จดหมายข่าว ฉบับที่ 2

Page 1

«¡²¢ h²§

± µÈ §± µÈ ¡µ ² ¡

ร ว ม ส ร า ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใ ห น า อ ยู À § µ wy ¥± ¸ ¡ i ­ ´È ª¹h ² £ ­ ´ §± l £ ° À ¨ Ä ¢ £±É µÈ £ ° ³ u

ก สวัส ารจัด ชุมชดิการ น

ทำกองบุญสวัสดิการชุมชน ต้องให้ชุมชนเกื้อกูลเป็น ‘เนื้อนาบุญ’

นางมุกดา อินต๊ะสาร กรรมการบริหาร แผน คณะที่ 3 บรรยายพิเศษ ‘การเกื้อกูล เนื้ อ นาบุ ญ ของขบวนการขั บ เคลื่ อ น ความเป็นพลเมือง’ ว่า การทำกองทุนนั้น ไม่ใช่เราจะเอาเงินไปให้ชาวบ้านกู้ยืมแล้วใช้ แต่ เราหวังใจว่าพี่น้องจะเรียนรู้เรื่องการมีส่วนร่วมจัดการทุกข์ของ ตัวเองโดยการร่วมคิดว่าใครเป็นทุกข์บ้าง แล้วใช้เงินนี้หยิบยืม ไปจัดการ แทนที่จะไปกู้เงินนายทุนก็เอาดอกผลตรงนี้กลับมา จัดสวัสดิการ เป็นวิธีคิดให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมและช่วยกันดูแล ซึ่งเชื่อว่าหลายที่ทำได้ กระบวนการเหล่านี้ เงินไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ในพื้นที่ เราต้องไปคลี่ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เราจะจัดการกับ มันอย่างไรต่อไป “การทำกองบุญ เมื่อมีการออกระเบียบเรียบร้อยแล้ว ก็มี การออกแบบว่าพี่น้องมีอะไรดี ที่สำคัญเราอย่าทำกติกาอะไรให้ มากนัก แค่ 4-5 เรื่องก็พอ ซึ่งเรื่องของพลังพลเมืองไม่ใช่เรื่อง การให้เงินให้ทอง แต่ทุกอย่างต้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน ต้องลุกขึ้นมาจัดสวัสดิการ” การเสวนาเรื ่ อ ง ‘กองทุ น -กองบุ ญ กลยุ ท ธ์ ก าร

สร้างสวัสดิการจากรากฐานสู่การพัฒนาพลเมือง’ โดย พระมหาวีระ กิตติวัณโณ จากตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ผู้ก่อตั้ง ‘กองทุนพึ่งบุญ’ กล่าว ว่า เรื่องสวัสดิการชุมชนเป็นเรื่องที่ควรทำ บนพื้นฐานของจิตใจที่งดงาม ร่างกายที่ ปราศจากบุหรีแ่ ละเหล้า ปราศจากอบายมุข สวัสดิการจึงจะเกิดจริงๆ ไม่เช่นนั้นจะเกิด

ปัญหาว่า เมือ่ มีเงินเข้ามา บริหารแล้วค่าบริหารจัดการเยอะกว่า ก็จะไม่เกิดความสุข และจะเกิดความระแวงกัน กองทุนสวัสดิการ ทุง่ มนเริม่ จากการออมวันละ 1 บาท และเติบโตอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ชุมชนเดินหน้าไปได้อีกไกล ด้ า นนายอิ ฐ พึ่ ง เกษม เทศบาลตำบล บ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การสร้างสวัสดิการในชุมชนต้องสร้าง คนให้ดกี อ่ น ซึง่ ข้อสำคัญในการสร้างคนไม่วา่ จะเป็น กองทุนออมทรัพย์ สวัสดิการชุมชน ต้องมีองค์ประกอบ คือ 1.คนต้องซื่อตรง 2.ต้องโปร่งใส 3. ต้องจริงใจ 4.ต้องยุติธรรม เทศบาลบ้านซ่องยึด 4 สโลแกนหลักนี้ วิธีการสร้างต้องยึด

คุณธรรมหลักนี้ บ้านซ่องเริ่มตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นเมื่อปี 2536 กลุ่มของตนปัจจุบันมีเงิน 30 กว่าล้านบาทแล้ว ส่วน นายสำราญ คงนาม รองประธานกลุ่มมัสยิด สัมพันธ์ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กล่าว ว่า บ้านป่าคลอกเริ่มจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ ชาวบ้านโดยการออม จนกระทั่งรวมกันได้ 27,000 บาทและพัฒนาเป็นกลุ่มออมทรัพย์ จนปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์มีเงินอยู่ 30 ล้าน บาท และสถาบันการเงินชุมชนมีอีก 20 กว่าล้านบาท มีการ จดทะเบียนที่ทำเรื่องที่ดินของชุมชนด้วยอีก 20 กว่าล้านบาท วันนี้เราบอกว่า คนที่เป็นสมาชิกอย่าถามตัวเองว่าต้องได้อะไร จากกลุ่ม แต่ให้ถามตัวเองว่า ได้ช่วยเหลืออะไรกับชุมชนแล้ว หรือยัง ซึง่ กลุม่ ออมทรัพย์ของเราจะไม่เอาเงินนำ แต่จะเอาเงินเป็น เครื่องมือ เราจะไม่ใช้มติ แต่เราจะใช้ฉันทามติในทุกเรื่อง


5 ปัจจัย พัฒนาองค์กรการเงิน สร้างคนเป็น ‘พลเมือง’ การเสวนาย่อย ห้องการจัดสวัสดิการ สังคมโดยชุมชน ท้องถิ่น มีนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ อดีตรองผู้จัดการธนาคาร เพื ่ อ การเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) บรรยายพิ เ ศษเรื ่ อ ง ‘สถาบันการเงินกับการจัดสวัสดิการชุมชนที่หลากหลาย มิ ติ ใ หม่ ข องการสร้ า งความเป็ น พลเมื อ ง’ โดยสรุ ป ว่ า

ขณะนี้มีหลายชุมชนที่มีการจัดการเรื่องสวัสดิการชุมชน โดย การใช้สถาบันการเงินหรือองค์กรการเงินเป็นฐานราก ซึ่งไม่ว่า แต่ละชุมชนจะดำเนินการในรูปแบบใด การวางแผนถือเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ อีกทั้งต้องมีการวางกลยุทธ์ ในการจัดการทีด่ ี ผูน้ ำต้องรูจ้ กั สร้างความรูท้ างการเงินให้ชมุ ชน อยู่เสมอ สร้างระบบการจัดการเครือข่าย มีการประเมินตนเอง เพื่อตรวจสอบ และที่สำคัญจะต้องสร้างกฎเกณฑ์ที่มีความ โปร่งใส มีธรรมาภิบาล ไม่ใช่ทำหรือรู้เห็นกันเพียงแค่คนไม่กี่คน นอกจากนี้ยังได้บอกถึง ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่จะทำให้ สถาบันการเงินและจัดสวัสดิการชุมชนนำชาวบ้านไปสูค่ วามเป็น พลเมือง 5 ปัจจัย คือ 1. ชุมชนต้องมีการจัดการที่สอดคล้องกับ บริบทของพืน้ ที ่ 2.การตอบสนองความต้องการของสมาชิกมีผลดี และมีคุณภาพ 3.การเคลื่อนไหวของเงินในสถาบันการเงินใน ชุมชนจะต้องมาจากการออมหรือถือหุ้น 4.จะต้องมีสมาชิกใช้ บริการในปริมาณมากพอ และ 5.มีความสัมพันธ์กับนโยบายรัฐ นายเอ็นนู กล่าวถึงข้อเสนอที่อยากเสนอต่อชุมชน คือ ขณะนี้ การจัดการสวัสดิการในแต่ละพื้นที่มักจะทำในลักษณะที่ คล้ายกัน คือ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย แต่ในความเป็นจริงยังสามารถ จัดสวัสดิการที่หลากหลายและทำในเชิงรุกได้ด้วย อาทิ การลด หนี้นอกระบบ ลดการสูญเสียที่ดินทำกิน เป็นต้น จากนั้นเป็นการเสวนาย่อยในหัวข้อ ‘มิติ ใหม่ ความหลากหลายของรู ป แบบการ จั ด สวั ส ดิ ก ารสั ง คมโดยชุ ม ชนสู่ การสร้างความเป็นพลเมือง’ โดย นายชู ช าติ บำรุ ง นายก อบต. ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวถึง กระบวนการสร้างสวัสดิการชุมชนว่า เริ่มจากทำแผนชุมชน เพื่อนำปัญหาความ ต้องการมาตั้ง และกำหนดว่ า ท้ อ งถิ ่ น จะเข้ า ไปหนุ น เสริ ม

{02}

ก สวัส ารจัด ชุมชดิการ น

กระบวนการให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองได้อย่างไร จน ปัจจุบันสามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มสวัสดิการได้ในหลากหลายด้าน จากความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน หรือเรียกว่า การจัดสวัสดิการ จาก 3 ขา คือ ชุมชน ท้องถิ่น และรัฐบาล ซึง่ เมือ่ มีการดำเนิน การแล้วก็พบว่า ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพบด้วยว่า ชาวบ้านมีความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้นด้วย ด้าน นายศรัญวิทย์ ดาราศรี อดี ต ประธานสภาเทศบาลตำบล เชิงดอย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัด สวัสดิการชุมชนของเรานั้น เริ่มจาก ความสั ม พั น ธ์ แ ละการช่ ว ยเหลื อ ระหว่างชาวบ้านด้วยกันก่อน จากนั้น ท้องถิ่นจึงขับเคลื่อนทำให้ชุมชนหันมา รวมตัวกัน โดยเริ่มแรกทำเพียงไม่กี่หมู่บ้านแล้ว จึงขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ข้อได้เปรียบของตำบลเชิงดอย คื อ ได้ ร ั บ การสนั บ สนุ น จากภาคเอกชนด้ ว ย กลายเป็ น การ จัดการสวัสดิการ 4 ขา ซึ่งถือเป็นโชคดีที่ช่วยทำให้สวัสดิการ และองค์กรการเงินของชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น ขณะที่ นายภานุวุธ บูรพรหม นายก อบต.ผาสิงห์ จ.น่าน กล่าวว่า อยากแนะนำให้ ช ุ ม ชนที ่ จ ะจั ด สวัสดิการชุมชน เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที ่ ส ุ ด ก่ อ น โดยเริ ่ ม จากความ ต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และที่ สำคั ญ ต้ อ งเน้ น เรื ่ อ งการมี ส ่ ว นร่ ว ม เป็นสำคัญ ส่วนท้องถิ่นเป็นแค่หน่วย สนับสนุน ซึ่งในปัจจุบันนี้ หลายพื้นที่ก็มีสวัสดิการอยู่แล้ว แต่ที่ เป็นปัญหาก็ตรงที่เป็นไปในรูปแบบต่างคนต่างทำส่งผลให้ไม่ สำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นจึงต้องหาจุดร่วมกันให้ได้ โดยท้องถิ่น อาจจะเข้าไปเป็นตัวเชื่อม และท้ายที่สุดที่ทุกกลุ่มสวัสดิการ ชุ ม ชนควรคำนึ ง คื อ จะต้ อ งดู แ ลชาวบ้ า นทั ้ ง ด้ า นจิ ต ใจและ ร่างกาย เพราะเมื่อจิตดีกายดี การพัฒนาในชุมชนก็จะดีไปด้วย และนำไปสู่การสร้างความเป็นพลเมืองได้สำเร็จในที่สุด


สิทธิคนพิการ ทุพพลภาพ และคนชรา ที่ ‘ผู้นำชุมชน’ ต้องเรียกร้อง

เวที ท ั ศ นะว่ า ด้ ว ยเรื ่ อ ง การดูแลสุขภาพและการลงทุน ด้านสุขภาพโดยชุมชนท้องถิ่น เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ หัวข้อ ‘สิทธิคนพิการและหน้าที่ ชุ ม ช น ท้ อ ง ถิ่ น ใ น ก า ร จั ด บ ริ ก า ร แ ล ะ สวั ส ดิ ก ารสำหรั บ คนพิ ก าร’ โดย รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยสภาพแวดล้ อ มที ่ เ หมาะสมกั บ ผู ้ สู ง อายุ ภาควิ ช า เคหการ คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ า- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย้ำเรื่องสำคัญที่คนใน ชุมชนต้องตระหนัก คือสิทธิการจัดการภายใน บ้าน อาคาร สาธารณะ ที่ต้องเอื้อต่อความ ปลอดภั ย ของผู ้ พ ิ ก าร เริ ่ ม จากกฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2555 มีผลบังคับใช้เพิม่ เติมบังคับให้หน่วยงานราชการ อาคารที่สาธารณะ ศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ จะต้องสร้างสิง่ อำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ และคนชรา “ที่บ้านหนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ มีการมาปรับปรุงราวจับในศูนย์เรียนรู้ ห้องน้ำ ในวัดก็มีราวจับ และมีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ เปลี่ยนส้วมจากแบบนั่งยองเป็นแบบชักโครก ถือเป็นตัวอย่างชุมชนที่มองไกลกว่าบ้านตัวเอง โดยเป้าหมายให้คนในชุมชนปลอดภัย ดีกว่า ปล่อยให้ผู้สูงอายุลื่นล้ม ค่าใช้จ่ายในการปรับ สภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันไว้ก่อนจึงถือว่าคุ้ม กว่ามาก” รศ.ไตรรัตน์ เน้นย้ำถึงเหตุผลสำคัญ รศ.ไตรรัตน์ เล่าว่า ช่วงน้ำท่วมปี 2554 คนพิการ ผู้สูงอายุ ประสบอุทกภัยจำนวนมาก มีครัวเรือนของคนพิการและผู้สูงอายุ ประสบ ปัญหากว่า 50,000 หลัง โดยมีธนาคารใหญ่ 2

กา สุขภรดูแล าพ

แห่งให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณในการฟื้นฟูซ่อมแซมไปแล้ว 240 หลัง โดยมีเงื่อนไขว่า โครงการจะช่วยเฉพาะค่าอุปกรณ์และแบบก่อสร้างเท่านั้น แต่ค่าแรงคนในชุมชนต้องช่วยเหลือออกเอง ปรากฏว่าเป็นที่มาของการร่วมใจ เกินคาด โดยงบประมาณหลักหมื่นในหลายพื้นที่ ปรากฏว่าสามารถสร้างบ้าน ใหม่ได้ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่คาด “คิดต่อไปในอนาคต หากชุมชนใดจะมีการทำธนาคารอุปกรณ์ OTOP อุปกรณผู้สูงอายุ ก็ยังทำได้ ทำราวจับ ไม้เท้า มาขายหรือให้ยืมกันภายในชุมชน ก็ยังได้ และ อบต.ควรจะต้องคิดเรื่องขนส่งมวลชน รับส่งผู้สูงอายุคนพิการ ไปวัด ไปโรงพยาบาลได้สะดวกด้วย” นักวิชาการแนะ สำหรั บ หั ว ข้ อ การเสวนา ‘สารพั ด การจั ด การของชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น

เพื่อให้ชุมชนน่าอยู่สำหรับผู้พิการ’ นายโสภณ พรหมแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เล่าว่า ที่ลานสกา มีผู้สูงอายุ 1,200 คน มีผู้พิการ 488 คน การทำให้ผู้พิการมีความสุขที่แท้ จริงและยั่งยืน คือเป้าหมายแรก แต่ผู้นำชุมชนต้องจัดตั้งชมรม คนพิการเพื่อให้เขาได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้ได้ก่อน ด้านนายหน่อคำ สมสวัสดิ์ ประธานชมรมผู้พิการ อำเภอแม่ลาว จ.เชียงราย กล่าวว่า ในเรื่องศาสนาสถาน ต่างๆ ควรมีทางลาด ราวจับคนพิการ สำหรับในประเทศ ไทย ชุมชนต่างๆ กลับไม่ได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเรื่องนี้ ทั ้ ง หมดทำให้ เ ห็ น ว่ า ปั จ จั ย ความสำเร็ จ ในเรื ่ อ งพั ฒ นา ผู้สูงอายุ และผู้พิการ คือการจัดการของผู้นำชุมชน ทั้งผู้นำแบบ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการมีระบบอาสาสมัคร มีเครือข่าย มีนักวิชาชีพเฉพาะด้านมาสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในระบบคู่ขนาน 03 อีกทางหนึ่งด้วย


สุขภาพ คือ ‘ธุระ’ มิ ใช่ ‘ภาระ’ การบรรยายพิเศษ เรื่อง ‘ชุมชนท้องถิ่นขับเคลื่อน กองทุนหลักประกันสุขภาพได้อย่างไร’ โดย นพ.ประทีป ธนกิ จ เจริ ญ รองเลขาธิ ก ารสำนั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ แห่งชาติ (สปสช.) เน้นย้ำให้เห็นถึงก้าวต่อไปของชุมชนท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในรูปแบบ ‘กองทุนหลักประกัน สุขภาพตำบล’ ที่ปัจจุบันมีถึง 7,698 แห่งทั่วประเทศ มีเงิน สมทบปีละ 3,001 ล้านบาท และนับวันจะเติบโตขึ้นทุกที หมอประทีปได้ชี้ให้เห็นถึงโจทย์ใหญ่ที่ต้องคิดต่อ คือ ทำ อย่างไรให้กองทุนฯ มีผลต่อเรื่องใหญ่ๆ ที่มากกว่าเรื่องสุขภาพ ได้ด้วย ขณะนี้จึงได้จับมือกับ สสส. และตำบลสุขภาวะ ให้มี มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นตัวช่วย เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดี และนำไปสู่การสร้างสวัสดิการบำนาญของ คน 48 ล้านคนในอนาคต ในส่วนของการเสวนา นายศานิต กล้าแท้ นายก อบต.โพนทอง จ.ชัยภูมิ บอกว่ า ทำระบบกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพมาตั ้ ง แต่ ป ี 2549 หลั ก ใหญ่ ข อง สปสช. คือต้องการให้ชุมชนเป็นเจ้าของ และ ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยชุมชนท้องถิน่ ในปั จ จุ บ ั น มี ป ั ญ หาเรื ่ อ งการเป็ น โรคเบาหวานกั น มาก จึ ง ออกแบบให้ ท ้ อ งถิ ่ น มี ส ่ ว นร่ ว ม ทุ ก วั น นี ้ พ บว่ า คนในตำบล แข็งแรงขึ้น แม่บ้านได้ตรวจมะเร็งปากมดลูก 100% เพราะ ท้องถิ่นทำเองรวดเร็วกว่า “บางทีเรามีแรงจูงใจ เช่น กรณีเด็กได้กินนมแม่ ใคร สมัครใจให้เด็กได้กินนมแม่ครบกำหนดเวลาจะได้ 2,000 บาท

{04}

แต่ตอนนี้จ่ายแค่ 800 บาท ชาวบ้านก็ร่วมโครงการแล้ว ดังนั้น ท้องถิ่นจึงต้องคิดเรื่องสุขภาพเป็น ‘ธุระ’ ไม่ใช่เป็น ‘ภาระ’” นายก อบต.โพนทอง เปิดใจ นายมหามัติ มะจะ นายก อบต. อ.สายบุรี จ.ปัตตานี บอกแนวคิดเรือ่ งการจัดการกองทุนฯ ของตำบลมะนังดาลังว่า จะไม่เหมือนที่อื่น เพราะงานพื้นฐาน เช่น เบาหวาน ความดันฯ ต้องดูแลอยูแ่ ล้ว แต่ขณะนีไ้ ด้ทำคลินกิ 9 บาท ขึ ้ น มา ซึ ่ ง ก็ ข ั ด แย้ ง กั บ โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม

สุขภาพตำบล (รพ.สต.) อยู่บ้างเหมือนกัน เพราะแนวคิดหลัก คื อ เป็ น การเปิ ด พื ้ น ที ่ ใ ห้ ค นในพื ้ น ที ่ ไ ปใช้ บ ริ ก ารหลั ง เวลาที ่ รพ.สต. ปิดให้บริการ หรือตั้งแต่ช่วงเวลา 16.30 น.เป็นต้นไป คือ แทนที่จะไปฉีดยาตามคลินิกในตลาด ก็มาที่คลินิก 9 บาท ทุกอย่างจะ 9 บาทหมด โดยมีลูกหลานของคนในพื้นที่ที่เรียน พยาบาลเข้ามาช่วยเป็นเจ้าหน้าทีใ่ ห้ คลิกนิกนี้จะเป็นของคนใน ชุมขน จึงขอฝากเรื่องนี้ให้ผู้นำพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ด้วย ถ้าสามารถคุยกันในเรื่องสุขภาพและเรื่องอื่นๆ ได้ ทุกคน ก็จะสามารถร่วมแชร์ปญ ั หากันได้ “ในพื้นที่ของมุสลิมปัจจุบันไม่ได้ดูแลเฉพาะแค่ร่างกาย การเยี ย วยาทางจิ ต ใจเป็ น เรื ่ อ งสำคั ญ มาก เช่ น การทำให้ ครอบครัวอบอุ่น คือ พาลูกจูงหลานเข้ามัสยิด วันนี้เราจะไป หาความสุขจากที่อื่นไม่ได้ ทุกคนต้องสร้างสุขขึ้นมาภายใต้ สภาวะการกดดันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่พระผู้เป็น เจ้ากำลังทดสอบเราอยู่ ต้องช่วยกันฟื้นฟูสภาวะจิตใจของคนใน พื้นที่ให้ฟื้นกลับมาโดยเร็วที่สุด” เป็นบทสรุปที่ครอบคลุมงาน พัฒนาท้องถิ่นที่ชัดเจนที่สุดแล้วในเวลานี้


เวทีสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ย้ำแนวทางต้องยกระดับประชาชนให้เป็นพลเมือง

สมัชชาองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น เพื ่ อ การปฏิ รู ป ปี 2556 มีการประชุม เรือ่ ง ‘แนวทางการขับเคลื่อนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ เพือ่ ยกระดับประชาชนเป็นพลเมือง’ โดยมีผู้นำท้องถิ่นจากทั่วประเทศเข้าร่วม นายสมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที ่ 3 สสส. และประธานสมั ช ชาองค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2556 นี้ เราจะมุ่งเน้น ที่การพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา ที่ยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นโดยการขับเคลื่อน ให้มีกระบวนการในการสานพลังพลเมืองให้เป็นกำลังสำคัญ ของชุมชนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการตนเอง มี เป้าหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลักในการ ขั บ เคลื ่ อ นกระบวนการพั ฒ นาและการจั ด กิ จ กรรมในพื ้ น ที ่ ยกระดับความเป็นราษฏรให้เป็นประชาชน และทำให้ประชาชน เป็นพลเมือง นายสมพรกล่าวอีกว่า คุณลักษณะที่สำคัญของความ เป็นพลเมืองมีหลายอย่าง เช่น การสนใจและให้ความสำคัญ ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นหรือการมีจิตสาธารณะ การมีบทบาท หน้าทีท่ ำงานในชุมชน การใช้ความเห็นร่วมในการจัดการปัญหา มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความสามัคคี มีความละอายเกรงกลัว ต่อความชั่ว มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และเชื่อมั่นในการ ทำสิ่งที่ถูกต้อง และต้องร่วมกันส่งเสริมคนดี ดังนั้นในทุกตำบล ทุกหมู่บ้านจะต้องค้นหาคนดีและสร้างศักยภาพให้เขาเป็นผู้นำ ให้ได้ การขับเคลื่อนชุมชนให้น่าอยู่ ปัจจัยสำคัญมาจากการ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และที่ขาดไม่ได้คือ เครือข่ายชุมชน ซึ่งการ ร่วมกันทำงานดังกล่าวดำเนินการเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554-2555

สมัช อปทชา เพื่อ . ปฏิรการ ูป

และเกิดผลสำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้างสุขภาพ อาทิ ความมั่นคงในอาหาร การออกกำลังกาย การลด อุบัติเหตุ เป็นต้น และในปีนี้ถือว่าพิเศษกว่าครั้งก่อน ที่ทำการบวกเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเด็นคือ ‘การพัฒนา คนจะมีความยั่งยืน จำเป็นต้องทำให้ประชาชนเป็น พลเมือง’ โดยในปี 2556 เราจะใช้ ‘สูตรสามสร้าง ยกกำลังสาม’ ได้แก่ 1.สร้างการเรียนรู้ หมายถึง สร้างแหล่งเรียนรู้ สร้างความรู้ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.สร้างความเป็นพลเมือง หมายถึง สร้างการมีส่วนร่วม สร้าง ความเป็นเจ้าของ สร้างศักยภาพ และ 3.สร้างผลกระทบทาง สั ง คม สร้ า งผลกระทบทางเศรษฐกิ จ สร้ า งผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง หรือเป็นการ บูรณาการที่เอาพื้นที่ท้องถิ่นเป็นตัวตั้งนั่นเอง และหากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ ตระหนักถึงหลักการทัง้ สาม ในชุมชนท้องถิน่ ของเราก็จะมีพลเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นพลังพลเมืองที่มี บทบาทในการพัฒนาชุมชน และเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ ของเราที่มีความเข้มแข็งและน่าอยู่ยิ่งขึ้น ขณะที ่ น ายธวั ช ชั ย ฟั ก อั ง กู ร อดี ต รองอธิ บ ดี ก รม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกล่าวว่า ในส่วนบทบาทขององค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ในการสร้ า งความเป็ น พลเมื อ งนั ้ น การสนับสนุนให้ชาวบ้านในพื้นที่ ทำหน้าที่ ‘อาสา’ ก็ต้อง สนับสนุนให้เขาอาสาอย่างมีศักดิ์ศรี พร้อมกันนี้ในส่วนของเรื่อง กองทุนที่จะเข้าไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ควรควบคุมให้ อยู่ในลักษณะกลไกที่สามารถรวมคนได้ เพื่อนำไปสู่การทำงาน ร่วมกัน หรือจะก่อเกิดจากการเริม่ เป็นสมาชิกก่อนก่อได้ สุดท้าย ก็จะนำไปสู่การสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งถือเป็นการ สร้ า งความเป็ น พลเมื อ งที ่ สู ง มาก สุ ด ท้ า ยเมื ่ อ รู ้ บ ทบาทของ ตัวเองแล้ว อย่าลืมทบทวนกระบวนการของแต่ละแหล่งเรียนรู้ หรือแต่ละนโยบายสาธารณะ ให้รวมการขับเคลื่อนสร้างความ เป็นพลเมืองเข้าไปด้วยจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จในการ สร้างพลเมืองที่ดี 05


สมัชชา. อปท าร เพื่อก ูป ปฏิร

อปท. เคาะ 6 แนวทางสร้าง ‘พลเมือง’

การประชุมสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ ปฏิรูป ปี 2556 เรื่อง ‘แนวทางการขับเคลื่อนขององค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ยกระดั บ ประชาชนเป็ น พลเมือง’ ดำเนินการโดยแบ่งกลุ่มย่อยจำนวน 6 กลุ่มเพื่อ พิจารณาข้อเสนอแนวทางการสร้างพลเมืองภายใต้โครงสร้าง การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ซึง่ สรุปร่างข้อเสนอ ทั้งสิ้น 6 แนวทาง ดังนี้ 1) การจัดทำธรรมนูญท้องถิ่นที่มีข้อบัญญัติเกี่ยวกับการ พัฒนาและสร้างสภาวะแวดล้อมให้สมาชิกในชุมชนเป็นผู้ที่มี จิตอาสาทั้งในระดับครอบครัว กลุ่ม ชุมชนและองค์กร 2) สนับสนุนให้จัดตั้ง ‘ธนาคารเวลา’ และ/หรือ ‘ธนาคาร ความดี’ ให้เป็นเครื่องมือกระตุ้นจิตสำนึกพลเมือง และ อปท. สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน 3) อปท.ออกข้ อ บั ญ ญั ต ิ ว ่ า ด้ ว ยการมี ส ่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในการบริการจัดการพื้นที่ 4) สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนเพื่อ เป็นกลไกแก้ไขข้อขัดแย้งภายในชุมชน 5) สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยความเป็น พลเมืองบนฐานวัฒนธรรมแต่ละชุมชนท้องถิ่น 6) สร้างการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนสู่การเมืองคุณ ธรรมในระดับท้องถิ่น โดยจะต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาค ส่วนและทำร่วมกันอย่างเป็นระบบจึงจะนำสู่กระบวนการการ เลือกตั้งสีขาวที่มีความบริสุทธิ์ โปร่งใสและยุติธรรม ทั้งนี้ นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานที่ประชุมสมัชชา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป กล่าวว่า เห็นด้วยกับ แนวทางการสร้างพลเมืองภายใต้โครงสร้างการบริหารจัดการ อปท.ที่มีการนำเสนอทั้ง 6 ข้อ ซึ่งถ้าทุกคนเห็นตรงกัน ก็อยาก

{06}

จะให้นำแนวทางนี้กลับไปคิด และปีหน้าคงต้องดูว่า ทั้ง 6 เรื่อง นี้มีการดำเนินการไปแล้วมากน้อยขนาดไหน สำหรับการจัดการตนเองนี้ จะเห็นได้ว่า ครอบคลุมทั้ง อำนาจทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยในส่วนของ อำนาจนิติบัญญัตินั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนคิดกฎเกณฑ์ขึ้นมา เองผ่านประชาธิปไตยทางตรง คือการมีส่วนร่วม ในส่วนอำนาจ ในการบริหาร มี อสม. มี ปภ. ที่เป็นกลไกในการดูแลตัวเอง ขณะที่อำนาจทางตุลาการ คือระบบยุติธรรมของหมู่บ้าน อย่าง ที่เรียกว่า ‘ศาลชุมชน’ ในระบบยุติธรรมชุมชน ด้าน นายสมพร ใช้บางยาง ประธานสมัชชาฯ กล่าว ว่ า ดี ใ จที ่ ผู ้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ ่ น ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ที ่ จ ะ ยกระดับพี่น้องของเราที่เป็นราษฎร เป็นประชาชน ขึ้นไปสู่ ความเป็นพลเมือง ซึ่งจุดนี้จะเป็นคำตอบสุดท้ายในการพัฒนา ประชาธิปไตยในบ้านเรา “เราต้องช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องการสร้างพลังให้กับชุมชน จากจุดเล็กๆ ไปสู่จุดใหญ่ ความจริงท้องถิ่นมีมากมายมหาศาล มีหน่วยงานถึง 7,852 แห่ง มีผู้บริหารและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ที่ยังไม่นับรวมลูกจ้างกว่า 4 แสนคน และยังมีประชาชนที่อยู่ใน ส่วนของการปกครองในมือของเรามากถึง 60 ล้านคน แต่ที่ผ่าน มา การที่เราอยู่แบบไม่มียุทธศาสตร์ ทำให้ท้องถิ่นไม่มีพลัง เพียงพอที่จะไปต่อรองอะไรได้ ซึ่งเราไม่ได้ต่อรองเพื่อประโยชน์ ของพวกเรา แต่เราจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเพื่อประชาชน ต่อไป” ทั ้ ง นี ้ แ นวทางการสร้ า งพลเมื อ งภายใต้ โ ครงสร้ า งการ บริ ห ารจั ด การของ อปท.ทั ้ ง 6 แนวทางนั ้ น จะมี ก ารโหวต ข้ อ เสนอดั ง กล่ า ว เพื ่ อ จั ด เรี ย งลำดั บ ความสำคั ญ ในวั น ที ่

3 มีนาคมด้วย


สร้างความเข้มแข็ง แก้ปัญหาชุมชน เริ่มต้นจาก ‘ครอบครัว’

ในการแสดงปาฐกถาพิ เ ศษเรื ่ อ ง ‘ศู น ย์ พั ฒ นา ครอบครั ว ...ศู น ย์ บ่ ม เพาะความเป็ น พลเมื อ ง’ ศ.พญ.

ชนิกา ตู้จินดา ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 4 กล่าวว่า ในปัจจุบันบทบาทของพ่อแม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในสถานะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เด็กต้องมี ปัญหาขาดการอบรมบ่มนิสัย สภาพสังคมปัจจุบันส่งผลให้ ทุกคนขาดการทบทวนในสิ่งที่ควรจะทำ ศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) ที่เปรียบได้กับศูนย์พัฒนาการเป็นพลเมืองดีจึงต้องถือ กำเนิดขึ้น เพื่อจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ครอบครัว สังคมและชุมชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนในการดำเนินการสะท้อนปัญหา ร่วมกันหาทางแก้ไข “ชุมชนเข้มแข็งเริ่มจากเด็กและครอบครัว แล้วเด็กจะเป็นผู้ที่ดึง คนในครอบครัวให้เข้ามาใกล้ชิดกัน นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญของ การสร้างพลเมืองและสังคมทีด่ ”ี ศ.พญ.ชนิกา กล่าว ส่ ว นเวที เ สวนา รั ช นี กลิ่ น พุ ท ซ้ อ น ตั ว แทน ศพค. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองประดู่ กล่าวว่า ด้วยความที่ลูก ทั้งสองคนมีอายุห่างกันมาก และทุกคนในครอบครัวจะมีแต่ ลูกชาย การที่ตัวเองมีลูกสาวจึงทำให้ได้รับความรักและดูแล เอาใจใส่จากญาติๆ เป็นพิเศษ แต่ตนเองต้องสร้างความเข้าใจ กับลูกทั้งสองคน เน้นย้ำให้ตระหนักถึงการมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน และให้ความสำคัญกับทุกคนในครอบครัวโดยไม่มีการแบ่งแยก และการเข้าร่วมกิจกรรมกับ ศพค. ทำให้ทุกคนในชุมชนรู้ว่า ครอบครัวคือสถาบันหลักที่สำคัญ ที่จะทำให้ชุมชนกลับมา เข้มแข็งได้ ด้ า น นางสาวเพ็ ญ ภั ค รั ต นคำฟู นายกเทศมนตรี ตำบลเกาะคา จ.ลำปาง กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดจากคนในชุมชน เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้น ของปัญหาคือครอบครัว โดยการดำเนินงานทัง้ หมดจะอยูภ่ ายใต้ แนวคิด ‘ครอบครัวเข้ ม แข็ ง ต้ น แบบ เกิ ด ครอบครั ว ขยายใน

เด็ก และ เยาว ชน

ชุมชน’ ซึ่งมีจิตอาสาสร้างครอบครัวเข้มแข็งนำร่อง 49 คนลง พื้นที่ไปพบปะกับครอบครัวอื่นๆ ในชุมชน ผ่านการทำงานเชิง บู ร ณาการ โดยใช้ ‘ข่ ว งผญา’ (ลานแห่ ง การเรี ย นรู ้ ) เป็ น ศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของทุกครอบครัวในชุมชน ทำให้เกิด การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาทางออกของปัญหา ชุมชนร่วมกัน นำไปสู่การแก้ปัญหาทั้งครอบครัว สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ นางศิรัญญา สุนทร หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.ดอนแก้ว จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การดำเนินงานของ อบต. ดอนแก้ว เพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนจะเริ่มที่เด็กและเยาวชน และทาง ผู ้ บ ริ ห าร อบต. จะทำหน้ า ที ่ เ ชื ่ อ มต่ อ ความสั ม พั น ธ์ โดยมี

เป้าหมายคือการเฝ้าระวัง แก้ปัญหาและส่งเสริมการเรียนรู ้

ภายใต้ทุนที่มีทั้งงบประมาณ นักวิชาการ และผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งทุกคนมีกระบวนการทำงานที่มุ่งไปในทางเดียวกัน ผลการ ดำเนินงานทีผ่ า่ นมาทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ คือปัญหาของเด็กและเยาวชน ลดลง ทุกคนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น นางไพวริ น ทร์ แก้ ว กั ญ ญา นั ก พั ฒ นาชุ ม ชนศู น ย์ พัฒนาครอบครัว เทศบาลตำบลเชียงคาน กล่าวว่า จุดเริ่มต้น ของตำบลเชียงคาน และ ศพค. เริม่ จากเตรียมทำศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน โดยมีกลุม่ อสม. ในพืน้ ทีเ่ ป็นกลุม่ เริม่ ต้นในการดำเนินงาน และการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนจะผ่านการทำประชาคม ทุกครั้ง เพื่อให้ทุกคนรับรู้ถึงความสำคัญของครอบครัวและสิทธิ ของตัวเอง ด้านเสียงสะท้อนจากการปฏิบัติการของชุมชน พบว่า หลายๆ ชุมชน ปัญหาในสังคมและครอบครัวลดลง โดยกลุ่ม เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนช่วยให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมมาก ขึ้น แต่การดำเนินงานส่วนใหญ่ยังขึ้นกับผู้นำท้องถิ่นว่าจะเห็น ด้วยหรือไม่ 07


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก...

เด็ก และ เยาว ชน

ก้าวแรกของคนตัวเล็กสู่การเป็นพลเมืองที่ดี

ห้องเสวนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนช่วงบ่าย หลัง การแสดงจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองปู่เข้าสมิงพราย ต่อด้วยการเสวนา ‘ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก รากฐานความเป็นพลเมือง’ นายกิ ต ติ วั ฒ น์ เลิ ศ พรตสมบั ติ นายกเทศมนตรี ตำบลเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ กล่าวในฐานะของผู้นำชุมชนว่า ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) กลายเป็นสถานที่ให้ความรู้ และสร้ า งพั ฒ นาการให้ ก ั บ เด็ ก จึ ง ต้ อ งวางแผนและกำหนด เป้าหมายให้ชัดเจนที่จะสร้างพลเมืองที่ดี เติบโตทั้งร่างกายและ จิตใจ โดยเทศบาลตำบลเก้าเลี้ยวได้บูรณาการการทำงานร่วม กันกับทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ทุกพื้นที่ต้องสามารถเป็นศูนย์ การเรียนรู้สำหรับเด็กได้ และใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือและ กลไกสร้างจิตสำนึกที่ดีและเหมาะสมเพื่อให้เด็กเกิดความสุขทั้ง กายและใจ และเติบโตเป็นพลเมืองทีด่ ีมีคุณภาพ ด้านนายกีรติ ฉัตรเท หัวหน้าส่วนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อบต. น้ำปั้ว จ.น่าน ผู้แทนหัวหน้าส่วนงานดูแล การศึกษา กล่าวว่า ต.น้ำปั้วได้นำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมมา เป็นเครื่องมือบ่มเพาะสร้างความดีให้กับเด็ก โดยมีคนในชุมชน เข้ามาช่วยสอน เช่น การทำตุงใยแมงมุม ทีป่ จั จุบนั ได้กลายเป็น เอกลักษณ์ของ ต.น้ำปั้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือความคาดหวัง ของคนรอบข้างที่อยากให้เด็กเก่งและฉลาด สิ่งนี้ล้วนสร้าง ความกดดันและทำให้การเรียนการสอนเด็กผิดเพีย้ นไป แม้เราจะ เห็นว่าการเรียนรูผ้ า่ นภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ นัน้ สามารถสะท้อนความ สามารถและพัฒนาการของเด็กได้เช่นกันก็ตาม แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ผู้ปกครองว่าจะตีความหมายว่าอย่างไร นางสุพรัตน์ อินทวงศ์ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลบ้านซ่อง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ได้วางระเบียบ แบบแผนในการทำงานทั้งในส่วนครูและเด็ก โดยครูต้องจบ ปริญญาตรีในหลักสูตรปฐมวัย และการรับเด็กเข้า ศพด. ต้อง เป็นไปตามกฎกติกาที่ได้วางไว้ ส่วนกระบวนการเรียนรู้ได้นำ

{08}

วัฒนธรรมท้องถิ่นไทยพวน เข้ามาเป็นเครื่องมือในการเรียน การสอน ทำให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนสมัยก่อน และได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์สิ่งที่ดีงาม โดยเราเห็นว่า การเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นการ สร้างโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่นอกห้องเรียนผ่านประสบการณ์ ตรงของเด็กและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ให้ โตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีได้ ขณะที่ นางทองเหรียญ อินต๊ะพิงค์ ตัวแทน ศพด. เจดีย์แม่ครัว จ.เชียงใหม่ กล่าวในมุมมองของครูปฐมวัยว่า จาก ประสบการณ์ทำงานดูแลเด็กมากว่า 28 ปี พบว่าศูนย์พฒ ั นาเด็ก เล็กเปลี่ยนแปลงไปมาก มีการพัฒนาให้เป็นหลักสูตรหนึ่งของ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ขณะที่พี่เลี้ยงดูแลเด็กได้เป็นครูตามระดับ การศึกษา ซึง่ ทาง ศพด. เจดียแ์ ม่ครัวได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ภายใต้แนวคิด Learning by doing ซึ่งทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเป็น แต่ปัญหาที่พบคือ การคัดเลือก ศพด. ของผูป้ กครอง ซึง่ ก็ขน้ึ อยูก่ บั วิสยั ทัศน์ว่า จะให้ลูกเข้าเรียนที่ใดและเป็นอย่างไร ส่วน นพ.วิศาล วิมลศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพไกรนอก กล่าวว่า สิ่งแรกที่ทางโรงพยาบาล เข้าไปดูแล ศพด. ในพื้นที่ คือการพูดคุยกับครูพี่เลี้ยง ซึ่งเน้น

ในเรื่องของการดูแลสุขภาพเด็ก โดยเฉพาะความสะอาด ปลอด เชื้อโรค ส่วนทางโรงพยาบาลจะเข้าไปดูแลเพิ่มเติมในส่วนของ โภชนาการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้เด็ก เข้าไปรับความรู้พัฒนาด้านไอคิวและอีคิวจาก ศพด. นอกจากนีภ้ ายในงานยังมีการสะท้อนมุมมองจากตัวแทน ของ ศพด. ที่ส่วนใหญ่ระบุถึงการร่วมมือกันในชุมชนที่จะก้าวไป สู่ตำบลน่าอยู่และชุมชนเข้มแข็ง ทั้งนี้ผู้ร่วมงานยังได้เพลิดเพลิน ไปกับนิทรรศการโยคะสำหรับเด็กและผลงานจากจินตนาการ ของเด็กๆ จาก ศพด. ด้วย.


หมุนโลกให้กลับด้าน

การ ทรัพจัดการ ธรรม ยากร ชาติ

เมื่อ ‘ชุมชน’ กลายเป็นผู้ดูแลจุดเล็กๆ ‘สีเขียว’

ในการบรรยายพิเศษเรื่อง ‘ป่าชุมชน คือ ทางออกในการจัดการทรัพยากรป่าไม้จริง หรือ’ ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ จากสถาบัน สิทธิมนุษยชนและสันติศกึ ษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คำว่า ‘ป่า’ สำหรับคนกรุงมักคิดว่าเป็นเรื่อง ไม่เจริญหูเจริญตา และมักตรงข้ามกับการพัฒนา แต่สำหรับ

คนชนบทแล้วป่าคือ ‘จิตวิญญาณ’ ชุมชนใดที่ไร้ป่า ชุมชนนั้นก็ ไร้จิตวิญญาณไปด้วย การพูดถึงจิตวิญญาณของป่า หมายถึง สรรพชีวิต เพราะป่าเป็นธรรมชาติที่เอื้อให้ชีวิตร่มเย็น เป็น ครัวหลังใหญ่ของชาวชนบท และยังเป็นโรงเรียนของเด็กสมัยก่อน ในเรือ่ งความสำเร็จของชุมชนกับการจัดการฐานทรัพยากร ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าวถึง ‘Elinor Ostrom’ สตรีผู้ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งเธอใช้เวลา 40 ปี ทำวิจัยโดยโฟกัสไปจุดสีเขียวทุกจุดในโลก และพบว่าพื้นที่สีเขียวที่ดำรงอยู่ได้ คือพื้นที่ที่มีความความเป็น ชุมชน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชุมชนนิยมหรือไม่ก็ตาม แต่ชุมชนมี บทบาทที่สำคัญในการปกป้องป่าและทรัพยากร และไม่เชื่อว่า ตัดชุมชนออกไปจะรักษาป่าและทรัพยากรอยู่ได้ “สิ่งที่อยากจะสื่อสารให้พูดคุยกันต่อไปคือ กระบวนการ มีสิทธิ หน้าที่ อำนาจในการดูแลรักษาป่าต้องเปลี่ยนแปลง ป่าในวันนี้ถูกคาดหวังให้ประโยชน์ต่อคนมากขึ้น คนต้องกินต้อง ใช้ คนไทยต้องอยู่ยากขึ้น ดิ้นรนต่อสู้มากขึ้น ในวันนี้ถ้าเราไม่มี ความพร้อม ถ้าฐานป่าและทรัพยากรไม่มีความมั่นคง สิทธิใน การจัดการใช้ประโยชน์ไม่อยูใ่ นมือประชาชนหรือท้องถิน่ อนาคต เราก็ยากที่จะปกป้องคุ้มครองชีวิตของเรา” ต่อมาในช่วงเสวนา ‘เมืองคาร์บอนต่ำ เราทำได้ด้วย

ป่าชุมชน’ นายกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลแม่ ท า อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง สภาพทีค่ นแม่ทาเจอในอดีต จากป่าสมบูรณ์ มีการสัมปทานป่า 4 ครั้ง จนทำให้ป่าไม้ใน แม่ ท าหมดไป ชาวบ้ า นที ่ เ คยมี ช ี ว ิ ต อยู ่ ก ั บ ป่ า พอเห็ น ว่ า ไม้ มีมูลค่าก็เริ่มมีการค้าไม้เกิดขึ้น ในช่วงแรกๆ จึงเป็นการต่อสู้ เรื่องไม่บุกรุกตัดไม้ขาย แต่สถานการณ์ผ่านไปมาถึงปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องตัดไม้ กลายเป็นเรื่องอาชีพเกษตรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว

แทน ส่วนวิธกี ารทีท่ อ้ งถิน่ ใช้ในการจัดการ คือการใช้ขอ้ มูลวิชาการ รองรับเพราะมีนักวิชาการเข้ามาช่วยมากขึ้น รวมทั้งมีเวทีกลาง มาช่วยในการพูดคุยแลกเปลี่ยน เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีการออกข้อบัญญัติของชาวบ้านผ่านองค์การ บริหารส่วนตำบล เปลี่ยนพื้นที่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการทำ เกษตรกรรมยั่งยืนแทน ด้ า น นายวิ ช ญะ เสาวะพบดี นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า พื้นที่อีสานเคยมีป่า เยอะมาก ภายหลั ง การสั ม ปทานบวกกั บ การ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ป่าลดลงเรื่อยๆ กระทั่งมี พระครูจากวัดป่ามาเริ่มการอนุรักษ์ จากแรงศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาทำให้มีการจัดเป็นผ้าป่าถวายพื้นที่แก่วัดเรื่อยๆ จากวัด เล็กๆ ก็กลายเป็นพื้นที่ป่า 1,700 ไร่ ที่มีกฎกติกา มีฐานข้อมูล เป็นฐานเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม เพราะนัก วิจัยก็มาจากชาวบ้าน ซึ่งมีตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนอายุ 70 ปี กลายเป็นความหวงแหนและรู้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้ า น นายสุ ว รรณวิ ช ญ์ เปรมปรี ดิ์ นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กล่าว ว่า เดิมป่าชุมชนที่ร่วมรักษามีเพียงราวพัน กว่าไร่ แต่เมื่อชาวชุมชนเห็นว่ามีประโยชน์ ก็มาช่วยกันปลูกจนขยายไปเป็น 25,000 ไร่ และมี กลุ่มอาชีพตามมา ซึ่งที่ขึ้นชื่อมากคือเห็ดโคนที่ขายได้ครั้งละ หลายตัน ซึ่งเมื่อทรัพยากรมีมากพอ การแก่งแยกกันก็ไม่มี ส่วน นายไพบูลย์ นุ้ยพิณ ผู้จัดการตำบล สุขภาวะตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัด ชุมพร กล่าวถึง ‘โครงการธนาคารต้นไม้’ ที่คนใน ชุ ม พรถื อ ว่ า เป็ น เสน่ ห ์ ทำให้ ช ั ก ชวนกั น เข้ า โครงการเพาะกล้าไม้และนำไปปลูกในพื้นที่ทำกิน เพื่อสร้างผืนป่าในตำบล ปัจจุบันบ้านควนจึงมีต้นไม้ปลูกใหม่ หลายหมื่นต้น และกล้าไม้ในธนาคารต้นไม้อีกส่วนหนึ่งยังเอา ไปปลูกในพื้นที่สาธารณะกลายเป็นพื้นที่ป่าของชุมชน อีกด้วย 09


าร ก ั ด จ ร การรัพยากาติ ท รมช ธร

คิดได้ผลแบบชาวบ้าน แก้ ‘ไฟป่า’ ด้วยการ ‘เผา’

ห้องย่อยเสวนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน การบรรยายพิเศษเรื่อง ‘การใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน อย่างยั่งยืน’ ดร.พิสุทธิ์ วิจารณ์สรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน อาวุโส มูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า หลักการเรื่องดินอาจฟังดูไม่ ยากแค่ใส่ปุ๋ยครอบจักรวาลไปก็จบ แต่ความเสื่อมของดินนั้น เป็นการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ สังเกตได้จากผลผลิตทางการเกษตร ของไทยต่อไร่นั้นเกือบจะรั้งท้าย ดร.พิสุทธ์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญเรื่องดิน คือการจับมา ใช้ให้เหมาะกับสมรรถนะ คือต้องเป็นการปลูกพืชให้เหมาะกับ ดิน ไม่ใช่ปรับปรุงดินให้เหมาะกับพืช เพราะเป็นการลงทุนสูง “เราถูกหลอกตลอดเวลาว่า ดินบ้านเราดี แต่ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ดินบ้านเราเหมาะปลูกพืชไร่เพียง 26% ข้าว 26% ที่ไม่เหมาะปลูกพืชเท่าไหร่ 16% คิดแล้ว ที่ดินที่เหมาะแก่การ เพาะปลูกมีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ดินที่มีปัญหาไม่ควรเอามาใช้ เพราะลงทุนสูงสู้กับต่างประเทศไม่ได้ จึงควรสงวนไว้เป็นป่า” ในช่วงการเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาและ แนวทางแก้ไข ‘การบริหารจัดการทรัพยากร ดิ น โดยชุ ม ชน’ นายไชยยศ โนจิ ต ต์

รองนายก อบต.ทุ่งโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่คือ เรื่องแนวเขตไม่ชัดเจนและ ที่ดินเปลี่ยนมือเพราะทานกระแสโลกาภิวัตน์ไม่ได้ เราจึงให้ผู้มี ปัญหามาเป็นผูร้ ว่ มทำงานทัง้ ทางยุทธศาสตร์และเทคนิค จากนัน้ จึงให้เยาวชนไปเรียนการใช้เครื่องมือ GPS เก็บข้อมูลโดยอ้างอิง สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพราะการวางแผนแก้ไขปัญหาได้จริง ข้อมูลสำคัญที่สุด

{10}

ขยับไปที่ นายสะอาด แก้วนิล นายก อบต.นางพญา จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า พื้นที่ของ เขาได้อาศัยกันมานาน ต่อมาภาครัฐประกาศเป็น เขตป่าสงวนทับลงมา จึงได้ร่วมกันหลายภาคส่วน หารือและ ลงสำรวจพื้นที่รายแปลง ป่าไม้พิษณุโลกก็มาช่วยดำเนินการจับ GPS ให้เกือบครบทุกแปลง จากนั้นจึงได้แบ่งเขตราษฎรกับป่า โดยใช้วีธีการปลูกพืชเป็นแนวไว้ อีกเรื่องที่ทำคือฝายชะลอน้ำ เพราะน้ำมีส่วนช่วยทำให้ดินดี ความสำเร็จก็ทำให้คนในพื้นที่ได้ ผลผลิตสูง อีกพื้นที่หนึ่งที่ติดป่าและภูเขาเช่นกัน แต่ ย้ายมาทางภาคอีสาน นายไพรวัลย์ เกตุนันท์ นายก อบต.ปทุมวาปี จ.สกลนคร เล่าว่า วิถีชีวิต ของคนที่นี่คือหากินกับป่า โดยแต่ละปี ท้องถิ่นจะขอ พันธุ์ไม้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตั้งงบประมาณด้านนี้ ไว้ รวมทั้งศึกษาว่า พื้นที่ตำบลเหมาะกับพืชอะไร พร้อมกับ แนะนำให้มกี ารพักดินหลังการปลูกพืชต่อเนือ่ งเพือ่ ไม่ให้ดนิ เสือ่ ม อาศัยที่เรียนมาทางด้านเกษตรจึงสามารถที่จะพูดเรื่องนี้ให้ ชาวบ้านให้ความสำคัญได้ สำหรับพื้นที่และการรับมือ ‘ไฟป่า’ ในวง เสวนาครั้งนี้ทางท้องถิ่น ‘สบเตี๊ยะ’ ได้เสนอวิธี การนอกกรอบมาให้ชุมชนอื่นได้ถกคิดกันต่อด้วย โดย ผศ.ดร.ศุท ธิ นี ดนตรี ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การได้ลงไป วิจัยเรื่องการจัดการไฟป่าที่ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ร่วมกับคนในท้องถิน่ ผลทีพ่ บคือ สาเหตุของไฟทัง้ หมดมาจากคน ชาวบ้ า นเคยใช้ ว ิ ธ ี ก ารจั ด การไฟหลายอย่ า งตั ้ ง แต่ ห ้ า มเผา เฝ้าระวัง ลาดตระเวน ทำฝาย แต่ที่ดีที่สุด คือการลดปริมาณ เชือ้ เพลิง นัน่ คือ เผาใบไม้ทง้ิ ไปก่อนส่วนหนึง่ ในเวลาทีเ่ หมาะสม “วิธีการนี้ลดปริมาณไฟป่าได้ หมอกควันน้อย ต้นไม้ เล็กๆ ก็ไม่ตาย ตรงนี้แตกต่างจากไฟป่าคือการวงขอบเขตได้ เป็นงานเชิงรุก โดยชิงเผาในช่วงระหว่างมกราคม-กุมภาพันธ์ เพราะหลังจากนี้จะเป็นไฟป่าจริงๆ วิธีการนี้นำมาจากผู้ใหญ่ บ้ า นคนหนึ ่ ง ถื อ เป็ น การหาทางออกและทดลองด้ ว ยวิ ธ ี เ ชิ ง ประจักษ์โดยชาวบ้านเอง” ผศ.ดร.ศุทธินี กล่าว


เสนอต้นแบบ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ต้องปลูก ‘ผักปลอดสาร’ ไว้กินเอง ในการเสวนาหัวข้อ ‘สวนครัวข้างบ้าน สร้างอาหาร

ริมถนน สวนผักลดขยะล้น วิถีของชุมชนช่วยเหลือกัน ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ การพึ่ ง ตนเองด้ า นอาหารของชุ ม ชน

ท้องถิ่น’ นายสำรวม กุดสระน้อย นายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลอุ ด มทรั พ ย์ กล่าวว่า ที่ตำบลอุดมทรัพย์มีพื้นที่ทางการ เกษตรกว่ า แสนไร่ ทำการเกษตรแบบ พอเพียงแทบทั้งหมด ทุกหลังคาเรือนปลูกผักไว้ กินเอง 100% ริมรั้วของทุกบ้าน มีผักที่มีประโยชน์และปลอด จากสารพิษหลากหลายชนิด บ้านไหนไม่มีพืชผักชนิดไหนก็ สามารถที่จะแบ่งปันและไปเด็ดกินข้างรั้วของกันและกันได้ ชาว บ้านไม่เคยต้องเสียเงินไปซื้อผักจากรถเร่ขายผัก หรือจากห้าง สรรพสินค้า หรือสินค้ามากินเลย นอกจากจะมีการปลูกผักข้าง รั้วแล้ว ที่พื้นที่ยังขยายเป็นโครงการปลูกผักข้างถนนด้วย นายเอกชั ย เมื อ งโคตร ปลั ด องค์ ก าร บริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล กล่าวว่า แหล่ง เรียนรู้ที่สำคัญอันหนึ่งของตำบล คือการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค โดยก่อนที่จะเริ่ม โครงการนัน้ ได้ปรึกษาและหารือร่วมกับชาวบ้าน และผู้นำท้องที่ ถึงพิษภัยที่เราได้รับจากอาหารซึ่ง ทำให้ชาวบ้านในพืน้ ทีจ่ ำนวนมากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคภัย ต่อมา จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคกันเองใน ครัวเรือน โดยทาง อบต.ให้การสนับสนุนในการแจกเมล็ดพันธุพ์ ชื และเมื่อชาวบ้านได้ผลผลิตแล้ว เราก็จัดทำตลาดสีเขียว และนำ ผักปลอดสารพิษเหล่านี้ส่งให้กับโรงพยาบาลเพื่อนำไปปรุง อาหารให้ผู้ป่วยอีกด้วย ด้านนายชูเกียรติ โกแมน ตัวแทนจาก โครงการสวนผักคนเมืองกล่าวว่า ปัญหาใหญ่ ของคนเมือง คือการไม่เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง ดังนัน้ พวกเราจึงเกิดแนวคิดในการชวนคนเมือง มาสร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง โดยเริ่มจาก พื้นที่ที่แต่ละคนมี จากหลังบ้าน ดาดฟ้า หรือในที่พัก อาศัย หรือที่ทำงานก็สามารถปลูกพืชผักไว้รับประทานได้ ด้วย

เกษ ยั่งย ตร ืน

วัสดุอุปกรณ์อะไรก็ได้ สิ่งสำคัญสำหรับคนเมืองตอนนี้ คือต้อง คิดในการที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารด้วยตนเอง การ เข้าถึงอาหารที่ดีเป็นเรื่องที่ยาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนเมืองจะ ต้องเริ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีด้วยการปลูกผักไว้กินเอง ขณะทีน่ ายวิฑรู ย์ เลีย่ นจำรูญ จากมูลนิธชิ วี วิถี กล่าวว่า สถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรที่หันมา ปลูกผักกินเองในครัวเรือนมากถึง 32% ซึ่งเป็น เรื่องที่น่าสนใจมากที่ประเทศที่เป็นผู้นำของโลก หันมาใส่ใจการพึ่งพาตนเอง แต่เมื่อหันกลับมา ดูในประเทศเรา ถึงแม้จะเป็นประเทศไทยการผลิต อาหารให้กับคนทั้งโลก แต่คนในบ้านเรานั้นยังได้รับการ บริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยอยู่เป็นจำนวนมาก แม้แต่ผักที่เรา ส่งออกไปยังประเทศแถบยุโรปก็ยังถูกตรวจพบว่า มีสารเคมี ปนเปื้อนมากที่สุดในโลก “ทุ ก วั น นี ้ ว ั ฒ นธรรมทางอาหารของครั ว คนไทยเท่ า ไมโครเวฟ คือมีอะไรก็ยัดใส่ไมโครเวฟแล้วก็กิน ซึ่งวัฒนธรรม แบบนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยป่วยและมีอัตราการเสีย ชีวิตสูง ซึ่งวิธีแก้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทุกคนจะ ต้องทำแล้ว เรายังต้องปรับโครงสร้างหลากหลายปัจจัยที่ได้ กล่าวมาข้างต้นด้วย เราต้องหันมาสนใจและทำในเรื่องเล็กๆ อย่างเรื่องน้ำพริก เพราะถ้าไม่มีคนกินน้ำพริกก็จะไม่มีคนกิน ข้าว ชาวนาก็จะได้รับผลกระทบ ทุกอย่างมันเกี่ยวโยงกันเป็น ระบบ เราจึงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเรื่องของการกินเพื่อเปลี่ยน แปลงโลกให้ได้ตั้งแต่วันนี้” วิฑูรย์ กล่าว 11


เกษ ยั่งย ตร ืน

เสียงจากพลเมืองผู้บริ โภค ระวัง ‘ตลาดนัดสีเขียว’ เพี้ยน การเสวนาย่ อ ยในเรื ่ อ งเกษตรกรรมยั ่ ง ยื น น.ส.สารี

อ๋องสมหวัง ตัวแทนจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ได้เข้าร่วม แสดงทัศนะเรื่อง ‘เปลี่ยนวิถีการผลิต ปรับวิถีการบริ โภค ด้วยพลังพลเมือง’ ว่า สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ คือเราจะต้องเลือกซื้อของที่ปลอดภัย และเราในฐานะที่เป็น ผู้บริโภคที่จะต้องควักสตางค์ในการซื้อ จะต้องคิดด้วยว่า เงินที่ เราจ่ายไปนั้นคุ้มค่ากับของเราที่จะได้ใช้หรือไม่ อย่างในอังกฤษ มีนิตยสารชื่อ WICH เพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่า การซื้อสินค้า ในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นจะได้รับสารอาหารอะไรบ้าง หรือได้รับ สารเคมี อ ะไรบ้ า ง ซึ ่ ง มู ล นิ ธ ิ ค ุ ้ ม ครองผู ้ บ ริ โ ภคเองก็ ไ ด้ จ ั ด ทำ นิตยสารในลักษณะเดียวกันนี้ออกมาชื่อว่า ‘ฉลาดซื้อ’ เพื่อให้ ข้อมูลกับผู้บริโภคในการเลือกซื้อของแต่ละชนิด ในส่วนของผู้ผลิต จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ด้วยการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ขณะที่ผู้บริโภค จะต้องสร้าง วัฒนธรรมที่ไม่ยอมให้กับการทำผิดของเจ้าของธุรกิจแบบนี้ “เรื่องของการบริโภคนั้น ไม่มีคำว่าเวรกรรมหรือความ โชคร้าย หากแต่เป็นเรื่องสิทธิของเราที่จะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เมื่อ ไม่ได้รบั ความเป็นธรรม ทัง้ นี้ เรือ่ งของผูบ้ ริโภคควรมีองค์กรอิสระ เข้ามาช่วยคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ซึ่งเรา และภาคีเครือข่ายก็ได้พยายามช่วยกันผลักดันให้เกิดองค์การ อิสระเพื่อผู้บริโภคขึ้นมา” ต่ อ มาเป็ น การเสวนาในหั ว ข้ อ ‘ขยายฐานอาหาร

ข อ ง ชุ ม ช น สู่ ค ว า ม มั่ น ค ง ท า ง อ า ห า ร

ของผู้ บ ริ โ ภคด้ ว ยตลาดสี เ ขี ย ว’ โดย นางจุฑามาศ สะดมสุข คณะกรรมการ ตลาดสี เ ขี ย วจั ง หวั ด สุ ร ิ น ทร์ บอกเล่ า ถึ ง ประสบการณ์ ใ นการทำตลาดสี เ ขี ย วใน จั ง หวั ด สุ ร ิ น ทร์ ว ่ า แต่ ก ่ อ นนั ้ น ตนและสามี ทำงานโรงงาน เรามักจะเจ็บป่วยเสมอ ต่อมาเมื่อมี คนในชุมชนชวนให้มาปลูกผักปลอดสารพิษ จึงได้เข้าร่วมและ ขยายออกมาสู่การจำหน่ายเป็นตลาดสีเขียวในสุรินทร์ ทุกวันนี้ เราไม่ได้เจ็บป่วยเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว ด้ า น นพ.ทรงพล ชวาลตั น พิ พั ท ธ์ ผู ้ อ ำนวยการ โรงพยาบาลปทุมธานี กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลปทุมธานีได้ริเริ่ม โครงการโรงพยาบาลสีเขียวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา

{12}

เรื่องสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยใน โรงพยาบาลสีเขียวของเราจะมีอาหารให้ ผู้ป่วยและผู้ที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาล ได้เลือกซือ้ กิน เรามีรา้ นอาหารสีเขียวทีส่ ะอาด ปราศจากอาหารที ่ เ ป็ น พิ ษ ให้ ก ั บ บุ ค ลากรใน โรงพยาบาลและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาเลือกซื้อกินได้ และยัง มีตลาดสีเขียวที่ขายพืชผักปลอดสารพิษให้กับประชาชนได้ เลือกซื้ออีกด้วย ด้านนายพฤติ เกิดชูชื่น เจ้าของบริษัทแดรี่โฮม จำกัด กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการผลิต เรายึดถึง คุณภาพเป็นตัวตั้ง มีเกษตรโคนมราย ย่อยที่เป็นลูกค้าของโรงงานเราคนหนึ่ง เขามีโคนมอยู่แค่ 8 ตัว โคนมของเขา ผลิตนมได้แค่วันละ 80 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนน้ำนมที่ได้น้อยกว่า

ในตลาด แต่ตนรับซือ้ น้ำนมของฟาร์มนีด้ ว้ ยราคาทีส่ งู กว่าท้องตลาด เพราะน้ำนมจากฟาร์มของเขาไม่ปนเปื้อนสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเรารู้มาด้วยว่า หลังจากหักลบกลบหนี้ เกษตรโคนมรายนี้ มี รายได้ 5 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นจำนวนเงินที่มากในระดับหนึ่ง ขณะที ่ รศ.กษิ ดิ ศ อื้ อ เชี่ ย วชาญกิ จ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เราได้ลงไปทำโครงการเกษตรอินทรีย์กับ ชาวบ้านและได้พบข้อเท็จจริงที่สำคัญเรื่อง หนึ่งคือ การหวนคืนวิถีของเกษตรอินทรีย์ นั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นอะไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นกังวลในเวลานี้ คือคำว่า ตลาดนัด สี เ ขี ย วที ่ ม ี ก ั น อยู ่ เ กลื ่ อ นเมื อ ง เพราะคำว่ า ตลาดสีเขียว สังคมรู้แล้วว่า เป็นตลาดที่ขายแต่ ของดีและมีประโยชน์ แต่ที่ตนไปพบเจอ ตลาดนัดสีเขียวบาง แห่งก็ขายเสื้อผ้า ขายของมากมายหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ของที่ไม่มีประโยชน์ ตลาดนัดสีเขียวที่แท้จริงจะต้องมีคณะกรรมการขึน้ มากำกับดูแล ต้องมีการรับรองตลาด และคนขายเอง ก็จะต้องได้รับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนว่า ผลิตภัณฑ์ ที่นำมาขายนั้นปลอดสารพิษอย่างแท้จริงด้วย


การ ภัยพจัดการ ิบัติ

การจัดการภัยพิบัติ รูปธรรมของความเป็นพลเมือง จ่ า โทโกเมศร์ ทองบุ ญ ชู หั ว หน้ า โครงการพั ฒ นา ระบบ และโครงข่ายการจัดการภัยพิบัติด้วยพลังสังคมพื้นที่ ภาคใต้ ได้บรรยายในหัวข้อ ‘การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ท้องถิ่น: รูปธรรมของความเป็นพลเมือง’ ว่า การสร้าง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีหัวใจสำคัญก็คือ การจัดตั้งอาสาสมัคร จัดการภัยพิบัติขึ้นมาในชุมชน เพื่อฝึกให้ประชาชนมีจิตอาสา พร้ อ มช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อ ื ่ น มี ค วามพอใจในการช่ ว ยเหลื อ สั ง คม มีระเบียบวินัยร่างกายแข็งแรง และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้เพื่อ ยกระดับ โดยในปัจจุบันทางโครงข่ายการจัดการภัยพิบัติด้วย พลังสังคมพื้นที่ภาคใต้ ได้มีการฝึกอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ ขึ้นมา 4 ระดับด้วยกันคือ อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติในพื้นที่, อาสาสมัครปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว อาสาสมัครเด็ก และเยาวชน และอาสาสมัครแม่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะคัดเลือกมาจากสมาชิก อสม. อย่างไรก็ตาม การที่กระบวนการการจัดการภัยพิบัติจะ ประสบความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 สิ่งก็คือ ชุมชน, ท้องที่/ท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในพื้นที่ ทุกคนจะต้อง บูรณาการความร่วมมือผ่านเครือข่ายเพื่อน และเครือข่ายสื่อ ต้องก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาระหว่างหน่วยงาน ปราศจากอคติ ระหว่างกัน ต้องเดินเข้าหากัน เวลาต่อมาได้มกี ารเสวนาเรือ่ ง ‘บทเรียนจากผูป้ ระสบภัย สู่ความเป็นพลเมือง’ โดยนายสาธิต ไชยสุวรรณ นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สภาพพื้นที่ของตำบลบ้านขาวนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดย รอบทะเลสาบสงขลา ปัญหาที่เผชิญก็คือ ฝนไม่ตก แต่กลับเจอ น้ำท่วมทุกปี เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดพัทลุง และ นครศรีธรรมราช ซึ่งปัญหานี้ดำเนินมาหลายสิบปี จนเมื่อได้พบ

กับจ่าโทโกเมศร์ จึงได้มีโอกาสส่งคนเข้าร่วมฝึกอาสาสมัคร จั ด การภั ย พิ บ ั ต ิ โดยหลั ง จากฝึ ก เสร็ จ ได้ เ ข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาค กลางเมื่อปี 2554 ซึ่งปัญหาที่ประสบในตอนนั้นก็คือ ไม่ชำนาญ พื้นที่ ต่อมาจึงได้ร่วมเป็นภาคีกับเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ ภูมินิเวศน์ทะเลสาบสงขลา ในปัจจุบันทางกลุ่มฝึกอาสาสมัครการจัดการภัยพิบัติไป แล้ว 120 คน ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มยังได้ฝึกร่วมกับเครือข่าย การจัดการภัยพิบัติอีก 5 เครือข่ายในภาคใต้เพื่อเพิ่มศักยภาพ และความชำนาญในการจัดการภัยพิบัติของสมาชิก ในส่วนของนายพยุ งศั ก ดิ์ จันแสงกุ ล กำนันตำบล พังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เล่าว่า พื้นที่ของ ตนเองนั้นมีหน่วยงานราชการขนาดใหญ่อยู่ 2 แห่งคือ อุทยาน แห่งชาติคลองพนม และอุทยานแห่งชาติเขาสก ซึง่ มักจะมีความ ขัดแย้งกับประชาชนในพืน้ ทีจ่ ากการทำงาน ในฐานะกำนันก็มา คิดว่าจะทำอย่างไร เพราะเราต้องทำงานเพือ่ ช่วยเหลือประชาชน ก็ต้องเข้าไปคุยกับหน่วยงานเหล่านี้ ทั้งเจ้าหน้าที่อุทยาน และก็ ตำรวจ ต้องมองข้ามอคติเล็กๆ น้อยๆ เพื่อที่จะสามารถจัดตั้ง เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติขึ้นได้ หลังจากนั้นจึงได้เริ่มปฏิบัติ การจริงครั้งแรกในช่วงที่เกิดเหตุการณสึนามิที่จังหวัดพังงา สิ่งแรกที่เห็นในการลงพื้นที่ก็คือ ความวุ่นวาย ดังนั้นเรื่องของกฎ กติกาในการทำงานร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้มานั่งคิด

ร่วมกันว่า หากทำเพียงแค่เครือข่ายเดียวคงจะไม่สำเร็จ จึงเห็น ว่าน่าจะร่วมมือกับเครือข่ายอื่นๆ ที่มีอยู่ให้ ทำงานร่วมกันด้วย 13


โอกาสจากภัยพิบัติ เปลี่ยนประชาชนเป็น ‘พลเมือง’ เวทีการจัดการภัยพิบตั ิ ช่วงบ่าย นางเพ็ญศรี ทองบุญชู กำนันตำบลเกาะขันธ์ จ.นครศรีธรรมราช ได้แสดงทัศนะเกี่ยว กั บ การจั ด การภั ย พิ บ ั ต ิ โ ดยชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น ว่ า ในอดี ต นั ้ น เรา จัดการภัยพิบัติ ด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่หลังจากเกิด เหตุอทุ กภัยและดินถล่มในปี 2553 ทางชุมชนจึงได้ระดมสมอง รับมือภัยพิบัติที่จะมีขึ้นในอนาคต นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์การ จัดการภัยพิบัติขึ้นในตำบลเกาะขันธ์ ในส่ ว นของการดำเนิ น งานนั ้ น จะหวั ง จากหน่ ว ยงาน ราชการคงไม่ทันการณ์ ต้องใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง มีแผนที่ชุมชน เป็นเครื่องมือ ใช้ท้องที่กับท้องถิ่นรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ เป็นตัวขับเคลื่อน ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างต้นทุนทางสังคม เช่น อาสาสมัคร รวมไปถึงการสร้างทุนทางธรรมชาติหรือการเตรียม พร้อมสภาพพื้นที่เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ เช่น พื้นที่อพยพ พื้นที่ พักพิง นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาบุคลากรให้ความรู้ และดูแลเขา ต่อมา มีการเสวนาเรื่อง ‘วิกฤตจากภัยพิบัติ โอกาส การสร้างความเป็นพลเมือง’ โดย นายทวีป จูมั่น อดีต นายก อบต.หั ว ไผ่ จ.สิ ง ห์ บ ุ ร ี กล่ า วถึ ง ประสบการณ์ ใ นการ จัดการปัญหาอุทกภัยในปี 2554 ว่า สังคมต้องเข้ามามีส่วนร่วม ริเริ่มด้วยกัน มิใช่มาจากการสั่งการ โดยที่มีคนเป็นหัวใจหลัก มีงบประมาณและเครือข่ายเป็นเครื่องมือสนับสนุน ในส่วนของ ชุ ม ชนต้ อ งบู ร ณาการข้ อ มู ล ทางภู ม ิ ศ าสตร์ ต้ อ งมี ค วามเป็ น

จิตอาสา ขณะที ่ นายดำเนิ น เชี ย งพั น ธ์ ราษฎรตำบลแม่พูล จ.อุตรดิตถ์ กล่าว ว่า หลังจากเกิดภัยพิบัติน้ำหลาก ดิ น ถล่ ม ปี 2549 ทางราชการได้ สร้างหอเตือนภัยขึ้น แต่เมื่อเกิด เหตุการณ์ซ้ำอีกครัง้ ในปี 2550 และ 2551 หอเตือนภัยแห่งนี้ก็ไม่ทำงาน ทำให้ ไ ม่ ส ามารถวางใจหน่ ว ยงาน ราชการได้ อ ี ก ต่ อ ไป จึ ง ได้ ห ั น มาศึ ก ษา วิ ท ยาการเกี ่ ย วกั บ การพยากรณ์ ภ ั ย พิ บ ั ต ิ ท ั ้ ง จากด้ า น วิ ท ยาศาสตร์ เช่ น การเช็ ค ปริ ม าณน้ ำ ฝน และศึ ก ษาจาก

{14}

การ ภัยพจัดการ ิบัติ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การดูสัญชาติญาณสัตว์ป่า ในปัจจุบัน มี ก ารจั ด ตั ้ ง ศู น ย์ ก ารจั ด การภั ย พิ บ ั ต ิ บ ้ า นผาโมกข์ ข ึ ้ น มา มี เครือข่ายเฝ้าระวังต้นน้ำแม่พร่อง เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำในช่วง ฤดูฝนทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ขณะที ่ น ายวิ ช ญะ เสาะพบดี นายก อบต.บั ก ได จ.สุ ร ิ น ทร์ เล่ า ประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติ จากสงครามในระหว่างที่เกิดการ ปะทะระหว่างทหารไทย-กัมพูชา บริเวณพรมแดน ไทย-กัมพูชาว่า การจั ด การภั ย พิ บ ั ต ิ ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น นั ้ น แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ก่อนเกิด เหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ โดยก่อนที่จะเกิดการปะทะนั้น ทาง อบต.ได้ทำการซักซ้อม แผนการอพยพ เพื่อสร้างความพร้อมและความคุ้นเคยให้กับ ประชาชน ตั้งแต่ว่า สัญญาณอพยพคืออะไร ในที่นี้ให้ใช้เสียง ระเบิดของกระสุนปืนใหญ่นัดแรก และใช้แผนที่ทำมือ ร่วมกับ แผนที่ทางทหารในการจัดทำเส้นทางอพยพ จากนั้นจึงแยก คนในแต่ละหมู่บ้านว่า เมื่อเกิดเหตุแล้วให้ใครขึ้นรถของใคร ขณะเดียวกันก็ต้องหาข่าวจากฝ่ายตรงข้ามว่า มีอาวุธ ชนิดใดบ้างที่เป็นภัยคุกคามโดยตรงกับประชาชนในพื้นที่โดย อาศั ย ความสั ม พั น ธ์ ส ่ ว นตั ว หาข้ อ มู ล ขณะเดี ย วกั น ก็ ต ้ อ งดู โทรทัศน์ของประเทศกัมพูชา เพื่อประเมินสถานการณ์ด้วย และเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นมาแล้วก็ต้องแยกประชาชน ออกเป็น 2 ส่วนคือ ประชาชนที่จะส่งไปตามศูนย์อพยพ กับชุด อปพร. และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่จะทำหน้าที่รักษา ความปลอดภัยทรัพย์สินให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ขณะ เดียวกันก็ต้องจัด อสม.เข้าช่วยคัดกรองผู้ป่วยไปอยู่ที่แนวหลัง ในส่วนของผู้นำชุมชนนั้นจะต้องประสานระหว่างหน้าแนวและ หลังแนวอยู่เสมอ เพื่อรับมือกับข่าวลือ หลังเกิดภัยพิบัติแล้ว ต้องจัดการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดความ เสียหาย และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ


เ ว ที ล า น กิ จ ก ร ร ม

“พี่ส่อง น้องแกะ แยกแยะ คัดพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” แผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อสุขภาวะของเกษตรกร การจะปลูกข้าวแต่ละครั้ง พันธุ์ข้าว เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ปัญหาที่พบในขณะนี้ คือเมล็ดพันธุ์ข้าวราคาแพง จะปลูกแต่ละ ครั้งก็ต้องซื้อ โจทย์ก็คือจะทำอย่างไรที่จะ สามารถคัดแยกพันธุ์ข้าวได้เอง ว่าแล้วใน เวทีก็มีการแจกแว่นขยายไว้ส่อง และแจก ข้าวเปลือกมะลิแดงไว้ให้แกะ ซึ่งข้าวมะลิ แดงนี ้ เ ป็ น ข้ า วที ่ ม ี น ้ ำ ตาลต่ ำ เริ ่ ม จาก เทคนิคในการคัดแยกพันธุ์ข้าว เมื่อได้ เมล็ดข้าวแล้ว ก็ให้เริ่มจากการแกะข้าว เปลื อ กโดยเริ ่ ม จากหางข้ า ว (ฝั ่ ง ที ่ ไ ม่ ม ี จมูกข้าว) เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับเมล็ด ข้าว ย้ำว่าให้ใช้มือห้ามใช้ปากแกะ เมื่อ แกะออกมาแล้วต้องเจอข้าวสีแดงวาว ไม่ แตกหัก จมูกข้าวไม่แฟบ เมล็ดสมบูรณ์ก็ ถือว่าเป็นเมล็ดข้าวที่ดี แต่บางครั้งข้าว

รวงเดี ย วกั น แกะออกมาแล้ ว อาจจะมี คนละสีได้ไม่ต้องตกใจ เป็นเพราะว่ามัน สามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้เอง ทั้งนี้ เมล็ ด ข้ า วสามารถที ่ จ ะปลู ก ได้ ท ุ ก ที ่ ไ ม่ จำเป็นต้องเป็นทุ่งนาเท่านั้น เพียงแค่มี กระป๋องหรือกระถางเล็กๆ และแกลบดำ หรือทราย โดยใช้แกลบดำหรือทรายรอง พื้นกระป๋องหรือกระถางให้มีความหนา จากพื้นประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วนำเมล็ด ข้าวที่เราแกะเรียบร้อยแล้ววางไว้ ก่อนจะ กลบทับด้วยแกลบดำประมาณ 1 นิ้ว ใส่ น้ำในระดับที่ไม่ท่วมเมล็ดข้าว ผ่านไป 7 วัน เมล็ดจะงอกประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นนำไปเป็นต้นกล้าได้ในระยะเวลา ไม่เกิน 30 วัน ในแปลงนาขนาดย่อมที่ เตรียมไว้

ก็ ถ ื อ เป็ น อี ก หนึ ่ ง กิ จ กรรมที ่ จ ะ สามารถทำให้คัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ เอง ไม่ต้องซื้อพันธุ์ข้าวราคาแพงทุกครั้งที่ จะทำการเพาะปลูก และสามารถนำไป ต่อยอดความรู้ในชุมชนในการคัดเมล็ด ข้าวได้ทุกสายพันธุ์อีกด้วย

การประกาศผลการแข่งขันสื่อรณรงค์ พลังพลเมือง พลังท้องถิ่น ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ “ในยามที่ท้อแท้ ขอเพียงแค่คนหนึ่ง จะคิดถึงและคอย ห่วงใย ในยามที่ชีวิต หม่นหมองร้องให้ ขอเพียงมีใครปลอบ ใจสักคน” เพลง ‘กำลังใจ’ ของโฮป แฟมมิลี่ ถูกนำขึ้นมา ขับร้องก่อนเสวนาและการประกาศผลการแข่งขันสื่อรณรงค์ มีทั้งเสียงกรี้ดและเสียงปรบมือที่ทำให้ช่วงบ่ายคึกครื้นขึ้นมา ทันที ตามด้วยเพลง‘รางวัลแด่คนช่างฝัน’ เพื่อเป็นกำลังใจ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนการประกาศผลการแข่งขัน สื่อรณรงค์ ทั้งประเภทโปสเตอร์ และสปอตวิทยุ น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะ ชุมชน (สำนัก 3) บอกว่า ในลำดับแรกที่คิดจะทำสื่อ มักจะ คิดถึงบริษัทโฆษณามาทำการออกแบบให้ ซึ่งมองว่าเข้าไม่ ถึงชุมชน จึงมีโครงการให้นักสื่อสารลงพื้นที่ถ่ายรูปชุมชน และจัดประกวดผลงานที่มาจากคนในชุมชน ซึ่งก็ได้ภาพ สะท้อน เสียงสะท้อนวิถีชีวิตที่เข้าถึงชุมชนได้ลึกซึ้งกว่า

สำหรับโปสเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะ เลิศ ได้แก่ผลงานที่มีชื่อว่า ‘คำขอจากคน ที่คุณรัก’ จาก อบต.ไกรนอก โดย น.ส. พรพิมล อินทรพุ ขณะที่ประเภทภาพถ่าย ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ‘ผลงานชื่อ ความสุ ข มวลรวม’ จาก อบต.ผาสิ ง ห์ ส่วนรางวัล สปอตวิทยุ รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 คือผลงานชื่อ ‘หนูจะกินเหล้า แทนพ่อ’ ถ่ายทอดคำพูดสั้นๆ ที่ทำให้คน ฟั ง ฟั ง แล้ ว ขนลุ ก ผลงานจากเทศบาล ตำบลอุโมงค์ จ.ลำพูน โดยนายปิยะพงษ์ มะโนคำ ขณะที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเองก็มี ข้อเสนอว่าควรจะนำสปอตวิทยุชิ้นนี้ ออก อากาศตามสถานีวิทยุคลื่นต่างๆ

15


1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

1. ผู้โชคดีได้รับเสื้อ ‘คนปันสุข’ 2. นำทีมโดยพี่เติ้ลแอนด์เดอะแก๊ง 3. ท่านสมพรมอบรางวัล 4. ‘พี่ด้วง’ ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ 5. โปสเตอร์ที่เข้ารอบ 6. อีกหนึ่งโปสเตอร์ฝีมือนักสื่อสารชุมชน 7. รางวัลแด่คนช่างฝันและมุ่งมั่น 8. การประกวดภาพถ่ายวิถีคนชุมชนสุขภาวะ 9. ผู้ชมงานประกาศผลฯ แน่นขนัด 10. ขบวนรณรงค์งดเหล้า บุหรี 11. มาช่วยเพื่อนลุ้นรางวัลคร้าบ.

11


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.