Isamare jan61 web

Page 1

IS AM ARE

“May all reader be blessed with pure perseverance, sharp wisdom and complete physical health.” From the Preface

“ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม ก�ำลังกายที่สมบูรณ์.”

จาก พระราชปรารภ

ฉบับที่ 120 มกราคม 2561 www.fosef.org


2 IS AM ARE www.fosef.org


“การท� ำ ความดี นั้ น โดยมากเป็ น การเดิ น ทวนกระแสความพอใจและความต้ อ งการของมนุ ษ ย์ จึ ง ท� ำ ได้ ย ากและเห็ น ผลช้ า แต่ ก็ จ� ำ เป็ น ต้ อ งท� ำ เพราะหาไม่ ความชั่ ว ซึ่ ง ท� ำ ได้ ง ่ า ยจะเข้ า มาแทนที่ แล้ ว จะพอกพู น ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว โดยไม่ ทั น รู ้ สึ ก ตั ว ”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ในพิ ธี พ ระราชทานกระบี่ แ ละปริ ญ ญาบั ต รแก่ ว ่ า ที่ ร ้ อ ยต� ำ รวจตรี ฯ โรงเรี ย นนายร้ อ ยต� ำ รวจฯ ๑๐ มี น าคม ๒๕๒๙

3 issue 120 january 2018


Editorial

ฉบับเถลิงศกใหม่ ปีจอ ๒๕๖๑ บก.ขอน�ำสิ่งดี ๆ ส่งต่อแก่สมาชิกทุกท่านด้วย ส.ค.ส.พระราชทาน จาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ดังนี้ บัดนี้ ถึงวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ ส่งความปรารถนาดี และอ�ำนวยพรแก่ทุกๆ ท่าน ให้มีความสุข ความเจริญ ให้มีก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และสติปัญญาที่แจ่มใส เข้มแข็ง ตลอดจนประสบแต่ความสุขความเจริญอันเป็น มงคลยิ่งๆ ขึ้นไป ในรอบปีที่แล้ว บ้านเมืองของเราได้มีเหตุการณ์ส�ำคัญเกิดขึ้นหลายอย่าง ดังที่ท่านทั้งหลายก็คงตระหนักทราบดี อยู่แล้ว แต่ไม่ว่าเหตุการณ์ใดๆ จะเกิดขึ้น เราคนไทยก็สามารถฝ่าฟันไปด้วยกันได้อย่างดี ด้วยความขันติ ใจเย็น ค่อยคิดค่อยท�ำไป อย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นด้วยสติและเหตุผลอันพอเหมาะพอควร เพื่อประโยชน์และความสุขของประเทศชาติและประชาชน ขอพระ บารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง จงปกป้องคุ้มครอง รักษาและให้ขวัญก�ำลังใจต่อทุกท่านถ้วนหน้าในการที่จะเป็นพลังที่เข้มแข็งต่อประเทศและชาติบ้านเมืองของเราสืบต่อไป และเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม สมเด็จพระเทพ รั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี พระราชทาน ภาพฝีพระหัตถ์ สุนัข ๒ ภาพ ภาพฝีพระหัตถ์ภาพ แรก เป็ น ภาพสุ นั ข หู ตั้ ง ตากลมโต สี น�้ ำ ตาล โดย ลั ก ษณะหู ตั้ ง และตากลมโตนั้ น แสดงถึ ง ความฉลาด เฉลียว ใฝ่รู้ใฝ่เรียน อีกทั้งสุนัขตัวนี้มีหน้าตาเบิกบาน ต้อนรับปีใหม่ เปรียบดังว่า ปีจอปีนี้ทุกคนจะมีแต่ความสุข ตลอดปีดังพรพระราชทาน ปีจอขอให้ร่าเริง ภาพ ฝีพระหัตถ์ภาพที่ ๒ เป็นภาพสุนัขพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) หรือ พันธุ์ไส้กรอก สายพันธุ์เยอรมัน ที่มีลักษณะเตี้ยล�่ำ ฉลาด มี ลักษณะเฉพาะตัวคือชอบไล่ล่า โดยเฉพาะตัวแบดเจอร์ (Badgers) ในภาษาเยอรมันค�ำว่า Dach แปลว่าตัวแบดเจอร์ (Badgers) ส่วนค�ำว่า Hund แปลว่าหมา เป็นที่มาของค�ำว่า Dachshund หมาไล่แบดเจอร์

ความสุขในปีใหม่ของคนไทยทั้งชาติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา 4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา นายวรจักร ณ เชียงตุง นางชวนชื่น พีระพัฒน์ดิษฐ์ นายไพรัช มณฑาพันธุ์ นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายเอกรัตน์ คงรอด นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางสาวเยาวมาลย์ จ้อยจุฬี นางสุมาลี โฆษิตนิธิกุล นางสาวกันยาวีร์ พ้องพงษ์ศรี นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นายชวลิต ใจภักดี นางสาวหนึ่งฤทัย คมข�ำ นายภิญโญ ทองไชย นายพิชัยยุทธ ชัยไธสง นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดร.เชิดศักดิ์ ดร.กัมปนาท ดร.นฤมล ดร.อ�ำนาจ ดร.ชลพร ดร.กาญจนา ดร.ปิยฉัตร

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ and Enjoy! กรรมการ กรรมการ กรรมการ บรรณาธิการ : กรรมการ กองบรรณาธิการ : ผู้จัดการมูลนิธิ ศิลปกรรม :

Let’s

Start

ส�ำนักงาน :

ศุภโสภณ บริบูรณ์ พระใหญ่ วัดจินดา กองค�ำ สุทธิเนียม กลิ่นสุวรรณ

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ : 5 issue 120 january 2018

กรวิก อุนะพ�ำนัก ภูวรุต บุนนาค ชนกเนตร แจ่มจ�ำรัส ศตวรรษ เจือหนองแวง นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org


Hot Topic

8

ตามรอยยุ วกษัตริย์

26

ความใน จากครู

ฝ่ ายปกครอง อัมรินทร์ ฟุ ้งเฟื่ อง โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุ รี

12

วิกฤตจิตวิญญาณครู จืดจาง ศ.นพ.อุ ดม คชิ นทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

Don’t miss

24 60 74

68 78

6 IS AM ARE www.fosef.org


Table Of Contents

ศ.นพ.อุดม คชินทร รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร

7 issue 120 january 2018

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story วิกฤตจิตวิญญาณครูจืดจาง ศ.นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ Cartoon Let’s Talk ความในจากครูฝ่ายปกครอง อัมรินทร์ ฟุ้งเฟื่อง โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี บทความพิเศษ เมื่อฝรั่งถาม “คนไทยถูกล้างสมองให้รักในหลวง?” มูลนิธิชัยพัฒนา จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องบอกเล่าที่มาของความส�ำเร็จ บทความพิเศษ เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก สัจธรรมแห่งแนวพระราชด�ำริ แผ่นดินปัจจัยส�ำคัญของการมีชีวิตอยู่ และการคงความเป็นประเทศ สัมภาษณ์พิเศษ ข้าวเม่า Rice pok pok แปรภูมิปัญญา ให้กลายเป็นพลัง สัมภาษณ์พิเศษ เข็มนาฬิกาแห่งความภักดี ของ “อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง” บทความพิเศษ ข้าวสังข์หยด ข้าวที่ “แม่” บอกว่า “อร่อย” เยาวชนของแผ่นดิน สะสมความดียื่นมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องสอบเข้า ฉัตราภรณ์ นาคกัน 70 เส้นทางตามรอยพระบาท โดย ททท. พระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

8

12 20

26 36 42 50 54 60 68 72

74 78


8 IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์

แรงบันดาลใจ... สู่คีตราชันย์

ธรรมชาติอันงดงาม สงบ และรื่นรมย์ ในสวิตฯ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีแรงบันดาลใจให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงแต่งเพลงแสนไพเราะหลายเพลงนับตั้งแต่แสงเทียน (Candlelight Blues, ค.ศ. 1946 หรือ พ.ศ. 2489) , ยามเย็น (Love at Sundown ค.ศ. 1946 หรือ พ.ศ. 2489) , ใกล้รุ่ง (Near Dawn , ค.ศ. 1946 หรือ พ.ศ. 2489) , สายฝน (Falling Raim , 1946 หรือ พ.ศ. 2489) , ชะตาชีวิต (H.M. blues , ค.ศ. 1947 หรือ พ.ศ. 2490) ไปจนถึง อาทิตย์อับแสง (Blues Day ,ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491) และเทวาพาคู่ฝัน (Dream of love ,Dream of You , ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491), ค�ำหวาน (Sweet Words , ค.ศ.1950 หรือ พ.ศ. 2493) และ แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in my heart , ค.ศ. 1950 หรือ พ.ศ. 2493) ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นเพลงที่ทรงแต่ง คราครั้งประทับอยู่ที่ สวิตเซอร์แลนด์ ความงามของธรรมชาติ ความสุข ความเศร้า ความรัก และความร่าเริงมีชีวิตชีวา ได้ส่งผ่านบทเพลงอย่าง ลึกซึ้งงดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท�ำนองและเนื้อเพลงในภาษา อังกฤษ พระปรีชาสามารถด้านดนตรีและเพลง ของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นที่ประจักษ์ทั้งต่อ ชาวไทยและชาวโลก พระองค์ทรงเป็นคีตราชันย์ ที่สถาบันการ ดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อันมีชื่อเสียงโด่งดัง ได้ทูลเกล้าฯถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณ ชั้ น สู ง แด่ พ ระองค์ ให้ ท รงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง สมาชิ ก กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง หมายเลข 23 พร้อมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยลงแผ่นหินสลักของ เล่าไว้ในหนังสือพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการดนตรี ของพระบาท สถาบันฯ ขณะทีมีพระชนมพรรษา 37 พรรษา และทรงเป็นชาว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ว่าแซ็กโซโฟนตัวแรกนั้นสมเด็จ เอเชียพระองค์แรกที่ทรงเป็นสมาชิก พระบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ทรงซื้อแซ็กโซโฟนมือสองถวาย เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และประทับอยู่ ณ นครโลซานน์ ท�ำให้ พระองค์ทรงสามารถทรงแซ็กโซโฟน ร่วมกับเพื่อนนักเรียนใน ขณะนั้นได้ในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ก็ทรง เล่าไว้ในหนังสือ “เจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์” ว่า สิ่ ง ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทั้ ง สองพระองค์ (รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9) ทรงเล่นด้วยกันเป็นเวลานาน คือ ดนตรี รัชกาลที่ 8 ทรงเริ่มด้วยเปียโน รัชกาลที่ 9 ขอเล่นหีบ เพลงเรียนอยู่ไม่กี่ครั้งก็เลิก เพราะไม่เข้ากับเปียโน 9 issue 120 january 2018


ต่ อ มา รั ช กาลที่ 8 เลิ ก เล่ น เปี ย โน มี โ อกาสได้ ท อด พระเนตรดนตรี ว งใหญ่ แล้ ว รู ้ สึ ก อยากเล่ น แซ็ ก โซโฟน จึ ง ทรงหาซื้อแบบที่เป็นของใช้แล้วกับจ้างครูมาสอนที่บ้าน แต่ รัชกาลที่ 8 ทรงดันพระอนุชาเข้าไปในห้องเรียน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงเป็นผู้เริ่ม เมื่อเริ่มเรียนไปสองสาม ครั้ง พระเชษฐาทรงซื้อแคลริเน็ต ปีต่อมา เมื่อพระอนุชาเสด็จ เข้าโรงเรียนประจ�ำก็ยังทรงเรียนดนตรีอยู่ โดยขี่จักรยานลงมา ที่ร้านที่ครูสอนอยู่ แล้วทรงซื้อแคริเน็ตเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเคยท�ำ กลองด้วยพระองค์เอง ซึ่งท�ำด้วยไม้และกระดาษแข็ง และทรง เคยท�ำเบส จากลังไม้และเชือกธรรมดา ระหว่างนั้นพระองค์ก็ ทรงศึกษาและฝึกฝนตามโน็ต พร้อมกับบรรเลงดนตรีคลาสสิก เป็นพื้นฐานนานกว่าสองปี โดยทรงเลือกเครื่องดนตรีประเภท เป่า ได้แก่ แซ็กโซโฟน และแคลริเน็ต จนเมื่อพระชนมพรรษาเพิ่มขึ้น ความสนพระราชหฤทัย ก็เริ่มจ�ำเพาะเจาะจงลงไป ขณะทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิต เซอร์แลนด์ ทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยในดนตรี และโปรดการ ฟังพระเชษฐาทรงโปรด หลุยส์ อาร์มสตอง และซิดนีย์ บีเชน นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มี พระปรี ช าสามารถเครื่ อ งดนตรี ป ระเภทเครื่ อ งเป่ า ซึ่ ง ได้ แ ก่

แซ็กโซโฟน แคลริเน็ต และทรัมเป็ตแล้ว ยังทรงกีต้าร์และเปีย โนได้อีกด้วย โดยเฉพาะดนตรีแจ๊สนั้น พระองค์สามารถทรง ดนตรีประเภทนี้ได้ทั้งชนิดที่มีโน้ตและไม่ต้องมีโน้ต พระอัจฉริยภาพของพระองค์ปรากฏชัด ในตอนที่ต้อง ทรงเดี่ยว (SOLO) ด้วยพระองค์เอง การเดี่ยวดนตรีแจ๊ส นั้น นับเป็นเรื่องยาก เพราะผู้เล่นจะต้องแต่งเนื้อหาขึ้นมาใหม่ ด้วยปฏิภาณที่ฉันพลัน และต้องให้อยู่ในกรอบของจังหวะแนว เพลงนั้นด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สามารถ ทรงแคลริ เ น็ ต และแซ็ ก โซโฟนได้ อ ย่ า งคล่ อ งแคล่ ว ทรง สามารถบรรเลงโต้ตอบกับนักดนตรีชื่อดังของโลก อาทิ เบนนี 10

IS AM ARE www.fosef.org


และถ้าข้าพเจ้าเล่นผิดโน้ต ก็เท่ากับว่าข้าพเจ้าแต่งท�ำนองนั้น ขึ้นเองในปัจจุบัน” อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร หัวหน้าวงดนตรีเฉลิมราชย์ หนึ่ง ในนักดนตรีผู้โชคดีที่สุด มีโอกาสได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาท ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เคยเล่าว่า เรื่องพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลกว่า ทรง มีพระอัจฉริยะทั้งในการทรงดนตรี และพระราชนิพนธ์เพลง อ.วิรัชบอกว่า โน้ตดนตรีของพระองค์นั้นซับซ้อน เพราะ ความที่พระองค์มีความรู้เรื่องดนตรีมาก กลเม็ดในการแต่งเพลง จึงเรียกว่า “เป็นขั้นสูง” ส�ำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีความลึกซึ้งทาง ด้านดนตรีหรือฟังเพลงผิวเผินก็อาจจะฟังได้ยาก “นักร้องที่จะมาร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ ต้องคัด เลือกว่า ร้องเพลงได้ถูกต้องจริงๆถือว่าเป็นการพิสูจน์การเป็น นักร้อง หากใครร้องเพลงพระราชนิพนธ์ได้อย่างถูกต้อง ถือเป็น มาตรฐาน คุณสามารถร้องเพลงอะไรก็ได้” กู๊ดแมน,แจ็ค ทีการ์เด้น, ไลออเนล แฮมพ์ต้น และสแตน เก็ตส์ เป็ น ต้ น ด้ ว ยพระปรี ช าสามารถท� ำ ให้ นั ก ดนตรี ดั ง ของโลก เหล่านั้น พากันชื่นชมและถวายการยกย่องพระองค์ว่า ทรงเป็น นักดนตรีแจ๊สที่มีพระอัจฉริยะสูงส่งของโลกดนตรี ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2503 (ค.ศ.1960) นักข่าวชาว อเมริกันได้กราบบังคมทูลถามว่าพระองค์เป็นนักดนตรีแจ๊ส จริง หรือไม่ และทรงโปรดดนตรีประเภทใดมากที่สุด ทรงมีพระราช ด�ำรัสตอบผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงอเมริกาอย่างถ่อม พระองค์ว่า “ดนตรีแจ็ส เป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สห รือไม่ใช่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวคนทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่ง ใหญ่ในชีวิตของเรา ส�ำหรับข้าพเจ้า เพราะดนตรีเป็นสิ่งประณีต งดงาม และทุ ก คนควรนิ ย มในคุ ณ ค่ า ของดนตรี ทุ ก ประเภท เพราะดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาส และอารมณ์ที่ต่างกันไป เมื่อพูดถึงการเล่นดนตรี ก็ต่างกันอีก ถ้าข้าพเจ้าเล่นเพลงคลาสสิก และมีใครท�ำเสียงดังอย่างนี้ ก็ เป็นการรบกวน เพราะว่าดนตรีคลาสสิกต้องเล่นอย่างตั้งใจจริง ข้าพเจ้าไม่ได้พักผ่อนเท่าไรนักต้องคอยระวังไม่ให้ผิดโน้ต และไม่ ให้ใครมารบกวนข้าพเจ้า ถ้าหากว่าข้าพเจ้าต้องเล่นเพลงแจ๊สก็ ดีกว่า เพราะข้าพเจ้าเล่นท�ำนองได้ตามใจชอบตามที่รู้สึกได้ใน ขณะนั้น ตามแต่ละอารมณ์และความนึกคิดของข้าพเจ้าจะพาไป ถ้าใครมาท�ำเสียงดังเวลานั้น ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นเสียงประกอบ 11 issue 120 january 2018


12 IS AM ARE www.fosef.org


coverstory

วิกฤตจิตวิญญาณครู จืดจาง ศ.นพ.อุดม คชินทร

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

13 issue 120 january 2018


รวมถึงประสบการณ์ชีวิตที่ครูทุกคนถูกถ่ายทอดมาจากครูรุ่น เก่าสมควรน�ำมาใช้และถ่ายทอดแก่คนรุ่นใหม่ให้เป็นประโยชน์ จะมุ่งต�ำราอย่างเดียวไม่ได้ 2.บรรพบุ รุ ษ คื อ ครู ตัวอย่างผู้ยึดเอาของดีที่มีอยู่แล้วมาเป็นครูในการพัฒนา ก็คือรัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเน้นเรื่องการศึกษา เรื่องภูมิปัญญา เช่น การท�ำนาแบบโบราณโดยการยกหัวคันนาสูง 1.50 คูณ 2.00 เมตร เป็นได้ทั้งนาข้าวและแปลงผักผลไม้ เป็นเขื่อนเก็บน�้ำ ขนาดย่อม ด้วยระดับน�้ำที่ลึกวัชพืชจึงอาศัยไม่ได้ ท�ำให้ประหยัด ต้นทุน หรือกังหันน�้ำชัยพัฒนา ทรงได้แนวทางจาก “หลุก” ซึ่ง เป็นอุปกรณ์วิดน�้ำเข้านาภูมิปัญญาชาวบ้าน ถูกน�ำมาพัฒนาจน กลายเป็นกังหันบ�ำบัดน�้ำเสียให้กับสาธารณะในที่สุด ได้รับค�ำชม ยกย่องจากหลายประเทศเรื่องประสิทธิภาพ รางวัลเหล่านั้นถือ เป็นรางวัลแห่งภูมิปัญญาบรรพชนด้วยเช่นกัน ในฐานะครูผู้ส่ง ต่อภูมิปัญญาถึงคนรุ่นหลัง

1.งานท้ า ทายของกระทรวงศึ ก ษาฯ “ถึงยากก็ต้องท�ำ” ศ.นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวเรียบๆ ในนาทีที่การศึกษา ไทยก�ำลังปรับเปลี่ยนทิศทางหาความเหมาะสมกับตนเองและ โลกที่ก้าวกระโดดในชั่วข้ามคืน ครู อาจารย์ กลายเป็นหัวใจการ ศึกษาของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ในฐานะผู้คอยก�ำกับคุณธรรมไม่ ยิ่งหย่อนไปกว่าต�ำราความรู้ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ท่านนี้พบว่าปัจจุบันครูอาจารย์ไม่กล้าดุเด็ก ไม่กล้าตักเตือนเรื่อง มารยาท การแต่งตัว กล่าวคือ ไม่กล้า “อบรมศิษย์” โดยเฉพาะ ครูระดับอุดมศึกษา “ครั้งรัชกาลที่ 5 ท่านปฏิรูปวางรากฐานการศึกษาท่าน รับสั่งไว้ชัดเจนว่า ตั้งโรงเรียนไม่ใช่แค่ให้มาเรียนหนังสือ ต้อง มาอบรมด้วย สอดคล้องกับแนวทางของรัชกาลที่ 9 ท่านเน้น ว่าคนต้องดีน�ำเก่ง หากดีแล้วฝึกให้เก่งได้ แต่ถ้าไม่ดีเหมือนไม้ แก่ที่ดัดยาก” ศ.นพ.อุดม ระบุว่า ขณะนี้สถานศึกษายังขาดการสอน ทักษะชีวิต เด็กยังขาดความนึกคิด การวิเคราะห์ การเป็นผู้น�ำ ขาดการคิดถูกผิด และการสื่อสารที่ถูกต้อง รวมถึงคุณธรรม จริยธรรม สิ่งเหล่านี้ครูจ�ำเป็นต้องสอนเพราะมีโอกาสอยู่กับ เด็กมากกว่าผู้ปกครอง ความเข้มแข็งด้านคุณธรรม จริยธรรม 14 IS AM ARE www.fosef.org


แพทย์ ไ ม่ ไ ด้ ต ้ อ งการคนเรี ย นเก่ ง คนเรี ย นเก่ ง ควร ไปอยู ่ อ าชี พ อื่ น ซึ่ ง ท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ ป ระเทศได้ ม ากกว่ า เช่ น นั ก วิ ท ยาศาสตร์ หรื อ ไปท� ำ ด้ า นเศรษฐกิ จ ต้ อ งเรี ย นที่ ตั ว เองรั ก และคิ ด ว่ า จะเป็ น ประโยชน์ กั บ ประเทศและตนเองในวั น ข้ า งหน้ า ไม่ ใ ช่ ว ่ า เรี ย นเพราะ ว่ า ต้ อ งเป็ น แพทย์

แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันครูอาจารย์ต้องปรับ ตัวอย่างหนัก ด้วยระบบการศึกษาแบบ “เปิด” และครูตัวอย่าง เริ่มลดน้อยลง ท�ำให้ไทยก้าวสู่ระบบอุตสาหกรรมการศึกษา มากขึ้น ตลาดวิชาทั้งหลายยึดผู้เรียนเป็นหลัก หากคณะใดไม่มี ผู้สมัครเรียนก็ต้องปิด เปิดทางให้หลักสูตรที่ให้ความส�ำคัญ ต่อโลกออนไลน์ และวิชาชีพที่มุ่งเลี้ยงตัวได้จริงๆ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับปัจจัยสี่ แม้แต่มหาวิทยาลัยมหิดลยังปรากฏตัวเลขบัณฑิต ตกงาน 16% ยังไม่รวมบัณฑิตจากสถาบันอื่นที่จบมาไม่สามารถ ประกอบอาชีพตามที่เรียนมาได้ ท�ำให้เกิดกระแสคนเก่งล้น ตลาด แต่ตลาดต้องการทั้งคนดีและเก่งในคนเดียวกัน เหล่านี้ เป็นปัจจัยที่หลายคนมองว่าถ้าครูอาจารย์ละเลยการอบรมศิษย์ ก็ยากที่ใครจะมาช่วยเสริมตรงนี้ได้ ศ.นพ.อุดม กล่าวว่า ตนเองเคยเป็นทั้งนักเรียนแพทย์ เป็นแพทย์ และครูแพทย์ศิริราชโรงพยาบาล เมื่อมองย้อนไป พบว่าผ่านการอบรมจากอาจารย์ในยุค 40-50 ปีที่แล้วมาอย่าง เข้มงวด เคี่ยวกร�ำ ไม่ใช่เพียงการสอนหนังสืออย่างเดียว หาก สอนชีวิตให้ศิษย์เอาไปใช้ในสังคมอย่างยั่งยืน โดยไม่กลัวว่า ศิษย์จะไม่ชอบ

“ครูสมัยนี้ต้องปรับตัว เดี๋ยวนี้คนไม่มีจิตวิญญาณความ เป็นครู ผมเป็นครูแบบโบราณ เป็นครูที่คอยเอาใจใส่ลูกศิษย์เรา กล้าดุ กล้าว่า กล้าตักเตือนให้ท�ำในสิ่งที่ถูกต้องตามโมเดลครูรุ่น ก่อนที่พบมา แต่ครูสมัยใหม่เขาจะไม่เตือน ถ้าเตือนหรือดุมาก เด็กไม่รักไม่ชอบ ไม่ได้เป็นเพราะอยากเป็นครู ผมคิดว่าตรงนี้ เป็นจุดด้อยเรื่องของความเป็นครูในปัจจุบัน” 3.ภาระงานของพ่ อ แม่ ส ่ ง ผลต่ อ คุ ณ ภาพเด็ ก “ต้องยอมรับว่าพ่อแม่ก็เปลี่ยนไปด้วยจากภาระงาน” หมออุดมมองว่า ครอบครัวในปัจจุบันต้องท�ำงานทั้งพ่อและแม่ 15

issue 120 january 2018


16 IS AM ARE www.fosef.org


4.สร้ า งค่ า นิ ย มผิ ด ๆ ผู้ปกครองเป็นอีกหนึ่งสาเหตุส�ำคัญในการสร้างค่านิยม การเรียนของลูก โดยปลูกฝังว่าคนเรียนเก่งจะต้องไปเรียนแพทย์ หรือแพทย์เป็นอาชีพที่มั่นคงร�่ำรวย แต่หลายคนลืมไปว่าจรรยา บรรณและคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน หากเด็กคนหนึ่งอยากจะเป็นแพทย์ เป้าหมายควรจะเป็นไปเพื่อ รักษาเพื่อนมนุษย์ หาใช่หาหนทางร�่ำรวย สะท้อนให้เห็นว่าเก่ง กับดียังไม่ไปด้วยกัน “แพทย์ไม่ได้ต้องการคนเรียนเก่ง คนเรียนเก่งควรไป อยู่อาชีพอื่นซึ่งท�ำประโยชน์ให้ประเทศได้มากกว่า เช่น นัก วิทยาศาสตร์ หรือไปท�ำด้านเศรษฐกิจ ต้องเรียนที่ตัวเองรักและ คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศและตนเองในวันข้างหน้า ไม่ใช่ว่าเรียนเพราะว่าต้องเป็นแพทย์ ควรจะต้องปรับทัศนคติ ควรเรียนที่ชอบเพราะต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิต อยากให้เด็ก และผู้ปกครองคิดอย่างนั้นมากกว่า” ค�ำว่า ครุ ให้ความหมายทางค�ำวิเศษ แปลว่า หนัก ดัง นั้น ผู้ที่คิดจะเป็นครูอาจารย์แต่เพียงร่างกายนั้นอาจสามารถ พัฒนาเด็กให้ตรงตามที่กระทรวงศึกษาฯ ต้องการได้ยาก ถ้า ไม่มีเวลาเจอกันหรืออบรมลูก ต่างปล่อยให้โรงเรียนเป็นผู้ดูแล ครูสมัยใหม่ไม่กล้าอบรมบ่มนิสัยเด็ก อนาคตเยาวชนไทยก็ยัง ผู้ปกครองมีหน้าที่หาเงินส่งเสีย ครูจึงเป็นความหวังส�ำคัญที่จะ ช่วยเติมเต็มทักษะชีวิตและความคิดจิตใจของเด็ก “ที่บ้าน เด็กแทบจะไม่ถูกสอนอยู่แล้ว ถ้าครูไม่สอนอีก ผมคิดว่าตรงนี้จะเกิดได้ไง เป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องปลูกฝัง ครูต้อง มีทัศนคติของความเป็นครู ไม่ใช่แค่มาสอนหนังสือมาให้ความรู้ อย่างเดียว แค่นั้นมันไม่พอ” กระทรวงศึกษาก�ำลังเบนเข็มไปที่นโยบายส่งเสริมให้ ครูถ่ายทอดความรู้ทั้งด้านกว้างและด้านลึก โดยเน้นด้านกว้าง ให้มากขึ้น คือทักษะต่างๆ ในการด�ำเนินชีวิตและอยู่ร่วมสังคม อย่างปกติสุข โดยมองว่า นิสัยใจคอหรือความดีของคนเกิด จาก “การอบรม” ไม่ใช่ “การเรียนหนังสือ” การเรียนคือด้าน ลึกมุ่งสู่ความรู้และความเก่งของแต่ละคนซึ่งต้องด�ำเนินควบคู่ กันทั้งสองด้าน “ในหลวงรัชกาลที่ 10 ท่านพระราชทานพระราโชบาย เรื่ อ งการศึ ก ษา เน้ น ทั้ ง เก่ ง และดี ท่ า นรั บ สั่ ง ผ่ า นองคมนตรี ประการแรกคือ อยากให้ม หาวิทยาลัยราชภัฏ พั ฒ นาตนเอง ด้านการเรียนการสอน เพราะเป็นแหล่งใหญ่ที่ผลิตครู จะท�ำให้ คุณภาพการศึกษาดีได้อย่างไร จะท�ำให้ครูมีคุณภาพได้อย่างไร ประการที่สอง ท�ำยังไงให้มหาวิทยาลัยเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น โดยรอบอย่างมีคุณภาพ ผมถือว่านี่เป็นเรื่องส�ำคัญ” 17 issue 120 january 2018


ไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร การกู้จิตวิญญาณครูเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาฯ ยอมรับว่ายาก แต่ต้องท�ำ “สมัยเรียนแพทย์อาจารย์เคยดุว่าแต่งตัวให้เรียบร้อย เราเป็นหมอ ไม่ใช่กุ๊ยข้างถนน อย่างนี้ใครจะเชื่อถือ - ต้อง เอาใจใส่กล้าเตือนกันอย่างนี้ ไม่ใช่เลคเชอร์เสร็จสะบัดก้นไป จากห้อง” ศ.นพ.อุดม กล่าว 5.หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ทั ก ษะชี วิ ต ที่ ส� ำ คั ญ ทักษะชีวิตส�ำคัญส�ำหรับเยาวชนที่หลายคนอาจลืมไปก็ คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าด้วยการมีคุณธรรม และความรู้ มีเหตุผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะ เป็นเกราะป้องกันให้ทุกคนประสบความส�ำเร็จในชีวิตได้อย่าง ยั่งยืน หมออุดมให้เหตุผลว่า เรื่องนี้สามารถด�ำเนินควบคู่ไป กับการศึกษาได้ดี เพราะสิ่งที่รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้ สามารถใช้ได้กับทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การศึกษา หรือ การด�ำเนินชีวิต “เรื่ อ งปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ พ ระองค์ ท ่ า น ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจเรื่องเดียว คือการใช้ชีวิตและ พระราชทานมาสามารถเอามาจับแล้วใช้ได้กับทุกเรื่อง พระองค์ เรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น การอยู่ในสังคม จะท�ำยังไงให้อยู่อย่างมี ความสุขหรืออยู่อย่างเกิดประโยชน์ได้อย่างไร และท�ำประโยชน์ ครู ส มั ย นี้ ต ้ อ งปรั บ ตั ว เดี๋ ย วนี้ ค นไม่ มี จิ ต วิ ญ ญาณ ให้กับสังคมชุมชนได้อย่างไร ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งผมก็ ความเป็ น ครู ผมเป็ น ครู แ บบโบราณ เป็ น ครู ที่ ค อย รู้สึกเหมือนพระองค์ท่านรู้สึก เพราะว่าเราเคยเห็นรัชกาลที่ 9 เอาใจใส่ ลู ก ศิ ษ ย์ เ รา กล้ า ดุ กล้ า ว่ า กล้ า ตั ก เตื อ น ท่านรับสั่งด้วยความน้อยพระทัยเรื่องนี้ ท่านรับสั่งหลายครั้งว่า ให้ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ ถู ก ต้ อ งตามโมเดลครู รุ ่ น ก่ อ นที่ พ บ ไม่มีใครเอาไปท�ำ ท่านพูดมาตั้งแต่ปี 17 แต่ว่าไม่มีใครสนใจ จน มา ปีที่มีต้มย�ำกุ้งถึงจะมาพูดกันอย่างจริงจัง จ�ำได้ว่าเพราะวิกฤต ต้มย�ำกุ้ง ท่านเลยเอาเรื่องนี้มาพูดอย่างจริงจัง ท่านอยากพูด ให้คนทั้งประเทศมีก�ำลังใจ มีแนวทางที่จะฟื้นฟูประเทศ ตอน นั้นประเทศเราเป็นหนี้ไอเอ็มเอฟ ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ส�ำคัญ ว่าทรงเน้นย�้ำเรื่องนี้เพราะสามารถเอามาใช้ประโยชน์ในชีวิต ได้จริงๆ” ท้ายที่สุด แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมุ่งเน้นไปที่ครู ในการพัฒนาตัวผู้เรียนนอกเหนือจากความรู้ด้านวิชาการ เพื่อ ให้เท่าทันโลกยุคใหม่ที่ต้องส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมก�ำกับเป็น พิเศษ แต่ต้องไม่ลืมว่าผู้ปกครองก็เป็นส่วนส�ำคัญในการอบรม บุตรหลานด้วยเช่นกันในเรื่องทักษะชีวิตและการน้อมน�ำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นอกเหนือจากต�ำรา เรียน มิใช่จะโยนภาระหน้าที่ให้ครูเพียงอย่างเดียว หากร่วมมือ กันทุกฝ่ายอย่างจริงจัง บางทีจิตวิญญาณครูที่จืดจางลงไปจาก อดีตอาจหวนกลับมาในไม่ช้า 18 IS AM ARE www.fosef.org


19 issue 120 january 2018


20 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

21 issue 120 january 2018


22 IS AM ARE www.fosef.org


23 issue 120 january 2018


แบ่งปันความสุข

มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดกิจกรรมแบ่งปันความสุข โดยน�ำเยาวชนจิตอาสาจากโรงเรียนต่างๆ ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กๆ ณ บ้านแห่งความหวัง มูลนิธิเซนต์มาร์ติน อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2560

24 IS AM ARE www.fosef.org


กิ จ กรรมครอบครั ว พอเพี ย ง

25 issue 120 january 2018


Let’s Talks

ความในจากครู ฝ่ายปกครอง อัมรินทร์ ฟุ้งเฟื่อง โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี

ขึ้ น ชื่ อ ว่ า ครู ฝ ่ า ยปกครอง นั ก เรี ย นคนไหนได้ ยิ น ก็ ต ้ อ งกลั ว กั น เป็ น แถว แต่ ใ ครจะทราบความปรารถนาดี ของครู ผู ้ ท� ำ หน้ า ที่ ส วมหั ว โขนยั ก ษ์ เ พื่ อ ให้ เ ด็ ก ได้ ไ ปถึ ง ฝั ่ ง ฝั น ของเขาโดยไม่ ต กม้ า ตายเสี ย ก่ อ น โดยเฉพาะ เด็ ก ที่ มี ป ั ญ หาทางครอบครั ว ไม่ รู ้ จ ะหั น หน้ า ไปปรึ ก ษาใคร ก็ มี ค รู ฝ ่ า ยปกครองนี่ แ หละ ช่ ว ยประคั บ ประคอง ให้ เ ด็ ก ได้ รั บ สิ ท ธิ์ ที่ เ ขาควรได้ รั บ ประสานกั บ ผู ้ ป กครองเพื่ อ ดู แ ลเด็ ก นั ก เรี ย นร่ ว มกั น ครู เ ล็ ก อั ม ริ น ทร์ ฟุ ้ ง เฟื ่ อ ง ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ อ� ำ นวยการฝ่ า ยปกครอง โรงเรี ย นพระหฤทั ย นนทบุ รี ก็ เ ป็ น อี ก คนหนึ่ ง ที่ ผ ่ า นการช่ ว ย เหลื อ ประคั บ ประคองเด็ ก นั ก เรี ย นหลายคนให้ ถึ ง ฝั ่ ง จนได้ รั บ รางวั ล บุ ค คลคุ ณ ธรรมน� ำ จิ ต อาสา รางวั ล ครู ดี เด่ น ด้ า นการสอนระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย เราลองมาดู กั น ว่ า ครู เ ล็ ก จะมี แ นวทางในการดู แ ลเด็ ก อย่ า งไร ในฐานะหั ว หน้ า ฝ่ า ยปกครองที่ นั ก เรี ย นให้ ค วามไว้ ว างใจ

26 IS AM ARE www.fosef.org


27 issue 120 january 2018


ท� ำ ไมครู เ ล็ ก ถึ ง เลื อ กอาชี พ ครู ? อาชี พ ครู เ ป็ น อาชี พ ที่ ส ามารถท� ำ บุ ญ ได้ ทุ ก วั น ท� ำ ได้ ตลอดเวลา ถ้าเกิดว่าเราคิดว่าตัวเราท�ำงานเพื่อจะเลี้ยงชีพมันก็ เป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่การเลี้ยงชีพนั้นในแต่ละวัน ในแต่ละ ชั่วโมงมันแฝงไปด้วยการท�ำดี การช่วยเหลือผู้อื่น หรือว่าการ ท�ำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น เด็กๆ ได้มีการพัฒนามากขึ้น อันนั้นเป็น สิ่งที่คิดว่าหาได้ยากในอาชีพอื่น ในฐานะหั ว หน้ า ฝ่ า ยปกครอง ครู เ ล็ ก มี แ นวทางใน การเข้ า หาเด็ ก พั ฒ นาเด็ ก ยั ง ไง ? การดู แ ลเด็ ก หรื อ การพั ฒ นาเด็ ก ให้ ดี ให้ เขาประสบ ความส�ำเร็จ เราต้องให้ใจ เราจะได้ความสุขใจ ได้ความภูมิใจ ตอบแทนคืนมา ถ้าเรามีใจเพื่อให้ จะท�ำให้เราไม่คิดเยอะ ท�ำให้ เราท�ำอะไรก็ได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ถ้าเราให้ความจริงใจไม่ต้อง คิดว่าท�ำไมคนนั้นเป็นอย่างนี้คนนี้เป็นอย่างนั้น เราคิดว่าการที่ เราเป็นครูอยู่ เราจะใช้วิชาชีพ ใช้ใจของเราดูแลเด็กได้มากกว่า อาชีพอื่น โรงเรียนนี้มีนักเรียน 2,000-3,000 คน เราสามารถ ดูแลหรือว่าพัฒนาเขาหนึ่งร้อยคนได้ 1-2 คนเราก็ว่าคุ้มแล้ว ถ้า เกิดว่าเขามีแนวทางในการพัฒนาตัวเองที่ดีขึ้น โรงเรียนนี้มีแนวการบริหารในเครือคาทอลิกที่โดดเด่น คือ ‘รักและรับใช้’ คือการให้ความรักและการรู้จักรับใช้ผู้อื่น ถ้าเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนาของเราก็คือ พรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมันอยู่ด้วยกันโดยไม่แตกแยก เลย แต่บางทีคนเราอาจจะคิดว่าท�ำไมต้องให้ ท�ำไมต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าเราให้ใจใครไปเราจะได้ใจคนนั้นกลับคืนมา

เทคนิ ค ง่ า ยๆ ท� ำ ให้ ดู ใ ห้ เ ขาเห็ น ว่ า สิ่ ง ที่ เ ราท� ำ แล้ ว สิ่ ง ที่ เ ราบอกเขาในสิ่ ง ที่ เ ราท� ำ มั น คื อ เรื่ อ งจริ ง ที่ สั ม ผั ส ได้ ไม่ ใ ช่ ม โนไปตามอากาศ ไม่ ใ ช่ บ อกที่ นั่ น มั น เป็ น แบบ นี้ มั น เป็ น แบบนั้ น โดยที่ เ ราไม่ รู ้ สั ง คมภายนอกมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปเร็ ว มาก ครู เ ล็ ก มี ก ารปรั บ ตั ว ยั ง ไง ? อย่างแรกเราถือคติ ‘ฟังอย่างลึกซึ้งและใช้วาจาแห่ง รั ก ’ ฟั ง อย่ า งลึ ก ซึ้ ง หมายความว่ า ไม่ ว ่ า เด็ ก มี ป ั ญ หาอะไร สมมุติว่าเด็กผิดระเบียบมา เราเป็นผู้ช่วย ผอ.ฝ่ายปกครอง จะ มีอิทธิพลกับเด็ก เหมือนกับเป็นนักกฏหมายในโรงเรียน เป็น ทนายความในโรงเรียน เป็นอัยการ เป็นแม่ เป็นทุกอย่างใน โรงเรียน แต่ที่ส�ำคัญคือ เราใช้วาจา ใช้สายตาด้วยความจริงใจ ด้วยความรัก แล้วการพูดก็ส�ำคัญ ฉะนั้นเราจะใช้นิยามนี้ในการ ปกครองนักเรียน เด็กมีปัญหาเราก็จะคุย-ถาม แล้วเราจะรู้ว่าเด็กบางที เขาไม่ได้มีพื้นฐานที่เลวร้าย แต่อาจจะด้วยสภาพแวดล้อม ด้วย สังคม ด้วยสิ่งที่มันอยู่รอบตัวเขา โดยที่เขามีจิตใจอ่อนแอโดยที่ เขาไม่รู้ตัว แล้วเขาก็ไหลลื่นไปตามกระแส เรามีหน้าที่กระตุก ชักชวน หรือดึงเขาให้กลับมาอยู่ในที่ที่เขาสมควรจะอยู่ ไม่ใช่เรา เห็นเป็นลูกชาวบ้านแล้วปล่อยมันไป เดี๋ยวมันก็ออกจากโรงเรียน นี้ไปแล้ว เราไม่ทิ้งอย่างนั้น ใครที่มีปัญหาจะท�ำจนถึงที่สุดให้ เขาอยู่รอดไปโดยที่เขาไม่ท�ำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะว่าการ จะให้เด็กคนหนึ่งออกไปมันง่าย เธอผิดระเบียบใช่ไหม เธอถูก ทัณฑ์บนใช่ไหมก็ออกไปก็จบ เราก็สบายเพราะไม่มีเด็กเกเรใน โรงเรียน การลงโทษนั้นง่ายแต่เราไม่ท�ำ เพราะถ้าเขาออกจาก 28

IS AM ARE www.fosef.org


ว่ามูลนิธิครอบครัวพอเพียงคือครอบครัวของเรา ครอบครัว สภานักเรียนคือครอบครัวของเรา ครอบครัวพระหฤทัย นนทบุรี คือครอบครัวของเรา ครูเล็กจะจัดกิจกรรมพี่รหัส-น้องรหัสใน ระบบโรงเรียนนักเรียนมัธยม จะมีพี่รหัสเป็นของตัวเอง เป็นวิธี การที่ท�ำได้ดี เด็กที่นี่จึงไม่มีตีรันฟันแทง ไม่มีทะเลาะเบาะแว้ง พี่ก็ดูแลน้อง น้องก็เชื่อฟังพี่ ถ้าพี่ท�ำผิดก็เรียกน้องมาดูด้วย ว่านี่ คือการท�ำผิดของพี่ เป็นครอบครัว ถ้าน้องท�ำผิดก็จัดการพี่ด้วย ในฐานะหั ว หน้ า ฝ่ า ยปกครองครู เ ล็ ก มุ ่ ง เน้ น อะไรกั บ เด็ ก ? ระเบียบวินัย สิทธิมนุษยชนในสิ่งที่เขาควรจะได้ในการ เป็นนักเรียน แล้วก็สิ่งที่เขาควรจะเป็นในขณะที่เขายังอยู่ในวัย เรียน เช่น วิชาความรู้ หรือกิจกรรมที่เขาจ�ำเป็นจะต้องฝึกในช่วง นี้ ที่จริงต้องขอบคุณมูลนิธิครอบครัวพอเพียง เพราะเป็นองค์กร ที่ฝึกเด็กจริงๆ จากประสบการณ์ ที่จริงมีมูลนิธิติดต่อมาเยอะ แต่เราประเมินแล้วด้วยวิธีการท�ำงาน ครอบครัวพอเพียงเป๊ะสุด การบริหารจัดการดี ฝึกให้เด็กได้พัฒนาตัวเอง ทั้งวิชาการและ การปฏิบัติจริง ซึ่งเขาเอามาใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่นพิธีกร งานโรงเรียน การเป็นผู้น�ำ การเป็นสตาฟฟ์ค่ายอาสา เด็กได้จาก ครอบครัวพอเพียงนี่แหละ สภานักเรียนก็ท�ำไปคู่กัน งานนี้ของ สภานักเรียน งานนี้ของครอบครัวพอเพียง งานนี้ของสารวัตร นักเรียน

ที่นี่ไปแล้ว หมายความว่าเขาต้องไปเป็นภาระสังคมข้างนอก ถ้า เขาไปเป็นภาระสังคมข้างนอก เขาไม่ได้การยอมรับจากสังคม ภายนอก ถ้าเขาไม่สามารถปรับตัวได้ อะไรจะเกิดขึ้นส�ำหรับ เด็กคนนี้ ชีวิตหนึ่งคนมันส�ำคัญ เราคิดว่าอย่างนั้นนะ พ่อแม่ สมัยนี้ควบคุมเด็กยาก แล้วก็ไม่สามารถควบคุมลูกได้ เป็นเรื่อง ธรรมดาของวัยรุ่นและของสังคมสมัยนี้ ปั จ จุ บั น ครู เ ล็ ก รั บ หน้ า ที่ อ ะไรอยู ่ บ ้ า ง ? เป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองและสอนสังคมเพิ่ม วิชาสาระ ที่ 1 พระพุทธศาสนา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่เลือกสอนวิชา นี้ คิดว่าวิชานี้จะช่วยให้เด็กสามารถค้นพบตัวเอง รู้จักแนวทาง ที่จะน�ำชีวิตจริง น�ำเรื่องที่เรียนไปปฏิบัติในชีวิตจริงได้ แล้วเรา ไปเรียนเพิ่มวิชาครูสมาธิของหลวงพ่อวิริยังค์ และเป็นอาจารย์ สอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพช่วงวันหยุด รับบรรยายธรรม ถ้ามีโอกาส นอกจากนั้นช่วงวันหยุดไหนมีเวลาว่างก็ไปท�ำจิต อาสากับนักรียน ไปไหนไปกัน นอกจากนี้ก็ดูแลสภานักเรียนและดูแลนักเรียนของศูนย์ ครอบครัวพอเพียง ที่จริงไม่ได้อยู่สายงานเรา มันต้องอยู่ฝ่าย กิจการนักเรียน แต่บังเอิญว่าเราอยู่กับเด็กได้และเด็กเขาโอเค เขาไม่ได้มองว่าเราเป็นฝ่ายปกครองหรือเราจะดุเป็นที่ต้องห้าม ของเด็ก ไม่ใช่ เราอยู่ด้วยกันเหมือนครอบครัว จะสอนเขาเสมอ 29

issue 120 january 2018


30 IS AM ARE www.fosef.org


อย่ า งในกรณี ข องน้ อ งสนุ ๊ ค เด็ ก ที่ มี ป ั ญ หาทาง ครอบครั ว ครู เ ล็ ก ดู แ ลยั ง ไง ? เต็มที่กับเขา เพราะว่าเขาเป็นคนดี ให้เขาได้รับสิทธิ์ เพราะว่าการเป็นคนดีอย่างต่อเนื่องของเขา คือเด็กพวกนี้เรา จะอยู่กับเขาตลอด คือเขาไปไหนก็ไปด้วย เวลาเขาท�ำอะไรก็ ช่วยกันคิดช่วยกันแนะน�ำแนวทางในสิ่งที่เขาควรจะได้ควรจะ เป็น เรามีโควต้าหรือทุนปกติให้นักเรียนมัธยมปลาย คือสนุ๊ค เขาอาจจะเป็นเด็กที่ไม่ได้พร้อมเหมือนคนอื่น(พ่อแม่แยกทาง) ก็ถามเขาว่าเขาโอเคไหม ถ้าเขาต้องการทุนก็ส่งชื่อมา แล้วเขา ก็ส่งชื่อมาว่าอยากจะขอรับทุนนี้ ครูเล็กก็เต็มที่ ที่จริงวันนั้นมี งานก็ต้องเลื่อนไป เพราะว่าในทีมบริหารของเราทั้งหมด ครูเล็ก เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องพิจารณา เพราะว่ามีเด็กขอทุนนี้หลายคน เพราะว่าเป็นทุนเรียนมหาวิทยาลัยฟรีจนจบโดยไม่ต้องใช้ทุนคืน ชื่อทุน “เพชรราชพฤกษ์” ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แล้วก็มีทุน จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วย ครู เ ล็ ก มองเห็ น อะไรในตั ว น้ อ งสนุ ๊ ค จึ ง ตั ด สิ น ใจ ประเมิ น ทุ น ให้ เ ขา ? เขาเป็นคนดีโดยพื้นฐาน เขาเป็นคนเข้มแข็งมากถ้ารู้ ประวัติเขานะ(น�้ำตาไหล) บางทีนั่งคุยกับเขาก็ร้องไห้ไปด้วย กัน เรื่องครอบครัวเขา เด็กบางคนที่พ่อแม่แยกทางแล้วแม่มี สามีใหม่อาจจะบอกว่าท�ำไมแม่ท�ำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่สนุ๊คไม่ นะ สนุ๊คเข้าใจแม่อย่างนี้อย่างนั้น เวลาครูเล็กเจอก็จะบอกเขา ว่า สนุ๊คตอนนี้เป็นยังไง เขาก็จะเล่าให้ฟัง เสร็จแล้วก็จะบอกเขา ว่าหนูต้องระวังตัว เตือนเขาทุกครั้งที่เจอกัน พูดตรงๆ นะ บอก สนุ๊คผู้ชายอย่าไว้ใจใครทั้งนั้นแม้แต่พ่อตัวเอง สนุ๊คก็บอกว่าถ้า แม่ยังไม่เข้าบ้าน สนุ๊คก็จะไปอยู่ที่อื่นก่อน นี่คือความเข้มแข็ง ของเขา ครูเล็กถึงต้องท�ำทุกวิถีทางที่จะให้เขาได้เรียนโดยที่ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะว่าครูเล็กถามเขาว่า แม่มีความสามารถ แค่ไหนที่จะส่งหนูเรียน เขาก็บอกว่าไม่มี พอบอกว่าไม่มีก็จบ ครูเล็กก็ไปคุยกับครูแนะแนวเพื่อดูว่าที่ไหนมีทุน คือเตรียมไว้ หลายที่ส�ำหรับเขา แล้วเขาก็เลือกลงชื่อ บอกว่าเขาจะท�ำให้ มหาวิทยาลัยเต็มที่ตอบแทนพระคุณที่ให้ทุนเขาเรียนโดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย 100 เปอร์เซ็นต์ ครู เ ล็ ก บอกเด็ ก ๆ ที่ ดู แ ลเสมอว่ า ความกตั ญ ญู เ ป็ น เครื่องหมายของคนดี และทุกคนต้องท�ำพอร์ตโฟลิโอมาส่ง ไม่ ว่ายังไงก็ต้องท�ำ ไม่ได้นอนก็ต้องท�ำ เพราะนั่นคือชีวิต เพราะ เมืองไทยยังมีระบบการศึกษาแบบนี้ ถ้าคุณไม่มีโปรไฟล์ของตัว เองเลยคุณจะไปบอกใคร เด็กเก่งมีเยอะ เหมือนน้องการ์ตูนที่ไป ได้โครงการช้างเผือก ครูเล็กตรวจพอร์ตเขาทุกหน้า พอเขาไปส่ง

ก็ถามเขาว่าเป็นยังไงบ้าง พอร์ตเขาก็ถูกตรวจดู งานเยอะแยะ เรียนสามกว่า กรรมการเขาบอกว่าคนเก่งมีเยอะแยะ เราไม่รับ เธอก็ได้ เธอมีอะไรอยากจะแสดงให้เราตัดสินใจได้บ้าง เขาก็ ลุกขึ้นเต้น แล้วบอกว่าหนูเป็นลีดเดอร์ได้ด้วยนะ(หัวเราะ) มัน เป็นวิธีการที่เขาได้ฝึกมาจากมูลนิธิครอบครัวพอเพียงค่อนข้าง เยอะ ในการกล้าแสดงออกและการเป็นตัวของตัวเอง กล้าพรี เซนต์ตัวเอง ในกรณี เ ด็ ก ที่ มี ป ั ญ หาทางบ้ า นเขาจะไม่ ก ล้ า พู ด กั บ ใคร ครู เ ล็ ก ท� ำ ยั ง ไงให้ เ ขากล้ า เปิ ด ใจออกมา ? เด็กจะเปิดใจหรือไม่เปิดใจมันเป็นเทคนิคส่วนตัวอย่าง หนึ่ง เราต้องท�ำยังไงให้เขาไว้ใจว่า ฉันพูดกับคุณได้นะ ฉันบอก อะไรคุณได้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเด็กของเรากล้าการันตีได้ว่าเขากล้า พูดกับเรา คือเราเชื่อมั่นเขา เขาจะเชื่อมั่นเรา ฉะนั้นครูเล็กจะพูด กับเด็กเสมอว่า ครูเชื่อมั่นเธอ ว่าเธอท�ำได้ มันมีอยู่เคสหนึ่ง เป็น เด็กผู้ชาย ช่วงน�้ำท่วมปี 54 เขาหยุดเรียนไปหลายเดือนมาก แล้ว เขาก็ติดกัญชากลับมา มีปัญหาครอบครัวหลายอย่าง ครูเล็กบอกเขาว่าเรามาคุยกันเพื่อจะช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน เราขออนุญาตเปิดใจ ครูเล็กจะเปิดใจกับหนู เขาก็พูด 31

issue 120 january 2018


เท่ า ที่ สั ม ผั ส มาอะไรคื อ สิ่ ง ที่ น ่ า ห่ ว งที่ สุ ด ของเด็ ก สมั ย นี้ ? เด็ ก สมั ย นี้ จ ะมี ข ้ อ ก� ำ หนดกั บ ผู ้ ป กครองอย่ า งหนึ่ ง คือ ‘ฆ่าตัวตาย’ กับ ‘หนีออกจากบ้าน’ ฉะนั้นต้องระวัง คน ภายนอกอาจจะไม่รู้ว่าเด็กยุคใหม่มีข้อเรียกร้อง มีงานวิจัยหนึ่ง บอกว่ า เด็ ก ปั จ จุ บัน นี้ ข องเมื อ งไทยกลั ว ความล� ำ บาก เด็ กไม่ อยากล�ำบากและเด็กเชื่อว่าการที่เกิดมาเป็นมนุษย์เอาอะไรไป ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมีอะไรใช้ให้หมด มีอะไรก็จะใช้ไปตามที่ตัว เองมีหรือมากกว่า นี่คือสิ่งที่น่ากลัวของเมืองไทย ไม่ต้องไปหา เด็กที่บอกว่าเราแต่งงานกันแล้วเราจะสร้างมรดกร่วมกัน เด็ก ไม่คิดถึงมรดกรุ่นหลาน มันน่ากลัวนะ ครูเล็กต้องเรียนรู้สภาพ สังคมว่าเด็กปัจจุบันนี้ต้องคุยกับเขายังไง สอนยังไง และให้อะไร เขาบ้าง เด็กเดี๋ยวนี้ขาดความอบอุ่นทางใจ พ่อแม่ให้แต่ให้วัตถุ อยากได้อะไรก็ให้ แต่ไม่ให้เวลา ไม่ได้ให้ความรัก 70 เปอร์เซ็นต์ ครอบครัวแตกแยก ปัจจุบันนี้คนคิดว่าหย่ากันเป็นเรื่องธรรมดา ลองไปถาม เด็กวัยรุ่นเดี๋ยวนี้สิ 10 คนจะพูดเหมือนกัน 9 คน คืออยู่ด้วยกัน ไม่ได้ก็เลิกกันไป เราถามเด็กว่าถ้าอยู่ด้วยกันไม่ได้ท�ำไง เขาบอก ครูเล็กบอกว่าครูเล็กเชื่อมั่นว่าเธอท�ำได้ ถ้าเธอท�ำได้แสดงว่า ก็เลิกกันไปหาใหม่ เป็นเรื่องธรรมดามาก บางทีเขามีตัวอย่าง เธอเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เข้มแข็งสามารถที่จะไปอยู่ในสังคมได้ คือ ผิดๆ ในสังคม สื่อปัจจุบันนี้ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรให้เยาวชน เขามีจุดอ่อนที่ว่าพ่อแม่เขาเลิกกัน ตัวเขาเองเป็นพี่ชายคนโต พิธีกรพูดจาหยาบคาย ด่ากัน แล้วจะเอาเด็กดีมารยาทดีจาก เขาจะมีความรู้สึกว่าอะไรก็กู ท�ำไมจะต้องเอาไปเปรียบเทียบ ไหน ท้องแล้วแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ฉะนั้นเด็กก็คิด กับคนนั้นคนนี้ เลยกลายเป็นว่าเขาท�ำทุกวิถีทางที่จะแอนตี้พ่อ อย่างนี้แหละ พ่อบอกว่าห้ามสูบบุหรี่เขาก็สูบบุหรี่ เพราะเขามีความรู้สึกว่าพ่อ เป็นผู้ชายที่ไม่ดีทิ้งแม่ไปในยามล�ำบาก พ่อบอกว่าอย่าเที่ยวก็ เที่ยว ครูเล็กเลยบอกเขาว่าเรามาวัดใจกันก็แล้วกัน ครูเล็กถาม เขาว่าพร้อมไหม เขาบอกพร้อม ครูเล็กพาเขาไปทุกวันพุธที่ ธัญญาลักษณ์ พาไปเลิกยาเสพติด แต่ไม่ได้บอกคนอื่นนะว่าพา เขาไปรักษา บอกแค่ว่าไปธุระ ประมาณ 3 เดือนกว่า นอกนั้น ก็ติดตามผลเอง ครูเล็กจะรักษาความลับของเขาด้วยและแก้ไข ไปด้วย เขาถึงไว้ใจ ถ้าครูเล็กบอกว่าเรารู้กันสองคนนะ ทุกอย่าง จะต้องรู้กันสองคนไม่มีคนอื่นเด็ดขาด ตอนนี้เขาจบปริญญาตรี แล้ว เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทุกวันนี้เด็กจะเลือก ถ้าท�ำผิดเขาจะวิ่งมาหาเราก่อน ไม่ ว่าอะไรก็แล้วแต่ ไม่อยากให้ครูในระดับรู้เขาก็จะมาหาครูเล็ก ก่อน สร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้ใจ อะไรเราก็รู้หมด แล้ว รู้ไปถึงคนอื่นด้วยว่ากลุ่มนี้เป็นยังไง กลุ่มนั้นเป็นยังไง มันหาได้ ง่ายจากเด็ก เพียงแต่ว่าเราต้องให้ใจเขาจริงๆ ใจถึงใจ เพราะ ฉะนั้นโรงเรียนเราเด็กติดยาไม่มี เด็กทะเลาะกันตีกันไม่มี ไม่ สูบบุหรี่ แต่ชู้สาวก็มีบ้างเป็นธรรมดาของโรงเรียนสหศึกษา 32 IS AM ARE www.fosef.org


สิ่งที่ครูท�ำได้คือสอนให้เด็กเข้มแข็งในจิตใจ เข้มแข็งใน คุณธรรม เหมือนเด็กนุ่งกระโปร่งสั้นหรือเด็กไม่ตัดผม ถามว่า ทรงผมมันเกี่ยวกับสมองไหม ไม่เกี่ยว แต่มันเกี่ยวทางด้านจิตใจ ถ้าคุณไม่เข้มแข็งคุณก็ไม่สามารถอยู่ในระเบียบวินัยของสังคม ได้ ไม่ได้บอกว่าผมคุณยาวมันไม่ได้เกี่ยวกับสมอง แต่ทรงผม ของคุณมันบ่งบอกถึงการที่คุณมีจิตใจอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง ฉะนั้น การสอนอะไรแต่ละอย่างมันไม่ใช่บอกว่าต้องท�ำ แต่เรามีเหตุผล ของการให้คุณท�ำ ถ้าเด็กมาถามเหตุผลครูเล็กจะต้องบอกได้ทุก อย่างว่าเหตุผลเรื่องนี้คืออะไร

พ่อเขาก็เถอะ เปรียบเทียบตัวเองตอนสมัยก่อนกับปัจจุบันที่มา อยู่ฝ่ายปกครองมา 10 ปีมันแตกต่างกัน อย่างเด็กสมัยก่อนคือ บอกหรือพูดมันก็ไม่ได้มีอะไรวนกลับมามากมาย แต่ปัจจุบันด้วย สิ่งเร้าด้วยสภาพแวดล้อมเขาเรียกร้องมากขึ้น เรียกร้องจากพ่อ แม่ เรียกร้องจากโรงเรียน เรียกร้องจากครู คือคิดถึงตัวเองมาก ขึ้น สรุปคือเห็นแก่ตัวมากขึ้น สภาพสังคมท�ำให้เขาเป็นอย่างนั้น เขามีมือถืออยู่ในมือจะค้นหาอะไรก็ได้ มันเป็นดาบส องคม โรงเรียนนี้พอนักเรียนเข้าโรงเรียนต้องปิดมือถือ เราไม่ ยึดของเขามานะ ให้ไว้กับตัว แต่ต้องปิดเครื่อง ถ้าหยิบออกมา หรือถ้าเห็นจะยึดเอาไว้สองเดือน ไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น จะให้ เขาใช้ได้หลัง 15.30 น. โรงเรียนเลิกเท่านั้น

สภาพครอบครั ว ที่ แ ตกแยกในสั ง คมปั จ จุ บั น ครู เ ล็ ก คิ ด ว่ า ภาระวนกลั บ มาที่ ค รู ไ หม ? เยอะมาก อย่างเด็กบางคนพ่อแม่กินเหล้า ทะเลาะกัน แล้วพ่อก็เอามีดไล่ฟันแม่ แม่กับลูกเลยหนีออกจากบ้าน พ่อ ก็มาตาม เวลาที่เห็นใครแปลกหน้าเราก็ต้องขับรถไปส่งเด็กที่ บ้าน ดูแลกันถึงขนาดนี้ เพราะว่าถ้าเกิดเขาไม่ปลอดภัย มัน หมายถึงว่าชีวิตข้างหน้าเขาจะไม่ปลอดภัยด้วย ถึงแม้จะเป็น

ปั ญ หาที่ ม ากั บ มื อ ถื อ ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นที่ ค รู เ ล็ ก เห็ น คื อ อะไร ? เกมออนไลน์อันดับหนึ่ง สองเว็บไม่เหมาะสม สามการ พนัน มันดึงความสนใจจากการเรียน เมื่อก่อนไม่มีไลน์ไม่มี เฟสบุ๊กก็ยังไม่เท่าไหร่ เด็กอาจจะเอามือถือมาแค่เล่นเกม แต่ 33

issue 120 january 2018


เดี๋ยวนี้ไลน์กันตลอดเวลา ไลฟ์สด สร้างยอดไลค์กัน ถามว่ามีกู เกิ้ลในการหาข้อมูลดีไหม ดี แต่เขาต้องรู้เวลาในการใช้ ฉะนั้น จ�ำเป็นต้องควบคุม ครูเล็กคิดว่าประเทศไทยจะเป็นปัญหาระดับ ชาตินะ ต้องมีกฎหมายควบคุม เมื่อก่อนไม่มีไลน์หรือแอพต่างๆ เรายังให้เด็กเอาโทรศัพท์มาใช้ได้ แต่พอมันมีแอพมากมาย มี เกมออนไลน์ ความฉลาดของคนท�ำเกมออนไลน์ก็คือ มีการ แข่งขันได้เงิน เด็กก็ติด

หนึ่งของอาชีพครู ถ้าเกิดเด็กคนนี้มันเหลือขอปล่อยมันไปก็ท�ำได้ แต่ครู ไม่ท�ำ ครูจะดูเด็กทุกคนที่มีปัญหา คนที่เช้ามาเย็นกลับเรียน 8 ชั่วโมงแล้วกลับบ้านก็โอเคดูห่างๆ แต่คนที่เราต้องใกล้ชิดคือเด็ก มัธยม แต่ผู้ปกครองมักจะคิดว่าเด็กอนุบาลต้องประคบประหงม พอมัธยมมันโตแล้วปล่อยมันไปผู้ปกครองคิดผิดนะ ผู้ปกครอง ต้องให้ความสนใจเด็กมัธยมเป็นเท่าตัว เพราะว่าจากเด็กก้าว เข้าสู่วัยรุ่นเขามีความรู้สึกว่า ข้าเก่งโว๊ย ฉันโตแล้ว ฉันต้องการ มี เ พาว์ เวอร์ ใ นกลุ ่ ม ในสั ง คม ถ้ า เขาคิ ด ผิ ด อะไรจะเกิ ด ขึ้ น เพราะฉะนั้นเวลาจะประชุมผู้ปกครองเราจะบอกผู้ปกครองว่า มัธยมเป็นชั้นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใกล้ชิดนะคะไม่ใช่ว่าแค่มา ส่งหน้าโรงเรียนแล้วกลับ ลูกก็เดินจากไปไม่เข้าประตูโรงเรียน ผู้ปกครองคิดผิดนะคะที่ดูแลลูกตอนเด็กแต่พอถึงมัธยมมันโต แล้วให้มันไปเอง ไปไหนก็ไม่รู้

ครู เ ล็ ก เป็ น หั ว หน้ า ฝ่ า ยปกครองก็ จ ะได้ สั ม ผั ส กั บ ครอบครั ว เบื้ อ งหลั ง เด็ ก มากมาย ? มันเป็นหน้าที่ แต่ครูเล็กคิดว่ามันเป็นการท�ำบุญอย่าง หนึ่ ง เพราะว่ า อย่ า งผู ้ ป กครองที่ ม าจะต้ อ งคิ ด ว่ า น่ า กลั ว ฝ่ า ย ปกครองเชิญ มันก็ต้องกลัว เป็นการชี้เป็นชี้ตายลูกเขาใช่ไหม แต่ครูเล็กเชิญเขามาแล้วบอกว่าเรามาปรึกษาหารือเพื่อที่จะ ช่วยประคับประคองดูแลพัฒนาลูกร่วมกัน มีอะไรเราต้องคุยกัน ครูเล็กบอกผู้ปกครองที่เจอว่าเราจะพูดกันแต่ความจริง ลูกอยู่ บ้านเป็นยังไง ลูกอยู่โรงเรียนเป็นยังไง เพราะฉะนั้นอะไรที่พบ กันครึ่งทางเราก็พบกันครึ่งทาง อะไรที่ช่วยกันแก้ไขได้เราต้อง ช่วยกันแก้ไข อันนั้นลูกคุณแม่ อันนี้ก็ลูกครู เพราะฉะนั้นเราต้อง ช่วยกัน เราจะไม่ปล่อยมือเด็กไปโดยที่เราเห็นเขาส�ำลักน�้ำ เรา ต้องหาสิ่งที่จะช่วยดึงเขา อาจโยนห่วงยาง อาจโยนเชือกอะไร ก็แล้วแต่ให้เขากลับมาถึงฝั่งให้ได้ อันนั้นคือการท้าทายอย่าง

ครู เ ล็ ก มี เ ทคนิ ค อะไรที่ ท� ำ ให้ เ ด็ ก มาสนใจค� ำ สอนเรา แล้ ว เอาไปท� ำ ? เทคนิคง่ายๆ ท�ำให้ดูให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เราท�ำแล้ว สิ่งที่ เราบอกเขาในสิ่งที่เราท�ำมันคือเรื่องจริงที่สัมผัสได้ ไม่ใช่มโนไป ตามอากาศ ไม่ใช่บอกที่นั่นมันเป็นแบบนี้มันเป็นแบบนั้นโดยที่ เราไม่รู้ เหมือนกับเราบอกชาบูมันอร่อยมาก แต่เราไม่เคยกิน ชาบู เ ลยแล้ ว เราจะบอกได้ ยั ง ไงว่ า มั น รสชาติ มั น เป็ น อย่ า งไร

34 IS AM ARE www.fosef.org


หนังสั้นศาสตร์พระราชาตั้งแต่มัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ให้เด็ก เขาท�ำภาพยนตร์แล้วก็ประกวดวาดภาพประกวดเรียงความ เรา ต้องการสิ่งสะท้อนกลับว่าเขาเข้าใจมากน้อยแค่ไหน อย่างที่ครู เล็กให้โจทย์ไป เช่น ประกวดหนังสั้นศาสตร์พระราชาจะเห็นเลย ว่าบางห้องตีโจทย์แตก บางห้องตีโจทย์ไม่แตก อยู่ที่ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นก่อนที่งานจะส�ำเร็จเราก็ต้องท�ำความเข้าใจกับครู เราจะมีสายชั้นที่จะให้ความรู้ ให้แนวแก่นักเรียน ในอายุ ร าชการที่ เ หลื อ อยู ่ ครู เ ล็ ก อยากเห็ น อะไรใน เด็ ก ครู และโรงเรี ย นบ้ า ง ? สิ่งที่ครูเล็กต้องการก็คือ ความเข้มแข็งทางคุณธรรม และจริยธรรม มันเป็นเรื่องส�ำคัญ แล้วก็ความซื่อสัตย์ต้องมา อันดับหนึ่งนะคะ ส�ำหรับสังคมไทย ครูเล็กมีโครงการให้เด็ก ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ก็คือ ใครเก็บของได้ตั้งแต่มูลค่า 200 บาทขึ้นไป ก็จะให้เกียรติบัตรรับกับผู้บริหารสูงสุดหน้าเสาธง เด็กที่นี่ถ้าเจอของอะไรก็จะมาไว้ห้องประชาสัมพันธ์ แล้วก็จะ มีสมุดบันทึกความดีให้เด็กไว้เก็บผลงาน แล้วก็มีโครงการเด็ก ดีศรี พทน. โครงการเด็กดีศรีพระหฤทั ยมอบเกียรติบัตรให้ทุก เดือน เพราะเด็กดีศรี พทน.จะเป็นเด็กดีที่มีความดี มีจริยะธรรม ตามแนวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 คุณธรรม 4 ประการเน้นตามปรัชญาโรงเรียน ซื่อสัตย์ เมตตา วิชาเป็นเลิศ รักเทิดคุณธรรม โดยจะมีคณะกรรมการสายชั้นเป็นคนพิจารณา แล้วก็ส่งมาให้ครู เราจะดูพอร์ต ดูประวัติแล้วก็ท�ำเกียรติบัตรให้ เขา เขาก็จะได้เป็นความภูมิใจของเขา

เทคนิคง่ายๆ เป็นตัวอย่างให้ดี ท�ำให้เขาเห็น อย่างบอกว่า นักเรียนต้องพูดจาไพเราะนะอย่าพูดจาหยาบคาย แต่ว่าเรา ยังพูดมึงมาพาโวยอยู่ แล้วเราจะไปบอกเด็กได้ยังไง เหมือน พ่อแม่บอกอย่าสูบบุหรี่นะ พ่อยังสูบแต่ห้ามลูก เด็กสมัยนี้ไม่ เหมือนสมัยก่อน เด็กสมัยก่อนห้ามคือห้าม เด็กสมัยนี้กฎมีไว้ ให้แหก สมัยเราครูตีแม่ตีซ�้ำ เด็กสมัยนี้ครูตีแม่มาเอาเรื่องครู เป็นอย่างนั้นจริงๆ ครู เ ล็ ก ช่ ว ยแนะน� ำ ครู รุ ่ น ใหม่ ที่ จ ะก้ า วขึ้ น มาดู แ ลเด็ ก รุ ่ น ใหม่ ? ถ้าหากเราจะมีอาชีพครู คุรุ แปลว่าหนักอยู่แล้ว เรา พร้อมที่จะหนักกับอาชีพนี้หรือไม่ เราต้องถามตัวเอง ถ้าเรา พร้อมเราก็ลุยต่อไป ถ้าเราไม่พร้อมเราก็ต้องไปหาอาชีพอื่น ครู ต้องถามตัวเองว่าพร้อมไหม แต่ถ้าส�ำหรับครูเล็กจะไปท�ำอาชีพ อะไรก็ได้ แต่ก็เลือกอาชีพนี้ อาชีพนี้มันเป็นอาชีพที่ท�ำบุญได้ ตลอดเวลา แล้วก็ท�ำบุญกับคน เขาบอกว่าให้อาหารหมา 500 ตัว มันยังไม่เท่าให้กับคน 1 คน ถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะท�ำให้คน คนหนึ่งกลับตัวกลับใจเป็นคนดีแล้วก็อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นเยาวชนที่ดีของประเทศชาติต่อไป เป็นคนที่ท�ำสิ่งที่ดีให้กับ สังคม ครูเล็กว่ามันก็คุ้ม

ครู ใ นฝั น ของครู เ ล็ ก เป็ น ยั ง ไง ? ครูเล็กคิดว่าการเป็นครูต้องเป็น 24 ชั่วโมง จะเป็นแค่ 7 คาบมาสอนแล้วกลับไปไม่ได้ ต้องเป็น 24 ชั่วโมงแล้วก็ต้อง มีจิตวิญญาณของความเป็นครู รู้จักรัก ให้ แล้วแบ่งปัน ที่ส�ำคัญ คือซื่อสัตย์และกตัญญู - กตัญญูกับตัวเอง หมายความว่า เรา ต้องรักตัวเองดูแลตัวเอง ดูแลใจ ดูแลสุขภาพ ดูแลสภาวะจิต ของตนเองให้เป็นคนคิดบวก ถ้าเราไม่คิดบวกเราจะไปสอนคน อื่นให้คิดบวกได้ยังไง โรงเรียนก็ไม่ดี ไอ้เด็กคนนั้นก็ไม่ดี ไอ้นั่นก็ ต้องปรับปรุง ฯลฯ แล้วเราจะไปบอกเด็กและลูกน้องเรายังไงให้ ปั จ จุ บั น มี ก ารขั บ เคลื่ อ นกั น มากเรื่ อ งปรั ช ญาของ เขาคิดบวก เราต้องคิดบวกซื่อสัตย์แล้วก็กตัญญูกับตัวเอง แล้ว เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ครู เ ล็ ก แนะน� ำ เรื่ อ งนี้ กั บ นั ก เรี ย น ก็กตัญญูต่อสถาบัน กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นี่คือสิ่งที่ต้องการ ถ้า ยั ง ไง ? เกิดว่าครูหรือว่าเด็กมีสิ่งเหล่านี้ประเทศชาติไม่ล่มจม ครู ใช้ ก ารประชุ ม ประจ� ำ เดื อ น ให้ ค รู เขี ย นลงไปใน แผนการสอนสอดแทรก ครูวิชาการเขาก็จะมีหน่วยที่เกี่ยวกับ ความพอเพียงและศาสตร์พระราชา เทอมที่แล้วมีการประกวด 35 issue 120 january 2018


36 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

่ เมื่อฝรังถาม

“คนไทยถูกล้างสมองให้รักในหลวง?” ถ้าจะว่ากันตามตรง ฉันเริ่มจากการศึกษาประวัติศาสตร์ของ อารยธรรมอื่นก่อนเสียด้วยซ�้ำ ก่อนที่จะเริ่มหันมาสนใจศึกษา ประวัติศาสตร์ไทย ช่วงเวลา 4 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัยไทยท�ำให้ฉันตระหนัก ว่า... ฉันรู้เรื่องบ้านเมืองของตัวเองน้อยเหลือเกิน การเดินทาง ไปในที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นในถิ่นชนบท การต้องนั่งรถทัวร์ การต้องนอนในวัด การต้องทานอาหารพื้นบ้านที่ห่างไกลจาก ค�ำว่าหรูหรา เช่น การกินแคบควายกับข้าวเหนียว ท�ำให้ฉันเห็น ประเทศนี้ในมุมที่ไม่เคยเห็น

เอิน กัลยกร ตอบว่า “เราสามารถรักคนที่ เราไม่เคยเจอเลยได้อย่างไร? เราสามารถแม้กระทั่ง..เทิดทูนท่านได้อย่างไร? บางคนบอกว่า... เราถูกล้างสมอง บางคนอธิบายว่า... กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือที่คนไทยสมัยนี้เรียกกันสั้น ๆ ว่า 112 ห้ามเราไม่ให้วิจารณ์ พระราชวงศ์ ดังนั้น เราจึงไม่เคยรู้ความจริงและไม่เคยสงสัยใน ความเคารพที่เรามีให้กับพระราชวงศ์ บางคนแสดงความคิดเห็นไว้ว่า... เพราะประเทศไทย ไม่มีประชาธิปไตย เราจึงไม่เคยรู้ว่ามีทางเลือกอื่น บางคน... เมื่อเห็นว่าเราร้องไห้... ก็เอาเราไปเปรียบกับเกาหลีเหนือ ถ้ า อย่ า งนั้ น ...ฉั น ขอถามกลั บ ด้ ว ยค� ำ ถามที่ เรี ย บง่ า ย แล้วกัน คุณเคยได้ยินเรื่องของอับราฮัม ลินคอล์น และสิ่งที่เขา ท�ำมั้ย? คุณเคารพเขามั้ย? แล้ว เนลสัน แมนเดลลา หรือ มหาตมะ คานธี ล่ะ? คุณ เข้าใจเมื่อตอนที่เขาร้องไห้ให้กับการตายของพวกเขามั้ย? ใช่ ในหลวงของเราไม่ได้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชาติไทย ให้เป็นอิสระเพื่อความเท่าเทียมในสังคม แต่... ในหลวงของเราก็ทรงต่อสู้ อย่างหนักเสียด้วย เพื่อปลดปล่อยประชาชนของท่านจากความหิวโหยและความ ยากจน แม้จะเกิดขึ้นในบริบทที่ต่างกัน แต่มันคือเรื่องเดียวกัน ฉันชื่อ กัลยกร อายุ 33 ปี เป็นคนที่เกิดและเติบโตใน ประเทศไทย ฉันมองว่าตัวเองเป็นคน 2 ภาษา ด้วยความที่เรียน ประถมในโรงเรียนไทย แล้วไปต่อชั้นมัธยมในโรงเรียนนานาชาติ ในฐานะที่เป็นคนสองภาษาและเป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์ มาก ฉันจึงโชคดีมากที่สามาถเข้าถึงข้อมูลและอ่านบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ได้ทั้ง 2 ภาษา ซึ่ง... บอกเลยว่าเป็นสิ่งที่ท�ำเสมอ

ฉั น ได้ เ คยดู ก ารถ่ า ยทอดสดทางที วี ส มั ย ที่ ฉั น ยั ง เด็ ก ในวั น ที่ ทุ ก คนต่ า งออกมาถวายพระพรให้ ใ นหลวง เนื่ อ งในวั น พระราชสมภพของท่ า น ท่ า นกลั บ ใช้ โอกาสในวั น นั้ น ... เรี ย กข้ า ราชการมาถามไถ่ ค วาม เป็ น ไปเรื่ อ งน�้ ำ และเล่ า ทฤษฎี แ ก้ ม ลิ ง ที่ ท ่ า นทรง ศึ ก ษาและพั ฒ นามา พร้ อ มกั บ อธิ บ ายด้ ว ยการวาด บนแผนที่ ซึ่ ง ท่ า นเตรี ย มไว้ ฉันจึงเริ่มหันมากลับมามองที่ประเทศอันเป็นบ้านเกิด ของตั ว เอง ในเวลาเดี ย วกั น นั้ น ฉั น ก็ เริ่ ม เดิ น ทางท่ อ งเที่ ย ว ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน และเคย ได้ผ่านประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์หลาย ๆ อย่างคล้าย กัน ฉันจึงได้เห็นความแตกต่างของแต่ละบ้านเมืองที่ฉันได้ไป เหยียบ และรู้สึกซาบซึ้งกับใครก็ตามที่ท�ำให้ประเทศเรามาถึง จุดนี้ได้ในวันนี้ แต่ ฉั น พบว่ า อดี ต ของเราไม่ ไ ด้ ส วยหรู อ ย่ า งที่ ห ลาย คนพยายามท� ำ ให้ เราเชื่ อ ฉั น ได้ เรี ย นรู ้ ว ่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต้องเร่งรัดประเทศให้เข้าสู่การปฏิรูป ครั้งใหญ่ เพื่อจะรอดพ้นจากการถูกคุกคามจากประเทศตะวัน ตก ซึ่งก�ำลังอยู่ในช่วงล่าอาณานิคม 37

issue 120 january 2018


ในฐานะกษัตริย์จริง ๆ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในระหว่าง การกลับมาเยี่ยมประเทศไทย ท ่ า น ส า ม า ร ถ แ ก ้ ป ั ญ ห า ค ว า ม ขั ด แ ย ้ ง ที่ มี ม า ยาวนานระหว่างชาวไทยและชาวจีนในไทย นั่นเอง... ที่ท่านเริ่มสามารถชนะใจของประชาชนได้... แล้วท่านก็ถูกลอบปลงพระชนม์... เพียงไม่กี่วันก่อนจะเสด็จ กลับไปเรียนต่อ หลังท่านเสด็จสวรรคต พระอนุชาของท่านจึงต้องขึ้น ครองราชย์แทน ด้วยพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มันไม่ใช่งานที่ง่ายเลย มันอาจไม่ใช่แม้งานที่ท่านอยากได้ มันคืองานที่ถูกยัดเยียดให้ ในเวลาที่อันตรายเหลือเกิน แต่ท่านก็ทรงรับ นี่คือความจริงที่คนไทยทุกคนรู้ แม้เราจะไม่อยากพูดถึง มันเท่าไหร่ แต่เราก็รู้ ซึ่งฉันพบว่ามันเป็นเรื่องน่าตลกมากเลย ที่ สื่อต่างชาติมากมายมักชอบวาดภาพการครองราชย์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไว้เสียหรูหรา โดยกลับไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องนี้เลย การศึกษาเรื่องราวจากทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ท�ำให้ฉันเห็นมิติที่ลึกซึ้งขึ้นในเรื่องราวมากมายที่เคยได้ยินตั้งแต่ ตอนยังเด็ก ฉันได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยเป็นอุดมคติที่หวานหอม และสวยหรู แต่กลับถูกยัดเยียดให้คนไทยอย่างฉับพลันผ่าน การปฏิวัติรัฐประหาร ในตอนที่คนยังไม่พร้อม และไม่เคยได้ รับการศึกษาที่ถูกต้องเพื่อจะเข้าใจว่า ประชาธิปไตย คืออะไร ฉั น ได้ ค ้ น พบความจริ ง ว่ า พระบรมวงศานุ ว งศ์ ห ลาย พระองค์ต้องหนีออกจากประเทศ เพราะเสี่ยงเหลือเกินที่จะถูก จับขังหากอยู่ในประเทศไทย ฉั น ยั ง ได้ เ ห็ น ความจริ ง ผ่ า นการเปรี ย บเที ย บกั บ ประวัติศาสตร์ชาติอื่น ว่าการขึ้นครองราชย์ของทั้งรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ นั้น.... ไม่ใช่เรื่องปกติ รัชกาลที่ ๘ นั้นท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ยังเป็นเด็กมาก ท่ า นใช้ ชี วิ ต อย่ า งเรียบง่ายอยู่ในประเทศสวิต เซอร์แ ลนด์ กั บ ครอบครัวเล็ก ๆ แม่ของท่านเป็นคนธรรมดา พ่อของท่านเสีย ไปแล้ว แถมท่านยังไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในสายของการขึ้นครองราชย์ โดยตรง แต่ ก็ ท รงถูก รัฐ บาลในยุคนั้น ทูลเชิญ ขึ้น เป็น กษั ต ริ ย ์ ปกครองประเทศ เมื่อท่านโตขึ้นและพบว่ามีการเป็นกษัตริย์น้ัน มีภาระหน้าที่มากมายกว่าการเป็นแค่หุ่นเชิด ท่านจริงเริ่มท�ำงาน

ถ้ า คุ ณ ไม่ ส ามารถเข้ า ใจความรู ้ สึ ก ของการสู ญ เสี ย กษั ต ริ ย ์ ผู ้ เ ป็ น ที่ รั ก ว่ า มั น เจ็ บ ปวดแค่ ไ หน ฉั น เชื่ อ ว่ า อย่ า งน้ อ ย... คุ ณ ก็ ค งจะสามาถเข้ า ใจว่ า การเสี ย คน คุ ณ รั ก และเคารพจากใจมั น เจ็ บ ปวดได้ ข นาดไหน

38 IS AM ARE www.fosef.org


แต่ถ้าฉันบอกคุณว่าราชวงศ์ไม่ได้มีอ�ำนาจที่แท้จริงใน การก�ำหนดกฎหมายล่ะ ถ้าฉันบอกคุณว่าอ�ำนาจของกษัตริย์นั้นถูกจ�ำกัดไว้ภาย ใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ในยุคที่มีการรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนระบบ การปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยล่ะ ถ้าฉันบอกคุณว่าประเทศไทยมีระบบที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ร่างกฎหมาย ที่ต้องไปผ่านสภาฯ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมัก ใช้เวลาหลายเดือน หรือหลายปีเสียด้วยซ�้ำล่ะ ถ้ า ฉั น บอกคุ ณ ว่ า คดี ห มิ่ น ฯ ส่ ว นใหญ่ นั้ น ถู ก ใช้ ใ น เกมการเมือง และหลายคดีที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาก็เพราะ มีคนต้องการสร้างความกดดันในสังคมเพื่อหวังประโยชน์บาง อย่างส่วนตัล่ะ คุณจะเชื่อฉันมั้ย? มันไม่สนุกเท่าไหร่.. ใช่มั้ยล่ะ... แต่มันคือเรื่องจริง ไม่เป็นไรหรอก... ฉันเข้าใจหากคุณจะไม่เข้าใจ แต่ คุ ณ สามารถเคารพลิ น คอล์ น ยึ ด แมนเดลลาเป็ น แรงบันดาลใจ หรือเสียใจกับการจากไปของคานธี... ได้อย่างไร?

เพราะอย่างนี้... ฉันจึงได้เรียนรู้ว่า ท่ามกลางสภาพ แวดล้อมที่สุ่มเสี่ยงยากล�ำบาก และเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์อยู่ ในจุดที่อ่อนแอที่สุด เรากลับได้พบกับพระมหากษัตริย์ที่ทรงงาน อย่างหนัก จนสามารถกุมใจของประชาชน และสามารถท�ำให้ ราชวงศ์กลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง ท่ามกลางความแปรปรวนของความขัดแย้งทางการเมือง ในหลวงรัชกาลที่ ๙ คือ คนเดียวที่ทรงแสดงให้เราเห็นถึงความ จริงใจในประเทศนี้... ผ่านการทรงงานของท่าน ฉันเคยได้ยินมากว่ากษัตริย์ไม่สามารถเป็นกษัตริย์ที่แท้ จริงได้หากปราศจากแรงสนับสนุนจากประชาชน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้ มาซึ่งบารมีด้วยความรักจากประชาชน เราวางใจในตัวท่าน เราจึงเชื่อท่าน นี่... ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกฎหมายหมิ่นฯ แม้ว่าพวกคุณ จะชอบจินตนาการของความคิดที่คนมีอ�ำนาจข่มเหงประชาชน ด้วยกฏหมายที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน แค่เพราะมันช่างเป็นภาพที่ คุณคิดเหมาเอาเองว่าประเทศโลกที่สามควรจะเป็น 39

issue 120 january 2018


และคุณสามารถเลือกที่จะเชียร์อองซานซูจี หรือเลือกที่จะเชื่อ ถ้อยค�ำขององค์ทะไลลามะ... ได้อย่างไร? พวกคุณส่วนใหญ่ก็ยังไม่เคยพบพวกเขาเหล่านั้นเหมือน กัน.. ใช่มั้ย? แต่พวกคุณกลับเชื่อเวลาที่ประชาชนรักและเคารพ พวกเขา เพราะคุณเห็นสิ่งที่พวกเขาท�ำ... ผ่านหลักฐาน ผ่าน ภาพถ่าย ผ่านวิดีโอ ผ่านบทสัมภาษณ์ ผ่านเรื่องราว.... ที่คน อื่นบอกคุณ แล้วท�ำไมมันจึงยากเหลือเกินที่คุณจะเชื่อว่าความรักที่ เรามีต่อในหลวงนั้นเกิดขึ้นมาจากความดีงามที่ท่านท�ำ? เพราะ ท่านเป็นกษัตริย์เหรอ? แค่เพราะประเทศนี้มีกฎหมายนั้นเหรอ? ในเมื่อร่องรอยของการทรงงานหนักของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของเรา ยังคงมีให้เราเห็นอยู่ต่อหน้า ต่อตาอย่างชัดเจน คุณจะลองค้นคว้าหาข้อมูลจากหลาย ๆ ที่เกี่ยวกับช่วง เวลาที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้ามาคุกคามในประเทศแถบนี้ เอา จริง ๆ คือ ตอนนั้นพวกคอมมิวนิสต์ได้มาจ่ออยู่ที่คอหอยเราแล้ว และเราสามารถเป็นประเทศเดียวที่รอดพ้นและยังคงสามารถ เป็นประเทศประชาธิปไตยอยู่ได้อย่างไร คุ ณ ยั ง สามารถขึ้ น ไปบนเขาและถามเหล่ า ผู ้ ค น ชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งไม่เคยได้รับการใส่ใจจากภาครัฐ ว่าท�ำไมเขา ถึงมีรูปในหลวงประดับไว้ในบ้านทุกหลัง หรือคุณจะลองเดิน ทางไปในแถบชนบทที่เคยทุรกันดารทั่วประเทศนี้ก็ได้ ว่าพวก เขาได้ระบบชลประทานมาได้อย่างไร หรือโครงการฝนเทียมนั้น ได้ช่วยอะไรพวกเขาบ้าง ส่วนตัวฉัน ฉันได้เคยดูการถ่ายทอดสดทางทีวีสมัยที่ฉัน ยังเด็ก ในวันที่ทุกคนต่างออกมาถวายพระพรให้ในหลวงเนื่อง ในวันพระราชสมภพของท่าน ท่านกลับใช้โอกาสในวันนั้น... เรียกข้าราชการมาถามไถ่ความเป็นไปเรื่องน�้ำ และเล่าทฤษฎี แก้มลิงที่ท่านทรงศึกษาและพัฒนามา พร้อมกับอธิบายด้วย การวาดบนแผนที่ซึ่งท่านเตรียมไว้ วันนั้นเป็นวันที่ฉันได้เห็น ในหลวงของฉันทรงงาน... ต่อหน้าต่อตา ในวันที่ท่านสามารถ พักผ่อนและอิ่มเอมไปกับค�ำอวยพรของพสกนิกร โดยไม่จ�ำเป็น ต้องทรงงานเลย ดั ง นั้ น การยึ ด เอาต� ำ แหน่ ง ของท่ า นเป็ น ที่ ตั้ ง แล้ ว เหมารวมเอาว่าพวกเรารักในหลวงของเราเพียงเพราะเราไม่มี การศึกษา หรือการไม่สามารถมองเห็นในสิ่งดี ๆ ที่ท่านได้ทรง ท�ำไว้.... นั้นสุดแสนจะกลวงและมันแสดงให้เห็นถึงการละเลย ในความจริงและมิติที่หลากหลายของวัฒนธรรมอื่น แต่ก็ไม่เป็นไรหรอก 40 IS AM ARE www.fosef.org


ชีวิตพวกคุณก็จะด�ำเนินไปตามปกติ แม้ว่าคุณจะไม่พูด ถึงเรา ...แต่ชีวิตพวกเรา ชีวิตพวกเราไม่เหมือนเดิมเลย และ หัวใจของเราก�ำลังสลาย ปล่อยให้พวกเราได้โศกเศร้าเถอะ ให้พวกเราได้ท�ำใน สิ่งที่อยากท�ำ หยุดโจมตีพวกเรา อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาแห่ง ความหมองหม่นนี้ และ.... ช่วยเคารพต่อการสูญเสียของพวก เราด้วย

ฉันไม่ได้เขียนบทความนี้เพื่อจะขอให้คุณมารักคนที่ฉัน รัก ...หรือแม้กระทั่งจะขอให้คุณเคารพท่านด้วยซ�้ำ ฉันเข้าใจหากคุณจะไม่เข้าใจในความจงรักภักดีที่เรามี ต่อท่าน แต่ฉันเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อจะขอสิ่งที่ง่ายดายกว่า นั้นมากมาย.... ปล่อยให้พวกเราได้เศร้าโศกเถอะ คุณจะเห็นเราร้องไห้ คุณจะเห็นเราพยายามท�ำในสิ่งที่ เราเชื่อว่าจะสามาถตอบแทนความรักที่ท่านทรงมีให้ประชาชน และการงานอย่างหนักเพื่อพวกเรา คุณอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่ พวกเรารู้สึกเลยสักนิด ซึ่งก็ไม่เป็นไรหรอก ...แต่ขอร้องเถอะนะ ปล่อยให้พวกเราได้เศร้าโศกในแบบของเรา และกรุณาเคารพใน การสูญเสียของพวกเราด้วย ถ้าคุณไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของการสูญเสียกษัตริย์ ผู้เป็นที่รัก ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน ฉันเชื่อว่าอย่างน้อย... คุณ ก็คงจะสามาถเข้าใจว่าการเสียคนคุณรักและเคารพจากใจมัน เจ็บปวดได้ขนาดไหน... ใช่มั้ย มันคงไม่ยากเกินไปมั้ง

ด้วยความจริงใจ กัลยกร นาคสมภพ 20 ต.ค. 2559 อ่านบทความภาษาอังกฤษต้นฉบับคลิก >> www.kalyakorn.com ขอบคุณ: manager online และขอบคุณ น้องเอิน กัลยกร มากๆครับ ขอบคุณแทนคนไทยทุกคนครับ..

41 issue 120 january 2018


จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง บอกเล่าที่มาของความส�ำเร็จ

รศ.ดร.อุมา สุคนธมาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา มูลนิธิชัยพัฒนา

เกริ่ น น� ำ อุ ท ยานการอาชี พ ชั ย พั ฒ นา จั ง หวั ด นครปฐม ได้ด�ำเนินงานด้านวิชาการในส่วนของการฝึกอบรมหลักสูตร วิชาชีพระยะสั้น โดยมุ่งให้ผู้รับการอบรมสามารถน�ำความรู้ไป ประกอบอาชีพหลัก อาชีพเสริม หรือต่อยอดความรู้จากอาชีพ เดิมที่มีอยู่ ส่วนใหญ่จะเน้นการอบรมด้านอาหารคาว อาหาร หวาน อาหารว่าง และสิ่งประดิษฐ์ ทั้งนี้นับแต่เริ่มอบรมในปี 2552 อุทยานการอาชีพฯ ก็ได้เป็นที่รู้จักและหลักสูตรการอบรม ได้รับความนิยมมากขึ้นตามล�ำดับด้วยดีเสมอมาจวบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2555 – 2557 ได้ มี ก ารสรุ ป ประเมิ น ผล ความพึงพอใจในการจัดการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงระดับมากที่สุด ด้านวิทยากร สถานที่ เจ้าหน้าที่ อาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม พร้อม ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ นอกจากนั้น ได้มีการติดตาม ผลผู้เข้ารับการอบรม สรุปว่าได้มีการน�ำความรู้ไปใช้ในการ ประกอบอาชีพหลัก และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่ม รายได้ให้ตนเองและครอบครัว 42

IS AM ARE www.fosef.org


ผู ้ เข้าอบรมมีทัศนคติที่ดีม ากต่อโครงการอุ ท ยานการ อาชีพชัยพัฒนาฯ โดยเฉพาะสูตรอาหารที่อร่อย ค่าลงทะเบียน ที่ไม่แพง เป็นโครงการพระราชด�ำริที่ให้ประโยชน์แก่ผู้เข้าอบรม สามารถน�ำความรู้ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้ครอบครัว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นประโยชน์ส�ำหรับผู้ที่ไม่มี อาชีพหรือผู้ที่ว่างงาน และผู้ที่ต้องการมีอาชีพเสริม ท�ำให้ได้รับ ความรู้และสามารถน�ำไปประกอบอาชีพได้จริง ในส่ ว นของการประเมิ น ผล ต้ อ งขอขอบพระคุ ณ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นอย่างสูง ที่ ได้กรุณาจุดประกายความคิดให้ได้มีการศึกษาในประเด็นของ แนวทางและวิธีการไปสู่ความส�ำเร็จของกลุ่มผู้เข้าอบรม โดย ได้สุ่มตัวอย่างจากผู้อบรมที่ประสบความส�ำเร็จในการประกอบ อาชีพ และบางคนยังได้มาเป็นวิทยากรให้แก่อุทยานการอา ชีพฯและสถาบันการศึกษาอื่นๆ จ�ำนวนทั้งหมด 20 คน ซึ่งส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพด้านอาหาร ใช้วิธีการสัมภาษณ์พูดคุยทีละ คน เน้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการต่อยอดความรู้ การตลาด และ อุ ท ยานการอาชี พ ชั ย พั ฒ นา จั ง หวั ด นครปฐม ได้ ด� ำ เนิ น งานด้ า นวิ ช าการในส่ ว นของการฝึ ก อบรม หลั ก สู ต รวิ ช าชี พ ระยะสั้ น โดยมุ ่ ง ให้ ผู ้ รั บ การอบรม สามารถน� ำ ความรู ้ ไ ปประกอบอาชี พ หลั ก อาชี พ เสริ ม หรื อ ต่ อ ยอดความรู ้ จ ากอาชี พ เดิ ม ที่ มี อ ยู ่ ส่ ว น ใหญ่ จ ะเน้ น การอบรมด้ า นอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่ า ง และสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์

การประชาสัมพันธ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่ประสบ ความส�ำเร็จ รวมทั้งการช่วยเหลือสังคม จากรุ ่ น พี่ สู ่ รุ ่ น น้ อ ง : เบื้ อ งหลั ง แห่ ง ความส� ำ เร็ จ การสัมภาษณ์เริ่มต้นด้วยค�ำถามที่ได้ก�ำหนดไว้ ทุกคน กล่าวถึงเบื้องหลังของความส�ำเร็จอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส และมี ความสุข

“หลั ง จากอบรมแล้ วได้ น�ำ ความรู ้ ท่ ีไ ด้ รั บไปใช้ประโยชน์ อย่างไรบ้าง?”

• เมื่อเรียนจบแล้วได้หาความรู้จากวิทยากรท่านอื่นอีก จากหนังสือ จาก internet , youtube และมาท�ำแบบลอง ผิดลองถูก ให้เพื่อนและผู้ใกล้ชิดชิมพร้อมน้อมรับค�ำติชม น�ำ มาปรับปรุงให้ถูกใจผู้บริโภค มีความใฝ่รู้ ต้องสู้ ไม่ท้อใจ ต้อง อดทน ทุ่มเท ใช้ความพยายามมากในการฝึกตนเอง มีความ มุ่งมั่นสู่ความส�ำเร็จเป็นที่ตั้ง และมีความคิดสร้างสรรค์ต่อยอด ผลผลิตให้ดูเด่นแปลกตา 43 issue 120 january 2018


จากการสั ม ภาษณ์ พู ด คุ ย กั บ รุ ่ น พี่ ที่ ไ ด้ ผ ่ า นการอบรม หลั ก สู ต รระยะสั้ น ที่ อุ ท ยานการอาชี พ ฯ และได้ น� ำ ความรู ้ ไ ปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด กล่ า วได้ ว ่ า ทุ ก คนมี ค วามสุ ข ใจและภู มิ ใ จที่ ไ ด้ ค วามรู ้ จ ากอุ ท ยาน การอาชี พ ฯ ท� ำ ให้ ภู มิ ใ จในผลผลิ ต ของตนเอง ได้ ความรู ้ ได้ เ พื่ อ น ได้ ทั ก ษะการประกอบอาชี พ ใหม่ ท่ี เหมาะสมกั บ ตนเอง

อย่างไรก็ตาม ประการส�ำคัญคือทุกอย่างที่ท�ำต้องท�ำ ด้วย ‘ใจรัก’ และ ‘ศรัทธา’ ในสิ่งที่ท�ำ จึงจะประสบความส�ำเร็จ

“หลังจากทดลองท�ำผลผลิตจนเป็นที่พอใจแล้ว มีวิธีการ ตลาดและประชาสัมพันธ์อย่างไรบ้าง?”

• เมื่อได้ผลผลิตที่พอใจแล้ว ได้หาข้อมูลแหล่งที่จะวาง ขาย เช่น ออกบูธตลาดนัด งานโอทอป ขายตรงตามหน่วยงาน สร้างเครือข่ายของตนเอง ใช้วิธีบอกปากต่อปาก และท�ำแจก ตอนเทศกาลต่างๆ ประการส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการค้าขายใน ปัจจุบัน คือการใช้สื่อออนไลน์ ลงเฟสบุ๊คแฟนเพจ ผลิตสินค้า ตามสั่งทางโทรศัพท์และจากเครือข่าย • ในการประชาสัมพันธ์นั้น นอกเหนือจากการใช้สื่อ ออนไลน์แล้ว การบอกกล่าวปากต่อปากก็ได้ผลดี เข้าชมรมใน ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ พูดเก่งและพูดจาไพเราะ อธิบาย เก่ง เข้าใจจิตวิทยาการค้าขาย ครองใจคน ยิ้มเก่ง มนุษยสัมพันธ์ ดี จริงใจ ส�ำคัญมากคือ ต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เช่น ใช้วัตถุดิบที่ คุณภาพดี ท�ำให้ลองชิม ท�ำให้ตนเองเป็นที่น่าเชื่อถือ

“เมื่อประสบความส�ำเร็จในการประกอบอาชี พ ได้มีการ ช่ วยเหลือสังคมในทางใดบ้าง?”

• ส่วนใหญ่ผู้อบรมจะเผยแพร่ความรู้และเทคนิคโดยการ เป็นวิทยากรให้กลุ่มผู้สนใจ อาทิ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มแม่บ้าน และมิตรสหาย กลุ่มจากองค์กรต่างๆ กล่าวได้ว่า ผู้อบรมกลุ่มนี้ มีจิตกุศล ชอบช่วยเหลือสังคม มีความเสียสละ และสุขใจในการ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น ขอยกตั ว อย่ า งผู ้ อ บรมท่ า นหนึ่ ง ที่ มี ส ถานภาพทาง เศรษฐกิ จ ในระดั บ ดี แ ละมี จิ ต ใจดี ม าก ได้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ว ่ า 44

IS AM ARE www.fosef.org


‘ได้น�ำความรู้ที่ได้จากการอบรมที่อุทยา นฯ ด้านการท�ำอาหารคาวและหวาน ไป สอนให้ชาวบ้านในชุมชนที่ไม่มีงานท�ำแต่ มีความต้องการเรียนรู้ เพื่อน�ำไปประกอบ อาชีพ การสอนอาชีพให้ชาวบ้านจะเป็น ผู้สอนเอง ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ใดๆ และเป็นผู้หาตลาดให้เนื่องจากเป็น เจ้าของตลาด จะเลือกผู้ที่มีความตั้งใจ จะประกอบอาชีพจริงๆ สอนตัวต่อตัว ค่า ใช้จ่ายทั้งหมด รวมทั้งค่าวัตถุดิบจะเป็น ผู้ออกให้ทั้งหมด ผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายใดๆทั้งสิ้น’

“เมื่ อ มาถึ ง ระดั บ นี้ พอจะประเมิ น ตนเองได้ไหมว่าคุณลักษณะใดบ้างที่ สามารถน�ำพาเรามาสู่ความส�ำเร็จ?”

• ผู้ประกอบอาชีพต่างพูดกันเป็น เสียงเดียวกันว่า ต้องมีความขยัน อดทน มุ่งมั่น ตั้งใจท�ำอย่างทุ่มเท ฝึกฝนเป็น ประจ�ำไม่หยุดที่จะใฝ่รู้ หาความรู้ต่อ ยอด และพยายามคิดอย่างสร้างสรรค์ และ ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค หลักส�ำคัญมาก คือ ‘ทุกอย่างท�ำด้วยใจและศรัทธาในอาชีพ ของเรา’

ในปี พ.ศ.2555 – 2557 ได้ มี ก ารสรุ ป ประเมิ น ผลความพึ ง พอใจ ในการจั ด การอบรมพบว่ า ผู ้ เ ข้ า รั บ การอบรมมี ค วามพึ ง พอใจอยู ่ ใ น ระดั บ มากถึ ง ระดั บ มากที่ สุ ด ด้ า นวิ ท ยากร สถานที่ เจ้ า หน้ า ที่ อาหาร อาหารว่ า ง และเครื่ อ งดื่ ม

“ค�ำถามสุดท้าย ข้อคิดที่รุ่นพี่อยาก บทส่ ง ท้ า ย หลั ก การทรงงานในพระบาทสมเด็ จ ฝากไว้ ใ ห้ รุ่ น น้ อ งในการประกอบ จากการสั ม ภาษณ์ พู ด คุ ย กั บ รุ ่ น พระเจ้ า อยู ่ หั ว มาประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการ อาชี พมีอะไรบ้าง?” พี่ ที่ ไ ด้ ผ ่ า นการอบรมหลั ก สู ต รระยะสั้ น ประกอบอาชีพสู่ความส�ำเร็จ ได้แก่ ศึกษา

• จะเห็ น ได้ ว ่ า ทุ ก คนมี แ นวคิ ด ‘ความพอเพียง’ เป็นหลัก จากสาระแห่ง ความคิดที่ว่า… ‘การค้ า ขายต้ อ งมี ทั้ ง ก� ำ ไรและ ขาดทุน ไม่เน้นก�ำไรมาก ก�ำไรแต่พอควร ขาดทุ น วั น นี้ ก� ำ ไรในวั น หน้ า คนกิ น อยู ่ ได้คนขายอยู่ได้... ภูมิใจในผลผลิตของ ตนเอง สุขใจที่ได้เพื่อน ได้ฝึกความคิด ท�ำให้มีสมาธิ เกิดความสบายใจ ก้าวช้าๆ แต่มั่นคง… อุปสรรคทั้งหลายคือตนเอง หากชนะตนเองจะน�ำมาซึ่งความส�ำเร็จ ทั้งปวง’

ที่อุทยานการอาชีพฯ และได้น�ำความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กล่าวได้ว่า ทุกคนมีความสุขใจและภูมิใจที่ได้ความ รู ้ จ ากอุ ท ยานการอาชี พ ฯ ท� ำ ให้ ภู มิ ใจ ในผลผลิ ต ของตนเอง ได้ ค วามรู ้ ได้ เพื่อน ได้ทักษะการประกอบอาชีพใหม่ ที่เหมาะสมกับตนเอง และได้ฝึกความ คิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการมีสมาธิและมี สติเป็นที่ตั้ง เมื่ อ พิ จ ารณาจากข้ อ คิ ด และ ข้ อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ของรุ ่ น พี่ ที่ ไ ด้ แ นะน� ำ รุ่นน้อง จะเห็นได้ว่า เขาเหล่านี้ได้น้อมน�ำ 45 issue 120 january 2018

ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระเบิดจากข้างใน ท�ำตามล�ำดับขั้น ประหยัดเรียบง่ายให้ ประโยชน์สูงสุด ท�ำให้ง่าย การมีส่วนร่วม ประโยชน์ส่วนรวม การพึ่งตนเอง พออยู่ พอกิน ความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกัน ความเพียร ท�ำงานอย่างมีความสุข และ ต้องนึกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในแง่ ที่ว่า ‘ขาดทุนคือก�ำไร’ ด้ ว ยพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ เป็ น ล้นพ้น ขอจงทรงพระเจริญ


From Generation to Generation:

The Story of Success

Introduction The Chaipattana Vocational Park in Nakhon Pathom province has been conducting extensive academic research, with particular emphasis on vocational training programs. The objective of this project is to provide education and training for people; thus, supporting them in their regular and part-time jobs as well as strengthening their knowledge. The training mainly focuses on culinary practices and artisanal handicraft -- how to prepare main dishes, desserts, snacks and refreshments. The training programs com-

menced in 2009 and have been gaining much interest from public ever since. From the year 2012 to 2015, we conducted an assessment of the trainees regarding their satisfaction with the training programs. Overall, the trainees have been very impressed with the training programs, giving the ratings of “satisfied” and “highly satisfied” over a range of topics, including speakers, facilities, staff, and food and beverage. A follow-up program was also conducted and it was found that the trainees were able to apply the knowledge gained in their daily 46

IS AM ARE www.fosef.org


lives, with the majority using it in their part-time jobs, enabling extra income to be earned for the family. The trainees were very impressed with the Chaipattana Vocational Park, especially the excellent recipes introduced in class and the reasonable training fees. More importantly, this royally-initiated project renders great benefits to the people, helping to improve their quality of life, especially for those who are unemployed or in need of extra earnings. Upon the recommendation of Dr. Sumet Tantivejkul, the Secretary-General of the Chaipattana Foundation, a monitoring and evaluation survey on “the route to success” was conducted on involving 20 trainees who have become successful in their careers mostly through culinary work. Some of the trainees are now trainers at the project or at other institutions. The survey took the form of an in-depth personal interview that emphasized knowledge implementation techniques, marketing and promotion strategies, key success factors and level of social responsibility for the community. From Generation to Generation: The Story of Success Below are the interview questions and answers. How do you apply knowledge from the training in practice? “After the training, we conducted additional research from textbooks, the internet and YouTube as well as through trial-and-error. We took the food that we had made to friends and families for tasting and comment. Feedback is a very useful input that helps in improving taste and the recipe to ensure consumer satisfaction. Importantly, we - the producers/sellers - must be determined, patient, dedicated and creative in doing everything. The simple trick to make you successful in life is to put one’s “heart” and “faith” in the things we do.

47 issue 120 january 2018


What are your marketing and promotional strategies? “After we had become satisfied with a product’s quality, we proceeded to find out information regarding the location for sale. The distribution channels are, for example, weekly markets, OTOP fairs, direct sales, owner-created networks, word of mouth and free samples. We also do online marketing as this is considered the most effective channel today. A Facebook fan page was, therefore, created to promote products. Made-to-order via telephone and networks are also implemented.” “Apart from using online media to promote our products, we use word of mouth since it is unbelievably effective. We also need to understand business discipline and psychology. Sellers must be friendly, sincere and knowledgeable. In term of honesty, a seller must use good quality ingredients, and it is an advantage to provide free tasting. Reliability is another quality a seller must possess. What did you do to help and benefit society after gaining success at your job? “Almost all of the trainees will help pass on know-how knowledge and techniques of the culinary art to other people by arranging training programs for interested people e.g. students, housewife groups, etc. We can say that the trainees are willing to utilize their knowledge to help society and they are proud and happy to participate in developing our society.” 48 IS AM ARE www.fosef.org


Postscript From the interview of trainees who attended short training programs at the Chaipattana Vocational Park in Nakhon Pathom province, it can be observed that all of them take great pride and are grateful in having been trained with the Chaipattana Foundation. The knowledge and skill they gained would help them earn a living. Moreover, they gained not only knowledge, but also friends, vocational skills and mind control. In a nutshell, after reflecting on actual practices and advice shared by the trainees, we found that they all follow His Majesty the King’s working principles, for example, knowledge in depth and in breadth, expansion from within, starting from the micro level, simplicity, shared work and shared benefit, self-reliance, honesty and diligence. Above all, we should always act for the benefit of the community according to the principle “our loss is our gain”. In remembrance of His Majesty the King whose grace and kindness for his subjects shall eternally dwell in our hearts. Story by Assoc. Prof. Dr. Uma Sukonthaman Translated by Sarisa Ungchomchoke

“We have one trainee with a relatively wellto-do financial status and a good heart. She said that ‘I brought knowledge gained from the class at the Chaipattana Vocational Park, both theoretical and practical knowledge, on culinary, to teach local people in the community who were mostly unemployed. The knowledge they gained would help them to start working and then become self-reliant. The local people in our community would not have to pay any fee for the training as I would be responsible for all the costs.’” What are the key success factors and qualifications? “The important things are to be determined, be committed to what you do, be honest with customers and never stop practicing. Learning is continuous, and you need to constantly seek new knowledge in order to improve your products creatively. The most important thing is to put your “heart” and faith” in all the things you do.” Do you have any last thoughts or advice to share with others? “Everyone here applies His Majesty the King’s “Sufficiency Economy” philosophy as the founding principle in doing things. We were taught that it is normal in business to make both profit and loss and we should not aim to make a lot of profit as just a little profit is enough. We always keep in mind that “today’s loss is tomorrow’s profit”. We need to be considerate of both ourselves (sellers) and the buyers. In other words, we do not take any advantage of others. The seed of happiness is planted in oneself. If you have a good mind, we will absolutely be happy - with our own success and our friends. You should keep in mind that a slow but sustainable development is the best. Any obstacle lies within you; so if you can win against yourself, it is called real success.” 49

issue 120 january 2018


50 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก หลายปี ที่ ผ ่ า นมาแต่ ล ะประเทศพยายามหาวิ ธี แ ก้ ไ ขต่ า งๆ ให้ ป ระชาชนในชาติ มี ค วามสุ ข ห่ า งไกลจาก “ระบบทุ น นิ ย ม” ที่ ค รอบง� ำ มาอย่ า งยาวนานจนพลิ ก โฉมความเป็ น อยู ่ ข องผู ้ ค นในลั ก ษณะ “เห็ น แก่ ตั ว มาก ขึ้ น ” กล่ า วคื อ พร้ อ มที่ จ ะท� ำ ลายธรรมชาติ ห รื อ ทรั พ ยากรต่ า งๆ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง สิ่ ง ที่ ต ้ อ งการในนามของ “เศรษฐกิ จ ที่ ดี ” โดยไม่ ส นใจว่ า สิ่ ง เหล่ า นั้ น จะเป็ น ห่ ว งโซ่ ที่ ส� ำ คั ญ เพี ย งใดก็ ต าม ด้ า น ศ.ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ ช าวอิ น เดี ย ที่ ไ ด้ รั บ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2541 ให้ความเห็นว่า เป็นการใช้สิ่ง ต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีพและ ความพอเพียงเป็นสิ่งส�ำคัญในการมีชีวิตที่ดี ส่วนฯพณฯ จิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หัวใจของ หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือการอยู่ได้ด้วยสิ่งที่มีอยู่อย่างยั่งยืน และไทยจะสร้างโลกใบใหม่จากแนวคิดดังกล่าวนี้ และสุดท้าย หากส�ำเร็จจะกลายเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก

ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งก็ เ ป็ น หนึ่ ง แนวทาง ที่ โ ลกให้ ค วามสนใจน� ำ มาเปรี ย บเที ย บกั บ ระบบเศรษฐกิ จ อื่นๆ ที่มีในโลก เช่น เศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy)ใน ออสเตรเลีย เศรษฐกิจสมานฉันท์(Solicarity Economy) ใน บราซิล เศรษฐกิจแบบคานธี(Gandhian Economics) นักคิด นักวิชาการระดับโลกหลายท่านมองว่าปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาก จิตส�ำนึกของผู้คนเอง ทุกประเทศสามารถน�ำไปใช้ได้ โดย ดร.วู ล ์ ฟ กั ง ซั ค ส์ ผู ้ เชี่ ย ว ช า ญ ป ร ะ จ� ำ ส ถ า บั น วุ พ เพิ ล ทอล ประเทศเยอรมนี มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็ น อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง ส� ำ หรั บ ทุ ก ประเทศในเวลานี้ ขณะที่ ศ.ดร.ฟรานซ์ ธี โ อกอตวอลล์ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิซไวเฟิร์ท เพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม มองเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีรากฐานมาจาก พุทธธรรม ที่จะท�ำให้เกิดการปล่อยวางและเป็นสุข

หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ยึ ด ที่ ค วามพอดี ถ้ า คนรู ้ จั ก พอเพี ย งและใช้ ใ ห้ พ อดี เอาส่ ว นที่ เ หลื อ ไปให้ ค นอื่ น จะอยู ่ กั บ ธรรมชาติ ไ ด้ อ ย่ า งเป็ น สุ ข “สหรั ฐ ฯและ ยุ โ รป ไม่ เ ข้ า ใจธรรมชาติ แ ละพยายามฝื น ธรรมชาติ แต่ Oriental Wisdom หรื อ วิ ถี เ อเชี ย อยู ่ กั บ ธรรมชาติ อ ย่ า งสมดุ ล และใช้ อ ย่ า งพอเพี ย ง” ด้ า น ศ.ดร.ปี เ ตอร์ วอรร์ ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ ประจ� ำ องค์ ก ารอาหารและเกษตร แห่ ง สหประชาชาติ มองเศรษฐกิ จ พอเพียงใน 2 เรื่องหลักรวมกันอยู่ คือ ความต้องการในปัจจัยใช้สอยตามที่เป็นจริง ไม่ใช่สิ่งเกินจ�ำเป็น และการไม่สร้างความเสี่ยงเกินก�ำลังที่ตัวเองจะรับได้ ส�ำหรับ ดร.ดอจี คินเลย์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวภูฏาน ประจ�ำองค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เชื่อว่าความสุขมวลรวม ประชาชาติ และเศรษฐกิจพอเพียง มีความคล้ายกันในจุดที่เน้น เรื่องการให้ความเคารพต่อธรรมชาติและระบบนิเวศ และไม่ไป ไกลเกินขีดความสามารถของทรัพยากรที่มี 51

issue 120 january 2018


ดร.ทาริ ก บานุ รี ผู ้ อ� ำ นวย การหลักสูตรความยั่งยืนแห่งอนาคต สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม สวีเดน เชื่อว่าสิ่งที่จะท�ำให้สังคมอยู่ร่วมกัน ได้คือ การรับรู้เรื่องความยุติธรรม ซึ่ง ปรากฏอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงด้วยเช่นกัน ด้าน เฟอร์นันโด ไคล แมน เลขาธิการส�ำนักงานเศรษฐกิจสมานฉันท์แห่งชาติ ประเทศ บราซิล เชื่อว่าแนวทางสมานฉันท์ไม่ต่างจากเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ขณะที่ ศ.ปีเตอร์ บูทรอยด์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐาน ม นุ ษ ย ์ แ ห ่ ง ม ห า วิ ท ย า ลั ย บ ริ ติ ช โคลัมเบีย แคนาดา ชี้ว่า เศรษฐกิจ พอเพี ย งในไทยก� ำ ลั ง เป็ น ตั ว อย่ า ง น� ำ ร่ อ งของทางเลื อ กส� ำ หรั บ การ พัฒนา ซึ่งในอเมริกาใต้มีคนสนใจแนวคิดนี้มาก ส่วน ศ.ปีเตอร์ คัลกิ้น ผู้อ�ำนวยการหลักสูตรนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชี้ให้เห็นว่าการจะน�ำแนวคิดนี้มาปรับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดต้องสร้าง การมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในไทยก� ำ ลั ง เป็ น ตั ว อย่ า งน� ำ ร่ อ ง ของทางเลื อ กส� ำ หรั บ การพั ฒ นา ซึ่ ง ในอเมริ ก าใต้ มี ค นสนใจแนวคิ ด นี้ ม าก ส่ ว น ศ.ปี เ ตอร์ คั ล กิ้ น ผู ้ อ� ำ นวยการหลั ก สู ต รนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า การจะน� ำ แนวคิ ด นี้ ม าปรั บ เป็ น แนวทางในการปฏิ บั ติ ไ ม่ ว ่ า จะอยู ่ ใ น ภาคส่ ว นใดต้ อ งสร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว มเพื่ อ ให้ เ กิ ด ผล ประโยชน์ ร ่ ว มกั น ดร.ฟาสติ โ น คอร์ โ ดโซ และโยฮันเนส อัสโบโก้ อาจารย์ ประจ�ำมหาวิทยาลัยแห่งชาติติมอร์ ตะวันออก ก�ำลังน�ำเศรษฐกิจพอ เพี ย งไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นประเทศ และ ศ.ดร.วิมาลา วีระรัควาน ผู้อ�ำนวยการสถาบันอมิตี้แห่ง พฤติกรรมสุขภาพและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประเทศอินเดียมอง ว่า โลกก�ำลังอยู่ในยุคของระบบทุนนิยม แต่เศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นทางออกของยุคนี้ 52 IS AM ARE www.fosef.org


ด้าน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อ�ำนวยการสถาบัน ไทยพัฒน์ มองว่า การที่ผู้ทรงความรู้ระดับโลกหลายท่านให้ ทัศนะเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะนี้ เป็นการสะท้อน ให้เห็นถึงสถานการณ์วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นความล่มสลายของระบบทุนนิยม และการหาจุดเริ่มต้น “แนวทางใหม่” ที่กูรูส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็น แนวทางใหม่ บทสั ม ภาษณ์ ดั ง กล่ า วเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการจั ด ท� ำ โครงการแผนที่ เ ดิ น ทาง(Roadmap) เศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อ�ำนวยการ สกว. กล่าวว่า ต้องการ ถกเถี ย งในเวที โ ลกว่ า เศรษฐกิ จ พอเพี ย งจะท� ำ ให้ เ ศรษฐกิ จ เติบโตได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน เพราะวันนี้วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น ในสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ระบบทุนนิยมสหรัฐฯ ก้าวมาถึงทาง ตันแล้ว “เราเชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางแก้ ปัญหาโลกได้” เช่นเดียวกับ ดร.อภิชัย พันธเสน ผู้อ�ำนวยการ สถาบัน การจัดการเพื่อชนบทและสังคม กล่าวถึงเหตุผลที่สหรัฐฯ มา ถึงทางตันเป็นเพราะวิธีคิด ที่เกิดจากความโลภทั้งระบบและ สถาบัน โดยเชื่อว่าการมีเงินมากๆ เป็นความดี และความสุขของ

มนุษย์ยิ่งได้มากยิ่งดี ท�ำให้มองหาทางออกไม่ได้ ส่วนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยึดที่ความพอดี ถ้าคนรู้จัก พอเพียงและใช้ให้พอดี เอาส่วนที่เหลือไปให้คนอื่นจะอยู่กับ ธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข “สหรัฐฯและยุโรป ไม่เข้าใจธรรมชาติ และพยายามฝืนธรรมชาติ แต่ Oriental Wisdom หรือวิถีเอเชีย อยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุลและใช้อย่างพอเพียง” ส�ำหรับปัญหาที่ก�ำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ดร.อภิชัย มองว่า ทุกคนมีส่วนน�ำประเทศไทยไปสู่ความเสียหาย การ เอาชนะกันเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นสุดท้ายจะมีแต่ล่มจม จะ ต้องหันมาคิดถึงความยั่งยืนของประเทศเป็นหลัก sufficiencyeconomy.blogspot.com 53

issue 120 january 2018


54 IS AM ARE www.fosef.org


สั จ ธรรมแห่ ง แนวพระราชด� ำ ริ

“แผ่นดิน”ปัจจัยส�ำคัญของการมีชีวิตอยู่ และการคงความเป็นประเทศ “เราจะครองแผ่ น ดิ น โดยธรรม...” ค� ำ ว่ า “แผ่ น ดิ น ” ปั จ จั ย ส่ ว นประกอบของแผ่ น ดิ น ก็ คื อ ดิ น น�้ ำ ลม ไฟ และชี วิ ต ของเรานั่ น เอง ที่ พ ระองค์ ท รงปฏิ บั ติ ม าตลอดอย่ า งเหน็ ด เหนื่ อ ยพระวรกายบอบช�้ ำ จนทุ ก วั น นี้ เนื่ อ งจากพระองค์ ท รงรั ก ษาแผ่ น ดิ น ไว้ ใ ห้ เ ราอยู ่ ทรงรั ก ษาดิ น น�้ ำ ลม ไฟ ซึ่ ง หมายถึ ง ปั จ จั ย แห่ ง ชี วิ ต ไว้ ให้ เ ราและลู ก หลานได้ อ ยู ่ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข ตามพระราชปณิ ธ านที่ พ ระองค์ ท รงรั บ สั่ ง ไว้ ว ่ า “เพื่ อ ประโยชน์ สุ ข แห่ ง มหาชนชาวสยาม” ดร.สุเมธ จึงไม่แปลกใจเลยเมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี 2524 ซึ่งพระองค์ทรงก�ำชับว่า “ใน การท�ำงานกับฉันจะวางโครงการที่ไหน จะท�ำกิจกรรมที่ใด ให้ เคารพค�ำว่าภูมิสังคม” “ภูมิ” ก็คือ ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมต่างๆ หรือเรียก แบบบ้านๆ คือ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ท�ำไมต้องเคารพ เพราะในแต่ละ ภาคนั้นมีภูมิประเทศที่ไม่เหมือนกัน ในส่วนค�ำว่า “สังคม” ก็ คือ คนซึ่งเป็นคนในมิติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยม ความคิดการตัดสินใจของคนแต่ละพื้นที่ ดังนั้น 2 สิ่งนี้มีความส�ำคัญมาก คือ ภูมิประเทศและคนอย่างนี้แล้วไม่ ว่าจะอยู่ในระบบสังคม หรือระบบเศรษฐกิจใดก็ตามและแม้ กระทั่งเรื่องการเมืองนั้น ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับภูมิสังคม เศรษฐกิจพอเพียงในเบื้องต้นนั้นคือ การประเมินตนให้รู้จักคน รู้จักภูมิประเทศ ทรงสอนให้มองมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลา ท�ำงานพัฒนาจึงต้องมองทุกมิติ ทุกอย่างต้องวางให้สอดคล้อง กับภูมิประเทศและสังคมที่แตกต่างกันไป การที่บางโครงการล้มเหลว เพราะเมื่อคิดแผนใดขึ้น มาแล้วใช้เหมือนกันทั่วประเทศ โครงการดังกล่าวเมื่อน�ำมาใช้ อาจสอดคล้องแค่เพียงบางภูมิประเทศ บางกลุ่มคน แต่ถ้าน�ำ ไปใช้ทั่วทั้งประเทศก็จะไม่ประสบผลส�ำเร็จ ฉะนั้น แม้รูปแบบ จะต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่จะมีขั้นพื้นฐานที่เหมือนกันไม่ว่า จะอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ อเมริกาใต้ ฝรั่งเศส หรืออยู่ที่ไหนก็แล้ว แต่ ต้องปฏิบัติตามหลักของประชาธิปไตย คือความต้องการของ ประชาชน อยู่ภายใต้ความเห็นชอบของประชาชนประชาชนมี ส่วนร่วมในการบริหาร และต้องถือว่าเสียงคนส่วนมากน�ำมา เป็นอ�ำนาจสูงสุด ประชาชนจะต้องมีสิทธิเสรีภาพและเสมอภาค ต้องวางแผนรูปแบบให้เหมาะสมกับภูมิประเทศนั้นๆ ลักษณะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความส�ำคัญ โดย ทรงพระวิ ริ ย ะอุ ต สาหะทุ ่ ม เทพระปรี ช าสามารถและความ เหนื่อยยากทั้งหลายทั้งปวง เพื่อรักษาดิน น�้ำ ลม ไฟ หรือพูด ง่ายๆ คือ “ธรรมชาติ” ที่จ�ำเป็นต่อชีวิต ท�ำอย่างไรให้ทรัพยากร ที่เสื่อมโทรมแล้วฟื้นกลับคืนมา ทั้งทรงแก้ไข ฟื้นฟู และบ�ำรุง รักษาให้คงอยู่เพื่อยังชีวิตเราไว้ และรักษาสืบทอดไปยังลูกหลาน ของเราด้วย พระองค์ ท รงมี ค วามรอบรู ้ เชี่ ย วชาญทางการเกษตร เพราะราษฎรชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงสนพระราชหฤทัยโดยเฉพาะในเรื่องดินและ น�้ำอันเป็นปัจจัยส�ำคัญของเกษตรกรรม ทรงศึกษาด้วยพระองค์ เองจนทรงมีความรู้แตกฉาน และทรงน�ำมาสอนแก่ประชาชน ทุกอย่าง ให้รู้จัก ดิน น�้ำ ลม ไฟ รู้จักธรรมชาติ และรู้จักคน

55 issue 120 january 2018


ธรรมชาติไม่เหมือนกัน อาทิ บางแห่งไม่ให้สิทธิสตรีเลย เราจึง ต้องเคารพสิทธิของคนในแต่ละพื้นที่ ทรงใช้ “ธรรม” ในการครองแผ่ น ดิ น หากเราศึกษาความหมายอันลึกซึ้งที่แฝงอยู่ในพระปฐม บรมราชโองการ เราจะได้ความรู้มากมายจากพระองค์ “เราจะ ครองแผ่นดินโดยธรรม” ณ วันนั้นพระองค์ทรงได้ประกาศค�ำ ว่า Good Governance แล้ว แต่เรากลับต้องมารอให้เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจเสียก่อน แล้วจึงมาตระหนักถึงความส�ำคัญของค�ำว่า Good Governance หรือธรรมาภิบาลตามชาวต่างชาติ พระองค์ตรัสว่า ธรรมะ คือ ความดี ความถูกต้อง หรือ ความยุติธรรม ตลอดเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ครองสิ ริ ร าชสมบั ติ ได้ ท รงปฏิ บั ติ พ ระองค์ อ ยู ่ ใ นธรรมะ 10 ประการ หรือ “ทศพิธราชธรรม” โดยเคร่งครัด พระองค์ทรง สอนประชาชนทุกอย่าง ทั้งจริยธรรม คุณธรรมให้มีความรับ ผิดชอบ รักษาแผ่นดิน อิงหลักปรัชญา ธรรมะ เศรษฐกิจพอ เพียง พระองค์ทรงท�ำทุกอย่างด้วยความเหนื่อยยากเพื่อความ สุขของประชาชน

เสรีภาพ เขาจึงเป็นประชาธิปไตยไม่ได้...” หากเราไปดู ก ารทรงงานของพระองค์ จ ะพบว่ า ทรง ทรงวางรากฐานประชาธิ ป ไตยและการพั ฒ นาอย่ า ง เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา ยั่ ง ยื น ดร.สุ เ มธ ได้ เ ล่ า ถึ ง ภาพที่ ป ระทั บ ใจซึ่ ง ยั ง คงตรึ ง อยู ่ ความยากจน แต่ที่จริงแล้วเป้าหมายของพระองค์ไปไกลกว่าที่ ในความทรงจ�ำว่า วันหนึ่งหลังจากถวายงานพระบาทสมเด็จ เรามองเห็น ไม่ใช่เพียงแค่ขจัดความยากจน แต่เพื่อเสริมสร้าง พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์จะประทับนั่งกับพื้น พระองค์ตรัส ความมั่นคงและแข็งแรงให้กับประชาธิปไตย หากประชาชนยัง ว่าสะดวกดี แผนที่ใหญ่ก็วางได้ อะไรก็วางได้ พระองค์ทรงชี้ไป ยากจน ประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ก็ไม่เกิดขึ้น เกิดการชักจูงได้ง่าย ที่เก้าอี้และตรัสถามว่าท�ำไมพระเจ้าอยู่หัวยังต้องเหนื่อย ต้อง อย่างต่อเนื่องแล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ผลลั พ ธ์ สุ ด ท้ า ยที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรง ล�ำบาก พระองค์รับสั่งว่า “…ท�ำไมพระเจ้าอยู่หัวต้องเหน็ดเหนื่อยอยู่อย่างนี้ ที่ อยากเห็นก็คือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” และ “ประชาธิปไตย ต้องเหน็ดเหนื่อยก็เพราะประชาชนยังยากจนอยู่ และเมื่อเขา ที่เข้มแข็ง” ซึ่งการปูพื้นฐานของประชาธิปไตย มิใช่เรื่องของ ยากจน เขาจึงไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพและเมื่อเขาไม่มีอิสรภาพ กฎหมาย ระเบียบกติกา เพียงอย่างเดียว หากพื้นฐานจริงๆ คือ ต้องพัฒนาประชาชนให้หลุดพันจากความยากจนก่อน จึง จะเป็นประชาธิปไตยได้ นับเป็นการสร้างรากฐานส�ำคัญให้เกิด ความเข้มแข็งในระบบการเมืองไทยอย่างมั่นคง โดยการทรง งานพัฒนาของพระองค์นั้นทรงใช้หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เสมอนั่นคือ ก่อนจะท�ำอะไรต้องมีความเข้าใจในภูมิประเทศ เข้าใจประชาชนในหลากหลายปัญหาทั้งด้านกายภาพ จารีต ประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงต้องท�ำให้ผู้ที่เราจะไปพัฒนา เข้าใจเราด้วย เพื่อการบริหารจัดการ “ทรัพยากรธรรมชาติ” และ “คน” ที่เป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยระบุปัญหาที่ชัดเจน และแก้ไขปัญหาได้อย่าง 56 IS AM ARE www.fosef.org


57 issue 120 january 2018


ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุก ภาค ทั้งภาคกลาง อีสาน เหนือ และใต้ แต่ละภาคจะเสด็จฯ นาน เป็นแรมเดือน เพื่อทรงหาทางแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนของ พระองค์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมอาชีพว่า ถิ่นไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร โดยทรงทราบถึงความ ทุกข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากประชาชนสู่พระกรรณ และจากสายพระเนตรที่ทรงพบเห็นด้วยพระองค์เอง จวบจนถึงปัจจุบัน มีพระราชด�ำริให้จัดตั้งมูลนิธิต่างๆ ทั้ง เพื่อการแพทย์ สาธารณสุข การศึกษาและส่งเสริมอาชีพ ฯลฯ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ 4,350 โครงการ โดย ทุกโครงการมุ่งเน้นช่วยเหลือและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน โดยไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อมและค�ำนึงถึงสภาพ“ภูมิ สังคม” เป็นส�ำคัญ ซึ่งมีหลายโครงการที่มีชื่อเสียงและได้รับ การยอมรับทั่วโลก อาทิ “โครงการฝนหลวง” ก�ำเนิดจากพระ มหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของประชาชน ในถิ่นทุรกันดาร ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและเกษตรกรรม ทรงศึกษาค้นคว้าแนวทรงการท�ำฝน หลวงด้วยพระองค์เองจนประสบผลส�ำเร็จ โดยส�ำนักสิทธิบัตร ยุโรปได้ออกสิทธิบัตรถวาย นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ แรกและพระองค์เดียวในโลก ด ้ ว ย พ ร ะ ป รี ช า ส า ม า ร ถ แ ล ะ ม ห า ก รุ ณ า ธิ คุ ณ อันล้นพ้นนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่นานาประเทศทั่วโลก ซึ่งต่าง ยกย่องสรรเสริญพระเกียรติคุณและได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายรางวัลเกียรติคุณมากมาย รวมถึง “รางวัลความส�ำเร็จ สูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” ที่นายโคฟี่ อานัน เลขาธิการ องค์การสหประชาชาติได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส เข้าเฝ้าและทูลเกล้าฯ ถวาย ทั้งนี้ ตัวอย่างโครงการที่ส�ำคัญๆ พร้อมบทสัมภาษณ์ ผูท้ เี่ กีย่ วข้องตลอดจนประชาชนในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ประโยชน์สขุ ต่าง ซาบซึ่งในน�้ำพระราชหฤทัยและส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นล้นพ้น ซึ่งได้แสดงให้เห็นประจักษ์ชัดถึง พระวิริยะอุสาหะ และน�้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยความ รักและความเมตตาที่มีต่อราษฎรไทยจนนานาประเทศล้วนแซ่ ซ้องพระเกียรติคุณอันเกริกไกร และพระราชปณิธานที่ทรงยึด มั่นมาตลอดการครองสิริราชสมบัติว่า พระองค์ไม่เพียงแต่จะ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก ด้วย และทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพื่อ... “ประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” นั่นเอง

บูรณาการ รอบคอบ ครบทุกมิติเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่าง มั่นคงและยั่งยืน อันจะน�ำมาซึ่งความสุขแก่พสกนิกรชาวไทย โดยมีแนวพระราชด�ำริอันเป็นสัจธรรมในการพัฒนาที่ส�ำคัญๆ ดังจะได้กล่าวถึงในบทต่อไป จากพระปฐมบรมราชโองการ... สู ่ ก ารทรงงานเพื่ อ “ประโยชน์ สุ ข ” สู ่ ป วงประชา นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พระปฐมบรมราชโองการและทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราช สัตยาธิษฐานในการครองแผ่นดินดังพระปฐมบรมราชโองการ พระองค์ ท รงริ เริ่ ม ศึ ก ษาถึ ง แนวทางการพั ฒ นาประเทศตาม ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ โดยอ�ำเภอหัวหินเป็นสถานที่แห่ง แรกที่ทรงเริ่มส�ำรวจพื้นที่ ดิน น�้ำ อาชีพและความเป็นอยู่ของ ประชาชน ทรงเริ่มต้นทดลองพัฒนาจากต�ำบลที่ใกล้ก่อน โดย เสด็จพระราชด�ำเนินบุกป่าฝ่าดงเข้าไปในหมู่บ้านทุรกันดารใน บริเวณนั้น ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนประชาชนเกือบ ทุกวันในพื้นที่แทบทุกต�ำบลจากหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ถึงราชบุรี 58

IS AM ARE www.fosef.org


“...ค�ำว่า “พัฒนา” ก็หมายถึงท�ำให้มั่นคง ท�ำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ท�ำให้บ้านเมืองมั่นคงมีความเจริญ ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ ก็เท่ากับตั้งใจที่จะท�ำให้ชีวิตของแต่ละคน มีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข ฉะนั้นจึงเข้าใจได้ว่า การพัฒนาทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะน�ำมาซึ่งความสุขความเจริญ และความพอใจของแต่ละบุคคลในประเทศ การพัฒนาค�ำเดียวนี้ก็กินความหมายมากมายดังที่ว่านี้ จึงต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่างที่จะให้ส�ำเร็จผลตามที่ต้องการ ความมั่นคงและความสงบสุขของส่วนรวมเป็นอันที่หนึ่งส�ำหรับการพัฒนา วิชาการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม จะเป็นอุตสาหกรรมหรืออื่นๆ เป็นปัจจัยที่สอง ปัจจัยที่สามที่ส�ำคัญที่สุดก็คือความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ที่จะพัฒนาและผู้ที่อยู่ในกลุ่มชน... ต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวไม่ขัดซึ่งกันและกัน จึงจะพัฒนาได้...” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะที่ปรึกษาเยาวชนและเยาวชนดีเด่น ณ ศาลาผกาภิรมย์ 7 พฤษภาคม 2513 59 issue 120 january 2018


60 IS AM ARE www.fosef.org


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

ข้าวเม่า Rice pok pok แปรภูมิปัญญาให้กลายเป็นพลัง

ด้ ว ยความตั้ ง ใจอยากถ่ า ยทอดความรู ้ ด ้ า นการแปรรู ป อาหารให้ เ กษตรกรได้ น� ำ ไปผลิ ต ขายต่ อ ยอดในชุ ม ชน พื้ น ที่ ต ่ า งๆ กอปรกั บ เกิ ด วิ ก ฤตข้ า วล้ น ตลาดเมื่ อ ปลายปี 2559 ท� ำ ให้ ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ทอรุ ้ ง จรุ ง กิ จ อนั น ท์ เกิ ด ไอเดี ย ส่ ง เสริ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป จากข้ า วของไทยเป็ น ขนม “ข้ า วเม่ า ” เพื่ อ เป็ น อี ก แรงหนึ่ ง ในการช่ ว ยชาวนาระบายข้ า ว ภายใต้ โ ครงการพลั ง ปั ญ ญา ของส� ำ นั ก งานทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นพระมหากษั ต ริ ย ์ โดยมี คุ ณ ฤทั ย รั ต น์ พยุ ง กิ จ ขจร (คุ ณ รุ ช ) และ คุ ณ นฤมล เลิ ศ สถิ ต ย์ พ งษ์ (คุ ณ โย) ลู ก ศิ ษ ย์ ค นรุ ่ น ใหม่ ผู ้ ริ เ ริ่ ม น� ำ พลั ง ความรู ้ ค วามสามารถมาต่ อ ยอดขนมข้ า วเม่ า ธรรมดา ให้ ก ลายเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ “ข้ า วเม่ า Rice pok pok”

61 issue 120 january 2018


อุปกรณ์ที่พอหาได้ อาจารย์ก็สอนให้เขาบรรจุใส่ขวดโหลแล้วไล่ อากาศออก แต่ว่าอายุการเก็บมันก็ยังอยู่ได้ไม่นาน” เมื่อคุณรุชน�ำข้าวเม่ามาชิมที่บ้านตามค�ำแนะน�ำของ อาจารย์ ว่าสามารถทานกับอาหารได้หลายอย่าง เช่น โรยหน้า ลอดช่อง ส้มต�ำ สลัด หรือทานเล่นเป็นขนมขบเคี้ยว แต่สิ่งหนึ่ง ที่ท�ำให้เธอสนใจข้าวเม่ามากขึ้นก็คือผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมอย่าง คุณพ่อของเธอทานแล้วไม่เจ็บเหงือก ไม่แข็ง แม้จะเป็นขนมกรุบ กรอบแต่สามารถทานได้ทุกเพศทุกวัย “ขณะเดียวกันมีเพื่อนจากต่างประเทศมาถามว่าพอจะ มีสินค้าอะไรที่ท�ำจากข้าวของไทยบ้างไหม เราก็เริ่มมีไอเดียว่า เราพอจะมีแรงที่จะช่วยอาจารย์ท�ำให้มันดีขึ้นได้ ช่วยโครงการ ของท่าน ก็เลยรับว่าเดี๋ยวเราจะมาฟอร์มทีมเพื่อนช่วยกันท�ำ สินค้าตัวนี้ขึ้นมา ก็พอมีเพื่อนที่รักกันมาก เขามีโรงงานท�ำขนม อยู่แล้ว มีความเชี่ยวชาญเรื่องการผลิต ตัวเราเองหลังจากที่รู้ ว่าจะกลับมาเมืองไทยก็ไปลงเรียนคอร์สการท�ำอาหารเพราะ อาหารอิตาลีดัง เลยมีความรู้ในเรื่องของรสชาติ เรื่องเทสติ้ง ก็ เลยมาช่วยกันปรับรสให้มันสากล แล้วเพื่อนอีกคนหนึ่งเก่งมาก เรื่องท�ำบัญชี ฉะนั้นมันคือการรวมตัวของคนที่ถนัดหลายๆ ด้าน มาช่วยกัน” ข้ า วเม่ า Rice pok pok การรวมตั ว ของคนรุ ่ น ใหม่ ฤทั ย รั ต น์ พยุ ง กิ จ ขจร หรื อ คุ ณ รุ ช หนึ่ ง ในผู ้ ริ เริ่ ม ผลิตภัณฑ์ “ข้าวเม่า Rice pok pok” เล่าถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ ว่า ตนเองเรียนจบคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ทุนของกระทรวงการต่างประเทศไปเรียนต่อที่ประเทศ อิตาลี และอยู่ที่นั่นนานถึง 11 ปี โดยมีประสบการณ์ท�ำงานอยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม และส�ำนักงานพานิชย์ รวม ถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก่อนจะกลับมาเมืองไทยได้ 2-3 ปี “พอกลั บ มาเมื อ งไทยก็ ม องหาว่ า จะท� ำ ธุ ร กิ จ อะไรดี เป็นความบังเอิญมาก พอดีไปเยี่ยมอาจารย์ที่เคารพรัก ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ทอรุ้ง จรุงกิจอนันต์ ท่านเอาขนมข้าวเม่ามา ให้ดู เพราะก่อนหน้านี้ท่านเปิดบ้านสอนท�ำข้าวเม่าให้ฟรีแก่ เกษตรกรที่สนใจเดินทางมาเรียนรู้อยู่แล้ว แล้วก็มีโครงการ พลังปัญญาของมูลนิธิมั่นพัฒนาซึ่งอาจารย์ทอรุ้งเป็นวิทยากร อยู่ ลงพื้นที่ไปให้ความรู้การท�ำข้าวเม่าในชุมชนต่างๆ ด้วย แล้ว ชาวนาก็เอาไปท�ำขายในร้านค้าชุมชน แต่มันยังอยู่ในปริมาณที่ จ�ำกัด เนื่องจากเครื่องมือยังไม่ถึงขนาดอุตสาหกรรม ใช้เพียง 62 IS AM ARE www.fosef.org


สร้ า งวงจรการค้ า ที่ ยั่ ง ยื น เพื่ อ ชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น “สินค้าเราตั้งราคาไว้ไม่สูงเลย อย่างกล่องหนึ่งขายที่ เดอะมอลล์ 35 กรัม ราคา 30 บาท ถูกกว่ากรัมละบาทอีกนะ ซึ่ง แค่ค่ากล่อง ค่าแพ็กเกจจิ้ง ค่าขนส่งก็เยอะแล้ว แต่จุดประสงค์ เราคือช่วยชาวนาระบายข้าวให้เร็วที่สุด ถ้าเราโชคดีสินค้าเรา อาจจะเป็นสินค้าที่ชาวต่างชาตินึกถึงก็ได้ เพราะขนมอันนี้มีแต่ ประเทศไทยที่เดียว เราอยากให้ไปถึงจุดนั้นเหมือนกัน” คุณรุชอธิบายว่า โครงการพลังปัญญาจะลงพื้นที่ไปให้ ความรู้การท�ำเกษตรปลอดสารพิษ และเปิดอบรมการแปรรูป ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหาร รวมถึ ง การท� ำ เกษตรแปรรู ป ที่ ถู ก ต้ อ งแก่ ประชาชนในชุมชนต่างๆ การท�ำข้าวเม่าเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ จัดฝึกอบรมส่งเสริมให้แปรรูปขายในชุมชน มุ่งหวังสร้างวงจร การค้าที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อชาวนาปลูกข้าวปลอดสาร พิษขึ้นมาได้และน�ำมาแปรรูปเป็นข้าวเม่า ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน หากแต่เมื่อน�ำมาผลิตขายกันเองในชุมชนก็ไม่สามารถ แพร่กระจายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก ทั้งยังไม่ก่อให้เกิด

วงจรการค้าที่ยั่งยืนได้ เพราะมีแต่บุคลากร ความรู้ด้านการ ผลิต แต่ยังไม่มีช่องทางและการพัฒนาด้านการตลาด ตรงนี้ เองที่ท�ำให้คุณรุชรวมทีมกับเพื่อนหลากหลายด้าน เพื่อต่อวงจร การค้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ให้ชาวนาที่อยู่ในโครงการพลังปัญญา สามารถส่งข้าวปลอดสารพิษที่ผลิตได้มาขายให้โครงการโดยไม่ ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อน�ำไปผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ ข้าวเม่า Rice pok pok สร้างรายได้และความภาคภูมิใจแก่เกษตรกร ผู้ผลิตวัตถุดิบ “เราไม่ได้รับซื้อข้าวจากประเทศอื่น เราท�ำตั้งแต่เริ่ม ปลูกจนมาถึงการผลิต ปรากฏว่าตอนนี้ชาวนารับของไปขายด้วย เขาภูมิใจว่าข้าวของเขามาถึงจุดนี้ได้ เขาเลยมาบอกว่าอยากจะ ขอรับไปขายได้ไหม เรายินดีมากอยู่แล้ว เพราะนี่คือข้าวของคุณ ความส�ำเร็จของแบรนด์ส่วนหนึ่งก็คือคุณอยู่แล้ว หากใครมาถาม คุณบอกไปเลยว่าคุณเป็นหุ้นส่วนกับเรา มันคือพลังที่อยากท�ำให้ ทุกคนอยู่ดีขึ้น จากสมัยก่อนต้องบรรจุใส่ขวดโหลและผลิตได้ใน ปริมาณไม่มาก ถึงวันนี้มียอดขายที่ค่อนข้างดี ขยายไปสู่ผู้บริโภค ในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ” 63

issue 120 january 2018


64 IS AM ARE www.fosef.org


“ชาวนาก็ดีใจที่ท�ำให้เขามีรายได้ที่ดีขึ้นทั้งสองทาง คือ เรารับซื้อข้าวเขาก็ได้หนึ่งต่อ พอเขาเอาของไปขายเขาก็ได้ก�ำไร อีกหนึ่งต่อ เท่ากับของอย่างเดียวกันที่เขาปลูกจากดินในที่นา ของเขา เขาได้สองทางโดยที่ไม่ต้องลงทุนเลย เพราะมันยากที่ จะให้เขามาท�ำแบรนด์ มันต้องใช้ทั้งเงินทุน เวลา ก�ำลังความ คิดอะไรอีกเยอะเลย ล�ำพังเราคนเดียวก็ท�ำไม่ได้เหมือนกัน” ความภู มิ ใ จในตั ว เอง คุณรุช ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่รับเอาภูมิปัญญาจากคนรุ่น เก่ามาพัฒนาด้วยความรู้ความสามารถที่มี เธอเริ่มเข้ามาพัฒนา ผลิตภัณฑ์นี้ได้เพียงปีเดียว โดยอาศัยความรู้ความสามารถจาก เพื่อนรอบข้าง ตั้งแต่เริ่มออกแบบตัวการ์ตูน “น้องป๊อก”(รูป ชาวนา) กับ “เจ้าโต้งลี่”(รูปไก่) ที่เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ที่น่า รัก เป็นฝีมือของศิลปินไทยในกรุงเบอร์ลินซึ่งเป็นเพื่อนของเธอ ช่วยวาดให้หลังจากที่ได้ฟังเรื่องราวของโครงการ นับว่าแบรนด์ นี้คือที่รวมตัวของคนที่มีความสามารถในแต่ละด้านมาช่วยกัน เพื่อมุ่งหวังยกระดับภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างไม่ เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น

“ชื่ อ แบรนด์ เราเป็ น คนตั้ ง ก็ คื อ เราจะท� ำ ยั ง ไงให้ ฝรั่งเข้าใจข้าวเม่า เหมือนฝรั่งเข้าใจค�ำว่า พาพาย่าป๊อกป๊อก เพราะว่าคอนเซ็ปของเราคือการต�ำ ข้าวเม่าคือข้าวที่ถ้าไม่ต�ำ กระเทาะเปลือกออกมาก็ไม่ถือว่าเป็นข้าวเม่า เพราะว่ามันคือ ข้าวที่กระเทาะเปลือกออกโดยไม่ผ่านการขัดสี แค่ต�ำเปลือกมัน แตกของมันเอง เพราะฉะนั้นข้าวเม่าที่เราเห็นเวลามันดิบมันจะ แบน เนื่องจากมันไม่ได้ขัดสี เยื่อหุ้มวิตามิน ไฟเบอร์ สารอาหาร ต่างๆ พวกวิตามิน บี1 ธาตุเหล็ก มันก็ยังอยู่ในเยื่อหุ้มวิตามิน ของข้าวอยู่ คุณค่าสารอาหารคล้ายคลึงกับข้าวกล้อง เป็นการ ยกระดับภูมิปัญญาไทย” “อั น นี้ เ ป็ น โครงการที่ ไ ม่ แ สวงหาก� ำ ไรอะไรมากมาย ต้องการความสุขใจ ความสบายใจ มีชาวนาเขียนไลน์มาหาทุก วัน ส่งรูปมาให้ดู ภูมิใจเอาไปขายที่โน้นที่นี่ เขียนมาว่า ‘พอส่ง ให้ปุ๊บลูกเอาไปขายหมดแล้ว ผมยังไม่ทันกลับถึงบ้านเลย’ อะไร อย่างนี้ เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกรุงเทพกับคนต่าง จังหวัดที่บางทีอาจจะไม่มีโอกาสสื่อสารถึงกัน” “มีชาวนาหัวหน้าชุมชนคนหนึ่ง เขาบอกเลยว่า ปกติถ้า เป็นโครงการอื่นๆ เขายังรู้สึกว่ายังไม่มีพี่เลี้ยงตลอดเวลา แต่มา เจอโครงการนี้เหมือนมือสองมือมันผสานกันจริงๆ พูดอย่างนี้ เราฟังแล้วภูมิใจ มีความรู้สึกอย่างนั้นนะ เพราะมันเหมือนกับว่า เขาติดความคิดที่ว่าคนกรุงเทพจะมาช่วยอะไรคนต่างจังหวัด แต่ เราไม่คิดอย่างนั้นนะ เขาก็เก่งในแบบของเขา ถ้าให้เราไปปลูก ข้าวอย่างเขาเราก็ท�ำไม่ได้หรอก”

ถ้ า คุ ณ รู ้ ว ่ า คุ ณ จะท� ำ อะไร ถนั ด อะไร คุ ณ ทุ ่ ม เทตรง นั้ น คุ ณ ปลู ก ข้ า วคุ ณ ต้ อ งปลู ก ข้ า วให้ ดี ที่ สุ ด เป็ น ข้ า วที่ ค นนึ ก ถึ ง ทั้ ง โลก ว่ า กิ น ข้ า วที่ น่ี แ ล้ ว หอมอร่ อ ย ปลอดภั ย แค่ นั้ น มั น ก็ มี คุ ณ ค่ า ขึ้ น มาแล้ ว เหมื อ น อย่ า งเรากิ น สตรอว์ เ บอร์ รี่ เรานึ ก ถึ ง ประเทศญี่ ปุ ่ น อเมริ ก า ข้ า วก็ เ หมื อ นกั น ต้ อ งนึ ก ถึ ง ประเทศเราสิ ไม่ ต ้ อ งพยายามท� ำ สิ่ ง ที่ แ ตกต่ า งเลย ท� ำ ในสิ่ ง ที่ เ รา ถนั ด ก่ อ น

65 issue 120 january 2018


สั ง คมน่ า อยู ่ เริ่ ม ที่ ตั ว เอง ปัจจุบัน ข้าวเม่า pok pok พัฒนาไปถึง 5 รสชาติ คือ กระเทียมพริกไทย นมฮอกไกโด กะทิทุเรียน ช็อกโกแลตซีเรียล รสผลไม้ และก�ำลังคิดค้นรสต้มย�ำออกมาอีกหนึ่งรสชาติ ส�ำหรับ คุณค่าทางสารอาหาร ข้าวเม่าที่ผลิตจากนาเกษตรอินทรีย์อุดม ไปด้วยวิตามินบี1 บี2 ไนอาซิน แคลเซียม ไฟเบอร์ และโปรตีน ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันไขมันหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คุณรุชย อมรับว่ามีตัวแทนจ�ำหน่ายจากต่างประเทศติดต่อเข้ามาเยอะ มาก แต่ตนเองต้องการผลิตและจ�ำหน่ายในประเทศให้มั่นคงสม กับเจตนารมณ์แรกเริ่มที่อยากจะช่วยชาวนาจริงๆ ก่อน เพราะ ถ้าพูดกันตามตรงแล้ว เกษตรกรหรือชาวนาในประเทศยังลืมตา อ้าปากไม่ได้เท่าที่ควร จึงอยากส่งเสริมการค้าตั้งแต่ต้นน�้ำถึง ปลายน�้ำให้ได้คุณภาพ ได้มาตรฐานสมกับเป็นสินค้าแห่งความ ภูมิใจของชาวนาไทยจริงๆ ไม่ใช่กระแสที่หายไป

“ทุกๆ คนสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรสักอย่างหนึ่ง ได้ ต้องบอกว่าคุณค่าของคนมันอยู่ในตัวเราก่อน ถ้าเรารู้ว่าเรา ถนัดอะไรเราก็ตั้งใจท�ำสิ่งนั้นให้ดี อย่างชาวนาก็มาถาม ‘พี่ท�ำ อะไรรวย’ ค�ำถามนี้มันเป็นค�ำถามที่ ถ้าเรารู้เราก็คงท�ำแล้วล่ะ (หัวเราะ) มันไม่ง่ายอย่างนั้นนะ ทุกสิ่งทุกอย่างมันประกอบกัน ด้วยหลายอย่าง ในต�ำราเรียนเขียนไว้อย่างหนึ่ง ในชีวิตจริงมัน อาจไม่เหมือนอย่างนั้นก็ได้ แต่สิ่งส�ำคัญคือ ถ้าคุณรู้ว่าคุณจะ ท�ำอะไร ถนัดอะไร คุณทุ่มเทตรงนั้น คุณปลูกข้าวคุณต้องปลูก ข้าวให้ดีที่สุด เป็นข้าวที่คนนึกถึงทั้งโลก ว่ากินข้าวที่นี่แล้วหอม อร่อย ปลอดภัย แค่นั้นมันก็มีคุณค่าขึ้นมาแล้ว เหมือนอย่างเรา กินสตรอว์เบอร์รี่ เรานึกถึงประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ข้าวก็เหมือน กัน ต้องนึกถึงประเทศเราสิ ไม่ต้องพยายามท�ำสิ่งที่แตกต่างเลย ท�ำในสิ่งที่เราถนัดก่อน”

66 IS AM ARE www.fosef.org


ลองคิดเปลี่ยนเป็นอย่างนี้ไหม จะรู้สึกว่าโลกมันน่าอยู่มากขึ้น เลย” ผู้ริเริ่มข้าวเม่า Rice pok pok ช่วยชาวนา กล่าวทิ้งท้าย ข้าวเม่า Rice pok pok มีวางจ�ำหน่ายที่ Siam Discovery ชั้น 4 My Kitchen และในเครือ The Mall / Gourmet / Paragon / Emporium / Emquartier / Lemon Farm / CDC Crystal Design Center / Promenade & Fashion Island ถ.รามอินทรา และ Terminal 21 สี่แยกอโศก และ Tops Supermarket สาขา Centrsl Plaza มหาชัย และจะ มีวางจ�ำหน่ายใน Tops Supermarket เครือ Central Plaza พื้นที่ กทม. เร็วๆ นี้ ติดตามได้ที่เพจ www.facebook.com/ricepokpok

“บางทีเราตีความศาสตร์ความพอเพียงว่า มีแค่นี้กินแค่ นี้ มันไม่ใช่หรอก มันไม่ได้แค่นั้น พระองค์ท่านมองอะไรที่เป็น ปรัชญาที่ลึกซึ้งมาก มันคือความภูมิใจในความเป็นตัวเอง ใน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในตัวเอง แล้วท�ำ ตั้งใจท�ำ นั่นแหละ คือความพอเพียง ต่อให้รัฐบาลมีเงินมากมายแล้วแจกให้เขา มัน ไม่ได้ท�ำให้เขากินอยู่สบายตลอดชีวิต สิ่งที่ท�ำให้เขากินอยู่สบาย ตลอดชีวิตคือการที่เขาลุกขึ้นมาท�ำอะไรช่วยด้วย ถ้ารัฐช่วยมัน คือการเสริม แต่ไม่ใช่มองว่ารัฐต้องเป็นแกนน�ำ รัฐบาลคือใคร ก็คือองค์กรที่มนุษย์เข้าไปร่วมด้วยอีกทีหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามันไม่ดี ตั้งแต่ตัวมนุษย์ เป็นไปไม่ได้ว่ารัฐบาลจะดี” “เยาวชนสมัยนี้ มีกระแสไม่อยากท�ำงานประจ�ำ อยาก เป็นเจ้านายตัวเอง เป็นเอสเอ็มอี เป็นสตาร์ทอัพ แล้ววัตถุนิยม มาก บางทีมองแต่เรื่องของตัวเองวนอยู่แค่นั้น ถ้าไม่คิดถึงผู้อื่น เลยประเทศก็ติดล็อคอยู่อย่างนี้ อยากให้เยาวชนใช้ใจคิดมาก กว่า ถามว่าถ้าคุณอยากอยู่ในสังคมที่ดี แต่ว่าคุณไม่เป็น คุณ ยังไม่ท�ำเลย ยังคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ มันไม่ดีขึ้นมาหรอก ทุกอย่าง เริ่มต้นจากตัวเองก่อนทั้งนั้น อย่างเวลาที่เราท�ำอะไรจะคิดเสมอ เช่น ไปนั่งรถไฟฟ้าแล้วลุกให้ผู้สูงอายุ เราคิดว่าถ้าวันหนึ่งพ่อ หรือแม่เราขึ้นรถไฟฟ้าแล้วมีคนยืนให้ เราคงจะขอบคุณเขามาก 67 issue 120 january 2018


เข็มนาฬิ กาแห่งความภักดี ของ “อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง”

ท่ า มกลางเสี ย งยวดยานจอแจและผู ้ ค นมากมายที่ ล ะแวกท่ า พระจั น ทร์ ร้ า นนาฬิ ก าแห่ ง หนึ่ ง ตั้ ง อยู ่ อ ย่ า ง เงี ย บๆ ไร้ ก ารตกแต่ ง อย่ า งหรู ห ราสะดุ ด ตาเหมื อ นร้ า นนาฬิ ก าหรู บ นห้ า ง แต่ ท ว่ า การตกแต่ ง อย่ า งเรี ย บ ง่ า ยนี้ ก ลั บ สะท้ อ นเอกลั ก ษณ์ บ างอย่ า งจากชายผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของร้ า น “อ.ลั ก ษณ์ เ ท็ ฆ นิ ค การช่ า ง” คือ สัญลักษณ์ “ตราครุฑ” ที่ติดอยู่บริเวณหน้าร้าน “อ.ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” แห่งนี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ตราครุฑดังกล่าวนั้น เป็นตราครุฑที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ร้าน “อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง” ในฐานะที่นายช่าง อ.ลักษณ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นช่างแก้นาฬิกาส่วนพระองค์ นาฬิ ก าในพระราชส� ำ นั ก แทบทุ ก เรื อ น นั บ ตั้ ง แต่ นาฬิกาส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ

ในวัย 62 ปี “อ.ลักษณ์” หรือนามเต็มว่า อนุลักษณ์ ตาณพั น ธุ ์ ยั ง คงลงมื อ ซ่ อ มนาฬิ ก าเอง แม้ จ ะเป็ น นายห้ า ง แล้วก็ตาม ฝีมือการซ่อมนาฬิกาของเขานั้นไม่ต้องพูดถึง ด้วย ประสบการณ์ ก ว่ า 40 ปีในวงการนาฬิก า ท�ำให้ลูกค้ า ที่ น� ำ นาฬิกามาซ่อมต่างไว้วางใจหายห่วงได้ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา ราคาเรือนละไม่กี่พันไปจนถึงหลักล้าน หากผ่านมือนายช่างผู้นี้ รับรองกลับมาเดินดีทุกราย !! แต่เรื่องราวที่น่าสนใจและหลายคนที่เดินผ่านไปมาบน ถนนมหาราช แถบท่าพระจันทร์อาจไม่เคยทราบหรือสังเกตก็ 68

IS AM ARE www.fosef.org


สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ล้วนทรงให้ช่าง อ.ลักษณ์ แก้ไขให้ แต่เมื่อเราไปพูดคุยกับเขา ช่างแก้นาฬิกาส่วนพระองค์ ผู้นี้กลับมิได้ส�ำคัญตัวว่าใหญ่โตประการใด ตรงกันข้าม เขากลับ ภาคภูมิใจเพียงแค่ว่าได้ใช้วิชาชีพช่างนาฬิกาที่ร�่ำเรียนมาถวาย การรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทเท่านั้น “ในชีวิตของผมมีผู้มีพระคุณอยู่ 2 คน คือ พ่อแม่ กับ ในหลวง” คือค�ำกล่าวสั้นๆ แต่สะท้อนความจงรักภักดีที่มีต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประหนึ่ง “พ่อหลวง ของแผ่นดิน” อย่างชัดเจนของ อ.ลักษณ์ อ.ลักษณ์เล่าว่า หลายสิบปีก่อนหน้านี้เขาได้เดินทาง ไปศึกษาจนได้ปริญญามาสเตอร์ด้านวิศวกรรมการแก้นาฬิกา จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาก็ได้เข้าท�ำงานในบริษัท นาฬิกาฝรั่งในเมืองไทยอยู่ช่วงหนึ่ง ช่วงนี้เองที่ชื่อเสียงด้านฝีมือ การซ่อมนาฬิกาของ อ.ลักษณ์ เป็นที่กล่าวขานในวงการนาฬิกา ไทยอย่างกว้างขวาง ถึงขนาดมีผู้ตั้งสมญานามให้เขาว่าเป็นช่าง แก้นาฬิกา “มือทอง” ของวงการ “การแก้นาฬิกาเป็นเรื่องของวิศวกรรม ส่วนประกอบ ของนาฬิกามันเล็กกว่าเส้นผมเสียอีก จึงเป็นสิ่งละเอียดอ่อน

40 ปี ใ นวงการนาฬิ ก า ท� ำ ให้ ลู ก ค้ า ที่ น� ำ นาฬิ ก ามา ซ่ อ มต่ า งไว้ ว างใจหายห่ ว งได้ ไม่ ว ่ า จะเป็ น นาฬิ ก า ราคาเรื อ นละไม่ กี่ พั น ไปจนถึ ง หลั ก ล้ า น หากผ่ า นมื อ นายช่ า งผู ้ นี้ รั บ รองกลั บ มาเดิ น ดี ทุ ก ราย มาก นิสัยผมถ้าจะท�ำต้องท�ำให้ดี คนที่จะเป็นช่างแก้นาฬิกาได้ จะต้องอดทน ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่เก่ง นาฬิกาเก่าเป็นหลายร้อย ปีผมก็ยังรู้จักไม่หมด ส่วนนาฬิการุ่นใหม่ๆ ผมก็ยังเห็นไม่ทั่ว ยัง ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา” อ.ลักษณ์กล่าวอย่างถ่อมตัว อ.ลักษณ์กล่าวอีกว่า ต่อมาเขาได้ลาออกจากบริษัทเดิม แล้วมาเปิดห้างนาฬิกาเป็นของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า “อ.ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” ชื่อเสียงและฝีมือของ อ.ลักษณ์ ท�ำให้มีลูกค้า หลายระดับมาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่ เศรษฐี พ่อค้า ข้าราชการ ทหาร ต�ำรวจ นักการเมือง ไปจนกระทั่งนายก รัฐมนตรีหลายสมัย อาทิ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น รวม ทั้งนาฬิกาขององค์สมเด็จพระสังฆราช กระทั่งวันหนึ่ง มีข้าราชการส�ำนักพระราชวังผู้หนึ่งได้ เชิญนาฬิกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมายังร้านเพื่อให้ อ.ลักษณ์ซ่อมแซม นับจากนั้นเขาก็มีโอกาสถวายการรับใช้แก้ไข นาฬิกาส่วนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เรื่อยมาจนถึง ปัจจุบันนี้เป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว เมื่ อ คราวกรุ ง เทพมหานครจั ด งานฉลองสมโภชกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ครบรอบ 200 ปี นั้ น สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ อ.ลักษณ์ รับผิดชอบการแก้ไขนาฬิกาโบราณตามพระที่นั่งต่างๆ อาทิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ฯลฯ เพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ 69

issue 120 january 2018


ภาพ : mediastudio.co.th

ในชี วิ ต ของผมมี ผู ้ มี พ ระคุ ณ อยู ่ 2 คน คื อ พ่ อ แม่ กั บ ในหลวง” คื อ ค� ำ กล่ า วสั้ น ๆ แต่ ส ะท้ อ นความ จงรั ก ภั ก ดี ที่ มี ต ่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ ป ระหนึ่ ง “พ่ อ หลวงของแผ่ น ดิ น ” อย่ า งชั ด เจน ของ อ.ลั ก ษณ์

ในเวลานั้ น อ.ลั ก ษณ์ ต ้ อ งเร่ ง ท� ำ งานแข่ ง กั บ เวลาจน กระทั่งป่วยไข้ แต่ก็ยังมุ่งมั่นอุตสาหะถวายการรับใช้อย่างไม่ ย่ อ ท้ อ กระทั่ ง ในที่ สุ ด เขาก็ ส ามารถแก้ ไขนาฬิ ก าทั้ ง หมดได้ ส�ำเร็จทันเวลา แต่ผลงานที่ อ.ลักษณ์ภาคภูมิใจมากที่สุด คือ การมี โอกาสได้ถวายการรับใช้แก้ไขนาฬิกาส่วนพระองค์ในพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว อ.ลั ก ษณ์ กล่ า วว่ า นาฬิ ก าเรื อ น ดังกล่าวเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะขนาดเล็ก และสามารถเล่นเพลง ได้ ซึ่งเป็นนาฬิกาที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานให้เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ในหลวงท่านจึง ทรงรักนาฬิกาเรือนนี้มาก ผลจากการที่ช่าง อ.ลักษณ์ สามารถแก้ไขนาฬิกาเรือน ดั ง กล่ า วนั่ น เอง ท� ำ ให้ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พระกระแสรับสั่งชมเชยในการแก้นาฬิกาของ อ.ลักษณ์ และ ได้พระราชทานเหรียญส่วนพระองค์ ราชรุจิ ทอง-เงิน แก่เขา อีกด้วย แต่ อ.ลั ก ษณ์ ก็ ยั ง ตั้ ง อกตั้ ง ใจท� ำ งานอย่ า งเงี ย บๆ ไม่

เห่อเหิมกับเกียรติยศที่ได้รับพระราชกรุณาแต่ประการใด เมื่อ ในหลวงทรงตรัสถามว่าเขาอยากได้สิ่งใดตอบแทน หรือต้องการ ไปท� ำ งานกั บ พระองค์ ห รื อ ไม่ อ.ลั ก ษณ์ เ พี ย งแต่ ทู ล ตอบว่ า “ขอรับใช้พระองค์ท่านแบบนี้ต่อไป และหากมีพระราชประสงค์ จะให้เขารับใช้สิ่งใดก็สามารถเรียกใช้ได้ทุกเมื่อ” เขาให้เหตุผลกับเราว่า “ทุกวันนี้ผมกินแค่มื้อเดียว คน เราไม่ช้าก็ตาย แต่คนไม่รู้จักพอ ผมรู้ตัวว่าต้องตาย ไม่อยากได้ อยากมีอะไร ผมไม่อยากได้เงินทองหรือสายสะพาย นาฬิกาทุก เรือนที่ตั้งใจซ่อมถวายไม่เคยเรียกร้องเงินตอบแทนจากพระองค์ ท่าน” นี่คือค�ำตอบของ “ข้า” แผ่นดินอย่างแท้จริง อ.อนุลักษณ์ ตาณพันธุ์ เสียชีวิตเมื่อปี 2556 อายุรวม 74 ปี ร้าน “อ.ลักษณ์เทฆนิคการช่าง” ตั้งอยู่บริเวณ ถ.มหาราช ตรงข้ามวัดมหาธาตุ ย่านท่าพระจันทร์ ปัจจุบันเจ้าของร้านคือ ผศ.สมสฤทธิ์ ตาณพันธุ์ (ลูกชาย) ที่มา www.manager.co.th 70

IS AM ARE www.fosef.org


ภาพ : mediastudio.co.th

71 issue 120 january 2018


http://www.thaihealth.or.th

ข้าวสังข์หยด

ข้าวที่ “แม่” บอกว่า “อร่อย” เมื่ อ เอ่ ย ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของคนไทยกั บ อาหารการกิ น แน่ น อนว่ า ต้ อ งรั บ ประทาน ข้ า วเป็ น ประหลั ก อย่ า งแน่ น อน ด้ ว ยสภาพ ภู มิ ป ระเทศที่ เ หมาะแก่ ก ารปลู ก ข้ า วท� ำ นา ท� ำ ให้ ข้ า วกลายมาเป็ น อาหารหลั ก ที่ ค นไทยนิ ย ม บริ โ ภค ซึ่ ง ก็ จ ะเลื อ กบริ โ ภคข้ า วแตกต่ า งชนิ ด กั น ไปตามปั จ จั ย ต่ า ง ๆ อาทิ รสชาติ ราคา คุ ณ ประโยชน์ ใ นการบริ โ ภค

72 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ ข ้ า ว สั ง ข ์ ห ย ด มี คุ ณ ป ร ะ โ ย ช น ์ ใ น ก า ร ช ะ ล อ วั ย ชะลอความแก่ และเนื่ อ งจากมี ก ากใยสู ง จึ ง ดี ต ่ อ ระบบขั บ ถ่ า ย นอกจากนี้ ยั ง มี โ ปรตี น ฟอสฟอรั ส แ ล ะ ธ า ตุ เ ห ล็ ก สู ง มี แ ก ม ม า อ อ ไ ร ซ า น อ ล กาบา แอนตี้ อ อกซิ แ ดนท์ ป ้ อ งกั น มะเร็ ง ช่ ว ยชะลอ ความแก่ ป้ อ งกั น ความจ� ำ เสื่ อ ม บ� ำ รุ ง โลหิ ต โรค หั ว ใจ เป็ น ต้ น ใหม่เพื่อการรักษาพันธุ์ข้าวและเผยแพร่พันธุ์ข้าวให้เป็นที่รู้จัก ในปีพ.ศ. 2545 ณ งานจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ พระองค์ ได้โปรดให้มีการน�ำข้าวสังข์หยดมาเผยแพร่ในงานดังกล่าวด้วย เป็นเหตุให้ข้าวสังข์หยดกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ตลอดจนกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับประเทศนั่นเอง นอกจากนี้ข้าวสังข์หยดยังได้น�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ได้อีกด้วย อาทิ คุกกี้ และผลิตภัณฑ์ความงามในการรักษา เส้นผม เป็นต้น ทางทีมผู้เขียนได้คิดรังสรรค์ว่าข้าวสังข์หยดยัง สามารถแปรรูปเป็นเมนูอาหารอื่น ๆ ได้อีกมากมาย อาทิ ซูชิ จากข้าวสังข์หยด เป็นต้น ทางผู้เขียนคิดว่าข้าวสังข์หยดมีคุณประโยชน์มากมาย เหมาะแก่ผู้คนทุกเพสทุกวัย ใคร ๆ ก็รับประทานข้างสังข์หยด ได้ จึงอยากจะเชิญชวนให้ลองหันมาบริโภคข้างสังข์หยดดูสัก ครั้ง รับรองว่านอกจาคุณประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ ข้าวสังข์หยด ยังมีความหอม อร่อยไม่แพ้ข้าวชนิดอื่น ๆ แน่นอน

http://www.photoontour8.com ข้าวในประเทศไทยมีหลากหลายชนิดทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง นอกจากนี้ยังมีข้าวที่ปลูกได้เฉพาะท้องถิ่น เป็นข้าว ที่บ่งบอกถึงลักษณะของดินได้อย่างดี และมีคุณประโยชน์อย่าง มากในจังหวัดพัทลุง นั่นคือข้าวสังข์หยด ข้าวสังข์หยดมีคุณ ประโยชน์ในการชะลอวัย ชะลอความแก่ และเนื่องจากมีกากใย สูงจึงดีต่อระบบขับถ่าย นอกจากนี้ยังมีโปรตีน ฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็กสูง มีแกมมาออไรซานอล กาบา แอนตี้ออกซิแดนท์ ป้องกันมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันความจ�ำเสื่อม บ�ำรุง โลหิต โรคหัวใจ เป็นต้น เมื่ อ กล่ า วถึ ง คุ ณ ประโยชน์ ไ ปแล้ ว คราวนี้ เราลองมา ท�ำความรู้จักกับลักษณะของข้าวสังข์หยดกัน ข้าวสังข์หยดมี เปลือกสีขาวปนแดงไปจนถึงสีแดงเข้ม เมล็ดข้าวมีขนาดเล็ก เรียว และสามารถปลูกได้ประมาณ 1 ครั้งต่อ 1 เท่านั้น แต่สิ่ง ที่ได้มาทดแทนนั่นคือคุณประโยชน์มากดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้าง ต้นนอกจากนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถใน รัชกาลที่ 9 ยังทรงมีพระราชด�ำริในปี พ.ศ.2543 ให้จัดท�ำฟาร์ม ตัวอย่างขึ้น ครั้งหนึ่งศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงน�ำข้าวสังข์หยดไปถวาย แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และพระองค์ทรงรับสั่งว่า“อร่อย” และทรงโปรดให้น�ำมาปลูก

กลุ่มข้าวสังข์หยด วิชาการออกแบบนิทรรศการ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

https://www.minebeauty.com 73

issue 120 january 2018


74 IS AM ARE www.fosef.org


เยาวชนของแผ่ น ดิ น

สะสมความดีย่ืนมหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องสอบเข้า ฉัตราภรณ์ นาคกัน

ยุ ค สมั ย เปลี่ ย นไปหลายคนหลายอาชี พ จ� ำ เป็ น ต้ อ งปรั บ ตาม โดยเฉพาะเยาวชนที่ มี ค วามใฝ่ ฝ ั น อยากเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ในคณะที่ ต นเองต้ อ งการ จ� ำ เป็ น ต้ อ งปรั บ ตั ว เช่ น กั น การวั ด กั น ที่ ค ะแนนสอบอย่ า งเดี ย วไม่ เพี ย งพอ ปั จ จุ บั น องค์ ก รต่ า งๆ เลื อ กรั บ คนเข้ า ท� ำ งานไม่ ค� ำ นึ ง เพี ย งความเก่ ง ด้ า นวิ ช าการหรื อ ใบปริ ญ ญา อย่ า งเดี ย ว หากต้ อ งการคนเก่ ง และดี หรื อ คนที่ มี soft skills โดยเฉพาะองค์ ก รระดั บ โลกอย่ า งกู เ กิ้ ล ได้ ย กตั ว อย่ า ง soft skills เช่ น มี ค วามพร้ อ มเป็ น ผู ้ น� ำ และผู ้ ต ามเมื่ อ ถึ ง เวลา มี ค วามถ่ อ มตนไม่ โ อ้ อ วด มี ค วามสามารถในการประสานงานกั บ ผู ้ อื่ น พร้ อ มจะปรั บ ตั ว และรั ก การเรี ย นรู ้ ห รื อ เริ่ ม สิ่ ง ใหม่ ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย น สิ่ ง เหล่ า นี้ อ าจไม่ ส ามารถหาได้ จ ากในต� ำ ราหรื อ ห้ อ งเรี ย นเพี ย งอย่ า งเดี ย ว กิ จ กรรมสร้ า งสรรค์ สั ง คมและจิ ต อาสา ถู ก ยกให้ เ ป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ มากขึ้ น ในการพิ จ ารณารั บ ตรงในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปการศึกษาในยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี รองศาตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ออกมาบอกว่า หลังจาก นี้จะมีการทดสอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งนับ เป็นการทดสอบแบบศตวรรษที่ 21 ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ทดสอบความรู้ เช่น การเขียน การอ่าน และส่วน ที่ 2 คือ Soft Skill เป็นเรื่องของ creative ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิพากย์ วิเคราะห์ “ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2562 น่าจะต้องมีการประเมินด้าน “ที่จริงเป็นคนชอบท�ำกิจกรรมอยู่แล้ว ท�ำทุกอย่างที่ จิตอาสาและความดี ตอนนี้ทาง สทศ.ได้ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย โรงเรียนมีให้ เพราะโรงเรียนใกล้กับวัด ใกล้ชุมชนและกองทัพ ท�ำวิจัย และหาเครื่องมือทดสอบความดี ว่าจะทดสอบอย่างไร เรือ เวลามีโครงการค่ายหรือกิจกรรมต่างๆ มาที่โรงเรียน ครูจะ ปัจจุบันนี้มีการสอบเพียง o-net เป็นเรื่องของความรู้ วัดความ เป็นคนคัดเลือกตามโควต้าที่ก�ำหนด เช่นวันส�ำคัญทางศาสนา เก่ง แต่ยังไม่ได้วัดความดี” ผู้อ�ำนวยการสถาบันทดสอบทางการ น�ำสวดมนต์ ค่ายกฎหมาย ค่ายจิตอาสาชุมชน ค่ายให้ความรู้ ศึกษาแห่งชาติ กล่าว ในการใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลตนเอง กิจกรรมต่างๆ นอกโรงเรียน นางสาวฉัตราภรณ์ นาคกัน หรือ น้องเตย อายุ 18 ท�ำให้ได้รู้จักชีวิตมากขึ้น โลกกว้างขึ้น” ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เล่า ครูกันตาภา สุทธิอาจ ครูประจ�ำโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ประสบการณ์ ใ นการยื่ น ผลงานจิ ต อาสาที่ ท� ำ สะสมมาตลอด หนึ่งในผู้คัดเลือกนักเรียนไปท�ำกิจกรรมภายนอกโรงเรียนร่วม 3 ปี ตั้ ง แต่ ชั้ น มั ธ ยม 4-6 เพื่ อ ยื่ น พิ จ ารณารั บ ตรงในคณะ กับหน่วยงานต่างๆ กล่าวว่า กิจกรรมทุกอย่างต้องออกจากใจถึง สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และ จะท�ำได้ ต้องเอาใจท�ำ เวลาที่จะส่งเด็กเข้าโครงการหรือส่งคัด ผ่านการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 15 คน จากนักเรียนทั่วประเทศ เลือกรางวัลอะไรก็ตามเด็กคนนั้นจะต้องมีผลงาน เด็กบางคน โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน เราจับเขามาสร้างแต่ว่าใจเขาไม่ท�ำ มันก็ไม่ได้” 75 issue 120 january 2018


ปัจจุบันเกณฑ์ของที-แคทเปลี่ยนไป มีโอกาสรอบพอร์ตมากขึ้น หนูคิดว่าเราท�ำมาเยอะนะ ก็เลยท�ำไปก่อน เก็บผลงานไปเรื่อยๆ ก่อน แล้วเอามาเรียบเรียงลองส่งไปธรรมศาสตร์แล้วก็ติดหนึ่ง ในสามร้อยกว่าคน” ปัจจุบันน้องเตยเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา 6/9 แผนการ เรียน อังกฤษ-สังคม-ไทย การเรียนเฉลี่ย 3.00 ด้วยบุคลิกร่าเริง แจ่มใส เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เธอกล่าวว่า เป็นคนชอบท�ำกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งตนเองไม่คิดว่าจะส่งผลให้ได้เรียนมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจ ไว้ด้วยผลงานที่สะสมมาตลอด “เคยมีค�ำสบประหม่าว่าเด็กห้องเก้าคือเด็กที่ไม่สามารถ ไปเรียนที่ไหนได้แล้ว เป็นเด็กห้องท้าย หนูอยากลบค�ำเหล่า นั้น เราอาจจะเรียนไม่เก่งเหมือนสายวิทย์-คณิต แต่ยังมีโอกาส ส�ำหรับเราในการเก็บสะสมผลงานที่ท�ำจริงๆ ท�ำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ว่าท�ำเพื่อยื่นมหาวิทยาลัย แต่ต้องท�ำด้วยใจจริง แล้ว ทางครูและโรงเรียนจะเห็นผลงานเราเอง” น ้ อ ง เ ต ย ว า ง เ ป ้ า ห ม า ย ว ่ า จ ะ เรี ย น เ กี่ ย ว กั บ สังคมสงเคราะห์ตั้งแต่เรียนจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เพราะ รู ้ ตั ว ว่ า ไม่ ไ ด้ เรี ย นสายวิ ท ย์ - คณิ ต จึ ง เริ่ ม เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม เพื่ อ สั ง คมต่ า งๆ ตั้ ง แต่ ชั้ น มั ธ ยม 3 จนได้ รู ้ จั ก กั บ มู ล นิ ธิ ครอบครัวพอเพียงผ่านรุ่นพี่ที่โรงเรียนซึ่งเป็นแกนน�ำจิตอาสา ท�ำให้รู้จักกับการเขียนสมุดบันทึกความดีที่ท�ำผ่านงานจิตอาสา จากนั้นเธอจึงเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับหน่วยงานอื่นๆ ที่หลาก หลายมากขึ้น และผลงานก็เป็นตัวน�ำทางสู่อนาคตทางการศึกษา ของเธอในที่สุด

น้องเตยได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาเด็ก และเยาวชนบ� ำ เพ็ ญ ประโยชน์ การมี ส ่ ว นร่ ว มของเยาวชน ประจ�ำปี 2560 ด้วยความทุ่มเทท�ำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม ที่หลากหลายต่อเนื่อง 3 ปี จากการคัดเลือกของโรงเรียนสตรี วั ด ระฆั ง ด้ ว ยผลงานที่ เ ด่ น ชั ด เช่ น เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมยุ ว ชน ประชาธิ ป ไตย โดยรั ฐ สภา, กิ จ กรรมค่ า ยส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพ ความเป็นผู้น�ำ โดยมูลนิธิครอบครัวพอเพียง, โครงการค่ายผู้น�ำ เยาวชนสมานฉันท์-จิตอาสา กองทัพเรือ, ค่ายวัยใส พลเมืองใหม่ หลักประกันสุขภาพ : UHT YOUNG CAMP 2015 โดย สปสช. และได้รับการคัดเลือกให้เป็นลูกกตัญญูประจ�ำปี 2557 และ 2558 จากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายซึ่ง ท�ำด้วยความชอบส่งผลให้เธอได้รับยกย่องให้เป็นเยาวชนดีเด่น แห่งชาติในที่สุด “เฉพาะกิจกรรมจิตอาสาที่ท�ำร่วมกับมูลนิธิครอบครัว พอเพียงหนูเก็บไว้เป็นผลงานหลายชิ้น เพราะทางมูลนิธิเปิด โอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมท�ำจิตอาสาเพื่อสังคมหลายรูปแบบ สามารถเก็บเป็นผลงานไว้เสนอต่อมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ 76

IS AM ARE www.fosef.org


ไม่ผ่าน หรือไม่ถูกเรียกสัมภาษณ์เลย การตอบค�ำถามสัมภาษณ์ ยึดไหวพริบและเหตุผลประกอบในตอนนั้น เช่น เห็นภาพนี้แล้ว คิดจะจัดโครงการจิตอาสาในรูปแบบใด ให้อธิบายเดี๋ยวนั้นเลย ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ในการท�ำจริงก็อาจจะนึกไม่ออก” ท้ า ยนี้ ว่ า ที่ นิ สิ ต คณะสั ง คมสงเคราะห์ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ฝากค�ำแนะน�ำส�ำหรับน้องๆ รุ่นต่อไปว่า “กิจกรรมท�ำให้คนเป็นคนดีได้แต่ต้องไม่ทิ้งการเรียน เพราะว่าเด็กกิจกรรมถึงอย่างไรก็ต้องเรียนหนังสือ เพราะทั้ง กิจกรรมและการเรียนล้วนสร้างคนเหมือนกัน แต่อาจจะสร้าง คนละแบบ การเรียนสร้างความรู้ แต่กิจกรรมสร้างตัวเราเอง เพราะมันท�ำให้เรารู้ว่าเราชอบอะไร เราจะเป็นอะไร ตอนนี้เรา ยังไม่รู้หรอกว่าอนาคตเราจะเป็นยังไง เรามุ่งสร้างตัวเองดีกว่า” น้องเตยกล่าวทิ้งท้าย

เกณฑ์การคัดเลือกนิสิตผ่านผลงานในรอบรับตรงของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ได้แก่ เกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป และต้องท�ำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่ไหนก็ได้ต่อเนื่องกัน 3 ปี มีจิตอาสา และมีทัศนคติที่เป็นบวก โดยการสัมภาษณ์จาก คณะกรรมการจะเน้นให้ผู้เข้าสัมภาษณ์อธิบายผลงานที่ตนเอง ท�ำมาโดยละเอียด ฉะนั้น หากผลงานใดที่นักเรียนไม่ได้ท�ำจริง ก็ยากที่จะผ่านการซักถามจากคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย ถึง 5 ท่าน ในปีนี้มีผู้ยื่นสมัคร 395 คนจากทั่วประเทศ รับนิสิต ทั้งหมด 20 คน แต่ผ่านเกณฑ์เพียง 15 คนเท่านั้น “เมื่อเราส่งผลงานทั้งหมดผ่านทางช่องทางออนไลน์แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะตรวจสอบอย่างละเอียดว่ากิจกรรมหรือ ผลงานที่ยื่นมาท�ำจริงหรือไม่ ก่อนจะเรียกมาสัมภาษณ์ในวันจริง เพราะสมัยนี้เอกสารหรือเกียรติบัตรต่างๆ สามารถปลอมแปลง กันได้ บางคนมีมากมายแต่ถ้าไม่ได้ท�ำจริงก็มักจะสอบสัมภาษณ์ 77

issue 120 january 2018


“ไม่มีท่ีใดบนผืนแผ่นดินไทยที่พระองค์เสด็จไปไม่ถึง” “พระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์” จ.เชี ยงใหม่ พระต� ำ หนั ก ภู พิ ง คราชนิ เ วศน์ เป็ น หนึ่ ง ในแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ที่ มี ทั ศ นี ย ภาพสวยงาม เสมื อ นจิ น ตนาการที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง สถาปั ต ยกรรมไทยประยุ ก ต์ อั น วิ จิ ต รตั้ ง ตระหง่ า นเหนื อ มวลดอกไม้ เ มื อ ง หนาวนานาพั น ธุ ์ และมี อ ากาศที่ เ ย็ น สบายตลอดทั้ ง ปี ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง จากร้ อ ยเหตุ ผ ลที่ นั ก ท่ อ ง เที่ ย วควรค่ า แก่ ก ารมาเยื อ น มกราคม พ.ศ. 2505 พระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ท่อง เที่ยวที่สวยงามตระการตาเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ ๆ นักท่อง เที่ยวสามารถเข้าชมที่ประทับของพระราชวงศ์ได้อย่างใกล้ชิด ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ของพระราชอาคันตุกะ และยลโฉมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่ วิจิตรงดงามแห่งหนึ่งในประเทศไทย

พระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มีลักษณะสถาปัตยกรรม แบบไทยประยุ ก ต์ เ ป็ น เรื อ นหมู ่ ในปี พ.ศ.2504 พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งพระต� ำ หนั ก ภูพิงคราชนิเวศน์ขึ้นบนดอยบวกห้า ต�ำบลสุเทพ เพื่อใช้เป็น ที่ ป ระทั บ ในโอกาสเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น แปรพระราชฐาน มาประทั บ แรมที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และเพื่ อ รั บ รองพระราช อาคันตุกะ โดยใช้รับรอง สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดริคที่ 9 และ สมเด็จพระราชินี อินกริด แห่งเดนมาร์ค เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน 78

IS AM ARE www.fosef.org


70 เส้ น ทางตามรอยพระบาท โดย ททท. “ที่ประทับในโอกาส เสด็จพระราชด�ำเนิน แปรพระ ราชฐาน และเพื่อรับรอง พระราชอาคันตุกะ” ที่ เ ที่ ย วห้ า มพลาด • พระต�ำหนักพฤกษาวิสุทธิคุณ ที่ประทับของสมเด็จย่า และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา • พระต�ำหนักสิริส่องภูพิงค์ หรือพระต�ำหนักยูคาลิปตัส ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ • อ่างเก็บน�้ำ/น�้ำพุทิพย์ธาราของปวงชน อ่างเก็บน�้ำ ขนาดใหญ่ที่ใช้กักเก็บน�้ำไว้ใช้ภายในพระต�ำหนัก กิ จ กรรมห้ า มพลาด • นั่งรถไฟฟ้าน�ำเที่ยว ค่าบริการ 300 บาท/คัน (นั่งได้ ไม่เกิน 3 คน) พระต� ำ หนั ก ภู พิ ง คราชนิ เ วศน์ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งสถาน ที่ ท ่ อ งเที่ ย ว ที่ ส วยงามตระการตาเท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น สถานที่ ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสามารถเข้ า ชมที่ ป ระทั บ ของ พระราชวงศ์ ไ ด้ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด ได้ ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ การเชื่ อ มสั ม พั น ธไมตรี ร ะหว่ า งประเทศของพระราช อาคั น ตุ ก ะ

ทริ ป ตั ว อย่ า ง 4 วั น 3 คื น เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย ว จ.เชี ย งใหม่

วันแรก

ช่วงเช้า • เยี่ยมชมพระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ • ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ช่วงบ่าย • เลือกซื้อสินค้าที่บ้านถวาย แล้วชมเวียงกุมกาม และ รับประทานอาหารที่คุ้มขันโตก

วันที่สอง

ช่วงเช้า • เยี่ยมชมแคมป์ช้างที่ปางช้างแม่ตะมาน ช่วงบ่าย • เที่ยวฟาร์มกล้วยไม้-ฟาร์มผีเสื้อ

79 issue 120 january 2018


วันที่สาม

พระต� ำ หนั ก ภู พิ ง คราชนิ เ วศน์ ดอยบวกห้ า ต.สุ เ ทพ อ.เมื อ ง จ.เชี ย งใหม่ โทรศัพท์ : 0-5322-3065 เวปไซด์ : www.bhubingpalace.org เปิดให้เข้าชม : วันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-15.30 น. ฤดูท่องเที่ยว : ตลอดปี

วันที่ส่ี

การเดิ น ทาง ใช้ เ ส้ น ทางขึ้ น วั ด พระธาตุ ด อยสุ เ ทพ จากหน้ า สวน สัตว์เชียงใหม่ ถึงพระต�ำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นระยะทาง 17 กม.

ช่วงเช้า • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ชมความงดงามของ พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล และพระมหาธาตุเจดีย์นภพล ภูมิสิริ ช็อปปิ้งตลาดม้ง ช่วงบ่าย • เยี่ยมชมโครงการหลวงอินทนนท์ และน�้ำตกวชิรธาร

บ้าน

ช่วงเช้า • เที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ ช่วงบ่าย • เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมร่มบ่อสร้าง ซื้อของฝากกลับ 80

IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 81 issue 120 january 2018


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 82

IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

83 issue 120 january 2018


มีการใชงานและสงตอขอมูลผานระบบบริหารเรื่องรองเรียน ของสํานักงาน กสทช. ระหวางศูนย Call Center 1200 และหนวยงานปฏิบัติทั้งสวนกลางและภูมิภาค

84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.