Isamare september web

Page 1

IS AM ARE

เสียงจากนักสังคมสงเคราะห์ นางสาวแสงรวี จั น ทร์ สุ ข

ศูนย์รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง แหล่งเรียนรู้เพื่อคนไทยทุกคน ดร.อาทิ ต ย์ บ� ำ รุ ง เอื้ อ

ฉบับที่ 92 กันยายน 2558 www.Fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org 2

IS AM ARE www.ariyaplus.com


“ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่ งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระท�ำของคน ทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันท�ำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู ่ได้และท�ำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยล�ำพังตนเอง” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๓

3 issue 92 September 2015


Editorial ทักทายกันกับฉบับเดือนกันยายน ในเดือนนี้จะมีวันที่เป็นวันมหามงคลของ แผ่นดินสยามถึง ๒ ครั้ง คือ ๑.วันเสด็จ พระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เป็น วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค�่ำ ปีฉลู ตรง กับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ และ ๒. วันเสด็จพระราชสมภพของ พระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท-มหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ เป็น วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค�่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งได้ เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๘ โดยคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ มีมติก�ำหนดให้วันที่ ๒๐ กันยายน ของ ทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เพื่อเป็นการ ร�ำลึกถึงการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะ ยังทรงพระเยาว์ของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ทรงมีความห่วงใยต่อเด็กและเยาวชนทุก คน จึงมีพระราชกระแสรับสั่งพระราชทาน ให้ กั บ คณะองคมนตรี ในการจั ด ตั้ ง “กองทุ น การศึ ก ษา” เมื่ อ ปี ๒๕๕๕ ซึ่ ง พระราชประสงค์ส�ำคัญคือ “ให้โรงเรียน สร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง” และ “ให้ครู รักเด็ก และเด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมี น�้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่ง กับตัวเอง และให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอน เพื่อนที่เรียนช้ากว่า ให้ครูจัดกิจกรรมให้ นักเรียนท�ำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของ ความสามัคคี” เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณงามความ ดีแก่เด็กและคุณครู จึงเป็นที่มาของการ

จั ด ตั้ ง “มู ล นิ ธิ ค รอบครั ว พอเพี ย ง” ถึ ง วันนี้มูลนิธิครอบครัวพอเพียงมีอายุครบ ๒ ปี แต่พวกเรา “ครอบครัวพอเพียง” ได้ด�ำเนิน การเพื่ อ การส่ ง เสริ มการสร้ า ง คุณความดีแก่เด็กและคุณครู กว่า ๗ ปีมา แล้วภายใต้ร่มเงาของมูลนิธิประเทศไทย ใสสะอาด มูลนิธิครอบครัวพอเพียง คือกลุ่ม คนรุ ่ น ใหม่ ที่ ม ารวมตั ว กั น น� ำ ความรู ้ ความสามารถที่มีมาอย่างยาวนาน ร่วม คิดร่วมสร้างท�ำแผนการด�ำเนินโครงการ ครอบครั ว พอเพี ย งสู ่ ส ถานศึ ก ษาและ ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือ ๑. เพื่อปลุกจิตส�ำนึกให้เยาวชน และครอบครัว มีความกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒. เพื่อปลุกจิตส�ำนึกให้เยาวชน และครอบครั ว มี คุ ณ ธรรม มี จ ริ ย ธรรม รังเกียจการทุจริต และถือประโยชน์ของ ส่วนรวมเป็นส�ำคัญ ๓. เพื่อให้ความช่วยเหลือในการ ให้ค�ำปรึก ษา แนะน� ำ การจั ด ฝึ ก อบรม การดู ง าน ผลิ ต เอกสารและเผยแพร่ เรื่องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงแก่เยาวชนและครอบครัว เพื่อ การน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ตลอดจน ในการบริหารองค์กร ห้างร้าน ชุมชนและ ประเทศชาติ ๔. เพื่อจัดให้มีการศึกษา วิจัยและ สัมมนาเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีใน ตัวเอง แก่ เยาวชน ครอบครัว ชุมชนและ องค์กร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ๕. ร่วมมือกับสถาบันและองค์กร ทั้ ง ในและต่ า งประเทศที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ท�ำนองเดียวกัน ๖ . ด� ำ เ นิ น ก า ร เ พื่ อ กิ จ ก า ร สาธารณประโยชน์ อื่ น รวมทั้ ง ให้ ค วาม ร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ 4 IS AM ARE www.ariyaplus.com

mookkarsa@gmail.com www.fosef.org ๗. ไม่ ด� ำ เนิ น การเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเมื อ ง แต่ ป ระการใดและในปั จ จุ บั น มูลนิธิครอบครัวพอเพียงมีสมาชิกทั่วประเทศ กว่า ๖๐,๐๐๐ คน ซึ่งการเป็นสมาชิกของ ครอบครัวพอเพียงนี้ ไม่มีวันหมดอายุ เป็น ได้จนวันสิ้นอายุขัย ไม่มีการเก็บค่าสมาชิก ไม่มีการขอรับบริจาคใดๆ จะมีก็เพียงแค่วัน ไหนที่สมาชิกท่านใดมีเวลาว่างพอที่จะแบ่ง ปั น เวลา แบ่ ง ปั น ก� ำ ลั ง ใจ อาสาไปกั น ไป ช่วยเหลือสังคมที่อ่อนแอกว่า ไปเสริมสิ่งที่ ขาด ไปเพิ่มเติมความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุขของผู้อ่ืนโดยไม่หวัง สิ่งตอบแทน.


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกิตติมศักดิ์ นางสุชาณี แสงสุวรรณ ประธานกรรมการ นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ รองประธานกรรมการ ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง รองประธานกรรมการ นางสาวเอื้อมพร นาวี กรรมการและเลขาธิการ นายเอกรัตน์ คงรอด กรรมการและเหรัญญิก ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ นายอภีม คู่พิทักษ์ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ กรรมการ นางอรประภา ชาติน�้ำเพ็ชร กรรมการ นางรจนา สินที กรรมการ นายธงชัย วรไพจิตร กรรมการ นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ กรรมการ

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์,

ประธานด�ำเนินการ : บรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ :

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

ดร.เสรี พงศ์พิศ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรวิก อุนะพ�ำนัก อภีม คู่พิทักษ์ พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอย พหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.ariyaplus.com www.fosef.org

Start and Enjoy!

5 issue 92 September 2015


Hot Topic

76

โบราณสถาน ก�ำแพงเพชร อารยะ ธรรมที่คนรุ ่นหลัง หลงลืม

56

26

เสียงจากนัก สังคมสงเคราะห์ เบื้อง หลังกางปกป้องสิทธิเด็ก นางสาวแสงระวี จันทร์สุข

ศูนย์รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง ดร.อาทิตย์ บ�ำรุ งเอื้อ

Don’t miss

10

18

52 14

20 6 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Table Of Contents

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. พ.ศ. 2557 เวลา 13.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมาร ทรงเสด็จศูนย์รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง ณ บ้านหัวงัว ต�ำบล ยางตลาด อ�ำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี ดร.อาทิตย์ บ�ำรุงเอื้อ ประธานกรรม การศูนย์ฯ พาชมการด�ำเนินงานภายในศูนย์ฯ ในฐานะผู้ก่อตั้งและน้อมน�ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ และขยายผลไปสู่ หมู่บ้าน ชุมชน ให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและเป็นสุข

ดร.อาทิตย์ บ�ำรุงเอื้อ 7 issue 92 September 2015

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เทพธิดามีมากกว่าเทพบุตร เด็กก่อนค่าย เด็กหลังค่าย สุภาพบุรุษฝั่งธน ตัวไกล...หัวใจอยู่ไกล้ อันเนื่องมาจากเรื่องของการมอบดอกไม้ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน Dhamma Today ศิลปะการป้องกันตัว ตอนที่1 Question Of Life ก่อนจะไปเป็นครู Cartoon Cover Story ศูนย์รวมใจ ทางไทน ทางธรรม ทางพอเพียง Good Life ประโยชน์ของใบรับรองความพิการ Is Am Are ต�ำบลชะไว จังหวัดอ่างทอง Share Story แท็กซี่ไทยหัวใจอินเตอร์ เรื่องราวรอบตัว ปฎิรูปการศึกษาเริ่มต้นที่โรงเรียน Let’s Talk เสียงจากนักสังคมสงเคราะห์ เบื่องหลังการปกป้องสิทธิเด็ก มูลนิธิชัยพัฒนา อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาจังหวะนครปฐม Wheel Of Life Bonvoyage โบราณสถานก�ำแพงเพชร อารยะธรรมที่คนรุ่นหลังหลงลืม Round About

8 10 14 17 18 20 22 26 34 38 40 48 56 58 70 74 80


เทพธิดามีมากกว่าเทพบุ ตร ทุ ก วั น นี้ สั ง คมโลกเปลี่ ย นแปลงอยู ่ ต ลอดเวลา บางเรื่ อ งเปลี่ ย นอย่ า งช้ า ๆ แต่ บ างเรื่ อ งก็ เ ปลี่ ย นเร็ ว มาก ถึ ง ขนาดมี ค นเปรี ย บเปรยว่ า ชี วิ ต เหมื อ นเรายื น อยู ่ บ นบั น ได เลื่ อ น หากไม่ ก ้ า วเดิ น ไป ยื น นิ่ ง ๆ แต่ ล ะวิ น าที เราก็ จ ะล้ า หลั ง ไปเรื่ อ ยๆ การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งหนึ่ ง ที่ เ ห็ น ชั ด เจนคื อ ความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Equity) แต่ก่อนสังคม ตั้งแต่ยุคบุพกาล มีการแบ่งแยกหน้าที่กันชัดเจนว่าอันไหนเป็น งานของผู้ชาย อันไหนเป็นงานของผู้หญิง แม้กระทั่งในประเทศ ที่ให้ความส�ำคัญกับจารีตประเพณีนิยมมากๆบางประเทศ เช่น ในกลุ่มตะวันออกกลาง การแยกแยะบทบาททางสังคมก็ยังมี

อยู่ให้เห็นชัดเจนในขณะนี้ จนกลายเป็นประเด็นที่กลุ่มผู้หญิง มุสลิมในบางประเทศออกมาเรียกร้องสิทธิ์ เช่น สิทธิ์ในการขับ รถยนต์, สิทธิ์ในการออกมาท�ำงานนอกบ้าน, สิทธิ์ในการแต่งตัว เป็นต้น ขอเริ่ ม มุ ม มองด้ า นเพศนี้ จ ากตั้ ง แต่ ใ นครรภ์ ม ารดา เลยก็ แ ล้ ว กั น สมั ย ก่ อ นคนขอให้ มี ลู ก เถิ ด จะเป็ น เพศไหน ก็ได้ แต่ทุกวันนี้เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีมากขึ้น คนก็มีโอกาสจะเลือกเพศบุตรได้มากขึ้น ไม่ว่าจะใช้ วิธีการกึ่งธรรมชาติ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยต้องแยก sperm 8

IS AM ARE www.ariyaplus.com


นพ. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

โดยธรรมชาติแล้ว sperm ที่มี chromosome y จะมีโอกาสเข้าผสม กับไข่ของสตรีสูงกว่า sperm ที่มี chromosome x ดังนั้นในสมัยก่อนเมื่อมีเด็ก ผู้หญิงเกิดมา 100 คน จะมีเด็กผู้ชาย 105 คน แต่ธรรมชาติก็จะช่วยถ่วงดุลย์ตัว นี้ โดยก�ำหนดให้ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย ในโลกนี้จึงมีผู้ชายกับผู้หญิงพอๆ กัน Sex Pattern นี้ก�ำลังเปลี่ยนไป โดยสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรก เป็ น การเลื อ กเพศโดยอาศั ย กลไกทาง สั ง คมและวิ ท ยาศาสตร์ ก ารเจริ ญ พั น ธ์ ท�ำให้คนบางกลุ่ม เช่น คนจีนเลือกที่จะ มีลูกชายมากกว่าลูกสาว ลูกชายจะถูก เลี้ ย งดู แ ละให้ ค วามส� ำ คั ญ กว่ า ลู ก สาว ในหลายๆ ประเทศ สาเหตุ ป ระการ ที่ ส อง เราเชื่ อ ว่ า สารเคมี แ ละการใช้ ฮอร์โมนในอาหารท�ำให้ sperm ที่ผลิต ออกมาเปลี่ ย นแปลงไป ท� ำ ให้ สั ด ส่ ว น ชายต่อหญิงเปลี่ยนไปในทางที่เด็กชาย มีมากขึ้น ใ น ร ะ ดั บ ก า ร ศึ ก ษ า เ ป ็ น ที่ น่าสังเกตว่าในชั้นเรียนต่างๆ เด็กผู้หญิง มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษาที่ ดี ก ว่ า เด็ ก ผูช้ ายอย่างมีนยั ส�ำคัญ เด็กทีส่ อบได้ที่ 1-3 ของชั้นมักเป็นเด็กผู้หญิง ในห้องเรียนที่ คั ด เด็ ก จากคะแนนผลการเรี ย นมารวม เป็นห้องหัวกะทิ มักจะมีสัดส่วนของเด็ก หญิงมากกว่าเด็กชาย แ ม ้ ก ร ะ ทั่ ง นั ก ศึ ก ษ า ใ น มหาวิทยาลัย ขณะนี้ก็จะมีนักศึกษาหญิง มากกว่านักศึกษาชายในแทบทุกประเทศ (ยกเว้นประเทศมุสลิม และอัฟริกา) สมัย ผมเรียนแพทย์มีนักศึกษาหญิงเพียง 1 ใน 3 ของชั้นเรียน แต่ในขณะนี้กลายเป็นว่า มีนักศึกษาชายเพียง 1 ใน 3 ของชั้น, ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเดิมเมื่อ 30 ปี ที่แล้ว จะเป็นนักศึกษาชายเกือบ 100%

กลายเป็นว่าขณะนี้ มีนักศึกษาหญิงถึง 1 ใน 3 เข้าไปแล้ว อาชีพหลายอาชีพใน ขณะนี้ ถูกผู้หญิงยึดครองมานมนานแล้ว เช่น พยาบาล, งานด้านอักษรศาสตร์, ครุศาสตร์, บัญชี และสังคมศาสตร์ อาชีพ คนขับรถแท็กซี่ก็เริ่มมีผู้หญิงเข้ามา แม้ กระทั่ ง นั ก บิ น ซึ่ ง ขณะนี้ ส ายการบิ น นกแอร์ก็มีกัปตันเป็นผู้หญิงอยู่หลายคน ในแง่สถานะทางสังคม (Social Status) เราก็เริ่มมีผู้หญิงเข้ามามีบทบาท เป็น CEO ในองค์กรชั้นน�ำเป็นจ�ำนวน มาก คุณสฤนี อาชวานันทกุล นักเขียน ชื่ อ ดั ง เคยรวบรวมประวั ติ แ ละเส้ น ทาง ชี วิ ต ผู ้ ห ญิ ง ที่ เ ป็ น แบบอย่ า งของโลก หลายสิ บ คน เป็ น หนั ง สื อ รวมเล่ ม ซึ่ ง ขายดี ม าก ขณะนี้ เ รามี ผู ้ น� ำ ประเทศ ระดับประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี เป็ น สุ ภ าพสตรี ป ระมาณ 20 ประเทศ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมัน และนางได้ รั บ การเลื อ กจากนิ ต ยสาร Forbes ให้ เ ป็ น สตรี ที่ ท รงอ� ำ นาจมาก ที่ สุ ด ประจ� ำ ปี 2015 ซึ่ ง เป็ น ปี ที่ 5 ติดต่อกัน แม้กระทั่งในระดับการเมือง ท้ อ งถิ่ น เราก็ มี น ายกเทศมนตรี น ายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล และก� ำ นั น ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสุภาพสตรีมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้น�ำชุมชนและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสุภาพสตรี มัก มี ศั ก ยภาพ, ความสามารถและผลงาน ที่โดดเด่นกว่าสุภาพบุรุษ มีคนพูดแบบ วิเคราะห์ว่า ที่ส�ำคัญที่สุดคือ ผู้น�ำสตรีมัก ไม่ค่อยเกกมะเหรกเกเร (Delinquent) และไม่ค่อยโกง... ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นสั ง คมยั ง ให้ ข้ อ สั ง เกตต่ อ ว่ า ผู ้ น� ำ สตรี มั ก สนใจให้ ความส�ำคัญกับการจัดการมากกว่าผู้ชาย มีความละเอียดถี่ถ้วนกว่า นอกจากนี้ยัง 9 issue 92 September 2015

www.nhso.go.th

ให้ความสนใจกับนโยบายและกิจกรรม ด้ า นสั ง คม โดยเฉพาะด้ า นการศึ ก ษา ด้ า นสาธารณสุ ข และสั ง คมสงเคราะห์ มากกว่า รพินทรนาถ ฐากูร ปรัชญาเมธี ชาวอินเดีย กล่าวว่าหากจะเปรียบเปรย แล้ว ชนบทเปรียบเสมือนผู้หญิง เพราะ อ่ อ นโยน, โอบอุ ้ ม และมี พ ลั ง ในการ เยี ย วยา ส่ ว นเขตเมื อ งเปรี ย บเสมื อ น ผู้ชายเพราะกระด้าง และตัวใครตัวมัน มากกว่า พอมีคนเขียนเชียร์ผู้หญิงมากๆ ก็ มีคนพูดติดตลกว่าพวกผู้ชายเองก็จะออก มากระแหนะกระแหนต่างๆนานา เช่น ผู ้ ห ญิ ง อารมณ์ ไ ม่ มั่ น คง ขึ้ น ๆลงๆบ้ า ง, ผู ้ ห ญิ ง ซื้ อ ข้ า วของได้ ถู ก จริ ง แต่ มั ก เป็ น ของไม่ค่อยจ�ำเป็น, ผู้ชายซื้อของแพงแต่ มักเป็นของจ�ำเป็นต้องใช้ ว่าเข้าไปโน่น เรื่องท�ำนองนี้มีคนเขียนไว้เยอะ ใครสนใจ ลองไปหาหนังสือ Men Are from Mars, Woman Are from Venus (John Gray) อ่านจะมีข้อเปรียบเทียบความแตกต่าง หญิงชายไว้แยะ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เคยเปรี ย บเที ย บการเปลี่ ย นแปลงทาง สั ง คมไทยที่ ผู ้ ห ญิ ง เริ่ ม มี ข ้ อ ได้ เ ปรี ย บ ต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆนี้ว่า “บนสวรรค์ เรา มีเทพธิดา มากกว่าเทพบุตร” ท่านที่มี ลูกสาวน่าจะดีใจกับข้อสังเกตนี้...

บริการข้อมูล ให้ค�ำปรึกษาการใช้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา


สุภาพบุ รุษฝั่ งธนฯ ฉบั บ นี้ เ ป็ น เรื่ อ งราวของเด็ ก หลั ง ห้ อ งก่ อ นที่ ม าเป็ น เด็ ก ค่ า ย และกว่ า ที่ จ ะมาเป็ น ผู ้ เ ป็ น คนหรื อ เป็ น ดาวเด่ น ที่ ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นเชิ ญ ขึ้ น เวที ใ นช่ ว งเวลาเช้ า ก่ อ นเคารพธงชาติ เ พื่ อ ประกาศเกี ย รติ คุ ณ เสี ย งปรบมื อ ของ เพื่ อ นนั ก เรี ย นและครู รวมถึ ง เจ้ า หน้ า ที่ ทุ ก คนที่ ป รบมื อ ให้ เ กี ย รติ กั บ สุ ภ าพบุ รุ ษ นั ก เรี ย นชายที่ ก� ำ ลั ง จะจบ การศึ ก ษา ชั้ น มั ธ ยม ๖ ความเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ พวกเขาในช่ ว ง ๓ ปี ก ่ อ นจบการศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา ตอนปลายสายสามั ญ เป็ น สิ่ ง ที่ ผู ้ อ ่ า นต้ อ งติ ด ตามเพราะเรื่ อ งราวของเด็ ก กลุ ่ ม นี้ ต ้ อ งบอกว่ า ไม่ ธ รรมดา 10 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย

บ้านและโรงเรียนของพวกเขาอยู่ ฝั่งธนบุรี ถ้าเป็นสมัยเมื่อสัก ๒๐- ๓๐ ปี ที่แล้วพอเอ่ยถึงฝั่งธนบุรีหลายคนถึงกับ ส่ายหน้า ที่ส่ายหน้านั้นไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ ค่ะ แต่ที่หลายคนส่ายหน้านั้นก็เพราะ ทุกคนจะมีมโนภาพของความยากล�ำบาก ถนนเล็ ก และรถติ ด มาก เรี ย กว่ า ถ้ า จะ นึ ก ถึ ง พาหนะที่ ค ล่ อ งตั ว ที่ สุ ด ก็ ค งจะมี แต่รถสามล้อ ที่มีเก้าอี้นั่งสองแถวซ้าย ขวา เรียกว่าจะบรรทุกจนแน่นมากหรือ เบี ย ดกั น คื อ ประมาณ ๖ คนรถถึ ง จะ ออกนะค่ ะ แต่ ใ นปั จ จุ บั น ก็ ยั ง คงมี ก าร ใช้บริการรถสามล้อแบบนี้อยู่เหมือนกัน บนถนนหลายสายในฝั่งธนบุรี แต่ความ เปลี่ยนแปลงที่เห็นคือเก้าอี้นั่งยาวขึ้น นั่น หมายถึงต่อเที่ยวจะรับจ�ำนวนผู้โดยสาร มากกว่าเดิม และแถมว่ามีจ�ำนวนของ รถสามล้อนี้มากขึ้นกว่าเมื่อหลายปีก่อน หรือไม่นั้นป้ามุกก็ไม่แน่ใจ แต่ที่เห็นชัดๆ คือที่ถนนท่าน�้ำศิริราช ถนนเล็กๆ ที่วิ่ง เข้าสู่ท่าน�้ำศิริราชนี้ไม่มีใครใหญ่เกินรถ สามล้อที่วิ่งบริการรับส่งประชาชนอย่าง เนืองแน่นเลยทีเดียว เด็กกลุ่มนี้อยู่ย่านฝั่งธนบุรี เรียน โรงเรียนแห่งนี้มาตั้งแต่มัธยมต้น แต่บาง คนมาเรียนมัธยม ๔ เคยถามพวกเขาว่า ท�ำไมไม่ไปเรียนวิชาชีพ ช่างกล ช่างยนต์ อะไรพวกนั้น เขาตอบว่า ผู้ปกครองไม่ให้ ไปเรียนเพราะกลัวว่าจะเรียนไม่จบ หรือ มีเหตุการณ์ที่ท�ำให้เรียนไม่จบ “เรี ย นมั ธ ยมยั ง ไงก็ จ บ เพราะ เดี๋ ย วนี้ ไม่ มี ต กซ�้ ำ ชั้ น แค่ อ ย่ า งดี ก็ ม า จ่ า ยหน่ ว ยกิ ต ลงเรี ย นรวมกั บ รุ ่ น น้ อ ง ในรายวิชาที่ตก เดี๋ยวก็จบ” นี่คือค�ำพูด ของพวกเขา

สิ่งหนึ่งที่ท�ำให้ป้ามุกนึกย้อนใน อดีตอีกเรื่องคือเรื่องการศึกษา การศึกษา ไทยในอดีตนั้นถ้านักเรียนไม่ตั้งใจเรียน สอบตกขึ้นมาก็ต้องมานั่งเรียนใหม่อีกปี หนึ่งกับรุ่นน้อง เรียนใหม่ทุกวิชานะ เป็น เวลา ๑ ปี แล้วถ้ายังเรียนไม่ดีสอบไม่ผ่าน ก็ต้องตกซ�้ำชั้นอีกเรียนอีก ๑ ปีเต็ม เรียก ว่ากว่าจะจบแต่ละชั้น บางคนต้องเรียน ถึง ๒ หรือ ๓ ปีเลยทีเดียวแม้ผู้ปกครอง จะเป็นถึงผู้ใหญ่อยู่กระทรวงไหนหรือเป็น ลูกข้าราชการชั้นสูงเพียงใด ซึ่ ง ต่ า งกั น มากกั บ ในปั จ จุ บั น ก็ ไม่ รู ้ ว ่ า ท่ า นผู ้ บ ริ ห ารการศึ ก ษาเขาคิ ด อย่างไรกัน จนท�ำให้มีค�ำคมแบบเจ็บๆ เหน็ บ แนมกั น แบบดิ น กลบหน้ า ก็ ไ ม่ ใ ห้ อภั ย เลยที เ ดี ย วกั บ ประโยคที่ ว ่ า “จ่ า ย ครบ จบแน่ ” ประโยคนี้ น้ั น ถ้ า จะถาม หาความหมายก็คงไม่ยากนักที่จะอธิบาย แต่ต้องมาเริ่มกันตรงที่ ปรับความเข้าใจ เสียก่อนว่าประโยคนี้ใช้กับสถานศึกษา เอกชนที่ มี ค ่ า หน่ ว ยกิ ต แพงมาก แพง แบบไม่ธรรมดาทั้งๆ ที่สาขาวิชาที่เรียน ก็มีอยู่ทั่วไป ต่ อ มากั บ ค� ำ แรกคื อ จ่ า ยครบ จ่ า ยอะไรรึ ก็ จ ่ า ยค่ า ลงทะเบี ย นเรี ย น วิชานั้นๆ น่ะซิ คือทุกวิชาที่เรียนต้องจ่าย ค่าเรียน เรียกว่าเลือกเรียนได้ เรียนอะไรก็ จ่ายเงินจึงจะได้เรียน เมื่อจ่ายครบไม่ติด ค้างเลยหากสอบได้เกรดไม่ดีหรือเกรดไม่ ถึงก็สามารถที่จะเดินเข้าไปพบผู้บริหาร ศึกษาแล้วก็ต่อลองได้อีกเช่นกัน นี่ไงล่ะ จ่ายครบจบแน่ ง่ายๆ สั้น แค่นี้ แต่ที่มันยากกว่านั้นหรือที่เรียกว่า คุณภาพของคนน่ะมีไหม อันนี้ก็คงต้อง แล้วแต่รายบุคคลล่ะเพราะคนบางคนไม่ 11 issue 92 September 2015

เก่งวิชาการแต่การบริหารหรือความคิด นอกกรอบนั้ น มากมายเลยที เ ดี ย วซึ่ ง ก็ ต้องไปวัดดวงหรือวัดฝีไม้ลายมือกันเพื่อ ให้เกิดการจ้างงานกันหรือถ้ามีโชคอยู่บ้าง คือเกิดบนกองเงิน กองทอง พ่อแม่เป็น เจ้าของกิจการอยู่แล้ว เมื่อจบการศึกษา มาก็ ม าบริ ห ารกิ จ การของครอบครั ว แค่ ไ ม่ ท� ำ ให้ กิ จ การของครอบครั ว ต้ อ ง ล่ ม สลายไปก็ เรี ย กแบบภาษาวั ย รุ ่ น ว่ า ทุกอย่างก็ชิวชิว อยู่แล้ว การพบกั น ครั้ ง แรกกั บ เด็ ก หลั ง ห้องกลุ่มนี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เมื่อ ๓ ปีที่แล้วพบเขาเมื่อคุณครู ประกบตัวเขาทั้ง ๔ คนให้มานั่งในห้อง ประชุ ม ที่ พ วกเราไปจั ด กิ จ กรรม และ เมื่ อ ป้ า มุ ก ได้ ป รั บ ทั ศ นคติ กั บ นั ก เรี ย น ทุ ก คนเรื่ อ งปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอ เพียงเรียบร้อย ต่อไปก็เป็นช่วงรับสมัคร เด็กที่มีใจอาสา อาสาเพื่อการท�ำงานให้ สังคมที่อ่อนแอกว่า อาสาที่จะได้ไปศึกษา หาความรู้และประสบการณ์นอกกรอบ การศึกษา และการอาสานี้จะมีโอกาสได้ ไปพบกับเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียนทั้งหญิง และชาย เมื่ อ ชั่ ว โมงสุ ด ท้ า ยของกิ จ กรรม มาถึงรายชื่อสมาชิกจิตอาสาครอบครัว พอเพียง ประจ�ำปีการศึกษาของโรงเรียน แห่งนี้ปรากฏว่ามีชื่อของพวกเขาทั้ง ๔ คนรวมอยู่ด้วย และความท้าทายได้เริ่มขึ้นจาก ค่ า ยวั น เดย์ คื อ เช้ า ไปเย็ น กลั บ จุ ด นั ด หมายค่ อ นข้ า งชั ด เจนคื อ บ้ า นพั ก เด็ ก ราชาวดี ค่ายนี้มีเด็กอาสามาแค่ ๑๕ คน แต่ต้องท�ำความสะอาดห้องพักเด็กและ


ของเล่ น ทั้ ง หมด เพราะข่ า วของการ ระบาดโรคมือเท้าเปื่อย ๑๕ คนนี้ มี ผู ้ ช าย ๔ คนจาก โรงเรียนเดียวกัน นอกนั้นเป็นผู้หญิงจาก โรงเรียนต่างๆ เมื่ อ ถึ ง เวลาที่ พี่ ค ่ า ยรวมพลเพื่ อ แสดงความรู้จักกันก่อน เอาล่ะซิ ชาย หนุ ่ ม ทั้ ง ๔ คนยื น แบบหั น ซ้ า ยที ขวา ที มือไม้แทบจะหาที่วางไม่ได้สุดท้ายพี่ ค่ายจึงให้นั่งลง พวกเขานั่งรวมกลุ่มกัน เรียกว่าถ้าใครคนหนึ่งลุกขึ้นอีกสามคนก็ ลุกตามไปด้วย พี่ค่ายเริ่มกิจกรรมด้วยการให้ตั้ง สองแถวสวัสดีกันและกัน ตามด้วยการ แนะน�ำชื่อ-นามสกุลชื่อเล่น และโรงเรียน ต่อมาก็ให้เด็กทุกคนน�ำป้ายชื่อของเพื่อน ที่อยู่ในมือไปส่งต่อให้ถึงมือเจ้าของป้าย

ต้องกลับมาห้องที่เพิ่งจะท�ำความสะอาด แล้ ว ป้ า ยชื่ อ ที่ อ ยู ่ ใ นมื อ นั่ น เป็ น เสร็จไป เป็นอันเสร็จหน้าที่ของพวกเรา ของใคร มี วิ ธี เ ดี ย วคื อ ต้ อ งถามที ล ะคน ในวันนั้นและก่อนจะจากลากัน พี่ค่ายก็ เรียกว่ากว่าจะพบเจ้าของป้ายชื่อนั้นต้อง มีกิจกรรมเล็กๆ ก่อนจากลา และในช่วง เวลานั้นเองเจ้าหน้าที่ของบ้านเด็กพิการ ถามหลายคนทีเดียว เตรียมพร้อมทุกอย่างเรียบร้อย ก็ เ ดิ น มายั ง พวกเราและบอกว่ า ยั ง มี อี ก ทีนี้ก็ถึงเวลาของการปฏิบัติจริง ชายหนุ่ม อาคารหนึ่งที่มีน้องๆ พิการที่มีอายุน้อย ทั้ง ๔ คนต้องแยกกันท�ำงานคนละห้อง กว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในอาคารที่พวกเรา ท� ำ หน้ า ที่ ข องตั ว เองที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย พึ่งท�ำความสะอาดเสร็จไปในวันนี้ เจ้า จนเวลาเที่ยง เหล่าจิตอาสาก็ไปล้างมือ หน้าที่ถามว่า พรุ่งนี้พวกเราจะมากันอีก และมานั่งรวมกัน เพื่อรับประทานอาหาร ครั้งได้ไหม สาวๆ จิตอาสาครอบครัวพอ กลางวั น ร่ ว มกั น ซึ่ ง ใช้ เวลาในการรั บ เพียงต่างตอบด้วยเสียงดังฟังชัดว่า ได้ ประทานอาหารเพียง ๒๐ นาที เนื่องจาก ค่ะ พร้อมค่ะ แล้วก็หันมายังชายหนุ่ม มีจ�ำนวนของ ของเล่นมากมายที่ต้องล้าง ทั้ง ๔ ของเราที่ขณะนั้นนั่งแบบหมดแรง แถมเสื้อผ้าเปียกปอนกันทุกคน สักครู่ ทีละชิ้นและตากแดดให้แห้ง จนเวลา ๑๖.๐๐ น.ทุกอย่างต้อง หนึ่งพวกเขาลุกขึ้นไปคุยกันแล้วเดินกลับ เรียบร้อยเพราะน้องๆ ตัวเล็กทั้งหลาย มาด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม แล้วตอบว่า เพื่อ ชื่อนั้น

12 IS AM ARE www.ariyaplus.com


น้องๆ ทุกคนพร้อมครับ วันรุ่งขึ้นมาถึงที่เก่าเวลาเดิม กับสถานที่เดิมแต่คนละ อาคารและมีความยากกว่าเพราะน้องๆ ที่อาศัยอยู่อาคารนี้ เป็นเด็กเล็กและพิการ เด็กจิตอาสาครอบครัวพอเพียงทั้งหญิงและชายทุกคน ต่างมองหน้ากัน แถมบางคนก็แอบร้องไห้ ร้องไห้กับสิ่งที่เขาได้ เห็น จากนั้นความกระวีกระวาดก็ตามมา และที่ส�ำคัญกว่านั้น พวกเขาทุกคนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่พวกเขาได้รับอย่าง เต็มใจและเต็มก�ำลัง แล้ววันนี้ก็ต้องจากลากัน ๘ ชั่วโมงที่ท�ำงานร่วมกันท�ำให้ รู้จักกันมากขึ้น แม้จะมีเพียง ๑๕ ชีวิตกับค่ายอาสาครั้งนี้ แต่สิ่ง ที่พวกเขาได้กลับไปคือเพื่อน เพื่อนที่มาจากหลายสถานที่ ต่าง ครอบครัว และเพียงช่วงเวลาสั้นๆ นี้อีกสิ่งหนึ่งที่มีความหมาย มากที่สุดคือมิตรภาพที่ดีที่มีให้แก่กัน ตลอดจนความรัก ความ

ห่วงใยที่มีแก่น้องๆ ตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ที่นี่และคงเป็นกระจก เงาที่สะท้อนความคิดให้แก่พวกเขาได้เป็นอย่างดี ภูมิคุ้มกัน และภูมิต้านทานในจิตใจของพวกเขาทั้ง ๑๕ ชีวิต บ่งบอกได้ถึง พลเมืองรุ่นใหม่ในอนาคตที่จะมีจิตใจที่กล้าและแกร่ง พร้อมที่ จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มากกว่าที่ผ่านมา ประสบการณ์ชีวิตแม้เพียงแค่ ๒ วันกับสถาน ที่ ที่พวกเขาไม่คิดว่าจะได้พบเห็นและจากการถอดบทเรียนใน วันที่ ๒ สิ่งที่ประจักษ์คือ เยาวชนทั้ง ๑๕ คนนี้ มีแนวคิดอย่าง ชัดเจนในการต่อต้านการท้อง แท้งและทอดทิ้ง หรือการมีเพศ สัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แล้ ว มาติ ด ตามอ่ า นเด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย ของกลุ ่ ม เด็ ก หลั ง ห้ อ งกลุ ่ ม นี้ ใ นฉบั บ หน้ า กั น ต่ อ นะค่ ะ .

13 issue 92 September 2015


อันเนื่องมาจาก เรื่องของการมอบดอกไม้ 14 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ไ กล้ ดอกไม้ เ ป็ น หนึ่ ง ในขั้ น ตอนของ กระบวนการทางธรรมชาติ มีความส�ำคัญ ในการสืบสายพันธุ์ของพืช มนุษย์เรามอง ดอกไม้หลากหลายชนิดว่าสวยงามเป็นที่ พอใจและบางชนิดส่งกลิ่นชวนให้ชื่นบาน หลักฐานจากการศึกษาอารยธรรมโบราณ ยื น ยั น ว่ า มนุ ษ ย์ เราใช้ ด อกไม้ สื่ อ สาร ความผูกพันทางจิตใจมาหลายพันปี แม้ อารยธรรมโบราณจะล่ ม สลายไป แต่ ประเพณี ก ารใช้ ด อกไม้ ยั ง คงอยู ่ แ ละดู จะขยายออกไปเรื่ อ ย ๆ สั ง คมไทยใช้ ดอกไม้อย่างแพร่หลายในโอกาสต่าง ๆ มานานและนับวันจะใช้มากขึ้น ณ วันนี้ วันวาเลนไทน์ซึ่งไม่เคยมีในสังคมไทยมา ก่อนได้กลายเป็นโอกาสส�ำคัญของการ มอบดอกไม้ในเมืองไทยแล้ว ย้ อ นไปเมื่ อ เดื อ นพฤษภาคมที่ ผ่านมา นักเขียนในสหรัฐอเมริกาคนหนึ่ง เขียนบทความที่น�ำไปสู่ค�ำถามที่ว่า เรา เคยฉุกคิดกันบ้างไหมว่าดอกไม้ที่เรามอบ ให้กันในวันแม่นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร (ชาว อเมริ กั น ยึ ด วั น อาทิ ต ย์ ที่ ส องของเดื อ น พฤษภาคมเป็นมันแม่) เรื่องราวที่เขาน�ำ มาเล่าน่าสนใจแม้จะไม่ถูกใจผู้มอบและ ผู้ขายดอกไม้ในโอกาสต่าง ๆ ก็ตาม

ในสหรัฐอเมริกา กว่า 80% ของ ดอกไม้ที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ น�ำเข้าจาก ต่างประเทศ การผลิตดอกไม้ใช้สารเคมี สารพั ด รวมทั้ ง บางอย่ า งที่ ท างรั ฐ บาล อเมริกันห้ามใช้ในประเทศของตนเพราะ มี ผ ลร้ า ยต่ อ สุ ข ภาพของมนุ ษ ย์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม มี ห ลั ก ฐานยื น ยั น ว่ า สารเคมี เหล่านั้นมีผลกระทบทางลบสูงต่อสุขภาพ ของคนงานถึ ง ขนาดท� ำ ให้ ลู ก ที่ เ กิ ด มา พิการ เมื่ อ ตั ด ออกมาจากสวนแล้ ว ดอกไม้ได้รับการประคบประหงมอย่าง ดีด้วยการพักไว้ในห้องปรับอากาศ หลัง จากนั้ น จึ ง ส่ ง เข้ า สหรั ฐ อเมริ ก าด้ ว ย การใช้ ส ายการบิ น ต่ า ง ๆ หลั ง จากนั้ น จึ ง ใช้ ร ถบรรทุ ก ปรั บ อากาศขนไปส่ ง ยั ง โรงเก็ บ ปรั บ อากาศในถ้ อ งถิ่ น ต่ า ง ๆ ก่อนส่งไปยังร้ายค้าปลีก การขนส่งและ การปรั บ อากาศใช้ พ ลั ง งานที่ มั ก เกิ ด จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซ คาร์ บ อนไดออกไซด์ อ อกไปในอากาศ ก๊ า ซนั้ น เป็ น ต้ น ตอส� ำ คั ญ ของการเกิ ด ภาวะเรื อ นกระจกที่ ขั บ เคลื่ อ นให้ เ กิ ด ภาวะโลกร้อน ร้านขายปลีกมักบรรจุก้านดอกไม้

15 issue 92 September 2015

ลงในหลอดพลาสติกและห่อดอกไม้ด้วย กระดาษแก้วเพื่อถนอมดอกไม้ หลังจาก ใช้ แ ล้ ว วั ส ดุ เ หล่ า นั้ น รวมทั้ ง ดอกไม้ ท้ั ง หลายซึ่งในวันแม่อย่างเดียวคิดเป็นเงิน ถึ ง 2.4 พั น ล้ า นดอลลาร์ หรื อ กว่ า 8 หมื่นล้านบาทก็ถูกน�ำไปทิ้งเป็นขยะ การ ก�ำจัดขยะมักก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่ ง ชาวอเมริ กั น แต่ ล ะคนโดยเฉลี่ ย ก่ อ ให้ เ กิ ด มากกว่ า ชนชาติ อื่ น ด้ ว ยเหตุ นี้ ผู้เขียนจึงชี้ว่าน่าถึงเวลาที่เราจะใช้ดอกไม้ น้อยลง ในเมืองไทย วันแม่ตกอยู่ในเดือน สิงหาคม เรานิยมมอบดอกไม้ให้แม่เช่น กั น ก่ อ นนั้ น เราตั ก บาตรดอกไม้ ใ นวั น อาสาฬหบู ช าและเข้ า พรรษา ดอกไม้ เหล่านั้นมาจากการปลูกในประเทศ จึง ไม่ ต ้ อ งขนส่ ง มาไกล เรามั ก ไม่ ต ้ อ งใช้ เครื่องปรับอากาศ แต่เราใช้สารเคมีใน การปลูก จะเท่าไรไม่มีข้อมูลยืนยัน หลัง จากนั้น ดอกไม้ย่อมกลายเป็นขยะและมี ผลต่อภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกับดอกไม้ ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้ เราควร เริ่มคิดเช่นเดียวกับนักเขียนผู้นั้นไหมว่า ถึงเวลาที่เราอาจต้องลดการใช้ดอกไม้ใน หลาย ๆ โอกาสแล้ว?


“Expectation is the root of all heartache.” ความคาดหวัง เป็นรากฐาน ของความโศกเศร้า ทั้งมวล William Shakespeare ที่ ม า : http://www.thaiquip.com

16 IS AM ARE www.ariyaplus.com


กว่า 8 ปีที่ผ่านมา IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง ได้น�ำบทความ บท สั ม ภาษณ์ สรรสาระที่ ม ากด้ ว ยความรู ้ และความบั น เทิ ง ความสุ ข มากมายที่ ได้ รั บ จากการอ่ า นนิ ต ยสารเพื่ อ สั ง คม ฉบั บ นี้ เพื่ อ เป็ น การตอบแทนท่ า นผู ้ อ่านและสมาชิกที่น่ารักทุกท่าน ตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป บก.จะ แจกของสมนาคุ ณ เล็ ก ๆแก่ ผู ้ ที่ ต อบแบบสอบถามกั น เข้ า ของ สมนาคุณที่ว่าคือ ปากกา SHEEFER จ�ำนวน 3 รางวัล พร้อม สลักชื่อ-นามสกุลเรียบร้อย ซึ่งค�ำถามในฉบับนี้คือ ความรู้ที่ได้ จากบทความ “เทพธิดามีมากกว่าเทพบุตร” หน้า 8-9 จาก ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่ ง ชาติ ในฉบั บ ที่ ป รากฏ แล้วตัดส่งมากันนะค่ะ ในฉบับ หน้ า ของสมนาคุ ณ อาจมี ก าร เปลี่ยนแปลงตามค�ำเรียกร้อง ของคนขี้ เ หงา ซึ่ ง น่ า จะเป็ น Furby เพื่อนช่างคุย ของเรา เอง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะค่ะ

ร่วมตอบค�ำถามชิงปากกา SHEFFER

ส่งมาที่นิตยสารครอบครัวพอเพียง เลขที่ 663 ซอยพหลโยธิน 35 แยก 9 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-939-5995 www.ariyaplus.com, www.baanporpeang.org แบบประเมินความพอใจผู้อ่าน 1. เนื้อหาเรื่อง เทพธิดามีมากกว่าเทพบุตร

1

2

3

4

5

-ให้ความรู้และมีสาระตามที่คาดหวัง -บทความมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ -บทความจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ -บทความสร้างความตระหนักในเรื่องคุณธรรม 2.รูปเล่ม -มีการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัย -จัดจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย -ภาพประกอบและการน�ำเสนอน่าสนใจ 3.ข้อเสนอแนะ

สายตรง กรมสงเสริมการสงออก

1.ไม่เป็นที่พอใจ 2. ควรปรับปรุง 3. พอใช้ 4.ดี/น่าสนใจ 5. ดีมาก/พอใจมาก 17

issue 92 September 2015

1169


ศิลปะการป้องกันตัว

ครั้ ง ยั ง เป็ น นั ก เรี ย นประถม โรงเรี ย นเคยจั ด ให้ ห น่ ว ยทหารพั ฒ นาเข้ า มาฝึ ก สอนวิ ช าศิ ล ปะการ ป้ อ งกั น ตั ว เช่ น มวยไทยให้ นั ก เรี ย นทั้ ง โรงเรี ย นอยู ่ พั ก ใหญ่ ศิ ล ปะการป้ อ งกั น ตั ว เหล่ า นั้ น ตั้ ง แต่ เ รี ย นมา ผู ้ เ ขี ย นยั ง ไม่ เ คยได้ ใ ช้ เ ลย แต่ พ อเข้ า มาสู ่ ใ ต้ ร ่ ม ผ้ า กาสาวพั ส ตร์ ก็ ไ ด้ ม าพบกั บ ศิ ล ปะการป้ อ งกั น ตั ว อี ก แบบหนึ่ ง ซึ่ ง เมื่ อ เรี ย น เสร็ จ แล้ ว ก็ ไ ด้ ใ ช้ ทั น ที และใช้ ไ ด้ ผ ลมาโดยตลอด ถึ ง ขนาดที่ ว ่ า พอ “ทุ ก ข์ ก ระทบ - ธรรมกระเทื อ น” ทั น ที 18 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Dhamma Today

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานองคมนตรี ก็เคยเล่าว่า ท่านได้รู้จักศิลปะการป้องกัน ตั ว มาเช่ น เดี ย วกั น กั บ ผู ้ เขี ย น “...สวน โมกข์เป็นอย่างไร ผมหลับตาเห็นทุกวัน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในตอนที่ ผ มภาวนา ‘สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ’ ซึ่ง เป็นคาถาประจ�ำใจผม...ผมนับถือคาถา นี้มาก เพราะช่วยผมในยามล�ำบากคับขัน ซึ่งผมได้เคยประสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ ผ มเผอิ ญ เป็ น นายกรั ฐ มนตรี แม้ในเวลานี้ คาถานี้ก็ยังช่วยผมได้ในทุก สถาน ทุกกาลเวลา..” ไฮโซสาวคนหนึ่ ง ซึ่ ง หากเอ่ ย ชื่ อ ขึ้นมาหลายคนคงร้องอ๋อ เพราะรู้จักดี ก็นับถือคาถาเดียวกันกับอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ มากเรื่องราวในชีวิตจริงของ เธอน่ า นะเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานได้ เ ป็ น อย่างดี ดังที่เธอเคยถ่ายทอดเอาไว้อย่าง ละเมียดละไมในนิตยสารเล่มหนึ่ง มนมาที่นี่ทุกวันอาทิตย์ ทุกครั้ง ที่มามนมีสีหน้าสดชื่น รื่นเริง อิ่มบุญเสมอ มนไม่เคยรบกวน ไม่เคยถามข้ออรรถข้อ ธรรม มนท�ำนั่นท�ำนี่สารพัด เหมือนเป็น คนวัดคนหนึ่ง แล้วมนก็กลับไป ไม่บอก กล่าว ไม่ล�่ำลา ไม่รบกวน ไม่พูดมาก แต่ ใครต่อใครที่นี่ก็รู้ดีว่า มนเป็นคนดี หรือ อาจจะดีมากคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ มนไปๆ มาๆ เป็นอย่างนี้อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า จน เวลาผ่านนับนานหลายเดือนเคลื่อนเข้า สู่ปี และปีกว่า แต่แล้ววันหนึ่ง มนดูเศร้าๆ ผิด ปกติ ไ ปเล็ ก น้ อ ย คนนอกไม่ เ คยมี ใ คร สังเกตเห็น แต่หลวงพ่อเห็น หลวงพ่อรู้ดี ว่า มนทุกข์ แต่มนไม่พูด มนยังคงท�ำตัว

ตามปกติ แต่มนเอ๋ย เธอจะหลอกใคร หรื อ แม้ ก ระทั่ ง หลอกตั ว เองก็ ห ลอกไป เถอะ แต่จะหลอกหลวงพ่อนั้นไม่สนิท หรอก ไม่ใช่หลวงพ่อเป็นพระอริยะนะ มน จึงจะได้เที่ยวรู้ใจใครต่อใครเขาไปทั่ว แต่คนมีความสุขจริงๆ กับคนที่เสแสร้ง แสดงตนว่า มีความสุขนั้นมันไม่เหมือน กันหรอก มนกรวดน�้ำรับพรเสร็จแล้วก็เงย หน้าสบสายตาหลวงพ่อที่ตนเคารพอย่าง เต็มหัวใจ สายตาของมนปะทะเข้ากับแวว ตาทอประกายเปี่ยมเมตตาของหลวงพ่อ วัยกลางคน แต่สุขม ลุ่มลึก ท่วงทีกิริยา บอกชัดว่า หลวงพ่อเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา เจนโลกจบธรรมอย่างไม่ต้อสงสัย พลั น ที่ ส บสายตาเปี ่ ย มการุ ณ ย ธรรมจากหลวงพ่อ ยังไม่ทันพูดอะไรออก มาสักค�ำ มนก็ร้องไห้โฮออกมาอย่างไม่ อายใคร ท�ำไม ท�ำไม ท�ำไม มนถึงร้องไห้ ก็ ไ ม่ รู ้ หลวงพ่ อ คะ มนไม่ รู ้ จ ะเริ่ ม ต้ น อย่างไร มนเสียใจ มนทุกข์ แต่มนไม่รู้จะ เริ่มอย่างไร หลวงพ่อปล่อยให้มนร้องไห้ จนสาแก่ใจ จนสายน�้ำตาของมนเหือด แล้วจึงถามขึ้นเบาๆ “เอาละ ร้องเสียให้พอ จากนั้น ก็ เ ล่ า ให้ ห ลวงพ่ อ ฟั ง ซิ ว ่ า เรื่ อ งมั น เป็ น มายังไง” “สามี ข องมนค่ ะ หลวงพ่ อ เค้ า เค้า แอบไปมี...มี” “เอาละมน หลวงพ่อเข้าใจ” เพียงหลวงพ่อพูดว่า “หลวงพ่อ เข้าใจ” ใจอันเร่าร้อนปานกองเพลิงของ มนก็เหมือนถูกรินรดด้วยน�้ำฝนจากฟ้า สติของมนคืนกลับมาวูบใหญ่ ท�ำให้มนรีบ เอามือปาดน�้ำตาด้วยความอาย พยายาม 19 issue 92 September 2015

หักห้ามใจตัวเองให้อยู่ในอารมณ์สงบและ เป็นปกติที่สุด มนสงสัย ทั้งๆ ที่หลวงพ่อ ยังไม่ทันได้พูดอะไร ท�ำไมทุกข์ของมนจึง หายไปแล้วครึ่งหนึ่ง หลวงพ่อมีปาฏิหารย์ หรือ หรือว่า... “มน หลวงพ่ อ ไม่ มี ป าฏิ ห ารย์ อะไรหรอก ทุกข์ของมนน่ะมันไม่มากมาย อะไรนักหรอก ถ้ามนรู้จักที่จะ ‘ระบาย’ มั น ออกมาเสี ย บ้ า ง ที่ ม นรู ้ สึ ก ดี ขึ้ น น่ ะ เพราะมนได้ ร ะบายมั น ออกมาเท่ า นั้ น เอง คนเราน่ะมน หลวงพ่อจะบอกให้ มี สุขมีทุกข์กันมากมายในชีวิตทั้งนั้นแหละ แต่ ล ะชี วิ ต ของคนเราก็ เ หมื อ นกั บ ก้ อ น ทุกข์ก้อนหนึ่ง ก้อนทุกข์ของเธอก็ก้อน หนึ่ ง ก้ อ นทุ ก ข์ ข องสามี เ ธอก็ ก ้ อ นหนึ่ ง ของลู ก เธอก็ ก ้ อ นหนึ่ ง สามคนก็ ส าม ก้อนทุกข์ นี่ ‘เขา’ ไปมีคนใหม่อีก ก็เลย เพิ่มทุกข์มาอีกก้อนหนึ่ง แต่มนเอ๋ย ถ้า เธอรู้จักถ่ายเทความทุกข์ออกมาจากอก เสียบ้าง ไม่หวงความทุกข์นั้นไว้ทุกข์คน เดี ย ว เธอก็ จ ะไม่ ทุ ก ข์ ห นั ก อยู ่ ค นเดี ย ว อีกต่อไป” “แต่หลวงพ่อคะ ถึงหนูจะระบาย ให้ใครฟัง ก็ใช่ว่าจะช่วยให้ทุกอย่างดีข้ึน มาได้” อ่านต่อฉบับหน้า ที่มา... http://www.dhammatoday.com/


ก่อนจะไปเป็ นครู ครั้ ง หนึ่ ง ในชี วิ ต ชายไทยทุ ก คนต้ อ งเข้ า รั บ การคั ด เลื อ กเป็ น ทหารกองประจ� ำ การ ผมก็ เ ป็ น เช่ น เดี ย วกั บ คนอื่ น ๆ เมื่ อ ผ่ า นการตรวจร่ า งกายและรอจั บ ฉลาก(ใบด� ำ -ใบแดง)หั ว ใจก็ เ ต้ น แรงขึ้ น เรื่ อ ย ๆ เมื่ อ มื อ ขวา ล้ อ มวงลงไปในไหจั บ ฉลากและสิ่ ง ที่ ผ มจั บ ขึ้ น มานั้ น เป็ น “ทบ.๒”

20 IS AM ARE www.ariyaplus.com


question of life

เท่านั้นเอง หูอื้อไปหมด ความรู้สึกไม่ดีเอาเสียเลย ได้แต่ ปลอบใจตัวเองว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตลูกผู้ชาย แต่ก็เป็นเรื่องยากที่ จะท�ำใจยอมรับได้... วั น ที่ ๑ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๐ เป็ น วั น ที่ ท หารเกณฑ์ ผลัด ๒ ต้องเปลี่ยนตัวเองจากพลเรือนผมยาวมาตัดผมสั้นเกรียน เปลี่ยนชีวิตประจ�ำวันทุกอย่างให้อยู่ในระเบียบวินัยทหารอย่าง เคร่งครัด การอยู่ร่วมกันในค่ายทหารของทหารใหม่ทุกอย่างต้อง ใช้ระบบเหมารวม (ระบบกลุ่ม) ถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งผิดระเบียบวินัย ทหารใหม่ทุกคน จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน หากวินัยเริ่มหย่อนครูฝึกก็จะ “ซ่อม วินัย” หรือปรับปรุงวินัยให้ดีขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงทหารทุกคนจะ ต้องเหนื่อยมากๆ และก็เป็นเรื่องปกติที่ทหารเกณฑ์ทุกคนจะ ต้องเจอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือการฝึกความอดทน ทหารใหม่ ต ้ อ งใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น ในกฎระเบี ย บอย่ า ง เคร่ ง ครั ด เข้ า รั บ การฝึ ก ฝนวิ ช าทหารและฝึ ก ระเบี ย บวิ นั ย ทดสอบทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอด ๑๐ สัปดาห์ของการฝึกทหารใหม่ ซึ่งเป็น ๑๐ สัปดาห์ที่ยาวนานมากๆ ส�ำหรับทหารใหม่ทุกคน เมื่อผ่านการ ฝึกได้ลาพักกลับบ้าน ๑๐ วัน ทุกคนต่างรอคอยอย่างใจจด ใจจ่อ แต่แล้วเมื่อครบก�ำหนด ๑๐ วัน ก็ต้องกลับเข้าค่ายฯ เพื่อแบ่งก�ำลังพลไปประจ�ำหน่วยต่างๆ โดยผมได้ไปประจ�ำ

กองบั ง คั บ การจั ง หวั ด ทหารบกอุ ต รดิ ต ถ์ ซึ่ ง ก็ เ ป็ น การท� ำ งาน ส�ำนักงานนั่นเอง บางคนคิดว่า เป็นทหารในส�ำนักงานนั้นสบาย แค่ท�ำงาน เอกสาร แต่อย่าลืมว่า ในส�ำนักงานมีนายทหารอยู่กันเยอะมาก รวมไปถึงผู้บังคับบัญชาด้วย ดังนั้นทหารในส�ำนักงานต้องหูไวตาไว เวลานายทหารเข้า-ออกหรือเรียกใช้ และจะต้องรักษา ระเบียบวินัยที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเคร่งครัด อาจจะรู้สึก อึดอัดบ้างในบางครั้ง ซึ่งผมถือว่าเป็นการฝึกฝนตนเองในอีกรูป แบบหนึ่งก่อนออกไปท�ำงานหลัก หลังจากปลดประจ�ำการ ระยะ เวลา ๑ ปี (ตอนที่เขียนบทความนี้เหลือ ๕ เดือน) ที่ผมต้องใช้ ชีวิตในค่ายทหาร ซึ่งเป็นประสบการณ์และบทเรียนที่ดีส�ำหรับ การท�ำงานของผมในอนาคต ผมคิดว่าหากผ่านชีวิตทหารเกณฑ์ตรงนี้ไปได้ คงไม่มี งานไหนที่ผมจะท�ำไม่ได้อีก เหมือนกับคติที่ท่องจนขึ้นใจตอน เป็นทหารใหม่ ๆ “ไม่มีอะไรที่ทหารใหม่ท�ำไม่ได้ ท�ำไม่ไหว ท�ำไม่ทัน” ในตอนแรกผมคิดว่าการเกณฑ์ทหารนั้นเสียเวลาเปล่า แต่ตอนนี้ผมคิดว่าไม่ได้เสียเวลาเปล่า แต่ได้ประสบการณ์ชีวิต จากการเป็นทหารเกณฑ์เยอะมาก ครั้ ง หนึ่ ง ของลู ก ผู ้ ช าย ความภู มิ ใจในเกี ย รติ ข องชาย ชาติทหาร

21 issue 92 September 2015


22 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Cartoon

23 issue 92 September 2015


24 IS AM ARE www.ariyaplus.com


25 issue 92 September 2015


Cover Story

ศูนย์รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง

แหล่งเรียนรู ้เพื่อคนไทยทุกคน

เมื่ อ วั น ที่ 29 ต.ค. พ.ศ. 2557 เวลา 13.30 น. สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม าร ทรงเสด็ จ ศู น ย์ ร วมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพี ย ง ณ บ้ า นหั ว งั ว ต� ำ บลยางตลาด อ� ำ เภอยางตลาด จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ ์ โดยมี ดร.อาทิ ต ย์ บ� ำ รุ ง เอื้ อ ประธานกรรมการศู น ย์ ฯ พาชมการด� ำ เนิ น งานภายใน ศู น ย์ ฯ ในฐานะผู ้ ก ่ อ ตั้ ง และน้ อ มน� ำ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มาประยุ ก ต์ ใ ช้ และขยายผลไปสู ่ ห มู ่ บ ้ า น ชุ ม ชน ให้ ใ ช้ ชี วิ ต อย่ า งพอเพี ย งและเป็ น สุ ข 26 IS AM ARE www.ariyaplus.com


27 issue 92 September 2015


อั น ที่ จ ริ ง ศู น ย์ ฯ ให้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมี ม ากมายทั่ ว ประเทศ แต่ ศู น ย์ ข อง ดร.อาทิ ต ย์ มี ค วามโดดเด่ น อย่ า งไร ท� ำ ไมเป็ น ที่ ส นใจของประชาชนในพื้ น ที่ แ ละบริ เ วณใกล้ เ คี ย งเป็ น อย่ า ง มาก ฉบั บ นี้ นิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ขอน� ำ ทุ ก ท่ า นไปรู ้ จั ก กั บ ศู น ย์ ร วมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพี ย ง ซึ่ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ศู น ย์ ฯ ที่ มี จุ ด ยื น ชั ด เจนว่ า ไม่ ย อมสยบและปราศจากการครอบง� ำ ของอ� ำ นาจเงิ น ตรา การเมื อ ง สั ง คม และเศรษฐกิ จ กระแสหลั ก มุ ่ ง รั ก ษาประเพณี วั ฒ นธรรมเดิ ม ของไทย สลั ด ทิ้ ง ซึ่ ง วั ฒ นธรรมนอกที่ ก ่ อ เกิ ด ปั ญ หาตามมา ของชุมชนคารวะตะธรรม และส�ำนักงานสมาคมนักนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางการพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ กรม พัฒนาที่ดิน

จุ ด เริ่ ม ต้ น ศูนย์ฯ ดังกล่าวก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2554 ด้วยงบ ประมาณของ ดร.อาทิตย์ และนางบุหงา บ�ำรุงเอื้อ (ภรรยา) เป็น รองประธานฯ และมี ดร.สุขุมวรัชญ์ อัครเศรษฐัง เป็นเลขาธิการ ศูนย์ฯ ด�ำเนินงานโดยผู้จัดการศูนย์ฯ ได้แก่ นายสันติ และนางสุ ภาภรณ์ ภูบุญมา และการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน “ปัจจุบันคนไทยเราด�ำเนินวิถีชีวิตเลียนแบบตามค่านิยม ทางตะวันตกทีเ่ น้นความสะดวกสบาย บริโภคเกินความพอดีและ พอเหมาะแห่งฐานะตน ตามค่านิยมความทันสมัยที่เขาหยิบยื่น วาทะกรรมให้เรา ซึ่งความทันสมัยที่ว่ามันก่อให้เกิดหนี้สินภาค ครัวเรือนที่สูงขึ้น และเป็นหนี้ที่ไม่สามารถช�ำระได้ แต่เรากลับ ถาโถมเข้ารับเอาวาทะกรรมอันนั้นโดยไม่รู้ว่ามันเป็นหายนะใน การด�ำเนินชีวิต การไม่ประเมินตนเองว่ามีศักยภาพเพียงพอ หรือไม่ ที่จะก้าวให้ทันความทันสมัยอย่างเขา ทรัพยากรของ ตนมีมากน้อยพียงใด และจะใช้มันอย่างไรจึงจะเป็นไปอย่างมี เหตุผล สุดท้ายก็ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่มันเปลี่ยน ไปในทางที่เลวร้าย ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยเราเกือบ เอาตัวไม่รอดจากสถานการณ์ต้มย�ำกุ้ง เพราะหากคนไทยเข้าใจ ในศักยภาพของตนเองอย่างถูกต้อง เหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิด ขึ้น คนไทยจะต้องตระหนักในข้อนี้”

จุ ด ยื น ไม่ ย อมสยบ ดร.อาทิตย์ เลือกที่จะตั้งศูนย์ฯ ดังกล่าวบนพื้นที่ชนบท เพื่อจุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน กล่าวคือ เป็นการพัฒนาท้องถิ่น โดยอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่ในชุมชนนั้นๆ ต่อยอดควบคู่ไปกับคุณธรรม คนในชุมชนมีส่วนตัดสินใจด้วยตัว เองโดยปราศจากการครอบง�ำจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักของการด�ำรงอยู่และปฏิบัติ ตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ให้ด�ำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยก้าวให้ทันกับยุคโลกไร้พรมแดน อันเป็น รากฐานทางความคิดในการพัฒนาท้องถิ่นที่ส�ำคัญยิ่ง เพราะการ ด�ำเนินวิถีชีวิต หรือด�ำเนินโครงการใดต้องค�ำนึงถึงขนาดและ ความเหมาะสมกับศักยภาพของตนและทรัพยากร ตลอดจนสิ่ง แวดล้อมด้วยความรอบคอบ ไม่ตาโต ละโมบโลภมาก เน้นการ

ปั จจุ บันคนไทยเราด�ำเนินวิถีชีวิตเลียนแบบตามค่านิยม ทางตะวันตกที่เน้นความสะดวกสบาย บริโภคเกินความ พอดีและพอเหมาะแห่งฐานะตน ตามค่านิยมความทันสมัย ที่เขาหยิบยื่นวาทะกรรมให้เรา ดร.อาทิตย์ กล่าวว่า ศูนย์ฯ ดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็น แหล่งสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทุกศาสตร์สาขา ด�ำเนินงานเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ 4 ด้านตาม ชื่อของศูนย์ คือ รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง ภายใต้ ความร่วมมือทางวิชาการของสาขานวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้อง ถิ่ น มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ มหาสารคาม ส� ำ นั ก งานนวั ต กรรม แห่งชาติ และมูลนิธิชัยพัฒนา ปัจจุบันยังเป็นองค์กรนวัตกรรม 28 IS AM ARE www.ariyaplus.com


พึ่งตนเอง พึ่งทรัพยากรท้องถิ่น ลดค่าใช้ จ่าย รู้ทันกระแสบริโภคนิยม เอื้ออาทร และแบ่งปันกัน ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง จึ ง เกี่ ย วข้ อ งและมี ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ในการพัฒนาท้องถิ่น เพราะเป็นหลักคิด และปฏิ บั ติ ต นของคนในท้องถิ่น ในทาง ที่ถูกต้องเพื่อการพัฒนาที่เจริญเติบใหญ่ และยั่งยืน” ส�ำหรับศูนย์รวมใจ ทางไท ทาง ธรรม ทางพอเพียง แห่งนี้ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 14 ไร่ ประกอบด้วย แปลงนา หนองน�้ำ สาธารณะ สระน�้ำ เฮือนตุ้มโฮม เฮือน อยู่ เฮือนนอน เฮือนวัฒนธรรม เฮือน ประชุ ม ซึ่ ง จะเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ ห้ กั บ พี่ น ้ อ งประชาชนชาวจั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ ์ และใกล้เคียงได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต แบบพอเพี ย ง เพื่ อ น� ำ ไปปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจ�ำวัน รวมใจ หมายถึงสถานที่ที่รวมนัก คิด นักปราชญ์ ทั้งที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน

และปราชญ์ปัญญาชนในทุกศาสตร์สาขา รวมทั้งศิลปินสาขาต่างๆ เพื่อสร้างองค์ ความรู้สู่ชุมชนและสังคม, ทางไท หมาย ถึงความเป็นอิสระ ปราศจากการครอบง�ำ ของอิ ท ธิ พ ล เงิ น ตรา ตั ด สิ น ใจได้ ด ้ ว ย ตนเอง ยืนหยัดในสิ่งดีและถูกต้อง และ พัฒนาความดีงามนั้นให้ยั่งยืน ทางธรรม หมายถึ ง ทางแห่ ง การบรรลุสุขด้วยความเข้าใจในสรรพสิ่ง ด้วยวิจารณญาณบนฐานแห่งความเป็น จริงที่ไร้ทั้งอคติและฉันทาคติ, ธรรมชาติ คือการเห็นแท้ซึ่งสรรพสิ่งว่าแตกต่างกัน แม้จะละม้ายคล้ายคลึง แต่แก่นแท้ของ สิ่งย่อมแตกต่างกัน เพื่อการเข้าใจ เข้า ถึง พัฒนา ตามหลักการทรงงานขององค์ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว, ธรรมดา การด�ำรงตนอย่างคนธรรมดาหรือสามัญ ชน ไม่ โ อ้ อ วดยศถาบรรดาศั ก ดิ์ ห รื อ หัวโขนที่สวมใส่ ไม่ประสงค์ร้ายผู้อื่น ไม่ มั ว เมาลุ ่ ม หลงในความชั่ ว จึ ง จะท� ำ ให้ 29 issue 92 September 2015

เข้าใจผู้อื่นหรือสรรพสิ่งได้อย่างถูกต้อง ถึงแก่นแท้, ธรรมะ ซึ่งเป็นค�ำสอนของ พระพุทธเจ้าให้ท�ำความดี ละเว้นความ ชั่วซึ่งต้องยืนหยัดปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และเผยแพร่สู่สังคมและชาวโลก ทางพอเพี ย ง หมายถึ ง การยึ ด หลั ก เศรษฐกิ จ แบบพอเพี ย ง ที่ ใ ห้ เ ดิ น สายกลาง มีอยู่มีกินอย่างอิ่มหน�ำ ร�่ำรวย อย่างพอเพียง ไม่ละโมบโลภมากจนไม่รู้ พอ มีภูมิคุ้มกันแม้ในสถานการณ์วิกฤติ ปัจจุบันด�ำเนินงานทางด้านเกษตรกรรม เน้ น ทฤษฎี ไร่ น าสวนผสม จึ ง มี ที่ ท� ำ นา ข้าว ปลูกพืชผักต่างๆ สวนผลไม้ สวน ป่า เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น วัวควาย หมู เป็ด ไก่ กบ ปลา ปูนา ปลาไหล อย่าง ผสมผสาน “ในด้ า นการเมื อ ง ต้ อ งไม่ ย อม สยบให้ กั บ อิ ท ธิ พ ลและเงิ น ตรา เป็ น ตั ว ของตั ว เองและตั ด สิ น ใจได้ ด ้ ว ย เหตุผลจากปัญญา มิใช่ด้วยกลลวงและ


การฉ้อฉลของผู้หวังผลประโยชน์แต่ส่วน ตนและพรรคพวกเป็ น ที่ ตั้ ง ทั้ ง นี้ ก็ ด ้ ว ย การรับข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้าน แต่ ความเป็นอิสระทางด้านการเมืองจะต้อง สอดรับกับการมีเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ที่พึ่งตนเองได้ ในด้านเศรษฐกิจ การจะ เป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติสัญญาณ ของผู้ใด คงจะต้องเป็นไปตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง มีพอกิน เลี้ยงตนเอง ได้ ไม่ละโมบโลภมากจนเป็นเหยื่อของ ระบอบเศรษฐกิจบริโภคนิยม ที่ปลาใหญ่ กินปลาเล็กในที่สุด ในด้ า นสั ง คม ต้ อ งปราศจาก พันธนาการโซ่ตรวน ของปัญหาการทุจริต คอรัปชัน่ ปัญหายาเสพติด ปัญหาเยาวชน ฯลฯ โดยเฉพาะการขาดคุณธรรม ความ โปร่งใส การขาดธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน สั ง คมเปี ่ ย มสุ ข ต้ อ งมี ผู ้ น� ำ ที่ มี จิ ต วิ ญ ญาณเพื่ อ ประโยชน์ สุ ข ของ ประชาชน ผู้น�ำจิตวิญญาณต้องพาชุมชน สังคม คืนสุขดัง้ เดิมตามลักษณะของสังคม

ไทยที่เคยมีมาแต่ก่อน และพร้อมมีสุขกับ การเตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของ สังคมโลก ในด้านประเพณี วัฒนธรรม ที่ ถือเป็นความแข็งแกร่งของชุมชนสังคม ไทย ต้องทุ่มแรงกายแรงใจปกปักรักษา สิ่งที่งดงาม พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง สลัด ทิ้งวัฒนธรรมนอกที่ก่อเกิดปัญหาสังคม ตามมา และเฝ้าระวังมันอย่างต่อเนื่อง และอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย” ดร.อาทิตย์ กล่ า วถึ ง จุ ด ยื น และความเข้ ม แข็ ง ซึ่ ง ผู ้ เรียนรู้จะได้รับจากศูนยฯ แห่งนี้ แ ก ่ น แ ท ้ คื อ ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง “การด�ำเนินวิถีชีวิตของคนไทย มี ความจ�ำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องด�ำเนิน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความ มีขันติ วิริยะ รู้จักตน มีเหตุผล เตรียม รับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง อย่างคนมี ค วามรู ้ และมี คุ ณ ธรรม มี แต่ สิ่งนี้เท่านั้นที่จะก่อให้เกิดการคิดค้นการ

30 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ด� ำ รงอยู ่ แ ละปฏิ บั ติ ต นในการด� ำ เนิ น วิถีชีวิตที่ถูกต้อง ด้วยการจัดการข้อมูล (Data) ที่ ไ ด้ ม าให้ เ ป็ น ชุ ด องค์ ค วามรู ้ และจั ด การองค์ ค วามรู ้ (Knowledge Management) ให้ เ กิ ด เป็ น ปั ญ ญา (Wisdom) ความมีปัญญาเท่านั้นจึงจะ น�ำพาชีวิตให้อยู่ได้ อยู่รอด และอยู่ดี นั้น หมายถึงสามารถพึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้ อื่น เอื้อเฟื้ออาทรกันและแบ่งปัน อันเป็น หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ดร.อาทิตย์มองว่า หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น องค์พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ท รงตรั ส ไว้ น านแล้ ว แต่ ค นไทยยั ง ไม่ เข้ า ใจและไม่ ใ ส่ ใจที่ จ ะ น้ อ มรั บ ไปด� ำ เนิ น วิ ถี ชี วิ ต ของตน โดย เฉพาะการด�ำเนินนโยบายของภาครัฐใน ยุคที่มุ่งสู่ความเป็นนิกส์ มุ่งสู่ความเจริญ ทางอุตสาหกรรม ได้น�ำพาชาติบ้านเมือง เสี ย หายย่ อ ยยั บ ไปไม่ น ้ อ ย ด้ ว ยเพราะ หลงลืมไปว่าโดยหลักแล้วเราคือประเทศ เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ด�ำเนิน


วิ ถี ชี วิ ต ด้ ว ยการเป็ น เกษตรกร แม้ จ ะมี ภ าคอุ ต สาหกรรมขั บ เคลื่อนระบบเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ศู น ย์ ฯ แห่ ง นี้ จึ ง มี ค วามพยายามที่ จ ะบอกถึ ง นั ย ยะ แห่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นมากกว่าการท�ำ เกษตรกรรม แต่หมายถึงวิถีชีวิตที่ต้องด�ำเนินความคู่ไปกับหลัก ธรรมะ โดยยกตัวอย่างการท�ำการเกษตรให้เห็นเป็นรูปธรรม “ต้องเข้าใจว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นเรื่องแนวคิดที่พระองค์ท่านพระราชทานแก่คนไทย เพื่อการ ด�ำเนินวิถีชีวิตในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรมหรือ ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน จนถึง ระดับประเทศ โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคม ไทย และประยุกต์ใช้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอด เวลาของสังคมโลก” ดร.อาทิ ต ย์ สร้ า งศู น ย์ แ ห่ ง นี้ จ ากการเรี ย นรู ้ ใ นระดั บ ป.เอก หลั ก สู ต รปรั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต (ปร.ด.) สาขาวิ ช า นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จาก วิทยานิพนธ์ในกระดาษ สู่ผลงานจริงที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงท�ำให้ศูนย์ของ ดร.อาทิตย์ มีจุดเด่นในการลงมือท�ำจริง จาก การวิจัยที่ผ่านมา ท�ำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นที่สนใจของประชาชนใน พื้นที่และแถบใกล้เคียง “นวัตกรรมเพือ่ การพัฒนาท้องถิน่ ทีพ่ ดู ถึง เป็นนวัตกรรม ทางสังคม (Social Innovation) ซึ่งหมายถึงกระบวนการเรียน รู้ในการพัฒนาความสัมพันธ์อย่างถูกต้องระหว่างคนกับคน คน

กับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ผ่านการท�ำงานของจิตที่เรียกว่า ธาตุ 5 ซึ่ง มีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน คือ การสร้างการรับรู้ การแสดงท่าที การแสดงความเป็นเจ้าของ การมีจิตส�ำนึก และการมีพลัง การ ท�ำงานของจิตนี้ล้วนแต่เป็นไปตามล�ำดับขั้นตอน โดยไม่ข้ามขั้น ตอนกันและกัน หากการท�ำงานของจิตเป็นไปตามล�ำดับขั้นตอน แล้ว จะก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรม อันเป็นกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ที่คนในท้องถิ่นได้สร้างขึ้นมาด้วยความร่วมมือกัน” ชุ ม ชนคารวะตะธรรม ในการขับเคลื่อนศูนย์ฯ ดังกล่าว ดร.อาทิตย์ ด�ำเนินงาน ไปพร้อมกับหลัก คารวะตะธรรม ตามที่ได้ท�ำการวิจัยมา โดย ยึดหลักพุทธธรรมแห่งความเคารพคือ คารวะตา 6 อันได้แก่ 1.พุทธคารวะตา 2.ธรรมคารวะตา 3.สังฆคารวะตา 4.สิกขา คารวะตา 5.อัปมาทคารวะตา 6.ปฏิสันถานคารวะตา น�ำมา ก�ำหนดคุณลักษณะของชุมชนคารวะตะธรรม จนได้บทสรุปว่า คุณลักษณะชุมชนคารวะตะธรรมนั้นมีอยู่ 8 ประการ ด้วยกันคือ 1. มองเห็นคุณค่าและยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ 2. เข้าใจในความจริงของชีวิต 3. ยึดแนวปฏิบัติตามหลักทางศาสนา 4. ให้ความส�ำคัญต่อการเรียนรู้ 5. เคารพตนเอง 6. เคารพผู้อื่น 7. มีการสละให้ 8. มีใจงาม ใจผ่องแผ้ว จากนั้ น จึ ง สร้ า งกระบวนการชุ ม ชนคารวะตะธรรมที่ เหมาะสมในการขับเคลื่อนในชุมชน ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 31

issue 92 September 2015


ขั้ น ตอนที่ 1 การสร้ า งกลุ ่ ม คน คารวะตะธรรม ขั้นตอนที่ 2 การสถาปนา กลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบกิจกรรม กลุ่ม ขั้ น ตอนที่ 4 การขั บ เคลื่ อ น กิจกรรมกลุ่ม ขั้นตอนที่ 5 การเสริมสร้าง พลังกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน หลั ง จากออกแบบกิ จ กรรมที่ เหมาะสมในการขั บ เคลื่ อ นได้ แ ล้ ว จึ ง ขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวภายใต้ฐาน คิด “เคารพสิ่งส�ำคัญร่วมกัน สรรค์สร้าง สังคมใจงาม” เคารพสิ่งส�ำคัญร่วมกันคือ คนเคารพคน คนเคารพธรรมชาติ และคน เคารพสิ่งเหนือธรรมชาติ ทั้งยังถือว่าสิ่ง นี้เป็นสิ่งส�ำคัญที่พึงใส่ใจและปฏิบัติด้วย ความหนั ก แน่ น จริ ง จั ง มองเห็ น คุ ณ ค่ า และความส�ำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคล ต่อ ธรรมชาติและต่อสิ่งเหนือธรรมชาติอย่าง ถูกต้องและจริงใจ เป็นสังคมใจงามที่ผู้คน ส�ำนึกในคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม ตลอดจนค่านิยมที่ดีงาม ใฝ่เรียนรู้ ตัดสินใจด้วยความระมัดระวังในการเสริม สร้างครอบครัว ชุมชนที่มีค่านิยมร่วมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ส่วนรวม อยู่ร่วม กันอย่างสันติสุข ระหว่างกลุ่มคน ระหว่าง พื้ น ที่ แ ละระหว่ า งวั ย พึ่ ง พาอาศั ย และ เอื้ออาทรเกื้อกูลกัน และแบ่งปันภายใต้ ความแตกต่างหลากหลายความคิด และ ขับเคลื่อนกิจกรรมควบคู่กับคุณลักษณะ ชุมชนคารวะตะธรรม 8 ประการ โดย ผ่านกระบวนการท�ำงานของจิต 5 ขั้น ตอน อย่ างเป็ น ล� ำ ดับ โดยไม่มีก ารข้าม ขั้นตอนกัน คือ ขั้นที่ 1. สร้างการรับรู้ ขั้นที่ 2. ดูท่าที ขั้นที่ 3. สร้างความเป็นเจ้าของ ขั้นที่ 4. มีจิตส�ำนึก (ตระหนักคิด) ขั้น ที่ 5. มีพลัง “ห้าขั้นนี้ก่อเกิดคนกลุ่มหนึ่งที่มี วิถีด�ำเนินชีวิตของตนด้วยกระบวนการ เรียนรู้ใหม่นี้ เป็นชุมชนคารวะตะธรรม

ต้ อ งเข้ า ใจว่ า หลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งนั้ น เป็ น เรื่ อ งแนวคิ ด ที่ พ ระองค์ ท ่ า นพระราชทานแก่ ค นไทย เพื่ อ การด� ำ เนิ น วิ ถี ชี วิ ต ในทุ ก ภาค ส่ ว น ไม่ ว ่ า จะเป็ น ภาคเกษตรกรรมหรื อ ภาคอุ ต สาหกรรม ทั้ ง ในระดั บ บุ ค คล ครอบครั ว ชุ ม ชน จนถึ ง ระดั บ ประเทศ อีกทั้งยังน�ำชุมชนคารวะตะธรรมนี้เรียน รู้กับชุมชนพื้นที่อื่นที่มีทั้งไปและมาเรียน รู้แลกเปลี่ยนร่วมกัน สามารถสร้างการ รับรู้และเห็นท่าทีตอบรับเป็นอย่างดี ส่วน ชุมชนพื้นที่อื่นจะแสดงความเป็นเจ้าของ แล้วน�ำชุมชนคารวะตะธรรมขับเคลื่อน ชุมชนของตนหรือไม่นั้นไม่สามารถคาด เดาได้ แต่ก็สามารถคาดการณ์ได้จากการ ขับเคลื่อนชุมชนคารวะตะธรรมในชุมชน บ้านหัวงัวอย่างจริงจัง เป็นขั้นตอนจนก่อ เกิดพลัง ว่าชุมชนพืน้ ที่อนื่ จะขับเคลือ่ นได้ ไม่มากก็น้อย หรืออาจจะก่อเกิดถึงขั้นมี จิตส�ำนักและมีพลังก็เป็นได้” เมื่ อ ถามถึ ง การแก้ ป ั ญ หาความ ยากจนด้ ว ยหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง หรือศูนย์เรียนรู้ที่ ดร.อาทิตย์ ท�ำอยู่นั้นมีทางออกในการแก้ปัญหาดัง กล่าวได้อย่างไร ได้รับค�ำตอบว่า “ความ ยากจน นั้นเกิดจากหลายๆ ปัจจัย แต่ถ้า หากจ�ำกัดความยากจน จากจ�ำนวนเงิน แล้ว การแก้ความยากจนก็จะเอาเงินเป็น ตัวตั้ง การพัฒนาที่ล้มเหลว มิได้เกิดจาก 32 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เอาเงินเป็นตัวตั้งหรือ? การจะพัฒนาได้ ต้องเริ่มต้นจากการใช้เงิน พอเงินหมดก็ หยุดการพัฒนา การพัฒนาจึงไม่มีความ ยั่งยืน เพราะเอาเงินเป็นที่ต้ัง ตามหลัก เศรษฐกิจทุนนิยม ต้องอัดเม็ดเงินเข้าสู่ ระบบ ระบบเศรษฐกิจจึงจะรุ่งเรือง แต่ ถ้าหากเราจะมองการพัฒนาที่ก่อให้เกิด ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืนนั้น ยังมีทุน หลายอย่างมากกว่าตัวเม็ดเงินอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุน ทางธรรมชาติ ทุนทางชีวภาพและอื่นๆ การแก้ ไขความยากจนจึ ง ไม่ ใช่ ก ารมุ ่ ง หาเงินอัดเข้าไปอย่างไม่ลืมหูลืมตา หาก แต่ต้องบูรณาการทุนต่างๆ เข้าด้วยกัน อย่างพอดี พอเหมาะ กับสังคมไทย ดัง ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ใช้ค�ำว่า ภูมิสังคม หมายถึงการพัฒนาที่ สอดคล้องกับภูมิศาสตร์และสังคมวิทยา ของประเทศเรา มิใช่เอ่ยอ้างเอาแต่ความ ทันสมัยตามต่างประเทศ” ดร.อาทิตย์ มองว่าในการด�ำเนิน ชี วิ ต ของคนไทยในปั จ จุ บั น มั ก ก่ อ ให้


เกิดหนี้สินภาคครัวเรือน ด้วยการใช้จ่าย ฟุ่มเฟือยเกินความพอดี พอเหมาะตาม สถานะแห่งตน เป็นการบริโภคตามความ อยาก (อยากทันสมัย) เป็นตัณหาและ กิเลส อยากมีรถคันแรก บ้านหลังแรก เป็นที่หนึ่งคนแรกเลิศหรูกว่าผู้อื่น (เป็น สภาวะทางจิต ที่เกิด การเจ็บ ป่ว ย) โดย ลืมหันมองสถานะแห่งตนว่ามีขีดความ สามารถและก�ำลังซื้อในการบริโภคเพียง ใด หมายถึ ง ไม่รู้ป ระเมิน ตนเองอย่าง ถูกต้อง ก่อเกิดหนี้จนมิอาจช�ำระ กลาย เป็ น หนี้ เ สี ย สร้ า งความเสี ย หายให้ แ ก่ ระบบเศรษฐกิ จ ของประเทศ จากการ ไม่ประเมินตน ไม่มีเหตุผลในการบริโภค จนเกิดหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะมิได้ด�ำเนิน วิถีชีวิตแบบพอเพียง ที่ยืนบนความพอ

ประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันอย่าง คนที่มีความรู้และมีคุณธรรม อันเป็นหนึ่ง ของการน� ำ มาซึ่ ง ความยากจนซ�้ ำ ซาก และยากต่อการแก้ไข หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีส่วนช่วยเหลือผู้คน ในการด�ำเนินวิถีชีวิต เรื่องความยากจน แน่นอน โลกวันนี้ มีผู้คนไม่น้อยพยายาม “อ่ า นอนาคต” เพื่ อ ใช้ ค วามรู ้ ต าม แนวทางหลั ก ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอ เพี ย ง พั ฒ นาชี วิ ต ให้ อ ยู ่ ไ ด้ อยู ่ ดี มี สุ ข หลุดพ้นจากโซ่ตรวนแห่งเศรษฐกิจและ ค่านิยมในวัตถุ หลายกลุ่ม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่อาจต้านทานกระแสสังคมที่ ไหลเชี่ยวรุนแรงไหว เพราะขาดองค์ความ รู้และผู้สนับสนุนรวมกลุ่มอย่างจริงจัง แต่

33 issue 92 September 2015

ทั้งนี้ หากไม่มีใครลุกขึ้นมาท�ำอะไรเลยใน การชักชวนผู้คนให้ตระหนักถึงทางเดินที่ เราก�ำลังเดินอยู่ว่า “เหมาะสมแล้วหรือไม่ กับคนไทย” เราๆ ท่านๆ อาจถูกกระแส หลักพัดไปจนกู่ไม่กลับ กลายสภาพเป็น ฟันเฟืองหรือเครื่องจักรตัวหนึ่งในสังคมที่ มุ่งหน้าเหยียบย�่ำกันเองเพื่อเงินตราอย่าง ไม่มีสิ้นสุด ไม่รู้จักค�ำว่า “พอ” ติดต่อศูนย์รวมใจ ทางไท ทาง ธรรม ทางพอเพียง บ้านเลขที่ 222 หมู่ที่ 7 ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ หรือโทร.084-953-7389 (คุณสุภาภรณ์ ภูบุญมา) 090-962-1812 (ดร.อาทิตย์ บ� ำ รุ ง เอื้ อ ) Facebook ศู น ย์ ร วมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง


จอมยุ ทธลิ้มเกาฮง กับ ผู ้เฒ่าแห่งพรรคกระยาจก ว่าด้วยเรื่อง “ประโยชน์ของใบรับรองความพิการ”

บรรดาท่ า นผู ้ เ ฒ่ า แห่ ง พรรคกระยาจกที่ ห ลบซ่ อ นตั ว อยู ่ ต ามหุ บ เขาอั น ลี้ ลั บ ได้ ม ารวมตั ว กั น อี ก ครั้ ง เพื่ อ ถ่ า ยรู ป หมู ่ ร ่ ว มกั บ จอมยุ ท ธลิ้ ม เกาฮง ประมุ ข พรรคกระยาจกรุ ่ น ที่ 19 ผู ้ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดเคล็ ด วิ ช าไม้ เท้ า ตี สุ นั ข กั บ เคล็ ด วิ ช า 18 ฝ่ า มื อ พิ ชิ ต มั ง กรจากท่ า นอาจารย์ อั้ ง ชิ ก กง ประมุ ข พรรครุ ่ น ที่ 18 ณ สาขาลับแห่งหนึ่งของพรรค ใน ดินแดนอันลี้ลับของไทก๊ก ...หลั ง จากที่ ท ่ า นประมุ ข ลิ้ ม ได้ ทุ่มเทก�ำลังภายใน ฝึกปรือวิทยายุทธมา นานนับ 20 ปี ท�ำให้ท่านประมุขค้นพบ สุดยอดเคล็ดวิชาใหม่ 5 เคล็ดวิชา คือ 1) เคล็ ด วิ ช า “ประเมิ น ความ

พิ ก ารทางการมองเห็ น แบบไม่ ต ้ อ ง ใช้ Snellen chart” เคล็ดวิชานี้มี 3 กระบวนท่าเท่านั้น กระบวนท่าที่ 1 เมื่อศิษย์นั่งต่อ หน้าท่านประมุข ให้ถามว่า “มองเห็น หน้าท่านประมุขไหม” ถ้าศิษย์ตอบว่า “ไม่” ก็ออกใบรับรองความพิการได้เลย 34 IS AM ARE www.ariyaplus.com

(นั่ ง อยู ่ ใ กล้ ๆ กั น ขนาดนี้ ยั ง มองไม่ เ ห็ น พิการแน่ๆ) • แต่ถ้าศิษย์ตอบว่า “เห็น” ให้ ใช้กระบวนท่าที่ 2 ถามต่อว่า “ประมุข หล่อไหม” • ถ้าศิษย์ตอบว่า “หล่อ” แสดง ว่าสายตาดีมาก ตาถึง ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่


Good Life จะออกใบรับรองความพิการให้ • แต่ถ้าตอบว่า “ไม่หล่อ” ให้ใช้กระบวนท่าที่ 3 ด้วยการ ไล่กลับบ้านไปเลย รออีก 5 ปี ค่อยมาประลองกันใหม่ เป็นเคล็ดวิชาที่ล�้ำลึกสุดยอดในยุทธภพ ผู้ที่จะได้รับการ ถ่ายทอดเคล็ดวิชานี้ คือ ประมุขพรรคคนต่อไปเท่านั้น 2) เคล็ดวิชา “ประเมินความพิการทางการได้ยินแบบไม่ ต้องใช้ Audiometer เป็นอาวุธ” ไม่ต้องไปเข้าคิวรอตรวจกันที่ ส�ำนักกระบี่นครพิงค์ แห่งมณฑลเจียงใหม่ให้เสียเวลา • เอาปฏิทินสุราชั้นเลิศจากไทก๊ก มาเปิดให้ดู ถ้าศิษย์ ของเราหันมาดู แล้วมีอาการแบบ Facial palsy ปากเบี้ยวๆ น�้ำลายไหลตามมุมปาก แลบลิ้นเลียริมฝีปาก แสดงว่า “หูดี” ไม่พิการ • ถ้าศิษย์เราไม่สนใจหันมาดูเลย แสดงว่า “หูไม่ดี” ออก ใบรับรองความพิการได้เลย 3) เคล็ดวิชา “ประเมินความพิการทางการเคลื่อนไหว” • ให้ศิษย์มาประลองวิชาตัวเบากับประมุขพรรคด้วย การวิ่งขึ้นดอย 10 ลี้ ถ้ามิอาจเอาชนะประมุขพรรคได้ ถือว่า พิการหมด • คิดว่า ศิษย์พรรคกระยาจกของเรา น่าจะพิการกันหมด มีไม่พิการอยู่แค่ 2 คน เป็น อส.คนหนึ่ง กับเด็กนักเรียน รร.ปาง ตอง คนหนึ่ง วิชาตัวเบามันล�้ำเลิศยิ่งนัก ท่านประมุขวิ่งตามจน ลิ้นห้อย ก็ยังตามมันไม่ทัน 4) เคล็ดวิชา “ประเมินความพิการทางจิต” - จับศิษย์ของเรามานั่งสนทนาธรรมกับท่านประมุข ถ้า คุยกันได้รู้เรื่อง เข้าใจความคิดของท่านประมุข แสดงว่า...เข้าขั้น ตรีฑูต พิการถาวรแน่ๆ ไม่ต้องส่งส�ำนักหมัดเมาสวนปรุงให้เสีย เวลา ออกใบรับรองไปเลย

ตั ด เข้ า มาสู ่ โ หมดมี ส าระ... เมื่อตอนต้นปี อาจารย์ดารณี สุวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์ สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้มาเล็คเชอร์เรื่องผู้พิการที่แม่ฮ่องสอน บอกว่ า WHO ได้ ป ระเมิ น ตั ว เลขเอาไว้ ว ่ า ผู ้ พิ ก าร น่ า จะมี ประมาณ 15% ของประชากรทั้งหมด แต่ในเมืองไทย มีผู้พิการ ที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับความช่วยเหลือเพียงแค่ 2% เท่านั้น ยังตกหล่นอีกนับล้านๆ คน สาเหตุหลักเนื่องจาก “หมอ” ไม่ ค่อยยอมออกใบรับรองความพิการให้ เพราะความเข้าใจผิดเกี่ยว กับหลักเกณฑ์ของความพิการ และไม่มีเวลาที่จะมาสนใจเรื่องนี้ (งานปกติก็เยอะอยู่แล้ว) ท�ำให้คนพิการนับล้านๆ คนเสียโอกาส ในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยเฉพาะเบี้ยยังชีพผู้ พิการเดือนละ 800 บาท อ.ขุนยวม มีประชากรประมาณ 20,000 คน ถ้าเอาตาม ที่ WHO ประมาณ ก็แสดงว่า ต้องมีคนพิการกว่า 3,000 คน แต่ ข้อมูลปัจจุบัน มีคนพิการที่ขึ้นทะเบียนแล้วแค่ 600 คนเท่านั้น เอง ตกหล่นไป 2 พันกว่าคน สาเหตุก็คงเป็นตามที่อาจารย์บอกนั้นแหละ อีกประการ คือ ส่วนใหญ่บ้านอยู่ไกล อยู่ในป่าในดอย ไม่สามารถที่จะเดิน ทางมา รพ.ได้ มาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้ใบรับรองหรือเปล่า ก็เลย ไม่มากัน ถ้าหมอไม่ไปให้บริการเชิงรุกถึงที่บ้าน คนไข้ก็ไม่มีทาง ได้แน่ๆ จะรอให้คนไข้มาตรวจที่ รพ. เป็นไปไม่ได้เลย เพราะ เดินทางมาล�ำบาก อย่าว่าแต่มา รพ.เลย แค่ รพ.สต.ใกล้บ้าน บางคนยังมาไม่ได้ 2 เดือนที่ผ่านมา ท่านประมุขพรรคกระยาจก ได้สั่งการ ไปยังหัวหน้าสาขาของพรรค (รพ.สต.) ทุกแห่ง ระดมบรรดา อ่านต่อฉบับหน้า

5) เคล็ดวิชา “ประเมินความพิการทางสติปัญญา” • ประลองหมากรุ ก กั บ ท่ า นประมุ ข หากเอาชนะได้ ภายใน 3 กระบวนท่า ก็นับว่าเป็นยอดคน • ถ้าอยากได้ใบรับรองความพิการ ก็จงอย่าคิดเอาชนะ ท่านประมุข • ส่วนเคล็ดวิชา “ประเมินความพิการทางการเรียนรู้” และ “ประเมินเด็กออทิสติก” ท่านประมุขพรรคมิอาจคิดค้น กระบวนท่าได้ ต้องส่งไปให้ มารบูรพา อึ้งเอี๊ยซือ ประมุขแห่ง เกาะดอกท้อ ช่วยชี้แนะ ............................................................ 35

issue 92 September 2015


ศิษย์ของพรรคที่คิดว่าน่าจะเข้า เกณฑ์ผู้พิการ มารอกันที่สาขาของพรรค เพื่อให้ท่านประมุข ตรวจและออกใบรับ รองให้ ใครมาไม่ได้ ท่านประมุขก็จะตาม ไปเคาะประตูบ้าน ออกใบรับรองให้ถึงที่ ตะเวนไล่ อ อกใบรั บ รองความ พิ ก ารให้ ทุ ก หมู ่ บ ้ า นทั่ ว อ� ำ เภอขุ น ยวม กะจะท� ำ ให้ ขุ น ยวมมี ย อดคนพิ ก ารขึ้ น ทะเบียนแล้วให้ได้ตามที่ท่านฮูบอก แต่ หาแล้วหาอีก หาทั่วทุกหลังคาเรือน น่า จะได้ไม่เกิน 1,200 คนแค่นั้นเอง คิด เป็น 6% ของประชากร ท�ำยังไงก็ไม่ถึง 15% เพราะมีความพิการบางประเภทที่ ประมุขพรรค ไม่สามารถออกให้ได้ โดย เฉพาะความพิการทางการได้ยิน ค่อยๆ หาไป ถ้าได้ซัก 2,000 คน คิดเป็น 10% ของประชากรในอ�ำเภอ ก็น่าจะเป็นตัวเลขที่สูงที่สุด ขึ้นมาเป็น อันดับ 1 ของไทก๊กแล้ว ขึ้นทะเบียนผู้พิการช่วงนี้ (ก่อน สิ้นเดือน ก.ย.2558) กว่าจะได้เบี้ยยังชีพ ผู ้ พิ ก ารเดื อ นละ 800 บาท ก็ ต ้ อ งรอ ปีงบประมาณ 2560 (เริ่มได้เดือน ต.ค. 2559 โน้น) เพราะงบปี 2559 รัฐบาลปิด ยอดและเตรียมตั้งเบิกงบไปแล้ว...และ ถ้าขึ้นทะเบียนช้าไปอีก ก็อาจต้องรอถึง ปีงบประมาณ 2561 (เริ่ม ต.ค.2560) ถึง จะได้ ช้าไม่ได้แล้ว ต้องรีบๆหน่อย กว่าจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ ก็ ต้องรอถึง ต.ค.2559 เป็นอย่างเร็ว ไม่รู้ ว่าท่านผู้เฒ่าจะอยู่รอกันไหวไหมเนี่ย ยัง ไงๆ ก็อดทนรอหน่อยนะ อยู่จนได้เบี้ย ยังชีพผู้พิการ ซักเดือนสองเดือนแล้วค่อย ไปก็ยังดี ท่านประมุขพรรคจะได้ไม่รู้สึก ว่า ท�ำงานเสียเปล่า เป็ น งานที่ ต ้ อ งอาศั ย จิ ต เมตตา มากๆ หน่อย คนยากคนจน คนแก่คน เฒ่า แข้งขาไม่ดี ไม่มีลูกไม่มีหลาน ได้ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแค่เดือนละ 700- 800 บาท ไม่พอประทังชีพ ถ้าได้เบี้ยผู้พิการ

อีก 800 บาทต่อเดือน ก็ยังพอประทัง ชีพได้บ้าง บางคนพิการเดินไม่ได้มานาน 20 ปี เพิ่งจะได้ใบรับรอง ถ้ามีตกเบิกย้อน หลังเหมือนเงินเดือนข้าราชการ น่าจะได้ เกือบ 2 แสน หรือคิดอีกทางหนึ่ง การที่ หมอไม่ยอมออกใบรับรองให้ ท�ำให้คนไข้ เสียสิทธิที่ควรจะได้ไปถึง 2 แสนบาทเลย ทีเดียว ประโยชน์อีกอย่างที่จะได้คือ เงิน สะพั ด ในอ� ำ เภอ กระตุ ้ น เศรษฐกิ จ ของ ท้องถิ่นได้ ถ้ามีผู้พิการได้เบี้ยยังชีพเพิ่ม ซัก 1,000 คน คนละ 800 บาท ก็เท่ากับ มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในท้องถิ่นเดือนละ 800,000 บาท เลยทีเดียว ...แค่ อ อกใบรั บ รองความพิ ก าร

36 IS AM ARE www.ariyaplus.com

ให้...

...คนพิการได้เงิน ...ท้ อ งถิ่ น ได้ ค วามคึ ก คั ก ทาง เศรษฐกิจ ...เราได้บุญ จากการช่วยเหลือ ชาวบ้าน เป็นการท�ำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน ตัวเองซักกะบาท ...ใช้เงินหลวง สร้างบุญบารมีให้ เกิดแก่ตน นี่คือสุดยอดเคล็ดวิชาของบู๊ ลิ้ม ฮ่าฮ่าฮ่า ...อ้าว ใครเป็นหมอ โดยเฉพาะ หมอทั่วไป (หมอเฉพาะทางก็ได้) อยาก จะท�ำอะไรที่เป็นการช่วยเหลือคนไข้เพิ่ม เติ ม อี ก ก็ แ นะน� ำ ให้ เ อา คู ่ มื อ การออก ใบรับรองความพิการมานั่งอ่าน แล้วมา ช่วยกันออกใบรับรองความพิการให้คนไข้


ถ้ า หมอไม่ ไ ปให้ บ ริ ก ารเชิ ง รุ ก ถึ ง ที่ บ ้ า น คนไข้ ก็ ไ ม่ มี ท างได้ แ น่ ๆ จะรอให้ ค นไข้ ม าตรวจที่ รพ. เป็ น ไปไม่ ไ ด้ เ ลย เพราะเดิ น ทาง มาล� ำ บาก อย่ า ว่ า แต่ ม า รพ.เลย แค่ รพ.สต.ใกล้ บ ้ า น บางคนยั ง มาไม่ ไ ด้

กันเยอะๆ หน่อย ดีกว่านั่งตรวจ URI Dyspepsia Myalgia โรคขี้หมูขี้หมา ไปวันๆ ...ยังมีคนพิการทั่วประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีก หลายล้านคน รอให้พวกเราช่วยกันอยู่ ...แม้แต่ มารดาของท่านประมุขเอง ก็เริ่มหลังโก่งๆ งอๆ อี ก ไม่ กี่ ป ี ก็ จ ะจั บ มาขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น สมาชิ ก พรรค กระยาจกด้วยอีกคน ...ปล. ตอนไปอบรมปฐมนิเทศ ผอ.ใหม่ ที่นนทบุรี ตามตารางการอบรมก็ไม่มีเรื่องการประเมินผู้พิการ แต่ อาจารย์ดารณี ผอ.ศูนย์สิรินธรฯ ก็อุตสาห์สละเวลาส่วน ตัว ตอนเย็นหลังเลิกงาน มาสอนเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ อยากให้หมอๆ ทุกคนช่วย กันออกใบรับรองความพิการให้มากๆ หน่อย ...ผมก็ช่วยได้เต็มที่แค่นี้แหละครับ ...พอดีว่า จบหมอจุฬาฯ แต่จบมาแบบล้มลุกคลุกคลาน ก็เลยช่วยได้แค่นี้ ...นี่ถ้าจบแบบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหมือนรุ่นน้องบางคนที่เห็นโฆษณาใน เว็ปเสริมความงาม คงช่วยได้มากกว่านี้เป็นแน่ ...เปิดคลินิครักษารอยย่นรอยเหี่ยวให้ พะตี่ หมื่อก่า ...แก้ปัญหาตาโหล ร่องใต้ตาลึก ราคาเริ่มต้นที่ มะนาว 3 แก่น ...แก้ปัญหาแก้มตอบ ขมับตอบ ราคาเริ่มต้นที่ ถั่วเน่าอึ 1 ห่อ ข้าวเบอะ 1 ชาม ...ลูกค้าตรึม ...รวยแน่ๆ ตู 37 issue 92 September 2015


38 IS AM ARE www.ariyaplus.com


39 issue 92 September 2015


กับวัฒนธรรมของมุสลิมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเครือญาติ ดังนั้นเมื่อคนในครอบครัวแต่งงาน จะขยายครอบครัวใหม่ออก จากตัวบ้านหรือตั้งอยู่ใกล้ๆ กันเมื่อเวลาผ่านไปประชากรเพิ่ม มากขึ้น แต่พื้นที่ไม่สามารถขยายได้ตาม ท�ำให้พื้นที่ท�ำการ เกษตรมีน้อยลง ลักษณะพื้นที่ของต�ำบลชะไว โดยทั่วไปเป็นที่ ลาบลุ่มในเขตภาคกลาง อยู่ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา และมีถนน สายเอเชียตัดผ่านแบ่งพื้นที่ต�ำบลชะไวเป็น 2 ส่วน ต�ำบลชะไว เป็น 1 ใน 9 ต�ำบลของอ�ำเภอไชโย มีคลองชลประทานขนาดเล็ก ตามแนวถนนลาดยางในต�ำบลไม่มีป่าชุมชน และพื้นที่สาธารณะ ในชุมชน เนื่องจากมีการขยายครัวเรือน จนเต็มพื้นที่ ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมาคือ รับจ้าง รับราชการ ท�ำนา และเลี้ยงสัตว์

สภาพแวดล้อม

กลุ่มพี่น้องชาวไทยมุสลิมในจังหวัดอ่างทองนั้น ปัจจุบัน เป็นชุมชนเล็กๆ อยู่ในต�ำบลชะไว อ�ำเภอไชโย เป็นชุมชนที่ด�ำรง ชีวิตอยู่อย่างสันติสุข แม้จะมีวัฒนธรรมทางความเชื่อที่แตกต่าง จากพุทธศาสนิกชนทั่วไป แต่ก็สามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับ ชาวอ่างทองได้อย่างสันติสุข มีประชากรมุสลิมประมาณ 3,455 คน มีมัสยิด 2 แห่ง นอกจากนั้นยังมีชาวมุสลิมที่มาตั้งร้านขาย อาหาร และสินค้าอยู่บ้างในตลาดเทศบาลเมืองอ่างทองสามารถ ด�ำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมชาวอ่างทองอย่างร่มเย็นเป็นสุข ด้วยพื้นที่ต�ำบลมีขนาดเล็กระยะรอบต�ำบลเพียง 5 กิโล เมตรกว่าๆ ท�ำให้ต�ำบลชะไวมีประชากรอยู่หนาแน่น ประกอบ

40 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ความเป็นมา

หากกล่าวถึงจังหวัดอ่างทองแล้ว ถือได้ว่ามีการเข้ามาเผยแพร่องศาสนา อิสลามน้อยมากแม้ว่าชาวไทยมุสลิมใน จังหวัดใกล้เคียงมีมานานแล้วตั้งแต่สมัย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา มี เรื่ อ งเล่ า สื บ ต่ อ กั น มา ว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพ่อค้า มุสลิมกลุ่มหนึ่งจากเมืองปัตตานี มีผู้น�ำ คือ โต๊ะกีไว หรือ โต๊ะกีสุเหร่า เดินทาง มาตามล� ำ น�้ ำ เจ้ า พระยาจนมาถึ ง แขวง เมืองวิเศษชัยชาญ พบเห็นท�ำเลที่ต�ำบล เทวราชเป็นที่สงบสุขอุดมสมบูรณ์ดี จึง ได้ ชั ก ชวนก่ อ ตั้ ง เป็ น ชุ ม ชนท� ำ มาหากิ น กันระยะหนึ่ง เมื่อเห็นว่ายังไม่ค่อยเหมาะ สมจึ ง ชั ก ชวนกั น ย้ า ยมาตั้ ง ชุ ม ชนแห่ ง ใหม่ที่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ปัจจุบันคือ กลุ่มชาวมุสลิมที่บ้านชะไว ต�ำบลชะไว นั่นเอง ส่วนค�ำว่า ชะไว อาจ มาจากค�ำว่า “เชาว์ไว” หรือ กร่อนเสียง มาจากค� ำ ว่ า “ชนะไว” จนกลายเป็ น “ชะไว” อยู่ในปัจจุบัน ต� ำ บลชะไว มี เ รื่ อ งราวทาง ประวั ติ ศ าสตร์ และเป็ น ต� ำ บลที่ มี

เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ได้ พั ฒ นาปรั บ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย สามารถแบ่งการ พัฒนาออกเป็นช่วงเวลาได้ดังนี้

พัฒนาการต�ำบล พ.ศ. 2304 – 2520

ยุ ค สภาพแวดล้ อ มอุ ด มสมบู ร ณ์ ยุ ค นี้ ถื อ ว่ า สภาพทางกายภาพ ของต�ำบลชะไวยังเป็นพื้นที่นา เป็นสวน ยั ง ไม่ มี ถ นนหนทาง มี เ พี ย งล� ำ คลอง ชลประทาน ที่ มี ส ภาพเป็ น คลองดิ น คลองซอยเพื่อน�ำน�้ำไปใช้ทางการเกษตร บริเวณริมคลองมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่นตลอด แนว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ท� ำ นา เป็ น การท� ำ ปี ป ลู ก ข้ า วเพื่ อ การ บริโภคในครัวเรือน พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ในสมัยนั้น คือ ข้าวหอมตั้ง ข้าวเหลือง อ่ อ น พื้ น ที่ โ ดยรวมมี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ความอุดมสมบูรณ์มาก ในน�้ำมีปลาชุกชุม ในนามีข้าวเหลืองอร่าม อาหารการกิน อุดมสมบูรณ์ ปลาที่จับได้บางส่วนมีการ แปรรูปถนอมอาหาร เช่น การท�ำปลาร้า การท�ำน�้ำปลา การท�ำปลาย่างและปลา 41 issue 92 September 2015

เค็ม ชาวบ้านโดยทั่วไปแทบจะไม่มีค่าใช้ จ่ายเรื่องอาหารการกิน ส่วนการท�ำนาก็ ไม่ต้องใช้ปุ๋ยไม่ต้องใช้สารเคมีเลย เพราะ แต่ละปีจะมีน�้ำหลากพัดพาตะกอนธาตุ อาหารของพื ช มาจากป่ า จากเขาทาง ภาคเหนือ เติมความอุดมสมบูรณ์ให้พื้นที่ ต่อมาต�ำบลชะไวมีการพัฒนาในพื้นที่มาก ขึ้น เช่น การสร้างคลองส่งน�้ำชลประทาน และการสร้างถนนพาดผ่านต�ำบล เช่น ถนนสายเอเชีย ท�ำให้เกิดการพัฒนามาก ขึ้นในชุมชนตามล�ำดับ ในส่วนของพื้นที่ ปลูกในพื้นที่ ได้แก่ ถั่วเขียว แตงโม งา และข้าวโพด โดยนิยมปลูกตามสองฝั่ง คลอง และยังเป็นการปลูกเพื่อการบริโภค กินกันเองในชุมชนเป็นหลักไม่เน้นเรื่อง การค้าขายกับภายนอกมากนัก

พ.ศ. 2521 – 2525

ยุ ค การพั ฒ นาอาชี พ ที่ ห ลากหลาย มีความเจริญเข้ามาพร้อมกับการ ตัดถนนมากขึ้น ตามบริเวณคูคันคลอง ของหมู ่ บ ้ า น โดยมี ก ารถมคลองซอย มาเป็ น ถนนเพราะไม่ มี ที่ ดิ น สาธารณะ


ประโยชน์ท�ำถนน จึงจ�ำเป็นต้องขุดดินข้างคลองมาถมในคลอง ให้กลายมาเป็นถนนเพื่อใช้เดินทางสัญจรแบบเดิมๆ ในส่วนของ การประกอบอาชีพมีความหลากหลายมากขึ้นนอกจากการท�ำ นา ท�ำสวน และท�ำไร่แล้ว เริ่มมีการค้าขาย เช่น การขายเนื้อทั้ง เนื้อสดและเนื้อตากแห้ง ประกอบกับในช่วงเวลานี้ต�ำบลชะไวมี โรงฆ่าสัตว์อยู่ประมาณ 10 โรง จึงมีการแปรรูปเนื้อ การน�ำเนื้อ เค็ม เนื้อแดดเดียวเพื่อน�ำไปขายที่คลองเคยร่วมอีกด้วย อีกอาชีพของชาวต�ำบลชะไว คือ การเลี้ยงควายเพื่อใช้ ท�ำนา และมีการเลี้ยงควายนม โดยจะน�ำนมควายมาท�ำเนยไว้ จ�ำหน่าย เนยที่ใช้ได้แทนน�้ำมันทอดอาหารได้ นอกจากนี้ยังมี การประกอบอาชีพอื่นๆ เช่นการสาปแช่ง สานสุ่ม ทั้งสุ่มหาปลา และสุ่มไก่ โดยไปตัดไม้ไผ่ริมแม่น�้ำมาเป็นวัสดุสานแข่ง การหา ไม้ไผ่จะหาไล่ไปเรื่อยตลอดสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาเลยไปถึง จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท ตัดแล้วผูกเป็นแพล่องตามล�ำน�้ำ เจ้าพระยากลับมา ชาวบ้านบางส่วนจึงมีอาชีพตัดไม้ไผ่มาขายส่ง ให้คนสานเข่งโดยล่องแพมาขายริมแม่น�้ำเจ้าพระยา

พ.ศ. 2526 – 2545

ยุ ค ชุ ม ชนขยายตั ว ขาดที่ ดิ น ท� ำ กิ น ความเป็นอยู่ของชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มีกระแสการไปท�ำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย กระแสดังกล่าว ท�ำให้ชาวบ้านชะไวเดินทางไปท�ำงานนั้น ต้องเสียค่านายหน้ากัน จ�ำนวนมาก แต่การเดินทางไปท�ำงานนั้น ต้องเสียค่านายหน้า คนละห้าหมื่นกว่าบาท ชาวบ้านส่วนมากจะเอาที่ดินไปจ�ำนอง นายทุนเพื่อกู้เงินไปเสียค่านายหน้าในการท�ำงานต่างประเทศ และมีภาระต้องเสียดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 3 บาท/เดือน คนที่ได้ ไปท�ำงานก็จะส่งเงินกลับบ้านท�ำให้ชุมชนมีสภาพการเงินคล่อง ตัว แต่ก็มีชาวบ้านบางส่วนถูกโกงค่านายหน้าเสียเงินแล้วไม่ได้ เดินทางไปท�ำงาน เมื่อครอบครัวขยายตัว ต้องกินต้องใช้ ที่ดินที่นาก็มีจ�ำกัด ไม่สามารถขยายได้ ชาวบ้านบางส่วนต้องดิ้นรนออกหางานท�ำ ออกไปรับจ้างเกี่ยวข้าวต่างถิ่นตั้งแต่จังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี สมัยนั้นค่าแรงในการเกี่ยวข้าวไร่ ละ 20-35 บาท ทุกคนเป็นการรับจ้างท�ำงานโดยอาศัยแรงกาย การคิดค่าแรงใช้การเหมา คิดเป็นไร่ เกี่ยวข้าวได้มากก็ได้เงิน มาก เมื่อเหมาเกี่ยวข้าวก็ต้องการท�ำงานให้มากเพื่อจะได้เงิน มาก จึงมีการใช้ยากระตุ้นเรียกว่ายาขยัน (ป๊อปปิ้น) เพื่อช่วย ให้เกี่ยวข้าวได้มากขึ้น ชาวชุ ม ชนเริ่ม มีอาชีพการช�ำแหละไก่ ขายเนื้ อ ไก่ ส ด รับจ้างทั่วไป ท�ำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัวและการ

แปรรู ป เนื้ อ สั ต ว์ ต่ อ มามี ส ถานการณ์ โรคไข้ ห วั ด นกระบาด ส่งผลกระทบต่ออาชีพการขายไก่อย่างมาก เพราะคนในต�ำบล ชะไวบางส่วนเป็นลูกจ้างหรือเป็นเจ้าของฟาร์มไก่ ชาวบ้าน ขาดทุนกันมาก ส่งผลให้ชาวบ้านเป็นหนี้จ�ำนวนมาก ส่วนสภาพ สังคมความเป็นอยู่ เมื่อชาวบ้านมีหนี้สินการค้าขายประกอบ อาชีพเริ่มสะดุด ชุมชนก็เริ่มอ่อนแอ การประกอบอาชีพไม่มั่นคง ท�ำให้ยาเสพติดเริ่มแพร่ระบาดเข้ามาในชุมชน

พ.ศ. 2546 – 2552

ยุ ค พลั ง ชุ ม ชน ในระยะนี้ เริ่ ม มี ก ารปราบปรามยาเสพติ ด ส่ ง ผลกระ ทบต่ อ คนในชุ มชนอย่ า งมาก เด็ ก และเยาวชนหลายคนต้อง ถู ก จั บ ด� ำ เนิ น คดี สิ่ ง เหล่ า นี้ ถื อ เป็ น เรื่ อ งใหญ่ ม ากของชุ ม ชน 42

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ท�ำให้กรรมการมัสยิดและชาวบ้านได้มาประชุมร่วมกัน เพื่อหา ทางออกจึงใช้พลังชุมชนมาช่วยกันบ�ำบัดเยาวชนที่ติดยาบ้าโดย ใช้หลักศาสนา เป็นการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยพลังชุมชน ซึ่ง มีกระบวนการล้อมวงปรึกษาหารือคุยกัน พร้อมทั้งปรับทัศนคติ ต่อการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งเปิดใจและเปิดโอกาส ยอมรับ ให้ลูกหลานกลับเข้าสู่ชุมชน ช่วยกันให้อภัย และให้โอกาสกับลูก หลานของชุมชน งานพัฒนาชุมชนจึงเริ่มต้นขึ้น ถือเป็นการรวมกลุ่มของ ชุมชนเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติชุมชนในเรื่องปัญหายาเสพติด ท�ำให้ คนในชุมชนต้องหันหน้ามาคุยกัน มาสร้างความร่วมมือกันเพื่อ แก้ไขปัญหาส่วนรวม เป็นแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนเริ่มเข้ามาร่วม ด้วยช่วยกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน ช่วงนั้นสถานีต�ำรวจอ�ำเภอไชโย เข้ามาร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาโดยการเข้าท�ำงานร่วมกับ ผู้น�ำทางธรรมชาติ มีการส�ำรวจข้อมูลโดยกลุ่มเยาวชน และโรง พยาบาลอ่างทอง ช่วยประมวลข้อมูล และเสนอปัญหาของชุมชน ให้ชุมชนรับทราบและร่วมกันคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา ท�ำให้เกิด การตื่นตัวของกลุ่มสตรีอาสาพัฒนาต�ำบล อสม. และแกนน�ำที่เป็น คณะกรรมการมัสยิด เข้ามาร่วมท�ำงาน และหาทางแก้ปัญหาของ ชุมชนอย่างจริงจัง

ทุนต�ำบล

ทุนทางด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุ มชน

เมื่อมีงานบุญหรืองานมงคลในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่ง เป็นเครือญาติกันอยู่แล้ว จะเข้าร่วมงานเพื่อท�ำบุญร่วมกัน ดังนั้นใน เชิงความสัมพันธ์ยังมีระบบเครือญาติอยู่ในชุมชนสูง นอกจากนั้นใน ชุมชนยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ส�ำคัญ ได้แก่ การเล่นกระบี่กระบอง การสานเข่ง และสานสุ่มปลา และมีวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น การออกบวช ออกฮัจญ์ กวนข้าวอาสุรอ และพิธีตะมัสอัลกุรอาน นอกจากนี้ยังมีการท�ำอาหารแปรรูป เช่น เนื้อทุบ ปลาส้ม และ ปลาเชียง

ทุนด้านศักยภาพชุมชน

จากความส�ำเร็จของพลังชุมชนในการบ�ำบัดและป้องกันยา เสพติด ท�ำให้ชุมชนเกิดทุนทางสังคม เป็นทุนของความร่วมมือจน เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมคิดร่วมท�ำ ในเรื่องต่างๆ ของส่วนรวม เช่น เกิ ด ความร่ ว มมื อ กั บ ปปส. ในการสร้ า งต้ น แบบชุ ม ชน ที่ใช้พลังชุมชนแก้ปัญหา ท�ำให้ชุมชนสามารถป้องกันและสร้าง ภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดได้ดี มีการท�ำกิจกรรมต่างๆ เช่น การ ค้นหาข้อมูลผู้เสพ สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม เป็นการต่อยอด 43 issue 92 September 2015


นิยามความพอเพียงของต�ำบลชะไว “เรียนรู้พลังงาน สืบสานวัฒนธรรม มุ่งมั่นความคิด ควบคู่คุณธรรม ชั กนาเยาวชน คนรุ ่นใหม่ สินค้าฮาลาล อาหารปลอดภัย วิถีพอเพียง เยี่ยงคนบ้านชะไว

44 IS AM ARE www.ariyaplus.com


กับกลุ่มกิจกรรมเดิมของ กลุ่มสตรี กลุ่มยุวสลิม กลุ่ม อสม. เป็นต้น มีการอบรมจริยธรรมภาคฤดูร้อนเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน โดยได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาล และ อบจ. อย่าต่อเนื่องทุกปี นอกจากนั้นยัง มีกิจกรรมให้เยาวชนท�ำแผนที่เดินดิน เก็บข้อมูลความรู้ ค้นหาปราชญ์ชุมชน ท�ำให้เยาวชนเกิดความรักถิ่นเกิด เกิดความร่วมมือกับ สสส. ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ “โครงการคนสามวัย สร้างสายใยรัก” ในครอบครัวสามวัยประกอบด้วย ผู้สูง อายุ รุ่นพ่อแม่ และเยาวชนโดยให้คนเฒ่าคนแก่มาพูด คุยกับเด็กเยาวชน เล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน และการสร้ า งกิ จ กรรมสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ข องคนใน ครอบครัว เกิดครอบครัวอบอุ่น มีการท�ำกิจกรรมที่ฝึก ให้เด็กและเยาวชนท�ำงานร่วมกันเป็นทีม และมีการปลูก ผักไว้กินเองในครอบครัว เกิ ด กิ จ กรรม ระดมทุ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก ผู ้ ด้อยโอกาส โดยการออกร้านขายอาหารและการขอบ ริจาค เป็นกิจกรรมที่ท�ำต่อเนื่องทุกปี จนกลายเป็น งานประจ�ำปีของชุมชน ปัจจุบันมีการช่วยเหลือไปแล้ว ประมาณ 200 คน ปัจจุบันกองทุนนี้มีเงินทุนประมาณ 300,000 บาท และมีการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างศูนย์การ เรียนรู้ชุมชน

เกิดกิจกรรม การออมเพื่อเพื่อนเด็ก ของกลุ่มเพื่อ เด็กและผู้ด้อยโอกาส โดยการแจกกระปุกให้กับชุมชนเพื่อ ใช้ออมเงินซะกาต ปีละครั้งเพื่อการท�ำซะกาตช่วยเหลือแทน การบริจาคเงินเป็นก้อนครั้งเดียว ตามหลักศาสนา ในช่วง ถือศีลอดตามประเพณีชาวชะไวทุกคนจะต้องกลับมาบ้าน เกิดเพื่อท�ำบุญใหญ่ (ตามหลักศาสนาได้ก�ำหนดไว้ว่า การ ท�ำซะกาตจะต้องบริจาคเงินร้อยละ 2.50 บาท ของเงินที่ อยู่ของแต่ละคน)

ก้าวเดินด้วยความพอเพียง

ต�ำบลชะไว เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ต�ำบล วิถีพอเพียงในระยะที่ 3 พ.ศ. 2552 เนื่องจากชาว ชุมชนสนใจในเรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แม้ต�ำบล ชะไวจะเป็นต�ำบลขนาดเล็ก แต่ก็น่าจะรวมตัวกันได้ และ ที่ส�ำคัญชุมชนมีเอกลักษณ์โดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม มี ความสัมพันธ์กันในหมู่เครือญาติและมีเป้าหมายการพัฒนา ต�ำบลชะไวเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอ เพียงจึงเป็นเป้าหมายเดียวกันกับโครงการฯ อีกทั้งยังมอง เห็ น ว่ า แนวทางนี้ คื อ ทางออกของการแก้ ป ั ญ หาของชาว ชุมชนทุกคน

45 issue 92 September 2015


กลไกการขับเคลื่อน

หลังจากที่รับหนังสือตอบรับจาก ทาง ปตท. ว่าต�ำบลชะไว ได้รับการคัด เลือกมาจาก ปตท. ให้ร่วมด�ำเนินการ เป็ น ต� ำ บลต้ น แบบตามแนววิถีพอเพียง ท�ำให้แกนน�ำได้ปรึกษาหารือกันต่อว่าถ้า คณะกรรมการทีมประเมินผลพิจารณาว่า ชุมชนชะไวสามารถตอบสนองโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงได้ ทาง ต�ำบลจึง พิจารณาการท�ำกิจกรรมโครง การฯ ชุดแรกคือ ประเสริฐ วันดี ฤทธิ์รงค์ มานพ และกฤษดา (ตัวแทนจากหมู่ 2 และ หมู่ 3 ) ซึ่งเป็นคนที่ท�ำงานสาธารณะ ในชุมชนอยู่แล้วมาด�ำเนินการ หลังจากนั้นได้หาแนวร่วมใน ม.1 2 และ 3 เพื่อเป็นชุดบุกเบิกจ�ำนวน 15 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการโครงการฯ โดย คัดเลือกจากคนที่จิตอาสาหรือเคยท�ำงาน ด้านชุมชนมาก่อน มีพื้นฐานงานในการ ท�ำงานชุมชนอยู่บ้าง ขณะเดียวกันก็มอง ว่าอาจจะใช้ทุนเดิมที่เป็นฐานการท�ำงาน เดิมของแกนน�ำชุด 15 คนในการต่อยอด โครงการฯ ได้ คณะกรรมการโครงการฯ ได้ มี การแบ่ ง บทบาทการรั บ ผิ ด ชอบแต่ ล ะ แผนงาน ตามความรู ้ ค วามสามารถ

ศั ก ยภาพ และตามความถนั ด ของ กรรมการแต่ละคน พิจารณาตามความ เหมาะสม คณะกรรมการโครงการฯ โดย ส่วนใหญ่เป็นแกนน�ำในชุมชน เช่นกลุ่ม อสม. กลุ่มศาสนา กลุ่มแม่บ้าน ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และครัวเรือนพอเพียงอาสา ส่วนหนึ่งพิจารณาจากแผนงานเดิมที่มีว่า ท�ำเรื่องอะไร และดึงกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเป็นกรรมการ เช่น แผนงานด้าน วัฒนธรรม ดึงกลุ่มผู้น�ำทางศาสนา เช่น อิหม่าม เข้ามาร่วมเป็นกรรมการ แผน งานด้านพัฒนาศักยภาพเยาวชน ดึงแกน น�ำเยาวชนที่ไปร่วมพัฒนาศักยภาพกับ กลุ ่ ม เยาวชนภาคกลางเข้ า มาร่ ว มเป็ น กรรมการในการขับเคลื่อนแผนต�ำบลวิถี พอเพียงของต�ำบลชะไวได้มีการสรรหา คณะท�ำงานโครงการฯ เพิ่มเติมจากคณะ กรรมการโครงการฯ เนื่ อ งจากเห็ น ว่ า ปริมาณงานในต�ำบลมีปริมาณมาก โดย เลื อ กสรรคนที่ มี จิ ต อาสา โดยค� ำ นึ ง ถึ ง กิจกรรมในแต่ละแผนงานด้วยว่าควรจะ ดึงใครเข้ามาช่วยงานเพิ่มเติม เช่น การ พึ่งพาตนเองตามหลักศาสนา ก็จะมอง ไปที่กลุ่ม ผู้น�ำศาสนา อิหม่ามหรือคณะ กรรมการมัสยิด ปัจจุบันมีคณะกรรมการ โครงการประมาณ 40 - 50 คน 46 IS AM ARE www.ariyaplus.com


47 issue 92 September 2015


‘แท็กซี่ ไทยหัวใจอินเตอร์’

“ผู ้ ที่ ผ ่ า นการอบรมไปแล้ ว จิ ต ส� ำ นึ ก จะมี แ ล้ ว ก็ ค วรที่ จ ะท� ำ ตนเป็ น คนดี ต ่ อ สั ง คมอย่ า งบางที ต ามห้ า งสรรพ สิ น ค้ า ไปจอดแช่ ไ ว้ พวกที่ อ บรมจะไม่ จ อด เขาจะรู ้ ว ่ า อย่ า งนี้ ส ร้ า งความเดื อ นร้ อ นให้ กั บ สั ง คม เพราะรถ รามั น ติ ด พวกเขาจะไม่ ท� ำ อย่ า งนั้ น แน่ ๆ ครั บ ” สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก - ฝึ ก ภาษา หลั ง จากที่ ป ระเทศในแทบเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ได้รวมกลุ่ม AEC(Asean Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท�ำให้แวดวงหลากหลายอาชีพใน ประเทศไทยเกิดการตื่นตัว และเล็งเห็นความส�ำคัญของการใช้ ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยเฉาะอาชีพที่เปรียบเสมือนดั่งประตู ด่านแรกที่จะต้อนรับชาวต่างชาติอย่างอาชีพพนักงานขับรถ แท็กซี่ โครงการ “แท็กซี่ หัวใจอินเตอร์”ของสถานีวิทยุจราจร เพื่อสังคม TRS 99.5 สังคมไทย “ด้วยใจ” แบ่งปันจึงถูกก่อตั้ง ขึ้น อันมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการของ

พนักงานขับรถแท็กซี่ให้ดีขึ้น พร้อมทั้งการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารระหว่างพนักงานขับรถกับผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ อย่างเห็นผลจริง ซึ่งทางโครงการได้เปิดรับสมัครอบรมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 5 แล้วนั้น นี น ่ า กุ ล นั ด ดา ปั จ ฉิ ม สวั ส ดิ์ พิ ธี ก รรายการเกี่ ย วกั บ การใช้ภาษาอังกฤษ ผู้เป็นวิทยากรอบรมของโครงการ และใน ฐานะผู้ใช้บริการรถแท็กซี่มามากกว่าสิบปี เปิดเผยว่า โครงการ “แท็กซี่ หัวใจอินเตอร์” เป็นการสร้างแนวความคิดแบบใหม่ ให้พนักงานขับรถแท็กซี่ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร แล้วยังสามารถ น�ำแนวคิดดังกล่าวไปต่อยอดเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมอาชีพ เดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างไอเดียในเรื่องของการให้ความ 48

IS AM ARE www.ariyaplus.com


Share Story

ส�ำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะจากประสบการณ์ที่เป็นผู้ ใช้บริการรถแท็กซี่มานานนับสิบปี ท�ำให้ เธอเข้ า ใจเรื่ อ งการสื่ อ สารบนรถแท็ ก ซี่ เป็นอย่างดีว่าจริงๆแล้วใช้ค�ำศัพท์เพียง ไม่กี่ค�ำ หรือประโยคเพียงไม่กี่ประโยค ซ�้ำๆ วนไปวนมาเท่านั้น เนื่องจากการ สนทนาไม่จ�ำเป็นจะต้องอธิบายอะไรที่ ยื ด ยาวมากนั ก เธอจึ ง ใช้ ห ลั ก การสอน แบบจดและจ�ำแล้วน�ำไปใช้ โดยจะเน้น ค�ำศัพท์ง่ายๆ ประโยคสั้นๆ เพื่อให้ง่าย ต่อการจดจ�ำ จึงจะสามารถน�ำไปใช้ได้ อย่างเกิดผล “เช่น จะไปไหนครับ ประโยคนี้ เกิ ด ขึ้ น จากการสร้างค�ำสองค�ำเข้าด้ว ย กันเท่านั้นเอง Where to ง่ายไหม ใครๆ ก็พูดได้ หรือหนึ่งค�ำกลายเป็นประโยค ได้ เช่น Here ที่แปลว่า ที่นี่ แต่ถ้าเรา ยกเสียงสูงปุ๊บ แปลว่า ที่นี่ใช่ไหมครับ ให้ส่งลงตรงนี้รึเปล่า แต่ถ้าอยากจะให้ ยาวขึ้นมาหน่อยก็ Stop here เท่านั้น เอง นี่คือลักษณะของภาษาอังกฤษที่เรา หยิบยกมา แล้วน�ำมาสอนให้กับผู้ขับขี่ รถแท็กซี่ แล้ ว ถ้ า อยากเรี ย นรู ้ เ พิ่ ม เติ ม นอกจากเอกสารที่เราแจกให้น�ำกลับไป ทบทวนต่อที่บ้านแล้ว ทางสถานีวิทยุยัง มี ร ายการสอนภาษาอั ง กฤษสั้ น ๆ เป็ น เสี ย งสนทนาของนี น ่ า เอง กั บ ชาวต่ า ง ชาติ มาให้ความรู้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ทั้งวัน ให้คล่องแคล้วในเรื่องภาษาอังกฤษมาก ขึ้นด้วย” และถ้าหากยังเกิดปัญหาเรื่องการ สื่อสารกับชาวต่างชาติอยู่ยังสามารถโทร เข้ามาที่สายด่วน 1255 TRS สถานีวิทยุ

จราจรเพื่อสังคม ซึ่งจะมีคอลเซ็นเตอร์ คอยรับสายให้ค�ำปรึกษาช่วยแก้ปัญหา ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย โดยผู ้ ที่ ผ ่ า นการอบรมแล้ ว จะมี สติ ก เกอร์ ข องโครงการติ ด ไว้ ที่ ห น้ า รถ พร้อมทั้งบัตรประจ�ำตัวการเป็นสมาชิก ของโครงการอยู ่ ด ้ ว ย ซึ่ ง สาระใจความ ส�ำคัญตรงนี้ พ.ต.ท. สิงห์ชัย กิจพิทักษ์ ใน ฐานะประธานคณะกรรมการ “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์” ได้กล่าวไว้ว่าในบรรดา แท็ ก ซี่ ที่ ผ ่ า นการอบรมจะไม่ ป ฏิ เ สธผู ้ โดยสารอย่างแน่นอน พร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ ในด้านการบริการ การ

49 issue 92 September 2015

ใช้ภาษาอังกฤษ และจากการติดตามผล งานที่ผ่านมา มีสัดส่วนน้อยมากส�ำหรับผู้ ที่ผ่านการอบรมไปแล้วจะไม่น�ำไปปฏิบัติ ผู้ใช้บริการสามารถไว้วางใจแท็กซี่ที่ผ่าน การอบรมแล้วได้อย่างอุ่นใจ “ผู ้ ที่ ผ ่ า นการอบรมไปแล้ ว จิตส�ำนึกจะมีแล้ว ก็ควรที่จะท�ำตนเป็น คนดีต่อสังคม อย่างบางที่ตามห้างสรรพ สินค้าไปจอดแช่ไว้ พวกที่อบรมจะไม่จอด เขาจะรู้ว่าอย่างนี้สร้างความเดือนร้อนให้ กับสังคม เพราะรถรามันติด พวกเขาจะ ไม่ท�ำอย่างนั้นแน่ๆ ครับ” จากการอบรมทั้ง 4 ปีที่ผ่านมา


จนกระทั่งถึงครั้งที่ 5 ในปีนี้ จะมี “แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์”ที่ ผ่านการอบรมแล้วประมาณ 1,500 คน ถึงแม้จะคิดเป็นเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ของแท็กซี่ทั้งหมด แต่ทาง นาย จักรกฤษณ์ ทรัพย์ พึ่ง ผู้ช่วยผู้จัดการสถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม ยังยืนยันว่า จะ จัดกิจกรรมอย่างนี้ต่อไปทุกๆ ปีและจะพัฒนาเพิ่มเติมเนื้อหา หลักสูตร ความรู้อะไรใหม่ๆ อย่างเรื่องสุขภาพหรือความรู้ด้าน อื่นๆ ตามผลตอบรับที่บรรดา แท็กซี่ไทย หัวใจอินเตอร์ อยาก จะให้มี “เราคงเป็นการเริ่มต้น แล้วก็อยากจะให้หน่วยงานอื่นๆ ช่วยกันท�ำเพิ่มแต่คงไม่ใช่เรากลุ่มเดียว เราก็จะพัฒนาไปอย่าง นี้ทุกปีๆเป็นโครงการหลักที่เราจะพัฒนาไป เป็นการตอบแทน ดูแลสังคม ซึ่งเป็นนโยบายของเรา” สุ ด ท้ า ย แม้ แ ท็ ก ซี่ ไ ทย หั ว ใจอิ น เตอร์ จะยั ง เป็ น แค่ ช นกลุ ่ ม น้ อ ยของเหล่ า แท็ ก ซี่ ทั้ ง หลาย แต่ เ ชื่ อ เถอะว่ า ชนกลุ ่ ม น้ อ ยกลุ ่ ม นี้ เป็ น กลุ ่ ม คนที่ น ่ า ยกนิ้ ว ให้ อ ย่ า งแน่ น อน

บัญชา สารโท

50 IS AM ARE www.ariyaplus.com


“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจ�ำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มี ใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖

51 issue 92 September 2015


ปฏิรูปการศึกษา เริ่มที่โรงเรียน 52 IS AM ARE www.ariyaplus.com


เรื่ อ งราวรอบตั ว

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ที่ปรึกษา สพฐ.ขึ้นกล่าวเปิด พิธีและบรรยายพิเศษในงาน โครงการ อบรมเรื่ อ งการปฏิ รู ป โรงเรี ย นและการ ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2558 ณ ห้อง กรุงธนบอลล์รูม โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ว่า ด้วยเรื่องการปฏิรูปโรงเรียน โดยเน้นเรื่อง ภาษาอังกฤษที่เด็กไทยทั่วประเทศยังไม่ สามารถเรียนจนเกิดผลอย่างเป็นรูปประ ธรรมได้ กล่ า วคื อ ประชาชนประเทศ เพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ส่วนใหญ่สามารถ ใช้ ภ าษาอั ง กฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ใน ชีวิตประจ�ำวัน ท�ำให้เด็กนักเรียนสามารถ เข้าใจในวิชาภาษาอังกฤษและน�ำไปใช้ได้ อย่ า งเกิ ด ผล เป็ น รากฐานหนึ่ ง ในการ พัฒนาประเทศนั้นๆ โดยมีภาษาอังกฤษ เป็นสื่อกลางในโลกยุคใหม่ “ไม่ รู ้ อ ะไรท� ำ ให้ เ ด็ ก ไทยกลั ว ภาษาอั ง กฤษ วั น นี้ เราต้ อ งแก้ ที่ ผู ้ ใ หญ่ เพราะข้ า ราชการในสาขาต่ า งๆ โดย เฉพาะครูไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษใน ชีวิตประจ�ำวันได้เลย เดี๋ยวนี้เด็กจบใหม่ อยากรับราชการครู จะเห็นว่าครูเอกชน เริ่มหันมาสอบบรรจุข้าราชการมากขึ้น เพราะเป็นอาชีพที่ยั่งยืน แต่ผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนกลับไม่บรรลุจุด ประสงค์เท่าที่ควร หากต้องการให้เด็ก นักเรียนและคนไทยมีความเข้มแข็งทาง ภาษาอั ง กฤษมากขึ้ น ควรจั ด ให้ ภ าษา อังกฤษเป็นเกณฑ์หนึ่งในการสอบบรรจุ รับราชการ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะ ที่ผ่านมาการสอบเข้ารับราชการไม่ได้เน้น เรื่องภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง” ดร.วัฒนาพร มองว่าคนรุ่นใหม่ หรือเด็กๆ ที่จบการศึกษามา ไม่สามารถ

ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ แต่การ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์มาตรฐานใน การสอบเข้าบรรจุข้าราชการนั้นตนมอง ว่าเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องนี้ยังไม่มีความรู้เรื่องภาษาอังกฤษ เท่าที่ควร หากจะปฏิรูปโรงเรียน ครูหรือ ข้ า ราชในแขนงต่ า งๆ ควรผ่ า นเกณฑ์ มาตรฐานเรื่องภาษาก่อนได้รับการบรรจุ ซึง่ จะท�ำให้คนไทยสนใจภาษาอังกฤษมาก ขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด ้ า น ด ร . รั ต น า ศ รี เ ห รั ญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้กล่าวถึง การประเมิ น วิ ท ยฐานะเพื่ อ การพั ฒ นา คุ ณ ภาพการศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ข ้ า ราชครู หรือผู้บริหารและบุครากรด้านต่างๆ ใน โรงเรียน มีวิทยฐานะช�ำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงใน การพัฒนางาน (Performance Agreement) ตามหนังสือส�ำนักงาน ก.ค.ศ. ที่

ศธ 0206.4/ว 7 ลว 11 พ.ค. 2558 โดย มีหลักการส�ำคัญ 6 ข้อดังนี้ 1. เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ โดย ประเมินจากผลการพัฒนาคุณภาพ การ ปฏิ บั ติ ง านในหน้ า ที่ ที่ เ น้ น คุ ณ ภาพด้ า น ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นและคุ ณ ภาพ ของผู้เรียน 2. ต้องสามารถขับเคลื่อนการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็น รูปธรรม 3. ใช้ห้องเรียนและนักเรียนเป็น ฐาน โดยให้มีการประเมินการปฏิบัติงาน จริง ณ สถานศึกษา ซึ่งจะท�ำให้ครูไม่ทิ้ง ห้ อ งเรี ย นไปสร้ า งผลงานด้ า นวิ ช าการ ของตนเอง 4. ผู้ที่ขอรับการประเมินต้องมี ความรู้ในวิชาที่สอนโดยต้องผ่านการ ทดสอบความรู้ ความสามารถเชิงทฤษฎี และการประเมิ น ประสบการณ์ วิ ช าชี พ จากส่วนราชการต้นสังกัดก่อนยื่นค�ำขอ

ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ที่ปรึกษา สพฐ. 53 issue 92 September 2015


หนังสือ การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2558 และการประชุม ทางวิชาการ เรื่อง การปฏิรูปโรงเรียน อย่างน่าสนใจว่า “โลก ปัจจุบันเป็นทุนนิยม เขาวัดกันที่ GDP เงิน ใครมีมาก มีน้อย บ้านเราแรงงานวิกฤต ไม่มีคุณภาพ แรงงานเราตกต�่ำเมื่อเปรียบ กับประเทศเพื่อนบ้าน ต่างชาติเข้ามาท�ำงานมาก ปัญหาอยู่ที่ครู ไหม ท�ำอย่างไรจะให้เด็กรักการท�ำงาน เราเคยสอนให้เด็กถูบ้าน ปูที่นอน จัดบ้านไหม การศึกษาไทย ให้เด็กวิ่งลู่เดียว ปลายตีบ ข้อคิด หัวหิน เป็นเมืองท่องเที่ยว มีธุรกิจโรงแรม เราท�ำได้ไหมในเรื่องการ บริการ สังคมบอกเราว่า ปัญหาต่างๆ ในสังคมมาจากการศึกษา ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ต้นทุนการศึกษาของไทยสูง เมื่อเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศ ขณะนี้สมาคมผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้จัดท�ำโครงการแลกเปลี่ยนเด็ก นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษากับประเทศญี่ปุ่น เป็นการแลก เปลี่ยนเด็กระหว่างครอบครัวไทยกับญี่ปุ่น โดยมีโรงเรียนเป็น ฐาน ที่ผ่านมาหัวหน้าคณะจากญี่ปุ่นสนใจการศึกษา ที่สนใจเป็น พิเศษคือ การอบรมเด็ก โรงเรียนที่เขาประทับใจ คือ โรงเรียนที่ สอนสอดแทรกคุณธรรม โดยครูใช้สื่อวีดีทัศน์ประกอบ แล้วให้ เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวอย่างที่ยกมานี้ต้องการให้เห็นว่า โลกขณะนี้เขาวัดกันที่อะไร เขาจะดูอะไร นั่นก็คือ ถ้าเราจะอยู่

รับการประเมิน 5. การประเมินผลการปฏิบตั งิ านทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิด ชอบตามมาตรฐานต�ำแหน่ง และคุณภาพการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานวิทยฐานะที่ ก.ค.ศ. ก�ำหนด 6. หลักเกณฑ์การประเมินนี้ใช้ส�ำหรับประเมินเพื่อให้ มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะช�ำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ทุกต�ำแหน่ง “หลักเกณฑ์ PA นี้ใช้ห้องเรียนและนักเรียนเป็นฐาน โดย ให้มีการประเมินการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา การประเมิน วิทยฐานะที่ผ่านมามีหลายกระแสว่าครูทิ้งห้องเรียนไปท�ำผล งานทางวิชาการ แต่หลักเกณฑ์ PA นี้ให้ความส�ำคัญกับการที่ คณะกรรมการประเมินจะลงไปดูการปฏิบัติงานจริงของครูใน สถานศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการทิ้งห้องเรียนของครู ใครต้องการ ผ่านหลักเกณฑ์ต้องเสนอว่าตนจะท�ำอะไร และท�ำไม่น้อยกว่า 2 ปี ตามข้อตกลง ผู้ช�ำนาญการสามารถเป็นช�ำนาญการพิเศษ ได้ เช่น เสนอยกระดับคุณภาพผู้เรียนในเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ท�ำได้เลื่อนไปเลย” ดร.รัตนา กล่าว ขณะที่ คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ นายกสมาคมผู้ บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ใน 54

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ในโลกปัจจุบันนี้ เราจะคิดอย่างไร และ จะสอนศิษย์เราอย่างไร สั ง คมแห่ ง การเรี ย นรู ้ เด็ ก ต้ อ ง คิดวิเคราะห์เป็น ประถมศึกษา ปรัชญา เน้นการยึดเด็กเป็นส�ำคัญฝึกให้เด็กคิด วิเคราะห์ มัธยมศึกษา ให้เขารู้จักตนเอง รู ้ ค วามต้ อ งการของตนเองเป็ น อย่ า งที่ เขาอยากเป็น ครูต้องเข้าใจ การท�ำงาน มี ก ารประชุ ม ระดมความคิ ด ในแต่ ล ะ ระดับ ปัจจุบันท�ำอะไร รู้อะไรคนเดียว ไปไม่รอด ต้องช่วยกันคิด เด็กรุ่นใหม่ไม่ ค่อยเคารพผู้ใหญ่ ในระบบโรงเรียนเมื่อ

ก่อน เมื่อมีครูมาใหม่ จะมีครูผู้ใหญ่เป็น ที่ปรึกษา (Coach) ให้ เน้นเรื่องระบบ อาวุโส (Seniority) มาก” ในการประชุ ม ครั้ ง นี้ ห ลายฝ่ า ย เห็นตรงกันว่า โรงเรียนเป็นสถานที่แรก ที่เยาวชนไทย (อนาคตของชาติ) จะต้อง เข้ารับการศึกษา เป็นฐานแห่งการเจริญ เติ บ โตทางปั ญ ญา การจั ด การศึ ก ษา เป็ น ภาระกิ จ ที่ ทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งต้ อ ง ตระหนักว่าเป็นหน้าที่ส�ำคัญยิ่ง เพราะ การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพ ของประชาชน ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล

55 issue 92 September 2015

และในฐานะพลเมืองของประเทศ การ จัดการศึกษาต้องอาศัยองค์ความรู้หลาย สาขามาบู ร ณาการในการด� ำ เนิ น งาน และจะต้ อ งมี ก ารปรั บ ตั ว ให้ ทั น ความ เปลี่ยนแปลงของโลก และสภาพปัญหา ความต้ อ งการของสั ง คม ประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับ ผู้มาเรียนมากที่สุดคือ โรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงมีความจ�ำเป็นต้องปรับตัวและ ท�ำหน้าที่จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ การปฏิรูปการศึกษาจะบรรลุผลได้ต้อง เริ่มที่การปฏิรูปโรงเรียน


เสียงจากนักสังคมสงเคราะห์ เบื้องหลังการปกป้องสิทธิเด็ก นางสาวแสงรวี จั น ทร์ สุ ข หรื อ ครู ด าว นั ก จิ ต วิ ท ยาและนั ก สั ม คมสงเคราะห์ มู ล นิ ธิ ส ่ ง เสริ ม การพั ฒ นาบุ ค คลโครงการ อุ ป ถั ม ภ์ เ ด็ ก บ้ า นเมอร์ ซี่ ผู ้ ท� ำ หน้ า ที่ สื บ พยานเด็ ก ในศาล และ สน. ตั้ ง แต่ ป ี 2544 กว่ า พั น คดี ในการสอบปากค� ำ เด็ ก ตาม กฎหมายใหม่ (พ.ศ. 2543) ต้ อ งมี นั ก สั ง คมสงเคราะห์ หรื อ นั ก จิ ต วิ ท ยาไปร่ ว มสอบปากค� ำ ด้ ว ยทุ ก ครั้ ง ร่ ว มกั บ พนั ก งาน อั ย การ ทนายความ และเจ้ า หน้ า ที่ ต� ำ รวจ กรณี เ ยาวชนอายุ ไม่ เ กิ น 18 ปี ไม่ ว ่ า จะเป็ น คดี ล ะเมิ ด ทางเพศ คดี ท� ำ ร้ า ย ร่ า งกาย และอื่ น ๆ

56 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Let's Talk

57 issue 92 September 2015


ฉบับนี้ “ครูดาว” พร้อมเปิดเผย ประสบการณ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็ก ที่ผ่านมา เพื่อเตือนภัยและเป็นแนวทาง ในการป้องกัน แก้ไข ปัญหาเด็กถูกละเมิด สิทธิ ให้ผู้ปกครองได้รู้แนวทางการรับมือ เมื่ อ บุ ต รหลานตกอยู ่ ใ นชะตากรรมเลว ร้ายจากผู้ไม่หวังดี หน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ในการ สืบพยาน หน้าที่ของเราของนักสังคมฯ คือ ไปให้ก�ำลังใจเด็กไปช่วยเด็กให้ดีที่สุด ถ้า ไม่มีนักสังคมฯ มันจะกลับไปเหมือนเดิม คือยังไงก็ได้ เล่าสิ โดนข่มขืนมายังไง ไป เล่าคนเต็มเลย เอาเด็กเล่าให้ฟังสิ มันก็ จะเป็นเหมือนเดิม เอ้า พูดมา พนักงาน สอบสวนก็เป็นผู้ชาย ใครจะไปเล่า ดีไม่ ดีหน้าเหมือนโจรที่ข่มขืนอีก ถูกไหม เด็ก ก็ไม่กล้าเล่า เพราะเรามีวิธี มีการใช้จิตวิทยา ใช้ค�ำพูดที่นุ่มนวลหน่อย ฉะนั้นเด็กจะ

ไว้วางใจและกล้าบอก มันช่วยได้ในเรื่อง กฎหมายใหม่ที่ออกมา (พ.ศ. 2543) แล้ว น�ำมาใช้ ก็ช่วยเด็กได้เยอะทีเดียว เป็ น ปากเสี ย งไหม มั น มี ส ่ ว น นะ เพราะว่ามีเด็กที่เขาไม่กล้าพูด ยก ตั ว อย่ า ง สอบผู ้ ต ้ อ งหา ผู ้ ต ้ อ งหาก็ ไ ม่ เกิ น 18 เหมื อ นกั น ถ้ า เด็ ก ไม่ ร ้ อ งขอ ก็ได้ แต่ส่วนมากเด็กจะร้องขอ แต่คดี หนักๆ อย่างเช่น คดีละเมิดทางเพศ เด็ก จะไม่ร้องขอทางกฎหมาย ทางพนักงาน สอบสวนต้องเชิญนักสังคมสงเคราะห์เข้า ร่วมด้วยตามกฎหมาย ถ้าเป็นคดีในเรื่อง ยาเสพติดเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเด็กไม่ร้องขอไม่ เป็นไร ขอให้มีทนายความหรือที่ปรึกษา ทางกฎหมายก็พอ การท�ำงานส่วนมากเป็นคดีหนักๆ เช่น เด็กถูกข่มขืน เวลาเราไปสอบเขา บางทีเด็กไม่กล้าพูด เช่น เด็กเล็กๆ ต�่ำสุด ที่ท�ำมาประมาณ 2 ขวบครึ่ง ถูกละเมิด ทางเพศ เราต้องไปคุยกับเด็ก ไปเล่นกับ 58 IS AM ARE www.ariyaplus.com

เด็ก ท�ำอย่างไรให้เด็กไว้วางใจเรา พอ เด็กไว้วางใจเราเขาถึงจะบอก เพราะเด็ก เขากลัว อาจถูกขู่จากผู้กระท�ำ แล้วก็อาย หรือไม่อยากพูดถึงในสิ่งที่ตัวเองบาดเจ็บ มาก่อน เหมือนเราไปสัมภาษณ์เด็ก แต่ว่า เราจะไม่ไปแบบทางการ ถ้าเขาเป็นเด็ก เล็กเราจะบอกว่าเราเป็นคุณครูนะ เรา เคยสอนเด็กเล็กๆ อย่างนี้แหละ คุยกับ เขาก่อนท�ำความคุ้นเคยกับเขา และอาจ จะมีสื่อในเรื่องของนิทาน เล่านิทานให้ เด็กฟัง พาเขาระบายสี ท�ำให้เขาชินกับ เราก่อน กว่าเขาจะไว้วางใจเรามันค่อน ข้างยาก เพราะว่าเด็กถูกกระท�ำเขาจะ หวาดระแวง แล้ ว จะไม่ ค ่ อ ยบอกอะไร บางรายสอบหลายชั่วโมง เวลาเราสั ม ภาษณ์ ห รื อ สอบ ปากค�ำเขา โดยหลักเราจะไม่พูดชี้น�ำเด็ก พ่อท�ำใช่ไหม ลุงท�ำใช่ไหม นายด�ำนาย แดงท�ำใช่ไหม จะไม่ให้พูดในลักษณะนี้ เหมือนเราไปพูดชี้น�ำเขา เพราะฉะนั้นเรา


ต้องถามว่าใครท�ำ เขาอยู่ที่ไหน กรณี ตั ว อย่ า งที่ ค าดไม่ ถึ ง เป็นเด็กผู้หญิงอายุสองขวบครึ่ง ซึ่งคนที่ไม่น่าท�ำคือผู้หญิงเหมือนกัน เขา เป็นพี่เลี้ยงเด็กข้างๆ บ้านอายุหกสิบกว่า คุณแม่เอาลูกไปฝากเลี้ยง แล้วพ่อแม่ไป ท�ำงานตามปกติ พอเอาไปฝากเลี้ยงได้ สองสามวันหัวลูกปูดมา ขาก็เจ็บมาเป็น แผล พี่เลี้ยงบอกว่าเด็กวิ่งหกล้มเอง เสร็จ แล้วเด็กไม่อยากไปอยู่กับพี่เลี้ยงคนนี้ ไม่อยากไปอยู่กับยายเดี๋ยวยายตี เด็กบอกอย่างนี้ พ่อแม่เด็กไปถามว่ายาย ตีเหรอ เขาบอกไม่ได้ตี เด็กหกล้มเอง เขา ปฏิเสธ โทษเด็กว่าโกหกหรือเปล่า คือโยน ความผิดมาที่เด็ก แม่ก็ไม่ฟังลูกเล็กๆ เลย เหมือนว่าลูกโกหก ว่าลูกไม่อยากอยู่กับ ยาย ลูกอยากไปท�ำงานกับแม่ประมาณ นี้ คือเชื่อยายที่เป็นพี่เลี้ยง เลยเอาลูกไป อยู่กับยายคนนี้ต่อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ อี ก เด็ ก กลั บ มา บ้านบอกแม่ว่าเจ็บที่อวัยวะเพศ แม่ไม่ ได้สงสัยอะไรไปถามยายว่าท�ำไมลูกบ่น ว่าเจ็บที่ตรงนี้ ยายบอกสงสัยปั่นจักรยาน คงกระแทกไปโดน ที นี้ แ ม่ เ หมื อ นจะ แปลกใจว่ า ท� ำ ไมเวลาฉี่ ลู ก ถึ ง ร้ อ ง เลย ไปหาหมอ แล้วถามเด็กเขาก็ไม่บอก ที่ เด็กไม่บอกเพราะโดนขู่ว่าไม่ให้บอกใคร สรุปผลสุดท้ายรู้ว่าเป็นยายคนนี้ ยายคน นี้จะออกทอมๆ หน่อย แต่ไม่รู้ว่าเป็นทอ มรึเปล่า ท� ำ ยั ง ไงให้ เ ด็ ก ที่ ถู ก ละเมิ ด ทาง เพศยอมบอกความจริ ง เขาใช้ นิ้ ว โป้ ง ใส่ เข้ า ไปที่ อ วั ย วะ เพศของเด็ ก สองขวบครึ่ ง เด็ ก ไม่ พู ด พนั ก งานสอบสวนถามก็ ไ ม่ บ อกว่ า เกิ ด อะไรขึ้ น กั บ เขา พอเราไปถามเขายั ง กลัวอยู่ ก็สอบอยู่นาน เกือบครึ่งวัน แต่ บังเอิญว่าเราสอนเด็กเล็กๆ มา เราจะรู้

พัฒนาการเขา พฤติกรรมของเด็ก มันง่าย ส�ำหรับเราด้วย เราจะมี รู ป ภาพ ไหนใครท� ำ หนู ตรงไหน เอาภาพเอาอะไรให้เขาดู คน นี้ ใช่ ไ หม หรื อ ว่ า คนไหน คื อ เราจะไม่ เจาะจงวางภาพยายคนเดียว เราจะบอก ไหนคนไหนที่ท�ำหนู ที่ท�ำให้หนูเจ็บอะไร ประมาณนี้ เขาก็ชี้ภาพของยายคนที่ท�ำ แล้วเขาวิ่งไปหลบที่ใต้โต๊ะ หนูกลัว เรา เลยบอกไม่ ต ้ อ งกลั ว ยายไม่ ม า มาแต่ รูปภาพ รูปภาพท�ำอะไรไม่ได้ เขาก็มุด มาใหม่หนูไม่กลัวละ หนูกล้าแล้ว ถ้าเขา มีความอบอุ่นและไว้วางใจเรา เหมือนมี ตัวช่วย เขาจะกล้าบอก เขาจะชี้ เราจะมี ภ าพเด็ ก ผู ้ ห ญิ ง หรื อ เด็ ก ผู้ชาย สมมุติว่านี่ตัวหนูนะ แล้วหนูลอง ชี้สิว่ายายที่หนูชี้รูปท�ำหนูตรงไหน เขาชี้ ภาพว่าท�ำตรงไหน เขาบอกว่าที่ฉ่ีของหนู นี่แหละ คือเด็กยังเรียกไม่เป็น ที่ฉี่ของหนู เวลาหนูฉี่เจ็บ หนูร้องไห้บอกยายไม่ให้ท�ำ ยายก็ยังท�ำ รู้สึกว่ามีเลือดออกด้วย ซึ่ง เวลาเราสั ม ภาษณ์ ห รื อ สอบปากค� ำ เขา โดยหลั ก เราจะไม่ พู ด ชี้ น� ำ เด็ ก พ่ อ ท� ำ ใช่ ไ หม ลุ ง ท� ำ ใช่ ไ หม นายด� ำ นายแดงท� ำ ใช่ ไ หม จะไม่ ใ ห้ พู ด ใน ลั ก ษณะนี้ เหมื อ นเราไปพู ด ชี้ น� ำ เขา เพราะฉะนั้ น เราต้ อ งถามว่ า ใครท� ำ เขาอยู ่ ที่ ไ หน ยายคนนั้นไม่ใช่ผู้ชาย นึกออกไหม พ่อ แม่เขาก็ระวังนะ เอาเด็กไปฝากพี่เลี้ยงที่ เป็นผู้หญิง เราเลยบอก นี่แหละเราไว้ใจ อะไรใครไม่ ไ ด้ เ ลยสั ก คน ยายคนนี้ เ คย เลี้ยงเด็กมาเยอะ ไม่ได้เลี้ยงเฉพาะลูกเขา เป็นยายข้างบ้าน เป็นคนในหมู่บ้าน เป็น คนพื้นที่ คิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเด็ก คนนี้ ซึ่งมันไม่ใช่ เราไว้ใจแล้ว คุณเป็นผู้ หญิง คุณไม่ใช่ผู้ชายพี่เลี้ยง แม้กระทั้ง ตัวเราถ้าไม่เจอเหตุการณ์แบบนี้คิดไม่ได้ เท่าพ่อแม่เขานะ ว่าท�ำไมเขาถึงไว้วางใจ ผู้หญิงคนนี้ให้เลี้ยงลูก 59 issue 92 September 2015


บางทีเด็กที่ถูกละเมิด ไม่ได้ถูกละเมิดแค่ครัง้ สองครัง้ แต่เป็ นปี สองสามปี แล้วท�ำไมบุ คคลที่ ใกล้ชิดช่ วยเขาไม่ได้ ท�ำไมบอกช่ างมันเถอะไม่ใช่ ลูกหลานเรา ท�ำไมเพิกเฉย 60 IS AM ARE www.ariyaplus.com


ท่ า ที ข องศาลที่ มี ต ่ อ เด็ ก ศาลเขาเชื่อเด็กอยู่แล้ว เพราะใน การสอบปากค�ำ เด็กอย่างนี้เสแสร้งไม่ เป็น จะมานั่งแต่งเรื่องได้ไหม เคยมีคดี เคยมี เรื่ อ งสาเหตุ โ กรธเคื อ งกั บ ยายคน นี้ไหม ไม่ใช่ เด็กสองขวบไม่ใช่เด็กยี่สิบ สองที่จะมานั่งแต่งเรื่องถูกไหม ศาลคงจะ ลงโทษตามกฎหมาย แต่ เราไม่ ไ ด้ ต าม เรื่องว่าผู้ต้องหาจะติดคุกกี่ปี แต่คิดว่าถ้า เป็นเรื่องที่มันจริงก็ต้องตามกฎหมาย อัน นี้แหละเป็นเคสที่สุดจะสะเทือนใจ แรกๆ เขาปฏิเสธ แต่พอขึ้นศาล เขารับ รับเขาเหลือโทษครึ่งหนึ่งอยู่แล้ว คือในชั้น สน. เขาปฏิเสธอยู่แล้วเขาคงจะ ยังมีหวัง เด็กอะไรจะมาพูด เพราะว่าเด็ก เล็ก สองขวบครึ่งนะ ก�ำลังหัดพูด จริงๆ แล้วเคยสอบประวัติเขา เขาเคยกระท�ำ เด็ก แต่ไม่มีเกี่ยวในเรื่องของล่วงละเมิด ทางเพศนะ แต่ท�ำร้ายเด็ก ตีเด็ก ท�ำร้าย เด็ ก จริ ง เราเลยบอกว่ า ยั ง เอาลู ก ไปให้ เขาเลี้ยงอีกหรอ เขาบอกมันไม่มีใครแล้ว แถวนั้น เพราะฉะนั้ น เราเลยบอกว่ า ไว้ ใ จ ใครไม่ ไ ด้ เ ลย แม้ ก ระทั้ ง บุ ค คล ใกล้ ชิ ด ความภูมิใจ - กรณีผู้มีอิทธิพลใน พื้นที่ละเมิดสิทธิเด็ก มั น ดี ใจนะนั ก สั ง คมฯ อย่ า งเรา งานเยอะและบางที ก็ เ หนื่ อ ยและท้ อ เหมือนกัน บางครั้งเราท�ำงานเราต้องเดิน ทางไกล แต่พอเราได้ท�ำมันรู้สึกภาคภูมิใจ เหมือนเรายิ้มในใจ เราได้ช่วยเขา อีกเคสหนึ่งเป็นพ่อแม่ที่ปกป้อง ลูกไม่ได้ ซึ่งต่อหน้าเห็นว่าเขาตีลูก ท�ำร้าย ลูก คือแม่เขาเห็นลูกถูกท�ำร้ายแต่ช่วย อะไรไม่ได้ เราเลยอยากช่วย คือหนึ่งช่วย ในเรื่องให้เขาคิดได้ว่า เราต้องปกป้อง ลูก ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นเราต้องปกป้องเขา เพราะว่าเขาเป็นเด็กไม่มีใครช่วยเขาได้

เขาเป็ น ลู ก เราท� ำ ไมปล่ อ ยให้ ค นอื่ น มา ท�ำร้ายลูกเราต่อหน้าเราจนสลบ มันไม่ ถูกต้อง เลยคุยให้ข้อคิดเขา เคสนี้เป็นเด็กผู้ชาย อายุ 12 ปี เขาอยู ่ กั บ แม่ ส องคน แล้ ว เขาถู ก ผู ้ น� ำ ศาสนาท�ำร้าย คือเด็กคนนี้มีความผิดที่ไป ขโมยขนม เหมือนไปขโมยขนมกิน แล้ว ทางผู้น�ำศาสนาลงโทษเขาโดยการเฆี่ยน ตี คื อ เฆี่ ย นตี ด ้ ว ยไม้ ห วายจนหลั ง ลาย เป็นรอยหมดเลย แล้วโดนตีจนสลบ มัน รุนแรงนะ เราเลยบอกคุณแม่ท�ำใจได้ไง แค่ตีทีเดียวนักสังคมฯ ก็สวนแล้ว คื อ เขาเป็ น ผู ้ น� ำ ศาสนา และ ผู้หญิงคนนี้สามีไม่อยู่แล้ว เขาต้องพึ่งพา อาศัยกัน ถ้าไม่ท�ำตามกฎของเขา เขา จะไม่มีที่อยู่ ไม่มีใครดูแลลูกเขา แต่นี่มัน ลงโทษเกินเหตุ แม้กระทั้งมาแจ้งความยัง ไม่ค่อยจะมีใครรับเรื่องให้ เพราะว่าเขา เป็นผู้น�ำ ไปร้อง สข. สก. ก็ช่วยอะไรไม่

เรามองว่าผู้ใหญ่ เด็กถูกรังแกจากอีกคน นึ่ง แล้วแถมพอมาที่ สน. ชาวบ้านไม่ กล้ายุ่ง คือไม่มีใครอยากช่วย ถ้าไม่มีเรา ไม่มีหน่วยงานที่คอยดูแลเด็ก แม้กระทั่ง ปัจจุบันไม่ใช่สิบปียี่สิบปีที่แล้ว ปัจจุบัน ก็ยังมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในเรื่องท�ำ อะไรไม่ได้ ช่วยคนไม่ได้ แม้กระทั่งลูกตัว เอง แม้กระทั่งเพื่อนบ้าน เราช่วยอะไรเขา ไม่ได้ แล้วเรื่องของอิทธิผลท้องถิ่นส�ำคัญ มาก น่ากลัว อย่างบางทีเด็กที่ถูกละเมิด ไม่ได้ ถูกละเมิดแค่ครั้งสองครั้ง แต่เป็นปี สอง สามปี แล้วท�ำไมบุคคลที่ใกล้ชิดช่วยเขา ไม่ ไ ด้ ท� ำ ไมบอกช่ า งมั น เถอะไม่ ใช่ ลู ก หลานเรา ท�ำไมเพิกเฉย ถ้าสอบพยาน แล้วมีพยานหลักฐาน ขอศาลออกหมาย จับได้ แต่ขอให้มีผู้เสียหาย ผู้กล่าวหา ก่ อ น ถ้ า ไม่ มี ใ ครมาร้ อ งทุ ก ข์ เราจะไป เอาผิดกับเขายังไง

อยากฝากบอกคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ที่ มี ลู ก เล็ ก ไม่ ใ ช่ เ ฉพาะเด็ ก เล็ ก นะ เด็ ก โตเหมื อ นกั น ไม่ ใ ห้ ร ะแวง แต่ ใ ห้ เ ฝ้ า ระวั ง ให้ ส งสั ย ไว้ ก ่ อ น เกิ ด อะไร ขึ้ น ให้ ส งสั ย ไว้ ก ่ อ น แล้ ว เด็ ก เล็ ก อย่ า ให้ ห ่ า งตา หายไปสิ บ นาที ยี่ สิ บ นาที แจ้ ง ความได้ ไ ม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ ง ยี่ สิ บ สี่ ชั่ ว โมง ถ้ า เป็ น แบบนั้ น โทรมา หาเราเลย ได้ เลยต้องมาร้อง สส. กับมูลนิธิฯ เคสนี้ ร้อยเวรโทรมาว่ามีเรื่องแบบนี้ ลองเข้ามา ดูหน่อยสิ เราเลยลงไป เพราะส่วนมาก ร้อยเวรจะโทรตรงมามากกว่า เพราะเรา ท�ำงานมาก็สนิท ถ้าเป็นเรื่องด่วนต้องรีบ ยังไงต้องด�ำเนินคดี คนท�ำผิดถึง คุณจะใหญ่แค่ไหนคุณท�ำร้ายเด็กก็ต้อง ด�ำเนินคดี แล้วต้องอบรมแม่ด้วย คือตี จนสลบแล้วลูกก็ร้อง เนื้อแตกหมดเลย รักษาอยู่นาน ตอนนี้เขาเป็นแผลเป็นด้วย นะไม่หาย เพราะเด็กโตแล้วไง เราบอก คุณ แม่ แค่ ที เ ดี ย วก็ ไ ม่ ถูก ต้ อ งแล้ ว แล้ ว 61 issue 92 September 2015

อั น ตรายและภั ย คุ ก คาม ครั้งหนึ่งในเรื่องการไปสืบพยาน อันนี้โดนคุกคาม เคสนี้มาจากต่างจังหวัด มาจากเมื อ งกาญจนบุ รี เราไม่ รู ้ เ มื อ งนี้ โหดหรือไม่โหด ก็พาเด็กเข้าศาลก่อน คือ เด็กมาจากที่โน้นเหมือนกัน ซึ่งมาอยู่ที่นี่ (กรุงเทพ) อยู่ในพื้นที่ไม่ได้แล้ว เพราะ ถูกละเมิดทางเพศ ทีนี้เราเอาเรื่องเขาไม่ ได้ ประมาณว่าแจ้งความแล้ว ไม่ว่าจะ เป็นหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จะเข้าข้าง ผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาเป็นคนใหญ่คนโตมี อิทธิพล ไม่ได้มีต�ำแหน่งอะไรหรอก แต่ว่า


เด็กเล็กอย่าให้ห่างตา หายไปสิบนาที ยี่สิบนาที แจ้งความได้ไม่จ�ำเป็นต้อง ยี่สิบสี่ชั่วโมง

บรรยากาศในการสื บ พยาน ในการสื บ พยานเด็ ก จะอยู ่ อี ก ห้ อ งหนึ่ ง จะใช้ ก ล้ อ ง วงจรปิด เราจะอยู่กับเด็กสองคน คือเด็กจะไม่ได้ยินเสียงเลย ถ้าเด็กได้ยินเสียงเด็กจะไม่กล้าพูดอะไร เหมือนทนายเขาจะ พูดเสียงดัง อย่าง ใช่ไหม ยอมเขาใช่ไหม ยอมมีเพศสัมพันธ์ กับเขาใช่ไหม คือเราเข้าใจนะที่เป็นหน้าที่ของเขาที่จะช่วยลูก ความให้ได้รับโทษน้อยที่สุดหรือไม่ผิดเลย แต่คุณต้องเข้าใจใน สิ่งที่ถูกต้องด้วย เราเลยบอกเด็ ก ว่ า เราพู ด ไปตามความจริ ง เราท� ำ หน้าที่ของเรา หนูไม่ต้องไปโกรธทนายเพราะเป็นหน้าที่ของ เขาที่เขาจะช่วยลูกความ คือวันนั้นเด็กร้องไห้ด้วย มันเศร้านะ เหมือนว่าข่มขืนแล้ว ยังจะข่มขืนใจอีกซ�้ำแล้วซ�้ำอีก คือใครไม่ เห็นเหตุการณ์แบบนั้นจะไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ถามว่า บาดแผลมันหายไป แต่จิตใจมันติดไปตลอดชีวิต นั่งฉุดคิดขึ้น มามันรู้สึกเสียวๆ นะ ว่าถูกกระท�ำแบบนี้ เหมือนเวลาท�ำงาน มันก็หวาดระแวง จะมีคนมาท�ำร้ายเรารึเปล่า

เงินเยอะ เด็กก็อยู่พื้นที่ไม่ได้ต้องย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ ทีนี้พอมา สืบพยานเด็ก ทนายที่มาจากที่โน้นมาข่มขู่เด็ก เหมือนว่าขนาด หนีมาอยู่กรุงเทพฯ แล้วยังถูกคุมคาม คือท�ำงานเราก็กลัวตาย เหมือนกันนะ แต่ว่าหน้าที่เราต้องท�ำ ตอนแรกเราไม่รู้ว่าเขาเป็นทนาย เพราะเขาไม่ได้ใส่ชุด คือต่างคนต่างจะไปชิงเด็กมาก่อน เพราะว่านักสังคมสงเคราะห์ จะต้องไปให้เจอเด็กก่อน เราจะไม่ให้เด็กไปเผชิญหน้ากับเหล่า บรรดาญาติของฝ่ายจ�ำเลย ทนายความฝั่งจ�ำเลย พวกอะไรที่ เขาชอบมานั่งกดดันศาล ที่เอาพวกมาเยอะๆ จะได้พูดอะไรไม่ ออก เราไปชิงมาไว้ก่อน เอามาไว้ห้องเด็ก เป็นจังหวะไปเจอเขาพอดี เขาเหมือนก�ำลังจะบอกเด็ก ว่า พูดดีๆ อย่าให้ผู้ต้องหาติดคุกนะ เราบอกว่าคุณทนายคุณ จะมาขู่เด็กอย่างนี้ไม่ได้ คุณพูดอย่างนี้ไม่ถูก อะไรที่มันเกิดขึ้น จริง มันต้องพูดไปตามความจริง คนผิดต้องได้รับโทษไปเป็น เรื่องปกติจะได้ไม่ท�ำผิดอีก หาว่าเราไปขู่ เราพูดความจริง ถ้า คุณไม่ได้ท�ำความผิดคุณกลัวอะไร เราพูดแบบนี้ เขาก็เงียบไม่ ได้พูดอะไรต่อ 62

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ส ถ า น ก า ร ณ ์ เ ด็ ก ถู ก ล ะ เ มิ ด ใ น ปั จ จุ บั น ปั จ จุ บั น ยั ง มี ป ั ญ หาแบบนี้ เ พิ่ ม มากขึ้น ท�ำไมมันมากขึ้น เพราะสังคม มันเปลี่ยนไปรึเปล่า มันมีส่วนนะ แต่คน ที่ละเมิดจะเดิมๆ พ่อ น้า อา พี่เขย อะไร อย่างนี้ คนไกลๆ จะน้อยมากที่ออกข่าว มั น จะเป็ น กลุ ่ ม บุ ค คลที่ ใ กล้ ชิ ด ที่ สุ ด ที่ ท�ำร้ายเด็ก อันนี้แหละส�ำคัญ ผู้ปกครองที่ลูกถูกละเมิดบอกว่า หนูไม่คิดเลย ไม่น่าเลยรักกันมา เพื่อน บ้านแท้ๆ ไม่นึกว่าจะท�ำ ไม่คิด ล่าสุด เป็นเคสหนึ่ง เด็กเขาไอคิวเท่าเด็ก ป. 2 แต่อายุ 17 ปี เลยบอกหนูอยู่ ป. 2 นะ พี่ อยู่อนุบาลเราเท่ากัน เขาก็หัวเราะ เขาก็ เหมือนเด็ก เด็ก ป. 2 ไปสอบเขา แม่เขา จะไม่ให้ออกนอกบ้าน ไปไหนก็ห่วงลูก ซึ่ง เด็กไม่รู้เรื่องไอคิวแค่ ป. 2 เอง เลยขังลูก ไว้ ล็อกกุญแจ ไอ้เจ้าของตึกลูกเจ้าของตึก ที่เช่าอยู่ ก็ไปเอาค้อนทุบกุญแจให้หักแล้ว เข้าไปข่มขืนเด็ก ขนาดล็อกไว้แล้วนะ คิด ได้ แล้วไม่ได้ไกลเลยนะ สิ่งที่เราฟังจากร้อยเวร เขาบอก จริงหรอพี่ แล้วใครจะมานั่งเล่าเรื่องแบบ

นาที โน้นนะถึงมาเลฯ ได้เลย บางทีแขน ขาหายไปแล้ว เพราะฉะนั้นคุณตามลูก ได้เลย เพราะเคยมีเรื่องแบบนี้ เด็กหาย ไปห้านาที เดินกลับมาเลือดโชกมาเลย เจออีกทีเด็กเดินโทรมมาจากป่าข้างถนน เด็กบอกไปซื้อขนมข้างทาง แล้วเด็กโดน ข่มขืน อันนี้น่าเศร้า โหดมาก เลยบอก ปล่อยเด็กเดินมาได้ยังไงคนเดียว ไม่ว่าจะ เป็นถูกละเมิด หรืออุบัติเหตุ เพราะฉะนั้น ฝากคุณพ่อ คุณแม่ หรือว่าผู้ปกครองที่มี ลูก ให้เฝ้าระวัง เด็กเล็กให้เป็นห่วงหน่อย แม้ ก ระทั้ ง โตเราก็ ต ้ อ งสอดส่ อ งดู แ ลอยู ่ ตลอด อย่าปล่อยปะละเลย ช่างมันไม่ เป็นไรเดี๋ยวก็มาเอง ไม่ได้ เตื อ นภั ย เฝ้ า ระวั ง คนที่ละเมิดส่วนใหญ่ก็ตัวพ่อเอง อยากฝากบอกคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ที่ มีลูกเล็ก ไม่ใช่เฉพาะเด็กเล็กนะ เด็กโต แม่เอง วินมอไซค์รับจ้าง คือเยอะนะคะ เหมือนกัน ไม่ให้ระแวง แต่ให้เฝ้าระวัง ให้ ถ้ า จะให้ พู ด ก็ คื อ บุ ค คลที่ อ ยู ่ ร อบตั ว เรา สงสัยไว้ก่อน เกิดอะไรขึ้นให้สงสัยไว้ก่อน ทุกคน แม้กระทั้งตัวเราด้วย เราละเมิด แล้วเด็กเล็กอย่าให้ห่างตา หายไปสิบนาที เด็กเพราะว่า หนึ่งไม่ยอมดูแลเขา ปล่อย ยี่สิบนาที แจ้งความได้ไม่จ�ำเป็นต้อง ยี่สิบ ปะละเลย ไม่เป็นผู้ปกครอง หรือพ่อแม่ สี่ชั่วโมง ถ้าเป็นแบบนั้นโทรมาหาเราเลย ที่คอยสั่งสอน หรือว่าคอยตักเตือน คอย ถ้าแจ้งความแล้ว ร้อยเวรไม่รับผิดชอบ ดูแลเขาให้ปลอดภัย อันนีแ้ หละอยากฝาก ไม่ยอมตามเรื่องให้ ในเรื่องของเด็กหาย ผู้ปกครองไว้ สี่ขวบ ห้าขวบ หายไปยี่สิบนาที สามสิบ นี้ให้ฟัง พี่ถามน้องสิ เด็กจะมาเล่าหรอว่า ใครข่มขืน ใครจะมาแต่งเรื่องได้ขนาดนี้ พี่ว่าเรื่องพากผู้เยาว์ด้วยนะ พองัดประตู ได้แล้ว เอาน้องออกไปที่ห้องของเขา ผิด ในเรื่องพากผู้เยาว์ด้วย คุณต้องด�ำเนิน คดี เราคุยแบบนี้กับร้อยเวร เลยโทรไป บอกน้องที่ส่งเรื่องนี้มาว่าต้องด�ำเนินคดี เรื่องพากผู้เยาว์ด้วย เพราะเอาไปจาก ห้องเพื่อข่มขืน เราต้องครบทุกเรื่อง ต้อง ให้มันครบขบวนการ เพื่อที่เด็กจะไม่เสีย สิทธิ บุกรุกด้วย นี่คือบุคคลใกล้ตัว บุคคล ที่รู้จัก ลูกเจ้าของตึกที่เช่า ท�ำได้ไง

“คนที่ละเมิดส่วนใหญ่ คือบุคคลที่อยู่รอบตัวเรา”

63 issue 92 September 2015


64 IS AM ARE www.ariyaplus.com


65 issue 92 September 2015


66 IS AM ARE www.ariyaplus.com


67 issue 92 September 2015


68 IS AM ARE www.ariyaplus.com


69 issue 92 September 2015


ปี ชวด

การงาน – ก้าวหน้าด้วยดี คุณจะพบช่วยเวลาที่ท้าทายในที่ท�ำงาน ยิ่งหากผู้อื่นไม่เห็นด้วยกับคุณในบางเรื่อง คุณอาจอ่อนใจที่จะแก้ต่างให้ตัวเองหรือสิ่งที่คุณเชื่อซ�้ำๆ แต่ก็คุ้มค่าหากคุณเชื่อมั่นว่าคุณเป็นฝ่ายถูกแต่ควรท�ำ ด้วยน�้ำเสียงและท่าทีที่เหมาะสม ธุรกิจ – สุขุม แม้ว่าผลลัพธ์จะออกมาดีในเดือนนี้ แต่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการแข็งขันที่ดุเดือนยิ่งขึ้น หนทางของคุณจึงไม่สบายแน่นอน อุปสรรคอาจท�ำให้แผนของคุณสะดุด แต่อย่าได้ท้อแท้ หากคุณแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยความสุขุม สิ่งต่างๆ จะลงเอย ด้วยดี ความรัก ความสัมพันธ์ – อย่าเพิ่งจริงจัง คุณอาจพบช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายในด้ายความสัมพันธ์ คุณอาจหาเรื่องคนอื่น และคนอื่น ก็ไม่สบอารมณ์กับคุณได้ง่ายๆ คุณจะเลือดร้อนเมื่อพูดถึงเรื่องส�ำคัญส�ำหรับคุณ ทางที่ดีควรพูดคุยแต่เรื่องไร้สาระเบาๆ ไปก่อน การศึกษา – ส�ำเร็จลุล่วง ทุกครั้งที่คุณแก้ปัญหาใหม่ได้ คุณจะรู้สึกถึงความส�ำเร็จอันหอมหวาน จงใช้พลังของคุณเฉพาะกับเรื่องที่ เป็นประโยชน์ แล้วคุณจะก้าวหน้าด้วยดีในเรื่องของการเรียนการศึกษา

ปี ฉลู

การงาน – เพิ่มทักษะ เดือนนี้คุณจะมีความก้าวหน้าอย่างงดงามในด้านการงานมีโอกาสมากมายให้คุณได้เรียน รู้สิ่งใหม่ๆ และเพิ่มทักษะที่คุณมีอยู่ คนปีฉลูที่เต็มใจจะเรียนรู้จะได้ผลดีจากเดือนนี้มากกว่าคนที่คิดว่าตัวเองรู้

พอแล้วหลายเท่า ธุรกิจ – โอกาสที่ไม่คาดฝัน เดือนนี้สดใสส�ำหรับธุรกิจ คุณมีโอกาสที่จะได้เข้าสู่ธุรกิจใหม่ และขยายธุรกิจของคุณไปด้านอื่นในเวลา ที่การขยายธุรกิจของคุณดูเหมือนจะถึงจุดอิ่มตัว โอกาสของคุณจะเข้ามาในรูปแบบที่ไม่คาดคิด ความรัก ความสัมพันธ์ – อิ่มเอม เวลาที่เปี่ยมไปด้วยความสุขส�ำหรับความรัก พลังของเดือนท�ำให้หัวใจตรงกัน คุณกับคู่รักจึงเท่า เทียมกัน ไม่เพียงแต่ร่างกายหรือความคิดแต่รวมถึงจิตใต้ส�ำนึกด้วย และหากคุณจะประกาศความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการก็อย่า ได้รอช้า การศึกษา – ก้าวหน้าไปไกล จงใช้เวลาตอนนี้อย่างฉลาด ท้าทายความคิดเก่าๆ ด้วยความคิดใหม่ ตั้งค�ำถาม จงถ่อมตัวแต่กล้า คุณ จะก้าวหน้าไปได้ไกล หากคุณกล้าและมุ่งมั่นที่จะเดินหน้า

ปี ขาล

การงาน – รู้สึกถึงความส�ำเร็จ เดือนที่มาถึงนี้น�ำสิ่งดีๆ มากมาย การรวมตัวของดวงดาวท�ำให้คุณเปลี่ยนสิ่งที่ก�ำลัง ท�ำอยู่ให้กลายเป็นความส�ำเร็จอย่างง่ายดาย ผู้อื่นจะชื่นชมความคิดเห็นและมุมมองของคุณยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในฐานะ ผู้ร่วมงานหรือคู่แข่ง ธุรกิจ – ช่องทางเติบโต มีช่องทางมากมายส�ำหรับการเติบโต และนี่คือเวลาที่จะตัดสินใจ เลือกสักสองสามทางให้คุณเดินต่อไป การ เริ่มต้นใหม่ การขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ ขยายกิจการ อาจเป็นสิ่งที่คุณคิดอยู่ในตอนนี้ สิ่งใหม่ๆ ปรากฎขึ้นท�ำให้คุณมีแรงจูงใจ ความรัก ความสัมพันธ์ – เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ช่วงเวลาที่เปี่ยมสุขส�ำหรับความรัก คุณเริ่มซาบซึ้งกับคู่รักของคุณ ในด้านใหม่ๆ และยังอาจพบว่าการพัฒนาบางอย่างในชีวิตท�ำให้คุณใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอย่างไรแต่เมื่อมันเกิดขึ้น จงยินดีรับมัน การศึกษา – ก้าวหน้าอย่างงดงาม ช่วงเวลาน�ำมาซึ่งพลังวิเศษอย่างยิ่งซึ่งช่วยนักเรียนที่ก�ำลังเรียน หรือศึกษาอยู่ จงใช้เวลานี้อย่างรู้คุณค่า และความก้าวหน้าครั้งใหญ่จะ เกิดขึ้นได้ หากคุณกล้าและแน่วแน่ที่จะก้าวไปข้างหน้า 70 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน – มองบวกไว้ ชีวิตการงานอาจไม่สบายอย่างที่คุณต้องการคนอื่นอาจพบว่าพูดคุยกับคุณได้ยากขึ้นส่วนใหญ่ก็เพราะคุณเคลือบ แคลงเจตนาของผู้อื่นเกินไป หากคุณรู้สึกผิดหวังหรือถูกทรยศเมื่อไม่นานนี้ ก็อาจยากที่จะไว้ใจผู้อื่นทันที ธุรกิจเฉยไว้ – เฉยไว้ ดาวร้ายห้าเหลืองสามารถท�ำให้อารมณ์และการตอบสนองของคุณปั่นป่วนได้ ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินใจเรื่องส�ำคัญในตอนนี้ เมื่อคุณ รู้สึกแย่ควรใช่เวลาคิดก่อนโต้ตอบ ระวังอย่าล่วงเกินผิดคนมิฉะนั้นคุณอาจต้องยุติความสัมพันธ์ที่มีค่า ความรัก ความสัมพันธ์ – มีปากเสียง การมีปากเสียงเล็กน้อยอาจท�ำให้คุณรู้สึกแย่กับตัวเอง เมื่อคุณไม่เห็นด้วยกับเรื่องใด อย่าโต้ตอบด้วยความโกรธ ก่อนจะแสดงท่าที ในแบบที่คุณอาจต้องเสียใจ ควรใช้เวลาท�ำใจให้ปลอดโปร่งเสียก่อน การศึกษา – เผชิญหน้า จงเผชิญกับทุกสิ่งอย่างมั่นใจ สิ่งต่างๆ จะมีหนทางคลี่คลายไปเอง หากคุณไม่ปล่อยความเครียดช่วงสั้นๆ มาท�ำให้คุณพ่ายแพ้ คุณ จะผ่านพ้นมันไปได้อย่างง่ายดาย

ปี มะโรง

การงาน – ส�ำเร็จ คนปีมะโรงที่ท�ำงานจะได้รับความพอใจอย่างมากจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานในเดือนนี้ ส�ำหรับคุณสิ่งต่างๆ ราบรื่นคุณจึง สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆ แล้วความสนุกสนานจะกลับมาสู่ชีวิตการงานของคุณอีกครั้ง ธุรกิจ – เชื่อสัญชาตญาณ ความมั่นใจที่เป็นบุคลิกของคุณจะกลับคืนมา ท�ำให้คุณคิดการใหญ่ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องคอยห้ามตัวเอง คุณก�ำลังมองโลกในแง่ดี รักษามุมมองที่เป็นบวกนี้ไว้ เพราะนั่นคือสิ่งที่ก�ำหนดบรรยากาศให้กับทุกคนที่ร่วมงานกับคุณ ความรัก ความสัมพันธ์ – น่าพอใจ อารมณ์สบายๆ ของคุณดึงดูดให้คนทุกประเภทเข้ามาชอบคุณ ดังนั้นในเรื่องความรักคุณจึงไม่ เหงาแน่ในเดือนนี้ ! คุณจะมีชีวิตสังคมที่วุ่นวายได้มากเท่าที่ต้องการ และคุณจะใกล้ชิดใครก็ตามที่คุณเลือกได้มากเท่าที่คุณอยาก การศึกษา – โชคด้านผู้ชี้น�ำ คนที่เรียนอยู่จะได้รับผลดีมากอย่างแท้จริง จากโชคด้านผู้ชี้น�ำ หากคุณมีใครบางคนที่สามารถพึ่งพาได้ เช่น พูดคุย ขอค�ำแนะน�ำ ในเดือนนี้คุณก็จะได้ประโยชน์มากมายจากบุคคลเช่นนี้

ปี มะเส็ง

การงาน – มนุษยสัมพันธ์ ส�ำหรับคนที่ต้องการความส�ำเร็จในด้านอาชีพ สิ่งที่ช่วยให้คุณก้าวหน้าได้คือความสามารถ ในการเข้ากับผู้อื่น เสน่ห์ของคุณช่วยคุณได้มาก คุณจะสนุกกับการเข้าสังคมและสร้างความประทับใจแรกที่ดี ธุรกิจ – ฝันให้ใหญ่ โชคอยู่ในเกณฑ์ดี และจะดียิ่งขึ้นอีกหากคุณบังเอิญรู้จักคนที่อยู่ในต�ำแหน่งที่เหมาะสม ความสัมพันธ์อันดีสร้างความแตกต่างได้มาก ในตอนนี้ คนที่คุณขอความช่วยเหลือก็ยินดีที่ได้ช่วย ความรัก ความสัมพันธ์ – สุขล�้ำลึก ช่วงเวลาที่ส�ำคัญทางจิตวิญญาณและการมีสุขอย่างที่สุด คุณจะมีเรื่องให้น่าจดจ�ำไปอีกนาน และไม่ว่าความสัมพันธ์ของคุณจะยืนยาว หรือไม่ ความทรงจ�ำนี้จะคงอยู่ไปนานแสนนาน การศึกษา – โชคด้านผู้ชี้น�ำ จะได้รับผลดีอย่างยิ่งจากการมีผู้ชี้น�ำที่คอยแสดงความคิดเห็นและให้ค�ำแนะน�ำกับคุณ อย่าพยายามตัดสินใจทุกเรื่องเอง แม้ว่าคุณ รู้สึกมั่นใจและเป็นตัวของตัวเอง การได้รับมุมมองจากคนที่สูงวัยกว่าจะท�ำให้คุณพบทางเลือกที่ดีกว่า 71 issue 92 September 2015


ปี มะเมีย

การงาน – เปิดรับความคิดใหม่เดือนนี้ดีมากส�ำหรับคนปีมะเมียที่มีหน้าที่การงาน ดวงบ่งบอกถึงความส�ำเร็จในทุก โครงการที่คุณมีส่วนร่วมและยังบ่งชี้ถึงผลตอบแทนอันงดงาม ไม่ว่าจะในทันทีหรือในอนาคตก็ตาม และจงท�ำงาน ให้เข้ากับทีมของคุณ ธุรกิจ – หูตาต้องไว โชคของคุณดีอย่างที่สุด และในเดือนนี้โชคด้านการเงินก็ดีขึ้นด้วย ไม่ว่าลาภลอยจะได้มาจากความสามารถส่วน บุคคลหรือจากเดือนแห่งขุมทองก็ไม่อาจประมาณค่าได้ และในเวลาเช่นนี้ทุกอย่างดูลงตัวไปหมด ความรัก ความสัมพันธ์ – ต้องการอิสรภาพ ต่างจากด้านการงานชีวิตรักของคุณเดือนนี้ถือว่าธรรมดา คุณจะพบว่าตัวเองไม่มีอารมณ์พะเน้าพะนอกันซึ่งท�ำให้อีกฝ่ายหงุดหงิด คุณ มีแนวโน้มอยากอยู่คนเดียวและท�ำเรื่องส่วนตัวที่คุณชอบมากกว่าจะอยู่กับคนอื่นในเดือนนี้ การศึกษา – ใช้เหตุผล ตอนนี้เป็นเวลาอันตรายส�ำหรับเด็กปีมะเมีย เพราะอาจตกอยู่ภายใต้อิทธิพลที่ไม่ดีของเพื่อนที่ไม่เหมาะจะคบ ด้วย พ่อแม่ของเด็กปีมะเมียจ�ำเป็นต้องระวังเรื่องนี้โดยการพูดคุยกับลูกเป็นประจ�ำ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากกีฬา จึงต้องระวังให้มากขึ้น

ปี มะแม

การงาน – ความคิดเป็นเลิศ คุณจะได้รับความพอใจอย่างมากจากงาน เมื่อคุณมีความคิดดีเลิศมากมายที่ทุกคนดูจะให้ความสนใจ คุณก�ำลังอยู่ใน ช่วงท�ำผลงานได้มากและมีโอกาสมากมายที่จะท�ำให้ได้ยอดเยี่ยม ธุรกิจ – มุ่งมั่นให้ตลอด คุณสนุกกับงานละความกระตือรือร้นของคุณจะกลายเป็นผลดีได้อย่างง่ายดาย จุดเด่นของคุณอยู่ที่การร่วมงาน กับคนอื่นได้ดีและการกระตุ้นให้คนอื่นกระตือรือร้นกับความคิดของคุณได้เท่ากับที่คุณรู้สึก คุณจึงเป็นผู้น�ำที่มีเสน่ห์และมีประสิทธิภาพ ความรักความสัมพันธ์ – ผูกพันทางกาย ความผูกพันทางกายจะมีความส�ำคัญเป็นพิเศษต่อความสัมพันธ์ของคุณในตอนนี้ หากคู่รัก ของคุณตอบสนองความต้องการของคุณได้ ก็มีโอกาสที่พวกคุณจะผูกพันกันได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การศึกษา – โชคด้านการศึกษา เด็กปีมะแมจะได้รับผลดีมากจากพลังของเดือนนี้ ซึ่งช่วยให้การเรียนง่ายขึ้นและน่าสนุกยิ่งขึ้น ใส่ใจกับการเรียนของคุณให้มากขึ้น แล้ว คุณจะก้าวหน้าไปไกลในช่วงสี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

ปี วอก

การงาน – รู้สึกสร้างสรรค์ การท�ำงานจะได้รับผลดี เพราะคุณมีความคิดเต็มไปหมด ที่อยู่ในสายงานสร้างสรรค์จะพบว่าเดือนนี้น่าพอใจอย่าง ที่สุด หากคุณท�ำงานด้านการเขียน การวิจัยค้นคว้า หรือการสื่อสาร คุณจะมีโอกาสได้โดดเด่นในเดือนนี้ ธุรกิจ – ความเด่นดังให้ผลดี โชคด้านความมั่งคั่งรอคุณอยู่เบื้องหน้า แต่เงินก้อนโตจะมาถึงในภายหลัง คุณจะได้ลิ้มลองรสชาติของสิ่งที่จะตามมา แต่ในตอนนี้จล วางแผนอย่างรอบคอบจะให้ผลดี การลงทุนด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณ ความรัก ความสัมพันธ์ – ไปได้สวย ความรักอบอวลในบรรยากาศ ! นี่คือเดือนของคู่รัก และคนปีวอกที่มีรักจะส่องประกายสดใสในแววตาและมองโลกในแง่ดี อารมณ์ที่ เริงร่าของคุณจะช่วยเพิ่มคะแนนให้คุณในช่วงคบหาดูใจ การศึกษา – โชคด้านการเรียน โชคด้านการเรียนดีมากจริงๆ ดังนั้นเด็กปีวอกที่เรียนอยู่จึงคาดหวังความชื่นชมได้เลย คุณท�ำผลการ เรียนได้ดีมาก และจะพบว่าคุณเอาชนะใจครูอาจารย์ได้อย่างง่ายดาย การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนก็ช่วยให้คุณก้าวหน้าได้ดี 72 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน – อยู่เงียบๆ ไว้ มีเรื่องมากมายให้คุณคิด จึงยากที่คุณจะมีสมาธิกับเรื่องงาน คุณจึงอาจท�ำงานผิดพลาดโดยไม่ระวัง ที่ท�ำงานอาจมี การแข่งขันสูงจ�ำเป็นต้องระวังด้านหลังไว้ เพราะอาจมีคนจ้องฉวยโอกาสจากความผิดพลาดของคุณ ธุรกิจ – คอยควบคุมไว้ คุณอาจพบว่าตัวเองก�ำลังอยู่ในช่วงที่ขาดความมั่นใจ ท�ำให้คุณต้องคอยถามความคิดเห็นของผู้อื่นบ่อยกว่าที่คุณเคยท�ำ แม้ว่าการท�ำ ผิดพลาดบ้างสักครั้งสองครั้งอาจท�ำให้คุณสงสัยวิจารณญาณของคุณเอง แต่อย่าต�ำหนิตัวเองหนักเกินไป ความรัก ความสัมพันธ์ – อ่อนไหว เป็นเดือนที่ไม่ดีเอาเสียเลย เมื่อคุณเสี่ยงที่จะพบความผิดหวังและเจ็บปวด การอกหักตั้งเค้าให้เห็นอยู่ หากคุณมีความสัมพันธ์แล้ว แต่ ไม่คืบหน้าไปไหน บางทีเลิกกันด้วยดีแล้วเริ่มต้นใหม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การศึกษา – แก้ปัญหาทีละเปลาะ ปริมาณงานที่มากผิดปกติอาจท�ำให้คุณท้อ หากมีงานที่ต้องท�ำมากสมองของคุณอาจรับไม่ไหว และ เนื่องจากตอนนี้อารมณ์ของคุณอ่อนไหวกว่าปกติ ดังนั้นแค่มีอะไรนิดหน่อยก็กระทบคุณได้แล้ว

ปี จอ

การงาน – น่ารื่นรมย์ ความมั่นใจของคุณจะเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ผู้อื่นจะชื่นชมผลงานที่ดีของคุณทั้งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานของคุณก็ จะดีขึ้นมาก คุณยังมีโอกาสได้เลื่อนต�ำแหน่งแม้ว่าอาจไม่ได้เข้ามาในทันที ธุรกิจ – โอกาส โชคด้านความมั่งคั่งของคุณก�ำลังสุกงอม คุณจะกล้าตัดสินใจหากรู้สึกว่าบางอย่างคุ้มค่าที่จะพยายาม แต่คุณต้องเด็ดขาดในการตัดสิน ใจ และอย่าลังเลเมื่อเลือกแล้ว คุณจะเป็นเจ้านายและผู้น�ำที่ดีได้ ตราบใดที่คุณไม่ปล่อยความไม่มั่นใจปรากฏขึ้นมา ความรัก ความสัมพันธ์ – มีแววดี กุญแจสู่ความสุขในชีวิตรักคือ การสื่อสารที่ดี บอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจของคุณ หากคุณจ�ำเป็นต้องพูดบางอย่างก็อย่าลังเล อย่าเก็บความ รู้สึกไว้ในอก มิฉะนั้นอาจเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ การศึกษา – โชคด้านการศึกษา ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีส�ำหรับเรื่องการเรียน คุณจะพบว่าการเรียนเป็นเรื่องง่าย แต่ไม่จ�ำเป็นต้องโอ้อวด มิฉะนั้นคนอื่นอาจหนีห่างจากคุณ ท�ำตัวให้น่ารักและสนุกสนานกับช่วงเวลานี้

ปี กุน

การงาน – โชคด้านการเลื่อนต�ำแหน่ง พรสวรรค์ของคุณจะเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อผู้อื่น และสิ่งที่น่ายินดีคือ เพื่อนร่วมงานของคุณจะไม่รู้สึกอิจฉาริษยา แต่ พวกเขากลับยินดีไปกลับคุณและอยากเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นศัตรู ซึ่งคุณเองก็ยินดีที่ได้รับความไว้วางใจ ธุรกิจ – รักษาความมั่นใจไว้ จะมีขุมทองมากมายให้คุณมองหา หากคุณรู้สึกว่าบางอย่างควรค่าที่จะไขว่คว้าตอนนี้เป็นโอกาสที่จะลงมือและทุกสิ่งที่เริ่มต้นในตอน นี้มีแนวโน้มที่จะไหลลื่นปราศจากอุปสรรคหรือปัญหา ความรัก ความสัมพันธ์ – ไปได้สวย คุณจะพบความสุขอย่างง่ายดาย คุณก�ำลังอารมณ์ดี และคนใกล้ชิดจะชื่นชอบนิสัยเช่นนี้ของคุณ คุณมีอารมณ์ขันที่ยอดเยี่ยม จึงควรใช้ ความสามารถนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สึกดีกับตัวเองต่อไป การศึกษา – มีความสุข โชคด้านการศึกษาดีมากในเดือนนี้ คนที่ก�ำลังสอบจะไม่ต้องกังวลเลย เพราะโชคอยู่ข้างคุณอย่างที่สุด 73 issue 92 September 2015


โบราณสถานก�ำแพงเพชร อารยะธรรมที่คนรุ่นหลังหลงลืม

“พระแก้วมรกตและพระพุ ทธสิหิงค์เคยประดิษฐานที่เมืองก�ำแพงเพชรหรือครับ” ข้าพเจ้าถามเอาดื้อๆ กับชายวัย 50 ในชุ ดข้าราชการ ผู ้ท�ำหน้าที่เก็บค่าผ่านทางเที่ยวชมวัดพระแก้วกลางเมืองก�ำแพงเพชร ซึ่ งตั้งอยู ่ฝ่ั งตรงข้าม กับโรงเรียนก�ำแพงเพชรพิทยาคม ได้รับค�ำตอบว่า “เอิ่ม...” “เอ่อ...” “อืม...” “ต้องเข้าไปถามกรมอุ ทยานฯ ก�ำแพงนะ ครับ” เขาชี้ ไปทางศาลหลักเมืองซึ่ งอยู ่ใกล้กับกรมอุ ทยยานฯ ราว 500 เมตร 74 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Bonvoyage

“พี่ ไ ม่ ใช่ ค นของกรมอุ ท ยานฯ ก�ำแพงเพชรหรือครับ ?” เขาเงียบ และข้าพเจ้าไม่ได้รับค�ำ ตอบ เรี ย กว่ า เขาเก็ บ ค่ า ผ่ า นทางอย่ า ง เดียว ไม่มีข้อมูลอะไรทั้งสิ้น แม้แต่เนื้อที่ ของวัดพระแก้วที่เขาเฝ้ามาชั่วนาตาปี “ ไ ม ่ น ่ า เ ชื่ อ ” เ พื่ อ น ช า ว ก�ำแพงเพชรของข้าพเจ้าอุทาน เพราะ เห็ น เจ้ า หน้ า ที่ เ ฝ้ า เก็ บ ค่ า ผ่ า นทางแห่ ง นี้ ม ายาวนานตั้ ง แต่ เขายั ง เด็ ก แต่ แ ก ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ ข้าพเจ้ามักจะเข้าไป ถามข้อมูลกับหน่วยราชการในพื้นที่ต่าง จังหวัดแบบปัจจุบันทันด่วนอยู่เสมอ สิ่ง ที่พบคือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ ข้ อ มู ล ในพื้ น ที่ นั้ น ๆ เช่ น จ� ำ นวนพื้ น ที่ ความเป็ น มา รายละเอี ย ดและความ ส�ำคัญ มักไม่มีค�ำตอบที่ชัดเจน หรือไม่ก็ ปัดให้ไปถามหน่วยงานอื่น ค�ำถามที่เกิด ขึ้นก็คือ “พวกเขาท�ำอะไรกันอยู่” เหลื อ บไปเห็ น น้ อ งๆ กลุ ่ ม หนึ่ ง เดินมาเที่ยวในวัดพระแก้วแห่งนี้ ข้าพเจ้า ไม่รีรอเข้าไปถาม “ท�ำไมเขาเรียกว่าวัด พระแก้ ว ครั บ น้ อ งรู ้ ไ หม” ค� ำ ตอบคื อ การส่ายหน้า ที่ สุ ด ข้ า พเจ้ า ถามเพื่ อ นชาว ก�ำแพงเพชรที่มาด้วยกันก็ได้รับค�ำตอบ ว่าไม่รู้อีกนั่นแหละ หรือแท่งหินศิลาแลงเหล่านี้กลาย เป็ น เพี ย งเศษฝุ ่ น ดิ น ของอดี ต กาลที่ กิ น อาณาบริ เวณจั ง หวั ด ก� ำ แพงเพชรเป็ น พันๆ ไร่เท่านั้น ไม่ได้มีความหมายอะไร กับคนรุ่นใหม่เลยงั้นหรือ ? ข้าพเจ้าไม่ ยอม เดินเสาะหาผู้รู้ต่อไป มันต้องมีสัก คนน่า

เรื่องราวไปจบอยู่ที่หญิงชราขาย พวงมาลัยอยู่ที่ศาลหลักเมือง อาชีพเดียว ที่แกท�ำมาตั้งแต่ยังสาว “โบราณท่ า นว่ า พระแก้ ว มรกต และพระพุ ท ธสิ หิ ง ค์ เ คยประดิ ษ ฐานที่ เมื อ งก� ำ แพงเพชรซึ่ ง น่ า จะประดิ ษ ฐาน ที่วัดพระแก้วแห่งนี้แหละ” คุณป้าขาย พวงมาลั ย เล่ า ให้ ผ มฟั ง ขณะร้ อ ยดอก มะลิว่า วัดพระแก้วมีพระอารามหลวง ขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่กลางเมืองเหมือน กับวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัยและวัดพระศรี สรรเพชญของอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะ เขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจ�ำพรรษา สิ่ง ก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตาม แกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับก�ำแพง เมืองด้านทิศใต้ ตอนหน้าสุดของวัดเป็น ฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลง

ศิลปากรในอินเทอร์เน็ต พบว่า ข้อมูลตรง กับสิ่งที่ป้าบอก “หลานมันเปิดให้ฟัง ป้าฟังจน จ�ำได้แล้ว” แกหมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับ วัดในยูทูป ข้าพเจ้าพนมมือขอบคุณป้า ในใจ อย่างน้อยแกก็รู้ดีกว่าชายที่อยู่ใน ชุดข้าราชการ ป้าให้หลานแกพาเดินชม ไปรอบๆ วั ด พระแก้ ว ใครจะว่ า เด็ ก ๆ เหล่านี้เป็นไกด์เถื่อนก็ช่างประไร อย่าง น้อยพวกเขาก็ใฝ่รู้และอธิบายได้แม้จะ ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ “วัดพระธาตุตั้งอยู่ทางด้านหน้า หรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว” เด็ก น้อยพูดเหมือนนกแก้วนกขุนทอง “เจดีย์ ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลม หรื อ ทรงระฆั ง สู ง ใหญ่ ก ่ อ ด้ ว ยอิ ฐ องค์ เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลด

พระพุ ท ธรู ป ประธาน ถั ด มาเป็ น เจดี ย ์ ทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสาม องค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบ ผมเข้ า ไปดู เช็ ค ข้ อ มู ล ของกรม

หลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็ก เป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองก�ำแพงเพชร ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลา แลงและมี เจดี ย ์ อ ยู ่ บ ริ เวณมุ ม ด้ า นหน้ า ข้างวิหารข้างละองค์” ข้าพเจ้ารู้ว่าข้อมูลเหล่านี้เราจะ

75 issue 92 September 2015


หาจากโลกออนไลน์ก็ได้ แต่ไกด์น้อยๆ นี้ต่างหากให้อารมณ์ใน การท่องเที่ยวได้มากกว่าหน้าจอเสียอีก “อย่าขึ้นไปเหยียบนะ ศิลาแลงเก่าแล้ว” เด็กน้อยก�ำชับข้าพเจ้าขณะจะขึ้นไปถ่ายรูป เมืองก�ำแพงเพชรตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำปิง มี ผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมคางหมูยาวขนานกับล�ำน�้ำ ก�ำแพงเมืองก่อ ด้วยศิลาแลง ส่วนบนท�ำเป็นเชิงเทินมีใบเสมา มีคูเมืองรอบแนว ก�ำแพง ด้านทิศเหนือยาว 2,403 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 2,150 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 2,150 เมตร ทิศตะวันออกยาว 540 เมตร และด้านทิศตะวันตกยาว 220 เมตร มีป้อมตามมุมก�ำแพงทั้ง 4 มุม มีประตูเข้าออก 10 ประตู ริ ม ฝั ่ ง ตะวั น ตกของแม่ น�้ ำ ปิ ง คนละฝั ่ ง กั บ เมื อ ง ก� ำ แพงเพชร มี เ มื อ งโบราณ “นครชุ ม ” มี แ นวก� ำ แพงเมื อ ง ก่ อ เป็ น คั น ดิ น ขนานแม่ น�้ ำ ปิ ง และคลองสวนหมาก ปั จ จุ บั น ก�ำแพงเมืองเหลือเป็นบางส่วน มีกลุ่มโบราณสถานที่อยู่นอก ก� ำ แพงเมื อ งด้ า นทิ ศ ใต้ เมื อ งก� ำ แพงเพชรและเมื อ งนครชุ ม เป็นเมืองโบราณมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 19-20 เมืองก�ำแพงเพชรมีลักษณะเป็น “เมืองหน้าด่าน” ที่ ส�ำคัญของกรุงสุโขทัยที่มีบทบาทต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา โดยเฉพาะในการป้องกันข้าศึก จึงเป็นมูลเหตุให้มีการก่อสร้าง

ก�ำแพงเมืองด้วยศิลาแลงที่แกร่งขึ้น ฤดู ฝ นท� ำ ให้ โ บราณสถานแห่ ง นี้ เขี ย วขจี ชุ ่ ม ฉ�่ ำ ไปทั่ ว บริเวณ ต้นไม้ใบหญ้าเบ่งบานอวดใบกันถ้วนหน้า ส�ำหรับขาจร อย่างข้าพเจ้าผู้ผ่านมาจังหวัดก�ำแพงเพชรรู้สึกว่า เมืองก�ำแพง นี้เป็นเมืองที่น่ารักกระทัดรัด มีโบราณสถานให้ศึกษามากมาย มีเรื่องราวรอคอยนักท่องเที่ยวให้ไปค้นหา บ้านเมืองที่นี่เงียบ สงบ ขณะเดียวกันโบราณสถานต่างๆ ก็เปรียบดังสถานที่พัก ผ่อนหย่อนใจ มีต้นไม้ปลูกไว้สวยงาม ในอุทยานประวัติศาสตร์ ก�ำแพงเพชรยังมีประชาชนไปวิ่งออกก�ำลังกายในตอนเย็น ทั้ง บรรยากาศ สภาพแวดล้อม รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของที่นี่ ท�ำให้ข้าพเจ้านึกอิจฉา “พี่มาจากไหน” เด็กน้อยถามเอาจากข้าพเจ้าบ้าง “กรุงเทพฯ ครับ” “ที่กรุงเทพฯ ไม่มีวัดอย่างนี้เหรอ” “มีสิ สวยเหมือนที่นี่เลย” “เป็ น ยั ง ไงบ้ า ง เล่ า ให้ ฟ ั ง บ้ า งสิ ” ข้ า พเจ้ า เงี ย บอึ้ง เพราะได้ แ ต่ ว ่ า คนอื่ น เขาว่ า ไม่ รู ้ ข ้ อ มู ล ในแหล่ ง ที่ ต นเองอยู ่ ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้เช่นกัน อายเด็กมันเสียจริง เมืองก�ำแพงเพชรและเมืองนครชุม ได้รับการประกาศ 76

IS AM ARE www.ariyaplus.com


ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามพระราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เล่ม ที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480 และเล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วัน ที่ 7 พฤษภาคม 2511 และเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2534 และในการ ประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย คณะกรรมการ มรดกโลก ได้ประกาศให้โบราณสถานเมืองก�ำแพงเพชร ได้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 มืดค�่ำ เมืองก�ำแพงก็เงียบสงบ ร้านรวงบ้านช่อง พากันปิดเงียบพักผ่อนรอรุ่งอรุณแห่งวันใหม่ คงเหลือแต่ เจดีย์ในโบราณสถานยืนตระหง่านในเงาตะคุ่มของค�่ำคืน เท่านั้น ขับรถผ่านไปก็ให้รู้สึกวังเวงพิกล นึกถึงภาพทหาร กล้าสมัยโบราณขี่ช้างท�ำศึกในฐานะผู้ปกป้องเมืองหน้า ด่านเพื่อให้ลูกหลานได้สืบสกุลกันจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันที่ น้อยคนนักจะสนใจความเป็นมาของ เมืองและบรรพบุรุษตัวเอง

77 issue 92 September 2015


ปั จ จุ บั น ก� ำ แพงเมื อ งเหลื อ เป็ น บางส่ ว น มี ก ลุ ่ ม โบราณ สถานที่ อ ยู ่ น อกก� ำ แพงเมื อ งด้ า นทิ ศ ใต้ เมื อ งก� ำ แพงเพชร และเมื อ งนครชุ ม เป็ น เมื อ งโบราณมาตั้ ง แต่ ส มั ย สุ โ ขทั ย ประมาณพุ ท ธศตวรรษที่ 19-20 เมื อ งก� ำ แพงเพชรมี ลั ก ษณะเป็ น “เมื อ งหน้ า ด่ า น” ที่ ส� ำ คั ญ ของกรุ ง สุ โ ขทั ย ที่ มี บ ทบาทต่ อ เนื่ อ งมาจนถึ ง สมั ย อยุ ธ ยา โดยเฉพาะในการ ป้ อ งกั น ข้ า ศึ ก จึ ง เป็ น มู ล เหตุ ใ ห้ มี ก ารก่ อ สร้ า งก� ำ แพงเมื อ ง ด้ ว ยศิ ล าแลงที่ แ กร่ ง ขึ้ น

78 IS AM ARE www.ariyaplus.com


คนที่มองโลกในแง่ดี.. ย่อมเห็นโอกาสในทุกยามที่เกิดวิกฤต คนที่มองโลกในแง่ร้าย.. ก็ย่อมเห็นแต่วิกฤตในทุกโอกาส อ่ า นต่ อ : http://www.thaiquip.com 79 issue 92 September 2015


มู ลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดกิจกรรมเดินเทิดพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ

มู ล นิ ธิ ค ร อ บ ค รั ว พ อ เ พี ย ง จั ด กิ จ กรรมเดิ น เทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระ นางเจ้ า ฯพระบรมราชิ นี น าถ เนื่ อ งใน โอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ การเดิน เฉลิ ม พระเกี ย รติ เริ่ ม ต้ น จาก สนามกี ฬ า โรงเรี ย นสั น ติ ร าษฎร์ วิ ท ยาลั ย มุ ่ ง หน้ า สู ่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านโรงพยาบาลเด็ก กระทรวงอุ ต สาหกรรมและโรงพยาบาล สงฆ์ โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 700 คน

เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์ เพรส นวมินทร์ คว้า”สโตร์คาร์บอนนูทรัล” ดันเป็ นต้นแบบร้านปลอดคาร์บอน คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองประธาน กรรมการ แผนกสื่ อ สารองค์ ก รและความ ยั่งยืน เทสโก้ โลตัส ร่วมยินดีกับเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขานวมินทร์ ที่ได้การรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การ มหาชน) ให้เป็นสโตร์ “คาร์บอนนูทรัล” หรือ เครื่องหมายการรับรองการชดเชยคาร์บอนเป็น ศูนย์ ซึ่งเป็นกรีนสโตร์แห่งที่ 4 ที่เทสโก้ โลตัส จะ น�ำร่องไปสู่การท�ำสโตร์ลดคาร์บอนในรูปแบบ ร้านเอ็กซ์เพรสอีกกว่า 1,500 สาขาทั่วประเทศ

เปิ ดตัว The New FUSO

นายธนภัทร อินทวิพันธุ์ รองประธาน บริษัท ฟูโซ่ ทรัค (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผู้ผลิตและผู้แทนจ�ำหน่ายอย่างเป็น ทางการรถบรรทุกในกลุ่ม DAIMLER GROUP พร้อมด้วย นายเกล็น ตัน กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทตันจง อินเต อร์แนชั่นแนล และผู้จากบริหารเดมเลอร์ เอจี เยอรมนี และ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวรถรุ่นใหม่ “ The New FUSO Family Launch จ�ำนวน 5 รุ่นออกสู่ท้องตลาด พร้อมทั้ง แถลงถึงนโยบายต่างๆในการรุกตลาดเพื่อการพาณิชย์ ณ เซ็นเตอร์พอยท์ สตูดิโอ สุขุมวิท 105 โดยงานดังกล่าวได้รับ ความสนใจจากสื่อมวลชนและกลุ่มลูกค้าอย่างคับคั่ง 80 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Round About

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดกิจกรรมอบรม “I‘m HERO ครัง้ ที่ 2” มูลนิธิครอบครัวพอเพียงได้จัด กิจกรรมการอบรม “I ‘ m HERO ครั้งที่ 2” หัวข้อ “สร้างกระบวนการจิตอาสา พั ฒ นาพลเมื อ งใหม่ สู ่ สั ง คมไทยอย่ า ง ยัง่ ยืน” โดยได้รบั ความร่วมมือจาก ศูนย์ บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และศูนย์มิตรภาพบ�ำบัด โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้มาให้ ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในด้านการ เป็นจิตอาสาในโรงพยาบาลอย่างถูกวิธี ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยมี นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 360 คน จาก 32 โรงเรียน

กรมอุ ทยานแห่งชาติฯ เดินหน้าจัดกิจกรรมปลูกป่ า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม น� ำ โดย นายศุ ภ ชั ย ดลประสิทธิ์ (ที่ ๓ จากซ้าย) ปฏิบัติราชการแทนผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๘ (ขอนแก่น) และ นายสมศักดิ์ สกุล วรรณรักษ์ (ที่ ๒ จากซ้าย) ผู้อ�ำนวยการส่วนแผนงานอุทยาน แห่งชาติ จัดกิจกรรม “โครงการสร้างจิตส�ำนึกรักษา ฟื้นฟูป่า ต้นน�้ำ ในโอกาส ๖๐ พรรษามหาจักรีสิรินธร พ.ศ.๒๕๕๘” ซึ่ง เป็นจังหวัดที่ ๒ แล้ว พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเยาวชนใน พื้นที่ ที่มาร่วมกันปลูกป่า และได้รับมอบอุปกรณ์กีฬา-อุปกรณ์ การเรียนแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมด้วยนางเอกสาว แพท - ณปภา ตันตระกูล (ที่ ๑ จากขวา) ที่มาสร้างความสุข และร่วมกิจกรรมตลอดโครงการฯ ณ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย วันก่อน

เปิ ดตัวผลิตภัณฑ์และพรีเซนเตอร์ Protex Omega 3 (โพรเทคส์ โอเมก้า 3

บริ ษั ท คอลเกต-ปาล์ ม โอลี ฟ (ประเทศไทย) น� ำ โดย มิสเตอร์ฌอง มาร์ค เลอร์ บริส ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด (คนแรก จากขวา) และ มิสเตอร์คีธ ชอร์ททอล ผู้อ�ำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้า (ที่ 2 จากซ้าย) จัดงานแถลงข่าว “เปิดตัว ผลิตภัณฑ์ Protex Omega 3 (โพรเทคส์ โอเมก้า 3)” ครีมอาบน�้ำ และสบู่ก้อน ที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น พร้อมปกป้อง ที่ผสานสารสกัดธรรมชาติที่มีคุณค่าโอเมก้า 3 และยัง ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย 99% ให้ผิวรู้สึกสะอาด ชุ่มชื่น พร้อม ทั้งเปิดตัวพรีเซนเตอร์คู่แม่ลูก พอลล่า เทเลอร์ - น้องไลลา เจน บัท เทอรี่ (คนกลาง) ณ Tesco Lotus ซีคอนสแควร์ 81

issue 92 September 2015


“Stay Hungry, Stay Foolish” “จงกระหาย และ ท�ำตัวให้โง่ตลอดเวลา” -Steve Jobs- (ผู ้ น� ำ ธุ ร กิ จ และนั ก ประดิ ษ ฐ์ ช าวอเมริ กั น )

82 IS AM ARE www.ariyaplus.com


83 issue 92 September 2015


84 IS AM ARE www.ariyaplus.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.