Isamare may60 web

Page 1

IS AM ARE

ถอดรหั ส บทประพั น ธ์ พ ระมหาชนก สู ่ ก ารปฎิ บั ติ จ ริ ง ตามศาสตร์ พ ระราชา

สมศักดิ์ เคลือวัลย์

ชี วิ ต หลากหลายมิ ติ สู ่ ไ ทยแลนด์ 4.0

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

รั ฐ มนตรี ป ระจ� ำ ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี

1 issue 112 maY 2017

ฉบับที่ 112 พฤษภาคม 2560 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org


“เป็ น ความจริ ง อยู ่ โ ดยธรรมดา ที่ บุ ค คลในสั ง คมนั้ น ย่ อ มมี อั ช ฌาสั ย จิ ต ใจแตกต่ า งเหลื่ อ มล�้ ำ กั น เป็ น หลายระดั บ ขึ้ น อยู ่ กั บ พื้ น ฐานภู มิ ธ รรมของตน บางคนก็ มี ค วามคิ ด จิ ต ใจสู ง มี ค วามประพฤติ ป ฏิ บั ติ ดี ง าม เป็ น คุ ณ เป็ น ประโยชน์ อ ยู ่ แ ล้ ว เป็ น ปกติ แต่ บ างคนไม่ ส ามารถจะท� ำ เช่ น นั้ น ได้ เพราะยั ง ไม่ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของการปฏิ บั ติ ดี จึ ง มั ก ก่ อ ปั ญ หาให้ เ กิ ด แก่ สั ง คม คนเรานั้ น ส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ ค วรจะได้ ป รารภ ปรารถนาที่ จ ะพั ฒ นาตั ว เองให้ ดี ขึ้ น เป็ น ล� ำ ดั บ เพื่ อ ให้ ชี วิ ต เป็ น สุ ข และเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ พระราชทานเพื่ อ เชิ ญ ไปอ่ า นในพิ ธี เ ปิ ด การประชุ ม ยุ ว พุ ทิ ก สมาคมทั่ ว ประเทศ ครั้ ง ที่ ๑๖ วั น ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๔

3 issue 112 maY 2017


Editorial

จากปกฉบับนี้ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ เภสัชกร ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการใน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์ และ เป็นอดีตผู้อ�ำนวยการสถาบัน SIGA ต้นคิด ไทยแลนด์ 4.0 “แนวคิด ไทยแลนด์ 4.0 มาจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ยืนด้วยขาของ ตนเองได้ระดับหนึ่ง วันนี้เราใช้หลักการพัฒนาอย่างสมดุล ความพอดี ให้ประเทศไทยเชื่อมกับโลก” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวเอาไว้ ถึงบรรทัดนี้ กับแนวทางของครอบครัวพอเพียง ที่พวกเราถนัดคือ “ไทยแลนด์เต็มบาท” ถ้าถามว่าแนวคิดพิสดาร นี้มาอย่างไร ก็ตอบง่ายๆ ว่า “มีสลึง พึงบรรจบให้ครบบาท” บ้านไหนคิดได้แบบนี้ ไม่มี “โง่ จน เจ็บ” เมื่อครบบาท คือ 4 สลึง เท่ากับเป็นคนสมบูรณ์ ที่มีความสมบูรณ์ทั้งความคิดและสติปัญญา มนุษย์ ที่มีความคิดและสติปัญญา ดี พร้อม ย่อม ไม่โง่ ไม่จน ไม่เจ็บ บ้านไหนที่ จน และมี คนป่วย มีค่าเท่ากับ ศูนย์ 0 บ้านไหนที่ มีคนป่วย แต่ไม่จน มีค่าเท่ากับ ร้อย 100 ค�ำว่า จน มีความหมายรวมที่กว้างมาก คือ จนทรัพย์ จนปัญญา จนสติ จนใจ จนน�้ำใจก็รวมด้วย ค�ำว่า ป่วย ก็มีความหมายรวมที่กว้างมากเช่นกัน คือ ป่วยจากการเจ็บไข้ อุบัติเหตุ ป่วยจากใจที่ขาดความคิด ขาด ความพยายาม ป่วยจากความเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว มองเห็นทุกอย่างเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น อันนี้ป่วยหนักเลย ทีนี้มาหาค�ำตอบ แบบไม่ต้องจ�ำ ตามที่ครูสอน 1+1=2 อันนี้ครูสอน เอาใหม่ มาตั้งค�ำถามกันใหม่ เริ่มจาก ท�ำไมต้อง 1 ท�ำไม ต้อง + ใช้เครื่องหมาย – ไม่ได้รึ แล้วท�ำไมต้อง = แล้วค�ำ ตอบ มากกว่า 2 ได้ไหม !!!!! ค�ำตอบของไทยแลนด์ 4.0 กับค�ำถามใหม่ที่เราตั้งข้อกังขา เต็มไปหมดแต่มีผลลัพท์เดียวกัน คือ ทุกคนต้องรู้จักตนเอง รู้หน้าที่ รู้เท่าทันตามบริบทของตนเอง ทันสมัยและไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนา ทั้งพัฒนาตน พัฒนา งาน พัฒนาความคิด พัฒนาจิตใจ ก็เท่านี้ ไทยแลนด์ 4.0หรือ ไทยแลนด์เต็มบาท แบบครอบครัวพอเพียงของเรา.

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นางวาสนา สุทธิเดชานัย นายภูวนาถ เผ่าจินดา นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start and Enjoy!

พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน ๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

5 issue 112 maY 2017


Hot Topic

8

ตามรอยยุ วกษัตริย์

30

ถอดรหัสบทประพันธ์ พระมหาชนก สู่การปฎิบัติจริงตาม ศาสตร์พระราชา สมศักดิ์ เคลือวัลย์

12

ชี วิตหลากหลายมิติสู่ไทยแลนด์ 4.0 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี

Don’t miss

26

52

72 76 6 IS AM ARE www.fosef.org

50


Table Of Contents

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี

7 issue 112 maY 2017

ตามรอยยุวกษัตริย์ Cover Story ชีวิตหลากหลายมิติสู่ไทยแลนด์ 4.0 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ Cartoon หลักแห่งความพอเพียง ประโยชน์ปัจจุบัน Let’s Talk ถอดรหัสบทประพันธ์พระมหาชนก สู่การปฎิบัติจริงตามศาสตร์พระราชา สมศักดิ์ เคลือวัลย์ Is Am Are ต�ำบลป่าก่อ จังหวัดอ�ำนาจเจริญ ป่าครอบครัว ป่าชุมชน รวมคนสร้างต�ำบลพอเพียง กฎหมายน่ารู้ สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ข้อ 8 และ 9 กระจกส่องใจ มูลนิธิชัยพัฒนา น�้ำพระทัย สู่ชาวโนนไทย นครราชสีมา เกษตรพอเพียง เที่ยวตามรอยในโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ยะลา วันดอกไม้ผลิบานในราวป่า Round About

8 12 22 26

30

40 50 52 64 72 76 80


แฟลตที่ประทับบนถนนทิสโซต์ (Tissot) หลั ง จากสมเด็ จ พระบรมราชชนกสิ้ น พระชนม์ ที่ ก รุ ง เทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ (ค.ศ.๑๙๒๙) สมเด็ จ พระบรม ราชชนนี เ สด็ จ ประทั บ ที่ โ ลซานน์ พ ร้ อ มพระโอรสและพระธิ ด าอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ก่ อ นหน้ า นี้ เ มื่ อ ครั้ ง สมเด็ จ พระบรม ราชชนกเสด็ จ กลั บ เมื อ งไทยเพี ย งพระองค์ เ ดี ย ว เพื่ อ ร่ ว มพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาท สมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ (ค.ศ.๑๙๒๕) แฟลตเลขที่ ๑๖ ที่ถนนทิสโซต์ เป็นแฟลตที่อยู่ไม่ไกล จากใจกลางเมือง เดินราว ๑๕ นาทีก็ถึง แต่ก็เงียบดี เป็นตึก ใหญ่ที่มีแฟลตขนาดห้าห้องหลายชุด ซึ่งส�ำหรับมาตรฐานของ ชาวยุโรปไม่ถือว่าเล็ก สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเช่าแฟลต หนึ่งที่อยู่ชั้นล่าง เพราะเกรงว่าพระธิดาและพระโอรสจะรบกวน คนที่พักอยู่ข้างใต้ ด้วยการวิ่งหรือกระโดดนั่นเอง ใต้แฟลตมีโรงรถ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ ยาณิวัฒนาฯ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ (หน้า ๑๘๑) ว่า “…แฟลตนั้นมีห้องนั่งใหญ่พอใช้ ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอนของแม่และข้าพเจ้าใช้เครื่องเรือนสีเหลือง ห้องนอน

สมเด็จพระราชชนนีทรงเลือกมาประทับที่โลซานน์ เพื่อ ส่งพระธิดาและพระโอรสองค์โตไปอยู่ที่สถานเลี้ยงเด็กชองโช เลย์ จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จมาสมทบ และทรง น�ำครอบครัวเสด็จไปสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาต่อทางการ แพทย์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๑ (ค.ศ.๑๙๒๖-๑๙๒๘) การเสด็จฯ จากกรุงเทพฯ มาประทับที่โลซานน์ของทั้ง สี่พระองค์อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ (ค.ศ.๑๙๓๓) นี้ เป็นการ ประทับอยู่เพื่อรักษาพระสุขภาพและการศึกษาของพระโอรส ธิดา ในช่วงเวลานั้นทรงส่งทั้งสามพระองค์ไปอยู่ที่ชองโซเลย์ อีกระยะหนึ่ง เมื่อเช่าแฟลตถนนทิสโซต์และตกแต่งเสร็จแล้ว ทุกพระองค์จึงมาประทับอยู่รวมกัน 8

IS AM ARE www.fosef.org


ตามรอยยุ ว กษั ต ริ ย ์ ของน้องๆ ใช้สีชมพูแก่ อีกห้องหนึ่งเป็นที่พักของอีด้า...” อีด้า เป็นหญิงชาวสวิสที่ผู้อ�ำนวยการของชองโซเลย์ ยกให้มาท�ำงาน บ้านและท�ำครัว ได้ท�ำงานถวายสมเด็จพระบรมราชชนนีอีก หลายปีต่อมา จนอีด้าอายุกว่า ๘๐ ปี และเพิ่งถึงแก่กรรมไป เมื่อปี ๒๕๒๘ (ค.ศ.๑๙๘๕) ขณะทรงพระเยาว์ ทุกพระองค์ทรงด�ำเนินชีวิตอย่าง เรียบง่ายสนุกสนานตามวัยที่แฟลตแห่งนี้ ทรงเครื่องเล่นที่เฉลียง และช่วยกันล้างเฉลียงในหน้าร้อน ทรงพักผ่อน ทรงอ่านหนังสือ และทรงพระราชด�ำเนินถนนหน้าแฟลต ทรงจักรยาน และทรง เล่นกันในสวน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนาฯ ทรง เล่าไว้ในหนังสือ เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์ (หน้า ๑๙๐-๑๙๒) ว่า “แฟลตนี้มีเฉลียงยาว ถ้าอากาศดีเราชอบอยู่ที่เฉลียงนี้กันโดย เฉพาะน้องสองคน” และทรงเล่าถึงการหัดจักรยานว่า “แม่ซื้อ จักรยานใช้แล้วให้ข้าพเจ้าคันหนึ่ง และจักรยานเด็กให้น้องๆ คัน หนึ่ง แม่เขียนถึงสมเด็จย่าว่า ข้าพเจ้าหัดให้พระองค์ชายหัดสัก ๑๕ นาทีก็ถีบได้แล้วพระองค์ชายก็ช่วยจับให้น้อง และพระองค์ เล็กก็ถีบได้บ้างนิดหน่อย” สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้ า ฟ้ า กั ล ป์ ย าณิ วั ฒ นาฯ ทรงเล่ า ไว้ ใ นหนั ง สื อ เจ้ า นายเล็ ก ๆ-ยุ ว กษั ต ริ ย ์ (หน้ า ๑๙๐-๑๙๒) ว่ า “แฟลตนี้ มี เ ฉลี ย งยาว ถ้ า อากาศดี เ ราชอบอยู ่ ท่ี เ ฉลี ย งนี้ กั น โดยเฉพาะน้ อ ง สองคน” ในวันที่เราไปถึงโลซานน์วันแรก ได้ถามเส้นทางเพื่อจะ ไปถนนทิสโซต์จากพี่แอ๊ด ขณะที่พวกเราเดินอยู่บนถนนหน้า สถานีรถไฟ ปรากฏว่าถนนเส้นนี้อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ และ ไม่ไกลจากที่ท�ำการไปรษณีย์ ถนนหน้าแฟลตก็เป็นดังที่เคยเห็น ในรูป พอรถเลี้ยวเข้าถนนทิสโซต์ เราเห็นหมายเลขแฟลต ๑๗ ก็ดีใจและโล่งใจว่าเรามาถูกที่แล้ว ถัดมาก็เป็นแฟลตหมายเลข ๑๖ ฟุตบาท ริมถนนดูสงบเงียบ ร่มรื่นน่าเดินเล่น รั้วเหล็ก โปร่งมองเห็นข้างใน เมื่อเดินผ่านประตูร้ัวเข้าไปสักสี่ห้าเมตรก็ จะถึงประตูแฟลต เช้านั้นเป็นวันเสาร์ พี่แอ๊ดขอให้พวกเราเงียบเก็บเสียงให้ มากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ที่อาศัยอยู่ในแฟลต เพราะ ส�ำหรับชาวสวิสแล้ว การเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นถือว่า เป็นเรื่องที่ส�ำคัญมากๆ 9 issue 112 maY 2017


ตรงหน้าประตูแฟลตมีตู้รับจดหมายและไปรษณีย์ขนาด ใหญ่ ส�ำหรับผู้อาศัยในแฟลตเนื่องจากประตูแฟลตเปิดอยู่ คณะ เราจึงเดินทะลุไปด้านข้างแฟลต แฟลตนี้มีห้าชั้น แต่ละชั้นมี ระเบียงอยู่ตรงกลาง มีกระถางไม้ดอกประดับอยู่ ชั้นล่างเป็น โรงรถ บางโรงมีจักรยานจอดอยู่ ถนนข้างโรงรถนี้เองเป็นที่ส�ำหรับพระโอรสพระธิดาได้ ทรงจักรยาน ด้านหลังมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น และมีสนามเด็กเล่น เล็กๆ รวมทั้งมีชิงช้าส�ำหรับนั่งเล่น มองไปทางด้านหลังก็เห็น ทะเลสาบอยู่ไม่ไกลนัก นับเป็นแฟลตที่สงบน่าอยู่ ถนนหน้าแฟลตไม่พลุกพล่าน ฟุตบาทร่มรื่น สมเด็จ พระบรมราชชนนีและพระโอรสธิดาสามารถทรงพระด�ำเนิน จากถนนหน้าแฟลตไปทางซ้ายมือเพื่อเข้าเมือง ไปสถานีรถไฟ หรือที่ท�ำการไปรษณีย์ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเสด็จฯ ไปส่งหรือรับจดหมายและสิ่งของจากประเทศไทยเสมอ มักจะ ทรงพระด�ำเนินไป และพระโอรสธิดาจะทรงช่วยถือของ ขณะทีพ่ วกเราออกมายืนชมแฟลตอยูบ่ นฟุตบาทริมถนน มีหนุ่มฝรั่งหน้ามนคนหนึ่งเดินเข้ามาทักทายแนะน�ำตัวเองด้วย ภาษาไทยว่าชื่อ ฟิลิป พอเขารู้แน่ว่าพวกเราเป็นคนไทย เขา ก็เล่าว่าเขาเคยมาอยู่เมืองไทยสามปี เพื่อท�ำงานให้กับยูนิเซฟ

ตอนเกิดภัยจากซึนามิ เขาก็อยู่เมืองไทย เมื่อเขาทราบว่าคณะ ของเรามาศึกษา เพื่อตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่โลซานน์ เขาบอกว่า คนสวิสทราบ เรื่องสมเด็จย่า ในฐานะทรงเป็นพระราชมารดาของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่งประเทศไทยถึงสองพระองค์ เขากล่าว ชื่นชมก่อนจะลาจากพวกเรา ขอบคุณข้อมูล : หนังสือตามรอยยุวกษัตริย์ สวิตเซอร์แลนด์, ยุพา ชุมจันทร์, ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย 10

IS AM ARE www.fosef.org


เผยผิ ว ใสไร้ ริ้ ว รอย ด้ ว ย สบู ่ ว ่ า นหางจระเข้ ภั ท รพั ฒ น์ คุ ณ ค่ า จากว่ า นหางจระเข้ ที่ ช ่ ว ยลดรอยแดงจากการอั ก เสบของผิ ว ที่ โ ดนแดด ลดเลื อ นริ้ ว รอย ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งด� ำ เพิ่ ม ความชุ ่ ม ชื่ น ให้ ผิ ว ไม่ แ ห้ ง กร้ า น เมื่ อ ใช้ เ ป็ น ประจ� ำ ผิ ว หน้ า กระจ่ า งใสขึ้ น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขาหรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง Facebook/Patpat9 ภัทรพัฒน์สินค้าจากมูลนิธิชัยพัฒนา และ www.patpat9.com 11 issue 112 maY 2017


Cover Story

ชี วิ ตหลากมิติสู่ไทยแลนด์ 4.0 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี ดร.สุ วิ ท ย์ เมษิ น ทรี ย ์ มี เ ชื้ อ สายชาวจี น จากคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ มี พี่ น ้ อ งทั้ ง หมด 8 คน ตนเป็ น คนที่ 7 ชี วิ ต วั ย เด็ ก จึ ง ได้ เ รี ย นรู ้ ห ลายสิ่ ง หลายอย่ า งทั้ ง จากคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ รวมถึ ง พี่ น ้ อ งที่ มี ค วามอบอุ ่ น แม้ ปั จ จุ บั น คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ จ ะเสี ย ไปแล้ ว แต่ บ ้ า นเดิ ม แถววงเวี ย นยี่ สิ บ สองก็ ยั ง เป็ น ที่ พ บปะของพี่ น ้ อ งใน วั น อาทิ ต ย์ เ หมื อ นเดิ ม โดยมี พี่ ส าวคนโตเป็ น หลั ก ให้ น ้ อ งๆ ทุ ก คน

12 IS AM ARE www.fosef.org


13 issue 112 maY 2017


ดร.สุ วิ ท ย์ เกิ ด ในปี พ.ศ. 2504 เริ่ ม เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย นพลั บ พลาไชย แล้ ว มาต่ อ มั ธ ยมศึ ก ษาที่ โรงเรี ย นเทพศิ ริ น ทร์ ปี พ.ศ. 2517 จนไปเรี ย นคณะเภสั ช ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ในปี พ.ศ. 2522 ด้ ว ยเหตุ ผ ล “อยากผลิ ต ยาเอง” แต่ ชี วิ ต กลั บ ผกผั น มาสู ่ ก ารเมื อ ง ทั้ ง ที่ เ จ้ า ตั ว ชอบวิ ท ยาศาสตร์ เ ป็ น ชี วิ ต จิ ต ใจ ถึ ง ขนาดท� ำ การทดลองเองในบ้ า นจน “เกิ ด ระเบิ ด ” ขึ้ น มาต้ อ งรั ก ษาตั ว เองเป็ น เดื อ น ชี วิ ต ดร.สุ วิ ท ย์ จึ ง มี ค วามน่ า สนใจอย่ า งยิ่ ง ในแง่ ข อง “คนชอบเรี ย นรู ้ ” และเป็ น ได้ ห ลายอย่ า ง นอกจากผลงานไทย แลนด์ 4.0 รวมถึ ง งานเขี ย นอั น มากมายที่ ฝ ากไว้ แ ก่ สั ง คมแล้ ว สิ่ ง ที่ น ้ อ ยคนจะรู ้ คื อ เขาชื่ น ชอบการปั ้ น วาดภาพ และเขี ย นบทกวี ไ ฮกุ ม าตั้ ง แต่ ส มั ย เรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย อี ก ด้ ว ย สมั ย เรี ย นมั ธ ยมฯ เป็ น คนยั ง ไง สนใจเรื่ อ งอะไรคะ ? ตอนอยู ่ โรงเรี ย นเทพศิ ริ น ทร์ “เป็ น คนที่ ส นใจเรื่ อ ง วิทยาศาสตร์” ตอนอยู่ มศ.1 ท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ (ตาม รุ่นพี่ไป) เรื่อง “อิทธิพลของน�้ำผึ้ง” ที่มีต่อเชื้อแบคทีเรีย 2 ตัว ว่าท� ำไมน�้ ำผึ้งถึงฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้ ในปีนั้นได้รางวัลที่ 2 สาขาชีววิทยาของโครงการวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ สมาคม วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จึงเกิดแรงดลใจว่าปีต่อไปเรา ต้องท�ำเอง พอขึ้น มศ.2 เลยท�ำโครงการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ Single cell protein; SCP ขณะนั้นมีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะท�ำ โครงงานวิทยาศาสตร์ต้องตอบโจทย์สังคม ประเด็นท้าทายใน ประเทศไทยขณะนั้นคือเรื่องประชากรที่มีมากขึ้น ขณะเดียวกัน ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ตามมา จึงท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ ตอบโจทย์สองประเด็นนี้ในเวลาเดียวกัน ผมเอายีสต์ตัวหนึ่งมาก�ำจัดน�้ำเสีย น�้ำเสียเป็นอาหาร ของยีสต์ แล้วเอายีสต์มาสกัดโปรตีนให้กับคน ผลออกมาได้ที่ 1 โล่พระราชทานในทุกสาขาจากทั่วประเทศ, พอขึ้น มศ.3 เกิดมี ความรู้สึกว่า ยีสต์ตัวนี้มันสังเคราะห์โปรตีนได้ แต่มันสังเคราะห์ โปรตีนที่คนเราสร้างเองไม่ได้ไม่ได้ ช่วง มศ.3 ผมเริ่มคิดถึงเรื่อง การเปลี่ยนดีเอ็นเอของยีสต์แล้ว

วิชาไบโอเคม ชอบวิธีว่า โมเลกุลในการสังเคราะห์ในระดับเซลล์ เป็นยังไง เลยคิดอยากจะสังเคราะห์ยา ตอนอยู่ มศ.3 แรงดลใจอีกอันหนึ่งคือที่บ้านให้เงินมา 500 บาท จากการที่ได้รางวัล สมัยนั้นเยอะนะ ผมเอาไปซื้อ อุปกรณ์หลอดทดลอง ตัวเลี้ยงเชื้อแบททีเรียต่างๆ ในเมื่อยีสต์ มันท�ำไม่ได้ เราเลยอยากจะสังเคราะห์อะมิโนในหลอดทดลอง เปิดหนังสือค้นคว้าเอง อาจารย์ไม่ได้สอน มันมีกรดพาราอะมิโน ท� ำ ไมสนในเรื่ อ งวิ ท ยาศาสตร์ ค ะ ? เบนโซอิก แล้วก็มีสารประกอบชนิดหนึ่งชื่อ เบนซีน (Benzene) เราตามรุ่นพี่ไป เรามีความรู้สึกว่า อู้หู...เราไปเห็นห้อง เราเข้าใจผิดคิดว่าเอามาจากน�้ำมันเบนซิน จริงๆ เบนซีนในหลัก แลปในมหาวิทยาลัยมหิดล เรามีโอกาสได้คุยกับดอกเตอร์ คุย วิทยาศาสตร์กับน�้ำมันเบนซินคนละเรื่องกัน อุตส่าห์ถือขวดไป กับนักศึกษาปริญญาเอก ดีกว่าตอนเราอยู่ห้องเรียนในโรงเรียน เติมน�้ำมัน แล้วมาท�ำการทดลองเองจนระเบิด เลยเป็นโรคดีซ่าน เยอะเลย ขณะที่เพื่อนๆ ยังเตะบอลกันอยู่ในห้อง แต่เราวันวัน แต่มีความรู้สึกว่าจะต้องสังเคราะห์อะมิโนแอซิดโปรตีนเองใน นั่งท�ำแลปอยู่กับดอกเตอร์ อยู่กับรุ่นพี่ ต้องถือว่าอาจารย์ให้ หลอดทดลองให้ได้ เลยหันมาชอบเรื่องเภสัชศาสตร์ ถ้าเรียน โอกาส ไม่ต้องเรียนตามปกติเหมือนคนอื่น เราชอบเพราะเรามี แล้วต้องผลิตยาเอง สมัยเรียนมัธยมปลายเราเรียนวิทย์-คณิต โอกาสสัมผัสก่อนว่านี่คืออีกโลกหนึ่ง แล้วแรงดลใจคือเราไปแข่ง จึงคิดไปเรียนต่อคณะเภสัชฯ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นลูกมือรุ่นพี่ได้ที่สอง เรามีความคิดว่า ปีหน้าต้องเอาที่หนึ่ง แต่ ก ารเรี ย นคณะเภสั ช ศาสตร์ บ ้ า นเราส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ให้ได้ เราต้องตั้งโจทย์เอง อย่างที่เรียนว่าตัวยีสต์มันสังเคราะห์ อยู ่ ร ้ า นยาก็ อ ยู ่ โรงงานยา เป็ น คิ ว เอ คิ ว ซี เลยมี ค วามรู ้ สึ ก อะมิโนไม่ได้ จึงท�ำวิธีการผ่าเหล่า ตอนนั้นอยู่ มศ.3 เกิดชอบ ว่าไม่ใช่ จริงๆ แล้วถ้าเรียนจะต้องลึกกว่านี้ ต้องไปเป็นนัก วิทยาศาสตร์ 14 IS AM ARE www.fosef.org


ไหม้มาก แต่ว่าสูดเข้าไป เลยเป็นดีซ่านที่เกิดจากเคมี กลายเป็น คนที่ไม่เล่นกีฬา เพราะแต่เดิมเราเป็นคนชอบท�ำแลปอยู่แล้ว เมื่อก่อนตอนเรียนอยู่ มศ.3-มศ.4 จะผ่าเหล่าดีเอ็นเอ เป็นเรื่องยากมาก แต่ ณ วันนี้แค่พลิกฝ่ามือ หรือเลเซอร์เดี๋ยว นี้แพร่หลายแล้ว เราเห็นตั้งแต่อยู่มัธยมต้นจากการเข้าห้องสมุด ชอบอ่านสารานุกรมวิทยาศาสตร์ของในหลวง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นยัง ไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่เลย ท�ำให้เรารู้สึกว่า “ความรู้มีพลัง มีอ�ำนาจ ตรงที่ว่าถ้าเรารู้ก่อน แล้วเราซีเรียส เราเล่นกับมัน คลุกคลีกับ มัน วันหนึ่งมันก็จะมีพลังออกมา” จากโรงเรี ย นเทพศิ ริ น ทร์ แ ล้ ว ชี วิ ต ในมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ยั ง ไงคะ ? ไปเรียนต่อคณะเภสัชศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เข้า เรียนมั่ง ไม่เรียนมั่ง เป็นช่วงชีวิตที่ค้นหาตัวเอง เพราะตอนอยู่ เทพศิรินทร์เราไม่ได้เรียนหนังสือ เราจึงติดนิสัย มีความรู้สึก ว่าเลคเชอร์อะไรเยอะแยะ หาอ่านเอา วันวันจึงไม่ได้ท�ำอะไร แต่ว่ามันเป็นความรู้ที่ไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์แล้วไง กลายเป็น ความรู้ในเรื่องปรัชญา เรื่องศาสนาพุทธ ชอบนั่งเรือไปคนเดียว นั่งเขียน “บทกวีไฮกุ” จนถึงประมาณ 11 โมงก็กลับมา เพื่อน เขาเลคเชอร์กันหมดแล้ว ตอนบ่ายเรากลับมาเข้าเรียนเพราะ มันเป็นชั่วโมงแลป

ตอนเด็ ก ๆ ใครเป็ น ที่ ป รึ ก ษาชี้ น� ำ ชี วิ ต ให้ ค ะ ? ผมถามเขาไปทั่วครับ แต่มีอาจารย์ที่โรงเรียนให้ก�ำลังใจ คนที่บ้านเขาให้ก�ำลังใจ ให้โอกาส แทนที่จะห้ามว่าท�ำไมไม่เรียน หนังสือ ท�ำไมไม่เข้าห้องเรียน กลายเป็นว่าเขาส่งเสริม จนผม มีห้องแลปเลี้ยงเชื้อในบ้าน ซึ่งเด็ก ม.3 เขาคงไม่ท�ำ แล้วเชื้อ เต็มไปหมด พ่อแม่ไม่รู้ (หัวเราะ) พี่ๆ เขาปล่อยให้ท�ำ บางที เราอ่านหนังสือแล้วเราไม่เชื่อ เช่น รากของต้นถั่วมีเชื้อราที่ฆ่า แบคทีเรียได้ เราไม่เชื่อ อุตส่าห์ไปเขี่ยๆ แล้วมาเพาะเอง เรา ต้องเห็นกับตา คิดว่าตอนเด็กๆ มีโอกาสเรียนรู้ “การเรียนรู้เกิดจาก การที่สิ่งแวดล้อมให้โอกาส” อาจารย์มหาวิทยาลัยให้โอกาส เมื่อก่อนเด็กกระเปี๊ยกอย่างเรา ถ้าผมเป็นดอกเตอร์ เราจะมา นั่งใส่ใจเด็กอย่างนี้หรือ ถูกไหม แต่เขาใส่ใจเรา คนที่บ้านใส่ใจ เรา อาจารย์ที่โรงเรียนใส่ใจเรา

ผมเป็ น คนเรี ย นไม่ เ ก่ ง แต่ ช อบขี ด เขี ย น เป็ น คนที่ สมมุ ติ โ ลกเป็ น แบบนี้ แ ล้ ว เรามองยั ง ไง พอเห็ น อะไร ท� ำ อะไร มองอะไรแล้ ว ชอบเขี ย นขึ้ น มา จนกระทั่งปี 4 ปี 5 มีความรู้สึกว่า ชีวิตเราอยู่อย่างนี้ไม่ ได้แล้ว เมื่อก่อนเราเป็น “ซัมบอดี้” นะ อยู่ปี 1 ปี 2 เคยถูกเชิญ ไปพูดงาน ซิม โพเซียม เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ จัดที่กรุงเทพฯ อาจารย์ที่จุฬาฯ ให้ผมไปโชว์เคสว่าตอนเด็กๆ ท�ำ เรื่องวิทยาศาสตร์ เหมือนอธิบายแรงดลใจว่าเป็นยังไง เพื่อนๆ งงเลย บอกสุวิทย์นี่เหรอจะออกไปพูด คือเขาไม่รู้ประวัติว่าเรา เคยท�ำอะไร เราก็รู้สึกว่า เอ...ชีวิตเราไร้สาระจังเลย พอปี 5 เริ่ ม มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า เราต้ อ งเปลี่ ย นแปลงตั ว เอง เพราะเราจะต้องท�ำงานแล้ว กลายเป็นว่าเป็นสองคนแรก ที่ได้งานพาร์ทไทม์ก่อนเพื่อน คืออยู่ๆ รักดีจนเพื่อนๆ งง ท�ำ พาร์ทไทม์ที่เรียกว่า เชอร์ริ่ง อเมริกา ท�ำไปท�ำมาเขาให้ไปขาย ยาให้กับหมอตามคลีนิค พูดง่ายๆ ถ้าจบแล้วก็ไปเซลตามโรง พยาบาล แต่เราต้องไปเซลตามคลีนิค ก็สนุกไปอีกแบบ

ช่ ว งมั ธ ยมปลายในโรงเรี ย นผู ้ ช าย มี แ อบชอบ ผู ้ ห ญิ ง บ้ า งไหมคะ ? ไม่ค่อยคิดถึงเรื่องนั้นเลย อย่างเก่งก็ได้แต่แซว เรามี ความรู้สึกว่ามีอะไรต้องท�ำอีกเยอะแยะ พอเป็นดีซ่านเนื่องจาก การระเบิดจากการทดลอง ต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเดือน เพราะ เราเอาซาโฟลิค แอซิดหยดลงไปแล้วมันฟุ้งขึ้นมา ดีว่ามันไม่ลุก 15

issue 112 maY 2017


16 IS AM ARE www.fosef.org


มาพบ ดร.สมคิ ด จาตุ ศ รี พิ ทั ก ษ์ ตอนไหนคะ ? หลั ง จากสนุ ก กั บ การเป็ น เซลยา ช่ ว งนั้ น มี ค วามรู ้ สึ ก ว่าเราน่าจะท�ำธุรกิจนะ เลยไปเรียนปริญญาโทที่นิด้า ไปเจอ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่นิด้า ท่านเพิ่งจบมาใหม่ๆ แล้วผมก็ นิสัยเดิม รู้สึกว่าอาจารย์สอนอะไรน่าเบื่อ ตอนอยู่นิด้า ปี 1 ผม แอบไปเรียนของปี 2 เลย เพื่อนในรุ่นเขาค่อนข้างหมั่นไส้ คือ ผมไม่ค่อยสุงสิงกับเพื่อนในรุ่น ผมไปสุงสิงกับเพื่อนรุ่นพี่ เพราะ อยากจะรู้ว่าในที่สุดตอนก่อนจบจะเรียนอะไรกัน ตอนนั้นท่านสมคิดเพิ่งกลับมาสอนปี 2 พอไปเรียนกับ ท่านแล้วเรารู้สึกว่า ตอนเราเรียนเภสัชฯ ภาษาอังกฤษเราไม่แข็ง เพื่อนๆ นิด้าบางคนบอกว่า มีหนังสือแปลไทยท�ำไมไม่อ่าน ตอน นั้นเป็นความคิดชั่ววูบช่วงหนึ่งนะ เราบอกไม่ได้ จากนี้ไปเรา จะต้องอ่านภาษาอังกฤษให้ได้ เชื่อไหมวันแรกที่ฝืนตัวเอง สาม ชั่วโมงอ่านได้หน้าเดียว ไม่รู้เรื่อง เทคนิคของผมคือ อ่านสรุป ก่อน เพื่อให้รู้ว่าเรื่องทั้งหมดคืออะไร งมอยู่กับตัวเองประมาณ เดือนกว่าๆ หลังจากนั้นผมอ่านหนังสือเป็นเล่มได้แบบธรรมชาติ เลย มีความรู้สึกดีใจที่เราไม่เชื่อเพื่อนตอนนั้น ถ้าวันนั้นคิดผิด วันนี้เวลาเราท�ำงานถ้าฝรั่งมาเราคงหลบเข้าห้องน�้ำมั้ง ปี 2 ผมยังอยู่ปี 1 ท่านก็น่ารัก เอาไปคอมเม้นท์ ปกติคนอื่น เราต้ อ งเป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ใ ห้ กั บ เขาก่ อ น คื อ บ้ า นเรา คงเอาไปทิ้ง ท่านเห็นแววเรา ตอนนั้น ศาสตราจารย์สังเวียน ยั ง ไม่ มี ตั ว อย่ า งมากพอ อย่ า งไปบอกอย่ า เล่ น พนั น อินทรวิชัย ท�ำเรื่องแบงค์สยาม ซึ่งอาจารย์สมคิดเป็นลูกทีม เลย แต่ พ ่ อ แม่ ยั ง ท� ำ อยู ่ อย่ า งนี้ ก็ จ บ หรื อ เรายั ง มี ท่านก็หิ้วผมไปด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็อยู่กับอาจารย์สมคิดมา นั ก การเมื อ งที่ บ อกว่ า อย่ า คอร์ รั ป ชั่ น แต่ ตั ว เองยั ง ตลอด พอเรียนจบท่านไปเป็นที่ปรึกษาบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ จ�ำกัด (มหาชน) ท่านก็เลยหิ้วผมไปด้วย ท� ำ คื อ แม่ แ บบส� ำ คั ญ มาก จากนั้นผมไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น พอใกล้จบแล้ว ผมโทรมาหาอาจารย์สมคิด บอกว่าจะจบแล้ว ดร.สมคิ ด เห็ น อะไรในตั ว ท่ า นคะ ? ครับอาจารย์ ท่านบอกอย่าเพิ่งกลับมา ปีหน้ารับรองเกิดวิกฤต หลั ง จากไปแอบเรี ย นปี 2 วิ ช าของอาจารย์ ส มคิ ด ที่ ต้มย�ำกุ้ง (ปี 2540) ผมไปเรียนปีตั้งแต่ 2535 - 2539 ในที่สุด นิด้า ผมมีความคิดอันหนึ่งซึ่งมันถูกต้องรึเปล่าไม่รู้ ผมนั่งเขียน ผมได้งานที่อเมริกา แต่เขาส่งมาท�ำงานที่เมืองไทย เป็นบริษัทที่ เปเปอร์เอง วาดความเชื่อของผมว่า ระบบที่มีประสิทธิภาพ ปรึกษาแห่งหนึ่ง ตอนนั้นมาท�ำเคจ รีเอ็นจิเนียริ่ง พอท�ำโปรเจค (Effective efficiency) ในทางการจัดการ (Management) แรกเสร็จเกิดติดใจ เขาถามผมว่าจะกลับชิคาโกไหม ผมบอกไม่ จริงๆ แล้วมันมาจากกรอบความคิดสองเรื่องรึเปล่า คือคิดแบบ แล้ว ครอบครัวย้ายมาแล้ว, ตอนนั้นมีครอบครัวแล้ว คือแต่ง ตะวันออก คือแบบการเมือง (Politic) เพราะฉะนั้น เราจะคิดวีธี แล้วก็บินไปเรียน มีลูกคนแรกที่อเมริกา การแบบระบบ (Systemic approach) มันน�ำมาสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) เพียงแต่ฝรั่งเวลาคิดเขาคิดแบบช่าง (Me- เริ่ ม ท� ำ งานการเมื อ งเมื่ อ ไหร่ ค ะ ? chanic approach) คือสมมุติ เครื่องยนต์ ข้างในมีเฟืองกี่ตัว ตอนอยู่อเมริกาก็ยังติดต่อกับอาจารย์สมคิดอยู่ อาจารย์ วิ่งกันยังไง ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุดยังไง มีประสิทธิภาพ สมคิ ด ก็ เริ่ ม เข้ า ไปช่ ว ยงานคุ ณ ทั ก ษิ ณ พอเริ่ ม ตั้ ง รั ฐ บาลสมั ย (Efficiency) รึเปล่า ไทยรักไทยอาจารย์สมคิดก็ชวนไปช่วยงาน ต�ำแหน่งแรกคือ เสร็จแล้วก็เลยส่งไปให้อาจารย์สมคิด ทั้งที่ท่านสอน ผู้ช่วยรัฐมนตรี 17 issue 112 maY 2017


คาร์บอน แล้วก็แต่งเองบ้าง หรือเอาค�ำคมดีๆ มาลง ท�ำเหมือน ปกิณกะ แต่งมา 2 เล่ม เกี่ยวกับคนเจาะโลกแล้วสูญเสียบาลานซ์ ประมาณนี้ เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ถ้ามีหลักคิดดีดี บทกลอนดีดี เราจะพิมพ์ เป็นคนที่ชอบท�ำอย่างนี้ เป็นความสนุก ถ้ า ท่ า นอยากปราบคอร์ รั ป ชั่ น ท่ า นขั บ รถไปแล้ ว เกิ ด ฝ่ า ไฟแดงหรื อ โดนต� ำ รวจจั บ ท่ า นยื น ยั น ไม่ ใ ห้ เ งิ น เขาแล้ ว เอาใบสั่ ง มา จบแล้ ว คื อ ต้ อ งสร้ า งกั บ ตั ว เอง ไม่ ใ ช่ ไ ปมั ว แต่ ว ่ า คนอื่ น บ้ า นเราเป็ น คนที่ ช อบว่ า คน อื่ น เอาดี ใ ส่ ตั ว ต้ อ งสร้ า งค่ า นิ ย มด้ ว ยตั ว เอง

บางอย่ า งที่ ไ ม่ ค ่ อ ยมี ใ ครรู ้ คื อ “ผมเป็ น นั ก ปั ้ น ” ผม ปั้นนครวัดโดยจินตนาการ ปั้นจากดินน�้ำมัน ขนาดอาจารย์ที่ เภสัชฯ เคยหมายหัวเลยไอ้นี่มันโดดเรียน มันต้องตกซ�้ำชั้นแน่ๆ ขณะที่คนอื่นเขาเรียนหนังสือ ผมนั่งริมกอไผ่ แล้วจิบชาที่ต้ม จากบีกเกอร์ แล้วก็ปั้น ที่สุดแล้วอาจารย์คนนั้นต้องมาบอกให้ ช่วยปั้นให้หน่อย (หัวเราะ) ขณะปั้นนครวัดตามจินตนาการ มี ความคิดมีค�ำถาม เช่น ท�ำไมยอดมันต้องมีเก้าอัน อันกลางหมาย ถึงจุดสูงสุดของอะไร ขณะที่ปั้นเราจะมีความเชื่อของเรา ว่าจุด ความคิ ด ของท่ า นในสมั ย คุ ณ ทั ก ษิ ณ ก็ ส ามารถน� ำ มา เชื่อมโยงของอะไรคืออะไร คือเป็นคนที่ชอบปั้น ชอบเขียนแผนที่ตามจินตนาการ ใช้ ไ ด้ จ ริ ง ในสมั ย นี้ ? ในความคิดความอ่านของประเทศในแต่ละช่วง มีสิ่ง เดี๋ยวนี้ดู The Mask Singer เป็นรายการที่ถูกใจเราเพราะอะไร ท้าทายแตกต่างกัน เพียงแต่ว่าเรามีโอกาสได้ตอบโจทย์ในช่วง รู้ไหม เพราะว่าเราคงยังมีอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ว่าเรามี ยังสอน นั้น แค่นั้นเอง มันไม่ใช่ความคิดคนหนึ่งคนใดร้อยเปอร์เซ็นต์ ลูกว่ารายการนี้มีดีมากกว่าความสนุก เรารับมาแล้วเอาไปต่อยอดให้มันคมขึ้น ทุกอย่างมันอยู่ที่โอกาส ผมเชื่อว่าคนที่มีความคิดดีดีมีเยอะแต่เขาไม่มีโอกาสเหมือนผม ผมมีโอกาสตั้งแต่เด็ก ที่ ผ ่ า นมาท่ า นเขี ย นหนั ง สื อ ไว้ เ ยอะมาก ? ผมเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่ชอบขีดเขียน เป็นคนที่สมมุติ โลกเป็นแบบนี้แล้วเรามองยังไง พอเห็นอะไร ท�ำอะไร มอง อะไรแล้วชอบเขียนขึ้นมา ยังจ�ำได้ตอน มศ.3 ว่างๆ ปิดเทอม ที่บ้านมีเครื่องพิมพ์ดีด มีความรู้สึกเราจะต้องเป็นนักเขียน ก็ เลยท�ำหนังสือขึ้นมา เขียนหนังสือเกี่ยวกับโลก มีแรงบันดาล ใจจากหนังสือชัยพฤกษ์ฉบับการ์ตูนสมัยเด็กๆ กับชัยพฤกษ์ วิทยาศาสตร์ แล้วก็สารานุกรมวิทยาศาสตร์ ปิ ด เทอมเราไม่รู้จะท�ำอะไร ยืม เครื่องพิม พ์ดีด ของพี่ ชาย เพราะเราอยากจะพิมพ์ให้คนอ่าน เราก็ไปซื้อแต่กระดาษ 18 IS AM ARE www.fosef.org


มี ลู ก กี่ ค นคะ ? มี ลู ก สาว 2 คน แต่ ต อนนี้ เขาไปเรี ย นที่ อ เมริ ก า ยังบอกลูกๆ ว่า รายการนี้เขาดูด้วยความสนุก แต่เราดูแล้วขนลุก เราชอบดูตอนเขาเฉลย ว่าท�ำไมถึงมารายการนี้ มันเหมือนยังมี อีกหลายอย่างที่เราไม่มีโอกาส ถ้าผมเลิกจากการเมืองไปจะไป เรียนปั้นใหม่ เพราะว่าปั้นยังไม่ได้เรื่อง เพียงแต่ชอบ หรือวาด รูปยังไม่ได้เรื่องแต่ก็ชอบ หน้ า ที่ รั ฐ มนตรี ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี ใ นวั น นี้ เ ป็ น ยั ง ไงบ้ า งคะ ? หน้าที่นี้เหมาะเลย เมื่อเทียบกับตอนเป็นรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงพาณิชย์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะผมเป็นคนที่ พอได้พูดคุยด้วยแล้วจะรู้เลยว่า เป็นคนจับจด ชอบท�ำโน้นท�ำ นี่ เป็นคนที่ชอบจับแพะชนแกะ อันนี้บวกอันนี้ อันนี้บวกอันนั้น เป็นตั้งแต่เด็ก งาน ณ วันนี้จะเป็นงานแบบนั้น ไทยแลนด์ 4.0 เป็ น ความคิ ด ของท่ า นใช่ ไ หมคะ ? ไม่ใช่ครับ เราก็ต้องมีความคิดความอ่านมาจากก่อนหน้า นี้จนกระทั่งเรามาตั้งชื่อนี้ เชื่อเหอะไม่มีอะไรในโลกที่ว่ามาจาก คนใดคนหนึ่ง พูดง่ายๆ ว่าไทยแลนด์ 4.0 ถ้าไม่มีท่านนายกบอก ลุยต่อ ไปคิดต่อ เราก็จะคิดอยู่แค่นั้น

การด�ำรงอยู่ 2.วัฒนธรรมของการเรียนรู้ 3.วัฒนธรรมของการ ท�ำงาน 4.วัฒนธรรมของการด�ำเนินธุรกิจ เมื่อมันเปลี่ยนอย่างนี้แล้ว ประเทศอื่นก็เปลี่ยนตาม เรา จุ ด เริ่ ม ต้ น ของไทยแลนด์ 4.0 มาจากอะไรคะ ? ไม่เปลี่ยนไม่ได้ ค�ำถามต่อไปคือ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นท�ำไมเรา จริงๆ ไทยแลนด์ 4.0 มี 4 ที่มา ประเด็นหลักคือ โลก ถึงต้องเปลี่ยน สิ่งที่เกิดขึ้นคือว่า เรามีแรงกดดันจากภายนอก ในศตวรรษที่ 21 มันเปลี่ยน “โลกเปลี่ยนไทยต้องปรับ” คือ คือโลกเปลี่ยนไปเยอะมาก แต่เรามีแรงปะทุภายใน คือ เหลื่อม ก่อนหน้าที่จะมา 4.0 เรามองว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ล�้ำสูงมาก คอร์รัปชั่นสูงจนกระทั่งเกิดความขัดแย้งที่รุนแรง มี ผมมองว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ 4 อย่าง 1.วัฒนธรรมของ ประเทศไหนที่มีทั้งแรงกดดันภายนอกและแรงปะทุภายใน ผม มองว่ า เราเคยเปลี่ ย นรึ เ ปล่ า ประเทศไทย ปรากฏว่ า เราเคย เปลี่ยนครั้งเดียวคือสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 แต่ตอนนั้นเราเจอ แรงปะทุจากข้างนอก (Colonization) แต่หลังจากนั้นเราไม่เคย เปลี่ยนครั้งใหญ่เลย ฉะนั้นประเทศไทยถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2 นั่นคือจุดเริ่มต้นของความคิด ศาสตร์ พ ระราชาสู ่ ไ ทยแลนด์ 4.0 เชื่ อ มโยงกั น ยั ง ไงคะ ? ประเด็นคือว่า เราพัฒนามาเยอะ สรุปได้ซึ่งเป็นไปตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเลย คือ เราพัฒนาแบบทีเ่ รียก ว่า เราดูเหมือนทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เราไปเอาระบอบทุนนิยม เข้ามา แต่ว่าคนอื่นเขาเอามาอย่างระมัดระวัง เราก็เลยได้มาซึ่ง บริโภคนิยม สุขนิยม วัตถุนิยม รับมาเต็มๆ คนอื่นเขาแข่งขันกัน 19 issue 112 maY 2017


แบบ Healthy competition แต่ของเรากลายเป็นปลาใหญ่กิน ปลาน้อย คนอื่นเขากว่าจะพัฒนาการมา เราก็ไปบ้าจี้ตามเขาว่า ยิ่งเร็วยิ่งดี แต่จริงๆ ผมมีโอกาสไปพบมาดาม หวู หยี รองนายก รัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจของจีนในเวลานั้น เรายังไปชมเขาว่า ประเทศพัฒนาเจริญเร็วมากเลย เขาบอกว่าเขาคิดผิด เขาไปบ้าจี้ ตามฝรั่ง จริงๆ ต้องยิ่งดียิ่งเร็ว ไม่ใช่ยิ่งเร็วยิ่งดี ฉะนั้นเขาถึงเริ่ม ปราบคอร์รัปชั่นเก็บกวาดแทบไม่หมด ณ วันนี้เขาจึง “เปลี่ยน จากยิ่งเร็วยิ่งดี กลายเป็น ยิ่งดียิ่งเร็ว” หลักคิดในการพัฒนาเดิมของเราผมเรียกว่า “ปักช�ำ” คืออยากได้อะไรก็ปักช�ำ ไม่มีรากแก้ว ฉะนั้นจึง “ทันสมัยแต่ไม่ พัฒนา” นี่คือที่มาของไทยแลนด์ 4.0

ภาษาที่ผมใช้ก็คือ “เรารวยกว่านี้ไม่ได้” เราติดอยู่ในกับ ดัก “รายได้ปานกลาง” เรารวยกระจุกก็คือกับดักความเหลื่อม ล�้ำ ข้อสามก็คือ “เรารวยแบบไม่ยั่งยืน” เพราะเราติดกับดัก ความไม่สมดุล คือเราเททุกอย่างให้กับเศรษฐกิจ แต่ค่อยมาเก็บ กวาดเรื่องอื่นทีหลัง มี แ นวทางสร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น อย่ า งไรให้ พ ลเมื อ งของ ชาติ ค ะ ? เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขาก่อน คือบ้านเรายังไม่มี ตัวอย่างมากพอ อย่างไปบอกอย่าเล่นพนันเลย แต่พ่อแม่ยังท�ำ อยู่ อย่างนี้ก็จบ หรือเรายังมีนักการเมืองที่บอกว่าอย่าคอร์รัปชั่น แต่ตัวเองยังท�ำ คือแม่แบบส�ำคัญมาก

กั บ ดั ก หรื อ จุ ด อ่ อ น ที่ พ บในประเทศไทยก่ อ นจะ เกิ ด ไทยแลนด์ 4.0 คื อ อะไร ? คุณก�ำลังท�ำทุกอย่างเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่ เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลทางด้าน Social well-being (สวัสดิการ ทางสังคม) คือสูญเสียหมดเพื่อเทใจให้เศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่ สมดุล ฐานรากไม่มี ทุกอย่างเพื่อเศรษฐกิจหมด แล้วค่อยมาเก็บ กวาดเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ คือคนรวยรวยขึ้น คนจนจน ลง ผมก็เลยสรุปเป็น 3 กับดัก กับดักแรก พูดง่ายๆ ว่า “เรารวยกว่านี้ไม่ได้” เพราะ เครื่องยนต์ที่เรามีขับเคลื่อนโดยคนอื่น ให้ต่างประเทศมาลงทุน เทคโนโลยีก็ไปซื้อจากต่างประเทศมา ของตัวเองมีน้อยมาก ถ้า เราไม่เปลี่ยน Engine (เครื่องจักร) เรารวยกว่านี้ไม่ได้ นอกจาก นี้เรายัง “รวยกระจุก จนกระจาย”

ท่ า นเป็ น เลขาธิ ก าร ป.ย.ป. งานหนั ก แค่ ไ หนคะ ? ท่านนกยกฯ ท่านเป็นห่วง ท่านถึงบอกว่าจริงๆ แล้ว ป.ย.ป. หรือไทยแลนด์ 4.0 คือ “พัฒนาตนเอง” ตอนนี้ผมวาง แคมเปญว่า “4.0 ต้องเริ่มที่ตนเอง” ไม่ใช่เริ่มที่ปัจจัยภายนอก “ปฏิวัติความคิด ปฏิรูปตนเอง” นี่คือคีย์เวิร์ดของ 4.0 ท�ำนอง เดียวกัน เรื่องของ ป.ย.ป. ก็เหมือนกัน ค�ำถามคือว่า ตอนนี้ เราเห็นสิงคโปร์ท�ำเรื่องโน้น ฟินแลนด์เก่งเรื่องนี้ ฯลฯ แล้ว เราท�ำไมดูถูกตัวเราเอง เราก็มีอะไรดีดี “คนไทยนี่แปลก ชอบ ลุคดาวน์ตัวเอง ลุคอัพคนอื่น” ผมว่าการ “ปฏิรูปที่แท้จริง คือ ปฏิรูปความคิด ปฏิรูปวัฒนธรรม” ไม่ใช่คนอื่นมีอะไรดีเราก็ ต้องท�ำมั่ง 20

IS AM ARE www.fosef.org


ถ้าท่านอยากปราบคอร์รัปชั่น ท่านขับรถไปแล้วเกิดฝ่า ไฟแดงหรือโดนต�ำรวจจับ ท่านยืนยันไม่ให้เงินเขาแล้วเอาใบสั่ง มา จบแล้ว คือต้องสร้างกับตัวเองไม่ใช่ไปมัวแต่ว่าคนอื่น บ้าน เราเป็นคนที่ชอบว่าคนอื่น เอาดีใส่ตัว ต้องสร้างค่านิยมด้วยตัว เอง ผมถึงบอกท่านนายกจับจุดได้ถูกมาก มองว่าไทยแลนด์ 4.0 หรือสิ่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับการที่มีหลักคิดที่ถูกต้อง ท่านบอกว่าการศึกษาไทยไม่ใช่แค่สอนให้เขารู้จักคิด เพราะเขาคิดได้เขาอาจจะคิดแต่หาเงิน หรือคิดแล้วจะไปเอา เปรียบคนอื่น ต้องให้เขาคิดอยู่ในท�ำนองครองธรรม “ผมคิดว่า ในที่สุดแล้วไม่ว่า ป.ย.ป.หรือ 4.0 หรืออะไรก็ตาม มันกลับมา อยู่ที่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ผมก็เรียนรู้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงหนึ่งมีคนบอกผมว่าปรัชญญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งคื อ อย่ า ไปยุ ่ ง กั บ โลก เรามี เ ท่ า ไหร่ เ อาแค่ นั้น ผมบอกไม่ใช่นะ ผมถึงเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ จุดเปลี่ยน ประเทศไทย : เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์ (หน้า ปกคนตกปลา) เพราะผมไม่เชื่อ ผมเขียนมา 10 กว่าปีแล้วนะ ทุกวันนี้มานั่งอ่านเองยังงงว่าตอนนั้นเราคิดอย่างนี้ได้ยังไง ผมยังมองว่าสังคมยุคองค์ความรู้นี้น่ากลัว ผมเลยเขียน อี ก เล่ ม หนึ่ ง ชื่ อ โลกพลิ ก โฉม ความมั่ ง คั่ ง ในนิ ย ามใหม่ เพื่ อ จะบอกว่าจริงๆ โลกในขณะที่เป็นดิจิทัลมันเป็น Many too many (มากเกินไป) แต่ผมเขียนว่า จริงๆ ต้องเป็น Mind to mind (ใจให้ใจ) มันถึงจะอยู่ได้ บางทีรู้เยอะเราอาจจะท่วม หัวเกินไป

หมดรั ฐ บาลนี้ ท ่ า นเล่ น การเมื อ งต่ อ ไหมคะ ? ไม่รู้ครับ ผมเรียนตรงๆ ณ วันนี้ไม่รู้ว่าเล่นการเมืองรึ เปล่า ถ้าเล่นการเมืองน่าจะมีฟอร์มมากกว่านี้ คือเราเป็นคน ที่มาช่วยงานการเมืองมากกว่า

มี มุ ม ม อ ง ยั ง ไ ง เ กี่ ย ว กั บ ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พอเพี ย ง ? ผมเคยเขียนบทความหนึ่งว่าด้วย “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” เพราะว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผมเชื่อว่าเป็น Dynamic (เต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์) ดังนั้น เมื่อ ไม่พอต้องรู้จักเติม เมื่อพอต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน เรา มองอย่างนั้น แม้กระทั่ง 4.0 จริงๆ มาจากปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงง่ายๆ คือ สร้างความเข้มแข็งจากภายใน แต่เราอยู่ใน ระบบเปิดเราก็เชื่อมไทยกับประชาคมโลกด้วย มีคนบอกเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อไป “ผมคิ ด ว่ า ในที่ สุ ด แล้ ว ไม่ ว ่ า ป.ย.ป.หรื อ 4.0 ห รื อ อ ะ ไ ร ก็ ต า ม มั น ก ลั บ ม า อ ยู ่ ที่ ห ลั ก ป รั ช ญ า อ้างอิงกับในหลวง ผมบอกเปล่า เราเชื่อของเราอย่างนี้ เราเชื่อ ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ” ผ ม ก็ เ รี ย น รู ้ ป รั ช ญ า แล้วก็เทสมาตลอด ไม่งั้นเราจะไปเขียนหนังสือ เศรษฐกิจพอ ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ช่ ว งหนึ่ ง มี ค นบอกผมว่ า เพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ยังไง ถูกไหม แต่เราเขียนได้เราก็ ปรั ช ญญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งคื อ อย่ า ไปยุ ่ ง กั บ ต้องท�ำให้ได้ แล้วเราก็ต้องเป็นแบบอย่างให้ได้ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อย กล้าเขียนถ้าเราไม่สามารถท�ำเองได้ แล้วเขาจะเรียกเราอาจารย์ โลก เรามี เ ท่ า ไหร่ เ อาแค่ น้ั น ผมบอกไม่ ใ ช่ น ะ ได้ไง มันก็ท้าทายเราเอง เรื่ อ งไทยแลนด์ 4.0 ท่ า นนายกฯ ให้ ค� ำ แนะน� ำ ยั ง ไงบ้ า งคะ ? ท่านบอกว่าจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคนไทยยังไม่ใช่ 4.0 แต่ สังคมไทยต้องเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน ท�ำยังไงให้ 1.0-3.0 อยู่ด้วยกัน (เคลื่อนตัวเองเข้ามา) ท่านบอกว่า Leave no one behind (อย่าทิ้งใครไว้ข้างหลัง) แล้ว 4.0 ก็ถูกท้าทายอยู่ตลอด ท่านก็ตั้งรับให้ตลอด จนวันหนึ่งท่านบอกแก่สาธารณะว่า “4.0 คือการพัฒนาตนเอง”

สุ ด ท้ า ย สรุ ป ความเป็ น ตั ว เองไว้ อ ย่ า งไร ? สรุปแล้วผมเป็นคนที่สนุกกับการเล่นกับความคิด โดยที่ ไม่ได้เป็นเจ้าของความคิดอะไร เพียงแต่ว่าเราได้ยินได้ฟังมา เราก็จะมีเซนส์ของการถกเถียงว่ามันไม่น่าจะอย่างนั้น ดังนั้น ถ้าไม่ใช่อย่างนั้นมันก็ต้องปรู๊ฟ เราก็จะออกมาเป็นบทความมั่ง หรืออะไรต่างๆ หรือถ้าเราเห็นด้วยเราก็จะขยายผล เป็นคน ที่จริงๆ แล้วสนุกกับตัวเองมากกว่า มีอะไรที่ยังรู้สึกอยากจะ ค้นหาค้นคว้าอยู่เรื่อย. 21

issue 112 maY 2017


22 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

23 issue 112 maY 2017


24 IS AM ARE www.fosef.org


25 issue 112 maY 2017


๓. ประโยชน์ปัจจุบัน

ประโยชน์หรือสิ่งเกื้อกูลชีวิต ในขั้นต�่ำสุดหรือขั้นที่ ๑ นั้น . . . ก็คือ . . . ประโยชน์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดหมายในขั้นตาเห็น ชาวบ้าน ผู้ครองเรือน จะต้องมีประโยชน์ส่วนนี้ จะมากหรือน้อยก็ตามความเหมาะสมของงาน ชีวิตจึงจะด�ำรงอยู่ได้อย่างพอเพียง ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้พระนิพนธ์มีเนื้อความไว้ดังต่อไปนี้

ทรั พ ย์

(๑) ทรัพย์ ชีวิตร่างกายของทุกคน ด�ำรงอยู่ได้ก็ด้วย อาศัยเครื่องอุปโภค บริโภค หรือของกินของใช้ มาเป็นปัจจัย (เครื่ อ งอาศั ย ) เกื้ อ กู ล ทะนุ บ� ำ รุ ง ของใช้ เหล่ า นี้ ร วมเรี ย กว่ า โภคทรัพย์ (ทรัพย์ แปลตามศัพท์ว่าของใช้ที่ใช้ได้ โภคทรัพย์คือ ของที่ใช้ส�ำหรับกิน) เป็นประโยชน์ที่ต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง จ�ำเป็นแก่ชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เครื่องประดับตกแต่ง เรียกว่า อติเรกทรัพย์ แต่ที่เกินต้องการไม่จัดว่าเป็นประโยชน์ ทอง เงินตรา หรือสิ่งที่ใช้แทนเรียกว่า ธนทรัพย์ มีไว้ส�ำหรับใช้ ซื้อหาของกินของมาใช้เป็นต้น จึงกลายเป็นประโยชน์ขึ้น ประโยชน์ ที่ จ� ำ ต้ อ งมี ทรัพย์เหล่านี้ โภคทรัพย์เป็นสิ่งจ�ำเป็นโดยตรง ทุกอย่าง สิ่งที่ต้องการได้มาเกื้อกูลให้เกิดสุข เรียกว่า ประโยชน์ เป็นของต้องกินต้องใช้จึงหมดสิ้นไปได้ จึงต้องแสวงหาอยู่เสมอ ประโยชน์ส�ำหรับเวลาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า นั้นเรียกว่า การแสวงหาเป็นการงานอย่างหนึ่ง เรียกว่า อาชีพ เพราะเป็น ประโยชน์ปัจจุบัน (จากศัพท์ “ทิฏฐธัมมิกัตตถะ” อัตถะ วิธีเลี้ยงชีวิต ที่เป็นไปในปัจจุบัน ค�ำว่า อัตถะ แปลว่า สิ่งที่จ�ำต้องการ เพราะ การอาชีพก็มีหลายอย่าง เป็นอาชีพในทางผิด อันเรียก เป็นสิ่งจ�ำเป็น แต่นิยมแปลกันว่า ประโยชน์) คนจ�ำต้องการสิ่ง ว่ามิจฉาชีพ ก็มี เป็นอาชีพในทางชอบ ที่เรียกว่า สัมมาอาชีพ ก็มี ใดๆมาเกื้อกูล จึงอาจด�ำรงชีวิตให้เป็นสุข และตั้งตนได้โดยชอบ พระพุทธเจ้า. . . สิ่งนั้นๆเป็นประโยชน์ทุกอย่าง มีเป็นต้นว่า ... ทรงสอนให้แสวงหาทรัพย์ด้วยสัมมาอาชีพ 26 IS AM ARE www.fosef.org


หลั ก ธรรมแห่ ง ความพอเพี ย ง ศิ ล ปะวิ ท ยาการแสวงหาทรั พ ย์ (๒) ศิลปะวิทยาการแสวงหาทรัพย์ โดยปรกติจะต้อง อาศัยศิลปะวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจ�ำต้องศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ในศิลปวิทยาต่างๆ ความรู้ศิลปวิทยาเป็นเหตุให้ เกิดสมรรถภาพในธุรกิจ เป็นแสงสว่างให้รู้ทางธุรกิจนั้นๆ เมื่อ รู้ช�่ำชอง แม้อย่างหนึ่งก็ให้ส�ำเร็จประโยชน์ได้ สมด้วยภาษิตในชาดกบทหนึ่งว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะ... แม้เช่นใดเช่นหนึ่งก็ยังประโยชน์ให้ส�ำเร็จได้” อย่างมีแต่ตนผู้เดียว ยากที่จะได้รับความสะดวกในกิจการ อย่า ว่าแต่บุคคลต่อบุคคลเลย แม้ประเทศต่อประเทศก็จ�ำต้องมี ไมตรีต่อกัน ผาสุ ก

(๕) ผาสุก แต่การประกอบการงานทุกอย่าง แม้ในการ ศึกษาเล่าเรียนต้องอาศัยร่างกาย ถ้าร่างกายมีความผาสุก คือ แข็งแรง ไม่มีโรค ก็สามารถประกอบการกระท�ำ หรือศึกษาเล่า เรียนให้ส�ำเร็จได้ด้วยดี แต่ถ้าอ่อนแอมีโรคก็ไม่สามารถ เป็นอัน ตัดประโยชน์ต่างๆที่จะพึงได้ เหตุฉะนี้ ความมีร่างกายแข็งแรง มีความผาสุก ไม่มี โรค จึงเป็นอุปการะให้ได้ประโยชน์ที่จะพึงได้ทุกอย่าง ชื่อว่า เป็น “ยอดลาภ” ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แปลความว่า... ยศ ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง (๓) ผู้มีศิลปวิทยาอันศึกษาดีแล้ว ท�ำการงานอันเป็น ทรัพย์ ศิลปวิทยา ยศ ไมตรี และความผาสุก ดังกล่าว หน้าที่ดี ย่อมเลื่อนฐานะให้สูงขึ้นโลยล�ำดับ ย่อมได้ความเป็น มาเหล่านั้นชื่อว่าประโยชน์ปัจจุบันแต่ละอย่าง นอกจากนี้ใน ใหญ่ ใ นการงาน บริ ว ารคื อ ผู ้ นิ ย มนั บ ถื อ และเกี ย รติ คื อ ชื่ อ การด�ำรงชีวิตในปัจจุบันจ�ำเป็นต้องการสิ่งใดๆ สิ่งนั้นๆ ก็เป็น เสียงก็ตามมาเหล่านี้เป็นยศแต่ละอย่าง ยศนี้ที่เป็นภายนอก ประโยชน์ในที่นี้ เนื่ อ งจากได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ยกย่ อ ง แต่ ก็ ต ้ อ งสื บ เนื่ อ งมาจากหลั ง ภายในของตน ทางแห่ ง การประกอบประโยชน์ พระพุทธเจ้า... ประโยชน์ทั้งปวงเหล่านี้ เป็นผลที่เกิดจากการประกอบ ทรงนิยมให้มียศ คือ ความเป็นใหญ่เหนือความชั่ว เหตุให้ถูกทางของประโยชน์แต่ละอย่าง พระพุทธเจ้าได้ทรงวาง สามารถบังคับตนให้ดีได้ หลักทั่วไปแห่งทางประกอบประโยชน์ไว้ ๔ ประการ คือ (๔) ไมตรี การประกอบอาชีพเป็นต้น โดยปกติย่อมเนื่อง ด้วยหมู่คณะและถ้อยทีอาศัยซึ่งกันและกัน จึงจ�ำต้องมีการปลูก ถึ ง พร้ อ มด้ ว ยความหมั่ น ไมตรีผูกมิตรไว้ในคนดีๆด้วยกันทั้งหลาย (๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือหมั่น เมื่ อ มี ไ มตรี มี มิ ต ร ก็ ชื่ อ ว่ า มี ผู ้ ส นั บ สนุ น ท� ำ ให้ ไ ด้ รั บ ศึกษาเล่าเรียน หมั่นท�ำการงานเลี้ยงชีพ และหมั่นท�ำธุระหน้าที่ ความสะดวกในกิจที่พึงท�ำ ผู้ขาดไมตรี ขาดมิตร ก็เท่ากับขาดผู้ ของตน สนับสนุนแม้จะมีทรัพย์ มีความรู้สามารถ แต่ก็คับแคบ เหมือน ที่เรียกว่า หมั่นหรือหมั่นขยัน หมายความว่า เพียรจัดท�ำ 27 issue 112 maY 2017


เหมือนเครื่องจักรที่เก็บจนเกิดสนิม แต่ถ้าท�ำการงาน ร่างกาย ก็จักคล่องแคล่วสละสลวย เป็นการออกก�ำลังตามหลักอนามัย อยู่ในตัว

ตั้งแต่เริ่มต้น และด�ำเนินให้ก้าวหน้าเรื่อยไปให้ส�ำเร็จ ไม่ย่อท้อ ถอยหลัง ไม่ยอมให้เกียจคร้าน เสียการงาน เมื่อหมั่นประกอบ กระท�ำให้เหมาะ ประโยชน์ที่ต้องการต่างๆดังกล่าวแล้ว จักเห็น มีอยู่ใกล้ภายในเอื้อมแขนนี้เอง ค�ำเก่ามีกล่าวไว้ว่า ทรัพย์นี้มิไกล ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน แว่นแคว้นแดนดิน มีสิ้นทุกสถาน ถ้าใครเกียจค้าน บ่พานพบเลย แม้พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ แปลความว่า ... ผู้ประกอบธุรกิจ ขยัน หมั่นเพียร ท�ำให้เหมาะ . . . ย่อมได้ทรัพย์ อาจกล่าวได้ว่า ร่างกายนี้ก่อก�ำเนิดมาเพื่อท�ำการงาน อวัยวะบางส่วน เช่น หัวใจ ปอด ท�ำงานภายใน บางส่วนเช่น มือเท้าส�ำหรับท�ำงานภายนอก ถ้ามิใช่เพื่อท�ำการงานแล้ว ก็ ไม่จ�ำเป็นต้องมีรูปสัณฐานเหมือนอย่างที่เป็นกันอยู่นี้ เป็นก้อน กลม เหมือนอย่างลูกฟักก็พอแล้ว แม้จะเป็นคนดีคนชั่วก็เพราะ ท�ำ กล่าวคือเพราะท�ำดีจึงเป็นคนดี และท�ำชั่วจึงเป็นคนชั่ว ถ้า ไม่ท�ำการงาน หยุดเฉยๆ ร่างกายก็จักเกิดความติดขัด และเกิด โรคเหมือนกับเครื่องจักรที่เก็บจนเกิดความติดขัด และเกิดโรค

ถึ ง พร้ อ มด้ ว ยการรั ก ษา (๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษา ความรู้ที่ได้เล่าเรียนศึกษามา รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาไดด้วย ความหมั่น ขยัน ไม่ให้เป็นอันตราย รักษาการงานหน้าที่ของตน ไม่ให้เสื่อมเสียถ้าขาดการรักษา เช่น เล่าเรียนมาก็ลืมไป ท�ำการ งานได้ทรัพย์มาก็หมดไป ก็เป็นวิทยสมบัติ ทรัพย์สมบัติขึ้นไม่ ได้ เพราะไม่รวมพอกพูนต่อเมื่อรักษาไว้ได้ จึงจะเกิดความรวม พอกพูน ที่เรียกว่า สมบัติ แปลว่า ความถึงพร้อม ความมี เ พื่ อ นเป็ น คนดี ไม่ ค บคนชั่ ว (๓) กัลป์ยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคน ชั่ว คือ เมื่ออยู่ในที่ใดก็สมาคมคบหากับคนดีๆในที่นั้น คอย ศึกษาส�ำเหนียกท�ำความดี เหมือนอย่างคนดีทั้งหลาย ไม่คบคน ชั่ว และเอาอย่างคนชั่ว 28

IS AM ARE www.fosef.org


เลี้ ย งชี วิ ต ตามสมควรแก่ ก� ำ ลั ง ทรั พ ย์ (๔) สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่ก�ำลังทรัพย์ ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก ซึ่งเรียกว่า มัธยัสถ์ แปลว่า ความเป็นกลางๆ และมีความประหยัด คือแบ่งเก็บไว้ ในส่วนที่ควรแบ่งเก็บไว้เผื่อเวลาข้างหน้า บางคนเข้าใจในส่วนที่ควรแบ่งเก็บไว้เผื่อเวลาข้างหน้า บางคนเข้าใจค�ำว่ามัธยัสถ์เป็นความเหนียวแน่น แต่ความจริง แปลว่าความเป็นกลางๆ ระหว่างความฝืดเคืองและฟูมฟาย คือไม่ใช่ฝืดเคืองนัก ไม่ใช่ฟูมฟายนัก ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ก็ต้อง รู้จ�ำนวนรับจ�ำนวนจ่ายหรือทางได้ทางเสีย แล้วก�ำหนดให้พอ เหมาะ ไม่ให้จ่ายท่วมรายรับ

คนโดยปรกติ ถ้าบกพร่องด้วยประโยชน์ปัจจุบัน จะ บ�ำเพ็ญประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไปก็เป็นการยาก เพราะตนเองจะ ต้องอิ่มปากอิ่มท้องของตนก่อน แล้วจึงสามารถจะเฉลี่ยไปถึงผู้ อื่น ฉะนั้น จึงน่ากลัวย�้ำในที่นี้อีกว่า เรื่องการกินเป็นเรื่องส�ำคัญ อันดับหนึ่งตั้งแต่ดึกด�ำบรรพ์มาจนถึงบัดนี้ และจักส�ำคัญต่อไป ตลอดเวลาที่คนยังกินอยู่ ดังมีค�ำเรียกว่า โภคะ หรือโภคทรัพย์ แปลว่า กิน ของกิน และการท�ำมาหากินก็เรียกว่าโภคกิจ ซึ่งบัดนี้ เรียกกันว่าเศรษฐกิจ โภคะนี้เมื่อได้มาเสนอสนองตามที่ต้องการ เว้ น อบายมุ ข อั น เป็ น เหตุ แ ห่ ง ความชิ บ หาย อนึง่ พึงเว้นอบายมุข คือ ทางทีเ่ ป็นเหตุแห่งความชิบหาย ของแต่ละคนหรือของส่วนรวม ชีวิตของแต่ละคนและของส่วน รวมจึงจะด�ำเนินไปด้วยผาสุก การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดังกล่าว ๔ อย่าง คือ ๑.ความเป็นนักเลงหญิง หรือความเป็นผู้มักมาก ปล่อย ในทางโลกได้มีวิธีจัดการต่างๆ จนถึงกับเกิดระบอบการปกครอง แบบต่างๆ ซึ่งมีปฐมเหตุส�ำคัญจากเรื่องปากท้องหรือเริ่มกินกัน ตนในทางกาม อยู่เป็นประจ�ำของทุกๆคน ๒.ความเป็นนักเลงสุรา หรือยาเสพติดต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางวิธีจัดไว้ด้วย ๓.ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน ทรงวางหลักสั้นๆ ง่ายๆ ดังกล่าวแล้ว ๔.ความคบคนชั่วเป็นมิตร แต่ทุกๆ คนต้องรับปฏิบัติด้วยตนเอง โทษ ๔ ประการนี้ไม่ควรประกอบเป็นทางให้เกิดฉิบหาย และชักน�ำให้คนอื่นปฏิบัติ ได้จริง จนถึงเมื่อปฏิบัติกันทั่วๆไป ประโยชน์ดังกล่าวมาแล้วเป็นสิ่งจ�ำเป็นแก่ความครอง จึงจะเห็นผลได้โดยประจักษ์ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้เอง ชี วิ ต อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ท รงสอนให้ แ สวงหามา เป็นอันดับแรก ด้วยทรงแสดงทางเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปไว้ ๔ ประการดังกล่าวแล้ว 29 issue 112 maY 2017


30 IS AM ARE www.fosef.org


let's talk

ถอดรหัสบทประพันธ์พระมหาชนก สู่การปฏิบัติจริงตามศาสตร์พระราชา

สมศักดิ์ เครือวัลย์ ปราชญ์แผ่นดิน 2558

ที่ต�ำบลสองสลึง อ�ำเภอแกลง จังหวัดระยอง ปรากฏปราชญ์แผ่นดิน ประจ�ำปี 2558 หรือบุคคลผู้ได้รับคัดเลือกการสรรหา ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขา ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ เครือวัลย์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านสองสลึง ผู้ผิดหวังจากการท�ำเกษตรเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุน แต่ประสบภาวะขาดทุนจาก สภาพพื้นที่เกษตรกรรมไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรค พืชจากการผลิตแบบเดิมๆ และต้นทุนสูง ท�ำให้ไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ 31 issue 112 maY 2017


ผู้ใหญ่สมศักดิ์จึงพลิกผันตนเองมาท�ำการเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมี ใช้ความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน ในโครงการเกษตร ทฤษฎีใหม่ การท�ำเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความส�ำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนพบว่า “เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าลงมือท�ำจริงๆ สามารถท�ำให้รวยได้ ไม่ใช่การรวยเงินทอง แต่รวยปัจจัยสี่ ที่อยู่ในสวนใน บ้านของเรา” แนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่และศาสตร์พระราชาจากผู้ใหญ่สมศักดิ์จะเป็นอย่างไร เชิญทุกท่าน ร่วมค้นคว้าผ่านบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ ท� ำ ไมถึ ง หั น มาขั บ เคลื่ อ นเกษตรทฤษฎี ใ หม่ ภ ายใต้ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ? ลึกๆ แล้วที่ฉันท�ำ มาจากพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหา ชนก จากค�ำบัญชาที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชด�ำรัส(ร.9) เหมือน กับบ่นไว้ในพระมหาชนก ซึ่งคนไม่ค่อยเข้าใจ พระเจ้าอยู่หัวท�ำ มา 70 ปีแล้ว แต่ในตอนนี้คนที่จะเอาสิ่งที่เรียกว่าศาสตร์พระ ราชาไปสานต่อดูเหมือนจะไม่มี มีก็มีไม่จริง ก็เป็นห่วงว่าพอ ถึงวันนี้แล้วยังไม่ท�ำกันอีก แล้วเมื่อไหร่จะท�ำ แล้วจะท�ำรึเปล่า แล้วใครท�ำ อันนี้เป็นปัญหาที่ขบคิดกันอยู่ทุกวันนี้ พอคิดปัญหาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาจะท�ำก็มีความ ขัดแย้ง เหมือนกับมีคนบางกลุ่ม เขาว่าเรื่องของพระราชาไม่มี ในต�ำรา เขาว่ามันนอกต�ำรา แล้วเวลาจะน�ำเรื่องของพระราชา มาปฏิบัติส่วนใหญ่จะมุ่งที่ราชการ ข้าฯในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวนั่นแหละ พอจะท�ำเรื่องของพระเจ้าอยู่หัวไม่รู้ เรื่อง เพราะตัวเองไม่ได้เรียนมา ข้าราชการทั้งหมดเรียนเรื่อง ศาสตร์อื่นไม่ใช่ศาสตร์พระราชา ทั้งๆ ที่พระราชาองค์นี้เป็น พระราชาประจ�ำแผ่นดิน แต่เรื่องของพระราชาองค์นี้เขาไม่น�ำ มาใส่ในต�ำรา เขาใส่ไว้นอกต�ำรา ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ไม่รู้ ใครบัญชาอยู่ แต่เขาก็รู้ว่าเรื่องดีๆ ทั้งนั้นสี่พันกว่าเรื่อง แล้ว ท�ำไมไม่เอาใส่เข้าไป ปากก็บอกรักเหลือเกิน แต่ไม่มีใครท�ำ นี่คือสิ่งที่เป็น ห่วง ก็คุยกันกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ท่านก็ปรารภว่า พระ

ราชาองค์นี่เหนื่อยเหลือเกินนะ แล้วเรื่องที่พระราชาท�ำดีทุก เรื่อง ดร.สุเมธ ตามทุกเรื่อง สามสิบกว่าปีที่ท�ำเรื่องนี้มา สู้กัน มารุ่นแรกๆ ตอนสู้กันแรกๆ ต่างคนต่างคิด แต่มันคิดหักล้างกัน ไม่ ได้คิดเพื่อเอาเหตุผลกัน เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง สุดท้าย แล้ว “มีแต่ป้าย” ทั้งประเทศมีแต่ป้าย แต่ข้างในป้ายร้างหมด ก็ เลยตัดสินใจกันว่า ถ้าเราไม่ท�ำเรื่องนี้ อีกไม่ช้าเรื่องนี้มันจะหาย เหมือนที่พระเจ้าอยู่หัวบ่นไว้ในอากาศ วาจามีปาฏิหาริย์ อย่า ให้มันหายไปในอากาศ ต้องสร้างให้มันเป็นเรื่องเป็นราว โดย จะสร้างมหาวิทยาลัยขึ้นมาก็ได้ หรือเอาต้นแบบความส�ำเร็จ มาท�ำให้ดูก็ได้ เขียนไว้ในพระมหาชนกตั้งหลายตอน หากตี ค วาม หรื อ ถอดรหั ส จากพระราชนิ พ นธ์ เ รื่ อ ง พระมหาชนก พระเจ้ า อยู ่ หั ว เตื อ นอะไรคนไทย ? เตือนถึงขนาดว่าเขียนเมืองไว้ 3 เมือง(ในเรื่องพระมหา ชนก) เมืองที่หนึ่ง เมืองมิถิลานคร(เมืองอวิชา) ในเมืองมีแต่ เรื่องไม่ดีทั้งนั้นเลย เพราะคนไม่รู้ แต่เมืองดี ทรัพยากรเต็มไป 32

IS AM ARE www.fosef.org


หมดแต่มันอวิชา อีกเมืองหนึ่งคือเมือง กาลจ�ำปากะ เป็นเมืองภูมิปัญญา สอง เมืองห่างกัน 5-6 ร้อยโยชน์ อีกเมืองหนึ่ง เมืองสุวรรณภูมิ เขียนไว้ 3 เมือง อธิบาย ว่าเมืองมิถิลานครมันเป็นแบบนี้ เมืองกัน จ�ำปากะเป็นแบบนี้ แต่ไม่ได้บรรยายถึง เมืองสุวรรณภูมิ แล้วในเรื่องพระมหาชนกก็ไม่มี คนไปถึงเมืองสุวรรณภูมิ แล้วถ้าจะมีคน ไป ในหลวงก็เขียนไว้อีกว่า จะไปเมือง สุวรรณภูมิส่วนใหญ่จะขนทรัพย์สมบัติ ใส่เรือ เพราะต้องข้ามน�้ำข้ามมหาสมุทร ไปถึ ง จะถึ ง สุ ว รรณภู มิ แล้ ว ไปไม่ ถึ ง สั ก ราย ส�ำเภาแตกกลางทะเลหมด ก็เหมือน ว่าเมืองสุวรรณภูมิมันไปยากนะ ระวังนะ ถ้าไปแล้วอาจไม่เหลืออะไรติดตัวเลยก็ได้ แต่ก็เขียนตัวละครไว้อีกตัวหนึ่ง ว่าถ้าไปสุวรรณภูมิไม่ได้ก็มามิถิลานครสิ ว่ายน�้ำเจ็ดวันเจ็ดคืนกลับมาเมืองมิถิลา นคร ก็เขียนเรื่องความเพียรความอุสาหะ ต่างๆ ไม่พยายามไปไม่ถึงหรอก ในหลวง เขี ย นไว้ ชั ด ๆ เลยว่ า แค่ มี ค วามเพี ย ร พยายาม แค่ คิ ด ว่ า จะท� ำ แล้ ว ท� ำ เลย ส� ำ เร็ จ ไปครึ่ ง หนึ่ ง แล้ ว แต่ ถ ้ า คิ ด ว่ า ท� ำ ไม่ ไ ด้ มั น ก็ จ บ ไม่ มี ค วามพยายามก็ จ ะ เกิดความเกียจค้าน เขียนไว้ในพระมหา ชนก แล้ววันนี้ฉันก็เอานิยายเรื่องนี้มา เป็นต�ำรา มาอ่านทุกวัน อ่านจนรู้แจ้งว่า จริงๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “บอก ลายแทงเอาไว้ ” ว่ า ถ้ า จะเดิ น ไปทางนี้ ต้องไปอย่างนี้นะ มันเป็นอย่างนี้ก็มีวิธี แก้อย่างนี้นะ เรื่องทางออกทางแก้ เรื่อง ภัยภิบัติ เรื่องปัญหาอุปสรรคต่างๆ เขียน ไว้ในพระมหาชนกหมด คนที่พูดเรื่องนี้ ไม่มีจึงไม่เข้าใจลายแทงนี้ แล้ววันนี้ที่บ่นว่าอย่าปล่อยให้มัน หายไปในอากาศ ให้สร้างมหาวิทยาลัย ขึ้ น มา ในหลวงรู ้ ว ่ า มั น นอกต� ำ รา แต่ นอกต� ำ รามั น สามารถท� ำ ให้ ค นอยู ่ ร อด

ได้ ก็เคยเขียนโครงการไว้ตั้งสี่พันว่าเรื่อง ในโครงการพระราชด�ำริ ไม่มีหน่วยงาน ไหนเอามาบั น ทึ ก ไว้ เ ป็ น ต� ำ รา แต่ แ อบ เอาไปใช้นะ เรื่องน�้ำในหลวงเขียนไว้ลึก มาก ชลประทานก็เอาแค่บางเรื่อง แต่ ไม่เอาทั้งหมด ก็เหมือนตาบอดคล�ำช้าง นั่นแหละ เรื่องเกษตรในหลวงก็เขียนไว้ลึก แต่ ก ระทรวงเกษตรเลื อ กเป็ น บางเรื่ อ ง ก็ตาบอดคล�ำช้างอีกนั่นแหละ แต่จริงๆ ถ้ า จะท� ำ เรื่ อ งของพระราชาองค์ นี้ ต ้ อ ง ช้ า งทั้ ง ตั ว ครบองค์ ร วมนะ แต่ ที นี้ เขา ท�ำไม่ครบแล้วก็บอกว่าท�ำแล้ว เหมือน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเห็นไหมป้ายเต็ม ประเทศหมด แต่ข้างในมันมีอะไรก็ไม่รู้ ใช่ รึ เ ปล่ า ก็ ไ ม่ รู ้ แต่ ฉั น เข้ า ไปมั น ไม่ ใช่ หน้ า บ้ า นเหมื อ นเป๊ ะ แต่ เข้ า ไปข้ า งใน คนละเรื่อง ดร.สุ เ มธ ตั น ติ เ วชกุ ล ให้ ค� ำ แนะน� ำ เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ ยั ง ไงบ้ า ง ? วั น นี้ ที่ ม าตระหนั ก จริ ง ๆ ท่ า น ดร.สุเมธ เกริ่นไว้ตั้ง 30 กว่าปีแล้ว ว่า 33 issue 112 maY 2017

อีกไม่ช้าเรื่องที่พระเจ้าอยู่หัวเขียนไว้ใน เรือ่ งพระมหาชนกมันเกิดหมดนะ เตือนไว้ ระเบิด 4 ลูก ระวังจะเกิดภัยพิบัติ ก็ไม่มี ใครฟัง ผลสุดท้ายเกิดจริง บอกว่าระวัง จะเกิดโรคระบาดนะ ไม่มียารักษาด้วยนะ ก็ไม่มีใครฟังอีก ผลสุดท้ายเกิดจริง แล้วก็ หายาแก้ไม่ได้ ระวังนะข้าวจะยากหมาก จะแพงมันจะอดอยากกันนะ เขียนไว้ ก็ ไม่มีใครฟัง ท้ายที่สุด เห็นชัดๆ เลย อีก ไม่ช้าชาวนาก็ไม่ท�ำนาหรอก แล้ววันนี้ ข้ า วยากหมากแพงจริ ง ๆ ข้ า วสารแพง ข้าวเปลือกถูก ชาวนาตายนะ แต่พ่อค้า รวย แล้ ว ท้ า ยที่ สุ ด เขี ย นวงเล็ บ ไว้ ด ้ ว ย “ความขัดแย้งจะแรง” จริงๆ ท่านหมาย ถึงสงคราม มันสามารถน�ำพาไปได้หลาย สงคราม สงครามแย่งอาหาร แย่งอ�ำนาจ แย่งน�้ำ แย่งทรัพยากร แก่งแย่งเป็นแบบ ไหนก็เขียนรูปต้นมะม่วงไว้ มีมะม่วงอยู่ 2 ต้น แต่อีกต้นหนึ่งไม่ค่อยได้พูดถึงเท่าไหร่ มาพู ด ถึ ง ต้ น ที่ ก� ำ ลั ง แย่ ง โค่ น กั น จะกิ น มะม่วง จุดประสงค์ของคนที่อยู่โคน เป้า หมายคือจะกินมะม่วง แต่ไปโค่นมะม่วง ท�ำไมไม่สอยทีละลูก เท่ากับวันนี้ตรงไหน


34 IS AM ARE www.fosef.org


มีผลประโยชน์ ตรงนั้นจะถูกท�ำลาย เช่น เรื่องเสือ หลวงตามหา บัวเลี้ยงมาตั้งนาน อยู่ๆ บอกผิด เอาเสือกลับไปเกลี้ยง แล้วคน ที่เอากลับไปเลี้ยงเสือเป็นรึเปล่า เพาะเสือได้ไหม แต่หลวงตาม หาบัวเพาะจนเกิดเยอะแยะหมดเลย แค่จะเอาเสือก็ท�ำลายคน เลี้ยงเสือแล้วไง ช้างเหมือนกัน อีกไม่ช้าจะสูญพันธุ์ เอาช้างไปอยู่ในมือ ตัวเอง ภาครัฐมีใครช�ำนาญเรื่องช้างบ้าง คนที่เขาเลี้ยงช้างเป็น อาชีพเขาช�ำนาญนะ แต่วันนี้บอกเขาผิด จะต้องเอาคืนรัฐ ก็ เหมือนต้นมะม่วงนั่นแหละ จริงๆ ตรงโค่นต้นมะม่วงคือใครรู้ ไหม มีคนทายกันว่า เหลืองกับแดง ทะเลาะกัน แต่จริงๆ ไม่ใช่ หรอก “รัฐกับประชาชน” ที่โค่นมะม่วงนั่นแหละ ที่แต่งตัวดีๆ นั่นรัฐ ที่ขาดๆ รุ่งริ่งนั่นประชาชน วันนี้ก�ำลังจะแย่งอะไรกัน ก็ไม่รู้ จากคนที่เคยเป็นเจ้าของอยู่ เอาไปเป็นของรัฐ แต่เบื้อง หลังมีใครไม่รู้อยู่เบื้องหลังรัฐ จะกินมะม่วงก็โค่นมะม่วง แล้วท้ายที่สุดในหลวงก็กลัวไง อีกไม่ช้าไม่นานถ้ามันเกิด แบบนี้ ประชาชนจะพึ่งใคร ก็เลยคิดเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาให้ แค่ค�ำว่าพอก็พอแล้วมันมีเรื่องราวภายในเยอะ แยะ แต่ในหลวงเขียนค�ำว่าให้รู้จักพอ จะพอและพึ่งตนเองได้มัน มีวิธีการท�ำอยู่คือ ทฤษฎีใหม่ แล้วก็ตั้งสี่พันกว่าเรื่องที่ในหลวง เขียนไว้ให้ ไหนลองหยิบมาท�ำดู แค่ท�ำก็สามารถเอาตัวรอดได้ แล้ว แต่วันนี้คนจะท�ำเรื่องนี้ถูกกีดกัน ด้วยกฎหมาย พอจะท�ำ เรื่องนี้เข้าจริงๆ ก็จะมีกฎหมายเข้ามาใส่ว่า ต้องอย่างนี้ด้วยนะ ถ้าอย่างนี้อย่างเดียวไม่ส�ำเร็จต้องอย่างนี้ด้วยนะ

แล้วจะแก้ไขยังไง วันนี้จะไปแก้ไขข้างบนไม่ได้แล้ว ต้อง แก้ไขข้างล่าง เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงเขียนไว้หลาย ขั้น แต่ที่แน่ๆ สองขั้นแรกท�ำก่อนได้ไหม ให้รู้แค่สองขั้นแรกก่อน ขั้นที่หนึ่งขั้นพื้นฐาน ขั้นที่สองขั้นก้าวหน้า แล้วสองขั้นนี้ในหลวง เน้นอยู่ขั้นเดียว คือขั้นพื้นฐาน ไม่ได้เน้นขั้นก้าวหน้านะ ถึงขนาด ย�้ำว่า อย่าข้ามขั้นนะ “ให้เดินทีละก้าว กินข้าวทีละค�ำ ท�ำทีละ อย่าง” ย�้ำเรื่องนี้ แม้จะมีสองขั้นก็อย่าข้ามขั้นนะ แต่วันนี้ทุก เรื่องข้ามขั้นหมด ไม่ได้ตามขั้นตอนเลย อยู่ๆ ก็ลุยๆ ให้มันเสร็จ วั น นี้ ฉั น ก็ เ อานิ ย ายเรื่ อ งนี้ ม าเป็ น ต� ำ รา มาอ่ า นทุ ก มันก็ไม่เสร็จ เพราะมันผิดขั้นตอน วั น อ่ า นจนรู ้ แ จ้ ง ว่ า จริ ง ๆ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 แล้วถามว่าคนที่อยู่ข้างบนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่เจตนา “บอกลายแทงเอาไว้ ” ว่ า ถ้ า จะเดิ น ไปทางนี้ ต ้ อ งไป เหมือนไม่รู้ เรียนมาถึงขนาดดอกเตอร์เยอะแยะไปหมดเลย อย่ า งนี้ น ะ ฉลาดนะ ไม่ใช่โง่หรอกพวกนี้ แต่ท�ำไมไม่รู้เรื่องพวกนี้ล่ะ ไม่รู้ จริงหรือ หรือแกล้งไม่รู้ แล้วพอถึงวันนี้ต้องท�ำ เพราะเสียหายไง ตอนในหลวงอยู่ยังไม่ได้พูดอะไรกันมาก แค่ดื้อไม่ท�ำ พระราชาองค์นี้ทั่วโลกรู้หมดนะ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เฉยๆ แต่ ต อนนี้ ท ่ า นไม่ อ ยู ่ เหมื อ นความผิ ด มั น ออกมาแล้ ว เพียงของพระราชาองค์นี้ถึงขนาดต่างชาติน�ำรางวัลมาให้ แล้ว ระหว่างอยู่ท�ำไมไม่ท�ำตั้ง 70 ปี คิดมาแล้ว สี่พันกว่าเรื่องท�ำไม หลายชาติก็น�ำเรื่องนี้ไปปฏิบัติซะด้วย เรือ่ งของพระราชานี่แหละ ไม่ท�ำ แล้วในหลวงก็รู้ว่าถึงสิ้นแล้วจะท�ำกัน แต่เวลาจะท�ำเชื่อ แล้วก็เชื่อว่าอีกไม่นาน เขาเหล่านั้นจะมาดูของจริง เหมือนเราดู ว่าเพี้ยน เขียนไว้ในพระมหาชนกตอน “อัมมาตแปลงสาส์น” ศาสนาพุทธท�ำไมต้องไปอินเดีย ต้นฉบับอยู่ที่นั่น ลองไปค้นคว้าดู เรื่องจากข้างบนมายังไงไม่รู้ พอถึงข้างล่าง แล้วถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็ต้องที่ประเทศไทย มั น แปลง พอแปลงไปแปลงมาก็ ท ะเลาะกั น ไม่ ใช่ แ ค่ รั ฐ กั บ แล้วเขามาจริงๆ พอรู้ตัวว่าเขาจะมาก็ท�ำ เพราะไหนๆ เขาต้อง ประชาชนนะ รัฐกับรัฐก็ทะเลาะกัน ในเรื่องเขียนถึงพระมหา มาอยู่แล้วก็ท�ำกันใหญ่ แต่ท�ำถูกรึเปล่า ขึ้นต้นก็ผิดแล้วไง เห็น กษัตริย์ทะเลาะกันใช่ไหม พี่กับน้องขัดแย้งกัน เพราะอัมมาตมัน ไหม จะท�ำศาสตร์พระราชา แต่ท้ายที่สุดคือทฤษฎีใหม่ เกษตร ไปแปลงสาส์น ทฤษฎีใหม่ตั้งใจท�ำเลยนะ พอขึ้นหัวข้อก็ผิดแล้วไง เรื่องของ 35 issue 112 maY 2017


เศรษฐกิ จ พอเพี ย งหรื อ ทฤษฎี ใ หม่ มั น ต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนอย่าใจร้อน แต่ นี่ปุบปับให้เสร็จภายในวันที่เท่านั้นเท่า นี้ มั น ไม่ เ สร็ จ หรอกถ้ า จะให้ เ สร็ จ แบบ นั้นมันก็ไม่เสร็จ มันไม่มีขั้นตอน ไปข้าม ขั้นซะ ผลสุดท้ายก็เฮโลท�ำกันก็เละหมด แจกปลาปลาก็ตายหมดแล้ว แจกไก่ไก่ก็ ไปไหนก็ไม่รู้ ผลสุ ด ท้ า ย ดร.สุ เ มธ พู ด แล้ ว พู ด อี ก ตอนที่ พ ระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ 9 สวรรคตใหม่ๆ พูดเรื่องนี้ย�้ำๆ แต่ก็แค่ นั้น เข้าหูนี้ออกหูนี้ นายกฯ ก็ย�้ำ ศาสตร์ พระราชาพั ฒ นาประเทศ ฟั ง ทุ ก คนใน ประเทศไทย แต่ผู้ปฏิบัติคือข้าราชการ ที่จะน�ำเรื่องราวต่างๆ มาส่งต่อ แต่วันนี้ หัวส่ายหางมันไม่กระดิก แล้วจะไปได้ยัง ไง ฉันเลยตัดสินใจจะท�ำหรือไม่ท�ำไม่ว่า แต่ฉันท�ำ ก็เลยเข้าคุยกันระหว่างระดับ รัฐบนนั่นแหละ รัฐบนเอา แต่กลางกับ

ล่างไม่เอา หัวส่ายเต็มที่หนุนเต็มที่ แต่ มันมาแปลงสาส์นตรงกลางซะ ที่มันแปลง สาส์นตรงกลางเพราะมันมีนายทุนอยู่ไง นายทุนมันมาประกบ ต้องอย่างนี้หน่อย ต้องอย่างนั้นหน่อย เพี้ยนหมดแล้ว เกี่ ย วกั บ การขั บ เคลื่ อ นศาสตร์ พระราชา หรื อ น� ำ วิ ถี เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาปรั บ ใช้ ผู ้ ใ หญ่ มี ค� ำ แนะน� ำ ยั ง ไง ? จริงๆ ศาสตร์พระราชาวันนี้ต�ำรา ไม่ต้องไปท่อง เพราะเอ่ยทุกคนก็รู้แล้ว ว่าศาสตร์พระราชาท่องกันมาตั้ง 40-50 ปี จ� ำ ได้ ทุ ก คนแล้ ว แต่ ไ ม่ รู ้ ว ่ า ท� ำ ยั ง ไง เท่านั้นเอง วันนี้ก็เอาต�ำราวางไว้ซะ หมด เวลาท่องแล้วหละ เพราะท่องกันมาจน เจ้าของเรื่องเขาไม่รอแล้ว ก็ต้องท�ำแล้ว หละ อย่าไปกลัวผิด ให้ท�ำเถอะ แค่ใจไป มันก็ได้แล้ว ส่วนจะผิดหรือถูกท�ำบ่อยๆ 36 IS AM ARE www.fosef.org

มั น ช� ำ นาญเอง ศาสตร์ พ ระราชาต้ อ งรู ้ เหรียญสองด้านนะ ต้องให้รู้ผิดรู้ถูก ก็ต้อง ลองผิดลองถูก ไม่ใช่สูตรส�ำเร็จ เพราะ ศาสตร์พระราชาองค์นี้เวลาเขียนเขียนอีก ที่หนึ่ง เวลาท�ำท�ำอีกที่หนึ่ง ก็ต้องไปปรับ หาเอา ก็เลยบอกท่อนท้ายว่า ถ้าจะน�ำ เรื่องทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติให้ไปปรับหาเอา ให้เหมาะสมกับภูมิสังคม ให้เหมาะสมกับ ฤดูกาล ให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆ แต่ เ วลาไปท� ำ จริ ง ๆ หน่ ว ย ราชการไม่ได้ปรับ ติดต�ำราแต้เลย อย่างนี้ ไม่ได้ เขาเขียนไว้อย่างนี้ ต้องแบบนี้ ก็คน ทีถ่ อื ต�ำราเขาท�ำไม่เป็นไง เพราะไม่เคยท�ำ ได้แต่อ่านและท่อง ต้องระเบิดจากข้างใน จะท�ำศาสตร์ของพระราชา เห็นไหมเขา พูดกันบ่อยๆ ต้องระเบิดจากข้างใน แต่ มันไม่ระเบิด ความรู้สึกส�ำนึกข้างในมัน ไม่มี ต�ำราต้องมี ต้องแม่นทฤษฎีและก็ แม่นปฏิบัติด้วย


ฉันมีอาจารย์อยู่สองคน คนหนึ่งแม่นทฤษฎี คืออาจารย์ ตอนนี้ขึ้นต้นว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาสตร์พระราชา” ก็ ดร.สุเมธ คนที่แม่นปฏิบัติคืออาจารย์ยักษ์ สองคนนี้บู๋กับบุ๋น เลยตั ด สิ น ใจท� ำ เรื่ อ งนี้ ฉั น ถู ก บั ญ ชาให้ ท� ำ มาตั้ ง สิ บ สิ บ ปี แ ล้ ว คู่กัน อีกคนพูดให้ความรู้ให้ส�ำนึก อีกคนท�ำเป็นตัวอย่าง เพราะถูกกระแทกว่า รีบท�ำนะ เดี๋ยวถึงวันนั้นแล้วไม่รู้จะไป ดูที่ไหน ไม่รู้จะไปอ้างที่ไหน เพราะไม่มีใครท�ำนะ ก็ตัดสินใจ ดู เ หมื อ นวั น นี้ มี อ ยู ่ 2 ศาสตร์ ที่ ก� ำ ลั ง ขั บ เคี่ ย วกั น ท�ำจนเกิด มาเป็น “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง” “ศูนย์ แม้ น ายกฯ จะชู ศ าสตร์ พ ระราชา ? กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” “ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่อง มีศาสตร์พระราชา กับศาสตร์ของใครก็ไม่รู้ ไม่เอ่ยเขา มาจากพระราชด�ำริ” ลองดูเอาว่าจะไปศาสตร์ไหน เพราะศาสตร์ที่กระท�ำอยู่ทุกวัน ฉันก็เลยตัดสินใจท�ำให้ดูเลย แล้วให้ประชาชนเดินเข้ามา นี้ 40-50 ปีแล้วนะ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 จนถึง ปัจจุบัน ท�ำแต่ ไม่บังคับกัน นี่คืองานสานต่อเรื่องของพระราชาองค์นี้ เป็นของ ศาสตร์นี้อยู่นะ ถึงทุกวันนี้มันเหลืออะไรบ้างล่ะ หมดแล้ว ไม่มี ทุกคนที่รักในศาสตร์ของพระราชา อาจไม่ถูกใจคนกลุ่มหนึ่ง ก็ แล้ว เพราะศาสตร์นั้นใช่ไหม จะรวย จะขุด จะขาย จะเอา เขา ไม่ว่ากัน เพราะโลกอยู่ด้วยกันสองฝ่ายอยู่แล้ว ก็เลยตัดสินใจท�ำ เรียกศาสตร์แข่งขัน แข่งไปแข่งมาก็ท�ำลายซึ่งกันและกัน เพราะ เรื่องนี้มา 30 กว่าปี ท�ำจนสามารถช่วยตัวเองได้ ฉันพึ่งตนเอง แข่งกันเอา แข่งกันได้ ได้หมด ตามศาสตร์พระราชา แต่มันมีอีกศาสตร์หนึ่งนะ ให้นะ ให้รู้ประโยชน์ส่วน ตน ให้รู้ประโยชน์ส่วนรวม รู้จักให้บ้าง แต่ศาสตร์ที่เคยท�ำกัน มี ศ าสตร์ พ ระราชา กั บ ศาสตร์ ข องใครก็ ไ ม่ รู ้ ไม่ เ อ่ ย มา 40-50 ปี อันนั้นไม่เคยให้ใครเลย เอาก�ำไรสูงสุดอย่างเดียว เขา ลองดู เ อาว่ า จะไปศาสตร์ ไ หน เพราะศาสตร์ ที่ สองศาสตร์วันนี้ไหนลองมาท�ำกันดูซิ เพราะประชาชนท�ำศาสตร์ กระท� ำ อยู ่ ทุ ก วั น นี้ 40-50 ปี แ ล้ ว นะ ตั้ ง แต่ พ.ศ. ของแกมาจนหมดเนื้อหมดตัวแล้วไง หมดไร่หมดนา ส่งลูกเรียน 2504 จนถึ ง ปั จ จุ บั น ท� ำ แต่ ศ าสตร์ นี้ อ ยู ่ น ะ ถึ ง ทุ ก วั น นี้ มั น เหลื อ อะไรบ้ า งล่ ะ หมดแล้ ว ไม่ มี แ ล้ ว ขายไร่ขายนา พอเรียนจบได้ควายกลับมาตัวหนึ่ง แต่ศาสตร์พระราชาองค์นี้ พอมีพอกิน อยู่กับบ้าน ไม่ เพราะศาสตร์ นั้ น ใช่ ไ หม จะรวย จะขุ ด จะขาย จะ ต้องไปไหนเลย อยู่กับลูก อยู่กับเมีย อยู่กับพ่อแม่พี่น้อง มี เอา เขาเรี ย กศาสตร์ แ ข่ ง ขั น แข่ ง ไปแข่ ง มาก็ ท� ำ ลาย ความสุข แบบความสุขจริงๆ ไม่ใช่ปลอมๆ มันท�ำแบบนี้นะ ซึ่ ง กั น และกั น แล้ววันนี้เรื่องของศาสตร์พระราชามันถูกบัญชา เขียน ไว้ในพระมหาชนก ว่าต้องให้เกิดศูนย์เรียนรู้แบบเบ็ดเสร็จ “ปู ทะเลมหาวิชชาลัย” ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านกันเอง ตามหลักวิธี คิดแบบภูมิปัญญา เอาเรื่องเก่าๆ มาสอนกัน เรื่องใหม่ก็ว่ากันไป แต่วันนี้ถ้าข้างหน้าไปไม่รอดให้ถอยหลังเข้าครอง ลองมาดูว่าเรา เดินผ่านอะไรไปบ้างที่มันดีดี ถอยหลังมาเก็บซะให้หมด นี่ถึงเกิด ฉันขึ้นมา ถึงเกิดศูนย์ต่างๆ นี้ขึ้นมา เกิดกิจกรรมต่างๆ นี้ขึ้นมา ก็ สืบเนื่องมาจากบัญชาจากพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ถูกบัญชาจากคน ที่อยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัว ฉันคือคนท้ายๆ ที่ท�ำเรื่องนี้ ไม่มีเรื่องใดในพระมหาชนกที่ไม่จริง อยู่ที่ว่ามันจะเกิด เมื่อไหร่ แต่เกิดเมื่อไหร่ไม่ส�ำคัญเท่ากับจะแก้ยังไง ในหลวงเขียน ทางแก้เอาไว้หมดแล้ว ผู ้ ใ หญ่ ม องว่ า จริ ง ๆ พระมหาชนกคื อ ต� ำ รา แต่ ค น เรี ย นไม่ มี ? เขาทิ้ง แล้วออกจากนอกกรอบไปซะ ไม่ให้เรียน เมื่อ ก่อนเรียนอยู่แล้ว แต่ตอนหลังเขานึกยังไงไม่รู้การศึกษาเขาเอา 37 issue 112 maY 2017


หลังก็เริ่มงงๆ ว่า เอ๊ะ ในหลวงท่านตรัสทุกวัน พระราชด�ำรัส ตรัสให้ฟังทุกวัน แต่ก็ไม่เข้าใจเพราะไอ้คนที่ไปเน้นเป้ามันไม่มี แค่พระราชด�ำรัสเร็จแล้วก็เป็นละครน�้ำเน่าต่อ คนก็รอให้เลย ผ่านไป เมื่อไหร่จะจบจะได้ดูละคร ไม่ได้เป็นทางการเลย มัน ก็เลยสื่อกันไม่ชัด มาตอนนี้ เริ่ มชั ด แต่ เจ้ า ของก็ ไ ม่ อ ยู ่ แล้ ว แล้ ว เวลาผิด พลาดใครจะท้วง แล้วท้ายที่สุดคนรุ่นหลังรู้เรื่องอีกแบบหนึ่ง เพราะคนปัจจุบันไม่รู้เรื่อง คนหนุนเรื่องนี้ก็ไม่มีนะ ตอนนี้ฮือฮา ร้อนๆ อยู่นะ ข้างบนหนุนเอาหนุนเอา แต่มันมีกระแสต้านๆ อยู่ ข้างในนั่นแหละ เห็นไหม นากยกฯ พูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สมคิดก็พูดถึงการค้า มันไปคนละเรื่องกัน อีกฝ่ายหนึ่งพูดถึงเรื่อง ทะเลาะกัน คือมันไม่จบ มันขัดกันเอง ไม่ไปทางเดียวกัน ประเทศไทยเป็นแบบนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงรู้ รีบ พึ่งตนเองให้ได้ซะ เพราะต่อไปมันเป็นแบบนี้จริงๆ เขียนไว้ เตือนชัดๆ ถ้าพึ่งตนเองไม่ได้เมื่อไหร่ก็เสียท่าเขา มรดกไม่เหลือ ชาวนาเหลือแค่รูป รูปชาวนาใส่หมวกขาดๆ แต่ตัวชาวนาไม่มี แล้ว อีกไม่นานเกินรอจะเห็นจริง ว่าชาวนาประเทศไทยตัว จริงไม่มี พระมหาชนกเปรี ย บเสมื อ นต� ำ ราที่ เ ป็ น มรดก ? ต�ำราเล่มนี้ต้องสานต่อ ถ้าไม่สานต่อต�ำราเล่มนี้ตายไป ก็นอนไม่หลับนะ เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ไว้แล้ว ทั้งชีวิต

ต�ำราของพระเจ้าอยู่หัวออกไปอยู่นอกระบบ แล้วไม่กล้าเอาใส่ จนทุกวันนี้พยายามดันใส่อยู่นะ ข้างบนใส่แต่ข้างล่างก็ไม่เอา มี แต่ป้ายเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีครูสักคน ขนาดครูยังไม่เอาเลย แล้วจะให้นักเรียนไปเรียนกับใครล่ะ โยนมาให้ฉัน ครูมาถึงส่ง แล้วกลับไปเล่นไพ่ จริงๆ มันต้องบ่มเพาะเสร็จแล้วก็ไปอบรม อีกที แต่ครูไม่เอา ไม่อยู่ฟังเลย พอเสร็จกลับไปถึงสอนอีกเรื่อง หนึ่ง เรื่องนี้ไม่มีสอบ แล้วจะท�ำยังไง ก็ต้องปั่นครูใหม่ขึ้นมา ปูทะเลมหาวิชชาลัย ต้องสร้างโรงเรียนนี้ให้เกิด แล้ววัน นี้สร้างแล้วนี่ไง ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ต�ำราที่ไม่มีในระบบอยู่ใน นี้ทั้งหมด (ศูนย์กสิกรรมบ้านสองสลึง) เนื้อที่ไม่ส�ำคัญ เพราะเรื่องของในหลวงแม้ไม่มีที่ก็ท�ำได้ มันเป็นเรื่องของหลักคิด น�ำไปสู่หลักปฏิบัติที่เขียนไว้ตั้งสี่พันกว่า โครงการ เลือกเอาได้เลย แค่ใช้ปัญญาอย่างเดียวก็สามารถเอา ตัวรอดแล้ว ก่ อ นหน้ า นี้ ผู ้ ใ หญ่ ท� ำ อะไรมาก่ อ น ? ฉันเป็นชาวไร่ชาวนา จนทุกวันนี้ก็ชาวไร่ชาวนา แต่เมื่อ ก่อนเป็นชาวไร่ชาวนาที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้ไง รักพระเจ้าอยู่หัวไหว้ ทุกวัน แต่ไม่เคยรู้ว่ามีอันนี้อยู่ เพราะไม่มีใครบอกให้รู้ แต่ตอน 38

IS AM ARE www.fosef.org


ในหลวงคิดไว้แล้วนะ ว่าทางรอดคือทาง นี้ แล้วคนที่ท�ำเรื่องนี้จริงจังก็รู้นะว่ารอด ทางนี้ แต่คนหนุนไม่มีไง ท�ำๆ ไปก็เหมือน ค้านๆ เหมือนเกษตรทฤษฎีใหม่ มีเกษตร บางคนบอกว่าต้องฉีดยาฆ่าแมลงได้ด้วย ใส่ปุ๋ยเคมีได้ด้วยเพราะธาตุอาหารมันไม่ พอ ถ้าไม่ท�ำแบบนี้มันจะไม่ประสบความ ส�ำเร็จ แต่ใช้ไม่มากนะ แต่ใช้ด้วย แค่ว่า ให้ใช้ด้วยก็ผิดแล้ว ให้ใช้ด้วยคือแปลงใหญ่ จะเอา ไปขาย ผลิ ต ให้ เ ยอะๆ แต่ เรื่ อ งเกษตร ทฤษฎีใหม่เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัว พอมีพอ กิน ไม่ใช่มุ่งขาย คนละศาสตร์กัน อันนั้น มันศาสตร์การค้า ศาสตร์แข่งขัน ของ พระเจ้าอยู่หัวศาสตร์พระราชา ให้พอมี พอกินพึ่งพาตนเองได้ มันคนละศาสตร์ แต่ไปเอารวมกัน ผลสุดท้ายคนท�ำก็งงว่า มันยังไงกันแน่ แล้วไปออกแบบของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ให้พึ่งพาตนเอง ไม่ได้ ต้องท�ำใหญ่ๆ อันนั้นคนละศาสตร์ แล้ว แต่ทฤษฎีใหม่มีตั้งสามขั้น นี่ขั้นแรก

ประเทศไทยเป็ น แบบนี้ ในหลวงรั ช กาลที่ 9 ถึ ง รู ้ รี บ พึ่ ง ตนเองให้ ไ ด้ ซะ เพราะต่ อ ไปมั น เป็ น แบบนี้ จ ริ ง ๆ เขี ย นไว้ เ ตื อ นชั ด ๆ ถ้ า พึ่ ง ตนเอง ไม่ ไ ด้ เ มื่ อ ไหร่ ก็ เ สี ย ท่ า เขา มรดกไม่ เ หลื อ ชาวนาเหลื อ แค่ รู ป รู ป ชาวนา ใส่ ห มวกขาดๆ แต่ ตั ว ชาวนาไม่ มี แ ล้ ว อี ก ไม่ น านเกิ น รอจะเห็ น จริ ง ว่ า ชาวนาประเทศไทยตั ว จริ ง ไม่ มี ยังไม่ก้าวเลย ไปเร่งขั้นสองขั้นสามแล้ว มันไปได้ไหม ไป แต่ให้ผ่านขั้นหนึ่งไป ก่อน เพราะในหลวงบอกอย่าข้ามขั้นนะ แล้วขั้นหนึ่งผ่านไปได้ ขั้นสองขั้นสามไม่ ต้องคิดให้เขา เขาคิดเอง เพราะคนท�ำรู้ ว่าควรท�ำไรต่อ ก็บ้านเขา คนอยู่ข้างนอก จะรู้เหรอว่าบ้านเขาเป็นไง ฉะนั้นก็โง่กว่า เขาซะบ้าง อย่าไปฉลาดกว่าเขานัก มี เ กณฑ์ รั บ คนมาฝึ ก อบรมที่ ศู น ย์ กสิ ก รรมบ้ า นสองสลึ ง เป็ น ยั ง ไง บ้ า ง ? ฉั น จ ะ เ ลื อ ก ค น จ ะ ม า ต ้ อ ง สมัครมา ตั้งใจมาถึงจะเอา ถ้าไม่ตั้งใจมา 39 issue 112 maY 2017

ไม่เอาหรอก แค่จะมาดูก็ดูไปไม่ได้ว่า แต่ ไม่ต้องมาคุยกับฉัน แต่ถ้าจะมาเรียนมันมี ขั้นตอนอยู่ ทดสอบความเพียรไหวเปล่า ถ้าไหวเอา ถ้าไม่ไหวกลับบ้านเถอะ อย่า อยู่เลย เสียเวลาฉัน มาแล้วต้องได้ ต้อง ใช่ มาแล้วงูๆ ปลาๆ เสียชื่อเรา เขาอยากรู้เรื่องที่ฉันพูด เรื่องการ เอาตัวรอดตามศาสตร์พระราชา เกษตร ทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่มีตั้งเป็นพันๆ เรื่อง หนึ่งในเกษตรทฤษฎีใหม่ก็สามารถเอาตัว รอดได้แล้ว ไม่ต้องท�ำทุกเรื่องหรอก


40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 112 maY 2017


สภาพแวดล้อม

ความเป็นมา

ความเขียวชอุ่มของป่าไม้ ความอุดมสมบูรณ์ของเรือก สวนไร่นาในแบบเกษตรผสมผสาน มีล�ำห้วยสายน�้ำไหลคอย หล่อเลี้ยง รอยยิ้มอย่างมีความสุขของชาวบ้านในวิถีชีวิตพอ เพียง พออยู่ พอกิน คิดเป็น และพึ่งตัวเองได้ เป็นอีกต�ำบล หนึ่ ง ของดิ น แดนที่ ร าบสู ง ที่ ชุ ม ชนมี ค วามเข้ ม แข็ ง สามารถ พั ฒ นาตนเองจนมี ค วามมั่ น คงทั้ ง ทางด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ในวันนี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากวันเก่าๆของการเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความมั่นคง จากความขัด แย้งทางการเมือง ท�ำให้มีผู้คนอพยพเข้าออกหลายครั้งจนเป็น พื้นที่รวมกลุ่มคนที่หลากหลาย ท่มกลางสถานการณ์กวาดล้าง คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย จนเหตุการณ์คลี่คลายและตั้งต�ำบล ป่าก่อได้ส�ำเร็จในปี พ.ศ.2527 ปัจจุบัน ต�ำบลป่าก่อเป็น 1 ใน 5 ต�ำบลของอ�ำเภอ ชานุมาน จังหวัดอ�ำนาจเจริญ แบ่งเป็น 13 หมู่บ้าน ประชากร ประมาณ 8,000 คน บนพื้นที่ 115 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากร ท้องถิ่นอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทั้งแหล่งน�้ำส�ำคัญ เช่น หน องโก๋ย ห้วยถม ห้วยกระแส ฯลฯ มีป่าชุมชน 7 แห่งกระจาย อยู่ในพื้นที่ อาทิ ป่าก่อ ป่าห้วยฆ้อง และป่าหนองแมงดา ชาว บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพท�ำนา ท�ำไร่ อ้อย มันส�ำปะหลัง ยางพารา เลี้ยงสัตว์ และรับจ้าง โดยเกือบทั้งหมดเป็นคนจากต่างถิ่นย้าย เข้ามาท�ำกิน ส่วนคนพื้นถิ่นเดิมเป็นชาวภูไท นับถือศาสนาพุทธ ถือผีไท้ เจ้าปู่ มีความสมานฉันท์ และให้ความร่วมมือกับภาค รัฐเป็นอย่างดี

ด้ ว ยความที่ ต� ำ บลป่ า ก่ อ เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ป ั ญ หาขั ด แย้ ง ทางการเมืองอยู่หลายช่วง มีการโยกย้ายคนหลายครั้ง ท�ำให้ มี ท้ั ง กลุ ่ ม คนเก่ า คื อ ชาวภู ไ ทที่ ม าจั บ จองพื้ น ที่ ตั้ ง บ้ า นเรื อ น ตั้งแต่อดีตและกลุ่มคนอพยพเข้ามาอยู่ใหม่ งานพัฒนาส่วน ใหญ่ในต�ำบลแห่งนี้ จึงเกิดจากการวางแผนของรัฐบาล เพื่อ ป้องกันปัญหาการแตกแยกทางการเมืองในพื้นที่เป็นส�ำคัญ โดย สามารถสรุปมีพัฒนาการของต�ำบลได้ดังนี้

พ.ศ.2501-2509 ยุ คบ้านแตก

กลุ่มคนจากบ้านค�ำไผ่ ต�ำบลโคกก่ง กิ่งอ�ำเภอเขมราฐ อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านใหม่ที่พื้นที่ต�ำบลป่าก่อ ต่อมา ได้ก่อตั้งโรงเรียนบ้านหนองแมงดา เพื่อช่วยให้เด็กไม่ต้องเดิน ทางไกลไปเรียนจนปี พ.ศ.2507-2508 เกิดการต่อสู้ระหว่าง กองก�ำลังคอมมิวนิสต์ในพื้นที่และกองก�ำลังทหารหน่วยทหาร รักษาพื้นที่ได้ และอพยพชาวบ้านส่วนใหญ่ไปอยู่นอกพื้นที่ จน กระทั่งปี พ.ศ.2509 เกิดเหตุการณ์บ้านแตกเพราะภัยทางการ เมือง ท�ำให้คนในพื้นที่ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถูกส่งไปอยู่ บริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ อีกส่วนหนีเข้าป่าไปกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2510-2526 ยุ ค สิ้ น เสี ย งปื น แตก ช่วงแรกชาวบ้านที่ถูกย้ายไปอยู่เขื่อนอุบลรัตน์ได้ย้าย กลับมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านหนองไฮอีกครั้งแต่ทหารย้ายให้ไปอยู่ ที่เขื่อนล�ำโคมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี เพราะสถานการณ์ยัง ไม่สงบ จนปี พ.ศ.2525 ชาวบ้านเหล่านั้นได้ย้ายกลับมาสมทบ 42

IS AM ARE www.fosef.org


ด้วยชาวบ้านที่หนีเข้าป่าและเข้ามอบตัวทางการ ตามมาด้วยชาวบ้านหนองแมงดาที่ย้ายกลับมาพื้นที่เดิมในปี พ.ศ.2526 โดยมี กองก�ำลังสุรนารีท�ำงานพัฒนาร่วมกับชุมชน ร่วมด้วยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ ที่เข้ามาในพื้นที่เน้นพัฒนาความเจริญ ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจนท�ำให้เกิดปัญหาด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมติดตามมาในที่สุด พ.ศ.2527-2552 ยุ ค เริ่ ม การพั ฒ นาในพื้ น ที่ ต�ำรวจตระเวนชายแดน (กองก�ำลังสุรนารี) เป็นผู้น�ำหลักในการพัฒนาพื้นที่ เน้นงานมวลชนสัมพันธ์ โดยมีการจัดตั้งโรงเรียน เป็นครั้งแรกที่บ้านป่าก่อในปี พ.ศ.2527-2528 จากนั้นได้เริ่มโครงการพระราชด�ำริฯ ส่งเสริมการขุดสระและปลูกพืชผสมผสาน เพื่อ แก้ปัญหาความยากจนและสร้างงานให้คนในพื้นที่ ต่อมาปี พ.ศ.2534-2538 ชุมชนได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนบ้านนาหนองเจริญแดง โรงเรียนหนองแมงดา และโรงเรียนบ้านห้วยถ่ม

ในช่วงปี พ.ศ.2537 มีการร้องเรียนเรื่องปัญหาที่ดิน ส่ง ผลให้เกิดปัญหาการจัดการที่ดินให้กับคนที่ย้ายเข้ามาในพื้นที่ และคนที่อาศัยอยู่เดิมเมื่อรัฐมีนโยบายแก้ปัญหาให้กับผู้ที่ย้าย เข้าไปอยู่ใหม่ท�ำให้เจ้าของที่เดิมขายที่ดินตนเองให้กับคนนอก ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพื่อตนเองจะได้ไปรับที่ดินที่จัดสรรใหม่ จากภาครัฐ ท�ำให้ที่ดินไม่พอกับคนที่เพิ่มขึ้นประกอบกับมีการ สนับสนุนให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ต้องใช้สารเคมี ท�ำให้มีต้นทุน สูง จึงเกิดปัญหาหนี้สินติดตามมา และต่อมาก็เกิดการรุกพื้นที่ ป่ามากขึ้น เพื่อขยายพื้นที่ท�ำกินจนชาวบ้านถูกจับกุมจากภาค รัฐ การท�ำลายทรัพยากรในต�ำบลป่าก่อด�ำเนินเรื่อยมา จนในปี พ.ศ.2543 กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund : SIF) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนจึงได้ สนับสนุนงบประมาณในการจัดการป่าชุมชนโดยชุมชน รวมทั้ง พัฒนาโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการ ปลูกพืชที่ใช้ทุนเดิมมาพัฒนาพื้นที่ตนเอง 43 issue 112 maY 2017


ทุนต�ำบล

กลุ ่ ม คนที่ มี แ นวคิ ด พั ฒ นาชุ ม ชนร่ ว มกั น เป็นผลจากการผ่านเหตุการณ์ อยู่ในสภาวะปัญหาร่วม กัน ท�ำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา

จากแรงขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนจากภาคีภายนอก ท�ำให้ เกิดต้นทุนส�ำคัญในพื้นที่ในหลายๆด้าน ดังนี้

ทุ น วั ฒ นธรรม คนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นคนผู้ไท ท�ำให้มีวัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมานาน และเป็นจุดยึดเหนี่ยวให้คนในชุมชนเข้า มาท�ำกิจกรรมร่วมกันสร้างความสมัครสมานสามัคคีไว้เป็นพลัง ชุมชนที่เหนียวแน่น

ทุ น ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ด้วยพัฒนาการที่ยาวนาน ท�ำให้ต�ำบลมีปราชญ์หรือคน ต้นแบบ ที่คิดค้น เรียนรู้ สังเกต และวิเคราะห์ จนสรุปออกมา เป็นความรู้ของตนเองที่ท�ำได้จริง เห็นผลจริง และสืบทอดเป็น ความรู้ของชุมชน เช่น บัวลอย พรมรักษ์ แพทย์ประจ�ำต�ำบล ป่าก่อ บุญทัน บุระค�ำ ผู้รู้การปั้นโอ่ง และสุบัน โล่ไชย หมอยา พื้นบ้านและสมุนไพร

ทุ น ทรั พ ยากร ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง เนื่องจากในชุมชนยัง มีป่าไม้อยู่ถึง 7 แห่ง ที่เป็นแหล่งอาหารและสมุนไพรของชาว บ้าน รวมทั้งมีแหล่งน�้ำส�ำคัญถึง 8 แหล่ง ที่ใช้ในครัวเรือนและ เกษตรกรรม แม้จะมีทุนในการพัฒนาตนเองได้ แต่แนวทางพัฒนา ของต� ำ บลยั ง คงเป็ น การพั ฒ นาแบบแยกส่ ว น ท� ำ ให้ ต� ำ บล

แหล่ ง เรี ย นรู ้ ชุ ม ชน ที่ เ ป็ น แนวทางในการส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ พอเพี ย งได้ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านเกษตร อินทรีย์ ( บุญมี มะลิสา ) ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ( เพ็ชร มะลิสา )

44 IS AM ARE www.fosef.org


ก็ยังเกิดปัญหาใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ เช่น ปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน�้ำในภาคเกษตร และปัญหาเยาวชนทะเลาะเบาะ แว้ง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนรับรู้และแบกรับปัญหาตลอด มา จนกระทั่งโครงการฯ ได้น�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามารวมกลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาชุมชนเข้าด้วยกัน พร้อมกับ สร้างทางเลือกในการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนให้กับคนส่วนใหญ่ในชุมชน

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ก้าวสู้การน้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ ปฏิบัติ ระดับต�ำบลและระดับครัวเรือนโดยต�ำบลป่าก่อแห่งนี้ เป็นพื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถี พอเพียง ระยะ ที่ 3 ผ่าน รักเกียรติ จรูญภาค ขณะนั้นร่วมงาน กับองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งคณะ กรรมการโครงการฯ ได้เข้ามาประเมินพื้นที่พบว่า ต�ำบลป่ากอ ยังอยู่ในจุดเริ่มพัฒนาชุมชนตนเองโดยไม่มีพี่เลี้ยง และยังไม่ได้ เดินตามแนววิถีพอเพียงที่ชัดเจน แต่มีจุดแข็งเรื่องของก�ำลังคน ทั้งแกนน�ำ กลุ่มอนุรักษ์ คนต้นแบบ และเครือข่ายป่าในชุมชน แม้ไม่มีภาพการท�ำงานเป็นกลุ่มในระดับต�ำบลก็ตาม ซึ่งถือเป็น เรื่องท้าทายต่อการท�ำงานให้บรรลุเป้าหมายจึงพิจารณาก่อน อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการฯ ในปลายปี พ.ศ.2552

การด�ำเนินการให้เกิดการมีส่วนร่วมตั้งแต่คิดค้นหาเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาคณะกรรมการโครงการฯ จึงมีการก�ำหนด แผนการเตรียมความพร้อมต�ำบล เพื่อให้เข้าใจถึงทิศทางและ กระบวนการด� ำ เนิ น งานตามแนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งรวม ทั้งให้ความส�ำคัญกับการคัดสรรหาและเตรียมคน ที่มีความ สนใจหลากหลายเข้ามาท�ำงานในสิ่งที่ตนเองถนัด โดยในเดือน กันยายน-ธันวาคม ปี พ.ศ.2552 ได้ก�ำหนดแผนงานและมีการ ด�ำเนินงาน ดังนี้ แผนงานที่ 1 การเตรียมความพร้อมครัวเรือนพอเพียง อาสา ภาคีและคณะกรรมการ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1.1 ศึกษาดูงานวิถีพอเพียงและพลังงานทางเลือก มี คณะกรรมการโครงการฯ และครัวเรือนพอเพียงอาสา เข้า ศึ ก ษาดู ง านที่ มูล นิ ธิ พั ฒ นาอี ส าน ในวั น ที่ 9-10 ตุล าคม ปี พ.ศ.2552 เพื่อให้ได้แนวคิดในการด�ำเนินชีวิตตามแนววิถีพอ เพียง และเกิดความรู้ความสามารถ ในการเลือกใช้พลังงาน ทดแทนในท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนผลที่ได้ คือ แนวทางในวิถีพอเพียงและทางเลือกของพลังงานทดแทน ทั้งนี้จากกระบวนการศึกษาดูงานท�ำให้เกิดความสนใจต่อการ ก�ำหนดแผนงานเรื่องพลังงานทดแทนในปี พ.ศ. 2552 เช่น การเผาถ่านจากถัง 200 ลิตร เป็นต้น และเป็นผลให้ จุลวิศาล บัวนาค น�ำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติก่อนที่จะพัฒนาเป็นวิทยากร อบรมในต�ำบลได้ 1.2 อบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการอย่างมีส่วน ร่วมโดยเป็นกิจกรรมที่ท�ำให้เกิดความเข้าใจต่อหลักคิดและการ บริหารงานโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 25-26 กันยายน ปี พ.ศ.2552 โดยใช้กระบวนการศึกษาดูงานและ อบรมหลักการบริหารโครงการฯ ไปพร้อมกัน ณ ต�ำบลหนาม

กลไกการขับเคลื่อน

สิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ในการผลักดันโครงการอย่างเป็น รูปธรรม คือ คณะกรรมการโครงการฯ ต�ำบลป่าก่อ และทีม งานภาคสนาม ปตท. ซึ่งเป็นผู้จุดประกาย เปิดประเด็น วางแผน ประสานงาน สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ภายหลังจากต�ำบลป่า ก่อได้เข้าร่วมโครงการฯ อย่างเป็นทางการแล้ว ได้มีการร่วม กันจัดตั้งคณะกรรมการโครงการฯรักษาการขึ้นมาก่อน เพื่อท�ำ หน้าที่เชื่อมประสานผู้น�ำแต่ละหมู่บ้านกับเจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค ของโครงการฯ จากนั้นได้มีการปรับสถานะคณะกรรมการโครง การฯรักษาการ และสรรหาตัวแทนในแต่ละหมู่บ้านขึ้นมาเป็น คณะกรรมการโครงการฯ หลังจากที่เตรียมความพร้อมให้ชุมชน สามารถบริ ห ารจั ด การโครงการเองได้ แ ล้ ว ส� ำ หรั บ ต� ำ แหน่ ง ประธานโครงการ ซึ่งมีความส�ำคัญนั้นได้ลงมติให้ ร.ต.อ.แสง สรรค์ พวงปัญญา ครูใหญ่โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนบ้าน ห้วยฆ้องด้วยความเหมาะสมที่ว่าครูมีความรู้และพร้อมที่จะ ให้การเรียนรู้กับชุมชน อีกทั้งโรงเรียนบ้านห้วยฆ้องมีจุดเรียน รู้เรื่องเกษตรผสมผสานที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้สนใจ ในต�ำบลและนอกต�ำบล รวมถึงโครงเรียนเป็นสถานที่ที่มีองค์ ประกอบในการให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ง่าย 45

issue 112 maY 2017


โดยแต่ละต�ำบลต้องมีการเสนอแผนงานและกิจกรรม ตนเองด้วยการส่งตัวแทนต�ำบลละ 3 คน เข้าร่วมการน�ำเสนอที่ ต�ำบลเขาคอก อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 18-19 ตุลาคม ปี พ.ศ.2552 ผลที่ได้คือ การแลกเปลี่ยนแนวคิดและ กระบวนการท�ำงานที่เป็นขั้นตอน นอกจากนี้ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการ บริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมให้กับคณะกรรมการโครงการฯ ณ ต�ำบลหนามแท่ง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ คณะกรรมการโครงการฯ และครัว เรือนพอเพียงอาสาจ�ำนวน 35 คน ขณะเดียวกันก็สนับสนุน ให้โครงการฯ ร่วมกันจัดท�ำแผนต�ำบลวิถีพอเพียงปี พ.ศ.2552 และเข้ามามีส่วนช่วยในการท�ำงานของแต่ละกิจกรรมร่วมกับ ครัวเรือนพอเพียงอาสา โดยใช้หลักคัดเลือกคนเข้ามาท�ำงาน ตาม “ทฤษฏี ไข่แดง ไข่ขาว” ส� ำ หรั บ การด� ำ เนิ น งานของโครงการฯ ต� ำ บลป่ า ก่ อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึงปี พ.ศ.2554 นั้นได้มีการปรับรูปแบบ และกระบวนการบนฐานการเรียนรู้ของผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วม กิจกรรมและต้องการเรียนรู้ร่วมกัน โดยวิธีการในการท�ำงาน ร่วมกันจะถูกคิดค้นขึ้น ต่อเมื่อมีกระบวนการท�ำงานตามเป้า หมายแล้ว ทั้งนี้จะอยู่ภายใต้วิธีการบริหารกิจกรรมที่แต่ละคน มีส่วนรับผิดชอบ โดยมีเทคนิคในการท�ำงานดังนี้

แท่ง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งการจัดอบรม ในครั้งนี้ก่อให้เกิดประเด็นป่าครอบครัวที่สร้างความสนใจต่อ เนื่องให้คณะกรรมการโครงการฯ และครัวเรือนพอเพียงอาสา ที่เข้าร่วมศึกษาดูงาน แผนงานที่ 2 ของต�ำบลป่าก่อ เป็นการสร้างกิจกรรมต่อ เนื่องเพื่อให้คณะกรรมการต�ำบลได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นแผน งานพร้อมกับหลักการบริหารจัดการโครงการโดยแบ่งบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบในการระดมแนวคิดเพื่อสร้างแผนงาน ส�ำหรับปี พ.ศ.2553 ร่วมกัน เริ่มจากจัดให้มีการประชุมคณะ กรรมการโครงการฯ ทุกเดือน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด และยกร่างแผนงานต�ำบลร่วมกันจนมีการประชาพิจารณ์เพื่อ รับรองร่างแผนต�ำบลทิศทางและงานของต�ำบลที่สอดคล้องกับ ความเข้าใจของสมาชิกในต�ำบล มีความเหมาะสมต่อเป้าหมาโค รงการฯ โดยกิจกรรมที่ก�ำหนดนั้นใช้เป้าหมายของโครงการฯ เป็นหลักในการสร้างกิจกรรม แผนงานที่ 3 เน้นการบริหารจัดการในส่วนส�ำนักงาน โดยต�ำบลป่าก่อได้รับการสนับสนุนพื้นที่เพื่อเป็นศูนย์ประสาน งานโครงการฯ ที่โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วย ฆ้อง พร้อมทั้งจัดซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน นอกจากนี้ยังได้รับ การสนับสนุนด้วยการพาแกนน�ำเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายแกนน�ำรุ่นกลาง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการ ท� ำ งานที่ ส อดคล้ องในแต่ละพื้น ที่ รวมทั้งกระบวนการกลั่ น กรองแผนงานระดั บ ต� ำ บลก่ อ นจะน� ำ เสนอต่ อ บริ ษั ท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน)

ที ม งานภาคสนามปตท. เป็ น ที ม ที่ ช ่ ว ยสนั บ สนุ น การด� ำ เนิ น งานของคณะ กรรมการโครงการฯ โดยแต่ละต�ำแหน่งจะมีบทบาทดังนี้ 46

IS AM ARE www.fosef.org


เมื่อโครงการฯ เข้ามาด�ำเนินในพื้นที่ ได้มีการพาไป ดูงานที่ ต�ำบลเสียว อ�ำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ชัดเจน และที่ ต�ำบลหนามแท่ง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการจัดการป่าครอบครัว ต�ำบลป่า ก่อ และกลายเป็นทางเลือกทางรอดใหม่ของชุมชนแห่งนี้ โดย มีประสงค์ ยะกาวิน ตัดสินใจทดลองท�ำในพื้นที่ของตัวเอง แล้ว ขยายแนวคิดไปยังคณะกรรมการฯ ครัวเรือนพอเพียงอาสา คนอื่นก่อนจะรวมกลุ่มจัดการป่าร่วมกัน พร้อมทั้งให้นิยามไว้ ว่า “ป่าครอบครัว” เป็นทางเลือกขอบคนในชุมชนที่จะดูแล รักษาป่าหัวไร่ปลายนาให้คงสภาพป่า ซึ่งสามารถใช้เป็น “ที่ หาอยู่หากิน” ในครอบครัวและใช้ประโยชน์ได้ตามแนวคิดการ อนุรักษ์ คือ ใช้อย่างรู้คุณค่าและรู้จักรักษาฟื้นฟูป่าครอบครัว ของคนต�ำบลป่าก่อ จึงเป็นพื้นที่ป่าหัวไร่ปลายนาที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ รวมทั้งป่าที่ปลูกขึ้นใหม่โดยเจ้าของเป็นผู้ดูแลรักษา แต่งแบ่งปันใช้ประโยชน์กับเพื่อนบ้านได้ เป็นป่าส่วนบุคคลที่ สามารถจัดสรรการใช้สอยและยังช่วยลดการเข้าไปใช้ประโยชน์ จากป่าชุมชนได้ผลอีกวิธีหนึ่ง และกลายเป็นกระแสหลักที่คนใน พื้นที่ตื่นตัวกันมาก ปั จ จุ บั น มี ผู ้ ส นใจเข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม 25 ครั ว เรื อ น ใน 8 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ 60 ไร่ ที่มีพื้นที่ติดกับผืนป่า จนสามารถ รวมกลุ่มก่อตั้งเป็น “เครือข่ายป่าครอบครัวต�ำบลป่าก่อ” โดย มีกระบวนการจัดการป่าครอบครัว คือ ศึกษาข้อมูลศักยภาพ ชุมชนพาไปดูงานเรื่องการจัดการป่าครอบครัว รับสมัครสมาชิก จากครั ว เรื อ นพอเพี ย งอาสา และสร้ า งกติ ก าป่ า ครอบครั ว ร่วมกัน มีคณะกรรมการลงพื้นที่ประเมินสภาพป่าครอบครัว

เจ้ า หน้ า ที่ ป ระจ� ำ ต� ำ บล มี บ ทบาทในการติ ด ตาม สนับสนุนกิจกรรมให้ด�ำเนินไปตามแผนงานที่ตั้งไว้ ประสาน งานทั้งในและนอกต�ำบล และคิดค้นกระบวนการเรียนรู้ ที่ช่วย ให้ชุมชนพัฒนาได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเทคนิค ท�ำงานว่า “เอาความจริงเป็นที่ตั้ง” ที่เหลืออะไรก็ร่วมด้วยช่วย กันให้บรรลุเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค เชี่ยวชาญการท�ำงนพัฒนาชุมชน จึงเข้าใจรูปแบบบงานของโครงการฯ ได้ง่ายมีบทบาทในการ วิเคราะห์ ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำแนวทางการด�ำนินงานแก่เจ้า หน้าที่ประจ�ำต�ำบล กระตุ้นให้คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ ประจ�ำต�ำบลด�ำเนินงานตามหลักการบริหารของโครงการฯ ที่ปรึกษาภาค ให้ค�ำแนะน�ำเชิงนโยบาย ประสานงาน ระหว่างทีมบริหารโครงการกับเจ้าหน้าที่ประจ�ำภาค ผ่านเวที ประชุมกลไกภาคเน้นกระตุ้นและติดตามการด�ำเนินงานของ พื้นที่และมอบหมายงานตามนโยบายโครงการฯ จากพื้นเพเดิมของชาวป่าก่อที่ผูกพันอยู่กับป่าและต้อง เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายจัดสรรที่ดินให้กับจ�ำนวนคนที่เพิ่ม ขึ้นรวมทั้งการท�ำเกษตรพืชเชิงเดี่ยว ปลูกพืชไร่ที่ต้องใช้ที่ดิน เพิ่มขึ้นยิงพัฒนาตามกระแสทุนนิยมเข้มข้นขึ้นมากเท่าไหร่สิ่ง แวดล้อมก็ยิ่งย�่ำแย่ ผืนป่าก็ยิ่งหดหายเท่านั้น สุดท้ายก็เหลือ เพียงป่าสาธารณะ ป่าชุมชน ป่าไว้เลี้ยงสัตว์ และป่าในรูปแบบ ต่างๆ เพียง 7 แห่ง เอาไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งยังคงมีปัญหา ติดตามมาอีก คือ แหล่งน�้ำแห้งขอดในฤดูแล้ง เพราะกินไม่มี ต้นไม้ปกคลุมจึงไม่สามารถซับน�้ำไว้ได้ หน่วยงานรัฐท�ำได้เพียง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น สร้างฝาย ขุดเจาะบ่อบาดาล แต่ ไม่สามรถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว 47

issue 112 maY 2017


ประกาศเป็นเขตป่าครอบครัว และติดป้ายประชาสัมพันธ์ จัดประชุมสมาชิกทุก 3 เดือน รวมทั้งคอย ติดตามสนับสนุนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผลการด� ำ เนิ น งานพบว่ า กลุ ่ ม สมาชิ ก มี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น และใส่ ใจฟื ้ น ฟู ป ่ า ครอบครั ว มี การแลกเปลี่ ย นเรี ยนรู้ร่ว มกัน ระหว่างสมาชิก ท�ำให้ เ ห็ น สภาพปั ญหาและหาแนวทางที่ จ ะจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการท�ำกิจกรรมฟื้นฟูป่าหัวไร่ปลายนา สร้างความมั่นคงทาง อาหารและประโยชน์ใช้สอย เช่น ปลูกไม้เสริม และกิจกรรมสนับสนุนการจัดการทรัพยากรป่าเพิ่มเติม เช่น พิธีบวชป่าชุมชน อบรมการเพาะพันธุ์กล้าไม้ ค่ายเยาวชนรักษ์ป่า-รักษ์โลก ป่าครอบครัวของต�ำบล จึงเป็นเสมือนก�ำแพงป้องกันการบุกรุกป่าชุมชน เพราะมีป่าส่วนบุคคลไว้ใช้สอยในครัวเรือนแล้วนั่นเอง จากการมีป่าชุมชนไว้ใช้สอย เป็นแหล่งอาหาร ยาสมุนไพร ก็เก็บกินเก็บขาย แต่ก็ยังมีกลุ่มคน บางคนลักลอบเข้าไปตัดไม้ และมืออาชีพเสริมด้วยการเผาถ่านจากเตาดินขาย สร้างปัญหาอย่างหนัก ให้กับผืนป่า การหาทางออก ด้วยการใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่กระทบกับการใช้ทรัพยากรป่าไม้ จึงเป็น หนทางอันดับต้นๆ ที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง พลั ง งานทางเลื อ ก สู ่ วี ถี พึ่ ง พาตนเอง โครงการฯ ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจและพลังงาน (ECEN) ในปี พ.ศ.2552 พบว่ามีการใช้พลังงานชีวมวลหรือการใช้ฟืนและถ่าน เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มมีปริมาณมาก จึงจัดให้มีการศึกษาดูงานเรื่องพลังงานทางเลือก เพื่อมาปรับใช้ในชุมชน เช่น แอร์แว และเตาเผาถ่าน จากถัง 200 ลิตร ที่มูลนิธิพัฒนาอีสาน จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะเตาเผาถ่าน 200 ลิตร นั้นเกิดจาก การใช้ถ่านในชีวิตประจ�ำวันและขายเป็นรายได้ มีไม้เป็นเชื้อเพลิงมากกว่าวัสดุอื่น และใช้ไม้ขนาดใหญ่ มาเผาในเตาดินเพื่อให้ได้ปริมาณที่มาก การเผาถ่านด้วยถัง 200 ลิตร เป็นเทคโนโลยีระดับครอบครัว ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถใช้ได้กับไม้ขนาดเล็กและเผาโดยไม่ต้องติดไฟในเตา แต่ใช้ความร้องไปไล่ ความชื้นในเนื้อไม้ ท�ำให้ได้ถ่านคุณภาพดีและสามารถกักเก็บน�้ำส้มควันไว้ใช้ในการเกษตรได้สิ่งเหล่านี้ ได้จุดประกายให้ จุลวิศาล บัวนาค หนึ่งในสมาชิกครัวเรือนพอเพียงอาสาทดลองเอามาท�ำในครัวเรือน ด้วยหวังจะลดรายจ่ายของตนเอง เมื่อเผาถ่านได้ถ่านไว้ใช้ในบ้าน ลดค่าใช้จ่ายได้จริง และยังได้น�้ำส้ม ควันไม้มาในงานเกษตรของตนเอง จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกบนพื้นที่ 3 ไร่กว่าหลังบ้าน โดย ปรับให้มีการปลูกผลไม้ ท�ำแปลงนา ท�ำป่าครอบครัว ขุดบ่อน�้ำ เลี้ยงหมูไว้ท�ำปุ๋ย จนพึ่งพาตนเองได้ ทุกอย่างจนเกิดเป็นรูปธรรมและผลส�ำเร็จเรื่องเตาเผาถ่าน 200 ลิตรของจุลวิศาล ได้ถูกขยายผลเป็น จุดเรียนรู้ให้แก่เพื่อนบ้านและผู้สนใจ โครงการฯ ยังได้สนับสนุนเผยแพร่พลังงานทางเลือกในการเกษตร หรือแอร์แว ที่ต�ำบลป่าก่อได้ เรียนรู้เพิ่มเติมจากบ้านผาชัน ต�ำบลส�ำโรง อ�ำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นระแบบการเพิ่ม แรงดันเครื่องสูบน�้ำ ให้สามารถส่งน�้ำได้ไกลมากกว่า 500 เมตร และท�ำให้แรงดันน�้ำเพิ่มขึ้นได้จากการ เพิ่มท่อพักสร้างแรงดัน ใช้แก้ปัญหาน�้ำใต้ดินน้อยในช่วงฤดูแล้ง และกระจายน�้ำในแปลงเกษตรได้ทั่ว ถึงขึ้น ซึ่งจุลวิศาลได้พัฒนาขึ้นในแบบของตนเอง และขยายผลแก่ครัวเรือนพอเพียงอาสาที่สนใจ ตลอด จนใช้กับจุดเรียนรู้ทางการเกษตรของต�ำบลป่าก่อ เช่น ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของ บุญมี นอกจาก นี้ยังสนับสนุนเรื่องระบบการจัดการพลังงานลม โดยสร้างจุดเรียนรู้กังหันลมสูบน�้ำในแปลงเกษตร ซึ่ง เป็นจุดเรียนรู้ต่อเนื่องอีก 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง โรงเรียนบ้าน ป่าก่อ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของ บุญมี และจุดเรียนรู้พลังงานทางเลือกกังหันลมสูบน�้ำของ วสัน บุตตะคาม 48 IS AM ARE www.fosef.org


49 issue 112 maY 2017


สิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ข้อ ๘ และ ๙

50 IS AM ARE www.fosef.org


กฎหมายน่ารู ้...กระทรวงยุ ติธรรม

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ ๙. สิ ท ธิ ใ นการแจ้ ง ความร้ อ งทุ ก ข์ ประชาชนมีสิทธิร้องทุกข์ในเรื่องต่างๆ และมีสิทธิฟ้อง หน่วยงานของรัฐได้ มาตรา ๖๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา อันสมควร ทั้งนี้ตาม ที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๖๒ สิ ท ธิ ข องบุ ค คลที่ จ ะฟ้ อ งหน่ ว ยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กร อื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระท�ำหรือ การละเว้นการกระท�ำของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้าง ของ หน่วยงานนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย บัญญัติ

๘. สิ ท ธิ ใ นการรั บ รู ้ ข ้ อ มู ล ข่ า วสารสาธารณะและ ข้ อ มู ล ทางราชการ ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะของ หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่น ๆ มีสิทธิขอข้อมูล ค�ำชี้แจง และ เหตุผลจากหน่วยงานของรัฐในการด�ำเนินโครงการที่มีผลกระ ทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ ตลอดจนมีสิทธิในการท�ำ ประชาพิจารณ์ มาตรา ๕๘ บุคคลย่อมมีสิทธิไ ด้รับ ทราบข้ อ มู ล หรื อ ข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิด เผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัย ของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของ บุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล ค�ำชี้แจง และ เหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการด�ำเนินโครงการ หรื อ กิ จ กรรมใดที่ อ าจมี ผ ลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส�ำคัญอื่นใดที่เกี่ยว กับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตน ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิส่วนร่วมในกระบวนการ พิ จารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางการ ปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ ตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

51 issue 112 maY 2017


“ชี วิ ต คู่ ” 52 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่ อ งใจ

“เรียนอาจารย์อรอนงค์ท่ีนับถือ”

ดิ ฉั น และสามี แ ต่ ง งานอยู ่ กิ น กั น มา 38 ปี ค ่ ะ สามี รั บ ราชการเป็ น หั ว หน้ า หน่ ว ยงานแห่ ง หนึ่ ง ทางภาคอิ ส าน เกษี ย นมาได้ ก ว่ า 5 ปี แ ล้ ว ค่ ะ ดิ ฉั น อายุ 62 ปี บั้ น ปลายของชี วิ ต ก็ ไ ม่ เ คยคิ ด มาก่ อ นว่ า จะเกิ ด ปั ญ หา และ ทุ ก ข์ ท รมานใจมากคุ ณ สามี มี ภ รรยาอี ก คนอายุ อ ่ อ นกว่ า สามี ดิ ฉั น กว่ า 40 ปี หล่ อ นคลอดลู ก ได้ ป ระมาณ 2 เดื อ นสามี เขาก็ ทิ้ ง ไป ทราบว่าสามีดิฉันเข้าไปปลอบโยนและพาไปเที่ยวยังที่ต่าง ๆ ต่อ มาก็มีอะไรกันจนเกือบปีแล้ว ดิฉันและลูกขอร้องให้สามีออกไป อยู่กับผู้หญิงคนใหม่ เขาไม่ยอมไป ลูกหญิง-ชายของดิฉันเรียน จบปริญญาโททั้งคู่ มีหลานแล้วค่ะ ขณะนี้ดิฉันเจ็บช�้ำน�้ำใจมาก ร้องไห้ทุกครั้งที่สามีไปหา ผู้หญิงคนนั้น(ที่อิสาน) ทุกเดือนประมาณ 7-8 วัน ดิฉันก็เลย แยกบ้านมาอยู่ล�ำพัง ภายในรั้วเดียวกัน ไม่พูดกัน อาจารย์ได้ รับทราบปัญหามามากมาย คงจะมีอะไรแนะน�ำดิฉันได้ นอกจาก สวดมนต์ ท�ำใจ รอเวลา คือท�ำมาทุกอย่างก็ยังไม่หายทุกข์ใจค่ะ ขณะนี้เลี้ยงหลานวัย 10 เดือน เวลาเหนื่อยและเบื่อ กับปัญหา ชีวิต ก็จะร้องไห้เหมือนสติแตก เป็นอย่างนี้มาเกือบปีแล้วค่ะ คง ต้องกราบขอให้อาจารย์ช่วยแนะน�ำด้วยนะคะ 1. อาจารย์มีวิธีไหนบ้างคะที่จะช่วยดับทุกข์ของดิฉันให้ หมดไปโดยเร็ว 2. คิดว่าโลกนี้ช่างไม่ยุติธรรม ท�ำไมผู้ชายถึงมีแต่ความ สุข จะท�ำอย่างไรให้เขาได้รับความเจ็บช�้ำน�้ำใจเหมือนเราได้บ้าง 3. กว่าชีวิตจะมาถึง 38 ปี ก็ล�ำบากทุกข์ยากกันมาตลอด พยายามคิดว่าไม่เป็นไร “เรือล่มเมื่อจอด” เราได้ขึ้นฝั่งแล้ว “ตาบอดเมื่อแก่” ก็ไม่เป็นไรเพราะเห็นอะไรมาแยะแล้ว แต่จะ ท�ำอย่างไรดีคะ ขณะนี้สามีไม่รักแล้วค่ะ นอกจากหลับแล้วไม่ ตื่นอีกเลย อาจารย์ช่วยแนะน�ำด้วยนะคะ คิดทบทวนมาหลายวัน ทั้ง ๆ ที่เกรงใจอาจารย์เหลือเกิน แต่เพราะขณะนี้ชีวิตมันมืดมนไปหมดไม่ทราบจะพูดกับใคร ก็คง ต้องขอพึ่งนักจิตบ�ำบัดอย่างอาจารย์ช่วยนะคะ นี่ก็เกือบปีแล้ว แทนที่ความทุกข์ ความเจ็บช�้ำน�้ำใจจะลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น อาจารย์กรุณาช่วยด้วยนะคะ” ปั ญ หานี้ ค งจะไม่ ใช่ เรื่ อ งใหม่ ที่ ผู ้ ห ญิ ง ไทยทุ ก ยุ ค ทุ ก สมัยต้องเผชิญ เพราะกฎหมายไทยยังไม่เอื้อให้ผู้หญิงได้รับ การปกป้องอย่างยุติธรรม เมื่อสามีทอดทิ้งหรือไม่รับผิดชอบ ครอบครัว ฝ่ายหญิงหรือภรรยาแม้จะจดทะเบียนสมรสและอยู่

กินมานานขนาดไหนดังในกรณีนี้ หรือมีเรื่องฟ้องร้องให้ฝ่ายชาย จ่ายค่าเลี้ยงดูส่งเสียภรรยาและลูก แต่หากฝ่ายชายไม่ปฏิบัติ ตามค�ำสั่งศาล ก็ไม่มีใครหรือกฎหมายฉบับไหนมาช่วยจัดการ ลงโทษฝ่ายชายได้ ผู้หญิงต้องเผชิญสถานการณ์ตามล�ำพัง ที่ ส�ำคัญในสังคมไทยที่ยังให้ความส�ำคัญกับผู้ชายในฐานะผู้น�ำ ครอบครัว ผู้น�ำชุมชน หรือคาดหวังว่า ผู้ชายจะต้องดูแลปกป้อง การด�ำเนินชีวิตในครอบครัวให้ภรรยาและบุตรได้ ผู้หญิงเป็นผู้ ตามแม้จะมีงานการของตัวเองท�ำ ทั้งยังต้องดูแลรับผิดชอบงาน ในบ้านและอ�ำนวยความสะดวกให้กับทุกคนในครอบครัว หาก หญิงใดหลีกเลี่ยงหรือไม่ปฏิบัติตามความคาดหวัง ก็จะถูกมอง ว่าบกพร่องหน้าที่ของการเป็นภรรยาและแม่ที่ดี หรือหากหญิง ใดไปเกี่ยวข้องเชิงชู้สาวกับชายที่มิใช่สามี เธอก็จะถูกประณาม ว่ามีชู้ หรือประพฤติมิชอบ อันจะน�ำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อ เสียงและศักดิ์ศรีของครอบครัว แต่หากฝ่ายชายประพฤติมิชอบ ดังกล่าว ผู้คนส่วนใหญ่จะมองข้ามหรือพิจารณาว่าเป็นเรื่อง ธรรมดาส�ำหรับผู้ชาย! นั่นคือสังคมไทยสามารถยอมรับความ บกพร่องผิดพลาดของฝ่ายชายได้มากกว่าผู้หญิงโดยเฉพาะใน เรื่องชู้สาว ด้วยทัศนคติและความเชื่อในสังคมไทยดังกล่าว ท�ำให้ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะต้องด�ำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง โดย เฉพาะการเลื อ กคู ่ ค รองที่ ดู จ ะมี ค วามเสี่ ย งสู ง จากพฤติ ก รรม มากชู้หลายเมียของชายไทย ดังในกรณีของคุณผู้หญิงท่านนี้ ซึ่ง

53 issue 112 maY 2017


ซื่อสัตย์ต่อเธอเหมือนที่ผ่านมา เช่นเดียว กับที่เธอผูกจิตมั่นคงต่อ เขาเสมอมา เธอไม่เคยคิดว่า เขาจะเปลี่ยนใจไปเป็นอื่น! ดูเหมือนความหวัง ความสุข ความภาคภูมิใจที่เก็บสะสม ไว้ตลอดหลายปีพร้อม ๆ กับความทุกข์ยากของการด�ำเนินชีวิต ที่เธอไม่เคยคาดคิดมาก่อน ว่าสามีจะมีผู้หญิงใหม่วัยอ่อนกว่า 40 ปี และรับเลี้ยงดูลูกอ่อนของเธอเหมือนกับเป็นลูกของเขา เอง สามีของเธอไม่ได้มีความรังเกียจ ไม่ได้ค�ำนึงถึงความแตก ต่างใด ๆ เขาเพียงต้องการจะท�ำให้สองคนแม่ลูกนั่นมีความสุข! แล้วเธอล่ะเขาคิดอย่างไร? ผู้หญิงหลายคนที่ผ่านประสบการณ์เช่นเดียวกับคุณผู้ หญิงท่านนี้ บอกเล่าถึงความรู้สึกของเธอว่า “มันเหมือนเรา ก�ำลังปีนภูเขาสูงชัน และเมื่อถึงหน้าผาแห่งนั้น ทันใดเราก็ผลัด หงายหลังร่วงหล่นลงสู่ผืนดิน ร่างกายกระแทกพื้น เรารู้ตัวเลย ว่า ทั้งร่างกายและหัวใจของเราแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มันแหลกละเอียดเกินกว่าจะหยิบขึ้นมาปะติดปะต่อกลับคืนได้ ท่านบอกว่าได้ใช้ชีวิตคู่กับสามีมากว่า 38 ปี ตั้งแต่ชีวิตเริ่มต้น ด้วยความยากจน เมื่อสามีออกจากบ้านไปท�ำงาน ภรรยาต้อง จัดการดูแลเรื่องการกินอยู่ พาลูก ๆ ไปส่งโรงเรียน ช่วงที่ลูกอยู่ โรงเรียนแม่ก็ต้องท�ำความสะอาดบ้านเรือน รีดเสื้อผ้าของทุกคน ได้เวลาไปรับลูกลูกกลับ ช่วยสอนการบ้านและท�ำอาหารเย็นไว้ ส�ำหรับทุกคนตอนเย็น แน่นอนหากชายใดไม่มีครอบครัวและ ต้องท�ำงานย่อมหลีกเลี่ยงหน้าที่เหล่านี้ไม่พ้น ซึ่งเป็นการยาก จะสร้างความก้าวหน้าโดยไม่มีคนที่บ้านคอยส่งเสริมสนับสนุน เป็นก�ำลังใจและให้ความช่วยเหลือ การที่ผู้หญิงคนหนึ่งตัดสินใจแต่งงานอยู่กินกับสามี และ ทุ่มเทวันเวลาที่เหนื่อยยากเพื่อสร้างครอบครัวด้วยความรัก ด้วย ความเชื่อมั่นศรัทธา และที่ส�ำคัญคือด้วยความหวังว่า สุดท้าย บั้นปลายชีวิตของเธอจะมีความสุขสงบ หลังจากความเหนื่อย ยากในการต่ อ สู ้ กั บ ชี วิ ต อย่ า งเหน็ จ เหนื่ อ ย และหากชี วิ ต คื อ สงคราม เธอและสามีก็ได้ผ่านการต่อสู้ในศึกสงครามมาอย่าง โชกโชน และพบว่า “เราทั้งสองมีชัย” ชีวิตครอบครัวมั่นคง ลูก ๆ เรียนจบการศึกษาระดับสูงมีรางวัลชีวิตคือหลานเล็ก ๆ ไว้หล่อเลี้ยงหัวใจ ส่วนเธอในฐานะของคนที่เป็นแม่และเป็น ภรรยา ความทุกข์ยากล�ำบากในการด�ำเนินชีวิตไม่ต่างจากสามี และอาจจะต้องมากกว่าเพราะเธอท�ำหลายหน้าที่ ต้องเก็บราย ละเอียดมากมาย ทุกชีวิตในครอบครัวขึ้นอยู่กับเธอผู้เป็นแม่เป็น หลัก เพราะฉะนั้นย่อมเป็นเรื่องปกติหากเธอจะหวัง จะรอคอย วันเวลาที่เธอจะได้ลงนั่งพักผ่อน ได้ก�ำลังใจและความเอื้ออาทร จากชายที่เธอรักมาตลอดชีวิต เธอหวังว่าบั้นปลายชีวิตเขาจะยัง

บ น เ ส ้ น ท า ง ข อ ง ก า ร ด� ำ เ นิ น ชี วิ ต ที่ แ ม ้ จ ะ ใ ช ้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น อยู ่ บ ้ า นเดี ย วกั น นอนเตี ย งเดี ย วกั น แต่ เส้ น ทางที่ ยุ ่ ง ยากด้ ว ยภาระหน้ า ที่ จนท� ำ ให้ ส องสามี ภรรยาเหมื อ นต่ า งคนต่ า งอยู ่ ต ่ า งคนต่ า งเดิ น ต่ า ง เวลาและห่ า งเหิ น

54 IS AM ARE www.fosef.org


“ชี วิ ต คื อ ความเปลี่ ย นแปลง และความเปลี่ ย นแปลง คื อ การเจริ ญ เติ บ โต” เพราะฉะนั้ น เรื่ อ งราวที่ เ กิ ด ขึ้ น ครั้ ง นี้ ย ่ อ มเป็ น ธรรมดาโลก หากเราไปยึ ด ติ ด ไม่ ย อมรั บ ความเปลี่ ย นแปลง จิ ต ใจเราย่ อ มมี แ ต่ ความทุ ก ข์

ต้องการ เป็นความมั่นคงของชีวิต โดยเฉพาะชีวิตที่มีทั้งลูกและ หลานพร้อมเพรียงแล้ว หากเขาจะต้องการรางวัลส่วนตัวบ้าง เหมือนของหวานชิ้นเล็ก ๆ หลังอาหารมื้อเย็น คงไม่จ�ำเป็นต้อง ขออนุญาตหรือบอกกล่าวภรรยาและลูก! แน่นอน....บนเส้นทางของการด�ำเนินชีวิตที่แม้จะใช้ชีวิต ร่วมกัน อยู่บ้านเดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน แต่เส้นทางที่ยุ่งยาก ด้วยภาระหน้าที่ จนท�ำให้สองสามีภรรยาเหมือนต่างคนต่างอยู่ เหมือนเดิม” ความสูญเสียครั้งนี้ของคุณผู้หญิงท่านนี้ก็คงไม่ต่าง ต่างคนต่างเดินต่างเวลาและห่างเหิน เธอจึงเรียกร้องที่จะได้ช่วง กันนัก แต่หากจะมองในฐานะของคนที่ผ่านชีวิตมามากกว่าหก แห่งวันเวลาที่อาจตกหายหรือก้าวข้ามไปให้หวนคืนมา ทว่า..... สิบปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนนับครั้งไม่ถ้วน เราคงจ�ำได้ว่าพุทธ ฝ่ายภรรยาก็ต้องผิดหวัง เมื่อสามีเปลี่ยนไป หรืออย่างน้อย ศาสนาสอนให้เราได้ตระหนักว่า “ชีวิตคือความเปลี่ยนแปลง เขาก็ได้ดึงผู้หญิงอีกคนหนึ่งมาร่วมเดินทางและเติมเต็มความ และความเปลี่ยนแปลงคือการเจริญเติบโต” เพราะฉะนั้นเรื่อง สัมพันธ์ที่ขาดหายไปในชีวิต แทนที่จะเป็นเธอ ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ราวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ย่อมเป็นธรรมดาโลก หากเราไปยึดติด ไม่ “ภรรยาผู้ร่วมทุกข์ ร่วมสุข” กันมากว่า 38 ปี ยอมรับความเปลี่ยนแปลง จิตใจเราย่อมมีแต่ความทุกข์ จริง และท่ า มกลางความทุ ก ข์ จ ากความสู ญ เสี ย ครั้ ง นี้ อยู่นี่เป็นความผิดหวังที่ “เธอ” ไม่ควรได้รับ เมื่อนับวันเวลา นอกจากเธอยั ง ท� ำ ใจยอมรั บ ไม่ ไ ด้ แ ล้ ว ยั ง เป็ น ความโกรธ แห่งความทุกข์ยากที่เธอได้ลงทุนไปในการแต่งงานอยู่กินกับ อาฆาตพยาบาท และความอิจฉาที่สามีสามารถมีความสุขได้ สามีจนมีลูกหลานถึงวันนี้ แต่สามีของเธอเองก็คงไม่ได้วางแผน โดยไม่มีเธอ เพราะฉะนั้น อารมณ์และความรู้สึกของเธอจึงด�ำ หรือคาดคิดมาก่อนว่า เขาจะได้พบผู้หญิงอ่อนวัยที่ปลายอุโมงค์ ดิ่งลงสู่ความมืดมิดมากกว่าความสูญเสียทั่วไป เธอรู้สึกว่าผลจาก ของชีวิต และไม่ใช่ว่าเขาจะหมดรักภรรยาและลูกหลาน แต่ด้วย การกระท�ำของเขา หรือการที่เขาเลือกจะมีความสุขกับภรรยา กิเลสและตัณหา หรือว่าบุญกรรมน�ำชักให้เขาได้พบกับแม่ลูกคู่นี้ วัยเด็กของเขา เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมส�ำหรับเธอ จนเธออยากให้ จนมีความปรารถนาจะส่งเสียดูแลทั้งสองคนให้อยู่รอดปลอดภัย สามีได้รับความเจ็บช�้ำเช่นเดียวกับเธอ ในขณะที่เขาอาจมองว่า ตัวเขาเองก็ได้ท�ำให้ภรรยามีทุกอย่างที่ 55 issue 112 maY 2017


คุณผู้หญิงท่านนี้ต้องการให้ผู้เขียนช่วยดับทุกข์ของเธอ ในฐานะของนักจิตบ�ำบัดซึ่งสามารถท�ำได้ด้วยความร่วมมือของ ผู้มีปัญหา คือตัวเธอ การช่วยให้เธอได้ทบทวน มองเห็น และ ตระหนักในคุณค่าของ “ความรัก” ที่เธอมีต่อสามีเมื่อเริ่มรู้จัก กันใหม่ ๆ จนน�ำไปสู่การผูกสมัครรักใคร่และตัดสินใจใช้ชีวิต คู่ร่วมกัน ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ยากจนเริ่มต้นรับราชการ ใหม่ ๆ ค�ำถามคือหากเธอสามารถเดินย้อนกลับไปวัยเริ่มต้นอีก ครั้ง ทั้ง ๆ ที่มองเห็นความทุกข์ยากที่รออยู่ในอนาคตขณะนี้แล้ว เธอจะยังรักและต้องการแต่งงานกับเขาอยู่หรือไม่ เธอจะเลือก ทางนี้ไหม? แน่นอน..หากเธอมองเห็นและรับรู้แล้วว่า ผลจากการ ตัดสินใจของเธอในการใช้ชีวิตคู่กับสามี มีความเหนื่อยยากแสน เข็ญรออยู่ และสุดท้ายเขาก็จะมีรักใหม่กับคนใหม่เพิ่มขึ้นมา เธอ อาจตอบว่าเธอคงเลือกจะไม่แต่งงานกับเขาเพราะสุดท้ายคือ การเปลี่ยนใจ คือความทุกข์ใจอันมากมายที่รอเธออยู่ถึงขณะนี้ ที่เธอแทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อยากหลับไปเลยเฉย ๆ .....แต่ เธอลืมไปหรือเปล่าว่า หากเธอไม่เลือกแต่งงานกับสามีหรือตัดใจ ไม่เอาชีวิตคู่กับเขา เธอก็ต้องแลกด้วยลูกสองคน และหลานอีก หลายคน ที่น่ารักและรักแม่รักย่ายายของเขามาก เธอจะท�ำใจ เลิกรักและเลิกที่จะมีลูกหลานกับสามีได้หรือ? เพียงเพราะเธอ ทนความบาดเจ็บสูญเสียในครั้งนี้ไม่ได้ เธอจึงอาจต้องแลกด้วย คนใกล้อีกหลายคน แน่นอน...เพราะมีสามี จึงมีลูกสองคนนี้ จึง มีหลานเหล่านี้ จึงมีความทุกข์ที่ผ่านมาและความสุขอีกมากมาย ระหว่างทางเดินของชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะมีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนั้น สัมพันธ์กันตามลิขิตแห่งกรรมที่เราจะเลือกรับเอาเฉพาะ เรื่องดี ๆ มีแต่ความสมหวังคงเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างเกิด ขึ้นจากผลแห่งการกระท�ำของเราเองทั้งในอดีตชาติและปัจจุบัน ทั้งนั้น ชีวิตจึงประกอบด้วยเรื่องดีและไม่ดี มีสมหวังและผิดหวัง เราทุกคนจึงต่างต้องเรียนรู้ในการเผชิญกับความสมหวังและผิด หวังไปพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นการจะบรรเทาความทุกข์ร้อนเจ็บปวดให้ น้อยลง ก็ต้องเริ่มด้วยการยอมรับความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นไป ตามธรรมชาติ หากที่ผ่านมาเป็นเรื่องของ “กรรมลิขิต” เราไม่ ได้ลิขิตเอง แต่เมื่อชีวิตด�ำเนินตาม “พรหม” หรือ “กรรมลิขิต” มาแล้วเราไม่พอใจ เราทุกข์ใจและไม่อยากตกอยู่ในสภาพนี้ ต่อไป เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงด้วยการก�ำหนดชะตากรรม ปัจจุบันและอนาคตต่อไปได้ นั่นคือ “จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร ให้ทุกข์น้อยที่สุด” จะท�ำอย่างไรให้ความเจ็บปวดทั้งปวงละลาย หายไป.....

การจะบรรเทาความทุ ก ข์ ร ้ อ นเจ็ บ ปวดให้ น ้ อ ยลง ก็ ต้ อ งเริ่ ม ด้ ว ยการยอมรั บ ความเปลี่ ย นแปลงว่ า เป็ น ไปตามธรรมชาติ หากที่ ผ ่ า นมาเป็ น เรื่ อ งของ “กรรม ลิ ขิ ต ” เราไม่ ไ ด้ ลิ ขิ ต เอง

56 IS AM ARE www.fosef.org


ที่ผ่านมา เธอตระหนักว่าเพราะ “รักสามีมาก จึงทุกข์ มากเมื่อรู้ว่าเขาเปลี่ยนไป” ... เธอไม่อยากให้เขารักหญิงอื่น นอกจากเธอ แต่เขาก็ยอมรับแล้วว่าเขามีผู้หญิงอีกคน จึงท�ำให้ เธอ/ภรรยาเสียใจทุกข์ใจจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ทั้งที่วันเวลา แห่งความสงบสุขในช่วงปลายชีวิตได้เริ่มขึ้นแล้ว บางทีเธออาจ ต้องลดความรักที่มีต่อเขาให้น้อยลง และหันมาให้ความรักกับ ตัวเองให้มากขึ้น หรือรักเขาอย่างที่เขาเป็น และไม่คาดหวังจะ ให้เขารักตอบอย่างที่เราต้องการ ขอเพียงให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่าง มีความสุขกับใครก็ได้ เพียงรู้ว่าจะท�ำให้ชีวิตของเขามีความสุข เราก็พอใจ (ท�ำได้ไหม?)

ที่ส�ำคัญ “ความรัก”เป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะ “ให้” เมื่อเห็นคนที่เรารักเป็นสุขเราก็สุขด้วย และการให้ใด ๆ ก็ไม่มี ค่าเท่ากับการ “ให้อภัย” อภัยให้ในสิ่งที่เขาได้ท�ำร้ายเราโดย ไม่ตั้งใจ การที่สามีเธอไม่ยอมย้ายออกไปอยู่กับภรรยาใหม่ ก็ เพราะเขายังรักยังต้องการภรรยาและลูกหลานที่มีอยู่ เขาอาจ ต้องการเวลาเพียงไม่นานในการจัดการเรื่องราวกับหญิงสาวคน นั้นให้เสร็จสิ้นก่อน ขอเพียงภรรยาเข้าใจ ให้อภัยเขาก็เหมือนให้ อภัยตัวเอง และให้เวลาเขาแก้ไขปัญหา ให้เวลาตัวเองในการ เยียวยาจิตใจ เพื่อตัวเธอและทุกคนในครอบครัวจะได้ก้าวต่อ ไปอย่างเข้มแข็งและมั่นคง อรอนงค์ อินทรจิตร www.hotline.or.th

57 issue 112 maY 2017


บทเรียนชีวิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 6 แรงบั น ดาลใจกลายเป็ น แรงศรั ท ธา

น้อมน�ำ ศาสตร์พระราชา 5 ค�ำ 5 ข้อ รากแก้วของแผ่นดิน

บันดาลจนเกิดเป็นความศรัทธา จากหนึ่งเมล็ด สู่หนึ่งก�ำ หลาย เมล็ดก็หลายก�ำ รวมกันเป็นครอบครัว เรามีครอบครัว ครอบครัว เดียวกัน ครอบครัวพอเพียง รากเรางอกแล้ว งอกพร้อมกัน เป็น รากแก้วเดียวกัน รากแก้วของแผ่นดิน รากแก้วของครอบครัว พอเพียง เพราะ ครอบครัวพอเพียง คือ รากแก้วของแผ่นดิน ขอขอบคุณ เพือ่ นผองน้องพีจ่ ากมูลนิธคิ รอบครัวพอเพียง เชิญชวนคนดี ให้มาเจอกัน เจอเพื่อรวมพลัง รวมกันท�ำดี ได้เจอ ต้นแบบความดี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล และผองน้องพี่ ครอบครัวพอเพียง ดีใจ ปลื้มใจ น�้ำตาหลั่งไหล เราจะตอบแทน แผ่นดินของเรา โดยการท�ำ ท�ำทุกเวลา ท�ำทันที 3 – 6 เมษายน 2560 ค่ายสืบสานศาสตร์ของพระราชา : มีความรู้ มีคุณธรรม พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน 5 ค�ำ 5 ข้อ ขอน้อมน�ำ ท�ำให้เกิดคุณค่า...

จากแรงบันดาลใจกลายเป็นแรงศรัทธา จากน้องเล็ก ปีหนึ่ง เริ่มขึ้นปีสอง เมล็ดแห่งความหวังเริ่มงอก น�้ำทิพย์จาก ผู้ใหญ่ เป็นน�้ำแห่งความรัก ได้รดหลั่งลงสู่เมล็ดพันธ์ุ พลังใหม่ พลังเยาวชนจากครอบครัวทุกทิศทั่วไทย เป็นเมล็ดพันธ์ใหม่ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทุกคนได้รับโอกาสให้เดินทางมาค้นหาคุณค่า ของค�ำว่า “พอเพียงเริ่มที่ใจ” มาต่อเติมเพิ่มพลัง ได้รับน�้ำทิพย์ ชโลมใจ มาเพิ่มไฟมุ่งมั่น ให้เกิดความมั่นใจ ใจหนักแน่น ล้นใจ จนเปล่งแสงออกมาดังลั่น “ 5 ค�ำ 5 ข้อ ค�ำของพ่อ” ศาสตร์ ของพระราชา มาเติมเต็มให้เมล็ดพันธ์เหล่านี้ “งอกราก” ราก งอก ...จาก... รากแก้วน้อย ๆ รากแก้วเริ่มแข็งแรง เริ่มสร้างราก แขนง พลังจากหนึ่งเมล็ด หลายเมล็ดมารวมตัว รวมกันอย่าง เหนียวแน่น สามัคคี ก่อเกิดพลัง รักกัน ยิ้มมองหน้า มองตากัน เมล็ดพันธ์จากทุกทิศ เรามี “พ่อ” เป็นแบบที่ยิ่งใหญ่ สร้างแรง 58

IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่าเรื่อง

รวมรุ่นกันเล็กๆ ณ ที่พักถึงแม้เล็ก ไม่สะดวกสบายอะไร แต่อบอุ่นเหลือเกิน เราทุกคนรู้ดี แต่เราอยากพบกัน เราอยาก อยู่ด้วยกัน แค่หนึ่งห้องเล็กนี้ แต่ความรัก สื่อถึงกัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ จากรุ่น “0” สู่รุ่น “1” ไปรุ่น “2” และรุ่น “3” (นิยามรุ่น : รุ่น “0” ผองเพื่อนที่เกิด พ.ศ. 2500 – 2509 รุ่น “1” ผองเพื่อนที่เกิด พ.ศ. 2510 – 2519 รุ่นอื่นก็ใช้หลัก คิดเดียวกันจ้า) เจอกันเพราะเป้าหมายเดียวกัน เราคือครูผู้น�ำ ศาสตร์ของพระราชารัชกาลที่ 9 ศาสตร์แห่งความพอเพียง พอเพียงเริ่มที่รัก รักที่จะพอเพียง...กลับไป พอเพียง จะเข้ม แข็ง เพราะเรามีพลัง พลังใจที่มุ่งมั่น พลังรักจากทุกคน เรามา ต่อเติมเสริมพลังกันที่นี่ เด็กๆ แกนน�ำของเรามีพลัง ผู้หลักผู้ใหญ่ ของเรา มีพลัง...พลังที่เกิดจากศรัทธาเดียวกัน เราจะ “สานต่อ ที่พ่อสอน” ด้วยกัน.

วันที่ 3 เมษายน 2560 เราเดินได้เดินไปด้วยกัน และ ขอเดินต่อไป...ไม่ขอหยุดเดิน : สานต่อ ที่พ่อสอน : ไม่รู้เกิดขึ้นได้อย่างไร รูปแบบกิจกรรมไม่มีอะไรมาก..ก็ เห็นกันบ่อยๆ ท�ำกิจกรรม สันทนาการ มอบของรางวัล ที่ไหนๆ หาก Rally เค้าก็ท�ำกันอย่างงี้ แต่รอบนี้ ไม่รู้ซินะ เด็กบอกว่า มีความสุขมากค่ะครู หนูอยากมาอีก ชอบจัง..คิดดี มีตังค์ ... ฝากไว้ให้คิด อย่าให้ใครว่าไทยไม่ออม : น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ขอ ร่วมแจมคะ

59 issue 112 maY 2017


วันที่ 4 เมษายน 2560 ผองเรายิ่งพร้อมใจเดิน : เดินไปหา องค์ราชาแห่งเรา ขอกราบองค์อีกสักครั้ง...ไม่มี ใครนัดเราว่าเราต้องแต่งกายแบบไหน ..เราสื่อใจถึงกัน นัดกัน ด้วยใจ ก้าวไปด้วยกัน กลับมาพร้อมความสุขที่เกิดขึ้นพร้อม กัน...มีความสุขจังวันนี้...มวลความสุข สร้างพลังให้พวกเรา.. ขอบคุณนะคะ ที่ท�ำให้พวกเราได้ท�ำ ได้เจอ ได้พบแต่สิ่งดี ดีกับ ใจ วันนี้ ครอบครัวพอเพียงของเราเข้มแข็ง รากแก้ว ได้งอก หยั่งลึกถึงจิต แทรกไปถึงใจ พร้อมใจท�ำดีคะ เดินต่อไป ก้าว ต่อไป ก้าวเพื่อเก้า คือค�ำมั่น...

ความสุ ข ไม่ มี วั น หมด รอยยิ้ ม มี ความสุข.. เพราะครอบครัวพอเพียงเปิด โอกาสให้ พวกเราได้มีโอกาสได้ท�ำกรรมดี จิตอาสา เพื่ อ ทุ ก คน วั น นี้ แ ละวั น ต่ อ ไป เราชาวนคร อยู ่ เ มื อ งพระ มั่ น ในสั จ จะ ศีลธรรม ก่อกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่ เบียดเบียน ท�ำอันตรายผู้ใด เราอาสาชวน เชิญผองน้องพี่มาร่วมก่อกรรมดี สานต่อที่ พ่อสอน เริ่มต้นที่ตน ครอบครัวที่ฉันรักสู่ แผ่นดินไทยของผองเรา ความพอเพียงจากทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ง่ายที่จะท�ำและไม่ยาก ที่ท�ำต่อ ท�ำให้ได้ ไม่มีอะไรที่ท�ำไม่ได้ คนไทยท�ำได้เสมอเพื่อพ่อ เรามาพอเพียงกันนะคะ 60 IS AM ARE www.fosef.org


13 – 15 เมษายน 2560 เราชาวไทย น�้ำอกน�้ำใจ เดียวกัน หยุดงาน...ตามหาน�้ำ... น�้ำสื่อรัก ประเพณีสงกรานต์ แบบอย่างความรักที่ทุก ครอบครัวของชาวไทยสานต่อสืบทอดมาอย่างยาวนาน รูปแบบ จะเปลี่ยนแปลงตามยุคไปอย่างไร แต่ความรักที่ทุกครอบครัวสื่อ ถึงเหมือนกัน กลับบ้าน เยี่ยมปู่ย่าตายาย ไปรดน�้ำกัน ความรัก ที่ห่างหาย กลับมา น�้ำที่รดตัวญาติผู้ใหญ่ รอยยิ้มมุมปาก ดีใจที่ ลูกหลานไม่ลืมเลือน สื่อรักและแบบอย่างความรัก ท�ำเป็นแบบ ให้เด็กได้เห็น ได้รัก และรักตลอดไป

ขอขอบคุณ ครอบครัวคุณตาแจ้ง วาสทอง ร่วมสื่อสาร ความสัมพันธ์ ร่วมกันพอเพียง พอเพียงเริ่มที่ใจ ... ตาบอกว่า ในหลวงท�ำให้ดูมาตลอด พวกเราอย่าดูดาย ท�ำเพื่อท่านบ้าง เสื้อในหลวงตัวนี้ ท่านฝากให้ ภูมิใจใส่แล้วให้ นึกถึง ท่านรักเรา เหมือนเราคือครอบครัว โหมสู . ..พอเพี ย งกั น มั้ ง อย่ า ให้ ห นั ก แรง ท� ำ ไร ให้ พอดี อย่าเกินไป อย่าแต่หนุกกับหรอย ต้องขยัน ประหยัด เก็ บ ออมกั น มั้ ง (ภาษาถิ่ น ใต้ : คุ ณ ตาย�้ ำ เตื อ นลู ก หลานให้ พอเพียง) แวะมาเมืองนคร เมืองลิกอร์ นี่เลยค่ะ เช้านี้ที่ เมือง โบราณ ร้านโกปี้ ทุกคนรู้จักกันดี ใครไปใครมาก็แวะมาลองชิม มีเมนูหลากหลาย แต่วันนี้ดีใจกว่านั้นค่ะ ...ได้ถ่ายรูปกับคนนี้.. สังเกตสองภาพนี้นะคะ.. ใครมีค�ำตอบ..แวะมาบอกด้วยนะคะ ตาคือใคร ฉันไม่รู้ ตาคนนี้ สอนให้รู้ ต้องขยัน ประหยัด..ตื่นเช้าท�ำงาน ซื่อสัตย์ 61 issue 112 maY 2017


ความสุขฉัน แค่เธอยิ้ม ก็พอ..แวะมายิ้มทักได้ค่ะ ท�ำพอดี 3 ห่วง งาน ครอบครัว ตัวเอง .. งานท�ำเต็ม ที่ ครอบครัวจัดเต็ม แล้วดูแลตัวเอง เดือนนี้ ที่นี่เมืองนครศรีฯ อากาศดีที่สุดในประเทศไทย เที่ยวได้ทั้งปี จัดแจงให้พร้อม เสื่อผืนหมอนหลายใบ ชวนไปให้หลายคน อยากกินอะไร มีให้ อุดหนุนเหลือเฟือ แต่รอบนี้พากันไปเอง ..หนานท่าหา อ�ำเภอ ลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงสงกรานต์ คนแน่นมาก ดี ที่ทุกคนร่วมมือ เอาขยะกลับบ้าน ที่นี่จึงอากาศดี สมกับได้ชื่อดี ที่สุด ไม่มีขยะค่ะ ชอบสุด..

แบ่งเวลามากันเยอะๆ นะคะ เพราะบ้านเรามีน�้ำ น�้ำ ที่หลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ ทุกพื้นที่ทั่วไทย น�้ำใจ ชาวไทยไม่ต่างกัน. เราครอบครัวเดียวกัน ครอบครัวพอเพียง ชวนครอบครัวพอเพียง มาเที่ยวถิ่นแห่งตน ถิ่นเมืองน�้ำ เมือง น�้ำใจ...ที่ไหนมีน�้ำ ที่นั่นมีสุข เรามีสุข ครอบครัวมีสุข แผ่นดิน ของเราก็มีสุขคะ 62 IS AM ARE www.fosef.org


63 issue 112 maY 2017


64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 112 maY 2017


66 IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 112 maY 2017


68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 112 maY 2017


70 IS AM ARE www.fosef.org


71 issue 112 maY 2017


“มะปรางเงินล้าน....ด้วยขุนด่านปราการชลฯ” “เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง การท� ำ ให้ ต นเองมี ร ายได้ ห มุ น เวี ย นตลอดปี เป็ น พอเพี ย ง คื อ มี เ พี ย งพอ อาชี พ การเกษตรกรรม เป็ น อาชี พ ที่ ยั่ ง ยื น กว่ า อุ ต สาหกรรม” ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน (เครือข่ายเกษตรกรตัวอย่าง) กลุ่มผู้รับน�้ำในพื้นที่เขื่อนขุนด่านปราการชล (อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ) นายจรูญ จวนเจริญ ที่อยู่ เลขที่ 81/1 หมู่ที่ 10 ต�ำบลท่าช้าง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครนายก รายได้เฉลี่ยต่อปี 1,015,000 บาท 72 IS AM ARE www.fosef.org


เกษตรพอเพียง

อาชี พ เดิ ม ก่ อ นเข้ า ร่ ว มโครงการ นายจรูญ จวนเจริญ อายุ 67 ปี จบประถมศึกษาปีที่ 4 เดิมมีอาชีพท�ำนาเป็นหลักซึ่งประสบปัญหาทุกปีบางปีน�้ำท่วม ไม่ได้ผลผลิตท�ำให้มีหนี้สิน มีรายได้ไม่เพียงพอส่งให้ลูกๆ เรียน หนังสือในระดับการศึกษาที่สูงๆได้ ต้นทุนในการท�ำนา 1 ไร่ เป็น เงิน 2,000 บาท ขายข้าวได้ไร่ละ 2,400 บาท ซึ่งได้ก�ำไรน้อย มาก ท�ำให้บางปีขาดทุนตลอดมา ต่อมาในปี 2537 มีโอกาสได้ เข้าร่วมโครงการระบบการผลิตการเกษตร ส�ำนักงานเกษตร จังหวัดนครนายก จึงได้พัฒนาปรับเปลี่ยนจากการท�ำนาเพียง อย่างเดียวเป็นการท�ำไร่นาสวนผสม เพื่อลดความเสี่ยงและให้ มีรายได้ตลอดปี

การเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฎี ใ หม่ หลังจากได้เข้าร่วมอบรมกับเจ้าหน้าที่มาโดยตลอดจึง เกิดความคิดที่จะปรับเปลี่ยนจากการท�ำนาเพียงอย่างเดียวหัน มาท�ำสวนควบคู่ไปด้วย โดยได้กู้เงิน ธ.ก.ส. มา 180,000 บาท ท�ำการขุดบ่อเพื่อกักเก็บน�้ำตามค�ำแนะน�ำจากเจ้าหน้าที่ และ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการขุดบ่อกักเก็บน�้ำให้จ�ำนวน 1 บ่อ กระจายทั่วบนพื้นที่ 5 ไร่ของตนเอง โดยท�ำการปลูกมะยง ชิด และสวนมะปางแบบยกร่องเพื่อให้สามารถกักเก็บน�้ำไว้ใช้ใน ฤดูแล้งและสามารถเลี้ยงปลาควบคู่กับการท�ำสวนได้ นอกจาก นี้ยังปลูกกระท้อนและมังคุด เป็นไม้ผลเสริมอีกด้วย ปลูกพืชผัก สวนครัว เช่น กระเพรา โหรพา แมงลัก และกล้วย พร้อมทั้งได้ ขยายกิ่งพันธุ์มะยงชิดและกิ่งพันธุ์มะปรางเพื่อจ�ำหน่ายเป็นราย ได้เสริม ยังคงท�ำนาข้าวไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน จนกระทั่งปี 2548 นายจรูญฯได้เป็นเกษตรกรตัวอย่าง และได้รับการคัดเลือกให้จัดสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่รับน�้ำ เขื่อนขุนด่านปราการชลอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ด้านเกษตร ผสมผสานเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ส่วนรวม ด้านการท�ำการ 73 issue 112 maY 2017


เกษตรผสมผสาน ให้ค�ำปรึกษาแก่เกษตรกรประชาชนทั่วไปที่ เข้ามารับค�ำปรึกษาด้วยความเต็มใจที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ จากการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เมื่อว่างเว้นจากการท�ำงานก็ จะค้นคว้าทดลองริเริ่มท�ำสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อท�ำให้เกิดความรู้ ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์อันที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ต่อ ไปอย่างไม่เคยหยุดนิ่งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากภูมิปัญญา ชาวบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม เช่น การน�ำหอย เชอรี่มาท�ำเป็นน�้ำหมักร่วมกับสารเร่ง พด.ปุ๋ยอินทรีย์น�้ำ หรือ การท�ำเครื่องห่อกระท้อนแบบง่ายๆจนได้รับรางวัลเกียรติบัตร แห่งภูมิปัญญาเกษตรกรไทย การด� ำ เนิ น กิ จ กรรมในปั จ จุ บั น บนพื้นที่ดินจ�ำนวน 10 ไร่ ของนายจรูญฯได้ท�ำการเกษตรตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่ มีกิจกรรมในพื้นที่ดังนี้ 1.พื้นที่อยู่อาศัย 2.พื้นที่ท�ำสวนมะยงชิด และมะปรางหวาน จ�ำนวน 400 ต้น มีผลผลิต ประมาณ 4 ต้นต่อปี ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัว 3.บ่อน�้ำ กระจายอยู่ทั่วไปบนพื้นที่ ส�ำหรับใช้น�้ำ และเลี้ยงปลารอบๆ ขอบบ่อปลูกพืชผักสวนครัว 4.พื้นที่ส�ำหรับกิ่งพันธุ์มะยงชิด และมะปรางหวาน จ�ำนวน 3,000 ต้นเพื่อจ�ำหน่ายเป็นรายได้เสริม วันนี้นายจรูญฯ เป็นเกษตรกรที่ยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการด�ำเนินชีวิต มีความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ ของตนเอง ดังค�ำกล่าวของนายจรูญฯ ว่า “เศรษฐกิจพอเพียง คือ การท�ำให้ตนเองมีรายได้หมุนเวียนตลอดปี เป็นพอเพียง คือมี พอเพียง อาชีพการเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ยั่งยืนกว่าอุตสาหกรรม” 74 IS AM ARE www.fosef.org


สรุ ปผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ประจ�ำปี พ.ศ.2556 ต้นทุน 1)มะปรางหวานและมะยงชิด 2)กิ่งพันธุ์มะปรางหวาน รวม

มูลค่า (บาทต่อปี) 55,000 30,000 85,000

รายได้ (บาทต่อปี) 800,000 300,000 300,000

75 issue 112 maY 2017

รายได้สุทธิ (บาทต่อปี) 745,000 270,000 1,015,000


ยะลา วันดอกไม้ผลิบานในราวป่า ณ ปลายสุ ด ด้ า มขวาน กล่ า วได้ ว ่ า คงมี ผู ้ ค นน้ อ ยนั ก ที่ “รู ้ จั ก ” ยะลาในทุ ก แง่ มุ ม ไกลลงไปใต้ สุ ด จรด ชายแดนมาเลเซี ย ที่ ซึ่ ง ทิ ว เขาซั บ ซ้ อ นแล้ ว ป่ า ดิ บ ปกป้ อ งทุ ก อย่ า งไว้ ดั่ ง ปราการอั น สู ง ชั น และดั่ ง มารดา ซึ่ ง โอบกอดเมื อ งหนึ่ ง ไว้

“เบตง” คือเมืองในอ้อมกอดนัน้ ...

สองวันที่แล้ว สื่อมวลชนคณะหนึ่งได้มีโอกาสมาเยือน เมืองไกลแห่งนี้ จากหน้าต่างโรงแรมชั้น 17 ภาพที่ปรากฏนั้น ชัดเจน อ�ำเภอห่างไกลในจังหวัดยะลานี้คล้าย “ซ่อง” อยู่ใน ทิวเขาซับซ้อน แวดล้อมด้วยป่าดิบชายแดนรัฐเปรักและเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ในยามเช้า ขณะเสียงละหมาดกังวานแว่ว มองผ่านม่าน หมอกลงไป มัสยิดกลางจะปรากฏรางๆ ตรงเบื้องหน้า ถัดลงมา คืนโบสถ์คริสต์ประดับไม้กางเขนใหญ่ ขณะวัดพุทธาธิวาสและ ศาลเจ้าแม่กวนอิมปรากฏอยู่บนไหล่เขาด้านขวา 76 IS AM ARE www.fosef.org


เที่ยวตามรอยในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ “ดูเหมือนจะแตกต่างนะครับ แต่เราอยู่ร่วมกันอย่าง ปกติ สุ ข มานานแล้ ว ” คุ ณ มนู ญ -ข้ า ราชการกระทรวงศึ ก ษา ประจ�ำเบตง เอ่ยขณะร่วมโต๊ะกาแฟในตลาดเช้า ร้านกาแฟนี้ อยู่ใกล้ตลาดสด จึงเป็นเหมือนแหล่งพบปะ นัดหมาย ชายชราสนทนากับมิตรร่วมวัย สมาชิกกองอาสารักษา ดินแดน (อส.) แวะมากินมื้อเช้า ก่อนออกไปตรวจตราความ เรียบร้อยยังมุมเมืองต่างๆ “ที่นี่แทบไม่มีเหตุร้ายแรงอะไรค่ะ มีแค่เรื่องจราจร มาก สุด ก็วิ่งราว” อส.หญิงในกลุ่มเล่า กล่ า วส� ำ หรั บ เมื อ งนี้ เบตงมี ป ระชากรอาศั ย อยู ่ ร าว 55,000 คน พี่น้องมุสลิมมีสัดส่วนถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทว่านั่น กลับไม่ใช่เงื่อนไข หากคือน�้ำใจที่มีแก่กันมาเนิ่นนาน ย้อนเวลากลับไป เบตงก่อร่างสร้างเมืองในสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ยุคซึ่งเรือกลไฟเชื่อม จีนตอนใต้กับมลายูและสยาม ชาวจี น ที่ อ พยพมาจากเมื อ งกว่ า งชี คื อ กลุ ่ ม คน แรกๆ ที่ เ ข้ า มาก่ อ ร่ า งสร้ า งตั ว ในเบตง พวกเขาได้ รั บ มิ ต รไมตรี จ ากพี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม ซึ่ ง อาศั ย อยู ่ ม าก่ อ น จึ ง ทยอยเดิ น ทางเข้ า มาอี ก กลุ ่ ม ใหญ่

ช่วงเวลานั้น ชาวจีนที่อพยพมาจากเมืองกว่างชี คือ กลุ่ม คนแรกๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้างตัวในเบตง พวกเขาได้รับ มิตรไมตรีจากพี่น้องมุสลิมซึ่งอาศัยอยู่มาก่อน จึงทยอยเดินทาง เข้ามาอีกกลุ่มใหญ่ ด้วยผืนดินอันอุดม ยางพาราที่ลงแรงจึงให้ผลงอกงาม ไม่นานชุมชนก็ขยาย มีพ่อค้าชาวมาเลย์และยะลาเข้ามากัน คึกคัก แม้การเดินทางในยุคนั้นจะยากล�ำบาก ต้องอาศัยเรือ ช้าง เกวียน และม้า... 77 issue 112 maY 2017


จากเมื อ งในหุ บ เขา ย้ อ นขึ้ น มาทางทิ ศ เหนื อ คื อ พื้ น ที่ เคลื่อนไหวเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) ระหว่าง ทาง ปรากฏป้ายบอกทางไปน�้ำตกธารโตแหล่งท่องเที่ยวน่าชม ในอุทยานแห่งชาติบางลาง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 4 ปรากฏทางแยกซ้าย ริมทางมี บ่อน�้ำพุร้อนตกแต่งสวยงาม มีบ่อน�้ำซึ้งเต็มเปี่ยมด้วยน�้ำแร่ อุ่นสบาย จากนั้น ไปต่อไม่ไกลก็ถึงหมู่บ้านปิยะมิตร 1 หนึ่งใน “กรม” ของ พคม. ย้อมไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองโลกแบ่ง ออกเป็นสองขั้ว คือทุนนิยมกับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เมื่อจีน ประกาศตั้งสาธารณรัฐในระบบคอมมิวนิสต์เมื่อปี 2492 ชาว มาเลย์เชื้อสายจีนจึงรวมตัวกันจัดตั้ง พคม. วาดหวังจะเปลี่ยน มาเลเชียให้เป็นประเทศสังคมนิยมเช่นกัน ในยุคนั้น หนุ่มสาวชาวมาเลย์เชื้อสายจีนเคยร่วมขับ ไล่ ญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงตกอยู่ในอาณานิคมของ อังกฤษ ก็ต่อสู้เรียกร้องเอกราชตลอดมา กระทั้งถูกปราบปราม

กล่ า วส� ำ หรั บ เมื อ งนี้ เบตงมี ป ระชากรอาศั ย อยู ่ ราว 55,000 คน พี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม มี สั ด ส่ ว นถึ ง 50 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ทว่ า นั่ น กลั บ ไม่ ใ ช่ เ งื่ อ นไข หากคื อ น�้ ำ ใจ ที่ มี แ ก่ กั น มาเนิ่ น นาน อย่างหนัก พวกเขาจึงเลือกวิธีสู้รบแบบกองโจร จากเมื อ งหลวงกั ว ลาลั ม เปอร์ พวกเขาจั ด หมวดหมู ่ เป็ น 12 กรม แล้ ว ถอยร่ น มาเคลื่ อ นไหวในป่ า เขาตะเข็ บ ชายแดนไทย ฝนโปรยละอองขณะเรามาถึงหมู่บ้านปิยะมิตร 1 หมอก ขาวลอยเรี่ยทิวเขาหลังหมู่บ้าน ข้ามล�ำธารสายย่อม เดินตามทาง ซึ่งทอดเข้าไปในป่าสมบูรณ์ ผมก็พบตนเองอยู่ในแวดล้อมเก่า ของ พคม. ลานกิจกรรมและสนามบาสเก็ตบอลแทรกซ่อนอยู่ ใต้เรือนไม้ใหญ่ป้อมยามซึ่งสร้างพรางอยู่ตามลาดยาว ภาพ : pantip.com login ผู้พันจุ้น 78

IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

79 issue 112 maY 2017


Round About มธ.ร� ำ ลึ ก ผู ้ ป ระศาสน์ ก าร “ปรี ดี พนมยงค์ ” พร้ อ มสื บ สานปรั ช ญามหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ประชาชน เดิ น หน้ า การพั ฒ นาทั้ ง ด้ า นวิ ช าการและจิ ต ส� ำ นึ ก เพื่ อ ส่ ว นรวม มธ. จัดงาน “วันปรีดี” ประจ�ำปี 2560 ร�ำลึกผู้ประศาสน์ การ พร้อมจัดเสวนา “แนวคิดปรีดี พนมยงค์ กับบทเรียน และ พัฒนาการประชาธิปไตย” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ประกาศพร้อมสาน ต่อปณิธานมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน จัดงานวัน “วันปรีดี” ประจ�ำปี 2560 เพื่อร�ำลึกถึงคุณูปการอันทรงคุณค่าและเชิดชู เกี ย รติ ศาสตราจารย์ ดร.ปรี ดี พนมยงค์ ผู ้ ป ระศาสน์ ก าร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ พิธีสักการะ อนุสาวรีย์ด้วยพานพุ่ม พิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา “ทุนปาล พนมยงค์” การเสวนา ในหัวข้อ “แนวคิดปรีดี พนมยงค์ กับ บทเรียน และพัฒนาการประชาธิปไตย” รวมถึงจัดนิทรรศการ แสดงอัตชีวประวัติภายในห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ และหอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมคิ ด เลิ ศ ไพฑู ร ย์ อธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่ า วในโอกาสจั ด งานวั น ปรีดีประจ�ำปี พ.ศ. 2560 ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยัง คงยึดมั่นในเป้าหมายของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ตามปรัชญาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยของผู้ประศาสน์การ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ผ่านนโยบายต่างๆ ทั้งในด้านวิชาการและ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตส�ำนึกเพื่อส่วนรวม เช่นการ บรรจุรายวิชา “TU 100 พลเมือง กับความรับผิดชอบต่อสังคม” เป็นรายวิชาบังคับเลือกในหมวดพืน้ ฐานของหลักสูตรปริญญาตรี เพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมอันจะน�ำไป สู่การพัฒนาประเทศ รวมไปถึงการส่งเสริมในด้านวิชาการอื่นๆ เช่นการพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ อันก่อ ให้เกิดการน�ำไปใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและ ยั่งยืน เพื่อ ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประชาชนและสังคม ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมี ชื่ อ เมื่ อ เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง ว่ า “มหาวิ ท ยาลั ย วิ ช าธรรมศาสตร์ และการเมือง (มธก.)” จากความริเริ่มของ “ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์” ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยในขณะนั้น โดยได้เล็งเห็นว่า ขณะนั้นการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศ ชาติจ�ำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ทางกฎหมาย การปกครอง และสังคมมารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน จึงได้เสนอร่างพระ

ราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 เพื่อเปิดสอนในวิชาแขนงดังกล่าวโดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรี ดี พนมยงค์ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ ป ระศาสน์ ก ารคนแรก ของมหาวิทยาลัย (และเป็นผู้ประศาสน์การคนเดียว เพราะ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อต�ำแหน่ง เป็นอธิการบดี) โดยคณะเริ่มแรก มี คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะ รัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ จวบจนปัจจุบันมีทั้งสิ้น 19 คณะ 6 วิทยาลัย และ 2 สถาบัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบุคลากรที่มารับใช้สังคม ตลอด จนเป็นก�ำลังส�ำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ซึ่ง ไม่ว่า มธ. จะพัฒนาไปเพียงใดก็ยังคงปรัชญา “มหาวิทยาลัยเพื่อ ประชาชน” ไม่เสื่อมคลาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงาน “วันปรีดี” เป็น ประจ�ำทุกปี เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงคุณูปการอันทรงคุณค่าและ เชิดชูเกียรติ “ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์” โดยปีนี้ ในงาน ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การขับร้องเพลงประสานเสียง โดยชุมนุมขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิธีสักการะอนุสาวรีย์ด้วยพานพุ่ม พิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา “ทุนปาล พนมยงค์” โดย ทายาทของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์-ท่าน ผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์การเสวนา ในหัวข้อ “แนวคิดปรีดี พนม ยงค์ กับบทเรียน และพัฒนาการประชาธิปไตย” นอกจากนี้ ยัง มีนิทรรศการจัดแสดงอัตชีวประวัติภายในห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ รวมถึงการเปิดหอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-15.30 น. บริเวณชั้น 3 ตึกโดม มธ.ท่าพระจันทร์ในเดือน มิถุนายน ของทุกปี 80

IS AM ARE www.fosef.org


เห็ น ชอบแล้ ว จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ร ะดั บ ภู มิ ภ าคว่ า ด้ ว ยปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของซี มี โ อที่ ป ระเทศไทย

4. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและการประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์ใน บริบทของประเทศในภูมิภาค 5. เพื่ อ เป็ น ศู น ย์ ป ระสานและด� ำ เนิ น การพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน 6. เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายความร่วม มือระดับภูมิภาค และต่อยอดขยายผลสู่ระดับสากล

วัน อังคารที่ 16 พฤษภาคม 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญา ของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเพื่ อ ความยั่ ง ยื น ขององค์ ก ารรั ฐ มนตรี ศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ทั้งนี้ ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นควรมีขนาดกะทัดรัด เน้น บทบาทการเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ การส่งเสริม ประสานและบูรณาการการด�ำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อมิให้เกิดความ ซ�้ำซ้อนของภารกิจและการใช้จ่ายงบประมาณในอนาคต สาระส� ำ คั ญ ของการจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ร ะดั บ ภู มิ ภ าคว่ า ด้ ว ย ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งเพื่ อ ความยั่ ง ยื น ของซี มี โ อ มี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นศูนย์ระดับภูมิภาคที่เป็นเลิศด้านปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อเป็นศูนย์ที่เป็นคลังความรู้และศูนย์กลางด้าน ข้อมูลในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อเป็นศูนย์ให้ค�ำปรึกษาว่าด้วยเรื่องปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

บทบาทหน้ า ที่ ข องศู น ย์ 1. พัฒนาบุคลากรของภูมิภาคด้านวิธีคิดและแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการด�ำรงชีวิตอย่างพอเพียงที่เหมาะสมกับบริบท ของตน 2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิชาการและความรู้ความ สามารถที่จะน�ำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศสมาชิก 3.ขั บ เคลื่ อ นนโยบายความร่ ว มมื อ ด้ า นการศึ ก ษาใน แต่ละด้านของภูมิภาคให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น 4. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่าง ภูมิภาค 81

issue 112 maY 2017


‘จารีตประเพณีของแต่ละชาติ แต่ละภาษาไม่ใช่เรื่องขัดแย้ง แต่ควรให้เกียรติ ความเคารพและบูรณภาพซึ่งกันและกัน’ ถือเป็นคุณสมบัติที่คนไทยปฏิบัติกันมาเป็นเวลาสืบเนื่อง ยาวนาน เป็นมารยาทที่ผู้คนมองว่าเรียบร้อย งดงาม อันจะ น�ำพาความเจริญความเป็นสิริมงคลมาสู่ผู้ประพฤติปฏิบัติ เช่น การกราบถวายสักการะบูชา การกราบถวายบังคม การกราบ เท้าบิดามารดาและบรรพบุรุษ กราบเท้าครูอาจารย์ หรือบุคคล อาวุโสผู้เป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่ง ประเพณีการกราบนั้น ครู อาจารย์เคยสอนข้าพเจ้าตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักเรียนว่า บุคคล จะนั่งพับเพียบเรียบร้อยและเก็บเท้า ก้มตัวลง หมอบเอี้ยวตัว ให้ข้อศอกแนบกับพื้นตลอดถึงมือ พนมมือตั้งขึ้น ก้มศีรษะลงให้ หน้าผากจรดมือ ไม่ต้องแบราบและกราบเพียงครั้งเดียวส�ำหรับ บุคคลที่ไม่ใช่พระ ธรรมเนียมประเพณีนิยมนี้ สมควรที่ผู้ใหญ่ทั้ง ครูอาจารย์จะได้ช่วยกันแนะน�ำบอกกล่าวให้ลูกหลานเยาวชน ช่วยกันด�ำรงรักษาให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมืองไทยที่เรา ทุกคนมีความภาคภูมิใจสืบไป.

ชาวต่างชาติบางคนหรือใครก็ตามที่ไม่เข้าใจ ก็จ�ำเป็น ต้องช่วยกันบอกกล่าวถึงจารีตประเพณีของไทย หรือของชาติ ใดๆ ที่ใครผู้ไปเยี่ยมเยือนขาดความเข้าใจอันควร ก็ต้องพูดจา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความเกรงใจและให้เกียรติกัน หา ใช่ว่ากล่าวดูหมิ่นดูแคลนกันเอง อาทิ เรื่องการกราบไหว้ของ ลูกหลานไทย ครูอาจารย์และปู่ย่าตายายของคนไทยสอนเรา มาหลายชั่วชีวิตคนว่า ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติมาช้านาน ถือเป็นศิลปวัฒนธรรมที่เป็นกิริยามารยาทอีกอย่างหนึ่งที่จัด ว่ า เป็ น เอกลั ก ษณ์ ป ระจ� ำ ชาติ ที่ แ ต่ ล ะชาติ แ ต่ ล ะภาษาจะมี ความแตกต่างกันไป หาใช่เป็นเรื่องน่าอับอาย แต่จะแสดงให้ เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาติ อุปนิสัยใจคอ ความอ่อนน้อมถ่อม ตน ความเป็นสุภาพชน ความรู้จักเคารพยกย่องให้เกียรติผู้อื่น เป็นอย่างสูง

*เอกสารทางวิชาการ หอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ โดย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ประธานพิพิธภัณฑ์และหอสมุดสมเด็จฯ กรม พระยาด�ำรงราชานุภาพ (PDRL/916)

82 IS AM ARE www.fosef.org


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 83 issue 112 maY 2017


84 IS AM ARE www.fosef.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.