ดอนแก้ว

Page 1

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การบริหารจัดการของตำบลศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสี่มิติ วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ


ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว พิมพ์ครั้งที่ ๑

มกราคม ๒๕๕๕

คณะที่ปรึกษา บรรณาธิการอำนวยการ กองบรรณาธิการ สถานที่ติดต่อ ผู้สนับสนุน

นายอนันต์ ปัญญาวี, นายราชันย์ บัวสุข นายชาญชัย ธนันชัย, นายยุทธนา บุญสูง นางสาวสิทธิลักษณ์ สุทธวาสน์ นายนพดล ณ เชียงใหม่ ดร.อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย, นางศิรัญญา สุนทร นายสุริยัน แพรสี, นางสาวอารีรัตน์ มาตัน นายอิทธิศาสตร์ อินทรโชติ, นายอิทธิพล มาชื่น นางสาวบุญศิริ ศรียอด, นายปวัน พรหมตัน นางสาวอำภาพร ทาหนัก, นางสาววรัฎฐา จิตอารุณ นางสาวอรชุฎา ณะวิชัย, นางสาวอรชุฎา ณะวิชัย นายปวัน พรหมตัน, นางสาวอรชุฎา ณะวิชัย องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๒๐๐ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๕๓-๑๒๑๕๒๕ e-mail : healthnet_donkeaw@hotmail.com สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.๓)


ถ้อยคำทักทาย องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นท้องถิ่นที่พัฒนา ตนเอง ตามวิสัยทัศน์ “ดอนแก้ว..ตำบลแห่งสุขภาวะ” ซึ่งเน้นการเข้าถึงเข้าใจบริบทของชุมชน ประกอบกับในพื้นที่มีทุนทางสังคมที่เป็นองค์ประกอบส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นทุนเดิม

อยู่แล้ว และเมื่อได้รับการหนุนเสริมจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินงานภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาค เหนือตอนบน” ซึ่งเป็นพื้นที่แรกในเขตภาคเหนือตอนบน จึงเป็นใบเบิกทางให้ขยับขับเคลื่อน งานพัฒนาท้องถิ่น เข้าสู่ตำบลสุขภาวะ โดยการดำเนินงานภายใต้แผนการทำงาน ๔ แผนหลัก ของโครงการ ประกอบด้วย แผนการพัฒนาตำบลต้นแบบ แผนการพัฒนาตำบลเครือข่าย แผนการจัดการสร้างองค์ความรู้ และแผนการสื่อสารสาธารณะ การดำเนินงานของ “โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือ ตอนบน” ที่ผ่านมา ถือเป็นประสบการณ์จริงที่เกิดจากการริเริ่มเรียนรู้ นำเข้าสู่การแก้ไขปัญหา และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดออกมาเป็น

ลายลักษณ์อักษร “ปั๊บฮู้ ปั๊บเฮียน..กำกึ๊ดดอนแก้ว” โดยเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จริงจาก การขับเคลื่อนที่ผ่านมา ซึ่งได้เรียนรู้และปฏิบัติกันมาภายใต้นโยบายของผู้บริหารโครงการและ จากบริ บ ททางสั ง คมของชุ ม ชนดอนแก้ ว ก่ อ ให้ เ กิ ด เป็ น นวั ต กรรมที ่ ม ี ค วามโดดเด่ น ในด้านต่างๆ ของโครงการสุขภาวะชุมชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วได้เรียนรู้มา จากวิถีการดำเนินชีวิตและความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน ส่งผลให้เกิดแรงผลักดัน ในการร่วมสรรสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอีกทั้งเป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทร


เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดและปรากฏใน “ปั๊บฮู้ ปั๊บเฮียน..กำกึ๊ดดอนแก้ว” จึงเป็นเพียง ส่วน หนึ่งของประสบการณ์ที่นำให้ท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจได้เข้าใจและมีจุดเริ่มต้นของการทำงาน การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ได้ สำหรับเรื่องราวอีก มากมายที่อยากถ่ายทอด ในบางครั้งการถ่ายทอดทางตัวหนังสืออาจจะเปรียบไม่ได้กับการเข้า มาสัมผัสกระบวนการในภาพความเป็นจริงในชุมชน จึงขอเชื้อเชิญผู้ที่สนใจร่วมศึกษาเรื่องราว ดีๆ อีกหลายร้อยพัน พร้อมทั้งเยี่ยมชมให้กำลังใจกับเราชาวตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คณะทำงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ปั๊บฮู้ ปั๊บเฮียน..กำกึ๊ดดอนแก้ว” เล่มนี้จะเป็น ส่วนหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และสร้างแรงดึงดูดใจให้ทุกท่านเข้ามาเยี่ยมชมและให้ กำลังใจแก่คณะทำงานตำบลดอนแก้ว คณะทำงานตำบลสุขภาวะ อบต.ดอนแก้ว


สารบาญ ถ้อยคำทักทาย เปิดข่วงกำเกิ๊ด บทนำ การขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ “โครงการพัฒนาเครือข่าย สุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน” บทเรียนรู้ที่ ๑ แนวคิดพื้นฐานการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน บทเรียนรู้ที่ ๒ แนวทางการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนตำบลต้นแบบสุขภาวะ ๑. เทคนิคการดำเนินงานสู่ความสำเร็จกับ “คาถา P ทั้ง ๗” ๒. สร้างจุดร่วม “จุดโฟกัส” เพื่อการทำงานเป็นทีม ๓. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ๔. การบริหารจัดการด้านอาหาร ๕. การบริหารจัดการด้านการเดินทางระหว่างแหล่งเรียนรู้ ๖. การบริหารจัดการไกด์ (พี่เลี้ยง) ระหว่างเดินทาง ๗. การบริหารจัดการบ้านพักโฮมสเตย์ ๘. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน ๙. นวัตกรรม/สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น บทเรียนรู้ที่ ๓ แผนปฏิบัติการ ๔ แผนงาน ๑. แผนงานสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรม ๒. แผนงานพัฒนาศักยภาพตำบลเครือข่าย ๓. แผนงานสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้ ๔. แผนงานสื่อสารสาธารณะ บทสรุป ความสำเร็จเชิงประจักษ์ ๑. การขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาวะ ๒. บทสรุปงานเด่นกับการทำงานที่ผ่านมา ๓. บทเรียนที่ได้เรียน

๗ ๑๓ ๒๕ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๑ ๔๓ ๔๓ ๔๗ ๔๘


-6-

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


เปิดข่วงกำเกิ๊ด : บทนำ

การขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชน สู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน” จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ใน เขตภาคเหนือตอนบน” มีเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายตำบลร่วมพัฒนาที่มีการขับเคลื่อน งาน เพื่อนำสู่ตำบลน่าอยู่(สุขภาวะ) ตามแนวคิดชุมชนน่าอยู่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี องค์ประกอบการขับเคลื่อนการทำงานจากภาคีเครือข่ายที่ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ประชาชนในชุมชนหรือภาคประชาชน สถาบันการศึกษาที่หนุนเสริมงานด้านองค์ความ รู้ทางวิชาการ ภาคท้องที่ และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิต่างๆ หัวใจหลักในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ การสนับสนุนให้ชุมชนเกิด ความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานการดำเนินชีวิตบนความพอเพียง ดังนั้น ในการ ทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ จึงมีหลักในการทำงานร่วมกับชุมชนโดยยึดหลักการทำงานกับชุมชนท้องถิ่น บนพื้น ฐานแห่งมรรค ๘ ของการพัฒนาที่นำเข้ามาเป็นตัวเชื่อมร้อยการทำงานของสองภาคส่วน เพื ่ อ ให้ ส ามารถก้ า วไปสู ่ ค วามประสบผลสำเร็ จ บนเป้ า หมายเดี ย วกั น ดั ง คำกล่ า วของ นพ.ประเวศ วะสี ที่กล่าวถึงการยึดหลักการทำงานบนพื้นฐานมรรค ๘ ของการพัฒนาชุมชน ดังนี้ ๑. การส่งเสริมกระบวนการชุมชน โดยใช้แกนนำภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ หน้าที่สำรวจชุมชนด้วยคนในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่แท้จริงของชุมชนมาสู่กระบวนการการจัดทำ แผนชุมชน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนอย่างมีระบบ บนหลัก การบูรณาการที่เป็นก้าวแรกของการนำสู่กระบวนการพัฒนาที่เป็นประชาธิปไตย โดยการมุ่งเน้น -7-

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน และร่วมขับเคลื่อนแผน ไปสู่ภาคปฏิบัติได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นบ่อเกิดของการพัฒนาแบบบูรณาการ บนมรรค ๘ ที่ประกอบด้วยแปดเรื่องที่มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และด้านประชาธิปไตย และ เมื่อเชื่อมโยงมรรคแปดแห่งการพัฒนาทั้ง ๘ เรื่องเข้าด้วยกัน ก็จะก่อให้เกิดสังคมแห่ง

ศานติสุขขึ้น ดังรูปธรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจักษ์แล้ว ในระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล การดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยง มรรค ๘ เข้าร่วมกัน ยังช่วยในเรื่องของการแก้ไข ปัญหาความยากจนให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การส่งเสริมให้ประชาชนใน ชุมชน มีจิตใจที่ดีงาม การส่งเสริมและหนุนเสริมให้สังคมเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน และที่ สำคัญควรให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมการรักษาคุณงามความดีให้อยู่ควบคู่กับการพัฒนา มรรค ๘ เพื่อการสร้างความคงอยู่และความยั่งยืนไว้ อีกทั้งในด้านของสิ่งแวดล้อมในชุมชน ก็จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ก่อเกิดความร่วมมือร่วมใจในการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม ร่วมขจัดมลพิษ พร้อมทั้งสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น ซึ่งหลักประชาธิปไตยคือ เรื่องใหญ่ที่เป็นหัวใจหลักของการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ๒. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ในชุมชน การส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน และก่อเกิดความร่มเย็นเป็นสุขใน ชุมชน บนเป้าหมายในการสร้างสัมมาชีพและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนต้องหมายรวมถึงการส่ง เสริมให้ประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม ๓. การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ชุมชนต้องมีสิทธิ ในการดูแลที่ดิน การใช้ที่ดิน ป่าไม้และแหล่งน้ำ บนพื้นฐานสิทธิของตนในชุมชน เช่นมีอากาศ หายใจ การมีที่ดินทำกิน การมีป่าไม้และแหล่งน้ำเพื่อประกอบการดำรงชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิ ของประชาชนในชุมชน รวมทั้งสิทธิชุมชน เช่น สิทธิในการดูแลเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่าง เป็นธรรม ซึ่งถ้ามีการสร้างกฎระเบียบและสิทธิให้ประชนและการสร้างสิทธิชุมชน ประชาชน ในชุมชนก็จะมีสิทธิในการดำเนินการรวมทั้งทำให้สามารถแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นของส่วนรวมได้ ๔. ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ชุมชนต้องดูแลกันเอง โดยต้องมีการสำรวจข้อมูลภายในชุมชน เช่น กลุ่มผู้ถูกทอดทิ้ง กลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ข้อมูลผู้สูงอายุ ข้อมูลเด็ก ข้อมูลคนพิการ ข้อมูลผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย ข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม โดย -8-

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น ในบางชุมชนที่มีการสำรวจข้อมูลคนพิการ และมีข้อมูลนำใช้ ก็จะมีกระบวนการวางแผนการทำงานด้ านคนพิการ โดยดำเนินการในการ รวบรวมกลุ่มอาสาสมัครจิตอาสาในการดูแล ให้การช่วยเหลือคนพิการตามความเหมาะสม และประสานเครือข่ายเพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป และการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ชุมชนที่บริหารงานโดยการบูรณาการของเครือข่ายภาคต่างๆ รวมทั้งการขับเคลื่อนการทำงาน ด้ ว ยชุ ม ชนเอง ซึ ่ ง ทั ้ ง หมดเหล่ า นั ้ น ก็ จ ะกลายเป็ น การปลู ก ฝั ง ให้ ส ั ง คมไทยเป็ น สั ง คมที ่ ไม่ทอดทิ้งกัน ๕. การศึกษาของชุมชนโดยชุมชนและเพื่อชุมชน การศึกษาในอดีตที่ผ่านมาอาจมีบาง ส่วนที่กลับมาทำลายชุมชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันควรมีการให้ ความสำคัญด้านการศึกษาให้มากที่สุด การส่งเสริมการศึกษา ต้องส่งเสริมการสร้างความเข้ม แข็งให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และเป็นเรื่องที่สำคัญของมรรค ๘ ที่ขาดไม่ได้ การศึกษาจึงต้อง ทำการเชื่อมโยงระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ให้ควบคู่กับหลักสูตรปกติ ไม่ใช่การศึกษาที่ แยกองค์ประกอบ เพราะการศึกษาที่แยกองค์ประกอบและไม่มีความเชื่อมโยงวิถีชีวิตดั้งเดิม ของชุมชนผนวกเข้าไปในหลักสูตรนั้น จะทำให้คนไทยหลุดจากรากเหง้าวิถีชีวิตชุมชน ถ้าการ ศึกษานำชีวิตเป็นตัวตั้งและนำมาผนวกหลักสูตร บูรณาการร่วมกัน ก็จะสามารถเชื่อมโยงทั้ง ด้านสังคม เศรษฐกิจ ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม ให้สามารถคิดได้อย่างอิสระ พร้อมทั้งการส่ง เสริมการสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้ต่อไป องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือพลังสำคัญที่จะร่วมสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น และ ด้วยพลังของชุมชนท้องถิ่นจะร่วมผลักดันในการสร้างสังคม ศานติสุขขจัดความยากจน และ พลังชุมชนท้องถิ่นคือจุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ถ้าชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งประเทศ ไทยก็จะเข้มแข็ง ดังนั้นในการทำงานเพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ จึงมุ่งเน้นที่จะสร้าง สุขภาวะที่ทุกคนในชุมชนพึงประสงค์ ในการจัดการสุขภาวะจึงเป็นการจัดการทุกเรื่อง ตั้งแต่ ระดับตัวบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพราะปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ ที่ประกอบด้วย พฤติกรรมของคน สภาพทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การทำงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน มีหลักในการทำงานโดยต้องใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อนำมาผนวกกับการจัดรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การคำนึงถึงการสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของชุมชน รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของภาค -9-

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ประชาชนใน ทุกขั้นตอนของทุกกระบวนการเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งในการทำงานกับชุมชนยังต้อง ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างๆ ด้วย และข้อสำคัญในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำหน้าที่ในการหนุนเสริมการทำงานเพื่อร่วมเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อน การทำงานอย่างครบวงจร จากการตระหนักถึงความสำคัญในการทำงานกับชุมชนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล ดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จึงให้ความสำคัญและใส่ใจที่จะมุ่งเน้น การหนุนเสริม

ส่งเสริมและสร้างศักยภาพ ในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และการสร้างเครือข่ายการทำงาน การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ร่วมทั้ง ความพยายามในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาบูรณาการพัฒนาการทำงาน เพื่อชุมชนในการสร้างความเท่าทันกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน อีกทั้ง ในการดำเนินการยังได้ให้ความสำคัญกับการคงไว้ซึ่งวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน ทั้งในด้านภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อก่อเกิดการสืบทอดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป ๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ การดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือ ตอนบนได้ดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ในการดำเนินการทั้ง ๕ ประการ กล่าวคือ ๑. เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมในการสร้างระบบ การเรี ย นรู ้ แ ละฝึ ก อบรมระบบการจั ด การสุ ข ภาวะชุ ม ชนโดยชุ ม ชนให้ แ ก่ ต ำบล เครือข่าย ตำบลเครือข่ายขยายผล และภาคีร่วมพัฒนา ๒. เพื่อส่งเสริมและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ตำบลเครือข่ายและตำบลเครือข่าย ขยายผล ให้เกิดรูปธรรมของดำเนินการด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน ๓. เพื่อสร้างชุดความรู้และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะที่ตอบสนองต่อการพัฒนา ระบบจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชนในตำบลศูนย์ฝึกอบรม (องค์การบริหารส่วน ตำบลดอนแก้ว) และตำบลเครือข่าย ๔. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำการเปลี่ยนแปลงและนักจัดการสุขภาวะชุมชน ของตำบลดอนแก้ว ตำบลเครือข่าย และตำบลเครือข่ายขยายผล - 10 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


๕. เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่นและหนุนเสริมการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะในระดับจังหวัด ภูมิภาค ภูมินิเวศน์ ประเทศ ที่สอดคล้องกัน อีกทั้งในการดำเนินการภายใต้การทำงานงานตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวยังได้สร้างกรอบ การดำเนินงานภายใต้ตัวชี้วัด ๑๐ ตัวชี้วัด คือ ๑. มีศูนย์ฝึกอบรมเรื่อง “ระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน” ที่มีความพร้อม ในการสร้างระบบการเรียนรู้แก่ตำบลเครือข่าย ๒. มีหลักสูตรการฝึกอบรมระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน เพื่อใช้สำหรับ ฝึกอบรมตำบลเครือข่าย ๓. ตำบลเครือข่ายสามารถนำหลักสูตรหรือชุดความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วม กับตำบลศูนย์ฝึกอบรม (องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว) ไปปรับใช้ดำเนินการ ในพื้นที่ของตนเองอย่างน้อยตำบลละ ๒ เรื่อง (ระบบ) ต่อปี ๔. เกิ ด การถอดบทเรี ย นระบบการจั ด การสุ ข ภาวะชุ ม ชนโดยชุ ม ชนของตำบลศู น ย์

ฝึ ก อบรม (องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลดอนแก้ ว ) และตำบลเครื อ ข่ า ย จำนวน ๒๑ ตำบล ๕. เกิดชุดความรู้เฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน ของศูนย์ฝึกอบรม (องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว) และตำบลเครือข่าย อย่างน้อย ๗ เรื่อง (หมายเหตุ : จำนวน ๗ เรื่อง อ้างอิงตามระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชนของ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว) ๖. ตำบลเครือข่ายมีศูนย์ฝึกอบรมหรือแหล่งเรียนรู้ระบบการจัดการสุขภาวะชุมชน โดยชุมชนที่สามารถถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตำบลอื่นอย่างน้อย ๒๐ ตำบล ๗. มีตำบลเครือข่ายขยายผลที่มาร่วมเรียนรู้กับตำบลเครือข่าย ไม่น้อยกว่า ๔๐ แห่ง (ตำบลละ ๒ แห่ง : ขยายผลแบบ ๑ : ๒) ๘. มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนเพิ่มขึ้น อย่างน้อย ๑,๕๐๐ คน ประกอบด้วย - ตำบลดอนแก้ว ๑๐๐ คน (หมายเหตุ : ผู้นำการเปลี่ยนแปลงรวมผู้นำในกลุ่มเด็ก และเยาวชน)

- 11 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


- ตำบลเครือข่าย ๖๐๐ คน (ตำบลละ ๓๐ คน) - ตำบลขยายผล ๘๐๐ คน (ตำบลละ ๒๐ คน) ๙. ตำบลเครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่สำคัญ อย่างน้อยตำบลละ ๑ เรื่อง ๑๐. มีสื่อต้นแบบเพื่อการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ อย่างน้อย ๑๕ ชิ้น การดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ในการทำงานและการมีกรอบการดำเนินงานตาม ตัวชี้วัด จึงทำให้การดำเนินงานเพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือ ตอนบน ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีทิศทางและ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน อีกทั้งส่งผลให้คณะทำงานสร้างพลังร่วมกันในการร่วม ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนที่น่าอยู่ต่อไป

- 12 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


บทเรียนรู้ที่ ๑ แนวคิดพื้นฐาน การจัดการสุขภาวะโดยชุมชน

๑ สถานการณ์นำสู่การจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำใช้แผน พัฒนาชุมชน แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ที่ได้มาจากการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน การ ประชุมสัญจร การจัดเวทีชาวบ้าน (ข่วงกำกึ๊ด) รวมทั้งจากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ สำรวจสถานะสุ ข ภาพของอาสาสมั ค ร ที ่ ส ะท้ อ นความต้ อ งการจากชุ ม ชนอย่ า งแท้ จ ริ ง กระบวนการทั้งหมดมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เข้ามาร่วมใน การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จากสถานการณ์ข้อมูลของชุมชนเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการใน การมาร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผนและร่วมดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์พร้อมทั้งร่วม ติดตามประเมินผล การกระทำกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านต่างๆ ใน ชุมชนในการกำหนดทิศทางสุขภาพของประชาชนในตำบลร่วมกัน จนก่อให้เกิดเป็นแผนชุมชน ที่ใช้เป็นเครื่องมือกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาทั้งในระดับหมู่บ้าน ในระดับตำบลทั้งในแผนการ ดำเนินการระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญดังคำกล่าวที่ว่า “คนในชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน” “คนในชุมชนมองเห็นข้อเด่น ข้อดี โอกาส และข้อจำกัดของชุมชนในการพัฒนาอย่าง มีเป้าหมาย” “คนในชุมชนมีช่องทางและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเหมาะสมและ ครอบคลุม”

- 13 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


“คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยชุมชนได้” “คนในชุมชนสามารถคิดเป็นและกล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้” การต่อยอดความคิดและสนับสนุนกิจกรรมที่ทำได้สำเร็จ ขยายสู่พื้นที่อื่น หรือการเข้าไป ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่างๆ เช่น การจัดการขยะในชุมชน ยกตัวอย่างเช่น โครงการ ธนาคารขยะรีไซเคิล ค้นหาพื้นที่ที่มีผู้นำที่มีความสามารถ ประชาชนสนใจและมีส่วนร่วมจึงคัด เลือกเข้าร่วมโครงการ จากนั้นจะพัฒนาความรู้ การบริหารจัดการ ฝึกอบรมคณะทำงาน การ ประชาสัมพันธ์ รวมถึงศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ จนประสบผลสำเร็จ และขยายแนวคิดสู่พื้นที่ อื่นในลักษณะเป็นพี่เลี้ยง แนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน หรือการรวมกลุ่มเพื่อดูแล สุ ข ภาพให้ ก ั บ คนพิ ก ารของกลุ ่ ม อาสาพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต ผู ้ ด ้ อ ยโอกาสตำบลดอนแก้ ว

ที่มิได้ทำเฉพาะในหมู่บ้านตัวเองเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมร้อยความร่วมมือไปยังหมู่บ้านอื่น

ทั่วทั้งตำบล ประสบการณ์และบทเรียนขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ที่ได้ดำเนินการพัฒนา ระบบและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตำบล ดอนแก้ว จนเกิดเป็นระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่เข็มแข็งและเป็นวัฒนธรรมแกร่งของ องค์กร ร่วมกับองค์กรชุมชน (อาสาสมัครกลุ่มต่างๆ) สถาบันการศึกษา สถานบริการด้านสุขภาพ รวมถึงภาพสะท้อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการที่มีผู้มาศึกษาดูงานจากภายนอกหลายแหล่งที่ เสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ หรือตัวอย่างเฉพาะเรื่อง ให้กับพื้นที่อื่นที่สนใจงานพัฒนาเชิงระบบ

๒. แนวคิดชุมชนน่าอยู่

ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานมุ่งเป้าหมายผลักดันให้เกิด วิสัยทัศน์เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เศรษฐกิจดี คนมีคุณธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม” รายละเอียดของวิสัยทัศน์ดังกล่าว มีดังนี้

- 14 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


ฐานคิดการดำเนินงาน เศรษฐกิจดี คนมีคุณธรรม

สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ

ชุมชนน่าอยู่

ตำบลสุขภาวะ

ประชาชนมีส่วนร่วม

ภาพที่ ๑ ฐานคิดการดำเนินงาน

ชุมชนน่าอยู่ คือ การที่ชุมชนมีสภาพแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ชุมชนมีแรงจูงใจ มีจิตสำนึกรักชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างพอ เพียงทั่วถึง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ ในชุมชนให้ทั่วถึง มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับ การกระจายอำนาจและกระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่นและชุมชน เพื่อการจัดการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการและสภาพความเป็นจริงในชุมชน มีการ กำหนดและพัฒนาเครื่องมือชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ที่เป็นรูปธรรมและนาม ธรรม เชื่อมโยงกันในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม สังคมเข้มแข็ง มีความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ดี มีความสุข มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ช่วยเกื้อกูล ให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่เอื้ออาทร ช่วยเหลือกันและกัน โดยเน้นสถาบันครอบครัว เป็นครอบครัวอบอุ่น ครอบครัวสายใยรัก สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ให้ เกิดมลพิษที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มลภาวะทางกลิ่น ไม่มีกลิ่นเหม็นจากขยะ สัตว์เลี้ยง หากมีต้องมีวิธีการเลี้ยง ควบคุม และกำจัดมูลสัตว์อย่างถูกหลัก มลภาวะทางอากาศ อากาศดี - 15 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ไม่มีกลิ่นเหม็น ลดการเผา ไม่มีหมอกควัน มลภาวะทางเสียง ไม่มีเสียงรบกวนเกินมาตรฐาน ทั้งเสียงของยานพาหนะ เสียงจากร้านอาหาร เสียงจากโรงงานผู้ประกอบการต่างๆ ไม่มีสิ่งที่ก่อ ให้เกิดเหตุรำคาญอันจะส่งผลต่อสุขภาพจิต มีการใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเหมาะสมไม่ก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ การนำสิ่งที่ใช้แล้วมาแปรรูปให้ใช้ได้อีก และการนำของที่ใช้แล้วมา ใช้อีก การลดปริมาณของเสีย เศรษฐกิ จ ดี คื อ ทุ ก ครั ว เรื อ นมี ร ายได้ มี ก ารสื บ ทอดรั ก ษาวั ฒ นธรรมและปรั บ ใช้

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาต่อยอดให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำมาใช้ประโยชน์กับ การผลิตและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเศรษฐกิจฐานรากที่ เข้มแข็ง สมดุล มีภูมิคุ้มกัน สามารถเพิ่มรายได้และการมีงานทำ ด้วยการพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งภายในและ ภายนอกชุมชน ชุมชนสามารถผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงชุมชนของตนเองได้โดย ไม่เดือดร้อน อยู่อย่างประมาณตนตามฐานะตามอัตภาพและที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแส ของวัตถุนิยม ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ส่งเสริมให้มีออมทรัพย์ในชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับแนว พระราชดำรัสของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออยู่เพื่อกินโดยเน้น ความพอดีใน ๕ ด้าน คือ ๑.ความพอดีด้านจิตใจ ถ้าหากแต่ละคนยังโลภหลงจะไปละเมิดคน อื่น ๒.ความพอดีด้านสังคม โดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน แล้วจึงประสานในรูปเครือข่าย แต่ละ หมู่บ้านผลิตของเหลือใช้ ก็นัดแนะนำมาขายแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ต้องแย่งกันขาย ๓.ความ พอดีด้านเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งของที่มีราคาแพงๆ ให้อยู่อย่างพอประมาณ ๔.ความ พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การสร้างความพอดีขึ้นมาในวงจรของชีวิตที่ เกี่ยวกับทรัพยากรทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ วิธีการทำด้วยกระบวนการธรรมชาติ ต้องใช้อย่างยั่ง ยืน มีใช้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ๕.ความพอดีด้านเทคโนโลยี เราต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบท บนพื้นฐานไทย ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างเศรษฐกิจพึ่งตนเองแบบพออยู่พอกิน ค่อยๆ ปลดเปลื้องหนี้สิน สร้างสภาพแวดล้อม อากาศที่ดี มีสุขภาพกายและใจ ที่ดี และ สามารถดูแลสุขภาพและการศึกษาของลูกหลานได้ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนได้ คนมีคุณธรรม คือ คนมีความรับผิดชอบ รู้ภาระหน้าที่ มีความสำนึกในหน้าที่ มีวินัย ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ มีความอดทน ความเพียรพยายาม ความบากบั่น ความจริงจัง เพื่อให้บังเกิดผลงานที่คาดหวัง การตรงต่อเวลา มีความเสียสละตัวเอง (ในรูปของเวลา แรงกาย พลังสมอง การพักผ่อนหย่อนใจ) การทุ่มเทพลังกายพลังสมอง เพื่อให้เกิดความคิด - 16 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


ริเริ่มและการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) ความใฝ่สำเร็จ (Need for Achievement) ความกล้าหาญที่จะดำเนินการใดๆ มีความเด็ดขาดแน่วแน่ในการตัดสินใจในภารกิจนั้นๆ ไม่สร้างภาระหรือปัญหาให้แก่ผู้อื่นเดือดร้อน และท้องถิ่นร่วมส่งเสริม จรรโลงการรักษา วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ประชาชนมีส่วนร่วม คือ การที่ประชาชนเข้ามาร่วมในการตัดสินใจ การออก ความคิด เห็นและข้อเสนอแนะ การค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญห การคิดหาวิธีใน การแก้ปัญหา การ วางแผน การประชุม กิจกรรมกลุ่ม การออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านปัญหา การเป็นคณะ กรรมการหรือบริหารงาน การเป็นสมาชิก การเป็นผู้ชักชวนหรือประชาสัมพันธ์ การดำเนินตาม กิจกรรมที่วางไว้ การลงทุนหรือบริจาคเงิน/ทรัพย์สิน การออกแรงหรือสละแรงงาน การออก วัสดุอุปกรณ์ การดูแลรักษา

๓. คำนิยามเชิงปฏิบัติการ

จากการศึกษา พบว่าคณะทำงานโครงการฯ ได้กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ร่วม ขับเคลื่อนกิจกรรมไปในแนวทางเดียวกัน ไว้ดังนี้ ๑. ภาคีหลัก หมายถึง ภาคีที่ร่วมทำงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และขับเคลื่อนสู่ระบบ การจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน ๒. ภาคียุทธศาสตร์ หมายถึง เพื่อนหรือองค์กรภายนอกที่เข้ามาร่วมทำงาน หรือให้ การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ๓. แหล่งเรียนรู้ หมายถึง การจัดให้เกิดปฏิบัติการจริงในตำบลดอนแก้ว โดยใช้ทุนทาง สังคมของตำบลดอนแก้วเป็นกลไกในการถ่ายทอดประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ในทุกองค์ ประกอบของการเรียนรู้ และสามารถสร้างการเรียนรู้แก่ผู้ศึกษา ๔. เครือข่ายร่วมพัฒนา หมายถึง เครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถ เข้าร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วให้เป็นไปตามแนวคิดของ ระบบพัฒนาสุขภาวะชุมชน ๕. ชุมชนน่าอยู่ หมายถึง การที่ชุมชนมีสภาพแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ดี ชุมชนมีแรงจูงใจ มีจิตสำนึกรักชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีให้บริการด้านสาธารณสุขอย่าง พอเพียงทั่วถึง

- 17 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๖. ตำบลเครือข่าย หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมในกิจกรรมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว พัฒนา ๗. ตำบลเครือข่ายขยายผล หมายถึง ตำบลที่ตำบลเครือข่ายเข้าไปกระตุ้นและร่วม ทำงาน เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน ทั้งนี้ตำบลเครือ ข่ายขยายผลจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ฝึกอบรมในการเข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฝึกอบรม ๘. วิทยากรชุมชน หมายถึง แกนนำของชุมชนที่มีความคิดอ่าน ความเข้าใจ ที่มาจากการ เรียนรู้และการปฏิบัติจริงหรือจากการได้รับสืบทอดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ๙. ผู้นำหรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง หมายถึง แกนนำที่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยน วิธีคิด วางแผนการทำงาน และสร้างสรรค์การทำงานแบบใหม่ในระบบย่อยต่างๆ ให้เกิด สุขภาวะชุมชน ๑๐. ศูนย์ฝึกอบรม หมายถึง ศูนย์ฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ศูนย์ ฝึกอบรมกับเพื่อนๆที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้ ถ่ายทอด ประสบการณ์ ทักษะ ความสำเร็จ ความล้มเหลว ปัญหา อุปสรรค รวมถึง ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ๑๑. แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัว กันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเองให้เป็นไปตาม ที่ต้องการและสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนเผชิญร่วมกันได้ โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด ร่วม กำหนดแนวทางและร่วมกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิง ภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถทำเองได้ก็สามารถขอรับการสนับสนุน จากหน่วยงานภายนอกได้ โดยชุมชนเสนอแผนชุมชนเข้าเป็นแผนของ อบต. หรือแผนงาน/ โครงการของทางราชการได้ ๑๒. หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรที่ตอบสนองต่อการจัดการสุขภาวะเป็นหลักสำคัญใน การพัฒนาชุมชน ภายใต้ความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่

- 18 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


๔ ฐานคิดและวิธีการทำงาน องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยึดหลักการทำงาน ด้วยความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและในทุกกระบวนการทำงาน ให้เป็น ลักษณะวงกลมสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและรอบด้าน นำไปสู่องค์กร ต้นแบบตามหลัก ธรรมาภิบาล โดยเฉพาะนโยบายด้านสุขภาพเป็นการเชื่อมโยงแนวคิด “สุขภาพและคุณภาพชีวิต” ให้เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในแง่ของพฤติกรรม ของคน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ความเป็นอยู่ อาชีพ การเจ็บป่วย นำไปสู่การออกแบบการจัดการสุขภาพ วิธีการทำงานและการดูแลสุขภาพ ภายใต้ความคิดที่ว่า “ค้นหา พัฒนา สร้างเครือข่าย”

แนวคิดและวิธีการทำงาน - ค้นหา - พัฒนา - สร้างเครือข่าย ภาพที่ ๒ แนวคิดและวิธีการทำงาน

ค้นหา คือ การค้นหาแกนนำ ผู้นำจัดตั้งและผู้นำทางธรรมชาติ รวมทั้งค้นหาความพร้อม ของพื ้ น ที ่ ใ นชุ ม ชน เพื ่ อ เป็ น ตั ว ขั บ เคลื ่ อ นกระบวนการต่ า งๆในชุ ม ชน หากกิ จ กรรมใด มีผู้นำที่ดี เก่ง หรือมีพื้นที่ชุมชนที่มีความพร้อม จะเป็นปัจจัยแรกที่นำไปสู่ความสำเร็จได้

- 19 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


พัฒนา เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมความคิด เพิ่มทักษะ เป็นการทำให้เกิดทุน ทางมนุ ษ ย์ ใ ห้ ม ี ล ั ก ษณะแจ่ ม ชั ด ขึ ้ น โดยให้ บุ ค ลากรสามารถทำงานได้ ห ลากหลายหน้ า ที ่ (Multi Skill) การพัฒนามีหลากหลายลักษณะทั้ง เรียนรู้ภายในองค์กร การเรียนรู้ระหว่าง องค์กร การสอนงาน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม สร้างครือข่าย คือ การต่อยอดความคิดและสนับสนุนกิจกรรมที่ทำได้สำเร็จ ขยายสู่พื้น

ที่อื่น หรือการเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่างๆ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใน การจัดการสุขภาวะชุมชน โดยผ่านโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขต พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นลักษณะการเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม/โครงการที่แต่ละ พื้นที่ได้ดำเนินการสำเร็จ เกิดเครือข่ายการดำเนินงานเฉพาะเรื่องหรือประเด็น เครือข่ายพื้นที่ ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่น โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ค้นหาพื้นที่ที่มีผู้นำที่มีความสามารถ ประชาชนสนใจและมีส่วนร่วมจึงคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จากนั้นจะพัฒนาความรู้ การบริหาร จัดการ ฝึกอบรมคณะทำงาน การประชาสัมพันธ์ รวมถึงศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ จนประสบ ผลสำเร็จ และขยายแนวคิดสู่พื้นที่อื่นในลักษณะเป็นพี่เลี้ยง แนะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

๕. ทุนทางสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

๑. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว มีการดำเนินงานพัฒนาสุขภาวะจนเกิดเป็นระบบ การจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชนจำนวน ๗ ระบบ ประกอบด้วย (๑) ระบบการบริหาร จัดการตำบล (๒) ระบบเศรษฐกิจชุมชน (๓) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน (๔) ระบบอาสาสมัครและจิตอาสาเพื่อพัฒนาสุขภาวะ (๕) ระบบการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อ เด็กและเยาวชน (๖) ระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาวะชุมชน และ (๗) ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น

ซึ่งแต่ละระบบจะมีแหล่งเรียนรู้ในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ ตำบลอื่นๆ ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ประสบผลสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากองค์กร ต่างๆ และเป็นที่ศึกษาดูงานของชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะด้านการบริหาร จัดการองค์กร (องค์การบริหารส่วนตำบล) การจัดการสิ่งแวดล้อม จนได้รับมอบรางวัลจาก องค์กรต่างๆ เช่น ปี ๒๕๔๒ โล่เกียรติยศชนะเลิศการประกวดส่วนราชการและหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยประทับใจประชาชน ปี ๒๕๔๖ และ ปี ๒๕๔๗ - 20 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


รางวัลที่ ๑ โครงการประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตามหลัก ธรรมภิ บ าล ปี ๒๕๔๘ รางวั ล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ที ่ ม ี ก ารบริ ห ารจั ด การดี เ ด่ น อบต.ขนาดกลาง ปี ๒๕๔๙ และอบต.ขนาดใหญ่ ปี ๒๕๕๔ รางวัลการบริหารจัดการที่ด ี ปี ๒๕๕๐ รางวัลการบริหารจัดการที่ดี ปี ๒๕๕๑ โล่เกียรติยศการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี ๒๕๕๑ และปี ๒๕๕๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัล ๓ ปีติดต่อกัน รางวัล

พระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และประกาศเกียรติคุณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดี เด่นด้านการจัดสวัสดิการสำหรับคนพิการ รางวัลนวัตกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นปัจจัยเสริมให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว สามารถเป็นองค์กรนำ ในการสร้างเครือข่ายตำบลสุขภาวะและทำหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมที่ได้ รับยอมรับจากเครือข่าย ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีทุนทางสังคมที่หลากหลาย เช่น กลุ่มแกนนำ สำคัญที่หลากหลายเช่น ผู้นำทางศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน เช่น เจ้าคณะตำบลดอนแก้ว ผู้นำองค์กรด้านการเมืองการปกครองการบริหาร ปลัดองค์การบริหาร ส่วนตำบลแบบอย่างสตรีที่เข้มแข็ง ผู้นำกลุ่มพลังแผ่นดิน ผู้นำด้านกิจกรรมต่างๆ กลุ่มแม่บ้าน ผู้ชำนาญการประดิษฐ์ การอนุรักษ์วัฒนธรรมภาคเหนือ ด้านดนตรี ศิลปินพื้นบ้าน อปพร. ดีเด่นประจำจังหวัด กลุ่มนักพัฒนาชุมชนอาวุโส มูลนิธิบุญญาภรณ์ เป็นต้น เครือข่ายที่หลาก หลายในการขับเคลื่อนการทำงานกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่เช่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นต้น ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้สำหรับคณะศึกษาดูงานในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (๑) การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ทดแทนเพื่อสุขภาวะชุมชน (๒) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและผู้สูงอายุ (๓) การทำแก๊ส ชีวภาพจากมูลสุกร (๔) ระบบบรรเทาสาธารณภัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (๕) การบริหารจัดการ ที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ทั้งนี้ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่าง ให้ เ ห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพของตำบลดอนแก้ ว และความพร้ อ มที ่ จ ะเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละช่ ว ย เพื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ และมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลายได้ในตำบล - 21 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เศรฐกิจดี คนมีคุณธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม

ระบบภูมิปัญญา

ลกั ศาสนา ภูมิป คม ห ัญ งสงั พัฒนาองค์ความรู้ เสริมความคิด เพิ่มทักษะ

ระบบการศึกษาและ การเรียนรู้เพื่อเด็ก และเยาวชน

ใช้ทา

ถนิ่ ทอ้ ง ญา

ระบบอาสาสมัคร และจิตอาสาเพื่อ พัฒนาสุขภาวะ

ค้นหา

ต่อยอดความคิด ดึ๊ วช่ งกำก ช่วงกำ ขยายกลุ่มคน เกิด

อาสา

ตามนโยบาย

เจ็บ

คน

แก่

ชว่ งกำกึ๊ด กดึ๊

ผู้นำ ความพร้อมของ พื้นที่

ชว่ งกำกึ๊ด

พัฒนา

นักพัฒนา ตาย

สร้าง เครือข่าย

สถาบัญ พัฒนาการเด็ก ราชนครินทร์ ร.พ.นครพิงค์ วพบ.

ขยายสู่พื้นที่อื่น

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

หน่วยงานรัฐ

ระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาวะชุมชน

การสื่อสาร

ระบบการบริหารจัดการตำบล

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน

ข้อบัญญัติ

ระบบเศรษฐกิจชุมชน

ภาพที่ ๓ กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน

๖. กรอบแนวคิดในการดำเนินงาน

การขับเคลื่อนสู่ตำบลสุขภาวะ๑ ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมี “แนวคิดการ พัฒนาคน” ของคนทุกช่วงวัยตามวงจรของชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ และเสียชีวิต โดยใช้วิสัย ทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นแกนนำในการพัฒนาชุมชน โดยค้นหาผู้นำที่มีจิตอาสา และทุนทางสังคมเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนจนเกิดผู้นำในการ เปลี่ยนแปลงมาสร้างระบบการทำงานแบบรวมองค์ความรู้ (หรือภาษาท้องถิ่นคือ ข่วงกำกึ๊ด) ควบคู่กับการค้นหาความพร้อมของพื้นที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมความคิด และเพิ่ม ทักษะโดยการใช้ทุนทางสังคมควบคู่กับศาสนา และสร้างเครือข่ายในการต่อยอดความคิด ขยายความคิด และขยายสู่หมู่บ้านอื่นๆ ในตำบล ซึ่งสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ ๑ ตำบลสุขภาวะขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว หมายถึง ชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เศรษฐกิจดี คนมีคุณธรรม ประชาชนมีส่วนร่วม (วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว) - 22 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


(๑) ระบบการบริหารจัดการตำบล มีกลไกในการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม จากประชาชนและองค์กรภาคีต่างๆ ในชุมชน เป็นพื้นฐาน พร้อมทั้งนายกองค์การบริหารส่วน ตำบลเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพ การศึกษา และการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้ทิศทาง การให้โอกาสและสร้างศักยภาพคนทำงานและแกนนำต่างๆ เป็นแรงผลักดันด้วยการสื่อสารกับ คนในชุมชนผ่านมวลชนสัมพันธ์ และใช้กลไกของการจัดทำแผนตำบล ที่ให้ความสำคัญกับการ เห็นและใช้ข้อมูลชุมชน เพื่อให้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล ที่สร้างให้ ชุมชนได้มีสถานะ ความเป็นอยู่อย่างมั่นคง เกิดภูมิคุ้มกันชุมชน เมื่อเกิดภาวะคุกคามจาก ปัจจัยรอบด้าน (๒) เพื่อประกาศเป็นข้อบัญญัติเพื่อสนับสนุนการเกิดระบบต่างๆอย่างยั่งยืน (๓) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทนเพื่อสุขภาพชุมชน ใช้การจัดการ ขยะตามนโยบายและการกำจัดขยะในรูปแบบของการขยายผลและเป็นเงื่อนไขในการผลักดัน ให้ระบบอื่นมีการพัฒนาและสร้างฐานการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ เช่น ขยายแนวคิดในพื้น ที่อื่นๆ ธนาคารวัสดุรีไซเคิลชุมชน โรงทำปุ๋ยหมักของ อบต. และขยายไปยังการบริหารจัดการขยะ ในสถานศึกษา (๔) ระบบเศรษฐกิจชุมชน เน้นการสร้างอาชีพ มีรายได้ สะสมเงินออมและเป็นฐานของการ พัฒนาและขยายเป็นระบบสวัสดิการชุมชนและอาจรวมถึงการประกันภัยธรรมชาติของเกษตร (๕) ระบบการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน เน้นการเรียนรู้ครอบคลุม ทุก ช่วงวัย ทั้งการเรียนรู้ในระบบ เชื่อมโยงกับพื้นฐานความเชื่อทางศาสนา และขยายการเรียน รู้ในลักษณะของการสร้างแกนนำในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ของตำบลเช่น อย.น้อย เป็นต้น (๖) ระบบอาสาสมัครและจิตอาสาเพื่อพัฒนาสุขภาวะ มีการทำงานของผู้ที่มีจิตอาสา การ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนและมีการดูแลกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะทางโดยเฉพาะ อาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุอาสาสมัครพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสตำบลดอนแก้ว อาสาพัฒนาปศุสัตว์ ตำบลดอนแก้ว อสม. และนักพัฒนาชุมชนอาวุโสตำบลดอนแก้วเพื่อดูแลผู้สูงอายุในตำบล

- 23 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


(๗) ระบบสวัสดิการเพื่อสุขภาวะชุมชน เน้นการทำงานตามแนวคิดการบริการสาธารณะ ของ อบต. โดยเฉพาะการดู แ ลคนพิ ก ารและผู ้ สู ง อายุ ท ี ่ ศู น ย์ ฟ ื ้ น ฟู ส มรรถภาพฯ การจั ด สวัสดิการแก่ชุมชนในเรื่องการบรรเทาสาธารณภัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมี อาสา OTOS ในการทำงานแก่ตำบล (๘) ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นการทำงานที่นำภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมที่สอดรับกับ วิถีชีวิตของคนในตำบลมาสร้างการเรียนรู้ผ่านศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ให้แก่คนในตำบล ด้วยแหล่งเรียนรู้ผะหญาล้านนา๒ เป็นต้น

๗. แนวทางการดำเนินงาน

การดำเนินงานของโครงการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ๔ แผนงาน ได้แก่ ๑) แผนงานสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรม ๒) แผนงานพัฒนา ศักยภาพตำบลเครือข่าย ๓) แผนงานสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้ และ ๔) แผนงาน สื่อสารสาธารณะ โดยมีรายละเอียดในบทเรียนรู้ที่ ๓

๒ แหล่งเรียนรู้ผะหญาล้านนาหมายถึงแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลดอนแก้ว - 24 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


บทเรียนรู้ที่ ๒ แนวทางการบริหารจัดการ เพื่อขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ

การขับเคลื่อนการทำงานเพื่อพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ขององค์

การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เป็นการขับเคลื่อนการทำงานที่มุ่งสู่ตำบลสุขภาวะ ภายใต แนวคิด “การพัฒนาคน” ของคนในทุกช่วงวัยตามวงจรชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ และเสียชีวิต ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วตำบลสุขภาวะ เพื่อเป็นแกนนำในการ พัฒนาชุมชน โดยมุ่งเน้นและค้นหาผู้นำที่มีจิตอาสา รวมทั้งทุนทางสังคมเพื่อนำมาสร้างพลัง ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน จนก่อเกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นผู้นำ ในการสร้างระบบการทำงานแบบรวมองค์ความรู้ในชุมชน (หรือภาษาท้องถิ่นคือ ข่วงกำกึ๊ด) ควบคู่กับการค้นหาความพร้อมของพื้นที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างความคิด และเพิ่ม ทักษะโดยการใช้ทุนทางสังคมควบคู่กับศาสนา และการสร้างเครือข่ายในการต่อยอดความคิด การขยายความคิด โดยขยายสู่ทุกหมู่บ้านในตำบล กระบวนการในการดำเนินงานมุ่งเน้นการ รวมพลังของภาคส่วนที่สำคัญทั้ง ๓ ภาคส่วน ที่ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ท้องถิ่นท้องที่ ที่ร่วมสร้างพลัง เสริมสร้างการขับเคลื่อนการทำงานตำบลสุขภาวะอย่างสมดุล และสมบูรณ์แบบ ในการดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของตำบลสุขภาวะบนแนวทางการดำเนิน งานขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ได้มีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อขับ เคลื่อนให้การทำงานเกิดความสมดุลและสมบูรณ์แบบที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

- 25 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ดอนแก้วตำบลสุขภาวะ ภาครัฐ

ภาคท้อง ท้องที่ ถิ่น/

๒ คณะ ทำงาน โครงการ

ภาคเอกชน

๑ คณะ กรรมการ กลาง ๓ คณะทำงาน แหล่งเรียนรู้

- เกิดเครือข่ายร ที่มีการขับเคลื่อนงาน่วมพัฒนา เพื่อนำสู่ ตำบลน่าอยู่ - เกิดหลัดสูตรการฝ ประจำแหล่งเรียนรู้ ึกอบรม - เกิดชุดความรู้และน การสร้างเสริมสุขภา วัตกรรม - เกิดเครือข่ายนัก วะ ตำบลเครือข่ายน่าอยวิชาการของ - เกิดเครือข่ายองค ู่ ส่วนท้องถิ่นเพื่อกา ์การปกครอง รขับเคลื่อน เรื่องสุขภาวะ

ประชาชนตำบว ล ดอนแก้ โครงสร้างการดำเนินงาน

หนุนเสริม

หนุนเสริม

ภาพที่ ๔ กระบวนการทำงานที่สอดคล้อง ร่วมขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

๑. คณะกรรมการกลาง บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานกลางโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ ในเขตภาคเหนือตอนบน มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการดูแลการขับเคลื่อนงานทั้งหมดของ โครงการฯ โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุม กำหนด ติดตามให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะรวม ทั้งร่วมกำหนดทิศทางและวิธีการการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงการร่วมประเมินผล วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ประกอบกับการให้คำปรึกษาพร้อมทั้ง ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินโครงการฯ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการร่วมกำหนด วิธีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานและดูแลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานทั้ง ๔ แผนงานและยังเป็นพลังที่สำคัญในการร่วมสร้างวิธีการสื่อสารสาธารณะให้กับโครงการฯ รวมถึงการดูแลในส่วนของการบริหารจัดการโครงการ การดูแลทรัพยากรบุคคล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ แก่ทุกส่วนงาน การร่วมกำกับทิศทางการดำเนิน งานให้กับคณะทำงานอื่นๆ เช่น คณะทำงานโครงการ และคณะทำงานแหล่งเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้มีทิศทางการทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกันและเป็นทิศทางเดียวกัน คณะทำงานกลาง ประกอบด้วย ๑) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว เป็นประธาน ๒) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๓) ที่ปรึกษาโครงการที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญและชำนาญการในการทำงานชุมชน ซึ่งประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ - 26 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


ผู ้ แ ทนจากมู ล นิ ธ ิ ข าเที ย ม ผู ้ อ ำนวยการโรงพยาบาล ผู ้ อ ำนวยสถาบั น พั ฒ นาการเด็ ก ราชนครินทร์ ๔) ตัวแทนจากสื่อมวลชนในท้องที่ ได้แก่ ผู้แทนจากสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ ผู้แทนจากสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ ๕) ตัวแทนจากภาคพระพุทธศาสนา ได้แก่ เจ้าอาวาสทุกวัด ที่อยู่ในตำบลดอนแก้ว ๖) นักวิชาการที่มีความสามารถในการศึกษาวิจัยและการจัดการความรู้ การพัฒนาหลักสูตร และการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการศูนย์ การศึกษาพิเศษเขต ๘ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ๗) หัวหน้าส่วนราชการใน องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ที่ประกอบด้วย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว หัวหน้าส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลดอนแก้ว ๘) ตัวแทน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วทุกท่าน

๒. คณะกรรมการโครงการ จุดเริ่มต้นของการดำเนินโครงการฯคณะทำงานโครงการเกิดขึ้นตามแผนโครงสร้าง การ ดำเนิ น งานของโครงการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยสุ ข ภาวะชุ ม ชนสู ่ ต ำบลน่ า อยู ่ ใ นเขตภาคเหนื อ ตอนบน โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่โดยคณะทำงานกลาง และมีการรับมอบนโยบายแนวทาง การทำงานขับเคลื่อนร่วมกันจากคณะทำงานกลาง เพื่อนำสู่การปฏิบัติที่มีเป้าหมายและแนวทาง ร่วมกันเพื่อให้การทำงานก่อเกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ภายใต้การ สนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งคณะทำงานโครงการประกอบ ด้วย ๑) ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนแก้ว หัวหน้าสำนักงานปลัด หัวหน้าส่วนการคลัง หัวหน้าส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าส่วนส่งเสริมการเกษตร หัวหน้าส่วนโยธา หัวหน้าสถานีอนามัยดอนแก้ว ๒) บุคลากรใน ส่วนงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๓) บุคลากรที่ต้องทำหน้าที่หลักในการ ขับเคลื่อนการทำงานด้านวิชาการและการบริหารจัดการโครงการที่ประกอบด้วย ๕ ตำแหน่งงาน ได้แก่ ๑) ผู้จัดการโครงการ ๒) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ๓) เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ ๔) นักวิชาการโครงการ ๕) นักจัดกระบวนการ ๔) ผู้แทนอาสาสมัครจากชุมชนจำนวน ๕ คน และ ๕) ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จำนวน ๙ คน การสรรหาคณะทำงานโครงการมาจากกระบวนการการสรรหาคัดเลือกจากบุคลากรใน องค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีจิตอาสาและต้องการร่วมสร้างชุนท้องถิ่นน่าอยู่ร่วมกัน ซึ่งทำให้ คณะทำงานโครงการได้มาจากหัวหน้าส่วน บุคลากร รวมทั้งพนักงานที่อยู่ในองค์การบริหาร - 27 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


ส่วนตำบลดอนแก้ว รวมทั้งการพิจารณาคัดเลือกคณะทำงานโครงการมาจากบุคลากรภายนอก เพื่อให้สามารถทำงานเต็มที่เต็มเวลา ซึ่งในการพิจารณาจะพิจาณาจากประชาชนที่อยู่ในตำบล ดอนแก้วก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากจะมีความเข้าใจในบริบทชุมชน สามารถเข้าถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และนักวิชาการได้อย่างกลมกลืน หลังจากนั้นจะร่วมพิจารณาจากการมี วิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกันในการมีจิตอาสาที่ต้องการร่วมสร้างตำบลดอนแก้วเป็นตำบล แห่งสุขภาวะ

๓. คณะทำงานแหล่งเรียนรู้

คณะทำงานแหล่งเรียนรู้ มีบทบาทหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับ ตำบลเครือข่าย รวมทั้งการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตำบลเครือข่าย ซึ่งถือว่าเป็นคณะทำงานที่เป็นพลังขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการฯ ผ่าน บทบาทหน้าที่ตามความสมัครใจ ความชื่นชอบ ความถนัดและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่ง คณะทำงานทั้งหมดจะทำหน้าที่ในการหนุนเสริมการทำงานให้การทำงานโครงการมีการขับ เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง คณะทำงานแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย ผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือวิทยากรประจำแหล่งเรียนรู้ ทั้ง ๒๑ แหล่งเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ๑) แหล่งเรียนรู้การ บริหารจัดการตำบลดอนแก้ว ๒) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๓) กลุ่มจักสานไม้ไผ่ขด ๔) กลุ่มน้ำดื่มบ่อปุ๊ ๕) กลุ่มการจัดการขยะโดยชุมชน ๖) การทำปุ๋ย หมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ๗) การจัดการขยะโดยโรงเรียน (ศูนย์สาธิตการคัดแยกขยะครบวงจร) ๘) แก๊สชีวภาพจากมูลสุกร ๙) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ ๕ สาขา (อสมช.) ๑๐) กลุ่มอาสาพัฒนาปศุสัตว์ตำบลดอนแก้ว (อสป.) ๑๑) แหล่งเรียนรู้สายสัมพันธ์ วัด โรงพยาบาล ชุมชน ๑๒) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ๑๓) โรงเรียนพุทธศาสนา วันอาทิตย์ ๑๔) การจัดการขยะในครัวเรือนและในชุมชนหมู่ที่ ๗ ๑๕) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชนตำบลดอนแก้ว ๑๖) แหล่งเรียนรู้ผะหญาล้านนา ๑๗) ศูนย์พัฒนา ครอบครัวในชุมชนตำบลดอนแก้ว ๑๘) แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ห้วยตึงเฒ่า ๑๙) ดนตรีพื้นบ้าน ๒๐) กลองหลวงพระเจ้านั่งโก๋น ๒๑) กลุ่มเศษผ้าอเนกประสงค์ รวมทั้งเจ้าของ บ้านพักโฮมสเตย์ ไกด์ และปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ

- 28 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


๑. เทคนิคการดำเนินงานสู่ความสำเร็จกับ “คาถา P ทั้ง ๗”

การบริหารโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว มีเทคนิคในการทำงานด้วยการสร้างคาถาการทำงานทั้ง ๗ P ดังนี้ คือ P ที่ ๑ P-Positive Thinking คือ การมีทัศนคติที่เป็นบวก มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ไม่คิดในทางลบ และให้นำ แนวคิดด้านลบกลับมาสร้างแนวคิดในเชิงบวก เช่น ถ้าหากพบเจอปัญหาในการทำงาน ให้มอง ว่าปัญหาคือหนทางที่จะฝึกฝนให้เราเก่งกล้ามากยิ่งขึ้น P ที่ ๒ P-Peaceful Mind คือ การมีจิตใจที่สงบในยามที่เกิดปัญหา อย่าตื่นตระหนกไปกับปัญหาที่เกิด การมี จิตใจที่สงบ มีสมาธิ จะทำให้เราเกิดปัญญาและมีสติในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ยัง ทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีควบคู่ด้วย P ที่ ๓ P- Patient คือ การมีความอดทน เพราะการที่เราจะมีจิตที่สงบได้ เราจะรู้จักการอดทนอดกลั้น ระงับอารมณ์ ความรู้สึกที่ไม่ดีต่างๆ หากสิ่งใดๆ ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ ก็ให้ใช้คาถา ความอดทน การรู้จักการรอคอย ให้ถึงช่วงเวลาที่เป็นของเรา นอกจากนี้ยังต้องอดทน ต่อปัญหาและความยากลำบากในการทำงานไปพร้อมๆ กัน P ที่ ๔ P-Punctual คือ การเป็นคนตรงต่อเวลา เพราะในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบจำเป็นต้องตรงต่อเวลา เพื่อให้งานเดินหน้าไปอย่างมีระบบ และจะทำให้การทำงานได้รับผลดี พร้อมทั้งมีความพร้อมใน การรับมือกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี P ที่ ๕ P-Polite คือ การเป็นคนสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน การเป็นคนสุภาพนอบน้อม จะทำให้มีแต่ คนรักใคร่ และอยากช่วยเหลือ โดยเฉพาะการทำงานกับประชาชนในชุมชน P ที่ ๖ P-Professional คือ ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน การที่เรามีบทบาทหน้าที่ เราก็ควรให้มีความ เชี่ยวชาญในหน้าที่นั้นๆ โดยหมั่นแสวงหาความรู้และองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งการหมั่นฝึกปรือ ฝีมือในการทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้งานประสบผลสำเร็จทั้งหมด - 29 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


P ที่ ๗ P-Perfect คือการสร้างความสมบูรณ์แบบ ให้กับงานด้วยทีมงาน เพราะเมื่อไหร่ที่เรานึกถึงความ สมบูรณ์แบบเราจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะมีจุดเริ่มต้นใหม่ๆ เสมอ ซึ่งจะทำให้เราเกิดความ ท้าทายและอยากลองเรียนรู้ในงานใหม่ๆ เสมอ

๒. การสร้างจุดร่วม “จุดโฟกัส” เพื่อการทำงานเป็นทีม

สิ่งที่จะทำให้การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ประสบความสำเร็จนั้น ทีมงานจะต้องสร้าง จุด “โฟกัส” ในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่สูญเสียเวลาไป กับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อีกทั้งเมื่อเราเข้าใจและมีทิศทางในการทำงานอย่างถูกต้องครบถ้วน เหมือนกันแล้ว ก็จะทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความง่ายและเกิดความสะดวกมากขึ้น เพราะ เมื่อเรารู้ทิศทางการทำงาน ตลอดจนรู้หน้าที่ของตนเอง ก็ย่อมทำให้การทำงานของทีมงานก้าว ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นคง ไม่เพียงแต่การสร้างจุด “โฟกัส” จะช่วยให้การทำงานมีจุดมุ่งหมาย เท่านั้น แต่การทำงานอย่างมีจุดโฟกัสยังช่วยทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อันจะนำไปสู่การความ สำเร็จของการทำงานเป็นทีมอีกด้วย การเพิ่มความรู้สึกร่วมต่อการทำงาน เทคนิคการทำให้การทำงานเป็นทีมเวิร์กมีจุดแข็งคือการมีทีมที่ต้องไม่ละเลยที่จะสร้าง ความรู้สึกร่วม ให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกัน โดยไม่ใช่เพียงแต่จะเฝ้ารอคำสั่งแบบ ไร้ทิศทาง หรือปล่อยเวลาให้หมดไปเท่านั้น เพราะการจะบรรลุเป้าหมายในการนำองค์กรไปสู่ ความสำเร็จได้นั้น ต้องไม่ใช่บุคคลเพียงคนเดียวที่จะสามารถดำเนินการได้เพียงลำพัง แต่ทุก คนในทีมต้องมีความรู้สึกร่วมกันในทุกเรื่อง โดยผู้นำอาจต้องสร้างภาวะผู้นำให้กับทีมงาน พร้อมทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจให้ทีมรับรู้และเข้าใจตรงกันว่าจุดมุ่งหมายร่วมกันของทีมนั้น คืออะไร เพื่อจะได้เกิดความรู้สึกร่วมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสร้างภาวะผู้นำกับความสำเร็จของทีมเวิร์ก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม เราต้องไม่ลืมว่าการแสดงออกถึง ความเป็นคนที่มีภาวะผู้นำนั้น ไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นจะต้องการทำให้ตัวให้โดดเด่น เหนือกว่าใครในการทำงาน หากแต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะแสดงความคิดเห็น และดึงความ สามารถที่ตนเองมีออกมาช่วยให้ทีมได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาวะผู้นำจะช่วยให้เรา อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมภายในทีม ทำให้เราได้ทำงานได้ตรงตามหน้าที่ของเรา โดยที่ไม่ทำให้ - 30 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


เรารู้สึกว่าเป็นตัวถ่วงที่จะทำให้การทำงานล่าช้า ภาวะผู้นำนั้นต้องมาจากการฝึกฝนตนเองเพื่อ ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าอยากจะทำงานโดยสำนึกรู้ถึงหน้าที่ของตน ไม่ต้องรอให้ใครมาบังคับ และการทำงานอย่างมีภาวะผู้นำนี้ยังอาจจะช่วยให้คนรอบข้างเราได้รับอิทธิพลของการทำงาน อย่างมีระบบนี้ไปใช้ให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปลดปล่อยพลังในการทำงาน วิธีหนึ่งที่จะทำให้การทำงานแบบทีมเวิร์กสำเร็จได้คือผู้ทำงานต้องรู้จักปลดปล่อยพลังใน การทำงานให้ออกมามากที่สุด เพื่อให้เกิดไฟในการทำงานและศักยภาพที่เต็มเปี่ยม อันจะส่งผล ให้ผลลัพธ์กลับมาสู่องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตรงประเด็นและเป้าหมายที่ทีมได้วางไว้ โดยไม่เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญ การส่งเสริมการปลดปล่อยพลังของคนทำงาน แทนการเก็บ กดและปิดบังศักยภาพ ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อการทำงาน แต่ยังช่วยสร้างความรับผิดชอบ ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การทำงานเป็นทีมที่มีความแข็งแกร่งและยั่งยืนมากขึ้น

๓. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ถือเป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนั้น บุคคลที่มีส่วนขับเคลื่อนการทำงานในแหล่งเรียนรู้ คือวิทยากรแหล่งเรียนรู้ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยากรฐานเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ ดังนั้น เพื่อให้การบรรยายเกิดความสมบูรณ์ในกระบวนการ จึงได้นำเครื่องมือและวิธีการเข้ามาใช้ เพื่อสร้างเทคนิคในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ ๑) การบรรยาย โดยเนื ้ อ หาในการบรรยายจะต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ หลั ก สู ต รของ แหล่งเรียนรู้นั้นๆ ๒) ระยะเวลาในการบรรยาย จะต้องมีการจัดสรรเวลาไว้สำหรับการบรรยาย และการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ตามความเหมาะสมและความสนใจของผู้เข้าร่วม ๓) เนื้อหาในการนำเสนอของวิทยากร ประกอบด้วย ๓.๑) แนวคิดที่มาของแหล่งเรียนรู้ ๓.๒) วิ ธ ี ก ารจั ด การของแหล่ ง เรี ย นรู ้ เช่ น มี ใ ครร่ ว มทำหรื อ ร่ ว มสนั บ สนุ น ทำอะไร ทำอย่างไร ๓.๓) แหล่งเรียนรู้ก่อเกิดประโยชน์กับใครบ้าง เช่น กับตนเอง กับบุคคลอื่น และสังคม - 31 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๓.๔) มีการทำงานเชื่อมโยงกับใคร กลุ่มใดบ้าง ในตำบลและนอกตำบล ๓.๕) แหล่งเรียนรู้มีการเชื่อมโยงกับระบบอื่นหรือแหล่งเรียนรู้อื่นอย่างไร ๓.๖) การดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้ มีแนวโน้มการทำงานในอนาคตมีการต่อยอด หรือพัฒนาอะไร และอย่างไรบ้าง ๔) สื่อที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น แผ่นพับ ไวนิล วิดิทัศน์ พาวเวอร์พอยท์ ฯลฯ ๕) กลยุทธการนำเสนอมีหลายแบบ เช่น การบรรยายแล้วสาธิต/การสาธิตแล้ว บรรยาย/การบรรยายควบคู่กับการสาธิต รวมทั้งการสอดแทรกกิจกรรมสันทนาการ มุขตลก หรือคติแง่คิดต่างๆ ตามความถนัดของวิทยากร สิ่งที่สำคัญในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู ้

คือการพัฒนาศักยภาพของแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น การศึกษาดูงานพื้นที่อื่น การแลก เปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง การอบรมพัฒนาศักยภาพด้วย ตนเอง การฝึกปฏิบัติเสมือนจริง ฯลฯ นอกจากนี้การออกแบบตารางแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น ส่วนสำคัญในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความเหมาะสม ของจำนวนผู้ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมของฐานเรียนรู้ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ของการลงฐานเรียนรู้แต่ละฐาน

๔. การบริหารจัดการด้านอาหาร

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ประกอบการอาหาร/ผู้เตรียมอาหาร การจัดการอาหารมีการมอบหมายให้หัวหน้าสำนักปลัดเป็นผู้ดูแล ในการคัดเลือก ผู้ประกอบการ และมีคณะกรรมการร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบอาหาร ดังนี้ ๑. ต้องเป็นผู้ประกอบการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว ๒. ใช้วัตถุดิบในชุมชน ๓. เป็นผู้จัดเตรียมภาชนะใส่อาหารเอง ๔. กำหนดราคาที่เป็นมาตรฐาน ๕. ต้องมีการจัดทำอาหารพื้นเมืองอย่างน้อย ๑ วัน ๖. ผู้ประกอบการและผู้เสิร์ฟอาหารต้องมีสุขนิสัย และสุขลักษณะที่ถูกต้อง ๗. ผู้ประกอบการต้องยอมรับผลการประเมิน โดยในการจัดการอาหารมีการคำนึงถึงปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และในการจัดการอาหาร จะได้ทำการจัดทำอาหารพื้นเมืองอย่างน้อย ๑ วันรวมทั้งอาหารว่างที่เป็นขนมในท้องถิ่นร่วม - 32 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


มีการสร้างเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพอาหารและวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร โดยมาจาก แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดงานโดยมีการระบุประเด็นการจัดการอาหาร เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมได้ประเมิน ผู้ที่กำหนดเมนูคือผู้ประกอบการและคณะกรรมการอาหารร่วมกัน พิจารณา มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารโดยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ และมีการประชุม

ผู้ประกอบการอาหารในตำบลเพื่อให้ความรู้ในการประกอบอาหารที่ถูกต้องโดยสถานีอนามัย ดอนแก้ว สำหรับอาหารในบ้านพักโฮมสเตย์มีการจัดทำอาหารตามพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์ของ คนพื้นเมือง ไม่ว่าคนมาพักจะมาจากภาคไหนก็มีการทำอาหารพื้นเมืองเพื่อเป็นการต้อนรับ การบริหารค่าใช้จ่ายตามจริงที่ได้ตกลงกับผู้ประกอบการโดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ เช่น อาหาร ๕ อย่าง ราคา ๘๐ บาทต่อคนโดยมีผลไม้หรือของหวานประกอบด้วยทุกมื้อ มีการ จัดทำอาหารพื้นเมืองอย่างน้อย ๑ วัน และอาหารว่างให้เป็นขนมในท้องถิ่นและมีผลไม้ ประกอบบ้างในบางมื้อ

๕. การบริหารจัดการด้านการเดินทางระหว่างแหล่งเรียนรู้

๖. การบริหารจัดการไกด์ (พี่เลี้ยง) ระหว่างเดินทาง

มีการดำเนินการโดยทำการประกาศรับสมัครรถสองแถว ภายในพื้นที่และมีการประชุม สร้างความเข้าใจ เพื่อให้รับทราบเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีการหมุนเวียนรถภายในตำบล เพื่อกระจายรายได้ให้กับประชาชนในตำบลดอนแก้วอย่างทั่วถึงและเสมอภาค ใช้เกณฑ์การ ประเมินโดยแบบประเมินที่มาจากการประเมินของผู้เข้าร่วมเรียนรู้ประกอบโดยในเนื้อหาการ ประเมินจะปรากฏข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น คนขับรถมีการขับรถเร็วอัตราเร็วกว่ากำหนด ซึ่งพบ ปัญหาว่าในช่วงเย็นจะมีการขับรถเร็วเพราะเร่งเวลาในการไปปฏิบัติภารกิจต่อเพื่อรับส่ง นักเรียน ซึ่งในการประเมินในแต่ละครั้งทางทีมจะทำการแจ้งผลการประเมินให้รับทราบ และ หากรถบริการคันใดบริการไม่ประทับใจก็จะมีข้อตกลงในการเว้นระยะไม่ให้เข้าร่วมรับส่ง ผู้เรียนรู้ให้มีการปรับปรุงตัวก่อนเมื่อมีการปรับตัวก็จะกลับมาให้บริการดังเดิม การสรรหาไกด์ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ในระยะแรกเป็น ช่วงปิดเทอมมีเด็กมาสมัครและทำหน้าที่ได้ดี พูดแนะนำสถานที่ ให้บริการอาหารว่าง นำทาง นับจำนวน และร่วมเรียนรู้กับผู้เข้าร่วม โดยดำเนินการให้ไกด์เข้าร่วมเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ ทั้งหมดในตำบลดอนแก้วก่อนปฏิบัติหน้าที่และพบปัญหาว่าในช่วงเวลาเปิดเทอมเด็กและ - 33 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


เยาวชนต้องรับการศึกษาจึงไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้มีการแก้ไขปัญหาโดยรับสมัคร บุคคลทั่วไปเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน โดยเฉพาะในกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ จะได้รับการพิจารณา เป็นพิเศษเนื่องจากมีความคล่องตัวและทำงานด้วยจิตอาสา หลังจากนั้นจะทำการประชุมให้ ความรู้รวมทั้งการฝึกปฏิบัติก่อนลงปฏิบัติหน้าที่จริง สำหรับการบริหารค่าใช้จ่ายได้มีการสร้าง ข้อตกลงในเบื้องต้นก่อนปฏิบัติงานจริง

๗. การบริหารจัดการบ้านพักโฮมเสตย์

มีการกำหนดหลักเกณฑ์ การรับสมัครบ้านพักโฮมสเตย์ มีคณะกรรมการโฮมสเตย์ ที่ชัดเจน มีการคัดเลือกบ้านพักจากหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑. ด้านที่พักอาศัย มีห้องนอนแยกเป็นสัดส่วน มีที่นอนและอุปกรณ์เครื่องนอนอำนวย ความสะดวก มีห้องสุขา มีการรักษาความสะอาด มีการปลูกพืชผักสวนครัว และมีการคัดแยก ขยะในครัวเรือน ๓. ด้านอาหาร มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีน้ำดื่มที่สะอาด มีห้องครัว และมีการจัดการ ขยะที่ถูกสุขลักษณะ ๔. ด้านความปลอดภัย ควรมียาสามัญประจำบ้าน มีการแจ้งผู้ใหญ่บ้านให้รับทราบและ อาคารที่พักต้องมีความปลอดภัย ๕. ด้านอัธยาศัยของเจ้าของบ้าน จะต้องมีการแนะนำสถานที่ต่างๆ ภายในตำบลรวมทั้ง สามารถให้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในตำบลดอนแก้วเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ประกอบกับต้องมี อัธยาศัยไมตรีดี ในกระบวนการจัดการห้องพักมีการจัดระดับโดยผลการประเมินของผู้เข้าพักและคณะ กรรมการโฮมสเตย์ ได้แบ่งห้องพักเป็น เกรด A B และ C เพื่อจัดระดับบ้านพัก บ้านพักเกรด A จะมีสิทธิได้รับแขกก่อน ตามลำดับ การจัดส่งผู้เข้าพักมายังแหล่งเรียนรู้มีการกำหนดเวลา และจุดนัดหมายให้เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ โดยใช้ยานพาหนะของเจ้าของบ้านพัก การจัดคน เข้าพักจะดูตามตำแหน่งของผู้เข้าพักและจะจัดให้ผู้เข้าพักและเจ้าของบ้านมีตำแหน่งหน้าที ่

ในชุมชนเหมือนกันจะได้มีการแลกเปลี่ยนกัน เช่น ผู้เข้าร่วมเป็น อสมช. ก็จะจัดเข้าพักบ้าน อสมช. เป็นต้น

- 34 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ทุกท่านต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละแหล่งเรียนรู้ ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว ต้องทราบข้อมูลทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าพัก จึงมีการอบรมและ ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทุกแหล่งในตำบลดอนแก้วก่อน

๘. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน

การดำเนินงานตามครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือ ตอนบนขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบถึงปัจจัย แห่งความสำเร็จที่ทำให้โครงการสามารถดำเนินงานตามแผนงานได้เป็นอย่างดีและปัจจัยความ สำเร็จดังกล่าวยังสามารถส่งผลให้การดำเนินโครงการในงวดถัดไปมีแนวทางการดำเนินงานที่ ชัดเจนเพื่อที่จะสนับสนุนให้การดำเนินงานสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนด เอาไว้ต่อไป โดยปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วย ๑. สภาวะความเป็นผู้นำของผู้นำท้องถิ่นที่มองเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการสุข ภาวะของประชาชนในพื้นที่ ๒. การบริหารจัดการของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วและทีมบริหารที่ยึด หลักธรรมาภิบาล เน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และมีความพร้อมที่จะดูแลทุกข์สุขของประชาชน พร้อมทั้งการบูรณาการการทำงานร่วมกับ

ภาคีเครือข่าย ๓. ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วที่ให้ ความสำคัญกับการทำงานเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการสุขภาวะชุมชนด้วยตนเอง ๔. มีองค์กรภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งตั้งอยู่ในพื้นที่ เช่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ และ หน่วยงานในภูมิภาคในสังกัดกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่พร้อมให้การสนับสนุนและหนุนเสริม ให้เกิดกิจกรรมร่วมสร้างท้องถิ่นให้น่าอยู่ร่วมกัน ๕. มีกลุ่มจิตอาสาที่เข้มแข็งอยู่ในพื้นที่ เพื่อร่วมมือร่วมใจในการทำงานโดยมุ่งประโยชน์ ส่วนรวมของชุมชนเป็นสำคัญ ๖. มีทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าเปี่ยมด้วยคุณภาพทั้งด้านการถ่ายทอดประสบการณ์ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมในชุมชนและร่วมอนุรักษ์ดำรง รักษาให้สามารถอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป - 35 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๗. มีกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็งอยู่ในพื้นที่ เช่น กลุ่มจักสานไม้ไผ่ขด กลุ่ม OTOP กลุ่มน้ำดื่ม บ้าน บ่อปุ๊ กลุ่มหัตถกรรมเศษผ้าเอนกประสงค์ ๘. การสนับสนุนจากภาคประชาชนในชุมชน ที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมคิด ร่วม ทำในกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น การเข้าร่วมทำงานในแหล่งเรียนรู้ การให้บริการด้านบ้าน พักโฮมสเตย์ การส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น หมอนใบชา แคบหมู กระเป๋าผ้า พื้นเมือง แหนมชีวภาพ เครื่องจักสานไม้ไผ่ขด พรมประดิษฐ์จากเศษผ้าเหลือใช้ ๙. มีคณะทำงานจำนวน ๓ ชุด ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานกลาง คณะทำงานโครงการ คณะทำงานแหล่งเรียนรู้ ที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีจิตอาสา มีความเข้มแข็ง ในการทำงาน มี ก ารทำงานเป็ น ที ม เชื ่ อ มโยงการจั ด การและประสานการทำงานร่ ว มกั น

เป็นอย่างดี ๑๐. มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินข้อผิดพลาด ข้อเสนอแนะต่างๆ อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีการบริหารจัดการปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ด้วยกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ของคณะทำงานทั้งหมด เพื่อนำข้อผิดพลาดมาปรับปรุง และพัฒนาให้ดี ๙. นวัตกรรม/สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ในการดำเนินการโครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือ ตอนบนที่ผ่านมาก่อเกิดนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นในการดำเนินงาน เช่น คู่มือการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ การจัดตั้งศูนย์ฯ และนวัตกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุในตำบลดอนแก้ว เช่น “กะลาพาเพลิน” “กอล์ฟดอย” และ “กระดานเหยียดตัว”

- 36 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


บทเรียนรู้ที่ ๓ แผนปฎิบัติการ ๔ แผนงาน

การดำเนินงานของโครงการฯเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ๔ แผนงาน ซึ่งประกอบด้วย ๑) แผนงานสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรม ๒) แผนงาน พัฒนาศักยภาพตำบลเครือข่าย ๓) แผนงานสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้ ๔) แผน งานสื่อสารสาธารณะมีรายละเอียดดังนี้

๑. แผนงานสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรม

หลักการ เพื่อสนับสนุนและเสริมศักยภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วให้ม ี

ความพร้อมในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับตำบลเครือข่ายและ ตำบลเครือข่ายขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล วิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนการเตรียมการ ประกอบด้วย ๑. การพัฒนาสมรรถนะวิทยากรชุมชนผ่านการศึกษาดูงาน เพื่อให้เกิดทักษะการจัดการ แหล่งเรียนรู้และทักษะการถ่ายทอดความรู้ ๒. การจัดทำหลักสูตรประจำแหล่งเรียนรู้ พร้อมทั้งจัดให้มีการวิพากษ์หลักสูตร โดย ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการภายนอก เพื่อให้หลักสูตรสามารถนำใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียน รู้กับตำบลเครือข่ายและตำบลเครือข่ายขยายผลได้ ๓. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อม ทั้งในส่วนของสื่อที่ใช้ประกอบสำหรับ

การอธิ บ ายองค์ ค วามรู ้ ห รื อ ประสบการณ์ รวมถึ ง การจั ด เตรี ย มความพร้ อ มของสถานที ่ แหล่งเรียนรู้ การประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่คณะทำงานพร้อมทั้งแบ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ - 37 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๔. การเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอบรม เช่น โฮมสเตย์ เพื่อใช้ สำหรับเป็นที่พักสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและศึกษาดูงาน การเตรียมสถานที่สำหรับ ทำ กิจกรรมกลุ่ม การเตรียมผลผลิตในชุมชนเพื่อจัดทำเป็นอาหารสุขภาพบริการแก่ผู้เข้ารับ การอบรมและศึกษาดูงาน เป็นต้น ๕. ดำเนินการซักซ้อมความเข้าใจและกระบวนการฝึกอบรมเสมือนจริง ขั้นปฏิบัติการ ปฏิบัติการตามแผนการฝึกอบรมและจัดให้มีระบบการประเมินผล และนำ ผลการประเมินมาปรับปรุงการอบรมอย่างต่อเนื่อง ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน รายงานสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอบรม อย่างเป็น ระบบและจัดทำแผนการปรับปรุงต่อไป คำเตือน : อุปสรรคการดำเนินการตามแผนงานที่ผ่านมา ปัญหาที่พบในแผนงานสนับสนุนศูนย์ฝึกอบรม คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ของ วิ ท ยากร หรื อ นั ก ถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ ข องตำบลต้ น แบบที ่ ข าดความชำนาญ ขาดทั ก ษะ ของการเป็นวิทยากรมืออาชีพ ที่ต้องเกิดการพัฒนา รวมถึงเรื่องสถานที่แหล่งเรียนรู้บางแหล่ง ที่ยังต้องปรับปรุงเพื่อให้มีความพร้อมมากขึ้นและการเพิ่มความหลากหลายของสื่อในการ ประกอบการเรียนรู้ ประสบการณ์ : แนวทางการแก้ไข การดำเนินการในการแก้ไขคือการนำวิทยากรและนักถ่ายทอดประสบการณ์ศึกษาดูงาน ในหลายๆ พื้นที่ทำการฝึกประสบการณ์การเป็นวิทยากรมืออาชีพ ทำการจัดการฝึกอบรมเพิ่ม เติมอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาถานที่แหล่งเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นแหล่ง เรียนรู้ ให้มากขึ้นรวมถึงการจัดทำสื่อเพิ่มเติม ผลที่เกิดขึ้นพบว่า นักถ่ายทอดประสบการณ์มี ทักษะ การถ่ายทอดเพิ่มมากขึ้น กล้าแสดงออก รวมถึงแหล่งเรียนรู้มีความพร้อมด้านสถานที่ เพื่อถ่ายทอดความรู้และศึกษาดูงานโดยมีสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมจากเดิมเพื่อช่วยเพิ่มความ หลากหลาย ให้แก่แหล่งเรียนรู้ตามความเหมาะสมต่อไป

๒. แผนงานพัฒนาศักยภาพตำบลเครือข่าย

หลั ก การ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด กระบวนการเรี ย นรู ้ แ ก่ ต ำบลเครื อ ข่ า ย ๒๐ ตำบล จนตำบล เครือข่ายสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์และปรับใช้เพื่อจัดการสุขภาวะชุมชน โดยชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ของตนเองและมีเครือข่ายขยายผล อีก ๔๐ ตำบล โดยการติดตามสนับสนุนของตำบลศูนย์ฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง - 38 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


วิธีการดำเนินงาน จัดการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่ตำบลเครือข่าย โดยผ่านการปฏิบัติงาน ใน พื้นตำบลศูนย์ฝึกอบรม จะดำเนินการในปีที่ ๑ - ๒ ๑. ตำบลเครื อ ข่ า ยนำความรู ้ ท ี ่ ไ ด้ จ ากการฝึ ก อบรมไปปรั บ ใช้ แ ละดำเนิ น กิ จ กรรม สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะในพื้นที่ของตน ๒. สนับสนุนตำบลเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ ๓. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตำบลศูนย์ฝึกอบรม (องค์การบริหารส่วนตำบล ดอนแก้ว) ตำบลเครือข่ายและตำบลขยาย โดยเป็นการติดตามผลการดำเนินงาน สรุปบทเรียน และเสริมศักยภาพ ๔. คณะทำงานตำบลต้นแบบดำเนินการติดตาม ให้กำลังใจ รวมถึงข้อเสนอแนะแก่ ตำบลเครือข่าย คำเตือน : อุปสรรคการดำเนินการตามแผนงานที่ผ่านมา ปัญหาที่พบ คือ การประสานงานและการสื่อสารทำความเข้าใจของตำบลเครือข่ายยังไม่ ชัดเจนในการดำเนินงานโครงการร่วมกัน ประสบการณ์ : แนวทางการแก้ไข การดำเนินแก้ไขโดยทำการตรวจสอบข้อมูลความซ้ำซ้อนของกิจกรรมโครงการที่เกิดขึ้น พร้อมกันจากองค์กรหลักและองค์กรภาคีอื่นๆ รวมถึงการปรับแผนการดำเนินงานโดยให้ตำบล เครือข่ายทำการตอบรับการเข้าร่วมโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อตรวจสอบ จำนวน ผู้เข้าร่วมและร่วมประเมินสถานการณ์พร้อมแนวทางแก้ไข รวมถึงการดำเนินการชี้แจงราย ละเอียดในการเข้าร่วมโครงการให้แก่ตำบลเครือข่ายก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ รวมถึง การ เปิดประเด็นในการซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในการร่วมทำโครงการร่วมกันต่อไป ผลที่เกิดขึ้นพบว่าสมาชิกเครือข่ายมีความเข้าใจและเกิดความชัดเจนในการตัดสินใจเข้าร่วม โครงการ รวมถึงสามารถดำเนินการขับเคลื่อนโครงการได้ตามแผนงานที่ได้เสนอไว้ต่อไป

๓. แผนงานสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้

หลักการ ใช้วิธีการถอดบทเรียนและสรุปบทเรียนเป็นกรณีศึกษาในตำบลเครือข่าย ซึ่งจะ ดำเนินการโดยนักวิชาการประจำแต่ละตำบลเครือข่าย โดยดำเนินการด้านวิชาการควบคู่ ไปกับ การปฏิบัติการของตำบล ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วจะทำการพัฒนาและ สร้าง - 39 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


เครือข่ายนักวิชาการของแต่ละพื้นที่เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู ้

ในการดำเนินงาน รวมถึงการสังเคราะห์ความรู้เพื่อการจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่ส่งผล ต่อสุขภาวะของประชาชนในแต่ละพื้นที่ วิธีการดำเนินงาน ๑. ประสานงาน สนับสนุน และสรรหานักวิชาการประจำแต่ละตำบลเครือข่าย พร้อมทั้ง จัดทำกรอบการดำเนินงานด้านวิชาการ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์องค์ความรู้และจัดทำกรณี ศึกษา ๒. จัดประชุมนักวิชาการประจำตำบลเพื่อจัดกรอบการดำเนินงานด้านวิชาการ เพื่อ สังเคราะห์องค์ความรู้และจัดทำกรณีศึกษาและการคืนข้อมูลให้แก่ตำบลเครือข่าย ๓. จัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพนักวิชาการในประเด็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การ สังเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ๔. นักวิชาการประจำแต่ละตำบลเข้าไปร่วมเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ของตำบลเครือข่ายตามกรอบที่ได้มีการพัฒนาร่วมกัน ๕. นักวิชาการประจำตำบลจัดเวทีเพื่อนำเสนอข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ความแม่นยำ ของข้อมูลและคืนข้อมูลให้ชุมชนและชุมชนสามารถนำใช้ในการตัดสินใจ ๖. นักวิชาการโครงการจัดเวทีนำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ และข้อเสนอเพื่อ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ๗. นำเสนอผลข้ อ เสนอนโยบายสาธารณะเข้ า สู ่ แ ผนพั ฒ นาตำบลและนโยบายของ ผู้บริหารในระดับตำบล ๘. นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายสาธารณะของตำบลศูนย์ฝึกอบรมและตำบลเครือข่าย ต่อศูนย์ประสานแผนพัฒนาจังหวัด (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ในระดับจังหวัด จากแผนงาน ดังกล่าวทำให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานของนักวิชาการชุมชน และมีการนำมาปฏิบัติเพื่อก่อ ให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานดังนี้ ๑. การสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงานในการทำงานร่วมกันโดยมีแนวทางและทิศทาง ในการทำงานในทิศทางเดียวกัน ๒. การสร้างทีมงานเพื่อลงค้นหาศักยภาพของชุมชนให้ก่อเกิดงานวิจัยที่มีคุณค่า

มากที่สุด ๓. การวางแผนงานในการลงค้นหาศักยภาพของชุมชน - 40 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


๔. การวิเคราะห์ข้อมูลและศักยภาพที่ได้ เพื่อทำให้สามารถมองเห็นถึงศักยภาพ ของทุน ในชุมชนของเราอย่างชัดเจน ๕. การประเมินสภาพการและศักยภาพทุนของตนเอง ถึงสภาพการและศักยภาพ ของ ชุมชนว่าชุมชนจะสามารถที่ทำการขับเคลื่อนกับผลที่ได้รับอย่างไร เพื่อให้เห็นแนวทางที่ชัดเจน ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับทุนทางสังคมของชุมชนให้มากที่สุด ๖. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อทำกระบวนการข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที ่

นักวิชาการชุมชนควรดำเนินการต่อไปคือการสรุปผลของสิ่งที่ได้รับจากการศึกษา รวมถึงการ รายงานผลจากการดำเนินงานเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งผลที่ได้ จากการศึกษาจะสามารถสร้างคุณค่าและนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีในลำดับต่อไป และ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ทำให้เรามองเห็นถึงกระบวนการในการดำเนินการ ข้อดี ข้อเสีย

ผลกระทบและปัญหาอุปสรรค เพื่อที่จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการในเรื่อง ต่อไป รวมถึงเมื่อพบถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงานก็สามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงและประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ กับผลงานด้านอื่นๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป คำเตือน : อุปสรรคการดำเนินการตามแผนงานที่ผ่านมา ปัญหาที่พบ คือ นักวิชาตำบลเครือข่ายยังขาดช่องทางการประสานงานและการสื่อสารกัน ในเครือข่ายและภายนอกเครือข่าย ประสบการณ์ : แนวทางการแก้ไข มีการดำเนินการแก้ไขโดยเพิ่มช่องทางในการติดต่อและสื่อสารมากขึ้นทั้งภายในและ นอกเครือข่าย โดยเพิ่มการสื่อสารผ่านทางสื่อโทรศัพท์ E-mail, Social Network พร้อมทั้งได้ จัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการเพิ่มเติมเพื่อนำไปปรับใช้กับตำบลสุขภาวะของ ตนเองให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป ผลที่เกิดขึ้นพบว่านักวิชาการเครือข่ายเกิดการขับเคลื่อนการ ทำงานร่วมกันมากขึ้น มีการประสานงานและสื่อสารกันมากขึ้นผ่านช่องทางการติดต่อที่ได้

เพิ่มเติมขึ้นดังกล่าว

๔. แผนงานสื่อสารสาธารณะ

หลักการ การผลิตสื่อและเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ประจำแหล่งเรียนรู้ของศูนย์ฝึกอบรม (องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว) เพื่อใช้ประกอบการฝึกอบรมให้แก่ตำบลเครือข่าย รวมถึง สื่อเพื่อใช้ในการเรียนรู้ของแต่ละแหล่งเรียนรู้และการผลิตสื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม - 41 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


วิธีการ ๑. การจัดทำเนื้อหาสาระและผลิตสื่อประจำแหล่งเรียนรู้ เพื่อใช้ประกอบการฝึกอบรม แก่ตำบลเครือข่าย และเผยแพร่สู่สาธารณะ ๒. จัดทำสื่อต้นแบบเพื่อการรณรงค์และขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ ทั้งในระดับตำบลและ เครือข่าย คำเตือน : อุปสรรคการดำเนินการตามแผนงานที่ผ่านมา การสื่อสารสาธารณะภายในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วการสื่อสารสาธารณะ ภายในตำบลดอนแก้วยังไม่ครอบคลุมประชาชนในทั้งตำบล ทำให้ไม่ทราบการดำเนินของ โครงการ เช่น เวลาบุคคลภายนอกมาสอบถามเรื่องแหล่งเรียนรู้ในตำบลดอนแก้ว แต่ไม่ สามารถบอกเล่ า ถึ ง การดำเนิ น การของโครงการฯได้ และการทำงานของคณะทำงานสื ่ อ ประชาสัมพันธ์ประจำตำบล ยังไม่ชัดเจนในแผนการดำเนินงาน จึงก่อให้เกิดปัญหาในการ ดำเนินงาน เช่น การจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ดอกแก้ว พบปัญหาการแบ่งงานและการกระจายงาน ที่ไม่เข้าใจและไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนจึงทำให้ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูลยาวนาน ประสบการณ์ : แนวทางการแก้ไข แก้ ไ ขโดยเพิ ่ ม การประชาสั ม พั น ธ์ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ ให้ เ พิ ่ ม ขึ ้ น เช่ น ป้ า ยคั ต เอาท์ ประชาสัมพันธ์ภายในตำบล สื่อประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว วิดีทัศน์โครงการฯ Website ประชาสัมพันธ์โครงการ และ Facebook ของโครงการ หนังสือพิมพ์ดอกแก้ว บทความ ประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ ในการเพิ่มช่องทาง การประ ชาสัมพันธ์พบว่าประชาชนในชุมชนได้ให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการฯเพิ่มมาก ขึ้น พร้อมทั้งเผยแพร่ข่าวสารผ่านเวทีต่างๆในตำบลและนำประชาชนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการ ดำเนินของโครงการมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในแหล่งเรียนรู้ตำบลดอนแก้วดำเนินการ แก้ไขปัญหา โดยทบทวนหน้าที่ และเพิ่มการจัดประชุมคอลัมนิสต์ในแต่ละหัวข้อข่าวในทุกๆ เดือน จัดทำปฏิทินแผนงานของแต่ละเดือนรวมถึงการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์สื่อเพิ่ม มากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นพบว่า มีการจัดระบบการดำเนินงานทำให้ทำงานได้ตามแผนงานรวมถึงการ เพิ่มช่องทาง การประชาสัมพันธ์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในตำบลและเครือข่ายมากขึ้น - 42 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


บทสรุป ความสำเร็จเชิงประจักษ์

๑) การขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาวะ จากการดำเนินงานโครงการสุขภาวะ ได้เกิดความสำเร็จที่เป็นมองเห็นได้เป็นอย่างดี ทั้งภายในตำบลดอนแก้ว และภายนอกตำบลดอนแก้ว ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ สะท้อนให้เรามองเห็น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างภาคภูมิใจ อีกทั้งยังสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งภายในและ ภายนอกตำบล และการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันของประชาชนในตำบลดอนแก้ว เพื่อนำไปสู่ กระบวนการขับเคลื่อนการทำงานเพื่อพัฒนาตำบลสุขภาวะต่อไป ภาพเชิงประจักษ์ใน ๒ ส่วน ปรากฏดังนี้ ๑.๑ ภาพเชิงประจักษ์ในตำบลดอนแก้ว ได้แก่ ๑. ประชาชนในตำบลดอนแก้วมีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองที่ได้แสดงศักยภาพและ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนาตำบลดอนแก้วร่วมกัน จะพบเห็นเป็นประจักษ์ได้จาก คำบอกเล่าของเจ้าของคณะกรรมการโครงการทั้ง ๓ ชุด วิทยากรแหล่งเรียนรู้ เจ้าของบ้านพัก โฮมสเตย์ ไกด์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตำบลดอนแก้วที่กล่าวไว้ในการสัมภาษณ์ การประเมิน จากทั้งการประเมินที่มาจากโครงการขององค์กรบริหารส่วนตำบล การถอดบทเรียนร่วมกัน การประเมิ น จากที ม ประเมิ น ภายนอก ที ่ ไ ด้ ท ำการรวบรวมข้ อ มู ล จากการให้ ส ั ม ภาษณ์ ว ่ า ประชาชนที่อยู่ในตำบลดอนแก้วรู้สึกภาคภูมิในในความเป็นประชาชนในตำบลดอนแก้วที่เกิด การพัฒนาอย่างเป็นระบบและยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ อีก ทั้งตำบลดอนแก้วยังได้รับการตอบรับจากเครือข่ายและเพื่อน อปท. รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ

- 43 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


จากคนภายนอก เช่น การได้รับการติดต่อจากหน่วยงานภายนอกเพื่อเข้าศึกษาดูงานเป็นสถานที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำให้คนในตำบลได้มีความเข้าใจในเรื่องตำบลสุขภาวะมากขึ้น จากการ พัฒนาระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งในตำบลและการสื่อสารสาธารณะภายนอก ส่งผลให้ ประชาชนในตำบลดอนแก้วเกิดความรักชุมชนและรักตำบลดอนแก้ว อีกทั้งประชาชนในตำบล ยังมีความพร้อมที่จะทำงานเพื่อตำบลโดยการเข้าร่วมกิจกรรม มีการพัฒนาตนเองในทุกด้าน โดยดูได้จากจำนวนแกนนำ และผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้น มีจิตสาธารณะเข้าร่วม สร้างสรรค์และพัฒนาตำบลในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุวัยเกษียณอายุที่เข้ามาดูแลผู้สูง อายุในชุมชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนเป็นเหมือนหมอประจำ บ้าน เข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นในหลายๆ ด้าน เช่น มีส่วนร่วมใน การวางแผนพัฒนาตำบล ดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินในรูปแบบคณะกรรมการต่างๆ มี การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำขยะที่เป็นปัญหามาสร้างมูลค่าสร้างรายได้ และบริหาร จัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สามารถดำเนินชีวิตได้ในสังคมได้ อย่างปกติสุข แก้ไข ปัญหาร่วมกันได้ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน ผ่านการเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็น “ข่วงกำกึ๊ด” ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในชุมชน และสามารถพึ่งตนเองได้ ๒. การดำเนินโครงการที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมสร้างชุมชนและตำบลเข้มแข็ง จนปัจจุบันตำบลดอนแก้วเกิดความเข้มแข็งจนเป็นที่ยอมรับทั้งจากประชาชนในตำบลและ องค์กรเครือข่ายภายนอก ซึ่งจะพบได้จากการรวมกลุ่มของคนในท้องถิ่นในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ในระดับเด็กและเยาวชน จนถึงกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการในตำบลที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ แลร่วมติดตามประเมินผลในเรื่องต่างๆ อีกทั้งในการเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน จนสามารถ สร้างกติกา ข้อตกลงของชุมชน จนนำสู่การสร้างนโยบายสาธารณะในระดับตำบลร่วมกัน ๓. การสร้างระบบการบริหารจัดการตำบลอย่างเป็นระบบ ทำให้มีการบริหารจัดการภาย ใต้หลักการทำงานอย่างเป็นระบบของตำบลดอนแก้ว โดยมีการสร้าง model ในการทำงานของ องค์กร เพื่อเป็นแบบอย่างการดำเนินงานในระบบการบริหารจัดการตำบลจนได้รับความสำเร็จ และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในตำบล พร้อมทั้งมุ่งเน้นการสร้างการ ทำงานที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากที่สุด ๔. ช่วยส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของตำบลดอนแก้ว แหล่งเรียนรู้ในระบบเศรษฐกิจชุมชน จากที่เคยมีรายได้เพียงภายในตำบล จนปัจจุบันสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ประชาชนทั้งตำบล - 44 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


รวมทั้งภายนอกตำบล ส่งผลให้เกิดรายได้ให้แก่ประชาชน ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของตำบล ในภาพรวมเพิ่มขึ้น นอกจากประชาชนได้รับรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นแหล่งเรียนรูด้านเศรษฐกิจแล้วยังพบ ว่าการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ การเป็นแม่ครัวทำอาหาร การเป็นสมาชิกบ้านพักโฮมสเตย์ การ คมนาคมขนส่ง เช่น คนขับรถ และการได้ขาย ของที่ระลึกและสินค้าท้องถิ่น ตลอดจนการใช้ จ่ายในด้านสินค้าอุปโภค บริโภคเมื่อตำบลเครือข่ายเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตำบลยัง สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในตำบลได้เป็นอย่างดี ๕. มีการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม ซึ่งพบว่านอกจากประชาชนในทุกกลุ่มวัยของ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วจะได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงแล้ว พบว่าระบบสวัสดิการของ องค์การบริหารส่วนตำบลยังสามารถสร้างและขยายองค์ความรู้ให้แก่เพื่อนเครือข่ายทั้งในแหล่ง เรียนรู้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและผู้สูงอายุในตำบลดอนแก้ว ที่ปัจจุบันเป็นต้นแบบของ เพื่อนเครือข่ายในการให้ความสนใจร่วมจัดตั้งศูนย์เพื่อจัดสวัสดิการแก่ประชาชนในตำบล รวม ทั้งแหล่งเรียนรู้กลุ่ม อสมช. ๕ สาขา และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่มีการเชื่อมโยงกับแหล่งความรู้ เพื่อการดูแลได้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับการจัดสวัสดิการอย่าง เท่าเทียมและทั่วถึง ๖. มีการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในลักษณะครบวงจรทั้งในระดับครัวเรือนที่ ประชาชนสามารถจัดการในเรื่องขยะได้ด้วยตนเอง การจัดการขยะในสถานศึกษาซึ่งมีการคัด แยกอย่างครบวงจร การจัดการขยะในชุมชน ซึ่งนอกจากจะมีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ยังมี การจัดตั้งธนาคารวัสดุรีไซเคิล ซึ่งทำให้พบพัฒนาการของระบบการจัดการขยะอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง ส่งผลให้ในตำบลดอนแก้วลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างรถจัดเก็บขยะ การมี รายได้จากการขายขยะ และการนำขยะมาแปลงเป็นรายได้ อีกทั้งในแหล่งเรียนรู้แก๊สขี้หมูที่มี ประโยชน์ด้วยการนำขี้หมูมาแปลงเป็นแก๊สเพื่อให้ประชาชนในชุมขนได้มีแก๊สธรรมชาติใช้โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อแก็สจากภาคเอกชน ๗. เกิดข้อมูลชุมชนในด้านต่างๆ ผ่านระบบ TCNAP ๓ และระบบ GIS ที่ถูกนำใช้เพื่อ แก้ไขและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในตำบลดอนแก้วและหน่วยงานภายนอกที่ต้องการใช้ ข้อมูลต่อไป ๓ Thailand Community Network Appraisal Program : TCNAP คือระบบฐานข้อมูลตำบล - 45 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๘. เกิดการสื่อสารแบบ ๒ ทางเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และสามารถเข้าถึงการบริหารจัดการของตำบล ก่อให้เกิดการมี ส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันของประชาชนในตำบล รวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว ที่สามารถมีข้อมูลที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินงานต่อไป ๙. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยเกิดการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกิดขึ้น เพื่อ ให้ประชาชนได้มีความมั่นใจในการดำเนินงานของกลุ่มอาสาดูแลสุขภาพของประชาชน อีกทั้งยัง สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมสร้างสุขภาพของประชาชนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจาก การ ทำงานมีทั้งในการทำงานเชิงรับและเชิงรุก ๑๐. การพัฒนาระบบการศึกษาที่นอกจากจะมีสถานศึกษาในตำบลดอนแก้ว ที่ให้การ ศึกษาในโรงเรียน ยังมีการจัดการการเรียนการสอนด้วยการเชื่อมโยงระบบต่างๆ ในชุมชนเพื่อ เป็นห้องเรียนภายนอกสถานที่ให้แก่เด็ก เช่น การนำเด็กนักเรียนในโรงเรียนเข้าศึกษาแหล่ง เรียนรู้ที่ถือว่าเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่เด็ก อีกทั้งยังเป็นการร่วมอนุรักษ์รักษา วัฒนธรรมอันดีงามในชุมชนให้มีการบอกต่อ สืบต่อ เพื่อให้ยังคงอยู่ด้วยกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ เป็นคนรุ่นใหม่ ๑๑. ชุดความรู้ เกิดการแบ่งปันชุดความรู้ที่เกิดจากแหล่งเรียนรู้จำนวน ๕ ชุด ประกอบ ด้วย คู่มือการดูแลเด็ก คู่มือการดูแลคนชรา และคู่มือการดูแลคนพิการ ให้กับตำบลเครือข่าย ในการนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธีและเหมาะสมในท้องถิ่นในระดับเครือข่ายและ นอกเครือข่าย และเกิดหลักสูตรการจัดการสุขภาวะตำบลดอนแก้ว จำนวน ๒๑ แหล่งที่เกิด จากาการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของชุมชนและได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะการพัฒนาของชุมชนหรือภาคประชาชนที่เริ่มเข้มแข็งและขับเคลื่อนโดยตัวเอง ๑.๒ ภาพเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นกับตำบลเครือข่าย การดำเนินโครงการ ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมอย่างหลากหลายขึ้นในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายฯ ได้แก่ ๑. เกิดการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาวะโดยชุมชนร่วมกันระหว่างเครือข่ายร่วม กัน เช่น มีการสร้างระบบการจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับบริบทชุมชนของ แต่ละพื้นที่การขับเคลื่อนการทำงานโดยการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะชุมชนร่วมกัน

- 46 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


๒. มีการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มแกนนำต่างๆ ให้เกิดความแน่นแฟ้นมากขึ้นจาก เดิมทั้งในส่วนของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล และท้องที่ ๓. พัฒนาตำบลเครือข่ายสู่ตำบลต้นแบบ การกระตุ้นให้ชุมชนตำบลเครือข่ายเพื่อให้ เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ตำบลต้นแบบต่อไป เช่น เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ๔. เกิดเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง เช่น เครือข่ายผู้นำ เครือข่ายวิชาการ และ เครือข่ายการทำงานอื่นๆ ๕. เกิดกิจกรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ ในพื้นที่ ทั้งในตำบลดอนแก้วและในตำบล เครือข่ายจากการนำข้อมูลการศึกษาดูงานของตำบลดอนแก้วไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดกิจกรรม และงานใหม่ๆ ในชุมชนของตนเอง ๖. เครือข่ายมีความตื่นตัวในการร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน จากการมีส่วนร่วมใน กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว ทำให้ผู้นำ/แกนนำชุมชนเกิดแรง บันดาลใจในการร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน และถ่ายทอดสู่ชุมชนจนเกิดความตื่นตัวมากขึ้น ๗. เรื่องนโยบายสาธารณะ จากการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่ตำบลเครือข่าย และเครือข่ายขยายผล ได้เกิดประเด็นสนใจร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะใน ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) การบริหารจัดการขยะในชุมชน ๒) การจัดสวัสดิการชุมชน และ ๓) ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น และเกิดกรอบแนวคิดในการทำงานด้านวิชาการด้วยการฝึกปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันของนักวิชาการเครือข่ายและเกิดแนวทางในการทำงานวิชาการชุมชน ที่สำคัญ พร้อมทั้งเกิดการสร้างสื่อสาธารณะเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงการดำเนินงานรวมถึงเพื่อการสร้างเครือข่ายในการทำงานขับเคลื่อน นโยบายระดับเครือข่าย

๒. บทสรุปงานเด่นกับการทำงานที่ผ่านมา

จากผลการดำเนินกิจกรรมในรอบที่ผ่านมานั้นเกิดการขับเคลื่อนตำบลดอนแก้ว ใน ประเด็นที่ชัดเจน คือ ๑. ตำบลดอนแก้วได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาของชุมชน หรือภาคประชาชนที่เริ่มเข้มแข็งและขับเคลื่อนโดยตัวเอง เช่น วิทยากรชุมชนได้รับเชิญให้เป็น วิทยากรในการบรรยายให้ความรู้จากการปฏิบัติงาน เช่น การจัดการขยะในชุมชน การจัดการ ขยะในโรงเรียน กลุ่มจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน เป็นต้น - 47 -

โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน


๒. เกิดการค้นหา พัฒนา แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในตำบลดอนแก้วให้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ สามารถถ่ายทอดได้และมีวิทยากรชุมชนเพิ่มขึ้น ๓. เกิดการแบ่งปันชุดความรู้ที่เกิดจากแหล่งเรียนรู้ จำนวน ๕ ชุด ประกอบด้วย คู่มือ การดูแลเด็ก คู่มือการดูแลคนชรา และคู่มือการดูแลคนผู้พิการ ให้กับตำบลเครือข่ายในการนำ ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธีและเหมาะสมในท้องถิ่น ๔. เกิดการสร้างสัมพันธภาพกับเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น มีระบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ที่นอก เหนือ จากการจัดการระบบสุขภาวะในชุมชน เช่น เรื่องการช่วยเหลือเรื่องการเกิดภัยพิบัติ ที่จะ มีการแจ้งสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และร่วมกันประชาสัมพันธ์ให้ความช่วยเหลือคนในพื้นที่ โดยมีการรับบริจาคเงินและสิ่งของอุปโภคบริโภคจากเพื่อนตำบลเครือข่ายสุขภาวะ ๕. เกิดการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายด้านงานวิชาการร่วมกัน เพื่อร่วมกัน ถอดบทเรียนในการบริหารจัดการสุขภาวะตำบลให้เป็นตำบลน่าอยู่ร่วมกัน

๓. บทเรียนที่ได้เรียนรู้

บทเรียนที่ได้เรียนรู้ แผนงานที่ 1 ตำบลต้นแบบ

เกิดการพัฒนาศักยภาพตำบลของตนเอง เช่น แหล่งเรียนรู้ ทีมทำงาน ผู้นำ การเปลี่ยนแปลง วิทยากรชุมชน โฮมสเตย์

แผนงานที่ 2

เกิดการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ดูแลซึ่งกันและกันทั้ง พัฒนาศักยภาพตำบลเครือข่าย เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก (เพื่อนช่วยเพื่อน)

แผนงานที่ 3 สร้างองค์ความรู้

แผนงานที่ 4

สื่อสารสาธารณะ

เกิดการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันทั้งในการเป็นผู้ให้และ ผู้รับ(ระหว่างตำบลต้นแบบและเครือข่าย) การมีช่องทางและสื่อที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการขยายเครือข่ายเพื่อร่วม กันสร้างชุมชนให้น่าอยู่ร่วมกัน และการสร้างองค์ความรู้ ใหม่ๆเกิดขึ้น

ภาพที่ ๕ บทเรียนที่ได้เรียนรู้

- 48 -

ปั๊บฮู้..ปั๊บเฮียน กำกึ๊ด..ดอนแก้ว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.