IS AM ARE JULY60

Page 1

IS AM ARE

ฉบับที่ 114 กรกฎาคม 2560 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“การมี วิ นั ย มี ค วามสามั ค คี และรู ้ จั ก หน้ า ที่ ถื อ กั น ว่ า เป็ น คุ ณ สมบั ติ ส� ำ คั ญ ประจ� ำ ตั ว ของคนทุ ก คน แต่ ใ นการสร้ า งเสริ ม คุ ณ สมบั ติ ๓ ข้ อ นี้ จะต้ อ งไม่ ลื ม ว่ า วิ นั ย สามั ค คี และหน้ า ที่ นั้ น เป็ น ได้ ทั้ ง ในทางบวกและทางลบ ซึ่ ง ย่ อ มให้ คุ ณ หรื อ ให้ โ ทษได้ ม ากเท่ า ๆ กั น ทั้ ง ๒ ทาง เพราะฉะนั้ น เมื่ อ จะอบรม จ� ำ เป็ น ต้ อ งพิ จ ารณาให้ ถ ่ อ งแท้ แน่ ชั ด ก่ อ นว่ า เป็ น วิ นั ย สามั ค คี แ ละหน้ า ที่ ดี คื อ ปราศจากโทษ เป็ น ประโยชน์ เป็ น ธรรม”

พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ พระราชทานแก่ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาลู ก เสื อ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๖

3 issue 114 juLY 2017


Editorial

ฉบับเดือนมหามงคล เนือ่ งในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๒๘ กรกฎาคม ของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรฯ บก.จึงขอน�ำบทพระราชนิพนธ์ของ ‘สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร’ เนื่องในโอกาส วันเฉลิม พระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ ความตอนหนึ่งว่า

“..ขอน้อมกราบ พระบาทมา บูชาพ่อ พ่อรักชาย ห่วงชาย ไม่แสดง ชั่วชีวิต ที่ผ่านมา จนบัดนี้ เคยสร้างความ ยุ่งยาก ให้กังวล วันเวลา ผ่านไป ให้ส�ำนึก ยากจะหา พ่อใคร ในโลกา จะอดกลั้น ขันติ มีมานะ จะซื่อสัตย์ จริงใจ ไม่อ�ำพราง

พ่อเพียรก่อ ชายมา จนกล้าแข็ง พ่อคอยแจ้ง ทิศทาง ให้สร้างตน เข้าใจดี ชายผิดพลาด ดื้อสับสน พ่อสู้ทน ให้อภัย แก้ไขมา ในส่วนลึก ของพ่อ ปรารถนา ที่เมตตา รักลูก อย่างถูกทาง เสียสละ ยุติธรรม น�ำตัวอย่าง เดินสายกลาง ข่มใจ ให้นิ่มนวล..”

บทพระราชนิพนธ์ของ ‘สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร’ ที่บ่งบอกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ที่มีต่อพระราชบิดา มิ่งมหา มงคล ชนทั้งชาติ ขอประกาศ เทิดไท้องค์ พระทรงศรี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทุกแหล่งหล้า ทั่วธานี ขอบารมี คุ้มองค์ พระทรงธรรม ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา บรรณาธิการบริหาร, กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน 35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

5 issue 114 july 2017

Photo by Anton Repponen on Unsplash


Hot Topic

8

ตามรอยยุ วกษัตริย์

32

รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุ ณห์กุล ชี้ เกษตรกรไทยไร้ภูมิคุ้มกัน รัฐเมินงานวิจัยประกันสังคม ชาวนา

12

พระราชประวัติ “สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวฯ” รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวมหาวชิ ราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

Don’t miss

38

42

58 72 6 IS AM ARE www.fosef.org

44


Table Of Contents

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

7 issue 114 july 2017

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story พระราชประวัติ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” รัชกาล ที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร Cartoon เรื่องราวรอบตัว เงินเดือนข้าราชการไทยต�่ำ ? ข้อเท็จจริง 10 ปี ระบบราชการไทย Let’s Talk รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ชี้เกษตรกรไทยไร้ภูมิคุ้มกัน รัฐเมินงานวิจัยประกันสังคมชาวนา บทความพิเศษ เก่ง-ดี คือดัชนีชี้วัดความเป็นคุณ มนุษย์ชั้นยอดในทัศนะของพระพุทธศาสนา เข้าใจวัยรุ่น เล่นเกมส์อย่างไรให้เป็นประโยชน์ หลักธรรมแห่งความพอเพียง สันโดษ ความพอใจ ยินดี มีคุณูปการใหญ่หลวง (1) มูลนิธิชัยพัฒนา งานยังไม่เสร็จ Is Am Are ต�ำบลต้นยวน จังหวัดสุราษฎ์ธานี ธรรมชาติคือทุน สร้างสมดุลพอเพียง กระจกส่องใจ รักต่างวัย ท�ำอย่างไรจะไปรอด? Round About

8 12 24 28

32 38 42 44 50 62 72 80


แฟลตที่ประทับบนถนนอาวองโปสต์ (Avant Poste)

ตั้ ง แต่ ป ี ๒๔๙๓ (ค.ศ.๑๙๕๐) เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุ ล ยเดช และสมเด็ จ พระบรม ราชิ นี น าถทรงอภิ เ ษกสมรสแล้ ว ทั้ ง สองพระองค์ เ สด็ จ มาประทั บ ที่ ต� ำ หนั ก วิ ล ล่ า วั ฒ นา สมเด็ จ พระบรมราช ชนนี ท รงเช่ า แฟลตเลขที่ ๑๙ ที่ ถ นนอาวองโปสต์ (Avant Poste) บนชั้ น ห้ า อั น เป็ น ชั้ น สู ง สุ ด ของแฟลต นี้ น านกว่ า ๓๐ ปี จนถึ ง ปี ๒๕๒๗ (ค.ศ.๑๙๘๔) เจ้ า ของตึ ก ได้ เ ลิ ก สั ญ ญาให้ เ ช่ า 8 IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์

ถนนอาวองโปสต์ เ ป็ น ย่ า นที่ มี แ ฟลตอยู ่ ห ลายหลั ง เรียงกันไป มีแฟลตหลายหลังกระหนาบทั้งข้างหน้าและข้าง หลัง ท�ำให้มองเห็นทะเลสาบและภูเขาเพียงเล็กน้อย จึงไม่ใช่ ท�ำเลที่โก้หรูหรานัก เพราะส�ำหรับคนโลซานน์ บ้านท�ำเลดีคือ ท�ำเลที่สามารถมองเห็นทะเลสาบและภูเขา อันเป็นทิวทัศน์ที่ สวยงาม แฟลตที่อาวองโปสต์ มีข้อดีอยู่ที่ไม่ไกลจากศูนย์กลาง ของเมือง สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก และยังเป็น พื้นที่ที่เงียบสงบเพราะถนนหน้าแฟลตห้ามไม่ให้รถวิ่ง ผู้อาศัย อยู่ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นสุภาพสตรีสูงอายุ มีข้าราชการบ�ำนาญและ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยที่เกษียณอายุแล้ว เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนนีเสด็จประทับ ณ วังสระ ปทุมเป็นการถาวรแล้ว ก็ยังทรงเช่าแฟลตนี้ไว้ เพื่อเสด็จมาพัก ผ่อนบ�ำรุงพระวรกาย หลังจากพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎร พระราชทานสิ่งของ และน�ำหน่วยแพทย์อาสาไปรักษาประชาชนในจังหวัดต่างๆ ราว ๑๕ เดือน ซึ่งท�ำให้ทรงเหน็ดเหนื่อยพระก�ำลังถดถอย ก็ จะทรงเสด็จฯ มาประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ประมาน ๖-๘ เดือน หรือกล่าวไว้ว่า ทุกสองปีจะเสด็จฯ มาครั้งหนึ่ง เปรียบเสมือน

การเสด็จฯ ไปทรงพักผ่อนให้มีพระก�ำลังมาทรงงานช่วยเหลือ ราษฎรต่อไป ผู้คนที่อาศัยในแฟลตนี้ ต่างทราบว่า สมเด็จพระบรมราช ชนนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย ทรง พ�ำนักอยู่ที่นี่ ในวันที่เราไปเยือนนี้ คุณยายเดล นิช (Del Niche) หญิงชราร่างบาง ผมขาวโพลนวัย ๙๐ เศษ ที่อาศัยในแฟลตนี้ เดินลงมาจากแฟลต เมื่อพวกเราเข้าไปทักทายคุณยายบอกว่า อยู่ที่นี่มานานแล้ว ทราบดีว่า “มาดามมหิดล” ประทับอยู่ที่นี่ และทราบว่าเป็นพระมารดาของพระมหากษัตริย์ไทย คุณยายตอบค�ำถามพวกเราสั้นๆ แล้วพารูปร่างบอบบาง เดินจากไปตามทางฟุตบาทหน้าแฟลต ยังทึ่งอยู่ในใจว่า คุณยาย ยังเดินเหินดูแข็งแรงสุขภาพดีแม้จะอายุมากแล้ว พระต�ำหนักที่ประทับแห่งนี้ มีขนาดใหญ่พอสมควร จาก งานเขียนของข้าราชบริพารบางท่าน เล่ารายละเอียดภายในที่ ประทับที่แฟลตนี้ว่า ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องรับแขก ซึ่ง ทรงใช้เป็นห้องทรงงานด้วย มีห้องโถงเล็กๆ ใช้เป็นห้องเสวย มี ห้องครัวและห้องเก็บของเล็กๆ ทุกอย่างจัดเป็นระเบียบ ในห้อง ครัวหม้อเรียงตามขนาด ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดแก้ว ผ้าเช็ด หม้อ แยกกันต่างหาก ของทุกอย่างวางไว้เป็นที่เป็นทาง 9

issue 114 juLY 2017


พระต� ำ หนั ก ที่ ป ระทั บ แห่ ง นี้ มี ข นาดใหญ่ พ อสมควร จากงานเขี ย นของข้ า ราชบริ พ ารบางท่ า น เล่ า ราย ละเอี ย ดภายในที่ ป ระทั บ ที่ แ ฟลตนี้ ว ่ า ประกอบด้ ว ย ห้ อ งบรรทม ห้ อ งรั บ แขก ซึ่ ง ทรงใช้ เ ป็ น ห้ อ งทรง งานด้ ว ย มี ห ้ อ งโถงเล็ ก ๆ ใช้ เ ป็ น ห้ อ งเสวย มี ห ้ อ ง ครั ว และห้ อ งเก็ บ ของเล็ ก ๆ

เมื่อแฟลตที่ถนนอาวองโปสต์หมดสัญญาเช่าแล้ว ท�ำให้ ต้องทรงหาที่ประทับแห่งใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส�ำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระองค์เช่าแฟลตแห่งใหม่ ที่ถนนแตโร (Terreaux) อันเป็น ย่านหรูหราของเมืองโลซานน์เพื่อถวายเป็นที่ประทับ แต่สมเด็จ พระบรมราชชนนี ทรงเลือกประทับที่แฟลตของสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ที่ถนนอาเวนู เดอ ลาโว (Avenue de Lavaux) เป็นแฟลต เลขที่ ๖๖A ซึ่งอยู่ที่เมืองพุยยี่ เมือง ที่ระเบียงห้องบรรทมและห้องรับแขกมีสวน กระถางที่ เล็กๆ ใกล้โลซานน์ นับตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ (ค.ศ.๑๙๘๖) เป็นแฟลต ทรงปลูกพืชสวนครัว ตะไคร้ ผักชี สะระแหน่ ผักท�ำสลัด รวม ที่ประทับอยู่ชั้นสี่อันเป็นชั้นสูงสุด สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้า ทั้งไม้ดอกที่เลี้ยงง่าย และผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ซึ่งทรง ฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงซื้อไว้สองยูนิต และให้เปิดทะลุถึงกันได้ เคยส่งผลสตรอว์เบอร์รี่ที่ทรงปลูกเองมาถวายพระบาทสมเด็จ มีระเบียงเล็กๆ สามแห่ง มองเห็นทะเลสาบลาคเลมอง เมื่อทรงมีพระชันษามากแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนี พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่กรุงเทพฯ เมื่อครั้งทรงพระประชวร มักทรงเสด็จฯ ไปประทับที่สวิตฯ ราวปลายเดือนเมษายน อัน ในปี ๒๕๒๕ (ค.ศ.๑๙๘๒) สมเด็ จพระบรมราชชนนีทรงด�ำรงพระชนม์ชี พ อย่ า ง เป็ น ช่ ว งฤดู ใ บไม้ ผ ลิ จะประทั บที่ พ ระต� ำ หนั ก ที่ พุ ย ยี่ พั ก หนึ่ง เรียบง่ายดุจคนธรรมดา หากวันไหนอากาศดี จะเสด็จฯ ออก ประมาณเดือนกรกฎาคมจะทรงเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงพัก ไปข้างนอก ทรงพระด�ำเนินออกก�ำลังพระวรกายไปศูนย์การค้า ที่ภูเขาซานเนนเมอเซอร์ (Saanenmoser) ประทับ ณ โรงแรม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระต�ำหนัก ทอดพระเนตรสินค้าตามหน้าร้าน กอล์ฟแอนด์สปอร์ต (Golf and Sport Hotel) เพื่อทรงสกี ต่างๆ ระหว่างทรงพระด�ำเนินออกก�ำลังพระวรกาย จะทรงแวะ เป็นที่ที่ทรงโปรดมาก มักเสด็จฯ ไปที่นั่นทั้งหน้าหนาวหน้าร้อน โปรดทรงพระด�ำเนินเล่นขึ้นเขา เข้าไปในป่า ทรงเก็บดอกไม้ ผล ร้านกาแฟ โปรดร้านกาแฟที่ให้ช่วยตัวเอง 10 IS AM ARE www.fosef.org


พระองค์ท่านมักจะพระราชทานเลี้ยงน�้ำชา กาแฟ ที่ร้านมามา มิอา (Mama Mia) ซึ่งอยู่ใกล้พระต�ำหนักที่ประทับ เลยจาก แฟลตที่ประทับไปทางซ้ายมือ เป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น มีนก นานาชนิด น่านั่งเล่นฟังเสียงนกขับขาน สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีที่นั่งเล่นตามสวนและ ริมทะเลสาบมากมาย เดินเที่ยวจนเมื่อยเมื่อไรเหลียวหาที่นั่ง พักมักจะหาที่นั่งได้เสมอ แถมจะเป็นม้านั่งที่เชิญชวนให้อยาก หย่อนกายลงพักขา เพราะดูสะอาดสะอ้าน ทาสีสันสดใสน่า ถ่ า ยรู ป บรรยากาศรอบตั ว และทั ศ นี ย ภาพก็ แ สนจะงามจน อดใจไม่ไหว ทุกคนที่สัมผัสเป็นต้องกดชัตเตอร์เก็บภาพไว้เป็น ที่ระลึก

ไม้ป่า เช่น สตรอว์เบอร์รี่ป่า ราสเบอร์รี่ป่า หญ้ามอส และเห็ด ชนิดที่ทรงโปรดคือ เห็ดชองเตอแรล (Chanterell) เป็นเห็ดสี เหลือง มักขึ้นบริเวณหญ้ามอสและต้นไมดิ (My trille) ที่ขึ้น อยู่ในร่มเงาต้นสน เห็ดที่ทรงเก็บมาได้นั้น จะทรงล้างท�ำความ สะอาดเอง ฝานเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทรงน�ำมาผัด ใส่เนย หรือถ้า เก็บได้จ�ำนวนมาก ก็จะทรงตากแห้งไว้ท�ำอาหาร สมเด็ จ พระบรมราชชนนี ท รงโปรดไปปิ ก นิ ก บนภู เขา โปรดท�ำแซนวิชง่ายๆ หรือบางครั้งราชองครักษ์จะหุงข้าวไป เตรียมกะหล�่ำปลีใส่กล่อง ไปผัดเพื่อเป็นอาหารส�ำหรับปิกนิก บนภู เขา ถึ ง เดื อ นสิ ง หาคมจึ ง เสด็ จ กลั บ โลซานน์ ประมาณ เดื อ นพฤศจิ ก ายนจึ ง เสด็ จ กลั บ ประเทศไทยก่ อ นอากาศจะ หนาวจัด บางครั้งเสด็จฯ ไปเก็บดอกไม้ที่ ชาเลต์ อาโกเบ (Chalet a Gobet) เสด็จฯ ไปห้างสรรพสินค้าร้านรวงต่างๆ มักทรง ซื้อของใช้ส่วนพระองค์และของฝาก หรือเสด็จฯ ไปเสวยพระ สุธารสชา กาแฟ หากมีข้าราชการหรือคนไทยขอเข้าเฝ้าบ้าง

11 issue 114 juLY 2017


12 IS AM ARE www.fosef.org


Cover Story

พระราชประวัติ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” รัชกาล ที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นับแต่นั้นมา ประชาชนชาวไทยต่างเฝ้าติดตามข่าวเกี่ยว กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ด้วยความจงรัก ภักดี และต่างปลาบปลื้มปิติ ชื่นชมโสมนัสยิ่งขึ้นเมื่อพระองค์ ทรงเจริ ญ วั ย มี พ ระสุ ข ภาพพลานามั ย แข็ ง แรง เพี ย บพร้ อ ม ด้ ว ยพระราชจริ ย วั ต รและพระปรี ช าสามารถเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ตลอดมา

พระราชสมภพ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทร เทพยวรางกูร ทรงพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้ รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า วชิ ร าลงกรณ ทรงเป็ น มิ่ ง ขวั ญ ของปวงชนชาวไทยตลอดมา นับตั้งแต่พระราชสมภพตราบจนปัจจุบัน ขณะเมื่อทรงพระราชสมภพนั้น ประชาชนชาวไทยทั้ง ประเทศที่เฝ้ารอคอยพระประสูติกาลต่างปลาบปลื่มปิติ ชื่นชม โสมนัส แซ่ซ้องในพระบุญญาธิการ ดังที่ศาสตราจารย์ หม่อม ราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้บรรยายถึงบรรยากาศก่อนเวลา พระราชสมภพ ตราบจนถึงนาทีอันเป็นมงคลฤกษ์เสด็จพระ ราชสมภพว่า “...วันนี้ ครึ้มฟ้าครึ้มฝนตั้งแต่เช้า ฝนไม่ได้ตกมานาน นายแพทย์ผู้ถวายการประสูติเข้าประจ�ำที่สักครู่ก็ประสูติพระ ราชกุมาร เวลา ๑๗ นาฬิกา กับ ๔๕ นาที ในนาทีเดียวกัน นั้นเอง ฝนที่แล้งมาตลอดฤดูก็เริ่มโปรยปรายละอองลงมา ดู คล้ายๆ ฟ้าก็รู้เห็นเป็นใจกับการประสูติครั้งนี้ อารามดีใจสม ประสงค์ของดวงใจทุกๆดวง นายแพทย์ที่ถวายการประสูติ ซึ่ง พร้อมที่จะบอกแก่ท่ีประชุม ณ พระที่นั่งอัมพรสถานว่า พระ ราชโอรส หรือ พระราชธิดา กล่าวออกมาด้วยเสียงอันตื่นเต้น กังวานว่า ผู้ชาย แทนที่จะว่า พระราชโอรส ฝนโปรยอยู่ตลอด เวลา แตรสังข์ดุริยางค์เริ่มประโคม ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญ พระบารมี ปืนใหญ่ทั้งบกและเรือยิงสะเทือนเลื่อนลั่น เสียงไช โยโฮ่ร้องก็ดังอยู่สนั่นหวั่นไหว สมใจประชาชนแล้ว...ดวงใจทุก ดวงมีความสุข...”

การศึ ก ษา สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทร เทพยวรางกู ร ทรงได้ รั บ การศึ ก ษาระดั บ อนุ บ าลศึ ก ษาที่ พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต และทรงเข้ารับการศึกษาระดับ ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา ระหว่าง พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๙ –๒๕๐๕ ที่ ป ระเทศอั ง กฤษระหว่ า ง พุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๓ หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับ เตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทรงได้รับปริญญาอักษร ศาสตร์บัณฑิต(การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาเวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจ�ำชุดที่ ๕-๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑ และทรงได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ครั้งถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ทรงได้ รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราช อาณาจักรด้วย สมเด็ จ พระยุ พ ราช เมือ่ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ปวงชนชาวไทยต่าง

13 issue 114 juLY 2017


ข้าพเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศ และอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานไว้ด้วย ชีวิต จะภัคดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติ ภาระหน้ า ที่ ทุ ก อย่ า ง โดยเต็ มก� ำ ลั ง สติ ปั ญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคง ไพบูลย์ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่” บั ด นี้ ก าลเวลาผ่ า นไป ได้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว ่ า ตลอด ระยะเวลานั บ แต่ ยั ง ทรงพระเยาว์ ต ราบจนปั จ จุ บั น สมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรง ยึดมั่นในพระปฏิญญาทรงพระวิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่นปฎิบัติพระ ราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประเทศชาติและประชาชนชาว ไทย โดยมิได้ย่อท้อ ดังปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ในการบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จ พระบรมราชชนนี ไปในการเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศตลอดมา จึงทรงสามารถสั่งสมพระประสบการณ์เกี่ยว กับบ้านเมืองและราษฎร ดังนั้น จึงทรงปฏิบัติพระภารกิจได้เป็น ผลส�ำเร็จลุล่วง นับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เช่น เมื่อพระชนมายุ ๑๑ พรรษา ได้ทรงน�ำกองลูกเสือส�ำรองโรงเรียนจิตลดาเข้าร่วม พิธีสวนสนาม ลูกเสือไทย ณ สนามกีฬาแห่งชาติ

มีความปลาบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นด�ำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกุมาร มีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฎว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒฯ วรขัตติยราช สันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยาม มกุฎราชกุมาร” ในมงคลวาระนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม มกุฎราชกุมาร ได้ถวายสัตย์ปฎิญาณในการพิธีถือน�้ำพิพัฒน์สัต ยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงน�้ำพระ ราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นจะบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อชาติบ้าน เมือง และประชาชนชาวไทย เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจพสกนิกร อย่างยิ่ง ดังความว่า “ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระท�ำสัตย์ปฎิญาณ สาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงค์ เฉพาะพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร ท่ามกลางสันนิบาตรนี้ว่า 14

IS AM ARE www.fosef.org


พระราชกรณี ย กิ จ เมื่อทรงพระเจริญวัยได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้าน ต่างๆ นานัปการ ทั้งที่ทรงปฏิบัติแทนพระองค์ และทรงปฏิบัติใน ส่วนพระองค์เอง พระราชกรณียกิจทั้งปวงล้วนมีการสร้างสรรค์ ความผาสุข สงบแก่ประชาชน น�ำความเจริญไพบูลย์และความ มั่นคงมาสู่ประเทศ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข การ ศึกษา การศาล การสังคมสงเคราะห์ การพระศาสนา การต่าง ประเทศ และการศึกษา ฯลฯ

ประชาชน และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ทรงรับเป็นประธานกรรมการ อ� ำ นวยการจั ด สร้ า งอาคารศู น ย์ โรคหั ว ใจ สมเด็ จ พระบรม ราชินีนาถ เป็นต้น

ในด้ า นการศึ ก ษา ทรงทราบดี ว ่ า เยาวชนในถิ่ น ธุ ร กั น ดารยั ง ด้ อ ยโอกาส ในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ในถิ่นธุรกันดาร ๖ โรงเรียนได้แก่โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม ก�ำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยม สิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และ ฉะเชิงเทรา ได้เสด็จ ในด้ า นการแพทย์ และการสาธารณสุ ข ทรงตระหนักว่า สุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชน พระราชด�ำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระ เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ของการสร้ า งสรรค์ ท รั พ ยากรบุ ค คลอั น มี ราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คุณภาพไว้เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราช คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ พระราชทานค�ำแนะน�ำ และทรง หฤทั ย ในการประกอบพระราชกรณี ย กิ จ ด้ า นการแพทย์ แ ละ ส่งเสริมให้โรงเรียนด�ำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน สาธารณสุข เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯถวายโรงพยาบาล เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ประกอบ สมเด็จพระยุพราช เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรสจ�ำนวน อาชี พ เลี้ ย งตนและครอบครั ว ได้ เ มื่ อ จบการศึ ก ษา ได้ เ สด็ จ ๒๑ แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระ พระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา อุตสาหะเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลสม�่ำเสมอ และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ และหม่อมเจ้าสิริวัณวรี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงร่วม เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ที่ ทั น สมั ย เพื่ อ สามารถให้ บ ริ ก ารที่ ดี แ ก่ กิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ เสมอทั้งนี้ด้วยน�้ำพระหฤทัยที่ทรง 15 issue 114 juLY 2017


พระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ปีละเป็นจ�ำนวนมากทุกปี ทั้ ง นี้ ยั ง ทรงปฏิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ ทั้ ง ในฐานะ ผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เองนานัปการ เช่น การ พระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทาน พระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้น�ำความส�ำเร็จน�ำเกียรติยศมา สู่ประเทศชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัล นักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชม ยินดี ซึง่ นักกีฬาของไทยต่างส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ มีความ ปลาบปลืม่ ในสิรมิ งคลและมีขวัญก�ำลังใจทีจ่ ะน�ำความส�ำเร็จและ น�ำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติต่อไป และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้เสด็จพระราชด�ำเนิน แทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ท�ำให้ นั ก กี ฬ ามี ข วั ญ และก�ำลังใจในการแข่งขัน ประสบชัย ชนะน� ำ ในด้ า นสั ง คมสงเคราะห์ ทรงพระกรุ ณ าห่ ว งใยในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของ เหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน ได้ ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัด ในกรุงเทพฯหลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนง เขต คลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯให้ กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนา สิ่งแวดล้อม ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการ ของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการ ปราบปรามยาเสพย์ ติ ด ในหมู ่ เ ยาวชนชุ ม ชนแออั ด คลองเตย เพื่อให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อไปใน อนาคต ในด้ า นการต่ า งประเทศ การมีสัมพันธไมตรีอันดีกับมิตรประเทศ เป็นรากฐาน ส� ำ คั ญ ของความสงบสุ ข และความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ ของ ประเทศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ก็ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะประกอบพระราชกรณียกิจ ส�ำคัญๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เสมอมา ได้ เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรง เยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจ�ำทุกปี ปีละหลายครั้ง เช่น เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยือนประเทศ 16 IS AM ARE www.fosef.org


17 issue 114 juLY 2017


บั ด นี้ ก าลเวลาผ่ า นไป ได้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว ่ า ตลอด ระยะเวลานั บ แต่ ยั ง ทรงพระเยาว์ ต ราบจนปั จ จุ บั น สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทร เทพยวรางกู ร ได้ ท รงยึ ด มั่ น ในพระปฎิ ญ ญาทรง พระวิ ริ ย ะอุ ต สาหะ มุ ่ ง มั่ น ปฎิ บั ติ พ ระราชกรณี ย กิ จ นานั ป การ เพื่ อ ประเทศชาติ แ ละประชาชนชาวไทย โดยมิ ไ ด้ ย ่ อ ท้ อ

อิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่าง เป็นทางการ ทรงพบนายเติ้ง เสี่ยวผิง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ทรงพบ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ประเทศต่ า งๆที่ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปทรงเจริ ญ สัมพันธไมตรีในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์ เอง มีอีกเป็นจ�ำนวนมาก เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศเนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมศรีลังกา สหพันธ์เอกวาดอร์ สาธารณรัฐ เฮอลนิ ก (กรี ซ ) ประเทศออสเตรเลี ย และเมื่ อ วั น ที่ ๒-๔ กรกฏคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระ ราชธิดาทั้งสองพระองค์ ไปทรงเยือนประเทศสิงคโปร์อย่าง เป็นทางการ ในการเสด็จพระราชด�ำเนินไปทุกครั้ง ต้องทรงเตรียม พระองค์ ด ้ ว ยการศึ ก ษาหาความรู ้ เ กี่ ย วกั บ ประเทศที่ จ ะทรง เสด็ จ ไปทรงเยื อ น และระหว่ า งประทั บ อยู ่ ใ นประเทศนั้ น ๆ นอกจากทรงมุ่งมั่นที่จะทรงเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว ยังทรงสน

พระราชหฤทัยในการทอดพระเนตและศึกษากิจกรรมต่างๆ ที่ จะทรงน�ำมาเป็นประโยชน์ในการน�ำมาพัฒนาบ้านเมืองไทย ด้วย เช่น เสด็จไปทรงเยี่ยมชมกิจการทหาร การจราจรทาง อากาศ เมื่อทรงเยือนประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ทอดพระเนตร สถานที่ส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมด้าน อุตสาหกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เมื่อทรงเยือน สาธารณรัฐสังคมนิยมศรีลังกา ทอดพระเนตรการด�ำเนินงาน ด้านการป้องกันสาธารณภัยที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น

18 IS AM ARE www.fosef.org


ในด้ า นการเกษตรกรรม ทรงบ� ำ เพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ด้ า น การเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอด มา เช่น เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธี พืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจ�ำ และเมื่อวัน ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๙ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงท�ำปุ๋ยหมัก เป็นปฐมฤกษ์จากผักตบชวาและพืชอื่นๆ ณ บ้านแหลมสะแก ต�ำบลเดิมบาง อ�ำเภอบางนางบวช และได้เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงเป็นประธานในการท�ำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ต�ำบล ดอนโพธิ์ทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการท�ำนาด้วยพระองค์ เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์การท�ำนา พันธ์ุข้าวปลูก และปุ๋ย หมักให้ข้าราชการผู้ใหญ่ไปด�ำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอด ฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระด�ำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ุข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มี ก�ำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและ ซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชน ที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปศึ ก ษาที่ ป ระเทศอั ง กฤษ และมี พ ระ ราชศรัทธาทรงออกผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวัน ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ระหว่างทรงผนวช ทรงศึกษา และปฎิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นได้เสด็จ พระราชด�ำเนินแทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกิจทางศาสนา เป็นประจ�ำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณี รัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จ ในด้ า นการพระศาสนา พระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลในวัน ท ร ง แ ส ด ง พ ร ะ อ ง ค ์ เ ป ็ น พุ ท ธ ม า ม ก ะ ที่ วั ด พ ร ะ ส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วัน ศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อน อาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัด ต่างๆ เป็นต้น พระราชกรณี ย กิ จ ทางด้ า นการทหาร ทรงสนพระราชหฤทั ย ในวิ ท ยาการด้ า นการทหารมา ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทางด้านการ ทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระวิริยะอุตสาหะ ในการเพิ่ ม พู น ความรู ้ แ ละพระประสบการณ์ อ ยู ่ ต ลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิทยาการการบิน กล่าวคือ ระหว่างเดือน มกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และทรงศึกษางานทางการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุน กระทรวงกลาโหม ทรงประจ�ำการ ณ กองปฎิบัติการทางอากาศ พิเศษ การท�ำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้น สูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทาง อากาศ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ – มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอช – ๑ เอช และหลักสูตรการฝึกบิน เฮลิคอปเตอร์ 19 issue 114 juLY 2017


โจมตี แบบ เอ เอช – ๑ เอส คอบรา ของบริษัทเบบล์ นอกจาก นั้นยังทรงเข้าการศึกษาหลักสูตรต่างๆ ทางด้านการบินอื่นๆ อีก มากมาย ซึ่งจะทรงเห็นได้ว่า พระองค์ท่านมีพระประสบการณ์ และทรงเชี่ยวชาญการบินในระดับสูงมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ทรงเข้าเป็นนายทหารประจ�ำกรมข่าว ทหารบก กระทรวงกลาโหม วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษา พระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้บังคับกองพัน ทหารมหาดเล็ ก รั ก ษาพระองค์ วั น ที่ ๑๓ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์ วันที่ ๓๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงด�ำรง ต�ำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ส�ำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่องด้วยพระองค์ทรงพระ ปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการ

ใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากส�ำหรับนักบินทั่วโลกจะท�ำได้ พระองค์ ทรงพระกรุ ณ าปฎิ บั ติ ห น้ า ที่ ค รู ก ารบิ น เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แบบ เอฟ – ๕ อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้น มา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นความภาคภูมิใจอย่าง ยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร ทรงด�ำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรื อ เอก และพลอากาศเอก และได้ ท รงปฏิ บั ติ พ ระราช กรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการ ต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบ ค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราดด้วย ซึ่งแม้ เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุก ของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรง ปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชก�ำลัง ข้อมูลจาก : thaigoodview 20

IS AM ARE www.fosef.org


21 issue 114 juLY 2017


22 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

23 issue 114 juLY 2017


ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ

24 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

25 issue 114 juLY 2017


26 IS AM ARE www.fosef.org


27 issue 114 juLY 2017


เงินเดือนข้าราชการไทยต�่ำ ?

ข้อเท็จจริง 10 ปี ระบบราชการไทย หลายคนมองว่ า เงิ น เดื อ นข้ า ราชการไทยต�่ ำ ดู เ หมื อ นจะไม่ ใ ช่ ค วามจริ ง ในปั จ จุ บั น เมื่ อ สถาบั น อนาคตไทย ศึ ก ษาออกมาระบุ ว ่ า ในรอบ 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา ตั้ ง แต่ ปี 2547 - 2556 รั ฐ ไทยเพิ่ ม ก� ำ ลั ง พลมากขึ้ น ถึ ง 50% จึ ง เกิ ด สมมุ ติ ฐ านถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพการท� ำ งานของข้ า ราชการไทยที่ ถู ก มองว่ า ต�่ ำ ลง สวนทางกั บ รายได้ แ ละสวั ส ดิ ก ารที่ สู ง ขึ้ น หากเทียบจาก GDP รัฐไทยใช้งบประมาณเพื่อบุคลากร สูงเป็นอันดับต้นๆ มากกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ประเทศสิงคโปร์ซึ่งได้ชื่อว่าเงินเดือนข้าราชการสูง หน่วย งานรัฐมีแต่บุคลากรคุณภาพชั้นเลิศ แต่กลับใช้งบประมาณเทียบ กับ GDP ของเขาเองเพียง 3% ขณะที่ประเทศไทยใช้ถึง 7.1% (เพิ่มขึ้น 3 เท่าในรอบ 10 ปี) ซึ่งสูงกว่าประเทศเกาหลีใต้ที่ใช้ อยู่เพียง 2.1%, ประเทศอินโดนีเซีย 2.3%, ประเทศฟิลิปปินส์ 5.1%, และประเทศมาเลเซีย 6.4% ค�ำถามที่ตามมาคือ ใช้งบสูง บุคลากรเพิ่ม ผลงานและคุณภาพควรจะเพิ่มตามไปด้วยหรือไม่ สวนทางกั บ การจั ด ล� ำ ดั บ ในแต่ ล ะหั ว ข้ อ จากหลาย สถาบันที่ระบุว่า ดัชนีธรรมาภิบาลของข้าราชการไทยในด้าน ต่างๆ จากปี 2546 – 2556 กลับลดล�ำดับลง ดังนี้

กล่าวคือ ในปี 2547 รัฐมีก�ำลังพลอยู่ 1.5 ล้านคน จนถึง ปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้สัดส่วนผู้ด�ำรงต�ำแหน่งข้าราชการจริงๆ ในรอบ 10 ปี ยัง คงเท่าเดิมคือ 1.3 ล้านคนตามนโยบายของรัฐ แต่ส่วนต่างที่เพิ่ม ขึ้นคือ ลูกจ้าง – พนักงานรัฐ ที่เพิ่มขึ้นถึง 9 แสนคน ความเชื่อที่ว่าข้าราชการเงินเดือนน้อยจึงไม่ใช่ความ จริงอีกต่อไป หากเทียบเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในปี 2547 เงินเดือน ป.ตรี แรกเข้ารับราชการอยู่ที่ 6,000 บาท ขณะที่เอกชนอยู่ที่ 9,000 บาท แต่ปัจจุบันฐานเงินเดือนข้าราชการถูกปรับขึ้นมา ตลอดระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท สูงกว่าเอกชนซึ่งเงินเดือนแรกเริ่มเฉลี่ยอยู่ที่ 13,000 บาท หรือสูงกว่าถึง 10% 28

IS AM ARE www.fosef.org


เรื่ อ งราวรอบตั ว

29 issue 114 juLY 2017


1.ประสิทธิภาพรัฐบาล ในปี 2546 อยู่ที่ล�ำดับ 65 ลดลงมาอยู่ที่ 74 ในปี 2556 2.การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ในปี 2546 อยู่ที่ล�ำดับ 91 ลดลงมาอยู่ที่ 98 ในปี 2556 3.กฎระเบียบและการก�ำกับดูแล ในปี 2546 อยู่ที่ล�ำดับ 67 ลดลงมาอยู่ที่ 80 ในปี 2556 4.การบังคับใช้กฎหมาย ในปี 2546 อยู่ล�ำดับที่ 83 ลดลงมาอยู่ที่ 94 ในปี 2556 ฉะนั้น ปัญหาขาดแคลนพยาบาลซึ่งไม่มีต�ำแหน่งบรรจุให้ จึงค่อนข้างย้อนแย้งกับจ�ำนวนข้าราชการ C9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ถึง 2 เท่า สะท้อนภาพรวมระบบราชการไทยชัดเจนว่าถึงเวลาปฏิรูป นี่คือข้อมูลในปี 2547 – 2556 จากสถาบันอนาคตไทยศึกษา และ 3 ปีต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ ระบบราชการไทยมีทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ต้องรอผลส�ำรวจอย่างจริงจังอีกครั้ง

30 IS AM ARE www.fosef.org


31 issue 114 juLY 2017


รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ชี้เกษตรกรไทยไร้ภูมิคุ้มกัน รัฐเมินงานวิจัยประกันสังคมชาวนา 32 IS AM ARE www.fosef.org


Let’s Talks ตั้งแต่มีประเทศไทยมา ยังไม่มีแนวคิด “การประกัน สั ง คมให้ เ กษตรกร” ยั ง ไม่ มี รั ฐ บาลชุ ด ไหนขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ ง นี้ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ในประเทศไทยซึ่ ง ได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ประเทศ เกษตรกรรม แต่แนวคิดนี้ถูกจุดขึ้นในปี พ.ศ.2550 จากงานวิจัยเรื่อง “การประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต หล่อจี ระชุณห์กุล และทีมวิจัย แม้เรื่องจะเข้าคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น แล้ว แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลทุกอย่างก็หยุดลงไป จึงท�ำให้ งานวิจัยเรื่องการประกันสังคมเกษตรกรฯ ยังไม่ถูกน�ำไปใช้อย่าง เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังมีความน่าสนใจและ ท้าทายในแง่ของการช่วยเหลือเกษตรกรในวันที่พวกเขาหมด แรงและเกษียณอายุเกษตรกรลง รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อธิบายว่า งานวิจัยเรื่องการ ประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง สืบเนื่องมาจากงานวิจัยการประกันภัยต้นทุน การผลิต เมื่อปี พ.ศ.2545 ซึ่งทั้งหมดเป็นงานวิจัยที่ท�ำส�ำเร็จแล้ว แต่ยังไม่ถูกน�ำไปด�ำเนินการ

เกษตรกรไทยเป็ น แรงงานประเภทเดี ย วที่ ไ ม่ มี ป ระกั น สั ง คม แรงงานอื่ น ๆ เวลาป่ ว ย อายุ ม าก ยั ง มี ร าย ได้ จ ากประกั น สั ง คม แต่ ส� ำ หรั บ ชาวนาหรื อ เกษตรกร เมื่ อ เกษี ย ณอายุ แ ล้ ว จะเอารายได้ ที่ ไ หน “เราพูดกันถึงเรื่องการประกันราคา การจ�ำน�ำ แต่ถ้า เกษตรกรไม่มีผลผลิตทุกสิ่งก็จบ แล้วก็เกษตรกรเจอน�้ำท่วม ภัยแล้ง กว่ารัฐบาลจะด�ำเนินการ จริงๆ เขามีการตั้งงบทุกปี เกี่ยวกับการช่วยเหลือ แต่ว่า ราชการท�ำอะไรไม่ได้จริงๆ จะไป จัดหาเมล็ดพันธุ์พืชล่วงหน้า หาปุ๋ยล่วงหน้ามันท�ำไม่ได้ มันยัง ไม่มีเรื่อง ต้องรอให้น�้ำท่วมก่อน รอให้มันแล้งเสียก่อน แล้วจึง จะเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ” “ชาวนาจะปลูกข้าว 120 วันอย่างมาก ข้าราชการเรา เวลาน�้ำท่วมภัยแล้ง ขั้นตอนประกาศการประกวดราคาจัดซื้อ จัดจ้าง ท�ำสัญญา กว่าจะมีการส่งมอบ กว่าจะน�ำออกไปแจก ให้เกษตรกร กี่วันครับ มันเลยฤดูกาลเพาะปลูกไปแล้ว เพราะ ฉะนั้น เมื่อมีภัยแล้ง น�้ำท่วม เกษตรกรจะท�ำยังไง เขาไม่มีเงิน ไม่มีหลักทรัพย์จะไปกู้ ก็ต้องไปกู้นอกระบบ ยังไงเขาต้องหาทุก วิถีทางไปเอาพันธุ์พืชมาเพื่อที่จะมาลงอีกรอบหนึ่ง เมื่อคนเข้าสู่ หนี้นอกระบบแล้ว โอกาสจะหลุดออกมาน้อยมาก” รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต เสนอว่าควรจะประกัน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับแรกเกษตรกรทุกคนจะต้องเข้าสู่ระบบ ลงทะเบียน เช่น ชื่อ จ�ำนวนพื้นที่กี่ไร่ เริ่มท�ำเมื่อไหร่ โดยใช้งบ ช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งตั้งขึ้นทุกปีเพื่อช่วยเหลือในเรื่องพันธุ์พืช ปุ๋ย จากภัยน�้ำท่วมหรือภัยแล้ง มาเป็นเบี้ยประกัน “ระดั บ แรกคุ ้ ม ครองเฉพาะพั น ธุ ์ พื ช กั บ ปุ ๋ ย ตาม วัตถุประสงค์ในการตั้งงบประมาณ ฐานข้อมูลนี้มีค่ามโหฬาร นะ มันท�ำให้ภาครัฐรู้แน่ชัดเลย ว่ามีการปลูกข้าวที่ไหน จ�ำนวน

33 issue 114 juLY 2017


เท่าไหร่ เริ่มปลูกเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นผลผลิตจะออกมาเมื่อไหร่ เรารู้ชัดเจน เกษตรกรเขาต้องมาจดทะเบียนแล้วจะเปิดเผยหมด เลยนะ เกษตรกรสมัยนี้ก็มีมือถือทุกคน ก็สามารถเข้าดูได้” “ถ้าเผื่อมีใคร ตัวเองมีอยู่เพียง 5 ไร่ แล้วมาจด 50 ไร่ คนอื่นเขาก็โวยเอง ก็เป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ฐานข้อมูล นี้มันจะเป็นประโยชน์มหาศาลเลย เราสามารถใช้ฐานข้อมูล นี้มาบริหารจัดการผลผลิต ว่าช่วงนี้อย่าเพิ่งเก็บนะ ถ้าออก มาพร้อมๆ กันราคามันก็จะตก ฉะนั้น เวลานี้ผลผลิตไม่มีการ บริหารจัดการเหมือนกับโรงงาน ถ้าเผื่อผลิตได้ออกมาสู่ตลาด ทั้งหมดราคาก็ตกแน่นอน แต่ถ้ามีการบริหารจัดการราคามันก็ จะค่อนข้างนิ่ง บทบาทของรัฐก็คือบริหารจัดการอันนี้ ใช้ฐาน ข้อมูลอันนี้มาเป็นประโยชน์” ระดับที่ 2 คือความคุ้มครองรวมถึงค่าน�้ำมัน ค่าแรง โดยเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับนโยบายว่าต้องการให้เกษตรกรออก เท่าไหร่ แต่ไม่ควรให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกให้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อการมีส่วนร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต มองว่า ไม่อยาก ให้เกษตรกรแบมือขอใคร การมีส่วนร่วมจะท�ำให้คนมีศักดิ์ศรี มากขึ้น ส่ ว นงานวิ จั ย การประกั น สั ง คมเกษตรกรเพื่ อ สร้ า ง ภู มิ คุ ้ ม กั น ตามหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ซึ่ ง เกี่ ย ว

เ มื่ อ เ จ็ บ ป ่ ว ย เ ร า ยั ง มี 3 0 บ า ท รั ก ษ า ทุ ก โ ร ค อั น นั้ น ไม่ มี ป ั ญ หา แต่ ป ั ญ หาก็ คื อ เมื่ อ เกษี ย ณแล้ ว เกษตรกรเอารายได้ ม าจากไหน เขาต้ อ งอยู ่ ต ้ อ ง กิ น นะ เขาไม่ มี ร ายได้ เ ลยเมื่ อ เขาหมดแรง เนื่องจากการประกันต้นทุน 2 ระดับ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต ตั้ ง ค� ำ ถามว่ า เกษตรกรไทยเป็ น แรงงานประเภทเดี ย วที่ ไม่มี ประกันสังคม แรงงานอื่นๆ เวลาป่วย อายุมาก ยังมีรายได้จาก ประกันสังคม แต่ส�ำหรับชาวนาหรือเกษตรกร เมื่อเกษียณอายุ แล้วจะเอารายได้ที่ไหน “ถ้าเป็นโรงงาน แรงงานออกส่วนหนึ่ง เจ้าของโรงงาน ออกส่วนหนึ่ง รัฐบาลออกส่วนหนึ่ง แต่เกษตรกรเขาไม่มีนายจ้าง เวลานี้เจ้าของโรงงานออกร้อยละ 3 รัฐบาลสมทบอีกร้อยละ 3 ก็เป็นร้อยละ 6 แต่เกษตรกรไม่มี เมื่อเกษตรกรเอาข้าวไปขาย เรารู้รายได้ รัฐบาลจะสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเกษตรกร ร้อยละ 6 ท�ำไมถึงร้อยละ 6 ก็ท่านจ่ายให้กับแรงงานในโรงงาน ร้อยละ 3 อยู่แล้ว เกษตรกรไม่มีนายจ้าง ผมถือว่ารัฐบาลคือ นายจ้าง ฉะนั้นรัฐบาลมีอยู่สองบทบาท เพื่อความเสมอภาคนะ ท�ำไมท่านจ่ายให้แรงงานได้ แต่จ่ายให้เกษตรกรไม่ได้” 34

IS AM ARE www.fosef.org


35 issue 114 juLY 2017


มันจะน้อยลง กองทุนประกันสังคมเกษตรกร จะเป็นคนจ่าย บ�ำนาญให้” “ถ้าท�ำอย่างที่ผมเสนอ จะท�ำให้เกษตรกรพยายามเพิ่ม ผลผลิตของตัวเอง เพื่อจะได้เงินสมทบมากขึ้น เพื่อตอนเกษียณ จะมีบ�ำนาญมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีกว่าปัจจุบันแน่นอน ก็ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ คนส่วนใหญ่ของประเทศ อย่าลืมว่าเกษตรกรคือคนส่วนใหญ่ ของประเทศ เป็นคนที่จนที่สุดของประเทศ และเป็นคนที่ไม่มี ภูมิคุ้มกันใดๆ เลย คิดดูว่าความเป็นธรรมของสังคมมันอยู่ที่ ตรงไหน” รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต กล่าวอีกว่า ส�ำหรับงานวิจัย ดังกล่าวค�ำนวนให้พร้อมเสร็จถึงงบสมทบ และรายละเอียด ต่างๆ ในการน�ำไปด�ำเนินการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งตนและทีม วิจัยยังคงหวังว่า รัฐบาลในปัจจุบันจะน�ำไปพิจารณาปรับใช้อีก ค�ำรบหนึ่ง ส�ำหรับ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล ปัจจุบันอายุ 77 ปี มีผลงานที่มีส่วนร่วมด้านงานวิจัยต่างๆ หลาย ชิ้น ซึ่งถูกน�ำไปใช้ในการก�ำหนดนโยบายและการปฏิบัติงานของ หน่วยงานภาครัฐ เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลเหรียญ เกียรติยศ สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

“ทุ ก ครั้ ง ที่ เ กษตรกรเอาข้ า วไปขายเราก็ รู ้ ว ่ า รายได้ เกษตรแต่ละรายเท่าไหร่ รัฐบาลก็ควักออกมาสิ ร้อยละ 6 ของ รายได้ใส่ไว้ในกอง เหมือนกับเวลาแรงงานไปรับเงินเดือน ก็หัก เอาส่วนหนึ่ง นายจ้างก็ใส่เข้ามาร้อยละ 3 ของค่าแรง รัฐบาลก็ สมทบอีกร้อยละ 3 หลักการเดียวกัน” อย่ า งไรก็ ต าม การประกั น สั ง คมในปั จ จุ บั น ตามหลั ก วิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต ยังมองว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะเงินทดแทนของเกษตรกรแต่ละรายจะได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่ กับผลผลิต และอาจกระทบต่อความเสมอภาคและอาจจะเป็น ภาระมากของรัฐ แต่หากจ่ายตามสัดส่วนสมทบนี้จะเป็นแรง จูงใจให้เกษตรกรมีผลผลิตที่สูงขึ้นและได้คุณภาพ “อย่าลืมว่าถ้าคุณมีผลผลิตมาก รัฐบาลสมทบให้คุณ มากขึ้นนะ สร้างแรงจูงใจทางอ้อม ซึ่งเงินตรงนี้เกษตรกรเอา ไปใช้อะไรไม่ได้เลยจนกว่าเกษตรกรจะหมดแรงท�ำงาน หรือ เกษียณ ก็จะมีเงินจ่ายให้ เมื่อเจ็บป่วยเรายังมี 30 บาทรักษาทุก โรค อันนั้นไม่มีปัญหา แต่ปัญหาก็คือ เมื่อเกษียณแล้วเกษตรกร เอารายได้มาจากไหน เขาต้องอยู่ต้องกินนะ เขาไม่มีรายได้เลย เมื่อเขาหมดแรง” “จะไปหวังให้เกษตรกรสะสมเงินมา คุณไปถามเขาเถอะ แค่ให้พอกินก็บุญแล้ว จะมาให้สะสมอะไรอีก ถามว่าผมชอบ ไหม ผมก็ไม่ชอบ แต่มันเป็นความจริง เราปฏิเสธไม่ได้ ตรงนี้ เป็นการทยอยใส่เข้าไปในกองทุน แล้วมีคนบริหารกองทุน สร้าง ผลตอบแทนขึ้นมาได้ ฉะนั้นภาระของรัฐบาลส�ำหรับผู้สูงอายุ

รายชื่อทีมวิจัย : รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, ผศ.วีณา ฉายศิลปรุ่งเรือง, ผศ.ดร.นฤมล สอาดโฉม

36 IS AM ARE www.fosef.org


37 issue 114 juLY 2017


เก่ง-ดี คือดัชนีชี้วัดความเป็น

คุณมนุษย์ชั้นยอดในทัศนะของพระพุทธศาสนา ว.วชิรเมธร สื บ เนื่ อ งจากงานมอบรางวั ล “ผู ้ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ดี เ ด่ น ด้ า นทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ” โดย สถาบั น เสริ ม ศึ ก ษาและ ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ณ โรงแรมเดอะสุ โ กศล เมื่ อ วั น ที่ 28 มิ ถุ น ายน ที่ ผ ่ า นมา ซึ่ ง มี ก ารแสดงปาฐกถาในเรื่ อ ง “ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ กั บ โลกปั จ จุ บั น ” โดยผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ อาทิ พระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี , ดร.สุ เ มธ ตั น ติ เ วชกุ ล , ดร.ประสาร ไตรรั ต น์ เป็ น ต้ น 38 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

ในการนี้ นิ ต ยสาร IS AM ARE ขอน� ำ บทปาฐกถาของ พระมหาวุ ฒิ ชั ย วชิ ร เมธี มาเป็ น เครื่ อ งเตื อ นใจ ผู ้ อ ่ า นให้ ต ระหนั ก ถึ ง เรื่ อ ง “ความดี ” และ “ความเก่ ง ” ของมนุ ษ ย์ ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาของประเทศไทยรวมถึ ง โลกในขณะนี้ ว ่ า เราก� ำ ลั ง ขาดสิ่ ง ใดกั น แน่ : ศตวรรษต่อจากนี้ไ ปโลกจะประสบปั ญหามากมาย หนึ่ ง ในปั ญ หาที่ ว ่ า นี้ คื อ ทรั พ ยากรจะไม่ พ อกิ น จะไม่ พ อใช้ เพราะคนโลภโมโทสันเหลือเกินทุกวันนี้ ก็เหมือนที่คานธีบอก ว่า ‘ทรัพยากรในโลกนั้นมากพอส�ำหรับหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก แต่ไม่มากพอส�ำหรับคนละโมบเพียงคนเดียว’ ด้วยวิกฤตด้าน ทรัพยากรเท่าที่เห็นปัจจุบันนี้ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง เสนอว่า มนุษย์ จ�ำเป็นจะต้องแสวงหาดาวดวงใหม่เพื่อขนย้ายมนุษย์ไปอยู่ให้ เร็วที่สุด อาตมาอ่านข่าวนี้แล้วก็นั่งข�ำ เพราะถ้าย้ายมนุษย์ที่ เต็มไปด้วยกิเลสขึ้นไป ดาวดวงใหม่ก็เจ๊งภายในร้อยปี เพราะ ด้วยทุนมนุษย์เดิมที่เรามี ด้วยการศึกษาแบบนี้ มันท�ำให้โลก ของเรานั้นแย่ลง แล้วถ้าเราขนถ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่มีแต่ความเห็นแก่ ตัวขึ้นไปอยู่ดาวดวงใหม่ ต่อให้ดาวดวงนั้นสมบูรณ์แค่ไหนก็ จะหายนะในเร็ววัน ฉะนั้นโลกก�ำลังประสบวิกฤตเกี่ยวกับทุน มนุษย์

เมื่อวานนี้เช่นเดียวกัน ไปอ่านบทความเรื่องหนึ่ง ซึ่ง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ต่างประเทศ เข้าใจว่าเป็นประเทศฝรั่งเศษ มีนักศึกษาอัจฉริยะคนหนึ่งไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศษ ผล การเรียนที่ดีเยี่ยมของเธอตั้งแต่ปีหนึ่งจนถึงปีสี่ แต่เมื่อเธอจบ การศึกษาเธอไปสมัครงานในประเทศไหนไม่มีใครรับเลย ที่สุด ท้ายกรรมการก็ตัดสิทธิ์เธอ เธอก็เอะใจว่าคุณสมบัติที่เพรียบ พร้อม และปริญญาระดับเกียรตินิยม ท�ำไมสมัครงานที่ไหนเขา ก็ไม่รับ ก่อนจะเดินกลับเธอตัดสินใจเข้าไปหากรรมการ ถาม กรรมการว่าหนูบกพร่องตรงไหน ผลการศึกษาของหนูก็ดีเยี่ยม ระดับเกียรตินิยม ตลอดชีวิตหนูก็ไม่มีปัญหาทะเลาะกับใคร แล้ว ท�ำไมหนูถึงถูกปฏิเสธ 39 issue 114 juLY 2017


มาทุกครั้งแต่เจ้าตัวไม่รู้ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ เธอเสียใจ มาก ขอลากลับออกมาเพราะยอมจ�ำนนต่อหลักฐาน กรรมการ ชั้นผู้ใหญ่บอกว่า หนู อย่าว่าแต่ประเทศเราเลยที่หนูจะไม่ได้ งาน ในยุโรปทั้งภูมิภาคเราก็เชื่อว่าหนูจะหางานได้ล�ำบากยาก ยิ่งนัก เพราะสิ่งที่หนูท�ำมันกลายเป็นฟุตโน้ตแห่งชีวิตของหนูไป เรียบร้อยแล้ว เธอร้องไห้แล้วก็เดินกลับแบบหมดหวัง นี่คือตัวอย่างหนึ่งซึ่งสะท้อนว่าโลกก�ำลังขาดอะไร โลก ไม่ได้ขาดคนเก่งเลย ประเทศไทยก็ไม่ได้ขาดคนเก่ง ทุกองค์กร เต็มไปด้วยคนเก่ง แต่ท่ีเราต้องการในเวลานี้ก็คือคนที่ทั้งเก่ง หรือคนที่มีวิชา และคนที่ดี คือคนที่มีจรณะ เก่ง-ดี คือดัชนีชี้วัด ความเป็นคุณมนุษย์ชั้นยอดในทัศนะของพระพุทธศาสนา สมกับ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ‘ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่กับความดี นับว่าเป็นผู้ที่เป็นยอดคนในหมู่มนุษย์และเทวดา’ ฉะนั้นจึงขอฝากประชาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง เป็นเจ้าภาพหลักของงานในวันนี้ว่า ช่วยกันสร้างสรรค์พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของเรา เยาวชนคนรุ่นใหม่ของเรา ให้เป็นคุณ มนุษย์ที่มีต้นทุนทางปัญญา และมีต้นทุนทางคุณธรรม เมื่อความ รู้มาบรรจบกับความดี เมื่อปัญญามาบรรจบกับคุณธรรม เราจะ

กรรมการบอกว่า เมื่อเราได้เห็นประวัติของคุณนั้น เรา ทุกคนรู้ว่าแล้วว่าคุณคือทรัพยากรมนุษย์ที่ยอดเยี่ยม แต่เมื่อ ตรวจประวัติของคุณครบทุกหน้า เราได้ไปเห็นบันทึกประจ�ำวัน ของต�ำรวจที่ลงหมายรายวันของคุณไว้ถึงสามรายการ สิ่งที่คุณ ท�ำตั้งแต่ปีหนึ่งเมื่อคุณมาอยู่ประเทศนี้ใหม่ๆ คุณได้เล็ดรอดขึ้น รถไฟโดยไม่ได้ซื้อตั๋ว เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นยากมากเพราะ ว่าเขาใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งหมด คนที่สามารถจะหลอก คอมพิวเตอร์อย่างนี้ได้ก็ประมาณ 1 ใน 10,000 คน คือหมื่นคน จะท�ำได้หนึ่งคน เป็นเรื่องของคนอัจฉริยะเท่านั้นแหละ ปรากฏ ว่าเมื่อเครื่องตรวจจับได้ต�ำรวจก็แจ้งข้อหาเธอ เธอบอกว่าเพิ่งมา อยู่ใหม่ ไม่รู้จริงๆ ต�ำรวจก็เปรียบเทียบปรับแล้วก็ปล่อยไป ต่อ มาเธอท�ำแบบนั้นอีกครั้งหนึ่งต�ำรวจเรียกเปรียบเทียบปรับเธอ บอกว่าไม่ได้เอากระเป๋าสตางค์มา สุดท้ายเธอท�ำอีกครั้งหนึ่ง ต�ำรวจปรับหนักแล้วก็ปล่อยเธอไป ปรากฏว่าสามเหตุการณ์นี้กลายเป็นแบล็คลิสติดตัวเธอ ไป เพราะฉะนั้นเธอไปสมัครงานบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ไหนก็ตาม ทุก แห่งปฏิเสธเธอทั้งหมด ท�ำไม? เพราะก่อนที่จะรับเขาก็ต้องเช็ค ประวัติทั้งหมดว่ามีเรื่องเสื่อมเสียที่ไหนหรือไม่ มันก็ปรากฏขึ้น 40

IS AM ARE www.fosef.org


ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่ล�้ำค่า ซึ่งเราจะสามารถใช้ความรู้ของเขา ไปในทางที่ดีงาม เหนืออื่นใดเขาจะกลายเป็นคนเก่งคนดีที่มี ประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองและต่อโลกใบนี้ โดยเฉพาะ ในเวลานี้เราต้องการคนที่เก่งด้วย ไม่เห็นแก่ตัวด้วย เราได้พบคนเก่งที่เห็นแก่ตัวมาแล้วมากมาย และตลอด ประวัติศาสตร์อันยาวนานมันบอกพวกเราว่า คนพวกนั้นไม่ สามารถน�ำพาประเทศชาติให้พ้นวิกฤตได้ หากเราปรารถณา จะน�ำพาประเทศชาติให้พ้นวิกฤต ช่วยกันสร้างทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่กับความดี และมีภาวะผู้น�ำ ความรู้คู่ความดีเป็นคุณสมบัติส่วนตัว แต่สภาวะผู้น�ำหมายถึงมี จิตส�ำนึกสาธารณะ พร้อมที่จะเอาความรู้และความดีออกมาแบ่ง รับปัญหาดังหนึ่งปัญหาของตนเอง ถ้าได้สามคุณสมบัตินี้ คือ ทั้งเก่งและดี มีภาวะผู้น�ำ เมื่อ นั้นสังคมไทยจึงจะเป็นสังคมที่ ‘มีความหวัง’ และไม่ใช่เป็น ความหวังของสังคมไทยเท่านั้น อาจจะเป็นความหวังของโลก ใบนี้ด้วย วันนี้อาตมาภาพขอฝากธรรมกาสั้นๆ นี้ไว้เพื่อเราทุก คนจะช่วยกันไตร่ตรองพินิจพิจารณา แล้วมองหาว่าเราจะช่วย กันสร้างสรรค์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคสมัยของพวกเราให้ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ได้อย่างไร ท้ายที่สุดนี้ อาตมาขอแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ที่ได้รับรางวัล ทุกท่านทุกคน ขอให้ทุกท่านทุกคนมีขวัญ มีก�ำลังใจ ในการ เบิกบานกับรับใช้เพื่อนมนุษย์โดยถ้วนหน้ากันทุกท่านทุกคน... เทอญ.

41 issue 114 juLY 2017


42 IS AM ARE www.fosef.org


เข้ า ใจ...วั ย รุ ่ น

เล่นเกมอย่างไรให้เป็นประโยชน์ เกิ ด เป็ น กระแสและแง่ คิ ด มุ ม มองมากมายในสั ง คมมาช้ า นานตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ส� ำ หรั บ ประเด็ น ปั ญ หา “เด็ ก เล่ น เกม” ยิ่ ง ในระยะหลั ง โลกออนไลน์ เ ข้ า มามี ส ่ ว นส� ำ คั ญ เป็ น อย่ า งมากในชี วิ ต ประจ� ำ วั น การเข้ า ถึ ง เกมในรู ป แบบต่ า งๆ ง่ า ยเพี ย งปลายนิ้ ว ท� ำ ให้ ผู ้ ป กครองส่ ว นใหญ่ กั ง วลถึ ง ทิ ศ ทางอนาคตบุ ต รหลานการ เรี ย นจะตกต�่ ำ ส่ ง ผลให้ ล� ำ บากในภายภาคหน้ า ทว่ า ในอี ก ฝากเกมก็ มี ส ่ ว นในการช่ ว ยพั ฒ นาสมองรวมไป ถึ ง ระบบการจั ด สรรความคิ ด วางแผน อย่ า งที่ พ ระท่ า นว่ า อะไรตึ ง เกิ น ไปก็ ไ ม่ ดี หย่ อ นเกิ น ไปก็ ไ ม่ ง าม เมื่ อ ความแตกต่ า งของยุ ค เจเนอเรชั่ น ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเทคโนโลยี ส ร้ า งสุ ข เพี ย งปลายนิ้ ว เราควรจะท� ำ อย่ า งไรให้ พอเหมาะดี ทั้ ง สองฝ่ า ย เข้ า ใจลู ก เข้ า ใจเกม เพราะลั ก ษณะนิ สั ย โดยพื้ น ฐานของช่ ว งวั ย เป็ น สิ่ ง ที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรท�ำความเข้าใจและใช้ ความอดทน เพราะเนื่องมาจากโลกในทุกวันนี้แตกต่างและ เปลี่ยนแปลงจากอดีตมากพอสมควร ความสนใจจึงไม่เหมือนกัน และผลที่ได้รับก็แตกต่างกัน ดังนั้นควรท�ำความเข้าใจและค่อยๆ ปรับพฤติกรรมบุตรหลานทีละเล็กละน้อยแบบค่อยเป็นค่อย ไปอย่างสม�่ำเสมอ โดยการ เลือกประเภทของเกมให้เหมาะสม ซึ่งหากเราเลือกเกมที่เหมาะสมกับอายุของเด็กแล้วนั้นจะช่วย ตัดปัญหาในเรื่องของความรุนแรงหรือผลกระทบที่จะส่งผลต่อ ช่วงวัยของเขา และบุตรหลานของท่านก็จะได้รับแต่ประโยชน์ ของเกมในการพัฒนา นอกจากนี้จะท�ำให้เขาเล่นเกมอย่างมีสติ และเข้าใจธรรมชาติของเกมตั้งแต่ต้นอีกด้วย

สอด แ ทรกสร้ า ง คว ามสั ม พั น ธ ์ ที่ ดี ใ นค รอ บครั ว สม�่ ำ เสมอ เกราะป้องกันและสร้างให้บุตรหลานเติบโตขึ้นมาเป็น คนที่ดีและมีคุณค่าของสังคมเกิดขึ้นจาก ‘ครอบครัว’ ที่มีความ เข้าใจพัฒนาการและความต้องการทางจิตใจของเด็ก พร้อม ทั้งการเปิดรับฟัง การกระตุ้นให้เด็กแสดงความรู้สึกและความ คิดเห็นในทุกๆ เรื่อง จะสร้างให้เด็กสามารถรับมือกับสภาพ แวดล้อมได้ในทุกๆ ปัญหาอย่างถูกต้อง โดยไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งในตรงนี้คุณพ่อคุณแม่จ�ำเป็นต้องหมั่นใส่ใจเวลาลูกเล่นเกม สอดส่องดูแล เพื่อรับรู้ถึงพฤติกรรม อารมณ์ ของเด็กในชั่วเวลา ขณะนั้น จากนั้นค่อยๆ ท�ำการพูดสอนให้ลูกรู้จักผิดชอบชั่วดีใน เรื่องต่างๆ โดยการยกจากเกมที่เขาก�ำลังเล่นอยู่เวลานั้นหรือ สถานการณ์ต่างๆ ในบ้านเมือง เขาก็จะเข้าใจและแยกแยะออก ว่าอะไรคือเกม อะไรคือชีวิตจริง

ก� ำ หนดช่ ว งเวลาและมาตรการ เพราะอะไรที่มากเกินย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน ยิ่งใน วัยเด็กซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และพัฒนาที่หลากหลาย ด้านศาสตร์แขนง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองจึงควรตั้งกฎและ กติกาที่เป็นข้อตกลงทั้งสองฝ่าย โดยการจัดเวลาการเล่นเกม หลังบุตรหลานท�ำหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาทิเช่น การท�ำการบ้าน อ่านหนังสือ หรือทบทวนบทเรียนที่ เรียนมาในแต่ละวัน นอกจากนี้ในเรื่องของระยะเวลาควรจ�ำกัด ขอบเขตไม่เกิน 2 ชั่วโมงในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความ หมกมุน่ และติดจนให้ความส�ำคัญกับเกมมากเกินไป และทีส่ ำ� คัญ ในระหว่างที่เล่นเกมควรให้บุตรหลานลุกขึ้นมาผ่อนคลายืดเส้น ยืดสาย การก�ำหนดขอบเขตที่ชัดเจนอย่างนี้ จะช่วยในเรื่องความ รับผิดชอบ ฝึกให้เป็นคนที่ตรงต่อเวลา มีความกล้าหาญที่จะรับ ผิดชอบการกระท�ำของตนเอง

ชั ก ชวนไปท� ำ กิ จ กรรมอย่ า งอื่ น นอกสถานที่ เนื่องจากนอกจากที่กล่าวไปแล้วนั้นว่า เด็กในช่วงวัย อายุนี้เป็นช่วงแห่งการเรียนรู้และทดลอง การที่หาและพาเขาไป ท�ำกิจกรรมต่างๆ นอกสถานที่ นอกจากท�ำให้อยู่ห่างและพักการ เล่นเกมบ้างแล้วยังท�ำให้เขาได้รู้อีกว่ามีกิจกรรมผ่อนคลายอย่าง อื่นอยู่อีกมากมาย ซึ่งเขาอาจจะค้นพบความชอบขึ้นได้จากการ เดินทางเหล่านี้ไม่ว่าจะ การเที่ยวสวนสนุก พิพิธภัณฑ์ เล่นกีฬา เล่นดนตรี อ่านหนังสืองานวรรณกรรม ทั้งนี้เมื่อเขาตระหนัก พร้อมได้รับการจัดสันอย่างลงตัวประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเกม งานอดิเรก กระทั่งเรื่องการเรียนของลูกก็จะค่อยๆ บาลานซ์ สมดุลและน�ำไปสู่ชีวิตที่ดี

43 issue 114 juLY 2017


สันโดษ ความพอใจ ยินดี มีคุณูปการใหญ่หลวง (๑)

Photo by Austin Neill on Unsplash 44 IS AM ARE www.fosef.org


หลั ก ธรรมแห่ ง ความพอเพี ย ง หลักส�ำคัญข้อหนึ่งที่ส�ำคัญมาก ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง . . . ความพอใจ ความพอดี หรือความพอเพียง นั่นก็คือ “สันโดษ” ศัพท์ธรรมะ เรียกว่า “สันตุฏฐี” ความเข้ า ใจที่ ค ลาดเคลื่ อ น ธรรมบทนี้ มี ผู ้ เข้ า ใจน้ อ ย แต่ มี ผู ้ ไ ม่ เข้ า ใจมากมาย เหลือเกินจนถึงกับในสมัยหนึ่ง ผู้มีอ�ำนาจในบ้านเมืองได้สั่งห้าม พระภิกษุน�ำมาสอนประชาชน ด้วยกลัวว่าประชาชนจะไม่ขยัน ขันแข็ง นี่เป็นเพราะความไม่เข้าใจในความหมายของสันโดษ หรือสันตุฏฐี ของผู้มีอ�ำนาจนั่นเอง ที่จริง “สันโดษ” เป็นหลักธรรมข้อหนึ่ง ที่ควรน�ำมาใช้ ในชีวิตอย่างยิ่งทีเดียว คนจนก็ใช้ได้ คนรวยก็ใช้ได้ ท่ า นเจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ ได้ ท รง อธิบายความไว้โดยละเอียด ผู้อ่านสามารถน�ำที่จะไปใช้ใน ชีวิตได้ทันที เนื้อความทั้งหมดในพระนิพนธ์มีดังต่อไปนี้

ออกบวชแล้วว่า ยินดีด้วยปัจจัย (เครื่องอาศัย) ๔ อย่าง ตามมี ตามได้ และในบางพระสูตร เช่นอริยวังสิกสูตรได้อธิบายกว้าง ขวางออกไปอี ก รวมความว่ า ยิ น ดี ด ้ ว ยปั จ จั ย ตามมี ต ามได้ กล่าวสรรเสริญความยินดีดังนั้นไม่แสวงหาในทางที่ไม่สมควร ความหมายของสั น โดษ สันโดษเป็นธรรมข้อหนึ่งที่ได้มีผู้ปรารภกล่าวกันมาก เพราะเหตุแห่งปัจจัยทั้งหลาย ไม่ได้ปัจจัยก็ไม่สะดุ้ง ได้ปัจจัย มาก็ไม่สยบติดเห็นโทษ มีปัญญาสลัดใจออกได้บริโภคใช้สอย ทั้งในทางสนับสนุน ทั้งในทางค้าน ทั้งไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะสันโดษนั้นขยันไม่เกียจคร้าน มี สนับสนุน คือ ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกัน ค้าน คือแสดงว่า ไม่ควรส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ เพราะ สัมปชัญญะ มีสติพินิจ ถ้าจะมีปัญหาว่า ถ้าเช่นนั้น สันโดษก็เป็นธรรมส�ำหรับ เห็นว่าเป็นเครื่องขัดขวางความเจริญก้าวหน้า ผู้ที่ต้องการจะทราบเรื่องสันโดษก็มีมาก มีหลายคนได้ ภิกษุหรือส�ำหรับบรรพชิตคือผู้บวชเท่านั้น มิใช่ส�ำหรับคฤหัสถ์ ก็ตอบได้ว่า ได้มีที่มาบางแห่ง และความหมายที่แสดง แสดงค�ำแนะน�ำว่า ควรแสดงเรื่องสันโดษให้ทราบทั่วกัน อันที่ จริงเรื่องสันโดษได้มีการสอนกันตั้งแต่นักธรรม และธรรมศึกษา ไว้บางอย่าง แสดงว่าใช้ได้ทั่วไป เช่น หลั ก ธรรมส� ำ หรั บ ตั ด สิ น พระธรรมวิ นั ย ๘ ข้ อ ที่ ชั้นตรีในวัดทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ในโรงเรียนเด็กก็มีสอน กันทั่วไป นอกจากนี้ก็มีการแสดงเป็นเทศน์ เป็นปาฐกถา เป็น พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ว่า ธรรม บทความในบางครั้งบางคราว แต่ที่จะแสดงเรื่องเดียวกันนี้ทุกวัน ที่เป็นไปเพื่อ ... ๑.ก�ำหนดย้อมใจ ทุกครั้งไปคงไม่ได้ เพราะธรรมที่จะแสดงมีมาก ฉะนั้นถ้าต้องการ ๒.ประกอบอยู่กับทุกข์ ที่จะทราบก็คงจะท�ำค�ำอธิบายได้ไม่ยากนัก ๓.สั่งสม ค�ำว่า สันโดษ มาจากภาษาบาลีว่า “สันโตสะ สันตุฏฐี” ๔.อยากใหญ่ แปลว่า ความยินดี (หรือพอใจ) ด้วยของของตน ๕.ไม่สันโดษ ความยินดีด้วยของที่มีอยู่ ความยินดีโดยสม�่ำเสมอ ๖.คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ค� ำ อธิ บ ายสั น โดษธรรมข้ อ นี้ ต ามที่ พ บในที่ ม า คื อ ๗.เกียจคร้าน พระสูตรทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุเป็นพื้น ค�ำ ๘.เลี้ยงยาก อธิบายจึงเป็นค�ำอธิบายส�ำหรับภิกษุ ซึ่งเป็นผู้สละสิ่งทั้งปวง 45 issue 114 juLY 2017


เหมาะแก่ทุกฝ่าย และเป็นข้อยืนยันว่า สันโดษ...มิใช่เป็นความ เกียจคร้านเลย ในที่มาคือพระสูตรบางแห่งสอนตรงๆ ว่า ให้มีอสันตุฏฐิ คือความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายความว่า ให้ สันโดษแต่ในปัจจัย ส่วนในกุศลธรรมน่าสันโดษ เพราะจะต้อง ท�ำกุศลให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอันสอนให้มีความเพียร ละความชั่ว ท�ำ ความดีนั่นเอง ทางที่ ค วรท� ำ ความเข้ า ใจในค� ำ อธิ บ าย เป็นธรรมดาที่การอธิบายอะไร เมื่ออธิบายแก่ใคร ก็ พึงให้เหมาะแก่บุคคลหรือหมู่บุคคล เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุบริษัท ก็ตรัสอธิบาย ให้เหมาะสมแก่บริษัทนั้น ฉะนั้น จะใช้อธิบายนั้นตรงตามตัว อักษรแก่บริษัทอื่นหาได้ไม่ จะใช้ได้ก็แต่หลักธรรม ซึ่งต้องน�ำ มาใช้ให้เหมาะสมแก่ภาวะของบุคคลแต่ละคนหรือบริษัท ธรรม ข้อเดียวกันจึงอาจอธิบายได้ต่างกัน เช่น สัมมาอาชีวะ ความ เลี้ยงชีวิตชอบ ส�ำหรับบรรพชิต การที่เที่ยวบิณฑบาตเป็นสัมมา อาชีวะ แต่การท�ำนาท�ำสวนค้าขาย เป็นต้น เป็นมิจฉาอาชีวะ ส่วนการเที่ยวบิณฑบาตเป็นการขอเขา มิใช่สัมมาอาชีวะของ เหล่านี้มิใช่ธรรม มิใช่วินัย มิใช่ค�ำสอนของพระพุทธ คฤหั ส ถ์ สั น โดษก็ เช่ น เดี ย วกั น เมื่ อ ใช้ ส� ำ หรั บ คฤหั ส ถ์ ก็ จ ะ ศาสนา อธิบายให้เหมาะสมแก่ภาวะคฤหัสถ์ เช่น ที่ได้อธิบายไว้ในชั้น ส่วนธรรมที่เป็นไปได้เพื่อ ... อรรถกถาในต่อมา ๑.ปราศจากก�ำหนดย้อมใจ แต่ในการที่อธิบายนั้นจะ ต้องทราบความมุ่งหมายจึง ๒.ไม่ประกอบกับทุกข์ จะอธิบายได้ถูกต้อง ไม่เป็นการที่เรียกว่า “กล่าวตู่พระธรรม” ๓.ไม่สั่งสม หรือ “กล่าวตู่พระพุทธเจ้า” ดังเช่นอ้างว่า พระพุทธเจ้าหรือ ๔.อยากน้อยหรือมักน้อย พระพุทธศาสนา กล่าวว่าอย่างนั้นๆ โดยที่ไม่มีปรากฏว่ามีกล่าว ๕.สันโดษ ไว้อย่างนั้นในที่ไหนเลยทั้งที่เป็นการกล่าวผิดทางผิดความมุ่ง ๖.สงัด หมาย ดังเช่นผิดต่อหลักตัดสินของพระธรรมวินัยดังกล่าวมา ๗.ปรารภความเพียร ข้างต้น พระอาจารย์ได้แสดงความมุ่งหมายของสันโดษไว้ว่า ๘.เลี้ยงง่าย สันโดษก็คือความไม่โลภ มุ่งหมายเพื่อละบาปธรรมเป็นต้นว่า เหล่ า นี้ เ ป็ น ธรรมเป็ น วิ นั ย เป็ น ค� ำ สอนของพระพุ ท ธ ความปรารถนาเกินไป ความปรารถนามากไป ความปรารถนา ศาสนา เป็นบาปคือผิด ความปรารถนาเกินไปนั้นเช่น ไม่อิ่มในลาภของ เมื่ อ สั น โดษเป็ น ข้ อ หนึ่ ง ส� ำ หรั บ ตั ด สิ น พระธรรมวิ นั ย ตน ปรารถนาลาภของคนอื่น ความปรารถนามากไปนั้น เช่น กล่าวได้ว่าเป็นธรรมทั่วไป ก็มีสันโดษรวมอยู่ข้อหนึ่ง และได้ บรรพชิตใคร่จะได้ปัจจัย ๔ ยิ่งๆ ขึ้นไปมา หรือคฤหัสถ์ใคร่จะได้ อธิบายบางอย่าง เช่น ในอริยวักสิกสูตรนั้น ตามที่กล่าวมา รูปเสียง เป็นต้น ที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจยิ่งๆ ขึ้นไปมากมาย ข้างต้น เช่น ไม่แสวงหาในทางที่ไม่สมควร ไม่ได้ก็ไม่สะดุ้ง ได้ อีกอย่างหนึ่ง ความประกาศตัวอวดอ้างคุณที่มีอยู่ และความไม่รู้ ก็ไม่สยบติด เป็นต้น ก็พึงใช้ได้ส�ำหรับคฤหัสถ์ตามสมควร และ ประมาณในการรับ เรียกว่า ความมักมากก็ได้ ความปรารถนา ข้อท้ายแห่งอริยวงศ์ว่า ยินดีในภาวนา คือ ความอบรมกุศล เป็นบาปนั้น เช่น ความประกาศตัว อวดอ้างคุณที่ไม่มีอยู่ และ ธรรมให้เกิดขึ้น ยินดีในปหานะคือการละอกุศลธรรมกับที่สอน ความไม่รู้ประมาณดังกล่าวในข้อมักมาก ให้ขยัน ไม่เกียจคร้านประจ�ำอยู่ในอริยวงศ์ทุกข้อ แสดงว่า 46 IS AM ARE www.fosef.org


ประเภทของสั น โดษ การอธิ บ ายสั น โดษในต่ อ มาคื อ ในขั้ น อรรถกถา พระ อาจารย์ได้อธิบายขยายความกว้างออกไป ทั้งส�ำหรับบรรพชิต และคฤหัสถ์ โดยยกเป็นหัวข้อคือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพล สันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ และอธิบายล�ำดับการปฏิบัติสันโดษในความคิด และใน การแสวงหา ในการรับ ในการบริโภค เป็นต้น ยถาลาภสันโดษ คือยินดีเท่าที่ได้ เมื่อได้สิ่งใดก็ยินดีสิ่ง นั้นและใช้สอย ไม่ปรารถนาสิ่งอื่นเกินไปมากไป หรือในทางที่ ผิด ที่เรียกว่า ปรารถนาเป็นบาป ยถาพลสันโดษ คือยินดีตามก�ำลัง ถ้าสิ่งที่ได้มาไม่เหมาะ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ลองคิดดูว่าผลจะเป็นอย่างไร?... ก็จะพากันประพฤติอกุศลทุจริตต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพราะ แก่ก�ำลังของตน เช่น ไม่เหมาะแก่ก�ำลังกายเพราะป่วยเป็นไข้ ความโลภ ความปรารถนาเกินไป มากไป หรือที่เป็นบาปลามก จะบริโภคใช้สอยไม่สะดวก ก็แลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตนจะบริโภค เหล่านั้น ชักน�ำจิตใจ ชักน�ำความพฤติกรรมให้เป็นไป ความทุกข์ ใช้สอยได้ หรือไม่เหมาะแก่ก�ำลังประการอื่นก็แลกเปลี่ยน เพื่อ ความเดือดร้อนต่างๆ ก็เกิดตามมา จะไม่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ให้เหมาะสมแก่ก�ำลังของตน และอาจอธิบายว่า ยินดีตามก�ำลัง ว่า อานุภาพแห่งสันโดษที่ยังคุ้มครองจิตใจของคนดีอยู่ เมื่อ ของตนในเรื่องต่างๆ ก็ได้ ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร ถ้าได้มาแล้วเห็น เข้าใจในความมุ่งหมายของสันโดษ ดังนี้ ก็จะอธิบายสันโดษได้ ถูกต้อง และจะปฏิบัติไปด้วยกันได้กับความเพียร สร้างความ ว่าไม่เหมาะสม ไม่ควรแก่ตน เพราะเป็นของดีเกินไป ก็สละให้ เจริญก้าวหน้าต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นอุปการะใน แก่ผู้ที่สมควร แสวงหาใช้แต่ที่พอเหมาะสมควร หรือเพราะเป็น สิ่งของที่ตนไม่ควรใช้สอย ด้วยเหตุว่าผิดวินัย (ส�ำหรับบรรพชิต) ทางอื่น เช่น ในทางประหยัด เป็นต้น ความปรารถนาที่มีลักษณะดังกล่าวมาทั้งหมด เป็น อาการของความโลภ ที่เป็นมูลแห่งอกุศลหรือแห่งทุจริตทั้งปวง สันโดษ . . . เป็ น ธรรมที่ ก� ำ จั ด ความโลภหรื อ ความปรารถนา ดังกล่าว บุคคลทุกคนไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ถ้าขาดสันโดษ . . . ก็เต็มไปด้วยความโลภหรือความปรารถนา

Photo by Ester Marie Doysabas on Unsplash 47 issue 114 juLY 2017


หรือเกินฐานะ (ส�ำหรับทั่วไป) ก็ไม่รับมาหรือสละไปเสีย แสวงหา ใช้สอยแต่ที่เหมาะสมที่ควรแก่ภาวะและฐานะ เป็นต้น และ ข้อนี้ย่อมหมายถึงแสวงหาแต่ที่พอเหมาะพอควรด้วย ล� ำ ดั บ ในการปฏิ บั ติ สั น โดษ สันโดษในความผิด คือระงับความคิดที่ฟุ้งซ่าน อยาก ได้โน้นได้นี่มากเกินไป มากไป หรือที่อยากได้ในทางผิดดังกล่าว พอใจในการใช้ความคิดในทางที่ถูกที่ควร สันโดษในการแสวงหา คือยินดีแสวงหาแต่สิ่งที่ควรจะ ได้ที่จะพึงบริโภคใช้สอยตามก�ำลังของตน และที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ เป็นต้น และในทางที่ถูกที่ควร สั น โดษในการรั บ คื อ รั บ แต่ สิ่ ง ที่ ค วรรั บ และรั บ พอ ประมาณ มิใช่ว่าเมื่อจะได้ หรือเมื่อมีผู้ที่จะให้ก็รับทุกอย่าง เพราะสิ่งที่จะได้เป็นสิ่งที่มีโทษก็มี เป็นสิ่งที่อาจเป็นโทษ เพราะ รับเกินประมาณไปก็มี ทั้งบุคคลที่จะให้อาจมีความปรารถนาใน ทางไม่ชอบก็มี เช่น ให้เพื่อหวังผลตอบแทนที่ยิ่งกว่า เมื่อรับแล้ว ก็ต้องท�ำธุรกิจให้เขาในทางที่ผิด ผู้ที่รักษาตนให้บริสุทธิ์จึงไม่ ยอมรับอะไรของใครง่ายๆ จะต้องพิจารณาว่าเขาให้ท�ำไมเพื่อ อะไร ถ้ารู้สึกว่าเป็นการให้ด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ยอมรับ ควรยินดีรับแต่ที่ควรรับ และที่ควรรับก็ควรรับแต่พอประมาณ ย่อมเป็นเหตุให้พ้นมลทินโทษเพราะการรับ สันโดษในการบริโภค คือ ยินดีบริโภคใช้สอยสิ่งที่ได้มา ด้วยการพิจารณาให้รู้ถึงประโยชน์ที่ต้องการ อันสิ่งที่ได้มานั้นจะ ต้องเป็นสิ่งที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง และเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ แล้วก็จะ ต้องมียิ่งหย่อนกว่ากันตามฐานะต่างๆ เช่น ฐานะแห่งทรัพย์ที่จะ ซื้อหา ถ้าขาดสันโดษในข้อนี้ ก็จะเกิดความปรารถนาอยากที่จะ

Photo by Joshua Earle on Unsplash

บริโภคใช้สอยแต่สิ่งที่ดีๆ เช่น อาหารที่ดี เครื่องนุ่งห่มที่สวยงาม ที่อยู่อาศัยที่ผาสุกและงดงาม นอกจากนี้ยังต้องการเครื่องบ�ำรุง ความสุข สะดวก เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อีกไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวได้ว่าความขาดสันโดษข้อนี้เป็นเหตุส�ำคัญประการหนึ่งที่ ต้องเป็นผู้ซื้อมากกว่า จริงอยู่ทุกๆ คนย่อมต้องการจะบริโภค ใช้สอยสิ่งที่ดีๆ และสวยงาม แต่ก็ต้องมีขอบเขตแห่งปริมาณ เป็นต้น คือทุกคนย่อมจะมีขอบเขตแห่งการได้มา มิใช่ว่าจะ สามารถได้ตามที่อยาก โดยปกตินั้นย่อมได้มาตามปริมาณแห่ง รายได้ มีรายได้น้อยก็ซื้อหามาได้น้อย มีรายได้มากก็อาจซื้อ หามาได้มาก แม้มีเงินแต่ไม่อาจจะซื้อหาได้ก็มีอยู่ไม่น้อย และ อาจบริโภคใช้สอยได้ตามปริมาณแห่งก�ำลัง เช่น บริโภคอาหาร ได้คราวละอิ่ม แต่ถึงจะมีอาหารมากมายเท่าไร ก็บริโภคให้เกิน กว่าอิ่มหนึ่งในคราวหนึ่งไม่ได้ บางคราวเป็นโรคอาจบริโภคไม่ได้ เครื่องนุ่งห่มก็ใช้ได้คราวละชุด ที่อยู่อาศัยถึงจะใหญ่โตเท่าไร ก็ อยู่จริงๆ คราวหนึ่งกว้างยาวเท่าขนาดของตนเอง ก�ำลังแห่งการที่จะบริโภคใช้สอยได้จริงๆ ของแต่ละคน จึงมีอยู่ไม่มากนัก และยังมีปริมาณแห่งความสมควรอีกประการ หนึ่ง ยกตัวอย่าง เครื่องบริโภคใช้สอย เช่น สิ่งนั้นสิ่งนี้จะ สมควรแก่ตนหรือไม่ จะต้องเป็นสิ่งที่ตนท�ำได้เอง หรือใช้ของ 48

IS AM ARE www.fosef.org


ได้เกณฑ์ดังกล่าวนี้ น่าจะน�ำมาใช้ได้ง่ายส�ำหรับทุกๆ คน สมมติ ว่าของสิ่งนี้ ว่าถึงรายได้และก�ำลังที่จะใช้สอยก็มีอยู่เพียงพอ แต่ จะสมควรหรือไม่ ก็ให้พิจารณาว่าจ�ำเป็นต้องมีหรือไม่ จะได้ ประโยชน์ทางการใช้อย่างไรบ้าง เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ถึงจะเก่า และอาจไม่งดงาม ก็ยังใช้ได้ ถึงจะได้มาอีกก็ไม่เกิด ประโยชน์ในการใช้ เพิ่มขึ้นเป็นแต่เพียงส�ำหรับอวด หรือเพื่อ สนองความอยากเท่านั้น เพียงเท่านี้ก็ตัดสินได้แล้วว่าไม่สมควร ถ้ายิ่งไม่เหมาะสมแก่ภาวะฐานะอย่างอื่นอีกก็รู้ได้ง่าย เว้นเสียแต่ จะระงับความอยากได้ที่เป็นตัณหาไม่ได้เท่านั้น

Photo by Joshua Earle on Unsplash

ฉะนั้น ความฟุ่มเฟือยเกินไป มากไปต่างๆ นั้น จึงอยู่ที่ความขาดสันโดษดังกล่าว เป็นผลเสียหายนับจากส่วนตัวไปหาส่วนรวม และ . . . จากส่วนรวมไปหาส่วนตัว ส�ำหรับผู้ที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนตัวเองต้องวิบัติ ยากจน ขัดสน ลงไป และผลอันนี้ก็จะต้องกระเทือนไปถึงส่วนรวมไม่ น้อยก็มาก เรียกว่าเป็นผลเสียหายนับจากส่วนตัวไปหาส่วนรวม ส่วนผู้ที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แม้ตนเองยังไม่วิบัติเพราะมีทรัพย์มาก แต่ก็เป็นเหตุให้ส่วนรวมยากจนลง ผลแห่งความยากจนของส่วน ที่คนอื่นท�ำก็ได้ คนเราบัดนี้ต้องใช้ของที่ผู้ท�ำกันเป็นส่วนมาก รวมย่อมกระเทือนถึงผู้ที่มั่งมี และใช้ความมั่งมีไปในทางที่ผิดนั้น จ�ำพวกที่ท�ำเองก็ท�ำเป็นบางอย่าง เช่นชาวนาก็ท�ำนาข้าว พวก ได้ เรียกว่า เป็นผลเสียหายจากส่วนรวมไปหาส่วนตัว ติดตามต่อฉบับหน้า ทอผ้าก็ท�ำผ้า พวกช่างก่อสร้างก็ก่อสร้างบ้านเรือน พวกหมอ ก็ท�ำยาพยาบาลไข้เจ็บ และพวกอื่นก็มีอาชีพอย่างอื่น เมื่ออยู่ รวมกันก็ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันใช้บ้าง ให้เป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์บูชากันบ้าง ฉะนั้น จะจ�ำกัดว่า จะต้องใช้เฉพาะสิ่ง ที่ตนเองท�ำเท่านั้นหาได้ไม่ ถ้าถือเช่นนั้น ไม่ได้ท�ำนาเอง ก็ไม่ ต้องบริโภคข้าวกันเท่านั้นเอง และจะถือประเทศถิ่นก็ไม่สะดวก อีก เพราะมีมากสิ่งที่อ�ำนวยประโยชน์ แต่ไม่มีในประเทศถิ่น ของตนเกณฑ์ที่จะพึงตัดสินว่า สมควรแก่ตนหรือไม่ จึงน่าจะ พิจารณาในทางอื่น ทางที่ จ ะพิ จ ารณาในที่ นี้ ก็ ค วรเป็ น ทางตามนั ย ที่ พระพุ ท ธเจ้ า ทรงแสดงไว้ คื อ ประโยชน์ ที่ จ ะพึ ง ได้ จ ากการ บริโภคใช้สอยสิ่งนั้นๆ ดังเช่นที่ตรัสสอนให้พวกภิกษุพิจารณา ในการบริโภคปัจจัย ๔ ตาม ประเภท เช่น บริโภคจีวรก็เพื่อ ปกป้องกันหนาวร้อน เพื่อปกปิดส่วนที่พึงละอาย เป็นต้น บริโภค บิณฑบาตก็เพื่อด�ำรงกายนี้ เพื่อที่จะท�ำความดีได้ เป็นต้น รวม ความได้ว่ามิใช่เพื่อเพิ่มพูนตัณหา การที่มีสิ่งของต่างๆ ไว้เพื่อ สนองความต้องการของร่างกายนั้นไม่มากมายอะไรนัก แต่การ ที่จะสนองตัณหานั้น จะต้องมีมากมายอย่างไม่อาจก�ำหนดเขต 49 issue 114 juLY 2017


50 IS AM ARE www.fosef.org


51 issue 114 july 2017


52 IS AM ARE www.fosef.org


53 issue 114 july 2017


54 IS AM ARE www.fosef.org


55 issue 114 july 2017


56 IS AM ARE www.fosef.org


57 issue 114 july 2017


13 ข้อคิด ‘แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีสุข’ สั ก กี่ ค นที่ อ ายุ 78 ปี แ ล้ ว จะสดชื่ น เบิ ก บานทั้ ง กายใจ อย่ า งที่ ดร.สุ เ มธ ตั น ติ เ วชกุ ล เลขาธิ ก ารมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา ด� ำ เนิ น ชี วิ ต อยู ่ ใ นเวลานี้ นอกจากชี วิ ต นี้ จ ะไม่ เ คยมี ค� ำ ว่ า “เกษี ย ณ” อุ ทิ ศ ตั ว ท� ำ งานอาทิ ต ย์ ล ะ 7 วั น แล้ ว ในวั น นี้ ข อง ดร.สุ เ มธ ยั ง คงแอ็ ก ที ฟ กระฉั บ กระเฉง แถมยั ง เดิ น ป่ า ไหว จนหลายๆ คนอดถาม ไม่ ไ ด้ ถึ ง เคล็ ด ลั บ การใช้ ชี วิ ต และนี่ คื อ 13 เคล็ ด ลั บ ดี ๆ ของการ “แก่ อ ย่ า งมี คุ ณ ภาพ ชราอย่ า งมี สุ ข ” จาก ดร.สุ เ มธ 58 IS AM ARE www.fosef.org


บทความพิ เ ศษ

1.อย่ า ลื ม เอาจิ ต ไปพั ก ผ่ อ นบ้ า ง หลายคนเมื่อเกษียณแล้ว มักใช้เวลาหาแต่ความสุขทาง “กาย” พากายไปเที่ยว ไปพักผ่อน ไปสูดอากาศ ไปกินอาหาร ดีๆ แต่กลับละเลยไม่คิดที่จะเอาจิตไปพักผ่อน ทั้งที่กายกับจิต นั้นสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกัน ดร.สุเมธ บอกว่า โดยส่วนตัว ทุกครั้งที่มีจังหวะได้พักผ่อนเว้นวรรคชีวิตนานๆ จึงมักถือโอกาส เอาจิตไปพักด้วยการบวช ครั้งล่าสุด บวชตอนอายุ 65 เป็นพระ สายวัดป่าอยู่ที่สกลนคร 2.ใช้ ชี วิ ต อย่ า งมี “สติ ” ไม่ว่าจะเป็นการมีสติในการกิน แทนที่จะกินตามใจปาก สนองความอยากของตัวเอง แล้วต้องให้หมอจ่ายยาลดไขมัน ลด น�้ำตาล ท�ำไมเราไม่ลองหันมาลดที่ “ปาก” ของตัวเอง ด้วยการ ใช้สติในการพิจารณาอย่างมีเหตุมีผลทุกครั้งในการกิน

3.น้ อ มน� ำ หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาใช้ ใ นการด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยมี “เหตุ ผ ล” เป็ น เครื่ อ งน� ำ ทาง เหตุผลเป็นผลผลิตของปัญญา ดังนั้น จึงต้องรักษาศีล เสียก่อน และมีสติ สมาธิ ผลสุดท้ายจะท�ำให้เกิดการพิจารณา โดยใช้ปัญญาเป็นที่ตั้ง เมื่อด�ำเนินทุกอย่างด้วยเหตุด้วยผล ก็จะ เกิดความพอเพียง 4.ฝึ ก การให้ โ ดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน ด้ ว ยหลั ก “ทาน” ของทศพิ ธ ราชธรรม เกษียณแล้ว อย่าเอาแต่อยู่บ้านเฉยๆ แต่ให้พยายาม หาเรื่องช่วยคนโน้นคนนี้ เท่าที่ร่างกายของเราจะท�ำได้ รักษา ร่างกายให้แข็งแรง เพื่อท�ำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 5.ฝึ ก ระลึ ก ถึ ง “มรณานุ ส ติ ” ใครๆ ก็ตายได้ ไม่ว่าใครก็ต้องเจอความตายเท่าเทียม กันหมดทุกคน เมื่อมองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดา จะท�ำให้ เรานิ่งกับความตาย 59 issue 114 juLY 2017


6.อยู ่ อ ย่ า งสง่ า ตายอย่ า งสงบ ตอนมีชีวิตอยู่ต้องมีความสง่างามในตัวเอง ทุกอย่างต้อง ช่วยเหลือตัวเองได้ ใครเห็นก็ให้ความเคารพนับถือ และเมื่อถึง เวลาตายก็ตายอย่างสงบ อย่าไปกลัวความตาย จะยิ่งใหญ่แค่ ไหน เมื่อตายแล้วเกียรติยศเงินทองสะสมไว้แค่ไหนก็ต้องส่งคืน หมด สิ่งเดียวที่เหลือไว้ คือ ความเป็นตัวตนของเรา ถ้าประกอบ คุณงามความดีไว้คนก็ยังนึกถึง แต่ถ้าประกอบความชั่วไว้มาก คนก็ยังด่าทอไปจนถึงลูกหลาน

9.อวิ โ รธนะ คื อ การด� ำ รงอยู ่ ใ นความถู ก ต้ อ งเสมอ เป็นหลักทศพิธราชธรรมที่ต้องรักษาให้มั่น หากอยาก ปฏิบัติตามในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยยึดหลักธรรมะที่ต้องมีทั้ง สองอย่าง คือ ทั้งความดีและความถูกต้อง เพราะบางอย่างดี แต่ไม่ถูกต้อง บางอย่างถูกต้องแต่ไม่ดี การกระท�ำของเราต้อง ตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เป็นธรรมหรือเปล่า นั่นคือ ดีและถูก ต้องหรือเปล่า

10.รั ก ษากายและจิ ต 7.ร่ า เริ ง รื่ น เริ ง คึ ก คั ก ครึ ก ครื้ น ผู้สูงอายุต้องรักษากายให้ดี เพราะเงินทองไม่มีประโยชน์ คาถาที่ว่านี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งเสมอ เพราะ เอาแค่พอเพียงต่อชีวิตความเป็นอยู่ ที่เหลือเป็นส่วนเกินที่เราไม่ จิตเป็นเรื่องส�ำคัญ ต้องมีอารมณ์ขันอยู่ตลอดเวลา มองเห็นทุก ได้ใช้ เรื่องจิตก็ส�ำคัญเช่นกัน ต้องโปร่งใส อย่าไปขุ่นมัวโดยที่ไร้ อย่างเป็นเรื่องสนุก จึงจะสามารถท�ำงานได้ส�ำเร็จรวดเร็วและมี ประโยชน์ ค�ำนึงไว้ว่า เวลาอยู่ในโลกนี้สั้นแล้ว ดังนั้น อย่าเสีย ประสิทธิภาพ เมื่อตัวเราร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศรอบ เวลาเป็นทุกข์ แต่ให้ Enjoy last minute ตัว คนรอบข้างที่อยู่กับเราก็รื่นเริงไปด้วย 11.อย่ า หยุ ด ท� ำ งาน 8.อั ก โกธะ หรื อ ความไม่ โ กรธ เกษียณแล้ว อย่าเอาแต่นั่งๆ นอนๆ เพราะเมื่อไหร่ที่ เป็นอีกหลักข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรม เพราะเมื่อโกรธ เราหยุดท�ำงาน ร่างกายของเราก็จะหยุดตามลงไปด้วย เหมือน แล้ว มักจะเสียหายหากคุมอารมณ์ไม่อยู่ในเรื่องไร้สาระ เมื่อ รถที่จอดเฉยๆ สตาร์ตไม่ติด ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งว่า ไหร่ก็ตามที่มีเรื่องมากระทบใจ แค่ลองพลิกอารมณ์มองให้เห็น อย่าหยุดด้วยจิต และกายก็อย่าหยุดด้วย ท�ำให้ ดร.สุเมธ ยังคง เป็นเรื่องสนุกๆ เท่านี้ทุกอย่างก็จบ ท�ำงานทุกวัน ส่งผลให้แข็งแรงจนถึงวันนี้ 60 IS AM ARE www.fosef.org


12.ใช้ ชี วิ ต โดยรั ก ษาความเป็ น ธรรมดาเอาไว้ อย่ายึดติดยศถาบรรดาศักดิ์ แต่ให้ท�ำชีวิตอยู่อย่างธรรมดา เรียบๆ ง่ายๆ เพราะจะยิ่งใหญ่มาจากไหน เกษียณแล้ว ทุกอย่าง สูงสุดคืนสู่สามัญ ไม่ต้องเป็นวีไอพีหรอก เพราะจะเป็นวีไอผีอยู่แล้ว 13.ยึ ด ถื อ ค� ำ ว่ า “ประโยชน์ สุ ข ” เป็ น เป้ า หมายของชี วิ ต อะไรไม่มีประโยชน์อย่าท�ำ อย่าคิดท�ำ ให้ท�ำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ผลสุดท้ายสิ่งที่เราจะได้รับคือความสุข แง่คิดดีๆ จาก ดร.สุเมธ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า คุณค่าและความสุขในชีวิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขอายุ แต่อยู่ที่ไลฟ์สไตล์ และหัวใจที่ไม่มีค�ำว่าเกษียณ ... ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “สูงวัยอย่างมีคุณค่า น้อมพัฒนาเศรษฐกิจพอ เพียง” ในงานประชุมวิชาการประจ�ำปีที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) “ประชารัฐ ร่วมใจ สู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ” จาก สสส.

61 issue 114 juLY 2017


62 IS AM ARE www.fosef.org


63 issue 114 juLY 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


ก้าวเดิน ด้วยความพอเพียง

การที่ ต� ำ บลต้ น ยวนเป็ น ภาคี ง านพัฒ นากับ ปตท. เคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว รวมทั้งมีกิจกรรม การพัฒนาที่เป็นต้นทุนอยู่แล้วส่วนหนึ่งตามจุดเด่น ในแต่ ล ะพื้ น ที่ แต่ ก ลุ ่ มแกนน� ำ ในพื้ น ที่ มีลักษณะที่ ต่างคนต่างท�ำ บทบาทหน้าที่ขององค์กร การเชื่อม โยงบู ร ณาการเข้ า ด้ ว ยกั น ในภาพรวมยั ง มี อ ยู ่ น ้ อ ย เช่น ส่วนท้องที่ เน้นงานด้านยาเสพติด งานด้าน การอนุรักษ์ป่า การเข้าสู่โครงการฯ จึงเริ่มจากการ ท� ำ ความเข้ า ใจในพื้ น ที่ จ นเกิ ด การยอมรั บ ถึ ง ความ พร้ อ มและศั ก ยภาพของชุ ม ชน จึ ง ท� ำ ให้ ต� ำ บลต้ น ยวนเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิ ถี พ อเพี ย ง โดยมี ก ารคั ด เลื อ กและสรรหาคณะ กรรมการอย่างเป็นทางการ หมู่บ้านละ 2 คน รวม ทั้งหมดโครงการฯ 24 คน ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผู้น�ำที่เป็นทางการทั้งก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สามชิกอง ค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดวางบทบาทตาม โครงสร้างที่โครงการฯ ก�ำหนด เพื่อเริ่มด�ำเนินตาม แผนงานที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ทั้ง การจัดการป่าชุมชนและภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพร การจั ด การขยะ และการเน้ น ย�้ ำ หลั ก คิ ด ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงในเบื้องต้น

กลไกการขับเคลื่อน

จากกระบวนการขั บ เคลื่ อ นในรู ป แบบของ คณะกรรมการโครงการฯ ที่ เ ป็ น ทางการ พบว่ า สามารถจุดประกายความสนใจให้แก่สมาชิกในชุมชน เป็นอย่างมากและเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์โครง การฯ ในพื้นที่ โดยในช่ ว งแรกของการขั บ เคลื่ อ นงาน บุญทัน บุญชูด�ำ เป็นผู้ที่มีบทบาทหลัก เนื่องจาก มีประสบการณ์ในการท�ำงานเชิงพัฒนา ในขณะที่ แกนน�ำคนอื่นๆ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในหลัก การด�ำเนินโครงการฯ ส่งผลให้ไม่สามารถขับเคลื่อน กิจกรรมไปได้ตามเป้าหมาย ท�ำให้ในช่วงปลายปี พ.ศ.2552 มีการเปิดเวทีสรุปบทเรียนการท�ำงานพบ ว่า แกนน�ำส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจต่อหลักการ โครงการฯ จึงน�ำปสู่การปรับคณะท�ำงานใหม่ โดยมุ่ง 65 issue 114 juLY 2017


ท�ำงานบนพื้นฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ จึงมองเห็น ความแตกต่างของโครงการฯ ที่ให้ความส�ำคัญในการด�ำเนินงาน มากกว่าความส�ำเร็จ วิสุทธ์ สรรพา จึงสามารถขับเคลื่อนต�ำบล ไปสู่ความเป็นต้นแบบแห่งความพอเพียง จากกระบวนการขับเคลื่อนนี้เอง สามารถจุดประกาย ความสนใจให้แก่สมาชิกในชุมชนเป็นอย่างมาก มีการรายงาน สถานการณ์ขับเคลื่อนงานในการประชุมระดับหมู่บ้าน รวมถึง ในระดับอ�ำเภอ นอกจากนั้น ยังมีภาคีทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล มาเข้าร่วมเป็นก�ำลังหลักเพื่อขับเคลื่อน โครงการฯ ร่วมกัน

เน้นไปที่ผู้มีจิตอาสาทั้งที่เป็นผู้น�ำและเชิญชวนปราชญ์ชาวบ้าน ครัวเรือนพอเพียงอาสา เข้าร่วมในการขับเคลื่อน ท�ำให้สามารถ ด�ำเนินงานต่างๆ ได้ดีขึ้น จนกระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการโครง การฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายทั้งระดับโซนและ ระดับภาค ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อน�ำมาปรับในการวางแผน งานต่างๆ อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยสอดคล้องกับเป้าหมาย และเวลา จึงมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความถนัด โดยมี ทีมงานของตนเอง เกิดการด�ำเนินงาน แบบองคาพยพ กล่าว คือ สามารถด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ไปได้พร้อมกัน ในการคัดเลือกคณะกรรมการโครงการฯ นั้น ได้มีมติ เลือก วิสุทธ์ สรรพา เป็นประธานฯ และมี บุญทัน บุญชู เป็น เสมือนที่ปรึกษา ในช่วงแรกจากความไม่เข้าใจในหลักการของ โครงการฯ ท�ำให้วิสุทธ์ไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้ แต่หลังจาก ผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงกลาย เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักที่ส�ำคัญ และด้วยความเป็นผู้ที่มีจิตอาสา 66

IS AM ARE www.fosef.org


แบบอย่างให้กับชุมชน โดยมีการศึกษาดูงานกลุ่มการท่องเที่ยว ต่างๆ เพื่อขยายผลและเห็นแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มการ ท่องเที่ยว ชุมชนอย่างเป็นรูปแบบ รวมถึงการฝึกอบรมอาสา สมัครพิทักษ์ป่า การปรับปรุงภูมิทัศน์ป่าชุมชนให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวและการเรียนรู้ การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ จัดการธนาคารต้นไม้ การสร้างแปลงเพาะช�ำกล้าไม้เพื่อการ เรียนรู้ จากกระบวนการเรียนรู้และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผล สืบเนื่องจากกระบวนการที่ชุมชนมีการวิเคราะห์ทุนศักยภาพ ของชุมชนที่จะท�ำให้คนในพื้นที่ได้เรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่า ของทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่นอกจากนั้น เป็นการเชื่อมโยงไปสู่ การจัดการเรื่องอื่นๆ ทั้งในเรื่องของ คน พลังงานทดแทน หรือ แม้แต่วิถีชีวิตของคนในชุมชน

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

การท่องเที่ยวการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน ในการสนุบสนุนการด�ำเนินงานเพื่อสร้างความรู้ การ เรี ย นรู ้ ข องต� ำ บลต้ น ยวนด้ า นทรั พ ยากรและการท่ อ งเที่ ย ว เป็นการสร้างจิตส�ำนึกให้ชาวบ้านเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ ของการจัดการป่าชุมชนอย่างแท้จริง จากการหนุนเสริมของ โครงการฯ จึงเริ่มจากการอบรมคณะกรรมการบริหารกลุ่มการ ท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการและสร้าง คนรุ่นใหม่ให้รู้ถึงการอนุรักษ์ป่า เป็นการพึ่งพาตนเองและเป็น

67 issue 114 juLY 2017


โรงเรียนต้นแบบวิถีพอเพียง

จากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล วิรัตน์ สาริรัตน์ เจ้าของโรงเรียนอนุบาลเปี่ยมรักษ์ มองเห็นเยาวชนในปัจจุบันที่ลืมเรื่องราว และ รากเหง้าของชุมชน และระบบการศึกษาในปัจจุบันที่ก�ำลังสอนให้คนลืมบ้านเกิด จึงได้เปิดโรงเรียนอนุบาลเปี่ยมรักษ์ระดับประถม ศึกษาในช่วงปี พ.ศ.2550 โดยมีหลักคิดให้นักเรียนได้เรียนอย่างเป็นธรรมชาติ ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงเชื่อมโยงการ เรียนการสอนและสอดแทรกความรู้ต่างๆ อีกทั้งมีการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนทั้งกีฬาและกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ท้องถิ่น ซึ่งได้สร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียนในแบบบูรณาการไปกับการเรียนการสอนของโรงเรียน นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมทางสังคมด้วยการน�ำนักเรียนเข้าวัด เรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนา และฝึกฝนการเป็นพิธีกรทางศาสนาให้กับนักเรียน อีกด้วย

68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 114 juLY 2017


70 IS AM ARE www.fosef.org


ส�ำหรับการเข้าไปหนุนเสริมของโครงการฯ คือ การ ให้โรงเรียนอนุบาลเปี่ยมรักษ์ เป็นฐานส�ำคัญในการสร้าง การเรียนรู้ในเชิงประเพณีวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ ต�ำบลต้นยวนผ่านกิจกรรมต่างๆ มีเยาวชนในพื้นที่สนใจ เป็ น จ� ำ นวนมาก โดยครู ที่ โรงเรี ย นเป็ น ผู ้ ส อนโครงการฯ สนับสนุนอาหารระหว่างการเรียนการสอนเกิดการเรียนรู้ วัฒนธรรมดั้งเดิมในท้องถิ่น เช่น การตีกลองยาว การร�ำ มวยไทย รวมทั้งการเล่นเครื่องเล่นดนตรีไทยต่างๆ เป็นต้น และเกิดผลสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งเน้น ในการสร้างจิตส�ำนึกการรักษ์ถิ่น และเชื่อมโยงไปสู่การ พัฒนาเยาวชนในชุมชน เพื่อเป็นก�ำลังหลักที่จะไปช่วยหนุน เสริมคนรุ่นเก่าในการพัฒนาชุมชนต�ำบลต้นยวนท�ำให้เกิด การเรียนรู้และสืบทอดแนวคิดต่างๆ ให้คงอยู่ต่อไป

71 issue 114 juLY 2017


“รักต่างวัย ท�ำอย่างไรจะไปรอด?”

“อาจารย์ ค ่ ะ เรื่ อ งมี ดั ง นี้ ค ่ ะ หนู มี แ ฟนแก่ ก ว่ า 15 ปี ค ่ ะ เค้ า มี ธุ ร กิ จ ส่ ว นตั ว มี ลู ก 2 คน หย่ า กั บ ภรรยา มา 6 ปี ไ ด้ แ ล้ ว ค่ ะ ตอนนี้ เ ขาอายุ 42 ปี ส่ ว นหนู ท� ำ งานบริ ษั ท ค่ ะ อายุ 25 ปี ปั ญ หาของเราเกิ ด ขึ้ น จาก เวลาที่ หนู ท� ำ ใจไม่ ไ ด้ ไม่ ค ่ อ ยพอใจเวลาเค้ า ไปหาลุ ก หลั ง ๆก็ พ ยายามท� ำ ใจยอมรั บ ว่ า เค้ า พ่ อ ลู ก กั น แต่ พอหนู อ ธิ บ ายความรู ้ สึ ก ให้ เ ค้ า ฟั ง บ้ า งว่ า หนู อ ยากใช้ เ วลาอยู ่ กั บ เค้ า ให้ ม ากกว่ า นี้ เค้ า ก็ บ อกว่ า การที่ อ ยู ่ ด้ ว ยกั น ทุ ก วั น แล้ ว ไง Photo by Anne Edgar on Unsplash 72 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่องใจ แต่ความรู้สึกของหนู หนูอยากมีกิจกรรมนอกบ้านที่ท�ำ ร่วมกันกับวันหยุดเค้าค่ะ! พอพูดแค่นี้ เค้าก็มีอารมณ์ไม่ค่อย พอใจบอกว่า เขาเบื่อ เบื่อที่ต้องทะเลาะกัน เบื่อปัญหาเดิม ๆ เบื่อชีวิตคู่! พอหนูถามว่าอยากจะเลิกเลยรึเปล่า เขาบอกว่าก็อาจจะ เพราะหนูไม่เคยเข้าใจเค้าเรื่องลูก ระยะหลังมานี่ ภรรยาเก่าเขา ก็เอาเรื่องโน่น เรื่องนี้มาปรึกษาเขา คุยกันเป็นเรื่องเป็นราว แล้ว ก็ต้องมาขอความช่วยเหลือว่าให้ไปไกล่เกลี่ย ปัญหาให้ จองตั๋ว เครื่องบินให้ลงใต้ไปเครียร์ปัญหา ระยะหลังภรรยาเก่าเขาก็อาจจะเลิกกับสามีใหม่แล้ว หนูควรท�ำอย่างไรค่ะ หนูรู้สึกอึดอัดค่ะ ค�ำพูดที่เขาพูดกับหนู ว่าเบื่อ มันยังดังก้องในหู ใครบอกว่ามีแฟนแก่กว่าดี ที่ไหนได้ หนุเจอมาไม่ใช่เลยค่ะ เขาเป็นคน ไม่หวาน ไม่โรแมนติก เรื่องบนเตียง อาทิตย์ ละครั้งเองค่ะ ไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน พูดอะไรไม่ค่อยถนอมน�้ำใจ จนบางครั้งหนูว่า เขาเห็นแก่ตัวเรื่องลูกจริงๆค่ะ หนูเหงา บอก เขา เขาก็บอกโตแล้วไม่เหงาหรอก เขากลับบ้านดึกทุกวันค่ะ อาจารย์

กลับบ้านมาหนูก็หลับแล้ว ตื่นสายไปท�ำงานเพราะธุรกิจ ตัวเอง แต่หนูต้องตื่น ตี 5 บางทีหนูก็ไม่รู้จะทนท�ำไม แต่เพราะ ที่ผ่านมาเจอแต่คนไม่ดี ค่ะ พอมาเจอเขา เขาก็ไม่เจ้าชู้ ค่ะ แต่ ปัญหาที่มากระทบหนูก็เรื่องลูก กับภรรยาเก่าเขา ที่ยังต้องมา ขอให้เขาช่วย หนูควรท�ำอย่างไรดีค่ะอาจารย์ เรื่องเงิน ไม่เคย มีปัญหาค่ะ เขาช่วยหนูตลอด หรือหนูยังโตไม่พอค่ะอาจารย์ แล้วหนูควรท�ำอย่างไรดี หรือหนูควรนิ่งคะ ถามว่ารักเขาไหม ก็รักค่ะ!” อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ท�ำให้คิดถึงเรื่องราวของ นาย แอมมานูแอล มาครง ผู้เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี คนใหม่ของประเทศฝรั่งเศสด้วยวัยเพียง 39 ปี ซึ่งไม่เคยปรากฏ มาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศนี้ แต่เรื่องราว ส่วนตัวของเขากับภรรยา นางบริจิตต์ โทรนเญอซ์ อายุ 64 ปี ผู้หญิงที่เขาเลือกเป็นภรรยาซึ่งเป็นแม่หม้ายที่มีวัยสูงกว่าเขาถึง 24 ปี กลับเป็นเรื่องที่สร้างความประทับใจให้กับผู้คนอีกมากมาย ทั่วโลก โดยเฉพาะกับผู้หญิง ที่ผ่านมาในสังคมไทย การที่หญิงสาวจะแต่งงานกับชาย แก่ ถือเป็นเรื่องธรรมดา ดูเหมือนความสวยสดใสของเธอจะ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้สามีดูมีสง่าบารมีขึ้น ดูอย่างกรณีนาย ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาที่เคียงข้าง ด้วยภรรยาสาว(คนที่สาม) ก็ช่วยให้เขาดูสดชื่นกระชุ่มกระชวย 73

issue 114 juLY 2017


เวลาที่ผ่านไป เด็กหนุ่มคนนั้นก็ได้พิสูจน์ความรักและความหนัก แน่นมั่นคงของเขาที่มีต่อเธอตลอดเกือบ 15 ปีหลังจากนั้ ทั้งสอง แต่งงานกันในปีพ.ศ. 2550 เมื่อเขาอายุ 29 ปีส่วนเธออายุ 54 ปี และวันนี้หลังจากแต่งงานอยู่กินกันมากกว่าสิบปี Emmanuel Magron ก็ท�ำให้เธอกลายเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของ ประเทศฝรั่งเศส หรือความจริงคือ เธออาจเป็นคนท�ำให้เขาได้ เป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดของประเทศฝรั่งเศสก็ได้ นั่น เป็นเรื่องที่โรแมนติกยิ่งกว่าเทพนิยายรักใด ๆในโลกนี้! แน่นอน...เมื่อคนสองคนที่มีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งวัยและประสบการณ์ การเดินทางร่วมกันบนถนนสายนี้ ถนน สายที่ขัดแย้งต่อต้านไม่เห็นด้วยของสมาชิกในครอบครัวของทั้ง สองฝ่าย ถนนสายที่มีขีดข้อจ�ำกัดทางกฎหมายที่ทั้งสองต้องเดิน ด้วยความระมัดระวัง ท่ามกลางความทะเยอทะยานที่จะเดินไป สู่เป้าหมายทางอาชีพ... มันใช่เรื่องง่าย หรืออาจท�ำให้ปัญหาของ ผู้คนอีกมากมายในลักษณะนี้กลายเป็นเรื่องเล็กไปได้! กรณีของหญิงสาวข้างบนนี้ (อาจสะท้อนภาพผู้หญิง

แ น ่ น อ น . . . เ มื่ อ ค น ส อ ง ค น ที่ มี ค ว า ม แ ต ก ต ่ า ง กั น มากมายทั้ ง วั ย และประสบการณ์ การเดิ น ทางร่ ว ม กั น บนถนนสายนี้ ถนนสายที่ ขั ด แย้ ง ต่ อ ต้ า นไม่ เ ห็ น ด้ ว ยของสมาชิ ก ในครอบครั ว ของทั้ ง สองฝ่ า ย ถนน สายที่ มี ขี ด ข้ อ จ� ำ กั ด ทางกฎหมายที่ ทั้ ง สองต้ อ งเดิ น ด้ ว ยความระมั ด ระวั ง ขึ้นกว่าตอนที่เดินอยู่ตามล�ำพัง แต่ในกรณีชายหนุ่มกับหญิง สูงวัย แทบจะไม่เคยเป็นข่าวหรืออยู่ในสายตาของผู้คนทั่วไป จนดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครต้องการจะพูดถึง หรือเป็น เรื่องที่เป็นไปไม่ได้! ข่าวเล่าว่า เมื่อครั้งที่ “มายมาครง” อายุได้ 15 ปี ในชั้น เรียนที่อดีตครูที่สอนเขาหรือภรรยาในปัจจุบันยืนสอนอยู่หน้า ชั้น เขาได้เดินตรงไปหาเธอแล้วกล่าวว่า “วันหนึ่งผมจะแต่งงาน กับคุณ !” ไม่มีใครเชื่อว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ในขณะนั้นเขา อายุ 15 ปี ส่วนครูสาวอายุ 39 ปีมีสามีและลูกอีกสามคน แต่วัน 74

IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 114 juLY 2017


หากภรรยาใหม่ไม่เข้าใจ ยอมรับไม่ได้ ปัญหาย่อมจะเกิดขึ้นกับ ตัวเธอ นั่นคือความรู้สึกผิดหวัง! ส�ำหรับผู้หญิงวัย 25 ปี การแต่งงานเป็นการเริ่มต้น เดินทางบนเส้นทางของความฝัน เหมือนนกน้อยตัวเล็ก ๆ ที่ เพิ่งออกจากอกพ่อแม่มาผจญภัย อยากจะได้ดูโลกกว้าง อยาก ลอยละลิ่วเล่นลม โดยไม่ได้ระแวดระไวกับความเป็นไปของ คนอีกมากมาย ทั้งอาจไม่ระแวงภัยรอบ ๆ ตัวโดยเฉพาะเมื่อ แต่งงานกับชายสูงวัยที่ดูคล้าย “พญานก” ที่เธอคาดว่าเขาจะ สามารถปกป้องคุ้มครองและดูแลเธอให้มีความสุข สนุกสนาน และปลอดภัยได้บนฟากฟ้ากว้าง โดยมองไม่เห็นชัดเจนถึงความ แตกต่างระหว่างวัย โดยเฉพาะ “นกใหญ่” ย่อมอยู่สูงแสนไกล จะให้บินต�่ำลงมามาก ๆ คงยากสักหน่อย จ�ำเป็นที่นกเล็กจะ ต้องฝึกบินให้สูงขึ้น เพื่อจะได้พบกันครึ่งทาง จะได้ช่วยเหลือ ประคับประคองบินไปด้วยกันได้ นั่นคือในฐานะภรรยาวัยสาว ขณะที่สามีมีฐานะพอที่จะส่งเสียดูแลให้ความสะดวกสบายกับ ภรรยาใหม่ได้ เธอก็จะต้องท�ำหน้าที่เป็นผู้ให้ความเข้าใจ ให้การ บริการ รับรู้ รับฟังปัญหาของเขาด้วย ศึกษานิสัยใจคอของสามี ว่าเขาคิดและต้องการอะไร การจะเรียกร้องให้เขาต้องท�ำในสิ่งที่ เขากับภรรยาก่อนเคยท�ำมาแล้ว เช่นมีเวลาแสดงความรักอ่อน หวานเอาอกเอาใจ ฯ บางทีฝ่ายชายในคนที่เคยผ่านชีวิตคู่มา

ทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน) จะเห็นว่าการที่หญิงสาวคนหนึ่ง แต่งงานกับชายสูงวัยกว่า เธอย่อมคาดหวังการรักใคร่เอาใจใส่ การเอาอกเอาใจดูแลอย่างใกล้ชิดทนุถนอม เธออยากให้เขามี เวลาให้กับเธอนาน ๆ ในแต่ละวัน ได้ใช้เวลาท�ำกิจกรรมร่วม กัน ท�ำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองส�ำคัญ มีคนคอยให้บริการให้ความ สะดวกสบาย ให้การปกป้องคุ้มครองเหมือนเธอเป็นเจ้าหญิง น้อย ๆ และ ที่ส�ำคัญคงจะดีมาก ๆ หากฝ่ายชายจะมีฐานะการ เงินที่ดีพอสมควร เพราะส่วนใหญ่คู่สมรสที่อยู่ในวัยเดียวกันก็ ต้องช่วยกันท�ำมาหากินสร้างฐานะ กว่าจะถึงวาระของความ มั่งคั่งสะดวกสบาย ทั้งสองฝ่ายก็อาจหมดแรง ในขณะที่ภรรยา อาจหมดความสนใจฝ่ายชายต่อไป เขาก็อาจต้องการสาว ๆ อ่อน วัยไว้ออดอ้อนออเซาะให้หัวใจชายสูงวัยกระชุ่มกระชวยอีกครั้ง นั่นคือความต้องการของภรรยากับสามีในแต่ละคู่ ยังจะมีความ แตกต่างกันในรายละเอียดอีกมาก ในกรณีนี้ที่เห็นชัดเจนคือ ฝ่ายชายหย่าขาดกับภรรยา คนแรก แต่ยังส่งเสียเลี้ยงดูลูกอีกสองคน และถึงจะหย่าขาดจาก กัน และฝ่ายหญิงมีสามีหรือคู่สมรสใหม่แล้ว แต่ทั้งสองยังรักษา ความเป็นเพื่อนสนิทในการจะพูดคุยปรึกษาเรื่องลูก เรื่องส่วน ตัวในฐานะคนวัยเดียวกัน รู้ใจคุ้นเคยกันและอาจจะจะมีอาชีพ เดียวกันมาก่อน การหย่าขาดจึงไม่อาจตัดสัมพันธ์อันยาวนาน ในฐานะ “เพื่อน และการเป็นพ่อแม่ของลูกอีกสองคนได้” และ

ผู ้ ค นมากมายกล่ า วไว้ เ สมอว่ า ความรั ก เป็ น ความ สวยสดงดงาม เหมื อ นกุ ห ลาบแรกแย้ ม แห่ ง ฤดู ใ บไม้ ผลิ เป็ น ความมหั ศ จรรย์ ข องชี วิ ต ที่ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด ทุ ก อย่ า งบนโลกนี้ ความรั ก เป็ น เหตุ ผ ลของการมี ชี วิ ต อยู ่ และความรั ก คื อ มงกุ ฎ ทองที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ช ายธรรมดา กลายเป็ น พระราชา

76 IS AM ARE www.fosef.org


ค�ำพูดประชดประชันมักมุ่งตรงไปที่ “ผู้หญิงรวยเท่านั้นจึงจะหา ผู้ชายหนุ่มหรือสามีหนุ่มได้!” นั่นคือหากเธอไม่รวยจริง ก็คงไม่มี หนุ่มที่ไหนจะสนใจผู้หญิงเหี่ยวแก่คราวแม่ได้!” หรือผู้ชายที่ แต่งงานกับผู้หญิงที่อายุสูงกว่ามาก ๆ ก็เพราะเงินของเธอเท่านั้น เราจึงเปรียบเทียบคู่สมรสระหว่างชายหญิงสูงวัยแตกต่างกัน มากว่า “หนูตกถังข้าวสาร!” นั่นคือถือว่า ฝ่ายหนึ่งโชคดีที่ไม่ ต้องท�ำมาหากินเพราะคู่สมรสรวยอยู่แล้ว หรือการที่ชายหนุ่ม จะแต่งงานกับหญิงสูงวัยนั้นก็เพียงเพราะ “เพื่อเงิน” เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นถึงทั้งสองฝ่ายจะมีใจให้แก่กันจริง ๆ ก็ไม่บ่อยนักที่ จะเห็นความกล้าหาญของทั้งสองฝ่ายในการก้าวออกมาให้อยู่ใน สายตาของผู้คนในสังคม แม้จะเป็นสังคมตะวันตกก็ตาม กรณี ข องประธานาธิ บ ดี เอมมานู เ อล มาครง ของ ประเทศฝรั่งเศสขณะนี้ เส้นทางรักของ “นายมาครง” เริ่ม ขึ้นด้วยวัยเพียง 15 ปีที่เขายืนมองครูสาววัยเกือบสี่สิบปีด้วย หัวใจที่เปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ผู้หญิง คนนี้แหละที่เขาจะเลือกขอแต่งงานในวันหนึ่งข้างหน้า คือเขา “เลือกแล้ว” ตั้งแต่อายุ 15 ปี ท่ามกลางการคัดค้านต่อต้านของ ครอบครัวทั้งสองฝ่าย แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งความหนักแน่นมั่นคง ในจิตใจของเด็กหนุ่มคนนั้นได้ ซึ่งสะท้อนความกล้าหาญ ความ มุ่งมั่น และความเชื่อมั่นเป็นตัวตนของเขาในวันนี้ วันที่เขากลาย

แล้ว เขาก็อาจเบื่อหน่ายและไม่สนใจการกระท�ำเช่นนั้นต่อไป แต่หากฝ่ายหญิงต้องการ ก็ต้องเริ่มท�ำให้เขารู้สึกสบายใจและ ไม่ร�ำคาญ โดยเฉพาะเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ และต้องการให้เธอเป็น ผู้ใหญ่ด้วย เธอก็ต้องโตไปกับเขาบ้าง เพื่อให้เขารู้สึกว่ามีเพื่อน ที่พูดคุยกันรู้เรื่อง การที่สามียังพบปะพูดคุยปรึกษากับภรรยาเก่า ในเรื่อง ส่วนตัวเรื่องลูก ๆ เพราะเขาเคยอยู่กินคุ้นเคยกันมาก่อน เคยท�ำ หน้าที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน เคยมีความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน มี ความเคารพในกันและกัน ถึงเลิกร้างกันไปเขาก็ยังคงความเป็น เพื่อนไว้ ไม่เสียหาย ไม่ใช่เรื่องที่ภรรยาใหม่จะต้องไปหึงหวง หรือแสดงความเป็นปรปักษ์ ตรงกันข้ามกลับต้องแสดงความ เป็นมิตร ให้ความเคารพและปฏิบัติต่อเธอและลูก ๆ ด้วยความ สุภาพและมีเมตตา จะเห็นได้ว่า แม้เป็นภรรยาสาวที่มีความสาวสดสวยเป็น จุดเด่น ก็ใช่ว่าเส้นทางนี้จะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป แต่ด้วย วัยที่อ่อนกว่าฝ่ายชายมาก ความผิดพลาดบกพร่องก็อาจถูกมอง ข้ามไปได้ด้วยตัวเธอเอง และคนรอบด้านโดยเฉพาะหากฝ่าย ชายรักหลงเธอมากจนมองไม่เห็นความแตกต่างใด ๆ ในขณะที่ กรณีผู้หญิงสูงวัยจะแต่งงานหรืออยู่กินกับชายหนุ่มรุ่นเด็กกว่า มากนั้น ดูจะไม่เป็นที่ยอมรับหรือถูกมองว่าไม่ปกติตั้งแต่เริ่มต้น

77 issue 114 juLY 2017


ลูกในวัย 39 ปีเธอจะเชื่อค�ำพูดของเด็กหนุ่มคนนั้นหรือ? หรือว่า เธอเองก็ต้องมนต์เสน่หาเช่นเดียวกับเขา หรือเพราะจิตวิญญาณ ของความเป็น “แม่” ที่ท�ำให้เธอยอมรับเขาไว้ด้วยใจเมตตา เป็น ไปได้หรือเปล่าที่ฝ่ายหญิง เริ่มต้นที่ความรักใคร่เมตตาเหมือนครู รักนักเรียนคนหนึ่ง หรือเหมือนที่แม่จะรักลูกของเธอเอง จากนั้น จึงพัฒนาไปเป็นความรักของหญิงชาย! เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ในความเป็นผู้หญิงไม่ว่าจะอยู่ ในวัยใด เธอย่อมมีสันชาติญาณของความเป็นแม่อยู่แล้ว จึง เป็นไปได้ที่ความสัมพันธ์ระหว่างนายมาครงและภรรยา จะมี ทั้งความรักฉันหญิงชายและเป็นความรักใคร่ผูกพันฉันท์แม่กับ ลูกชาย ซึ่งนับเป็นความโชคดีของทั้งสองฝ่ายที่สามารถใช้วัยวุฒิ ของฝ่ายหญิงมาถักร้อยเติมเต็มช่องว่างระหว่างวัยให้สามารถ เรียนรู้ในการช่วยเหลือประคับประคองชีวิตสมรสให้มีความสุข และสมดุลได้อย่างที่เห็นจากในข่าว ปั ญ หาและอุ ป สรรคที่ คุ ณ ผู ้ ห ญิ ง เล่ า มา อาจเกิ ด ขึ้ น จากการขาด การเรี ย นรู ้ ใ นการปรั บ ตั ว เข้ า หา กั น หรื อ ต่ า งฝ่ า ยอาจยั ง ไม่ เ ข้ า ใจในบทบาทหน้ า ที่ และความต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง ของกั น และกั น ซึ่ ง ต้ อ ง ใช้ ร ะยะเวลาในการพู ด คุ ย สื่ อ สารกั น อย่ า งตรงไป ตรงมา

เป็นผู้น�ำประเทศฝรั่งเศสด้วยวัยเพียง 39 ปีส่วนเธอ “ผู้หญิงสูง วัยคนนั้น ปัจจุบันเธออายุ 64 ปี” และเป็นศรีภรรยาของเขา มากว่าสิบปีแล้ว แน่นอน คงยากที่ใครจะเข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางรักของทั้งคู่ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ ผ่านมา โดยเฉพาะเธอนั้นมีทั้งสามีคนแรกกับลูกอีก 3 คน เธอ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลเลี้ยงดูครอบครัว และท�ำงาน สอนหนังสือเพื่อสร้างรายได้ ท่ามกลางการต่อต้านคัดค้านของ คนรอบด้าน กลุ่มบุคคลที่เธอต้องใช้ชีวิตร่วมด้วย ที่มองว่าเธอ ไม่ยุติธรรมกับชีวิตของเด็กหนุ่ม ซึ่งสมัยนั้นเธออาจจะรู้สึกได้ว่า ค�ำพูดของเด็กหนุ่มเป็นเพียงค�ำพูดลม ๆ แล้ง ๆ ของคนช่างฝัน คนหนึ่ง หากเธอเชื่อมั่นในค�ำพูดนั้ ความสัมพันธ์อาจจบลงที่ ความบาดเจ็บอันมากมายของเธอเพียงล�ำพัง เช่นกัน.....ไม่มีใครรู้ว่า อะไรหรือเมื่อไร ที่จิตวิญญาณ ของเธอกั บ เขาได้ ห ล่ อ หลอมเป็ น ดวงเดี ย วเพื่ อ เกาะเกี่ ย วกั น เดิ น ข้ า มมหาสมุ ท รอั น กว้ า งใหญ่ เพื่ อ ท� ำ ให้ ” ฝั น ” นั้ น เป็ น จริง! ที่ส�ำคัญ หากเราเชื่อว่า ค�ำว่า “ความรัก” คือเครื่อง ผูกพันความสัมพันธ์ของคนสองคนเอาไว้ หรือจะเรียกว่า “รัก แรกพบ” ส�ำหรับเด็กหนุ่มวัย 15 ปี ก็แล้วผู้หญิงที่มีทั้งสามีและ

Photo by Matheus Ferrero on Unsplash 78

IS AM ARE www.fosef.org


เพราะฉะนั้นการน�ำเรื่องราวของรักต่างวัยมาใช้เป็นตัวอย่างในกรณีนี้ แม้จะเป็นเรื่องในต่างประเทศ หรือเป็นคู่สมรสต่าง ชาติพันธุ์ แต่ในความเป็นมนุษย์แล้ว เราต่างมีหัวใจและความปรารถนาที่จะมีชีวิตคู่อย่างมีความสุขเสมอกัน การเรียนรู้จากผู้มี ประสบการณ์จึงเป็นเรื่องจ�ำเป็น ดังเช่นคู่สมรสที่ปรึกษามาข้างต้นนี้ ปัญหาและอุปสรรคที่คุณผู้หญิงเล่ามา อาจเกิดขึ้นจากการขาด การเรียนรู้ในการปรับตัวเข้าหากัน หรือต่างฝ่ายอาจยังไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่และความต้องการที่แท้จริงของกันและกันซึ่งต้อง ใช้ระยะเวลาในการพูดคุยสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา เมื่อต่างฝ่ายต่างตกลงแต่งงานมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ก็ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ “ความรัก” เราก็ต้องใช้ความรักเป็นเครื่องมือในการฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหมดให้ผ่านพ้นไปได้ในที่สุด...... “ผู้คนมากมายกล่าวไว้เสมอว่า ความรักเป็นความสวยสดงดงาม เหมือนกุหลาบแรกแย้มแห่งฤดูใบไม้ผลิ เป็นความ มหัศจรรย์ของชีวิต ที่ให้ก�ำเนิดทุกอย่างบนโลกนี้ ความรักเป็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ และความรักคือมงกุฎทองที่ท�ำให้ผู้ชาย ธรรมดากลายเป็นพระราชา...............” นี่เป็นเพียงส่วนนิดเดียวของค�ำบรรยายเปรียบเทียบค�ำว่า “ความรัก” แต่ท�ำให้มองเป็น ความ “กล้าหาญและความพยายามอันยิ่งใหญ่” ที่คนสองคนจะต้องน�ำความแตกต่างมากน้อยมาผสมผสานกันให้สมดุล ถึงหาก จะก�้ำเกินกันบ้าง ต่างต้องรู้จักการให้เกียรติ การให้ความเคารพ และการให้อภัยในกันและกัน สองคนนั้นจึงจะเดินไปถึงจุดหมาย ปลายทางด้วยกันในที่สุด อรอนงค์ อินทรจิตร www.hotline.or.th 79 issue 114 juLY 2017


Round About เชฟรอนเดิ น หน้ า กิ จ กรรม “ศุ ก ร์ อ าสา” ปี ที่ 4 น� ำ พนั ก งานจิ ต อาสา ร่ ว มปฏิ บั ติ ก าร “คั ด -จั ด -เคลี ย ร์ ” ณ มู ล นิ ธิ ก ระจกเงา

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด จัดกิจกรรม “ศุกร์อาสา” (We Volunteer) น�ำพนักงานจิต อาสาและครอบครัวกว่า 60 คน ร่วมปฏิบัติการ ‘คัด-จัด-เคลียร์’ ณ มูลนิธิกระจกเงา เพื่อท�ำความสะอาดตลอดจนคัดแยกประเภท หนังสือและสิ่งของบริจาค ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการบริจาคของพนักงานเชฟรอน ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้ป่วยยากไร้และ ผู้ด้อยโอกาสใน โรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชนและพื้นที่ขาดแคลนทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ นางหทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบาย ด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ ยังเป็นตัวแทนบริษัทฯ มอบสิ่งของมูลค่ารวม 70,000 บาท เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานของมูลนิธิ กระจกเงาอีกด้วย แอลจี ร ่ ว มมอบที วี ส่ ง ต่ อ ความสุ ข ผ่ า นกิ จ กรรม ‘คลิ ก ที่ ใ ช่ ส่ ง แรงบั น ดาลใจให้ น ้ อ ง’ คุ ณ นิ พ นธ์ วงษ์ แ สงอรุ ณ ศรี (ที่ 2 จาก ซ้าย แถวหลัง) ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ร่วมกับ คุณกัญญภัทร สุขสมาน (ขวา แถวหลัง)รองผู้อ�ำนวย การกลุ่มธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และอินเทอร์เน็ต โมโน กรุ๊ป และคุณหทัยทิพย์ หมัดจุ้ย (ซ้าย แถวหลัง) หัวหน้า หน่วยธุรกิจดูหนังออนไลน์ บริษัท โมโน ฟิล์ม จ�ำกัด ในเครือโมโน กรุ๊ป น�ำทีมเหล่าพนักงานจิตอาสาจัด กิจกรรม ‘Click for Kids – คลิกที่ใช่ ส่งแรงบันดาล ใจให้น้อง’ น�ำภาพยนตร์การ์ตูน ‘Khumba ม้าลาย แสบซ่า ตะลุยป่าซาฟารี’ ที่ได้รับการโหวตสูงสุดผ่าน เวปไซต์ M Thai ไปฉายให้น้องๆ โรงเรียนวัดดอนยอ จังหวัดนครนายกชม ผ่านจอทีวี LG ที่บริษัทฯ ได้มอบให้กับโรงเรียน พร้อมจัดกิจกรรมสันทนาการ และเลี้ยงอาหารกลางวันแก่น้องๆ โดยคุณรตนพร พนมพร (ที่ 2 จากขวา แถวหลัง) ผู้อ�ำนวย การโรงเรียน รับมอบของและต้อนรับทีมงานอย่างอบอุ่น นอกจากนี้รายได้จากการโหวตหนังทุกเรื่องจะน�ำไปสมทบทุนพัฒนาโรงเรียน อาทิ สร้างหลังคาบังแดด ถนนเข้าอาคารเรียน ปรับปรุงเครื่องเล่นสนามและพื้นที่สนามเด็กเล่น

80 IS AM ARE www.fosef.org


ไทยลั ก ซ์ : โครงการสานต่ อ ความพอเพี ย ง สู ่ ป ระมงโรงเรี ย นต� ำ รวจตระเวนชายแดนไทย จ.ตาก คณะผู ้ บ ริ ห าร และที ม งาน บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ ไพรส์ จ� ำ กั ด (มหาชน) ร่ ว ม เดิ น ทางไปมอบอาหารปลาใน “โครงการสานต่อความพอเพียง สู่ประมงโรงเรียนต�ำรวจตระเวน ชายแดนไทย” ณ โรงเรียนต�ำรวจ ตระเวนชายแดน บ้านแม่กลองคี ต.โมโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดย มี ด.ต. คณิต ช่างเงิน (ครูใหญ่) คณะครู และนั ก เรี ย นให้ ก าร ต้อนรับอย่างอบอุ่น ก่อนพาน�ำ ชมโครงการเกษตรเพื่ อ อาหาร กลางวัน “การเพาะเลี้ยงปลาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง” ทั้งนี้บริษัท ไทยลักซ์ฯ ได้สนับสนุนอาหารปลาดุก แบรนด์ สปีด เบอร์ 490,491 และ 492 ซึ่งในปี 2560 นี้ รร.ตชด.บ้านแม่กลองคี ได้เป็นโรงเรียนต้นแบบแห่งที่ 10 ที่ได้รับอาหารปลาดังกล่าว จากแผนการ ส่งมอบทั้งหมด 207 โรงเรียน ทั่วประเทศ เคที ซี ม อบดอกไม้ จั น ทน์ ใ นโครงการ ๙,๙๙๙ ดอกดารารั ต น์ ร้ อ ยรั ก ถวายอาลั ย พ่ อ

นางสาวสุดาพร จันทร์วัฒนากุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจสินเชื่อบุคคล พร้อมด้วย นางสาวพจนีย์พร ช�ำนาญภักดี ผู้อ�ำนวยการ – ทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนบริษัทฯ มอบดอกไม้จันทน์แบบดอก ดารารัตน์ ในโครงการ “๙,๙๙๙ ดอกดารารัตน์ ร้อยรักถวายอาลัยพ่อ” ซึ่งผู้บริหารและพนักงานร่วมกันประดิษฐ์ด้วยความส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณเป็น ล้นพ้น เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมี นางเสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ รองผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานพัฒนาสังคม และนางสาวปิยธิดา นิยม ผู้อ�ำนวยการกองการพัฒนา ชุมชน กรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับมอบ เมื่อเร็วๆ นี้ 81 issue 114 juLY 2017


“ม.ล.ปนั ด ดา” รั บ มอบรางวั ล ผู ้ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ดี เ ด่ น ด้ า นทรั พ ยากรมนุ ษ ย์

ที่ได้พระราชทานสอนมาโดยตลอดรัชสมัย ให้คนไทยมีความ เป็นสุภาพชน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่ส�ำคัญคือความเพียรที่จะต้องไปด้วยกันในทุกเรื่อง และรู้รัก สามัคคีด้วย ผมจะมุ่งมั่นปฏิบัติต่อไปตราบชีวิตนี้จะหาไม่” ส�ำหรับผู้รับรางวัลทั้ง 36 รางวัล เป็นบุคคลและองค์กร ที่ผ่านการเสนอชื่อและคัดเลือกจากคณะกรรมการโครงการ ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ท�ำคุณประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากร มนุ ษ ย์ โดยเป็ น ผู ้ ที่ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ด ้ า นทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ อย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง ตลอดจนมีคุณูปการต่อการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย อาทิ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล, ดร.ประสาร ไตรรัตน์, ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล, นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา, นายบัณฑูร ล�่ำซ�ำ, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบั น เสริ ม ศึ ก ษาและทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดให้มีการปาฐกถาพิเศษ โดยได้ รับเกียรติจากบุคคลผู้มีชื่อเสียงในประเทศไทย อาทิ พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย สัมโมทนียกถา เรื่อง “คุณค่าของรางวัลผู้ท�ำคุณประโยชน์ดีเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ ต่อสังคมและการพัฒนา”, ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การพัฒนาทรัพยากร มนุ ษ ย์ บนฐานความพอเพี ย งและความยั่ ง ยื น ”, ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถา พิเศษเรื่อง “พลังแห่งจริยธรรมกับงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เป็นต้น

โรงแรมเดอะสุโกศล – สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากร มนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิธีมอบรางวัล “ผู้ท�ำคุณ ประโยชน์ ดี เ ด่ น ด้ า นทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ” เชิ ด ชู 36 ผู ้ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ต่อประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560 โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้า รับรางวัลจากนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี รศ.ดร.ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันเสริม ศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ พัฒนาสังคมและประเทศ สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากร มนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงจัดงานมอบรางวัล “ผู้ ท�ำคุณประโยชน์ดีเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource Excellence Award) เนื่องในโอกาสครบรอบ 36 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันฯ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเห็นความส�ำคัญการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเสมอมา อีกทั้งเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณบุคคลหรือองค์กรที่ท�ำคุณ ประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างโดดเด่นและ ต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง มี คุ ณู ป การต่ อ การบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ข อง ประเทศ ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวถึงความภาคภูมิใจที่ได้ รับรางวัลในครั้งนี้ว่า “ถือเป็นแรงบัลดาลใจ เป็นโชคของผม พร้อมกับอีกสามสิบห้าท่าน ผมเชื่อว่าทุกท่านและตัวผมเอง ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82

IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 83 issue 114 juLY 2017


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.