IS AM ARE
พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้ามูลนิธิครอบครัวพอเพียง
2 IS AM ARE www.fosef.org
3 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
Contributors
มูลนิธิครอบครัวพอเพียง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ นางสุชานี แสงสุวรรณ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา
ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ
นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : ประธานด�ำเนินการ : บรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ : ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน : โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :
คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรวิก อุนะพ�ำนัก อภีม คู่พิทักษ์ พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง ๖๖๓ ซอยพหลโยธิน ๓๕ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๕ ๐-๒๙๓๙-๕๙๙๖ www.fosef.org
ขอบคุณภาพและเอกสารอ้างอิง ๑. www.faa.chula.ac.th ๒. ๖๐ ปีใต้ร่มบารมีพระบรมโพธิสมภาร ร่มเย็นเป็นสุข ของบริษัททาสของแผ่นดิน จ�ำกัด, มูลนิธิโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ๓.นวมินท์มหาราชา ธ สถิตเหนือเกล้าชาวจุฬาฯ โดยคณะกรรมการจัดงาน คืนสู่เหย้าชาวจุฬาฯ สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ๔. ธ ร่มเกล่าชาวสยาม ๕. ทรงเป็นพลังแผ่นดินฯ โดยสถาบันด�ำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย ๖. ๖๐ ปีของรัชสมัย โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ๗. Prawet Puengsawangphol ๘. BBC.com ๙. ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
4 IS AM ARE www.fosef.org
ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องตื่นรู้ น�ำแนวพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้พึ่งตนเองได้ เมื่อทุกชุมชนพึ่งตนเองได้ จะลดภาระรัฐบาลได้ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงทุ่มเท ปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาโดยตลอด ทุกโครงการกุญแจแห่งความส�ำเร็จ คือความร่วมมือจากประชาชน นายสุเมธ ตันติเวชกุล
ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิครอบครัวพอเพียง 5 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
Editorial
“ครอบครัวพอเพียง” เกิดจาก ขอตั้งจิตสานต่อ จะด�ำรงค์คงไว้ แม้ใจตรอมเพราะ “พ่อ” มาเถิดมาหยุดร้อง ต้องเป็นแรงเพื่อประชา มุ่งประสานน้องพี่ สร้างคนดีถวาย “พ่อ”
“ราชวินิต” งาน “พ่อ” สอน ด้วยอาวรณ์ กลับสวรรคา แล้วเข้มแข็ง สู่สุขศรี ทั่วปฐพี เป็นนิรันดร์.
สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา 6 IS AM ARE www.fosef.org
7 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
สัญลักษณ์ประจ�ำพระองค์
สัญลักษณ์ประจ�ำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้กับธงประจ�ำพระองค์ ธงสัญลักษณ์ประจ�ำพระองค์เป็นธงพื้นสีเหลือง อันเป็นสีประจ�ำพระชนมวาร ธงสัญลักษณ์ประจ�ำพระองค์ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ประดับในพระราชพิธีและพิธีการต่างๆ ที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ยังมีการใช้อยู่ทั่วไป อย่างไม่เป็นทางการด้วย ประชาชนชาวไทยในทุกชนชั้นและทุกหนแห่งนิยมประดับธงดังกล่าวร่วมกับ ธงชาติไทย เพื่อถวายพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช สัญลักษณ์ประจ�ำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ เปล่งรัศมี มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร บนพระปรมาภิไธยย่อ มีเลขประจ�ำรัชกาล คือเลข ๙ อยู่ สีประจ�ำ พระองค์เป็นสีเหลือง ตามวันพระบรมราชสมภพ ที่อักษรย่อพระปรมาภิไธย มีสี ๓ สี คือ สีเหลืองหรือสี ทอง คือ สีประจ�ำพระราชวงศ์จักรี สีน�้ำเงินหรือสีขาบ คือ สีประจ�ำพระองค์พระมหากษัตริย์ หรือสถาบัน กษัตริย์ สีขาว คือ สีประจ�ำวันพระบรมราชสมภพ คือวันจันทร์ ซึ่งโดยธรรมเนียม สีประจ�ำวันจันทร์คือ สีขาว สีนวล หรือ สีเหลือง
8 IS AM ARE www.fosef.org
พระราชลัญจกร พระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาล เป็นตราประจ�ำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ซึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับก�ำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสาร ส�ำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชก�ำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารส�ำคัญส่วนพระองค์ พระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ รอบวงจักรมีรัศมี เปล่งออกโดยรอบ โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่ง อัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน�้ำอภิเษกจากทิศทั้ง ๘ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน�้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาล ก่อน
9 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
10 IS AM ARE www.fosef.org
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
มหากษัตริย์ผู้มีแต่ให้
่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงท�ำเพือ่ ประชาชน ใครจะสามารถบันทึกสิง่ ต่างๆ ทีพ ่ ระองค์ให้แก่ประชาชนนัน้ มหาศาลเหลือเกิน จนไม่น่าเชื่ อว่าจะมี ชาวไทยไว้ได้ครบถ้วนสมบู รณ์ เพราะสิง่ ทีพ ใครท�ำได้อย่างนี ้ ไม่ว่าพระองค์จะประกอบกิจหรือการงานใดๆ ก็ตาม ทรงนึกถึงแต่ประชาชน งานนัน้ ต้อง เป็นประโยชน์และชาวบ้านต้องสามารถสานต่อได้ ท�ำเองได้ในภายหลัง การน�ำหลักการง่ายๆ มาใช้แก้ปัญหา ในเรือ่ งยากๆ นัน้ ก่อเกิดผลแก่แผ่นดินไทยมากมาย ไม่ว่าพระองค์จะทรงหยิบจับอะไรก็ตาม ผลย่อมจะตก แก่ประชาชนทัง้ สิน้ แผ่ขยายไปถึงประชาชนของโลกอีกด้วย แม้แต่การพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหา ผู ้ ฟ ั ง เพลงพระราชนิ พ นธ์ จ ะเห็ น ว่ า ความ ชนก” ดูเผินๆ แล้วก็อาจเป็นไปเพื่อความบันเทิงหรือ หมายของบทเพลงนั้นมุ่งให้ก�ำลังใจ โดยไม่ละทิ้ง ความชอบส่วนพระองค์ แต่เมื่อค้นลึกลงไปในแก่น สัจธรรมของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ดังค�ำร้อง ของเรื่องที่แท้จริงแล้ว ทรงให้ก�ำลังใจแก่ราษฎรผู้ บางท่อนของเพลง “แสงเทียน” ที่ว่า “...นิจจัง ทุกข์ยากอย่างเปี่ยมล้น ให้ตระหนักถึงความเพียร สั ง ขารนั้ น ไม่ เ ที่ ย งเสี่ ย งบุ ญ กรรม ทุ ก คนเคย พยายามอย่ า งถึ ง ที่ สุ ด ชี วิ ต จะละซึ่ ง ความเพี ย ร ท�ำกรรมไว้ก่อน เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอน ขอพร พยายามและความอดทนไม่ได้เด็ดขาด หากขาดสิ่ง คุ้มไปชีวิตหน้า ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา นี้ไปผู้คนจะมีชีวิตอยู่อย่างสิ้นหวัง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผล หนีปวงโรคาที่เบียดเบียนแสงแววชีวาเปรียบแสง ดีต่อการพัฒนาชีวิตตนเองและประเทศชาติ เทียน...” แม้ แ ต่ บ ทเพลงพระราชนิ พ นธ์ นอกจาก จะเห็นว่า แม้แต่การพระราชนิพนธ์ก็ยังเป็น ดนตรีที่ไพเราะแล้ว ยังแฝงความหมายอันเป็นสัจจะ ไปเพื่อผู้อื่น ไม่ว่าพระองค์จะทรงประกอบการด้าน แห่งชีวิต ให้ผู้ฟังแม้ทุกข์ยากเพียงใดก็ขอให้มีความ ใดก็ ต าม ล้ ว นมี ประโยชน์ ข องประชาชนเป็ น ที่ ต้ั ง หวังต่อไป ดังค�ำร้องบางท่อนของเพลง “ชะตาชีวิต” ทั้ ง สิ้ น ดั ง ค� ำ ของหลวงปู ่ แ หวน สุ จิ ณฺ โ ณ แห่ ง วั ด ที่ว่า “...ท้องฟ้าสายัณห์ตะวันเลือน แสงลับนับวัน ดอยแม่ ป ั ๋ ง ซึ่ ง เคยทู ล ถวายต่ อ พระบาทสมเด็ จ จะเตือนให้ใจต้องขื่นขม หากเย็นลงฟ้าคงยิ่งมืดยิ่ง พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตอนหนึ่งว่า ตรอมตรม ชีวิตระทมเพราะรอมา จวบจันทร์แจ่ม “พระองค์ นั้ น มั ว แต่ ห ่ ว งคนอื่ น ไม่ ห ่ ว ง ฟ้านภาผ่อง เฝ้ามองให้เดือนชุบวิญญา สักวันบุญ พระองค์เองเลย” มาชะตาคงดี...”
11 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
พระราชสมภพ
พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเป็ น พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุน สงขลานคริ น ทร์ ต่ อ มาได้ รั บ การเฉลิ ม พระนามาภิ ไ ธยเป็ น สมเด็ จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม(พระราชบิดา) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุ ธ ย า ต่ อ ม า ไ ด ้ รั บ ก า รเฉ ลิ ม พระ น า ม า ภิ ไ ธยเ ป็ น สมเ ด็ จ พระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (พระมารดา) พระบาทสมเด็จพระปรมินท รมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออ เบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐแมสซาชูเซตส์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ท่ี ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลา ๘.๔๕ น. ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พระราชบิดาทรงสิ้นพระชนม์ จากนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ อ พระชนมายุ ไ ด้ ๕ พรรษา ทรงย้ า ยไปศึ ก ษาที่ โรงเรี ย น มาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงประสูติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม
ต่อจากนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ครอบครัวมหิดลได้ย้ายไป ประทับที่สมาพันธรัฐสวิส (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) เพื่อรักษาพระวรกายของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานั น ทมหิ ด ลตามค� ำ แนะน� ำ ของแพทย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงเสด็จ ไปศึ ก ษาต่ อ ชั้ น ประถมศึ ก ษาที่ โรงเรี ย นเมี ย ร์ ม องต์ (Ecole Miremont) เมืองโลซานน์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ หลังจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น พระมหากษั ต ริ ย ์ รั ช กาลที่ ๘ แห่ ง ราชวงศ์ จั ก รี
เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ ทรงศึกษาต่อที่โรงเรียน Ecole Nouvelle de la Suisse Romande ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับ นักเรียนนานาชาติและทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษาดังกล่าว ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน และในปีเดียวกันนี้เอง ทรงได้ รั บ พระราชทานกล้ อ งโคโรเนต มิ ด เจ็ ต (Coronet Midget) จากพระราชชนนี เ ป็ น กล้ อ งแรก ท� ำ ให้ ท รงเริ่ ม สนพระทัยในการถ่ายภาพและทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง
12 IS AM ARE www.fosef.org
13 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ เ สด็ จ นิ วั ต กลั บ ประเทศไทยพร้ อ มด้ ว ย พระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ โดยทางเรือ ในวันนั้นสองฝั่งแม่น�้ำประชาชนรอเฝ้า อย่างหนาแน่น ต่างโบกธงและร้องไชโยด้วยเสียงอันดัง และใน ปี ต ่ อ มาทรงเสด็ จ กลั บ ไปศึ ก ษาต่ อ ที่ ป ระเทศสวิ ต เซอร์ แลนด์ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงจบการศึกษาด้านอักษร ศาสตร์ จากโรงเรียนแห่งเมืองโลซานน์ และทรงเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขา วิศวกรรมศาสตร์ ในปีเดียวกันทรง เสด็จนิวัตพระนครโดยเครื่องบินพร้อมสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมหาราชวัง
ทรงครองราชย์
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็ จ สวรรคตอย่ า งกระทั น หั น ขณะที่ พ ระเจ้ า น้ อ งยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา รัฐบาล ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิ ม พระปรมาภิ ไ ธยว่ า สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้ส�ำเร็จราชการ บริหารราชการ แผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรง ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคมปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชได้ เ สด็ จ พระราชด�ำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม้พระองค์จะทรง โปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ ในการ ปกครองประเทศได้ ท รงเปลี่ ย นมาศึ ก ษาวิ ช าการ ปกครองแทน เช่ น วิ ช ากฎหมาย อั ก ษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษาและฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ขณะประทั บ ที่ ป ระเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้า จากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” มีความตอนหนึ่งว่า “...ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้น มาดังๆ ว่า ‘อย่าละทิ้งประชาชน’ อยากจะร้องบอก เขาลงไปว่ า ถ้ า ประชาชนไม่ ‘ทิ้ ง ’ ข้ า พเจ้ า แล้ว ข้าพเจ้าจะ ‘ละทิ้ง’ อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลย ไปไกลเสียแล้ว”
14 IS AM ARE www.fosef.org
ในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ เมือง Fontainebleau ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมี พระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจ�ำ กรุงปารีส
ทรงประสบอุบัติเหตุ
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงประสบอุ บั ติ เ หตุ ร ถยนต์ พระที่ นั่ ง ชนกับ รถบรรทุก ที่ถนนในเมืองมอน์ เ นย์ ใกล้ ท ะเลสาบเจนี ว า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากรถพระที่นั่งที่ทรงขับเองชนท้ายรถบรรทุก ที่หยุดโดยกระทันหัน เพราะรถยนต์ที่สวนทางมาเปิดไฟหน้าสว่างจ้า ท�ำให้ พระเนตรพร่ามองไม่เห็นรถบรรทุก ในการเสด็จครั้งนี้มีนายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พระสวามีในสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาโดยเสด็จ ไปในรถยนต์พระที่นั่งคันนี้ด้วย สถานีวิทยุรอยเตอร์ได้รายงานข่าวที่ทรงประสบอุบัติเหตุคราวนั้นว่า “รอยเตอร์,โลซานน์,๕ ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์องค์ปัจจุบันผู้มีชันษาครบ ๒๐ แห่งประเทศไทย ซึ่งทรง ได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อคืนวันที่ ๔ นั้น ใน ตอนบ่ายของวันที่ ๕ มีข่าวว่าทรงมีพระอาการดีขึ้นและพ้นขีดอันตราย แล้ว” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ รับบาดเจ็บบริเวณพระพักตร์และพระเศียรแต่ไม่มีพระอัฐิส่วน ใดแตกหรือเดาะเลย ขณะเมื่อน�ำพระองค์สู่โรงพยาบาล พระ โลหิตตกมากตลอดเวลา แต่ยังทรงมีพระสติดี สามารถแจ้ง พระนามของพระองค์ได้ส่วนนายอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้ รับบาดเจ็บกะโหลกศีรษะร้าว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรม หาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ต�ำบล มอร์เซล์ พร้อมนายอร่าม โดยมีนายแพทย์ ด็อกเตอร์มาเลียว เกรกซ์ เป็นผู้ถวายการรักษา ทรงรับการรักษาพระองค์ในระยะ เวลาแรก ๓ สัปดาห์ และโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงทราบถึงความวิตกกังวลของพสกนิกรชาวไทยทุกคนเมื่อ ทราบข่าวการบาดเจ็บของพระองค์ครั้งนี้ ดังนั้นหลังพระอาการ ดีขึ้น จึงมีพระราชด�ำรัสตอบด้วยพระองค์เองผ่านกรมพระยาชัยนาทเรนทรมายังประชาชนชาวไทย จากโรงพยาบาลที่ประทับรักษา อยู่ว่า “ฉันปลอดภัยแล้ว ขอฝากความขอบใจมายังคณะผู้ส�ำเร็จราชการ คณะอภิรัฐมนตรี คณะรัฐบาลและประชาชนของ ฉันที่มีความห่วงใยในอาการเจ็บป่วยของฉัน”
15 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
16 IS AM ARE www.fosef.org
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
และต่อมาได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๙๒ โดยได้พระราชทานพระธ�ำมรงค์ วงที่สมเด็จพระบรมราช ชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่ง จากสมเด็จพระราชชนนี จึงมี พระปรี ช าสามารถปราดเปรื่ อ งและมี พ ระจริ ย วั ต รเปี ่ ย มด้ ว ยคุ ณ ธรรม ทุกประการซึ่งน้อมน�ำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงด�ำรงสิริราชสมบั ติ เพี ย บพร้ อ มด้ ว ยทศพิ ศ ราชธรรม จั ก รวรรดิ วั ต รธรรม และ ราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจ�ำรัส ทรง ปฏิบัติพระราช-กรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้อง สรรเสริญ ทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชด�ำเนินกลับประเทศไทยพร้อมหม่อมราชวงศ์ สิ ริ กิ ติ์ กิ ติ ย ากร โปรดเกล้ า ให้ ตั้ ง การพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิ ง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ และเมื่ อ วั น ที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ ทรง ประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวริ น ทิ ร าบรมราชเทวี พระพั น วสาอั ย ยิ ก าเจ้ า พระราชทานหลั่งน�้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียน สมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จ พระราชิ นี สิ ริ กิ ติ์ หลั ง จากนั้ น ได้ เ สด็ จ ไปประทั บ พักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็น แหล่ ง เกิ ด โครงการอั น เนื่ อ งมาจากพระราชด� ำ ริ โครงการแรกคื อ พระราชทาน “ถนนสายห้ ว ย มงคล” ให้แก่ “ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกัน เข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วย มงคล” จะอยู่ห่างอ�ำเภอหัวหิน เพียง ๒๐ กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทางชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนใน การด�ำรงชีวิตมากถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนน สายส�ำคัญ ที่น�ำไปสู่โครงการในพระราชด�ำริ เพื่อ บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจ�ำนวนมากกว่า ๔,๔๔๓ โครงการในปัจจุบัน
17 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ตรงกับวัน ศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค�่ำ เดือน ๖ ปี ข าล พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ ท รง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตาม จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็น สัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน ชาวสยาม” ในการนี้ ไ ด้ ท รงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ สถาปนา เฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไป ยั ง สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ อี ก ครั้ ง เพื่ อ ทรงรั ก ษาพระสุ ข ภาพ และเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น นิ วั ติ พ ระนครเป็ น การถาวรพร้ อ มมี พ ระประสู ติ ก าล พระเจ้าลูกเธอพระองค์แรก พระราชทานนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๔๙๔ ประทับ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
18 IS AM ARE www.fosef.org
19 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ทรงเสร็จไปทรงศึกษาต่อ
เมื่อพระราชพิธีราชาภิเษกผ่านพ้นไปเรียบร้อย แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมราชินี ก็ได้เสด็จพระราชด�ำเนินออกจาก ประเทศไทยไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อ ทรงศึ ก ษาต่ อ ด้ า นรั ฐ ศาสตร์ แ ละนิ ติ ศ าสตร์ เ มื่ อ วั น ที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ พระองค์ทรงใฝ่พระราชหฤทัยต่อการศึกษาเป็น อย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านอักษรศาสตร์นั้น เป็นที่ทราบ กันดีว่า ทรงสามารถตรัสภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน การประทับอยู่ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเวลากว่าสิบปีนั้น ท�ำให้ ทรงสามารถตรัสภาษาที่ใช้ในประเทศนั้นอย่างคล่องแคล่ว ทุกภาษา เพราะสวิตเซอร์แลนด์นั้นไม่มีภาษาเป็นของ ตนเอง เป็ น ประเทศที่ ตั้ ง อยู ่ ร ะหว่ า ง ๓ ประเทศคื อ เยอรมั น อิ ต าลี และฝรั่ ง เศส ดั ง นั้ น ในเขตใดอยู ่ ใ กล้ ประเทศใด ราษฎรในเขตก็พูดภาษาที่อยู่ใกล้ประเทศนั้น
20 IS AM ARE www.fosef.org
พระราชธิดา และพระราชโอรส
๑.สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า อุ บ ลรั ต นราช กัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์ ๒.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพร สถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๕
๓.สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอเจ้ า ฟ้ า สิ ริ น ธรเทพรั ต นสุ ด ากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่ง อัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ด า เจ้ า ฟ้ า มหาจั ก รี สิ ริ น ธร รั ฐ สี ม าคุ ณ ากรปิ ย ชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ ๔.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
21 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ทรงพระผนวช
เมื่ อ วั น ที่ ๒๒ ตุ ล าคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรง จ�ำพรรษา ณ พระต�ำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลนี้ได้ ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรง สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรง ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใหม่ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ ด้วย พระจริ ย วั ต รอั น เปี ่ ย มด้ ว ยพระกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต าธรรมอั น เป็ น ที่ แซ่ ซ ้ อ ง สรรเสริญพระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตม-
22 IS AM ARE www.fosef.org
ขั ต ติ ย ศั ก ตอรรคอุ ด ม จั ก รี บ รมราชวงศนิ วิ ฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหาร รังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณ วิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณต บาทบงกชยุ ค ล อเนกนิ ก รชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวต ฉั ต ราดิ ฉั ต ร สรรพรั ฐ ทศทิ ศ วิ ชิ ต ไชย สกลมไหศวริย มหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิ ร าชวโรดม บรมนาถชาติ อ าชาวไศรยพุทธาทิไตรรัตน สรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรา มาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
23 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
พระราชกรณียกิจ
พระราชกรณียกิจ
ตัง้ แต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิ นี ได้ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินไปกระชั บสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทัง้ ใน ยุ โรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชี ย และได้ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินไปเยีย่ มราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ใน ชนบทที่ด�ำรงชีวิตด้วยความยากจน ล�ำเค็ญและด้อย โอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหา ตลอดมาตราบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุก แห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากน�ำความผาสุกและทรงยกฐานะ ความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสาย พระเนตรอั น ยาวไกล ทรงอุ ทิ ศ พระองค์ เ พื่ อ ประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญพัฒนา ของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงค�ำนึง ถึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทาน โครงการนานัปการมากกว่า ๔,๔๔๓ โครงการ ทั้ง การแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การ สั ง คมวั ฒ นธรรม การคมนาคม ตลอดจนการ เศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้ง ยั ง ทรงขจั ด ปั ญ หาทุ ก ข์ ย ากของประชาชนใน
ชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัย และปั ญ หาน�้ ำ เน่ า เสี ย ในปั จ จุ บั น ได้ ท รงริ เ ริ่ ม โครงการ การช่วยสงเคราะห์ และอนุรักษ์ช้างไทย อีกด้วย พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดชทรงตรากตร�ำพระวรกาย ทรงงานอย่าง มิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ ทรงหยุดยั้งพระราชด�ำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุข แก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้าพระเสโทหลั่งชุ่ม พระพั ก ตร์ แ ละพระวรกายหยาดตกต้ อ งผื น ปฐพี ประดุจน�้ำทิพย์มนต์ชโลมแผ่นดินแล้งร้างให้กลับคืน ความอุ ด มสมบู ร ณ์ นั บ แต่ เ สด็ จ เถลิ ง ถวั ล ย์ ร าชย์ ตราบจนปัจจุบัน แม้ในยามประเทศประสบภาวะ เศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ก็ได้ พระราชทานแนวทางด�ำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอ เพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดประกอบอาชีพ อยู่กินตามอัตภาพซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดี อยู่ในปัจจุบัน
24 IS AM ARE www.fosef.org
25 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
มูลนิธิชัยพัฒนา
เป็นที่ประจักษ์ชัดในความรู้สึกและส�ำนึกของปวงชนชาวไทยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งดวงใจและความ จงรักภักดีอันยิ่งใหญ่ของชาวไทยทั้งชาติ ด้วยเหตุที่ได้ทุ่มเทพระวรกาย พระสติ ปัญญา เวลา และพระราชทรัพย์ ตลอดจนได้อุทิศพระองค์ในการทรงงาน และ ประกอบพระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศและช่ ว ยเหลื อ สงเคราะห์ ประชาชนผู้ยากไร้ตลอดมาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าบังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความอยู่ดีกินดี อันจะ น�ำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นส่วนรวม พระองค์ทรงมีพระราชด�ำริให้จัด ตั้ง “มูลนิธชิ ยั พัฒนา” เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบของการด�ำเนิน การพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การด�ำเนินงานนั้นถูกจ�ำกัดด้วยเงื่อนไขบาง ประการเช่น กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณ โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับ จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคลล�ำดับที่ ๓๙๗๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ส�ำนักงานเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาตั้งอยู่ในเขต พระราชฐาน สวนจิตรลดา เป้ า หมายที่ ส� ำ คั ญ ของมู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นาก็ คื อ สงเคราะห์ ประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุขและอยู่ดีกินดี อันจะน�ำไปสู่ความ มั่นคงของประเทศ นั่นก็คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” นับตั้งแต่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นต้นมา พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ได้ ท รงพระราชทาน พระราชานุเคราะห์ด้านต่างๆ แก่ประชาชนและสถานที่ราชการหลาย โครงการ ซึ่งนับวันมีแต่จะทวีมากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน “ชัยพัฒนา” กลายเป็นสัญลักษณ์ประจ�ำ พระองค์ไปโดยอัตโนมัติ และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างกว้างขวางทั่ว ประเทศโดยมูลนิธิฯ ได้มีส่วนช่วยเหลือพัฒนาสังคมมาโดยตลอด
26 IS AM ARE www.fosef.org
กังหันน�้ำชัยพัฒนา
ด้ า นการฟื ้ น ฟู ป รั บ ปรุ ง สภาพแวดล้ อ ม และอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ งานบ�ำบัดน�้ำเสียดูจะเป็นภารกิจหลักของ มูลนิธิชัยพัฒนาไปแล้ว เห็นได้จากการร้องขอ “กังหันน�้ำชัย พัฒนา” จากส่วนราชการและภาคเอกชนเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงคิดค้น และออกแบบชนิด “ไทยท�ำ-ไทยใช้” ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทามลพิษอันเกิดจากน�้ำ เน่าเสียโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด อีกทั้งสามารถท�ำใช้เองได้ แรงดลของพระราชหฤทัยในการสร้างกังหันชัยพัฒนานี้มาจาก การที่พระองค์ทรงตระหนักและทรงปริวิตกถึงประเทศ กังหันชัย พัฒนามีลักษณะเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน�้ำ หมุนช้าแบบ ทุ่นลอย ทรงได้แนวคิดในการประดิษฐ์จาก “หลุก” ซึ่งเป็นกังหัน น�้ำหมุนตักน�้ำโดยกระบวยน�้ำของภาคเหนือ ซึ่งใช้วิตน�้ำเข้าไร่นา พระองค์จึงทรงประดิษฐ์เครื่องมือในการเติมอากาศ ออกซิเจนลง ในน�้ำโดยผ่านกังหันนี้ คือระหว่างที่โปรยน�้ำลงมาที่ผิวน�้ำนั้น ออกซิ เจนจะเข้ า ไปผสานกั บ น�้ ำ ท� ำ ให้ น�้ ำ เคลื่ อ นไหวและมี คุณภาพดีขึ้น โดยทรงใช้หลักการแก้ปัญหาง่ายๆ คือ “ธรรมชาติ ดันธรรมชาติ” กล่าวคือตัวการส�ำคัญท�ำให้น�้ำเสียคือ ในน�้ำมี ออกซิเจนน้อย ดังนั้นให้เราหาทางบรรจุ หรือเติมออกซิเจนใน น�้ำได้ เราก็สามารถแก้ปัญหาน�้ำเสียได้เช่นกัน
กังหันน�้ำชัยพัฒนานี้น�ำไปใช้ในการบ�ำบัดน�้ำเสียได้ ง่ายดาย สะดวก รวดเร็วติดตั้งเคลื่อนย้ายง่ายเหมาะสมกับ สภาพแหล่งน�้ำเสียในประเทศไทย สามารถติดตั้งอยู่กับที่ หรือ ขับเคลื่อนไปตามแหล่งน�้ำด้วยตนเองก็ได้ หากเป็นบริเวณที่มี ไฟฟ้าก็สามารถติดตั้งอยู่กับที่โดยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หาก เป็ น แหล่ ง น�้ ำ เสี ย ที่ ไ ฟฟ้ า เข้ า ไม่ ถึ ง ก็ ส ามารถดั ด แปลงใช้ เครื่องยนต์เป็นตัวขับส่งก�ำลังเครื่องที่แล่นไปตามน�้ำได้โดยมี คนบังคับเครื่อง และปรับทิศทางให้เป็นไปตามความต้องการ ได้ จากพระราชด�ำริดังกล่าว ส�ำนักงานเลขาธิการมูลนิธิ ชั ย พั ฒ นาจึ ง ขอสิ ท ธิ บั ต รเพื่ อ เป็ น การเทิ ด พระเกี ย รติ ที่ ไ ด้ พระราชทานการประดิษฐ์เครื่องกล และได้ทูลเกล้าฯ ถวาย สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ ได้สิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และครั้งแรก ของโลก จนกระทั่งต่อมาได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ผลงานคิดค้นหรือประดิษฐ์ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จากสภาวิจัยแห่งชาติด้วย
27 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
หญ้าแฝก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของผิวดิน เพราะ การที่ผิวดินถูกกัดเซาะโดยฝนที่ตกลงมา ท�ำให้มีการชะล้าง ดินที่อุดมสมบูรณ์ไปในที่อื่น ก่อให้เกิดดินพังทลายได้ ซึ่ง ท�ำให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ท�ำการเกษตรและผลผลิต จึงทรงมีพระราชด�ำริให้ใช้ “หญ้าแฝก” ในการอนุรักษ์ดิน และน�้ำ เนื่องจากเป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ที่เกษตรกร สามารถท�ำเองได้ ประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องดูแลรักษา มาก
การพัฒนาและการรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ เป็นที่สัมฤทธิผล จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ในระดับนานาชาติว่า ประเทศไทยสามารถด�ำเนินการได้ผลดีมาก เห็นได้ชัดจากโครงการปลูกหญ้าแฝก ณ บริเวณพระต�ำหนัก ดอยตุง จังหวัดเชียงราย และที่อื่นๆ ทั่วประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล IECA (International Erosion Control Association) เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการอนุรักษ์ดินและส่งเสริมสภาพแวดล้อม โดยใช้หญ้าแฝกอย่างจริงจัง
28 IS AM ARE www.fosef.org
โครงการสวนป่า “สิริเจริญ” ในพระนามสมเด็จพระนางเจ้าฯ
เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงพระ เจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา และเพื่อเป็นของขวัญพระราชทานแก่ประชาชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาด�ำเนินการ “โครงการสวนป่าสิริเจริญวรรษ” ที่บริเวณเขาชีโอน ต� ำบล นาจอมเทียน อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ใกล้วัดญาณสังวราราม ด้วยทรงพิจารณาเห็นว่า สภาพป่าและพื้นดินถูกท�ำลายจน ทรุดโทรมหนัก ควรแก่การฟื้นฟูสภาพป่าธรรมชาติให้กลับคืนมา เป็นการสร้างสมดุลของสิ่งแวดล้อมอันอาจเกิดการขยายตัวทาง อุตสาหกรรมในแถบภูมิภาคนี้ในอนาคต สวนป่าสิริเจริญวรรษ จึงด�ำเนินการขึ้นเป็นผลที่น่าพอใจ
29 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
30 IS AM ARE www.fosef.org
ทฤษฎีใหม่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำรัสแก่ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานคณะ กรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมา จากพระราชด�ำริ (กปร.) และคณะฯ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ “หลักส�ำคัญจะต้องมีน้�ำบริโภค น�้ำใช้ น�้ำเพื่อ การเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน�้ำคนอยู่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน�้ำ คนอยู่ไม่ ได้...” ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากทรงตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของ ทรัพยากรน�้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะน�้ำมีความจ�ำเป็นต่อการ ด�ำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งด้านอุปโภค บริโภค รวมถึงการ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลานานกว่า ๔๐ ปี พระองค์ทรง ทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตร�ำพระวรกายโดยมิได้ย่อท้อ ต่อความเหนื่อยยากแม้แต่น้อย ท่ามกลางปัญหาอันสลับ ซับซ้อน พระองค์ทรงหาหนทางโดยใช้หลักง่ายๆ เข้าแก้ สิ่ ง ที่ ย ากอยู ่ เ สมอ และทุ ก หนทางที่ แ ก้ ไขนั้ น ต้ อ งเป็ น หนทางที่ชาวบ้านท�ำได้ และให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วม รับผิดชอบด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรมีความรู้สึกเป็น เจ้าของ หวงแหน และแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
หัวใจของทฤษฎีใหม่ คือการขุดสระน�้ำประจ�ำไร่นา โดยทรงมี พระราชด� ำ ริ ว ่ า ในพื้ น ที่ ถื อ ครองของชาวบ้ า นโดยเฉลี่ ย ประมาณ ๑๐-๑๕ ไร่นั้น ให้ขุดสระประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ให้มี ความลึกเพียงพอที่จะบรรจุน�้ำไว้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ยามหน้าฝนน�้ำจะยังเต็มสระ การเพาะปลูกข้าว หรือพืชพันธุ์อย่างอื่น ก็ด�ำเนินไปตามปกติของเกษตรน�้ำฝน แต่เมื่อภาวะฝนทิ้งช่วงหรือตอน หน้าแล้งก็สามารถใช้น�้ำในสระมาพยุงสถานการณ์ไว้ได้ ส�ำหรับพื้นที่ ที่ถือครองนอกจากใช้ท�ำนาแล้ว ยังอาจแบ่งพื้นที่อีกส่วนหนึ่งปลูกพืช หรือผลไม้ยืนต้น น�ำมาบริโภคหรือขายท�ำให้มีรายได้ และสร้างร่มเงา ความชุ่มชื้นให้บริเวณนั้นด้วย สระน�้ำยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อหา รายได้เพิ่มขึ้น
31 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
หน่วยแพทย์พระราชทาน
ในการเสด็จพระราชด�ำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ทรงพบว่าราษฎรจ�ำนวนมากขาดแคลนการดูแลรักษา ในเรื่อง ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทรงมีความห่วงใยในสุขภาพพลานามัยของประชาชน มีพระราชด�ำริว่า การที่มีประชากรเจ็บป่วย ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะประกอบกิจการงาน การพัฒนาประเทศชาติย่อมท�ำได้ยาก ย่อมท�ำให้การงานของประเทศทรุดโทรม การแก้ปัญหาเบื้องต้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์ประจ�ำพระองค์ และนายแพทย์ที่ประจ�ำอยู่ในขบวน เสด็จฯ รักษาคนไข้ กรณีที่มีอาการหนักให้ส่งโรงพยาบาล ซึ่งต่อมามีคนไข้มากขึ้นเพราะประสงค์จะเป็นคนไข้หลวง บางครั้งเดินทางข้ามมาจากจังหวัดอื่นด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกขบวนทั้งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลูกเธอ และพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา ปัจจุบันจ�ำแนกเป็นโครงการ ๘ โครงการ คือ - โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน หรือแพทย์ประจ�ำพระองค์ - โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ - โครงการศัลยแพทย์อาสาของราชวิทยาลัยแพทย์แห่งประเทศไทย - หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน - โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ - หน่วยงานคนไข้ในกองราชเลขานุการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ซึ่งมิได้รวมโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของสมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนี (พอ.สว.) ที่ด�ำเนินงานเป็นประจ�ำตามต่างจังหวัดอยู่แล้ว
32 IS AM ARE www.fosef.org
ฝนหลวง
วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชด�ำเนิน เยี่ ย มราษฎรในภาคอี ส าน พระองค์ สั ง เกตเห็ น ว่ า มี เ มฆเป็ น จ�ำนวนมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อตัวรวมกันจนเกิด เป็นฝนได้ จึงมีพระราชด�ำรัสว่า “เงยมองดูท้องฟ้า มีเมฆ ท�ำไมมีเมฆอย่างนี้ ท�ำไง จะดึงเมฆลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการท�ำฝน เคยปรารภกับ คุณเทพฤทธิ์ว่า ที่จริงฝนท�ำได้ มีหนังสือ เคยอ่านในหนังสือ ว่า ฝนท�ำได้...” ด้วยความห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้อง ถิ่ น ทุ ร กั น ดาร ที่ ข าดแคลนน�้ ำ ในการอุ ป โภคบริ โ ภค และ เกษตรกรรม เนื่องจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุจากความคลาด เคลื่อนและความผันแปรของฤดูกาลตามธรรมชาติ พระองค์จึง ทรงมีแนวคิดว่าน่าจะมีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ท�ำให้เมฆรวมตัว กั น จนเกิ ด ฝนได้ หลั ง จากที่ พ ระองค์ ท รงศึ ก ษาค้ น คว้ า ทาง วิ ช าการอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยา และการแปรสภาพอากาศจนทรงมั่ น พระทัยแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระองค์จึงทรงพระราชทาน
แนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยทาง ด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะ นั้น และในปีต่อมาทรงให้หาแนวทางที่จะทดลองปฏิบัติการ ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้ การทดลองท�ำฝนเทียมครั้งแรกเป็นผลส�ำเร็จเกิดขึ้น ครั้งแรกในวันที่ ๑-๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ณ บริเวณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และได้มีการท�ำฝนหลวงในเวลาต่อ มาอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและทั่วโลก ท�ำให้หลายองค์กรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลอย่าง มากมาย ๑.รางวัล International Erosion Control Association’s International Merit Award จาก International Erosion Control Association (IECA) ในฐานะที่พระองค์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการอนุรักษ์ดิน และส่งเสริมสภาพ แวดล้อมโดยใช้หญ้าแฝก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ๒.รางวัล Habitat Scroll of Honor จากองค์การ สหประชาชาติ ซึง่ เป็นรางวัลจากพระราชกรณียกิจในโครงการ พัฒนาและจัดการน�้ำ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
33 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
พระอัจฉริยภาพ
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช ได้พระราชทานความรักอันยิง่ ใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิ จ อั น หนั ก เพื่ อ ประโยชน์ สุ ข ของอาณาประชาราษฎร์ ไ ด้ ป รากฏเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ เ ทิ ด ทู น พระเกียรติคุณทัง้ ในหมู ่ชาวไทยและชาวโลก จึ ง ทรงได้ รั บ การสดุ ดี แ ละการทู ล เกล้ า ฯ ถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจ�ำนวนมากทุกสาขา วิ ช าการ ทั้ ง ยั ง มี พ ระอั จ ฉริ ย ภาพด้ า นดนตรี อ ย่ า ง สู ง ส่ ง ทรงพระราชนิ พ นธ์ เ พลงอั น ไพเราะนั บ แต่ พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม ๔๗ เพลง ซึ่งนักดนตรี ทั้ ง ไทย และต่ า งประเทศน� ำ ไปบรรเลงอย่ า งแพร่ หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบัน ดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพ กิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ ทรงได้รับยกย่องเป็น “อัคร ศิลปิน” ของชาติ พระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและวรรณกรรมอัน ทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิ พ นธ์ แปลเรื่ อ ง ติ โ ต นายอิ น ทร์ ผู ้ ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่องชาดกพระ มหาชนก พระราชทานคติธรรมในการด�ำรงชีวิตด้วย ความวิริยะ อุตสาหะ อดทน จนพบความส�ำเร็จแก่
พสกนิกรทั้งปวง นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะ เลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อีก ด้วย ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภักดีเป็นที่ยิ่ง ดังปรากฏในวาระส�ำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราช ครบ ๒๕ ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกทรงด�ำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ มหามงคลสมั ย ฉลองสิ ริ ร าชสมบั ติ ค รบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ รั ฐ บาลและประชาชนชาวไทยได้ พร้ อ มใจกั น จั ด งานเฉลิ ม พระเกี ย รติ แ ละถวาย พระพรชัยมงคลด้วยความกตัญญูกตเวที ส�ำนึกใน พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ล้ น เกล้ า ล้ น กระหม่ อ มอย่ า ง สมพระเกียรติทุกวาระ
34 IS AM ARE www.fosef.org
35 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ด้านการเกษตร
แนวพระราชด�ำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการ ผลิ ต ทางการเกษตรที่ ส� ำ คั ญ คื อ การที่ ท รงเน้ น ในเรื่ อ งของ การค้นคว้าทดลองและวิจัยหาพันธุ์พืช ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุง บ�ำรุงดิน และพืชสมุนไพรตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้ รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา ฯลฯ และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วยเพื่อแนะน�ำให้เกษตรกร น�ำไปปฏิบัติ ได้ราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปด�ำเนินการเองได้ ที่ส�ำคัญคือพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์หรือเทคนิควิธีการดูแลต่าง ๆ จะต้องเหมาะสมกับ สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ที่พระราชประสงค์เป็นประการแรก คือการท�ำให้เกษตร สามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ต่างฯ ฯลฯ แนวทางที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือการที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะ จะเกิดความเสียหายง่ายเนื่องจากความแปรปรวนของตลาดและความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทางออกก็คือ เกษตรกรควรจะ ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคการเกษตร เช่น การอุตสาหกรรมในครัวเรือน ดังเช่นในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ
36 IS AM ARE www.fosef.org
ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงด�ำเนินงานสนับสนุนงานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนั้นทรงเห็นว่าการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติมีผล โดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งต่อการที่จะท�ำนุบ�ำรุงปรับปรุงสภาพของ ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน�้ำ ให้อยู่ในสภาพ ที่จะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด จากแนวทางและ เป้าหมายต่างๆ ดังกล่าว มีแนวพระราชด�ำริที่ถือเป็นหลักเกณฑ์หรือเทคนิค วิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้นหลายประการ ประการแรก ทรงเห็นว่าการพัฒนาการเกษตรที่จะได้ผลจริงนั้นจะ ต้องลงมือทดลองค้นคว้า ต้องปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังพระราชด�ำรัส ว่า “…เกษตรกรรมนี้หรือความเป็นอยู่ของเกษตรกรนั้นขอให้ปฏิบัติไม่ใช่ ถือต�ำราเป็นส�ำคัญอย่างเดียว...” ส�ำหรับการค้นคว้าทดลอง ได้ทรงเน้น ให้มีทั้งก่อนและหลังการผลิตแล้วคือ พิจารณาดูตั้งแต่เรื่องความเหมาะสม ของพืช ดิน พืชอย่างใดจะเหมาะสมกับดินประเภทใด รวมทั้งการค้นคว้า เกี่ยวกับความต้องการของตลาดคือการปลูกพืชที่ตลาดต้องการผลิตออกมา แล้วมีที่ขาย ส่วนการค้นคว้าวิจัยหลังการผลิตคือ การดูเรื่องความสอดคล้อง ของตลาดคุณภาพของผลผลิตหรือท�ำอย่างไรจึงจะให้เกษตรกรได้มีความรู้ เบื้องต้นในด้านการบัญชีและธุรกิจการเกษตรในลักษณะที่พอจะท�ำธุรกิจ แบบพึ่งตนเองได้ ส�ำหรับในเรื่องนี้ทรงเห็นว่าการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร เป็นปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทรง ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของเกษตรกรในระยะยาว พระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะให้เกษตรกรได้มีความเจริญก้าวหน้า อย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีสภาพชีวิตที่มีความสุขไม่เคร่งเครียดกับการ เร่งรัดให้เกิดความเจริญโดยรวดเร็ว นอกเหนือจากเรื่องที่ทรงเน้นในการ ผลิตอาหารให้เพียงพอแล้วจะเห็นได้ชัดเจนจากพระราชด�ำรัสที่ว่า “…ไม่ จ�ำเป็นต้องส่งเสริมผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะ เป็นการสิ้นเปลืองค่าโสหุ้ยและท�ำลายคุณภาพดิน แต่ควรศึกษาสภาวะ ตลาดการเกษตรตลอดจนการควบคุมราคาผลิตผลไม่ให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อน...” เทคนิควิธีการในการพัฒนาการเกษตรของพระองค์อีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงเน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การใช้ ที่ดินที่ปล่อยทิ้งไว้เปล่าๆ ให้เป็นประโยชน์หรือการมองหาประโยชน์จาก ธรรมชาติในสิ่งที่ผู้อื่นนึกไม่ถึง เช่น ครั้งหนึ่งทรงสนับสนุนให้มีการท�ำครั่ง จากต้นจามจุรีที่ขึ้นอยู่ริมทางหลวงที่จะเสด็จฯ ไปพระราชวังไกลกังวล มี พระราชด�ำรัสว่า “…เกิดจากความคิดที่เอาต้นก้ามปูมาท�ำให้ประชาชน
37 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
มีงานท�ำแล้วรวมเป็นกลุ่ม...” การมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติยังมีลักษณะสอดคล้องกับ วิธีการที่ส�ำคัญของพระองค์อีกประการหนึ่งคือ การประหยัด ทรง เน้นความจ�ำเป็นที่จะลดค่าใช้จ่ายในการท�ำมาหากินของเกษตรกร ลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยพึ่งพิงจากธรรมชาติเป็นปัจจัยส�ำคัญ วิธีการของพระองค์มีตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกรใช้โค-กระบือ ในการท�ำนามากกว่าให้ใช้เครื่องจักร ให้มีการปลูกพืชหมุนเวียนโดย เฉพาะพืชตระกูลถั่วเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย หรือกรณีที่จ�ำเป็นต้อง ใช้ปุ๋ยก็ทรงสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยธรรมชาติแทนปุ๋ยเคมีซึ่งมี ราคาแพงและมีผลกระทบต่อสภาพและคุณภาพของดินในระยะยาว นั่นคือทรงสนับสนุนให้ท�ำการเกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังทรง แนะน�ำในเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพอันจะมีผลดีทั้งในด้านเชื้อเพลิง และปุ๋ย รวมทั้งได้ทรงเน้นอยู่เสมอที่จะให้เกษตรกรมีรายได้เสริม คือ รายได้นอกเหนือจากการเกษตร จากการหาวัสดุธรรมชาติใน ท้องถิ่น เช่น ไผ่ ย่านลิเภา ปาหนัน ฯลฯ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ใน การจักสานเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของตนเอง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริในด้านการพัฒนาการ เกษตรที่ ก ระจายอยู ่ ทั่ ว ประเทศนั้ น ได้ ส ่ ง ผลโดยตรงต่ อ ความ กินดีอยู่ดีของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งแก้
ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งท�ำให้เกษตรกร ได้มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในด้านเทคนิค และวิชาการ เกษตรสมัยใหม่ ผลความเจริญของเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมนี้มิใช่ มีจุดหมายในตัวเองเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายต่อความเจริญของภาค เศรษฐกิจแขนงอื่นและของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย
38 IS AM ARE www.fosef.org
39 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
การกีฬา
พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชทรงสน พระราชหฤทัยและทรงมีพระราชด�ำริว่า กีฬาเป็นสิ่งจ�ำเป็น และเป็น ส่วนส�ำคัญยิ่งในการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติ ดังจะเห็นได้ จาก พระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ณ พระต�ำหนัก จิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า “...ในหลักการกีฬาเป็นสิ่งที่มีจุดประสงค์พื้นฐานเพื่อที่จะส่งเสริม ให้ ร ่ า งกายแข็ ง แรง และสามารถที่ จ ะแสดงฝี มื อ ในเชิ ง กี ฬ าเพื่ อ ความสามัคคี...” นอกจากจะทรงกีฬาหลายชนิดด้วยพระองค์เองจนสามารถเป็นแบบอย่าง ที่ดีแล้ว ยังทรงเอาพระทัยใส่ติดตามข่าวกีฬาทุกประเภทอยู่เสมอ ในการเปิด กีฬาส�ำคัญในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มักจะมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นอเนกประการ เช่น พระราชทานไฟพระฤกษ์ พระราชทานพระบรมราโชวาท เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดงาน พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นักกีฬาเข้า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่นักกีฬาและ ประชาชนตลอดมา
พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณแก่วงการกีฬาของชาติสม�่ำเสมอ นอกเหนือจากการเอาพระทัย ใส่ และทรงอุปถัมภ์การกีฬา หลายประเภทแล้ว ยังปรากฏพระราชกรณียกิจหลาย ประการอันเป็นคุณประโยชน์ และเป็นสิริมงคลอันสูงแก่วงการกีฬา และนักกีฬา ชาวไทยชั่วกาลนาน พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเป็ น นั ก กี ฬ า และทรงสนั บ สนุ น กี ฬ าอย่ า งแท้ จ ริ ง จนเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ใ นพระปรี ช าสามารถ
40 IS AM ARE www.fosef.org
คณะกรรมการโอลิมปิกสากลในการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙๒ ที่ประเทศ ตุรกี โดยมีชาติสมาชิกเข้ามาประชุม ๘๗ ประเทศ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทูลเกล้าฯ ถวายดุษฎีกิตติมศักดิ์ทองโอลิมปิก คือ อิสริยาภรณ์ โอลิมปิกชั้นสูงสุด (ทอง) แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ณ ศาลาดุสิดาลัย นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับเกียรติดังกล่าว และเป็นประกาศพระเกีรยติคุณในด้านการกีฬาของพระองค์ท่านไป ทั่วสากลโลก พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชทรง พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ แ ก่ นั ก กี ฬ า และผู ้ บ� ำ เพ็ ญ คุ ณ ประโยชน์ต่อการกีฬา ในปี พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๖ สืบเนื่องจากการ แข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๑๑ ณ ประเทศจีน และการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๕ ณ ประเทศสเปน ซึ่งนักกีฬาทีมชาติไทยได้สร้าง ชื่อเสียงเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศชาติ พระราชทานทุนแก่นักกีฬาจากกองทุนโดยเสด็จพระราชกุศล อาทิ ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล ซึ่งคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดการแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการแข่งขัน พระราชทานทุนแก่นักกีฬาที่ท�ำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติดังที่ ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน นักแบดมินตันรองแชมป์โลกชายเดี่ยวออล อิงแลนด์ ๒ สมัย ได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาครั้งส�ำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศหรือภายในประเทศ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะพระราชทานไฟพระฤกษ์ ให้แก่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนั้นๆ น�ำไป ประกอบพิธีเปิดการแข่งขันทุกครั้ง โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นักกีฬา บุคลากรในวงการกีฬาเข้าเฝ้าฯ อย่างเป็น ทางการและเป็นการส่วนพระองค์อยู่เสมอ นับเป็นการสร้างขวัญและก�ำลังใจแก่นักกีฬา และผู้เกี่ยวข้องในวงการกีฬาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังพระราชทานพระบรมราโชวาท อันทรงคุณประโยชน์ที่นักกีฬาต่างรับใส่เกล้าฯ และยึดถือปฏิบัติเสมอมา
41 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
การดนตรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น สังคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถใน การทรงดนตรี ทรงพระราชนิ พ นธ์ เ พลง แยกและเรี ย บเรี ย งเสี ย ง ประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด และทรง ซ่อมเครื่องดนตรี ตลอดจนทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่าง แท้จริงสมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเริ่ม เรียนดนตรีเมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ กับครูชาวอัลซาส ชื่อนาย เวย์เบรชท์ โดยทรงเรียน การเป่าแซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน๊ต และการบรรเลง ดนตรีสากลต่างๆ ในแนวดนตรีคลาสสิกเป็นเบื้องต้น ต่อมาจึงเริ่ม ฝึกดนตรีแจ๊ส โดยทรงเป่าแซกโซโฟนสอดแทรกกับแผ่นเสียงของนัก ดนตรีที่มีชื่อเสียงได้เป็นอย่างดี เช่น Johnny Hodges และ Sidney
42 IS AM ARE www.fosef.org
Berchet เป็นต้น จนทรงมีความช�ำนาญ สอด แทรกกับแผ่นเสียงของนักดนตรีที่มีชื่อเสียง ได้เป็นอย่างดี และทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz เป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องดนตรีได้หลาย ชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริ เ นต และประเภทเครื่ อ งทองเหลื อ ง เช่น ทรัมเป็ต รวมทั้งเปียโนและกีต้าร์ ที่ทรง ฝึ ก ฝนเพิ่ ม เติ ม ภายหลั ง เพื่ อ ประกอบการ พระราชนิพนธ์เพลง และเพื่อทรงดนตรีร่วม กับวงดนตรีส่วนพระองค์ ทรงเริ่ ม พระราชนิ พ นธ์ เ พลงเมื่ อ มี พระชนมพรรษาได้ ๑๘ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงพระราชนิ พ นธ์ ท� ำ นองเพลง “แสงเทียน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลง แรก และจนถึงปัจจุบันมีเพลงพระราชนิพนธ์ ทั้ ง สิ้ น ๔๘ เพลง ทุ ก เพลงล้ ว นมี ท� ำ นอง ไพเราะประทับใจผู้ฟัง สอดคล้องกับเนื้อร้อง ซึ่ ง มี ค ติ น านั ป การและเป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ส่ ว น หนึ่งของชีวิตคนไทย ในยามที่บ้านเมืองไม่ สงบสุข ก็พระราชทานเพลงปลุกใจเพื่อเป็น ขวัญก�ำลังใจแก่ข้าราชการ ทหาร พลเรือน
43 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
และประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศ ชาติ มิให้เกิดความย่อท้อในการท�ำความดี ต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ต่อตนเองและสังคม พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงใช้ ด นตรี ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ทางอ้อมในหลายด้าน อาทิ ทรงใช้ เครื่องดนตรีเป็นสื่อผูกพันสถาบันพระมหา กษัตริย์กับนิสิตนักศึกษาโดยเสด็จฯ ไปทรง ดนตรี ร ่ ว มกั บ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ต่างๆ อยู่นานกว่า ๑๐ ปี ในคราวเสด็จเยือน ต่างประเทศ ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อกระชับ สั ม พั น ธไมตรี ร ะหว่ า งประเทศกั บ นานา ประเทศได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พระปรีชาสามารถ เป็นที่ชื่นชมของชาวต่างประเทศ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๗ สถาบันการดนตรีและศิลปะการ แสดงแห่งกรุงเวียนนา (ปัจจุบันเปลี่ยนฐานะ เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย การดนตรี แ ละศิ ล ปะการ แสดง) ได้ทลู เกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรและ สมาชิกกิตติมศักดิ์ล�ำดับที่ ๒๓ แด่พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช พระบรมนามาภิ ไ ธย “ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช” ปรากฎอยู่บนแผ่นจ�ำหลักหินของสถาบัน ทรง เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีอายุน้อยที่สุด และ
ทรงดนตรีขณะประทับอยู่ศิริราชโรงพยาบาล : เปิดเผยโดย ผศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ นักดนตรี อส. ผู้ถวายงานเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เป็นชาวเอเชียเพียงผู้เดียวที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้ พระอัจฉริยภาพด้าน ดนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นที่ชื่นชม ไม่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น นักดนตรีต่างประเทศทั่วโลกก็ชื่นชมและ ยอมรับในพระอัจฉริยภาพนี้ นอกจากนั้ น พระองค์ ยั ง ทรงเป็ น ครู ใ หญ่ ส อนดนตรี แ ก่ แ พทย์ ราชองครักษ์ และข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการใกล้ชิดพระยุคลบาทในช่วง ที่เสด็จเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนข้าราชบริพารในพระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่เล่นดนตรีไม่เป็นเลย จนเล่นดนตรีเป็น อ่านโน๊ตได้ และ สามารถบรรเลงในโอกาสพิเศษต่างๆ ได้ ต่อมาจึงได้เกิดแตรวง “วง สหายพัฒนา” โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นหัวหน้าวง ในด้านดนตรีไทย พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์ดนตรี ไทยและนาฏศิลป์ไทยไว้ให้คงอยู่คู่ชาติตลอดไป โดยมีพระราชกระแส รับสั่งให้นักดนตรีไทยช่วยกันรักษาระดับเสียงของดนตรีไทยไว้เพื่อเป็น มาตรฐานของวงดนตรีรุ่นหลัง ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือ “โน๊ตเพลงไทย เล่ม ๑” เพื่อรวบรวม และรักษาศิลปะทางดนตรีไทยไว้ให้เป็นหลักฐานและมาตรฐานต่อไป และทรงสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยบันไดเสียงของดนตรีไทย โดยใช้ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
44 IS AM ARE www.fosef.org
นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีครอบประธานครูโขนละคร และต่อกระบวนร�ำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ช้ันสูงใน วิชาดนตรีและนาฏศิลป์ไทยอีกด้วย ซึ่งกิจกรรมทั้งสองอย่างนั้น ด�ำเนินมาจนถึง จุดที่ใกล้จะสูญสิ้นแล้ว จึงนับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอนุรักษ์ศิลปะ ของไทยเพื่อให้เป็นมรดกของชาติสืบไป ทรงเห็นว่า ดนตรี นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังสามารถชักน�ำให้ คนเป็นคนดีของประเทศชาติและสังคม ดังพระราชด�ำรัสที่พระราชทานแก่คณะ กรรมการสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔ ความตอนหนึ่งว่า “...การดนตรีจึงมีความหมายส�ำคัญส�ำหรับประเทศ ชาติส�ำหรับสังคม ถ้าท�ำดีๆ ก็ท�ำให้คนเขามีก�ำลังใจจะปฏิบัติงานการ ก็เป็น หน้าที่ส่วนหนึ่งที่ให้ความบันเทิง ท�ำให้คนที่ก�ำลังท้อใจมีก�ำลังใจขึ้นมาได้ คือ เร้าใจได้ คนก�ำลังไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะดึงกลับมาในทางที่ถูก ต้องได้ ฉะนั้น ดนตรีก็มีความส�ำคัญอย่างหนึ่ง จึงพูดได้กับท่านทั้งหลายที่ เกี่ยวข้องกับการดนตรีในรูปการต่างๆ ว่ามีความส�ำคัญและต้องท�ำให้ ดี ถูกต้อง ในทางหลักวิชาการดนตรีอย่างหนึ่ง และก็ถูกต้องตามหลักวิชาของผู้ที่มีศีล ธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะท�ำให้เป็นประโยชน์อย่างมาก เป็นประโยชน์ ทั้งต่อส่วนรวมทั้งส่วนตัว เพราะก็อย่างที่กล่าวว่าเพลงนี้มันเกิดความปีติภายใน ของตัวเองได้ ความปีติในผู้อื่นได้ ก็เกิดความดีได้ ความเสียก็ได้ ฉะนั้นก็ต้อง ระมัดระวังให้ดี...”
45 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
การถ่ายภาพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราช หฤทัยในการถ่ายภาพมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในสมัยก่อนนั้น เทคโนโลยี ในการถ่ายภาพยังไม่ทันสมัยเหมือนปัจจุบัน แต่พระองค์ก็ทรงศึกษาและ ฝึกฝนด้วยพระองค์เอง จนทรงเป็นนักถ่ายภาพที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกล้องฟิล์ม กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายภาพยนตร์ เริ่มทรงกล้อง ถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ และทรงใช้ฟิล์มตั้งแต่ขนาด ๑๓๕ มม. จนถึงขนาด ๑๒๐ มม. และขนาดพิเศษ กล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็น กล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว จึงต้องใช้พระราชวินิจฉัยอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ จึงทรงถ่ายภาพ ได้อย่างเชี่ยวชาญมั่นพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเชี่ยวชาญ ตั้งแต่กระบวนการถ่ายภาพจนถึงการล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพทั้งภาพ ขาวด�ำและภาพสี และทรงท�ำห้องมืดในบริเวณชั้นล่างของตึกที่ท�ำการสถานี วิทยุ อ.ส. ด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรงถ่ายภาพให้เป็นศิลปะถูกต้องและ รวดเร็วด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการ ถ่ายภาพอยู่เสมอ จนท�ำให้ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์เป็นผลงาน ศิลปะที่กล่าวขานมาทุกยุคสมัย
46
IS AM ARE www.fosef.org
ครั้งเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติใหม่ๆ ทรงโปรดที่จะถ่ายภาพของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยเฉพาะเมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระต�ำหนักภูพิงค์ ราชนิเวศน์ซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายภาพ เมื่อถึงคราวสถานการณ์บ้านเมืองแปรเปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชหฤทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความ ห่ ว งใย และความเสี ย สละเพื่ อ พสกนิ ก ร จึ ง ท� ำ ให้ มี พ ระราชภารกิ จ อั น
มากมายเพื่อบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ จะ ทรงถ่ายภาพเพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์เท่านั้น จะ สั ง เกตได้ ว ่ า จะทรงมี ก ล้ อ งถ่ า ยรู ป ติ ด พระองค์ ไ ปด้ ว ยเสมอ โปรดถ่ า ยภาพสถานที่ ทุ ก แห่ ง เพื่ อ ทรงเก็ บ ไว้ เ ป็ น หลั ก ฐาน ประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้จึงมัก เป็นภาพถ่ายแบบฉับพลัน ทันเหตุการณ์ ซึ่งถ่ายได้ครั้งเดียว ด้วยไหวพริบ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในระยะหลัง ทรงใช้เป็นหลักฐานใน การวางแผนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วฉับพลัน และสามารถแก้ไขเหตุการณ์ของบ้านเมืองได้อย่างทันท่วงที เช่น คราวที่น�้ำท่วมกรุงเทพมหานครหลายครั้งหลายครา ทรง ถ่ า ยภาพจุ ด ส� ำ คั ญไว้ เ ป็ น หลั ก ฐานในการวางแผนป้องกันน�้ำ ท่วมในอนาคต ด้วยพระราชวิจารณญาณจากสายพระเนตรอัน ยาวไกลและเปี่ยมล้น เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรทุกชีวิตให้มีความ เป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
47 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราช หฤทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจังลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนา ในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น ทรงเห็นความส�ำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้า ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ในด้านส่วนพระองค์นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้าง โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรง ประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงามเพื่อแสดงผลบนจอภาพ คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราช กรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุน พระราชภารกิจทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์เผยแพร่ ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย ความเป็นมาที่พระองค์ท่านทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์นั้น ม.ล.อัศนี ปราโมช ได้ตกลงใจซื้อคอมพิวเตอร์แมคอินทอชพลัส อันเป็นเครื่องที่ทัน สมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ ม.ล.อัศนี เลือกเครื่องนี้เพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ การเรียนรู้และใช้ งานไม่ยาก ทั้งยังอาจเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษส�ำหรับเล่นดนตรีตามโน้ต เพลงที่ เ ก็ บ ไว้ ไ ด้ ด ้ วย ตั้งแต่นั้น พระองค์ทรงใช้งานคอมพิ ว เตอร์ ใ นงาน ส่วนพระองค์ทางด้านดนตรีโดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ต เพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่ เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง ส�ำหรับเรื่องอักขระคอมพิวเตอร์ (Font) นั้น เป็นที่สนพระราช หฤทัยก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษาและใช้คอมพิวเตอร์ ท�ำโน้ต คือเมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙ และทรงทดลองใช้ โปรแกรม “Fontastic” เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐ สิ่ง ที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยได้ ทรงประดิษฐ์ อักษรไทยหลายแบบเช่นแบบ จิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ทรงสนพระทัย ประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด นอกจากนี้ยังตั้งพระทัย ในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือ ภาษาสันสกฤต และทรงด�ำริ จะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์ รับสั่งว่าต้อง ใช้เวลานานมาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัว อักษรเทวนาครีบนจอภาพหรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่า “ภาษาแขก” ซึ่งจัดท�ำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทย เพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูป แบบไม่คงที่ กล่าวคือ ถ้าน�ำส่วนหนึ่งของอักษรน�ำมาต่อรวมกับอีกส่วน หนึ่งของอักษรจะเกิดอักษรใหม่ขึ้นและโปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น นั้นมีตัว Phonetic Symbols การสร้างตัวอักษรเทวนาครีด้วยพระองค์เอง จากพจนานุกรมและต�ำราภาษาสันสกฤต และทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี และท่านองคมนตรี ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัว
48 IS AM ARE www.fosef.org
อักษรที่ทรงสร้างขึ้น พระองค์น�ำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้ง แรกเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ มีค�ำถามว่าเหตุใด พระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครีหรือ ภาษาแขก เรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่าในหลวงที่รักของพวกเรานั้น ทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง การที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขกก็เพื่อเป็นการน�ำไปสู่ความเข้าใจ ด้านอักษรศาสตร์และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเอง เรื่อง นี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะค�ำสอนและ ข้อธรรมะในพระพุทธศาสนานั้นเดิมทีเกิดและเผยแพร่มาจาก ประเทศอินเดีย บรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจก็ อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้า ลึกลงไปถึงภาษาแขกจึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจน กระจ่างมากขึ้น ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ต่างๆ และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งสน พระราชหฤทัยในเทคนิคการท�ำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ นี้มากทีเดียว บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ ภายใน เป็นไปตามพระราชประสงค์ จะเห็ น ได้ ว ่ า พระองค์ ท รงใช้ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ใ น ด้วยพระองค์เองหรือทรงปรับปรุงซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นใช้ ทรงแก้ ซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้ การพิ ม พ์ ง าน ทรงพระอั ก ษรส่ ว นพระองค์ แ ละทรงเก็ บ งาน
49 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เหล่านี้เป็นเรื่องๆ มาปะติดปะต่อกัน จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจและบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ เช่น เรื่องนาย อินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น ผลงานอีกชึ้นหนึ่งที่พระองค์ ทรงประดิษฐ์ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ “ปรุง” อวยพรปีใหม่ เพื่อนพระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์ นอกจากนี้พระองค์ทรง สนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จ พระราชด�ำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ ของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์ทรงสนพระทัย ซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่าง ละเอียดและเป็นเวลานาน
ในส่ ว นที่ เ กี่ ย วกั บ ศาสนานั้ น ได้ ท รงพระกรุ ณ าโปรด เกล้ า ฯ บริ จ าคทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ จ� ำ นวน ๑,๔๗๒,๙๐๐ บาท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จั ด ท� ำ โครงการพั ฒ นาระบบคอมพิ ว เตอร์ เ พื่ อ การศึ ก ษาพระ
ไตรปิฎกและอรรถกถาต่อ เนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับ คอมพิวเตอร์เดิมที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้วและได้ ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควร รวบรวมเอาชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการ ที่น�ำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธ ศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วย พระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัยและพระราชวิจารณ์ใน การออกแบบโปรแกรมส�ำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล ในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนานูปถัมภก การครั้งนี้ กล่ า วได้ ว ่ า เป็ น การสื บ ต่ อ พระพุ ท ธศาสนาให้ ยั่ ง ยื น ยาวนาน สืบไปในอนาคตกาล เพราะโครงการพระราชด�ำรินี้เป็นส่วน สนั บสนุ น อย่ า งส� ำ คั ญที่ ท� ำ ให้ ก ารศึ ก ษาพระไตรปิ ฎ กและชุด อรรถกถาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องแม่นย�ำ อีกทั้ง รวบรวมเนื้อหาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นประโยชน์โดยตรง ต่ อ การเผยแพร่ พ ระพุ ท ธศาสนานั บ เป็ น การใช้ วิ ท ยาการอั น ก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ แม้จะหยิบยกพระราชกรณียกิจหรือพระเกียรติคุณใดๆ มากล่าวหรือบรรยายไว้อย่างไร ก็ไม่สามารถพรรณนาได้สักเสี้ยว หนึ่งของความจริงจากน�้ำพระราชหฤทัยที่เย็นฉ�่ำ ใสสะอาด ทั้ง ไม่มีวันหมดสิ้นไป เมื่อตกลงที่ใด ก็ยังให้พื้นผิวที่แตกระแหงกลับ ชุ่มชื้นร่มเย็น
50 IS AM ARE www.fosef.org
51 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
รางวัลแห่งพระอัจฉริยภาพ
จึงไม่มีข้อกังขาใด หากสายตาอันเปี่ยมไปด้วยความชื่นชมในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากชาวต่างชาติจะน�ำมาสู่การถวายรางวัลและเกียรติยศต่างๆ มากมายกว่าร้อยรางวัล อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจ และพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ของพระองค์ ที่ส�ำคัญอาทิ พ.ศ. ๒๕๑๔ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวายเข็มทองค�ำศิลปะภาพถ่ายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อมาราชสมาคมถ่ายภาพแห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Photographic Society of Great Britain) ได้ ก ราบบั ง คมทู ล เชิ ญ ให้ ท รงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง สมาชิ ก กิตติมศักดิ์ของราชสมาคม และสมาคมสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติ หรือ FIAP ทูลเกล้าฯ ถวายเกียรติบัตรสูงสุดเพื่อสดุดี พระเกียรติคุณว่าทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีพระปรีชา สามารถเป็ น เลิ ศ ในศิ ล ปะการถ่ า ยภาพ (Honorary Excellent FIAP) อีกด้วย พ.ศ. ๒๕๑๙ ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วม กันทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรัฐสภายุโรป” พ.ศ. ๒๕๒๙ ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติ ของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลสันติภาพ”
52 IS AM ARE www.fosef.org
พ.ศ. ๒๕๓๐ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการน�ำชนบทให้พัฒนา” พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู ้ อ� ำ นวยการใหญ่ โ ครงการสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง สหประชาชาติ (UNEP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองประกาศพระ เกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม“ และผู้อ�ำนวยการใหญ่องค์การอนามัย โลก (WHO) ทู ล เกล้ า ฯ ถวาย “เหรี ย ญทองสาธารณสุ ข เพื่ อ มวลชน” พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพ“ และหัวหน้าสาขาเกษตรฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชีย ของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลหญ้าแฝกชุบส�ำริด” สดุดี พระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน�้ำ พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้อ�ำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่ ง สหประชาชาติ ทู ล เกล้ า ฯ ถวาย “เหรี ย ญทองค� ำ สดุ ดี พระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด” พ.ศ. ๒๕๓๙ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการ พัฒนาการเกษตร” พ.ศ. ๒๕๔๙ ส�ำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความส�ำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนา มนุ ษ ย์ ” จากการที่ ไ ด้ ท รงอุ ทิ ศ ก� ำ ลั ง พระวรกายและทรงพระวิ ริ ย อุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อยัง ประโยชน์ แ ละความเจริ ญ อย่ า งยั่ ง ยื น มาสู ่ ป ระชาชนชาวไทยทั้ ง ประเทศมาโดยตลอด นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในโอกาส ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าวไว้ว่า “หากการพัฒนาคน หมายถึง
การให้ความส�ำคัญประชาชนเป็นล�ำดับแรก ไม่มีสิ่งอื่น ใดแล้วที่ย่ิงใหญ่ไปกว่าการพัฒนาคน ภายใต้แนวทาง การพัฒนาคนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงอุทิศพระวรกาย ทรงงาน โดย ไม่ รู ้ สึ ก เหน็ ด เหนื่ อ ย ไม่ เ ลื อ กเชื้ อ ชาติ วรรณะ และ ศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ด้วยพระ ปรี ช าสามารถในการเป็ น นั ก คิ ด ของพระองค์ ท� ำ ให้ นานาประเทศตื่นตัวภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเดิ น สายกลาง รางวั ล ความส� ำ เร็ จ สู ง สุ ด ครั้ ง นี้ เป็นการจุดประกายแนวคิดการพัฒนาแบบใหม่สู่นานา ประเทศ” ล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การทรัพย์สินทางปัญญา โลก (WIPO) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล WIPO Global Leaders Award แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชเนื่ อ งด้ ว ยงานทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาประเทศรวมถึ ง ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ข อง พสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่ สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้น�ำประเทศพระองค์ แรกที่ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้ จากการ หารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก ๘๔ ประเทศทั่วโลกยังมิได้มีมติให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิ บัตรกังหันน�้ำชัยพัฒนาเป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่นั้น เพราะหากย้อนกลับไปในอดีต จะพบว่าหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้เคยทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล และประกาศนียบัตร ต่างๆ แด่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศฮังการี ทูลเกล้าฯ ถวายถ้วยรางวัล IFIA Cup ๒๕๕๐ ส�ำหรับผล งานกังหันน�้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize ส�ำหรับผล งานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง และสมาคมส่งเสริม การประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (korea Invention Promotion Association : KIPA) ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็น รางวัลอันทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก
53 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
54 IS AM ARE www.fosef.org
เรื่องเล่าจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
“..เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม..”
่ มทึง่ คือในฐานะทีผ ่ มเป็นนักรัฐศาสตร์ ฐานะทีพ ่ ระองค์ ประโยคแรก “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” สิง่ ทีผ ท่านทรงเป็นพระประมุ ขของประเทศ (Head of State) ท�ำไมไม่ใช้ค�ำว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม” แปลกจังเลย ท�ำไมทรงใช้ค�ำว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” ผมก็ถามตัวเองว่าในกรณีของ “ครอง” นั้น ภาษาไทยผมก็ไม่ ค่อยรู้นะ แต่ตอนหลังพอปี ๒๕๒๕ ที่ผมโตพอจะเข้าใจค�ำว่า “ครอง” คื อค� ำ ที่ วิ เ ศษมาก “ปกครอง” นี้มัน อ�ำนาจถู ก ไหม อ� ำ นาจคื อ ไม่ ต้องมีรู้สึกอะไรในฐานะเป็นประมุขของประเทศ อย่างโอบามา เป็น ประธานาธิบดีเขาก็มีอ�ำนาจอยากจะประกาศสงคราม จะขึ้นภาษี ลงภาษี ประธานาธิบดีมีท่าทีอย่างไรเขาก�ำหนดได้หมด อันนี้ถือว่า “ปกครอง” แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แทนที่ จะใช้ค�ำว่าปกครอง ทรงใช้ค�ำว่า “ครอง” ไม่ได้มีอ�ำนาจอยู่เลยแม้แต่ น้อย ซึ่งแปลกใจผมมาก ทรงใช้ค�ำว่า “ครอง” เวลาเราใช้ค�ำว่าครอง ในชีวิตสามัญของเรานี้ “ครอง” นี้คืออะไร ? เวลาแต่งงานวันแรกจะแต่งงานก็บอกไปครองเรือน ออกไป ครองชีวิตสมรส ออกไปครองชีวิตคู่ ค�ำว่า “ปกครอง” ปกครองมันมีอ�ำนาจมาข่มกัน แต่ค�ำว่า ครองนี้มันมีความรัก ความเมตตา จิตส�ำนึกร่วม และความเคารพ นับถือซึ่งกัน เพราะฉะนั้นค�ำว่า “ครอง” นี้ พระครองสมณเพศ เห็น ไหมครั บ ครองล� ำ บากนะ กลั บ มาผมเร่ ง เรี ย นภาษาไทยเรี ย นพุ ท ธ ศาสนาเป็นการใหญ่ลงทุนบวช ๔ ครั้ง ผมบวชมากกว่าพระหลายรูป ก็ปรากฏว่าครองสมณเพศ ครองจีวร จีวรนี้ก่อนครอง จ�ำได้ไหม ก่อน เราบวชอาจารย์บอกต้องโยนิโสก่อนนะ ต้องเพ่งพิศพิจารณาเพราะไป หยิบจีวรคนอื่นเขา ต้องดูพินทุว่าเป็นของเราหรือเปล่า ไม่งั้นเข้าข่าย ขโมยของเขามาลักของเขามา เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องระมัดระวัง พิถีพิถัน มีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ มาคลุมเราอยู่ เราขยับนิดเดียวก็ผิดศีล แล้ว อย่างนี้เป็นต้น
55 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เพราะฉะนั้นค�ำว่า “ครอง” นี้เป็นค�ำที่สูงมาก สูงในแง่ไม่ใช่ อ�ำนาจ แต่สูงในแง่ของความรู้สึกรับผิดชอบนี้ ถ้าใครถามผมว่า ๗๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการเป็น พระเจ้าแผ่นดินนั้นทรงท�ำอะไร เพราะว่าครองแผ่นดินคือทรงดูแล แผ่นดินมาเหมือนคุณดูแลครอบครัวของคุณด้วยความรัก ความเมตตา ด้วยความเคารพ ด้วยความรับผิดชอบ ฉะนั้นดูแลแผ่นดินเวลาเราพูด ถึงแผ่นดินประเทศชาติ เราดูมันห่างไกลตัวเราจังเลย ดูเป็นนามธรรม รักชาติ เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง มันไกลตัว รู้สึกมันนามธรรม มัน ไกลตัว แต่ความจริงเปล่าเลย เพราะเราลืมมองต่อไปว่าแผ่นดินของ เรานั้นประกอบด้วยอะไร? ประชาชนหนึ่งละ แล้วประชาชนต้อง อาศัยอะไร ดิน น�้ำ ลม ไฟ แผ่นดินนี้ถ้าเกิดไม่มีดินสักตารางนิ้วหนึ่ง ประกาศเป็นประเทศชาติได้ไหม เราถึงบอกเขมรอย่าเข้ามานะตาราง นิ้วหนึ่งก็ไม่ยอมเสียไป เกาะโฟลค์แลนด์อังกฤษระดมส่งอะไรทั้งหลาย ไป เพื่อยึดก้อนหินกลางทะเล ซึ่งไม่มีความหมายในเชิงเศรษฐกิจเลย แต่มีความหมายในเชิงแผ่นดิน แต่มองลึกลงไปแล้วแผ่นดินนี้คือ ดิน น�้ำ ลม ไฟ มาประกอบกันก็เลยกลายเป็นแผ่นดินไทย แล้ว ดิน น�้ำ ลม ไฟ ในแผ่นดินไทยคืออะไร พอเราคิดลงไปแล้วมัน ง่าย แต่มันง่ายซะจนกระทั่งเรานึกไม่ถึง ชีวิตเรานั้นเอง นั่งๆ อยู่นี้ประกอบด้วยอะไร ธาตุทั้ง ๔ ดิน น�้ำ ลม ไฟ นี้ มี “น�้ำ” ตั้งอยู่ข้างหน้า จมูกก็สูดอากาศ “ลม” เข้าไป เท้าวางอยู่ที่ “ดิน” เมื่อกลางวันนี้ กินมีอะไรมาจากดิน ไหม ไม่รู้ว่ากลางวันนี้กินอะไรแต่รับประกันได้ว่ามาจาก ดินทั้งนั้น เห็นไหม ดิน น�้ำ ลม ไฟ นั้นคือชีวิตเรา แผ่น ดินก็คือชีวิตของตัวเราเองทั้งนั้นแหละ ถ้าอธิบายแบบชาวบ้าน รักษาแผ่นดินคือรักษา ชี วิต ตั ว เองให้ ร อด เพราะถ้ า ไม่ มีแผ่ น ดิ น แล้ ว ก็ จ ะไม่มี แม้แต่อากาศจะหายใจ น�้ำก็ไม่มีจะดื่ม อาหารก็ไม่มีจะกิน เสื้อผ้า ที่ยืน ที่นั่ง ที่นอนก็จะไม่มี เพราะฉะนั้นพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รักษาสิ่งต่างๆ ในปัจจัยของชีวิตเราให้อยู่กับเรา ชีวิตเราจะได้อยู่รอด ๗๐ ปี ทรงรักษา ดิน น�้ำ ลม ไฟ ให้อยู่ในสภาพดี ที่สุด น�้ำนี้ตั้งแต่น�้ำบนท้องฟ้าลงมาจนกระทั่งถึงชายทะเล น�้ำทุกรูปแบบ พระองค์เอาน�้ำเสียไปบ�ำบัดให้ดู ทรงเอาน�้ำ บนท้องฟ้ามาให้กิน พอน�้ำเสียท่านก็ตามเอาน�้ำไปบ�ำบัด อีก โครงการที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ไม่ต้องไปดู
56 IS AM ARE www.fosef.org
งานให้ถึงเมืองนอก ดูในเมืองเรานี้ให้ครบถ้วน ไปที่แหลม ผักเบี้ย ที่บ้านผม ทรงเอาน�้ำเสียจังหวัดเพชรบุรีทั้งหมด เลยไปบ�ำบัดที่นั่น โดยวิธีการธรรมชาติ ไม่ต้องไปซื้อโรง บ�ำบัด ๕,๐๐๐ ล้าน ใช้ต้นไม้บ�ำบัด พอบ�ำบัดเสร็จเอา น�้ำเข้าห้องแล็บปรากฏว่าได้มาตรฐาน ใช้ดิน น�้ำ ลม ไฟ ที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรานี้ให้เป็นประโยชน์ เดินเข้าไปถึงไม่มี โรงงาน ไม่มีการใช้พลังงาน นอกจากพลังงานธรรมชาติ ไม่มีคนงานเดินสักคน ใช้ต้นไม้ต้นไร่ มีพืชอยู่ ๒๒ ชนิด ฟอกน�้ำได้ น�้ำเน่าในจังหวัดเพชรบุรี ก็เหม็นเน่าพอๆ กับ กรุงเทพฯ ปรากฏว่าปลายทางสะอาดปล่อยออกทะเลได้ พระอัจฉริยะก็แสดงออกมาทุกขั้นทุกตอน เพราะฉะนั้น ประโยคแรกนี้ก็อธิบายหมดเลย
ท่านดูแลแผ่นดิน รักษาดิน น�้ำ ลม ไฟ แล้วค�ำ ว่าดิน น�้ำ ลม ไฟ ก็คือประชากรของพระองค์ เพราะว่า ประชากรหรือพวกเรานั้นก็คือ ส่วนประกอบของดิน น�้ำ ลม ไฟ โดยใช้หลักการคือใช้ “ธรรมะ” เป็นฐานในการ ดูแล ธรรมะนี้พระราชทานค�ำแปลเอง คือ ความดีกับความ ถูกต้อง เราต้องรอให้ฝรั่งมาพูดค�ำว่า Good Governance ถึงได้ฮือฮาแปลว่า “ธรรมาภิบาล” อบรมกันทั้งประเทศ ท�ำไมต้องรอให้ฝรั่งเขามาพูดกับเราถึงได้สะดุ้งตื่นแล้วก็ ขยับ บ้านเราเก่าแก่ยิ่งกว่าฝรั่งหลายเท่า อเมริกานี้อายุ เท่ากรุงเทพฯ ๒๐๐ ปีกว่าเท่านั้นเองนะ ประเทศทั้ง ประเทศของเขาอายุเท่ากรุงเทพฯ ประเทศเราตั้งมาเจ็ด แปดร้อยปีไม่มีธรรมะหรืออยู่มาได้อย่างไร น่าเสียดาย ของดีๆ ของวิเศษของสูงในบ้านเมืองไม่ใส่ใจ
57 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
58 IS AM ARE www.fosef.org
เรื่องเล่าจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ทศพิธราชธรรม
ธรรมะของเราก็มีอยู ่ แต่ในทีน่ เี ้ รารู ้จักภายใต้ชื่อ “ทศพิธราชธรรม” มี ๑๐ ข้อ อะไรบ้าง อบรมข้าราชการ มาเป็นแสนคนแล้วใน ๒๐ ปี ไม่มีใครตอบมาครบสิบข้ออย่างรวดเร็วเลย ถามทศพิธราชธรรมมีอะไรบ้าง ทาน ศีล บริจาค อาชวะ มัททวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ เพราะว่าไม่รู้จักก็เลยไม่รู้จะปฏิบัติ อย่างไร ฉะนัน้ ข้าราชการจะต้องรับธรรมะของพระองค์มาปฏิบัติด้วย ไม่ใช่ เป็นธรรมะของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างเดียว ถึงบอกว่าเราแค่ได้ยินแต่ไม่เคยฟัง เห็นแต่ไม่ เคยมอง อันนี้พิสูจน์ได้ รู้ทศพิธราชธรรมใช้อะไร สิบ ข้อรู้ แต่อะไรบ้างไม่รู้ สาระหายหมด เพราะฉะนั้น ธรรมะต่างๆ เรามีหมด ก่อนฝรั่งด้วยซ�้ำไป และมิติ ที่ดีกว่าฝรั่งอีกด้วย ฝรั่ง Take and give เท่านั้นเอง “ได้ดีจ่ายไป เสียก็ใช้มา” แค่นั้นเอง แต่ทศพิธราชธรรมมีทุกมิติเรื่องน�้ำใจ เรื่อง การให้ เรื่องมารยาท แม้กระทั่ง “มัททวะ” กิริยา มารยาทที่ อ ่ อ นถ่ อ มตน ฝรั่ ง ไม่ มี ส อนเรื่ อ งกิ ริ ย า มารยาท ชีวิตค่อนข้างจะหยาบกร้าน แต่เขาไม่ผิด นะ เขาอยู่กับชีวิตเขาอย่างนั้น แต่ว่าเรากลับมาเมือง ไทยเราเป็นคนไทยเราต้องเป็นคนไทย ไม่ใช่ไปเรียน เมืองนอกกลับมาเอาความคิดเอาวัฒนธรรมมา แต่ ต้องเรียนรู้เขานะ ที่พูดนี้ไม่ใช่รังเกียจการเรียนรู้กับ ฝรั่งเพราะเราต้องสู้กับเขา เราต้องอยู่กับเขา ฉะนั้น ต้องเรียนรู้เขา แต่พร้อมกันนั้น เพื่อจะชนะเราต้องรู้
เราด้วย ข้อเสียเปรียบของคนไทยคือเราไม่ค่อยรู้เรา สิ่งที่บ้านเมืองเป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะว่านักวิชาการก็ ดี นักคิดก็ดี มักลอกฝรั่งมาใช้โดยไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร นัก แต่ละแห่ง แต่ละพื้นที่ แต่ละวิถีชีวิต มันมีรูป แบบของมัน ชีวิตไทยคือชีวิตไทย พอกลับมา เอา บางสิ่งบางอย่างกลับมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแปลกยิ่งกว่าเรา ทรงเกิด ต่างประเทศแทบจะไม่ได้เรียนในเมืองไทยเลย ทรง โตในต่างประเทศ เรียนต่างประเทศ แต่พอกลับมา ทรงรู้เขาแล้ว ทรงรู้เราด้วย เพราะฉะนั้น พระอัจฉริยภาพในการครอง แผ่นดินทรงใช้ความรู้ ซึ่งไม่มีในต�ำราทั้งฝรั่งทั้งไทย น� ำ มาใช้ ใ นประเทศนี้ ในการครองแผ่ น ดิ น ตลอด ระยะเวลา ๗๐ ปี โดยเรายังอยู่รอดมาจนบัดนี้
59 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
60 IS AM ARE www.fosef.org
เรื่องเล่าจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ทรงงานเพื่อแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช เวลาทรงงานจะไม่เคยนัง่ ทีโ่ ต๊ะ พระองค์ทา่ นบอกไม่สะดวก เพราะแผนทีก่ ว้าง โต๊ะทีไ่ หนจะแบกได้ ห้อยลงไปข้างล่างก็ไม่สะดวก ปู กับพืน้ ข้างล่างนีก้ ว้างเท่าไหร่ก็ปูได้ พระองค์บอกสะดวกดี เคยนั่งพับเพียบแบบนี ้ บ่ายสามโมงถึงสีท่ ุ่ม เสร็จแล้วสีท่ ุ่มพระองค์ก็ลุกขึน้ บอก พอแล้ววันนี ้ พวกเราก็กราบส่งเสด็จ ไม่มีใครส่งเสด็จถึงรถเลย เพราะตายไปครึง่ ตัวหมด นั่งพับเพียบตัง้ สีห่ ้าชั่ วโมง ไม่รู้พระองค์ท่านท�ำอย่างไร บทจะลุกก็ลุกเลย มีตอนหนึ่งที่สถานีโทรทัศน์ BBC ขอสัมภาษณ์พระองค์ ท่านให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษเดี๋ยวนั้น ถามเดี๋ยวนั้นตอบ เดี๋ยวนั้น พระองค์ท่านพับเพียบให้สัมภาษณ์ ฝรั่งนั่งพับเพียบ ไม่ ไ ด้ ก็ นั่ ง กอดเข่ า ชั น เข่ า พลิ ก ไปพลิ ก มาทรมานอยู ่ อ ย่ า งนั้ น ห่วงอยู่เหมือนกันพระองค์ท่านนั่งพับเพียบให้สัมภาษณ์อยู่กับ พื้น นั่งพับเพียบเหมือนพระ ท่าของพระองค์ท่านอย่างนี้ ดู อย่างในห้องทรงงานไม่มีอะไร อะไรที่ไม่มีประโยชน์อย่ามาวาง เกะกะไม่เอา เราอยากใส่ โรเล็กซ์ ปี ๒๕๒๕ เหลือบไปดูข้อพระหัตถ์ เหลือบไปจนพระองค์รับสั่งว่า อยากเห็นหรือ อยากเห็นก็ดูซะ เราอยากเห็นว่าพระองค์ท่านใส่นาฬิกาอะไร ดูซะนี่ยี่ห้อ ใส่ แล้วโก้ คือยี่ห้อ พระองค์ออกเสียงอย่างนั้น ราคาเท่าไหร่รู้ไหม ๗๕๐ บาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้นาฬิกา ๗๕๐ บาท เพราะพระองค์ต้องการดูเวลา ท่านไม่ได้ เอาแบงค์มาห้อยแขน เพราะถ้าโรเล็กซ์นี้เป็นแสนนะ พอใส่แล้ว เหมือนเอาแบงค์เอาตู้เซฟมาใส่ข้อมือ พระองค์ท่านยังคิดอีกเรื่อง แนวคิด วิกฤต พระองค์สอน ง่ายๆ ใครก็ได้จะเป็นทหาร ต�ำรวจ พลเรือน พ่อค้า นักธุรกิจ น�ำ ไปปฏิบัติได้ทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ยังมีคนบอกเศรษฐกิจพอเพียงส�ำหรับ คนจน ระดับข้างบนนี้ต้องใช้เศรษฐกิจแนวหลัก พวกนี้ขอบอก สมองไม่พัฒนา ไม่เข้าใจบ้านเมือง ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจอะไร เลย พูดของเขาเรื่อยเปื่อยไม่รู้ตัว โลกนี้จะพังอยู่แล้วยังจะขยาย ยังจะร�่ำรวยตามเศรษฐกิจแนวหลัก
เศรษฐกิจแนวหลักนี้ตายทีละตัวๆ ประเทศกรีซไปแล้ว อิตาลีก�ำลังตาม เยอรมันดีหน่อยประคองตัว แต่ว่าฝรั่งเศสต้อง ขอแก้แล้วได้ประธานาธิบดีใหม่ ยุโรปจนง่อยกินหมดแล้ว ยัง ไม่เป็นบทเรียนอีก ยังไม่รู้สึก ยังจะทุนนิยมอีก ทุนนิยมได้ แต่ ทุนนิยมแบบพอเพียงได้ไหม พระองค์ท่านสอนหลักความคิด ประกอบด้วย ๓ ค�ำ พอ ประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน สอนง่ายๆ ท�ำอะไรเริ่มแรกก่อน “พอประมาณ” เคยได้ยินไหม ผู้หลักผู้ใหญ่ของเราสอนเราท�ำ อะไรประมาณตนนะ เดี๋ยวมีค�ำว่าเส้นทางสายกลาง ของคุณของ ผมมันอยู่ที่เดียวกันไหม แต่ละคนมีเส้นกลางของตัวเอง ไม่รู้ว่า อยู่ตรงไหน แต่ละคนอยู่ตรงไหน ต้องหาโดยใช้หลักพอประมาณ ประมาณตนก็ต้องรู้จักตนก่อน ถ้าสอน MBA ก็ต้องบอก ต้อง Positioning ตัวเองก่อน สอนแบบฝรั่งก็ได้ สอนแบบ MBA ก็ได้ สอนแบบอาจารย์สมัยใหม่ก็ได้ ฝรั่งเขาบอกต้อง Positioning ตัวเองก่อน มันอยู่แค่ไหน ระดับไหน เพราะฉะนั้นต้องประเมิน ตนก่อน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องท�ำ Self Assessment ถ้า ต้องการที่จะบริหารประเทศ ก็ต้องประเมินประเทศ (National Assessment) ก่อน ถ้าจะบริหารบริษัทธุรกิจคุณก็ต้องประเมิน Corporate Assessment ก่อน พอประเมินขนาดตนเองได้ แล้ว พอรู้ตัวเองแล้ว ถ้าจะบริหารประเทศรู้จักประเทศตัวเอง แล้ว บริหารบริษัทเป็น CEO เมื่อรู้จักขนาดบริษัทตัวเองแล้ว รู้จักจ�ำนวน Staff รู้จักเงินทุน รู้จักตลาด รู้จัก Stock เสร็จแล้ว ตอนนี้คุณใช้เหตุผลเป็นเครื่องน�ำทางได้ไหม
61 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
“..จ�ำไว้นะ ใครผู้ใดในชีวิตไม่เคยถูกเผา ไม่เคยถูกทุบ ท�ำประโยชน์ ท�ำงานใหญ่ให้กับแผ่นดินไม่ได้..” ก�ำลังใจจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรือ่ งนีไ้ ม่คอ่ ยได้เล่าให้ใครฟั ง ได้กลับไปกราบพระบาทขอพระราชทานพร ทุกวันเกิด ซึ่ งง่ายๆ ริมทางบ้าง ริมระเบียงบ้าง แล้วแต่จะเสด็จผ่านมา เมือ่ ๕ ปี ทแี่ ล้ว ตอนอายุ ๗๒ ได้มโี อกาสพาคณะหนึง่ เข้าเฝ้าทีศ่ ริ ริ าช พอเฝ้า เสร็จแล้วก็คลานเข้าไปขอพระราชทานพรวันนีอ้ ายุ ๗๒ วันนัน้ ทรงเงียบ ไปสักพักหนึง่ แล้วก็เอือ้ มพระหัตถ์มาเขย่าทีไ่ หล่ แล้วเป็นพรทีแ่ ปลกมากเลย เพราะทุกครัง้ จะพระราชทานพรให้มรี า่ งกายแข็งแรงเพือ่ ท�ำประโยชน์ให้กบั คนอืน่ เขาได้ ให้มีก�ำลังใจในการท�ำงานอะไรต่ออะไร
62 IS AM ARE www.fosef.org
เรื่องเล่าจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล แต่วันนี้นั่นแหละเป็นค�ำตอบที่ผมจะต้องปฏิบัติ พระองค์ท่านโน้มพระวรกายมาใกล้ผมแล้วบอก “สุเมธ งานยังไม่เสร็จนะ งานยังไม่เสร็จสุเมธ” สามครั้งด้วยกัน แล้ววันนี้ถ้าถามว่าผมจะท�ำงานต่อไปไหม นั่นแหละครับ ประโยคนี้ “งานยังไม่เสร็จ” เมื่อไหร่เสร็จผมก็ไม่รู้เหมือน กัน ตราบใดที่งานยังไม่เสร็จเราก็ต้องท�ำต่อไป เพราะว่า ปัญหาของชาติบ้านเมือง ความทุกข์ของประชาชนไม่มี วันจบวันสิ้น พระองค์ท่านทรงเป็น ขอใช้ค�ำสามัญก็แล้วกัน เป็นผู้บังคับบัญชาที่ใส่ใจดูแลคนที่อยู่รอบข้างที่ช่วยงาน พระองค์หมด พระองค์ท่านจะสังเกตเห็นเรามีก�ำลังใจไม่ ค่อยดีทั้งๆ ที่คนก็มากมายก่ายกองนะครับรอบๆ พระองค์ แต่ทรงละเอียดอ่อน พระราชด�ำเนินมาเสร็จแล้วก็มาถาม ผม ถามบอก “สุเมธ ไปหาเหล็กให้ฉันก้อนหนึ่งได้ไหม” เราก็เหล็กอะไร นึกว่าเป็นเหล็กพิเศษหรืออะไรสักอย่าง รับสั่งบอก “เหล็ก อะไรก็ไ ด้ เหล็ก ธรรมดาเนี่ ย ” ผม บอกเอาใหญ่แค่ไหน รับสั่งบอก “ประมาณสองสามกิโล ก็พอ” เป็นก้อนไม่ใหญ่มากนัก “หาง่ายใช่ไหม” รับสั่ง ถามอย่างนั้น ผมบอกหาง่าย “ราคาถูกใช่ไหม” ก็ถูก และความจริงอาจจะไม่ต้องหา ก็ไปบริเวณที่เขาก่อสร้าง
ก็อาจจะมีเศษเหล็กทิ้งไว้ก็ได้ “ตกลงเป็นของไม่มีค่าเท่าไหร่นะ” ผมบอกก็ใช่ครับ “รู้ไหมฉันอยากจะได้มาท�ำอะไร” ทรงรับสั่ง บอกไม่ทราบ ครับ “ฉันอยากจะตีมีดดาบสักเล่ม” พระองค์ท่านก็รับสั่งถามบอกว่า “เออ พอได้เหล็กก้อนนั้นมาแล้ว เวลาจะตีมีดดาบต้องท�ำอะไร” ผม ก็ถวายค�ำตอบไปว่าต้องไปเผาไฟ “เผาจนแดงโล่สินะ” บอกใช่ครับ “ถ้าเราถูกเผาไฟอย่างนั้นเราเจ็บปวด เราปวดแสบปวดร้อนไหม” บอกใช่ครับ เจียนตายแน่ๆ “พอเผาได้ที่เสร็จแล้วต้องท�ำอะไรต่อ” ต้องเอาค้อนทุบ “ถ้าเราโดนทุบอย่างนั้นเราเจ็บปวดไหม” เจ็บปวด “กว่าจะเป็นมีดดาบต้องถูกเผากี่ครั้ง ถูกทุบกี่ครั้ง” บอกหลายครั้ง นับไม่ถ้วนจนกว่ามันจะเป็นดาบตามที่ต้องการ หลังจากเจ็บปวด ปวดแสบปวดร้อนทรมานอย่างเจียนตาย แล้ว ผลสุดท้ายมันก็เป็นมีดดาบ “แล้วมันสวยไหม” ทรงถาม สวย “ใช้ประโยชน์ได้ไหม” ได้ “จ�ำไว้นะ ใครผู้ใดในชีวิตไม่เคยถูกเผาไม่ เคยถูกทุบ ท�ำประโยชน์ ท�ำงานใหญ่ให้กับแผ่นดินไม่ได้” ประโยค นี้ก็ชัดเจนเลยให้เรามีความเข้มแข็ง แล้วประโยคนี้ท�ำให้ผมมาใช้กับ ตัวเองในวันที่ ๑๓ ตุลา เมื่อรู้ว่าเสด็จสวรรคตแล้ว แน่นอนความรู้สึก ยากที่จะควบคุม แต่ว่าได้นึกถึงภาพค�ำสอน พระองค์ท่านไม่ต้องการ เห็นคนอ่อนแอ รับสั่งว่าคนอ่อนแอนั้นท�ำอะไรไม่ได้เพราะมัวนั่งแต่ อ่อนแอ ไม่มีก�ำลังใจที่จะท�ำอะไรต่อไป แต่อย่างไรก็ตามมันก็ต้องการ เวลาสักระยะหนึ่ง แต่พ้นเวลานั้นแล้วต้องตั้งสติให้กลับคืนมาได้ แล้ว ก็ชีวิตต้องไปต่อ ประเทศชาติต้องก้าวหน้าต่อไป พระองค์ท่านรับสั่ง ไว้นานแล้ว งานต้องท�ำ ไม่หยุด หยุดงานไม่ได้
63 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เรื่องที่ควรรู้ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ บันทึกของ ดร.วิษณุ เครืองาม ปี ๒๕๕๖
ในฐานะทีท่ �ำงานอยู ่ในท�ำเนียบรัฐบาลโดยหน้าทีต่ ่างๆ กันถึง ๑๕ ปี ผมขอยืนยันว่าพระองค์ทรงมีมาตรฐานเดียวโดยตลอด จะต่างกันก็ ทีโ่ อกาส เช่ น คณะรัฐมนตรีบางคณะเข้ามาในช่ วงทีท่ รงพระประชวร บางคณะมีราชการงานเมืองต้องเข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทานมหากรุ ณา บ่อยหรือห่างตามเหตุการณ์ 64 IS AM ARE www.fosef.org
ในการมีพระราชด�ำริ พระราชด�ำรัส และการทรงงาน ใดๆ ไม่ มีเ ลยสัก เรื่องที่จะแสดงว่าทรงรับ เอาประโยชน์ ส ่ ว น พระองค์แม้พสกนิกรจะเต็มใจถวาย สมัยจอมพลถนอมเป็นนายกฯ คราวหนึ่งประจวบโอกาส ครองราชย์ครบ ๒๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๔) รัฐบาลจะสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์และถาวรวัตถุใหญ่โต “ที่สุดในประเทศ” ถวาย รับสั่งว่า “สิ้นเปลืองและไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สร้าง ถนนกันรถติดดีกว่า” นี่คือที่มาของ “ถนนรัชดาภิเษก” สมัยคุณ บรรหารเป็นนายกฯ เคยกราบบังคมทูลว่า จะ สร้างทาวเวอร์หรือหอคอยสูงใหญ่ข้างสะพานพระราม ๙ ใช้ เป็นหอดูวิว หอโทรคมนาคม และเฉลิมพระเกียรติ รับสั่งว่า “เทคโนโลยีสมัยนี้ไม่ต้องสร้างหอโทรคมนาคมและเปลือง เงินเปล่าๆ” นายกฯคนหนึ่ ง เคยกราบบั ง คมทู ล ถามว่ า ที่ พ ระ อนุ ส าวรี ย ์ ก รมหลวงชุ ม พรฯ หน้ า ท� ำ เนี ย บรั ฐ บาลนั้ น ตอน พลบค�่ำคนมักมาจุดประทัดแก้บน บางทีก็ยิงปืนสนั่นหวั่นไหว ดังรบกวนมาถึงสวนจิตรฯ หรือไม่รับสั่งว่า “อยู่ที่หลักการว่าท�ำ รั บ สั่ ง ว่ า การปรั บ ปรุ ง โรงพยาบาลเป็ น อย่างนั้นผิดกฎหมายไหม ถ้าผิดก็ต้องห้าม แต่ถ้าเป็นเสรีภาพ ก็ต้องปล่อยไป ร�ำคาญหนวกหูก็ต้องทน อย่าใช้มาตรฐานสวน ประโยชน์แก่ทุกคนถ้ามีงบก็ควรท�ำ แต่การปรับปรุง วั ง ไกลกั ง วลเป็ น เรื่ อ งพระส� ำ ราญ “แค่ นี้ ก็ พ ออยู ่ จิตรฯ หรือท�ำเนียบรัฐบาลมาตัดสิน” สมัยนายกฯทักษิณ เคยกราบบังคมทูลว่า เมื่อประทับ พอเพียงแล้ว” รัฐบาลหลายคณะ เคยออกกฎหมายที่มุ่งจะ รักษาพระองค์ที่วังไกลกังวลอย่างนี้ รัฐบาลจะขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ส�ำนักพระราชวังปรับปรุงวังไกลกังวล เฉลิมพระเกียรติเช่นมีค�ำว่า “พระบาทสมเด็จพระให้สะดวกสบายสมกับที่จะใช้เป็นที่ประทับยาวนาน รวมทั้งจะ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” มี พ ระราชกระแสให้ รั ฐ บาลน� ำ กลั บ ไป ปรับปรุงโรงพยาบาลหัวหินให้ทันสมัยพร้อมทุกประการ ปรั บ ปรุ ง เพราะ “ไม่ อ าจทรงสถาปนาพระองค์ เองได้” เช่นเดียวกับที่ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ไม่ทรงลง พระปรมาภิไธย ในร่างพระราชบัญญัติยศทหารซึ่ง ถวายพระยศทางทหารเป็น จอมพล จนร่างพระราช บัญญัตินั้นตกไปเองในที่สุด รัชกาลนี้ทรงลงพระปรมาภิไธยตรากฎหมาย มาแล้ว ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ พระราชก�ำหนด พระราชกฤษฎี ก านั บ หมื่ น ฉบั บ ทรงวิ นิ จ ฉั ย ฎี ก า นักโทษ ฎีการ้องทุกข์ขอพระราชทานความเป็นธรรม อีกหลายพันราย บางรายขอพระราชทานยืมเงิน บาง รายขอความเป็นธรรมเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย รายหนึ่งพ่อตาย ลูกชายบวชหน้าไฟให้พ่อ อยู่มาก็ไม่ยอมสึก แม่มีลูกชายคนเดียวท�ำหนังสือ ถวายฎีกาว่าเดือดร้อนหนัก ขอพระมหากรุณาให้ ลูกสึกมาช่วยเลี้ยงแม่เถิด โปรดให้ตรวจสอบแล้วมี
65 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
พระราชกระแสว่า แท้จริงแม่ไม่ได้อยากให้ลูกสึก แต่ปัญหาคือ แม่ล�ำบากยากจน จึงโปรดให้กรมประชาสงเคราะห์เข้าไปช่วย ดูแล สอนอาชีพให้และหาเครื่องมือท�ำมาหากินไปให้แม่ ลงท้าย แม่ก็ท�ำมาหากินได้ ส่วนลูกก็อยู่ไปจนเป็นสมภาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง สงเคราะห์ทั้งส่วนรวมและพระองค์เองเพื่อจะได้มีพระอนามัยดี ทรงงานเพื่อส่วนรวมต่อไป จึงทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือ ทรงเล่นคอมพิวเตอร์ ทรงฉายภาพ ทรงกีฬา ทรงวาด รูป ปั้นรูป ทรงงานไม้งานช่าง จะทรงจับงานด้านใดก็ทรงท�ำได้ดี ที่คนไม่ใคร่ทราบคือ ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ในเรื่องภาษาไทย การศึกษา ระบบสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และพุทธศาสนา ส่วนทีท่ รงพระปรีชาทางดิน น�ำ้ ระบบระบายน�ำ้ และการแก้ปัญหาจราจรนั้นเป็นที่ทราบทั่วไปอยู่แล้ว เมื่อครั้งยังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผมเคยได้รับ พระมหากรุณาพระราชทานค�ำแนะน�ำเรื่องการใช้ถ้อยค�ำภาษา ไทยหลายหน ครั้งหนึ่งได้ถวาย “รายชื่อ ” บุคคลให้ทรงแต่งตั้ง รับสั่ง ถามว่า ตั้งกี่คน ผมกราบบังคมทูลว่าคนเดียว ตรัสว่าคนเดียว เรียกว่า “ชื่อ” ถ้า “รายชื่อ ” ต้องหลายคน อีกคราวหนึ่ง มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า “ทูลเกล้า ทู ล กระหม่ อ มมาเพื่ อ ทรงพิ จ ารณา” ทรงพระสรวลตรั ส ว่ า “ถ้ า ทู ล เกล้ า ทู ล กระหม่ อ มก็ อ ยู ่ บ น กระหม่ อ มยั ง ไม่ ถึ ง ฉั น
ถ้าจะให้ถึงฉัน ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายมาเพื่อทรง พิจารณา” ในทางพระพุทธศาสนาก็ปรากฎว่าทรงรอบรู้ทั้งในทาง ปฎิบัติและปริยัติ ทรงรู้จักพระเป็นอันมาก เมื่อตรัสถึงเหตุการณ์ ครั้งใดจะทรงย้อนไปถึงเรื่องราวครั้งเก่าก่อน เช่น “ครั้งสมเด็จ พระสังฆราชยังเป็นพระญาณวราภรณ์” “ครั้นเจ้าคุณประ ยุทธยังเป็นพระราชวรมุนี” และเคยตรัสเล่าเรื่องราวความเป็นอัครศาสนูปถัมภก ว่า ต้องทรงอุปถัมภ์ และคุ้มครองทุกศาสนา โดยไม่เลือกปฎิบัติ ทรงเล่าพระราชทานว่า ครั้งหนึ่งควีนจากประเทศหนึ่งทูลถาม ว่า พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าแล้วชาวพุทธนับถืออะไรกัน เหตุใด ไม่ยกพระพุทธเจ้าเป็น god เสียเลย ได้ทรงตอบว่า พุทธศาสนานับถือ “ธรรม” เรานับถือ ธรรมยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก เพราะธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง โลก และได้ตรัสเล่าต่อไปว่า แม้ศาสนาอื่นก็ยังต้องทรงอุปถัมภ์ ฉะนั้ น ในฝ่ า ยพุ ท ธศาสนาขอให้ ทุ ก คนวางใจเถิ ด ว่ า จะเป็ น เถรวาท มหายาน รามัญนิกาย มหานิกาย ธรรมยุต ก็ต้องทรง คุ้มครองและพระราชทานความเป็นธรรมเสมอกัน รัชกาลที่ ๕ นั้น อะไรที่ไม่เคยมีและไม่มีคนไทยคนใดนึก ว่าชีวิตนี้จะมี แต่ก็ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีขึ้นเป็นขึ้น ทั่วถ้วน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล รถไฟ ไปรษณีย์ เลิกทาส จนคนรุ่นก่อนหน้านั้นต้องคิดว่าเหลือเชื่อ
66 IS AM ARE www.fosef.org
แต่รัชกาลที่ ๙ นั้น อะไรที่ควรจะมี ควรจะคิดออก ควร จะท�ำเป็นนานแล้ว แต่ผู้มีอ�ำนาจหน้าที่ไม่ใคร่คิดไม่ใคร่ท�ำ ก็ ทรงบันดาลหรือวางรากฐานให้มีให้เป็นขึ้น เช่น เขื่อน ฝาย ประตูระบายน�้ำ ถนน สะพาน การสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน คนประสบภัยธรรมชาติ การแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มผลผลิต การเกษตร การแก้ปัญหาความยากจน ปัญหาพลังงาน สมัยผมเป็นเลขาธิการ ครม. ต้องทูลเกล้าฯถวายเอกสาร ใส่ซองขนาดใหญ่สีขาว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย รับสั่งต่อไป หน้าซองไม่ต้องเขียนเลขที่หนังสือ จะได้หมุนเวียนกลับลงมา ใช้หลายหน ไม่ต้องทิ้ง แม้แต่เรืองเล็กๆ ก็ควรประหยัด เวลา ร่างกฎหมายโปรดให้ถวายปะหน้า ๒ แผ่น เผื่อว่าทรงลงพระ ปรมาภิ ไ ธยแล้ ว หมึ ก ซึ ม เลอะ จะได้ ป ระหยั ด เวลาไม่ ต ้ อ งรอ ถวายใหม่ เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้า เฝ้าฯ ถวายสัตย์ ปฎิญาณ จะตรัสว่าให้รีบมาจะได้รีบไปท�ำงานไม่ต้องห่วงว่าติด เสาร์อาทิตย์ ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ พระมหากรุณาธิคุณปานนี้จะหาได้จากที่ไหนอีก เจ้า ประคุณเอ๋ย! ปี ๒๕๓๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสวรรคต ลองคิ ด ดู ว ่ า พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช จะทรงวิปโยคขนาดไหน เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรม ที่พระที่นั่งดุสิตฯ ทุกราตรี แต่ทราบกันบ้างหรือไม่ว่าพอพระ
สวดจบ เสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งราชกรัณยสภาใกล้ๆกัน พระราชทานค�ำแนะน�ำการแก้ปัญหาจราจรแทบทุกคืน ปี ๒๕๕๓ อยู่ระหว่างประชวรประทับในโรงพยาบาล พระราชกรณียกิจอื่นภายนอกโรงพยาบาลทรงงดเสียเกือบสิ้น แต่การเสด็จไปเปิดประตูระบายน�้ำคลองลัดโพธิ์ ทอดพระเนตร โครงการแก้ปัญหาน�้ำท่วมและเปิดสะพานระบายการจราจรเพื่อ พสกนิกรของ พระองค์ เป็นเรื่องที่ทรงถือเป็นกิจส�ำคัญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง เป็นยอดแห่งผู้อดทน อดกลั้น ในการประกอบพระราชกรณียกิจ นั้นย่อมมีทั้งร้อนทั้งหนาวยาวนานและน่าเหนื่อย หนัก ดูเอาจาก การพระราชทานปริญญาบัตรเถิด แม้แต่ที่ต้องทรงอดกลั้นด้วย ขันติบารมี ในค�ำจาบจ้วงหรือระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท อีกไม่รู้เท่าไร อย่าลืมว่า พระชนมพรรษา ๘๓ แล้ว ทรงงาน มา ๖๔ ปีแล้ว ดะไลลามะเคยพูดว่า “ใครอย่ามาชมตัวท่านเลยว่า เป็นยอดคน ไปดูที่พระเจ้าแผ่นดินเมืองไทยเถิด ” ผมเคยไปเฝ้าฯ เจ้าชายจิกมี กษัตริย์หนุ่มแห่งภูฎาน ตรัสว่า “กษัตริย์ของท่านเป็นแบบอย่างของข้าพเจ้าในการ จะครองราชย์ให้คนรัก ” สุลต่านบรูไนที่ เป็นผู้แทนกษัตริย์ ๒๕ ประเทศ ถวาย พระพรในคราวฉลองการครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ เคยทูลว่า การครองราชย์นานถึง ๖๐ ปีเป็นเพียงตัวเลข ส�ำคัญอยู่ที่ว่า ๖๐ ปีนั้นได้ท�ำอะไร “เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ฝ่าพระบาททรงท�ำทุกอย่าง ตลอด ๖๐ ปี ให้เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย ชาวเอเซีย และ ชาวโลก วาระนี้จึงทรงเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาพระ ราชามหากษัตริย์ทั้งปวงโดยทั่วกัน” เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี ๒๕๕๒ มีพระราชด�ำรัส ตอนหนึ่งว่า “ความสุขความสวัสดีของพระองค์จะมีได้ก็ด้วยการ ที่บ้านเมืองมีความเรียบร้อย” พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช พระองค์นี้มีแต่ทรงให้พวกเรามาตลอด แต่พระราชด�ำรัสนี้มี นัยเป็นทั้งสิ่งที่ “ทรงหวัง” “ทรงบอกให้รู้” และ “ทรงขอ” ซึ่งน่าจะทรงประสงค์ยิ่งกว่าค�ำถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” ไหนว่า ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย แล้วเรื่องอย่างนี้เราคนไทยจะพร้อมใจกันจัดถวายได้ ไหม
67 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
68 IS AM ARE www.fosef.org
เรื่องเล่าจาก ดร.ลลิต ถนอมสิงห์
“..คนไทย พูดไม่เชื่อ..”
นานมาแล้วในหลวง พระองค์ท่านอยากจะสร้าง “เขือ่ นปิ ดปากถ�ำ้ หินปู น” เพือ่ กักเก็บน�ำ้ ไว้ใต้ดินส�ำหรับชาวบ้าน แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนัน้ ไม่มีใครเชื่ อว่าท�ำได้ และโครงการก็ต้องหยุ ดไป ๓๐ ปีต่อมา ทางมูลนิธิชัยพัฒนา ติดต่อผู้ เชี่ยวชาญจาก “ญี่ปุน” ให้มากราบทูลพระองค์ท่าน เรื่อง “เขี่อนปิดปากถ�้ำหินปูน” ก่อนที่จะเริ่มต้น การน�ำเสนอทีมงานได้ยิน ในหลวง เปรยๆ ออกมา “คนไทย พูดไม่เชื่อ ต้องให้ต่างชาติมาบอก” ทีม งานฟังแล้วก็ตกใจ รู้ว่าทรงกริ้วอะไรสักอย่างแน่ๆ ดร.สุเมธ เลขาธิการมูลนิธิฯ หันไปเจอสมเด็จพระเทพฯ ท่านแอบรับสั่งว่า “ตะกี้ตอนนั่งมาในรถ ก็ โดนเหมือนกัน” จนแล้วจนรอด ในหลวงจึงรับสั่ง ให้สร้าง “เขื่อนปิดปากถ�้ำหินปูน” อีกครั้ง คราวนี้ให้ไปหา ผู้ออกแบบ และรับเหมา ที่จะท�ำให้ได้ ทีมงานออก ไปเสาะหาผู้ออกแบบ และรับเหมากี่รายกี่รายก็ยังได้ ค�ำตอบว่า “ท�ำไม่ได้” ท�ำแล้วเขื่อนจะต้องรั่วแน่ๆ ไม่มีใครอยากเสี่ยง ทีมงานหลายฝ่ายถึงกับแอบบ่น ว่า “ไปตามใจพระองค์ท่านท�ำไมกัน” แต่สุดท้าย ก็ได้ผู้ออกแบบรับเหมา ที่ใกล้เกษียณมาช่วยท�ำงาน เขื่อนสร้างเสร็จแล้วก็เป็นไปตามคาด รั่วตามระเบียบ ต้องท�ำการอุดรูรั่วอยู่ตลอดสามปี ทีมงานไม่เข้าใจจริงๆ ว่าจะท�ำไปเพื่ออะไร ในระหว่างนั้น ก็ยังได้รับสั่งจาก “พระองค์ท่าน” เพิ่มเติมว่า ต่อไปนี้ ให้ท�ำ “เขื่อนปิดปากถ�้ำ” แบบนี้
ไปเรื่อยๆ ทีมงาน ถึงกับ “อึ้ง” และ “ไม่สบายใจ” มาก ไปปรึกษากับอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ ยั ง หาค� ำ ตอบไม่ ไ ด้ ว ่ า จะท� ำ ให้ เขื่ อ นนี้ ใช้ ง านได้ อย่ า งไรกั น จนต้ อ งส่ ง อี เ มลไปถามความเห็ น จาก อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ต่างประเทศหลายคน อีเมลที่ส่งกลับมาจากต่างประเทศทุกฉบับ ถามว่า “ไอเดียนี้ ใครเป็นคนคิด” ทีมงานก็ตอบ กลั บ ไปว่ า “My King” อี เ มลทุ ก ฉบั บ ตอบกลั บ มา ยาวบ้ า ง สั้ น บ้ า ง แต่ มี ใจความเหมื อ นกั น ว่ า “Genius” ชาวบ้านบริเวณนั้น ไม่เคยประสบปัญหาน�้ำ แล้งอีกเลยเนื่องจากมีน�้ำที่กักเก็บใต้ดิน และ น�้ำที่ เซาะตามร่องหินท�ำให้ “ดิน” ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คิดได้เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว แต่ไม่มีใครยอมท�ำให้พระองค์ ท่าน ราคาที่ “ญี่ปุน” เสนอมาคือ ๒,๐๐๐ ล้านบาท แต่ของในหลวงสร้างใช้เพียง ๑๓.๕ ล้านบาท “คนไทย พู ด ไม่ เ ชื่ อ ต้ อ งให้ ต ่ า งชาติ มาบอก” ค�ำพูดตัดพ้อที่ท�ำให้ต้อง “ฉุกคิด” เรื่อง ของ “นวัตกรรม” คนไทยท�ำได้ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่าน “พิสูจน์” มาแล้วทั้งชีวิต
69 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ทรงพระเจริญ
70 IS AM ARE www.fosef.org
ดร.ไสว บุญมา คนไทยในอเมริกา
พระองค์ทรงเป็นเทียนส่องทาง
ท่ามกลางความเงียบเหงาเศร้าโศกของคนไทยทัง้ ชาติ ขออนุญาตเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็ นเทียนส่องทางอย่างไร เทียนส่องทางในที่นีม้ ิได้หมายถึงพระ ่ ระองค์ทรงมีต่อแผ่นดินไทยโดยทั่วไปตลอดรัชกาล หากเป็นแนวคิดทางวิชาการทีพ ่ า มหากรุ ณาธิคุณทีพ ผมออกจากทางตันพร้อมกับยืนยันว่าการด�ำเนินชี วิตทีท่ �ำอยู ่นนั้ ถูกต้อง ขอเรียนว่า ผมเกิดก่อนพระองค์ทรงขึ้นครอง ราชย์เป็นเวลาปีกว่าและต่อมาได้ใช้เวลาอยู่ในต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่จ�ำความ ได้มาจนถึงวันนี้ เมืองไทยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ เดียวและไม่ว่าจะไปอยู่ ณ แผ่นดินใดผมยังปฏิบัติ ตนเป็นคนไทย ถือหนังสือเดินทางไทย กลับมาใช้ เวลาในเมืองไทยเป็นประจ�ำและมีความจงรักภักดี เป็นที่ตั้งเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ผมใช้ชีวิต ส่ว นใหญ่อยู่ในต่ า งประเทศเพื่ อ การศึ ก ษาเล่ า เรี ย นและการท� ำ งาน แม้ จ ะอาศั ย อยู่ในประเทศก้าวหน้าเป็นส่วนใหญ่และมีโอกาส ศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นน�ำของเขาเป็นเวลา นาน แต่หลังเวลาผ่านไป ผมพบว่าไม่สามารถหาค�ำ ตอบให้ตัวเองแบบจุใจได้ทั้งในด้านวิชาการและด้าน ส่วนตัว ผมมาได้ค�ำตอบแบบจุใจจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จาก มุมมองนี้ พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอัน ล้นพ้นเป็นพิเศษต่อผม และเมื่อพระองค์ทรงเสด็จ สู่สวรรคาลัย ผมจึงรู้สึกเศร้าและวังเวงใจไม่น้อยกว่า คนไทยทุกกคนที่รักพระองค์อย่างสุดซึ้ง
ขอเรียนว่า ผมมิได้โชคดีจนมีโอกาสเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด หรือได้ ฟังพระกระแสรับสั่งโดยตรงแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ ผมเกิดในทุ่งนาและมิได้เคยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซ�้ำร้ายยังไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศอีก ด้วย โอกาสที่ผมได้เข้าใกล้พระองค์ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ ตอนต้นปี ๒๔๙๘ เมื่อพระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถเสด็ จ เยี่ ย มพสกนิ ก รใน อ�ำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อันเป็นบ้านเกิด ของผม แม่ผมเป็นหนึ่งในจ�ำนวนชาวไร่ชาวนาที่พา กันไปเฝ้ารับเสด็จ ณ สนามหญ้าหน้าโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ตอนนั้น ผมอายุ ๑๐ ขวบและ โชคดีที่แม่พาไปด้วย นั่นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ผมมีโอกาส ได้เห็นพระองค์ท่านในระยะไม่ห่างนัก จริงอยู่ ย้อน ไปเมื่อหลายทศวรรษก่อน เยาวชนไทยผู้มีโอกาส เรี ย นจบมหาวิ ท ยาลั ย จะได้ รั บ ใบปริ ญ ญาจาก พระหัตถ์ของพระองค์โดยตรง ทุกคนถือว่านั่นเป็น มงคลสูงสุดของชีวิต แต่ผมไม่มีโอกาสเรียนจนจบ ปริญญาในเมืองไทย จึงไม่มีความโชคดีเช่นผู้เรียน จนจบปริญญาทั้งหลายในรุ่นนั้น
71 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
เนื่ อ งจากผมเรี ย นวิ ช าเศรษฐศาสตร์ โ ดยเน้ น ทางด้ า นการ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ผมจึงเริ่มท�ำงานกับธนาคารพัฒนาเอเซีย และไปต่ อ ที่ ธ นาคารโลก การได้ เรี ย นในมหาวิ ท ยาลั ย ในประเทศ ก้าวหน้าและการได้ท�ำงานทางด้านพัฒนาเศรษฐกิจเปิดโอกาสให้ผม ได้เรียนและมีส่วนร่วมในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจกระแสหลัก ในการพัฒนาประเทศในระดับสนามจริง ๆ การท�ำงานน�ำไปสู่การเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไร ก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและผมได้เห็นการใช้แนวคิดระบบตลาดเสรีใน ประเทศต่าง ๆ ในหลายส่วนของโลกเพิ่มขึ้น ผมเริ่มเกิดความไม่มั่นใจ ว่าระบบตลาดเสรีในแนวที่ใช้กันอยู่นั้นจะแก้ปัญหาทางด้านการพัฒนา เศรษฐกิจได้ แต่ผมไม่มีเวลาที่จะไปค้นหาว่าจะมีทางออกหรือไม่และ ถ้ามีคืออะไร การตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นท�ำให้ผมอึดอัดใจมาก ผมจึงรีบ เกษียณก่อนก�ำหนดเวลาทันทีเมื่อมีโอกาสทั้งที่ยังไม่พร้อมในบางด้าน หากมองจากการปฏิบัติของผู้เกษียณจากงานโดยทั่วไป ผมเกษียณจากธนาคารโลกในช่วงที่เมืองไทยตกอยู่ในภาวะที่ มักเรียกกันว่า “วิกฤติต้มย�ำกุ้ง” ก่อนท�ำอะไรต่อไป ผมกลับมาเรียน การเขียนภาษาไทยอย่างจริงจังอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพ-สตรี ลพบุรี อันเป็นสถาบันที่ผมเรียนวิชาครูเมื่อครั้งที่สถาบันนั้นยังมีสถานะ
72
เป็นวิทยาลัยครู ในคืนวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ ผมมีโอกาส ดูโทรทัศน์ตอนทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระราชทานวโรกาสให้คนไทยในระดับผู้น�ำ เข้าเฝ้า คืนนั้น ผมได้ฟังพระองค์ตรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นครั้งแรกและทราบว่านั่นเป็นการอรรถาธิบาย หรือให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวคิดที่พระองค์ทรงอ้าง ถึงครั้งหนึ่งแล้วเมื่อคืนวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ พระราชด�ำรัสที่ผมได้ฟังในคืนนั้นกระตุ้นความ สนใจให้ผมน�ำไปคิดต่อ ผมถึง “บางอ้อ” เพียงไม่นาน ในเวลาต่อมา กล่าวคือ ผมเห็นว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงน่าจะเป็นค�ำตอบส�ำหรับโจทย์ของผมที่ว่าแนวคิด เศรษฐกิจกระแสหลักไม่สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการ พัฒนาของชาวโลกได้อีกต่อไปแล้ว ผมน�ำความเข้าใจใน ตอนนั้นมาเขียนเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ขนาด ๗๒ หน้าโดย ตั้งชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง: ภูมิปัญญาชาติไทย” หลัง หนังสือพิมพ์ออกมาเมื่อต้นปี ๒๕๔๓ ผมพยายามศึกษา หาความรู้ต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งในแก่นความ คิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทของโลกปัจจุบัน ใน การศึกษาหาความรู้นั้น ผมได้ข้อมูลและมุมมองเพิ่มขึ้น พร้อมกับมีผู้สนับสนุนให้น�ำมาเผยแพร่เพิ่มขึ้นด้วย การ เผยแพร่ท�ำผ่านการบรรยายและการเขียนบทความตาม
IS AM ARE www.fosef.org
สื่อและหนังสือ ๔ เล่มคือ เรื่อง “โต้คลื่นลูกที่ ๔: เมื่อ ความพอเพียงคือค�ำตอบ” เรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบ ยั่งยืน: แนวทางลดความเสี่ยงเพื่อสร้างสังคมสันติสุข” เรื่ อ ง “ฝากภู มิ ป ั ญ ญาชาติ ไ ทยไว้ กั บ ครู ” และเรื่ อ ง “ทางข้ามเหว: แนวคิดส�ำหรับแก้วิกฤติไทย” เนื้อหา ของสามเล่มแรกเป็นการอธิบายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงหลังจากผมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น เล่มหลัง จึงมีเนื้อหาสมบูรณ์กว่าเล่มก่อน ส่วนเรื่อง “ทางข้าม เหว” เป็นการรวมบทความ ๑๔ บทซึ่งเคยลงพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ” เนื้อหาเป็นการเสนอว่า ถ้ารัฐบาลต้องการใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็น ฐานของการบริหารและการพัฒนาประเทศ รัฐบาลอาจ เริ่มอย่างไร เรื่องนี้และเรื่อง “สู่ความเป็นอยู่แบบยั่งยืน” อาจดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
ณ วันนี้ ผมมีความมั่นใจเต็มร้อยแล้วว่า แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงนอกจากจะเป็นแสงสว่างที่ผ่าทางตันทางวิชาการให้ผมแล้ว ยังเป็นค�ำตอบส�ำหรับโจทย์อันแสนหินส�ำหรับสังคมโลกอีกด้วย ส�ำหรับในด้านส่วนตัว ดังที่เกริ่นไว้ในตอนต้น ผมเกษียณจาก งานในธนาคารโลกก่อนก�ำหนดเวลาและอาจมองได้ว่ายังไม่พร้อม ทั้งนี้เพราะลูก ๆ ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยและในโรงเรียนมัธยม ในขณะที่ผมไม่มีรายได้อย่างอื่นนอกจากบ�ำนาญจากโครงการของ ธนาคารโลกเท่านั้น แต่ด้วยอาศัยการด�ำเนินชีวิตตามแนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ผมสามารถส่งเสียลูกให้เรียนจนจบมหาวิทยาลัย ได้ถึงในระดับที่ลูกต้องการ หลังจากนั้นก็ด�ำเนินชีวิตตามแนวคิดนั้น มาได้อย่างราบรื่น ด้วยเหตุผลดังที่เล่ามานี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผมเป็น พิเศษ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย ผมจึงใคร่กราบแทบ ฝ่าพระบาท ขอร่วมน้อมส่งเสด็จด้วยความอาลัยยิ่ง
73 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙
อัญเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขบวนอัญเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านสะพานพระปิ่นเกล้าไปยัง พระบรมมหาราชวัง โดยมีผสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทส่งเสด็จพระบรมศพอย่างเนืองแน่น
74 IS AM ARE www.fosef.org
75 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
บรรยากาศประชาชนรอรับพระบรมศพ
บรรยากาศประชาชนรอรับขบวนอัญเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
76 IS AM ARE www.fosef.org
77 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙
ถวายน�้ำสรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ส�ำนักพระราชวัง เปิดให้ประชาชนถวายน�้ำสรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
78 IS AM ARE www.fosef.org
79 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๙
80 IS AM ARE www.fosef.org
ประชาชนร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ณ ท้องสนามหลวง
บรรยากาศบริเวณรอบพระบรมมหาราชวัง มีประชาชนจ�ำนวนมาก เดินทางมาร่วมร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมแสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเวลา ๑๓.๐๐ น. ที่บริเวณถนนหน้าพระลาน ก�ำแพงพระบรมมหาราชวัง โดยมีวงออเคสตร้า ๑๐๐ ชิ้น จาก Siam Philharmonic Orchestra และคอรัส ๒๐๐ คน มี “อ.สมเถา สุจริตกุล” เป็นวาทยากร ในการควบคุมวง รวมทั้งทีมงาน “ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล” เป็นผู้ถ่ายท�ำภาพยนตร์ จากนั้นจะมีการน�ำภาพที่เกิดขึ้นไปจัดท�ำเป็นภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ส�ำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
81 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
82 IS AM ARE www.fosef.org
83 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
บรรจุพันธุ์ข้าวพอเพียง
ประชาชนและเยาวชนครอบครัวพอเพียงร่วมท�ำจิตอาสาบรรจุ “พันธุ์ข้าวพอเพียง” ณ ตึกส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ท�ำเนียบรัฐบาล ส�ำหรับแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้เข้าถวายบังคมพระบรมศพ
84 IS AM ARE www.fosef.org
85 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ขบวนช้างถวายสักการะพระบรมศพ
วังช้างอยุธยาแลเพนียดได้น�ำช้าง ๑๑ เชือกพร้อมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง ๒๐๐ คนเดินทางจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาที่ บริเวณพระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
86 IS AM ARE www.fosef.org
87 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
88 IS AM ARE www.fosef.org
89 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
90 IS AM ARE www.fosef.org
91 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ศูนย์ครอบครัวพอเพียงทั่วประเทศร่วมถวายความอาลัย
โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
โรงเรียนหอวัง
โรงเรียนนนทรีวิทยา
โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
โรงเรียนพรตพิทยพยัต
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
โรงเรียนล�ำปางกัลยาณี
92 IS AM ARE www.fosef.org
โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
โรงเรียนเลยพิทยาคม
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
โรงเรียนสายน�้ำผึ้ง
โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
โรงเรียนสตรีพัทลุง
โรงเรียนสตรียะลา
93 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
โรงเรียนสตรีวิทยา
โรงเรียนสตรีวิทยา ๓
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ
โรงเรียนศรียาภัย 94
IS AM ARE www.fosef.org
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๕๒ น. “มูลนิธิครอบครัวพอเพียง” เป็นเจ้าภาพพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระบรมศพ ณ พระอารามหลวงวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กทม. โดยมีเครือข่าย คพพ.เขตบางกอกน้อยร่วม พระพิธีธรรม อาทิ คณะบุคคลชุมชนต้นแบบสายใยรักครอบครัวพอเพียงในเขตบางกอกน้อย, ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียน สตรีวัดระฆัง, รกท.ผอ.เขตและคณะข้าราชการเจ้าที่ส�ำนักงานเขตบางกอกน้อย, ผู้แทน สน.บางขุนนนท์, ประธานที่ปรึกษาสภา วัฒนธรรมเขตบางกอกน้อยและประธานสภาฯ ให้เกียรติร่วมงาน โดยมีนางสุชานี เเสงสุวรรณ(เกษะโกมล) ประธานมูลนิธิครอบครัว พอเพียงเป็นประธานในพิธีฝ่ายฆารวาส โดยได้รับความกรุณาจากพระเดชพระคุณท่านรองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาส วัดสุรรณารามฯ เป็นประธานน�ำคณะสงฆ์ร่วมพระพิธีธรรมและบรรยายความรู้เกี่ยวกับศาสนพิธีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้แก่ ผู้ร่วมพิธีอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
95 ฉบับที่ ๑๐๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙