 โดยการส่งเสริม จากการโครงการฟื้นฟูลุ่มน�้ำชี (WWF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้ การบริหารจัดการดูแลป่าอย่างเป็นระบบ และใช้กลยุทธ์ส�ำคัญ คือ “เปลี่ยนจากผู้ล่าหาของป่ามาเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ให้คืนสภาพเดิม” โดยใช้การวิจัยไทบ้านเป็นเครื่องมือในการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ ชาวบ้านที่มีอาชีพหาของป่าเป็นผู้ท�ำ หน้าที่ส�ำรวจข้อมูลด้านต่างๆ เช่น พืช สัตว์ จากการหาของป่า ในแต่ละครั้ง เช่น ชื่อพืชหรือสัตว์ที่หามาได้ ปริมาณที่เก็บได้ ระยะเวลาที่เก็บได้การบริโภคในครอบครัวและมูลค่าที่คิดเป็น จ�ำนวนเงินในการขายของป่าที่หามาได้รวมทั้งสอบถามเพื่อน บ้านที่หาของป่าเช่นกัน จากนั้นท�ำการบันทึกข้อมูลสรุปข้อมูล และร่วมกันสรุปบทเรียนทุก 3 เดือน ก่อนจัดท�ำแผนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชุมชนภูวัด เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาวิจัยไทบ้านท�ำให้คนในชุมชนพบว่า พื้นที่ป่าภูวัดแห่งนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์หลงเหลืออยู่ มีทั้งพืชที่ เป็นไม้ใช้สอยพืชอาหารและสมุนไพร อยู่นับร้อยชนิด นอกจาก นีย้ งั มีสตั ว์ปา่ เช่น นก สัตว์เลือ้ ยคลาน สัตว์นำ�้ สัตว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกจ�ำนวนมากมายเพื่อขยายผลให้ลูก หลานและคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และตระหนักให้เห็นถึงคุณค่าและ ความส�ำคัญของป่าชุมชนภูวัด จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษา ธรรมชาติป่าชุมชนภูวัด” ในบริเวณวัดป่าบุญญนิมิตรเพื่อใช้ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนใน ชุมชนและนอกชุมชน

44 IS AM ARE www.ariyaplus.com


45 issue 96 january 2016


เรื่องโดย กองบรรณาธิการภูมิภาค

จิตอาสาออฟโรด มีดีมากกว่ารถล้อใหญ่

รถยนต์ สู ง ๆ ที่ เ รี ย กว่ า “ออฟโรด” เห็ น วิ่ ง กั น อยู ่ บ นถนนก็ อ ดคิ ด สงสั ย ไม่ ไ ด้ ว ่ า เขาแต่ ง กั น ไปเพื่ อ อะไร บ้ า ง ว่ า เป็ น ความชอบส่ ว นตั ว บ้ า งหลงไหลในการแต่ ง รถทุ ก รู ป แบบ แต่ ส� ำ หรั บ “ช่ า งต้ น ” พงษ์ ศั ก ดิ์ ปริ ญ ญา รั ต นเมธี วั ย 38 ปี เขาให้ เ หตุ ผ ลว่ า แต่ ง ออฟโรดเพื่ อ กิ จ กรรมจิ ต อาสา 46 IS AM ARE www.ariyaplus.com


47 issue 96 january 2016


เมื่ อ ฤดู ห นาวมาเยื อ น หลาย พื้นที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม หลายพื้นที่ ขาดแคลนแพทย์ เ วลาเจ็ บ ป่ ว ย และ หลายพื้ น ที่ ร ถยนต์ ธ รรมดาไม่ อ าจเข้ า ถึง เพราะไม่มีถนน ก็อาศัยรถออฟโรดนี่ แหละเป็นยานพาหนะในการเข้าไปช่วย เหลื อ ผู ้ ค นในพื้ น ที่ ห ่ า งไกลความเจริ ญ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมแพทย์เดินเท้า พอ.สว. ก็ได้ทีมออฟโรดจากช่างต้นและ อีกหลายๆ ท่านร่วมกันพาเหล่าแพทย์ อาสาไปให้ถึงคนไข้ในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่ ว่าหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือ จากทีมออฟโรดในรูปแบบจิตอาสา ช่าง ต้นก็พร้อมจะรวบรวมทีมงานไปช่วยทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าน�้ำ มัน หรือค่าซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของ เครื่องยนต์หรือค่าที่พักต่างๆ ล้วนเป็น จิตอาสาทั้งสิ้น “ออฟโรดโฟร์ วิ ล ผมท� ำ มา สิ บ สามปี ในส่ ว นของจิ ต อาสาอย่ า ง พอ.สว. ทั น ตกรรมเคลื่ อ นที่ ผ มท� ำ มาหกปี แ ล้ ว ครั บ มี โซนตั้ ง แต่ จั ง หวั ด ก�ำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดตาก มีรถน้อยแต่เขามาช่วยบ่อยมาก ส่วน ก�ำแพงเพชรกับพิษณุโลกรถค่อนข้าง “ทุนส่วนตัวครับทั้งหมดเลย ไม่ มีสปอนเซอร์สนับสนุน เรามาด้วยจิต อาสาของเราอยู ่ แ ล้ ว ” ช่ า งต้ น พู ด ขึ้ น ท่ามกลางอากาศหนาวบนดอยแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในหมู่รถออฟโรดเมือง ไทยโซนภาคกลางและภาคเหนื อ ตอน ล่างรู้จักเขาเป็นอย่างดีในนาม “ช่างต้น” หนึ่งในผู้ที่เปิดอู่เกี่ยวกับรถยนต์ออฟโรด เป็นอาชีพหลัก ควบคู่กับการท�ำจิตอาสา ทั่วประเทศมากว่า 13 ปี เดิ ม ที ช ่ า งต้ น เป็ น พนั ก งานใน บริษัทใหญ่หลายปี ก่อนจะผันตัวมาเปิด อู ่ ข องตั ว เองที่ จั ง หวั ด ก� ำ แพงเพชรด้ ว ย ความชื่ น ชอบในการแต่ ง รถยนต์ ทว่ า

ทุ ก วั น นี้ ท� ำ งานส่ ว นตั ว มี กิ จ การอู ่ ท� ำ รถโฟร์ วิ ล ของตั ว เอง บางที รู ้ สึ ก ว่ า ตั ว เองเหนื่ อ ยท้ อ มั น เหนื่ อ ยจริ ง นะ แต่ ก ลั บ บ้ า นไปมั น รู ้ สึ ก มี ค วาม สุ ข ครั บ บางที เ ราไม่ ไ ด้ ห วั ง สิ่ ง ตอบแทนอะไรแต่ พ อกลั บ อู ่ ไ ปพบว่ า งาน เข้ า อู ่ เ ยอะมากเลย มั น ก็ ค ล้ า ยกั บ บุ ญ กุ ศ ล รถยนต์สูงๆ ใหญ่ๆ ที่เรียกว่าออฟโรด จะไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเลยหากเอา ไปใช้ในการส่วนตัวด้วยการเอาไปวิ่งใน ป่า ลุยล�ำธารท�ำลายระบบนิเวศจนเกิด ความเสียหายตามที่เป็นข่าว เช่นนี้ ออฟ โรดหลายกลุ่มจึงรวมตัวกันท�ำจิตอาสา เพื่อสังคมในถิ่นทุรกันดาร ใช้ประโยชน์ จากความชอบในรถประเภทนี้ 48 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เยอะ ก็จะรวมตัวมาช่วยเหลือกันในที่ ต่างๆ เหมือนเมืองพี่เมืองน้อง” เมื่อก่อนช่างต้นเข้าร่วมจิตอาสา กั บ มู ล นิ ธิ พอ.สว.โดยการใช้ ร ถแบบ เดิมๆ ไม่ได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับงาน ที่ต้องสมบุกสมบัน ท�ำให้รถได้รับความ เสียหายและมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมค่อน ข้างมาก เขาจึงตัดสินใจดัดแปลงรถให้


ผมว่าเที่ยวเชิงอนุรักษ์สร้างสรรค์แบบนี้ ก็ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ด้วย ดีกว่าเที่ยวในเมืองนะครับ ซึ่งหมดไปกับค่าใช้จ่ายโดยที่บางทีเสียไปมากกว่า ขึ้นมาบนดอยด้วยซ�้ำ

49 issue 96 january 2016


เป็นออฟโรดสมบูรณ์แบบขึ้นมาเพื่องาน จิ ต อาสาโดยตรง ประหยั ด ค่ า ซ่ อ มไป ในตัว เนื่ อ งจากงานจิ ต อาสาด้ า นนี้ ต้ อ งใช้ ค วามสามารถเฉพาะตั ว ในการ ขับขี่ และความรู้เรื่องเครื่องยนต์มากพอ สมควรในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ยิ่ง บนภูเขาสูงๆ อย่างแม่แจ่มด้วยแล้ว ไม่มี ใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อุบัติเหตุเกิดขึ้น ได้แน่นอน แต่ด้วยจิตอาสาที่ลงทุนลงแรง ไป อุบัติเหตุร้ายแรงแค่ไหนก็ไม่ท�ำให้เขา ล้มเลิกความตั้งใจได้โดยง่าย “ผมเคยท� ำ งานที่ โรงงานแล้ ว ทุกวันนี้ท�ำงานส่วนตัวมีกิจการอู่ท�ำรถ

โฟร์วิลของตัวเอง บางทีรู้สึกว่าตัวเอง เหนื่อยท้อ มันเหนื่อยจริงนะ แต่กลับ บ้ า นไปมั น รู ้ สึ ก มี ค วามสุ ข ครั บ บางที เราไม่ ไ ด้ ห วั ง สิ่ ง ตอบแทนอะไรแต่ พ อ กลับอู่ไปพบว่างานเข้าอู่เยอะมากเลย มั น ก็ ค ล้ า ยกั บ บุ ญ กุ ศ ล ครั้ ง หนึ่ ง ผม เคยประสบอุ บั ติ เ หตุ กั บ หน่ ว ยแพทย์ พอ.สว. ผมว่าบารมีของสมเด็จย่าเรา นี้แรงกล้ามาก ผมไม่เป็นอะไรสักอย่าง แต่รถผมหลังคาบุบบี้หมดเลย แต่เรา แคล้วคลาดปลอดภัยหมด งานการกุศล เราจะไม่มาตัวเปล่า จะมีทั้งก๋วยเตี๋ยว อาหารการกินอย่างอื่นมาด้วย ในเมื่อ มาแล้วก็อยากจะท�ำให้สมบูรณ์ แล้ว

50 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ก็ได้มาสัมผัสชีวิตที่เขายังต้องการความ ช่วยเหลืออยู่ บางที่เราเข้าไปเราจะมอง ว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลไหม เขาด้อยโอกาส กว่าเราไหม แล้วก็จะน�ำสิ่งที่เขาขาด หมายความว่าเขาอยากได้เป็นสิ่งเป็น ของหรือเป็นการสร้างอาคาร หรืออะไร สักอย่าง เราจะเอาข้อมูลไปปรึกษาทีม งานแล้วก็มีโอกาสว่างๆ หรือสามารถ ที่จะช่วยเหลือเขาได้เราก็จะขึ้นมาอีก รอบหนึ่ง” ช่างต้นยอมรับว่า หากไม่ติดภาระ ด้านครอบครัวหรืองานส่วนตัว ตนเอง พร้อมที่จะไปช่วยเหลือทุกพื้นที่ เพราะ เขาเป็ น ตั ว แทนเครื อ ข่ า ยประสานงาน


จิตอาสาออฟโรดของจังหวัดก�ำแพงเพชร ซึ่ ง สามารถขอความช่ ว ยเหลื อ รวบรวม ออฟโรดจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงไปช่วย เหลื อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ต ามค� ำ เรี ย กร้ อ งโดย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ “กิ จ กรรมจิ ต อาสาไม่ จ� ำ เป็ น ต้องขึ้นดอยเสมอไป กิจกรรมพื้นล่างก็ มี น้องๆ รุ่นใหม่สามารถตั้งกลุ่มกันแล้ว ก็ท�ำกิจกรรมอาสาดีกว่า เพราะเดี๋ยวนี้ ผมว่าเที่ยวเชิงอนุรักษ์สร้างสรรค์แบบ นี้ก็ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ด้วย ดีกว่า เที่ยวในเมืองนะครับซึ่งหมดไปกับค่าใช้ จ่ายโดยทีบ่ างทีเสียไปมากกว่าขึน้ มาบน ดอยด้วยซ�้ำ ถือว่าช่วยเหลือสังคมร่วม

กันครับ น้องๆ ที่คิดจะท�ำกิจกรรมอะไร ต่างๆ ก็รวมกลุ่มก็ลองคุยกับเพื่อนๆ ดู ครั บ หรื อถ้ า อยากจะท� ำ แต่ ยั ง ไม่ รู ้ ว ่ า จะเริ่มยังไง ผมเชื่อว่าพี่ๆ ออฟโรดทุก คนสามารถให้ค�ำปรึกษาได้ทุกคนเลย ทุ ก คนทุ ก พื้ น ที่ น ะครั บ ปรึ ก ษาเขาได้ หรือลองไปแจมก่อนก็ได้แล้วค่อยมานับ หนึ่งของตัวเองครับ” นอกจากงานออฟโรดในพื้นที่ห่าง ไกลแล้ว ช่างต้นกระซิบว่างานช่วยเหลือ รถที่ประสบอุบัติเหตุ รถเสียในเมืองต่างๆ หรือใครที่ต้องการความช่วยเหลือบนท้อง ถนนสามารถติดต่อประสานงานกับช่าง ต้นได้ตลอดเวลา ช่างต้นจะประสานออฟ

51 issue 96 january 2016

โรดในพื้นที่รีบไปช่วยเหลือทันทีโดยไม่ เรียกค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นกิจกรรมจิตอาสา อีกรูปแบบหนึ่งที่กลุ่มคนออฟโรดมอบให้ สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ผู ้ ป ระสบอุ บั ติ เ หตุ ห รื อ ต้ อ งการ ความช่วยเหลือจากรถออฟโรดในการท�ำ จิตอาสา สามารถติดต่อได้ที่ พงษ์ศักดิ์ ปริญญารัตนเมธี (ช่าง ต้ น ) โทร.087-692-6891 ตลอด 24 ชั่วโมง


เรื่องโดย นงนาท สนธิสุวรรณ ที่ปรึกษาโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมธนาคารไทยพาณิชย์

พลังรักแท้..แม้วันนี้ไม่มีเขาอยู ่ 52 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เรื่ อ งราวดี ๆ

๑. เรี ย นจบ..พบเนื้ อ คู ่ ข้ า พเจ้ า ได้ ตั้ ง ปณิ ธ านไว้ ตั้ ง แต่ อ ายุ แรกรุ ่ น ว่ า จะขอ อยู่เป็นโสดไปจนวันตาย เพราะเห็นแม่ต้องตรากตร�ำกับการ เลี้ยงดูลูกๆมากถึงแปดคนด้วยตนเองอย่างเหนื่อยยาก และ ข้าพเจ้าตั้งใจจะช่วยแบ่งเบาดูแลน้องๆต่อไปไม่คิดจะแยกไป ตั้งครอบครัวของตนเอง อย่างไรก็ตาม พรหมลิขิตบันดาลชักพาเนื้อคู่ชื่อ ประทีป สนธิสุวรรณ หนุ่มนักเรียนทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) รุ่นแรก มาสู่วงจรชีวิตคู่ของข้าพเจ้าอย่างไม่คาดฝัน เราทั้งสองได้ เข้าท�ำงานที่นี่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยที่ทั้งเขาและข้าพเจ้าต่าง หนีจากการเรียนสาขาแพทยศาสตร์ มาที่สาขาเศรษฐศาตร์ เขา ส�ำเร็จปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ส่วนข้าพเจ้าจบ จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เราเข้ามาเป็นเศรษฐกรผู้ช่วย คนละหน่วยงานกัน แต่เป็นเพื่อนบ้านในตึกเดียวกัน เห็นหน้า พูดคุยกันช่วงเช้าๆก่อนเข้าท�ำงานแบบจับกลุ่ม ถูกอัธยาศัยกัน ดี ..โดยมีคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม หนุ่มนักเรียนทุนธปท.รุ่น เดียวกัน มาเดินเตร็ดเตร่สนทนาด้วยใกล้กันแถวๆโต๊ะท�ำงาน ของ คุณหญิงชฏา เมื่อครั้งยังใช้นามสกุลกฤษณามระ ย้อนกลับไปอ่านจดหมายทางเมล์อากาศ (air mail) และ โปสการ์ดที่เก็บถนอมไว้อย่างดี ล�ำดับเหตุการณ์ได้ว่า เราไม่ได้ รักแรกพบจบม้วนเดียวแต่อย่างใด ..ความสัมพันธ์เริ่มจากการ เป็นเพื่อนที่เข้าใจเพื่อน.. เนื้ อ หาในจดหมายของเขาจากแดนไกลกรุ ง วอชิ ง ตั น ดีซี ในระหว่างที่เขาไปเข้าหลักสูตรอบรมด้านการเงินที่นั่นสาม เดือน ที่ได้เล่าเรื่องราวโน่นนี่ ทั้งเรื่องส่วนตัวและเหตุการณ์บ้าน เมือง...เขามีบ้างที่บ่นๆเซ็งกับชีวิตที่ต้องกลับไปเหมือนนักเรียน อีก..ข้าพเจ้าได้แต่ให้ค�ำแนะน�ำว่า ..คนเราย่อมทุกข์บ้าง สุขบ้าง.. ธรรมชาติให้ความอดทนมาเป็นพลังต่อสู้...เขาเขียนชมกลับมา ว่า เป็นการให้สติที่ดี..และหลังจากนั้นไม่นาน เขาได้ส่งสัญญาณ ความในใจพร้อมกับบัตรรูปช่อกุหลาบหวานแหววด้วยกลอน ภาษาอังกฤษซึ้งๆแต่งเองมาให้ในวันเกิดปีนั้น ข้าพเจ้าอ่านแล้ว เหมือนเหาะได้ปานนั้น เมื่อเขากลับมาประเทศไทยแล้ว รู้สึกแปลกๆที่เมื่อมีการ เที่ยวเตร่แบบรวมกลุ่มกัน จะปรากฎภาพถ่ายทุกครั้งมักมีเราทั้ง สองอยู่ใกล้กัน....อีกทั้งผองเพื่อนบางครอบครัว ท�ำตนเป็นแม่ สื่อพ่อสื่ออย่างออกนอกหน้า..มิช้านานมินานเขาขอนัดเดี่ยว ซึ่ง

สามี ข องข้ า พเจ้ า เข้ า ไปร่ ว มงานกั บ รั ฐ บาลหลายชุ ด ในยุ ค นั้ น ทั้ ง ในหน้ า ที่ ค ณะท� ำ งานและที ม ที่ ป รึ ก ษา เศรษฐกิ จ ของนายกรั ฐ มนตรี ปฏิ บั ติ ง านทั้ ง ใน ประเทศในส่ ว นของการร่ ว มวางแผนเศรษฐกิ จ และ การท� ำ งานในต่ า งประเทศ ส่วนใหญ่ข้าพเจ้าบ่ายเบี่ยงว่าคุณพ่อไม่ชอบให้ไปไหนตามล�ำพัง กับหนุ่มๆ..แต่เขากลับเดินหน้าต่อ ด้วยการขออนุญาตคุณพ่อ ด้วยตนเอง โดยสัญญาว่าจะพาลูกสาวมาส่งบ้านไม่ชักช้าให้ต้อง กังวลใจ..ผู้ใหญ่ของข้าพเจ้าจึงไฟเขียวไว้วางใจ นับเวลาเพียงหกเดือนหลังจากรู้ใจกันว่าเขารักจริงหวัง แต่ง จึงวางแผนร่วมกันในการใช้ชีวิตคู่อย่างถูกต้องตามประเพณี โดยเขาเปิดทางสะดวกให้ข้าพเจ้าได้มีเรือนหอใกล้บ้านพ่อแม่ ของข้าพเจ้า ..นับเป็นการสร้างครอบครัวที่มีพื้นฐานอันอบอุ่น มั่นคงอย่างยิ่ง... ๒. จู ง มื อ กั น ..สู ่ ค วามก้ า วหน้ า หลังจากแต่งงานได้ไม่นาน ธปท.ได้สนับสนุนให้สามีไป ศึกษาต่อขั้นปริญญาโท ด้าน Public Administration @ The Kennedy School of Government ที่มหาวิทยาลัย Harvard ณ เมือง Massachusetts สหรัฐอเมริกา ในการไปครั้งนี้ ข้าพเจ้า ถูกยื่นค�ำขาดจากเขาให้ไปเรียนต่อพร้อมกัน การใช้ชีวิตคู่อย่างนักศึกษาตามล�ำพังเช่นนี้ ช่วยให้เรา เรียนรู้จิตใจกันและกันมากยิ่งขึ้น ได้เป็นก�ำลังใจและสร้างวินัย ในการบริหารการเงิน และจัดการเวลาอันเหมาะสม เพื่อเป้า หมายของความส�ำเร็จทางการศึกษาและความสุขอันพึงมีอย่าง ลงตัว 53

issue 96 january 2016


พยากรณ์ผลกระทบในอนาคต และการวางแผนที่เป็นไปได้ใน ทางปฏิบัติ เขาได้เขียนความคิดเห็นเหล่านี้ลงในหนังสือพิมพ์ประชา ชาติรายวัีน เป็นคอลัมน์ประจ�ำชื่อ “ปากท้องชาวบ้าน” ใช้ นามปากกา “สันติประชาราษฎร์” ...ต่อมาได้มีการเขียนเพิ่ม เติมและจัดพิมพ์รวมเล่มออกเผยแพร่หลายครั้ง ในหนังสือชื่อ “วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย” (พ.ศ. ๒๕๒๔ พิมพ์ครั้งที่ ๑ และ ๒ โดยส�ำนักพิมพ์อิมเมจ “ เศรษฐทรรศน์ “ (พ.ศ.๒๕๒๕ โดยส�ำนัก พิมพ์ดอกหญ้า)โครงสร้างหนังสือเหล่านี้ ประกอบด้วย :

๓. รั ก เด็ ก ..ได้ แ ต่ อุ ้ ม ลู ก คนอื่ น ..ยั ง ไม่ มี ข องเราเอง.. เราทั้งสองคนมาจากครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่นด้วยความรัก ผูกพันของ พ่อ-แม่-ลูก ดังนั้นความคาดหวังเรื่องการมีลูกของเรา เอง จึงเป็นการตั้งตารอ แต่ไม่ถึงกับเร่งรีบ ได้คิดถึงความพร้อม ในการสร้างรากฐานที่มั่นคงที่จะรองรับสมาชิกคนใหม่ในช่วง เวลาอันเหมาะสมต่อไป...และในที่สุดแล้ว..แม้ไม่มีลูกของเรา เอง..ข้าพเจ้ากลับได้เลี้ยงดูหลานป้าชื่อ อมรพงศ์ เภกะนันทน์ ราวกับลูกของตนเอง ซึ่งได้เคยเขียนไว้แล้วที่บันทึกนี้

๔. งานหลวงไม่ ข าด..งานราษฏร์ ไ ม่ เ สี ย หลั ง ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษากลั บ มาท� ำ งานในประเทศไทย ภารกิจในหน้าที่การงานของเราในยุควิกฤตน�้ำมันแพงเป็นครั้ง แรกในประเทศไทย จากราคาลิตรละไม่ถึงสิบบาท กลายเป็น เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว เป็นผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค การ ลงทุนและรายจ่ายของภาครัฐและภาคเอกชน เสียการสมดุลทุก ด้านอย่างมากมาย นโยบายภาครัฐจึงต้องเร่งสร้างเสถียรภาพให้ กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ส่งสามีของข้าพเจ้าเข้าไป ร่วมงานกับรัฐบาลหลายชุดในยุคนั้น ทั้งในหน้าที่คณะท�ำงาน และทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานทั้งใน ประเทศในส่วนของการร่วมวางแผนเศรษฐกิจ และการท�ำงาน ในต่างประเทศ เช่น ร่วมเดินทางไปเปิดการค้าและเจรจาซื้อ น�้ำมันในแหล่งราคาถูกจากสาธารณประชาชนจีน เป็นต้น นอกจากทุ่มเทแรงกายแบบคนหนุ่มไฟแรงแล้ว สามีของ ข้าพเจ้ายังออกแรงความคิดในการเสนอแนะนโยบายในการ ป้องกันและแก้ไขสถานะการณ์ทั้งในภาพรวมและเชิงปัจเจก วิพากย์และวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจอย่างเป็นปัจจุบัน

* ระบบบริ ห ารเศรษฐกิ จ ไทย และการแก้ ไขปั ญ หา เศรษฐกิจในระบอบประชาธิปไตย * เศรษฐกิจการปกครอง (เศรษฐกิจก�ำนัน / ข้าราชการ กับนักการเมือง /ปากท้องข้าราชการ) * เศรษฐกิจชาวบ้าน (คนมีมากพึงช่วยคนมีน้อย / ถม ไม่เต็ม / เศรษฐกิจน�้ำท่วม) * เศรษฐกิจการเกษตร (ธนาคารพาณิชย์ กับสินเชื่อเพื่อ การเกษตร / สินเชื่อเพื่อการเกษตรกับการพัฒนาชนบท) ในฐานะภรรยาอย่างข้าพเจ้า แม้มีงานประจ�ำท�ำเต็ม เวลาอยู่แล้ว แต่ยังต้องเข้ามาช่วยเป็นกองหลัง มีหน้าที่ในการ ส่งก�ำลังใจและความสะดวกในการท�ำงานของสามีอย่างเต็มที่ ทั้งการขับรถยนต์ส่วนตัวรับ-ส่งไปทุกแห่งที่มีการประชุม ทั้ง ใกล้-ไกล..ไม่จ�ำกัดเวลาแม้ยามดึกดื่น..อีกทั้งหาอาหารจานด่วน บริโภคในระหว่างทางพร้อมน�้ำชา กาแฟใส่กระติกเก็บความ ร้อนพร้อมดื่มเสมอ ..รับฟังความเห็นและเป็นที่ระบายอารมณ์ เคร่งเครียดจากการงานด้วยความเข้าใจ ขณะเดียวกันข้าพเจ้า ได้หาโอกาสชวนเขาไปผ่อนคลายสบายจิตในวาระดีๆบ้าง 54

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ในฐานะภรรยาอย่ า งข้ า พเจ้ า แม้ มี ง านประจ� ำ ท� ำ เต็ ม เวลาอยู ่ แ ล้ ว แต่ ยั ง ต้ อ งเข้ า มาช่ ว ยเป็ น กองหลั ง มี ห น้ า ที่ ใ นการส่ ง ก� ำ ลั ง ใจและความ สะดวกในการท� ำ งานของสามี อ ย่ า งเต็ ม ที่ ทั้ ง การขั บ รถยนต์ ส ่ ว นตั ว รั บ -ส่ ง ไปทุ ก แห่ ง ที่ มี ก ารประชุ ม ทั้ ง ใกล้ - ไกล..ไม่ จ� ำ กั ด เวลาแม้ ย าม ดึ ก ดื่ น .. ในบางการประชุมเดินทางต่างถิ่น เป็ น ครั้ ง แรกหลั ง จากกลั บ จากประชุ ม และงานสังคมโดยทั่วไป เราทั้งสองเคียงคู่ ผู้ว่าการธนาคารกลางเอเซียตะวันออก ไปไหนไปกัน ไม่ห่างเหินให้เป็นที่ว้าเหว่... เฉียงใต้ ที่ประเทศมาเลเซีย เป็นผลให้ ได้เก็บเกี่ยวทั้งความสุขและประสบการณ์ เบื่ออาหาร ตัวเหลือง และอ่อนแรง เขา ต้ อ งเข้ า ออกโรงพยาบาลศิ ริ ร าชเป็ น ใหม่ๆร่วมกันอย่างส�ำราญใจ ความอบอุ่นในหมู่วงศาคณาญาติ ระยะๆ อยู่ถึงห้าปี.. แพทย์ ผู ้ ช� ำ นาญโรคนี้ ได้ เ ตื อ น ทั้ ง สองฝ่ า ย ห้ อ มล้ อ มสั ง สรรกั น เป็ น ประจ�ำด้วยความเกื้อกูลอย่างสม�่ำเสมอ ล่วงหน้าว่า ตับจะแข็งมากขึ้นเป็นล�ำดับ ญาติของเขาเหมือนญาติของเรา...แบ่ง ไม่สามารถเยียวยาได้ แพทย์ได้แต่ช่วย ปันความสุขทั้งงานบุญ..งานมงคลอย่าง ทุเลาอาการอ่อนเพลียเพียงฉีดน�้ำเกลือ ผสมยาบ�ำรุงตับเท่านั้น..พร้อมทั้งแนะน�ำ ครบถ้วน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ไม่ควรออกก�ำลัง หรือท�ำงานหนักใดๆ ..นับเป็นโรคร้ายที่ ๕. สั ง ขารนี้ ไ ม่ เ ที่ ย งหนอ.. ความสุ ข ในชี วิ ต คู ่ ผ ่ า นไปอย่ า ง เป็นอุปสรรค และบั่นทอนคนขยันท�ำงาน รวดเร็วจวบจนย่างเข้าปีที่ห้า...สามีเริ่ม อย่ า งสามี ข องข้ า พเจ้ า เป็ น อย่ า งมาก.. มี อ าการป่ ว ยด้ ว ยโรคไวรั ส ตั บ อั ก เสบบี ชีวิตช่วงนี้ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ พักผ่อน แบบร้ายแรงและเรื้อรัง อาการเริ่มแสดง อยู่อย่างสุขสงบที่บ้านเรือนหอที่อยู่ตรง 55 issue 96 january 2016

กั น ช้ า มกั บ บ้ า นพ่ อ แม่ ข องข้ า พเจ้ า ซึ่ ง มักจะเดินข้ามมาดูแล ให้ความอบอุ่นแก่ ครอบครัวของเราเสมอ ด้วยความที่สามีของข้าพเจ้าเป็น ผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็น เนืองนิจ เขาเคยบวชเรียนกับ ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดธาตุทอง นอกจากนี้เรามักถูกชักชวนจากพระวัด ป่าให้เป็นเจ้าภาพสร้างพระประธานใน วิ ห ารที่ ห ่ า งไกลญาติ ธ รรม และตลอด ช่วงเวลาที่เราครองเรือนด้วยกัน เขามัก ชวนข้าพเจ้านั่งสมาธิในห้องพระที่บ้าน เรือนหอ ซึ่งเขาจัดสถานที่ให้เป็นสัปปา ยะอย่างเหมาะสมมาก เราได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยง แท้แห่งวัฏสังสาร..เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็น ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ หากแต่ จิตที่ฝึกมาดีจนเข้าใจในพุทธรรมเยี่ยงนี้ ย่อมถึงพร้อมในการยินดีที่จะต้องละวาง สั ง ขารอั น ทรุ ด โทรมด้ ว ยโรคภั ย ไข้ เจ็ บ อย่างไม่อาลัยอาวรณ์ บ่ายวันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ย่ า งเข้ า ปี ที่ สิ บ ของชี วิ ต คู ่ ค รอง สามี ข องข้ า พเจ้ า ซึ่ ง ได้ เข้ า โรง พยาบาลเป็ น ครั้ ง ที่ ส าม ได้ มี อ าการ ป่วยในขั้นสุดท้าย ซึ่งแพทย์ได้มาตรวจ ชี พ จรและความดั น โลหิ ต ที่ ต�่ ำ ลงถึ ง ขั้ น วิ ก ฤต หลั ง จากไตของเขาไม่ท�ำงานมา ตลอดทั้ ง คื น คุ ณ พ่ อ และน้ อ งชายของ ข้าพเจ้าที่เข้ามาเยี่ยมตั้งแต่ช่วงเที่ยง ได้ ไปกราบนิ ม นต์ ท่ า นเจ้ า คุ ณ พระธรรม โสภิต ผู้ช่วยเจ้าอาสวัดราชาธิวาส พระ สงฆ์ผู้มีเมตตาคุณต่อครอบครัวของเรา ซึ่งสามีของข้าพเจ้า ได้ไปปวารณาสร้าง หอฉั น ไว้ ท่ า นได้ ก รุ ณ าสวดมนต์ ร� ำ ลึ ก ถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆ คุณ พร้อมทั้งสนทนาธรรมอันยังความสุข สงบมาสู่จิตใจของผู้ป่วยและญาติพี่น้องที่ ห้อมล้อมเป็นอย่างยิ่ง..


ครั้ น ช่ ว งเย็ น ก่ อ นตะวั น พลบค�่ ำ ในวันนั้น ข้าพเจ้าได้นั่งมองใบหน้าของ สามี ที่ นิ่ ง สงบก� ำ หนดลมหายใจอยู ่ กั บ ปัจจุบันกาล มีเสียงสวดมนต์ท�ำวัตรเย็น จากหมู่พระสงฆ์ที่เราได้อัดเสียงเปิดไว้ ตลอดเวลานั้ น ในที่ สุ ด สามี ไ ด้ ล ะวาง สังขารจากไปอย่างนุ่มนวลพร้อมใบหน้า ที่แย้มยิ้มผ่อนคลาย ด้วยวัยเพียงสามสิบ เจ็ดปี ..ท่ามกลางความอาลัยรักของทุก คน แต่ไม่มีน�้ำตาของความโศกเศร้า ด้วย เพราะความเข้าใจแห่งสัจจธรรมของกฏ ธรรมชาตินี้ ๖. หน้ า ที่ ข องผู ้ อ ยู ่ เ บื้ อ งหลั ง .. น้ อ มน� ำ ธรรมรั ก ษาใจ.. ในการจั ด การงานศพของสามี ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาจากธปท.มอบ หมายให้เป็นผู้จัดท�ำหนังสือที่ระลึก ซึ่ง ธปท.เป็ น เจ้ า ภาพ ข้ า พเจ้ า ตั้ ง ใจพิ ม พ์ เป็ น สองเล่ ม โดยเล่ ม แรกเป็ น ประวั ติ ชี วิ ต และรวมบทความด้ า นเศรษฐกิ จ ที่ สามี เขี ย นไว้ ดั ง ที่ ก ล่ า วข้ า งต้ น ส่ ว นอี ก เล่ ม หนึ่ ง เป็ น หนั ง สื อ ชื่ อ “ธรรมะคื อ ดวงประที ป ” รวบรวมธรรมคติ ข อง ท่านพระอาจารย์เทสก์ แห่งวัดหินหมาก เป้ง จังหวัดหนองคาย ซึ่งข้าพเจ้าได้ไป ถอดธรรมบรรยายจากท่ า นในระหว่ า ง ไปปฎิ บั ติ ธ รรมที่ วั ด นี้ กั บ คุ ณ พ่ อ ของ ข้าพเจ้า เนื่องจากสามีของข้าพเจ้าเป็นผู้ ที่ใส่ใจเรื่องการศึกษาของเด็กๆในพื้นที่ ห่ า งไกล และมั ก สนั บ สนุ น ปั จ จั ย เพื่ อ การศึกษาตามแต่ก�ำลังและโอกาสเสมอ ข้าพเจ้าจึงด�ำเนินการต่อยอดเจตนารมณ์ นี้ โดยรวบรวมเงิ นช่ว ยงานศพของเขา ทั้งหมด สมทบกับเงินออมส่วนตัว เดิน ทางไปพร้ อ มกั บ ครอบครั ว และเครื อ ญาติบุญของเรา เพื่อไปซ่อมแซมอาคาร ของโรงเรี ย นขนาดเล็ก แห่งหนึ่งในพระ ะอุ ป ถั ม ภ์ ข องสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทรา

พระบรมราชชนนี ซึ่งเก่าทรุดโทรมมาก ตั้ ง อยู ่ ใ กล้ วั ด ถ�้ ำ ตั บ เตา ที่ อ� ำ เภอไชย ปราการ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และเพื่ อ น ร่วมบุญที่ ธปท. ได้น�ำอุปกรณ์การเรียน ไปร่วมสมทบด้วยอย่างคับคั่ง และขณะ เดี ย วกั น ได้ ตั้ ง “กองทุ น ประที ป สนธิ สุวรรณ” ที่โรงเรียนวัดบางกอบัว จังหวัด สมุทรปราการ ที่ซึ่งสามีของข้าพเจ้าได้ เข้าศึกษาในวัยแรกเรียน ดร.ป๋ ว ย อึ๊ ง ภากรณ์ อดี ต ผู ้ ว่ า การของธปท.และอดี ต อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทราบข่าว มรณะกรรมของเขา ท่ า นได้ ก รุ ณ าส่ ง จดหมายเขียนด้วยลายมือบรรจง มาร่วม ไว้ อ าลั ย ด้ ว ย ยั ง ความซาบซึ้ ง และเป็ น ก�ำลังใจแก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง และภาย หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปกราบ 56 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ขอบพระคุณท่านด้วยตนเองที่บ้านของ ดร.อัมมาร์ สยามวาลา ๗. พลั ง รั ก แท้ . .แม้ วั น นี้ ไ ม่ มี เ ขาอยู ่ นับจากบัดนั้นเป็นต้นมา ที่การ ตายก่ อ นวั ย อั น ควรของเธอผู ้ เ ป็ น ที่ รั ก ได้เป็นโจทย์ใหญ่ให้ภรรยา ได้พิจารณา สภาวะธรรมแห่ง อริยสัจสี่..ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.. รูปภาพของเธอที่ได้ถูกน�ำมาวาง ไว้บนหิ้งบรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อ เตื อ นใจให้ ร� ำ ลึ ก ถึ ง พระคุ ณ อั น ยิ่ ง ใหญ่ นี้..และเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าเร่ง ท�ำคุณงามความดีทั้งแก่ตนและผู้อื่น ก่อน ที่วาระนั้นจะมาถึงด้วยเช่นกัน


“เวลา” กับ “โอกาส” คือสองอย่างที่ไม่เคยรอใคร ถ้ามันผ่านมาแล้วไม่คว้าเอาไว้ก็ยาก.. ที่มันจะผ่านมาอีกครั้ง ที่มา http://www.thaioutlook.com/

57 issue 96 january 2016


58 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Let's Talk

เรื่องโดย กองบรรณาธิการภูมิภาค

ทันตแพทย์บนดอย ความภูมิใจบนความล�ำบาก

อาชี พ แพทย์ นั บ เป็ น อาชี พ ที่ ส ร้ า งรายได้ ม ากพอสมควร โดยเฉพาะทั น ตแพทย์ ที่ มี ค ลี นิ ค เป็ น ของตั ว เอง บางที ร ายได้ อ าจมากกว่ า งานประจ� ำ ที่ โ รงพยาบาลเสี ย อี ก แต่ ก็ ใ ช่ ว ่ า แพทย์ ทุ ก คนจะแสวงหาแต่ ท รั พ ย์ เ สี ย ที เดี ย ว ยั ง มี แ พทย์ อี ก มากมายที่ ม องความเจ็ บ ป่ ว ยของผู ้ ด ้ อ ยโอกาสเป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ กว่ า ฐานะเงิ น ทอง ทั้ ง ที่ ต นเองสามารถย้ า ยไปอยู ่ ที่ อื่ น ได้ แต่ ก ลั บ เลื อ กอยู ่ ใ นพื้ น ที่ ๆ ประชาชนชาวเขายั ง ต้ อ งการความช่ ว ย เหลื อ การรั ก ษาจ� ำ เป็ น ต้ อ งเดิ น เท้ า เข้ า ไป ไปอยู ่ ไปกิ น กลางป่ า โดยไม่ ไ ด้ เ งิ น สั ก บาท แต่ เ ขาก็ ท� ำ เพราะรู ้ ว่ า มี ค นไข้ ร อคอยอยู ่

59 issue 96 january 2016


นายแพทย์ ส มเจตน์ ไผ่ ศ รี อายุ 36 ปี หั ว หน้ า ฝ่ า ยทั น ตกรรม โรงพยาบาลจอมทอง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ คื อ หนึ่ ง ในแพทย์ ที่ ส ละเวลาในการท� ำ จิ ต อาสามากว่ า 10 ปี แ ล้ ว ให้ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยบนภู เ ขาด้ า นทั น ตกรรม ทุ ก ปี เ ขาจะเดิ น ทางขึ้ น ไปพร้ อ มที ม แพทย์ ที่ มี จิ ต อาสาร่ ว มกั น ซึ่ ง ที่ จ ริ ง แล้ ว ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งท� ำ ก็ ไ ด้ เพราะไม่ มี กฎข้ อ ไหนบั ง คั บ ให้ ท� ำ แต่ถ้าเรามองถึงหลักมนุษยธรรม ผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส ในพื้นที่ห่างไกล พวกเขาไม่มีโรงพยาบาลให้รักษา อีกทั้งค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพในช่องปากนั้นค่อนข้างสูง เรียก ว่าบางคนถึงมีหมอคอยรักษาให้ก็ไม่มีเงินจ่ายอยู่ดี การเดิน เท้าเข้าไปหาผู้ป่วยเพื่อรักษาให้ฟรีน้ัน นอกจากจะเป็นบุญกุศล ของแพทย์แล้ว ยังช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยให้ผู้ด้อยโอกาสได้ อย่างดี ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้รับรู้ ชีวิตเขา ชีวิตเรา ซึ่งเป็นชีวิตที่ต่างอาศัยอยู่บนโลกเดียวกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เราลองมาฟังมุมมองของแพทย์ที่สละเวลาส่วนตน เพื่อให้การรักษาผู้ด้อยโอกาสกันดีกว่า ว่าเขารู้สึกอย่างไร และ ได้พบได้เห็นอะไรบ้าง ตั ว หมอเองก็ มี ก� ำ ลั ง ใจด้ ว ยใช่ ไ หม? ใช่ครับ มีก�ำลังใจ มันท�ำให้ผมสามารถที่จะวางแผนแล้ว ก็มาให้บริการกับประชาชนในเขตพื้นที่ทุรกันดารได้ทุกปี เพราะ เรามีแรงไป เขารอเรา เราก็สงสารเขาด้วยเนื่องจากเขายังตาม ไม่ทันสังคม สังคมไปเร็วแต่ว่าตัวเขาเองอาจไม่ได้รับการฝึกฝน หรือเรียนรู้อะไรในบางมุมมองที่ท�ำให้ตามสังคมไม่ทัน พูดง่ายๆ อย่างเวลาขึ้นไปในพื้นที่ที่ยังไม่มีขนมเราสังเกต ช่องปากเด็กในพื้นที่ คือช่องปากเด็กจะมีฟันผุมีน้อยมาก พอ ไปสังคมที่รถพอจะขึ้นได้หน่อย หน้าโรงเรียนมีร้านขายขนม ฟันของเด็กในโรงเรียนนั้นสภาพคือแย่มาก มันมาพร้อมความ เจริญจริงๆ ก็อย่างที่ผมบอกเขาตามไม่ทัน คือทันตแพทย์ไม่ได้ ความแตกต่ า งระหว่ า งคนพื้ น ล่ า งกั บ คนบนภู เ ขาเป็ น ห้ามกินนะ แต่ว่ากินให้เหมาะสมแล้วก็รู้จักเรียนรู้วิธีการที่จะ กิน ตรงนี้คือจริงๆ แล้วเด็กอาจไม่เข้าใจหรอก แต่ว่าผู้ปกครอง อย่ า งไรบ้ า ง? คนพื้นราบจะมีความคาดหวังสูงกว่า เพราะว่าเขาเจอมา เองซึ่งเป็นคนดูแลเด็กหรือคนที่อยู่กับเด็กเกือบตลอดเวลาก็ควร หลายลักษณะ ความคาดหวังเขาย่อมสูงขึ้นแน่นอน ก็เสมือนว่า จะแนะน�ำให้ถูกนะครับ เรากินได้แต่หลังจากกินแล้วก็ต้องมีวิธี เขามาหาแล้วเขาต้องได้รับสิ่งที่หมอให้เขา มันต้องเป็นอะไรที่ดี ดูแล เช่น ต้องแปรงฟันให้สะอาดหรือว่าดูแลด้วยการบ้วนปาก ที่สุดส�ำหรับเขา แต่ว่าในสภาวะข้อจ�ำกัดบางอย่างบางส่วนของ ถ้ามีอุปกรณ์พร้อมแปรงได้ก็แปรง ถ้าแปรงไม่ได้ก็บ้วนปากให้ งบประมาณที่ภาครัฐมีมาให้ท�ำให้อุปกรณ์อะไรไม่ครบครัน คือ เศษมันหลุดออกไปบ้าง อย่างน้อยก็จะช่วยลดเศษอาหารที่อยู่ รั ก ษาได้ แ ต่ ไ ม่ ส ามารถที่ จ ะซั พ พอร์ ต ได้ ค รอบคลุ ม ขนาดนั้ น ในช่องปากก็จะท�ำให้เกิดการผุของฟันน้อยลง เนื่องจากมันไม่ตรงใจเขา ก็เกิดความไม่พอใจขึ้นมาได้ (ด้วยตัว เงินด้วยหรือเปล่า?) ก็มีผล แต่ว่าถ้าเทียบกับประชาชนอย่าง ความเจริ ญ ไม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ สุ ข ภาพดี เ สี ย ที เ ดี ย ว ? มุมมองของผมคือเราเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเจริญ ชาวเขาอย่างที่ผมบอกคือ เขาให้ความศรัทธาในตัวหมอหรือว่า หมอท�ำอะไรให้ชาวเขาก็รู้สึกว่าท�ำให้ด้วยใจ เขาก็รู้สึกยอมรับ ให้ดี ให้เหมาะสมจะดีกว่า ถามว่าความเจริญดีไหม มันมีทั้งดี และไม่ดี แล้วก็รู้สึกประทับใจ คนไข้ ที่ เ ราเจอส่ ว นมากเป็ น ชาวเขาความยากง่ า ย เป็ น อย่ า งไรบ้ า ง? ความยากง่ายคือ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าชาวเขาเขา จะศรัทธาในตัวหมอพอสมควร ดังนั้นเขาจะมีความอดทน แล้ว ก็ยอมรับในการรักษาของเราค่อนข้างง่ายกว่าคนพื้นล่าง นั่น จึงเป็นหนึ่งในการจุดประกายหรือเป็นก�ำลังใจของเราด้วยใน การที่ โอเคพอเขายอมรับการรักษาของเราซึ่งเราก็เห็นผล คือ การท�ำฟันมันเป็นอะไรที่รักษาแล้วหายและรู้ผลในทันที เช่น เสียวฟัน พออุดมันหายเลย เขาก็รู้สึกดี เราก็รู้สึกดี มันก็มีก�ำลัง ใจในการท�ำเพื่อเขาต่อไป

60 IS AM ARE www.ariyaplus.com


61 issue 96 january 2016


ส� ำ หรั บ การออกมากั บ พอ.สว. ก็ รู ้ สึ ก ว่ า ยั ง มี ค น อี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ มี แ นวคิ ด คล้ า ยๆ เรา แล้ ว ก็ อ อกมา ให้ บ ริ ก ารชาวเขา แน่ น อนอาจจะช่ ว ยไม่ ไ ด้ ร ้ อ ย เปอร์ เ ซ็ น ต์ แต่ อ ย่ า งน้ อ ยก็ เ ป็ น การท� ำ ให้ ช าวเขาได้ รั บ การบริ ก ารที่ เ หมาะสม มี โ อกาสเราจะมารั ก ษาให้ ฟ รี อ ย่ า งนี้ ทุ ก ปี เ ลยหรื อ เปล่ า ? มี โ อกาสก็ ไ ปครั บ บอกตรงๆ มี โ อกาสก็ ไ ปเพราะว่ า ด้วยงานที่ท�ำ ผมเรียนให้ทราบผมเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยมีทั้งงาน ประชุมงานนโยบายที่ต้องรับจากทางกระทรวงฯ ส่วนของภาระ ครอบครัวที่จะต้องดูแลลูกอีก ประมาณนี้ครับ

ก็เห็นการพัฒนาล�ำดับหนึ่งแล้ว คือมีพยาบาลเข้าไปอยู่ แล้ว ก็พยามหมุนเวียนแพทย์เข้าไปอยู่ แล้วตอนนี้ก็ก�ำลังผลักดัน ให้ผู้ที่มีทักษะในการถอนฟัน อุดฟัน แล้วก็ขูดหินปูนในระดับ หนึ่ง แต่อาจไม่เชี่ยวชาญเท่าทันตแพทย์ แต่สามารถดูแลรักษา ปัญหาเบื้องต้นได้ แต่ว่าอย่างหนึ่งที่เขาจะเก่งก็คือการส่งเสริม ป้องกันในส่วนสุขภาพช่องปาก เขาจะถูกฝึกมาโดยตรงเกี่ยว กับประเด็นนี้โดยเฉพาะ ถ้าสมมุติสามารถจะเพิ่มเติมประเด็น นี้เข้าไปในนโยบายหรือว่าแผนการพัฒนาให้มันครอบคลุมผม ว่าจะช่วยได้อีกเยอะเลย

ในส่ ว นของราชการหรื อ กระทรวงเราอยากจะเพิ่ ม เติ ม อะไรอี ก ที่ เ ราคิ ด ว่ า ขาดส� ำ หรั บ พื้ น ที่ ทุ ร กั น ดาร? มุมมองผมคือต้องมีการบูรณาการขนานใหญ่พอสมควร ซึ่งในพื้นที่บางพื้นที่ควรจะมีลักษณะการดูแลที่ครอบคลุมกว่านี้ เช่น ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล ปัจจุบันนี้ผม 62

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ประเด็ น ที่ ผ มมองคื อ สิ่ ง ที่ จ ะ ท� ำ ให้ เ ด็ ก เจริ ญ เติ บ โตได้ ก็ คื อ อาหารใช่ ไหมครับ มันก็ต้องผ่านจากช่องปากเข้า มา ถ้าช่องปากมีปัญหา หนึ่ง กินอาหาร ไม่ ไ ด้ สอง เป็ น ภาระของผู ้ ป กครอง ครอบครัวที่ต้องพาไปหาหมออีก ซึ่งเดิมที เขาอาจต้องใช้เวลานี้ไปท�ำงานอะไรที่จะ ท�ำให้เกิดรายได้ กลับกลายเป็นว่าเขาต้อง ขาดงาน บางทีก็ต้องขาดทั้งพ่อทั้งแม่ต้อง ขาดรายได้วันนั้นไปเลย มันเป็นจุดเริ่มต้น เลยจริงๆ เรื่องโภชนาการ โภชนาการมัน ไปทั้งหมดครับ เรื่องของสมอง เรื่องของ การเจริญเติบโตด้านร่างกาย โรคที่ เ ราเจอบนพื้ น ที่ ร าบกั บ พื้ น ที่ สู ง แตกต่ า งกั น ไหม ? แตกต่างครับ คือความเจริญยิ่ง ขึ้นไปบนเขาโรคฟันผุจะพบเยอะ ส่วน ใหญ่จะเป็นเด็กชาวเขา แต่ตอนนี้ถ้าพื้น ราบเรื่องฟันผุจะค่อนข้างน้อยลง แต่มัน จะมี ป ั ญ หาในส่ ว นของวั ย ท� ำ งานแล้ ว ก็ ผู้สูงอายุจะมีลักษณะของหินปูน โรคปริ ทันต์ ค่อนข้างเยอะ เพราะว่าอาหารที่ เปลี่ยนไป สังเกตอาหารเดี๋ยวนี้เป็นอา หารฟาสต์ ฟู ้ ด ซะเยอะ อาหารไทยถ้ า เทียบกับอาหารฟาสต์ฟู้ดก็เหมือนอาหาร ค่อนข้างหยาบ อาหารหยาบประโยชน์ ของมันมีนะครับ มีในการช่วยช�ำระล่าง ช่องปากได้คร่าวๆ แต่ถ้าเป็นฟาสต์ฟู้ดมัน เป็นแป้งเป็นครีมเสียส่วนใหญ่ มันก็จะติด ฟัน ถ้าเราไม่ได้แปรงท�ำความสะอาดมันก็ จะเกาะอยู่อย่างนั้น เราก็จะมีเขาเรียกว่า ระยะท�ำงานของเชื้อแบคทีเรียอยู่ระดับ หนึ่ง ท�ำให้เป็นโรคหินปูน แล้วจะกลาย เป็นเหงือกอักเสบหรือว่าล�ำมะนาดที่เรา เข้าใจกัน จากเหงือกอักเสบเล็กๆ ก็อาจ ไม่สนใจ ปล่อยนานเข้ากลายเป็นล�ำมะ นาด ฟันโยก

เ ห็ น ช า ว เ ข า ท ่ า น ห นึ่ ง ต ้ อ ง ดู ด หนองออกจากเหงื อ กอั น นี้ เ กิ ด จากอะไร ? อั น นี้ คื อ ฟั น สึ ก สั ง เกตจากช่ อ ง ปากของเขามั น จะมี ฟ ั น หลั ก ที่ ใช้ เ คี้ ย ว อยู่ไม่กี่ซี่ เขาก็จะไปเน้นเคี้ยวในบริเวณ ฟั น หน้ า ซึ่ ง ฟั น หน้ า ถู ก ออกแบบมาโดย ธรรมชาติให้เป็นฟันปักหรือฟันกัดอย่าง เดียว พอเคี้ยวไปหนักๆ เข้าก็สึกทะลุโครง ฟัน พอสึกทะลุโครงฟันแล้ว โดยปกติใน ช่องปากของเราจะมีเชื้อโรคอยู่แล้ว แต่ มันอยู่ในลักษณะของสมดุลเพราะฉะนั้น ไม่ ท� ำ ให้ เ กิ ด โรคแต่ ว ่ า เนื้ อ เยื่ อ ในโครง ฟันปกติมันจะสะอาด จะมีแต่เลือดเป็น 63 issue 96 january 2016

องค์ ป ระกอบ พอเชื้ อ โรคเข้ า ไปสู ่ โ ครง ฟันพูดง่ายๆ คือมันเข้าสู่กระแสเลือดได้ พอเข้าถึงกระแสเลือดได้แล้วการที่เศษ อาหารไปติดอยู่บ่อยๆ พอเวลาเชื้อโรค ข้างในมันสร้างเป็นแก๊สของเสียแล้วไม่ สามารถระบายออกทางช่องทางปกติได้ มันก็เลยออกไปสู่ปลายรากแล้วเกิดเป็น หนองบวมขึ้นมา นี่คือสาเหตุที่ท�ำให้บวม แล้วก็ปวด ชาวเขามั ก เป็ น โรคอะไรเกี่ ย วกั บ ช่ อ งปากบ้ า ง ? ช่ อ งปากของผู ้ สู ง อายุ ส ่ ว นใหญ่ จะเป็นองค์ประกอบรวมมากกว่า รวม


มีทั้งฟันผุ หินปูน หรือว่าโรคเหงือก โรคเหงือกบางทีบวมแล้ว ก็อักเสบขึ้นมาได้ (อายุมีส่วนไหม?) อายุเป็นปัจจัยที่ค่อนข้าง รองลงมาแต่ว่าโรคประจ�ำตัวมีส่วนอย่างมากโดยเฉพาะโรคเบา หวานเพราะเบาหวานความเข้มข้นของเลือดก็จะหนืด ดังนั้น เซลล์ต่างๆ ในกระแสเลือดอย่างเช่นเซลล์เม็ดเลือดขาวท�ำหน้าที่ กัดกินเชื้อโรคอะไรอย่างนี้มันจะท�ำงานค่อนข้างช้ากว่าจะไปถึง จุดหมายที่ต้องไปท�ำลายเชื้อโรค ท�ำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ ง่าย ดังนั้น คนเป็นโรคเบาหวานจึงเกิดเป็นโรคปฏิภาณ เหงือก อักเสบได้ง่ายมาก

สมที่สุดกับคนในพื้นที่ เพราะผมเข้าใจว่าผมเองหรือทีมงานไม่ สามารถที่จะไปเป็นประจ�ำทุกวันอยู่แล้ว มากสุดปีละไม่เกิน 4 ครั้ง แต่จริงๆ ค่อนข้างจะน้อยแต่ก็เต็มที่มากๆ แล้ว ก็เลยจะออก แนวไปทางส่งเสริมป้องกันมากกว่า ควบคู่ไปกับการออกให้การ รักษา เพราะที่ๆ มันเกิดปัญหาขึ้นไปแล้วยังไงก็ต้องรักษา ไอ้อัน ที่จะเกิดปัญหาใหม่เราก็ส่งเสริมป้องกันไม่ให้มันเกิดจะดีกว่า อ ย ่ า ง ที่ เ ร า ไ ป ช ่ ว ย รั ก ษ า ช า ว เ ข า ร ่ ว ม กั บ มู ล นิ ธิ พอ.สว. เรารู ้ สึ ก กั บ มั น อย่ า งไร ? ส�ำหรับการออกมากับ พอ.สว. ก็รู้สึกว่ายังมีคนอีกกลุ่ม หนึ่ ง ที่ มี แ นวคิ ด คล้ า ยๆ เรา แล้ ว ก็ อ อกมาให้ บ ริ ก ารชาวเขา แน่นอนอาจจะช่วยไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยก็เป็นการ ท�ำให้ชาวเขาได้รับการบริการที่เหมาะสมโดยผู้ที่มีความช�ำนาญ ในแต่ ล ะวิ ช าชี พ ครั บ คื อ ภู มิ ใจ ล� ำ บากแค่ ไ หนก็ ต ้ อ งไปครั บ จนกว่าจะขึ้นเขาไม่ไหว.

วั น หนึ่ ง ถ้ า เราไม่ ส ามารถเดิ น ขึ้ น เขามาช่ ว ยผู ้ ด ้ อ ย โอกาสไหว เราหวั ง ว่ า จะมี แ พทย์ รุ ่ น หลั ง มาทดแทน ไหม ? คือสิ่งที่ผมก�ำลังท�ำ ณ ปัจจุบันนี้คือพยามจะผลักดัน ให้เกิดการท�ำงานด้านส่งเสริมป้องกันให้ครอบคลุมให้เหมาะ

64 IS AM ARE www.ariyaplus.com


It’s not the hours you put in your work that counts, It’s the work you put in the hours. “ความส�ำคัญไม่ได้อยู่ที่เวลาซึ่งเราทุ่มเทให้กับงาน แต่อยู่ที่งานซึ่งเราทุ่มเทเวลาให้ต่างหาก” (Sam Ewing) ที่มา http://www.thaioutlook.com/ 65 issue 96 january 2016


66 IS AM ARE www.ariyaplus.com


67 issue 96 january 2016


68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


69 issue 96 january 2016


70 IS AM ARE www.ariyaplus.com


71 issue 96 january 2016


ปี ชวด

การงาน-ก้าวหน้า สิ่งต่างๆด้านการงานจะเป็นไปอย่างยอดเยี่ยม คุณอาจได้พบกันกับโอกาสครั้งส�ำคัญที่จะได้ ก้าวหน้าในด้านอาชีพ แม้ว่าอาจมีอะไรมากมายต้องท�ำให้เสร็จ แต่คุณก็จะท�ำได้หากคุณตั้งใจ คุณจะเข้ากับผู้อื่น ได้ดีจึงควรใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านนี้ให้คุ้มค่า เพราะอาจช่วยให้คุณก้าวหน้าได้ แม้ว่าความสามารถ ที่แท้จริงของคุณก็ส�ำคัญมากเช่นกันต่อความส�ำเร็จ ธุรกิจ-กล้าเสี่ยง โชคด้านการเงินดีมากในเดือนนี้ คุณจึงเสี่ยงลงทุนได้และเมื่อตั้งใจท�ำแล้วก็อย่าได้เสียด้าย แม้ว่าคุณอาจไม่เห็นผลลัพธ์ ในทันที แต่มันจะมาถึงไม่นานเกินรอ อย่าใจร้อนจนเกินไป ควรริเริ่มผลิตภัณฑ์แปลกใหม่และการท�ำธุรกิจก็ควรใช้ความคิดสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆ เริ่มเดินหน้าเต็มก�ำลัง โอกาสใหม่ๆก็ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านเข้าสู่เดือนนี้ไปเรื่อยๆ ความรัก-โรแมนติก นี่คือช่วงเวลาแห่งความสุขส�ำหรับคนปีชวดที่มีความรัก คุณอยู่ในช่วงอารมณ์ที่พร้อมจะให้ และคนที่คุณตั้งใจมอบ รักให้ก็ตอบสนองความรู้สึกของคุณ นั่นยิ่งท�ำให้ความพยายามของคุณคุ้มค่า ช่างเป็นเดือนที่โรแมนติกจริงๆ คนที่เพิ่งเริ่มความสัมพันธ์ ใหม่จะได้ร่วมค้นพบสิ่งมหัศจรรย์มากมายด้วยกันเดือนนี้จึงดีเยี่ยมส�ำหรับการสานสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ปี ฉลู

การงาน – เปลี่ยนแปลงทางบวก นี่คือเวลาแห่งความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่ส�ำหรับคนปีฉลู ข่าวดีก�ำลังเข้ามาหาคุณ และ คุณก็เปี่ยมด้วยความรู้สึกพอใจอย่างลึกล�้ำ ให้โอกาสตัวเองได้เพลิดเพลินกับชัยชนะ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จดจ่อกับ สิ่งดีๆ และคุณจะพบว่าผลดีจะยิ่งทวีคูณ ธุรกิจ – ดีและอีกมากจะตามมา คุณได้ทุ่มเทความพยายามและพลังงานมากมายในสิ่งที่คุณก�ำลังท�ำอยู่และในเดือนนี้ ทั้งหมดนี้จะเริ่ม ส่งผลลัพธ์เป็นรูปเป็นร่าง ท�ำให้คุณมีความสุขอย่างแท้จริงพร้อมด้วยเหตุผลส�ำหรับการฉลอง ใช้เวลาดื่มด�่ำกับสิ่งที่คุณได้มา ให้รางวัล กับผู้ที่อยู่เคียงข้างคุณมาตลอด และควรให้อย่างใจกว้างด้วย ความรัก – มหัศจรรย์ คุณก�ำลังได้พบช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ เมื่อความใกล้ชิดระหว่างคุณกับคู่รักแนบแน่นมากขึ้น คนปีฉลูที่มีคนรัก แล้วจะได้พบว่าคุณและคู่รักพึ่งพาและรักกันมากยิ่งขึ้น คนปีฉลูที่มีคนรักแล้วจะได้พบว่าคุณและคู่รักพึ่งพาและรักกันมากยิ่งขึ้นอาจ ถึงขั้นแต่งงาน ความหลงใหลเพิ่มขึ้นและขยายไปเกินกว่าแค่ความต้องใจทางกาย การศึกษา-โชคด้านผู้ชี้น�ำ เด็กปีฉลูจะได้รับค�ำแนะน�ำที่ดี เมื่อผู้ชี้น�ำของคุณเป็นใครบางคนที่ห่วงใยคุณ พวกเขาจะหวังดีต่อคุณ ให้รับ ฟังค�ำแนะน�ำจากบุคคลเช่นนี้อย่างตั้งใจ คุณจะได้รับผลดีมากมายจากการตักตวงภูมิปัญญาของผู้ชี้น�ำในเดือนนี้

ปี ขาล

การงาน-ส�ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ คนปีขาลที่ท�ำงานจะได้รับข่าวดีหลายต่อหลายอย่าง คุณมีโชคแห่งสวรรค์และยังได้รับ การสนับสนุนจากผู้มีอ�ำนาจ การมีบุคคลที่เป็นผู้ชี้น�ำคอยหนุนหลังจะเป็นผลดีต่อคุณอย่างมาก ใส่ใจให้มากขึ้นเมื่อ ท�ำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้านาย ตอนนี้เป็นเวลาที่การทุ่มเทให้มากขึ้นกับงานจะท�ำให้คุณก้าวหน้าไกล คุณมีโชคด้านการเลื่อนขั้นรออยู่ ธุรกิจ – เป็นแรงบันดาลใจ สิ่งส�ำคัญในเดือนนี้คือผู้คนและการมีปฏิสัมพันธ์ต่อพวกเรา ความส�ำเร็จด้านธุรกิจมาจากการที่คุณสร้าง แรงบันดาลใจให้คนที่ท�ำงานให้คุณได้มากน้อยแค่ไหนและคุณสามารถเข้ากับลูกค้าและผู้ร่วมงานได้ดีแค่ไหน ความรัก– มีความสุข ตอนนี้เป็นเวลาที่แสนวิเศษส�ำหรับคนปีขาลที่มีรัก! คุณจะพบว่าตัวเองถูกดึงดูดเข้าหาใครบางคน ซึ่งอาจเป็น คนที่คุณไม่เคยคิดว่าจะเป็นแบบที่คุณคบหาด้วย แต่ในเดือนนี้ความรักจะพัฒนาขึ้นทั้งในระดับร่างกายแล้วสติปัญญา รวมทั้งอารมณ์ ส่วนลึก หากคุณรู้สึกว่าคุณผูกพันกับใครบางคนในลักษณะเช่นนี้ การศึกษา – โชคด้านผู้ชี้น�ำ คนปีขาลที่เรียนอยู่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยจะได้รับผลดีอย่างยิ่งหากใส่ค�ำแนะน�ำของผู้ที่สูงวัยหรือ ฉลาดกว่า คุณก�ำลังรู้สึกมั่นใจอย่างที่สุด แต่ควรถ่วงความมั่นใจนี้ไว้ด้วยความนอบน้อม รับความช่วยเหลือที่หยิบยื่นมาให้ด้วยความยินดี 72 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน-เปรียบในการแข่งขัน ในด้านการงานคุณมีโชคดีเยี่ยม และอาจแสดงออกมาเป็นการเลื่อนต�ำแหน่ง คน ปีเถาะที่ต้องการเบียดผู้อื่นเพื่อแย่งต�ำแหน่งจะสามารถท�ำได้หากมุ่งมั่นไว้ให้ได้ตลอด อย่ากลัวความท้าทาย แต่จ�ำ ว่าคุณชนะได้โดยไม่ต้องใช้ลูกไม้สกปรกยิ่งคุณซื่อตรงมากเพียงใด โอกาสของคุณก็ยิ่งดีขึ้น ธุรกิจ-ต้องกล้า เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าคุณปรารถนาจะท�ำสิ่งใดคุณจะพบกับความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่ จึงต้องกล้าเดิน หน้าแม้ว่าอาจต้องเสี่ยงบ้าง จงเชื่อสัญชาตญาณและวิจารณญาณของคุณเมื่อต้องตัดสินใจเรื่องส�ำคัญ คุณก�ำลังโชคดี จึงไม่จ�ำเป็นต้อง ปรึกษาใครให้มากมายใช้ประโยชน์จากสัญญาอันยอดเยี่ยมในผังดวงชะตาของคุณยิ่งคุณมีส่วนร่วมมากเพียงใด พลังที่ดีของคุณก็ยิ่งมี โอกาสแสดงความวิเศษหากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่ท�ำอยู่ในปัจจุบันตอนนี้คือเวลาที่จะเปลี่ยน ความรัก-แสนสุข เวลาที่ดีเยี่ยมส�ำหรับคนปีเถาะที่จะสานสัมพันธ์กับคู่รักให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นการคบหาดูใจจะสนุกมากเป็นพิเศษ แต่คน ปีเถาะบางคนอาจรู้สึกอยากมีครอบครัว ตอนนี้เป็นเวลามงคลส�ำหรับการวางแผนแต่งงานหรือหมั้นหมาย หรือแม้รื้อฟื้นค�ำสัญญาใน ชีวิตคู่ คนปีเถาะที่แต่งงานแล้วมักอยากได้พื้นที่เพื่อท�ำสิ่งที่ตนสนใจ แต่ในเดือนนี้คุณมีแนวโน้มจะนึกถึงครอบครัวมากกว่า การศึกษา-โชคดีในการแข่งขัน คุณมีโชคด้านการแข่งขันอยู่ในมือ ดังนั้นหากคุณก�ำลังท�ำสิ่งใดที่จ�ำเป็นต้องได้อันดับต้นๆ ในการแข่งขัน คุณก็จะมีโชค เป็นเวลาที่ไม่ควรใช้สูญเปล่าเมื่อคุณเริ่มต้นแล้ว ก็จงไขว่คว้าสิ่งที่ต้องการและทุ่มเทท�ำให้ถึงที่สุด

ปี มะโรง

การงาน-แบ่งเวลาให้ดี คุณไม่ได้อยู่ในช่วงที่ร่างกายแข็งแรงที่สุดและยังมีแนวโน้มจะท�ำให้ตัวเองเครียดโดยไม่จ�ำเป็น ด้วยการกดดันตัวเองมากเกินไป คุณต้องรู้จักก�ำลังของตัวเองและหาทางท�ำสิ่งต่างๆ ในขอบเขตนั้น ไม่มีใครคาดหวัง ว่าคุณต้องเป็นยอดมนุษย์ และการคิดเช่นนั้นก็จะยิ่งท�ำให้คุณท�ำงานได้น้อยลง ธุรกิจ-ผลักดันทีม โชคของคุณไม่โดดเด่นนักในเดือนนี้ จึงไม่ใช่เวลาดีที่จะเริ่มโครงการหรือท�ำสิ่งใหม่ๆ เก็บแผนการส�ำคัญไว้ในเดือน หน้าเมื่อคุณมีดาวแห่งชัยชนะ ตอนนี้ระวังสุขภาพของคุณแล้วอย่าหักโหมมากเกินไปคนปีมะโรงที่ประสบความส�ำเร็จมากที่สุดในเดือน นี้คือคนที่ใช้ประโยชน์จากทีมงานของตนได้มากที่สุด การน�ำทีมอย่างฉลาดจะช่วยให้คุณได้รับผลลัพธ์ ความรัก-ยั่งยืน เดือนนี้เป็นเดือนที่ดีส�ำหรับคนที่มีความรัก ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีเยี่ยมส�ำหรับการเติมไฟรักให้กันและกัน คุณจะพบว่า ตัวเองสนใจความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน เดือนนี้เป็นมงคลส�ำหรับการแต่งงานหรือพัฒนาความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การศึกษา-หาความพอดี เด็กปีมะโรงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ต้องหาความพอดีระหว่างการเรียนและการเล่นสนุก ควรพักให้ร่างกาย ได้พักฟื้นอย่างเหมาะสมมิฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะขยันเรียนแค่ไหนหรือทุ่มเทเวลามากเพียงใดแต่ผลลัพธ์ก็ไม่ดีพอที่จะท�ำให้คุณพอใจ

ปี มะเส็ง

การงาน-ตามน�้ำ การท�ำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ และคุณจะสามารถควบคุมเรื่องของคุณแล่นผ่านเดือนนี้ไปได้ดี ระดับหนึ่ง ไม่จ�ำเป็นต้องพยายามมาเกินไปที่จะสร้างความประทับใจ ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่โอ้อวดหรือผลักดันตัวเองให้ เป็นที่สังเกต คุณควรตั้งใจมากขึ้นที่จะท�ำงานให้ได้ผลดี แทนที่จะเอาแต่ท�ำให้ทันก�ำหนด ธุรกิจ-ตั้งเป้าหมายที่ท�ำได้จริง โชคด้านความมั่งคั่งดี แต่คุณอาจไม่มีเรี่ยวแรง มีอะไรมากมายที่ต้องท�ำให้เสร็จ อย่าลังเลที่จะมอบอ�ำนาจ ให้คนอื่นบ้าง ยิ่งคุณไว้ใจผู้อื่นมากเพียงใด คุณก็จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเท่านั้น จงสร้างทีมที่แข็งแกร่ง แทนที่จะควบคุมทุกอย่าง คนเดียว ใช้สามัญส�ำนึกเพื่อพาตัวเองไปสู่จุดหมายที่คุณต้องการ แต่ต้องนึกถึงความเป็นไปได้ที่จะท�ำจริงด้วย ความรัก-มองบวกไว้ ความสัมพันธ์ของคุณจะราบรื่นดี ตราบใดที่คุณมองโลกในแง่ดีไว้ตลอดสิ่งที่หายไปคือความหงุดหงิดในเดือนก่อน ตอนนี้คุณเริ่มมีความสุขความพอใจธรรมดาจากความรักอีกครั้ง คุณไม่เจ้ากี้เจ้าการอีกต่อไปคนปีมะเส็งที่ยังโสดจะมีโอกาสดีที่จะได้พบ ใครบางคนที่เข้ากับคุณได้อย่างแท้จริงในเดือนนี้ ความปรารถนาของคุณเกี่ยวข้องกับด้านปัญญาและอารมณ์ มากกว่าเสน่ห์ทางกาย การศึกษา-ความพอดี พยายามหาความพอดีในชีวิต ใช้เวลาเรียนมากเกินไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพแต่เล่นตลอดเวลาก็ไม่ไหวเหมือนกัน ลอง ท�ำกิจกรรมอื่นๆ นอกจากเรียนบ้าง การออกก�ำลังกายทุกวันจะช่วยให้คุณมีสมาธิดีขึ้น 73 issue 96 january 2016


ปี มะเมีย

การงาน-ท�ำงานคนเดียวดีกว่า ในที่ท�ำงานจะมีความเป็นศัตรูกันมากขึ้น สาเหตุหลักก็เพราะการปรากฏขึ้นของดาว แห่งความรุนแรงเป็นสองเท่าตอนนี้อาจเป็นเวลาที่คุณควรท�ำงานคนเดียว แทนที่จะเข้าร่วมการพูดคุยอภิปรายหรือ ท�ำกิจกรรมร่วมกันมากเกินไป หากท�ำงานใกล้ชิดเกินไปไม่ว่ากับใครก็ตามจะท�ำให้คุณทั้งหงุดหงิดและยังมีภัยจากความใกล้ชิดที่มากเกิน ธุรกิจ-ใจเย็น เมื่อปีมะแมก�ำลังจะสิ้นสุดลงและเริ่มเข้าสู่ปีวอก คุณควรค่อยเป็นค่อยไปกับเรื่องต่างๆ ไว้จะเป็นการฉลาดกว่า ชะลอ การลงทุนที่ส�ำคัญไว้ก่อนตอนนี้เป็นเวลาที่ให้ผลดีกับการวางรากฐานและแผนส�ำหรับปีที่จะมาถึง แต่อาจไม่ใช่เวลาดีที่จะลงมือท�ำสิ่ง ใด คุณควรเสริมสร้างและเตรียมพร้อมจะดีกว่า ความรัก-ข่าวลือ การซุบซิบนินทาอาจสั่นคลอนความสัมพันธ์ของคุณในเดือนนี้ สิ่งต่างๆอาจราบรื่นดีมาตลอด แต่ทุกอย่างกลับเปลี่ยน ไปในทันที ระวังข่าวลือที่เกี่ยวกับตัวคุณเพื่อนบางคนอาจทรยศคุณในเรื่องความสัมพันธ์แม้ว่าคุณจะไม่ได้คิดอะไร แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ เพื่อนสนิทกับคนที่คุณรักใกล้ชิดกันเกินไป การศึกษา-ใจกว้างไว้ เด็กปีมะเมียก็ไม่อาจหลีกพ้นจากผมกระทบของเดือนนี้ คุณอาจเจอเพื่อนทรยศ แต่อย่าเก็บมาคิดแค้นเคือง หาก คุณเป็นเพื่อนแท้กันจริงๆควรยกโทษให้อีกฝ่าย คงน่าอายที่ต้องเสียมิตรภาพไปเพียงเพราะการคิดตัดสินใจผิดเพียงชั่วขณะ

ปี มะแม

การงาน-วิ่งวุ่นรับผิดชอบ สิ่งต่างๆในด้านการงานจะเริ่มยุ่งวุ่นวาย คนปีมะแมบางคนอาจถูกคาดหวังให้ต้องท�ำงาน หลายอย่างและรับผิดชอบหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกัน แต่คุณก็รับมือได้หากวางแผนให้ดี แบ่งงานของคุณออกเป็นชิ้น เล็กๆขนาดที่รับมือได้ จากนั้นค่อยๆ แบ่งเวลาให้กับแต่ละส่วนหากท�ำทุกอย่างพร้อมกันหมด คุณอาจรู้สึกลนลาน ธุรกิจ-สภาพพร้อม คุณจะรู้สึกอยู่ในสภาพที่พร้อมสมบูรณ์ เมื่อมีแรงบัลดาลใจใหม่ๆมากมายคอยผลักดันคุณไปข้างหน้า เดือนนี้คุณ จะไม่พอใจอยู่แค่ให้สิ่งต่างๆเดินหน้าไป ดาวธาตุไฟหมายเลข 9 สองดวงเสริมแรงให้กับธาตุก�ำเนิดของคุณ ท�ำให้คุณมีฐานะก�ำลังที่จะ รับผิดชอบมากขึ้น ขอแนะน�ำให้คุณเดินหน้าต่อไป เพราะคุณใกล้ความส�ำเร็จแล้ว คุณมั่นใจกับการลงทุนและขยายธุรกิจ ความรัก-ไฟรักหวนคืน ชีวิตรักของคุณร้อนแรงขึ้น หากคุณตกหลุมรักใครบางคน ความรู้สึกผูกพันของคุณก็ไม่ใช่แค่ผิวเผิน คุณจะพบ ว่าคุณพร้อมจะมอบใจให้คนที่สามารถให้ทั้งหมดแก่คุณได้ ทั้งความใส่ใจ ความเร่าร้อน ความรัก และอนาคตร่วมกัน การศึกษา-ความส�ำเร็จในด้านการเรียน การเรียนจะประสบความส�ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ตอนนี้เป็นเวลาที่คุณจะท�ำส�ำเร็จได้อย่างแท้จริง หากคุณตั้งใจ การเรียนจะเป็นเรื่องง่ายส�ำหรับนักเรียนปีมะแมในเดือนนี้ อย่าเปลือกเวลาในช่วงที่มากด้วยพลังเช่นนี้ด้วยการท�ำตัวตาม สบายเกินไป คุณสามารถท�ำอะไรได้มากมาย และยิ่งจิตใจของคุณถูกท้าทายมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งท�ำทุกอย่างได้ดียิ่งขึ้น

ปี วอก

การงาน-ยุ่งตัวเป็นเกลียว มีอะไรมากมายเกิดขึ้นในที่ท�ำงาน และเพราะคุณก�ำลังเต็มใจที่จะรับงานมากขึ้น คุณจึงได้ รับมอบหมายมากขึ้น แม้ว่าสิ่งต่างๆ อาจไม่เป็นไปตามสามัญส�ำนึก เพราะยิ่งท�ำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ตัวคุณเองก็ มีงานล้นมืออยู่แล้ว น่าจะท�ำให้คุณท�ำผิดพลาด ท�ำงานไม่เสร็จและเครียด แต่คุณก็รับมือทุกอย่างไหว และยังจัดการได้อย่างดีเสียด้วย ธุรกิจ-เล็งเป้าใหญ่ ด้านที่ดุเดือดของคุณจะปรากฏออกมา ท�ำให้คุณกล้าที่จะเสี่ยงมากกว่าปกติ คุณเต็มใจที่จะเสี่ยงเข้าไปสู่สิ่งที่ไม่รู้จัก และยังมีแรงบันดาลใจใหม่เหลือเฟือคอยผลักดันคุณไปข้างหน้า ความส�ำเร็จอยู่ใกล้แค่เอื้อมแค่กล้าขึ้นอีกสักนิด แล้วคุณก็จะเดินหน้า ไปตามแผนของคุณคุณมีโชคดีอยู่เคียงข้าง จึงไม่ควรปล่อยให้ความสงสัยมาบดบังและเหนี่ยวรั้งคุณไม่ให้ไปสู่เป้าหมายใหญ่ ความรัก-เร่าร้อน เดือนที่เร่าร้อนในเรื่องความรัก คุณจะไม่ขาดความรักความใกล้ชิดเลยหากนี่คือสิ่งที่คุณต้องการ ส�ำหรับคนปีวอกที่ ก�ำลังโสด คุณจะได้พบรักใหม่อย่างรวดเร็ว พยายามอยู่ในวงล้อมเพื่อนฝูงที่ช่วยคุณในด้านนี้ได้เดือนนี้เป็นเวลาที่การเข้าสังคมจะช่วย เปิดทางให้คุณ คนที่แต่งงานแล้วก็สามารถจุดไฟรักระหว่างกันขึ้นมาใหม่ได้จากการพยายามในด้านนี้เป็นพิเศษ การศึกษา เด็กปีวอกที่เรียนอยู่จะท�ำทุกอย่างได้ดีไปหมด คุณจะประสบความส�ำเร็จอย่างง่ายดาย เพราะความมั่นใจที่สูงขึ้น ตราบใด ที่คุณตั่งใจ ความส�ำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อม ขอให้สนุกกับเดือนนี้ 74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน-เดิมพันสูงขึ้น การไปท�ำงานอาจให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้าดงอสรพิษทุกเช้าคุณไม่รู้ว่าใครที่อยู่ฝ่ายเดียว กับคุณ แต่ภายนอกทุกคนอาจดูเป็นมิตรกันดี ตอนนี้เป็นเวลาที่เดิมพันสูงขึ้น เมื่อต่างต้องแข่งขันแย่งชิงต�ำแหน่ง เมื่อมีการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อความซื่อสัตย์อาจเปลี่ยนไปเมื่อมิตรกลายเป็นศัตรู แต่ใช่ว่าคนปีระกา ทุกคนจะท�ำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ ธุรกิจ-ยิ่งเสี่ยงสูง รางวัลยิ่งมาก เวลาที่อันตรายรอคนปีระกาที่ท�ำธุรกิจอยู่เบื้องหน้าแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่ดีสูง แต่ก็อาจมีเวลาที่คุณ ต้องทนกับความเครียดสูงมากจนเหมือนทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นความเสี่ยงและผลตอบแทนจะสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกัน คนปีระกาบางคนตั้งเป้าไว้สูงเกินไป แต่จงกล้าหาญไว้ เพราะคุณมีทั้งโชคดีและโชคร้าย สวมจี้อาชาลมไว้ ความรัก-ก�ำลังใจ คนปีระกาที่แต่งงานแล้วหรือมีคนรักแล้วจะพบว่าคุณซาบซึ้งว่าอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเป็นที่พักพิงให้คุณในยามที่คุณต้องการ ก�ำลังใจ สิ่งต่างๆไม่ได้ราบรื่นไปเสียทั้งหมด แต่อุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่เกี่ยวกับเรื่องหัวใจ คุณจึงอยู่ในสถานะที่ดีในเรื่องความ รัก ซึ่งก็เป็นเรื่องดีเพราะในเดือนนี้นั่นคือสิ่งที่คุณต้องการ ตอนนี้ยังเป็นเวลาที่ดีส�ำหรับคนที่อยู่ในขั้นทดสอบคบหา

ปี จอ

การงาน-ท�ำผลงานได้ดี ที่ท�ำงานจะกลายเป็นสนามเด็กเล่นส�ำหรับคนปีจอ คุณจะมั่นใจและเปี่ยมด้วยพลัง และยิ่ง คุณมีงานท�ำมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีความสุขคุณเข้ากับผู้อื่นได้ดี คุณมีความคิดดีๆคอยแบ่งปัน พันธมิตรที่คุณสานสร้าง มาในอดีตจะให้ผลดี คุณจะเข้าตาเจ้านาย คุณมีความคิดดีๆอยู่มากมายและโชคด้านการเลื่อนขั้นก็อยู่ไม่ไกล ธุรกิจ-ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ความส�ำเร็จในเดือนนี้มาจากมนุษย์สัมพันธ์ท่ีดีเยี่ยมของคุณ ธาตุในตอนนี้เข้ากันได้ลงตัวเหมือนภาพ ปริศนาและน�ำความเป็นไปได้ใหม่ๆ และศักยภาพที่ดีเยี่ยมในอนาคตมาให้จะมีโครงการที่น่าตื่นเต้นอย่างที่สุดให้คุณได้คว้าและแม้ว่า รางวัลอาจยังมาไม่ถึงในทันที แต่คุณก็มีแผนการชัดเจน ความรัก-ส�ำคัญเหนือทุกสิ่ง คนปีจอที่ยังโสดอาจพบว่าความรักและความสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุด อาจมีใครบางคนที่คุณ หมายตาไว้แล้วและแม้ว่าจะยังไม่มีก็อาจมีใครเข้ามาท�ำให้คุณตกหลุมรักได้ ขอให้สนุกกับเวลานี้ปล่อยตัวให้เพลินกับความรักและ อารมณ์คนที่มีคนรักแล้วจะได้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นอีก กาศึกษา-ดีเยี่ยม ดาวในเดือนนี้ยังส่งผลดีเป็นพิเศษต่อเด็กปีจอดาวหมายเลข 4 สองชั้นน�ำโชคที่ดีเยี่ยมในด้านการเรียนและการค้นคว้า คนที่ก�ำลังหาความรู้เพิ่มเติมจะตั้งสมาธิได้ง่าย และยังได้ค้นพบสิ่งที่ช่วยให้กระบวนการทั้งหมดง่ายดายสนุกยิ่งขึ้น

ปี กุน

การงาน-ความคิดดีๆมากมาย คุณจะมั่นใจและเปี่ยมด้วยพลัง และยิ่งคุณมีงานท�ำมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งความสุข คุณ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และยังเป็นสมาชิกที่ดีเยี่ยมของทีม คุณมีความคิดดีๆ คอยแบ่งปัน พันธมิตรที่คุณรวบรวมมาตลอด ปีนี้จะส่งผลดีต่อคุณ คุณจะเข้าตาเจ้านาย และโชคด้านการเลื่อนขั้นก็อยู่ไม่ไกล ธุรกิจ-มนุษย์สัมพันธ์ ความส�ำเร็จมากมายในเดือนนี้มาจากมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมของคุณความสัมพันธ์ที่คุณทุ่มเทเวลาหล่อเลี้ยงมา ตลอดปีจะกลายเป็นสิ่งมีค่ายิ่งในตอนนี้ เมื่อองค์ประกอบต่างๆลงตัวและน�ำความเป็นไปได้ใหม่ๆและโอกาสที่ดีเยี่ยมส�ำหรับอนาคตมา ให้ จะมีโครงการที่น่าตื่นเต้นอย่างที่สุดให้คุณท�ำ และแม้ว่ารางวัลอาจยังมาไม่ถึงในทันที แต่คุณก็จะมีแผนการชัดเจนไว้ส�ำหรับอนาคต ความรัก-ร้อนแรง โชคด้านความรักมีมากมายส�ำหรับคนปีกุน โชครักดอกท้อสองชั้น ท�ำให้คุณมีอารมณ์ที่จะรัก และจะมีคนเข้ามา ชอบพอคุณไม่ขาดหากคุณโปรยเสน่ห์ ขอให้สนุกกับเวลานี้ แต่ยังไม่ต้องรีบร้อนตกลงปลงใจกับใคร คนที่มีคนรักแล้ว ก็จะได้ใกล้ชิดกัน มากยิ่งขึ้นกับคู่ของคุณ คุณอาจไม่ได้ใกล้ชิดผูกพันกับใครขนาดนี้มาสักระยะใหญ่แล้วไม่จ�ำเป็นต้องระวังตัวในเรื่องความรัก การศึกษา-เหลือเชื่อ ดวงดาวน�ำโชคมาให้แก่ผู้ที่ก�ำลังศึกษาเล่าเรียนและผู้ที่ท�ำงานทุกอย่างเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย นี่คือโอกาสซึ่งคุณ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ คนปีกุนที่ก�ำลังจะสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษา รางวัล หรืออะไรก็ตามในลักษณะนี้ก็จะท�ำได้ดีมาก 75 issue 96 january 2016


76 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เด็กเร่ร่อน

เรื่องโดย กรวิก อุนะพ�ำนัก

ผลผลิตจาก ความเหน็บหนาวและหิวโซ บั ง เอิ ญ เจออดี ต เด็ ก เร่ ร ่ อ นชื่ อ เจที่ ก ระทรวงพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คง ของมนุ ษ ย์ เขาท� ำ งานเจ้ า หน้ า ที่ อั ต ราจ้ า งที่ นั่ น ชั้ น เดี ย วกั บ รั ฐ มนตรี ดู แ ลเรื่ อ ง เอกสารและประสานงานต่ า งๆ ตามแต่ เ จ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โ สกว่ า จะไหว้ ว าน พอเจออย่ า งนี้ ก็ ท� ำ ให้ นึ ก ถึ ง เด็ ก เร่ ร ่ อ นชื่ อ วิ ที่ เ คยเขี ย นถึ ง ใน “ครู เ ซฟ อรุ ณ ถนอมธรรม 14 ปี บนเส้ น ทางครู ข ้ า งถนน” ฉบั บ เดื อ นสิ ง หาคม วิ เ ป็ น เด็ ก น่ า สงสาร เธอตายด้ ว ยเอดส์ ไม่ ติ ด จากคนก็ เ ข็ ม แต่ ไ ม่ แ ปลก แม้ แ ต่ ถุ ง ยางที่ ว ่ า แจกฟรี วิ ไ ม่ เ คยเข้ า ถึ ง เธอไม่ ไ ด้ รู ้ สึ ก ถึ ง แรงสั่ น สะเทื อ นของเศรษฐกิ จ ในประเทศ ก� ำ ลั ง ตกต�่ ำ ค่ า จี ดี พี ห รื อ เข้ า สู ่ ป ระชาคมอาเซี ย นแต่ อ ย่ า งใด อั น ที่ จ ริ ง วิ มี เ พื่ อ น ในแถบอาเซี ย นหลายคน แต่ มั น ไม่ ไ ด้ เ กี่ ย วกั บ ยุ ค สมั ย ของผู ้ ค นที่ เ ดิ น ผ่ า นกาย เธอไป วิ อ ยู ่ กั บ วั น นี้ เดี๋ ย วนี้ บนโลกปั จ จุ บั น ขณะก� ำ ลั ง หมุ น

77 issue 96 january 2016


แต่ ค นเร่ ร ่ อ นอย่ า งวิ นั้ น ต่ า งไป เมื่อประมาณสามสิบปีที่แล้ว ครั้งแรกที่ พบครูเซฟ วิขยับหนีไปตามซอกประจ�ำ ของเธอและหายไปในความมืด เธอมักจะ เดินป้วนเปี้ยนอยู่หลังร้านเช่าขายอาหาร ในสถานีหัวล�ำโพง เดินไล่มันไปทีละร้าน ซอกที่เดินเป็นรางน�้ำเล็กๆ มีเศษอาหาร ปนเปกั น ไปหมด วิ ไ ม่ ไ ด้ ต ้ อ งการความ ช่วยเหลือจากใครหากไม่จ�ำเป็น เธอเคย เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์แล้วแต่ทว่า ก็อยู่ไม่ได้ เธอปรารถนาที่จะมีชีวิตเร่ร่อน แม้จะอดอยากและป่วยไข้อย่างไรก็ตาม เธอไม่ไว้ใจคนแปลกหน้าง่ายๆ นั่นอาจ เป็นเพราะความรู้สึกส่วนตัวก่อนที่เธอ จะหนี อ อกจากบ้ า นโดยอาศั ย รถไฟชั้ น สามเรื่อยมา จนถึงหัวล�ำโพง คงยากที่เด็ก เร่ร่อนจะไว้ใจและยอมรับความช่วยเหลือ จากใครง่ายๆ เพราะแม้แต่คนที่บ้านเอง ยังท�ำร้ายลูกหลานได้ในแบบต่างๆ บีบ ให้พวกเขาต้องหนีออกจากบ้าน ซึ่งไม่มี เมื่อพูดถึงอาเซียนที่ก�ำลังจะมาถึง ในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ก็มีแนวโน้มว่าคน เร่ร่อนในกรุงเทพมหานครอาจจะเพิ่มขึ้น จากเดิมอีก เพราะจากตัวเลขคนเร่ร่อน ในกรุ ง เทพมหานครที่ ส� ำ รวจโดยมู ล นิ ธิ อิสรชนซึ่งเป็นมูลนิธิที่ช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิต ในที่สาธารณะหรือคนเร่ร่อน พบว่า ปี 2555 มี ค นเร่ ร ่ อ นในกรุ ง เทพมหานคร 2,856 คน จนถึงปัจจุบันปี 2558 จ�ำนวน คนเร่ร่อนในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นถึง 3,249 คน โดยแบ่งเป็นชาย 2,003 คน และหญิง 1,246 คน ส�ำหรับเขตที่พบคน เร่ร่อนมากที่สุดคือเขตพระนคร 559 คน หรือ 17% รองลงมาคือเขตบางซื่อ 281 คนหรือ 9% และเขตจตุจักร 230 คนหรือ 7% ตามล�ำดับ ทั้งนี้ยังไม่ได้นับรวมคน ขอทานซึ่งอยู่นอกเหนือจากการส�ำรวจ ส�ำหรับเจ เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เขา ยอมรับว่าปั่นจักรยานออกจากบ้านตั้งแต่

เราต่ า งรอท� ำ หน้ า ที่ ข องแต่ ล ะคนให้ ลุ ล ่ ว งไป พ่ อ บ้ า นที่ เ จพู ด ถึ ง คื อ ผู ้ ค วบคุ ม ดู แ ลเด็ ก เร่ ร ่ อ นจ� ำ นวนหนึ่ ง ภายในสถานสงเคราะห์ เจมอง ว่ า เขาควรรู ้ ปู ม หลั ง แตกต่ า งกั น ของเด็ ก แต่ ล ะคน ถ้ า เจปั ่ น จั ก รยาน ออกจากบ้ า นเพราะถู ก ตี เขาย่ อ มปี น หนี พ ่ อ บ้ า นและสถานสงเคราะห์ ไปเร่ ร ่ อ น เด็กๆ เพราะถูกตีเป็นประจ�ำ ผมจับความ รู้สึกวินาทีขณะปั่นห่างบ้านมาเรื่อยๆ นั้น ไม่ได้ แม้ว่าเขาพยายามอธิบายแล้ว คือ เด็กเก้าขวบรู้สึกคนเดียวว่าตัวเองอยู่บ้าน ไม่ได้แล้ว จึงออกจากบ้านเงียบๆ กลัวถูก ตี ถูกระบายจากคนในครอบครัว “ที่ แรกที่ ห นู น อนคื อ นวมิ น ทร์ นานกว่ า จะมาแถวลาดพร้ า วพั ก นึ ง แล้วเพื่อนชวนไปอยู่รังสิต พวกครูดาว ครูไก่ ครูเซฟนั่นแหละพาหนูไปสถาน สงเคราะห์ แต่หนูปีนหนี หนูอยู่ไม่ได้ พ่อบ้านตีหนูหนักมาก” 78 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ใครอยากหนีออกมาล�ำบากแน่นอนหาก ไม่เหลืออดจริงๆ ผมนั่ ง ถอดบทเรี ย นชี วิ ต กั บ เจ ครู่ใหญ่ เราต่างรอท�ำหน้าที่ของแต่ละ คนให้ ลุ ล ่ ว งไป พ่ อ บ้ า นที่ เจพู ด ถึ ง คื อ ผู ้ ค วบคุ ม ดู แ ลเด็ ก เร่ ร ่ อ นจ� ำ นวนหนึ่ ง ภายในสถานสงเคราะห์ เจมองว่ า เขา ควรรู้ปูมหลังแตกต่างกันของเด็กแต่ละ คน ถ้าเจปั่นจักรยานออกจากบ้านเพราะ ถูกตี เขาย่อมปีนหนีพ่อบ้านและสถาน สงเคราะห์ไปเร่ร่อน ความละเอียดอ่อน ตรงนี้ ดู เ หมื อ นเป็ น เรื่ อ งจุ ก จิ ก แต่ ส ่ ง ผล ระยะยาว


วิก็หนีคนแปลกหน้าอย่างครูเซฟ เหมื อ นกั น แต่ นั่ น แหละ ครู เซฟเที ย ว ไปหาจนวิไว้ใจ เขาเอาขนม เอาของใช้ เล็ ก ๆ น้ อยๆ ไปให้ทุก ครั้ง เก็บ ข้อมูล วันละนิดละหน่อย เริ่มจากรู้จักชื่อ ถิ่น อาศัย และเพื่อนกลุ่มเดียวกัน คาดคะเน โรคจากสายตา สังเกตพฤติกรรมของผู้ติด ยาและอาการป่วย ก่อนประสานหน่วย งานให้เธอได้รับสิทธิประโยชน์จากความ เป็นคน เจเรียกเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่ง ว่ า แม่ หล่ อ นส่ ง เสี ย เด็ ก เร่ ร ่ อ นกลั บ ใจหลายคนให้ มี ง านสร้ า งชี วิ ต ด้ ว ยงบ ประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทจากงบประมาณทั้งหมด 2.57 ล้านล้านบาท ดูเหมือนเจจะภูมิใจที่ ชีวิตเดินมาได้ถึงวันนี้ และหนีจากเงาของ

ยาเสพและเอดส์มาได้ แต่ใช่ว่าเด็กเร่ร่อนทุกคนจะโชค ดีอย่างเจ เมื่อยี่สิบปีที่แล้วยาต้านเอดส์ ราคาสูงจนน่าใจหาย แม้เภสัชกรที่เก่ง ที่สุดของไทยจะผลิตได้เม็ดละหกบาท แต่ เมื่อถึงปากผู้ป่วยราคากลับสูงเกือบสี่ร้อย บาทโดยไม่ต้องถามเหตุผล ราคาของมัน แพงกว่ายาบ้า แน่นอนว่าไม่มีองค์กรใด จะสามารถพยุงค่ารักษาเยียวยาให้เด็ก เร่ร่อนไหว เพราะค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต่อ คนสูงมาก ยิ่งเด็กเร่ร่อนอย่างวิที่ติดโรค โดยไม่รู้ตัวด้วยแล้ว โอกาสที่จะกลับคืน สู่สังคมแทบไม่มีเลย วิระโหย วันหนึ่งเธอไม่หนีครูเซฟ แม้แต่ก้าวเดียว ร่างกายเธอต้องการยา ต้าน นอกจากครูข้างถนนแล้ว มีแต่นรก สวรรค์เท่านั้นที่รู้

79 issue 96 january 2016

“ท่านรัฐมนตรีพร้อมสัมภาษณ์ แล้วค่ะ” เจ้าหน้าที่เดินมาแจ้งหน้าห้อง เจเข้ามาจัดการต้อนรับผมเพื่อถ่วงเวลา ชั่วครู่เท่านั้น หมดหน้าที่แล้วเขาก็ไปท�ำ อย่างอื่นต่อ เจกับวิคือผลผลิตแห่งความ เหน็ บ หนาวและหิ ว โซเดี ย วกั น ต่ า งกั น เพียงการเข้าถึงสิทธิในความเป็นมนุษย์ และโอกาสที่ได้รับ เจอาจจะเป็นเพียง หนึ่งในร้อยที่สามารถกับคืนสู่สังคมด้วย อาชี พ สุ จ ริ ต ได้ แต่ ส ่ ว นใหญ่ แ ล้ ว ยั ง คง เวียนว่ายอยู่ในโชคชะตาเดียวกัน ซึ่งยัง รอคอยความช่วยเหลืออย่างจริงจังจาก ภาครัฐอยู่นั่นเอง อย่ า งไรก็ ต าม หากสั ง คมช่ ว ย กันดูแลเอาใจใส่บุตรหลานของตนอย่าง จริงจัง ประชาคมอาเซียนที่ก�ำลังจะมาถึง ในปีหน้า เราคงไม่เห็นจ�ำนวนคนเร่ร่อน เพิ่มมากขึ้นทุกปีๆ อย่างนี้


เทสโก้ โลตัส ปลูกป่ า 20,000 ต้น ฉลองชั ยเฟสแรก ลดใช้ถุงพลาสติกกว่า 28 ล้านใบ

นายจอห์น คริสตี้ ประธานกรรมการบริหาร เทส โก้ โลตัส ,นายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธานกรรมการ แผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน เทสโก้ โลตัส และ ผู้บริหารระดับสูง ร่วมกิจกรรมปลูกป่า 20,000 ต้นคืนสู่ ธรรมชาติ กับเยาวชนในโครงการ“เพาะกล้าน้อย ร้อยผืน ป่า ๑๒ สิงหามหามงคล” ตลอดจนลูกค้าและพนักงาน กว่า 700 คน โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน ณ สวนพฤกษศาสตร์พุแค จ.สระบุรี หลังจากลูกค้าที่ใช้บริการในเทสโก้ โลตัส ร่วมใจกันลดใช้ถุง พลาสติกตั้งแต่ต้นปี 2558 ถึงวันนี้ได้กว่า 28 ล้านใบแล้ว โดยเป้าหมายต่อไปคือ ลดถุงพลาสติกได้ 30 ล้านใบ และ เส้นชัยคือลดได้ 40 ล้านใบ!

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสงวนหญิง จัดโครงการอาสาปั นน�้ำใจสู่โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี จัดโครงการปันน�้ำใจเพื่อน้อง ณ โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน บ้านแม่น�้ำน้อย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดยได้น�ำสิ่งของเครื่องใช้ไปบริจาคและท�ำกิจกรรมร่วมกับน้องๆนักเรียนอย่างสนุกสนาน 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนอุ ตรดิตถ์ดรุ ณีจัดกิจกรรมประกวดสุนทรพจน์

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณีจัดกิจกรรมประกวดสุนทรพจน์ หัวข้อ “ความสุขของฉันบนความพอเพียง” กับ น้องๆนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีน้องๆสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดมากมาย

กลุ่มทรู โชว์ความน่ารักของ คอลเล็กชั่ นเสื้อผ้าเด็กแนวคิด TrueSmart Life ในงาน “Kids International Fashion Week 2015” นายธีรศักดิ์ อรุณเริ่มวัฒนะ ผู ้ อ� ำ นวยการกลุ ่ ม ด้ า นการสื่ อ สาร เพื่ อ สร้ า งแบรนด์ และบริ ห ารสื่ อ โฆษณา ในฐานะผู ้ ส นั บ สนุ น งาน “Kids International Fashion Week 2015” ร่ ว มชมการแสดง แบบคอลเล็กชั่นเสื้อผ้าเด็กในแนวคิด TrueSmart Life โดยนายแบบนาง แบบ ตัวน้อยทายาทของลูกค้าและ พนักงาน อาทิ น้องพร-ด.ญ.พรรพี เกษมศรี ณ อยุธยา, น้องเนี้ยบ-ด.ช. ปฤทานนท์ อิงคุทานนท์, น้องสาม-ด.ญ.ณิช สุทธิถวิล และน้องกร-ด.ญ.กรชนก อินทราราม ซึ่งได้ รับรอยยิ้มและเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างคับคั่ง ในงาน “Kids International Fashion Week 2015”

81 issue 96 january 2016


“การท�ำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความ พอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงท�ำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จ�ำเป็นต้องท�ำ เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งท�ำได้ง่าย จะเข้ามา แทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญา บัตรแก่ว่าที่ร้อยต�ำรวจตรี ที่ส�ำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียน นายร้อยต�ำรวจ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๒๘ ณอาคารใหม่สวนอัมพร วันจันทร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๙

82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


83 issue 96 january 2016


84 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.