Isamare jan60 web

Page 1

“ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม ก�ำลังกายที่สมบูรณ์”

จาก พระราชปรารภ

“May all readers be blessed with pure perseverance, IS sharp wisdom and complete physical health.” AM From the Preface ARE


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.fosef.org


ที่มา : หนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน 3 issue 108 JANUARY 2017


Editorial

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๐ จากปกฉบับนี้ต้องบอกว่า เป็นสิ่งเดียวที่เป็นก�ำลังใจให้หยัดยืนอยู่ได้ “ขอจงมี ค วามเพี ย รที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ปั ญ ญาที่ เ ฉี ย บแหลม ก� ำ ลั ง กายที่ ส มบู ร ณ์ ” “May all readers be blessed with pure perseverance, sharp wisdom and complete physical health.” เริ่มต้นอีกครั้งกับ พุทธศักราชใหม่ ความหวังและความตั้งใจมั่นที่จะท�ำหน้าที่ “ผู้ส่งสาสน์” สาสน์จากพระ ราชาที่ไม่มีวันเลือนหายไปจากความคิด เพราะศรัทธาที่แรงกล้า รับรู้ถึงแก่นของความหมาย และปรารถนาที่จะให้ “คนไทย” ทุกคนได้ “รู้” และ “เข้าใจ” จนสามารถน�ำไป “พัฒนา” ต่อยอดจากการด�ำเนินวิถีชีวิตเดิมๆ ให้จงได้ ถ้าเปรียบเทียบกับผลไม้ และเป็นผลไม้ที่ บก.ชอบมาก คือ มะม่วง และหากว่าได้ทานมะม่วงที่แสนหวาน และ มีกลิ่นหอม บก. ก็จะมานั่งคิดว่า ถ้าทานทั้งหมด มันก็หมด และกว่าที่จะได้ทานอีกที ก็คงต้องรออีกนาน หรือไม่ได้ ทานอีกเลยถ้าไม่ได้ผ่านไปยังหมู่บ้านนั้น หวนคิดถึงวิธีฟื้นฟูต้นมะม่วง ๙ วิธี ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพระมหาชนก ๙ วิธีนั้นจะท�ำให้มะม่วง อยู่ได้อีกนานและจะขยายผล เพื่อให้ผู้คนมากมายได้ลิ้มรสอีกด้วย ไม่ต่างกันเลยกับความสุขที่เรามีอยู่ทุกวันนี้ เพราะเราบอกทุกคนด้วยความชัดเจนว่าเราคือ “ครอบครัว พอเพียง” และเราก็อยากให้ “คนไทย” ทุกคนมีความสุขเหมือนเรา ความสุขที่ได้จากการท�ำให้ ผู้อื่น เกิดศรัทธาใน ความดี ของตนเอง ความดีที่ทุกคนมีมาตั้งแต่เกิด เมื่อทุกคนเกิดศรัทธาใน “ความดี” ของตนเอง คน คนนั้นก็จะมีความสุข รู้คุณค่าในตนเอง จะไม่ยอมให้ ตนเองต้องล�ำบาก หรือนั่งอยู่บนความทุกข์ อีกต่อไป การเรียนรู้จะเริ่มต้น และจะไม่มีค�ำว่า “ท�ำไม่ได้” ในชีวิตอีก ต่อไป ศรัทธาความดีในตนเองจะเป็นเครื่องน�ำพาให้ทุกคน พบความส�ำเร็จอย่างง่ายดาย และสิ่งที่มนุษย์เราต้องการ สูงสุดในชีวิตก็จะตามมา นั่นคือ “ความสุข” ความสุขที่มีความแตกต่าง ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับใครจะตั้งความสุข ไว้แค่ไหน อย่างไร ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน สมาชิกทุกคนพบกับความสุขที่ตนเองหวัง ทุกประการ.

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 108 JANUARY 2017


Hot Topic

28

“คาดเชื อก คาดใจ ร้อยสัมพันธ์” จากมือเล็กๆ สู่ความเข้มแข็ง ของชุ มชน

76

ชั ยพัฒนาแฟร์ ผลิตผลจากการพัฒนา น�ำทางอิสรภาพเกษตรกรไทย

12

โรงเรียนคือสถานที่บ่มเพาะความรู้และ สร้างผู ้เรียนให้เป็ นกุลบุ ตร กุลธิดาที่เต็ม เปี่ ยมไปด้วย “ความดี” โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) 2

Don’t miss

22

34 52 70 6 IS AM ARE www.fosef.org

42


Table Of Contents

พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อน ที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบ�ำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็น ภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝี พระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับทิศทางลม กับก�ำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาด คะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และโหราศาสตร์ไทย

7 issue 108 JANUARY 2017

ข่าวสารครอบครัวพอเพียง Cover Story โรงเรียนคือสถานที่บ่มเพาะความรู้และสร้างผู้ เรียนให้เป็นกุลบุตร กุลธิดาที่เต็มเปี่ยมไปด้วย “ความดี” โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) 2 พลังเยาวชน...พลังของแผ่นดิน บันทึกความดี เสียงจากประชาชน “คาดเชือก คาดใจ ร้อยสัมพันธ์” จากมือเล็กๆ สู่ความเข้มแข็งของชุมชน ภาพเล่าเรื่อง Let’s Talk ริ้วรอยสรรพสีสัน ต�ำนานชีวิตและสังคม ประเทือง เอมเจริญ กฎหมายน่ารู้ Is Am Are ต�ำบลนาอุดม จังหวัดมุกดาหาร มูลนิธิชัยพัฒนา ถนนมอเตอร์ไซค์...ถนนพระราชทาน ท่องเที่ยวตามศูนย์การพัฒนาตามพระราชด�ำริ สงขลา ฟาร์มตัวอย่าง ป่าโกงกางและทะเล บทความพิเศษ ชัยพัฒนาแฟร์ ผลิตผลจากการพัฒนา น�ำทางอิสรภาพเกษตรกรไทย Round About

8

12 22 27 28 34 42 52 54 64 70 76 82


ครอบครั ว พอเพี ย งรวมพลั ง ครู ดี ศ รี แ ผ่ น ดิ น มูลนิธิครอบครัวพอเพียง จัดกิจกรรม “รวมพลังครูดีศรีแผ่นดินสืบสานพระราชปณิธานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง” โดยมีครูเครือข่ายศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศกว่า 80 คนเข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสวันครู ปี 2560 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

8 IS AM ARE www.fosef.org


ข่ า วสารครอบครั ว พอเพี ย ง

9 issue 108 JANUARY 2017


สายใยรั ก ครอบครั ว พอเพี ย งรุ ่ น ที่ 3 เมื่อวันที่ 7 มกราคม ที่ผ่านมา มูลนิธิครอบครัวพอเพียง จัดกิจกรรม “สายใยรักครอบครัวพอเพียงรุ่นที่ 3” ณ โรงเรียน สตรีวัดระฆัง เพื่อสืบสานแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนและคนในครอบครัว ภายใต้ความร่วมมือของ พ.ต.อ.คมสัน แตงจุ้ย ผกก.สน.บางกอกน้อย, ร.ต.อ.ทวิท โพธิ์ขาว รอง สวป.สน.บางกอกน้อย, เยาวชนจิตอาสาจากโรงเรียนต่างๆ รวมถึง เจ้า หน้าที่ชุดมวลชนสัมพันธ์ สน.บางกอกน้อย, ตชส.บางขุนนนท์, เจ้าหน้าที่ทหารเรือ ขส.ทร. โดยมีชุมชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมดัง กล่าวจ�ำนวนกว่า 200 คน

10 IS AM ARE www.fosef.org


11 issue 108 JANUARY 2017


12 IS AM ARE www.fosef.org


cover story

โรงเรียนคือสถานที่บ่มเพาะความรู้ และสร้างผู้เรียนให้เป็นกุลบุตร กุลธิดา ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย “ความดี”

โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) 2

13 issue 108 JANUARY 2017


“หน้ า ที่ ข องผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาไม่ ใ ช่ ดู แ ลแค่ เ รื่ อ งการเรี ย น การสอนเท่ า นั้ น ยั ง ต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง อนาคตของผู ้ เ รี ย นว่ า ขบวนทั ศ น์ ใ นความคิ ด ของผู ้ เ รี ย นจะสามารถน� ำ พาให้ พ วก เขาพึ่ ง พาตนเองได้ จ นตลอดรอดฝั ่ ง ไหม และผู ้ ส อนหรื อ ครู จะเป็ น ต้ น แบบของการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ดี ไ ด้ หรื อ จะเป็ น แค่ เ รื อ จ้ า งที่ วั น หนึ่ ง ก็ จ มลงอย่ า งไร้ ค วามหมาย” นาย สหชัย สาสวน ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 ของเรามีจ�ำนวนนักเรียน ทั้งหมด 4,300 คน สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ส�ำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ และมีสถิติของ การวัดผลทางการศึกษาที่ดี และในด้านการส่งเสริมคุณลักษณะต่างๆ ผม รับนโยบายของกระทรวงศึกษา นโยบายของผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และผมก็มีหลักคิดหรือหลักบริหารของผมเองคือ Bird eye view สหชัย โมเดล คือ นก 4 ตัว ตัวที่ 1 คือ นกอินทรีย์ หมายถึง วิสัยทัศน์ จะต้องมา จากฐานภาคี 4 ฝ่าย ครู ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนทุกคน มีส่วนเกี่ยวข้องในการก�ำหนดวิสัยทัศน์นี้ นกตัวที่ 2 คือนกกระยาง หมาย ถึง ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนมีความสามัคคีกัน ท�ำให้องค์กรนั้นมีความเป็น ทีมเวิร์คที่ดี สามารถผลักดันสู่เป้าหมายได้ส�ำเร็จ นกตัวที่ 3 คือนกพิราบ หมายถึงการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างผู้อ�ำนวยการ ครู นักเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง นกตัวที่ 4 คือนกเขา หมายถึง การน�ำพระราชปณิธาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช สู่การปฏิบัติทุกภาคส่วนในโรงเรียน

ครูอมรรัตน์ ศิริมิตรตระกูล ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 14 IS AM ARE www.fosef.org

ผมได้น�ำโครงการโรงเรียนสุจริต โครงการ โรงเรี ย นส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรม-จริ ย ธรรม โครงการ โรงเรี ย นวิ ถี พุ ท ธ โครงการโรงเรี ย นสี ข าว และอี ก หนึ่ ง โครงการที่ โรงเรี ย นได้ มี โ อกาสได้ รั บ คั ด เลื อ ก จากคณะกรรมการมู ล นิ ธิ ครอบครั ว พอเพีย ง โดยมี ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานโครงการ คือ โครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ซึ่งโครงการนี้มุ่งเน้นเรื่องการสืบสานพระราชปณิธาน หลักคิดเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรวม ตัวกันทั้งผู้เรียน ผู้สอนหรือครูเป็นศูนย์ครอบครัวพอ เพียง ซึ่งมีความหมายว่า เป็นศูนย์รวมผู้ที่มีความคิด ดี มีศรัทธาในความดีของตนเอง เชื่อมั่นและศรัทธา ในหลักคิด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ เน้นกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมคือจิตอาสา การให้ พร้อมกับมีเครื่องมือ คือ ระเบียนความดี หรือ Fact


for life ซึ่งโครงการหลายๆโครงการไม่มีหรือมีแต่ไม่ครบถ้วน แต่ Fact for life นี้ใช้เป็นตัวชี้วัดครบถ้วนสมบูรณ์ให้แนวคิด ปลุกจิตส�ำนึกความ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและมีจิตอาสา สร้างมโนทัศน์ที่จับต้องได้ ผู้สอนหรือ ครูได้รับประโยชน์ในการติดตามพฤติกรรมผู้เรียน ผู้ปกครองได้รับข้อมูล หรือได้รับรู้สิ่งที่ลูกหลานท�ำ เรียกว่าได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เหมือน หลักคิดของผม Bird eye view สหชัยโมเดล

วิ ธี ก ารที่ ค รู ไ ด้ แ สดงความคิ ด เห็ น ต่ อ สิ่ ง ที่ เด็ ก ท� ำ จะท� ำ ให้ เ ด็ ก เริ่ ม เข้ า ใจในสิ่ ง ที่ ตั ว เอง บั น ทึ ก ลงไปว่ า วิ ธี ก ารคิ ด ของเขาอาจจะไม่ ถู ก ต้ อ ง เขาควรจะแก้ ไ ขอย่ า งไร ควรจะ ต้ อ งปรั บ แบบไหน

เสี ย งสะท้ อ นจากครู ที่ ป รึ ก ษาโครงการครอบครั ว พอเพี ย ง สู ่ ส ถานศึ ก ษาและชุ ม ชนกั บ เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ระเบี ย นความดี Fact for life : ครู อ มรรั ต น์ ศิ ริ มิ ต รตระกู ล เป็ น ครู ช� ำ นาญ การพิ เ ศษ โรงเรี ย นบดิ น ทรเดชา (สิ ง ห์ สิ ง หเสนี ) 2 จากการที่ทางโรงเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการและได้ด�ำเนิน กิจกรรมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 เราได้มีโอกาส เข้าอบรมวิธีการใช้คู่มือระเบียนความดี Fact for life กับมูลนิธิครอบครัว พอเพียง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญมาก หลังจากที่เราผ่านการอบรมมาก็ได้ น�ำแนวคิดตรงนี้มาน�ำเสนอต่อท่านผู้อ�ำนวยการว่า เครื่องมือนี้จะท�ำให้ เราตอบโจทย์และสามารถใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้กว้างไกลมาก ซึ่งทาง ท่านผู้อ�ำนวยการก็ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของระเบียนความดี จึงให้เป็น

นโยบายเลยว่า “เราจะให้นักเรียนทั้งโรงเรียนได้ท�ำ กิจกรรมระเบียนความดีตัวนี้” ในปี ที่ ผ ่ า นมา พ.ศ.2559 เด็ ก นั ก เรี ย นทั้ ง 4,300 คน ได้รับการฝึกอบรมการใช้ระเบียนความ ดีเต็ม 100% รวมทั้งคณะครู บุคลากรทุกคนภายใน โรงเรียน เราพบว่าระเบียนความดีตอบโจทย์ในเรื่อง ของการพัฒนาผู้เรียนได้ครบถ้วน เป็นการเชื่อมโยงเชิง บูรณาการจากครู นักเรียน การเรียนการสอน การน�ำ ไปใช้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการสร้าง งาน ผ่านระเบียนความดีเต็ม 100% ที่ส�ำคัญก็คือผู้ ปกครองมองเห็นการท�ำงานของเด็ก ครูจะเข้าถึงเด็ก

15 issue 108 JANUARY 2017


16 IS AM ARE www.fosef.org


ได้มากยิ่งขึ้น และเด็กเอง การเขียนระเบียนความดี จะท�ำให้ตัวเขาได้ ตกผลึกในสิ่งที่ตัวเองภาคภูมิใจ เป็นการตอกย�้ำให้เขามองเห็นความดี ในตัวเขาเอง วิ ธี ก ารน� ำ ระเบี ย นความดี ไ ปใช้ ใ นรายวิ ช า อย่างครูแนะแนวก็จะได้รับแนวคิดของเด็ก จากการที่เด็กบันทึก ท�ำให้เขาสามารถค้นหาเด็กที่ก�ำลังต้องการความช่วยเหลือ แล้วก็เข้ามา จัดกิจกรรมครอบครัวหรรษา ก็คือจะเอาชุมชน ตัวผู้ปกครอง นักเรียน และโรงเรียน มาท�ำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาพฤติกรรมที่เด็ก ก�ำลังต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้ เด็กยุคใหม่บางทีโอกาสที่จะเจอ กับครูที่ปรึกษาจะมีน้อย เพราะฉะนั้นการท�ำลักษณะนี้เด็กกับครู ซึ่ง เราจะให้ครู 1 คนต่อเด็ก 25 คน ท�ำให้ครูกับนักเรียนสามารถเข้าถึง ได้ทุกคน เราใช้ระเบียนความดีเป็นเครื่องมือและเป็นตัวสะท้อนการ ท�ำงานในทุกกิจกรรมที่โรงเรียนรับเข้ามา ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับพันธกิจ 5 ด้านของโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของมูลนิธิ ครอบครัวพอเพียง โดยให้เด็กน�ำผลลัพท์จากการท�ำงานมาบันทึกลงใน ระเบียนความดี และจากการน�ำมาบันทึกนี้เราให้เด็กวิเคราะห์ด้วยว่า เขาได้อะไร เช่น เกิดความรับผิดชอบ เกิดความซื่อสัตย์หรือเป็นเรื่อง ของจิตอาสา ตัวระเบียนความดีตัวแรกที่เด็กจะต้องใส่เข้าไปก็คือ “การ ก�ำหนดเป้าหมายของตัวเอง” “การวางแนวของตัวเองว่า ตัวเองมี ครู แ นะแนวก็ จ ะได้ รั บ แนวคิ ด ของเด็ ก จากการที่ เ ด็ ก บั น ทึ ก ท� ำ ให้ เ ขาสามารถค้ น หาเด็ ก ที่ ก� ำ ลั ง ต้ อ งการความช่ ว ย เหลื อ แล้ ว ก็ เ ข้ า มาจั ด กิ จ กรรมครอบครั ว หรรษา ก็ คื อ จะ เอาชุ ม ชน ตั ว ผู ้ ป กครอง นั ก เรี ย น และโรงเรี ย น มาท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น เพื่ อ ช่ ว ยแก้ ป ั ญ หาพฤติ ก รรมที่ เ ด็ ก ก� ำ ลั ง ต้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ แรงบันดาลใจที่อยากจะท�ำอะไร” หรือ “มีทิศทางการศึกษาอย่างไร” ตรงนี้ท�ำให้เด็กเริ่มมีเป้าหมายของการด�ำเนินชีวิต ซึ่งเราจะแบ่งเป็น ช่วงๆ ด้วยกันทั้งหมด 4 ช่วง ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน อย่างช่วง ที่หนึ่ง เราให้นักเรียนท�ำเรื่องจิตอาสา โดยให้นักเรียนแตกมายแมพของ ตนเองออกมาว่า ถ้าตัวเองจะท�ำจิตอาสา จะท�ำจิตอาสาอะไรได้บ้าง ตั้ง เป้าหมาย มองแนวของตัวเองให้ออก เด็กเขาก็จะมองว่าจิตอาสาที่เขา จะท�ำได้ในแนวของเขามีกี่ด้าน เช่น ในด้านของตัวเองท�ำอะไร ในด้าน ของครอบครัว ในด้านของโรงเรียน แล้วก็ในด้านของชุมชน แล้วแต่ละ ด้านเขาอยากจะท�ำอะไร เช่น ถ้ า ในด้ า นของตั ว เอง จิ ต อาสาที่ เขาคิ ด ว่ า เขาจะกลั บ ไป ท�ำที่บ้านก็คือ อาจจะไปเป็นคนดูแลที่บ้านเอง ไม่ต้องให้แม่มาเก็บ 17 issue 108 JANUARY 2017


กวาดบ้านแล้ว นี่คือสิ่งที่เขาคิดเอาไว้ว่าเขาอยากจะท�ำให้ ครอบครัวของเขาเอง หรือแม้แต่ในโรงเรียน เพราะฉะนั้น การที่เด็กก�ำหนดตรงนี้ใน 42 สัปดาห์ เด็กจะบันทึกร่อง รอยของการท�ำงาน ในเวลาที่เด็ก บัน ทึก ร่อ งรอย ครู ที่ ปรึกษา (1 คนต่อเด็ก 25 คน) จะเป็นผู้ติดตามการบันทึก งานตรงนี้ของเด็ก เพราะฉะนั้น เวลาที่ครูเห็นเด็กบันทึก เขาก็จะมองเห็นว่าเด็กมีความคิดอย่างไร เด็กคิดถูกคิด ผิดแบบไหน ฉะนั้นเมื่อครูดูจากที่เด็กบันทึกมา สิ่งที่ครู จะบันทึกตามไปเมื่อจบในแต่ละรอบ แต่ละเดือน ครูก็จะ ให้แนวคิด ให้ค�ำชมเชย ว่ารูปแบบอย่างนี้ดี อย่างนี้ไม่ถูก ต้อง ต้องระมัดระวังหน่อย เป็นต้น วิธีการที่ครูได้แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่เด็กท�ำ จะท�ำให้เด็กเริ่มเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองบันทึกลงไปว่า วิธีการ คิดของเขาอาจจะไม่ถูกต้อง เขาควรจะแก้ไขอย่างไร ควร จะต้องปรับแบบไหน ซึ่งตรงนี้ที่บอกว่าครูกับเด็กนักเรียน จะสามารถเข้ า ถึ ง กั น ได้ เพราะว่ า เวลาเด็ ก เขาบั น ทึ ก เขาจะอยู่กับตัวเขาเอง เป็นอารมณ์ของเขาเลย สิ่งที่เขา เขียนก็คือกลั่นกรองมาจากความคิดของเขา กลั่นกรองมา จากอารมณ์ของเขา พอผ่านตัวหนังสือเราจะรู้เลยว่าเด็ก เขาคิดอะไร

ในฐานะที่ เ ป็ น ครู ที่ ป รึ ก ษาโครงการฯของมู ล นิ ธิ ครอบครัวพอเพียง เมื่อมองความคิดของเด็กเราก็จะรู้ว่า เด็กเขาก�ำลังคิดไปในทางที่ถูกหรือคิดไปในทางที่ผิด หรือ คิดไม่ถูกต้องแบบไหน เราก็จะใช้เครื่องมือระเบียนความ ดีนี้เข้ามาเป็นเครื่องแนะน�ำ ตรงนี้คือครูที่ปรึกษาจะเข้า ถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อครูที่ปรึกษาเห็น ครูที่ปรึกษา ก็จะประเมินความเสี่ยงของเด็กได้ ก็สามารถไปประเมิน วิ เ คราะห์ ว ่ า เด็ ก คนนี้ มี ค วามเสี่ ย งต้ อ งให้ ก ารช่ ว ยเหลื อ แบบไหน แล้วก็จะส่งข้อมูลไปเชื่อมโยงกับครูแนะแนว ซึ่ง ครูแนะแนวสามารถดึงระเบียนความดีของเด็กไปอ่านได้ เหมือนกัน ครูจะคุยกันก่อนว่าเด็กคนนี้ก�ำลังต้องการความ ช่วยเหลือตรงนี้นะ หลังจากที่อ่านแล้วเด็กอาจจะมีทัศนคติ ด้านนี้ไม่ค่อยดี ฝากครูช่วยตามหน่อย เพราะว่าตรงนี้ดูแล้ว อันตราย ครูแนะแนวก็จะรับข้อมูลจากตรงนี้แล้วก็อาจจะ เรียกเด็กเข้าคุยโดยใช้ระเบียนความดีเด็กเข้ามาติดตามอีก รอบหนึ่ง เพราะครูจะเห็นได้จากสิ่งที่เด็กเขียนหรือท�ำ เครื่องมือระเบียนความดี เล่มนี้ “เราใช้ค�ำว่าเป็น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน” ซึ่งเป็นระบบที่ครู 1 คน กับเด็กนักเรียน 25 คน ที่จะต้องติดตามดูแลช่วยเหลือให้ ค�ำแนะน�ำชี้แนะเด็ก ครูที่ปรึกษาก็จะได้หลายต่อ ในฐานะ

18 IS AM ARE www.fosef.org


ระบบดูแลช่วยเหลือด้วย ในฐานะของการส่งต่อข้อมูล ด้วย ในขณะเดียวกันก็ในฐานะของครูผู้สอนด้วย เพราะ ฉะนั้นก็จะมองเห็นเด็กชัดเจน ระเบี ย นความดี เครื่ อ งมื อ สานความเข้ า ใจ ระหว่ า งผู ้ ป กครองกั บ นั ก เรี ย น ในการบันทึกความดี 4 สัปดาห์ ในแต่ละรอบ เดือนของเด็ก เด็กเขาก็จะมีรูปแบบใหม่ๆ ออกมา จาก การที่เรามองเห็นเด็กเวลาเขาท�ำระเบียนความดีผ่านไป หนึ่งเดือน แล้วเราเรียกเขามาสัมภาษณ์ว่า ท�ำไปแล้ว ครู เขียนไปแล้ว ผู้ปกครองเขียนมา ผู้ปกครองบางคนเขียน มาเด็กเขาซาบซึ้งมากว่า ผู้ปกครองเขาไม่เคยรู้เลยว่าลูก ท�ำงานอะไรที่เป็นประโยชน์ของสังคม ผู้ปกครองอาจจะ ไม่เคยเห็นตรงนี้ของเด็ก จึงมีความคิดว่าท�ำไมไม่กลับ บ้านสักทีอยู่แต่โรงเรียน แต่พอเห็นผลลัพท์หรือร่องรอย ที่เด็กเขาบันทึกว่า เขาท�ำกิจกรรมอะไรอยู่ที่โรงเรียน เขาไปท�ำความดีอะไร ผู้ปกครองเขารู้สึกตื้นตันแล้วก็ บอกว่าภาคภูมิใจในตัวลูก ซึ่งพอผู้ปกครองรู้สึกอย่าง นี้เด็กเขาก็จะรู้สึกดีขึ้นมาเลยว่า พ่อแม่เข้าใจฉันแล้ว ในขณะเดียวกันครูเข้าใจฉันแล้ว แล้วเขาก็มีความรู้สึก ว่า อยากจะท�ำอีก อยากจะท�ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตรงนี้ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กที่เรามองเห็น ชัดเจน ที่ ส� ำ คั ญ ตั ว ระเบี ย นความดี เป็ น ตั ว สอนเด็ ก ให้ เ กิ ด การคิ ด วิ เ คราะห์ เป็ น เรื่ อ งของการ เขี ย นถ่ า ยทอด ซึ่ ง ตรงนี้ ใ นเรื่ อ งของโรงเรี ย น สุ จ ริ ต วั ด ไว้ ห มดเลย ถ้ า เราไม่ มี เ ครื่ อ งมื อ ตั ว นี้ บางที เ ราไม่ รู ้ จ ะหยิ บ อะไรมาวั ด

ใช้ ร ะเบี ย นความดี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการทบทวนตั ว เอง หรือแม้แต่น้องเล็กก็คือเด็กใน “ชมรมครอบครัวพอเพียง” ในโรงเรียน ตอนแรกให้เขาเขียนระเบียนความดีเขาเขียนไม่ค่อยเป็น เขาจะมุ่งเน้นแต่ว่าจะเอารูปมาใส่ เขามักจะบอกว่า อาจารย์ผมไม่ได้ ถ่ายรูปเลย ก็เลยบอกเขาว่า บางทีรูปไม่ใช่ตัวส�ำคัญนะลูก หนูอาจจะ วาดภาพก็ได้ เวลาวาดภาพหนูก็จะถ่ายทอดอารมณ์ของหนูออกมา เวลาหนูวาดภาพสิ่งหนึ่งที่มันสะท้อนออกมาด้วยภาพการ์ตูนง่ายๆ มัน ก็จะบอกความประทับใจของหนูกับงาน หลังจากเอาตัวอย่างจากรุ่นพี่ แกนน�ำให้เขาดู พอผ่านมาอีกหนึ่งเดือนปรากฎว่าน้อง ม.1 เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่รวดเร็วมาก แล้วเขาก็จะมีความสุข เขาบอก “อาจารย์สมุดบันทึกระเบียนความดี แป๊บเดียวผมบันทึกได้ตั้งสอง สามสัปดาห์แหนะ คือพอผมบันทึกปั๊บแล้วมันจะออกมาเรื่อยๆ” หรือแม้แต่บางคนบอกว่า “เพิ่งรู้เองอาจารย์ว่าตรงนี้มันคือความดีที่ พอเขียนออกมาแล้วเราเพิ่งค้นหาตัวเองเจอ” เลยบอกเด็กๆ ว่า จริงๆ ลูกท�ำความดีหลายอย่าง แต่บางทีลูก ไม่มีเวลาที่จะได้นั่งทบทวน “การที่ลูกมาบันทึกระเบียนความดี คือการ ทบทวนตัวเอง” ทบทวนถึงสิ่งที่ท�ำมา ทบทวนถึงสิ่งที่ได้รับ ฉะนั้นเวลา ลูกทบทวน ลูกก็จะเริ่มรู้สึกว่าลูกท�ำอะไรตั้งเยอะแยะเลย

19 issue 108 JANUARY 2017


ใช้ ร ะเบี ย นความดี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ แสดงตั ว ตนใน การเรี ย นต่ อ แม้แต่พี่ ม.6 ก็ได้ให้ค�ำแนะน�ำเขาว่า ให้น�ำสมุด ระเบียนความดีไปด้วยตอนที่ลูกจะไปสัมภาษณ์สอบต่อ ให้ถือไปด้วยพร้อมกับแฟ้มสะสมงาน ก็เป็นผลงานอย่าง หนึ่ง เมื่อผู้สัมภาษณ์เขามาอ่านแฟ้มเขาจะเข้าไม่ถึงตัวหนู หรอกว่าหนูคิดยังไง แต่เมื่อเขาได้เปิดสมุดระเบียนความ ดี ผู้สัมภาษณ์เขาจะมองเห็นตั้งแต่เป้าหมายชีวิตของหนู วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ แล้วสิ่งที่หนูท�ำผ่านๆ มา กับสิ่ง ที่หนูเอาออกมาถ่ายทอด เพราะมันจะมีหัวข้อ “ดีที่ได้ เขียน” “สิ่งที่อยากจะบอก” ตัวนั้นจะเป็นตัวที่ท�ำให้เขา เข้าถึงตัวเรา ตอนนี้สังคมต้องการคนดี คนเก่งฝึกได้ แต่คนดี มันต่องหล่อหลอม การที่หนูน�ำเครื่องมือคือสมุดระเบียน ความดีไปยื่นตอนที่หนูไปสอบต่อจะได้เปรียบกว่าคนอื่น

แล้วเด็กก็ถือไปจริงๆ ไปสัมภาษณ์แล้วก็หยิบให้เขาดู เขา ก็ถามว่าโรงเรียนท�ำหรือ เด็กบอกไม่ใช่ หนูเป็นนักเรียน แกนน�ำของโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและ ชุมชนได้ร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ซึ่งหนู สมาชิกของครอบครัวพอเพียง หนูเป็นนักเรียนแกนน�ำ หนูก็เลยได้ท�ำตัวนี้ หนูอยู่ ม.6 แล้ว หนูก็เลยอยากเอาตัว นี้มาน�ำเสนอด้วย อาจารย์ให้ค�ำแนะน�ำมา ผู้สัมภาษณ์เขา ก็ชื่นชมว่าดีมากๆ ที่ส�ำคัญ ตัวระเบียนความดี เป็นตัวสอนเด็กให้ เกิดการคิดวิเคราะห์ เป็นเรื่องของการเขียนถ่ายทอด ซึ่ง ตรงนี้ในเรื่องของโรงเรียนสุจริตวัดไว้หมดเลย ถ้าเราไม่มี เครื่องมือตัวนี้บางทีเราไม่รู้จะหยิบอะไรมาวัด แต่ตรงนี้ พอเราหยิบมาเราจึงพบว่า “เด็กสามารถสะท้อนตัวเอง” ผ่านตัวระเบียนความดีในเรื่องของโรงเรียนสุจริต เรื่อง ของการคิดวิเคราะห์ การคิดแยกแยะได้ชัดเจนและตรง ประเด็นมาก เราพบว่ า นั ก เรี ย นมี ก ารเปลี่ ย นแปลง และมี การพั ฒ นาในเรื่ อ งของศั ก ยภาพทางด้ า นของ การเรี ย นรู ้ ใ นเรื่ อ งของการคิ ด วิ เ คราะห์ อ่ า น เขี ย น และในขณะเดี ย วกั น ก็ มี ก ารพั ฒ นาเชิ ง คุ ณ ธรรมสู ง ขึ้ น เห็ น ได้ จ ากการที่ เ ด็ ก นั ก เรี ย น มี ก ารตระหนั ก ในหน้ า ที่ มี ก ารช่ ว ยเหลื อ แบ่ ง ปั น เสี ย งสะท้ อ นจากผู ้ ป กครองเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งมื อ สมุ ด ระเบี ย นความดี มีเสียงจากผู้ปกครองค่ะ เพราะว่าเวลาผู้ปกครอง ได้รับระเบียนความดี ผู้ปกครองจะบันทึกในส่วนความคิด เห็นของผู้ปกครอง ซึ่งการบันทึกของผู้ปกครอง วันที่เรามี การประชุมผู้ปกครองเราก็จะสอบถามตรงนี้ ซึ่งผู้ปกครอง ก็บอกว่า “อาจารย์ดีจังเลย รู้สึกเข้าใจกับลูกมากยิ่งขึ้น ผ่านการเห็นสิ่งที่ลูกท�ำ ซึ่งบางทีสิ่งที่ลูกท�ำเขาไม่ได้มา เล่าให้ฟัง แต่พอไปอ่านเล่มที่เขาเขียน แล้วเราก็ชื่นชม เขา รู้สึกลูกกับเราใกล้ชิดกันมากขึ้น” แล้วเขาก็บอกว่า “ท�ำให้เขาได้เห็นว่าลูกไปท�ำอะไรตั้งหลายอย่าง ท�ำให้ เขาได้ติดตามสิ่งที่ลูกท�ำ แล้วท�ำให้รู้สึกว่าเขาเองก็ได้เอา ตรงนั้นกลับมาคุยแล้วก็ชื่นชมลูก เป็นสิ่งหนึ่งที่ท�ำให้เขา กับครอบครัวมีความอบอุ่นยิ่งขึ้น” อันนี้คือเสียงสะท้อน จากผู้ปกครองเป็นคนตอบ

20 IS AM ARE www.fosef.org


เสี ย งสะท้ อ นจากครู แ ต่ ล ะระดั บ เกี่ ย วกั บ สมุ ด บั น ทึ ก ความดี เท่าที่เราคุยกับเพื่อนครู เขาก็บอกว่าสิ่งหนึ่งที่เขา มองเห็นก็คือ เด็กเขียนภาษาไทยดีขึ้น เพราะเด็กเขาต้อง ถ่ายทอด อย่างเพื่อนครูที่เป็นครูภาษาไทย เขาบอกว่าเด็ก ถ่ายทอดดีขึ้น เด็กเขียนภาษาไทยดีขึ้น เด็กจับประเด็นดีขึ้น ผ่านจากการอ่านงานของเด็ก ถ้ า เป็ น ครู สั ง คมฯ เขาก็ จ ะบอกว่ า เด็ ก นั ก เรี ย น สะท้อนทัศนคติผ่านงาน ผ่านวิธีคิดว่า ค�ำว่าลูกบดินทรฯ ประพฤติดี มีความรู้ มันเป็นแค่ตัวอักษร พอสิ่งที่เขาท�ำ ออกมา เช่นว่า วันนี้ผมไปช่วยน้องท�ำงาน ไปสอนน้อง ม.1/1 เรื่องท�ำระเบียนความดี ปรากฎว่า น้องเขาก็ถาม ผม พอผมอธิบายน้องเขาก็เขียนได้ อีกอาทิตย์หนึ่งผมไป ตามดู น้องเขาเขียนได้จริงๆ นั่นคือสิ่งที่เขาสะท้อนให้เห็น ว่า เด็กเริ่มแบ่งปัน อีกอันหนึ่งก็คือในเรื่องของจิตอาสา ที่เรามองเห็น ก็คือ เด็กเปลี่ยนวิธีคิด จากเดิมจิตอาสา เด็กจะจับวัตถุ เป็นตัวตั้ง คือ ถ้าจะท�ำอะไรก็ซื้อของไปให้เขา เหมือนกับ ที่เขาไปเยี่ยมบ้านเด็กพิการซ�้ำซ้อน ก็คือซื้อของไปให้น้อง ถ่ายรูปแล้วก็จบ นั่นคือมุมมองของจิตอาสาในวิธีคิดของ เขา แต่พอเราบอกว่าจริงๆ แล้วจิตอาสาไม่ได้ใช้เงินนะลูก เป็นเรื่องของการที่เราท�ำให้กับเขา ในสิ่งที่เราท�ำได้ แล้วก็ ยกตัวอย่างจากพี่แกนน�ำไปท�ำ เช่น แกนน�ำไปสร้างฝายที่ จังหวัดเพชรบุรี ถามว่าองค์ความรู้มีไหมก็ไม่มีหรอก แต่พอ ไปท�ำก็เอาแรงกายไปท�ำ พอได้ท�ำมันก็จะซึมซับก็คือ ข้อที่ หนึ่ง สร้างสังคมกับกลุ่มเพื่อนด้วยกัน ข้อที่สอง วิทยากรมา พูดก็รู้ความหมาย ความเข้าใจ ความส�ำคัญ พอไปเห็นแหล่ง ของจริงเกิดเชิงประจักษ์ ก็คือตระหนักว่ามันอันตรายจริงๆ ตระหนักว่ามันแล้งจริงๆ ถ้าคุณไม่ไปร่วมมือกันก็ไม่มีใคร ท�ำ เขายังบอกอาจารย์ไปกันตั้งสองร้อยกว่าคน ดูแล้ว งานตรงนี้ถ้าล�ำพังไปแค่กลุ่มห้องเดียวเหมือนที่เราเคยคิด

ว่าเราจะไปท�ำแบบนี้ ยากนะอาจารย์ ท�ำให้เรามองเห็นว่าเด็กเขา เริ่มคิดเป็นแล้วนะ สิ่ ง ที่ เ ด็ ก นั ก เรี ย นได้ รั บ จากการบั น ทึ ก ความดี จากกระบวนการพั ฒ นาการขั บ เคลื่ อ นหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 ซึ่งได้ ด�ำเนินการร่วมกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง เราพบว่านักเรียนมีการ เปลี่ยนแปลง และมีการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพทางด้านของการ เรียนรู้ในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ อ่าน เขียน และในขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาเชิงคุณธรรมสูงขึ้น เห็นได้จากการที่เด็กนักเรียนมีการ ตระหนักในหน้าที่ มีการช่วยเหลือแบ่งปัน แล้วก็มีความสามัคคีใน หมู่คณะเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้ท�ำให้เรามองเห็นตัวเด็กนักเรียนเกิดการ พัฒนาที่น�ำไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนตั้งเป้าหมายใน เรื่องของการพัฒนาเด็กนักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงห เสนี) 2 เอาไว้ ว่าเราจะด�ำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดความยั่งยืนในตัวเด็ก เพราะฉะนั้นการ เขียนสะท้อนออกมาผ่านตัวเด็ก เป็นการชี้วัดที่บอกถึงผลลัพท์จริงๆ ว่า เด็กนักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองน�ำไปสู่ความ ยั่งยืนได้จริง

21 issue 108 JANUARY 2017


กิจกรรมและการเรียนไปด้วยกันได้

นักศึกษาวิศวะเอาเกรด 4.00 เป็ นประกัน

22 IS AM ARE www.fosef.org


พลั ง เยาวชน...พลั ง ของแผ่ น ดิ น

การศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ท�ำให้เรามีฐานของชีวิต และการท�ำกิจกรรมอาสาในค่ายต่างๆ ท�ำให้เราได้ฝึกวินัย ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม และเมื่อเรามีวินัย มีความรับผิดชอบจนเป็น “สันดาน” ก็จะส่งผล ท�ำให้เรามีผลการเรียนที่ดี เกรด 4 ผมว่าไม่ยากครับ

นายกฤษดา เพ็ชรสายออ หรือ เบนซ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ในอดี ต ก่ อ นจะมาวั น นี้ ไ ด้ : : ศิ ษ ย์ เ ก่ า โรงเรี ย นวั ด ราชบพิ ธ ครับ ที่นี่เป็นที่เปลี่ยนความคิดในชีวิตครั้ง แรก ในการที่จะท�ำสิ่งใด “เพื่อประโยชน์ ต่อส่วนรวม” เข้าเรียนในชั้น มัธยม 1 แม่ อ ยากให้ เรี ย นที่ เ ดี ย วกั บ พี่ ช าย เพื่ อ จะรับส่งง่าย ดูแลง่ายครับ โรงเรียนวัด ราชบพิ ธ จะมี ส ถานที่ เรี ย นอยู ่ ส องที่ คื อ 1.วัดราชบพิธ ซึ่งจะเป็นที่เรียนของเด็ก มัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนในระดับ ตั้งแต่ชั้น มัธยม 2 ถึงมัธยม 6 จะเรียน ที่ โรงเรี ย นวั ด ราชบพิ ธ ด้ ว ยความเป็ น เด็ก เริ่มเรียนที่ชั้นมัธยม 1 ที่เรียนอยู่ ในวั ด ตอนเช้ า มาถึ ง วั ด ก็ เ ป็ น บางวั น ที่ จะช่ ว ยพระอาจารย์ เ ดิ น ออกบิ ณ บาตร และกลับมาเข้าเรียน นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่จะ สอนให้เราบ่มเพาะจิตใจของสุภาพบุรุษ โรงเรียนวัดราชบพิธ ช่วยเหลือผู้อื่นโดย ไม่หวังผลตอบแทน จากนั้นเราก็เริ่มช่วย เหลืออาจารย์หลายด้านทั้งด้านวิชาการ กิจกรรม เพื่อเก็บประสบการณ์ พอขึ้นมัธยม 2 ผมก็ได้มาเรียน ที่โรงเรียนใหญ่ ที่เรียกว่าโรงเรียนใหญ่ คือ ไม่ใช่ที่วัดครับ หลังจากที่ผมขึ้นมา เรียนโรงเรียนใหญ่ที่นี่ก็มากมีรุ่นพี่หลาย ระดับ ซึ่งตอนนั้นเราเป็นน้องเล็กสุด ที่ นี่จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ลูก เสื อ กองร้ อ ยพิ เ ศษ กระบี่ ก ระบอง วง

โยธวาทิต และ อื่นๆ ด้วยความที่ว่าตอน นั้นยังเขินอาย ตอนเช้าอาจารย์ท่านก็จะ ประกาศหาคนเข้าชมรมกองร้อยพิเศษ เพื่ อ ท� ำ ชื่ อ เสี ย งให้ กั บ โรงเรี ย น เพื่ อ นที่ สนิ ท กั น มาตั้ ง แต่ ป ระถมมี 2 คนครั บ ชื่อ นายถุงเงิน และ นายโอ๊ด ต่างก็พา กั น ลุ ก ออกไป ผมก็ นั่ ง อยู ่ กั บ ที่ คิ ด ในใจ ว่าขอคิดดูก่อน จากนั้นตอนเย็นเราก็ขึ้น รถเมย์กลับบ้านด้วยกัน ไปนั่งกินข้าวที่ ท้ายซอยตากสิน 8 นายถุงเงินกับนาย โอ๊ด ก็เริ่มชวนผม บอกว่า เบนซ์ไม่เข้า มาด้วยกันหรอ ตอนแรกผมก็ลังเลจะเข้า ดี ไ หม แต่ ก็ ตั ด สิ น ใจลงเพราะอยากอยู ่ กับเพื่อน หลังจากวันนั้นทุกอย่างความคิด ของผมก็เปลี่ยนไปหมดเลย จากเด็กที่ไม่

23 issue 108 JANUARY 2017

กล้าออกไปพูดหน้าห้องก็ท�ำให้เรากล้า จากเด็กที่ไม่กล้าเป็นผู้น�ำ เราก็กล้าที่จะ เป็น อาจจะเกเรบ้างเป็นปกตินิสัยของ เด็กผู้ชาย เราก็ฝึกระเบียบแถวกับเพื่อน และพี่ในชั้นอื่นๆ ท�ำให้เราได้รู้จักพี่ๆ เพิ่ม มากขึ้น จนเราสามารถที่จะท�ำทุกอย่างได้ พร้อมเพรียงกัน ผมยั ง ไม่ ไ ด้ บอกเลยว่า เพื่อนผม พาเข้ า กิ จ กรรมอะไร กองร้ อ ยพิ เ ศษ ครับ เพราะกิ จ กรรมนี้ แ หละที่ ท� ำ ให้ เราท� ำ ในสิ่ ง ที่ เราไม่ เ คยท� ำ รู ้ จั ก เรี ย น รู ้ ก ารแบ่ ง หน้ า ที่ การท� ำ งานที่ เ ป็ น ที ม การท�ำงานร่วมกับคนอื่น ระเบียบ กฏ เกณฑ์ การวางตัว และยังได้รับโอกาส ไปเกาหลีใต้เพื่อไปร่วมงานชุมลูกเสือ นี่


เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกที่ตนเองได้ก้าวออกไปสู่โลกกว้างที่ไม่ใช่ ประเทศของตนเอง การเรียนรู้วัฒนธรรม การเรียนรู้ภาษา พร้อมกับ เพื่อนที่มาจากทั่วทุกมุมโลก และพอได้เลื่อนขึ้นชั้น มัธยม 3 ช่วงนี้เราก็ท�ำกิจกรรมเหมือน เดิมอุทิศตนเองให้กับโรงเรียนเพื่อสร้างชื่อเสียงยอมกลับดึกนอนโรง เรียน แข่งขันการประกวดสวนสนามที่เป็นหน้าตาของโรงเรียน หล่อ เทียนงานเข้าพรรษา งานวันพ่อ งานวันแม่ งานโรงเรียน กิจกรรมนอก สถานที่ เข้าเป็นพี่เลี้ยงค่าย เรายอมเสียสละทุกอย่างเพราะเราท�ำแล้ว เรารู้สึกว่าเราสนุกและมีความสุขกับสิ่งที่ได้ท�ำ มีบ้างที่พ่อแม่บ่นแต่ เราก็ต้องพูดกับท่านให้เข้าใจ เราชอบเรารักที่จะท�ำ เหนื่อยแค่ไหน นอนพักเราก็หาย ที่บ้านเริ่มเข้าใจ ที่โรงเรียนสนับสนุนเรา ท�ำงานได้ อย่างเต็มที่มากขึ้น เห็นผมท�ำกิจกรรมเยอะแบบนี้การเรียนผมไม่เคย ตกลงเลย เพราะกิจกรรมที่ท�ำสอนให้เราเกิดความรับผิดชอบ ตรงต่อ เวลา จนเป็น “สันดาน” เราจึงควบคุมเวลาเพื่อการเรียน การอ่าน หนังสือหรือหาความรู้เพิ่มเติมได้ไม่ยากครับ พอขึ้นมัธยม 4 ผมเลือกเรียนสาย วิทย์ – คณิต ผมชอบเลข ชอบค�ำนวน ชอบวาดรูป ชอบประดิษฐ์ ตอนแรกก็ฝันว่าอยากจะเป็น หมอ แต่ดูไปดูมามันไม่ใช่ตัวเอง และผมชอบท�ำกิจกรรมมากกว่า เรียน เลยเรียนรู้ค้นหาตัวเอง และตั้งเป้าไว้สองทางว่า อยากเป็นนัก รัฐศาสตร์ หรือวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นเมื่อวางเป้าหมายเสร็จ ก็เดินตามหาสิ่งที่ตนเองถนัด และอยากที่จะเป็น เคยเรียนพิเศษแต่ ด้วยว่าบรรยากาศภายในที่เรียนขัดแย้งกับตัวเองที่ไม่ได้เป็นเด็กเรียน มากนัก เลยคิดว่าแค่ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ถึงจะท�ำกิจกรรมมากมาย ก่อนนอนก็จะเอาหนังสือขึ้นมาทบทวนและท�ำการบ้านอย่างครบถ้วน เพื่อจะตามเพื่อนได้ทัน จึงต้องขยันเป็นพิเศษ

“คนที่ ท� ำ กิ จ กรรมไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย นไม่ ดี เรา ชอบแหวกกฎออกเพื่ อ ไม่ ใ ห้ ใ ครมาตราหน้ า ว่ า ตั ว เองนั้ น ไปทางที่ ไ ม่ ดี ” และอีกหนึ่งกิจกรรมที่ท�ำให้ตนเองได้มีโอกาสรู้จัก กับเพื่อนโรงเรียนอื่นคือ กิจกรรมของมูลนิธิครอบครัวพอ เพียง ที่ท�ำให้เราได้ท�ำกิจกรรมกับเพื่อนทั่วประเทศ ดีใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวพอเพียง ได้ขึ้นมาเป็นพี่สต๊าฟ คือเป็นพี่ค่าย ได้ดูแลน้องค่ายจาก หลายๆ โรงเรียน ได้เรียนรู้การท�ำงาน นอนหลังตื่นก่อน น้องเสมอ การพูดการดูแล การเล่น การสันทนาการ และ การสร้างภาวะความเป็นผู้น�ำมากขึ้นกว่าแต่ก่อนให้กับ ตนเอง ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ประสบการณ์ ที่ ช ่ ว ยได้ มากต่ อ การ ท�ำงานและการพรีเซนต์งาน นี่คือสิ่งหนึ่งที่มีพลังและความ หนักแน่น การพูดยังไงให้คนฟัง การพูดยังไงให้คนเชื่อใจ การพูดยังไงที่สามารถน�ำคนไปในทางที่ดีได้ นี่คือสิ่งที่เรียก ว่ากิจกรรมให้เรามา เราต้องไข้วคว้า คนบางคนยังชอบ ที่จะอยู่แต่ในห้องเล่นเกมส์หรือหมกมุ่นแต่ซีรีย์หนัง ไลน์ ต้องออกมาดูครับว่าสังคมภายนอกนั้นเขาอยู่กันอย่างไร เราต้องแข่งขันกับอะไรบ้าง ทั้งเรื่องงานทั้งเรื่องเรียน อีก หลายเรื่อง ออกมาดูสังคมภายนอกที่โหดร้าย รู้หน้าคน แต่ไม่รู้ใจคน เมื่อขึ้นมัธยม 5 ได้รับต�ำแหน่งเป็นประธานสแตน เชียร์นี่คือสิ่งที่เราต้องวางแผนท�ำให้น้อง การฝึกน้อง การ เล่นกับน้อง การควบคุมทุกอย่างง่ายมากเพราะเราได้เรียน รู้มาแล้วว่ามันเป็นอย่างไร อีกทั้งก็ยังแข่งขันการประกวด สวนสนามได้เป็นที่หนึ่งของประเทศ ในชมรมลูกเสือกอง

24 IS AM ARE www.fosef.org


ร้อยพิเศษ ที่ต้องทุ่มเทฝึก ต้องนอนที่ โรงเรียนเก็บตัวซ้อมทุกเย็น แม้กระทั้ง วันหยุดเราก็ยังซ้อม ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยนะ แต่เราให้ใจไปแล้ว ให้กับสิ่งที่ เราคิดว่านี่แหละคือการสร้างชื่อเสียงให้ กับโรงเรียน จนได้แชมป์ระดับประเทศ มา อีกทั้งยังลงแข่งชีวิตชาวค่าย ซึ่งเขาจะ มีอุปกรณ์ให้เรา คือ ไม้ เชือก เลื่อย เรา จะสร้างอะไรเมื่อเราอยู่ในค่าย สร้างขึ้น มาภายใน 3 ชั่วโมง ตอนเวลาไปค่ายของ มูลนิธิครอบครัวพอเพียงก็ผมนี่แหละที่ไป ผูกราวตากผ้าให้กับน้องๆ เพราะตัวเอง มีทักษะ จนแข่งได้เป็นตัวแทนเขตพื้นที่ การศึกษา ไปแข่งในระดับภาคของตนเอง และตอนนี้ก็เริ่มที่จะก้าวสู่มหาวิทยาลัย ด้วยจึงต้องอ่านหนังสือด้วยท�ำกิจกรรม ด้วย เป็นคนอยู่นิ่งไม่ได้ต้องหาอะไรท�ำ ตลอดครับ และในการเรียนปีสุดท้ายมัธยม 6 ปีนี้กิจกรรมเราจะค่อยเบาลง กิจกรรม ที่ ตั ว เองพอท� ำ ได้ ก็ ท� ำ แต่ จ ะแบ่ ง มา ทางการเรี ย นมากกว่ า เพราะเป็ น ช่ ว ง

กิ จ กรรมหนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ต นเองได้ รู ้ จั ก กั บ เพื่ อ นโรงเรี ย นอื่ น คื อ กิ จ กรรม ของมู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย ง ที่ ท� ำ ให้ เ รามี กิ จ กรรมกั บ เพื่ อ นทุ ก มุ ม ทั่ ว ประเทศ ดี ใ จที่ ไ ด้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ ขึ้ น มาเป็ น พี่ Staff คื อ เป็ น พี่ ค ่ า ย ได้ ดู แ ลน้ อ งค่ า ยจากหลายๆ โรงเรี ย น ได้ เ รี ย น รู ้ ก ารท� ำ งาน ที่ต ้ อ งเตรี ย มสอบและแข่ ง ขั น กั บคนทั่ ว ประเทศ ดังนั้นจึงต้องขยันอ่านมากขึ้น ถ้าไม่อ่านก็สู้คนอื่นไม่ได้ ผมไม่ได้เป็น เด็ ก เรี ย นเก่ ง แต่ ผ มรู ้ จั ก หน้ า ที่ แ ละมี ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง รู้ ว่ า ตอนนี้ ท� ำ อะไร และต่ อ ไปเราจะท� ำ อะไร รู้หน้าที่ของตนเองเท่านั้นหลังจาก ที่มีการเปิดสอบเราก็สอบหลายที่ เราติด ธรรมศาสตร์ เกษตร บางมด ลาดกระบัง และอีกหลายที่เพราะเราชอบเผื่อไว้จะ ได้มีตัวเลือก แต่ สุ ด ท้ า ยผมได้ ทุ น เพชรใน ชัยพฤกษ์ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่ง ได้มาจากที่ผมท�ำกิจกรรม อาจารย์มอง เห็น อาจารย์จึงเรียกไปสัมภาษณ์ และ ผมติด ผมจึงเลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์ 25 issue 108 JANUARY 2017

ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ หลังจากนั้นเรา ก็ลุยกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ เพราะได้มีที่ เรียนและเรียนในคณะที่ชอบ แถมทุนนี้ ยังเป็นทุนเรียนฟรีจนจบ และยังไม่ต้อง เสียค่าเรียนคืนอีกด้วย วันแรกที่เข้าเรียนปี 1 เราก็เคย คิดว่าที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยไฮโซ ต้องมี ฐานะดีจึงมีสิทธิ์เรียน แต่เราไม่ได้เป็น แบบนั้นเราได้ทุนเข้ามาเราก็ต้องวางตัว ให้ถูก พ่อแม่เราไม่ได้มีเงินขนาดนั้นเรา รู้ตัวเองดีแต่เราก็ดีใจที่ช่วยแบ่งเบาภาระ ของพ่อแม่ได้ทั้งหมด และไม่เคยอาย ถึง ครอบครัวจะจนแต่ผมมีศักดิ์ศรี กับค�ำมั่น สัญญาว่า สักวันหนึ่งเรานี่แหละจะเป็น คนดูแลครอบครัวของเราเอง ครั้งแรกที่ ได้ เข้ า มาอยู ่ ใ นรั้ ว มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง นี้ ก็


ตื่นเต้น แต่เอาเข้าไปจริงๆ ก็สนุก รุ่นพี่ที่คณะเทคแคร์เราอย่าง ดี เราเป็นน้อง ต้องเคารพรุ่นพี่ เข้ามาพร้อมกันเป็นเพื่อน เข้า ก่อนเป็นพี่ เข้าทีหลังเป็นน้อง โชคดีที่ผมได้เพื่อนดี ทุกคนใส่ใจ ซึ่งกันและกันช่วยกันท�ำงาน ช่วยกันสร้างกิจกรรมเลยได้ผ่าน มาหลายงาน ทั้งกิจกรรมวิ่งธง บียูเกม เชียร์หลีดเดอร์ หลายๆ งานเพราะตัวเองชอบแสวงหางานที่ท�ำได้ ยอมเสียสละให้กับ คณะเลยได้เข้ามาท�ำ เมื่อช่วงเวลาผ่านไป เราก็ได้รับต�ำแหน่งเป็นหัวหน้าชั้น ปีที่ 1 รุ่น 23 อีกทั้งยังเป็น สนวท. สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมกับวิศวกรทั่วประเทศ ได้ท�ำผลงานอีกหลายด้าน ถ้า ถามว่าท�ำไมไม่พูดถึงเรื่องเรียนเลย ใช่ครับ ผมเป็นเด็กกิจกรรมก็ ต้องหนักไปทางกิจกรรมมากกว่า แต่การเรียนของผมก็เต็มที่กับ ทุกงาน เพราะเราอยากเป็นตัวอย่างให้กับน้องรุ่นต่อไป เล่นได้ ก็ต้องเรียนได้ ผมท�ำกิจกรรมบ่อยแต่ผมก็สามารถสอนเพื่อนให้ เข้าใจในวิชาตามที่จะออกสอบได้เช่นเดียวกัน ก่อนวันสอบก็จะ รวมกันอ่านหนังสือติวกันไปด้วยโดยที่เราเป็นคนติวหนังสือให้ เพื่อนอยู่เสมอ เพราะอยากให้เพื่อนทุกคนจบไปพร้อมกันดั่งที่ เราฝันไว้ จนเวลาผ่านไปจนจบปี 1 เราสามารถท�ำตามที่ตนเอง ได้พูดไว้ด้วยการจบด้วยเกรดเฉลี่ย 4.00 นี่คือสิ่งที่อยากให้น้อง ดูว่า ถึงเราจะมีกิจกรรมมากแค่ไหน ยังไงเราก็ต้องรับผิดชอบ หน้าที่ของตนเองและรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ตนเองท�ำอยู่ครับ

มุ ม คิ ด เด็ ก ดี สิ่งที่ผ่านมาเราได้ศึกษาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เข้ามาในชีวิต ทุกครั้งที่ตนเองรู้สึกว่าเหนื่อย ลองมองย้อน กลับด้านหลัง ท่านทั้งสองคือ พ่อและแม่ท่านเหนื่อยกว่าเรา เราก็ต้องหาวิธีที่ท�ำให้ท่านสบายใจว่าเราสามารถอยู่ใน สังคมปัจจุบันได้ ครอบครัวผมไม่ได้มั่งมีเหมือนเพื่อนที่อยู่ในมหาวิทยาลัย ผมก็ไม่ได้ใส่ใจว่าเราต้องมีเท่ากับคนอื่น แต่เราพูดกับตัวเองเสมอว่าเราจะต้องมีอนาคตที่ดี เพื่อที่จะได้ดูแลครอบครัวและด้วยความโชคดีที่ไม่มีเพื่อนคนไหน เหยียดหยามเราเหมือนกับสังคมอื่นๆ เพราะเราช่วยเหลือเพื่อนทุกอย่างทั้งด้านการเรียนและคณะของตนเอง นี่คือ สิ่งที่เรารู้สึกว่าเพื่อนคือสิ่งที่ส�ำคัญในการด�ำรงชีวิต ตัวเราเองไม่ค่อยมีเงินเหมือนกับคนอื่นเราก็วิ่งหางานท�ำ ขายของ บ้าง เป็นกรรมกรบ้าง เงินได้วันละ 350 บาท เรายอมเหนื่อยที่จะได้ไม่ต้องขอพ่อแม่ อีกอย่างเราจะได้ประสบการณ์ การท�ำงานที่ตรงทางสายอาชีพของตัวเราเอง กรรมกรที่หลายคนมองว่าตํ่า ลองเอาตัวเองเข้าไปจุดนั้นดูครับ เราจะได้ รู้สึกเวลาออกไปทานข้าวแล้วใส่ชุดก่อสร้าง หลายคนมองด้วยสายตาที่ผมคิดว่าไม่มีความยุติธรรมเอาซะเลยในโลกใบ นี้ แต่ก็บอกกับตัวเองช่างเขา จะมองยังไงก็ช่างเขาเถอะ เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเป็นได้ด้วยตัวของเราเอง นี่คือหนึ่งความคิดที่ท�ำให้เราสู้จนท�ำให้เราได้รู้วิชา และเข้าใจความเป็นอยู่ของกรรมกร สุดท้ายนี้ทุกสิ่งทุกอย่างจะ เกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากความคิด ต้องรู้จักเรียนรู้ทุกสิ่ง อย่าเกี่ยงว่ามันหนักหรือเหนื่อย แต่จงสนุกกับทุกอย่างที่เข้ามา จงอยู่ในพื้นฐานของความพอเพียงและจงรู้จักพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีและประสบความส�ำเร็จกับสิ่งที่เลือกครับ

26 IS AM ARE www.fosef.org


บั น ทึ ก ความดี บันทึกความดีวันนี้ขอชื่นชม เยาวชนครอบครัวพอเพียงจากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ท่ามกลางน�้ำท่วมหนักในภาคใต้ยัง มีจิตอาสาจากน้องๆ เหล่านี้คอยช่วยคุณครูขนสัมภาระและเสบียงไปส่งถึงบ้านในซอยมุมป้อม ตัวเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งที่บ้าน ของพวกเขาก็เสียหายไม่แพ้กัน มูลนิธิครอบครัวพอเพียงขอชื่นชมอย่างยิ่งและขอให้มีก�ำลังใจในการช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป • นาย กิตติศักดิ์ สุขชนะ ม.309 เลขที่ 1 • นาย ฐิติกร เกื้อกูล ม.309 เลขที่ 6

• นาย วศินภัทร์ ณ นคร ม.309 เลขที่ 15 • นาย ณรงค์วิทย์ อัษดงษ์ ม.301 เลขที่ 4

27 issue 108 JANUARY 2017


“คาดเชือก คาดใจ ร้อยสัมพันธ์” จากมือเล็กๆ สู่ความเข้มแข็งของชุมชน “มีเด็กคนหนึ่งซึ่งท�ำให้ผมสะเทือนใจมาก เขาเห็น พี่เขาดมกาวที่ริมน�้ำ เขาบอกผมว่า ถ้าผมโตไปผมจะไม่เอา อย่างมัน เพราะมันท�ำสิ่งไม่ดี แต่เชื่อไหมครับ พอเด็กคนนั้น โตขึ้นมา เขาจบ ม.3 เขาแค่ผิดใจกับแม่นิดเดียวเรื่องเงิน เท่านั้น กลับกลายเป็นเขาเข้าไปอยู่ในวงจรยาเสพติดทันที โดยผู้ใหญ่ชักชวนเข้ามา พอเด็กไม่ได้ตังค์จากแม่ ผู้ใหญ่ก็ เริ่มเข้ามาละ ไม่ต้องขอหรอกเดี๋ยวเอาที่พี่ ท�ำงานกับพี่ ไป เลย เสียเลย” พิ ชิ ต เริ่ มจากหากิ จ กรรมเล็ ก ๆ อย่ า งกระบี่ ก ระบอง การแสดงศิลปะป้องกันตัวอย่างมวยไทย การละเล่นกระบอง ไฟ เพื่อดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ เกิดการรวมตัวกัน ผ่านการ สอดแทรกเรื่องราววัฒนธรรมโบราณ คุณธรรม จริยธรรม สร้าง พลังจิตอาสาและความสามัคคีให้แก่เด็กๆ โดยเริ่มจากเด็กไม่ถึง 10 คน ซึ่งเป็นแกนน�ำในปีแรก จนมีเครือข่ายเยาวชนจากชุมชน

“คาดเชือก คาดใจ ร้อยสัมพันธ์” คือ โครงการที่เกิด จากกลุ่มเด็กตัวเล็กๆ ภายใต้การน�ำของ พิชิต บุญจินต์ กรรมการ ชุมชนวัดสุวรรณาราม จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 เพื่อหวังดึงเด็กๆ ใน ชุมชนแออัดให้ห่างไกลจากความเสี่ยงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นร้าน เกม ยาเสพติด การล่วงละเมิดต่างๆ ซึ่งเด็กๆ มักจะตกเป็นเหยื่อ การกระท�ำจากผู้ใหญ่โดยไม่รู้ตัว พิ ชิ ต บุ ญ จิ น ต์ ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง กลุ ่ ม เยาวชนบ้ า นบุ สื บ สาน วัฒนธรรมท้องถิ่น ย่านบางกอกน้อย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว กล่าว ว่า ความเป็นชุมชนไม่แตกต่างกัน สมัยก่อนชุมชนที่พูดถึงกันก็ คือ “สลัม” แต่ปัจจุบันเรียกว่า “ชุมชน” ประสบปัญหาสภาพ แวดล้อม ยาเสพติด ปัญหาเยาวชน ปัญหาผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการ ล่อลวงให้เด็กเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติด ในฐานะสมาชิก ของชุมชนคนหนึ่ง พิชิตพบเจอปัญหาเหล่านี้กับตนเอง จึงท�ำให้ เกิดความคิด “ดึงเด็กให้ห่างไกลจากความเสี่ยง” 28

IS AM ARE www.fosef.org


เสี ย งจากประชาชน ใกล้เคียงเข้าร่วม สร้างสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เยาวชนผ่านกิจกรรมที่ หลากหลายขึ้นเรื่อยๆ “ผมเริ่มท�ำจากกลุ่มเล็กๆ เราใช้เรื่องวัฒนธรรมเป็นตัว ขัดเกลา เราใช้เรื่องการเล่นกระบองไฟ เพื่อปลูกฝังการมีจิต อาสาให้เขา อย่างน้อยปลูกฝังเรื่องคุณธรรมเข้าไปก�ำกับเขา ไว้ ที่น่าทึ่งคือ เขาได้เรียนรู้การมีจิตอาสา เขาสามารถท�ำกอง ขยะที่เป็นพื้นที่เอกชน กองขยะสูงเท่าหน้าอก เขาสามารถ ท�ำสนามเด็กเล่นเต็มรูปแบบเมื่อปีที่แล้ว โดยใช้งบประมาณ 4 แสนกว่าบาท เป็นเม็ดเงินจากคนที่เข้ามาเห็นขบวนการ พัฒนาพื้นที่จากกองขยะ โดยเด็กๆ ขนขยะไปรวมอีกข้าง หนึ่งของสนาม ท�ำให้เป็นลานดิน คนแถวนั้นจะเห็นภาพเด็ก 7-8 คน เดินถือบุ้งกี๋คนละข้าง ขนก้อนหินไปทิ้งเพราะอยากมี สนามเด็กเล่น เด็กประมาณ 7-8 ขวบ เข็นรถเข็น ภาพเหล่า นั้นท�ำให้คนเห็นสิ่งที่เราท�ำ ผมบอกเด็กๆ ว่ามันยากที่จะให้ ใครมาเห็นความดีที่เราท�ำ อยากท�ำท�ำไป ใครไม่เห็นไม่เป็นไร แต่เราเห็นก็พอ”

ร่วมกันขนขยะปรับพื้นที่ท�ำสนามเด็กเล่น

เราอยู ่ แ บบพอประมาณจริ ง ๆ ครั บ เราค่ อ ยๆ เป็ น ค่ อ ยๆ ท� ำ เราไม่ เ รี ย กร้ อ งอะไร เราท� ำ ดาบจิ๋ ว ขึ้ น มาซึ่ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องกระบี่ ก ระบอง เป็ น พวง กุ ญ แจ เพื่ อ จะซื้ อ ชุ ด และอุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ ของเด็ ก เราพึ่ ง พาตนเองก่ อ นจะไปพึ่ ง คนอื่ น

สนามเด็กเล่นในวันนี้จึงเป็นศูนย์รวมของเด็กๆ ในชุมชน บ้านบุและชุมชนใกล้เคียงในแถบวัดสุวรรณาราม อันเกิดจาก น�้ำพักน�้ำแรงของตัวเด็กเอง ก่อเกิดความรัก ความสามัคคี มีจิต อาสาช่วยเหลือพึ่งพากัน ในปีนี้จึงได้จัดงาน คาดเชือก คาดใจ ร้อยสัมพันธ์ เป็นครั้งที่ 4 ร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น เครือ ข่ายบางกองนี้ดีจัง สัปดาห์การอ่าน รวมถึงนักท่องเที่ยวและ ผู้สนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม และชาวบ้านใกล้เคียงที่เข้ามาร่วม สนับสนุนดูแลเด็กๆ มากขึ้น คาดเชือก คือ การน�ำศิลปะการต่อสู้มวยไทยมาแสดง โชว์ โดยมีการฝึกจากเด็กรุ่นสู่รุ่น พี่ฝึกให้น้อง น้องเชื่อฟังพี่ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ เด็กๆ จะมีการจัดแสดงโชว์ที่ สนามเด็กเล่นทุกๆ ปี รวมถึงช่วยงานบุญประเพณีต่างๆ ของวัด สุวรรณาราม และระแวกใกล้เคียง รวมถึงเขตบางกอกน้อย มีเด็ก รุ่นใหม่ๆ มาทดแทน หมุนเวียนดูแลกันไปเรื่อยๆ สร้างภูมิคุ้มกัน ให้เด็กๆ ห่างไกลจากความเสี่ยงต่างๆ คาดใจ คือ เมื่อเด็กๆ มีกิจกรรมที่ดีแล้ว จึงเกิดการรวม ตัวระหว่างชุมชนอื่นๆ เกิดเครือข่ายไว้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่ง กันและกัน ที่ส�ำคัญเกิดจิตอาสา เช่น การรวมตัวกันล้างตลาด

ก่อนจะเป็นสนามเด็กเล่น 29

issue 108 JANUARY 2017


เด็ก ๆ ในชุมชนกับสนามเด็กเล่น

พวกกุญแจดาบจิ๋วฝีมือเด็กๆ ท�ำความสะอาดชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือน บ้านของพวกเขาเอง จากพลังของเด็กๆ สามารถท�ำให้ผู้ใหญ่หันมาฉุกคิดในเรื่อง ของความเสียสละได้ในที่สุด ร้ อ ยสั ม พั น ธ์ เกิ ด จากความ เข้มแข็งในหมู่เด็กๆ จากการสร้างสนาม เด็ ก เล่ น ของตั ว เอง โดยการขนขยะสู ง ระดั บ อกเพื่ อ ปรั บ เปลี่ ย นภู มิ ทั ศ น์ ใ ห้ เป็นพื้นที่ใช้สอย ใช่เพียงสนามเด็กเล่น

อย่างเดียว หากเป็นที่พบปะ ที่พักผ่อน ของชาวบ้ า นในชุ ม ชน ที่ ป ระชุ ม และ เป็นศูนย์รวมเด็กๆ ให้อยู่ในสายตาของ ผู้ใหญ่ สร้างภูมิคุ้มกันทั้งต่อตัวเด็กและ ครอบครัว เชื่อมสัมพันธ์ให้คนในชุมชน กับคนภายนอกได้เห็นถึงความรักความ สามัคคี เกิดการขยายผลเป็นสถานที่ท่อง เที่ยวในชุมชนโดยมีเยาวชนท�ำหน้าที่ไกด์ ผลประโยชน์ก็ตกเป็นของชุมชนเอง 30 IS AM ARE www.fosef.org

“เราสอนเขาเรื่องความสามัคคี ความรัก ความปรองดอง เราสอนให้ เขารู้จักคุณธรรม งานในชุมชน ถ้าเรา ชวนผู้ใหญ่ยังไงเขาก็ไม่ไป แต่พอเราท�ำ ขบวนการเด็กขึ้นมา ไปไหนเขาก็จะไป กันหมด นั่นแหละครับ เราใช้วัฒนธรรม ในการขัดเกลา เราเชื่อว่าวัฒนธรรมไม่ ได้มีไว้เพื่อแข่งกัน แต่มีไว้เพื่อขัดเกลา จิตใจของเยาวชน” แม้ จ ะยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากภายนอกเรื่องเงินทุนหมุนเวียน แต่ พวกเขาก็พยายามดิ้นรนเพื่อหารายได้มา ตัดชุดร�ำกระบี่กระบอง ชุดแสดงมวยไทย และอุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ รวมถึ ง ค่ า อาหาร ส�ำหรับเลีย้ งเด็ก โดยท�ำพวงกุญแจดาบจิว๋ ขึ้นมา เพื่อขายหารายได้สมทบทุน อาศัย พ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า ในตลาดช่ ว ยส่ ง เสริ ม เรื่ อ ง สถานที่ ตั้ ง ขายและรั บ บริ จ าค อนุ ญ าต ให้วางขายหน้าร้านตนเอง ตอบแทนที่ เด็ ก ๆ มี จิ ต อาสาในการช่ ว ยล้ า งตลาด โดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาเห็นหรือให้ค่า ตอบแทน “เราอยู่แบบพอประมาณจริงๆ ครับ เราค่อยๆ เป็นค่อยๆ ท�ำ เราไม่ เรียกร้องอะไร เราท�ำดาบจิ๋วขึ้นมาซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของกระบี่กระบอง เป็น พวงกุญแจ เพื่อจะซื้อชุดและอุปกรณ์ ต่างๆ ของเด็ก เราพึ่งพาตนเองก่อน จะไปพึ่ ง คนอื่ น วั น นี้ ผ มระดมทุ น ได้ ประมาณ 14,000 บาท จากการขาย ดาบจิ๋วเล็กๆ เป็นพวงกุญแจ ท�ำจากไม้ ตะเกียบที่เหลือใช้ จากขวดน�้ำพลาสติก ที่ทิ้งไว้” การแสดงพลั ง ของเยาวชนใน ทางที่ถูกต้องสามารถเป็นก�ำลังหลักให้ กั บ บ้ า นเกิ ด ของเขาเองได้ หากผู ้ ใ หญ่ มองเห็ น และยอมเสี ย สละช่ ว ยชี้ แ นะ แนวทาง พิชิตกล่าวว่า ตัวเขาเองยอมรับ ว่าเหนื่อย เพราะการดูแลเด็กๆ ต้องมี


สนามเด็กเล่นเต็มรูปแบบในวันนี้

เด็กๆมีพื้นที่รวมตัวท�ำกิจกรรม 31 issue 108 JANUARY 2017


ลานการแสดงสนามเด็กเล่นในวันนี้ ผมท่องเพลงๆ หนึ่งชื่อ ความฝันอันสูงสุด พอเจอก็จะเรียกไป ท่องจนเรารู้จักเพลงนี้ จนกระทั่งท่านจากไป ที่ผมกลับมาท�ำให้ชุมชนส่วนหนึ่งคือ เราอาจจะได้ซึมซับ มาจากพ่อ และความผูกพันในชุมชน ครั้งแรกที่จับงานชุมชนมี คนถามว่าเรามีความรู้มากน้อยแค่ไหน เราไม่มีความรู้มากเท่า จิตอาสาท�ำความสะอาดชุมชน ไหร่ในเรื่องของชุมชน แต่เราคิดว่าเราเกิดที่นี่ เราควรท�ำอะไร ให้บ้านเราบ้าง ในเมื่อเรามีโอกาสได้มาท�ำกลุ่มเด็ก ได้เห็นทุกสิ่ง เราคิ ด ว่ า เราเกิ ด ที่ นี่ เราควรท� ำ อะไรให้ บ ้ า นเราบ้ า ง ทุกอย่างของเด็ก ได้เห็นปัญหาของชุมชน เรื่องราวของยาเสพติด ในเมื่ อ เรามี โ อกาสได้ ม าท� ำ กลุ ่ ม เด็ ก ได้ เ ห็ น ทุ ก สิ่ ง เราควรจะลุกขึ้นมาท�ำอะไรสักอย่างเพื่อบ้านเรา” ทุ ก อย่ า งของเด็ ก ได้ เ ห็ น ปั ญ หาของชุ ม ชน เรื่ อ ง จิตอาสาต่างๆ ที่เยาวชนกลุ่มนี้ท�ำนั้นไปไกลเกินกว่า ราวของยาเสพติ ด เราควรจะลุ ก ขึ้ น มาท� ำ อะไรสั ก สนามเด็กเล่นของพวกเขาเอง หากกลายเป็นสนามของชุมชน อย่ า งเพื่ อ บ้ า นเรา และเด็กทั่วไปแม้ไม่ได้เข้ามาช่วยลงแรงก็ตาม การเริ่มท�ำจาก ความรับผิดชอบสูง เด็กทุกคนล้วนมีพ่อมีแม่ แม้จะมีต้นทุน เล็กไปใหญ่ สามารถกระตุ้นเตือนจิตส�ำนึกในผู้ใหญ่ได้มากที ชีวิตที่ต่างกัน แต่การน�ำพวกเขามารวมกลุ่มจะท�ำให้เกิดความ เดียว ปัจจุบันชุมชนบ้านบุก�ำลังลุกขึ้นมาพัฒนาพื้นที่ของตัว เข้มแข็ง สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ได้มากมาย ล�ำพังตนเองจะไปชักชวน เองด้วยความร่วมมือกันของคนในชุมชน ภายใต้การน�ำของกลุ่ม ผู้ใหญ่มาร่วมท�ำจิตอาสาในชุมชนนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะต่าง พลังเยาวชนในพื้นที่ “ตอนนี้ก�ำลังท�ำตลาดวัดสุวรรณาราม เป็นโครงการ ต้องท�ำมาหากิน ไม่มีเวลาให้ส่วนรวม ต่างจากเด็กๆ ที่เขามี พลังสูง ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมได้ง่าย พวกเขาจึงรักกัน ที่เกิดจากภาคประชาชน จากคนในชุมชนเองล้วนๆ เพื่อร่วม เหมือนพี่น้อง แม้แต่เด็กรุ่นแรกๆ ที่โตแล้วก็ยังช่วยฝึกฝนดูแล กันสู่การท่องเที่ยวในเชิงพัฒนา เราเปิดบ้าน เปิดสถานที่ท่อง เทีย่ วในชุมชน งัดสิง่ ดีๆ ในชุมชนออกมา แล้วก็ยงั มีกลุม่ น้องๆ น้องเล็กตามล�ำดับ พิชิตเล่าถึงเหตุผลที่ท�ำให้เขาลุกขึ้นมาท�ำสิ่งเหล่านี้ทั้งที่ เยาวชนชุดนี้เป็นแรงก�ำลังหลัก ช่วยแม้กระทั่ง ล้างตลาด เรื่อง แทบจะไม่ได้เงินทองอะไรเลย ว่า “ชีวิตผมส่วนตัวเป็นลูกทหาร กิจกรรมการแสดง เพราะเราเองไม่มีเงินไปจ้าง แต่เราใช้น้องๆ พ่อเป็นแพทย์สนาม ผ่านสงครามเวียดนามมา ตอนเด็กผมก็ พวกนี้ท�ำ ให้เขารู้เรื่องของจิตอาสา เรื่องของการพัฒนาบ้าน ไม่เข้าใจว่าท�ำไมพ่อต้องกินเหล้าด้วย มารู้ทีหลังว่าท่านไปอยู่ เกิดเขาเอง ผมยังต้องดูแลเขาต่อไป ให้เขาโตขึ้นมาสามารถ เวียดนาม ในเรื่องของแพทย์สนามท่านไปเจอคนขาขาด ตาหลุด พัฒนาบ้านเกิดของเขาเองได้” พิชิตกล่าวทิ้งท้าย ผู ้ ส นใจสนั บ สนุ น กิ จ กรรมเด็ ก ๆ สามารถติ ด ต่ อ ได้ ที่ พอกลับมามันก็ติดตาติดใจ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านท�ำคือ ท่านรักษา ชาวบ้านโดยไม่คิดเงิน เราก็ไม่รู้เหตุผลว่าท�ำไม ท่านจะสอนให้ เฟสบุ๊ค : กลุ่มเยาวชนบ้านบุสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ย่าน บางกอกน้อย 32 IS AM ARE www.fosef.org


จิตอาสาล้างตลาดในชุมชน

พิชิต และ กลุ่มพลังเยาวชนในชุมชน 33 issue 108 JANUARY 2017


บทเรียนชี วิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 3 NEW GEN KANLAYANEE

สู ้ วิ ก ฤติ น�้ ำ ท่ ว ม : ความสุ ข ความรู ้ ควบคู ่ คุ ณ ธรรมกั บ หลากหลายกิ จ กรรมที่ ม ากั บ น�้ ำ (น�้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย ว) ณ สนามหน้าเมือง วันนั้น 31 ต.ค. 2559 ภาพประวัติศาสตร์แปรอักษรเลข ๙ ของชาวนครศรีธรรมราช มาวันนี้ 22 - 23 พ.ย.2559 ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช กับการรวมตัวกันของจิตอาสาครอบครัวพอเพียงโรงเรียนกัลยาณี ศรีธรรมราช โรงเรียนเชียรใหญ่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช และ โรงเรียนเครือข่ายครอบครัวพอเพียง ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ พอเพียง เนื่องในงานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา 2559 ภายใน งาน มีการสกรีนเสื้อครอบครัวพอเพียง เป็นของที่ระลึกให้แก่ผู้เยี่ยมชม

สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะน�้ำท่าอุ ดมสมบู รณ์ดี เราจึง “ชวนกัลฯ เที่ยว”

เที่ยวเมืองนคร ตลาดน�้ำ น�้ำตก ทะเล ภูเขา ส่งเสริม การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นท้ายปี ภารกิจนี้...จิตอาสาครอบครัว พอเพียง ขอเชิญชวนพี่น้องผองเพื่อนมาเที่ยวกัน สร้างสาย สัมพันธ์ เชื่อมโยงผูกพัน สร้างรักภายในครอบครัวและกลุ่ม เพื่อน

ความสุขปี ใหม่จากใจผู ้รับ...

นอกจากจะมีความสุขที่ตนเองได้ท�ำความดี ชวนเพื่อน ท�ำดี ท้ายปี ได้รับมอบปฏิทินปีใหม่ จากมูลนิธิครอบครัวพอ เพียง ส่งต่อความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกัน ทั้งผองเพื่อน คุณครู ผู้ บริหาร ชาวกัลยาณีศรีธรรมราช ได้รับสิ่งดีๆ มาโดยตลอด ใน โอกาสนี้ ขออ�ำนวยอวยพรความสุขที่ได้รับ ขอให้ย้อนกลับไป ยังเพื่อนผองน้องพี่ครอบครัวพอเพียง ผู้มีอุดมการณ์ตั้งมั่น ท�ำ ดี ไม่มีสิ่งไหน ส�ำคัญเท่าส่วนรวม ขอให้ทุกคนมีแต่รอยยิ้ม มีความสุขกายสบายจิต เหล่ามิตรสหายรักใคร่ผูกพัน มีพละก�ำลังร่วม กันสรรค์สร้างกิจกรรมดีสู่สังคม นะคะ

34 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่าเรื่อง ภารกิจครอบครัวพอเพียง ท้ายปี 2559 ชวนกัลฯ 5R : จิตอาสาเพื่อส่วนรวม

พวกเราร่วมด้วยช่วยกัน ปลุกกระแส ชาวกัลยาณี ให้ REDUCE ลดปริมาณขยะ REUSE น�ำมาใช้ซ�้ำ REPAIR ซ่อมแซมโต๊ะเรียน REJECT หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ และRECYCLE แปรสภาพสิ่งของให้ สามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ กระปุกออมสินจากขวดน�้ำและวัสดุในท้องถิ่น ออมเพื่อน้อง น�ำความรู้สู่ชุมชน

ในวันที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 นางสาว ชลิตา สุริยะรัชนี ชั้น ม.3/9 หัวหน้าทีม พร้อมด้วย สมาชิกในทีม รวมทัง้ หมด 25 คน อาสาขอจัดกิจกรรม พี่สอนน้อง ณ โรงเรียนวัดท่าช้าง ต�ำบลนาพรุ อ�ำเภอ พระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

35 issue 108 JANUARY 2017


ภารกิจครอบครัวพอเพียง เดือนมกราคม 2560 จิตอาสาครอบครัวพอเพียง

เช้าตรู่ของวันเด็กทุกปี ชาวเมืองนครศรีฯ เรามีนัดกัน ชวนกัลฯ ท�ำบุญให้ทานไฟ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ภิกษุสงฆ์ สร้าง สามัคคีในหมู่คณะ ผลบุญท�ำให้จิตใจเบิกบาน สุขภาพแข็งแรง และเป็นแบบอย่างแก่รุ่นน้องต่อไป

18 – 20 มกราคม 2560 จิตอาสายุวกาชาดครอบครัวพอเพียง ร�ำเพลงมาลัย ชาวค่าย ในการเข้าค่ายพักแรม ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ม.2 สร้างวินัยในตนเอง รู้รักสามัคคี สืบสานประเพณี สร้างความสนุกสนาน ในการชุมนุมรอบกองไฟ

น�้ำมา ไม่มีปลา มีแต่มด น�้ำลด ไม่มีมด มีแต่ปลา (ปลากระป๋ อง)

เริ่มต้นปี 2560 น�้ำป่าถล่มเมืองใต้ อ่วมกันทั่วทิศ น�้ำค�ำไหนที่เคยเรียนแต่ตัว หนังสือ ได้ยินแต่ในข่าว ตอนนี้รู้ซึ้ง ได้เจอกับตัวเอง เล่าข่าวพูดเป็น ค�ำติดปาก น�้ำป่า ไหลหลาก น�้ำป่าทะลัก น�้ำทะเลหนุน ฝนตกเพิ่ม รถเล็กผ่านไม่ได้ เส้นทางตัดขาด เดือด ร้อนต่อเนื่อง บางพื้นที่ ท่วมสูงเกือบมิดหลังคา ไฟฟ้าดับร่วมสองอาทิตย์ ติดต่อไม่ได้ บ้าน วัด โรงเรียน เสียหายจากน�้ำท่วม เราจึงชวนกัลฯ อาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม ทุกกิจ จิตอาสา เด็กๆ ช่วยได้ ท�ำความสะอาดพื้นที่ส่วนร่วม อาสาตากล้อง บรรจุสิ่งของ บริจาคสิ่งของ เสื้อผ้า 36 IS AM ARE www.fosef.org


น�้ำหล่อเลี้ยงชี วิต มิตรหล่อเลี้ยงใจ

ข้าวสารอาหารแห้ง ส่งมอบโดยตรง ลงพื้นที่จริง ใช้มือถือที่ตน มีสื่อสารรายงานสถานการณ์น�้ำ ผ่านทุกช่องทางสื่อ... และวัน เด็กที่ผ่านมาได้ส่งมอบเสื้อผ้าสิ่งของจากศูนย์ครอบครัวพอเพียง โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชและมูลนิธิครอบครัวพอเพียงให้กับ เด็กๆ และชาวบ้านบ้านบางคลุ้ง ต.ชะอวด อ.ชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช

ศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศ ร่วมด้วย ช่วยชาว ใต้ ฝากศูนย์ครอบครัวพอเพียงกัลยาณีศรีธรรมราช เราอาสา น�ำกระเป๋าใบใหม่พร้อมเครื่องเขียนให้น้องผู้ประสบภัยน�้ำท่วม ...ปลายเดือนมกราคม 2560 นี้ น�้ำจะท่วมกี่รอบ เราก็จะอาสา ช่วยน้องทุกรอบคะ

ทีม NEW GEN Kanlayanee ทูตความดีนครศรีธรรมราชศูนย์ครอบครัวพอเพียง โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อาสาส่งมอบสิ่งของเพื่อน้องผู้ประสบภัยน�้ำท่วม.... 37 issue 108 JANUARY 2017


ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ

38 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

39 issue 108 JANUARY 2017


40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 108 JANUARY 2017


“ริ้วรอยสรรพสีสัน” ต�ำนานชีวิตและสังคม

ประเทือง เอมเจริญ

เป็นบุคลิกและเอกลักษณ์โดดเด่น ที่ปรากฏให้เห็น ในงานแนวธรรมชาติ ธรรมะ ทุกชิ้นงาน รวมถึงงาน ที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคม สะท้อนชีวิตผู้คนในช่วงยุค พ.ศ. 2516-2519 ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทที่มีต่อการสร้างสรรค์ งานศิลปะ ที่กลมกลืนไปกับชีวิตทุกลมหายใจเข้า ออก ดอกผลแห่ ง ความพยายามที่ ส ม�่ ำ เสมอเรื่ อ ย มาได้ปรากฏรูปให้เห็นในผลงานจิตรกรรมจ�ำนวน มากมาย ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นตลอดเวลากว่า 5 ทศวรรษ ด้วยความต่อเนื่อง ยังผลให้ได้รับการประกาศยกย่อง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในปี พ.ศ. 2548 และการประกาศเกียรติคุณกับรางวัลความส�ำเร็จอีก มากมายในชีวิต

พ.ศ. 2478 ธนบุ รี , กรุ ง เทพมหานคร เพราะบิดาเสียชีวิตอย่างกระทันหันในวัยเด็ก จึงเล่าเรียนเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้อง ออกมาหางานท�ำ หารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัว ด้วยการท�ำงานรับจ้างสารพัด ทั้งกรรมกรแบกหาม และอื่น ๆ กระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ได้ตามพี่ชายเข้าไป ฝึกงานในบริษัทโฆษณา มีโอกาสสั่งสมประสบการณ์ ด้านการวาดรูป พัฒนาฝีมือเชิงช่างจนจัดเจน รับ งานวาดคัตเอ้าท์โฆษณามากมาย จนได้ดูหนังเรื่อง “Lust for Life” ชีวิตก็พบกับจุดหักเห ทิ้งงาน รับจ้างที่มีรายได้มากมาย ด้วยการตัดสินใจเป็นคน วาดรูปอย่างทุ่มเทจริงจัง ศึกษาฝึกฝนศิลปะมาด้วย ตนเอง โดยเฉพาะการศึกษาจากธรรมชาติที่สร้าง สมก่อเกิดทักษะทฤษฎีการใช้สีพิเศษเฉพาะตัว อัน 42

IS AM ARE www.fosef.org


ผลงานของ ประเทือง เอมเจริญ จะแบ่งออกเป็น 5 ยุค ซึ่ง ประกอบด้วยงานจิตรกรรม งานวาดเส้น และบทกวีของประเทือง เอมเจริญ จากปี พ.ศ.2506 จนถึงปี พ.ศ.2550 รวมจ�ำนวนราว 100 ชิ้น ทั้งนี้ ผลงานแต่ละชิ้นของแต่ละช่วงเวลา จะแสดงให้เห็น ถึงพัฒนาการ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะของ ประเทือง เอมเจริญ ที่เพียรศึกษา ค้นคว้า ทดลอง แสวงหา ด้านศิลปะมาด้วยตัวเอง โดยไม่ได้ผ่านหลักสูตรศิลปะตามระบบสถาบันการศึกษาแห่งใด เลย นั่นจึงท�ำให้การค้นคว้า พัฒนาศิลปะสร้างสรรค์ของ ประเทือง เอมเจริญ เป็นอิสระจากกรอบกฎเกณฑ์ ตลอดจนค่านิยมความ เชื่อที่อาจมีการเผยแพร่ครอบง�ำอยู่ตามสถาบันต่างๆ การคิดค้น สร้างสรรค์ ผลงานศิลปะของประเทือง จึงมีเสรีภาพในการเปิดโลก ทัศน์ ความคิดความเชื่อ เพื่อพัฒนาตนเอง โดยปลอดไร้กฎเกณฑ์ และด้วยความทุ่มเทตั้งใจ การศึกษาอย่างเปิดกว้างหลากหลาย การอ่านและค้นคว้าอย่างไม่หยุดนิ่ง รวมถึงการลงไปสัมผัสปฏิบัติ เพื่อแสวงหาความรู้ ความคิดตามวิถีแห่งตน ด้วยความใกล้ชิดจนรู้ กระจ่างแจ่มแจ้ง ช่วยท�ำให้ประเทืองค้นพบหนทางการเข้าถึงทฤษฏี แห่งสีที่แตกต่างแปลกใหม่กระทั่งสามารถน�ำมาใช้สร้างสรรค์ผล งานให้เกิดความโดดเด่น กลายเป็นคุณลักษณะทางด้านรูปแบบที่ มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะตัวที่บ่งชี้และสะท้อน ตัวตนของ ประเทือง เอมเจริญ ได้ชัดเจนที่สุด ดังจะเห็นได้จากผล งานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา โดยเฉพาะในผลงานจิตรกรรม นั่นก็

คือ “สีสัน” ที่ปรากฏในภาพผลงานของเขา ซึ่งเต็มไปด้วยความ สดสว่าง สะอาดบริสุทธิ์ อันเป็นฉบับของตัวเขาเอง ยุ ค ที่ 1 เริ่ ม ต้ น ค้ น คว้ า ทดลอง แสวงหา “Lust For Life” ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยชีวิตของศิลปิน ระบือนามในกลุ่มศิลปะลัทธิ “Post-Impressionism” ซึ่ง เข้าฉายที่กรุงเทพฯ เมื่อ 50 กว่าปีก่อน นับว่ามีอิทธิพลอย่าง มากมายต่อ ประเทือง เอมเจริญ ในวัย 27 ปี เพราะได้กระตุ้น เร้ า ให้ เขาตั ด สิ น ใจทิ้ ง ชี วิ ต ที่ เ คยสุ ข สบาย มี เ งิ น เดื อ นใช้ จ ่ า ย เหลือเฟือส�ำหรับเลี้ยงดูครอบครัวเพื่อมุ่งสู่การด�ำเนินชีวิตเป็น “คนท� ำ งานศิ ล ปะ” ผลงานช่ ว งเริ่ ม ต้ น ของเขาจึ ง มี อิ ท ธิ พ ล ด้ า นรู ป แบบแนวคิ ด ของศิ ล ปะ “Post-Impressionism” และศิลปะแนวอื่น ๆ ปรากฏสอดแทรกผสมผสานร่วมกันชิ้น งานจิตรกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2505-2509 จึงมีรูปแบบ เนื้อหา 43 issue 108 JANUARY 2017


และการถ่ายทอดแสดงออกที่ค่อนข้างแตกต่างหลากหลาย โดยช่วงแรก ๆ มักเน้นใช้สีด�ำหรือโครงสีทึบเข้มเป็นหลัก ก่อนจะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนเป็นภาพวาดสีสันที่สดสว่างขึ้นแต่เพราะยังไม่ช�ำนาญจัดเจน รวมถึงข้อจ�ำกัดทางด้านเงินทอง มีผลท�ำให้โครงสีในชิ้นงาน แลดูขุ่นหม่น ไม่สะอาด สว่าง กระจ่างสดใส เหมือนเช่นงานยุคถัดต่อมา ส่วนเนื้อหาที่ได้รับการถ่ายทอดบอกเล่า ล้วนเกี่ยวข้อง กับสภาพอารมณ์ ความรู้สึก รวมถึงปรากฏการณ์ความเป็นมาในบางแง่มุม ทั้งที่มีต่อชีวิตของตนเอง ต่อผู้คน และหรือสังคมรอบ ข้างของยุคสมัยนั้นด้วย

ปากน�้ำปราณบุรี

หุ่นนิ่ง “ปากน�้ ำ ปราณบุ รี ” “ครอบครั ว ” “สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความทุ ก ข์ ” และ “หุ ่ น นิ่ ง ” ผลงานทั้ง 4 ชิ้นนี้ เป็นงานยุคเริ่มต้นของ ประเทือง เอม เจริญ ที่รังสรรค์ขึ้นในช่วงเริ่มต้นเป็นคนท�ำงานศิลปะในราวปี พ.ศ.2505-2507 เห็นชัดถึงอิทธิพลของกลวิธีการวาดภาพตาม แบบศิลปะ post-impressionism และ expressionism ซึ่งเป็น แนวทางที่ประเทือง ได้รับแรงบันดาลใจจากการชมภาพยนตร์ เรื่อง “Lust For Life” และน�ำมาใช้เป็นบรรทัดฐานเพื่อศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝนพัฒนาตนเอง โครงสีเน้นใช้สีด�ำ เทา น�้ำเงิน ที่ เป็นกลุ่มสีทึบเข้มเป็นหลัก สอดคล้องไปกับเนื้อหาที่หยิบน�ำมา ถ่ายทอดบอกเล่า อันได้แก่เรื่องราวความทุกข์ยาก ล�ำบากบีบ คั้นของชีวิตที่แวดล้อมอยู่รายรอบ ทีท่าลีลาการวาดระบาย ยัง

สัญลักษณ์แห่งความทุกข์ ไม่ใคร่ช�ำนาญช�่ำชอง รอยแปรงพู่กันที่ป้ายเนื้อสีหนาเป็นก้อน ยังมีความหยาบปรากฏให้เห็น ซึ่งสัมพันธ์กับสภาพความล�ำบาก ยากแค้นในชีวิตของตัวประเทือง ที่อยู่ในช่วงอัตคัดฝืดเคือง

44 IS AM ARE www.fosef.org


ยุ ค ที่ 2 พบธรรมะ ในธรรมชาติ สื่ อ ผ่ า นนามธรรม จากปี พ.ศ. 2510-2520 เป็นยุค แห่งการเริ่มต้น “ค้นพบ” ตัวตนอันเด่น ชั ด ของตนเอง ภายหลั ง จากที่ ทุ ่ ม เวลา ศึกษาเฝ้ามองล�ำน�ำความเคลื่อนไหวเป็น ไปของธรรมชาตินานหลายปี จนซึมซาบ และค้ น พบทฤษฎี “น�้ ำ หนั ก -แสง-สี ” จากธรรมชาติ แล้ ว กลั่ น ย่ อ ย สะท้ อ น ถ่ า ยทอดออกมาเป็ น ผลงานที่ มี บุ ค ลิ ก

เฉพาะตัว ดังพบเห็นได้จากงานจิตรกรรม นามธรรมโครงสีสดเข้ม ฉูดฉาดจัดจ้าน อย่ า งผลงาน “พลั ง แห่ ง จั ก รวาล” หรื อ “ก� ำ เนิ ด เหนื อ ทะเลสี ท อง” ที่ สื่ อ แสดงจั ง หวะลี ล าความเคลื่ อ นไหว ไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ของพลั ง ชี วิ ต อั น ยิ่ ง ใหญ่ ใ น ธรรมชาติหลากแง่มุม นอกจากนี้ในยุค ที่ 2 ประเทือง เอมเจริญ ยังได้สร้างผล งานชุด “นามธรรม” อีกรูปแบบที่แตก ต่างออกไป ซึ่งเป็นอิทธิพลจากกระแส

“ศิ ล ปะนามธรรม” ของตะวั น ตก ที่ ก�ำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในแวดวง ศิลปะร่วมสมัยของไทยสมัยนั้น ( พ.ศ. 2510 ) ทั้งนี้ ประเทืองสามารถสร้างสรรค์ ผลั ก ดั น ผลงานนามธรรมแนวนี้ของเขา ให้ประสบความส�ำเร็จ เป็นที่ยอมรับ ทั้ง คว้ารางวัลจากการประกวด “การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ” และ “จิตรกรรม บัวหลวง” ติดต่อกันหลายครั้ง

พลังจักรวาล – พลังธรรมชาติ 1

พลังจักรวาล – พลังธรรมชาติ 2

ชุ ด ผลงาน พลั ง จั ก รวาล – พลั ง ธรรมชาติ เป็นผลงานที่ ประเทือง เอมเจริญ เริ่มสร้างสรรค์ให้ ปรากฏตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเวลาภาย หลังจากที่เขาได้ใช้เวลาในแต่ละวัน เฝ้าศึกษาธรรมชาติความ เป็ น ไปของสี แ สงในดวงอาทิ ต ย์ ธรรมชาติ การเคลื่ อ นไหว เปลี่ยนแปลงของเมฆบนท้องฟ้า สายน�้ำในห้วยหนองคลองบึง สายลมที่เล่นล้อกับต้นไม้ใบหญ้าการเกิดการงอกเงยเติบโตของ พืชพันธุ์ กระทั่งน�ำพาประเทืองก้าวสู่การค้นพบทฤษฎีสีแสง ฉูดฉาด จัดจ้าน สดสว่างเต็มไปด้วยชีวิตชีวา และแง่มุมความ แปลก แตกต่างอันหลากหลายของธรรมชาติ ซึ่งประเทืองได้ ระบายถ่ายทอดปรากฏการณ์แห่งการค้นพบของเขา ออกมา เป็นภาพเขียนสีสดสวยเหล่านี้อย่างต่อเนื่องมากมาย จนกลาย เป็นอัตลักษณ์และบุคลิกเฉพาะตัวของ ประเทือง เอมเจริญ ที่ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน

“โลหะ” และ “วาดเส้ น ” “Metal” and “Drawing” งานทั้งสองชิ้นนี้ เป็นงานที่บ่งชี้ชัดเจนว่า ประเทือง เอม เจริญ สนใจที่จะฝึกฝนพัฒนาการท�ำงานศิลปะของตนด้วยการ เปิดกว้าง ต้อนรับกับข้อมูลต่างๆ ที่ได้พบเจอ และหากพบว่า น่าสนใจ สอดคล้องกับนิสัยความชื่นชอบของตน ก็จะทดลอง ฝึกฝนรังสรรค์งานที่ให้อิทธิพลหรือแรงบันดาลใจเหล่านั้น ตาม แบบอย่างแนวทางของตนเองซึ่งงานลายเส้นทั้งสองชิ้นนี้ จาก ผลงานจ�ำนวนหลายต่อหลายชิ้นที่ได้วาดขึ้น มีความสอดคล้อง คล้ายคลึงกับผลงานของศิลปิน surrealism บางคน อาทิ ซัล วาดอร์ ดาลี,เรอเน่ มากริตต์ ตัวผลงานบ่งชี้ให้เห็นว่าทักษะฝีมือ ของประเทืองนั้น มีความจัดเจนช�่ำชองเพิ่มมากขึ้นจากปีเริ่มต้น อย่างเด่นชัด ทั้งการวาดสร้างรูปทรง การจัดวางจังหวะน�้ำหนัก แสงเงาในภาพผลงาน

45 issue 108 JANUARY 2017


วาดเส้น

โลหะ

จากก้อนหินถึงคณะรัฐมนตรี

ยุ ค ที่ 3 สั ง คม ชี วิ ต การเมื อ ง...กั ม ปนาทกึ ก ก้ อ ง ผลงานจิตรกรรมที่จัดอยู่ในยุคนี้ ซึ่งครอบคลุมเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 ปี ( พ.ศ. 2516-2519 ) ถือเป็นผลงานที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เนื่องเพราะเป็นงานจิตรกรรมเพียงชุดเดียว ที่เป็นการหยิบน�ำเอาเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึก ที่พึงมีต่อความเป็นไปในทางการ เมืองและความพลิกผันของสังคมไทย มาถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรม เนื้อหาเข้มข้นแหลมคม อันเป็นช่วงยุคที่ประชาธิปไตยของไทยก�ำลัง “เบ่ง บาน” จากนั้น ในอีกสองปีกว่า ๆ สังคมก็พลันตกหล่มรัฐประหารเพราะการ ยึดอ�ำนาจล้มรัฐบาลที่อุบัติเกิดขึ้นอีกครั้งในยุค “ขวาพิฆาตซ้าย” เมื่อภาค รัฐเลือกใช้ความรุนแรง “ล้อมปราบ” นิสิต นักศึกษา ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่พยายามทวงถามความยุติธรรม จนบาดเจ็บล้มตายในเหตุการณ์ “6 ตุลา 2519” ซึ่งไม่เพียงแต่จะท�ำให้สิทธิเสรีแบบประชาธิปไตยของสังคม ไทยต้องถดถอยกลับสู่ยุคมืดมนเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลให้เส้นทางการ สร้างงานศิลปะที่มีเนื้อหาสะท้อนเรื่องราวบาดแผลในสังคมร่วมสมัยอย่าง โดดเด่นคมคายของประเทือง สะดุดหยุดชะงักตามไปด้วย ศิ ล ปะเพื่ อ ชี วิ ต ศิ ล ปะเพื่ อ ประชาชน Art for Life, Art for people ผลงานในยุ ค ที่ 3 เป็ น กลุ ่ ม ผลงานที่ ป ระเทื อ งสร้ า งสรรค์ ขึ้ น ใน ระหว่างปี พ.ศ. 2516-2519 อันเป็นช่วงเวลาที่คนหนุ่มสาวตามสถาน ศึกษามีความตื่นตัวทางการเมือง ให้ความสนใจต่อความเป็นไปในสังคม ประชาธิปไตยและเสรีภาพในการ คิด พูด แสดงออก เบ่งบานในสังคม ประเทือง เอมเจริญ ก็เป็นผู้หนึ่งที่ก้าวร่วมไปกับบรรยากาศทางสังคม การเมืองสมัยนั้น ซึ่งน�ำพาให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานชุดที่จัดเป็นหลัก ไมล์ที่ส�ำคัญโดดเด่นของกระแส “ศิลปะเพื่อชีวิต” ของแวดวงศิลปะร่วม สมัยเมืองไทย ผลงานบรรจุด้วยเนื้อหา ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ที่ เข้มข้น คมคาย แสดงผ่านรูปทรงสัญลักษณ์มากมายในแต่ละชิ้นงาน บอก เล่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นอยู่ในสังคมไทยบางแง่มุมได้แจ่มชัดยิ่ง “ธรรม อธรรม” ได้สร้างพลังการรับรู้ให้กับผู้ชมเป็นจ�ำนวนมากตกอยู่ ภายใต้ภวังค์ของเหตุการณ์ที่ศิลปินได้บันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ทาง ศิลปะ และจากเหตุการณ์มหาวิปโยคนี้เองที่ท�ำให้ศิลปินได้สร้างผลงานใน ชิ้นอื่นๆตามมาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะความทุกข์ยาก ข้าวยากหมาก แพงความเน่าเฟะของสังคม เช่น “พระพุทธเจ้าทรงบ�ำเพ็ญทุกรกิริยา” ที่ศิลปินสะท้อนออกมาในเชิงสัญญะ โดยสื่อให้เห็นถึงความทุกข์ทรมาน ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยกับช่วงที่พระพุทธเจ้าทรงบ�ำเพ็ญภาวนาสมาธิอด อาหาร และภาพที่ปรากฏใต้องค์ประธาน นอกนั้นยังมี “จากก้อนหิน ถึงคณะรัฐมนตรี” “รองเท้า กระป๋องนม หัวหมาเน่า” “กระหล�่ำปลี” และ “กรรมกร” เป็นต้น ผลงานเหล่านี้เป็นผลงานที่สะท้อนบริบทเรื่อง ราวทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม จนกลายเป็นภาพจ�ำแห่งยุคศิลปะเพื่อ ชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน 46 IS AM ARE www.fosef.org


ธรรม อธรรม ธรรม อธรรม ผลงานชิ้นนี้เป็นภาพสะท้อนบริบททางเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง สังคม ในช่วงเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือที่ เรียกว่า “วันมหาวิปโยค” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่ว ประเทศได้ลุกฮือขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการ ทหาร ในขณะนั้น จนก่อให้เกิด การใช้ก�ำลังทางทหารเข้ า ปราบปรามผู ้ เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และท�ำให้มีผู้บาดเจ็บ ล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก ผล จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ท�ำให้ศิลปินได้รับแรงสะเทือนใจต่อการกระท�ำที่ไม่ เป็นธรรมต่อพลังบริสุทธิ์ของผู้เรียกร้องใฝ่หาถึงเสรีภาพและรัฐธรรมนูญที่ เป็นประชาธิปไตย จึงได้สร้างสรรค์ผลงานขนาดใหญ่เพื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์การเรียกร้องในครั้งนั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึง อ�ำนาจอธรรมกระท�ำต่อฝ่ายธรรมะในฐานะที่เป็นพลังบริสุทธิ์ โดยศิลปิน ได้ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อเป็นตัวแทนฝ่ายธรรมะ เช่น ธรรมจักร รูป ใบหน้าผู้คน เศียรพระพุทธรูปดอกไม้สีขาว ภายใต้พลังของสีสันและความ เคลื่อนไหวของรูปลักษณ์ต่างๆ ที่สอดประสานให้เห็นถึงพลวัตของภาพผล งาน จะเห็นว่า ดาบ หอก กระบอกปืนและลวดหนาม ซึ่งเสมือนเป็นภาพ ตัวแทนของฝ่ายอธรรมได้ขับเคลื่อน บดบี้ บีฑา เต็มไปด้วยริ้วรอยแห่ง บาดแผลและความตาย แสงฉานที่ระอุร้อนดั่งคบเพลิงได้ผลาญพลังแห่ง ธรรมะจนมอดไหม้ 47 issue 108 JANUARY 2017

ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน


ผู้หญิง - ผู้ชาย

ข้าวเปลือกคุณธรรม ยุ ค ที่ 4 ดอกผลสุ ก งอม สมบรู ณ ์ กลมกลื น ผลงานนับจากปีพ.ศ. 2521 จนถึงพ.ศ. 2535 จัดเป็น ห้วงเวลาแห่งความสุกงอมอย่างสมบรูณ์ลงตัว บนวิถีการสร้าง ศิลปะของ ประเทือง เอมเจริญ ไม่ว่าจะด้านทักษะฝีมือหรือ การถ่ายทอดประสบการณ์จินตนาการ ผ่านวุฒิภาวะความคิด ที่เติบโตเต็มวัย ประเทืองออกท่องตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อซึมซับ รับรู้ทุกอณูความรู้สึกที่ภาวะจิตวิญญาณภายในของ

เขาสัมผัสตอบโต้กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน การถ่ายทอดแต่ละ แง่มุมความรู้สึก หลั่งไหลผ่านจินตนาการ และประสบการณ์ ส่วนตนให้ปรากฏรูปเป็นผลงานที่อุดมไปด้วยเสน่ห์แห่งสีสัน อันสดใสสวยงาม สว่างกระจ่างสะอาดตา ทอประกายของชีวิต ของธรรมชาติที่เปล่งปลั่งอย่างกลมกลืน สมบูรณ์ ลงตัวจัดเป็น ห้วงเวลาแห่งความสุกงอมอย่างสมบูรณ์ลงตัว ทั้งทักษะ ฝีมือ และวุฒิภาวะความคิด บนวิถีการท�ำงานศิลปะ 48

IS AM ARE www.fosef.org


บทเพลงแห่งวันและคืน (บนซ้าย)

ทุ่งนาสีทอง 49 issue 108 JANUARY 2017


ยุ ค ที่ 5 หลุ ด พ้ น ทดลอง แสวงหา สร้ า งสรรค์ ไม่ ส้ิ น สุ ด ผลงานในยุคนี้ ไล่เรียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เรื่อยมา ซึ่งนับได้ว่าเส้นทางการท�ำงานศิลปะของประเทือง ก้าวถึง จุดสูงสุดของความส�ำเร็จไม่เพียงแต่จะได้รับการยกย่อง อย่างกว้างขวาง ผลงานเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งใน และต่างประเทศ หากทว่ายังได้รับการเชิดชูเกียรติ “ศิลปิน แห่งชาติ” ในปี พ.ศ. 2548 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) อีกด้วย แต่ความส�ำเร็จเหล่านี้ ก็ไม่สามารถกักขังจองจ�ำ ประเทือง ไว้กับชื่อเสียงความส�ำเร็จเดิม ๆ เนื่องเพราะเขา ยังคงมุ่งหน้าค้นคว้าทดลอง เพื่อแสวงหาความแตกต่างที่ แปลกใหม่ของการสร้างศิลปะอย่างไม่หยุดนิ่ง ดังเช่นที่ผู้ ชมจะพึงประจักษ์พบว่างานในยุคนี้ของประเทือง มีลีลา การวาดระบายถ่ายทอดจินตนาการเรื่องราว อันเกี่ยวเนื่อง กับธรรมะ ธรรมชาติ และชีวิตสรรพสิ่งอย่างเสรี ไม่ยึดติด กับกรอบความคุ้นเคยของตน ผลงานจึงมีท่วงทีลีลาการ เคลื่อนไหววาดระบายเนื้อสีที่เป็นอิสระ มีการใช้ฝีแปรง หลากหลายขนาด เพื่อสะบัด ปาด ป้าย ถู ขยี้ หรือการขูด ขีดให้เกิดริ้วรอยร่องลึกของเส้นสายด้วยมือ ด้วยนิ้ว ด้วย

เขาควาย

สึนามิ วัสดุอื่น ๆ ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ท่ีช่วยส่องสะท้อนให้เห็นถึงลม หายใจศิลปะอันไม่เคยหยุดนิ่งย�่ำซ�้ำอยู่กับที่ของประเทือง เอมเจริญ แม้ในวันวัยที่ล่วงเลยมากว่า 70 ปีแล้วก็ตาม

พลังจักรวาล – พลังธรรมชาติ

ตู ้ ใ บที่ 3 นอกเหนือจากการวาดระบายถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ จินตนาการ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ผ่านออกมาเป็นภาพวาด จิตรกรรมสีน�้ำมันและลายเส้นปากกา ดินสอ ตลอดจนการปาดป้าย ด้วยแท่นถ่านชาโคลแล้ว ประเทือง เอมเจริญ ยังกลั่นกรองรังสรรค์ ความรู้สึกนึกคิด ร้อยเรียงเป็นข้อเขียน กลอนเปล่าอีกมากมาย

50 IS AM ARE www.fosef.org


ทะเลเดนมาร์ค

ตม 1

51 issue 108 JANUARY 2017


สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ (ตอนที่ ๑)

รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยฉบั บ ปั จ จุ บั น พ.ศ.๒๕๔๐ ถื อ ว่ า หั ว ใจส� ำ คั ญ ของ การเมื อ งคื อ ประชาชน จึ ง ได้ ป รั บ การเมื อ งให้ ป ระชาชนได้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการปกครอง ประเทศมากขึ้ น ด้ ว ยการเพิ่ ม สิ ท ธิ เ สรี ภ าพให้ ป ระชาชนในด้ า นต่ า ง ๆ พร้ อ มทั้ ง ท� ำ ให้ สิ ท ธิ และเสรี ภ าพนั้ น มี ผ ลเป็ น จริ ง ในทางปฏิ บั ติ

52 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายน่ารู ้...กระทรวงยุ ติธรรม

ค�ำว่า “สิทธิ” พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่า หมายถึง อ�ำนาจที่จะกระท�ำ การใดๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย ส่วน ค�ำว่า “เสรีภาพ” หมายความว่าการที่บุคคลสามารถจะเลือก คิด ท�ำ พูด อย่างไรก็ตามความพอใจของตน และค�ำว่า “หน้าที่” หมายความว่า กิจที่ควรท�ำ ซึ่งแตก ต่างกันไปตามบทบาทของแต่ละคน เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อบรม เลี้ยงดูลูก ส่วนลูกมีหน้าที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ นักเรียน มีหน้าที่เรียนหนังสือเหล่านี้เป็นต้น ฉะนั้ น การค� ำ นึ ง ถึ ง สิ ท ธิ เสรี ภ าพ และหน้ า ที่ ข องคน เราจึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ควรตระหนักรู้ และจะต้องไม่ล่วงล�้ำสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นปกติของสังคมที่จะก�ำหนดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคลว่าจะใช้ท�ำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ตลอดจนหน้าที่ของ ประชาชนคนไทยไว้ดังนี้

บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๒๗ สิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพที่ รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ นี้ รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดย ค�ำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะ รัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีล ธรรมอันดีของ ประชาชน บุ ค คลที่ ถู ก ละเมิ ด สิ ท ธิ ห รื อ เสรี ภ าพที่ รั ฐ ธรรมนู ญ นี้ รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้สิทธิ ทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ มาตรา ๒๙ การจ� ำ กั ด สิ ท ธิ และเสรี ภ าพของบุค คลที่ รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้จะกระท�ำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอ�ำนาจ ตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายเฉพาะเพื่ อ การที่ รั ฐ ธรรมนู ญ ที่ ก�ำหนดและเท่าที่จ�ำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระ สิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพของประชาชนไทยตามรั ฐ ธรรมนู ญ ส�ำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้ กฎหมายตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งมี ผ ลใช้ บั ง คั บ เป็ น การ ๑. การรั บ รองศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ คื อ การห้ า ม ปฏิ บั ติ ต ่ อ มนุ ษ ย์ เ ยี่ ย งสั ต ว์ ห รื อ เยี่ ย งทาส เช่ น จะน� ำ มนุ ษ ย์ ทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่ กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่ มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้ และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่ง ท�ำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ประกอบ รัฐธรรมนูญที่ให้ อ�ำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้น�ำมาใช้บังคับ ด้วย มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ กับกฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอ�ำนาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายด้วยอนุโลม ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา ๒๖ การใช้อ�ำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องค�ำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบท

53 issue 108 JANUARY 2017


54 IS AM ARE www.fosef.org


55 issue 108 JANUARY 2017


สภาพแวดล้อม

ต�ำบลนาอุดม มีบรรพบุรุษดั้งเดิมเป็นชาวเผ่าย้อ จากประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ ส.ป.ป.ลาวที่อพยพมาตั้ง รกรากเพียงไม่กี่ครอบครัว ปัจจุบันชุมชนได้ขยายเติบโตเป็นหมู่บ้าน ขนาดใหญ่และในภายหลังยังมีชาวบ้านบางส่วนอพยพออกจากบ้าน กลางฮ้างหรือกลางเก่า(บ้านนาอุดม) มาตั้งถิ่นฐานด้วย ต�ำบลนาอุดมตั้ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ�ำเภอนิคมค�ำสร้อย แบ่งการปกครองออก เป็น 12 หมู่บ้าน มีจ�ำนวนประชากรโดยประมาณ 8,200 คน จ�ำนวน ครัวเรือนประมาณ 1,900 ครัวเรือน มีเนื้อที่ประมาณ 50,140 ไร่ สภาพ ทางเศรษฐกิจของคนใน ชุมชนนาอุดมขึ้นกับการท�ำเกษตรกรรม เพราะ ว่ามีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉลี่ยการถือครองที่ดินในชุมชนอยู่ท่ี ประมาณ 10-20 ไร่ต่อครัวเรือน จึงมีการเพาะปลูกและท�ำการเกษตร เป็นหลักโดยมีผลผลิตเพื่อบริโภคและออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี พืชหลักที่ ส�ำคัญ ได้แก่ ข้าวมันส�ำปะหลัง อ้อย ยางพารา พริก มะเขือ แตง และ อื่นๆ นอกจากจะปลูกไว้บริโภคและจ�ำหน่ายในชุมชน ส่วนใหญ่กว่าร้อย ละ 90 ของผลผลิตส่งไปขายให้กับพ่อค้าในตัวอ�ำเภอนิคมค�ำสร้อยจังหวัด มุกดาหาร อ�ำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และพื้นที่ใกล้เคียง

56 IS AM ARE www.fosef.org


ความเป็นมา

ด้วยสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขามีทรัพยากรอันอุดม สมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและการด�ำรงชีวิตบนพื้นฐาน ทรัพยากรที่มี แต่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างไม่รู้ค่า จนท�ำให้เกิดความเสื่อมโทรม จึงได้มีกลุ่มแกนน�ำที่มีจิตอาสา จากอดีตถึงปัจจุบัน เข้ามาร่วมพัฒนา จนเกิดการเปลี่ยนแปลง จนสามารถสรุปการพัฒนาต่างๆ ของต�ำบลเป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้

พัฒนาการต�ำบล ก่อนปี พ.ศ. 2500

ยุ ค ตั้ ง ถิ่ น ฐาน บรรพบุ รุ ษ ดั้ ง เดิ ม ที่ ม าจากฝั ่ ง ซ้ า ยชาติ ไ ทยมี อ� ำ นาจ กวาดต้อนไพร่พลมาเป็นทาส พระครูสังฆราสเจ้าอุปการะได้ ไถ่ถอนชาวเผ่าย้อมา 3 ครอบครัว คือ ดี, ดวง และพัน เริ่มต้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองขอน ปัจจุบันคือ บ้านขอนแก่น และบ้านนาอุดมสมบูรณ์มาก เหมาะส�ำหรับเป็นแหล่งอาหาร ในการด�ำรงชีวิต ต่อมาได้เกิดโรคระบาดผีห่า ผีปอบท�ำให้คน ล้ ม ตายบ้ า งจึ ง อพยพหาที่ อ ยู ่ ใ หม่ แ ละเกิ ด เป็ น หมู ่ บ ้ า นต่ า งๆ ขึ้นมา 57 issue 108 JANUARY 2017


พ.ศ. 2501-2520

ยุ ค คอมมิ ว นิ ส ต์ ความขั ด แย้ ง และความเห็ น ต่ า ง ความเห็นต่างระหว่างรัฐกับประชาชนการสื่อสารและการพัฒนาที่ไม่ทั่วถึง จึงเกิดเป็นช่องว่างทางความคิดท�ำให้คนกลุ่ม หนึ่งจึงเข้าป่าเพื่อจับอาวุธต่อสู้ พื้นที่นี้จึงมีความผูกพันธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่เข้าป่าเหตุต่อเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง จน กระทั่งรัฐได้ปรับเปลี่ยนท่าทีภายใต้นโยบาย 66/2523 เน้นการเมืองน�ำการทหารและร่วมพัฒนาชาติไทย กลุ่มที่หนีเข้าป่าจึงยอม ออกมามอบตัวและให้ความร่วมมือ

พ.ศ. 2521-2531

ยุ ค ตลาดทุ น และพื ช เศรษฐกิ จ วิถีชีวิตของคนในชุมชนจากเดิมที่เคยพึ่งพาอาศัยกัน พึ่งพาธรรมชาติในการด�ำรงชีวิตปลูกข้าวและหาของป่า แต่ เมื่อจ�ำนวนคนมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคมากขึ้น จึงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าท�ำไร่ เริ่มมีพืชเศรษฐกิจ เข้ามามีการ ปลูกอ้อยและมันส�ำปะหลัง ตามมาด้วยการใช้สารเคมีทางการ เกษตร และเมื่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการคมนาคม ถนนหนทาง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอ�ำนวยความสะดวก ต่างๆ เข้ามา วิถีชีวิตชาวบ้านก็เริ่มถูกครอบด้วยระบบทุนนิยม มีการจับจองที่ดินเพื่อปลูกยูคาลิปตัสจ�ำนวนมาก

พ.ศ. 2532 – 2551

ยุ ค เริ่ ม ต้ น การพั ฒ นาเพื่ อ รั ก ษาทรั พ ยากร รั ฐ จึ ง มี น โยบายสงวนฝื น ป่ า และประกาศให้ เขต อุทยานภูสระดอกบัวและภูไม้ซางเป็นอุทยานแห่งชาติท�ำให้

58 IS AM ARE www.fosef.org


59 issue 108 JANUARY 2017


60 IS AM ARE www.fosef.org


จ�ำนวนมาก ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารพร้อมทั้งสัตว์ป่าลด ลง ชุมชนต้องหันไปซื้ออาหารที่ตลาดสด ท�ำให้มีรายจ่ายเพิ่ม ขึ้น รวมไปถึงรายจ่ายเพื่อการลงทุนเครื่องมือเครื่องจักรทาง เกษตรต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ภาค รัฐ เข้ามาหนุนเสริมการพัฒนา โดยมีหน่วยงานเข้ามาอบรม การจัดการป่าไม้แผนใหม่ด้วยการให้ชุมชนดูแลป่าชุมชนเอง สนับสนุนกลุ่มให้เข้มแข็งเป็นต้น มีกติกาอย่างชัดเจนจนเกิด การแบ่งเขตรักษาป่าและท�ำฝาย ฯลฯ ต่อมาส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) เข้ามาด�ำเนินงานวิจัยอย่างส่วนร่วม เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของป่า โดยร่วมมือกับ ทางอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัวสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วม กับชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เข้ามาร่วมอบรมอาชีพและการ พึ่งพาตนเอง และภาคีจาก สปสช. เข้ามาส่งเสริมกิจกรรมงาน ศพปลอดเหล้าร่วมกับสถานีอนามัยบ้านทรายทองดังนี้จากการ ร่วมมือและเข้ามาสนับสนุนของหน่วยงานภาคีทั้งในและนอก พื้นที่ จนเกิดกลุ่มคนที่อาสารวมกลุ่มในการอนุรักษ์ทรัพยากร ของชุมชนอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง

ชุมชนไม่กล้าที่จะบุกรุกป่าสาธารณะและจึงเป็นเหตุให้ชุมชน เริ่มเรียนรู้ที่จะหันมาท�ำไร่และสวนผสมผสาน แต่ก็มีบางกลุ่ม ที่ยังพยายามลักลอบตัดไม้ ล่าสัตว์ และท�ำลายทรัยากรป่าจึง ท�ำให้เกิดกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนขึ้นมา โดยการรวมตัวของกลุ่ม แกนน�ำที่มีจิตอาสาเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและดูแลรักษา สร้างการ มีส่วนร่วมของชุมชนและเยาวชน ต่อมาได้เกิดวิกฤติรอบใหม่ที่ท�ำลายป่าและทรัพยากร คือ การปลูกยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจท�ำให้พื้นที่ป่าลดลงเป็น

61 issue 108 JANUARY 2017


ทุนต�ำบล

ด้วยสภาพภูมินิเวศและทรัพยากรที่สมบูรณ์ของต�ำบลนาอุดม ที่มีภูเขารายล้อมถือเป็นแหล่งต้นน�้ำและแหล่ง ก�ำเนิดอาหารทั้งยังมีทรัพยากรที่หลากหลายทั้งป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากจะเป็นอาหารของคนในชุมชน แล้ว ต�ำบลนาอุดมยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และพร้อมพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ส�ำคัญของชุมชนได้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนส�ำคัญของต�ำบล นอกจากนั้นยังมี ต้นทุนที่ส�ำคัญอื่นๆ อีก

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลนาอุดมเริ่มต้นขับเคลื่อนโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง ในระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยแกนน�ำอนุรักษ์ป่าชุมชนได้ทราบข้อมูลการด�ำเนินโครงการฯ เมื่อมีการประกาศรับสมัคร และทางชุมชน เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมาก สอดคล้องกับแนวคิดและสิ่งที่ท�ำร่วมกับชุมชน จึงสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และภาย หลังได้รับการคัดเลือก มีการเตรียมความพร้อมของพื้นที่ก่อนการด�ำเนินโครงการฯ ทั้งการเตรียมคน เตรียมความ คิด ค้นหาคนที่สมัครใจที่มีจิตอาสาสนใจเรียนรู้และพัฒนาชุมชนเข้ามาร่วมท�ำงาน นิ ย ามความพอเพี ย งของต� ำ บลนาอุ ด ม “การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยความไม่ ป ระมาท มี ส ติ รู ้ จั ก ประมาณตนเอง คิ ด และปฏิ บั ติ ต ามก� ำ ลั ง ความสามารถด้ ว ยการพึ่ ง ตนเองให้ พ ออยู ่ พอกิ น และมี ค วามสุ ข ”

62 IS AM ARE www.fosef.org


63 issue 108 JANUARY 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 108 JANUARY 2017


66 IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 108 JANUARY 2017


68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 108 JANUARY 2017


สงขลา

ฟาร์มตัวอย่าง ป่าโกงกาง และทะเล

ในมุ ม หนึ่ ง ของเวิ้ ง ทะเลสาบสงขลา ชายขอบหมู ่ บ ้ า นหั ว เขาที่ ซึ่ ง ภู เ ขาสี เ ขี ย ว ทอดลงมาบรรจบทะเลสาบสี ค รามสุ ด สายตา เรื อ ประมงล� ำ น้ อ ยทยอยออกจากฝั ่ ง บนเรื อ มี เ ครื่ อ งมื อ หาปลาพื้ น บ้ า นอย่ า งอวนผื น ย่ อ มและลอบดั ก ปู ท ะเล ขณะรายรอบคื อ แนวป่ า ชายเลนเขี ย วชอุ ่ ม ดั่ ง ผื น พรมปู ล าดนุ ่ ม หนา ภาพที่ ป รากฏตรงหน้ า บ่ ง บอกได้ ไ ม่ น ้ อ ยว่ า ทะเลสาบแห่ ง นี้ อุ ด มสมบู ร ณ์ เ พี ย งใด.... 70 IS AM ARE www.fosef.org


ท่องเที่ยวศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามพระราชด�ำริ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2539 ภาพเช่นนี้อาจไม่มีให้พบเห็น เมื่อป่าชายเลนผืนใหญ่ค่อยๆ ถูกบุกรุกแผ้วถาง ตามมาด้วยนา เกลือ นากุ้ง และการถมทะเลสาบเพื่อขยายพื้นที่สร้างโรงงาน อุตสาหกรรมใหม่ โกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็กขนาดร่วม 2 ฟุต ถูกขุดโค่นก่นเผาอย่างน่าใจหาย อีกทั้งพืชพรรณไม้น�้ำและปู ปลา อันเปรียบได้กับ “อู่อาหาร” ของคนถิ่นนี้.... ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั่นเอง เมื่อความเดือดร้อน ดังกล่าวไปถึงสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงตระหนักถึงผลกระทบมากมายที่จะตามมา จึงมีพระราชด�ำริให้สถาบันทรัพยากรชายฝั่งและมหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ เ ป็ น หน่ ว ยงานรั บ ผิ ด ชอบในการด� ำ เนิ น “โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน บ้านหัวเขา อ�ำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา” คุ ณ สุ วั ฒ น์ เทพอารั ก ษ์ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (ส�ำนักงาน กปร.) หน่วยงานหลักในการประสานงานโครงการ นี้ กล่าวว่า

“ในระยะแรกของการด�ำเนินโครงการฯ สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ไปที่บ้าน หัวเขา และทรงร่วมปลูกป่าชายเลนด้วยพระองค์เอง” และนั่นกลายเป็นแบบอย่างที่หล่อหลอมให้ทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่ในท้องถิ่น ร่วมใจกันปักปลูกกล้าโกงกางลงบนพื้นที่ซึ่ง เคยรกร้างว่างเปล่า ล่วงปีถัดมา พื้นที่ 312 ไร่ ก็แซมเต็มด้วย กล้าโกงกางรุ่นใหม่ กลางเดือนกรกฎาคม เมฆฝนสีเทาเข้าห่มคลุมทะเลสาบ สงขลา ขณะที่บ้านหัวเขา ป่าชายเลนซึ่งได้รับการฟื้นฟูดูแลมา แล้ว 16 ปี บัดนี้เปี่ยมเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เรือประมงล�ำน้อยทยอยออกจากฝั่ง บนเรือมีเครื่องมือ หาปลาพื้นบ้านอย่างอวนผืนย่อมและลอบดักปูทะเล ขณะราย รอบคือแนวป่าชายเลนเขียวชอุ่ม ดั่งผืนพรมปูลาดนุ่มหนา นอกจากปูปลาจะกลับมาเติบโตและวางไข่ สิ่งที่ช่วย ย�้ำถึงคุณค่าของป่าชายเลนก็คือ ครั้งวาตภัยและน�้ำท่วมใหญ่ ภาคใต้เมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมา เหตุการณ์ครั้งนั้นท�ำให้หมู่ บ้านรอบๆ ทะเลสาบเสียหายอย่างหนัก ทว่าไม่ใช่หมู่บ้านหัว เขา ป่าชายเลนผืนนี้ท�ำหน้าที่เสมือน “วงแขน” ซึ่งโอบอุ้มทุก ชีวิตที่นี่ไว้ 71

issue 108 JANUARY 2017


พระราชด� ำ รั ส ในสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรม ราชินีนาถเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2546 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระ ต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ปลายเดื อ นกรกฎาคม ลมมรสุ ม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ พั ด มาเยือนสงขลา พร้อมๆ กับสื่อมวลชนคณะหนึ่งซึ่งได้มาเยือน โครงการฟาร์มตัวอย่างคลองหอยโข่งตามพระราชด�ำริในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต�ำบลคลองหอยโข่ง อ�ำเภอ คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา กล่าวถึงที่มาของฟาร์มตัวอย่างฯ คลองหอยโข่ง เมื่อ ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระ ราชด�ำริให้ด�ำเนินงานโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ในจังหวัดสงขลา เมื่อปี 2548 ในความเป็นจริง แม้สงขลาจะเป็นจังหวัดใหญ่ ภาค เกษตรมีรายได้ค่อนข้างมั่นคงจากสวนยางพารา ทว่าพระองค์

“ป่ า ผื น นี้ เ กิ ด จากความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจของทั้ ง พุ ท ธ และมุสลิม เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ความจงรักภักดีที่คนในชุมชนแสดงออกด้วยการปกปักรักษา ธรรมชาติที่นี่ไว้” หมัดแสล๊ะ เส็นลิหมีน ผู้น�ำชุมชนบ้านหัวเขา กล่าวกับผู้มาเยือนด้วยน�้ำเสียงอิ่มเอมใจ.... “...ที่ ฉั น ท� ำ ฟาร์ ม ตั ว อย่ า งนี้ เพื่ อ สอนชาวบ้ า นให้ สะสมอาหารเพิ่มขึ้น จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องอาหารการกินและ ท�ำฟาร์มตัวอย่าง และอย่างที่ 2 คือ ต้องการให้ทุกๆ คนที่ ข้าพเจ้าพบปะได้มีอาชีพมีทางท�ำมาหากิน คือรับเขาเข้ามา แล้วจ่ายเงินให้เขาเป็นลูกจ้างในฟาร์มฯ เวลาเดียวกันเขาเห็น วิธีเลี้ยงเป็ด เลี้ยงแกะ เลี้ยงอะไรทั้งหลายอย่าง ได้เงินและได้ ค่าจ้างทุกวัน ข้าพเจ้าก็บอกว่าต้องการคนงานมากๆ เพื่อให้ เขาเหล่านี้ได้มีงานท�ำ...” 72

IS AM ARE www.fosef.org


ทรงมองเห็นว่า ฟาร์มตัวอย่างนี้จะเป็นแหล่งจ้างงานแก่ชาว บ้านที่ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารเคมีรวม ถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานในอนาคตได้... ใต้แสงตะวันยามเช้า ฟาร์มตัวอย่างฯ คลองหอยโข่ง เนื้อที่ร่วม 800 ไร่ ดูเขียวชอุ่ม ปลอดโปร่งตา ที่ “แปลงสาธิต” ผักสวนครัวนานาก�ำลังแตกผลิดอก ใบ ไม่ว่าจะเป็นคะน้า ผักชีฝอย กระเจี๊ยบเขียว ผักกวางตุ้ง พริก ขี้หนูสวน มะเขือกรอบ ฟักเขียว บวบงู เห็ดนางฟ้า “ผักชีฝอยปลูกง่าย ได้ราคาดี ยิ่งช่วงหน้าฝน ที่อื่น ปลูกไม่ได้แต่เราปลูกได้ ช่วงนั้นจะกิโลฯ ละ 200 บาท เลย ล่ะ” ป้าปิ่ม ปล้องอ่อน หนึ่งในเกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ในฟาร์ม ตัวอย่างกว่า 1 ปีแล้ว บอกกับผู้มาเยือน ป้าปิ่ม คือหนึ่งในหลายๆ คนที่มาจากสทิงพระ ที่นั่นผืน ดินออกเปรี้ยว ท�ำการเกษตรไม่ค่อยได้ผลดีนัก ผักชีฝอยที่ว่า อาจเป็นหนึ่งในทางรอดได้ เพราะปลูกในกระบะยกสูง ขนาด 1 เมตรคูณ 1 เมตร เพียงหมั่นถอนหญ้า พรวนดิน รดน�้ำให้ชุ่มชื้น สม�่ำเสมอผักชีฝอยในกระบะก็รอเพียงเก็บออกขาย เดินผ่านกระบะผักชีฝอย ข้ามคูน�้ำเล็กๆ เข้าไปสองข้าง ทางงอกงามไปด้วยพืชผักหลากหลาย “ทุกอย่างที่เห็นเป็นราย ได้หมดนะครับ” เฉลิมศักดิ์ สุวรรณชนะ นักเกษตรในพระองค์ กล่าวกับผู้มาเยือนด้วยน�้ำเสียงภูมิใจ พลางชี้ให้ดูผลผลิตมาก หลายในแปลงสาธิต ชายหนุ่มเล่าว่า ตรงส่วนนี้มีพื้นที่ 3 ไร่ เสมือน “โมเดล” เพื่ อ น� ำ ไปใช้ ไ ด้ จ ริ ง ในอนาคตคื อ ใช้ พื้ น ที่ ทุ ก ตารางนิ้ ว ให้ เ กิ ด ประโยชน์สูงสุดลดรายจ่าย ปลูกสิ่งที่กิน รายได้จะเพิ่มขึ้น เดินผ่านบ่อปลาซึ่งอุดมด้วยปลานิล ปลากดเหลือง กุ้ง ก้ามกราม ทางเดินทอดมายังโรงเรือนปศุสัตว์ ที่มุมหนึ่ง คือเล้า ไก่คอล่อน ไก่พันธุ์พื้นเมืองภาคใต้ซึ่งทางฟาร์มก�ำลังปรับปรุง สายพันธุ์ โดยประโยชน์จากความแข็งแรง สู้แดดและฝนตกชุก ของสงขลาได้ เป็นอีกหนึ่งใน “ความก้าวหน้า” ของฟาร์มตัวอย่าง คลองหอยโข่ ง หนึ่ ง ในฟาร์ ม ตั ว อย่ า งที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า พระบรมราชินีนาถ ทรงกระท�ำเป็นตัวอย่างในทุกๆ ภูมิภาค ของประเทศไทย จากคลองหอยโข่ ง คณะสื่ อ มวลชนมี โ อกาสไปเยื อ น ตั ว เมื อ งสงขลา ภาพความสงบงาม-เรี ย บง่ า ย ปรากฏตาม ตึกแถวเก่าแก่ ตรอกซอยโบราณ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา 73 issue 108 JANUARY 2017


โตนบ้า โดยปลิว โตนงาช้าง รวมถึงโตนเหม็ดชุนชั้นเจ็ด ซึ่งเป็น ชั้นสุดท้าย ยืนอยู่เบื้องหน้าโตนงาช้าง ใครบางคนเอ่ยท�ำนองว่า ได้ สัมผัสลึกซึ้งถึงคุณค่าของต้นน�้ำล�ำธารและป่าไม้ นึกถึงพระราชด�ำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ “...พระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นน�้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวาย ความจงรักภักดีต่อน�้ำ พระเจ้าอยู่หัวฯ สร้างอ่างเก็บน�้ำ ฉัน จะสร้างป่า...” เป็นความจริง ที่โตนงาช้าง คือผืนป่าซึ่งพระองค์ทรง กล่าวถึงด้วยความห่วงใย และเป็นความจริงอีกเช่นกัน ที่โตน งาช้างประหนึ่งดั่ง มารดาผู้เลี้ยงดูชาวสงขลาให้อิ่มเอม เติบ ใหญ่

ที่หาดสมิหลา ชายหาดเลื่องชื่อของสงขลา ผู้คนแวะ มาพักผ่อนหย่อนใจกันตามหาดทราย ฉากหลัง คือรูปปั้นนาง เงือก อันเป็นเอกลักษณ์ และเกาะหนู-เกาะแมว อันคุ้นเคย ในต�ำราเรียนชั้นประถมศึกษา อีกปลายชายหาด คือชุมชนชาว ประมงเก้าเส้ง ฤดูมรสุมเช่นนี้ เรือประมงวาดลวดลายหลากสี จอดหลบคลื่นลมในเวิ้งอ่าวจรดภูเขา เด็กๆ ผิวคล�้ำลมแดดวิ่ง เล่นกันสนุกสนาน ขณะพวกผู้ใหญ่ช่วยกันซ่อมแซมเรือ ถักอวน ตรวจตราเครื่องมือหาปลา “สงบงาม” ใครบางคนเอ่ ย ขณะภาพเบื้ อ งหน้ า คื อ เรื อ ประมง และทะเลสงขลากว้างไกลสุดสายตา จากหาดสมิหลา คณะ สื่อมวลชนแวะไปชมน�้ำตกโตนงาช้าง เขตอ�ำเภอหาดใหญ่ กลาง ฤดูฝนเช่นนี้ โตนงาช้างทั้งเจ็ดชั้นมีน�้ำเปี่ยมปริ่มเต็มหน้าผา ทั้ง

คู ่ มื อ เดิ น ทาง โครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน บ้านหัวเขา เปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน สอบถามได้ที่ คุณหมัด แสล๊ะ เส็นลิหมีน ผู้น�ำชุมชนบ้านหัวเขา โทรศัพท์ 08-6692-7523 มีเวลาน่าไปเยือนหาดสมิหลา-ตัวเมืองสงขลา ชายหาดบรรยากาศร่มรื่น โดดเด่นด้วยปฏิมากรรมนางเงือก ฉากหลัง คือเกาะหนู-เกาะแมวอันเลื่องชื่อ จากชายหาด ตัวเมืองสงขลานั้นอยู่ไม่ไกลนัก มีย่านการค้าและอาคารเก่าน่าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ก็ น่าแวะเที่ยวชม น�้ำตกโตนงาช้าง เดินทางไปสะดวกสุดโดยทางหลวงหมายเลข 43 (รัตภูมิ-หาดใหญ่) สอบถามเพิ่มเติมที่เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ตู้ ปณ. 82 ต�ำบลฉลุง อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทรศัพท์ 0-2562-0760 เว็บไซต์ www.dnp.go.th

74 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

75 issue 108 JANUARY 2017


“ชัยพัฒนาแฟร์ ผลิตผลจากการ พัฒนา”

น�ำทางอิสรภาพเกษตรกรไทย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา ได้ขึ้นกล่าวเปิดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ ผลิตผลจากการพัฒนา” ณ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา ต�ำบลบ่อพลับ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ก่อนจะมีการเสวนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของมูลนิธิชัยพัฒนา เรื่อง “ปฏิวัติความคิด เรื่องการผลิตข้าว” ซึ่งส่งเสริมให้ชาวนาหันมาเน้น การผลิตข้าวเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ รู้จักปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ วิกฤตในแต่ละปี ไม่ยึดติดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือแบบเดียวเหมือนที่เคย เป็นมา พร้อมปลูกพืชทดแทนและผลิตสินค้าเกษตรกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันในการพึ่งพาตนเอง ก่อนจะพึ่งพานโยบายจากรัฐหรือหน่วย งานต่างๆ สร้างอิสรภาพในตนเองด้วยความทุ่มเทพิถีพิถัน

76 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิเศษ

77 issue 108 JANUARY 2017


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงสนพระทัยเรื่องข้าว พันธุ์มาก พอได้สังเกตดูชีวิตชาวนารุ่นใหม่นี้พึ่งคนอื่นเขาทั้งสิ้น เลย พึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวของรัฐบาล ของบริษัทที่เขามาขาย พึ่งปุ๋ย ที่เขาผลิตมาขาย พึ่งตลาด พึ่งโรงสี ไม่มีอิสรภาพเลย ชาวนา ปลูกด�ำแล้วรอให้เขามาเก็บเกี่ยวไป เขาให้ราคาเท่าไหร่ก็เท่านั้น ประเด็นส�ำคัญเราจะสร้างอิสรภาพให้ตัวเราได้อย่างไร ให้เรา เป็นผู้ควบคุมกิจกรรมของเราเอง การผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ก็เป็น กิจกรรมหนึ่งสามารถสร้างอิสรภาพของเรา ผลิตขึ้นมาเอง ขาย กันเอง การผลิตข้าวพันธุ์ไม่ได้ยากจนเราท�ำไม่ได้ ไม่ใช่เขาให้ตัน ละหมื่นห้าก็เอาเลย ปลูกข้าวพันธุ์ได้สองหมื่นถึงสองหมื่นห้า เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ แต่มันคุ้มเหนื่อยโดยไม่ต้องพึ่งนโยบายมาก เราก็ พึ่ ง ราคานี้ ไ ด้ ต ลอดไปโดยตั ว ของเราเอง แต่ เ น้ น ย�้ ำ อี ก ที ต้องพิถีพิถัน ทุ่มเทชีวิตและความใส่ใจลงไปในแปลงของ เรา”

“เศรษฐกิจพอเพียงคือการประเมินตนเองและการตรวจ สอบตัวเองก่อน ถ้าหากจะปลูกข้าวแล้วต้องดูว่าปริมาณน�้ำมี เพียงพอหรือไม่ จะแก้ไขอย่างไร ไม่ใช่เคยปลูกข้าวปีละครั้ง สองครั้ง สามครั้ง ก็ยังจะท�ำแบบเดิมอยู่ผลสุดท้ายก็ประสบแต่ ปัญหา การปรับตัวเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก หลายแห่งเมื่อประเมิน แล้วน�้ำในปีนั้นมันน้อย ควรจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นพืชอื่นไหม มีโครงการของมูลนิธิอุทกพัฒน์ก็ดี อะไรก็ดี เราก็ปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับสภาพปริมาณน�้ำที่มีในแต่ละปี บางครั้งก็ยากเหมือนกันที่เคยปลูกข้าวแล้วให้ไปปลูก ผักก็ท�ำไม่เป็น ท�ำไม่เป็นก็ไปร้องขอความช่วยเหลือคนอื่นว่า เขาปลูกยังไง เราก็มีบริการให้อีกนะถ้าต้องการ สามารถติดต่อ ประสานให้ผู้รู้มาแนะน�ำให้ ฤดูกาลนี้เผชิญวิกฤตอีกแบบหนึ่งก็ ต้องหาทางแก้ไข ไม่ปล่อยให้มันผ่านไปเฉยๆ แล้วพบกับความ ล้มเหลวในแต่ละปีสร้างความทุกข์ให้แก่เรานะ 78 IS AM ARE www.fosef.org


79 issue 108 JANUARY 2017


งานชัยพัฒนาแฟร์ จัดขึ้นเพื่อน้อมร�ำลึกใน พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมิ นทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อพสกนิกร ผ่านการ ด�ำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิในพระองค์ ที่ ท รงก่ อตั้งขึ้น เพื่อช่ว ยเหลือราษฎรมายาวนานก ว่า 35 ปี โดยภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการ พระราชกรณียกิจนานัปการทั่วประเทศ การเสวนา เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีก มากมาย อาทิ การจัดแสดงและจัดจ�ำหน่ายผลผลิต แห่งการพัฒนาจากโครงการตามแนวพระราชด�ำริ ได้ แ ก่ ผลผลิ ต ด้ า นการเกษตร การแปรรู ป งาน หัตถกรรม เป็นต้น โดยภายในงานได้แบ่งออกเป็น 6 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 จะเป็นอาคารนิทรรศการ และร้านภัทรพัฒน์ โซนที่ 2 เป็นร้านจันกะผัก ร้าน ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริจัดตั้งขึ้น

80 IS AM ARE www.fosef.org


ในส่วนของโซนที่ 3–6 เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนาในเขตภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกรวมถึง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามล�ำดับ โดยโครงการพัฒนาพื้นที่แต่ละภาคได้น�ำกิจกรรมที่โดดเด่นและน่า สนใจมาจัดแสดง สาธิต และจัดจ�ำหน่าย อาทิ สาธิตการท�ำไอศกรีมกระจับ สาธิตการท�ำสบู่จากกลีเซอรีน ผลพลอยได้ จากการผลิตไบโอดีเซล สาธิตการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์) รวมถึงการจ�ำหน่ายผลผลิตจากการพัฒนาผ่าน โครงการต่างๆ อาทิ น�้ำมันเมล็ดชา ไข่แฮปปี้ ไข่อินทรีย์จากแม่ไก่ที่มีความสุข ปลานิลจิตรลดาแดดเดียว รวมถึงผลิตภัณฑ์ แปรรูปทั้งของกินของใช้จากพืชผักและสมุนไพรในโครงการ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถประสานขอค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการผลิตข้าวพันธุ์ และสิ่งแปรรูปต่างๆ ในโครงการของ มูลนิธิชัยพัฒนาได้ตามบริบทในภูมิล�ำเนาของตนเอง สร้างอาชีพและรายได้เสริมพึ่งพาตนเองอย่างมีอิสรภาพต่อไป มูลนิธิชัยพัฒนา 2012 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 ประเทศไทย โทรศัพท์ : 02-447-8585-8 โทรสาร : 02-447-8574

81 issue 108 JANUARY 2017


Round About

เยาวชนจิ ต อาสาร่ ว มกั น แจกปฏิ ทิ น มูลนิธิครอบครัวพอเพียงร่วมกับ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จ�ำกัด (มหาชน) แจกปฏิทิน ปี 2560 ณ ท้องสนามหลวง โดยมีเยาวชนจิตอาสาจากโรงเรียนต่างๆ ช่วยกันแจกปฏิทินกว่า 2,000 ชุด รวมทั้งเครื่องดื่ม และโบว์สีด�ำ แก่ผู้เข้าถวายสักการะพระบรม ศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กนอ.ช่ ว ยเหลื อ น�้ ำ ท่ ว มภาคใต้

เมื่อเร็วๆนี้ นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้แทนมูลนิธินิคมอุตสาหกรรม ไทย มอบเงิน จ�ำนวน 100,000 บาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ผ่านโครงการ “อสมท ช่วยผู้ประสบภัย สานใจประชารัฐ” โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ก�ำกับดูแล บริษัท อสมท จ�ำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบ ณ ส�ำนักงานสถานีโทรทัศน์ อสมท.

82 IS AM ARE www.fosef.org


เคที ซี ช วนเด็ ก ไทย รั ก ษ์ ผ ้ า ไทย ร่ ว มใจต้ า นสิ น ค้ า ปลอม นางณั ฎ ฐวรรณ ตั น หยงมาศ (กลางขวา) รองหั ว หน้ า โครงการฝ่ า ย บริหาร พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนาง เจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ และ นางสาวกิ่งกาญจน์ รักษ์มณี (กลางซ้าย) หัวหน้าฝ่ายบริการ โครงการพิพิธภัณฑ์ ผ้าฯ ให้การต้อนรับ นางอุบลรัตน์ บุษยะ กนิษฐ์ (กลาง) ผู้บริหารสูงสุด – ทรัพยากร บุคคล และนางกัณฑรัตน์ เจิมจิตรผ่อง (จากกลางที่2 ซ้ายมือ) ผู้ช่วยประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร – สื่อสารองค์กรและ ธุรกิจสัมพันธ์ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตร กรุงไทย จ�ำกัด(มหาชน) พร้อมด้วยคณะ สื่อมวลชน พนักงาน และนิสิต นักศึกษาฝึกงานโครงการ Learn & Earn @ KTC ภายใต้ชมรม “KTC PR Press Club” เข้าร่วม กิจกรรมปันความรู้ “เคทีซีชวนเด็กไทย รักษ์ผ้าไทย ร่วมใจต้านสินค้าปลอม” โดยรับฟังข้อมูลเบื้องลึกของประวัติศาสตร์ผ้าชนิดต่างๆ และการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกายในราชส�ำนักยุคต่างๆ รวมถึง ฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเร็วๆ นี้

บริ ษั ท Mazars (Thailand) Ltd. สนั บ สนุ น มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา บริษัท Mazars (Thailand) Ltd. ผู้น�ำด้าน ปรึ ก ษาธุ ร กิ จ การจั ด ท� ำ และการตรวจสอบทางบั ญ ชี กฎหมาย และภาษี ได้สนับสนุนให้กับโครงการช่วย เหลื อ มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา ซึ่ ง เป็ น โครงการพระราชด� ำ ริ ของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ย เดช เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือ ประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นและยั่งยืน โดยนางรั ต ติ ก รณ์ ศั ก ด์ ศ รี ส ถาพร ผู ้ จั ด การ ฝ่ายทรัพยากรบุคล ได้เป็นตัวแทนมอบงบประมาณ สนับสนุนเป็นจ�ำนวนเงิน 39,645 บาท ให้แก่ นางสาว วณิชยา วิสุทธารมณ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการเงิน การสนับสนุนเงินทุนในครั้งนี้เพื่อเป็นการสาน ต่อพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช และบริษัทมาซาร์สมีความยินดีที่ได้ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระบวนการพัฒนาของมูลนิธิ ให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 83 issue 108 JANUARY 2017


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.