IS AM ARE march59

Page 1

IS AM ARE

เทิ ด ด้ ว ยท� ำ ฉบั บ ว.วชิ ร เมธี แนวทางชี วิ ต และการด� ำ เนิ น งาน

นายประเสริฐ หอมดี

ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งกั บ การศึ ก ษาชาติ

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ 1 issue 98 March 2016

ฉบับที่ 98 มีนาคม 2559 www.Fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“….ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยน่าอยู่พอกิน มีความสงบ และท�ำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ใน ทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอดแต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบ กับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้.ฉะนั้น ถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมี อิทธิพล มีพลังที่จะท�ำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกันช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย�้ำ พอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล....” พระราชด�ำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ 3 issue 98 March 2016


Editorial

จากปกฉบับนี้ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตนายทหารที่ มีความคิดกว้างไกลและในบทสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งท่านบอกกับเราว่า เมื่อครั้งที่ท่านได้ท�ำหน้าที่นายทหารเวรประจ�ำการรักษาพระองค์ที่ พระราชวังไกลกังวล ท่านมีความสุขมากและทุกครั้งที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านรัฐมนตรี ฯ กระซิบบอกว่า ใคร จะว่าอย่างไร ผมไม่รู้ แต่ที่ผมสัมผัสได้ ผมรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงเป็นเทพ เป็นเทพชั้นสูงด้วยพระบารมีที่สูงสุด เรามานั่งคิดหลังจากกลับมาถอดเทปค�ำสัมภาษณ์และทบทวนจากบทสนทนากับท่านรัฐมนตรีฯ นั่งนึกถึงตัวเองว่า ถึงวันนี้ ๑๐ ปีแล้วซินะที่เราเพียรสร้าง “ครอบครัวพอเพียง” หลายคนถามว่า “ครอบครัวพอเพียง” คือใคร เราตอบว่า คือกลุ่มคนที่มีความรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นในค�ำสอนของ “พ่อ” และที่ส�ำคัญไม่ใช่แค่รักอย่างเดียวและไม่ใช่แค่การศรัทธาเท่านั้นเราน�ำค�ำสอนของ “พ่อ” มาปฏิบัติอย่างจริงจัง จนวันนี้ “ครอบครัวพอเพียง” มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศจากปัญญาที่เราร่วมกันคิดและถ่ายทอดตามความเป็นจริงที่ปรากฏเผยแพร่ จนถึงปัจจุบันและมีจ�ำนวนของผู้รับการถ่ายทอดความรู้นี้ไม่ต�่ำกว่า ๖ แสนคนทั่วประเทศ เรามีความเชื่อว่าในสิ่งที่เราเผยแพร่ไปนั้นจนถึงวันนี้ ถ้าจะให้เปรียบก็คงจะเหมือนกับแรงลมที่พัดให้ความเย็น แรงลมของ ปีกผีเสื้อที่ขยับพร้อมๆ กันหลายแสนตัวและในอนาคตจาก ๑ ไป ๒ ความรัก ความศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะทวีจ�ำนวน มากขึ้นและเพิ่มพูนความเชื่อมั่นในค�ำสอนของ “พ่อ” จนท�ำให้ประชาชนที่อยู่ในวัยเติบโตในยุคปัจจุบันจะสามารถด�ำรงตนและมี ความสุขในบริบทที่ตนเองเป็นได้อย่างเข้มแข็งและมีน�้ำใจเมตตา มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นมากขึ้นตามล�ำดับ ถึงวันนี้หลายเหตุการณ์ที่บ่งชี้ถึงความรัก ความสามัคคีของคนไทย รอยยิ้มแห่งสยามจะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อคนไทยพบกับความสุข ที่แท้จริงจากความรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นในค�ำสอนของ “พ่อ” เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

mookkarsa@gmail.com www.fosef.org

4 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นางสุชานี แสงสุวรรณ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางสาวเอื้อมพร นาวี นายเอกรัตน์ คงรอด ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 98 March 2016


Hot Topic

50

แนวทางชี วิตและการ ด�ำเนินงาน นายประเสริฐ หอมดี

70

26

เทิดด้วยท�ำ ฉบับ ว.วชิ รเมธี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการศึกษาชาติ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

Don’t miss

18

10

48 20 14 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Table Of Contents

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาชาติ

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

7 issue 98 March 2016

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชัวร์ก่อนแชร์ เด็กก่อนค่าย เด็กหลังค่าย Share Story ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ รางวัลของความส�ำเร็จ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน Dhamma Today เพื่อความสวัสดีแห่งชีวิต Question Of Life ข่าวดีของเด็กดอย Cartoon Cover Story ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการศึกษาชาติ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ Is Am Are ต�ำบลท่าศิลา จังหวัดสกลนคร รู้แบ่งปัน ขยันเผื่อแผ่คือภูมิคุ้มกัน เรื่องราวดี ๆ ชีวิตนี้ (เลือกได้) ไม่เสียชาติเกิด ระหว่างทาง เวลคัม ทู ฆราวาส Let’s Talk แนวทางชีวิตและการด�ำเนินงานภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นายประเสริฐ หอมดี มูลนิธิชัยพัฒนา ต้นทางฟิื้นป่า ปลายทางน�้ำมันชา Wheel Of Life บทความพิเศษ เทิดด้วยท�ำ ฉบับ ว.วชิรเมธี Round About

8 10 12 14 17 18 20 22

26 38 48 54

58 66 72 76 80


“ชั วร์ก่อนแชร์” “เกิ ด เหตุ ร ้ า ย มี ร ะเบิ ด อี ก ลู ก ที่ อ นุ ส าวรี ย ์ ชั ย สมรภู มิ ” ข้ อ ความพิ เ ศษพร้ อ มภาพปรากฏอยู ่ บ นไลน์ ห น้ า จอ คอมพิ ว เตอร์ ข องสมฤดี สมฤดี เ ธอรี บ โพสภาพ และข้ อ ความดั ง กล่ า วส่ ง ไปแชร์ ท างไลน์ ซึ่ ง มี เ พื่ อ นเธอเป็ น สมาชิ ก อยู ่ ก ว่ า 100 คน ด้ ว ยความลุ ก ลี้ ลุ ก ลน... ครึ่งชั่วโมงต่อมา เมื่อมีคนสงสัย และตรวจสอบข้ อ ความและภาพชุ ด นี้ จึ ง พบว่ า เป็ น เหตุ ก ารณ์ แ ละภาพเก่ า ที่ เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อนโน่น ซึ่งท�ำให้สมฤดี ถู ก เพื่ อ นๆหลายคนต่ อ ว่ า ว่ า เธอเป็ น “กระต่ายตื่นตูม” และ “เวอร์เกินกว่า เหตุ” ท�ำให้คนแตกตื่นโดยใช่เหตุ เหตุการณ์ Viral clip ที่ถูกแชร์ ส่งไปโดยไม่ได้ไตร่ตรอง ตรวจสอบและ ยื น ยั น แหล่ ง ที่ ม าแบบนี้เข้าข่าย “ข่ า ว ลวง, ข่าวเท็จ, ข่าวที่ไม่มีมูล” ซึ่งพบอยู่ ใน Facebook, Line, และSocial Media ทุกรูปแบบอยู่เรื่อยๆ “ชัวร์ก่อนแชร์” จึง เป็ น หั ว ใจหลั ก ที่ ทุ กคนที่โลดแล่น อยู่ใน Social Media ควรที่จะให้ความส�ำคัญ

กับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โลกยุคไร้พรมแดนทุกวันนี้ ผู้คน จ�ำนวนมากเข้าสู่สังคมออนไลน์ บางคน วันละหลายชั่วโมงผ่านเครื่องมือสื่อสาร (สมาร์ตโฟน, โน๊ตบุ๊ค, แท็บแล็ต) โดย มีสารพัดแอปพลิเคชั่นมากมาย (Facebook, Twitter, YouTube, Line) เยาวชนจ� ำ นวนมากใช้ เ วลาหลั ง เลิ ก เรียนกับเรื่องเหล่านี้ทุกวัน วันละหลาย ชั่วโมง “ทุกอย่างอยู่บนฝ่ามือ” คือค�ำ พูดที่เปรียบเปรยว่า ชีวิตของคนในยุคนี้ แทบทุกอย่างไม่ว่าเรื่องการสื่อสาร, การ อ่านหนังสือพิมพ์, ดูหนัง, ติดตามรายการ ทีวี, ฟังเพลง, ค้นคว้าหาความรู้, การจอง 8 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ตั๋วเครื่องบิน, โรงแรมที่พัก, การพักผ่อน หย่อนใจ ฯลฯ ล้วนแล้วจะอยู่ในสังคม ออนไลน์ทั้งสิ้น ในขณะที่ Social Media ช่วยให้ ความสัมพันธ์กันใกล้ชิดมากขึ้น ช่วยใน เรื่องการท�ำมาหากิน แต่ทุกอย่างเหมือน เหรียญสองด้าน เมื่อมีด้านบวกก็จะมีด้าน ลบ ปัญหาเรื่องการแชร์ข้อมูลใน Social Media ที่เป็นด้านลบ ซึ่งทุกคนจะต้องระ แวดระวังก็คือ 1. การละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ทั้งโดย ตั้ ง ใจและไม่ ตั้ ง ใจ เช่ น บางครั้ ง พบว่ า มี การน�ำข้อมูลด้านสุขภาพของผู้อื่นไปเผย แพร่โดยเจ้าตัวไม่อนุญาต, การเผยแพร่ ภาพ ชื่อ นามสกุล ของผู้หญิงและเด็กที่


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยไม่สมควร 2. ถู ก มิ จ ฉาชี พ หลอกลวง เช่ น การโฆษณาขายสิ น ค้ า บางอย่ า งทาง Social Media, หลอกให้ลูกค้าโอนเงิน ให้และปิด webpage หนีไปเลย โดยไม่ ส่งสินค้าให้ หรือกรณีเด็กผู้หญิงถูกหลอก ไปล่วงละเมิดทางเพศ 3. สภาวะ “หลงตัวเอง” และ เสริ ม “อั ต ตา” ของผู ้ ค นจะมากขึ้ น เพราะว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางได้ทุกเรื่อง บางคนหลงติดกับการ “กดไลค์” จนไม่ เป็นอันท�ำมาหากิน ไม่เป็นอันพักผ่อน นอนหลับ 4. การส่งข้อมูลที่ผิดพลาดคลาด เคลื่อน, สภาวะ FOMO (Fear of missing out) เกิดจากจริตของความหลงตัว เอง ผนวกด้วยสัญชาตญาณอยากรู้อยาก เห็นของมนุษย์ การกลัวตกเป็นข่าว กลัว ตกกระแส กลัวตกกลุ่ม กลัวไม่ทันเพื่อน... ใครส่งอะไรมาก็ไม่ดูให้ละเอียด รับส่งต่อ ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ผิด พลาดคลาดเคลื่อนหรือไม่ ค�ำถามคือ....การใช้สื่อสังคมที่ดี ควรเป็นอย่างไร? จ ะ ข อ อ นุ ญ า ต น� ำ ป ร ะ ก า ศ ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล (บางข้ อ ) ที่ มี น โยบายและแนวทางปฏิ บั ติ ส� ำ หรั บ ผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) และแสดงตนในฐานะบุ ค ลากร หรื อ นั ก ศึ ก ษาในสั ง กั ด มหาวิ ท ยาลั ย มหิดล ดังนี้ 1. พึงตระหนักว่า ข้อความหรือ ความเห็ น ที่ เ ผยแพร่ บ น Social Network เป็นข้อความที่สามารถเข้าถึงได้ โดยสาธารณะ ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบ ทั้ ง ทางด้ า นสั ง คม และด้ า นกฎหมาย นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียง การท�ำงานและอนาคตของวิชาชีพของ ตนได้

2. ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ใน การเผยแพร่ความคิดเห็นที่อาจกระตุ้น หรือน�ำไปสู่การโต้แย้งที่รุนแรง เช่น เรื่อง เกี่ยวกับการเมืองหรือศาสนา 3. พึงระลึกว่า พระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระท�ำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550และ ข้อบังคับว่าด้วยจรรยา บ ร ร ณ ข อ ง บุ ค ล า ก ร แ ล ะ นั ก ศึ ก ษ า มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล และข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้ ว ยวิ นั ย นั ก ศึ ก ษา มี ผ ลผู ก พั น ต่ อ การ เผยแพร่ ข ้ อ มู ล และแสดงความคิ ด เห็ น บน Social Network ด้วย โดยสามารถ ศึกษาข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของ บุ ค ลากรและนั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล พ.ศ. 2552 และข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2553 ได้ตาม เอกสาร 4. ต้ อ งไม่ ล ะเมิ ด ทรั พ ย์ สิ น ทาง ปั ญ ญาของผู ้ อื่ น หากต้ อ งการกล่ า ว อ้างถึงแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนข้อความ ของตน ควรให้การอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูล นั้นอย่างชัดเจน 5. พึงตระหนักว่า การใช้ Social Network นั้น การแบ่งแยกระหว่างเรื่อง ส่วนตัว และเรื่องหน้าที่การงาน เป็นสิ่ง ที่ท�ำได้ยาก หากประสงค์จะใช้ Social Network เพื่ อ เผยแพร่ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งหน้ า ที่ ก ารงานหรื อ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ หน่วยงาน ควรแยกบัญชีผู้ใช้ (Account) ระหว่างการใช้เพื่อเรื่องส่วนตัว และเรื่อง หน้าที่การงานออกจากกัน 6. การเผยแพร่ข้อมูล หรือแสดง ความเห็นที่อาจท�ำให้เข้าใจว่าเป็นความ เห็ น จากหน่ ว ยงาน ต้ อ งมี ก ารแสดง ข้ อ ความจ� ำ กั ด ความรั บ ผิ ด ชอบ (Disclaimer) ว่า เป็นความเห็นส่วนตัว มิใช่ ความเห็นของมหาวิทยาลัย ส่วนงาน หรือ หน่วยงานที่ตนสังกัด เว้นแต่จะเป็นความ 9 issue 98 March 2016

www.nhso.go.th

เห็นของมหาวิทยาลัย ส่วนงานหรือหน่วย งานอย่างแท้จริง หรือได้รับอนุญาตจาก ผู้มีอ�ำนาจที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี 7. บุคลากรที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ หรือเป็นผู้ให้บริการสุขภาพหรือบริการ อื่นใด พึงตระหนักถึงความรับผิดชอบใน การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการ เนื่องจากผลของการเผยแพร่ข้อมูล อาจมี ผลกระทบต่อผู้รับบริการ หน่วยงาน และ วิชาชีพของตนได้ โดยที่ 7.1 ระมั ด ระวั ง อย่ า งยิ่ ง ในการ ใช้ Social Network ในการปฏิสัมพันธ์ กั บ ผู ้ รั บ บริ ก ารโดยเฉพาะไม่ ค วรใช้ Account ที่ใช้ส�ำหรับเรื่องส่วนตัวเพื่อ การนี้ เนื่องจากไม่มีวิธีที่ได้ผลสมบูรณ์ ในการปกปิดความลับของผู้รับบริการบน Social Network 7.2 ปฏิ บั ติ ต ามจริ ย ธรรมของ วิชาชีพอย่างเคร่งครัด 7.3 เคารพและระมั ด ระวั ง อย่ า งยิ่ ง ไม่ ใ ห้ มี ก ารละเมิ ด ความเป็ น ส่วนตัว (Privacy) และความลับ (Confidentiality) ของผู้รับบริการ 8. ศึ ก ษาการใช้ “การตั้ ง ค่ า ความเป็ น ส่ ว นตั ว ” หรื อ “Privacy Settings” ให้เข้าใจเป็นอย่างดี และปรับ แต่งการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้เหมาะ สมกับบริบท การถูกละเมิดความเป็นส่วน ตั ว โดยไม่ เ หมาะสม นอกเหนื อ จากส่ ง ผลกระทบต่อตนเองแล้ว อาจส่งผลต่อ หน่วยงานด้วย

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา


เด็ ก ....ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ...หลั ง ค่ า ยฉบั บ นี้ เ ป็ น เรื่ อ งของเด็ ก สาวแสนสวย ที่ ร วยน�้ ำ ใจ บุ ค คลิ ก ภาพที่ ส ดุ ด ตาเพราะ เธออ่ อ นน้ อ ม นุ ่ ม นวล เมื่ อ เวลาที่ เ ธอไหว้ สวั ส ดี เธอย่ อ ตั ว และท� ำ ด้ ว ยความตั้ ง ใจ ซึ่ ง ต้ อ งบอกว่ า เห็ น แล้ ว ต้ อ งแบมื อ เพื่ อ ไปรั บ การไหว้ ส วั ส ดี ข องเธอ และนึ ก ในใจว่ า เด็ ก สาวนี้ ค งมาจากครอบครั ว ที่ เ พี ย บพร้ อ ม และได้ รั บ การฝึ ก ฝนอบรมมาอย่ า งดี จ ากครอบครั ว การแสดงออกของเธอไม่ ใ ช่ ว ่ า ท� ำ ต่ อ หน้ า แขกของ โรงเรี ย น แต่ ที่ เ ราเห็ น ตั้ ง แต่ วั น แรกที่ ไ ด้ พ บเจอ จนวั น นี้ เ กื อ บ ๕ ปี แ ล้ ว เราก็ ยั ง เห็ น เธอแสดงความเคารพ สมกั บ เป็ น กุ ล สตรี ไ ทยไม่ จ างหาย โรงเรี ย นที่ ส ามารถสอนเด็ ก สาวให้ เ ป็ น เด็ ก ที่ มี ค วาม สุ ภ าพสมเป็ น กุ ล สตรี ไ ด้ ดี เช่ น นี้ ถ้ า ไม่ พู ด ถึ ง คงไม่ ไ ด้ นั่ น คื อ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง โรงเรียนวัดที่มีแต่สุภาพสตรี โรงเรียนที่มี พื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมน้อยมากทุกส่วนของพื้นที่ในโรงเรียน นักเรียนใช้ประโยชน์กับพื้นที่อย่างคุ้มค่า เรียกว่า แบ่งปันกัน ได้อย่างลงตัว แม้ว่าบางครั้งทุกกิจกรรมที่ต้องท�ำนั้น ส�ำคัญ เท่ากันหมดก็ตาม เช่น การซ้อมวงโยธวาทิต ในเวลาเดียวกัน การซ้อมการแข่งขันบาสเก็ตบอล ที่จะต้องมีแข่งขันและประกวด ในเวลาใกล้เคียงกัน และผลของการใส่ใจ ทุ่มแรงกาย แรงใจของเด็กสาว โรงเรียนสตรีวัดระฆัง กับการซ้อมวงโยธวาทิตในที่จ�ำกัดก็ไม่ใช่ อุปสรรคจนไม่สามารถฝึกซ้อมได้และผลงานก็ปรากฏทั่วทั้ง 10 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย แผ่นดินเพราะวงโยธวาทิตของโรงเรียนสตรีวัดระฆังได้ไปคว้า ชัยชนะบนเวทีโลก ที่ประเทศเยอรมันนี สร้างชื่อเสียงให้แก่ ประเทศได้อย่างงดงาม น้ อ งพลอย นางสาวพลอยไพลิ น ศิ ริ ส ม คื อ ชื่ อ ของ เด็กสาวที่เราจะพูดถึง น้องพลอยสมัครเป็นแกนน�ำครอบครัว พอเพียงกับเราเมื่อเธอเรียนอยู่ระดับ มัธยม ๔ และได้รับการ คัดเลือกเป็นประธานรุ่นของครอบครัวพอเพียงในปีนั้น น้ อ งพลอยได้ ร ่ ว มท� ำ กิ จ กรรมตามพั น ธกิ จ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย และให้ความส�ำคัญกับหน้าที่ ที่ตนได้รับเป็นอย่างดี และเมื่อมีกิจกรรมนอกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมแบบไป เช้าเย็นกลับ หรือเป็นกิจกรรมค่ายที่ต้องไปพักค้าง ๒ วัน ๑ คืน หรือ ๓ วัน ๒ คืน และบางค่ายจะต้องไปร่ว มกิจกรรมกั บกลุ ่ มจิ ต อาสา กลุ่มอื่น น้องพลอยก็จะไปโดยไม่นึกท้อ เพราะการเดินทางไป ค่ายบางครั้งต้องตื่นแต่เช้า กลับค�่ำ และทุกครั้งเราไม่เคยได้ยิน เสียงบ่นของ “พี่สต๊าฟ” ที่มีชื่อว่า พลอย คนนี้แม้แต่น้อย ด้วยใบหน้าที่สดใส สะอาดงดงาม พวกเราทุกคนก็แอบ คิดในใจว่าครอบครัวน้องพลอยจะต้องมีฐานะพอสมควร พวก เราทุกคนคิดเหมือนกัน เพราะนอกจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ดู ดีแล้ว รอยยิ้มจากใบหน้าของน้องนั้นสดใสและเป็นยิ้มของคน ที่มีความสุข และสิ่งที่เราเห็นตลอดเวลาที่ผ่านมา น้องพลอย ไม่เคยแสดงความทุกข์ หรือความเศร้าให้เราเห็น พวกเราพบ แต่ความสุขและสนุกสนานที่เธอแสดงออก ซึ่งบางครั้งต้องเป็น สต๊าฟน�ำท่าเต้น แสดงละครหรือต้องแต่งเติมหน้าตาให้ตลก น้องพลอยก็ท�ำได้เป็นอย่างดี จนมาที่เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเราจ�ำเป็นที่จะต้องส่งข้อความ และตารางการท�ำกิจกรรมซึ่งขณะนั้น น้องพลอยเรียนอยู่มัธยม

๖ เราบอกน้องว่า “ขออีเมลล์ด้วย” น้องพลอยก็รีบส่งกลับมา ทาง SMS และเมื่อเราบอกต่อว่า “น้องต้องส่งเอกสารกลับมา ทันทีภายใน ครึ่งชั่วโมง” น้องพลอยรีบโทรกลับมาหาเราในทันทีซึ่งขณะนั้นเป็น เวลา ๒๐.๓๐ น. แล้วบอกกลับเราว่า “ร้านคอมพิวเตอร์ปิด แล้ ว ค่ ะ จะต้ อ งรอวั น รุ ่ ง ขึ้ น แล้ ว จะไปขอทางโรงเรี ย นใช้ คอมพิวเตอร์เพื่อส่งกลับค�ำ ตอบที่ถามมาในแบบสอบถาม ค่ะ” เราถามน้องพลอยว่า “เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเสีย หรือค่ะ” ค�ำตอบของน้องพลอยท�ำให้พวกเรา นอนไม่หลับเลย ในคืนนั้น และค�ำตอบที่น้องพลอยตอบมาคือ “ที่บ้านของหนูไม่มี เครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ” และวันรุ่งขึ้น เวลา ๑๖.๓๐ น.เราไปที่โรงเรียนสตรี วัดระฆัง และพบน้องพลอย เราได้รับเอกสารค�ำตอบเกี่ยวกับ

11 issue 98 March 2016


กิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย และเราก็ชวน น้องพลอยกลับบ้าน เราชวนกันไปที่บ้าน ของน้องพลอยซึ่งอยู่ไกลจากโรงเรียนสตรี วัดระฆังสักเท่าไร และเมื่อมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งใน ซอยหลังโรงพยาบาลศิริราช น้องพลอย บอกเราว่า “ถึงบ้านแล้วค่ะ” พวกเรา มองหน้ากัน และมองไปที่บานประตูที่ น้องพลอยไขกุญแจเปิดออก สภาพห้อง เช่าขนาดเล็ก ประมาณ ๕ เมตร คูณ ๑๐ เมตร แต่ทุกอย่างถูกจัดอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาดสะอ้าน แบ่งเป็นมุม มุม ที่นอน หมอน มุ้ง มุมเสื้อผ้า มุมจานข้าว เตา กะทะ เครื่องครัวทุกอย่างอยู่ในห้อง เดียวกัน มีทีวี ตู้เย็นและวิทยุขนาดเล็ก ๑ เครื่อง เรานั่งลงที่พื้นแล้วถามน้องพลอย ว่า อาศัยกันอยู่กี่คน ในห้องนี้ น้องพลอย ตอบว่า “มีคุณพ่อ คุณแม่ พี่ชายที่ไม่

ค่อยแข็งแรง ๑ คน และน้องพลอย คุณ พ่อมีอาชีพรับจ้างเข็นผักในตลาด ส่วน คุ ณ แม่ เ ป็ น ลู ก จ้ า งร้ า นโต๊ ะ จี น และพี่ ชายไม่ค่อยแข็งแรง เพราะเมื่อวัยเด็ก พี่ ช ายมี อ าการชั ก บ่ อ ย และปั จ จุ บั น ช่วยขายของเล็กๆ น้อยๆ ใกล้บ้านเพื่อ หารายได้” เราถามน้องพลอยว่า “แล้วที่มา สมั ค รเป็ น แกนน� ำ จิ ต อาสาครอบครั ว พอเพียงนี้คุณแม่ไม่ว่าหรือ” น้องพลอย 12 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ตอบว่ า “คุ ณ แม่ ดี ใจด้ ว ยซ�้ ำ ว่ า เราจะ ได้ท�ำความดีและข้อส�ำคัญท�ำกิจกรรม กับครอบครัวพอเพียงไม่เสียค่าใช้จ่าย อะไร เพียงแค่ไปให้ทันเวลา ส่วนเรื่อง ค่ า รถเพื่ อ การเดิ น ทาง ก็ อ าศั ย ตื่ น แต่ เช้าไปรถประจ�ำทาง ซึ่งฟรีก็จะไปทัน ทุ ก กิ จ กรรม” และน้ อ งพลอยยั ง บอก อี ก ว่ า “ไปกั บ ครอบครั ว พอเพี ย งได้ ประสบการณ์ ได้เพื่อนใหม่จากหลาย โรงเรียน ได้มิตรภาพที่ดี ทานอาหารฟรี


มีเสื้อแจกให้และได้ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ” ถึงวันนี้กับภาพที่เราเห็นผ่านมากว่า ๕ ปี เด็ก สาวที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อการศึกษา เพื่ออนาคตที่ ดีของตนเอง น้องพลอย สามารถสอบเข้าสู่อุดมศึกษา คณะศึ ก ษาศาสตร์ เอกภาษาไทย มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร เธอบอกกั บ เราว่ า อยากเป็ น ครู ซึ่ ง เราก็ ใ ห้ ก�ำลังใจเธอว่า น้องพลอยจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต และในวันนี้เราส่งเสริมให้เธอได้เข้าประกวดกุลธิดา สภากาชาดไทย นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัว พอเพียงฉบับนี้ หากท่านสมาชิกท่านใดได้เปิดอ่าน ในคอลัมน์น้ี ก็ยังสามารถช่วยกดไลท์ในเพจของสภา กาชาดตามที่ปรากฏ เพื่อช่วยส่งเสริมเด็กสาวที่มีจิตใจ งดงามคนนี้ให้ได้รับเกียรติตามที่เธอหวัง เพราะสิ่งที่ เธอท�ำตลอดมากว่า ๕ ปีนี้ เธอท�ำทุกอย่างออกมาจาก จิตใต้ส�ำนึก เธอมีความรักและศรัทธาในองค์พระบาท สเด็ จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีน าถและ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เธฮอยากมีส่วนช่วย เหลือสังคมในทุกโอกาสอยู่เป็นเนือง เรื่ อ งราวของเด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ...หลั ง ค่ า ย ฉบับนี้เป็นเรื่องราวชีวิตจริงของคนไทยย้ายถิ่น และ ในกรณีของน้องพลอยนี้ก็เป็นหนึ่งของครอบครัวอีก จ�ำนวนมากที่ต้องพลัดถิ่นเกิด และเข้ามาแสวงหาความ

ร่วมโหวดให้น้องพลอย ได้ที่ www.facebook.com/trcyvolunteer

“ไปกับครอบครัวพอเพียงได้ประสบการณ์ ได้เพื่อนใหม่จากหลายโรงเรียน ได้มิตรภาพที่ดี ทานอาหารฟรี มีเสื้อแจกให้และได้ความรู ้ใหม่ๆ อยู ่เสมอ” อยู่รอดในเมืองหลวง แต่สิ่งที่แตกต่างและเป็นความพิเศษ ของครอบครัว “ศิริสม” คือ การอบรมสั่งสอนลูก และก็คง ไม่ใช่เพียงแค่การอบรมสั่งสอนเท่านั้น พ่อและแม่ของน้อง พลอย ยังสอนให้น้องพลอยรู้คุณค่าในตนเอง ให้เกียรติ ตนเองและที่ส�ำคัญ รักตนเองไม่เอาเปรียบคนอื่น ไม่ท�ำให้ คนอื่นเดือดร้อนจากการกระท�ำของตนเอง ตลอดจนการ สั่งสอนให้น้องพลอยเป็นคนมีน�้ำใจมองเรื่องของสังคมที่ อ่อนแอกว่าตนเองนั้นส�ำคัญและเป็นเรื่องที่ต้องช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเครื่องน�ำพาให้น้องพลอยได้พบกับความ ส�ำเร็จและความสุขที่แท้จริงในชีวิต.

13 issue 98 March 2016


รางวัลของความส�ำเร็จ ในการประชุมใหญ่ประจ�ำปีของ มหาเศรษฐี ผู ้ มี ใจกุ ศ ลและผู ้ ป ระกอบ การด้ า นเกื้ อ กู ล สั ง คมเกื อ บ 200 คน เมื่ อ ตอนกลางปี ที่ แ ล้ ว ซึ่ ง นิ ต ยสาร ฟอร์ บ ส์ ส นั บ สนุ น ผู ้ เข้ า ประชุ ม ลงมติ มอบรางวั ล ความส� ำเร็จตลอดชีพให้แ ก่ บิ ล กั บ เมลิ น ดา เกตส์ และนายแพทย์ พอล ฟาร์เมอร์ ทั้งสามเป็นผู้ได้รับรางวัล ซึ่งอายุยังไม่มากนักเนื่องจากตอนนั้นบิล เกตส์ อายุ 60 ปี เมลินดา เกตส์อายุ 50 ปีและหมอฟาร์เมอร์อายุ 55 ปี

คงเป็ น ที่ ท ราบกั น ดี แ ล้ ว ว่ า บิ ล เกตส์ เป็ น มหาเศรษฐี ห มายเลขหนึ่ ง ของโลกมานานจากการก่ อ ตั้ ง บริ ษั ท ไมโครซอฟท์ เขาและภรรยาชื่อเมลินดา ก่ อ ตั้ ง มู ล นิ ธิ เ พื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ขึ้นมากว่า 20 ปีแล้ว ขณะนี้มูลนิธินั้น มีสินทรัพย์มากที่สุดในโลก นั่นคือ กว่า 4.4 หมื่ น ล้ า นดอลลาร์ แ ละบริ จ าคให้ โครงการด้านต่าง ๆ ทั่วโลกปีละหลาย พั น ล้ า นดอลลาร์ (รายละเอี ย ดอาจหา ได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิ www.gates14 IS AM ARE www.ariyaplus.com

foundation.org) ผู ้ น� ำ เสนอเรื่ อ งการมอบรางวั ล ดังกล่าวให้บิล และเมลินดา เกตส์ ได้แก่ มหาเศรษฐีหมายเลขสองของโลกวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งอาจเป็นที่ทราบกันแล้วว่า จะบริจาคทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของเขา ให้แก่กิจการเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ผ่ า นมู ล นิ ธิ ข องบิ ล เกตส์ แ ละภรรยา ในการน� ำ เสนอนั้ น ตอนหนึ่ ง เขาพู ด ว่ า “ผมได้ ศึ ก ษาผู ้ มี จิ ต กุ ศ ลที่ ยิ่ ง ใหญ่ ของประเทศนี้ ร วมทั้ ง ร็ อ กกี้ เ ฟลเลอร์


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้

ยากจนพอ ๆ กับเฮติ อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน เป็นผู้น�ำเสนอการมอบ รางวัลให้แก่หมอฟาร์เมอร์ ในการน�ำเสนอนั้น ตอนหนึ่งเขาพูด ว่า “ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง ผมมักอ่าน หนังสือในช่วงดึก ๆ ... คืนหนึ่งหลังอ่านหนังสือชื่อ Mountains Beyond Mountains เกี่ยวกับพอล ฟาร์เมอร์จบ ผม โทรหาลูกสาวซึ่งก�ำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด... และถามว่ารู้เรื่องราวของพอล ฟาร์เมอร์บ้างไหม ลูกตอบว่า ‘พ่อจ๋า เขาเป็นคนใจพระปานนักบุญเชียวนะคะ’ หลังจากวัน (บิล และ เมลินดา เกตส์ พูดคุยกับชาวบ้านในอินเดีย)

(หมอพอล ฟาร์เมอร์กับคนไข้) นั้น ผมโชคดีที่ได้ร่วมงานกับพอล ฟาร์เมอร์ ในรวันดา เฮติ ไลบีเรีย และในที่อ่ืน ๆ มีคนจ�ำนวนมากทั่วโลกที่เขาได้ช่วย ชีวิตไว้ และอีกนับชีวิตไม่ถ้วนที่เกิดความซาบซึ้งซึ่งรวมทั้ง ผมเองด้วย” หนังสือเรื่องดังกล่าวเขียนโดยนักเขียนรางวัลพูลิตเซอร์ เทรซี่ คิดเดอร์และมีชื่อเต็มว่า Mountains Beyond Mountains: The Quest of Dr. Paul Farmer, a Man Who Would Cure the World ผู้เขียนเล่าเรื่องราวของหมอฟาร์เมอร์ใน หลายบริบทรวมทั้งในแหล่งทุรกันดารที่เขาเดินทางด้วยเท้า ข้ามภูเขาไปเยี่ยมคนไข้ในเฮติ ผมเองเกิดความประทับใจมาก จากการอ่านเรื่องราวของนายแพทย์คนนี้ซ่ึงเกิดในครอบครัว ยากจน ความปราดเปรื่องและความขยันหมั่นเพียรส่งผลให้ เขาได้ทุนไปเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นน�ำ แต่แทนที่จะมุ่งหน้า ไปทางแสวงหาความร�่ำรวย เขากลับพยายามช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อนมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (ผู้ สนใจในเรื่องราวของเขาแต่เวลาไม่ค่อยพออาจอ่านบทคัดย่อ ของหนังสือเล่มนั้นได้ที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www. bannareader.com)

คาร์เนกีและเฮนรี่ ฟอร์ด ไม่มีใครทุ่มเทเวลา ความพยายาม และมันสมองให้กับมูลนิธิของตนเช่นบิล และเมลินดา” คง ทราบกั น ดี แ ล้ ว ว่ า สามี ภ รรยาคู ่ นี้ ล าออกจากงานประจ� ำ ใน ไมโครซอฟท์ ม านานเพื่ อ ทุ ่ ม เทเวลาให้ กั บ งานการช่ ว ยเหลื อ เพื่อนมนุษย์ของมูลนิธิ ผมสนใจในวิถีชีวิตและการท�ำงานของบิล เกตส์ มานาน และได้รวมเรื่องราวของเขาไว้ในหนังสือชื่อ “เสือ สิงห์ กระทิง แรด” ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2543 (บิล เกตส์ คือ “กระทิง” ในหนังสือ เล่มนี้ซึ่งอาจดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา เช่นกัน) ผมมองว่าเขาและภรรยาน่าจะได้รับรางวัลโนเบลด้าน สันติภาพในเร็ววันนี้ ส่วนหมอพอล ฟาร์เมอร์ คงไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้าง ขวางนักเนื่องจากส่วนใหญ่เขาใช้เวลาท�ำงานอยู่ในเขตทุรกันดาร ของประเทศยากจนสุด ๆ อาทิเช่น เฮติ ในช่วงเวลาหลายปีที่ ผ่านมาหมอฟาร์เมอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในประเทศรวันดาซึ่ง 15

issue 98 March 2016


จากการได้ศึกษาชีวิตและติดตามการท�ำงานของเขามาเป็นเวลานาน ผมมองว่าหมอฟาร์เมอร์อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แบบเดียวกับนายแพทย์อัลเบิร์ต ชไวท์เซอร์ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลด้านสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2495 ฉะนั้น ผมเชื่อมั่นว่าในวันหนึ่ง ข้างหน้า หมอฟาร์เมอร์จะได้รับรางวัลนั้นเช่นกัน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันสุดท้ายซึ่งผู้มีคุณสมบัติอาจเสนอชื่อของบุคคลหรือองค์กรเพื่อรับรางวัลโนเบลด้านสันติภาพได้ ณ วันนี้ คณะกรรมการคงได้รับรายชื่อของบุคคลและองค์กรที่ได้รับการเสนอส�ำหรับปีนี้แล้ว ตามกฎของคณะกรรมการ ชื่อที่ได้รับ การเสนอนั้นจะเปิดเผยไม่ได้จนกว่าเวลาจะผ่านไปแล้ว 50 ปี ตอนนี้จึงมีเพียงการคาดเดากันว่าใครได้รับเสนอชื่อบ้าง ในจ�ำนวนนี้ น่าจะมีชื่อของบิล เกตส์และภรรยาพร้อมกับมูลนิธิของเขาทั้งสองและชื่อของนายแพทย์พอล ฟาร์เมอร์รวมอยู่ด้วย

(บิล และ เมลินดา เกตส์)

(หมอพอล ฟาร์เมอร์กับทีมงาน) 16 IS AM ARE www.ariyaplus.com


กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบันเทิง ความสุขมากมายที่ได้ รับจากการอ่านนิตยสารเพื่อสังคมฉบับ นี้ เพื่อเป็นการตอบแทนท่านผู้อ่านและ สมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะแจกของ สมนาคุณเล็กๆแก่ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกันเข้า ของสมนาคุณที่ว่า คือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อมสลักชื่อ-นามสกุล เรี ย บร้ อ ย ซึ่ ง ค� ำ ถามในฉบั บ นี้ คื อ ความรู ้ ที่ ไ ด้ จ ากบทความ “ชัวร์ก่อนแชร์” หน้า 8-9 จากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่ ง ชาติ ในฉบั บ ที่ ป รากฏ แล้วตัดส่งมากันนะค่ะ ในฉบับ หน้ า ของสมนาคุ ณ อาจมี ก าร เปลี่ยนแปลงตามค�ำเรียกร้อง ของคนขี้ เ หงา ซึ่ ง น่ า จะเป็ น Furby เพื่อนช่างคุย ของเรา เอง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า นะค่ะ

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com, www.fosef.org แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง ชัวร์ก่อนแชร์

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 17 issue 98 March 2016

1169


่ เพือความสวัสดี

แห่งชี วิต

18 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

สิ่ ง ที่ เ ธอควรมี . ......................”สติ ป ั ญ ญา” สิ่ ง ที่ เ ธอควรแสวงหา................”กั ล ยาณมิ ต ร” สิ่ ง ที่ เ ธอควรคิ ด ......................”ความดี ง าม” สิ่ ง ที่ เ ธอควรพยายาม................”การศึ ก ษา” สิ่ ง ที่ เ ธอควรเข้ า หา..................”นั ก ปราชญ์ ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรฉลาด...................”การเข้ า สั ง คม” สิ่ ง ที่ เ ธอควรนิ ย ม.....................”ความซื่ อ สั ต ย์ ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรควรตั ด ..................”อกุ ศ ลมู ล ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรเพิ่ ม พู น ..................”มู ล กุ ศ ล” สิ่ ง ที่ เ ธอควรอดทน...................”การดู ห มิ่ น ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรยิ น .......................”พุ ท ธธรรม” สิ่ ง ที่ เ ธอควรจดจ� ำ ....................”ผู ้ มี คุ ณ ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรเทิ ด ทู น ..................”สถาบั น กษั ต ริ ย ์ ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรขจั ด .....................”ความเห็ น แก่ ตั ว ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรเลิ ก เมามั ว ...............”การพนั น ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรสร้ า งสรรค์ . .............”สั ม มาชี พ ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรเร่ ง รี บ ...................”การแทนคุ ณ บุ พ การี ” สิ่ ง ที่ เ ธอควรปฏิ บั ติ ทั น ที . ............”ท� ำ วั น นี้ ใ ห้ ดี ที่ สุ ด ” http://www.dhammajak.net/

19 issue 98 March 2016


ข่าวดีของเด็กดอย

บุรุษไปรษณีย์เดินลงจากรถพร้อมกับถือซองเอกสารเดิน ตรงเข้ามาที่ใต้ถุนบ้าน “เอกสารครั บ ” บุ รุ ษ ไปรษณี ย ์ พู ด พร้ อ มกั บ ยื่ น ซอง เอกสาร ทั น ที ที่ รั บ เอกสารที่ จ ่ า หน้ า ซองจากกองกิ จ การนิ สิ ต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ท�ำให้ฉันซึ่งเป็นผู้รับเอกสารที่จ่า หน้าซองถึงตัวของฉันนั้นรู้สึกตื่นเต้น และเมื่อเปิดอ่านข้อความ ในเอกสาร ซึ่งมีใจความส�ำคัญว่า “คุ ณ ผ่ า นการสอบคั ด เลื อ กเข้ า เป็ น นิ สิ ต โครงการ บัณฑิตคืนถิ่นของมหาวิทยาลัย” ท�ำให้หัวใจของฉันพองโต ฉัน รีบวิ่งไปหาแม่ที่อยู่หลังบ้านเพื่อบอกข่าวดีแก่ท่าน “ใช่แล้วล่ะมันเป็นข่าวที่ดีมากๆ เลย” ฉันพูดกับตัวเอง ในใจ ข่าวดีที่ท�ำให้เด็กดอยอย่างฉันรู้แล้วว่าฉันได้เรียนต่อตาม ที่คาดหวังไว้อย่างแน่นอนแล้ว

หลังจากพ่อผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวจากไปอย่างไม่มี วันหวนกลับมา ฉันก็ไม่รู้ว่าหากจบชั้น ม.๖ แล้ว ฉันจะได้เรียน ต่อหรือไม่ เพราะล�ำพังรายได้จากการท�ำการเกษตรของแม่ซึ่ง น้อยมากและไม่แน่นอนของแม่ก็ต้องหมดไปกับค่าใช้จ่ายในบ้าน แล้ว แม่ยังต้องส่งพี่สาวของฉันเรียนอีกด้วย “แล้วตัวฉันล่ะ?” ฉันไม่อยากคิดเลย เพราะยิ่งคิดยิ่งสงสารแม่ แม่เป็นผู้ หญิงตัวเล็กๆ มิหน�ำซ�้ำสุขภาพก็ไม่แข็งแรง แต่ต้องท�ำงานยิ่ง กว่าผู้ชาย หากแม่ต้องส่งฉันเรียนอีกคนแม่ต้องรับภาระที่หนัก อึ้งที่เดียว ฉันตระเวนสอบและสอบติดในหลายๆ สถาบัน หนึ่งใน นั้นฉันก็สอบติดคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่ฉันคาดฝัน ไว้ แม่พูดกับฉันว่า “เรียนไปเถอะ อุตส่าห์สอบติดในคณะที่ อยากเรียนแล้ว ไม่ต้องห่วง แม่จะส่งลูกเรียนเอง” ยิ่งได้ยิน

20 IS AM ARE www.ariyaplus.com


question of life แม่พูดอย่างนั้น ฉันยิ่งสงสารแม่ แม่ไม่มีรายได้ประจ�ำ ไหนจะ ค่าใช้จ่ายบ้าน แล้วแม่จะเอาเงินที่ไหนเป็นค่าเทอม ค่าหอพัก ค่าอาหาร และค่าอื่นๆ ให้ฉัน หากฉันเรียนแม่ต้องแบกภาระที่ หนักแน่ๆ ฉันคงท�ำอย่างนั้นไม่ได้ ต่อหน้าฉันแม่ก็ยิ้มร่าเริง แต่ ฉันรู้ว่าในใจแม่ต้องคิกมากอย่างแน่นอน แต่แม่ไม่แสดงออกให้ ฉันไม่สบายใจเท่านั้น ส�ำหรับคนจนที่ไม่มีรายได้ประจ�ำ ไม่มีธุรกิจส่วนตัว ไม่มี ที่ดินท�ำกินเป็นของตัวเอง อย่างครอบครัวของฉันเงินร้อย เงิน พัน ก็ถือว่าเยอะส�ำหรับพวกเรา แล้วเราจะหาได้จากที่ไหนล่ะ ถ้าไม่ใช่การกู้หนี้ยืมสิน ฉันเคยคิดที่จะท�ำงานเก็บเงินก่อนแล้วค่อยเรียนต่อ ฉัน ต้องหาเงินเรียนด้วยตัวเอง ฉันพยายามที่จะลืมเรื่องเรียนต่อละ ฉันพูดปลอบใจตัวเองเสมอว่า “ไม่มีค�ำว่าสายส�ำหรับการเรียน หากวันนี้ไม่ได้เรียนวันหน้าก็คงมีโอกาสได้เรียน” แล้วฉันก็ได้รับโอกาสดีๆ จริงๆ หลั ง จากที่ ไ ด้ รั บ เอกสารฉั น ดี ใ จเป็ น อย่ า งมาก ยิ้ ม ด้ ว ยความดี ใจทั้ ง วั น ฉั น กรอกรายละเอี ย ดต่ า งๆ และส่ ง เอกสารกลั บ ทางมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ยื น ยั น การเข้ า ศึ ก ษาใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (กศ.บ ๕ ปี) ภายใต้ทุนการศึกษาโครงการบัณฑิตคืนถิ่น มูลนิธิสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา

ด้วยน�ำ้ พระทัยของพระองค์ ท�ำให้เด็กดอยผูย้ ากจนอย่าง ฉันได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยทุนการศึกษาที่ฉันได้รับ นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นค่าเทอมและส่วนที่เหลือก็เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของแม่ที่ต้องส่งให้ฉันเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาที่ฉันเรียน ฉันได้ตั้งใจเรียนอย่างเต็ม ก�ำลังความสามารถของฉัน ฉันพยายามที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ ให้ได้มากที่สุด เพื่อน�ำความรู้ไปสอนเด็กนักเรียน เมื่อฉันเป็น ครูสอนเด็กๆ ในอนาคต ฉันต้องทุ่มเทกับการสอน ฉันต้องท�ำให้เด็กๆ ได้มีโอกาส ทางการศึกษา มีโอกาสที่จะเรียนรู้ เช่นเดียวกับตัวฉันที่ได้รับ โอกาสที่องค์สมเด็จพระเทพฯ ทรงหยิบยื่นให้กับเด็กบนดอย อย่างฉัน หากฉั น ไม่ ไ ด้ รั บ ทุ น การศึ ก ษาโครงการบั ณ ฑิ ต คื น ถิ่ น มู ล นิ ธิ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด า วั น นี้ ฉั น อาจต้ อ งท� ำ งาน รั บจ้ า งอยู ่ ใ นโรงงานแห่ ง ใดแห่ ง หนึ่ ง เป็ น แน่ น�้ ำ พระทัยของ พระองค์ที่หลั่งลงมาให้กับเด็กดอยอย่างฉัน ท�ำให้ฉันซาบซึ้งเป็น อย่างยิ่ง ฉันพูดกับตัวเองเสมอว่า “ฉันไม่สามารถตอบแทนพระ มหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้ นอกจากการตั้งใจเรียนและ กลับไปเป็นครูที่ดีตามพระราชประสงค์” อนาคตจะเป็นอย่างไรฉันไม่สามารถรู้ได้ ฉันรู้เพียงแต่ว่า ฉันจะท�ำวันนี้ให้ดีที่สุดและฉันจะเป็นครูที่ดีในอนาคต

ตลอดระยะเวลาที่ ฉั น เรี ย น ฉั น ได้ ตั้ ง ใจเรี ย นอย่ า ง เต็ ม ก� ำ ลั ง ความสามารถของฉั น ฉั น พยายามที่ จ ะเก็ บ เกี่ ย วความรู ้ ใ ห้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด เพื่ อ น� ำ ความรู ้ ไ ปสอน เด็ ก นั ก เรี ย น เมื่ อ ฉั น เป็ น ครู ส อนเด็ ก ๆ ในอนาคต

นางสาวสายพิ ณ ไข่ ค� ำ โครงการบั ณ ฑิ ต คื น ถิ่ น ครู วิ ท ยาศาสตร์ คื น ถิ่ น จั ง หวั ด แม่ ฮ ่ อ งสอน 21 issue 98 March 2016


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 98 March 2016


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 98 March 2016


26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cover Story

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาชาติ

พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

27 issue 98 March 2016


มองกระจกถามตั ว เอง : เหนื่ อ ยได้ ท้ อ ไม่ ไ ด้ “เคยคิดไหมว่าวันหนึ่งจะได้มานั่งอยู่ตรงนี้” เป็นค�ำถามที่พอจะทราบค�ำตอบอยู่แล้ว แต่ก็อดถาม ไม่ ไ ด้ เ มื่ อ มี โ อกาสได้ เข้ า สั ม ภาษณ์ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง ศึกษาธิการ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ณ ห้องรับรองภายใน อาคารกระทรวงศึกษาธิการ “ไม่เคย” เขาส่ายหน้าและยิ้ม นั่นแหละ ใครจะเคยคิดว่าในวันใกล้เกษียณอายุราชการ สถานการณ์บ้านเมืองในยุค คสช.จะพาให้มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนจะย้ายมาก ระทรวงศึกษาธิการ มันตรงข้ามกับแผนพักผ่อนพาครอบครัว เที่ยวหลังเกษียณอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นภาระใหญ่ที่ต้องการ คนเสี ย สละ เพราะขึ้ น ชื่ อ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารแล้ ว ปั ญ หา นานับประการรอผู้แก้ไขเยียวยาอยู่ คนๆ นั้นต้องเหนื่อย สละ ความสุขส่วนตัวเพื่อน�ำทางการศึกษาชาติ ขับเคลื่อนครูและ บุคลากรในสังกัดกว่า ๘ แสนคน “ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยมากๆ จนหลายครั้งต้อง ไปยืนหน้ากระจกถามตัวเองว่า ‘เราท�ำอะไรอยู่’ เราเหนื่อย อย่างนี้เราไม่มีเวลาให้ครอบครัวเรา แต่สุดท้ายมันมาลงที่มี คนพูดกับผมเสมอว่า ‘ให้ท�ำเพื่อประเทศ’ แต่ผมคิดเลยไป กว่านั้น เพราะว่าพอได้มาจับงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มาอยู่ กระทรวงศึกษาธิการ ผมได้เห็นสิ่งที่มันเป็นอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ ในกระทรวงฯ ทั้งส่วนข้าราชการในกระทรวงเองเขายอมรับ ในความที่ยังไม่สมบูรณ์ของตัวเองแล้วก็เสียงสะท้อนจาก คนข้างนอกทั้งสังคม ทั้งสื่อมวลชน ทั้งนักวิชาการ ท�ำให้ผม รู้ตัวเองว่าผมต้องยอมเหนื่อย เพราะว่าถ้าปล่อยไปแบบเดิม แล้วลูกหลานเราจะอยู่ยังไง ก่อนหน้านี้ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมมีหลานสาว

อยู่คนหนึ่ง ตอนนี้อายุขวบแปดเดือน แต่ตอนนั้นเขาขวบหนึ่ง ผมอุ้มเขาเดินที่สนามหญ้าที่บ้าน แล้วก็มองต้นไม้มองนกที่บิน ไปมา หลานผมยังไม่รู้เรื่องหรอกแต่ผมพูดกับเขา เขาชื่อชีวา ‘ชีวา ปู่ก�ำลังมาดูเรื่องรักษาป่าให้หนูลูก รักษาสิ่งแวดล้อมให้ หนู เพราะหนูโตมาหนูจะได้มีต้นไม้ ถ้าปู่ไม่ช่วยเดี๋ยวมันจะ หมดไปจากประเทศไทย แล้วหนูจะอยู่ยังไง’ นี่คือสิ่งที่ผมคิด แล้วผมพูดกับหลานผม” เมื่ อ มาเป็ น รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร พลเอกดาว์พงษ์พบว่ายิ่งต้องเหนื่อยมากกว่าเดิมเพื่อลูกหลาน รุ่นหลัง เพราะการศึกษาเป็นเรื่องต่อเนื่องระยะยาว แม้จะคิดได้ ดังนั้นก็ไม่ท�ำให้ความเหนื่อยที่พบเจอหายไป แต่พลเอกดาว์พงษ์ ยอมรับว่า “ความรู้สึกท้อมันหายไป” มีพลังท�ำเพื่อเด็กรุ่นหลัง อย่างน้องชีวา ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กไทยทั้งประเทศที่จะต้อง เติบโตเวียนว่ายอยู่ในระบบการศึกษาชาติตลอดจนเข้าท�ำงาน “ทุกครั้งที่เราเหนื่อยเรามองพระเจ้าอยู่หัวเราจะรู้ว่า พระองค์ท่านเหนื่อยยิ่งกว่าเราเหลือเกิน พระองค์ท่านอยู่ใน ฐานะที่จะสบายได้แต่ไม่ทรงสบายเลยตลอดพระชนม์ชีพของ พระองค์ ท ่ า นตลอดเวลาที่ ค รองราชย์ แล้ ว เราเป็ น ตั ว เล็ ก ๆ แค่นี้ เป็นใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท�ำไมเราจะท�ำแค่นี้ไม่ได้ ก็ มาลบล้างความเหนื่อยของเราออกไป นั่นคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นในใจ มันเป็นความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆแล้วหลายครั้งที่ท้อเราก็กลับไป ยืนที่กระจก ผมใช้วิธีนี้จริงๆ ผมจะดูกระจกแล้วผมถามตัวเอง อย่างนี้ แล้วก็ยืนอยู่อย่างนั้นแล้วมันจะกลับมา เคยใช้แบบนี้ ตั้งแต่ตอนกระชับพื้นที่ ศอฉ.ด้วย ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสถานการณ์ จะจบลงยังไง เราอยู่ ศอฉ.ที่ร.๑๑ มีม็อบที่ราชประสงค์ ก็สู้กัน เป็นเดือน ไม่รู้จะท�ำยังไง ไม่รู้จะปราบยังไง เพราะเขาคือคน ไทยด้วยกัน ชาวบ้านที่มาชุมนุนก็เป็นคนไทยด้วยกันที่มา ปี ๕๓ ก็เครียดมาก เพราะเขาไม่ใช่ศัตรูไง ถ้าเป็นศัตรูนี่ง่าย แต่ 28

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เป็นคนไทย แล้วเป็นคนไทยที่ถูกหลอกไป อีก ยิ่งยากไปอีกสิบเท่าร้อยเท่า ผมก็ยืน คิด มันจะออกยังไง จะท�ำยังไงดี แล้วก็ถูก โจมตีกล่าวหาจากคนที่ไม่ชอบก็มี เพราะ มีสองฝ่ายใช่ไหมครับ ก็เกิดความรู้สึกได้ แล้วชีวิตตัวเองก็เปลี่ยนไปเลย ความเป็น ส่วนตัวในชีวิตผมหายไปเลยตั้งแต่นั้นมา ไปที่ไหนคนจ�ำได้ก็จ�ำไป คนรักก็รัก คน เกลียดก็เกลียด ธรรมดาถ้าเป็นนายดาว์พงษ์ไป เดินห้างก็สบายๆ แต่ท�ำไมต้องมาเป็น อย่างนี้ เอาหละ แต่พอสุดท้ายมันพิสูจน์ แล้วถ้าไม่ท�ำประเทศเราก็จะไปไม่ได้ ยิ่ง มาถึ ง ช่ ว งนี้ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ผม ก็ รู ้ สึ ก มากขึ้ น ถึ ง ความจ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ ง พยายามท�ำทุกสิ่งทุกอย่าง ใช้สติปัญญา ที่ มี อ ยู ่ ใ ห้ เ ต็ ม ที่ ทุ ่ ม เทกั บ มั น เพื่ อ จะแก้ ปัญหาการศึกษาของชาติ ซึ่งเป็นความ คาดหวังของทุกภาคส่วนเลยก็ว่าได้ สิ่ง ที่ผมต้องเผชิญก็คือว่า ในภายใต้ความ คาดหวังก็คือว่า สังคมไม่ชอบรออะไรช้า

ทั้ ง ๆ ที่ รู ้ อ ยู ่ แ ก่ ใจว่ า สิ่ ง ต่ า งๆทั้ ง หลาย มั น หมั ก หมมมานานเหลื อ เกิ น แต่ เ มื่ อ เข้ามาแก้ต้องท�ำให้เร็ว เราต้องสู้กับสิ่ง นี้ด้วย” ลดเวลาเรี ย นเพิ่ ม เวลารู ้ ผลพวง จากการศึ ก ษาในวั ย เด็ ก พลเอกดาว์ พ งษ์ รั ต นสุ ว รรณ เป็นคนจังหวัดลพบุรี เป็นลูกทหารโดย ก�ำเนิด เกิดในกรมทหารราบที่ ๓๑ รักษา พระองค์ บ้านดงสวอง ต�ำบลเขาสามยอด อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ในวัยเด็กเรียน ชั้นอนุบาล ๑ ที่โรงเรียนอนุบาลลพบุรีได้ เพียงปีเดียว ก็ย้ายตามคุณพ่อมาเรียน ที่ โรงเรี ย นอนุ บ าลละอออุ ทิ ศ จั ง หวั ด กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นคุณแม่เป็น อาจารย์สอนโรงเรียนสตรีวิทยา “ประถมผมเรียนใกล้บ้าน ช่วงนี้ แหละผมอาจจะโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง ชื่อ โรงเรียนนารีนิรมล เป็นโรงเรียนเอกชน ครับ เจ้าของเป็นคนญี่ปุ่น คือท�ำให้ผม 29 issue 98 March 2016

ได้รับอะไรหลายอย่างที่โรงเรียนนี้ ก็ไม่ ได้สอนอินเตอร์นะ สอนปกติ ก็ไม่น่าเชื่อ ว่าผมเล่นเบสบอลตั้งแต่ประถม ๕ เพราะ เบสบอลเป็นกีฬาที่คนญี่ปุ่นเขาชอบกัน ผมก็ได้เล่นเบสบอลตั้งแต่ ป.๕ ซึ่งเด็ก รุ่นเดียวกับผมไม่รู้จักเบสบอลหรอก ผม ได้เล่นละ ก็ได้สัมผัสคุณครูซึ่งเป็นคุณครู สอนภาษาอั ง กฤษ ได้ สั ม ผั ส เพื่ อ นๆ ก็ เป็นช่วงชีวิตที่ผมได้บทเรียนสมัยเด็กที่ดี มากส่วนหนึ่ง จากนั้นก็มาเข้าสาธิต มศว ประสานมิตรเรียนมัธยม มีพี่น้อง ๗ คน ผมเป็นคนที่ ๔ แต่เป็นผู้ชายคนแรก มีพี่สาว ๓ คน ก็ มาเข้าสาธิตประสานมิตรกันหมด ๗ คน เพราะคุณแม่ย้ายมาเป็นอาจารย์สาธิต ประสานมิตรด้วย พอได้เรียนสาธิตมัน ก็ ไ ด้ เ ห็ น รู ป แบบใหม่ ผมได้ แ นวคิ ด ลด เวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มาจากประสานมิตร สมัยนั้นผมได้ใช้เวลาช่วงบ่ายได้เรียนรู้ใน สิ่งต่างๆ ที่เขาสอนตั้งแต่ มศ.๒ มันก็ช่วย อะไรผมได้ในอนาคต ก็เป็นแนวทางหนึ่ง


โรงเรียนในแต่ละวันตามเดิม ไม่ท�ำให้ผู้ปกครองต้องเดือดร้อนใน เรื่องเวลาที่ต้องฝากลูกไว้ที่โรงเรียน โครงการนี้มีกิจกรรมหนึ่งคือ Heart เป็นกิจกรรมที่สอน ให้เด็กรู้จักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีสติปัญญา ในการด�ำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถใช้กิจกรรมนี้ปลูกฝัง ค่านิยมให้กับเด็กๆ เพื่อให้เด็กไทยได้เติบโตเป็นคนดีของสังคม สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข กิจกรรม Heart ในโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้นี้ จึงเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝัง ให้เด็กมีความรู้ควบคู่คุณธรรม เพื่อน�ำไปใช้ในการสร้างสังคม ไทยที่ดีต่อไปในอนาคต โครงการนี้เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการ ศึกษา ๒๕๕๘(พ.ย.๕๘)ในโรงเรียนน�ำร่อง ๔,๑๐๐ โรงเรียนทั่ว ประเทศ ผลการด�ำเนินการโครงการเมื่อสิ้นปี ๒๕๕๘ พบว่า มีความพึงพอใจร้อยละ ๗๕ และก�ำลังรอการประเมินผลการ ศึกษาเมื่อจบภาคการศึกษา ก้ า วสู ่ โ ลกทหารด้ ว ยความท้ า ทาย หลังจากเรียนจบ ม.๓ ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรพลเอกดาว์พงษ์ก็ท้าทายตัวเอง หลั ง จากนั้ น น่ า จะเป็ น เพื่ อ นในรุ ่ น สาธิ ต มี ส องคนที่ ม าสอบ ด้วยการสมัครสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า เตรียมทหาร เพราะเด็กสาธิตไม่ค่อยมาสอบเตรียมทหาร ก็มี “จะสู้เขาได้ไหม” โดยไม่รู้เลยว่าเส้นทางที่ตนท้าทายอยู่ในวัน ทหารเรือเพื่อนผมคนหนึ่ง แล้วก็มีผม ในปีนั้นจนถึงเป็นทหาร นั้นจะทอดยาวมาไกลจนวันนี้ จนทุกวันนี้” พลเอกดาว์พงษ์เผยถึงที่มาของโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ว่า กระทรวงศึกษาธิการพบเด็กไทยมีจ�ำนวนชั่วโมง เรียนในห้องมากเกินไปเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในหลายช่วง อายุ จากผลส�ำรวจของ UNESCO (ป.๓/อายุ ๙ ปี เรียนมากเป็น อันดับ ๒ ของโลกมีเวลาเรียน ๑,๐๘๐ ชั่วโมง/ปี, ป.๕/อายุ ๑๑ ปี เรียนมากเป็นอันดับ ๑ ของโลก มีเวลาเรียน ๑,๒๐๐ ชั่วโมง/ ปี, ม.๑/อายุ ๑๓ ปี เรียนมากเป็นอันดับ ๘ ของโลก มีเวลา เรียน ๑,๑๖๗ ชั่วโมง/ปี)ผลส�ำรวจแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ เรียน ในห้องเรียนมากเกินพอดี ท�ำให้เกิดความเครียด ไม่มีความสุข ในการเรียน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนต�่ำ นั่นเกิดจากความ ไม่พอดีในจ�ำนวนเวลาเรียนในห้องเรียนที่โรงเรียนต่างๆ จัดการ ศึกษาให้เด็กนั่งฟังในห้องอย่างเดียวและสอนเนื้อหาวิชามาก เกินกว่าจ�ำนวนชั่วโมงที่กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนด จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการลดเวลาเรียนโดยการนั่ง ฟังในห้องเรียนให้มีจ�ำนวนชั่วโมงที่มีความพอดี และใช้เวลาที่ ปรับลดไปด้วยการปรับวิธีสอนใหม่ให้เด็กเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จริงที่ไม่ใช่การนั่งฟังในห้องเรียน โดยยังคงเวลาในการศึกษาใน 30 IS AM ARE www.ariyaplus.com


“ผมก็ย้อนดูว่า เอ แล้วเด็กสมัยนี้หละ เด็กสมัยนี้อาจ จะมีโอกาสที่ดีกว่าผม เพราะว่าเขาจะมีสื่อหลายสื่อที่เขาจะ เข้าถึงได้ สมัยก่อนเราไม่มีหรอกครับ ก็ฟังจากคุณครูเท่านั้น เอง แล้วไม่มีครูแนะแนวด้วย สมัยนี้ดีขึ้นแล้ว แต่อันนี้เป็นแรง จูงใจให้ผมหันมาดูเรื่องการแนะแนวในกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ ง หายไปนานแล้ ว แต่ เรื่ อ งแนะแนวจุ ด ตั ด สิ น ใจสุ ด ท้ า ย คื อ วั น ที่ ยุ ว โฆษกของรั ฐ บาลมาพบผม แล้ ว เด็ ก คนหนึ่ ง เขายกมือ เขาอยู่มหาวิทยาลัย เขาบอกเขาเรียนภูมิศาสตร์ อยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขาไม่รู้จะไปท�ำงานอะไร เอก ภูมิศาสตร์ เขาต้องการการแนะแนว ผมก็เลยบอกขอบคุณ มาก จุดประกายผมทีเดียว ผมต้องหันมาให้ความส�ำคัญเรื่อง การแนะแนว และทุกระดับด้วยนะ ไม่ใช่แค่ ม.ต้น อาชีวะ อุดมศึกษาก็ต้องให้ความส�ำคัญ”

“อาจจะเป็นเพราะคุณพ่อเป็นทหารอยู่แล้วก็เห็นอยู่ คื อ ผมชอบท้ า ทายเหมื อ นกั น ทราบมาว่ า เตรี ย มทหารคน สอบเยอะ อยากจะไปดูสิว่าจะไหวไหม สู้เขาได้ไหม ก็ไปสอบ ก็โชคดีที่สอบได้ ส่วนหนึ่งคุณพ่อเป็นทหารอยู่แล้ว แล้วก็ชอบ ที่จะท้าทาย ตอนนั้นเตรียมทหารจะสอบก่อนเตรียมอุดมนะ สอบไม่ตรงกัน พอเข้าเตรียมทหารได้ก็โอเค ก็เต็มใจมาเป็น ทหาร ‘ไม่เคยคิดเลยว่าเลือกอะไรผิดเลือกอะไรถูก’แต่ผม ย้อนไปนะ ผมจะใช้ประสบการณ์ตัวเองในต�ำแหน่งหน้าที่ด้วย ผมมองว่าตอนผมเป็นเด็ก ผมรู้ตัวตอนไหนว่าผมชอบอะไร ถ้าเรารู้ตัวได้เร็ว เราก็จะเดินถูกเส้นทางได้เร็ว ผมถามตัวเอง ว่าตอนนั้นเรารู้ตัวตอนไหน ผมแทบจะไม่รู้เลย การที่มาเลือก เตรียมทหารก็เพราะสองเหตุผล ความที่คุณพ่อเป็นทหาร และความท้าทายที่ตัวเองชอบ แต่ก็ยังไม่รู้ตัวเองว่าเหมาะ กับทหารรึเปล่า” เมื่ อ ย้ อ นดู ท างเดิ น ของตั ว เองในชี วิ ต การเรี ย นที่ ผ ่ า น มา จนกระทั่งการสอบเข้าเตรียมทหารได้ทั้งที่ตัวเองยังไม่รู้เลย ว่าชอบหรืออยากเป็นทหารมากน้อยเพียงใด จากจุดนี้ท�ำให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฉุกคิดว่า “แล้วเด็กสมัยนี้ หละ” พวกเขาจะหันไปปรึกษาใครเกี่ยวกับทางเดินชีวิตในการ เรียนจนถึงท�ำงาน ถ้าไม่ใช่ “ครูแนะแนว” 31

สิ่ ง ที่ ไ ด้ จ ากโรงเรี ย นนายร้ อ ย “ข้าพระพุทธเจ้าจะรักษามรดกของท่านไว้ด้วยชีวิต” เป็นถ้อยปฏิญาณของเหล่านักเรียนนายร้อยต่อหน้าพระบรม รูปรัชกาลที่ ๕ ซึ่งกึกก้องในความทรงจ�ำของพลเอกดาว์พงษ์ ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น คื อ ความจงรั ก ภั ก ดี ที่ ถู ก ฝั ง ในสาย เลือด พลเอกดาว์พงษ์ใช้ค�ำว่า “เป็นทุกอย่างในการประพฤติ ปฏิบัติ”

issue 98 March 2016


“ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า จะรั ก ษามรดกของท่ า นไว้ ด ้ ว ยชี วิ ต ” เป็ น ถ้ อ ยปฏิ ญ าณของเหล่ า นั ก เรี ย นนายร้ อ ยต่ อ หน้ า พระบรมรู ป รั ช กาลที่ ๕ ซึ่ ง กึ ก ก้ อ งในความทรง จ� ำ ของพลเอกดาว์ พ งษ์ ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น คื อ ความจงรั ก ภั ก ดี ที่ ถู ก ฝั ง ในสายเลื อ ด

32 IS AM ARE www.ariyaplus.com


“ค�ำพูดนี้ติดอยู่ในใจตลอดเวลา ผมก็ยังใช้มาตลอดทุก วันนี้ คือไม่ได้สักแต่ว่านึกหรือว่าปฏิญาณ แต่เราถูกสอนให้ฝัง สิ่งนี้ในสายเลือด เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่มาเกิดกับพระบรม วงศานุวงศ์ทุกพระองค์เราก็จะถวายชีวิตให้ คือปกติต้องถวาย ชีวิตอยู่แล้ว ต่อคนไทย ต่อพระมหากษัตริย์ แต่เผอิญเราได้ พระมหากษัตริย์ที่ประเสริฐที่สุดแล้ว พระองค์ท่านไม่เคยมีจุด ใดที่ไม่ดีเลย ผมได้มีโอกาสใกล้ชิดสองพระองค์ในช่วงชีวิตหนึ่ง ตอนที่ผมเป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเพชรบุรี ซึ่งตอนนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังไม่ประชวรขนาดนี้ พระองค์ท่านก็ประทับที่ วังไกลกังวล ผมต้องไปถวายงานทุกวัน ช่วงเย็นที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงออกก�ำลังพระวรกายก็จะไปยืนเป็นแถวพระองค์ท่านก็จะ เสด็จพระราชด�ำเนินเดินรอบพระราชต�ำหนักวังไกลกังวล และ ผมก็ได้เฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าฯสลับวันกัน ที่ ผ มได้ เ ห็ น พระองค์ ท ่ า นคื อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ผมได้ เ ห็ น พระอั จ ฉริ ย ภาพ บางคนใช้ ค� ำ ว่ า พระองค์ท่านเป็นปราชญ์นะ แต่จากที่ผมได้สัมผัสพระองค์ท่าน เป็นเทพในความรู้สึกผม และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรง มี ‘Sensible’ มากทีเดียว ใครได้ใกล้ชิดพระองค์ท่านแน่นอน ก็จะกลัว แต่พระองค์ท่านก็จะท�ำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและได้ ถวายงานในความรู้สึกผมนะ ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระองค์ท่าน ‘ไม่เคยมองใคร ไม่ดีเลย’ บางคนทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดี แต่พระองค์ท่านว่าอย่างไรรู้ไหม ทรงรับสั่งท�ำนองที่ว่า ‘เราก็ต้องพยายามหาส่วนดีท�ำให้เขาท�ำดี สิ’ ไปชวนให้เขาท�ำดี หาทางให้เขา คือหน้าที่เรา ทั้งที่คนนี้มันไม่ ดีนะ แต่ท่านก็ไม่ได้ว่าคนนี้ไม่ดีนะ ถ้าใครได้ใกล้ชิดก็ต้องท�ำให้ เขาดี ผมก็โอ้โห เจ้านาย แล้วใครที่ให้ร้ายเจ้านายทั้งสองพระ องค์นี่เราก็ทนไม่ได้อยู่แล้ว นอกเหนือจากงานปกติที่เราปฏิญาณ แล้วได้ถวายงานด้วยท�ำให้เรารู้สึกอย่างนั้น ฉะนั้นแนวทางทุก

ที่ ผ ม ไ ด ้ เ ห็ น พ ร ะ อ ง ค ์ ท ่ า น คื อ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ผมได้ เ ห็ น พระอั จ ฉริ ย ภาพ บางคนใช้ ค� ำ ว่ า พระองค์ ท ่ า นเป็ น ปราชญ์ น ะ แต่ จ ากที่ ผ มได้ สั ม ผั ส พระองค์ ท ่ า นเป็ น เทพในความรู ้ สึ ก ผม แนวทางที่พระองค์ท่านพระราชทานมาทั้งสองพระองค์จนมา ถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ก็แล้วแต่ ใช้ค�ำว่าทุกแนวพระราชทาน ‘Visible’ หมด แล้ว ‘Sensible’ ด้วย ผมยืนยัน ใ น ช ่ ว ง ที่ ผ ม เ ป ็ น รั ฐ ม น ต รี ว ่ า ก า ร ก ร ะ ท ร ว ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผมได้มีโอกาสไปกล่าวใน เวทีประชุมนานาชาติ ทุกครั้งผมจะให้เจ้าหน้าที่ไปดูว่าเรื่องนี้เข้า คู่กับแนวพระราชด�ำริเรื่องไหนไม่เคยมีครั้งไหนที่ไม่ได้เลยนะ ได้ ทุกเรื่องโดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม มาอยู่กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้อีกครับ ผมก็ต้องอ้างอิงแนวพระราชด�ำริไปพูดให้ชาวโลก เขาฟังทุกครั้งแล้วก็ได้ผลทุกครั้ง อันนี้ผมว่าเป็นที่ยืนยันอยู่ แล้ว จากสหประชาชาติ แม้กระทั่งท่านโคฟี อันนันท่านก็มา ถวายรางวัลให้พระเจ้าอยู่หัว ผมจึงบอกว่าทุกอย่าง Visible และ Sensible” เอาหลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาใช้ ใ นการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ? “ถ้าตอบชัดเลยก็อาจจะไม่ใช่ คือต้องยอมรับตรงๆ ว่ า ก่ อ นหน้ า นี้ ก็ ใช้ ชี วิ ต ปกติ มี เ กิ ด ปั ญ หาบ้ า งและก็ ไ ม่ เ กิ ด ปัญหาบ้าง” เมื่อมองย้อนอดีตชีวิตที่ผ่านมาพลเอกดาว์พงษ์ มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต เมื่อเอามาจับคู่กับหลักเศรษฐกิจ พอเพี ย งในปั จ จุ บั น ก็ พ บว่ า สามารถเป็ น ทางออกของปั ญ หา ได้ แต่น่าเสียดายตอนนั้นแนวทางตามพระราชด�ำริยังไม่เป็นที่ เข้าใจและน�ำไปปฏิบัติเท่าที่ควร 33

issue 98 March 2016


“ พ อ ม า ศึ ก ษ า แ น ว ท า ง ตามพระราชด� ำ ริ นี้ ไ ด้ ชั ด เจนขึ้ น ย้ อ น กลับไปดูครับ ถ้าผมใช้แนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงมาตั้งนานแล้ว ปัญหาที่เคยเกิด มันจะไม่เกิด พอย้อนกลับไปดูจะรู้ว่ามัน ไม่เกิดถ้าเราท�ำอย่างนั้น ที่เราท�ำแล้วไม่มี ปั ญ หาเราจั บ คู ่ แ ล้ ว มั น ใช่ นี่ น าแนวทาง พระเจ้าอยู่หัว พูดง่ายๆ แม้กระทั่งจะ เล่นหุ้นนะ พูดตรงๆ เราก็ต้องมีภูมิคุ้มกัน ต้องเรียนรู้ให้จริง ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด ไว้หน่อย ไม่ใช่หลับหูหลับตาแห่ตามเขา ไปโดยไม่คิดถึงอะไร แต่ว่าสามารถเข้า ได้หมดถ้ารู้จักหยุดคิดสักนิดหนึ่ง และ แนวของพระองค์ท่านก็ไม่ได้หนีแนวของ พระพุทธศาสนา เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ที่ ท ่ า น พระราชทานให้ เราคนไทยได้ ต ระหนั ก มีอยู่ช่วงหนึ่ง ช่วงต้นๆ คนไทยไม่เข้าใจ แม้กระทั่งส่วนราชการเอง คือไปเข้าใจ ว่ า ต้ อ งประหยั ด โน่ น ประหยั ด นี่ อ ยู ่ ใ น มุมเดียว แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น พระองค์ท่านให้รู้จักพอกินพอใช้ มีมาก ใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ท�ำไป แล้วยืนยันได้ เลยว่า ยิ่งเราเห็นภายใต้สภาวะโลกที่มัน เปลี่ยนแปลงทุกวันนี้นะ ภัยแล้งที่เกิดขึ้น น�้ำมันลดราคาบ้างหรือแพงบ้าง แล้วก็รบ กัน ถ้าเรายืนตามแนวพระองค์ท่านเราอยู่ ได้ แต่ที่ผ่านมาเราท�ำน้อยไป คนไทยท�ำ น้อยไป ลืมไป อาจจะด้วยเหตุผลอะไร ก็ตามแต่ แต่ว่าส่งผลถึงปัจจุบัน แต่ยัง ไม่สายครับที่เราจะปรับตัว ผมท� ำ งานมาตลอดช่ ว งชี วิ ต ตั้งแต่เด็กๆ จนถึงโตผมก็ใช้หลักพระพุทธ ศาสนาเหมือนกัน ผมจะใช้แนวอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)ในการท�ำงาน คื อ เวลาลงท� ำ งานผมจะต้ อ งลงลึ ก ใน รายละเอียดของปัญหาให้แตกฉานเลย ว่ามีกี่ปัญหา พอได้ปัญหาแล้วก็ต้องหา สาเหตุของมัน ในทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ มาจากอะไร พอได้สาเหตุมาแล้วก็มาดูว่า

มี บ างคนมาบอกผมว่ า ครู เ ป็ น หั ว ใจ ต้ อ งแก้ ป ั ญ หาครู ผมไม่ เ ถี ย งเลย ว่ า ครู เ ป็ น หั ว ใจ แต่ ต ้ อ งถามคุ ณ ครู จ ะดี ไ ด้ คนที่ จ ะท� ำ ให้ คุ ณ ครู ดี ไ ด้ คื อ ใคร ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นใช่ ไ หม คื อ ผู ้ อ� ำ นวยการนี่ แ หละเป็ น คี ย ์ ถ้ า ผู ้ อ� ำ นวยการดี เ ก่ ง ใช้ ไ ด้ ครู ก็ ไ ปได้ แนวทางแก้ไขเป็นอย่างไร พอได้แนวทาง แล้วก็จะมาถึงวิธีการแก้ปัญหา ใช้วิธีนี้มา ตลอดชีวิตผมเลย ถึงปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ แล้วยิ่งปัญหาที่มันยุ่งยาก ปัญหาที่มัน มากมายถ้าไม่ใช้ระบบนี้จัดมันจะแก้ไม่ได้ ถ้าแก้เป็นชิ้นๆ มันจะส่งผลกระทบต่อ อีกด้านหนึ่ง ผมต้องเอาตัวนี้มาใช้แล้วก็ ใช้ได้ผล ได้หรือไม่ได้ไม่รู้แต่อย่างน้อยก็ ท�ำให้ผู้ร่วมงานผมได้เข้าใจวิธีการท�ำงาน มากขึ้น แล้วก็ชัดเจนในการท�ำงาน เป็น สิ่งที่ผมใช้อยู่” โ ค ร ง ส ร ้ า ง ก า ร ศึ ก ษ า ป ั ญ ห า ระยะยาว การจะปรับโครงสร้างการศึกษา ได้ หัวใจส�ำคัญพลเอกดาว์พงษ์มองว่า ต้องสร้างความเชื่อมั่นในผู้ร่วมงานให้ได้ กล่าวคือกระทรวงศึกษาธิการมีบุคลากร รวมทั้งครูทั่วประเทศทั้งสิ้นประมาณ ๘ แสนคน หากทุ ก คนเชื่ อ มั่ น ในผู ้ น� ำ ก็ จ ะ ท�ำให้งานมีประสิทธิภาพ และสามารถ 34 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เดิ น ไปในทางที่ ถู ก ต้ อ งได้ พ ร้ อ มๆ กั น เพราะบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มี ความรู้ความสามารถอยู่แล้ว “สิ่งที่ผมต้องท�ำคือ ๑ แสดงให้ เขาเห็ น ว่ า ผมไม่ มี อ ะไรซ่ อ นเร้ น ในการ ที่มาท�ำงานที่นี่ ๒ แสดงให้เห็นว่าผมไม่มี ผลประโยชน์ หรือจะมาหาผลประโยชน์ ในกระทรวง สองอย่ า งนี้ ถ ้ า เขาเชื่ อ ที่เหลือคือความรู้ที่ผมต้องปล่อยออกมา ก็จะไปกันได้ถึงเวลานี้ผมก็ไม่รู้ว่าได้แค่ ไหน แต่ผมก็ขอบคุณในความร่วมมือของ ข้าราชการทั้งหมด พอย้อนไปถึงการปรับ โครงสร้าง มันคงต้องมีครับ ผมต้องหารือ ร่วม ต้องฟังทั้งข้าราชการข้างใน แล้วก็ ต้องฟังทั้งคนนอกที่เขามองเข้ามา ข้อดีมี อยู่อย่างหนึ่งที่ท่านนายกส่งผมมา ผมไม่ ได้อยู่กระทรวงศึกษามาตั้งแต่เกิด ท�ำให้ ผมไม่ ยึ ด ติ ด กั บ อะไรในนี้ ผมสามารถ จะมองนอกกรอบได้ กล้าคิด กล้ามอง นอกกรอบ และต้องเห็นผลภายในช่วง โรดแม็ปนี้


ทุกปัญหาพลเอกดาว์พงษ์กล่าวว่า มีแผนงานที่จะรองรับ เรื่องการแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งระยะสั้นระยะยาว “มีบางคนมาบอกผมว่า ครูเป็นหัวใจ ต้องแก้ปัญหาครู ผมไม่เถียงเลยว่าครูเป็นหัวใจ แต่ต้องถามคุณครูจะดีได้ คน ที่จะท�ำให้คุณครูดีได้คือใคร ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนใช่ไหม คือ ผู้อ�ำนวยการนี่แหละเป็นกุญแจส�ำคัญ ถ้าผู้อ�ำนวยการดีเก่ง ใช้ได้ ครูก็ไปได้ คือผมยังเชื่อมั่นว่าครูผมเป็นคนมีความรู้ แต่ เขามีปัจจัยอื่นมากระทบผมต้องแก้ให้เขาก่อน การเรียกครูมา อบรมกระทรวงศึกษาท�ำมาเยอะแล้ว อบรมคุณลักษณะใช้เงิน ที ๑-๒ พันล้าน ในการเรียกครูมาเวิร์คช็อป ค่าโรงแรมค่าอะไร แต่เราพบแล้วว่ามันไม่ตอบโจทย์นี้ เพราะว่าสภาพแวดล้อม อื่นไม่ได้ถูกแก้ พอผมไม่ได้เร่งสปีดตัวนี้สังคมก็อาจจะมองว่า ผมไม่ได้แก้ที่ครู ผมก�ำลังแก้ที่ครูเลยตอนนี้ หัวใจเลย ไม่ว่าจะ เป็นการปรับหลักสูตรให้มันกระชับขึ้น ตรงขึ้น ตรงกับวัยเด็ก มากขึ้น การปรับวิธีการประเมินคุณครูเอง โรงเรียนเอง เพื่อ ลดภาระของครูในการท�ำงานที่เกี่ยวกับการประเมินนอกจาก นี้ยังมีโครงการหาครูมาเติมให้ในสาขาที่ขาดแคลนในพื้นที่ที่ ขาดแคลน การหาครูมาเติมเรามีอยู่สองแผนหลัก ระยะสั้นกับระยะ ยาว ระยะสั้นคือโครงการคืนครูผู้ทรงคุณค่า ก็คุณครูที่เกษียณ นี่แหละครับ เกษียณแล้วก็เชิญท่านกลับมาสอนหน่อย ตอน

เอาปัญหามาดูก่อนเลยครับ ถ้าปัญหามันแก้ได้ด้วยตัว ของมันเองก็ไม่ต้องไปท�ำอะไรกับมัน แต่ดูแล้วมันไม่ใช่ แล้วการ แก้ปัญหา การแก้โครงสร้างไม่ใช่เพื่ออ�ำนาจ เชื่อไหม เราเอาเด็ก นักเรียนเป็นตัวตั้งก่อนเลยนะ แล้วถอยกลับมา จากนักเรียน มา ครู มาผู้อ�ำนวยการโรงเรียน มาเขตพื้นที่ มาเลขาธิการแต่ละ ท่าน ย้อนกลับขึ้นมาว่ามันอยู่ตรงไหน อะไรท�ำให้เด็กเรียนไม่ เก่ง อะไรท�ำให้เด็กเครียด อะไรท�ำให้เด็กไม่มีความรู้ นั่นแหละ คือตัวแก้ น�ำมาซึ่งการแก้โครงสร้าง ไม่ใช่แก้โครงสร้างเพื่อการ มีอ�ำนาจหรือรวบอ�ำนาจ ตัวนั้นไม่เคยมาคิด ถ้าผมจะแก้ผมจะอธิบายได้หมดว่า“มันจะโยงถึงเด็กยัง ไง ต้องมีค�ำตอบนี้เท่านั้น ไม่งั้นผมไม่ท�ำ” แนวทางสร้ า งเสาเข็ ม ให้ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและ เยาวชน ปัญหาที่กระทรวงศึกษาธิการพบหลักๆ มีถึง ๓๑ ปัญหา แบ่งได้เป็น ๖ กลุ่มคือ ๑.หลักสูตรการเรียนการสอน ๒.ปัญหา เรื่องการผลิตและพัฒนาครู ๓.ปัญหาเรื่องการประเมิน ทั้งครู โรงเรี ย น นั ก เรี ย นรวมถึ ง การสอบโอเน็ ต และการสอบต่ า งๆ ๔.เรื่องของ ICT เพื่อการศึกษา ๕.การผลิตคนไม่ตรงกับความ ต้องการของประเทศ ๖.ปัญหาการบริหารจัดการของกระทรวง ศึกษาธิการ 35

issue 98 March 2016


นี้บางโรงเรียนก็มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะทางต่างจังหวัด คือครูท่ี เกษียณแล้วก็ยังมาช่วยสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน แต่เรามีเงิน ให้แล้วคราวนี้ เราตั้งเป้าไว้ปีนี้ เนื่องจากเป็นโครงการที่เพิ่งเริ่ม ใหม่การจัดตั้งงบประมาณก็เลยไม่ได้เตรียมการไว้ ก็ใช้วิธีเกลี่ย มา ก็จะได้ประมาณหนึ่งพันที่ เฉพาะสาขาที่ขาดนะครับ วิทย์ คณิตฯ ภาษาอังกฤษ ก็เชิญครูเกษียณที่มีโปรไฟล์หน่อย ให้ท่า นอยู่ใกล้บ้านท่าน ปี ๕๙ นี้ ๑,๐๐๐ อัตรา จะเริ่มพฤษภาคม ๕๙ แต่ปี ๖๐ ตั้งไว้ ๑๐,๐๐๐ อัตราเลย คุณครูที่เกษียณทั้ง หลาย เพราะปีหนึ่งเกษียณ ๒๐,๐๐๐ คนนะ แล้วที่เก่าๆ อีกที่ ยังเก่งๆ อีกหลายคน แล้วก็จะได้มาเป็นโค้ชให้กับครูใหม่ด้วย ในตัว นี่คือระยะสั้น” ในส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวคือการจัดสรรหาครูเก่ง ครูดี คืนสู่ท้องถิ่นที่ขาดแคลน ชื่อเดิมคือคุรุทายาท ภายหลัง เปลี่ยนใหม่เป็นโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็นการแก้ ปัญหาครูที่มีคุณภาพระยะยาว โดยคัดเลือกนักเรียน ชั้น ม.๖ และนักเรียนระดับ ปวช. ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต�่ำกว่า ๓.๐๐ มาเข้าโครงการ โดยมีการประกันการมีอาชีพในท้องถิ่นของ ตัวเองหลังจากจบการศึกษาและจะก�ำหนดเวลาให้ท�ำงานใน ท้องถิ่นนั้นในห้วงระยะเวลาหนึ่งโดยไม่มีการปรับย้ายไปท้อง ถิ่นอื่น โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียน

ขนาดเล็กและพื้นที่ห่างไกลได้ และท�ำให้เด็กได้รับความรู้จาก ครูเก่งที่มีคุณภาพ “นี่ คื อ สิ่ ง ที่ ผ มก� ำ ลั ง แก้ ใ ห้ คุ ณ ครู อ ยู ่ ย้ อ นกลั บ ไปที่ โครงการคุรุทายาท ผมถามสภานักเรียนที่มาพบผมนะครับ ถามทั้ ง ยุ ว โฆษกเด็ ก ๆ ที่ เขามาจากทั่ ว ประเทศ บอกผมมี โครงการนี้หนูเอาไหม ยกมือกันใหญ่เลย ท�ำไมจะไม่ยกมือ ล่ะครับ พอจบ ม.๖ ถ้าคะแนนเกรดเฉลี่ย ๓.๐๐ ขึ้นไป เข้า โครงการเลย รู ้ อ ยู ่ แ ล้ ว บรรจุ เ ป็ น ครู ร ออยู ่ แ ล้ ว ทุ ก คนเฮ หมดเลย ก็เป็นโอกาสของเรา เราก็จะช้อนเด็กเก่งมาซะก่อน ก่อนที่เขาจะเลี้ยวไปทางอื่น อันนี้ใช้เวลาปีละ ๔ พันคน เอา มาจาก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของครูที่เกษียณ อีก ๗๕ ก็สอบเหมือน เดิม แข่งกันเหมือนเดิมสอบครูผู้ช่วย ที่เขาแข่งกันอยู่ แต่เรา เอามา ๒๕ เปอร์เซ็นต์” ความหวั ง : ความร่ ว มมื อ ในหน่ ว ยงาน เมื่ อ ถามถึ ง ความหวั ง ในการขั บเคลื่ อ นการศึ ก ษาชาติ ท่ า มกลางปั ญหาที่ พ บมากมาย ทั้ ง ยั ง เป็ น ปั ญหาที่ ห มั ก หมม สะสมเรื่ อ ยมาเป็ น เวลานาน อี ก ทั้ ง เป็ น ความคาดหวั ง ของ คนในประเทศที่อยากให้มีการแก้ไขให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม พลเอกดาว์พงษ์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการย�้ำ

36 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ว่า “ยังมีความหวัง” เพราะยังมีฟันเฟือง ตัวเล็กๆ ที่พร้อมจะสนับสนุนร่วมมือ แม้ จะเหนื่อยยากปานใดก็ตาม “ผมมีความหวังมากนะ เพราะผม เห็นในความร่วมมือของลูกน้องผม ตั้งแต่ ท่านปลัดไปถึงคุณครู แต่ผมต้องทุ่มเทให้ กับเขา วันนี้มีลูกน้องมาเตือนผมนะ ท�ำไม ผมจะไม่ขอบคุณลูกน้องผม ผมบอกว่าเรา ประชุมสั่งโน้นสั่งนี่ทั้งวันเลยตั้งแต่เช้าถึง เย็น แฟ้มไม่เคยได้เซ็น ต้องกลับไปเซ็น บ้าน เขาบอกใช่ครับพี่เหนื่อยผมรู้ แต่พี่ ทราบไหมครับว่าที่พี่สั่งไปหนึ่งเฟืองตัว น้อยๆ ต้องไปหมุนอีกร้อยๆ คน ฉะนั้น ทุกค�ำสั่งที่ผมสั่งไป ลูกน้องผมจะต้องไป ปั่นจี๋กันอีกเท่าไหร่ เออจริง แต่งานมัน ออกแสดงว่าเขาเต็มที่ เพราะผมเคยท� ำ งานมาก่ อ น ผมเคยตั ด ต่ อ วี ดี โ อมาแล้ ว ด้ ว ยนะ ผม จ� ำ ได้ เ ลยว่ า ผมไปตั ด ต่ อ วี ดี โ อเรื่ อ ง การสวนสนาม เป็ น ผู ้ ช ่ ว ยฝ่ า ยกิ จ การ พลเรื อ นพล. ๑ รอ. คื อ ทุ ก วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาเราจะต้องเอาเทปของ ผบ.พล. มาออก เราก็เตรียมสคริปต์ไว้ เหลื อ ตอนสุ ด ท้ า ยคื อ การสวนสนามวั น ที่ ๓ ธันวาคม ต้องรอเอาเทปสุดท้ายมา ใส่ แล้วการตัดต่อสมัยก่อนเครื่องมันไม่ ค่อยดี ผมท�ำตั้งแต่ทุ่มหนึ่งถึงเจ็ดโมงเช้า เพื่ อจะเอาแค่สี่น าทีช ่ว งการสวนสนาม ใส่ลงไปเพื่อจะฉายก็เคยท�ำมาแล้ว เลยรู้ ถึงเบื้องหลังว่าลูกน้องต้องเหนื่อยขนาด ไหน ก็เลยเข้าใจ ผลที่เราได้รับคืองาน มันค่อยๆ ออกมาจะช้าบ้างเร็วบ้างก็เป็น หน้าที่ที่ผมจะต้องช่วยเขาขับเคลื่อน ช่วย แก้ปัญหา ผมนึกอย่างนี้ ผมไม่เคยโกรธ ลูกน้องว่าช้าหรือเร็ว ผมเข้ า ในเฟื อ งตั ว น้ อ ย ผมเคย ตัดหญ้านะ คุมทหารตัดหญ้าเพื่อเตรียม งานผมรู ้ เ ลยว่ า จะถึ ง วั น สถาปนาหรื อ วั น ส� ำ คั ญ สภาพต้ อ งเรี ย บ ที่ น ายเห็ น กว่าจะมาเป็นวันนี้ต้องท�ำกันขนาดไหน

ผมเคยท�ำมาแล้ว เคยคุมทหารมาแล้ว จึง รู ้ เ บื้ อ งหลั ง ของลู ก น้ อ ง คื อ สิ่ ง หนึ่ ง ที่ อาจเป็นเพราะว่าช่วยให้ผมท�ำงานผ่าน มาได้แล้วลูกน้องเข้าใจผมคือ ผมเอาใจ เขามาใส่ใจเรา เป็นหัวใจที่ผมคิดมาเสมอ เวลาคิดอะไรทีจะนึกถึงใจลูกน้องว่าเขา จะเป็นยังไง เขาจะท�ำอะไร แต่ ผ มมี ค วามหวั ง ที่ จ ะไปได้ ไม่ ม ากก็ น ้ อ ย อย่ า งน้ อ ยในช่ ว งเวลาที่ คาดว่าผมจะอยู่ที่นี่อีกปีครึ่งตามโรดแม็ป ถ้าเป็นไปตามนั้น จะมีอะไรออกมาเป็น แนวทางของกระทรวงการศึ ก ษาธิ ก าร จะถูกใจหรือไม่ถูกใจก็ต้องพยายามท�ำให้ มันถูกต้อง” สิ่ ง ที่ อ ย า ก ฝ า ก : ก า ร ใ ห ้ แ ล ะ เสี ย สละ ส� ำ หรั บ เด็ ก และเยาวชนรวมถึ ง ผู้คนในสังคมปัจจุบัน พลเอกดาว์พงษ์ มองว่า การให้และการเสียสละซึ่งกันและ กันเป็นสิ่งส�ำคัญในการอยู่รวมกันภายใต้ การพัฒนาไปข้างหน้า ปัญหาในสังคมใน วันนี้เกิดขึ้นจากการไม่ยอมเสียสละซึ่งกัน และกัน ดังจะเห็นได้ตามสื่อต่างๆ จาก เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ โตส่งผลเสียถึงอนาคต เมื่อมองย้อนไปถึง สาเหตุก็พบว่า เกิดจากการไม่ยอมให้หรือ เสียสละกันแค่นั้นเอง “มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ 37 issue 98 March 2016

คือเรื่องการให้เผื่อแผ่แบ่งปัน ผมถือเป็น นโยบายของกระทรวงฯ ผมต้องปลูกฝัง ตั้งแต่เด็กจนถึงอุดมศึกษา ผมมองว่า กลุ่มอุดมศึกษาเป็นกลุ่มหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้ า เขาแข็ ง แกร่ ง มี ภู มิ คุ ้ ม กั น ที่ ดี แ ละมี ความรู้ เขาจะน�ำน้องแล้วจะน�ำสังคม ผมก็มองอย่างนี้ ผมก็มองเรื่องการให้ ลองดูสิปัญหาหลายปัญหาที่เกิดขึ้นใน สั ง คมมั น เกิ ด จากการไม่ รู ้ จั ก เสี ย สละ เผื่อแผ่แบ่งปัน ผมว่าถ้าตัวนี้มามันจะ น�ำอะไรหลายๆ อย่าง” “ผมเป็นทหารมาเป็นรัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แล้วมาเป็นรัฐมนตรี ว่ า การกระทรวงการศึ ก ษาธิ ก าร ผม ไม่ เ คยคิ ด หรอกว่ า จะมาเป็ น เคยคิ ด แต่ ว ่ า เมื่ อ เกษี ย ณแล้ ว ก็ จ ะไปเที่ ย ว กั บ ท่ า นนายกนี่ แ หละ ตั้ ง เป้ า รอกั น อยู่ ผมเกษียณก่อนท่านปีหนึ่ง (เพื่อน เตรียมทหารรุ่นเดียวกัน) แต่นายกเรียน เก่ง นายก pass ชั้นตั้งแต่เด็กๆ ถ้า ปกติ ต้ องจบพร้ อมผมนี่ แ หละ ก็ตั้งใจ ว่าพอเกษียณแล้วจะไปเที่ยวโน่นเที่ยว นี่ กั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ที่ ย วหรอกครั บ ก็ ทิ้ ง ไป ละ สุดท้ายก็กลับมาท�ำงานกันอย่างนี้ ก็ เ คยคุ ย กั บ ท่ า นนายกครั บ ก็ มั น เป็ น ดวงชะตาลิขิตที่เราต้องมาท�ำงานร่วม กัน” พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ กล่าว ทิ้งท้าย


38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


39 issue 98 March 2016


สภาพแวดล้อม

อ่างเก็บน�้ำห้วยหาด ซึ่งเป็นผลมาจากการริเริ่มงานพัฒนาใน พื้นที่ มีการสร้างอ่างเก็บน�้ำบริเวณเชิงเขา แล้วท�ำระบบน�้ำ ประปาภูเขาลงสู่พื้นที่ด้านล่าง จนมีน�้ำประปาใช้ครบทุกหมู่บ้าน ในการอุปโภคบริโภค เกือบทุกครัวเรือนมีอาชีพท�ำการเกษตร ท�ำนา ท�ำไร่ เลี้ยงสัตว์ไว้ใช้แรงงานและเพื่อเป็นอาหารถึงฤดู ปักด�ำหรือเก็บเกี่ยวก็ช่วยกันท�ำจนเป็นประเพณี และชาวบ้าน ยังให้ความส�ำคัญกิจกรรมบุญประเพณีอย่างสม�่ำเสมอ

ในอดี ต ของพื้ น ที่ ต� ำ บลท่ า ศิ ล า ถื อ เป็ น พื้ น ที่ ส ่ ว น หนึ่ ง ของเทื อ กเขาภู พ าน เต็ ม ไปด้ ว ยความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ทั้งป่าเบญจพรรณและ ป่าดงดิบ ท�ำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานท�ำกินในบริเวณนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท ที่อพยพมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ และ อยู่รวมกันจนก่อเกิดเป็นชุมชนที่มีความเป็นน�้ำหนึ่ง ใจเดียว กลายเป็นสังคมช่วยเหลือแบ่งปันกัน ด้วยวิถีการผลิตเพื่อพออยู่ พอกิน เหลือกิน ก็แจกจ่าย เมื่อผู้คนที่อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ มากขึ้น เกิดการขยายออกเป็นหลายหมู่บ้าน จ�ำนวนมาก ส่งผล ให้พื้นที่ป่าเริ่มลดลง สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่า จะเป็นสัตว์ป่าหรือพรรณพืช ปัจจุบันต�ำบลท่าศิลาเป็นหนึ่งในพื้นที่การปกครองของ อ�ำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากที่ตั้งอ�ำเภอส่องดาว 20 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสกลนคร 120 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน โดยมีจ�ำนวนประชากร ประมาณ 10,300 คน จ�ำนวนครัวเรือน 1,221 ครัวเรือน มี เนื้อที่ประมาณ 30,200 ไร่ ชุมชนส่วนใหญ่อาศัยแหล่งน�้ำจาก

ความเป็นมา

ช่วงเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานในต�ำบลท่าศิลาชาวบ้าน ได้อยู่อาศัยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ส่วนใหญ่จะมีการ หาอยู่หากินและใช้ประโยชน์จากป่าไม้ เช่น เก็บของป่ามาเป็น อาหารใช้เศษไม้มาเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร น�ำไม้ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ในช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา สภาพ แวดล้อมโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณผสมกับป่าดงดิบ สมัยนั้น ระบบสาธารณูปโภคและถนนยังไม่เจริญ การคมนาคมส่วนใหญ่ จะใช้เกวียน สามารถแย่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


พ.ศ. 2406 - 2499

ยุ ค อพยพย้ า ยถิ่ น ฐาน เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2460 ได้มีกลุ่มคนที่อพยพถิ่นฐาน มาจากจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี และจั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด เดิ น ทาง แสวงหาแผ่นดินใหม่เพื่อเป็นถิ่นฐานท�ำกิน เมื่อมาถึงบริเวณ ต�ำบลท่าศิลาจึงเห็นตรงกันว่า น่าจะเป็นชัยภูมิที่เหมาะส�ำหรับ ตั้งหลักปักฐาน เพราะมองเห็นพื้นที่ส�ำหรับการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ มีล�ำห้วยไหลผ่าน ที่จะเป็นแหล่งอาหารและเส้นเลือด ส�ำหรับหล่อเลี้ยงผู้คนได้จึงจัดแจงให้มีพิธีการเสี่ยงทาย ท�ำพิธี สื่อสารกับเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ว่าจะขอมาอยู่อาศัยปลูกสร้าง บ้านเรือนและที่ท�ำกินจะได้หรือไม่ด้วยการน�ำอาหารหวานคาว ทั้งหลายห่อเป็นถุงรวมกันแล้วน�ำไปฝังกลบดิน แล้วน�ำเสาไม้ มาปักไว้ที่ปากหลุม จากนั้นจากนั้นก็ร่วมกันตั้งจิตอธิฐานเพื่อ เสี่ยงทายเป็นอันเสร็จพิธี พอตอนเช้าได้กลับมาดูท่ีเสี่ยงทาย ก็ได้พบว่าถุงอาหารที่ฝังดินไว้ได้ถูกขุดรื้อกระจัดกระจายจน ไม่เหลืออาหารในถุง จะเหลือก็เพียงเสาที่ปักล้มอยู่ข้างๆ ภาย หลังเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มากขึ้นจึงได้เรียกชุมชนนี้ ว่าบ้านหลักล้ม ต่ อ มา วิ ถี ชี วิ ต ผู ้ ค นเปลี่ ย นไปจากที่ เ คยเดิ น เข้ า ผ่ า น ล�ำห้วย ก็เปลี่ยนเป็นนั่งรถผ่าน จะเหลือก็แต่ชีวิตที่ต้องผูกพัน กับสายน�้ำ ทุกชีวิตในชุมชนยังต้องพึ่งพาสายน�้ำในการอุปโภค บริโภคล�ำห้วยหากซึ่งถือเป็นสายเลือดของคนที่นี่ มีท่าน�้ำที่

ทุกคนลงมาใช้บริการ มีเอกลักษณ์คือมีก้อนหินขนาดใหญ่ไว้ ส�ำหรับนั่งเล่นและกระโดดน�้ำอย่างสนุกสนาน ชื่อที่เรียกชุมชน แห่งนี้จึงกลายมาเป็นชุมชนท่าศิลา หมายถึงท่าน�้ำที่มีก่อนหิน ขนาดใหญ่ไว้ให้เด็กๆ ขึ้นไปปีนเล่นน�้ำอย่างสนุกสนาน และเป็น ชื่อหมู่บ้านท่าศิลามาจนกระทั่งปัจจุบัน

พ.ศ. 2500 – 2523

ยุ ค ความขั ด แย้ ง ทางการเมื อ ง ในช่วงปี พ.ศ. 2500 สมัยนั้นระบบสาธารณูปโภคและ ถนนยังไม่เจริญ ในระหว่างปี พ.ศ. 2507 สถานการณ์การเมือง เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ยุคเผด็จการ สังคมมีความเหลื่อมล�้ำด้านการ ปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่มีแนวคิดที่ขัดแย้งกับรัฐบาล โดยมี ความคิดที่แตกแยกในเรื่องการเมือง ประชาชนรวมทั้งนักศึกษา มีการต่อสู้ และอพยพ หนีการจับกุมเข้าสู่เทือกเขาภูพานเป็น ฐานที่ มั่น ในการปฏิ บัติ ก าร ซึ่ ง ชาวต� ำ บลท่ า ศิ ล าจ�ำนวนมาก ได้เข้าเป็นสหายร่วมอุดมการณ์ต่อสู้กับภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็น พื้นที่สีแดงที่ภาครัฐได้ส่งกองก�ำลังต�ำรวจ-ทหารเข้ามากวาด ล้างเกิดเป็นสงครามประชาชนขึ้น การสู้รบยังคงด�ำเนินต่อไป หลายปี น�ำพาความสุญเสียอย่างมากทั้งชีวิตทรัพย์สิน รวมทั้ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ ไ ด้ ถู ก ท� ำ ลายลงไป จนกระทั้งรัฐได้ป รับ เปลี่ยนท่าทีภายใต้นโยบาย 66/2523 เย้ยการเมืองน�ำการทหาร และร่วมกันพัฒนาชาติไทย กลุ่มสหายจึงออกมามอบตัวและ 41 issue 98 March 2016


42 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ให้ความร่วมมือ พร้อมๆ กับภารกิจงานพัฒนาที่ได้สร้างถนนหนทาง ไฟฟ้าเข้าสู่พื้นที่เพื่อให้ชาวบ้าน ได้รับความรู้ที่ดีขึ้น และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองได้คลี่คลายเกิดความปกติสุขกลับคืนสู่ ชุมชนต�ำบลท่าศิลา

พ.ศ. 2524 – 2539

ยุ ค เริ่ ม ต้ น การพั ฒ นา จากการพัฒนาชุมชนของรัฐบาลได้เข้ามาส่งเสริมทั้งกระบวนการคิด ฝึกทักษะอาชีพเพื่อให้ ชุมชนได้พัฒนาตนเอง ชาวบ้านได้เริ่มขยายพื้นที่ท�ำการเกษตร เริ่มมีการรวมกลุ่มกู้เงินจากธนาคาร ในช่วงนี้เอง เริ่มมีการตัดถนน มีไฟฟ้าเข้ามา เกษตรกรหันมาใช้สารเคมีกันมากขึ้นการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศของชุมชน การอยู่การกินเริ่มพึ่งพาภายนอกมากขึ้นสภาพสังคมเปลี่ยนจาก การพึ่งพาอาศัยเป็นแบบต่างคนต่างอยู่ มีการอพยพย้ายถิ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อไปศึกษาต่อและท�ำงาน ในต่างถิ่น มีทั้งย้ายถิ่นไปชั่วคราวและย้ายถิ่นแบบถาวรซึ่งอาจจะมีแนวโน้มที่ไม่กลับมาอยู่ในถิ่นเดิม จนกระทั่งปีพ.ศ. 2530 ในพื้นที่ ต�ำบลท่าศิลาเริ่มมีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจ�ำนวนมากขึ้นการท�ำ มาหากินยังพึ่งพิงผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้สารเคมี ในช่วงนี้เองเริ่มมีการท�ำปุ๋ยหมักทดแทนปุ๋ยเคมี โดยการจัดตั้งจากหน่วยงานราชการแต่ยังขาดความต่อเนื่องในการติดตาม และมีเครื่องอ�ำนวยความ สะดวกทางการเกษตรเข้ามา เช่น รถนวดข้าว รถเกี่ยวข้าว รถไถนา ท�ำให้ชาวบ้านต่างพากันท�ำการ เกษตรแบบสมัยใหม่ ละทิ้งภูมิปัญญาพื้นบ้านไปอย่างสิ้นเชิง

43 issue 98 March 2016


พ.ศ. 2540 – 2551

ยุ ค การพั ฒ นาทวนกระแส จากสภาพปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก การส่งเสริมการใช้สารเคมีทางการเกษตร เป็นจ�ำนวนมาก การบุกรุกท�ำลายป่าเพื่อ ขยายพื้ น ที่ ดิ น ท� ำ กิ น จนล่ ว งล�้ ำ เข้ า ไป ท�ำลายตัดต้นไม้ใหญ่ สัตว์ป่าน้อยใหญ่ เริ่ ม หายไป บางชนิ ด เริ่ ม หายากและ สูญพันธุ์ไป ท�ำให้ในปี พ.ศ.2540 มีหน่วย งานภาครัฐเข้ามาจัดตั้งรวมกลุ่มชาวบ้าน ให้เป็นองค์กรเพื่อช่วยเหลือในด้านการ ประกอบอาชีพ เพื่อให้ชาวบ้านมีวิถีชีวิต ที่ดีขึ้นเกิดรายได้ เกิดการจัดตั้งกลุ่มเพื่อ พึ่งพาตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจาก ภาคีต่างๆ แต่การด�ำเนินงานยังขาดการ ติดตามและความต่อเนื่อง ปี พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มองค์กร ชาวบ้ า นที่ เ รี ย กว่ า เครื อ ข่ า ยอิ น แปง

จังหวัดสกลนคร ได้เข้ามาท�ำความรู้จัก กับแกนน�ำชาวบ้านชุมชนท่าศิลา ซึ่งมี ความต้ อ งการที่ จ ะพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร จึงเป็นจุด เริ่มต้นของการเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียงในระยะ ที่ 2 ใน ปี พ.ศ. 2551

ทุนต�ำบล

ในอดีตชุมชนต�ำบลท่าศิลามีการ อยู ่ อ าศั ย โดยการพึ่ ง พาธรรมชาติ แ ละ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้นทุนการ พัฒนาส�ำคัญ ที่เรียกว่า “ทุนทางสังคม” โดยเฉพาะขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ยึ ด เหนี่ ย วร่ ว มกั น ถือว่าเป็นจุดแข็งของต�ำบล เป็นปัจจัยพื้น ฐานของการพัฒนาชุมชนและอยู่ร่วมกัน อย่างสามัคคี มีการอยู่แบบเครือญาติพี่ 44 IS AM ARE www.ariyaplus.com

น้องและเพื่อนบ้าน แม้ว่าปัจจุบันระบบ เครือญาติจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตาม กระแสการพัฒนา แต่การช่วยเหลือกันก็ ยังคงหลงเหลือให้เห็นอันเนื่องมาจากการ ได้รับการปลูกผักจากคนแก่ในชุมชน โดย เฉพาะความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณี นั้ น ได้ ถู ก ถ่ า ยทอด และแสดงออกโดย ผ่านกระบวนการทางด้านศาสนาในการ ขั ด เกลาจิ ต ใจ ดั ง นั้ น คนในชุ ม ชนจึ ง สามารถ รักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ไว้ได้ แม้ต่อมาต�ำบลท่าศิลายกฐานะทาง สังคมเป็นเทศบาล ความเจริญทางด้าน วัตถุได้เข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนไปของ วิ ถี ชี วิ ต ของคนในชุ ม ชน แต่ ก ารรั ก ษา ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ประเพณีที่ถูก ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ยังคงด�ำเนิน การเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง ช า ว ท ่ า ศิ ล า ยั ง มี ทุ น ด ้ า น


ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีทั้งป่าไม้และแหล่งน�้ำ โดยพื้นที่เป็น ที่ตั้งของเทือกเขาภูพานซึ่งนอกจากจะเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยพรรณไม้และหมู่สัตว์ป่าแล้ว เป็นสถานที่สัปปายะให้ พระนั ก ปฏิ บั ติ ม าเจริ ญ วิ ป ั ส สนากรรมฐาน หนึ่ ง ในนั้ น คื อ หลวงปู่วัน ท่านได้จ�ำวัดที่วัดพวง ภูผาเหล็กที่อยู่ไม่ไกลจาก ต�ำบลท่าศิลา ท่านเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ขาด น�้ำใช้ในหน้าแล้ง จึงได้ด�ำริที่จะสร้างอ่างเก็บน�้ำขึ้นบริเวณ เชิงเขาสูง ทั้งหมด 4 โครงการ โดยมีโครงการห้วยหาดซึ่ง เป็นโครงการเพื่อท�ำที่กักน�้ำที่จะไหลลงสู่ล�ำห้วยหาดและได้ กลายเป็นแหล่งน�้ำประปาภูเขาที่สามารถใช้อุปโภคบริโภค ให้ต�ำบลท่าศิลา และอ�ำเภอส่องดาวครบทุกหมู่บ้าน ในส่วน ของป่าไม้นั้นต�ำบลท่าศิลามีพื้นที่มีป่าไม้มากพอสมควรมีการ ใช้ประโยชน์จากป่าค่อนข้างมาก เนื่องจากแต่ก่อนนั้นยังไม่มี ผู้คนเข้ามาอยู่ในพื้นที่มากเช่นกัน ในปัจจุบันการท�ำลายพื้นที่ ป่าไม้นั้นก็ย่อมที่จะมีน้อยตามจ�ำนวนประชากร รวมไปถึง ความต้องการด้านการประกอบอาชีพก็มีผลต่อการท�ำลาย ป่าไม้ในพื้นที่ เช่น การตัดไม้และการขยายพื้นที่ในการปลูก พืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา มันส�ำปะหลัง อ้อย เป็นต้น แต่ ปัจจุบัน คือ วัดทั้งนี้ เนื่องมาจากชาวบ้านใช้กลไกลทางด้าน วัฒนธรรมในการร่วมอนุรักษ์พื้นที่ป่า หากเป็นพื้นที่ของวัด แล้ว ชาวบ้านจะไม้กล้าที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์ หรือในบาง หมู่บ้านก็ใช้กลไกของการจัดตั้งเป็นป่าชุมชนเพื่อเป็นแนวทาง ในการอนุรักษ์ของชุมชนด้วยเช่นกัน

พอเพียงในระดับครัวเรือนจะเน้นการ พึ่งตนเอง ในเรื่องความ มั่นคงด้านอาหาร การลดต้นทุนการผลิตและ การปรับพฤติกรรม ในการใช้สารเคมีในการเกษตร การลดรายจ่าย ฟุ่มเฟือย รวมทั้ง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่อง การสร้างจิตส�ำนึกในการหวงแหนป่าในชุมชน การฟื้นฟู การ อนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนที่มีความหลากหลาย รวมทั้ง การ พัฒนากลุ่มเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน จน เกิดเป็นแผนต�ำบลวิถีพอเพียงที่มีเป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยน วิถี ชุมชนไปสู่พอเพียง

กลไกการขับเคลื่อน

ในการคัดเลือกคณะกรรมการโครงการฯ นั้น ทางต�ำบล คัดเลือกจากในเวทปีระชาคมระดับต�ำบล โดยมี การท�ำความ เข้าใจโครงการฯ ให้กับครัวเรือนพอเพียงอาสา และ ภาคีที่อยู่ ในพื้นที่เช่น เทศบาล โรงเรียน สถานี อนามัยอุทยาน แห่งชาติ

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลท่าศิลา เป็นต�ำบลที่เข้าสู่โครงการฯ ในระยะ ที่ 2 ปี พ.ศ. 2551 จากจุดเริ่มต้นมาจาก เล็ก กุดวงศ์แก้ว ปราชญ์ชาวบ้านของภาคอีสาน และที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ รู้จักกลุ่มบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) จึงแนะน�ำให้ทาง แกนน�ำชุมชนร่วมกับเทศบาลต�ำบลท่าศิลาเสนอโครงการ โดยยกประเด็น รูปธรรมวิถีการพึ่งตนเอง แบบพอเพียงในด้านการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนได้คัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการฯ จากนั้นจึงมีการประสานงาน ประชุม ชี้ แจงโครงการให้ กั บ แกนน� ำ ในต� ำ บล ทั้ ง ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า น ทุ ก หมู่บ้าน ผู้น�ำท้องที่ หน่วยงานราชการ และ อบต. เป็นต้น และมี การจัดตั้งคณะกรรมการเข้ามารับผิดชอบโครงการฯ รวมทั้งท�ำการ คัดเลือกครัวเรือนพอเพียงอาสาเข้าร่วมโครง การฯ เพื่อร่วมด�ำเนินการ ในการยกร่างแผนต�ำบล ความ

ภาเหล็ ก เครื อ ข่ า ยอิ น แปง เกษตรอ� ำ เภอและการ ศึ ก ษานอก โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการคัดเลือก จากตัวแทนหมู่บ้าน เข้าร่วมหารือและท�ำความเข้าใจ บทบาทของคณะกรรมการโครง การฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ โครงการฯ โดยในกระบวนการขับเคลื่อน แผนต�ำบล วิถีพอเพียง เริ่มจาก

45 issue 98 March 2016


คนต้นแบบวิถีพอเพียง

คณะกรรมการโครงการฯ

คนต้นแบบส่วนใหญ่จะมีต้นทุนทางความคิดเดิม มาจาก ภู มิ ปัญญาและบรรพบุรุษที่ ถ่ายทอดต่อกันมา สอนให้ ชุมชน ด�ำเนินชีวิตในวิถีพอเพียง พึ่งตนเอง มีความเข้าใจ ในหลักการ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมปฏิบัติตาม ทั้งนี้ จากการอบรม ดูงานยิ่งท�ำให้เกิดการส่งเสริมความรู้ สามารถลงมือปฏิบัติจน เกิดเป็นรูปธรรมความส�ำเร็จ กลาย เป็นคนต้นแบบที่มีความรู้ หลากหลายยิ่งขึ้น ดั ง นั้ น ในกระบวนการจึ ง เริ่ ม ต้ น จากการเข้ า ไปศึ ก ษา เรียนรู้แนวคิดและรูปธรรมของคนต้นแบบเดิม คณะกรรมการโค รงการฯ และครัวเรือนพอเพียงอาสา และมีการแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระหว่างคนต้นแบบใน และนอกพื้นที่ เพื่อเป็นการพัฒนาและ ขยายผลคนต้นแบบ ถอดองค์ความรู้ คนต้นแบบโดยเจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการโครงการฯ นักจัดการ ความรู้ชุมชนที่ผ่าน การอบรมจากทีมจัดการความรู้ภาค น�ำองค์ความรู้ มาท�ำเป็น สื่อเพื่อขยายผลและได้ค้นหาบุคคลต้นแบบใหม่ที่มีวิถีชีวิต มี แนวคิด พฤติกรรมการพึ่งพาตนเอง

การคัดเลือกคณะกรรมการโครงการฯ เริ่มแรกจะมาจาก ผู้น�ำหมู่บ้านและ แกนน�ำเข้ามาร่วมท�ำงาน โดยมีการแต่งตั้งแต่ ก็ มีสลับสับเปลี่ยนคณะกรรมการ โครงการฯ กันหลายต่อหลาย ครั้ง จนกระทั่งสามารถสรรหาบุคคลที่มีแนวทาง สอดคล้องกับ โครงการฯ ซึ่งการท�ำงานของคณะกรรมการโครงการฯ จะมีการ นัดหมายประชุมกันเป็นประจ�ำทุกเดือน โดยประชุมหมุนเวียน กันไปตามหมู่บ้าน ต่างๆ เป็นการประชุมคณะกรรมการแบบ สัญจร และเป็นโอกาสในการติดตาม ความก้าวหน้าการด�ำเนิน งานโครงการฯ ในระดับหมู่บ้าน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วม ของ ครัวเรือนพอเพียงอาสาไปพร้อมๆ กันด้วย ในการประชุมนี้จะ เป็นการสรุป ติดตามผลการด�ำเนินงาน และก�ำหนดมาตรการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ในรอบเดือน ที่ผ่านมาพร้อมกับวางแผน ก�ำหนดกลยุทธ์การด�ำเนินงานในเดือนถัดไป รวมทั้งมีมติอนุมัติ การเบิกจ่ายเงินกิจกรรมตามแผนต�ำบลวิถีพอเพียงด้วย ซึ่งจาก การประชุมกันอย่างต่อเนื่องนี้เอง เป็นเสมือนห้องเรียน ห้อง ทดลอง ให้แกนน�ำได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งได้ ฝึกฝน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ท�ำให้เกิดการปรับ วิธีคิด ปรับพฤติกรรมของตนเองได้ เป็นอย่างดี

46 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ครัวเรือนพอเพียงอาสา

จากเวที ชี้ แจงเพื่ อ ท� ำ ความเข้ า ใจเป้ า หมายแนวทางการ ท�ำงานของ โครงการฯ ท�ำให้มีครัวเรือนพอเพียงอาสาซึ่งได้รับการ คัดเลือก และสมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ โดยมุ่งเน้น การสร้างการเรียนรู้เป็นส�ำคัญ จากนั้น ได้มีการเก็บข้อมูล ECEN ของครัวเรือนพอเพียงอาสา โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ คณะกรรมการ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ใน การด�ำเนินงานโครงการฯ โดยมีเครื่องมือที่ใช้สนับสนนุให้ เกิดการ เรียนรู้ของ ครัวเรือนพอเพียงอาสาที่ส�ำคัญ คือ บัญชีครัวเรือน ซึ่ง จะมีคณะกรรมการโครงการฯ

รูปธรรมความส�ำเร็จในพื้นที่

จากที่ผ่านมา ต�ำบลท่าศิลาเคยมีหน่วยงานของรัฐเข้ามา แนะน�ำอบรมวิธีการจัดท�ำบัญชีครัวเรือนแต่ขาดการติดตามอย่าง ต่อเนื่องท�ำให้ชาวบ้านไม่ได้ให้ความสนใจที่จะจดบันทึกอย่างจริงจัง จนกระทั่งเข้าร่วมโครงการฯ จึงได้มีการน�ำเสนอการบันทึกบัญชี ครัวเรือนขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นเครื่องมือส�ำคัญ ที่จะน�ำไปสู่การ ปรับวิธีคิดเปลี่ยนพฤติกรรมของครัวเรือนพอเพียงอาสาโดยก�ำหนด ให้ครัวเรือนพอเพียงอาสาเป็นเป้าหมาย มีการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือนและพลังงาน (ECEN) ในการวิเคราะห์ตนเองไปสู่การรู้ตัว รู้ตน และสนับสนุนกิจกรรมด้านการอบรมให้ความรู้การบันทึก บัญชีครัวเรือน ที่ถูกต้อง โดยใช้วิทยากรภายนอกและยังได้ผลิตจัด ท�ำแบบฟอร์มการบันทึก รายการรับจ่ายประจ�ำวัน หรือสมุดบัญชี ครัวเรือนที่มีการปรับปรุงและสะดวก ต่อการลงบัญชี น�ำไปแจก

จ่าย โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการฯ ประชุมชี้แจง ท�ำความเข้าใจ เหตุผลความจ�ำเป็นและมอบให้ครัวเรือนพอเพียงอาสาไป บันทึก ท�ำให้เกิดผลลัพธ์ในระดับครอบครัว มีการปรับเปลี่ยน วิธีคิด เปลี่ยนพฤติกรรม ของตนเองได้ สามารถลดต้นทุนการ ผลิตได้ในกิจกรรมของครอบครัว มีการริเริ่มวางแผนชีวิต ใช้ จ่ายเงินอย่างรัดกุมขึ้น

47 issue 98 March 2016


ครูลิลลี่ สละ 30 ล้านบนเนื้อที่ 4 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานปฏิบัติธรรม ชี วิตนี้ (เลือกได้) ไม่เสียชาติเกิด สมัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คุณยังจ�ำครูสอนภาษาไทยคนนี้ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สอนหนังสือเหมือนพูดทอล์คโชว์ได้ ไหม ชีวิตช่วงนั้นของ ครูลิลลี่ (กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์) แจ้งเกิดเต็มตัวจากการไปออกรายการ ตีสิบ เพราะมีจุดเด่นคือ เป็นครูเพศที่สามที่ “จัดเต็ม” เป็นตัวของตัวเองด้วยการแต่ง หญิงเต็มที่ ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม แล้วสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียน กวดวิชาแห่งหนึ่งแถวสยามสแควร์ ด้วยลีลาการสอนที่ไม่เหมือน ใคร เพราะทุกครั้งที่สอน ครูลิลลี่จะเหมือน “องค์ลง” คือเด็ก ต้องได้ทั้งสาระความรู้และความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นอักษรกลาง สูง ต�่ำ ค�ำเป็น ค�ำตาย ครูลิลลี่ จะสามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่ไม่มีในต�ำราเรียนเพื่อให้เด็กๆ

จดจ�ำได้ เช่น อักษร ง-น-ม-ย-ว เป็นอักษรค�ำเป็น ดังนั้นวิธีการ จ�ำง่ายๆ คือจ�ำว่า “มะนงยาเว่อะ เป็นคนเป็นๆ เป็นสาวพม่า” ส่วนอักษร ก-บ-ด เป็นค�ำตาย “เพราะเป็น กบฏจะต้องตาย” อย่างนี้เป็นต้น ชี วิ ต คนดั ง มี ทั้ ง คนรั ก คนชั ง ตอนนั้นมีแต่คนจ�ำครูลิลลี่ได้ เราก็ต้องยิ้มตลอดเหมือน นางงาม ความเป็นส่วนตัวไม่มีเลย กลายเป็นคนสาธารณะ แต่ จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้มีแต่คนรักไปเสียทั้งหมด คนชัง คนหมั่นไส้ เราก็มี เช่น ครูตามโรงเรียนต่างๆ ที่ค่อข้างอนุรักษนิยม หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนที่พูดกับคนอื่นแล้วมาถึงหูครูลิลลี่ ว่า “เขาเป็นครูกะเทย จะสอนได้หรือ …คงเอาแต่สนุกสนาน 48

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เรื่ อ งราวดี ๆ มีแต่น�้ำไม่มีเนื้อ” หรือไม่ก็ “ไม่ได้จบครู มาโดยตรงจะสอนได้หรือ” ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ท่ีครูลิลลี่ ได้พานพบ แต่ก็ไม่ได้น�ำมาใส่ใจ เพราะ เชื่อมั่นว่าเราสอนลูกศิษย์ด้วยหัวใจ อยาก ให้ เขาสอบได้ ค ะแนนดี ๆ หรื อ สอบติ ด มหาวิ ท ยาลั ย ตามที่ เขาใฝ่ ฝ ั น ที่ ส� ำ คั ญ ครู ลิ ล ลี่ มั่ น ใจว่ า ตั ว เองมี ค วามสามารถ เพราะพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระมหากรุณาธิคุณให้ไ ปสอนใน โรงเรียนไกลกังวลตั้งแต่ยังไม่มีชื่อเสียง ตอนนั้ น ทราบว่ า ที่ นี่ ต ้ อ งการครู ที่ ส อน สนุก เนื้อหาแน่น สิ่งนี้จึงเหมือนเป็นพระ บารมีปกเกล้าปกกระหม่อมที่ท�ำให้เราไม่ ท้อถอยกับค�ำครหาใดๆ ทุกวันนี้ครูลิลลี่ส�ำนึกเสมอว่า ที่ ได้ดิบได้ดีก็เพราะวิชาภาษาไทย หลาย คนอาจคิ ด ว่ า เราร�่ ำ รวยมาก แต่ ค วาม จริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะไม่ได้เป็น เจ้าของโรงเรียนกวดวิชา เป็นแค่ลูกจ้าง คนหนึ่งเท่านั้น เมื่อก่อนเงินที่หามาได้ เราก็ใช้ไปกับการหาความสุขใส่ตัว ซื้อ ข้ า วของเครื่ อ งใช้ แ บรนด์ เ นม ไปเที่ ย ว ต่างประเทศ เลี้ยงดูพ่อแม่ เที่ยวเฮฮากับ เพื่อนเท่านั้น ความสุ ข ที่ แ ท้ ข องครู ลิ ล ลี่ แต่เชื่อไหม ความสุขที่ได้มามัน แป๊ บ เดี ย วเอง อย่ า งไปเที่ ย วสวิ ต เซอร์ แลนด์ โอ๊ย…สวย อากาศก็ดี อาหารก็ อร่ อ ย ทุ ก อย่ า งเพอร์ เ ฟ็ ค ท์ แต่ สุ ข อยู ่ ได้ไม่กี่นาทีก็หมดแล้ว ไม่รู้หายไปไหน จนกระทั่งมาได้ปฏิบัติธรรมจึงได้รู้ว่าสุข ยิ่ ง กว่ า และสุ ข ที่ แ ท้ เ ป็ น อย่ า งไร เป็ น ความสุขที่ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องเดินทางไป ที่ไหน ไม่ต้องใช้กระเป๋าใบละหลายหมื่น แต่อยู่กับตัวเอง อยู่กับการศึกษาจิตของ เรา มันกลับสุขอย่างบอกไม่ถูก

แล้ ว วั น หนึ่ ง เมื่ อ จั ง หวะเวลา เหมาะสม ครู ลิ ล ลี่ ก็ บ อกกั บ ตั ว เองว่ า “ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตนี้ 40 กว่าปี ท�ำ เพือ่ ส่วนตัวมามากแล้ว ขอท�ำ ‘บ้านพุฒ มณฑา’ นี้เพื่อส่วนรวมบ้าง” ครู ลิ ล ลี่ ร วบรวมเงิ น ที่ ไ ด้ จ ากน�้ ำ พักน�้ำแรงของตัวเองและกู้ยืมธนาคารมา บางส่วนเพื่อมาสร้าง “บ้านพุฒมณฑา” ที่ว่านี้ เป็นสถานปฏิบัติธรรมและเพิ่งเปิด ให้ บ ริ ก ารในช่ ว งเดื อ นมกราคมที่ ผ ่ า น มา สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่อ�ำเภอปากช่อง จั ง หวั ด นครราชสี ม า ในบรรยากาศที่ เป็ น ธรรมชาติ มี ส วนปลู ก พรรณไม้ ใ น วรรณคดีไทยและมีศาลาส�ำหรับปฏิบัติ ธรรม ความจริงแล้ว ใครจะมาใช้สถาน ที่นี้เพื่อประโยชน์ทางธรรมก็ได้ เราไม่ได้

สถานปฏิ บั ติ ธ รรมไม่ ใช่ เรื่ อ งง่ า ย มี เ งิ น อย่างเดียวก็ท�ำไม่ได้ เพราะต้องทุ่มเท เวลา แรงกายแรงใจเป็นอย่างมาก แต่ เมื่อเห็นผลดีที่คนอื่นได้รับ ครูลิลลี่คิดว่า สิ่งที่ตัวเองท�ำนั้นคุ้มค่ามาก เส้ น ทางของชี วิ ต ที่ เ บนมาใน ทางนี้ ครู ลิ ล ลี่ คิ ด ว่ า ไม่ ใช่ อ ยู ่ ดี ๆ ก็ เ กิ ด ขึ้น แต่คิดว่าชีวิตในวัยเด็กน่าจะมีส่วน เป็ น อย่ า งมากที่ พ ลิ ก ชี วิ ต คนที่ อ ยู ่ กั บ เรื่องโลกๆ มาสนใจเรื่องทางธรรมอย่าง ทุกวันนี้ เ รี ย น พุ ท ธ ศ า ส น า วั น อ า ทิ ต ย ์ เปลี่ ย นชี วิ ต ครูลิลลี่เป็นคนกรุงเทพฯที่ไปใช้ ชีวิตที่จังหวัดระยองตั้งแต่วัยเด็ก เพราะ คุณพ่อพุฒ คุณแม่มณฑา อยากให้ลูกเข้า

ทุ ก วั น นี้ สิ่ ง ที่ ค รู ลิ ล ลี่ ท� ำ เป็ น เหมื อ นน�้ ำ หล่ อ เลี้ ย งชี วิ ต ให้ มี พ ลั ง มี ไ ฟใน การท� ำ งาน ท� ำ สิ่ ง ที่ ตั ว เองรั ก และสามารถตอบตั ว เองแบบชั ด ๆ ดั ง ๆ ว่ า “ชาติ นี้ เ กิ ด เป็ น ครู ลิ ล ลี่ ไม่ เ สี ย ชาติ เ กิ ด เลยสั ก นิ ด ” คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนใครอยากจะช่วย ท�ำบุญเพื่อเป็นค่าอาหาร ค่าน�้ำ ค่าไฟ เรา ก็ยินดี ที่ผ่านมาครูลิลลี่จัดคอร์สปฏิบัติ ธรรมทุกเดือน โดยจะเชิญพระอาจารย์ ที่สอนทางด้านวิปัสสนามาให้ความรู้ คน ที่ ม าปฏิ บั ติ ธ รรมที่ นี่ ช ่ ว งแรกๆ เป็ น ลู ก ศิษย์ที่มาเรียนภาษาไทยหรือพ่อแม่ ญาติ ของลูกศิษย์ องค์กรต่างๆ ทั้งหน่วยงาน รัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม ชีวิตนี้ไม่เคยนึกเคย ฝันว่าจะได้ท�ำสิ่งดีๆ ขนาดนี้ ตอนเด็กๆ เคยแต่ได้ยินว่า เกิดเป็นกะเทยเสียชาติ เกิด ไม่ได้บวชให้พ่อให้แม่ ไม่ได้ศึกษา ธรรม แต่วันนี้รู้แล้วว่า ชีวิตนี้ของตัวเอง ไม่เสียชาติเกิดอย่างที่ใครเขาว่า เพราะ คิดว่าได้ท�ำสิ่งที่คนอื่นท�ำได้ยาก การเปิด 49 issue 98 March 2016

โรงเรียนดีๆ จึงให้ไปอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง ตั้งแต่ ป. 3 – ม. 3 โดยมีคุณแม่ ตามไปดูแล ส่วนคุณพ่อเป็นพนักงานการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิต ต้องย้ายไปอยู่ที่นั่นที่นี่ ไม่ ได้อยู่กับครอบครัวมากนัก ตอนเด็กๆ ครูลิลลี่เป็นคนขี้อาย ไม่ ก ล้ า พู ด จ� ำ ได้ ว ่ า ตอนอยู ่ ม.2 เคย ออกไปโต้วาทีหน้าชั้น แต่กลับกลายเป็น ร้องไห้แทน เพราะลืมข้อความที่ท่องจ�ำ มาหรื อ อย่ า งตอนเข้ า ค่ า ยลู ก เสื อ วั น สุดท้ายก็จะมีการแสดงรอบกองไฟ แต่ครู ลิลลี่กลับหนีไปแอบในห้องน�้ำเพราะกลัว จะโดนจับไปแสดงกลางสนาม หลั ง จากนั้ น ครู ลิ ล ลี่ ก็ ไ ด้ เข้ า มา เรียน ม. 4 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท สายศิลป์ฝรั่งเศส และเลือกเข้า


เขาก็จับได้ ชีวิตหลังจากนั้นเหมือนชะตาฟ้าลิขิต เพราะได้เจอกับ รุ่นพี่คนหนึ่งที่ท�ำให้ชีวิตครูลิลลี่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง… ความสุ ข โลกี ย ์ มี ไ ด้ ชั่ ว คราว ความสุ ข ยื น ยาวต้ อ ง เข้ า หาธรรม หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ แทนที่ครูลิลลี่จะได้เป็น ครูสอนภาษาไทยอย่างที่ใจรัก ชีวิตกลับรันทดเล็กน้อย เพราะ ต้องไปเก๊กแมนเป็นพนักงานสัมพันธ์ที่โรงงานท�ำเม็ดพลาสติก แห่งหนึ่ง ต้องใส่ชุดของช่างที่ครูลิลลี่เรียกว่า “ชุดหมี” เพราะ เสื้อกับกางเกงเย็บติดกันเป็นชุดท�ำงาน คิดดูแล้วกันว่าจะเท่ แค่ไหน แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือโรงงานแห่งนี้ไม่ต้อนรับกะเทย ท้าย ที่สุดเขาก็พยายามบีบครูลิลลี่ออกด้วยการไม่สั่งงาน เมื่ออึดอัด ชี วิ ต ของครู ลิ ล ลี่ ก ่ อ นหน้ า นี้ ติ ด หรู ติ ด เพื่ อ น ติ ด เที่ ย วต่ า งประเทศ ชอบใช้ ข องแบรนด์ เ นม กิ น ข้ า ว ราดแกงไม่ เ ป็ น ไปไหนต้ อ งมี เ พื่ อ น มี บ ริ ว ารติ ด สอย ห้ อ ยตาม จนกระทั่ ง มาศึ ก ษาธรรมะอย่ า งจริ ง จั ง ชี วิ ต เปลี่ ย นไปหมดเลย ไม่ ติ ด อะไรอี ก แล้ ว ทนไม่ไหวก็ต้องลาออกในที่สุด หลั ง จากนั้ น ชี วิ ต ครู ลิ ล ลี่ ก็ ต ้ อ งเริ่ ม นั บ หนึ่ ง ใหม่ ใ นการ ท�ำงาน ตอนแรกยังไม่ทราบว่าจะท�ำอาชีพอะไร จนวันหนึ่ง รุ่นพี่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มาขอให้ไปช่วยสอนนักเรียน พาณิชย์ภาคค�่ำแทน เพราะเขาติดธุระส�ำคัญ ในการสอนวันนั้น ครูลิลลี่รู้สึกเหมือนมีแสงสปอตไลต์ส่องมาที่ตัวเราเต็มๆ เหมือน จะบอกว่า “นี่แหละตัวเธอ” เพราะจ�ำได้ว่า วันนั้นสอนเรื่อง การพูดและการสื่อสารได้อย่างลื่นไหล รู้เลยว่ามีความสุขและ เป็นตัวของตัวเองมาก ที่ส�ำคัญ เกิดความภาคภูมิใจว่า เราก็มี เกียรติ มีศักดิ์ศรี เมื่อมั่นใจในเส้นทางนี้ ชีวิตครูลิลลี่จึงมีค�ำว่า “ครู” น�ำหน้านับแต่นั้นมา

ชมรมวาทศิลป์ แต่จุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญคือการไปเรียนพระพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์ที่ วัดอนงคารามวรวิหาร ช่วงที่อยู่จังหวัด ระยองเรียนในโรงเรียนคริสต์ เราก็ไม่เคยได้ศึกษาพระพุทธ ศาสนา แต่เมื่อมาเรียนที่นี่ มีพระอาจารย์มาสอนภาคเช้าเรียน พุทธประวัติและสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนช่วงบ่าย เป็นกิจกรรมตามถนัด ใครใคร่ร�ำก็เข้าชมรมนาฏศิลป์ ใครชอบ พูดก็เข้าชมรมวาทศิลป์และโต้วาที พระอาจารย์ก็จะฝึกให้เรา พูดหน้าห้อง ตอนนั้นได้กินข้าวก้นบาตรที่วัด ได้อิ่มท้อง แถมยังได้ ความรู้ความสนุกสนาน รู้สึกว่าพระใจดี เราสามารถคุยด้วยได้ อย่างไม่เคอะเขิน สิ่งเหล่านี้ช่วยจูงใจให้อยากเข้าใกล้พระพุทธ ศาสนามากขึ้ น ยิ่ ง เมื่ อ ได้ เข้ า ประกวดในกิ จ กรรมต่ า งๆ ทั้ ง สุนทรพจน์ โต้วาที มารยาทไทย สวดท�ำนองสรภัญญะ แล้ว ได้รับรางวัลกลับมา ก็ยิ่งเป็นแรงสนับสนุนให้ครูลิลลี่รักการพูด มากยิ่งขึ้น แต่ชีวิตครูลิลลี่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะมาเป็น ครู ส อนภาษาไทยที่มีคนรู้จัก อย่างทุก วัน นี้ไ ด้ ครั้งหนึ่ ง ก็ เ คย ท�ำงานเป็นพนักงานสัมพันธ์ที่โรงงานท�ำเม็ดพลาสติกมาแล้ว แต่ท�ำได้ไม่นานก็ต้องโดนบีบออก เพราะเก๊กแมนอยู่ได้ไม่นาน

ฝึ ก ปรื อ วิ ท ยายุ ท ธ์ ความเก่งกาจสามารถในภาษาไทยของครูลิลลี่ ถ้าถาม ว่าได้มาจากไหน ขอตอบว่ามาจากการสะสมความรู้ทั้งในวัย เด็กและวัยเรียน ด้วยความที่เป็นคนช่างจดจ�ำ ช่างสังเกต ก็ เลยได้เรียนรู้ศัพท์ต่างๆมากมาย?ซึ่งช่วยทั้งในด้านการพูดและ การเขียน ด้วยความที่ใช้ชีวิตวัยเด็กที่จังหวัดระยอง ครูลิลลี่จึง 50

IS AM ARE www.ariyaplus.com


เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เป็นชนบท เพื่อนๆ ก็เป็นลูกหลาน ชาวไร่ชาวนา ได้เห็นเขาด�ำนา ไถนา รวมทั้งได้เห็นประเพณีไทย สมัยก่อน เช่น บวชนาค เวียนเทียน ลอยกระทง สิ่งเหล่านี้ซึมซับ เข้าไปในตัวเรา ที่ส�ำคัญ ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนก็ช่างเจรจา เจ้า ส�ำบัดส�ำนวน มักพูดคุยหยอกล้อกันด้วยภาษาที่สนุกสนาน ครู ลิลลี่ก็ได้รับรู้รับฟังไปด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ศัพท์แปลกๆ ที่เด็กสมัยนี้อาจไม่รู้จักแล้ว อย่างค�ำว่า “พะอง” ซึ่งเป็นค�ำที่ คนทางเพชรบุรีใช้ หมายถึง ไม้ไผ่ 1 ล�ำที่ใช้ท�ำเป็นบันได ใช้เท้า เหยียบปีนขึ้นต้นตาลหรือต้นมะพร้าว เรี ย กได้ ว ่ า ชี วิ ต วั ย เด็ ก ได้ ส ะสมค� ำ ศั พ ท์ ใ นคลั ง สมอง มากมาย จนกระทั่งเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ที่นี่มีคุณครูภาษาไทยระดับเซียนๆ ทั้งนั้น ยิ่งมาเรียน ต่อคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกวาทวิทยา โทประชาสัมพันธ์ ด้วยแล้ว ชีวิตช่วงนั้นถือได้ว่า “มัน” มาก ท�ำกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับการพูดก็ว่าได้ และได้รับรางวัล ต่างๆ มากมาย รางวัลหนึ่งที่ครูลิลลี่ภูมิใจมาจนถึงทุกวันนี้คือ รางวัลที่ หนึ่งในการบรรยายธรรมะระดับประเทศ ในงานวันวิสาขบูชา เมื่อปี พ.ศ.2528 ตอนนั้นยังเรียนอยู่ชั้น ม.4 วิธีการแข่งขัน ก็ ท ดสอบไหวพริ บ สติ ป ั ญ ญาสุ ด ฤทธิ์ ด้ ว ยการให้ จั บ ฉลาก ทั้งหมด 20 หัวข้อ เช่น อิทธิบาท 4 ไตรสิกขา แล้วให้เราพูด สดๆ คิดสดๆ ตรงนั้น ตอนนั้นครูลิลลี่เตรียมตัวมาเป็นอย่าง ดี มีพระอาจารย์ที่สอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ช่วยติว เลยได้ที่ หนึ่งสมความตั้งใจ จนกระทั่งมาเรียนมหาวิทยาลัย ครูลิลลี่ก็ได้รับรางวัล ที่หนึ่งจากการโต้วาทีน้องใหม่ โดยมี คุณไก่-สมพล ปิยะพงศ์ สิริ เป็นเพื่อนร่วมทีม และได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวด โต้คารม รุ่นอุดมศึกษาของประเทศ และช่วงนี้เองที่ครูลิลลี่ได้ มีโอกาสไปท�ำงานกับ พี่แอ้-กรรณิกา ธรรมเกษร ซึ่งตอนนั้นท�ำ รายการ “ทีวี-วาที 9 ใหม่” ได้เป็นทีมงานช่วยเสิร์ฟน�้ำ เตรียม งาน ได้เห็นนักพูดเก่งๆ ในยุคนั้น เช่น อาจารย์เสรี วงษ์มณฑา อาจารย์จตุพล ชมภูนิช อาจารย์อภิชาติ ด�ำดี ฯลฯ เห็นแล้วก็ อยากเป็นนักพูดแบบเขา แต่รู้ตัวดีว่าไม่เก่งเท่า จึงเบนความ ใฝ่ฝันมาที่อาชีพนักข่าว เพราะเรียนมาทางด้านนิเทศศาสตร์ และมีไอดอลเป็นคุณสุริยนต์ จองลีพันธ์ นักข่าวชื่อดังยุคนั้นที่ รายงานข่าวนอกสถานที่ได้อย่างน่าสนใจ แต่เชื่อไหมว่า คนเราถ้าเกิดมาเพื่อเป็นอะไรแล้ว จะ อย่ า งไรก็ ห นี ไ ม่ พ ้ น สุ ด ท้ า ยชี วิ ต ก็ ต ้ อ งวนเวี ย นอยู ่ ใ นอาชี พ ครู

51 issue 98 March 2016


ชี วิ ต ที่ มี ค� ำ น� ำ หน้ า ว่ า “ครู ” ความจริงแล้ววิญญาณความเป็น ครู ข องครู ลิ ล ลี่ มี ม าตั้ ง แต่ เ ด็ ก แล้ ว เริ่ ม จากตอนเรี ย นมั ธ ยมที่ โรงเรี ย นเตรี ย ม อุดมศึกษา พญาไท มีโครงการ “เพื่อน ช่ ว ยเพื่ อ น” โดยให้คนที่ถนัด ในแต่ละ สาขาวิ ช าช่ ว ยติ ว ให้ เ พื่ อ นคนอื่ น ๆ ใน ห้อง ครูลิลลี่ก็รับหน้าที่นี้มาตลอด จน กระทั่งมาสอนนักเรียนพาณิชย์ จึงท�ำให้ รู ้ ว ่ า เรามี พ รสวรรค์ ด ้ า นนี้ หลั ง จากนั้ น จึงสมัครเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ชีวิตการเป็นครูเริ่ม ต้นที่นี่และเริ่มตอกย�้ำว่าการเป็นครูคือ ตัวเรา หลังจากนั้นครูที่โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษา พญาไท ก็มาชวนให้ไปสอน พิเศษร่วมกันที่สยาม ทุกวันนี้ครูลิลลี่ก็ ยังสอนอยู่ที่นี่ ทุกครั้งที่สอนครูลิลลี่จะมีหลักอยู่

ใจครู ลิ ล ลี่ ม าจนถึ ง ทุ ก วั น นี้ คื อ “ถ้ า หนู ไม่ได้ครู หนูคงไม่เก่งภาษาไทย” พ่อ แม่ของเด็กหลายคนมาขอบคุณที่ท�ำให้ ลู ก ของพวกเขาสมความปรารถนาด้ ว ย เหตุ นี้ บางครั้ ง ราคาของของขวั ญ ที่ ไ ด้ รับจากผู้ปกครองจึงมากกว่าค่าเรียนเสีย

เราสร้ า งคนให้ เ กิ ด ปั ญ ญาทางโลก ให้ เ ขาเรี ย นเก่ ง สอบติ ด มามากแล้ ว ท� ำ ไมเราไม่ ส ร้ า งคนให้ เ กิ ด ปั ญ ญาทางธรรมบ้ า ง ที่ ส� ำ คั ญ ปั ญ ญาทาง ธรรมนี่ แ หละที่ จ ะช่ ว ยแก้ ป ั ญ หาต่ า งๆ ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ได้ ในใจว่า การสอนของเราต้องท�ำให้เด็กๆ มี ค วามสุ ข เหมื อ นก� ำ ลั ง ชมทอล์ ค โชว์ วิชาการ คือได้ทั้งสาระและความบันเทิง เวลาสอนก็คิดถึงอกเขาอกเรา เด็กก็คือ เด็ก เข้าใจในความเป็นเขา ไม่คาดหวัง อะไรมาก ให้ความเป็นพี่เป็นน้องพูดคุย กับเขาได้ แต่เหนืออื่นใด ทุกครั้งที่สอนครู ลิลลี่จะมีความคิดที่เป็นกุศลว่า อยากให้ เด็กที่สอนทุกคนสอบได้คะแนนดี สอบ ติ ด ในคณะที่ ตั ว เองปรารถนา ทุ ก วั น นี้ ประทั บ ใจในตั ว ลู ก ศิ ษ ย์ ต รงที่ เขาไม่ ลื ม เรา เขาไม่เห็นเราเป็นครูห้องแถว แต่เขา ให้ความส�ำคัญเหมือนครูในโรงเรียนคน หนึ่ง ประโยคหนึ่งที่หล่อเลี้ยงและชโลม

ด้วยซ�้ำ แต่อย่างไรก็ตามครูลิลลี่ไม่ได้นับ ความส�ำเร็จจากตรงนี้ แต่นับจากรอยยิ้ม และความสุขของเด็กๆ มากกว่า ส ร ้ า ง ส ถ า น ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม น� ำ “ปั ญ ญา” สู ่ สั ง คม ชี วิ ต ของครู ลิ ล ลี่ ก ่ อ นหน้ า นี้ ติ ด หรู ติดเพื่อน ติดเที่ยวต่างประเทศ ชอบ ใช้ ข องแบรนด์ เ นม กิ น ข้ า วราดแกงไม่ เป็น ไปไหนต้องมีเพื่อน มีบริวารติดสอย ห้อยตาม จนกระทั่งมาศึกษาธรรมะอย่าง จริงจัง ชีวิตเปลี่ยนไปหมดเลย ไม่ติดอะไร อีกแล้ว แต่ความรัก โลภ โกรธ หลง ก็ ไม่ได้หมดไป เพียงแต่ลดน้อยลงกว่าเมื่อ ก่อนมาก 52 IS AM ARE www.ariyaplus.com

สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ครูลิลลี่เข้าสู่ ทางธรรมเพราะ หนึ่ง รู้สึกว่าชีวิตที่มีเงิน ทองของตัวเองไม่มีความสุข สอง ได้ไป ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงได้พบค�ำตอบ สาม ได้มีโอกาสไปกราบสังเวชนียสถานที่ ประเทศอินเดีย จึงอยากจะปฏิบัติตัวเป็น พุทธบริษัทที่ดี สี่ เพราะเสียคุณแม่ไปด้วย โรคมะเร็ง จึงเป็นตัวผลักดันให้ครูลิลลี่ อยากท�ำสิ่งดีๆคืนสู่สังคม ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น เหตุ ผ ลที่ ท� ำ ให้ ค รู ลิ ล ลี่ ส ร้ า ง บ้ า นพุ ฒ มณฑา ที่ อ� ำ เภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นสถาน ที่ปฏิบัติธรรม เพราะคิดว่าเราสร้างคนให้ เกิดปัญญาทางโลก ให้เขาเรียนเก่ง สอบ ติดมามากแล้ว ท�ำไมเราไม่สร้างคนให้เกิด ปัญญาทางธรรมบ้าง ที่ส�ำคัญ ปัญญาทาง ธรรมนี่แหละที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ใน การด�ำเนินชีวิตได้ บ้ า นแห่ ง นี้ ค รู ลิ ล ลี่ ใ ช้ แ นวคิ ด ว่ า “บ้ า นแห่ ง การเรี ย นรู ้ ” ที่ มี ค วาม สั ป ปายะ มี ทั้ ง เตี ย งนอน สนามหญ้ า ส�ำหรับกางเต็นท์ ศาลาปฏิบัติธรรม สวน ที่ร่มรื่น และสระน�้ำ โชคดีที่ครูลิลลี่ได้ทั้ง น้ อ งสาวและน้ อ งชายมาช่ ว ยงาน โดย เฉพาะน้องสาวลาออกจากงานโรงแรมมา ช่วยจัดการทุกอย่าง ส่วนน้องชายก็ช่วย ดูแลคุณพ่อซึ่งอยู่ในวัย 80 ปี


ครู ลิ ล ลี่ เชื่ อ ว่ า สิ่ ง ที่ ตั ว เองท� ำ นี้ ใช้ เ งิ น สร้ า ง อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องอาศัยทั้งแรงกายและแรงใจ อย่างยิ่งยวด เพราะต้องเตรียมสถานที่ อาหารการกิน เพื่อดูแลผู้ปฏิบัติธรรม เป็นวิทยากร ท�ำหน้าที่เป็นเจ้า บ้านที่ดี ฯลฯ นอกจากนั้นจากเมื่อก่อน ปิดเทอมมัก ไปเที่ยวต่างประเทศใช้เงินสองสามแสนบาท แต่เดี๋ยว นี้ครูลิลลี่กลับคิดว่า สามารถน�ำเงินส่วนนั้นมาซื้อข้าว ซื้อน�้ำให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ตั้งหลายคอร์ส เมื่อคิดอย่าง นี้ ครูลิลลี่ก็มีความสุขกับสิ่งที่ท�ำ ทุ ก วั น นี้ สิ่ ง ที่ ค รู ลิ ล ลี่ ท� ำ เป็ น เหมื อ นน�้ ำ หล่อเลี้ยงชีวิตให้มีพลัง มีไฟในการท�ำงาน ท�ำสิ่งที่ ตัวเองรักและสามารถตอบตัวเองแบบชัดๆ ดังๆ ว่า “ชาตินี้เกิดเป็นครูลิลลี่ ไม่เสียชาติเกิดเลยสักนิด” เพราะแม้จะไม่ได้บวชให้พ่อแม่เกาะชายผ้า เหลือง แต่ชีวิตนี้ได้ท�ำบุญ ท�ำประโยชน์ให้พระพุทธ ศาสนาและให้เพื่อนมนุษย์จนสุดก�ำลังความสามารถ แล้วนั่นเอง ครูลิลลี่ กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์

53 issue 98 March 2016


เวลคัม ทู ฆราวาส

1. พอสึกแล้วผมก็กลับมาว้าเหว่ งานคือเรื่องแรกๆ ที่คิดถึง ตระเวนหางาน สมัครงาน เริ่มงาน ตกงาน ว่าง กราฟชีวิตนิ่งเฉย วัฏจักรนี้เกิดช่วงจบใหม่ ท�ำให้หลายครั้งถามตัวเองว่า “เอาไงดีวะ” หลังเปลี่ยนชุดขาวออกจากวัดกลับมาบ้านนั่งประดักประเดิดอยู่ได้ไม่กี่วัน โอเปิ้ล แอสตร้า เอฟ คาราวาน ปี 94 สายเลือด เยอรมันถึงเวลาออกวิ่งอีกครั้ง แอร์ยังเสียเหมือนเดิม ยางปัดน�้ำฝนตายซากเป็นฟอสซิล เปิดปัดทีรังแต่จะขูดกระจกเป็นรอย แต่มัน เป็นรถเก่าที่เครื่องยังดี ดีเพราะเอาไปเปลี่ยนเครื่องโตโยต้า สตาร์ททีกลิ่นแก๊สโชยเสียวสันหลังนิดหน่อย แต่วิ่งกรุงเทพ-เชียงใหม่ สบาย รถน่ะสบาย แต่คนทรหด เปิดกระจกมากแดดทิ่มหนวกหูเสียงลมฟังเพลงไม่รู้เรื่อง ปิดกระจกร้อนหายใจไม่ออก จ�ำ ต้องเดินสายกลาง เปิดพอหายใจ เอากระติกใส่น�้ำแข็งติดรถไป ขับไปจิบไป ช่วยได้ แอร์รถเหมือนจะหมดหวัง ช่างหนุ่มลูกจ้าง ประดับยนต์เบอร์หนึ่งในเมืองบอกเครื่องใหม่จากเจแปนกับแอร์เดิมรถจากยุโรปเข้ากันไม่ได้ ช่างเฒ่าใจดีผู้อุทิศชีวิตให้กลิ่นน�้ำมัน เครื่องและเสียงเครื่องยนต์แถบชานเมืองส่ายหน้า “อยากหายต้องเปลี่ยนแอร์ใหม่เลย คอมฯรั่ว” อดีตช่างรถยุโรปเกษียณกิจการ บอกให้ท�ำใจ เพราะถ้าเปลี่ยนแล้วก็ไม่แน่ว่ามันจะเข้ากันได้ยืนยาว เอ้า ไม่เป็นไร ผมมีกระติกน�้ำแข็งแล้วนี่ ที่เหลือก็ประคองคันเร่งให้ผ่านเนินต่างๆ ของภาคเหนือไปให้ถึงกรุงเทพ ช่วงเนินผม ต้องประคองความร้อนไม่ให้ทะลุร้อย ยิ่งเร่งช่วงดอยขุนตาลเข็มความร้อนยิ่งขยับเร็วจี๋จนเสียว เวลาลงเนินจึงจะคลายลงไปจนถึง ศูนย์ บางครั้งจอดไฟแดงความร้อนขยับมากกว่าวิ่งอีก เหมือนบังคับให้วิ่งเอาลมโกรกเครื่องตลอดเวลาไม่งั้นรถจะระเบิดแบบใน หนังที่เจสัน สเตแฮมชอบแสดง ปู่คันนี้ก็ลืมสังขารคิดว่าเป็นออดี้ตลอด กระหายอยากวิ่ง แม้จะต้องซ่อมนั่นเปลี่ยนนี่อยู่เรื่อย แต่ ผมยกให้เป็นครูคันแรกไปโดยปริยาย 54 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ระหว่ า งทาง 2. ผมขี่ปู่ ไม่ๆ ขับรถชมวิวสองข้างทางภูเขาและทุ่งนาไปไม่รีบร้อน ล�ำพูน ล�ำปาง ตาก ก�ำแพงเพชร เอาเข้าจริงแค่ไม่มีเขาสูง ยาวรถคันนี้ก็ไม่เคยงอแงเรื่องความร้อนหรือเรื่องใด แต่ตอนฝนตกหนักนี่ซี นรกของนรก เปิดกระจกน�้ำเข้า ไม่เปิดหายใจไม่ออก ฝ้าขึ้นกระจกหนักไปใหญ่ ที่ปัดน�้ำฝนอันอ่อนระโหยโรยแรงพยายามท�ำหน้าที่ของมันอย่างเต็มก�ำลัง แผ่วเบาและเนิบช้าดุจที่ปัด น�้ำฝนล้านนา หน�ำซ�้ำดอกยางยังขูดกระจกไร้สาระสิ้นดี ขณะที่ฝนมาในรูปพายุสีด�ำกรรโชก เทลงมาอย่างน�้ำตกไนแองการ่า ผม ได้ยินเสียงยางปัดน�้ำฝนฟอสซิลขูดกระจกดังกุกกัก กุกกัก ผมตัดสินใจเปิดกระจกฝั่งคนนั่งและกระจกหลังนิดหนึ่งพอให้ฝ้าหาย ตัวเองจะได้ไม่เปียก สักพักกระจกฝั่งผมเลื่อนลงเอง คิด ว่าน�้ำก�ำลังรบกวนระบบไฟฟ้าคุณปู่หรืออย่างไรไม่ทราบ เป็นอาการใหม่ที่มากับพายุฝน ผมรู้สึกว่าก�ำลังขับรถเปิดเพลงแดนซ์ร่วม สนุกในวันสงกรานต์ คือกระจกค้างกดเลือนขึ้นไม่ได้ สบายล่ะครับ เปียกยันกางเกงใน เรียกว่าจิ้มจุ่มชุ่มหน้า ขับเร็วก็ไม่ได้ ต้อง กระพริบไฟฉุกเฉินนั่งหนาวค่อยๆ คลานฝ่าฝนไปอย่างระแวดระวังตูดสิบล้อ 3. ผมเริ่ ม คิ ด ถึ ง ชี วิ ต การบวชขึ้ น มาระหว่างจ้องมองทางที่มองไม่เห็น ชีวิต ที่เพิ่งเปลี่ยนวิถีมาไม่กี่วันนี้เอง เมื่อเช็ด หัวก็พบว่ามันยังโล้นเลี่ยนสากผ้า อะไร กันหรือ เราสึกมาพบกับอะไรกัน ความ รู้สึกแห่งการท�ำวัตรตอนตีสามครึ่งพลัน กรุ่นออกมา ฝนเดียวกันนี้เคยหล่นเทลง มาอาบจีวรเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ตีนที่เหยียบ คันเร่งอยู่ก่อนหน้านั้นใช้เดินบิณฑบาตร แต่ละก้าวล้วนรู้สึกสัมผัสเจ็บแหลมจาก คมกรวดหินดินทราย “วั น คื น ล่ ว งไปล่ ว งไป บั ด นี้ เราท� ำ อะไรอยู ่ ” ป้ า ยตอกตรึ ง ไว้ กั บ ต้ น ไม้ ใ หญ่ ริ ม ทางเดิ น ไปห้ อ งสมุ ด หอ ธรรมโฆษณ์ ใ นวั ด อุ โ มงค์ ก ระตุ ก เตื อ น ความนึกคิดเอาเสียดื้อๆ ในเวลานั้นเพิ่ง เข้าฤดูฝน พระอาจารย์ไม่อนุญาตให้ใส่ รองเท้าเดินบิณฑบาตร ฝนตกก็ต้องบิณฯ คมกรวดเล็กๆ บนพื้นถนนจากวัดสู่เมือง คอยทิ่มกระตุกเตือนสติผู้เดินทุกๆ ก้าว น�้ ำ ฝนท� ำ ให้ มั น ติ ด ในซอกเท้ า ได้ ง ่ า ย พระใหม่กระโดดโหยงฝาบาตรร่วงก็มีให้ เห็น ขณะที่เราเดินบิณฑบาตรออกจาก วัดผ่านต้นสนใหญ่โบราณ ผ่านหมู่บ้าน ผ่านหอพักนักศึกษา ร้านค้า ผ่านถุงยาง ใช้แล้วบนพื้นถนน ผ่านงู ผ่านวัยรุ่นที่ เพิ่งกลับจากพาร์ตี้เมื่อคืน ผ่านหญิงสาว ใส่เสื้อคอคว้านลึกจนไม่ปกปิดอะไรมา

ผมเริ่ ม คิ ด ถึ ง ชี วิ ต การบวชขึ้ น มาระหว่ า งจ้ อ งมองทางที่ ม องไม่ เ ห็ น ชี วิ ต ที่ เ พิ่ ง เปลี่ ย นวิ ถี ม าไม่ กี่ วั น นี้ เ อง เมื่ อ เช็ ด หั ว ก็ พ บว่ า มั น ยั ง โล้ น เลี่ ย น สากผ้ า อะไรกั น หรื อ เราสึ ก มาพบกั บ อะไรกั น ใส่ บาตร ชี วิ ต ถู ก ปลุ ก ตลอดเวลาตั้ ง แต่ ระฆั ง ตอนตี ส ามครึ่ ง ตลอดจนสิ่ ง ที่ ผ ่ า น สายตาขณะเดิน เช้ า มื ด ลุ ก เก็ บ ที่ น อนอาบน�้ ำ อากาศหนาวเย็นไม่สร่างฝน ห้องแถวเก่า ทมึนเรียงตัวทอดยาวหันหลังชนกันใต้ร่ม ไม้ใหญ่ดกครึ้มจนเกือบจะเป็นป่า มีเสียง แมลงกลางวันกลางคืนระงมตามเวลาของ มัน คือหอหรือกุฏิรวมพระใหม่ หลังเสียง ระฆังแต่ละท่านก็ออกมาอาบน�้ำห่มจีวร บางท่านลุกไม่ไหวไม่ชินเวลาตื่นก็ต้องลุก ให้ได้ เพราะหอนี้ยามว่างเว้นคนมันดูน่า 55 issue 98 March 2016

กลัวด้วยความเก่า ไม่รู้ห้องไหนเป็นห้อง ไหนใครอยู่ เสียงลมพัดประตูดังทีก็กลัว หน้าสั่นแต่ต้องเก็บอาการ ต้องไปท�ำวัตร เช้าให้ได้ บางท่านไม่ทันห่มจีวรดีก็พรวด ออกห้องวิ่งตามเพื่อนไปแล้ว ไม่อยากอยู่ เป็นคนสุดท้าย แต่นั่นแหละ มันผ่านมาไม่ นาน ผมแค่คิดถึงเวลานั้นขณะขับรถ ช่วง เวลาที่หมดไปกับห้องสมุด ใช้สิทธิ์ความ เป็นพระเข้าไปรื้อค้น ส่วนใหญ่เป็นแหล่ง รวมงานเขียนของท่านพุทธทาสภิกขุและ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ชาวเหนือกับ ชาวใต้ผู้นับถือเป็นพี่น้องทางธรรม


4. ฝนเริ่มซาและหยุดไป กระจกไฟฟ้ากลับมาใช้ได้คุณพระ ให้มันได้อย่างนี้สิปู่ ชีวิตดูมีรสชาติมาก เหมือนหมวดแดนในฟ อร์เรสท์ กั๊มพ์ ชุ่มโชกขับเคี่ยวพายุอยู่บนเสากระโดงเรือ ผมเปิด กระจกลงสุดระบายอากาศ ถ้าเจอปั๊มคงต้องลงไปเปลี่ยนชุดใหม่ แต่ยังไม่ทันถึงปั๊มพอเข้าวังเจ้าก็พบพี่ต�ำรวจปฏิบัติหน้าด่านอยู่ ผมชะลอรถไปตามกรวยบีบแคบ ถ้าเกิดเฉี่ยวล้มไปกรวยหนึ่ง ประวัติผมคงถูกสืบค้นถึงกุฏิ พี่ต�ำรวจท่านหนึ่งยืนมุ่งมั่นรอฝั่ง คนขับกลางถนน ไม่ต้องส่งสัญญาณเปิดกระจกผมก็คอยท่ามา จากล�ำปางแล้ว ในสภาพหมวดแดนขาขาดผู้สยบพายุ สายตา ต�ำรวจท่านนั้นผมเข้าใจดี ตะลึงปนสงสัย ในรถเปียกหมด เปิด ประตูก้าวเท้าลงมามีน�้ำวิ่งตามลงมาถึงพื้นเป็นรอยเท้าสืบไป ดุจ รถที่ผุดมาจากท้องทะเล แค่พวงมาลัยเท่านั้นที่ยังแห้ง สีหน้าเขาไม่เชื่อว่าเพิ่งสึก ผมนึกถึงข่าวพระแอบแต่งตัว ขับเบนซ์ออกมาเที่ยวกลางคืน แต่นี่คงไม่ใช่ นี่คือหมวดแดนที่ ก�ำลังมีทีท่าไม่ปกติเพราะหนาว ผมจะบอกเขาไหวหรือว่าเพิ่ง เจออะไรมา จากสภาพเขาขอค้นรถหาสิ่งผิดปกติทันที เจ้าหน้าที่ อีกท่านเชิญผมไปสอบสวนที่โต๊ะซึ่งมีหัวหน้าและลูกสมุนของเขา นั่งอยู่อีกสามคน “จะไปไหน” หัวหน้าผายอกหรี่ตามาดกรุง ศิวิไล “กรุงเทพ” “ไปท�ำอะไร” “เพิ่งสึก จะไปหางาน” “หางาน” อากรุงเบิกตากว้าง

“เพิ่งสึกอะไร มีหลักฐานเอามาดูซิ” สมุนท่านหนึ่งสอด มาจากข้างหลัง ผมไปหยิบมาให้ดู “โช ติ ญาโณ” เขาทวนฉายา “วัดอุโมงค์ เชียงใหม่” “แล้วไปท�ำอะไรมาเปียกขนาดนี้” “ผมฝ่าพายุ” “พายุอะไรไม่เห็นมี” สมุนข�ำยียวน ผมเงียบและเบื่อรู ปากของเขาสิ้นดี คงป่วยการหากผมจะพูดถึงน�้ำตกไนแองการ่า หรือหมวดแดนบนเสากระโดงเรือ “มีใบสมุดทะเบียนรถไหม” เขาเปลี่ยนเรื่องสงสัยไปอีก หลังจากค้นหาความผิดจากผมและรถมากมาย ที่สุดแล้ว เขาปรับผมสองร้อยบาทค่าไม่พกใบทะเบียน ผู้ผ่านไปมาคงนึก เห็นผู้ต้องหาขนยาบ้าหกหมื่นเม็ดถูกสกัดจับ คนโกนหัวคนนั้น ไงถูกต�ำรวจกักตัวเอาไว้และรถเก่าๆ ที่ถูกรุมค้นทั้งห้าประตูนั่น โอ้ เราก�ำลังจะไปกรุงเทพ แต่กระจกมันเลื่อนลงเอง เราเพิ่งสึก ออกมาเจอโลกภายนอกที่ค่อนข้างซับซ้อนในการด�ำเนินชีวิตอัน เล็กจ้อย เอาเถอะ ทางยังอีกไกล ผมคงต้องวางเรื่องบวชไว้ข้าง หลังทั้งที่มันยังกรุ่นอยู่ วางความสงบเงียบไว้ในจิตใจ ต่อไปนี้ต้อง ปลุกตัวเอง ไม่มีพระอาจารย์และระฆังเตือนหน้ากุฏิอย่างเคย มี แต่ทางยาวข้างหน้าที่ต้องพร้อมเจอทุกสิ่งซึ่งแสยะยิ้มรอต้อนรับ การกลับมาสู่ทางโลกของผู้คนอีกครั้ง “วันคืนล่วงไปล่วงไป บัดนี้เราท�ำอะไรอยู่” ผมยืน หนาวอย่ า งลู ก นกข้ า งป้ อ มต� ำ รวจ นึ ก ถึ ง ทางเข้ า ห้ อ งสมุ ด หอธรรมโฆษณ์อันอบอุ่น 56

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“วันคืนล่วงไปล่วงไป บัดนี้เราท�ำอะไรอยู่”

57 issue 98 March 2016


Let’s talk

แนวทางชีวิตและการด�ำเนินงานภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นายประเสริฐ หอมดี ผู้อ�ำนวยการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษามีภารกิจหลัก คือ ท�ำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยว กับการฝึกอบรมเตรียมผู้บริหารสถานศึกษา (Pre-Promotional Training) พัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งผู้บริหาร ประจ�ำการ (In-Service Training) การฝึกอบรมเฉพาะสาขาวิชา (Specialized Training) การฝึกอบรมในประเทศ และการประชุมนานาชาติ (International Conference) นอกจากนี้ ยังจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเกี่ยวกับการบริหาร การศึกษาตามความต้องการของกรมกองต่างๆ และได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบาย และแผนพัฒนาผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่อง

58 IS AM ARE www.ariyaplus.com


59 issue 98 March 2016


นิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย งได้ รั บ เกี ย รติ จ าก นายประเสริ ฐ หอมดี ผู ้ อ� ำ นวยการ สถาบั น พั ฒ นาครู คณาจารย์ แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา มาเปิ ด เผยถึ ง แนวทางการด� ำ เนิ น งานภายใต้ ห ลั ก ปรั ช ญา ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ตลอดจนเรื่ อ งราวความเป็ น มาของชี วิ ต แนวคิ ด และประสบการณ์ ต ่ า งๆ ถ่ า ยทอด ให้ ผู ้ อ ่ า นโดยเฉพาะเยาวชนได้ ค ้ น คว้ า หาสาระในมุ ม ต่ า งๆ เป็ น แนวทางในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ต่ อ ไป เบ้ า หลอมจากครอบครั ว สู ่ ก ารท� ำ งานจริ ง ผมโตมาจากสั ง คมบ้ า นนอกที่ จั ง หวั ด นครพนม จาก โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย คุณแม่ค้าขาย คุณพ่อท�ำนา ถ้าพูด ถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมันเหมือนวิถีชีวิตเราเอง ผมเคยท�ำนา ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขนมูลวัวมูลควายไปลงที่นาหน้าแล้ง ไถ่นา ลง กล้า ถอนกล้า ด�ำนา เกี่ยวข้าว นวดข้าว ผมท�ำมาหมดครับ บ้าน ผมครอบครัวใหญ่ ๙ คน ผมเป็นคนกลางพอดีคนที่ ๕ ผมเรียน โรงเรียนเทศบาลมาถึงโรงเรียนมัธยมประจ�ำจังหวัดนครพนม แล้วก็ได้มีโอกาสมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร บ้านผมอาจได้แบบอย่างที่ดีถึงแม้มีรายได้ไม่เยอะ ต้อง ค้าขายผมเองยังต้องช่วยแม่ค้าขายตั้งแต่เด็ก ไปโรงเรียนต้อง เอาขนมไปขายให้เพื่อนๆ ด้วย เรามีสถานะไม่ดี แต่ที่บ้านสอน ว่าลูกคนโตต้องดูแลน้องๆ แล้วแม่ก็จะสอนมาเป็นขั้นๆ ลูก คนเล็กต้องท�ำได้ตั้งแต่ถูบ้านกวาดบ้าน พอโตมาหน่อยช่วย ล้างจาน พอโตขึ้นมาอีกหน่อยท�ำกับข้าว เป็นเรื่องปกติไม่ใช่ แม่สั่งให้ท�ำนะ แต่เราท�ำเป็นปกติ พอศึกษาจบมหาวิทยาลัย อยุธยา และ ดร.กล้า สมตระกูล ท่านก็บอกไปร่วมงานกันไหม แล้วก็ไปท�ำงานเริ่มบุกเบิก ตั้งแต่สร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี ก็เริ่ม ตั้งแต่หาที่ ก็ได้งบมา ผมเริ่มตั้งแต่จ้างถมที่ ตอกเสาเข็มต้นแรก แล้วก็จัดกิจกรรมเลย สร้างไม่เสร็จก็จัดกิจกรรมได้เราไม่ต้องรอ ศรี น คริ น ทรวิ โรฒ ปริ ญ ญาตรี ผมก็ ม าท� ำงานครั้ ง แรกอยู ่ ใ น ให้สร้างเสร็จจนกระทั่งพิธีเปิดเสร็จ ปลายปี ๔๒ อธิบดีกรมการ กรุงเทพครับ ตอนนั้นเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ที่ ศึกษานอกโรงเรียนก็ย้ายให้ผมไปท�ำต่อที่อุทยานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ผมอยู่นั่น ๒ ปี ดูแล้วไม่ค่อยตรงกับวิถีผม พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผมเริ่มไปสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ ไปลุยเรื่องฐานการ มาก คือชีวิตผมเหมือนกับเด็กใหม่เขาเรียกว่าเด็กไฮเปอร์คืออยู่ นิ่งไม่ค่อยเป็น แล้วถ้าให้ผมสอนทุกปีทุกเทอมที่คล้ายๆ กันมัน เรียนใหม่หมด ไปจัดระบบการให้บริการ ผมว่าเป็นที่เดียวที่ ไม่ค่อยพัฒนาตัวเองนะ ผมเลยโอนไปอยู่ กศน. ไปท�ำงานครั้ง เวลาสถานการศึกษาทั้งหลายจัดจองเข้าค่ายต้องจองผ่านระบบ แรกเมื่อปี ๒๕ ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียง อินเตอร์เน็ตหมด แล้วก็จองข้ามได้ ๑ ปี เพราะว่าเราเปิดให้จอง เหนือ ชื่อย่อ ศ.อ.ศ.อ.ไปอยู่ตั้งแต่ปี ๒๕ ท�ำงานเรื่องวิชาการมา ในเดือนพฤศจิกายน พอเดือนธันวาคมก็เต็มแล้ว คือสถานที่เรา ดีมีกิจกรรมให้เพราะฉะนั้นสถานศึกษาทั้งหลายทั้งในระบบนอก ตลอดจนถึงปี ๓๙ ไปเป็นผู้บริหาร ผมมีครอบครัวตั้งแต่ปี ๒๘ ครับ อยู่ กศน. แล้วครับ ระบบจองหมดครับ เพราะฉะนั้น ๒ เดือนจองเต็มใครช้าอดแต่ แล้วก็ไปศึกษาต่อเมื่อปี ๒๙ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปเรียน ผมก็เปิดโอกาสให้เยอะนะ หนึ่งเราจะมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่เรา เรื่องการประเมินผลแล้วก็มาท�ำงานต่อปี ๓๙ ก็ปีที่ออกไปท�ำ จะกันเวลาไว้ให้อย่างน้อยกลุ่มนี้ต้องเข้า เช่น เด็กดอย เด็กนอก หน้าที่ผู้บริหารโดยสมัยนั้นท่านคุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ ระบบ เพราะพวกนี้โอกาสน้อย แต่โรงเรียนเขาพร้อมอยู่แล้ว ใน

อย่ า สั ก แต่ ว ่ า ท่ อ งอย่ า งเดี ย วว่ า หลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น ยั ง ไง แต่ ใ ห้ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้ ก่ อ นอื่ น ใช้ ที่ ตั ว เองเลย ท� ำ กั บ ตั ว เอง ท� ำ ได้ ไ หม ใช้ กั บ ครอบครั ว ใช้ ไ ด้ ไ หม

60 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ที่สุดเราก็เปิด ๒ ค่ายพร้อมกัน วิทยากร เราแบ่ง ๒ ส่วน ถ้าเป็นทีมวิทยากรพี่เลี้ยง ปกติเวลาเด็กออกมานอกค่ายเวลาเราท�ำ ค่ายทั้งหลายทั้งค่ายพอเพียงเราต้องสนุก ออกจากโรงเรียนมาพักกับเรา ๒-๓ คืน ต้องไม่คิดถึงบ้าน การเรียนรู้นั้นเราใช้หลักการเรียน รู ้ แ บบสนุ ก สนาน เน้ น อย่ า งนี้ ฉะนั้ น วิทยากรที่เป็นพี่เลี้ยงที่ค่อยดูแลเราใช้เด็ก เยาวชนคนนอกที่ผ่านการพัฒนาจากเรา คุณท�ำดีลูกค้าเข้าเยอะคุณได้รายได้เยอะ เราให้เลยครับ ถ้าเป็นหัวหน้าทีมเราให้ ๓๕๐ ลูกทีมเราให้วันละ ๓๐๐ เขาจะมี รายได้ตลอด รายได้ดีกว่าพวกบรรจุใหม่ อีก หัวหน้าทีมส่วนใหญ่ก็จบปริญญาตรี ตามที่คัดหน่วยก้านแล้วดี ส่วนทีมที่สอง คือทีมที่ให้ความรู้จริงๆ ทีมที่ให้ความรู้ เราจะใช้ข้าราชการใช้พนักงานราชการ แต่ พ วกนี้ ต ้ อ งเทรนอย่ า งดี ผมอยู ่ โ น้ น

เกินวาระครับ อยู่อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเก้า ณ หว้ากอ ๗ ปีครึ่ง ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๓-๒๕๕๑ ในต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น พั ฒ นาครู ค ณาจารย์ และบุ ค ลากร ทางการศึ ก ษา ตรงนี้ เรามี ห น้ า ที่ ใ นการพั ฒ นา อ ย ่ า ง ชื่ อ เร า คื อ ส ถ า บั น พั ฒ น า ค รู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ประเด็นหลักในการพัฒนาคือครูยังเป็น ปัจจัยหลักในการพัฒนาผู้เรียน ในการ พัฒนาคุณภาพในการศึกษา เราดูข้อมูล ย้อนหลังการวิจัยทั้งหลายครูมักจะเป็น ตัวแปรอันดับต้นที่จะส่งผลต่อคุณภาพ ของผู้เรียนคุณภาพของการศึกษา เราจะ ท�ำอย่างไร ครูหลายแสนคน เราพัฒนา ทุกคนไม่ได้ เราต้องพึ่งพิงหน่วยงานของ ต้นสังกัดหรือหน่วยราชการของเขาด้วย 61 issue 98 March 2016

วิธีการท�ำงานผมคือ ตัวเองต้องเป็นเยี่ยง อย่าง ผมยึดวิธีนี้มาตลอดตราบใดที่เราไม่ ท�ำจริงพูดให้ตายคนก็ไม่เชื่อ วิธีการของผมคือ ๑.ผมต้องท�ำ เป็ น เยี่ ย งอย่ า งส� ำ หรั บทุ ก คนตราบใดที่ เราถือปฏิบัติในสิ่งที่เราเชื่อคนอื่นจะเห็น ว่าคนที่แนะน�ำก็ท�ำได้ท�ำไมเราจะท�ำไม่ ได้ อั น นี้ คื อ สิ่ ง ที่ ผ มยึ ด เหนี่ ย วตั้ ง แต่ ต ้ น ไม่ว่าผมท�ำงานที่ไหน ก่อนจะพัฒนาใคร พัฒนาคนในองค์กรให้ได้ก่อน จะพัฒนา ใครพัฒนาบ้านตัวเองก่อน ผมอยู่องค์กร ไหนผมให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ คนในองค์ ก ร ก่อน เพราะฉะนั้นคนภายในอันดับแรกก็ คือ ท�ำงานต้องมีความสุข คุณต้องมีความ รู้คุณจะเป็นมืออาชีพได้ เรื่องคุณธรรม ต้องมี เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตต้องมี คุณ ต้ อ งเก่ ง จริ ง คุ ณ ต้ อ งหาความรู ้ มี ฐ าน ความรู้อะไรตลอด นั่นก็คือคนข้างในถ้า มีความสุข มีความรู้ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์


แบบนี้ ผมก็ต้องเรียนรู้ผมก็ต้องมือสะอาด ผมถือว่าผมซื่อสัตย์ พอผมท�ำงานแบบทุ่มเท แต่ผมก็ประมาณตนอยู่นะว่าท�ำได้แค่ ไหน ผมทุ่มเทครับแต่ในระยะหลังในช่วง ๑๐ กว่าปีหลังๆ ผมให้ ความส�ำคัญกับคนที่ผมบอกแต่ต้นว่าผมอยากให้เพื่อนร่วมงานมี ความสุขเพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายผมไม่สั่ง แต่ผมจะพูดว่าถ้าเป็น ผมจะท�ำอย่างนี้ๆ ถ้าเป็นเราจะท�ำอย่างไร คนนี้ว่าไง กลุ่มนี้ว่า ไง ภาคนี้ว่าไง ศูนย์นี้ว่าไง ผมให้เขามีส่วนร่วมเต็มที่ อันนี้คือตัวคนภายในสถาบันพัฒนาฯ ที่จะต้องเตรียม พร้อมก่อน ทีนี้เวลาที่เขาจะลงไปพัฒนาครูเพื่อนครูหรือผู้บริหาร เวลาท�ำงานจริงเราจะจัดเป็น ๒-๓ ล�ำดับ ล�ำดับแรกอะไรเป็น ภารกิจเรา ภารกิจหลักเราคือต้องพัฒนาผู้บริหาร เช่น ผ.อ.เขต พื้นที่การศึกษา ผ.อ.ส�ำนักงาน กศน.จังหวัด พัฒนาผู้บริหาร สถานศึกษา พัฒนาครู พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา นี่คือ ภารกิจหลัก ภารกิจที่ ๒ คือ ภารกิจการพัฒนา ก็เหมือนวิจัยและ พัฒนา เราพยายามพัฒนาหารูปแบบการฝึกอบรมที่เหมาะสมมี หลักสูตร มีสื่อ แล้วส่งต่อให้ต้นสังกัดไปใช้ต่อด้วย ประเด็ น ก็ คื อ เนื่ อ งจากผู ้ บ ริ ห ารโดยเฉพาะผู ้ บ ริ ห าร สถานศึกษาเรามีเยอะ อย่างสังกัด สพฐ. เรามีถึง ๓๐,๐๐๐ กว่า โรงเรียน อย่างหน่วยงาน กศน. ก็มีเป็นพัน ของอาชีวะก็เยอะเรา

สุจริต น�ำพาคนอื่นได้ แนะน�ำคนอื่นได้นี่คืออันดับแรก คนภายใน องค์กรสามารถกระจายสู่ภายนอกได้ แต่คนภายในมีความรู้มี คุณธรรมก็ยังไม่พอนะ เวลาท�ำงานจริงๆ เราเป็นข้าราชการงบ ประมาณเรามีจ�ำกัด งบประมาณเรามาจากภาษี เราท�ำงานอะไร เราวางแผนให้ดี คิดวิเคราะห์ให้ดี ผมว่าต้องรู้จักตัวเอง ตังค์ก็ไม่ ค่อยมีคิดเรื่อยเปื่อยไม่ได้ มันต้องคิดภายใต้ฐานเรามีบทบาทแค่ ไหนท�ำได้แค่ไหนให้คุ้มกับงบประมาณต้องท�ำอย่างนี้นะ ต้อง วางแผนให้ดี นอกจากวางแผนให้ดีต้องวางแผนอนาคตด้วย ถ้าคุณท�ำอย่างนี้ได้ดี ภาษาวิชาการเรียกว่า การบริหารความ เสี่ยง พอที่จะรับความเสี่ยงแบบนี้ไหม ที่ผมพูดทั้งหมดคือการ ดูองค์กรมันต้องมีคนดีแล้วมีความสุข มีระบบที่ดีต้องรู้จักว่าแค่ ไหนท�ำได้แค่ไหนท�ำไม่ได้ ก า ร ท� ำ ง า น ภ า ย ใ ต ้ ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง : ป ั ญ ห า แ ล ะ อุ ป ส ร ร ค ใ น ก า ร พั ฒ น า ผู ้ บ ริ ห ารการศึ ก ษา ผมไม่ได้เอา ๓ ห่วงแล้วมาเอา ๒ เงื่อนไขตาม ต้องเอา เงื่อนไขขึ้นในความคิดผมนะ ๑.คือคนในองค์กรต้องมีความสุข ต้องมีความรู้ต้องมีความสามารถต้องเป็นมืออาชีพ ๒.คือมือ อาชีพอย่างเดียวไม่ได้ ระบบคุณธรรมต้องมี คนต้องซื่อสัตย์ แล้วคุณค่อยมาวางแผนในการท�ำงานผมท�ำเป็นตัวอย่างผมก็ทำ� 62

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ไม่สามารถพัฒนาทุกคน เราให้บริการได้ เช่น คุณจะลงต�ำแหน่งไหนมันต้องผ่าน เงื่อนไขการพัฒนา มาพัฒนากับเรา ถ้า เป็นผู้บริหารการศึกษาเราจะพัฒนาให้ แต่ ถ ้ า เป็ น ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาหรื อ ครู ส่วนราชการเขาจะพัฒนา แต่เราจะช่วย ในเรื่ อ งของตั ว หลั ก สู ต ร ตั ว สื่ อ หรื อ รู ป แบบการพัฒนา แต่ถ้าเป็นผู้บริหารการ ศึกษา เช่น ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผอ.ส�ำนักงาน กศน.จังหวัด ผอ.ส�ำนักงาน สช.จังหวัด อย่างนี้เราจะตามหลักเกณฑ์ วิ ธี ก ารหลั ก สู ต รที่ เราก� ำ หนด แต่ ว ่ า ถ้ า เป็นทั่วไป ส�ำหรับผู้บริหารโรงเรียน ครู อั น นั้ น ส่ ว นราชการเขาพั ฒ นา มั น จะ มี แ บ่ ง แยกกั น แต่ สิ่ ง ที่ ต ้ อ งผ่ า นหน่ ว ย งานเราก็คือก่อนด�ำรงต�ำแหน่ง เช่น มี เพื่อนข้าราชการสอบเป็น ผอ.สถานการ ศึ ก ษาก่ อ นด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ต้ อ งผ่ า นการ พั ฒ นาตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก ารหลั ก สู ต ร ที่ เราก� ำ หนดอั น นี้ เรี ย กว่ า ก่ อ นด� ำ รง ต�ำแหน่ง ส่วนเรื่อง วิทยฐานะมันแล้วแต่ ว่าเป็นกลุ่มไหน

เด็กทั่วไปจะขอแบบสมาร์ทโฟนถูกไหม ครับ วันนั้นผมพาไปซื้อเซ็นทรัลลาดพร้าว เขาขอแค่โทรออกได้รับได้มีเพลงให้ฟัง หน่อยเท่านั้น จ�ำได้ว่าราคา ๑,๗๐๐ บาท ตอนนั้นซัมซุง ไอโฟนออกแล้วนะ ลูกคน นี้ไปได้ทุนของ กพ.ไปศึกษาต่อซึ่งกลับมา ผมคาดหวังว่าเขาจะเป็นข้าราชการที่ดีได้ ถ้าดูประเมินตามสิ่งที่ผ่านมา ถามว่ า ทุ ก คนต้ อ งซื้ อ เทเลโฟน แม้ แ ต่ อ งค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ท่ า นก็ ไ ม่ ไ ด้ พู ด ลอยๆ นะ ท่ า น ปฏิ บั ติ ใ ห้ ค นไทยทั่ ว ประเทศหรื อ แม้ แ ต่ ช าวต่ า งชาติ เ ห็ น ว่ า ท่ า นปฏิ บั ติ ไม่ซื้อสมาร์ทโฟน ผมว่าไม่ใช่ คนเรามัน ตั ว อย่ า งไร มี ต รงไหนที่ ท ่ า นปฏิ บั ติ ตั ว ไม่ เ ป็ น ไปตามหลั ก ปรั ช ญาของ จ�ำเป็นต่างกัน ฐานะเราก็ต้องอยู่ได้ ไม่ งั้นเป็นหนี้หมดครับ ถามว่าทุกวันนี้ครู เศรษฐกิ จ พอเพี ย งบ้ า ง ที่เป็นหนี้สินทั้งหลายอาจจะเป็นเพราะ ภ า ร กิ จ ที่ ๓ ภ า ร ะ กิ จ ก า ร พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้นี้ไปแปลงสู่ เรื่องอย่างนี้ด้วยไหม อาจจะเป็นหรืออาจ สนั บ สนุ น หน่ ว ยงานทั้ ง หลายที่ ม าใช้ การปฏิบัติทุกเรื่องครับ เช่น ถ้าเราแนะน�ำ จะไม่ เ ป็ น แยกระหว่ า งความส� ำ คั ญ กั บ บริ ก ารเรา เราสนั บ สนุ น ขาดสื่ อ อะไร ครู ครูไปใช้ในการท�ำงานได้ไหม ครูไปใช้ ความจ�ำเป็นกับความต้องการให้ออก ถ้า เราช่ ว ยเหลื อ ดู แ ลได้ ทุ ก สถานศึ ก ษา กับลูกที่บ้าน ครอบครัวที่บ้านได้ไหม จ�ำเป็นแต่ฐานะมันไม่เอื้อมันก็ต้องชะลอ เรายิ น ดี ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น หลั ก สู ต รสื่ อ ที่ ทุกวันนี้เทคโนโลยีมันเยอะ เด็ก ก่ อ น ถ้ า บอกจะใช้ อิ น เตอร์ เ น็ ต ก็ ใช้ ใ น เรามี รูปแบบพัฒนาที่เรามีเราส่งต่อให้ ทุกคนขอ ซัมซุง ไอโฟน ไปท�ำให้เขารู้ว่า สถานศึกษาก็ได้ผมว่าทุกสถานศึกษาเขา วิท ยากรถ้ าขอมาเรามีให้นะครับ อัน นี้ มันจ�ำเป็นแค่ไหน ไม่ใช่ว่าพูดเพราะเรามี มีให้ใช้ ไปใช้ที่อื่นก็ได้ถ้าเรายังไม่พร้อม เป็ น เพี ย งวิ ธี ก ารแต่ ที่ ผ มให้ ค วามสนใจ โอกาสก็พูดได้ ผมท�ำได้อย่างลูกชายผม สิ่งเหล่านี้จ�ำเป็นนะ ถ้าครูไม่เป็นตัวอย่าง ก็ คื อ เนื้ อ หามากกว่ า เนื้ อ หาทั้ ง หลาย ตอนเรียนวิศวะมหาวิทยาลัยเกษตร ปี ๓ ไม่เป็นเยี่ยงอย่างสอนนักเรียนแทบตาย ใจผมเองพยายามเอาสิ่งที่ผมเคยคิดเคย แล้วนะเขาอยากได้โทรศัพท์ก็ถามเขาว่า ก็ไม่เกิดครับ สิ่งที่ผมก�ำลังจะสื่อสารคือ ท� ำ ประสบความส� ำ เร็ จ ต้ อ งใส่ เข้ า ไปใน เอาโทรศัพท์ไปท�ำอะไร ไว้คุยไว้อะไรกับ ครู อ ย่ า สอนตั ว เนื้ อ หาแต่ ค รู ต ้ อ งสอน หลั ก สู ต ร การพั ฒ นาผมจะไม่ ส บายใจ เพื่อน แล้วจะเอาโทรศัพท์แบบไหน ถ้า การประยุกต์ใช้ การน�ำหลักปรัชญาของ ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมเยียนใคร สถานศึกษา ไหน แล้ ว เวลาไปสอนเด็ ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งประกอบไปด้ ว ย ๓ ห่ ว ง ๒ เงื่อนไขหรือเวลาออกข้อสอบ ข้อใดไม่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งก็ ออกข้ อ สอบไปแต่ ผ มว่ า ไม่ ใช่ วิ ธี ก าร ต้ อ งเอาสิ่ ง เหล่ า นี้ สิ่ ง ที่ พ ระบาทสมเด็ จ

63 issue 98 March 2016


เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจ�ำวัน ใช้ในการเรียนการสอน ใช้ใน การบริ ห ารงานภายในสถานการศึ ก ษา เหมือนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่ า นทรงพระราชทาน เพราะฉะนั้ น เหนือสิ่งอื่นใด เนื้อหาของหลักปรัชญาฯ ไม่ส�ำคัญเท่าการเข้าใจแล้วเอาไปปฏิบัติ การท� ำ เป็ น ตั ว อย่ า งให้ ลู ก ศิ ษ ย์ เ ห็ น จริ ง ผมว่ากิจกรรมเหล่านี้ท�ำได้หมดเพียงแต่ แปลงใช้ให้ถูก อั น นี้ ก็ ค ล้ า ยๆ กั บ นโยบายของ รมว.ศธ. ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อันนี้ ถ้ า เที ย บกั บ เรื่ อ งของหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงผมว่าเทียบได้เป็นขั้นๆ ผมว่าท่านรัฐมนตรีว่าการเองท่านก็ต้อง คิดสิ่งเหล่านี้มานานถึงจะมาพูดอย่างเป็น รูปธรรมให้กับกระทรวงศึกษาปฏิบัติได้ ท่ านพู ด ค่ อนข้างชัด เจนในเรื่อง ของการปฏิ รู ป การศึ ก ษาเรื่ อ งของลด

เวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่ท่านจะใช้กับมัธยม ต้นก่อน ท่านก็จะน�ำร่องก่อน แต่แนว โน้มยังไงก็ต้องขยาย ถ้าเราอ่านข่าวสาร จากสถานศึ ก ษาหรื อ โรงเรี ย นที่ อ ยู ่ ต ่ า ง ประเทศเขาก็ไม่ได้เรียนเยอะนะครับ ฝ า ก ถึ ง เ พื่ อ น ค รู ใ น มิ ติ ข อ ง เศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ จ ะช่ ว ยให้ หลุ ด พ้ น จากความยากจน อย่ า เชื่ อ ผม ลองเข้ า ไปหาใน อินเตอร์เน็ต ดูว่าผู้ประสบความส�ำเร็จ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับชุมชน ระดับ หน่ ว ยราชการ หรื อ แม้ แ ต่ บ ริ ษั ท ห้ า ง ร้านที่เขาประสบความส�ำเร็จเขาใช้หลัก อะไร แทบทุกองค์กรหรือส่วนราชการ หรื อ บุ ค คลที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ เขาจะ อิงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ เพราะฉะนั้นอย่าเชื่อที่คนอื่น พูด แต่เราลองไปฟังดูว่าส่วนใหญ่เขาท�ำ 64 IS AM ARE www.ariyaplus.com

อะไรท�ำยังไง ผมเข้าใจว่าเพื่อนข้าราชการ โดยเฉพาะข้ า ราชการครู เขามี ค วามรู ้ มี ปรัชญาของหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่ อาจจะไม่แน่ใจว่าใช้ได้ไหม อย่าฟังคน อื่นพูด ดูคนที่ประสบความส�ำเร็จเขาท�ำ ใช่ไหม แล้วค่อยไปปรับ ประการที่ ส องอยากฝากครั บ อย่ า สั ก แต่ ว ่ า ท่ อ งอย่ า งเดี ย วว่ า หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น ยั ง ไง แต่ให้ไปประยุกต์ใช้ ก่อนอื่นใช้ที่ตัว เองเลย ท�ำกับตัวเอง ท�ำได้ไหม ใช้กับ ครอบครัวใช้ได้ไหม ค่อยไปใช้กับโรงเรียน ไปใช้กับสถานศึกษานั้น ถ้าตัวเองท�ำได้ ครอบครัวท�ำได้สถานการศึกษาเป็นเรื่อง ง่ายที่สุด จะสอนลูกศิษย์ให้เขายอมรับ ให้ เขานั บ ถื อ เราตั ว เองต้ อ งเป็ น แบบ อย่าง ครูท�ำได้เด็กก็เอาอย่าง ขนาดครู ยังท�ำได้เลย ผมทิ้งท้ายค�ำหนึ่งครับ เศรษฐกิจ


พอเพียงไม่ได้บอกให้ทุกคนเท่าเทียมนะครับ เศรษฐกิจพอเพียง หรือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้บอกเลยว่าคนไทย หรือเพื่อนครูทุกคนต้องเท่าเทียม ไม่มีนะครับ เพียงแต่รู้ไว้เราอยู่ ในสถานะไหน เรามีปัจจัยหรือมีเงินเดือน มีเงินทองเท่าไร เราจะว่างแผนอย่างไร ครูสองคนไม่มี ทางที่ ว ่ า ต้ อ งท� ำ เหมื อ นกั น ดู ตั ว เองเป็ น หลั ก เราใช้ เ ท่ า ที่ เรา จ�ำเป็น แต่เราก็ต้องตั้งรับด้วยนะว่าถ้าเกิดเงื่อนไขอื่นตามมา เราใช้จ่ายเยอะแล้วท้ายที่สุดเศรษฐกิจมันไม่ดีเราจะท�ำไง เรามี ตังค์เก็บไว้ใช้ในอนาคตหรือยัง หรือว่าเราทุ่มเดือนต่อเดือนหมด

ไม่เคยมีข้อไหนในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บอกให้ ทุกคนเท่าเทียม แต่ให้รู้จักตัวเอง ให้รู้จักวางแผนตัวเอง ทุกคน ต้องหาความรู้ตลอด ทุกคนต้องมีคุณธรรมประจ�ำตัว แม้แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านก็ไม่ได้พูด ลอยๆ นะ ท่านปฏิบัติให้คนไทยทั่วประเทศหรือแม้แต่ชาวต่าง ชาติเห็นว่าท่านปฏิบัติตัวอย่างไร มีตรงไหนที่ท่านปฏิบัติตัวไม่ เป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้าง นึกง่ายๆ ท�ำไมชาวต่างชาติเขายอมรับแนวพระราชด�ำริแบบนี้ แล้วเรา คนไทยเองเรามีใจตรงไหนที่เราจะไม่เชื่อ คนที่ไม่ได้อยู่ในบ้าน เมืองเราเขายังเชื่อยังนับถือ ยังเห็นว่าหลักนี้ท�ำได้ แล้วเราคน ไทยเราจะปฏิเสธท�ำไม ไม่ต้องคิดอื่นไกลครับดูการด�ำเนินพระ ราชกิจวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเราก็เห็นพระองค์ ท่านทุ่มเทขนาดไหน ขนาดพระเจ้าอยู่หัวท่านอยู่สูงสุดท่าน ยังปฏิบัติ แล้วเราคนไทยเราเป็นใครใช่ไหมครับ เราเป็นพสก นิกร เราเป็นเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน ท�ำไมเราไม่ ถือท่านเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ อันนี้อยากฝากถึงเพื่อนครู ประชาชนคนไทยทุกคนครับ.

65 issue 98 March 2016


66 IS AM ARE www.ariyaplus.com


67 issue 98 March 2016


68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


69 issue 98 March 2016


70 IS AM ARE www.ariyaplus.com


71 issue 98 March 2016


ปี ชวด

การงาน-ผู้ใหญ่หนุนหลัง คุณจะได้รับการสนับสนุนจากเจ้านายและผู้คนที่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้ แต่คุณต้องรับบทนักเรียนที่ฉลาดด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี พยายามอย่าท�ำตัวเด่นในการพูดคุย ยิ่งคุณท�ำตัวไม่โอ้อวด ได้มากเท่าไหร่ ผู้อื่นยิ่งต้องการช่วยเหลือคุณมากเท่านั้น รักษาท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตนไว้ ธุรกิจ-ความรู้คืออาวุธ โชคด้านธุรกิจในเดือนนี้อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีโอกาสใหม่ๆที่แสนวิเศษเข้ามา ตักตวงจากโอกาสที่มีตอนนี้ให้ได้ แม้ว่ามันอาจล�ำบากกว่าที่คิดในตอนแรกอยู่บ้าง อย่าลืมขวนขวายท�ำสิ่งที่จ�ำเป็นเมื่อเริ่มต้นท�ำสิ่งใหม่ๆ พยายามหาความรู้เข้าไว้ รู้ให้ ทันทุกอย่าง แม้แต่ข่าวลือก็ตาม แล้วจะเป็นผลดีต่อคุณ ความรักและความสัมพันธ์-รุกไปข้างหน้า โชคด้านความรักสดใสส�ำหรับคนปีชวด ที่จริงแล้วนี้คือสุดยอดเดือนส�ำหรับการแต่งานให้ ค�ำมั่นรัก หรือสานความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งขึ้น คุณมีโชคฟ้าประทานอยู่เคียงข้าง นั่นหมายความว่าพลังจักวาลเข้าข้างคุณอย่างดียิ่ง จงรุก เดินหน้าและพูดในสิ่งที่ยังไม่เคยได้พูดออกไป การศึกษา-ได้ผู้ชี้น�ำที่ดี เดือนนี้ คุณคุณจะโชคดีมาในด้านผู้ชี้น�ำ ตอนนี้อาจถึงเวลาที่คุณจะตั้งใจมองหาบุคคลที่เหมาะสม คุณจะได้รับ ผลดีคุ้มค่าหากลองพยายามดู

ปี ฉลู

การงาน-สานร้าวเก่า จงใช้มนุษย์สัมพันธ์ของคุณเพื่อความก้าวหน้า คุณมีความคิดเฉียบแหลมและตอนนี้ก็ได้เวลาที่ จะแสดงความคิดเห็นที่คุณมี แม้ว่าอาจต้องรับมือกับความอิจฉาริษยาเล็กๆน้อยๆบ้าง แต่มันจะหมดไปเองหากคุณ สามารถเอาชนะใจคู่แข่งของคุณและเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นเพื่อนได้ ธุรกิจ-รักษาความสนใจไว้ ใช้ความสามารถในการติดต่อของคุณให้เป็นประโยชน์ ตอนนี้เป็นเวลาที่การเป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมจะ ให้ผลดีแก่คุณ โอกาสดีๆจะมีเข้ามาโดยไม่คาดคิด แต่คุณจ�ำเป็นต้องมองหาสักหน่อยเวลาที่น่าตื่นเต้นรอคอยคนปีฉลูที่สามารถรักษา ความกระตือรือร้นในสิ่งที่คุณเริ่มลงมือท�ำได้ตลอด ความรักและความสัมพันธ์-แสดงความรักให้เต็มที่ ชีวิตรักของคุณก้าวไปไกลและเสน่ห์ตามธรรมชาติของคุณก็ปรากฏให้เห็นอย่าง ง่ายดาย ความสดใสร่าเริงของคุณดึงดูดให้ผู้อื่นเข้ามาหาคุณ คนปีฉลูที่มีความมั่นใจก็จะสามารถพบรักแท้ได้ในเดือนนี้ อย่าลังเลที่จะ เป็นฝ่ายน�ำในความสัมพันธ์หากคุณเป็นคนน�ำหน้า คุณจะได้พบกับช่วงเวลาที่แสนวิเศษ การศึกษา-หาจุดที่พอดี เด็กปีฉลูจะได้รับผลดีจากดาวแห่งการศึกษาในเดือนนี้ จงใช้ช่วงเลาที่ดีเยี่ยมนี้เพื่อแจ้งเกิดด้านวิชาการพยายาม ให้มากขึ้นกับงานที่โรงเรียน เพราะคนปีฉลูที่ตั้งใจจะได้รับผลดีอย่างง่ายดาย แต่ก็อย่าให้สิ่งไม่ดีเข้ามีอิทธิพลเหนือคุณได้

ปี ขาล

การงาน-สร้างพันธมิตร ชีวิตการงานน่ารื่นรมย์และยังส่งสัญญาณที่ดี คุณเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดีและบางคนอาจ กลายเป็นเพื่อนที่ดีของคุณด้วยซ�้ำจงใช้เวลานี้ท�ำความรู้จักคนที่ร่วมงานด้วยให้ดียิ่งขึ้นไปรับประทานมื้อเที่ยงด้วยกัน นัดกันนอกที่ท�ำงาน บอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัว คุณจะสามารถเปิดเผยได้มากขึ้นอีกนิดพลังงานในเดือนนี้ให้ผลดีแก่คุณ ธุรกิจ-สิ่งส�ำคัญอยู่ที่ความสัมพันธ์ ลู่ทางด้านธุรกิจสดใสดีส�ำหรับคนปีขาล คุณพูดโน้มน้าวได้ดีมากจริงๆการเจรจาต่อรองทุกรูปแบบ จึงมีแนวโน้มที่จะเข้าข้างคุณ คุณจึงกล้าได้เมื่อน�ำเสนอโครงการโชคด้านความส�ำเร็จก็ดูดี แต่จ�ำไว้ว่าทั้งหมดนี้ล้วนมาจากความสัมพันธ์ อันดีกับผู้อื่น คุณต้องให้คุณค่าต่อความสัมพันธ์เหนือสิ่งอื่นใดในเดือนนี้ ความรักและความสัมพันธ์-ลืมโลก เดือนที่ยอดเยี่ยมส�ำหรับผู้ที่มองหารัก อย่าเอียงอายที่จะแสดงความรู้สึก ตัวตวงจากพลังจากพลัง รักดอกท้อให้เต็มที่และปล่อยให้ตัวคุณเคลิบเคลิ้มจนลืมโลก โอกาสแห่งความรักจะปรากฏขึ้นในสถานการณ์ที่คุณไม่คาดคิดเลย ดังนั้น คนโสดปีขาลควรเปิดใจไว้ แต่คนปีขาลที่แต่งงานแล้วควรต้องระวังความเสี่ยงจากการนอกใจ การศึกษา-ยอดเยี่ยม ดาวแห่งการศึกษาจะส่งพลังมงคลมาที่คุณ คนปีขาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงผลดีจากพลังงานในเดือนนี้ 72 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน-โอกาสใหม่ มีโอกาสใหม่ๆเปิดทางในด้านการท�ำงาน พร้อมกับการเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นในอนาคต คน ปีเถาะบางคนอาจได้รับข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งอาจเข้ามาในหลายลักษณะ ทั้งการโยกย้ายต�ำแหน่งงาน ต�ำแหน่งที่บริษัทอื่นเสนอมาให้ การเลื่อนขั้น ย้ายแผนก หรืออาจเป็นอะไรที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ธุรกิจ-สัญญาณที่ดี โชคด้านความมั่งคั่งดูสดใสส�ำหรับคนปีเถาะ ประจวบเหมาะกับโอกาสที่น่าตื่นเต้นซึ่งก�ำลังจะเข้ามาหาคุณ จงเชื่อ สัญชาตญาณของตัวเองเมื่อตัดสินใจ คุณอาจปรึกษากับผู้ที่คุณนับถือบ้าง แต่หากความคิดเห็นต่างกัน ให้เชื่อความรู้สึกของคุณเอาไว้ ก่อน ไม่จ�ำเป็นต้องขอความคิดจากคนอื่นมากเกินไปในทุกเรื่องที่คุณท�ำ ความรักและความสัมพันธ์-เวลาที่แสนสุข ความรักอบอวลไปทั่วส�ำหรับคนปีเถาะที่อยู่ในห้วงรัก ให้เวลากับชีวิตคู่และความสัมพันธ์ ของคุณให้มากขึ้นคุณจะได้รับผลดีอย่างยิ่งหากใส่ใจกับชีวิตรัก คนปีเถาะที่แต่งงานแล้วจะสามารถพึ่งพิงคู่ครองของคุณได้ หรือแม้แต่ รับความท้าทายใหม่ๆร่วมกันได้ คนโสดปีเถาะที่ก�ำลังหารักจะพบว่าคุณมองหาคู่ที่เข้ากันได้ในระดับความคิด การศึกษา-มีแรงกระตุ้น คนปีเถาะที่ทุ่มเทพยายามให้กับการเรียนอย่างจริงจังจะได้เห็นผลอย่างรวดเร็ว และความส�ำเร็จนี้จะผลักดัน ให้คุณดียิ่งขึ้นอีกตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ เพราะคุณจะประสบความส�ำเร็จได้มากมายในเดือนนี้

ปี มะโรง

การงาน-ก้าวหน้าอย่างงดงาม คุณก�ำลังก้าวหน้าไปได้สวยในด้านการงาน ท�ำทุกอย่างให้เป็นระบบระเบียบไว้เสมอ เมื่อมีอะไรมากมายเกิดขึ้น คุณอาจพบว่าตัวเองต้องกระโดดจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่อง จนอาจท�ำให้งานไม่เสร็จหรือดูไม่ น่าเชื่อถือ คุณก�ำลังเป็นที่หน้าจับตามอง จึงต้องพยายามท�ำทุกสิ่งให้ได้ดีที่สุด ธุรกิจ-ได้เปรียบจากความยืดหยุ่น โชคด้านธุรกิจเองก็ดี เมื่อผลลัพธ์จากสิ่งที่คุณท�ำปรากฏขึ้นค่อนข้างทันใจ จงท�ำตัวให้พร้อมที่จะ พลิกแพลงและปรับเปลี่ยนทิศทางให้รวดเร็วในยามจ�ำเป็น ยิ่งคุณปรับตัวได้ดีมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้น ความรักและความสัมพันธ์-รักที่ยั่งยืน ในด้านรักชีวิตรัก สิ่งต่างๆ จะเร่าร้อนยิ่งขึ้นส�ำหรับคนโสดปีมะโรง คุณไวและตอบสนองมาก ขึ้นต่อคนที่เข้ามาหาคุณ ทั้งความสนใจที่ได้รับจากคนที่สนใจคุณก็ท�ำให้คุณอยากรู้อยากเห็นคุณมีเวลาและพลังที่จะทุ่มเทให้กับการ คบหา ซึ่งคนปีมะโรงส่วนใหญ่ก็เป็นฝ่ายแสวงหาเองด้วยซ�้ำ การศึกษา-เป็นที่ชื่นชอบ คุณอาจพบว่าชีวิตสังคมส�ำคัญต่อคุณมากที่สุด สนุกกับงานเลี้ยงสังสรรค์ได้บ้าง แต่ก็ต้องรักษาความพอดี ในชีวิตไว้ด้วยเด็กปีมะโรงอาจใช้เวลานี้เพื่อขยายแวดวงเพื่อนของคุณและหากลุ่มใหม่ๆ เพื่อคบหาด้วย

ปี มะเส็ง

การงาน-เร่งให้ทัน ชีวิตการงานคงยังวุ่นต่อไป เมื่อสิ่งที่ต้องรับผิดชอบยังมีมากมาย ทันทีที่งานชิ้นหนึ่งเสร็จ งาน ต่อไปก็เข้ามาทันที ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนปีมะเส็งผู้ซึ่งตั้งใจไขว่คว้าความส�ำเร็จในด้านอาชีพจะได้เห็นงานกองสูงขึ้น เรื่อยๆ แต่คุณจะมีความสุขกับงานที่ยุงสิ่งต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจ-เจรจาได้ส�ำเร็จ เวลาดีส�ำหรับการเจรจาตกลง คุณก�ำลังรู้สึกว่าเหมือนมีบางสิ่งน�ำทาง และคุณก็จะได้รับผลดีเมื่อผู้อื่นรับฟัง สิ่งที่คุณพูด หากคุณวางแผนยื่นข้อเสนออย่างรอบคอบ คุณก็จะเจรจาค้าสัญญางามๆได้ไม่อยากจงใช้โอกาสที่มีเข้ามาในชีวิตของคุณ ท�ำความรู้จักกับผู้คนใหม่ๆ ที่คุณพบตามงานต่างๆ อย่าขี้เกียจเข้าสังคม เพราะโอกาสทองคุณอาจปรากฏขึ้น ความรักและความสัมพันธ์-ได้ดังใจ คุณก�ำลังอยู่ในช่วงที่ดีท่ีสุดและเสน่ห์ของคุณก็ล้นเหลือในสายตาของผู้อื่น แม้ว่าคุณอาจเคลิบเคลิ้ม ไปบ้างกับความน่าตื่นเต้นชั่วคราว แต่สิ่งที่คุณได้จริงคือโอกาสที่จะคบหากันให้ยาวนาน แม้ว่าคนปีมะเส็งจะมีเสน่ห์สะกดสายตาและ มักดึงดูดคนที่ไม่เหมาะสมเข้าตา แต่ลึกๆ แล้วคุณเป็นคนต้องการครอบครัว การศึกษา-ทุกสิ่งเสร็จลงได้ การท�ำงานผลงานให้ได้ดีอยู่เสมอช่วยให้คุณมีเวลาเพื่อท�ำสิ่งที่คุณเองสนใจ จงใช้โอกาสนี้เพื่อขยายการศึกษา ของคุณออกไปให้กว้างกว่าแค่หลักสูตรที่โรงเรียน แล้วจะเป็นผลดีต่อประวัติการศึกษาของคุณเมื่อสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยภายหลัง 73 issue 98 March 2016


ปี มะเมีย

การงาน-อุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ คุณอาจต้องพบกับความผิดหวังบ้างเล็กน้อยในที่ท�ำงาน สิ่งที่ควรท�ำที่สุดคือกล�้ำกลืน ยอมไปก่อนหากจ�ำเป็น ยังไม่ควรลุกขึ้นท้าทายในที่ท�ำงาน คุณไม่มีโชคแห่งชัยชนะคอยหนุนหลังจึงควรระงับความ ฮึกเหิมของคุณไว้และรอจนถึงเวลาที่ดีกว่าเสียก่อนแล้วจึงค่อยต่อสู้เพื่อสิ่งใดก็ตามที่คุณเชื่อ ธุรกิจ-อย่าตื่นตูม ท�ำทุกอย่างให้เรียบง่ายไว้ และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญหรืออะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะการณ์ ที่อ่อนไหวดังเช่นสุภาษิตที่ว่า หากอะไรยังใช้ได้ ก็ตามไปแก้ไขมัน ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาดีที่จะลงทุนหรือขยับขยาย ชะลอข้อเสนอและ การน�ำเสนองานที่ส�ำคัญไว้ก่อนจนถึงเดือนหน้า ความรักและความสัมพันธ์-น่าเหนื่อยใจ ชีวิตรักของคุณอาจประสบปัญหาในเรื่องอารมณ์ อย่าให้ความเข้าใจผิดมาคั่นกลางคุณกับ คู่รักได้ อาจมีคนนอกที่ได้ประโยชน์จากการที่พวกคุณทะเลาะกัน หาทางสานรอยร้าวด้วยมิตรไมตรี อย่าให้ความโกรธเอาชนะคุณได้ หากตัดเรื่องอารมณ์ออกไปจากการโต้เถียงกันของพวกคุณ คุณจะพบว่าแทบไม่มีอะไรเลยที่ควรเป็นเรื่องให้ทะเลาะกัน การศึกษา-ขาดพลัง ระดับพลังงานที่ต�่ำอาจท�ำให้คุณยากจะตั้งสมาธิ แต่ก็ไม่ควรให้ถึงกับท�ำการบ้านตามไม่ทัน หากไม่สามารถท�ำงาน เสร็จได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ควรพูดคุยกับครู และท่านอาจช่วยคุณหาทางออกที่ดีได้

ปี มะแม

การงาน-การเมืองในองค์กร ระวังการเมืองในที่ท�ำงาน ทุกอย่าอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นจึงอย่าได้แปลกใจหากคุณถูก ใครบางคนที่คุณมองว่าเป็นเพื่อนหลอกใช้คุณ ยิ่งหากคุณท�ำงานในสภาพแวดล้อมที่ใหญ่และมีความเป็นองค์กรสูงมาก การแข่งขันเพื่อให้เป็นที่โปรดปรานของเจ้านายหรือเพื่อให้ได้เลื่อนต�ำแหน่งอาจดุเดือดยิ่งขึ้น ธุรกิจ-อยู่เฉยๆไว้ก่อน นี่คือเดือนที่อยู่เฉยๆไว้ดีที่สุด ไม่ควรเข้าสังคมมากนักหรือท�ำตัวโดดเด่นเกินไป ไม่จ�ำเป็นต้องดูดความสนใจมา ที่ตัวคุณ ยิ่งหากคุณก�ำลังไปได้สวย อย่าหาเหตุให้ผู้อื่นรู้สึกอิจฉาคุณเพราะความอิจฉากระตุ้นให้คู่แข่งท�ำอะไรที่คาดไม่ถึงได้ และใน เดือนนี้บริษัทที่เป็นคู่แข่งอาจกลายเป็นศัตรูร้ายได้ที่เดียว ความรักและความสัมพันธ์-ไม่มีอะไรพิเศษ โชคในด้านความรักส�ำหรับคนปีมะแมไม่ได้หน้าตื่นเต้นเหมือนคนอื่นๆดาวหมายเลข 7 น�ำ พลังแห่งความเป็นศัตรูเข้ามาส่งผลต่อความสัมพันธ์ทั้งหมดที่คุณมีด้วยความไม่เชื่อใจ ส�ำหรับคนโสดปีมะแมที่ต้องการความส้มพันธ์ที่ จริงจัง ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะรุกฆาต การศึกษา-ไม่ยอมลงให้ เดือนนี้คุณจะพบว่าตัวเองไม่ยอมลงให้ครูอาจารย์ สิ่งที่ไม่ควรท�ำที่สุดคือการเถียงตรงๆ เรื่องราวอาจบานปลาย และส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีที่คุณได้สร้างมาอย่างระวัง อย่าให้ความคิดที่ขัดแย้งกันเพียงเรื่องเดียว

ปี วอก

การงาน-ดาบสองคม คุณจะถูกคาดหวังมาก ซึ่งก็อาจเป็นทั้งเรื่องดีและไม่ดี ความคาดหวังจะช่วยรีดผลงานของคุณ ได้มากขึ้น และหากท�ำได้คุณก็มีโอกาสจะได้เป็นดาวเด่น แต่หากล้มเหลว ความผิดหวังก็รุนแรงได้ไม่แพ้กัน คุณอาจ พบว่าตัวเองต้องเผชิญกับปริมาณงานมหาศาล ธุรกิจ-หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ทางที่ดีเดือนนี้ควรนี้ควรท�ำตัวไม่ให้เป็นจุดสนใจ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงไว้ โดยเฉพาะในเรื่องเงินทอง เพราะ คุณอาจสูญเสียมากดาวหมายเลข 7 น�ำมาซึ่งความสูญเสีย โดยเฉพาะในเรื่องเงินตอนนี้จึงเป็นเวลาที่ไม่ดีเอาเสียเลยส�ำหรับการลงทุน ระวังคนที่ไม่รู้จักซึ่งเข้ามาพร้อมขอเสนอที่ดูดีเกินจริง ความรักและความสัมพันธ์-ไม่เชื่อใจกัน อาจมีปัญหาก่อตัวขึ้นในความสัมพันธ์ ท�ำให้คุณกับคู่รักไม่เชื่อใจกัน คุณก�ำลังหวาดระแวง จึงยากที่คุณจะไว้ใจทุกคน แต่หากคุณเริ่มระแวงคู่ครอง ความสัมพันธ์ของคุณก็อาจตึงเครียดได้ ระวังมือที่ 3 ที่มีเจตนาสงสัย ผู้ที่เข้า มาระหว่างที่คุณผิดใจกันแล้วสร้างปัญหาให้ความความสัมพันธ์ของคุณ การศึกษา-ปั่นป่วน พลังงานในเดือนนี้ปั่นป่วน คุณอาจสูญเสียความมั่นใจอย่างกะทันหันจากสิ่งที่ไม่มีพิษภัย เช่น ค�ำพูดลอยๆของเพื่อน ในชั้นเรียนหรือครู ทุกอย่างจะดีคุณไม่เก็บสิ่งต่างๆมาเป็นอารมณ์และเรียนรู้ที่จะท�ำได้ดีหากคุณไม่เก็บสิ่งต่างๆแทนที่จะรู้สึกเจ็บปวด 74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน-สร้างไมตรี ส�ำหรับคนปีระกาหลายคนเมื่อปีใหม่เริ่มต้น นี่คือการเริ่มต้นใหม่ ปีที่ผ่านมาอาจไม่ราบรื่นอย่าง ที่คุณต้องการ แต่เมื่อคุณเข้าสู่ปีวอกนี้ คุณจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง พละก�ำลังของคุณกลับคืนมา และพลังใจใหม่ ก็ช่วยให้คุณจดจ่อกับเป้าหมายสูงสุดที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ธุรกิจ-ความสัมพันธ์นั้นส�ำคัญ คุณจะก้าวหน้าได้มากขึ้นหากคุณสร้างมิตรไมตรีกับผู้ร่วมงานแทนที่จะเอาแต่สนใจตัวเลขและข้อมูล อันที่จริงคุณอาจจะได้หรือชวดสัญญาเพียงเพราะมีใครชอบคุณและท�ำงานร่วมกับคุณได้ ใส่ใจความสัมพันธ์ที่มีให้มากขึ้น คุณมีความ สามารถอย่างยิ่งที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดี และความสามารถนี้ก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าในเดือนนี้ ความรักและความส้มพันธ์-หัวใจสั่ง ดาวโชครักดอกท้อคู่ท�ำให้อารมณ์ของคุณโรแมนติกเป็นพิเศษและแม้ว่าคนปีระกาแทบจะไม่ยอม ให้หัวใจน�ำทาง แต่ในเดือนนี้คุณจะเปลี่ยนไป ขอให้สนุกกับการหว่านเสน่ห์ให้ห้วงรักแต่อย่ารีบกระโจนเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่อาจส่งผล เสียต่อสิ่งอื่นๆในชีวิตของคุณ การศึกษา-ดาวแห่งการศึกษา เด็กปีระกาเองก็จะได้รับผลดีจากโชคด้านการเรียนที่ดาวหมายเลข 4 น�ำมาให้จงทุ่มเทความพยายามให้ มากขึ้นกับงานที่ท�ำ แล้วคุณจะรู้สึกเหมือนได้พบขุมทรัพย์แห่งข้อมูล ช่วยให้คุณท�ำได้ดีเยี่ยมในทิศทางที่คุณจะรู้สึกตื่นเต้นได้อย่างแท้จริง

ปี จอ

การงาน-ท�ำสุดก�ำลังของตัวเอง แทนที่จะมัวแต่สนใจว่าทุกคนท�ำอะไรกันอยู่ คุณควรใส่ใจงานของคุณและความ สามารถของคุณให้มากขึ้นดีกว่า อย่าใช้คนอื่นเป็นมาตรวัดเทียบผลการท�ำงาน ความสามารถ และความส�ำเร็จของ คุณ จงเปรียบเทียบกับตัวเองแทน หากคุณเอาแต่ช�ำเลืองมองว่าคนข้างๆก�ำลังท�ำอะไรก็ยิ่งท�ำให้คุณหลงไปกับสิ่งที่ไม่ส�ำคัญ ธุรกิจ-ซุ่มเงียบสักพัก เดือนที่เป็นอันตรายเป็นพิเศษต่อนักธุรกิจปีจอที่มีชื่อเสียงและคนที่อยู่ในแวดวงการเมือง ชื่อเสียงของคุณเสี่ยง ที่จะเสื่อมเสียเพราะการนินทา คุณต้องใช้ความฉลาดเอาชนะศัตรูแทน รักษาหลักการของคุณไว้และคิดให้รอบคอบก่อนตอบโต้ ความรักและความสัมพันธ์-มีความสุข โชคด้านความรักดีกว่าด้านเงินในเดือนนี้ แต่น่าจะเป็นเฉพาะกับผู้หญิงปีจอเสียมากกว่า แม้ว่า คุณอาจยังมีนิสัยชอบโต้เถียงแต่คุณจะดูน่ารักและมีเสน่ห์อย่างที่สุดในสายตาของคนที่ชอบคุณคนปีจอโดยเฉพาะผู้หญิง จะมีเสน่ห์ชวน หลงใหลที่ท�ำให้คนที่ชอบคุณหลงหัวปักหัวป�ำได้ คนที่หลงเสน่ห์คุณเช่นนี้จะมองข้ามข้อบกพร่องทั้งหมดของคุณได้ การศึกษา-เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เด็กปีจอร่าเริงและดื้อรั้น ทั้งมักจะกระตือรือร้นมากกับแทบทุกสิ่ง ดังนั้นคุณจึงเป็นที่ชื่นชอบทั้งของเพื่อนๆ และผู้ใหญ่ คุณชอบที่จะเรียนรู้ การสอนคุณจึงเป็นเรื่องสนุก แต่ความกระตือรือร้นของคุณอาจรุนแรงเกินไป และน�ำอันตรายมาให้เช่น ในเดือนนี้ ยิ่งหากคุณเล่นกีฬาอันตรายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักก็ควรระวังให้มากขึ้นเมื่อลงสนามแข่ง

ปี กุน

การงาน-ผลงานน้อยลง คุณอาจพบว่าคุณท�ำผลงานได้น้อยลงในที่ท�ำงานและเมื่อคุณเริ่มพบว่าตัวเองมีเวลามาก เกินไป ตอนนี้เป็นเวลาที่มิตรในหมู่เพื่อนร่วมงานอาจช่วยคุณได้โดยรับงานแทนตอนที่คุณไม่แข็งแรงพอที่จะท�ำงาน ทั้งหมดบางทีคุณน่าจะวางแผนไปเที่ยวพักผ่อนไกลๆ สักสองสามวันเพื่อพักสมองและพักฟื้นจากความเหนื่อยล้า ท�ำงาน-อย่างฉลาด โชคด้านธุรกิจอาจไม่ถึงกับแย่นักในแง่ของการเงินและรายได้ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ประจ�ำหลั่งไหลเข้ามา คุณก็ยัง อาจเสียเงินระวังค่าใช้จ่ายของคุณให้ดี แล้วคุณจะรักษาเงินได้อีกมากด้วยการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จ�ำเป็น อย่ารีบอยากเปิดขวดแชมเปญ ฉลองเร็วเกินไปในทุกครั้งที่ชนะในเรื่องเล็กๆน้อยคอยคิดถึงภาพใหญ่เอาไว้ ความรักและความสัมพันธ์-ดื่มด�่ำ โชคด้านความรักเดือนนี้อยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าความเหนื่อยล้าอาจเล่นงานคุณในด้านการงาน แต่นั่น ไม่ใช่ปัญหาส�ำหรับคนโสดปีกุนที่ก�ำลังมองหารัก สิ่งต่างๆเร่าร้อน ทั้งความสัมพันธ์ของคุณก็จะหวานดูดดื่มได้มากเท่าที่คุณต้องการคุณ จะเป็นฝ่ายเหนือกว่าในทุกความสัมพันธ์ที่คุณมี แต่คุณอาจไม่อยากผูกมัดในตอนนี้ หากยังไม่แน่ใจ ทางที่ดีควรรอไปก่อนจนถึงเดือนหน้า การศึกษา-ความพอดี คุณสามารถก้าวหน้าไปด้วยดีแต่แทนที่จะทุ่มเทความพยายามให้กับการเรียนมากขึ้น คุณควรเรียนรู้ที่จะใช้เวลา เรียนของคุณท�ำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยการพักผ่อนในแต่ละคืนให้เพียงพอและพยายามใช้ชีวิตที่สมดุล 75 issue 98 March 2016


“เทิดด้วยท�ำ” ฉบับ ว.วชิรเมธี

เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๑๔ กุ ม ภาพั น ธ์ ที่ ผ ่ า นมา มี โ อกาสพาน้ อ งๆ เยาวชนครอบครั ว พอเพี ย งทั้ ง ใน กรุ ง เทพมหานครและต่ า งจั ง หวั ด กว่ า ๓๐๐ คน ไปศึ ก ษาเรี ย นรู ้ แ ละลงมื อ ท� ำ ตามแนวพระราชด� ำ ริ ในการ ฟื ้ น ฟู ดู แ ลรั ก ษาทรั พ ยากรดิ น น�้ ำ ป่ า และสิ่ ง แวดล้ อ ม ในกิ จ กรรม “เทิ ด ด้ ว ยท� ำ ” ซึ่ ง มู ล นิ ธิ อุ ท กพั ฒ น์ ใน พระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ร่ ว มกั บ พั น ธมิ ต รจากภาครั ฐ และภาคเอกชนจั ด ขึ้ น เพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ ป ระชาชนร่ ว มศึ ก ษา ดู ง านตามแนวพระราชด� ำ ริ แ ล้ ว ลงมื อ ท� ำ ณ สนามเสื อ ป่ า ดีๆ นี้ ส่งต่อให้ถึงเยาวชนครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศที่ไม่มี โอกาสมาร่ ว มงาน เพราะเห็ น ว่ า เป็ น ประโยชน์ ใ นการเสริ ม สร้างทัศนคติที่ดีในการด�ำเนินชีวิต โดยเฉพาะในสังคมที่มีแต่ คนพูดและแสดงออกในสัญลักษณ์ต่างๆ มากมาย แต่ไม่มีคน ท�ำ เนื้อหาต่อไปนี้คือบทเทศนาในหัวข้อ “เทิดด้วยท�ำ” ฉบับ ว.วชิรเมธี ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อน้องๆ มากที่สุดหากน�ำไปปรับ ใช้ในแบบของตัวเองต่อไป

นอกจากกิจกรรมสนุกสนานแฝงสาระความรู้แล้ว ไฮไลท์ ของงานนี้คือการขึ้นเทศนาในหัวข้อ “เทิดด้วยท�ำ” ของพระ อาจารย์ ว.วชิรเมธี ชี้ให้เห็นถึงการแสดงออกในความรักที่ถูก ต้อง โดยน�ำเอาสิ่งที่ดีของคนที่เรารักหรือเคารพบูชามาเป็นแบบ อย่างในการกระท�ำ อันเป็นสิ่งที่ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ควรท�ำความเข้าใจให้ถูกต้องเนื่องในวันแห่งความรัก งานนี้ “ป้ามุก” รีบให้ทีมงานช่วยบันทึกเทปบทเทศนา 76

IS AM ARE www.ariyaplus.com


บทความพิ เ ศษ เทิ ด ด้ ว ยท� ำ : ว.วชิ ร เมธี ขุ ม ทองกลางกองขยะ ...ห่ ว งที่ สุ ด คื อ ห่ ว งพระ เพราะ พระต้ อ งเป็ น สถาบั น ตั ว อย่ า งทาง จริ ย ธรรมของสั ง คม ถ้ า พระไม่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งทางจริ ย ธรรมให้ สั ง คม สั ง คม จะไม่มีหลัก นี่คือพระราชวิสัยทัศน์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็น มากี่ ป ี แ ล้ ว เพราะพระหนึ่ ง รู ป ถ้ า เป็ น พระที่มีคุณภาพจริงๆ จะท�ำประโยชน์ให้ มหาศาล ลูกคิดถึงท่านพุทธทาส สิ คิดถึง หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ สิ คิดถึงหลวง พ่อชา สุภัทโท สิ พระหนึ่ ง รู ป ถ้ า เป็ น นั ก ปราชญ์ ราชบั ณ ฑิ ต ทรงศี ล ทรงธรรมขึ้ น มาแล้ ว พระราชามหากษั ต ริ ย ์ ก็ เ คารพศรั ท ธา เป็ น ที่ พึ่ ง ทางใจของประชาชนคนทั้ ง ประเทศ และไม่ใช่พึ่งเป็นเทอมๆ เหมือน นักการเมืองนะ นักการเมืองเทอมนี้พึ่งได้ เทอมหน้าพึ่งไม่ได้ สมัยแรกพึ่งได้ สมัยที่ สองพึ่งไม่ได้ แต่พระถ้าดีขึ้นมาหนึ่งรูป โยมพึ่งไปเถอะ พึ่งไปจนท่านมรณภาพ ท่านมรณภาพแล้วลูกศิษย์ก็จะสร้างเจดีย์ เอาไว้ เ ป็ น ที่ ก ราบสั ก การะบู ช าเหมื อ น เจดีย์หลวงปู่มั่น เจดีย์หลวงปู่แหวน เจดีย์ หลวงปู่ชา เจดีย์หลวงตามหาบัว พึ่งกัน ไปจนไม่รู้กี่ร้อยปี ฉะนั้น ที่พระองค์ท่าน บอกว่ามาช่วยกันถวายความรู้ซึ่งเป็นสิ่ง ที่ส�ำคัญมาก แต่เรามองข้าม ญาติโยม ถวายสังฆทานเยอะเลย สิ่งหนึ่งที่เราลืม ไปคือการถวายความรู้ให้พระ พระได้รับ การศึกษาที่ดี พระก็จะมีพลังทางปัญญา ที่เข้มแข็ง จากนั้นก็จะเป็นผู้น�ำในชุมชน พอเป็นผู้น�ำทางชุมชนได้จะขยับจับท�ำ อะไรมันง่ายนะ บางทีชาวบ้านไปพูดปาก เปียกปากแฉะไม่มีใครท�ำอะไรเลย แต่ถ้า พระสงฆ์พูดผู้ใหญ่บอกแล้วแต่หลวงพ่อ นายกก็ บ อกแล้ ว แต่ ห ลวงพ่ อ วั น ก่ อ น พระอาจารย์เจอนายกตู่บอก “แล้วแต่

พระอาจารย์เลย” เห็นไหม นี่คือต้นทุน ทางสังคม และด้ ว ยเหตุ นี้ ท ่ า น ดร.สุ เ มธ จึงท� ำ มู ล นิ ธิ ก ารจั ด การทรั พ ยากรอย่ า ง ยั่ ง ยื น (3R) เราเปลี่ ย นขยะเป็ น ทองค� ำ นะ ให้ความรู้คนเพื่อให้เขาน�ำไปใช้ต่อ ได้ อันนี้ก็เป็นหนึ่งในการตามรอยพระ ราชด�ำริในพระองค์ท่าน ขยะเต็มบ้าน เต็มเมือง ท่านรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบทาง ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมท่านพูดว่า “ขยะในเมืองไทยเอาไปพันรอบโลกได้ ร้อยรอบ” แต่ถามว่าแล้วมีใครสนใจแก้ ปัญหาไหม พระองค์ท่านก็พระราชทาน แนวพระราชด� ำ ริ ล งมา ดร.สุ เ มธ ก็ น� ำ เรื่ อ งนี้ จ ากแนวพระราชด� ำ ริ ล งมาสู ่ พื้ น ดิน สู่การเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะทั่ว ประเทศ โดยเฉพาะร้านศูนย์บาทตอนนี้ ก�ำลังได้รับความนิยม เอาจากฟ้าลงสู่ดิน และนี่คือ “เทิดด้วยท�ำ” หยิบจับสัมผัส ได้จริงๆ อย่างเสื้อที่เราใส่ใครจะไปรู้ว่ามา จากขยะ มาจากขวดรีไซเคิล นี่ก็คือเทิด ด้วยท�ำ ขยะเต็มบ้านเต็มเมืองซึ่งเดี๋ยวนี้ เราทะเลาะกันบ่อยขึ้นนะ เพราะพอมัน เยอะจริ ง ๆ ไม่ รู ้ จ ะท� ำ ยั ง ไงก็ มี ค นแอบ ไปเผา เผาทีหนึ่งควันไป ๓ จังหวัด นี่ ไม่ใช่การแก้ปัญหา นี่คือการเพิ่มปัญหา ฉะนั้น ถ้าเราเทิดด้วยท�ำ เราก็เอาขยะ มาเปลี่ยนซะ พระอาจารย์ก็เอาแนวพระ ราชด�ำริเรื่องนี้ไปท�ำที่เชียงราย นอกจาก จะท�ำร้านศูนย์บาทแล้ว พระอาจารย์ท�ำ โครงการขึ้นมาเรียกว่า “ขุมทองกลาง กองขยะ” ตอนนี้ท�ำเอาชาวบ้านทั้งต�ำบล จากเดิมซึ่งอยากจะทิ้งขยะยังไงก็ท้ิง ตอน นี้เก็บหมด เพราะขยะเหล่านั้นถ้าน�ำมา ที่ไร่เชิญตะวัน เปลี่ยนเป็นมาม่า เปลี่ยน เป็ น ปลากระป๋ อ ง เปลี่ ย นเป็ น ข้ า วสาร ทุกคนเก็บหมด แล้วตอนนี้พระอาจารย์ ก็ลามไปที่นักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมา 77 issue 98 March 2016

ที่ไร่เชิญตะวันวันละ ๒-๓ พันคน เราก็ บอก เอานะ ขยะทั้ งหลาย ขวดน�้ำทั้ง หลายอย่ า ทิ้ ง ทุ ก อย่ า งเอามาแลกเป็ น อาหาร เป็นของกินของใช้ เครื่องอุปโภค บริโภคทั้งหมด อันนี้ก็เทิดด้วยท�ำ เปลี่ยน ขยะเป็นทองค�ำ เศษเหล็ ก ยั ง เป็ น สุ ด ยอดหุ ่ น ยนต์ เศษคนก็ ต ้ อ งเป็ น ยอดคนให้ ไ ด้ มีขยะอยู่หลายชิ้นซึ่งตอนนี้กลาย เป็ น แหล่ ง ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วไปที่ ไ ร่ เชิ ญ ตะวั น ก็ คื อ พระอาจารย์ เ อาเศษ เหล็กทั้งหมด เศษเหล็กทิ้งตามอู่รถพระ อาจารย์ไปคุยกับศิลปินว่า เศษเหล็กทิ้ง อยู่นี่ ดูป่าช้ารถสิ ไปที่ไหนเจอแต่ป่าช้า รถ แล้วป่าช้ารถที่มันชน มันเฉี่ยว มัน เป็นเศษเหล็ก มันกินพื้นที่ มันชนกันทุก วัน โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ช่วงสงกรานต์ เชื่อไหม มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่รู้กี่พันครั้ง เอาง่ า ยๆ เทศกาลหนึ่ ง มี ค นตาย ๒-๓ ร้ อ ยคน พิ ก าร ๖-๗ พั น คน แล้ ว เศษ เหล็กก็กลายเป็นถูกทิ้งอยู่ที่ป่าช้ารถ วัน หนึ่งพระอาจารย์คุยกับศิลปิน หลังจาก ที่ ม าเรี ย นรู ้ กั บ มู ล นิ ธิ 3R เราต้ อ งต่ อ ย อดนะไม่ให้เสียชื่อ ไปคุยกับศิลปิน เอา เศษเหล็กมาท�ำหุ่นยนต์ ตอนนี้เอาเศษ เหล็ ก ที่ ถู ก ทิ้ ง ตามป่ า ช้ า รถ ตามอู ่ ซ ่ อ ม รถ มาท�ำเป็นหุ่นเหล็ก พระอาจารย์ท�ำ หุ ่ น เหล็ ก ซุ ปเปอร์ ฮีโร่ ทรานฟอร์เมอร์ ซุปเปอร์แมน เทอร์มิเนเตอร์ ซึ่งพอเอา มาตั้งที่ไร่เดี๋ยวนี้มีเด็กนักเรียนมาดูงาน เกือบทุกวัน เชื่อไหมว่าพอมาถึงมีอยู่วัน หนึ่งพระอาจารย์บอกลูกมาทางนี้เดี๋ยว พระอาจารย์ จ ะน� ำ ชม พอเด็ ก เห็ น หุ ่ น ยนต์ มั น ทิ้ ง พระหมด วิ่ ง ไปถ่ า ยรู ป กั บ ซุปเปอร์แมน วิ่งไปถ่ายรูปกับทรานฟอร์ เมอร์ กับไอรอนแมน เห็นไหมว่าวัดทั้ง หลายที่มีปัญหาเยาวชนไม่เข้าวัด พระ อาจารย์ไม่บ่นอย่างนี้ พระอาจารย์ท�ำ


เอาพระราชด�ำริในพระองค์ท่าน เอาขยะนี้มาเปลี่ยนซะ ให้เป็น แรงบันดาลใจ วันก่อนมีฝรั่งมา ๓๐ คน จาก ๒๐ ประเทศ เขาก็ มา เขาบอกว่าผมไปทุกวัดเจอพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มาที่นี่ผมงง มากเจอซุปเปอร์แมน หมายความว่ายังไง “One superman is not enough” ซุปเปอร์แมนคนเดียวไม่พอที่จะกู้โลกหรอก โลกของเรามันเต็มไปด้วยปัญหา เช่นเดียวกับสังคมไทย พ่อของ เราคนเดียวไม่พอหรอกที่จะฟื้นฟูบูรณะประเทศไทย เราทุกคน ต้องมาช่วยพ่อ ถูกไหม พระอาจารย์เล่าอย่างนี้ฝรั่งเขาอึ้งมาก เขาบอกผมคิดไม่ ถึงนะ คิดว่าซุปเปอร์แมนจะมีประโยชน์เฉพาะเป็นละคร เป็น ภาพยนตร์เท่านั้น พอมาอยู่ที่นี่กลายเป็นปริศนาธรรม แล้ว เมษายนนี้คนจะไปเรียนธรรมะเยอะนะ พระอาจารย์จะเพิ่มอีก ๒ หุ่นเหล็ก ตอนนี้ท�ำแล้ว ๙๐% ศิลปินส่งมาให้ดู เราเอาไปยั่ว ในเฟสบุ๊คนิดเดียวมีคนกดไลค์เป็นหมื่น เพราะเศษเหล็กที่จะ เป็นสุดยอดหุ่นยนต์ตัวใหม่ คือ ไมเคิล แจ็คสัน และ สตีฟ จ๊อบ ที่เราใช้ไอโฟนทุกวันนี้รู้เปล่าว่าใครท�ำ นี่คือปริศนาสอนธรรม จากเศษเหล็กเศษขยะ คนทิ้งแล้วไม่มีใครสนใจ แต่พอเราเอา ขยะมาเปลี่ยนเป็นทองค�ำตามแนวพระราชด�ำริกลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว กลายเป็นอุปกรณ์สอนธรรม กลายเป็นนวัตกรรมที่ให้ แรงบันดาลใจแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ อย่ า น็ อ ตหลุ ด มีอีกคุณประโยชน์หนึ่งซึ่งพระอาจารย์ชอบมาก และ รายการโทรทัศน์ก็ไปถ่ายบ่อยมาก พระอาจารย์เอาน็อต ๓ พัน ตัวมาท�ำเป็นพระพุทธรูป น็อตเหล่านี้เอามาจากอู่ซ่อมรถ ถูก

วัดให้มันน่าเข้า แล้วความท้าทายของเราคือเราเอาเศษเหล็ก ขยะ มา ท�ำให้เป็นสุดยอดหุ่นยนต์ โดยมีปรัชญาว่า “เศษเหล็กยังเป็น สุดยอดหุ่นยนต์ เศษคนก็ต้องเป็นยอดคนให้ได้” ใครที่ท�ำอะไร ก็ล้มเหลว ไปเรียนหนังสือก็ไม่ส�ำเร็จ ท�ำธุรกิจก็เจ๊ง มีครอบครัว ก็ล่มสลาย ติดเหล้า ติดยา ติดอบายมุข ถูกชาวบ้านตราหน้า ว่าไอ้นี่เศษคน พระอาจารย์จึงเอาเศษเหล็กมาท�ำเป็นหุ่นยนต์ แล้วสอนปริศนาธรรมว่า ถ้าเศษเหล็กซึ่งไร้ค่าเหล่านี้กลายเป็น สุดยอดหุ่นยนต์ ที่บอกว่าสุดยอดหุ่นยนต์เพราะมันกลายเป็น อุปกรณ์สอนธรรม ไม่แต่เพียงเท่านั้นพอเอาไปตั้งไว้ที่ไร่มันกลาย เป็นแหล่งท่องเที่ยว แล้วตอนนี้วัดเยอะแยะเลย แล้วก็โรงเรียนหลายแห่งไป บอกศิลปินว่า ขอซื้อนะ เอาคอนเน็คชั่นไร่เชิญตะวัน ตัวหนึ่ง หลายแสนบาท จากเศษเหล็กนะ แล้วตอนนี้ศิลปินขายไปถึง ยุโรปและอเมริกา ในรีสอร์ทในโรงแรมต่างๆ เอาไปตั้งโชว์ไว้ เยอะแยะมากมาย เห็นไหมว่าเศษเหล็กกลายเป็นสุดยอดหุ่น ยนต์ ของไร้ค่ากลายเป็นของสูงค่าเพราะอะไร ก็เพราะเราแปล 78

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ทิ้งถูกขว้างอยู่ตามอู่ไปเก็บมาเป็นสิบอู่ เลย บอกศิลปินว่าเอามาล้างซะหน่อยเอา น�้ำมันออกให้หมด เอามาเชื่อมเข้าด้วยกัน กลายเป็นพระพุทธรูป พอยกตั้งที่ไร่เชิญ ตะวันตอนนี้ศิลปินต้องสั่งท�ำไม่รู้กี่องค์ ต่อกี่องค์นะ แต่ต้นแบบออริจินัลตั้งอยู่ที่ ไร่เชิญตะวัน อาตมาตั้งชื่อว่า “หลวงพ่อ น็อต” วันก่อนมีคณะ วปอ.ผู้หลักผู้ใหญ่ ทั้งนั้นเลยไปเรียนรู้ ไปเจอหลวงพ่อน็อต ถามพระอาจารย์ว่าน็อตนี่เอามาท�ำเป็น พระพุทธรูปท�ำไม สอนอะไร พระอาจารย์ ก็บอกว่าเวลาโยมเห็นน็อตทิ้งอยู่ข้างทาง ทิ้งอยู่ตามอู่ซ่อมรถมีใครยกมือไหว้บ้าง เอาเท้าเขี่ยด้วยซ�้ำถ้าเจอในอู่ซ่อมรถ พอ เอามาท�ำเป็นพระพุทธรูปคนยกมือไหว้ จนลื ม ไปว่ า เดิ ม นั้ น ท่ า นคื อ น็ อ ต สอน คติธรรม ๒ เรื่อง คือ ๑.คนเรานั้นถ้ายัง ไม่เอาธรรมะเข้าสู่ตัวเอง จะเป็นคนที่ไม่มี คุณค่า ต่อเมื่อใดน�ำธรรมะเข้ามาประดับ กาย วาจา ใจ แล้วจะกลายเป็นคนที่สูงค่า น็อตซึ่งไม่มีใครกราบ ไม่มีใครไหว้เอามา ท�ำเป็นพระพุทธรูปมีคนไหว้ทันที ๒.เมื่อ ท่านเป็นนักบริหารจะมีความหมายแฝง ว่า ถ้าคุณอยากเป็นผู้บริหารที่ประสบ ความส�ำเร็จ “ต้องอย่าน็อตหลุด” วั น ก่ อ นนายกตู ่ น็ อ ตหลุ ด ท่ า น เลยงดให้สัมภาษณ์ไปหนึ่งอาทิตย์ พระ อาจารย์ส่งไลน์ไปบอกท่าน “อย่าน็อต หลุ ด ” น็ อ ตหลุ ด แล้ ว ไม่ ส ง่ า งามใน ความเป็นผู้น�ำ ซึ่งท่านน่ารักท่านงดให้ สัมภาษณ์ไปเลย ฉะนั้นน็อตแต่ละตัวเรา อย่าไปคิดว่ามันมีประโยชน์แค่ว่าเอาไป ใส่ตรงนั้นเอาไปขันตรงนี้ ไม่ใช่หรอก รู้จัก ใช้ น็อตซึ่งเป็นของไร้ค่าเป็นเศษเหล็กอยู่ ในอู่ซ่อมรถ เป็นอุปกรณ์สอนธรรม อัน นี้สอนว่าถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่คุณต้อง “ไม่ น็อตหลุด” ถ้าคุณน็อตหลุดเมื่อไหร่มัน จะเสียงาน มันจะเสียคน สูญเสียความ ย�ำเกรง เห็ น ไหมว่ า เศษเหล็ ก ที่ ไ ร้ ค ่ า

พัฒนาขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์ ดังนั้น เศษคน ที่ไร้ค่าย่อมพัฒนาขึ้นมาเป็นยอดมนุษย์ ได้เหมือนกัน อย่ า เอาแต่ รั ก ต้ อ งท� ำ ด้ ว ย ท้ า ยนี้ ก็ อ ยากจะสรุ ป ว่ า ถ้ า เรา รั ก ใคร เราเชิ ด ชู บู ช าใคร เราเทิ ด ทู น ใคร อย่าเอาแต่รัก อย่าเอาแต่เชิดชูบูชา อย่าเอาแต่เทิดทูน เราต้องท�ำมากกว่า นั้น นั่นก็คือเรียนรู้จากคนที่เรารักเคารพ เชิดชูบูชาและเทิดทูนว่า เขาเป็นคนที่น่า ยกย่อง เป็นคนที่น่าสรรเสริญ เป็นคน ที่ น ่ า เทิ ด ทู น เป็ น คนที่ น ่ า เชิ ด ชู บู ช าขึ้ น มาด้วยคุณธรรมในข้อใด ถอดรหัสเอาดี ของท่านขึ้นมาเป็นดีในตัวเราให้ได้ เรียน รู ้ คุ ณ สมบั ติ อั น ยอดเยี่ ย มในตั ว ท่ า นมา เป็นคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมในตัวเราให้ได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเราเอาแต่ยกย่อง เอาแต่ เชิดชู เอาแต่บูชา เอาแต่ฟังทว่าไม่เคย ได้ยิน เอาแต่ดูทว่าไม่เคยมองเห็น ถ้า ท�ำเช่นนี้ ความรัก ความเชิดชูบูชาก็จะ

79 issue 98 March 2016

กลายเป็นเพียงนามธรรมที่อยู่ในอากาศ ไม่ได้ส่งผลต่อตัวเรา ไม่ได้ส่งผลต่อคนที่ เรารัก ไม่ได้ส่งผลต่อประเทศชาติบ้าน เมือง ฉะนั้นกล่าวอย่างสั้นที่สุด เรารัก ใคร เคารพใคร เทิดทูนใคร เชิดชูบูชา ใคร พยายามพัฒนาตนเองขึ้นมาให้กลาย เป็ น คนที่ น ่ า ยกย่ อ ง น่ า เชิ ด ชู บู ช า น่ า เทิดทูนเหมือนคนๆ นั้นด้วย ซึ่งตรงกับ หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่ง ทรงตรัสประทานไว้ก่อนจะเสด็จดับขันธ ปรินิพพานว่า ภิกษุทั้งหลาย ใครก็ตามมี ความเคารพ ใครก็ตามมีความรักในตัวเรา ก็ขอให้เขาคนนั้นปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติ ธรรมนั่นแหละคือผู้ที่มีความรักในตัวเรา อย่างแท้จริง ฉะนั้ น ถ้ า เรารั ก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ของเรา เอาธรรมะ ที่ พ ระองค์ ท รงท� ำ มาสู ่ ก ารกระท� ำ นี่ คื อ “เทิ ด ด้ ว ยท� ำ ” ว.วชิรเมธี


พีแอนด์จี จับมือ UN Women หนุนโครงการ HeForShe ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) หรือ พีแอนด์จี ประเทศไทย เป็นองค์กรเอกชนรายแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าร่วมโครงการระดับโลก HeForShe เพื่อประกาศถึงการสนับสนุนความเท่า เทียมทางเพศ ภายในองค์กรและกลุ่มธุรกิจ ในเครือ รวมถึงการรณรงค์ให้ผู้ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ในประเทศไทยสนับสนุนโครงการ ดังกล่าวด้วย

MONO Group คลิกดี ท�ำดี : เพาะกล้า รักษาป่ า ตามรอย “สืบ”

บริษัท โมโน เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ในเครือ MONO GROUP จัดโครงการ คลิกดี ท�ำดี : เพาะกล้า รักษาป่า ตามรอย “สืบ” พาพนักงานและอาสาสมัครจากเว็บไซต์ MThai.com ร่วมกิจกรรมเพาะเมล็ดและปลูกป่า เพื่อร่วมฟื้นฟูธรรมชาติในพื้นที่ที่ถูก บุกรุก โดยได้รับความร่วมมือจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ณ อุทยานแห่งชาติเฉลิม รัตนโกสินทร์ จ.กาญจนบุรี 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

โครงการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจ�ำปี ๒๕๕๙

ดี สามารถสร้างความตื่นตัวให้กับ หน่วยงานและข้าราชการ ทหาร ต�ำรวจ และครอบครัว รวมทั้งประชาชนทุกระดับ ได้เกิด จิตส�ำนึกในการน้อมน�ำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ ปรับใช้ในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันและการบริหาร จัดการภายในองค์กร จนประสบผลส�ำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยการประกวดแบ่ ง ออกเป็ น ๖ ประเภทคื อ ๑. ประชาชนทั่วไปที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยทหารหรือต�ำรวจ ทุกสาขาอาชีพ (ส�ำหรับในปีนี้จะเป็นการคัดเลือกผู้ที่เคยได้รับ รางวัลจากการประกวดผลงานฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ถึง ๒๕๕๘ เพื่อหาผลงานที่เป็นที่สุดแห่งปี ๒๕๕๙ (The best of year 2016) ๒. หน่วยงานต้นแบบที่น�ำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ในการปฏิบัติงาน ๓. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ ๔. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยทหารหรือต�ำรวจ ๕. ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง (ผลงานของชุมชนบริเวณบ้านพัก ในหน่วยทหารหรือต�ำรวจ) และประเภทครอบครัวข้าราชการ ที่น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปด�ำเนินชีวิต และ จะมีการประกาศผลตัดสินการประกวดประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ ทั้งนี้ผู้ชนะเลิศ ในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนรองชนะเลิศ ล�ำดับที่ ๑ จะได้ รับถ้วยรางวัลพร้อมเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท และรางวัลรองชนะ เลิศ ล�ำดับที่ ๒ ได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท รวม ทั้งหมด ๑๘ รางวัล ติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ www.rdpscc.com

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ และความมั่นคงขอเชิญร่วมประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงกองทัพไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๙ ก.พ. เวลา ๑๐.๓๐ น. พลเอก ธวัชชัย บุญศรี ผู้อ�ำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชด� ำ ริ แ ละความมั่ น คง(ศปร.) ในฐานะประธานคณะ กรรมการด�ำเนินงานจัดการประกวดผลงานตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพไทย เป็นประธานในการแถลง ข่าวการจัดประกวดผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงกองทัพไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๙ โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงาน ที่ร่วมส่งผลงานเข้าประกวด ประกอบด้วย หน่วยบัญชาการ ทหารพัฒนา กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ กอง บั ญ ชาการต� ำ รวจตระเวนชายแดน ร่ ว มแถลงข่ า ว ณ ศู น ย์ ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริและความ มั่นคง ส�ำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการกองทัพไทย ต�ำบลคูคต อ�ำเภอล�ำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ส� ำ หรั บ การประกวดผลงานตามหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงกองทัพไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๙ จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ ๕ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นต้นมา เพื่อเผยแพร่พระ ราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ พระราชทานความช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากของ พสกนิกรชาวไทย ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี ซึ่งการด�ำเนินงานที่ผ่านมาประสบความส�ำเร็จเป็นอย่าง 81

issue 98 March 2016


“...การที่ได้ท�ำความเจริญหรือความสุขแก่ประเทศชาติและประชาชนนั้น มิได้เป็นงานของผู้ใดที่จะปฏิบัติ ได้ ต้องร่วมมือกัน. ผู้ใดมีความรู้ทางใดก็ควรจะใช้ความรู้ความสามารถนั้นเพื่อสร้างความมั่นคง. ถ้ามีหลาย คนที่มีอย่างเดียวกันก็ต้องร่วมมือกัน. บางคนมีความรู้เหมือนกันแต่ความเห็นต่างกันดังนี้ ก็จะต้องปรึกษากัน มากกว่าจะเถียงใช้แต่อารมณ์ ค�ำว่าปรึกษาใช้ปัญญา. ถ้าสามารถที่จะใช้ปัญญาปรึกษากัน จะได้ค�ำตอบเพราะ ว่าความจริงนั้นมีอันเดียว. ความเท็จมีหลาย หรือทางที่ผิดมีมากมาย แต่ความจริงทางที่ดี ส่วนมาก เป็นทาง เดียวที่จะสามารถน�ำพาสู่ความส�ำเร็จ...” พระราชด�ำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตดา พระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ 82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


83 issue 98 March 2016


“มุ่งมั่นให้บริการด้วยใจ ช่วยคนไทยอบอุ่น มีหลักประกันสุขภาพ”

สายด่วน สปสช.

1330 84

IS AM ARE www.ariyaplus.com

บริการข้อมูล ให้ค�าปรึกษา ด้านหลักประกันสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อเข้ารับการรักษา

สายด่วน สปสช. โทร 1330 ให้บริการ 24 ชั่วโมง (โทรจากเบอร์บ้าน ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.