IS AM ARE March60

Page 1

IS AM ARE

หลั ก แห่ ง ความพอเพี ย ง

จุ ด มุ ่ ง หมายของชี วิ ต “พระเจ้ า เขามองอยู ่ แ ล้ ว ว่ า จะมอบของขวั ญ ให้ ใ คร”

จิรชัย มูลทองโร่ย ปลั ด ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี

1 issue 110 march 2017

ฉบับที่ 110 มีนาคม 2560 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“คนไทย รั ก ษาชาติ รั ก ษาแผ่ น ดิ น เป็ น ปึ ก แผ่ น มั่ น คงมาได้ ด้ ว ยสติ ป ั ญ ญาความสามารถ และด้ ว ยคุ ณ ความดี อิ ส รภาพ เสรี ภ าพ ความร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข ตลอดจนความเจริ ญ ทุ ก อย่ า งที่ มี อ ยู ่ บั ด นี้ เราทั้ ง หลายในปั จ จุ บั น จึ ง ต้ อ งถื อ เป็ น หน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบอย่ า งส� ำ คั ญ ในอั น ที่ จ ะรั ก ษาคุ ณ ความดี พร้ อ มทั้ ง จิ ต ใจที่ เ ป็ น ไทยไว้ ใ ห้ มั่ น คงตลอดไป” พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ ในการเสด็ จ ออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา ๕ ธั น วาคม ๒๕๒๑

3 issue 110 march 2017


Editorial

ทักทายกันในเดือนที่ก�ำลังจะผ่านพ้นไตรมาสแรกของปี เสียงอื้ออึงของประชาชนในหลายสาขาอาชีพที่ได้รับ ผลกระทบจากข้อกฎหมายใหม่หลายๆ ฉบับที่ผ่านการพิจารณาจากผู้บริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปัญหา ที่เกิดขึ้นและที่ได้รับฟังจากผู้ด�ำเนินรายการวิทยุ ในเวลาที่ บก.ขับรถอยู่บนท้องถนน หลายคลื่นความถี่ และหลาย ปัญหาที่ถาโถม แต่เมื่อฟังแบบใช้สติในการพินิจพิเคราะห์ ปัญหาต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ ล้วนแล้วแต่เกิด ขึ้นจาก จิตหรือส�ำนึกของประชาชนที่ไม่เคยถูกระเบียบเข้าควบคุม ไม่เคยต้องรับรู้ รับฟังกฎหมาย ขนาดเป็นกฏ หมายใกล้ตัว ยังไม่รู้ ความเป็นอยู่ อยู่อย่างเคยชิน จนเป็น “สันดาน” ของคนไทย เข้าต�ำราที่ว่า สบาย สบายไทยแลนด์ และเมื่อ ท�ำผิดกฎหมาย ก็ยื่นข้อแลกเปลี่ยน เป็นทรัพย์สินบ้างหรือเป็นอะไรก็สุดแล้วแต่ที่จะท�ำให้ตนเองพ้นผิดได้ในเวลานั้น ประเทศไทยเป็น เมืองพุทธ เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาพุทธ กว่า ๙๗ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ และประเทศไทยก็ได้ถูกประเมินว่าเป็นดินแดนที่มีการค้าประเวณีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และอีกหนึ่งสถิติที่คนไทย ต้องหันมามองลูกหลานที่เป็น หญิง กันหน่อยว่าเป็นอย่างที่สถิติเขาว่ากันจริงตามนั้นหรือ คือ เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควร อายุต�่ำที่สุดในโลก และที่ปรากฏให้เห็นคือ อายุ เพียง ๙ ปี ก็ให้ก�ำเนิดบุตรแล้ว ปัญหาระดับประเทศที่ก�ำลังเกิดขึ้นนี้ ถ้ามองกันให้ดี ทุกปัญหาเริ่มต้นจาก “ครอบครัว” และปัญหาคือวง สะท้อนความอ่อนแอของ “ครอบครัว” และที่แน่ๆ ปัญหา “ครอบครัว” นี้ยังส่งผลด้านความ ปรองดอง ระดับประเทศอีกด้วย ถึงจุดนี้แล้วคงต้องมามองว่า ถ้าจะแก้ปัญหาต้องเริ่มที่ไหน ถ้าไม่ใช่ที่ “ครอบครัว” และจากปกฉบับนี้ ผู้น�ำครอบครัวคนนี้ ก็เป็นผู้น�ำที่หลายๆ ครอบครัวน่าที่จะน�ำไปเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี สังคมดีได้ เริ่มต้นที่ “ครอบครัว” ครอบครัวพอเพียง คือ รากแก้วของแผ่นดิน .

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน ๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๕ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๖ www.fosef.org

5 issue 110 March 2017


Hot Topic

ตามรอยยุ วกษัตริย์

๔๐

“...ผมพิการ แต่ผมมี หัวใจ มีมือ มีสมองที่ จะท�ำให้เกิดประโยชน์ ต่อผู ้อ่ืนได้...” ครู เชาว์ ผู ้ไม่พิการใจ

๑๔

“พระเจ้าเขามองอยู ่แล้วว่าจะ มอบของขวัญให้ใคร” จิรชั ย มู ลทองโร่ย ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี

Don’t miss

๒๘

๔๖ ๖๔ ๗๖ 6 IS AM ARE www.fosef.org

๖๒


Table Of Contents

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story พระเจ้าเขามองอยู่แล้ว ว่าจะมอบของขวัญให้ใคร จิรชัย มูลทองโร่ย น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ร้อยใจสานต่อที่พ่อท�ำ Cartoon หลักแห่งความพอเพียง จุดมุ่งหมายของชีวิต Let’s Talk ครูเชาว์ ผู้ไม่พิการใจ กระจกส่องใจ มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ กฎหมายน่ารู้ สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ข้อ ๔ และ ๕ Is Am Are ต�ำบลบ้านหยวก จังหวัดอุดรธานี เกษตรผสมผสาน สร้างคนต้นแบบ ให้เดินตามวิถีพอเพียง เที่ยวตามรอยในโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชด�ำริ ปัตตานี ผู้คน ทะเล และความหมาย แห่งป่าชายเลน Round About

จิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี

7 issue 110 MARCH 2017

๑๔ ๒๘ ๓๒ ๓๖ ๔๐ ๔๖ ๕๔ ๖๒

๖๔

๗๔ ๘๐


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ตอนที่ ๒

มนต์เสน่ห์แห่งเมืองโลซานน์ คณะของเราคนไทยเกือบ ๔๐ ชีวิต ส่วนใหญ่เป็นผู้สื่อข่าว ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วัยหนุ่ม สาว นักวิชาการและนักธุรกิจวัยเลยหนุ่มสาวไปแล้ว อีกจ�ำนวนหนึ่งร่วมทีมไปด้วย เราเดินทางจากรุงเทพฯ ถึงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ด้วยสายการบินสวิสแอร์ และต้องต่อเครื่อง บินจากเวียนนาไปยังซูริค เพื่อเยี่ยมชมโรงงานของบริษัทโฮลชิมกรุ๊ป ผู้สนับสนุนให้คณะสื่อมวลชนไทย เดิน ทางไปตามรอยพระยุคบาท ที่สวิตเซอร์แลนด์ในครั้งนี้ เรานั่งรถโค้ชจากชูริคมุ่งหน้าสู่เมืองโลซานน์ เมืองที่ราชนิกูลมหิดล รวมทั้ง “ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทย” ของเราได้ใช้ช่วงหนึ่งของชีวิตอยู่ที่นั่น

8 IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์

9 issue 110 march 2017


แม้จะต้องนั่งรถไกลหน่อย แต่ก็นับว่าคุ้ม เพราะได้เห็น สวิตเซอร์แลนด์จากสองข้างทางอย่างจุใจ ถ้าเป็นเมืองไทยเรา คงเลือกที่จะนั่งหลับเพื่อพักเอาแรง แต่ส�ำหรับสวิตเซอร์แลนด์ กลับท�ำให้รู้สึกว่า การนั่งรถแล้วหลับหรือหลับระหว่างการเดิน ทางเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งยวด เพราะสองข้างทางที่รถ ผ่านนั้น ช่างมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม มีเนินเขาลาดเป็นแนวสุด สายตา เชียวชอุ่มด้วยทิวสนและทุ่งหญ้าส�ำหรับเลี้ยงสัตว์ มอง เห็นฝูงวัวและแกะเล็มหญ้าอย่างสบายอารมณ์ ส่วนไร่องุ่นตาม ข้างถนน และเห็นเป็นเถาไม้เลื้อยเตี้ยๆ เป็นแถวเป็นแนวตาม ลาดเนินเขา คงจะไม่เกินเลยนักถ้าจะบอกว่า ช่างเป็นภาพราว สวรรค์บนดิน หรือภาพในฝันของพวกเราหลายคนนั่นเอง ถนนระหว่ า งเมื อ งส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ไฮเวย์ ที่ ก ว้ า งขวาง สะดวกสบาย เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาถึง ๒ ใน ๓ เพราะฉะนั้น จึงมักเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ท�ำถนนให้รถ ผ่าน นอกจากนี้มีพื้นที่เพียง ๑ ใน ๔ เท่านั้นที่สามารถท�ำการ เพาะปลูกได้ ซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ตามหุบเขา ภูเขา ทุ่งหญ้า ป่าไม้ ล้วนได้รับการดูแลรักษาไว้อย่างดี นานๆ จะเห็นหมู่บ้านเกาะ กลุ่มอยู่เป็นหย่อมๆ สวยเหมือนภาพวาดหรือภาพถ่ายในปฏิทิน ถ้าเป็นบ้านพักที่อยู่อาศัยตามเมืองหรือชานเมืองหน่อย ก็จะเป็น แฟลตสูงสามสี่ชั้น ตามหน้าต่างบ้านซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีหน้าต่างสองชั้น ชั้นในเป็นกระจกเพื่อกันอากาศหนาวเย็นใน ฤดูหนาว และชั้นนอกเป็นหน้าต่างไม้ ทาสีสันสวยงาม เช่น เขียว เข้ม ฟ้าสดใสและฟ้าน�้ำทะเล แดงสีอิฐและแดงสด ใต้หน้าต่าง จะมีกระถางดอกไม้นานาพันธุ์หลากสีสันประดับประดาเอาไว้ เพิ่มความสดชื่นชวนมองอยู่ตามอาคารบ้านช่อง เรียกว่าเมือง ทั้งเมืองมองไปทางไหน ก็เจอะเจอแต่ดอกไม้สวยๆ เสมอ แม้ ตามข้างทางดอกหญ้าก็ยังขึ้นเป็นดง บางดงสีขาวโพลน บาง ดงดอกสีเหลืองกระจ่าง บางดงดอกสีม่วงหวาน คนรักดอกไม้ จะต้องหลงใหลหัวใจจี๊ดจ๊าดขึ้นมาทันที เฮ้อ...สวิตเซอร์แลนด์ นี่...ช่างเป็นบ้านเป็นเมืองที่มีเสน่ห์เสียนี่กระไร... โลซานน์ เป็นเมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสวิต เซอร์แลนด์ เป็นเมืองริมฝั่งทะเลสาบใหญ่ที่สวยงามคือ ลาคเลมอง (Lac Leman) ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลสาบ เจนีวา โลซานน์ถึงจะไม่ใช่เมืองเอกทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นเมืองหลวงของพันธรัฐโวด์ (Vaud) อันเป็น ๑ ใน ๒๖ พันธรัฐ (Canton) ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมืองนี้ มีประชากรราว ๑๒๕,๐๐๐ คน มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นอันดับ ๕ ของประเทศ แม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่นับว่าเป็นเมืองที่มี บรรยากาศน่ารื่นรมย์เมืองหนึ่งของโลก มีความโดดเด่น มีชื่อ เสียงด้านการศึกษาและวัฒนธรรม 10 IS AM ARE www.fosef.org


ในประเทศสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ มี เ มื อ งใหญ่ ๆ ริ ม ทะเลสาบ อั น งดงามหลายเมื อ ง ไม่ ว ่ า จะเป็ น เจนี ว า ซู ริ ค ลู เซิ ร ์ น ซึ่ ง เป็ น เมื อ งที่ มี ค วามสวยงามอย่ า งเมื อ ง ธุ ร กิ จ มี ค นพลุ ก พล่ า นคึ ก คั ก มี ร ้ า นรวงจ� ำ หน่ า ย สิ น ค้ า ชั้ น น� ำ นานาประเภท

เนื่องจากโลซานน์เป็นเมืองเก่าแก่ในยุคโรมัน มีความ ส�ำคัญในฐานะชุมทาง ถนนสายต่างๆ ที่เชื่อมระหว่างอิตาลีกับ ฝรั่งเศส ผ่านช่องเขา St.Bernard และเป็นจุดเชื่อมระหว่าง ทะเลเมดิ เ ตอร์ เรเนี ย นกั บ ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ ไรน์ โดยผ่ า นหุ บ เขาโรน (Rhone) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญของอารยธรรม โลกโบราณ ปัจจุบัน จึงยังคงเป็น ชุม ทางการคมนาคมส� ำ คั ญ และเป็นศูนย์กลางการผลิตช็อกโกแลต เบียร์ ยาสูบ สินค้าจาก แร่เหล็ก อีกทั้งยังเป็นเมืองที่พ�ำนักของปัญญาชนที่มีชื่อเสียง ของโลก เช่น วอลแตร์ (Voltaire) และ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เป็นต้น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีเมืองใหญ่ๆ ริมทะเลสาบอัน งดงามหลายเมือง ไม่ว่าจะเป็น เจนีวา ซูริค ลูเซิร์น ซึ่งเป็นเมือง ที่มีความสวยงามอย่างเมืองธุรกิจ มีคนพลุกพล่านคึกคัก มีร้าน รวงจ�ำหน่ายสินค้าชั้นน�ำนานาประเภท ถนนหนทางการจราจร ทั้งรถยนต์ รถราง รถไฟฟ้าที่เคลื่อนไหวสร้างสีสันให้เมืองตลอด เวลา แตกต่างกับโลซานน์ที่เป็นเมืองสงบไม่พลุกพล่าน โลซานน์ จึงได้ใจจากคนที่รักความสงบ รักสะอาด รักธรรมชาติ ทันทีที่เรานั่งรถเข้าไปในเขตเมืองโลซานน์ เราจะพบ เมืองตั้งอยู่บนเนินเขาและลาดเขาถนนเขตเมืองเก่า ปูด้วยหิน แบบโบราณ เช่นเดียวกับเมืองโบราณหลายๆ เมืองในยุโรป หาก

ขับรถบัสเข้าไปในเมือง จะรู้สึกได้ว่าถนนหลายสายไม่เหมาะที่ จะขับรถเข้าไป เพราะถนนเล็กๆ แทบไม่มีที่เหลือให้รถสวนทาง ถนนหลายสายจึงมีระบบการจราจรทางเดียว ห้ามรถใหญ่เข้า และห้ามจอด การเดินทางในเมืองนี้บ่อยครั้งที่ต้องจอดรถในที่ อนุญาตให้จอดและเดินเข้าไป ชาวเมืองส่วนใหญ่นิยมใช้บริการ ขนส่งมวลชน ทั้งรถเมล์ รถราง และรถไฟ ผ่านพ้นจากชานเมืองเข้าไปก็จะพบที่อยู่อาศัยซึ่งส่วน ใหญ่เป็นแฟลต ตึกรามสูงๆ แบบสมัยใหม่ยังมีน้อย บ้านเรือน จะปลูกลดหลั่นกันไปตามเนินเขา บางส่วนปลูกต�่ำลงไปจากพื้น ถนนต้องเดินสะพาน หรือลงบันไดเข้าสู่แฟลตหรือตัวบ้าน แลดู สวยแปลกตาได้บรรยากาศไปอีกแบบ พวกเราพักที่โรงแรมขนาดกลางชื่อ Alpha-Palmiers เป็นโรงแรมที่สร้างแบบสมัยใหม่ การตกแต่งทั้งนอกและใน 11

issue 110 march 2017


12 IS AM ARE www.fosef.org


อาคารอาศัยพื้นต่างระดับในแต่ละส่วน เพราะตั้งอยู่บนเนิน แต่ก็มีกลิ่นไอตะวันออก เพื่อเอาใจนักท่องเที่ยวลูกค้าจากโซน ทวีปเอเชีย มีสวนเล็กๆ ปูด้วยหิน ประดับด้วยสวนน�้ำ และ ต้นไม้ประเภทปาล์ม ขนาดผนังกั้นห้องยังใช้ไม้แกะสลักจาก เมืองไทย มีตุ๊กตาไม้รูปสาวไทยนั่งพนมมือแต้ ต้อนรับแขกใน ห้องล็อบบี้และห้องอาหาร ยังกับเดินอยู่ในโรงแรมในเมืองไทย ยังงั้นแหละ ทันทีที่เดินออกมานอกประตูโรงแรม เราต้องเลือกว่าจะ เดินขึ้นเดินหรือเดินลงเนินก่อนเพราะมีให้เลือกเพียงสองทาง เท่านั้น ส�ำหรับคนที่เข่าหรือขาไม่ค่อยแข็งแรง หรือสังขารไม่ ค่อยเป็นใจด้วยสักเท่าไหร่ ต้องคิดหนักกว่าคนอื่นๆ สักหน่อย แต่ไหนๆ มาถึงที่แล้ว ก็ต้องสวมหัวใจคนไทยใจสู้เดินให้ไหวให้ ได้ ไม่งั้นจะเสียชื่อหมด ที่ส�ำคัญจะเสียดายหนัก ดีที่สุดก็ควร ออกก�ำลังกายฟิตร่างกายเอาไว้ จะได้ไปเที่ยวไหนๆได้สนุก ว่า แล้วเราก็ออกเดินเที่ยวกันอย่างเบิกบานส�ำราญใจ ที่น่าสังเกต ถนนส่วนใหญ่จะเป็นสายสั้นๆ และมักอยู่ไม่ ไกลจากทะเลสาบ เดินสักประเดี๋ยวลองพักสายตามองไปไกลๆ ก็มักจะพบวิวทะเลสาบ ที่มีเทือกเขาแอลป์เป็นฉากหลังกว้าง ไกลแบบพานอรามาอยู่เบื้องหลัง เรียกได้ว่าเป็นเมืองที่สวยสุด ตาสุดใจเสียจริงๆ อากาศในช่วงที่เราเดินทางมาที่นี่ เป็นเดือน พฤษภาคม ปลายฤดูใบไม้ผลิ ก�ำลังเย็นสบาย เดินชมบ้านชม เมืองและวิวทิวทัศน์เพลิดเพลินมาก ช่างเป็นเมืองที่น่าอยู่มาก ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก

เมืองนี้เองที่เป็นที่ประทับของครอบครัวราชสกุลมหิดล และที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวของไทยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระมหากษัตริย์ของ ไทยเป็นเวลานานกว่า ๑๗ ปี หลังจากการประสานงานกับพี่แอ๊ด พัชรินทร์ ไรเตอร์ เพื่อนรุ่นพี่ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองนี้กว่าสิบปีแล้ว เนื่องจาก แต่ ง งานกั บ คุ ณ ฟิ ล ลิ ป ไรเตอร์ อาจารย์ ช าวสวิ ส แห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย โลซานน์ ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ก็ ด ้ ว ยคุ ณู ป การการช่ ว ย เหลือและแนะน�ำของ ดร.อนัญญา อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภริยาคุณไมตรี หรือ คุณปีเตอร์ อึ๊ ง ภากรณ์ ลู ก ชายคนกลางของท่ า นอาจารย์ ป ๋ ว ย ซึ่ ง เป็ น ปูชนียบุคคลที่ชาวธรรมศาสตร์เคารพรัก พวกเราทางเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณอ๊อด อัจฉราพร กมุทพิสมัย ฝ่ายวิชาการ ในคณะของเรา ซึ่งสนิทสนมกับ ดร.อนัญญา มาเนิ่นนานกว่าสิบ ปี ได้ติดต่อขอค�ำปรึกษาจนแสนจะเกรงใจ เพราะรบกวนกัน เกือบทุกคืนก่อนเดินทาง และด้วยเวลาที่ต่างกันถึงราวหกชั่วโมง เวลาโทรศัพท์ถึงกันก็ต้องพยายามค�ำนวณเวลาที่เหมาะสม เราเตรี ย มการส� ำ หรั บ การตามรอยพระยุ ค ลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ที่เมืองโลซานน์ โดย แยกประเภทสถานที่ส�ำคัญๆ เป็นสถานที่ที่ประทับ โรงเรียนและ มหาวิทยาลัยที่ทรงศึกษา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยว เล่นกีฬา และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จพระราชด�ำเนิน ของพระองค์ท่าน คืนนั้น...เราตื่นเต้นกับเรื่องราวที่จะได้ตามรอย-ได้รับ รู้ เรื่องราวของ “ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทย” ในวันพรุ่งนี้ก่อนจะหลับลึกลงบนผืนแผ่นดินสวิตเซอร์แลนด์... ขอบคุณข้อมูล : หนังสือตามรอยยุวกษัตริย์ สวิตเซอร์แลนด์, ยุพา ชุมจันทร์, ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย 13

issue 110 march 2017


Cover Story

“พระเจ้าเขามองอยู ่แล้วว่าจะมอบของขวัญให้ใคร”

จิรชั ย มูลทองโร่ย ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี

ท�ำหน้าที่ในกองบรรณาธิการมาปีนี้ครบ 10 ปีพอดีสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งภาครัฐ เอกชน NGO หรือแม้แต่ลุงขาย ดอกไม้ และที่ส�ำคัญคือการสัมภาษณ์ผู้ที่จะขึ้นปก ท่านผู้บริหารย�้ำนัก ย�้ำหนาว่า บุคคลที่จะน�ำขึ้นปกต้อง เป็นต้นแบบที่ ดี และมาฉบับนี้กับประสบการณ์ที่ผ่านมาบอกได้เลยว่า “ผมจ�ำไม่ได้ว่า 10 ปีที่ผ่านมาเคยได้ยินเรื่องแบบนี้” จะมี ข้าราชการสักกี่คน ท�ำงานตั้งแต่เป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการ จนสุดท้ายของชีวิตข้าราชการกับต�ำแหน่งสูงสุด คือ ต�ำแหน่ง ปลัด และได้มาโดยไม่มีการข้ามขั้นข้ามซี หรือวิ่งเต้น ผมว่านะ เพชรก็คือเพชร จะตกอยู่ที่ไหนคุณค่าของเพชรก็ไม่มีทาง จางหาย คุณจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ผู้มีชีวิตความเป็นมาที่เจ้าตัวยังเอ่ยปากว่า “เป็นความ มหัศจรรย์ที่สุด ที่มาถึงวันนี้ได้”

14 IS AM ARE www.fosef.org


15 issue 110 march 2017


ชี วิ ต วั ย เด็ ก ไม่ เ คยลื ม ตั ว เอง “ผมบอกไม่ อ ายเลยพ่ อ ผมเป็ น นั ก การภารโรง” คุณจิรชัย มูลทองโร่ย หรือ พี่แอ๊ว พูดขึ้นท่ามกลางเอกสาร มากมายที่ทยอยเข้ามารอเซ็นอยู่บนโต๊ะท�ำงาน ด้วยความที่เป็นลูกชายคนโตในจ�ำนวนพี่น้อง 4 คน จึงมี โอกาสสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่และใกล้ชิดกับพ่อแม่มากที่สุด ในแง่ของความล�ำบากและการช่วยเหลือตัวเอง รูปภาพในความ ทรงจ�ำใบหนึ่งซึ่งย�้ำเตือนความเป็นมาของชีวิตเสมอก็คือ รูปแม่ อุ้มท้องน้องคนที่สามไปรับใบประกาศจากโรงเรียนท�ำผม ชื่อ ‘แอนนา’ ซึ่งในสมัยนั้น คุณจิรชัยถามแม่ว่า แม่ท�ำอาชีพช่าง ตัดเสื้อผ้าอยู่แล้ว ท�ำไมต้องไปเรียนท�ำผมเพิ่มอีก โดยไม่เข้าใจ ว่าขณะนั้นครอบครัวก�ำลังดิ้นรนหารายได้เพิ่มเพื่อเลี้ยงสมาชิก ทุกคนรวมถึงน้องที่ก�ำลังจะคลอดออกมาด้วย คุณจิรชัย เป็นชาวต�ำบลบางม่วง อ�ำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่ โรงเรี ย นวั ด สั ง วรพิ ม ลไพบู ล ย์ และเรี ย นต่ อ ชั้ น ป.5-ป.7 ที่ โรงเรียนวัดพิกุลเงินในสมัยที่การคมนาคมยังต้องใช้เรือพายไป โรงเรียนและฐานะครอบครัวยังไม่สู้ดีนัก “ผมเป็นลูกคนโตจะได้ใกล้ชิดกับแม่ค่อนข้างมาก ได้มี ส่วนช่วยเหลือครอบครัวในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น ในช่วงเรียน หนังสือ ป.1-ป.4 เมื่อน้องเริ่มโตพอที่จะเดินไปโรงเรียนกับผม ได้ผมก็ต้องจูงน้องไปโรงเรียนด้วย ว่าง่ายๆ ก็คือ ผมต้องเรียน ไปด้วยเลี้ยงน้องไปด้วยครับ ให้น้องนอนในห้องที่ผมเรียนด้วย นะครับ แม่ก็ตัดเสื้ออยู่บ้าน ดูแลกันมาอย่างนี้”

สิ่งที่คุณจิรชัยถูกปลูกฝังจากคุณแม่นั้นนอกจากการเก็บ ออม ก็คือการค้าขาย หารายได้ ยิ่งในช่วงปิดเทอม คุณแม่จะ ติดต่อรับไอศกรีมแท่งใส่กระติกหวายมาให้ลูกๆ ขาย วิธีก็คือ พายเรือขายในคลองใกล้บ้าน โดยมีคุณจิรชัยพายอยู่หลัง ส่วน น้องชายอยู่หน้าเรือ สั่นกระดิ่งไปเรื่อยๆ ในคลองต�ำบลบางม่วง “คุณรู้ไหม เวลาพายเรือไป ถ้าได้ยินเสียงคนเรียก จอดหน่อย จอดหน่อย หัวใจเราจะพองโตทีเดียว เพราะ เสียงคนเรียกหมายถึงว่าเราก�ำลังจะขายไอศกรีมได้ ราคา ขายอยู่ที่แท่งละ หนึ่งสลึง หนึ่งสลึงที่มีค่ามากส�ำหรับผมและ น้อง แต่บางที ได้ยินเสียงเรียกแล้วก็ไม่ได้สตางค์นะ เพราะ ไม่มีไอศกรีมที่เขาต้องการ ก็ต้องพายเรือต่อไป ผมลงทุนค่า ไอศกรีมหกบาท ขายแท่งละหนึ่งสลึง ถ้าขายหมดจะได้ก�ำไร หกบาท” แม้จะขายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่คุณจิรชัยพบว่า การพาย เรือขายไอศกรีมกับน้องท�ำให้รู้คุณค่าของเงินมากทีเดียวในช่วง เวลานั้นของชีวิต “พอขายเสร็จเรียบร้อย เงินที่ได้มาก็เก็บไว้ แม่บอกว่า เอาไว้ใช้ตอนเปิดเทอม เพราะต้องซื้อหนังสือ ดินสอ ยกเว้น เสื้อผ้าเพราะแม่ตัดให้ ตรงนี้แหละคือสิ่งที่แม่สอนท�ำให้เรารู้ ถึงการวางแผนชีวิตในอนาคต และท�ำให้เราต้องขยันเพราะ เรามีน้องที่ต้องดูแลด้วย” คุณจิรชัยพูดถึงบรรยากาศในช่วงอายุ 10 ขวบว่า เป็น ช่วงเวลาที่ต้องประหยัดอดออม อดทนเพราะต้องช่วยแม่ดูแล น้อง ทุกวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ก็ต้องไปหารายได้พิเศษเพิ่ม เท่าที่จะท�ำได้ และคุณจิรชัยเลือกสิ่งใกล้ตัวคือการเก็บใบบัวบก ที่มักจะขึ้นเต็มร่องสวนผลไม้หน้าบ้านของคุณป้า 16

IS AM ARE www.fosef.org


“สมัยก่อนใบบัวบกจะขึ้นในร่อง สวนทุเรียน สวนมะม่วง เวลารดน�้ำใน สวน ผักเหล่านี้จะงาม เราไปขุดใส่ตระ กร้าไปขายกัน สวนบ้านผมไม่มี พ่อกับ แม่ไม่มีที่ดินเลย ผมก็ไปสวนป้า สวนน้า ไปขอเขาขุด สมัยก่อนใบบัวบกขุดมาแล้ว ต้องท�ำความสะอาด แล้วน�ำมามัดเป็นก�ำ ต้องก�ำให้ได้ขนาดเท่าหนึ่งก�ำมือ ต้องก�ำให้มิดนะ จะได้ราคา 100 ก�ำ 6 บาท เขาเอาไปขายต่อ 100 ก�ำ 10 บาท มาปัจจุบันผมเห็นใบบัวบกที่ตลาดแล้ว ทนไม่ได้เลย เพราะราคาที่เขาขาย ขายก�ำ ละ 5 บาท มันสะท้อนใจจริงๆ เพราะตอน ที่ผมขายราคามันแค่ 100 ก�ำ 6 บาท” (คุณจิรชัยหัวเราะเสียงดัง) แม่ ผ มสอนผมเสมอจนปั จ จุ บั น ทั้งพ่อและแม่ผมยังแข็งแรงอยู่ ผมก็ไป เยี่ยมเยียนท่านเสมอ

“มี อ ยู ่ ค รั้ ง หนึ่ ง ตอนผมโตมา หน่อย ผมน้อยใจแม่มากเลย ตอนนั้น งานวั น เด็ ก เราอยากได้ ข องเล่ น เรา เก็ บ เงิ น มาทั้ ง ปี แม่ ใ ห้ ไ ปโรงเรี ย นวั น ละ 2-3 บาท เราก็เก็บออมเอาไว้ เรา อยากได้เครื่องบินผูกเชือกวิ่งสักล�ำ ผม ก็น�ำเงินของผมไปซื้อมาราคาประมาณ 75-100 บาท พอกลับมาบ้านโดนแม่ ต�ำหนิใหญ่โต ท่านว่า “ไปซื้อมาท�ำไม ไม่มีประโยชน์เลย น่าจะเก็บเอาไว้ซื้อ อุปกรณ์การเรียนมากกว่า” เราบอก “ก็ หนูเก็บของหนูมาเอง” แม่บอก “รู้แล้ว ว่าเก็บเงินมาเอง แต่มันไม่มีประโยชน์” เรามาคิดได้ภายหลังว่า นี่คือสิ่งที่แม่สอน การจะซื้ออะไรก็ตาม ไม่ใช่ซื้อตามใจตัว เอง ต้องมีเหตุผล เพราะของที่เราซื้อมา มันเป็นความสุขชั่วคราว แต่เงินที่ต้องเก็บ ไว้นั้น มันจะมีค่าส�ำหรับอนาคต” 17 issue 110 march 2017

พ ่ อ ใ ห ้ ไ ป บ ว ช เ ณ ร เ กื อ บ ไ ม ่ มี จิ ร ชั ย ในวั น นี้ ภาพสวยงามในวั ย เด็ ก เป็ น สิ่ ง ที่ ทุ ก คนมี อ ยู ่ ใ นจิ ต ใจควบคู ่ กั บ ความ สะเทือนใจที่เคยพบเจอ เช่นเดียวกับคุณ จิรชัย ครั้นเมื่อจบชั้นประถมศึกษาก็ได้ เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนบางใหญ่ จนจบชั้น มศ.3 แล้วเหตุการณ์ไม่คาด คิ ด ก็ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ พ่ อ บอกว่ า ไม่ ใ ห้ เรี ย น ต่อ “พ่อไม่ให้เรียนต่อ เพราะภาระ ที่บ้านหนักมาก ยังมีลูกอีกสามคน แม่ก็ อธิบายว่าไม่มีเงินจะส่ง ทั้งที่สมัยก่อนค่า เทอมเพียง 250 บาท พ่อบอกให้ไปบวช เณร ทีนี้ คนที่ก�ำหนดชีวิตของผมอีกคน คือลุงของผม ท่านชื่อ สุธี ทองเพียร ท่าน บอกพ่อกับแม่ว่า ใครไม่ส่งเรียน ลุงจะ ส่งเรียนเอง ลุงสุธีพาผมมาฝากโรงเรียน


สิ่ ง ที่ คุ ณ จิ ร ชั ย ถู ก ปลู ก ฝั ง จากคุ ณ แม่ น้ั น นอกจาก การเก็ บ ออม ก็ คื อ การค้ า ขาย หารายได้ ยิ่ ง ใน ช่ ว งปิ ด เทอม แม่ จ ะติ ด ต่ อ รั บ ไอศกรี ม แท่ ง ใส่ กระติ ก หวาย มาให้ ลู ก ๆ ขายและวิ ธี ข ายก็ คื อ พาย เรื อ ขาย บ้ า นผมอยู ่ ใ กล้ ค ลอง ผมพายอยู ่ ห ลั ง น้ อ งชายอยู ่ ห น้ า เรื อ สั่ น กระดิ่ ง ไปเรื่ อ ยๆ ในคลอง ต� ำ บลบางม่ ว ง

18 IS AM ARE www.fosef.org


วัดเขมาภิรตาราม ผมมาเข้าช้ากว่าเพื่อน เขาเรียนกันไปสอง เดือนแล้ว ลุงเพิ่งจะพามาฝาก ลุงมาฝากกับอาจารย์ สง่า ดี มาก ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ลุงสุธีเป็นเพื่อนกับ อาจารย์สง่า เป็นครูเหมือนกัน อาจารย์สง่าบอกว่าสาเหตุที่รับไว้ เพราะเห็นเปอร์เซ็นต์การเรียนอยู่ในระดับดี คือ 73 เปอร์เซนต์ ท่านบอกว่าให้ผมเรียนสายวิทย์ ซึ่งขณะนั้นผมไม่รู้หรอกให้เรียน อะไรผมก็เรียน ผมอยากเรียนหนังสือ ลุงสุธีเป็นคนออกค่าเทอมให้ 250 บาทต่อปี พอเรียน มศ.4 ก็มีเรียน อาสาสมัครรักษาดินแดน ต้องแต่งเครื่องแบบ แม่ บอกไม่มีสตางค์ตัดเสื้อผ้าให้ ป้าผมก็บอกว่า ใครไม่ตัดเดี๋ยวจะ ตัดให้ หมดไปร้อยกว่าบาทค่าชุดอาสาสมัครรักษาดินแดน ป้าผม ซื้อให้หมด รองเท้าใส่จนนิ้วโผล่บ้างก็มี ป้าก็ซื้อให้ ป้ากับลุงเป็น คนดูแล เป็นส่วนที่กระเสือกกระสนมาได้ในระดับมัธยม สมัยก่อนในชั้น มศ.5 เขาใช้เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์คือผ่าน แต่ผมสอบตก ผมได้ 49 เปอร์เซ็นต์ ผมตก ซ�้ำชั้น สมมุติในห้องมี 30 คน จะผ่านแค่ 8-9 คน นอกนั้นตก ซ�้ำชั้นสองปี” เสร็จเรียบร้อย อาจารย์สุรภีเขาก็มาสอนวิชาประวัติศาสตร์ เขา พูดให้นักเรียนในห้องฟังว่า จิรชัยไปประกวดการพูดมาได้ที่ หนึ่ง แล้วอาจารย์ก็บอกว่า จิรชัย ครูว่าเธอไม่น่าจะเรียนหมอ หรอก เธอน่าจะไปทางสายปกครอง เธอน่าจะไปเรียนนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ค�ำนี้แหละคือค�ำแนะน�ำการศึกษาต่อ”

‘พู ด ’เปลี่ ย นชี วิ ต ค� ำ ชี้ แ นะจากอาจารย์ “พอจบ มศ.5 แล้ว ต้องต่อปริญญาตรี เราไม่มีใคร แนะน�ำว่าเราจะเรียนสายไหน ทีนี้ อาจารย์ สุรภี เลื่อนปรีชา ที่ อ ยู ่ โรงเรี ย นบางใหญ่ ท่ า นสอนผมตอนผมอยู ่ มศ.2 ท่ า น เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ท่านส่งผมไปประกวดกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ ‘ประวัติของข้าพเจ้า’ และในช่วงมัธยมต้นผมก็เคยไป เรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดชลอ โรงเรียนนี้เขามีพระ อาจารย์สอน เขาจะมีการแข่งขันโต้วาทีระหว่างโรงเรียนต่างๆ อยู่เป็นประจ�ำ พระอาจารย์จะคอยสอน คอยแนะน�ำว่าควรพูด อย่างไร ผมได้รับการฝึกสอนมาจากพระอาจารย์ พอมีการประกวดการพูดของโรงเรียนมัธยมในเขตการ ศึกษา 5 จังหวัด อาจารย์สุรภีเขาก็ส่งผม พอได้หัวข้อที่จะต้อง ประกวดมา ตอนนั้นผมไม่ได้ไปหาพระอาจารย์ที่วัดชลอแล้ว และก็ไม่มีเวลาแล้วด้วย ปรากฏว่าคนที่ผมหันหาก็คือแม่ผมเอง ผมเล่าให้แม่ฟัง ขณะที่แม่ก�ำลังเย็บจักร ผมบอก แม่สอนหน่อย สิจะให้พูดอะไรบ้าง แม่ก็เริ่มสอน สอนตั้งแต่ต้นว่า ก็บอกก่อนสิ ฉันชื่ออะไร บ้านอยู่ที่ไหน เรียนที่ไหน อนาคตเราอยากเป็นอะไร ทีนี้ยาวเลย ผมก็จดๆ ตามที่แม่บอก ผมมาสะดุดตรงค�ำว่า ‘อนาคตเราจะเป็นอะไร’ ผมมี ความรู้สึกว่าผมอยากจะเป็นหมอ อยากช่วยเหลือคน ผมก็พูด บรรยายตามนั้น ผลประกาศออกมาผมได้รางวัลที่ 1 ได้สมุดปก แข็ง 5 เล่ม กับเงิน 2,000 บาท ดีใจใหญ่เลย พอหลังจากประกวด

เรี ย นและท� ำ งาน รามค� ำ แหง ’Gเป็ ด พอจบ มศ.5 ผมไม่มีปัญญาจะไปเรียนตลอดเวลา ผม เรียนรามค�ำแหง ปี 2520 รหัส 20104422 ผมท�ำงานไปด้วย ลุงฝากให้ท�ำงานกับส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี เป็น ลูกจ้าง ต�ำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด เงินเดือนขั้นต้น 1,080 บาท พอเป็นลูกจ้างประจ�ำ อาจารย์สนิท สอนจันทร์ มาเป็นผู้ประสาน งานกรมสามัญ ผมมาอยู่กับอาจารย์ ช่วยอาจารย์พิมพ์ดีด และ งานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องครูมัธยมศึกษา ในระหว่างที่ช่วยงาน อาจารย์สนิทท่านจะสอนผมทุก อย่างและทุกวัน ท่านจะถาม “ชัยเย็นนี้ว่างไหม” ผมจะตอบ ทันทีทุกวันเหมือนกัน “ว่างครับ” หรือบางทีวันเสาร์ ท่าน ถาม “ชัยว่างไหม” ผมก็ตอบ “ว่างครับ” อาจารย์ให้ท�ำอะไร ผมไม่เคยปฏิเสธ แม้กระทั่งตอนเย็นบางวัน อาจารย์บอก “วัน นี้ไปไหนรึเปล่าจะไปกินข้าวกับ ผอ.ปากเกร็ด อาจารย์กว้าง รอบคอบ” ผมไปหมด ไปทานข้าวกับผู้ใหญ่ พวกเขาก็ทานเหล้า ผมก็มีหน้าที่ชงเหล้า แต่สิ่งที่ผมได้มาคือความคิดความเห็นของ 19

issue 110 march 2017


กฎหมายอาญาต้องกระท�ำโดยเจตนา คุณต้องใส่มาตรา 59” ผมตอบว่า “ผม นึ ก ว่ า อาจารย์ รู ้ แ ล้ ว ผมก็ เ ลยไม่ ใ ส่ ” (หัวเราะ) อันนี้แหละคือสิ่งที่เราได้จาก การพบอาจารย์ พอท� ำ ตามค� ำ แนะน� ำ ผมก็รอดมา ผมเรียนไปจนเข้าปีที่ 7 เขาเรียน กัน 4 ปี แม่มาถาม “แอ๊วจะจบรึยัง” โอ้ โห มันสะท้อนใจเลย เพราะผมท�ำงานไป ด้วย บางทีลงทะเบียนไป 24 หน่วย ผม ไปสอบแค่ 19 หน่วย เพราะบางทีเวลา สอบไปตรงกับเวลางาน หรือมีประชุมที่ ส�ำคัญ ผมก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปสอบ เกือบ ไม่จบ บางคนบอกเขาได้กัน G7 นะ ผม บอกผม Gเป็ด – เจ็ดปี!

อาจารย์ทั้งหลาย อาจารย์กว้างเขาคิด อย่างไร การท�ำงานเป็นยังไง มีเหตุการณ์ อะไรบ้าง นี่แหละอาจารย์สนิทเป็นคน ท�ำให้ผมได้รับประสบการณ์ ผมเป็ น ลู ก จ้ า งประจ� ำ ต� ำ แหน่ ง พนักงานพิมพ์ดีดอยู่ 3 ปี (2520-2522) ไม่มีเวลาไปเรียนรามค�ำแหง ถามว่าท�ำไม ถึ ง เรี ย นนิ ติ ศ าสตร์ อาจารย์ สุ ร ภี บ อก แล้ ว ผมต้ อ งไปสายปกครองต้ อ งเรี ย น นิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ เผอิญเพื่อนที่ โรงเรียนวัดเขมาฯ เรียนรามค�ำแหงคณะ นิ ติ ศ าสตร์ กั น หลายคน ผมก็ ไ ปตาม เพื่อนบ้าง ปรากฏว่าที่รามค�ำแหงการลง ทะเบียนเรียน ถ้าสอบไม่ผ่าน 9 หน่วยกิต เทอมต่อไปลงไม่ได้ ผมก็ลองดูเพราะเงิน มี แ ค่ นี้ ค่ า ลงทะเบี ย นหน่ ว ยกิ ต ละ 18 บาท ผมลง 9 หน่วย ปรากฏว่ามันตกไป หนึ่งวิชา เทอมต่อไปก็ลงไม่ได้ ต้องมาลง ทะเบียนใหม่คือรหัส 21 ผมไม่มีโอกาสไปเรียน ต้องคอย ถามข่าวว่าวิชาไหนคนตกเยอะ วิชาไหน ยาก เพื่อนบอกว่าวิชากฎหมายปกครอง

ตกเยอะนะ ภาษาอังกฤษตกเยอะนะ ผม ก็ไปเรียน พอสอบภาษาอังกฤษก็ไม่เห็น ยากเลยนี่หว่า ได้ G ด้วยนะ กฎหมาย ปกครองก็ได้ G อีก ไหนว่าคนตกเยอะ (หั ว เราะ) ผมอาศั ย เพื่ อ นแนะน� ำ ช่ ว ง ใกล้สอบผมไม่มีสิทธิ์ไปเรียน ผมให้เพื่อน ติ ว ให้ ท� ำ งานกลั บ ถึ ง บ้ า นอาบน�้ ำ เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยก็ พ ายเรื อ จากบางม่ ว งมาถึ ง บางใหญ่ (นนทบุรี) มาให้เพื่อนติวตอน เย็ น ถ้ า มั น ตรงกั บ วั น ศุ ก ร์ ผ มก็ ข อนอน ค้างที่บ้านเพื่อน เพราะกว่าจะได้กลับก็ 4-5 ทุ่ม นี่คือช่วงชีวิตที่ผ่านมา อาจารย์ ร ามค� ำ แหงทุ ก ท่ า น ผมมั่ น ใจว่ า ท่ า นอยากพบนั ก ศึ ก ษา แต่ นั ก ศึ ก ษาคนไหนล่ ะ ที่ จ ะกล้ า ไปหา อาจารย์ ผมมี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ผมตกวิ ช า สิทธิยึดหน่วง กฎหมายแพ่ง สอบสอง หนก็ไม่ได้สักที กฎหมายอาญาสอบสอง หนก็ ไ ม่ ผ ่ า นทั้ ง ที่ ค� ำ ตอบก็ ต รงกั น ก็ ไ ป ขอพบอาจารย์ อาจารย์บอก “คุณเรียน กฎหมายอาญาคุ ณ ไม่ อ ้ า งมาตรา 59 ใครเขาจะรู้ เพราะนี่เป็นกฎหมายหลัก 20 IS AM ARE www.fosef.org

‘ครู ’ ในชี วิ ต เริ่ ม ต้ น การท� ำ งาน กรมการปกครอง เป็ น สถานที่ แรกที่ผมไปสอบ ตอนนั้นจังหวัดนนทบุรี เปิดสอบเจ้าหน้าที่ปกครอง 1 ผมก็ไป สอบและผมก็ ไ ด้ รั บ การบรรจุ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ป กครอง 1 ที่ ท� ำ การปกครอง จั ง หวั ด นนทบุ รี อั ต ราเงิ น เดื อ น 900 บาท คือตอนเป็นลูกจ้างประจ�ำเงินเดือน 1,380 บาท เป็นข้าราชการรับเงินเดือน 900 บาท แต่ผมถือว่าเพื่ออนาคต เพราะ ว่าถ้าเป็นข้าราชการก็สามารถพัฒนาตัว เองไปได้ และผมไปลงที่อ�ำเภอบางบัวทอง อยู ่ กั บ ท่ า นนายอ� ำ เภอ ธนะพงษ์ จั ก กะพาก ท่ า นมี เ วลาท่ า นจะสอน แนวทางการท� ำ งาน ช่ ว งนั้ น ผมเป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ป กครอง 1 แต่ ผ มยั ง เรี ย น รามค�ำแหงไม่จบนะ สิ่งหนึ่งที่ท่านสอน ผมจ� ำ มาทุ ก วั น นี้ คื อ “นายทุ ก คนชอบ การประจบด้ ว ยการท� ำ งาน ถ้ า จะ ประจบนายก็ให้ประจบด้วยการท�ำงาน การประจบสอพลอนั้นไม่ยืนยาว” ท่าน นี้ เ ป็ น ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาคนแรกที่ ส อนชี วิ ต การท�ำงานให้ผม


ผมเป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง 1 ที่อ�ำเภอบางบัวทองอยู่ 3 ปี จังหวัดเห็นหน่วยก้านดีก็เรียกมาช่วยราชการจังหวัด มา เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง 2 ที่ท�ำการปกครองจังหวัดนนทบุรี ยัง ต้องไปเรียนไปสอบที่รามค�ำแหงอยู่ ช่วงนั้นมีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทุกคนรู้จักคือท่าน ปริญญา นาคฉัตรีย์ ผู้ว่า ราชการจังหวัดนนทบุรี อีกท่านคือจ่าจังหวัดท่าน วิบูลย์ สงวน พงศ์ ต่อมาเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย อีกสองท่านคือ ท่าน แก่นเพชร ช่วงรังษี เป็นผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น อีกท่าน หนึ่งคือ ท่านอุไรวรรณ เทียนทอง เสมียนตราจังหวัด ผมถือว่า ทั้งสามคนเป็นครูในการท�ำงาน ผมเป็นเด็กท่านก็ใช้ผม สอนผม ด้วยการท�ำงาน

จากนั้นมีผู้ที่ติดต่อจะให้ผมได้มาช่วยราชการส่วนกลาง อยู่ส�ำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย ผมก็ไม่รู้ จักใคร แต่ผมมีครูตลอดนะ ครูคือผู้ที่อาวุโสที่เรานับถือ ถาม พี่ๆ เขาเป็นปลัดอ�ำเภออาวุโส ไปดีไหม เขาบอกมีทั้งดีและไม่ดี นะ ข้อดีคือ เราได้เห็นมุมกว้าง อยู่ระดับกระทรวงจะเห็นอ�ำเภอ จังหวัดเป็นยังไง รู้จักคนเยอะแยะมีเครือข่ายมากมาย แต่ข้อไม่ ดีคือ เขาไป (หมดวาระ) เราไปด้วยนะ ผมถามแล้วในสายตา หัวหน้าไปไหม เขาบอกไป ผมก็ไป ไปช่วยงานอยู่ช่วงหนึ่ง ต่อมาผมย้ายไปอยู่ฝ่ายตรวจการงานทะเบียน กรมการ ปกครอง มีหน้าที่ไปตรวจติดตามงานสอบสวนผู้ที่ท�ำการทุจริต กรณีเพิ่มชื่อเกินก�ำหนดไม่เป็นไปตามกฎหมาย สวมตัวท�ำบัตร ประจ�ำตัวประชาชน พวกนี้ก็สอบสวนมาตลอด แล้วกลับไปเป็น ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ ต รวจการส่ ว นท้ อ งถิ่ น ที่ จั ง หวั ด นนทบุ รี 1 ปี ( 2540) ปรากฏว่าทางกรมปกครองตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมาย ปกครองท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน ขณะนั้นคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลสุขาภิบาล แก้ ไขกฎหมายให้ ส อดคล้ อ งกั บ รั ฐ ธรรมนู ญ ปี 2540 เพราะ รัฐธรรมนูญนี้บอกว่า ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะสมัยก่อนนายอ�ำเภอเป็นประธานสุขาภิบาล ผมก็เป็นหนึ่ง ในคณะท�ำงานปรับปรุงกฎหมายปกครองท้องถิ่น

ศิ ษ ย์ มี ค รู โลดทะยานหาประสบการณ์ ท� ำ งานได้ ร ะยะหนึ่ ง ผมก็ เรี ย นจบปริ ญ ญาตรี เ มื่ อ ปี 2530 จึงสอบเปลี่ยนสายงานเป็นปลัดอ�ำเภอในปี 2531 บรรจุ เป็นปลัดอ�ำเภอที่อ�ำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ไป ผู้บังคับบัญชาของผมทั้งสามคนไปส่งผมด้วย ที่ดอนเจดีย์ คนก็ ไปส่งกันเยอะ ผมเป็นปลัดอ�ำเภอดอนเจดีย์ 3 ปี (2531-2534) แล้วกลับมานนทบุรี มาเป็นปลัดอ�ำเภอช่วยราชการจังหวัดสมัย ท่าน ปริญญา นาคฉัตรีย์ เดิมจะได้ลงอ�ำเภอไทรน้อย ท่านบอก ให้เป็นผู้ช่วยจ่าจังหวัด

21 issue 110 march 2017


คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่รู้จักเลย แต่ก็ครับไว้ก่อน เรา ท�ำงานอยู่ไหนก็ได้ เราก็ไป สคบ.วันที่ 20 ธันวาคม เขาไม่ว่าง จึงพามาพบท่านเลขา สคบ.รับรองคุณสมบัติผม รับรองความ ประความพฤติผม รุ่งขึ้น สคบ.เขาให้ผมมารับหนังสือ ไปถาม กรมการปกครองว่ายินยอมจะโอนไหม ผมก็ตอบหนังสือตามที่ เขาถาม 6-7 ข้อ เช่น นายจิรชัยอัตราเงินเดือนเท่าไร วุฒิอะไร แล้วมีอยู่ข้อหนึ่งถามว่าพร้อมจะส่งตัวได้เมื่อไหร่ ข้าพเจ้าขอไป ณ บัดนี้ (หัวเราะ) ค�ำสั่งรับโอนก็ออกเสร็จเรียบร้อย ออกเดิน ทางมา สคบ.วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ที่ สคบ. เราไม่รู้จักงานเป็นยังไง ก็ถามเจ้าหน้าที่น้องๆ เราก็ถามท�ำงานยังไงน้องเรื่อง สคบ. เขาบอก ไม่ยากหรอกพี่ สคบ.เป็นหน่วยรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคกรณีซื้อสินค้าและ บริการแล้วถูกเอาเปรียบ ชาวบ้านมาร้องเรียน ที่นี่จะเจรจาไกล่ เกลี่ยเชิญผู้ประกอบการและผู้บริโภคมาเจรจา ถ้าจบได้ก็จบไป ถ้าจบไม่ได้มีอนุกรรมการพิจารณา ถ้ายังไม่จบอีก ผู้บริโภคเขา อาจร้องขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนให้ ด้วย ฟ้องแล้วค่าฤชาธรรมเนียมก็ไม่ต้องเสีย ค่าทนายก็ไม่เสีย ดีนี่หว่าผมนึกในใจ ผมอยู่อ�ำเภอเป็นปลัดอ�ำเภอผมท�ำคนเดียว เบ็ดเสร็จหมดเลย ก็เลยถูกใจลูกจ้างประจ�ำเป็นครูสอนผม อยู่ อธิ ษ ฐานต่ อ พระพรหม ต่อมา มาเป็นคณะท�ำงานปรับปรุงกฎหมายปกครอง ตั้งแต่ปี 2543 อยู่จนถึงเป็นหัวหน้าฝ่ายแล้วไปเรียน นปส. นัก ท้องถิ่นและการขยายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง ปกครองระดับสูง ปี 2550 ถิ่น อยู่ 2 ปี (2540-2542) ผมเป็นฝ่ายเลขามาประชุมที่ตึก บัญชาการท�ำเนียบรัฐบาล ที่ส�ำนักนายกนี่ล่ะ มีอยู่วันหนึ่งที่ ประทับใจ ตอนเย็นลงจากตึกบัญชาการเดินผ่านหน้าตึกไทย คู ่ ฟ ้ า อากาศดี ม ากเลยนึ ก อย่ า งไรไม่ รู ้ ไ ปไหว้ พ ระพรหม ว่ า ถ้ามีโอกาสขอให้มานั่งรับราชการที่ท�ำเนียบรัฐบาลเถอะ ที่นี่ บรรยากาศดีจังเลย นึกอธิษฐาน แล้วพอปลายปี 2542 ผมสอบซี 7 ตก เขาให้ 45% คือ ผ่าน ผมได้ 43% ก็ไม่ได้คิดอะไร พอปลายเดือนคิดทบทวนตัว เอง การเป็นข้าราชการกรมการปกครองมันต้องย้ายตะลอนๆ ไปที่ต่างๆ ยามนายไม่อยู่แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหนล่ะ บ้านเราอยู่ จังหวัดนนทบุรี เลยตัดสินใจไม่อยากอยู่แล้วกรมการปกครอง อยากมาอยู่ท�ำเนียบรัฐบาล ตอนนั้นผมมีลูกเล็กแล้วด้วย ปรากฏ ว่า มาหาผู้บังคับบัญชาที่เคยรู้จักกัน ในวันที่ 19 ธันวาคม 2542 บอกหัวหน้าว่าอยากมาอยู่ท�ำเนียบรัฐบาลที่ไหนก็ได้ ไม่อยาก ตะลอนๆ แล้ว พอวันที่ 20 ธันวาคม 2542 หัวหน้าโทรไปที่กรมการ ปกครอง ตอนนั้นผมเป็นผู้ช่วยเลขาฯ อยู่ ท่านบอก จิรชัย มี ต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 6 ว่างที่ สคบ. จะเอาไหม เอาก็ตอบมาตอนนี้ ผมไม่รู้จัก สคบ. คืออะไรเลย สํานักงาน 22 IS AM ARE www.fosef.org


ช่วงปี 2543 ผมเป็น ซี 6 พอปลายปี ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาคื อ ท่ า น นิ โรธ เจริ ญ ประกอบ เป็ น ผอ.ส่วนโฆษณา ถามผมว่า จิรชัย จะให้ไปดูงานที่ ญี่ปุ่นสามเดือนครอบครัวจะว่ายังไง ผมบอกโดย หลักการแล้วครอบครัวไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการ ท�ำงานของผมอยู่แล้ว ให้อิสระกับผม ไปญี่ปุ่น 3 เดือน (ต.ค.-ธ.ค.2544) ไปเรียนรู้การท�ำงานคุ้มครอง ผู้บริโภค กลับมาได้สองสัปดาห์ผมก็สอบ ซี 7 ได้เป็น หัวหน้าฝ่าย ปรากฏว่าจังหวะของผมดีอย่างว่า พอ เป็นซี 7 ส�ำนักงาน ก.พ.ปรับโครงสร้างของ สคบ. ว่า ซี 7 ให้เป็น 7 ว. จาก 7 ว.ให้เป็น 8 ว.ผมก็ท�ำ ผลงาน ซี 8 ได้ เป็น ซี 7 ไม่ถึงปีก็เป็นซี 8 พอ 8 ว.ก็ขอไป เรียน นปส.โควต้าที่เขาให้กับส�ำนักงานปลัดนายก รัฐมนตรีเพียงแค่ 1 ต�ำแหน่ง ผมก็ถามเจ้าหน้าที่ว่าพี่ จะไปเรียน นปส.มันจะมีอุปสรรคอะไรไหม เขาบอก ว่าคงต้องขอผู้บังคับบัญชา ผมเตรียมแผนสองไว้ ถ้า หากไม่ได้จริงๆ ผมจะไปขอปลัดกระทรวงมหาดไทย เรียน ท่าน สุจริต ปัจฉิมนันท์ เจ้านายเก่าผม ปรากฏ ว่าทางนี้เห็นชอบว่าให้ผมไปเรียน นปส.เรียนปี 2550 รุ่น 50 เรียนอยู่ 3 เดือนพอจบ นปส.มา รุ่งขึ้นก็เป็น ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก และ ผอ.กองเผย เเพร่ประชาสัมพันธ์ ประมาณปี 2550-2551 ร่ า งกายยั ง ต้ อ งตรวจสุ ข ภาพ ดวงก็ เ ช่ น กั น พอปี 2552 มีต�ำแหน่ง ผอ.ส�ำนักว่างสอง ต�ำแหน่ง คือ ส�ำนักแผนและพัฒนาการคุ้มครองผู้ บริโภค พอเอาเข้าจริงไม่ได้เป็น พลาดไป ยังมีอีก

ต�ำแหน่งคือ ผอ.ส�ำนักกฎหมายและคดี มีคนมาบอกพี่ลองไปดู หมอดูบ้างนะ คนเรายังตรวจสุขภาพร่างกายได้ พี่ลองไปตรวจ สุขภาพดวงสิมันจะได้ไหม เขาว่า หมอขวัญเป็นคนขายเสื้อผ้า อยู่ตรอกข้าวสาร ดูหมอเก่งนะ ไปถึงเขาก็ดูไพ่ยิปซี ปูผ้า หมอดู บอกว่าภายในกันยายนพี่จะไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าตุลาคมไปแล้ว ทุกอย่างเป็นของพี่หมด ผมนึกในใจเพราะตอนนั้นคู่แข่งมันมี ไง คู่แข่งเป็นนิติกร 8 ว.เขาโอนมาได้ 2 เดือน ผมเป็น ผอ.มา 2 ปีแล้ว ผมก็มั่นใจว่าหมอดูจะมารู้ดีกว่าผมได้ยังไง ผมน่าจะ ได้เป็น ผอ.ส�ำนักกฎหมายและคดี คนที่มาได้แค่ 2 เดือน มัน จะได้ได้ยังไง พอเอาเข้าจริงมีการคัดเลือกเดือนกรกฎาคม ผมก็ไม่ได้ อย่างที่หมอดูว่า คนที่มาใหม่เจ้านายเขาไว้วางใจในข้อกฎหมาย เขาก็ให้เป็น ผอ.ส�ำนักกฎหมายและคดี ผมไม่ได้ทั้งส�ำนักแผน และส�ำนักกฎหมายและคดี พอเริ่มเดือนตุลาคมต�ำแหน่งรอง เลขา สคบ.ว่ า ง ในจ� ำ นวนคู ่ แข่ ง ผมเป็ น คนเดี ย วที่ อ บรมนั ก บริหารระดับสูงแล้วเมื่อปี 2550 ผมสมัครก็ได้เป็นรองเลขาธิการ สคบ.ปี 2552 ข้าม ผอ.สองคนนั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ พอเป็นรองเลขาธิการ สคบ. นายเขาก็ใช้งาน เราไม่รู้ หรอกว่าสิ่งที่นายใช้งานนั่นเเหละ คือทดสอบเรา แต่งตัวเรา ใช้ ไปไหนก็ไป หลายคนบอกผมเป็นมิสเตอร์ yes! คือไม่ปฏิเสธ อัน นี้เป็นสิ่งที่ผมมั่นใจว่าผู้บังคับบัญชาเขามอบหมายให้เราท�ำงาน นั่นแหละ คือทดสอบความสามารถ ทดสอบความพร้อม ทดสอบ ว่าคนนี้เหมาะไหมที่จะให้ขึ้นต�ำแหน่งต่างๆ ทีนี้ท่านเลขา สคบ. 23 issue 110 march 2017


24 IS AM ARE www.fosef.org


ท่านนิโรธ เจริญประกอบ ลาออกจาก ราชการ 1 กรกฎาคม ปี 2555 ด้ ว ย เหตุผลของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านจะเกษียณ 30 กันยายน ปีเดียวกัน สุดท้ายผมได้เป็น เลขาฯ สคบ. เมื่อปี 2555 ผู้บังคับบัญชา ถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ แนะน�ำสั่งสอนดูแล ให้โอกาสสนับสนุนผม ผมก็ไม่ห่างนัก ไม่ ใกล้นัก ปีใหม่ สงกรานต์ก็ไปหาท่าน สู ่ ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก เป็ นเลขาธิก าร สคบ.ได้ป ีเดียว ก็ ม าเป็ น ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรี ผมสะเทือนใจที่ถูกย้าย เพราะ ผมเตรี ย มการแล้ ว ว่ า ในปี ง บประมาณ 2556 ผมจะท� ำ งานอะไร มาย้ า ยผม ตุลาคมทั้งที่ผมไม่รู้ตัวมาก่อนเลย แต่ว่า ยังไงอยู่ที่ไหนเราก็ท�ำงานได้ สุดท้ายไม่มี สิทธิ์เลือกเขตตรวจราชการ เขาเตรียมไว้ เรียบร้อยแล้วส�ำหรับผู้ตรวจคนสุดท้ายก็ คือเขต 8 ดูแล 5 จังหวัดภาคใต้ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ผมถือว่า ชาวบ้านอยู่ได้เราต้องอยู่ได้ ปลายปี 2557 คสช.มาแต่งตั้งผม เป็นประธานบอร์ดประปาภูมิภาค เป็น บอร์ดการไฟฟ้านครหลวง ผมตกใจมาก เลยเพราะไม่เคยคิดว่าต�ำแหน่งเหล่านี้ คืออะไร ท่านนายกฯเองผมก็ไม่เคยสนิท สนมส่วนตัว แล้วจู่ๆ มาแต่งตั้ง ผมเป็ น ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี เขต 8 ได้ 1 ปี พอปี 2558 ท่าน ปนัดดา ดิศกุล ให้มาเป็น หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก รั ฐ มนตรี ที นี้ หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจราชการ ส�ำนักนายกรัฐมนตรีต้องมาแบ่งเขตกัน ใหม่ เขาให้เกียรติหัวหน้าผู้ตรวจส�ำนัก นายกรั ฐ มนตรี เ ลื อ กเขตก่ อ น ปี ที่ แ ล้ ว ผมไม่มีสิทธิ์เลือก ปีนี้เลือกก่อน จากใต้ สุ ด ผมเลื อ กไปเหนื อ สุ ด เลย เชี ย งใหม่ แม่ฮ่องสอน ล�ำพูน ล�ำปาง

หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจฯ ที่ จ ริ ง แล้ ว มี สิ ท ธิ์ ท่ี จ ะไม่ ต ้ อ งไปประจ� ำ เขตก็ ไ ด้ แต่ ผมต้องลงพื้นที่ ถ้าผมไม่ลงพื้นที่ผมจะ ไม่รู้เลยว่างานมันเป็นยังไง ไปอยู่เขต 15 และบูรณาการเรื่องประปา ผมชอบงาน บูรณาการอยู่แล้ว เช่น ผมเป็นผู้ตรวจ ราชการส�ำนักนายกรัฐมนตรี ผมลงพื้นที่ ไปเยี่ยมสาขาของประปาภูมิภาค มันได้ หลายมิติ 1.เราได้ศึกษา ว่าขนาดบรรจุ น�้ำหมื่นลิตรเป็นอย่างไร การผลิตน�้ำ 250 ลูกบาศก์เมตรต่อ 1 ชั่วโมงท�ำยังไง แหล่ง น�้ำที่มีอยู่จะพอไหม เราก็ศึกษา 2.เรารู้จัก คน คือใครเป็นผู้จัดการ ใครเป็นหัวหน้า งาน บุคลากรอยู่สุขสบายดีหรือมีปัญหา อะไรไหม การออกพื้นที่ผมถือว่าอดีตผม เป็นนักปกครองหรือแม้กระทั่งขณะนี้ผม ก็เป็นผู้บริหารและนักปกครอง

พอปี 2559 ได้เป็นรองปลัดส�ำนักนายก รัฐมนตรี หั ว ใจประธานสอบโครงการรั บ จ� ำ น� ำ ข้ า ว : ให้ ค วามเป็ น ธรรม ให้ โอกาส ดู ก ฎหมาย “คื อ ผมเองคิ ด ว่ า ผมพอแล้ ว จะให้เป็นอะไรก็เป็น ให้ท�ำอะไรก็สนุก ไปทุ ก งาน สุ ด ท้ า ยมาเป็ น ปลั ด ส� ำ นั ก นายกรัฐมนตรี ซึ่งผมไม่คาดคิดเลยว่า จะมาถึงระดับนี้ได้” ในปี 2558-2559 คุณจิรชัยถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานสอบ เรื่ อ งโครงการรั บ จ� ำ น� ำ ข้ า วถึ ง 3 คณะ ได้แก่ คณะแรกคือ โครงการเรื่องจ�ำน�ำ ข้าวที่ท่านอดีตนายกยิ่งลักษณ์ถูกกล่าว หาว่าทุจริต คณะที่สองคือ กรณีการขาย ข้าวแบบรัฐต่อรัฐ คณะที่สาม ตรวจสอบ

หลั ก การท� ำ งานของผม คื อ การท� ำ ราชการอย่ า มองแบบม้ า ล� ำ ปาง ความหมายคื อ อย่ า มองแต่ เ ฉพาะในเรื่ อ งของตั ว เองเท่ า นั้ น ให้ ม อง ในยุ ค ที่ ท ่ า นนายกมี น โยบายขณะนี้ คื อ ท� ำ แบบบู ร ณาการ มี ก ารเชื่ อ ม โยง ประสานงาน การออกพื้นที่จะได้ความรู้ 3 เรื่อง 1.รู้จักพื้นที่ 2.รู้จักงาน 3.รู้จักคน ผมถือ หลักตรงนี้ตลอดเพราะว่านักบริหารไม่ใช่ ว่าจะมานั่งอยู่กับโต๊ะอย่างเดียว ในขณะที่ เ ป็ น หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจ ราชการก็ยังด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธาน บอร์ ด ประปาอยู ่ ในมุ ม มองผม งาน บริหารประปา ผมสามารถใช้ศักยภาพ ในการเป็ น ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก รั ฐ มนตรี ป ระสานไปยั ง ผู ้ ว ่ า ราชการ จังหวัด ประสานไปที่นายอ�ำเภอ ประสาน ทุกมิติได้ ในการที่จะให้พี่น้องประชาชน ได้ใช้น�้ำประปา อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ผม ว่าเป็นประโยชน์ เพราะเรามีหมวกสอง ใบในการประสานเขาได้ อยู่เป็นหัวหน้า ผู้ตรวจราชการส�ำนักนายกรัฐมนตรี 1 ปี 25 issue 110 march 2017

ข้อเท็จจริงการระบายข้าวย้อนหลัง 10 ปี ขณะนั้นคุณจิรชัยด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นผู้ตรวจราชการส�ำนักนายกรัฐมนตรี หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก รั ฐ มนตรี และรองปลั ด ส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรี รวมถึงประธานบอร์ดประปา “ถามว่าเครียดไหม ผมเครียดอยู่ช่วงต้น ว่า การสอบสวนผมจะเดินอย่างไร แต่ ผมอาศัยว่ามันต้องวางแผน ว่างานนี้ตั้ง ต้น-แล้วเสร็จช่วงไหน แต่ละช่วงควรจะ มีไทม์ไลน์ยังไง ผมรายงานให้ท่านนายก รัฐมนตรีทราบทุก 15 วัน ถึงการด�ำเนิน การสอบสวน ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ท่านเขียนสั่งมา 3 ข้อคือ 1.ให้ความเป็นธรรม 2.ให้โอกาส 3.ดูกฎหมาย


อย่างให้ความเป็นธรรมเรื่องโครงการรับจ�ำน�ำข้าว ผมเอาข้อมูลจากการปิดบัญชี การใช้งบประมาณของแผ่นดิน การสูญ เสีย ดอกเบี้ยต่างๆ ผมก็บอกว่า โอเค แม้การรับจ�ำน�ำข้าว 4 ฤดูกาลผลิต จะใช้งบประมาณไป 6 แสนกว่าล้านบาท ความเป็นธรรม มันต้องมี เพราะอดีตนายกฯ ท่านยิ่งลักษณ์ท�ำโครงการนโยบายนี้ประโยชน์ประชาชนก็ได้รับ แทนที่ชาวบ้านจะขายได้เกวียนละ 8,000 บาท แต่ไปรับจ�ำน�ำ 15,000 บาท ส่วนที่ประชาชนได้รับต้องตัดออกไป ไม่มาคิดเป็นค่าเสียหายที่จะไปเรียกร้องเอาจาก ท่านอดีตนายกฯ กระบวนการราชการที่ท�ำงาน ค่าด�ำเนินงานต่างๆ 2-3 หมื่นล้านตัดออกไป ราชการต้องท�ำตามนโยบาย ตามหน้าที่ ดอกเบี้ย เขาคิด 3.2 หมื่นล้าน ผมบอกอันนี้มันไม่ใช่ธุรกิจ มันเป็นราชการ ดอกเบี้ยตัดออกไป สามส่วนนี้ต้องตัดออกไปเพื่อความเป็นธรรม กรรมการบอกเห็นด้วย ก็โอเค อันนี้คือเรื่องที่เราคิดว่าทุกอย่างต้องให้ความเป็นธรรม ต้องให้โอกาส สิ่งที่เสียหายคือ รับจ�ำน�ำสูง กว่าราคาตลาดข้าวขาวไม่ได้ จึงเกิดความเสียหาย “หลักการท�ำงานของผม คือ การท�ำราชการอย่ามองแบบม้าล�ำปาง ความหมายคือ อย่ามองแต่เฉพาะในเรื่องของ ตัวเองเท่านั้น ให้มองในยุคที่ท่านนายกรัฐมนตรี พอเอกประยุทธ จันทร์โอชา มีนโยบายขณะนี้ คือ ท�ำงานแบบบูรณาการ มี การเชื่อมโยง ประสานงาน ทุกอย่างให้มาร่วมกัน ใครสามารถเกี่ยวข้องกับเราได้บ้าง เรื่องของเขาเราจะเกี่ยวยังไงได้บ้าง ผม ติดตัวมาตั้งแต่เป็นปลัดอ�ำเภอแล้ว กรมการปกครองมีนโยบายให้ปลัดอ�ำเภอรับผิดชอบประจ�ำต�ำบล ในต�ำบลก็จะมีหัวหน้า ส่วน เช่น สาธารณสุขต�ำบล เกษตรต�ำบล พัฒนาการต�ำบล หลายส่วนเกี่ยวข้อง ผมเป็นปลัดอ�ำเภอประจ�ำต�ำบลก็พยายาม ประสานบูรณาการร่วมกันมาตลอด นี่คือหลักการท�ำงานตั้งแต่ต้นเป็นลูกจ้างประจ�ำ จนสุดท้ายมาวันนี้”

26 IS AM ARE www.fosef.org


ข้ า ราชการรุ ่ น พี่ ส ่ ง ถึ ง รุ ่ น น้ อ ง ผมอยากจะฝากถึงเพื่อนข้าราชการทุกคน สิ่งส�ำคัญที่ พึงมี คือ 1.หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ค�ำว่าพอเพียง คือการประมาณตน เป็นเรื่องส�ำคัญเพราะเรารับราชการ เรารู้ อยู่แล้วว่าเงินเดือนที่เราจะได้ขั้นต้นเท่าไหร่ ต้องบริหารจัดการ ตัวเองให้ได้ พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วว่า การได้เงินมาต้องแบ่ง เป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 เอาไว้ใช้จ่ายตัวเองครอบครัว ส่วนที่ 2 ผู้ มีพระคุณ บิดา มารดา ส่วนที่ 3 ในเรื่องสังคมก็ว่าไป ส่วนที่ 4 เก็บเอาไว้รักษาพยาบาล ตรงนี้ต้องมีอยู่ ผมเองเงินเดือนให้พ่อแม่ผมทุกเดือนไม่เคยขาดตั้งแต่ รับราชการมา ผมรับราชการเงินเดือน 900 บาท ผมให้แม่ 300 บาท ผมถือว่าอันนี้คือสิ่งที่ผมสะสมมาตลอด หลักพอเพียงใช้กับ

ราชการถือว่าสมควร เรารู้แล้วรายได้แค่ไหน มีร้อย ถ้าใช้ร้อย ยี่สิบคุณก็เป็นหนี้ยี่สิบ 1.อดออมเป็นเรื่องส�ำคัญ 2.คือประหยัด 3.ซื่อสัตย์สุจริต เป็นเกาะก�ำบัง (ภูมิคุ้มกันที่ส�ำคัญ) “ผมเคยคุยกับภรรยา ถ้าฉันเป็นปลัดส�ำนักนายกฯ มัน จะเป็นมหัศจรรย์ของโลกนะ เพราะฉันเดินมาตั้งแต่ ‘ซีซีด’ จนถึง ‘ซี 11’ ซีซีดคือเป็นลูกจ้างประจ�ำ ซี 1 จนถึง ซี 11 เพราะฉะนั้นมันก็เป็นมหัศจรรย์ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มาเป็นก็จะ ข้ามมา ซี 3 ซี 4 บ้าง แต่ฉันมาทุกระดับเลย จึงท�ำให้รู้สึกว่า ไม่จ�ำเป็นต้องอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น ท�ำหน้าที่ของเรา ให้ดี พระเจ้าเขามองอยู่แล้วว่าจะมอบของขวัญให้ใคร” คุณ จิรชัย มูลทองโร่ย กล่าวทิ้งท้าย

ประวั ติ ชื่อ นามสกุล นายจิรชัย มูลทองโร่ย เกิด วันที่ 20 มกราคม 2500 ต�ำแหน่งปัจจุบัน ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี การศึ ก ษา • มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาลัยรามค�ำแหง • ปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

• พ.ศ. 2552 รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค • พ.ศ.2555 เลขาธิ ก ารคณะกรรมการคุ ้ ม ครองผู ้ บริโภค • พ.ศ. 2556 ผู้ตรวจการส�ำนักนายกรัฐมนตรี • พ.ศ.2557 หั ว หน้ า ผู ้ ต รวจราชการส� ำ นั ก นายก รัฐมนตรี • พ.ศ. 2558 รองปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี • พ.ศ. 2559 ปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีถึงปัจจุบัน

การศึ ก ษาอบรม 1.หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร (วปอ) รุ่น ๕๓ 2.หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่น 50 3.หลักสูตรปลัดอ�ำเภอ (นปอ.) รุ่น 93

ประกาศเกี ย รติ คุ ณ 1.พ.ศ. 2532 ปลัดอ�ำเภอดีเด่น 2.พ.ศ. 2545ข้าราชการพลเรือนดีเด่น 3.พ.ศ. 2554 เกียรติบัตร “คนดีศรีสังคม” 4.พ.ศ.2555 เกียรติบัตร “คนดีศรีสยาม”

ประสบการณ์ ท� ำ งาน • พ.ศ. 2522-2530 เจ้าหน้าที่ปกครอง 1-3 นนทบุรี • พ.ศ. 2531 ปลัดอ�ำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี • พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยจ่าจังหวัดนนทบุรี • พ.ศ. 2540 ผู ้ ช ่ ว ยตรวจการส่ ว นท้ อ งถิ่ น จั ง หวั ด นนทบุรี • พ.ศ. 2543 โอนมารั บ ราชการสั ง กั ด ส� ำ นั ก คณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ต�ำแหน่งเจ้า หน้าที่สืบสวนสอบสวน 6 • พ.ศ. 2550 ผู้อ�ำนวยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก และผู้อ�ำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ • ปถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) • ปถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) • ทวีติตาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) • ทวีติตาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)

27 issue 110 march 2017


บทเรียนชีวิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 5 ร้อยใจ สานต่อที่พ่อท�ำ

น้อมน�ำ ศาสตร์พระราชา เรียนรู้วิถีชนคนพอเพียง ทรงเน้น ‘ปลูกคน’ ก่อน ‘ปลูกป่ า’ เปิ ดใจ เปิ ดโอกาส เปิ ดวิธีคิด ให้คิดบวก...คิดบวก เปลี่ยนชี วิต ชี วิตเปลี่ยน หลายคนมักพูดว่า คนไทยยุคนี้ เป็นสังคมก้มหน้า แล้ง น�้ำใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ในฐานะที่เราเป็นคนยุคนี้ ทุกคนก้มหน้า ก็จริง แต่ก้มดูข่าวสาร ดูสื่อ ติดตามความเป็นไปของทุกเรื่อง ราว ช่องสื่อออนไลน์ ทางไลน์ ทางเฟส แจ้งข่าวสาร บอกเรื่อง ราว ความรัก ความเป็นห่วง ขอความช่วยเหลือ ส่งต่อความสุข ความดี สะท้อนแนวคิดมีมากมาย และบอกได้เลยว่า คนไทยมีน�้ำใจเสมอ อย่างกรณีน�้ำ ท่วมนครศรีธรรมราช ช่องทางสื่อเหล่านี้ ที่ NEW GEN ทุกพื้นที่ สื่อถึงกัน นับจากวันที่น�้ำมามาก จนถึงวันนี้ น�้ำไปหมดแล้ว แต่ น�้ำใจจากผองเพื่อน ศูนย์ครอบครัวพอเพียง จากทุกทิศ ยัง มาไม่หมด...

รอบเดื อ นนี้ ขอขอบคุ ณ ศู น ย์ ค รอบครั ว พอเพี ย ง โรงเรี ย นสตรี ศ รี น ่ า น โรงเรี ย นอุ ทั ย วิ ท ยาคม โรงเรี ย นสตรี ระนอง และเครือข่ายโรงเรียนคู่มิตร ครูเพ็ญนภา เมฆาวรรณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และผอง เพื่อนชาวครอบครัวพอเพียงนครศรีธรรมราช ส่งมอบสิ่งของสื่อ ถึงความห่วงใย ส่งต่อสู่ผองเพื่อนและน้องๆ โรงเรียนบ้านอ้าย เขียว โรงเรียนชุมชนวัดเขาล�ำปะ โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร โรงเรียนบ้านชะอวด โรงเรียนบ้านคอกวัว และโรงเรียนบ้าน โคกทราง ร้อยใจ จับมือมั่น สานสัมพันธ์ จากมิตร สู่โรงเรียน คู่มิตร ครูอรอุมา นิตย์วิมล ครูจุรีย์ ไก่แก้ว และผอ.สุภาภรณ์ คงคานนท์ โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร รวมทั้งครูรัชนก บุญทอง แก้ว โรงเรียนบ้านชะอวด และน้องใหม่ ครูกชพรรณ บุญพร่อง โรงเรียนบ้านอ้ายเขียว ร่วมใจสานต่อที่พ่อท�ำ น้อมน�ำ ศาสตร์ พระราชา พัฒนาวิธีคิด สร้างมิตร สร้างเครือข่าย ร่วมจัดการ เรียนรู้ตามหลักพอเพียง ส่งเสริมให้นักเรียนคิด เห็นความส�ำคัญ 28 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่าเรื่อง ของการใช้ชีวิตที่สมดุลใน 4 มิติ คือ การใช้วัตถุสิ่งของ เงินทอง อย่างประหยัดคุ้มค่า การเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคม การช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการเห็นคุณค่าของรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่น เรามารวมพลัง ร่วมคิด รวม พลคนดี บ่มเพาะให้ความดีงอกงามในจิตใจ

เณรน้อย เจ้าปัญญา จะไม่ใช่แค่การ์ตูนที่เราชอบแต่จะมี จริง ในเด็กไทยของเรา เรียนรู้จนเกิดปัญญา สร้างคุณค่า สร้าง ความสุขแก่ตน สังคมและพลโลก เรามาสร้างสรรค์ “ครอบครัว ให้พอเพียง” น้อมน�ำ “ศาสตร์พระราชา” แนวทางการพัฒนา ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ศาสตร์ที่แนะวิธีให้ครอบครัวของชาว ไทย น�ำไปเป็นแนวทางการพัฒนาตนเองและครอบครัว ให้มี ภูมิคุ้มกันที่มั่นคง ในการด�ำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ด�ำรงตน เป็น “คนดี” ทั้งคิดดี พูดดี ท�ำดี ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สุจริต มีวินัย และมีความสามัคคีปรองดองกัน เพื่อร่วมกันพัฒนา

ประเทศชาติบ้านเมือง ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นปึกแผ่น มั่นคง ตลอดไป ความโดดเด่นของศาสตร์พระราชา คือ แนวปฏิบัติที่ มี ก ระบวนการที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ค� ำ นึ ง ถึ ง บริ บ ททางภู มิ ศ าสตร์ เศรษฐกิ จ และสั ง คมของแต่ ล ะพื้ น ที่ ณ เวลานี้ สั ง คมที่ นี่ โรงเรี ย นสาธิ ต มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฎ นครศรี ธ รรมราช สร้ า ง เสริมบ่มเพาะเด็กน้อย เด็กดี รวมพลังก่อการดี จุดเริ่มต้นจาก ครอบครัวดี อย่างครอบครัวของน้องชัญญานุช วันดอนแดง ป. 5/3 แม่แหม่มของน้องใบปอ ครอบครัวยุคใหม่ ชวนครอบครัว เป็นครอบครัว 29

issue 110 march 2017


พอเพียง น�ำหลัก “2 เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ” น้อมน�ำ หลักคิด หลัก 2-3-4 ด�ำเนินชีวิต “พอเพียง” ใช้ชีวิตสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ คือ ด้านวัตถุหรือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ค�ำว่า อยู่อย่างพอเพียง ตามพระราชด�ำรัสของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2541 คือ การ บ่มเพาะให้เด็กและเยาวชน “คิดอย่างพอเพียง พูดจาอย่างพอ เพียง และปฏิบัติตนอย่างพอเพียง” อย่างเช่น น้องไทด์ ด.ช.ปิย วัฒน์ ศรีรินทร์ ชั้นป.6/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎ นครศรีธรรมราช ศิษย์ครูเพ็ญ น่ารักมาก ตอนนั้นรู้จักกันเล็กๆ ก็ชื่นชมในความมีน�้ำใจ มีจิตอาสา ช่วยเหลือทุกคน หลังจากนั้น เริ่มสนิท ก็ได้สัมผัสถึง ความมีน�้ำใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ เล็กๆน้อยๆ ที่น้องขันอาสา ช่วยงานทั้งที่บ้าน โรงเรียน และ ร้านบ้านนายทั่ง คีรีวง สถานที่ที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทย แล้วเราพบกับรอย

ยิ้มของน้องไทด์ ผู้ขันอาสา เด็กน้อยผู้น่ารัก ปั่นจักรยาน ช่วย เหลือนักท่องเที่ยว เสาร์ – อาทิตย์ น้องบอกว่าไม่เรียนพิเศษ แต่จริงๆ แล้ว เราทุกคน ผู้มาเยือน นั่นแหละคะ คือครูที่สอน พิเศษ ให้น้องไทด์ ครูที่จะมีส่วนช่วยบ่มเพาะให้น้องไทด์ .. คิดดี คิดเป็น คิดอย่างมีวิจารณญาณ รู้ควร รู้ไม่ควร มาช่วยกันให้เด็ก และเยาวชนสามารถคิดและปฏิบัติตนอย่างพอเพียงตามกระแส พระราชด�ำรัส ว่างๆ อย่าลืม แวะมาที่นี่. คีรีวง สถานที่บ่มเพาะ เด็กดี จนเด็กคนนี้ ณ วันนี้ คือ เด็กดีศรีสาธิต ... เด็กดี เพราะสมาชิกในชุมชนดี คีรีวง ชุมชนคนดี สร้าง ชุมชนสู่วิถีชนคนพอเพียง สร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ให้ผองมิตร จากหลากหลายพื้นที่ มาเรียนรู้ มาพบปราชญ์ท้องถิ่น เติมไฟ สร้างจิต ก่อพลัง ท�ำคนดีกันนะคะ บทบาทส�ำคัญ..ครูพอเพียง ในสถานศึกษาพอเพียง ยุค Thailand 4.0 ครูควรจัดการเรียนรู้แบบ Teach less learn 30

IS AM ARE www.fosef.org


more “สอนให้น้อย จัดกิจกรรมเน้นกระบวนการคิด ให้เด็ก เรียนให้มากๆ” ใช้สื่อเทคโนโลยีหรือค้นหานวัตกรรม ปรับ เปลี่ยนวิธีสอน มาเป็นสอนวิธีเรียน มาใช้กับนักเรียนแต่ละคน ให้เค้าได้ฝึกคิด ได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างการเรียนรู้ พร้อมทั้ง ปลูกฝังหลักพอเพียงไปในคราวเดียวกัน สอนโดยไม่ให้เด็กรู้ ว่าเราก�ำลังสอน สอนให้เค้าได้เรียนรู้ด้วยตัวของเค้าเอง นั่นคือ สอนวิธีเรียน สอนวิธีจับปลา แบบที่พระราชาสอนเรา สอนให้ พอเพียง โดยที่พระองค์ท่านพอเพียงเป็นแบบอย่างให้เรา ..ครู NEW GEN สอนพอเพียงให้เด็กยุค NEW GEN พอเพียง ก็ต้อง สอนทั้งตัวเองและตัวเค้า ให้พอเพียง เรามาเริ่มจากเงยหน้าที่ก้ม ดูสื่อ มาใช้สื่อดูสิ่งแวดล้อม เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมนั้น เพิ่มเติม.. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ไม่ทิ้งวัฒนธรรมรากเหง้าแห่งตน แล้วมาค้นพบ ความสุขที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวของตัวเองนะคะ...

ด้วยศาสตร์พระราชา “ครอบครัวพอเพียง” ผองเรา ศูนย์ครอบครัวพอเพียงทุกสารทิศ ขอสืบสานพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร่วม บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย บทเรียนชีวิตจริง เล่าเรื่องจากภาพ ภาพความสุข ที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ที่ได้รับน�้ำใจ ได้รับ สิ่งของ ได้รับเงินทอง หรือสิ่งอื่นใด เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ก�ำลังเติบ ใหญ่ และก้าวต่อไปเพื่อสาน ต่อสิ่งที่พ่อหลวงทรงแนะ “ศาสตร์ พระราชา” เริ่มที่เราพอเพียง

31 issue 110 march 2017


32 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

33 issue 110 march 2017


34 IS AM ARE www.fosef.org


35 issue 110 march 2017


จุ ดหมายของชี วิต คนต้องมีจุดหมายของชีวิต ชีวิตของท่าน ชีวิตของฉัน จะมีจุดหมายของชีวิตอย่างไร เบื้องต้นเราควรต้องรู้เสียก่อนว่า จุดหมายของชีวิตที่แท้ควรเป็นอย่างไร ชีวิตอันอุดม เป็นจุดหมายที่พระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคนปฏิบัติให้ถึง ถ้าจะตั้งปัญหาว่า อะไรคือชีวิตอันอุดม ก็น่าจะต้องพิจารณากัน ค�ำว่า อุดม แปลว่า สูงสุด ชีวิตอันอุดม คือ ชีวิตที่สูงสุด 36 IS AM ARE www.fosef.org


หลั ก แห่ ง ความพอเพี ย ง

ผลที่ ป รารถนาจะได้ อ ย่ า งสู ง สุ ดในชี วิ ตใช่ ไหม? ไร ก็สุดแต่องค์คุณทั้ง ๔ นี้จะสูงขึ้นเท่าไร นึกถึงบุคคลในโลกที่ คนเป็นอันมากรู้จัก เรียกว่าคนมีชื่อเสียง ลองตรวจดูว่าอะไร เป็ นชี วิตอันอุ ดม

ถ้าถือเอาความปรารถนาเป็นเกณฑ์ดังนี้ ก็ตอบได้ว่า ไม่ใช่เกณฑ์จัดระดับชีวิตของพระพุทธเจ้าแน่นอน เพราะแต่ละ คนย่อมมีความปรารถนาต่างๆกัน ทั้งเพิ่มความปรารถนาขึ้นได้ เสมอ จนถึงมีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า “แม่น้�ำเสมอด้วยตัณหา (ความอยาก) ไม่มี” เช่น บางคนอยากเรียนให้ส�ำเร็จปริญญา ขั้นนั้นขั้นนี้ บางคนอยากเป็นเศรษฐี บางคนอยากเป็นเจ้าเมือง อยากเป็นอธิบดี อยากเป็นผู้แทนราษฎร อยากเป็นรัฐมนตรี อยากเป็นนายกรัฐมนตรี ดังจะเห็นตัวอย่างคนที่เรียนมามีวิชา สูงๆ แต่รักษาตัวไม่รอด หรือรักษาตัวให้ดีตามสมควรไม่ได้ ทั้ง ไม่ได้รับความนับถือจากคนทั้งหลายก็มีอยู่ไม่น้อย

ท�ำให้เขาเป็นคนส�ำคัญขึ้น ก็จะเห็นว่า...

• เกณฑ์ ข องชี วิ ต เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้จึงได้ทรงวางเกณฑ์ ของชีวิตไว้ว่า ชีวิตมี ๓ อย่างก่อน คือ ทุชีวิต ชีวิตชั่วร้าย หมายถึง คนที่ใช้ชีวิตท�ำกรรมชั่ว ร้ายต่างๆ โมฆชีวิต ชีวิตเปล่า หมายถึง คนที่ปล่อยให้ชีวิตล่วงไป เปล่าปราศจากประโยชน์ สุชีวิต ชีวิตดี หมายถึง คนที่ใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ดี ที่ชอบต่างๆ และชีวิตดีนี้น่ีเองเมื่อมีมากๆขึ้น จะกลายเป็นชีวิตอุดม ในที่สุด ชีวิตอันอุดมคือชีวิตอันสูงสุด ในแง่ของพระพุทธศาสนา คือชีวิตที่ดี อันเรียกว่า สุชีวิต หมายถึง ความดีที่อาศัยชีวิตท�ำ ขึ้น ชีวิตของผู้ที่ท�ำดี จึงเรียกว่า ชีวิตดี เมื่อท�ำดีมากชีวิตก็สูงขึ้น มาก ท�ำดีที่สุดชีวิตก็สูงสุด

• การงานของตนเป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ของชี วิ ต คนเราจะเป็นอะไรขึ้นมา ก็เพราะ...การงานตน เช่น... เป็นชาวนาก็เพราะท�ำนากสิกรรม เป็นการงานของตน ของผู้ที่เป็นชาวนา

• กรรม : การงานที่ ท� ำ ให้ ป รากฏ มี ทั้ ง ดี แ ละร้ า ย ข้อแรกก็คือ กรรม การงานที่เขาได้ท�ำให้ปรากฏเป็นการ งานที่ส�ำคัญ ในทางดีก็ได้ ในทางเสียทางร้ายก็ได้ ในทางดี เช่น คนที่ได้ท�ำอะไรเป็นสิ่งเกื้อกูลมาก ในทางชั่ว เช่น คนที่ท�ำอะไรที่เลวร้าย เป็นข้อฉกรรจ์ เหล่านี้เกี่ยวแก่กรรมทั้งนั้น ไม่ต้องคิดออกไปให้ไกลตัว คิดเข้ามาที่ตนเอง ก็จะเห็น ว่า

• องค์ ป ระกอบของความดี ใ นชี วิ ต ๔ ที่ เรี ย กชี วิ ต อุ ด มนั้ น องค์ ป ระกอบของสิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า ความดีในชีวิตมี ๔ ประการ คือ กรรม วิชา ศีล และธรรม อธิบายสั้นๆ... กรรม คือ การงานที่ท�ำ หมายถึงการงานที่เป็นประโยชน์ ต่างๆ วิชา คือ ความรู้ในศิลปวิทยา ศีล คือ ความประพฤติที่ดี ธรรม คือ คุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ชีวิตที่ดีจะต้องมีองค์คุณ ๔ ประการนี้ ชีวิตจะสูงขึ้นเพียง 37 issue 110 march 2017


จะเป็นพ่อค้าก็เพราะท�ำพาณิชยการคือการค้า จะเป็นหมอก็เพราะประกอบเวชกรรม จะเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็เพราะการเรียนการศึกษา จะเป็นโจรก็เพราะท�ำโจรกรรม ดังนี้เป็นต้น กรรมทั้งปวงนี้ไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมเกิดการท�ำ อยู่เฉยๆ จะเป็นกรรมไรขึ้นมาหาได้ไม่ จะเป็นกรรมชั่วก็เพราะท�ำ อยู่ เฉยๆกรรมชั่วไม่เกิดขึ้นมาเองได้ แต่ท�ำกรรมชั่วอาจรู้สึกว่า ท�ำได้ง่าย เพราะมักมีความอยากท�ำ มีแรงกระตุ้นให้ท�ำ ใน เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “กรรมชั่ว...คนชั่วท�ำง่าย แต่คน ดีท�ำยาก” ฉะนั้น ใครที่รู้สึกตนว่าท�ำชั่วได้ง่าย ก็ต้องเข้าใจตนเอง ยังเป็นคนชั่วอยู่ในเรื่องนั้น ถ้าตนเองเป็นคนดีขึ้นแล้วจะท�ำชั่ว อยู่ในเรื่องนั้นได้ยากหรือท�ำไม่ได้เอาทีเดียว ชีวิตชั่วย่อมเกิด จากการท�ำชั่วนี่แหละ ส่วนกรรมดีก็เหมือนกัน อยู่เฉยๆจะเกิดเป็นกรรมดีขึ้น มาเองหาได้ไม่ แต่อาจรู้สึกว่าท�ำกรรมดียาก จะต้องใช้ความตั้งใจ ความเพียรมาก แม้ในเรื่องของกรรมดี พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ ว่า “กรรมดีคนดีท�ำง่าย แต่คนชั่วท�ำยาก”

ฉะนั้น ใครที่ท�ำดียากในข้อใดก็พึงทราบว่า ตนเองยังไม่ดี พอ ต้องส่งเสริมตัวเองให้ดีขึ้นอีก ด้วยความพากเพียรท�ำกรรมนี่ แหละ ถ้าเกียจคร้านไม่ท�ำกรรมดีอะไร ถึงจะไม่ท�ำกรรมชั่ว ชีวิต ก็เป็นโมฆชีวิต คือ ชีวิตเปล่าประโยชน์ ค่าของชีวิตจึงมีได้ด้วย กรรมดี ท�ำกรรมดีมากค่าของชีวิตสูงมาก • ชี วิ ต เป็ น ผลของกรรม ชีวิตของทุกคนเกี่ยวข้องกับกรรม ทั้งที่เป็นกรรมเก่า ทั้งที่เป็นกรรมใหม่ จะกล่าวว่า “ชีวิตเป็นผลของกรรม” ก็ได้ ค�ำว่า กรรมเก่า กรรมใหม่ นี้ อธิบายได้หลายระยะ เช่น ระยะไกล กรรมที่ท�ำแล้วในอดีตชาติเรียกว่า กรรมเก่า ส่วน กรรมที่ท�ำแล้วในปัจจุบันชาติเรียกว่า กรรมใหม่ อธิบายอย่าง นี้อาจจะไกลมากไป จนคนที่ไม่เชื่ออดีตชาติเกิดความคลางแคลง ไม่เชื่อ จึงเปลี่ยนมาอธิบายระยะใกล้ว่า ในปัจจุบันชาตินี้แหละ กรรมที่ท�ำไปแล้วตั้งแต่เกิดมาเป็นกรรมเก่า ส่วนกรรมที่เพิ่งท�ำ เสร็จลงไปใหม่ๆ เป็นกรรมใหม่ แม้กรรมที่ก�ำลังท�ำหรือที่จะท�ำ ก็เป็นกรรมใหม่

38 IS AM ARE www.fosef.org


• ขาดวิ ช าเสี ย แล้ ว จะท� ำ กรรมอะไรหาได้ ไ ม่ วิชาเป็นองค์ประกอบส�ำคัญแห่งชีวิตอีกข้อหนึ่ง และ เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า กรรมทุกๆอย่างย่อมต้องอาศัย วิชา ถ้าขาดวิชาเสียจะท�ำกรรมอะไรหาได้ไม่ คือต้องมีวิชา ความรู้จึงจะท�ำอะไรได้ ทุกคนจึงต้องเรียนวิชาส�ำหรับที่ใช้ใน การประกอบกรรมตามที่ประสงค์ เช่น ผู้ที่ประสงค์จะประกอบ กสิกรรม ก็ต้องเรียนวิชาทางกสิกรรม จะประกอบอาชีพทาง ตุลาการหรือทนายความ ก็ต้องเรียนวิชากฎหมาย ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นวิชาความรู้ทั่วไป • วิ ช าที่ ต ้ อ งเรี ย นให้ รู ้ เพื่ อ รั ก ษาตั ว ให้ ร อด วิชาอีกอย่างหนึ่ง คือ วิชาที่จะท�ำให้เป็นสัมมาทิฏฐิดัง กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางใจ ได้ วิชาละอกุศลธรรม และวิชาความทุกข์ใจนี้ เป็นวิชาส�ำคัญ ที่จะต้องเรียนให้รู้ และวิชาของของพระพุทธเจ้าโดยตรง ถึง จะรู้วิชาอื่นอย่างท่วมท้น แต่ขาดวิชาหลังนี้ ก็จะรักษาตัว รอดได้โดยยาก พระธรรมนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ความมีชีวิตดีหรือชั่วย่อมขึ้นอยู่แก่กรรมที่ท�ำแล้วนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ความขึ้นหรือลงของชีวิตย่อมแล้วแต่ กรรม แต่ก็อาจจะกล่าวว่า ย่อมแล้วแต่บุคคลด้วย เพราะบุคคล เป็นผู้ท�ำกรรม เป็นเจ้าของกรรม สามารถที่จะละอกุศลกรรม ด้วยกุศลกรรมให้มีขึ้นอยู่เสมอ เมื่อกุศลกรรมมีก�ำลังแรงกว่า อกุศลกรรมจะตามไม่ทัน หรือจะเป็นอโหสิกรรมไป • จิ ต เป็ น สั ม มาทิ ฏ ฐิ ไ ด้ ต้ อ งอาศั ย วิ ช า (ความรู ้ ) แต่ในการสร้างกุศลกรรมนั้น ย่อมขึ้นอยู่แก่จิตใจเป็น ประการส�ำคัญ คือ จะต้องมีจิตใจประกอบด้วย “สัมมาทิฏฐิ” คือ ความเห็นชอบ ตั้งต้นแต่เห็นว่า อะไรเป็นบาป อกุศล อะไร เป็นบุญ กุศล ตลอดจนเห็นในเหตุผลแห่งทุกข์และความดับทุกข์ ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบ ดังนี้จะมีขึ้นก็ต้องอาศัยวิชา ที่แปลว่าความรู้ อันค�ำที่หมายถึงความรู้มีอยู่หลายค�ำ เช่น วิชาปัญญา ญาณ เฉพาะค�ำว่าวิชา หมายถึง ความรู้ดังกล่าวก็ได้ หมาย ถึงวิชาที่เรียนรู้ดังที่พูดว่าเรียนวิชานั้นวิชานี้ได้ ในที่นี้หมายถึง รวมๆกันไป จะเป็นความรู้โดยตรงก็ได้ จะเป็นความรู้ที่เรียน ดังที่เรียกว่าเรียนวิชาก็ได้ เมื่อหมายถึงตัวความรู้โดยตรง ก็เป็น อย่างเดียวกับปัญญา 39 issue 110 march 2017


“...ผมพิการ แต่ผมมีหัวใจ มีมือ มีสมองที่จะท�ำให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้อื่นได้...”

ครู เชาว์ ผู ้ไม่พิการใจ

เพราะไม่ เ คยได้ รั บ ไออุ ่ น ใดเลยจากบิ ด ามารดา ทั้ ง ไม่ เ คยรู ้ ว ่ า เป็ น ใคร เมื่ อ ลื ม ตาดู โ ลกก็ พ บตั ว เองมี ชี วิ ต อยู ่ ใ นสถานสงเคราะห์ เ สี ย แล้ ว แต่ ค วามหลั ง ของชี วิ ต อั น บอบช�้ ำ นี้ เ อง กลั บ ท� ำ ให้ ผู ้ ช ายคนหนึ่ ง กอบโกยโชคชะตาบิ ด ๆ เบี้ ย วๆ รวมกั น เป็ น เชื้ อ ฟื น ผลั ก ดั น ชี วิ ต และร่ า งกายพิ ก ารตั้ ง แต่ เ กิ ด ให้ ก ้ า วไปข้ า งหน้ า เพื่ อ ท� ำ ประโยชน์ ใ ห้ สั ง คม ไม่ เ ชื่ อ ก็ ต้ อ งเชื่ อ เขาจบปริ ญ าตรี จากมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เป็ น ความภู มิ ใ จไม่ น ้ อ ยส� ำ หรั บ คนคนหนึ่ ง ที่ ไ ม่ เคยมี ญ าติ ไม่ มี ใ ครข้ า งหลั ง เลยบนโลกใบนี้ 40 IS AM ARE www.fosef.org


let's talk

พื้ น ฐานชี วิ ต ของครู เ ชาว์ เ ป็ น มายั ง ไงครั บ ผมชื่อ นายเชาวลิต สาดสมัย เป็นครูประจ�ำศูนย์สร้าง โอกาสเด็กพระราม 8 ครับ เด็กๆ เรียกผมว่า “ครูเชาว์” ตั้งแต่ ลืมตาดูโลกพ่อแม่ทอดทิ้งผมไว้ที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจาก นั้นทางโรงพยาบาลก็ส่งผมไปที่บ้านเฟื่องฟ้า (สถานคุ้มครอง และพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า) พอหลังจากนั้น บ้านเฟื่อง ฟ้าก็ส่งผมไปที่บ้านราชาวดี (สถานสงเคราะห์เด็กพิการทาง สมองและปัญญา (ชาย) บ้านราชาวดีชาย) แล้วหลังจากนั้น ผมก็ เ ลยขอบ้ า นราชาวดี เรี ย นหนั ง สื อ ที่ โรงเรี ย นชลประทาน สงเคราะห์ จังหวัดนนทบุรี แล้วก็เรียนต่อที่โรงเรียนปากเกร็ด ก่อนจะมาศึกษาที่ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี อีก 2 ปี จนสุดท้ายมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จน จบปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ครับ เมื่ อ เรี ย นจบแล้ ว ผมตั้ ง เป้ า ไว้ ว ่ า จะไม่ ล งสอนตาม โรงเรียน เพราะว่าตามโรงเรียนโอกาสเขาเยอะอยู่แล้ว สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกเขาก็มีมากมาย ที่ผมคิดอย่างนี้เพราะว่าตอนเด็กๆ ผมได้แต่เป็นผู้รับ ผมไม่เคยให้กับใคร ผมเริ่มรู้แล้วว่าตัวเอง ต้องการอะไร ผมอยากอยู่ในชุมชนแออัดซึ่งไม่มีคุณครูคอย แนะแนวเด็กๆ ไม่มีครูฝ่ายปกครอง ไม่มีใครคอยให้ค�ำปรึกษา เหตุ นี้ ผ มเลยเริ่ม ลงพื้น ที่ม ากขึ้น เพื่อจะดูแ ลเด็ ก ด้ อ ยโอกาส ตามความตั้งใจ ตอนนี้สิ่งที่ผมท�ำคือ ดูแลเด็กในชุมชนที่อยู่ในสภาวะ เสี่ ย งที่ จะออกมาเร่ร่อน ต่อให้เขามีครอบครั ว เขาก็ ส ามารถ ออกมาเร่ร่อนได้ เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง เมื่อผมดูแล เด็กๆ ในสภาวะกลุ่มเสี่ยงได้ระยะหนึ่ง จึงพบว่ายังมีผู้สูงอายุ และผู้พิการตามชุมชนที่ต้องดูแลด้วย มันเป็นงานที่เชื่อมโยง กันนะครับ แต่มันจะยากและเหนื่อยในเรื่องติดต่อประสานงาน กับหน่วยงานราชการ แล้วสิ่งส�ำคัญคือ ครูของโรงเรียนต้อง สอนวิชาการใช่ไหม ส�ำหรับผมมันไม่ใช่เสมอไปครับ ครูทุกคน สามารถดึงศักยภาพตัวเอง ทุกคนอยู่ที่ไหนก็เป็นครูได้ ครูไม่ ต้องอยู่ตามโรงเรียนเสมอไป ครูตามชุมชนที่ต่างๆ ก็สามารถ ท�ำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศได้

ศู น ย์ ส ร้ า งโอกาสเด็ ก พระราม 8 มี ค วามเป็ น มายั ง ไง ศูนย์นี้เป็นของกรุงเทพมหานครนะครับ เป็นโครงการปี ต่อปี เมื่อก่อนเข้ามาที่นี่มันไม่มีอะไรเลยครับ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีชั้นวางหนังสือ มีแต่ตู้ว่างเปล่าแล้วก็มีแอร์แค่นั้นเอง ของ เล่นที่เห็นเมื่อก่อนไม่มีครับ ข้างหลังก็จะเต็มไปด้วยขยะที่พวก แม่ค้าทิ้งเอาไว้ เวลาคนในชุมชนเดินเข้ามาเขาก็เอาขยะทิ้งด้าน หลัง ผมมาปรับภูมิทัศน์พื้นที่ใหม่ทั้งหมด ตอนแรกศูนย์นี้ทาง กรุงเทพมหานครจะให้เด็กเร่ร่อนอยู่ แต่เด็กเร่ร่อนไม่ยอมมา ผมไปตามก็ไม่มา เขาอยากอยู่ตามใต้สะพานครับ ผมเลยเปลี่ยน คิดว่าท�ำไมเราไม่พลิกสถานการณ์เอาเด็กในชุมชนมาใช้ที่ศูนย์ คือมานั่งอ่านหนังสือ ท�ำกิจกรรม คือเป็นจุดศูนย์กลางของเด็ก หลังจากนั้นผมเลยเริ่มท�ำ ปีแรกได้เด็กแค่ 4 คนครับ ในแต่ละ พื้นที่ท�ำงานยากมาก ท�ำงานกับคนในชุมชน คนในพื้นที่ยากมาก แรกๆ เขามองว่าเราเป็นครูจริงหรือเปล่า เป็นสายของต�ำรวจ หรือเปล่า ผมก็ลงพื้นที่ไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นผมก็เริ่มเปิดตัวใน ปีที่ 2 ว่าเราเป็นครู

41 issue 110 march 2017


42 IS AM ARE www.fosef.org


ก็ประสานหาผู้ใหญ่ใจบุญมาช่วย แรกๆ ที่ผมลงไปเยี่ยมพบว่าเขาว้าเหว่และไม่ ไว้ใจใคร ไม่มีใครมาคอยช่วยเหลือ ผม จึงตัดสินใจลงไปช่วย บอกเขาว่าผมจะ ไม่ทิ้งพวกคุณถ้าพวกคุณให้ผมช่วยเหลือ ผมเลยช่ ว ยเหลื อ พวกเขามาตลอดจน ปัจจุบัน เขาต้องการแพมเพิสเราก็จัดหา ให้ รวมถึ ง ที่ น อนไฟฟ้ า เราก็ ห าคนต่ า ง ประเทศมาบริจาคให้ครับ

ครู ข องโรงเรี ย นต้ อ งสอนวิ ช าการใช่ ไ หม ส� ำ หรั บ ผมมั น ไม่ ใ ช่ เ สมอไป ครั บ ครู ทุ ก คนสามารถดึ ง ศั ก ยภาพตั ว เอง ทุ ก คนอยู ่ ที่ ไ หนก็ เ ป็ น ครู ไ ด้ ครู ไ ม่ ต ้ อ งอยู ่ ต ามโรงเรี ย นเสมอไป ครู ต ามชุ ม ชนที่ ต ่ า งๆ ก็ ส ามารถ ท� ำ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คมและประเทศได้ ตอบตั ว เองได้ ไ หมว่ า ท� ำ ตรงนี้ แล้ ว ได้ อ ะไร ไม่ได้อะไรครับ ได้ความสุขได้รอย ยิ้มของเด็กๆ สิ่งที่ตอบรับกลับมาเด็กพวก นี้จะเติมเต็มให้กับผม จากชีวิตผมที่ไม่ เคยได้รับความรักความอบอุ่น หรือการ พูดคุยจากพ่อแม่ ก็มีรอยยิ้มของเด็กเข้า มาเติ ม เต็ ม ให้ ค วามสุ ข ที่ ผ มขาดหายไป อาจจะไม่มากไม่น้อย แต่อย่างน้อยสิ่งที่ ผมท�ำมันเกิดประโยชน์ต่อสังคม ต่อเด็ก ในชุมชน ต่อครอบครัวเด็ก ต่อเด็กที่อยู่ ในสภาวะยากล�ำบาก สิ่งต่างๆ ที่เข้ามา ในชีวิตทุกอย่างมันไม่ได้มากหรอกครับ แต่อย่างน้อยผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ของเด็ก ของผู้ปกครองที่เขามาขอความ ช่วยเหลือจากศูนย์ตรงนี้ครับ เมื่ อ ก่ อ น เรารั บ แต่ เ ด็ ก มาใช้ บริ ก ารในพื้ น ที่ ข องเรา แต่ ป ั จ จุ บั น เรา ต้องดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงเด็กที่ อยู่ในสภาวะยากล�ำบาก คอยประสานว่า ผู้สูงอายุ ผู้พิการต้องการอะไร เคสแรกคือ

คุณยายพรรณ อายุ 74 ปี พูดง่ายๆ ไร้คน ดูแลไม่มีญาติ อยู่กันสองคนพี่น้อง แต่อีก คนหนึ่งก็เสียชีวิตจากไป ยายพรรณจึงอยู่ ตัวคนเดียวมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบัน ผมก็ ลงพื้นที่ในแต่ละบ้าน เช็คความจ�ำเป็นว่า เขาต้องการอะไรมากที่สุด ตรงนี้ผมจะลง ไปช่วยขั้นพื้นฐาน ก่อนหน้านี้ คุณยายบอกว่าอยาก ได้บ้านใหม่ เราก็ช่วยซ่อมแซมต่อเติมไป เรื่อยๆ คุณยายบอกว่าที่นอนนอนกับพื้น มี แ มลงสาบ มี ห นู วิ่ ง เราก็ ป ระสานหา เตียงให้คุณยาย สิ่งไหนเราพอจะเติมเต็ม ให้เขาได้เราก็พยายามท�ำครับ ส่วนเคสหนึ่งคือ คุณลุงส�ำเภา เขา ไม่มีบัตรประชาชน ติดต่ออะไรก็ไม่ได้ แต่ พอประสานไปที่โรงพยาบาลศิริราช เขาก็ ช่วยให้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องขอบคุณโรง พยาบาลศิริราชด้วยที่เข้าใจในการท�ำงาน ของครูที่เป็นจิตอาสาตรงนี้ครับ แล้ ว ก็ อี ก เคสหนึ่ ง คื อ น้ อ งแอ้ ม เป็นอัมพาตครึ่งซีกเป็นแผลกดทับ เรา 43 issue 110 march 2017

ในบ้ า นครู เ ชาว์ แ ทบไม่ มี อ ะไรเลย แต่ ท� ำ ไมยั ง มี รู ป ในหลวง ในหลวงบอกว่ า ให้ เราอยู ่ อ ย่ า ง พอเพียง เราต้องดูศักยภาพของเราด้วย ว่ า เราไปได้ ข นาดไหน เรามี เ งิ น มาก ไหม ที่จริงผมไม่มีเงินมาก ผมพิการ แต่ ผมมีหัวใจ มีมือ มีสมองที่จะท�ำให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้อื่นได้โดยไม่ต้องใช้ปัจจัย มากเกินไป อาศัยวัสดุที่เรามีเอามาปรับ ใช้อย่างนี้ครับ คือเรามีแค่ไหนเรากินแค่ นั้ น ตราบใดเราสามารถช่ ว ยคนอื่ น ให้ มี ค วามสุ ข ได้ นั่ น แหละ เราคิ ด ว่ า เพี ย ง เท่านี้ก็ท�ำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง สบายใจแล้ว ร้ า นค้ า ศู น ย์ บ าทคื อ อะไร ร้านค้า ปกติเราทุกคนเห็นว่ามัน จะเอาผลก�ำไรเข้ามาเป็นสวัสดิการเป็น อะไร แต่ร้านค้าศูนย์บาทเพื่อสร้างโอกาส ให้เด็กๆ โดยให้เขาเอาขยะจากบ้านมา แลกเป็นของใช้ เช่น แลกสบู่ แลกยาสีฟัน แลกสิ่งของจ�ำเป็นให้เกิดประโยชน์ อันนี้ จะช่วยแบ่งเบาครอบครัวเขาครับ อย่าง เช่น ครอบครัวไม่มีน�้ำมันคุณก็เอาขวด มาแรก 20-30 ใบ มาแรกน�้ ำ มั น หนึ่ ง ขวด ถามว่าได้ก�ำไรไหม ไม่ได้ครับ ผม อยากให้เด็กมีความรับผิดชอบ ทุกคนได้ แต่รับ แต่ทุกคนไม่ช่วยเหลือสังคม ทิ้ง แต่ขยะ ทิ้งให้เป็นปัญหาต่อสังคม บ้าน ที่เคยเดินเข้าไปมีแต่ขยะ ปัจจุบันขยะลด


น้อยลงแล้ว เขาเอามาแลกเป็นของใช้หมด แต่ถ้าเด็กขาดเหลือ อย่างเช่นรองเท้า ถุงเท้า ผมก็ตั้งกฎว่าเอาขวดมาแลก 20 ใบ ได้ ถุงเท้า 1 คู่ ผู้ปกครองเขาก็ดีใจอย่างน้อยเราช่วยเหลือครอบครัว เขา เด็กได้ไปโรงเรียนเรียนหนังสือมากขึ้นด้วย หลังจากนั้นผม ก็เอาขยะไปแยกขาย เสร็จแล้วเราก็จะเอาเงินตรงนี้เป็นทุนการ ศึกษาให้เด็ก หรือซื้อแพมเพิสให้กับผู้พิการ ผู้สูงอายุ มันจะช่วย ต่อชีวิตสังคมที่เราอยู่ให้ดีขึ้นครับ เด็ ก มาใช้ บ ริ ก ารที่ ศู น ย์ ฯ นี้ เ ยอะไหม ที่ศูนย์นี้มีเด็กมาใช้บริการประมาณ 30-40 คน ไม่รวม ผู้ปกครอง ไม่รวมผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กๆ จะมาใช้บริการทุก วัน ถ้าเขาไม่รู้จะไปไหนเขาก็มาอ่านหนังสือ บ้างก็อาสาตัวมา ช่วยผมเพื่อจะช่วยผู้อื่นต่อไป เข้า-ออกเหมือนสนามหลวงครับ แล้วแต่วันนี้มีการบ้านเขาก็มาท�ำ เขาเบื่อที่ศูนย์ฯ เขาก็ไปเล่น โรลเลอร์เบลด โรลเลอร์เบลดนี้คือ เราให้เด็กในชุมชนนะครับ ให้เด็ก ในชุมชนมีส่วนร่วม ให้เขาได้ฝึก

แล้วเราจะมีครูมาสอนคนหนึ่ง เขาท�ำงานอยู่สยามรัฐ เราเรียกเขาว่า ครูหมูหวาน หมูหวานเขาก็หาโรลเลอร์เบลดมา จากคลองเกลือ แล้วก็มานั่งเช็คสภาพ เสร็จแล้วก็ปล่อยให้เด็ก เขาท�ำโครงการกันเอง หมูหวานมาหาผมบอก ครูเชาว์ผมอยาก ท�ำโครงการนี้ครูเชาว์ช่วยเซ็นอนุมัติให้หน่อย แล้วหลังจากนั้นก็ เปิดโครงการ เช่าโรลเลอร์เบลดชั่วโมงละ 20 บาท เงินที่ได้มานี้ เป็นทุนการศึกษาให้เด็กที่ช่วยงาน เขาจะเอาเงินให้ผม ผมบอก ไม่เอา ผมบอกว่าอยากให้ส่วนนี้กับเด็กที่ช่วยงานตรงนี้ คืออะไร ที่เป็นโครงการส�ำหรับเด็กแล้วมันดีผมก็ดีใจ เด็กได้ออกก�ำลัง กายด้วย ไม่หันไปเล่นเกมมากนัก แต่หันมาสนใจกีฬามากขึ้น อนาคตที่ จ ะพั ฒ นาศู น ย์ นี้ แ ล้ ว พั ฒ นาชุ ม ชน ตอนนี้อนาคตผมอยากท�ำชมรมผู้สูงอายุ ให้เป็นพื้นที่ ของชุมชนนั่นแหละ แล้วในอนาคตถ้าเป็นไปได้ผมจะเอาบ้าน ที่ผู้ใหญ่ใจดีให้ผมอยู่ แบ่งชั้นบนให้เป็นบ้านพักเด็กชั่วคราว ส่วนชมรมผู้สูงอายุเราก็ได้ติดต่อกับประธานชุมชนในพื้นที่ เอา ผู้สูงอายุมานั่งคุยหากิจกรรมให้เล่นตรงนี้ครับ อนาคตจะเป็นไป ได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคนในชุมชนด้วยครับ สิ่ ง ที่ อ ยากจะบอกถึ ง สั ง คม ผมอยากบอกสั ง คมว่ า ทุ ก คนมี ศั ก ยภาพ พยายามดึ ง ศักยภาพของตัวเองออกมา คุณอาจไม่ได้เรียนครูมา แต่คุณยัง มีมือ สมอง ตาสองตา มีลมหายใจ จงท�ำในสิ่งดีที่คุณอยากจะ ท�ำ ให้สังคมมันดีขึ้น ลดความเห็นแก่ตัวให้มันน้อยลง ช่วยเหลือ สังคมมากขึ้นครับ ตอนนี้ผมขอพัฒนาบริเวณรอบชุมชนให้มันมั่นคงก่อน แล้วผมจะขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ โดยศูนย์ฯ นี้ ใครอยาก บริจาคหรือช่วยเหลือสิ่งใด ขอความกรุณาช่วยโทรถามผมก่อนก็ ดีครับ เพราะว่าบางทีสิ่งที่บริจาคมามันไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ของผู้ที่คุณอยากช่วยเหลือเขา ติดต่อครูเชาว์โดยตรงเลยครับ 080-075-4417 44

IS AM ARE www.fosef.org


ผมอยากบอกสั ง คมว่ า ทุ ก คนมี ศั ก ยภาพ พยายามดึ ง ศั ก ยภาพของตั ว เองออกมา คุ ณ อาจไม่ ไ ด้ เ รี ย นครู ม า แต่ คุ ณ ยั ง มี มื อ สมอง ตาสองตา มี ล มหายใจ จงท� ำ ในสิ่ ง ดี ที่ คุ ณ อยากจะท� ำ ให้ สั ง คมมั น ดี ขึ้ น ลดความ เห็ น แก่ ตั ว ให้ มั น น้ อ ยลง ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมมากขึ้ น ครั บ

45 issue 110 march 2017


ฟรีเซ็กซ์ VS ส�ำส่อน

“สวั ส ดี ค ่ ะ ... หนู ตั้ ง ครรภ์ ไ ด้ 3 เดื อ น เพราะแฟนที่ ค บกั น ขอมี ลู ก เชื่ อ ใจค่ ะ เลยปล่ อ ย มี สุ ด ท้ า ยมารู ้ ว ่ า ผู ้ ช ายมี ค รอบครั ว แล้ ว เลยกลั บ มาอยู ่ บ ้ า นกั บ ที่ บ ้ า น หนู เ คยมี ลู ก แล้ ว นะคะ ลู ก ชายอายุ 6 ขวบ.... หนู เ พิ่ ง ไปฝากท้ อ งมา ผลออกมาว่ า หนู ติ ด เชื้ อ HIV หนู จะต้ อ งย้ า ยจากคลิ นิ ค ไปฝากที่ โ รงพยาบาล เพื่ อ รั บ ยาต้ า น แฟนก็ เ หมื อ นจะไม่ รั บ ผิ ด ชอบอยู ่ แ ล้ ว ถ้ า เกิ ด เขารู ้ ว ่ า หนู ติ ด เชื้ อ แล้ ว เขาตรวจไม่ มี เ ชื้ อ เขาทิ้ ง หนู กั บ ลู ก แน่ ๆ หนู จบแค่ ม.3 ตอนนี้ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ท� ำ งานอะไร เงิ น ก็ ไ ม่ มี สั ก บาท ถ้ า ไปโรงพยาบาลมั น เป็ น โรง พยาบาลรั ฐ ของอ� ำ เภอ ต้ อ งมี ค นที่ ติ ด เชื้ อ แล้ ว รู ้ จั ก หนู เอาไปพู ด ต่ อ ๆ กั น หนู อ ยาก ตายค่ ะ ตอนนี้ ไม่ อ ยากมี ชี วิ ต อยู ่ แ ล้ ว เงิ น ไม่ มี สั ก บาท ท้ อ งไม่ มี พ ่ อ แถมติ ด เชื้ อ HIV”

46 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่ อ งใจ

47 issue 110 March 2017


ปี พ.ศ.2531 – 2540 องค์กรสหประชาชาติ องค์กร เงินทุนต่างประเทศหลายแห่ง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ สนับสนุนงบประมาณให้เจ้าหน้าที่องค์กรเอ็นจีโอ ตลอดจนเจ้า หน้าที่สาธารณสุขของประเทศไทย ได้เดินทางไปเรียนรู้ ศึกษา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับหน่วยงานในประเทศยุโรป รวม ทั้งหลายประเทศในแอฟริกา ซึ่งในขณะที่ประเทศไทย เพิ่งจะมี ผู้ติดเชื้อเอดส์จ�ำนวนไม่มาก แต่หลายประเทศในแอฟริกามีผู้ติด เชื้อไปแล้วถึงหนึ่งในสามของจ�ำนวนประชากร การไปประชุม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในประเทศเหล่านั้น เพื่อจะได้น�ำประสบการณ์ ของประเทศต่างๆ มาใช้ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ ระบาดของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ปีนั้นผู้เขียนและทีมงานศูนย์ฮอทไลน์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขได้เดินทางไปประชุมที่ประเทศ เซนิกอล เจ้าหน้าที่จากประเทศอูกันดา ซิมบับเว เซนิกอล ฯลฯ เล่าว่าประเทศของเขาอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันแห้งแล้งและ ยากจน การติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนในประเทศเหล่านี้ ไม่ได้สะดวกหรือง่ายนัก แต่ก็ยังต้องมีการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ผ่านทางรถบรรทุกระหว่างกัน โดยเฉพาะในเวลากลางคืน รถ บรรทุกพืชพันธ์จะเดินทางผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง บนเส้น ทางจะมีสถานที่พักรถเพื่อเติมน�้ำมัน หรือพักผ่อนของคนขับ รถเหล่านี้ และด้วยความยากจนของผู้คนชาวบ้านที่อาจมีบ้าน อยู่ระหว่างทางหรือที่ใกล้เคียง ทั้งเด็กสาวและผู้หญิงทุกวัย จะ

ปี พ.ศ. 2527 โรคเอดส์ได้แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย โดย ระบุมีชายติดเชื้อเอชไอวีคนแรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ แต่ผู้คนในสังคมไทยก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อเอดส์คนแรกนั้นได้ชื่อว่าเป็น “ชายรักร่วม เพศหรือผู้ที่ปัจจุบันได้ช่ือว่ามีความหลากหลายทางเพศ” คน ทั่วไปจึงมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับคนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มความหลาก หลายทางเพศ หรือไม่ได้เป็น “เกย์” นั่นเอง ในระยะสองสามปีแรก ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีจ�ำนวนเพิ่ม ขึ้นไม่มากนัก และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดหรือรู้ว่าตัวเองมี ความเสี่ยงหรือไม่แค่ไหน ศูนย์ฮอทไลน์เพิ่งจะเริ่มเปิดให้บริการ ปรึกษาปัญหาชีวิต ครอบครัว ความรัก คู่สมรส ปัญหาวัยรุ่น ฯลฯ อยู่ในช่วงการก่อตั้งวางแผนเรียนรู้ ฝึกสอนอบรม และ ศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มาใช้บริการ ปัญหาโรคเอดส์ที่ เกิดขึ้นจึงเหมือนเป็นปัญหาทางกายที่เรายังไม่พร้อมจะเข้าไป เกี่ยวข้อง แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเริ่มปี พ.ศ.2530 เรื่อยมา ผู้มาใช้บริการด้านสุขภาพจิต ปัญหาชีวิตครอบครัว คู่สมรส และ วัยรุ่น เริ่มกลายเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ไปด้วย ท�ำให้หน่วยงานเอ็นจี โอ เช่น ศูนย์ฮอทไลน์ ถูกกระตุ้นโดยสถานการณ์และผู้มีปัญหา ให้หันกลับมาศึกษา ท�ำความเข้าใจและพัฒนาทักษะการให้ค�ำ ปรึกษาแนะน�ำเอชไอวี/เอดส์ โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายการแพทย์ ระบุว่า ยังไม่มียารักษาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ให้หายได้ การให้ค�ำ ปรึกษาแนะน�ำในการด�ำเนินชีวิต หรือทักษะการให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอดส์หันมาดูแล สุขภาพกาย เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อช่วยให้สามารถมีชีวิต ยืนยาวต่อไปได้ 48

IS AM ARE www.fosef.org


พฤติกรรม “ส�ำส่อน” ที่ไม่ต่างจากชายไทยมากมาย หากเรา ไม่เลิกพฤติกรรมส�ำส่อนนี้ ประเทศไทยอาจมีคนติดเอดส์ไม่ ต่างจากในแอฟริกา แน่นอน...คนมากมายค้านเสียงหลง แม้แต่ในใจของ ผู้เขียนเองก็มีความเชื่อว่า ประเทศไทยไม่ใช่แอฟริกา เราเป็น ประเทศที่ค่อนข้างเจริญ ผู้คนมีการศึกษาและประเทศไทยไม่ ได้ยากจนเช่นประเทศเหล่านั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เจ้าหน้าที่ ระดับสูงท่านหนึ่ง กล่าวเตือนผู้เขียนด้วยทีท่าทีเล่นทีจริงว่า “พี่ อรอนงค์ อย่าพูดค�ำว่าส�ำส่อนบ่อยนัก!” “ท�ำไมหรือ?” ผู้เขียน ย้อนถามด้วยความแปลกใจ เขาหัวเราะและตอบว่า “พูดค�ำว่า ส�ำส่อน สะเทือนใจผู้ใหญ่ในกระทรวง!” จากการพูดทีเล่นที จริง กลายเป็นเรื่องจริงจัง เพราะนั่นหมายความว่า เจ้าหน้าที่ ระดับสูงท่านนี้ออกมายอมรับและยืนยันว่านี่เป็นพฤติกรรมของ ผู้ชายมากมายในสังคมไทย และหากเรายังไม่จริงจังในการพูด ความจริง สิ่งที่เราทุกคนกลัวก็คงอยู่ไม่ไกล ในปีนั้น ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อเอดส์เพียงไม่กี่ร้อยคนจากรายงานทางสถิติที่กระทรวง สาธารณสุขได้รับ แต่ไม่ถึง 10 ปี หลังจากนั้น สถิติการติดเชื้อ เอชไอวีในประเทศไทยพุ่งขึ้นสูงกว่าล้านคน! และแน่นอน สถิติผู้ติดเอดส์สูงสุดก็คงเป็นจังหวัดทาง ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ล�ำปาง ฯลฯ

แอบแฝงเข้ามาขายบริการกับคนขับรถเหล่านี้ที่บริเวณพักรถ ยามราตรี และคนขับรถระหว่างประเทศนี่เองที่ได้น�ำพาเชื้อ เอชไอวีไปแพร่กระจายในหลายประเทศรอบๆ ซึ่งสถานการณ์ ในทุกประเทศในแอฟริกาก็ไม่ต่างกันนัก เพราะประเทศเหล่า นี้ โอกาสที่ผู้หญิงจะได้งานท�ำมีรายได้เป็นไปได้น้อย ต้องอาศัย พึ่งพิงการส่งเสียดูแลของฝ่ายชาย เมื่อรายได้ไม่พอจะเลี้ยงคนใน ครอบครัว ผู้หญิงก็ต้องขายบริการทางเพศเริ่มตั้งแต่ส่งลูกสาว ออกไปขายบริการกับชายสูงวัยซึ่งมักจะมีรายได้สูงกว่าคนทั่วไป หากบริการถูกใจผู้สูงวัยก็อาจรับเลี้ยงไว้ลับๆ ผู้หญิงส่วนใหญ่ ในประเทศเหล่านั้นจึงเหมือนอยู่ในสภาพเป็น “วัตถุทางเพศ” ส่วนผู้ชายก็จะมีพฤติกรรมมากชู้หลายเมียไปทั่ว ลักษณะการเล่าเรื่องราวของพฤติกรรมผู้ชายและชาย สูงวัยในประเทศแอฟริกาเหล่านั้น โดยเฉพาะข้าราชการชาย ระดับสูงไปไหนก็ต้องมีการเตรียมเด็กสาว หญิงสาวมาปรนนิบัติ ดูแลหรือมาบ�ำรุงบ�ำเรอผู้ชายตัณหาจัดเหล่านี้ ท�ำให้ผู้เขียน นึกถึงพฤติกรรมข้าราชการระดับสูงในประเทศไทย ไม่ว่าจะ เป็นกลุ่มในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข หรือ ข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ เจ้าหน้าที่สาวระดับ ล่างมากมายมีประสบการณ์ถูกเบียดเบียนทางเพศเช่นกัน เมื่อ อยู่ในกลุ่มคนไทยด้วยกัน ผู้เขียนจึงพูดออกมาตรงๆ ว่า นี่เป็น

49 issue 110 MARCH 2017


โรคเอดส์ เ ป็ น โรคที่ ติ ด ต่ อ ได้ ท างเพศสั ม พั น ธ์ ซึ่ ง ยั ง ไม่ มี ย ารั ก ษาให้ ห ายขาดได้ วิ ธี เ ดี ย วที่ จ ะสามารถควบคุ ม โรคเอดส์ ไ ม่ ใ ห้ แ พร่ ห ลายไปได้ ก็ คื อ การมี เ พศสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งส� ำ รวม

50 IS AM ARE www.fosef.org


จังหวัดที่ผู้คนชอบไปท่องเที่ยว และเมื่อ ผู ้ ช ายนั ก ท่ อ งเที่ ย วไปถึ ง แล้ ว ถ้ า ไม่ ไ ป เยี่ยมเยียนแถวประตูดิน ก็ต้องบอกว่า คนนั้นยังไม่ถึงเชียงใหม่ เนื่องจากมูลนิธิ ศูนย์ฮอทไลน์มีสาขาแรกที่เชียงใหม่เรียก กันว่า “ศูนย์ฮอทไลน์เชียงใหม่” เปิดให้ บริการหลังศูนย์ฮอทไลน์กรุงเทพฯ เปิด เพียงปีเดียว คือปี พ.ศ. 2529 สถานการณ์ ของศูนย์ฮอทไลน์เชียงใหม่ก็เช่นเดียวกับ กรุ ง เทพฯ คื อ เรายั ง ไม่ ต ้ อ งการท�ำ งาน ด้ า นโรคเอดส์ เพราะมี แ ผนการอื่ น อยู ่ แต่ไม่นานผู้ใช้บริการปกติทั่วไปของศูนย์ ฮอทไลน์จ�ำนวนมากกลายเป็นผู้ติดเชื้อ เอดส์ ท�ำให้ทีมงานต้องปรับแผนโครงการ และหันมาท�ำการศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ อย่างจริงจัง ที่ ส� ำ คั ญ ประเทศไทยใช้ เ วลา ประมาณห้ า ปี ใ นการตั้ ง หลั ก กว่ า กระทรวงสาธารณสุ ข จะได้ ผ ่ า นข้ อ มู ล จากองค์การอนามัยโลกมาว่า โรคเอดส์ เป็นโรคที่ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งยัง

โรคเอดส์ ห รื อ เชื้ อ เอชไอวี ติ ด ต่ อ และแพร่ ท างเพศสั ม พั น ธ์ แต่ เ ราไม่ สามารถระงั บ หรื อ ยุ ติ เ พศสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ ท้ั ง หมดลงได้ เพราะ เพศสั ม พั น ธ์ เ ป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ในการด� ำ รงคงอยู ่ ข องมนุ ษ ย์ ช าติ เรา อาจท� ำ ได้ เ พี ย งช่ ว ยให้ ทุ ก คนสามารถมี เ พศสั ม พั น ธ์ ไ ด้ อ ย่ า งปลอดภั ย ส� ำ รวม และมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ พฤติ ก รรมทางเพศของตนเองมาก ขึ้ น ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ วิธีเดียวที่จะ สามารถควบคุมโรคเอดส์ไม่ให้แพร่หลาย ไปได้ ก็คือการมีเพศสัมพันธ์อย่างส�ำรวม โดยเฉพาะชายรักเพศเดียวกัน และผู้ที่ ชอบเที่ยวหรือชอบมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ที่ไม่ใช่ภรรยาของตนควรต้องใช้ถุงยาง อนามัยทุกครั้ง เพราะถุงยาอนามัยเป็นสิ่ง เดียวหรือวิธีเดียวในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคเอดส์หรือเชื้อเอชไอวีได้ เมื่ อ ถุ ง ยางอนามั ย (Condom) เป็นสิ่งเดียวที่จะใช้ในการป้องกันควบคุม โรคเอดส์ ไ ด้ แต่ มี ผู ้ ติ ด เชื้ อ เอชไอวี ม าก แล้วในช่วงนั้น การป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อ เอดส์ รู ้ สึ ก อั บ อาย ท้ อ แท้ สิ้ น หวั ง จนถึ ง 51 issue 110 MARCH 2017

การพยายามฆ่าตัวตายจึงเป็นเรื่องจ�ำเป็น กระบวนการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำซึ่งเป็น ที่คุ้นเคยในประเทศที่พัฒนาแล้วจึงเป็น วิธีเดียวที่เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องกับโรค เอดส์จะสามารถน�ำไปใช้ได้ และในขณะ นั้น ทั้งประเทศไทย มีศูนย์ให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำ (Counseling Center) โดย นั ก วิ ช าชี พ เพี ย งแห่ ง แรกและแห่ ง เดี ย ว คื อ ศู น ย์ ฮ อทไลน์ ห รื อ มู ล นิ ธิ ศู น ย์ ฮ อท ไลน์นั่นเอง และจากสถานการณ์ตรงนี้ที่ มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ได้รับการสนับสนุน จากกระทรวงสาธารณสุขและสถานทูต หลายแห่งในประเทศไทยให้เปิดบริการ ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ โรคเอดส์ เ พิ่ ม ขึ้ น


จากปัญหาชีวิตครอบครัว คู่สมรส วัยรุ่น ปัญหาสุขภาพจิตฯลฯ ซึ่งให้บริการอยู่ แล้ว และเปิดหลักสูตรพัฒนานักวิชาชีพ ที่ท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ ตลอด จนพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อ ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และให้บริการ กับประชาชนที่ติดเอดส์ซึ่งมีจ�ำนวนเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นา หลั ก สู ต รการให้ ค วามรู ้ โรคเอดส์ ซึ่ ง จุ ด มุ ่ ง หมายสู ง สุ ด คื อ การป้ อ งกั น และ ควบคุมโรคเอดส์ไม่ให้แพร่ระบาด โดยมี ทักษะการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ (Counseling skill) เป็นเครื่องมือในการปรับ เปลี่ยนทัศนคติพฤติกรรมและการสื่อสาร ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เริ่มจาก โรคเอดส์หรือเชื้อเอช ไอวีติดต่อและแพร่ทางเพศสัมพันธ์ แต่ เราไม่สามารถระงับหรือยุติเพศสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ทั้งหมดลงได้ เพราะเพศ สัมพันธ์เป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำรงคง อยู ่ ข องมนุ ษ ยชาติ เราอาจท� ำ ได้ เ พี ย ง ช่ ว ยให้ ทุ ก คนสามารถมี เ พศสั ม พั น ธ์ ไ ด้ อย่างปลอดภัย ส�ำรวม และมีความรับ ผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศของตนเอง มากขึ้น สมัยนั้น ประชาชนในสังคมไทย ส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า เอดส์เป็นโรค ของชายรักชายหรือ “เกย์” และหากเป็น เพศหญิงก็คงเป็นผู้หญิงที่ขายบริการทาง เพศ โดยเฉพาะคนไทยยอมรับพฤติกรรม การเที่ ย วโสเภณี ข องผู ้ ช ายไทยว่ า เป็ น เรื่ อ งปกติ เพราะฉะนั้ น ผู ้ ห ญิ ง แม่ บ ้ า น ตลอดจนผู้หญิงนักวิชาชีพทั่วไปจึงไม่ใช่ “กลุ่มเสี่ยง” หรือไม่ต้องสนใจเรื่องโรค เอดส์เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา! นานมาแล้ว เมื่อครั้งที่ผู้เขียนยัง เป็นนักศึกษาอยู่วิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนอาศัยอยู่กับครอบครัวอเมริกัน ซึ่ง ต่างกับเพื่อนๆ ฝรั่งที่จับคู่อยู่กันเป็นคู่ๆ

นั ก ศึ ก ษาไทยมากมายอาจยั ง ไม่ เ ข้ า ใจพฤติ ก รรมและเหตุ ผ ลในการใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น ระหว่ า งคู ่ รั ก ก่ อ นแต่ ง งาน โดยเฉพาะในช่ ว งที่ สั ง คมไทย มี ก ารเปลี่ ย นแปลงรั บ เอาวั ฒ นธรรมและพฤติ ก รรมของคนตะวั น ตก ผ่ า นทางสื่ อ ตะวั น ตก (โดยเฉพาะ) ภาพยนตร์ ฮ อลลี วู ด หรื อ เช่ า อพาทเม้ น ต์ ส องห้ อ งใหญ่ แชร์ กัน 4 – 6 คน แต่แยกส่วนหญิงกับหญิง บ้างก็ชายกับชาย และบ้างก็หญิงกับชาย กรณีเป็นคู่หญิงชายก็จะเป็นคู่รักกัน ซึ่ง พฤติ ก รรมการอยู ่ ด ้ ว ยกั น ก่ อ นแต่ ง งาน นี้ ถื อ เป็ น การทดลองอยู ่ ก ่ อ นแต่ ง เพื่ อ เรียนรู้จักกันและเราจะเรียกพฤติกรรม นี้กันว่า “ฟรีเซ็กซ์” ซึ่งมีเงื่อนไขเป็นที่ ยอมรับกันได้คือ เงื่ อ นไขของฟรี เซ็ ก ซ์ หรื อ แปล เป็นภาษาไทยว่า “เสรี ภ าพทางเพศ” หรือ เพศเสรี ส�ำหรับหญิงชายที่ตัดสินใจ จะอยู่ด้วยกัน จะด้วยเหตุผลทางอารมณ์ หรื อ เพราะความจ� ำ เป็ น ทางเศรษฐกิ จ ก็ ต าม ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ งส่ ว นตั ว เพื่ อ นๆ หรื อ ผู ้ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งไม่ ส มควรจะไปซั ก ถาม เพราะหญิงชายที่สมัครจะอยู่ด้วย กันก่อนแต่งงานนั้น จะต้องมีวุฒิภาวะที่ 52 IS AM ARE www.fosef.org

สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในอีก ความหมายหนึ่ ง คื อ ทั้ ง สองคนถื อ ว่ า โต แล้ว อายุเกิน 18 ปี มีสุขภาพทางกาย แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี ที่ส�ำคัญไม่ ยึดติดเรื่องของ “พรหมจรรย์” ฝ่ายชายก็ จะไม่ถามว่าเธอมีผู้ชายมาแล้วกี่คน หรือ ฝ่ายหญิงไม่คิดว่าเซ็กซ์เป็นเรื่องของการ เสียเปรียบทางเพศ แต่เป็นเรื่องของความ สมัครใจ และเป็นการตัดสินใจระหว่างคน สองคน ทีจ่ ะยอมรับภาระผูกพันร่วมกัน มี ความสามารถในการวางแผนชีวิตร่วมกัน มีความรับผิดชอบ สามารถพึ่งพิงตนเอง ได้ มีการแสดงออกที่เปิดเผยคือเพื่อนๆ และผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งเข้ า ใจว่ า ทั้ ง สองมี ค วาม สัมพันธ์กัน หากคนหนึ่งคนใดเปลี่ยนใจ หรือพบคนใหม่ การแยกทางภายในช่วง ระยะเวลาหนึ่งเมื่อสิ้นสุดหรือเลิกร้างกัน แล้ ว จึ ง จะเริ่ ม ต้ น คบคนใหม่ ไม่ มี ก าร


คบหากับหญิงหรือชายไปพร้อมๆ กันมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป และเงื่อนไขดังกล่าว นักศึกษาต่างชาติเช่นผู้เขียนก็ได้ รับการบอกเล่า พูดคุย จนมองว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นชีวิตของ นักศึกษาระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัยที่ยอมรับได้ ครอบครัว ตะวันตกส่วนใหญ่เมื่อลูกหญิงชายอายุถึง 18 ปี ก็ถือว่าโตแล้ว ต้องออกไปท�ำงานส่งเสียตนเอง หรือกู้ยืมเงินสวัสดิการของรัฐ เมื่อเรียนจบก็ชดใช้เงินคืน ซึ่งต่างจากครอบครัวไทยในอดีต จนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การฟรีเซ็กซ์ จึงไม่พิจารณาว่าเป็น เรื่องเสียหาย แต่เป็นพฤติกรรมทางเพศที่แสดงความรับผิดชอบ ของหนุ่มสาว จะไม่มีการเปลี่ยนคู่บ่อย หรือหากหญิงชายมีการ เปลี่ ย นคู ่ แ ลกคู ่ ห รื อ คบหาเพศตรงข้ า มพร้ อ มๆ กั น หลายคน พฤติกรรมนั้นจึงจะถูกเรียกว่าพฤติกรรม “ส�ำส่อนทางเพศ” รวมถึงการใช้บริการทางเพศซึ่งผิดกฎหมายในประเทศไทยและ อีกหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม นักศึกษาไทยมากมายอาจยังไม่เข้าใจ พฤติกรรมและเหตุผลในการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างคู่รักก่อน แต่งงาน โดยเฉพาะในช่วงที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงรับ เอาวัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนตะวันตกผ่านทางสื่อตะวัน

ตก (โดยเฉพาะ) ภาพยนตร์ฮอลลีวูด ที่ท�ำให้คนไทยส่วนใหญ่ เข้าใจว่าค�ำว่า ฟรีเซ็กซ์ หมายความว่าจะคบหาไปนอนมีเซ็กซ์ กับเพศตรงข้ามสักกี่คนก็ได้ เป็นความเสรีทางเพศ เป็นความทัน สมัยที่ผู้ชายไทยในอดีตยึดถือปฏิบัติกันเรื่อยมาอยู่แล้ว เพราะ ฉะนั้น หากวัยรุ่นจะท�ำอย่างในภาพยนตร์ตะวันตกหรือในสังคม ที่พัฒนาแล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ทันสมัยของคนรุ่นใหม่! จึงเห็นได้ว่า เป็นความเข้าใจผิดของคนไทยส่วนใหญ่ที่น�ำค�ำว่า “ฟรีเซ็กซ์ มาใช้แทนค�ำว่าส�ำส่อน” หรือสับสนพฤติกรรมส�ำส่อนว่าเป็น เสรีภาพทางเพศหรือฟรีเซ็กซ์นั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่ภายในระยะเวลาห้า ถึงสิบปีของการแพร่ระบาดโรคเอดส์ จากจ�ำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ เพียงคนเดียวกลายเป็นมีผู้ติดเชื้อมากกว่าหนึ่งล้านคน ทั้งหน่วย งานเอกชนหรือเอ็นจีโอ กับหน่วยงานของรัฐ ต่างต้องท�ำงาน กันอย่างหนักเพื่อควบคุม ปกป้องผู้ที่ยังไม่ติดเอดส์ รวมทั้งผู้ ติดเชื้อเอชไอวีและสมาชิกในครอบครัว มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ใน ฐานะผู้บุกเบิกทักษะการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำทางโทรศัพท์ ก็ได้ ด�ำเนินการบุกเบิกทักษะการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำเอชไอวี/เอดส์ และทักษะการให้ความรู้โรคเอดส์ที่เน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศในระยะยาว ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง หลังความตาย (โปรดติดตามตอนต่อไป) 53

issue 110 MARCH 2017


54 IS AM ARE www.fosef.org


55 issue 110 march 2017


56 IS AM ARE www.fosef.org


57 issue 110 march 2017


58 IS AM ARE www.fosef.org


59 issue 110 march 2017


60 IS AM ARE www.fosef.org


61 issue 110 march 2017


สิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ข้อ ๔ และ ๕

...รัฐจะต้องมีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เปล่าอย่างน้อย ๑๒ ปี...

62 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายน่ารู ้...กระทรวงยุ ติธรรม

๔. สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ประชาชนจะได้รับ ความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะท�ำโดยพลการไม่ได้ และจะต้องได้รับ การชดใช้ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้นอย่างเป็นธรรม มาตรา ๔๘ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความ คุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจ�ำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อม เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกย่อมได้รับความ คุ ้ ม ครอง สิ ท ธิ ข องบุ ค คลในการสื บ มรดกย่ อ มเป็ น ไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๔๙ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระท�ำมิได้ เว้ น แต่ โ ดยอาศั ย อ� ำ นาจตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายเฉพาะ เพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจ�ำเป็นในการป้องกัน ประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่ง เสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือ การอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ อย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอัน ควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหาย ในการเวนคืนนี้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การก�ำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องก�ำหนดให้ อย่างเป็นธรรม โดยค�ำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้ มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของ ผู้ถูกเวนคืน กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์ แห่งการเวนคืนและก�ำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์

ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดดัง กล่าว ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตาม วรรคสามและการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตาม ที่กฎหมายบัญญัติ ๕. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาหาความรู้ ประชาชน มีเสรีภาพในการเลือกศึกษาหาความรู้ และรัฐจะต้องมีหน้าที่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เปล่าอย่างน้อย ๑๒ ปี

มาตรา ๔๒ บุ คคลย่อมมีเสรีภาพในทาง วิชาการ

การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการ เผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับคุ้มครอง ทั้งนี้เท่า ที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการ ศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องค�ำนึงถึงการมีส่วน ร่วมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชน ภายใต้การก�ำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตาม ที่กฎหมายบัญญัติ

63 issue 110 March 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 110 march 2017


66 IS AM ARE www.fosef.org


สภาพแวดล้อม

จังหวัดอุดรธานี ประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัด “พริกแลกปลา ปลาแดกแลกเกลือ” เป็นค�ำกล่าวที่ อุดรธานี 104 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เรียก ท�ำให้มองเห็นสภาพวิถีชีวิตของชาวอีสาน โดยเฉพาะต�ำบล ว่า “ลูกคลื่นลาดชันสลับกับพื้นที่ราบ” ซึ่งเหมาะสมต่อการท�ำ บ้านหยวก อ�ำเภอน�้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ยังคงมีสภาพของ เกษตรกรรม บางแห่งเป็นเนินสูงต�่ำลาดชัน สภาพพื้นดินร้อยละ การพึ่งพาและแบ่งปัน แม้จะจางหายไปบ้างตามกระแสทุนนิยม 90 เป็นดินร่วนดินเหนียว ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะส�ำหรับ แต่ที่นี่ก�ำลังจะกลับมาสู่วิถีแห่งความพอเพียงตามแบบอย่าง การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ คือ ข้าว มันส�ำปะหลัง ยางพารา ในอดีตอีกครั้งเพราะสภาพพื้นที่ยังคงอุดมไปด้วยทรัพยากรป่า ล�ำไย มะขามหวาน ส้ม อ้อย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งน�้ำที่ ธรรมชาติจ�ำนวนมาก คนบ้านหยวกส่วนใหญ่เป็นชุมชนคนไท ส�ำคัญได้แก่ แหล่งน�้ำตามธรรมชาติ อาทิ ล�ำห้วยน�้ำคะนาน ล�ำ เลย อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ส.ป.ป. ลาว ผสมผสานกับ ห้อยน�้ำเมย และแหล่งน�้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ อ่างเก็บน�้ำแม่ ชุมชนไทอีสาน จึงให้ความส�ำคัญและยึดมั่นในขนบธรรมเนียม เมย บริเวณที่พื้นที่บ้านหยวกน้อย ซึ่งเป็นแหล่งน�้ำที่ชาวบ้านใช้ ประเพณีที่นับถือกันคือ ฮีต 12 หมายถึงบุญประเพณีที่นิยม ในการท�ำการเกษตรตลอดทั้งปี ปฏิบัติภายใน 12 เดือนท�ำให้ชาวบ้านยังคงมีการท�ำกิจกรรม ต�ำบลบ้านหยวก มีป่าชุมชนจ�ำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ป่า ร่วมกัน จึงก่อให้เกิดพลังของชุมชนได้ไม่ยาก ภูชางน้อย ป่าภูลานค�ำ ป่าผาประทุม สวนป่าบ้านจ�ำปาทอง ต�ำบลบ้านหยวก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอน�้ำโสม น้อย ป่าผาแซง และเป็นแหล่งอาหารชุมชนและหาสมุนไพร 67 issue 110 march 2017


เช่นหน่อไม้ เห็ดป่านานาชนิดมีพื้นที่ทั้งหมด 134 ตารางกิโลเมตร หรือ 83,780 ไร่ พื้นที่ท�ำการเกษตร 65,146 ไร่ มี จ�ำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 17 หมู่บ้าน ความเป็นมา การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ป่าของชาวบ้านก่อให้เกิดการบุกรุกท�ำลายป่า แม้จะมีคณะกรรมการ ป่าชุมชนก�ำกับดูแลอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงได้มีมติให้ปิดป่าภูลานค�ำ ห้ามชาวบ้านเข้าไปหาอาหารหรือใช้ประโยชน์ แต่จะเปิดป่าผาประทุมและสวนป่าจ�ำปาทองน้อย ให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์แทนและได้ตั้งวัดป่าขึ้นเพื่อดูแลรักษา ป้องกันการบุกรุก ควบคู่กับการพัฒนาจิตอาสาให้กับชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมในการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าอย่างมีส่วนร่วม อันเป็นแหล่งอาชีพและแหล่งอาหารของชาวต�ำบลบ้านหยวก ต�ำบลบ้านหยวกผ่านยุคที่ส�ำคัญ ดังนี้ พัฒนาการต�ำบล พ.ศ.2500-2513 ยุคพึ่งพาอาศัย ในอดีตยุคสมัยที่การด�ำรงชีวิตของชาวบ้านยังไม่ได้พึ่งพาภายนอก มุ่งเน้นไปที่การท�ำเกษตรกรรม เช่น การท�ำ นาเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีการปลูกผัก ท�ำสวน หาเก็บผลผลิตจากป่า พึ่งพาธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เลี้ยงสัตว์และ ล่าสัตว์ป่าไว้บริโภครวมทั้งจับปลาตามแหล่งน�้ำธรรมชาติเพื่อประทังชีวิต พฤติกรรมของคนในชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ เรียุยคกว่ ปัน่ยนแปลงไป เกื้อกูล เอื้อท�อาทรต่ อกัน อยู่ร่วดมกั นแบบพึ่งพาอาศั น การประกอบอาชี พทางการเกษตร จึงเป็นแบบ สมัายแบ่ ที่เงปลี ำให้แนวความคิ ของชาว จึงท�ำให้ยสกัภาพป่ าที่เสื่อมโทรมกลั บค่อยๆ เกิดความสมบู รณ์มาก ร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น เช่ น ลงแขกเกี ่ ย วข้ า วด� ำ นา หรื อ ลงแขกสร้ า งบ้ า นช่ ว ยเหลื อ กั น และไม่ เ กิ ด การเอารั ด เอาเปรี ย บซึ ่ ง กัน บ้านเปลี่ยนไปตามกระแสของสังคม เมื่อขาดความพอประมาณ ขึ้นจนเกือบจะเต็มพื้นที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ และกัน น การผลิต จ�ำนวนมาก จึงเกิด การบุก รุ ก ป่ า ไม้ มี ค วามโลภเน้ นอกจากนี้ทางต�ำบลยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วย ยุคแห่งกการเปลี ่ยนแปลง และท� ำ ให้ ผื น ดิ นพ.ศ.2514-2539 เสื่ อ มโทรม ธรรมชาติ ็ ย ่ อ มเปลี ่ ย นไปตาม งานภายนอก คือ UNDP (United Nations Development เมื่อษเริย์ ่มชาวต� มีการสัำบลบ้ มปทานป่ าไม้ ได้ ดการ อพยพย้ ยถิ่นฐาน เข้ามาบุ ที่ดินนท�ธุำ์กกิล้นาเดิไม้มของชุ มชน หลังจาก การกระท�ำของมนุ านหยวกจึ งต้เอกิงประสบกั บ าProgramme) ที่ได้กรุมกอบพั และงบประมาณในการ นั้นได้เกิดำเนิ การบุ มีก้เารเผาและถางป่ เพื่อการปลูกพืชฟืเศรษฐกิ จคืดอการป่ มันส�ำาปะหลังเมื่อมีการปปลูกเป็นจ�ำนวนมาก ปัญหาในการด� นชีวกิตรุกเป็ป่านหนี ป็นสิน หากรู้จักาประมาณตน ้นฟูและจั ก็ท�ำให้ผลผลิตล้ทนรัตลาด และที่ส�ำำคัเนิญนคืไปตามความพอดี อเมื่อปลูกพืชไร่ติดต่อกันไประยะหนึ่ง ท�ำให้คุณภาพดินเสื่อม เมื่อเกิดวิกฤติราคา รู้ถึงขอบเขตในการใช้ พยากรและด� พืชผลทางการเกษตรตกต� ริ่มเข้ าสู่ยอยุมมี ค อุนต้อสาหกรรม ผลกระทบและการเปลี ่ยนแปลงด้่ำก็าเนต่ างๆย่ ยลงแต่ในหนุ่มสาวจึงอพยพไปท�ำงานต่างถิ่นจึงมีแต่เพียงผู้เฒ่าผู้แก่ และ กอยู่ใานชุ มชนเท่​่มาเข้ นั้นาใจถึงปัญหา รู้จักประมาณตนและ ปัจจุบันเด็ชาวบ้ นหยวกเริ แต่ เ ดิ ม นั้ น ชาวบ้ า นหยวกนิ ย มการปลู ก พื ช เชิ ง เดี่ ย ว พ.ศ.2540-2552 ยุ ค แห่ ง การพั ฒ นาชุ ม ชน ได้สะสมภูมิปัญญาความรู้เกิดเป็นต้นทุนด้านต่างๆ โดยสามารถ โดยมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรค่อนข้างมาก แต่เมื่อทาง การได้รับ แบ่งออกได้ดังนี ้ ปีพ.ศ.2540 เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เรียกว่ายุคฟองสบู ต�ำบลได้่แเตก ล็งเห็โรงงานอุ นความส�ตสาหกรรมและภาคการบริ ำคัญและคุณค่าของ “การเกษตรผสม ผลกระทบเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ต้องลดจ�ำนวนคนงานลง เกิ ดภาวะการว่างงาน ชาวต�ำบลบ้ านหยวกที่ไจึปท� ำงานต่ ง าง ผสานและการท� ำเกษตรแบบพึ ่งพาตนเอง” งลงมื อท�ำาอย่ ถิ่น ต่างทยอยกันกลับบ้านเพื่อมาประกอบอาชีพท�ำไร่ท�ำนาจริและยั คงท�ำการเพาะปลู แม้จะว มี งจัง งโดยชาวบ้ านได้ปลูกพืไม้ชยเศรษฐกิ ืนต้นสลัจบเหมื กับอพืนเดิ ชผักมสวนครั เริจากความอุ ่มมีบางครอบครั วทีร่หณ์ันขมาด� ชีวิตแบบพอเพี ก วและในปี ได้เกิด่อกลุ“ปลู ่มอนุกรักอยูษ์่ทปลู รัพยากรป่ ดมสมบู องป่ำาเนิไม้นแมกไม้ นานาพันยธุงแต่ ์ และไม่มากนั บางส่ นได้สร้าพ.ศ.2548 งแปลงเกษตรเพื กกิน” าและ ่งได้รับการสนั จากแหล่้ำค่งทุาทีน่ต่ส�าำงประเทศชื อว่า UNDP ามาฯลฯ สัตว์ป่าไม้จ�ำซึนวนมาก ซึ่งถืบอสนุ เป็นนมรดกล� คัญของต�ำ่บล ปลูกพืหรื ชผัอกโปรแกรมการพั ผลไม้ไว้ขาย เช่ฒนนาแห่ มะม่วงงสหประชาชาติ น้อยหน่า ส้มได้ล�เข้ำไย ด�ำเนิน5-6 งานด้ปีาทนการอนุ ักษ์รักษาและฟื ้นฟูสภาพป่ าเสื่อมโทรมและเฝ้ งกันกไฟป่ า เพื่อเป็ การอนุพ รัโดยมี กษ์จนองค์ โดยในระยะ ี่ผ่านมา รสภาพผื นป่าเกิดความเสื ่อมโทรม นอกจากนีา้ยระวั ังมีกงการป้ ารพัฒอนาทั ษะความรู ้ด้านนอาชี เมื่อปีกชาวบ้ พ.ศ.2552 สนับสนุ การด� กิจกรรมด้ากนการอนุ รัก้ทษ์้อทงถิ รัพ่นยากรป่ าไม้จากแหล่งดทุฟาง” นต่างประเทศสิ ้นสุดลง เนื่องจากถู านรุกเมืล�่อ้ำท�ทุำนลาย จุดนไฟล่ าสัำตเนิว์ นและขาดนั ความรู เรื่อง “การเพาะเห็ ซึ่งกิจกรรมการเพาะ านหยวกจึ าร่วามโครงการรั กษ์ป้น่าฟูสร้ดูาแงคน 84 ต�ำบลวิ ถีพอเพียง โดยมุางรายได้ ่งหวังให้เเสริ กิดมการปรั เปลี่ยนพฤติ อนุรักษ์ต�พำบลบ้ ัฒนาป่ า ท�ำให้งชเข้าวบ้ นหยวกมีการฟื ล และ เห็ดนอกจากจะสร้ ให้กับบครอบครั วแล้วกรรม ยังเป็น ของคนในชุ ม ชนให้ เ ดิ น ตามแนวทางปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง อนุรักษ์ป่า โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อการจัดการป่าชุมชน ผลผลิตที่สร้างความภาคภูมิให้กับคนในต�ำบล จากพัฒนาการ เช่น แหล่งเรียนรู้ท�ำแนวกันไฟ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้รับความ การเปลี่ยนแปลงด้านการต่อยอดทักษะอาชีพ ท�ำให้ต�ำบลบ้าน ร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้านในการจัดการป่าอย่างเต็มรูปแบบ หยวกมีทุนความรู้ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทุนต�ำบล

ทุนทางทักษะอาชีพ

ทุนทางทรัพยากร

68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 110 march 2017


70 IS AM ARE www.fosef.org


เรื่องการพึ่งพาตนเอง แต่ทั้งนี้องค์ความรู้ทั้งสองด้านที่ กล่าวมานั้น ต้องได้รับการสนับสนุนในการเผยแพร่ความ รู้สู่ชุมชน โดยการพัฒนาจุดเรียนรู้และการเพิ่มทักษะการ เรียนรู้ให้กับชาวบ้าน

ผู้น�ำชุมชนและชาวบ้าน

ผู้น�ำระดับหมู่บ้านท�ำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ให้ กับลูกบ้านของตนเองได้เป็นอย่างดีถือเป็นทุนของต�ำบลที่ ส�ำคัญยิ่ง และท�ำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายข่าวและข้อมูล ให้กับชาวบ้านในส่วนของผู้น�ำทางธรรมชาติ ได้ลงมือท�ำ กิจกรรมงานของตนเองจนส�ำเร็จ แล้วบอกต่อให้คนใน ชุมชน ชาวบ้านจึงมีความไว้วางใจ และเริ่มมีส่วนร่วมใน การท�ำกิจกรรม ไม่ว่าจะด�ำเนินการจากหน่วยงานใด ทั้ง ภายในและภายนอกชุมชน ทั้งยังเกิดความสามัคคี และ ด้วยวิถีชีวิตที่เคยมีการพึ่งพาอาศัยกัน แม้ว่าจะมีภารกิจ ในการประกอบอาชี พ ท� ำ มาหากิ น แต่ เ มื่ อ มี เวลาว่ า งก็ ยังคงพึ่งพากัน ท�ำให้ระบบความสัมพันธ์ภายในเริ่มดีขึ้น แต่การพัฒนายังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้ เพราะต้องมีการฟื้นฟูต่อยอดอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ผืนป่าของ ต�ำบลกลายเป็นแหล่งอาหารของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลบ้านหยวก ได้เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียง ในระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2552 โดยมีองค์การบริหารส่วนต�ำบล คอยผลักดันเพื่อการต่อยอดงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้จากโครงการ UNDP และด้วยความพร้อมทางด้านทุนทรัพยากรป่าไม้ของต�ำบลบ้านหยวกแม้ในระยะ แรกของการเข้าสู่โครงการรักษ์ป่าฯ ความคาดหวังของคนบางกลุ่มอาจมองว่า ปตท. เป็นบริษัทรายใหญ่ มีงบประมาณจ�ำนวนมาก จึงเข้าร่วมโครงการเป็นจ�ำนวนมาก เพียงเพราะต้องการกู้ยืมเงินมากกว่าการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง แต่สุดท้ายแล้ว โครงการฯก็คอยเป็นพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความเข้าใจให้กับ ชาวบ้าน และที่ส�ำคัญชาวบ้านต่างเล็งเห็นถึงการท�ำความดีที่ได้การปฏิบัติตามแนวพระราชด�ำริ เพื่อถวาย แก่พ่อหลวง จึงหันมายึดถือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำเนินชีวิต

กลไกการขับเคลื่อน

เมื่อทุนทางทรัพยากรยังคงอุดมสมบูรณ์การเติมเต็มองค์ความรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถผลักดันให้ต�ำบลบ้านหยวก ก้าวไปถึงจุดหมายแห่งความพอเพียง ไม่เป็นหนี้สิน มีรอยยิ้ม และ เต็มไปด้วยความสุข การปรับเปลี่ยนทัศนคติจึงมีความส�ำคัญในระยะแรก ผู้ใหญ่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมใน กลไกการขับเคลื่อนงานของต�ำบล แต่เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไม่มีเวลา บทบาทนี้จึงกลาย เป็นของครัวเรือนพอเพียงอาสา และหน่วยงานในท้องถิ่นอื่นๆ ที่มารวมตัวเพื่อวางแผนการด�ำเนินงานให้ สอดคล้องกันในแต่ละภาคส่วน คณะกรรมการโครงการฯ ต�ำบลบ้านหยวกมีจ�ำนวน 23 คน โดยมาจากส่วนที่เป็นฝ่ายการปกครอง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงบุคลากรจากคงค์การบริหารส่วนต�ำบล นอกจากนั้นมีการผลัก 71 issue 110 march 2017


ดันให้ครัวเรือนพอเพียงอาสามาเป็นคณะกรรมการโครงการฯ เพิ่มขึ้น โดยมีบทบาทเป็นแกนน�ำหลักในการด�ำเนินงานตาม หลักการของโครงการฯที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน คณะกรรมการโครงการฯ จะนัดประชุมเป็นประจ�ำทุกเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสัปดาห์ แรกของเดือนเนื่องจากคณะกรรมการโครงการฯ ส่วนใหญ่ด�ำรง ต�ำแหน่งทางการเมือง จึงมีเวลาค่อนข้างจ�ำกัด แต่สามารถปรับ เปลี่ยนวันได้ตามสถานการณ์ เนื้อหาหลักๆ ในการประชุมเน้นการสรุปติดตามผลการ ด�ำเนินงาน และก�ำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในรอบเดือน ที่ผ่านมา พร้อมกับวางแผนก�ำหนดกลยุทธ์การด�ำเนินงานใน เดือนถัดไปรวมทั้งมีมติอนุมัติการเบิกจ่ายเงินกิจกรรมโครงการฯ ตามแผนต�ำบลวิถีพอเพียงด้วยโดยการประชุมคณะกรรมการ โครงการฯได้มีการปรับเปลี่ยนสถานที่ประชุมหมุนเวียนกันไป ตามหมู ่ บ ้ า นต่ า งๆเป็ น การประชุ ม คณะกรรมการโครงการฯ แบบสัญจรเป็นการเปิดโอกาสในการติดตามความก้าวหน้าการ ด�ำเนินงานในระดับหมู่บ้าน และการมีส่วนร่วมของครัวเรือนพอ เพียงอาสาไปพร้อมๆกันด้วย

อย่างไรก็ตามการประชุมกันอย่างต่อเนื่องนี้เอง เป็น เสมือนห้องเรียนห้องทดลองให้แกนน�ำได้เรียนรู้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ฝึกฝนแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ท�ำให้เกิดการปรับวิธีคิด ปรับพฤติกรรมของตนเอง

ทีมงานภาคสนาม ปตท.

กว่ า จะเกิ ด การขั บ เคลื่ น ที่ เ ป็ น รู ป ธรรม ทุ ก ฝ่ า ยและ ทุกภาคส่วนในชุมชน ต้องสนับสนุนการท�ำงานให้สอดคล้อง กัน รวมทั้งการท�ำงานร่วมไปกับทีมงานภาคสนาม ปตท. อัน ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ต�ำบล เจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค และที่ ปรึกษาภาค เจ้าหน้าที่ประจ�ำต�ำบลเป็นบุคคลภายนอกชุมชน แต่ มีทักษะและประสบการณ์การท�ำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนพอ สมควร และมี เ ทคนิ ค วิ ธี ก ารท� ำ งานที่ น ่ า สนใจนั่ น คื อ ความ สม�่ำเสมอ จึงสามารถวางแผนการขับเคลื่อนงานให้ได้ต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน ทั้งยังอ่อนน้อม ถ่อมตน เคารพผู้อาวุโส เข้าหาทั้ง แกนน�ำและผู้น�ำชุมชนทั้งท้องที่และท้องถิ่น รู้จักเชื่อมประสาน ภาคีในพื้นที่เพื่อให้เกิดการท�ำงานร่วมกัน 72

IS AM ARE www.fosef.org


นอกจากนั้ น เจ้ า หน้ า ที่ โ ครงการฯยั ง ได้ อ อกไป เยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจ กระตุ้นให้แต่ละครอบครัวท�ำการบันทึก บัญชีครัวเรือนอย่างจริงจัง และน�ำตัวเลขที่บันทึกได้มาพิจารณา วางแผนรายจ่ายโดยมีการติดตามงานทุกๆ 3 เดือน ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นสามารถท�ำให้แต่ละครัวเรือนได้รู้ได้ตัวเลขค่าใช้จ่าย ของครอบครัว น�ำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมของ ตนเองได้มีการริเริ่มวางแผนชีวิตและการใช้จ่ายเงินอย่างรัดกุม ขึ้น อีกทั้งยังคิดหาทางออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น เริ่มปลูกผัก สวนครัว ปลูกอยู่ปลูกกิน เกิดการประหยัดอดออม และลดค่า ใช้จ่ายที่เป็นอบายมุข เหล้า บุหรี่ ค่าโทรศัพท์ ลงได้เป็นอย่าง มาก นอกจากนั้นยังพบว่า เกิดวัฒนธรรมการตั้งวงพูดคุยแลก เปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกันของชาว บ้าน ท�ำให้เกิดการกระตุ้นกันเองภายในชุมชน เกิดการจัดการ ตนเองภายใน จนเป็นความสามัคคีความร่วมมือกัน น�ำไปสู่ความ เข้มแข็งท�ำให้ชาวต�ำบลสามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัจจุบันผลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมเกษตรผสมผสาน แม้ว่าจะเริ่มเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่สามารถท�ำให้มีครัวเรือนพอ เพียงหลายคนได้เริ่มหันมาท�ำเกษตรผสมผสานมากขึ้น เนื่องจาก จะมีตัวอย่างต้นแบบที่สามารถมีรายได้เข้ามาเลี้ยงครอบครัว ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเพาะปลูกอะไร สามารถ ขายได้ แปรเปลี่ยนเป็นเงิน การผลิตที่หลากหลาย ผสมผสาน

ส่ ว นที่ ป รึ ก ษาภาคและเจ้ า หน้ า ที่ ป ระจ� ำ ภาค ก็ เ ป็ น คนนอกพื้นที่เช่นกัน แต่ได้รับการยอมรับเพราะเป็นบุคคลที่ มีประสบการณ์ในการท�ำงานพัฒนาชุมชนมาหลายปีมีความรู้ ทักษะและเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับ ชุมชน คอยก�ำกับติดตามให้กรอบแนวคิด และแนวทางการ ด�ำเนินงานโครงการฯให้เป็นไปด้วยความราบรื่นอยู่เสมอ เน้น วิธีคิดเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาต�ำบลให้ไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ทีมงานภาคสนาม ปตท. สามารถหล่อหลอมความคิดใน การท�ำงานพัฒนา ให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวบ้านและภาคี ต่างๆ จนสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายต�ำบลพอเพียงได้ อย่างน่าพึงพอใจ จากการด�ำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของ สังคมของชาวต�ำบลบ้านหยวก ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินทุกครัว เรื อ น ก่ อ นหน้ า นี้ ไ ด้ มี ห น่ ว ยงานเข้ า มาแนะน� ำและอบรมวิ ธี การจัดท�ำบัญชีครัวเรือน แต่ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่องและ จริงจัง จนกระทั่งโครงการฯ น�ำเสนอการบันทึกบัญชีครัวเรือน ขึ้นมาอีกครั้ง โครงการฯได้เก็บข้อมูลเศรษฐกิจและพลังงาน (ECEN) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตนเองไปสู่การรู้ตัวรู้ตน และ ได้ขับเคลื่อนสนับสนุนกิจกรรมด้านการอบรมให้ความรู้การ บันทึกบัญชีครัวเรือนที่ถูกต้องโดยใช้วิทยากรภายนอกมาอบรม อีกทั้งยังมีการพาไปศึกษาดูงานในต�ำบลที่เข้าร่วมโครงการที่มี ประสบการณ์

73 issue 110 march 2017


กัน หมุนเวียนกันไปในแปลง จึงเป็นทางออกทางรอดให้กับ ครัวเรือนอาสาได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาพึ่งพาตนเองมาก ขึ้น หลังจากที่หลงไปกับกระแสการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แม้ว่าทุก วันนี้ กระแสพืชเชิงเดี่ยวยังคงมีอิทธิพลต่อระบบการผลิตของ เกษตรกร แต่เกษตรผสมผสานจะช่วยรักษาสมดุลของการผลิต รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารของครอบครัวได้อีกด้วย บ่อหมักแก๊สชีวภาพ ถือเป็นพลังงานทดแทนและเป็น เรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนทางการคิดริเริ่มและลองผิดลองถูก จากชาวบ้าน แม้จะไม่ประสบความส�ำเร็จแต่โครงการฯได้ช่วย ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดเป็นจริงขึ้นจึงสามารถช่วยลดราย จ่ายด้านการใช้แก๊สหุงต้มรวมทั้งสามารถน�ำเศษวัสดุที่เหลือใช้ มูลสัตว์ มูลวัว มูลหมู ในชุมชนไปใช้ประโยชน์ได้ ลดปริมาณ ขยะในชุมชน อีกทั้งสามารถพัฒนาให้เป็นจุดเรียนรู้ศึกษาดูงาน ได้ทั้งในระดับต�ำบลและระดับครอบครัว นอกจากนี้โครงการฯ ได้บูรณาการพลังงานทดแทนโดย ได้สนับสนุนอุปการณ์การผลิตเตาเผาถ่าน 200 ลิตรให้ความ รู้จัดการฝึกอบรมและปฏิบัติจนเกิดรูปธรรมจ�ำนวน 12 คน ที่ คอยให้ค�ำแนะน�ำเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปัญหาใน ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะมีคณะกรรมการโครงการฯ ประจ�ำ หมู่บ้าน คอยรายงานในที่ประชุมให้ทราบ และนัดหมายกัน เข้าไปช่วยแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที เพื่อให้เกิดเตาเผาถ่านที่ มีประสิทธิภาพสูงสุดจนท�ำให้ครัวเรือนอาสามีความเข้าใจขั้น ตอนเทคนิคการเผาถ่านด้วยถัง 200 ลิตร ได้เป็นอย่างดี ซึ่งมี การประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องมีทั้งแบบตั้งและแบบนอน หลัก คิดส�ำคัญคือ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เช่น กิ่งไม้ เศษไม้ ไม่ส่งเสริมการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อน�ำมาเผาถ่าน และที่ส�ำคัญคือเป็นการเลือกใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและคุ้ม ค่า ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ท�ำให้ชุมชนได้เรียนรู้ ปฏิบัติและพึ่งพาตนเองได้ ปัจจุบันมีจุดเรียนรู้ที่มีสื่ออุปกรณ์ผู้ รู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ที่มาเรียนรู้ และขยายผลจากครัวเรือนอาสาสู่ชุมชนอื่นๆ โครงการฯยังต่อยอดเตาซุปเปอร์อั้งโล่ควบคู่กับเตาเผา ถ่าน 200 ลิตร เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีคุณค่าที่สุด จากการ ศึกษาข้อมูลจากทางพลังงาน คุณสมบัติของดินในพื้นที่ต�ำบล บ้ า นหยวกที่ เ ป็ น ดิ น เหนี ย วมี ค วามเหมาะสมในการผลิ ต เตา ซุปเปอร์อั้งโล่โครงการฯจึงจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านพลังงานขึ้น โดยพาไปศึกษาดูงานด้านพลังงานทางเลือก และได้จัดอบรม การปั้นเตาให้กับครัวเรือนพอเพียงอาสา โดยเชิญวิทยากรจาก ต�ำบลทุ่งโป่ง อ�ำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มาอบรมให้ ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่

ซึ่งมีลักษณะแบบแกนในและออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งการใช้ฟืน และใช้ถ่าน นอกจากนั้นยังสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั้นเตา เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ และเครื่องมือเฉพาะช่าง หลังจากได้ รับการฝึกอบรม พร้อมทั้งศึกษาดูงานแล้ว ชาวชุมชนสามารถ ปั้นเตาใช้เองได้ในครัวเรือนจึงลดการใช้พลังงานและลดรายจ่าย เรื่องการใช้พลังงานได้อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดและฝึกปฏิบัติ ได้นอกจากนี้มีการขยายผลร่วมกันพัฒนาให้เกิดเป็นจุดเรียนรู้ เรื่องการปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ เกิดการรวมกลุ่มกันปั้นเตาร่วม กัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

ลดรายจ่า = เพิ่มรายได้

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและพลังงาน ใน ภาพรวมของต�ำบลระหว่างปี 2552-2553 พบว่า รายรับรวม ปี 2553 เพิ่มขึ้น คิดเป็น 42% ของรายรับรวมปี 2552 รายรับ ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดมาจากภาคการผลิตและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และการประกอบอาชีพนอกภาคการผลิต เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 8.79 และ 1.45 ล้านบาท ตามล�ำดับ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง จากการ ท�ำกิจกรรมตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการฯ ต�ำบลบ้านหยวก ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 42,483 กิโลกรัม จากกิจกรรมการปลูกต้นไม้ การท�ำปุ๋ยอินทรีย์ การตั้งจุดรับซื้อพืชผลทางการเกษตร และพลังงานทดแทนที่ใช้ แทนแก๊สชีวภาพ

74 IS AM ARE www.fosef.org


75 issue 110 march 2017


ปัตตานี ผู้คน ทะเล และความหมาย แห่งป่าชายเลน

กลางฤดูมรสุม ปั ตตานีอุดมด้วยสายฝนเย็นชื่ น กระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้โบกโบยมาคลี่คลุมท้องทะเลและผืนแผ่นดินใหญ่ ที่ป่าชายเลนยะหริ่ง อ�ำเภอยะหริ่ง อ�ำเภอยะหริ่ง โกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ผลิตใบใหม่มันเลื่อมรับฤดูฝนโปรยปราย ชายชราพายเรือล�ำน้อยออกไปกู้ลอบกู้ข่ายในสายคลองยามู ป่าชายเลนยังสมบูรณ์ ปูปลายังอุดมพอจะหล่อเลี้ยงผู้คนที่นี่ได้ เช่นเดียวกับหลายๆแห่ง ป่าชายเลนยะหริ่งนับเป็นคลังอาหารของคนท้องถิ่น ปูปลาที่อาศัยในป่าชายเลนไม่เพียงเป็นอาหาร เลี้ยงดูให้เติบใหญ่ หากหมายรวมถึงรายได้จ�ำนวนหนึ่งซึ่งช่วยจุนเจือครอบครัว ความส�ำคัญนี้เองที่ทั้งคนในชุมชนและคนภายนอกมองเห็นความหมายและเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี ๒๕๓๙ ผนวกกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชประสงค์พระราชทานป่า 76 IS AM ARE www.fosef.org


เที่ยวตามรอยในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ไม้แก่ปวงชนชาวไทย จึงเกิดโครงการ “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่า ชายเลนยะหริ่ง” ในเนื้อที่กว่า ๕๐๐ ไร่ ณ อ�ำเภอยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนี้ มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นาและมู ล นิ ธิ แ ม่ ฟ ้ า หลวง จึ ง ร่วมมือกันจัดท�ำโครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลนที่จังหวัด สงขลาและจังหวัดปัตตานี ซึ่งก็ก่อเกิดเป็นศูนย์กลางในการ ระดมความคิดและเรื่องเรี่ยวแรงของคนท้องถิ่น ในอันที่จะร่วม กันรักษาป่าชายเลนอันอุดมไว้... กลางฤดูมรสุม ระหว่างก้าวไปตามเส้นทางเดินศึกษา ธรรมชาติซึ่งทอดเข้าไปในป่าชายเลน ความรู้สึกคล้ายดั่งก้าว ไปในอุโมงค์สีเขียวค่อยๆ กระจ่างชัดในโสตสัมผัส โกงกางใบเล็กแผ่ใบมันเลื่อมน่ามองอีกทั้งตะบูนด�ำและ ตะบูนขาว เสียงกุ้งดีดขันดีดตัวดังกังวานตรงโน้นตรงนี้ นก กินเปี้ยวสีฟ้าสดเกาะนิ่งรอคอยปลาอยู่บนกิ่งไม้ ลมพัดเย็นชื่น ลูบไล้ผืนทะเลและแนวป่าชายเลนด้วยสายลมเย็นชื่นฉ�่ำ “บ้านของเรา” ชายอาวุโสแห่งชุมชนเอ่ยเบาๆ คล้าย ร�ำพึง เขาคงหมายความว่า ป่าชายเลนยะหริ่งนี้มีความหมาย ต่อพวกเขามากแค่ไหน.. ทุกวันนี้ ป่าชายเลนยะหริ่งได้รับการดูแลโดยสถาบัน ทรัพยากร ชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน่วยงาน ซึ่งไม่เพียงดูแลต้นโกงกางให้เติบโต หากพวกเขายังปลูกฝังให้ ความคิดและจิตใจในการอนุรักษ์ป่าชายเลนได้เติบโตตามต้น โกงกางไปด้วย “เดี๋ยวนี้เด็กๆ รู้แล้วว่า โกงกางให้อะไรกับเราบ้าง” ชายชราแห่งหมู่บ้านบอกกับผู้มาเยือนด้วยน�้ำเสียงภูมิใจ ไม่ เพียงชายชราจะภูมิใจ เมื่อผู้มาเยือนได้เห็นความอุดมของป่า โกงกางก็อดที่จะภูมิใจด้วยไม่ได้ และแม้จะเกิดข่าวรุนแรงเลว ร้ายในจังหวัดปัตตานีไม่หยุดหย่อน ทว่าคนบางกลุ่มก็มาเยือน ที่นี่ด้วยความสนใจอย่างแท้จริง.. ห่างจากป่าชายเลนยะหริ่งไปไม่ไกล คือเวิ้งอ่าวโค้งเว้า อันงดงามด้วยหาดทราย หากจะกล่าวว่าหาดแฆแฆ คือชายหาด งดงามที่สุดในปัตตานีก็คงกล่าวได้ และถึงแม้จะอยู่ในช่วงฤดู มรสุม ทว่าแฆแฆก็ยังสงบงามรอต้อนรับผู้มาเยือน โดยเฉพาะ ในยามเย็นแดดร่มลมโชย ผู้คนจากตัวเมืองล้วนบ่ายหน้ามา พักผ่อนหย่อนใจที่นี่ ทั้งหญิงชราเกษียณ หญิงสาวคมเข้มคลุม ฮิยาบสีชมพูอ่อนหวาน และเด็กๆ ที่เพลินกับการวิ่งว่าวหลาก 77 issue 110 march 2017


สีไปบนชายหาดขณะฉากหลัง คือเกลียวคลื่นและผืนทะเลคราม และด้วยภูมิประเทศอันลงตัว มีแม่น�้ำสายบุรีทอดผ่าน อีกทั้ง ยังอยู่ติดท้องทะเล สายบุรีจึงขึ้นชื่อในความสมบูรณ์ของผืนดิน จรดขอบฟ้า หากจะกล่าวว่า ปัตตานียังเต็มด้วยข่าวร้ายรายวันก็คง และสายน�้ำ กล่าวได้ ทว่าส�ำหรับหาดแฆแฆที่นี่เปรียบเสมือน “มุมอันสงบ งาม” ที่คนปัตตานีได้อาศัยผ่อนคลายกายใจ ด้วยเกลียวคลื่นและผืนทรายความร้อนระอุคุกรุ่นของ สถานการณ์ก็ดูคลี่คลายลงและด้วยรอยยิ้มและน�้ำใจของคน ถิ่นนี้ ปัตตานีก็ดูไม่ครึ้มหม่นจนกลบกลืนความสงบงามลงเลย แม้แต่น้อย ออกนอกตัวเมืองปัตตานีไปทางทิศใต้ คือที่ตั้งอ�ำเภอ สายบุรี-ชุมชนสงบงามอีกแห่งของปัตตานี กล่าวส�ำหรับที่นี่ สายบุรีมีฐานะเป็นเมืองเก่าแก่ ๑ ใน ๗ หัวเมืองตั้งแต่ปี ๒๔๒๘

ณ ปากน�้ำแม่น�้ำสายบุรีนั่นเอง คือที่ตั้งชุมชนประมงเก่า แก่ ชื่อปาตาปาระซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า ๒๐๖ ปี ในอดีต การติดต่อ การค้าขายอาศัยเรือส�ำเภาแล่นขึ้นล่อง จากตัวเมืองปัตตานีไป ถึงตรังกานูในมลายู เมื่อเหนื่อยล้า หรือ น�้ำจืดขาดพร่องก็แวะ ทอดสมอตามหัวแหลมและชายหาด 78 IS AM ARE www.fosef.org


อย่างเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ถวายรถไฟเก่า ๒๐๘ ตู้ กรมทางหลวงแผ่นดิน ถวายท่อคอนกรีดช�ำรุด ๗๐๗ ท่อ ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างปะการังเทียม สร้าง “บ้าน” ให้สัตว์ ทะเลได้กลับคืนมา และในการปฏิบัติงาน กองทัพเรือก็ได้น�ำเรือตรวจการณ์ มาร่วมในการ “วางซั้ง” ท�ำปะการังเทียมทุกๆครั้งเช่นกัน ๑๑ ปี ล่วงผ่าน ถึ ง วั น นี้ หากกล่ า วว่ า ท้ อ งทะเลสายบุ รีก ลับ คืนความ สมบูรณ์อีกครั้งก็คงพอกล่าวได้ บนเรือที่แล่นกลับมาจากทะเล ไม่เคยว่างเปล่า มันบรรจุปูปลากุ้งมาพอเลี้ยงดูครอบครัวให้อิ่ม หน�ำ บางวันได้มากหน่อยก็พอเจียดขายเป็นรายได้เก็บออมไว้ ใช้ยามจ�ำเป็น กลางเดือนกรกฎาคม ขณะลมมรสุมเริ่มมาเยือนปัตตานี ณ ริมชายหาดวาสุกรี อ�ำเภอสายบุรี ผู้มาเยือนมักจะอดยิ้มตอบ ไม่ได้ ขณะชาวประมงท้องถิ่นกลับเข้าฝั่งด้วยรอยยิ้มอิ่มเอมใจ อิ่มเอมใจในสิ่งอันอุดมที่ท้องทะเลมอบให้ อิ่มเอมในที่ “พระองค์” ไม่เคยลืมปัตตานี คู ่ มื อ เดิ น ทาง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่งอยู่ใกล้ที่ว่าการ อ�ำเภอยะหริ่ง มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง ๑,๒๕๐ เมตร สร้างเป็นสะพานไม้ทอดเข้าไปในป่าชายเลน สมบูรณ์ สอบถามข้อมูลได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๗๓๓ ๖๒๙๐-๓ ต่อ ๔๑๑๕ หาดแฆแฆอยู ่ ห ่ า งจากตั ว เมื อ งลงไปทางใต้ ตาม ทางหลวงหมายเลข ๔๒ ผ่ า นอ� ำ เภอยะหริ่ ง แล้ ว ต่ อ ด้ ว ย ทางหลวงหมายเลข ๔๑๕๗ เดิ น ทางไปปากน�้ ำ สายบุ รี โ ดย ทางหลวงหมายเลข ๔๒ ราว ๕๐ กิ โ ลเมตร หาดวาสุ ก รี อยู ่ ห ่ า งจากตั ว อ� ำเภอ ๒ กิ โ ลเมตร ชายหาดสวยร่ ม รื่ น ด้ ว ย ทิวสนทอดยาว ที่มา : ส�ำนักงาน กปร.

นอกจากจะเป็นชุมทางค้าขายในอดีตสายบุรียังขึ้นชื่อใน เรือ่ งปูปลารสชาติดี แต่กอ่ นนั้น คนสายบุรหี าปลาด้วยเรือประมง เล็กๆ ลากอวนตาโก หรือไม่ก็ลากอวนไปตามชาดหาด สมัยนั้น ปลากะตักชุกชุมนัก ทว่าไม่ใช่ในทุกวันนี้ ปัจจุบันอวนตาโกหายไปจากสายบุรีร่วม ๒๐ ปีแล้ว เหตุเพราะการมาถึงของอวนลากและอวนด�ำของนายทุนใหญ่ ตาข่ายใหญ่โตนั้นลากชั้งดักปลาเสียหายหมด ทั้งการลากอวน ตามชายหาดก็ไม่ได้ผลอีกต่อไป กลางเดื อ นกรกฎาคม ลมมรสุ ม เริ่ ม มาเยื อ นปั ต ตานี ช่วงเวลาเดียวกับหน่วยงานหลายฝ่าย ก�ำลังทยอยลงเรือไปวาง ชั้งกลางทะเล ย้อนกลับไปเมื่อ ๒๕๔๔ เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชิ นี น าถเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เปิ ด โครงการฟื ้ น ฟู ทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ณ ชายหาด บ้านละเวง อ�ำเภอไม้แก่น หน่วยงานต่าง ๆ ก็ร่วมสนองแนว พระราชด�ำริในการฟื้นฟูความสมบรูณ์ของท้องทะเล 79

issue 110 march 2017


Round About The Real Gen Camp ค่ า ยคนกล้ า มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ The Real Gen Camp เรียนรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ โรงเรียนสุนทโร เมตตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี โดยด�ำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง พร้อมทั้งยังเสริมทักษะความกล้า ในด้านต่างๆให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

ครบรอบปี ที่ 51 แห่ ง การสถาปนาสถาบั น บั ณ ฑิ ต พั ฒ นบริ ห ารศาสตร์ (NIDA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) จัดงานเนื่องในโอกาส ครบ รอบปีที่ 51 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) จัดงานเนื่องในโอกาส ครบ รอบปีที่ 51 แห่งการสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ณ หอประชุม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 จากพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็น สถาบันศึกษาที่ผลิตบุคลากร เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ จัดให้มีการเรียนการ สอนในหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก มีการผลิตผลงานวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม อย่างต่อเนื่อง และในวันคล้ายวันสถาปนาของทุกปี นอกจากจะมีพิธีทางศาสนาแล้ว ยังจัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติ ซึ่งถือ เป็นกิจกรรมทางวิชาการหลักกิจกรรมหนึ่ง ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดขึ้นเป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ผลงาน วิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เป็นเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ การน�ำเสนอผล การศึกษาของงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป ส�ำหรับในปีนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้จัดประชุมวิชาการในหัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งนักศึกษา เข้าร่วมการประชุม ซึ่งช่วงเช้าจัดให้มี การปาฐกถาพิเศษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ประธาน กรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทย อีกทั้ง ในช่วงบ่ายจะมีการน�ำเสนอผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาใน 13 กลุ่มสาขาวิชา 80 IS AM ARE www.fosef.org


กิ จ กรรมค่ า ยสื บ สานศาสตร์ พ ระราชาสู ่ ค รอบครั ว พอเพี ย ง (ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาเขาหิ น ซ้ อ นอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ )

มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดกิจกรรมค่ายสืบสานศาสตร์พระราชาสู่ครอบครัวพอเพียง ศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหิน ซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คนจาก 40 โรงเรียน

ประกวดเรี ย งความ “ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งกั บ เป้ า หมายการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น ” เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ครูพรพิมล ค�ำนวณศิลป์ น�ำนางสาวทิพย์ภาภรณ์ พรหมจินดา นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสตรี ระนอง รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า การประกวดเรียงความ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ของกระทรวงการต่างประเทศ 81 issue 110 march 2017


รองนายกรั ฐ มนตรี เ ชื่ อ แผนแม่ บ ทส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) จะช่ ว ย ยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนไทยในทุ ก ภาคส่ ว นสู ่ ค วาม “มั่ น คง มั่ ง คั่ ง ยั่ ง ยื น ” ของประเทศ สามารถเป็นรากฐานที่ม่ันคงของชุมชน และสังคม ผ่านกลไก ประชารัฐ ตามแนวคิด “คุณธรรมน�ำการพัฒนา” เพื่อก้าว สู่สังคมแห่งคุณธรรม เป็นสังคมที่เข้มแข็งจากภายใน ซึ่งการ ประชุมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีส�ำหรับทุกภาคส่วนของสังคมทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่จะได้มารวมพลังท�ำความ ดีเพื่อชาติ อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศมีความสมดุลทั้ง ด้านวัตถุและจิตใจ มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างยั่งยืนโดยมุ่ง เน้นคุณธรรม ๔ ประการ จากพระบรมราโชวาทของพระบาท สมเด็จพระประมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมทาง วิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้และสร้าง ความเข้าใจแสวงหาแนวร่วม ในการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ เป็นเวทีส�ำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างคนไทยเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ และสร้างสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม ตลอดจนเปิด โอกาสให้ตัวแทนหน่วยงานคุณธรรมต้นแบบในแต่ละภาคส่วน ได้น�ำเสนอผลงานเชิงประจักษ์ โดยมีกิจกรรมหลัก ๕ กิจกรรม ประกอบด้วย ๑. ปาฐกถาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. น�ำเสนอผลการ ด�ำเนินการของหน่วยงานองค์กร และชุมชนคุณธรรมที่ประสบ ความส�ำเร็จ ๓.ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ๔. แสดงนิทรรศการส่งเสริมคุณธรรม และ ๕. แสดงผลงานของ หน่วยงาน องค์กร และชุมชนคุณธรรมต้นแบบ จากทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภารรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน จ�ำนวน ๕๐๐ คน โดยคาดหวังว่าจะช่วยให้ เกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น เป็นการสื่อสารให้เกิดการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมผลักดัน ร่วมคิด ร่วมท�ำในสิ่งที่ดี งามถูกต้อง ส่งเสริมคุณธรรมความดีให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ต่อไป.

ในวันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “ประชารัฐร่วมใจ ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคุณธรรม” ภาย ใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ พลเอก ธนะศั ก ดิ์ ปฏิ ม าประกร รองนายกรั ฐ มนตรี กล่ า ว่ า การจั ด การประชุ ม ทางวิ ช าการ “ประชารั ฐ ร่ ว มใจ ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคุณธรรม” ในครั้งนี้ เป็นการจุด ประกายให้ทุกภาคส่วนของสังคม ได้รับรู้และตระหนักในการ พั ฒ นาประเทศภายใต้ แ ผนแม่ บ ทส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมแห่ ง ชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ที่ได้ประกาศใช้แล้วซึ่งแผน นี้ได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ที่ต้องการขับ เคลื่อนประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้ประเทศไทย เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโดยได้อัญเชิญแนวพระราชด�ำรัสเรื่องหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินท รมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นปรัชญาน�ำทางในการพัฒนาและ บริหารประเทศ เพื่อให้คนในชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่งคั่งและ ยั่งยืน โดยเฉพาะรัฐบาลภายใต้การน�ำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่คาดหวังจะเห็นคนไทยมีศักยภาพ สามารถมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติ ปัญญา มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีจิตส�ำนึกในวัฒนธรรม ที่ดีงาม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีความรับผิดชอบ รักชาติ ศาสน์ และพระมหากษัตริย์ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม ความเพี ย ร และมี จิ ต ส� ำ นึ ก ค� ำ นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ข องชาติ 82

IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

83 issue 110 march 2017


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.