การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
นั้นเป็นแตนเบียน Anagyrus lopezi (De Santis) ด้วยเหตุนี้เมื่อปี พ.ศ. 2552 กรมวิชาการเกษตรจึงนาเข้า แตนเบียน A. lopezi มาจากสาธารณรัฐเบนิน ภายหลังที่ทาการทดสอบในห้องปฏิบัติการและในสภาพแปลง ปลูกในด้านต่างๆ จึงได้ทาการปล่อยแตนเบียน A. lopezi ควบคู่ไปกับการปล่อยแมลงช้างปีกใส ทาให้พื้นที่ ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูลดลงอย่างต่อเนื่อง (สุเทพ และคณะ, ม.ป.ป.) แม้ว่าการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูจะลดลง แต่ในปัจจุบันช่วงฤดูแล้งยังพบการระบาด ของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู ในบางพื้นที่ (ชลิดา และคณะ, 2554) ปัจจัยหนึ่งอาจเกิ ดจากแตนเบีย น ไฮเปอร์ (hyperparasitoid) จากการศึก ษาของ Agricola and Fischer (1991) พบว่าแตนเบีย นไฮเปอร์ จานวน 5 ชนิดที่สามารถเบียน A. lopezi ได้คือ Chartocerus hyalipennis (Hayat) (วงศ์ Signiphoridae), Prochiloneurus insolitus (Alam) (วงศ์ Encyrtidae), P. aegyptiacus (Mercet) (วงศ์ Encyrtidae), Tetrastichus sp. (วงศ์ Eulophidae) และ Marietta leoparding Motschulsky (วงศ์ Aphelinidae) โดย แตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis เป็นแตนเบียนไฮเปอร์ที่มีความสาคัญต่อแตนเบียน A. lopezi มาก แตน เบียนไฮเปอร์เหล่านี้จึงเป็นอุปสรรคหนึ่งในการดาเนินงานการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูโดยชีววิธี อาจทาให้แตนเบียน A. lopezi ที่ปล่อยไปในธรรมชาติมีจานวนลดลง ยิ่งถ้ามีแตนเบียนไฮเปอร์เข้าไปปนเปื้อน ในห้อ งเพาะเลี้ ยงแตนเบี ยน A. lopezi ด้วยจะท าให้ ป ระชากรที่ เพาะเลี้ ยงได้ ล ดจ านวนลง และถ้าหาก เจ้าหน้าที่ที่ดูแลการเพาะเลี้ยงไม่มีความรู้เกี่ยวกับแตนเบียนไฮเปอร์จะยิ่งทาให้แตนเบียนไฮเปอร์เพิ่มจานวน และถูกปล่อยออกสู่ธรรมชาติมากขึ้น จึงเป็นที่มาของงานวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจการเปลี่ยนแปลงประชากรของแตนเบียน และแตนเบียนไฮเปอร์ที่เกี่ยวข้องกับเพลี้ยแป้ งมันสาปะหลังสีชมพู ในพื้นที่ปลูกมันสาปะหลัง ตาบลห้วยบง อาเภอด่ านขุน ทด จั ง หวัด นครราชสี ม า ศึก ษาชีว วิท ยาของแตนเบี ยนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus และประเมินผลกระทบของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus ต่อแตนเบียน A. lopezi ประโยชน์ที่ ได้รับ เพื่ อเพิ่ มประสิทธิภาพในการใช้แตนเบียน A. lopezi ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมั น สาปะหลังสีชมพูในธรรมชาติ นาไปใช้ประเมินสถานการณ์ของแตนเบียน A. lopezi ในการควบคุมเพลี้ยแป้ง มั นส าปะหลัง สีชมพู ในสภาพธรรมชาติในปัจ จุ บัน นาไปใช้วางแผนในการปล่ อยแตนเบีย น A. lopezi สู่ ธรรมชาติเพื่อให้สามารถแข่งขันกับแตนเบียนไฮเปอร์ได้ และเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดแตนเบียนไฮเปอร์ในห้อง เพาะเลี้ยงแตนเบียน A. lopezi อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเปลี่ยนแปลงประชากรของแตนเบียนและแตนเบียนไฮเปอร์ที่เกี่ยวข้องกับเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสี ชมพูในพื้นที่ปลูกมันสาปะหลัง ตาบลห้วยบง อาเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 1.1 การสารวจและการสุ่มเก็บตัวอย่าง สุ่มเก็บยอดมันสาปะหลังทีม่ ีเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูจากแปลงปลูกมันสาปะหลังจานวน 10 แปลง ในตาบลห้วยบง อาเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แต่ละแปลงสุ่มพื้นที่ขนาด 1 ไร่ ทาการสุ่มเก็บ 480
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
ยอดมันสาปะหลังจานวน 10 ยอดต่อแปลง โดยการสุ่มจะสุ่มเป็นแนวทแยง เริ่มต้นจากหัวแปลงไปยังท้ าย แปลง แต่ละยอดที่สุ่มเว้นระยะห่างเท่าๆ กัน นายอดมันสาปะหลังที่สุ่มได้เก็บใส่ถุงกระดาษสีน้าตาลขนาด 21 × 29.7 เซนติเมตร ปิดปากถุงกระดาษโดยใช้ที่เย็บลวด เขียนรายละเอียดสถานที่เก็บตัวอย่างและจุดที่สุ่ม ทา การเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 เดือนละ 1 ครั้ง 1.2 การจาแนกชนิดและนับจานวน นับจานวนเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู เพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูที่ถูกเบียนเป็นมัมมี่ให้ใช้ พู่กันเขี่ยมัมมี่ใส่ในขวดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร คลุมปากขวดด้วยตาข่าย ตาถี่ จากนั้นรอให้แตนเบียนและแตนเบียนไฮเปอร์ออกมาจากมั ม มี่ นับ จ านวนแตนเบียนและแตนเบียน ไฮเปอร์แต่ละชนิดที่ออกมาจากมัมมี่ ในแต่ละแปลงและแต่ละเดือน และคานวณหาเปอร์เซ็นต์ การเบียนใน สภาพแปลง 2. ชีววิทยาของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus 2.1 การเพาะเลี้ยงเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูในห้องปฏิบัติการ เลี้ยงเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูบนผลฟักทองพันธุ์ศรีเมือง นายอดมันสาปะหลังที่มีเพลี้ยแป้ง มันสาปะหลังสีชมพูวางบนผลของฟักทองที่เตรียมไว้ นาผลฟักทองที่มีเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูไว้ในกรง ตาข่ายตาถี่ขนาด 50 x 50 x 60 เซนติเมตร จานวน 6 ผลต่อกรง เลี้ยงในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิ 26 ± 2 องศาเซลเซียส ปล่อยให้เพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูเจริญเติบโตและวางไข่ 2.2 การเพาะเลี้ยงแตนเบียน A. lopezi ในห้องปฏิบัติการ เตรียมผลฟั ก ทองที่ ไม่ มี เพลี้ยแป้งมั นส าปะหลังสีชมพูใส่ในกรง เขี่ยกลุ่ม ไข่ของเพลี้ยแป้ง มั น สาปะหลังสีชมพูลงบนผลฟักทองผลละ 2 กลุ่มไข่ เมื่อเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูเจริญเติบโตจนถึงวัยที่ 3 เขี่ยเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูออกให้เหลือประมาณ 200 ตัว แยกผลฟักทองใส่กรงตาข่ายตาถี่ขนาด 40 x 40 x 40 เซนติเมตร กรงละ 1 ผล ปล่อยแตนเบียน A. lopezi ตัวเต็มวัย จานวน 6 คู่ (จากงานวิจัยของอัมพร (2553) พบว่า แตนเบียน A. lopezi เพศเมีย 1 ตัว สามารถเบียนเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูเฉลี่ยประมาณ 40 ตัว ตลอดช่วงอายุขัยของแตนเบียน) ให้สารละลายน้าผึ้งในอัตราส่วน 1:1 ชุบสาลีเพื่อเป็นอาหารให้กับแตน เบียนตัวเต็มวัย ปล่อยให้แตนเบียนพัฒนาจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย 2.3 การเพาะเลี้ยงแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus นาแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus ที่เก็บได้ม าจากแปลงในข้อที่ 1 ใส่ใน กล่องพลาสติกใสทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.5 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร ที่มีมัมมี่ของเพลี้ยแป้ง มั นส าปะหลั งสีชมพู ที่ ถูก เบียนโดย A. lopezi แล้ว 12 วัน จากข้อ 2.2 จ านวน 100 ตัว ซึ่ง แตนเบี ยน A. lopezi จะพัฒนาถึงระยะดักแด้ ให้สารละลายน้าผึ้งในอัตราส่วน 1:1 ชุบสาลีเป็นอาหารให้กับแตนเบียนไฮเปอร์ เปลี่ยนมัมมี่ของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูใหม่ทุกวัน นามัมมี่ที่ ถูกแตนเบียนไฮเปอร์เบียนแล้วใส่ขวดแก้ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ปิดด้วยผ้าตาข่ายตาถี่ รอจนกระทั่งได้ตัวเต็มวัย 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
481
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
2.4 วงจรชีวิตของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus นาผลฟักทองที่มีมัมมี่ของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูที่ถูกแตนเบียน A. lopezi เบียนแล้ว 12 วัน จากขั้น ตอนที่ 2.2 จ านวน 100 ตัว ใส่ ไว้ในกล่ องพลาสติก ใสทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์ก ลาง 10.5 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร จานวน 12 กล่อง ปล่อยแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis เพศเมียและเพศผู้ จานวน 15 คู่ และ P. insolitus เพศเมียจานวน 7 ตัว ชนิดละ 6 กล่อง ทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนาแตน เบียนไฮเปอร์ออกจากกล่องพลาสติก ทาการเขี่ยมัมมี่ของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูจานวน 30 ตัว มาผ่าใต้ กล้องสเตอริโอไมโครสโคปทุกวัน จนกระทั่งแตนเบียนไฮเปอร์พัฒนาเป็นตัวเต็มวัย บันทึกภาพและระยะเวลา ในการพัฒนาแต่ละระยะ 2.5 อายุขัยของตัวเต็มวัยของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus นามั ม มี่ ข องเพลี้ ยแป้ ง มั น ส าปะหลั ง สี ชมพู ที่ ถู ก แตนเบี ยนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus เบียนแล้ว ใส่ในขวดแก้ว ปิดปากขวดด้วยตาข่ายตาถี่ จนกระทั่งแตนเบียนไฮเปอร์ตัวเต็มวัยออกจาก มัมมี่ ใช้เครื่องดูดแมลงดูดแตนเบียนไฮเปอร์แต่ละชนิด แต่ละเพศ ใส่ในขวดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ขวดละ 1 ตัว อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงมี 4 ชนิด คือ 1) สารละลายน้าผึ้งอัตราส่วน 1:1 2) น้ากลั่น 3) มูลน้าหวานของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู และ 4) ของเหลวภายในลาตัวของเพลี้ยแป้ง มันสาปะหลังสีชมพู ทดสอบชนิดอาหารละ 10 ซ้า เปลี่ยนอาหารใหม่ ทุก วัน บันทึก อายุขัยของแตนเบียน ไฮเปอร์จนกระทั่งตาย 3. ผลกระทบของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus ต่อประชากรของแตนเบียน A. lopezi ในห้องปฏิบัติการ 3.1 ผลกระทบของแตนเบียนไฮเปอร์แต่ละชนิดต่อแตนเบียน A. lopezi นาผลฟักทองที่มีมัมมี่ของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูที่ถูกแตนเบียน A. lopezi เบียนแล้ว 12 วัน จากขั้นตอนที่ 2.2 ใช้พู่กันขนาดเล็กเขี่ยมัมมี่ จานวน 100 ตัว ใส่ในขวดแก้ว ปล่อยแตนเบียนไฮเปอร์ตัว เต็มวัยที่เพาะเลี้ยงได้จากขั้นที่ 2.3 แตนเบียน C. hyalipennis เพศผู้และเพศเมียจานวน 10 คู่ และแตนเบียน P. insolitus เพศเมี ย จ านวน 10 ตั ว โดยปล่อ ยแยกขวดกั น จ านวน 1 คู่ ต่ อ 1 ขวด จ านวน 10 ซ้ า ให้ สารละลายน้าผึ้งอัตราส่วน 1:1 ชุบ สาลีเพื่ อเป็นอาหารสาหรับ แตนเบียน ปล่อยให้แตนเบียนไฮเปอร์วางไข่ จนกระทั่งตาย บันทึกจานวนแตนเบียนที่ออกมาแต่ละชนิดและคานวณเปอร์เซ็นต์การเบียน 3.2 ผลกระทบของแตนเบียนไฮเปอร์รวมทุกชนิดต่อแตนเบียน A. lopezi ท าเหมื อนข้อ 3.1 แต่ปล่อยแตนเบียนไฮเปอร์ ทั้ ง 2 ชนิดพร้อมกั นในขวดเดียวกั น แตนเบียน C. hyalipennis จานวน 1 คู่ และแตนเบียน P. insolitus เพศเมียจานวน 1 ตัว ทดสอบจานวน 10 ซ้า
482
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
ผลการทดลองและวิจารณ์ 1. การเปลี่ยนแปลงประชากรของแตนเบียนและแตนเบียนไฮเปอร์ที่เกี่ยวข้องกับเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสี ชมพูในพื้นทีป่ ลูกมันสาปะหลัง ตาบลห้วยบง อาเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ประชากรของแตนเบียน A. lopezi แตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus ในช่วง เดือนกรกฏาคม 2561 ถึง เดือนกุ มภาพั นธ์ 2562 พบว่าประชากรของแตนเบียนทั้ ง 3 ชนิดมี แนวโน้ม การ เปลี่ยนแปลงตามประชากรของเพลี้ยแป้งมันส าปะหลังสีชมพู ในเดือนกรกฎาคม 2561 ไม่พบเพลี้ยแป้งมั น สาปะหลังสีชมพูเลย และไม่พบแตนเบียนทั้ง 3 ชนิดเช่นกัน ในเดือนต่อมาประชากรของเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสี ชมพูมีปริมาณมากขึ้นตามลาดับและสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน เท่ากับ 13.89 ± 3.93 ตัว จากนั้นประชากรจึงลดลง ส่วนแตนเบียน A. lopezi มีประชากรเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน ธันวาคม และมกราคม เท่ากับ 1.78 ± 0.72, 1.44 ± 1.09 และ 1.44 ± 0.73 ตัว ตามลาดับ ส่วนแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus พบมากในเดือน พฤศจิกายน เท่ ากับ 0.78 ± 0.57 ตัว และ 1.56 ± 0.82 ตัว ตามล าดับ และท าให้ประชากรของแตนเบียน A. lopezi ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังภาพที่ 1 ส่วนเปอร์เซ็นต์การเบียนในสภาพแปลงพบว่าเดือนมกราคม เพลี้ยแป้งมัน สาปะหลังสีชมพูถูกแตนเบียน A. lopezi เบียนสูงสุดคิดเป็น 24.07 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus มีเปอร์เซ็นต์การเบียนสูงกว่าแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis ในทุกเดือนที่พบแตนเบียน และในเดือนมกราคม พบว่าแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus มีเปอร์เซ็นต์การเบียนสูงสุดเท่ากับ 14.81 ท าให้แตนเบียน A. lopezi มี เปอร์เซ็นต์การเบียนลดลงเหลือ 7.84 ดังภาพที่ 2 ประชากรของแมลงศัตรูธรรมชาติมีการเปลีย่ นแปลงตามประชากรของแมลงศัตรูพืช (Papkou et al., 2016) จากผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Nébié et al. (2016) ซึ่งพบว่าแมลงศัตรูธรรมชาติ มีการเพิ่มประชากรตามการเพิ่มขึ้นของประชากรเพลีย้ แป้ง Rastrococcus invadens Williams และปัจจัยที่ มี ผ ลต่อ การเปลี่ ย นแปลงประชากรในแต่ ล ะเดือ นได้ แ ก่ อุณ หภู มิ ปริม าณน้ าฝน และความชื้น สั ม พั ท ธ์ นอกจากนี้ยัง ขึ้นอยู่กั บ ความสามารถของแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย เช่น ความสามารถในการวางไข่ และ ความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น (Papkou et al., 2016)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
483
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของประชากรเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู แตนเบียน และแตนเบียนไฮเปอร์ที่ เกี่ยวข้องกับเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู ช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 ในแปลงปลูกมัน สาปะหลัง อาเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ภาพที่ 2 เปอร์เซ็นต์การเบียนของแตนเบียนและแตนเบียนไฮเปอร์ทเี่ กี่ยวข้องกับเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู ช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 ในแปลงปลูกมันสาปะหลัง อาเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
484
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
2. ชีววิทยาของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus 2.1 วงจรชีวิตของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus แตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis มี ระยะเวลาในการเจริญ เติบ โตจากไข่เป็นตัวเต็ม วัยเฉลี่ย 11.05 ± 0.28 วัน (10–14 วัน) โดยระยะไข่ใช้เวลา 1.70 ± 0.16 วัน (1-3 วัน) ไข่มีขนาดเล็กมาก ทรงเรียว ยาวมีความโค้งเล็กน้อย บริเวณปลายด้านหนึ่งมีก้านยื่นออกมาเล็กน้อย ตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1 มีลาตัว ใสโปร่งแสงมองเห็นอวัยวะภายในชัดเจน ลาตัวทรงรีมองเห็นเป็นปล้องไม่ชัดเจน ใช้เวลา 3.90 ± 0.16 วัน (35 วัน) ตัวอ่อนวัยที่ 2 ทรงรีมองเห็นปล้องชัดเจนขึ้น ไม่มีขา ใช้เวลา 5.30 ± 0.11 วัน (5-6 วัน) และตัวอ่อนวัย ที่ 3 โค้งงอเป็นรูปตัวซีเห็นปล้ อ งชัดเจน ไม่ มีขา ใช้เวลา 7.30 ± 0.16 วัน (6-8 วัน) ระยะตัวอ่อนทั้ งหมดใช้ เวลา 5.48 ± 0.40 วัน (3-8 วัน) ดักแด้ไม่ มี ผนังห่อหุ้ม ระยะดัก แด้ใช้เวลา 9.55 ± 0.25 วัน (8-14 วัน) ดัง ภาพที่ 3
ภาพที่ 3 วงจรชีวิตของแตนเบียนไฮเปอร์ Chartocerus hyalipennis แตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus มีระยะเวลาในการเจริญเติบโตจากไข่เป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ย 11.45 ± 0.15 วัน (10–12 วัน) ไข่มีขนาดเล็กมาก ทรงรี บริเวณปลายด้านหนึ่งมีก้านยื่นยาวออกมา และปลายอีก ด้านหนึ่งมีก้านขนาดเล็กยื่นออกมา ระยะไข่ใช้เวลา 1.50 ± 0.11 วัน (1-2 วัน) ตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1 มี ล าตั ว โปร่ ง แสง ล าตั ว ถู ก ล้ อ มรอบด้ ว ย trophamnion ส่ ว นหั ว และส่ ว นหางจะยื่ น โผล่ อ อกมาจาก 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
485
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
trophamnion ไม่มีขา ใช้เวลา 3.10 ± 0.12 วัน (2-4 วัน) ตัวอ่อนวัยที่ 2 มีลาตัวเรียวยาวและมีหางยาวโค้ง งอ ใช้เวลา 4.60 ± 0.11 วัน (4-5 วัน) และตัวอ่อนวัยที่ 3 ลาตัวเป็นรูปตัวซีเห็นปล้องชัดเจน ไม่มีขา ใช้เวลา 6.20 ± 0.16 วัน (5-7 วัน) ระยะตัวอ่ อ นทั้ ง หมดใช้เวลา 4.63 ± 0.36 วัน (2-7 วัน) ดัก แด้ ไม่ มี ผ นัง ห่อหุ้ ม ระยะดักแด้ใช้เวลา 9.40 ± 0.15 วัน (7-12 วัน) ดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 วงจรชีวิตของแตนเบียนไฮเปอร์ Prochiloneurus insolitus จ า ก ผ ล ก า ร ศึ ก ษ า ข อ ง Goergen and Neuenscwander (1990) แ ล ะ Goergen and Neuenscwander (1994) ซึ่ง ได้ ศึก ษาวงจรชีวิ ตของแตนเบี ย นไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus เช่ น กั น พบว่ า ระยะเวลาในการพั ฒ นาตั้ ง แต่ ร ะยะไข่จ นกระทั่ ง ถึ ง ตั วเต็ ม วั ยของแตนเบี ย นไฮเปอร์ C. hyalipennis ใช้เวลา 16 ± 0.03 วัน ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนานานกว่าผลการศึกษาในครั้งนี้ที่ ใช้เวลาในการ พัฒนาเพียง 11.05 ± 0.28 วัน ส่วนแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus ใช้เวลาในการพัฒนา 11.20 ± 0.14 วัน ซึ่ง ใกล้เคียงกับ ผลการศึก ษาในครั้งนี้ ความแตกต่างที่ พบอาจเป็นเพราะเงื่อนไขในห้องปฏิบัติการมี ความ แตกต่างกัน 2.2 อายุขัยของตัวเต็มวัยของแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus จากการศึก ษาพบว่าแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis เมื่ อ ให้ส ารละลายน้าผึ้งเป็นอาหารมี อายุขัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) (F=29.473, df=3) กับแตนเบียนไฮเปอร์ที่ให้น้าเปล่า 486
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
มูลน้าหวาน และของเหลวจากภายในลาตัวเพลี้ยแป้งเป็นอาหาร ซึ่งแตนเบียนไฮเปอร์ที่ ให้สารละลายน้าผึ้งมี อายุขัย สู งสุ ด เท่ ากั บ 21 ± 2.79 วัน ในเพศผู้ และ 20.80 ± 3.72 วัน ในเพศเมี ย แตนเบียนไฮเปอร์ ที่ ให้ น้าเปล่า มูลน้าหวาน และของเหลวจากภายในลาตัวเพลี้ยแป้งมีอายุขัยเท่ากับ 1.60 ± 0.22 วัน 1.80 ± 0.13 วัน และ 1.10 ± 0.10 วัน ในเพศผู้ ตามลาดับ ส่วนในเพศเมียเท่ากับ 1.90 ± 0.18 วัน 1.90 ± 0.10 วัน และ 1.10 ± 0.10 วัน ตามลาดับ ดังตารางที่ 1 ส่วนแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus เมื่อให้สารละลายน้าผึ้งเป็นอาหารทาให้แตนเบียนมีอายุขัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) (F=48.159, df=3) จากการให้อาหารชนิดอื่นเช่นกัน โดยแตน เบียนไฮเปอร์ที่ให้สารละลายน้าผึ้งมีอายุขัยสูงสุดเท่ากับ 13 ± 1.53 วัน แตนเบียนไฮเปอร์ที่ให้น้าเปล่า มูล น้าหวาน และของเหลวจากภายในลาตั วเพลี้ยแป้งมีอายุขัย เท่ากับ 1.60 ± 1.53 วัน, 3.10 ± 0.23 วัน และ 2.10 ± 0.10 วัน ตามลาดับ ดังตารางที่ 1 สารละลายน้าผึ้งสามารถยืดอายุขัยของแตนเบียนได้ (Goergen and Neuenscwander, 1994) ยิง่ แตนเบียนมีอายุขัยเพิ่มขึ้นมากเท่าไร โอกาสในการเบียนของแตนเบียนยิ่งมากขึ้น ประชากรของแตนเบียน จึงสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (Godfray, 1994) ตารางที่ 1 อายุขัยของแตนเบียนไฮเปอร์ Chartocerus hyalipennis และ Prochilonuerus insolitus อาหาร
C. hyalipennis เพศผู้ เพศเมีย
P. insolitus
น้าผึ้ง
21 ± 2.791/ a 20.80 ± 3.72a
13 ± 1.53a
น้าเปล่า
1.60 ± 0.22b 1.90 ± 0.18b
1.60 ± 0.16b
มูลน้าหวาน
1.80 ± 0.13b 1.90 ± 0.10b
3.10 ± 0.23b
เพศเมีย
ของเหลวจากภายในเพลี้ยแป้ง 1.10 ± 0.10b 1.10 ± 0.10b 2.10 ± 0.10b หมายเหตุ 1/ ค่าเฉลี่ย ± ค่า standard error ; ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษเหมือนกันใน คอลัมน์เดียวกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทรี่ ะดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธี Turkey’s HSD 3. ผลกระทบของแตนเบีย นไฮเปอร์ C. hyalipennis และ P. insolitus ต่อประชากรของแตนเบียน A. lopezi ในห้องปฏิบัติการ เมื่อปล่อยแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis เพียงชนิดเดียวสามารถเบียน A. lopezi ได้สูงเท่ากับ 60.41 ± 4.77 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอัตราส่วนลูกเพศผู้:เพศเมียเท่ากับ 0.16:1 ตัว แต่เมื่อปล่อยแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus ชนิดเดียวสามารถเบียน A. lopezi ได้น้อยกว่าเท่ากับ 37.50 ± 2.23 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อปล่อย แตนเบียนไฮเปอร์ทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันพบว่า เปอร์เซ็นต์การเบียน A. lopezi สูงสุดเท่ากับ 67.71 ± 1.44 โดย เป็นแตนเบียน C. hyalipennis และ P. insolitus 39.63 ± 1.66 และ 28.08 ± 1.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
487
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
และพบว่าแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis ทาให้ลูกแตนเบียน A. lopezi เพศเมียลดลงครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ ลูกแตนเบียน A. lopezi เพศผู้ดังตารางที่ 2 จากผลการศึกษาพบว่า แตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalipennis มี ผลกระทบทางลบต่อแตนเบียน A. lopezi มากกว่าแตนเบี ยนไฮเปอร์ P. insolitus นอกจากนี้ยั งท าให้จ านวนลูก เพศเมี ย ของแตนเบี ยน A. lopezi ลดลงด้ ว ย หากมี แ ตนเบี ย นไฮเปอร์ C. hyalipennis จ านวนมากในธรรมชาติ อาจส่ ง ผลท าให้ ประชากรของแตนเบียน A. lopezi ในธรรมชาติลดลงได้ (Schooler et al., 2011) ตารางที่ 2 จานวนลูกแตนเบียน Anagyrus lopezi เปอร์เซ็นต์การเบียน และอัตราส่วนเพศของแตนเบียนไฮเปอร์ Chartocerus hyalipennis และ Prochilonuerus insolitus เมื่อปล่อยตามเงื่อนไขต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เงื่อนไขการปล่อย แตนเบียนไฮเปอร์
จานวนลูกของแตนเบียน เปอร์เซ็นต์การเบียนของ อัตราส่วนเพศของลูก A. lopezi แตนเบียนไฮเปอร์ แตนเบียนไฮเปอร์ (เพศผู้ : เพศเมีย) C. hyalipennis ชนิดเดียว 8.90 ± 1.981/ (เพศผู้) 60.41 ± 4.77 0.16:1 24.40 ± 3.15 (เพศเมีย) 12.10 ± 0.95 (เพศผู้) P. insolitus ชนิดเดียว 37.50 ± 2.23 40.40 ± 2.58 (เพศเมีย) 9.10 ± 1.14 (เพศผู้) C. hyalipennis และ 67.71 ± 1.44 P. insolitus พร้อมกัน 21.80 ± 1.68 (เพศเมีย) 39.63 ± 1.66 (C.)2/ 0.18:1 28.08 ± 1.40 (P.) 1/ หมายเหตุ ค่าเฉลี่ย ± ค่า standard error 2/ C. คือ C. hyalipennis และ P. คือ P. insolitus สรุปผลการทดลอง จากผลการศึก ษาสามารถสรุป ได้ว่าแตนเบียนไฮเปอร์ C. hyalpennis และแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus เป็นอุปสรรคที่สาคัญต่อการควบคุมเพลี้ ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพูโดยใช้แตนเบียน A. lopezi โดย แตนเบี ยนไฮเปอร์ C. hyalipennis มี อ ายุขั ย นานกว่าและมี ผ ลกระทบทางลบต่ อ แตนเบี ย น A. lopezi มากกว่าแตนเบียนไฮเปอร์ P. insolitus นอกจากนี้ยังทาให้จานวนลูกเพศเมียของแตนเบียน A. lopezi ลดลง ด้วย เอกสารอ้างอิง ชลิดา อุณหวุฒิ, ชมัยพร บัวมาศ และสุนัดดา เชาวลิต. 2554. อนุกรมวิธานเพลี้ยแป้งมันสาปะหลัง. รายงาน ผลงานประจาปี 2554. สานักงานวิจัยและอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร.
488
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
บัญญัติ แหวนแก้ว, อัมพร วิโนทัย และน้าทิพย์ ทองนาค. 2555. การป้องกันกาจัดเพลีย้ แป้งมันสาปะหลังโด ย ชีววิธี. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง “ปัญหาเพลี้ยแป้งมันสาปะหลัง”. สมาคมกีฎ และ สัตววิทยาแห่งประเทศไทย. สุเทพ สหายา, อัมพร วิดนทัย, วลัยพร ศะศิประภา, รังสี เจริญสถาพร, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, เถลิงศักดิ์ วีระ วุฒิ, สมลักษณ์ จูฑังคะ, สมศักดิ์ ทองศรี, อนุวัฒน์ จันทรสุวรรณ, ชลิดา อุณหวุฒิ, มานิตา คงชื่นสิน, เมธาพร พุ ฒ ขาว และดารารัต น์ มณี จันทร์. ม.ป.ป., คู่มื อการเพิ่ม ผลผลิตมั นส าปะหลังโดยการ แพร่ ก ระจายพั น ธุ์ ดี และขยายท่ อ นพั น ธุ์ มั น สะอาด. กรมวิช าการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. อัมพร วิโนทัย, 2553. แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสาปะหลังสีชมพู Anagyrus lopezi (Hymenoptera: Encyrtidae). กรมวิชาการเกษตร. อัมพร วิโนทัย, ประภัสสร เชยคาแหง, รจนา ไวยเจริญ, ชลิดา อุณหวุฒิ, อิสระพุทธสิมมา, วัชริน แหลมคม และเถลิงศัก ดิ์ ววีระวุฒิ. 2553. การนาเข้าแตนเบียน Anagyrus lopezi เพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมั น สาปะหลังโดยชีววิธี. สานักงานวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. Agricola, U. and H.U. Fischer, 1991 Hyperparasitism in two newly introduced parasitoids, Epidnocarsis lopezi and Gyranusoidae tebygi (Hymenoptera: Encyrtidae) after their establishment in Togo. Cambridge University Press 81: 127-132. Goergen, G. and P. Neuenschwander. 1990. Biology of Prochiloneurus insolitus ( ALAM) (Hymenoptera, Encyrtidae), a hyperparasitoid on mealybug (Homoptera, Pseudococcidae): immature morphology, host acceptance and host range in West Africa. Mitteilungen der Schweizerischen Entomologischen Gesellschaft Bulletin de la Société Entomologique Suisse 63: 317-326. Goergen, G. and P. Neuenschwander. 1994. Chartocerus hyalipennis (HAYAT) (Hym.: Signiphoridae), a gregarious hyperparasitoid on mealybugs (Hom.: Pseudococcidae): biology and host range in West Africa. Mitteilungen der Schweizerischen Entomologischen Gesellschaft Bulletin de la Societe Entomologique Suisse 67: 297-308. Godfray, HCJ. 1994. Parasitoids: behavioral and evolutionary ecology. USA: Princeton University Press p. 473. Nébié, K., S. Nacro, L.C. Otoidobiga, D. Dakouo and I. Somda. 2016. Population dynamics of the mango mealybug Rastrococcus invadens Williams (Homoptera: Pseudococcidae) in Western Burkina Faso. American Journal of Experimental Agriculture 11(6): 1-11. Papkou, A., C.S. Gokhale, A. Traulsen and H. Schulenburg. 2016. Host-parasite coevolution: why changing population size matters. Zoology 119: 330-338.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
489
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-06
Schooler, S.S., P.D. Barro and A.R. Ives. 2011. The potential for hyperparasitism to compromise biological control: Why don’t hyperparasitoids drive their primary parasitoid hosts extinct?. Biological Control 58: 167-173.
490
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
การตรวจสอบเอกลักษณ์ของกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ในการควบคุมแมลงในสารสกัดบัวตอง ด้วยเทคนิคทีแอลซีสมรรถนะสูง High-performance Thin-layer Chromatography (HPTLC) Screening for Insecticidal Compounds of Extracts from Tithonia diversifolia พจนีย์ หน่อฝั้น ณัฐพร ฉันทศักดา ธนิตา ค่่าอ่านวย ศิริพร สอนท่าโก และ ธิติยาภรณ์ อุดมศิลป์ Poachanee Norfun Nattaporn Chanthasakda Thanita Kham-amnouy Siriporn Sornthako and Thitiyaporn Udomsilp กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Agricultural Production Sciences Research and Development Division, Department of Agriculture, Bangkok 10900
บทคัดย่อ การใช้สารสกัดจากพืชเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนามาใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูพืชทดแทนการใช้ สารเคมี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากบัวตองที่มีฤทธิ์ในการควบคุม หนอนใยผัก (Plutella xylostella L.) โดยทาการสกัดใบบัวตองด้วยตัวทาละลาย 3 ชนิดได้แก่ เฮกเซน ได คลอโรมีเทนและเมทานอล จากนั้นนาสารสกัดไปทดสอบประสิทธิภาพต่อหนอนใยผักในห้องปฏิบัติการโดยวิธี จุ่มใบ (Leaf dipping method) พบว่าสารสกัดจากใบบัวตองที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนมีผลต่ออัตราการตาย ของหนอนใยผักมากที่สุดโดยมีค่าเฉลีย่ เท่ากับ 72.5 % เมื่อนาสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนไปแยกด้วยเทคนิค คอลัมน์โครมาโทกราฟีสามารถแยกได้ 8 ส่วนสกัด (F1-F8) จากการทดสอบประสิทธิภาพต่อหนอนใยผักของ แต่ละส่วนสกัดพบว่าส่วนสกัดที่ 7 (F7) มีผลต่ออัตราการตายของหนอนใยผักมากที่ สุดเฉลี่ย 95 % ศึกษา องค์ป ระกอบทางเคมี ของส่วนสกัดดังกล่าวด้วยเทคนิคทีแอลซีสมรรถนะสู ง (HPTLC) ข้อมู ลเอกลักษณ์โคร มาโทกราฟีพบว่าสารสกัดจากใบบัวตองที่มีฤทธิ์ต่อหนอนใยผัก มีองค์ประกอบทางเคมี เป็นสารกลุ่มเทอร์พี นอยด์ จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดจากใบบัวตองที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนมีองค์ประกอบ ทางเคมีที่มี ศักยภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ ดีซึ่งนาจะมีการนาไปขยายผลเพื่อใชในการปองกันกาจัด แมลงศัตรูพืชตอไป ค่าส่าคัญ : บัวตอง, สารสกัดจากธรรมชาติ หนอนใยผัก ทีแอลซีสมรรถนะสูง เอกลักษณ์โครมาโทกราฟี ABSTRACT The use of plant extracts could be an alternative method to the conventional insecticides for pest control. The current study is based on the screening of the chemical composition of Tithonia diversifolia extracts in controlling of the diamondback moth larvae 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
491
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
(Plutella xylostella L.). Leaves of Tithonia diversifolia were extracted with hexane, dichloromethane, and methanol. Investigation of Tithonia diversifolia leaf extracts on the mortality rate of diamondback moth was conducted in the laboratory by using the leaf dipping method. Manipulative data showed that dichloromethane crude extract of Tithonia diversifolia gave the highest mortality rate at 72.5 %. The dichloromethane crude extract was further fractionated by column chromatography. Eight fractions (F1-F8) were collected and tested against diamondback moth larvae. The results showed that fraction F7 displayed the highest mortality rate on diamondback moth at 95 %. The study of chemical constituents of the fractions was measured by high-performance thin-layer chromatography (HPTLC) technique. The HPTLC fingerprint profiles showed that the extracts composed of a majority of the terpenoids compounds. The results suggested that dichloromethane leaves extract of Tithonia diversifolia has the potential for development as a botanical insecticide and should be applied further for preventing and getting rid of insect pest. Keywords: Tithonia diversifolia, botanical insecticide, Plutella xylostella L., HPTLC, chemical fingerprint ค่าน่า ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีเพื่อการกาจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่ม มากขึ้นเนื่องจากสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็ว แต่การใช้สารเคมี ควบคุมกาจัดศัตรูพืชมีโอกาสแพร่กระจายไปในสิ่งแวดล้อม เช่น พืชอื่น ๆ แหล่งน้า สัตว์ อากาศ และที่สาคัญ ไปสู่ผู้บริโภค ในรูปแบบพิษสะสมและสารพิษตกค้าง การส่งเสริมการผลิตพืชในระบบเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี จึง มีความส าคัญ อย่างมากต่อการพั ฒ นาการผลิตพืชอาหารเพื่อความปลอดภัยของการบริโภค เกษตรกรและ ผู้บริโภคจึงหันมาให้ความสาคัญ กับการใช้สารสกัดจากธรรมชาติควบคุมศัตรูพืชมากขึ้น การใช้สารสกัดจาก ธรรมชาติป้องกันกาจัดศัตรูพืชมีข้อดีหลายอย่างคือ มีราคาถูก ปลอดภัยต่อเกษตรกรผูใ้ ช้ ไม่มีสารพิษตกค้างใน ผลผลิตจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ศัตรูพืชยังสร้างความต้านทานต่อสารสกัดธรรมชาติได้น้อยกว่า สารเคมี (Jill, 1993) บัวตอง (Tithonia diversifolia (Hemsl.) A Gray) เป็นไม้พุ่มที่จัดอยู่ในวงค์ทานตะวัน Asteraceae มี ถิ่น ก าเนิ ดอยู่ ในประเทศเม็ ก ซิ โ กและทวี ป อเมริ ก ากลาง ต่ อ มาพบขึ้ น ทั่ ว ไปในแถบประเทศแอฟริ ก า ออสเตรเลียรวมไปถึงประเทศในแถบเอเชีย (Gu et al., 2012; Flávia et al., 2013) ในประเทศไทยพบ กระจายอยู่ ในจัง หวัดแม่ ฮ่ อ งสอน เชีย งราย เชียงใหม่ และล าปาง สารสกั ด จากบั วตองมี ส รรพคุณ ทาง การแพทย์และมีฤทธิ์เภสัชวิทยามากมาย เช่น รักษาโรคเบาหวาน ต้านเชื้อมาลาเรีย ต้านมะเร็ง (Gu et al., 2012) ทางการแพทย์แผนโบราณนาไปใช้ในการรักษาอาการทองเสีย อาการไข และรักษาบาดแผล (Guijun 492
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
et al., 2012) นอกจากมีข้อมูลการใช้ประโยชน์ทางยาที่น่าสนใจแล้ว มีรายงานวิจัยว่าสารสกัดจากบัวตองมี ฤทธิ์ในการกาจัดแมลงหลายชนิด เช่น Adedire and Akinneye (2004) ศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบจากใบ บั ว ตองด้ ว ยเอท าน อลที่ ค วามเข้ มข้ น 2%, 3%, 4% และ 5% มี ผ ลต่ อ การตายของด้ ว งถั่ ว เขี ย ว (Callosobruchus maculatus) ส่วน Bagnarello et al. (2009) พบว่าสารสกัดจากใบบัวตองด้วยเอทานอล ที่ระดับความเข้มข้น 1.0% และ 1.5% สามารถกาจัดแมลงหวี่ขาว (Bemisia tabaci) ได้โดยทดลองในระดับ โรงเรือนและทดสอบในแปลงมะเขือเทศ Oyedokun et al. (2011) รายงานว่าสารสกัดหยาบจากใบบัวตอง ด้วยเอทานอลเข้มข้น 12.5 %v/v ทาให้ปลวก (Macrotermes bellicosus) ตายถึง 42-88% หลังจากฉีด พ่นสารสกัดไปในเวลา 140 นาที มีรายงานว่าสารสกัดจากบัวตองประกอบด้วยสารทุติยภูมิที่มีประสิทธิภาพใน การกาจัดแมลงหลากหลายชนิดโดยเฉพาะสารกลุ่ม terpenoids รวมถึงสารประกอบโพลีฟีนอลซึ่งมีสมบัติใน การยับยั้งกลูตาไธโอนเอสทรานสเฟอเรส (Glutathione S-transferase) ในแมลง (Kolawole et al., 2011) ดังนั้นบัวตองจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากรายงาน การวิจัยทั้งในด้านขององค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้เผยแพร่อย่างต่อเนื่องจนถึง ในประเทศไทยมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของสารสกัด จากพืชในการกาจัดแมลงอย่าง มากมายแต่ส่วนใหญ่จะเป็นการสกัดแบบหยาบจึงทาให้ทราบเพียงว่าพืชชนิดไหนสามารถกาจัดแมลงได้แต่ไม่ ทราบว่าใช้ส่วนใดจึงจะเกิดประสิทธิภาพดีที่สุดซึ่งเป็นปัญหาสาคัญที่ทาให้สารสกัดจากพืชไม่เป็นที่ยอมรับของ เกษตรกรทั้ งการใช้ประโยชน์ภายในประเทศไทยและระดับ สากล การค้นคว้าวิจัยสารสาคัญ ที่ มีฤทธิ์ในพืช สมุ นไพรทาให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างลักษณะ วิธีการสกัด การจาแนกและการตรวจสอบสาร เหล่านั้น เพื่อ ให้ได้ ข้อมูลที่ มีประโยชน์จากสารสกัดจากพืช การตรวจเอกลักษณ์ของพืชโดยอาศัยลัก ษณะ ภายนอกของพืชเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่สามารถบอกได้ว่าเป็นพืชชนิดใด โดยการสังเกตลักษณะของ ขนาด รูปร่าง สีและร่องรอยบนพืช กลิ่น และรส อย่างไรก็ตาม การดูลักษณะภายนอกเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถบ่งชี้ ชนิดของพืชได้อย่างถูกต้อง ทาให้มีการใช้วิธีการทางโครมาโทกราฟีช่วยในการจาแนกชนิดของสารสาคัญที่เป็น องค์ป ระกอบในพื ช เทคนิคทางโครมาโทกราฟีที่ นิยมใช้เพื่อตรวจเอกลัก ษณ์ของพืช มี หลายวิธี เช่น Thin Layer Chromatography (TLC) , High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ที แ อลซี ส มรรถนะสู ง (High perfomance thin-layer chromatography, HPTLC) เป น็ หนึ่ ง ใน เทคนิคทางโครมาโทกราฟที ี่นิยมนามาใชใ้ นการพิสูจนเ์ อกลักษณข์ องวัตถุดิบทางยา เภสัชภัณฑ์ สมุนไพรและ ผลิตภัณฑธ์ รรมชาติ รวมไปถึงการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนและสารปลอมปนในตัวอยา่ งต่าง ๆ เนื่องจากไม่มี พืชสมุนไพรใดที่มีองค์ประกอบและปริมาณสารทีเ่ หมือนกันทุกอย่าง ทาให้ได้ผลการตรวจสอบหรือลักษณะโคร มาโทแกรมเฉพาะตัว เปรียบเสมือนกับลายพิมพ์นิ้วมือ (fingerprint) ของสมุนไพรนั้น เทคนิคนี้มีขอ้ ดีหลาย ประการ เช น่ ไม่ ตอ้ งพึ่ งการใช เ้ ครื่อ งมื อ ราคาแพง เตรียมตัวอย า่ งไม ย่ ุง่ ยากและใช ป้ ริม าณเพียงเล็ก น อ้ ย สามารถวิเ คราะห ต์ ั วอย า่ งได ห้ ลายชนิด ในคราวเดี ย ว และยัง สามารถแสดงผลการแยกสารในลัก ษณะ ขอ้ มูลภาพที่มีความชัดเจน และครอบคลุมองคป์ ระกอบต่าง ๆ ที่มีอยูใ่ นตัวอยา่ งขึ้นกับวิธีการตรวจสอบที่ใช้ เชน่ การตรวจสอบภายใตแ้ สง ธรรมชาติหรือภายใตแ้ สงอัลตราไวโอเลตหรือโดยการทาปฏิกิริยากับสารก อ่ สี 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
493
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
(ปนัดดาและคณะ, 2561) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลและการตรวจสอบเอกลักษณ์โคร มาโทกราฟี ของสารที่ อ อกฤทธิ์ในการควบคุม แมลงของบัวตองโดยวิธีที แอลซี ส มรรถนะสูง เพื่อที่ จ ะเพิ่ ม ศักยภาพและนาสารสาคัญที่มีประสิทธิภาพมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเตรียมสารสกัดบัวตอง เก็บตัวอย่างใบบัวตองจากอาเภอขุนยวม จังหวัดแม่ ฮ่องสอน นามาอบให้แห้งที่ อุณหภูมิ 40 องศา เซลเซียส นาไปบดละเอียดและสกัดแบบต่อเนื่องด้วยวิธี Maceration โดยเริ่มจากตัวทาละลายเฮกเซน ได คลอโรมีเทน และเมทานอลตามลาดับ นาส่วนสกัดแต่ล ะชั้นที่ได้ระเหยตัวทาละลายออกด้ วยเครื่องระเหย สุญญากาศ (Vacuum rotary evaporator) จะได้สารสกั ดหยาบ (crude extract) เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล เก็บสารสกัดหยาบใส่ขวดสี ชา และเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ใน การทดสอบต่อไป 2. การตรวจเอกลักษณ์โครมาโทกราฟีของสารสกัดหยาบด้วยวิธี HPTLC นาสว่ นสกัดหยาบเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเมทานอล มาทาการตรวจเอกลักษณโ์ ครมาโทกราฟี ดว้ ยเทคนคิ HPTLC โดยนาสารสกัดหยาบแต่ละชนิดมาเจือจางด้วยตัวทาละลายเมทานอล หยดสารละลาย ตัวอย่างปริมาตร 4 ไมโครลิตร ลงบนแผ่นโครมาโทกราฟีชนิดแผ่นบางที่เคลือบด้วย silica gel 60 F254 นาไป วางในภาชนะบรรจุวัฎภาคเคลื่อนที่ ที่อิ่มตัวด้วยส่วนผสมของ Benzene : ethyl acetate (2:1) ซึ่งใช้เป็นวัฏ ภาคเคลื่อนที่ ตรวจสอบผลการแยกสารภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 254 และ 366 นาโนเมตร และพ่นด้วยน้ายาพ่ น p-anisaldehyde-sulfuric acid แล้วให้ความร้อน 110 องศาเซลเซียส นานจนสาร เกิดปฏิกิริยาแสดงเป็นแถบสีชัดเจนตรวจสอบภายใต้แสงธรรมชาติและแสงอัลตราไวโอเลตที่ ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร 3. การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบบัวตอง ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบบัวตองที่สกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ 3 ชนิด โดยทดสอบ ฤทธิ์เบื้องต้นต่อหนอนใยผักโดยนาสารสกัดหยาบจากใบบัวตองที่สกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซน, ไดคลอโรมีเทน และเมทานอลมาละลายด้วยเมทานอลในอัตรา 2 %w/v นาไปทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นต่อหนอนใยผักวัย 2 วาง แผนการทดลอง แบบสุ่ ม สมบู ร ณ์ (completely randomized design, CRD) จ านวน 4 ซ้ า 4 กรรมวิ ธี ได้แก่สารสกัดหยาบจากใบบัวตองทีส่ กัดด้วยตัวทาละลายอินทรีย์ทงั้ 3 ชนิด และเมทานอล ดาเนินการทดสอบ โดยวิธี Leaf dipping method โดยการจุ่มใบคะน้าลงในสารทดสอบเป็นเวลา 5 วินาที ผึ่งใบผักคะน้าให้แห้ง จากนั้นนาไปใส่ในกล่องเลี้ยงหนอนสาหรับทดสอบ ทาการปล่อยหนอนใยผักกล่องละ 10 ตัว บันทึกผลการ ทดลอง โดยตรวจนับ เปอร์เซ็นต์การตายของหนอนใยผัก ที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง หลัง การทดลอง ตามลาดับ 494
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
4. การแยกสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี นาสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมาทาการแยกเพื่อให้ได้สารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมา โท กราฟีโดยมี silica gel 60 เป็นตัวดูดซับ ใช้ระบบตัวทาละลาย hexane : ethylacetate เป็นตัวชะ เริ่มต้น ด้วยระบบตัวทาละลายตามลาดับดังนี้ hexane 100% (F1), ethylacetate 5% (F2), ethylacetate 10% (F3), ethylacetate 20% (F4), ethylacetate 30% (F5), ethylacetate 40% (F6), ethylacetate 50% (F7) และ ethylacetate 100% (F8) ปริมาตรที่ รับ fraction ครั้งละ 200 cm3 เก็บ ได้จ านวน 8 fraction (F1-F8) นาไประเหยตัวท าละลายออกด้วยเครื่องระเหยสุญ ญากาศ นาสารสกั ดทั้ ง 8 fraction ไปศึกษา เอกลักษณ์โครมาโทกราฟีด้วยเทคนิค HPTLC เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบที่มีอยู่ในแต่ละ fraction จากนั้น นาไปทดสอบฤทธิ์ต่อหนอนใยผักเพื่อหา fraction ที่มีฤทธิ์มากที่สุด 5. ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ในการควบคุมหนอนใยผัก นาแต่ละ fraction ที่ได้จากการแยกด้วยคอลัมน์โครมาโทกราฟีของสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนมา ทดสอบประสิท ธิภาพกั บหนอนใยผัก วัย 2 ในอัตราส่วน 2 %w/v ดาเนินการทดสอบโดยวิธี Leaf dipping method โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จานวน 4 ซ้า 9 กรรมวิธี ได้แก่ส ารสกั ดใบบัวตองที่ แยกด้วย คอลัม น์โ ครมาโทกราฟี ทั้ ง 8 ส่วนสกั ด (F1-F8) และเมทานอล ดาเนินการทดสอบโดยวิธี Leaf dipping method โดยการจุ่มใบคะน้าลงในสารทดสอบเป็นเวลา 5 วินาที ผึ่งใบผักคะน้าให้แห้ง จากนั้นนาไปใส่ใน กล่องเลี้ยงหนอนสาหรับทดสอบ ทาการปล่อยหนอนใยผักกล่องละ 10 ตัว บันทึกผลการทดลอง โดยตรวจนับ เปอร์เซ็นต์การตายของหนอนใยผัก ที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมงหลังการทดลองตามลาดับ ผลการทดลองและวิจารณ์ 1. การศึกษาเอกลักษณ์โครมาโทกราฟีของสารสกัดหยาบด้วยวิธี HPTLC ผลการศึกษาเอกลักษณ์โครมาโทกราฟีด้วยเทคนิค HPTLC ทาให้ทราบลักษณะของโครมาโทแกรมซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพืช (TLC fingerprint) โดยประเมินค่าอัตราส่วนของระยะทางที่สารเคลื่อนที่ต่อ ระยะทางที่วัฏภาคเคลื่อนที่เคลื่อนที่ (RF) และสีของ spot บนโครมาโทแกรม เมื่อนาสารสกัดหยาบใบบัวตองที่ สกัดด้วย เฮกเซน ไดคลอโรมีเทนและเมทานอลมาพิสูจน์เอกลัก ษณ์ด้วยวิธี HPTLC ผลการทดลองได้ เอกลักษณ์โครมาโท กราฟี แสดงดังภาพที่ 1(ก-ค) จากการตรวจสอบภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาว คลื่น 254 นาโนเมตร เอกลักษณ์โครมาโทกราฟีของสารสกั ดหยาบทั้ ง 3 ชนิด พบเป็นแถบทึ บแสงชัดเจน ตรงกั น 3 ต าแหน่ ง ที่ RF เท่ า กั บ 0.17, 0.38 และ 0.66 (ภาพท ี่ 1(ก)) และเมื่ อ ตรวจสอบภายใต้ แ สง อัลตราไวโอเลตที่ ความยาวคล ื่น 366 นาโนเมตร ที่ตาแหน่ง RF 0.17 ไม่พบการเรืองแสง แต่ที่ ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.38 และ 0.66 พบการเรืองแสงสีฟ้าอ่อนและสีแดง ตามลาดับ (ภาพที่ 1(ข)) และเมื่อตรวจสอบด้วย น้ายาพ่น p-anisaldehyde-sulfuric acid และส่องภายใต้แสงธรรมชาติ (ภาพที่ 1(ค)) พบว่าสารสกัดหยาบ เฮกเซน,ไดคลอโรมีเทนและเมทานอล ปรากฏแถบสารสีม่วง แสดงถึงการมีกลุ่ม terpenoids ในสารสกัดจาก 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
495
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
ใบบัวตอง และเมื่อนาแถบสารที่ตาแหน่ง RF 0.66 ไป scan spectrum ด้วยแสงอัลตราไวโอเลตในช่วงความ ยาวคลื่น 190 ถึง 600 นาโนเมตรจะปรากฏลักษณะของ spectrum ของสารดังภาพที่ 2
ภาพที่ 1 เอกลัก ษณ์ โครมาโทกราฟี ของสารสกั ด หยาบจากใบบั วตองที่ ส กั ดด้วยตัวท าละลายต่าง ๆ (ก) ตรวจสอบภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร (ข) 366 นาโนเมตร และ (ค) พ่นด้วยน้ายา p-anisaldehyde-sulfuric acid แล้วให้ความร้อน แล้วดูภายใต้แสงธรรมชาติ ; 1= สารสกัดหยาบเฮกเซน, 2 = สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน และ 3 = สารสกัดหยาบเมทานอล
ภาพที่ 2 ลักษณะ spectrum ของสารในกลุ่ม terpenoids ที่พบในสารสกัดหยาบจากใบบัวตอง 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบบัวตองต่อหนอนใยผัก ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบบัวตองที่สกัดด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และเม ทานอลต่อเปอร์เซนต์ การตายของหนอนใยผั กดั งแสดงในตารางที่ 1 พบว่าสารกั ดหยาบไดคลอโรมี เทนมี 496
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
ประสิทธิภาพทาให้หนอนใยผักตายมากที่สุด 72.5 % รองลงมาคือสารสกัดหยาบเมทานอลมีประสิทธิภาพทาให้ หนอนใยผักตาย 55 % และสารสกัดหยาบเฮกเซนมีประสิทธิภาพทาให้หนอนใยผักตาย 37.5 % ตามลาดับ ผล การทดลองนี้สอดคล้องกับผลการทดลองของ Ambrósio et al. (2008) ที่รายงานว่าสารสกัดหยาบจากใบบัว ตองที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดีที่สุด นอกจากนีย้ ังมีรายงานการทดสอบ ประสิทธิภาพของสารสกัดบัวตองในแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ เช่น Rejesus and Tantengco (1985) พบว่าน้ามัน หอมระเหยที่สกัดจากดอกบัวตองมีฤทธิ์ต่อแมลงหลายชนิดเช่น แมลงวันบ้าน (musca domestica) หนอน กระทู้ ผั ก (Spodoptera litura), มวนแดงฝ้ า ย (Dysdercus cingulatus), ด้ ว งงวงข้ า วโพด (Sitophilus zeamais), มอดข้าวเปลือ ก (Rhyzopertha dominica) และมอดแป้ง (Tribolium castaneum) เป็นต้น Mwangi (2015) ได้ศึกษาผลของสารสกัดบัวตองและพืชอื่นๆอีก 3 ชนิดในประเทศเคนย่าต่อแมลงศัตรูถั่วแขก ได้แก่ เพลี้ยอ่ อน (Aphis fabae Scopoli), เพลี้ยไฟ (Megalurothrips sjostedti Trybom) และแมลงหวี่ ขาว (Bemisia tabaci) พบว่าสารสกัดบัวตองสามารถควบคุมปริม าณของแมลงศัตรูถั่วแขกทั้ง 3 ชนิดได้ดี เทียบเท่ากับการใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนใยผัก วัย 2 ของสารสกัดหยาบบัวตอง กรรมวิธี สารสกัดหยาบเฮกเซน สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน สารสกัดหยาบเมทานอล เมทานอล CV(%)
เปอร์เซ็นต์การตาย (%) 37.50 c 72.50 bc 55.00 bc 7.50 d 44.75
หมายเหตุ : ตัวเลขทีต่ ามหลังด้วยตัวอักษรเหมือนกันในแต่ละคอลัมน์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ใช้ DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3. การแยกสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี นาสารสกั ดหยาบไดคลอโรมี เทนมาแยกดว้ ยเทคนิคคอลัมน์ โครมาโทกราฟี โดยใช้ hexane : ethyl acetaleเป็นตัวชะได้สารสกั ดกึ่งบริสุทธิ์ทั้ งหมด 8 fractions (F1-F8) นาไประเหยตัวชะออกดวยเครื่องระเหย สุญ ญากาศ และนาไปศึกษาเอกลักษณ์โครมาโทกราฟี ของกลุ่มสารสาคัญ โดยเทคนิค HPTLC เอกลักษณ์โคร มาโทกราฟีของสารสกัดทั้ง 8 fractions แสดงดังภาพที่ 3 เมื่อตรวจสอบภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร (ภาพที่ 3 (ก.)) แสดงให้เห็นว่าส่วนที่เป็นองค์ประกอบของสารสกัดหยาบบัวตองถูกแยกออกมาใน fractions F4-F7 โดย fraction F4 พบแถบสารที่ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.83 fraction F5 ตรวจพบแถบสารที่ ตาแหน่งมีค่า RF เท่ากับ 0.52, 0.66 และ 0.80 สาหรับ fraction F6 ตรวจพบแถบสารที่ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.60 และ 0.67 และ fraction F7 ตรวจพบแถบสารที่ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.38, 0.52, 0.60 และ 0.80 เมื่อ ตรวจสอบภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร (ภาพที่ 3 (ข.)) fraction F5 F6 และ F7
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
497
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
พบการเรืองแสงสีฟ้ าอ่ อ น และเมื่ อ สเปรย์ ด้วยน้ายาพ่น p-anisaldeheyde-sulfuric acid และตรวจสอบ ภายใต้แสงธรรมชาติ (ภาพที่ 3 (ค.)) ให้แถบสีม่วง
ภาพที่ 3 เอกลักษณ์โครมาโทกราฟี ของ fractions ที่แยกโดยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี (ก) ตรวจสอบ ภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร (ข) ตรวจสอบภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลต ที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร (ค) พ่นด้วยน้ายา p-anisaldehyde-sulfuric acid แล้วให้ความ ร้อน แล้วตรวจสอบภายใต้แสงธรรมชาติ (ง) พ่นด้วยน้ายา p-anisaldehyde-sulfuric acid แล้วให้ ความร้อน และตรวจสอบภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร 4. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ในการควบคุมหนอนใยผัก เมื่ อท าการทดลองยืนยันฤทธิ์ของสารสกั ดกึ่ งบริสุทธิ์จากใบบั วตอง โดยนาสารสกั ดกึ่งบริสุทธิ์ทั้ ง 8 fractions ไปทดสอบฤทธิ์ตอหนอนใยผัก ผลการทดสอบพบวา fraction F5 และ F7 มีผลต่อการตายของหนอน ใยผักมากที่สุดโดยมีอัตราการตายเท่ากับ 85 % และ 95% ตามลาดับ (ตารางที่ 2) จากการตรวจสอบกลุมสาร พฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์โดยวิธี HPTLC ผลการทดสอบดงั ภาพที่ 3 พบว่า fraction F5 พบกลุ่มสารสาคัญที่ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.66 และใน fraction F7 กลุ่มสารสาคัญที่ ตาแหน่ง RF เท่ากับ 0.38 และเมื่ อทาการตรวจสอบด้วย น้ายา p-anisaldeheyde-sulfuric acid พบว่าที่ตาแหน่ง RF ทั้ งสองตาแหน่งดังกล่าวปรากฏเป็นสีม่ วงเข้ม เป็นการยืนยันว่ากลุ่มสารสาคัญที่ออกฤทธิ์ต่อหนอนใยผักในสารสกัดใบบัวตองมีองค์ประกอบหลักเป็น สาร กลุ่ม terpenoids ข้อมูลที่ได้สอดคล้องกับผลการทดลองของ Green et al. (2017) พบว่าสารออกฤทธิ์ในบัว ตองคือ สารกลุ่ ม terpenoids และมี ค วามเป็ น พิ ษ ต่อ ด้ว งถั่ ว เขียว (Callosobruchu maculatus) ข้อ มู ล งานวิจัยพบว่าบัวตองมีการสะสมของสารประกอบกลุ่ม sesquiterpene lactones ซึ่งนิยมนามาใช้ป้องกัน กาจัดศัตรูพืช เช่น เพลี้ย ด้วง มด แมลงหวี่ และยับยั้งการเจริญเติบโตของไร (Krishnakumari et al., 2003)
498
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
Ambrósio et al. (2008) ชี้ ให้ เห็ น ว่ าสารสกั ด จากบั วตองประกอบด้ว ยสาร sesquiterpenic lactones, flavonoid และ diterpenoid มีฤทธิ์ในการยับยั้งการกินของตัวอ่อนของ Chlosyne lacinia (Lepidoptera) ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนใยผัก วัย 2 ของสารสกัดกึ่งบริสุทธิจ์ ากบัวตอง กรรมวิธี F1 F2 F3 F4 F5 F6 F7 F8 เมทานอล CV(%)
เปอร์เซ็นต์การตาย (%) 37.50 c 57.50 bc 57.50 bc 80.00 ab 85.00 a 72.50 ab 95.00 a 75.00 ab 2.50 d 24.8
หมายเหตุ : ตัวเลขทีต่ ามหลังด้วยตัวอักษรเหมือนกันในแต่ละคอลัมน์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ใช้ DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
สรุปผลการทดลอง การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารสกัดจากใบบัวตองในการควบคุมหนอนใยผักเพื่อเป็นแนวทาง ในการลดการใช้สารเคมีสาหรับการกาจัดศัตรูพืช พบว่าสารสกัดหยาบใบบัวตองที่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนมี ฤทธิ์ในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีที่สุด การศึกษาเอกลักษณ์โครมาโทกราฟีด้วยเทคนิคทีแอลซีสมรรถนะสูง ท าให้ได้ ข้อมู ล ที่ จ ะใช้เป็น fingerprint เพื่ อเป็น มาตรฐานในการควบคุม คุณ ภาพของสารส าคัญ ในพืชที่ มี ศักยภาพในการป้องกันและกาจัดศัตรูพืช จากการศึกษาข้อมูลองค์ประกอบทางพฤกษเคมีและฤทธิ์ต่อหนอน ใยผักของสารสกัดใบบัวตองแสดงให้เห็นว่าสารออกฤทธิ์ในสารสกัดจากใบบัวตองเป็นสารกลุ่ม terpenoids อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเห็นว่าควรจะศึกษาสารสกัดจากใบบัวตองขั้นต่อไปคือการแยกสารสกัดจากใบบัวตองให้ เป็นสารบริสุทธิ์และนาสารที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต่อหนอนใยผัก และวิเคราะห์หาโครงสร้างโดยใช้เทคนิคทางส เปกโทรสโกปีเพื่อหาโครงสร้างทางเคมีของสารออกฤทธิ์ต่อไป เพื่อใช้เปนขอมูลในการพัฒนาสารสกัดจากบัว ตองและเป็นการเพิ่มมูลค่าและเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการนาพืชในท้องถิ่นมาใช้เป็นสารป้องกันกาจัด ศัตรูพืช ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้สารเคมีลงได้อย่างมาก และไม่เป็นอันตรายหรื อมีผลกระทบ ต่อสุขภาพของคน สัตว์ แมลงที่มีประโยชน์อื่น ๆ ในธรรมชาติตลอดจนปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
499
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
ค่าขอบคุณ คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ เงินทุนวิจัยจากเงินรายได้จากการดาเนินงานวิจัยด้านการเกษตร กรมวิชาการ เกษตร ที่ได้สนับสนุนงบประมาณสาหรับการดาเนินงานวิจัย และขอขอบคุณวนอุทยานทุ่งบัวตอง บ้านแม่อูคอ ตาบลแม่อูคอ อาเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้อานวยความสะดวกในการใช้พื้นที่ ในการเก็บตัวอย่างบัว ตองสาหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เอกสารอ้างอิง ปนัดดา พัฒ นวศิน , อุทั ย โสธนะพั นธุ์ , ลาวัล ย์ ศรีพงษ์, จันคนา บูร ณโอสถ, จริยา อัครวรัณธร, อรัญ ญา นันทนากรณ์ . 2561. โครมาโทกราฟี แบบชั้นบางและการวิเคราะห์เชิงภาพเพื่อการวิเคราะห์เชิง ปริมาณ. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 13(1): 79-92. Adedire, C.O. and J.O. Akinneye. 2 0 0 4 . Biological activity of tree marigold, Tithonia diversifolia, on cowpea seed bruchid, Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae). Annals of Applied Biology 144: 185-189. Ambrósio, S.R, Y. Oki, V.C. Heleno, J.S. Chaves, P.G. Nascimento, J.E. Lichston, M.G. Constantino, E.M. Varanda and F.B. Da Costa. 2008. Constituents of glandular trichomes of Tithonia diversifolia: relationships to herbivory and antifeedant activity. Phytochemistry 69(10): 2052-2060. Bagnarello, G., L. Hilje, V. Bagnarello, V. Cartín and M. Calvo. 2009. Fagodisuasive activity of the plants Tithonia diversifolia and Montanoa hibiscifolia (Asteraceae) on adults of the plague insect Bemisia tabaci (Homoptera: Aleyrodidae), Revista De Biologia Tropical 57(4): 1201-1215. Flávia, D.P., B.O. Rejane, A.C. Daniela, G. Leonardo and B. Fernando. 2013. Repeated-dose toxicological studies of Tithonia diversifolia (Hemsl.) A. gray and identification of the toxic compounds. Journal of Ethnopharmacology 147: 389-394. Green, P.W.C., S.R. Belmain, P. Ndakidemi, I. Farrell and P.C. Stevenson. 2017. Insecticidal activity in Tithonia diversifolia and Vernonia amygdalina. Indrustrial Crops and Products 110: 15-21. Gu, J.Q., J.J. Gills, E..J. Park, G.E. Mata, M.E. Hawthorne, F. Axelrod, P.I. Charez, H.H. Fong, R.G. Methta, J.M. Pezzuto and J. Kinghor. 2002. Sesquiterpenes from Tithonia diversifolia with potential cancer chemopreventive activity. Journal of Natural Products 65: 533-536.
500
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-07
Guijun, Z., L. Xia, C. Wansheng, X. Zhongxin and S. Lianna. 2012. Three new sesquiterpenes from Tithonia diversifolia and their anti-hyperglycemic activity, Fitoterapia 83: 15901597. Jill, P.B. 1993. Pesticidal Compounds from Higher Plants. Pesticide Science 39: 95-102. Kolawole, A.O., R.E. Okonji and J.O. Ajele. 2011. Tithonia diversifolia, Cyperus rotundus and Hyptis suaveloensis ethanol extracts combinatorially and competitively inhibit affinity purified cowpea storage bruchid (Callosobrochus maculatus) glutathione Stransferase, Arthropod-Plant Interactions 5: 175-184. Krishnakumari, G.N., S. Masilamani, M.R. Ganesh, S. Aravind, S.R. Sridhar and D. Zaluzanin. 2003. a fungistatic sesquiterpene from Vernonia arborea. Fitoterapia 74: 479-482. Mwangi, F.N. 2015. Evaluation of botanical pesticides and coloured sticky insect traps for management of insect pests (thrips, whiteflies and aphids) in French beans (Phaseolus vulgaris L.). Master’s Thesis. Department of Plant Science and Crop Protection. Faculty of Agriculture. University of Nairobi. Oyedokun, A.V., J.C. Anikwe, F.A. Okelana, I.U. Mokwunye and O.M. Azeez. 2011. Pesticidal efficacy of three tropical herbal plants’ leaf extracts against Macrotermes bellicosus, an emerging pest of cocoa, Theobroma cacao L. Journal of Biopesticides 4(2): 131-137. Rejesus, B.M. and G.B. Tantengco. 1985. Survey of Philippine plants for insecticidal activity biological activity of flower and leaf extracts from six species of plants on insects. Dept. of Entomol. Philippines Univ. Los Banos, College, Laguna (Philippines) pp: 3182
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
501
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
การประเมินความหลากหลายของสัตว์ขาข้อที่ลงใช้พืช 4 ชนิดในสกุล Passiflora Utilization Assessment of Arthropod Diversity on 4 Plants in Genus Passiflora ชิษณุพงศ์ พานเทียน1,2 และ ชัชวาล ใจซื่อกุล2 Chitsanuphong Phanthian1,2 and Chatchawan Chaisuekul2 1
สาขาสัตววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 Zoology Program, Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 2 ศูนย์ความเป็นเลิศทางกีฏวิทยา: ชีววิทยาของผึ้ง ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงและไร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 2 Center of Excellence in Entomology: Bee Biology, Biodiversity of Insects and Mites, Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 1
บทคัดย่อ พืชในสกุ ล Passiflora เป็นพื ชต่างถิ่นที่ ได้รับการนาเข้ามาปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทยใน ปัจจุบัน เพื่อเป็นพืชผลิตผลและเป็นพืชดอกประดับ แต่มีการศึกษาที่รายงานถึงสัตว์ขาข้อที่ ใช้พืชในสกุ ล นี้ เพียงเล็กน้อยเท่ านั้น ทั้ ง ในส่วนของสัตว์ขาข้อกินพืชและสัตว์ ขาข้อผู้ล่า ที่ใช้พืชในสกุลนี้ การศึก ษานี้จึงมี เป้ า หมายเพื่อ ส ารวจความหลากหลายของสัต ว์ ข าข้ อที่ พบบนพืช ในสกุ ล Passiflora ได้ แ ก่ Passiflora foetida (พื ช ป่ า ), P. edulis (พื ช ผลิต ผล), P. x alata-caerulea (ไม้ ด อกประดั บ ) และ P. x coccineacaerulea (ไม้ดอกประดับ) พืชแต่ละชนิดจะถูกปลูกในแปลงขนาด 1x1 ตารางเมตร ห่างจากกัน 1 เมตรแบบ สุ่ม ทั้งหมด 8 ซ้า ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม 2561 ทา การตรวจนับและเก็บตัวอย่างสัตว์ขาข้อที่พบเพื่อทาการจาแนกในระดับวงศ์ จากการศึกษานี้พบสัตว์ขาข้อกิน พืชจานวน 32 วงศ์ใน 8 อันดับ และพบสัตว์ขาข้อผู้ล่าจานวน 13 วงศ์ใน 9 อันดับ โดยสัตว์ขาข้อกินพืชที่พบ มากที่สุดบนพืชทั้ง 4 ชนิดคือหนอนผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae โดยเฉพาะชนิด Acraea terpsicore ซึ่งมี จานวน 7,194 ตัวและมวนในวงศ์ Pyrrhocoridae ซึ่งมีจานวน 1,366 ตัว และสัตว์ขาข้อผู้ล่าที่พบมากที่สุด บนพืชทั้ง 4 ชนิดคือ แมงมุมในวงศ์ Oxyopidae 136 ตัว โดย P. edulis มีดัชนีความหลากหลายของสัตว์ขา ข้อกินพืชมากที่สุด ในขณะที่ P. foetida มีความหลากหลายของสัตว์ข้อผู้ล่า มากที่สุด (Shannon-Wiener Diversity index (H’) = 0.6832 และ 1.3642 ตามลาดับ) จากการศึกษานี้พบว่าสัตว์ขาข้อที่สามารถใช้พืชใน สกุล Passiflora ที่เป็นพืชป่า (P. foetida) สามารถปรับตัวเพื่อใช้พืชชนิดอื่นที่เป็นพืชผลทางการเกษตรได้ โดยเฉพาะหนอนผี เ สื้อ A. terpsicore ซึ่ ง ข้ อ มู ล นี้ อ าจเป็ น ประโยชน์ ใ นการจัด การศั ต รู พืช ของพืชสกุ ล Passiflora และการใช้พืชในสกุล Passiflora ในการควบคุมโดยชีววิธีแบบอนุรักษ์ คาสาคัญ : พืชต่างถิ่น การจัดการศัตรูพืช พืชสวนให้ผล ไม้ดอกประดับ พืชกลุ่มกะทกรก
502
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ABSTRACT Currently, plants in genus Passiflora are the exotic plants that have been imported and planted in wild range in Thailand for fruit crop plants and ornamental flower, but the data of utilization and diversity of arthropods on Passiflora plants are still limited for both predatory arthropods and herbivorous arthropods. Therefore, this study aimed to assess utilization and diversity of arthropods on four Passiflora plants including Passiflora foetida (a wild plant), P. edulis (a fruit crop plant), P. x alata-caerulea (an ornamental plant) and P. x coccinea-caerulea (an ornamental plant). Each plant species was planted in plot size 1x1 m2. Plots were arranged randomly in line formation for 8 replications in area of Chulalongkorn University: Center of Learning Network for the Region, Saraburi province. Data were collected from March to December 2018. The sampling arthropods were counted and collected specimen for identification to family level. From this study, the total of 32 families in 8 orders of herbivorous arthropods were found on experimental plants and 13 families in 9 orders of predatory arthropods. The most abundant herbivorous arthropods on all experimental plants were caterpillars in family Nymphalidae, especially caterpillars of Acraea terpsicore at 7,194 individuals, and true bugs in family Pyrrhocorridae at 1,366 individuals. The most abundant predatory arthropods on all experimental plants were spiders in family Oxyopidae at 136 individuals. P. edulis had the highest diversity index of herbivorous arthropods, while P. foetida had the highest diversity index of predatory arthropods (Shannon-Wiener Diversity index (H’) = 0.6832 and 1.3642, respectively). In conclusion, arthropods in this study that can utilized wild plant, P. foetida, may adapted to utilized other species that are crop plants and ornamental flowers especially caterpillar of A. terpsicore. These data can be used as fundamental data for pest management on Passiflora plants, and using some Passiflora plants for conservation biological control. Keywords: exotic plants, pest management, fruit crop plant, ornamental flower, passion vines คานา ในปัจจุบันการปลูกพืชต่างถิ่น (exotic plants) ได้รับความนิยมโดยปลูกเป็นพืชผลิตผลและเพื่อปลูก เป็นพืชประดับ แต่พบว่ามีรายงานของสัตว์ขาข้อที่ลงใช้พืชต่างถิ่นในประเทศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะ พืชในสกุล Passiflora ในวงศ์ Passifloraceae ที่เป็นพืชท้องถิ่นในแถบทวีปอเมริกาใต้ (Pérez et al. 2007, Ocampo et al. 2010) ปัจจุบันได้กระจายไปต่างทวีปต่าง ๆ ในหลายสถานะทั้งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (invasive species) และเป็นพืชทางเศรษฐกิจ (economically plants) (Pérez et al. 2007, Abreu et al. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
503
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
2008) โดยพืชในสกุลนี้ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ (hybridization) เพื่อเพิ่มผลผลิต และความสวยงาม (Abreu et al. 2008) ซึ่งการมีอยู่ของพืชต่างถิ่นหรือพืชพัฒนาสายพันธุ์ในพื้นที่ดั้งเดิมอาจ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในพื้นทีน่ ั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) ซึ่งเป็น สัตว์กินพืชที่มีปริมาณมากที่สุดในระบบนิเวศ และอาจทาให้สัตว์ขาข้อ กินพืชที่เป็น generalist มีการขยาย อาณาเขตและลุกลามกลายเป็นศัตรูพืชของพืชดังกล่าวได้ (Singer et al. 2004) หรือในกรณีของสัตว์ขาข้อกิน พืชที่ เ ป็น specialist อาจมี การเปลี่ยนแปลงการเลือกใช้พืชอาหารและใช้พืชต่างถิ่นแทนพืชอาหารดั้งเดิม (Graves and Shapiro 2003) ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้งสองกรณีจะส่งผลต่อการมีอยู่ของสัตว์ขาข้อผู้ล่าในระบบนิเวศ แต่อย่างไรก็ตามการรายงานการใช้สัตว์ขาข้อของพืชต่างถิ่นและพืชที่ถูกผสมข้ามสายพันธุ์นี้ยังมีการ ศึกษาวิจัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อสารวจความหลากหลายของสัตว์ขาข้อที่ พบบนพืชในสกุล Passiflora ในประเทศไทย โดยการศึกษานี้จะทาการศึกษาในพืชในสกุล Passiflora จานวน 4 ชนิดที่พบมากในประเทศไทยคือ P. foetida (กะทกรก) ที่เป็นพืชต่างถิ่นรุกราน ซึ่งเข้ามาในประเทศไทย เป็นเวลานานและมีการกระจายเป็นวงกว้าง และพืชในสกุลนี้อีก 3 ชนิดที่เป็นพืชผลทางการเกษตรและไม้ ประดับ ซึ่งบางชนิดมีการพัฒนาสายพันธุ์โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ P. edulis (เสาวรส), P. x alatacaerulea (สร้อยฟ้า) และ P. x coccinea-caerulea (เลดี้มาร์กาเรต) อุปกรณ์และวิธีการ การศึกษาได้ดาเนินการในพื้นที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัด สระบุรี ตั้งอยู่ที่ตาบลชาผักแพว อาเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย โดยในพื้นที่ ประกอบด้วย ป่า เบญจพรรณผสมไผ่ ป่ า ทุ ติ ย ภู มิ ป่ า ปลู ก ทุ่ ง หญ้ า เลี้ยงสัต ว์ แปลงเกษตร และสิ่ ง ปลูก สร้า ง ซึ่ ง มี ค วาม หลากหลายของพืชหลักอยู่ในวงศ์ Fabaceae, Leguminosae และ Dipterocarpaceae และในการศึกษานี้ ได้ ท าการวางแปลงศึ ก ษาไว้ ใ น 2 บริ เ วณคื อ บริ เ วณแปลงเกษตรอิ น ทรี ย์ ส าธิ ต (14°31'26.07"N 101°1'36.89"E) และบริเวณทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ (14°30'59.48"N 101°1'8.89"E) โดยแต่ละแปลงมีขนาด 7x11 ตารางเมตร โดยอยู่ห่างจากกั นประมาณ 1 กิ โ ลเมตร และถูก กั้ นด้วยเนินที่ มี ความสูง จากระดับ น้าทะเล ประมาณ 30-130 เมตร ในการศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้พืชในสกุล Passiflora จานวน 4 ชนิด ได้แก่ พืชป่าจานวน 1 ชนิดคือ P. foetida (กะทกรก) และพืชต่างถิ่นนาเข้า จานวน 3 ชนิดคือ P. edulis (เสาวรส) (พืชผลิตผล), P. x alata-caerulea (สร้ อ ยฟ้ า ) (ไม้ ด อกประดั บ ) และ P. x coccinea-caerulea) หรื อ P. ‘Lady Margaret’ (เลดี้มาร์กาเรต) (ไม้ดอกประดับ) ซึ่งก่อนเริ่มทาการศึกษา ได้ทาการสารวจพืชในสกุลนี้ในบริเวณ รัศมี 10 กิโลเมตร รอบพื้นที่ศึกษา พบว่าไม่พบพืชต่างถิ่นในสกุลนี้ในบริเวณดังกล่าว ในแต่ละบริเวณที่ทาการศึก ษา ทาการปลูกพืช 2 รอบการปลูกคือ ช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฏาคม 2561 และช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2561 โดยพืชแต่ละชนิดจะถูกปลูกในกระถางพลาสติกสีดา ขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร และใส่ปุ๋ยละลายช้า สูตร 13N-13P-13K (Osmocote®) จานวน 20 กรัม ทา การปลูกชนิดละ 16 กระถางต่อชนิดต่อซ้า กระถางละ 1 ต้น รวมทั้ง 64 กระถางต่อซ้า โดยพืชแต่ละชนิด จะ 504
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ถูก จัดกลุ่ม กลุ่ม ละ 4 กระถาง ในรูป แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส (sample) และท าการออกแบบการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) โดยทาการจัดเรียงในแถวเส้นตรงแบบสุม่ (sampling unit) จานวน 4 ชุดการทดลองต่อซ้า ซึ่งแต่ละกลุ่มพืชจะอยู่ห่างจากกันเป็นระยะ 1 เมตร เพื่อลดผลจากภาวะขอบ (edge effect) ทาการสารวจทุก 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม 2561 ทา การสารวจบนพืชแต่ละชนิดในแต่ละกลุ่ม sample ทีละต้น ทาการนับสัตว์ขาข้อที่พบบนพืชแต่ละชนิดทุกตัว ทาการจาแนกประเภทของสัตว์ขาข้อที่พบตามลักษณะของอาหาร นิเวศวิทยา และพฤติกรรมที่พบ ว่าเป็นสัตว์ ขาข้ อ กิ น พื ช (herbivorous arthropods) หรื อ สัต ว์ ข าข้ อ ผู้ล่า (predatory arthropods) และท าการเก็ บ ตั ว อย่ า งเพื่ อ น ามาจ าแนกระดั บ วงศ์ (family) ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร โดยอ้ า งอิ ง จากหนั ง สื อ Borror and DeLong’s Introduction to the Study of Insects 7th edition แ ล ะ The Insects of Australia: A textbook for students and research workers 2nd edition Volume I และ Volume II เพื่ อ ใช้ จ าแนก สัตว์ขาข้อตัวเต็มวัย ที่พบ และใช้หนังสือ Immature Insects Volume I เพื่อจาแนกตัวอ่อนสัตว์ขาข้อ ที่พบ โดยในการตรวจนับสัตว์ขาข้อนี้จะทาการแยกมดออกจากการนับ เนื่องจากพบว่ามดมีบทบาททั้งเป็นแมลงผูล้ า่ และแมลงกินพืชแบบ cryptic และมีจานวนมากเกินไปจนยากแก่การนับทั้งหมดและอาจส่งผลต่อค่าทางสถิติ ได้ จึงทาการนับความถี่สะสม (cumulative frequency) ของการพบมดแทนการนับทั้งหมด จานวนสัตว์ขาข้อแต่ละวงศ์ที่พบในแต่ละต้นในกลุ่มตัวอย่างในแต่ละวันตลอดระยะเวลาการศึกษาจะ ถูกรวมเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นทาการหาค่าเฉลีย่ กับพืชชนิดเดียวกันใน sampling unit อื่น ๆ ทาการวิเคราะห์ การกระจายตัวของข้อมูลโดยใช้ Shapiro-Wilk normality test และเนื่องจากข้อมูลจานวนสัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) และสัตว์ขาข้อผู้ล่า (predatory arthropods) ที่ได้ มีการกระจายตัวของข้อมูล แบบไม่ปกติ (Shapiro-Wilk normality test, W = 0.8988 และ 0.4683 ตามลาดับ, P-value = 0.0000*** และ 0.0000*** ตามลาดับ ) ทาให้ต้องใช้การวิเคราะห์แบบ non-parametric test เพื่อนาไปเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ทางสถิติกับพืชชนิดอื่นตลอดช่วงระยะเวลาสารวจ โดยใช้ Kruskal-Wallis rank sum test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างพืชทั้ง 4 ชนิด และใช้ pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่าง พืชแต่ละชนิด โดยสัตว์ขาข้อกินพืชมีความหลากหลายมาก จึง ทาการสร้าง Rank abundance curve ของ จานวนสัตว์ขาข้อกินพืชในแต่ละวงศ์ โดยนาจานวนตัวของสัตว์ขาข้ อในแต่ละวงศ์ที่ได้ไปคานวณและแปลงค่า ให้อยู่ในรูป logarithm ฐาน 10 และจัดเรียงค่าตามลาดับมากไปหาน้อย และเนื่องจากความหลากหลายของ สัตว์ขาข้อผู้ล่ามี จานวนน้อย จึง ท าการรายงานเป็นสัดส่วนร้อยละของสัตว์ขาข้อผู้ล่าบนพืชแต่ละชนิด ใน ขณะเดียวกัน และนาค่าจานวนตัวของสัตว์ขาข้อที่ได้ไปคานวณค่า Shannon-Wiener diversity index และ Shannon-Wiener evenness index เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์ขาข้อบนพืชแต่ละชนิด การ ทดสอบทางสถิติจะถูกทดสอบในโปรแกรม R เวอร์ชั่น 3.6.0 โดยใช้ packages multcompView, base และ stats และสร้างกราฟโดยใช้ packages ggplot2 และ ggpubr (R Development Core Team 2016)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
505
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ผลและวิจารณ์ การศึกษาในครั้งนี้พบสัตว์ขาข้อทั้งหมด 9,585 ตัวตลอดระยะเวลาการศึกษา โดยแบ่งเป็น สัตว์ขาข้อ กินพืช 9,373 ตัว (97.79%) และสัตว์ขาข้อผู้ล่า 212 ตัว (2.21%) ซึ่งพบในอัตราส่วน 44.21 : 1 ระหว่างสัตว์ ขาข้อกิ นพืชต่อ สัตว์ขาข้อ ผู้ล่า จากสัตว์ขาข้อกิ นพืช (herbivorous arthropods) ที่ พบทั้ ง หมด 9,373 ตัว สามารถจาแนกได้ 32 วงศ์ (family) ใน 8 อันดับ (order) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่พบว่า กินใบ (foliage feeders), กลุ่มที่พบว่ากินน้าเลี้ยงดอกไม้ (nectar feeders), กลุ่มที่มีการทาลายแบบเขี่ยดูด (rasping-sucking feeders) และกลุ่มที่เจาะดูดลาต้น (piercing-sucking feeders) โดยมีกลุ่มที่พบว่ากินใบ เป็นส่วนใหญ่จาก 17 วงศ์ (7,878 ตัว, 84.05%) ประกอบด้วยสัตว์ขาข้อในกลุ่มอันดับ ผีเสื้อ (Lepidoptera), ด้วง (Coleoptera) ตั๊ก แตน (Orthoptera) และแมลงสาบ (Blattodea) และกลุ่ม ที่ เ จาะดูดล าต้น ในกลุ่ม อันดับมวน (Hemiptera) อีก 1 อันดับ (1,398 ตัว, 14.92%) และพบสัตว์ขาข้อสัตว์ขาข้อผู้ล่า (predatory arthropods) ทั้งหมด 212 ตัว สามารถจาแนกได้ 13 วงศ์ (family) ใน 9 อันดับ (order) ซึ่งสามารถแบ่งออก ได้เ ป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ล่า (predators) และตัวเบียน (parasitoids) โดยมี ก ลุ่มผู้ล่าเป็นส่วนใหญ่จาก 11 วงศ์ (206 ตัว, 97.17%) ประกอบด้วยสัตว์ขาข้อในกลุ่มอันดับ แมงมุม (Araneae), ตั๊กแตนตาข้าว (Mantodea), แมลงวัน (Diptera), แมลงช้าง (Neuroptera), มวน (Hemiptera), ด้วง (Coleoptera), ผึ้ง (Hymenoptera), แมลงปอ (Odonata) และตะขาบยักษ์ (Scolopendromorpha) เมื่อแยกพิจารณาตามชนิดของพืชในสกุล Passiflora ในการศึกษาในครั้งนี้ทั้ง 4 ชนิดแล้ว พบสัตว์ขา ข้ อ กิ น พื ช มากที่ สุด บน P. foetida จ านวน 15 วงศ์ ที่ 3,845 ตั ว (41.02%) ตามมาด้ ว ย P. x coccineacaerulea จานวน 13 วงศ์ที่ 2,857 ตัว (30.48%) ในขณะเดียวกัน P. x alata-caerulea มีจานวนวงศ์ของ สัตว์ขาข้อกินพืชมากที่สุด (19 วงศ์) แต่มีจานวนตัวน้อยกว่า P. foetida และ P. x coccinea-caerulea โดย มี จ านวนเพียง 1,894 ตัว (20.21%) ส่วน P. edulis พบสัตว์ขาข้อกิ นพืชน้อยที่ สุดที่ 12 วงศ์และ 777 ตัว (8.29%) โดยมีแมลงในวงศ์ Nymphalidae และ Chrysomelidae เป็นกลุ่มสัตว์ขาข้อที่พบว่ากินใบที่เด่นใน พืชทั้ง 4 ชนิด อีกทั้งแมลงในวงศ์ Pyrrhocoridae ยังเป็นกลุ่มสัตว์ขาข้อกินพืชที่เจาะดูดลาต้นที่เด่นเช่นกัน และสัตว์ขาข้อผู้ล่าที่พบในพื้นทั้ง 4 ชนิด พบจานวนมากที่สุดบน P. foetida ทั้งในแง่ของจานวนวงศ์ (9 วงศ์) และจานวนตัวที่ 82 ตัว (38.68%) ตามมาด้วย P. x coccinea-caerulea ที่ 6 วงศ์และ 72 ตัว (33.96%), P. x alata-caerulea ที่ 4 วงศ์และ 36 ตัว (16.98%) และ P. edulis ที่ 3 วงศ์และ 22 ตัว (10.38%) ตามลาดับ โดยมีสัตว์ขาข้อในวงศ์ Oxyopidae, Hymenopodidae และ Dolichopodidae เป็นสัตว์ขาข้อผู้ล่าที่เด่นใน การศึกษาในครั้งนี้ โดยจะเห็นได้ว่าจานวนตัวของสัตว์ ขาข้อผู้ล่ามีแนวโน้มไปในทางเดียวกันกับสัตว์ขาข้อกิน พื ช แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามการศึ ก ษานี้ พบสั ต ว์ ข าข้ อ 2 กลุ่ ม ที่ ส ามารถจัด ว่ า เป็น dominant family ได้ คื อ Oxyopidae หรื อ lynx spiders เป็ น สั ต ว์ ข าข้ อ ผู้ ล่ า ที่ มี จ านวนมากที่ สุ ด คื อ 136 ตั ว ซึ่ ง เป็ น สั ด ส่ วนถึง 64.15% ของสัตว์ขาข้อผู้ล่าทั้งหมด และ Nymphalidae หรือ brush-footed butterflies เป็นสัตว์ขาข้อกิน พืชที่มีจานวนมากที่สุด คือ 7,527 ตัว ซึ่งเป็นสัดส่วนถึง 80.31% ของสัตว์ขาข้อกินพืชทั้งหมด และยิ่งไปกว่า
506
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
นั้ น พบเพี ย งไข่ แ ละหนอนของผี เ สื้อ ในวงศ์ นี้ 2 ชนิ ด เท่ า นั้ น คื อ ผี เ สื้ อ หนอนหนามกะทกรก Acraea terpsicore จานวน 7,194 ตัว และผีเสื้อกะทกรกธรรมดา Cethosia cyane จานวน 333 ตัว จานวนเฉลี่ยของสัตว์ขาข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืชบนพืชแต่ละชนิดในการศึ กษาในครั้งนี้ มีความ แตกต่างกั นอย่างมี นัยส าคัญ ทางสถิติ (Kruskal-Wallis rank sum test, chi-squared (x2) = 8.8319 และ 16.3270 ตามลาดับ, p-value = 0.0316* และ 0.0009*** ตามลาดับ) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยของระหว่างพื ชแต่ล ะชนิด โดยใช้ pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction (ตารางที่ 1.1 และ 1.2) พบว่าสามารถจัดกลุ่มของพืชออกได้เป็น 3 กลุ่ม ทั้งใน ส่วนของสัตว์ขาข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืช โดยในสัตว์ขาข้อผู้ล่าแบ่งเป็น พืชที่พบสัตว์ขาข้อผู้ล่ามาก คือ P. foetida พืชที่พบสัตว์ขาข้อผู้ล่าปานกลาง คือ P. x coccinea-caerulea และพืชที่พบสัตว์ขาข้อผู้ล่าน้อย คือ P. x alata-caerulea และ P. edulis (ภาพที่ 1A) เช่นเดียวกับในสัตว์ขาข้อกินพืชแบ่งเป็น พืชที่พบสัตว์ขา ข้อกินพืชมาก คือ P. x coccinea-caerulea, พืชที่พบสัตว์ขาข้อกินพืชปานกลาง คือ P. x alata-caerulea และ P. foetida และพืชที่พบสัตว์ขาข้อกินพืชน้อย คือ P. edulis (ภาพที่ 1B) เนื่องจากผีเสื้อหนอนหนาม กะทกรก A. terpsicore มีสัดส่วนมากที่สุดในกลุ่มของสัตว์ขาข้อกินพืช จานวนเฉลี่ยของ A. terpsicore บน พืชชนิดต่าง ๆ มี ความแตกต่างกั นอย่างมี นัยสาคัญ (Kruskal-Wallis rank sum test, chi-squared (x2) = 9.6805, p-value = 0.0215*) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระหว่างพืชแต่ละชนิดโดย ใช้ pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction (ตารางที่ 1.3) พบว่าสามารถจัดกลุ่มของพืชออกได้เป็น 3 กลุ่มเช่นเดียวกับสัตว์ขาข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืช ได้แก่ พืชที่ พบผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกมาก คือ P. foetida และ P. x coccinea-caerulea พืชที่พบผีเสื้อหนอนหนาม กะทกรกปานกลาง คือ P. x alata-caerulea และพืชที่พบผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกน้อย คือ P. edulis (ภาพที่ 2) ยิ่งไปกว่านั้น ในการศึกษานี้เราอาจจะสามารถแบ่งพืชออกตามลักษณะของ phenotypes ของใบ พืชแต่ละชนิดคือ พื้นผิวของใบ (texture) และความหนาของใบ (toughness) ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการลงใช้ของ สัตว์ขาข้อที่พบว่ากินใบ (foliage feeders) โดยจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของพืชที่มีใบอ่อนนุม่ และมีขน (soft-trichomous plants) คือ P. foetida และ P. x coccinea-caerulea และกลุ่มของพืชที่มีใบ แข็งและเป็นมันวาว (hard-glabrous plants) คือ P. edulis และ P. x alata-caerulea โดยจากภาพที่ 1 และ 2 จะเห็นได้ว่า จานวนเฉลี่ยของสัตว์ขาข้อบนพืชในกลุ่ม soft-trichomous plants จะสูงกว่าบน hardglabrous plants อย่างมีนัยสาคัญยกเว้นสัตว์ขาข้อกินพืชที่มีจานวนเฉลี่ยบน P. foetida และ P. x alatacaerulea ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง เมื่อพิจารณาถึง foliage feeders ในแต่ละกลุ่ม พบว่าเป็นกลุ่มของหนอนผีเสื้อ (Lepidoptera), ด้วงศัตรูพืช (Coleoptera), ตั๊กแตน (Orthoptera) และแมลงสาบ (Blattodea) ซึ่งเป็นกลุม่ ของแมลงที่ลักษณะของ mouthparts ในส่วนของกราม (mandible) ที่เจริญดี ดังนั้นในระดับของวงศ์ของ สัตว์ขาข้อดังกล่าวจึงมีการแสดงลักษณะของการไม่จาเพาะต่อพืชอาหาร (generalist) และสามารถกินพืช อาหารได้หลากหลาย (polyphagous) แต่อย่างไรก็ตามแมลงแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดอาจมีระดับความจาเพาะ ต่อพืชอาหารที่ ไม่ เ ท่ ากั น อั นเนื่ อ งมาจากการแข่ง ขันทางวิวัฒ นาการ (evolutionary arms race) กั บ พืช อาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณของสารเคมีและสารอาหารจาเพาะที่มีอยู่ในพืชอาหารนั้น ๆ (Tudor et al. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
507
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
2004, Jiggins 2016, Castro et al. 2018) ดังนั้นหากในอนาคตมีการศึกษาถึงระดับชนิดของสัตว์ขาข้อที่ลง ใช้พืชในสกุล Passiflora อาจจะสามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 ค่า p-value จากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction ระหว่างพืชแต่ละชนิดในการศึกษา (Pf แสดงถึง P. foetida, Pe แสดงถึง P. edulis, Pa แสดงถึง P. x alata-caerulea และ Pl แสดงถึง P. x coccinea-caerulea) แบ่งตาม กลุ่มของข้อมูลดังนี้ ตารางที่ 1.1 สัตว์ขาข้อผู้ล่า (predatory arthropods) Plant species Pf Pe 0.1330 Pa 0.1030 Pl 0.3020 ตารางที่ 1.2 สัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) Plant species Pf Pe 0.0690 Pa 0.0033** Pl 0.0002*** ตารางที่ 1.3 ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก Acraea terpsicore Plant species Pf Pe 0.0021** Pa 0.1872 Pl 0.5198
508
Pe 0.9020 0.0250*
Pa 0.0140*
Pe 0.4816 0.0559
Pa 0.1450
Pe 0.0673 0.0232*
Pa 0.5264
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ภาพที่ 1 (A) จานวนเฉลี่ยของสัตว์ขาข้อผู้ล่า (predatory arthropods) (B) จานวนเฉลี่ยสัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) ยกเว้นผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก Acraea terpsicore ที่พบบนพืชแต่ละชนิด ตลอดระยะเวลาการทาการศึกษา (Pf แสดงถึง P. foetida, Pe แสดงถึง P. edulis, Pa แสดงถึง P. x alatacaerulea และ Pl แสดงถึ ง P. x coccinea-caerulea) โดยค่ า a, ab และ b คื อ ความแตกต่ า งอย่ า งมี นัยส าคัญ ที่ได้จากการทดสอบทางสถิติโดย Kruskal-Wallis rank sum test และ pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
509
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ภาพที่ 2 จ านวนเฉลี่ยของผีเ สื้อ หนอนหนามกะทกรก Acraea terpsicore ที่ พบบนพืชแต่ล ะชนิดตลอด ระยะเวลาการทาการศึกษา ซึ่งเป็นสัตว์ขาข้อกินพืชที่พบมากที่สุดในการศึกษา (Pf แสดงถึง P. foetida, Pe แสดงถึง P. edulis, Pa แสดงถึง P. x alata-caerulea และ Pl แสดงถึงP. x coccinea-caerulea) โดยค่า a, ab และ b คือความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญที่ได้จากการทดสอบทางสถิติโดย Kruskal-Wallis rank sum test และ Pairwise comparisons using Wilcoxon rank sum test with continuity correction จากการนาข้อมูลของสัตว์ขาข้อกินพืชทั้งหมดแปลงเป็นค่า logarithm ฐาน 10 เพื่อปรับขนาดของ ข้ อ มู ล และน ามาสร้ า งกราฟของ rank abundance curve (ภาพที่ 3 และ4) โดยแยก Nymphalidae ออกเป็น A. terpsicore (ACR) และ C. cyane (CET) ซึ่งเป็น dominant species พบว่า กลุ่มของสัตว์ขาข้อ กิ น พื ช ที่ มี จ านวนมากที่ สุ ด 4 กลุ่ ม แรก มี ค วามคล้ า ยคลึ ง กั น ในพื ช ทุ ก ชนิ ด ได้ แ ก่ A. terpsicore, Pyrrhocoridae, C. cyane และ Chrysomelidae ตามล าดับ ยกเว้นใน P. edulis ที่ ไม่ พบการใช้ของ C. cyane (ภาพที่ 4A) แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามการมี จ านวนตั ว มากอาจไม่ ไ ด้ แ ปรผัน กั บ ความถี่ สัม พั ท ธ์ เ สมอไป ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ A. terpsicore นั้น พบว่ามีความถี่สัมพัทธ์น้อยกว่า มวนในวงศ์ Pyrrhocoridae แต่ มีจานวนตัวสูงกว่ามาก ซึ่งสัตว์ขาข้อในหลายวงศ์มีช่วงระยะเวลาของ seasonal peak ไม่เหมือนกันและไม่ เท่ากัน ดังนั้นช่วงฤดู (season), จานวนรุ่นลูกต่อปี (voltinism) และการอยู่รอด (survivorship) อาจส่งผลต่อ จานวนตัวของสัตว์ขาข้อที่พบในแต่ละครั้ง ซึ่งจาเป็นต้องได้รับการศึกษาต่อไปในอนาคต
510
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ภาพที่ 3 Rank abundance curve และความถี่สัมพัทธ์ของสัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) ที่ พบบนพืชในกลุ่มใบอ่อนนุ่มและขน (soft-trichomous plants) ตลอดระยะเวลาการศึกษา (A) P. foetida (B) P. x coccinea-caerulea โดย ACR แสดงถึง Acraea terpsicore และ CET แสดงถึง Cethosia cyane 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
511
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ภาพที่ 4 Rank abundance curve และความถี่สัมพัทธ์ของสัตว์ขาข้อกินพืช (herbivorous arthropods) ที่ พบบนพืชในกลุ่มใบแข็งและมันวาว (hard-glabrous plants) ตลอดระยะเวลาการศึกษา (A) P. edulis (B) P. x alata-caerulea โดย ACR แสดงถึง Acraea terpsicore และ CET แสดงถึง Cethosia cyane 512
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
แมงมุมในวงศ์ Oxyopidae หรือ lynx spider มีสัดส่วนจานวนตัวมากที่สุดในพืชทุกชนิดและมากกว่า กว่าครึ่ง หนึ่ง ของสัตว์ขาข้อ ผู้ล่าทั้ งหมดที่พบในพืชแต่ล ะชนิด และรองลงมาคือ ตั๊ก แตนตาข้าวมดในวงศ์ Hymenopodidae ซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกของพืชทุกชนิด (ภาพที่ 5) อีกทั้งจากกราฟค่าเฉลี่ยของสัตว์ขาข้อผู้ ล่า (ภาพที่ 1A) และกราฟค่าเฉลี่ยของสัตว์ขาข้อกินพืชกับ กราฟค่าเฉลี่ยของ A. terpsicore (ภาพที่ 2) มี แนวโน้มที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงจานวนตัวรวมที่พบของสัตว์ข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืชมีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกัน เช่นกัน สามารถอนุมานได้ว่า การมีอยู่ของหนอนผีเสื้อบนพืชชนิดต่าง ๆ อาจดึงดูดในแมงมุมมาอาศัยอยู่บน พืชชนิดนั้น ๆ และกินหนอนผีเสื้อเป็นอาหารหลักตามทฤษฎี optimal foraging theory ที่ว่า ผู้ล่าจะล่าเหยือ่ ที่ มี คุณภาพดีที่ สุดโดยใช้วิธีก ารที่ เสียพลัง งานที่น้อยที่สุด อาทิ เหยื่อที่ เ คลื่อนที่ ได้ช้าแต่มีสารอาหารที่สูง (Greenstone 1999) ซึ่งกรณีนี้ไข่และหนอนของผีเสื้อน่าจะเป็นเหยื่อเป้าหมายของแมงมุม เนื่องจากเคลื่อนที่ ได้ช้าแต่อุดมไปด้วยสารอาหาร ยิ่งไปกว่านั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ lynx spiders เพื่อใช้ในการเป็น natural enemies ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกาจัดศัตรูพืชทางการเกษตร โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ (Sitaramaiah et al. 1980, Dean et al. 1987, 1992)
ภาพที่ 5 สัดส่วนของสัตว์ขาข้อ ผู้ล่า (predatory arthropods) ที่ พบบนพืชชนิดต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา การศึกษา (A) P. foetida (B) P. edulis (C) P. x alata-caerulea และ (D) P. x coccinea-caerulea
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
513
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ความถี่ส ะสม (cumulative frequency) ของมดสูงที่สุดบน P. x coccinea-caerulea (236 ครั้ง) รองลงมาคือ P. x alata-caerulea (172 ครั้ง), P. edulis (150 ครั้ง) และ P. foetida (88 ครั้ง) ตามลาดับ (ภาพที่ 6) โดยในการศึ ก ษาในครั้ ง นี้ พ บมดทั้ ง หมด 5 สกุ ล คื อ Solenopsis spp., Polyrhachis spp., Monomorium spp., Diacamma spp. และ Camponotus spp. จากการรวบรวมข้ อ มู ล พื ช ในสกุ ล Passiflora สามารถหลั่ง extrafloral nectaries จากส่วนต่าง ๆ ของต้น อาทิ petrioles, stipule และ calyx เพื่อดึงดูดให้มดมาอาศัยอยู่บนพืชชนิดนั้น ๆ อันเป็นผลมาจากการ evolutionary arms race เพื่อป้องกัน ตนเองจากสัตว์กินพืช โดยมดจะช่วยป้องกันพืชจากสัตว์กินพืชและได้อาหารคือ น้าเลี้ยง (nectar) เป็นสิ่งตอบ แทน ซึ่งการมีอยู่ของมดมีความสัมพันธ์กับจานวน extrafloral nectaries ที่พืชหลั่งออกมา (Smiley 1986, Heil and McKey 2003, Leal et al. 2006) ซึ่งในการศึกษานี้พบความถี่สะสมมากที่สุดบน P. x coccineacaerulea ดังนั้นจึงสามารถอนุมานได้ว่า P. x coccinea-caerulea สามารถหลั่ง extrafloral nectaries ได้ มากที่สุด และจากการศึกษาของ Leal และคณะ (2006) พบว่า extrafloral nectaries ของ P. coccinea มี ความสัมพันธ์กับมดในสกุล Camponotus ซึ่ง P. x coccinea-caerulea เป็น hybrid ระหว่าง P. coccinea และ P. caerulea (Abreu et al. 2008) ดังนั้นอัตราของการหลั่ง และสารอาหารใน extrafloral nectaries ของ P. x coccinea-caerulea อาจมีความคล้ายคลึงกับ extrafloral nectaries ของ P. coccinea อีกทั้งใน การศึกษานี้ยังพบมดในสกุล Camponotus อีกด้วย
ภาพที่ 6 ความถี่สะสมของมดใน family formicidae ที่พบบนพืชชนิดต่าง ๆ (Pf แสดงถึง P. foetida, Pe แสดงถึง P. edulis, Pa แสดงถึง P. x alata-caerulea และ Pl แสดงถึง P. x coccinea-caerulea) 514
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
ค่าดัชนีความหลากหลายของสัตว์ขาข้อกินพืชสูงที่สุดบน P. edulis (H’herb = 0.6832) รองลงมาคือ P. x coccinea-caerulea (H’herb = 0.4437), P. x alata-caerulea (H’herb = 0.3858) แ ล ะ P. foetida (H’herb = 0.1481) ตามลาดับ (ตารางที่ 1) เช่นเดียวกับลาดับของค่าดัชนีความสม่าเสมอของสัตว์ขาข้อกิ นพืช ได้แก่ P. edulis (Eherb = 0.0569), P. x coccinea-caerulea (Eherb = 0.0341), P. x alata-caerulea (Eherb = 0.0203) และ P. foetida (Eherb = 0.0099) ในขณะเดียวกั น P. foetida มี ค่าดัชนีความหลากหลายของ สั ต ว์ ข าข้ อ ผู้ ล่ า สู ง ที่ สุ ด (H’pred = 1.3642) รองลงมาคื อ P. x coccinea-caerulea (H’pred = 1.2299), P. edulis (H’pred = 0.9075) และ P. x alata-caerulea (H’pred = 0.7608) ตามลาดับ ในขณะที่ P. edulis มีค่า ดัชนีความสม่ าเสมอของสัตว์ขาข้อ ผู้ล่าสูง ที่ สุด (Epred = 0.3025) รองลงมาคือ P. x coccinea-caerulea (Epred = 0.2050), P. x alata-caerulea (Epred = 0.1902) และ P. foetida (Epred = 0.1516) ตามล าดั บ (ตารางที่ 2) จากตารางค่าดัชนีความหลากหลายและค่าดัชนีความสม่าเสมอจะเห็นได้ว่า ค่าดัชนีความสม่าเสมอ ของสัตว์ขาข้อที่พบบนพืชแต่ละชนิด ทั้งในส่วนของสัตว์ขาข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืช มีค่าเพียงเล็กน้อย เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสัตว์ขาข้อกิน พืช เนื่องจากการคานวณค่าดัชนีดังกล่าว จาเป็นต้องนา จานวนตัวที่พบทั้งหมดมาคานวณร่วมด้วย ดังนั้นการที่มีสัตว์ขาข้อวงศ์ใด ๆ เป็น dominant family จะส่งผล ต่อค่าดัชนีความหลากหลายและค่าดัชนีความสม่าเสมอของสัตว์ขาข้อผู้ล่าและสัตว์ขาข้อกินพืชอย่างแน่นอน (Tóthmérész 1995) ซึ่งจากค่าดัชนีความหลากหลายและค่าดัชนีความสม่าเสมอ จะเห็นได้ว่าจานวนตัวของ แมงมุ ม ที่ เป็น dominant family ไม่ สูง กว่าสัตว์ขาข้อผู้ล่าในกลุ่ม อื่น ๆ มากนัก จึง อาจไม่ ส่งผลต่อค่าดัชนี ดังกล่าวอย่างชัดเจนมากนัก ในขณะที่ในสัตว์ขาข้อกินพืชมีไข่และหนอนของผีเสื้อขาหน้าพู่ ซึ่งมีจานวนตัว มากกว่าสัตว์ขาข้อกินกลุ่มอื่น ๆ อย่างมาก ทาให้ค่าดัชนีของสัตว์ขาข้อกินพืชที่ได้มีค่าแปลผกผันกับจานวนตัว ของสัตว์ขาข้อกินพืชในกลุ่มนี้ และเห็นได้ถึงผลกระทบของการมี dominant family อย่างชัดเจน ตารางที่ 2 ค่า Shannon-Wiener diversity index และ Shannon-Wiener evenness index ตลอด ระยะเวลาการทาการศึกษาของพืชแต่ละชนิดในการศึกษาโดยไม่นามดไปคานวณรวม (Pf แสดงถึง P. foetida, Pe แสดงถึง P. edulis, Pa แสดงถึง P. x alata-caerulea และ Pl แสดงถึง P. x coccinea-caerulea) Predatory arthropods
Pf
Pe
Pa
Pl
Diversity index
1.3642
0.9075
0.7608
1.2299
Evenness index
0.1516
0.3025
0.1902
0.2050
Herbivorous arthropods
Pf
Pe
Pa
Pl
Diversity index
0.1481
0.6832
0.3858
0.4437
Evenness index
0.0099
0.0569
0.0203
0.0341
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
515
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
สรุปผลการทดลอง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ศัตรูพืชหลักของพืชในสกุล Passiflora ทั้ง 4 ชนิดในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นกลุ่มของสัตว์ขาข้อกินพืชในกลุ่มของสัตว์ขาข้อที่กินส่วนของใบเป็นอาหาร (foliage feeders) โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง A. terpsicore ซึ่งมีสัดส่วนถึง 80.31% ของสัตว์ขาข้อทั้งหมดที่พบ อีกทั้งมวนในวงศ์ Pyrrhocoridae ยังอาจเป็นศัตรูพืชที่สาคัญ เนื่องจากจานวนตัวที่มากและความถี่ที่สูงอีกด้วย อย่างไรก็ตามพื้นผิว (texture) และความหนา (toughness) ของใบอาจเป็นลักษณะที่สาคัญที่ดึงดูดสัตว์ขาข้อกินพืชที่เป็น generalist มาลง ใช้พืชชนิดต่าง ๆ ในการศึกษานี้ นอกเหนือจากนี้แมงมุมในวงศ์ Oxyopidae และมดในสกุลต่าง ๆ ที่พบใน การศึกษานี้มีหน้าที่เป็น natural enemies ช่วยในการกาจัดและป้องกันศัตรูพืชที่ลงใช้พืชดังกล่าว ดังนั้นหาก มีการพัฒนาการใช้ natural enemies ในกลุ่มของแมงมุมและมดต่อไป อาจเป็นวิธีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีว วิธี (biological control) ที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง โดยไม่จากัดเฉพาะพืชในสกุล Passiflora เนื่องจาก ความเป็น generalist ของแมงมุมและมด คาขอบคุณ ขอขอบคุณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ มารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เ ครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิ ภาคแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ในการเอื้อเฟื้อเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอานวยความสะดวก ในช่วงระหว่าง การท าการศึก ษา และงานวิจัยนี้ได้รับการสนั บสนุนจาก “ทุ น 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” กองทุน รัชดาภิเษกสมโภช เอกสารอ้างอิง Abreu, P. P., M. M. Souza, E. A. Santos, M. V. Pires, M. M. Pires, and A. A. F. de Almeida. 2008. Passion flower hybrids and their use in the ornamental plant market: perspectives for sustainable development with emphasis on Brazil. Euphytica 166: 307315. Castro, E. C. P., M. Zagrobelny, M. Z. Cardoso, and S. Bak. 2018. The arms race between heliconiine butterflies and Passiflora plants - new insights on an ancient subject. Biological Review 93: 555-573. Dean, D. A., M. Nyffeler, and W. L. Sterling. 1987. Evaluation of the importance of the striped lynx spider, Oxyopes salticus (Araneae: Oxyopidae), as a predator in Texas cotton. Environmental Entomology 16: 1114-1123. Dean, D. A., M. Nyffeler, and W. L. Sterling. 1992. Diets, feeding specialization, and predatory role of two lynx spiders, Oxyopes salticus and Peucetia viridans (Araneae:Oxyopidae), in a Texas cotton agroecosystem. Environmental Entomology 21: 1457-1465. Graves, S. D., and A. M. Shapiro. 2003. Exotics as host plants of the California butterfly fauna. Biological Conservation 110: 413-433. 516
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-08
Greenstone, M. H. 1999. Spider predation: How and why we study it. The Journal of Arachnology 27: 333-342. Heil, M., and D. McKey. 2003. Protective ant-plant interactions as model systems in ecological and evolutionary research. Annual Review of Ecology, Evolution, and Systematics 34: 425-553. Jiggins, C. D. 2016. The ecology and evolution of Heliconius butterflies, Oxford university press, United Kingdom. Leal, I., E. Fischer, C. Kost, M. Tabarelli, and R. Wirth. 2006. Ant protection against herbivores and nectar thieves in Passiflora coccinea flowers. Ecoscience 13: 431-438. Ocampo, J., G. Coppens D’Eeckenbrugge, and A. Jarvis. 2010. Distribution of the genus Passiflora L. diversity in Colombia and its potential as an indicator for biodiversity management in the coffee growing zone. Diversity 2: 1158-1180. Pérez, J. O., M. Restrepo, A. Jarvis, M. Salazar, and C. Caetano. 2007. Diversity of Colombian Passifloraceae: biogeography and an updated list for conservation. Biota Colombiana 8: 1-45. R Development Core Team. 2016. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. Singer, M. S., D. Rodrigues, J. O. Stireman Iii, and Y. Carrière. 2004. Roles of food quality and enemy-free space in host use by a generalist insect herbivore. Ecology 85: 27472753. Sitaramaiah, S., B. C. Joshi, and G. Ramaprasad. 1980. New record of spiders as predators of tobacco caterpillar Spodoptera litura F. Science and Culture 46: 29-30. Smiley, J. 1986. Ant constancy at Passiflora extrafloral nectaries: Effects on caterpillar survival. Ecology 67: 516-521. Tóthmérész, B. 1995. Comparison of different methods for diversity ordering. Journal of Vegetation Science 6: 283-290. Tudor, O., R. L. H. Dennis, J. N. Greatorex-Davies, and T. H. Sparks. 2004. Flower preferences of woodland butterflies in the UK: nectaring specialists are species of conservation concern. Biological Conservation 119: 397-403.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
517
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
ฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดยาสูบ (Nicotiana tabacum Linnaeus) ต่อไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) Contact Toxicity Activity of Tobacco Extracts (Nicotiana tobacum Linnaeus) on Two-Spotted Spider Mite (Tetranychus urticae Koch) วสันต์ ตฤณธวัช และ วนิดา อ่วมเจริญ Wasan Trintawat and Wanida Auamcharoen ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of Entomology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900
บทคัดย่อ การใช้สารเคมีสังเคราะห์กาจัดแมลงก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดยาสูบต่อไข่และตัวเต็มวัยของไรแมงมุมสองจุด ซึ่งอาจเป็น แนวทางในการนาสารสกัดยาสูบไปใช้ควบคุมไรศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีสงั เคราะห์ ยาสูบจากไส้บุหรี่ 3 ชนิด ได้แก่ GUDANG GARAM ชนิดร้อน GUDANG GARAM ชนิดเย็น และ MINNA ชนิดร้อน ถูกนามาสกัดด้วยตัว ทาละลายอินทรีย์ เฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ และ เมทานอล โดยวิธีการแช่ที่ อุณหภูมิห้อง สารสกัดยาสูบ ถูก นามาทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายต่อไรโดยวิธีการพ่นโดยตรง ผลพบว่า สารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น , GUDANG GARAM ชนิดร้อน และ MINNA ชนิดร้อน ความเข้ม ข้น 5% ออกฤทธิ์สัม ผัส ตายต่อไข่ไร โดยเป็นสาเหตุให้ไข่ไรไม่ฟัก 91.6, 76.2 และ 70.2% ตามลาดับ ที่เวลา 7 วันหลังการทดสอบ และสารสกัดหยาบยังมีฤทธิ์สมั ผัสตายต่อตัวเต็มวัยไร ทาให้ไรตายสะสม 97.2, 89.7 และ 76.1% ตามลาดับ ที่ เวลา 3 วันหลังการทดสอบ สารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน, MINNA ชนิดร้อน และ GUDANG GARAM ชนิดเย็น ความเข้มข้น 3% ทาให้ไข่ไรไม่ฟัก 51.7, 30.4 และ 18.7% ตามลาดับ ที่ เวลา 7 วันหลัง การทดสอบ ในขณะที่ส ารสกัด หยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน และ MINNA ชนิดร้อ น ความเข้มข้น 3% ฆ่าตัวเต็มวัยไรตาย 100% ที่เวลา 1 วันหลังการทดสอบ และสารสกั ด ยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น ที่ ความเข้ม ข้น 1% ฆ่าตัวเต็ม วัยไรตาย 100% ที่ เวลา 3 วันหลัง การ ทดสอบ คาสาคัญ : สารสกัดยาสูบ ไรศัตรูพืช การควบคุมไร GUDANG GARAM MINNA ABSTRACT Using synthetic insecticides cause harm to humans and environment. In this study, the objective was to study the contact toxicity activity of tobacco extracts on eggs and adults of two-spotted spider mites. The results from this study may guide to use tobacco 518
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
extracts for controlling pest mites instead of synthetic chemicals use. The 3 cigarette tobacco types, GUDANG GARAM (type hot), GUDANG GARAM (type cool) and MINNA (type hot) were extracted with organic solvents, hexane, methylene chloride and methanol by maceration method at room temperature. Tobacco extracts were tested contact toxicity activity on mites by direct spray method. The results showed that hexane crude extract of GUDANG GARAM (type cool), GUDANG GARAM (type hot) and MINNA (type hot) at 5% concentration induced contact toxicity activity on egg mites by causing 91.6, 76.2 and 70.2% unhatched eggs of mites, respectively at 7 days after treatment. The extracts also caused contact toxicity activity on adult mites by inducing 97.2, 89.7 and 76.1% mite accumulated mortality, respectively at 3 days after treatment. The hexane crude extracts from GUDANG GARAM (type hot), MINNA (type hot) and GUDANG GARAM (type cool) at 3% (w/v) concentration appeared 51.7, 30.4 and 18.7% of unhatched egg of mites, respectively at 7 days after treatment while hexane crude extracts from GUDANG GARAM (type hot) and MINNA (type hot) at 3% (w/v) concentration killed 100% of adult mites at 1 day after treatment and GUDANG GARAM (type cool) at 1% concentration killed 100% of adult mites at 3 days after treatment. Keywords: Tobacco extract, mite pest, mite control, GUDANG, GARAM, MINNA คานา ไรศัตรูพืชจัดเป็นศัตรูพืชสาคัญที่นอกจากจะสร้างความเสียหายแล้ว ยังสามารถปนเปื้อนไปกับผลผลิต ทางการเกษตรที่มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งอาจจะทาให้เกิดการกีดกันทางการค้า ส่งผลให้ สูญเสียรายได้จากการส่งออกและอาจจะกระทบกระเทือนไปถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ ไรแมงมุมสองจุด (Two-spotted spider mite) ก็ นับ เป็นศัตรูที่ ส าคัญ ของพืชเศรษฐกิ จ หลายชนิดในอเมริก า ยุโรป และใน ประเทศที่มีแถบอากาศอบอุ่น (Temperate) เช่น ในประเทศไทยไรแมงมุมสองจุดเป็นไรศัตรูพืชที่มีพืชอาหาร หลายชนิด เช่น สตรอเบอรี่ กุ ห ลาบ หน้าวัว ชวนชม ถั่วฝัก ยาว กระเที ยม เป็น ต้น และไรแมงมุม สองจุด สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วยากต่อการกาจัด ส่งผลให้พืชเหล่านี้เกิดความเสียหายมาก ท าให้ผลผลิตทาง การเกษตรลดลง และยังท าให้เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนมากขึ้ นในการป้องกันกาจัด เป็นเหตุ ให้สินค้าทางการ เกษตรเหล่านี้มีราคาที่สูงขึ้น โดยตัวอ่อนและตัวเต็ม วัยจะดูดกินน้าเลี้ยงอยู่บ ริเวณใต้ใบพืช เมื่อการท าลาย รุนแรง อาจจะมีผลทาให้พืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพลดลง (วัฒนา และคณะ, 2544) ในปัจจุบันวิธีการป้องกันกาจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังพึ่งการใช้สารฆ่าแมลงที่ เป็น สารเคมีสังเคราะห์ในการกาจั ด เพราะมีประสิทธิภาพดี ได้ผลเร็ว แต่สารเหล่านี้บางชนิดมีราคาที่ค่อนข้างสูง และปัญหาจากการใช้สารเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นมาก เช่น การดื้อยาของแมลง การแพ้ยาของผู้ใช้หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียง 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
519
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
สัตว์เลี้ยง และยังเกิดการตกค้างในผลผลิต ตลอดจนไปถึงระบบนิเวศน์วิทยาที่สูญเสียไป (อานวย, 2539) ซึ่งยัง มีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้ในการป้องกันกาจัดแมลงศัตรูพืชได้ เช่น การใช้สารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีพิษเฉพาะต่อแมลง แต่มีพิษน้อยหรือไม่มีพิษเลยต่อคน และสารพิษนี้จะ สลายตัวเองตามกระบวนการชีวภาพกลายเป็น สารไม่มีพิษ จึงไม่มีพิษตกค้างหรือพิษสะสมเหมือนกับสารเคมี สังเคราะห์ (ไมตรี, 2551) และการนาสารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้ในการควบคุมไรแมงมุมสองจุดก็ สามารถทาได้ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพของสารเมทาโบไลท์จากเชื้อราก่อโรคในแมลงในการควบคุมไร แมงมุมสองจุด พบว่าสามารถฆ่าและไล่ไรแมงมุมสองจุดได้ (ภัทรา, 2550) การทดสอบประสิทธิภาพของสาร สกัดจากพืช 56 ชนิด ในการกาจัดไรสองจุดของเบญจมาศ พบว่าสามารถฆ่าไรสองจุดได้ (อรุณ และ อภิชาติ , 2549) และการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบผกากรองเพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก ไรขาว และไร สองจุด พบว่ามีฤทธิ์ในการเป็นสารไล่ไรสองจุดได้ (วัชรินทร์, 2553) ยาสู บ หรือ ชื่อ ทางวิท ยาศาสตร์คือ Nicotiana tabacum Linnaeus จัด อยู่ในวงศ์ Solanaceae (พีรศักดิ์ และคณะ, 2544) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญของโลกและรวมไปถึงประเทศไทย มีถิ่นกาเนิดในเขตร้อน โดยทั่วไปยาสูบมีลักษณะการเจริญเติบโตแบบพืชล้มลุก (Annual) แต่โดยธรรมชาติเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพ ภูมิอากาศเหมาะสมไม่หนาวหรือร้อนแห้งแล้งเกินไป ยาสูบจะเจริญเติบโตเป็นพุ่มใหญ่ มีลักษณะเป็นพื ชหลาย ปี (Perennial) ยาสูบมีรากตื้นและมีระบบรากแบบรากฝอย รูปร่างและขนาดของใบยาสูบอาจมีขนาดแตกต่าง กันออกไป แต่ในพันธุ์หนึ่งๆ ลัก ษณะขนาด และการกระจายอยู่ของใบตามลาดับ จะเหมื อนกัน (ธรรมนูญ , 2526) นอกจากนี้ในใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนหรือที่เรียกว่า “อัลคาลอยด์” ซึ่งมีสารนิโคตินเป็น ส่วนใหญ่ และสารนิโคตินเป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย จึงไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต ดิน และสภาพแวดล้อม (อุดมศัก ดิ์ , 2554) จึงท าให้ ยาสูบ มี คุณ สมบัติแตกต่างไปจากพื ชอื่น ๆ เพราะยาสูบ มี ก ารสร้างและสะสม สารประกอบนิโคติน โดยสารประกอบนิโคตินนี้ถูกสร้ างขึ้นที่รากแล้วถูกส่งไปยังทุกส่วนของลาต้นยกเว้นที่ เมล็ด จะพบได้ม ากที่ สุดบริเวณใบ (นพพร, 2525) ซึ่งในอดีตสารชนิดแรกที่ เป็ นสารฆ่าแมลงจากพืช คือ นิโคติน (Nicotine) ที่สกัดได้จากใบยาสูบ และในประเทศอินโดนีเซียเองก็เคยมีการสกัดสารนิโคตินจากใบ ยาสูบ เพื่อนาไปใช้ประโยชน์เป็นสารป้องกันและกาจัดแมลง (พีรศักดิ์ และคณะ, 2544) การทดลองนี้ จึ ง มุ่ ง ศึ ก ษาประสิ ท ธิ ภ าพของสารสกั ด จากยาสู บ ในการก าจั ด ไรแมงมุ ม สองจุ ด (Tetranychus urticae Koch) เพื่อเป็นแนวทางในการนาสารสกัดจากยาสูบมาใช้กาจัดไรแมงมุมสองจุด ลด ปริมาณการใช้สารฆ่าไรที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ผลิตและผู้บริโภคดีขึ้น และยัง เป็นวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
520
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
อุปกรณ์และวิธีการ การสกัดสารสกัดหยาบยาสูบ ยาสูบที่นามาใช้ทดสอบเป็นไส้บุหรี่ 3 ชนิด ได้แก่ บุหรี่ยี่ห้อ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) บุหรี่ยี่ห้อ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) และบุหรี่ยี่ห้อ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ส่วนตัวท า ละลายที่ใช้สกัดสารจะมี 3 ตัวทาละลาย เรียงลาดับเริ่มจากตัวทาละลายที่มีขั้วต่าไปยังตัวทาละลายที่มีขั้วสูง ได้แก่ ตัวทาละลายเฮกเซน ตัวทาละลายเมทิลีนคลอไรด์ และตัวทาละลายเมทานอล ตามลาดับ นาไส้บุหรี่แต่ ละชนิดมาชั่งน้าหนัก กล่องแดงและกล่องเขียวปริมาณ 200 กรัม และกล่องดาปริมาณ 500 กรัม และสกัด ด้วยตัวทาละลายเฮกเซน โดยใส่ไส้บุห รี่แต่ละชนิดในโหลแก้วขนาดใหญ่และเติมด้วยตัวทาละลายเฮกเซน ปริมาตร 1.5 ลิตร และ 2.5 ลิตร ตามลาดับ ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 4 วัน จากนั้นกรอง สารสกัดที่ได้โดยใช้กระดาษกรอง Whatman เบอร์ 1 เติมตัวทาละลายชนิดเดิมลงบนกากที่เหลือภายในโหล แก้วอีก 1 ครั้ง เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 4 วัน แล้วจึงกรองสารสกัดที่ได้อีกครั้ง เปิดฝาโหลแก้วทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้ตัวทาละลายระเหยออกไปจากไส้บุหรี่จนหมด แล้วนาตัวทาละลายชนิดต่อไปเติมลงบนกากไส้บุหรี่ ตัวเดิม ทาซ้าเหมือนเดิมจนครบทั้ง 3 ตัวทาละลาย นาของเหลวที่ได้ ไประเหยเอาตัวทาละลายออกด้วยเครื่อง ระเหยสุญญากาศ (Vacuum rotary evaporator) จะได้สารสกัดหยาบเฮกเซน (Crude hexane extract) สารสกั ด หยาบเมทิ ลี น คลอไรด์ (Crude methylene chloride extract) และสารสกั ด หยาบเมทานอล (Crude methanol extract) จากไส้บุหรี่ทั้ง 3 ชนิด นาสารสกั ดหยาบที่ ได้ไปชั่งน้าหนักสาร เก็บ สารสกั ด หยาบไว้ในขวดสีชา ปิดฝาให้สนิท และพันด้วย Parafilms นาไปแช่ไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ทดสอบต่อไป การเลี้ยงไรแมงมุมสองจุดเพื่อใช้ในการทดสอบ เก็บใบหม่อนที่อยู่ในธรรมชาติโดยเลือกเอาใบแก่ และไม่เ ป็นโรค นาใบหม่อนมาล้างผ่านน้าเปล่าเพื่อ ทาความสะอาดใบ ใช้กระดาษชาระซับให้แห้ง ตัดเส้นใบใกล้โคนใบตรงด้านข้างทั้งสองข้าง เพื่อไม่ให้ใบมีความ ตึงจนเกิดเป็นช่องว่างเมื่อวางลงบนฟองน้า นาฟองน้าวางลงไปในถาดเลี้ยงไร เติมน้าพอประมาณอย่าให้ท่วม ฟองน้า เพื่อให้ไรไม่สามารถเดินออกนอกใบได้ นากระดาษซับมาวางลงบนฟองน้า แล้ววางใบหม่อนที่เตรียมไว้ ลงบนกระดาษซับ โดยหงายหลังใบขึ้นเพื่อเลียนแบบธรรมชาติของไรที่อาศัยอยู่ใต้ใบ นาสาลีก้อนขนาดเล็กมา ชุ บ น้ าแล้ ว น าไปวางบริ เ วณโคนก้ า นใบ เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ให้ ใบเหี่ ย วแห้ ง น าใบไปส่ อ งใต้ ก ล้ อ ง Stereo Microscope เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีแมลงชนิดอื่นหลงเหลืออยู่บนใบ นาถาดเลี้ยงไรที่มีไรแมงมุมสองจุดมาส่อง ใต้กล้อง Stereo Microscope เขี่ยไรไปยังถาดเลี้ยงไรที่เตรียมไว้ โดยใช้พู่กัน การเขี่ยไรจะเลือกเอาเฉพาะตัว เต็ม วัย เพศเมี ย ทิ้ ง ไว้เป็ น เวลา 24 ชั่วโมง เพื่ อ ให้ ไรวางไข่ จากนั้ น จึง น าตั วเต็ ม วัย ออก แล้ วปล่ อยให้ ไร เจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยเพื่อนามาใช้ในการทดสอบต่อไป โดยไรแมงมุมสองจุดที่นามาทดสอบมี อายุประมาณ 10±1 วัน หลังจากเอาตัวเต็มวัยออก
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
521
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบยาสูบต่อไรแมงมุมสองจุด การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ ต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด เตรียมสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ โดยนาเอาสารสกั ดหยาบยาสูบ ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวท า ละลายทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน เมทิ ลีนคลอไรด์ และเมทานอล มาเจือจางด้วยเอทานอล ให้ได้ความเข้มข้น 5% และนาสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ ที่ได้จากตัวทาละลายเฮกเซน มาเจือจางด้วยเอทานอลให้ได้ความ เข้มข้น 0.25, 0.5, 1 และ 3% ตามลาดับ จากนั้นผสมสารให้เข้ากันโดยใช้เครื่องผสมสารละลาย (Vortex mixture) แล้วใช้ไมโครปิเปต (Micropipette) ดูดสารสกัดที่เจือจางแล้วปริมาตร 500 ไมโครลิตร ใส่หลอดไม โครเซ็นตริฟิวก์ (Microcentrifuge tube) (กรรมวิธีละ 3 ซ้า) ปิดฝาให้สนิท เพื่อใช้ในการทดลองต่อไป เตรียมไข่ไรแมงมุ มสองจุดเพื่ อ ใช้ในการทดสอบ โดยนาสาลีแผ่นวางลงไปในจานเพาะเชื้อ (Glass Petri-dish) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร เติมน้าลงไปในจานเพาะเชื้อ เพื่อให้สาลีชุ่มน้า จากนั้นจึง ดูดน้าออกจากจานเพาะเชื้อ นาใบหม่อนที่ล้างและซับแห้งแล้ว ตัดเป็นวงกลมโดยใช้ที่เจาะใบ (Cork borer) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร เลือกตัดบริเวณที่มีเส้นใบไม่หนาและมีจานวนเส้นใบน้อย เพื่อป้องกัน น้าซึมเข้าไปในบริเวณใบ ใช้ปากคีบ (Forceps) คีบใบที่ตัดแล้วไปวางลงบนสาลีแผ่นโดยหงายด้านหลังใบขึ้น จานวน 3 ใบต่อ 1 จานเพาะเชื้อ จากนั้ นนาไรแมงมุ ม สองจุดที่ ได้ท าการเตรียมไว้ม าเขี่ยใต้ก ล้อง Stereo Microscope โดยเลือกเฉพาะตัวเต็มวัยเพศเมีย ลงไปบนใบจานวน 10 ตัวต่อ 1 ใบ (ทาการทดลอง 3 ซ้า ต่อ 1 กรรมวิธี (Treatment)) ทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนาตัวเต็มวัยออก จะได้ไข่ไรแมงมุมสองจุด นาไปพ่น ด้วยสารสกัดยาสูบที่เตรียมไว้ โดยให้มีระยะห่างระหว่างหัวฉีดสเปรย์พ่นสารกับจานเพาะเชื้อ ประมาณ 15 เซนติเมตร ทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน จึงบันทึกผลการทดลองโดยนับจานวนไข่ไรที่ไม่ฟัก นาข้อมูลที่ได้มาคานวณหา เปอร์เซ็นต์การไม่ฟักของไข่ การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ ต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด เตรียมสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ โดยนาเอาสารสกั ดหยาบยาสูบ ที่ได้จากการสกัดด้วยตัวท า ละลายทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ และเมทานอล มาเจือจางด้วยเอทานอล ให้ได้ความเข้มข้น 5% และนาสารสกัดหยาบยาสูบชนิดต่างๆ ที่ได้จากตัวทาละลายเฮกเซน มาเจือจางด้วยเอทานอลให้ได้ความ เข้มข้น 0.25, 0.5, 1 และ 3% ตามลาดับ แล้วใช้ไมโครปิเปต ดูดสารสกัดยาสูบที่เจือจางแล้วปริม าตร 500 ไมโครลิตร ใส่ในหลอดไมโครเซ็นตริฟิวก์ (ความเข้มข้นละ 3 ซ้า) ปิดฝาให้สนิท เพื่อใช้ในการทดลองต่อไป เตรียมตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด โดยนาสาลีแผ่นวางลงไปในจานเพาะเชื้อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร เติมน้าลงไปเพื่อให้สาลีมีความชุ่มน้า จากนั้นจึงดูดน้าออกจากจานเพาะเชื้อ นาใบหม่อนที่เตรียมไว้ มาตัดด้วยที่เจาะใบ (Cork borer) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ใช้ปากคีบคีบใบที่ตัดแล้ววางบนสาลี โดยให้หงายหลังใบขึ้น จานวน 3 ใบต่อ 1 จานเพาะเชื้อ จากนั้นนาไรแมงมุมสองจุดที่เตรียมไว้มาเขี่ยใส่ลงบน ใบโดยใช้กล้อง Stereo Microscope จะเลือกเอาเฉพาะตัวเต็มวัยเพศเมีย จานวน 20 ตัวต่อ 1 ใบ (ทาการ 522
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
ทดลอง 3 ซ้าต่อ 1 กรรมวิธี (Treatment)) นาไปพ่นด้วยสารสกัดยาสูบที่เตรียมไว้ บันทึกผลการทดลองที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังการทดลอง โดยนับจานวนไรที่ตาย การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) นาข้อมู ลการทดลองที่ได้ม า วิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างกันทางสถิติด้วยวิธี Duncan’s Multiple Range Test โดยใช้โปรแกรม R และหากพบการตายของไรในชุดควบคุม ปรับค่าการตายของไรใน แต่ละกรรมวิธีด้วย Abbott’s formula (Abbott, 1925) ผลการทดลองและวิจารณ์ การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดยาสูบชนิดต่างๆ ต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด การศึกษาฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบเฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ และเมทานอล ของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 5% ต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (ตารางที่ 1) พบว่า สารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) และสาร สกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ทาให้ไข่ไรไม่ฟักเฉลี่ย 76.2, 91.6 และ 70.2% ตามลาดับ ซึ่งผลที่ได้ แตกต่างจากผลของไข่ไรที่ไม่ฟักหลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบเมทิลีนคลอไรด์ (6.6, 9.3 และ 4.4% ตามลาดับ) และเมทานอล (13, 21.4 และ 4.6% ตามล าดับ ) อย่างมี นั ย ส าคัญ ทางสถิ ติที่ ร ะดั บ ความเชื่ อมั่ น 95% (P<0.05) จากผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด มีฤทธิ์สัมผัสตาย ต่อไข่ไรสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดหยาบเมทิลีนคลอไรด์และเมทานอลของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ดังนั้นสารสกัด หยาบเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด จึงถูกนามาเจือจางให้มีความเข้มข้นต่าลงเพื่อศึกษาฤทธิ์สัมผัสตายต่อไข่ไร แมงมุมสองจุดต่อไป การศึกษาฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 1 และ 3% ต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด (ตารางที่ 2) พบว่า สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) ความเข้มข้น 3% ทาให้ไข่ไรไม่ฟักสูงสุด 51.7% ตามมาด้วยสารสกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ความ เข้ม ข้น 3% ท าให้ ไข่ไรไม่ ฟั ก 30.4% และสารสกั ดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) ความ เข้มข้น 3% ทาให้ไข่ไรไม่ฟัก 18.7% ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของไข่ไรที่ไม่ฟักแตกต่างจากเปอร์เซ็นต์ของไข่ไรที่ไม่ฟักที่ ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 1% อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ร ะดับความเชื่อมั่น 95% (P<0.05) ผลแสดงให้ เห็นว่า ความเข้มข้นทั้ง 4 ความเข้มข้นของสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบที่นามาทดสอบมีผลต่อ ฤทธิ์สัมผัส ตายต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด เมื่อความเข้มข้นของสารสกัดสูงขึ้นฤทธิ์สัมผัสตายต่อไข่ไรจะสูงขึ้นตาม แต่ยกเว้น ความเข้มข้น 1% ของสารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) และสารสกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ที่ฤทธิ์สัมผัสตายต่อไข่ไรต่าลงเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดสูงขึ้น ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจาก ความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ทดสอบต่าและอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทาให้ผลการทดลองที่ได้ไม่แตกต่างกัน 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
523
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
อย่างชัดเจน และเมื่อนาผลเปอร์เซ็นต์ของไข่ไรที่ไม่ฟักหลังจากได้รับสารสกัดยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 1% มาเปรียบเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของไข่ไรที่ไม่ฟักในชุดควบคุมที่พ่นไข่ไรด้วยเอทานอล พบว่า เปอร์เซ็นต์ของไข่ไรที่ไม่ฟั กไม่มีความแตกต่างกั นทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 1% ของสารสกัดเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นสารสัมผัสตายต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดยาสูบชนิดต่างๆ ต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบเฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ และเมทานอล ของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 5% ต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (ภาพที่ 1-3) พบว่า สารสกัดหยาบเฮกเซนและเมทิลีน คลอไรด์ของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) (ภาพที่ 1) และสารสกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) (ภาพที่ 3) ทาให้ไรตายสะสม 89.7 และ 81.8% ตามลาดับ และ 76.1 และ 66.9% ตามลาดับ ที่ เวลา 3 วัน หลังการทดลอง ถึงแม้ว่า สารสกัดหยาบเฮกเซนจะส่งผลให้ไรตายสะสมมากกว่าสารสกัดหยาบ เมทิลีนคลอไรด์ แต่อย่างไรก็ตามผลการทดลองที่ได้ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในขณะที่สารสกัดหยาบเฮกเซน และเมทลิ นคลอไรด์ของ GUDANG GARAM ชนิด เย็น (กล่ องเขียว) ท าให้ ไรตายสะสมเท่ ากั บ 97.2 และ 61.2% ตามลาดับ ที่เวลา 3 วัน หลังการทดลอง (ภาพที่ 2) ซึ่งผลที่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 95% (P<0.05) ส่วนสารสกัดหยาบเมทานอลของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ไม่มีฤทธิ์สัมผัสตายต่อ ตัวเต็มวัยไร เนื่องจากไม่พบการตายของไรหลังจากสัมผัสสารชนิดนี้ ดังนั้นสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด จึงถูกนามาเจือจางความเข้มข้นลงและนามาทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดต่อไป การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายของสารสกัดหยาบเฮกเซน ของยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 1 และ 3% ต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (ตารางที่ 3-5) พบว่า สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) (ตารางที่ 3) ความเข้ม ข้น 1 และ 3% ทาให้ไรตายเฉลี่ย 91.4 และ 100% ตามลาดับ ที่เวลา 1 วัน หลังการทดลอง ซึ่งผลที่ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในขณะที่ สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) (ตารางที่ 4) ความเข้มข้น 0.5, 1 และ 3% ทาให้ไรตายสะสมเฉลี่ย 80.2, 100 และ 88.1% ที่ เวลา 3 วัน หลังการทดลอง ซึ่งผลที่ได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนสารสกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) (ตารางที่ 5) ความเข้มข้น 3% ทาไรตายเฉลี่ย 100% ที่ เวลา 1 วัน หลังการทดลอง ซึ่งผลที่ได้แตกต่างจาก เปอร์เซ็นต์ไรตายหลังจากสัมผัสสารสกัดความเข้มข้นที่ต่ากว่า (0.25, 0.5 และ 1%) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P<0.05) จากผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นเดียวกันของสารสกัด หยาบเฮกเซนของยาสูบต่างชนิดกัน มีฤทธิ์สัม ผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุม สองจุดในระดับที่ต่างกัน ความ เข้ม ข้น 1% ของสารสกั ดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) และ สารสกั ดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) มีประสิทธิภาพทาให้ไรตายได้สูงถึง 90% ในเวลาเพียง 1 วัน หลังการทดสอบ ในขณะที่ สารสกัดยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ความเข้มข้น 1% ทาให้ไรตายเพียง 78.7% ในเวลา 1 วัน หลังการทดสอบ ถ้าต้องการให้ไรตายมากกว่า 90% ในเวลา 1 วัน หลังการทดสอบ อาจต้องใช้ความ เข้ม ข้น 3% มาทดสอบแทนความเข้ม ข้น 1% ทั้ งนี้ยัง พบว่าบางช่วงเวลาเปอร์ เซ็นต์ก ารตายของไรลดลง
524
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
เล็กน้อย เนื่องจากไรในชุดควบคุมตายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงทาให้เปอร์เซ็นต์การตายจากการปรับด้วย Abbott’s formula ลดลงในเวลาที่เพิ่มขึ้น จากการทดลองฤทธิ์สัม ผัสตายต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด พบว่า ยาสูบทั้ ง 3 ชนิด ที่ ถูกสกัดด้วยตัวท า ละลายเฮกเซนมีประสิทธิภาพในการเป็นสารยับยั้งการฟักไข่ของไรแมงมุมสองจุดมากกว่ายาสูบที่ถูกสกัดด้วย ตัวทาละลายเมทิลีนคลอไรด์ และเมทานอลอย่างเห็นได้ชัด ความเข้มข้น 5% เหมาะสมที่จะถูกนาไปควบคุมไข่ ไรแมงมุม สองจุด เนื่อ งจากมีฤทธิ์ยับ ยั้งการฟักไข่ได้ม ากกว่า 70% โดยยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) มีป ระสิทธิภาพดีที่ สุดเมื่อเทียบกับยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) และยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) การทดสอบฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด พบว่า ยาสูบที่สกัดด้วย ตัวทาละลายเฮกเซน ทาให้ไรตายสูงที่สุด ตามมาด้วยสารสกัดหยาบเมทิลีนคลอไรด์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสารที่ อยู่ในยาสูบที่มีผลต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดส่วนใหญ่ละลายได้ดีในตัวทาละลายที่ไม่มีขั้วหรือมีขั้วต่า จึงทา ให้สารสกัดหยาบเฮกเซนและสารสกัดหยาบเมทิลีนคลอไรด์ของยาสูบมีฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรมากกว่า สารสกัดหยาบเมทานอล ทั้งนี้ความเข้มข้นที่เหมาะสมที่จะนาไปใช้กาจัดตัวเต็มวัยไรจะขึ้นอยู่กับชนิดของสาร สกัดหยาบเช่นกัน เพราะสารสกัดหยาบแต่ละชนิดออกฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดในระดับที่ แตกต่างกั น แต่จ ากผลที่ ได้จ ากการศึก ษาในครั้ง นี้แนะน าว่าสารสกั ดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) และ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) ความเข้มข้น 1% และสารสกัด หยาบเฮกเซนของยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ความเข้มข้น 3% เหมาะที่จะนาไปใช้กาจัดตัวเต็มวัยไร แมงมุมสองจุด แต่อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาในครั้งนี้เป็น เพียงผลภายใต้เงื่อนไขห้องปฏิบัติการ ได้ข้อมูล เพียงบางส่วน ยังต้องนาสารสกัดเหล่านี้ไปศึกษาต่อยอด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ถูกต้องและเพียงพอต่อการนาไปใช้ กาจัดไรแมงมุมสองจุดหรือแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ในสภาพโรงเรือนหรือแปลงปลูกต่อไป ซึ่งนอกจากสารสกัดยาสูบ จะมีฤทธิ์สัม ผัสตายต่อไข่และตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดในการศึกษาครั้งนี้แล้ว สารสกัดยาสูบยังมีฤทธิ์ทาง ชีวภาพต่อไรและแมลงศัตรูทางการเกษตรอีกด้วย เช่น การนาสารสกัดยาสูบความเข้มข้น 0.5% มาฉีดพ่นใน สภาพแปลง พบว่าไรแดง (Tetranychus sp.) มี เปอร์เซ็นต์ก ารตายที่ เวลา 3 วัน เท่ากั บ 83.28% (สุพัฒ น์ และคณะ, 2554) เศษใบและก้านใบยาสูบเบอร์เลย์และเวอร์ยิเนียที่ถูกสกัดด้วยน้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทาให้ เพลี้ยอ่อนผักกาดตาย 100% เมื่อนามาทดสอบกับหนอนใยผักวัย 2 สารสกัดเศษใบยาสูบเบอร์เลย์แช่ด้วยน้า เป็ น เวลา 24, 48 และ 72 ชั่ ว โมง ให้ ผ ลอั ต ราการตายแตกต่ า งทางสถิ ติ 90.00, 72.50 และ 55.00% ตามลาดับ ส่วนในสารสกัดก้านใบยาสูบเบอร์เลย์ ให้ผลอัตราการตายไม่แตกต่างทางสถิติ 25.00, 25.00 และ 40.00% ตามล าดับ นอกจากนี้ ภายใต้การทดสอบในสภาพโรงเรือนโดยการพ่นโดยตรงลงบนพืชที่ มีแมลง พบว่า สารสกัดเศษใบยาสูบเบอร์เลย์และเวอร์ยิเนียสามารถกาจัดเพลีย้ อ่อนผักกาด และเพลี้ยอ่อนฝ้ายได้อย่าง สมบูรณ์ ในเวลา 1 วัน และแมลงไม่กลับมาทาลายพืชในเวลา 3 วัน (ศุภกร และคณะ, 2560) สารละลายใบ ยาสูบ สามารถใช้ควบคุม เพลี้ยไฟพริก (Scirtothrips dosalis Hood) ได้ แม้ ใช้ ในความเข้ม ข้นต่าก็ยังคงมี ประสิทธิภาพในการควบคุม (วีระสิงห์, 2559) สารสกัดหยาบใบยาสูบที่สกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซน เมทิลีน คลอไรด์ และเมทานอล ทาให้ไรสีน้าตาลมีเปอร์เซ็นต์การตายที่เท่ากัน (นัทญาภรณ์, 2552) ซึ่งแตกต่างจากผล การศึกษาในครั้งนี้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่ายาสูบที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นยาสูบที่ทาการแปรรูปเป็นไส้บุหรี่แล้ว 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
525
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
แต่ในงานวิจัยของนัทญาภรณ์นั้นยาสูบที่ใช้เป็นใบยาสูบสดจึงอาจทาให้เกิดความไม่สอดคล้องได้ แต่สอดคล้อง กับ ผลการวิจัย ของกนกวรรณ (2548) ที่นาพืชสะเดาไทย (Azadirachta siamensis A. Juss) หนอนตาย หยาก (Stemona tuberosa Lour) และหางไหล (Derris elliptica Benth) มาสกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ และเมทานอล เพื่อศึกษาประสิทธิภาพต่อไรขาว พบว่า ประสิทธิภาพของสารสกัดจากสะเดาที่ สกัดด้วยตัวทาละลายเมทิลีนคลอไรด์ทาให้ไรขาวตายสูงสุด รองลงมาคือเฮกเซน และเมทานอล ตามลาดับ แต่ สารสกัดจากหนอนตายหยากที่สกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซนกลับทาให้ไรตายสูงสุด รองลงมาคือเมทานอ ล และเมทิลีนคลอไรด์ ตามลาดับ และสารสกัดหางไหลทาให้ไรตายที่เท่ากันในทุกตัวทาละลาย ซึ่งจะเห็นได้ว่า พืชเดียวกั นที่ ถูก สกัดด้วยตัวท าละลายอิ นทรีย์ต่างชนิดกันอาจส่ง ผลต่อประสิท ธิภาพในการกาจัดศัตรูพืช ต่างกัน เช่นเดียวกับในการศึกษาครั้งนี้ที่ยาสูบชนิดเดียวกันถูกสกัดด้วยตัวทาละลายต่างกัน ก็มีฤทธิ์สัมผัสตาย ต่อไข่และตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดต่างกัน สรุปผลการทดลอง สารสกัดยาสูบทั้ง 3 ชนิด ที่นามาสกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซนมีฤทธิ์สัมผัสตายต่อไข่ไรแมงมุมสองจุด สูงที่สุด และยังมีฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุดสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบสารสกัดยาสูบทัง้ 3 ชนิดที่ สกัดด้วยตัวทาละลายเฮกเซน พบว่า สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) ความเข้มข้น 5% มีฤทธิ์สัมผัสตายต่อไข่ไรแมงมุมสองจุดได้ดีที่สุด ทาให้ไข่ไรแมงมุมสองจุดไม่ฟักในเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุด ในขณะที่สารสกัดยาสูบทั้ง 3 ชนิดมีประสิทธิภาพดีใกล้เคียงกันในการออกฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมง มุมสองจุด คาขอบคุณ ผู้วิจัยขอขอบคุณ หลักสูตรวิท ยาศาสตรบัณฑิ ต สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืชและสัตว์ ที่ส นับสนุ น งบประมาณสาหรับการทาวิจัยครั้งนี้ และขอขอบคุณโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง สาหรับความอนุเคราะห์ ยาสูบเพื่อนามาใช้สกัดในการศึกษานี้ ตารางที่ 1 ฤทธิ์สัม ผัส ตายต่อ ไข่ไรแมงมุ ม สองจุด (Tetranychus urticae Koch) ที่ เวลา 7 วัน หลัง การ ทดสอบ หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบต่างๆ ของยาสูบ ทั้ง 3 ชนิด สารสกัดหยาบ เฮกเซน เมทิลีนคลอไรด์ เมทานอล ชุดควบคุม (เอทานอล)
ความเข้มข้น (%) 5 5 5
เปอร์เซ็นต์ของไข่ที่ไม่ฟัก1/ กล่องแดง กล่องเขียว 76.2±6.2a 91.6±2.6a 6.6±2.4b 9.3±2.6c 13.0±2.6b 21.4±3.2b 2.4±0.7b 6.1±1.0c
1/
กล่องดา 70.2±7.5a 4.4±1.1b 4.6±0.6b 2.2±0.3b
ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันในแนวตั้งแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
526
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
ตารางที่ 2 ฤทธิ์สัม ผัส ตายต่อ ไข่ไรแมงมุ ม สองจุด (Tetranychus urticae Koch) ที่ เวลา 7 วัน หลัง การ ทดสอบ หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบทั้ง 3 ชนิด สารสกัดยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง)
ความเข้มข้น (%)
เปอร์เซ็นต์ของไข่ที่ไม่ฟัก1/
0.25
2.7±1.0b
0.5
2.8±0.8b
1
7.2±2.1b
3
51.7±10.5a
ชุดควบคุม (เอทานอล) GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว)
1.9±0.4b 0.25
1.7±0.9b
0.5
4.4±1.3b
1
2.9±0.9b
3
18.7±9.1a
ชุดควบคุม (เอทานอล) MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา)
ชุดควบคุม (เอทานอล)
3.0±1.4b 0.25
4.8±0.6b
0.5
10.6±2.5b
1
3.1±0.8b
3
30.4±9.6a 4.9±2.2b
1/
ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันในแนวตั้งแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
527
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ” 120
ไรตัวเต็มวัยตาย (%)
100
95.2 a
94.8 a
89.7 a
75.6 b
80 60
81.8 a
เฮกเซน
46.3 b
40
เมทิลีนคลอไรด์
20
เมทานอล
0 1
2 วันหลังจากได้รับสาร
3
ภาพที่ 1 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบ ต่างๆ ของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) ความเข้มข้น 5% ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Error bar) ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
ไรตัวเต็มวัยตาย (%)
100 80 60
97.2 a
96.1 a
94.5 a
53.7 b
60.6 b
61.2 b
เฮกเซน
40
เมทิลีนคลอไรด์ เมทานอล
20
0 1
2 วันหลังจากได้รับสาร
3
ภาพที่ 2 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบ ต่างๆ ของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) ความเข้มข้น 5% ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Error bar) ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
528
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
PEB-09
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
100
ไรตัวเต็มตาย (%)
80
70.1 a
65.2 a
76.1 a 66.9 a
75.0 a 65.8 a
60
เฮกเซน
40
เมทิลีนคลอไรด์
20
4.4 b
3.9 b
เมทานอล
0 1
2 วันหลังจากได้รับสาร
3
ภาพที่ 3 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบ ต่างๆ ของยาสูบ MINNA ชนิดร้อน (กล่องดา) ความเข้มข้น 5% ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Error bar) ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
ตารางที่ 3 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) ในระยะเวลาต่างๆ หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดร้อน (กล่องแดง) สารสกัดหยาบ
เฮกเซน
เปอร์เซ็นต์การตายสะสม 1/
ความเข้มข้น (%) วันที่ 1
วันที่ 2
วันที่ 3
0.25
78.7±3.2bc
77.6±3.0bc
77.4±3.0bc
0.5
73.2±4.5c
72.4±4.7cd
73.3±4.3c
1
91.4±6.0ab
90.7±6.0ab
90.1±6.0ab
3
100.0±0.0a
100.0±0.0a
100.0±0.0a
1/
ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันในแนวตั้งแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
529
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
ตารางที่ 4 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) ในระยะเวลาต่างๆ หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ GUDANG GARAM ชนิดเย็น (กล่องเขียว) สารสกัดหยาบ
เฮกเซน
เปอร์เซ็นต์การตายสะสม1/
ความเข้มข้น (%) วันที่ 1
วันที่ 2
วันที่ 3
0.25
34.1±6.0b
38.2±8.5b
36.6±8.3b
0.5
78.7±8.9a
79.6±8.4a
80.2±8.0a
1
93.9±1.8a
97.4±1.2a
100.0±0.0a
3
89.0±8.8a
88.9±8.8a
88.1±8.8a
1/
ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันในแนวตั้งแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
ตารางที่ 5 ฤทธิ์สัมผัสตายต่อตัวเต็มวัยไรแมงมุมสองจุด (Tetranychus urticae Koch) ในระยะเวลาต่างๆ หลังจากสัมผัสสารสกัดหยาบเฮกเซนของยาสูบ MINNA (กล่องดา) สารสกัดหยาบ
เฮกเซน
เปอร์เซ็นต์การตายสะสม1/
ความเข้มข้น (%) วันที่ 1
วันที่ 2
วันที่ 3
0.25
36.5±7.3c
36.1±7.2c
33.8±7.4c
0.5
72.6±3.8b
74.3±3.9bc
73.9±3.9b
1
78.7±5.4b
82.2±5.7b
81.8±5.6b
3
100.0±0.0a
100.0±0.0a
100.0±0.0a
1/
ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ถูกกากับด้วยตัวอักษรเดียวกันในแนวตั้งแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบด้วย Duncan’s Multiple Range Test
530
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ วรวงศ์. 2548. คุณสมบัติของสารสกัดจากพืชบางชนิดในการฆ่าไรขาว (Polyphagotarsonemus latus Banks). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ธรรมนูญ ฤทธิมณี. 2526. ยาสูบ. กรุงสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 202 หน้า. นพพร สายั ม พล. 2525. พฤกษศาสตร์ พื ช เศรษฐกิ จ . ศู น ย์ ส่ ง เสริ ม และฝึ ก อบรมการเกษตรแห่ ง ชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน, นครปฐม. 155 หน้า. นัทญาภรณ์ ยอดสิงห์. 2552. การผลิตสารสกัดหยาบจากสมุนไพรเพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืช. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ, สุนทร ดุริยะประพันธ์ , ทักษิณ อาชวาคม, สายันต์ ตันพานิช, ชลธิชา นิวาสประกฤติ และ ปรียานันท์ ศรสูงเนิน . 2544. ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16 พืชที่ให้สาร กระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, กรุงเทพ. 236 หน้า. ภัทรา อุปดิษฐ์. 2550. ประสิทธิภาพของสารเมทาโบไลท์จากเชื้อราก่อโรคในแมลงในการควบคุมไรแมงมุมสอง จุด Tetranychus urticae Koch (Acari: Tetranychidae). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. ไมตรี สุทธจิตต์. 2551. สารพิษรอบตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. ดวงกมลพับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ. 510 หน้า. วัชรินทร์ ศรีมงคลชัย. 2553. ผลของสารสกัดหยาบจากผกากรองเพื่อควบคุมหนอนกระทู้ผัก ไรขาว และไร สองจุด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วัฒนา จารณศรี, มานิตา คงชื่นสิน, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และ พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ . 2544. ไรศัตรูพืชและ การป้อ งกันกาจัด . พิ ม พ์ครั้งที่ 1. กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุ ม กองกี ฏและสัตววิท ยา กรมวิชาการ เกษตร, กรุงเทพฯ. 192 หน้า. วีระสิงห์ แสงวรรณ. 2559. รายงานโครงการวิจัยผลของสารละลายใบยาสูบต่อการควบคุมเพลี้ยไฟพริก. กรม วิชาการเกษตร. ศุภกร วงศ์สุข, เยาวลักษณ์ จันทร์บาง และ จิราพร กุลสาริน. 2560. ประสิทธิภาพเศษใบและก้านใบยาสูบใน การควบคุมแมลงศัตรูผักบางชนิด. วารสารเกษตร 33(3): 367-376. สุพัฒน์ ชัยตั้งจิต, ชูแสง แพงวังทอง, ณัฏฐ์สินี บุญสิทธพงษ์, สุชญา วงศ์วัฒน์ และ สุริยา ทองคุณ. 2554. การ จัดการศัตรูพืชสบู่ดา. คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยา เขตสุรินทร์. อรุณ โสตถิกุล และ อภิชาต ชิดบุรี . 2549. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชบางชนิดในการกาจัดไรสองจุด (Tetranychus urticae Koch) ของเบญจมาศ. สถาบั น วิ จั ย และฝึ ก อบรมการเกษตรล าปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. อานวย อิ ศ รางกู ร ณ อยุ ธ ยา. 2539. การใช้ ส ารสกั ด จากพื ช ควบคุ ม แมลงศั ต รูพื ช (The Use of Plant Extracts in Controlling Insect Pests), น. 213-220.ใน วิ จิ ต ร เบญจศี ล , บรรณาธิ ก าร. การ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
531
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-09
ควบคุม แมลงศั ตรูพื ช โดยชี ววิธีเ พื่ อ การเกษตรยั่ง ยืน . กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. อุดมศัก ดิ์ เลิศสุชาตวนิช . 2554. ใบยาสูบ อัดแท่ง กาจัดแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่ มี สาร ตกค้างในผลผลิต. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 57(1): 32-37. Abbott, W.S. 1925. A method of computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology 18(2): 265-267.
532
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
ประสิทธิภาพของ Steinernema carpocapsae (Weiser) ที่มีต่อหนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุด, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera: Noctuidae) Efficacy of Steinernema carpocapsae (Weiser) against the fall armyworm, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera: Noctuidae) ลัทธพล เหมือนตา นิยาภรณ์ ขวัญเกตุ รัตนาวดี อ่อนวงษ์ พิสิฐ อานาจนิยมจันทร์ พลช หนูเส็ง และ อธิราช หนูสีดา Ratapol Muanta Niyaporn Khwanket Rattanawadee Onwong Pisit Amnatniyomjan Phalot Nooseng and Atirach Noosidum ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 Department of Entomology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Chatuchak, Bangkok 10900
บทคัดย่อ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) จัดเป็นแมลงศัตรูที่สาคัญทาง เศรษฐกิจของข้าวโพดและพืชอื่นๆ ทั่วโลก ปัจจุบันแมลงศัตรูพืชชนิดนี้ได้แพร่ระบาดในประเทศไทยและสร้าง ความเสียหายกับผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมากในหลายพื้นที่ งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุป ระสงค์ที่ จะศึกษา ประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงผลิตภัณฑ์การค้า (Steinernema carpocapsae, NEMA DOA®) ที่มี ต่อ หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ในห้อ งปฏิบั ติก ารและโรงเรือนทดลอง โดยหยดสารแขวนลอย S. carpocapsae ความเข้ม ข้น 0, 25, 50, 100, 200 และ 400 IJs/หนอน 1 ตัว ลงบนอาหารเที ยมและให้ หนอนกิน ผลการศึกษาพบว่า S. carpocapsae ความเข้มข้น 200-400 IJs/หนอน 1 ตัว ทาให้หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ตาย 88-100 เปอร์เซ็นต์ หลังการทดสอบที่เวลา 72 ชั่วโมง และเมื่อลดความเข้มข้นของ S. carpocapsae ลงเป็น 25-50 IJs/หนอน 1 ตัว จะทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด วัย 3 ตายไม่เกิน 70 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ค่ าความเข้ ม ข้ น ของ S. carpocapsae ที่ ท าให้ ห นอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด วั ย 3 ตาย 50 เปอร์ เซ็ น ต์ (LC50) และ 90 เปอร์เ ซ็ น ต์ (LC90 ) มี ค่ าเท่ ากั บ 13 และ 166 IJs/หนอน 1 ตั ว ตามล าดั บ การศึกษาในโรงเรือนทดลองโดยการฉีดพ่นสารแขวนลอย S. carpocapsae บนต้นข้าวโพดอายุ 10 วัน ที่มี หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 เข้าทาลาย พบว่า S. carpocapsae ความเข้มข้น 1250 IJs/หนอน 1 ตัว มี ความเสียหายบนใบพืชที่เกิดจากการเข้าทาลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดน้อยที่ สุด (8.33 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาเป็น S. carpocapsae ความเข้มข้น 400 IJs/หนอน 1 ตัว (14.50 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งทั้งคู่มีค่าแตกต่าง กับชุดควบคุม (22.50 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสาคัญ คาสาคัญ : หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ข้าวโพด การควบคุมโดยชีววิธี
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
533
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
ABSTRACT The fall armyworm, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) is a serious economically insect pest of maize and various plants worldwide. This insect currently distributes and also causes high damage to agricultural products in many parts of Thailand. The objective of this work was to study the efficacy of a commercial entomopathogenic nematode (Steinernema carpocapsae, NEMA DOA®) against the 3rd instar of S. frugiperda under laboratory and greenhouse conditions. A drop of S. carpocapsae suspension at the rates of 0, 25, 50, 100, 20 0 and 40 0 IJs/insect larva applied on to an artificial diet for insect feeding. The results showed that the S. carpocapsae at the rate of 200-400 IJs/insect larva killed the 3rd instar of S. frugiperda for 88-100% at 72 hours after application while S. carpocapsae at the rate of 2 5 -5 0 IJs/insect larva killed the 3rd instar of S. frugiperda less than 7 0 %. The 50% lethal concentration (LC50) and 90% lethal concentration (LC90) for S. carpocapsae against the 3rd instar of S. frugiperda were 13 and 1 6 6 IJs/insect larva, respectively. The greenhouse experiment was done by sprayed S. carpocapsae suspensions on to 10 day-old maize plant with having 3rd instar of S. frugiperda. The treatment of S. carpocapsae at the rate of 1250 IJs/ IJs/insect larva had the lowest plant damage (8.33%), followed by the treatment of S. carpocapsae at the rate of 400 IJs/insect larva (1 4 .5 0 %) and both treatments were all significantly different to the control treatment (22.50%). Keywords: fall armyworm, entomopathogenic nematode, maize, biological control คานา ข้าวโพด (Zea mays L.) เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ปลูกได้ทั่วไปทุกภาค ของประเทศ โดยเกษตรกรจะปลูกข้าวโพดในช่วงหน้าฝน (กิตติภพ, 2558) แต่ข้าวโพดเป็นพืชที่มีแมลงศัตรู เข้าทาลายหลายชนิด เช่น หนอนเจาะฝักข้าวโพด เพลี้ยอ่อนข้าวโพด มอดดินหรือมอดช้าง และหนอนกระทู้ ซึ่งเข้าท าลายและสร้างความเสียหายแก่ข้าวโพดเป็นอย่างมาก (สถาบันวิจัยโรคพืช, 2562) และในปัจจุบัน หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm; Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) ก าลัง เป็นแมลง ศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการเพาะปลูกข้าวโพดเป็นอย่างมาก (Harrison et al., 2019) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นหนอนผีเสื้อ จัดอยู่ในอันดับ Lepidoptera วงศ์ Noctuidae มีถิ่น กาเนิดจากทางใต้ของทวีปอเมริกา (Ashley et al., 1989; Goergen et al., 2016) สามารถแพร่กระจายและ สร้างความเสียหายให้กับพืชผลหลายชนิดทั่ วโลก (Abrahams et al., 2017; Harrison et al., 2019) และ แพร่ระบาดทั่วทุกภาคของประเทศไทยมากกว่า 40 จังหวัด (สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2562) ผีเสื้อ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมีวงจรชีวิตประมาณ 30-40 วัน ตัวเต็มวัยสามารถบินได้ไกลทาให้เกิดการระบาด 534
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
อย่างรวดเร็วและกระจายตัวได้ทุกทิศทาง (Johnson, 1987) การเข้าทาลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เกิดขึ้นตั้งแต่หนอนวัยแรกๆ โดยหนอนกัดกินยอด ใบช่อดอก ฝัก และเมล็ด ซึ่งส่งผลให้ต้นอ่อนตายหรือหยุด การเจริญเติบโต (สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2562; Goergen et al., 2016) นอกจากนั้นหนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด ยังมี พืชอาหารที่หลากหลายมากกว่า 350 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี มะเขือเทศ ฝ้าย ทานตะวัน พืชวงศ์กะหล่า พืชวงศ์แตง และพืชวงศ์ถั่ว เป็นต้น จึงทาให้แมลงศัตรูพืชชนิดนี้มี การแพร่ระบาดได้อย่างกว้ างขวางและรวดเร็ว (Abrahams et al., 2017; Montezano et al., 2018) การ ป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมีหลากหลายวิธี เช่น การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีการฉีดพ่นสารเคมี กาจัดแมลง การใช้วิธีกลในการกาจัด และการใช้ชีวภัณฑ์กาจัดแมลง เป็นต้น (สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช , 2562; Abate et al., 2000; Harrison et al., 2019) ไส้ เดื อ นฝอยศั ต รู แ มลง Steinernema carpocapsae (Weiser) อยู่ ในอั น ดั บ Rhabditida วงศ์ Steinernematidae (Poinar, 1990) จั ด อ ยู่ ใน ก ลุ่ ม ไส้ เดื อ น ฝ อ ย ศั ต รู แ ม ล ง (entomopathogenic nematode) เป็นหนอนตัวกลมขนาดเล็ก ไม่มีข้อปล้อง มีลักษณะลาตัวเรียวยาว ส่วนหัวกลมมน ส่วนหาง แคบ และเรียวที่ปลาย (Kaya and Gaugler, 1993) ระยะตัวอ่อนที่ 3 ซึ่งเป็นระยะที่สามารถเข้าทาลายแมลง ได้ (Infective Juvenile หรือ IJ) จะเข้าทาลายแมลงทางช่องเปิดต่างๆ เช่น ปาก รูหายใจ ทวาร และทางผนัง ลาตัวของแมลง (Kaya and Gaugler, 1993; Grewal et al., 2005) ซึ่งแบคทีเรียร่วมอาศัยของไส้เดือนฝอย จะทาให้เลือดของแมลงเป็นพิษ และทาให้แมลงเป้าหมายตายภายใน 48-72 ชั่วโมง (Kaya, 1990) ไส้เดือน ฝอยศัตรูแมลงเป็นชีวภัณฑ์ที่ นิยมนามาใช้ในการป้องกันก าจัดแมลงศัตรูพืชในหลายประเทศทั่วโลก และมี ประสิทธิภาพสูงในการควบคุมหนอนผีเสือ้ โดยไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างต่อพืชผักและในสิง่ แวดล้อม (Grewal et al., 2005; Lewis and Clarke, 2012; Noosidum et al., 2016) อย่างไรก็ตามสถานการณ์การระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดในประเทศไทยยังมีรายงานในหลาย พื้นที่อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้จึงศึกษาการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงผลิตภัณฑ์การค้าที่มีในประเทศไทยในการ ควบคุมประชากรของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดระยะที่ 3 ภายในระดับห้องปฏิบัติการและการทดลองภายใน โรงเรือน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทดลองจะสามารถนาไปช่วยพัฒนาและวางแผนการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเลีย้ งขยายพันธุ์แมลง เก็ บ รวบรวมระยะไข่ ระยะหนอน และตั ว เต็ ม วั ย ของผี เ สื้ อ หนอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด (S. frugiperda) จากแปลงเกษตรกรที่อ าเภอท่ามะกา จัง หวัดกาญจนบุรี (GPS Coordinates: 13°92'979"N, 99°76'707"E) มาเลี้ยงเพิ่มปริมาณ ตามวิธีการที่ดัดแปลงจาก Noosidum et al (2016) โดยเลี้ยงระยะหนอน ด้วยอาหารเทียมในห้องเลี้ยงแมลงที่อุณหภูมิประมาณ 25±2 องศาเซลเซียส ความชื้น 75±5 เปอร์เซ็นต์ เก็บ รวบรวมดักแด้มาใส่ไว้ในกรงเลี้ยงแมลงขนาด 30x20x50 เซนติเมตร ปล่อยให้แมลงเจริญเติบโตจนครบวงจร 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
535
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
ชีวิต จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ให้น้าผึ้ง 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาหาร สอดกระดาษทิชชู่ เพื่อให้ตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ และวางไข่ นาไข่ที่ได้ไปเลี้ ยงต่อด้วยอาหารเทียม เมื่อ หนอนเข้าสู่วัยที่ 3 แบ่งหนอนบางส่วนเลี้ยงเป็นพ่อแม่ พันธุ์ต่อไป และนาบางส่วนมาทดสอบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการเข้าทาลายระยะหนอนวัย 3 ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด 2. ประสิ ท ธิ ภ าพของ S. carpocapsae ในการเข้ า ท าลายหนอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด วั ย 3 ใน ห้องปฏิบัติการ ตัดอาหารเทียมให้มีขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในแต่ละหลุมของ 24 well-plate ฉีดพ่นสาร แขวนลอยไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงผลิตภัณฑ์การค้า (S. carpocapsae, NEMA DOA®, กรมวิชาการเกษตร) ความเข้มข้น 0, 25, 50, 100, 200 และ 400 IJs/หนอน 1 ตัว ในน้าปริมาตร 20 ไมโครลิตร จากนั้นใส่หนอน กระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 จานวน 1 ตัวต่อถ้ วย โดยใช้น้ากลั่น และ S. carpocapsae อัตรา 1250 IJsต่อ หนอน 1 ตั ว (อั ต ราแนะน า) เป็ น ชุ ด ควบคุ ม วางแผนการทดลองแบบสุ่ ม สมบู ร ณ์ (Completely Randomized Design, CRD) กรรมวิธีล ะ 30 ซ้า และนาไปเก็บ ที่ อุณ หภูมิ ป ระมาณ 25±2 องศาเซลเซียส และความชื้น 75±5 เปอร์เซ็นต์ บันทึกจานวนหนอนที่ตายด้วย S. carpocapsae ทุกวัน นาผลการทดลองมา คานวณประสิทธิภาพในการเข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนด้วย โปรแกรมสถิติ โดยใช้ One-Way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Tukey’s HSD test ที่ระดับ ความเชื่อมั่ น 95% และคานวณหาค่าความเข้มข้นของ S. carpocapsae ที่ ทาให้หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC50) และ 90 เปอร์เซ็นต์ (LC90) (Finney, 1971) ด้วยโปรแกรม R i386 version 3.0.0 (R Development Core Team, 2019) 3. ประสิทธิภาพของ S. carpocapsae ในการเข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ในโรงเรือน ทดลอง ใช้ S. carpocapsae ความเข้มข้นที่ 400 IJs/หนอน 1 ตัว และอัตราแนะนามาศึกษาประสิทธิภาพ ของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการเข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ในโรงเรือนทดลอง โดยปล่อย หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ที่บริเวณยอดของต้นข้าวโพดอายุ 10 วัน ปล่อยให้หนอนผ่อนคลายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นฉีดพ่นสารแขวนลอย S. carpocapsae ความเข้มข้น 400 IJs/หนอน 1 ตัว และ 1,250 IJs/ หนอน 1 ตั ว ในน้าปริม าตร 0.5 มิ ล ลิ ลิตร โดยใช้น้ ากลั่นเป็น ชุดควบคุ ม วางแผนการทดลองแบบ CRD กรรมวิธีละ 30 ซ้า บันทึ กจ านวนหนอนที่ ตายทุ กวัน นาผลการทดลองมาคานวณประสิทธิภาพในการเข้า ทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนด้วยโปรแกรมสถิติ โดยใช้ One-Way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Tukey’s HSD test ที่ระดับความเชื่อมั่ น 95% ด้วยโปรแกรม R i386 version 3.0.0 (R Development Core Team, 2019)
536
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
ผลและวิจารณ์ 1. ประสิ ท ธิ ภ าพของ S. carpocapsae ในการเข้ า ท าลายหนอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด วั ย 3 ใน ห้องปฏิบัติการ ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงผลิตภัณฑ์การค้า S. carpocapsae (NEMA DOA®, กรมวิชาการเกษตร) ใน แต่ละความเข้มข้นมี ประสิทธิภาพในการเข้าท าลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ได้แตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ หลังการทดสอบที่เวลา 48-72 ชั่วโมง (P < 0.001) ประสิทธิภาพของ S. carpocapsae ในการเข้ าท าลายหนอนกระทู้ ข้ าวโพดลายจุด วัย 3 จะเพิ่ม มากขึ้ น โดยพบอั ตราการตายสู ง ใกล้ ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 72 ชั่วโมงหลังการทดสอบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงออกฤทธิ์เต็ม ที่และ แสดงผลชัดเจน โดยที่ S. carpocapsae ความเข้มข้น 200-400 IJs/หนอน 1 ตัว ทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุดวัย 3 ตายไม่แตกต่างกั น ทางสถิติ ซึ่ง มีค่าอยู่ร ะหว่าง 88-100 เปอร์เซ็นต์ และไม่แตกต่างกับ อัตรา แนะนา แต่เมื่อลดความเข้มข้นของ S. carpocapsae ลงเป็น 25-50 IJs/หนอน 1 ตัว จะทาให้หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ตายลดลง ไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 1) ผลการทดลองข้างต้นสอดคล้องกับการทดลองของ Andaló et al. (2010) ที่ศึกษาความสามารถของ Steinernema feltiae (Filipjev), Steinernema glaseri (Steiner), Steinernema riobrave Cabanillas, Poinar & Raulston, Steinernema arenarium Artyukhovsky และ S. carpocapsae ในการเข้าทาลาย หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดที่ ความเข้มข้น 100, 250 และ 500 IJs/หนอน 1 ตัว พบว่า S. arenarium และ S. carpocapsae ความเข้มข้น 250-500 IJs/หนอน 1 ตัว ท าให้ หนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด วัย 4 และ 5 ตาย 85-90 เปอร์เซ็น ต์ ภายในเวลา 96 ชั่วโมง หลังการทดสอบ ในขณะที่ S. feltiae, S. glaseri และ S. riobrave เข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัยต่ากว่า ซึ่งมีค่าเพียง 60-85 เปอร์เซ็นต์ และสอดคล้องกับ การทดลองของ Caccia et al. (2014) ที่ทดสอบประสิทธิภาพของ Steinernema diaprepesi Nguyen & Duncan ความเข้ม ข้น 50 และ 100 IJs/หนอน 1 ตัว ผสมกับน้า 0.5 มิลลิลิตร ที่มีต่อหนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุดวัยท้าย พบว่าเมื่อผ่านไป 48 ชั่วโมง S. diaprepesi ทั้ง 2 ระดับความเข้มข้นทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุดตาย 20-30 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเพิ่มระยะเวลาการทดสอบพบว่า S. diaprepesi ความเข้มข้น 50 IJs/ หนอน 1 ตัว ทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุ ดตายเพิ่มสูงขึ้นถึง 93 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 144 ชั่วโมง หลังการ ทดสอบ ในขณะที่ความเข้มข้น 100 IJs/หนอน 1 ตัว ทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ตาย 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผ่านไปเพียง 96 ชั่วโมง นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังแสดงค่าความเข้มข้นของ S. carpocapsae ที่ทาให้หนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุดวัย 3 ตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC50) และ 90 เปอร์เซ็นต์ (LC90) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13 และ 166 IJs/หนอน 1 ตัว ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ผลการศึกษาครั้งนี้มีค่า LC50 สูงกว่าผลการทดลองของ Nancy et al. (1993) ที่ รายงานว่า S. carpocapsae สามารถเข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัยสุดท้ายด้วยค่า LC50 เท่ากับ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
537
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
8.3 IJs/หนอน 1 ตัว ความสามารถในการเข้าทาลายของไส้เดือนฝอยที่แตกต่างกันอาจเนื่องมาจากขนาดของ อุปกรณ์ที่ใช้สอบ จานวนเหยื่อ เป็นต้น (Molyneux et al., 1983) ตารางที่ 1 การตายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ที่เวลา 48 และ 72 ชั่วโมง หลังการทดสอบด้วย S. carpocapsae ความเข้มข้นต่างๆ บนอาหารเทียม การตายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด วัย 3 (เปอร์เซ็นต์)/1 ความเข้มข้น 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมง ชุดควบคุม (0 IJs/หนอน) 0.00±0.00 c 0.00±0.00 e 25 IJs/หนอน 58.52±1.48 b 65.56±2.94 d 50 IJs/หนอน 50.00±11.55 b 70.00±5.77 cd 100 IJs/หนอน 68.15±11.85 ab 82.59±3.75 bc 200 IJs/หนอน 80.46±8.99 ab 88.79±0.72 ab 400 IJs/หนอน 100.00±0.00 a 100.00±0.00 a 1250 IJs/หนอน (อัตราแนะนา) 100.00±0.00 a 100.00±0.00 a F = 23.51 F = 148.15 df = 6, 20 df = 6, 20 P < 0.001 P < 0.001 /1 ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลือ ่ นมาตรฐาน ที่ตามด้วยตัวอักษรที่เหมือนกันในแต่ละคอลัมน์ของแต่ละความ เข้มข้นไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เมือ่ เปรียบเทียบด้วย Tukey’s HSD test ทีร่ ะดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 2 ค่ า ความเข้ ม ข้ น ของ S. carpocapsae ที่ ท าให้ ห นอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด วั ย 3 ตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC50) และ 90 เปอร์เซ็นต์ (LC90) ที่เวลา 72 ชั่วโมง หลังการทดสอบ LC50 95% Confidence LC90 95% Confidence X2 Intercept±SE Slope±SE (IJ) Interval (IJ) (IJ) Interval (IJ) 15.57 7.12-24.10 159.96 115.10-271.06 42.15 -1.51±0.19 1.26±0.11 2. ประสิทธิภาพของ S. carpocapsae ในการเข้าทาลายหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ในโรงเรือน ทดลอง การศึกษาในโรงเรือนทดลองโดยการพ่นสารแขวนลอย S. carpocapsae บนต้นข้าวโพดอายุ 10 วัน ที่มีหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 เข้าทาลาย พบว่า S. carpocapsae ความเข้มข้น 1250 IJs/หนอน 1 ตัว มีความเสียหายบนใบพืชที่เกิดจากการเข้าทาลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดน้อยที่สุด (8.33 เปอร์เซ็นต์)
538
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
รองลงมาเป็น S. carpocapsae ความเข้มข้น 400 IJs/หนอน 1 ตัว (14.50 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งทั้งคู่มีค่าแตกต่าง กับชุดควบคุม (22.50 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสาคัญ (ตารางที่ 3) ผลการทดลองข้างต้นสอดคล้องกับการทดลองของ Andaló et al. (2010) ที่ปล่อยหนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุดลงบนต้นข้าวโพดอายุ 7 วัน ในอัตราส่วน หนอน 1 ตัว/ต้น และใช้ S. arenarium ความ เข้มข้น 1,655 IJs/ต้น ฉีดพ่นบนข้าวโพด หลังจากนั้น 4 วัน พบว่ามีจานวนหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดตาย 75 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสียหายของต้นข้าวโพดที่เกิดจากการทาลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมีค่า ลดลงเมือ่ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ตารางที่ 3 ความเสียหายของต้นข้าวโพดจากการเข้าทาลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวัย 3 ที่ 72 ชั่วโมง หลังการฉีดพ่น S. carpocapsae บนต้นข้าวโพดอายุ 10 วัน ในสภาพโรงเรือนทดลอง จานวนต้น (ต้น) ความเสียหาย (เปอร์เซ็นต์)/1 10.00±0.00 b 22.50±2.65 a 8.00±0.57 ab 14.50±2.21 b 7.00±0.57 a 8.33±1.44 c F = 10.50 F = 10.77 df = 2, 8 df = 2, 89 P < 0.011 P < 0.001 /1 ค่าเฉลี่ย ± ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ที่ตามด้วยตัวอักษรที่ เหมือนกันในแต่ล ะคอลัมน์ของแต่ล ะความ เข้ ม ข้ น ไม่ มี ค วามแตกต่ างทางสถิ ติ เมื่ อ เปรีย บเที ย บด้ วย Tukey’s HSD test ที่ ร ะดั บ ความเชื่ อ มั่ น 95 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้น ชุดควบคุม (น้าเปล่า) 400 IJs/หนอน 1 ตัว 1,250 IJS/หนอน 1 ตัว (อัตราแนะนา)
สรุปผลการทดลอง ไส้ เดื อ นฝอยศัต รูแ มลง S. carpocapsae ผลิ ตภั ณ ฑ์ ก ารค้า ที่ มี ในประเทศไทยสามารถควบคุ ม ประชากรของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดระยะที่ 3 ทั้งในระดับห้องปฏิบั ติการและสภาพโรงเรือนทดลองได้ อย่างมีป ระสิทธิภาพ และสามารถนาไปพั ฒ นาต่อยอดในการควบคุมแมลงศั ตรูพืชชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ ตาม การศึกษาเพิ่มเติมในระดับแปลงปลูกจะช่วยเพิ่มความถูกต้องในการพัฒนาและวางแผนการใช้ไส้เดือนฝอยศัตรู แมลงเพื่อควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คาขอบคุณ งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการพัฒนา แอปพลิเคชั่นทางการเกษตร (คก.ย่อยที่ 52) การศึกษาแนวทางการจัดการหนอนกระทู้ fall armyworm (Spodoptera frugiperda) ด้วยวิธีการต่างๆ ในประเทศไทย ขอขอบคุณอาจารย์จารุวัฒน์ เถาธรรมพิทักษ์ อาจารย์เบญจคุณ แสงทองพราว และอาจารย์รุ่งอรุณ ทิศกระโทก ที่ให้ความช่วยเหลือในการทาวิจัยครั้งนี้ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
539
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
เอกสารอ้างอิง กิตติภพ วายุภาพ. 2558. วิจัยและพัฒนาข้าวโพดฝักสด (Specialty corn research and development) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2562. กระทรวงเกษตรฯ เข้มมาตรการควบคุมการระบาดของหนอน กระทู้ข้าวโพดลายจุด. 2562. แหล่งที่มา URL https://www.moac.go.th/news-preview411391791563 สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2562 สถาบันวิจัยโรคพืช. กรมวิชาการเกษตร. 2562. โรคข้าวโพดและการป้องกันกาจัด. เอกสารวิชาการ สถาบันวิจัยโรคพืช. 9 หน้า. สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. 2562. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด fall armyworm. เอกสารเผยแพร่ สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. Abrahams, P., M. Bateman, T. Beale, V. Clottey, M. Cock, Y. Colmenarez, N. Corniani, R. Day, R. Early, J. Godwin, J. Gomez, P.G. Moreno, S.T. Murphy, B. Oppong-Mensah, N. Phiri, C. Pratt, G. Richards, S. Silvestri and A. Witt. 2017. Fall Armyworm: Impacts and Implications for Africa. CABI Publisher. Wallingford, UK. Abate, T., A. van Huis and J.K.O. Ampofo. 2000. Pest management strategies in traditional agriculture: an African perspective. Annual Review of Entomology. 45: 631–659. Andaló, V., V. Santos, G.F. Moreira, C.C. Moreira, A. Moino Jr. 2010. Evaluation of entomopathogenic nematodes under laboratory and greenhouses conditions for the control of Spodoptera frugiperda. Ciência Rural, Santa Maria. 40(9): 1860-1866. Ashley, T.R., B.R. Wiseman, F.M. Davis and K.L. Andrews. 1989. The fall armyworm; a bibliography. Florida Entomologist. 72: 152-202. Caccia, M.G., E. Del Valle, M.E. Doucet and P. Lax. 2014. Susceptibility of Spodoptera frugiperda and Helicoverpa gelotopoeon (Lepidoptera: Noctuidae) to the entomopathogenic nematode Steinernema diaprepesi (Rhabditida: Steinernematidae) under laboratory conditions. Chilean journal of agricultural. research. 74(1). 123-126. Goergen, G., P.L. Kumar, S.B. Sankung, A. Togola and M. Tamo. 2016. First report of outbreaks of the fall armyworm Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera, Noctuidae), a new alien invasive pest in West and Central Africa. PLoS ONE 11, e0165632, https://doi.org/10.1371/journal.pone.0165632. Grewal, P.S., R.U. Ehlers and D.I. Shapiro-Ilan. 2005. Nematodes as Biocontrol Agents. CABI Publishing, Wallingford, UK. Harrison, R.D., C. Thierfelder, F. Baudron, P. Chinwada, C. Midega, U. Schaffner and J. van den Berg. 2019. Agro-ecological options for fall armyworm (Spodoptera frugiperda J.E. 540
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-10
Smith) management: Providing low-cose, smallerholder friendly solutions to an invasive pest. Journal of Environmental Management. 243: 318-330. Johnson, S.J. 1987. Migration and the life history strategy of the fall armyworm, Spodoptera frugiperda J.E. Smith in the western hemisphere. International Journal of Tropical Insect Science. 8: 543-549. Kalleshwaraswamy, C.M., R. Asokan, H.M. Swamy, M.S. Maruthi, H.B. Pavithra, K. Hegde, S. Navi, S.T. Prabhu, G. Goergen. 2018. First report of the fall armyworm, Spodoptera frugiperda (J.E. Smith) (Lepidoptera:Noctuidae), an alien invasive pest on maize in India. Pest Management In Horticultural Ecosystems. 24(1): 23-29. Kaya, H.K. 1990. Soil ecology, pp. 93-115. In R. Gaugler and H.K. Kaya, eds. Entomopathogenic Nematodes in Biological Control. CRC Press, Boca Raton, Florida, USA. Kaya, H.K. and R. Gaugler. 1993. Entomopathogenic nematodes. Annual Review of Entomology. 38: 181-206. Lewis, E.E. and D.J. Clarke. 2012. Nematode parasites and entomopathogens, pp. 395-424. In: F. Vega and H.K. Kaya, eds. Insect Pathology, 2nd Edition. Elsevier, Amsterdam, The Netherlands. Molyneux, A. S., R.A. Bedding and R.J. Akhurst. 1983. Susceptibility of larvae to the sheep blowfly Lucilia cuprina to various Heterorhabditis spp., Neoaplectana spp., and an undescribed steinernematid (Nematoda). Journal of Invertebrate Pathology. 42: 1-7. Montezano, D.G., A. Specht, D.R. Sosa-Gómez, V.F. Roque-Specht, J.C. Sousa-Silva, S.V. PaulaMoraes, J.A. Peterson and T.E. Hunt. 2018. Host plants of Spodoptera frugiperda J.E. Smith (Lepidoptera: Noctuidae) in the Americas. African Entomology. 26(2): 286-300. Nancy, D.E. and J.L. Capinerra. 1993. Quantification of invasion of two strains of Steinernema carpocapsae (Weiser) into three lepidopteran larvae. Journal of Nematology. 25(2): 173-180. Noosidum, A., P. Satwong, A. Chandrapatya and E.E. Lewis. 2016. Efficacy of Steinernema spp. plus anti-desiccants to control two serious foliage pests of vegetable crops, Spodoptera litura F. and Plutella xylostella L. Biological Control. 97: 48-56. Poinar, G.O.Jr. 1990. Taxonomy and biology of Steinernematidae and Heterorhabditidae, pp. 23-61. In R. Gaugler and H.K. Kaya, eds. Entomopathogenic Nematodes in Biological Control. CRC Press, Boca Raton, Florida, USA.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
541
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
ประสิทธิภาพของสารรมอีโคฟูม (ECO2FUME) ในการป้องกันกาจัดเพลีย้ แป้งมังคุด (Pseudococcus cryptus Hempel (Hemiptera: Pseudococcidae)) Efficiency of ECO2FUME to Control Pseudococcus cryptus Hempel (Hemiptera: Pseudococcidae) ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ รังสิมา เก่งการพานิช ภาวินี หนูชนะภัย พณัญญา พบสุข และ ศรุตา สิทธิไชยกุล Duangsamorn Suthisut Rungsima Kengkanpanich Pavinee Noochanapai Pananya Pobsuk and Saruta Sittichaiyakul กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพ 10900 Post-harvest and Processing Research and Development Division, Department of Agriculture, Bangkok, 10900
บทคัดย่อ การใช้สารรมเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการกาจัดแมลงศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยวในมังคุด โดยสารรมที่ นิยมใช้คือสารรมเมทิลโบรไมด์ แต่เนื่องจากสารรมชนิดนี้มีข้อจากัดในการใช้ ดังนั้น สารรมอีโคฟูมจึงเป็นอีก ทางเลือกในการนามาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาอัตรา และระยะเวลาที่เหมาะสมในการกาจัดเพลี้ยแป้งมังคุด (Pseudococcus cryptus Hempel) (Hemiptera: Pseudococcidae) โดยการทดลองดาเนินการที่ห้องปฏิบัติการของกลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บ เกี่ ยวพืชไร่ กองวิจัยและพั ฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ระหว่างตุลาคม 2558กันยายน 2561 ผลการทดลองพบว่าสารรมอีโคฟูม ทุกอัตราและระยะเวลาที่ทดสอบ สามารถกาจัดเพลี้ยแป้ง มังคุดระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยได้ ขณะที่สารรมอีโคฟูมในอัตราและระยะเวลาเดียวกันไม่สามารถกาจัด เพลี้ยแป้งระยะไข่ได้ ดังนั้น ระยะไข่ของเพลี้ยแป้งมังคุดเป็นระยะที่ทนทานต่อสารรมอีโคฟูมได้มากกว่าเพลี้ยแป้ง มั งคุดระยะอื่น จากการศึกษาในครั้งนี้ พ บว่า ไข่เพลี้ยแป้งมั งคุดอายุ 7 วัน มี ความอ่อนแอต่อสารรมอีโคฟู ม มากกว่า ไข่เพลี้ยแป้งมั งคุดอายุ 1 วัน อย่างไรก็ ตาม สารรมอีโคฟูมอัตรา 210 กรัม/ลูกบาศก์ เมตร นาน 24 ชั่วโมง ไม่สามารถกาจัดไข่เพลี้ยแป้งมังคุดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมของสารรมอี โคฟูมในการกาจัดระยะไข่เพลี้ยแป้งมังคุดจาเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม คาสาคัญ : สารรม อีโคฟูม เพลี้ยแป้งมังคุด ABSTRACT The fumigation method basically uses for controlling contaminated-insect pests in mangosteen. The well-known fumigant is methyl bromide. However, the methyl bromide is limited to use. Therefore, eco2fume could be used as an alternative fumigant to control 542
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
insect pests after harvesting. The aim of this study was to investigate the concentration and time period of eco2fume to control mealybug; Pseudococcus cryptus Hempel (Hemiptera: Pseudococcidae). The experiments were run under laboratory condition at Postharvest Technology on Field Crops Research and Development Group, Postharvest and Processing Research and Development Division, Department of Agriculture. The experiment was implemented from October 2015 to September 2018. The results have shown that all of eco2fume concentrations and times can completely eradicate nymphs and adults of P. cryptus, respectively. Whereas, P. cryptus eggs were not controlled in the same concentrations. Then, mealy bug eggs were more tolerant to eco 2fume than other stages and 7 days-old eggs were more susceptible to eco2fume than 1 day-old eggs. However, the highest dose of 210 g/m3, 24h from this experiment did not completely control the eggs. Therefore, the appropriate dosage of eco2fume needs further study. Keywords: Fumigant, ECO2FUME, Pseudococcus cryptus คานา มังคุด (Garcinia mangostana) ถือได้ว่าเป็นราชินีของผลไม้ไทยที่มีชื่อเสียง โดยในปี 2561 พบว่ามี การส่งออกมังคุดจานวน 111,356 ตัน ไปยังประเทศปลายทางหลากหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเรีย สหภาพยุโรป เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วก่อนทาการส่งออกผู้ส่งออกต้องทาการกาจัดแมลงศัตรูพืชกักกันก่อนถึง ประเทศปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นกาหนดให้มังคุดที่จะส่งออกจากประเทศไทยต้องรมด้วยสาร รมเมทิลโบรไมด์ 32 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 21 องศา ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กาหนดให้มังคุดต้องฉายรังสีขั้นต่า ที่ระดับ 400 เกรย์ เพื่อกาจัดแมลงศัตรูพืช (อังคณา, 2550) ทั้งนี้ วิธีการ กาจัดแมลงศัตรูพืชขึ้นอยู่กับประเทศปลายทางเป็นผู้กาหนด แมลงศั ต รูมั ง คุ ด หลั ง การเก็ บ เกี่ ย วมี อ ยู่ ด้ วยกั น หลายชนิ ด เช่น เพลี ้ย ไฟพริก (Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี ้ย ไฟมัง คุด (Scirtothrips oligochaetus (Karny)) แมลงวัน ผลไม้ (Bactrocera carambolae Drew & Hancock; Bactrocera dorrsalis; Bactrocera papayae) (มาลัยพร และคณะ, 2553) และเพลี้ยแป้งมังคุด (Pseudococcus cryptus Hempel) โดยที่เพลี้ยแป้งชนิดนี้ระบาดก่อนการเก็บ เกี่ยว ส่งผลให้เพลี้ยแป้งติดมากับมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวโดยเพลี้ยแป้งมังคุดจะอาศัยดูดกินน้าเลี้ยงบริเวณ กลีบเลี้ยงของมังคุด ทาให้มี การปนเปื้อนและก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการส่งออกตามมา (เกรียงไกร และคณะ, 2549) นอกจากนั้นเพลี้ยแป้งชนิดนี้ยังเป็นแมลงศัตรูพืชที่สาคัญในพืชชนิดอื่นเช่น มะม่วง มะพร้าวและมะขาม (ชลิดา และชมัยพร, 2554) โดยที่มาลัยพร และคณะ (2553) ได้ทาการศึกษาหาวิธีที่สามารถกาจัดแมลงที่ติด มากับมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า การล้างมังคุดด้วยน้ายาล้างจาน 10 % ร่วมกับการเป่าลม สามารถกาจัด เพลี้ยแป้ง และมดดาได้ 95 เปอร์เซ็นต์ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
543
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
สารรม (fumigant) เป็นสารเคมีที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนานและเป็นที่นิยมเนื่องจากวิธีการไม่ ยุ่งยาก และสะดวกต่อการป้องกันกาจัดแมลง โดยสารรมที่ได้รับความนิยมสาหรับการใช้ป้องกันและกาจัด แมลงในปั จ จุ บั น มี อ ยู่ 2 ชนิ ด คื อ สารรมเมทิ ล โบรไมด์ (methyl bromide) และ สารรมฟอสฟี น (phosphine: PH3) (พรทิพย์ และคณะ, 2548) โดยที่สารรมเมทิลโบรไมด์ได้มีการนามาใช้ในการป้องกันกาจัด แมลงในผลิตผลเกษตร ธัญพืช พืชผักและผลไม้หลากหลายชนิด เช่น ข้าว กล้วยไม้ มังคุด และ หน่อไม้ฝรั่ง แต่ สารรมเมทิลโบรไมด์นั้นมีข้อจากัดในการใช้ เนื่องจากสารรมชนิดนี้เป็นสารรมที่ทาลายชั้นโอโซนของโลก ทาให้ รังสีอุลตร้าไวโอเลตเอและบี (ultraviolet, UVA: UVB) ส่องเข้ามาที่โลกได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้มนุษย์เกิด มะเร็งผิวหนัง และธรรมชาติเกิดปรากฏการณ์ที่แปรปรวน ดังนั้น จึงได้มีการยกเลิกการใช้สารรมเมทิลโบรไมด์ เพื่อกาจัดแมลงภายในประเทศไทยปี 2558 แต่ยังคงใช้สารรมชนิดนี้สาหรับการส่งออกและการกักกันพืช ได้ เท่านั้น สาหรับสารรมฟอสฟีนเป็นสารรมที่ใช้ในผลิตผลเกษตรหลากหลายชนิด (รังสิมา และคณะ, 2553) แต่ สารรมชนิดนี้ไม่สามารถนามาใช้กับผักและผลไม้สดได้ เนื่องจากระยะเวลาในการรมที่ต้องใช้เวลา 5-7 วัน และ สามารถท าให้พื ชเกิ ดอาการไหม้ (phytotoxic) เนื่ องจากข้อจ ากั ดของสารรมทั้ ง สองชนิ ดนี้ ท าให้ต้อ งมี การศึกษาเพื่อหาสารรมชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมในการป้องกันกาจัดแมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยว สารรมอี โ คฟู ม (eco2fume) เป็ น สารรมที่ ที ส่ วนประกอบของฟอสฟี น 2% (by weight) และ คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide: CO2) 98% ข้อได้เปรียบของสารรมชนิดนี้ก็คือ 1) สารรมอีโคฟูมเป็น สารรมที่ไม่ติดไฟ 2) พร้อมสาหรับใช้งานเนื่องจากผสมมาเรียบร้อยแล้วในถัง 3) ไม่มีของเสีย (no waste by product) เหลืออยู่หลังจากการรม นอกจากนี้ยังพบว่า สามารถใช้สารรมอีโคฟูมสามารถกาจัดแมลงศัตรูพืชใน ผลไม้ได้ เช่น ส้ม โดยทวีศักดิ์ และคณะ (2551) ได้ทาการทดสอบประสิ ทธิภาพของอีโคฟูมโดยปล่อยสารรม อีโคฟูมเพื่อกาจัดเพลี้ยแป้งในผลมังคุดโดยปล่อยสารรมอีโคฟูมในระยะเวลาต่างๆ กัน ผลการทดลองพบว่า ทุก กรรมวิธีม ีป ระสิท ธิภ าพในการก าจัด เพลี้ย แป้ง ได้ 100 เปอร์เ ซ็น ต์ แต่เ นื่องจากการทดลองนี้ยัง ไม่ สามารถระบุอัตราของสารรมอีโ คฟูม ที่แท้จ ริงได้ ดังนั้นการทดลองครั้งนี้มีวัตถุป ระสงค์ เพื่อหาอัตราและ ระยะเวลาที่ส ามารถป้อ งกันกาจัดเพลี้ยแป้งมังคุ ดได้ สาหรับ เป็นทางเลือกในการกาจัด เพลี้ยแป้ง มังคุด ต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 544
สารรมอีโคฟูม 1 ถัง ตู้ควบคุมอุณหภูมิ (incubator) เพลี้ยแป้งมังคุดระยะต่างๆ (ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย) มังคุด, ฟักทองพันธุ์ ศรีเมือง ถ้วยพลาสติกขนาด 2 ออนซ์, พู่กัน ถุงเก็บกักสารรม (tedlar bags) ยีห่ ้อ SKC (CAT#232-03) ขนาด 3 ลิตร
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
8. โหลแก้ว (dessicator) 9. พาราฟิลม์ (parafilm) 10. กล้องจุลทรรศน์ 11. เข็มกักเก็บสารรม วิธีการ 1. ขั้นตอนการเตรียมสารรมอีโคฟูม ทาการถ่ายเทสารรมอีโคฟูมจากถังขนาด 215 ลิตรใส่ลงในถุงเก็บกักสารรมขนาด 3 ลิตร (ภาพที่ 1) เพื่อใช้สาหรับการทดลองในขั้นตอนต่อไป
ภาพที่ 1 การถ่ายเทสารรมอีโคฟูมจากถังขนาดใหญ่ไปบรรจุในถุงกักเก็บก๊าซขนาด 3 ลิตร 2. การเลี้ยงขยายพันธุ์เพลี้ยแป้งมังคุด (Pseudococcus cryptus Hempel) สารวจและเก็บตัวอย่างเพลี้ยแป้งมังคุดจากผลมังคุลที่จังหวัดจันทบุรี โดยนาตัวอย่างบางส่วนส่งไป จาแนกชนิดที่กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เมื่อทราบเป็น ที่แน่ชัดแล้วว่าตัวอย่างที่เก็บมาเป็นเพลี้ยแป้งมังคุด จึงทาการเพาะเลี้ยงเพลี้ยแป้งมังคุดจากแหล่งดังกล่าวโดย ใช้ฟักทองพันธุ์ศรีเมือง เพื่อให้ได้เพลี้ยแป้งมังคุดระยะต่างๆ (ภาพที่ 2) โดยนาเพลี้ยแป้งมังคุดตัวเต็มวัยเพศ เมีย เขี่ยลงบนผลฟักทองและเมื่อเพลี้ยแป้งมังคุดเพศเมียออกไข่จึงนากลุ่มไข่ดังกล่าวมาแบ่งกลุ่มไข่โดยใช้เข็ม เขี่ยภายใต้ก ล้อ งจุล ทรรศ์ แล้วเขี่ย กลุ่ม ไข่ ใส่ใต้กลีบ เลี้ยงของผลมั ง คุด (1 กลุ่ม ไข่/ผล, 3 ผล/1ซ้า, 3 ซ้า/ กรรมวิธี) เพื่อใช้ในการทดลองต่อไป ขณะที่เพลี้ยแป้ง มังคุดระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยเพศเมีย ทาการ คัดเลือกเพลี้ยแป้งมังคุดที่มีขนาด 2-3 และ 4-5 มิลลิเมตร ตามลาดับ โดยเขี่ยเพลี้ยแป้งดังกล่าวใส่ใต้กลีบเลี้ยง ของผลมังคุด (10 ตัว/ผล, 3 ผล/1ซ้า, 3 ซ้า/กรรมวิธี) และนาผลมังคุดที่มีเพลีย้ แป้งมังคุดใส่ลงในแก้วพลาสติก และปิดด้วยผ้าขาวบาง เป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนการทดลอง หลังจากนั้นนาผลมังคุดที่มีเพลี้ยแป้งมังคุดมา ทดสอบกับสารรมอีโคฟูมในแต่ละกรรมวิธีต่อไป
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
545
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ถุงไข่ (Egg sacs)
ระยะตัวอ่อน (nymphs)
PEB-11
ระยะไข่ (Egg)
ระยะตัวเต็มวัย (adults)
ภาพที่ 2 เพลี้ยแป้งมังคุด Pseudococcus cryptus (ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย) 3. การทดสอบกับเพลี้ยแป้งมังคุดระยะการเจริญเติบโตต่างๆ (ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัยเพศเมีย) 3.1 การทดสอบสารรมอีโคฟูมกับเพลี้ยแป้งระยะไข่ (อายุ 0-7 วัน) ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็ม วัย ระยะเวลา 2 และ 24 ชั่วโมง โดย นากลุ่มไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งมังคุดเขี่ย ใส่บริเวณใต้ กลีบ เลี้ยงมั ง คุดและรมด้วยสารรมอี โ คฟู ม ตามกรรมวิธีที่ ก าหนดโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 7 กรรมวิธี 3 ซ้า ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีที่ 2 กรรมวิธีที่ 3 กรรมวิธีที่ 4 กรรมวิธีที่ 5 กรรมวิธีที่ 6 กรรมวิธีที่ 7
ไม่ใช้สารรม นาน 2 ชั่วโมง ไม่ใช้สารรม นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 35 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 70 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 84 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 105 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 140 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2 ชั่วโมง
เมื่อทาการทดสอบแล้วตามหัวข้อที่ 3.1 พบว่าความเข้มข้นดังกล่าวไม่สามารถกาจัดเพลี้ยแป้งมังคุด ระยะไข่ได้จึงได้มีการเพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลาของสารรมอีโคฟูมในการทดลอง 3.2 ดังนี้ 546
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
3.2 การทดสอบสารรมอีโคฟูมกับเพลี้ยแป้งระยะไข่อายุ (1, 3 และ 7 วัน) ระยะตัวอ่อน และ ระยะ ตัวเต็มวัย นาเพลี้ยแป้งมังคุดในแต่ละระยะการเจริญเติบโตเขี่ยใส่ใต้กลีบเลี้ยงมังคุดและรมด้วยสารรมอีโคฟูม ตามกรรมวิธีที่กาหนดโดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 6 กรรมวิธี 3 ซ้า นาน 24 ชั่วโมง ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีที่ 2 กรรมวิธีที่ 3 กรรมวิธีที่ 4 กรรมวิธีที่ 5 กรรมวิธีที่ 6
ไม่ใช้สารรม นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 70 กรัม/ลูกบาศก์เมตรนาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 105 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 140 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 175 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง รมด้วยอีโคฟูม อัตรา 210 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง
3.3 นาเพลี้ยแป้งมังคุดระยะต่างๆเขี่ยใส่ใต้กลีบเลี้ยงของผลมังคุด ที่เตรียมไว้สาหรับการทดลอง วาง ผลมังคุดที่มีเพลี้ยแป้งระยะต่างๆลงในโหลแก้ว หลังจากนั้นทาการปิดฝาโหลแก้วให้สนิทโดยใช้พาราฟิล์มปิด บริเวณโดยรอบโหลแก้วเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารรม และดูดอากาศที่อยู่ในโหลแก้วออก หลังจากนั้นดูด สารรมอีโคฟูมจากถุงกักเก็บสารรมโดยใช้หลอดกักเก็บสารรมดูดสารรมอีโคฟู มมาใส่ในโหลแก้วตามกรรมวิธีที่ กาหนด เมื่อครบตามระยะเวลาที่กาหนด เปิดฝาโหลแก้วเพื่อระบายอากาศเป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนนามาเช็ค ผล กรณีของเพลี้ยแป้งมั งคุดระยะไข่ใ ห้ทาการย้ายมังคุดที่ ผ่านการทดสอบมาเก็บไว้ที่ตู้ควบคุม อุณหภูมิ ที่ กาหนด และตรวจนับ จานวนการเกิดของตัวอ่ อนเพลี้ยแป้งมั งคุด ที่เกิ ดจากระยะไข่ทุ กวันเป็นเวลา 14 วัน สาหรับระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยทาการตรวจนับจานวนเพลี้ยแป้งมังคุดที่รอดชีวิตหลังการทดลอง 1 ชั่วโมง ผลการทดลองและวิจารณ์ การทดสอบระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัยเพศเมียของเพลี้ยแป้งมังคุดกับสารรมอีโคฟูมที่ อัตรา 35 และ 70 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่รมนาน 24 ชั่วโมง และที่อัตรา 84, 105 และ 140 กรัม/ลูกบาศก์ เมตร ที่รมนาน 2 ชั่วโมง พบว่า เพลี้ยแป้งมังคุดระยะไข่ (อายุ 0-7 วัน) ที่ทาการทดสอบทุกอัตราสามารถฟัก ออกมาเป็นตัวอ่อนได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเท่ากับ 5.4, 11.2, 100, 81.6 และ 90.4 เปอร์เซ็นต์ แต่ สาหรับเพลี้ยแป้งมังคุดระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัยพบว่า ไม่มีเพลี้ยแป้งมังคุดรอดชีวิตในทุกกรรมวิธี เมื่อ ทาการทดสอบในอัตราและเวลาเดียวกัน (ตารางที่ 1)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
547
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
ตารางที่ 1 เปอร์เซ็นต์การอยูร่ อดของเพลี้ยแป้งมังคุดระยะไข่ (อายุ 0-7 วัน) ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็ม วัยเพศเมียหลังรมด้วยสารรมอีโคฟูมระยะเวลา 2 และ 24 ชั่วโมง อัตราสารรมอีโคฟูม ((กรัม/ลูกบาศก์เมตร) 0 (นาน 2 ชม.) 0 (นาน24 ชม.) 35 (นาน2 ชม.) 70 (นาน24 ชม.) 84 (นาน2 ชม.) 105 (นาน2 ชม.) 140 (นาน2 ชม.)
เปอร์เซ็นต์การรอดของเพลี้ยแป้ง P. cryptus1/ ระยะไข่ (0-7 วัน) ระยะตัวอ่อน ระยะตัวเต็มวัย 100 100 100 100 100 100 5.4 0 0 11.2 0 0 100 0 0 81.6 0 0 90.4 0 0
ดังนั้นจึงได้ทาการทดสอบระยะไข่ที่มีอายุที่แตกต่างกัน โดยทาการศึกษาถึงอายุของไข่ที่มีอายุ 1, 3 และ 7 วัน พบว่าไข่ที่มีอายุ 1 วัน ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งสามารถฟักออกมาจากไข่ได้ในทุกกรรมวิธี ในขณะที่ ระยะ ไข่ของเพลี้ยแป้งมังคุด 3 วัน ยังพบเพลี้ยแป้งระยะตัวอ่อนฟักออกมาจากไข่ที่ทาการทดสอบในบางกรรมวิธี แต่ในไข่ที่มีอายุ 7 วัน พบว่าไม่มีระยะตัวอ่อนของเพลีย้ แป้งฟักออกมาจากไข่ในทุกกรรมวิธี (ตารางที่ 2) ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าอายุไข่ที่แตกต่างกันมีผลต่อการใช้สารรมอีโคฟูมในการกาจัดเพลี้ยแป้งระยะไข่ โดยไข่ที่มี อายุน้อยจะสามารถทนทานต่อสารรมอี โคฟูมได้ม ากกว่าไข่ที่ มีอายุม ากเนื่องจากอัตราการหายใจที่ต่ากว่ า ในขณะที่ระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งมังคุดที่ทดสอบไม่พบการรอดชีวิตในทุกกรมวิธี ดังนั้น สารรมอีโคฟูมที่อั ตราสูงที่สุด คือ 210 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมงยังไม่สามารถกาจัดระยะไข่ของ เพลี้ยแป้งมังคุดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าระยะไข่ของเพลี้ยแป้งมังคุดเป็นระยะที่ทนทานต่อสารรม อีโคฟูม มากที่ สุด ซึ่งสอดคล้องกับ Cichón et al., (2011) ที่ ได้ท าการทดลองเพลี้ยแป้ง Pseudococcus viburni กับสารรมฟอสฟีนที่ 70 กรัม/ลูกบาศก์เมตร (1000 ppm) นาน 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าไม่สามารถ กาจัดระยะไข่เพลี้ยแป้ง ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ ากับ 99.00 และ 98.98 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ
548
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
ตารางที่ 2 แสดงเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของเพลี้ยแป้งมังคุดระยะไข่ (อายุ1, 3 และ 7 วัน) ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัยเพศเมียหลังรมด้วยสารรมอีโคฟูมระยะเวลา 24 ชั่วโมง อัตราสารรมอีโคฟูม ((กรัม/ลูกบาศก์เมตร) 0 70 105 140 175 210
ระยะไข่ (1 วัน) 100 5.8 33.6 86.9 13.5 57.4
เปอร์เซ็นต์การรอดของเพลี้ยแป้ง P. cryptus1/ ระยะไข่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะตัวเต็มวัย (3 วัน) (7 วัน) 100 100 100 100 1.1 0 0 0 0 0 0 0 2.2 0 0 0 0 0 0 0 1.1 0 0 0
นอกจากนี้ Liu (2011) ได้ทดสอบสารรมฟอสฟีนเพียงชนิดเดียวที่อัตรา 70 กรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็น ระยะเวลา 3 วัน พบว่าไม่สามารถก าจัดระยะไข่ของเพลี้ยแป้ง Pseudococcus maritimus (Ehrhorn) ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมีการนาออกซิเจนที่ความเข้มข้น 20.9 และ 60 เปอร์เซ็นต์ มาผสมกับสารรมฟอสฟีน นาน 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่าการเพิ่มออกซิเจนระหว่างการรมจะทาให้เพลี้ยแป้ง มีเปอร์เซ็นต์การตายเพิ่ม มากขึ้นแต่ยังคงไม่สามารถกาจัดเพลี้ยแป้ง ระยะไข่ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน และ Yang et al., (2016) ได้ ทดสอบเพลี้ยแป้ง Planococcus citri (Risso) กับสารรมเอทธิลฟอร์เมท อัตรา 25.1 มิลลิกรัมต่อลิตร, สารรม ฟอสฟีนอัตรา 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรและ สารรมเอทธิลฟอร์เมทอัตรา 25.1 มิลลิกรัมต่อลิตรผสมกับสารรมฟอส ฟีนอัตรา 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าสามารถกาจัดเพลีย้ แป้งได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ดังนั้นการกาจัดเพลี้ย แป้งระยะไข่ถ้าใช้สารรมอีโคฟูมเพียงชนิดเดียวจึงไม่สามารถกาจัดเพลีย้ แป้งระยะไข่ได้ในระยะเวลาอันสั้น และ เมื่อเปรียบเทียบการใช้สารรมเมทิลโบรไมด์อัตรา 32 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2 ชั่วโมงซึ่งเป็นสารรมที่ใช้ใน การกาจัดแมลงศัตรูพืชมังคุดในปัจจุบัน กับสารรมอีโคฟูมทีน่ ามาทดสอบ พบว่าสารรมอีโคฟูมที่ทดสอบมีอัตรา ที่สูงและระยะเวลาที่นานกว่าการใช้สารรมเมทิลโบร์ไมด์ และไม่สามารถกาจัดระยะไข่ของเพลี้ยแป้งได้ ดังนั้น การนาสารรมอีโคฟูมมาใช้ทดแทนสารรมเมทิลโบร์ไมด์จึงไม่สามารถทนแทนการใช้สารรมเมทิลโบรไมด์ได้ จึง จาเป็นต้องหาวิธีอื่นในการกาจัดเพลี้ยแป้งมังคุดระยะไข่ต่อไป สรุปผลการทดลอง การใช้สารรมอีโคฟูมทีอ่ ัตรา 210 กรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 24 ชั่วโมง ยังไม่สามารถกาจัดเพลี้ยแป้ง มังคุดระยะไข่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยระยะไข่ที่มีอายุ 1 วันจะทนทานต่อสารรมอีโคฟูมมากกว่า ระยะไข่ที่มี อายุ 7 วัน ขณะที่ระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งมังคุดเป็นระยะทีอ่ ่อนแอต่อสารรมอีโคฟูม
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
549
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-11
เอกสารอ้างอิง เกรียงไกร จาเริญมา ศรุต สุทธิอารมณ์ และรุจ มรกต. 2549. การจัดการเพลี้ยแป้งในมังคุด. วารสารวิชาการเกษตร. 24(3) ชลิดา อุณหวุฒิ และ ชมัยพร บัวมาศ. 2554. เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย (Mealybug, Scale Insect); แมลงปาก ดูดที่สาคัญของประเทศไทย. สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. 142 หน้า ทวีศักดิ์ ชโยภาส ไพศาล รัตนเสถียร จีรนุช เอกอานวย สมรวย รวมชัยอภิกุล และสรรชัย เพชรธรรมรส. 2551b. การทดสอบประสิทธิภาพการใช้สารเมทธิลโบรไมด์และสาร Eco2 fume ในการป้องกัน กาจัดเพลี้ยแป้งในมังคุด. บทคัดย่อ รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาพืชและและเทคโนโลยีการเกษตร ประจาปี 2551 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. หน้า 101. พรทิพย์ วิสารทานนท์ กุสมุ า นวลวัฒน์ บุษรา จันทร์แก้วมณี ใจทิพย์ อุไรชื่น รังสิมา เก่งการพานิช กรรณิการ์ เพ็งคุ้ม จิราภรณ์ ทองพันธ์ ดวงสมร สุทธิสุทธิ์ ลักขณา ร่มเย็น และภาวิณี หนูชนะภัย 2548. แมลงที่พบในผลิตผลเกษตรและการป้องกันกาจัด. สานักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการ เก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร. 150 หน้า. มาลัยพร เชื้อบัณฑิต อรวินทินี ชูศรี ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล อภิรดี กอร์ปไพบูลย์ และ วิชาญ ประเสริฐ. 2553. วิจัยและพัฒนาวิธีป้องกันกาจัดศัตรูมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในเชิง การค้า.รายงานผลการทดลองเรื่องเต็ม ปี 2553 ศูนย์วิจัยพืชสวน. รังสิมา เก่งการพานิช พรทิพย์ วิสารทานนท์ และดวงสมร สุทธิสุทธิ์. 2553. การใช้สารรมฟอสฟีนในการ ป้องกันกาจัดแมลงศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังการเก็บเกี่ยว. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร. 41: 1 (พิเศษ): 295-298. อังคณา สุวรรณกูฏ. 2550. ผลไม้สดฉายรังสี.... กว่าจะถึงอเมริกา. ใน น.ส.พ. กสิกร ปีที่ 80 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2550 หน้า 43-49. Cichón, L., Garrido, S., Gómez, R., Fernández, D., Argañaraz, L. and G. Gastaminza. 2011. Evaluation of phosphine gas as a quarantine treatment for obscure mealybug for export markets, 909 ed. International Society for Horticultural Science (ISHS), Leuven, Belgium, pp. 479-484. Liu, Y.B. 2011. Oxygen enhances phosphine toxicity for postharvest pest control. Journal of Economic Entomology 104: 1455-1461. Yang, J., Park, Y., Hyun, I.H., Kim, G.H., Kim, B.S., Lee, B.H. and Y. Ren. 2016. A Combination Treatment Using Ethyl Formate and Phosphine to Control Planococcus citri (Hemiptera: Pseudococcidae) on Pineapples. Journal of Economic Entomology 109: 2355-2363.
550
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
การติดตามการระบาดของแมลงดาหนาม และแนวโน้มการทาความเสียหายต่อ ผลผลิตข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี Outbreak Surveillance of Rice Hispa and a Tendency of Causing Rice Crop Losses จินตนา ไชยวงค์ พลอยไพลิน ธนิกกุล ปกรณ์ เผ่าธีระศานต์ และ ธนดล ไกรรักษ์ Jintana Chaiwong Ploypirin Thanikkul Pakorn Paoteerasarn and Tanadol Kairak กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-7559 ต่อ 5202 Division of Rice Research and Development, Rice Department, Chatuchak, Bangkok 10900 Tel. 0-2579-7559 ext. 5202
บทคัดย่อ แมลงดาหนาม (rice hispa, Dicladispa armigera (Olivier)) เป็นแมลงศัตรูข้าวอันดับรองและพบ การระบาดเป็ น ครั้ ง คราว จากรายงานในอดี ต พบการระบาดในปี 2475, 2527 และ 2541 ที่ จั ง หวั ด ฉะเชิงเทรา นครปฐม สุพรรณบุรี และชัยนาท หลังจากนั้น ไม่พบรายงานการระบาด จนกระทั่งปี 2561 พบ ความเสียหายในนาข้าวที่จังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท นอกจากนี้ จากการสอบถามเกษตรกรอาเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า เมื่อประมาณปี 2558 เป็นต้นมา พบการเข้าทาลายของแมลงดาหนาม ทุกฤดูปลูก ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการดาเนินงานวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการระบาดของแมลงดาหนาม ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมรับสถานการณ์ หากเกิดการระบาดอย่างรุนแรงใน อนาคต ดาเนินการ 2 ฤดูป ลูก ในเดือ นกันยายน 2561 ถึง เดือนมี นาคม 2562 จากการศึกษาในฤดูนาปรัง 1/2562 พบตั วเต็ ม วั ยของแมลงด าหนามเข้ าท าลายในข้าวระยะแตกกอถึ ง ตั้ง ท้ อ ง (49-63 วัน ) จากนั้ น ประชากรลดลงจนถึงไม่พบเลย พบมากในช่วงต้นเดือนกันยายนถึงกลางตุลาคม ส่วนในฤดูนาปรัง 2/2562 พบ ตัวเต็มวัยของแมลงดาหนามเข้าทาลายในข้าวระยะแตกกอจนถึงระยะออกรวง (49-94 วัน) โดยพบมากในช่วง เดือนมีนาคม นอกจากนี้ ได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างไข่ หนอน และดักแด้ของแมลงดาหนาม พบการเบียนของ แตนเบียนไข่ Trichogramma spp. แตนเบียนหนอน Bracon sp. และแตนเบียนดักแด้ Trichomalopsis sp. ในอั ต ราสู ง โดยเฉพาะแตนเบี ย นไข่ Trichogramma spp. และแตนเบี ย นหนอน Bracon sp. ที่ มี แนวโน้มมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมแมลงดาหนาม คาสาคัญ : ตัวเบียน การระบาดเป็นครั้งคราว ฤดูนาปรัง นาข้าว ABSTRACT Rice hispa, Dicladispa armigera (Olivier) is a minor pest of rice that which occasionally found in rice fields. Previous reports mentioned the outbreak of rice hispa occurred in 1932, 1984, and 1998 at Chachoengsao, Nakhon Pathom, Suphan Buri and 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
551
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
Chainat provinces but no further outbreak reports were found. Surprisingly, outbreaks were found again in Chachoengsao, Suphan Buri and Chainat province in 2018 and the information collected from farmers in Si Prachan District, Suphan Buri provinces referred the continuous outbreaks on every crop since 2015 to till date. Current research has been conducted with purpose to study outbreak surveillance of rice hispa in Suphan Buri province and the data will be helpful to deal with any outbreak situations in the future. Our study has conducted in two crops seasons in between September 2018 to March 2019. Our findings revealed that, adult rice hispa destroyed the rice plants at tillering to booting stage (49-63 days after sowing; DAS) in the second dry season 2019. Later on, their population has decreased to normal at ripening stage. The most rice hispa were found in between September to midOctober in 2018. However, in the second dry season 2019 March, adult rice hispa destroyed again the rice plants at tillering to ripening stage (49-94 days after sowing; DAS) in huge. We randomly collected some samples of rice hispa eggs, nymphs and pupa along with high rate of parasites in addition. Our further study showed that, they are mostly ingested by egg parasitoid Trichogramma spp, larva parasitoid Bracon spp., and pupa parasitoid Trichomalopsis spp. Keywords: parasite, occasionally outbreak, dry season, rice field. คานา แมลงด าหนาม Dicladispa armigera (Olivier) (Chrysomelidae; Coleoptera) (Dale, 1994) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่ มี การระบาดเป็นครั้ง คราว หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมอาจทาเกิ ดการระบาดอย่าง รวดเร็ว แต่โดยปกติการระบาดมักไม่รุนแรงถึงระดับทาให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ วงจรชีวิตของแมลง ดาหนามมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย จากระยะไข่ถึงตัวเต็ มวัยนาน 15-20 วัน ตัว เต็มวัยอายุประมาณ 83-90 วัน (Dutta and Hazarika, 1995) แมลงดาหนามสามารถเข้าทาลายต้นข้าวได้ทั้ง ในระยะหนอนและตัวเต็มวัย โดยหนอนจะกัดกินภายในเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesophyll) ของใบข้าว ส่วนตัว เต็มวัยกัดกินผิวใบข้าว ทาให้ส่วนสีเขียวของพืชที่ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์หายไป ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง ของใบข้าว (Acharya, 1967; Dale, 1994) นาข้าวที่ ถูก ทาลายรุนแรงปลายใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสี น้าตาลเหมือนถูกไฟไหม้ (วันทนา และคณะ, 2554) แต่ทั้งนี้ยังไม่พบรายงานความเสียหายที่เกิดจากการเข้า ทาลายของแมลงดาหนามถึงระดับเศรษฐกิจในประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์การการระบาดของแมลงศัตรูข้าวในประเทศไทย พบว่า มีก ารระบาดของ แมลงดาหนามในปี พ.ศ. 2475 (ปรีชา, 2545) ไม่ระบุพื้นที่เสียหาย ส่วนรายงานปี พ.ศ. 2527 พบการแพร่ ระบาดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครปฐม และสุพรรณบุรี (วีรวุฒิ , 2526) ไม่ระบุพื้นที่เสียหาย และปี พ.ศ. 2541 552
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
พบการเข้าทาลายที่จังหวัดชัยนาท เป็นพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ (สุวัฒน์ และรจนา, 2542) จากนั้นไม่พบรายงาน การระบาดหรือการแพร่กระจายของแมลงดาหนามอีก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 ได้มีการสารวจสถานการณ์การ ระบาดของศัตรูข้าว ภายใต้โครงการเฝ้าระวังเพื่อเตือนภัยและป้องกันศัตรูข้าว กรมการข้าว พบการเข้าทาลาย ของแมลงดาหนามในแปลงเกษตรกร อ าเภอศรีป ระจัน ต์ จัง หวัดสุพรรณบุรี ประกอบกั บ ข้อมู ล จากการ สอบถามเกษตรกร พบว่า ในพื้นที่ดังกล่าวพบการเข้าทาลายของแมลงดาหนามทุกฤดูปลูก ในช่วงเวลา 3 – 4 ปีที่ผ่านมา และเกษตรกรไม่รู้จักและไม่มีความรู้เกี่ยวกับแมลงดาหนาม แมลงดาหนามเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีรายงานการแพร่กระจายในหลายประเทศแถบเอเชีย ได้แก่ บัง คลาเทศ ภูฏาน พม่า จีน อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เนปาล ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ศรีลังกา เวียดนาม และไทย (Dale, 1994) แต่ประเทศที่พบการระบาดอย่างรุนแรง เช่น ประเทศอินเดีย (Sarkar and Bhattacharjee, 1988) ผลผลิตเสียหายประมาณร้อยละ 28 (Nath and Dutta, 1997) ในประเทศบังคลา เทศ พบความเสียหายมากกว่า ร้อ ยละ 52 ในข้าวน้าลึก (Islam, 1989; Polaszek et al., 2002) และใน ประเทศเนปาล พบความเสียหายร้อยละ 20 – 30 (Polaszek et al., 2002) เป็นต้น จากข้อมูลการระบาด ของหลายประเทศในแถบเอเชีย และการสารวจสถานการณ์การระบาดของศัตรู ข้าว กรมการข้าว เบื้ องต้น ดังกล่าวนั้น จึงเห็นว่าการติดตามสถานการณ์ก ารระบาดของแมลงดาหนาม มีความสาคัญ และจาเป็นต้อง ศึกษา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน โดยเฉพาะการที่ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น อาจ ส่งผลกระทบต่อการดารงชีวิตของศัตรูพืช (Huang et al., 2010) รวมถึงแมลงดาหนาม ดังนั้น วัตถุประสงค์ ของงานวิจัยนี้ จึงมุ่งศึกษาเพื่อติดตามสถานการณ์การระบาด และแนวโน้มการทาความเสียหายต่อผลผลิตข้าว ของแมลงดาหนาม เพื่อเตรียมรับหากเกิดการระบาดของแมลงดาหนามในประเทศไทย อุปกรณ์และวิธีการ 1. การสารวจการระบาดของแมลงดาหนาม ดาเนินการ 2 ฤดู ปลูก ได้แก่ ฤดูนาปรัง 1/2562 (กั นยายน - พฤศจิก ายน 2561) และฤดูนาปรัง 2/2562 (มกราคม - มีนาคม 2562) ดาเนินการในเกษตรกรตาบลวังหว้า อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (พิกัดทางภูมิศาสตร์; 14°37'06.2"N 100°04'07.4"E และ 14°37'09.4"N 100°03'49.6"E) ในพื้นที่ขนาด 1 ไร่ เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 โดยวิธีหว่านน้าตม และไม่พ่นสารป้องกันกาจัดแมลง ดาเนินการสุ่มนับด้วยตาเปล่า จานวน 20 จุดต่อครั้ง (1 จุดสารวจ หมายถึง การสุ่มนับบริเวณต้นข้าว ประมาณ 10 ต้นชิดติดกั น หรือ ข้าวจานวน 1 กอ) วางแผนการสุ่ม ตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Sampling) ด้วยการเดินแบบทแยงมุมจากขอบคันนาด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เริ่มสุม่ สารวจในข้าวระยะแตก กอหรือข้าวอายุประมาณ 40 วันหลังหว่าน สุ่มสารวจทุก 7 วัน จนถึงข้าวระยะออกรวง บันทึกจานวนแมลงดา หนามที่พบในแต่ละฤดูปลูก
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
553
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
2. การศึกษาแนวโน้มการทาความเสียหายต่อผลผลิตข้าวของแมลงดาหนาม เก็บข้อมูลผลผลิตข้าวจากในฤดูนาปรัง 2/2562 โดยเมื่อข้าวอายุ 104 วัน ทาการเก็บเกี่ยวผลผลิตใน พื้นที่ 2x5 เมตร เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่มีการเข้าทาลายของแมลงดาหนามอย่างรุนแรง และพื้นที่ที่ไม่ถูก ทาลาย จานวนอย่างละ 3 ซ้า และทาการเก็บข้อมูล โดยแต่ละกรรมวิธีสุ่มเก็บตัวอย่างต้นข้าว จานวน 30 จุด โดยสุ่ม เก็ บ ตัวอย่างแบบวิธีก ารส ารวจในแปลงตัวอย่าง (Quadrat Method) บันทึ ก การเจริญ เติบ โตและ ผลผลิต ดังนี้ 1) ความยาวของรวง โดยวัดจากคอรวงไปจนถึงปลายเมล็ดสุดท้ายของรวงข้าว สุ่ มวัด 10 รวงต่อซ้า คานวณหาค่าเฉลี่ยของความยาวรวงในแต่ละซ้า 2) นับจานวนเมล็ดดีและเมล็ดลีบต่อรวง สุ่มวัด 10 รวงต่อซ้า คานวณหาค่าเฉลี่ยของจานวนเมล็ดดี และเมล็ดลีบต่อรวง 3) วัดปริมาณน้าหนักแห้งของผลผลิตข้าว ที่ความชื้นเท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ วิ เ คราะห์ ผ ลทางสถิ ติ โดยใช้ ก ารเปรี ย บเที ย บค่ า เฉลี่ ย ข้ อ มู ล ของ 2 กลุ่ ม (T-Test แบ บ Independent) ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่ที่มีการเข้าทาลายของแมลงดาหนามอย่างรุนแรง และพื้นที่ที่ไม่ถูก ทาลาย 3. การศึกษาอัตราการตายของแมลงดาหนามในสภาพมีการระบาด สุ่ ม เก็ บ ตั ว อย่ า งไข่ หนอน หรื อ ดั ก แด้ ข องแมลงด าหนาม ในฤดู น าปรั ง 1/2562 (กั น ยายน พฤศจิก ายน 2561) สัป ดาห์ล ะ 1 ครั้ง ประมาณ 100 ตัวอย่างต่อครั้ง นาตัวอย่างแต่ล ะวัยมาแยกเลี้ยงใน หลอดแก้ วขนาด 2x17 เซนติเมตร ในห้องปฏิบัติก าร กองวิจัยและพัฒ นาข้าว กรมการข้าว บันทึก จานวน แมลงที่รอดชีวิตและตายทุกวัน คานวณหาสาเหตุการตายตามวิธีการของ Pedigo et al. (1983) โดยแสดงค่า ต่างๆ เป็นตารางชีวิตของแมลง ดังนี้ Sx
= ระดับการอยู่รอดในระยะการเจริญนั้นๆ = (lx – dx) lx lx = จานวนไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงดาหนามที่นามาศึกษา dx = จานวนไข่ หนอน และดักแด้ที่ตาย dxF = สาเหตุการตาย 100qx = % การตาย (= 100dx / lx)
554
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
ผลและวิจารณ์ 1. การสารวจการระบาดของแมลงดาหนาม แมลงดาหนามเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มักพบการแพร่ระบาดอยู่ในแถบภาคกลาง วงจรชีวิตประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย (ภาพที่ 1) เป็นแมลงที่ มีการฟักออกเป็นตัวได้ตลอดปี (multivoltine species) มี อั ต ราการขยายพั น ธุ์ ค่ อ นข้ า งสู ง เนื่ อ งจากสามารถวางไข่ ไ ด้ จ านวนมาก ประกอบด้วย 4-6 ชั่วอายุในหนึ่งปี ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ (Sen and Chakravorty, 1970; Karim, 1986; Pathak and Khan, 1994) ลักษณะการแพร่ระบาด จะพบการเข้าทาลายอย่างรุนแรงในพื้นทีน่ าลุ่ม หรือพื้นที่ นาที่มีระดับน้าประมาณ 5-10 เซนติเมตร หรือมากกว่า (จินตนา และคณะ, 2562) หากมีการระบาดรุนแรง จะเห็นใบข้าวขาวโพลนและปลายใบแห้งคล้ายถูกไฟไหม้ (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 1 วงจรชีวิตของแมลงดาหนาม และระยะต่างๆ ของแมลงดาหนาม ได้แก่ ระยะไข่ (ก) หนอน (ข) ดักแด้ (ค) และตัวเต็มวัย (ง)
ภาพที่ 2 ลักษณะการเข้าทาลายของแมลงดาหนามในนาข้าว
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
555
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
ช่วงระยะเวลาการแพร่กระจายและทาความเสียหายให้กับต้นข้าวของแมลงดาหนามนั้น พบทั้งใน 2 ฤดูปลูกที่ทาการสารวจ (ภาพที่ 3) โดยในฤดูนาปรัง 1/2562 (เดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2561) พบมากใน ข้าวระยะแตกกอถึง แตกกอเต็ม ที่ โดยพบจ านวนตัวเต็มวั ยของแมลงดาหนามเกิ นระดับ เศรษฐกิ จ (ระดับ เศรษฐกิจเท่ากับ 2 ตัวต่อจุด) แต่ไม่มีผลต่อผลผลิตในนาข้าว เนื่องจากเมื่อต้นข้าวเข้าสู่ระยะตั้งท้องจนถึงออก รวงแล้ว ไม่พบประชากรของแมลงดาหนามในนาข้าว ส่วนในฤดูนาปรัง 2/2562 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2562) พบประชากรตัวเต็มวัยตั้งแต่ระยะแตกกอถึงออกรวง และพบมากในช่วงตั้งท้องถึงออกรวง แต่จานวน ประชากรไม่ถึงระดับเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังพบการเข้าทาลายและความเสียหายของต้นข้าวจนถึ งระยะออก รวง จากการศึก ษานี้ ช่ วงระยะเวลาที่ พ บการระบาดของแมลงดาหนามในนาปรัง 1/2562 มี ความ สอดคล้องกับงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เช่น การศึกษาของสุวัฒน์ และรจนา (2542) รายงานว่าพบการ เข้าทาลายของแมลงดาหนามที่ จังหวัดชัยนาท ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2541 ซึ่งเป็นฤดูนาปรัง ส่วน การศึกษาของประเทศอินเดีย พบการระบาดอย่างรุนแรงของแมลงดาหนามในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้น ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกัน (Chakraborty and Deb, 2012; Sarkar and Bhattacharjee, 1988) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่พบรายงานการระบาดของแมลงดาหนามในช่วงฤดูนาปรังรอบที่ 2 ของประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า หากมีการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง จะทาให้แมลงดาหนามเกิดการระบาด อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
ภาพที่ 3 จานวนตัวเต็มวัยของแมลงดาหนามที่พบจากการสุม่ สารวจด้วยตาเปล่าในนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง 1/2562 และนาปรัง 2/2562 2. การศึกษาแนวโน้มการทาความเสียหายต่อผลผลิตข้าวของแมลงดาหนาม จากการเก็บข้อมูลผลผลิตข้าว ได้แก่ จานวนเมล็ดดีต่อรวง จานวนเมล็ดลีบต่อรวง ความยาวของ 556
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
รวงข้าว และผลผลิตข้าวเปลือก (กิโลกรัมต่อไร่) ในฤดูนาปรัง 2/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดตั้งแต่ระยะ แตกกอถึงออกรวง ผลจากการศึกษาพบว่า การเข้าทาลายของแมลงดาหนามมีผลต่อผลผลิตในนาข้าว โดยทา ให้ผลผลิตในแปลงที่ถูกทาลายอย่างรุนแรง ลดลงร้อยละ 25.92 เมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่ถูกทาลาย ถึงแม้ว่า ผลผลิตข้าวเปลือกของทั้งสองแปลงจะไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่จานวนผลผลิตมีความแตกต่างกันมากถึง 101.32 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 1) และถึงแม้ว่าจะมีรายงานการเข้าทาลายของตัวเต็มวัยแมลงดาหนามที่มัก พบในระยะเจริญเติบโตทางลาต้น (vegetative stage) และหลังจากระยะดังกล่าวนี้ ใบข้าวจะถูกทาลายและ เสียหายน้อย (Prakasa Rao et al., 1971) แต่หากพืชอาหารมีจานวนจากัด เช่นในฤดูนาปรัง 2/2562 ซึ่งเป็น ช่วงที่เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวลง อาจทาให้แมลงดาหนามเข้าทาลายจนถึงช่วงระยะออกรวง และส่งผลให้ เกิดความเสียหลายแก่ผลผลิตข้าวได้ ดังนั้น เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของแมลงดาหนาม หากมีการทา นาปรังรอบที่ 2 ตารางที่ 1 ผลของค่าเฉลี่ยของผลผลิตข้าวที่ได้จากแปลงทีม่ กี ารเข้าทาลายของแมลงดาหนามอย่างรุนแรง และแปลงที่ไม่ถกู ทาลาย ในฤดูนาปรัง 2/2562 แปลงวิจัย การทาลายอย่างรุนแรง แปลงปกติ T-Test
จานวนเมล็ดดี ต่อรวง 56.67 ± 2.93 65.20 ± 3.17 0.734ns
ค่าเฉลี่ยของผลผลิตข้าว ± SE จานวนเมล็ดลีบ ความยาวของ ต่อรวง รวงข้าว 25.43 ± 1.97 24.99 ± 0.37 14.43 ± 1.32 24.33 ± 0.29 0.118ns 0.416ns
ผลผลิตข้าวเปลือก (กิโลกรัมต่อไร่) 391.00 ± 105.19 492.32 ± 68.88 0.324ns
ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ * = มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
3. การศึกษาอัตราการตายของแมลงดาหนามในสภาพมีการระบาด แมลงดาหนามเป็นแมลงที่ มีอัตราการตายจากศัตรูธรรมชาติค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในระยะไข่และ หนอน โดยพบอัตราการตายจากการเข้าทาลายของแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. และแตนเบียนหนอน Bracon sp. จานวน 64.7 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ซึ่งจากการรายงานของประเทศอินเดีย พบว่า แตนเบียนทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นแตนเบียนที่สาคัญของแมลงดาหนาม โดยแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. ท าให้ ไข่ ข องแมลงด าหนามไม่ ฟั ก ถึ ง ร้ อ ยละ 64.7 (Pathak and Khan, 1994; The Centre for Agriculture and Bioscience International, 2017) นอกจากแตนเบียนดังกล่าวที่ พบในงานวิจัยนี้ ยัง มี รายงานการพบแตนเบียนอีก หลายชนิด เช่น แตนเบียนไข่ Trichogrammatid แตนเบียนหนอน Bracon hispae (Viereck), Bracon sp., Campyloneurus sp. แ ล ะ Macrocentrus sp. แ ต น เบี ย น ดั ก แ ด้ Eupteromalus sp., Trichomalopsis apanteloctena (Crawford) และ Serotenus sp. และมวนตัวห้า Rhynocoris fuscipes (Fabricius) เป็นต้น (Pathak and Khan, 1994) หากมีการอนุรักษ์แตนเบียนเหล่านี้ ในนาข้าว จะช่วยทาให้การระบาดของแมลงดาหนามลดน้อยลง 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
557
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
ตารางที่ 2 สาเหตุการตายและเปอร์เซ็นต์การตายของแมลงดาหนามในสภาพแปลงนา ในฤดูนาปรัง 1/2562 ระยะ ไข่
จานวน ตัวอย่าง 357
จานวนการตาย หนอน 100 จานวนการตาย ดักแด้ 317 จานวนการตาย
จานวนที่ ตาย (ตัว) 231 84 315 60 27 87 75 14 89
สาเหตุของการตาย แตนเบียน: Trichogramma spp. ไม่ทราบสาเหตุ แตนเบียน: Bracon sp. ไม่ทราบสาเหตุ แตนเบียน: Trichomalopsis sp. ไม่ทราบสาเหตุ
เปอร์เซ็น อัตราการรอดชีวิต ต์การตาย 64.7 23.5 88.2 60.0 27.0 87.0 23.7 4.4 28.1
0.118
0.1300
0.719
สรุปผลการทดลอง แมลงดาหนามเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มีการระบาดเป็นครั้งคราว แต่หากเกิดการระบาดแล้วอาจส่งผล กระทบต่อผลผลิตข้าวได้ การระบาดของแมลงดาหนามในนาข้าว มักพบในช่วงระยะแตกกอถึงออกรวง และ พบมากในช่วงระยะแตกกอถึงแตกกอเต็มที่ หากการทาลายถึงระยะเจริญเติบโตทางลาต้น หรือ vegetative stage จะไม่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าว เนื่องจากเป็นการเข้าทาลายทางใบ ต้นข้าวสามารถสร้างใบ ใหม่ ขึ้นมาทดแทนได้ แต่ห ากมี ก ารเข้าท าลายถึงระยะตั้ง ท้ องถึง ออกรวง ซึ่งเป็นการเจริญ เติบ โตทางการ สืบพันธุ์ และการพัฒนาของเมล็ดข้าว อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวได้ การเข้าทาลายในระยะตั้งท้องถึงออก รวงนั้น พบได้ในนาปรัง 2/2562 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2562) ซึ่งเป็นช่วงที่มีพื้นที่ปลูกข้าวน้อยลง เมื่ อ เทียบกับนาปรัง 1/2562 ดังนั้น หากเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวในฤดูนาปรัง รอบที่ 2 ควรมีการเฝ้าระวังการ ระบาดของแมลงดาหนามด้วย เพราะหากเกิดการระบาดแล้วอาจมีผลต่อผลผลิตข้าวได้ คาขอบคุณ ขอขอบคุณงบประมาณสนับสนุนจากโครงการเฝ้าระวังเพื่อเตือนภัยและป้องกันศัตรูข้าว กรมการข้าว และขอขอบคุณ นางวันทนา ศรีรัตนศักดิ์ นักวิชาการโรคพืชชานาญการพิเศษ กลุม่ วิทยาการอารักขาข้าว กอง วิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ที่ได้กรุณาให้คาปรึกษาและแนะนาตลอดระยะเวลาการวิจัย
558
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
เอกสารอ้างอิง จินตนา ไชยวงค์ พลอยไพลิน ธนิกกุล ปกรณ์ เผ่าธีระศานต์ และธนดล ไกรรักษ์. 2562. การศึกษาตารางชีวิต บางส่วนและรูปแบบการระบาดของแมลงดาหนาม. หน้า 90 – 105. ใน: การประชุมวิชาการข้าวและ ธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 36 พ.ศ. 2562. วันที่ 12 – 15 พฤษภาคม 2562. ณ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. กรุงเทพฯ. ปรีชา วังศิลาบัตร. 2545. นิเวศวิทยาของเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลและการควบคุมปริมาณ. โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ จินตนา ไชยวงค์ สุกัญญา อรัญมิตร และ อุรสั ยาน์ บูลย์ประมุข. 2554. แมลง-สัตว์ศัตรู ข้าวและการป้องกันกาจัด. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. วีรวุฒิ กตัญญูกุล. 2526. การบริหารแมลงศัตรูข้าว. โรงพิมพ์ฟันนี่ พับบลิซซิ่ง พหลโยธิน. กรุงเทพฯ. สุวัฒน์ รวยอารีย์ และ รจนา สุรการ. 2542. แมลงดาหนามศัตรูข้าวที่พบระบาดหลังฝนชุก. น.ส.พ. กสิกร 72(1): 17-21. Acharya, L.P. 1967. Life history, bionomics and morphology of the rice hispa, Hispa armigera Olivier. M. Sc. (Ag.) thesis. University of Agriculture and Technology, Bhubaneswar. India. Chakraborty K. and D.C. Deb. 2012. Incidence of rice hispa, Dicladispa armigera (Coleoptera: Chrysomelidae) on kharif paddy in the agro climatic conditions of the Northern parts of West Bengal, India. Global Journal of Science Frontier Research Biological Sciences 12(7): 52-61. Dale, D. 1994. Insect pests of the rice plant – their biology and ecology. pp. 363-485. In: E.A. Heinrichs, (editor), Biology and Management of Rice Insects. Wiley Eastern Limited, New Delhi. India. Dutta, B.C. and L.K. Hazarika. 1995. Development of Dicladispa armigera (Olivier) on different host plants. Plant Health 1: 21-25. Huang, S.H., C.H. Cheng and W.J. Wu. 2010. Possible impacts of climate change on rice insect pests and management tactics in Taiwan. Mini-Review: Crop, Environment & Bioinformatics 7: 269-279. Islam, Z. 1989. Crop losses due to hispa beetle damage in deep water rice (DWR). International Rice Research Newsletter 14:53. Karim, A.N.M.R. 1986. The hispa episode. pp. 125-160. In: Bangladesh Rice Research Institute (editor), Proceedings of the workshop on experiences with modern rice cultivation in 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
559
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-12
Bangladesh. 5-7 April 1986. Bangladesh Rice Research Institute, Department of Agricultural Extension, Dhaka-1000. Bangladesh. Nath, R.K. and B.C. Dutta. 1997. Assessment of yield loss due to due to rice hispa, Dicladispa armigera (Oliv.). Journal of the Agricultural Science Society of North India 10: 268-270. Pathak, M.D. and Z.R. Khan. 1994. Insect Pests of Rice. International Rice Research Institute, Manila. Philippines. Pedigo, L.P., E.J. Bechinski and R.A. Higgins. 1983. Partial life tables of the green cloverworm (Lepidoptera: Noctuidae) in soybean and a hypothesis of population dynamics in Iowa. Environmental Entomology 12(1): 186-195. Polaszek, A., M.F. Rabbi, Z. Islam and Y.M. Buckley. 2002. Trichogramma zahiri, an egg parasitoid of the rice Dicladispa armigera in Bangladesh (Hymenoptera: Trichogrammatidae, Coleoptera: Chromelidae: Hispinae). Bulletin of Entomogical Research 92: 529-537. PrakasaRao, P.S., P. Israel and Y.S. Rao. 1971. Epidemiology and control of the rice pest, Hispa Dicladispa armigera Oliver. Oryza 4: 345-359. Sarkar, B.B. and R. Bhattacharjee. 1988. Observations on the incidence of rice hispa in Tripura. Plant Protection Bulletin Faridabad 40(3-4): 43. Sen, P. and S. Chakravorty. 1970. Biology of hispa (Dicladispa armigera) (Coleoptera: Chrysomelidae). Indian Journal of Entomology 32: 123-126. The Centre for Agriculture and Bioscience International (CABI). 2017. Dicladispa armigera (rice hispa): Invasive Species Compendium. Available at URL https://www.cabi.org/isc/datasheet/27270 Accessed on 19/08/2019.
560
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
นกศัตรูข้าวและการประเมินความเสียหายในนาข้าว จังหวัดเชียงราย Bird Pest Species and Damage Assessment in Chiang Rai Province’s Rice Fields ทัสดาว เกตุเนตร1 อุรัสยาน์ ขวัญเรือน2 ฉัตรชัย บุญแน่น2 และ ชนาธิป สุธงษา2 Thasdaw Katenate1 Urassaya Kuanruen2 Chatchai Boonnan2 and Chanathip Suthongsa2 1
ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กรุงเทพฯ 10900 Prachin Buri Rice Research center, Division of Rice Research and Development, Rice Department, Bangkok 10900 2 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กรุงเทพฯ 10900 2 Chiang Rai Rice Research center, Division of Rice Research and Development, Rice Department, Bangkok 10900
1
บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องนกศัตรูข้าวและความเสียหายในนาข้าว จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความ หลากชนิด ความหนาแน่น การใช้ประโยชน์พื้นที่ และความเสียหายที่เกิดจากนกศัตรูข้าว ดาเนินการเก็ บ ข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 – พฤศจิกายน 2561 โดยใช้วิธีการสารวจตามจุดกาหนด (point counts) จานวน 10 จุดสารวจ ใน 10 อาเภอของจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบนกศัตรูข้าว จานวน 9 ชนิด ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู (scaly-breasted munia, Lonchura punctulata) นกกระติ๊ดตะโพกขาว (white-rumped munia, L. striata) นกกระจอกบ้าน (eurasian tree sparrow, Passer montanus) นกกระจอกตาล (plainbacked sparrow, P. flaveolus) นกกระจอกใหญ่ (house sparrow, P. domesticus) นกกระจาบธรรมดา (baya weaver, Ploceus philippinus) นกเขาชวา (zebra dove, Geopelia striata) นกเขาใหญ่ (spotted dove, Streptopelia chinensis) และนกพิราบป่า (rock pigeon, Columba livia) โดยสกุลนกกระติ๊ดพบเป็นชนิดเด่น พบเข้าทาลายข้าวสูงสุดในระยะน้านมและระยะก่อนเก็บเกี่ยว (ความหนาแน่นเฉลี่ย 5.7 และ 3.6 ตัวต่อไร่) โดย ช่วงเวลาที่พบนกศัตรูข้าวมีความหนาแน่นสูงสุด คือช่วง 17.00 - 17.30 น. (8.8 ตัวต่อไร่) การประเมินความ เสียหายจากนกศัตรูข้าว พบความเสียหายเฉลี่ยในฤดูนาปรัง และฤดูนาปี ร้อยละ 3.59 และ 4.08 ตามลาดับ ความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลางกับร้อยละความเสียหายใน นาข้าว ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันกาจัดนกศัตรูข้าวให้มี ประสิทธิภาพและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุดต่อไป คาสาคัญ : นาข้าว นกศัตรูข้าว การประเมินความเสียหาย จังหวัดเชียงราย ABSTRACT The objectives of this study were to investigate the species diversity, density, habitat use and also to assess the damage level on rice by birds in Chiang Rai province. A point count method was applied to survey birds in 10 sites from February 2016 to November 2018. The results showed 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
561
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
that 9 bird pest species were found in the study sites including scaly-breasted munia, Lonchura punctulata, white-rumped munia, L. striata, eurasian tree sparrow, Passer montanus, plain-backed sparrow, P. flaveolus, house sparrow, P. domesticus, baya weaver, Ploceus philippinus, zebra dove, Geopelia striata, spotted dove, Streptopelia chinensis and rock pigeon, Columba livia. The genus Lonchura was dominant bird pests in rice field during milky until pre-harvesting stages (5.7 and 3.6 birds/rai). The highest recorded density of bird pest was found around 17.00 17.30 p.m. (8.8 birds/rai). The rice crops can be damaged by birds at approximately 3.59% in dry season and 4.08% in wet season. The correlation analysis showed that bird density was moderately correlated with the damage level in rice field. The results could be used as the basic data for planning efficient control of bird pest with the minimal impact on ecosystem. Keywords: rice fields, bird pests of rice, damage assessment, Chiang Rai Province คานา นาข้าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้าที่มนุษย์สร้างขึ้น มีบทบาทและความสาคัญสาหรับนกหลายชนิด เนื่องด้วยมี สภาพถิ่นที่ อยู่อ าศัยเฉพาะ น้าท่ ว มขังเกือ บตลอดเวลา ท าให้ดึงดูดนกหลากหลายชนิ ด นอกจากนี้ยัง ช่วย ทดแทนพื้นที่ ชุ่มน้าทางธรรมชาติที่ล ดลงอย่างต่อเนื่อง และถูก เปลี่ยนแปลงไปใช้ป ระโยชน์ในรูปแ บบอื่น สมบูรณ์ (2551) รายงานว่า พื้นที่นาข้าวทางทิศตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศน์เกษตร ที่ มี ความหลากหลายสูง อุ รัส ยาน์ และคณะ (2560) ศึก ษานกในพื้ นที่ นาข้าวจัง หวัด เชียงราย ช่วงเดือ น กุมภาพันธ์ 2559 – กุมภาพันธ์ 2560 พบนก 84 ชนิด 36 วงศ์ 14 อันดับ มีค่าดัชนีความหลากหลายอยู่ในช่วง 2.53-2.97 นกที่พบมีความหลากชนิดและกินอาหารแตกต่างกันแบ่งเป็น นกกินสัตว์ (ร้อยละ 61.90) นกกินทั้ง พืช และสั ตว์ (ร้อ ยละ 22.62) และนกกิ นพื ช (ร้ อยละ 15.48) ซึ่ง ระยะเวลาการท านาของประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิอากาศ ทาให้มีความเหมาะสมกับการดารงชีวิตของนกทุกขั้นตอน ตั้งแต่ระยะ เตรียมแปลงจนถึงหลังเก็บเกี่ยวจะมีนกเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นก นอกจากจะมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ และเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่นั้นๆ แล้ว ยังมีนกอีกหลายชนิดที่จัดเป็นศัตรูพืชสาคัญ ทาความเสียหายแก่พืชผลเกษตรอยู่เสมอ จากการกินพืชซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่ม นกกินเมล็ดพืช (granivorous birds) อาหารของนก กลุ่มนี้ คือ เมล็ดพืชชนิดต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเมล็ดพืชของไม้ยืนต้น เมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว หรือเมล็ดธัญพืช องค์ค วามรู้พื้ นฐานเรื่อ งนกศัตรูข้าว มี ก ารศึ ก ษาและท าความเข้าใจน้ อยมาก โดยสวาท (2514) รายงานว่า นกศัตรูข้าวที่สาคั ญในประเทศไทย มี 9 ชนิด 4 สกุล ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระติ๊ดตะโพกขาว นกกระติ๊ดสีอิฐ นกกระติ๊ดหัวขาว นกกระจอกบ้าน นกกระจอกตาล นกกระจาบธรรมดา นกกระจาบอกลาย และนกพิราบป่า ต่อมา ทักษิณ (2533) รายงานว่า นกศัตรูข้าวที่สาคัญในประเทศไทยมี 10 ชนิด โดยชนิดที่ เพิ่มเติมและแตกต่างจาก สวาท (2514) ได้แก่ นกจาบปีกอ่อนอกเหลือง นกเขาชวา นกเขาใหญ่ และนกอีลุ้ม 562
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
และอุรัสยาน์ (2558) ศึกษาความหลากชนิดของนกในนาข้าว จังหวัดนครนายก พบนกศัตรูข้าว 13 ชนิด โดย ชนิดที่เพิ่มเติมและแตกต่างจาก สวาท (2514) และทักษิณ (2533) ได้แก่ นกกระจอกใหญ่ นกกระจาบทอง และเป็ดแดง สาหรับนกที่พบทาความเสียหายแก่ข้าวมากที่สุดและบ่อยครั้งที่สุดอยู่ในกลุ่มนกกระติ๊ด (ทักษิณ , 2533; สวาท, 2514; อุ รัสยาน์, 2560; Russell and Justiniano, 1979) เป็นกลุ่ม ที่มี ความส าคัญ มากที่ สุด พบแพร่หลาย และเป็นจานวนมาก ความเสียหายที่ เกิดกั บข้าว แบ่งออกได้เป็น ความเสียหายในนาและความเสียหายในยุ้งฉาง ความ เสียหายในนาข้าว สวาท (2514) รายงานว่า ในการปลูกข้าวแบบนาหว่าน นกจะเริ่มทาลายและกินเมล็ดพันธุ์ ข้าวหลังหว่านข้าวแล้ว ส่วนสภาพข้าวนาสวนนกจะกินข้าวในแปลงตกกล้า และจะกินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา หนึ่ง แม้ว่าข้าวงอกแล้วก็ตาม เนื่องจากยังมีเอนโดสเปิร์มสาหรับเป็นอาหารของนกได้ ความเสียหายจะเริ่มอีก ครั้งช่วงข้าวเป็นน้านม และสร้างเมล็ด โดย ทัก ษิณ (2533) พบว่า แปลงที่ ถูก ท าลายจะเห็นรวงข้าวตั้งขึ้น เนื่องจากไม่มีเมล็ดข้าวหรือมีแต่เปลือกที่ติดกับรวง ทาให้ไม่ มีน้าหนักมากพอที่จะให้รวงโน้มลงตามธรรมชาติ และนอกจากความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากนกลงกิน ข้าวแล้ว ความเสียหายทางอ้อม คือ การลงเกาะหรือโผ บินขึ้นของนก ซึ่งทาให้เมล็ดข้าวสุกร่วงหล่น โดยเฉพะกลุ่มนกกระจอกและนกกระจาบ ได้มีการประเมินความ เสียหายที่เกิดจากนกในแอฟริกาตะวันตก พบว่า นกทาให้เกิดความเสียหายแก่ธัญพืชเฉลีย่ ร้อยละ 15-20 ของ ผลผลิตทั้ งหมด และในนาข้าวเขตร้อ นชื้น พบความเสียหายสูงสุดถึงร้อยละ 19 ของผลผลิตข้าวทั้ งหมด (Mey and Demont, 2013) สาหรับในประเทศไทยยัง มีการศึกษาเรื่องความเสียหายของผลผลิตข้าวที่เกิ ด จากนกศั ตรูข้าวทั้ งในแปลงนา ลานตากและยุ้งฉาง น้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึง มีวัตถุป ระสงค์เพื่อทราบ ความหลากชนิด ความหนาแน่น การใช้ประโยชน์พื้นที่ และประเมินความเสียหายทีเ่ กิดจากนกศัตรูในแปลงนา ข้าว เพื่ อ ทราบชนิ ด ของนกศัต รู ข้า ว ระยะการเจริ ญ เติ บ โตของข้ าวและช่ วงเวลาการป้ อ งกั น ก าจั ดที่ มี ประสิทธิภาพและคุ้มทุนมากที่สุด และเพื่อช่วยประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดนกศัตรูข้าว อุปกรณ์และวิธีการ การศึกษาชนิด ความหนาแน่น และการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนกศัตรูข้าว ดาเนินการเก็บข้อมูลจานวน 10 จุดสารวจ ใน 10 อาเภอของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อาเภอพาน เทิง ป่ าแดด แม่ ล าว เมื อ ง เวี ย งชั ย แม่ จั น เชีย งแสน แม่ ส าย และแม่ ส รวย ตั้ ง แต่ เ ดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ 2559– พฤศจิกายน 2561 โดยวิธีการสารวจตามจุดกาหนด ตลอดระยะการเจริญเติ บโตของข้าว ได้แก่ เตรียมแปลง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง น้านม ก่อนเก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว เก็บข้อมูลในช่วงเวลาเช้า บันทึกข้อมูล ใน รัศมี 50 เมตร (ใช้เวลานับ 10 นาที) สาหรับการเก็บข้อมูลความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวที่พบในแต่ละช่วงเวลา ของวัน ดาเนินการระยะข้าวเป็นน้านมถึงก่อนเก็บเกี่ยว เก็บข้อมูลในช่วงเวลา 6.00 – 18.30 น. บันทึกข้อมูล ทุกๆ 30 นาที ในรัศมี 50 เมตร (ใช้เวลานับ 10 นาทีต่อครั้ง) บันทึกชนิด จานวน ช่วงเวลา ลักษณะพื้นที่ที่นก เข้ามาใช้ประโยชน์ รวมทั้งพฤติกรรมของนกที่พบขณะเก็บข้อมูลในแปลงนา โดยใช้กล้องส่องทางไกลชนิดสอง ตา กล้องส่องทางไกลชนิดกระบอกเดี่ยว และเครื่องกดนับจานวน จาแนกชนิดนกศัตรูข้าวที่พบ โดยอ้างอิงตาม 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
563
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
จารุจินต์ และคณะ, 2550; Lekagul and Round, 1991; Robson, 2000 คานวณความหนาแน่นของนกที่พบ ต่อพื้นที่ เป็นจานวนตัวต่อไร่ จากสูตร ความหนาแน่นของนกที่พบต่อพื้นที่ = เมื่อ
r = รัศมีการสารวจ na = จานวนตัวนกที่อยู่ภายในรัศมีการสารวจ nb = จานวนตัวนกที่อยู่นอกรัศมีการสารวจ m = จานวนซ้าของการนับ
การประเมินความเสียหายจากการทาลายของนกศัตรูข้าว การประเมิ นความเสี ยหาย ประยุก ต์ใช้วิ ธีก ารศึ ก ษาจาก Avery (1979) และ DeHaven (1974) ดาเนินการเก็บข้อมูลจานวน 3 แปลง พื้นที่อาเภอพาน แม่ลาว และเชียงแสน แปลงละประมาณ 5 ไร่ โดยใช้ กรอบตาข่ายขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 2 เมตร ครอบต้นข้าวในแปลงนาในระยะแตกกอสูงสุด จานวน 4 จุดต่อแปลง (4 ซ้า) โดยสุ่มวางกรอบตาข่ายบริเวณกึ่งกลางแปลง 2 จุด และบริเวณขอบแปลง 2 จุด สุ่ม เกี่ ยวข้ าวบริเวณกลางกรอบตาข่าย ขนาด 1 x 1 เมตร (เว้น ระยะห่ าง 4 เมตร ทุ ก ด้าน เพื่ อป้ องกั น ผลกระทบจากกรอบตาข่ายที่จะมีต่อการเจริญเติบโตของข้าว) เป็นกรรมวิธีควบคุม และเกี่ยวข้าวบริเวณนอก กรอบตาข่าย จานวน 4 จุด ขนาด 1 x 1 เมตร เช่นเดียวกัน เพื่อใช้เปรียบเทียบ ข้าวที่ เกี่ยวในแต่ละจุดนาไป นวดและชั่งน้าหนัก ปรั บความชื้นที่ 14% คานวณผลผลิตข้าว และความเสียหายที่เกิดจากการทาลายของ นกศั ต รูข้ าว วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล โดยใช้ ส ถิ ติ ที่ ไม่ ใช้ พ ารามิ เตอร์ ได้ แ ก่ independent-sample t-test และ Spearman rank correlation ผลและวิจารณ์ ชนิด ความหนาแน่นของนกศัตรูข้าว และความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและระยะการเจริญเติบโตของข้าว จากการศึกษาชนิดนกศัตรูข้าวในแปลงนา ช่วงเตรียมดิน จนถึง ช่วงหลังการเก็บเกี่ยว พบนกศัตรูข้าว จานวน 9 ชนิด ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู (scaly-breasted munia, Lonchura punctulata) นกกระติด๊ ตะโพก ขาว (white-rumped munia, L. striata) นกกระจอกบ้าน (eurasian tree sparrow, Passer montanus) นกกระจอกตาล (plain-backed sparrow, P. flaveolus) นกกระจอกใหญ่ (house sparrow, P. domesticus) นก กระจาบธรรมดา (baya weaver, Ploceus philippinus) นกเขาชวา (zebra dove, Geopelia striata) นกเขา ใหญ่ (spotted dove, Streptopelia chinensis) และนกพิราบป่า (rock pigeon, Columba livia) (ภาพที่ 1) ระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่พบนกศัตรูข้าวทาลาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเตรียมแปลง จนถึงระยะกล้า และช่วงระยะข้าวเป็นน้านมถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยว โดยชนิดที่มีความหนาแน่นสูงสุดและพบกิน ข้าวช่วงเตรียมแปลง และระยะกล้า ได้แก่ นกพิร าบป่า พบความหนาแน่ นเฉลี่ย 1.0 และ 1.43 ตัวต่อไร่ 564
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
ตามลาดับ รองลงมาคือนกกระจอกบ้าน พบความหนาแน่นเฉลี่ย 0.92 และ 0.78 ตัวต่อไร่ ตามลาดับ สาหรับ ช่วงระยะน้านมและช่วงก่อนเก็บเกี่ยว ชนิดที่มีความหนาแน่นสูงสุดและพบกินเมล็ดข้าว ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู ความหนาแน่นเฉลี่ย 3.30 และ 2.24 ตัวต่อไร่ ตามลาดับ รองลงมาคือ นกกระติ๊ดตะโพกขาว ความหนาแน่น เฉลี่ย 0.80 และ 1.35 ตัวต่อไร่ ตามลาดับ (ตารางที่ 1) จากข้อมูล พบว่าระยะข้าวที่พบนกศัตรูข้าวทาลายและ มีความหนาแน่นมาก คือช่วงระยะน้านมถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว สอดคล้องกับ Mey and Demont (2013) ซึ่ง รายงานว่า ระยะที่นกศัตรูข้าวทาลายและทาให้เกิดความเสียหายสูงสุด คือ ระยะน้านมจนถึงระยะก่อนเก็บ เกี่ยว โดยกลุ่มที่พบเป็นหลักคือ กลุ่มนกกระติ๊ด สอดคล้องกับรายงานของ ทักษิณ (2533); สวาท (2514) และ Russell and Justiniano (1979) ที่รายงานว่า กลุ่มนกกระติ๊ด เป็นกลุ่มนกที่พบทาความเสียหายแก่ข้าวมาก ที่สุดและบ่อยครั้งที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวในฤดูนาปรัง และฤดูนาปี พบว่า ความหนาแน่นของ นกศัตรูข้าวทั้ง 2 ฤดูปลูก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (independent-sample t-test: t = -0.237, p = 0.813, df = 249) โดยฤดูนาปี และฤดูนาปรัง มีความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวเฉลี่ย 2.10 และ 2.89 ตัวต่อไร่ ตามลาดับ สาหรับช่วงเวลาที่พบนกศัตรูข้าวมีความหนาแน่นสูงสุด คือช่วง 17.00 - 17.30 น. (8.8 ตัวต่อไร่) รองลงมา คือช่วง 17.30 - 18.00 น. (6.9 ตัวต่อไร่) และ 16.00 - 16.30 น. (4.8 ตัวต่อไร่) (ภาพที่ 2) และเมื่อ นาระยะเวลาในการลงกินข้าวในแปลงนาระยะน้านมและระยะก่อนเก็บเกี่ยวมาคานวณ พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ย ที่กลุ่มนกกระติ๊ด เริ่มลงกินข้าวในแปลงนาจนถึงบินขึ้นจากแปลงนาเฉลี่ยต่อครั้ง เท่ากับ 10.50 นาทีต่อครั้ง โดยลงกิ นข้าวเฉลี่ย 14 ครั้งต่อ วัน สอดคล้องกั บ รายงานของ ทั กษิณ (2533) ว่า กลุ่ม นกกระติ๊ด ชอบอยู่ รวมกันเป็นฝูงใหญ่ และลงกินข้าวพร้อมๆ กัน ตามปกติข้าว 1 กอจะมีนกมาเกาะและจิกกินเมล็ดข้าว 5-7 ตัว และใช้เวลาการกินข้าวแต่ละครั้งนาน 5-15 นาที (หากไม่มีสิ่งรบกวน) โดยมักจะกินรวงข้าวที่เดิมเป็นประจา จนเกือบหมดแล้วจึงขยับไปที่รวงข้างเคียง ทั้งนี้ระยะเวลาการลงกินข้าว อาจขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ สถานที่ตั้ง ของแปลง สิ่งรบกวน และผู้ล่า ในช่วงเวลานั้น ตารางที่ 1 ชนิดและความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวที่พบในระยะการเจริญเติบโตของข้าวระยะต่างๆ ในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559 – พฤศจิกายน 2561
1 2 3 4 5 6
ความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวที่พบแต่ละระยะการเจริญเติบโตของข้าว (จานวนตัว/ไร่) ชนิดของนกศัตรูข้าว เตรียม กล้า แตกกอ ตั้งท้อง น้านม ก่อนเก็บ หลังเก็บ แปลง เกี่ยว เกี่ยว นกกระติ๊ดขี้หมู 0.92 0.43 1.00 0.50 3.30 2.24 0.85 นกกระติ๊ดตะโพกขาว 0.82 0.40 0.87 0.80 2.40 1.35 0.87 นกกระจอกบ้าน 0.92 0.78 0.79 0.76 1.30 0.82 1.11 นกกระจอกใหญ่ 0.00 0.53 0.50 1.00 0.00 0.80 0.28 นกกระจอกตาล 0.60 0.00 0.20 0.80 1.00 1.4 1.40 นกกระจาบธรรมดา 0.50 0.70 0.30 0.40 1.07 0.7 0.67 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
565
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
7 8 9
นกเขาชวา นกเขาใหญ่ นกพิราบป่า
0.60 0.45 1.00
0.30 0.44 1.43
0.45 0.54 0.40
0.00 0.40 0.33
0.00 0.27 0.20
PEB-13
0.2 0.41 0.53
0.40 0.45 3.00
กก
ข
ค
ง
จ
ฉ
ช
ซ
ฌ
ภาพที่ 1 ชนิดและความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวที่พบ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559– พฤศจิกายน 2561 ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู, Lonchura punctulata (ก), นกกระติ๊ดตะโพกขาว, L. striata (ข), นกกระจอกบ้าน, Passer montanus (ค), นกกระจอกตาล, P. flaveolus (ง), นกกระจอกใหญ่, P. domesticus (จ), นกกระจาบธรรมดา, Ploceus philippinus (ฉ), นกเขาชวา, Geopelia striata (ช), นกเขาใหญ่, Spilopelia chinensis (ซ), นกพิราบป่า, Columba livia (ฌ)
566
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
ภาพที่ 2 ความหนาแน่นนกศัตรูข้าวที่พบในแต่ละช่วงเวลาของวัน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย การประเมินความเสียหายจากการทาลายของนกศัตรูข้าว จากการเก็บข้อมูลผลผลิตข้าวในกรอบตาข่าย (กรรมวิธีควบคุม) และนอกกรอบตาข่าย มาคานวณ ความเสียหายจากการทาลายของนกศัตรูข้าว พบ ความเสียหายเฉลี่ย ร้อยละ 3.83 ความเสียหายเฉลี่ยสูงสุดใน ฤดูนาปี 2560 ร้อยละ 6.76 (ภาพที่ 3) ใกล้เคียงกับรายงานของ Avery (1979) ที่ศึกษาความเสียหายจากการ ทาลายของนกศัตรูข้าว ในประเทศมาเลเซีย พบความเสียหายจากนกศัตรูข้าว ร้อยละ 5 แต่น้อยกว่ารายงาน ของอุรัสยาน์และคณะ (2559) ที่พบว่าความเสียหายจากนกศัตรูข้าว ในพื้นที่จังหวัดนครนายก ร้อยละ 10.60 และรายงานของ Mey and Demont (2013) ว่า นกในแอฟริกาตะวันตก ทาให้เกิดความเสียหายแก่ธัญพืช ร้อยละ 15-20 และในนาข้าวเขตร้อนชื้น พบความเสียหายสูงสุดถึงร้อยละ 19 จากการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็นความเสียหายบริเวณกลางแปลง และความเสียหายบริเวณขอบแปลง พบว่าทั้งฤดูนาปรังและฤดูนาปี ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเกิดบริเวณขอบแปลง มากกว่าบริเวณกลางแปลง อาจเนื่องจากพื้นที่บริเวณขอบแปลงที่ศึก ษามีการปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง มะพร้าว และต้นกล้วย รวมถึงมี ต้นไม้ และพุ่มไม้จานวนมาก สอดคล้องกับที่ Mey and Demont (2013) รายงานว่า แปลงนาที่อยู่ใกล้แหล่ง ผสมพันธุ์ห รือแหล่งพักนอนของนก และบริเวณแปลงนาที่อยู่ติด ต้นไม้ พุ่ม ไม้ หรือพงหญ้า จะได้รับความ เสียหายจากการทาลายของนกมากกว่า เนื่องจากนกจะใช้เป็นแหล่งเกาะพัก และทารัง รวมถึง แปลงนาที่อยู่ ใกล้แหล่งน้า จะพบความเสียหายมากกว่า เนื่องจากมีแหล่งน้าสาหรับนก เมื่ อเปรี ยบเที ยบความเสียหายในฤดูน าปี และฤดู น าปรัง พบว่า ไม่ มี ความแตกต่ างกั น ทางสถิ ติ (Independent-Sample T Test: T = -0.139, P = 0.89, df = 18) ฤดูนาปรัง และฤดู นาปี ร้อ ยละ 3.59 และ 4.08 ตามลาดับ แตกต่างจากรายงานของ สวาท (2514) ที่ว่า ความเสียหายจากการทาลายของนกศัตรู ข้าวฤดูนาปรังมากกว่าในฤดูนาปี และ Ruelle and Bruggers (1982) ที่ว่า ความเสียหายจากการทาลายของ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
567
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
นกศัตรูข้าวจะเกิดในช่วงฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน เนื่องจากในฤดูฝนจะมีเมล็ดหญ้าจานวนมากที่เป็นแหล่งอาหาร ทางเลือกได้อีกแหล่งหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของนกศัตรูข้าว และความเสียหายในนาข้าว ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของนกศัตรูข้าว และความเสียหายในนาข้าว ในทั้ง 2 ฤดูปลูก พบว่า มี ความสัม พั น ธ์ กั น โดยความสั ม พั น ธ์ไปในทิ ศทางเดียวกั นในระดับ ปานกลาง (Spearman Rank Correlation: rs = 0.603, P = 0.038, n = 12) ซึ่งเมื่อความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวในแปลงนามีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ความเสียหายที่เกิดจากการทาลายของนกศัตรูข้าวในแปลงนาก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ภาพที่ 3 ความเสียหายจากการทาลายของนกศัตรูข้าว และความหนาแน่นของนกศัตรูข้าว ฤดูนาปรัง 2559 ฤดูนาปี 2561 พื้นที่จังหวัดเชียงราย สรุปผลการทดลอง 1. นกศัตรูข้าว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบจานวน 9 ชนิด โดยสกุลนกกระติ๊ด เป็นชนิดเด่น พบเข้า ทาลายข้าวสูงสุดในระยะน้านมและระยะก่อนเก็บเกี่ยว ความหนาแน่นเฉลี่ย 5.7 และ 3.6 ตัวต่อไร่ ตามลาดับ 2. ช่วงเวลาที่พบนกศัตรูข้าวมีความหนาแน่นสูงสุด คือช่วง 17.00 - 17.30 น. ความหนาแน่นเฉลี่ย 8.8 ตัวต่อไร่ 3. การประเมินความเสียหายจากนกศัตรูข้าว พบความเสียหายเฉลี่ยในฤดูนาปรัง และฤดูนาปี ร้อยละ 3.59 และ 4.08 ตามลาดับ โดยความหนาแน่นของนกศัตรูข้าวมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับปาน กลางกับร้อยละความเสียหายในนาข้าว 4. ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อหาวิธีควบคุมนกศัตรูข้าวให้มีประสิ ทธิภาพ มากที่สุดและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์น้อยที่สุด และใช้เป็นข้อมูลประเมินประสิทธิภาพในการป้องกัน กาจัดนกศัตรูข้าวต่อไป 568
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
คาขอบคุณ คณะผู้ดาเนินงานขอขอบคุณ นางสาวยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านสัตว์ศัตรูข้าว กองวิจัยและ พัฒนาข้าว กรมการข้าว ที่ได้ช่วยเหลือ ในการวางแผนงานวิจัยตลอดจนให้คาปรึกษาแนะนา และตรวจแก้ไข งานวิจัย ขอขอบคุณคณะผู้ร่วมดาเนินงาน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ ลูกจ้าง รวมทั้งผู้บังคับบัญชาจาก กองวิจัยและพัฒนาข้าว ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี และทุกท่านที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ เอกสารอ้างอิง จารุจินต์ นภีตะภัฏ กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล, กรุงเทพฯ. 439 หน้า. ทักษิณ อาชวาคม. 2533. นกศัตรูข้าวและการป้องกันกาจัด. นสพ. กสิกร. 63 (2) : 157-160. สมบูรณ์ คาเตจา. 2551. ความหลากหลายของนกในพื้นที่นาข้าวทางทิศตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 57 หน้า. สวาท รัตนวรพันธุ์. 2514. นกศัตรูข้าวในประเทศไทย. หน้า. 709-713. ใน : รายงานการประชุมทาง วิชาการ เกษตรศาสตร์และชีววิทยา ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. อุรัสยาน์ บูลย์ประมุข, ชิณวัฒน์ วันจิตร, ทัสดาว เกตุเนตร และวันทนา ศรีรัตนศักดิ์. 2558. ความหลากชนิด ของนกในพื้นที่นาข้าว อาเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารกีฏและสัตววิทยา. 33 (2) : 51-60. อุรัสยาน์ บูลย์ประมุข, ชิณวัฒน์ วันจิตร, ทัสดาว เกตุเนตร และวันทนา ศรีรัตนศักดิ์. 2559. นกศัตรูข้าวและ การประเมิ นความเสียหายในนาข้าว จังหวัดนครนายก. หน้า 369-380. ใน : การประชุม วิชาการ วิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 33. โรงแรมระยอง รีสอร์ท, จังหวัดระยอง. อุรัสยาน์ บูลย์ประมุข ทัสดาว เกตุเนตร ณธกร บูลย์ประมุข. 2560. ความหลากชนิดของนกในนาข้าวและ การ ประเมินความเสียหายจากนกศัตรูข้าว จังหวัดเชียงราย. ใน: การประชุมวิชาการข้าวและธัญพืช เมืองหนาว ครั้งที่ 34 พ.ศ. 2560 วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว อาเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. Avery, M. L. 1979. Food preferences and damage levels of some avian rice field pests in Malaysia. pp. 161-166. In : Bird Control Seminar (8th Seminar). The Internet Center for Wildlife Damage Management, University of Nebraska, Lincoln. DeHaven, R. W. 1974. Bird damage appraisal methods in some agricultural crops. pp. 245-248. In : Proceeding of the 6th Vertebrate Pest Conference. Davis, California. Lekagul, B. and P. D. Round. 1991. A guide to the Birds of Thailand. Saha Karn Bhaet Co.,Ltd., Darnsutha Press, Bangkok. 457 p Mey, Y.D. and M. Demont. 2013. Realizing Africa’s Rice Promise: Bird damage to rice in Africa: Evidence and control. CAB International. 450 p. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
569
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEB-13
Robson, C. 2000. A Field Guide to the Birds of Thailand and South-East Asia. Asia book, Bangkok. 544 p. Ruelle, P. and R.L. Bruggers. 1982. Traditional approaches for protecting cereal crops from birds in Africa. pp. 80-86. In : March, R.E. (ed.), Proceeding of the Tenth Vertebrate Pest Conference, Vertebrate Pest Conference Proceedings Collection. University of California, California. Russell, F.R. Jr. and L. L. Justiniano. 1979. Perches coated with glue reduce bird damage in rice field plots. pp. 201-206. In: Bird control seminars proceedings. Paper 26., Lincoln
570
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
อิทธิพลของทิศทางลมต่อการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังโดยแมลงหวี่ขาว Influence of Wind Direction to Cassava Mosaic Disease Outbreak by Whitefly กิ่งกาญจน์ เสาร์คา1 ชัยโรจน์ ใหญ่ประเสริฐ2 นวลนภา เหมเนียม3 สุกัญญา ฤกษ์วรรณ3 ศิริกาญจน์ หรรษาวัฒนกุล4 จุฑาทิพย์ ถวิลอาพันธ์3 และ วันวิสา ศิริวรรณ์3 Kingkan Saokham2 Chairote Yaiprasert2 Nuannapa Hemniam1 Sukanya Roekwan1 Sirikan Hunsawattanakul3 Jutathip Thawinampan1 and Wanwisa Siriwan1 1
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม 73140 Center of Agricultural Biotechnology, Kasetsart University, Nakhon Pathom 73140 2 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช 80160 2 Walailak University, Nakhon Si Thammarat 80160 3 ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 3 Department of Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900 4 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 4 Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900 1
บทคัดย่อ โรคใบด่ า งมั น ส าปะหลั ง ซึ่ ง เกิ ด จากเชื้ อ ไวรั ส Cassava mosaic virus สายพั น ธุ์ Sri Lankan (SLCMD) พบครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จังหวัดรัตนคีรี ไวรัสแพร่กระจายโดยท่อนพันธุ์และมีแมลง หวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) งานศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพอากาศที่อาจจะมีผลต่อ การเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ วิธีการศึกษาได้ทาการดาวน์โหลดข้อมูลกระแสลมจากฐานข้อมูลออนไลน์ ขนาดใหญ่เพื่อทาการวิเคราะห์ทิศทางของกระแสลมในรูปของกราฟเรดาร์ที่แสดงค่าความถี่กับทิศทางของ กระแสลมจากช่วง พ.ศ. 2541- ปัจจุบัน โดยนามาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลชีววิทยาของแมลงหวี่ขาวยาสูบและ ข้อมูลการสารวจโรคใบด่างมันสาปะหลัง บริเวณพื้นที่ตะเข็บชายแดนประเทศไทยที่ติดกับประเทศกัมพูชาใน พ.ศ. 2561-2562 ผลการสารวจพบโรคใบด่างมันสาปะหลังแพร่ระบาดใน 9 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี, ศรีสะ เกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรีรัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและอุบลราชธานี ซึ่งจาแนกคุณลักษณะโรค ได้ว่าเกิ ดจากแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นพาหะนาโรค ซึ่งแมลงหวี่ขาวยาสูบ นี้ส ามารถเคลื่อนที่ ได้ป ระมาณ 7 กิ โลเมตรต่ อวงจรชีวิต เฉลี่ย คิด เป็ น 100 กิ โ ลเมตรต่อ ปี และมี ความเร็วในการเคลื่อ นที่ ป ระมาณ 3.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กราฟเรดาร์ชี้ให้เห็นว่ากระแสลมส่วนใหญ่มีทิศไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความเร็วของ กระแสลมสูงสุดมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีพายุ เช่น การเกิดพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกมีโอกาสเกิดขึ้น เฉลี่ย 10-15 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญที่เสริมการเคลื่อนที่ของแมลงพาหะ และในช่วงปี พ.ศ. 2543-2561 ไม่พบพายุที่พัดผ่านจากประเทศกัมพูชามาประเทศไทย ดัง นั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าการเคลื่อนที่ของแมลง พาหะในประเทศไทยอาจได้รับ อิทธิพ ลมาจากทิศทางของกระแสลมปกติเป็นหลัก จากการศึกษานี้สามารถ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
571
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
คาดการณ์ว่าการแพร่กระจายของแมลงหวี่ขาวยาสูบจากทิศทางของกระแสลมนั้นอาจจะมีแนวโน้มเคลื่อนจาก พื้นที่เกิดโรคใบด่างมันสาปะหลังไปในทิศทางพืน้ ที่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวกระแสลมที่ได้จากพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนข้อมูลของพื้นที่ศึกษา คาสาคัญ : โรคใบด่างมันสาปะหลัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) กระแสลม ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)
ABSTRACT Cassava mosaic disease cause by Cassava mosaic virus stain Sri Lankan (SLCMD). Cassava mosaic disease (CMD) was first reported in Southeast Asia at Ratanakiri Province. SLCMD is naturally transmitted by cutting material and whitefly (Bemisia tabaci). The objective of study is conducting the influence of weather affect to the whitefly movement. The procedures of this study downloaded the wind data from big data for analyzing radar chart of wind direction which presented the frequency of wind direction from 1998-present. The wind information was analyzed with whitefly biology and the CMD surveillance where survey took place in Prachin Buri, Sisaket, Surin, Sa Kaeo, Buri Ram, Chon Buri, Chachoengsao, Nakhon Ratchasima and Ubon Ratchathani province. Those provinces were found CMD infected by whitefly. The whitefly movement ability is approximately 7 kilometers per life cycle which average is 100 kilometers per year. Their movement have average speed approximately 3.22 kilometers per hour. Based on the radar chart show the most wind direction was going to the southwest. The maximum of wind speed usually occurs during storms such as the occurrence of storms in the Western Pacific Ocean has an average 10-15 times a year. It is an important factor that can speed up of whitefly movement. There have no report that, Cambodia was hit by storms and passed to Thailand since 2000 until 2018. Therefore, the possibility of the whitefly spread in Thailand may be influence by the direction of the wind. The prediction of whitefly outbreak may tend to be in the wind direction in the Southwest. Keywords: Cassava mosaic disease, Whitefly (Bemisia tabaci), Wind direction and Big data บทนา มันสาปะหลัง (Manihot esculenta Crantz.) เป็นพืชที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย จัดอยู่ในจีนัส Manihot แฟมมิลี่ Euphorbiaceae ซึ่งในปีพ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีการส่งออกถึง 8 ล้านตัน 572
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
คิดเป็นมู ลค่า 98,600 ล้านบาทและมี พื้นที่ก ารเพาะปลูกรวมทั่วประเทศประมาณ 8.9 ล้านไร่ (สานักงาน เศรษฐกิจการเกษตร, 2562) ในปีพ.ศ. 2437 มีรายงานพบโรคใบด่างมันสาปะหลัง (Cassava Mosaic Disease, CMD) เป็นครั้ง แรกในแทนซาเนีย (Warburg 1894) ต่อมาพบว่าเกิดการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ในแถบทวีปแอฟริกา เช่นประเทศมาดากัสการ์, ยูกันดา, เคนยาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทาให้เกิดการระบาดใหญ่ในภาค ตะวันออกและภาคกลางของทวีปแอฟริกา ส่งผลทาให้สญ ู เสียผลผลิตมันสาปะหลัง 1 ใน 3 ของผลผลิตทั้งหมด (Legg 1999) และในปีพ.ศ. 2558 เกิดการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ที่ จังหวัดรัต นคีรี ประเทศกั มพูชาและต่อมาพบการแพร่ระบาดไปยังจังหวัดเทนินและบินท์ โดง ประเทศ เวีย ดนาม (Uke et al. 2018) ในปีพ .ศ. 2560 พบการแพร่ร ะบาด 8 จัง หวัด ของประเทศกั ม พู ชา ได้แ ก่ จังหวัดรัตนะคีรี, สตรึงเตรง, กระแจะ, กัมปงธม, กัมปงจาม, มันดลคีรี, พระวิหารและอุดรมีชัย ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 กรมวิชาการเกษตร (ประเทศไทย) พบต้นมันสาปะหลังที่มีอาการ คล้ายโรคใบด่างมันสาปะหลังในประเทศไทยเป็นครั้งแรกทีจ่ งั หวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ จานวน 22 ต้นในพื้นที่ 68 ไร่และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 พบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังในจังหวัดปราจีนบุรี รวม พื้นที่ประมาณ 250 ไร่และต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่างมันสาหลัง ในจังหวัดสระแก้ว ทั้งหมด 5 อาเภอและในปัจจุบันพบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังรวมทัง้ หมดเป็น 9 จังหวัด ได้แก่จังหวัดปราจีนบุรี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรีรมั ย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและ อุบลราชธานี (กรมวิชาการเกษตร, 2562) เชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava Mosaic virus (SLCMV) จัดอยู่ในจีนสั Begomoviruses แฟมมิลี่ Geminiviridae มีจีโนมเป็น Bipartite เพราะมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยว ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้มผี ลทา ให้ผลผลิตลดลง 80-100 % ถ่ายทอดโรคผ่านท่อนพันธุ์และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) เป็น พาหะนาโรค ซึ่งมีลักษณะอาการคือใบด่างสีเขียวและสีเหลือง, หงิกงอ, ลดรูป, ต้นแคระแกร็น ถ้าถ่ายทอดโรค ผ่านท่อนพันธุจ์ ะแสดงอาการทั้งต้น แต่ถ้าถ่ายทอดด้วยแมลงหวี่ขาวยาสูบจะแสดงอาการเฉพาะบริเวณยอดลง มา แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นแมลงพาหะทีส่ าคัญในการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลัง จัดอยู่ ในแฟมมิลี่ Aleyrodidae โดยมีวงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ประมาณ 30-40 วัน ซึ่งมีวงจรชีวิต 10-12 รอบ ต่อปี (Tokunaga et al. 2018) และสามารถเคลื่อนที่ได้ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อปี (Legg 2009) ซึ่งกระแส ลมเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ งานวิจัยนีจ้ ึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพล ของกระแสลมที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ขาวยาสูบซึง่ เป็นพาหะสาคัญของโรคใบด่างมันสาปะหลัง และมีโอกาสทาให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังในพื้นทีเ่ กษตรกรรม โดยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จากฐานข้อมูลเว็บให้บริการแบบ RSS feed (Weather Underground 2019)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
573
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
อุปกรณ์ 1. ฐานข้อมูลอากาศเว็บให้บริการแบบ RSS feed 2. คอมพิวเตอร์ 3. ระบบเก็บพิกัดตาแหน่งพื้นที่ศึกษาของโรคใบด่างมันสาปะหลัง วิธีการ 1. การศึกษาข้อมูลกระแสลม ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกพื้นที่ศึกษาคือจังหวัดปราจีนบุร,ี ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรรี ัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มกี ารระบาดของโรคใบด่างมัน สาปะหลัง ในขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวไม่มสี ถานีตรวจวัดอากาศที่สามารถให้ข้อมูลอากาศเพื่อใช้ในการวิจัย จึงเลือกศึกษาข้อมูลกระแสลมจากฐานข้อมูลเว็บไซต์ Weather Underground โดยเลือกสถานีตรวจวัด อากาศในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ศึกษาเพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่การเก็บข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคใบด่าง มันสาปะหลังใน 9 จังหวัดข้างต้น การศึกษาได้ใช้ข้อมูลย้อนหลังจานวน 5-21 ปี ซึ่งจานวนปีนั้นขึ้นกับแต่ละ สถานีตรวจวัดอากาศที่มจี านวนข้อมูลไม่เท่ากัน โดยได้กาหนดเลือกสถานีตรวจวัดอากาศจานวน 5 สถานี ตรวจวัดอากาศ จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดกรุงเทพฯ, จังหวัดระยอง) ประเทศกัมพูชา (จังหวัดพนมเปญ), และ ประเทศเวียดนาม (จังหวัดเกิ่นเทอ, นครโฮจิมินห์) การดาวน์โหลดข้อมูลนี้เป็นการ ดาวน์โหลดแบบอัตโนมัติ (Yaiprasert 2018) เพื่อเรียกเก็บข้อมูลทุกอย่างของหน้าเว็บไซต์จากข้อมูลประวัติ ย้อนหลังของระบบ RSS Feed ทาให้ได้ข้อมูลที่ไม่ต้องการปนมาจานวนมากด้วย จึงต้องทาความสะอาดข้อมูล ขนาดใหญ่จานวนมากนีใ้ ห้เหลือเพียงข้อมูลกระแสลมในช่วงเวลาที่ต้องการเท่านั้น เมือ่ ได้ข้อมูลลมตามที่ ต้องการได้จึงนาไปวิเคราะห์ความถี่ของทิศทางลมเพื่อสร้างเป็นกราฟเรดาร์ที่แสดงความถี่และทิศทางของ กระแสลม แสดงดังรูปที่ 1 (a) จากนั้นนากราฟเรดาร์ที่แสดงความถี่และทิศทางของกระแสลมไปเทียบกับ บริเวณพื้นที่ที่ศึกษา แสดงดังรูปที่ 1 (b-f) เพื่อพิจารณาในเชิงพื้นที่ของการเกิดโรคเกิดโรคใบด่างมันสาปะหลัง 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคใบด่างมันสาปะหลัง (Cassava mosaic disease) และแมลงหวี่ขาว ยาสูบ (White fly) ทาการสารวจข้อมูลการเกิดโรคใบด่างมันสาปะหลังพื้นที่จริงของจังหวัดปราจีนบุรี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ , สระแก้ว, บุรีรมั ย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและอุบลราชธานี เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์การระบาด ของโรคใบด่างมันสาปะหลังบริเวณพื้นทีร่ อยต่อตะเข็บชายแดนที่ติดกับประเทศไทยร่วมกับข้อมูลชีววิทยาการ เคลื่อนที่ของแมลงหวี่ขาวยาสูบจากความถี่และทิศทางของกระแสลม ทัง้ นีเ้ พื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และคาดการณ์แนวโน้มหรือทิศทางการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังในอนาคต
574
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
ผลและวิจารณ์ จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังบริเวณพื้นทีร่ อยต่อ ตะเข็บชายแดนที่ติดกับประเทศไทยร่วมกับข้อมูลชีววิทยาของแมลงหวี่ขาวยาสูบ พบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 มีรายงานการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดศรีสะเกษ และสุรินทร์และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 พบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังในจังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่างมันสาหลังในจังหวัดสระแก้ว ทั้งหมด 5 อาเภอและในปัจจุบันพบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังรวมทัง้ หมดเป็น 9 จังหวัด ได้แก่จังหวัด ปราจีนบุร,ี ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรีรัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและอุบลราชธานี (กรม วิชาการเกษตร, 2562) จากการศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาของแมลงหวี่ขาวยาสูบที่มผี ลต่อการเคลื่อนที่ พบว่าแมลงหวี่ขาว ยาสูบสามารถเคลื่อนที่ได้ประมาณ 7 กิโลเมตรต่อวงจรชีวิต เฉลี่ยคิดเป็น 100 กิโลเมตรต่อปีและมีความเร็วใน การเคลื่อนทีป่ ระมาณ 3.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนการวิเคราะห์กราฟโครงข่ายใยแมงมุมชี้ให้เห็ นว่ากระแส ลมส่วนใหญ่มที ิศไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความเร็วของกระแสลมสูงสุดมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีพายุ เช่น การ เกิดพายุในมหาสมุทรแปซิฟกิ ทางตะวันตกมีโอกาสเกิดขึ้นเฉลี่ย 10-15 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญทีเ่ สริมการ เคลื่อนที่ของแมลงพาหะ แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2561 ไม่พบพายุที่พัดผ่านจากประเทศกัมพูชามาประเทศ ไทย จึงมีความเป็นไปได้ว่าการเคลื่อนที่ของแมลงพาหะในประเทศไทยอาจได้รบั อิทธิพลมาจากทิศทางของ กระแสลมเป็นหลัก เนื่องจากกระแสลมเป็นขอบเขตระดับมหภาคหรือระดับภูมภิ าค จึงสามารถใช้ข้อมูลกระแสลมบริเวณ ข้างเคียงเป็นตัวแทนในการศึกษาพื้นที่ศึกษานี้ได้ ซึ่งผลการวิเคราะห์ของความถี่และทิศทางของกระแสลมของ ทุกสถานีตรวจวัดอากาศส่วนใหญ่นั้นมีทิศทางสอดคล้องไปในทางเดียวกัน คือ ไปในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากสถานีตรวจวัดอากาศ ดังนั้น พื้นที่ที่ศึกษาซึง่ มีโรคใบด่างมันสาปะหลังอยู่แล้วและมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็น พาหะมีแนวโน้มจึงมีโอกาสเช่นเดียวกันที่จะสามารถแพร่กระจายโรคไปในทิศของกระแสลมระดับมหภาคไปใน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดังรูปที่ 1 (b-f) การทราบถึงทิศทางแนวโน้มของการเกิดโรคเช่นนี้ เกษตรที่อยู่ใต้ทิศทาง ของกระลมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ควรได้รับความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยง ของการเกิดโรคนีห้ รือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอาจต้องมีส่วนเข้ามาช่วยเหลือเกษตรทีม่ ีโอกาสทีจ่ ะได้รบั ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคนี้ สรุปผลการทดลอง การทีผ่ ู้วิจัยเลือกศึกษาการเคลื่อนที่ของแมลงหวี่ขาวเนื่องจากในขณะที่ทาการสารวจแปลงพบการ แพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวถ่ายทอดเชื้อไวรัสมากกว่า 90% ของพืชที่เป็นโรค จาก การศึกษาอิทธิพลของความถี่และทิศทางของกระแสลมทีม่ ีผลต่อการเคลือ่ นที่ของแมลงหวี่ขาวยาสูบและจะ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
575
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
นาไปสู่การแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลัง จากการใช้ข้อมูลสถานีตรวจวัดอากาศบริเวณข้างเคียงพื้นที่ ของจังหวัดปราจีนบุรี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรรี ัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและ อุบลราชธานี สรุปได้ว่า การระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังบริเวณพื้นทีร่ อยต่อตะเข็บชายแดนที่ติดกับ ประเทศไทยนั้นมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนาโรคและมีแนวโน้มแพร่กระจายไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดย มีอัตราการเคลื่อนทีป่ ระมาณ 3.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามข้อมูลการศึกษาชีววิทยาของของแมลงหวี่ขาว ยาสูบและข้อมูลความถี่และทิศทางของกระแสลม อย่างไรก็ดีการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังสามารถถ่ายทอดโรคโดยการใช้ท่อนพันธุ์ทเี่ ป็นโรค ดังนั้นการิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางการเกิดโรคต้องมีการนาข้อมูลการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มาร่วมวิเคราะห์
(a)
576
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
(b)
(c)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
577
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
(d)
(e)
578
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
PEA-01
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
(f) รูปที่ 1 แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังจังหวัดปราจีนบุร,ี ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรรี ัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมาและอุบลราชธานี โดยเทียบอ้างอิงกราฟเรดาร์ข้อมูล ความถี่และทิศทางกระแสลมของข้อมูลย้อนหลัง 5-21 ปี จากบริเวณใกล้เคียงบนพื้นที่เสี่ยง: (a) กราฟเรดาร์ ข้อมูลความถี่และทิศทางกระแสลม 5 สถานีตรวจวัดอากาศ จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัด กรุงเทพฯ, จังหวัดระยอง) ประเทศกัมพูชา (จังหวัดพนมเปญ), และ ประเทศเวียดนาม (จังหวัดเกิ่นเทอ, นคร โฮจิมินห์) (b) ข้อมูลเทียบจากจังหวัดกรุงเทพฯ ประเทศไทย, (c) ข้อมูลเทียบจากจังหวัดระยอง ประเทศไทย, (d) ข้อมูล เทียบจากจังหวัดพนมเปญ ประเทศกัมพูชา, (e) ข้อมูลเทียบจากจังหวัดโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, และ (f) ข้อมูลเทียบจากจังหวัดเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม คาขอบคุณ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สานักพัฒนา บัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสาปะหลังแห่งประเทศไทย อ้างอิง สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการส่งออกมันสาปะหลัง. แหล่งที่มา URL http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2561&E_YEAR=2561&PRODUCT_ GROUP=5263&PRODUCT_ID=&wf_search=&WF_SEARCH=Y
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
579
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-01
กรมวิชาการเกษตร. 2562. The current status of Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) in Thailand. แหล่งที่มา URL https://www.ippc.int/en/countries/thailand/pestreports/2019/03/the-current-statusof-slcmv-in-thailand/ Legg, James P. 2009. 'Epidemiology of a whitefly-transmitted cassava mosaic geminivirus pandemic in Africa.' in, Bemisia: Bionomics and management of a global pest (Springer). Legg, JP %J Crop Protection. 1999. 'Emergence, spread and strategies for controlling the pandemic of cassava mosaic virus disease in east and central Africa', 18: 627-37. Tokunaga, Hiroki, Tamon Baba, Manabu Ishitani, Kasumi Ito, Ok-Kyung Kim, Hoang Khac Le, Kensaku Maejima, Shigeto Namba, Keiko T Natsuaki, and Nguyen Van Dong. 2018. 'Sustainable Management of Invasive Cassava Pests in Vietnam, Cambodia, and Thailand.' in, Crop Production under Stressful Conditions (Springer). Uke, Ayaka, Trinh Xuan Hoat, MV Quan, NV Liem, Masashi Ugaki, and Keiko T %J Plant Disease Natsuaki. 2018. 'First Report of Sri Lankan Cassava Mosaic Virus Infecting Cassava in Vietnam', 102: 2669. Warburg, Otto. 1894. Die kulturpflanzen usambaras (na). Weather Underground, 2019. 'History'. Avaiable online: https://www.wunderground.com/history. Yaiprasert C. 2018. 'Climate Situation in 5 Top-Rated Tourist Attractions in Thailand by Using Big Data RSS Feed and Programming'. Walailak Journal of Science and Technology, Area-based Informatics, 15(5): 371-385.
580
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
แนวโน้มและความสัมพันธ์ของศัตรูข้าวและผลผลิตของแปลงนาข้าวพันธุ์ กข61 ฤดูนาปีและนาปรังภายใต้สภาพนาชลประทาน Trend and Correlation of Rice Pests RD61 on Wet and Dry Season under Irrigated Lowland Rice Fields ศุภลักษณา หล่าจันทึก1 สุกัญญา อรัญมิตร1 สุภาวดี ฤทธิสนธิ์1 สุนิสา คงสมโอษฐ์1 ปวีณา เข้มประเสริฐ1 ติณณภพ เชิงเทิน1 และ สิทธ์ ใจสงฆ์2 Suphalaksana lachanthuek1 Sukanya Arunmit1 Supawadee Rittison1 Sunisa Kongsom-od1 Parweena Khemparsert1 Tinnapop Churngturn1 and Sith Jaisong2 1
กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2561-1735 Division of Rice Research and Development, Rice Department, Chatuchak, Bangkok, 10900 Tel. 0-2561-1735 2 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง 93000 โทรศัพท์ 0-7484-0111 2 Phatthalung Rice Research Center, Mueang, Phatthalung, 93000 Tel. 0-7484-0111
1
บทคัดย่อ การระบาดของศัตรูข้าวเป็นปัญ หาสาคัญ ต่อการผลิตข้าว พื้นที่ป ลูกข้าวแต่ละที่มี ระบบนิเวศไม่ เหมือนกันทาให้ชนิดของศัตรูข้าวแตกต่างกัน ฉะนั้นวิธีการป้องกันกาจัดศัตรูข้าวจึงมีความแตกต่างกันในแต่ละ พื้นที่หรือฤดูกาล ดังนั้นจึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายจากศัตรูข้าวและผลผลิตข้าว โดยสารวจ แปลงนาเกษตรกรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีการ principle component analysis จานวน 50 แปลง ที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข61 อาเภอเมืองสุพรรณบุรี และอาเภอศรีป ระจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ฤดูนาปีและนาปรัง ปี 2560-2561 พบว่า ในฤดูนาปรังจานวนชนิดของศัตรูข้าวมากกว่าฤดูนาปี ฤดูนาปรังพบการระบาดของโรค เมล็ดด่างมีความสัมพันธ์กับโรคใบจุดสีน้าตาลและโรคใบขีดสีน้าตาล ฤดูนาปีความสัมพันธ์ของโรคเมล็ดด่างก็ ยังสอดคล้องกับฤดูนาปรัง และการระบาดของโรคใบขีดโปร่งแสงมีความสัมพันธ์กับโรคขอบใบแห้ง แนวโน้ม ของผลผลิตข้าวในฤดูนาปรัง พบว่า มีทิศทางผกผันกับการระบาดของแมลงบั่วและอาการยอดเหี่ยว ฤดูนาปี พบว่า มี ทิ ศทางผกผันกั บ การระบาดของหนอนห่ อใบ ความสัม พันธ์ทั้ ง ในเชิง บวกหรือลบสามารถนามา วิเคราะห์การระบาดของศัตรูข้าวและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันกาจัดศัตรูข้าวที่สาคัญต่อการผลิตข้าว และ เพื่อให้การป้องกันกาจัดโรคมีประสิทธิภาพควรป้องกันกาจัดโรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้าตาลควบคู่กัน ฤดู นาปรังควรเน้นการป้องกันกาจัดแมลงบั่วและหนอนกอ ส่วนฤดูนาปีควรเน้นการป้องกั นกาจัดหนอนห่อใบ เพราะการระบาดของศัตรูข้าวเหล่านี้มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างชัดเจนกับผลผลิตข้าว คาสาคัญ : กข61 แนวโน้ม ความสัมพันธ์ ความเสียหายจากศัตรูข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
581
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
ABSTRACT Rice pest outbreaks are important problems of rice production. Ecologies of different rice paddy fields are varied, which reveal various forms of rice pests and outbreaks. Therefore, rice pest management plans are dependent on different areas based on their own problem. This study was to determine the correlations between pest injuries and yield. Surveys of rice pest injuries and yields were conducted in farmers’ fields. Data were analyzed by principle component analysis. Pest injuries were surveyed in 50 RD61-planted field in two districts; Muang Suphan Buri District and Si Prachan District, at Suphan Buri Province in the wet and dry season during in 2017-2018. The results showed that kinds of pests were higher in the dry season more than wet season. The correlation of rice pests and yield revealed that. Incidences of dirty panicle, brown spot, and narrow brown spot were highly correlated in the dry season; moreover, in wet season dirty panicle incidences were also associated with brown spot incidences, and incidences of bacterial leaf streak are positively correlated with bacterial leaf blight incidences. The trend of yield in the dry season is negatively correlated with incidences of rice gall midge and deadheart caused by stem borer. Whereas, in the wet season yields were inversely correlated with rice leaffolder incidences. All in all, the correlations of rice pests and yields were be able to develop as a guideline for improvement of an area-based pest management program. The results of this study point that to prevent the dirty panicle disease effectively required to synchronically control narrow brown spot. To minimize yield gap, in the dry season, incidences of rice gall midge, stem borer are suppressed, whereas in the wet season incidences of rice leaffolders are needed to control because of they are negatively correlated with rice yields. Keywords: RD61, trend, correlation, pest injuries, Suphan Buri province คานา ในการผลิตข้าวนั้นมักพบปัญหาที่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัย เช่น การเข้าทาลาย ของศัตรูข้าว พื้นที่เพาะปลูกลดลง การเขตกรรมที่แตกต่างกันทาให้รูปแบบการทาลายของศัตรูข้าวแตกต่างกัน ด้วย นิเวศและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วง 50 ปีที่ ผ่าน โลกมี อุณหภูมิ สูงขึ้นซึ่งเกิดจากการกระท าของมนุษย์ เป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผ ลต่อการ เจริญ เติบ โตของพื ช และยังส่ง ผลต่อ การแพร่กระจายของเชื้อ ความรุนแรงของเชื้อโรคหลายชนิดอีก ด้วย (Tanmoy et al, 2016) นิเวศและสภาพแวดล้อมจึงเป็นปัจ จัยสาคัญ ที่ มีผ ลโดยตรงต่อชนิด ปริมาณ และ ช่วงเวลาการระบาดของศัตรูข้าว ทั้งนี้ ความเสียหายไม่ว่ามาจากสาเหตุใดล้วนมีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว เมื่อ 582
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
เกิดการระบาดของศัตรูข้าวจนทาให้ผลผลิตเสียหายแล้วนั้น จาเป็นที่จะต้องทราบแนวโน้มความสัมพันธ์ของ ศัตรูข้าวและผลผลิตข้าว เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าว และหาแนวทางการป้องกันกาจัด ได้ทัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายจากศัตรูข้าวและผลผลิตข้าว ดูแนวโน้มการระบาดของศัตรูข้าวทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันกาจัดศัตรูข้าวที่ สาคัญต่อการผลิตข้าวได้ทันต่อสถานการณ์ต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ 1. เก็บข้อมูลพื้นฐานของการปลูกข้าว เก็บข้อมูลพื้นฐานของการปลูกข้าวในแปลงนาของเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข61 โดยการสัมภาษณ์ เกษตรกร 2 อาเภอ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ตาบลสวนแตง อาเภอเมืองสุพรรณบุรี และ ตาบลวังหว้า อาเภอ ศรีประจันต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2561 ทั้งฤดูนาปี (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฤดูนาปรัง (ธันวาคม-มีนาคม) รวมทั้งหมด 50 แปลง 2. การสารวจและบันทึกข้อมูล ทาการสารวจประเมินความเสียหายและการทาลายจากศัตรูข้าว โดยเดินทแยงมุม สุ่มนับจานวนต้น/ ใบที่ เป็นโรคหรือแมลงที่ เข้าทาลาย สาหรับแปลงนาหว่านน้าตม ใช้กรอบขนาด 10 x 10 เซนติเมตร สุ่มนับ จานวนต้นต่อกรอบ จานวน 10 จุดต่อแปลง และแปลงนาที่เป็นนาดา สุ่มนับจานวนต้นต่อกอ จานวน 10 กอ โดยประยุกต์จากวิธีการ “A survey portfolio to characterize yield-reducing factors in rice” (Savary and Castilla, 2009) สารวจทั้ งหมด 3 ระยะการเจริญ เติบ โตของข้าว คือ ระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง และ ระยะสุกแก่ เมื่อข้าวระยะสุกแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทาการสุ่มเก็บเกี่ยวตัวอย่างผลผลิต ในพื้นที่ขนาด 2x2.5 เมตร จานวน 3 ตัวอย่าง นามาชั่งน้าหนักผลผลิต และบันทึกผล 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศัตรูข้าวและผลผลิตในแปลงนาเกษตรกร นาข้อ มู ล ที่ ได้ จ ากการส ารวจแปลงนาเกษตรกรมาวิเคราะห์ความสัม พัน ธ์ด้วยวิธี ก าร (Principal component analysis, PCA) ผลและวิจารณ์ ความสัมพันธ์ของศัตรูข้าวและผลผลิตในแปลงนาเกษตรกร จากการสารวจแปลงนาเกษตรกรใน อาเภอเมืองสุพรรณบุรี และ อาเภอศรีประจันต์ ปี พ.ศ. 25602561 ทั้งฤดูนาปี และฤดูนาปรัง จานวน 50 แปลง พบว่า ในฤดูนาปรังพบศัตรูข้าว 19 ชนิด คือ อาการของ หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวเข้าทาลาย กาบใบแห้ง อาการหลอดบั่วที่เกิดจากบั่วเข้าทาลาย ใบไหม้ ขอบใบ แห้ง ใบแถบแดง อาการยอดเหี่ยวจากหนอนกอเข้าทาลาย ใบจุดสีน้าตาล เพลี้ยไฟ แมลงดาหนาม แมลงสิง เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล อาการของหนอนห่อใบข้าวเข้าท าลาย หนอนปลอก อาการข้าวหัวหงอกที่เกิดจาก 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
583
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
หนอนกอเข้าทาลาย ใบขีดสีน้าตาล ดอกกระถิน ใบขีดโปร่งแสง และเมล็ดด่างของข้าว เมื่อดูความสัมพันธ์ของ ศัตรูข้าวและผลผลิต พบความสัมพันธ์ของอาการหนอนห่อใบข้าวเข้าทาลายไปในทิศทางเดียวกับอาการที่เกิด จากหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวเข้าทาลาย และพบอาการหลอดบั่ว อาการยอดเหี่ยวและอาการข้าวหัวหงอก ที่เกิดจากหนอนกอเข้าทาลายมีความสัมพันธ์กัน โรคพบการระบาดของโรคกาบใบแห้ง โรคใบแถบแดงและโรค ใบขีดโปร่งแสงมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน และการระบาดของโรคเมล็ดด่างมีความสัมพันธ์ไปในทาง เดียวกับการระบาดของโรคใบจุดสีน้าตาล ใบขีดสีน้าตาล ส่วนแนวโน้มของผลผลิตข้าวจะแปรผกผันกับการ ระบาดของบั่ว อาการยอดเหี่ยวและข้าวหัวหงอก สาเหตุจากหนอนกอข้าว (ภาพที่ 1) ส่วนในฤดูนาปีพบศัตรู ข้าว 12 ชนิด คือ เพลี้ยไฟ ใบแถบแดง อาการของหนอนห่อใบข้าวเข้าทาลาย อาการของหนอนแมลงวันเจาะ ยอดข้าวเข้าท าลาย ใบขีดสีน้าตาล เมล็ดด่าง แมลงดาหนาม ใบจุดสีน้าตาล ขอบใบแห้ง ใบขีดโปร่งแสง อาการยอดเหี่ยวจากหนอนกอเข้าทาลาย เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล พบความสัมพันธ์ของอาการหนอนห่อใบข้าว เข้าทาลายไปในทิศทางเดียวกับอาการที่เกิดจากหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวเข้าทาลาย การระบาดของโรค เมล็ดด่างมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกับการระบาดของโรคใบจุดสีน้าตาล ใบขีด สีน้าตาล และการระบาด ของโรคใบขีดโปร่งแสงมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกับการระบาดของโรคขอบใบแห้งและอาการยอดเหี่ยว สาเหตุจากหนอนกอข้าว แนวโน้มผลผลิตข้าวพบว่ามีทิศทางผกผันกับการระบาดของหนอนห่อใบข้าว (ภาพที่ 2) จากการสารวจ ทั้ง 2 ฤดู พบว่าในฤดูนาปรังมีจานวนชนิดของศัตรูข้าวและความเสียหายจากการเข้าทาลาย ของศัตรูข้าวมากกว่าฤดูนาปี ซึ่ง สอดคล้อ งกั บ Jahn et al (1997) ที่ ร ายงานว่าในฤดูนาปรัง มี ก ารใช้ ส าร ป้องกันจาจัดศัตรูข้าวมากเนื่องจากมีจานวนศัตรูข้าวที่มากกว่าฤดูนาปี และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ศัตรูข้าวและผลผลิตทั้งในเชิงบวก ลบ หรือไม่สัมพันธ์กันในแต่ละฤดูการปลูกข้าว นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และนิเวศที่ต่างกันมีผลต่อชนิด ปริมาณและความรุนแรงของเชื้อสาเหตุโรคหรือแมลงศัตรูข้าว หรืออาจจะไม่มีผลกระทบต่อโรคพืชแต่ละชนิดเลยก็เป็นได้ (Chakraborty et al., 2000)
584
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
ภาพที่ 1 แนวโน้มของศัตรูข้าวของพันธุ์ข้าว กข61 ในฤดูนาปรัง ปี 2560-2561 หมายเหตุ : จากภาพที่ 1 อักษรย่อต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้ wm=หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว blb=ขอบใบแห้ง rthip=เพลี้ยไฟ lf=หนอนห่อใบข้าว rs=ใบแถบแดง rh=แมลงดาหนาม bls=ใบขีดโปร่งแสง cs=หนอนปลอก rb=แมลงสิง wh=ข้าวหัวหงอก sd=เมล็ดด่าง lb=ใบไหม้ bph=เพลีย้ กระโดดสีนาตาล ้ nbs=ใบขีดสีน้าตาล
fsm=ดอกกระถิน ss=หลอดบั่ว bs=ใบจุดสีน้าตาล
shb=กาบใบแห้ง dh=ยอดเหี่ยว
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
585
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
ภาพที่ 2 แนวโน้มของศัตรูข้าวของพันธุ์ข้าว กข61 ในฤดูนาปี ปี 2560-2561 หมายเหตุ : จากภาพที่ 2 อักษรย่อต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้ rthip=เพลี้ยไฟ rs=ใบแถบแดง lf=หนอนห่อใบข้าว sd=เมล็ดด่าง rh=แมลงดาหนาม bs=ใบจุดสีน้าตาล dh=ยอดเหี่ยว bph=เพลี้ยกระโดดสีนาตาล ้
wm=หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว blb=ขอบใบแห้ง
nbs=ใบขีดสีน้าตาล bls=ใบขีดโปร่งแสง
สรุปผลการทดลอง จากการสารวจและศึก ษาความสัม พันธ์ ของศัตรูข้าวและผลผลิตในแปลงนาเกษตรกรด้วยวิธีก าร principle component analysis จ านวน 50 แปลง ที่ ป ลูก ข้าวพั นธุ์ กข61 ใน 2 อาเภอ คือ อาเภอเมื อง สุพรรณบุรี และ อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูนาปีและนาปรัง ปี 2560-2561 พบว่า ในฤดูนา ปรังพบจ านวนชนิดของศัตรูข้าวมากกว่าในฤดูนาปี เช่น แมลงสิง หนอนปลอก แมลงบั่ว การศึก ษาเรื่อง ความสัม พันธ์ของศัตรูข้าวในฤดูนาปรัง ชี้ให้เห็นว่า การระบาดของโรคเมล็ดด่างมีความสัม พันธ์ไปในทาง เดียวกั บ การระบาดของโรคใบจุดสีน้าตาล ใบขีดสีน้าตาล ในฤดูนาปี ความสัม พันธ์ของโรคเมล็ดด่างก็ ยัง สอดคล้องกับฤดูนาปรัง และ การระบาดของโรคใบขีดโปร่งแสงมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกับการระบาด ของโรคขอบใบแห้งและอาการยอดเหี่ยว แนวโน้มของผลผลิตข้าวในฤดูนาปรังพบว่า มีทิศทางแปรผกผันกับ การระบาดของบั่ว อาการยอดเหี่ยวและข้าวหัวหงอก สาเหตุจากหนอนกอข้าว แต่ฤดูนาปี พบว่ามีทิศทาง ผกผันกับการระบาดของหนอนห่อใบข้าว ความสัมพันธ์ของศัตรูข้าวทั้งในเชิงบวกหรือลบสามารถนาวิเคราะห์
586
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-02
การระบาดของศัตรูข้าวและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันกาจัดศัตรูข้าวที่สาคัญต่อการผลิตข้าว และเพื่อให้ การป้องกันกาจัดโรคเมล็ดด่างมีประสิทธิภาพควรมีการป้องกันกาจัดโรคเมล็ดด่างและใบขีดสีน้าตาลควบคู่กัน ฤดูนาปรังควรเน้นการป้องกันกาจัดแมลงบั่ว และหนอนกอ และฤดูนาปีควรเน้นการป้องกันกาจัดหนอนห่อใบ เพราะการระบาดของศัตรูข้าวเหล่านี้มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างชัดเจนกับผลผลิตข้าว คาขอบคุณ ขอขอบคุณคุณสิทธ์ ใจสงฆ์ ที่ให้คาแนะนา และช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และขอขอบคุณคณะทางานทุก ท่านจากกองวิจัยและพัฒนาข้าว กลุ่มงานอารักขาข้าว ที่ทาให้งานวิจัยชิ้นนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เอกสารอ้างอิง Chakraborty, S., A.V. Teidemann, P.S. Teng. 2000. Climate change: potential on plant diseases. Environmental pollution, 108(3) : 317-326. Jahn, G.C., P. Sophea, K. Bunnarith, and P. Chanthy. 1997. Pest management practices of lowland rice farmers in Cambodia. 35-52. In : Heong KL, Escalada MM, editors. Pest management of rice farmers in Asia. International Rice Research Institute. Manila, Philippines: Savary, S., and N. P Castilla. 2009. A survey portfolio to characterize yield-reducing factors in rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. Tanmoy Das, M. Hajong, D. Majumdar, R. K. Tombisana Devi and T. Rajesh. 2 0 1 6 . Climate change impacts on plant disease. SAARC J. Agri., 14(2): 200-209.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
587
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
ศึกษาชนิดและปริมาณของหนูในพืน้ ทีน่ าข้าวที่มีการล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู ใน จังหวัดสุพรรณบุรี Type and Rat Population in Rice Fields Using Trap Barrier System (TBS) at Suphanburi Province. ทัสดาว เกตุเนตร1 ปรัชญา แตรสังข์2 และ อุรัสยาน์ ขวัญเรือน3 Thasdaw Katenate1 Prachya Traesang 2 and Urassaya Kuanruen 3 1
1
ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี 25150 โทรศัพท์ 0-3727-1385 Prachin Buri Rice Research center, Ban Sang, Prachin Buri 25150 Tel. 0-3727-1385 2 สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 0-3555-5276 2 Thailand Rice Science Institute, Muang, Suphan Buri 72000 Tel. 0-3555-5276 3 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อ.พาน จ.เชียงราย 57120 โทรศัพท์ 0-5372-1578 3 Chiang Rai Rice Research center, Phan, Chiang Rai 57120 Tel. 0-5372-1578
บทคัดย่อ การศึกษาชนิดและปริมาณหนูในพื้นที่นาข้าวที่มีการล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู ดาเนินการใน พื้นที่ ตาบลรั้วใหญ่ อาเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูการปลูกข้าวปี 2559 โดยใช้แปลงนาข้าวพันธุ์ กข41 ขนาด 5 ไร่ จานวน 1 แปลง หลังจากหว่านข้าวดาเนินการล้อมรั้วผ้าใบและติดตั้งลอบดักหนู จานวน 18 ลอบ ทาการตรวจความเรียบร้อยของผ้าใบพลาสติกและเก็บหนูออกจากลอบทุกวัน ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ปลูกข้าวที่ทาการศึกษาครั้งนี้ พบหนูนาตั้งแต่ข้าวระยะกล้า ไปจนถึงระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว โดยพบหนูศัตรูข้าวติดในลอบดักหนูตลอดฤดูปลูก จานวน 127 ตัว ชนิดของหนูที่พบในลอบดักหนู มี 5 ชนิด ได้แก่ หนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) 58 เปอร์เซ็นต์ หนูนาเล็ก (Rattus losea) 27 เปอร์เซ็นต์ หนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus) 10 เปอร์เซ็นต์ หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) 4 เปอร์เซ็นต์ และหนูหริ่ง นาหางยาว (Mus caroli) 1 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้พบสัตว์ผู้ล่าหนูติดเข้าในลอบดักหนูด้วย ได้แก่ งูชนิดต่างๆ ตัวเงินตัวทอง และตะกวด คาสาคัญ : การล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู ปริมาณหนู นาข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี ABSTRACT In this study, type and rat population in rice field using trap barrier system (TBS) were surveyed at Rua Yai, Suphanburi province in dry season 2016. 0.8 hectares of rice field, installation of the TBS. The TBS was plastic fence with multiple - capture live rat traps inserted intermittently at its base. 18 multiple - capture live rat traps were placed in the 588
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
interior side at the base of the fence. Rat catches through the multiple - capture live rat traps placed inside the TBS. The plastic material checked for holes and traps were monitored daily. The results showed a total of 127 rats were collected. The majority of rats species from rice field were Rattus argentiventer, Rattus losea, Rattus rattus, Bandicota indica and Mus caroli, respectively. Furthermore, There are lots of predators in the traps such as snakes, water monitor (Varanus salvator) and tree monitor (Varanus bengalensis). Keywords: trap barrier system (TBS), rat population, rice field, Suphanburi province คานา หนูเป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่ เป็นปัญหาและสร้างความเสียหายในนาข้าวให้แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ความเสียหายให้แก่นาข้าวที่เห็นเด่นชัดคือ การกัดแทะต้นข้าวที่ปลูกในนา หนูทาความเสียหายแก่ข้าวตั้งแต่ ระยะเริ่มปลูก โดยเก็บกินเมล็ดข้าวที่งอกในแปลงข้าวที่หว่านหรือหยอดในแปลงปลูก เมื่อข้าวเริ่มงอกจนถึง ระยะแตกกอ หนูยังจะกัดทาลายลาต้น โดยไม่จาเป็นต้องกินต้นข้าวที่กัดนั้นทั้งหมด เมื่อถึงระยะที่ข้าวออกรวง หนูจะกัดกินลาต้นหรือคอรวงให้ขาด แล้วจึงแกะเมล็ดออกจากรวงกินเป็นอาหารต่อไป นอกจากนั้น หนูยังเก็บ สะสมรวงข้าวไว้ในรังของมัน เพื่อเป็นอาหารหลังฤดูเก็บเกี่ยวอีกด้วย (กองกีฏและสัตววิทยา, 2544) การปลูกข้าวในท้องที่ภาคกลางของประเทศไทยมักจะประสบกับปัญหาหนูทาลายข้าวอยู่เสมอๆ ทั้งนี้ เนื่องจากในท้องที่ภาคกลาง เกษตรกรสามารถทานาได้ 2 หรือ 3 ครั้งต่อปี เพราะมีระบบการชลประทานดีกว่า ภาคอื่นๆ ทาให้หนูมีอาหารในธรรมชาติกินตลอดปี (Boonsong et al., 1999) ส่วนในแง่ของการป้องกันกาจัด หนู เกษตรกรมักจะใช้สารออกฤทธิ์เร็วแต่เพียงอย่างเดียว ในบางแห่งใช้รั้วไฟฟ้ากาจัดหนู ทาให้หนูเกิดอาการ เข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเนื่องจากหนูเป็นทั้งศัตรูพืชและศัตรูในบ้านเรือน หากหนู ระบาดในนาข้าวจะส่งผลให้ผ ลผลิตข้าวลดลงถึงกว่าร้อยละ 6 - 60 ขึ้นกั บ ระดับ ความรุนแรงของการเข้า ทาลาย ประมาณการว่าความเสียหายทีเ่ กิดขึ้นจากการกัดทาลายของหนู และการปนเปื้อนจากของเสียของหนู มีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ากว่าปีละ 4,000 ล้านบาท ส่งผลให้แต่ละปีประเทศไทยมีการนาเข้าสารเคมีในการ กาจัดหนูเพิ่มมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2551 มีการนาเข้าสารเคมีกาจัดหนู คิดเฉพาะปริมาณสารออกฤทธิ์ช้าสูง ถึง 244,490 กิโลกรัม มูลค่ารวมประมาณ 35.14 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2553 ปริมาณการนาเข้าเพิ่มเป็น 437,397 กิโลกรัม และมูลค่ารวมราว 61.74 ล้านบาท (อังคณา, 2554) การป้ อ งกั น ก าจั ด หนู มี ห ลายวิธี ทั้ ง วิ ธี ก ารเขตกรรม วิ ธี ก ล โดยชี ว วิ ธี และการใช้ ส ารเคมี ซึ่ ง เกรียงศักดิ์ (2545) กล่าวว่า สาเหตุที่ ทาให้การแก้ปัญ หาหนูในนาข้าวของเกษตรกรไม่ป ระสบความสาเร็จ กลายเป็นปัญ หาเรื้อ รัง เนื่องจากมีเหตุปัจจัยหลายประการที่ สาคัญ คือ การแก้ไขปัญ หาหนูในนาข้าวของ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแบบตั้งรับ รอให้เกิดปัญหาก่อนจึงค่อยหาทางแก้ไขไม่ได้มีการเตรียมพร้อม และเฝ้า 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
589
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
ติดตามปัญหาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดความเสียหายจากการทาลายของหนูปรากฏให้เห็นแล้วจึงหาทางป้องกัน กาจัดหนู ซึ่งอาจล่าช้าหรือสายเกินไป การล้ อ มรั้วร่วมกั บ ใช้ ล อบดั ก หนู (Trap Barrier System) เป็ น วิธีก ารป้อ งกั น ก าจั ดหนู โดยไม่ ใช้ สารเคมีวิธีการหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้ได้ดีและครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 62.5 ไร่ (Singleton, 2003) ซึ่งในพื้นที่ที่มีหนูชุกชุม การปลูกข้าวเป็นพืชเดี่ยว ท่ามกลางพื้นที่ที่เป็น แหล่งอาศัยของหนู มักจะถูกหนูเข้าทาลายเสียหายอย่างรุนแรง การปลูกพืชชนิดเดียวกันในพื้นที่ขนาดใหญ่แต่ ปลูกไม่พร้อมกัน หรือใช้พันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวต่างกัน มักจะถูกหนูเข้าทาลายเสียหายมาก ในกรณีดังกล่าว หากเกษตรกรต้อ งการวิธีป้อ งกั นก าจัดหนูที่มี ป ระสิท ธิภาพสูง สามารถใช้วิธีป้องกั นก าจัดด้วยการล้อมรั้ว ร่วมกับการใช้ลอบดักหนู จะสามารถป้องกันความเสียหายได้ผลดีมาก ส่วนในพื้นที่ที่ปลูกพืชเป็นแปลงใหญ่ การล้อมรั้วและติดตั้งลอบดักหนูในแปลงที่หนูเข้าทาลายก่อน ซึ่งเรียกว่า แปลงปลูกพืชล่อ ก็สามารถป้องกัน กาจัดหนูในแปลงที่ล้อมรั้วไว้ได้ และกาจัดหนูในพื้นที่โดยรอบได้ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดึงดูด หนูของแปลงพืชล่อ ขนาด และจานวนของแปลงพืชล่อกับพื้นที่ เพาะปลูกทั้ งหมด (กองกีฏและสัตววิทยา, 2544) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้เลือกใช้วิธีการในการป้องกันกาจัดหนู ศัตรูข้าวที่มีความปลอดภัย และเป็นวิธีที่เกษตรกรสามารถนาไปปฏิบัติได้ อุปกรณ์และวิธีการ 1. แปลงทดลอง ดาเนินการในพื้นที่แปลงนาข้าว หมู่ 5 ตาบลรั้วใหญ่ อาเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แปลงขนาด พื้นที่ 5 ไร่ จานวน 1 แปลง ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2559 หลังจากหว่านข้าว ดาเนินการล้อมรั้ว ผ้าใบและติดตั้งลอบดักหนู จานวน 18 ลอบ 2. การสารวจชนิดและประชากรหนูในแปลงนาข้าว 2.1 การดาเนินการล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู 2.1.1 การล้อมรั้วและติดตั้งลอบดักหนู ดาเนินการหลัง จากหว่านข้าว โดยวัสดุที่ใช้ล้อมรั้ว คือ แผ่นผ้าใบกันน้า สูงจากพื้นดินประมาณ 70 เซนติเมตร และฝังลึกลงไปในพื้นดิน 10 เซนติ เมตร กลบดินข้าง แนวรั้วให้แน่นสม่าเสมอ 2.1.2 ลอบดักหนูที่ใช้มีลักษณะคล้ายลอบดักปลา แต่ทาจากวัสดุที่ทนทานต่อการกัดแทะของหนู ได้ คือ ลวดตาข่าย เหล็กเส้นมัดกับโครงขึ้นลอบ มีทางเข้าด้านหน้าเป็นกรวยที่หนูเข้าแล้วไม่สามารถย้อนกลับมา ได้ ด้านท้ายลอบเป็นประตูสาหรับเปิดเอาหนูออก ติดตั้งลอบทุกๆ 20 เมตร โดยวางลอบหันออกด้านนอก ตัว ลอบตั้งฉากกับแนวรั้ว ประตูลอบเสมอกับแนวขอบรั้ว ถ้าทาร่องน้าไว้จะต้องทาคันดินเชื่อมเข้าหาปากลอบไว้ 2.2 การบันทึกชนิดและข้อมูลปริมาณของหนู
590
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
ทาการเก็บข้อมูลชนิด จานวน และข้อมูล สัตว์ผู้ล่าที่ดักได้ในลอบดัก ทุกๆ 1-2 วัน ตลอดระยะ การเจริญเติบโตของข้าว 3. การบันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูล ปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในแต่ละแปลงของเกษตรกร สภาพนิเวศรอบแปลงนา รวมถึง ข้อมูลสภาพภูมิอากาศอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้าฝน และบันทึกการเปลี่ยนแปลง อย่างฉับพลันของสภาพอากาศ เช่น ความแห้งแล้ง ฝนตกหนัก พายุ และอื่นๆ ผลการทดลองและวิจารณ์ ชนิดของหนูที่พบในพื้นที่ จากการดาเนินการล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนูในแปลงนาข้าว พบหนูศัตรูข้าวติดในลอบดักหนู ตลอดฤดูปลูก (ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง และก่อนเก็บเกี่ยว) จานวน 127 ตัว ชนิดของหนูที่พบในลอบดักหนู มี 5 ชนิ ด ได้ แ ก่ หนู น าใหญ่ (Rattus argentiventer) 58 เปอร์ เ ซ็ น ต์ หนู น าเล็ ก (Rattus losea) 27 เปอร์เซ็นต์ หนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus) 10 เปอร์เซ็นต์ หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) 4 เปอร์เซ็นต์ และหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) 1 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ (fig.1, 2) นอกจากนี้ ยังพบสัตว์ผู้ล่าหนูชนิด อื่นๆ ติดเข้าในลอบดักหนูด้วย ได้แก่ งูชนิดต่างๆ ตัวเงินตัวทอง และตะกวด
Fig.1. Rodent species diversity in rice field using Trap Barrier System (TBS) at Suphanburi province.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
591
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
Fig.2. Rice field using Trap Barrier System (TBS) at Suphanburi province. ความผันแปรของประชากรหนูตลอดฤดูปลูก จานวนประชากรหนูในนาข้าวนั้นเกี่ยวข้องกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว โดยพบว่าหนูมี การเพิ่ม จานวนขึ้นในช่วงข้าวระยะกล้า ระยะแตกกอสูงสุด ไปจนถึงระยะตั้งท้อง และมีจานวนค่อนข้างคงที่ ในระยะ ก่อนเก็บเกี่ยว (fig.3) ทั้งนี้เป็นเพราะมีแหล่งอาหารธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สอดคล้องกับรายงานของ Huan et al. (2010) ซึ่งรายงานว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรหนู ขึ้นอยู่กับระยะของข้าวและคุณภาพของพืช อาหาร นอกจากนี้ Duque et al. (2008) รายงานว่าหนูจะขยายพันธุ์และมีจานวนสูงที่สุดในข้าวระยะตั้งท้อง ไปจนถึงระยะสุกแก่ และ Gergon et al. (2008) ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประชากรหนูในจังหวัดอิฟูเกา (Ifugao) ของประเทศฟิลิปปินส์ พบว่าในข้าวระยะกล้าและระยะสุกแก่ หนูที่จับได้มีจานวนสูงกว่าระยะอื่นๆ จานวนประชากรหนูนนั้ เพิ่มขึ้นตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว
Fig.3. Population trend of rats at different rice stages in rice field using Trap Barrier System (TBS) at Suphanburi province. 592
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
สรุปผลการทดลอง จานวนประชากรหนูที่ดักได้ในแปลงนาข้าวที่มี การล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู พบว่า มีจานวน หนูที่ดักได้สูงสุด ในข้าวระยะแตกกอไปจนถึงระยะตั้งท้อง และพบชนิดของหนูมากที่สุด 5 ชนิด โดยพบหนูนา ใหญ่ มี จ านวนมากที่ สุด รองลงมาได้แก่ หนูนาเล็ก หนูท้ องขาวบ้าน หนูพุก ใหญ่ และหนูห ริ่ง นาหางยาว ตามลาดับ การใช้วิธีการป้องกันกาจัดหนูในนาข้าวโดยการล้อมรั้วร่วมกับการใช้ลอบดักหนู สามารถลดปริมาณ หนูที่จะเข้ามาทาลายผลผลิตข้าวได้และป้องกันความเสียหายของข้าวได้ดี รวมทั้งเป็นแนวทางให้เกษตรกรลด การใช้สารเคมีและอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ในนาข้าวได้อีกด้วย คาขอบคุณ คณะผู้ดาเนินงานขอขอบคุณนางสาวยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านสัตว์ศัตรูข้าว กองวิจัยและ พัฒนาข้าว กรมการข้าว ที่ได้ช่วยเหลือในการวางแผนงานวิจัย ตลอดจนให้คาปรึกษาแนะนา และตรวจแก้ไข งานวิจัย และขอขอบคุณ ผู้ช่วยดาเนินงานจากศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบั นวิท ยาศาสตร์ข้าวแห่ง ชาติ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ทุกท่านที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่มีส่วนร่วมดาเนินการและสนับสนุนการวิจัยในครัง้ นี้ เอกสารอ้างอิง กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. 2544. หนูและการป้องกันกาจัด. เอกสารวิชาการ กองกีฏและ สัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, 136 หน้า. เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์. 2545. ความส าคัญ ของข้อมู ลตัวชี้วัดประชากรในการจัดการหนูศัตรูปาล์มน้ามัน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่องหนูศัตรูพืชและมนุษย์ ครั้งที่ 2, กองกีฏและสัตววิทยา, กรม วิชาการเกษตร. อังคณา สุวรรณกู ฎ. 2554. เรื่องของหนู. จดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่ก ารวิจัยและพัฒ นาการเกษตร, กรม วิชาการเกษตร: http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n14/v_5-june/ceaksong.html Boonsong, P., Hongnark, S., Suasa-ard, K., Khoprasert, Y., Promkerd, P., Hamarit, K., Nookarn, P. and Jäkel, T. 1999. Rodent Management in Thailand. In Ecologically-based Management of Rodent Pests, Australian Centre for International Agricultural Research GPO Box 1571, Canberra. 485 p. Duque, U.G., Joshi, R.C., Singleton, G.R., Marquez, L.V., Florague, M.A. and Sebastian, L.S. 2008. Biology and management of rodent communities in intensive lowland irrigated rice cropping systems in Luzon Island. Philippine Rats Ecology and Management. Philippine Rice Research Institute. pp. 57-65. Gergon, E.B., Catudan, B.M. and Desamero, N.V. 2008. Ecology-based rat management system in Banaue and Hungduan rice terraces. Philippine Rats Ecology and Management. Philippine Rice Research Institute. pp. 85-100. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
593
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-03
Huan, N.H., Nga, V.T.Q., Brown, P.R., Phung, N.T.M. and Singleton, G.R. 2010. Rodent impacts in lowland irrigated intensive rice systems in Vietnam. Rodent Outbreaks : Ecology and Impacts. International Rice Research Institute. pp. 139-152. Singleton, G. R. (2003). Impacts of rodents on rice production in Asia.IRRI Discussion Paper Series No 45. Los Banos: International Rice Research Institute.
594
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
ประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าแมลงในการป้องกันกาจัด หนอนกระทูผ้ กั ในพริก Efficacy of Bacteria and Insecticides for Controlling Common Cutworm : Spodoptera litura (Fabricius) in Chili สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และ สุภราดา สุคนธาภิรมณ์ ณ พัทลุง Somsak Siriphontangmun and Suprada Sukonthabhirom na Pattalung สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ได้ชนิดสารฆ่าแมลงและอั ตราการใช้ที่มีป ระสิท ธิภาพป้องกั นกาจัด หนอนกระทู้ผักในพริก การศึกษาประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในการป้องกันกาจัดหนอน กระทู้ ผักในพริก ทาการทดลองที่แปลงเกษตรกร อาเภอท่าม่วง และอาเภอท่ ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือ นพฤศจิก ายน 2560 - มิถุนายน 2561 วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block มี 4 ซ้า 10 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีพ่น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai, emamectin benzoate 1 . 9 2 %EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24% SC, indoxacarb 15%EC, spinetoram 12%SC, deltamethrin 3%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC และ chlorfenapyr 10%SC เปรียบเที ยบกั บ กรรมวิธีไม่ ใช้ส ารฯ ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่ น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1 . 9 2 %EC, spinetoram 12%SC, methoxyfenozide 24% SC, lufenuron 5%EC, deltamethrin 3%EC แล ะ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผักในพริก และ พบแมลงศัตรูธรรมชาติหนอนกระทู้ผัก 1 ชนิด คือ มวนพิฆาต (Stink bug: Eocanthecona furcellata (Wolff)) คาสาคัญ : เชื้อแบคทีเรีย สารฆ่าแมลง หนอนกระทู้ผกั พริก ABSTRACT The purpose of this research was to obtain effective insecticides and their recommended rates to control common cutworm (Spodoptera litura (Fabricius)) damaging chili. A study on the efficacy of bacteria and insecticides for controlling common cutworm: S. litura (Fabricius) in chili was conducted on farmer’s fields in 595
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
Amphoe Muang and Ta Maka Kanchanaburi province, from November 2017 to June 2018. The trial was a randomized complete block design with 4 replicates and 10 treatments namely, sprays of Bacillus thuringiensis subsp. aizawai, emamectin benzoate 1.92%EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24%SC, indoxacarb 15%EC, spinetoram 12%SC, deltamethrin 3%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC, chlorfenapyr 10%SC and non-treated control. The results revealed that indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC, methoxyfenozide 24%SC, lufenuron 5%EC, deltamethrin 3%EC and Bacillus thuringiensis subsp. aizawai were effective for controlling common cutworm. One species of natural enemy, stink bug : Eocanthecona furcellata (Wolff) was found in trials. Keywords: bacteria, insecticides, common cutworm, chili คานา พริกเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจ ที่ใช้บริโภคภายในประเทศ และส่งออกไป ต่างประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศกว่า 3 แสนไร่ ได้ผลผลิตกว่า 3 แสนตัน (นิรนาม, 2559) การปลูก ซ้าที่ เดิมและขยายพื้นที่ ก ารปลูก เป็นบริเวณกว้างติดต่อกัน ปัญ หาต่างๆ ก็จะสะสมมากขึ้น โดยเฉพาะ ปัญ หาแมลงศัต รูพ ริก หนอนกระทู้ ผั ก (common cutworm: Spodoptera litura (Fabricius)) เป็ น หนอนผีเสื้อที่สาคัญชนิดหนึ่งที่พบเข้าทาลายพริกเป็นประจา โดยหนอนจะกัดกินใบ กิ่งก้าน ดอก และผล พริกทาให้ผลผลิตพริกเน่าเสียคุณภาพ (สมศักดิ,์ 2559) ซึ่งการทาลายที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงมากหากไม่มีการ ป้องกันกาจัด ทาให้เกษตรกรต้องพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อแก้ไขปัญหา และควบคุมการระบาดเข้าทาลายของ แมลงศัตรูดังกล่าว และจากการใช้สารฆ่าแมลงอย่างไม่มีแบบแผนของเกษตรกร การขาดคาแนะนาและ ส่งเสริมการบริหารศัตรูพืช รวมทั้งนักวิชาการขาดแคลนข้อมูลใหม่ๆโดยเฉพาะประสิทธิภาพของสารฆ่า แมลงซึ่งปัจจุบัน IRAC (Insecticide Resistance Action Committee) ได้แบ่งกลุ่มสารฆ่าแมลงออกเป็น 32 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ (IRAC, 2019) ซึ่งวิธีการเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษและกลไก การออกฤทธิ์ที่เหมาะสมจะทาให้การจัดการแมลงศัตรูพืชประสบผลสาเร็จ ดังนั้นการศึกษาประสิทธิภาพ เชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในการป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผักก็จะเป็นแนวทางการใช้สารฆ่าแมลงได้ อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ และที่สาคัญเชื้อแบคทีเรียไม่เป็นอันตรายต่อผูใ้ ช้ สิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อ ศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จ ะช่วยชะลอความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงและลดปัญ หาสารพิษ ตกค้างในผลผลิตได้
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
596
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
อุปกรณ์และวิธีการ อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นการทดลอง 1) แปลงพริ ก เหลื อ งพั น ธุ์ อ อเรนจ์ 2) เชื้ อ แบคที เรี ย Bacillus thuringiensis subsp aizawai (Florbac SC) 3) สารฆ่ า แมลงได้ แ ก่ chlorantraniliprole 5.17%SC (DuPont Prevathon), chlorfenapyr 10%SC (Rampage), emamectin benzoate 1 . 9 2 %EC (Proclaim 019 EC), indoxacarb 15%EC (Ammate 15 EC), lufenuron 5%EC (Math 050 EC), methoxyfenozide 24% SC (Prodigy 240 SC), deltamethrin 3%EC (Decis3) และ spinetoram 12%SC (Exalt) 4) ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 13-13-21 5.) เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง และ 6.) อุปกรณ์บันทึกการตรวจนับแมลง เช่น ตารางบันทึก ปากกา เป็นต้น วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block มี 4 ซ้า 10 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พ่ น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อั ต รา 80 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20ลิ ต ร กรรมวิ ธี ที่ 2 พ่ น emamectin benzoate 1.92%EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่น lufenuron 5%EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่น methoxyfenozide 24%SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิ ต ร กรรมวิ ธี ที่ 5 พ่ น indoxacarb 15%EC อั ต รา 15 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20ลิ ต ร กรรมวิ ธี ที่ 6 พ่ น spinetoram 12%SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่น deltamethrin 3%EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร กรรมวิธีที่ 8 พ่ น chlorantraniliprole 5.17%SC อัตรา 20 มิ ลลิลิตร/น้า 20ลิตร กรรมวิธีที่ 9 พ่น chlorfenapyr 10%SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร และ กรรมวิธีที่ 10 ไม่ใช้สารฯ โดยย้ายกล้าพริกเหลืองพันธุ์ออเรนจ์ อายุ 30 วัน ปลูกในแปลงทดลองพริกของเกษตรกร จานวน 2 แปลง ทดลอง ขนาดแปลงย่อย 4.8 x 7 เมตร ระยะปลูก 0.8 x 0.7 เมตร หลุมละ 1 ต้น จานวน 77 ต้น/แปลง ย่อย ปฏิบัติดูแลต้นพริก ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตร (สัจจะ, 2560) เริ่ม พ่นสารทดลองตาม กรรมวิธีครั้งแรก เมื่ อพบการระบาดเข้าทาลายของหนอนกระทู้ ผักเฉลี่ย 1 ตัว/ต้น และทาการพ่นสาร ทดลองทุก 7 วัน โดยใช้อัตราการพ่นสารทดลอง 80 ลิตร/ไร่ ดาเนินการตรวจนับจานวนหนอนกระทู้ ผัก จานวน 10 ต้น/แปลงย่อย พร้อมทั้ งตรวจนับชนิดและจ านวนศัตรูธรรมชาติ และทาการสุ่ม เก็บ ผลพริก ระยะส่งตลาดจ านวน 20 ต้น /แปลงย่อ ย เพื่อชั่งน้าหนัก ผลผลิต พริกที่ มี คุณ ภาพ แล้วนาข้อมู ล ที่ ได้ไป วิเคราะห์ผลทางสถิติ เวลาและสถานที่ แปลงทดลองที่ 1. แปลงพริกของเกษตรกร อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือ นพฤศจิก ายน 2560 – กุม ภาพันธ์ 2561 และ แปลงทดลองที่ 2. แปลงพริก ของเกษตรกร อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2561 ผลและวิจารณ์ ผลการตรวจนับจานวนหนอนกระทู้ ผัก แปลงทดลองที่ 1 รวม 4 ครั้ง (ก่อนพ่นสารฯครั้งแรก 1 ครั้ง และหลังพ่นสารฯ 3 ครั้ง) พบว่า ก่อนพ่นสารฯครั้งแรกพบจานวนหนอนกระทู้ผักในทุกกรรมวิธีเฉลี่ย 597
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
ระหว่าง 14.0 - 23.3 ตัว/10 ต้น ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และหลังพ่นสารฯ 3ครั้ง พบจานวนหนอน กระทู้ผักมีความแตกต่างกันทางสถิติทุกครั้ง และ ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯ พบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย ระหว่าง 2.8 - 14.3, 2.0 - 11.5 และ 0 - 8.0 ตัว/10ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ ซึ่งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับ กรรมวิธีไม่ใช้สารฯที่พบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 22.3, 25.5 และ 23.8 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ โดยหลังการพ่นสารฯ 3 ค รั้ ง ก ร ร ม วิ ธี พ่ น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC และ methoxyfenozide 24%SC อัตรา 15, 20, 30, 20, 20 และ 20 มิลลิลิตร/น้า 20ลิตร ตามลาดับ มีประสิทธิภาพดีในการควบคุมประชากรหนอน กระทู้ผัก พบจานวนหนอนกระทู้ผัก เฉลี่ยระหว่าง 2.8 - 7.5, 1.5 - 5.5 และ 0 - 1.5 ตัว/10 ต้น หลังการ พ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ รองลงมาคือ กรรมวิธีพ่น lufenuron 5%EC และ deltamethrin 3%EC อัตรา 30 และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ พบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ยระหว่าง 10.3 10.5, 8.0 - 8.5 และ 5.3 - 6.3 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ ส่วนกรรมวิธี พ่ น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อั ต รา 80 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20ลิ ต ร ประสิ ท ธิ ภ าพในการ ควบคุมประชากรหนอนกระทู้ผักน้อยที่สุด พบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 14.3, 11.5 และ 8.0 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ (ตารางที่ 1) ผลการตรวจนับชนิดและจ านวนศัตรูธรรมชาติ รวม 3 ครั้ง พบแมลงศัตรูธรรมชาติ 1 ชนิด คือ มวนพิฆาต (Stink bug : Eocanthecona furcellata (Wolff)) โดยทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯ พบจานวนมวน พิฆาตเฉลี่ยระหว่าง 0 - 2.8 ตัว/40 ต้น ซึ่งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้ สารฯ ที่ พ บจ านวนมวนพิ ฆ าตเฉลี่ ย 5.3 ตัว/40 ต้ น โดยกรรมวิธีพ่ น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อัตรา 80 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร พบจานวนมวนพิฆาตเฉลี่ย 2.8 ตัว/40 ต้น ซึ่งมากกว่า และ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่น emamectin benzoate 1.92%EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24% SC, indoxacarb 15%EC, spinetoram 12%SC, deltamethrin 3% EC, chlorantraniliprole 5.17%SC และ chlorfenapyr 10%SC อั ต รา 20, 30, 20, 15, 20, 30, 20 และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ ที่พบจานวนมวนพิฆาตเฉลี่ย 0, 1.3, 0.8, 0, 0, 0.5, 0 และ 0 ตัว/40 ต้น ตามลาดับ (ตารางที่ 1) จากการเปรียบเทียบผลผลิตน้าหนักผลพริกที่มีคุณภาพระยะส่งตลาด พบว่า ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯ ได้น้าหนักผลพริกเฉลี่ย ระหว่าง 3.6 - 6.3 กิโลกรัม/20 ต้น มากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ กั บ กรรมวิธี ไม่ ใช้ ส ารฯ ที่ ได้น้าหนั ก ผลพริก เฉลี่ย 2.4 กิ โ ลกรัม /20 ต้ น โดยกรรมวิธีพ่ น emamectin benzoate 1 .9 2 %EC, indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC แ ล ะ chlorfenapyr 10%SC อัตรา 20, 15, 20 และ 30 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามล าดับ ได้น้าหนัก ผลพริกเฉลี่ย 5.7, 6.3, 6.1 และ 5.9 กิโลกรัม/20 ต้น ตามลาดับ ซึ่งมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai, lufenuron 5%EC และ deltamethrin 3%EC อัตรา 80, 30 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
598
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ ที่ได้น้าหนักผลพริกเฉลี่ย 3.6, 4.5 และ 4.2 กิ โลกรัม/20 ต้น ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ผลการตรวจนับจานวนหนอนกระทูผ้ ัก แปลงทดลองที่ 2 รวม 4 ครั้ง (ก่อนพ่นสารฯครั้งแรก 1 ครั้ง และหลังพ่นสารฯ 3 ครั้ง) พบว่า ก่อนพ่นสารฯครัง้ แรกพบจานวนหนอนกระทูผ้ ักในทุกกรรมวิธี เฉลี่ย ระหว่าง 15.0 - 25.3 ตัว/10 ต้น ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และหลังพ่นสารฯ 3ครั้ง พบจานวนหนอน กระทูผ้ ักมีความแตกต่างกันทางสถิติทกุ ครั้ง คือ ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯพบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย ระหว่าง 7.3 - 19.3, 2.0 – 12.8 และ 0 – 9.8 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ ซึ่งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้สารฯ ที่พบจานวนหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 24.8, 29.3 และ 31.8 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ โดยหลังการพ่นสารฯ 3 ครั้ง กรรมวิธีพ่น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC, methoxyfenozide 24%SC และ lufenuron 5%EC อัตรา 15, 20, 30, 20, 20, 20 และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ มี ประสิทธิภาพดีในการควบคุมประชากรหนอนกระทูผ้ ัก พบจานวนหนอนกระทูผ้ ักเฉลี่ยระหว่าง 7.3 - 13.8, 2.0 - 8.5 และ 0 – 4.8 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ รองลงมาคือ กรรมวิธี พ่น deltamethrin 3%EC และ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อัตรา 30 และ 80 มิลลิลิตร/ น้า 20 ลิตร ตามลาดับ พบจานวนหนอนกระทูผ้ ักเฉลี่ยระหว่าง 18.8-19.3, 12.8 และ 9.0-9.8 ตัว/10 ต้น หลังการพ่นสารฯ ครั้งที่ 1, 2 และ 3 ตามลาดับ (ตารางที่ 3) ผลการตรวจนับชนิดและจานวนศัตรูธรรมชาติ รวม 3 ครั้ง พบแมลงศัตรูธรรมชาติ 1ชนิด คือ มวนพิฆาต (Stink bug : Eocanthecona furcellata (Wolff)) โดยทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯ พบจานวนมวน พิฆาตเฉลี่ยระหว่าง 0 - 4.3 ตัว/40 ต้น ซึ่งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้ สารฯ ที่ พ บจ านวนมวนพิ ฆ าตเฉลี่ ย 8.5 ตัว/40 ต้ น โดยกรรมวิธีพ่ น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อั ต รา 80 มิ ล ลิลิ ตร/น้ า 20 ลิต ร พบจ านวนมวนพิ ฆาตเฉลี่ย 4.3 ตั ว/40 ต้ น มากกว่า และ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่น emamectin benzoate 1.92%EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24% SC, indoxacarb 15%EC, spinetoram 12%SC, deltamethrin 3% EC, chlorantraniliprole 5.17%SC และ chlorfenapyr 10%SC อั ต รา 20, 30, 20, 15, 20, 30, 20 และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ ที่พบจานวนมวนพิฆาตเฉลี่ย 0.5, 1.0, 0.8, 0, 0.8, 1.8, 0.3 และ 0.5 ตัว/40 ต้น ตามลาดับ (Table 3) จากการเปรียบเทียบผลผลิตน้าหนักผลพริกที่มีคุณภาพระยะส่งตลาด พบว่าทุกกรรมวิธีที่ใช้สารฯ ได้น้าหนักผลพริกเฉลี่ ยระหว่าง 3.1 - 6.6 กิโลกรัม/20 ต้น ซึ่งมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่ใช้สารฯ ที่ได้น้าหนักผลพริกเฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม/20 ต้น โดยกรรมวิธีพ่น emamectin benzoate 1 .9 2 %EC, indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC แ ล ะ chlorfenapyr 599
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
10%SC อัตรา 20, 15, 20 และ 30 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามล าดับ ได้น้าหนัก ผลพริกเฉลี่ย 5.6, 6.6, 6.2 และ 5.8 กิโลกรัม/20 ต้น ตามลาดับ ซึ่งมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai, lufenuron 5%EC, spinetoram 12%SC แ ล ะ deltamethrin 3%EC อัตรา 80, 30, 20 และ 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ ที่ได้น้าหนักผลพริก เฉลี่ย 3.1, 4.5, 4.7 และ 3.9 กิโลกรัม/20 ต้น ตามลาดับ (ตารางที่ 4) จากการทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้ องกันกาจัดหนอนกระทู้ผักในพริก พบว่า สาร ฆ่าแมลงที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อแมลงแตกต่างกัน คือ emamectin benzoate 1.92%EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24% SC, spinetoram 12%SC, indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC และ chlorfenapyr 10%SC ซึ่งมีกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มที่ 6, 15, 18, 5, 22A, 28 และ13 ตามลาดับ แสดงประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันกาจัด หนอนกระทู้ผักตลอดการ ทดลอง สอดคล้องกับการทดลองของ Masui and Ikeda (2018) และ Pang et al. (2018) พบว่า สารฆ่า แมลง chlorfenapyr, emamectin benzoate, indoxacarb และ spinosad มี ป ระสิ ท ธิภ าพป้ อ งกั น ก าจั ด หน อนกระทู้ ผั ก ได้ ดี ข ณ ะที่ ส ารฆ่ า แมลง methomyl, permethrin และ chlorpyrifos มี ประสิทธิภาพเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับการทดลองของ Azizur and Ram (2007) และ Dharma et al. (2018) รายงานว่า สารฆ่าแมลง emamectin benzoate, indoxacarb, novaluron, lufenuron และ spinosad มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพป้ อ งกั น ก าจั ด หนอนกระทู้ ผั ก ที่ ต้ า นทานสารฆ่ า แมลงกลุ่ ม synthetic pyrethroids และ กลุ่ม organophosphate แต่สารฆ่าแมลง spinosad มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสารฆ่า แมลง emamectin benzoate, indoxacarb และ novaluron ในการป้อ งกั นก าจัด หนอนกระทู้ ผัก ที่ ต้ านทานสารฆ่ าแมลงดั ง กล่ า ว ขณะที่ Greg et al. (2009) รายงานว่า สารฆ่ า แมลง chlorfenapyr, chlorantraniliprole, emamectin benzoate, indoxacarb, methoxyfenozide, chlorfluazuron, lufenuron, metaflumizone และ spinosad มีประสิทธิภาพป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผักได้ดี โดยที่สาร ฆ่ า แ ม ล ง chlorantraniliprole, chlorfenapyr, emamectin benzoate แ ล ะ indoxacarb มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ ดี ก ว่ า methoxyfenozide, lufenuron, metaflumizone, chlorfluazuron แ ล ะ spinosad ซึ่งสารฆ่าแมลง emamectin benzoate, chlorfenapyr และ indoxacarb ยังมีประสิทธิภาพ ในการฆ่าตัวเต็มวัยหนอนกระทู้ ผัก ส่วนสารฆ่าแมลง chlorantraniliprole มีผลต่อการเจริญ เติบโตของ หนอน ท าให้ ลาตัวหนอนหดสั้น ซึ่งเมื่อเข้าดักแด้ได้มี ขนาดและน้าหนักลดลง (Masanori et al., 2005; Cook et al., 201 8) แ ล ะ จ าก ก าร ท ด ล อ ง ข อ ง Samuel et al. (2018 ) พ บ ว่ า ส าร ฆ่ าแ ม ล ง methoxyfenozide เมื่อหนอนผีเสื้อได้รบั สารฯ จะมีผลต่อระยะดักแด้ทาให้ไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัย ได้จึงทาให้ปริมาณและอัตราการวางไข่ น้อยลง ส่วนสารฆ่าแมลง indoxacarb, emamectin benzoate และ chlorfenapyr ไม่ มี ผ ลต่อ ปริม าณและอัตราการฟัก ไข่ ปั จ จุบั น การใช้ ส ารฆ่าแมลง indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC, methoxyfenozide 24% SC, lufenuron 5%EC, deltamethrin 3% EC และ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai ยังคงมี ป ระสิท ธิภาพในการป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ ผัก แต่ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
600
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
หากเกษตรกรมีการใช้สารฆ่าแมลงดังกล่าวบ่อยครั้งมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทาให้เกิดปัญหาหนอนกระทู้ ผักสร้างความต้านทานสูงขึ้น ได้ เช่นเดียวกับการทดลองของ Sarfraz et al .(2012) พบว่าพื้นที่ที่ใช้สาร ฆ่าแมลง methoxyfenozide, esfenvalerate, spinosad, indoxacarb และ emamectin benzoate ในการป้อ งกั นกาจัดหนอนกระทู้ผัก เป็นประจาหนอนกระทู้ ผัก จะสร้างความต้านทานต่อ สารฆ่าแมลง ดังกล่ าวเพิ่ ม มากขึ้น โดยสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง indoxacarb, methoxyfenozide และ spinosad น้อยกว่าสารฆ่าแมลง esfenvalerate และสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง emamectin benzoate น้อ ยสุด ทั้ งนี้ขึ้นอยู่กั บ พื้ นที่ มีก ารใช้สารฆ่าแมลงแต่ล ะชนิดบ่อยครั้ง และต่อเนื่องมากน้อย เพียงไร ดังนั้นแนวทางการป้องกันและจัดการปัญหาการขยายตัวหรือเพิ่มจานวนประชากรของหนอนกระทู้ ผักต้านทานต่อสารฆ่าแมลง จึงควรสร้างแผนการใช้สารฆ่าแมลงแบบหมุนเวียน (insecticide rotation) เพื่อการใช้ สารฆ่าแมลงได้อย่างมีป ระสิท ธิภาพไม่ ให้ ห นอนกระทู้ ผัก พัฒ นาสร้างความต้านทานได้อย่าง รวดเร็ว ซึ่งการใช้สารฆ่าแมลงแบบหมุนเวียนเป็นวิธีการใช้สารฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ที่อยู่ต่างกลุ่มกันโดย หลีกเลี่ยงการใช้ ส ารฆ่าแมลงที่ มีก ลไกการออกฤทธิ์ แบบเดียวกันติดต่ อกั น และสารฆ่าแมลงที่ ใช้ต้องมี ประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดจึงจะช่วยลดหรือชะลอปัญหาการสร้างความต้านทานได้ ทั้งนี้ต้องอาศัย ข้อมู ล ความต้านทานต่อ สารฆ่าแมลงในพื้นที่ ป ระกอบการพิจ ารณาการใช้สารฆ่าแมลงชนิดต่างๆด้วย (Denholm and Rowland, 1992; IRAC, 2018) จากการเก็ บ น้าหนัก ผลผลิ ตพริก ที่ มี คุณ ภาพระยะส่ง ตลาดทั้ ง 2 การทดลอง พบว่ า กรรมวิ ธี พ่ น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17%SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24%SC, deltamethrin 3%EC และ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai ให้ น้าหนักผลผลิตพริกมากกว่าการไม่ใช้สารฯ สอดคล้องกับผลการทดลองกรรมวิธีพ่น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC, emamectin benzoate 1 . 9 2 %EC, chlorfenapyr 10%SC, spinetoram 12%SC, methoxyfenozide 24%SC, lufenuron 5%EC และ deltamethrin 3%EC มี ประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผัก โดยกรรมวิธีพ่น indoxacarb 15%EC ให้ผลผลิตพริก มากสุด เช่นเดียวกับ Gadhiya et al. (2014) รายงานว่า สารฆ่าแมลงchlorantraniliprole, emamectin benzoate, indoxacarb, lufenuron และ spinosad มีประสิทธิภาพป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผัก โดย การพ่นสารฆ่าแมลง chlorantraniliprole และ indoxacarb ให้ผลผลิตมากสุดแตกต่างกับการพ่นด้วย สารฆ่าแมลง spinosad และ lufenuron สาหรับกรรมวิธีพ่น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai ได้น้าหนักผลผลิตพริกน้อยสุดในการพ่ นสารฯ เนื่องจาก เชื้อแบคที เรีย (Bacillus thuringiensis) จะไม่ ออกฤทธิ์ทาให้แมลงตายทันที แต่จะทาให้แมลงเกิดโรคได้ต่อเมื่อแมลงกินอาหารที่มีเชื้อปะปนเข้าไป และ ต้องการระยะเวลาก่อนที่แมลง(หนอนกระทู้ผัก) จะเกิดอาการโรคและตาย ทั้งนีย้ ังขึ้นอยู่กับอายุและขนาด ของหนอน ตลอดจนปริมาณเชื้อที่ กินเข้าไป อีกทั้งเชื้อแบคทีเรียไม่คงทนสลายตัวได้เร็วเมื่อถูกแสงอาทิตย์ และจากรายงานของ อั จฉรา (2544) พบว่าเชื้อแบคที เรียท าให้ห นอนกระทู้ ผัก เกิดอาการของโรคและ หนอนตายใน 1-2 วันหลังกินเชื้อเข้าไปและจะมีประสิทธิภาพลดลงหลังพ่น 4-5 วัน ดังนั้น ในการทดลอง จึงพบจานวนหนอนกระทู้ผักตลอดการทดลองมากกว่า และได้น้าหนักผลผลิตพริกน้อยกว่ากรรมวิธีพ่น 601
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
indoxacarb15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC และmethoxyfenozide 24%SC ส าหรับ ศัตรูธรรมชาติ Rang et al. (2018) รายงานว่า พบศัตรูธรรมชาติห นอนกระทู้ ผักเป็นแมลงเบียน 71ชนิด แมลงห้า 36 ชนิด แมงมุม 12 ชนิด เชื้อรา 4 ชนิด เชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด และไส้เดือนฝอย 4 ชนิด โดยแมลงเบียนไข่ หนอนกระทู้ ผัก มี ป ระสิท ธิภาพลดจานวนหนอนกระทู้ ผัก ได้มากที่ สุด และจากการทดลองกรรมวิธี พ่น Bacillus thuringiensis subsp. aizawai, emamectin benzoate 1 .9 2 %EC, lufenuron 5%EC, methoxyfenozide 24% SC, spinetoram 12%SC, deltamethrin 3% EC, chlorantraniliprole 5.17%SC และ chlorfenapyr 10%SC พบแมลงศัตรูธรรมชาติเพียง 1 ชนิด คือ มวนพิฆาต (Stink bug : Eocanthecona furcellata (Wolff) ซึ่งน้อยกว่ากรรมวิธีไม่ใช้สารฯ เนื่องมาจากผลทางอ้อม คือ จานวน หนอนกระทู้ผักมีปริมาณน้อย หรือสารฆ่าแมลงมีผลกระทบต่อมวนพิฆาตแมลงศัตรู ธรรมชาติโดยตรง ซึ่ง สอดคล้องกับ รัตนาและคณะ (2553) รายงานว่า สารฆ่าแมลง indoxacarb15%SC มีพิษร้ายแรงต่อมวน พิฆาต ขณะที่สารฆ่าแมลง chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate1.92%EC และ spininosad 12%SC มีพิษน้อยต่อมวนพิฆาต ส่วนสารฆ่าแมลง methoxyfenozide 24%SC, lufenuron 5%EC และ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai ไม่มีพิษต่อมวนพิฆาต เช่นเดียวกับ อัจฉรา (2544) ที่รายงานว่า เชื้อแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis) มีความเฉพาะเจาะจงต่อหนอนผีเสือ้ ศัตรูพืชเท่านั้นไม่มีผลกระทบ ต่อแมลงห้า แมลงเบียน และแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ซึ่งผลการทดลองวิจัยนี้สามารถนาไปใช้ประโยชน์เป็น ข้อมู ล ให้กั บ เกษตรกรผู้ป ลูก พริ ก เพื่ อ เป็นแนวทางในการใช้ส ารฆ่าแมลงได้อย่างถูก ต้อง และนาไปใช้ จัดระบบการพ่นสารฆ่าแมลงแบบหมุนเวียน ในการลดหรือชะลอการสร้างความต้านทานของหนอนกระทู้ ผัก รวมทั้งจัดทาเป็นมาตรฐานการควบคุมแมลงศัตรูพริก เพื่อให้ได้มาตรฐานรับรองของกรมวิชาการเกษตร รวมไปถึง การเผยแพร่ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการให้กับ นักวิชาการด้านการเกษตร และ ผู้สนใจ ทุกภาคส่วน สรุปผลการทดลอง การทดสอบประสิท ธิภาพเชื้อแบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในการป้องกันกาจัดหนอนกระทู้ผักใน พ ริ ก ก รร ม วิ ธี พ่ น indoxacarb 15%EC, chlorantraniliprole 5.17% SC, chlorfenapyr 10%SC, emamectin benzoate 1.92%EC, spinetoram 12%SC และ methoxyfenozide 24%SC อัตรา 15, 20, 30, 20, 20 และ 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ตามลาดับ มีประสิทธิภาพดีในการควบคุมประชากรหนอน กระทู้ผักและผลผลิตพริกที่ได้ก็ให้น้าหนักดี รองลงมา คือกรรมวิธีพ่น lufenuron5%EC, deltamethrin 3%EC และ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai อั ต รา 30, 30 และ 80 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร ตามลาดับ ตลอดการทดลองพบแมลงศัตรูธรรมชาติ ของหนอนกระทู้ ผัก 1 ชนิด คือ มวนพิฆาต (Stink bug : Eocanthecona furcellata (Wolff)) ส าหรับ แนวทางการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อให้มีป ระสิทธิภาพ และชะลอการเกิ ดปัญ หาการต้านทานต่อ สารฆ่าแมลงของหนอนกระทู้ ผัก จึงควรใช้ส ารฆ่าแมลงแบบ หมุนเวียนที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อแมลงแตกต่างกันไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงสารเดียว หรื อ ที่ มี ก ลไกการออกฤทธิ์ ใ นกลุ่ ม เดี ย วกั น รวมทั้ ง การพิ จ ารณาการใช้ เ ชื้ อ แบคที เ รี ย Bacillus 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
602
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
thuringiensis ซึ่งปลอดภัยต่อศัตรูธรรมชาติ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะชะลอการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้ โดยเฉพาะช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในระยะสั้นจะสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงรวมทั้งปลอดภัยต่อ ผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะเชื้อแบคทีเรียเป็นสารชีวินทรียท์ ี่มพี ิษตกค้างสัน้ เพียง 1 วัน ซึ่งจะส่งผลให้การใช้สารฆ่า แมลงและสารพิษตกค้างในผลผลิตพริกลดลง เอกสารอ้างอิง นิรนาม. 2559. ยุทธศาสตร์การพัฒ นางานวิจัยพริก พ.ศ.2559 - 2563. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 10 หน้า. รัตนา นชะพงษ์ อุราพร หนูนารถ และสมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี. 2553. ผลกระทบของสารป้องกันกาจัดศัตรูพืช ที่มีต่อมวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (Wolff). หน้า 446-459. ใน: รายงานผลงานวิจัย ประจาปี 2552 เล่มที่ 1 ลาดับเลขที่ 3/2553 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น. 2559. แมลงศัตรูผักและการป้องกันกาจัด. ใน เอกสารวิชาการ แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก. กลุ่มบริหารศัตรูพื ช/กลุ่มกีฏและสัตววิทยา. สานักวิจัยพัฒ นาการอารักขาพืช. กรม วิชาการเกษตร. 74 หน้า. สัจจะ ประสงค์ทรัพย์. 2560. GAP พริก. สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. แหล่งที่มา URL http://hort.ezathai.org/?p=2508 สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2560 อัจฉรา ตันติโชดก. 2544. บีที: การควบคุมแมลงศัตรูพืช.หน้า 183-208. ใน: เอกสารวิชาการ การควบคุม แมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน. กองกีฏและสัตววิทยา. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. Ameta, A. K. 2018. Efficacy of flubendiamide against Helicoverpa armigera (Hübner) and Spodoptera litura (Fabricius) in chilli. Available at URL http://d.wanfangdata.com.cn/NSTLQK_NSTL_QK16657829.aspx Accessed on 08/06/2018. Azizur, R. and S. Ram. 2007. Toxicity of lufenuron against Spodoptera litura and Spilarctia oblique. Annual Plant Protection Science. 15(1):253–257. Cook, D. R., B. R. Leonard and J. Gore. 2018. Field and laboratory performance of novel insecticides against armyworms (Lepidoptera : Noctuidae). Available at URL https://www.jstor.org/stable/3496425 Accessed on 08/07/2018. Denholm, I. and M.W. Rowland. 1992.Tactics for managing pesticide resistance in arthropods : Theory and practic. Annual Review of Entomology. 37:91-112.
603
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
Dharma, P. K., T. Madhumathi, P. Arjuna Rao and V. Srinivasa Rao. 2018. Toxicity of insecticides to resistant strain of Spodoptera litura (Fabricius) on cotton. Available at URL http://www.indianjournals.com/ijor.aspx?target= =ijor:apps&volume=5&issue=& article=018 Accessed on 08/06/2018. Gadhiya, H. A., P. K. Borad and J. B. Bhut. 2014. Effectiveness of synthetic insecticides againt Helicoverpa armigera (Hübner) hardwick and Spodoptera litura (Fabricius) infesting groundnut.The Bioscan. 9(1):23-26. Greg, T.H., M. Ziegler and P.G. Marçon. 2009. Feeding cessation effects of chlorantraniliprole, new anthranilic diamide insecticide, in comparison with several insecticides in distinct chemical classes and mode of action groups. Pest Management. Science. 65(9):969-974. IRAC. 2019. Insecticide resistance action committee: Resistance management for sustainable agriculture and improve public health. Crop life international. Available at URL http://www.irac-online.org Accessed on 01/07/2019. Masanori, T., H. Nakao, T. Furuya, A. Seo, H. Kodama, K. Tsubata, S. Fujioka, H. Kodama, T. Hirooka and T. Nishimatsu. 2005. Flubendiamide, a novel insecticides highly active against lepidopterous insect pests. Journal Pesticide Science. 30(4):354 360. Masui, S. and M. Ikeda. 2018. Activities of insecticides against Spodoptera litura (Fabricius) in Shizuoka Prefecture. Available at URL http://sciencelinks.jp/jast/article/199915/000019991599A0519894.php Accessed on 08/06/2018. Pang, Y. H., X. Ming, Z. Yong, P. Yongqiang and W. Gang. 2018. Study on the sensitivity of Spodoptera litura (Fabricius) and Spodoptera exigua (Hübner) larvae to insecticides in tobacco fields. Available at URL http://www.tobacco. org.cn/src/bjnews/issue/172/2007/2/en0702-a9.jsp Accessed on 03/06/2018. Rang, R. G. V., J. A. Wightman and D. V. R. Rao. 2018. World review of the natural enemies and diseases Spodoptera litura (Fabricius) (Lepidoptera : Noctuidae). Available at URL https://www.cambridge.org/core/journals/international-journal-oftropical-insect-science/article/world-review-of-the-natural-enemies-anddiseases-of-spodoptera- litura-f-lepidoptera-noctuidae Accessed on 03/06/2018. Samuel, P., F. Budia, M. I. Schneider, A. Gobbi, E. Vinuela, J. Valle and P. D. Estal. 2018. Effects of two biorational insecticides, spinosad and methoxyfenozide, on Spodoptera littoralis (Lepidoptera: Noctuidae) under laboratory conditions. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
604
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
Available at URL https://academic.oup.com/jee/article-abstract/97/6/1906/ 2218171 Accessed on 03/06/2018. Sarfraz, A. S., A. H. Sayyed, S. Fazal, M. A. Saleem, S. Muhammad and Z. M. Ali. 2012. Field evolved resistance to carbamates, organophosphates, pyrethroids, and new chemistry insecticides in Spodoptera litura (Fabricius) (Lepidoptera: Noctuidae). Journal of Pest Science. 85(1):153-162.
605
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
ตารางที่ 1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจานวนหนอนกระทูผ้ ักก่อนและหลังพ่นเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าแมลงในกรรมวิธีต่างๆ และจานวนมวนพิฆาต ในแปลงทดลองพริก ที่อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 (แปลงทดลองที่ 1) จานวนหนอนกระทูผ้ ัก (ตัวต่อ 10 ต้น) 1/ อัตราการใช้ กรรมวิธี หลังพ่นสารทดลอง (ครั้งที)่ (มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร) ก่อนพ่นสารทดลอง 1 2 3 1. Bacillus thuringiensis 80 19.8 14.3 c 11.5 c 8.0 c 2. emamectin benzoate 1.92%W/V EC 20 23.3 3.5 a 2.0 a 0.3 a 3. lufenuron 5%W/V EC 30 14.0 10.5 bc 8.5 b 6.3 bc 4. methoxyfenozide 24% W/V SC 20 19.8 7.5 ab 5.5 ab 1.5 ab 5. indoxacarb 15%W/V EC 15 18.8 3.8 a 1.5 a 0 a 6. spinetoram 12%W/V SC 20 14.5 6.0 ab 4.5 ab 1.5 ab 7. deltamethrin 3%W/V EC 30 18.0 10.3 bc 8.0 b 5.3 bc 8. chlorantraniliprole 5.17%W/V SC 20 18.0 2.8 a 2.0 a 0 a 9. chlorfenapyr 10% W/V SC 30 20.3 4.0 a 2.0 a 0.3 a 10. ไม่ใช้สารฯ 16.3 22.3 d 25.5 d 23.8 d CV (%) 39.7 41.6 40.5 68.8 R.E. (%) 2/ 68.4 49.5 1/ ค่าเฉลี่ยในสดมภ์เดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกันไม่แตกต่างกันทางสถิติทรี่ ะดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT 2/ ค่าประสิทธิภาพเชิงสัมพัทธ์ของการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม กรณีก่อนพ่นสารฯมีความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยในกรรมวิธีต่างๆ
จานวนมวนพิฆาต (ตัวต่อ 40 ต้น) 1/
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
2.8 b 0 c 1.3 c 0.8 c 0 c 0 c 0.5 c 0 c 0 c 5.3 a 75.6 -
606
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
ตารางที่ 2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลผลิตพริกที่มีคุณภาพระยะส่งตลาดหลังพ่นเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าแมลงในกรรมวิธีต่างๆ ในแปลงทดลองพริก ที่อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 (แปลงทดลองที่ 1) ผลผลิตพริกระยะส่งตลาด1/ กรรมวิธี (กิโลกรัมต่อ 20 ต้น) 1. Bacillus thuringiensis 3.6 c 2. emamectin benzoate 1.92%W/V EC 5.7 a 3. lufenuron 5%W/V EC 4.5 bc 4. methoxyfenozide 24% W/V SC 5.3 ab 5. indoxacarb 15%W/V EC 6.3 a 6. spinetoram 12%W/V SC 5.3 ab 7. deltamethrin 3%W/V EC 4.2 c 8. chlorantraniliprole 5.17%W/V SC 6.1 a 9. chlorfenapyr 10% W/V SC 5.9 a 10. ไม่ใช้สารฯ 2.4 d CV % 12.3 1/ ค่าเฉลี่ยในสดมภ์เดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกันไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT อัตราการใช้ (มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร) 80 20 30 20 15 20 30 20 30 -
607
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-05
ตารางที่ 3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจานวนหนอนกระทู้ผักก่อนและหลังพ่นเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าแมลงในกรรมวิธีต่างๆ และจานวนมวนพิฆาต ในแปลงทดลองพริก ที่อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2561 (แปลงทดลองที่ 2) จานวนหนอนกระทูผ้ ัก (ตัวต่อ 10 ต้น) 1/ อัตราการใช้ กรรมวิธี หลังพ่นสารทดลอง (ครั้งที)่ (มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร) ก่อนพ่นสารทดลอง 1 2 3 1. Bacillus thuringiensis 80 20.8 19.3 b 12.8 b 9.8 b 2. emamectin benzoate 1.92%W/V EC 20 16.0 8.3 a 2.8 a 0 a 3. lufenuron 5%W/V EC 30 17.0 13.8 ab 8.5 ab 4.8 ab 4. methoxyfenozide 24% W/V SC 20 15.3 13.3 ab 6.5 ab 3.3 ab 5. indoxacarb 15%W/V EC 15 21.8 7.3 a 2.3 a 0 a 6. spinetoram 12%W/V SC 20 17.0 12.3 ab 8.5 ab 2.8 ab 7. deltamethrin 3%W/V EC 30 24.0 18.8 b 12.8 b 9.0 b 8. chlorantraniliprole 5.17%W/V SC 20 25.3 8.8 a 2.0 a 0 a 9. chlorfenapyr 10% W/V SC 30 15.0 9.8 a 3.0 a 0 a 10. ไม่ใช้สารฯ 15.8 24.8 c 29.3 c 31.8 c CV (%) 44.9 43.3 48.1 86.0 R.E. (%) 85.3 65.2 1/ ค่าเฉลี่ยในสดมภ์เดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกันไม่แตกต่างกันทางสถิติทรี่ ะดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT 2/ ค่าประสิทธิภาพเชิงสัมพัทธ์ของการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม กรณีก่อนพ่นสารฯมีความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยในกรรมวิธีต่าง
จานวนมวนพิฆาต (ตัวต่อ 40 ต้น) 1/ 4.3 b 0.5 cd 1.0 cd 0.8 cd 0 d 0.8 cd 1.8 c 0.3 cd 0.5 cd 8.5 a 57.5 -
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
608
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ตารางที่ 4. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลผลิตพริกที่มีคุณภาพระยะส่งตลาดหลังพ่นเชื้อแบคทีเรียและสารฆ่าแมลงในกรรมวิธีต่างๆ ในแปลงทดลองพริก ที่อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่าง เดือนมีนาคม– มิถุนายน 2561 (แปลงทดลองที่ 2) ผลผลิตพริกระยะส่งตลาด1/ กรรมวิธี (กิโลกรัมต่อ20 ต้น) 1. Bacillus thuringiensis 3.1 e 2. emamectin benzoate 1.92%W/V EC 5.6 ab 3. lufenuron 5%W/V EC 4.5 cde 4. methoxyfenozide 24% W/V SC 5.0 bc 5. indoxacarb 15%W/V EC 6.6 a 6. spinetoram 12%W/V SC 4.7 cd 7. deltamethrin 3%W/V EC 3.9 de 8. chlorantraniliprole 5.17%W/V SC 6.2 a 9. chlorfenapyr 10% W/V SC 5.8 ab 10. ไม่ใช้สารฯ 1.9 f CV % 14.1 1/ ค่าเฉลี่ยในสดมภ์เดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกันไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT อัตราการใช้ (มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร) 80 20 30 20 15 20 30 20 30 -
609
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
PEA-05
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
การควบคุมหอยและทากศัตรูพืชในสวนลองกองเพือ่ การส่งออก Snails and Slugs Pests Control in Exporting Long Kong ปราสาททอง พรหมเกิด1 ชูชาติ วัฒนวรรณ2 ทรงทัพ แก้วตา1 วรินทร ชูช่วย 3 และ สุรพล วิเศษสรรค์4 Prasarttong Promkerd1 Chuchat Watthanavan2 Tongtup Kaewta1 Warinthon Chouchouy3 and Suraphon Visetson4 1
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร Plant Protection Research and Development Office. Department of Agriculture Bangkok 2 กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร 2 Post-Harvest and Products Processing Research and Development Office Department of Agriculture Bangkok 3 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร 3 Plant Protection Promotion and Soil –Fertilizer Management Division. Department of Agricultural Extension Bangkok 4 ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 4 Faculty of Science. Kasetsart University Bangkok 1
บทคัดย่อ หอยและทากศัตรูพืชมักติดไปกับช่อผลลองกองที่ส่งขายต่างประเทศทาให้เสียหายส่งออกไม่ได้ จึงทา การควบคุมประชากรหอยและทากในสวนลองกองของเกษตรกร ได้แก่ การควบคุมแบบวิธีผสมผสาน 4 แปลง เปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกรควบคุมเอง ขนาดแปลงละ 5 ไร่ ที่อาเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยสารวจประชากร หอยและทากในสวนลองกองทุกเดือนด้วยตารางสุ่มขนาด 1 ตารางเมตร พบหอยดักดานCryptozona siamensis ห อ ย เจ ดี ย์ เล็ ก Lamellaxis gracillis ท าก ก ล้ วย ต าก Semperura siamensis ห อ ย ส าริ ก า Sarika resplendens ทากเล็บมื อ นาง Pamarion siamensis และบนต้นลองกองพบหอยหางดิ้นน้อย Durgella levicula หอยกระสวยใหญ่สยาม Giardia siamensis หอยขมิ้นใหญ่ Amphidromus atricallosus เป็นต้น ทาการทดลอง 2 ปีติดกัน(2560 – 2561) ช่วงระหว่างมีผลผลิตได้หว่านเหยื่อพิษเมทั ลดีไฮด์ 2 ครั้ง ให้ทั่ว และ รอบๆแปลง บนต้นลองกองพ่นสารสกัดกากเมล็ดชาน้ามั น1 ครั้ง พบหอยและทากเฉลี่ย 1.81 – 4..2 และ 0.43 – 2.93 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเองมีหอยเฉลี่ย8.76 - 18.98 และ 7.93 - 10.68 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ สุ่มเก็บช่อผลลองกอง100 ช่อ ในแปลงควบคุมแบบผสมผสานทุกแปลง ไม่พบหอยและ ทากศัตรูพืช ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยและทากที่ช่อผล 5 และ 3 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ หลังจากเก็บผล ลองกองแล้ว ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พบว่าแปลงทดลองทุกแปลงมีประชากรหอยและทากเพิ่มขึ้นทั้ง ชนิดและปริมาณเพราะไม่มีการควบคุมและมีฝนตก ดังนั้นจะต้องควบคุมหอยและทากต่อเนื่องจนถึงฤดูแล้ง และมีค่าสารกาจัดหอยต่อแปลงต่อปี เป็นเงิน 230 และ 130 บาท ตามลาดับ คาสาคัญ : เมทัลดีไฮด์ กากเมล็ดชาน้ามัน การควบคุมแบบผสมผสาน
610
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
ABSTRACT Problem of Snails and Slugs Pests were accompanied the Long kong exporting. The study on Snails and Slugs Pests Control in Long Kong garden in Makham, Chantaburi. The plot sizes of ease experimental were prepared 5 rai for comparison between Integrated Pest control (IPC) 4 plots and Farmer control 1 plot . The exploration of snails and slugs in 1 square metre every month found Crytozona siamensis, Lamellaxis gracillis, Semperura siamensis, Sarika resplendens, Pamarion siamensis and on the Long Gong tree found Durgella levicula, Giardia siamensis and Amphidromus africallosus etc.The experiment for two years. The snails and slugs were eliminate in 2 times between of the output by sow metaldehyde poison bait all of rai and outside and spray tea seed extracted 1 time for elimination snails and slugs on Long Kong tree. After treated , the snails and Slugs numbers were averaged 1.81 – 4.2 and 0.43-2.93 per square metre respectively and Farmer control average 8.76 – 18.98 and 7.93 – 10.68 per square metre respectively. The Long Kong harvesting, we random 100 bouquet of Long Kong in 4 Integrated pest control all not found snails and slugs in bouquet of Long Kong and Farmer control found snails and slugs 3 and 5 percentage. After harvesting between July to September found snails and slugs increase type and quantity all of rai for experimental because no control and rainy. So the more control snails and slugs when found snails increase still dry season. Farmer control found snails and slugs increase because no control and elimination it.In term of the expense of molluscicide in ease Integrated Pest Control (IPC) about 230 and 130 bath per year, respectively. Keywords: metaldehyde, tea seed powder, Integrated Pest Control คานา ลองกองเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพภูมิอากาศ ร้อนชื้น อุณหภูมิที่ เหมาะสมระหว่าง 20-30 องคาเซลเซียส ความชื้นในอากาศค่อนข้างสูงระหว่าง 70-80% มีป ริม าณน้าฝน 2,000-3,000 มิ ลลิเมตร/ปี จานวนวันที่ มี ฝนตก150-200 วัน/ปี ดินดีเป็นดินร่วนปนทรายมี อินทรียวัตถุสูง ลองกองเป็นพื ชที่ชอบร่มเงา แต่ไม่ชอบลมแรง จึงทาให้สภาพภายในสวนลองกองมีความชุ่มชื้นสูง จึงเป็น สภาพที่เหมาะสมต่อการดารงชีวิตและอาศัยอยู่ ของหอยและทาก ซึ่งจะออกหากินได้เกือบตลอดเวลาเพราะมี ทั้งความชื้นสูงแต่แสงแดดน้อย ทาให้เพิ่มจานวนประชากรอย่างรวดเร็ว หอยทากและทากที่อาศัยอยู่บนบกมีหลายชนิดที่เป็นศัตรูพชื จะกัดกินพืชผลทางการเกษตรได้แก่ราก ต้นอ่อน ใบพื ช ดอกและ ผล เป็นต้น ของพืชเหล่านั้นเป็ นอาหาร ท าให้ได้รับ ความเสียหาย ทั้ง ในพื ชไร่ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
611
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
พืชผัก ไม้ดอกและไม้ประดับ ไม้ผล ตลอดจนป่าไม้ (ชมพูนุทและปิยาณี 2545) นอกจากจะเป็นศัตรูพืชแล้วยัง เป็นพาหะนาโรคมาสู่พืชและมนุษย์ด้วย หอยทากและทากมีรูปร่างลักษณะภายนอกแตกต่างกันคือ หอยจะมี เปลือกปกคลุมลาตัวไว้หรือมีเปลือกขนาดเล็กปกคลุมลาตัว ส่วนทากไม่มี เปลือกหอยทาหน้าที่ปอ้ งกันศัตรูและ ความชื้นในลาตัวเมื่ออยู่ในสภาพแห้งแล้ง ดังนั้นหอยทากและทากจึงชอบที่จะอาศัยอยู่ในที่ชุ่มชื้น โดยเฉพาะ ในแปลงที่เป็นโรงเรือนปลูกพืชพากไม้ดอกและไม้ประดับ พืชผัก แปลงเพาะชากล้าไม้ และสวนผลไม้ที่ร่มชุ่ม ชื้นเป็นต้น หอยทากและทากจึง ชอบเข้ามากัดกินพืชเหล่านั้นเป็นอาหารจนได้รับความเสียหายได้ ชมพูนุท (2546) มีการสารวจหอยและทากในประเทศไทยใน 24 จังหวัดพบหอยใน ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก พืช สมุนไพรและเครื่องเทศเป็นต้น ปราสาททองและคณะ (2554) ได้ศึกษา สารวจชนิดของหอยทากและทากใน โรงเรือนปลูกพืชพื้นที่ต่างๆ พบหอยและทากหลายชนิดและบางแห่งมีการระบาดทาลายพืชที่ปลูกในโรงเรือ น ตลอดจนสภาพทางนิเวศวิทยาที่ เอื้ ออ านวยต่อการอาศัยอยู่ของหอยทากและทากเหล่านั้น ชูชาติและคณะ (2553) ได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก และพบปัญหาว่าหอยและ/หรือ ทากมัก หลบซ่อนอยู่ภายในข่อผลลองกองจานวนมาก เมื่อนาไปจุ่มสารกาจัดศัตรูพืชแล้วจะมี หอยตายและเน่าอยู่ ภายในช่อผลลองกองทาให้ผลลองกองเน่าเสียไปด้วยเกิดความเสียหายมาก การป้องกันกาจัดหอยและทากบก นั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การทาเขตกรรม ด้วยการทาความสะอาดแปลงเพื่อไม่ให้ หอยและทากเป็นที่หลบซ่อนตัว ทุกฤดูกาล การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีกลที่ทาให้แสงแดดส่องพื้นดินทาให้ดินมีความชื้นน้อย ไม่เหมาะต่อการอาศัย ของหอยและทาก การใช้สารเคมีกาจัดหอยได้แก่ นิโคลซาไมด์ 83.1% WP พ่นให้ถูกตัวหอย อัตรา 40 กรัมต่อ น้า 20 ลิตร ใช้เหยื่อพิษ เมทัลดีไฮด์ 5% GB หว่านบริเวณที่มีหอย การใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสกัดกาก เมล็ดชาน้ามัน อัตรา 4% W/V พ่นให้ถูกตัวหอย ซึ่งสามารถกาจัดหอยได้ดี แต่ปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี เนื่องจากสารสกั ดกากเมล็ดชาน้ามั น มี สารออกฤทธิ์ คือซาโปรนิน มีคุณสมบัติเป็นพิษ เป็นสารประกอบ Polycyclic aglycones มี อ นุ พั น ธ์ ข องสารประกอบซาโปนิ น จั ด แบ่ ง เป็ น 3 กลุ่ ม ใหญ่ ๆ คื อ triterpene glycosides, steroid glycosides และ glycoalkaloids (Bader and Hiller, 1991) มี คุณสมบัติเหมือนสบู่ มีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์เลือดเย็น โดยซาโปนินจะทาให้เม็ดเลือดแดงแตก (Marston and Hostettmann, 1991) ทาให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังลาไส้การดูดซึมลดลง ซาโปนินสามารถรวมตัวกับไขมันของผนังเซลล์ ทาให้เกิดการแตกของผนังเซลล์ (Agarwal and Rastogi, 1974)ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการป้องกันกาจัดหอยและ ทากในสวนลองกองที่มีประสิทธิภาพต่อไป อุปกรณ์ และ วิธีการ การทดลองมี 2 วิธี ได้แก่ วิธีที่ควบคุมแบบผสมผสาน และ วิธีที่เกษตรกรควบคุมเอง ทาการวิจัย 2 ปี (พ.ศ. 2560-2561) 1. การเตรียมแปลงทดลอง ติดต่อกับเกษตรกร และสัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของสวน เกี่ยวกับปัญ หอยและทากศัตรูพืช และการป้องกันกาจัดของเกษตรกร ในสวนลองกองของเกษตรที่เข้าโครงการ ที่มีหอย และทากระบาดเพื่ อ เป็ นแปลงทดสอบแบบผสมผสาน และแปลงที่ เกษตรกรควบคุม หอยเองเป็ นแปลง เปรียบเทียบ สุ่มนับ ชนิด และประชากรหอยและ/หรือทากในสวนลองกอง ทั้งบนพืน้ ดินภายในสวนด้วยการใช้ 612
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
ตารางสุ่มขนาด 1ตารางเมตร โดยสุ่มนับประมาณ 20 จุดต่อไร่ให้กระจายทั่วพื้นที่ด้วยการเดินสุ่มตามแนวเส้น ทแยงมุมทั้งสองด้าน และบนต้นลองกองจานวน 5 ต้น/ไร่ เป็นข้อมูลเริ่มแรก ซึ่งควรมีประชากรใกล้เคียงกันทั้ง แปลงที่เกษตรกรควบคุมเองกับแปลงควบคุมแบบผสมผสาน คือมีประชากรหอยและ/หรือทากมากกว่า 10 ตัว ต่อตารางเมตร 2. การควบคุมโดยวิธีผสมผสาน ด้วยการทาความสะอาดแปลงด้วยการกาจัดวัชพืช ทั้งภายในแปลง และรอบนอกสวน เพื่อกาจัดแหล่งที่อยู่อาศัยหรือที่หลบซ่อนของทั้งหอยและทาก ส่วนต้นลองกองต้องทาการ ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แลงแดดส่องผ่านและอากาศถ่ายเทได้ดีเพื่อลดความชื้นภายในสวน ใช้สารกาจัดหอย ทั้งชนิดที่พ่นและชนิดที่เป็นเหยื่อพิษร่วมกันเนื่องจาก อาจพบหอยและทากหลายชนิด โดยเฉพาะถ้าเป็นหอย และทากที่พบอยู่บนต้นลองกองจะกาจัดด้วยการพ่นสารสกัดกากเมล็ดชาน้ามัน (Camelia sp.) มีสารออก ฤทธิ์ซาโปนิน 10% ใช้อัตรา 4% W/V (4 กิโลกรัมต่อน้า100 ลิตร) โดยการนากากเมล็ดชาน้ามันมาสกัดด้วย น้าร้อนแล้วกรองกากออกนาสารสกัด พ่นบนต้นลองกองให้ทั่ว โดยพ่นให้ถูกตัวหอย พ่นเวลาเช้าหรือเย็นให้ทั่ว ต้นลองกอ อัตรา 40 ลิตรต่อ ไร่ ส่วนหอยและทากที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน จะใช้เหยื่อพิษเมทั ลดีไฮด์ 5% GB หว่านให้กระจายทั่วสวน และบริเวณโคนต้นลองกอง ในช่วงเวลาเย็น พอเวลากลางคืนทั้งหอยและทากจะ ออกมากินเหยื่อพิษเหล่านั้นหลังจากใช้สาร 1-2 วัน สุ่มนับประชากรหอยและ/หรือทากทั้งที่มีชีวิตและที่ตาย แล้ว เป็นต้น ถ้ายังมีหอยและทากเกิน 10 ตัวต่อตารางเมตร จะต้องกาจัดซ้าอีก ส่วนวิธีที่เกษตรกรควบคุมเอง จะเก็บข้อมูลด้วยการสุม่ นับประชากรหอยและทาก และสอบถามเจ้าของสวนลองกอง เกี่ยวกับปัญหาหอยและ ทากศัตรูพืช และการจัดการแปลง การป้องกันกาจัดหอยตลอดปี 3 .การประเมินประชากรหอยและ/หรือทาก โดยกาหนดพื้นที่เก็บข้อมูลตรงกลางแปลงจานวน 16 ต้นต่อแปลง นับประชากรหอยและ/หรือทากในสวนลองกองทั้ง 2 วิธีพร้อมกัน ทุกเดือน โดยนับหอยทั้งที่อยู่ พื้นดินด้วยตารางสุ่มขนาด 1ตารางเมตร ที่โคนต้นและบนต้นลองกอง เพื่อประเมินประชากรหอยและ/หรือ ทากในสวนนั้น โดยในแปลงที่ควบคุมแบบผสมผสานจะทาการป้องกันกาจัด ถ้าพบประชากร 10 ตัวต่อตาราง เมตร และเก็บดินในแปลงมาหาความชื้นและความเป็นกรด-ด่าง ด้วยกระดาษลิทมัส 4 การประเมินความเสียหาย สุ่มนับความเสียหายส่วนต่างๆของลองกองที่ถูกหอยและทากทาลาย ทั้ง 2 วิธีพร้อมกัน โดยสุ่มเก็บช่อลองกองจากต้นที่กาหนดจานวน 16 ต้น มาจานวน 100 ช่อ ตรวจนับดูความ เสียหายและจานวนหอยและทากที่อยู่ในช่อผลลองกอง 5. บันทึกข้อมูล ทั้งแปลงที่ควบคุมแบบผสมผสาน และแปลงที่เกษตรกรควบคุมหอยและทากเอง จะเก็บข้อมู ลพร้อมกันดังนี้ ชนิดและจานวนประชากรหอยและทากที่เริ่มแรก และทุ กเดือน .ปริมาณความ เสียหายและจานวนหอยและทากในช่อผลลองกอง ความชื้นของดินและความเป็นกรด-ด่าง และต้นทุนที่ใช้ ควบคุมหอยและ/หรือทาก
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
613
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
ผล และวิจารณ์ผลการทดลอง การควบคุม หอยและทากในสวนลองกองเกษตรกร ที่ อาเภอมะขาม จั งหวัดจันทบุรี กาหนดพื้นที่ แปลงทดลอง ได้แก่แปลงควบคุมแบบผสมผสาน 4 แปลง และแปลงเกษตรกรควบคุมเอง 1 แปลง แต่ละแปลง มี พื้นที่ ป ระมาณ 5 ไร่ ระหว่างเดือ นตุล าคม 2559 ถึง เดือนกั นยายน 2561 พื้นดิน มี ความเป็นกรด- ด่าง ใกล้เคียงกันเฉลี่ย 6.2 และ มีความชื้นดินเฉลี่ย 56.38 – 97.62 % ท าแปลงควบคุ ม แบบผสมผสาน (IPC ) เริ่ ม เดื อ นพฤศจิ ก ายน 2559 ทั้ ง ในแปลง IPC 1- 4 เปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกรควบคุมเองสุม่ นับหอยและทากในพื้นที่สุ่ม (16ต้น) แปลงIPC 1 พบหอยดักดาน หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 6.12, 0.25 และ 5.37 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 11.74 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 6.81, 3.5 และ 6.37 ตัว ต่อตารางเมตร ตามล าดับ รวม 16.68 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า ทาก เล็บมือนาง และทากกล้วยตาก เฉลี่ย 4.37, 2.68, 2.8 และ 0.32 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.17 ตัว ต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอยกระสวยใหญ่สยาม และ ทากเล็บมือนางเฉลี่ ย 3.94, 3.75, 0.5 และ 2.56 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.75 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกร ควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอยเจดีย์เล็ก และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 5.12, 1.75, 233 และ 1.19 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.39 ตัวต่อตารางเมตร เดือนมกราคม หลังหว่านเหยื่อพิษเมทัลดีไฮด์ ใน แปลงIPC ทั้ง 4 แปลงพบว่า แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน หอยสาริกา หอยเจดีย์เล็ก และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.52, 0.05, 0.23 และ 0.12 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.92 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอย ดักดาน หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.22, 0.41 และ 0.36 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.99 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 1.67, 0.13 และ 0.18 ตัวต่อตารางเมตร ตามล าดับ รวม 1.98 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดัก ดาน และ หอย สาริกา เฉลี่ย 1.58 และ 0.28 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.86 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกร ควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริ กา ทากกล้วยตาก และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 4.62, 3.14, 1.0 และ 0.18 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 8.76 ตัวต่อตารางเมตร เดือนมีนาคม ลองกองออกดอก แปลงIPC 1 มี หอยดักดาน 1.88 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา เฉลี่ย 1.15 และ 0.72 ตัว ต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.87 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และ หอยสาริกา เฉลี่ย 1.07 และ 0.92 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.99 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดักดาน และ หอยสาริก า เฉลี่ย 1.25 และ 0.62 ตัวต่อตารางเมตร ตามล าดับ รวม 1.87 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลง เกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 8.62, 4.31 และ 2.0 ตัวต่อตาราง เมตร ตามลาดับ รวม 14.93 ตัวต่อตารางเมตร เดือนเมษายน แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน และ หอยกระสวย ใหญ่สยาม เฉลี่ย2.56 และ 0.06 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 2.62 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบ หอยดัก ดาน หอยสาริก า และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 1.4, 1.0 และ0.58 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.98 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 1.25, 0.67 614
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
และ0.50 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 2.42 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา เฉลี่ย 1.88 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 6.4, 2.61 และ 1.02 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.03 ตัวต่อตารางเมตร เดือนพฤษภาคม แปลงIPC 1 มี หอยดักดาน และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย2.18 และ 1.25 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 3.43 ตัวต่อตาราง เมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอยเจดีย์เล้ก และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 2.66, 0.36, 0.74 และ0.11 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 3.87 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 2.48, 1.10 และ0.29 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 3.87 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบ หอยดักดาน และ หอยสาริกา เฉลี่ย 0.67 และ 0.25ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.92 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 8.21, 1.06 และ 1.18 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.45 ตัวต่อตารางเมตร เดือนมิถุนายน ลองกองใกล้แก่ได้ หว่านเหยื่อพิษและพ่นสารสกัดกากชาน้ามันในแปลง IPC 2 และ IPC 3 หลังกาจัดหอยพบว่า แปลงIPC 1 มี หอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.33 และ 0.5 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.83 ตัวต่อตาราง เมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริ กา หอยหางดิ้นน้อย และ ทากเล็บมื อนาง เฉลี่ย 0.63, 0.55, 0.05 และ0.66 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.89 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน หอย สาริก า และทากเล็บ มื อ นาง เฉลี่ย 1.53, 0.33 และ0.08 ตัวต่อตารางเมตร รวม 1.94 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.94 และ0.89 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.83 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 6.06, 3.5 และ 1.68 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 11.09 ตัวต่อตารางเมตร เดือนกรกฎาคม หลังจากเก็บผลอ งกองแล้ว แปลงIPC 1 มี ห อยดัก ดาน หอยสาริก า และทากเล็ บมื อนางเฉลี่ย 1.75, 0.31 และ 0.18 ตัวต่อ ตารางเมตร ตามล าดับ รวม 2.24 ตั วต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า และทาก เล็บมือนาง เฉลี่ย 1.22 1.51 และ0.11 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.84 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 1.40 และ0.43 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.83 ตัวต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา หอยหางดิ้นน้อย และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.95, 0.65 และ0.28 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.88 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอย สาริกา หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 8.60, 5.75, 3.12 และ 1.51 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 18.98 ตัวต่อตารางเมตร เดือนสิงหาคม แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.37 และ 0.42 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.89 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 2.22 1.46 และ0.33 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 4.01 ตัวต่อตารางเมตร แปลง IPC 3 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.93, 0.63 และ 0.36 ตัวต่อตารางเมตร รวม 1.92 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.88, 0.83 และ0.18 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.89 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอย ดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 4.20, 2.76 และ 2.87 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 9.83 ตัวต่อตารางเมตร เดือนกันยายน แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 3.31 และ 0.06 ตัวต่อ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
615
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
ตารางเมตร ตามล าดับ รวม 3.37 ตั วต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า และทาก เล็บมือนาง เฉลี่ย 2.4 1.65 และ 0.15 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 4.2 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.99, 1.11 และ0.33 ตัวต่อตารางเมตร รวม 2.43 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 1.08, 1.16 และ0.16 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.40 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอย สาริกาและทากเล็บมือนางเฉลีย่ 5.11,3.57 และ1.73 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม10.41 ตัวต่อตารางเมตร การประเมินความเสียหาย สุ่มนับความเสียหายส่วนต่างๆของลองกองที่ถูกหอยและทากทาลายทั้ง 2 วิธีพร้อมกัน โดยสุ่มเก็บช่อ ลองกองจากต้นที่กาหนดจานวน 16 ต้น มาจานวน 100 ช่อ ตรวจนับดูความเสียหายแปลงIPC ทั้ง 4 แปลงไม่ พบความเสียที่ เกิ ดจากหอยและทากกั ดทาลาย และไม่พบจานวนหอยและทากที่อยู่ในช่อผลลองกอง ส่วน แปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยและทากอยู่ที่ช่อผลลองกองเฉลี่ย 5% ปี 2561 ท าการควบคุ ม หอยและทากในแปลงเดิ ม ต่ อ เนื่ อ ง สุ่ ม นั บ จ านวนหอยและทาก เดื อ น พฤศจิกายน แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน หอยขมิ้นใหญ่ และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 0.62, 0.03 และ 0.53 ตัวต่อ ตารางเมตร ตามล าดับ รวม 1.18 ตั วต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า และทาก เล็บมือนางเฉลี่ย 0.95, 0.76 และ 0.40 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.11 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน เฉลี่ย 1.05 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.67, 0.43 และ 0.08 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.18 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกร ควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 5.12, 2.75 และ 2.25 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.12 ตัวต่อตารางเมตร เดือนมกราคม พบว่า แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนางเฉลี่ย 0.41, 0.66 และ 0.16 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.23 ตัวต่อตารางเมตร แปลง IPC 2 พบหอยดัก ดาน หอยสาริก า และทากเล็ บ มื อนางเฉลี่ ย 1.59, 0.26 และ 0.41 ตั วต่ อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 2.26 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.67, 0.67 และ 0.08 ตัวต่อ ตารางเมตร ตามล าดับ รวม 0.92 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอย ดัก ดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมื อ นางเฉลี่ย 0.75, 0.43 และ 0.12 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.31 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 5.12, 3.75 และ 1.25 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.12 ตัวต่อตารางเมตรเดือนมีนาคม ลองกองออ กดอก แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน 2.19 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา เฉลี่ย 0.36 และ 0.08 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 0.44 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และ หอยสาริกา เฉลี่ย 0.33 และ 0.13 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 0.46 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกาเฉลีย่ 0.42 ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยริกา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 4.75, 2.43 และ 1.12 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 8.30 ตัวต่อตารางเมตร เดือนเมษายน แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน 2.93 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 616
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
1.5, 0.22 และ0.03 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.75 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน เฉลี่ย 0.44 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา เฉลี่ย 0.75ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกร ควบคุม เอง พบหอยดักดาน หอยสาริ กา และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 4.5, 3.37 และ 0.06 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 7.93 ตัวต่อตารางเมตรเดือนมิถุนายน ลองกองใกล้แก่ได้หว่านเหยื่อพิษและพ่นสารสกัดกาก ชาน้ามันในแปลง IPC 2และ IPC 3 หลังกาจัดหอยพบว่า แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 0.37 และ 0.43 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 0.80 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอย สาริกา ทากกล้วยตาก และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.33, 0.55, 0.05 และ0.66 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.59 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา เฉลี่ย 1.40 และ0.13 ตัวต่อตาราง เมตร รวม 1.53 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา ทากกล้วยตาก และ ทากเล็บ มือนาง เฉลี่ย 0.42, 0.08 และ0.33 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 0.83 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุม เอง พบหอยดั ก ดาน หอยสาริ ก า และทากเล็ บ มื อ นางเฉลี่ ย 7.31, 1.31 และ 0.31 ตั วต่ อ ตารางเมตร ตามล าดับ รวม 8.93 ตัวต่อตารางเมตร เดือนกรกฎาคม หลัง จากเก็ บ ผลองกองแล้ว แปลงIPC 1 มี ห อย ดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.64 และ 0.34 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.98 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.94 0.69, 0.33 และ 0.47 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.43 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.93, 0.33, 0.13 และ1.06 ตัวต่อตารางเมตร รวม 2.45 ตัวต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยสาริกา หอยหางดิ้นน้อย และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.08, 0.83 และ1.45 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.28 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอย สาริกา หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 4.43, 1.56, 2.81 และ 0.56 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 9.36 ตัวต่อตารางเมตร เดือนสิงหาคม แปลงIPC 1 มีหอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.94 และ 0.12 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 2.06 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอย หางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.97 0.50, 0.08 และ0.39 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.94 ตัว ต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และหอยสาริก า หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมื อนาง เฉลี่ย 0.87, 0.13, 0.8 และ0.2 ตัวต่อ ตารางเมตร รวม 2.0 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอยดัก ดาน หอย สาริกา หอยหางดิ้นน้อย และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.42, 0.42, 0.23 และ1.0 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.07 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 4.37, 3.18 และ 2.25 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 9.82 ตัวต่อตารางเมตร เดือนกันยายน แปลง IPC 1 มีหอยดักดาน และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 1.62 และ 0.18 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 1.80 ตัวต่อ ตารางเมตร แปลงIPC 2 พบหอยดักดาน หอยสาริกา และทากเล็ บมือนาง เฉลี่ย 1.53 0.27 และ 0.83 ตัวต่อ ตารางเมตรตามลาดับ รวม 2.63 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 3 พบหอยดักดาน และหอยสาริกา และทาก เล็บมือนาง เฉลี่ย 0.73, 0.07 และ0.66 ตัวต่อตารางเมตร รวม 1.46 ตัวต่อตารางเมตร แปลงIPC 4 พบหอย สาลิกา และ ทากเล็บมือนาง เฉลี่ย 0.58 และ0.42 ตัวต่อตารางเมตรตามลาดับ รวม 1.0 ตัวต่อตารางเมตร
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
617
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยดักดาน หอยสาริกา หอยหางดิ้นน้อย และทากเล็บมือนางเฉลี่ย 6.75, 0.44, 1.25 และ1.56 ตัวต่อตารางเมตร ตามลาดับ รวม 10.0 ตัวต่อตารางเมตร การประเมินความเสียหาย สุ่มนับความเสียหายส่วนต่างๆของลองกองที่ถูกหอยและทากทาลายทั้ ง 2 วิธี พร้อมกัน โดยสุ่มเก็บช่อลองกองจากต้นที่กาหนดจานวน 16 ต้น มาจานวน 100 ช่อ ตรวจนับดูความเสียหาย แปลงIPC ทั้ง 4 แปลงไม่พบความเสียที่เกิดจากหอยและทากกัดทาลาย และไม่พบจานวนหอยและทากที่อยู่ใน ช่อผลลองกอง ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง พบหอยและทากอยู่ที่ช่อผลลองกองเฉลี่ย 3% ต้นทุนการควบคุมหอยและทากในสวนลองกอง ได้ท าการควบคุม หอยและทากในแปลงทดลองทั้ ง 4 แปลง ตั้งแต่ล องกองเริ่ม ออกดอกจนถึงเก็ บ ผลผลิต เดือนกรกฎาคม ใช้เหยื่อพิษเมทัลดีไฮด์ 5% GB โรยโคนต้นลองกอง 2 ครั้ง และใช้สารสกัดกากเมล็ด ชาน้ามันอัตรา 4% W/V พ่นบนต้นลองกอง 1 ครั้ง ปี 2560 และ 2561 แปลงควบคุม ค่าสารกาจัดหอยเป็น เงินแปลงละ 230 บาท และ 130 บาท ตามลาดับ ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเอง ไม่มีการควบคุม จากการศึกษาพบว่าหอยในข่วงฤดูแล้งนั้นจะไม่ค่อยพบหอยและทากในสวนลองกองเนื่องจากความ แห้ง แล้ง จะพบหอยเมื่ อ มี การให้น้ากั บ ต้นลองกองช่วงระหว่างมี ผ ลผลิตหรือมี ฝ นตกเพราะหอยต้องการ ความชื้นขณะออกหาอาหาร และ จับคู่ผสมพันธุ์ สอดคล้องกับรายงานของ (ชมพูนุท 2546และปราสาทสอง และคณะ 2554) จึงพบหอยและทากทั้งที่พื้นดินและบนต้นลองกองมาก และ เป็นช่วงที่ลองกองมีผลผลิตที่จะ เก็ บ ได้พอดี ในบางครั้งเมื่ อซื้อลองกองมากินก็ อาจพบเห็นหอยหรือทากติดมาด้วย และถ้า จะส่งลองกอง ออกไปต่างประเทศก็จะถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศปลายทางถ้ามีการตรวจพบหอยหรือทากติดไป ดังนัน้ จึงต้อง มีการป้องกันกาจัดหอยและทากตั้งแต่ในสวนลองกองก่อน โดยการตัดแต่งกิ่งลองกองเพื่อลดความชื้นในสวน สารวจหอยเมื่อมีการให้น้าบ่อยหรือฝนตกบ่อย ถ้าพบหอยหรือทากจานวนมาก ใช้สารกาจัดหอยและทากทั้ง หว่านและพ่นที่โคนต้นและบนต้นให้ทั่วแปลง หรือหว่านเหยื่อพิษที่พื้นดิน โคนต้น ลองกองเพื่อกาจัดหอย และ ต้องตรวจสวนและคอยควบคุมจนถึงฤดูแล้ง ส่วนความเสียหอยที่ถูกหอยและทากกัดทาลายไม่ค่อยพบเห็น แต่ พบเห็นหอยหางดิ้นน้อย หอยดักดาน ทากเล็บมือนาง กัดกินเนื้อผลลองกองที่ผลแตกแล้ว สรุปผลการทดลอง จากผลการควบคุมประชากรหอยและทากในสวนลองกองของเกษตรกรตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2561 ที่ อาเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยทาการสารวจประชากรหอย และ ทากในสวนลองกองทั้งแปลง IPC 4 แปลง และ แปลงเกษตรกรควบคุมเอง 1 แปลง พบหอยหลายชนิด ได้แก่ หอยดักดาน หอยเจดีย์เล็ก ทากกล้วยตาก หอย ดักดาน ทากเล็บมือนาง ทั้งบนพื้นดินและบนต้นลองกอง ได้แก่ หอยหางดิ้นน้อย หอยกระสวยใหญ่สยาม และ หอยขมิ้นใหญ่ ในช่วงมีผลผลิตสามารถควบคุมหอยได้โดยการควบคุมแบบผสมผสานด้วยการหว่านเหยื่อพิษ เมทัลดีไฮด์ที่โคนต้น และรอบแปลง และพ่นสารสกัดกากชาน้ามัน พบว่าแปลง IPC ทั้ง 4 แปลง สามารถควบคุม หอยและทากมีประชากรน้อยเฉลี่ย0.43 – 2.93 ตัวต่อตารางเมตร ไม่พบหอยและทากติดอยู่ที่ช่อผลลองกอง 618
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-07
มีค่าซื้อสารกาจัดหอย 130 – 230 บาท ส่วนแปลงเกษตรกรควบคุมเองพบว่ามีประชากรหอยมากถึง 18.98 ตัวต่ อตารางเมตร และพบหอยและทากติ ดอยู่ที่ ช่อ ผลลองกอง 3- 5 % โดยไม่ มี ก ารป้อ งกั น ก าจั ดหอย เนือ่ งจากไม่พบความเสียหายจากการกัดทาลายของหอยและทาก และจากการติดตามหลังเก็บผลลองกองแล้ว เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนพบว่า หอยและทากมีจานวนเพิ่ มขึ้น เป็นเพราะไม่ได้มีการควบคุมและมีฝน ตกชุกหอยจึงเพิ่มปริมาณมาก ดังนั้นจะต้องทาการควบคุมต่อจนเข้าฤดูแล้ง คาขอบคุณ เจ้าหน้าที่ สานักวิจัยและพัฒนาเขต 6 และเกษตรกรเจ้าของสวนลองกองที่เอื้อเฟื้อแปลงทดลองและ ร่วมให้ข้อมูลเป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิง ชูชาติ วัฒนวรรณ อรุณี วัฒนวรรณ จรีรัตน์ มีพืชน์ ศรีนวล สราษฎร์ และสุเมธ พากเพียร. 2553. เทคโนโลยีก ารผลิตลองกองคุณ ภาพเพื่ อการส่ งออก รายงานผลการปฏิบั ติง านประจ าปี 2553. สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่6 อาเภอ ขลุง จังหวัด จันทบุรี หน้า ชมพูนุท จรรยาเพศ และ ปิยาณี หนูกาฬ. 2545. ชีววิทยาหอยทากซัคซิเนียศัตรูกล้วยไม้. รายงาน ผลการวิ จั ย กลุ่ ม งานสั ต ววิ ท ยาการเกษตร กองกี ฏ และสั ต ววิ ท ยา กรมวิ ช าการเกษตร กรุงเทพมหานคร หน้า304. ชมพูนุท จรรยาเพศ 2546. ทากและหอยทาก.ในเอกสารประกอบการฝึกอบรมแมลงและสัตว์ ศัตรูพืช และการ ป้อ งกันกาจัด ครั้งที่ 12 กลุ่มกีฏและสัตววิท ยา สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร หน้า 1-27. ปราสาททอง พรหมเกิด ดาราพร รินทะรักษ์ ปิยาณี หนูกาฬ สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้ วตา. 2554.ความหลากชนิ ด และประชากรหอยทากและทากในโรงเรื อ นปลู ก พื ช รายงาน ความก้าวหน้าผลการวิจัย สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร 7 หน้า Agarwal, S.K. and R.P. Rastogi. 1974. Triterpenoid saponins and their genins. Phytochemistry. 13 : 2623 – 2645. Bader, G. and K. Hiller. 1987. Neue Ergebnene Zur Struktur and Wirkungsweise von Triterpensaponins. Pharmazie. 42, 577 – 597. Hostettmann, K.,M. Hostettmann and A. Marston, 1991. Saponins, pp. 435 – 471. In B.V.charlwood and D.V. Banthorpe (ed.) Vol 7 of Methods in Plant Biochemistry J.B. Harborne and P.M. Dey (ed.) Terpenoids. Academic Press. London.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
619
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
จานวนหอย/ทาก
ภาพที่ 1 ประชากรหอยและทากในสวนลองกองทั้งแปลงควบคุมและแปลงเกษตรควบคุมเอง ปี 2557-2558
หอยดักดาน
หอยสาลิกา
หอยหางดิ้นน้อย ทากเล็บมือนาง ภาพที่ 2 หอยและทากทีส่ ารวจพบในสวนลองกองทีจ่ ังหวัดจันทบุรี
620
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
หอยกระสวยใหญ่สยาม
หอยเจดีย์เล็ก
PEA-07
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
การใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการศึกษาความหนาแน่นและช่วงการระบาด ของแมลงวันผลไม้ในพี้ช Using GIS Study on Seasonality of the Fruit Fly (Diptera: Tephritidae) on Peach in Royal Project Areas เผ่าไท ถายะพิงค์1 ศุภชัย นาคะพันธ์2 และ ไพศาล จี้ฟ3ู Paothai Thayaping1 Supachai Nakapan2 and Phaisarn Jeefoo3 1
แผนกงานศูนย์อารักขาพืช มูลนิธิโครงการหลวง Plant Protection Center, Royal Project Foundation 2 ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 Department of Physics and Materials Science, Faculty of Science, Chiangmai University 3 สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 3 Geographic Information Science, School of Information and Communication Technology, University of Phayao 1
บทคัดย่อ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นระบบที่สามารถนามาใช้ ในการจัดการแมลงศัตรูในปัจ จุบันซึ่ง สามารถนามาประยุก ต์ใช้ในการศึก ษาด้านการจัดการศัตรูพืชแบบ ผสมผสาน แมลงวันผลไม้เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีการระบาดยาวนานพบทาลายในพืชเศรษฐกิจ เช่น มะม่วง ชมพู และพืชเมืองหนาวเช่น พี้ช พลับ และบ๊วย เป็นปัญหาในการผลิตและจาหน่าย ในการศึกษาความหนาแน่น และช่วงฤดูกาลระบาดของแมลงวันผลไม้ในแปลงพี้ช ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดย ทาการศึกษาข้อ มูล ในระหว่าง เดือ น มกราคม 2560- มิถุนายน 2562 โดยวางกับ ดักแบบ Steiner traps จานวน 30 กับดัก ใน 5 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ปลูกพี้ชจานวน 208 ไร่ ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตาบลบ้านกลาง อาเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในกับดักใช้สารล่อเมทิลยูจีนอลผสมกับสารฆ่าแมลงเบต้าไซ ฮาโลทริน ในอัตรา 2:1 แขวนไว้ใต้ทรงพุ่มของต้นพี้ชสูง 1.5 เมตร จากพื้นดินเก็บตัวอย่างแมลงในกับดักทุก 15 วัน แล้วมาตรวจสอบชนิดและบันทึกปริมาณแมลงวันผลไม้จากนั้นนาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การระบาดด้วย ระบบ GIS นาเสนอข้อ มู ลเชิงพื้ นที่ เพื่ อ นาไปใช้ในการจัดการแมลงวันผลไม้ แบบผสมผสานในพื้นที่ มู ล นิธิ โครงการหลวง พบว่า แมลงวันผลไม้ชนิด Bactrocera dorsalis พบมากที่สุดจานวน 217.2± 16.1ตัว/กับ ดัก/วัน ในเดือน มิถุนายน 2561ทั้ง 5 แปลง ซึ่งเป็นช่วงที่พี้ชติดผลและช่วงเก็บเกี่ยว และพบน้อยที่สุดจานวน 3±1.5 ตัว/กับ ดัก/วัน ในเดือ น มกราคม 2561ซึ่ง เป็นระยะติดดอกและติดผลขนาดเล็ก ของพี้ชและพบว่า จานวนประชากรของ B. dorsalis มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้าฝน และระยะการ เจริญ เติบ โตของพี้ ช อย่างมี นัยสาคัญ ทางสถิติที่ 0.05 เมื่ อนาข้อมูล มาศึกษาเชิ ง พื้นที่ (Spatial data) และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อสร้างแผนที่การกระจายและความแปรผันของแมลงวันผลไม้ ในพื้นที่
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
621
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
สามารถนาไปใช้ในการตัดสินใจในการควบคุมแมลงวันผลไม้แบบผสมผสาน (IPM) ให้แม่นยายิ่งขึ้นควบคู่กับ การจัดการแปลงดีให้ปลอดจากการทาลายของแมลงวันผลไม้ คาสาคัญ : แมลงวันผลไม้ พี้ช จานวนประชากร ภูมิสารสนเทศ การจัดการแบบผสมผสาน ABSTRACT Fruit flies are a pest for mango rose apple and temperate fruit such as peach plum persimmon and apricot are production. Studies on population dynamics of fruit flies outbreak in peach plots in Royal Project Foundation areas in Chiang Mai, Thailand was proceeded out during 2017-2019which was based on numbers of flies trapped in Steiner traps with methyl eugenol trap and insecticide. The traps were hung firmly on the peach tree branch at 1.5 m. height from the ground. 30 traps were hung on 5 peach plots in 208 Rai at Royal Project agriculture station Inthanon, Jomthong Chiang Mai. Data analyses at the 5% significance level. The results showed that population of Bactrocera dorsalis that trapped had high number, 217.2± 16.1(fruit flies/trap/day) during June 2017followed by May, 2017 peach in harvesting time. The fruit fly population had low during January to February, 2018 (3 ± 1 .5 fruit flies /trap/day) peach in fruiting stage. Populations of B. dorsalis were significant positively correlated with temperature humidity and rainfall. The spatial patterns of B. dorsalis were largely distributed around ripening or ripe fruit. The results give relevant insights into pest management B. dorsalis be distributed differently identification of hot spots through monitoring would allow localization of populations. Based on our results, a more precise IPM strategy could represent a more effective approach to B. dorsalis in Royal Project Foundation areas. Keywords: Fruit flies, peach, population, GIS, IPM บทนา พี้ ช (Peach) เป็ น ไม้ ผ ลยืน ต้น เขตหนาวชนิ ด ผลั ดใบ มี ชื่ อ วิท ยาศาสตร์ว่า Prunus persica (L.) Batsch พืชในสกุลนี้ที่เป็นไม้ ผลเขตหนาวที่สาคัญ พี้ชจัดว่าเป็นราชินีของไม้ผลเขตหนาว รองจากแอปเปิ้ล เนื่องจากได้รับความนิยมในการบริโภคจึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในเขตอบอุ่น (temperate zone) ผู้ผลิต พี้ชที่สาคัญของโลกคือ จีน อิตาลี สหรัฐอเมริกา สเปน และ รัสเซีย พี้ชมีถิ่นกาเนิดในประเทศจีน ซึ่งในประเทศ ไทยการผลิตพี้ชมูลนิธิโครงการหลวงมีการผลิตเป็นแหล่งผลิตหลักซึ่งมีปริมาณ 24 ตัน ในปี 2551 และเพิ่มขึ้น 36 ตันในปี 2555 (อุณารุจ, 2557; มูลนิธิโครงการหลวง, 2562) และมากขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ในการผลิตยังคง
622
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
พบปัญหาด้านแมลงศัตรูพชื ซึ่งแมลงวันผลไม้เป็นแมลงศัตรูที่สาคัญของพี้ชซึ่งพบว่าแมลงวันผลไม้สามารถเจาะ ทะลุผ่านถุงห่อผลได้ทาให้ผลผลิตในปี 2558 เสียหายมากกว่า 60% แมลงวันผลไม้ในสกุล Bactrocera (Tephritidae, Diptera) เป็นแมลงศัตรูพืชหลายชนิดในประเทศ ไทย มี การระบาดทั่วทุ กภาคและมีพื ชอาศัยหลายชนิดที่ เป็นพืชป่าและพืชเศรษฐกิจ ทั้ งผักและไม้ ผ ล เช่น มะม่วง ชมพู่ฝรั่ง ฟักข้าว ลาไย ลิ้นจี่ กระท้อง กล้วย มะตูม มะเขือ ฟักทอง แตงกวา บ๊วย พลับ พลัม และพี้ ช ซึ่งมีพืชอาหารกว้างจึงทาให้แมลงวันผลไม้แพร่พันธุ์ได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดทั้งปี (ทวีศักดิ์และ พินิจนัน ท์, 2559; มูล นิธิโครงการหลวง, 2560) การทาลายของแมลงวันผลไม้ ทาให้ผลผลิตเสียหาย และ คุณภาพต่า ทาให้เกษตรกรต้องทาการป้องกันกาจัดซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตหากไม่มีการป้องกันกาจัด การทาลายอาจรุนแรงมากถึง 100% และเนื่องจากมี พืชอาหารจานวนมาก แมลงวันผลไม้ จึงส ามารถแพร่ ขยายพันธุ์ และเพิ่มปริมาณในพืชอาศัยต่างๆ ในท้องถิ่นได้ตลอดปี (ศรุต และคณะ, 2556) สาหรับการป้องกันแมลงวันวันผลไม้ทาลายในพี้ชนิยมใช้การห่ อผลด้วยกระดาษ การใช้ยีสต์โปรตีน และการล่อด้วยสารล่อเมทิล ยูจีนอล ซึ่งเป็นการป้องกั นก าจัดที่ นิยมในเกษตรกรปลูกพี้ชแต่ยังไม่ สามารถ ควบคุมการระบาดได้ทั้งหมด ดังนั้นการศึกษาความหนาแน่นของแมลงวันผลไม้และช่วงระบาดของแมลงวัน ผลไม้ในพี้ชด้วยระบบภูมิสารสนเทศในแปลงพี้ชเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางควบคุมแมลงวัน ผลไม้และใช้ในด้านการพยากรณ์หรือทานายการระบาดของแมลง เกษตรกรสามารถวางแผนการป้องกันกาจัด และกาหนดแนวทางการจัดการแมลงศัตรูพืชที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการ ผลิตผลไม้ต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ -
แปลงปลูกพี้ช จังหวัดเชียงใหม่ กับดักแบบ Steiner สาร methyl eugenal สารฆ่าแมลงเบต้าไซฟูลทริน อุปกรณ์เก็บตัวอย่างแมลงและและอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพอากาศ กล่องเลี้ยงแมลง วิธีการ 1.การสารวจชนิดของแมลงวันผลไม่ที่ทาลายผลพี้ช สารวจชนิดของแมลงวันที่ทาลายผลพี้ ช เก็บรวบรวมผลพี้ชที่ถูกแมลงวันผลไม้ทาลายจากแปลงปลูก จากแหล่งต่างภายในพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ นับจานวนผล บันทึกวันที่เก็บ สถานที่เก็บ จากนั้น 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
623
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยนาผลพี้ชที่ถูกทาลายมาวางในกล่องเลี้ยงแมลงใส่ รองด้วยขี้เลื้อยผสมทรายที่มี ความชื้นสูง 1 นิ้ว รอจนแมลงวันผลไม้ออกมาเข้าดักแด้ในขี้เลื้อยประมาณ 7-15 วัน จากนั้นคัดแยกดักแด้ ออกมาใส่ในกล่อที่บรรจุขี้เลือ้ ยผสมทรายสูง ½ นิ้ว เพื่อรอเป็นตัวเต็มวัย หลังจากแมลงวันผลไม้ออกจากดักแด้ เลี้ย งด้วยอาหารส าหรับ เลี้ย งตัวเต็ ม วัย ของแมลงวันผลไม้ (Yeast extract ผสมน้าตาล อัต รา 1:3) เป็ น ระยะเวลา 7 วัน จึงมาจาแนกชนิดชนิดและนับจานวน 2.การศึกษาจานวนประชากรและช่วงการระบาดของแมลงวันผลไม้ที่สาคัญ 2.1 ศึกษาในแหล่งปลูกพี้ชที่สาคัญของสถานีเกษตรกรหลวงอินทนนท์ ต.บ้านกลาง อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ โดยวางกับดักSteiner trap ในแปลงเกษตรกรจานวน 4 แปลง และ 1 สถานีทดลอง โดยวางกับดัก จานวน 5 อันต่อ แปลง (ภาพที่1) ภายในกั บดักบรรจุเชื้ อผ้าสีขาวหยดสาร methyl eugenal ผสมสารฆ่า แมลงมาลาไทออน ในอัตรา 4:1 แขวนไว้ในทรงพุ่มของต้นไม้ สูงจากพื้น 1-1.5 เมตร เก็บแมลงวันผลไม้ภายใน กับดักทุก 15 วัน นาไปนับจานวนของแมลงวันผลไม้ และทุกครั้งที่เก็บเติมสารล่อและสารกาจัดแมลง บันทึก จานวนแมลงวันผลไม้ และระยะเจริญเติบโตของพืช นาไปเขียนกราฟ 2.2 พื้นที่ศึกษาการระบาดตัวของแมลงวันผลไม้โดย กาหนดจุดวางกับดักแบบ Steiner trap จานวน 30 กับดัก ครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่ กาหนดพิกัดด้วยเครื่องบันทึกพิกดั โลก (GPS) (ตารางที่ 1 และภาพที่ 1) การ บันทึกปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ศึกษา โดยบันทึกลักษณะของพื้นที่รอบแปลงพี้ชภายในพื้นที่ ของสถานี ทดลองอินทนนท์ โดยบันทึก 1.ช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืช 2.ระยะออกดอก 3.ระยะพัฒนาการเจริญของ ผล 4. ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ในแต่ละพื ชที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา 5. สภาพอากาศภายในสถานีวิจัย (อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้าฝน) 2.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการนาเสนอเชิงพื้นที่ เมื่อได้ข้อจานวนแมลงวันผลไม้ที่จับได้จากกับดัก แบบ Steiner trap นาเสนอจานวนตัวต่อวัน (FTD) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ANOVA และ Correlation ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% กับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ การนาเสนอเชิงพื้นที่ ให้การนาเสนอทางภูมิสารสนเทศทาง ภูมิศาสตร์ศึกษาการกระจายตัวของแมลงวันผลไม้ที่จับได้ในกับดักแบบ Steiner trap ในพื้นที่ศึกษา ด้วย GIS เพื่อสร้างแผนที่การระบาดในแต่ละเดือนตลอดการทดลอง 2 ปีตั้งแต่ปี 2560-2562 เพื่อแสดงจานวนแมลงวัน ผลไม้ในพื้นที่ทดลองเป็นเส้นระดับความหนาแน่นในแต่ละเดือนเพื่อประเมินแนวทางการระบาดของแมลงวัน ผลไม้
624
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
ตารางที่ 1 ลักษณะของแปลงปลูกพี้ช และกาหนดจุดวางกับดักแบบ Steiner trap ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวง อินทนนท์ ต.บ้านกลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ แปลงที่ พิกัด GPS 1 2 3 4
449892E2048435N 450198E2048542N 452373E2049925N 450873E2050272N
ความสูงจาก ระดับน้าทะเล(เมตร) 1336 1384 1040 1185
ชนิด พืช พี้ช พี้ช พี้ช พี้ช
พื้นที่ (ไร่) 7 10 5 9
ชนิดพืชในแปลง พี้ช/พลับ พี้ช/เบญจมาศ พี้ช/ข้าว พี้ช/สตรอเบอรี่/เบญจมาศ
ภาพที่ 1 พื้นที่ปลูกพี้ชภายในพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ผลการทดลอง การสารวจชนิดของแมลงวันผลไม้ที่ทาลายในผลพี้ชจากการเก็บผลพี้ช ที่ถูกแมลงวันผลไม้ทาลายใน แปลงปลูกพี้ชทั้ง 5 แปลง พบแมลงวันผลไม้ทาลาย 2 ชนิด คือ B. dorsalis และB. zonata (ภาพที่ 2) และ พบจานวนของB.dorsalisมีจานวนมากกว่า B. zonata การศึกษาจานวนประชากรและช่วงการระบาดของแมลงวันผลไม้ติดกับดักกาวเหนียว จานวน 5 กับ ดัก/แปลง จานวน 4 แปลงที่ปลูกพี้ช ภายในพื้นที่สถานีฯอินทนนท์ ระหว่างเดือน มกราคม 2560- มิถุนายน 2562 พบแมลงวันผลไม้ในปี 2560 มากที่สุดเฉลี่ยจานวน173.1±8.4 ตัว/กับดัก/วันในเดือน มิถุนายน 2560 และพบน้อยที่ สุดจานวน 11.4±4.9 ตัว/กั บดัก/วัน ในเดือน มกราคม 2560 ในปี 2561พบมากที่ สุดเฉลี่ย จานวน217.2± 16.1 ตัว/กับดัก/วัน ในเดือน มิถุนายน 2561และพบน้อยที่สุดจานวน 4±0.7 ตัว/กับดัก/วัน ในเดือน มกราคม 2561 ในปี 2562 พบมากที่สุดเฉลี่ยจานวน 212.8± 25.8 ตัว/กับดัก/วัน ในเดือน มิถุนายน 2562 และพบน้อยที่ สุดจานวน 3±1.5 ตัว/กับดัก/วัน ในเดื อน มกราคม 2562 จากภาพที่ 3 พบว่าจานวน ประชากรของแมลงวันผลไม้ ในรอบปี รูปแบบระฆังคว่า ซึ่งระยะการเจริญ เติบ โตของพี้ชในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์อยู่ในระยะติดผลเล็ก เดือนมีนาคม-พฤษภาคม อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เดือนมิถุนายน-กันยายนใน ระยะหลังการเก็บเกี่ยว และเดือนตุลาคม-ธันวาคม ระยะติดดอก ซึ่งจานวนแมลงวันผลไม้ทั้ง 3 ปี พบช่วง 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
625
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
เดือนมกราคมมีจานวนแมลงวันผลไม้น้อยที่สุดซึ่งต้นพี้ชอยู่ในระยะติดดอกและระยะพักตัว และเป็นช่วงฤดู หนาว และช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปเป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวและยังคงมีผลพี้ชค้างต้นและยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน เข้าฝนมีความชื้นและอุณหภูมิสูงขึ้นและผลไม้ชนิดอื่นในพื้นที่เริ่มสุก เช่น พลับ ซึ่งเหมาะสมต่อการระบาดของ แมลงวันผลไม้ (ภาพที่ 3) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของเกรียงไกร และคณะ(2553) พบปริ มาณของแมลงวัน ผลไม้ในช่วงที่ผลไม้อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว และ VAYSSIERES J.F. และคณะ(2015) ศึกษาปริมาณแมลงวันผลไม้ พบมากในมะม่วงระยะเก็บ เกี่ ยวที่ ประเทศเอธิโอเบีย จากการวิเคราะห์ค่าสัม ประสิท ธิ์สหสัม พันธ์ระหว่าง แมลงวันผลไม้ อุณ หภูมิ ความชื้น ปริม าณน้าฝน และระยะเจริญ เติบ โต ด้วย Correlation พบว่าปริม าณ แมลงวันผลไม้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้าฝน และระยะการเจริญเติบโตของพี้ ช โดยเฉพาะอุณหภูมิและระยะเจริญเติบโตของพี้ช มีผลกับปริมาณจานวนประชากรแมลงวันผลไม้ที่มากที่สุด (R=0.53, 0.76 และ 0.74) ความสัมพันธ์กันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 (ตารางที่2 และภาพที่ 4) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของทีวศักดิ์ (2562) พบว่าจานวนของแมลงวันผลไม้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว และฤดูฝน ในแปลงผลไม้จังหวัดลพบุรี
จำนวนเฉลี่ยแมลงวันผลไม้ (FTD)
626
250
จำนวนเฉลี่ยแมลงวันผลไม้ (FTD)่ยแมลงวันผลไม้ (FTD) จำนวนเฉลี
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะสาคัญของแมลงวันผลไม้ B. dorsalis
250
200
ป 2560
150 100 50 0
200
ป 2561
150 100 50 0
ป 2562 12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
300 250 200 150 100 50
0
จำนวนเฉลี่ยแมลงวันผลไม้
ภาพที่ 3 จานวนเฉลี่ยประชากร (FTD) ของ B. dorsalis ปี 2560-2562 ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
จำนวนเฉลี่ยแมลงวันผลไม้
RH
600 500
FF(AV) relative humidity
100.0 80.0
400
60.0
300
40.0
200
20.0
100 0
0.0
จำนวนเฉลี่ยแมลงวันผลไม้
mm. 600 500 400 300 200 100 0
25
FF(AV) rainfall
20
15 10 5
0
ภาพที่ 4 จ านวนประชากรแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ในปี 2560-2562 กับปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ศึกษาได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้าฝน
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
627
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
ตารางที่ 2 ค่าสัมประสิทธิวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (r) ของแมลงวันผลไม้กับปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้าฝน และระยะการเจริญเติบโตของพี้ชในพื้ นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ต.บ้านกลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปี 2560 อุณหภูมิ 0.53* ความชื้น 0.29* ปริมาณน้าฝน 0.13* ระยะการเจริญเติบโตของพี้ช 0.05ns P< 0.05 มีความสาคัญอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
ปี 2561 0.76* 0.42* 0.32* 0.38*
ปี 2562 (มกราคม-กรกฎาคม) 0.74* 0.73* 0.64* 0.87*
จากผลการศึก ษาการกระจายตั วของแมลงวันผลไม้ ชนิด B. dorsalis ด้ วยระบบภูมิ ส ารสนเทศ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2560 – กรกฎาคม 2562 ภายในสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อาเภอจอมทอง จังหวัด เชียงใหม่พบปริมาณของแมลงวันผลไม้มีจานวนมากในเดือนเมษายน – กรกฎาคม ในปี 2561 และ 2562 ใน ทุกจุดเก็บข้อมูลและมีปริมาณมากสุดในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ในทุกจุดเก็บข้อมู ลและพบน้อยในช่วง เดือนธันวาคม – มกราคม ในปี 2560 และ 2561 ซึ่งจุดที่พบปริมาณแมลงวันผลไม้มากพบในจุดที่เ ป็นต้นพี้ช และแนวป่าในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม และในเดือนธันวาคม – มกราคม พบปริมาณแมลงวันผลไม้มาก ที่อาคารและโรงเรือน จึงทราบว่าแมลงวันผลไม้นั้นพบได้ในแปลงพี้ชและแนวป่าได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วง เดือนธันวาคม – มกราคม พบในบริเวณอาคารและโรงเรือน (ภาพที่ 5) จากการศึก ษาการะบาดด้วยภูมิ สารสนเทศนั้นทาให้ทราบว่าแมลงวันผลไม้พบมากในบริเวณต่างๆ จึงสามารถดาเนินการป้องกันกาจัดให้ถูกจุด ที่แมลงวันผลไม้พบมากในช่วงเดือนต่างในรอบปีเพื่อให้การป้องกันกาจัดมีประสิทธิภาพมากที่สดุ ในการควบคุม แมลงวันผลไม้
628
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
ปี 2560 (มิ.ย.-ธ.ค.)
ปี 2561 (ม.ค.-ธ.ค.)
ปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) ภาพที่ 5 จ านวนแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ที่เก็บ จากกับ ดัก Steiner trap ในพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงอิน ทนนท์ ต.บ้านกลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือน มกราคม 2560-กรกฎาคม 2562
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
629
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
สรุปผลการทดลอง จากการสารวจชนิดของแมลงวันผลไม้ที่ทาลายในผลพี้ชพบแมลงวันผลไม้ทาลาย 2 ชนิด คือ คือ B. dorsalis และB. zonata พบ B. dorsalis ทาลายมากในผลพี้ช สาหรับการศึกษาจานวนประชากรและ ช่วงการระบาดของแมลงวันผลไม้ พบมากในเดือนมิถุนายน ในปี 2560-2562 ซึ่งเป็นช่วงที่พี้ชอยู่ในระยะเก็บ เกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยวและมีอุณหภูมิสูง และในเดือนธันวาคม-มกราคม พี้ชอยู่ในระยะดอกบานและอุณหภูมิ ต่ า ส่ ง ผลให้ จ านวนของแมลงวัน ผลไม้ ในช่ ว งนี้ น้ อ ย และจากการวิ เคราะห์ ค่ าความสั ม พั น ธ์ กั บ ปั จ จั ย สภาพแวดล้อมกับจานวนแมลงวันผลไม้พบว่า ปัจจัยด้านอุณหภูมิและระยะเจริญเติบโตของพี้ช มีผลเชิงบวก กับจานวนประชากรแมลงวันผลไม้ที่มากที่สุด และจากผลการศึกษาการกระจายตัวของแมลงวันผลไม้ชนิด B. dorsalis ด้วยระบบภูมิสารสนเทศพบปริมาณของแมลงวันผลไม้มีจานวนมากในเดือนเมษายน–กรกฎาคม ใน ทุกจุดเก็บข้อมูลและมีปริมาณมากสุดในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ในทุกจุดเก็บข้อมูลและพบน้อยในช่วง เดือนธันวาคม – มกราคม ในแปลงพี้ชแต่พบปริมาณมากในจุดเก็บ บริเวณอาคารและโรงเรือน จึงสามารถ ดาเนินการป้องกันกาจัดให้ถูกจุดที่แมลงวันผลไม้พบมากในช่วงเดือนต่างในรอบปีเพื่ อให้การป้องกันกาจัดมี ประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมแมลงวันผลไม้ คาขอบคุณ ขอบคุณมูลนิธิโครงการหลวง ที่ให้งบประมาณสนับสนุนและสถานีเกษตรหลงอินทนนท์ ที่เอือ้ เฟือ้ สถานที่และเกษตรกรในการร่วมเก็บข้อมูล ทาให้งานวิจัยลุลวงไปด้วยดี เอกสารอ้างอิง เกรียงไกร จาเริญมา, ศรุต สุทธิอารมณ์, วิภาดา ปลอดครบุรี และสัญญาณี ศรีคชา.2553. ศึกษาความ หนาแน่นและช่วงฤดูการระบาดของแมลงวันผลไม้ในมะม่วง. กรมวิชการเกษตร. กรุงเทพ. ทวีศักดิ์ ขวัญไตรรงค์. 2562. ความผันแปรตามฤดูกาลของประชากรแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) ในจังหวัดลพบุรี 47(1): 909-916 มูลนิธิโครงการหลวง. 2555. รายงานผลการดาเนินงานฝ่ายพัฒนาประจาปี 2555. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง. 2560. รายงานผลการดาเนินงานฝ่ายพัฒนาประจาปี 2560. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่ ศรุต สุทธิอารมณ์, วนาพร วงษ์นิคง, อัญญาณี ศรีคชา และสุเมธ พากเพียร. 2556. ศึกษาปริมาณ ความหนาแน่นและช่วงฤดูการระบาดของแมลงวันผลไม้ในแก้วมังกร ใน รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2556 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.กรมวิชาการเกษตร.กรุงเทพ อุณารุจ บุญประกอบ. 2557. พี้ชยุคใหม่ของมูลนิธิโครงการหลวง. แก่นเกษตร 42(3): 198-203 Vayssieres J.F., M. De Meyer, I. Ouagoussounon, A. Sinzogan, A. Adanonon, S. Korie, R. WarguiI, F. Anato, H. Houngbo, C. Dider, H. De Bon and G. Goergen. 2015. Seasonal 630
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PEA-08
Abundance of Mango Fruit Flies (Diptera: Tephritidae) and Ecological Implications for Their Management in Mango and Cashew Orchards in Benin (Centre & North). Econ. Entomol. 108(5): 2213–2230
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
631
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Pichia sp. ในปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อ การส่งเสริมการเจริญและการยับยั้งโรคผักกวางตุ้ง Comparative Efficacy of Pichia sp. in Organic Biofertilizer on Growth Stimulation and Disease Inhibition of Choy Sum (Brassica Rapa) สิรีธร แสงเพ็ง1 ณัฐวดี ไกลศรี1 คนึงกานต์ กลั่นบุศย์1 และ ตันติมา กาลัง2* Sireethon Sangpheng1 Nutthawadee Klaisree1 Khanungkan Klanbut1 and Tantima Kumlung2 1
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang 2 ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2 Thailand Institute of Scientific and Technological Research Corresponding author: *tantima@tistr.or.th 1
บทคัดย่อ จากการทดสอบประสิทธิภาพในด้านการส่งเสริมการเจริญและการยั บยั้งเชื้อราก่อโรคในผักกวางตุ้ง ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสองสูตรที่ใช้หัวเชื้อยีสต์ต่างประเภทกันในการผลิต พบว่าผักกวางตุ้งที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 (ใช้หัวเชื้อยีสต์สดในการผลิต) มีน้าหนักสด 1.47 ± 0.56 กรัม ในขณะที่ผักกวางตุ้งที่ ปลูก โดยใช้ ปุ๋ยอิ นทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 (ใช้หั วเชื้อ ยีส ต์ แห้ งในการผลิต ) มี น้าหนัก สด 0.36 ± 0.16 กรัม นอกจากนี้ยัง พบว่าปุ๋ยอิ นทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 สามารถลดความรุนแรงของโรคที่ เกิ ดจากเชื้อ Fusarium oxysporum, Fusarium solani และ Sclerotium rolfsii ได้ดีก ว่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสู ตรที่ 2 และเมื่อนา ยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. ซึ่งเป็นยีสต์ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ ยอินทรีย์ชีวภาพทั้งสองสูตร มาทดสอบคุณสมบัติใน ด้านการส่งเสริมการเจริญของพืช พบว่า Pichia sp. มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต โดยมีค่าดัชนีการ ละลายฟอสเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 มีความสามารถในการผลิตไซเดอโรฟอร์ และยังสามารถผลิตกรดอินโดล-3แอซิติก ได้ 42.75 ไมโครกรัมต่อมิ ลลิลิตร และเมื่ อทดสอบคุณสมบัติในด้านการยับยั้งเชื้อราก่อโรคด้วยวิธี Dual culture technique พบว่ายีส ต์ Pichia sp. สามารถยับ ยั้ ง เชื้ อ F. oxysporum และ F. Solani ได้ 48.77 และ 50.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และยังพบว่ายีสต์มีค่ากิจกรรมของเอนไซม์เบต้า1-3 กลูคาเนส และ ค่ากิจกรรมของเอนไซม์ไคติเนสเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 - และ 4.64 - ยูนิตต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ คาสาคัญ : ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การส่งเสริมการเจริญพืช การยับยั้งเชื้อราก่อโรค ยีสต์ Pichia sp.
632
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
ABSTRACT The effective testing of growth enhancer and Fungal disease inhibition in Choy Sum (Brassica Rapa) of two organic biofertilizers using different types of yeast found that, Brassica Rapa had been growing by using organic biofertilizer formula 1 (fresh yeast ) and had fresh weight of 1.47 ± 0.56 g. while had been using organic biofertilizer formula 2 (active dry yeast) had a fresh weight of 0.36 ± 0.16 g. In addition, it was found that the organic biofertilizer formula 1 could reduce the severity of diseases caused by Fusarium oxysporum, Fusarium solani and Sclerotium rolfsii rather than organic biofertilizer formula 2. The abilities of plant growth promoting substances, found that Pichia sp. which was the yeast used in the production of both organic biofertilizers had the ability to dissolve phosphate with the average phosphate solubility index of 3.95, capable of producing siderophore and could also produce indole-3-acetic acid 42.75 mg/ml. Fungal disease inhibition test by Dual culture technique; Pichia sp. could inhibit F. oxysporum and F. Solani by 48.77 and 50.31 %, respectively. It was also found that this yeast had the activity of β-1,3-glucanase enzyme activity and chitinase enzyme activity averaged 3.61×10-4 and 4.64×10-4 units/ml, respectively. Keywords: Organic biofertilizers, Growth stimulation, Disease inhibition, Pichia sp. คานา ผัก กวางตุ้ง (Chinese Flowering Cabbage; Choy Sum) จัดอยู่ในผักตระกูล กะหล่าและผัก กาด เช่นเดียวกับผักจาพวก คะน้า บร็อคโคลี่ ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น เป็นผั กที่ผู้คนนิยมนามาบริโภค เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์ และยังเป็นที่ต้องการของ ตลาดตลอดทั้งปี จึงถือได้ว่าเป็นผักที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง โดยผักกวางตุ้งสามารถเพาะปลูก ได้ตลอดฤดูก าล อาจส่งผลให้เกษตรกรต้ อ งปลูก พืชชนิดเดิมซ้า โดยไม่ ปลูก พืชชนิดอื่นหมุนเวียน ผลเสียที่ ตามมาคือ ดินขาดสารอาหารและแร่ธาตุที่สาคัญ หรืออาจประสบปัญหากับการแพร่ระบาดของโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคที่เกิ ดจากเชื้อ รา ได้แก่ โรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium wilt disease) ที่ มี สาเหตุมาจากเชื้อรา Fusarium spp. และ โรครากเน่า โคนเน่า (southern blight) ที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii เป็นต้น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เกษตรกรมักจะใช้สารเคมีเพื่อกาจัดเชื้อรา ถึงแม้จะให้ผลในการกาจัด เชื้อราได้ดี แต่สารเคมีอาจจะยังตกค้างอยู่ในพืชผักหรือในดินและอาจเป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภคและ สิ่งแวดล้อมได้ (สุภา, 2557) เชื้อราสาเหตุโรคพืชที่ก่อโรคในพืชผักและส่งผลให้เกิดความเสียหายกับพืชผัก เข้าทาลายระบบราก และท่อลาเลียงน้าและอาหารของพืช ผัก ส่วนใหญ่พบ 3 สายพันธุ์คือ Fusarium oxysporum Fusarium 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
633
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
solani และ Sclerotium rolfsii เชื้อที่กล่าวมานี้พบได้ทั่วไปในดินตามธรรมชาติ สามารถเจริญได้ดีในสภาพ ภูมิอากาศที่ ร้อ น สามารถแพร่กระจายและเจริญได้อย่างรวดเร็วในดิน อีกทั้ งสามารถมีชีวิตรอดอยู่ในดินได้ หลายฤดูกาลเพาะปลูก จึงอาจส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคพืชจนยากต่อการควบคุม ในปัจจุบันการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเชื้อราก่อโรคในพืช นิยมใช้วิธีการทางชีวภาพเข้ามาช่วยในการทาการเกษตร เพราะ นอกจากจะสามารถป้ อ งกั น การเกิ ด โรคในพื ชผั ก ได้แล้ ว ยั งสามารถลดการปนเปื้ อนสารเคมี ในผัก และ สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย โดยจุลินทรีย์ที่นามาใช้นั้นไม่ก่อให้เกิดอัน ตรายต่อเกษตรกรหรือผู้บริโภค จุลินทรีย์ที่ นามาใช้อาจอยู่ในรูปของส่วนประกอบในปุ๋ยชีวภาพ มักจะอยู่ในกลุ่มของแบคทีเรีย รา หรือยีสต์ โดยนอกจาก จะทาหน้าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราก่อโรคแล้ว ยังมีความสามารถส่งเสริมการเจริญของพืช ในด้านต่างๆได้ด้วย เช่น การตรึงแก๊สไนโตรเจนจากอากาศ หรือสามารถละลายฟอสเฟตให้อยู่ในรูปที่ พืชนาไปใช้ประโยชน์ได้ การผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้อาจช่วยให้พืชดูดซึม แร่ธาตุ ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นต้น ด้วยเหตุที่ก ล่าวมานี้ งานวิจัยนี้ จึงได้มี วัตถุประสงค์ในการทดสอบคุณสมบัติที่สง่ เสริมการเจริญเติบโตของพืช ความสามารถในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุ โรคพืช และนามาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนาไปทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยในสภาพโรงเรือนทดลองเพื่อศึกษา ศักยภาพในการนาไปผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต อุปกรณ์และวิธีการ 1. การทดสอบคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญพืชของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. เตรียมยีส ต์ที่ ใช้ในการทดสอบโดยเลี้ ยงยีส ต์ ในอาหารเหลว Yeast Extract-Peptone-Dextrose (YPD) ปริมาตร 250 มิลลิลิตร เขย่าที่ 150 รอบ/นาที บ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง 1.1 การทดสอบความสามารถในการละลายฟอสเฟต (Phosphate solubilization) ตาม วิธีการของ Punam et al. (2018) นายีส ต์ในอาหารเหลว YPD ปริม าตร 30 ไมโครลิตร หยดลงในอาหารแข็ง National Botanical Research Institute's phosphate growth medium (NBRIP) บ่ ม ที่ อุ ณ หภู มิ 25 องศาเซลเซี ย ส เป็ น ระยะเวลา 10 วัน จากนั้นตรวจสอบและวัดขนาดการเกิดบริเวณใสรอบโคโลนียีสต์ และนามาคานวณค่าดัชนี การละลายฟอสเฟต (Phosphate solubilization index, PSI) โดยคานวณตามสมการดังนี้ ค่าดัชนีการละลายฟอสเฟต = 1.2 การทดสอบการผลิตไซเดอโรฟอร์ (Production of siderophore) ตามวิธีการของGarcia et al. (2012) นายีสต์ในอาหารเหลว YPD ปริมาตร 30 ไมโครลิตร หยดลงในอาหารแข็ง Chrome Azurol S (CAS) agar บ่ม ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 วัน ท าการตรวจสอบผล โดยยีส ต์ที่ ส ามารถผลิต สารประกอบไซเดอร์โรฟอร์ได้จะเปลี่ยนสีอาหารจากสีน้าเงินเป็นสีส้มที่บริเวณรอบโคโลนี 634
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
1.3 การทดสอบความสามารถในการตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixation) ตามวิธีการของ จตุพร และคณะ (2562) นายีสต์ในอาหารเหลว YPD ปริมาตร 30 ไมโครลิตร หยดลงในอาหารแข็ง N free medium บ่มที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 วัน ทาการตรวจสอบผล โดยยีสต์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้สี ของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้าเงินที่บริเวณรอบๆโคโลนี 1.4 การทดสอบการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติก (IAA) ตามวิธีการของ Savitree and Nampueng (2012) เลี้ยงยีสต์ในอาหารเหลว YPD ที่เสริมด้วย L-tryptophan 1 กรัม/ลิตร ปริมาตร 250 มิลลิลิตร เขย่า ที่ 150 รอบ/นาที บ่ม ที่ อุณ หภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 วัน เก็ บ ส่วนใส (Supernatant) มา ทดสอบการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติก คานวณหาปริมาณการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติกโดยเปรียบเทียบกับ กราฟมาตรฐาน 2. การทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคในพืชโดยยีสต์สาย พันธุ์ Pichia sp. 2.1 การทดสอบประสิ ทธิภ าพของยี ส ต์ส ายพันธุ์ Pichia sp. ในการยั บ ยั้ งเชื้ อราก่อโรค ตาม วิธีการของ Rahman et al. (2007) เตรีย มยี ส ต์ ที่ ใช้ ในการทดสอบโดยเลี้ ย งยี ส ต์ ในอาหารเหลว Yeast Extract-PeptoneDextrose (YPD) ปริมาตร 250 มิลลิลิตร เขย่าที่ 150 รอบ/นาที บ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง และ เลี้ยงเชื้ อรา F. oxysporum, F. Solani และ S. rolfsii บนอาหาร PDA บ่มที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 4 วัน จากนั้ น น ามาทดสอบความสามารถในการต้านทานเชื้ อราด้ วยวิธี Dual Culture technique โดยนายีสต์ที่เลี้ยงในอาหารเหลว YPD มาขีดลงบนอาหารแข็ง PDA ให้เป็นเส้นตรง เว้น ระยะจากขอบจานอาหาร 2 เซนติเมตร (รูปที่ 1) และนาชิ้นวุ้นของเชื้อรามาวางลงในจานอาหารแข็งที่ได้ทา การขีดยีสต์ไว้ บ่มที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ตรวจผลบนจานควบคุมเมื่ อเส้นใยเชื้อราเจริญ จนเต็มจาน จากนั้นนามาหาค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใย ดังสมการ เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ = 100-
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
635
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
รูปที่ 1 แสดงรูปแบบการทดสอบประสิทธิภาพของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. ในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค ที่มา http://www.natres.psu.ac.th/researchcenter/OPARC-phase2/menu/picactivity/Poster-Onnicha.pdf
2.2 การศึกษากิจกรรมเอนไซม์เบต้า1-3กลูคาเนส และกิจกรรมเอนไซม์ไคติเนสของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. ตามวิธีการของ Žurl et al. (2013) นาน้าเลี้ยงเซลล์ยีสต์ในอาหารเหลว YPD มาทดสอบกิจกรรมของเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนส และ เอนไซม์ ไคติเนส โดยวัดปริม าณน้าตาลรีดิวซ์ วัดค่าการดู ดกลืนแสงที่ ความยาวคลื่ น 540 นาโนเมตร และ คานวณหาปริมาณน้าตาลรีดิวซ์เปรียบเทียบกับ กราฟมาตรฐานกลูโคส และกราฟมาตรฐานเอ็น-อะซิทิลกลูโค ซามีน (N-acetyl-D-glucosamine) ตามลาดับ จากนั้นนาปริมาณน้าตาลรีดิวซ์มาคานวณกิจกรรมของเอนไซม์ ดังสมการนี้ กิจกรรมของเอนไซม์ = (ยูนิต/มิลลิลิตร) 3. การทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค ทดสอบประสิทธิภาพปุ๋ยอินทรีย์ 2 สูตรที่มีส่วนผสมของหัวเชื้อยีสต์ Pichia sp ในการยับยั้งเชื้อรา สาเหตุโรคสามชนิด คือ F. oxysporum F. solani และ S. rolfsii ในผักกวางตุ้ง อายุ 14 วัน ที่เพาะเลี้ยงใน ตู้ควบคุมการเจริญเติบโต (Growth chamber) โดยให้แสงเป็นเวลา 10 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยทาการทดลองทั้งหมด 12 ชุดการทดลองดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ชุดการทดลองการทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค ชุดการ รายละเอียด ทดลอง 1 ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินทีผ่ สมขี้เถ้าแกลบ 2 ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 3 ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 636
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
4 5 6 7 8 9 10 11 12
PPB-02
ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินทีผ่ สมขี้เถ้าแกลบและคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. oxysporum ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินทีผ่ สมขี้เถ้าแกลบและคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. Solani ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินทีผ่ สมขี้เถ้าแกลบและคลุกเคล้าด้วยสปอร์ S. rolfsii ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. oxysporum ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. solani ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ S. rolfsii ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. oxysporum ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ F. solani ผักกวางตุง้ ที่ปลูกด้วยดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 และคลุกเคล้าด้วยสปอร์ S. rolfsii
วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) จานวน 5 ซ้า บันทึ กผลการเกิดโรคหลังการปลูกเชื้อ เป็นเวลา 7 วัน การวัดผลประเมินการเกิ ดโรคท าได้โดยการนับ จานวนต้นที่แสดงอาการของโรค เทียบกับจานวนต้นผักกวางตุ้งทั้งหมดในชุดการทดลอง และประเมินผลความ รุนแรงของการเกิดโรคลาต้นเน่า โรคเน่าคอดิน และโรคเหี่ยว โดยแบ่งระดับความรุนแรงของการเกิดโรค ดังนี้ โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา F. oxysporum (Park et al., 2002) 0 = ต้นผักกวางตุ้งไม่ปรากฏอาการของโรค 2 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการบริเวณใบมีสีเหลือง (>25% และ ≤50%) 3 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการบริเวณใบมีสีเหลืองมากขึ้น (>50% และ ≤75%) 4 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการใบทั้งใบเหี่ยวแห้งและต้นตาย โรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อรา F. solani (Vettraino et al., 2003) 1 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏเนื้อเยื่อแข็งแรงสมบูรณ์ 2 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏสีน้าตาลเข้มบางส่วนของเนื้อเยื่อราก (0-25%) 3 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏสีน้าตาลเข้มเพียงผิวเผินของเนื้อเยื่อราก (25-50%) 4 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการตายเฉพาะส่วน (50-75%) 5 = ต้นผักกวางตุ้งเนื้อเยื่อตาย โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii (Richard et al., 2002) 1= ต้นผักกวางตุ้งไม่ปรากฏอาการเหี่ยวแห้ง 2 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการเหี่ยวแห้งเล็กน้อยหรือบางส่วน 3 = ต้นผักกวางตุ้งปรากฏอาการแบบพืชเหี่ยวแห้งทั่วไป 4 = ต้นผักกวางตุ้งตาย 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
637
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
นามาคานวณเป็นเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค และเปอร์เซ็นต์ดัชนีความรุนแรงของโรค (Cirulii and Alexander, 1996) ดังสมการนี้ การเกิดโรค (%) = ดัชนีความรุนแรงของโรค (%) = วิเคราะห์ค่าทางสถิติด้วยโปรแกรม Minitab version 18.0 โดยทาการวิเคราะห์แบบ one way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Dunnett’s Multiple Comparison ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองและวิจารณ์ 1. การทดสอบคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญพืชของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. 1.1 การทดสอบความสามารถในการละลายฟอสเฟต (Phosphate solubilization) จากการทดสอบความสามรถในการละลายฟอสเฟตของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. พบว่าเมื่อนายีสต์ที่ เลี้ยงในอาหารเหลว YPD มาหยดลงในอาหารแข็ง NBRIP และบ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน เกิดการสร้างบริเวณใสรอบโคโลนีของยีส ต์ ดัง แสดงในรูปที่ 2 และมี ค่าดัชนีการละลายฟอสเฟตเฉลี่ย เท่ากับ 3.95
รูปที่ 2 ความสามารถในการละลายฟอสเฟตของยีสต์ Pichia sp. บนอาหาร NBRIP A) การเกิดบริเวณใสรอบ โคโลนียีสต์ B) จานควบคุม (อาหารเหลว YPD ที่ปราศจากยีสต์) ไม่มีการเกิดบริเวณใส 1.2 การทดสอบการผลิตไซเดอโรฟอร์ (Production of siderophore) จากการทดสอบการผลิตไซเดอโรฟอร์ของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. พบว่าเมื่อนายีสต์ที่เลี้ยงในอาหาร เหลว YPD มาหยดลงในอาหารแข็ง Chrome Azurol S (CAS) agar และบ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน เกิดการเปลี่ยนสีของอาหารจากสีน้าเงินเป็นสีส้มที่บริเวณรอบโคโลนีของยีสต์ ดังแสดงในรูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่ายีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. มีความสามารถในการผลิตไซเดอโรฟอร์ได้
638
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
รูปที่ 3 การผลิตไซเดอโรฟอร์ของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. บนอาหาร Chrome Azurol S (CAS) A) การ เปลี่ยนสีของอาหารทีบ่ ริเวณรอบโคโลนีของยีสต์ B) จานควบคุม (อาหารเหลว YPD ทีป่ ราศจากยีสต์) ไม่มีการ เปลี่ยนสีของอาหาร 1.3 การทดสอบความสามารถในการตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixation) จากการทดสอบความสามารถในการตรึงไนโตรเจนของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. พบว่าเมื่อนายีสต์ที่ เลี้ยงในอาหารเหลว YPD มาหยดลงในอาหารแข็ง N free medium และบ่มที่ อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ในอาหารจากสีเขียวเป็นสีส้มบริเวณรอบโคโลนีของยีสต์ ดัง แสดงในรูปที่ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. ไม่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน
รูปที่ 4 ความสามารถในการตรึงไนโตรเจนของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. A) การเปลี่ยนสีของอาหารที่บริเวณ รอบโคโลนีของยีสต์ B) จานควบคุม (อาหารเหลว YPD ที่ปราศจากยีสต์) ไม่มีการเปลี่ยนสีของอาหาร 1.4 การทดสอบการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติก (IAA) จากการทดสอบการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติก (IAA) ของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. เมื่อทาการ เลี้ ย งยี ส ต์ ในอาหารเหลว YPD บ่ ม ที่ อุ ณ หภู มิ 25 องศาเซลเซี ย ส เป็ น ระยะเวลา 7 วัน และน าส่ วนใส (Supernatant) มาทดสอบการผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติกตามวิธีการ Salkowski’s method พบว่ายีสต์สาย พันธุ์ Pichia sp. สามารถผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติกได้เฉลี่ย 42.825 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร 2. การทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคในพืชโดยยีสต์สาย พันธุ์ Pichia sp. 2.1 การทดสอบประสิทธิภาพของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. ในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
639
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
จากการทดสอบการยับ ยั้งเชื้อ ราก่ อโรคของยีส ต์ส ายพั นธุ์ Pichia sp. ต่อเชื้อรา F. oxysporum F. solani และ S. rolfsii บนอาหาร PDA ด้ ว ยวิ ธี Dual culture technique พบว่ า ยี ส ต์ Pichia sp. มี ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา F. oxysporum และ F. Solani โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ ของเส้นใยเฉลี่ยเท่ากับ 48.77 และ 50.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ในขณะที่เชื้ อรา S. rolfsii ยีสต์ Pichia sp. ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้ ดังแสดงในรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงประสิทธิภาพของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp.ในการ การยับยั้งเชื้อรา F. oxysporum (A) F. Solani (B) และ Sclerotium rolfsii (C) 2.2 การศึกษากิจกรรมเอนไซม์ เบต้า 1-3 กลูคาเนส และกิจกรรมเอนไซม์ไคติเนสของยี สต์สาย พันธุ์ Pichia sp. จากการศึกษากิจกรรมเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนส และกิจกรรมเอนไซม์ไคติเนสของยีสต์ สายพันธุ์ Pichia sp. ที่ อ ายุเชื้อ 48 ชั่วโมง ด้วยวิธีก าร DNS method และนามาคานวณหากิ จกรรมของ เอนไซม์ พบว่ายีสต์มี ค่ากิจกรรมของเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนสเฉลี่ย 3.61 ยูนิต /มิลลิลิตร และมีค่า กิจกรรมของเอนไซม์ไคติเนสเฉลี่ย 4.64
ยูนิต/มิลลิลิตร
3. การทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค จากผลการทดสอบ พบว่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพทั้งสองสูตรสามารถลดเปอร์เซนต์การเกิดโรคและความ รุนแรงของโรคที่เกิดจากเชื้อโรคพืชทั้งสามชนิดได้ โดยปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 สามารถลดการเกิดโรคที่เกิด จาก F. oxysporum F. solani และ S. rolfsii ได้ม ากกว่า ปุ๋ยสูตรที่ 2 เท่ ากั บ 20 40 และ 40 เปอร์ เซ็นต์ ตามลาดับ สาหรับความสามารถในการลดความรุนแรงของโรคนั้น ปุ๋ยชีวภาพสูตรที่ 1 สามารถลดดัชนีความ
640
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
รุนแรงของโรค ได้ดีกว่าปุ๋ยสูตรที่ 2 โดยมีค่าเท่ากับ 5 28 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงร้อยละการเกิดโรคและร้อยละดัชนีความรุนแรงของโรค ชุดการทดลอง
การเกิดโรค (%) ดัชนีความรุนแรงของโรค (%) 1 (ชุดควบคุม) 0 0 2 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1) 0 0 3 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2) 0 0 A4 (F. oxysporum) 60 30 B5 (F. solani) 60 40 C6 (S. rolfsii) 100 90 A7 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 +F. oxysporum) 20 5* B8 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1+ F. solani) 40 28* C9 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1+ S. rolfsii) 40* 50* A10 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2 + F. oxysporum) 20 10 B11 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2+ F. solani) 40 32 C12 (ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 2+ S. rolfsii) 60 70 ***หมายเหตุ - เปรียบเทียบชุดการทดลองที่กากับด้วยอักษรเดียวกัน ตัวเลขที่กากับด้วย * แสดงถึงผลลัพธ์การลดลงของการเกิดโรคและความ รุนแรงของโรคที่ดีกว่า
สรุปผลการทดลอง จากผลการทดสอบคุณสมบัติของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp ในการส่งเสริมการเจริญของพืช พบว่ายีสต์ มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต ซึ่งมีค่าดัชนีการละลายฟอสเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 มีความสามารถใน การผลิตไซเดอโรฟอร์ และยังสามารถผลิตกรดอินโดล-3-แอซีติกได้เฉลี่ย 42.75 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แต่ไม่มี ความสามารถในการตรึงไนโตรเจน สาหรับคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคในพืช พบว่ายีสต์มีประสิทธิภาพ ในการยับ ยั้งเชื้อรา F. oxysporum และ F. Solani โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก ารยับ ยั้ง การเจริญ ของเส้นใย เท่ากับ 48.77 และ 50.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับแต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา S. rolfsii ได้ และ เมื่อศึกษากิจกรรมเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนส และกิจกรรมเอนไซม์ไคติเนสของยีสต์สายพันธุ์ Pichia sp. พบว่ายีสต์มีค่ากิจกรรมของเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนสเฉลี่ย 3.59 ยูนิต/มิลลิลิตร และมีค่ากิจกรรม ของเอนไซม์ไคติเนสเฉลี่ย 4.64
ยูนิต/มิลลิลิตร
สาหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคพบว่า ปุ๋ยทั้ง 2 สูตร มีความสามารถในการยับยั้งการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชทั้ง 3 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
641
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
ชนิดได้ แต่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตรที่ 1 ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าทั้งความสามารถในการลดการเกิดโรคและลดความ รุนแรงของโรค แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา S. rolfsii ได้ และเมื่อศึกษากิจกรรมเอนไซม์เบต้า 1-3 กลูคาเนส และ กิจ กรรมเอนไซม์ ไคติเนสของยีส ต์สายพั นธุ์ Pichia sp. พบว่ายีสต์มี ค่ากิ จกรรมของเอนไซม์ เบต้า 1-3 กลู คาเนสเฉลี่ย 3.59 ยูนิต/มิลลิลิตร และมีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ไคติเนสเฉลี่ย 4.64 ยูนิต/มิลลิลิตร คาขอบคุณ ขอขอบคุณศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย ที่อนุเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ และอานวยความสะดวกเครื่องมือ และสถานที่ปฏิบัติงานวิจัย เอกสารอ้างอิง จตุพร บุณณดากุล, ศิราภรณ์ ชื่นบาล, ฐปน ชื่นบาล, ศรีกาญจนา คล้ายเรือง, ศุภธิดา อ่าทอง และ พันธ์ลพ สินธุยา. 2019. “การศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนอิสระที่แยกจากดินรอบรากข้าว ในการผลิตออกซินและจิบเบอเรลลิน” . The Journal of Applied Science. 18(1) : Y-Z. Carlos, A. Garcia, Beatriz Passerini De Rossi, Eliana Alcaraz, Carlos Vay, Mirta Franco. 2012. “Siderophores of Stenotrophomonas maltophilia : detection and determination of their chemical nature”. Revista Argentina deMicrobiología. 44 : 150-154. Cirulii, M. and Alexander, L. J. 1966. “A comparison of pathogenic isolates of Fusarium oxysporum and different sources of resistance in tomato”. Phytopathology. 56 : 1301-1304. Punam Kumaria, Mukesh Meenaa and Upadhyaya, R.S. 2018. “Characterization of plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) isolatedfrom the rhizosphere of Vigna radiate (mung bean)”. Biocatalysis and Agricultural Biotechnology. 16 : 155–162. Rahman, M.A., Kadir, J., Mahmud,T.M.M., Abdul Rahman, R. and Begum, M.M. 2007. “Screening of Antagonistic Bacteria for Biocontrol Activities on Colletotrichum gloeosporioides in Papaya”. Asian Journal of Plant Sciences. 6: 12-20. Richard, L. Fery, Philip, D. and Dukes, Sr. 2002. “Southern blight (Sclerotium rolfsii Sacc.) of cowpea:yield-loss estimates and sources of resistance”. Crop Protection. 21 : 403–408. Savitree Limtong and Nampueng Koowadjanakul. 2012. “Yeasts from phylloplane and their capability to produce indole-3-acetic acid”. World J Microbiol Biotechnol 28 : 3323– 3335.
642
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-02
Vettraino, A.M., Belisario, A., Maccaroni, M. and Vannini, A. 2 0 0 3 . “Evaluation of root damage to English walnut caused by five Phytophthora species”. Plant Pathol. 52 : 491–495.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
643
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปกั ษ์ทแี่ ยกได้จากบริเวณรอบรากต้นกะเพรา (Ocimum sanctum Linn.) ในการยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียก่อโรคพืช Efficiency of Antagonistic Bacteria Isolated from Basil Rhizosphere (Ocimum sanctum Linn.) on Inhibiting of Fungus and Bacterium Plant Pathogens วราภรณ์ สุทธิสา* สุรศักดิ์ ขันคา ภาณินทร์ญดา ไชยคาม พุทธพร เลาหพิบูลรัตนา และ วราพร รวมสุข Waraporn Sutthisa* Surasak Khankhum Phaninyada Chaiyacam Phuttaporn Laohaphiboonrattana and Waraporn Ruamsuk ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 Department of Biology, Faculty of Science, Mahasarakham University, Kantarawichai District, Mahasarakham 44150
บทคัดย่อ การควบคุม โรคพื ชมี อ ยู่ห ลายวิธี แต่วิธีที่ เ กษตรกรนิยมใช้คือ การใช้ส ารเคมี ซึ่ งเป็ นอั นตรายต่ อ เกษตรกร ผู้บริโภค รวมถึงแมลง และจุลินทรีย์ที่อาศัยในแหล่ง ธรรมชาติ และมีการปนเปื้อนสะสมก่อให้เกิด มลพิษกั บสิ่งแวดล้อม เพื่ อเป็นการลดปัญ หาดังกล่าว การวิจัยนี้จึงได้ท าการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อ แบคที เรียปฏิปักษ์ที่ คัดแยกได้จ ากบริเวณรอบรากต้ นกะเพราในการยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum สาเหตุโรคเหี่ยว และเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri สาเหตุโรคแคงเกอร์ โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อ แบคที เรียไอโซเลต RsOs002 สามารถยับ ยั้ง เชื้อ X. campestris pv. citri ได้ดีที่ สุดใน ระดับสามบวก และไอโซเลต RsOs004 สามารถยับยั้ง F. oxysporum ได้ดีที่สุดที่ร้อยละ 15.56 การทดสอบ ผลของสารกรองเชื้อ RsOs002 ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อ F. oxysporum พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญ ของเส้นใยได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม และสามารถยับยั้งการงอกของโคนิเดียเชื้อราได้ร้อยละ 57 แต่ส ารกรองเชื้อไม่มี ผ ลต่อ การยับ ยั้ง การเจริญ ของ X. campestris pv. citri เมื่ อทดสอบด้วยวิธี poison plate การจาแนกชนิดของ RsOs002 เบื้องต้นด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่า มี ความใกล้เคียงกั บ เชื้อ แบคทีเรียสกุล Bacillus คาสาคัญ : การส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช บาซิลลัส โรคเหี่ยว ABSTRACT Several control methods of plant pathogens have been attempting to perform to be the best practice for an integrated pest management. However, most farmers still require 644
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
the use of chemicals which usually harmful to themselves and consumers, and subsequent effect on a number of insects and microorganisms living in the environment. The accumulation of chemical contaminant is significantly affecting environments. To reduce such problem, this study was established to obtain the potential antagonists, which were isolated from basil (Ocimum sanctum Linn.) rhizosphere and were tested against Fusarium oxysporum, the causal agent of wilting, and Xanthomonas campestris pv. citri, the causal agent of canker, with dual culture method. The result found the bacterial isolate RsOs002 was expressed the highest growth inhibition to X. campestris pv. citri, while the isolate RsOs004 was inhibited the growth of F. oxysporum at 15.56 percentage. The culture filtrate of RsOs002 was significantly inhibited the mycelial growth of F. oxysporum compared to the control method. This culture filtrate was also inhibited the conidial germination of tested pathogenic fungus at 57 percentages. The poison plate test using RsOs002 culture filtrate was not found an effect on the growth of X. campestris pv. citri. Morphological identification of the bacterium RsOs002 revealed that it was closely related to the genus Bacillus. Keywords: plant growth promoting, Bacillus, wilt disease คานา การควบคุมโรคพืชมีอยู่หลายวิธีแต่วิธีที่เกษตรกรนิยมใช้คือการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่มีข้อเสียหลาย ประการ เช่น สารเคมีที่ใช้อาจเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภครวมถึงยังอาจเป็นอันตรายต่อแมลงและ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ นอกจากนี้สารเคมียังสามารถสะสมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในปัจจุบันจึง หันมาใช้การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม การควบคุมโรคพื ชด้วยวิธีชีวภาพ คือการใช้สิ่งมีชีวิตหรือเชื้อจุลินทรีย์มายับยั้ งหรือทาลายเชื้อโรคเพื่อไม่ให้ สร้างความเสียหายต่อพืช เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้เรียกว่า เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีกลไกการ ยับ ยั้งหรือควบคุมเชื้อ ที่ เป็นสาเหตุของโรคพืชอยู่ 4 รูป แบบคือ การท าลายชีวิต (antibiosis) การแข่ง ขัน (competition) การเป็นปรสิต (parasitism) และการชักนาให้ต้านทานต่อโรค (induced host resistance) การนาเชื้อปฏิปักษ์ไปใช้ควบคุมโรคพืชมีห ลายวิธีโดยการใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคบริเวณผิวรากพืชมี วิธีการดังนี้ การคลุกเมล็ดพืชที่ใช้เพาะปลูกกับเชื้อปฏิปักษ์ การราดเชื้อปฏิปักษ์ที่ละลายในน้าจานวนมากลง ดินเพื่อให้เชื้อปฏิปักษ์ไปสัมผัสกับรากของพืช การคลุกผสมเชื้อปฏิปักษ์กับดินเพื่อให้เชื้อปฏิปักษ์ลงไปสัมผัส กับรากของพืช การนารากไปจุ่มในสารละลายเชื้อปฏิปักษ์จะทาให้เชื้อปฏิปักษ์สัมผัสกับรากของพืชได้อย่าง ทั่วถึง (จิระเดช, 2549) จากงานวิจัยของ อนุสรา และ สุพจน์ (2561) พบว่า Bacillus cereus N55314 และ Serratia sp. N43203 ที่แยกและคัดเลือกได้จากดินบริเวณรอบรากข้าวที่เก็บจากจังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี และอยุธยา มีศักยภาพสูงสุดในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและยับยั้งแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าว โดยกลไกสาคัญคือ การผลิตสารทุติยภูมิ ยับยั้งเชื้อโรค เจริญใน 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
645
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
สภาวะไนโตรเจนต่า (N-free medium) ละลายฟอสเฟตในอาหาร pikovskaya ส่งเสริมการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของกล้าข้าว และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าวภายใต้ สภาพโรงเรือนพบว่า B. cereus N55314 และ Serratia sp. N43203 มีประสิทธิภาพป้องกันและลดการเกิด โรคขอบใบแห้งของข้าวได้ถึง 67.47 และ 46.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ เปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีคอป เปอร์ไฮดรอกไซด์ซึ่งลดการเกิดโรค ได้เพียง 8.74 เปอร์เซ็นต์ กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) กะเพราเป็นไม้ล้มลุก โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลาต้นสี แดงอมเขียว กะเพราขาวมีลาต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรง ข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอก กะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจานวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลาย เรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขน ประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดาถึงน้าตาลคล้ายรูปไข่ กะเพรา จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งทีม่ ีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตารับยาไทยและต่างประเทศ ตารา สมุนไพรไทยรายงานว่ากะเพรามีรสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยใน การย่อยอาหาร และช่วยบ ารุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มี การใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะประเทศอิ นเดีย ถือ ว่ากะเพราเป็นยารัก ษาโรคได้ทุ ก โรค และยังจัดเป็ นราชินีแห่ ง สมุนไพร (The queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The elixir of life) การศึกษาสารสาคัญในกะเพรา พบว่ามี ursolic acid ซึ่ ง มี ฤ ทธิ์ยับ ยั้ ง การหลั่ ง histamine จาก mast cell และ eugenol ในน้ ามั น หอม ระเหยมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย (Rajasekam et al., 1984) และขับน้าดี (Yamahara et al., 1983) นอกจากนี้ ยั ง มี ส ารลดการอั ก เสบ ได้ แ ก่ cirsilineol, cirsimaritin, isothymonin, apigenin, rosmaric acid และ eugenol (Burstein et al., 1976; Pandey and Madhuri, 2010) ซึ่ง eugenol ในน้ามันหอมระเหยมีฤทธิ์ ยับยั้งแบคทีเรียที่ทาให้ท้องเสีย (Okonogi et al., 1994; Phulan and Neeraj, 2004) การศึกษาฤทธิ์ในการ ต้านแบคทีเรียพบสารในกลุ่ม phenol, tannin และ saponin จากต้นกะเพรา (Mukherjee et al., 2009; Ahmad et al., 2001) และสารสกัดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ เมทิลแอลกอฮอล์ น้า และน้ามันหอมระเหยจาก กะเพราสามารถต้ า นเชื้ อ แบคที เ รี ย ที่ เ ป็ น สาเหตุ ท าให้ เ กิ ด โรค ได้ ได้ แ ก่ Escherichia coli, Shigella dysenteriae, Staphylococcus aureus, Klebsiella, Proteus และแบคที เ รี ย สายพั น ธุ์ ดื้ อ ยา ได้ แ ก่ Salmonella typhi, S. aureus และ Neisseria gonorrhea (Phulan and Neeraj, 2004; Pandey and Madhuri, 2010) น้ ามั นห อ มระเห ยจาก ใบ ก ะเพ รายั ง มี ฤ ท ธิ์ ต้ า น เชื้ อ แบ คที เรี ย ที่ ท าให้ เ กิ ด สิ ว Propionibacterium acnes (Lertsatitthanakorn et al., 2006) และต้ านเชื้อยีส ต์ Candida albicans (Mondal et al., 2007) นอกจากนี้น้ามันกะเพรายังสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus, Bacillus pumilus และ Pseudomonas aeruginosa ได้ โดยคาดว่าสารออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในน้ามันกะเพรา คือ linolenic acid (Singh et al., 2005) จากงานวิจัยของ เอกชัย และคณะ (2544) พบว่าสามารถยับ ยั้งการ แบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในช่องปากได้ โดยมีการนาเอาสารสกัดชนิดน้าและชนิดผงจากใบกะเพราแบบเข้มข้น และแบบอ่อนมาทดลองกับเซลล์มะเร็งช่องปาก พบว่าสารสกัดทั้งสองนั้นมีฤทธิ์ในการทาลายเซลล์มะเร็งใน 646
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
ช่องปากได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารที่สกัดจากใบกะเพราด้วยเอทิลแอลกอฮล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนังในหนูเม้าส์ได้ การศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อ แบคทีเรียของน้ามันหอมระเหยจากกะเพรา ต่อเชื้อ Staphylococcus ATCC25175 และ Streptococcus KPSK2 ซึ่ง เป็นเชื้อ ที่ ท าให้ฟั นผุโดยใช้น้ามั นหอมระเหยที่ ส กั ดจากใบของกะเพราโดยการกลั่นด้วยไอน้ า ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อด้วยวิธี agar disk diffusion และ micro broth dilution ผลการศึกษาพบว่าน้ามันหอม ระเหยกะเพรามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ แบคทีเรี ย โดยวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสในการยับยั้งเชื้อ ได้ ตั้งแต่ 7–25.95 มิล ลิเมตร และฤทธิ์ก ารต้านเชื้อ Streptococcus KPSK2 ของน้ามันหอมระเหยกะเพรามี ศักยภาพสูงกว่าการต้าน Staphylococcus ATCC25175 โดยมีค่าความเข้มข้นต่าสุด (MIC) ของน้ามันหอม ระเหยที่ ส ามารถยับ ยั้ง Staphylococcus ATCC25175 และ Streptococcus KPSK2 เท่ ากั บ 0.188 และ 0.047 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ ส่วนค่าความเข้มข้นต่าสุดของน้ามันหอมระเหยใบกะเพราที่สามารถ ฆ่ า เชื้ อ (MBC) Staphylococcus ATCC25175 และ Streptococcus KPSK2 เท่ า กั บ 0.377 และ 0.095 มิล ลิ กรัมต่อ มิ ลลิลิตร ผลการศึก ษานี้อ าจเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่ม เติม เพื่อการนาน้ามั นหอมระเหย กะเพราไปพัฒนาใช้ประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาโรคฟันผุต่อไป (รัตติพร และคณะ, 2558) การวิจัยนี้จึงได้ท าการศึกษาหาจุลินทรีย์ป ฏิปัก ษ์ที่ แยกได้จากดินบริเวณรอบรากต้นกะเพรา ที่ มี คุณสมบัติเบื้องต้นในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคพืช Xanthomonas campestris pv. citri และ เชื้อราก่อโรคพืช Fusarium oxysporum เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ การเก็บตัวอย่างดินและแยกเชื้อแบคทีเรีย เก็ บ ตัวอย่างดิน บริเ วณสวนผัก ของเกษตร หมู่ บ้ านดอนหน่อง ตาบลขามเรียง อาเภอกั นทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยถอนต้นกะเพราแล้วเคาะเอาเฉพาะดินบริเวณที่ติดกับราก ( rhizosphere soils) นา ใส่ถุงพลาสติกที่ปราศจากเชื้อรัดปากถุงให้แน่น แล้วนามาตากให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นนามาทาการเจือ จางด้วยเทคนิค serial dilution โดยนาดิน 10 กรัม ใส่ลงในน้านึ่งฆ่าเชื้อ 90 มิลลิลิตร เขย่าที่ 120 รอบต่อ นาที นาน 30 นาที แล้วนามาเจือ จางที่ ความเข้ม ข้น 10-2, 10-3 และ 10-4 ท าการการเกลี่ยเชื้อ บนจาน อาหาร nutrient agar (NA), arginine glycerol mineral salt agar (AGMA) และ rose bengal agar (RBA) ความเข้มข้นละ 3 ซ้า บ่มที่ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สังเกตการเจริญของเชื้อบนจาน อาหารและทาการแยกให้บริสุทธิ์เพื่อใช้ในการทดสอบต่าง ๆ การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคปฏิปักษ์ต่อการยับยั้งแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri โดยวิธี dual culture โดยเลี้ยงเชื้อ แบคที เรีย ปฏิปัก ษ์ บ นอาหาร NA บ่ม ที่ อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง จากนั้ น ขี ด เชื้ อ แบคที เ รียปฏิ ปั ก ษ์ และ X. campestris pv. citri บนอาหาร NA จานใหม่ โดยขี ดเชื้อ X. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
647
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
campestris pv. citri กลางจานอาหาร แล้วขี ดเชื้อแบคที เรียปฏิปักษ์ในแนวตั้ง ฉาก จ านวน 2 เส้น บ่ม ที่ อุณ หภูมิ 28 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ท าการทดลองไอโซเลตละ 3 ซ้า กรรมวิธีควบคุม ขีดเชื้อ X. campestris pv. citri เพียงเชื้อเดียว สังเกตการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและประเมินผลดังนี้ 0 คือไม่มี การยับยั้ง + คือเจริญร่วมกับเชื้อโรค ++ คือเชื้อก่อโรคมีการเจริญลดลง และ +++ คือยับยั้งเชื้อก่อโรคได้ดี การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคปฏิปักษ์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum โดยวิธี dual culture ทาการขีดเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่เจริญบนอาหาร NA นาน 24 ชั่วโมง บนจานอาหาร NA ที่มีเชื้อรา F. oxysporum เจริญอยู่กลางจานอาหาร นาน 3 วัน โดยขีดแบคทีเรียในแนวขนาน ทั้ง 4 ด้านของโคโลนีเชื้อ รา ให้ ห่างจากขอบจาน 2 เซนติเมตร บ่ ม ที่ อุณ หภูมิ 28 องศาเซลเซียส สังเกตการเจริญ ของเชื้อรา F. oxysporum และเชื้อแบคทีเรียปฏิปกั ษ์เป็นเวลา 10 วัน ทาการทดลองไอโซเลตละ 3 ซ้า ในกรรมวิธีควบคุมมี เฉพาะเชื้อ F. oxysporum เพียงเชื้อเดียว คานวณหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้งโดยใช้สูตร เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการ เจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค = [(R1 - R2)/R1 x 100] เมื่อ R1 คือ ค่าเฉลี่ยรัศมีของเชื้อราสาเหตุโรค ใน จานควบคุม และ R2 คือ ค่าเฉลี่ยรัศมีของเชื้อราสาเหตุโรคในจานทดสอบ (วราภรณ์ และนิวัฒ, 2557) การทดสอบประสิ ท ธิ ภ าพของสารกรองเชื้ อ จากเชื้ อ จุ ลิ นทรี ย์ ป ฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ การยั บ ยั้ งเชื้ อ แบคที เรี ย Xanthomonas campestris pv. citri เตรียมสารกรองเชื้อโดยเลี้ยงเชื้ อแบคปฏิปักษ์ไอโซเลต RsOs002 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ NB สภาวะ เขย่า 150 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นนามาปั่นเหวี่ยงที่ 6000 รอบต่อนาที เป็น เวลา 20 นาที เพื่อแยกส่วนเซลล์และส่วนน้าเลี้ยงเชื้อ ทาการกรองส่วนของน้าเลี้ยงเชื้อด้วยแผ่นกรองขนาด 0.2 ไมโครเมตร เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จนกว่าจะนาไปทดสอบต่อ ทดสอบด้วยวิธีการ poison plate โดยเตรียมอาหารแข็ง NA ผสมกับสารกรองเชื้อ RsOs002 ที่ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ ทิ้งอาหารไว้ ให้ห น้าอาหารแห้ง สนิท แล้วท าการดูดเซลล์แขวนลอยของ X. campestris pv. citri ความเข้ม ข้นเซลล์ 1.5×108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 5 ไมโครลิตร ลงบนผิวหน้าอาหารแข็ง ใช้ลูปขีดเชื้อเป็นเส้นตรง ความ ยาว 4 เซนติเมตร จานวน 3 เส้นต่อจาน และทาการทดลอง 3 ซ้า บ่มที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส สังเกตการ เจริญของเชื้อและประเมินผลดังนี้ - หมายถึง ไม่พบการยับยั้ง + หมายถึงการยับยั้งได้น้อยที่สุด ++ หมายถึง การยับยั้งได้ปานกลาง และ +++ หมายถึงการยับยั้งได้ดีที่สุด การทดสอบประสิทธิภ าพของสารกรองเชื้ อจากเชื้ อ จุลินทรีย์ ปฏิปั กษ์ต่ อการยั บยั้ งเชื้ อ รา Fusarium oxysporum การทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้ นใย โดยใช้ cork borer เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร เจาะ ลงบนขอบโคโลนีของเชื้อรา F. oxysporum ที่เจริญบนอาหาร PDA นาน 7 วัน แล้วนาไปแช่ในสารกรองเชื้อ RsOs002 ปริมาตร 10 มิลลิลิตร ที่อยู่ในจานเพาะเชื้อ จานวน 3 ชิ้นต่อจาน ทาการทดลอง 3 ซ้า ในกรรมวิธี 648
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
ควบคุมวางเส้นใยเชื้อราในจานอาหาร yeast malt broth (YMB) สังเกตการเจริญของเส้นใยและประเมินผล ดังนี้ - หมายถึง ไม่พ บการเจริญ + หมายถึง เจริญ ได้เล็กน้อย ++ หมายถึง เจริญ ได้ป านกลาง และ +++ หมายถึงเจริญได้ดีที่สุด หลังจากนั้นย้ายชิ้นวุ้นในจานทดลองลงบนอาหาร PDA จานใหม่สังเกตการเจริญและ ลักษณะโคโลนีของเชื้อรา F. oxysporum การทดสอบการยับยั้งการงอกของสปอร๋เชื้อรา F. oxysporum โดยเตรียมสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา F. oxysporum ให้ได้ความเข้มข้น 106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร จากนั้นดูดมาปริมาตร 10 ไมโครลิตร ลงในสไลด์ หลุม (depression slide) แล้วดูดสารกรองเชื้อ ปริมาตร 10 ไมโครลิตร ลงไป นาไปบ่มในกล่องชื้นที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ทาการทดลองละ 3 ซ้า แล้วนามาตรวจดูการงอกของสปอร์ภายใต้กล้อง จุลทรรศน์ การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ โดยเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียปฎิปักษ์ในอาหาร NA สังเกตลักษณะโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อศึกษาลักษณะ และรูปร่างของเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และทดสอบการติดสีแกรม (วราภรณ์ และ ปพิชญา, 2560) ผลการทดลองและวิจารณ์ การแยกเชื้อแบคทีเรีย การคัดแยกเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างดินบริเวณรอบรากต้นกะเพราสามารถแยกเชื้อแบคทีเรียทัง้ หมด (total plate count) ได้ 7.26 x 106, 3.77 x 106 และ 4.73 x 104 เซลล์ต่อมิล ลิลิตร จากอาหารเลี้ยงเชื้อ NA, AGMA และ RBA ตามลาดับ ทาการคัดเลือกมา 10 ไอโซเลต เพื่อนาไปทดสอบต่อไป ซึ่งคล้ายคลึงกั บ งานวิจัยของ วราภรณ์ และคณะ (2562) ที่ได้ศึกษาความหลากหลายของจุลนิ ทรีย์ในแปลงหม่อนที่เกิดโรคราก เน่าจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยนาดินตัวอย่างมาแยกเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ 4 ชนิด ได้แก่ NA, PDA, RBG และ modified SFA พบว่าการแยกเชื้อแบคทีเรียบนอาหาร NA สามารถคัดแยกแบคทีเรียทั้งหมด ได้ 1.1x105, 1.31x105, 1.24x105 และ 1.43x105 เซลล์ต่อดิน 1 กรัม ตามลาดับ การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคปฏิปักษ์ต่อการยับยั้งแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri โดยวิธี dual culture การทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรีย ปฏิปักษ์ 10 ไอโซเลต ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค X. campestris pv. citri โดยวิธี dual culture พบว่าไอโซเลต RsOs002 สามารถยับ ยั้ง ได้ดีที่ สุดในระดับ +++ (ตารางที่ 1, ภาพที่ 1) สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ Mishra and Arora (2012) ได้ ท าการประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพของไรโซแบคที เ รี ย ในการจั ด การโรคเน่ า ด าที่ เกิ ด จากเชื้ อ แบคที เ รี ย Xanthomonas campestris pv. campestris (Xcc) โดยแยกเชื้อจากดินบริเวณรอบราก Brassica campestris มา 54 ไอโซ เลต พบว่ามี 2 ไอโซเลตคือ KA19 และ SE สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Xcc ได้ และจากการศึกษาลาดับ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
649
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
นิวคลีโอไทด์ของยีนในส่วน 16S rRNA พบว่าไอโซเลต KA19 คือ Pseudomonas aeruginosa และไอโซเลต SE คือ Bacillus thuringiensis โดยมีความคล้ายคลึงกัน 99.4 เปอร์เซ็นต์
ภาพที่ 1 การทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรียปฏิปกั ษ์ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค X. campestris pv. citri โดยวิธี dual culture ก. เชื้อแบคทีเรียไอโซเลต RsOs001 และ RsOs002 กับ X. campestris pv. citri ข. เชื้อแบคทีเรียไอโซเลต RsOs009 และ RsOs010 กับ X. campestris pv. citri ค. กรรมวิธีควบคุม (X. campestris pv. citri) ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestrispv. citri และเชื้อรา Fusarium oxysporum โดยวิธี dual culture แบคทีเรียไอโซลเลต RsOs001 RsOs002 RsOs003 RsOs004 RsOs006 RsOs008 RsOs009 RsOs010 RsOs011 RsOs012 1/
ระดับการยับยั้ง X. campestris pv. citri1/ + +++ + + + + + + + +
+ คือเจริญร่วมกับเชื้อโรค ++ คือเชื้อก่อโรคมีการเจริญลดลง และ +++ คือยับยั้งเชื้อก่อโรคได้ดี
650
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
%การยับยั้ง F. oxysporum 4.55 3.17 8.15 15.56 11.11 7.58 9.52 8.15 8.15 3.17
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคปฏิปักษ์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum โดยวิธี dual culture การทดสอบความสามารถของเชื้อแบคที เรียปฏิปัก ษ์ 10 ไอโซเลต ในการยับ ยั้งเชื้อราก่ อโรค F. oxysporum พบว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต RsOs004 และ RsOs005 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ ราก่อโรคได้โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 15.56 และ 11.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ หลังจากการทดลอง 10 วัน (ตารางที่ 1, ภาพที่ 2) คล้ายกับงานวิจัยของ Yu et al. (2011) ที่ทดสอบเชื้อแบคทีเรีย Bacullus subtilus CAS15 ในการยับ ยั้ง เชื้อ ราก่ อ โรคพื ช 15 ชนิด ด้วยวิธีก าร dual culture พบว่า CAS15 สามารถต้านการ เจริญของเชื้อราก่อโรคได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งระหว่าง 19.26 ถึง 94.07 เปอร์เซ็นต์
ภาพที่ 2 การทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรียปฏิปกั ษ์ในการยับยั้งเชื้อราก่อโรค F. oxysporum ก. เชื้อแบคทีเรียไอโซเลต RsOs001, RsOs002, RsOs003 และ RsOs004 กับ F. oxysporum ข. เชื้อแบคทีเรียไอโซเลต RsOs005, RsOs006, RsOs007 และ RsOs008 กับ. F. oxysporum ค. กรรมวิธีควบคุม (F. oxysporum) การทดสอบประสิ ท ธิ ภ าพของสารกรองเชื้ อ จากเชื้ อ จุ ลิ นทรี ย์ ป ฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ การยั บ ยั้ งเชื้ อ แบคที เรี ย Xanthomonas campestris pv. citri การทดสอบผลของสารกรองเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต RsOs002 ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อ แบคที เ รี ย X. campestris pv. citri ด้ ว ยวิ ธี ก าร poison plate พบว่ า การใช้ ส ารกรองเชื้ อ แบคที เ รี ย RsOs002 ที่ความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ X. campestris pv. citri ได้ (ภาพที่ 3) ในขณะที่งานวิจัยของ Yoshida et al. (2001) ศึกษากิจกรรมการต้านจุลินทรีย์ของสารกรองเชื้อแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens RC-2 ที่ แยกได้จ ากใบหม่ อน พบว่าสารกรองเชื้อ RC-2 สามารถยับ ยั้งการ เจริญ ของเชื้อ ราและแบคที เรี ยก่ อ โรคพื ชหลายชนิ ด ได้ แก่ Rosellinia necatrix, Pyricularia oryzae, Agrobacterium tumefaciens และ Xanthomonas campestris pv. campestris
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
651
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
ภาพที่ 3 ประสิทธิภาพของสารกรองเชื้อจากเชื้อจุลินทรียป์ ฏิปักษ์ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri ก. X. campestris pv. citri เจริญบนอาหาร NA ที่ผสมสารกรองเชื้อ RsOs002 ข. กรรมวิธีควบคุม การทดสอบประสิทธิภ าพของสารกรองเชื้ อจากเชื้ อ จุลินทรีย์ ปฏิปั กษ์ต่ อการยั บยั้ งเชื้ อ รา Fusarium oxysporum จากการทดสอบประสิทธิภาพของสารกรองเชื้อแบคทีเรีย RsOs002 ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใย เชื้อรา F. oxysporum หลังจากบ่มเชื้อนาน 4 วัน พบว่าในจานเพาะเชื้อที่มีสารกรองเชื้อ RsOs002 เชื้อรา F. oxysporum มีการเจริญของเส้นใยในระดับ + ในขณะที่กรรมวิธีควบคุมเส้นใยมีการเจริญในระดับ ++ เมื่อทา การย้ ายชิ้ น วุ้น ของเชื้อ รา F. oxysporum ไปวางบนอาหารเลี้ย งเชื้ อ PDA พบว่าเชื้ อรา F. oxysporum สามารถเจริญได้ไม่แตกต่างกัน (ภาพที่ 4) การทดสอบผลของสารกรองเชื้อ แบคที เรีย RsOs002 ต่อการยับ ยั้ง การงอกของสปอร์เชื้ อรา F. oxysporum พบว่าสารกรองเชื้อแบคทีเรีย RsOs002 สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ F. oxysporum ได้ 57 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Bianca et al. (1997) ซึ่งพบว่าสารกรองเชื้อแบคทีเรีย Bacillus sp. สามารถยับยั้งการงอกของโคนิเดียและการเจริญของเส้นใยเชื้อรา F. oxysporum f.sp. ciceris และ F. oxysporum สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรค การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อแบคทีเรีย RsOs-002 ที่เจริญบนอาหาร NA พบลักษณะ โคโลนีสีขาวครีม รูปร่างไม่แน่นอน ขอบเป็นคลื่น โค้งหรือเว้าเพียงเล็กน้อย ผิวหน้าโคโลนีแห้ง ติดสีแกรมบวก และเซลล์รูปท่อนสัน้ สร้างเอนโดสปอร์ภายในเซลล์ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับเชื้อแบคทีเรียสกุล Bacillus (ภาพที่ 5)
652
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
ภาพที่ 4 ประสิทธิภาพของสารกรองเชื้อจากเชื้อจุลินทรียป์ ฏิปักษ์ต่อการยับยั้งเชื้อรา Fusarium oxysporum ก. เชื้อรา F. oxysporum ในสารกรองเชื้อแบคทีเรีย RsOs002 และ ค. ย้ายเส้นใยไปเลี้ยงบน อาหาร PDA ข. และ ง. กรรมวิธีควบคุม
ภาพที่ 5 ลักษณะของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต RsOs-002 ก. โคโลนีบนอาหาร NA ข.การติดสีแกรม คาขอบคุณ ขอขอบคุณภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจั ยใน ครั้งนี้ เอกสารอ้างอิง จิระเดช แจ่มสว่าง. 2549. การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กาแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน นครปฐม. รัตติพร กายเพชร ธนิยา หมวดเชียงคะ และ ไพรินทร์ ต้นพุฒ. 2558. ฤทธิ์การต้านเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิว แทนส์ของน้ามันหอมระเหยกะเพรา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 35(3): 311-319.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
653
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
วราภรณ์ สุทธิสา ณัฐินา สวัสดิ์พาณิชย์ สุนิสา หนูจิต และ สุมาลี ผิวขาว. 2562. ความหลากหลายของ จุลินทรีย์ดินในแปลงหม่อนที่เกิดโรครากเน่าและการตรวจหาเชื้อสาเหตุโรคโดยใช้ไพรเมอร์จาเพาะ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร 13(1): 158-169. วราภรณ์ สุทธิสา และ นิวัฒ เสนาะเมือง. 2557. ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุม เชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี. แก่นเกษตร 42(4): 539-546. วราภรณ์ สุทธิสา และ ปพิชญา นามแสง. 2560. การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียจากผิวใบมะเขือเทศในการควบคุม เชื้อรา Stemphylium sp. สาเหตุโรคใบจุดสีเทา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 22 (ฉบับพิเศษ): 7383. อนุสรา จันทร์แสง และ สุพจน์ กาเซ็ม. 2561. กลไกที่หลากหลายของแบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ใหม่จากดิน บริเวณรากข้าวต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าว. วารสารเกษตร พระจอมเกล้า 36 (2): 33-42 เอกชัย คุ้มพันธ์ พรทิพย์ ฐิตะพานิชย์ วิภาวี วิสาวะโท และ ดรุณี บุรีภักดี ลอว์สัน. 2544. การศึกษาคุณสมบัติ ต้านการก่อกลายพันธุ์พร้อมกับคุณสมบัติต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับของสารสกัดจากใบกะเพรา ในหนูแรท Sprague-Dawley ที่ได้รบั การปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งตับสายพันธุ์ AS-30D. การประชุม วิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 13, 15-16 พฤษภาคม, 2544. กรุงเทพ. Ahmad, I. and A.Z. Beg. 2001. Antimicrobial and phytochemical studies on 44 Indian medicinal plants against multi drug resistant human pathogens. J. Ethnopharmacol 74: 113-123. Bianca, B.L, A. Hervás, W. BettiolRafael and M. Jiménez-Díaz. 1997. Antagonistic activity of bacteria from the chickpea rhizosphere against Fusarium oxysporum f. sp. ciceris. Phytoparasitica 25(4): 305–318 Burstein, S., P. Taylor, F.S. EL-Feraly and C. Tumer. 1976. Prostaglandins and cannabis V. Identification of p-vinylphenol as a potent inhibitor of prostaglandin synthesis. Biochem Pharmacol 25(17): 2003-2004. Lertsatitthanakorn, P., S. Taweechaisupapong, C. Aromdee and W. Khunkitti. In vitro bioactivities of essential oils used for acne control. Int. J. Aromatherapy 16(1): 43-48. Mishra, S. and N.K. Arora. 2012. Evaluation of rhizospheric Pseudomonas and Bacillus as biocontrol tool for Xanthomonas campestris pv. campestris. World J. Microbiol Biotechnol. 28(2): 693-702. Mondal, S., S.C. Mahapatra, S.N. Naik and B.R. Mirdha. 2007. Antimicrobial activities of essential oils obtained from fresh and dried leaves of Ocimum sanatum (L.) against enteric bacteria and yeast. Proceedings of the International Symposium on Medicinal and Nutraceutical Plants, New Delhi India p. 267-269. 654
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-03
Mukherjee, J., U. Bhaumik, P.K. Mukherjee and B.P. Saha. 2009. CNS activity of the methanol extract obtained from the roots of Ocimum sanctum LINN. Pharmacologyonline 2: 673-685. Okonogi, S., T. Sekine, Y. Fujii, Y. Pongpaibul and I. Murakoshi. 1994. Antimicrobial activities of some medicinal plants family Labitae. Proceedings of 15th Asian Congress of Pharmaceutical Sciences, 15-19 November, Bangkok Thailand. p.132. Pandey, G. and S. Madhuri. 2010. Pharmacological activities of Ocimum sanctum (Tulsi): a review. Int. J. Pharm. Sci. Rev. Res. 5(1): 61-66. Phulan, R. and K. Neeraj. 2004. Antimicrobial evaluation of some medicinal plants for their anti-enteric potential against multi-drug resistant Salmonella typhi. Phytother. Res. 18(8): 670-673. Rajasekarn, M., C. Sudhadaran, S.C. Pradhan, J.S. Bapna and A.G.R. Nair. 1982. Mast cell protective activity of ursolic acid- a triterpene from the leaves of Ocimum sanctum L. and its antimicrobial activity. Indian Perfum 28: 82-87. Singh, S., M. Manjusha and D.K. Majumdar. 2005. Antibacterial activity of Ocimum sanctum L. fixed oil. Indian J. Exp. Biol. 43(9): 835-837. Yoshida, S., S. Hiradate, T. Tsukamoto, K. Hatakeda and A. Shirata. 2001. Antimicrobial Activity of culture filtrate of Bacillus amyloliquefaciens RC-2 isolated from mulberry leaves. Biological Control 91(2): 181-187. Yu, X., C. Ai, L. Xin and G. Zhou. 2011. The siderophore-producing bacterium, Bacillus subtilis CAS15, has a biocontrol effect on Fusarium wilt and promotes the growth of pepper. European Journal of Soil Biology 47(2): 138-145.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
655
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
การจาแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม Identification of Bacteria Causing Leaf Blight Disease on Allium ทิพวรรณ กันหาญาติ ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ รุ่งนภา ทองเคร็ง และ กาญจนา ศรีไม้ Tippawan Kanhayart Nuttima Kositcharoenkul Buranee Puawongphat Rungnapha Thongkreng and Kanchana Srimai สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
บทคัดย่อ โรคใบแห้งของหอมในประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2526 ในหอมหัวใหญ่ เมื่อศึกษาเชื้อ สาเหตุตามลักษณะทางสรีรวิทยาและชีวเคมีสามารถจาแนกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคได้เป็น Xanthomonas sp. ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่พบระบาดในประเทศไทยเป็นปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่ อจ าแนกชนิดแบคที เรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่ พบในประเทศไทย โดย ดาเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2561 พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคมีลักษณะโคโลนีกลมนูน ผิวมัน สีเหลือง บนอาหาร PSA สามารถทาให้เกิดอาการของโรคบนหอมแดง หอมแบ่ง และหอมหั วใหญ่ได้ เมื่อตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ไพรเมอร์ที่จาเพาะต่อเชื้อ X. axonopodis pv. allii พบว่าให้ผลของปฏิกิริยา เป็นบวก การจาแนกชนิดของเชื้อ เพื่ อ ยืนยันผลการตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์ multilocus sequence analysis จากยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD รวมทั้ งข้อมูล คุณสมบัติทางสรีร วิท ยาและชีวเคมีของเชื้อ แบคที เรีย ท าให้ส ามารถระบุได้ว่าเชื้อ แบคที เรียสาเหตุโรคใบแห้ง ของหอมที่ พบระบาดในประเทศไทยมี คุณสมบัติใกล้เคียงกับเชื้อ X. axonopodis pv. allii คาสาคัญ : หอม โรคใบแห้ง จาแนกชนิด ABSTRACT The bacterial leaf blight disease of Allium in Thailand was first observed in 1983 in onion. Studying the causal pathogens based on physiological and biochemical characteristics, the pathogen bacteria were classified as Xanthomonas sp. Therefore, to obtain the species of bacteria causing leaf blight disease of Allium plants that are prevalent in Thailand. The objective of this research is to identify the bacteria causing leaf blight disease of Allium found in Thailand. The identification had been conducted during October 2016 - September 2018. The results showed that the colonies of pathogenic bacteria on PSA 656
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
were round, convex and yellow mucoid. The pathogenic strain infected shallots, multiplied onions and onions, which later presented the typical symptoms of the disease. The Xanthomonas isolations had been pre-identified using specific primer to X. axonopodis pv. allii, which showed the positive reactions. To confirm the identification, phylogenetic reconstruction had been conducted to identify the Xanthomonas spp. collected from this study. The result of ML analysis of concatenated dataset of four house-keeping genes, namely dnaK, fyuA, gyrB and rpoD, confirmed that all isolations of Xanthomonas spp. from Allium in Thailand were X. axonopodis pv. allii. Keywords: Allium, leaf blight, identification คานา โรคใบแห้ง (bacterial leaf blight) ของหอมในประเทศไทยพบรายงานการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2526 ในหอมหัวใหญ่ที่ตาบลทุ่งทอง อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (นิตยา และคณะ, 2530) ต่อมาพบแพร่ ระบาดในหอมแบ่งและหอมแดงที่จังหวัดราชบุรีและนครปฐม (นิตยาและคณะ, 2532) โดยวนิดาและคณะ (2529) ทาการศึกษาเชื้อสาเหตุตามลักษณะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี จาแนกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคได้เป็น Xanthomonas sp. ซึ่ง ยังไม่ ได้จ าแนกเชื้อ ในระดับ ชนิ ด (species) จึง ยัง ไม่ ท ราบชนิดที่ ถู ก ต้องและเป็ น ปัจจุบันทาให้เกิดปัญหาในการส่งออกเนื่องจากประเทศไทยส่งออกพืชตระกูลหอมไปต่างประเทศแต่ข้อมูลชนิด ของเชื้อสาเหตุโรคใบแห้งของหอมยังไม่เป็นปัจจุบันทาให้เกิดข้อเสียเปรียบในการจัดทาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ความเสี่ยงศัตรูพืชประกอบการเจรจาทางการค้าสินค้าเกษตร ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้ง ของหอมที่พบระบาดในประเทศไทยเป็นปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจาแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุ โรคใบแห้ ง ของหอมที่ พ บในประเทศไทย โดยศึก ษาคุ ณ สมบั ติ ท างสั ณ ฐานวิท ยา สรีร วิท ยาและชี วเคมี เปรี ยบเที ย บล าดั บ นิ วคลี โ อไทด์ข อง 16S rRNA gene และจ าแนกชนิ ด ด้ วยวิธี multilocus sequence analysis (MLSA) เพื่ อ ใช้เป็นข้อมู ลอ้ างอิ งแก่ นักวิชาการในการท าวิจัย และเป็นข้อมู ล พื้นฐานในการจัดท า ข้อมูลศัตรูพืช (pest list) อุปกรณ์และวิธีการ 1. เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมและทดสอบการเกิดโรค (Pathogenicity test) เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่ใช้ในงานวิจัยเป็นเชื้อ Xanthomonas sp. ที่เก็บรักษาไว้ ในแหล่งเก็บจุลนิ ทรีย์ของกลุม่ วิจัยโรคพืช และจากการเก็บตัวอย่างที่มีลกั ษณะอาการคล้ายโรคใบแห้งของหอม จากแหล่งปลูกที่สาคัญ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาญจนบุรี ราชบุรี ตาก ลาปาง ลาพูน เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พะเยา อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2561 นามาแยกเชื้อบนอาหาร PSA บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
657
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
เลือกเก็บเชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะโคโลนีกลมนูน ผิวเป็นมันวาวสีเหลือง และทดสอบการเกิดโรคกับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ และกุยช่าย โดยพ่นเชื้อแบคทีเรียความเข้มข้นของเชื้อประมาณ 108 CFU/ml บนพืช ทดสอบแล้วใช้ถุงพลาสติกคลุมไว้ให้มีความชื้น เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จึงเปิดถุงออก และสังเกตอาการต้นพืช เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ปลูกเชื้อ X. campestris pv. campestris และน้านึ่งฆ่าเชื้อ 2. ศึกษาคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีของเชื้อ ทาการศึกษาคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีของเชื้อแบคทีเรีย บางประการตาม วิ ธี ก า ร ข อ ง Laboratory Guide for Identification of Plant Pathogenic Bacteria Third Edition (Schaad et al., 2001) 3. การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิค Multiplex nested PCR ตรวจสอบเชื้ อ ด้ ว ยเทคนิ ค multiplex nested PCR โดยใช้ ไ พ รเมอร์ ที่ จ าเพ าะต่ อ เชื้ อ X. axonopodis pv. allii ตามรายงานของ Robe`ne-Soustrade et al. (2010) โดยใช้ปริมาตรรวมในการทา ปฏิกิริยา PCR 20 ไมโครลิตร ประกอบด้วยดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียความเข้มข้น 100 ng/µl, One PCR Master Mix (GeneDirex® Inc., Taiwan) และไพรเมอร์ชนิดละ 0.2 µM เพิ่ม ปริม าณดีเอ็น เอด้วยเครื่อ ง ควบคุมอุณหภูมิ Biometra® (Biometra biomedizinische Analytik GmbH, Germany) ตรวจสอบผลการ เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟรีซิส และตรวจดูแถบดีเอ็นเอภายใต้แสงอุลตราไวโอเลต ด้วยเครื่อง UVITEC Cambridge Platinum (Uvitec Ltd., UK) 4. การเปรียบเทียบลาดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene แยกสกั ด ดีเ อ็ น เอเชื้ อ แบคที เรีย สาเหตุโ รคใบแห้ ง ของหอมด้ วยชุ ดสกั ด QIAamp DNA Mini kit (Qiagen, USA) เพิ่มปริมาณ 16S rDNA gene ของดีเอ็นเอที่สกัดได้ตามวิธีการของ Weisburg et al. (1991) โดยใช้ปริมาตรรวมในการทาปฏิกิรยิ า PCR 50 ไมโครลิตร ประกอบด้วยดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียความเข้มข้น 100 ng/µl, One PCR Master Mix (GeneDirex® Inc., Taiwan) และไพรเมอร์ชนิดละ 0.5 µM เพิ่มปริมาณ ดีเอ็นเอด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ Biometra® (Biometra biomedizinische Analytik GmbH, Germany) ตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟรีซิส (agarose gel electrophoresis) ตรวจดูแถบดีเอ็นเอภายใต้แสงอุลตราไวโอเลตด้วยเครือ่ ง UVITEC Cambridge Platinum (Uvitec Ltd., UK) ส่งผลผลิต PCR วิเคราะห์หาลาดับ นิวคลีโอไทด์ที่บริษัท Macrogen Korea ตรวจสอบลาดับนิวคลีโอไทด์ด้วย โปรแกรม Bioedit จัดเรียงลาดับนิวคลีโอไทด์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป MEGA X (Kumar et al., 2018) แล้วนาข้อมูลที่ได้เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลลาดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA gene ของเชื้อแบคทีเรีย type strain ที่มีรายงานอยู่ใน GenBank และจัดลาดับความสัมพันธ์ของแบคทีเรีย โดยใช้การประมวลผลและ วิเคราะห์ข้อมู ล แบบ Maximum Likelihood (ML) ด้วยโปรแกรม RAxML v 8.1.15 (Stamatakis, 2014)
658
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
กาหนดค่า model of evolution แบบ GTRGAMMA วิเคราะห์ด้วย rapid bootstrap (command –f a) เริ่มวิเคราะห์จาก random starting tree และกาหนดค่า maximum likelihood bootstrap 1,000 ซ้า 5. การวิเคราะห์ลาดับนิวคลีโอไทด์ด้วยวิธี multilocus sequence analysis (MLSA) นาดีเอ็นเอเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณ housekeeping gene จานวน 4 ยีน ได้แก่ ยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD ตามรายงานของ Young et al. (2008) โดยใช้ ปริมาตรรวมในการทาปฏิกิริยา PCR 50 ไมโครลิตร ประกอบด้วยดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียความเข้มข้น 100 ng/µl, One PCR Master Mix (GeneDirex® Inc., Taiwan) และไพรเมอร์ ชนิ ด ละ 0.5 µM เพิ่ ม ปริม าณ ดีเอ็นเอด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ Biometra® (Biometra biomedizinische Analytik GmbH, Germany) ตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยวิธีอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟรีซิส ตรวจดูแถบดีเอ็นเอภายใต้แสงอุล ตราไวโอเลตด้วยเครื่อง UVITEC Cambridge Platinum (Uvitec Ltd., UK) ส่งผลผลิต PCR ที่มีขนาดดีเอ็น เอเป้ าหมายเพื่ อ วิเ คราะห์ ห าล าดั บ นิวคลีโอไทด์ ตรวจสอบล าดับ นิวคลีโ อไทด์ด้วยโปรแกรม Bioedit จั ด เรียงลาดับนิวคลีโอไทด์ทั้ง 4 ยีน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป MEGA X (Kumar et al., 2018) และ วิเคราะห์ความสัม พั นธ์เชิง วิวัฒ นาการเพื่ อจัดจ าแนกเชื้อ เปรียบเที ยบกั บ เชื้อแบคที เรีย type strain ที่ มี รายงานอยู่ใน GenBank โดยใช้การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล แบบ Maximum Likelihood (ML) ด้วย โปรแกรม RAxML v 8.1.15 (Stamatakis, 2014) ก าหนดค่ า model of evolution แบบ GTRGAMMA วิ เ คราะห์ ด้ ว ย rapid bootstrap (command –f a) เริ่ ม วิ เ คราะห์ จ าก random starting tree และ กาหนดค่า maximum likelihood bootstrap 1,000 ซ้า ผลและวิจารณ์ 1. เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมและทดสอบการเกิดโรค (Pathogenicity test) เชื้อแบคที เรียสาเหตุโรคใบแห้ง ของหอมที่ ใช้ในงานวิจัยเป็ นเชื้อ Xanthomonas sp. มีลัก ษณะ โคโลนีกลม นูน ขอบเรียบ ผิวมันวาวสีเหลือง บนอาหาร PSA เก็บรักษาไว้ในแหล่งเก็บจุลินทรีย์ของกลุ่มวิจัย โรคพืช ตั้งแต่ปี 2527 –2528 และจากการเก็บตัวอย่างที่มีลักษณะอาการคล้ายโรคใบแห้งของหอมจากแหล่ง ปลูกที่สาคัญ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2561 รวมทั้งหมดจานวน 10 ไอโซเลท เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่แยกได้จากหอมแดง 3 ไอโซเลท หอมหัวใหญ่ 5 ไอโซเลท และหอมแบ่ง 2 ไอโซเลท ซึ่งแยกเชื้อสาเหตุจาก ลักษณะอาการใบจุดรูปร่างคล้ายเลนส์ตรงกลางแผลบางสีขาวซีด ขอบแผลฉ่าน้า และใบแห้งของหอม ที่เก็บ จากอาเภอพบพระ จังหวัดตาก (ภาพที่ 1)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
659
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
ภาพที่ 1 อาการโรคใบแห้งของหอมจากตัวอย่างหอมแบ่ง (ก) และทดสอบการเกิดโรคบนหอมแดง (ข) หอม แบ่ง (ค) หอมหัวใหญ่ (ง) และกุยช่าย (จ) เมื่อทดสอบการเกิดโรคกับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ และกุยช่าย พบว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถ ทาให้หอมแดง หอมแบ่ง และหอมหัวใหญ่เกิดโรคได้ แต่ไม่ ก่อให้เกิดโรคในกุยช่าย โดยพืชทดสอบเริ่มแสดง อาการจุดฉ่าน้าหัวท้ายแหลมคล้ายวงรีหรือรูปเลนส์ หลังจากปลูกเชื้อแล้ว 4 วัน บริเวณแผลใบจะยุบตัวหรือ บางลง เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นอาจทาให้ใบหักพับและปลายใบแห้งได้ โดยที่ต้นที่ปลูกเชื้อ X. campestris pv. campestris และกรรมวิธีควบคุมลบ (negative control) คือน้านึ่งฆ่าเชื้อไม่ทาให้พืชทดสอบปรากฏอาการ โรค ผลทดสอบการเกิดโรคสอดคล้องกับรายงานของ Kadota et al. (2000) ซึ่งพบว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถ ทาให้เกิดโรคใน Welsh onion (A. fistulosum L.) และหอมหัวใหญ่ (A. cepa L.) แต่ไม่ ท าให้เกิ ดโรคใน chive (A. schoenoprasum L.) กุ ย ช่ า ย (A. tuberosum Rottler) แ ล ะ hyacinth (Hyacinthus orientalis L.) และจากข้ อ มู ล การศึ ก ษาความสามาถในการท าให้ เ กิ ด โรค (Pathogenicity test) ของ Roumagnac et al. (2004) พบว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถทาให้เกิดโรคบนหอมหัวใหญ่ (A. cepa L. cv. Red Creole) กระเที ยม (A. sativum L. cv. Vacoa) กระเที ยมต้น (A. porrum L. cv. Gros long d’e ´te ´) และหอมแดง (A. cepa var. ascalonicum Backer cv. Ambition) แต่ ไม่ ท าให้ เ กิ ด โรคบน chive (A. schoenoprasum L. cv. Civette) และ hyacinth (H. orientalis L. cv. Carnegie) การพิ สูจ น์ โ รคตาม วิธีการของ Koch สามารถแยกได้เชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะโคโลนีกลมนูน ขอบเรียบ ผิวมันวาวสีเหลือง จาก แผลที่ทาการปลูกเชื้อ (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการทดลองและทดสอบการเกิดโรค (Pathogenicity test) เชื้อแบคทีเรีย DOABCC 206 DOABCC 229 DOABCC 322 DOABCC 449 DOABCC 474 DOABCC 477 DOABCC 488 660
พืชอาศัย
แหล่งที่เก็บ ปีที่เก็บ
หอมแดง หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมหัวใหญ่
ราชบุรี กาญจนบุรี กาญจนบุรี กาญจนบุรี กาญจนบุรี กาญจนบุรี กาญจนบุรี
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
2527 2527 2527 2528 2528 2528 2528
ทดสอบการเกิดโรค หอมแดง หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง กุยช่าย + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + -
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ” DOABCC 2325 DOABCC 2809 DOABCC 2810 X. campestris pv. campestris DOABCC 493 +P708 หมายถึง เกิดโรค; - หมายถึง ไม่ทาให้เกิดโรค
หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแบ่ง กะหล่าดอก
กาญจนบุรี ตาก ตาก ปทุมธานี
2528 2561 2561 2528
+ + + -
PPB-04 + + + -
+ + + -
2. ศึกษาคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีของเชื้อ ศึกษาคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมีของเชื้อ พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบ แห้งของหอมเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้ เจริญในสภาพที่มีอากาศ เจริญได้ใน อาหารที่มีเกลือ 4% สามารถผลิตเอนไซม์ catalase และ pectinase แต่ไม่ผลิตเอนไซม์ oxidase, nitrate reductase, arginine dihydrolase และ urease เชื้อ สามารถย่อย gelatin, casein, esculin, cellulose, Tween 80 และแป้งได้ สามารถสร้าง H2S และเจริญ บนอาหาร YPGA ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส แต่ไม่ เจริญ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส สร้างกรดจาก cellobiose lactose และ glycerol ได้ แต่เชื้อไม่ ส ร้าง indole และไม่สร้างเม็ดสีเรืองแสง (fluorescent pigment) บนอาหาร King’s B (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมี Gram reaction Aerobic metabolism of glucose Anaerobic metabolism of glucose Motility test Catalase test Oxidase test Nitrate reduction Arginine dihydrolase test Urease test Indole production Esculin hydrolysis Gelatin hydrolysis Starch hydrolysis Casein hydrolysis Cellulose hydrolysis Tween 80 hydrolysis H2S production Pectinolytic activity Tolerance to 3% NaCl Fluorescent pigment production
206 + + + + + + + + + + + + -
229 + + + + + + + + + + + + -
332 449 + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + -
DOABCC Xaa1/ 474 477 488 2325 2809 2810 493 + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + -
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
661
-
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ” Growth at 35oC Growth at 40oC Acid production from: Cellobiose Lactose Glycerol 1/
PPB-04
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ -
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
+ + +
Kadota et al. (2000), Roumagnac et al. (2000), Xaa: X. axonopodis pv. allii
3. การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิค multiplex nested PCR ตรวจสอบเชื้อ ด้วยเทคนิ ค multiplex nested PCR พบว่าเชื้ อแบคที เรีย ทั้ ง 10 ไอโซเลท ให้ ผ ล ปฏิกิ ริย าเป็ นบวกโดยปรากฏแถบดีเ อ็ น เอเป้ าหมายขนาดประมาณ 400 bp และ 450 bp ของเชื้อ X. axonopodis pv. allii (ภาพที่ 2) สอดคล้องกับรายงานของ Robe`ne-Soustrade et al. (2010)
ภาพที่ 2 แสดงผลการตรวจสอบเชื้ อ ด้ ว ยเทคนิ ค multiplex nested PCR โดย M คื อ ดี เ อ็ น เอขนาด มาตรฐาน onemark 100 ช่อง 1-10 คือแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมปรากฏแถบดีเอ็นเอ เป้าหมายขนาดประมาณ 400 bp และ 450 bp ของเชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. allii และ ช่อง 11 คือน้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ 4. การเปรียบเทียบลาดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene ทาการเพิ่มปริมาณ 16S rDNA gene ของดีเอ็นเอที่สกัดได้ แล้วส่งวิเคราะห์ห าลาดับ นิวคลีโอไทด์ เปรียบเทียบกับ ฐานข้อ มูลลาดับนิวคลีโอไทด์ บ ริเวณ 16S rDNA gene ของ type strain ที่มี รายงานอยู่ใน GenBank พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมมีลาดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกับเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Xanthomonads มากกว่ า 99% โดยเชื้ อ X. euvesicatoria DSM19128 (accession NR104773.1) ค่ า identity เท่ า กั บ 99.66% เชื้ อ X. perforans XV938 (accession NR104792.1) ค่ า identity เท่ า กั บ 99.60% เชื้อ X. fuscans LMG 826 (accession NR104958.1) ค่า identity เท่ ากับ 99.66% และเชื้ อ X. campestris ATCC 33913 (accession NR074936.1) ค่า identity เท่ากับ 99.46% นาข้อมูลลาดับนิวคลี โอไทด์ขนาด 1,358 bp ของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมสร้างแผนภูมิต้นไม้เพื่อดูความสัมพันธ์กับ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas spp. ด้วยวิธี Maximum Likelihood (ML) พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบ 662
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
แห้งของหอมในไทย จัดกลุ่มรวมกับ เชื้อ X. axonopodis LMG 538T และเชื้อที่มีรายงานเป็นสาเหตุโรคใน พืชผักและหอม ได้แก่ X. euvesicatoria DSM 19128T และ X. perforans XV938 สาเหตุโรคใบจุดในพริก และมะเขื อ เทศ เชื้ อ X. fuscans LMG 826T สาเหตุ โ รคใบจุ ด ในถั่ว และเชื้ อ X. axonopodis pv. allii CFBP6369 PT สาเหตุ โ รคใบแห้ ง ของหอม แยกกลุ่ ม ชั ด เจนออกจากเชื้ อ แบคที เ รีย X. campestris pv. campestris LMG 568T สาเหตุโรคเน่าดา (black rot) ของพืชผักตระกูลกะหล่า และแบคที เรีย Pantoea allii BD390T สาเหตุ center rot ของหอมหัวใหญ่ (ไม่แสดงข้อมูล) จากข้อมูลลาดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene ของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่ มีความใกล้เคียงกันมากกับ เชื้อแบคที เรีย Xanthomonas spp. ไม่ เพียงพอต่อการจาแนกชนิดแบคที เรีย สอดคล้องกับ การศึกษาของ Hauben et al. (1997) ซึ่งทาการเปรียบเทียบลาดับนิวคลีโอไทด์บ ริเวณ 16s rDNA ของเชื้อสกุล Xanthomonas พบว่ามีความใกล้เคียงกันมากและให้ผลไม่สอดคล้องกับข้อมูลของ DNADNA hybridization ที่มีการศึกษาไว้ ทาให้ไม่สามารถนาข้อมูลลาดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA gene มาใช้ในการจาแนกชนิดของเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas ในระดับสปีชีส์ได้แต่เป็นข้อมูลยืนยันเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุโรคใบแห้งของหอมเป็นเชื้อในสกุล Xanthomonas 5. การวิเคราะห์ multilocus sequence analysis (MLSA) นาดีเอ็นเอเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณ housekeeping gene จานวน 4 ยีน ได้แก่ ยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD แล้วส่งวิเคราะห์หาลาดับนิวคลีโอไทด์ ได้ข้อมูลลาดับ นิวคลีโ อไทด์ ขนาด 940 bp, 698 bp, 865 bp และ 873 bp ตามล าดับ นามาเรียงต่ อกั นรวมความยาว ทั้งหมด 3,376 bp สร้างเป็นแผนภูมิต้นไม้เพื่อดูความสัมพันธ์กับเชื้อแบคทีเรีย X. axonopodis pathovars และ Xanthomonas spp. ที่เป็น type strain และ pathotype strain ของเชื้อแบคทีเรียและมีข้อมูลของ ทั้ ง 4 ยี น ในฐานข้ อ มู ล Genbank วิเคราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์เชิ ง วิวั ฒ นาการเพื่ อ จั ดจ าแนกเชื้อ โดยใช้ ก าร ป ระม วล ผล แ ละ วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล แ บ บ Maximum Likelihood (ML) โดย มี Stenotrophomonas maltophilia ICMP17033 เป็น outgroup พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมจัดกลุ่มร่วมกับ X. axonopodis pv. axonopodis LMG538T และเชื้อ X. axonopodis pv. allii CFBP6369PT สาเหตุโรคใบ แห้ ง ของหอม แยกกลุ่ ม ชั ด เจนออกจากเชื้ อ แบคที เ รี ย X. hyacinthi ICMP189T, X. campestris pv. campestris LMG 568T สาเหตุโรคเน่าดา (black rot) ของพืชผักตระกูลกะหล่า และแบคทีเรีย Pantoea allii BD390 T สาเหตุ center rot ของหอมหัวใหญ่ (ภาพที่ 3) ผลการวิเ คราะห์ multilocus sequence analysis จากนิว คลี โอไทด์ บ างส่ วนของยี น dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD ของเชื้อ แบคที เ รียในกลุ่ ม X. axonopodis pathovars ด้ ว ย วิ ธี maximum likelihood โ ด ย มี X. campestris pv. campestris ICMP13T และ ICMP6541 เป็ น outgroup สามารถยืนยั น ได้ว่าเชื้อแบคที เรียสาเหตุโรคใบแห้ง ของหอม ใกล้เคียงกั บของเชื้อ X. axonopodis pv. allii CFBP6369PT ซึ่งเป็น pathotype strain ตามรายงานของ Roumagnac et al. (2004) โดยเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมในประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่ม RG 9.2 ตามรายงานของ Rademaker et al. (2005) (ภาพที่ 4) 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
663
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
ภาพที่ 3 แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมจากการวิเคราะห์ multilocus sequence analysis ของยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD ด้วยวิธี maximum likelihood โรคใบแห้งของหอม (Bacterial leaf blight) มีรายงานการพบโรคครั้ งแรกที่ฮาวายในปี 1975 และ จาแนกเชื้อสาเหตุครั้งแรกเป็นเชื้อ Xanthomonas sp. อาการของโรคเริ่มแรกใบเป็นจุดฉ่าน้า แล้วขยายเป็น รูปวงรีแหลมหัวท้าย และขยายใหญ่ไปตามความยาวใบ จากนั้นแผลเริ่มแห้งแตกตรงกลางแผลและใบหักพับลง หากอาการรุนแรงใบจะแห้งตายมีผลทาให้หัวมีขนาดเล็กหรือฝ่อ (Alvarez et al., 1978) ต่อมา Paulraj and O’Garro (1993) ท าการจ าแนกเชื้ อ สาเหตุ โรคใบแห้ ง ของหอมที่ ร ะบาดในแหล่ ง ปลู ก หอมที่ ส าคั ญ ใน Barbados โดยศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของเชื้อ และทา fatty acid analysis พบว่าเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย X. campestris และ Kadota et al. (2000) ทาการศึกษา pathovar ของเชื้อ X. campestris สาเหตุ โรคไหม้ ข อง Welsh onion (Bacterial blight of Welsh onion) ซึ่ ง พบระบาดที่ เ มื อ งโอกิ น าวา ประเทศญี่ปุ่นในปี 1998 พบว่าเชื้อแบคทีเรียสามารถทาให้เกิดโรคใน Welsh onion และหอมหัวใหญ่ แต่ไม่ ทาให้เกิดโรคใน chive, กุยช่าย (Chinese chive) และ hyacinth จึงเสนอเป็น pathovar ใหม่ และจาแนก เชื้อสาเหตุเป็น X. campestris pv. allii pv. nov. อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ Kadota et al. (2000) ใช้ เพี ย งคุ ณ สมบั ติ ท างชี วเคมี แ ละสรี ร วิ ท ยา และความสามารถในการท าให้ เกิ ด โรคบนพื ช อาศั ย ต่ อ มา Roumagnac et al. (2004) ได้ทาการจาแนกเชื้อสาเหตุโรคใบแห้งของหอมใหม่โดยใช้ลาดับนิวคลีโอไทด์ของ ยี น บริ เ วณ 16S rRNA, วิธี DNA–DNA hybridization, ทดสอบการใช้ แ หล่ ง คาร์ บ อน (carbon source 664
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
utilization), การวิ เคราะห์ อ งค์ ป ระกอบไขมั นของเซลล์ แ บคที เ รี ยและเทคนิ ค fluorescent amplified fragment length polymorphisms (FAFLPs) จาแนกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคได้เป็น X. axonopodis pv. allii
ภาพที่ 4 แผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมกับเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis partovars จากการวิเ คราะห์ multilocus sequence analysis ของยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD ด้วยวิธี maximum likelihood สาหรับประเทศไทยพบโรคใบแห้งของหอมระบาดในปี 2526 ในหอมหัวใหญ่ที่ ตาบลทุ่งทอง อาเภอ ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (นิตยา และคณะ, 2530) ต่อมาพบแพร่ระบาดในหอมแบ่งและหอมแดงที่จั งหวัด ราชบุรีและนครปฐม (นิตยา และคณะ, 2532) การศึกษาเชื้อสาเหตุตามลักษณะทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมี โดยวนิดา และคณะ (2529) จาแนกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเป็น Xanthomonas sp. และยังไม่ พบรายงานการจาแนกเชื้อสาเหตุโรคใบไหม้ของหอมในประเทศไทยในระดับสปีชีส์ แต่เนื่องจากการขาดแคลน เชื้อสายพันธุ์ต้นแบบ (type strain) สาหรับใช้จาแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี DNA–DNA hybridization เพื่อดูความคล้ายคลึง กันทางพั นธุก รรมของเชื้อแบคที เรียท าให้นัก วิจัยพยายามหาวิธีก ารเพื่อลดข้ อจ ากั ด ดังกล่าว เทคนิค multilocus sequence analysis เป็นการวิเคราะห์กลุ่มยีนที่ เป็น housekeeping gene ซึ่งมีความจาเป็นต่อการดารงชีวิตของแบคทีเรียจานวน 4-7 ยีน เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล Genbank มีความ นิยมใช้จาแนกชนิดแบคทีเรียมากขึ้นเนื่องจากสามารถจาแนกชนิดของเชื้อได้สอดคล้องกับการศึกษา DNA– 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
665
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
DNA hybridization โดย Young et al. (2008) ทาการศึกษาเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas spp. จานวน 119 สายพันธุ์ โดยใช้ multilocus sequence analysis ของ 4 ยีน ได้แก่ dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD พบว่าสามารถแยก Xanthomonas spp. ออกเป็น 2 กลุ่ม สอดคล้องกับการจัดกลุ่มโดยเปรีย บเทียบกับวิธี DNA-DNA hybridization การนาเทคนิค MLSA มาใช้จาแนกชนิดเชื้อในกลุ่มของ Xanthomonas spp. โดย Lang et al. (2017) วิเคราะห์กลุ่มยีน atpD, dnaK, gyrB, fusA, lepA และ rpoD เพื่อจาแนกชนิดแบคทีเรีย สาเหตุอาการใบขีด (bacterial leaf streak) ของข้าวโพดที่พบในสหรัฐอเมริกาพบว่าเกิดจากเชื้อ X. vasicola pv. vasculorum (Cobb 1894) comb. nov. และการศึก ษาของ Roach et al. (2018) ใช้ก ารวิเคราะห์ กลุ่มยีน atpD, dnaK, efp และ gyrB จาแนกชนิดเชื้อ Xanthomonas spp. สาเหตุโรคใบจุดของมะเขือเทศ และพริก ในออสเตรเลี ย จ านวน 64 ไอโซเลท พบว่า สามารถจ าแนกเชื้ อ ได้ เ ป็ น X. euvesicatoria, X. perforans และ X. vesicatoria สรุปผลการทดลอง เก็ บ ตัวอย่างโรคใบแห้งของหอมจากแหล่งปลูก หอมและเลี้ยงเชื้อแบคที เรีย Xanthomonas sp. สาเหตุโรคใบแห้งของหอมที่เก็บรักษาไว้ในแหล่งเก็บจุลินทรีย์ของกลุ่มวิจัยโรคพืชเพื่อจาแนกชนิด พบว่าเชื้อ แบคทีเรียสาเหตุโรคมี ลัก ษณะโคโลนี กลม ขอบเรียบ ผิวมัน สีเหลือง การพิสูจน์โรคตามวิธีการของ Koch สามารถทาให้เกิดอาการของโรคบนหอมแดง หอมหัวใหญ่ และหอมแบ่งได้ ผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐาน วิท ยา คุณสมบัติทางสรีรวิทยาและชีวเคมี ของเชื้อแบคที เรีย พบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้ เจริญในสภาพที่มีอากาศ เจริญได้ในอาหารที่มีเกลือ 4% สามารถผลิตเอนไซม์ catalase และ pectinase แต่ไม่ผลิตเอนไซม์ oxidase, nitrate reductase, arginine dihydrolase และ urease เชื้อ สามารถย่อย gelatin, casein, esculin, cellulose, Tween 80 และแป้งได้ สามารถสร้าง H2S และเจริญ บนอาหาร YPGA ที่ อุ ณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส แต่ไม่ เจริญ ที่ อุณ หภูมิ 40 องศาเซลเซียส สร้างกรดจาก cellobiose lactose และ glycerol ได้ แต่เชื้อไม่ ส ร้าง indole และไม่ ส ร้างเม็ ดสีเรืองแสง (fluorescent pigment) บนอาหาร King’s B ตรวจสอบเชื้อด้ วยเทคนิ ค multiplex nested PCR พบว่าเชื้อแบคที เ รีย ให้ผลปฏิกิริยาเป็นบวกโดยปรากฏแถบดีเอ็นเอเป้าหมายขนาดประมาณ 400 bp และ 450 bp ของเชื้อ X. axonopodis pv. allii การวิเคราะห์ลาดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16S rDNA และจาแนกชนิดของเชื้อ แบคที เรีย ด้วยวิธี multilocus sequence analysis จากยีน dnaK, fyuA, gyrB และ rpoD รวมทั้ งข้อมู ล คุณสมบัติทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของเชื้อแบคทีเรีย สามารถระบุได้ว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของ หอมที่พบในประเทศไทยมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเชื้อ X. axonopodis pv. allii เอกสารอ้างอิง นิตยา กันหลง พัน อินทร์จันทร์ วนิดา ฐิติฐาน และลักษณา วรรณภีร์. 2530. การป้องกันกาจัดโรคใบแห้งของ หอมหัวใหญ่. ใน รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2530 กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิ ชาการเกษตร. หน้า 69-76. 666
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
นิตยา กันหลง พัน อินทร์จันทร์ วนิดา ฐิติฐาน และลักษณา วรรณภีร์. 2532. การป้องกันกาจัดโรคใบแห้งของ หอมหัวใหญ่. ใน รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2532 กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร. หน้า 106-114. นิตยา กันหลง. 2545. สมุดภาพโรคสาคัญของพืชสกุลหอมกระเทียมในประเทศไทย. เอกสารวิชาการกองโรค พืชและจุลชีววิทยาปี 2545. 33 หน้า. วนิดา ฐิติฐาน นิตยา กันหลง สมใจ วิวิธจินดา และสุเนตรา ภาวิจิตร. 2529. ศึกษาเชื้อบักเตรีสาเหตุโรคใบ ไหม้ของหอมแดง. ใน รายงานผลงานวิจัย พ.ศ. 2529 กองโรคพื ชและจุล ชีววิท ยา กรมวิชาการ เกษตร. หน้า 47-54. Alvarez, A.M., I.W. Buddenhagen, E.S. Buddenhagen and H.Y. Domen. 1978. Bacterial blight of onion, a new disease caused by Xanthomonas sp. Phytopathol. 68: 1132-1136. Hauben, L., L. Vauterin, J. Swings and E.R.B. Moore. 1997. Comparison of 16s Ribosomal DNA Sequences of All Xanthomonas Species. Int. J. Syst. Bacteriol. 47: 328-335. Kadota, I., K. Uehara, H. Shinohara and K. Nishiyama. 2000. Bacterial blight of Welsh onion: a new disease caused by Xanthomonas campestris pv. allii pv. nov. J Gen Plant Pathol 66: 310–315. Kumar, S., G. Stecher, M. Li, C. Knyaz, and K. Tamura. 2018. MEGA X: Molecular Evolutionary Genetics Analysis across computing platforms. Molecular Biology and Evolution 35: 1547-1549. Lang, J.M., E. DuCharme, J. Ibarra Caballero, E. Luna, T. Hartman, M. Ortiz-Castro, K. Korus, J. Rascoe, T. A. Jackson-Ziems, K. Broders and J. E. Leach. 2017. Detection and Characterization of Xanthomonas vasicola pv. vasculorum (Cobb 1894) comb. nov. Causing Bacterial Leaf Streak of Corn in the United States. Phytopathol. 107: 1312– 1321. Paulraj, L. and L. W. O’ Garro. 1 9 9 3 . Leaf blight of onions in Barbados caused by Xanthomonas campestris. Plant Dis. 77: 198-201. Rademaker, J.L.W., F.J. Louws, M.H. Schultz, U. Rossbach, L. Vauterin, J. Swings and F.J. De Bruijn. 2005. A comprehensive species to strain taxonomic framework for Xanthomonas. Phytopathology 95: 1098-1111. Roach, R. , R. Mann, C. G. Gambley, R. G. Shivas and B. Rodoni. 2018. Identification of Xanthomonas species associated with bacterial leaf spot of tomato, capsicum and chilli crops in eastern Australia. Eur. J. Plant Pathol. 150: 595–608.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
667
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-04
Robene-Soustrade, I., D. Legrand, L. Gagnevin, F. Chiroleu, A. Laurent and O. Pruvost. 2010. Multiplex nested PCR for detection of Xanthomonas axonopodis pv. allii from onion seeds. Appl. Environ. Microbiol. 72: 1072–1078. Roumagnac, P., L. Gagnevin, L. Gardan, L. Sutra, C. Manceau, E.R. Dickstein, J. B. Jones, P. Rott, and O. Pruvost. 2 0 0 4 . Polyphasic characterization of xanthomonads isolated from onion, garlic and Welsh onion (Allium spp.) and their relatedness to different Xanthomonas species. Int. J. Syst. Evol. Microbiol. 54: 15-24. Schaad, N.W., J.B. Jones and W. Chun. 2001. Laboratory Guide for Identification of Plant Pathogenic Bacteria. 3rd Edition. APS Press, Minnessota, USA. 373 p. Stamatakis, A. 2014. RAxML Version 8: A tool for phylogenetic analysis and post-analysis of large phylogenies". Bioinformatics 30: 1312–1313. Weisburg, W.G., S.M. Barns, D.A. Pelletier and D.J. Lane. 1991. 16S ribosomal DNA amplification for phylogenetic study. J. Bacteriol. 173: 697–703. Young, J.M., D.C. Park, H.M. Shearman and E. Fargier. 2008. A multilocus sequence analysis of Xanthomonas. Sys. Appl. Microbiol. 31: 366–377.
668
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันก้าจัดโรคราน้าค้างในชาโยเต้ Study on Some Fungicides Efficacy to Control Downy Mildew Disease in Chayote ทิวา บุบผาประเสริฐ1 พจนา ตระกูลสุขรัตน์2 ธัญพร งามงอน3 และ วิทยา ทองอินทร์3 Thiva Bubpaprasert1 Photchana Trakunsukharat2 Thunyaporn Ngamngon3 and Witthaya Thongin3 1
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Horticulture Research Institute, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 2 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 3 ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 67270 1 Phetchabun Highland Agricultural Research Center, Khaokho, Phetchabun 67270 1
บทคัดย่อ ชาโยเต้ มีโรคราน้าค้างสาเหตุเกิ ดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis เป็นโรคพืชสาคัญ ที่ ระบาดทาความระบาดอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับพืชตระกูลแตงชนิดอื่น สภาพที่อุณหภูมิต่าในเวลากลางคืนและ อุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน เป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดอาการและพัฒนาการของเชื้อสาเหตุ การป้องกัน กาจัดโดยการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชในปัจจุบัน ยังไม่มีคาแนะนาที่ให้ใช้ควบคุมราน้าค้างที่เกิดบนชาโยเต้ โดยตรง ดัง นั้นการทดสอบหาสารป้อ งกั นก าจัดโรคราน้าค้างที่ เกิ ดกั บ ซาโยเต้ จึง มี ความจาเป็นเพื่อใช้เป็ น คาแนะนาในการป้องกันกาจัดและวิธีการใช้ สารที่มีประสิทธิภาพให้กับเกษตรกร การทดสอบประสิทธิภาพสาร ดาเนินการทดลองที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม– เมษายน 2561 และเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2562 วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 4 ซ้า 5 กรรมวิธี คือ cymoxanil+mancozeb 8%+64% WP, metalaxyl 25% WP, dimethomorph 50% WP แ ล ะ fluopicolide+ fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ใช่สาร (พ่นน้าเปล่า) ผล การทดลองพบว่าทุกกรรมวิธีพ่นสารทดลองสามารถควบคุมการระบาดโรคได้ดีกว่ากรรมวิธีควบคุมที่ไม่พ่นสาร กรรมวิธีที่พ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีประสิท ธิภาพในการควบคุมการ ระบาดของโรคราน้าค้างในชาโยเต้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืชอื่น โดย เชื้อสาเหตุไม่แพร่ระบาดถึงใบยอด แผลจะแห้งเป็นสีน้าตาล ไม่มีการแพร่กระจายของแผลเพิ่มขึ้น ในการทดลอง ครั้งนี้ไม่พบความเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ค้าส้าคัญ : โรคราน้าค้างของพืชตระกูลแตง การควบคุมโรคด้วยสารเคมี สารป้องกันกาจัดเชื้อรา
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
669
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ABSTRACT Downy mildew disease is the severe plant disease of Chayote same as other plants in Cucurbitaceae family. Low temperature conditions at night and high temperatures during the daytime was a favorable condition for the occurrence of symptoms and development of the cause fungus, Pseudoperonospora cubensis. There were no the current recommendation for directly control in chayote. Therefore it is necessary to study effective fungicides and use as a effective control guide to recommend for farmers. Efficacy of four fungicides, cymoxanil + mancozeb 8%+64% WP, metalaxyl 25% WP, dimethomorph 50% WP , fluopicolide+ fosetylaluminium 4.4% +66.7% WG and control (water spraying), was tested at Phetchabun Highland Agricultural Research Center, during March to April 2018 and repeated in February to March 2019 again. Each of tested fungicides was sprayed four times at an interval of 7 days following appearance of the disease symptoms. All the tested fungicides were been effective in controlling this downy mildew disease. Dimethomorph 50% WP (20 mg/ 20 L of water) was the most effective in controlling the disease severity. This spray treatment showed no increase in the spread of disease and symptoms to top leaves. Former lesions were dry and not enlarge. No phototoxicity to plants could be found in both experiments. Keywords: downy mildew of Cucurbitaceae family, chemical control, fungicide ค้าน้า ชาโยเต้ (Chayote) หรือฟักม้ง (Sechium edule (Jacq.) Swartz) พืชพื้นเมืองจากทวีปอเมริกากลาง ที่ส ามารถเจริญ เติบ โตได้ดีบ นพื้ นที่ สูงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพืชผัก ที่ มี คุณค่าทางอาหารสูง บริโภคได้ทั้งใบ ยอด ผลและรากสะสมอาหาร ปัจจุบันตลาดมีความต้องการมาก อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เป็น แหล่งผลิตชาโยเต้ที่สาคัญ มีผลผลิตทั้งยอดอ่อนและผลอ่อนส่งจาหน่าย เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ได้เป็นอย่างดี จากการผลิตที่ยาวนานกว่าสิบปีในพื้นที่เดิม ทาให้เกษตรกรประสบปัญหาการระบาดของโรครา น้าค้าง (Downy mildew disease) เช่นเดียวกับพืชตระกูลแตงชนิดอื่น ในเดือนกันยายน 2551 มีรายงานว่า พบการระบาดของโรคนี้ในพื้นที่จังหวัดที่ปลูกชาโยเต้ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ (นิพนธ์, 2548) เป็น โรคพืชที่ มี ความส าคัญ มากในพื ชตระกู ลแตงเนื่องจากสามารถระบาดได้อย่างรุนแรง สาเหตุเกิ ดจากเชื้อ รา Pseudoperonospora cubensis (Berk.& Curt) Rost. อาการที่พบบนใบมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละพืช ลักษณะอาการที่พบคือมีปื้นสีเหลืองบนผิวใบด้านบน ทาให้ใบเป็นแผล มีรูปร่างผิดปกติ ใบเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อระบาดมากขึ้นใบจะแห้งเป็นสีน้าตาลเข้มหรือ เทาดา สังเกตเห็นเป็นขุยสีดาด้านหลังใบได้ ชัดเจน ทาให้พืชแคระแกรนและผลผลิตลดลง (อรพรรณและจุมพล, 2558) โรคราน้าค้างมีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ในตระกูล (Family) Peronosporaceae ทั้งหมดจัดเป็นพวก obligate parasite อาศัยเซลพืชที่มีชีวิตในการ 670
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ดารงชีวิต และแต่ละชนิดมีความเฉพาะเจาะจงกับพืชอาศัย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยสปอร์ทั้งแบบใช้เพศ และไม่ใช้เพศ เส้นใยไม่มีผนังกั้น มีวงจรการเข้าทาลายพืชภายหลังจากที่สปอร์ขยายพันธุ์สัมผัสกับเนื้อเยื่อเซล พืชแล้วจะสร้าง haustoriua แทงเข้าไปในเจริญอยู่ในเซลของพืช ทาลายเนื้อเยื่อพืชให้เกิ ดความเสียหาย (วิจัย, 2551) สภาพอุณหภูมิต่าในเวลากลางคืนและอุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน เป็นสภาวะที่ เหมาะสมต่อการเกิ ด อาการและพัฒนาการของเชื้อสาเหตุ (อรพรรณและจุมพล, 2558) การป้องกันกาจัดโดยการใช้สารป้องกันกาจัด โรคพืชในปัจจุบัน ยังไม่มีคาแนะนาที่ให้ใช้ควบคุมโรคราน้าค้างที่เกิดบนชาโยเต้โดยตรง ดังนั้นการทดลองเพื่อหา สารป้องกั นกาจัดโรคราน้าค้างที่เกิดกับ ซาโยเต้ และอัตราใช้สารที่ เหมาะสม จึงมีความจาเป็นส าหรับใช้เป็น คาแนะนาให้กับเกษตรกรในการป้องกันกาจัดโรคที่มีประสิทธิภาพต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. แปลงชาโยเต้ที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 2. สารป้องกันกาจัดโรคพืช จานวน 4 ชนิด ได้แก่ cymoxanil+mancozeb 8%+64% WP, metalaxyl 25% WP, dimethomorph 50% WP และ fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4%+66.7% WG 3. วัสดุทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ยคอก อุปกรณ์ให้น้า และป้ายแปลง ฯลฯ 4. อุปกรณ์ผสมและพ่นสาร ได้แก่ ถังพ่นสารแบบสะพายหลัง ถังผสมสาร ไม้กวน ฯลฯ 5. กล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่าน (Compound microscope) 6. อุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น สมุดบันทึก ปากกา ฯลฯ วิธีการ ทาการปลูกซาโยเต้ ในแปลงทดลองภายในศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดยมี ขนาดแปลงย่อ ย 1.5x5.0 ตารางเมตร (รวมระยะทรงพุ่ม ) วางแผนการทดลองแบบ RCB จ านวน 4 ซ้ามี 5 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 พ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่นด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 10 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่นด้วย fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 กรรมวิธีไม่พ่นสาร (พ่นน้าเปล่า) เป็นกรรมวิธีควบคุม สุ่มเลือกต้น และติดป้ายล าดับ ต้นไว้ จ านวน 20 ต้นต่อแปลงย่อย เมื่ อพบเริ่มการระบาดของโรค ท าการเก็ บ ตัวอย่างพืชเพื่อตรวจสอบลักษณะเชื้อสาเหตุภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ดาเนินการพ่นสารทดลองตามกรรมวิธีครั้ง แรก และพ่นห่างกันทุก 7 วัน จานวน 4 ครั้ง ทาการประเมินความรุนแรงของโรคก่อนพ่นสารทุกครั้ง และหลัง พ่นสารครั้งสุดท้าย (ครั้งที่ 4) 7 และ 14 วัน โดยการประเมินครั้งแรกจะประเมินจากทุกใบเพื่อหาระดับความ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
671
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
รุนแรงของโรค หลังจากพ่นสารทดลองแล้วประเมินความรุนแรงของโรคจากใบที่ 5–10 ของต้นเดิมโดยนับจาก ใบล่างขึ้นไป แบ่งตามระดับความรุนแรงโดยดัดแปลงจากวิธีการให้คะแนนของ James (1971) (ภาพที่ 1) ดังนี้ ระดับ 1 = ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 2 = ใบปรากฏอาการของโรค 1–10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 3 = ใบปรากฏอาการของโรค 11–25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 = ใบปรากฏอาการของโรค 26–50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 = ใบปรากฏอาการของโรค 51–75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 6 = ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ นาข้อมูลระดับความรุนแรงของโรคมาวิเคราะห์ ทางสถิติด้วยวิธี Analysis of variance และเปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระดับ ความรุนแรงของโรคแต่ละกรรมวิธี ด้วยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างการใช้สารป้องกันกาจัดโรค พืชที่ทดลองแต่ละชนิด ทาการทดลองจ านวน 2 แปลงทดลองระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน 2561 และเดือนกุ มภาพันธ์ – มีนาคม 2562 ผลและวิจารณ์ เชือสาเหตุโรค พบอาการโรคราน้าค้างบนใบชาโยเต้ ที่อยู่บริเวณด้านล่างก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน อาการเริ่มแรกบนใบปรากฏจุดแผลฉ่าน้า ต่อมาแผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อยทาให้เห็นแผลเป็นรูป เหลี่ยมเล็กๆ ในกรอบเส้นใบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใย ของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลบริเวณด้านใต้ใบ ตรวจสอบลักษณะเชื้อสาเหตุโรคราน้าค้างที่พบ ระบาดบนในชาโยเต้ในแปลงทดลอง ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่าน (Compound microscope) เชื้อรา สร้างเส้นใยไม่ มีผนังกั้น สปอร์ขยายพั นธุ์ที่ เรียกว่า sporangia มีลัก ษณะค่อนข้างกลมถึงเป็นวงรี (ovoid to ellipsoidal) ก้านชูสปอร์ (sporangiophore) มีปลายแยกเป็น 2 แฉก (dichotomously branched) (ภาพที่ 2) ตรงกับลักษณะเชื้อสาเหตุโรคราน้าค้างคือ เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis (Berk.& Curt) Rost. ซึ่งมีรายงานว่าพบระบาดกับชาโยเต้ที่ประเทศไต้หวัน (Ko et al., 2008) และประเทศอินเดีย (Baiswar et al., 2010) การประเมินระดับความรุนแรงของโรคราน้าค้างในชาโยเต้ แปลงที่ 1 ระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน 2561 (ตารางที่ 1) ก่อนพ่นสารทดลอง ทุกกรรมวิธีมีระดับความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกันโดยมีค่าระหว่าง 1.98–2.16 ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 2 ทุกกรรมวิธียังคงมีระดับความรุนแรงของโรคไม่ แตกต่างกัน โดยมีค่าอยู่ ระหว่าง 2.02–2.35 672
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 3 ทุ ก กรรมวิ ธีพ่นสารทดลองมีร ะดับ ความรุนแรงของโรคแตกต่างอย่างมี นัยสาคัญยิ่งทางสถิติกับ กรรมวิธีไม่พ่ นสารซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 3.69 โดยกรรมวิธีพ่น dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด (2.35) รองมาคือ กรรมวิธีพ่นด้วย fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา20 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.65) กรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.77) และกรรมวิธี พ่นด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.88) ตามลาดับ ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 4 ทุ ก กรรมวิธีพ่นสารทดลองมี ร ะดับ ความรุนแรงของโรคแตกต่างอย่างมี นัยสาคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 3.41 ซึ่งกรรมวิธีพ่นสาร dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร สามารถควบคุมการระบาดของโรคราน้าค้างได้ดีที่สุด โดยมีระดับความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด คือ 2.17 และแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญกับกรรมวิธีพ่นด้วยสารทดลอง อื่น คือกรรมวิธีพ่นด้วย fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา20 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.77) กรรมวิธี พ่ น ด้ ว ย metalaxyl 25% WP อั ต รา 40 กรัม /น้ า 20 ลิ ตร (2.85) และกรรมวิ ธีพ่ น ด้ ว ย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.89) ตามลาดับ 7 วันหลัง พ่นสารทดลองสุดท้ายคือครั้งที่ 4 ทุ กกรรมวิธีพ่นสารทดลองมี ระดับความรุนแรงของโรค แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารที่มีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 3.35 โดย กรรมวิธีที่สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคราน้าค้างดีที่สุดคือกรรมวิธีพ่นสาร dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับ ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุด คือ 1.58 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ กั บ กรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.32) กรรมวิธีพ่น ด้วย fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา20 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.33) กรรมวิธีพ่น ด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร (2.50) ตามลาดับ 14 วันหลังพ่นสารทดลองสุดท้ายคือครั้งที่ 4 กรรมวิธีไม่พ่นสารที่มีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุด คือ 3.42 มีความแตกต่างอย่างมี นัยส าคัญ ยิ่งทางสถิติกั บ ทุ กกรรมวิธีพ่นสารทดลอง และกรรมวิธีพ่นสารที่ สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคราน้าค้างดีที่สุดคือกรรมวิธีพ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรค 1.75 ซี่งแตกต่างจากกรรมวิธีพ่นสารทดลองอื่น โดยกรรมวิธีพ่น ด้วย fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4%+66.7% WG อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรง ของโรค 2.54 กรรมวิธีพ่นด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรค 2.74 และกรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil+ mancozeb 8%+64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตรมีระดับความ รุนแรงของโรค 2.82 ตามลาดับ แปลงที่ 2 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2562 (ตารางที่ 2) ก่อนพ่นสารทดลอง ทุกกรรมวิธีมีระดับความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าระหว่าง 2.04–2.26
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
673
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 2 ทุกกรรมวิธีมีระดับความรุนแรงของโรคแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธีพ่นด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ 2.35 รองมาคื อกรรมวิธีพ่ นด้วย fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรค 2.36 กรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตรมีระดับความรุนแรงของโรค 2.62 กรรมวิธีพ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตรมีระดับความรุนแรงของโรค 2.63 และกรรมวิธีไม่พ่นสารมีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุด คือ 3.22 ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 3 ทุ ก กรรมวิธีพ่นสารทดลองมี ร ะดับ ความรุนแรงของโรคแตกต่างอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 3.47 เมื่อเปรียบเทียบกับแต่ ละกรรมวิธีพ่นสารทดลองมีระดับความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 2.44–2.63 ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 4 กรรมวิธีไม่ พ่นสารซึ่งมี ระดับ ความรุนแรงของโรคมากที่ สุดคือ 3.38 ซึ่ง แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติกับทุกกรรมวิธีพ่นสารทดลอง โดยกรรมวิธีพ่นสาร dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด คือ 1.68 แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นด้วย metalaxyl 25% WP อั ตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม /น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นด้วย fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตรที่มีระดับความรุนแรงของโรค 2.30, 2.48 และ 2.49 ตามลาดับ 7 วันหลัง พ่นสารทดลองสุดท้ายคือครั้งที่ 4 ทุ กกรรมวิธีพ่นสารทดลองมี ระดับ ความรุนแรงของโรค แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารที่มีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 3.10 โดย กรรมวิธีที่สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคราน้าค้างดีที่สุดคือกรรมวิธีพ่นสาร dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีระดับ ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุด คือ 1.23 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ กั บ กรรมวิธีพ่ นด้ วย metalaxyl 25% WP อั ตรา 40 กรัม /น้า 20 ลิ ตร (1.72) กรรมวิธีพ่ นด้วย fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา20 กรัม/น้า 20 ลิตร (1.93) กรรมวิธีพ่นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม/น้า 20 ลิตร (1.95) ตามลาดับ 14 วันหลังพ่นสารทดลองสุดท้ายคือครั้งที่ 4 กรรมวิธีพ่นสารที่สามารถควบคุมความรุนแรงของโรครา น้าค้างได้ดีที่สุดคือกรรมวิธีพ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร (1.30) ที่แตกต่าง อย่ า งมี นั ย ส าคั ญ ยิ่ ง ทางสถิติ กั บ กรรมวิ ธีพ่ น สารทดลองอื่ น โดยกรรมวิ ธีพ่ น ด้ วย fluopicolide+fosetylaluminium 4.4% +66.7% WG อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นด้วย metalaxyl 25% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่ นด้วย cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP อัตรา 60 กรัม /น้า 20 ลิตร มี ร ะดับ ความรุนแรงของโรค 1.76, 1.78 และ 1.87 ตามล าดับ ซึ่งทุ ก กรรมวิธีพ่นสารทดลองมี ความ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีไม่พ่นสารมีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดคือ 2.93 ที่ เป็น กรรมวิธีควบคุม 674
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ในการทดลองทั้ง 2 แปลงทดลอง ไม่พบความเป็นพิษของสารทดลองกับพืช ผลการทดลองทั้ ง 2 แปลงทดลองสอดคล้องกั น โดยพบว่ากรรมวิธีพ่นสารทดลองทุ กชนิดสามารถ ควบคุม การระบาดของโรคราน้าค้างในชาโยเต้ได้ดีก ว่ากรรมวิธีไม่ พ่นสาร และสารป้องกั นก าจัดโรคพืช ที่ มี ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร สามารถควบคุมการระบาดของ โรคราน้าค้างได้โดยเชื้อสาเหตุไม่แพร่ระบาดถึงใบยอด แผลจะแห้งเป็นสีน้าตาล ไม่มีการแพร่กระจายของแผล เพิ่มขึ้น ตรงกับงานทดลองของณิชกานต์และคณะ (2558) ที่ศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชใน การควบคุมโรคราน้าค้างในพืชตระกูลแตงได้รายงานว่า dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกาจัดโรคราน้าค้างของแตงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสารป้องกันกาจัดโรคอื่น อีก 7 ชนิด ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในการทดลองครั้งนี้ ปริมาตรน้าที่ใช้ผสมสารต่อพื้นที่แปลงย่อย (รวมระยะทรงพุ่ม) 7.5 ตร.ม. (1.5 x 5.0) จานวนซ้าที่ทดลองคือ 4 ซ้า คิดเป็นพื้นที่ 30 ตร.ม. ปริมาตรน้าที่ใช้พ่นในพื้นที่ คือ 5 ลิตร หรือพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตร.ม.) คื อ 267 ลิ ตร สารป้ องกั นก าจั ด โรคพื ชที่ มี ต้ นทุ นเฉลี่ ยของการพ่ น สารน้ อยที่ สุ ด เมื่ อ เปรียบเทียบจากราคาซื้อ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2561 คือ metalaxyl 25% WP รองลงมาคือ dimethomorph 50% WP, cymoxanil+mancozeb 8+64% WP และ fluopicolide +fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG มีต้นทุนพ่นสารเฉลี่ยสูงที่สุด โดยต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ในการพ่นสารทดลองแตะละชนิดจานวนทั้งหมด 4 ครั้ง อยู่ที่ 331, 1,057, 1,469 และ 2,008 บาทต่อไร่ ตามลาดับ (ตารางที่ 3) สรุปผลการทดลอง ตรวจสอบเชื้อ สาเหตุโรคราน้าค้างของชาโยเต้คือ เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis (Berk.& Curt) Rost และทาการทดลองทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช บางชนิดในการป้องกันกาจัดโรค ดาเนินการที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน 2561 และเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2562 ผลการทดลองพบว่าทุกกรรมวิธีพ่นสารทดลองสามารถควบคุมการ ระบาดโรคได้ดีก ว่ากรรมวิธีควบคุมที่ ไม่ พ่ นสาร และกรรมวิธีพ่นด้วย dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการควบคุมการระบาดของโรคราน้าค้างในชาโยเต้ เมื่อเปรียบเทียบกับ กรรมวิธีพ่นด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืชอื่น เปรียบเทียบต้นทุนการพ่นสารพบว่ากรรมวิธีพ่นด้วย metalaxyl 25% WP มีต้นทุนต่าที่สุด เอกสารอ้างอิง ณิชกานต์ นเรวุฒิกุล พรพิมล อธิปัญญาคม ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี ศรุต สุทธิอารมณ์ และวัชรา สุวรรณอาศน์. 2558. การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชในการป้องกันกาจัดโรคราน้าค้าง. น. 957-
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
675
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
971. ใน รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2557 (เล่มที่ 2). สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการ เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ นิพนธ์ ไชยมงคล. 2548. ระบบข้อมูลพืชผัก. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สาขาวิชาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิต กรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จ.เชียงใหม่ หน้า 1-4 อรพรรณ วิเศษสังข์. 2552. คู่มือการเลือกใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จากัด. กรุงเทพฯ. 128 น. อรพรรณ วิเศษสังข์ และจุมพล สาระนาค. 2558. โรคพืชผักและการป้องกันกาจัด. เคหการเกษตร. บริษัทสยาม คัลเลอร์พริน จากัด. จ.นนทบุรี. 164 น. Baiswar, P., Chandra, B.S., and S.V. Ngachan2010. Pseudoperonospora cubensis on Sechium edule in India. Australasian Plant Disease Notes 2010(5): 3–4. James, W.C. 1971. A Manual of Assesment Keys for Plant Diseases. The American Phytopathological Society. St. Paul, MN. 54 p. Ko, Y., Chen, C.Y., Liu, C.W., Chen, S.S., Maruthasalam, S., and C.H. Lin. 2008. First report of downy mildew caused by Pseudoperonospora cubensis on chayote (Sechium edule) in Taiwan. Plant Disease 92(12):1706. doi:10.1094/PDIS-92-12-1706C (Abstract in English)
676
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 4 ชนิด ในการควบคุมโรคราน้าค้างในชาโยเต้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis แปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สงู เพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน 2561 กรรมวิธีพ่นสาร 1. cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP 2. metalaxyl 25% WP 3. dimethomorph 50% WP 4. fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG 5. ไม่ใช้สาร (พ่นน้าเปล่า) F-test3/ cv (%) 1/ 2/
3/
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 60 40 20 20
ครั้งที่ 1 2.01 2.16 2.07 1.98
ระดับความรุนแรงของโรค 1/2/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 2.18 2.77 b 2.89 b 2.35 2.88 b 2.85 b 2.02 2.35 a 2.17 a 2.18 2.65 ab 2.77 b
2.13
2.09
16.73
14.77
3.69 c ** 7.96
3.41 c ** 5.41
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 2.32 b 2.82 b 2.33 b 2.74 b 1.58 a 1.75 a 2.50 b 2.54 b 3.35 c ** 15.07
3.42 c ** 7.72
ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT แบ่งตามระดับความรุนแรงโดยดัดแปลงจากวิธีการให้คะแนนของ James (1971) ดังนี้ ระดับ 1 = ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 2 = ใบปรากฏอาการของโรค 1–10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 3 = ใบปรากฏอาการของโรค 11–25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 = ใบปรากฏอาการของโรค 26–50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 = ใบปรากฏอาการของโรค 51–75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 6 = ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่ างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
677
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 4 ชนิด ในการควบคุมโรคราน้าค้างในชาโยเต้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis แปลงทดลองที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สงู เพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2562 กรรมวิธีพ่นสาร 1. cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP 2. metalaxyl 25% WP 3. dimethomorph 50% WP 4. fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG 5. ไม่ใช้สาร (พ่นน้าเปล่า) F-test3/ cv (%) 1/ 2/
3/
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 60 40 20 20
ครั้งที่ 1 2.04 2.26 2.14 2.11 2.22 6.05
ระดับความรุนแรงของโรค 1/2/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 2.62 ab 2.59 a 2.48 b 2.35 a 2.63 a 2.30 b 2.63 ab 2.58 a 1.68 a 2.36 a 2.44 a 2.49 b
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 1.95 b 1.87 b 1.72 b 1.76 b 1.23 a 1.30 a 1.93 b 1.78 b
3.22 b * 18.91
3.10 c ** 8.39
3.47 b * 14.98
3.38 c ** 16.23
ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT แบ่งตามระดับความรุนแรงโดยดัดแปลงจากวิธีการให้คะแนนของ James (1971) ดังนี้ ระดับ 1 = ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 2 = ใบปรากฏอาการของโรค 1–10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 3 = ใบปรากฏอาการของโรค 11–25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 = ใบปรากฏอาการของโรค 26–50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 = ใบปรากฏอาการของโรค 51–75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 6 = ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ
678
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
2.93 c ** 5.80
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุนของกรรมวิธีพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช 4 ชนิดต่อ 1 แปลงทดลอง ในการควบคุมโรคราน้าค้างในชาโยเต้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ระหว่างเดือนมีนาคม 2561 – เมษายน 2562 กรรมวิธีพ่นสาร 1. cymoxanil + mancozeb 8% + 64% WP 2. metalaxyl 25% WP 3. dimethomorph 50% WP 4. fluopicolide+fosetyl-aluminium 4.4% +66.7% WG
ขนาดบรรจุ 500 กรัม 1,000 กรัม 500 กรัม 1,000 กรัม
ราคาต่อแพค (บาท) 1/ 275 310 990 1,880
อัตราสารทีผ่ สม (ต่อน้า 20 ลิตร) 50 20 10 20
ราคา (บาทต่อลิตร) 1.38 0.31 0.99 1.88
ราคาต่อไร่ (บาท) 2/, 3/ 1,469 331 1,057 2,008
1/
ราคาขาย ณ วันที่ 14 มีนาคม 2561 2/ ปริมาณน้าที่พ่นต่อพื้นที่ 1.5 x 5.0 ตร.ม. (รวมระยะทรงพุ่ม) จานวน 4 ซ้า คิดเป็น 30 ตร.ม. คือ 5 ลิตร = พื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตร.ม.) ใช้น้าทั้งหมด 267 ลิตรต่อครั้ง 3/ จานวนครั้งที่พ่นสารในการทดลอง คือ 4 ครั้ง
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
679
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-05
ภาพที่ 1 การประเมินเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคที่ปรากฏบนใบพืช (James, 1971)
ภาพที่ 2 อาการโรคราน้าค้างในชาโยเต้ที่พบบนใบทั้งด้านบนและด้านล่าง และลักษณะเชื้อราสาเหตุโรค Pseudoperonospora cubensis (Berk.& Curt) Rost. ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (กาลังขยาย 40X)
680
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
ประสิทธิภาพของสารไบโอแอคทีฟอิลิซิเตอร์ต่อการแสดงออกของยีนที่สามารถกระตุ้นความ ต้านทานโรคในถั่วเหลือง Efficiency of Elicitor for Induced Resistance Gene Expression Against Disease in Soybean ศุภลักษ์ สัตยสมิทสถิต พรนิภา ถาโน และ ฉันทนา คงนคร Supalak Sattayasamitsathit Pornipa Thano and Janana Kongnakorn ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก อ. วังทอง จ.พิษณุโลก 65130 Phitsanulok Seed Research and Development Center, Wangthong, Phitsanulok 65130
บทคัดย่อ ถั่วเหลืองเป็นพืชที่อ่อนแอต่อการเข้าทาลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และไส้เดือนฝอย โรคถั่วเหลืองสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต การจัดการให้ถั่วเหลืองไม่เป็นโรค หรือจัดการให้พืชปลอดภัยจากการเข้าทาลายโดยเชื้อโรคโดยการส่งเสริมให้พืชต้านทานต่อการเข้าทาลายของ เชื้อโรคจากการใช้สิ่ง ไม่มี ชีวิตมากระตุ้นเพื่อการสร้างระบบป้องกั นตนเองจึงเป็นแนวทางการจัดการโรค แนวทางหนึ่ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาประสิทธิภาพของสารไบโอแอคทีฟอิลิซิเตอร์ต่อการแสดงออกของ PR ยีนที่สามารถกระตุ้นความต้านทานโรคในถั่ วเหลือง ได้แก่ เมทิลจัสโมเนตและ เอทิลอะซิเตท เพื่อใช้ฉีดพ่นถั่ว เหลืองในระยะ R1 พบว่าเมทิลจัสโมเนตที่ความเข้มข้น 90 พีพีเอ็ม สามารถเพิ่มระดับการแสดงออกของยีน PR4 สูงสุดโดยมากกว่าชุดควบคุมถึง 3.14 เท่า ในขณะที่เอทิลอะซิเตท ความเข้มข้น 6,000 พีพีเอ็ม สามารถ เพิ่มระดับการแสดงออกของยีน PR10 สูงสุดโดยมากกว่าชุดควบคุมถึง 7.38 เท่า แต่ไม่มีการแสดงออกของยีน PR4 คาสาคัญ : สารไบโอแอคทีฟอิลิซิเตอร์ การแสดงออกของยีน ความต้านทานโรค ถั่วเหลือง ABSTRACT Soybean is susceptible to the destruction of many plant pathogens such as fungi, bacteria, viruses and nematodes. Soybean disease can be found at all stages of growth. The management of soybeans disease or the plants are safe from infestation by pathogen. By inducing plants to resistance to pathogens by using bioactive elicitors is a way of managing diseases. Therefore, this research investigated the effectiveness of bioactive elicitors in the expression of PR-genes that can stimulate disease resistance in soybeans, such as jasmonic acid and ethyl acetate, for spraying soybean in the R1 stage of growth, it was found that the 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
681
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
concentration of 90 ppm methyl jasmonate was able to increase the expression of the PR4 gene by up to 3.14 times higher than the control, while ethyl acetate concentration of 6,000 ppm can increase the level of gene expression PR10 by up to 7.38 times more than the control, but does not promote expression of PR4. Keywords: elicitor, resistance gene, soybean คานา ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีความสาคัญและมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกตั้งแต่การผลิต การตลาด การแปรรูป และใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ มีการนาถั่วเหลืองมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น เมล็ดใช้สกัดน้ามัน แปรรูปใน อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายชนิด แต่ถั่วเหลืองเป็นพืช ที่อ่อนแอต่อการเข้าทาลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และไส้เดือนฝอย โรค ถั่วเหลืองสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต นอกจากนี้โรคหลายชนิดเป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางเมล็ด พันธุ์ เช่น โรคราน้าค้าง โรคใบจุดนูน โรคแอนแทรคโนส โรคเมล็ดสีม่วง โรคเมล็ดโฟมอบซิส โรคใบจุดวง และ โรคไวรัสใบด่าง มีเชื้อมากกว่า 200 ชนิดที่มีผลกระทบต่อการผลิตถั่วเหลือง และมีประมาณ 35 ชนิดที่เป็นเชื้อ สาคัญทางเศรษฐกิจที่ทาให้ถั่วเหลืองมีผลผลิตลดลง โดยทั่วไปการปลูกถั่วเหลืองในทุกพื้นที่จะประสบปัญหา โรคและแมลงศัตรูจานวนมาก ซึ่งทุกส่วนของต้นถั่วเหลืองมีความไวต่อการเข้าทาลายของศัตรูพืชและมีผลต่อ ปริมาณและคุณภาพผลผลิตถั่วเหลืองทั้งสิ้น โดยการสูญเสียขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักได้แก่ เชื้อโรคหรือสภาวะที่ เกี่ยวข้อง ระยะการพัฒนาการเจริญของถั่วเหลืองและสุขภาพพืชในขณะเชื้อเข้าทาลาย ความรุนแรงของโรค ต่อต้นถั่วเหลืองแต่ละต้น และจานวนต้นถั่วเหลืองที่ถูกเชื้อเข้าทาลาย การจัดการให้ถั่วเหลืองไม่เป็นโรคหรือ จัดการให้ถั่วเหลืองปลอดภัยจากการเข้าทาลายจากเชื้อโรค โดยการส่งเสริมให้พืชต้านทานต่อการเข้าทาลาย ของเชื้อโรคโดยการใช้สิ่งไม่ มีชีวิตเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่มีการนามาใช้ โดยเฉพาะอีลิซิเตอร์ (elicitors) ซึ่งเป็น สารประกอบที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการทางสรีระของพืชให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สารดังกล่าวมีผลต่อการ ขับ เคลื่อนกิ จ กรรมภายในพื ชโดยมี ก ลไกการกระตุ้นกระบวนการทางสรีระของพืชหลายทาง กลไกที่ พื ช ตอบสนองเมื่ อ ได้รับ อี ลิซิเ ตอร์ คล้ายกั บ การตอบสนองเพื่อป้องกั นตั วจากการรุก รานของเชื้อโรค หรือ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านสภาพแวดล้อม เนื่องจากอีลิซิเตอร์มีผลกระทบต่อเทแทบอลิซึมของพืชและกระตุ้นให้ พืชสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์บางชนิดขึ้นมา นอกจากนี้มีรายงานว่าอิลิซิเตอร์หลายชนิดสามารถชักนาให้ พืชมีการตอบสนองในลักษณะต่างๆ เช่น เพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์, สร้าง reactive oxygen species (ROS), สังเคราะห์ ethylene และมีการแสดงออกของ pathogenesis-related (PR) proteins รวมถึงการ กระตุ้น hypersensitive response (HR) มี ก ารวิ จัยศึก ษาผลของการฉีดพ่นด้วยอีลิซิเ ตอร์ salicylic acid, methyl salicylate และ ethyl acetate ที่ ร ะดับความเข้มข้น 10-6, 10-3 และ 10-1 โมลาร์ของถั่วเหลืองใน ระยะ R1 (ระยะออกดอก) และระยะ R4 (ระยะติดเมล็ด) พบว่าเมื่อฉีดพ่นด้วย Methyl acetate ที่ระดับ ความเข้มข้น 10-3 โมลาร์ในระยะ R1 สามารถเพิ่มปริมาณไอโซฟลาโวนอยด์อย่างมีนัยสาคัญ และอีลิซิเตอร์ที่
682
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
ท าการทดสอบทั้ ง สามชนิด ความเข้ม ข้นเป็นปัจ จัยส าคัญ ที่ สุดในการเพิ่ม ปริม าณไอโซฟลาโวนมากกว่า ระยะเวลาการฉีดพ่น (Zhang et al., 2006) นอกจากนีก้ ารศึกษาผลของอีลีซิเตอร์ methyl jasmonate (20 µM) และ sodium nitroprusside (500 µM) ในถั่วเหลืองจานวน 6 พันธุ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ ต้านทาน cotton leaf worm (Spodoptera littoralis) พบว่าพันธุ์ Giza 82 และ 22 เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อ cotton leaf worm (Spodoptera littoralis) ขณะที่พันธุ์ Giza 83 และ21 มีความต้านทานปานกลางและ พันธุ์ Giza 35 และ111 มีความต้านทานสูง การฉีดพ่นทั้ง methyl jasmonate และ sodium nitroprusside มีผลต่อปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์แสง ปริมาณโปรตีนที่ละลายได้ กรดอะมิโน ไกลโคลิปิดและฟอสโฟลิ ปิดในรากถั่วเหลืองทุกสายพันธุ์ ขณะที่ Lipid peroxidation และ H2O2 ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ เนื่องจากมี โปรตีนต้านทานในระบบป้องกันเซลล์ (Pathogenesis-related protein) เป็นกลุ่มโปรตีนที่มีบทบาทสาคัญ ต่อการต้านทานเชื้อหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกลุ่มตามลักษณะของลาดับเบสหรือการทานายลาดับ กรดอะมิโน ความสัมพันธ์ทางซีรั่มและกิจกรรมทางชีวภาพ มีรายงานว่ามี 4 กลุ่มของเอนไซม์ไคติเนส ได้แก่ PR-3, -4, -8 และ -11) อีก 1 กลุ่มของเอนไซม์-1,3-glucanases (PR-2), อีก 1 กลุ่มของเอนไซม์ proteinase inhibitors (PR-6) และอีก 1 กลุ่มของเอนไซม์ peroxidase ที่จาเพาะ (PR-9) เช่นเดียวกับกลุ่มของ PR-1 ที่ ยังไม่ทราบคุณสมบัติทางชีวเคมี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของ thaumatin-like PR-5 family และ birch allergen Betv1-related PR-10 family แต่อย่างไรก็ตามในพืชแต่ละชนิดไม่ได้มีโปรตีน PR ทุกกลุ่ม และ โปรตีน PR แต่ละกลุ่มบางชนิดยังมีกลุ่มย่อย (Van loon et al., 1997) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาการใช้ เมทิลจัสโมเนต และเอทิลอะซีเตทเพื่อดูรูปแบบการแสดงออกของยีน pathogenesis-related (PR) proteins บางกลุ่มได้แก่ PR2, PR4 และ PR10 อุปกรณ์และวิธีการ วัสดุอุปกรณ์ 1. ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 2. กระถางดินเผาขนาด 12 นิ้ว 3. สารเคมีสาหรับการสกัดอาร์เอ็นเอ และเพิ่มขยายขนาดดีเอ็นเอ 4. เครื่อง ABI QuantStudioTM 6 (Applied Biosystems, Foster, city, CA, USA) วิธีการ 1. การเตรียมตัวอย่างถั่วเหลืองในสภาพโรงเรือน ปลูก ถั่วเหลืองพั นธุ์เชียงใหม่ 60 ในกระถางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว จ านวน 3 กระถาง ต่อ 1 กรรมวิธี หยดเมล็ดกระถางล่ะ 2 เมล็ด พ่นสารเคมีป้องกันกาจัดแมลงวันหนอนเจาะลาต้น หลังจาการ งอก ประมาณ 1 สัป ดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตราส่วน 25 กิ โ ลกรัม ต่อไร่ เมื่ อถั่วเหลืองเจริญ ใน
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
683
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
ระยะ R1 พ่นเมทิ ล จัส โมเนตที่ความเข้มข้น 30, 60, 90 และ 120 ppm และเอธิล อะซิเตทที่ความเข้มข้น 3,000, 6,000, 9,000, 12,000 และ 15,000 ppm เก็บใบถั่วเหลืองหลังฉีดพ่นสาร 3 วัน 2. การสกัดอาร์เอ็นเอด้วยชุดสกัดสาเร็จรูป Nucleo Spin Kit ยี่ห้อ MACHEREY-NAGEL นาใบถั่วเหลืองหลังจากพ่นสาร 3 วัน มาบดในโกร่งบด สกัด Total RNA โดยชุดสกัดสาเร็จรูปตาม วิธีการของบริษัท นาอาร์เอ็นเอที่ได้ไปตรวจสอบ 3. การสังเคราะห์ cDNA นาอาร์เ อ็ นเอที่ ได้ม าสั ง เคราะห์ cDNA โดยใช้ชุดน้ายา ReverTra Ace qPCR RT Master Mix with gDNA Remover ยี่ห้อ TOYOBO มีส่วนผสมของปฏิกิริยาปริมาตรรวม 8 ไมโครลิตร ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ อาร์เ อ็ นเอความเข้ม ข้น 0.5 pg-0.5 µg, 4X DN Master Mix 2 ไมโครลิตร, Nuclease-free Water 5 ไมโครลิตร จากนั้นนาไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซี ยลเป็นเวลา 5 นาที เมื่อครบกาหนดแล้วนาไปทา ปฏิกิริยาต่อไปโดยมีส่วนผสมปริมาตรรวม 10 ไมโครลิตร ที่มีองค์ประกอบของ Reacted solution ที่ได้จาก ข้างต้น 8 ไมโครลิตร และ 5x RT Master Mix II 2 ไมโครลิตร จากนั้นนาไปเข้าเครื่อง Thermal cycles โดย ตั้งโปรแกรมดังนี้ 37oC เป็นเวลา 15 นาที, 50oC เป็นเวลา 5 นาที และ 98oC เป็นเวลา 5 นาที 4. การวิเคราะหการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค Real-time PCR ศึกษาการแสดงออกของ PR gene โดยใช้ Soy Actin gene เป็นยีนอ้างอิงซึ่งมีลาดับนิวคลีโอไทด์ของ ไพรเมอร์ ดั ง นี้ PR2: Forward (5’-GTCTCCTTCGGTGGTAGTG), Reverse (5’-ACCCTCCTCCTGCTTTCT C) PR4: Forward (5’-GCTTGCGGGTGACAAATAC), Reverse (5’-ACACTCCCACGTCCAAATC) PR10: Forward (5’-GCCCAGGAACCATCAAGAAG), Reverse (5’-CGCTGTAGCTGTATCCCAAG) Actin: Forward (5’-GAGCTATGAATTGCCTGATGG), Reverse (5’-CGTTTCATGAATTCCAGTAGC) การเตรียมปฏิกิริยาพีซีอาร์ เตรี ย มปฏิ กิ ริ ยาพี ซีอ าร์ ด้ว ยชุ ด น้ ายา THUNDERBIRD SYBRqPCR Mix ยี่ ห้ อ TOYOBO ใน ปฎิกริยาปริมาตรรวม 20 ไมโครลิตร ประกอบไปด้วย cDNA ที่ได้จากขั้นตอนข้างต้น 1 ไมโครลิตร, Forwardprimer 1 ไมโครลิตร, Reverse-primer 1 ไมโครลิตร, THUNDERBIRD SYBRqPCR Mix 4 ไมโครลิตร 50X Rox dye 0.04 ไมโครลิตร และน้ากลั่น 12.96 ไมโครลิตร นาปฏิกิริยาไปเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและวิคราะห์ การแสดงออกของยี น ด้ ว ยเครื่ อ ง Real-time PCR รุ่ น ABI QuantStudioTM 6 (Applied Biosystems, Foster, city, CA, USA) โดยก าหนดสภาวะดั ง นี้ Pre-denaturation 95 องศาเซลเซี ย ส นาน 30 วิ น าที Denaturation 95 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที และ Extension 60 องศาเซลเซียส นาน 60 วินาที 40 รอบ ตามด้วยวิเคราะห melting curve เพื่อยืนยันวา ผลิตภัณฑ (PCR product) ที่ไดจากการศึกษา ดวยวิธี
684
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
real-time PCR เปนผลิตภัณฑที่ตองการ ซึ่งผลิตภัณฑที่ถูกตองมักจะแสดง peak เดียวที่อุณหภูมิสูง ในขณะที่ ผลิตภัณฑที่เกิดจากการจับ แบบไมจาเพาะ (non-specific product) หรือ primer-dimer จะให peak ที่มี ขนาดกวางที่อุณหภูมิต่า การท าปฏิก ริยาแต่ล ะครั้ง จะมี negative control และ ชุดน้ายามาตรฐานที่ เ ตรียมจาก RT-PCR product การวิเคราะห์ผลจะเป็นการคานวณแบบสัมพัทธ์ (Relative quantification) โดยหาอัตราส่วนการ แสดงออกของยีน protein PR ต่อการแสดงออกของยีนอ้างอิง housekeeping gene ได้แก่ Soy actin โดย ทาการตรวจสอบระดับการแสดงออกของยีนอ้างอิงก่อนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ก่อนนาไปคานวณ สูตร Comparative Ct (2-Ct) (Livak and Schmittgen, 2001) ผลการทดลองและวิจารณ์ เนื่องปัจ จัยส าคัญ ในการหาปริม าณการแสดงออกของยีน แบบสัม พัท ธ์ก็ คือ การหายีนอ้างอิง ที่ เหมาะสมสาหรับเปรียบเทียบหาอั ตราส่วน ทั้ ง นี้ถ้าเลือกยีนอ้างอิงที่ไม่ เหมาะสมจะส่งผลต่อความถูกต้อง แม่นยาหรือก่อให้เกิดความผิดพลาดในการแปลผลได้ ดังนั้นจึงทาการตรวจสอบการแสดงออกของยีนอ้างอิง Soy actin ว่ามีความเหมาะสมในการนามาใช้เป็นยีนอ้างอิงหรือไม่ เมื่อพิจารณาค่า Ct ของยีนอ้างอิง Actin มี ค่าคงที่ไม่วาจะทดสอบกับสารที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ (ตารางที่ 1-2) จึงมีความเหมาะสมต่อการนาไปใช้เป็น ยี น อ้ า งอิ ง ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ รายงาน Upchurch และ Ramirez (2010) ซึ่ ง ใช้ ยี น Actin เป็ น ยี น อ้ า งอิง ใน การศึกษาการแสดงออกของ Defense-related gene expression ในใบและเมล็ดถั่วเหลืองหลังจากมีการ ปลูกเชื้อ Cercospora kikuchii และ Diaporthe phaseolorum var. meridionalis ตารางที่ 1 การแสดงออกของยีนอ้างอิงและยีนเป้าหมายในตัวอย่างใบถั่วเหลืองที่พ่นด้วยเมทิลจัสโมเนต
ค่า Ct ของยีนอ้างอิง (Soy actin) ค่า Ct ของยีน PR2 ค่า Ct ของยีน PR4 ค่า Ct ของยีน PR10
30 25.21 31.93 26.78 27.97
เมทิลจัสโมเนต (ppm) 60 90 25.96 25.85 30.69 30.12 27.89 28.31 31.91 28.28
120 25.88 31.99 26.95 29.08
ตารางที่ 2 การแสดงออกของยีนอ้างอิงและยีนเป้าหมายในตัวอย่างใบถั่วเหลืองที่พ่นด้วยเอทิลอะซีเตท เอทิลอะซีเตท (ppm) 3,000 6,000 9,000 12,000 15,000 ค่า Ct ของยีนอ้างอิง (Soy actin) 26.01 25.91 25.66 25.86 26.05 ค่า Ct ของยีน PR4 32.94 26.00 29.52 27.83 27.31 ค่า Ct ของยีน PR10 29.31 26.70 26.61 27.34 27.84 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
685
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
จากการทดลองฉีดพ่นถั่วเหลืองด้วยอิลิซิเตอร์ได้แก่ เมทิลจัสโมเนตที่ความเข้มข้น 30, 60, 90 และ 120 ppm พบว่าหลังฉีดพ่นเป็นระยะเวลา 3 วัน มีการแสดงออกของยีน PR4 สูงสุดที่ความเข้มข้น 90 ppm โดยมีการแสดงออกเพิ่มขึ้น 3.1 เท่า เมื่อเทียบกับ house keeping gene (HKG) รองลงมาที่ความเข้มข้น 120 ppm มีการแสดงออกของยีน PR4 เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า ขณะที่ยีน PR2 และ PR10 มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นเพียง เล็กน้อย (ภาพที่ 1) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Agrawal และคณะ 2003 พบว่าการฉีดพ่น JA และ ABA ที่ ความเข้ม ข้นต่ากว่า 0.1% (v/v) ในต้นกล้าข้าวอายุ 2 สัป ดาห์ สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีน OsPR4 mRNA อย่างยิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานว่าจาสโมนิกช่วยให้พืชทนต่อโรคจากเชื้อราและทนต่อความเครียดทีม่ ี จากหลายสาเหตุเนื่องจากกรดจาสโมนิกมีบทบาทเหนี่ยวนาให้พืชสังเคราะห์เมแทบอไลต์ทุติยภูมิ ประเภท สารอัลคาลอยด์ (Yan and Xie, 2015) ขณะที่การฉีดพ่นถั่วเหลืองด้วยเอทิลอะซีเตทที่ความเข้มข้น 3,000, 6,000, 9,000, 12,000 และ 15,000 ppm กลับพบว่ายีน PR10 มีการแสดงออกสูงสุด โดยเอทิลอะซีเตทที่ ความเข้ม ข้น 6,000 ppm มี ก ารเพิ่ มการแสดงออกของยีนสูงสุดเท่ ากับ 7.4 เท่ า รองลงมาที่ความเข้มข้น 9,000 ppm การแสดงออกของยีนสูงสุดเท่ากับ 6.6 เท่า ส่วนยีน PR4 มีการเพิ่มการแสดงออกเพิ่มขึ้น 0.6 เท่าที่ความเข้มข้นของเอทิลอะซีเตท 6,000 ppm แต่อย่างไรก็ตามไม่พบการแสดงออกของยีน PR2 ทุกความ เข้ม ข้นของเอทิลอะซีเตท (ภาพที่ 2) จากการทดลองจะเห็นได้ว่าการฉีดพ่นถั่วเหลืองด้วยอิลิซิเตอร์ได้แก่ เมทิลจัสโมเนตและเอทิลอะซีเตทสามารถเพิ่มการแสดงออกของยีน โปรตีน PR ที่เกี่ยวข้องกับระบบความ ต้านทานโรค ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการป้องกันการรุกรานของเชื้อทั้งในระบบการตอบสนองแบบเฉียบพลัน หรือแบบกระจาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจายเพิ่มขึ้ น มีการค้นพบว่าการสังเคราะห์โปรตีน PR ถูกควบคุม ตั้ง แต่ก ระบวนการถอดรหัสของยีน โปรตีน PR จะถูก สังเคราะห์ขึ้นหลังจากได้รับเชื้ออย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Matsuoka and Ohashi, 1986) และโปรตีนนี้ถูกสังเคราะห์ขึ้นเฉพาะบริเวณที่ถูกกระตุ้น แต่จะไม่มีการส่ง โปรตีน PR ไปยังบริเวณอื่น
686
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
3.5 3.139
Relative Quantification (RQ)
3 2.425
2.5 2
1.728
1.678
PR2
1.5
PR4 PR10
1 0.378
0.5 0.099
0.019 0.058
0.03
0.026
0.008
0.044
0 30
60
90
120
Methyl jasmonate (ppm)
ภาพที่ 1 การแสดงออกของยีน PR2, PR4 และ PR10 หลัง การฉีดพ่นถั่วเหลืองด้วยจัสโมนิกที่ระดับความ เข้มข้น 30, 60, 90 และ 120 ppm 8
7.379
Relative Quantification (RQ)
7
6.586
6 5 3.735
4
3.698 PR4
3 2
PR10 1.291 0.658
1
0.048
0.006
0.064
0.293
0 3,000
6,000
9,000
12,000
15,000
Ethyl acetate (ppm)
ภาพที่ 2 การแสดงออกของยีน PR4 และ PR10 หลัง การฉีดพ่นถั่วเหลืองด้วยเอทิลอะซีเ ตทที่ระดับความ เข้มข้น 3000, 6000, 9000, 12,000 และ 15,000 ppm
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
687
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-06
เนื่องจากโปรตีน PR มี บ ทบาทส าคัญ ต่อการจัดการโรค ดัง นั้น การศึก ษาด้านโปรตีน PR จะเป็น แนวทางหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อระบบการป้องกันโรคของพืช การใช้เทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การเพิ่ม การแสงออกของยีนที่เกี่ ยวข้องโปรตีน PR ด้วยกลไกการป้องกันต่างๆต่อเชื้อสาเหตุโ รคสามารถ ประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางต่อการต้านทานโรคต่างๆ ดังนั้นพืชดัดแปรพันธุกรรมที่มีความสามารถในการเพิ่มการ แสดงออกหรือรวมกันของโปรตีน PR สามารถนามาใช้สาหรับการจัดการโรคที่มีประสิทธิภาพและประสบ ความสาเร็จได้ ในเบื้องต้นของการควบคุมยีนของโปรตีน PR นั้นเป็นที่เข้าใจกัน แต่การศึกษากลไกที่แน่นอน ของการควบคุมยีนและการรับยีนจะทาให้เกิ ดวิธีก ารใหม่สาหรับ เทคโนโลยี พันธุวิศวกรรมสาหรับพืชเพื่อ ป้องกันโรคพืชได้ในอนาคต คาขอบคุณ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลกที่ให้ความช่วยเหลือในการทาวิจยั ในครั้งนี้ให้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดี เอกสารอ้างอิง Agrawal, G.K., N.-S. Jwa, K.-S. Han, V. P.Agrawal and R. Rakwal. 2003. Isolation of a novel rice PR4 type gene whose mRNA expression is modulated by blast pathogen attack and signaling components. Plant Physiol and Biochem. 41:81-90. Livak, K.J and T.D. Schmittgen. 2001. Analysis of relative gene expression data using Real-time q u a n t i t a t i v e PC R a n d t h e 2 − Δ Δ C T m e t h o d . M e t h o d s . 2 5 : 4 0 2 -8 . L.C. Van Loon. 1997. Induced resistance in plants and the role of pathogenesis-related proteins. Euro J. of Plant Patho. 103: 753-765. Matsuoka, M. and Y. Ohashi. 1986. Induction of pathogenesis-related proteins in tobacco leaves. Plant Physiol. 80:505-510. Upchurch, R.G. and M. E. Ramirez. 2010. Defense-related gene expression in soybean leaves and seeds inoculated with Cercospora kikuchii and Diaporthe phaseolorum var. meridionalis. Physiol. and Molecular Plant Patho. 75:64-70. Yan, C. and D. Xie. 2015. Jasmonate in plant defence: sentinel or double agent. Plant Biotechnol. J. 13:1233-1240. Zhang, B., N. Hettiarachchy, P. Chen, R. Horax, B. Cornelious and D. Zhu 2006. Influence of the Application of Three Different Elicitors on Soybean Plants on the Concentrations of Several Isoflavones in Soybean Seeds. J. Agric. Food Chem. 54: 5548-5554.
688
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
ผลของสารไดเมโทมอร์ฟ 50% W/V SC และเมทาแลกซิล 25% WP ในการควบคุมเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนหมอนทอง ในห้องปฏิบัตกิ ารและเรือนทดลอง Effect of Dimethomorph 50% W/V SC and Metalaxyl 25% WP for Controlling Phytophthora palmivora Causing Root and Stem Rot of Monthong Durian in Laboratory and Greenhouse เรวัฒ เพียซ้าย1,2* เนตรนภิส เขียวขา1 และ อรอุมา เพียซ้าย1 Rawat Piasai1,2* Netnapis Khewkhom1 and Onuma Piasai1 1
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิท ยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร, 10900 Department of Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900 2 บริษัท อดามา (ประเทศไทย) จากัด. 127/33 อาคารปัญจธานี ทาวเวอร์. ชั้น 28 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ 2 Adama (Thailand) Ltd. 127/33 Panjathani Tower Bl. 28th floor, Nonsi Rd, Chongnonsi , Yannawa , Bangkok 1
บทคัดย่อ ทุเรียนหมอนทองเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรครากเน่าโคนเน่า เป็นปัญหาที่สาคัญในการผลิตทุเรียนในประเทศและส่งออก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของสาร ไดเมโทมอร์ ฟ 50% W/V SC และ สารเมทาแลกซิ ล 25% WP ในการควบคุ ม เชื้ อ รา Phytophthora palmivora สาเหตุ โ รครากเน่ า โคนเน่ า ของทุ เ รี ย น ทดสอบสารป้ อ งกั น ก าจั ด เชื้ อ ราทั้ ง สองชนิ ด ใน ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารโดยวิ ธี detached leaf และในเรือ นทดลองโดยวิ ธี ร าดดิ น วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จานวน 7 กรรมวิธี 10 ซ้า ได้แก่ กรรมวิธีใช้ สารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีใช้สารเมทาแลกซิล 25% WP ความเข้มข้น 4 กรัมต่อน้า 1 ลิตร และกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora และไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและในเรือนทดลองให้ผลสอดคล้องกันโดยพบว่าสารไดเมโท มอร์ฟ 50% W/V SC ทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียนได้ดีกว่าสารเมทาแลกซิล 25% WP และกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ คาสาคัญ : ทุเรียน ไดเมโทมอร์ฟ เมทาแลกซิล ไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา โรครากเน่าโคนเน่า ABSTRACT Monthong durian is one of the most famous fruit in Thailand and South-East Asia. Root and stem rot disease is the serious problem in durian production for domestic and export. The 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
689
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
objectives of this research were studied the effect of dimethomorph 50% W/V SC and metalaxyl 25% WP for controlling Phytophthora palmivora causing root and stem rot of Mon-thong durian. Both fungicides were conducted for controlling P. palmivora in laboratory using detached leaf method as well as soil drenching method in greenhouse. Completely Randomized Design (CRD) was designed in the experimental with 7 treatments and 10 replications per treatment including dimethomorph at 1, 1.5, 2 and 2.5 ml/L compare with metalaxyl 4 g/L, positive control with P. palmivora and negative control without P. palmivora. The result revealed that all treatments of dimethomorph could control P. palmivora causing root and stem rot of durian better than and significant when compare with metalaxyl 4.0 g/L and positive control with P. palmivora.
Keywords: durian, dimethomorph, metalaxyl, Phytophthora palmivora, root and stem rot disease คานา ทุเรียน (durian) จัดอยู่ในวงศ์ Bombacaceae สกุล (genus) Durio L. เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการส่งออกสูง และ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคหลายประเทศ การปลูกทุเรียนในประเทศไทยพบปัญหาโรคและแมลงศัตรูเข้าทาลาย หลายชนิด ซึ่งโรคที่พบในทุเรียนส่วนมากมาจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุด ราสีชมพู แอนแทรคโนส ราแป้ง โรคใบ ติด และโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่ง โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนนับว่าเป็นปัญหาสาคัญและสร้างความเสียหาย กับทุเรียนเป็นอย่างมาก มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophthora palmivora โดยพบรายงานการแพร่ระบาดของ โรคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดในภาคตะวันออก รวมถึงภาคใต้ และทุกแห่งที่มีการนา กล้าทุ เรียนที่ ปลูกในดินที่ มีราสาเหตุโรคไปปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์หมอนทองซึ่งเป็นพันธุ์ ที่ อ่อนแอต่อโรค สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียน (ขจรศักดิ์ และวินิต, 2509) ลักษณะอาการทั่วไป ในระยะ กล้าจะทาให้เกิดโรคลาต้นเน่า ใบเหี่ยวและมีสีเขียวซีด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วงในที่สุด อาการ ที่โคนต้นจะมีน้าเยิ้มสีน้าตาลแดงไหลออกมา เมื่อถากเปลือกต้นจะพบเนื้อเยื่อเป็นสีน้าตาล หากอาการเน่า ลุกลาม จะทาให้ใบร่วง โดยเริ่มจากปลายกิ่ง ในที่อากาศชื้น เชื้อราสามารถแพร่กระจายทางลม เข้าทาลายกิ่ง และผลได้ หากอาการรุนแรงมากอาจทาให้ทุเรียนยืนต้นตาย (อมรรัตน์, 2556) การควบคุมโรครากเน่าโคน เน่าของทุเรียนในปัจจุบันนิยมทาโดยใช้มีดถากเปลือกบริเวณแผลที่โคนต้นและทาด้วยสารป้องกันกาจัดเชื้อรา (fungicide) ได้แก่ เมทาแลกซิล (metalaxyl) หรือ ฟอสอีสทิล -อะลูมิเนียม (fosetly-Al) หรือใช้สารละลาย ฟอสฟอรัส แอซิด (phosphorous acid) ฉีดเข้าลาต้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่จะควบคุมโรคโดยใช้ สารป้องกันกาจัดเชื้อราเมทาแลกซิลต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน จึงทาให้ในปัจจุบันเกิดปัญหาการต้านทาน ต่อสารเมทาแลกซิลเพิ่มมากขึ้น และไม่สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสารป้องกันกาจัดเชื้อรา ที่มีฤทธิ์ดูดซึม (systemic fungicide) ซึ่งมีรายงานในการควบคุมราชั้นต่าในกลุ่ม Oomycetes ได้ผลดีอีกชนิด หนึ่งได้แก่ สารไดเมโทมอร์ฟ โดยสารนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไคติน ทาลายผนังเซลล์ของเชื้อราส่งผลให้ 690
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
การสร้างผนังเซลล์ผิดปกติ ก่อให้เกิดการอุดตันของเส้นใย และยับยั้งการสร้างสปอร์ (Kuhn et al.,1991; Ojiambo et al., 2010) สารไดเมโทมอร์ฟมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบไหม้ โรครากเน่าและลาต้นเน่า ที่ เ กิ ด จากเชื้ อ รา Phytophthora spp. (Duvenhage and Köhne, 1995; Babadoost et al., 2015) รวมถึงสามารถป้องกันกาจัดโรคราน้าค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Ojiambo et al., 2010) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ ไดเมโทมอร์ฟ 50% W/V SC และอัตราการใช้ที่เหมาะสมในการ ควบคุมโรคลาต้นเน่าของกล้าทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา P. palmivora อุปกรณ์และวิธีการ 1. การสารวจและเก็บตัวอย่าง เก็บตัวอย่างใบ ดินบริเวณรากและเปลือกต้ นทุเรียนที่แสดงอาการโรคในพื้นที่แปลงปลูกทุเรียนพันธุ์ หมอนทองของเกษตรกรในตาบลทุ่ งเบญจา อาเภอท่ าใหม่ จังหวัดจันทบุรี บันทึ ก ข้อมู ล จากแหล่ง ที่ เก็ บ ถ่ายภาพ และนาตัวอย่างมาแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ 2. การแยกและจาแนกชนิดเชื้อราสาเหตุโรคจากใบและเปลือกต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ใช้มีดตัดบริเวณรอยต่อเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรคกับเนื้อเยื่อปกติขนาด 0.5 x 0.5 เซนติเมตร วางชิ้นส่วน พืชที่ตัดแล้วบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) ที่ผสมสารปฏิชีวนะ BNPRA (selective media) บ่ม เชื้อที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นตัดปลายเส้นใยเชื้อราที่เจริญออกจากเนื้อเยื่อพืช นามา เลี้ยงบนอาหาร potato carrot agar (PCA) แยกเก็บเชื้อบริสุทธิ์ในหลอดทดลองที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ศึกษาต่อไป (อรอุม า, 2561) จาแนกชนิดเชื้อราโดยศึกษาลัก ษณะทางสัณฐานวิท ยาบนอาหาร PDA และกระตุ้นให้ราสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์โดยวิธีใช้เหยื่อล่อ (baiting technique) โดยตัดใบทุเรียนให้มีขนาด 1x1 เซนติเมตร ใส่จานเลี้ยงเชื้อ เติมน้าที่ผสมระหว่างน้ากลั่นและน้าบ่อธรรมชาติในสัดส่วน 1:1 โดยปริมาตร ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว จานวน 10 มิลลิลิตร และใส่วุ้นอาหารที่มี เส้นใยราที่ต้องการจาแนก บ่มเชื้อไว้ 24 ชั่วโมง ตรวจดูโครงสร้างของเชื้อราใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ stereo และ compound ถ่ายภาพและวัดขนาด เชื้อราเปรียบเทียบกับเอกสารอ้างอิง (อรอุมา, 2561) 3. ผลการทดสอบสารไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีเด็ดใบ เลี้ยงเชื้อราที่แยกได้บนอาหาร PCA เป็นเวลา 7 วัน ใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร เจาะบริเ วณปลายเส้ นใยของเชื้ อรา น าไปปลู ก เชื้อ บนใบทุ เรียนระยะเพสลาดโดยวิธีเด็ ดใบ (detached leaf) ร่วมกับวิธีการทาแผล บ่มไว้ในกล่องพลาสติกที่อุณหภูมิห้ อง วางแผนการทดลองแบบสุ่ม สมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จานวน 8 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีฉีดพ่นสารไดเมโท มอร์ฟ 50% W/V SC ที่ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร กรรมวิธีพ่นสารเมทาแลกซิล 25% WP ความเข้มข้น 2.5 กรัมต่อน้า 1 ลิตร กรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora (positive
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
691
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
control) และกรรมวิธีไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora (negative control) บันทึกผลโดยวัดขนาดแผลหลังจากบ่ม เชื้อเป็นเวลา 3, 5 และ 7 วัน 4. การทดสอบความสามารถของไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรคลาต้นเน่าของกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เตรียมกล้าทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในถุงพลาสติกสีดา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร สูง 28 เซนติเมตร ปริม าตรดิน 5 ลิตร ปลูก ในดินผสมแกลบดิบ และขุยมะพร้าวในสัดส่วน 1:2:1 ให้น้าผ่าน sprinkler เป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน เมื่อกล้าทุเรียนมีอายุ 1 ปี คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์ และมีความสูงระหว่าง 60 -70 เซนติเมตร จานวน 70 ต้น เพื่อใช้ในการทดลอง ปลูกเชื้อสาเหตุโรคบนลาต้นของกล้าทุเรียน โดยใช้คัท เตอร์เปิดเปลือกของต้นกล้าทุเรียน ที่ระดับสูงจากโคนต้น 10 เซนติเมตร ให้เป็นแผลยาว 1 เซนติเมตร จากนั้น ใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร เจาะชิ้นวุ้นบริเวณขอบโคโลนีของเชื้อราสาเหตุโรคที่ เลี้ยงบนอาหาร PCA เป็นเวลา 7 วัน ย้ายมาวางที่ร อยแผลเปลือกต้นกล้าทุเรียนที่รอไว้ แล้วพันด้วยพลาสติก ใส บ่มไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นแกะพลาสติกที่พันออก (Thomidis and Tsipouridis, 2001) วาง แผนการทดลองแบบ CRD จานวน 8 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีราดสารละลายไดเมโทมอร์ฟ 50% W/V SC ที่ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร กรรมวิธีราดสารละลายเมทาแลกซิล 25% WP ความ เข้ม ข้น 4 กรัม ต่อ น้า 1 ลิตร กรรมวิธีในชุดควบคุม แบบปลู ก เชื้อ P. palmivora (positive control) และ กรรมวิธีไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora (negative control) ทาการทดสอบกรรมวิธีละ 10 ซ้า นาสารทดสอบที่ เตรียมไว้ปริมาตร 500 มิลลิลิตร ราดลงในถุงที่ปลูกกล้าทุเรียนที่เตรียมไว้ โดยราดสารทดสอบ 2 ครั้ง หลังจาก ปลูกเชื้อเป็นเวลา 7 และ 14 วัน วัดความสูงเป็นเซนติเมตรและประเมินความรุนแรงของโรคโดยนับจานวน ใบทุเรียนทั้งหมดและวัดขนาดของแผลเป็นเซนติเมตรก่อนราดสารทดสอบทุกครั้ง และที่ 7 และ14 วัน หลัง ราดสารทดสอบครั้งที่ 2 นาข้อมูลมาเปรียบเทียบกับกรรมวิธีราดสารละลายเมทาแลกซิลและกรรมวิธีค วบคุม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (Duvenhage and Köhne, 1995)
ผลการทดลองและวิจารณ์ ผลการทดลอง 1. ผลการแยกและจาแนกเชื้อราสาเหตุโรคจากใบและเปลือกต้นทุเรียน ผลการแยกเชื้อราจากทุเรียนที่แสดงอาการเป็นโรค เมื่อนามาเลี้ยงบนอาหาร PCA และ PDA โคโลนี มีสีขาวครีมเจริญแผ่ออกเป็นแฉก เส้นใยเป็นแบบ non-septate hypha ผนังบางใส เมื่อกระตุ้นให้ราสร้าง สปอร์โดยวิธีใช้เหยื่อล่อ พบว่าราจะสร้างโครงสร้างในระยะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศที่เรียกว่า zoosporangia รูปร่างแบบ pyriform มีขนาด 40-60 x 30-35 ไมโครเมตร มี apical papilla ที่ ส่วนปลายด้านบน ภายใน zoosporangium เป็นที่เกิดของ zoospores พบ chlamydospores รูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3036 ไมโครเมตร และพบเส้นใยพองบวม (swelling hyphae) เมื่อเลี้ยงเชื้อราในน้า (water culture) เป็นเวลา 692
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
7-10 วัน พบการสร้าง oospore รูปร่างกลม ผนังหนา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 33-40 ไมโครเมตร ซึ่งจากผล การทดลองดังกล่าวเปรียบเทียบกับเอกสารอ้างอิง (Gallegly and Hong, 2008; Hine, 1962; Petel et al, 2016; Turner, 1961) พบว่าเชื้อ ราที่ แยกได้ มี ลัก ษณะสั ณ ฐานวิท ยาสอดคล้องกั บ เชื้อรา Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ซึ่งจัดอยู่ในอันดับ Pythiales วงศ์ Pythiaceae 2. ผลการทดสอบความสามารถในการก่อโรค ใบทุเรียนบริเวณที่มีการปลูกเชื้อ เนื้อเยื่อมีสีน้าตาลดา ขอบแผลเรียบ แผลขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากเชื้อ เจริญลุกลามไปตามท่อลาเลียงของใบพืช ต่อมาใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับการทดสอบในระยะกล้า พบอาการเน่าที่ลาต้น เปลือกต้นเปลี่ยนเป็นสี น้าตาล แผลฉ่าน้า ในขณะที่ชุดควบคุมทั้งสองการทดลองไม่พบ อาการของโรค และเมื่ อ นาใบและเปลือ กต้นกล้าทุ เรียนที่ แสดงอาการเป็นโรคม าแยกเชื้อ ราอีก ครั้ง (reisolation) สามารถแยกได้เชื้อรา P. palmivora 3. ผลการทดสอบสารไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนโดยวิธีเด็ดใบ หลังจากฉีดพ่นสารทดสอบ 3 วัน พบว่าทุกกรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 0.0 เซนติเมตร ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติกั บ กรรมวิธีฉีดพ่นสารเมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ที่ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 0.15 เซนติเมตร และพบว่า ทุกกรรมวิธีดังกล่าวใบทุเรียนมีขนาดแผลน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ กับกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora ที่ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 1.71 เซนติเมตร (ตาราง ที่ 1) หลังจากฉีดพ่นสารทดสอบ 5 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้ม ข้น 1.5, 2.0 และ 2.5 เซนติเ มตร ไม่ พ บอาการของโรค ในขณะที่ ก รรมวิธีที่ ฉีดพ่ น สารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้ม ข้น 1 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 0.02 เซนติเมตร ซึ่งใบทุเรียนมีขนาดแผลน้อยกว่าและ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีฉีดพ่นสารเมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ที่ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 3.60 เซนติเมตร และทุกกรรมวิธีดังกล่าวใบทุเรียนมีขนาดแผลน้อยกว่าและ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora ที่ใบทุเรียนมีขนาด แผลเท่ากับ 17.82 เซนติเมตร (ตารางที่ 1) หลังจากฉีดพ่นสารทดสอบ 7 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2.0 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 0.04, 0.74, 0.00 และ 0.14 เซนติเมตร ซึ่งใบ ทุเรียนมีขนาดแผลน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีฉีดพ่นสารเมทาแลกซิล ความ เข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ที่ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 79.88 เซนติเมตร และทุกกรรมวิธีดังกล่าว ใบทุเรียนมีขนาดแผลน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกบั กรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora ที่ใบทุเรียนมีขนาดแผลเท่ากับ 86.40 เซนติเมตร (ตารางที่ 1) 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
693
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
ตารางที่ 1 ผลของสารไดเมโทมอร์ฟ และสารเมทาแลกซิลในการควบคุมโรคของทุเรียนโดยวิธีเด็ดใบ กรรมวิธี
3 DAA
ไดเมโทมอร์ฟ 1.0 ml/L ไดเมโทมอร์ฟ 1.5 ml/L ไดเมโทมอร์ฟ 2.0 ml/L ไดเมโทมอร์ฟ 2.5 ml/L เมทาแลกซิล 2.5 g/L กรรมวิธีควบคุมแบบปลูกเชื้อ กรรมวิธีควบคุมแบบไม่ปลูกเชื้อ
0.00a 0.00a 0.00a 0.00a 0.15a 1.71b 0.00a
F-test
** 70.4%
CV (%) DAA = day after first application
ขนาดแผล (ซม2) 5 DAA 0.02a 0.00a 0.00a 0.00a 3.60b 17.82c 0.00a ** 45.6%
7 DAA 0.04a 0.74a 0.00a 0.14a 79.88b 86.40c 0.00a ** 15.8%
** = Significant at P 0.05
Means within a column under each factor, means followed by a same letter are not significantly difference at the 5% level by DMRT.
4. ผลการทดสอบสารไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรคลาต้นเน่าของต้นกล้าทุเรียนโดยวิธีราดดิน 4.1 ผลการประเมินใบที่หลุดร่วงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจานวนใบก่อนการราดสารทดสอบ ก่อนการราดสารพบว่าจานวนใบของต้นกล้าทุเรียนทุกกรรมวิธีมีจานวนใบเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 29.7 – 37.9 ใบต่อต้น ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ หลังจากราดสารครั้งแรก 7 วัน พบว่า กรรมวิธีราดสาร ไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 2 และ 2.5 มิล ลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์ก ารหลุดร่วงของใบเท่ ากับ 3.9, 4.6, 5.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ซึ่ง ไม่ แตกต่ างกั น กั บ กรรมวิธี ในชุ ด ควบคุ ม แบบปลู ก เชื้ อ P. palmivora และไม่ ป ลู ก เชื้ อ P. palmivora ที่ มี เปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบเท่ากับ 3.5 และ 2.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ แต่กรรมวิธีดังกล่าวมีเปอร์เซ็นต์การ หลุดร่วงของใบน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับ กรรมวิธีราดสาร ไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1.5 มิ ล ลิลิ ตรต่ อ น้ า 1 และกรรมวิธีร าดสาร เมทาแลกซิล ความเข้ ม ข้น 2.5 มิ ล ลิ ลิต รต่ อน้ า 1 ลิ ตร ที่ มี เปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบเท่ากับ 12.7 และ 6.9 เปอร์เซ็นต์ตามลาดับ (ตารางที่ 2) หลังจากราดสารครั้งที่สอง 7 วัน พบว่า กรรมวิธีราดสาร ไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิ ล ลิลิ ตรต่อ น้า 1 ลิต ร มี เ ปอร์เซ็ นต์ ก ารหลุ ดร่ว งของใบเท่ ากั บ 7.6, 11.3, 2.8 และ 4.9 เปอร์เ ซ็น ต์ ตามลาดับซึ่งไม่แตกต่างกันกับกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora ที่มีเปอร์เซ็นต์การหลุด 694
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
ร่วงของใบเท่ากับ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทุกกรรมวิธีที่ราดสารไดเมโทมอร์ฟ มีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบน้อย กว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีราดสาร เมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อ น้า 1 ลิตร กรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora มีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบเท่ากับ 20.0 และ 21.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ (ตารางที่ 2) หลัง จากราดสารครั้ งที่ส อง 14 วัน พบว่า กรรมวิธีราดสาร ไดเมโทมอร์ฟ ความเข้ม ข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร มี เปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบเท่ากับ 3.3, 5.4, 3.8 และ 5.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับซึ่งไม่แตกต่างกันกับกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora ที่มเี ปอร์เซ็นต์การหลุด ร่วงของใบเท่ากับ 0.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทุกกรรมวิธีที่ราดสารไดเมโทมอร์ฟ มีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของใบน้อย กว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีราดสาร เมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร และ กรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora มีเปอร์เซ็นต์การร่วงของใบเท่ากับ 36.8 และ 28.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ผลของสารไดเมโทมอร์ฟ และสารเมทาแลกซิลในการควบคุมโรคของทุเรียนโดยวิธีราดดิน จานวน % ใบร่วง % การควบคุมโรค ใบ กรรมวิธี 0 7 7 14 7 7 14 DAA DA1A1/ DA2A2/ DA2A DA1A DA2A DA2A 7.6a 3.3a ไดเมโทมอร์ฟ 1.0 ml/L 30.1 3.9a 0 29.0b 53.6b ไดเมโทมอร์ฟ 1.5 ml/L 29.7 12.7b 11.3ab 5.4a 0 30.7b 57.2b 2.8a 3.8a ไดเมโทมอร์ฟ 2.0 ml/L 30.5 4.6a 0 35.8b 51.6b 5.0a 4.9a 5.6a ไดเมโทมอร์ฟ 2.5 ml/L 35 0 40.4b 52.5b เมทาแลกซิล 2.5 g/L 30.9 6.9ab 20.0b 36.8b 0 27.2b 21.5c 21.2b 28.7b Control + 37.9 3.5a 0 0.0c 0.0d 0.4a 0.3a Control 37.3 2.2a 100 100a 100a F-test CV (%)
ns
** ** ** ** 26.8% 142.9% 129.1% 137.7%
**
**
75.58% 42.32%
1/ DA1A = day after first application 2/ DA2A = day after second application Means within a column under each factor, means followed by a same letter are not significantly difference at the 5% level by DMRT ** = Significant at P 0.05 ns = Not significant
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
695
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
4.2 ผลการประเมิ น เปอร์เซ็ นต์ ก ารควบคุม โรคเมื่อ เที ย บกั บ กรรมวิธี ในชุ ดควบคุ มแบบปลู กเชื้ อ P. palmivora หลังจากราดสารครั้งแรก 7 วัน พบว่า ทุกกรรมวิธีที่ราดสารไดเมโทมอร์ฟ และกรรมวิธีราดสารเมทา แลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ยังไม่สามารถควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าได้ หลังจากราดสารครั้งที่สอง 7 วัน พบว่า กรรมวิธีราดสารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เท่ากับ 29.0, 30.7, 35.8 และ 40.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันกับกรรมวิธีราดสาร เมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ที่มีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เท่ากับ 27.2 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2) หลังจากราดสารครั้งที่สอง 14 วัน พบว่า กรรมวิธีราดสารไดเมโทมอร์ฟ ความเข้มข้น 1, 1.5, 2 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า เท่ากับ 53.6, 57.2, 51.6 และ 52.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่ามากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีราดสาร เมทาแลกซิล ความเข้มข้น 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร ที่มีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรค รากเน่าโคนเน่า เท่ากับ 21.5 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2) วิจารณ์ ผลการแยกเชื้อราสาเหตุโรคเน่าของทุเรียน พบเชื้อราสาเหตุคือ Phytophthora palmivora เมื่อ ทดสอบความสามารถในการก่อโรคบนใบพบว่าใบทุเรียนบริเวณที่มีการปลูกเชื้อ เนื้อเยือ่ มีสีน้าตาลดา ขอบ แผลเรียบ แผลจะขยายใหญ่ขึ้น เชื้อเจริญลุกลามไปตามท่อลาเลียงของใบพืช และใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับในระยะกล้า พบอาการเน่าที่ลาต้น เปลือกต้นเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล แผลฉ่าน้า ขณะที่ชุดควบคุมทั้ง สองการทดลองไม่พบอาการของโรคเมื่อนาใบและเปลือกต้นกล้าทุเรียนที่แสดงอาการเป็นโรคมาแยกเชื้ออีก ครั้ง (re-isolation) สามารถแยกได้เชื้อรา P. palmivora ผลการทดสอบสารไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรคใบไหม้ของทุเรียนโดยวิธีเด็ดใบ และการควบคุม โรคลาต้นเน่าของต้นกล้าทุเรียนโดยวิธีราดดินให้ผลสอดคล้องกัน โดยพบว่าสารไดเมโทมอร์ฟ 50% W/V SC ทุกความเข้มข้น มีประสิทธิภาพในการควบคุม เชื้อรา P. palmivora สาเหตุได้ดีกว่าสารเมทาแลกซิล 25% WP และกรรมวิธีในชุดควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จากผลการประเมิน ประสิทธิภาพการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าต้นกล้าทุเรียนที่ 7 วันหลังราดสารครั้งที่ 2 พบว่ากรรมวิธีราดสาร ไดเมโทมอร์ฟ ทุกความเข้มข้นประสิทธิภาพการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าไม่ต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีราด สารเปรียบเที ยบเมทาแลกซิล แต่ป ระสิท ธิภาพการควบคุม โรครากเน่าโคนเน่าดีกว่าและแตกต่างอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora และพบว่ากรรมวิธีควบคุมแบบไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora ไม่พบแผลที่ลาต้น และเมื่อประเมินขนาดแผลบนต้นกล้าทุเรียนที่ 14 วันหลังราดสารครั้งที่ 2 พบว่ากรรมวิธีราดสารไดเมโทมอร์ฟ ทุกความเข้มข้นต้นกล้าทุเรียนมีประสิทธิภาพการควบคุม โรครากเน่าโคน 696
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
เน่าได้ดีกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีราดสารเปรียบเทียบเมทาแลกซิล และกรรมวิธี ควบคุมแบบปลูกเชื้อ P. palmivora และกรรมวิธีควบคุมแบบไม่ปลูกเชื้อ P. palmivora ไม่พบแผลที่ลาต้น โดยผลการทดลองมี ความสอดคล้องกั บงานวิจัยของ Duvenhage and Köhne (1995) ซึ่ งพบว่าสารไดเมโท มอร์ฟ อัตรา 10 และ 100 มิ ล ลิกรัม a.i /ลิตร สามารถควบคุม โรครากเน่ าของอโวกาโดที่ เกิ ดจากเชื้อรา P. cinnamomi ได้ อ ย่ างมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และให้ ผ ลดี ก ว่ าสารเมทาแลกซิ ล ที่ อั ตรา 150 มิ ล ลิ ก รั ม a.i /ลิ ต ร เช่นเดียวกับ Keinath (2007) ซึ่งรายงานผลของสารไดเมโทมอร์ฟในการควบคุมโรคไหม้ใบไหม้ (Phytophthora blight) และล าต้ นเน่ า (crown rot) ของสควอช (squash) และพริก (pepper) ที่ เกิ ดจากเชื้ อรา P. capsici โดยสารไดเมโทมอร์ฟที่มีผลต่อการเจริญของเส้นใย การงอก และการสร้าง zoospore เชื้อรา P. capsici มีค่า EC50 เท่ากับ 0.19 ± 0.02, 0.07 ± 0.02 และ 0.630 ± 0.42 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลาดับ สรุปผลการทดลอง การใช้สารไดเมโทมอร์ฟโดยวิธีฉีดพ่นทางใบและวิธีราดดิน ทุกความเข้มข้นสามารถควบคุมโรคใบไหม้ และโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา P. palmivora ได้ดีกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับการ ใช้สารเมทาแลกซิล ฉีดพ่นทางใบและวิธีราดดิน โดยกรรมวิธีฉีดพ่นทางใบสารไดเมโทมอร์ฟ มีขนาดแผลน้อย กว่าแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีราดสารเมทาแลกซิล และกรรมวิธีราดดิน สารไดเมโทมอร์ฟ มีเปอร์เซ็นต์ใบร่วงน้อยกว่า และมีเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรคได้ดีกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับ กรรมวิธีราดสารเมทาแลกซิล ดังนั้นการใช้สารไดเมโทมอร์ฟ 50% W/V SC ความเข้มข้น 1.0, 1.5, 2.0 และ 2.5 มิลลิลิตรต่อน้า 1 ลิตร โดยวิธีราดโคนต้นกล้าทุเรียน จานวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สาหรับเกษตรกรในการป้องกันกาจัดโรคลาต้นเน่าของกล้าทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา P. palmivora เอกสารอ้างอิง ขจรศักดิ์ ภวกุล และ วินิต แจ้งศรี. 2509. โครงการศึกษาโรครากเน่าของทุเรียน. หน้า 204.ใน รายงานประจาปี 2509. กองพืชพรรณ กรมกสิกรรม. กรุงเทพฯ. อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์. 2556. พืชทีเ่ ป็นโรคไฟทอปธอรา. เอกสารเผยแพร่ สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรม วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อรอุมา เพียซ้าย. 2561. ราในน้าและดิน. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Babadoost, M., C. Pavon, S.Z. Islam and D. Tian. 2015. Phytophthora blight (Phytophthora capsici) of pepper and its management. Acta Horticulturae 1105: 61-66. Duvenhage J.A. and J.S. Köhne. 1995. Efficacy of dimethomorph against Phytophthora root rot of avocado. South African Avocado Growers’ Association Yearbook 18: 41-42. Gallegly, M.E. and C. Hong. 2008. Phytophthora: Identifying Species by Morphology and DNA Fingerprints. American Phytopathological Society, St. Paul, Minn., USA.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
697
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-07
Hine, R.B. 1962. Pathogenicity of Phytophthora palmivora in the Orchidaceae. Plant Disease Report 46: 643-645. Keinath, A.P. 2007. Sensitivity of populations of Phytophthora capsici from South Carolina to mefenoxam, dimethomorph, zoxamide, and cymoxanil. Plant Disease 91(6): 743-748. Kuhn, P. J., D. Pitt, S. A.Lee, G. Wakley and A. N. Shepparda.1991. Effects of dimethomorph on the morphology and ultrastructure of Phytophthora. Mycological Reseaech 95(3): 333-340. Ojiambo P.S., P.A. Paul, G.J. Holmes. 2010. A quantitative review of fungicide efficacy for managing downy mildew in cucurbits. Phytopathology 100(10):1066-76. Petel, S., A. Vitoreli, A.J. Palmeter, A. El-Sayed, D.J. Norman, E.M. Goss, M.S. Brennan and G.S. Ali. 2016. Characterization of Phytophthora spp. isolated from ornamental plants in Florida. Plant Disease 100: 500-509. Thomidis, T. and K. Tsipouridis. 2001. Effectiveness of metalaxyl, fosetyl-Al, dimethomorph, and cymoxanil against Phytophthora cactorum and P. citrophthora of peach tree. Phytopathologia Mediterranea 40: 253-259. Turner, P.D. 1961. Complementary isolates of Phytophthora palmivora from cacao and rubber, and their taxonomy. Phytopathology 51: 161-163.
698
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
การแสดงออกของโปรตีนอ้อยทีต่ ้านทานต่อโรคใบขาว Gene Expression of Sugarcane for Resistant of White Leaf Disease ลาวัลย์ กลัดสุวรรณ จิรวัฒน์ ประสิทธิ์สม กนกวรรณ สว่าง สิริวรรณ์ โครตโสภา วรินทร จารย์คูณ และ พีรญา กลมสอาด Lawan Kladsuwan Chirawat Prasitsom Kanokwan Sawang Siriwan Kodsopa Varinthon Jarnkoon and Peeraya Klomsa-ard ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัย มิตรผล 399 หมุ่ 1, ถ.ชุมแพ-ภูเขียว, ต.โคกสะอาด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ, 36110 Mitrphol Innovation and Research Center, Mitr Phl Group, 399 Moo 1 Chumphae-Phukiao Rd., Khoksa-at, Phu Khiao Chaiyaphum, 36110 Thailand
บทคัดย่อ ศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่เกีย่ วข้องกับการปกป้องการทาลายจากเชื้อไฟโตพลาสมา สาเหตุโรค ใบขาวอ้อยและความต้านทานอ้อย (PR-protein) โดยการนาอ้อยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) ที่อายุ 4 เดือน มาปลูกเชื้อใบขาวโดยการถ่ายทอดจากแมลงพาหะ หลังจาก ปลูกเชื้อ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง นาอ้อยแต่ละพันธุ์ไปตรวจสอบโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการทาลาย จากเชื้อโรค และความต้านทาน พบว่าในอ้อยพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน เกิดการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การปกป้ องการท าลายของเชื้ อ โรค ได้ แ ก่ phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) และ lipoxygenase-4 (LOX) ตลอดจนกระตุ้นให้ยีนอ้อยสร้างภูมิต้านทานโรคโดยผลิต โปรตีนปฏิสัมพันธ์การเกิดโรค (PR-protein) รวม 3 ชนิด คือ PR-2, PR-4 และPR-6 ซึ่งพืชใช้สารเหล่านี้ยับยั้ง การพัฒนาการของเชื้อโรคในช่วงที่มีการชักนาให้เกิดโรค ผลการทดลองดังกล่าวยังสัมพันธ์กับปริมาณเชื้อไฟโต พลาสมาในอ้อยแต่ละพันธุ์ที่นามาตรวจด้วยวิธีเชิงปริมาณ quantitative real time PCR (qPCR) ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสายพันธุ์เชื้อและพันธุ์พืชซึ่งเป็นผลข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนาไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการ คัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรคใบขาวได้อย่างถูกต้อง แม่นยา ค าส าคั ญ : โปรตี น ปฏิ สั ม พั น ธ์ ก ารเกิ ด โรค โรคใบขาวอ้ อ ย phenylalanine ammonia lyase (PAL) peroxidase (POX) lipoxygenase-4 (LOX) ABSTRACT Expressed defense related protein of phytoplasma, the causal agent of white leaf disease was studies by used four months of sugarcane seedling from tissue culture including moderate resistance cultivar (UT-15) and susceptible cultivar (KK3). Each cultivar was inoculated phytoplasma by insect vector transmitted. The results showed that the 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
699
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
proteome of sugarcane resistant cultivar after inoculated 0, 24, and 48 hour expressed various defense related protein including phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX), and lipoxygenase-4 (LOX) also showed enhanced expression of PR-2, PR-4, and PR-6. According to quantitative of phytoplasma in each sugarcane cultivar when measured with quantitative real time PCR (qPCR). The interaction between phytoplasma and sugarcane based on gene for gene relationship. It provides insight into breeding strategies for white leaf disease resistance. Keywords: Pathogenesis-related (PR) proteins, white leaf disease, phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX), and lipoxygenase-4 (LOX) คานา โรคใบขาวอ้อย (sugarcane white leaf disease) เป็นโรคที่มี ความสาคัญสร้างความเสียหายทาง เศรษฐกิจในระบบการผลิตอ้อย และน้าตาลปีละกว่า 1,000 ล้านบาท (Hanboonsong et al., 2002) สาเหตุ หลักของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยการใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่เป็นโรคหรือพาหะที่ไม่แสดงอาการ ไปปลู ก ในพื้ น ที่ อื่ น และการแพร่ ก ระจายโดยแมลงพาหะมี 2 ชนิ ด คื อ เพลี้ ย จั ก จั่ น ลายจุ ด สี น้ าตาล (Matsumuratettix hiroglyphicus) (Matsumura) แ ล ะ เ พ ลี้ ย จั ก จั่ น ห ลั ง ข า ว (Yamatotettix flavovitatus) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่ดูดกินน้าเลี้ยงจากต้นอ้อย แมลงเหล่านี้เป็นพาหะในการถ่ายทอดเชื้อไฟโต พลาสมาอันเป็นสาเหตุของโรคใบขาวจากต้นอ้อยที่เป็นโรคไปสู่ต้นอ้อยปกติ ทาให้เกิดความเสียหายแก่ต้นอ้อย และผลผลิตอ้อยเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเมื่ออ้อยที่ ปลูกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคใบขาวแล้ว อาจไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตได้แต่ไม่สามารถไว้ตอได้ รวมทั้งในปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรคนี้ อีกทั้งยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างแท้จริง คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสาคัญ และได้ วางแผนการศึกษาในครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยที่มีผลต่อโรคใบขาวและแมลง พาหะ โดยศึ ก ษายี น ของอ้ อ ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การปกป้ อ งการท าลายของเชื้ อ โรค ซึ่ ง ประกอบไป ด้ วย phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) และ lipoxygenase-4 (LOX) และ โปรตีนปฏิสัมพันธ์การเกิดโรค (PR-protein) ในอ้อยพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทานและพันธุ์อ่อนแอ ซึ่งถือเป็นอีก แนวทางเลือกหนึ่งที่จะนามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการคัดอ้อยพันธุ์ต้านทานโรค รวมทั้งยังสามารถลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้อีกทางหนึ่ง
700
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเก็บและการเตรียมเพลีย้ จักจั่นสาหรับถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมา 1.1 การเก็บเพลี้ยจักจั่น ออกเก็บเพลี้ยจักจั่นในแหล่งที่พบการระบาดของโรคใบขาว และแมลงพาหะโดยใช้กับดักแสงไฟ (light trap) ซึ่งจะตั้งกับดักตั้งแต่เวลา 18.00-21.00 น. จากนั้นแยกเพลี้ยจักจั่นออกจากแมลงชนิดอื่นที่ติดอยู่ ในกับดัก โดยใช้หลอดดูดแมลง (mouth aspirator) แล้วดูดเพลี้ยจักจั่นใส่ลงในกระบอกพลาสติกใส นาเพลี้ย จั๊กจั่นที่เก็บได้ มาแยกลงในกรงเลี้ยงเพื่อให้วางไข่ต่อไป โดยใช้กรงละประมาณ 5-10 ตัว/อ้อย 1 กระถาง ที่ ปลูกในดินทรายที่ผ่านการนึ่ง ฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้นอ้อยที่ใช้เลี้ยงเพลี้ยจักจั่นในกรงนั้นจะใช้เป็นอ้อยใบ ขาวเนื่องจากจะทาให้เพลี้ยจักจั่นสมบูรณ์กว่าการเลี้ยงบนอ้อยปกติ หลังจากนั้นประมาณ 7 วันเพลี้ยจักจั่นจะ วางไข่ และอีกประมาณ 15 วันเพลี้ยจักจั่นจะออกจากไข่ (รุ่น F1) โดยสามารถสังเกตุได้จากตามใบอ้อยจะพบ ตัวเล็กๆเกาะอยู่ เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน จึงสามารถนาไปใช้เป็นพาหะในการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมา 1.2 การเตรียมเพลีย้ จักจั่นสาหรับถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมา นาเพลี๊ยจักจั่นในรุ่น F1 ที่เลี้ยงไว้มาอดอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนนาไปใช้ จากนั้นนาไป ดูดกิ นน้าเลี้ยงบนต้นอ้ อ ยที่ เป็นโรคใบขาวนาน 24-48 ชั่วโมง แล้วดูดเพลี้ยจัก จั่นลงไปปล่อยในอ้อยพั นธุ์ ทดสอบที่เป็นตัวแทนของพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) ที่อายุ 4 เดือน โดยใช้ เพลี้ยกรงละประมาณ 5-10 ตัว/กระถาง ทิ้ งไว้ป ระมาณ 3-7 วัน จึงดูดเพลี๊ยจักจั่นออกจากกรง (ภาพที่ 1) หลั ง จากนั้ น 1 เดื อ นน าเก็ บ ตั วอย่ า งใบอ้ อ ยแต่ ล ะพั น ธุ์ ไปตรวจสอบปริ ม าณเชื้ อ ไฟโตพลาสมาด้ ว ยวิ ธี quantification real-time PCR (q-PCR) ต่อไป
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
701
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
ภาพที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมอ้อยและการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยแมลงพาหะ 2. ตรวจสอบการแสดงออกของยี นอ้อยที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการทาลายของเชื้ อโรคและโปรตีนที่ เกี่ยวข้องกับความต้านของพืช (PR-proteins) ด้วยวิธี RT-PCR 2.1 การสกัด RNA จากใบอ้อย เก็บตัวอย่างใบอ้อยพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) อายุ 4 เดือน หลังการ ถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยแมลงพาหะที่ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง มาสกัด RNA ด้วยชุดสกัด RNeasy Plant Mini kit (Qiagen) โดยชั่งใบพืชไม่เกิน 100 mg บดใบพืชให้ละเอียดโดยใช้ไนโตรเจนเหลว แล้วเติม Buffer RLT หรื อ RLC ปริ ม าตร 450 µl/ตั ว อย่ า ง ผสมให้ เข้ า กั น โดยใช้ Vertex ดู ด น้ าทั้ ง หมดใส่ ล งไปใน QIA shredder spin column แล้ ว น าไปปั่ น เหวี่ ย งที่ ค วามเร็ ว สู ง สุ ด นาน 2 นาที เติ ม ethanol (96-100 %) ปริมาตร 0.5 เท่า และผสมให้เข้ากันแล้วดูดใส่ลง Rneasy spin column ปิดฝาเบาๆ ปั่นเหวี่ยงที่ความเร็ว มากกว่า 10,000 rpm นาน 15 วินาที เทส่วนใส่ออก เติม Buffer RW1 ปริมาตร 700 µl/ตัวอย่าง ปั่นเหวี่ยง ที่ความเร็วมากกว่า 10,000 rpm นาน 15 วินาที เทส่วนใส่ออก เติม Buffer RPE ปริมาตร 500 µl/ตัวอย่าง ปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วมากกว่า 10,000 rpm นาน 15 วินาที เทส่วนใส่ออก (ทาซ้า 2 รอบ) วาง Rneasy spin column ลงบน appendrof ขนาด 1.5 ml เติม Rnase-free water ปริมาตร 30-50 µl/ตัวอย่าง ตั้งทิ้งไว้ 1 นาที ปั่นเหวี่ยงที่ความเร็วมากกว่า 10,000 rpm นาน 1 นาที เพื่อ elute RNA ออก
702
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
2.2 ตรวจสอบการแสดงออกของโปรตีนปฏิสัมพันธ์การเกิดโรค (PR-protein) เก็บตัวอย่างใบอ้อยพันธุ์ที่มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) อายุ 4 เดือน หลังการ ถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยแมลงพาหะที่ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง มาสกัด RNA ด้วยชุดสกัด Rneasy Plant Mini kit (Qiagen) แล้วนามาตรวจสอบด้วยเทคนิค RT-PCR ตามวิธีการของ Kumar et al., (2017) โดยใช้ PALF ( 5’ GTGACTAACCACGTCCAAAG3’) , PALR ( 5’ CAAAGCGCCACGAGATAG3’) , POXF ( 5’ GTTGCCTTGGTTGCTAGAG3’), POXR (5’GACGTCTGGAGACTGGAA3’), LOXF (5’ GGACATGGCGACA AGAAA3’), LOXR (5’GTAGGGCGATTAGGGAGATA 3’) และวิ ธี ข อง Athinuwat et al., (2009) โดยใช้ PR-2F (5’CCTAGCATCTAGCCAAGACA3’) PR-2R (5’ GTGAACCATCTTGCACTACC3’), PR-4F ( 5’CTCGTGGCCGTGATTCTTGT3’) PR-4R ( 5’GAGCATCGAGGATGGAGAGT3’) , แ ล ะ PR-6F ( 5’ GCCTTCACCACCTCATACCT3’) PR-6R (5’CAGCTTGCTGTGGACAGAAC3’) ซึ่ง เป็ นการตรวจสอบยี น ที่ เกี่ยวข้องกั บ การปกป้อ งการท าลายของเชื้อโรคและโปรตีนในกลุ่ม ของโปรตีนที่ เกี่ยวข้องกั บ การเกิ ดโรค (Pathogenesis-related protein) ที่ พื ชสร้างขึ้นหลังจากถูก รบกวนจากเชื้อสาเหตุโรคเพื่อฆ่าเชื้อโรคและ กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรค (Buensanteai et al., 2008) ผลและวิจารณ์ ปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมา การแสดงออกของยีนยีนอ้อยที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการทาลายของเชื้อโรค และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความต้านของพืช (PR-proteins) การตรวจสอบปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยวิธี quantification real-time PCR (q-PCR) เก็บตัวอย่างใบอ้อยพันธุ์ทมี่ ีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) หลังการถ่ายทอดเชื้อ ไฟโตพลาสมาด้วยแมลงพาหะนาน 1 เดือนมาตรวจสอบปริมาณเชื้อด้วยวิธี quantification real-time PCR (q-PCR) พบว่าสามารถตรวจพบปริมาณเชื้อเท่ากับ 9.39E+02 copies/µ ในอ้อยพันธุ์อ่อนแอ (KK3) และพบ ปริมาณเชื้อเท่ากับ 1.17E+00 copies/µ ในอ้อยพันธุ์มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) แสดงให้เห็นว่าปริมาณเชื้อ ที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อระดับความรุนแรงของโรคใบขาว สอดคล้องกับปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาของดอกไฮเดรนเยีย ที่ติดเชื้อ(Japanese hydrangea phyllody phytoplasma) และมีลักษณะแสดงอาการของโรคซึ่งตรวจพบ ปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมามากกว่าต้นที่ติดติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ (Kesumawati, et al., 2006) การแสดงออกของยีนอ้อยที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการทาลายของเชื้อโรคและโปรตีนที่เกี่ยวข้อง กับความต้านของพืช (PR-proteins) ด้วยวิธี RT-PCR เมื่อเก็บใบอ้อยพันธุ์ที่มแี นวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) ที่อายุ 4 เดือน มาปลูกเชื้อ ใบขาวโดยการถ่ายทอดจากแมลงพาหะที่ 0, 24, และ 48 ชั่ วโมง ไปตรวจสอบการแสดงออกของยีน ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การปกป้ องการท าลายของเชื้ อ โรค ได้ แ ก่ phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) และ lipoxygenase-4 (LOX) ตลอดจนโปรตีนปฏิ สัม พันธ์การเกิ ดโรค (PR-protein) 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
703
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
รวม 3 ชนิ ด คื อ PR-2 (β-1,3- glucanase), PR-4 (Chitinase) และ PR-6 (Protease inhibitor) พบว่า ใน อ้อยมีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) มีการแสดงออกของยีนที่ เกี่ ยวข้องกับ การปกป้องการท าลายของเชื้อโรค ได้ แ ก่ phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) แ ล ะ lipoxygenase-4 (LOX) ตลอดจนโปรตีน ปฏิ สั ม พั น ธ์ก ารเกิ ด โรค (PR-protein) รวม 3 ชนิ ด คื อ PR-2 (β-1,3- glucanase), PR-4 (Chitinase) และ PR-6 (Protease inhibitor) ได้เร็วกว่าอ้อยพันธุ์อ่อนแอ (KK3) โดยสามารถตรวจพบแถบ ขนาด 434, 246, และ 457 bp ตามล าดั บ ที่ 0, 24, และ 48 ชั่ ว โมง หลั ง การถ่ า ยเชื้ อ (ภาพที่ 2) ซึ่ ง สอดคล้องกั บรายงานของ Athinuwat (2009) ที่ นาใบถั่วเหลืองพันธุ์ Williams82 ที่ ได้รับ การปลูก เชื้อ X. axonopodis pv. glycines สายพั นธุ์ KU-P-SW005 ที่ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง ไปวิเ คราะห์โ ปรตีนด้วยวิธี proteome พบว่าสามารถชักนาให้พืชเพิ่มปริมาณการสะสมโปรตีนชนิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทาลายจาก เชื้อโรค เช่น catalase, lipoxygenase-4 และ phenylalanine ammonia (PAL) ตลอดจนกระตุ้นให้ยีนถั่ว เหลืองสร้างภูมิต้านทานโรค (PR-protein) 4 ชนิด คือ PR-2, PR-4, PR-6 และ PR-10 ได้ เนื่องจากโปรตีน เหล่านี้จะแสดงออกเมื่อพืชถูกเชื้อโรคเข้าทาลาย โดยกีดกันหรือยับยั้งการเจริญ ลุกลามของเชื้อโรคที่เข้าไป ทาลายพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Somssich et al., 1986; 1988) การสังเคราะห์โปรตีนทีเ่ กี่ยวข้องกับการเกิดโรค หรือโปรตีนพีอาร์ (pathogenesis-related protein; PR protein) ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานโรคหรือเชื้อสาเหตุโรค ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางในพืชหลาย ชนิดโดยมีเป้าหมายในการพัฒ นาสายพันธุ์พืชให้มีการสังเคราะห์โปรตีนเกี่ยวข้องกับความต้านของพืช (PRprotein) เพื่อสร้างลักษณะความต้านทานแบบกว้าง (broad spectrum disease resistance) ให้กับพืช โดย ปัจจุบันได้มีการจัดจาแนกโปรตีนโดยอาศัยคุณสมบัติของโปรตีนไว้ทั้งหมด 17 กลุ่ม (Sels et al., 2008) ผล การศึกษากลไกที่พืชใช้ต้านทานต่อการเข้าทาลายของเชื้อสาเหตุโรคหรือจุลนิ ทรีย์อื่น ๆ มีประโยชน์ โดยตรง สาหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืชในการสร้างพืชให้มียีนควบคุมลักษณะต้านทานหรือทนต่อโรคไปพร้อม ๆ กับการ ปรับปรุงลักษณะดีอื่นๆ ของพืช แต่พืชอาจสูญเสียลักษณะต้านทานนี้หากเชื้อสาเหตุโรคสามารถปรับตัวเข้า ทาลายพืชได้ นักปรับ ปรุงพั นธุ์จึงต้อ งพั ฒ นาพืชต้านทานโรคสายพันธุ์ใหม่ ตลอดเวลา แนวทางหนึ่งในการ พัฒนาพืชให้คง คุณสมบัติต้านทานโรคเป็นระยะเวลานานขึ้น คือการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยรวมยีนลักษณะดี และต้านทานโรคหลาย ยีนไว้ในต้นเดียวกัน (gene pyramiding) ทาให้พืชมีลักษณะต้านทานโรคแบบกว้าง หรือ broad spectrum resistance การเหนี่ยวนาให้ พืชต้านทานโรคเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ได้ผ ลดีกั บ พืช หลายชนิดในระดับห้องปฏิบัติการ ผลการเหนี่ยวนาทาให้พืชทนต่อการเข้าทาลายของเชื้อสาเหตุโรคและให้ผล ผลิตมากกว่าพื ชต้นที่ ไม่ ได้รับ การเหนี่ยวนา ลัก ษณะต้านทานที่ เกิ ดขึ้นโดยวิธีก ารนี้ อาจคงอยู่ในพืชระยะ เวลานาน ภายหลังจากที่พืชได้รับการเหนี่ยวนาขึ้นอยู่กับชนิดพืช อายุของพืช และสิ่งที่ใช้เหนี่ยวนา อย่างไรก็ ตาม ปัจจัยสภาพ แวดล้อมของพืชเป็นข้อจากัดที่สาคัญ ของการเหนี่ยวนาให้พืชต้านทานโรคในระดับแปลง ปลูก ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้สามารถนาไปขยายผล และปรับใช้ในการปรับปรุงให้พืชต้านทานโรค เพื่อเป็น ทางเลือกในการป้องกันกาจัดโรคพืชอีกวิธีหนึ่ง
704
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
ภาพที่ 2 การแสดงออกของยี น phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) และ lipoxygenase-4 (LOX) ตลอดจนโปรตีนปฏิสัมพันธ์การเกิดโรค (PR-protein) รวม 3 ชนิด คือ PR-2, PR-4 และ PR-6 ที่ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง โดย lanes 1-4= อ้อยพันธุ์ UT-15 และ lanes 4-8 = อ้อยพันธุ์ KK3 สรุปผลการทดลอง เมื่ อนาอ้อ ยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พั นธุ์ ที่ มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) และพันธุ์อ่อนแอ (KK3) อายุ 4 เดือน ที่ผ่านการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาด้วยแมลงพาหะมาตรวจสอบการแสดงออกของยีน ที่เกี่ยวข้องกับการ ปกป้องการทาลายของเชื้อโรค ได้แก่ phenylalanine ammonia lyase (PAL), peroxidase (POX) และ lipoxygenase-4 (LOX) ตลอดจนศึกษาการแสดงออกของโปรตีนปฏิสัมพันธ์การเกิดโรค (PR-protein) รวม 3 ชนิ ด คื อ PR-2 (β-1,3- glucanase), PR-4 (Chitinase) และ PR-6 (Protease inhibitor) พบว่า ในอ้ อ ย พันธุ์มีแนวโน้มต้านทาน (UT-15) จะมีการแสดงออกของ LOX รวมทั้ง PR-2, PR-4 และPR-6) ได้เร็วกว่าอ้อย พันธุ์อ่อนแอ (KK3) โดยสามารถตรวจพบแถบขนาด 434, 246, และ 457 bp ตามลาดับ ที่ 0, 24, และ 48 ชั่วโมง หลังการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมา และไม่พบการแสดงออกของยีน PAL และ POX ในอ้อยทั้งพันธุ์ที่ มี แนวโน้ม ต้านทาน (UT-15) และพั นธุ์อ่อ นแอ (KK3) ผลการทดลองดังกล่าวยัง สัม พันธ์กับ ปริมาณเชื้อไฟโต พลาสมาในอ้ อ ยแต่ล ะพั น ธุ์ ที่ น ามาตรวจด้ ว ยวิธี เ ชิ ง ปริ ม าณ quantitative real time PCR (qPCR) จาก การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของเชื้อและพืชในครั้งนี้ สามารถนาข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นกลยุทธ์เบื้องต้นในการคัดเลือก พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรคใบขาวได้อย่างถูกต้อง แม่นยาต่อไป คาขอบคุณ ขอขอบคุณห้องปฏิบัติการอารักขาพืช ณ ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทาวิจยั และด้านอ้อยน้าตาลมิตรภูเขียว ที่สนับสนุนทุนวิจัย
เอกสารอ้างอิง Athinuwat, D. 2009. Specificity of avirulence genes of Xanthomonas axonopodis pv. glycines on different soybean cultivars. Ph.D. Thesis. Kasetsart University. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
705
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-08
Athinuwat, D., S. Prathuangwong and T.J. Burr. 2009. Xanthomonas axonopodis pv. glycines soybean cultivar virulence specificity determinate by avrBs3 homolog, avrXag1. Phytopathology 99: 996-1004. Buensanteai, N., G.Y. Yuen and S. Prathuangwong. 2008. The biocontrol bacterium Bacillus amyloliquefaciens KPS46 produces auxin, surfactin and extracellular proteins for enhanced growth of soybean plant. Thai Journal of Agricultural Science 41(3): 101116. Kesumawati, E., T. Kimata, T. Uemachi, M. Hosokaw and S. Yazawa. 2006. Correlation of phytoplasma concentration in Hydrangea macrophylla with green-flowering stability. Scientia Horticulturae 108: 74-78. Kumar, S. and S. Umesha. 2017. Enhancement of the expression of defense genes in tomato against Ralstonia solanacearum by N-octanoyl-L-homoserine lactone. African Journal of Microbiology Research 11(5): 194-123. Somssich, I.E., E. Schmelzer, J. Bollmann and K. Hahlbrock. 1986. Rapid activation by fungal elicitor of genes encoding “pathogenesis-related” proteins in cultured parsley cells. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 83: 2427-2430. Somssich, I.E., E. Schmelzer, P. Kawalleck and K. Hahlbrock. 1988. Gene structure and in situ transcript localization of pathogenesis-related protein 1 in parsley. Molecular and General Genetics 213: 93-98. Sels, J., J. Mathys, B. M. De Coninck, B. P. Cammue and M. F. De Bolle. 2008. Plant pathogenesis-related (PR) proteins: a focus on PR peptides. Plant Physiology and Biochemistry 46: 941-50.
706
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
การประเมินความต้านทานของพันธุอ์ ้อยต่อโรคแส้ดาในการปรับปรุงพันธุ์ Smut Resistant Evaluation of Breeding Program กนกวรรณ สว่าง ลาวัลย์ กลัดสุวรรณ สิริวรรณ์ โคตรโสภา มานุวัตร ตินตะรสาละ ณ ราชสีมา วรินทร จารย์คูณ และ พีรญา กลมสอาด Kanokwan Sawang Lawan Kladsuwan Siriwan Kodsopa Manuwat Tintarasaranaratchaseema Varinthon Jarnkoon and Peeraya Klomsa-ard ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัย มิตรผล 399 หมู่ 1, ถ.ชุมแพ-ภูเขียว, ต.โคกสะอาด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูม,ิ 36110 Mitr Phol Innovation and Research Center, Mitr Phol Group, 399 Moo 1 Chumphae-Phukiao Rd., Khoksa-at, Phu Khiao Chaiyaphum, 36110 Thailand
บทคัดย่อ ประเมินความต้านทานในอ้อยลูกผสมของ บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้าตาล จากัด ชุดปี 2009 และชุ ด ปี 2014 รวมพั น ธุ์ เ ปรี ย บเที ย บ จ านวน 14 clones โดยการตรวจสอบเส้ น ใยของเชื้ อ รา Sporisorium scitamineum ในเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดอ้อย clones ต่างๆ ที่ได้รับการปลูกเชื้อด้วยวิธี pin prick ที่ตาอ้อย บ่มเชื้อนาน 1 คืน ก่อนนาไปปลูกในถุงดา ตรวจสอบการสร้างแส้จนครบอายุ 2 เดือน และตัด ตาที่ไม่พบการสร้างแส้เอาเนื้อเยื่อเจริ ญ ปลายยอดของอ้อยมาย้อมสีด้วย Trypan blue ตามวิธีของ Sinha และคณะ, 1982 และตรวจสอบเส้นใยใต้กล้องจุลทรรศน์ มีพันธุ์ตรวจสอบต้านทาน คือ พันธุ์อู่ทอง 3 และ K84-200 พันธุ์ตรวจสอบอ่อนแอ คือ พันธุ์มาร์ก อส พบว่า สามารถแบ่งปฏิกิริยาความต้านทานออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มต้านทาน (ไม่พบการสร้างเส้นใยและสร้างแส้) จานวน 2 clones 2) กลุ่มต้านทานปานกลาง (พบเฉพาะเส้นใย) จานวน 7 clones 3) กลุ่มค่อนข้างอ่อนแอ (พบการสร้างเส้นใยมากกว่า 50% แต่ไม่พบการ สร้างแส้) จานวน 3 clones และ 4) กลุ่มอ่อนแอ (พบเส้นใยหนาแน่นและพบการสร้างแส้) จานวน 2 clones สาหรับพันธุ์ตรวจสอบต้านทานและอ่อนแอแสดงปฏิกิริยาความต้านทานตรงตามลักษณะพันธุ์โดยพบการสร้าง แส้และเส้นใยตามการประเมินปฏิกิริยาที่ได้มีผู้ทาไว้ จากการประเมินความต้านทานของพันธุ์อ้อยต่อโรคแส้ดา ในการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคนิคการย้อมสี พบว่า ปฏิกิริยาความต้านทานมีความสอดคล้องกับพันธุ์ตรวจสอบ ต้านทานและอ่ อนแอ ดังนั้น วิธีก ารนี้จึง เป็นวิธีก ารตรวจสอบที่ รวดเร็วและมีป ระสิท ธิภาพ ท าให้สามารถ คัดเลือกพันธุ์อ้อยได้ดี หรือคัดเลือกพันธุ์ต้านทานเป็นพ่อแม่พันธุ์ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา พื้นที่ แรงงาน และ การจัดการแปลงต่างๆ คาสาคัญ : โรคแส้ดา การประเมินความต้านทานของพันธุ์อ้อยต่อโรคแส้ดา
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
707
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
ABSTRACT Sugarcane Hybrids of Mitr Phol Sugarcane Research Center series MPT 2009 and MPT 2014 were evaluated for smut resistance. The number of clones tested were 14. For onebud cutting of each clone were inoculated with smut spore (Sporisorium scitamineum) by pin prick each variety were recorded for 2 months. Cane with no whip were cut and then detected for smut method, incubated overnight in plastic bag, then transplanted (1 bud/bag). Smut whips symptom of hyphae in apical meristematic regions by staining technique. The result indicated reaction which may divide into 4 groups, 1) Two resistance clones (no hyphae found and no whip formation) 2) Seven moderately resistance clones (only hyphae found) 3) Three moderately susceptible clones (hyphae found more than 50% and no whip formation) 4) Two susceptible clones (dense hyphae found and few whip formation). Resistant and susceptible check showed the expected reaction as the precious work. Smut resistant evaluation would be facilitating by the technique this experiment undertaken since it reduces time, land, labor consumed. Keywords: Smut, Smut resistance evaluation คานา อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญชนิดหนึ่งของโลก ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้าตาล และผลพลอย ได้จากการผลิตน้าตาล เช่น กากอ้อย (bagasse) และกากน้าตาล (molasses) สามารถนาไปเป็นวัตถุดิบของ แหล่งพลัง งานเชื้อเพลิง และวัตถุดิบ ส าหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ได้ การบริโภคน้าตาลของมนุษย์ มี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศผูผ้ ลิตและส่งออกอ้อยและน้าตาลทรายต้องหันมาพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพ การผลิตอ้อยของตน แต่หนึ่งในปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อผลผลิตอ้อย คือ โรคและแมลง ซึ่งทาให้ผลผลิตของอ้อย ลดลงได้ เช่น โรคแส้ดา โรคแส้ดาเป็นโรคที่มีความสาคัญและมีการระบาดในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศไทย สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Sporisorium scitamineum โดยทาให้อ้อยแตกกอมากกว่าปกติ กอใหม่มักมีขนาดเล็ก ไม่ย่างปล้อง ต้นแคระแกรนผอม ข้อสั้นเตี้ย ใบเล็กตั้งเรียวบาง และยอดอ้อยจะมีรูปร่างคล้ายแส้สีดา (whip) ถ้าเป็นรุนแรง มากจะทาให้อ้อยแห้งตายทั้งกอ ทาให้ผลผลิตลดลง 10-80% และค่า CCS ลดลง 7-13% ความรุนแรงของ อาการของโรคจะปรากฏชัดเจนในอ้อยตอรุ่นต่อไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้าตาลปีละ หลายร้อยล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2544; วันทนีย์, 2545; ธวัช, 2542; Comstock, 2000) การระบาด ของโรคแส้ดาเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น เชื้อสาเหตุติดไปกับท่อนพันธุ์ สปอร์ปลิวตามลมเข้าทาลายอ้อย และ การที่ เชื้อพักตัวในดินเข้าท าลายท่ อนพั นธุ์ (ธนาคร และคณะ, 2526; นิพนธ์, 2535; กรมวิชาการเกษตร, 2544; วันทนีย์, 2545; Ferreira and Comstock, 1989) 708
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
เนื่องจากเป็นโรคที่ก่อปัญหาให้แก่อ้อยจึงมีวิธีการป้องกันจากัดร่วมกันหลายวิธี คือ การนาท่อนพันธุ์ แช่ด้วยสารเคมีป้องกั นกาจัดเชื้อ รา ได้แก่ Triadimefon 25% ดับ บลิวพี อัตรา 40 กรัม /น้า 20 ลิตร หรือ Propiconazole 250 อีซี อัตรา 16 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร นาน 30 นาที ก่อนปลูกอ้อย (วันทนีย์ และคณะ, 2529; Bhuiyan et al. 2012) การแช่ท่ อนพันธุ์ในน้าร้อนอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ก่อน ปลูก (Fereira and Comstock, 1989) การทาลายแหล่งเชื้อแส้ดาในไร่โดยการขุด เผา เพื่อกาจัดเชื้อแส้ดา (วันทนีย์, 2545) นอกจากนี้ ยังมีก ารทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์อ้อยต่อโรคแส้ดา เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ มี ต้านทานต่อโรคแส้ดา ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถตรวจสอบโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในระยะต่างๆ ของ ขั้นตอนของการปรับปรุงพั นธุ์ โดยทาการปลูกเชื้อเพื่อดูก ารสร้างแส้ดาในอ้อยปลูก และอ้อยตอ เพื่ อยืนยัน ความต้านทานของพันธุ์อ้อยต่อโรคแส้ดา (อนุสรณ์ และคณะ, 2534; อัปสร และคณะ, 2535; Pliansinchai et al. 1995; Amorim et al. 1998; Shen et al. 2014) บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้าตาล จากัด ได้มีการปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพือ่ พัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีคุณภาพที่ดีแก่เกษตรกร ในขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ต้อง มีการตรวจสอบความต้านทานโรคอ้อย เพื่อประกอบการคั ดเลือก ประกอบกับการใช้พันธุ์ต้านทานแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่มีการยอมรับมากที่สุด เนื่องจากสามารถจากัดและควบคุมโรคได้ดี ง่ายในการปฏิบัติ ไม่ต้องลงทุน มากและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถเตรียมพันธุ์ทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค การใช้ อ้อยพันธุ์ต้านทานเป็ นแนวทางหนึ่งในการควบคุม การระบาดของโรคได้ ดีมี ป ระสิท ธิภ าพ และเกษตรกร สามารถนาไปใช้ได้อย่างสะดวก แต่อย่างไรก็ตามมักพบเสมอว่าพันธุ์ต้านทานที่มีนั้นคงอยู่ได้ไ ม่นาน เนื่องจาก เชื้อมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม โดยการผสมพันธุ์แบบอาศัยเพศ จากเชื้อที่อ่อนแอเป็นสายพันธุ์ที่ รุนแรง และเข้าทาลายอ้อยได้เช่นเดิม (Elseoud, 1999) การทดสอบความต้านทานของอ้อยต่อโรคแส้ดามีการนาเทคนิคต่างๆ มาใช้สาหรับทดสอบ เช่น การ ปลูกเชื้อ โดยวิธี immersion และตรวจสอบการสร้างแส้ในระยะอ้อยปลูกและอ้อยตอ (วันทนีย์ และคณะ, 2529; อัปสร และคณะ, 2538; อัปสร และคณะ, 2540) แต่การทดสอบนี้หากมีพันธุ์จานวนมากทาให้ต้องใช้ พื้นที่มาก เปลืองแรงงานและใช้เวลานานสาหรับการทดสอบ Sinha และคณะ, 1982 ได้พัฒนาเทคนิคการ ย้อมสีมาใช้ในการทดสอบความต้านทานของอ้อย โดยตรวจสอบการติดสี trypan blue ของเส้นใยเชื้อราแส้ ดาบริเวณเนื้อเยื่อเจริญของอ้อย อนุสรณ์ และคณะ, 2534 ได้นาเทคนิคนี้มาทดสอบความต้านทาน โดยปลูก เชื้อที่ ตาบนท่ อ นอ้ อยก่อ นปลูก ในพั นธุ์ที่ท ราบระดับความต้านทานพบว่าได้ผลสอดคล้องกั บ วิธีม าตรฐาน ต่อมา Pliansinchai และคณะ, 1995 ได้นาเทคนิคนี้มาตรวจสอบความต้านทานของอ้อยในระยะแรกของการ ปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งมีจานวน clone มาก โดยการปลูกเชื้อที่ตาข้างของกล้าอ้อยและตรวจสอบการสร้างแส้และ เส้นใยบริเวณเนื้อ เยื่อ ปลายยอดหลัง ปลูก อ้อย 2 เดือน ก็ สามารถตรวจสอบความต้านทานได้และผลการ ทดสอบนั้นก็สอดคล้องกับวิธีการตรวจสอบมาตรฐาน สามารถแยกอ้อยต้านทานโรคและอ่อนแอต่อโรคได้อย่าง ชัดเจน ดังนั้น วิธีนจี้ ึงเป็นวิธีที่สามารถตรวจสอบโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในระยะแรกของการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทฯ มีจานวนพันธุ์อ้อยที่ต้องคัดเลือกจานวนมาก หากมีการ ปลูกอ้อยตามปกติเพื่อดูความต้านทานโรคต้องมีพื้นที่ปลูกอ้อยค่อนข้างมาก เปลืองค่าใช้จ่ายและใช้เวลานาน ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้านทานของพันธุ์อ้อยต่อโรคแส้ดาในการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
709
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
เทคนิคการย้อมสีเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สาหรับคัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต่อโรคแส้ดาเป็นพ่อแม่พันธุ์ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา พื้ นที่ แรงงาน และการจัดการแปลงต่างๆ รวมถึงใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์สาหรับขยายในขั้นต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ 1. เตรียมพันธุท์ ดสอบในอ้อยลูกผสมชุดปี 2009 และชุดปี 2014 รวมพันธุ์เปรียบเทียบ จานวน 14 สาย พันธุ์ๆ ละ 5 ลา ตัดข้อตา ให้ได้จานวน 30 ตา/สายพันธุ์ มีพันธุ์ตรวจสอบต้านทาน คือ พันธุ์อู่ทอง 3 และ K84-200 พันธุ์ตรวจสอบอ่อนแอ คือ พันธุ์มาร์กอส (macos) โดยทาการทดลอง ณ โรงเรือน และห้องปฏิบัตกิ ารโรคพืช บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้าตาล จากัด อ. ภูเขียว จ. ชัยภูมิ 2. ทาการปลูกเชื้อที่ตาอ้อยโดยวิธี pin prick บ่มเชื้อ 1 คืน ก่อนนาไปปลูกในถุงดา จานวนถุงละ 1 ตา 3. ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การงอก และสังเกตการสร้างแส้จนครบอายุ 2 เดือน 4. ตัดอ้อยอายุ 2 เดือน ที่ไม่พบการสร้างแส้มาย้อมสีบริเวณเนือ้ เยื่อเจริญปลายยอดของอ้อย ด้วยวิธีของ Sinha et al., 1982 โดยการตรวจสอบเส้นใยของเชื้อรา Sporisorium scitamineum ในเนื้อเยื่อ เจริญปลายยอดอ้อยสายพันธุ์ต่างๆ 5. ตรวจสอบเส้นใยแส้ดาจากเนือ้ เยื่อเจริญปลายยอดอ้อยใต้กล้องจุลทรรศน์ บันทึกความหนาแน่นของ เส้นใยของเชื้อ โดยแบ่งออกเป็นความหนาแน่น 4 ระดับ (ภาพที่ 1) คือ (ระดับ 1) = ไม่พบเส้นใย (ระดับ 2) + = พบเส้นใย 1-20% (ระดับ 3) ++ = พบเส้นใย 21-50% (ระดับ 4) +++ = พบเส้นใย 51-100%
ภาพที่ 1 ช่วงเปอร์เซ็นต์การตรวจสอบความหนาแน่นเส้นใยของเชื้อรา (smut hyphae) ทีบ่ ริเวณเนื้อเยือ่ เจริญปลายยอดโดยเทคนิคการย้อมสี 710
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
6. ประเมินความต้านทานโดยตรวจสอบการสร้างแส้และความหนาแน่นของเส้นใยของแส้ดาบริเวณ เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดอ้อย ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง จากการตรวจสอบการสร้างแส้นาน 2 เดือน และการย้อมสีบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดของอ้อยใน ตาที่ไม่พบการสร้างแส้เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของเส้นใยเชื้อรา (ตารางที่ 1) ในอ้อยลูกผสมชุดปี 2009 และชุดปี 2014 รวมพันธุ์เปรียบเทียบ จานวน 14 clones สามารถแบ่งผลการทดลองออกเป็นดังนี้ คือ 1. ไม่พบการสร้างเส้นใยและไม่พบการสร้างแส้ จานวน 2 clones 2. พบเฉพาะการสร้างเส้นใย จานวน 7 clones 3. พบการสร้างเส้นใยมากกว่า 50% แต่ไม่พบการสร้างแส้ จานวน 3 clones 4. พบเส้นใยหนาแน่นและพบการสร้างแส้ จานวน 2 clones พันธุ์ตรวจสอบต้านทาน คือ พันธุ์อู่ทอง 3 พบเส้นใยบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดในระดับ 3 และ พันธุ์ K84-200 พบเส้นใยบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดในระดับ 1 ส่วนพันธุ์ตรวจสอบอ่อนแอ พบการสร้าง แส้ในบางตาและตาที่เหลือตรวจพบเส้นใยความหนาแน่นระดับ 4 จากผลการทดลอง พบว่า การทดสอบมี ความสอดคล้องกับข้อมูลความต้านทานของอ้อยตรวจสอบต้านทานและอ่อนแอ (อนุสรณ์ และคณะ, 2534; Pliansinchai et al. 1995) ดังนั้น จากการทดลองนี้สามารถแบ่งเป็นกลุ่มต้านทานจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มที่ไม่พบการสร้างเส้นใยและสร้างแส้ เป็นกลุ่มที่มีความต้านทานมากที่สุด 2. กลุ่มที่พบเฉพาะเส้นใย เป็นกลุ่มที่มีความต้านทานปานกลางแต่ความต้านทานของอ้อยขึ้นกับ ปริมาณเส้นใยที่พบว่ามีความหนาแน่นมากน้อยอย่างไร ถ้าพบเส้นใยมากความต้า นทานต่อ โรคแส้ดาก็จะน้อย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ อนุสรณ์ และคณะ, 2534 พบว่า ปริมาณ ของเส้ น ใยที่ ต รวจพบจะสั ม พั น ธ์ โ ดยตรงกั บ ความต้ านทานของโรคในแต่ ล ะพั น ธุ์ ที่ ใช้ ตรวจสอบซึ่งพันธุ์อ้อยที่อ่อนแอต่อโรคจะพบปริมาณเส้นใยมาก 3. กลุ่มที่ พ บการสร้างเส้นใยมากกว่า 50% แต่ไม่พบการสร้างแส้ เป็นกลุ่ม ค่อนข้างอ่อนแอ น่าจะเกิดการที่อ้อยอาจมีความต้านทานบางอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับสรีระวิทยาของอ้อย ทาให้ การแสดงออกช้ากว่าหรือไม่แสดงออก (Pliansinchai et al. 1995) 4. กลุ่มที่พบเส้นใยหนาแน่นและพบการสร้างแส้ เป็นกลุ่มที่มีความอ่อนแอมากที่สุดเพราะใน กลุ่มนี้มีการสร้างแส้และเส้นใยในทุกตา จากการสังเกต พบว่า การเส้นใยและสร้างแส้ของ อ้อยแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีความสัม พันธ์กัน คือ หากพบว่า สายพันธุ์ใดมีการสร้างแส้มาก มักจะพบเส้นใยบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดมีความหนาแน่นมากเช่นกัน
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
711
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
ตารางที่ 1 แสดงผลการสร้างแส้และการสร้างเส้นใยของเชื้อราโรคแส้ดา (โดยเทคนิคการย้อมสี) ใน clone พันธุ์อ้อยที่แตกต่างกัน Clone พันธุ์อ้อย แส้ ระดับความหนาแน่นของเส้นใย ปฏิกิริยา MPT 14-12-6 R MPT14-12-618 + MR MPT 09-296 +++ MS MPT 14-1-188 ++ MR MPT 14-1-956 +++ MS MPT 14-1-772 ++ MR MPT 14-5-173 + MR MPT 09-297 ++ MR KK3 ++ MR อู่ทอง 3 (Resistant check) ++ MR K84-200 (Resistant check) R Macos (susceptible check) 2 +++ S K92-80 2 +++ S UT8 +++ MS = no smut hyphae R = Resistant + = a few smut hyphae (1-20%) MR = Moderately resistant ++ = moderate smut hyphae (21-50%) MS = Moderately susceptible +++ = abundant smut hyphae (51-100%) S = susceptible MPT = Mitr Phol Thailand การตรวจสอบความต้านทานครั้งนี้เป็นการตรวจสอบความต้านทานเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสาหรับนัก ปรับปรุงพันธุ์ในการคัดเลือกอ้อยระยะต่อไป หากอ้อยสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ระยะคัดเลือก สุดท้ายจะทาการตรวจสอบความต้านทานตามวิธีมาตรฐานในแปลงเพื่อยืนยันกับผลการทดสอบในครั้งนี้ว่ามี ความสอดคล้องกันหรือไม่ต่อไป สรุปผลการทดลอง จากการนาเทคนิคการย้อมสีบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดมาใช้ตรวจสอบความต้านทานของอ้อยต่อ โรคแส้ดาในการปรับปรุงพันธุ์ขั้นต้น สามารถแบ่งระดับปฏิกิริยาความต้านทานออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1. กลุ่มต้านทาน (ไม่พบการสร้างเส้นใยและสร้างแส้) จานวน 2 clones 2. กลุ่มต้านทานปานกลาง (พบเฉพาะเส้นใย) จานวน 7 clones 712
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
3. กลุ่ ม ค่ อ นข้างอ่ อ นแอ (พบการสร้างเส้ น ใยมากกว่า 50% แต่ไม่ พ บการสร้า งแส้ ) จ านวน 3 clones 4. กลุ่มอ่อนแอ (พบเส้นใยหนาแน่นและพบการสร้างแส้) จานวน 2 clones การนาเทคนิคการย้อมสีเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดของอ้อยมาใช้ในการตรวจสอบความต้ านทานของ อ้ อ ยต่ อ โรคแส้ ด าในการปรั บ ปรุง พั น ธุ์ วิ ธีนี้ ท าให้ ก ารตรวจสอบความต้ า นทานมี ค วามรวดเร็ ว และมี ประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบเชื้อ ได้เพียงระยะเวลา 2 เดือนก็ทราบผล ทาให้ประหยัดเวลา พื้นที่ แรงงาน และการจัดการแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกาจัดวัชพืช การให้ปุ๋ยและน้า เป็ นต้น อีกทั้งยังเป็นข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้ตัดสินใจคัดเลือกสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความต้านทานโรคแส้ดาเข้าสู่ระยะต่อไปของการ คัดเลือก สาหรับ สายพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคแส้ดาแต่มีความบกพร่องในลักษณะอื่นๆ เช่น ความหวาน การแตกกอ หรือลักษณะทางสัณฐานวิทยาอื่นๆ อาจคัดเลือกส์เหล่านี้เก็บไว้เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์สาหรับการ ผสมพันธุ์อ้อยต่อไป คาขอบคุณ ขอขอบคุณห้องปฏิบัติการอารักขาพืช ณ ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ทีเ่ อื้อเฟื้อสถานที่ในการ ทาวิจัยและด้านอ้อยน้าตาลมิตรภูเขียว ที่สนับสนุนทุนวิจยั เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. 2544. เอกสารวิชาการ การป้องกันกาจัดศัตรูอ้อย. สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการ เกษตร. 104 หน้า. นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต. 2535. โรคแส้ดาของอ้อยและการป้องกันกาจัด. วารสารวิชาการเกษตร 10 : 121-125. ธนาคร จารุพัฒน์, วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล, นิพนธ์ ทวีชัย และศศินาฏ แสงวง. 2526. โรคอ้อยในประเทศไทย. ชมรมนักวิชาการอ้อยและน้าตาลแห่งประเทศไทย. ฟันนี่พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 178 หน้า. ธวัช ตินนังวัฒนะ. 2542. เทคนิคการปลูกอ้อยและการจัดการ. ในเอกสารการฝึกอบรมความรู้ด้านอ้อยและ น้าตาลทราย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน) วันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2542 ณ โรงแรมอุดรโฮเต็ล จ. อุดรธานี. สถาบันอ้อยและน้าตาลทรายร่วมกับศูนย์เกษตรอ้อย 4 ภาค สานักงานคณะกรรมการ อ้อยและน้าตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. ส่วนที่ 4. วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2545. โรคสาคัญที่เกิดจากเชื้อรา. กลุ่มงานวิจัยโรคพืชไร่ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. หน้า 3-13. วันทนีย์ อู่วาณิชย์, อนุสรณ์ กุศลวงศ์, นิยม จิ้วจิ้น, พรพิศ โคตรชมภู, ประพันธ์สุข พัฒนานนท์ และ เกรียงศักดิ์ ผลพวก. 2529. การปรับปรุงอัตราและวิธีการใช้สารป้องกันกาจัดโรคแส้ดา. รายงาน ผลงานวิจัยประจาปี 2529 กลุ่มงานวิจัยโรคพืชไร่ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. หน้า 60-67. อนุสรณ์ กุศลวงศ์ และ วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2534. เทคนิคการตรวจสอบความต้านทานโรคแส้ดาและ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
713
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราในห้องปฏิบัติการ. รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2534 กลุ่ม งานวิจัยโรคพืชไร่ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา, กรมวิชาการเกษตร. หน้า 25-32. อัปสร เปลี่ยนสินไชย. 2540. การปรับปรุงพันธุ์และทดสอบพันธุ์อ้อยเพื่อต้านทานโรคและแมลง. เอกสาร ประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร “พันธุ์อ้อย”. จัดโดยสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้าตาลแห่งประเทศ ไทย วันที่ 16-17 มิถุนายน 2540. 26 หน้า. อัปสร เปลี่ยนสินไชย, นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต, ประชา ถ้าทอง, ผุด จันทร์สุโข และ ฐิติกานต์ ธนวรรณ. 2535. การศึกษาเทคนิคในการคัดพันธุ์ต้านทานโรคแส้ดาของอ้อย. รายงานผลงานวิจัยอ้อยประจาปี 2535 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร. หน้า 18-35. อัปสร เปลี่ยนสินไชย, นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต, อุดม เลียบวัน, ประชา ถ้าทอง และ ฐิติกานต์ ธนวรรณ. 2538. การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์อ้อยต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง. รายงานผลงานวิจัยอ้อยประจาปี 2538 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร. หน้า 533-544. Amorim, L., A. Bergamin and B. Hau. 1998. Wounded-bud inoculation of Utilago scitaminea: Effect on sugarcane smut progress curve. www.bspp.org. Bhuiyan, S. A., Croft, B. J., James, R. S., and Cox, M. C. 2012. Laboratory and field evaluation of fungicides for the management of sugarcane smut caused by Sporisorium scitamineum in seedcane. Australas. Plant Pathol. 41, 591–599. doi: 10.1007/s133130120139-1 Comstock, J. C. 2000. “Smut” in A Guide to Sugarcane Diseases, eds P. Rott, R.A. Bailey, J. C. Comstock, B. J. Croft, and A. S. Saumtally (Montpellier: CIRAD and ISSCT Press), 181– 185. Elseound, M.S.A. 1999. Phenotype variation among Egyptian culture of Ustilago maydis the incidence of corn common smut disease. Alexandria Journal of Agricultural Research 44: 239-262. Ferriera, S.A. and J.C. Comstock. 1989. Smut. In Disease of sugarcane: Major diseases. Edited by Ricaud, C., Egan, B.T., Gillaspie, A.G.Jr. and Hughes, C.G. p.211-230. ELSEVIER, Amsterdam, Oxford, New York. Pliansinchai, U., P. Thumtong and N. Lamsupasit. 1995. Inoculation technique for smut resistant evaluation at difference stage of breeding program. Proceeding of the 2 nd National Plant Protection Conference, October 1995, pp. 249-254. (in Thai). Shen, W. K., Deng, H. H., Li, Q. W., Yang, Z. D., and Jiang, Z. D. 2014. Evaluation of BC1 and BC2 from the crossing Erianthus arundinaceus with Saccharum for resistance to sugarcane smut caused by Sporisorium scitamineum. Trop. Plant Pathol. 39, 368–373. doi: 10.1590/S1982-56762014000500003 714
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-09
Sinha, O.K., K. Singh and S.R. Misra. 1982. Stain technique for detection of smut hyphae in nodal bud of sugarcane. Plant Disease 66: 932-933.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
715
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-14
ประสิทธิภาพของสารกาจัดเชื้อราในการควบคุมเชือ้ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง Efficacy of Fungicides to Control Colletotrichum gloeosporioides causal Agent of Mango Anthracnose Disease วีระศักดิ์ ลิขิตมั่นชัย1 เทพชัย เทพช่วยสุข1 และ อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช2 Veerasak Likitmanchai1 Thepchai Thepchuasook1 and Udomsak Lertsuchatavanich2 1
บริษัท อดามา (ประเทศไทย) จากัด แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 ADAMA Thailand Ltd., Chong nontri, Yannawa, Bangkok 10120, Thailand. 2 ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900 2 Department of Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkhen, Bangkok 10900, Thailand. 1
บทคัดย่อ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงจากเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides เป็นโรคที่มีความสาคัญที่ ทาให้ผลผลิตมะม่วงเสียหายเป็นจานวนมากในแต่ละปี การควบคุมโรคแอนแทรคโนสด้วยสารกาจัดเชื้อราเป็น วิธีการหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้ แต่สารกาจัดเชื้อรานั้นมีกลไกการทางานที่แตกต่างกันทาให้การควบคุมนั้นมี ประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน และเพื่อลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อ C. gloeosporioides งานทดลองนี้ได้ทาการ ทดสอบการควบคุมเชื้อ C. gloeosporioides ที่แยกได้จากผลมะม่วงที่ปลูกใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา กับ สารป้องกันกาจัดเชื้อรา Frac group 3 และ 11 ด้วยเทคนิค poison food media ผลการทดลองพบว่าสาร propiconazole+prochloraz (Frac group 3+3) อั ต ร า 5-15 cc ต่ อ น้ า 20 L กั บ ส า ร difenoconazole+propiconazole (Frac group 3+3) อัตรา 15 cc ต่อ น้า 20 L สามารถควบคุม เชื้อ C. gloeosporioides ได้ ดี ที่ สุ ด โด ย ส า ม า ร ถ ยั บ ยั้ ง ก า ร เจ ริ ญ ข อ ง เชื้ อ ได้ 100% ร อ งล ง ม า ได้ แ ก่ azoxystrobin+tebuconazole (Frac group 11+3) อัตรา 15 cc ต่อ น้า 20 L สามารถยับยั้งการเจริญของ เชื้อได้ 93.10% ส่วน azoxystrobin (Frac group 11) เป็นสารที่มีประสิทธิภาพต่าที่สุดสามารถยับยั้งการ เจริญของเชื้อได้ 24.14% ซึ่งผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความต้านทานของเชื้อ C. gloeosporioides ต่อ สารกาจัดเชื้อรา azoxystrobin (Frac group 11) เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรนาไปเป็นแนวทางในการเลือกใช้ สารเคมีเพื่อป้องกันกาจัดโรคแอนแทรคโนสได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อ C. gloeosporioides ในอนาคต คาสาคัญ : มะม่วง โรคแอนแทรคโนส Colletotrichum gloeosporioides สารป้องกันกาจัดเชื้อรา ABSTRACT Anthracnose disease of mango caused by Colletotrichum gloeosporioides that causes serious losses to mango fruits annually. Most farmer control anthracnose disease with fungicide application. Fungicides have different mode of action (MOA) that specific for control fungi and use in disease management program to delay fungicide resistance development of C. gloeosporioides. This experiment determine efficacy of fungicides in Frac group of 3 and 11 to control C. gloeosporioides isolated form Pak Chong District, Nakhon 716
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-14
Ratchasima with poison food media technique. Results showed that propiconazole+prochloraz (Frac group 3+3) rate 5-15 cc per 20 L of water and difenoconazole+propiconazole ( Frac group 3+3) rate 15 cc per 20 L of water gave the highest growth inhibition at 100%. Azoxystrobin+tebuconazole (Frac group 11+3) rate 15 cc per 20 L of water gave lower growth inhibition at 93.10%. Azoxystrobin (Frac group 11) gave the lowest growth inhibition at 24.14% and these results showed that C. gloeosporioides isolated form Pak Chong District was resistance to azoxystrobin (Frac group 11). This data will be useful for resistance risk management of C. gloeosporioides in the future. Keywords: mango, anthracnose, Colletotrichum gloeosporioides, fungicide คานา มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สาคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการ ส่งออก ในปี พ.ศ.2561 สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2562) ได้รายงานปริมาณส่งออกมะม่วงรวมประมาณ 94,113 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,384 ล้านบาท ในการผลิตมะม่วงนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จะประสบปัญหา การเข้าทาลายของโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ทาให้ผลผลิตเกิด ความเสียหายเป็นจานวนมาก เนื่องด้วยโรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่เข้าทาลายได้ทุกระยะของมะม่วงตั้งแต่ ก่อนเก็บเกี่ยวไปจนถึงหลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าทาลายที่ระยะหลังการเก็บเกี่ยวที่ทาให้เกิด ปัญหาผลผลิตมะม่วงเสียหายเป็นอย่างมาก การป้องกันควบคุมโรคแอนแทรคโนสมะม่วงนั้นมีหลายวิธีการ เช่น การตัดแต่งทรงพุ่ม การห่อผล การแช่ผลผลิตในน้าร้อน และการใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อรา เป็นต้น โดย การใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราเป็นวิธีการที่เกษตรกรนิยมใช้ แต่เกษตรกรส่วนมากนิยมใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อ ราชนิดเดียวในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทาให้เชื้อสาเหตุโรคดื้อต่อสารป้องกันกาจัด เชื้อราได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความต้านทานของเชื้อต่อ สารป้องกัน กาจัดเชื้อราในกลุ่ม Frac code 3 และ 11 บางชนิดที่เกษตรกรนิยมใช้ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส อุปกรณ์และวิธีการ 1. การแยกเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง ทาการเก็บตัวอย่างผลมะม่วงน้าดอกไม้ที่มีอาการโรคแอนแทรคโนสจาก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นาตัวอย่างมาทาการแยกเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ด้วยเทคนิค tissue transplanting โดยตัดส่วนผิวเปลือกมะม่วงที่เป็นโรคให้ติดกับส่วนปกติเป็นชิ้นขนาด 0.5 x 0.5 ตารางเซนติเมตร ฆ่าเชื้อที่ผิวด้วยสารละลาย 1% sodium hypochlorite เป็นเวลา 5 นาที จากนั้น ล้างด้วยน้าที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อ นาน 5 นาทีและวางชิ้นพืชลงบน อาหาร PDA เมื่อเชื้อราอายุ 7 วัน ย้ายลง อาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ใหม่ ลักษณะของเชื้อรา C. gloeosporioides ที่เจริญบนอาหาร PDA จะสร้างเส้นใยสี ขาวปนเทาและสร้ า งสปอร์ สี ส้ ม อมชมพู น าเชื้ อ C. gloeosporioides บริ สุ ท ธิ์ ที่ แ ยกได้ ม าทดสอบ ความสามารถในการก่ อ โรค โดยปลูก เชื้อ ราลงบนใบอ่อ นของมะม่ ว งน้ าดอกไม้ โดยน าเชื้ อ มาตัด เป็ น mycelium plug ด้วย cork borer ขนาด 0.5 เซนติเมตร ที่ผ่านการเผาฆ่าเชื้อแล้วและนา mycelium plug ที่ได้ไปวางบริเวณแผลที่ได้ทาไว้บนใบมะม่วงโดยคว่าด้านที่เป็นเส้นใยลงให้สัมผัสกับแผล ใส่ในกล่องพลาสติก
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
717
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-14
ชื้น บ่ ม ไว้ที่ อุ ณ หภู มิ ห้ อ ง เมื่ อ ใบมะม่ วงแสดงอาการของโรคแอนแทรคโนสจึง แยกเชื้อ ราด้ วยวิธี tissue transplanting อีกครั้ง และนาเชื้อราไปใช้การทดลองต่อไป 2. การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราด้วยวิธี Poison Food Media ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อรา 5 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. gloeosporioides ด้ ว ยเทคนิ ค poison food media โดยท าการเลี้ ย งเชื้ อ รา C. gloeosporioides บน อาหาร PDA ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นใช้ cork borer ขนาด 0.5 เซนติเมตร ที่ผ่านการเผา ฆ่าเชื้อแล้วและนา mycelium plug ที่ได้ไปวางบนอาหาร PDA ที่ทาการผสมสารป้องกันกาจัดเชื้อราต่างๆ ให้ ได้อัตราตามที่ต้องการดังตารางที่ 1 ทาการทดลองจานวน 3 ซ้าต่อ treatment หลังจากนั้นบ่มไว้ที่อุณภูมิหอ้ ง 6 วัน ทาการบันทึกผลรัศมีความกว้างของ inhibition zone ตารางที่ 1 ชนิดของสารป้องกันกาจัดเชื้อราและอัตราที่ใช้ในการทดลอง No. 1 2 4 5 6 7 8 9 10 11
Treatment Krezoxim methyl 50%w/v SC Azoxystrobin 25% w/v SC Azoxystrobin + Tebuconazole 12%+20% w/v SC Azoxystrobin + Tebuconazole 12%+20% w/v SC Azoxystrobin + Tebuconazole 12%+20% w/v SC Prochloraz + Propiconazole 40%+9% w/v EC Prochloraz + Propiconazole 40%+9% w/v EC Prochloraz + Propiconazole 40%+9% w/v EC Difenoconazole + Propiconazole 15%+15% w/v EC Control (distilled water)
Frac code 11 11 11+3 11+3 11+3 3+3 3+3 3+3 3+3 -
อัตราต่อน้า 20 ลิตร 10 cc 10 cc 5 cc 10 cc 15 cc 5 cc 10 cc 15 cc 10 cc -
3 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบมะม่วง การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบมะม่วง ด้วยวิธี detached leaf method ทาการเตรียมใบมะม่วงน้าดอกไม้ ทาความสะอาดใบมะม่วงโดยการล้างน้า ไหลให้สะอาดจากนั้นผึ่งให้แห้ง ทาการพ่น 70% ethyl alcohol ให้ชุ่มทั้งหน้าใบและหลังใบ ซับใบมะม่วงให้ แห้งด้วยกระดาษทิชชู่นึ่งฆ่าเชื้อ นาสารป้องกันกาจัดเชื้อราที่เตรียมไว้ตามอัตรา (ตารางที่ 1) มาฉีดให้ทั่วใบ มะม่วงแล้วผึ่งให้แห้ง นาใบมะม่วงที่ เตรียมไว้มาทาแผลด้วยเข็ม ฉีดยา (ภาพที่ 2) จากนั้น วาง mycelium plugs ของเชื้อ C. gloeosporioides ที่เลี้ยงบนอาหาร PDA ที่อุณหภูมิห้อง อายุ 7 วัน โดยคว่าด้านที่มีเส้นใย ของเชื้อราเจริญแนบลงบนใบมะม่วงตรงบริเวณที่ทาแผล จากนั้นนาไปวางไว้ในกล่องบ่มเชื้อที่ทาการรองก้น กล่องด้วยกระดาษทิชชู่ นึ่งฆ่าเชื้อซับน้าไว้ บ่ม ไว้ที่ อุณหภูมิ ห้อง ท ากรรมวิธีละ 2 ใบ ท าการเช็คผลโดยวัด เส้นผ่าศูนย์กลางของแผล และบันทึกลักษณะของ mycelium plugs
718
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-14
ผลการทดลอง 1. การแยกเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง ผลการทดลอง พบว่าสามารถแยกเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ที่เจริญบนอาหารเลี้ยง เชื้อ PDA มีลักษณะโคโลนีฟูจากผิวหน้าอาหาร สร้างเส้นใยสีขาวปนเทา ถึงเขียวมะกอก ขอบโคโลนีมีสีขาว พบการสร้างกลุ่มสปอร์สีส้ม กระจายทั่วโคโลนี โดยเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาอ้างอิงตามหนังสือ The coelomycetes: fungi imperfecti with pycnidium, acervulus and stromata พบว่าเชื้อรามีการสร้าง สปอร์ (conidia) ใสไม่มีสี (hyaline) 1 เซลล์ รูปร่างทรงกระบอก ฐานตัด (truncate) ไม่พบการสร้าง setae เจริญอยู่บนก้านชูสปอร์ (conidiophore) ภายใน asexual fruiting body ที่เรียกว่า acervulus 2. การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราด้วยวิธี Poison Food Media ผลการทดลองพบว่าสาร prochloraz + propiconazole อัตรา 5-15 cc ต่อน้า 20 ลิตร และสาร difenoconazole + propiconazole อัตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการควบคุมเชื้อ C. gloeosporioides ในการทดลอง โดยสารทั้ง 2 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. gloeosporioides ได้ 100% เมื่อเปรียบเทียบกับ ชุดควบคุม และยังพบว่าเชื้อ C. gloeosporioides ที่ วางลงบนอาหารทดสอบที่ ผสมสารข้ างต้ น ไม่ มี เส้ น ใยเจริ ญ ออกมาจากชิ้ น ของ mycelium plug (ภาพที่ 1) สารที่ มี ป ระสิ ท ธิภ าพ รองลงมาได้แก่ สาร azoxystrobin + tebuconazole อัตรา 5-15 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการ ยั บ ยั้ ง การเจริ ญ ของเชื้ อ ที่ 87.24% 89.66% และ 93.10% ตามล าดั บ ส่ ว นสาร azoxystrobin และ krezoxim methyl อัตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิในการยับ ยั้งการต่าที่สุด เท่ ากั บ 34.48% และ 24.14% ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ผลของป ระสิ ท ธิ ภ าพ สารก าจั ด เชื้ อ ราต่ า งๆใน การยั บ ยั้ ง เจริ ญ เชื้ อ Colletotrichum gloeosporioides ที่ 2 4 และ 6 วันหลังการทดลอง Treatment
อัตรา
1.Krezoxim methyl 2.Azoxystrobin 3.Azoxystrobin + Tebuconazole 4.Azoxystrobin + Tebuconazole 5.Azoxystrobin + Tebuconazole 6.Prochloraz + Propiconazole 7.Prochloraz + Propiconazole 8.Prochloraz + Propiconazole 9.Difenoconazole + Propiconazole 10.Control (distilled water)
10 cc/20L 10 cc/20L 5 cc/20L 10 cc/20L 15 cc/20L 5 cc/20L 10 cc/20L 15 cc/20L 10 cc/20L -
เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides 2 วัน 4 วัน 6 วัน 17.00 18.75 34.48 17.00 25.00 24.14 100 93.75 87.24 100 93.75 89.66 100 93.75 93.10 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 100 0.00 0.00 0.00
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
719
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-14
ภาพที่ 1 การเจริญเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides บนอาหาร PDA ผสมสารป้องกันกาจัดเชื้อรา ต่างๆ ที่ 6 วันหลังการวางเชื้อ 1) Krezoxim methyl, 2) Azoxystrobin, 3) Azoxystrobin + Tebuconazole#5 4) Azoxystrobin + Tebuconazole#10 5) Azoxystrobin + Tebuconazole#15 6) Prochloraz + Propiconazole#5 7) Prochloraz + Propiconazole#10 8) Prochloraz + Propiconazole#15 9) Difenoconazole + Propiconazole 10) Control (distilled water) 3 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบมะม่วง ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนใบมะม่วง ด้วยวิธี detached leaf method ที่ 10 วัน หลัง การทดลอง พบว่าสาร prochloraz + propiconazole อัตรา 5-15 cc ต่อน้า 20 ลิตร และสาร difenoconazole + propiconazole อัตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมเชื้อ C. gloeosporioides โดยสามารถยับยั้งการเกิดโรคได้โดยไม่ปรากฎ การพัฒนาของแผล นอกจากนี้สาร prochloraz + propiconazole อัตรา 5-15cc ต่อน้า 20 ลิตร ยังยับยั้ง การเจริ ญ ของ mycelium plug ขอ งเชื้ อ C. gloeosporioides ที่ วางบ น ใบ ม ะม่ วงด้ ว ย ส่ ว นส าร azoxystrobin + tebuconazole อั ต รา 5-15cc ต่ อ น้ า 20 ลิ ต ร มี ป ระ สิ ท ธิ ภ าพ ร อ งล งม าโด ย มี เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางแผลอยู่ ที่ 0.14 0.11 และ 0.12 cm ตามล าดั บ ส่ ว น krezoxim methyl และ azoxystrobin อัตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพต่าที่สุด โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางแผลอยู่ที่ 0.21 และ 0.20 cm ตามลาดับ โดยกรรมวิธีความคุม มีเส้นผ่าศูนย์กลางแผลอยู่ที่ 0.25 cm (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 ผลการทดลองประสิทธิภาพการยับยั้งเจริญเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides ที่ 6 วันหลัง การทดลอง Treatment 1.Krezoxim methyl 2.Azoxystrobin 3.Azoxystrobin + Tebuconazole 4.Azoxystrobin + Tebuconazole 720
อัตรา 10 cc/20L 10 cc/20L 5 cc/20L 10 cc/20L
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
เส้นผ่าศูนย์กลางแผล (cm) 5 วัน 10 วัน 0.12 0.21 0.13 0.20 0.13 0.14 0.09 0.11
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
5.Azoxystrobin + Tebuconazole 6.Prochloraz + Propiconazole 7.Prochloraz + Propiconazole 8.Prochloraz + Propiconazole 9.Difenoconazole + Propiconazole 10.Control (distilled water)
15 cc/20L 5 cc/20L 10 cc/20L 15 cc/20L 10 cc/20L -
0.10 0.00 0.00 0.00 0.00 0.08
PPB-14
0.12 0.00 0.00 0.00 0.00 0.25
สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลองข้างต้น พบว่าสารป้องกันกาจัดเชื้อรา prochloraz + propiconazole 40+9% w/v EC อัต รา 5-15 cc ต่ อ น้ า 20 ลิ ต ร และ difenoconazole + propiconazole 15%+15% w/v EC อัตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุ ของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงได้ดีที่สุด โดยสารป้องกันกาจัดเชื้อราข้างต้นจัดอยู่ในกลุ่ม Frac code 3 ซึ่ง จั ด เป็ น กลุ่ ม ที่ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การดื้ อ ยาปานกลาง ส่ ว นสาร krezoxim methyl 50% w/v SC และ azoxystrobin 25% w/v SC ที่ อั ตรา 10 cc ต่อน้า 20 ลิตร มี ป ระสิท ธิภาพในการควบคุม ต่าที่ สุดในการ ทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเกษตรกรนิยมฉีดพ่นสารทั้ง 2 ชนิดนี้ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส จึงทาให้ เชื้อ C. gloeosporioides มีความต้านทานต่อสารเคมีนี้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้าโดย สัณฐิติ และคณะ, 2017 ว่า เชื้อ C. gloeosporioides ในมะม่วงจานวน 5 isolate มีความต้านทานต่อสาร azoxystrobin และสารทั้ง 2 อยู่ ในกลุ่ ม Frac code 11 ที่ เป็ น กลุ่ ม ที่ มี ค วามเสี่ย งต่ อการดื้ อ ยาสูง และในส่ว นสาร azoxystrobin + tebuconazole 12%+20% w/v SC ซึ่ง เป็ น สารในกลุ่ม Frac code 11+3 มี ป ระสิ ท ธิ ภาพปานกลางแต่ ดีก ว่า krezoxim methyl และ azoxystrobin ซึ่งผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นถึง C. gloeosporioides มี ความต้านทานต่อ สารป้อ งกันก าจัดเชื้อราในกลุ่ม Frac code 11 ที่เกษตรกรควรระมัดระวังในการใช้ โดย จะต้องมีการสลับกลุ่มของ Frac code อื่นๆ ที่ความความเสี่ยงต่อการดื้อยาต่ากว่า โดยในการทดลองนี้พบว่า สารใน Frac code 3 มีผลการควบคุมโรคแอนแทรคโนสที่ดีกว่า เอกสารอ้างอิง ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2562. สถิติการค้า เกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2561. 143 หน้า สัณฐิติ บินคาเดอร์ รัติยา พงศ์พิสุทธา และ ชัยณรงค์ รัตนกรีฑ ากุล . 2017. ตรวจสอบความต้า นทานต่อ สารเคมี Azoxystrobin ของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc สาเหตุ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. ปีที่ 48, ฉบับที่ 3 (Suppl.): 129-132 Fungicide Resistance Action Committee (FRAC) code list. https://www.frac.info/docs/defaultsource/publications/frac-code-list/frac-code-list-2019.pdf
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
721
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
ประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสพริก The Effectiveness of Antagonistic Yeasts for Controlling Colletotrichum capsici Causing Chili Anthracnose Disease ยุวดี ชูประภาวรรณ สุภาวดี แก้วระหัน และนายสมชาย คาแน่น Yuwadee chupraphawan Supawadee kaewrahun and Somchai khamnan ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวนิ ทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34190 National Biological Control Research Center, Lower Northeastern Regional Center, Ubon Ratchathani University, Ubon Ratchathani Province 34190
บทคัดย่อ
เก็บรวบรวมเชื้อยีสต์จากดิน ใบไม้ในป่า ดินรอบราก ใบและ ผลพริกที่เป็นและไม่เป็นโรคแอนแทรก โนส รวมทั้งจากผักผลไม้เป็นโรค ในพื้นที่ 7 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้รวมทั้งสิ้น 500 ไอโซ เลท ประเมิ น การเป็ น เชื้ อ ปฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ เชื้ อ Colletotrichum capsici CC-1 ด้ ว ยวิ ธี dual culture test คัดเลือกเชื้อยีส ต์ป ฏิปัก ษ์ที่ ยับ ยั้งเชื้อ รา C. capsici CC-1 ได้สูง สุด จ านวน 10 ไอโซเลท (81.8 - 85.3%) นาไปทดสอบการควบคุม โรคแอนแทรกโนสบนผลพริก ขี้ห นูผ ลใหญ่ พันธุ์หัวเรือ โดยวิธี Detached fruit technique ด้วยเซลล์แขวนลอย 5x108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และน้าส่วนใส (supernatant) ของยีสต์ปฏิปักษ์ เปรียบเทียบกับสารเคมี เบนโนมิล และ แมนโคเซบ ผลการทดสอบ พบว่าเซลล์แขวนลอยและน้าส่วนใสเชื้อ ยีส ต์ ป ฏิ ปั ก ษ์ ไอโซเลท SSR1R1 ควบคุ ม การเกิ ดโรคดี ที่ สุ ด 85.9 และ 83.2% ตามล าดับ ใกล้ เคี ย งกั บ ประสิทธิภาพสารเคมีเมนโคเซบ (88.6%) ตรวจสอบประสิทธิภาพยีสต์ปฏิปักษ์การยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อก่อ โรคภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเชื้อยีสต์ SSR1R1 ยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อรา C . capsici CC-1 ได้ 67.09% และตรวจพบเซลล์ยีสต์ SSR1R1 เคลื่อนที่เข้าหาเส้นใย C. capsici CC-1 และเกาะเป็นกลุ่มหนาแน่นบนเส้น ใยเชื้อราก่อโรคภายใน 48 ชั่วโมง การทดสอบการควบคุมโรคแอนแทรกโนสพริกขี้หนูผลพันธุ์หัวเรือในสภาพ โรงเรือน พบว่าเชื้อยีสต์ SSR1R1 ยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกได้ดี พบผลพริกไม่เป็นโรคแอน แทรกโนส 89.1% ส่วนสารเคมีเมนโคเซบ มีผลพริกไม่เป็นโรค 91.4% และนาเชื้อยีสต์ SSR1R1 มาจาแนก เชื้อในระดับชนิดด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล พบว่าเป็นเชื้อ Cryptococcus laurentii คาสาคัญ : โรคแอนแทรกโนสพริก เชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ การควบคุมโดยชีววิธี
722
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
ABSTRACT Five hundred of yeast isolates were collected from forests soil, rhizosphere soil, and leaf and fruits which are free from and infected with anthracnose diseases, including fruits and vegetables decay in 7 provinces of the Lower Northeast of Thailand. These isolates were screened for in vitro against Colletotrichum capsici CC-1 (CC-1), using the dual culture method. Ten antagonistic yeast isolates, which are the most effective inhibitors for mycelial growth of the pathogens (81.8-85.3%), were selected for evaluation of the biological control anthracnose disease with detached fruit technique by yeasts cell suspension (5x10 8 cell/ml) and yeast supernatant, being compared with 2 fungicides, benomyl and mancozeb. The results indicated the highest anthracnose disease control caused C. capsici CC-1 was found on cell suspension and supernatant of yeast SSR1R1 isolate espectively, by 85.9 and 83.2% respectively, which not different statistically to macozeb (88.6%) The inhibition of spore germination of C. capsici CC-1 was observed under microscope using yeast cell SSR1R1 isolate. The result showed that antagonistic yeast cell SSR1R1 isolate was able to inhibit spore germination of C. capsici CC-1 about 67.09%. The attachment was also observed between antagonistic yeast cells of C. capsici CC-1. The result showed strong attachment capability of antagonistic yeast SSR1R1 to hyphae of C. capsici CC-1 was observed under 48 hrs. The green house experiment indicated that antagonistic yeast SSR1R1 can reduced anthracnose disease incidence caused C. capsici CC-1 by 89.1% while 91.4% was found on mancozeb treatment. The antagonistic yeast SSR1R1 isolate was identified into species by biochemical methods, the isolate was identified as Cryptococcus laurentii Keywords: anthracnose disease of chili, antagonistic yeast, biological control คานา โรคแอนแทรกโนสหรือโรคกุ้ งแห้ง เป็นโรคที่ส าคัญ ของพริก มี สาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum spp. เช่ น C. capsici, C. gloeosporioides, C. acutatum และ C. coccodes โดยพบแพร่ ร ะบาดเข้ า ทาลายพริกที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง (ฉัตรนัททรี และคณะ, 2550) พริกถูก ทาลายได้ทั้งระยะผลสีเขียว และผลสุกสีแดง เริ่มแรกเกิดแผลขนาดเล็ก ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น แผลยุบตัวบนผล พริก เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมเชื้อจะสร้าง สปอร์ จานวนมากและแพร่กระจายเข้าทาลายผลอื่นๆ สร้าง ความเสียหายต่อปริมาณและคุณภาพผลพริกเป็นอย่างมาก เชื้อโรคสามารถเข้าทาลายแบบแอบแฝงในผลพริก ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวและแสดงอาการภายหลังการเก็บเกี่ยว ผลพริกแสดงอาการภายหลังการเก็บเกี่ยวสูงถึง 41% เมล็ดจากผลที่เป็นโรคมีความงอกเพียง 38% (Chanchaichaovivat et al., 2007) การควบคุมโรคแอน 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
723
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
แทรกโนสพริกด้วยสารเคมี ก่อ ให้เกิดความกังวลเกี่ ยวกับ ความปลอดภัยต่อผู้ป ลูก ประการในการนามาใช้ ควบคุมเชื้อสาเหตุโรค เช่น ไม่ผลิตสปอร์ที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือไม่สร้างสารพิษ ผู้บริโภคและ สภาพแวดล้อม และ การควบคุมโดยชีววิธีจึงได้รับความสนใจและเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ปฏิปักษ์ (antagonistic microorganism) ควบคุม เชื้อราสาเหตุโรค รวมทั้ง เชื้อยีส ต์ ที่ มี คุณ สมบัติดีห ลาย ประการในการนามาใช้ควบคุม เชื้อ สาเหตุโรค เช่น ไม่ ผ ลิตสปอร์ที่ ก่ อให้เกิ ดการแพ้ หรือไม่ ส ร้างสารพิ ษ (mycotoxin) เส้นใยเที ยมของเชื้อยีส ต์บ างชนิดสามารถสร้างสาร antibiotic metabolite และสร้างสาร antibiotic metabolite เช่น ผลิตเอนไซม์ β -1,3 glucanes และ chitinase ออกมาย่อยผนังเซลล์เชื้อรา สาเหตุโรคพืช รวมทั้งการสร้างสาร killer toxin และสารกระตุ้นให้พืชสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการเข้า ทาลายของเชื้อสาเหตุโรคพืช (Druvefors et al., 2005; Izgu et al., 2011) ได้มีการนาเชื้อยีสต์มาใช้ควบคุม โรคในผลไม้ห ลังการเก็ บเกี่ยวเช่น Pichia guilliermondii ยับยั้งเชื้อ Penicillium digitatum และ Pichia anomala ยับยั้งเชื้อรา P. digitatum, P. italicum และ P. roqueforti โดยเชื้อยีสต์ผลิตสารยับยั้งการสร้าง สปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค (Melin et al., 2011) ดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อ ยีสต์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงในการควบคุมเชื้อรา Colttetotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสพริก พันธุ์หัวเรือในระดับห้องปฏิบัติการและเรือนปลูกพืชทดลอง อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเก็บรวบรวมเชื้อยีสต์และแยกเชื้อยีสต์บริสุทธิ์ เก็บรวบรวมเชื้อยีสต์จากดิน ดินรอบราก ใบและ ผลพริกที่เป็นและไม่เป็ นโรคแอนแทรกโนส ดินและ ใบไม้ในป่า รวมทั้งจากผักผลไม้เป็นโรค ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อานาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ และ บุ รีรัม ย์ นามาแยกให้ได้เชื้อ บริสุท ธิ์โดยวิธี dilution plating method บนอาหาร yeast malt agar (YMA) ที่เติม streptomycin sulfate salt ที่ความเข้มข้น 0.01 กรัม/ลิตร เก็บเชื้อยีสต์ที่มีโคโลนีแตกต่างกัน เลี้ยงให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 4oซ สาหรับนาไปใช้ในการทดลองต่อไป 2. การคัดเลือกเชื้อยีสต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Colletotrichum capsici เชื้อรา C. capsici CC-1 สาเหตุโรคที่ใช้ในการทดสอบ แยกจากตัวอย่างผลพริกจากแหล่งปลูกพริกใน จังหวัดอุบลราชธานี และมีความรุนแรงในการก่อโรคแอนแทรกโนสบนผลพริก ขี้หนูผลใหญ่ พั นธุ์หัวเรือใน สภาพเรือนทดลอง 81% ท าการทดสอบโดยวิธี dual culture test บนอาหาร PDA กรรมวิธีควบคุมใช้น้า กลั่นนึ่งฆ่าเชื้อแทนเชื้อยีสต์ นาจานทดสอบบ่มที่อุณหภูมิ 30oซ นาน 10 วัน วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคโลนี เชื้อราสาเหตุโรค คานวณเปอร์เซ็นต์ยับยั้ง (Himratul-Aznita el al., 2011) โดยใช้สูตร เปอร์เซ็นต์ยับยั้ง = (R1-R2)/R1 x 100 โดย R1 = รัศมีโคโลนีเชื้อราสาเหตุโรคในจานควบคุม R2 = รัศมีโคโลนีเชื้อราสาเหตุโรคในจานทดสอบร่วม 724
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและความแตกต่างค่าเฉลี่ย โดยใช้โปรแกรมส าเร็จ รูป SPSS คัดเลื อ กเชื้ อยีส ต์ที่ มี ป ระสิท ธิภาพยั บ ยั้ง เชื้อ C. capsici CC-1 ได้สู งสุ ด จานวน 10 ไอโซเลท ทดสอบการยับยั้งโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกต่อไป 3. การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ในการยับยั้งโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกด้วยวิธี Detached fruit technique เตรี ย มสปอร์ แ วนลอยเชื้ อ C. capsici CC-1 ให้ มี ค วามเข้ ม ข้ น 10 5 สปอร์ ต่ อ มิ ล ลิ ลิ ต ร ด้ ว ย haemacyto meter นายีสต์จานวน 10 ไอโซเลท (จากข้อ 2) ได้แก่ SSR1R1, SSR1R2, SSK5R2, SUB9R1 SUB3R1, SBR3R1, SAJ3R1, SAJ1R1, SYT1R1 และ SSK10R1 เลี้ยงบนอาหาร YM broth นาน 48 ชั่วโมง นามาปั่นเหวี่ยงที่ 12,000 รอบต่อนาที นาน 20 นาที นาส่วนที่เป็นน้าใสและตะกอน (ตัวเซลล์)สาหรับ ใช้ ทดสอบ ในส่วนตัวเซลล์ ปรับให้มีความเข้มข้น 5x108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ผลพริกที่ใช้ทดสอบเป็นพริกขี้หนูผล ใหญ่พันธุ์หัวเรือ ในระยะผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง ล้างในน้าไหลนาน 5 นาที วางผึ่งให้แห้งในตู้ปลอดเชื้อ แล้ว เช็ดฆ่าเชื้อที่ผิวผลด้วยแอลกอฮอล์ เข้มข้น 70% จัดวางผลลงในกล่องพลาสติกชื้นที่ปลอดเชื้อ ทาการทดสอบโดยดัดแปลงจากวิธีการของ ชมพูนุท และคณะ (2560) ทาแผลบนผลพริกด้วยปลาย เข็มหมุดที่ฆ่าเชื้อ 1 แผลต่อผล วาง paper disc ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ตรงรอยแผล พร้อม หยดเซลล์แขวนลอยเชื้อยีสต์ หรือส่วนที่เป็นน้าใส จานวน 30 ไมโครลิตร ลงบน paper disc กรรมวิธีควบคุม ใช้น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ เปรียบเทียบกับสารเคมีเมนโคเซป 2,000 ppm และเบนโนมิล 1,200 ppm บ่มผลพริกใน กล่องชื้นที่อุณหภูมิห้อง หยดสปอร์แขวนลอยเชื้อราก่อโรค ปริมาตร 30 ไมโครลิตรลงบน paper disc บ่มผล พริกไว้ที่อุณหภูมิห้อง นาน 48 ชั่วโมง นากระดาษออก แล้วบ่มต่อไปจนครบ 10 วัน วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 23 กรรมวิธีๆ 10 ซ้าๆ ละ 1 กล่องๆ ละ 5 ผล รวม 50 ผล/กรรมวิธี ประเมินการเกิดโรคโดยวัดขนาด แผลโรคแอนแทรกโนสบนผลและ คานวณเป็นเปอร์เซ็นต์การควบคุมโรค วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS 4. การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสในสภาพโรงเรือน นาต้นกล้าพริกพันธุ์หัวเรือ อายุ 30 วัน ย้ายปลูกลงในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ซึ่งบรรจุ ดินปลูก (ดินร่วน ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก ในอัตราส่ วน 3:1:1) ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว นาไปดูแลรักษาใน โรงเรือนเมื่อพริกอายุ 45 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ตามอัตราที่แนะนาในฉลาก เตรียมเซลล์ยีส ต์ ปฏิปักษ์ 5 ไอโซเลท ได้แก่ SSR1R1, SSR1R2, SSK5R2, SUB9R1 และ SUB3R1 (ข้อ 3)ให้มีความเข้ม ข้น 5x108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และสปอร์แขวนลอยเชื้อ C. capsici CC-1 มีความเข้มข้น 5x105 สปอร์ต่อมิลลิลิตร เมื่อพริกเริ่มติดผลขนาด 1 เซนติเมตร พ่นด้วยเซลล์ยีสต์ 100 มิลลิลิตรต่อต้น 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน โดย ครั้งที่ 3 หลังพ่นสปอร์เชื้อยีสต์ 1 วันแล้วพ่นสปอร์เชื้อรา C. capsici CC-1 100 มิลลิลิตร/ต้น ลงบนผลพริก ใช้ถุงพลาสติกคลุมต้น 1 คืน และพ่นสารเคมีเมนโคเซป 2,000 ppm และเบนโนมิล 1,200 ppm อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อต้น และสปอร์แขวนลอยเชื้อรา Trichoderma harzianum (1x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร) อัตรา 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
725
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
100 มิลลิลิตรต่อต้น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 8 กรรมวิธี 10 ซ้าๆ ละ 10 ต้น ผลตรวจ นับจานวนผลที่เป็นโรคแอนแทรกโนส จานวนผลที่ไม่เป็นโรค หลังการปลูก 90 วัน นาค่าที่ได้วิเคราะห์ความ แปรปรวนและความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS เลือกไอโซเลทที่ยับยั้งการเกิดโรคได้ดี ที่สุด นาไปทดสอบในขั้นตอนต่อไป 5. ประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ต่อการยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อรา Colletotrichum capsici ดัดแปลงวิธีของอรุณ และจุรีมาศ (2552) โดยนาเซลล์แขวนลอย (5x108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) และน้า ส่วนใส (จากข้อ 3) ของยีสต์ SSR1R1 หยดลงบนสไลด์หลุมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว จากนั้นหยดสปอร์แขวนลอย เชื้อรา C. capsici CC-1 (5x105 สปอร์ต่อมิลลิลิตร) ผสมลงไป กรรมวิธีควบคุมใช้น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ และ 2% แอลกอฮอล์ แทนเชื้อยีสต์ นาสไลด์บ่มในกล่องชื้น ตรวจผลที่ 15 ชั่วโมงหลังทดสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยนับจ านวนสปอร์ที่ งอก วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูร ณ์ (CRD) มี 4 กรรมวิธี 5 ซ้าๆละ 20 สปอร์ คานวณเปอร์เซ็นต์ก ารงอกสปอร์ นาค่าที่ ได้วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและความแตกต่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ โปรแกรมสาเร็จรูป SPSS 6. การทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์กับเชื้อรา Colletotrichum capsici ดัดแปลงวิธีของอรุณ และจุรีมาศ (2552) โดยนาผลพริกพันธุ์หัวเรือ บดกับน้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ (อัตรา 1:1) กรองด้วยกระดาษกรอง 2 ชั้น เจือจางด้วยน้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อให้มีความเข้มข้นสุดท้าย 15% ก่อนนาไป กรองด้วย mylon media membrane ขนาด 0.45 ไมโครเมตร นาสปอร์แขวนลอยเชื้อรา C. capsici CC-1 (1x104 สปอร์ต่อมิลลิลิตร) หรือ เซลล์แขวนลอยยีสต์ (5x108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) ผสมในน้าสกัดพริก (1:1:1) สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อทั้ง 2 ชนิด ภายใต้กล้องจุลทรรศน์หลังบ่มไว้ 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง ผลและวิจารณ์ 1. การเก็บรวบรวมเชื้อยีสต์และแยกเชื้อยีสต์บริสุทธิ์ เก็บ รวบรวมเชื้อยีสต์ ระหว่า งเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง สิงหาคม 2560 รวม 29 พื้นที่ ในจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร และอานาจเจริญ ได้เชื้อยีสต์ 500 ไอโซเลท ได้จากผักผลไม้ เป็นโรค 137 ไอโซเลท (27.4%) ดินป่า 127 ไอโซเลท (25.4%) ดินบริเวณรากต้นพริกเป็นโรค 58 ไอโซเลท (11.6%) ดินบริเวณรากต้นพริกปกติ 48 ไอโซเลท (9.6%) ผลพริกปกติ 37 ไอโซเลท (7.4%) ผลพริกเป็นโรค แอนแทรกโนส 27 ไอโซเลท (5.4%) ใบพริกเป็นโรคแอนแทรกโนส 23 ไอโซเลท (4.6%) ใบพริกปกติ 32 ไอโซ เลท (6.4%) และ ใบไม้จากป่า 11 ไอโซเลท (2.2%) (ภาพที่ 1)
726
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
ภาพที่ 1 จานวนเชื้อยีสต์ที่เก็บรวบรวมได้จาก ตัวอย่างชนิดต่างๆ
2. การคัดเลือกเชื้อยีสต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Colletotrichum capsici ผลการนาเชื้อยีสต์ 500 ไอโซเลท ทดสอบการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อเชื้อ C. capsici CC-1 ด้วยวิธี dual culture test บนอาหาร PDA พบเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ 30 ไอโซเลท ยับยั้งตั้งแต่ 51.6-85.3% ไอโซเลท SSR1R1 ยับยั้งได้สูงสุด คือ 85.3% (p≤0.05) รองลงมาคือไอโซเลท SSR1R2, SSK5R2, SUB9R1 และ SUB3R1 ยับยั้ง ได้ 82.7, 82.7, 82.2 และ 81.8% ตามลาดับ (ตารางที่ 1; ภาพที่ 2)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
727
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
ตารางที่ 1 ประสิทธิภ าพเชื้อยีสต์ป ฏิปักษ์ต่อการยับ ยั้งเชื้อรา Colletotrichum capsici CC -1 สาเหตุโรค แอนแทรกโนสพริก จากการทดสอบโดยวิธี Dual culture test
ลาดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 F-test CV
อโ เลท SSR1R1 SSR1R2 SSK5R2 SUB9R1 SUB3R1 SBR3R1 SAJ3R1 SAJ1R1 SYT1R1 SSK10R1 SUB9R1 SUB12R1 SSK9R2 SBR2R1 SBR4R1 SSK1R1
เปอร์เ ็นต์ยับยั้ง 85.3 a 82.7 b 82.7 b 82.2 b 81.8 b 78.7 c 78.2 cd 77.8 cde 77.8 cde 76.5 cde 76.0 cde 75.6 cde 75.6 cde 75.1 e 75.1 e 75.1 e
ลาดับที่ 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
อโ เลท SUB1R1 SUB2R1 LSK4R3 LAJ1R1 TSK1R1 FSK3R1 FSK1R1 SUB5R1 LUB3R1 SUB4R1 PUB2R1 PSK1R1 LSR1R1 FSK2R1 Distilled water
เปอร์เ ็นต์ยับยั้ง 75.7 e 75.1 de 74.7 e 74.7 e 74.7 e 68.0 f 64.9 gh 65.3 fg 65.3 g 64.4 gh 64.0 gh 62.2 h 59.1 i 51.6 j 0.0 k * 3
หมายเหตุ 1/ตัวเลขที่มี ตัวอั กษรกากั บไม่ เหมือนกั นมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ (p≤0.05), DMRT ก
ข
ภาพที่ 2 เชื้อยีสต์ SSR1R1 ยับยั้งเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum capsici CC-1 ในระดับห้องปฏิบัติการ (ก) เปรียบเทียบกับจานควบคุม (ข) 728
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
จากผลการทดสอบเชื้อยีสต์ สามารถยับยั้งการเจริญ ของเส้นใยเชื้อรา C. capsici CC-1 ได้ และ สอดคล้อ งกั บ รายงานของ วีร ะณี ย์ และคณะ (2553) ที่ พ บว่า ยีส ต์ Candida utilis ยับ ยั้ง เส้น ใยเชื้ อรา Colletotrichum musae สาเหตุโรคแอนแทรกโนสกล้วยหอมได้ 56% และผลการทดสอบนี้คัดเลือกยีส ต์ ปฏิปักษ์ที่ควบคุมเชื้อ ก่อโรคได้สูงสุด 10 ไอโซเลท ได้แก่ SSR1R1, SSR1R2, SSK5R2, SUB9R1, SUB3R1, SBR3R1, SAJ3R1, SAJ1R1, SYT1R1 และ SSK10R1ที่ยับ ยั้ง เส้นใยได้ 85.3-76.5% ทดสอบการยับยั้งโรค แอนแทรกโนสบนผลพริกด้วยวิธี Detached fruit technique 3. ทดสอบประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ในการยับยั้งโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกด้วยวิธี Detached fruit technique ผลการนาเซลล์แขวนลอยเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ 10 ไอโซเลท ควบคุมการเกิดโรคแอนแทรกโนสบนผลพริก พบว่า ตัวเซลล์ยีสต์ให้ผลการควบคุมโรคดีกว่าส่วนน้าใส โดยเซลล์แขวนลอยเชื้อยีสต์ SSR1R1 ควบคุมการเกิด ได้ดีที่สุด 85.9% ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากการควบคุมด้วยสารเคมีแมนโคเซบ (2,000 ppm) ที่ควบคุมการ เกิ ดโรคได้ 88.6% รองลงมา (p≤0.05) คือ น้าส่วนใสเชื้อยีสต์ SSR1R1 ควบคุมโรคได้ 83.2% (ตารางที่ 2, ภาพที่ 3) ใกล้เคียงกับการศึกษาของอรุ ณ และจุรีมาศ (2552) ที่พบว่าเชื้อยีสต์ Pichia guilliermondii R13 ยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกชี้ฟ้าได้ 76.25% และ Chanchaichaovivat et al.,(2007) ที่พบว่า ยี ส ต์ Pichia guilliermondii R13, Candida musae R6, Issatchenkia orientalis ER1 และ Candida quercitrusa L2 ยับยั้งโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกชี้ฟ้าได้ 66.4-93.3% ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ต่อการยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum capsici CC-1 โดยวิธี Detached fruit technique ที่ระยะเวลา 10 วัน กรรมวิธีทดสอบ
ไอโซเลท
1. เซลล์แขวนลอย 2. น้าส่วนใส 3. เซลล์แขวนลอย 4. น้าส่วนใส 5. เซลล์แขวนลอย 6. น้าส่วนใส 7. เซลล์แขวนลอย 8. น้าส่วนใส 9. เซลล์แขวนลอย 10. น้าส่วนใส 11. เซลล์แขวนลอย 12. น้าส่วนใส F-test %CV
SSR1R1 SSR1R1 SSR1R2 SSR1R2 SSK5R2 SSK5R2 SUB9R1 SUB9R1 SUB3R1 SUB3R1 SBR3R1 SBR3R1
เปอร์เซ็นต์ ควบคุมโรค 85.9 b 83.2 c 82 d 81.8 de 81 ef 80.8 f 79.4 g 79 g 77.8 h 75.8 i 70.4 j 67.8 k
กรรมวิธีทดสอบ
ไอโซเลท
13. เซลล์แขวนลอย 14. น้าส่วนใส 15. เซลล์แขวนลอย 16. น้าส่วนใส 17. เซลล์แขวนลอย 18. น้าส่วนใส 19. เซลล์แขวนลอย 20. น้าส่วนใส 21. สารเคมีเบนโนมิล 22. สารเคมีเมนโคเซป 23. น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ
SAJ3R1 SAJ3R1 SAJ1R1 SAJ1R1 SYT1R1 SYT1R1 SSK10R1 SSK10R1
เปอร์เซ็นต์ ควบคุมโรค 67 kl 66.4 lm 65.8 m 61.6 n 61.4 n 60 o 59.6 o 58 p 88.6 a 85.8 b 15.2 q * 2
หมายเหตุ ตัวเลขที่มีตัวอักษรกากับไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(p≤0.05), DMR 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
729
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ก
ข
PPB-15
ค
ภาพที่ 3 การควบคุมโรคแอนแทรกโนสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum capsici CC-1 ด้วยสารเคมี เบโนมิล ผลการทดสอบนี ้อยีสต์ท(กุก)ไอโซเลทควบคุ มการเกิ ก สาเหตุ จากเชื ควบคุมโรคได้้เชื88.6% เซลล์แขวนลอยเชื ้อยีสดต์โรคแอนแทรกโนสบนผลพริ SSR1R1ควบคุมโรคได้ 85.9% (ข) เปรี ยบเที้อรา ยบ C. capsici กัCC-1 ได้ด่นี นึอาจเนื ยีสต์ที่พ15.2%(ค) ่นลงไปบนผลพริกเป็นระยะๆ นั้นทาให้มีการเพิ่มจานวนขึ้น บน้ากลั ่งฆ่าเชื่อ้องจากเชื ควบคุม้อโรคได้ อย่างรวดเร็ว เข้าไปยึดเกาะเส้นใยเชื้อ ราก่อโรคได้ห นาแน่นและเข้าทาลายเส้นใยเชื้อโรค รวมทั้งแย่งพื้นที่ อาศัยบริเวณผิวพืชรวมทั้งสารอาหารได้ดีกว่าเชื้อโรค เชื้อยีสต์เจริญได้บนพื้นผิวที่แห้งได้เป็นเวลานานและ ทนทานต่อสารกาจัดเชื้อรา และสารปฏิชีวนะ (El-Tarabily and Sivasithamparam, 2006) ซึ่งที่ผ่านมามี รายงานการใช้ เ ชื้ อ ยี ส ต์ ค วบคุ ม โรคและให้ ผ ลในการควบคุ ม โรคน้ อ ยกว่ า สารเคมี เช่ น เชื้ อ ยี ส ต์ Saccharomyces cerevisiae, Canbida albican และ Candida sake ควบคุมโรคใบจุดที่มีสาเหตุจากเชื้อ รา Cercospora beticola ใน sugar beet ต่ากว่าสารเคมีทอปซิน (Ziedan and Farrag,2011) ดังนั้นยีสต์ ปฏิปักษ์ไอโซเลท SSR1R1 จึงเป็นไอโซเลทที่มีศักยภาพสูงที่ควรนาไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคใน สภาพแปลงปลูกต่อไป และเมื่อจาแนกชนิดของเชื้อ SSR1R1 โดยใช้วิธีการทดสอบชีวเคมี (ไวเทค 2 คอมแพค) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าเป็นเชื้อ Cryptococcus laurentii 4. การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสในสภาพโรงเรือน ผลการทดสอบเชื้อยีสต์ SSR1R1, SSR1R2, SSK5R, SUB9R1และ SUB3R1 ต่อการควบคุมโรคแอน แทรกโนส ที่มีสาเหตุจากรา C. capsici CC-1 พบว่าเชื้อยีสต์ทั้ง 5 ไอโซเลท ควบคุมโรคแอนแทรกโนสบนผล พริกได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยเชื้อยีสต์ SSR1R1 (Cryptococcus lauren) ควบคุมการเกิด โรคแอนแทรกโนสได้ดีกว่าไอโซเลทอื่นๆ พบโรคเพียง 10.9% มีประสิทธิภาพดีกว่า (p≤0.05) เชื้อราไตรโค เดอร์มา ที่ พบโรค 20.7% แต่พ บโรคมากกว่า (p≤0.05) การควบคุม ด้วยสารเคมีแมนโคเซบ (8.6%) แต่มี จานวนผลดีพร้อมจาหน่ายไม่แตกต่างกัน (p.>0.05)กับสารเคมี คือ 89.1 และ 91.4% ตามลาดับ น้าหนักสด และน้าหนักแห้งต่อผลในกรรมวิธีควบคุมด้วยยีสต์ทั้ง 5 ไอโซเลท ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากการควบคุมด้วย สารเคมี และเชื้อไตรโคเดอร์มา (ตารางที่ 3) 5. ประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ต่อการยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อรา Colletotrichum capsici การทดสอบนาเชื้อยีสต์ SSR1R1 (Cryptococcus lauren) ยับ ยั้งการงอกสปอร์ของรา C. capsici CC-1 เปรียบเที ย บกั บ แอลกอฮอล์ ความเข้ ม ข้ น 2% และน้ากลั่น นึ่ง ฆ่ าเชื้อ พบว่า เชื้ อยี ส ต์ในรูป เซลล์ 730
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
แขวนลอยยับยั้งการงอกสปอร์เชื้อราก่อโรคได้ดีกว่าในรูปสารกรอง โดยเซลล์แขวนลอยเชื้อยีสต์ ยับยั้งการงอก สปอร์ของ C. capsici CC-1 ได้ 67.09% ส่วนแอลกอฮอล์ ยับยั้งได้ 72% (ตารางที่ 4) สอดคล้องกับการศึกษา Janisiewicz et al.,(2000) รายงานว่าเชื้อยีสต์ Aureobasidium pullalans ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา P. expansum และเชื้ อ ยี ส ต์ P. guilliermondii ให้ ผ ลของยั บ ยั้ ง การงอกสปอร์ เ ชื้ อ รา P. expansum เช่นเดียวกับ การวิ ธีก ารควบคุมโรคโดยใช้แว็ก ซ์ (wax) ที่ ผสมสารเคมี ฆ่าเชื้อรา (fungicide) เพื่อเคลือบผิว ผลไม้ (Janisiewicz and Korsten, 2002) ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสบนพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์หัวเรือที่มี สาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum capsici CC-1 เมื่อทดสอบในสภาพโรงเรือนทดลอง
กรรมวิธี 1. น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ 2. สารเคมีเมนโคเซป 3. รา Trichoderma 4. ยีสต์ SSR1R1 5. ยีสต์ SSR1R2 6. ยีสต์ SSK5R2 7. ยีสต์ SUB9R1 8. ยีสต์ SUB3R1 F-test CV(%)
ผลเป็นโรค (%) 83.0 d 8.6 a 20.7 c 10.9 ab 13.6 b 19.4 c 19.8 c 20.5 c * 12.7
ผลดี (%) 17 d 91.4 a 79.3 c 89.1 ab 86.4 c 80.6 c 80.2 c 79.5 c * 4.14
ความสูง ( ม.) 44.4 b 51.2 a 45.8 ab 49.3 ab 46.7 ab 46.1 ab 46.0 ab 45.1 b * 11.5
นน.สด/ผล นน.แห้ง/ผล (กรัม) (กรัม) 3.4 b 1.12 b 3.8 a 1.63 a 3.4 b 1.21 b 3.5 ab 1.37 ab 3.5 ab 1.35 ab 3.7 ab 1.41 ab 3.8 ab 1.41 ab 3.6 ab 1.23 ab * * 12.7 26.8
หมายเหตุ ตัวเลขที่มีตัวอักษรกากับไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(p≤0.05), DMRT ตารางที่ 4 ประสิท ธิภาพเชื้อ ยี ส ต์ SSR1R1 (Cryptococcus lauren) ต่ อการยับ ยั้ง การงอกสปอร์เชื้อ รา Colletotrichum capsici CC-1 สาเหตุโรคแอนแทรกโนสพริก ในสภาพห้องปฏิบัติการ กรรมวิธี 1. เซลล์แขวนลอยเชื้อยีสต์ 2. สารกรองเชื้อยีสต์ 3. แอลกอฮอล์ 2 % 4. น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ F-Test %CV
% ยับยั้งการงอก 67.09 a 15.01 c 50.64 b 0d * 16.72
หมายเหตุ ตัวเลขที่มีตัวอักษรกากับไม่เหมือนกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(p≤0.05), DMRT 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
731
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
6. การทดสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์กับเชื้อรา Colletotrichum capsici พบว่าที่ 12 ชั่วโมง เริ่มตรวจพบเชื้อยีสต์ Cryptococcus laurentii เคลื่อนที่เข้ามาใกล้บริเวณเส้นใย ก่อโรค เริ่ม สังเกตเห็นการเกาะกันเมื่อ บ่ม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งที่ เวลา 48 ชั่วโมง จะพบเซลล์ยีสต์ เกาะเป็นกลุ่มหนาแน่นบนเส้นใยเชื้อราก่อโรค (ภาพที่ 4) ก
Y
ข C Y
C ค
C
ง Y
Y
C
ภาพที่ 4 การเกาะกันเซลล์ยีสต์ Cryptococcus laurentii กับเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum capsici CC-1 ที่ สรุปผลการทดลอง กาลังขยาย (40X) ที่เวลาบ่ม 12 ชั่วโมง(ก) เวลา 24 ชั่วโมง(ข) เวลา 36 ชั่วโมง(ค) และเวลา 48 ชั่วโมง(ง)
เก็บรวบรวมเชื้อยีสต์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างได้ 500 ไอโซเลท คัดเลือกการเป็นเชื้อ ปฏิปั ก ษ์ ต่อเชื้ อ C. capsici CC-1 ด้วยวิธี dual culture test คัดเลือกเชื้อ ยีส ต์ ป ฏิ ปัก ษ์ ที่ ยั บ ยั้ง เชื้อ รา C. capsici CC-1 ได้ สู ง สุ ด จ านวน 10 ไอโซเลท ได้ แ ก่ SSR1R1, SSR1R2, SSK5R2, SUB9R1, SUB3R1, SBR3R1, SAJ3R1, SAJ1R1, SYT1R1 และ SSK10R1 ที่ยับยั้งเส้นใยได้ 85.3-76.5% ทดสอบการควบคุมการ เกิดโรคแอนแทรกโนสบนผลพริกขี้หนูผลใหญ่ พันธุ์หัวเรือ โดยวิธี Detached fruit technique เปรียบเทียบ กั บ สารเคมี เบนโนมิ ล 1,200 ppm และ แมนโคเซบ 2,000 ppm พบว่าตัวเซลล์และน้าส่วนใสเชื้อยีส ต์ SSR1R1 ควบคุมโรคดีที่สุดคือ 89.5 และ 83.2% ตามลาดับ ไม่ต่าง (p>0.05) กับสารเคมีเมนโคเซบ (85.8%) การทดสอบประสิทธิภาพในเรือนปลูกพืชทดลอง พบว่าเชื้อยีสต์ SSR1R1 ควบคุมโรคได้ดีที่สุดเช่นเดียวกัน ผล พริกไม่เป็นโรคแอนแทรกโนส 89.5% ไม่ต่างจากสารเคมีเมนโคเซบที่พริกไม่เป็นโรค 85.8% การตรวจสอบ การยับยั้งการงอกของสปอร์ เชื้อรา C. capsici CC-1 พบเซลล์ยีสต์ SSR1R1 ยับยั้งสปอร์ของ C . capsici CC-1 ได้ 67.09% และเซลล์ยีสต์มีลักษณะการทาลายเส้นใยเชื้ อก่อโรค โดยการเคลื่อนที่เข้าหาเส้นใยเชื้อ C. capsici CC-1 และเกาะเป็นกลุ่มหนาแน่นบนเส้นใยเชื้อราก่อโรคภายใน 48 ชั่วโมง และเมื่อจาแนกชนิดของ เชื้อ SSR1R1 โดยใช้วิธีการทดสอบชีวเคมี (ไวเทค 2 คอมแพค) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย พบว่าเป็นเชื้อ Cryptococcus laurentii
732
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
คาขอบคุณ ขอขอบคุณสานักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่สนับสนุนงบประมาณในการดาเนินงานวิจัย และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ให้ความอนุเคราะห์เครื่องมือและสถานที่ทาวิจัย เอกสารอ้างอิง ฉัตรนัททรี กันทะลา, เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล และวีระศักดิ์ ศักดิ์ศิรัตน์. 2550.สปชีส์ของเชื้อราคอลเลตโต ตริคัม สาเหตุโรคแอนแทรกโนสในพริก. ชมพูนุท บุญราชแขวง. 2550. อิทธิพลของสารทุติยภูมิจากเชื้อรา Trichoderma harzianum ต่อการยับยั้ง การเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และการควบคุมโรคแอนแทรกโนสพริก . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. วีร ะณี ย์ ทองศรี เนตรนภิ ส เขี ย วข า และสมศิ ริ แสงโชติ . 2553. กลไกของ metabolites จากเชื้ อ ยี ส ต์ Aureobasidium pullulans TISTR 3389 ต่ อ การควบคุ ม โรคแอนแทรกโนสที่ เ กิ ด จากเชื้ อ รา Colletotrichum muase (Berk αCurtis)บ น กล้ ว ยห อมท อง.วารสารวิ ท ยาศาสตร์ เ ก ษต ร 41(1):267-270. อรุณ ชาญชั ย เชาว์ วิวั ฒ น์ และจุ รี ม าศ วงศ์ ศ รีรั ต น์ . 2552. การควบคุ ม โรคแอนแทรกโนสในพริ ก ชี้ ฟ้ า (Colletrotrichum gloeosporioides) โดยยี ส ต์ ที่ แ ยกได้ จ ากผั ก และผลไม้ . วารสารก้ า วทั น โลก วิทยาศาสตร์, 9(1): 120-131. Chanchaichaovivat, A. R. Pintip and P. Bhinyo. 2007. Screening and identification of yeast strains from fruits and vegetables:Potential for biological control of post-harvest chilli anthracnose (Colletotrichum capsici). Biological control, 42:326-335. Druvefors, U.A. V. Passoth and J. Schnurer. 2005. Nutrient on biocontrol of Penicillium roqueforti by Pichia anomala J121 during airlight storage of wheat. Applied and environment microbiology, 7(14) : 1865-1869. El-Tarabily, K.A. and K. Sivasithamparam. 2006. Potential of yeasts as biocontrol agents of soilborne fungal plant pathogens and as plant growth promoters. Mycoscience, 47: 25-35. Janisiewicz, W.J. and L. Korsten. 2002. Biological control of postharvest diseases of fruits. Annual Review of Phytopathology, 40: 411-441. Janisiewicz, W.J. Tworkoski, T.J. and C. Sharer. 2000. Characterizing the mechanicanism of biological control of postharvest disease on fruits with simple method to study competition for nutreints. Phytopathology, 90:1196-1200.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
733
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-15
Himratul-Aznita, W.H. Mohd-Al-Faisal, N. and A.R. Fathilah. 2011. Determination of the percentage inhibition of diameter growth (PIDG) of piper betle crude aqueous extract aqainst oral Candida species. Journal of Medical plants Research, 5(6):878-884. Ziedan, H.H. and S.H. Farrag. 2011. Application of yeasts as biocontrol agents for controlling foliar disease on sugar beet plants. Journal of agricultural technology, 7(6):1789-1799. Izgu, D.A. R.A. Kepekci. and F. Izgu. 2011. Inhibition of Penicillium digitatum and Penicillium italicum in vitro and in planta with Panomyocin, a novel exo β -1,3 glucanes isolated from Pichia anomala NCYC 343. Antonie van Leeuwenhoek, 99:85-91. Melin, P. J. Schniirer. and S. Hakansson. 2011. Formulation and stabilization of the biological control yeast Pichia anomala. Antonie van Leeuwenhoek, 99:107-112.
734
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
การศึกษาผลของสารป้องกันกาจัดเชื้อราบางชนิดต่อการเจริญของ เชื้อราสาเหตุโรคใบจุดของพริกไทย Study on Some Fungicides to Growth of Causing Fungus of Pepper Anthracnose Disease ทิวา บุบผาประเสริฐ1 ธารทิพย ภาสบุตร2 พจนา ตระกูลสุขรัตน์2 และ ลัดดาวัลย์ อินทรสังข์1 Thiva Bubpaprasert1 Tharntip Bhasabutra2 Photchana Trakunsukharat2 and Laddawan Insung1 1
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 Horticulture Research Institute, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 2 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 1
บทคัดย่อ อาการโรคใบจุดในพริกไทย ทาให้ใบพริกไทยเกิดแผลจุดขนาดใหญ่ ใบร่วง และตาย โดยเฉพาะใน สภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นและปริมาณน้าฝนมาก จึงได้ทาการเก็บรวบรวมตัวอย่างพริกไทยพันธุ์ซาราวัค และซีลอนเป็นโรคใบจุดจากแหล่งปลูกในจ.จันทบุรี ระยอง พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2559– 2560 นามาแยกหาเชื้อสาเหตุโรค และศึกษาผลของสารป้องกันกาจัดเชื้อราบางชนิดต่อการเจริญของเชื้อใน ห้องปฏิบัติการและการควบคุมโรคในสภาพโรงเรือน เพื่อหาชนิดสารและอัตราที่เหมาะสมสาหรับนาไปใช้เป็น คาแนะนาในการควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่ปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาจาแนกเชื้อสาเหตุ โรคได้เป็นเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides คัดเลือกเชื้อราจานวน 2 ไอโซเลทแยกจาก อ.นายาย อาม และ อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี มาทดสอบด้วยวิธี Poisoned food technique โดยเลี้ยงบนอาหารเลี้ยง เชื้อพีดีเอผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ความเข้มข้น แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ CRD 5 ซ้า มี กรรมวิธีคือสารป้องกันก าจัดโรคพื ช 5 ชนิ ด ที่ความเข้มข้น 6 ระดับคือ 500, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500 และ 3,000 ppm เปรียบเทียบกับ กรรมวิธีควบคุมไม่ผสมสาร พบว่า prochloraz 45% W/V EC ทุกความ เข้มข้นสามารถการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ดีที่สุด เช่นเดียวกับการใช้ prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มล./น้า 20 ลิตรสามารถควบคุมการเกิดโรคใบจุดได้ในสภาพโรงเรือน คาสาคัญ : โรคใบจุดของพริกไทย โรคแอนแทรคโนสของพริกไทย เชื้อสาเหตุโรค สารป้องกันกาจัดเชื้อรา
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
735
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ABSTRACT Anthracnose symptoms of pepper appear many severe disease spots on leaves. Many plants loss their leaves and die, mainly spread in climatic conditions with higher temperatures and greater rainfall. Therefore to studying the cause agent, infected leaves sample of Sarawak and Ceylon pepper varieties from Chantaburi, Rayong, Phitsanulok and Phetchabun provinces were collected during year 2016-2017 and diagnosis. Some fungicides were tested both in laboratory and nursery for used as effective control chemicals recommendation in the growing area. Anthracnose causing fungus was identified as Colletotrichum gloeosporioides. By Poisoned food technique, 2 isolates of fungi from Na Yai Am and Kitchakut district in Chantaburi were selected for fungicide efficacy testing in laboratory. They were cultured on PDA mixing with different concentration levels of fungicides. The experimental design of the CRD with 5 replications, 5 fungicides and 6 levels of concentration (500, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500 and 3,000 ppm) were tested. Cultured fungus on PDA without fungicide was used as compare (or control) treatment. The result showed that all concentration levels of prochloraz 45% W/V EC could inhibit C. gloeosporioides growth in laboratory condition. Same as in the nursery condition, prochloraz 45% W/V EC 20 ml/20 L of water was the best effective fungicide in controlling disease in test plants. Keywords: anthracnose of pepper, Colletotrichum gloeosporioides, fungicide คานา พริกไทย จัดเป็นพืชเครื่องเทศมีพื้นที่ปลูกที่สาคัญในเขตภาคตะวันออก ได้แก่ จ.จันทบุรี ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 87 ของพื้ นที่ป ลูกพริกไทยทั้ งประเทศ พื้นที่ป ลูกพริกไทยในปี 2558 คือ 6,602 ได้ผ ลผลิตทั้งหมด 4,672 ตัน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2559) ในปี 2561 เนื้อที่ป ลูกพริกไทยยืนต้นทั่วประเทศ คือ 4,007 ไร่ เนื้อที่ให้ผลทั่วประเทศคือ 3,965 ไร่ และผลผลิตทั่วประเทศคือ 2,005 ตัน (สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) ในขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศมีมากแต่การผลิตมีพื้นที่ให้ผลลดลง จึงไม่เพียงพอต่อความ ต้องการใช้ภายในประเทศจนต้องมีการนาเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี (สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2562) เนื่องมาจากแหล่งผลิตพริกไทยในหลายจังหวัดมีการระบาดของโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคใบจุดที่ เกิดจากเชื้อ Colletotrichum sp ใบเกิดเป็นจุดวงกลมสีน้าตาลดาหรือสีดารอบจุดเป็นสีเหลือง ส่งผลให้ใ บ ร่วง และตายในที่สุด การระบาดของโรคพริกไทยเกิดทั่ วทั้งจังหวัด โดยเฉพาะสภาพอากาศของจ.จันทบุรีมี อุณหภูมิสูงขึ้นและมีปริมาณน้าฝนมาก ส่งผลให้การระบาดของโรครุนแรงขึ้นและยังไม่สามารถควบคุมการเกิด โรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แสงมณี และคณะ, 2555) ในการป้องกันกาจัดโรค เกษตรกรนิยมใช้สารป้องกัน 736
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
กาจัดโรคพืชเป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาเพื่อหาชนิดและอัตราของสารป้องกันกาจัดโรคที่มีประสิทธิภาพในการ ควบคุมการเจริญของเชื้อรา จึงมีความจาเป็นสาหรับใช้เป็นคาแนะนาและแนวทางแก้ปญ ั หาให้เกษตรกรผู้ปลูก พริกไทยที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคใบจุด ไม่ให้โรคระบาดรุนแรงจนทาให้เสียหายต่อการผลิตพริกไทย และเพื่อให้ได้พริกไทยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. ตัวอย่างต้นพริกไทยที่เป็นโรคใบจุดจากแหล่งปลูกพริกไทยต่างๆ ในประเทศไทย และต้นพริกไทย พันธุ์ซีลอนและซาราวัคสาหรับทาการทดลอง 2. อาหารเลี้ยงเชื้อรา potato dextrose agar (PDA) และ water agar (WA) 2. ส ารป้ อ งกั น ก าจั ด โรคพื ช 5 ชนิ ด คื อ azoxystrobin 25% W/V SC, captan 50% WP, carbendazim 50% WP, mancozeb 80% WP และ prochloraz 45% W/V EC 3. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างพืช เช่น กระดาษ กล่องเก็บความชื้น ฯลฯ 4. เครื่องแก้ว และอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 5. กล้องจุลทรรศน์แบบ Compound microscope และกล้อง Stereoscopic microscope 6. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในเรือนปลูกพืชทดลอง 7. อุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น สมุด กล้องบันทึกภาพ วิธีการ 1. การศึกษาชนิดเชื้อสาเหตุโรค การเก็บรวบรวมตัวอย่างพริกไทยเป็นโรคใบจุดจากแหลงปลูกพริกไทยในเขตจ. จันทบุรี ตราด ระยอง พิษณุ โลก และเพชรบูร ณ์ นาแยกหาเชื้ อ สาเหตุโรคด้วยวิธี Tissue transplanting technique โดยตัดใบ พริกไทยเป็นโรคใบจุดตรงบริเวณรอยต่อระหว่างขอบแผลและเนื้อใบปกติเป็นชิ้นให้มีขนาดประมาณ 0.5x0.5 ตร.ซม. นามาฆ่าเชื้อด้วยการแช่ในคลอร๊อกซ์ (clorox) 10 เปอร์เซ็นต์ นาน 3-5 นาที ล้างด้วยน้ากลั่นนึ่งฆ่า เชื้อ 2 ครั้งเพื่อล้างคลอร๊อกซ์ที่ยังตกค้างอยู่ที่ผิวพืชออก ซับชิ้นพืชด้วยกระดาษซับอบฆ่าเชื้อจนแห้งก่อนวาง บนบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิห้อง จนเชื้อราเจริญสร้างเส้นใย ใช้เข็มเขี่ย ปลายแหลมตัดชิ้นวุ้นที่มีเส้นใยเชื้อราเจริญ และย้ายเชื้ อราไปเลี้ยงบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิห้อง จนเชื้อราสร้างโคโลนี ทาเชื้อบริสุทธิ์ด้วยวิธี Single–spore technique โดยขูดเส้นใยพร้อมสปอร์ใส่น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อ ทาสปอร์แขวนลอยในน้ากลั่นนับให้มีปริมาณสปอร์ประมาณ 10 สปอร์ ต่อ 1 เข็มห่วงลวด (loop) ใช้เข็มห่วง ลวดปลอดเชื้อ จุ่ม ลงในสปอร์แขวนลอย แล้วลากไปมาบนผิวหน้าของอาหาร water agar (WA) บ่มเชื้อที่ อุณ หภูมิ ห้ องเป็ นเวลา 24 ชั่วโมง ตัก แยกสปอร์เ ดี่ยวที่ เจริญ เริ่ม สร้างเส้นใยภายใต้ก ล้องจุล ทรรศน์แบบ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
737
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
Compound กาลังขยายต่า นามาเลี้ยงบนอาหารเลีย้ งเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ตรวจสอบลักษณะ ของเชื้อที่แยกได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การศึกษาและการจาแนกชนิด รูปร่างโดยตรวจดูลักษณะเส้นใยและ สปอร์ของเชื้อรา ทาการปลูกเชื้อกลับไปที่ใบพริกไทยปกติ เพื่อตรวจสอบว่าเชื้อไอโซเลทไหนมีความรุนแรง มากที่สุดสาหรับคัดเลือกไว้ใช้ทดสอบต่อไป 2. ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคในสภาพ ห้องปฏิบัติการ คัดเลือกไอโซเลทเชื้อราสาเหตุโรคจานวน 2 ไอโซเลทที่มีความรุนแรงมากทีส่ ุดซึง่ ตรวจสอบได้จากการ ปลูก เชื้อกลับ ไปที่ ต้นพริก ไทย มาเลี้ยงและขยายปริม าณเชื้อ บนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง จนโคโลนีเชื้อมีอายุ 5 วัน ทดสอบประสิ ท ธิภาพสารต่ อ การเจริญ ของเชื้อราสาเหตุโรค โดยใช้ cork borrer ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.5 ซม. เจาะเส้นใยบริเวณขอบโคโลนีของเชื้อนามาวางตรงกลางของจานอาหาร potato dextrose agar (PDA) ผสมสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ความเข้มข้นต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ CRD จานวน 5 ซ้ามี 7 กรรม วิ ธี คื อ azoxystrobin 25% W/V SC, captan 50% WP, carbendazim 50% WP, mancozeb 80% WP และ prochloraz 45% W/V EC ที่ ความเข้ม ข้น 6 ระดับ คือ 500, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500 และ 3,000 ppm เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมผสมด้วยน้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ บันทึกผลการเจริญและลักษณะ ของโคโลนีเชื้อราบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยวัดการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคทุกวันจนเชื้อราในกรรมวิธีควบคุม เจริญเต็มจานอาหาร นาข้อมูลที่ได้มาคานวณค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) เปรียบเทียบผลการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคโดยวิธีของ Vincent (1927) ดังนี้ Mycelial growth inhibition (%) (MGI) = (rC–rT) x 100 rC เมื่อ rC = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดควบคุม rT = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดทดสอบสาร 3. ทดลองประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบจุดในสภาพ เรือนปลูกพืชทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCB ทดสอบกับพริกไทยจานวน 2 สายพันธุ์ คือ ซีลอนและซาลาวัค จานวน 4 ซ้า 4 กรรมวิธี คือ สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยสาเหตุโรคจาก การทดสอบในข้อ 2 จานวน 3 อัตราความเข้มข้น และพ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ทาให้เกิดรอยแผลบน ใบพริกไทย ใช้ cork borrer ขนาด 0.5 ซม. เจาะบริเวณขอบเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) นาชิ้นวุ้นที่มี เส้นใยเจริญมาวางทับบนแผล ปิดทับ แผลด้วยสาลีชุบ น้ากลั่น ผสมสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา ปิดคลุมต้นพืชทดสอบด้วยถุงพลาสติกใบใหญ่เพื่อรักษาความชื้นภายใน หลัง การปลูกเชื้อครบ 5 วัน จึงพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชตามกรรมวิธี โดยประเมินจาก 6 ต้นต่อซ้า โดยพ่นสาร 738
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ทดลองทุก 7 วัน จานวน 4 ครั้ง ประเมินความรุนแรงของโรคก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสาร 7 และ 14 โดยการให้คะแนนตามเกณฑ์เชิงคุณภาพ ดูการการเปลี่ยนแปลงของแผล สีใบ การร่วง และอัตราการรอดตาย ของต้นเปรียบเทียบแต่ละกรรมวิธี ผลและวิจารณ์ 1. การศึกษาชนิดเชื้อสาเหตุโรค อาการโรคใบจุดหรือแอนแทรคโนสบนใบพริกไทย มีลักษณะเป็นแผลสีน้าตาลหรือเทาดา ขอบแผลสี เข้มล้อมรอบด้วยขอบสีเหลืองด้านนอก พบจุดสีดาขนาดเล็กจานวนมากบริเวณกลางแผล เมื่อมีอาการรุนแรง มากขึ้นแผลจะขยายขนาดจนทาให้เป็นแผลขนาดใหญ่ก่อนหลุดร่วงจากต้น ตรวจสอบลักษณะเชื้อสาเหตุโรคที่ เจริญบนอาหาร โคโลนีมสี ีขาวครีมพบจุดสีส้มของกลุ่มสปอร์ขยายพันธุ์ (spore mass) จานวนมากขึ้นอยูก่ ลาง โคโลนี เชื้อราสร้างเส้นใยไม่มผี นังกั้น สปอร์ขยายพันธุ์ที่เรียกว่าโคนีเดีย (coniidia) เป็นเซลเดี่ยวใสไม่มีสี มี ลักษณะเป็นท่อนทรงกระบองหรือทรงกระบอกหัวท้ายมน (clavate to cylindrical) (ภาพที่ 1) ตรงกับ ลักษณะเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสซึง่ มีรายงานว่าพบระบาดใน พริกไทยทีป่ ระเทศอินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (Kurian et al., 2008; Jayakumar et al., 2009) ผลการปลูกเชื้อบนใบพริกไทยพันธุ์ซีลอนและซาลาวัค เพื่อทดสอบหาไอโซเลทที่ความรุนแรงมากทีส่ ุด พบว่าไอโซเลทเชื้อที่แยกได้จากอ.นายายอาม และอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี มีความรุนแรงมากที่สุด 2. ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคในสภาพ ห้องปฏิบัติการ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคบางชนิดต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคโดย การวัดค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) เมื่อเลี้ยง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ความเข้มข้นต่างๆ พบว่า การทดสอบกับเชื้อราไอโซเลทที่แยกได้จาก อ.นายายอาม จ.จันทบุรี (Nayaiam isolate) กรรมวิธีที่ ผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช prochloraz 45% W/V EC ทุกความเข้มข้นมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญของ เชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดของพริกไทยได้ดีที่สุดถึง 100% รองลงมาได้แก่ carbendazim 50% WP และผสมด้วย captan 50% WP ตามลาดับ (ตารางที่ 1 และภาพที่ 2) ในขณะที่ azoxystrobin 25% W/V SC และ mancozeb 80% WP ทุกความเข้มข้นไม่สามารถยับยัง้ การเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ เมื่อเทียบกับสารชนิดอื่น เช่นเดียวกับการทดสอบกับเชื้อราสาเหตุโรคไอโซเลทที่แยกได้ จาก อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี (Kitchakut isolate) ให้ผลการทดสอบเหมือนกัน (ตารางที่ 2 และภาพที่ 2)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
739
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
3. ทดลองประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบจุดในสภาพ เรือนปลูกพืชทดลอง คัดเลือกสารป้องกันกาจัดโรค prochloraz 45% W/V EC ที่มีประสิทธิภาพในการยังยัง้ การเจริญของ เส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดพริกไทยจากผลการทดลองในข้อ 2 มาทาการทดลองการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองกับต้นพริกไทย 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์ซีลอนและซา ลาวัค พ่นด้วย prochloraz 45% W/V EC อัตรา 5, 10 และ 20 มล./น้า 20 ลิตร ให้ต้นพริกไทยที่ได้รบั การ ปลูกเชื้อ 5 วันก่อนหน้า เปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธี ควบคุมพ่นน้าเปล่าต้นพริกไทยทัง้ 2 สายพันธุ์ มีอาการใบร่วงตายทุกต้น ในขณะต้นพริกไทยที่ได้รบั การพ่น ด้วย prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มล./น้า 20 ลิตร สามารถยังยัง้ โรคได้โดยแผลแห้งไม่ขยายตัวต่อ สาหรับต้นพริกไทยทีพ่ ่นด้วย prochloraz 45% W/V EC อัตรา 5 และ 10 มล./น้า 20 ลิตร แผลยังคงมีการ ขยายขนาดเพิ่มขึ้นและพบวงสีเหลืองรอบแผล (ภาพที่ 3) ผลการทดลองพบว่า การพ่นด้วย prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มล./น้า 20 ลิตร ที่เป็นอัตรา แนะนาข้างฉลากสาหรับใช้ควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides สามารถ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบจุดพริกไทยได้ดี ซึ่ง prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มล./น้า 20 ลิตร เป็นอัตราความเข้มข้นเดียวกับที่มรี ายงานว่าใช้ในการพ่นเพือ่ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคผลเน่าในชมพูท่ ี่มี สาเหตุเกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและแปลงปลูกพืชทดลอง (พจนา และวลัยภรณ์, 2559) สรุปผลการทดลอง ตัวอย่างพริกไทยเป็นโรคใบจุดที่เก็บรวมรวมได้จากแหล่งปลูกต่างๆ แยกและตรวจสอบเชื้อสาเหตุโรค คือ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ทาการทดลองทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช บางชนิดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคจานวน 2 ไอโซเลท คือไอโซเลทที่แยกได้จาก อ.นายายอาม และอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรีในสภาพห้องปฏิบัติการ โดยเลีย้ งเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ความเข้มข้นต่างๆ ผลการทดลองพบว่า prochloraz 45% W/V EC ทุกความเข้มข้นสามารถยับยัง้ การเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคทั้ง 2 ไอโซเลทได้ดีที่สุดถึง 100% ดาเนินการ ทดลองในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองกับต้นพริกไทยจานวน 2 สายพันธุ์คือ ซีลอนและซาลาวัคที่ได้รับการปลูก เชื้อ 2 ไอโซเลทดังกล่าว พบว่า prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มล./น้า 20 ลิตร ซึ่งเป็นอัตราแนะนา ข้างฉลากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบจุดได้ดที ี่สุด เอกสารอ้างอิง กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. พื้นที่ปลูกพริกไทย ปี 2558. ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช รายเดือน ระดับตาบล (รต.) กรมส่งเสริมการเกษตร. 740
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ที่มา URL : http://www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant/rortor/herb/pepper.pdf เข้าถึงข้อมูล 1 กันยายน 2562. พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และ วลัยภรณ์ ชัยฤทธิ์ชัย. 2559. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรค พืชบางชนิดต่อการควบคุมโรคผลเน่าในชมพู่. หน้า 211-221 ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ประจาปี 2559 (ภาคบรรยาย). สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. แสงมณี ชิงดวง, อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, ศรีสุดา โท้ทอง, สุรศักดิ์ กาสา, ธนพร จิตจักร และสุนิตรา คามีศักดิ์. 2555. โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพริกไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน. ใน รายงาน ผลงานวิจัยประจาปี 2555. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. ที่มา URL : http://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2068 เข้าถึงข้อมูล 15 สิงหาคม 2562. สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. พริกไทย : เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2561 ที่มา URL : http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/pepper61.pdf เข้าถึงข้อมูล 1 กันยายน 2562. สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถิติการนาเข้าพริกไทยดาหรือขาว ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2561. ที่มา URL:http://impexp.oae.go.th/service/import.php?S_YEAR=2558&E_YEAR=2561&PRODUC T_GROUP=5251&PRODUCT_ID=3826&wf_search=&WF_SEARCH=Y เข้าถึงข้อมูล 1 กันยายน 2562 Jayakumar, V., Kannamma, URG, Amaresan, N., and S. Rajalakshmi. 2009. First Report of Anthracnose Disease of Black Pepper (Piper nigrum) Caused by an Unknown Species of Colletotrichum. Plant Disease 93:199. Kurian, P.S., Sivakumar, G., Josephrajkumar, A., Backiyarani, S., Murugan, M., and K.N. Shiva. 2008. Management of anthracnose disease (Colletotrichum gloeosporioides (Penz) Penz & Sac.) of black pepper (Piper nigrum L.) in the high ranges of Idukki District, Kerala. Journal of Spices and Aromatic Crops Vol. 17(1):21–23 Vincent, J.M. 1927. Distortion of fungal hyphae in the presence of certain inhibitors. Nature 59: 850 cited by Chauhan et al. (2017) Phyto-Fungicides: structure activity relationships of the thymol derivatives against Rhizoctonia solani. Journal of Agricultural Chemistry and Environment 6:175-185
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
741
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ตารางที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ไอโซเลทที่แยกได้จาก อ.นายายอาม จ.จันทบุรีบนอาหารเลี้ยง เชื้อ potato dextrose agar (PDA) ผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช5 ชนิด ที่ความเข้มข้นต่างๆ สารป้องกันกาจัดโรคพืช azoxystrobin 25% W/V SC captan 50% WP carbendazim 50% WP mancozeb 80% WP prochloraz 45% W/V EC 1/
เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) ที่ความเข้มข้นต่างๆ (ppm)1/ 0 500 1,000 1,500 2,000 2,500 3,000 0.00 38.89 41.11 45.56 46.67 46.67 47.78 0.00 20.00 28.89 47.78 58.89 60.00 63.33 0.00 61.11 73.33 74.44 75.56 81.11 82.22 0.00 15.56 25.56 25.56 32.22 36.67 37.78 0.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
ค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) โดยวิธีของ Vincent (1927) จากสูตร Mycelial growth inhibition (%) (MGI) = (rC–rT) x 100 rC
742
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อ
rC = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดควบคุม rT = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดทดสอบสาร
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ตารางที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ไอโซเลทที่แยกได้จากอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรีบนอาหาร เลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ผสมด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช 5 ชนิดที่ความเข้มข้นต่างๆ สารป้องกันกาจัดโรคพืช azoxystrobin 25% W/V SC captan 50% WP carbendazim 50% WP mancozeb 80% WP prochloraz 45% W/V EC 1/
เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) ที่ความเข้มข้นต่างๆ (ppm)1/ 0 500 1,000 1,500 2,000 2,500 3,000 0.00 38.89 42.22 41.11 42.22 44.44 45.56 0.00 17.78 40.00 45.33 58.77 58.77 65.33 0.00 84.89 90.00 90.00 91.01 92.05 90.00 0.00 17.78 23.33 30.00 33.11 35.56 36.67 0.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00
ค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา (Mycelial growth inhibition (%); MGI) โดยวิธีของ Vincent (1927) จากสูตร Mycelial growth inhibition (%) (MGI) = (rC–rT) x 100 rC
เมื่อ
rC = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดควบคุม rT = ค่าเฉลี่ยรัศมีการเจริญของโคโลนีเชื้อราในจานอาหารชุดทดสอบสาร
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
743
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ภาพที่ 1 อาการแผลโรคใบจุดบนใบพริกไทยเป็นแผล ลักษณะสปอร์ขยายพันธุ์หรือโคนีเดียของเชื้อราสาเหตุ โรค Colletotrichum gloeosporioides และโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ไอโซเลทที่แยกจาก อ.นายายอาม (ซ้าย) และอ.เขาคิชฌกูฏ (ขวา) จ.จันทบุรี
744
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ภาพที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 5 ชนิดที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อการเจริญของ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคใบจุดของพริกไทยทั้ง 2 ไอโซเลท
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
745
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPB-17
ภาพที่ 3 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชต่อการแพร่ระบาดของโรคใบจุดพริกไทยใน สภาพเรือนปลูกพืชทดลอง โดยปลูกเชื้อราสาเหตุโรค Colletotrichum gloeosporioides บนใบ พริกไทยก่อนพ่นด้วย prochloraz 45% W/V EC เปรียบเทียบกับต้นควบคุมไม่พ่นสารที่ใบร่วงยืน ต้นตาย (ล่างซ้าย)
746
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
ประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคราสนิม สาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ในกุยช่าย Efficacy of Fungicides for Control Garlic Chives Rust Disease Caused of Puccinia allii Rud. นพพล สัทยาสัย วรางคนา โชติเศรษฐี และ หทัยภัทร เจษฎารมย์ Noppon Sathayasai Warangkana Chotsetthee and Hataipat Jessadarom สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office Department of Agriculture
บทคัดย่อ โรคราสนิมของกุยช่าย สาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. เป็นโรคที่สาคัญที่ทาให้คุณภาพและผลผลิต ของกุยช่ายลดลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและอัตราของสารป้องกันกาจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพใน การควบคุมโรคราสนิมของกุยช่าย ดาเนินการทดสอบแปลงของเกษตรกร อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ในเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม และ พฤศจิกายน - ธันวาคม พ.ศ. 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้า 10 กรรมวิธี ได้ แก่ กรรมวิ ธี พ่ น สาร chlorothalonil 50% SC อั ต รา 30 มิ ล ลิ ลิ ต ร, sulfur 80% WP อั ต รา 30 กรั ม , mancozeb 80% WP อั ต รา 40 กรั ม , difenoconazole 25% EC อั ต รา 15 มิ ล ลิ ลิ ตร, pyraclostrobin 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร, azoxystrobin 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตร, difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC อั ต รา 20 มิ ลลิ ลิ ตร, Triadimefon 20% EC อั ต รา 10 มิ ลลิ ลิ ตร แ ล ะ propiconazole 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้า 20 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า พบว่า สาร azoxystrobin 25% W/V EC มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคดีที่สุด โดยมีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อฉีดพ่นทุก 5 วันหลังพบโรค จานวน 3 ครั้ง (ก.พ.-มี.ค. ) และ 4 ครั้ง(พ.ย.-ธ.ค.) มีต้นทุน 158 197.5 บาท/ไร่/การพ่น 1 ครั้ง รองลงมาคือสาร pyraclostrobin 25% EC, propiconazole 25% EC และ difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มีต้นทุน 174 - 217.5, 134.4 – 168 และ 86.4 10 บาท/ไร่/การพ่น1 ครั้ง ตามลาดับ ดังนั้น เมื่อพบการระบาดของโรคควรฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ มี ประสิทธิภาพ ทุกๆ 5 วัน จานวน 4 ครั้ง และควรฉีกพ่นทุก 10 - 20 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรค คาสาคัญ: ประสิทธิภาพ สารป้องกันกาจัดโรคพืช โรคราสนิมกุยช่าย กุยช่าย ABSTRACT Garlic chives rust disease caused by Puccinia allii Rud. is the major problem of garlic chives which reduces both its quality and yield. The purpose of this research was to study the 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
747
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
efficacy of fungicides and their application rates for controlling rust disease on garlic chives. This experiment was conducted on farmer's orchard at Danmakhamtia district, Kanchanaburi province, during February - March and November - December 2018. The experiment was designed in RCB with 10 treatments and 4 replications. The treatments were the applications chlorothalonil 50% SC at the rate 30 ml, sulfur 80% WP at the rate 30 g, mancozeb 80% WP at the rate 40 g, difenoconazole 25% EC at the rate 15 ml, pyraclostrobin 25% EC at the rate 15 ml, azoxystrobin 25% W/V EC at the rate 10 ml, difenoconazole 15%EC + propiconazole 15% EC at the rate 20 ml, Triadimefon 20% EC at the rate 10 ml and , propiconazole 25% EC at the rate 15 ml/ 20 L of water, while the control treatment was spray water. The results indicated that the application of azoxystrobin 25% W/V EC was the most effective for controlling rust disease which the least percentage disease severity, less than 10 percent after spray the 3rd (February March) and 4th (November - December) times when spray every 5 day while discover disease with cost of 1 5 8 – 1 9 7 .5 baht/rai/application. The application of pyraclostrobin 25% EC, propiconazole 25% EC and difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC were moderately effective for controlling rust disease which the percentage disease severity with cost of 174 - 217.5, 134.4 - 168 and 86.4 - 10 baht /rai/application respectively. When found outbreak rust disease on garlic chives should spray effective fungicide every 5 day for 4 times and spray every 10 - 20 days to prevent disease Keywords: efficacy, fungicide, Garlic chives rust disease, Garlic chives คานา กุยช่าย (Allium tuberosum Roxb.) เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน จะมี ความสูงประมาณ 20 - 45 เซนติเมตร ทั้งต้นจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใบจะออกจากโคนต้นเป็นเส้นแบนกว้าง ประมาณ 1.5 - 9 มิลลิเมตร ยาว 10 - 27 เซนติเมตร เป็นสีเขียวแก่เป็นมัน ขอบเรียบ ไม่มีขน ปลายใบแหลม ดอกจะออกจากโคนต้น สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนบนของดอกจะออกดเป็นช่อเป็นเยื่อสีขาว มี 1 - 3 กลีบ ส่วนปลายแหลม ดอกย่อยสีขาว มีกลีบ 6 กลีบ กลมรี ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลมมนถึงแหลม มาก เรียงกันเป็น 2 ชั้น เกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผล มีลักษณะกลม 3 พู เมล็ดสีดากลมรี (กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2556) ขั้นตอนการปลูกกุยช่าย (ไพบูลย์ แพงเงิน, 2545) เตรียมดินโดยการขุดดิน ตากไว้ประมาณ 1 เดือน ต่อจากนั้นทาการยกแปลงให้สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ขนาด 1.20 เมตร ส่วนความยาวตามความต้องการ ยกร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ปรับปรุงบารุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุย๋ หมักผสมคลุกเคล้ากับดิน นาต้น กล้ากุยช่ายลงปลูก ระยะปลูกห่างกันประมาณ 25 - 30 เซนติเมตร (แปลงกว้าง 1.20 เมตร สามารถปลูกได้ 4 748
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
แถว) รดน้าทุกๆ 4 วัน ให้ดินชื้น ใส่ปุ๋ยทุก 2 เดือน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนประกอบ ได้แก่ แกลบ 3 ส่วน และมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยกุยช่ายเขียวจะเจริญเติบโตแตกกอ และสามารถตัดจาหน่ายได้ทุก 60 วัน โรคราสนิม เชื้อสาเหตุ Puccinia allii Rud. ชีววิทยาของเชื้อ พบเชื้อระยะ uredinium เกิดทั้งสอง ด้านของใบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนรีสเี หลืองสดโดยเกิดเดี่ยวๆกระจายทั่วใบ บางครั้งเกิดติดกันเป็นทางยาวใต้ชั้น epidermis ของพืชและดัน epidermis จนแตกออก สปอร์ (urediniospore) 1 เซลล์ เกิดบนก้านผนังบางไม่ มีสี รูปร่างกลมหรือค่อนข้างกลมเป็นส่วนใหญ่ บางสปอร์มีรูปร่างแบบ broadly ellipsoid ขนาด 21.25 - 25 x 20.00 - 23.75 ไมครอน (เฉลี่ย 23.31 x 21.88 ไมครอน) พบเม็ด oil content อยู่ภายในสปอร์ สีอาพันถึง เหลืองอ่อน ผนังสปอร์หนาเท่ากันทั้งสปอร์ และใสไม่มีสี ผิวหนังเป็นหนามแบบ echinulate ไม่เห็นจุดงอก (Cummins, 1971) และ (Cummins et al., 2003) ลักษณะอาการ เกิดแผลเป็นจุดหรือขีดนูนเล็กๆสีเหลืองอมส้มไปตามแนวยาวของใบ เกิดทั้งด้านบน ใบและใต้ใบ ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นและปริแตกออกเห็นสปอร์สีเหลืองคล้ายสนิมเหล็ก เกิดกระจายทั่วใบ ถ้า เป็นรุนแรงใบจะเหลืองและแห้งตาย นอกจากเกิดโรคบนใบแล้ว ยังพบอาการของโรคที่ก้านดอกได้อีกด้วย การแพร่ระบาด โรคแพร่ระบาดโดยสปอร์ของเชื้อราปลิวไปกับลมเข้าทาลายพืชอาศัยและมีชีวิตอยู่ รอดได้นานหลายปี โรคราสนิมจะระบาดได้ดีหากพืชอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมบางประการ เช่น แห้งแล้งเกินไป หรือชื้นแฉะเกินไป พืชได้รับไนโตรเจนสูงเกินไป ขาดปุ๋ยโพแทสเซียม ปลูกแน่นเกินไป โรคมักเกิดในช่วงอากาศ เย็น คือช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว การป้องกันกาจัด มีคาแนะนาให้เก็บเศษใบและต้นพืชที่เป็นโรคไปเผาทาลาย เพื่อเป็นการขจัดแหล่ง เชื้อ ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอิ นทรีย์ รวมทั้งปลูกพืชสลับหมุนเวียน โดยเลือกปลูก พืชอื่นที่ไม่ใช่พื ช ตระกูลหอมกระเทียบ เพื่อเป็นการลดพืชอาศัย เมื่อพบกุยช่ายแสดงอาการของโรค พ่นสารป้องกันกาจัดโรค พืช ออกซีคาร์บอกซิน 20% EC อัตรา 10 - 20 กรัม/น้า20 ลิตร หรือกามะถันผงชนิดละลายน้า 80% WP อัตรา 30 - 40 กรัม/น้า 20 ลิตร พ่นสัปดาห์ละครั้ง ในการพ่นสารเคมีควรผสมสารจับใบทุกครั้ง และไม่ควร พ่นตอนแดจัดเพราะอาจทาให้ใบไหม้ (กลุ่มวิจัยโรคพืช, 2554) (Olson et al, n.d.) มี คาแนะนาให้ใช้สาร pyraclostrobin ป้องกันกาจัดเชื้อ Puccinia allii Rud ซึ่ ง เป็ น สารป้ อ งกั น ก าจั ด เชื้ อ รากลุ่ ม Strobilurin (กลุ่ ม 11) และควรสลั บ สารไปใช้ ส ารในกลุ่ ม 3 เช่ น difenoconazole 25%EC เพื่อป้องกันเชื้อสาเหตุโรคพืชการต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช ศรีสุข (2554) ได้รายงานสารออกซีคาร์บอกซิน เป็นสารยับยั้งขบวนการหายใจ กลุ่ม C1 ยับ ยั้งใน complex เอ็นไซม์ซัคซิเนท ดีไฮโดรจีแนส (Succinate dehydrogenase) ออกฤทธิ์ควบคุมเอ็นไซม์ซัคซิเนท ดีไฮโดรจีแนส ในระบบการหายใจของเชื้อรา ตรงส่วนของไมโตคอนเดรียซึ่งทาหน้าที่ในวงจรไตรคาร์บอไซริค (tricarboxyric cycle) เกี่ยวกับการส่งถ่ายพลังงาน สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดเชื้อราสาเหตุ โรคราสนิม โรคราเขม่า โรคราเม็ดผักกาดและกลุ่มเห็ดรา 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
749
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
กรมวิชาการมีห น้าที่ รับผิดชอบการดาเนินการให้มี เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม และการผลิตที่ ปลอดภัยในการบริโภค การผลิตพื ชอาหารโดยเฉพาะผักและผลไม้ จะมีปัญ หาของสารพิษตกค้างของสาร ป้องกันกาจัดศัตรูพืชเป็นเรื่องหลัก จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกัน กาจัดโรคพืชเพื่อการแก้ปัญหา โรคราสนิมและอัตราที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค เพื่อใช้เป็นคาแนะนา การป้องกันกาจัดโรคพืชในกุยช่ายที่ถูกต้องและเหมาะสมแนะนาเกษตรกร นักวิชาการ นักส่งเสริม และธุรกิจ เอกชนที่เกี่ยวข้องต่อไป วิธีดาเนินการ อุปกรณ์ 1. แปลงขึ้นกุยช่าย 2. สารป้องกันกาจัดโรคพืช chlorothalonil 50% SC, sulfur 80% WP, mancozeb 80% WP, difenoconazole 25% EC, pyraclostrobin 25% EC, azoxystrobin 25% W/V EC, difenoconazole 15%EC + propiconazole 15% EC, triadimefon 20% EC, propiconazole 25% EC 3. เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง 4. ปุ๋ยเคมีสูตร 15 - 15 – 15 5. ถังพลาสติก กระบอกตวง/บิกเกอร์ 6. ป้ายปักแปลง 7. ชุดและอุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี 8. อุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น กระดาน, ดินสอ เป็นต้น วิธีการ วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block (RCB) มี 4 ซ้า 10 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสาร chlorothalonil 50% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร sulfur 80% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร mancozeb 80% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่นสาร difenoconazole 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร pyraclostrobin 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร azoxystrobin 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่นสาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 8 พ่นสาร triadimefon 20% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร
750
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
กรรมวิธีที่ 9 พ่นสาร propiconazole 25% EC กรรมวิธีที่ 10 พ่นน้าเปล่า
PPA-01
อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร อัตรา 20 ลิตร
วิธีปฏิบัติการทดลอง ดาเนินการทดลองพ่นสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมของกุยช่ายตามกรรมวิธีและอัตราที่กาหนดด้วย เครื่องสูบโยกสะพายหลัง ในแปลงของเกษตรกรตาบลจระเข้เผือก (ก.พ. - มี.ค. 2561) และตาบลด่านมะขาม เตี้ย (พ.ย. - ธ.ค. 2561) อาเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดแปลงย่อย 1.5 x 6 เมตร จานวน 40 แปลง โดยเว้นระยะระหว่างแปลงย่อยไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร ทาการพ่นสารครัง้ แรกเมื่อพบราสนิ มที่ใบ ด้วย เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง พ่นสารทดลองจานวน 4 ครั้ง ทุก 5 วัน ประเมินความรุนแรงของโรค ก่อนพ่นสารทดลองทุกครัง้ และหลังการพ่นสารครั้งสุดท้าย 5, 10 และ 20 วัน สุ่มประเมินความรุนแรงของ โรคราสนิม 20 กอ/แปลงย่อย โดยเลือกใบที่ 4 หรือ 5 จากใบยอด จานวน 2 ใบต่อกอ การประเมินความ รุนแรงของโรคเป็นไปตามมาตรฐานคาแนะนาการทดลองประสิทธิภาพวัตถุอันตรายทางการเกษตร กรม วิชาการเกษตรโดยแบ่งเป็น 6 ระดับดังนี้ ระดับ 0 ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 1 ใบปรากฏอาการของโรค 1 - 10% ของพื้นที่ใบ ระดับ 2 ใบปรากฏอาการของโรค 11 - 25% ของพื้นที่ใบ ระดับ 3 ใบปรากฏอาการของโรค 26 - 50% ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 ใบปรากฏอาการของโรค 51 - 75% ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75% ของพื้นที่ใบ นาข้อมูลมาคานวณหาเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคโดยใช้สูตร disease severity index (DSI) (Henderson and Tilton, 1955) แล้วมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Analysis of variance เปรียบเทียบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT และวิเคราะห์ตน้ ทุนการพ่นสาร การบันทึกข้อมูล - บันทึกเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรค - บันทึกสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆขณะทาการทดลอง - ศัตรูพืชอื่นๆ - ความเป็นพิษต่อพืช ผลการทดลอง แปลงทดลองที่ 1 ตาบลจระเข้เผือก อาเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561) สารวจแปลงปลูกกุยช่ายเกษตรกร พบการระบาดของโรคราสนิมสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ความรุนแรงโรคระดับ 2-3 เนื่องจากแปลงปลูกอยู่ติดเขา ช่วงก่อนพ่นสารทดลอง 1 อาทิตย์ สภาพอากาศ บริเวณแปลงปลูก กลางวันมีอากาศร้อน กลางคืนอากาศเย็นและมีหมอกหนา อุณหภูมิช่วงกลางคืนเฉลี่ยอยู่ที่ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
751
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
18 - 22 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 85 % ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การระบาดของ เชื้อ Puccinia allii Rud. สอดคล้องกับรายงานของ Furuya, H. และคณะ 2009. ที่ว่า อุณหภูมิ 16 - 22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 80% นานกว่า 10 ชั่วโมง มีอิทธิพลต่อการระบาดของเชื้อ Puccinia allii Rud. ในต้นหอมซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับกุยช่าย (ภาพที่ 1) ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมกุยช่ายสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ก่อนการพ่นสารทดลอง ทาการประเมินเปอร์เซ็นต์ ความรุนแรงของโรคจากอาการที่ ปรากฏบนใบ พบว่า ทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคอยู่ระหว่าง 24.8 - 30.5 และเริ่มทาการพ่นสารทดลองครั้ง ที่ 1 ตามกรรมวิธี ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 2 หลังการพ่นสารครั้งที่ 1 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธีสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่าง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีค วบคุมที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 47.5 ส่วนสารใน กรรมวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรค เท่ากับ 13.3 รองลงมาคือ สาร chlorothalonil 50% SC และ สาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 15.3 และ 17.5 ตามลาดับ ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 3 หลังการพ่นสารครั้งที่ 2 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธี ควบคุมที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ากับ 59.0 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรง ของโรคน้ อ ยที่ สุ ด คื อ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เ ปอร์ เซ็ น ต์ ค วามรุน แรงของโรค เท่ ากั บ 5.3 รองลงมาคือ สาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC, สาร difenoconazole 25% EC, สาร propiconazole 25% EC, สาร sulfur 80% WP, สาร chlorothalonil 50% SC และ สาร pyraclostrobin 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 17.0, 17.3, 18.8, 19.5, 20.5 และ 21.3 ตามลาดับ ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 4 หลังการพ่นสารครั้งที่ 3 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธี ควบคุมที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ากับ 60.8 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรง ของโรคน้ อ ยที่ สุ ด คื อ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เ ปอร์ เซ็ น ต์ ค วามรุน แรงของโรค เท่ ากั บ 3.8 รองลงมาคือ สาร sulfur 80% WP, สาร pyraclostrobin 25% EC, สาร propiconazole 25% EC, สาร difenoconazole 25% EC, ส า ร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC, , ส า ร chlorothalonil 50% SC และ มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 13.5, 14.5, 14.8, 15.0, 16.8 และ 20.3 ตามลาดับ 752
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 5 วัน พบว่าสารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่ าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ ากั บ 59.5 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เป อร์ เ ซ็ น ต์ ค วาม รุ น แ รงขอ งโรคเท่ ากั บ 3.8 รอ งล งม าคื อ สาร pyraclostrobin 2 5 % EC, ส า ร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC แ ล ะ ส า ร propiconazole 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 12.8, 14.5 และ 14.5 ตามลาดับ หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 10 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ ากั บ 82.0 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เป อร์ เ ซ็ น ต์ ค วาม รุ น แรงขอ งโรค เท่ ากั บ 0.8 รองล งมาคื อ สาร pyraclostrobin 2 5 % EC, ส า ร propiconazole 25% EC แ ล ะ ส า ร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 3.3, 6.0 และ 8.0 ตามลาดับ หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 20 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 85.0 และพบว่ากรรมวิธีที่พ่นสาร azoxystrobin 25% W/V EC ไม่พบอาการโรค รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC, สาร propiconazole 25% EC และสาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มี เ ปอร์เ ซ็น ต์ค วามรุน แรงของโรคเฉลี่ ยเท่ ากั บ 3.5, 3.5 และ 5.3 ตามลาดับ (ตารางที่ 1)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
753
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
ตารางที่1 ประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคราสนิมของกุยช่ายสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. แปลงเกษตรกร ตาบลจระเข้เผือก อาเภอด่าน มะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561) กรรมวิธี chlorothalonil 50% SC sulfur 80% WP mancozeb 80% WP difenoconazole 25% EC pyraclostrobin 25% EC azoxystrobin 25% W/VEC difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC triadimefon 20% EC propiconazole 25% EC Water CV. (%) R.E.
อัตรา (ก./มล./น้า20ล. )
ความรุนแรงของโรค (%)1/ ก่อนพ่นสาร ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 15.3 a/2 20.5 b 28.0 b 19.5 b 26.3 b 30.0 c 24.3 b 17.3 b 24.0 b 21.3 b 13.3 a 5.3 a
ครั้งที่ 4 20.3 b 13.5 b 34.8 c 15.0 b 14.5 b 3.8 a
5 วัน 28.5 d 22.5 cd 38.0 e 19.0 bc 12.8 b 3.8 a
หลังพ่นสาร 10 วัน 30.5 d 23.8 c 43.5 e 28.3 cd 3.3 ab 0.8 a
20 39.3 c 34.0 bc 41.3 c 26.5 b 3.5 a 0.0 a
30 30 40 15 15 10
ครั้งที่ 1 25.5 29.8 24.8 25.3 27.3 26.5
20
27.3
17.5 a
17.0 b
16.8 b
14.5 bc
8.0 b
5.3 a
10 20 -
27.8 30.5 26.8 6.5 -
34.5 c 23 b 47.5 d 13.8 109.9
37.0 d 18.8 b 59.0 e 17.7 49.7
45.3 d 14.8 b 60.8 e 19.2 38.6
45.8 e 14.5 bc 59.5 f 22.2 30.9
58.3 f 6.0 ab 82.0 g 13.7 46.0
59.0 d 3.5 a 85.0 e 26.6 13.1
/1 ประเมินความรุนแรงของโรคเป็นไปตามมาตรฐานคาแนะนาการทดลองประสิทธิภาพวัตถุอันตรายทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตรและคานวณดัชนีความรุนแรงของโรค 2/ ค่าเฉลี่ยในแต่ละคอลัมน์ที่ตามด้วยอักษรภาษาอังกฤษเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น
754
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
95% ในวิธี DMRT ค่าเฉลี่ยจาก 4 ซ้า
disease severity index (DSI)
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
แปลงทดลองที่ 2 ตาบลด่านมะขามเตี้ย อาเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561) สารวจแปลงปลูกกุยช่ายเกษตรกรพบการระบาดของโรคราสนิมสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ในระดับ 3 เนื่องจากบริเวณแปลงปลูกเป็นพื้นที่ราบ กลางวันมีอากาศร้อน กลางคืนมีหมอกหนา อุณหภูมิ เฉลี่ยอยู่ที่ 19 - 23 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 85 % ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การ ระบาดของโรค (ภาพที่ 1 ) ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมกุยช่ายสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ทาการประเมินเปอร์เซ็นต์ ความรุนแรงของโรคจากอาการที่ปรากฏบนใบ ก่อนการพ่นสารทดลอง พบว่า ทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคอยู่ระหว่าง 41 - 50.5 และเริ่มทาการพ่นสารทดลองครั้งที่ 1 ตามกรรมวิธี ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 2 หลังการพ่นสารครั้งที่ 1 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธีสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่าง อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมที่มีเปอร์เซ็น ต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 68 ส่วนสารใน กรรมวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเท่ ากั บ 16.8 รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC, สาร propiconazole 25% EC และ สาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มี เปอร์เซ็น ต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ย เท่ากับ 35.3, 36.5 และ 40.8 ตามลาดับ ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 3 หลังการพ่นสารครั้งที่ 2 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธี ควบคุมที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 82.5 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรง ของโรคน้ อยที่ สุ ด คือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เ ปอร์เ ซ็น ต์ค วามรุน แรงของโรคเท่ ากั บ 12.5 รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC และ สาร propiconazole 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรง ของโรคเท่ากับ 18.8 และ 23.8 ตามลาดับ ก่อนการพ่นสารทดลองครั้งที่ 4 หลังการพ่นสารครั้งที่ 3 ผ่านไป 5 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืช ทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อยกว่าและแตกต่ างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธี ควบคุมที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 73 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของ โรคน้อยที่สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเท่ากับ 3.0 รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC, สาร propiconazole 25% EC และ สาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 14.3, 15.5 และ 16.8 ตามลาดับ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
755
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 5 วัน พบว่าสารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ ากั บ 80.8 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เป อร์ เ ซ็ น ต์ ค วามรุ น แรงของโรคเท่ ากั บ 3.0 รอ งลงม าคื อ สาร propiconazole 25% EC, สาร pyraclostrobin 25 % EC, แ ล ะ ส าร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 9.8, 15.0 และ 15.8 ตามลาดับ หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 10 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ ากั บ 84.5 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เป อร์ เ ซ็ น ต์ ค วาม รุ น แรงของโรคเท่ ากั บ 2.8 รอ งลงม าคื อ สาร pyraclostrobin 2 5 % EC, ส า ร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC แ ล ะ ส า ร propiconazole 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 5.8, 7.3 และ 7.5 ตามลาดับ หลังการพ่นสารครั้งที่ 4 ผ่านไป 20 วัน พบว่า สารป้องกันกาจัดโรคพืชทุกกรรมวิธี มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยน้อ ยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติกั บกรรมวิธีควบคุมที่ มีเปอร์เซ็นต์ความ รุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ ากั บ 86.3 ส่วนสารในกรรมวิธีที่มี เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคน้อยที่ สุดคือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC มี เป อร์ เ ซ็ น ต์ ค วามรุ น แรงของโรคเท่ ากั บ 0.5 รอ งลงม าคื อ สาร propiconazole 25% EC, ส า ร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC แ ล ะ ส า ร pyraclostrobin 25% EC มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 3.0, 4.3 และ 5.0 ตามลาดับ (ตาราง ที่ 2)
756
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ก.
PPA-01
ข.
ภาพที่ 1 ลักษณะอาการจากเข้าทาลายของเชื้อ Puccinia allii Rud. ก. ลักษณะอาการโรคราสนิมบนใบกุยช่าย ข. ลักษณะอาการดรคราสนิมบนก้านดอกกุยช่าย
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
757
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
ตารางที่2 ประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคราสนิมของกุยช่ายสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. แปลงเกษตรกร ตาบลด่านมะขามเตี้ย อาเภอ ด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561) กรรมวิธี chlorothalonil 50% SC sulfur 80% WP mancozeb 80% WP difenoconazole 25% EC pyraclostrobin 25% EC azoxystrobin 25% W/VEC difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC triadimefon 20% EC propiconazole 25% EC Water CV. (%) R.E.
อัตรา (ก./มล./น้า20ล. )
ความรุนแรงของโรค (%)1/ ก่อนพ่นสาร ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 62.5 d /2 76.0 f 55.5 c 68.3 e 55.0 c 62.3 de 64.8 d 56.3 d 35.3 b 18.8 b 16.8 a 12.5 a
ครั้งที่ 4 69.0 f 37.5 c 52.5 d 68.3 f 14.3 b 3.0 a
5 วัน 73.8 f 66.5 e 53.8 d 61.3 e 15.0 c 3.0 a
หลังพ่นสาร 10 วัน 63.5 c 73.8 d 58.0 c 64.8 c 5.8 b 2.8 a
30 30 40 15 15 10
ครั้งที่ 1 46.8 ab 47.0 ab 46.5 ab 44.8 ab 41.5a 50.5b
20
45.8 ab
40.8 b
43.8 c
16.8 b
15.8 c
7.3 b
4.3 b
10 20 -
46.8 ab 41.0 ab 41.5 ab 9.5 -
54.3 c 36.5 b 68.0 d 9.4 11.6
64.0 e 23.8 b 82.5 g 7.9 35.7
59.8 e 15.5 b 73.0 f 10.5 18.1
64.5 e 9.8 b 80.8 g 9.3 19.5
64.8 c 7.5 b 84.5 e 9.9 20.2
73.0 d 3.0 b 86.3 e 9.4 20.7
/1 ประเมินความรุนแรงของโรคเป็นไปตามมาตรฐานคาแนะนาการทดลองประสิทธิภาพวัตถุอันตรายทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตรและคานวณดัชนีความรุนแรงของโรค 2/ ค่าเฉลี่ยในแต่ละคอลัมน์ที่ตามด้วยอักษรภาษาอังกฤษเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น
758
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
95% ในวิธี DMRT ค่าเฉลี่ยจาก 4 ซ้า
disease severity index (DSI)
20 63.0 c 74.3 d 59.8 c 59.5 c 5.0 b 0.5 a
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
ต้นทุนการใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืช เมื่อพิจารณาต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพป้องกันกาจัดโรคราสนิมกุยช่าย พบว่า สาร azoxystrobin 25% W/VEC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร, สาร pyraclostrobin 25% EC 15 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร, สาร propiconazole25% EC อั ต รา 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร และสาร difenoconazole 15%EC + propiconazole 15%EC 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ลิตร มีต้นทุนการพ่นสาร 158 - 197.5, 174 - 217.5, 134.4 - 168, 86.4 - 108 บาท/ไร่/การพ่น 1 ครั้ง ตามลาดับ (ตารางที่3) ตารางที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดเชื้อราในการควบคุมโรคราสนิมกุยช่าย สาเหตุจาก เชื้อรา Puccinia allii Rud.
สารป้องกันกาจัดเชื้อรา chlorothalonil 50% SC sulfur 80% WP mancozeb 80% WP difenoconazole 25% EC pyraclostrobin 25% EC azoxystrobin 25% W/VEC difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC triadimefon 20% EC propiconazole 25% EC 1/ 2/
ต้นทุน อัตรา package ต้นทุน/หน่วย 1/ (บาท/สาร (ก./มล./น้า (ก.,มล.) (บาท) อัตราที่ใช้ 20ล. ) มล.) 30 1000 350 10.5 30 1000 250 7.5 40 1000 350 14 15 1000 1020 15.3 15 500 1450 43.5 10 500 1975 39.5
ต้นทุน (บาท/ไร่2/) 42-52.5 30-37 56-70 61.2-76.5 174 – 217.5 158-197.5
20
1000
1080
21.6
86.4 - 108
10 20
500 250
600 420
12 33.6
48-60 134.4 - 168
ราคาสารเคมีในเดือนสิงหาคม 2018 อัตราการพ่นสารเคมีเมื่อผสมน้า : 80-100 ลิตร/ไร่
วิจารณ์ผลการทดลอง จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สารป้องกันกาจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชทุกกรรมวิธี สามารถลดความ รุนแรงของโรคลงได้ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่มีการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช (พ่นน้าเปล่า) แต่กรรมวิธีที่ พ่นสาร azoxystrobin 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร เป็นกรรมวิธีที่มีป ระสิท ธิภาพดีที่สุด เนื่องจากสามารถลดความรุนแรงของโรคราสนิมของกุยช่ายไปได้มากเมื่อฉีดพ่นเพียง 1 ครั้ง รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC อั ต รา 15 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร, สาร propiconazole 25% EC อั ต รา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และสาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
759
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
น้า 20 ลิตร มี ป ระสิท ธิภาพดี เมื่ อ ฉีดพ่ น 4 ครั้งทุ ก ๆ 5 วัน (ภาพที่ 2) ซึ่งสารเคมี ป้องกั นก าจัดเชื้อราที่ มี ประสิท ธิภาพทั้ ง 4 ชนิดดังกล่าวเป็นสารประเภทดูดซึม (Systemic fungicides) ซึ่งจะดูดซึมไปทางท่อน้า (Xylem mobile) ของพื ช โดย สาร azoxystrobin และ pyraclostrobin เป็ น สารกลุ่ ม 11 จะยั บ ยั้ ง กระบวนการหายใจทาให้เยื่อ หุ้ม เซลของเชื้อราเสื่อม ส่วนสาร propiconazole และ difenoconazole + propiconazole เป็นสารกลุ่ม 3 ดูดซึมไปทางท่อน้า เช่นกัน ยับยั้งการสร้างสาร Sterol ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของเยื่อหุ้มเซลล์ ดังนั้น การใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราควรใช้สารเคมีที่ มีประสิทธิภาพสลับกลุ่มกันตามกลไก การออกฤทธิ์ของสารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการดือหรือต้านทานสารเคมี (The Fungicide Resistance Action Committee (FRAC), 2019.) ทั้ ง นี้ สารเคมี ป ระเภทออกฤทธิ์แ บบสั ม ผั ส (contact fungicide) ไม่ ดู ดซึ ม (Pscheidt, 2019) คือ สาร chlorothalonil สารกลุ่ม M05, sulfur สารกลุ่ม M02 และ mancozeb สาร กลุ่ม M03 ยังมีประสิทธิภาพไม่ดีพอในการความคุมโรคราสนิมสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. เนื่องจาก หลังการพ่นสารครั้งสุดท้าย 5 วัน โรคราสนิมมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้ น ในแปลงที่ 1 ส่วนแปลงที่ 2 สารทั้ง สามชนิดลดความรุนแรงของโรคได้น้อยมาก จึงไม่แนะนาให้ใช้ควบคุมโรค
ภาพที่ 2 ลักษณะแผลจากเข้าทาลายของเชื้อ Puccinia allii Rud. หลังจากฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อรา ที่มีประสิทธิภาพ 4 ครั้ง ทุกๆ 5 วัน สรุปผลการทดลองและคาแนะนา จากผลการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมของกุยช่ายสาเหตุจากเชื้อ Puccinia allii Rud. ในแปลงปลูกเกษตรกร อาเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ในเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม (ฤดูการ ที่ 1 ) และ พฤศจิกายน - ธันวาคม (ฤดูการที่ 2 ) พ.ศ. 2561 ได้สารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัด คือ สาร azoxystrobin 25% W/V EC อั ต รา 10 มิ ล ลิลิ ต ร/น้า 20 ลิ ตร ซึ่ ง เป็ น สารที่ มี ป ระสิท ธิภ าพดี ที่ สุ ด รองลงมาคือ สาร pyraclostrobin 25% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร, สาร propiconazole 25% EC อัตรา 20 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ สาร difenoconazole 15% EC + propiconazole 15% EC อัตรา 760
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-01
20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร เมื่อพ่นด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง จานวน 4 ครั้ง ทุก 5 วัน มีต้นทุน 158 - 197.5, 174 - 217.5, 134.4 – 168 และ 86.4 - 10 บาท/ไร่/การพ่น1 ครั้ง ตามลาดับ ดังนั้น เมื่อพบ การระบาดของโรคควรฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ ทุกๆ 5 วัน จานวน 4 ครั้ง และควรฉีกพ่น ทุก 20 วัน ในช่วงสภาพอากาศกลางวันมีอากาศร้อนชื้น กลางคืนมีหมอกหนา เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคและ ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังฉีดพ่นอย่างน้อย 15 วัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. 2554. โรคผักและการป้องกันกาจัด. กลุ่มวิจัยโรคพืชการ สานักวิจัยพัฒนาการ อารักขาพืช กรม วิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. 153 หน้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2556. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. แหล่งที่มา URL http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/medicinalspecimen.asp?id=43 สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559. ไพบูลย์ แพงเงิน. 2545. กุยช่าย ผักทาเงินที่พรานกระต่าย. นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน. 14, 291 (15 กรกฎาคม 2559). หน้า 26 – 28. ศรีสุข พูนผลกุล. 2544. สารป้องกันกาจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. นนทบุร.ี 101 น. Cummins, G.B. 1971. The Rust Fungi of Cereals, Grasses and Bamboos. Springer-Verlag, New York. 570 pp. Cummins, G.B. and Y. Hiratsuka. 2003. Illustrated Genera of Rust Fungi. 3rd Ed., The American Phytopathological Society, Minnesota. 225 pp. FRAC. 2019. Mode of Action of Fungicides. Available at URL http://www.frac.info/resistance-overview/mechanisms-of-fungicide-resistance Accessed on 15 July 2019. Furuya, H., Takanashi, H., Fuji, S., Nagai, Y., and Naito, H. 2009. Modeling infection of spring onion by Puccinia allii in response to temperature and leaf wetness. Phytopathology 99:951-956. Henderson. C.F. and E.W.Tilton. 1955. Tests with acaricides against the brow wheat mite. J. Econ. Entomol. 48:157-161 Pscheidt, J.W., and Ocamb, C.M. (Senior Eds.). 2019 Pacific Northwest Plant Disease Management Handbook. Available at URL https://pnwhandbooks.org/node/2440. Accessed on 25 January 2019. S.M. Olson, P.J. Dittmar, N.A. Peres and S.E. Webb. N.d. Chapter 14: Onion, Leek, and Chive Production in Florida .Vegetable Production Handbook.173-185. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
761
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดต่อการแพร่ระบาดของ โรคราสนิมขาวในแปลงผลิตเมล็ดพันธุผ์ ักบุ้งจีน Efficiency Test of Some Fungicides to Control White Rust of Chinese Water Morning Glory in Seed Production Field พจนา ตระกูลสุขรัตน์1 ทนงศักดิ์ สุวรรณวงศ์2 และ อรณิชชา สุวรรณโฉม2 Photchana Trakunsukharat1 Thanongsak Suwannawong2 and Onnitcha Suwanchom2 1
1
สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร อ.ศรีสาโรง จ.สุโขทัย 64120 2 Sukhothai Research and Development Center, Department of Agriculture, Sukhothai 64120
บทคัดย่อ Albugo ipomoea-panduratae เป็นเชื้อราสาเหตุโรคราสนิมขาวของพืชวงศ์ผักบุ้งหลายชนิด ใน แปลงปลูกผัก บุ้งจีนเพื่ อผลิตเมล็ดพั นธุ์ มั กประสบปั ญ หาการระบาดของโรคนี้อ ยู่เสมอ วิธีป้องกั นก าจัด ที่ เกษตรกรนิยมกันคือใช้สารเคมีป้องกันกาจัดโรค แต่คาแนะนาการใช้สารที่มีประสิทธิภาพที่เป็นปัจจุบันยังขาด ข้อมูลที่ได้จากงานทดลองจริง ดังนั้นจึงได้ทาการศึกษาหาชนิดของสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัด โรคสาหรับใช้เป็นคาแนะนาการใช้สารที่ถูกต้อง โดยทาการทดลองจานวน 2 แปลง คือ ที่ ตาบลบ้านนา และ ตาบลคลองตาล อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2560 และเดือนตุลาคม 2561–กุมภาพันธ์ 2562 วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 4 ซ้ามี 9 กรรมวิธี คือกรรมวิธีพ่นสารทดลอง จานวน 8 ชนิด และกรรมวิธีพ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม โดยทุกกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองปลูกโดยใช้เมล็ด พันธุ์คลุก ด้วย metalaxyl 35% ES 3.5 มิ ล ลิลิตร/เมล็ด 1 กิ โลกรัม ยกเว้น กรรมวิธีค วบคุม พ่นทุ ก 7 วัน จานวน 4 ครั้งเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค ผลการทดลองทั้ง 2 แปลงให้ผลสอดคล้องกันคือ ทุกกรรมวิธีพ่น สารทดลองมีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวดีกว่ากรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า และสารป้องกัน กาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพดีที่สดุ ในการทดลองครั้งนี้คือ cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร รองลงมาคือ metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร ส่วนสารที่ มี ต้นทุนการใช้น้อยที่สุดคือ hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ในการทดลองครั้งนี้ ไม่พบความเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช คาสาคัญ : การควบคุมโรคด้วยสารเคมี ราสนิมขาวผักบุ้งจีน สารป้องกันกาจัดเชื้อรา
762
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ABSTRACT Albugo ipomoea-panduratae is the causing agent of white rust disease of many plants in Convolvulaceae family. This disease usually dispread in many Chinese water morning glory seed production areas. To control this disease, most Thai farmers use fungicides. But the current-used fungicide information did not come from the experiment. In the study and selection of some fungicides and use as effective control chemicals recommendation, the efficacy field trial of those fungicides were done in Tambon Klongtan and Tambon Banna, Srisamrong, Sukhothai province during June–September 2017 and October 2018–February 2019. With RCB design of 4 replication and 9 treatments (8 fungicides and water spraying as control), seedlings were planted with seed dressing by metalaxyl 35% ES 3.5 ml/ 1 kg of seed (except for control treatment) and spraying every 7 days for 4 times when the beginning of disease dispread. The experiment in 2 locations appeared the same result. All of fungicide application had controlled disease better than water spraying. The best effective fungicide for controlling were cyazofamid 40% W/V SC (6 ml/ 2 0 L of water) and metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP (30 g/20 L of water), respectively. Hexaconazole 5% W/V SC (20 ml/20 L of water) had the least application cost compared to those test fungicides. All plant in this experiment could not be found phototoxic symptom. Keywords: chemical control, white rust of Chinese water spinach, fungicide คานา ผั ก บุ้ ง จี น (water spinach ห รื อ kangkong) อ ยู่ ใน วงศ์ (Family) Convolvulaceae มี ชื่ อ วิท ยาศาสตร์ ว่า Ipomoea aquatic Forssk. เป็น พื ชพื้ น เมื องของประเทศในทวีป แอฟริก า เอเชี ย และ ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้ ถูกปลูกเป็นพืชสมุนไพรในประเทศแถบเอเชียใต้ม าตั้งแต่ อดีต (Austin, 2007) สามารถปลูกได้ทั้งบนบกและในน้า และในดินแทบทุกชนิด จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้ง เพื่อการบริโภคสดและการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในประเทศไทยแหล่งปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี และสุโขทัย (กรมส่งเสริมการเกษตร, มปป.) ปัญหาโรคพืชสาคัญ สร้างความเสียหายในพื้นที่ปลูก มากที่สุด คือโรคราสนิมขาว (White rust) หรือโรคใบลายที่สามารถพบได้เกือบทุกพื้นที่ปลูก สาเหตุโรคเกิด จากเชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae (Schwein.) Swingle ซึ่งมีการแพร่ะบาดมากช่วงที่ฝนตกชุก มี ความชื้น จัดเป็นเชื้อราอยูใ่ นกลุ่มที่เป็นปรสิตถาวร ตลอดวงจรชีวิตต้องอาศัยอยู่บนพืชที่มีชีวิต ไม่สามารถเลี้ยง บนอาหารสังเคราะห์ได้ (อมรรัตน์, 2552) เชื้อราในกลุ่ม Albugo spp. หรือกลุ่มเชื้อสาเหตุโรคราสนิมขาวมี ความเฉพาะเจาะจงในการเข้าทาลายพืชหลายชนิด (Sato et al., 2009) วงจรการเข้าทาลายมีสลับทั้งแบบ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
763
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ระยะอาศัยเพศ (sexual stage) และไม่อาศัยเพศ (asexual stage) เริ่มจากระยะสืบ พันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เส้น ใยเชื้อ ราสร้ างอวัยวะเรียกกว่า haustoria แทงทะลุ เข้าไปเจริญ อยู่ภ ายในเซลเนื้ อเยื่อพื ช สร้างส่ว น ขยายพันธุ์เรียกว่า sporangia ก่อนปลดปล่อย zoospore (zoosporangia) ที่สร้างอยู่ภายในออกมาในเซลพืช ก่อนพัฒนาสร้างเป็นเส้นใยเจริญและเข้าสู่ระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศสร้างสปอร์ขยายพันธุ์แบบมีเพศ 2 ชนิด คือ antheridia และ oogonia ผสมและแลกเปลี่ยนนิวเคลียสระหว่างสปอร์ขยายพันธุ์แบบมีเพศทั้ง 2 ชนิด เจริญ เข้า ท าลายพื ชต่อ ไป (Agrios, 2005) (ภาพที่ 1) อาการโรคเริ่ม ปรากฏภายใน 5–20 วันหลัง การเข้า ทาลายของเชื้อสาเหตุทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมขณะเข้าทาลาย พืชเชื้อสร้าง sporangia และ ปล่อย zoospore ภายใน 3–14 วันหลังเข้าสู่พืชและพัฒนาวงจรชีวิตครบทั้ง 2 ระยะทุก 8–10 วันระหว่างฤดู ปลูก (Babadoost, 1990) อาการเริ่มต้นส่วนมากจะเกิดที่ใบ โดยเฉพาะใบส่วนล่างๆ ของต้น หรือบางครั้งเกิด ที่ส่วนของใบเลี้ยง โดยเกิดเป็นจุดช้าเล็กๆ ด้านใต้ใบ หลังจากนั้น 2-3 วัน จะเกิดเป็นตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็กๆ เมื่อจุดแผลมีหลายจุดต่อเนื่องกันทาให้เป็นเป็นปื้นสีขาวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อใบส่วนด้านบนตรง กับส่วนที่มีปื้นสีขาวนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อพลิกหลังใบดูที่จุดนั้นมีกลุ่มของเส้นใยสีขาวอัดตัวกันอยู่เป็น กลุ่มๆ บางครั้งดูเหมือนกลุ่มไข่ของแมลง บางครั้งเชื้อสาเหตุโรคอาจทาให้เกิดการบวมที่ส่วนของโคนต้นระดับ ผิวดิน ส่วนปล้องของลาต้นได้ (อรพรรณและจุมพล, 2558) ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวเกษตรกรนิยมใช้สารเคมี แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต เช่น อุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน อีกทั้งเกษตรกรยังมีการปลูก ผักบุ้งจีนซ้าในพื้นที่เดิมเป็นเวลานานทาให้มีการสะสมและระบาดของโรคมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่ผลต่อ กระทบต่อการผลิตพืช ดังนั้นการวิจัยเพื่อศึกษาหาชนิดของสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของผักบุ้งจีนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ สาหรับใช้เป็นคาแนะนาให้เกษตรกรผู้ปลูกใช้ สารป้องกันกาจัดโรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงเป็น เรื่องที่มีความสาคัญต่อกระบวนการผลิต เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการที่จะเพิม่ ผลผลิตต่อไร่และผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดการ สูญเสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชผิดประเภท ลดการนาเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ และส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีที่ได้มาตรฐานสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก เพิ่มรายได้ให้ เกษตรกรผู้ปลูกได้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น และทาให้เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศให้ดีขึ้น อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. แปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนพันธุ์การค้า จานวน 2 แปลงทดลอง 2. สารป้องกันกาจัดโรคพืช จานวน 9 ชนิด คือ chlorothalonil 75%WP, cyazofamid 40% W/V SC, cymoxanil + mancozeb 8+64% WP, dimethomorph 50% WP, hexaconazole 5% W/V SC, metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP, metalaxyl 25% WP, propineb 70% WP และ metalaxyl 35% W/V ES 3. อุปกรณ์พ่นสารและคลุกเมล็ด เช่น ถังพ่นสาร ถังผสมสาร ถุงมือ ฯลฯ 764
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
4. อุปกรณ์การตรวจประเมินโรคและบันทึกผล เช่น สมุดบันทึก ปากกา กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ วิธีการ 1. การวางแผนการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จานวน 4 ซ้า มี 9 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่น chlorothalonil 75%WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่น cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่น cymoxanil + mancozeb 8+64% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่น dimethomorph 50% WP อัตรา 10 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 พ่น hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 พ่น metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WPอัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่น metalaxyl 25% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 8 พ่น propineb 70% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 9 พ่นน้าเปล่า เป็นกรรมวิธีควบคุม ทุกกรรมวิธีใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช metalaxyl 35% W/V ES อัตรา 3.5 มิลลิลิตร/เมล็ด 1 กิโลกรัม ก่อนปลูกยกเว้นกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า และพ่นสารทดลองเมือ่ เริ่มพบการ ระบาดของโรคทุก 7 วัน/ครั้ง จานวน 4 ครั้ง 2. การเตรียมแปลงและปลูก การปลูกพืชทดสอบในแปลงทดลอง เตรียมแปลง ขนาด 2.5x2 เมตร แต่ละแปลงย่อยห่างกัน 1 เมตร ปลูกผักบุ้งจีนโดยนาเมล็ดพันธุ์ทจี่ ะใช้ทดสอบมาคลุกเมล็ดตามกรรมวิธีที่กาหนด ปลูกโดยการหว่านเมล็ดให้ กระจายทั่วทั้งแปลงให้สม่าเสมอให้เมล็ดห่างกันเล็กน้อย หวานกลบเมล็ดพันธุ์ด้วยขี้เถ้าแกลบดามาหว่านหรือ ใช้เศษฟางข้าวคลุมแปลงปลูกบางๆ ดูแล ให้น้า กาจัดวัชพืช และพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชเมื่อเริ่มพบการ ระบาดของโรคตามกรรมวิธีที่กาหนดด้วยถังพ่นสารที่สามารถวัดแรงดันและมีสามารถแพร่กระจายน้าได้อย่าง สม่าเสมอ การพ่นสารทดลองทุกชนิดต้องใช้ปริมาณน้าเท่ากันทุกแปลงทดลองย่อย การให้ปุ๋ยและการใช้สาร ป้องกันกาจัดศัตรูพืชอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมายจะต้องใช้กบั ทุกแปลงทดลองย่อยเช่นเดียวกัน 3. การประเมินความรุนแรงของโรค ประเมินความรุนแรงของโรคราสนิมขาวทุก 7 วัน ก่อนพ่นสารทดลองทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้ง สุดท้าย 7 และ 14 วัน รวม 6 ครัง้ โดยสุ่มประเมินความรุนแรงของโรค จานวน 20 ต้นต่อแปลงย่อย ประเมิน โดยแบ่งระดับความรุนแรงเป็น 6 ระดับ (ดัดแปลงจากวิธีการให้คะแนนของ James (1971) ดังนี้ ระดับ 1 ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 2 ใบปรากฏอาการของโรค 1–10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
765
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ระดับ 3 ใบปรากฏอาการของโรค 11–25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 ใบปรากฏอาการของโรค 26–50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 ใบปรากฏอาการของโรค 51–75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 6 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ บันทึ ก ระดับ ความรุนแรงของโรค แล้วนาข้อมูล ที่ ได้ไปวิเคราะห์ ผ ลทางสถิติ ด้วยวิธี Analysis of Variance และเปรียบเทียบความแตกต่างแต่ละกรรมวิธีโดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผลและวิจารณ์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช แปลงทดลองที่ 1 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านบ้านนา ตาบลบ้านนา อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ทาการทดลอง ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2560 (ตารางที่ 1) ก่อนพ่ นสารทดลอง ประเมินระดับ ความรุนแรงของโรคราสนิมขาวพบว่า ทุกกรรมวิธีมีระดับความ รุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน ระหว่างการพ่นสารทดลอง ทุก กรรมวิธีมีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคแตกต่างทางสถิติ โดย กรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่ามีระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกชนิด และแต่ละกรรมวิธีพ่นสารทดลองพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติของค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคที่ประเมิน ได้ก่อนพ่นสารครั้งที่ 4 (หลังพ่นสารไปแล้ว 3 ครั้ง) ลักษณะการเจริญเติบโตของพืช พบว่าสารป้องกันกาจัด โรคพื ชแต่ ล ะชนิ ด มี ผ ลกั บ ต้ น พื ช แตกต่ างกั น โดยกรรมวิธี พ่ น สาร cyazofamid 40% W/V SC อั ตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นสาร metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WPอัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร ต้นและใบพืชมีขนาดใหญ่และเป็นมันเงามากกว่ากรรมวิธีพ่นสารชนิดอื่น ในขณะที่กรรมวิธีควมคุมไม่ พ่นสารมีจานวนต้นต่อพื้นที่ลดลง พืชมีขนาดต้นเล็กและใบมีสีค่อนข้างซีดไม่เป็นมันเงา และกรรมวิธีควบคุม พ่นน้าเปล่า มีต้นพืชเหลือในแปลงย่อยทุกแปลงน้อยกว่ากรรมวิ ธีที่พ่นสารทุกกรรมวิธี และสภาพต้นมีความ แข็งแรงน้อยกว่า หลังพ่นสารทดลอง กรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่ายังคงมีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้ สูงที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธี และพบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสาคัญกันในแต่ละกรรมวิธี โดยพบว่ากรรมวิธีพ่น metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร มีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด รองมาคือกรรมวิธี พ่นสาร cyazofamid 40% W/V SC อั ตรา 6 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร ลัก ษณะการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ สังเกตได้ยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับระหว่างพ่นสารทดลอง (ภาพที่ 2)
766
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
แปลงทดลองที่ 2 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 บ้านคลองตาล ตาบลคลองตาล อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ทาการทดลอง ระหว่าง เดือนตุลาคม 2561–กุมภาพันธ์ 2562 (ตารางที่ 2) ก่อน–ระหว่างพ่นสารทดลอง พบว่าให้ผลสอดคล้องกันกับการทดลองในแปลงที่ 1 คือก่อนพ่นสารไม่มี ความแตกต่างระหว่างแต่ละกรรมวิธี ก่อนพ่นสารครั้งที่ 2 มีความแตกต่างระหว่างกรรมวิธีพ่นสารทดลองและ กรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า และพบความแตกต่างของระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้ระหว่างแต่ละ กรรมวิธีก่อนพ่นสารครั้งที่ 4 (หลังพ่นสารไปแล้ว 3 ครั้ง) ด้านการเจริญเติบโตของพืช สารป้องกันกาจัดโรคพืช แต่ละชนิดมีผลกับต้นพืชแตกต่างกัน โดยกรรมวิธีพ่นสาร cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นสาร metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร ใบ พืชมีขนาดใหญ่และเป็นมันเงา และลาต้นเริ่มมีขนาดขยายใหญ่กว่ากรรมวิธีพ่นสารชนิดอื่น ในขณะที่กรรมวิธี ควบคุมพ่นน้าเปล่าไม่พ่นสารมีจานวนต้นต่อพื้นที่ลดลง พืชมีขนาดลาต้นเล็กและใบเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ค่อนข้างซีดไม่เป็นมันเงา และสภาพต้นมีความอ่อนแอกว่ากรรมวิธีที่พ่นสารทุกกรรมวิธี หลังพ่นสารทดลอง กรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่ามีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้สูง ที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธี ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรง ของโรคราสนิมขาวที่ประเมินได้จากการพ่นสารทดลองในแปลงที่ 2 นี้แตกต่างจากการประเมินในแปลงที่ 1 ที่ กรรมวิธีพ่น สาร metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อั ตรา 30 กรัม /น้า 20 ลิต ร มี ร ะดับ ความ รุนแรงของโรคน้อยกว่ากรรมวิธีพ่นด้วยสาร cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร แต่ ค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้จากการพ่นสารทั้ง 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ลักษณะการ เจริญเติบโตของต้นพืชที่สังเกตได้ยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับระหว่างการพ่นสารทดลอง (ภาพที่ 2) ในการทดลองครั้งนี้ทั้ง 2 แปลงทดลองไม่พบความเป็นพิษของสารทดลองทุกชนิดต่อพืชปลูก ซึ่งผลการทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืชทั้ง 8 ชนิดนี้สอดคล้องกับรายงานของ วิจัย และ สกุลศักดิ์ (2529) ที่รายงานว่าสารกลุ่มเมตาแลกซิลสามารถป้องกันการเกิดโรคราสนิมขาวผักบุ้งในเรือน ปลูกพืชทดลอง ได้ และสารในกลุ่มแมนโคเซบช่วยลดจานวน sorus ที่เกิดบนใบพืชได้ และการศึ กษาของ ชานาญ และคณะ (2534) ได้พบว่าการพ่นสารเคมี metalaxyl+mancozeb ทุก 7 วัน/ครั้ง มีประสิทธิภาพใน การป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของผักบุ้งจีนได้ดีที่สุด นอกจากนี้ในคาแนะนาการใช้สารป้องกันกาจัดโรค รา สนิมขาวในผักบุ้งจีนของอรพรรณและจุมพล (2558) มีคาแนะนาให้ใช้ สารริโดมิลเป็นสารอยู่ในกลุ่มเมตาแลค ซิลคลุกเมล็ดก่อนปลูก แต่ในช่วงฤดูฝนนอกจากการคลุกเมล็ดแล้วอาจต้องพ่นซ้าอีกครั้งเพื่อป้องกันกาจัดโรค เปรียบเทียบต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชแต่ละชนิด ในการทดลองครั้งนี้ ปริมาตรน้าที่ใช้ผสมสารต่อพื้นที่แปลงย่อย 5 ตารางเมตร (2 x 2.5) คือ 5 ลิตร จานวนซ้าที่ทดลองคือ 4 ซ้า คิดเป็นปริมาตรน้าที่ใช้พ่นในพื้นที่ 20 ตารางเมตร คือ 20 ลิตร หรือพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) คือ 400 ลิตร สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีต้นทุนเฉลี่ยของการพ่นสารน้อยที่สุดคือ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
767
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
hexaconazole 5% W/V SC รองลงมาคื อ chlorothalonil 75%WP, cymoxanil+mancozeb 8+64% WP, dimethomorph 50% WP, metalaxyl 2 5 % WP, propineb 70% WP, metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP และ cyazofamid 40% W/V SC มีต้นทุ นพ่นสารเฉลี่ยมากที่ สุด โดยมี ต้นทุ น เฉลี่ยต่อไร่ในการพ่ นสารจ านวนทั้ งหมด 4 ครั้งอยู่ที่ 560, 960, 1,344, 1,600, 1,728, 2,240, 2,640 และ 3,120 บาทต่อไร่ ตามลาดับ (ตารางที่ 3) สรุปผลการทดลอง การทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดในการควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคราสนิมขาวของผักบุ้งจีนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ดาเนินการทดลองจานวน 2 แปลงหมู่ 1 ตาบล บ้านนา อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนมิถุนายน–กันยายน 2559 และที่หมู่ 6 บ้านคลองตาล ตาบลคลองตาล อ าเภอศรีส าโรง จัง หวัดสุโขทั ย ระหว่างเดือนพฤศจิก ายน 2561–กุม ภาพันธ์ 2562 วาง แผนการทดลองแบบ RCB จานวน 4 ซ้ามี 9 กรรมวิธี คือกรรมวิธีพ่นสารทดลอง จานวน 8 ชนิดและกรรมวิธี พ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองทั้งสองแปลงทดลองให้ผลสอดคล้องกันโดย กรรมวิธีพ่นสาร ทดลองทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคราสนิมขาวดีกว่าอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร และสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและ ต้นพืชมีส ภาพความสมบูรณ์ ดีที่ สุดจากการทดลองทั้ งสองแปลง คือ cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการพ่นด้วยสาร metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อั ต รา 30 กรั ม /น้ า 20 ลิ ต ร เมื่ อ พิ จ ารณาจากต้ น ทุ น การใช้ ส ารแล้ ว การพ่ น ด้ ว ย metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP อั ต รา 30 กรั ม /น้ า 20 ลิ ต ร มี ต้ น ทุ น การใช้ ส ารน้ อ ยกว่ า การพ่ น ด้ ว ยสาร cyazofamid 40% W/V SC อัตรา 6 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร คาขอบคุณ ขอขอบคุณ คุณณรงค์และคุณประเสริฐ บุญจันทร์ ที่ให้ความอนุเคราะห์แปลงผักบุ้งจีนในการทาการ ทดลอง เอกสารอ้างอิง กรมส่งเสริมการเกษตร. มปป. การปลูกผักบุ้งจีน. โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จากัด. กรุงเทพฯ. 12 น. แหล่งทีม่ า URL http://agrimedia.agritech.doae.go.th/book/bookveg/VS011.pdf (สืบค้นเมือ่ 22 กรกฎาคม 2558) ชานาญ ทองกลัด จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ วรรณา กาฬสุวรรณ พัชรา ปัญจสมานวงศ์ สุธน สุวรรณบุตร และ มาโนช ทองเจียม. 2534. การศึกษาผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจากระยะเวลาวิธีการปลูกที่ แตกต่างกัน. หน้า 40 – 61. ใน รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2534. ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัย พืชสวน กรมวิชาการเกษตร. จ. พิจิตร 768
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
วิจัย รักวิทยาศาสตร์ และ สกุลศักดิ์ ขอดแก้ว. 2529. ประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดในการป้องกันกาจัด โรคราสนิมขาวของผักบุง้ . วารสารโรคพืช (มค.-มิย. 2529) : แหล่งที่มา URL http://kukr.lib.ku.ac.th/db/BKN/search_detail/result/233075 (สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558) อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์. 2552. โรคราสนิมขาวผักบุง้ . หน้า 81-82 ใน คู่มือโรคผัก. เอกสารเผยแพร่ สานักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. บริษัท เอ-วันฟิวเจอร์ จากัด. จ.นนทบุรี. 153 น. อรพรรณ วิเศษสังข์ และ จุมพล สาระนาค. 2558. โรคพืชผักและการป้องกันกาจัด. ข้อมูลวิชาการจากเคห การเกษตร. บริษัทสยามคัลเลอร์พริน จากัด. จ.นนทบุรี. 164 น. Agrios, G.N. 2005. Plant Pathology. 5th ed. Elvesier-Academic Press. New York. 922 p. Austin, D.F. 2007. Water Spinach (Ipomoea aquatica, Convolvulaceae) A food gone wild. Ethnobotany Research & Applications 5:123-146. Available at URL www.ethnobotanyjournal.org/ vol5/i1547-3465-05-123.pdf (Accessed on July 22, 2015) Babadoost, M. 1990. White rusts of vegetables. report on Plant Disease No. 960. Department of Crop Science. University of Illnois at Urbana–Champaign. Available at URL https://ipm.illinois.edu/diseases/rpds/960.pdf (Accessed on July 22, 2015) James, W.C. 1971. A Manual of Assessment Keys for Plant Diseases. The American Phytopathological Society. St. Paul, MN. 54 p. Sato, T., Okamoto, J., Degawa, Y., Mutsunari, S., Takahashi, K., and K. Tomioka. 2009. White rust of Ipomoea caused by Albugo ipomoea–panduratae and A. ipomoeae–hardwickii and their host specificity. Journal of Plant Pathology 75(1):46–51.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
769
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 8 ชนิด ในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของผักบุง้ จีนที่มสี าเหตุเกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoeapanduratae (Schwein.) Swingle ในแปลงทดลองที่ 1 ตาบลบ้านนา อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2560 กรรมวิธีพ่นสาร 1/ 1. chlorothalonil 75%WP 2. cyazofamid 40% W/V SC 3. cymoxanil + mancozeb 8+64% WP 4. dimethomorph 50% WP 5. hexaconazole 5% W/V SC 6. metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP 7. metalaxyl 25% WP 8. propineb 70% WP 9. พ่นน้าเปล่า (ควบคุม) F-test3/ cv (%) 1/ 2/ 3/
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 20 6 30 10 20 30 30 40
ครั้งที่ 1 3.20 3.08 3.08 3.10 3.03 3.15 3.05 3.05 3.13 * 4.91
ระดับความรุนแรงของโรค 2/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 2.00 a 1.58 a 1.51 a 2.09 a 1.43 a 1.39 a 2.06 a 1.45 a 1.79 b 2.10 a 1.63 a 1.96 b 2.00 a 1.51 a 1.94 b 2.03 a 1.35 a 1.44 a 2.07 a 1.61 a 1.95 b 2.10 a 1.58 a 1.78 b 2.90 b 3.08 b 3.09 c ** ** ** 3.35 11.19 6.77
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 1.41 a 1.89 b 1.46 a 1.56 a 1.53 a 1.91 b 1.79 b 1.86 b 1.79 b 1.91 b 1.35 a 1.43 a 1.78 b 1.95 b 1.75 b 1.80 b 3.14 c 3.05 c ** ** 7.90 6.27
ทุกกรรมวิธีใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช metalaxyl 35% W/V ES อัตรา 3.5 มิลลิลิตร/เมล็ด 1 กิโลกรัม ก่อนปลูกยกเว้นกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ
770
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 8 ชนิด ในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของผักบุง้ จีนที่มสี าเหตุเกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae (Schwein.) Swingle ในแปลงทดลองที่ 2 หมู่ 6 บ้านคลองตาล ตาบลคลองตาล อาเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 61 – กุมภาพันธ์ 2562
กรรมวิธีพ่นสาร 1/ 1. chlorothalonil 75%WP 2. cyazofamid 40% W/V SC 3. cymoxanil + mancozeb 8+64% WP 4. dimethomorph 50% WP 5. hexaconazole 5% W/V SC 6. metalaxyl–M + mancozeb 4%+64% WP 7. metalaxyl 25% WP 8. propineb 70% WP 9. พ่นน้าเปล่า (ควบคุม) F-test3/ cv (%) 1/ 2/ 3/
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 20 6 30 10 20 30 30 40
ครั้งที่ 1 1.98 2.00 1.98 2.05 2.04 2.03 1.99 1.98 1.99 3.28
ระดับความรุนแรงของโรค 2/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 2.08 a 1.96 a 1.66 abc 1.99 a 1.75 a 1.46 a 2.00 a 1.99 a 1.76 c 2.06 a 1.99 a 1.78 c 2.01 a 1.91 a 1.81 c 1.90 a 1.78 a 1.51 ab 1.98 a 1.85 a 1.74 bc 2.04 a 1.76 a 1.68 abc 2.58 b 3.06 b 2.80 d * ** ** 6.73 6.59 8.43
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 1.65 abc 1.60 ab 1.45 a 1.49 a 1.65 abc 1.63 abc 1.85 c 1.81 cd 1.74 bc 1.73 bcd 1.53 ab 1.59 ab 1.55 ab 1.80 cd 1.71 bc 1.83 cd 2.90 d 3.10 e ** ** 7.94 6.58
ทุกกรรมวิธีใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช metalaxyl 35% W/V ES อัตรา 3.5 มิลลิลิตร/เมล็ด 1 กิโลกรัม ก่อนปลูกยกเว้นกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
771
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุนของกรรมวิธีพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช 8 ชนิด ในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมขาวของผักบุ้งจีนที่มสี าเหตุเกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoea-panduratae (Schwein.) Swingle ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2560 และ เดือนพฤศจิกายน 2561–กุมภาพันธ์ 2562 กรรมวิธีพ่นสาร
ขนาดบรรจุ
1. chlorothalonil 75%WP 2. cyazofamid 40% W/V SC 3. cymoxanil + mancozeb 8+64% WP 4. dimethomorph 50% WP 5. hexaconazole 5% W/V SC 6. metalaxyl + mancozeb 4%+64% WP 7. metalaxyl 25% WP 8. propineb 70% WP
100 กรัม 100 มล. 500 กรัม 250 กรัม 1,000 มล. 500 กรัม 250 กรัม 500 กรัม
1/
ราคาต่อแพค (บาท) 1/ 60 650 280 500 350 550 180 350
อัตราสารทีผ่ สม (ต่อน้า 20 ลิตร) 20 6 30 10 20 30 30 40
ราคา (บาทต่อลิตร) 0.60 1.95 0.84 1.00 0.35 1.65 1.08 1.40
ราคาขาย ณ เดือน มิถุนายน 2560 2/ ปริมาณน้าทีพ ่ ่นต่อพื้นที่ 2.5 x 2 ตร.ม. จานวน 4 ซ้า คิดเป็น 20 ตร.ม. คือ 3 ลิตร = พื้นที่ 1 ไร่ ใช้น้า 240 ลิตร 3/ จานวนครั้งที่พ่นสารในการทดลอง คือ 4 ครั้ง
772
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
ราคาต่อไร่ (บาท) 2/, 3/ 576 1,872 806 960 336 1,584 1,037 1,344
PPA-02
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-02
ภาพที่ 1 Albugo Diagrammatic life–cycle. A. hypha within host cell showing globular haustoria; B. infected leaf in vertical section showing sporangiophores and sporangial chains; C. germinating sporangium; D. sporangia releasing zoospores; E. zoospores; F. encysted zoospores; G. germination of encysted zoospores; H. antheridium and oogonium; I. plasmogamy; J. karyogamy; K. oospores; L. germination of oospore producing zoospores within vesicles; M. zoospores; N. germination of encysted zoospores. (Agrios, 2005)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
773
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
A
B
C
E
F
H
PPA-02
D
G
I
ภาพที่ 2 Albugo ipomoea-panduratae (Schwein.) Swingle สาเหตุโรคราสนิมขาวของผักบุ้งจีน A. zoosporangiophores and chained zoosporangia (bar 20 µm); B. zoosporangia; C. Zoosporangia and fusiform zoosporangiophore (p) (bar 10 µm); D. Zoosporangiophore bearing zoosporangium (bar 10 µm); (Sato et al., 2009) E. แผลสีเหลืองซีดด้านบนของใบ; F–G กลุ่มของเส้นใยสีขาวอัดตัวกันอยู่เป็นกลุ่มๆ เป็นตุ่มนูนสีขาว (sorus) ขนาดเล็กที่หลังใบก้าน ใบ และลาต้นตาแหน่งตรงกัน; H. แปลงควบคุมพ่นน้าเปล่า; I. แปลงพ่นสารที่มีประสิทธิภาพ
774
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลืองสาเหตุจากเชื้อรา Phakopsora pachyrhizi Efficacy of Some Fungicides for Control Phakopsora pachyrhizi the Causal Agent of Soybean Rust ชนินทร ดวงสอาด1 สุทธิณี ลิขิตตระกูลรุ่ง2 มะโนรัตน์ สุดสงวน1 พิมพ์นภา ขุนพิลึก3 พรพิมล อธิปัญญาคม4 สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ1 และ อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว1 Chanintorn Doungsa-ard1 Suttinee Likhittragulrung2 Manorat Sudsanguan1 Pimnapa Khunpilueg3 Pornpimon Athipunyakom4 Suneerat Srimadua1 and Amonrat Kitjaideaw1 1
กลุ่มวิจัยโรคพืช สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Pathology Research Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ 50100 2 Office of Agricultural Research and Development Region 1, Department of Agriculture, Chiangmai 50100 3 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เชียงใหม่ 50290 3 Chiangmai Field Crops Research Center, Field and Renewable Energy Crops Research Institute, Department of Agriculture, Chiangmai 50290 4 สานักผู้เชี่ยวชาญ สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 4 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 1
บทคัดย่อ โรคราสนิม เป็นปัญหาสาคัญที่ส่งผลกระทบต่อของการปลูกถั่วเหลือง โรคนี้มักระบาดในฤดูฝนในเขต พื้นที่ปลูกบริเวณภาคเหนือตอนบน ทาให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เมล็ดถั่วเหลืองที่ ได้มีคุณภาพต่า เพื่อได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ และอัตราการใช้ที่เหมาะสม ในการป้องกัน กาจัดโรคราสนิมถั่วเหลือง จึงทาการทดลองประสิท ธิภ าพสารป้อ งกัน กาจัด โรคราสนิม ของถั่ว เหลืองที่มี สาเหตุจ ากเชื้อ รา Phakopsora pachyrhizi วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้า 7 กรรมวิธี โดยทาการ ทดลอง 2 ครั้ ง ณ แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยท าการ ทดลองครั้งที่ 1 ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง กันยายน 2560 และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือน ธันวาคม 2560 ถึง เมษายน 2561 จากผลการทดลองทั้งสองครั้ง ใหผลที่สอดคลองกันคือ tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 10 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร และ cyperconazole 10% W/V SL อั ต รา 80 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร มี ประสิท ธิภาพในการป้อ งกั นก าจัด โรคราสนิ ม ของถั่ วเหลื องได้ดี พบระดับ ความรุน แรงของโรคน้ อยกวา กรรมวิธีพนสารทดสอบชนิดอื่น รวมถึงกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สามารถใชเป็นสารแนะนาใน การปองกันกาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลืองที่มสี าเหตุจาก เชื้อรา P. pachyrhizi โดยมีตนทุนการพนสาร 34.00 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
775
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
และ 9.20 บาท/20 ลิตร หรือ 204 และ 55 บาท/ไร่ ตามล าดับ จากการทดลองไม่ พบผลกระทบของสาร ป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ คาสาคัญ : ราสนิมถั่วเหลือง สารป้องกันกาจัดโรคพืช Phakopsora pachyrhizi ABSTRACT Soybean rust disease, caused by Phakopsora pachyrhizi, is one of the most severe diseases of soybean, especially in the main production area in the northern part of Thailand. The quantity and quantity of soybean had a significantly damage by this disease. To control the outbreak of this disease, this study was conducted to determine the efficacy of fungicides to control soybean rust disease caused by Phakopsora pachyrhizi. The RCB had been designed for the experimental plan with seven treatments and each of the treatments consisted of four replications. The two experiments were conducted on soybean plantation located in Chiangmai Field Crop Research Center Nong Han sub-district, San Sai district, Chiangmai province, but in different seasons. The first experiment was done from March 2016 to September 2017 and the second one was done from December 2017 to April 2018. Both experiments showed the congruent results that tebuconazole 25% W/V EW with rate of use at 1 0 ml/20 liter of water and cyperconazole 10% W/V SL with rate of use at 8 0 ml/20 liter of water. Tebuconazole and cyperconazole presented the better results in controlling the soybean rust fungi by having the lower rate of disease severity with a significantly of differentiation among treatments. The cost of use those two fungicides were 34.20 and 9.20 THB/20 liters solution of fungicide or 204 and 55 THB/Rai, respectively. The abnormal or toxic symptoms due to the fungicide had not been found based on these experiments. Keywords: fungicides, Phakopsora pachyrhizi, soybean, rust disease คานา ถั่วเหลืองเป็นพืชน้ามันที่สาคัญของโลก เนื่องจากสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริโภคเมล็ดและ น้ามัน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้กากเป็นอาหารสัตว์ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สีทาบ้าน ปลาทู น่ากระป๋อง พลาสติก และกาว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์เป็นพืชบารุงดิน เป็นเหตุให้ความต้องการใช้ถั่วเหลือง ขยายตัวมาโดยตลอด ในส่วนของการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค นอกจากนี้ผลจาก มาตรการ Free Trade Area ส่งผลให้ราคาน้ามันถั่วเหลืองภายในประเทศ ต้องมีการปรับลดราคาเพื่อแข่งขัน กับราคาน้ามันถั่วเหลืองนาเข้า แนวทางในแก้ไข จึงควรจะต้องมีการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองให้มีต้นทุนที่ 776
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ลดลง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการขยายการเพาะปลูก การอุดหนุนผลผลิตโดยรัฐบาล หรือทาการวิจัยศึกษาปละ ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น ตลอดจนการให้ความรู้เกษตรกรในด้านต่าง ๆ อนึ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตถั่วเหลืองปัจจัยหนึ่งคือด้านศัตรูพืช ได้แก่ โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่ง เป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อการผลิต หนึ่งในโรคพืชที่เป็นเป็นปัญหาสาคัญในการปลูกถั่วเหลืองคือ โรคราสนิม ดั ง นั้ น การศึ ก ษาการป้ อ งกั น ก าจั ด โรคพื ชที่ ถู ก ต้ อ งจะช่ ว ยลดต้ น ทุ น และความเสี่ ย งต่ อ การสู ญ เสี ย ใน กระบวนการผลิตถั่วเหลืองอีกทางหนึ่ง เชื้อรา Phakopsora pachyrhizi Sydow. เป็นเชื้อราสาเหตุของโรคราสนิมของถั่วเหลือง (ปรีชา, 2536; ศรีสุข, 2525) การผลิตถั่วเหลืองไร่ พบว่าโรคราสนิมส่งผลต่อผลผลิต โดยผลผลิต ที่ได้มีน้าหนัก หรือ ปริมาณของผลผลิตลดลง 48-91 % (Tschanz, 1983) ในประเทศไทยมีรายงานความเสียหายเนื่องมาจาก โรคราสนิม โดยต่อส่งผลกระทบต่อ ด้านปริม าณและคุณภาพของถั่วเหลืองกว่า 8-80% (Sangawonges, 1973) และมีร ายงานเพิ่ม เติม อีก ว่า ในแปลงถั่วเหลืองที ่ไม่ได้ท าการป้อ งกัน โรคราสนิม มีผ ลผลิตลดลง 23.36 % (สมจินตนา และคณะ, 2530) เชื้อราสาเหตุโรคราสนิม จะเริ่มเข้าทาลายถั่วเหลืองในช่วงต้นฤดูการปลูก สามารถพบรอยแผลบริเวณ ใบล่างเมื่อถั่วเหลืองเริม่ ออกดอก เชื้อราจะสร้างสปอร์เพิม่ มากขึ้น จากนั้นแผลจะขยายลุกลามขึ้นสู่สว่ นบนของ ทรงพุ่ม ใบล่างๆ จะเริ่มเหลือง และร่วง ในการจัดการโรคราสนิม ต้องมีการป้องกันกาจัดโรคตั้งแต่ระยะออก ดอกจนกระทั่งหมดระยะสร้างฝัก เพื่อรักษาผลผลิต ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทรงพุ่มของถั่วเหลืองจะหนาแน่น มาก หากมีการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชไม่ เหมาะสม หรือฉีดพ่นไม่ ทั่วถึง จะส่งผลต่อการผลิต จึงจะต้อง พิจารณาถึงประสิทธิภาพและวิธีการในการป้องกันกาจัด โดยชนิดของสารป้องกันกาจัดโรคพืชควรให้ผลในการ ป้องกันกาจัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงของความเสียหายของผลผลิตและต้นทุนที่เกิดจากสาร ป้องกันกาจัดโรคพืชที่ไม่มีประสิทธิภาพ สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ใช้ในการป้องกันกาจั ดโรคราสนิม ถั่วเหลือง สามารถจาแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ในกลุ่ม แรกคือ strobilurins ซึ่ง เป็น สารที ่มีผ ลในการป้อ งกัน ออกฤทธิ์ในการป้อ งกัน ไม่ให้เ ชื้อรา สาเหตุเข้าทาลายพืช โดยจะมีผลต่อการงอกของสปอร์ของเชื้อ ราสาเหตุ ซึ่งเป็นกระบวนการเริ่มต้นในการ เจริญเข้าพืชอาศัย ดัง นั้นการใช้สารในกลุ่ม นี้เพื่อเป็นเชิงป้องกัน ก่อนการเข้าทาลายจะให้ผลดี กลุ่มที่สอง คือ triazoles เป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติทั้งป้องกันและรักษา กลุ่มที่สามคือ Premix สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่ ผสมระหว่างสองกลุ่ม strobilurins+ triazoles (Muelle, 2007) การศึก ษาในปัจจุบันมุ่ง เน้นการใช้ส าร ป ้อ ง ก ัน ก า จ ัด แ บ บ ผ ส ม เช่น ก า ร ใช้ส า ร tebuconazole + oxycarboxin pyrachostrobin + epoxiconazole trifloxystrobin + propiconazole fluquinconazole + mineral oil แ ล ะ azoxystrobin + mineral oil เป็น ต้น (Utiamada, 2004) สารป้อ งกัน ก าจัด โรคพืช ที ่แ นะน าโดย สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร คือ chlorothalonil และ triadimifon โดยสารทั้ง สองชนิดได้ผ่านการทดสอบและแนะนาเพื่อป้องกันกาจัด โรคราสนิม (อรพรรณ, 2552) อย่างไรก็ตามควร 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
777
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
มีสารป้องกันกาจัดโรคพืช ที่มีประสิทธิ ภาพสามารถควบคุม โรคราสนิม ได้ดี และมีความหลากหลายของ ราคา มาเป็นทางเลือกเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต โรคราสนิม เป็นปัญหาสาคัญที่ส่งผลกระทบต่อของการปลูกถั่วเหลือง โรคนี้มักระบาดในฤดูฝนในเขต พื้นที่ปลูกบริเวณภาคเหนือตอนบน ทาให้เกิดความเสียหายต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต เมล็ดถั่วเหลืองที่ ได้มีคุณภาพต่า เมล็ดมีขนาดเล็กและลีบ แนวทางการป้องกั นกาจัดโรคที่ได้ผลในปัจจุบันเป็นการพัฒนาและ ปรับปรุงพันธุ์เพื่ อให้ต้านทานต่อการเข้าทาลายหรือทนทานต่อโรค ซึ่งเป็นการป้องกั นที่ให้ผลดีในระยะยาว อย่างไรก็ตามเชื้อสาเหตุซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด จึงปรับตัวเพื่อให้สามารถเข้าทาลายพืชอาศัยได้ ดังนั้นแม้จะใช้พันธุ์ทีมีความต้านทานหรือทนทาน ก็ยังสามารถพบการเข้าทาลายของเชื้อสาเหตุได้ หากต้องมีการ ปรับปรุงพันธุ์ซึ่งใช้ระยะเวลานาน และไม่ตอบสนองต่อการจัดการโรคราสนิมได้ทันท่วงที ดั งนั้นอีกทางเลือกใน การป้องกันกาจัดโรคราสนิมคือการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช และวิธีการนี้ซึ่งยังเป็นที่นิยมของเกษตรกรผู้ปลูก ถั่วเหลือง ดังนั้นเพื่อให้ได้ทราบชนิด และอัตราการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ การทดลองนี้จึง มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพและอัตราการใช้ที่เหมาะสมในการป้องกันกาจัด โรคราสนิมของถั่วเหลือง อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. สารเคมี ได้ แ ก่ สารป้ อ งกั น ก าจั ดโรคพื ช ; chlorothalonil cyperconazole propiconazole tebuconazole azoxystrobin azoxystrobin+ difenoconazole 2. เครื่องพ่นสารแบบเครื่องยนต์ 3. อุปกรณ์ผสมสารเคมี เช่น ถังน้า อุปกรณ์ตวงวัดปริมาตร 4. กล้องถ่ายรูป 5. แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลและผลการทดลอง กรรมวิธีการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block (RCB) จานวน 4 ซ้า 7 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสาร chlorothalonil 75% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 5 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร propiconazole 10% W/V EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่นสาร tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่นน้าเปล่า (กรรมวิธีควบคุม) 778
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
วิธีการ เตรียมแปลงปลูกพืชทดสอบในแหล่งปลูกถั่วเหลือง โดยปลูกถั่วเหลือง ขนาดแปลงย่อย 3 x 5 ตาราง เมตร และมีระยะห่างระหว่างแปลงย่อย 0.5-1 เมตร พ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชตามกรรมวิธีที่กาหนดโดยใช้ เครื่องพ่นสารแบบเครื่องยนต์ อัตราการใช้น้า 120 ลิตรต่อไร่ พ่นสารครั้งแรกเมื่อพบโรค พ่นสารจานวน 4 ครั้ง ทุก 7 วัน ประเมินความรุนแรงของโรค ตามมาตรฐานคาแนะนาการทดลองประสิทธิภาพวัตถุอันตราย ทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 และ 14 วัน โดยสุ่ม ประเมินจากพืช 20 ต้นต่อแปลงย่อย แบ่งระดับความรุนแรงเป็น 6 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 = พืชไม่ปรากฏอาการโรค ระดับ 2 = พืชปรากฏแผลราสนิมที่ใบและส่วนต่าง ๆ 1-5 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 3 = พืชปรากฏแผลราสนิมที่ใบและส่วนต่าง ๆ 6-10 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 4 = พืชปรากฏแผลราสนิมที่ใบและส่วนต่าง ๆ 11-25 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 5 = พืชปรากฏแผลราสนิมที่ใบและส่วนต่าง ๆ 26-50 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 6 = พืชปรากฏแผลราสนิมที่ใบและส่วนต่าง ๆ มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของต้น ผลและวิจารณ์ ท าการทดลองครั้ง ที่ 1 ในแปลงทดลองของ ศู น ย์วิจั ยพื ช ไร่เ ชีย งใหม่ ต.หนองหาร อ.สั นทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง กันยายน 2560 ในเดือนมีนาคม 2560 ปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.2 ซึ่งเป็น พันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคราสนิม เพื่อเพิ่มปริมาณของเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอต่อการทดลอง และทันต่อการทดสอบ ในเดือนพฤษภาคม 2560 (ต้นฤดูฝน) ดาเนินการทดลองโดยเตรียมแปลง มีขนาดแปลงย่อย 3 x 5 ตารางเมตร และปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.2 เดือนมิถุนายน 2560 เริ่มทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช เนื่องจากเริ่ม พบราสนิม สารเคมี ป้อ งกั นก าจัด โรคพืช ได้แก่ chlorothalonil 75% WP cyperconazole 10% W/V SL propiconazole 10% W/V EC tebuconazole 25% W/V EW azoxystrobin 25% W/V SC และ azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC ผลจากการทดลองพบว่า สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคราสนิม ถั่วเหลือ ง ได้ แก่ tebuconazole 25% W/V EW อัต รา 10 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิต ร และ cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร โดย propiconazole 10% W/V EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร azoxystrobin 25% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC W/V SC อั ตรา 50 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม /น้า 20 ลิตร ให้ประสิทธิภาพรองลงมาตามลาดับ การทดลองทุกกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีให้ผลแตกต่างกับกรรมวิธีควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95% (ตารางที่ 1) ดังนั้นผลจากการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกัน กาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลือง แปลงที่ 1 ได้สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพคือ tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้า 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
779
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
20 ลิตร ทาการฉีดพ่นทุก 7 วัน มีตนทุ นการพนสารคือ 34.00 และ 9.20 บาท/20 ลิตร หรือ 204 และ 55 บาท/ไร่ ตามลาดับ (ต้นทุนค่าใช้จ่ายของสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชดังแสดงในตารางที่ 3) ทาการทดลองครั้งที่ 2 ในแปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่ เชียงใหม่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2560 ถึง เมษายน 2561 (ต้นฤดูหนาว) เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ดาเนินการพ่นสารเคมี ตามกรรมวิธีก ารทดลองเนื่อ งจากเริ่มพบราสนิม ผลจากการทดลองพบว่า สารเคมี ป้องกั นกาจัดโรคพืชที่ มี ประสิท ธิภาพในการป้อ งกั น ก าจั ดโรคราสนิ ม ถั่วเหลือ ง ได้แก่ tebuconazole 25% W/V EW อั ตรา 10 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร และ cyperconazole 10% W/V SL อั ต รา 80 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร โดย propiconazole 10% W/V EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร azoxystrobin 25% อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิต ร azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC W/V SC อัตรา 50 มิ ล ลิลิต ร/น้า 20 ลิต ร และ chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร ให้ประสิทธิภาพรองลงมาตามลาดับ การทดลอง ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีให้ผลแตกต่างกับกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95% (ตาราง ที่ 2) ผลจากการทดลองได้สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมของ ถั่วเหลืองคือ tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 10 มิ ลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร ทาการฉีดพ่นทุก 7 วัน และมีตนทุนการพนสารคือ 34.00 และ 9.20 บาท/20 ลิตร หรือ 204 และ 55 บาท/ไร่ ตามล าดับ (ต้นทุ นค่าใช้จ่ายของสารเคมี ป้องกั นก าจัดโรคพื ช ดังแสดงในตารางที่ 3) จากการทดลองใหผลที่สอดคลองกันคือ tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 80 มิ ล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร มี ป ระสิท ธิภาพในการป้องกั น กาจัดโรคราสนิม ของถั่วเหลื องได้ดี มี ร ะดับ ความรุนแรงของโรคน้อยกวากรรมวิธีพ นสารทดสอบชนิดอื่น รวมถึงกรรมวิธีควบคุม ดังนั้นสามารถใชเป็นคาแนะนาในการปองกันกาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลืองที่มีสาเหตุ จากเชื้อรา P. pachyrhizi โดยมีตนทุ นการพนสารคือ 34.00 และ 9.20 บาท/20 ลิตร หรือ 204 และ 55 บาท/ไร่ ตามลาดับ จากการทดลองไม่พบผลกระทบของสารป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ
780
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมถั่วเหลืองที่ทาการทดสอบในฤดูฝน ในแปลงทดสอบศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กรรมวิธี chlorothalonil 75% WP cyperconazole 10% W/V SL propiconazole 10% W/V EC tebuconazole 25% W/V EW azoxystrobin 25% W/V SC azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC Control CV (%) RE (%)
อัตราการใช้ (กรัม/มล. ต่อน้า 20 ลิตร)
ระดับการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง 1/ ประเมินก่อนการฉีดพ่นครั้งที่ 1
2
3
4
20 80 40 10 20
2.39 ab2/ 2.3 a 2.29 a 2.48 b 2.46 b
3.46 c 3.10 b 2.88 a 2.74 a 3.25 bc
4.18 d 3.70 bc 3.48 a 3.53 ab 3.79 c
4.54 c 4.13 ab 4.06 a 3.95 a 4.25 b
หลังการฉีดพ่น (วัน) 7 วัน 15 วัน 4.68 cd 5.10 c 4.44 ab 4.86 a 4.55 bc 4.94 ab 4.39 a 4.88 a 4.78 de 5.05 bc
50
2.43 ab
3.18 b
3.73 bc
4.29 b
4.84 e
5.06 c
-
2.49 b 13.9 -
3.91 d 14.50 81.30
4.33 d 13.50 37.20
4.85 d 12.60 43.10
5.42 f 11.90 56.80
5.61 d 15.1 23.20
1/
การประเมินการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง อ้างอิงตามคาแนะนาในการจัดทาแผนการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช กรมวิชาการเกษตร และ Godoy et al., 2006 2/ ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สาคัญทางสถิติเปรียบเทียบโดยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 95% (p=0.05)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
781
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคราสนิมถั่วเหลืองทีท่ าการทดสอบในต้นฤดูแล้ง ในแปลงทดสอบศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กรรมวิธี chlorothalonil 75% WP cyperconazole 10% W/V SL propiconazole 10% W/V EC tebuconazole 25% W/V EW azoxystrobin 25% W/V SC azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC Control CV (%) RE (%)
อัตราการใช้ (กรัม/ มล.ต่อน้า 20 ลิตร)
ระดับการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง 1/ ประเมินก่อนการฉีดพ่นครั้งที่ 1
2
3
4
20 80 40 10 20
1.75 ab2/ 1.71 ab 1.83 b 1.86 b 1.88 b
3.20 c 3.01 bc 2.93 b 2.66 a 3.06 bc
3.61 bc 3.45 b 3.66 c 3.19 a 4.15 d
4.81 d 4.15 b 4.48 c 3.89 a 4.93 d
หลังการฉีดพ่น (วัน) 7 วัน 15 วัน 5.33 d 5.69 d 4.95 b 5.34 b 5.14 c 5.48 c 4.79 a 5.15 a 5.51 e 5.71 d
50
1.86 b
3.11 bc
4.11 d
4.93 d
5.51 e
5.70 d
-
1.85 b 5.50 -
2.56 d 5.30 83.60
4.30 d 3.20 61.00
5.65 e 2.20 27.30
5.79 f 1.80 12.10
5.88 e 1.20 37.70
1/
การประเมินการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง อ้างอิงตามคาแนะนาในการจัดทาแผนการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช กรมวิชาการเกษตร และ Godoy et al., 2006 2/ ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเปรียบเทียบโดยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 95% (p=0.05)
782
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ตารางที่ 3 ต้นทุนของการใช้สารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae ที่ใช้ในแปลงทดสอบ กรรมวิธี chlorothalonil 75% WP cyperconazole 10% W/V SL propiconazole 10% W/V EC tebuconazole 25% W/V EW azoxystrobin 25% W/V SC
ขนาดบรรจุ
ราคา/หน่วย1/ (บาท)
อัตราการใช้ (กรัม/มล. ต่อน้า 20 ลิตร)
ต้นทุน (บาท/ต่อน้า 20 ลิตร)
ต้นทุน (บาท/ไร่/ครั้ง)2/
1,000 g 500 cc. 500 cc. 500 cc. 500 cc. 500 cc.
460 920 420 850 1,100 950
40 5 40 20 10 20
18.40 9.20 33.60 34.00 22.00 38.00
110 55 202 204 132 228
azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5 W/V SC ราคาสารป้องกันกาจัดโรคพืชเป็นราคาจาหน่าย ระหว่างช่วงการทดลอง ตั้งแต่มกราคม 2560 ถึง มกราคม 2561 2/ อัตราการใช้ 120 ลิตร/ไร่ 1/
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
783
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
ภาพที่ 1 ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง (ความเสียหายของพื้นที่ใบโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์) (Godoy et al., 2006) สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลองทัง้ สองครั้งใหผลที่สอดคลองกันคือ tebuconazole 25% W/V EW อัตรา 10 มิ ลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ cyperconazole 10% W/V SL อัตรา 80 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร มี ประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลืองได้ดี พบระดับความรุนแรงของโรคน้อยกวา กรรมวิธีพนสารทดสอบชนิดอื่น รวมถึงกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สามารถใชเป็นสาร แนะนาในการปองกันกาจัดโรคราสนิมของถั่วเหลืองที่มีสาเหตุจาก เชื้อรา P. pachyrhizi โดยมีตนทุน การพนสาร 34.00 และ 9.20 บาท/20 ลิตร หรือ 204 และ 55 บาท/ไร่ ตามลาดับ จากการทดลองไม่ พบผลกระทบของสารป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจากผลการทดลองจะได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการ ควบคุมการเกิดโรค หรือความรุนแรงของโรค แต่การป้องกันและการควบคุมการเกิดโรคที่ดีที่สดุ คือ การ ฉีดพ่นในเชิงป้องกัน ก่อนการพบโรคหรือเมื่อพบแม้เพียงเล็กน้อย โดยระยะที่เหมาะสมในการใช้สาร ป้องกันกาจัดโรคพืชเพื่อป้องกันการเกิดโรคราสนิมถั่วเหลือง คือระยะก่อนการออกดอก ซึ่งจะช่วยลด ความเสียหายได้มากกว่าการใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชเมื่อพบโรค ดังนั้นความสาเร็จหรือความคุ้มทุน ของการผลิตนอกจากจะพิจารณาจากต้นทุนหรือชนิดของสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชแล้ว ระยะการใช้ สารเคมีที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนที่สูง และความเสียหายต่อผลผลิตได้เช่นกัน ดังนั้นผลจากการทดลองนี้ ได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัด โรคราสนิมถั่วเหลือง สามารถใช้เป็นคาแนะนาและเป็นทางเลือกหนึ่งให้เกษตรกรในการป้องกันกาจัด 784
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-03
โรคพืช ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสาคัญที่เป็นประโยชน์ แก่นักวิชาการโรคพืช และนักวิชาการเกษตร ใน การพัฒนาหาวิธีการป้องกันกาจัดโรคที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ปลูกพืชต่อไป คาขอบคุณ ขอขอบคุ ณ คุ ณ อั ชณา เตชะบุ ญ คุ ณ ทิ พย์ ก มล ธิ การาช คุ ณ สุ ท ธิณี ลิ ขิ ตตระกู ลรุ่ ง กลุ่ ม พัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 คุณพิมพ์นภา ขุน พิลึก ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ พี่ ๆ และน้อง ๆ กลุ่มงานวิทยาไมโค กลุ่มวิจัยโรคพืช ที่ให้ความร่วมมื อ และความช่วยเหลือในการดาเนินการทดลอง และการเก็บข้อมูล รวมถึงกาลังใจที่มีให้กันเสมอมา เอกสารอ้างอิง ปรีชา สุรินทร์. 2536. โรคทีส่ าคัญของถั่วเหลือง. หน้า 73-81 ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร การปลูกพืชไร่ในเขตชลประทาน. ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สถาบันวิจัยพืชไร่ กรม วิชาการเกษตร. 230 หน้า. ศรีสุข พูนผลกุล. 2525. โรคถั่วเหลือง. ข่าวสารศัตรูพืช 1(2) : 6-13. สมจินตนา ทุมแสน ปรีชา สุรินทร์ และโสภณ กิติสิน. 2530. การประเมินความเสียหายของถั่วลิสง เนื่องจากโรคใบจุดและราสนิม. หน้า 165-167. ใน : รายงานการสัมมนา เรื่องงานวิจัยถั่ว ลิสง ครั้งที่ 5 ประจาปี 2528. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. อรพรรณ วิเศษสังข์. 2552. คู่มือการเลือกใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช. 36 ปี กรมวิชาการเกษตร กลุ่ม วิจัยโรคพืช สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2552. 128 หน้า. Godoy, C.V., L.J. Koga and M.G. Canteri. 2006. Diagrammatic scale for assessment of soybean rust severity. Fitopatologia Brasileira 31: 063-068. Muelle, D. 2007. Evaluation of foliar fungicides for management of soybean rust. Integrated Crop Management News. Paper 1128. (Online). Available. https://lib.dr. iastate.edu/cropnews/1128). Sangawongse, P. 1973 Preliminary report of study on soybean rust. Thai Journal of Agricultural Science 6: 165-169. Tschanz, A.T. and M.C. Tsai. 1983. Evidence of tolerance to soybean rust in soybean. Soybean Rust Newsletter 6: 28-31. Utiamada, C.M., L.N. Sato and J.P. Torres. 2004. Efficiencies of fungicides in the control of soybean rust in Cambe, PR. VII World Soybean Research Conference Feb. 29-Mar.5.2004. Foz do lguassa, PR. Brazil.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
785
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
ผลการใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา Trichoderma virens และ T. harzianum ในการป้องกันกาจัดโรคกาบใบแห้งและการให้ผลผลิตข้าว Effectiveness of Wettable-Powder-Bioproducts of Trichoderma virens and T. harzianum in Controlling of Sheath Blight and Yielding of Rice จินันทนา จอมดวง และ สุมาฬี พรหมรุกขชาติ Jinantana Jomduang and Sumalee Phromrukachat สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ. ลาปาง 52000 Agricultural Technology Research Institute, Rajamangala University of Technology Lanna, Lampang 52000
บทคัดย่อ การเกิดโรคทาให้ผลผลิตข้าวเสียหาย เชื้อราสกุล Trichoderma ได้รับความสนใจและมีรายงานว่า สามารถป้องกั นก าจัดโรคของข้าวได้ การวิจัยครั้งนี้เพื่อ ทดสอบชีวภัณฑ์ ขนิดผงของเชื้อรา Trichoderma virens และ T. harzianum ในการป้อ งกั น ก าจัด โรคกาบใบแห้ง ของข้าวที่ เกิ ดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani รวมถึงการให้ผลผลิตของข้าว ดาเนินการทดสอบในกระถางทดลองโดยใช้ข้าวพันธุ์ กข. 7 ผลการ ทดสอบ พบว่า การใช้ชีวภัณฑ์คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราร้อยละ 1 ของน้าหนักเมล็ด เปรียบเทียบกับการคลุก ด้วยสารเคมีกาจัดรา mancozeb ตามอัตราแนะนาและกรรมวิธีควบคุมซึ่งไม่คลุก ใด ๆ ให้เปอร์เซ็นต์การงอก ของเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่แตกต่างทางสถิติ แต่ให้จานวนต้นข้าวต่อกอมากกว่าและแตกต่างทางสถิติ การพ่นต้น ข้าวด้วยชีวภัณฑ์อัตรา 50 และ 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตรหรือสารเคมี mancozeb ตามอัตราแนะนา โดยเริ่ม พ่นเมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน พ่นจานวน 5 ครั้ง ทุก 7 วัน เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ซึ่งไม่พ่นใด ๆ พบว่า การพ่นชีวภัณฑ์ให้จานวนรวงต่อกอมากกว่า การพ่นสารเคมี และกรรมวิธีควบคุม อย่างแตกต่างทางสถิติ ให้ น้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถางใกล้เคียงกับสารเคมี แต่มากกว่ากรรมวิธีควบคุม และแตกต่างทางสถิติ ซึ่งชีวภัณฑ์ T. virens อัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตรให้น้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกสูงสุด สาหรับการเป็นโรคกาบ ใบแห้ง พบว่า ชีวภัณฑ์ และสารเคมีช่วยให้เป็นโรคน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุ มอย่างแตกต่างทางสถิติ การพ่น สารเคมีพบโรคที่คะแนน 1.20 ซึ่งน้อยที่สุด การพ่นชีวภัณฑ์พบโรคที่คะแนน 2.00 – 2.20 ส่วนกรรมวิธี ควบคุมพบโรคที่คะแนน 2.90 ซึ่งมากที่สุด คาสาคัญ : ข้าว โรคกาบใบแห้ง เชื้อราไรซ็อกโทเนีย เชื้อราไตรโคเดอร์มา แมนโคเซบ
ABSTRACT Disease outbreak can cause losses on rice yield. The antagonistic fungus, Trichoderma, was reported showing efficacy in controlling of several rice diseases. This 786
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
research was aimed to evaluate effectiveness of the wettable-powder-bioproducts of T. virens and T. harzianum in controlling of sheath blight, caused by Rhizoctonia solani, and yielding of rice. Pot trial was carried out using rice variety RD 7. Results showing that seed dressing with those two bioproducts at 1% by seed weight as compared to the fungicide, mancozeb, at recommendation rate and the control (non-treated) treatment gave similar percentage of seed germination but significant higher numbers of tillers per plant. Spraying the 30-day-old rice plants, at 7-day-interval, continued spraying for 5 times, with those two bioproducts at 50 and 80 g per 20 L. of water or mancozeb at recommendation rate and compared to the control (non-spraying) treatment showed interesting results. It was found that spraying with bioproducts provided significant higher numbers of panicles per plant than spraying with mancozeb or the non-spraying treatment. Grain yield (weight per pot) also was significant higher than the non-spraying treatment but similar to mancozeb spraying. Highest grain yield derived from spraying with T. virens wettable powder at 80 g per 20 L. of water. In addition, spraying with bioproducts and mancozeb significantly decreased sheath blight occurrence as compared to the non-spraying treatment. Spraying with mancozeb showed least disease occurrence, scoring at 1.20. Spraying with bioproducts showed disease occurrence at scoring 2.00-2.20. While, the non-spraying treatment showed highest disease occurrence, scoring at 2.90. Keywords: rice, sheath blight, Rhizoctonia, Trichoderma, mancozeb คานา ข้าวเป็นอาหารหลัก ของคนไทยซึ่งนอกจากบริโภคเป็นข้าวหุง สุก ในแทบทุ กวันหรือทุ ก มื้ อแล้วยัง บริโภคเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ได้แก่ เส้นก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ ขนมจีน ผัดไท ขนมหวาน และขนมกรอบ นานาชนิด ผลผลิตข้าวของประเทศไทยยังส่งออกไปเป็นอาหารเลี้ยงชาวโลกในหลาย ๆ ประเทศ ทาให้เกิด การสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับระบบธุรกิจข้าว มีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ข้าว จึงมีความสาคัญยิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย การปลูก ข้าวให้ได้ผ ลผลิต สูงและมี คุณ ภาพดี นั้นนอกเหนือจากการบ ารุงรัก ษาให้น้ าให้ปุ๋ย อย่าง เหมาะสมแล้วต้องใส่ใจกับการป้องกันกาจัดโรคและแมลงศัตรู ข้าวเพราะเป็นต้นเหตุของความเสียหายของ ผลผลิต โรคสาคัญของข้าวมีหลายโรค การลดความเสียหายจากโรคควรใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน แต่ปัญหาสาคัญที่พบบ่อยครั้ง คือ เกษตรกรไม่ดาเนินการ ”ป้องกัน” ไม่ให้เกิดโรคแต่จะดาเนินการ “แก้ไข” เมื่ อเกิ ดความเสียหายจากโรคแล้ว ซึ่ง บางครั้ง ไม่ ทั นการหรือ ถ้าสามารถยับ ยั้งความเสียหายได้ ก็ต้องเสี ย ค่าใช้จ่ายสูง การจัดการเพื่อไม่ให้เกิดโรค ลดการเกิดโรค และยับยั้งการระบาดของโรคเพื่อไม่ให้ผลผลิตข้าว 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
787
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
เสียหายนั้นเกษตรกรสามารถเลือ กใช้ “อาวุธเคมี ” หมายถึง สารเคมี ป้ องกั นก าจัดโรคพื ช หรือ “อาวุธ ชีวภาพ” หมายถึง จุลินทรีย์ป้องกันกาจัดโรคพืชก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องใช้ให้ถูกเวลาและถูกวิธีจึงจะได้ผล การใช้ สารเคมีในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง ใช้สารหลายชนิดผสมกัน และใช้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะส่งผลเสีย ต่อสุขภาพของเกษตรกรรวมทั้งสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ จุลินทรีย์ป้องกันกาจัดโรคพืชจึงเข้ามามีบทบาทใน การจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อปัญหาสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และพืช โรคกาบใบแห้งของข้าวเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani พบได้ในระยะข้าวแตกกอ อาการโรค คือ บนกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้าจะมีแผลสีเขียวปนเทารูปร่างรีหรือ รูปไข่ ขนาดยาว 1-3 ซม. ขอบแผลมี สีเข้ม ออกน้าตาล ถ้าโรครุนแรงจะพบจ านวนแผลหลาย ๆ แผลบนกาบใบ ในสภาพความชื้นสูง โรคจะ ลุกลามอย่างรวดเร็วจนทาให้เกิดอาการใบแห้งและข้าวทั้งกอแห้งตายได้ เชื้อราจากต้นข้าวที่เป็นโรคจะแพร่ ไปยังต้นข้างเคียงและขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จนมองเห็นเป็นหย่อม ๆ ของต้นข้าวที่แห้งตาย (Singh et al., 2016) คาแนะนาในการป้องกันกาจัดโรค คือ ไถพลิกดินเพื่อกาจัดปริมาณเชื้อก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดิน และใช้ ชีวภัณฑ์แบคทีเรียบาซิลลัส หรือสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โพรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน เป็นต้น (สานักวิจัยและพัฒนาข้าว, มปป) มีรายงานความสาเร็จในการใช้จลุ ินทรีย์โดยเฉพาะเชื้อรากลุ่ม Trichoderma และแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus และ Pseudomonas ลดการเกิดโรคในพืชหลายชนิด เชื้อราในกลุ่ม Trichoderma มีรายงานว่า สามารถป้องกันกาจัดโรคของข้าวได้หลายโรค เช่น โรคใบจุดสีน้าตาล (brown spot) ทีเ่ กิดจากเชื้อรา Bipolaris oryzae (Gomathinayagam et al., 2010; Gamal et al., 2007) โรคกาบใบเน่า (sheath rot) ที่เกิดจากเชื้อรา Sarocladium oryzae (Kalaiselvi and Panneerselvam, 2011) โรคกาบใบแห้ง (sheath blight) ที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Mana, 1994; Nagendra Prasad and Reddi Kumar. 2011) และโรคใบไหม้ (blast) ทีเ่ กิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae (Gouramanis, N/A Year)
อุปกรณ์และวิธีการ เชื้อราที่ใช้ในการวิจัย เชื้อรา Rhizoctonia solani สาเหตุโรคกาบใบแห้ง (sheath blight) แยกได้จากต้นข้าวที่เป็นโรคซึ่ง เก็บตัวอย่างมาจากแปลงข้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ภาพที่ 1 ก) ส่วนเชื้อราปฏิปักษ์ 2 ชนิด คือ Trichoderma virens (ภาพที่ 1ข) และ T. harzianum (ภาพที่ 1ค) เป็ นเชื้อ ราในสต็อกเชื้อของห้อ งปฏิบั ติก ารโรคพื ช สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อ. เมือง จ. ลาปาง เก็บรักษาเชื้อรา เหล่านี้โดยเลี้ยงบนอาหารพีดีเอ (PDA-potato dextrose agar) เตรียมเชื้อราสาหรับใช้ในการทดสอบ โดยเลี้ยงขยายเชื้อรา R. solani บนเมล็ดข้าวฟ่างเพื่อใช้ในการ ปลูกเชื้อ (artificial inoculation) และเลี้ยงขยายเชื้อรา T. virens และ T. harzianum บนเมล็ดข้าวสุก ผึ่ง
788
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
ลมให้แห้ง บดเป็นผง และผสมกับสารพา (carrier) ได้เป็นชีวภัณฑ์ชนิดผง (wettable powder – WP) นาไป ทดสอบประสิทธิภาพ
(ค)
(ข)
(ก)
ภาพที่ 1 เชื้อราที่ใช้ในการวิจัย (ก) Rhizoctonia solani สาเหตุโรคกาบใบแห้งของข้าว (ข) Trichoderma virens (ค) Trichoderma harzianum ผลการใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงต่อการงอกและการแตกกอของข้าว คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ กข. 7 ด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum และ สารเคมีป้องกันกาจัดรา mancozeb แล้วนาไปเพาะให้งอกเป็นต้นกล้าในกระบะทดลอง จากนั้นย้ายต้นกล้า ข้าวไปปลูกในกระถางทดลองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว โดยย้ายปักดาข้าวกระถางละ 2 ต้น ดูแลให้น้า ให้ปุ๋ยตามคาแนะนาเกษตรดีที่เหมาะสมสาหรับข้าว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 5 ซ้า ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens อัตราร้อยละ 1 โดยน้าหนักของเมล็ด กรรมวิธีที่ 2 คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. harzianum อัตราร้อยละ 1 โดยน้าหนักของเมล็ด กรรมวิธีที่ 3 คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารเคมี mancozeb ตามอัตราแนะนาบนฉลาก กรรมวิธีที่ 4 ไม่คลุกเชื้อหรือสารเคมี (กรรมวิธีควบคุม) ตรวจผลโดยนับจานวนต้นกล้าข้าวที่งอกในกระบะทดลองนาไปคานวณเป็นเปอร์เซ็นต์การงอก และ หลังการย้ายต้นกล้าข้าวมาปลูกในกระถางทดลองทาการวัดความสูงของต้นข้าวเมื่ออายุ 21 วันหลังงอก และ นับจานวนต้นต่อกอ (number of tiller per plant) ของต้นกล้าข้าวเมื่ออายุ 28 วันหลังงอก เปรียบเทียบ ข้อมูลต่าง ๆ ทางสถิติ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
789
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
ผลการใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงต่อการป้องกันกาจัดโรคกาบใบแห้งและการให้ผลผลิตของข้าว ย้ายปักดากล้าข้าวพันธุ์ กข. 7 ในกระถางทดลองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว กระถางละ 2 ต้น ดูแลให้น้าให้ปุ๋ยตามคาแนะนาเกษตรดีที่เหมาะสมสาหรับข้าว เมื่อข้าวมีอายุ 25 วันทาการปลูกเชื้อ (artificial inoculation) โดยหว่านเชื้อรา R. solani ที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่าง (เชื้อสด) ในอัตรา 20 กรัมต่อกระถาง ให้ หว่านกระจายรอบ ๆ ต้นข้าวที่ปลูกในกระถาง เมื่อข้าวอายุได้ 30 วันเริ่มพ่นต้นข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของ เชื้อราและสารเคมีป้องกันกาจัดรา mancozeb พ่นจานวน 5 ครั้ง เว้นระยะทุก 7 วัน วางแผนการทดลอง แบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 5 ซ้า กรรมวิธีทดลอง มีดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens อัตรา 50 กรัมต่อน้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่นชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens อัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่นชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. harzianum อัตรา 50 กรัมต่อน้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่นชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. harzianum อัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 พ่นสารเคมีป้องกันกาจัดรา mancozeb ตามอัตราแนะนาบนฉลาก กรรมวิธีที่ 6 ไม่พ่นเชื้อหรือสารเคมี (กรรมวิธีควบคุม) ตรวจผลโดยนับจานวนรวงต่อกอ ชั่งน้าหนักผลผลิตข้าวเปลือกต่อกระถาง และตรวจให้คะแนนการ เป็นโรคกาบใบแห้ง เปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ทางสถิติ คะแนนการเป็นโรคกาบใบแห้ง (Park et al, 2008) เป็นดังนี้ 0 = ไม่มีแผล 1 = พบแผลลักษณะจุดช้าน้า (water-soaked lesions) 2 = พบแผลลักษณะจุดสีน้าตาลอันเนื่องมาจากเซลล์ตาย (necrotic lesions) 3 = พบแผลลักษณะจุดสีน้าตาลบนพื้นที่ใบ น้อยกว่าร้อยละ 50 4 = พบแผลลักษณะจุดสีน้าตาลบนพื้นที่ใบ มากกว่าร้อยละ 50 5 = พบแผลลักษณะจุดสีน้าตาลเต็มพื้นที่ใบ ทาให้ใบแห้งตาย ผลการทดลองและวิจารณ์ ผลการใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงคลุกเมล็ดพันธุข์ ้าว ผลการทดสอบ พบว่า กรรมวิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum ในอัตราร้อยละ 1 โดยน้าหนักของเมล็ด และกรรมวิธีการคลุกด้วยสารเคมี mancozeb ให้ เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมซึ่งไม่มีการคลุกเชื้อและสารเคมี ใด ๆ แต่กรรมวิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อราทั้งสองชนิดช่วยให้ต้นข้าวมีจานวนต้น ต่อกอมากกว่ากรรมวิธีการคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีและกรรมวิธีควบคุม สาหรับความสูงของต้นข้าวนั้นไม่ มี 790
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
ความแตกต่างทางสถิติในกรรมวิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์เชื้อราทั้งสองและสารเคมี แต่กรรมวิธี การคลุก เมล็ดพั นธุ์ ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ เชื้อรา T. virens สามารถช่วยให้ต้นข้าวเจริญ เติบ โตมี ความสูงของต้น มากกว่ากรรมวิธีอื่นและแตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีควบคุม (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ผลการคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum ใน อัตราร้อยละ 1 โดยน้าหนักของเมล็ด และสารเคมี mancozeb ที่มีต่อเปอร์เซ็นต์การงอก ความสูงของต้นข้าว และจานวนต้นต่อกอ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ไม่คลุกเชื้อและ สารเคมีใด ๆ กรรมวิธีทดลอง
เปอร์เซ็นต์ การงอก
คลุกเมล็ดด้วย T. virens คลุกเมล็ดด้วย T. harzianum คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี mancozeb ไม่คลุกเชื้อหรือสารเคมี (กรรมวิธีควบคุม) C.V. (%)
จานวนต้นต่อกอ เมื่อ 28 วันหลังงอก
80.11 79.04 74.43 74.26
ความสูงของต้นข้าว เมื่อ 21 วันหลังงอก (ซม.) 43.47 a 41.40 ab 40.79 ab 39.51 b
ns 7.60
* 7.83
* 24.17
4.9 a 4.5 a 3.1 b 3.0 b
ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรแตกต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) จากการเปรียบเทียบโดย Duncan’s Multiple Range Test
ผลการใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงต่อการป้องกันกาจัดโรคกาบใบแห้งและการให้ผลผลิตของข้าว ผลการทดสอบการป้องกันกาจัดโรคกาบใบแห้งของข้าว พบว่า กรรมวิธี การพ่นชีวภัณฑ์ชนิดผงของ เชื้อราทั้งสองชนิดในอัตรา 50 และ 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตรและกรรมวิธีการพ่นสารเคมีสามารถลดการเกิดโรค ได้อย่างแตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามกรรมวิธีการพ่นสารเคมีพบโรคที่คะแนน 1.20 ซึ่ง น้อยที่ สุด และกรรมวิธีการพ่ น ชีวภัณฑ์ พบโรคที่ คะแนน 2.00 – 2.20 ส่วนกรรมวิธีควบคุมนั้นพบโรคที่ คะแนน 2.90 ซึ่งมากที่สุด (ตารางที่ 2) ส่วนการให้ ผ ลผลิตของข้าวนั้ น พบว่า กรรมวิธีก ารพ่ น ต้นข้าวด้วยชีวภั ณฑ์ ชนิดผงของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum ให้จานวนรวงต่อกอมากกว่ากรรมวิธีการพ่นสารเคมีและกรรมวิธีควบคุมอย่าง แตกต่างทางสถิติ สาหรับน้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถางนั้นกรรมวิธี การพ่นต้นข้าวด้วยชีวภัณฑ์ชนิดผง ของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum ในอัตรา 50 และ 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตร และกรรมวิธีการพ่นด้วย สารเคมีให้น้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถางแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม ทั้งนี้กรรมวิธีการพ่นต้น
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
791
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
ข้าวด้วยชีวภัณ ฑ์ ชนิดผงของเชื้อ รา T. virens ในอัตรา 80 กรัม ต่อน้า 20 ลิตร สามารถให้น้าหนัก เมล็ด ข้าวเปลือกต่อกระถางที่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีการพ่นด้วยสารเคมี (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 คะแนนการเป็นโรคกาบใบแห้ง จานวนรวงต่อกอ และน้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถาง ในการทดสอบพ่นต้นข้าวด้วยชีวภัณฑ์เชื้อรา T. virens และ T. harzianum และสารเคมี กรรมวิธีทดลอง
คะแนนการเป็นโรค กาบใบแห้ง
จานวนรวง ต่อกอ
T. virens อัตรา 50 กรัมต่อน้า 20 ลิตร T. virens อัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตร T. harzianum อัตรา 50 กรัมต่อน้า 20 ลิตร T. harzianum อัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตร สารเคมี mancozeb ไม่พ่นเชื้อหรือสารเคมี(กรรมวิธีควบคุม)
2.20 b 2.00 b 2.20 b 2.00 b 1.20 c 2.90 a * 15.92
17.30 b 19.65 a 17.35 b 18.10 ab 13.30 c 12.85 c * 12.96
C.V. (%)
น้าหนักเมล็ด ข้าวเปลือกต่อ กระถาง (กรัม) 21.42 ab 22.06 a 18.72 b 18.97 ab 18.22 b 13.11 c * 17.52
ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรแตกต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) จากการเปรียบเทียบโดย Duncan’s Multiple Range Test
สรุปผลการทดลอง การใช้ชีวภัณฑ์ชนิดผงของเชื้อรา T. virens และ T. harzianum ให้ผลดีในการป้องกันกาจัดโรคกาบ ใบแห้งที่เกิดจากเชื้อรา R. solani และการให้ผลผลิตของข้าว การพ่นต้นข้าวด้วยชีวภัณฑ์เชื้อราทั้งสองชนิด ในอัตรา 50 และ 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตรสามารถลดการเกิดโรคได้ดีกว่าและแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบ กับกรรมวิธีควบคุม อย่างไรก็ตามยังไม่ดีเท่าการพ่นสารเคมี mancozeb ซึ่งให้ผลในการป้องกันกาจัดโรคได้ดี ที่สุด การพ่นต้นข้าวด้วยชีวภัณฑ์ ดังกล่าวสามารถให้จานวนรวงต่อกอมากกว่า กรรมวิธีการพ่นสารเคมีและ กรรมวิธีควบคุม ให้น้าหนักเมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถางมากกว่าและแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมแต่ ไม่แตกต่างทางสถิติกับการพ่นสารเคมี ยกเว้นการพ่นด้วยชีวภัณฑ์เชื้อรา T. virens ในอัตรา 80 กรัมต่อน้า 20 ลิตรเท่ านั้นที่ ให้ น้าหนัก เมล็ดข้าวเปลือกต่อกระถางแตกต่างทางสถิติกั บ กรรมวิธีการพ่ นสารเคมี และ กรรมวิ ธีควบคุม ส่ วนการใช้ ชีว ภัณ ฑ์ ค ลุ ก เมล็ ด พั นธุ์ ข้าวในอั ตราร้อยละ 1 โดยน้ าหนั ก เมล็ ด ช่วยให้ มี เปอร์เซ็นต์การงอกดีและทาให้ต้นข้าวเจริญได้ ความสูงที่ดีเช่นเดียวกับการคลุกด้วยสารเคมี อีกทั้งสามารถ ส่งเสริมการแตกหน่อของข้าวทาให้ได้จานวนต้นต่อกอที่มากกว่าการคลุกด้วยสารเคมีและกรรมวิธีควบคุม
792
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-04
เอกสารอ้างอิง สานักวิจัยและพัฒนาข้าว, มปป. โรคข้าวที่สาคัญในประเทศไทยและการป้องกันกาจัด องค์ความรูเ้ รื่องข้าว (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.ricethailand.go.th Gamal, M. Abdel-Fattah - Yasser M., Shabana Adel E., Ismail Younes Mohamed Rashad. 2007. Trichoderma harzianum: a biocontrol agent against Bipolaris oryzae. Mycopathologia (2007) 164:81–89. Gomathinayagam, S., M. Rekha, S. Sakthivel Murugan and J. C. Jagessar. 2010. The biological control of paddy disease brown spot (Bipolaris oryzae) by using Trichoderma viride in vitro condition. Journal of Biopesticides 3 (1 Special Issue): 93 – 95. Gouramanis, G.D. N/A Year. Biological and chemical control of rice blast disease (Pyricularia oryzae) in Northern Greece. Cahiers Options Méditerranéennes, vol. 15 (3) : 61-68. Kalaiselvi, S. and A. Panneerselvam. 2011. Invitro assessment of antagonistic activity of Trichoderma sp. Against Sarocladium oryzae causing sheath rot disease in paddy. International Journal of applied biology and pharmaceutical technology. volume: 2: issue-1 (Jan-Mar) : 179-183. Mana Kanjanamaneesathian. 1994. Biological control of sheath blight of rice with bacterial and fungal antagonists. Thesis. Lincoln University, New Zealand. 121 p. Nagendra Prasad, B. and M. Reddi Kumar. 2011. Comparative Efficacy of Different Isolates of Trichoderma Spp. Against Rhizoctonia Solani, Incitant of Sheath Blight of Rice. Indian Journal of Fundamental and Applied Life Sciences Vol. 1 (3) JulySeptember : 107-111. Singh, R., S. Sunder and P. Kumar. 2016. Sheath blight of rice: current status and perspectives. Indian Phytopathology 69(4): 340-351.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
793
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
การแสดงอาการของโรคใบด่างมันสาปะหลังในมันสาปะหลังพันธุต์ ้านทาน และพันธุ์การค้าด้วยวิธีเสียบยอด Severity of Cassava Mosaic Disease in Resistance and Commercial Varieties by Grafting นวลนภา เหมเนียม1 กิ่งกาญจน์ เสาร์คา2 สุกัญญา ฤกษ์วรรณ1 ศิริกาญจน์ หรรษาวัฒนกุล3 จุฑาทิพย์ ถวิลอาพันธ์1 และ วันวิสา ศิริวรรณ์1 Nuannapa Hemniam1 Kingkan Saokham2 Sukanya Roekwan1 Sirikan Hunsawattanakul3 Jutathip Thawinampan1 and Wanwisa Siriwan1 1
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 Department of Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900 2 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม 73140 2 Center of Agricultural Biotechnology, Kasetsart University, Nakhon Pathom 73140 3 ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 3 Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900
1
บทคัดย่อ โรคใบด่างมันส าปะหลังเป็ นโรคอุบั ติใหม่ข องประเทศไทย ซึ่ งเกิดจากเชื้ อไวรัส Srilankan cassava mosaic virus ทาให้ใบพืชด่างเหลืองเสียรูปทรง ผลผลิตลดลง 80-100% ปัจจุบันข้อมูลการพัฒนาอาการของโรค ชีววิทยาของเชื้อไวรัสค่อนข้างจากัด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการพัฒนาอาการของโรคใบด่างฯ ใน พันธุ์ต้านทานและพันธุ์การค้าด้วยวิธีการเสียบยอดบนต้นตอต้นมันสาปะหลังที่เป็นโรค โดยทาการเปรียบเทียบ ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์ต้านทาน TME3 และพันธุ์การค้า 6 สายพันธุ์ คือ CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ระยอง 11, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80 และห้วยบง 90 จากนั้นเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของโรคอ้างอิงจาก Sseruwagi et al. (2004) โดยตรวจดูอาการที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 สั ป ดาห์ ห ลั งจากการเสี ยบยอด และนามา ตรวจสอบด้วยเทคนิค Polymerase chain reaction โดยใช้ไพรเมอร์ที่จาเพาะต่อยีน AC1 ผลการศึกษาพบว่า หลังจากเสียบยอด 6 สัปดาห์ พันธุ์ระยอง 11 แสดงอาการของโรคอยู่ในระดับ 4 (susceptible) รองลงมาคือ พันธุ์ CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80 และห้วยบง 90 มีความรุนแรงระดับ 3 (tolerant) และพันธุ์ TME 3 แสดงอาการของโรคอยู่ในระดับ 2 (moderately resistance) นอกจากนี้พบว่าพันธุ์ระยอง 11 เริ่มแสดงอาการเมื่อสัปดาห์ที่ 2 มีความรุนแรงระดับ 2 และสัปดาห์ที่ 3, 4, 5 และ 6 มีความรุนแรงระดับ 4 ซึ่ง แตกต่างจากพันธุ์ TME3 ที่เริ่มมีการแสดงอาการในสัปดาห์ที่ 3 และตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3, 4, 5 และ 6 มีความรุนแรง ระดับ 2 เมื่อนาตัวอย่างใบของแต่ละพันธุม์ าตรวจสอบด้วยเทคนิค PCR พบว่าทุกตัวอย่างมีขนาดแถบดีเอ็นเอตรง กับ Positive
คาสาคัญ : ไวรัสใบด่างมันสาปะหลัง ความรุนแรงของโรค พันธุ์ต้านทานและพันธุ์การค้า 794
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
ABSTRACT Cassava mosaic disease is emerging disease in Thailand. It causes by Srilankan cassava mosaic virus. The symptoms of Cassava mosaic disease are mosaic on leaf bending deformation and reduced 80-100% yield loss. In the currently information about symptom development and viral biological have been limited. The objective of this study to understand the severity of resistance (TME3) and commercial varieties (CMR-89, KU 50, Rayong 11, Huai Bong 60, Huai Bong 80 and Huai Bong 90) by grafting using infected plants as a stock. The severity assessment method according to Sseruwagi et al. (2004). The symptom severities were recorded at 2, 3, 4, 5 and 6 week after grafting. After that the samples were detected by Polymerase chain reaction with specific primer to AC1 gene. After grafting 6 weeks, the results show, Rayong 11 was susceptible variety (level 4) and followed by CMR89, KU 50, Huai Bong 60, Huai Bong 80 and Huai Bong 90 were tolerant (level 3). TME3 was moderately resistance (level 2). Moreover, the symptom of infected Rayong 11 appeared in the second week after grafting which the severity at level 2 while, the resistance variety TME3, the symptoms show in third week after grafting and the severity at level 2. The leaf samples of each varieties were detected by PCR technique. The result show all symptomatic plants had DNA band similar size with positive control. Keywords: Srilankan cassava mosaic virus (SLCMV), Symptom severity, Resistance and commercial varieties and Polymerase chain reaction (PCR) คานา มันสาปะหลัง (Manihot esculenta L.) เป็นพืชที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ในประเทศไทยมีพื้นที่พะปลูกประมาณ 8.62 ล้านไร่ และให้ผลผลิต 29.36 ล้านตัน มีแหล่งเพาะปลูกที่สาคัญ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก (สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) พันธุ์การค้าที่นิยม ปลูก คือ เกษตรศาสตร์ 50, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80, ห้วยบง 90, ระยอง 1, ระยอง 5, ระยอง 7, ระยอง 9, ระยอง 11,ระยอง 13 และระยอง 72 แต่ในปัจจุบันประเทศไทยพบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังซึ่ง เป็นโรคอุบัติใหม่ของประเทศไทยซึ่งมี สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Srilankan cassava mosaic virus ทาให้ใบ มันสาปะหลังมีอาการด่างเหลือง ต้นแคระแกรน ใบเสียรูปทรง ลดรูป หงิกงอ ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่าง เหลือง และทาให้ผลผลิตลดลง 80-100 เปอร์เซ็นต์ (สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2561) ซึ่งเชื้อไวรัสชนิด นี้สามารถถ่ายทอดได้ 2 วิธี คือ แมลงหวี่ขาว (Bemisia tabaci) เป็นพาหะ และทางท่อนพันธุ์ และในปัจจุบัน ยังไม่มีสารเคมีที่ใช้ป้องกันกาจัด จึงเลือกใช้ท่อนพันธุ์มันสาปะหลังที่มีความต้านทานต่อโรคใบด่าง อย่างไรก็ดี ข้อมูลการพัฒนาอาการของโรค และชีววิทยาของเชื้อไวรัสในมันสาหลังปะหลังค่อนข้างจากัด ดังนั้นจึงได้มีการ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
795
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
จัดทางานวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาอาการของโรคใบด่างมันสาปะหลังในพันธุ์ต้านทาน และพันธุ์การค้าด้วยวิธีการเสียบยอด (Grafting) บนต้นตอต้นมันสาปะหลังที่เป็นโรค อุปกรณ์และวิธีการ นาท่อนพันธุ์มันสาปะหลังที่เป็นโรคใบด่างมันสาปะหลังมาปลูกในกระถางจานวน 35 กระถาง และ ปลูกมันสาปะหลังที่ไม่เป็นโรคทั้งหมด 7 พันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์ต้านทาน TME3 และพันธุ์การค้า 6 พันธุ์ คือ CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ระยอง 11, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80 และห้วยบง 90 ปลูกจานวนพันธุ์ละ 5 ต้น หลัง จากนั้น เมื่ อ มั น ส าปะหลั งอายุ 6 สัป ดาห์ นากิ่ ง มั นส าปะหลัง ทั้ ง 7 พั นธุ์ มาเสียบยอดบนต้ นตอมั น สาปะหลังที่เป็นโรคพันธุ์ CMR-89 โดยใช้วิธีการเสียบยอดแบบลิ่ม ทาการเสียบยอดพันธุ์ละ 5 ต้น หลังจากนั้น บันทึกผลการทดลองโดยเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของโรคโดยอ้างอิงจาก Sseruwagi et al. (2004) ซึ่ง แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ 1= ไม่แสดงอาการ (highly resistant), 2=ใบมีจุดเหลืองจางๆ ตลอดตัวใบหรือฐาน ของของใบบิดผิดรูปเล็กน้อย (moderately resistant), 3=ตลอดตัวใบมีลักษณะด่างมาก หนึ่งในสามของตัว ใบบริเวณโคนใบบิดเบี้ยว (tolerant), 4=ตลอดทั้งใบแสดงอาการใบด่างรุนแรง สองในสามของตัวใบบิดเบี้ยว ใบมี ขนาดเล็ก กว่าปกติ (susceptible), 5=ตลอดทั้ งใบแสดงอาการใบด่างรุนแรง สี่ในห้ าของตัวใบ (หรือ มากกว่าสี่ในห้า) บิดเบี้ยว ม้วนงอ ใบผิดรูป (highly susceptible) โดยตรวจดูอาการของโรคที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ หลังจากการเสียบยอด และเก็บใบมันสาปะหลังมาตรวจสอบด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) โดยใช้ คู่ ไพรเมอร์ที่ จ าเพาะต่ อ ยีน Ac1 คื อ CP_SLCMVF (5' GTT GAA GGT ACT TAT TCC C 3') และ CP_SLCMVR (5' TAT TAA TAC GGT TGT AAA CGC 3') เพื่อตรวจสอบเชื้อไวรัสในต้นมัน สาปะหลัง ผลการทดลองและวิจารณ์ จากผลการทดสอบการพัฒนาอาการของโรคใบด่างมันสาปะหลังในมันสาปะหลัง พันธุ์ต้านทานและ พัน ธุ์ ก ารค้าของประเทศไทยทั้ ง หมด 7 พั น ธุ์ พบว่า หลัง จากการเสี ยบยอดมั นส าปะหลั ง 6 สัป ดาห์ มั น สาปะหลังพันธุ์ระยอง 11 แสดงอาการของโรคมากที่ สุด อยู่ในระดับ 4 (susceptible) รองลงมาคือ พันธุ์ CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ห้ วยบง 60, ห้ วยบง 80 และห้วยบง 90 แสดงอาการของโรคอยู่ในระดับ 3 (tolerant) และพันธุ์ TME 3 แสดงอาการของโรคน้อยที่สุด อยู่ในระดับ 2 (moderately resistance) จาก รายงานของ Houngue et al. (2019) พบว่ามั นส าปะหลัง พัน ธุ์ TME มี ร ะดับ ความรุน แรงอยู่ในระดับ 1 (highly resistant) หลัง จากการเสีย บยอด 10 สั ป ดาห์ เนื่อ งจากมั น ส าปะหลัง พั น ธุ์ TME เป็ นสายพั น ธุ์ พื้นเมืองของประเทศไนจีเรีย ซึ่งมียีน CMD2 เป็นยีนต้านทานต่อโรคใบด่างมันสาปะหลัง และจัดเป็นยีนที่ถูก ควบคุม ด้วยลัก ษณะคุณภาพ (Quantitative gene ) นอกจากนี้พบว่า มันส าปะหลัง พันธุ์ร ะยอง 11 แสดง อาการทางใบรวดเร็วที่สุด โดยพบว่าเริ่มแสดงอาการในสัปดาห์ที่ 2 หลังจากการเสียบยอด ส่วนพันธุ์ TME 3, ห้วยบง 80, ห้วยบง 60, เกษตรศาสตร์ 50 และ CMR-89 เริ่มแสดงอาการทางใบในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากการ
796
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
เสียบยอดและพบว่ามันสาปะหลังพันธุ์ห้วยบง 90 เริ่มแสดงอาการทางใบช้าที่สุดในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากการ เสียบยอด (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของโรคของมันส าปะหลัง 7 สายพันธุ์ หลังจากเสียบยอด 2, 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ ลาดับที่ 1 2 3 4 5 6 7
พันธุ์ TME3 ห้วยบง 90 ห้วยบง 80 ห้วยบง 60 เกษตรศาสตร์ 50 CMR-89 ระยอง 11
2 สัปดาห์ 1 1 1 1 1 1 2
ระดับความรุนแรงของโรค 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ 5 สัปดาห์ 2 2 2 1 2 2 2 2 3 2 2 3 2 3 3 2 3 3 4 4 4
6 สัปดาห์ 2 3 3 3 3 3 4
เมื่อนาใบมันสาปะหลัง ทั้ง 7 พันธุ์ม าตรวจสอบด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ คู่ไพรเมอร์ที่ จาเพาะต่อยีน AC1 พบว่า มั นส าปะหลัง ทั้ ง 7 พั นธุ์มี ขนาดแถบดีเอ็นเอตรงกั บ ตัวอย่าง positive ประมาณ 1000 คู่เบส (ภาพที่ 1) และพบว่าพันธุ์ระยอง 11, CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80 และ ห้วยบง 90 ตรวจพบโรคในสัปดาห์ที่ 2 ส่วนพันธุ์ TME 3 ตรวจพบโรคในสัปดาห์ที่ 3 (ตารางที่ 2) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชื้อ ไวรัส CMV เข้าสู่ พันธุ์ TME 3 ช้าที่สุด
ภาพที่ 1 ผลการตรวจโรคด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ที่จาเพาะต่อยีน AC1 มีขนาดประมาณ 1,000 คู่ เบส 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
797
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
ตารางที่ 2 ผลการตรวจโรคด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ที่จาเพาะต่อยีน AC1 หลังจากเสียบยอด 2, 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ ลาดับที่ 1 2 3 4 5 6 7
พันธุ์ TME3 ห้วยบง 90 ห้วยบง 80 ห้วยบง 60 เกษตรศาสตร์ 50 CMR-89 ระยอง 11
2 สัปดาห์ + + + + + +
การตรวจสอบด้วยเทคนิค PCR 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ 5 สัปดาห์ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
6 สัปดาห์ + + + + + + +
หมายเหตุ – หมายถึง ไม่พบโรค, + หมายถึง พบโรค
วิธีการคัดเลือกมันสาปะหลังที่ต้านทานต่อโรคใบด่างมันสาปะหลังสามารถทาได้หลายวิธี ได้แก่ การปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีการแพร่ระบาดของโรคหรือการติดตาทาบกิ่ง ซึ่งวิธีการติดตา ทาบกิ่งเป็นวิธีการ ที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเชื้อไวรัส โดยวิธีการนี้สามารถประสบความสาเร็จในการ ติดตา 86% และการถ่ายทอดของเชื้อไวรัส 82 % ตามลาดับ Wagaba et al. (2013) ซึ่งสอดคล้องกับผลการ ทดลองพบว่าสามารถติดตาต่อกิ่งและสามารถถ่ายทอดเชื้อได้ 100% ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 กรมวิชาการเกษตร (ประเทศไทย) มีการรายงานการเกิดโรคใบ ด่างมันสาปะหลังในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ (กรมวิชาการเกษตร, 2562) และ พบว่าในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรีรัมย์, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมา และอุบลราชธานี แต่ยังไม่มีรายงาน ถึงระดับ ความรุนแรงของโรคใบด่างมันสาปะหลัง ดังนั้นงานทดลองนี้จึงมีความส าคัญ ในการประเมินความ รุนแรงของโรคใบด่างมันสาปะหลังในมันสาปะหลังพันธุ์การค้าแต่ละสายพันธุ์ได้เบื้องต้น เพื่อคัดเลื อกหาพันธุ์ การค้าที่สามารถทนทานต่อโรค ซึ่งสามารถใช้ระหว่างรอการพัฒนาสายพันธุ์ต้านทานโรคในอนาคตต่อไป สรุปผลการทดลอง การแสดงอาการของโรคใบด่างมันสาปะหลังในมันสาปะหลังพันธุ์ระยอง 11 มีระดับความรุนแรงมาก ที่สุด รองลงมา คือ พันธุ์ CMR-89, เกษตรศาสตร์ 50, ห้วยบง 60, ห้วยบง 80 และห้วยบง 90 และพันธุ์ TME 3 แสดงอาการของโรคน้อยที่สุด
798
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-05
คาขอบคุณ ขอขอบคุณภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และมูลนิธิ สถาบันพัฒนามันสาปะหลังแห่งประเทศไทย เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. 2562. The current status of Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) in Thailand. แหล่งที่มา https://www.ippc.int/static/media/files/pestreport/2019/03/29/ SLCMV_status_in_Thailand.pdf สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562 สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. เนื้อที่เพาะปลูก เนือ้ ที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2561. แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดมันสาปะหลัง/TH-TH สืบค้น เมื่อ 15 สิงหาคม 2562 สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. 2561. คู่มือการสารวจและเฝ้าระวังโรคใบด่างของมันสาปะหลัง. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ Houngue, J.A., M. Zandjanakou-Tachin, H.B. Ngalle, J.S. Pita, G.H.T. Cacai, S.E. Ngatat, J.M. Bell and C. Ahanhanzo. 2019. Evaluation of resistance to cassava mosaic disease in selected African cassava cultivars using combined molecular and greenhouse grafting tools. Physiological and Molecular Plant Pathology 105: 47–53. Sseruwagi, P., W.S. Sserubombwe, J.P. Legg, J. Ndunguru and J.M. Thresh. 2004. Methods of surveying the incidence and severity of cassava mosaic disease and whitefly vector populations on cassava in Africa: a review. Virus Research 100: 129-142. Wagaba, H., G. Beyene, C. Trembley, T. Alicai, C.M. Fauquet and N.J. Taylor. 2013. Efficient transmission of cassava brown streak disease viral pathogens by chip bud grafting. BMC Research Notes 6: 516.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
799
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
การจัดการโรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลังด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช Management of Anthracnose in Cassava Using Fungicides อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว1 และ สายชล แสงแก้ว2 Amonrat Kitjaideaw1 and Saichon Sangkaew2 1
สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 นครราชสีมา 30340 2 Nakhonratchasima Research and Development Center, Office of Agricultural and Development Region 4, Nakhonratchasima 30340 1
บทคัดย่อ โรคแอนแทรคโนสของมั น ส าปะหลั ง เกิ ด จากเชื้อ รา Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis เป็นโรคที่สาคัญญโรคหนึ่ง หากเข้าทาลายมันสาปะหลัง อายุ 3-6 เดือน จะรุนแรงมาก ทาให้ต้น ตายได้ จึง ควรท าการศึก ษาประสิท ธิภ าพสารป้ องกั นก าจัด โรคแอนแทรคโนส เพื่ อ เป็ นทางเลื อกให้ แ ก่ เกษตรกรในการจัดการโรคนี้ ในแปลงมั น ส าปะหลัง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block 3 ซ้ า 7 กรรมวิ ธี ได้ แ ก่ สาร azoxystrobin 25% W/V SC 10 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร สาร difenoconazole 25% W/V EC 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร สาร hexaconazole 5% W/V SC 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร สาร prochloraz 45% W/V EC 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร สาร copper oxychloride 85% WP 80 กรัม /น้า 20 ลิตร สาร mancozeb 80% WP 50 กรัม/น้า 20 ลิตร เที ยบกั บ น้ าเปล่ า พบว่ า แปลงที่ 1 สาร difenoconazole 25% W/V EC มี ดั ช นี ก ารเกิ ด โรคน้ อ ยที่ สุ ด (36.67 เปอร์เซ็นต์) และน้อยกว่าน้าเปล่าอย่างมีนัยสาคัญ (40.22 เปอร์เซ็นต์) แปลงที่ 2 สาร hexaconazole 5% W/V SC สาร prochloraz 45% W/V EC และ copper oxychloride 85% WP มี ดั ชนี ก ารเกิ ดโรคน้ อ ย กว่า (36.22 37.33 และ 37.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ) อย่างมีนัยสาคัญ กับ น้าเปล่า (42.89 เปอร์เซ็นต์) โดยมี ต้ นทุ น การพ่ น สารอยู่ร ะหว่าง 46.80-278.40 บาท/ไร่ และตลอดการทดลองไม่ พบอาการเกิ ดพิ ษ (Phytotoxicity) ของสารป้องกันกาจัดโรคต่อมันสาปะหลัง คาสาคัญ : มันสาปะหลัง โรคแอนแทรคโนส เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis สารป้องกันกาจัดโรคพืช ABSTRACT Cassava anthracnose disease caused by Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis is an important disease. The disease that destroys cassava, aged 3-6 months, can be very severe, causing the tree to die. Therefore, the efficacy test of fungicides in order to 800
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
control anthracnose of cassava should be studied for an alternative to farmers in managing this disease in plantation. In this experiment, Randomized Completely Block Design (RCB) with three replications and seven treatments. The treatments included azoxystrobin 2 5 % W/V SC 10 milliliters/20 liters of water, difenoconazole 25% W/V EC 20 milliliter/20 liters of water, hexaconazole 5% W/V SC 20 milliliter/20 liters of water, prochloraz 45% W/V EC 20 milliliter/2 0 liters of water, copper oxychloride 8 5 % WP 8 0 gram/2 0 liters of water, mancozeb 80% WP 50 gram/20 liters of water and non-fungicide spraying treatment (water). The first trial was found that, the disease index percentages showed significant difference in difenoconazole 2 5 % W/V EC was 3 6 .6 7 while the disease index percentage in control fungicide was 40.22. The second trial was found that, the disease index percentages showed significant difference in treatments sprayed with three fungicides: hexaconazole 5% W/V SC, prochloraz 45% W/V EC and copper oxychloride 85% WP were 36.22, 37.33 and 37.33 respectively while the disease index percentage in control fungicide was 42.89. The cost of spraying is between 46.80-278.40 Baht /rai. All fungicides have no phytotoxicity to cassava. Keywords: Cassava, Anthracnose Disease, Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis Fungicide คานา มันสาปะหลัง (cassava; tapioca : Manihot esculenta (L.) Crantz) เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืช อาหารที่สาคัญอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง มันสาปะหลังเป็นพืชไร่เศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ สาคัญของประเทศไทย มี เนื้อที่เพาะปลูก 8,624,284 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,405 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกส่วน ใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่เพาะปลูก 4,764,692 ไร่ รองลงมา คือ ภาคกลาง 1,930,846 ไร่ และภาคเหนือ 1,928,746 ไร่ ให้ผลผลิตรวมประมาณ 29,368,185 ตัน (สานักงานเศรษฐกิจเกษตร, 2561) โรคแอนแทรคโนส (Cassava Anthracnose Disease, CAD) เป็นหนึ่งในสามโรคที่สาคัญทีส่ ุดของมัน ส าปะหลัง ได้ แก่ โรคใบด่ าง (Cassava Mosaic Disease, CMD) โรคใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight, CBB) แ ล ะ โร ค แ อ น แ ท ร ค โน ส (Cassava Anthracnose Disease, CAD) ซึ่ ง มี ส าเห ตุ จ า ก เชื้ อ ร า Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis ลักษณะอาการทั่วๆ ไป มีดังนี้ ลาต้นแก่ เป็นแผลที่มี ขอบเขตแน่นอน สีน้าตาลหรือสีดา ถ้ามีปริมาณน้าฝนมากหรือความชื้นสูงๆ แผลจะขยายตัว ลามขึ้นสู่ส่วน ยอด ลาต้นอ่อน แผลมีขอบเขตไม่แน่นอน สีน้าตาลอ่อน เมื่อมีความชื้นสูงจะขยายตัวสู่ส่วนยอด ทาให้ยอด ตายอย่างรวดเร็ว ก้านใบ เป็นรอยไหม้ที่โคนก้านใบติดกับลาต้น และก้านใบส่วนที่ติดกับตัวใบหักลู่ลง ในที่สุด จะหลุดร่วงทั้งต้น ใบ มีอาการไหม้ที่ขอบใบและปลายใบ ขยายตัวเข้าสู่กลางใบ ในที่สุดตัวใบจะไหม้หมด และ หลุดร่วง (Lozano et al., 1981) ถ้าเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอมาก จะยืนต้นตาย หรือพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทานต่อโรค 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
801
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
ยอดจะหัก ทาให้มีการแตกกิ่งหรือยอดใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ และบางพันธุ์จะพบโคนลาต้นที่ติดกับพื้นดิน มี ลักษณะบวมพอง เปลือกลาต้นแตกเป็นริว้ ๆ เมื่อเวลาลมพัดจะเปราะหักลงได้ง่าย ความเสียหายทางเศรษฐกิจ สายพันธุ์หรือพันธุ์มันสาปะหลังที่อ่อนแอต่อโรคและอายุมันสาปะหลังที่แสดงอาการโรคในระยะหลังปลูก 5 เดือน มันสาปะหลังจะยืนต้นตาย ทาให้เสียหายมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสายพันธุ์หรือพันธุ์มันสาปะหลังที่ ค่อนข้างทนทานต่อโรค ยอดจะเน่าตาย ทาให้มีการเจริญเติบโตของกิ่งและยอดใหม่ ทาให้น้าหนักของผลผลิต ลดลงหรือการเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตเสียหาย 30-40 เปอร์เซ็นต์ พบหลังจากฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน (สภาพที่ มี ค วามชื้ น สู ง ติ ด ต่ อ กั น มากกว่ า 2 สั ป ดาห์ ) ในพั น ธุ์ที่ แ สดงอาการของโรครุน แรง เช่ น พั น ธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ระยอง 72 และสายพันธุ์ CMR 35-22-196 (รังษี และอมรรัชฏ์ , 2550, 2553; นิรนาม, 2557) และรุนแรงมากกับมันสาปะหลัง อายุ 3-6 เดือน แต่หากมีเชื้อโรคอื่นเข้าทาลายร่วมด้วยความ เสียหายอาจถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โรคแอนแทรคโนส มี รายงานการระบาดในพื้นที่ ป ลูก ของทวีปแอฟริก า ทาให้ผลผลิตเสียหาย 30 เปอร์เซนต์ หรือมากกว่านี้ในพันธุ์และหรือสายพันธุ์ที่อ่อนแอ เชื้อโรคสามารถเข้าทาลายได้ทั้งใบและลาต้น หากโรคเกิดอย่างรุนแรงทาให้ต้นมันสาปะหลังตาย ส่งผลกระทบต่อท่อนพันธุ์มันสาปะหลังที่จะใช้ปลูกในฤดู ต่อไป (Moses, et al., 2007) ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางเมล็ดพันธุ์ที่นาไปปรับปรุงพันธุ์ และเศษซากที่ หลงเหลือในแปลงหลังการเก็ บเกี่ ยว (William, et al., 2012) และแพร่ระบาดโดย ลม หรือท่ อนพันธุ์ที่ มี แผลแคงเกอร์ และเชื้อเข้าทาลายพืชทาง รอยแผล รอยกัดของแมลง (Pseudotheraptus devastans) และ เชื้อราสาเหตุโรคนี้ ยังสามารถเข้าทาลายกาแฟ พริกไทย และมะละกอ (Msikita, et al., 2000) ในประเทศไทย มีรายงานการระบาดของโรคแอนแทรคโนสอย่างรุนแรง ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พันธุ์มันสาปะหลังที่แสดงอาการรุนแรง คือ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ระยอง 72 และสายพันธุ์ CMR 35-22-196 จึงต้องเฝ้าระวังการระบาดของโรคในพันธุ์เหล่านี้ และหากพบการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ใช้สารเคมีประเภทที่มีองค์ประกอบของทองแดง หรือแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารสกัดจากสะเดา (รังษี และ อมรรัชฏ์, 2550; Fokunang et al., 2001) นอกจากนี้ มีการแนะนาให้ใช้ท่อนพันธุ์มันสาปะหลังที่ ส ะอาด ไม่ปลูกในช่วงที่ฝนตกมากๆ หรือการใช้พันธุ์ต้านทาน (Lozano et al., 1981) สารป้องกันกาจัดโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจาก C. gloeosporioides ในพืชอื่นๆ เช่น ที่มีคาแนะนาให้ ใช้ ได้ แ ก่ azoxystrobin 2 5 % W/V SC, carbendazim 5 0 % W/V SC, carbendazim 5 0 % WP, prochloraz 45% W/V EC, prochloraz 50% WP, hexaconazole 5% W/V SC, trifloxystrobin 50% WG, mancozeb 75% WG, mancozeb 80% WP, benomyl 50% WP, maneb 80% WP, captan 5 0 % WP, captan 8 0 % WG, azoxystrobin 2 0 % + difenoconazole 1 2 .5 % W/V SC, difenoconazole 2 5 % W/V EC, copper hydroxide, copper sulfate, thiophanate-methyl, iprodione, metconazole, propiconazole, triadimefon, tebuconazole, triticonazole, mineral oil, chlorothalonil, fludioxonil, fosetyl-Al, phosphite salt, polyoxin D, fluoxastrobin, pyraclostrobin, trifloxystrobin และ penthiopyrad เป็ น ต้น (อรพรรณ, 2552; Dirou and Stovold, 802
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
2005; Crump, 2009; Suryanarayana et al, 2012; Tredway and Wong, 2012) ซึ่ ง จะเห็ น ว่า สาร ป้องกันกาจัดโรคแอนแทรคโนสของมันสาปะหลังโดยตรงยังไม่มี ดังนั้นการทดลองนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อหา ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคแอนแทรคโนสของพืชอื่นๆ มาใช้ในการจัดการโรคแอนแทรคโนสของ มันสาปะหลัง และแนะนาให้แก่เกษตรกรต่อไป อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. 2. 3. 4. 5. 6.
ท่อนพันธุ์มันสาปะหลัง สารป้องกันกาจัดโรคพืช และปุ๋ยเคมี เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสายสะพายหลัง เครื่องชั่งน้าหนัก และอุปกรณ์การตวงวัดสารทดลอง ป้ายแปลงแสดงชื่อซ้าและกรรมวิธีที่ทดลอง อุปกรณ์สาหรับการบันทึกข้อมูลแบบและวิธีการทดลอง
วิธีการ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 4 ซ้า 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 น้าเปล่า (กรรมวิธีควบคุม) โดยดาเนินการดลองที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อาเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 – กันยายน 2561 ดังนี้ 1. เตรียมพื้นทีป่ ลูก (ไถปรับสภาพแปลง 2 ครั้ง ยกร่องเป็นแปลงย่อย) ระยะปลูก 1.2x0.8 เมตร ขนาดแปลงย่อย 8x6 เมตร (พื้นที่เก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 18 ตารางเมตร) และมีระยะห่างระหว่างแปลงย่อย 50 เซนติเมตร กาจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน 2 ครั้ง ให้น้าตามปกติ และหมั่นตรวจดูแมลงศัตรู หากพบให้พ่น สารป้องกันกาจัดแมลง 2. พ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชตามกรรมวิธีที่กาหนด โดยพ่นสารครั้งแรก เมื่อเริม่ ปรากฏอาการโรค พ่น 3 ครั้ง และพ่นซ้าทุก 7 วัน การพ่นสารใช้เครือ่ งพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (Knapsack sprayer)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
803
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
3. การประเมินระดับความรุนแรงของโรค ก่อนพ่นสารทุกครั้งและหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 และ 14 วัน สุ่มต้นมันสาปะหลัง 20 ต้นต่อแปลงย่อย โดยแบ่งระดับความรุนแรงของโรค เป็น 5 ระดับ (ดัดแปลง Amusa, 1998) คือ ระดับที่ 1 ไม่แสดงอาการโรค ระดับที่ 2 พบจุดแผลตื้นๆ บริเวณส่วนล่างๆ ของลาต้น ใบล่างมีจุดฉ่าน้า 1-25 เปอร์เซ็นต์ ระดับที่ 3 พบจุดแผลต่อเนื่อง (ขนาดใหญ่และลึก) บริเวณส่วนบนๆ ของลาต้น ใบล่างมีจุด ฉ่าน้า 26-50 เปอร์เซ็นต์ ระดับที่ 4 พบแผลสีน้าตาลดา บริเวณยอด ก้านใบ ใบ ยอดอ่อนถูกทาลาย หักยุบ ใบล่างมี จุดฉ่า 51 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ระดับที่ 5 พบการเหี่ยว แห้งของยอดและใบอ่อน และยืนต้นตาย จากนั้นนามาคานวณหาค่าดัชนีการเกิดโรค (Disease index) ตามวิธีของ Cirulii and Alexander (1966) ตามสูตร ดัชนีการเกิดโรค (%) = [ผลรวมของ (ระดับความรุนแรงของโรคแต่ละระดับ*จานวนต้น)] X 100 จานวนต้นทั้งหมด*ระดับความรุนแรงของโรคสูงสุด การบันทึกข้อมูล 1. ความรุนแรงของโรค 2. ต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช 3. ผลกระทบของสารทดลองต่อพืช ผลและวิจารณ์ แปลงที่ 1 ดาเนินการทดลองในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560 (ตารางที่ 1) ผลการทดลองพบว่า ก่อนพ่นสารครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 ทุกกรรมวิธีมีดัชนีการเกิดโรคที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ หลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 วัน กรรมวิธีพ่นสาร copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 38.44, 39.11 และ 39.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อย กว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า ที่มีดัชนีการเกิดโรค 40.22 เปอร์เซ็นต์ ส่วน กรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 39.56, 39.48 และ 39.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้าเปล่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ 804
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
หลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 14 วัน กรรมวิธีพ่นสาร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/ น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 36.67 เปอร์เซ็นต์ น้อยที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพน่ สาร mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า ที่มีดัชนีการเกิดโรค 39.55 และ 40.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ส่วนกรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 38.00, 38.89, 38.67 และ 38.67 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ น้อยกว่ากรรมวิธีพ่นสาร mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร และกรรมวธีพ่นน้าเปล่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ de Putter, et al. (2017) ที่ ผ สมสาร difenoconazole กั บ สารฆ่าแมลง ท าให้ไม่ พบโรคแอนแทรคโนสของ shallot และยังควบคุมหนอนได้ด้วย นอกจากนี้การพ่นสาร difenoconazole สามารถลดการเกิดโรคแอน แทรคโนสของพริกได้ 58 เปอร์เซ็นต์ (Gopinatha et al., 2006) แปลงที่ 2 ดาเนินการทดลองในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2561 (ตารางที่ 2) ผลการทดลองพบว่า ก่อนพ่นสารครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ทุกกรรมวิธีมีดัชนีการเกิดโรคที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ก่อนพ่นสารครั้งที่ 3 กรรมวิธีพ่นสาร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ copper oxychloride 85% WP อั ต รา 80 กรัม /น้า 20 ลิ ตร มี ดั ชนี ก ารเกิ ด โรค 33.78 และ 34.66 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า ที่มีดัชนีการเกิด โรค 40.22 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
805
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลัง ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อาเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560 กรรมวิธี azoxystrobin 25% W/V SC difenoconazole 25% W/V EC hexaconazole 5% W/V SC prochloraz 45% W/V EC copper oxychloride 85% WP mancozeb 80% WP water (control) CV (%) 1/
อัตรา (กรัมหรือมิลลิกรัม/นา 20 ลิตร) 10 20 20 20 80 50 -
ก่อนการพ่น สารครังที่ 1 34.22 34.44 34.22 35.56 35.11 32.67 33.55 8.1
ดัชนีการเกิดโรค (%) ก่อนการพ่น ก่อนการพ่น หลังพ่นสารครังสุดท้าย หลังพ่นสารครังสุดท้าย สารครังที่ 2 สารครังที่ 3 7 วัน 14 วัน 40.22 39.33 39.56 bc 38.00 ab 39.33 38.67 39.11 ab 36.67 a 40.67 39.33 39.11 ab 38.89 ab 39.33 39.11 39.48 bc 38.67 ab 40.22 38.67 38.44 a 38.67 ab 39.78 39.33 39.55 bc 39.55 b 40.00 40.22 40.22 c 40.22 b 3.2 2.7 1.4 3.1
ตัวเลขในแนวตั้งเดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดย DMRT
806
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลัง ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อาเภอสีคิ้ว จั งหวัด นครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2561) อัตรา กรรมวิธี (กรัมหรือมิลลิกรัม/นา 20 ลิตร) azoxystrobin 25% W/V SC 10 difenoconazole 25% W/V EC 20 hexaconazole 5% W/V SC 20 prochloraz 45% W/V EC 20 copper oxychloride 85% WP 80 mancozeb 80% WP 50 water (control) CV (%) 1/
ก่อนการพ่นสาร ครังที่ 1 38.00 37.78 33.56 35.33 33.11 34.22 33.38 7.9
ดัชนีการเกิดโรค (%) ก่อนการพ่นสาร ก่อนการพ่นสาร ครังที่ 2 ครังที่ 3 37.55 38.22 ab 37.56 38.00 ab 33.78 33.78 a 36.00 36.22 ab 34.66 34.66 a 37.56 37.56 ab 38.22 40.22 b 8.1 7.6
หลังพ่นสารครัง สุดท้าย 7 วัน 38.89 ab 38.22 ab 35.56 a 36.67 ab 36.00 a 37.56 ab 41.56 b 7.3
หลังพ่นสารครัง สุดท้าย 14 วัน 39.33 ab 39.56 ab 36.22 a 37.33 a 37.33 a 38.67 ab 42.89 b 6.0
ตัวเลขในแนวตั้งเดียวกันที่ตามด้วยอักษรเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดย DMRT
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
807
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
มิ ลลิลิตร/น้ า 20 ลิตร และ mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม /น้า 20 ลิตร มี ดัชนีก ารเกิ ดโรค 38.22, 38.00, 36.22 และ 37.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้าเปล่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ หลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 วัน กรรมวิธีพ่นสาร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร มีดัชนีก ารเกิ ดโรค 35.56 และ 36.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า ที่มีดัชนี การเกิดโรค 41.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิ ลลิลิตร/น้ า 20 ลิตร และ mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม /น้า 20 ลิตร มี ดัชนีก ารเกิ ดโรค 38.89, 38.22, 36.67 และ 37.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้าเปล่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ หลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 14 วัน กรรมวิธีพ่นสาร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 36.22, 37.33 และ 37.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่าและ แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่า ที่มีดัชนีการเกิดโรค 42.89 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรรมวิธี พ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้า 20 ลิตร มีดัชนีการเกิดโรค 39.33, 39.56 และ 38.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ น้อยกว่ากรรมวิธีพ่นน้าเปล่าแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ จากผลการทดลองทั้ง 2 แปลง พบว่า การพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช 2 ชนิด มีดัชนีการเกิดโรคน้อย กว่ า กรรมวิ ธี ค วบคุ ม คื อ hexaconazole 5% W/V SC อั ต รา 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร และ copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร โดยมีต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช (อัตราพ่น 120 ลิตรต่อไร่) คือ 46.80 และ 278.40 บาท/ไร่ ตามลาดับ (ตารางที่ 3) และไม่มีผลกระทบของสารป้องกัน กาจัดโรคต่อมันสาปะหลัง (Phytotoxicity) ตลอดการทดลอง สรุปผลการทดอง การจัดการโรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลังด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช 6 ชนิด ได้แก่ azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร hexaconazole 5% W/V SC อั ตรา 20 มิ ล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร copper oxychloride 85% WP อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร mancozeb 80% WP อั ต รา 50 กรั ม /น้ า 20 ลิ ต ร เปรี ย บเที ย บกั บ น้ าเปล่ า พบว่ า มี ส ารป้ อ งกั น ก าจั ด โรคพื ช 2 ชนิ ด ที่ มี ประสิท ธิภาพในการป้อ งกันก าจัดโรคแอนแทรคโนสของมั นส าปะหลัง คือ hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิ ล ลิ ลิต ร/น้ า 20 ลิต ร และ copper oxychloride 85% WP อัต รา 80 กรัม /น้ า 20 ลิ ตร และ difenoconazole 25% W/V EC อั ต รา 20 มล.ต่ อ น้ า 20 ลิ ต ร ซึ่ ง มี ดั ช นี ก ารเกิ ด โรคน้ อ ยกว่ า น้ าเปล่ า
808
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
ตารางที่ 3 ต้นทุนการพ่นสารป้องกันกาจัดโรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลัง กรรมวิธี
อัตรา (กรัมหรือ มิลลิกรัม/นา 20 ลิตร)
ขนาดบรรจุ (กรัมหรือ มิลลิกรัม)
ราคา/บรรจุ ภัณฑ์a (บาท)
ต้นทุน (บาท/นา 20 ลิตร)
ต้นทุน (บาท/ไร่)b
azoxystrobin 25% W/V SC difenoconazole 25% W/V EC hexaconazole 5% W/V SC prochloraz 45% W/V EC copper oxychloride 85% WP mancozeb 80% WP
10 20 20 20 80 50
500 500 1,000 500 1,000 1,000
2,200 1,020 390 700 580 350
44.00 40.80 7.80 28.00 46.40 17.50
264.00 244.80 46.80 168.00 278.40 105.00
a b
ราคาต่อบรรจุภัณฑ์ (ในปี 2560) อัตราการใช้ 120 ลิตร/ไร่
การแนะนาการใช้สารป้องกันกาจัดโรคแต่ละชนิดแก่เกษตรกร ควรแนะนาให้ถูกอั ตรา ถูกวิธีและถูก เวลารวมทั้งควรนาตนทุนการพนสาร มาร่วมพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมีของเกษตรกร คาขอบคุณ ขอขอบคุณเพื่อ นร่วมงานทุ กท่าน เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒ นาการเกษตรนครราชสีมาที่ ให้ ความช่วยเหลือทาให้การทดลองครั้งนี้ ประสบความสาเร็จ และลุล่วงไปด้วยดี เอกสารอ้างอิง นิรนาม. 2557. เรียนรูส้ ู้ภัยเพลี้ยแป้งมันสาปะหลัง. แหล่งทีม่ า URL http://at.doa.go.th/mealybug/disease.htm. สืบค้นเมือ่ 8 มิถุนายน 2557. รังษี เจริญสถาพร และอมรรัชฏ์ คิดใจเดียว. 2550. โรคแอนแทรคโนสมันสาปะหลังและแนวทางการป้องกัน กาจัด. แหล่งทีม่ า URL http://www.doa.go.th/fcri/images/files/casava/pest/008.pdf. สืบค้น เมื่อ 6 พฤษภาคม 2559. รังษี เจริญสถาพร และอมรรัชฏ์ คิดใจเดียว. 2553. มันสาปะหลัง โรคแอนแทรคโนส. แหล่งที่มา URL https://soclaimon.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559. สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. มันสาปะหลังโรงงาน: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และ ผลผลิตต่อไร่ ปี 2561(รายจังหวัด). แหล่งที่มา URL http://www.oae.go.th/ /view/1/ตารางแสดง รายละเอียดมันสาปะหลัง/TH-TH สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562. อรพรรณ วิเศษสังข์. 2552. คู่มือการเลือกใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จากัด. กรุงเทพ. 128 หน้า. Amusa, N.A. 1998. Evaluation of cassava clones for resistance to anthracnose disease using phytotoxic metabolites of Colletotrichum gloeosporioides f.sp. manihotis and its 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
809
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
correlation with field disease reactions. Tropical Agricultural Research and Extension. (2): 116-120. Cirulii, M. and L. J. Alexander. 1966. A comparison of pathogenic isolates of Fusarium oxysporum and different sources of resistance in tomato. Phytopathology. 56: 1301-1304. Crump, A. 2009. Anthracnose. Available at URL http://ipm.ucanr.edu/PMG/PESTNOTES/pn7420.html. Accessed on 26/02/2019. de Putter, H., W. Adiyoga and J. Sugiharto. 2017. Effect of pesticide mixing on control of Anthracnose and Spodoptera exigua in shallot. Available at URL https://www.wur.nl/upload_mm/2/0/2/4cd2f6ef-4a6b-45e3-8a2e481d8d4da742_vegIMPACT%20Report%2038%20Effectiveness%20pesticide%20mixes. pdf. Accessed on 26/02/2019. Dirou, J. and G. Stovold. 2005. Fungicide management program to control mango anthracnose. Available at URL http://www.dpi.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0011/ 125876/mango-anthracnosepf19.pdf. Accessed on 9/5/2016. Fokunang, C.N., A.G.O. Dixin, T. Ikotun, E.A. Tembe, C.N. Akem and R. Asiedu. 2001. Antracnose: An economic disease of cassava in Africa. Pakistan Journal of Biological Sciences. 4(7): 920-925. Gopinatha K., N.V. Radhakrishnana,b, and J. Jayaraj. 2006. Effect of propiconazole and difenoconazole on the control of anthracnose of chilli fruits caused by Colletotrichum capsici. Available at URL https://eurekamag.com/pdf/004/004512831.pdf. Accessed on 26/02/2019. Lozano, J.C., A. Bellotti, J.A. Reyes, R. Howeler, D. Leihner and J. Doll. 1981. Field Problems in cassava. 2nd Ed. Carvajal & Co., Cali. 205 p. Moses E., J. N. Asafu-Agyei, K. Adubofour and A. Adusei. 2007. Guide to identification and control of cassava diseases. CSIR-Crops Research Institute, Ghana. 41 p. Msikita, W., B. James, E. Nnodu, J. Legg, K. Wydra and F. Ogbe. 2000. Disease Control in Cassava Farms: IPM field guide for extension agents. Cotonou, Republic of Bénin. 26 p. Suryanarayana V., Pradeep Rathod and L.C. Tippeshi. 2012. Management package for anthracnose and white mold on Jatropha curcas, a biofuel yielding tree species. Available at URL http://epubs.icar.org.in/ejournal/index.php/IPPJ. Accessed on 09/05/2016.
810
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-06
Tredway, L. and F. Wong. 2012. Managing anthracnose with fungicides. Available https://www.gcsaa.org/uploadedfiles/Course/Pests-andDiseases/Diseases/Anthracnose/Managing-anthracnose-with-fungicides.pdf. Accessed on 27/02/2019. William, M. N.M., E. R. Mbega and R. B. Mabagala. 2012. An Outbreak of Anthracnose Caused by Colletotrichum gloesporioides f.sp. manihotis in Cassava in North Western Tanzania. American Journal of Plant Sciences. 3: 596-598.
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
811
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดในการป้องกันกาจัดโรคสแคปขององุ่น ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum ในสภาพแปลงทดลอง Efficacy Test of Some Fungicides to Control Grape Scab Causing by Sphaceloma ampelinum in Field Trial พจนา ตระกูลสุขรัตน์ สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และ พรพิมล อธิปัญญาคม Photchana Trakunsukharat Suneerat Seemadua and Pornpimon Athipunyakom สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900
บทคัดย่อ อาการโรคสแคปสามารถเกิ ดได้ทุ ก ส่วนขององุ่นโดยเฉพาะส่วนที่ แตกใหม่ สาเหตุเกิ ดจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum โรคแพร่ระบาดได้ดีในสภาพร้อนชื้นที่มีฝนตกชุกขณะที่องุ่นกาลังแทงยอดอ่อน ใบอ่อน ออกดอกหรือติดผลอ่อน วิธีป้องกันกาจัดที่นิยมกันมากคือการใช้สารเคมี ดังนั้นการศึกษาเพื่อหาชนิด ของสารที่มีประสิทธิภาพ และอัตราที่เหมาะสมในการป้องกันกาจัดโรคสแคปสาหรับใช้เป็นคาแนะนาการใช้ สารที่ ถูกต้อง จึง เป็น เรื่องที่ มี ความส าคัญ ต่อกระบวนการผลิต โดยท าการทดลองระหว่างเดือนกันยายน– ตุลาคม 2561 ที่สวนองุ่นในจังหวัดสมุทรสาครและราชบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 4 ซ้า มี 8 กรรมวิธี คือพ่นด้วยสารป้องกันกาจัดโรคพืช 7 ชนิด และกรรมวิธีพ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม พ่นสารทุก 7 วัน จ านวน 4 ครั้ง เมื่ อเริ่ม พบการระบาดของโรค ผลการทดลองทั้ง 2 แปลงเป็นไปในทิศทางเดียวกั น คือ กรรมวิธีพ่นด้วย chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร, difenoconazole 25% W/V EC อัต รา 10 มิ ล ลิ ลิ ตร/น้ า 20 ลิ ตร และ pyraclostrobin 25% W/V SC อัต รา 20 มิ ล ลิลิ ตร/น้ า 20 ลิ ต ร ประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคดีที่สุด ซึ่งสารที่มีต้นทุนการใช้ที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสารทั้ง 3 ชนิด คือ chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร ในการทดลองครั้งนี้ไม่พบความเป็นพิษ ของสารทดลองต่อพืช คาสาคัญ : การควบคุมโรคด้วยสารเคมี สแคปองุ่น สารป้องกันกาจัดเชื้อรา ABSTRACT Scab symptoms appear on many parts of grape plants especially young parts. Fungus Sphaceloma ampelinum is the causing agent. It attacks and causes severe damage during developing period of new shoots and leave, flower forming and new fruit producing. Warm and wet climate in rainy duration is favored environmental condition to disease dispread. Most control method is chemical application. Therefore, the use of effective 812
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
fungicides and appropriate rate should be studied and tested to control disease in field trial condition and use as a beneficial recommendation for control this disease. The efficacy tests were done during September–October 2019 in vineyard in Samutsakorn and Ratchaburi province with RCB design of 4 replication and 8 treatments (7 fungicides and water spraying as control) by spraying every 7 days for 4 times when the beginning of disease dispread. The experiment showed the best effective results are chlorothalonil 7 5 % WP (2 0 g/2 0 L of water), difenoconazole 25% W/V EC (10 ml/20 L of water) and pyraclostrobin 25% W/V SC (2 0 ml/ 2 0 L of water). To compare application cost of 3 fungicides use, the least cost spraying was spray treatment with chlorothalonil 7 5 % WP (20 g/20 L of water). No phototoxicity to plants could be found in this experiment. Keywords: chemical control, grape scab, fungicide คานา ปัญหาของการปลูกองุ่นคือโรคพืช จัดเป็นศัตรูพืชที่มีความสาคัญ ก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ โรคพืชสามารถทาความเสียหายแก่พืชปลูก ตั้งแต่ระยะเริ่มเพาะปลูกจนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ต้องรับประทานผลสด เช่ น องุ่น เป็นต้น โรคที่สาคัญในการปลูกองุ่นคือ โรคราน้าค้าง โรคราแป้ง โรคสแคบ และโรคแอนแทรคโนส (สุชาติและคณะ, 2545) โรคสแคป (scab) เป็ น โรคที่ ท าความ เสียหายให้กับองุ่นอย่างมากโรคหนึ่ง มี เชื้อรา Sphaceloma ampelinum de Bary เป็นเชื้อสาเหตุโรค เดิม มีรายงานว่าสาเหตุ เกิดจากเชื้อ Gloeosporium ampelophagum (Pass.) Sacc. (หรือ Colletotrichum gloeosporioides Penz. Sacc. ในปั จ จุ บั น ) ต่ อ มาพบว่ า เชื้ อ สาเหตุ ที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ เชื้ อ S. ampelinum (กรรณิการ์และคณะ, 2537) วงจรการเกิดโรคเริ่มจากเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อราสาเหตุโรคที่พัก ตัวอยู่ข้ามฤดูตามแผลในกิ่งก้านขององุ่น จะสร้างสปอร์ขยายพันธุ์เรียกว่า conidia ฝังตัวเจริญเข้าทาลายพืชใน ระยะแตกใบอ่อนกิ่งอ่อนหรือผลอ่อน ก่อนสร้างส่วนขยายพันธุ์ หรือ fruiting body อยู่ใต้เซลพืชผลิตสปอร์ ขยายพันธุ์ที่เรียกว่า ascospore ที่สามารถแพร่ระจายไปทาลายพืชส่วนอื่นได้โดยฝน น้า ลม ทาให้เกิดแผลจุด สีน้าตาล แห้ง แข็ง ยุบตัว เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงหดตัว เมื่ออาการรุนแรงแผลจะแห้งแตกและเชื่อมต่อกัน เป็นแผลขนาดใหญ่ตามส่วนต่างๆ ของพื ช (Agrios, 2005) (ภาพที่ 1) โรคสแคปแพร่ระบาดได้ดีในสภาพ อากาศร้อนชื้น (พฤษภาคม–ตุลาคม) โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนเป็นฤดูฝน สภาพอากาศที่มีฝนตกปรอยๆ หรือมีน้าค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อและการแพร่ระบาดของโรค อาการเริ่มตั้งแต่ระยะ ใบอ่อนโดยพบจุดแผลสีน้าตาลอ่อนขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วใบ ทาให้ใบอ่อนหงิกงอ ก่อนแผลจะลุกลามเป็น แผลขนาดใหญ่ เนื้อใบบริเวณเกิดแผลจะแห้งและเป็นรูพรุน ซึ่งคล้ายกับอาการโรคแอนแทรคโนสมาก อาการ ของทั้งสองโรคจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนที่ผล โดยมักพบการเข้าทาลายที่ผลอ่อนอายุผลไม่เกิน 60–70 วัน เห็นเป็นแผลจุดสีดายุบตัวลงจนขอบแผลนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน เมื่อแผลขนายใหญ่ขอบแผลมีสีอ่อนกว่าตรง
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
813
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
กลางแผล การเข้าทาลายที่ยอดและเถาทาให้ยอดอ่อนเน่าดา เถาอ่อนและมือเกาะมีแผลสีน้าตาลดายุบตัวลง เล็กน้อยมีขอบนูน เถาบิดเบี้ยว (กรรณิการ์, 2547; สุชาติและคณะ, 2545) เนื่องจากองุ่นมีการปลูกเป็นแปลงใหญ่และมีอายุเก็บเกี่ยวหลายปี ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ โรค เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นจึงนิยมใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชเป็นหลัก ดังนั้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้สาร ป้องกันกาจัดโรคพืชโรคสแคปขององุ่นในสภาพแปลงทดลอง จึงเป็นเรื่องที่มีความสาคัญต่อกระบวนการปลูก องุ่น เพื่อใช้เป็นคาแนะนาให้เกษตรกรชาวสวนองุ่นในการเลือกชนิดสารที่มปี ระสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสม มาใช้ในการป้องกันกาจัดโรคในสภาพพื้นที่ปลูกจริง เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานออกสู่ ตลาด เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผูป้ ลูกได้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น และลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายทีเ่ กิดจาก การใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชผิดประเภท อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. แปลงองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา 2. อุปกรณ์การตรวจประเมินโรค เช่น สมุดบันทึก ปากกา กล้องถ่ายภาพ 3. อุปกรณ์พ่นสาร เช่น ถังผสมสาร ถังพ่นสารสะพายหลังที่ควบคุมแรงดันได้ ถุงมือ ฯลฯ 4. สารป้องกั นกาจัดโรคพื ช จานวน 7 ชนิด คือ azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC, chlorothalonil 75% WP, difenoconazole 25% W/V EC, mancozeb 80 % WP, propineb 70% WP, pyraclostrobin 25% W/V SC และ trifloxystrobin 50% WG 5. อุปกรณ์บันทึกผล เช่น กล้องถ่ายรูป สมุดบันทึก ปากกา วิธีการ การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จานวน 4 ซ้า มี 8 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นด้วย azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC อัตรา 5 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 พ่นด้วย chlorothalonil 75% WP อัตรา 10 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 พ่นด้วย difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 พ่นด้วย mancozeb 80 % WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 พ่นด้วย propineb 70% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 พ่นด้วย pyraclostrobin 25% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่นด้วย trifloxystrobin 50% WG อัตรา 5 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 8 พ่นด้วยน้าเปล่า เป็นกรรมวิธีควบคุม 814
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ดาเนินการในแปลงองุ่นของเกษตรกรระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2561 แบ่งเป็นแปลงทดลอง ย่อย ขนาด 3.5x3.5 ตารางเมตร (รวมระยะทรงพุ่ม) แต่ละแปลงย่อยห่างกัน 1 เมตร ดูแลรักษา ให้น้า ปุ๋ย ตามวิธีปฏิบัติของเกษตรกร พ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรคตามกรรมวิธีที่กาหนด ด้วยถังพ่นสารที่สามารถวัดแรงดันและสามารถแพร่กระจายน้าได้อย่างสม่าเสมอ โดยพ่นสารทดลองทุก 7 วัน จานวน 4 ครั้ง การพ่นสารทดลองทุกชนิดต้องใช้ปริมาณน้าเท่ากันทุกแปลงทดลองย่อย การให้ปุ๋ยและการใช้ สารป้องกันกาจัดศัตรูพืชอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมายจะต้องใช้กับทุกแปลงทดลองย่อยเช่นเดียวกัน การประเมินความรุนแรงของโรค ประเมินความรุนแรงของโรคก่อนพ่นสารทดลองทุกครั้ง และหลังจากพ่นสารทดสอบครั้งสุดท้าย 7 และ 14 วัน รวม 6 ครั้ง การประเมินครั้งแรกให้ประเมินจากใบทุกใบ หลังจากพ่นสารทดลองแล้วให้ประเมิน บนใบที่ 3 – 8 จากยอดลงมา จานวน 20 ยอดที่สุ่มเลือกไว้ต่อแปลงย่อย ประเมินแต่ละใบในยอดแล้วนามาหา ค่าเฉลี่ยต่อซ้า แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 6 ระดับ (ดัดแปลงจากวิธีการให้คะแนนของ James (1971) ดังนี้ ระดับ 1 ใบไม่ปรากฏอาการของโรค ระดับ 2 ใบปรากฏอาการของโรค 1–10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 3 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 10–25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 4 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 25–50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 5 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 50–75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ระดับ 6 ใบปรากฏอาการของโรคมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ การบันทึกผล สรุป และเขียนรายงาน บันทึ ก ระดับ ความรุนแรงของโรค แล้วนาข้อมูล ที่ ได้ไปวิเคราะห์ผ ลทางสถิติ ด้วยวิธี Analysis of Variance และเปรียบเที ยบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย แต่ล ะกรรมวิธีโดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผลและวิจารณ์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช แปลงทดลองที่ 1 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตาบลเจ็ดริ้ว อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ตารางที่ 1) ก่อนพ่นสารทดลองครั้งที่ 1 ประเมินระดับความรุนแรงของโรคสแคปพบว่า ทุกกรรมวิธีมีระดับความ รุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน ระหว่างพ่นสารทดลอง พบว่าหลังพ่นสารทดลองไปแล้ว 2 ครั้ง มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับการ เกิดโรค โดยกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธีมีค่าเฉลี่ยที่ประเมินได้แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมพ่น 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
815
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
น้าเปล่าที่มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุด แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างกรรมวิธีพ่นสารทดลองแต่ละ กรรมวิธี ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นพืชในกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า แผลบนใบเริ่มขยายขนาดเชื่อมกัน เป็นแผลขนาดใหญ่ และเกิดจุดแผลใหม่ทั้งบนใบเก่าและใบที่เกิดใหม่ หลังพ่นสารทดลอง กรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่ามีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้สูง ที่ สุ ด และแตกต่ างอย่างมี นั ยส าคัญ ทางสถิ ติกั บ กรรมวิธีพ่ น สารทดลองทุ ก กรรมวิธี โดยกรรมวิธีพ่ นสาร chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคน้อยที่สุด รองมา คือ กรรมวิธีพ่ นสาร difenoconazole 25% W/V EC อัต รา 10 มิ ล ลิ ลิต ร/น้ า 20 ลิ ตร กรรมวิธี พ่ น สาร pyraclostrobin 25% W/V SCอัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นสาร mancozeb 80 % WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตรตามลาดับ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นพืชที่สังเกตได้มีความแตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดเจนระหว่างกรรมวิธีพ่นสารทดลองและกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่าที่ใบมีแผลจุดที่ขยายรวมกันเป็น แผลขนาดใหญ่จนทาให้ใบบิดงอผิดรูป ยอดต้นพืชมีอาการหงิกงอและไม่เจริญต่อ ยอดและใบอ่อนที่แตกใหม่มี อาการไหม้ตาย มีแผลจุดแข็งเกิดขึ้นกับส่วนที่เป็นมือเกาะ และพบจุดแผลจานวนมากบนใบที่แตกใหม่ ส่วน กรรมวิธีพ่นสารที่มีความรุนแรงของโรคน้อย ไม่พบแผลจุดหรือเกิดแผลจุด เพียงเล็กน้อยบนใบที่แตกใหม่ เมื่อ เทียบกับกรรมวิธีพ่นสารที่มีความรุนแรงของโรคมากกว่า แปลงทดลองที่ 2 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตาบลบ้านไร่ อาเภอดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (ตารางที่ 2) ก่อนพ่นสารทดลอง ประเมินระดับความรุนแรงของโรคสแคปพบว่า ทุกกรรมวิธีมีระดับความรุนแรง ของโรคไม่แตกต่างกัน ระหว่างพ่ นสารทดลอง พบว่าเริ่ม พบว่ามี ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับ การเกิ ดโรคของแต่ล ะ กรรมวิธีทดลองหลังพ่นสารทดลองไปแล้ว 3 ครั้ง โดยกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธีมีค่าเฉลี่ ยที่ประเมินได้ แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่าที่มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคมากที่สุด และมีแตกต่าง กันระหว่างกรรมวิธีพ่นสารทดลองแต่ละกรรมวิธี หลังพ่นสารทดลอง กรรมวิธีควบคุมไม่พ่นสารมีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้สูงที่สุด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธี โดยกรรมวิธีพ่นสาร pyraclostrobin 25% W/V SC อัตรา 20 มิ ลลิลิตร/น้า 20 ลิตร มี ค่าเฉลี่ยระดับ ความรุนแรงของโรคน้อย ที่ สุด รองมาคือ กรรมวิธีพ่ นสาร difenoconazole 25% W/V EC อัต รา 10 มิ ล ลิลิต ร/น้ า 20 ลิ ตร และ กรรมวิธีพ่นด้วย chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม /น้า 20 ลิตร แต่ไม่มี ความแตกต่างกั นทางสถิติ ระหว่างค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรคที่ประเมินได้จากกรรมวิธีพ่นสารทดลองทั้ง 3 ชนิด ผลการทดลองที่ ได้ตรงกับคาแนะนาชนิดสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคสแคปขององุ่น คือ pyraclostrobin 25% W/V SC (อรพรรณ, 2552) และสารเคมีในกลุ่มไตรอาโซล เช่น ไดฟีโนโคนาโซล เป็น ต้น (สุชาติ และคณะ, 2545)
816
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
สภาพต้นพืชจากแปลงทดลองทั้ง 2 สถานที่มีลักษณะเหมือนกันคือ ต้นองุ่นที่อยู่ในกรรมวิธีควบคุมพ่น น้าเปล่ามีสภาพต้นอ่อนแอ และเสียหายจากโรคสแคปมาก โดยมีแผลเก่าและแผลใหม่เกิดขึ้นจานวนมากบนใบ ตามกิ่งก้านและมือเกาะเกิดแผลสะเก็ดแห้งแข็ง แผลขยายขนาดอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นแผลขนาดใหญ่สี น้าตาลเข้มถึงดา มีการแตกใบใหม่ยอดใหม่น้อยมาก ยอดอ่อนหรือใบใหม่ที่แตกออกมาเกิดแผลใหม่จานวน มาก ยอดสั้นกุดเป็นแผลเน่าเป็นสีน้าตาล ใบแห้งเหี่ยว หลุดร่วงจากยอด เกิดแผลสีน้าตาลเข้มขอบแผลสีเข้ม จานวนมากบนผลองุ่น แผลขยายขนาดและลุกลามไปผลย่อยอื่นในช่อเดียวกันอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ต้นองุ่นที่ ได้รับการพ่นสารทดลอง มีสภาพต้นดีกว่า ความเสียหายจากโรคบนใบและยอดน้อยกว่า โดยเฉพาะต้นที่อยู่ใน กรรมวิ ธี ใ ช้ ส ารทั้ ง 3 ชนิ ด คื อ pyraclostrobin 25% W/V SC difenoconazole 25% W/V EC และ chlorothalonil 75% WP พ่นเพื่อป้องกันกาจัดโรค แผลที่เกิดก่อนหน้าแห้งไม่มีการขยายขนาด ยอดและใบ ใหม่ที่แตกออกมาเกิดแผลใหม่เพียงเล็กน้อยหรือไม่พบจุดแผลใหม่เลย ในแปลงทดลองที่ 2 อาการโรคสแคปที่ เกิดกับพืชในแปลงทดลองที่ 1 มีความรุนแรงมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากแปลงทดลองที่ 2 ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่บ ริเวณ โดยรอบที่มีต้นไม้สูงรอบแปลงทดลอง และระหว่างดาเนินการทดลองมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทาให้การ ถ่ายเทอากาศไม่ดี มีความชื้นสะสมในแปลงมาก โรคจึงระบาดรุนแรงมากกว่าแปลงทดลองที่ 1 (ภาพที่ 2) ในการทดลองครั้งนี้ไม่พบความเป็นพิษของสารทดลองทุกชนิดต่อพืชปลูก เปรียบเทียบต้นทุนต่อไร่ของสารป้องกันกาจัดโรคพืชแต่ละชนิด ในการทดลองครั้งนี้ พื้นที่แปลงย่อยมีขนาด 12.25 ตารางเมตร (3.5x3.5) (รวมระยะทรงพุ่ม) จานวน ซ้าที่ทดลองคือ 4 ซ้า คิดเป็นพื้นที่ 49 ตารางเมตร ปริมาตรน้าที่ใช้ผสมสารพ่นในพื้นที่คือ 4 ลิตร หรือพ่นใน พื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) คิดเป็นปริมาตร 130.61 ลิตร สารป้องกันกาจัดโรคพืชทีม่ ีต้นทุนเฉลีย่ ของการ พ่นสารน้อยที่ สุดคือ propineb 70% WP รองลงมาคือ azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC, chlorothalonil 7 5 %WP, mancozeb 80 % WP, difenoconazole 25% W/V EC, trifloxystrobin 50% WG และ pyraclostrobin 25% W/V SC โดยมีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ในการพ่นสารจานวน ทั้งหมด 4 ครั้งอยู่ที่ 240, 324, 392, 397, 627, 718 และ 1,630 บาทต่อไร่ ตามล าดับ เมื่อเปรียบเที ยบ ระหว่างสารป้องกันกาจัดโรคพืช 3 ชนิดแรกที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกาจัดโรคสแคป ขององุ่นจาก ผลการทดลองคือ chlorothalonil 75% WP, difenoconazole 25% W/V EC และ pyraclostrobin 25% W/V SC สารที่มีต้นทุนพ่นสารน้อยที่สุดคือ chlorothalonil 75%WP (ตารางที่ 3) สรุปผลการทดลองและคาแนะนา การทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชบางชนิดในการป้องกันกาจัด โรคสแคปขององุ่นที่ มีส าเหตุจ ากเชื้อ รา Sphaceloma ampelinum de Bary ดาเนินการทดลองระหว่าง เดือนกันยายน–ตุลาคม 2561 จานวน 2 แปลง คือที่ ตาบลเจ็ดริ้ว อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และ ตาบลบ้านไร่ อาเภอดาเนินสะดวก จัง หวัดราชบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 4 ซ้ามี 8 กรรมวิธี คือกรรมวิธีพ่นสารทดลอง จานวน 7 ชนิดและกรรมวิธีพ่นน้าเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองทั้งสอง 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
817
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
แปลงทดลองให้ผลสอดคล้องกัน โดยกรรมวิธีพ่นสารทดลองทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัด โรคสแคปขององุ่นดีกว่าอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมพ่นน้าเปล่า และสารป้องกันกาจัดโรคพืช ที่มีประสิทธิภาพควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและสภาพความสมบูรณ์ของต้นพืชดีที่สุดจากการทดลองทั้ง สองแปลง คือ chlorothalonil 75% WP อัตรา 20 กรัม /น้า 20 ลิตร, difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ pyraclostrobin 25% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ สารที่มีต้นทุนการใช้ที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสารทั้ง 3 ชนิด คือ chlorothalonil 75% WP คาขอบคุณ ขอขอบคุณ คุณ จ าลอง เกลี้ยงมะ และคุณนุชิต รุ่งเรืองสิ ทธิโชค ที่ ให้ความอนุเคราะห์ ต้นองุ่นเพื่อ ทางานทดลอง เอกสารอ้างอิง กรรณิการ์ (ลาชโรจน์) เพี้ยนพักตร์. 2547. Sphaceloma spp. สาเหตุโรคสแคปของพืชต่างๆ ในประเทศ ไทย. หจก. ฟันนี่ พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ. 74 น. กรรณิการ์ เพี้ยนพักตร์ วิรัช ชุบารุง อุบล คือประโคน และ อภิรัชต์ สมฤทธิ์. 2537. โรคสแคบในประเทศ ไทย. หน้า 180-189 ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ครั้งที่ 32 สาขาพืช 3-5 กุมภาพันธ์ 2537. กรุงเทพฯ. 676 น. สุชาติ วิจิตรานนท์ แสงมณี ชิงดวง และเตือนใจ บุญหลง. 2545. โรคไม้ผล. โรงพิมพ์คุรสุ ภาลาดพร้าว. กรุงเทพฯ. 120 น. อรพรรณ วิเศษสังข์. 2552. คู่มือการเลือกใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่ง ประเทศไทย จากัด. กรุงเทพฯ. 128 น. Agrios, G.N. 2005. Plant Pathology. 5th ed. Elvesier-Academic Press. New York. 922 p. James, WC. 1971. A Manual of Assessment Keys for Plant Diseases. The American Phytopathological Society. St. Paul MN 55121 USA. 54 p.
818
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 7 ชนิด ในการควบคุมโรคสแคปขององุ่นสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum de Bary แปลงทดลองที่ 1 ตาบลเจ็ดริ้ว อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2561 กรรมวิธีพ่นสาร 1. azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC 2. chlorothalonil 75%WP 3. difenoconazole 25% W/V EC 4. mancozeb 80 % WP 5. propineb 70% WP 6. pyraclostrobin 25% W/V SC 7. trifloxystrobin 50% WG 8. พ่นน้าเปล่า (ควบคุม) F-test2/ cv (%) 1/ 2/
ครั้งที่ 1 1.838
ระดับความรุนแรงของโรค 1/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 1.813 1.925 a 1.825 a
1.838 1.825 1.875 1.900 1.900 1.868 1.875
1.825 1.925 1.900 1.913 2.000 2.015 1.987
4.48
5.75
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 5 10 10 40 20 20 5
1.732 a 1.800 a 1.913 a 1.905 a 1.910 a 1.937 a 2.688 b ** 7.57
1.775 a 1.712 a 1.887 a 1.800 a 1.675 a 1.788 a 3.038 b ** 10.67
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 1.750 ab 1.775 ab 1.450 a 1.400 a 1.812 ab 1.912 b 1.675 ab 1.612 ab 3.400 c ** 14.69
1.600 a 1.650 a 1.837 ab 1.950 b 1.687 a 1.962 b 3.612 c ** 7.85
ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
819
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืช 7 ชนิด ในการควบคุมโรคสแคปขององุ่นสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum de Bary แปลงทดลองที่ 2 ตาบลบ้านไร่ อาเภอดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2561 กรรมวิธีพ่นสาร 1. azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC 2. chlorothalonil 75%WP 3. difenoconazole 25% W/V EC 4. mancozeb 80 % WP 5. propineb 70% WP 6. pyraclostrobin 25% W/V SC 7. trifloxystrobin 50% WG 8. พ่นน้าเปล่า (ควบคุม) F-test2/ cv (%) 1/ 2/
อัตราผสมต่อ น้า 20 ลิตร 5 10 10 40 20 20 5
ครั้งที่ 1 2.038 2.075 2.125 2.000 2.113 2.013 2.038 2.050 4.46
ระดับความรุนแรงของโรค 1/ ก่อนพ่นสารทดลอง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 2.287 a 2.588 a 2.662 bc
หลังพ่นสารครัง้ สุดท้าย 7 วัน 14 วัน 2.463 b 2.313 b
2.287 a 2.225 a 2.325 a 2.413 ab 2.150 a 2.313 a 2.625 b * 8.31
1.875 a 1.800 a 2.200 b 2.325 b 1.763 a 2.250 b 3.787 c ** 7.87
ค่าเฉลี่ยที่กากับด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมน์เดียวกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี DMRT * ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ** ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ
820
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
2.425 a 2.313 a 2.388 a 2.625 a 2.363 a 2.688 a 3.163 b ** 8.79
2.450 ab 2.375 a 2.563 abc 2.612 bc 2.350 a 2.750 c 3.513 d ** 5.58
1.888 a 1.862 a 2.338 b 2.625 c 1.800 a 2.325 b 3.925 d ** 7.51
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุนของกรรมวิธีพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืช 7 ชนิด ในการควบคุมโรคสแคปขององุ่นสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum de Bary ระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2561 กรรมวิธีพ่นสาร 1. azoxystrobin + difenoconazole 20%+12.5% W/V SC 2. chlorothalonil 75%WP 3. difenoconazole 25% W/V EC 4. mancozeb 80 % WP 5. propineb 70% WP 6. pyraclostrobin 25% W/V SC 7. trifloxystrobin 50% WG
ขนาดบรรจุ 250 มล.
ราคาต่อแพค (บาท) 1/ 620
อัตราสารทีผ่ สม (ต่อน้า 20 ลิตร) 5
100 มล. 250 มล. 1,000 กรัม 1,000 กรัม 250 มล. 100 กรัม
150 600 380 460 780 550
10 10 40 20 20 5
ราคา (บาทต่อลิตร) 0.62
ราคาต่อไร่ (บาท) 2/, 3/ 324
0.75 1.20 0.76 0.46 3.12 1.38
392 627 397 240 1,630 718
1/
ราคาขาย ณ เดือน กรกฎาคม 2561 ปริมาณน้าที่พ่นต่อพื้นที่ 3.5 x 3.5 ตร.ม. (รวมระยะทรงพุ่ม) จานวน 4 ซ้า คิดเป็น 49 ตารางเมตร คือ 4 ลิตร = พื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) ใช้น้า 130.61 ลิตร 3/ จานวนครั้งที่พ่นสารในการทดลอง คือ 4 ครั้ง 2/
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
821
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ภาพที่ 1 Disease cycle of Grape Scab (revised from Agrios, 2005)
822
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-07
ภาพที่ 2 ยอดองุ่นแตกใหม่ไม่เป็นโรคจากกรรมวิธีพ่นสารที่มีประสิทธิภาพ เปรียบเทียบกับยอดองุ่น ที่เป็นโรคสแคปและอาการโรคที่พบตามส่วนต่างๆ ของต้นองุ่น และแปลงทดลองที่ 1 อยูท่ ี่ ตาบลเจ็ดริ้ว อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ซ้าย) และแปลงที่ 2 อยูท่ ี่ตาบลบ้านไร่ อาเภอดาเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (ขวา)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
823
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
การควบคุมเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีทตี่ ้านทานต่อ สารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมโดยใช้เชื้อปฏิปักษ์แอกติโนไมซีส Control of Carbendazim-resistant Pestalotiopsis sp. Causing of Strawberry Leaf Blight Using Antagonistic Actinomycetes วรุตม์ ใจปิน ธีรนัย โพธิ และ สรัญยา วัลยะเสวี* Waroot Jaipin Teeranai Poti and Sarunya Valyasevi ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 Department of Entomology and Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200 * Correspondent author: Sarunyav@gmail.com
บทคัดย่อ สารป้อ งกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม จัดเป็นสารในกลุ่ม methyl benzimidazole carbamates (MBCs) ที่มีการนามาใช้ในการป้องกันกาจัดโรคพืชที่หลากหลาย การลดลงของประสิทธิภาพของสารป้องกัน กาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม ในการควบคุม โรคพืชจัดเป็นปัญ หาหนึ่งที่ สาคัญ ในการเกษตร การศึก ษานี้จึง มี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้านทานของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุของโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี ต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม และทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีส ที่แยกจากตัวอย่าง ดินจากอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย จานวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ในยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. จากการประเมินความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อรา พบว่า เชื้อรา Pestalotiopsis sp. ทุกไอโซเลทจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้านทานต่อสารป้องกั นกาจัดเชื้อราคาร์เบน ดาซิม ระดับสูง (highly resistance; HR) เมื่ อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีส ในการยับ ยั้งการ เจริญเส้นใยของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ด้วยวิธี dual culture พบว่า เชื้อแอกติโนไมซีสมีประสิทธิ ภาพ ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราอยู่ในช่วง 74.35-86.66% นอกจากนี้พบว่าอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไม ซีสที่ไม่กรองเชื้อออก (non filtrated culture; NF) และอาหารเหลวเลี้ยงเชื้ อแอกติโนไมซีสที่กรองเอาเชื้อ ออก (filtrated culture; F) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา Pestalotiopsis sp. และมี ผลชะลอการงอกของ germ tube โดยมีประสิทธิภาพเด่นชัดในช่วงต้นของการทดสอบ อย่างไรก็ตามอาหาร ชนิด NF มีประสิทธิภาพสูงกว่าอาหารชนิด F ในทุกช่วงเวลาของการทดสอบ คาสาคัญ : สตรอเบอรี Pestalotiopsis คาร์เบนดาซิม ความต้านทาน แอกติโนไมซีส ABSTRACT Carbendazim, a member of methyl benzimidazole carbamate fungicides (MBCs), have been wildly used to control several plant diseases. The reduction of carbendazim efficiency 824
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
to control the plant disease has been considered as a major problem in agriculture. This study aimed to determine carbendazim-resistant Pestalotiopsis sp. causing strawberry leaf blight and test the efficiency of six actinomycetes, NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5, and NSP6, isolated from the Doi Suthep-Pui National Park to control Pestalotiopsis sp. From the determination of the carbendazim resistance, all isolates of Pestalotiopsis sp. are classified to highly resistant to carbendazim (HR). Testing the efficiency of actinomycetes to control the mycelial growth of Pestalotiopsis sp. by dual culture method found that actinomycetes have control efficiency range from 74.35-86.66%. Furthermore, the non-filtrated culture (NF) and filtrated culture (F) showed spore germinating inhibition and effected to germ tube length by delaying germ tube germination with outstanding efficiency at the beginning of the test. However, NF culture showed higher efficiency than F culture at every time of the test. Keywords: strawberry, Pestalotiopsis, carbendazim, resistance, actinomycetes คานา สตรอเบอรีจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากทั่วโลก ตั้งแต่แถบขั้วโลกลง มาถึงพื้นที่ในเขตร้อน (ณรงค์ชัย, 2543) ผลสตรอเบอรีนอกจากใช้รับประทานผลสดแล้วยังสามารถแปรรูปใน เชิงอุตสาหกรรม เช่น แยม ไวน์ สตรอเบอรีอบแห้ง นอกจากนี้ผลสตรอเบอรียังมี คุณสมบัติเป็นสมุ นไพร เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิ นซี และธาตุเหล็ก มีป ระโยชน์ต่อระบบเลือดและหัวใจ ผลสีแดงสดอุดมไปด้วย ซุปเปอร์ไฟเบอร์เพคติน ซึ่งช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอลได้ระดับหนึ่ง และยังช่วยให้ระบบทางเดินอาหาร ทางานได้สะดวก มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ อีกทั้งยังมีสารโพลีฟีนอลสูงที่สามารถยับยั้งสารก่อมะเร็งใน กลุ่มไนโตรซามีนได้ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2541) สาหรับในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรีส่วนใหญ่อยู่ ทางภาคเหนื อ เช่ น บางอ าเภอในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และเชี ย งราย และพื้ น ที่ ในบ างจั ง หวั ด ของภาค ตะวัน ออกเฉี ยงเหนื อ เช่น จัง หวัด เลย และเพชรบู ร ณ์ ประเทศไทยมี ก ารส่ง ออกผลสตรอเบอรี ในเชิ ง อุตสาหกรรมไปยังต่างประเทศ และสามารถทารายได้หลายร้อยล้านบาทต่อปี (ณรงค์ชัย, 2543) การปลูกสต รอเบอรีมักประสบปัญ หาเรื่ องโรคและแมลงเข้าทาลายหลายชนิดด้วยกัน โรคที่มีความสาคัญ เช่น โรคแอน แทรคโนส โรครากเน่าและโคนเน่า โรคใบจุดใบไหม้ และโรคผลเน่า เป็นต้น (ชูพงษ์, 2530) โรคใบไหม้ เป็น โรคที่มีความสาคัญอีกโรคหนึ่งที่ทาความเสียหายแก่ต้นสตรอเบอรี และผลผลิตสตรอเบอรี ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจ (Plakidas, 1964) การควบคุมโรคใบไหม้โดยมากมักใช้สารเคมีในการกาจัดเชื้อ ราเป็นหลัก ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการบันทึกการใช้สารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราส่วนมาก 8 ชนิด ได้แก่ thiophanate-methyl, fluazinam, chlorothalonil, bitertanol, copper hydroxide, difenoconazole, mancozeb และ azoxystrobin (Shin et al., 2000) การใช้ส ารเคมี ที่ มี ก ลไกในการออกฤทธิ์เหมื อ นกั น ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะสามารถชักนาให้เชื้อราสาเหตุมีการปรับตัวกลายเป็นเชื้อที่ทนทานต่อสารเคมี ที่ใช้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ทาให้สารเคมีชนิดนั้นไม่สามารถควบคุมโรคได้อีก 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
825
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
ต่อไป (ธรรมศักดิ์, 2543) ดังนั้นการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้สารเคมีใน การควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านมลภาวะในสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมี ดังนั้น การทดลองในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิ นความต้านทานต่องสารป้องกั นกาจัดเชื้อราคาร์เบน ดาซิมของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี และทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอก ติโนไมซีสในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรค เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดการใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราทาง การเกษตรและลดความเสี่ยงของการเกิดการต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราของเชื้อราสาเหตุโรคพืชใน อนาคต อุปกรณ์และวิธีการ การเก็บรวบรวม และการแยกเชื้อรา Pestalotiopsis sp. เก็บรวบรวมตัวอย่างต้นสตรอเบอรีที่แสดงอาการโรคใบไหม้จากแหล่งปลูกสตรอเบอรี 3 แหล่ง ได้แก่ อาเภอสะเมิง อาเภอแม่ริม และอาเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยแยกเชื้อราสาเหตุจากต้นสตรอเบอรีด้วย วิธี tissue transplanting method โดยล้างชิ้นส่วนของพืชด้วยน้าไหลผ่านเป็นเวลา 15 นาที เพื่อล้างสิ่ง ปนเปื้อนต่างๆ ออก จากนั้นตัดชิ้นพืชบริเวณแผลกับเนื้อเยื่อปกติให้มีขนาดประมาณ 3 x 3 mm นาไปฆ่าเชื้อ ที่ผิวภายนอกด้วยการแช่ชิ้นส่วนพืชในสารละลาย 10% Clorox (sodium hypochlorite) เป็นเวลา 3 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ากลั่นฆ่าเชื้อ 2-3 ครั้ง แล้วซับให้แห้งด้วยกระดาษกรองที่ฆ่าเชื้อแล้ว นาชิ้นพืชวางบนอาหาร เลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 3 - 4 วัน ตัดปลายเส้นใยของเชื้อมา เลี้ยงบนอาหาร PDA เมื่อเชื้อเจริญเต็มจานอาหารจึงแยกเชื้อโดยใช้เทคนิคการแยกสปอร์เดี่ยว (single spore isolation) ด้วยการเกลี่ยสปอร์แขวนลอย (spore suspension) บนอาหารเลี้ยงเชื้อ water agar (WA) บ่มที่ อุณหภูมิห้องประมาณ 7-8 ชั่วโมง และทาการใช้เข็มเขี่ยเชื้อตัดสปอร์เดี่ยวที่กาลังงอกย้ายไปเลี้ยงบนอาหาร เลี้ยงเชื้อ PDA และเก็บรักษาเชื้อบนอาหารเอียง (PDA slant) เพื่อใช้ในการทดลองในขั้นตอนต่อไป การทดสอบความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม ตรวจสอบความต้านทานต่อสารป้องกั นกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. โดยเลี้ยงเชื้อราแต่ละไอโซเลทบนอาหารเลี้ ยงเชื้อ PDA ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mm เจาะบริเวณปลายเส้นใยของเชื้อรา แล้วย้ายชิ้นเชื้อราวางลงตรงกลาง จานอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ที่ผสมสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมที่ระดับความเข้นข้น 0.1, 1, 10, 100, 500 และ 1,000 µg/ml ตามลาดับ เปรียบเทียบกับการเจริญของเส้นในของเชื้อราสาเหตุโรคกับชุดควบคุมที่ เลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ที่ไม่ผสมสารป้องกันกาจัดเชื้อรา carbendazim โดยทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ า บ่ ม ที่ อุ ณ หภู มิ ห้ อ ง โดยวางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) บั น ทึ ก ลักษณะโคโลนีและการเจริญของเชื้อรา แล้วจัดระดับความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม ตามเกณฑ์ การประเมิ นของ Farungsang and Farunsang (1992), Koenraadt et al. (1992) และ Peres et al. (2004) โดยแบ่งระดับความต้านทานออกเป็น 4 ระดับ (ตารางที่ 1) 826
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
ตารางที่ 1 ระดับความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม ระดับความต้านทาน ไม่ต้านทาน (S) ต้านทานระดับต่า (WR) ต้านทานระดับปานกลาง (MR) ต้านทานระดับสูง (HR) 1/ 2/
ความเข้มข้นของสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (µg/ml) 0 0.1 1 10 100 500 1000 ✓1/ ✓ ✓ -2/ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓
✓
✓
✓
✓
✓
✓
✓ หมายถึง สามารถเจริญได้มากกว่า 10% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม - หมายถึง เจริญได้น้อยกว่า 10% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม
การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา ทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสโดยประเมินจากความสามารถ ในการยับยั้งการเจริญเส้น ใยของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. โดยวิธี dual culture technique ซึ่งเชื้อแอกติโนไมซีสที่คัดเลือกมาใช้ใน การทดสอบนี้มีจานวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ซึ่งแยกได้จ ากดิน บริเวณป่าอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ใช้ไม้จิ้มฟันที่ ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วแตะผงสปอร์ของเชื้อแอกติโนไมซีส จากนั้น streak ลงบนผิวหน้าอาหาร glucose yeast malt agar (GYM) (Li-Hua et al., 1996) ความยาว 3 cm โดยห่างจากจุดศูนย์กลาง 2.5 cm โดยทาการทดลองไอโซเลทละ 3 ซ้า บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 วัน เพื่ อให้เชื้อ แอกติโนไมซีส เจริญ เติบ โต และสร้ างสารทุ ติยภูมิ เนื่องจากเชื้อแอกติโนไมซีส เจริญเติบโตช้ากว่าเชื้อราสาเหตุ จากนั้นใช้ cork borer ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mm ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เจาะบริเวณปลายเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค ทาการย้ายชิ้นวุ้นเชื้อราสาเหตุ โรคลงบนผิวหน้าอาหาร GYM ห่าง จากเชื้อแอกติโนไมซี ส 5 cm เพื่ อ ใช้เป็นชุดทดสอบ ส่วนชุดควบคุม ให้วางเชื้อราสาเหตุโรคลงบนผิวหน้า อาหาร GYM ที่ไม่มีเชื้อแอกติโนไมซีส บ่มที่อุณหภูมิห้องจนกว่าเชื้อราในชุดควบคุมจะเจริญถึงตาแหน่งที่ขีด เชื้อแอกติโนไมซีส บันทึกผลโดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีของเชื้อรา จากนั้นคานวณหาประสิทธิภาพของ เชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุ โดยคานวณหาเปอร์เซนต์การยับยั้ง จากสูคร PIRG = [(R1-R2)/R1]x100 เมื่อ R1 และ R2 คือรัสมีโคโลนีของเชื้อราชุดควบคุมและชุดทดสอบตามลาดับ การทดสอบประสิทธิภาพของอาหารเลีย้ งเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อรา เลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่เจริญบนอาหาร glucose yeast extract-malt agar (GYM) เป็นระยะเวลา 7 วั น ในอาหารเหลว enzyme production medium (EPM) ปริ ม าตร 150 ml จ านวน 15 ชิ้ น เชื้ อ (culture disc) นาไปเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 5 วัน แล้วทาการวัดค่าดูดกลืนแสง (optical density; OD) ที่ความยาวคลื่น 600 nm จากนั้นนาอาหารเหลวเลี้ยง เชื้อแอกติโนไมซีสที่ ได้ม าปั่นแยกเอาส่วนตะกอนออก ด้วยความเร็ว 6,000 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที นาส่วนใสที่ได้เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที เรียกส่วน 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
827
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
นี้ว่าอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่ไม่กรองเชื้อออก (non filtrated culture; NF) และนาอีกส่วนมาก รองด้วยชุดกรองแบคทีเรีย (minisart®) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูกระดาษกรอง 0.2 µm เรียกส่วนนี้ว่า อาหารเหลวเลี้ ย งเชื้ อ แอกติ โ นไมซี ส ที่ ก รองเอาเชื้ อ ออก (filtrated culture; F) จากนั้ น เลี้ ย งเชื้ อ รา Pestalotiopsis sp. บนอาหาร PDA เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นขูดเส้นใยลงในน้ากลั่นฆ่าเชื้อ กรองเอาเส้นใยเชื้อ ราออกจะได้ spore suspension นับจานวนสปอร์ของเชื้อราด้วย hemocytometer ให้ได้ความเข้มข้น 105 spores/ml แล้วทดสอบประสิทธิภาพของอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่ ผ่านการกรองด้วยชุดกรอง แบคทีเรีย (filtrate; F) และไม่ก รอง (non filtrate; NF) โดยนาอาหารเหลว EPM (ชุดควบคุม) และอาหาร เหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่ผา่ นการกรอง (F) และไม่กรองด้วยชุดกรองแบคทีเรีย (NF) ปริมาตร 50 µl ผสม ลงใน spore suspension ของเชื้อ ราสาเหตุป ริม าตร 50 µl เขย่าให้ส ารละลายเข้ากั นได้ดี จากนั้นจึงน า สารละลายที่ได้มาเกลี่ย (spread) บนอาหาร PDA จากนั้นตัดชิ้นอาหาร PDA ให้มีขนาด 1x1 เซนติเมตร มา วางบนกระจกสไลด์ บ่มทิ้ งไว้ที่ อุณหภูมิ ห้อ ง ประเมิ นผลโดยวัดเปอร์เซนต์ความงอก และความยาว germ tube ของสปอร์เ ชื้อ รา ที่ เ วลา 3, 6, 9, 12 และ 24 ชั่ วโมง ภายใต้ก ล้อ งจุ ล ทรรศน์ ก าลัง ขยาย400 เท่ า เปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสทั้ง 2 ชนิด ในการยับยั้งการงอกของสปอร์ เชื้อรา Pestalotiopsis sp. กับชุดควบคุม ผลและวิจารณ์ การเก็บรวบรวม และการแยกเชื้อรา Pestalotiopsis sp. การแยกเชื้ อ ราสาเหตุ โ รคใบไหม้ ข องสตรอเบอรี ในเขตจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ สามารถแ ยกเชื้ อ รา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีได้ทั้งหมด 22 ไอโซเลท ซึ่งแยกจากอาเภอสะเมิงได้ 15 ไอโซเลท (68%) อาเภอแม่ริม 2 ไอโซเลท (9%) และอาเภอแม่แจ่ม 5 ไอโซเลท (23%) ตามลาดับ ลักษณะ ทางสัณฐานวิท ยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่กาลังขยาย 100 เท่า พบว่า เชื้อรามีการสร้างโคนิเดีย (conidia) เป็นรูปกระสวย (fusiform) มี 4 septa แบ่งเป็น 5 เซลล์ โดยที่ 3 เซลล์ตรงกลางมีสีเข้ม แต่ 2 เซลล์หัว-ท้าย ไม่มีสี (ภาพ 4B) เซลล์ปลายมี apical appendage 2-5 เส้น ไม่มีสี ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของ Luan et al. (2008) โดยสามารถจัดจาแนกได้ตามหลักเกณฑ์ของ Sutton (1992) ว่าเป็นเชื้อรา Pestalotiopsis sp. การทดสอบความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม จากการทดสอบความต้านทานของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ ของสตรอเบอรี จานวน 22 ไอโซเลท ต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม พบว่าเชื้อราทั้ง 22 ไอโซเลทสามารถเจริญได้ บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมที่ระดับความเข้มข้น 500 µg/ml และจัดอยู่ใน กลุ่มที่มีความต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมในระดับสูง (HR) (ภาพที่ 1, ตารางที่ 2)
828
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
100
control
500
0.1
100
1,000 µg/ml
1
500
PPA-08
A
10
1,000 µg/ml
B
ภาพที่ 1 ลักษณะของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ไอโซเลท PBL6 สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีทเี่ จริญบน อาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ทีผ่ สมสารป้องกันกาจัดเชื้อราในความเข้มข้นต่างๆ ตารางที่ 2 การประเมินอัตราการเจริญ และระดับความต้านทานของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ ของสตรอเบอรีตอ่ สารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ไอโซเลท PML1 PML2 PMJL1 PMJL2 PMJL3 PMJL4 PMJL5 PBL1 PBL2 PBL3 PBL4 PBL5 PBL6 PBL7 PBL8 PBL9
อัตราการเจริญของเชื้อรา1 ระดับความเข้มข้นของสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (ppm) 0 0.1 1 10 100 500 1,000 ++++3 ++++ ++++ ++++ +++ ++ ++ ++++ ++++ ++++ ++++ +++ ++ ++ ++++ ++++ ++++ +++ ++ + + ++++ ++++ ++++ +++ ++ + + ++++ ++++ ++++ ++ ++ ++ + ++++ ++++ ++++ ++ ++ ++ ++ ++++ ++++ ++++ +++ ++ ++ + ++++ ++++ ++++ ++ ++ + + ++++ ++++ ++++ +++ + ++ ++ ++++ ++++ ++++ +++ ++ ++ ++ ++++ ++++ ++++ ++ ++ ++ + ++++ ++++ ++++ ++ ++ ++ + ++++ ++++ ++++ ++++ ++ ++ + ++++ ++++ ++++ ++ + + + ++++ ++++ +++ +++ ++ ++ ++ ++++ ++++ ++++ +++ ++ ++ +
ระดับความ ต้านทาน HR2 HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR HR
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
829
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PBL10 PBL11 PBL12 PBL13 PBL14 PBL15
++++ ++++ ++++ ++++ ++++ ++++
++++ ++++ ++++ ++++ ++++ ++++
++++ ++++ ++ +++ ++++ ++++
++ ++ ++ ++ +++ +++
++ ++ ++ ++ ++ ++
++ + + + + ++
+ + + + + +
PPA-08
HR HR HR HR HR HR
1
ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 3 ซ้า, 2 HR คือ กลุ่มเชื้อราที่ต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมระดับสูง (highly resistance), 3 เครื่องหมาย -, +, ++, +++ และ ++++ หมายถึง เชื้อราสามารถเจริญได้ตงั้ แต่ <10, 10-35, 35-65, 65-90 และ >90% เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ตามลาดับ
การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา จากการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสที่แยกจากตัวอย่างดินที่เก็บจากอุทยานแห่งชาติสุ เทพ-ปุย จานวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ในการยับยั้งการเจริญของ เส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีโดยวิธี dual culture บนผิวหน้าอาหาร glucose yeast malt agar (GYM) เป็นเวลา 7 วัน ภายหลังจากวางเชื้อราสาเหตุโรค พบว่าเชื้อแอกติโนไมซีส ทั้ง 6 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. จานวน 22 ไอโซ เลท อยู่ในช่วง 67.17 – 86.66% ซึ่งถือว่าเชื้อแอกติโนไมซีสทั้ง 6 ไอโซเลท ที่นามาทดสอบนี้มีประสิทธิภาพใน การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีในระดับสูง โดย พบว่าเชื้อแอกติโนไมซีสไอโซเลท NSP1 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุด โดยมี เปอร์เซนต์การยับยั้งอยู่ในช่วง 74.35 - 86.66% สาหรับไอโซเลท NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 มี เปอร์เซนต์การยับยั้งอยู่ในช่วง 69.74 - 81.02%, 69.22 - 83.58%, 70.25 - 78.46%, 70.76 - 81.02% และ 67.17 - 78.97% ตามล าดั บ (ภาพที่ 2 และ ตารางที่ 3) ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ การรายงานของ Getha and Vikineswary (2002) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อ Sterptomyces violaceusnuger Strain G10 ในการ ยับ ยั้ ง การเจริ ญ ของเส้ น ใยเชื้ อ รา Fusarium oxysporum f.sp. cubense race 4 โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อ S. violaceusnuger strain G10 สามารถสร้าง inhibition zone บริเวณที่เส้นใยเชื้อราเจริญแผ่ ออกมาบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า เส้นใยของเชื้อราถูกย่อยสลาย อีก ทั้งยังพบว่าเชื้อ S. violaceusnuger strain G10 มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะ (antibiotic) ที่มี ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลนิ ทรีย์หลายชนิด รวมทั้งเชื้อรา F. oxysporum f.sp. cubense race 4 สาเหตุโรคเหี่ยวของกล้วยได้ นอกจากนี้จากรายงานของ วรรษมน (2553) วิลาสินี (2554) และ ณัฐ พงษ์ (2553) พบว่าเชื้อแอกติโนไมซี ส ไอโซเลทที่ใช้ในการศึกษานี้ สามารถยับยั้งการเจริญ เติบ โตของเชื้อรา Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก และมะม่วง และเชื้อรา Cercospora sp. สาเหตุ โรคใบจุดผักสลัดได้สูงถึง 100%
830
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
control
NSP1
NSP2
PPA-08
NSP3
NSP4 NSP5 NSP6 ภาพที่ 2 ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยัง้ การเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ไอ โซเลท PBL10 สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี บนอาหารเลี้ยงเชื้อ glucose yeast extract-malt extract agar (GYM) เป็นเวลา 7 วัน
ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยัง้ การเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี โดยวิธี dual culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อ glucose yeast extract-malt extract agar (GYM) เป็นเวลา 7 วันภายหลังจากการวางเชือ้ รา Pestalotiopsis sp. เปอร์เซนต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา 1 PML1 PML2 PMJL1 PMJL2 PMJL3 PMJL4 PMJL5 PBL1 PBL2 PBL3 PBL4 a/2 a a a ab a a a a ab NSP1 79.48 76.92 77.94 82.04 75.38 78.45 84.09 77.43 75.38 78.45 76.92a NSP2 73.83b 77.94a 74.35ab 78.45abc 75.89a 77.43a 81.02ab 73.84ab 75.39a 79.99a 76.40ab NSP3 76.40ab 77.43a 69.22bc 80.51ab 72.30ab 76.92a 83.58a 73.84ab 76.92a 77.94ab 76.92a NSP4 78.46a 77.43a 70.25bc 71.27d 72.30ab 74.86a 78.45bc 71.27b 75.38a 75.89ab 72.30c NSP5 76.92ab 76.40a 72.30abc 76.91bc 71.79b 75.38a 79.48abc 71.27b 70.76b 73.84b 72.81bc NSP6 78.45a 75.38a 67.17c 75.38cd 67.17c 74.86a 74.86c 74.35ab 75.38a 75.89ab 75.38abc %CV 3.11 2.98 4.97 3.24 3.00 3.40 3.29 4.54 2.78 3.65 2.86 LSD0.05 4.28 4.08 6.35 4.46 3.87 4.60 4.69 5.94 3.70 4.99 3.81 ไอโซเลท PBL5 PBL6 PBL7 PBL8 PBL9 PBL10 PBL11 PBL12 PBL13 PBL14 PBL15 a a a a NSP1 83.58 75.38 76.92 79.99 81.02a 86.66a 81.02a 74.35a 77.43a 81.53a 77.94ab NSP2 78.46bc/2 75.89a 76.40a 79.99a 73.32c 77.43b 74.86c 75.89a 69.74b 75.89b 76.40ab NSP3 82.56a 76.92a 77.94a 81.53a 81.53a 77.94b 79.48ab 77.94a 75.89a 76.92b 78.46a NSP4 76.92c 76.40a 75.89a 77.94a 78.46ab 74.35b 77.43b 75.89a 75.38ab 73.84b 73.84bc NSP5 80.50ab 73.84a 75.38a 81.02a 80.51a 73.32b 74.35c 77.43a 74.35ab 75.38b 76.40ab NSP6 78.97bc 73.32a 75.38a 78.46a 75.38bc 76.40b 71.78d 73.33a 74.86ab 75.89b 70.25c %CV 2.39 2.77 3.08 2.57 2.78 3.96 1.84 3.89 4.43 3.03 3.15 LSD0.05 3.41 3.70 4.18 3.64 3.86 5.47 2.49 5.24 5.87 4.13 4.22 1 2 ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 3 ซ้า, ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันใน column เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติเปรียบเทียบโดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ความเชื่อมั่น 95% ไอโซเลท
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
831
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
การทดสอบประสิทธิภาพของอาหารเลีย้ งเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อรา จากการเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสจานวน 6 ไอโซเลท ได้แก่ NSP1, NSP2, NSP3, NSP4, NSP5 และ NSP6 ในอาหารเหลว EPM ในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ml เขย่าด้วยความเร็ว 200 รอบต่อนาที เมื่อบ่มเลี้ยง เป็นเวลา 5 วัน ทาการวัดค่าดูดกลืนแสง (optical density; OD) ที่ความยาวคลื่น 600 nm ได้เท่ากับ 0.076, 0.055, 0.033, 0.045, 0.032 และ 0.099 ตามล าดั บ จากนั้นแบ่งอาหารเหลวออกเป็น 2 ส่วน คือ อาหาร เหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่ไม่กรองเอาเชื้อออก (NF) และอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่กรองเอาเชื้อ อออก (F) และนามาทดสอบประสิท ธิภาพในการยับ ยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. พบว่าอาหารเหลวเลี้ ยงเชื้อแอกติโนไมซีสทั้ง 2 ชนิด มีผลต่อการยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อราสาเหตุ (ตารางที่ 4) โดยหลังจากเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง อาหารเหลวชนิด NF และ F ของเชื้อแอกติโนไมซีสทั้งไอโซเลท มีป ระสิท ธิภาพในการยับ ยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อราอยู่ในช่วง 59.24-48.99% และ 52.43-47.89% ตามลาดับ และมีความยาวของ germ tube อยู่ในช่วง 101.40-138.50 และ 115.30-145.60 µm ตามลาดับ ในขณะที่ชุดควบคุมมีความยาวของ germ tube เท่ากับ 306.20 µm (ตารางที่ 5) ประสิทธิภาพในการยับยั้ง การงอกของสปอร์ของอาหารเหลวทั้งชนิด NF และ F มีการลดลงเมื่อระยะเวลาของการทดสอบเพิ่มขึ้น จนใน ชั่วโมงที่ 12 ของการทดสอบ พบว่า อาหารเหลวชนิด NF และ F สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้อรา อยู่ในช่วง 3.31-1.09 และ 2.16-0% ตามลาดับ และหลังจากเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง พบว่าอาหารเหลวทั้งสอง ชนิดไม่สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ของเชื้ อราได้ ซึ่งแตกต่างจากรายงานของ ชิงชัย (2553) ที่ได้รายงาน ว่าอาหารเหลวเลี้ย งเชื้ อ แอกติ โนไมซีส ทั้ ง ชนิ ด NF และ F สามารถยับ ยั้ ง การงอกของสปอร์ข องเชื้ อ รา Fusarium oxysporum f.sp. capsici สาเหตุ โรคเหี่ ย วของพริก ที่ 24 ชั่ วโมงหลั ง การทดสอบอยู่ ในช่ว ง 33.60-46.80 และ 39.36-49.55% ตามลาดับ จึงมีความเป็นไปได้ว่าเชื้อราแต่ละชนิดอาจมีการตอบสนองต่อ เชื้อแอกติโนไมซีสที่แตกต่างกัน สรุปผลการทดลอง เชื้อแอกติโนไมซีส มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญ ของเส้นใยของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรีที่ต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมในระดับสู ง และอาหาร เหลวเลี้ยงเชื้อแอคติโนไมซีสมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์ และชะลอการงอกของ germ tube ของเชื้อราสาเหตุโรคในช่วงระยะเวลาแรก การศึก ษานี้ชี้ให้เห็นว่าเชื้อแอคติโนไมซีสมี ความเป็นไปได้ที่จ ะ นามาใช้ในการควบคุมโรคใบไหม้ ของสตรอเบอรีได้ แต่ก ารศึก ษาประสิท ธิภาพในการควบคุมโรคในสภาพ โรงเรือนหรือแปลงปลูกมีความจาเป็นที่จะต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการนามาใช้ งานในแปลงปลูกของเกษตรกร เพื่อลดการใช้สารป้องกันกาจัดเชื้อราทางการเกษตรและลดความเสี่ยงของการ เกิดการต้านทานต่อสารป้องกันกาจัดเชื้อราของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในอนาคต
832
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
ตาราง 4 ประสิทธิภาพของอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสในการยับยัง้ การงอกสปอร์ของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี แอกติโนไมซีส NSP1 NSP2 NSP3 NSP4 NSP5 NSP6 %CV LSD0.05
3 ชั่วโมง NF2 59.24a/3 56.15ab 51.31bc 53.93abc 50.99bc 48.99c 5.96 5.66
F 52.43a 51.99a 50.66a 50.09a 48.27a 47.89a 9.36 8.36
เปอร์เซนต์การยับยั้งการงอกของสปอร์1 6 ชั่วโมง 9 ชั่วโมง NF F NF F a a a 35.84 31.40 15.82 12.50a 33.43ab 29.68a 13.89a 11.80ab 27.88ab 25.68a 12.43a 11.48ab 28.13ab 24.90a 12.16a 11.03ab 27.05b 25.24a 11.87a 10.61ab 26.14b 24.24a 10.74a 9.35b 16.02 29.31 23.72 14.44 8.47 14.00 5.41 2.85
12 ชั่วโมง NF 3.31a 3.25a 2.54a 2.48a 1.09a 0.89a 87.79 3.37
F 1.82a 2.08a 2.16a 1.68a 1.35a 0 102.44 2.76
1
ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 3 ซ้า, 2 ชนิดของอาหารเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีส; NF: non filtrated culture, F: filtrated culture, 3 ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วย ตัวอักษรเหมือนกันใน column เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเปรียบเทียบโดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 5 ประสิทธิภาพของอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีสที่มผี ลต่อความยาว germ tube ของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. สาเหตุโรคใบไหม้ของสตรอเบอรี แอกติโนไมซีส
3 ชั่วโมง NF2
NSP1 NSP2 NSP3 NSP4 NSP5 NSP6
101.404 119.30 123.70 102.80 126.40 138.50
F 118.90 122.40 131.60 115.30 134.70 145.60
ความยาวของ germ tube (µm)1 6 ชั่วโมง 9 ชั่วโมง NF F NF F 141.80 237.90 327.80 376.40 169.90 242.80 322.20 409.30 182.50 244.10 357.00 433.50 163.90 232.70 337.00 397.00 179.10 238.70 357.40 432.80 206.20 319.30 340.10 536.40
12 ชั่วโมง NF 695.60 687.00 724.50 693.30 710.60 747.40
F 707.40 713.10 734.70 719.10 743.50 -3
1
ค่าเฉลี่ยจากการทดลอง 3 ซ้า, 2 ชนิดของอาหารเลี้ยงเชื้อแอกติโนไมซีส; NF: non filtrated culture, F: filtrated culture, 3 ไม่สามารถวัด ความยาวของ germ tube ได้, 4 เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่เวลา 3 ชั่วโมง มีความยาว germ tube=306.20 µm, 6 ชั่วโมง=596.20 µm, 9 ชั่วโมง=306.20 µm และ 12 ชั่วโมง ไม่สามารถวัดความยาว germ tube ได้
เอกสารอ้างอิง กรมส่งเสริมการเกษตร. 2541. สตรอเบอรี่. กองเกษตรสัมพันธ์ กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
833
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-08
ชิงชัย ไชยศิริ. 2553. ประสิทธิภาพของเชื้อแอคติโนมัยซีสในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. capsici สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี สาขาวิชาโรคพื ช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. ชูพงษ์ สุกุมลนันทน์. 2530. สตรอเบอรี่. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงค์. 2543. สตรอเบอรี:่ พืชเศรษฐกิจใหม่.สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. ณัฐพงษ์ นวลดี. 2553. การวิเคราะห์พันธุกรรมและควบคุมเชื้อรา Cercospora spp. ที่ต้านทานสารคาร์เบนดาซิม โดยใช้เชื้อแอคติโนมัยซีส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2543. สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ. วรรษมน บุญยิ่ง. 2553. การวิเคราะห์ลักษณะและควบคุมเชื้อรา Colletotrichum spp. ที่ต้านทานสารป้องกัน กาจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมในพริก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. วิลาสินี แสงนาค. 2553. การศึกษาอายุของน้าเลี้ยงเชื้อและน้ากรองเลี้ยงเชื้อแอคติโนมัยซีสทีเ่ หมาะสมในการ ควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง. ปัญหาพิเศษ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. Farungsang, U. and N. Farungsang. 1992. Benomyl resistance of Colletotrichum spp. Associated with rambutan and mango fruit rot in Thailand. Acta Hort (ISHS) 321: 891-897. Getha, K. and S. Vikineswary. 2002. Antagonistic effects of Streptomyces violaceusniger strain G10 on Fusarium oxysporum f.sp. cubense race 4: indirect evidence for the role of antibiosis in the antagonistic process. Journal of Industrial Microbiology and Biotechnology 28(6): 303-310. Koenraadt, K., S.C. Somerville and A.L. Jones. 1992. Characterization of mutations in the betatubalin gene of benomyl-resistant field isolation of Venturia inaequqlis and other plant pathogenic fungi. Phytopathology 82 (11): 1342-1354. Li-Hua, X., L. Qi-Ren and J. Cheng-lin. 1996. Diversity of soil actinomycetes in Yunnan, China. Applied and Environmental Microbiology. 244-248. Luan, Y. S., Z.Y. Shang and Q. SU. 2008. First Report of a Pestalotiopsis sp. causing leaf spot of blueberry in china. Plant Disease 92(1): 171. Peres, N. A. R., N.L. Souza, T.L. Peever and L.W. Timmer. 2004. Benomyl sensitivity of isolation of Colletotrichum acutatum and C. gloeosporioides from citrus. Plant Disease 88 (2): 125-130. Plakidas, A. G. 1964. Strawbery Disease. Louisiana State University Press. United States of America. Shin, G. H., H. Jae-Seoum and J.K. Young. 2000. Chemical control of Gray Blight of Tea in Korea. The Plant Pathology Journal 16(3): 162-165. Sutton, B. C. 1992. The Coelomycetes: fungi imperfect with pycnidia acervuli and stormata. Kew Surrey, England. 834
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
ประสิทธิภาพของสารชีวภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของมะเขือเทศจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum Efficacy of Biopesticides to Control Bacterial Wilt Disease of Tomato Caused by Ralstonia solanacearum นันทิชา มารักษา และ อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช Nanticha Maraksa and Udomsak Lertsuchatavanich ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900 Department of Plant Pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkhen, Bangkok 10900, Thailand.
บทคัดย่อ โรคเหี่ยวจากแบคทีเรียของมะเขือเทศมีสาเหตุมาจากเชื้อ Ralstonia solanacearum ซึ่งสร้างความ เสียหายอย่างรุนแรงกับมะเขือเทศในพื้นที่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย วัตถุประสงค์การ ทดลองเพื่ อ ทดสอบประสิ ท ธิภ าพสารชี ว ภาพในการควบคุ ม โรคเหี่ ย วจากแบคที เ รีย ของมะเขือ เทศใน ห้องปฏิบัติการและโรงเรือนปลูกพืชทดลอง จากผลการทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพด้วยวิธี paper disc diffusion method พบว่าสาร Phytocure 80% WP อัตรา 3 กรัม ต่อน้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดโดย มีรัศมีการยับยั้งเท่ากับ 2.21 ซม. การทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคเหี่ยวในระดับโรงเรือน พบว่าสาร Phytio 80% WP + Grenex 80% WP อัตรา 30+30 กรัม /น้า 20 ลิตร และ Phytocure 80% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดโรคสูงที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญยิ่งจากกรรมวิธี อื่น โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเท่ากับ 33.34% และพบว่ามีค่าเฉลี่ยประชากรของเชื้อ R. solanacearum ต่าที่สุดเท่ากับ 9.6x102 CFU/ดิน 1 กรัม ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า สาร Phytio 80% WP + Grenex 80% WP อั ต รา 30+30 กรั ม /น้ า 20 ลิ ต ร หรื อ Phytocure 80% WP อั ต รา 30 กรั ม /น้ า 20 ลิ ต ร มี ศักยภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของมะเขือเทศจากเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum คาสาคัญ : มะเขือเทศ โรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สารชีวภาพ ABSTRACT Bacterial wilt disease of tomato caused by Ralstonia solanacearum (Rs) was severely destruction of tomato in tropical and subtropical areas of the world including Thailand. Efficacy of biopesticides testing by paper disc diffusion method showed that Phytocure 80% WP 30g /20L of water gave the highest inhibition zone of 2.21 cm. Bacterial wilt disease control by treated biopesticides on tomato seedlings in the greenhouse was determined for 4 weeks after inoculation with R. solanacearum. The results showed that Phytio 80%WP 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
835
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
+Grenex 80%WP at 30+30g /20L of water and Phytocure 80% WP at 30g /20L of water gave the highest efficacy disease control which was significantly different at 33.34% disease incidence from other treatments. R. solanacearum population in soil determined at weekly interval at 1 month after inoculation showed that Phytio 80%WP + Grenex 80%WP at 30+30g /20L of water had the lowest population at 9.6x102 CFU per 1 g of soil. It was indicated that treatments of Phytio 80% WP + Grenex 80%WP at 30+30g /20L of water or Phytocure 80% WP at 30 g/20L of water have the potential to control bacterial wilt disease of tomato caused by R. solanacearum. Keywords: Tomato, Control of bacterial wilt disease, Ralstonia solanacearum, biopesticides คานา มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของ ประเทศไทย พบว่ า โรคเหี่ ย ว (Bacterial wilt) ที่ เ กิ ด จากเชื้ อ แบคที เ รี ย Ralstonia solanacearum (Yabuuchi et al., 1995) เป็นโรคที่สาคัญที่พบในทุกแหล่งปลูกมะเขือเทศของประเทศไทย โรคนี้ทาให้เกิด อาการใบเหี่ยวเฉาอย่างฉับพลัน พบได้อย่างชัดเจนในมะเขือเทศที่มีอายุน้อย ใบจะเหี่ยวลู่ลงมาแนบข้างลาต้น การเกิดโรคจะเกิดอย่างรวดเร็วและรุนแรงโดยที่พืชจะเหี่ยวและตายทั้ งต้นภายใน 3-4 วัน หลังจากเชื้อเข้า ทาลาย การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการทดสอบประสิทธิภาพของสารชีว ภาพในการควบคุมเชื้อ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวของมะเขือเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ จัดการโรคเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์และวิธีการ 1. การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพด้วยวิธี paper disc diffusion method เตรียมสารชีวภาพในอัตราตามกาหนด (ตารางที่ 1) หลังจากนั้นดูดสารชีวภาพปริมาณ 0.5 µl หยดลง บนกระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์ ก ลาง 5 มิ ล ลิเมตร ปล่อยไว้ให้ แห้ง นากระดาษกรองวางบนอาหาร nutrient agar (NA) ที่ ผ สมเชื้อ แบคที เรีย R. solanacearum ท าจ านวน 5 ซ้า และบ่ม ไว้ในอุณหภูมิ ห้อง (28-32 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 72 ชั่วโมง บันทึกรัศมีของ inhibition zone 2. การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพในโรงเรือนทดลอง เตรียมต้นกล้ามะเขือเทศอายุ 1 เดือน โดยปลูกในดินร่วนปนดินเหนียวที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เตรียม สารแขวนลอยเชื้อแบคที เรีย R. solanacearum ให้ได้ ค่าความเข้มข้น 108 CFU/ml (0.2 OD, 600 nm.) เมื่อได้ความเข้มข้นที่ต้องการแล้วนาเชื้อที่ได้ไปปลูกลงในต้นกล้ามะเขือเทศต่อ ไป ทาการเตรียมสารชีวภาพ ตามอัตราดัง ตารางที่1 836
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
ตารางที่ 1 สารชีวภาพและอัตราสารที่ใช้ในการทดลอง สารชีวภาพ Tr1 Phytio 80% WP Tr2 Grenex 80% WP Tr3 Phytio80% WP + Grenex 80% WP Tr4 Copper hydroxide 77% WP Tr5 Gennox 80% WP Tr6 Phytocure 80% WP Tr7 Positive ปลูกเชื้อ R. solanacearum อย่างเดียว Tr8 Negative (distilled water)
อัตรา (กรัม/ น้า20 ลิตร) 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม + 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม -
แต่ละกรรมวิธีใช้ต้นกล้ามะเขือเทศในการทดลองจานวน 6 ต้น ราดสารชีวภาพที่เตรียมไว้ลงในดิน รอบๆ บริเวณโคนต้นกล้ามะเขือเทศ 10 มล./ต้น ยกเว้น positive และ negative หลังจากนั้น 2 วันจึงทาการ ปลูกเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum โดยวิธีการตัดราก (Winstead and Kelman,1952; สุธัญญา, 2527) แล้วราดสารแขวนลอยเชื้อปริมาณ 5 มล./ต้น รอบโคนต้นกล้ามะเขือเทศ ยกเว้นกรรมวิธี negative ราดด้วย น้ากลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ หลังจากนั้น 2 วัน ราดสารชีวภาพตามกรรมวิธีต่างๆ อีกครั้ง บั น ทึ ก เปอร์ เ ซ็ น ต์ ก ารเกิ ด โรค (disease incidence) ความรุ น แรงของโรค (disease severity) ค่ า เฉลี่ ย พื้ น ที่ ใ ต้ ก ราฟการพั ฒ นาของโรค (the area under the disease progress curve, AUDPC) (Cambell and Madden, 1990) และตรวจนั บ ปริ ม าณประชากรของเชื้ อ R. solanacearum ในดิ น (CFU/ดิน 1 กรัม ) ในสัปดาห์ที่ 1-4 หลังจากการปลูกเชื้อ การคานวณเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค (Disease incidence)
A1 x 100 A2 A1 =จานวนต้นที่แสดงอาการโรค A2 = จานวนต้นทั้งหมด
การประเมินระดับความรุนแรงของโรค (Disease severity) ระดับความรุนแรงของโรคเหี่ยว แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ พืชไม่แสดงอาการเหี่ยว พืชแสดงอาการเหี่ยว พืชแสดงอาการเหี่ยว พืชแสดงอาการเหี่ยว
0% = ไม่รุนแรง (avirulent) 1-30% = รุนแรงน้อย (low virulent) 31-70% = รุนแรงปานกลาง (moderate virulent) 71-100% = รุงแรงมาก (virulent)
การหาค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้กราฟการพัฒนาของโรค (The area under the disease progress curve :AUDPC ) (Cambell and Madden, 1990) มีดังสูตร
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
837
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
yi = ดั ช นี การเกิด โรคเมื่ อประเมิ นโรคเริ่มต้ น , yi + 1 = ดั ชนี การเกิ ด โรคเมื่อประเมินโรคสุ ด ท้ าย , t i = ระยะเวลาเมื่ อ ประเมินโรคเริ่มตน, t i + 1 = ระยะเวลาเมื่อประเมินโรคครั้งสุดท้าย
การตรวจปริมาณประชากรของเชื้อ Ralstonia solanacearum ในดิน สุ่มเก็บตัวอย่างดินจานวน 5 ครั้ง คือ ที่ 2 ชั่วโมง และที่ สัปดาห์ที่ 1 2 3 4 หลังจากการปลูกเชื้อ นามาตรวจสอบประชากรด้วยวิธี dilution plating method โดยนาดินแต่ละกรรมวิธีปริมาณ 1 กรัมผสมใน น้าสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว 9 มล. นาไปเขย่าเป็นเวลา 20 นาที ทาการเจือจางสารแขวนลอยดินก่อนนาไป spread plate บนอาหาร SM-1 medium (ปิยรัตน์, 2541) ทาตัวอย่างละ 3 ซ้า นาไปบ่มไว้ที่อุณหภูมหิ ้อง เป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วบันทึกผลการทดลอง ผลการทดลอง 1. การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพด้วยวิธี Paper Disc Diffusion Method
ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธี Phytocure เกิด inhibition zone ที่รัศมีเฉลี่ยกว้างสุดอยู่ที่ 2.21 ซม. และกรรมวิ ธี Phytio + Grenex มี inhibition zone กว้า งรองลงมาอยู่ ที่ 2.05 ซม. ในขณะที่ ก รรมวิ ธี copper hydroxide มี inhibition zone รัศมีเฉลี่ยแคบที่สุดอยู่ที่ 0.24 ซม. (ภาพที่1, ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ผลการทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพด้วยวิธี paper disc diffusion method กรรมวิธี Tr1 Phytio 80% WP Tr2 Grenex 80% WP Tr3 Phytio 80% WP + Grenex 80% WP Tr4 Copper hydroxide 77% WP Tr5 Gennox 80% WP Tr6 Phytocure 80% WP
รัศมีบริเวณยับยั้ง (inhibition zone) ซม. 1/ 1.74 b 1.50 b 2.05 ab 0.24 c 2.03 ab 2.21 a
1/ ค่าเฉลี่ยของรัศมี inhibition zone (ซม.) ตัวอักษรเหมือนกันในแนวตั้งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิตทิ ี่ความเชื่อมั่น 95 % เมื่อ
วิเคราะห์ด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test
838
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
Tr3
Tr2
PPA-09
Tr4
Tr6
Tr1
Tr5
ก
ข
ภาพที่ 1 การทดสอบประสอทธิภาพของสารชีวภาพในการยับยั้งเชื้อ Ralstonia solanacearum ด้วยวิธี paper disc diffusion method ก) Tr1 : Phytio Tr2 : Grenex Tr3 : Phytio + Grenex ข) Tr4 : Copper hydroxide Tr5 : Gennox Tr6 : Phytocure 2. การทดสอบประสิทธิภาพสารชีวภาพเพื่อควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ของต้นมะเขือเทศ ผลการทดลองพบว่าเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 และจะลดลงหรือคงที่จนถึง สัปดาห์ที่ 4 หลังจากปลูกเชื้อ เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคในสัปดาห์ที่ 1 กรรมวิธี positive สูงที่สุดถึง 83.34% และในสั ป ดาห์ ที่ 2 เปอร์เซ็ น ต์ก ารเกิ ด โรคจะเพิ่ ม ขึ้ นในทุ ก สารชี วภาพ แต่ก รรมวิธีใช้ส ารเคมี copper hydroxide เกิดโรครองลงมาจาก positive อยู่ที่ 50% ในสัปดาห์ที่ 3 กรรมวิธี positive เกิดโรคสูงสุดอยู่ที่ 100% และในสัปดาห์ที่ 4 กรรมวิธี Grenex เกิดโรคเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 83.34% เมื่อเทียบกับสารชีวภาพ Phytio + Grenex หรือ Phytocure จะเกิดโรคเพียง 33.34% ซึ่งถือว่าเกิดโรคน้อยที่สุด และมีพื้นที่ใต้กราฟการเกิดโรค 91.69 น้อยที่สุด ซึ่งแตกต่างจากกรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 เปอร์เซ็นต์การเกิดโรค พื้นที่ใต้กราฟของการเกิดโรค (AUDPC) และระดับความรุนแรงของโรค เหี่ยวของมะเขือเทศที่ได้รบั สารชีวภาพ หลังการปลูกเชื้อที่ 1-4 สัปดาห์ (W) กรรมวิธี
การเกิดโรค (%) W4
AUDPC
ระดับความรุนแรง
W1
W2
W3
Tr1 Phytio
16.67b1/
33.34c
33.34c
50.00cd 100.02bc
Tr2 Grenex
0.00a
33.34c
33.34c
83.34e
108.35bc
รุนแรงมาก
Tr3 Phytio +Grenex
16.67b
33.34c
33.34c
33.34c
91.69b
รุนแรงปานกลาง
Tr4 Copper hydroxide
33.34c
50.00cd 50.00cd 50.00cd 141.67cd
รุนแรงปานกลาง
รุนแรงปานกลาง
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
839
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
Tr5 Gennox
33.34c
33.34c
50.00cd 50.00cd
125.01c
รุนแรงปานกลาง
Tr6 Phytocure
16.67b
33.34c
33.34c
33.34c
91.69b
รุนแรงปานกลาง
Tr7 Positive Tr8 Negative (distilled water)
83.34e 0.00a
83.34e 0.00a
100.0e 0.00a
100.0d 0.00a
275.01e 0.00a
รุนแรงมาก ไม่รุนแรง
1/
อักษรเหมือนกันในแนวตั้งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิตทิ ี่ความเชื่อมั่น 95 % วิเคราะห์ด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test
ก
ข
ค
ง
จ
ฉ
ช
ซ
ภาพที่ 2 การทดสอบควบคุมโรคเหี่ยวจากเชื้อ Ralstonia solanacearum ในโรงเรือนด้วยสารชีวภาพต่างๆ ที่ 4 สัปดาห์ภายการปลูกเชื้อ ก: Negative ข: Positive ค : Phytio ง : Grenex จ : Phytio + Grenex ฉ : Copper hydroxide ช : Gennox และ ซ : Phytocure ปริมาณประชากรของเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในดิน ผลการตรวจประชากรของเชื้อ R. solanacearum จากดินของต้นมะเขือเทศแต่ละกรรมวิธี ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเชื้อ 2 ชั่วโมง พบว่ากรรมวิธี positive มีจานวนประชากรมากที่สุด 2.7x104 CFU/มล. ในขณะที่ กรรมวิธี Grenex มีจานวนประชากรรองลงมาอยู่ที่ 4.4x103 CFU/มล. และ copper hydroxide 77% WP พบจานวนประชากรน้อยทีส่ ุดอยู่ที่ 0.9x103 CFU/มล. การตรวจสอบปริมาณประชากรครั้งที่ 2 หลังจากปลูก เชื้อผ่านไป 1 สัปดาห์ พบว่าสารชีวภาพทุกกรรมวิธีมีจานวนประชากรที่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกันที่ 0.40.6x103 CFU/มล. ยกเว้นกรรมวิธี Phytio พบจานวนประชากรที่ 0.2x103 CFU/มล. การตรวจสอบปริมาณ 840
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
ประชากรครั้งที่ 3 หลังจากปลูกเชื้อผ่านไป 2 สัปดาห์ กรรมวิธี Positive และ Grenex มีจานวนประชากร สูงสุดที่ 4.7x103 CFU/มล. ส่วนกรรมวิธี Phytio + Grenex มีจานวนประชากรน้อยทีส่ ุดอยู่ที่ 0.6x103 CFU/ มล. การตรวจสอบปริมาณประชากรครั้งที่ 4 หลังจากการปลูกเชื้อ 3 สัปดาห์ กรรมวิธี Positive พบจานวน ประชากรมากสุดที่ 2.3x103 CFU/มล. ในขณะที่กรรมวิธี Grenex มีจานวนประชากร 0.7x103 CFU/มล. ส่วน กรรมวิธี Phytio พบจานวนประชากรน้อยทีส่ ุดที่ 0.2x103 CFU/มล. และการตรวจสอบปริมาณประชากรครั้ง ที่ 5 หลังการปลูกเชื้อ 4 สัปดาห์ พบว่ากรรมวิธี Positive มีจานวนประชากรมากสุดที่ 8.3x103 CFU/มล. สารชีวภาพอื่นๆ ที่มจี านวนประชากรในปริมาณใกล้เคียงกันอยู่ที่ 0.3-0.8x103 CFU/มล. โดยที่กรรมวิธี Negative ตรวจไม่พบประชากรเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum ตลอดการทดลอง (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 จานวนประชากรของเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในดินของมะเขือเทศแต่ละ กรรมวิธีการทดลอง สารชีวภาพ Tr1 Phytio Tr2 Grenex Tr3 Phytio +Grenex Tr4 Copper hydroxide Tr5 Gennox Tr6 Phytocure Tr7 Positive Tr8 Negative (distilled water)
จานวนประชากรของ Ralstonia solanacearum ในดิน (CFU/ml) 1/ 2 hr W1 W2 W3 W4 Avg 3 3 3 3 3 1.7x10 b 0.2x10 a 3.4x10 cd 0.2x10 a 0.4x10 a 1.18x103ab 4.4x103d 0.4x103a 4.7x103de 0.7x103ab 0.8x103a 2.20x103c 1.5x103b 0.5x103a 0.6x103a 1.5x103b 0.7x103a 0.96x103a 0.9x103a 0.5x103a 2.2x103b 1.0x103b 0.3x103a 0.98x103a 2.5x103c 0.6x103a 3.8x103cd 0.4x103a 0.3x103a 1.52x103b 2.2x103c 0.5x103a 0.1x103a 1.6x103b 0.7x103a 1.20x103ab 2.7x104de 0.6x103a 4.7x103de 2.3x103c 8.3x103bc 8.58x103de 0.00a 0.00a 0.00a 0.00a 0.00a 0.00a
1/
ค่าเฉลี่ยจานวนประชากรของ R. solanacearum ในดิน (CFU/ml) ตัวอักษรเหมือนกันในแนวตั้งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ ความเชื่อมั่น 95% เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test
สรุปผลการทดลอง การทดสอบประสิท ธิภาพสารชีวภาพ ด้วยวิธี paper disc diffusion method พบว่าสาร Phytio Grenex Gennox และ Phytocure นั้นมี ป ระสิท ธิภาพในการยับ ยั้งเชื้อแบคที เรีย R. solanacearum ได้ ดีกว่าสาร copper hydroxcide ประสิท ธิภาพของสารชีวภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของมะเขือเทศในโรงเรือนทดลอง พบว่าสาร Phytio 80% + Grenex 80% WP อั ตรา 30+30 กรัม /น้า 20ลิตร และสาร Phytocure 80% WP อัตรา 30 กรัม/น้า 20ลิตร นั้นมี ป ระสิทธิภาพในการยับ ยั้งการเกิดโรคมากที่ สุด โดยมี ค่าเฉลี่ย AUPDC เท่ากันที่ 91.69 นอกจากนี้ทั้ ง 4 สัป ดาห์ห ลัง จากการปลูก เชื้อเปอร์เซ็นต์ก ารเกิ ดโรคของสาร Phytio 80% WP + Grenex 80% WP และสาร Phytocure 80% WP มีเปอร์เซ็นต์ในแต่ละสัปดาห์ที่ เท่า กัน และมีระดับความ รุนแรงของโรคปานกลาง พบว่าจานวนประชากรของกรรมวิธี Phytio 80% WP + Grenex 80% WP และ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
841
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-09
สาร Phytocure 80% WP มีจ านวนประชากรที่ พบใกล้เคียงกันในทุ ก สัป ดาห์ ซึ่ง มีค่าเฉลี่ยประชากรอยู่ที่ 0.96x103 CFU/มล. และ 1.20x103 CFU/มล. ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้ส ารชีวภาพ อัตรา 30 กรัม /น้า 20ลิตร มีจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 และหลังจากนั้นก็จะมีจานวนประชากร ที่ลดลงหรือคงที่เนื่องจากต้นมะเขือเทศเริ่มตายลงเชื้อก็จะมีปริมาณลดลงเช่นกัน ผลการทดลองแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพของสาร Phytio 80% WP + Grenex 80% WP อั ต รา 30+30 กรัม /น้า 20 ลิตร และสาร Phytocure 80% WP อัตรา 30 กรัม /น้า 20 ลิตร ในการยับยั้งเชื้อ R. solanacearum ในห้องปฏิบัติการและควบคุมโรคเหี่ยวมะเขือเทศในโรงเรือนทดลองได้ดีกว่าและเทียบเท่า สารเคมี ซึ่งเป็นอีกทางเลือกให้กับเกษตรกรในการป้องกันกาจัดโรคเหี่ยวของมะเขือเทศ เอกสารอ้างอิง ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์. 2541. โรคเหี่ยวจากแบคทีเรียของปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.) และการ ป้องกันกาจัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุธัญญา ฉายาชวลิต. 2527. การศึกษาโรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรีย. วิทยานิพนธ์ปริญ ญา โท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Cambell, C.L and L.V. Madden. 1990. Introduction to Plant Disease Epidemiology. John Wiley & Sons, New York. Thaveechai, N. 1989. Laboratory Course on Bacterial Wilt of Tomato. pp. 57. AVNET Germplasm Improvement Subnetwork Workshop. 18-28 Oct. 1989. Kasetsart University Thailand. Winstead, N.N. and A. Kelman. 1952. Inoculation techniques for evaluating resistance to Pseudomonas solanacearum. Phytopathology 42: 628-634. Yabuuchi, E. , Y. Kosako, I. Yano, H. Hotta and Y. Nishiuchi. 1995. Transfer of two Burkholderia and an Alcaligenes species to Ralstonia gen. nov.: proposal of Ralstonia pickettii (Ralston, Palleroni and Doudoroff 1973) comb. nov. , Ralstonia solanacearum (Smith 1896) comb.nov. and Ralstonia eutropha (Davis 1969) comb. nov. Microbiol. Immuno. 39(11): 897-904.
842
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชือ้ รา Phytophthora colocasiae Rac. Efficacy of Some Fungicides for Control Taro Leaf Blight Disease Caused by Phytophthora colocasiae Rac. ชนินทร ดวงสอาด1 พรพิมล อธิปัญญาคม2 สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ1 อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว1 พจนา ตระกูลสุขรัตน์1 มะโนรัตน์ สุดสงวน1 และ สุทธิณี ลิขิตตระกูลรุ่ง3 Chanintorn Doungsa-ard1 Pornpimon Athipunyakom2 Suneerat Srimadua1 Amonrat Kitjaideaw1 Potchana Trakulsukrat1 Manorat Sudsanguan1 and Suttinee Likhittragulrung3 1
กลุ่มวิจัยโรคพืช สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Pathology Research Group, Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 สานักผู้เชี่ยวชาญ สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 2 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 3 กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร เชียงใหม่ 50100 3 Office of Agricultural Research and Development Region 1, Department of Agriculture, Chiangmai 50100 1
บทคัดย่อ โรคใบจุดตาเสือ (Leaf blight) ของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae Rac. เป็น โรคที่รุนแรงที่สุดของเผือกที่พบในประเทศไทยและในต่างประเทศ โรคนี้เริ่มระบาดเมื่อมีฝนตกและอากาศชุ่ม ชื้น ถ้ามีฝนตกหนักและติดต่อกันหลายๆ วัน โรคจะระบาดอย่างรวดเร็ว เพื่อได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มี ประสิทธิภาพ และอัตราการใช้ที่เหมาะสม ในการป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือก จึงทาการทดลอง ประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา P. colocasiae โดยวางแผนการ ทดลองแบบ RCB 4 ซ้ า 7 กรรมวิธี โดยท าการทดลอง 2 ครั้ง ณ แปลงปลู ก เผือกของเกษตรกรในพื้น ที่ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยทาการทดลองครั้งที่ 1 ระหว่างเดือน ธันวาคม 2559 ถึง มกราคม 2560 และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือน ธันวาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 จากการทดลองให้ผลที่ สอดคล้องคือ pyraclostrobin 25% W/V EC อั ตรา 20 มิล ลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ ethaboxam 10.4% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกได้ดี โดยมีระดับความรุนแรง ของโรคน้อยกวากรรมวิธีพนสารทดสอบชนิดอื่น รวมถึงกรรมวิธีพนน้าเปลาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สามารถ ใชเป็นคาแนะนาในการปองกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกที่มีสาเหตุจากเชื้อรา P. colocasiae มีตนทุนการ พ่นสาร 63.20 และ 13.00 บาท/20 ลิตร หรือ 379 และ 78 บาท/ไร่ ตามล าดับ จากการทดลองไม่ พ บ ผลกระทบของสารป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
843
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
คาสาคัญ : ใบจุดตาเสือ สารป้องกันกาจัดโรคพืช เผือก Phytophthora colocasiae ABSTRACT Taro leaf blight, caused by Phytophthora colocasiae Rac., is one of the most severe diseases of taro in Thailand and overseas. The disease outbreak often found in rainy season or at high humidity environment. To control the outbreak of this disease, this study was conducted to determine the efficacy of fungicides to control taro leaf blight disease caused by P. colocasiae. The RCB had been designed for the experimental plan with seven treatments and each of the treatments consisted of four replications. The two experiments were conducted on taro plantation located in Nong Han sub-district, San Sai district, Chiangmai province, but in a different time. The first experiment was done from December 2016 to January 2017 and the second experiment was done from December 2017 to January 2018. Both experiments showed the congruent results that pyraclostrobin 25% W/V EC with rate of use at 20 ml/20 liter of water and ethaboxam 10.4% W/V SC with rate of use at 10 ml/20 liter of water presented the highly significant results in controlling the severity of the taro leaf blight disease caused by P. colocasiae. The cost of application pyraclostrobin 25% W/V EC and ethaboxam 10.4% W/V SC were 63.20 and 13.00 THB/20 liters solution of fungicide or 379 and 78 THB/Rai, respectively. The abnormal or toxic symptoms due to the fungicide had not been found based on these experiments. Keywords: fungicides, Phytophthora colocasiae, taro, taro leaf blight คานา เผือก (Colocasia esculenta L.) เป็นพืชหัวที่เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ประชากรของประเทศในเขตร้อน เกือบทั่วโลกรู้จักเผือกเป็นอย่างดี บางประเทศรับประทานเผือกเป็นอาหารหลัก เผือก สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุก ส่วน ทั้งหัว ก้านใบ และใบเผือก ประเทศไทยมีการปลูกเผือกอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ มีพื้นที่ปลูกเผือกทั้ง ประเทศปีละประมาณ 25,000-30,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 45,000-65,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 2-2.5 ตันต่อไร่ ส่วนจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่สาคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก นครราชสีมา สุรินทร์ สระบุรี อยุธยา นอกจากนี้เผือกเป็นพืชหัวเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออกอีกพืชหนึ่ง โดยส่งออกทั้งในรูปหัว เผือก ก้านใบเผือก และใบเผือก เช่น ในปี 2543 ประเทศไทยมีการส่งออกหัวเผือกประมาณ 1,039 ตัน คิดเป็น มูลค่า 14.8 ล้านบาท ตลาดต่างประเทศของเผือกที่สาคัญมี ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย มาเลเชีย สิงคโปร์ และเน เธอแลนด์ เป็นต้น ซึ่งเมื่ อพิ จารณาถึงการใช้ประโยชน์ได้ทั้ งหัว ก้านใบ และใบเผือก รวมทั้งตลาดภายในและ ต่างประเทศเปรียบเทียบกับข้าวและพืชไร่บางชนิดแล้วเผือกจึงเป็นพืชที่น่าสนใจของเกษตรกรอีกพืชหนึ่ง 844
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
เชื้อรา Phytophthora colocasiae Rac. สาเหตุโ รคใบจุดตาเสือของเผือ กทาความให้ผ ลผลิต ลดลง 25-50% นอกจากนี้ยังทาความเสียหายถึง ระยะหลังการเก็บ เกี่ยว (Misra et al., 2008) ในแปลงที่ เป็นรุนแรง เผือกจะมีใบเหลืองและมีใบประมาณต้นละ 3-4 ใบ เท่านั้น หากเผือกพบโรคใบจุดตาเสือในระยะที่ ยังไม่เริ่มลงหัว หรือ ลงหัวไม่โตนักจะทาให้เสียหายหมด โดยหัวที่ลงจะไม่ขยายหรือเพิ่มขนาดขึ้น (นรินทร์, 2541; สมศรี และมาลินี, 2537) ซึ่งทาให้ได้ผลผลิตในปริมาณน้อยและไม่มีคุณภาพ การป้องกันกาจัดโรคทา ได้ห ลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ก ารเขตกรรม ชีววิธี พันธุ์ต้านทาน และการใช้ส ารป้อ งกันกันกาจั ดโรคพืช ใน ประเทศไทยพันธุ์แนะนาที่ทนทานต่อโรคใบจุดตาเสือคือ พจ.06 (สมศรี, 2537) จากรายงานผลการทดลอง การใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชในการป้องกันกาจัดโรคตาเสือของเผือกที่ ผ่านมามีสารป้องกั นกาจัดโรคพื ชที่ให้ผลในการควบคุม การเกิดโรคได้ดี ได้แก่ mancozeb copper และ metalaxyl โดยสารป้อ งกันกาจัดโรคพื ช mancozeb และ copper มี ผลด้านป้องกัน ส่วน metalaxyl ซึ่ง เป็นสารดูดซึมจะเหมาะสมในการใช้ในการควบคุมหรือกาจัด การใช้สารป้องกันกาจัดโรคพืชจะให้ผลดีเมื่อใช้ ถูก วิธีแ ละในระยะเวลาที่ เหมาะสม การใช้เ มื่ อ เริ่ม มี ก ารระบาดจะให้ ผ ลดี ก ว่า การที่ โรคระบาดรุ น แรง (Davinder, 2012) ในอินเดียมีรายงานการใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดโรคหลายการทดลองด้วยกัน ได้แก่ Ghosh et al., (1991) รายงานถึงการพ่นด้วย metalaxyl ทุ ก 15 วัน ให้ผลดีในการควบคุม โรคและให้ผ ล ผลิตสูง เช่นเดียวกับ Aggarwal และ Mehrotra (1987) ใข้ metalaxyl และ copper oxychloride ได้ผลดี จากการทดลองพบว่า metalaxyl จะยับยั้งการสร้าง cellulolytic และ pectinolytic enzyme ของเชื้อรา P. colocasiae ต่ อ มาในปี 1989 Sahu และคณะ ได้ท ดสอบการใช้ zineb พ่ นทุ ก 15 วัน ให้ผ ลในการ ป้องกันก าจัดและเพิ่ม ผลผลิตเช่นกั น ในปาปัวนิวกิ นีมี รายงานการพ่นด้วย metalaxyl ทุ ก 3 อาทิตย์เพิ่ม ผลผลิตถึง 50% (Cox et al., 1990) ในฮาวายมี รายงานการใช้ mancozeb ทุก 7 วัน สามารถลดโรคได้ (Bergquist, 1974) การทดลองการใช้ ส ารเคมี จ ากประเทศโซโลมอน พบว่ า การพ่ น ด้ ว ย copper oxychloride ที่ อั ตรา 2.25 kg/ha ให้ผ ลในการป้องกั นกาจัดโรค แต่การพ่นด้วย mancozeb ที่ อัตรา 3.6 kg/ha ควบคุมโรคไม่ได้ผล นอกจากนี้พบว่าการตัดใบที่เป็นโรค รวมถึงการเพิ่มความห่างของระยะปลูก ไม่มี ผลต่อการลดความรุนแรงของโรคแต่อย่างใด (Jackson et al., 1980) โรคใบจุดตาเสือ (Leaf blight) เป็นโรคที่รุนแรงที่สดุ ของเผือกที่พบในประเทศไทยและในต่างประเทศ โรคนี้เริ่มระบาดเมื่อมีฝนตกและอากาศชุ่มชื้น ถ้ามีฝนตกหนักและติดต่อกันหลายๆ วัน โรคจะระบาดอย่าง รวดเร็ว รวมถึงในช่วงที่หมอกลงจัด เผือกจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาหาวิธีการป้ องกัน กาจัดโรคจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันกาจัดโรคโดยการใช้สารเคมีเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี เห็นผลเร็ว และปัจจุบันได้มีการพัฒนาและผลิตสารป้องกันกาจัดโรคพืชใหม่หลายชนิด บางชนิดมีประสิทธิภาพสูงในการ ป้องกันกาจัดโรคและมีพิษตกค้างต่า ดังนั้นการศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคพืชในการป้องกัน กาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือก จะได้มาซึ่งสารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ และทราบอัตราการใช้ที่ เหมาะสม โดยใช้เป็นคาแนะนาในการป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกต่อไป
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
845
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ดังนั้นการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ และอัตราการใช้ที่ เหมาะสม ในการป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือก อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. สารเคมี ได้แก่ สารป้องกันกาจัดโรคพืช; dimethomorph fosetyl-aluminum metalaxyl-M +mancozeb ethaboxam pyraclostrobin และ phosphorous acid 2. เครื่องพ่นสารแบบเครือ่ งยนต์ 3. อุปกรณ์ผสมสารเคมี เช่น ถังน้า อุปกรณ์ตวงวัดปริมาตร 4. กล้องถ่ายรูป 5. แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลและผลการทดลอง กรรมวิธีการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block (RCB) จานวน 4 ซ้า 7 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 dimethomorph 50% WP อัตรา 20 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 2 fosetyl-aluminum 80% WG อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 3 metalaxyl-M+mancozeb 68% WG อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 4 ethaboxam 10.4% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลติ ร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 5 pyraclostrobin 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลติ ร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 6 phosphorous acid 40% W/V SL อัตรา 50 มิลลิลติ ร/น้า 20 ลิตร กรรมวิธีที่ 7 พ่นน้าเปล่า (กรรมวิธีควบคุม) วิธีการ เตรียมแปลงปลูกพืชทดสอบในแหล่งปลูกเผือก จังหวัดเชียงใหม่ โดยปลูกเผือก ขนาดแปลงย่อย 1 x 5 ตารางเมตร และมีระยะห่างระหว่างแปลงย่อย 1 เมตร พ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชตามกรรมวิธีที่กาหนด โดยใช้เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง อัตราการใช้น้า 120 ลิตรต่อไร่ พ่นสารครั้งแรกเมื่อพบโรค พ่น สารจานวน 4 ครั้ง ทุก 7 วัน ประเมินความรุนแรงของโรคตามมาตรฐานคาแนะนาการทดลองประสิทธิภาพ วัตถุอันตรายทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ก่อนพ่นสารทุกครัง้ และหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 15 และ 30 วัน โดยสุ่มประเมินจากพืช 20 ต้นต่อแปลงย่อย แบ่งระดับความรุนแรงเป็น 6 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 = พืชไม่ปรากฏอาการโรค ระดับ 2 = พืชปรากฏแผลใบจุดตาเสือที่ใบและส่วนต่างๆ 1-5 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 3 = พืชปรากฏแผลใบจุดตาเสือที่ใบและส่วนต่างๆ 6-10 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 4 = พืชปรากฏแผลใบจุดตาเสือที่ใบและส่วนต่างๆ 11-25 เปอร์เซ็นต์ของต้น 846
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ระดับ 5 = พืชปรากฏแผลใบจุดตาเสือที่ใบและส่วนต่างๆ 26-50 เปอร์เซ็นต์ของต้น ระดับ 6 = พืชปรากฏแผลใบจุดตาเสือที่ใบและส่วนต่างๆ มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของต้น ผลและวิจารณ์ ดาเนินการทดลองครั้ง ที่ 1 ในพื้ นที่ ต.เจดีย์แม่ ครัว อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2559 ถึง มกราคม 2560 ผลการทดลองพบว่าสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัด โรคใบ จุ ดตาเสื อเผื อก ได้ แก่ pyraclostrobin 25% W/V EC อั ตรา 20 มิ ลลิ ลิ ตร/น้ า 20 ลิ ตร โดย metalaxyl+mancozeb 6 8 % WP dimethomorph 50 % WP ethaboxam 10.4 % W/V SC แ ล ะ fosetyl-aluminium 80% WG ให้ประสิทธิภาพรองลงมาตามลาดับ โดยสารเคมีที่ดาเนินการทดลองทุกกรรมวิธี ให้ผลแตกต่างกับกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95% (ตารางที่ 1) เมื่อทาการเก็บเกี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลของผลผลิตพบว่า ปริมาณผลผลิตจากกรรมวิธีที่ ฉีดพ่นด้วย pyraclostrobin 25% W/V EC มี ปริมาณผลผลิตมากที่ สุด และมี ความแตกต่างกั บกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนั ยส าคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1) แต่ ปริมาณผลผลิตไม่มีความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ฉีดพ่นสารเคมี ทั้งนี้หลังจากสิ้นสุดช่วงระยะเวลา ที่ฉีดพ่นสารเคมี เกษตรกรได้ดูแลแปลงและป้องกันกาจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการเดียวกันทั้งแปลง ตามความแตกต่าง ของปริมาณผลผลิตที่เกิดขึ้น อาจเนื่องมากความแตกต่างของกรรมวิธีในช่วงระยะเวลาที่การทดลอง ซึ่งเป็นระยะ ที่เผือกเริ่มลงหัว ดังนั้นผลจากการทดลองของเผือกครั้งที่ 1 ได้สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพคือ pyraclostrobin 25% W/V EC อั ตรา 20 มิ ล ลิลิ ตร/น้ า 20 ลิ ตร รองลงมาคื อ ethaboxam 10.4% W/V SC อัตรา 10 มิ ลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ metalaxyl+mancozeb 68% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร โดยท า การฉีดพ่นทุก 7 วัน และมีตนทุนการพ่นสารคือ 63.20, 13.00 และ 33.60 บาท/20 ลิตร ตามลาดับ รายละเอียด ของต้นทุนค่าใช้จ่ายของสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืชดังแสดงในตารางที่ 3 ทดลองครั้งที่ 2 ดาเนินการบนพื้นที่ปลูกเผือกของเกษตรกรใน ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือ น ธัน วาคม 2560 ถึ ง มกราคม 2561 ผลการทดลองพบว่าสารเคมี ป้ องกั น ก าจัดโรคพื ชที่ มี ประสิท ธิภาพในการป้ อ งกั นก าจัดโรคใบจุดตาเสือเผือก ได้แก่ pyraclostrobin 25% W/V EC อัตรา 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร /น้ า 20 ลิ ต ร โด ย ethaboxam 10.4 % W/V SC fosetyl-aluminium 80% WG แ ล ะ dimethomorph 50 % WP ให้ประสิทธิภาพรองลงมาตามลาดับ โดยสารเคมีที่ดาเนินการทดลองทุกกรรมวิธี ให้ผลแตกต่างกับกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95% (ตารางที่ 2) ช่วงระยะเวลาที่ ทาการทดลองเป็นช่วงที่ยังพบว่ามีฝนและแตกต่างจากการทดลองครั้งที่ 1 ซึ่งไม่มีฝนตกต่อเนื่อง และอากาศ ค่อนข้างแห้งในช่วงกลางวันเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของทางเขตภาคเหนือ ในขณะที่ทาการทดลองครั้งที่ 2 สภาพอากาศมีความชื้นสูง ทาให้พบความรุนแรงหรือความถี่ของการเกิดโรคค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามผล ประเมินการเกิดโรค เมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่ามีความแตกต่าง ดังนั้นผลจากการทดลองประสิทธิภาพสาร ป้ องกั น ก าจั ด โรคใบจุ ด ตาเสื อ ของเผื อ ก ครั้ง ที่ 2 ได้ ส ารเคมี ป้ องกั น ก าจั ด โรคพื ชที่ มี ป ระสิท ธิ ภ าพ คื อ pyraclostrobin 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ ethaboxam 10.4 % W/V SC อัตรา 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
847
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
10 มิ ล ลิ ลิ ต ร /น้ า 20 ลิ ต ร โ ด ย dimethomorph 50 % WP อั ต ร า 20 ก รั ม /น้ า 20 ลิ ต ร metalaxyl+mancozeb 68% WP อัตรา 40 กรัม/น้า 20 ลิตร และ fosetyl-aluminium 80% WG อัตรา 80 กรัม/น้า 20 ลิตร มีประสิทธิภาพรองลงมา ทาการฉีดพ่นทุก 7 วัน และมีตนทุนการพนสารคือ 63.20, 13.00, 35.80.60, 33.60 และ 35.80 บาท/20 ลิตร ตามลาดับ รายละเอียดของต้ นทุนค่าใช้จ่ายของสารเคมี ป้องกันกาจัดโรคพืชดังแสดงในตารางที่ 3 การทดลองทั้งสองให้ผลที่สอดคลองกัน คือ pyraclostrobin 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้า 20 ลิตร และ ethaboxam 10.4% W/V SC อัตรา 10 มิ ลลิลิตร/น้า 20 ลิตร มี ประสิท ธิภาพในการป้องกั น กาจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกได้ดี มีระดับ ความรุนแรงของโรคน้อยกวากรรมวิธีพ นสารทดสอบชนิดอื่น และ กรรมวิธีพนน้าเปลา ดังนั้นจึงสามารถใชเป็นคาแนะนาในการปองกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกที่มีสาเหตุจาก เชื้อรา P. colocasiae มีตนทุนการพนสาร คือ 63.20 และ 13.00 บาท/20 ลิตร หรือ 379 และ 78 บาท/ไร่ ตามลาดับ และจากการทดลองไม่พบผลกระทบของสารป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ
848
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae ในแปลงทดสอบ ตาบลเจดีย์แม่ครัว อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กรรมวิธี dimethomorph 50% WP fosetyl-aluminium 80% WG metalaxyl-M + mancozeb 68% WG ethaboxam 10.4% W/V SC pyraclostrobin 25% W/V EC phosphonic acid 40% W/V SL Control CV (%) RE (%)
อัตราการใช้ (กรัม/มล.ต่อ น้า 20 ลิตร)
ระดับการเกิดโรคใบจุดตาเสือของเผือก 1/ ประเมินก่อนการฉีดพ่นครั้งที่ หลังการฉีดพ่น (วัน) 1 2 3 4 7 วัน 15 วัน 30 วัน
ผลผลิต (ตัน/ไร่)
20
1.65 ab2/ 2.78 ab 3.25 ab
3.84 b
4.16 ab
4.39 b
4.51 ab
5.22 ab
80
1.74 ab
2.39 a
3.30 ab
3.91 b
4.41 b
4.55 b
4.76 bc
5.18 ab
40
1.66 ab
2.40 a
2.85 a
3.40 ab 3.83 ab
4.10 ab
4.38 ab
5.39 ab
10
1.69 ab
2.11 a
2.83 a
3.74 ab
4.28 b
4.68 b
4.99 bc
5.40 ab
20
1.51 a
1.94 a
2.17 a
2.59 a
3.10 a
3.25 a
3.65 a
5.62 a
50 -
1.55 a 1.55 a
2.89 ab 3.59 ab 3.98 b 4.71 b
4.01 b 5.58 c
4.55 b 5.90 c
5.10 bc 5.96 c
5.50 cd 6.00 d
5.15 ab 5.10 b
-
6.60
19.90
17.00
13.90
13.00
15.6
32.60
29.50
85.40 71.70 51.30 52.30 47.10 38.40 1/ การประเมินการเกิดโรคใบจุดตาเสือเผือก อ้างอิงตามคาแนะนาในการจัดทาแผนการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช กรมวิชาการเกษตร 2/ ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเปรียบเทียบโดยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 95% (p=0.05)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
849
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพของสารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae ในแปลงทดสอบ ตาบลหนองหาร อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กรรมวิธี dimethomorph 50% WP fosetyl-aluminium 80% WG metalaxyl-M + mancozeb 68% WG ethaboxam 10.4% W/V SC pyraclostrobin 25% W/V EC phosphonic acid 40% W/V SL Control CV (%) RE (%)
ระดับการเกิดโรคใบจุดตาเสือของเผือก 1/ ประเมินก่อนการฉีดพ่นครั้งที่ หลังการฉีดพ่น (วัน)
อัตราการใช้ (กรัม/มล.ต่อ น้า 20 ลิตร)
1
2
1
2
1
2
1
20
1.41 b2/
2.03 a
3.13 a
4.15 abc
4.78 a
5.19 ab
5.39 ab
5.47 ab
80
1.08 a
1.81 a
2.79 a
3.91 ab
4.56 a
5.41 ab
5.60 ab
5.34 ab
40
1.25 ab
1.93 a
3.74 ab
4.60 bcd
5.23 ab
5.38 ab
5.49 ab
5.44 ab
10
1.26 ab
1.73 a
2.85 a
3.60 a
4.36 a
4.85 a
5.16 a
5.84 a
20
1.30 ab
1.83 a
2.91 a
3.60 a
4.30 a
4.90 a
5.41 ab
5.80 a
50 -
1.35 b 1.33 ab
2.23 a 2.15 a
3.76 ab 4.21 b
4.90 cd 5.19 d
5.74 b 5.74 b
5.79 b 5.93 b
5.89 b 5.99 b
5.21 b 4.78 c
-
12.30
16.10
18.30
14.00
11.70
9.10
7.40
21.47
ผลผลิต (ตัน/ไร่)
85.40 67.90 41.10 47.50 51.20 40.40 1/ การประเมินการเกิดโรคใบจุดตาเสือเผือก อ้างอิงตามคาแนะนาในการจัดทาแผนการทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกาจัดโรคพืช กรมวิชาการเกษตร 2/ ค่าเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรเหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกัน แสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเปรียบเทียบโดยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 95% (p=0.05)
850
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
-
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
ตารางที่ 3 ต้นทุนของการใช้สารป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือของเผือกสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora colocasiae ที่ใช้ในแปลงทดสอบ กรรมวิธี
ขนาดบรรจุ
ราคา/หน่วย1/ (บาท)
dimethomorph 50% WP fosetyl-aluminium 80% WG metalaxyl-M + mancozeb 68% WG ethaboxam 10.4% W/V SC pyraclostrobin 25% W/V EC phosphonic acid 40% W/V SL
500 g 1,000 g 500 g 500 cc. 250 cc. 1,000 cc.
895 620 420 650 790 380
1/ 2/
อัตราการใช้ (กรัม/มล. ต่อน้า 20 ลิตร)
ต้นทุน (บาท/ต่อน้า 20 ลิตร)
ต้นทุน (บาท/ไร่/ครั้ง)2/
20 80 40 10 20 50
35.80 49.60 33.60 13.00 63.20 19.00
215 298 202 78 379 114
ราคาสารป้องกันกาจัดโรคพืชเป็นราคาจาหน่าย ระหว่างช่วงการทดลอง ตั้งแต่มกราคม 2560 ถึง มกราคม 2561 อัตราการใช้ 120 ลิตร/ไร่
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
851
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
ภาพที่ 1
852
ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคใบจุดตาเสือเผือก (ความเสียหายของพื้นที่ใบโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์)
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
PPA-10
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
สรุปผลการทดลอง จากการทดลองทั้งสองครั้งให้ผลที่สอดคล้อง คือ pyraclostrobin 25% W/V EC อัตรา 20 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร และ ethaboxam 10.4% W/V SC อั ต รา 10 มิ ล ลิ ลิ ต ร/น้ า 20 ลิ ต ร มี ประสิทธิภาพในการป้องกันกาจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกได้ดี โดยมีระดับความรุนแรงของโรคน้อยกวา กรรมวิธีพนสารทดสอบชนิดอื่น รวมถึงกรรมวิธีพ นน้าเปลาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สามารถใชเป็น คาแนะนาในการปองกั นก าจัดโรคใบจุดตาเสือเผือกที่ มีส าเหตุจากเชื้อรา P. colocasiae มี ตนทุ น การพนสาร 63.20 และ 13.00 บาท/20 ลิตร หรือ 379 และ 78 บาท/ไร่ ตามลาดับ จากการทดลอง ไม่พบผลกระทบของสารป้องกันกาจัดต่อพืชทดสอบ อย่างไรก็ ตามถึง แม้ ว่า pyraclostrobin 25% W/V EC จะมี ป ระสิท ธิภาพดีที่ สุด แต่ร าคา ต้นทุนการพ่นสารค่อนข้างสูงกว่าสารป้องกันกาจัดโรคพืชชนิดอื่นๆ ดังนั้นปัจจัยด้านต้นทุนก็เป็นส่วน หนึง่ ที่จะส่งผลต่อความสาเร็จหรือความคุ้มทุนของการผลิต ดังนั้นหากมีการเลือกชนิดของสารเคมีเพื่อ ใช้ในการป้องกั นก าจัดที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุ นที่ สูงได้เช่นกัน อนึ่งการใช้ สารเคมี ในการป้องกันก าจัดโรคใบจุดตาเสือ ไม่ ควรใช้ส ารเคมี เพี ยงชนิดเดียวติดต่อ กั นเป็นระยะ เวลานาน เพราะมีความเสี่ยงที่จะทาให้เชื้อเกิดความต้านทานต่อสารเคมี ทาให้การควบคุมหรือป้องกัน กาจัดไม่ได้ผล การเปลี่ยนหรือสลับกลุ่มของสารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช จะช่วยความเสี่ยงที่อาจเกิด จากการความต้านทานของเชื้อราสาเหตุต่อสารเคมีได้ และทาให้ยังคงมี ทางเลือกเพื่อใช้ในการควบคุม โรคดังกล่าวได้ ผลจากการทดลองนี้ ได้สารป้องกันกาจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันกาจัดโรคใบ จุดตาเสือของเผือ ก ซึ่งสามารถใช้เป็นคาแนะนา และเป็นทางเลือกหนึ่งให้เกษตรกรในการป้องกั น กาจัดโรค หรือเป็นข้อมูลพื้นฐานสาคัญที่เป็นประโยชน์ แก่นักวิชาการโรคพืช และนักวิชาการเกษตร ในการพัฒนาหาวิธีการป้องกันกาจัดโรคที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ปลูกพืชต่อไป คาขอบคุณ ขอขอบคุณ คุณสุทธิณี ลิขิตตระกูลรุ่ง นักวิชาการเกษตรชานาญการ คุณอัชณา เตชะบุญ คุณทิพย์ก มล ธิก าราช กลุ่มพั ฒ นาการตรวจสอบพืช และปัจจัยการผลิต สานักวิจัยและพัฒนาการ เกษตร เขตที่ 1 พี่ๆ และน้อ งๆ กลุ่ม งานวิท ยาไมโค กลุ่ม วิจัยโรคพืช ที่ให้ความร่วมมือและความ ช่วยเหลือในการดาเนินการทดลอง และการเก็บข้อมูล รวมถึงกาลังใจที่มีให้กันเสมอมา เอกสารอ้างอิง นรินทร์ พูลเพิ่ม. 2541. เผือกพันธุ์พิจิตร 1. การจัดแสดงผลงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อใช้ในการพัฒนา เศรษฐกิจ: มหกรรมเทคโนโลยี รู้เพือ่ รวย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. หน้า 63. 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
853
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PPA-10
สมศรี บุญเรือง และมาลินี พิทักษ์. 2537. การปลูกเผือกหอม. เอกสารคาแนะนาที่ 15. กรุงเทพฯ กรมส่งเสริมการเกษตร. 17 หน้า. Aggarwai, A. and R.S. Mehrotra. 1987. Control of the Phytophthora leaf blight of taro (Colocasia esculenta) by fungicides and rouging. Phytoparasitica 15(5): 299-305. Bergquist, R.R. 1974. Effect of fungicide rate, spray interval, timing of spray application, and precipitation in relation to control of Phytophthora leaf blight of taro. Annals of Botany 38: 213-221. Cox. P.G. and C. Kasimani. 1990. Control of taro leaf blight using metalaxyl: effect of dose rate and application frequency. Papua New Guinea. Journal of Agriculture Forestry and Fisheries 35(1-4): 49-55. Davinder, S., G. Jackson, D. Hunter, R. Fullerto, V. Lebot, M. Taylor, T. Iosefa, T. Okpul and J. Tyson. 2012. Taro Leaf Blight-A Threat to Food Security. Agriculture 2012 2: 182-203. Ghosh, S.K. and P. Sitansu. 1991. A complehensive account of the fungal diseases of Colocasia esculenta (L.) Schott. Indian Journal of Mycological Research 27(2): 107-110. Jackson, G.V.H., D.E. Gollifer and F.J. Newhook. 1980. Studies on the taro leaf blight fungus Phytophthora colocasiae in Solomon Islands: control by fungicides and spacing. Annals of Applied Biology 96: 1–10. Misra, R.S., K. Sharma and A.K. Mirhra. 2008. Phytophthora Leaf Blight of Tara (Colocasia esculenta)-A review. The Asian and Australiasian Journal of Plant Science and Biotechnology 2(2): 55-63. Sahu, M.P., K.P. Signh and J.R.P. Signh. 1989. Control of blight disease of taro. Indian Farming 39(2): 22-23.
854
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
ผลของสาร paraquat ต่อการเจริญเติบโต และการรอดชีวิต ในคะน้าและผักบุ้งจีน The Effect of Paraquat on Growth and Survival in Kale and Water Convolvulus ธนากร โสโท1 พิษณุ เอ้กระโทก1,2 และ สันติไมตรี ก้อนคาดี1,2* Thanakorn Soto1 Phitsanu Aekrathok1,2 and Santimaitree Gonkhamdee1,2* 1
สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University 40002 2 ศูนย์วิจัยอ้อยและนาตาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 2 Northeast Thailand Cane and Sugar Research Center, Khon Kaen University 40002 * Corresponding author: gsanti@kku.ac.th 1
บทคัดย่อ ปัจจุบันพื ชผักอาจได้รับ สารเคมีป นเปื้อนในน้าซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญ เติบ โตของพืชได้ ดัง นั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของคะน้า และผักบุ้งจีน เมื่อได้รับน้าที่มีการตกค้างของ สาร paraquat ในอัตราต่างๆ โดยทาการทดลองในสภาพการจาลองการปลูกพืชไร้ดิน ณ หมวดพืชไร่ คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิท ยาลัยขอนแก่ น โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จานวน 5 ซ้า แบ่งออกเป็น 2 งานทดลอง งานทดลองที่ 1 คือการเปรียบเทียบผลของสาร paraquat ต่อการรอดชีวิต และการเจริญเติบโตของคะน้า และงานทดลองที่ 2 คือการเปรียบเทียบผลของสาร paraquat ต่อการรอดชีวิต และการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน เมื่อได้รับน้าที่มีการปนเปื้อนของสาร paraquat ในอัตรา ต่างๆ ได้แก่ 0.0, 0.001, 0.01, 0.1, 1.0 และ 10.0 ppm ผลการทดลองพบว่า สาร paraquat อัตรา 0.0 ppm ถึง 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบ และความสูง แตกต่าง กันทางสถิติ หลังได้รับ สาร paraquat 7 วัน โดยสาร paraquat อัตรา 0.0 ppm ถึง 0.1 ppm ท าให้พืชทั้ ง สองชนิดมีการเจริญเติบโตปกติ แต่สาร paraquat อัตรา 1.0 ppm ทาให้ความสูงของพืชทั้งสองชนิดชะงัก การเจริญเติบโต ในขณะที่สาร paraquat อัตรา 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอด ชีวิตลดลงเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์ จานวนใบของคะน้าและผักบุ้งจีนลดลงเท่ากับ 0.57 และ 1.44 ใบต่อต้น ต่อวัน ตามลาดับ และความสูงลดลง เท่ากับ 0.82 และ 4.94 เซนติเมตรต่อต้นต่อวัน ตามลาดับ แต่อย่างไรก็ ตาม ควรมีการทดสอบหาปริมาณของสาร paraquat ที่อาจจะปนเปื้อนในพืชทั้งสองชนิดว่าในแต่ละอัตรามี ปริมาณของสาร paraquat ที่ปนเปื้อนหรือตกค้างมากน้อยเพียงใด คาสาคัญ : การปนเปื้อน สารกาจัดวัชพืช สารตกค้างในพืชผัก ความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืช ABSTRACT
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
855
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
At present, vegetable crops may be chemical contaminated by irrigation water which may affect plant growth. Therefore, this research aims to study the growth of kale and water convolvulus when receiving irrigation water contaminated with paraquat at various rates. The experiment was conducted under hydroponics conditions between January and May 2019 at the Agronomy Division, Faculty of Agriculture Khon Kaen University. The experimental design was a Completely Randomized Design (CRD) with 5 repetitions, which were divided into 2 experiments. The first experiment was to compare the effect of paraquat on seedling survival and growth of kale. The second experiment was to compare the effect of paraquat on seedling survival and growth of water convolvulus when receiving water contaminated with paraquat at various rates i.e. 0.0, 0.001, 0.01, 0.1, 1.0 and 10.0 ppm. The results indicated that paraquat at the rates of 0.0 ppm to 10.0 ppm, resulting in kale and water convolvulus having seedling survival percentage, number of leaf and height increment, statistically significant at 7 days after paraquat application. However, paraquat at the rates of 0.0 ppm to 0.1 ppm, made both kale and water convolvulus grew normally and did not show toxicity symptoms, but paraquat at 1.0 ppm caused both plants to be retarded in growth but still survived. While the rate of 10.0 ppm resulted in kale and water convolvulus having seedling survival percentage down to zero, leaves of kale and water convolvulus decreased by 0.57 and 1.44 leaf/plant/day respectively, height of kale and water convolvulus decreased by 0.82 and 4.94 centimeters/plant/day respectively. However, more studies should be made to quantity the amount of the chemicals uptaken by both kinds of plant from each treatment. Keywords: Contamination, herbicide, residues in vegetables, toxicity คานา คะน้ า (Brassica alboglabra) และผั ก บุ้ ง จีน (Ipomoea reptans L.) ถื อเป็ น ผัก ที่ ค นไทยนิ ย ม บริโ ภคเป็ นวงกว้าง และเป็ น พื ชผั ก ที่ มี ความส าคัญ ทางเศรษฐกิ จ อย่ างสูง การปลู ก คะน้ าและผั ก บุ้ ง จี น จาเป็นต้องมีการใช้น้าจากแหล่งต่างๆ สาหรับการเจริญเติบโต ซึ่งหากแหล่งน้าดังกล่าวมีการปนเปื้อนสารเคมี เนื่องจากการนาเคมีภัณฑ์ เช่น สาร paraquat มาใช้ในระบบการเกษตรโดยขาดความระมั ดระวัง (นิพนธ์ , 2545) ทาให้พืชผักมีโอกาสดูดซึมสารดังกล่าวได้ แม้จะมีการรายงานว่า การตกค้างของสาร paraquat ในน้า ของประเทศไทย เท่ากับ 0.028 ppm (สุภาพร และคณะ, 2557 อ้างใน พรหมพิศิษฐ, มปป.) แต่เมื่อเกษตรกร นาน้าไปรดผัก ผักจะไม่ตาย เนื่องจากความเข้มข้นดังกล่าวเป็นความเข้มข้นที่ต่า อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกร นาน้าที่มีส่วนผสมของสาร paraquat ไปรดดิน สารจะถูกดูดยึดไว้โ ดยอนุภาคของดิน ซึ่งไม่สามารถเข้าสู่ราก 856
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
พืชที่ต้องการศึกษาได้ โดยงานทดลองนี้ต้องการทราบความเข้มข้นของสารพาราควอทในสารละลายที่ส่งผลให้ พืชแสดงอาการเป็นพิษ จึงต้องดาเนินการศึกษาในสารละลายที่ให้ทางรากพืช ดังนั้น งานทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสาร paraquat ต่อการเจริญเติบโต และการรอด ชีวิต ในคะน้าและผักบุ้งจีน จากการใช้ ส ารละลายฮอกแลนด์ที่ มีการผสมสาร paraquat ในอัตราต่างๆ ใน สภาพการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริงในสภาพการปลูกพืชปกติ โดยข้อมูลจากการทดลองบางส่วนสามารถ นาไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาการดูดซึมของสาร paraquat ในผักที่ได้รับสารละลายที่มีการผสมของ สารดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อุปกรณ์และวิธีการ 1. การเตรียมพืชทดสอบ และสาร paraquat การทดลองครั้งนี้ ทาการทดสอบในพืชที่เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน คือ คะน้า และผักบุ้งจีน ของบริษัท เจียไต๋ จากัด สาร paraquat (27.6% SL) ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารกาจัดวัชพืชที่เกษตรกรส่วนใหญ่ นิยมใช้ 2. การศึกษาและขันตอนการทดลอง ทาการทดลอง ณ เรือนทดลอง หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทาการทดลอง ในช่ วงเดื อ นมกราคม ถึ ง เดื อ นพฤษภาคม 2562 วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จานวน 6 กรรมวิธี 5 ซ้า โดยแบ่งออกเป็ น 2 งานทดลอง งานทดลองที่ 1 คือ เปรียบเทียบ ข้อมูลการมีชีวิต และการเจริญเติบโตของคะน้า และงานทดลองที่ 2 คือ เปรียบเทียบข้อมูลการมีชีวิต และการ เจริญเติบโตของผักบุ้ง เมื่อพืชทั้ง 2 ชนิด ได้รับน้าที่มีการปนเปื้อนของสาร paraquat ในอัตราต่างๆ ดาเนินการเพาะเมล็ดคะน้าและผักบุ้งจีน เมื่อพืชงอกได้ย้ายปลูกลงในระบบน้า (hydroponics) โดยใช้ กระปุ ก บรรจุภั ณ ฑ์ ความจุ 1 ลิ ตร รูป ทรงกระบอก สูง 14 เซนติเ มตร และมี เส้ น ผ่านศูน ย์ ก ลาง 12.5 เซนติเมตร โดยเว้นระยะห่างระหว่างกระปุก 6 เซนติเมตร โดยปลูกพืชจานวน 1 ต้นต่อกระปุก พร้อมกับให้ ออกซิเจนแก่รากพืชผ่านเครื่องให้อากาศ และจัดเตรียมสารละลายเพื่อใช้เป็นอาหารสาหรับพืชทดลอง โดยใช้ สารละลาย Hoagland (Epstein and Bloom, 2005) จานวน 1 ลิตรต่อ 1 กระปุก ปรับค่า pH ให้เหมาะสม ที่ 6.5-7.0 ดาเนินการเปลี่ยนสารละลาย Hoagland ทุกๆ 5 วัน เมื่อพืชทั้ง 2 ชนิดมีอายุ 25 วันหลังจากเพาะ เมล็ด ผสมสาร paraquat ตามอัตราความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ 0.0 ppm (น้าเปล่า), 0.001 ppm, 0.01 ppm, 0.1 ppm, 1.0 ppm และ 10.0 ppm 3. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบที่เพิ่มขึ้น และความสูงที่เพิ่มขึ้นของพืชทดสอบหลังได้รับสาร paraquat 7 วัน ดังสมการ 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
857
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
4. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลตามแผนการทดลอง Completely Randomized Design (CRD) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบ Least-Significant Difference (LSD) ที่ระดับความเชื่อมั่น P≤0.05 ผลและวิจารณ์ จากการศึกษาผลของสาร paraquat ในอัตราที่แตกต่างกัน ต่อเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบ และ ความสูง ของคะน้าและผักบุ้งจีนหลังได้รับสาร 7 วัน (ตารางที่ 1) พบว่า อัตราของสาร paraquat ที่แตกต่าง กัน ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบ และความสูงแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี นัยสาคัญยิ่ง เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และจานวนใบ พบว่า สาร paraquat อัตรา 0.0 ppm ถึง 1.0 ppm ส่งผลให้ คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอดชี วิต (100.00 เปอร์เซ็นต์) และจานวนใบที่เพิ่มขึ้น (0.00 ใบต่อวัน) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ที่ อัตรา 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมี เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลง เหลือ 0.00 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งคะน้าและผักบุ้งจีนมีจานวนใบลดลง เท่ากับ 0.57 และ 1.44 ใบต่อต้นต่อวัน ตามลาดับ ความสูงของคะน้าและผักบุ้งจีน พบว่า สาร paraquat อัตรา 0.0 ppm ถึง 1.0 ppm ส่งผลให้คะน้า และผักบุ้งจีนมีความสูงไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม สาร paraquat อัตรา 1.0 ppm ส่งผลให้ คะน้าและผัก บุ้ง จีนชะงัก การเจริญ เติบโต สังเกตได้จากความสูงของพืชไม่ เปลี่ยนแปลงหลังรับ สาร 7 วัน ในขณะที่ สาร paraquat อัตรา 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีความสูงลดลง เท่ากับ 0.82 และ 4.94 เซนติเมตรต่อต้นต่อวัน ตามลาดับ จะเห็นได้ว่าสาร paraquat ที่ผสมในสารละลาย Hoagland อัตรา 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบ และความสูงลดลง
858
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
ตารางที่ 1 ผลของสารพาราควอทในอัตราที่แตกต่างกันต่อเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต จานวนใบที่เพิม่ ขึ้น และความสูงที่เพิ่มขึ้น ของคะน้า และผักบุ้งจีนทีร่ ะยะ 7 วัน หลังได้รับสาร อัตราสาร 0.0 ppm 0.001 ppm 0.01 ppm 0.1 ppm 1.0 ppm 10.0 ppm F-test CV (%)
การรอดชีวิต (เปอร์เซ็นต์) คะน้า ผักบุง้ จีน 100.00 a1/ 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 100.00 a 0.00 b 0.00 b **3/ ** 0.00 0.00
จานวนใบที่เพิ่มขึ้น (ใบ/ต้น/วัน) คะน้า ผักบุง้ จีน 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a 0.00 a -0.57 b2/ -1.44 b ** ** 0.00 5.09
ความสูงทีเ่ พิ่มขึ้น (เซนติเมตร/ต้น/วัน) คะน้า ผักบุง้ จีน 0.08 a 0.26 a 0.04 a 0.05 a 0.01 a 0.07 a 0.00 a 0.04 a 0.00 a 0.00 a -0.82 b -4.94 b ** ** 5.19 13.28
1/
ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีตวั อักษรเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD ตัวเลขทีต่ ิดลบคือจานวนใบหรือความสูงที่ลดลง 3/ ** =แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (P<0.01) 2/
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
859
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-01
สรุปผลการทดลอง สาร paraquat อัตรา 0.0 ppm ถึง 1.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมีเปอร์เซ็นต์การรอด ชีวิต จานวนใบ และความสูง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม ที่อัตรา 1.0 ppm ส่งผลให้ความ สูงของคะน้าและผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโต แต่ไม่ทาให้พืชตาย ในขณะที่สาร paraquat อัตรา 10.0 ppm ส่งผลให้คะน้าและผักบุ้งจีนมี เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลงเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์ จานวนใบ ลดลงเท่ ากั บ 0.57 และ 1.44 ใบต่อต้นต่อวัน ตามล าดับ และความสูงลดลง เท่ ากั บ 0.82 และ 4.94 เซนติเมตรต่อต้นต่อวัน ตามลาดับ คาขอบคุณ ขอขอบคุ ณ สาขาวิ ช าพื ช ไร่ คณะเกษตรศาสตร์ และศู น ย์ วิ จั ย อ้ อ ยและน้ าตาล ภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ที่ ค อยอ านวยความสะดวกในทุ ก ด้ า น และขอขอบคุ ณ หมวดพื ช ไร่ คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาหรับการสนับสนุนสถานที่การวิจัยในครั้งนี้ เอกสารอ้างอิง นิพนธ์ ตั้งธรรม. 2545. แบบจาลองคณิตศาสตร์ การชะล้างพังทลายของดินและมลพิษตะกอนในพื้นที่ลุ่ม น้า. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง. ม.ป.ป. พาราควอท ยาฆ่าหญ้า ที่ประเทศไทย ต้องเลิกใช้. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แหล่งที่มา URL https://home.kku.ac.th/phlib/doc/LibSkills/RefKKUstyle.pdf สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธุ์ 2562.
860
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
การประเมินความทนทานของสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก และการฟื้นตัวของอ้อยพันธุต์ ่างๆ Evaluated of Post-emergence of Herbicide Tolerance and Toxicity of Different Sugarcane Varieties นิดานุช ปรปักพ่าย1,2 และ สันติไมตรี ก้อนคาดี1,2* Nidanuch Porapagpai1,2 and Santimaitree Gonkhamdee1,2* 1
สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, KhonKaen University 40002 2 ศูนย์วิจัยอ้อยและนาตาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 2 Northeast Thailand Cane and Sugar Research Center, KhonKaen University 40002 * Corresponding author: gsanti@kku.ac.th 1
บทคัดย่อ เกษตรกรนิยมใช้สารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอกในการกาจัดวัชพืช แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารกาจัด วัชพืชในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่แนะนาในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจจะทาให้อ้อยบางพันธุ์ชะงักการเจริญเติบโตได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทดสอบความทนทานของอ้อยพันธุ์ต่างๆ ต่อสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก โดยดาเนินการทดลองในอ้อยปลูก ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จั งหวัดขอนแก่น ระหว่ างเดื อนมี นาคม 2559 ถึ ง เดื อ นมี น าคม 2560 แบ่ ง เป็ น 2 งานทดลอง การทดลองที่ 1 ศึ ก ษาสาร ametryn และการทดลองที่ 2 ศึกษาสาร paraquat ทั้งสองการทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Split plot in Randomized complete block design (RCBD) จานวน 4 ซ้า โดย Main plot คือ พันธุ์อ้อย จานวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น 3, LK92-11 และ K93-219 วิธีการกาจัดวัชพืช 3 กรรมวิธี เป็น Sub plot ได้แก่ 1) การ กาจัดวัชพืชด้วยมือ 2) สารกาจัดวัชพืชตามอัตราแนะนา และ 3) สารกาจัดวัชพืช 2 เท่าของอัตราแนะนา ผล การทดลองพบว่ า อ้ อ ยพั น ธุ์ข อนแก่ น 3 มี แ นวโน้ ม ทนทานต่ อ สาร ametryn และ paraquat มากที่ สุ ด เนื่อ งจากสามารถฟื้ น ตัวได้ เร็วกว่าอ้ อ ยพั นธุ์ อื่ นๆ การใช้ ส าร ametryn ท าให้ อ้อ ยฟื้น ตัวได้เร็ว ส่ วนสาร paraquat ทาให้อ้อยฟื้นตัวช้า และการใช้สาร paraquat อัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา ทาให้อ้อยมีความเป็น พิษมากกว่าการใช้สารอัตราแนะนา 1.26 – 1.62 เท่า หลังการใช้สาร 1-30 วัน ซึ่งผู้ใช้ต้องใช้สาร paraquat ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดพิษในพันธุ์อ้อยที่ใช้ คาสาคัญ : การเกิดพิษ วิธีการควบคุมวัชพืช ametryn paraquat ABSTRACT Post-emergence herbicides are widely used in weed control by sugarcane farmers. However, farmers usually spray herbicides at the concentrations higher than the 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
861
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
recommended rate which may be toxic to some sugarcane varieties and affect their growth and yield. Therefore the purpose of this study was to evaluate the tolerance of three sugarcane varieties namely KK3, LK92-11 and K93-219 to 2 post-emergence herbicides, ametryn and paraquat. The experiment was conducted at Faculty of Agriculture Khon Kaen University, Khon Kaen province, from March 2016 to March 2017, which were separated into 2 experiments. The first experiment was the study of ametryn, the second experiment was the study of paraquat. The experimental design was the same for both studies i.e. a Split plot in Randomized complete block design with four replications. The main plots were varieties i.e. KK3, LK92-11 and K93-219, the sub plots were three weed control methods i.e. 1) hand weeding 2) herbicides at recommended rate and 3) herbicides at double recommended rate. The results showed that KK3 had a tendency to be resistant to both ametryn and paraquat due to its ability to recover faster than the other sugarcane varieties. Sugarcane applied with ametryn had a fast growth recovery while that applied with paraquat had a slow growth recovery. Paraquat application at double recommended rate resulted in sugarcane having more toxicity symptom than that applied with recommended rate by 1.26 – 1.62 times as measured during 1-30 days after application. The farmers need to use paraquat at an appropriate rate in order to avoid toxicity effect to sugarcane. Keywords: toxicity, weed control, ametryn, paraquat คานา การแก้ ปั ญ หาวั ช พื ช ในปั จ จุ บั น นี้ เกษตรกรนิ ย มใช้ ส ารก าจั ด วั ช พื ช ประเภทหลั ง งอก ( postemergence herbicides) ในการก าจั ด วัช พื ช ในแปลงอ้ อ ย เนื่ อ งจากขาดแคลนแรงงาน ค่ า แรงสู ง และ จาเป็น ต้องรีบ เร่ง ก าจัดวัชพื ชให้ทั น การณ์ ก่ อนที่ จ ะเกิ ดความเสียหายต่อต้นอ้อย สารก าจัดวัชพื ชจึงเป็ น ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอกกับอ้อยบาง พันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสารกาจัดวัชพืช อาจทาให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตได้ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้อัตรา สารกาจัดวัชพืชมากกว่าที่ฉลากแนะนาไว้ โดยอัตราสารที่ใช้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์ของอัตราที่ แนะนา จากเหตุผลดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงได้ (ข้อมูลจากการ สัม ภาษณ์ เกษตรกรชาวไร่อ้ อ ยและเจ้าหน้ าที่ ส่ง เสริม ของโรงงานน้าตาล จังหวัดกาฬสิ นธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี และมุกดาหาร, 2556-2558) ดังนั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความทนทานของอ้อยพันธุ์ต่างๆ ต่อสารกาจัดวัชพืช ประเภทหลังงอก ข้อมูลการใช้สารกาจัดวัชพืชดัง กล่าวสามารถเผยแพร่ให้กับชาวไร่อ้อย ทาให้เกษตรกรลด ต้นทุนการผลิตจากการที่ไม่ต้องใช้สารกาจัดวัชพืชในอัตราที่สูงกว่าอัตราทีแ่ นะนา และทาให้เกษตรกรตระหนัก 862
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
ถึงการใช้สารกาจัดวัชพืชตามอัตราแนะนามากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการผลิตสินค้าที่คานึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค สภาพแวดล้อม และผู้ใช้สารด้วยเช่นกัน อุปกรณ์และวิธีการ การศึกษาและขันตอนงานทดลอง ด าเนิ น การทดลองในอ้ อ ยปลู ก ฤดู ก ารปลู ก อ้ อ ยน้ าราด ปี 2558/2559 ณ หมวดพื ช ไร่ คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ศึกษาผลของสารก าจัดวัชพื ชประเภทหลังงอก (post-emergence herbicide) ที่มีใช้ในท้ องตลาด และเกษตรกรใช้ในแปลงอ้อ ย จานวน 2 ชนิด ได้แก่ 1. อะมีทรีน (ametryn; 80% WP ชื่อการค้า โพสเทค ของบริษัท เจียไต๋ จากัด) เป็นสารกาจัดวัชพืชควบคุมวัชพืชใบกว้างและวงศ์หญ้าอายุฤดูเดียวในอ้อย และเป็น สารที่ดูดซึมทางใบได้รวดเร็ว ซึ่งต้องผสมสารจับใบ (ชื่อการค้า ฟอย (Foil); ethoxylated natural oil 93%, alkylated natural oil 7% ของบริษัท เทพวัฒนา จากัด) ร่วมกับสารกาจัดวัชพืช ametryn ร้อยละ 0.25% และ 2. พาราควอตไดคลอไรด์ (paraquat dichloride; 27.6% SL ของบริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จากัด) แบ่ ง ออกเป็ น 2 งานทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Split plot in Randomized complete block design (RCBD) จานวน 4 ซ้า โดย Main plot คือ พันธุ์อ้อยจานวน 3 พันธุ์ โดยแบ่งเป็นพันธุ์อ้อยที่ ปลูกเป็นการค้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 2 พันธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น 3 และ LK92-11 และพันธุ์ อ้อยจากสานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้าตาลทราย (สอน.) จานวน 1 พันธุ์ ได้แก่ K93-219 Sub plot คือ วิธีการกาจัดวัชพืช ซึ่งพ่นสารกาจัดวัชพืชแต่ละสารตามอัตราแนะนา และ 2 เท่าของ อัตราแนะนา เปรียบเทียบกับกรรมวิธีการกาจัดวัชพืชด้วยมือ จานวน 2 ครั้ง เมื่อ 1 และ 3 เดือน ดังตารางที่ 1 การปลูกและการดูแลแปลงทดลอง ไถเตรียมดิน โดยไถดะ แปร และพรวน ดาเนินการยกร่อง ปลูกอ้อยเดือนมีนาคม แบบวางท่อนคู่ โดย ใช้แรงงานคนปลูกและตัดท่อนพันธุ์ เตรียมท่อนพันธุ์อ้อยให้มีความสม่าเสมอ ปลอดโรคใบขาว แต่ละแปลง ย่อย มีอ้อย 4 แถวๆ ยาว 7 เมตร (เก็บข้อมูล 2 แถวกลาง และห่างจากหัวแปลงท้ายแปลงข้างละ 1.5 ม.) โดย ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 150 เซนติเมตร และระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน โดยใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก.ต่อไร่ ให้น้าตามร่อง ก่อนวางท่อนพันธุ์ เพื่อให้อ้อยงอกสม่าเสมอ
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
863
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
ข้อมูลอ้อย 1) ค่าคะแนนตามความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืชต่ออ้อยเมื่อ 1, 3, 7 และ 30 วันหลังพ่นสาร แบ่ง ช่วงของค่าคะแนนเป็น 0-100 % ตามวิธีของ Frans and Talbert (1977) และทาการเก็บข้อมูลการฟื้นตัว ของอ้อย 2) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติของข้อมูล (analysis of variance) ตามแผนการทดลอง และ เปรียบเที ยบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกรรมวิธีโดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ผลการทดลองและวิจารณ์ 5.1 ความเป็นพิษต่ออ้อย และประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช จากการศึกษาผลของสาร ametryn ต่อเปอร์เซ็นต์ความเป็นพิษต่ออ้อยที่ระยะ 1, 3, 7 และ 30 วัน หลังพ่นสาร (ตารางที่ 1) พบว่า สาร ametryn ส่งผลให้อ้อยทุกพันธุ์เกิดอาการได้รับพิษ ตั้งแต่ 1-10% ซึ่งไม่ มีความแตกต่างกันทางสถิติทุกระยะการประเมิน และเมื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีการกาจัดวัชพืช พบว่า การใช้ สาร ametryn อัตราแนะนา และ 2 เท่าของอัตราแนะนา ส่งผลให้อ้อยเกิดความเป็นพิษ ไม่แตกต่างกันทุ ก ระยะของการประเมิน แต่แตกต่างกับกรรมวิธีที่กาจัดวัชพืชด้วยมือ ซึ่งไม่มีอาการของความเป็นพิษเกิดขึ้น เมื่อ อ้อยมีอายุ 30 วันหลังพ่นสาร อาการเกิดพิ ษจะไม่ป รากฏให้เห็นในอ้อยทุกพันธุ์และ ทุก กรรมวิธีการกาจัด วัชพืช ซึ่งแตกต่างจากการทดลองของสิริชัย และคณะ (2554) รายงานว่า การพ่นสาร ametryn อัตรา 480 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ที่ระยะ 15 และ 30 วันหลังพ่นสาร อ้อยไม่แสดงอาการเกิดพิษ จากการศึกษาผลของสาร paraquat ต่อเปอร์เซ็นต์ความเป็นพิษต่ออ้อยที่ระยะ 1, 3, 7 และ 30 วัน หลังพ่นสาร (ตารางที่ 2) พบว่า สาร paraquat ส่งผลให้อ้อยทุกพันธุ์เกิดความเป็นพิษ ตั้งแต่ 22-56% ซึ่งไม่ มีความแตกต่างกันทางสถิติทุก ระยะการประเมิ น และเมื่อเปรียบเที ยบกรรมวิธีการกาจัดวัชพืช พบว่า ทุ ก กรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นพิษต่ออ้อยที่แตกต่างกัน โดยกรรมวิธีที่ใช้สาร paraquat อัตรา 2 เท่าของอัตรา แนะนา ส่งผลให้อ้อยเกิดความเป็นพิษที่สูงที่สุด (83, 71, 83 และ 42% ตามลาดับ) รองลงมาคือกรรมวิธีที่ใช้ สาร paraquat อัตราแนะนา (65, 54, 66 และ 26% ตามลาดับ ) และกรรมวิธีก าจัดวัชพืชด้วยมือ ไม่ ทาให้ อ้อยเกิดอาการเป็นพิษ ทุกระยะการประเมิน (0%) ในขณะที่ ง านวิจั ย ที่ ผ่ า นมาของ อรรถสิ ท ธิ์ และคณะ (2543) ได้ ศึ ก ษาการใช้ ส ารก าจั ด วั ช พื ช ametryn และ paraquat ควบคุมวัชพื ชในอ้อยพันธุ์ Phil 66-07 เมื่อ อ้อยอายุ 90 วันหลังปลูก ทาให้อ้อย แสดงอาการเกิดพิษน้อยมากเท่ากับ 0.3 และ 0.7 คะแนนตามลาดับ (0 = ไม่มีพิษ, 10 = มีพิษรุนแรงมาก) ซึ่ง แตกต่ างจากการทดลองครั้ง นี้ ที่ ส าร ametryn และ paraquat ท าให้ อ้ อยเกิ ดพิ ษ น้ อยจนถึ ง ปานกลาง เนื่องจากพันธุ์อ้อยและอัตราสารที่ใช้ทดสอบแตกต่างกัน
864
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
ตารางที่ 1 ผลของสาร ametryn ต่อเปอร์เซ็นต์ความเป็นพิษต่ออ้อย ปัจจัย
1 DAA
3 DAA
7 DAA
30 DAA
พันธุ์ KK3 LK92-11 K93-219 วิธีการกาจัดวัชพืช
1 3 5
2 3 2
4 5 10
0 0 0
0 b1/
0b
0b
0
อัตราแนะนา อัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา F-test
3 ab 6a
4a 3a
9a 9a
0 0
พันธุ์
ns2/
ns
ns
-
วิธีการกาจัดวัชพืช
**
**4/
**
-
พันธุ์xวิธีการกาจัดวัชพืช CV(%) พันธุ์ CV(%) วิธีการกาจัดวัชพืช
ns 219.3 133.87
ns 88.82 86.45
ns 92.82 60.47
-
กาจัดวัชพืชด้วยมือ
-
1/
ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีตวั อักษรเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD,2/ ns= ไม่แตกต่าง ทางสถิติ, 3/* = แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 % (P<0.01), 4/DAA = days after application คือ วันหลังพ่นสาร
ตารางที่ 2 ผลของสาร paraquat ต่อเปอร์เซ็นต์ความเป็นพิษต่ออ้อย 1 DAA
3 DAA
7 DAA
30 DAA
KK3
50
41
50
22
LK92-11
55
48
56
25
K93-219
48
36
50
23
กาจัดวัชพืชด้วยมือ
0 c1/
0c
0b
0c
อัตราแนะนา
65 b
54 b
66 a
26 b
อัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา
83 a
71 a
83 a
42 a
ปัจจัย พันธุ์
วิธีการกาจัดวัชพืช
F-test
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
865
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
พันธุ์
ns 2/
ns
ns
ns
วิธีการกาจัดวัชพืช
**
**
**4/
**
พันธุx์ วิธีการกาจัดวัชพืช
ns
ns
ns
CV(%) พันธุ์
10.65
39.72
10.87
ns 26.89
CV(%) วิธีการกาจัดวัชพืช
38.86
42.05
39.09
38.92
1/
ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีตวั อักษรเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD,2/ ns= ไม่แตกต่าง ทางสถิติ, 3/** = แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 % (P<0.01), 4/DAA = days after application คือ วันหลังพ่นสาร
การฟื้นตัวของอ้อย จากการศึกษาผลของสาร ametryn ต่อการฟื้นตัวของอ้อย (ตารางที่ 3) พบว่า อ้อยทุกพันธุ์มี ความสามารถในการฟื้นตัวที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนกรรมวิธีการกาจัดวัชพืชส่งผลต่อการฟื้นตัวของอ้อยแตกต่าง กัน พบว่า การกาจัดวัชพืชด้วยมือมีการฟื้นตัวแตกต่างกับการใช้สาร ametryn ทั้งสองอัตรา แต่การใช้สาร ametryn ทัง้ อัตราแนะนา และอัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา ทาให้การฟื้นตัวของอ้อยไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากการศึกษาผลของสาร paraquat ต่อการฟื้นตัวของอ้อย (ตารางที่ 3) พบว่า อ้อยทุกพันธุ์มี ความสามารถในการฟื้นตัวที่ไม่แตกต่างกัน แต่กรรมวิธีการกาจัดวัชพืช ส่งผลต่อการฟื้นตัวของอ้อยแตกต่างกัน โดยพบว่า การใช้สาร paraquat อัตราแนะนา (22.92 วันหลังพ่นสาร) ส่งผลให้อ้อยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้ สาร paraquat อัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา (26.33 วันหลังพ่นสาร) ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ ตารางที่ 3 ผลของสาร ametryn และ paraquat ต่อการฟื้นตัวของใบอ้อย ปัจจัย KK3 LK92-11 K93-219 วิธีการกาจัดวัชพืช กาจัดวัชพืชด้วยมือ อัตราแนะนา อัตรา 2 เท่าของอัตราแนะนา พันธุ์ วิธีการกาจัดวัชพืช พันธุ์xวิธีการกาจัดวัชพืช CV(%) พันธุ์ CV(%) วิธีการกาจัดวัชพืช
การฟื้นตัวของอ้อย (วันหลังพ่นสาร) สาร ametryn สาร paraquat 4.25 15.42 4.83 17.83 4.67 17.00 1.00 b1/ 6.25 a 6.50 a ns2/ **3/ ns 16.40 11.69
1/
1.00 c 22.92 b 26.33 a ns ** ns 22.99 21.39
ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันที่มีตวั อักษรเหมือนกันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี LSD,2/ ns= ไม่แตกต่าง ทางสถิติ, 3/** = แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 % (P<0.01)
866
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาความทนทานของสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอกของอ้อยพันธุ์ต่างๆ พบว่า อ้อยพันธุ์ ขอนแก่น3 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าอ้อยพันธุ์ LK92-11 และพันธุ์ K93-219 การใช้สาร ametryn ทาให้อ้อย ฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้สาร paraquat และการใช้สารอัตราสูงกว่าอัตราแนะนาทาให้ออ้ ยมีความเป็นพิษ มากกว่าการใช้สารอัตราแนะนา 1.28 เท่า อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้าตาล และ ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจร่วมด้วย เพื่อยืนยันผลการทดลองนี้ คาขอบคุณ โครงการวิจัยนี้ได้รบั งบประมาณสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ขอขอบคุณศูนย์วิจัยอ้อยและน้าตาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขอขอบคุณหมวด พืชไร่และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่อานวยความสะดวกในทุกด้าน เอกสารอ้างอิง เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. 2546. วัชพืชในไร่อ้อยและการป้องกันกาจัด. กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. 33 หน้า. ทศพล พรพรหม. 2545. สารป้องกันกาจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทาลายพืช. สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. ธวัช ตินนังวัฒนะ. 2543. การทาไร่อ้อยยุคใหม่. ศูนย์เกษตรอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สานักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้าตาลทราย สานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ. สิริชัย สาธุวิจารณ์ อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข จรรยา มณีโชติ วนิดา ธารถวิล และตรียนัย ตุงคะเสน. 2554. ทดสอบ ประสิทธิภาพ ในการควบคุมวัชพืชของสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก (post-emergence) ในอ้อย ปลูกใหม่และอ้อยตอ. รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2554. สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5 กรมวิชาการเกษตร. สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2560. เอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ 402 สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร. อรรถสิทธิ์ บุญธรรม ธงชัย ตั้งเปรมศรี และเฉลิมพล ไหลรุง่ เรือง. 2543. ผลของการใช้สารกาจัดวัชพืชหลัง อ้อยงอกชนิดต่างๆ ในอ้อยพันธุ์ Phil 66-07. รายงานผลงานวิจัยประจาปี 2543. ศูนย์วิจัยพืชไร่ สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. Chagas, R.M., J.A. Silveira, R.V. Ribeiro, V.A. Vitorello and H. Carrer. 2008. Photochemical damage and comparative performance of superoxide dismutase and ascorbate 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
867
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-02
peroxidase in sugarcane leaves exposed to paraquat-induced oxidative stress. Pesticide Biochemistry and Physiology, 90(3); 181-188. da Silva, A.F., L. Galon, G. Concenço, I. Aspiazú, E.A. Ferreira, S.P. Tironi and A.A. da Silva. 2014. Sugarcane cultivars present differential susceptibility to herbicides ametryn and trifloxysulfuron-sodium. Australian Journal of Crop Science, 8(6): 965.
868
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ผลของการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในการผลิตพริก Effect of Integrated Weed Management on Weed Control Efficiency in Chili Production สิริชัย สาธุวิจารณ์1 ทิพย์ดรุณี สิทธินาม2 และ ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ3 Sirichai Sathuwijarn1 Tipdarunee Sittinam2 and Prachatipat Pongpinyo3 1
สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 Plant Protection Research and Development Office, Department of Agriculture, Bangkok 10900 2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี กาญจนบุรี 71000 2 Kanchanaburi Agricultural Research and Development Center, Kanchanaburi 71000 3 กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900 3 Agricultural Production Science and Research and Development Division, Department of Agriculture, Bangkok 10900 1
บทคัดย่อ วัชพืชเป็นศัตรูพืชหลักของการผลิตพริก ที่ลดปริมาณและคุณภาพของผลผลิต วัตถุประสงค์ของการ ทดลองนี้เพื่อศึก ษาผลของการจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน ต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช ดาเนินการ ทดลองระหว่า งเดื อ นพฤศจิ ก ายน พ.ศ. 2559–ตุ ล าคม พ.ศ. 2561 ณ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาการเกษตร กาญจนบุรี ใน 2 ฤดู วางแผนการทดลองแบบ RCB จานวน 9 กรรมวิธี 4 ซ้า ประกอบด้วย pendimethalin 264 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ร่วมกับคลุมฟางข้าวและกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 336 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ร่วมกับ คลุมต้นข้าวโพดและกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าวตามด้วย haloxyfop-P-methyl 20 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพดตามด้วย fluazifop-P-butyl 24 กรัม สารออกฤทธิ์/ไร่ และกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุม ด้วยพลาสติกร่วมกับกาจัดวัชพืชด้วยมือ pendimethalin 264 กรัม สารออกฤทธิ์/ไร่ ตามด้ วย haloxyfop-P-methyl 20 กรัม สารออกฤทธิ์/ไร่ และก าจัด วัช พืชด้วยมื อ alachlor 336 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามด้วย fluazifop-P-butyl 24 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และกาจัดวัชพืช ด้วยมือ การกาจัดวัชพืชด้วยมือ และไม่กาจัดวัชพืช บันทึกข้อมูลประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช ความเป็นพิษ ต่อพืชปลูก การเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต ต้นทุนการจัดการวัชพืช รวมทั้งตรวจสอบปริมาณสารกาจัดวัชพืช ที่ตกค้างในผลผลิตพริกด้วย HPLC-MS/MS ผลการทดลอง พบว่า การควบคุมวัชพืชทุกรรมวิธี มีประสิทธิภาพ ในการควบคุมวัชพืชได้ดี ไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก ให้ผลผลิตระหว่าง 520.05869.40 กิโลกรัม/ไร่ กรรมวิธีที่พ่นสารกาจัดวัชพืชไม่พบการตกค้างในผลผลิต ส่วนต้นทุนการจัดการวัชพืช พบว่า การพ่นสาร pendimethalin ตามด้วย haloxyfop-P-methyl และกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีต้นทุนต่าสุด คาสาคัญ : การควบคุมวัชพืช สารกาจัดวัชพืช วัสดุคลุมดิน สารตกค้าง HPLC-MS/MS
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
869
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ABSTRACT Weed is a major cause of yield reduction in chili production. The objective of this experiment was to study the efficiency of Integrated Weed Management (IWM) for controlling weeds in chili plantations. IWM for controlling weeds was conducted in Kanchanaburi Agricultural Research and Development Center during November 2016– October 2018 in two seasons. The treatments were arranged in a Randomized Complete Block (RCB) with nine treatments and four replications. Treatments consisted of IWM i.e. pendimethalin 264 g ai/rai + rice straw as mulch followed by hand weeding, alachlor 336 g ai/rai + corn straw as mulch followed by hand weeding, rice straw as mulch followed by haloxyfop-P-methyl 20 g ai/rai followed by hand weeding, corn straw as mulch followed by fluazifop-P-butyl 24 g ai/rai followed by hand weeding, black plastic mulch followed by hand weeding, pendimethalin 264 g ai/rai followed by haloxyfop-P-methyl 20 g ai/rai followed by hand weeding, alachlor 336 g ai/rai followed by fluazifop-P-butyl 24 g ai/rai followed by hand weeding, hand weeding and untreated control. Data recording of the experiment i.e. visual evaluation of weed control efficiency, phytotoxicity, plant growth, yield and cost including herbicide residues in the chili product were determined using HPLCMS/MS. The results found that all weed management treatments were effective to control weeds without crop injury, do not effect growth and yield, with production between 520.05869.40 kg/rai. Herbicide residue was not detected in chili products from treated blocks. The lowest cost IWM treatments were pendimethalin followed by haloxyfop-P-methyl followed by hand weeding. Keywords: weed control, herbicide, mulching material, herbicide residues, HPLC-MS/MS คานา พริกเป็นพืชผักกินผลที่มีการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออก ทั้งในรูปของผลสดและผลิตภัณฑ์ แปรรูป สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ศัตรูพืชที่ทาความเสียหายให้กับผลผลิตพริกอย่างมาก คือ โรคพืช แมลง และวัชพืช ซึ่งแปลงปลูกพริกต้องการความชื้นในปริมาณที่มาก สภาพดังกล่าวเป็นปัจจัยส่งเสริม ให้เมล็ดวัชพืชหรือส่วนของวัชพืชบางชนิดงอกและเจริญเติบโตได้ดีอย่างรวดเร็ว วัชพืชจะแข่งขันกับพริกตั้งแต่ เริ่มงอกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว วัชพืชนอกจากจะแก่งแย่งน้า ธาตุอาหาร และแสงแดดแล้ว ยังเป็นแหล่งอาศัย ของแมลงและโรคที่เข้าทาลายพริกอีกด้วย ทาให้ต้นทุนการจัดการศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพ ของผลผลิตลดลง จึงต้องมีการป้องกันกาจัดวัชพืชตั้งแต่เริ่มเตรียมพื้นที่ปลูก (สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, 2554) 870
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
จากการสารวจแปลงปลูกพริกขี้หนูพื้นที่ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปี 2555 ของนายสิ ริชั ย สาธุวิ จ ารณ์ พบวั ช พื ช หลั ก ประเภทใบแคบ เช่ น หญ้ าตี น นก หญ้ า ปากคว าย หญ้ าขนเล็ ก หญ้ าตี น กา และผัก ปลาบนา วั ช พื ช ประเภทใบกว้า ง เช่ น หญ้ ายาง สาบม่ ว ง ผั ก เบี้ ย หิ น ผักเบี้ยใหญ่ ผักเสี้ยนขน น้านมราชสีห์ และผักโขม และวัชพืชประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกทราย ซึ่งโดย ส่ ว นมากการปลู ก พริ ก เกษตรกรนิ ย มใช้ วิ ธี ก ารย้ า ยกล้ า ปลู ก ภายหลั ง จากการย้ า ยกล้ า พริ ก ลงปลู ก การเจริญเติบโตของต้นพริกจะช้าและอ่อนแอต่อการแข่งขันกับ วัชพืช (Isik et al., 2009) และการให้น้าใน แปลงปลูกที่มากเกินไปภายหลังการย้ายปลูก ทาให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดี และลดปริมาณผลผลิตพริกลงได้ สูงสุด 97 เปอร์เซ็นต์ โดยช่วงเวลาหลังย้ายปลูก 0.7-3.2 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของวัชพืชในแปลง ปลูกสูงสุด และพริกต้องการช่วงเวลาในการปลอดวัชพืชเฉลี่ยประมาณ 12.2 สัปดาห์ (Amador-Ramirez, 2002) ถ้าสามารถควบคุมวัชพืชได้ตั้งแต่ปลูกจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตพริก สาหรับวิธีการจัดการวัชพืชที่ เกษตรกรผู้ป ลูกพริกนิยม คือ การใช้แรงงานก าจัดวัชพืช การใช้ส ารกาจัดวัชพืช และการใช้วัส ดุคลุม แต่ เนื่องจากพริกเป็นพื ชที่มี อายุก ารเก็ บเกี่ ยวนาน ประมาณ 4-8 เดือน ท าให้การจัดการวัชพืชแบบวิธีเดี่ยวมี ประสิทธิภาพในการควบคุมไม่ดีนัก เพราะข้อจากัดของแต่ละวิธี อาทิเช่น การใช้สารกาจัดวัชพืชประเภทก่อน งอก สามารถคุมวัชพืชได้ 30-45 วัน หลังพ่นสารเท่านั้น การใช้แรงงานกาจัดวัชพืชมีต้นทุนที่สูงและประสบกับ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และวัสดุที่เกษตรกรนามาใช้ เช่น ฟางข้าว ย่อยสลายเร็วทาให้วัชพืชสามารถขึ้น แข่งได้ เป็นต้น การบูรณาการวิธีการจัดการวัชพืชจึงน่าจะเป็นการจัดการวัชพืชที่ มีประสิทธิภาพสูงสุด ใน ปัจ จุบันผู้บริโภคให้ความส าคัญ กั บสินค้าเกษตรที่มี คุณภาพสูง ปราศจากส ารพิษตกค้ าง เพื่อการบริโภคที่ ปลอดภัยเป็นเหตุให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรต้องเปลี่ยนมาให้ความสาคัญกับวิธีการอารักขาพืชที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มีความจาเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาวิธีการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในการ ผลิตพริก เพื่อให้ได้วิธีการควบคุมวัชพืชที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดต้นทุน และเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้จริง อุปกรณ์และวิธีการ การศึกษาการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในการผลิตพริก ได้แบ่ง วิธีการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาวิธีการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในพริก ศึก ษาในสภาพแปลงทดลองปลูก พริก ขี้ห นูพั นธุ์ซุป เปอร์ฮอท ที่ ศูน ย์วิจัยและพัฒ นาการเกษตร กาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ดาเนินการใน 2 ฤดูปลูก (ฤดูห นาวและฤดูฝน) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - ตุลาคม พ.ศ. 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้า ขนาดแปลงทดลองย่อย 5×6 เมตร (ยกร่องแปลงปลูก 1×6 เมตร) ประกอบด้วยกรรมวิธีการจัดการวัชพืช 9 กรรมวิธี (ตารางที่ 1) ปลูกพริกขี้หนู ด้วยการย้ายกล้าปลูก ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร จานวน 1 ต้น/หลุม พ่นสารกาจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (pre emergence herbicide) ตามกรรมวิธี ด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบ โยกสะพายหลัง ประกอบหัวพ่นแบบพัด ปริมาณน้า 80 ลิตร/ไร่ ในอัตราที่ได้กาหนดไว้ หลังจากการย้ายปลูก 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
871
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
พริก 1 วัน และคลุมแปลงปลูกตามกรรมวิธีด้วยวัสดุชนิดต่างๆ และพ่นสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก (post emergence herbicide) ตามกรรมวิธี เมื่ อวัชพืชมี จานวนใบ 3-5 ใบ ประเมิ น ความเป็นพิษของสารก าจัด วัชพืชต่อพืชปลูก ที่ระยะ 7, 15 และ 30 วัน หลังพ่นสารกาจัดวัชพืช (โดยที่ 0 = พืชปลูกปกติ และ 10 = พืช ปลูกตาย) ประเมินประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช ที่ระยะ ที่ระยะ 7, 15, 30, 60 และ 90 วัน หลังปลูก (โดย ที่ 0 = ไม่สามารถควบคุมวัชพืช และ 10 = ควบคุมวัชพืชได้สมบูรณ์) สุ่มเก็บน้าหนักแห้งวัชพืชที่ระยะ 90 วัน หลังปลูก วัดการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต รวมทั้งพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดการวัชพืชในแต่ละ กรรมวิ ธี และวิเ คราะห์ ผ ลทางสถิ ติ โ ดยวิ ธี Duncan’s multiple ranger test (MDRT) โดยใช้ โ ปรแกรม สาเร็จรูปทางสถิติ Sirichai Statistics 7.0 ตารางที่ 1 กรรมวิธีการทดลอง กรรมวิธี 1. pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 2. alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตาม ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 3. คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 4. คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-Pbutyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 5. คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัดวัชพืชด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก 6. pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 7. alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ 8. กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก) 9. ไม่กาจัดวัชพืช
อัตราการใช้ (กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่) 264 336 20 24 264/20 336/24 -
2. การวิเคราะห์สารกาจัดวัชพืชตกค้างในผลผลิตพริก โดยใช้ HPLC-MS/MS การตรวจวิเคราะห์หาสารกาจัดวัชพืชที่ตกค้างในการผลิตพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท โดยนาผลผลิต พริกขี้หนูแดง (ที่มีอายุเก็บเกี่ยว 65 วัน หลังย้ายปลูก) มาตรวจสอบหาสารกาจัดวัชพืชที่อาจจะมีการตกค้างใน ผลผลิต ในห้องปฏิบัติการของกองวิจัยพั ฒนาปัจ จัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดยใช้วิธี 872
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
QuEChERS ของ Anastassiades, et al. (2003) และตรวจวิเคราะห์ด้วย HPLC-MS/MS นาตัวอย่างพริก ที่ บดละเอียดจ านวน 10.0 กรัม นามาใส่ในหลอดทดลองที่ มี Acetonitrile 10 ml+4 g anh MgSO4+ 1 g NaCl แล้วทาการเขย่าอย่างแรงเป็นระยะเวลา 1 นาที จากนั้นนาไปปั่นเหวี่ยงด้วยความเร็วสูงที่ ความเร็ว 3,500 รอบ/นาที เป็นระยะเวลา 1 นาที นาสารละลายส่วนใสที่ได้มา cleanup โดยใส่ลงในหลอดทดลองที่มี 150 mg/ml MgSO4+25 mg/ml PSA เขย่าอย่างแรงอีกครั้งเป็นระยะเวลา 1 นาที จากนั้นนาไปปั่นเหวี่ยง ด้วยความเร็วสูง ที่ ค วามเร็ว 3,500 รอบ/นาที เป็ นระยะเวลา 1 นาที น าสารละลายส่วนใสที่ ได้ผ่านการ cleanup แล้วใส่ลงในขวด เพื่อนาไปตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณโดยใช้เครื่อง HPLC ที่มีหัวตรวจวัดชนิด Tandem Mass Spectrometer (HPLC-MS/MS) ผลและวิจารณ์ การศึกษาวิธีการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในพริก วัชพืชที่พบในกรรมวิธีที่ไม่กาจัดวัชพืช ที่ระยะ 30 วัน หลังย้ายปลูก ในฤดูปลูกที่ 1 มีจานวน 821 ต้น ต่อตารางเมตร ประกอบด้วยวัชพืชประเภทใบแคบ 6 ชนิด ได้แก่ หญ้าตีนติด หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาวเล็ก หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก และหญ้าปากควาย จานวน 372, 259, 58, 60, 4 และ 2 ต้นต่อตารางเมตร คิดเป็น 45.31, 31.55, 7.06, 7.31, 0.49 และ 0.24 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ วัชพืชประเภทใบกว้าง 5 ชนิด ได้แก่ ผัก โขม หญ้ายาง ผัก โขมหิน ตีนตุ๊กแก และปอวัชพืช จานวน 32, 20, 6, 4 และ 2 ต้นต่อตารางเมตร คิดเป็น 3.90, 2.44, 0.73, 0.49 และ 0.24 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และวัชพืชประเภทกก ได้แก่ แห้วหมู จานวน 2 ต้น ต่อตารางเมตร คิดเป็น 0.24 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 2 ชนิดและจานวนวัชพืชที่ระยะ 30 วัน หลังย้ายปลูก ในกรรมวิธีไม่กาจัดวัชพืช ชนิดวัชพืช หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans (L.) C.A.Gardner & C.E.Hubb.) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link) หญ้าดอกขาวเล็ก (Leptochloa panicea (Retz.) Ohwi) หญ้าตีนกา (Eleusine indica (L.) Gaertn.) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.) Scop.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium (L.) Willd.) หญ้าโขย่ง (Rottboellia cochinchinensis (Lour.) Clayton) หญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachya (L.) Stapf.) ผักโขม (Amaranthus viridis L.) หญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) ผักโขมหินต้นตั้ง (Boerhavia erecta L.)
จานวน (ต้น/ตารางเมตร) ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2 จานวน % จานวน % 372 45.31 320 48.63 259 31.55 16 2.43 58 7.06 18 2.74 60 7.31 26 3.95 4 0.49 4 0.61 2 0.24 6 0.91 180 27.36 14 2.13 32 3.90 20 3.04 20 2.44 4 0.61 6 0.73 -
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
873
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ” ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens (L.) L.) ปอวัชพืช (Corchorus olitorius L.) แห้วหมู (Cyperus rotundus L.) หญ้าท่าพระ (Richardia brasiliensis Gomes) ขยุ้มตีนหมา (Ipomoea pes-tigridis L.) รวม
4 2 2 821
0.49 0.24 0.24 100.00
PWA-03 12 2 28 8 658
1.82 0.30 4.26 1.22 100.00
สาหรับฤดูปลูกที่ 2 วัชพืชที่พบในกรรมวิธีที่ไม่กาจัดวัชพืช ที่ระยะ 30 วัน หลังย้ายปลูกมีจานวน 658 ต้นต่อตารางเมตร ประกอบด้วยวัชพืชประเภทใบแคบ 8 ชนิด ได้แก่ หญ้าตีนติด หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว เล็ก หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าโขย่ง และหญ้าขนเล็ก จานวน 320, 16, 18, 26, 4, 6, 180 และ 14 ต้ น ต่ อ ตารางเมตร คิ ด เป็ น 48.63, 2.43, 2.74, 3.95, 0.61, 0.91, 27.36 และ 2.13 เปอร์เ ซ็ น ต์ ตามลาดับ และวัชพืชประเภทใบกว้าง 6 ชนิด ได้แก่ ผักโขม หญ้ายาง หญ้าท่าพระ ตีนตุ๊กแก ปอวัชพืช และ ขยุ้มตีนหมา จานวน 20, 4, 28, 12, 2 และ 8 ต้นต่อตารางเมตร คิดเป็น 3.04, 0.61, 4.26, 1.82, 0.30, และ 1.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืชต่อพริก พบว่า กรรมวิธีที่มีการพ่นสารกาจัดวัชพืชประเภทก่อน งอก สารกาจัด วัชพืช pendimethalin 33% EC และ alachlor 48% EC พริก จะแสดงอาการเป็นพิษ เล็กน้อยและอาการดังกล่าวจะลดลงและหายไป ซึ่งสอดคล้องกันทั้ง 2 ฤดูปลูก (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 ความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (pre-emergence herbicide) ที่ระยะ 7, 15 และ 30 วัน หลังพ่นสาร กรรมวิธี pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วย ฟางข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้น ข้าวโพด ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfopP-methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืช ด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกาจัด วัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัดวัชพืช ด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย 874
อัตรา (กรัมสารออก ฤทธิ์/ไร่)
ความเป็นพิษ1/ ฤดูปลูกที่ 1 7 วัน 15 วัน 30 วัน
ฤดูปลูกที่ 2 7 วัน 15 วัน 30 วัน
264
1.4
2.4
1.3
1.4
2.5
1.3
336
1.0
1.0
0.0
1.0
1.0
0.0
20
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
24
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
-
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
264 / 20
1.4
2.4
1.6
1.4
2.6
1.6
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตามด้วย กาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P336 / 24 1.0 1.0 0.0 1.0 1.0 0.0 butyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 วัน หลังย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1/ ความเป็ นพิษ: 0 = ไม่เ ป็นพิษ 1-3 = เป็น พิษ เล็ก น้อย 4-6 = เป็นพิษปานกลาง 7-9 = เป็น พิษรุนแรง และ 10 = พืช ปลูกตาย
สาหรับกรรมวิธีที่การพ่นสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก สารกาจัดวัชพืช haloxyfop-P-methyl 10.80% EC และ fluazifop-P-butyl 15% EC พริกไม่แสดงอาการเป็ นพิษ ซึ่งสอดคล้องกันทั้ง 2 ฤดูปลูก (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ความเป็นพิษของสารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอก (post-emergence herbicide) ที่ระยะ 7, 15 และ 30 วัน หลังพ่นสาร กรรมวิธี pendimethalin 33% EC + คลุม แปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืช ด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วย ต้นข้าวโพด ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วย กาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัด วัชพืชด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วัน หลังย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย
อัตรา (กรัมสารออก ฤทธิ์/ไร่)
ความเป็นพิษ1/ ฤดูปลูกที่ 1 7 วัน 15 วัน 30 วัน
ฤดูปลูกที่ 2 7 วัน 15 วัน 30 วัน
264
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
336
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
20
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
24
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
-
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
264 / 20
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
336 / 24
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
0.0
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
875
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วย กาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1/ ความเป็นพิษ: 0 = ไม่เ ป็นพิษ 1-3 = เป็นพิษเล็กน้อย 4-6 = เป็นพิษปานกลาง 7-9 = เป็นพิษรุนแรง และ 10 = พืช ปลูกตาย
ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชโดยรวม พบว่า ในฤดูปลูกที่ 1 ทุกรรมวิธีที่มีการควบคุมวัชพืชสามารถ ควบคุมวัชพืชได้ดีถึงควบคุมได้สมบูรณ์ ที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูก มีคะแนนประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช อยู่ระหว่าง 8.3-10.0 คะแนน ส่วนในฤดูปลูกที่ 2 ซึ่งเป็นฤดูฝน ประสิทธิภาพของกรรมวิธีที่ควบคุมวัชพืช ที่ ระยะ 60 วัน หลังย้ายปลูก สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีถึงควบคุมได้สมบูร ณ์ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 8.2-10.0 คะแนน แต่ที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูกประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชลดลง อยู่ในระดับปานกลางถึงควบคุม ได้สมบูรณ์ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 5.4-10.0 คะแนน โดยกรรมวิธีกาจัดวัชพืชด้วยมือสามารถควบคุมวัชพืชได้ สมบูรณ์ รองลงมาคือกรรมวิธีคลุมแปลงด้วยพลาสติกร่วมกับการกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีคะแนน 9.5 คะแนน การที่ประสิทธิภาพของกรรมวิธีการควบคุมวัชพืชลดลงที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูก เนื่องจากเป็นฤดูฝนทาให้ วัชพืชมีการเจริญเติบโตดีกว่าฤดูปลูกที่ 1 จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช (ตารางที่ 5) น้าหนักแห้งวัชพืชรวมที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูก ในฤดูปลูกที่ 1 พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างมีนัยสาคัญ กรรมวิธีการกาจัดวัชพืชด้วยมือไม่พบวัชพืช และกรรมวิธีการกาจัดวัชพืชอื่นๆ มีน้าหนักแห้ง วัชพืชไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีน้าหนักแห้งอยู่ระหว่าง 65.50-79.50 กรัมต่อตารางเมตร แต่แตกต่างกันทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่กาจัดวัชพืช ซึ่งมีน้าหนักแห้งวัชพืช 416.25 กรัมต่อตารางเมตร สาหรับฤดูปลูกที่ 2 พบว่า มี ความแตกต่างกั น ทางสถิติ อ ย่างมี นัยส าคัญ กรรมวิธีก ารก าจัดวัชพืชด้วยมื อไม่ พบวัชพืช รองลงมา คื อ กรรมวิธีคลุมแปลงด้วยพลาสติกร่วมกับการกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีน้าหนักแห้งวัชพืช 84.40 กรัมต่อตารางเมตร ส่วนกรรมวิธีไม่กาจัดวัชพืชมีน้าหนักแห้งวัชพืชสูงสุดเท่ากับ 758.05 กรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 6) การเจริญเติบโตของพริก ในฤดูปลูกที่ 1 ที่ระยะ 30 วัน หลังย้ายปลูก พริกมีความสูงแตกต่างกันทาง สถิติอย่างมี นัยสาคัญ การคลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยการพ่นสารก าจัดวัชพืช haloxyfop-P-methyl 10.80% EC อัตรา 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ พริกมีความสูงมากที่สุดเท่ากับ 17.52 เซนติเมตร ซึ่งไม่แตกต่าง กับกรรมวิธีการควบคุมวัชพืชชนิดอื่น และกรรมวิธีไม่กาจัดวัชพืช แต่จะแตกต่างจากกรรมวิธี การพ่นสารกาจัด วัช พื ช pendimethalin 33% EC อั ต รา 264 กรัม สารออกฤทธิ์ ต่ อ ไร่ ตามด้ว ยการพ่ น สารก าจั ด วัช พื ช haloxyfop-P-methyl 10.80% EC อัตรา 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และตามด้วยก าจัดวัชพืชด้วยมือ ซึ่ง พริกมีความสูงน้อยที่สุด เท่ากับ 14.64 เซนติเมตร ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนการประเมินความเป็นพิษของสาร กาจัดวัชพืช ที่สารกาจัดวัชพืช pendimethalin 33% EC มีผลกระทบต่อต้นพริกในระยะแรก ส่วนที่ระยะ 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก ความสูงของพริกไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีความสูงอยู่ระหว่าง 53.54-59.75 876
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
และ 57.82-64.30 เซนติเมตร ตามลาดับ สาหรับในฤดูปลูกที่ 2 ที่ระยะ 30 และ 60 วัน หลังย้ายปลูก พริกมี ความสูงแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ ที่ ระยะ 30 วัน หลั งย้ายปลูก การคลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วยการพ่นสารกาจัดวัชพืช fluazifop-P-butyl 15% EC อัตรา 24 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และตามด้วย ก าจั ด วั ช พื ช ด้ ว ยมื อ พริ ก จะมี ค วามสู ง มากที่ สุ ด เท่ า กั บ 17.73 เซนติ เ มตร การพ่ น สารก าจั ด วั ช พื ช pendimethalin 33% EC อัตรา 264 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามด้วยการพ่นสารกาจัดวัชพืช haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC อัตรา 20 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ และตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ ซึ่งพริกมีความสูง น้อยที่สุด เท่ากับ 15.14 เซนติเมตร ซึ่งสอดคล้องกับฤดูปลูกที่ 1 ที่ระยะ 60 วัน หลังย้ายปลูก ความสูงของ พริกเพิ่มขึ้นและกรรมวิธีที่ไม่ควบคุมวัชพืช พริกมีการแข่งขันกับวัชพืชส่งผลให้ความสูงของต้นพริกมากที่สุด เท่ากับ 60.75 เซนติเมตร และที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูก ความสูงของพริกไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มี ความสูงอยู่ระหว่าง 59.17-64.05 เซนติเมตร (ตารางที่ 7)
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
877
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ตารางที่ 5 ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช ที่ระยะ 7, 15, 30, 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก กรรมวิธี
อัตรา (กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่)
ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช 1/ 7 วัน
ฤดูปลูกที่ 1 15 วัน 30 วัน 60 วัน
90 วัน
7 วัน
ฤดูปลูกที่ 2 15 วัน 30 วัน 60 วัน
pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟางข้าว 264 10.0 9.9 9.9 9.5 8.4 10.0 8.9 7.9 ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตาม 336 10.0 9.9 9.8 9.3 8.3 10.0 8.9 7.8 ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-P20 10.0 9.4 8.6 8.7 8.5 10.0 8.4 7.6 methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P24 8.6 7.5 6.8 8.9 8.4 9.6 8.5 6.8 butyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัดวัชพืชด้วยมือ 9.1 8.1 10.0 10.0 8.5 9.1 8.1 10.0 ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-P264 / 20 10.0 9.8 9.6 9.5 8.5 10.0 8.8 6.6 methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 336 / 24 10.0 9.7 8.8 9.5 8.5 10.0 8.7 6.8 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลัง 0.0 0.0 10.0 10.0 10.0 0.0 0.0 10.0 ย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 1/ ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช : 0 = ไม่สามารถควบคุมได้ 1-3 = ควบคุมได้เล็กน้อย 4-6 = ควบคุมได้ปานกลาง 7-9 = ควบคุมได้ดี และ 10 = ควบคุมได้สมบูรณ์ 878
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
90 วัน
8.2
5.6
8.4
6.3
8.5
5.8
8.6
6.7
10.0
9.5
8.7
5.5
8.6
5.4
10.0
10.0
0.0
0.0
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ตารางที่ 6 น้าหนักแห้งวัชพืชโดยรวม ที่ระยะ 90 วัน หลังย้ายปลูก กรรมวิธี
อัตรา (กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ )
น้าหนักแห้งวัชพืช (กรัม/ตารางเมตร) ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
pendimethalin 33% EC + คลุมแปลง 264 77.00 b1/ 198.15 e ด้วยฟางข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้น 336 76.75 b 189.25 d ข้าวโพด ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตาม 20 79.50 b 172.62 cd ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วย 24 74.50 b 146.92 c กาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัด วัชพืชด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลัง 65.50 b 84.40 b ย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตาม 264 / 20 73.25 b 241.82 e ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-Pbutyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วย 336 / 24 75.00 b 252.57 e มือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 0.00 a 0.00 a 90 วัน หลังย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช 416.25 c 758.05 f C.V. (%) 19.31 11.34 1/ ตัว เลขในสดมภ์เ ดีย วกัน ที่ต ามด้ว ยอัก ษรเหมือ นกัน ไม่มีค วามแตกตางกัน ทางสถิต ิที่ร ะดับ ความเชื่อ มั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยวิ ธี DMRT
ผลผลิตพริก พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญทั้ง 2 ฤดูปลูก ซึ่งกรรมวิธีการ ควบคุมวัชพืชทุกกรรมวิธีให้ปริมาณผลผลิตพริกไม่แต่ต่างกันทั้ง 2 ฤดูปลูก มีปริมาณผลผลิตอยู่ระหว่าง 565.90-869.40 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 1 และ 520.05-817.42 กิโลกรัมต่อไร่ในฤดูปลูกที่ 2 แต่ แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่กาจัดวัชพืช ที่ให้ผลผลิตเพียง 156.10 และ 117.82 กิโลกรัมต่อไร่ ใน ฤดูปลูกที่ 1 และ 2 ตามลาดับ (ตารางที่ 7) เมื่อพิจารณาต้นทุนการจัดการวัชพืช พบว่า กรรมวิธีการพ่นสารกาจัดวัชพืช pendimethalin 33% EC อัตรา 264 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามด้วยการพ่นสารกาจัดวัชพืช haloxyfop-P-methyl 12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
879
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
10.80% EC อัตรา 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ มีต้นทุนการจัดการวัชพืชน้อยที่สุด เท่ากับ 1,402 และ 1,562 บาทต่อไร่ ในฤดูป ลูกที่ 1 และ 2 ตามลาดับ รองลงมา คือ การพ่นสารกาจัดวัชพืช alachlor 48% EC อั ตรา 336 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามด้วยการพ่น สารก าจัดวัชพื ช fluazifop-P-butyl 15% EC อัตรา 24 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีต้นทุนการจัดการวัชพืช น้อยที่สุด เท่ากับ 1,639 และ 1,789 บาทต่อไร่ ในฤดูปลูกที่ 1 และ 2 ตามล าดับ ส่วนกรรมวิธีก าร คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยการพ่ นสารกาจัดวัชพืช haloxyfop-P-methyl 10.80% EC อัตรา 20 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีต้นทุนการจัดการวัชพืชสูงที่สุด เท่ากับ 8,301 และ 8,407 บาทต่อ ไร่ ในฤดูป ลูกที่ 1 และ 2 ตามลาดับ จะเห็นได้ว่ าในฤดูป ลูก ที่ 2 ต้นทุ น ค่าแรงงานในการจัดการวัชพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูฝนส่งผลให้ปริมาณและการเจริญเติบของวัชพืช เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพของกรรมวิธีในการควบคุมวัชพืชที่ลดลง (ตารางที่ 8) การวิเคราะห์สารกาจัดวัชพืชตกค้างในผลผลิตพริก โดยใช้ HPLC-MS/MS การตรวจหาปริมาณของสารกาจัดวัชพืช ที่อาจตกค้างในผลผลิตของพริก โดยการใช้ HPLCMS/MS เพื่อเป็นการประเมินความปลอดภัยทางด้านอาหาร พบว่า ที่ระยะ 65 วัน หลังย้ายปลูก จาก ที่มีการใช้สารกาจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกชนิดต่างๆ ไม่พบว่ามีสารกาจัดวัชพืชชนิดต่างๆ ดังกล่าวตกค้างในผลผลิตพริก (ตารางที่ 9)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
ภาพที่ 1 การเจริญ เติบ โตและประสิท ธิภ าพการควบคุม วัช พืช ที่ร ะยะ 60 วัน หลัง ย้ายปลูก ในฤดูป ลูกที ่ 1 : กรรมวิธีที่ 1-9 880
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ตารางที่ 7 ความสูงของต้นพริกที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก และปริมาณผลผลิต กรรมวิธี
อัตรา (กรัมสาร ออกฤทธิ์/ไร่)
ความสูง (เซนติเมตร) ฤดูปลูกที่ 1 30 วัน 60 วัน 1/ 15.64 ab 54.56
90 วัน 64.30
ฤดูปลูกที่ 2 30 วัน 60 วัน 15.64 cd 57.06 ab
pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟางข้าว 264 ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตาม 16.04 ab 57.18 61.85 16.29 a-d 58.68 ab 336 ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-P17.52 a 56.97 61.32 17.52 ab 58.47 ab 20 methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P-butyl 16.98 ab 56.70 57.82 17.73 a 57.45 ab 24 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัดวัชพืชด้วยมือ ที่ 17.00 ab 57.39 63.90 17.00 a-c 57.89 ab ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-P14.64 b 53.54 61.10 15.14 d 55.04 b 264 / 20 methyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% 15.89 ab 57.16 58.47 16.14 b-d 57.91 ab 336 / 24 EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลัง 15.89 ab 54.02 59.10 16.39 a-d 55.52 b ย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช 16.85 ab 59.75 60.92 17.60 ab 60.75 a C.V. (%) 9.17 7.59 7.14 5.46 4.88 1/ ตัวเลขในสดมภ์เ ดีย วกัน ที่ต ามด้วยอักษรเหมือนกัน ไม่มีค วามแตกตางกันทางสถิติที่ร ะดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เ ซ็นต์ โดยวิธี DMR
90 วัน 64.05
ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2 869.40 a 797.65 a
63.10
717.22 a
673.40 a
62.57
834.10 a
770.10 a
59.17
565.90 a
520.05 a
63.90
867.27 a
817.42 a
61.90
807.27 a
730.47 a
60.47
744.92 a
683.75 a
60.60
858.85 a
743.62 a
62.17 4.98
156.10 b 33.05
117.82 b 33.44
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
881
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ตารางที่ 8 ต้นทุนการจัดการวัชพืช ต้นทุนการจัดการวัชพืช (บาท/ไร่) กรรมวิธี
pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตาม ด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-Pbutyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดา + กาจัดวัชพืชด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลัง ย้ายปลูก) ไม่กาจัดวัชพืช
882
สารกาจัด วัชพืช
วัสดุ คลุม แปลง
ฤดูปลูกที่ 1 ค่าแรงงาน พ่น คลุม ถากหญ้า สาร แปลง
รวม
สารกาจัด วัชพืช
วัสดุ คลุม แปลง
ฤดูปลูกที่ 2 ค่าแรงงาน พ่น คลุม ถากหญ้า สาร แปลง
รวม
208
5,486 120
165
1,850 7,829
208
5,486 120
280
1,950
8,044
112
1,500 120
326
2,264 4,322
112
1,500 120
438
2,350
4,520
214
5,486 120
631
1,850 8,301
214
5,486 120
752
1,835
8,407
112
1,500 120
1,066
2,264 5,062
112
1,500 120
1,185
2,364
5,281
-
4,160
-
664
2,123 6,947
-
4,160
-
785
2,173
7,118
422
-
240
740
-
1,402
422
-
240
900
-
1,562
224
-
240
1175
-
1,639
224
-
240
1,325
-
1,789
-
-
-
7,096
-
7,096
-
-
-
7,865
-
7,865
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
ตารางที่ 9 การตรวจวิเคราะห์หาสารกาจัดวัชพืชที่อาจจะตกค้างในผลผลิตพริก โดยการใช้ HPLC-MS/MS สารกาจัดวัชพืชที่ตกค้าง อัตรา (กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่) ฤดูปลูกที่ 1 ฤดูปลูกที่ 2
กรรมวิธี pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟาง ข้าว ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-Pbutyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ กาจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก)
264
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
336
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
20
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
24
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
264 / 20
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
336 / 24
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
-
ตรวจไม่พบ
ตรวจไม่พบ
สรุปผลการทดลอง 1. กรรมวิธีก ารควบคุมวัชพืชทุก รรมวิธี มีป ระสิท ธิภาพในการควบคุม วัชพืชได้ดี และการใช้ส าร ก าจัด วัช พืช pendimethalin 33% EC อัต รา 264 กรัม สารออกฤทธิ ์ต ่อ ไร่ ตามด้ว ย haloxyfop-Pmethyl 10.80% EC อัตรา 20 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามด้วยกาจัดวัชพืชด้วยมือ มีต้นทุน การจัดการ วัชพืชต่าสุด 2. การตรวจวิเคราะห์หาสารกาจัดวัชพืชที่อาจจะตกค้างในผลผลิตพริก โดยการใช้ HPLC-MS/MS ไม่พบมีการตกค้างของสารกาจัดวัชพืชทุกชนิดในผลผลิตพริก คาขอบคุณ ขอขอบคุณ ผู้อ านวยการศูน ย์วิจัย และพัฒ นาการเกษตรกาญจนบุรี ที่อานวยความสะดวกการ ปฏิบัติงานวิจัยครั้งนี้ จนสาเร็จลุล่วงเรียบร้อย
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
883
การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 “ เกษตรแม่นยา ก้าวนาเกษตรไทย ”
PWA-03
เอกสารอ้างอิง สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 2554. คาแนะนาการควบคุมวัชพืชและการใช้สารกาจัด วัชพืช ปี 2554. กรุงเทพฯ 149 หน้า. Anastassiades, M., S. J. Lehotay, D. Stajhbaher, and F. J. Schenck. 2 0 0 3 . Fast and Easy Multiresidue Method Employing Acetonitrile Extraction/Partitioning and "Dispersive Solid-Phase Extraction" for the Determination of Pesticide Residues in Produce. J. AOAC lnt., 86(2) : 412-431 M D Amador-Ramirez. 2002. Critical period of weed control in transplanted chilli pepper. European Weed Research Society. Weed Research. 42: 203-209. Isik, D., E. Kaya, M. Ngouajio and H. Mennan. 2009. Weed suppression in organic pepper (Capsicum annuum L.) with winter cover crops. Crop Prot. 28: 356-363.
884
12–14 พฤศจิกายน2562 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี
คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14 1. คณะกรรมการที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมหม่อนไหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงษ์ ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล นายสินชัย สวัสดิชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุรนารี อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อํานวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย นายกสมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย นายกสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย นายกสมาคมโรงงานน้ําตาลไทย นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์พืชและขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย คุณหญิงประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน ดร.สัญชัย ตันตยาภรณ์ นางสาววนิดา อังศุพันธุ์ นายสกล มงคลธรรมากุล นายสิทธิพร ไกรฤกษ์
2. คณะกรรมการฝ่ายอํานวยการ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย นายกสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร นายกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย นายกสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ผู้อํานวยการสํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อํานวยการสํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ผู้อํานวยการกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร ผู้อํานวยการกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อํานวยการสํานักวิจัยพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี
ผู้อํานวยการศูนย์วจิ ัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ผู้อํานวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี ผู้อํานวยการกองวิจัยและพัฒนาข้าว ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี เกษตรจังหวัดเพชรบุรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ศ.ดร.รังสิต สุวรรณมรรคา ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ รศ.ดร.สมศิริ แสงโชติ อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม นางชุติมา รัตนเสถียร นายวิรัช จันทรัศมี นางอรนุช กองกาญจนะ นายเทพชัย เทพช่วยสุข นางสาวพีรนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นางสาวสุวิมล ขันเพ็ชร์
3. คณะกรรมการดําเนินงาน 3.1
คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดการประชุม
ดร.เสาวลักษณ์ พรกุลวัฒน์ นายเทพชัย เทพช่วยสุข นายปราโมทย์ ติรไพรวงค์ ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ ศ.ดร.รังสิต สุวรรณมรรคา รศ.ดร.เพ็ญสุข เต่าทอง ผศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ดร.จรรยา มณีโชติ ดร.จารุวัตถ์ แต้กุล ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ดร.มานิตา คงชื่นสิน ดร.อมรา ชินภูติ นางสาวกันตินันท์ แพใหญ่ นายไกรวุฒิ เกตุลอย นายโฆษิต ศรีประจง นางจันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์ นางจิราพร สุนทรวิภาต 3.2
นายปรัชญา เอกกฐิน นายมณฑล เกียรติกมลวงศ์ นายเมธี มีเสนา นางสาวรัตนาภรณ์ จันดี นางสาววิภาดา ปลอดครบุรี
นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ นางสาวณัฐชยา ชุ่มสวัสดิ์ นายเริงชัย ต้นตระกูลชาญชัย นางสาวสุภานี ธเนศวงศ์
คณะอนุกรรมการฝ่ายเอกสารและวิชาการ
ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ ผศ.ดร.พิสสวรรณ เจียมสมบัติ ผศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ ผศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย ผศ.ดร.สราวุฒิ รุ่งเมฆารัตน์ ผศ.ดร.อธิราช หนูสีดํา รศ.ดร.อํามร อินทรสังข์ ดร.จรรยา มณีโชติ ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล 3.4
นางวิชชุดา รัตนากาญจน์ นายวิรัช จันทรัศมี นายศรัณย์ วัธนธาดา นางสาวศิกานต์ หาญไชยนันท์ นางศรีจํานรรจ์ ศรีจันทรา นายศรุต สุทธิอารมณ์ นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นางสุพัตรา เจริญสุข นางสาวสุภานี ธเนศวงศ์ นายสุภาษิต เสงี่ยมพงษ์ นางเสริมพร กึ่งพุทธิพร นางอรนุช กองกาญจนะ นางอัณศยา พรมมา นางสาวพรรณี วิชชาชู นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ นางธัญญารัตน์ พูลสวัสดิ์
คณะอนุกรรมการฝ่ายสถานที่และฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์
นายชุมเจษฎ์ มาลาธรรม นายศักดา บรรณาภูมิ นายสมชาย เนาสราญ นายนพพล สัทยาสัย นางสาวนิธิรัตน์ แซ่จัน 3.3
นายชุมเจษฎ์ มาลาธรรม นางสาวณัฐชยา ชุ่มสวัสดิ์ นางดาเรศร์ กิตติโยภาส นายทวีพงศ์ สุวรรณโร นายธนสาร เจตน์ทรงธรรม นางบุษรา จันทร์แก้วมณี นายประโลม พูลกําลัง นางสาวพจนา ตระกูลสุขรัตน์ นางสาวพลอยชมพู กรวิภาสเรือง นายพายัพ จุลพันธ์ นายพิเชฐ เชาว์วัฒนวงศ์ นางสาวพีรนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นางยุวดี วัธนธาดา นางสาวรภัสสา พิริยะประสาธน์ นางรุ่งฤดี จงสืบศักดิ์ นายเริงชัย ต้นตระกูลชาญชัย นายเลิศวิทย์ ศศิปรียจันทร์ นางสาววทินี ตันเจริญ นายวรเดช ใจดี
ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ดร.พฤทธิชาติ ปุญวัฒโฑ ดร.มานิตา คงชื่นสิน ดร.ยุวรินทร์ บุญทบ ดร.วรชาติ ดุลยเสถียร ดร.อมรา ชินภูติ ดร.หทัยรัตน์ อุไรรงค์ นางสาวจรัญญา ปิ่นสุภา นายจารึก ศรีพุทธชาติ
นายเรวัฒ เพียซ้าย นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นายสันติ สุวรรณขันติ นางสาวสุนัดดา เชาวลิตอมร นางสุรภี กีรติยะอังกูร นางสาวอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล นายอุดมเดช นาคประเสริฐ รศ.ดร.เพ็ญสุข เต่าทอง นางสาวบุษราคัม อุดมศักดิ์ นางยุวดี วัธนธาดา
คณะอนุกรรมการฝ่ายพิจารณาผลงานวิจัยดีเด่น
ดร.มานิตา คงชื่นสิน นางจันทร์เพ็ญ ประคองวงศ์ ดร.อมรา ชินภูติ
ผศ.ดร.สันติไมตรี ก้อนคําดี ผศ.ดร.อธิราช หนูสีดํา ผศ.ดร.อรอุมา เพียซ้าย
ดร.สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง นางสาวกรกต ดํารักษ์ นางสาวจรัญญา ปิ่นสุภา
ศ.ดร.รังสิต สุวรรณมรรคา ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ รศ.ดร.ทศพรหม พรพรหม รศ.ดร.ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ รศ.ดร.เพ็ญสุข เต่าทอง รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล ผศ.ดร.พิสสวรรณ เจียมสมบัติ ผศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ ผศ.ดร.สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ 3.5
นางสาวอมรรัชฏ์ คิดใจเดียว นางสาวอรุณวดี กุสสลานุภาพ นางสาววทินี ตันเจริญ นางสาวพีรนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นางสาวดวงนภา เลิศกิจกวิน
นายไตรเดช ข่ายทอง นางสาวบังอร จันทร์ดี นางสาวนาฏยา ทักภิรมย์ นายประภาส ทรงหงษา นางสาวประภัสสร เชยคําแหง นางสาวปุณย์จรีย์ ติยะบุตร นางสาวภฤชา ศรีอินทร์ นางรุ่งฤดี จงสืบศักดิ์ นางกันตินันท์ แพใหญ่
นางสาวรัชดาภรณ์ นาถอัจลา นายเริงชัย ต้นตระกูลชาญชัย นายสิริวัช สวนสวัสดิ์ นางสาวโสภิตา อิศรางกูร ณ อยุธยา นายศิวพล ชูฉิม นายศุภชัย บุษปฤกษ์ นางสาวอุดมพร สุพคุตร์ นายวรเดช ใจดี นางสุพัตรา เจริญสุข
นางสาวปวีณา บูชาเทียน นายพายัพ จุลพันธ์ นางรุ่งฤดี จงสืบศักดิ์ นายเรวัฒ เพียซ้าย นางสาวภฤชา ศรีอินทร์ นางสาววิมลวรรณ โชติวงศ์
นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นางสาวอทิติยา แก้วประดิษฐ์ นายอิทธิพล บรรณาการ ดร.พลอยชมพู กรวิภาสเรือง นางอัณศยา พรมมา นางสาวจารุณี ปัญญางาม
คณะอนุกรรมการฝ่ายปฏิคม
ดร.จรรยา มณีโชติ นางณัฏฐพร อุทัยมงคล นางสาวยุรวรรณ อนันตนมณี นายไกรสร เคาไวยกุล นายณพชรกร ธไภษัชย์ นางธัญญรัตน์ พูลสวัสดิ์ 3.8
นางสาวพวงผกา อ่างมณี นางยุวดี วัธนธาดา นางสาวรภัสสา พิริยะประสาธน์ นางสาวรัชดาภรณ์ นาถอัจลา นางสาวสุวิมล ขันเพ็ชร์ นางสาวสุวีรยา อายุเจริญ
คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
นางสาวพรรณี วิชชาชู อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา นายประเวศ แสงเพชร ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล นายกรเทพ ณ สงขลา นางกฤษณา แสงดี นางกัญญาณัฐ ไผ่แดง นางจินตวี ไทยงาม
3.7
นายจารึก ศรีพุธชาติ นางสาวบุษราคัม อุดมศักดิ์ นายพิเชฐ เชาว์วัฒนวงศ์ นายศรุต สุทธิอารมณ์ นายสุเทพ สหายา นายสุภาษิต เสงี่ยมพงศ์ นางสุรภี กีรติยะอังกูร นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นางสาวรภัสสา พิริยะประสาธน์ นางสาววาสินี ฉิมมา
คณะอนุกรรมการฝ่ายทะเบียน
อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา นางสาวสราญจิต ไกรฤกษ์ นางสาวณัฐชยา ชุ่มสวัสดิ์ นางกันตินันท์ แพใหญ่ นางสาวนิธิรัตน์ แซ่จัน นางสาวบุษบง มนัสมั่นคง 3.6
รศ.ดร.อํามร อินทรสังข์ ดร.เกรียงไกร จําเริญมา ดร.จรรยา มณีโชติ ดร.จารุวัตถ์ แต้กุล ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ดร.พฤทธิชาติ ปุญวัฒโฑ ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล ดร.ศิริพร ซึงสนธิพร
คณะอนุกรรมการฝ่ายนิทรรศการ
นายธนสาร เจตน์ทรงธรรม นายสาโรช ธนดุลย์ นายโชคชัย เชี่ยวสมุทร ดร.พฤทธิชาติ ปุญวัฒโฑ นายโกญจนาท เรืองรอง นายจํารูญ ศุภผล
นางสาวชมพูนุท จรรยาเพศ นายณรงค์วิทย์ ทศทิศรังสรรค์ นางสาวบุษบง มนัสมั่นคง นายปรัชญา เอกกฐิน นางสาวภัทรพร สรรพนุเคราะห์ นายมนตรี วัฒนาสัจจา
นายศตพล โลกวิทย์ นายสัจจะ ประสงศ์ทรัพย์ ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช นายโฆษิต ศรีประจง นางสาวรภัสสา พิริยะประสาธน์
3.9
คณะอนุกรรมการฝ่ายทัศนศึกษา
ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการ เกษตรเพชรบุรี เกษตรจังหวัดเพชรบุรี นางสาวชมพูนุท จรรยาเพศ นายไกรภพ อินทัศน์ นางจารินี จันทร์คํา นางสาวจารุรัตน์ หล่อวิรัชสุธี นายจิรวัฒน์ ตั้งสถิตย์ 3.10
นางสมใจ เติมสินสวัสดิ์ นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ นางสาวสุมนา สิมาสฤษฏ์ นางสาวสุวีรยา อายุเจริญ นายอนุรักษ์ ศรีอรุณ นายวรเดช ใจดี นางสาวขวัญพัฒน์ ธนโชติวัฒนสิริ นางสาวนิศากร กาญจนเกษร
คณะอนุกรรมการฝ่ายประกวดภาพถ่าย
นายเลิศวิทย์ ศศิปรียจันทร์ ดร.มานิตา คงชื่นสิน นางสาวนิธิรัตน์ แซ่จัน ดร.ทวี เก่าศิริ ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ นายกิตติพงษ์ สืบสาย นางสาวจรัญญา ปิ่นสุภา 3.11
นางสาวชลธิชา รักใคร่ นางสาวปัญจพัช แสงกระจ่าง นางสาวเมย์ชญา มีแสง นายฤทธิชัย ทองมนต์ นายวิเชียร รัตนคงสวัสดิ์ นายศราวุฒิ จันทรุคานนท์ นายศุภสันห์ บางแวก นางสาวศุภิกา สุขแจ่มใส
นางสาวชมพูนุท จรรยาเพศ นายชุมพล รุ่งวิชานิวัฒน์ นายทินกร ศรีวิชัย นายยุทธนา เครือหาญชาญพงศ์ นายเรวัฒ เพียซ้าย นางสาววาสินี ฉิมมา นางสาววิภาดา ปลอดครบุรี
นายวีระศักดิ์ ลิขิตมั่นชัย นายสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์ นางสาวสุพิชญา เหลืองธนาวัฒน์ นางสาวพจนา ตระกูลสุขรัตน์ นางสาววทินี ตันเจริญ นางสาวณัฐกานต์ แก้วเจริญศรี
คณะอนุกรรมการฝ่ายหารายได้
นายศรัณย์ วัธนธาดา นายสิทธิพร ไกรฤกษ์ นายเทพชัย เทพช่วยสุข นายกิตติกร สุขนวล นายกิตติพงษ์ ลิมปสุรัติ นายทวีศกั ดิ์ สุทธิพันธ์ นายธเนศวร อรชุน นายประดิษฐ์ คําดีผล นายประโลม พูลกําลัง นายประสิทธิ์ ภูติยานันต์ นายพาณิช ลิมปะพันธุ์
นายพงษ์ศักดิ์ ตระการกิจนุกูล นายพิสิษฐ์ วสุเศวตนิธิวดี นายไพน์ทวี สุพรรธริดา นายภิญโญ วาทิตพันธุ์ นายมนู ตู้แก้ว นายเมธี มีเสนา นางสาววนิดา อังศุพันธุ์ นายวรเดช ใจดี นายวิเชียร รัตนคงสวัสดิ์ นายสงวน สุขแสนไกรสร นายสมนึก สุขแจ่มใส
3.12 คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงิน นางสาวพีรนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นางจีรนุช เอกอํานวย นางสาวสุภานี ธเนศวงศ์ นางสาวนุจรี พันธ์โสม นางธัญญรัตน์ พูลสวัสดิ์ นายประสิทธิพงศ์ สุจิรธรรม นางลักขณา บํารุงศรี นายวรเดช ใจดี
นายสายันต์ วันอารีย์ นายสุเทพ กังเกียรติกุล นายสุเทพ สหายา นายสุนทร พูลกําลัง นายอรรถพล เช้าฉ้อง นายเอกรส สาชาติ นายเอกสิทธิ์ ทรัพย์เจริญวงศ์ นายเอนก เหล่านิพนธ์ นางจิราพร สุนทรวิภาต นางสาวพีรนุช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา นางสาวรัชดาภรณ์ นาถอัจลา นางสาวศิกานต์ หาญไชยนันท์ นางสาวสุวิมล ขันเพ็ชร์ นางสาวภฤชา ศรีอินทร์
ผู้สนับสนุนการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 14 1. ระดับ Platinum (100,000 บาท) 1.1 บริษัท เอฟเอ็มซี เอจี (ประเทศไทย) จํากัด 1.2 บริษัท คอเทวาอะกริไซแอนส์ จํากัด 1.3 บริษัท วาเลนท์ ไบโอซายน์ จํากัด (Valent Bio Sciences Co. Ltd.) 2. ระดับ Gold (75,000 บาท) 2.1 บริษัท เจียไต๋ จํากัด 2.2 บริษัท อริสต้า ไลฟ์ซายน์ (ประเทศไทย) จํากัด 2.3 บริษัท ไอ ซี พี ลัดดา จํากัด 3. ระดับ Silver (50,000 บาท) 3.1 บริษัท โกลบอล ครอปส์ จํากัด 3.2 บริษัท คร็อพ ซายน์ จํากัด 3.3 บริษัท เคมแฟค จํากัด 3.4 บริษัท ซาโกร (ประเทศไทย) จํากัด 3.5 บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด 3.6 บริษัท ที.เจ.ซี. เคมี จํากัด 3.7 บริษัท ไทย อะโกรเทรด จํากัด 3.8 บริษัท บาก้า จํากัด 3.9 บริษัท เมเจอร์ฟาร์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด 3.10 บริษัท ศรีพงษ์พันธุ์กุลจํากัด 3.11 บริษัท อดามา (ประเทศไทย) จํากัด 3.12 บริษัท เอส.วี. การเกษตร จํากัด 3.13 บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จํากัด 4. Bronze (20,000 บาท) 4.1 บริษัท นูโปรครอป จํากัด 4.2 บริษัท บีเอเอสเอฟ (ไทย) จํากัด 4.3 บริษัท ไบเออร์ไทย จํากัด 4.4 บริษัท ป.เคมีเทค จํากัด 4.5 บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จํากัด 4.6 บริษัท สหายเกษตรเคมีภัณฑ์ จํากัดสหายเกษตร 4.7 บริษัท เอสทีม อินเตอร์เทรด จํากัด
5. อื่นๆ 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 5.9 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14
บริษัท เทพวัฒนา จํากัด บริษัท เอส แอนด์ พี ฟอร์มูเลเตอร์ จํากัด บริษัท มิตรสมบูรณ์ จํากัด บริษัท เอราวัณเคมีเกษตร จํากัด บริษัท เอเลฟองเต้อโกรเคมิคอล จํากัด สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร บริษัท เทพวัฒนา จํากัด บริษัท เอฟเอ็มซี เอจี (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท ที.เจ.ซี. เคมี จํากัด สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย
30,000 บาท 10,000 บาท 5,000 บาท 5,000 บาท 5,000 บาท 40,000 บาท 40,000 บาท 40,000 บาท 40,000 บาท 40,000 บาท ป้ายกระเป๋าและป้ายชื่อพร้อมสายคล้อง เสื้อโปโลคณะกรรมการ ของรางวัลและเสื้อกรรมการ 5,000 บาท
180
12–14 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมดุสิตธานีหัวหิน จังหวัดเพชรบุรี