Bangkontee

Page 1

บางคนที



บางคนที ต�ำบลในฝัน


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เรื่ อง ภัทรพร อภิชิต ภาพถ่ ายและภาพประกอบ วีรวุฒิ กังวานนวกุล ปก หนวดเสือ ออกแบบรู ปเล่ ม ศาสตรา บุญวิจิตร พิสูจน์ อักษร ทีมงานเสือกระดาษ พิมพ์ ครั ง้ ที่ 1 เมษายน 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางคนที ผู้จดั การ เนาวรัตน์ ชุมยวง จัดพิมพ์ และเผยแพร่ โดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org


ด�ำเนินการผลิตโดย


ค�ำน�ำ เมื่อไม่นานมานี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยว ทีไ่ หนสักแห่ง เรามักจะมีจนิ ตนาการด้านดีเกีย่ วกับ สถาน ทีท่ เี่ ราก�ำลังจะไป...ทะเลสีฟา้ ใส หาดทรายทอดยาวสีขาว จัด ภูเขาครึม้ หมอกโรยเรีย่ ยอดไม้ อาหารท้องถิน่ รสชาติ แปลกลิ้นแต่ถูกปาก ชาวบ้านจิตใจดีคอนหาบตะกร้า ฉีกยิ้มบริสุทธิ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ฯลฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยวที่ไหน สักแห่ง เรามักพกพาอารมณ์โหยหาอดีต ก่อนลงมือ ค้นหาข้อมูลพิกดั ต�ำบลเป้าหมายทีจ่ ะพาเราพบ ...อาคาร บ้านเรือนยุคคุณปู่คุณย่า ตลาดเก่าแก่ กาแฟโบราณ ของเล่นสังกะสี ขนมกินเล่นหน้าตาเชย ๆ แต่อร่อย เพราะปรุงแต่งด้วยรสชาติอดีต ฯลฯ จินตนาการและความคาดหวังท�ำนองนี้ บางทีก็ สมดังใจ แต่หลายครั้งก็คลาดเคลื่อนไปจากภาพที่คิด เอาไว้ คลาดเคลื่อนเพราะข้อเท็จจริงหลายประการ เปลี่ยนไป แล้วทุกวันนี้ เรายังมีจินตนาการและอารมณ์ ความรู ้ สึ ก ชนิ ด ใดอี ก เมื่ อ คิ ด ถึ ง การท่ อ งเที่ ย วศึ ก ษา บ้านเมืองของเราเอง


ความจริงมีอยูว่ า่ ปัจจุบนั นีช้ มุ ชนทุกต�ำบลหย่อม ย่านในประเทศไทยล้วนก�ำลังเปลี่ยนไป และแน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้หาได้มีความหมายเชิงลบ หลายปี ที่ ผ ่ า นมา ผู ้ ค นในชุ ม ชนระดั บ ต� ำ บล หลายต่อหลายแห่งในประเทศของเราได้อาศัยต้นทุน ทรัพยากรเดิมเท่าที่ชุมชนมี ผนวกกับออกแรงขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ชุมชนที่พวกเขาเป็นเจ้าของ ให้เป็นชุมชนที่สามารถผลิตความสุขและคุณภาพชีวิต ทีด่ ี ป้อนกลับคืนสูว่ ถิ ชี วี ติ ของสมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง คนเล็กคนน้อยเหล่านีล้ งมือท�ำมานาน หลายแห่ง ประสบความส�ำเร็จในระดับน่าอิจฉา แต่เราจะอิจฉาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้ไปสัมผัสจับ ต้อง และมองเห็นด้วยตาร้อน ๆ ของเราเอง ชุมชนเหล่านีอ้ าจจะไม่มหี าดสีขาวทอดยาว ทะเล ไม่ใสจัด แถมยังไม่มีตลาดโบราณร้อยปี แต่นอกเหนือ จากความสุขในวันนี้แล้ว สิ่งที่พวกเขามีอีกแน่ ๆ คือ ‘อนาคต’ เราอยากออกแบบอนาคตของชุมชนเราให้เป็นไป แบบไหน ลองเดินเข้าไปชมตัวอย่างสาธิตได้จากหนังสือ เล่มนี้ คณะผู้จัดท�ำ


หลาย

ปีก่อน เคยมีคนบอกเราว่า ‘บางคนที’ น่ะเป็นอ�ำเภอที่อยู่ถัดไปจาก อั ม พวาแค่ ไ ม่ กี่ กิ โ ลฯ แท้ ๆ แต่ต่างกันลิบลับ ไม่ได้รับการ พัฒนา ไม่สามารถเป็นแหล่ง ท่ อ งเที่ ย วยอดนิ ย มอย่ า ง อัมพวาได้ ฟั ง ดู แ ล้ ว เหมื อ นว่ า บางคนทีช่างน่าสงสาร ห่าง ไกลความเจริญเสียเหลือเกิน


บางคนที กระทั่งวันหนึ่งที่ สายลมแห่ ง โชคชะตา พั ด พาให้ เ รากลายมา เป็นสมาชิกของอ�ำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงได้ซาบซึ้ง แก่ใจตัวเองว่า แท้จริง บางคนทีเป็นเมืองน่าอยู่ เงียบสงบ กิเลสตัณหา สิ่งล่อตาล่อใจน้อย วิถี ชี วิ ต แบบสั ง คมไทย ดั้งเดิมยังคงฝังรากหยั่ง ลึ ก แน่ น หนา ที่ นี่ เ ป็ น พื้นที่สีเขียว มีทิวมะพร้าวสูง ๆ เขียว ๆ เป็นแนวเส้นขอบฟ้า สุดสายตา เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นร่องสวนผลหมากรากไม้ วิชา ท�ำดินยกร่องเป็นภูมิปัญญาในการอยู่อาศัยร่วมกับผืนดิน ผืนน�ำ้ อย่างสมดุลและสอดคล้อง ถ่ายทอดสืบกันมาจวบจน ปัจจุบัน


10

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ทีน ่ บี่ างคนที

ยังคงรักษาวิถีที่เรียบง่าย และเป็ น ตั ว ของตั ว เอง เทียบกับอัมพวาแล้วถือว่า เป็นสาวบ้านนอก แต่งหน้า ทาปากไม่เก่ง ไม่โฉบเฉี่ยว ไฉไลเอาเสี ย เลย ขณะที่ ตลาดน�้ ำ อั ม พวาคื อ สาว สะพรัง่ เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ชือ่ ดังทีใ่ คร ๆ ต่างรุมทึง้ แต่ ถ้ามองดี ๆ จะพบว่า วันนี้ วิถีชุมชนต้องได้รับผลกระ ทบหรื อ เสี่ ย งต่ อ การล่ ม สลายเพราะภั ย จากการ พัฒนา การท่องเที่ยวแบบ ไร้ทศิ -ทาง กอบโกย และใช้ หลักมือยาวสาวได้สาวเอา เที ย บแบบนี้ แ ล้ ว บางคนทีน่าสงสารหรือน่า อิจฉากันแน่


“ค่ายบางกุ้งคู่เมือง ลือเลื่องโบสถ์ปรกโพธิ์ หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ งามวิจิตรอาสนวิหาร ลิ้นจี่หวาน ส้มโอดี วิถีชีวิตพอเพียง”


12

บางคนที ต�ำบลในฝัน

มีบันทึกไว้ว่า...

“อ� ำ เภอบางคนที เ ดิ ม เป็ น หมู่บ้านที่ขึ้นกับอ�ำเภอแพงพวย เมือง ราชบุรี ทางการได้แบ่งอ�ำเภอแพงพวย เป็น 2 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอสี่หมื่น และ อ�ำเภอด�ำเนินสะดวก บ้านบางคนทีอยู่ ในเขตปกครองของอ�ำเภอสี่หมื่น บ้าน บางคนทีสมัยนั้นเรียกว่า ‘บางกุลฑี’ แปลว่า หม้อน�้ำมีหูที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วยน�้ำ เรียกมาช้านานจนเพี้ยนเป็น ‘บางกับที’ ในหมู่บ้านมีวัดเก่าแก่สอง วั ด คื อ วั ด บางคณฑี ใ น และวั ด บาง คณฑีนอก ชาวบ้านจึงเรียกชือ่ หมูบ่ า้ น เป็ น ‘บางคนที ’ และใช้ เ ป็ น ภาษา ราชการจนมาถึงปัจจุบัน บ้านบางคนทีได้ยกฐานะเป็น แขวงบางคนที รวมหมู่บ้านต่าง ๆ ไว้ หลายหมู ่ บ ้ า น เช่ น บ้ า นบางพรม บ้ า นบางคนที บ้ า นบางส� ำ โรง (ปัจจุบันคือต�ำบลโรงหีบ) บ้านบาง ยี่ ลั ง (ปั จ จุ บั น คื อ ต� ำ บลบางยี่ ร งค์ ) ต่อมาแขวงบางคนทีได้ยกฐานะเป็น อ�ำเภออยู่ในเขตปกครองของจังหวัด สมุทรสงคราม


ภัทรพร อภิชิต

และผนวกแขวงสวนนอก (ปัจจุบนั คือต�ำบลบางช้าง อ�ำเภออัมพวา) เข้าไปด้วย เมือ่ แขวงสวนนอกได้ยกฐานะเป็น อ�ำเภอ คืออ�ำเภอบางช้าง และเปลี่ยนชื่อเป็นอ�ำเภออัมพวา ตามชือ่ คลองอัมพวาแล้ว (อัมพวา แปลว่า ป่ามะม่วง) อ�ำเภอ บางคนทีจึงแบ่งเขตปกครองเป็นต�ำบลมาจนถึงปัจจุบัน

อ�ำเภอบางคนทีประกอบด้วย 13 ต�ำบล เรียงรายไป ตามสองฝั่งแม่น�้ำแม่กลอง ฝั ่ ง หนึ่ ง คื อ ต� ำ บลบางคนที กระดั ง งา บางพรม ดอนมะโนรา บางกระบือ จอมปลวก ยายแพง บางนกแขวก และอี ก ฝั ่ ง หนึ่ ง มี ต� ำ บลบางยี่ ร งค์ โรงหี บ บางสะแก บ้านปราโมทย์ และบางกุ้ง

13


14

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ค่ า ยบางกุ ้ ง

ตั้งอยู่ที่ต�ำบลบางกุ้ง เป็น ค่ า ยทหารเรื อ ซึ่ ง สร้ า ง วีรกรรมส�ำคัญในช่วงปลาย กรุงศรีอยุธยาถึงกรุงธนบุรี กล่าวคือพระเจ้าตากสินได้ รวบรวมทหารจี น รบขั บ ไล่ กองทัพพม่าจนแตกพ่ายที่ อ� ำ เภอบางคนที มี แ หล่ ง นั่น ค่ายบางกุ้งเป็นสถานที่ ท่องเทีย่ วส�ำคัญหลายแห่ง อาทิ ท่องเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ ที่ มี ผู ้ ค น แ ว ะ เ วี ย น ม า สั ก การะอนุ ส าวรี ย ์ ส มเด็ จ พระเจ้าตากสินไม่ขาดสาย


ภัทรพร อภิชิต

ในบริ เ วณเดี ย วกั น ภายในวั ด บางกุ ้ ง ยั ง มี โบสถ์ ซ่ึ ง สร้ า งตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เป็ น ที่ ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณีหรือหลวงพ่อโบสถ์น้อย ลักษณะโบสถ์เก่าแก่ มีต้นโพธิ์ต้นไทรต้นกร่างขึ้น ปกคลุมจนทั่ว จึงเรียกกันว่าโบสถ์ปรกโพธิ์ ถือเป็น หนึ่ ง ในอั น ซี น ไทยแลนด์ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มจาก นักท่องเที่ยว

ตลาดน�้ ำ บางน้ อ ย ตั้งอยู่ที่ปาก

คลองบางน้อย บริเวณวัดเกาะแก้ว เทศบาลต�ำบล กระดังงา อดีตเคย เป็ น ย่ า น การค้าทางน�ำ้ ที่ ส� ำ คั ญ มาก ในเขตบางคนที เปิดขายของในวันขึน้ และแรม 3, 8 และ 13 ค�ำ่ ต่ อ มาการคมนาคมทางน�้ ำ เริ่ ม ซบเซา ตลาดน�้ ำ บางน้อยก็อันตรธานไปตามกาลเวลา กระทั่งมีการ ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ตลาดน�ำ้ บางน้อยเป็นตลาดน�ำ้ เล็ก ๆ ไม่พลุกพล่าน และยังคงบรรยากาศบ้านไม้ ริมคลองให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส

15


16

บางคนที ต�ำบลในฝัน

อาสนวิหารแม่พระบังเกิด

ตั้งอยู่ ที่ ต� ำ บลบางนกแขวก เป็ น สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข อง คริสต์ศาสนิกชนทีอ่ าศัยอยูโ่ ดยรอบ สร้างขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน มิ ช ชั น นารี ช าวฝรั่ ง เศส ใช้ เ วลา ก่อสร้างถึง 6 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น โบสถ์คริสต์ที่สวยที่สุด แห่งหนึ่งในประเทศไทย


ภัทรพร อภิชิต

ตลาดเก่าบางนกแขวก ใกล้กันกับ

อาสนวิหารแม่พระบังเกิดคือที่ตั้งของตลาดเก่าแก่ซึ่ง เคยเป็นแหล่งการค้าส�ำคัญริมแม่น�้ำแม่กลองที่เชื่อม ระหว่างราชบุรีกับสมุทรสงคราม ทว่า อดีตอันรุ่งเรือง ได้กลายเป็นเพียงความทรงจ�ำเมือ่ การคมนาคมทางบก เข้ามาแทนที่ ผูค้ นเปลีย่ นไปสัญจรและซือ้ ขายสินค้ากัน บนบกแทน ปัจจุบนั ตลาดเก่าบางนกแขวกได้รอื้ ฟืน้ ขึน้ มาอีกครั้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนหย่อนใจ รับประทานอาหารรสชาติดงั้ เดิมจากร้านค้าท้องถิน่ ใน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ที่นี่บางคนที จากภาพรวมของทั้งอ�ำเภอ เราจะ ค่อย ๆ ก้าวเข้าไปสัมผัสระดับต�ำบล บางคนทีและ ยายแพงเป็นสองต�ำบลทีอ่ ยูใ่ นเขตปกครองขององค์การ บริ ห ารส่ ว นต� ำ บลบางคนที ซึ่ ง ได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ต� ำ บล สุขภาวะแห่งเดียวในจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศนี้ เรื่องราวของคนบางคนที่บางคนทีจะตอกย�้ำกับเรา ชัด ๆ ว่า ทีน่ นี่ ะ่ น่าอิจฉาขนาดไหน ไม่ได้นา่ สงสารอย่าง ที่ใครเข้าใจหรอก วิถีที่เรียบง่าย เงียบสงบ และงดงามด�ำรงอยู่ ที่นั่น... บางคนที

17



1. อบต. ในฝัน


20

บางคนที ต�ำบลในฝัน


ภัทรพร อภิชิต

21

ทีส ่ นามหญ้า หน้าทีว่ า่ การองค์การบริหาร

ส่วนต�ำบลบางคนที เวลาเย็น ๆ แดดร่มลมตก คับคั่งไป ด้วยหนุม่ ฉกรรจ์ทงั้ รุน่ เล็กรุน่ ใหญ่ ไม่ได้ยกพวกมาตีกนั หรือ ซ่องสุมก่อกวน แต่พวกเขาใส่ชุดนักกีฬาสวมรองเท้าสตั๊ด มาดวลแข้งเล่นฟุตบอลกัน จนฟ้ามืดพระอาทิตย์ตกดินไป แล้วโน่นถึงจะเลิกรา เด็ก ๆ รุน่ เล็กบางคนใช้พนื้ ทีข่ า้ งสนาม สาละวนกั บ การละเล่ น ของตน เด็ ก บ้ า นสวนบางกลุ ่ ม หลังจากใช้สนามเสร็จแล้วก็วงิ่ ไปโดดน�ำ้ ลงคลองบางคนที ที่อยู่ติดกัน เพิ่มความมันในชีวิตยิ่งขึ้นไปอีก บรรยากาศ หน้ า สถานที่ ร าชการแห่ ง นี้ จึ ง มี ชี วิ ต ชี ว าและเป็ น มิ ต ร สนามหญ้าก็ได้ทำ� หน้าทีม่ ากกว่าจะเป็นแค่สวนสวยตกแต่ง ประดับประดาเสริมบารมีสถานที่ให้โอ่อ่าเท่านั้น


22

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ทีท่ ำ� การ อบต. บางคนที ไม่ได้เป็น

อาคารคอนกรีตมหึมาทีเ่ ลิศหรูอลังการแต่แปลกปลอม โดดเด้ ง จากสภาพแวดล้ อ มเหมื อ นอย่ า งที่ ท� ำ การ หลายแห่งที่เราเคยพบ เมื่อก่อนตรงนี้คือโรงเรียนวัด สินวิเศษศรัทธาราม เป็น โรงเรียนประถมเล็ก ๆ ที่ เล็ ก จนกระทั่ ง ถู ก ปิ ด ไป เพราะจ�ำนวนนักเรียนไม่ เพียงพอ อาคารอ�ำนวย การของโรงเรียนจึงถูกดัดแปลงเป็นที่ท�ำการ อบต. ใน เวลาต่อมา ส่วนห้องเรียนบนอาคารไม้ถูกปรับให้เป็น ทีต่ งั้ ของ กศน. ต�ำบลบางคนที ศาลาสร้างสุข และศูนย์ เรียนรู้ต่าง ๆ อาคารโรงอาหารดัดแปลงเป็นที่ท�ำการ ของกลุ่มลูกประคบสมุนไพร เราว่านอกจากที่ท�ำการ อบต. บางคนทีจะเท่ไม่เหมือนใครแล้ว ยังสะท้อน ภ า พ ลั ก ษ ณ ์ ต� ำ บ ล ที่ มี ร า ก ฐ า น ข อ ง ค ว า ม พอเพียงได้อย่างดี ของ ใหม่ ส ร้ า งเมื่ อ ไหร่ ก็ ไ ด้ ของเก่ า ท� ำ ลายไปแล้ ว ไม่มีวันเรียกคืนมาได้อีกเลย คุณค่าเหนือกาลเวลา อยู่ตรงนี้เอง


หลายวันมานี้ ทีมงาน อบต. บางคนทีต้องง่วนอยู่กับการออกไป ท�ำประชาคมหมู่บ้านประจ�ำปี อบต. บางคนทีครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ใน 2 ต�ำบล โดยมีนายกฯ เรณู เล็ ก นิ มิ ต ร เป็ น หั ว หน้ า ที ม ซึ่ ง ลงพื้ น ที่ ด ้ ว ยตั ว เองทุ ก หมู ่ บ ้ า นเพื่ อ สั ม ผั ส ความต้ อ งการและพู ด คุ ย กั บ ชาวบ้านอย่างเข้าถึง ทีมงานทุกคน แข็ ง ขั น ท� ำ หน้ า ที่ ข องตั ว พร้ อ ม ๆ กับยิ้มแย้มทักทายโอภาปราศรัยกับ ชาวบ้านอย่างเป็นกันเอง เวทีประชาคมแต่ละหมู่บ้าน มีคนเข้าร่วมพอสมควร บางหมู่โชคดี มีคนหนุ่ม ๆ สาว ๆ มาร่วมระดมสมอง เสนอความคิ ด เห็ น บางหมู ่ มี ผู ้ เ ฒ่ า ผู้แก่มากหน่อย เพราะคนหนุ่มสาวไป ท�ำงานที่ไกลกันหมด สภาพอย่างนี้ เป็นปกติของสังคมชนบทที่ถูกโรงงาน และสั ง คมเมื อ งดูด กลืนลูกหลานไป นายกฯ เรณูเลยบอกเราว่าหน้าที่ของ เธอคือต้องพยายามดึงคนรุ่นใหม่ท่ี


24

บางคนที ต�ำบลในฝัน

อยู่ในพื้นที่ให้มาร่วมมีบทบาทพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ เป็นคนแก่ที่มีความสุขและมีคุณค่าด้วย ตั ว อย่ า งของคนแก่ที่เราขอยกให้เป็นที่สุด ของคนที่มีความสุขและมีคุณค่าคือ คุณลุงค�ำ แกอยู่ หมู่ 9 บ้านบางคนที วันที่มีประชาคมหมู่บ้าน ลุงค�ำ ขี่มอเตอร์ไซค์คันเก่งมาถึงก่อนเวลา ก้าวฉับ ๆ ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดคุยหยอกเอินกับคนโน้นคนนี้ พอนายกฯ บอกว่า “ลุงค�ำอายุ 90 แล้วนะเนีย่ ” เราแทบไม่อยากจะ เชือ่ เลย นายกฯ เล่าว่า ลุงค�ำสุขภาพจิตดี อารมณ์ดี มี ชีวติ แบบพอเพียงจริง ๆ ทุกวันนีแ้ กยังคงท�ำงานจักสาน ทั้งสุ่มไก่ สุ่มปลา ที่สอยมะละกอ มีคนส่งออเดอร์และ มารับซื้อถึงที่เลย บางทีแกก็มีโอกาสได้ถ่ายทอดความ รู้ด้านการจักสานให้กับเด็กรุ่นใหม่ด้วย ลุงค�ำไม่เพียง แค่ดูแลชีวิตส่วนตัวไม่ให้ต้องเดือดร้อนเป็นภาระแก่ ใครเท่านัน้ แกยังเอาธุระกับบ้านกับเมืองด้วย เช่น การ ประชุมหมู่บา้ นแบบนี้ลงุ ค�ำไม่เคยขาด ใครจัดไปดูงาน ทีไ่ หน แกไปด้วย เป็นประชากรเต็มขัน้ ทีม่ สี ว่ นร่วมเป็น ปากเป็นเสียงของท้องถิ่นอย่างน่านิยม บรรยากาศการประชาคมผ่านไปอย่างราบ รื่น ลุงป้าน้าอาสบายใจที่ได้บอกความต้องการและ


ปัญหาทีอ่ ยากให้ราชการช่วยแก้ไข แต่หน้าทีข่ อง อบต. ไม่ใช่เพียงแค่จัดหางบประมาณมาพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานสร้างถนนหนทางเท่านั้น สิ่งส�ำคัญที่มุ่งหวัง ยิ่งกว่าคือการเน้นพัฒนาศักยภาพของคน ท�ำให้คน เข้มแข็ง เพื่อสร้างสังคมเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ไม่เฝ้า รอพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐ เมื่ อ เราเข้ า มาสั ม ผั ส บ้ า นบางคนที แ ละบ้ า น ยายแพง จึงได้พบความร่มเย็นเป็นสุข รอยยิ้ม และ น�ำ้ ใจของผูค้ นทีเ่ ป็นดัชนีชวี้ ดั ได้อย่างดีวา่ ทีน่ คี่ ณ ุ ภาพ ชีวติ ดี มีสขุ ภาวะ เป็นต�ำบลในฝัน ที่น่าอยู่จริง ๆ


26

บางคนที ต�ำบลในฝัน

คุยกับนายกฯ

คงไม่ ผิ ด ถ้าจะบอกว่า อนาคตของท้องถิ่น จะเป็ น อย่ า งไรขึ้ น อยู่กับคนเป็นผู้น�ำ เป็ น ส� ำ คั ญ หลาย คนบอกกับเราตรง กั น ว่ า ต� ำ บลบางค น ที แ ล ะ ต� ำ บ ล นายกฯเรณู เล็กนิมิตร ยายแพงเปลี่ ย นแปลงหลายอย่ า งเมื่ อ ได้ คุ ณ เรณู เล็กนิมิตร มาเป็นผู้น�ำ อบต. นายกฯ เรณูเป็นหญิงสาววัย 40 ปลาย เธอ คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง และมีรอยยิ้มเจืออยู่บน ใบหน้าเสมอ นายกฯ เป็นลูกหลานบางคนทีเต็มขัน้ เธอ เติบโตขึ้นมาที่บ้านริมคลองด�ำเนินสะดวก เมื่อเล็ก ๆ ได้ ก ระโดดล� ำ คลองว่ า ยน�้ ำ เล่ น หน้ า บ้ า นแบบเด็ ก ชาวสวน วันไหนแม่ท�ำขนมก็จะให้เธอพายเรือเอาไป แจกเพื่อนบ้านละแวกใกล้เคียง เป็นทั้งความทรงจ�ำ งดงามและเบ้าหลอมจิตใจให้กลายเป็นคนรู้จักให้มา จนโต


“เข้าไปเรียนที่กรุงเทพฯ มาช่วงหนึ่ง แล้วก็ท�ำ ธุรกิจ แต่ท้ายสุดต้องเลือกว่าจะอยู่ที่ไหน คิดว่ากลับ บ้านดีกว่า อยู่บ้านมีความสุขมากว่า 11 ปีแล้ว ตอน กลับมาได้พักหนึ่ง คุณพ่อบอกถ้าคิดจะอยู่ที่น่ีก็ให้ลง การเมื อ งเพื่ อ จะได้ รู ้ จั ก คนในพื้ น ที่ เพราะเราไม่ มี ครอบครัว ควรจะต้องมีเพื่อนฝูง มีคนรู้จัก ตอนนั้นยัง งงๆ กับการเมือง แต่ก็ลงเป็นสมาชิก อบต. เข้าไปก็ได้ รับเลือกเป็นเลขาสภาฯ ได้ทำ� งานนิดหน่อย รูส้ กึ ว่างาน น้อยเกิน เหมือนรับเงินเดือนไปเดือน ๆ งานบริหารไม่มี ติดขัดหลายเรื่อง เกิดความรู้สึกอยากท�ำงาน ถ้าเรามี อ�ำนาจท�ำได้ เราจะท�ำ สามปีกว่าที่ผ่านมาจึงลงสมัคร เล่นการเมืองอีกครั้งก็ได้รับคัดเลือกเป็นนายกฯ ตั้งใจ ว่าจะท�ำเต็มศักยภาพที่เรามี ท�ำให้สุด ๆ เพราะถ้าเรา ท�ำไม่ได้ก็ปล่อยให้คนอื่นมาท�ำดีกว่า “เป้าหมายของงานที่ท�ำคืออยากให้ท้องถิ่น คงวิถชี วี ติ ของเขา อยากให้คนของเรามีความสุข ให้เขา พึ่งพาตัวเองได้ในชุมชน “จากการควบรวมสองต�ำบลคือบางคนทีกับ ยายแพง เหตุเพราะอยูม่ าวันหนึง่ ยายแพงประชากรไม่ พอ ต้องถูกยุบรวมมา ต�ำแหน่งนายกฯ ก็หายไปโดย ปริยายช่วงกลางเทอม ความรู้สึกยายแพงก็เหมือนมา อาศัยบ้านคนอืน่ ไม่ได้กลืนเป็นเนือ้ เดียวกัน สิง่ แรกเมือ่


28

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เข้ามาท�ำงานคือจะท�ำอย่างไรให้เขาเกิดความรักความ สามัคคี คือเราต้องมีคุณธรรมในใจ ต้องไม่ล�ำเอียง ให้ ความเป็นธรรม จนมาวันหนึง่ ทีเ่ ขาได้ทำ� งานใกล้ชดิ กับ เรามากขึ้น เขาก็รับรู้ มันสื่อได้ในใจว่าเราตั้งใจ ไม่เคย มุ่งหวังใด ๆ ต�ำแหน่งก็ไม่ได้อยู่ยั่งยืน สิ่งที่อยากฝาก เอาไว้คือให้คนรักพื้นที่ ให้มีความเป็นเจ้าของในพื้นที่ เขาเอง อย่าขายที่ดินเยอะ ถ้าเขารู้สึกมีส่วนร่วมเป็น เจ้าของ ต่อไปใครจะมาท�ำอะไรในพืน้ ทีเ่ ขา เขาจะดูแล ของเขาเอง เราไม่ต้องไปขับเคลื่อนอะไรแล้ว ความรัก ความสามัคคีในพื้นที่จะท�ำให้ท้องถิ่นมีความยั่งยืน มั่นคง “ต�ำบลของเราไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเลย มีแต่ สวน มีแต่ธรรมชาติ แต่เสน่หข์ องเราคือความน่าอยู่ ใคร ก็อยากมาอยู่ น�้ำดี อากาศดี อยาก กินอะไรเดินไปในสวนหลังบ้าน ความสุขในพืน้ ทีเ่ ป็นสิง่ ทีเ่ ราต้อง รักษาไว้”

นายกฯเรณู เล็กนิมิตร


ภัทรพร อภิชิต

29




ที่ บ า ง ค น ที

ระบบเศรษฐกิ จ ชุ ม ชนมี บทบาทต่อปากท้องความ อยู ่ ร อดของคนหลายคน หลายปี ม านี้ อบต. ได้ สนับสนุนให้มกี ารก่อตัง้ กลุม่ อาชีพต่าง ๆ อย่างเป็นรูป เป็นร่างและประคับประคอง ให้ด�ำรงอยู่อย่างมั่นคง พวก เขารวมตัวกันเพือ่ ผลิตและจ�ำหน่ายในสิง่ ทีต่ อ่ เนือ่ งกับ วิ ถี ชี วิ ต ใช้ วั ต ถุ ดิ บ ที่ ห าได้ ใ นท้ อ งถิ่ น เพิ่ ม มู ล ค่ า ผลิตภัณฑ์ เพิ่มศักยภาพการต่อรองราคาให้แก่ตนเอง และสมาชิก จ�ำหน่ายจ่ายแจกสร้างรายได้ทำ� ให้เกิดเงิน หมุนเวียนในชุมชน คนว่างงานหลายคนเกิดแรงบันดาล ใจมองเห็นหนทางที่จะสร้างอนาคตของตนเอง เศรษฐกิจชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพที่ผู้คนใน ท้องถิ่นร่วมกันคิด ร่วมกันท�ำ ร่วมกันรับประโยชน์ และ ร่ ว มเป็ น เจ้ า ของมี ผ ลอย่ า งมากต่ อ การสร้ า งชุ ม ชน เข้มแข็ง เพราะเมื่อปากท้องอิ่ม มีอาชีพ มีรายได้ พึ่ง ตนเองได้ ก็ ส ามารถช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล เผื่ อ แผ่ ซึ่ ง กั น และกัน สังคมเป็นสุขในแนวทางแห่งความพอเพียง จึงเกิดขึ้นเป็นจริงได้อย่างนี้เอง


กระทงน�ำทาง การเย็บกระทงใบตองเป็นอาชีพดัง้ เดิมของคน ต�ำบลยายแพงซึ่งท�ำกันมาหลายชั่วคน ลองนึกสภาพ ดูว่าแต่ก่อนไม่มีจานโฟมหรือถุงพลาสติก เวลาซื้อของ ข้าวปลาอาหาร คนรุ่นนั้นเขาก็ใส่กระทงขายกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้ น กระทงใบตองจึ ง เป็ น ที่ ต ้ อ งการมาก สามารถท�ำขายเป็นล�่ำเป็นสันได้ ทุกวันนี้ ดูเผิน ๆ เหมือนว่ากระทงใบตองจะ หมดบทบาท ไม่ได้รบั การเหลียวแลจากคนรุน่ ใหม่แล้ว แต่ส�ำหรับคนที่นี่ อาชีพเย็บกระทงที่ใคร ๆ มองข้ามยัง คงท�ำรายได้ให้อย่างดี เป็นงานที่ท�ำได้ตลอดทั้งปี ไม่มี การว่างงาน มีแต่จะผลิตไม่พอกับความต้องการของ ผู้ซื้อ “ทีน่ สี่ มัยก่อนท�ำสวนเตียนปลูกพืชผสมผสาน ปลูกมะพร้าว ปลูกกล้วยรอบคันไม้สูง บังลมให้ร่มเงา กับไม้เล็ก ใบตองของเราก็สวย ไม่ฉกี แตก พอหมดงาน มะพร้าวเราก็เอาใบตองมาแปรรูปเย็บกระทง คนตรงนี้ จะไม่มวี า่ งเลย การเย็บกระทงนีส้ บื ทอดกันมาหลายรุน่ ตัง้ แต่กระทงพันละ 6 บาท จนถึงตอนนีพ้ นั ละ 270 บาท ท�ำกันไม่ทัน ลูกค้าประจ�ำมาจองไว้เลย บอกห้ามขาย คนอื่น”


34

บางคนที ต�ำบลในฝัน

สวนเตียน

คือ สวนไม้ล้มลุกปลูกพืชหลายชนิด

ผสมผสานกัน พืน ้ ทีล ่ ม ุ่ น�ำ้ แม่กลองแถบจังหวัด สมุ ท รสงครามมั ก ปลู ก พริ ก หอม กระเที ย ม ยาจืด เป็นต้น

ยาจื ด

ภู มิ ป  ญ ญาท  อ งถิ่ น

บางคนที ยาจื ด คื อ ยาสู บ ชนิ ด หนึ่ ง มี ลั ก ษณะ เปนเสนบาง ๆ สีเหลืองนวล กลิ่นฉุนเล็กนอย คนเฒาคนแกจะนํามาเปนสวนประกอบใน การรับประทานหมาก ยาจืด หรือ ยาสูบ เปน  ไมล  ม  ลุกอายุปเี ดียว ลําตนสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะเปนใบ เดีย่ ว รูปหอกปลายแหลม สีเขียวอมเหลือง มีรส ขม เผ็ดรอ น กลิน ่ ฉุน สรรพคุณทางยา คือ ชว ย ขับปสสาวะ แกคัดจมูก แกหอบหืด ทาภายนอก ส�ำหรับแกโรคผิวหนัง และช่วยไลแมลงศัตรูพืช ปจจุบัน แหลงปลูกยาสูบในเขตภาคตะวัน ตกที่ยังหลงเหลืออยู่คือ ในเขตอําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีการทํากันมาช้า


ภัทรพร อภิชิต

นานตั้งแตสมัยปูย่าตายาย ปัจจุบันลดน้อยลง บ้าง เนือ่ งจากมีการปลูกพืชผลชนิดอืน ่ และความ นิยมในการรับประทานหมากลดลง ขัน ้ ตอนการท�ำยาจืดคุณภาพดีนน ั้ คอ นขา ง ยุงยาก 1. เริ่มจากการเก็บใบยาสูบ เกษตรกรจะเก็บ จากใบแกดา นลา งของตน  ประมาณ 4-5 ใบตอตน ต่อครัง้ หลังจากนัน ้ นาํ มาฉีกเอาเสน  กลางใบออก มวนหอใหแนน นําไปวางในรางหั่นที่ชาวบาน เรียกติดปากวา ‘มา’ หั่นโดยใช ใบมีดที่มีขนาด กวาง 6 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว ลักษณะใบมีดคอนขาง หนา ทีส ่ าํ คัญคือใบมีด จะตองคมเพือ่ ใหไดเ สน  ยาที่บางสวย ไมขาดรุย 2. เมือ่ ไดเ สน  ใบยาสูบแลว ตอ งนาํ ไปลางน�ำ้ พร้อมกับใชมอื คนใหเ สน  ยาสูบแตกกระจาย ไมจ  บั ตัวกันเปนกอน และเพื่อใหยางบางสวนหลุดออก เมื่อนําไปตากจะมีสีสวย ไมดํา 3. หลังจากลางเสร็จ นําไปใสในกระสอบ ปาน มวนเปนวงกลม เพื่อซับน�้ำออกจากเสนยา

35


36

บางคนที ต�ำบลในฝัน

จากนั้นทิ้งไวประมาณ 2 ชั่วโมง จึงนํา ไปแผตากบนแผงไมนาน 15 - 17 วัน จนมีสส ี วย ทั้ ง ด า นบนและล า ง แล้ ว ผึ่ ง น�้ ำ ค  า งราว 3-4 ชั่ ว โมงเพื่ อ ให เ ส น ยาอ อ นนุ  ม ไม แ ห ง กรอบ สะดวกในการพับยาในขั้นตอนตอไป 4. การพับยาจะมีอุปกรณท่ีสําคัญ คือ ไมแบบ เพราะจะทําใหไดชั้นยาที่สวยและไดขนาด โดยเส น ยา 4 แผงจะสามารถพั บ ยา ไดประมาณ 20 ชั้น น�้ำ หนักเส้นยาเทากับ 1 กิโลกรัม หลังจากนัน ้ นําชัน ้ ยาทีไ่ ดไปตากแดดตออีก ครึ่งวัน แลวจึงบรรจุถุงเพื่อสงขาย


ภัทรพร อภิชิต

กนกพร เจริญสมบัติ หรือพี่พร รองประธานกลุม่ เย็บกระทงใบตองแห้ง เล่าให้เราฟังว่า “พืน้ ทีบ่ า้ นยายแพงกับบางคนที เป็นแหล่งปลูกกล้วยคุณภาพ เมื่อมา ถึงที่นี่ มองไปทางไหนจะเห็นได้เลยว่า ร่องสวนของ ทุกบ้านนอกจากจะมีมะพร้าวยืนต้นตระหง่านแล้ว ทีเ่ คียงคูก่ นั ขาดไม่ได้กค็ อื ต้นกล้วยนัน่ เอง ทัง้ สองอย่าง เป็นพืชทีเ่ กือ้ กูลอาศัยอยูร่ ว่ มกันได้อย่างดี กล้วยน�ำ้ ว้า บางคนที นั้ น การั น ตี ไ ด้ เ ลยถึ ง รสชาติ ค วามอร่ อ ย ถึงขนาดบ้านอื่นเมืองอื่นมาซื้อไปท�ำผลิตภัณฑ์กล้วย อบกล้วยตากเป็นสินค้าโอทอปของเขา นอกจากนี้ ใบกล้วยยังเหมาะจะ ท� ำ กระทงใบตองได้ อย่างดีด้วย” ข้อนี้เป็นความ รู้ใหม่ของเราว่าไม่ใช่ ใบกล้วยของทุกต้นจะ ท�ำได้ อย่างเช่น กล้วย ทางด� ำ เนิ น สะดวกที่ อยู่ติดกัน ใบจะหนา กนกพร เจริญสมบัติ

37


38

บางคนที ต�ำบลในฝัน

แข็ง เย็บกระทงแล้วแตก ไม่ดี ชนิดของกล้วยก็ไม่ เหมือนกัน ใบกล้วยน�ำ้ ว้าท�ำกระทงดีทสี่ ดุ ใบกล้วยหอม จะเปื่อย ใบกล้วยหักมุกท�ำกระทงใส่ขนมก็ท�ำให้ขม เป็นต้น

กระทงใบตองมีหลายขนาด เรียกกันแบบศัพท์ ชั้นสูงของนักเย็บกระทงมืออาชีพได้ว่า กระจิบเล็ก กระจิบใหญ่ กระเทยเล็ก กระเทยใหญ่ ถ้วยขาว ถ้วย น�้ำจิ้ม ถ้วยขนมเข่ง และกระทงเป็ดสับ ซึ่งต้องใช้ชาม ตราไก่เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิว้ เป็นพิมพ์ตดั ใบตอง แป๊ะ ทีข่ ายเป็ดพะโล้จะมาซือ้ ไปใส่เป็ดส�ำหรับเสิรฟ์ ให้ลกู ค้า พี่พรเล่าว่า เด็ก ๆ บ้านยายแพงนั้นหัดเย็บ


ภัทรพร อภิชิต

39

กระทงกั น ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม รู ้ ค วาม ผู ้ ใ หญ่ จ ะสอนโดยการจั บ จี บ กระทงเป็นรอยให้ก่อน แล้วให้ เด็กฝึกพับตามและกลัด ท�ำแบบ นี้เรื่อย ๆ ฝีมือจะค่อย ๆ พัฒนา จนกระทั่ ง เด็ ก สามารถจั บ จี บ เย็บกระทงเองส�ำเร็จในที่สุด งานเย็ บ กระทงจั ด ว่ า เป็นอาชีพเสริมจริง ๆ เพราะใช้ แต่สงิ่ ของเหลือใช้ สามารถท�ำได้ ในช่ ว งเวลาเลิ ก พั ก จากงาน ประจ�ำ แถมคนในครอบครัวจะ ชายหรือหญิงก็ช่วย ๆ กันท�ำได้ ลุงเดินเข้าสวนเจอใบตองแห้ง ก็ ตั ด ติ ด ไม้ ติ ด มื อ เอากลั บ มา ฝากป้า ป้าเป็นแผนกเย็บก็เอา ใบตองมาผึ่งตากไว้ใต้ถุน ไม่ให้ โดนน�้ำค้าง ตื่นแต่มืดมาฉีกเป็น แผ่น ม้วนเก็บเป็นก้อน ตากแดด จัด ๆ อีกวันเป็นการฆ่าเชือ้ ทีนกี้ ็ สามารถเก็บใส่กระสอบไว้ใช้ได้ เป็นปี ไม่มีผุ ไม่มีขึ้นรา


การเย็ บ กระทงใบตองแห้ ง มีข้อดีตรงที่ไม่ใช่งานเร่งด่วน ว่างเมื่อไหร่ก็ไปหยิบมา เจียนมาเย็บ ดูทวี ไี ปก็ทำ� ไปได้ นัง่ จับกลุม่ คุยกันก็ทำ� ได้ ถ้าเป็นกระทงใบตองสดต้องรีบแข่งกับเวลา หากลูกค้า สั่งมาเยอะ ๆ ก็เล่นเอาเครียดและเหนื่อยเหมือนกัน

นอกจากนี้ การเย็บกระทงใบตองยังเชื่อมโยง ไปไกลกว่าแค่ในครอบครัวหรือในกลุ่มตัวเองด้วย เช่น เชือ่ มกับกลุม่ ข้าวหลาม เอาผิวไม้ไผ่ทเี่ ขาเหลือทิง้ ไม่ใช้ แล้วมาท�ำเป็นไม้กลัดกระทง กลับกัน ทางนี้ก็เอาเศษ


ภัทรพร อภิชิต

41

ใบตองชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เจียนทิ้งแล้วไป ให้ฝา่ ยโน้นท�ำจุกปิดข้าวหลาม หรือเอา เศษไม้ไผ่จากนักจักสานวัย 90 อย่างลุง ค�ำมาใช้ เป็นความเอือ้ เฟือ้ เกือ้ กูลพึง่ พา อาศัยที่ท�ำให้สัมพันธภาพของคนใน ชุมชนแนบแน่นและอบอุ่น “มี ลุ ง กั บ ป้ า คู ่ ห นึ่ ง แกอายุ เยอะแล้ว ท�ำสวนไม่ไหว เราก็ซอื้ ไม้กลัด จากแก ท�ำให้คนแก่มรี ายได้อยูก่ บั บ้าน ไม้กลัดของแกดีด้วย ได้กิโลฯ ละ 300 บาท” กระทงใบตองแห้ ง ของบ้ า น ยายแพงนิยมท�ำขนาดเล็กอย่างกระจิบ และกระเทย ถือเป็นงานถนัดทีอ่ าจยาก ส�ำหรับคนถิ่นอื่น เพราะขนาดยิ่งเล็ก ยิ่งต้องใช้ฝีมือในการเย็บมาก แต่ข้อดี ของกระทงไซส์เล็กคือไม่เปลืองวัตถุดบิ ซึ่ ง ทั้ ง หมดหาได้ จ ากในพื้ น ที่ บ ้ า น ยายแพงกั บ บางคนที ทั้ ง นั้ น ยกเว้ น อย่ า งเดี ย วคื อ เชื อ กฟางส� ำ หรั บ มั ด กระทงรวมเข้ า เป็ น พั น ที่ ต ้ อ งซื้ อ จาก ที่อื่น


42

บางคนที ต�ำบลในฝัน

พี่พรบอกว่า ตอนนี้ลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อกระทง ขนาดเล็กก็คือ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช ทั้งของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ แ ละของศู น ย์ วิ จั ย จุ ฬ าภรณ์ เขาเอา กระทงไซส์กระเทยไปเพาะต้นไม้ จากที่เมื่อก่อนเพาะ ในกระบะพลาสติกหลุมเล็ก ๆ พอต้นไม้โตก็ตอ้ งย้ายไป ปลูกลงดินอีกที แต่พอเปลี่ยนมาใช้กระทงใบเล็ก เมื่อ ต้นไม้โตแล้วก็เอาลงดินได้เลย เดี๋ยวกระทงย่อยสลาย ไปเองตามธรรมชาติ เป็นวิธีฉลาด ๆ ที่ช่วยลดการใช้ พลาสติกด้วย


ภัทรพร อภิชิต

ดูแล้วอาชีพเย็บกระทงใบตองแห้งยังคงมี อนาคตสดใส เฉลี่ยแล้วเดือนเดือนหนึ่งสามารถ สร้างรายได้เสริมจากงานประจ�ำให้คนหนึง่ คนได้ถงึ 5,000-6,000 บาท ยิ่งเมื่อรวมกันเป็นกลุ่มแล้วยิ่งมี ความเข้มแข็ง มีตลาดมาหาถึงบ้าน มีอำ� นาจต่อรอง ราคา แม้แต่คนทีไ่ ม่มสี วนเป็นของตัวเอง เมือ่ มาเป็น สมาชิกกลุ่มก็จะมีเงินช่วยเหลือเป็นทุนซื้อวัตถุดิบ มาเย็บกระทงได้ แต่ถึงอย่างนั้น งานอย่างนี้ก็ยังหา คนท�ำได้น้อยอยู่ดี

43



ภัทรพร อภิชิต

“ คนที่ นี่ เ ป็ น เจ้านายตัวเอง บริษทั ของเรา คือมะพร้าวจ�ำกัด พวกกล้วย มะกรูด มะดัน เป็นพนักงาน ปีกอ่ นทีม่ ะพร้าวราคาตก คน ยายแพงไม่เดือดร้อน เพราะ เรายั ง มี ก ระทงใบตองช่ ว ย เสริม รายได้เดือนหนึง่ หลาย พัน คนมีครอบครัวก็ท�ำอยู่ กับบ้าน เลี้ยงลูกไปด้วยได้ แต่ก็ยังหาแรงงานยาก คน ส่ ว นมากทิ้ ง ถิ่ น ไปท� ำ งาน ที่ อื่ น อยากไปเป็ น ลู ก จ้ า ง อยากไปให้คนอื่นใช้”

45


พี่พรถ่ายทอดจากประสบการณ์ส่วนตัว เธอเองก็เคยเป็นคนที่ไปอยู่กรุงเทพฯ อยากไป ท�ำงานที่อื่น ผิดหวังที่ถูกพ่อแม่เลือกให้เป็นคน รับช่วงท�ำสวนต่อ เพราะงานสวนนัน้ เหนือ่ ยยาก แสนเข็ญ ไม่อยากจะท�ำ ลูกหลานบ้านอื่นเขา ก็ไม่เอา แต่พอถึงวันนี้ พี่พรกลับภูมิใจ แม้แต่ พี่น้องที่ได้ท�ำงานดี ๆ เงินเดือนสูง ๆ ยังคุยกัน เลยว่า พวกเขาหาเงินได้เยอะ แต่เดือนเดือน หนึ่งไม่เคยเหลือ เพราะสังคมเมืองค่าใช้จ่าย เยอะ ภาษีสังคมเยอะ คิดจะซื้อรถสักคันยัง ต้องวิ่งกลับมาขอเงินแม่


“เงินเดือนเยอะแยะแต่ไม่พอ แม่ท�ำ สวน ท�ำไมแม่อยู่ได้ เลี้ยงพวกเรามา ได้”

กระทงเล็กจิว๋ หนึง่ ใบบอกเล่าเรือ่ งราวชีวติ คน ได้มากมาย เมือ่ ยังมีกระทงก็ยงั มีสวน เมือ่ มีสวนก็ยงั มี ชุมชน เมื่อมีชุมชน มีวิถีที่ใกล้ชิดผูกพัน ท้องถิ่นก็เข้ม แข็ง ส�ำหรับคนบ้านยายแพง พวกเขาก้มหน้าก้มตาเย็บ กระทงใบตองไปด้วย ขณะเดียวกันก็ช่วยกันดูแลและ รักษาท้องถิน่ ของตัวเองไว้ดว้ ย เพราะซาบซึง้ แก่ใจดีวา่ สวนเป็นต้นทุนที่มีค่า ซึ่งจะเป็นที่พึ่งพาหล่อเลี้ยงชีวิต ได้ตลอดไป


“ปลายังอยู่ในกระป๋องได้ ลูกประคบสมุนไพรก็ต้องอยู่ ในกระป๋องได้เหมือนกัน”


ลู ก ประคบสมุ น ไพร พาสเจอไรส์ ด้วยจินตนาการเท่ ๆ

ของอรวรรณ เต็มเปี่ยม ท้ า ทายให้ เ ธอลุ ก ขึ้ น มาเป็ น หั ว เรี่ ย วหั ว แรง ในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ลกู ประคบสมุนไพร พาสเจอไรส์ อั ด กระป๋ อ งส� ำ เร็ จ เป็ น รายแรก จนกระทัง่ ออกจ�ำหน่ายในชือ่ ตรา ‘คณฑี ’ เป็ น สิ น ค้ า ขายดี ป ระจ� ำ ต� ำ บล บางคนทีซึ่งสร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศ จากคนที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาก่อน แต่เมื่อได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกให้เป็นประธาน กลุม่ สมุนไพรบ้านสวนบางคนที พีอ่ รวรรณจึงต้องอาศัย พรแสวงขวนขวายหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอย่าง หนักเพื่อไม่ให้พ่อแม่พี่น้องผิดหวัง เจ้าตัวยังแอบกลัว ด้วยว่า “ถ้าฉันท�ำไปโดยไม่มคี วามรู้ คนจะหาว่าฉันมัว่ เดี๋ยวเขาจะมาจับฉันเข้าคุกเข้าตะราง”


50

บางคนที ต�ำบลในฝัน

แนวคิด ก่อนจะมาเป็นกลุม่ ผลิตลูกประคบ

สมุนไพร เริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ ของอนามัยที่มีการ อบรมให้ความรูแ้ ก่ อสม. เกีย่ วกับการนวดแผนไทยและ สมุนไพรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2545 กิจกรรมที่ว่านี้ท�ำไป อย่างแกน ๆ ไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างจริงจังขึน้ มา แต่อย่าง น้อยพี่อรวรรณก็รู้สึกว่ายังดีที่ท�ำให้คนในชุมชนเริ่ม ตระหนักว่า สมุนไพรของใกล้ตัวที่ดูไร้ค่านั้นเป็นของดี มีประโยชน์ เธอคิดต่อยอดไปว่า แล้วจะท�ำอย่างไรให้ สมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นสามารถน�ำออกไป จ�ำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน


ภัทรพร อภิชิต

คิ ด ไป คิ ด มา ท� ำ ประชาคม ระดมความเห็น กันว่าจะเอาสมุนไพรมาท�ำ เป็นผลิตภัณฑ์อะไรที่ไม่ซ�้ำ กั บ คนอื่ น ตอนนั้ น ในท้ อ ง ตลาดมีลูกประคบแห้งขาย อยูท่ วั่ ไป ถ้าทางกลุม่ ท�ำเลียน แบบออกมาจ�ำหน่ายอีกก็คง แค่พอขายได้ธรรมดา ๆ ใน กลุ่มเลยเปลี่ยนความคิดว่า ถ้างั้นท�ำเป็นลูกประคบสด แบบเปิดกระป๋องออกมายัง คงคุ ณ ค่ า ของสมุ น ไพรไว้ เต็ ม ร้ อ ยดี ก ว่ า แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร และสะดวกต่อ การใช้งาน ปกติลูกประคบสมุนไพรสดเมื่อท�ำออกมาแล้วจะ เก็บไว้ได้อย่างมากแค่ 7 วัน ก็เสื่อมสภาพหรือขึ้นรา แต่ ลู ก ประคบที่ อ ยู่ใ นกระป๋อ ง

51


52

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ต้องมีอายุยืนยาวเก็บได้นาน ๆ ไอเดียบรรเจิดนี้ วิธีการ ที่จะท�ำให้ได้แบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ได้รับ การสนั บ สนุ น จากงบฯ กระตุ ้ น เศรษฐกิ จ มาลงทุ น ซื้ อ เครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ ถึ ง 3 แสนบาท แต่ เ มื่ อ ทดลองท�ำแรก ๆ ก็ไม่ประสบผล ส�ำเร็จตามที่ต้องการ จนกระทั่งพี่อรวรรณ พาตัวเองไปเข้าอบรม วิ ธี ก ารฆ่ า เชื้ อ ที่ ก รม วิ ท ยาศาสตร์ ก าร แพทย์ เรี ย นรู ้ เ รื่ อ ง การพาสเจอไรส์ จน กระทัง่ มัน่ ใจ จึงผลิต ลู ก ประคบสมุ น ไพร ในกระป๋องออก จ�ำหน่ายได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 “ลูกประคบของเราเหมาะที่จะเอาไปรักษา ไม่ เหมาะกับการผ่อนคลายในสปา เพราะเวลาประคบแล้ว สีของสมุนไพรจะติดเลอะเสื้อผ้า แต่ซึมเข้าเส้นได้อย่าง เร็ว คุณภาพรับรองได้เลยว่ารักษาได้ผลแน่ถ้าใช้ติดต่อ กัน คนหลังคลอดก็เอาไปอบตัวได้”


ภัทรพร อภิชิต

การประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาของแพทย์ แผนไทย มีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นการไหลเวียน โลหิต ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด เมื่อย ลดการติดขัดของข้อต่อ ท�ำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัว ออก และช่วยลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของ กล้ามเนื้อหรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ลู ก ประคบ สมุนไพรตรา ‘คณฑี’ เปิ ด ตั ว ครั้ ง แรกใน งานที่ ตั ว จั ง หวั ด มี นั ก ข่ า วมาเห็ น ว่ า แปลกดีเลยถ่ายไป ออกที วี จากนั้ น ก็ กลายเป็นการช่ว ย โฆษณาฟรี ๆ พี่ อรวรรณต้ อ งเที ย ว ไปออกรายการอื่น ๆ อีกหลายรายการ ท�ำให้ลูกประคบ สมุนไพรในกระป๋องเปิดตัวอย่างสวยงามและขายดิบ ขายดี

53


ทุกวันนี้

ผ่านมาหลายปีแล้ว พี่อรวรรณ ยืนยันว่าลูกประคบสมุนไพรพาสเจอไรส์ใส่กระป๋องยัง ไม่มีเจ้าไหนท�ำออกจ�ำหน่าย อาจมีบ้างบางเจ้าที่ซื้อ ของทางกลุ ่ ม ไปติ ด ตรา ของตัวเอง ซึง่ ก็กลายเป็น ช่องทางการตลาดอย่าง หนึ่ ง ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ป ด้วย ส่วนลูกค้าหลักของ กลุม่ มักซือ้ ไปใช้เอง อย่าง เช่น สโมสรฟุตบอลที่ซื้อ ลู ก ประคบไปบรรเทา ความปวดเมื่ อ ยกล้ า ม เนือ้ ให้นกั กีฬา ลูกประคบ นี้ยังถูกส่งออกไกลไปถึง ญี่ปุ่นและแคนาดา ชาว ต่างชาติเจอความมหัศจรรย์ ข องสมุ น ไพรไทย เข้า ถูกใจกันทุกราย เราถามพีอ่ รวรรณ ว่า อยากส่งเสริมการตลาดให้สามารถขายลูกประคบ ได้มากขึ้นกว่านี้ไหม เธอตอบว่า เท่าที่ท�ำอยู่ตอนนี้ก็


ภัทรพร อภิชิต

เรียกว่าพอดี ๆ กับศักยภาพ และก�ำลังของท้องถิ่นแล้ว มากกว่านี้ก็ไม่ไหว น้อยไป ก็ ไ ม่ ดี ถึ ง จะเห็ น เป็ น ลู ก ประคบลูกเล็ก ๆ ผลิตจาก สมุ น ไพรพื้ น บ้ า นหาได้ ทัว่ ไป ราคาไม่กบี่ าทอย่างนี้ ก็ เ ถอะ แต่ วิ ธี ก ารบริ ห าร จัดการมีความยุ่งยากไม่ใช่ เล่น ที่ส�ำคัญคือพี่อรวรรณ ค�ำนึงถึงคุณภาพของสินค้า เป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ถ้ า ท� ำ ชุ ่ ย ครัง้ เดียว ชือ่ เสียงก็เสียหาย หมดพอดี “ผลิตแต่ละครั้ง เรา ต้องท�ำทั้งหมดทุกขั้นตอน ภายในวันเดียว สมุนไพรที่ ซื้อจากชาวบ้านก็ใช้วันต่อ วัน เอาสด ๆ ไม่ค้างคืน ฆ่า เชื้อในวันนั้นเลย วันหนึ่ง ๆ ท�ำได้ประมาณร้อยกระป๋อง ขึน้ ไป ท�ำน้อยกว่านีก้ ไ็ ม่คมุ้

55


ค่าแรง เพราะเราต้องใช้คนท�ำงานถึง 10 คน ท�ำมาก เกินกว่านี้เยอะ ๆ ก็กลัวว่าเดี๋ยวจะดูแลไม่ทั่วถึง แค่นี้ก็ ต้องท�ำถึงห้าทุ่มเที่ยงคืนแล้ว ถ้าไม่ได้ดูแลเองเราก็ไม่ มัน่ ใจ เพราะการฆ่าเชือ้ มีเทคนิครายละเอียด ถ้าฆ่าเชือ้ ไม่ดี กระป๋องก็จะบวม ต้องท�ำใหม่หมด” พี่อรวรรณจะรวมกลุ่มชาวบ้านโดยหาแรงงาน ในชุมชนทีว่ า่ งงานอยู่ ไม่เลือกว่าจะเป็นเด็ก คนแก่ หรือ คนพิการ สามารถมาท�ำงานร่วมกันได้หมด ท�ำคราว หนึ่งประมาณ 600 กระป๋อง ติดกัน 5-6 วัน แล้วก็พัก จนกว่าจะขายหมดจึงเริ่มท�ำใหม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่สด ใหม่เสมอ ลูกประคบพาสเจอไรส์หนึ่งกระป๋องมี 2 ลูก

อรวรรณ เต็มเปี่ยม


ภัทรพร อภิชิต

จ�ำหน่ายในราคา 110 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนแล้ว ถือว่าขายในราคาถูกมาก ก�ำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขัน้ ตอนการท�ำลูกประคบพาสเจอไรส์นนั้ ต้องฆ่า เชื้อที่บรรจุภัณฑ์กระป๋องเปล่าก่อนเลย ส่วนสมุนไพร ต่าง ๆ ทีม่ ถี งึ 14 ชนิด ต้องเอามาล้างให้สะอาด สะเด็ด น�ำ้ ให้แห้ง สับแล้วโขลกด้วยครกหินซึง่ ท�ำให้นำ�้ มันหอม ระเหยออกมาได้ดีกว่าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า จากนั้นผสม ส่ ว นผสมทั้ ง หมดให้ เ ข้ า กั น ห่ อ ใส่ ผ ้ า ดิ บ มั ด อย่ า ง เรียบร้อยประณีต เมือ่ ใส่ลกู ประคบลงกระป๋องแล้วก็นำ� ไปฆ่าเชื้อพาสเจอไรส์อีกที จากนั้นปิดฝากระป๋อง นึ่ง ด้วยหม้อสุญญากาศอีกครัง้ หนึง่ สุดท้ายต้องน็อกด้วย ความเย็นเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่หยุด เจริญเติบโต ท�ำให้ลูกประคบเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี ส่วนวิธกี ารใช้ลกู ประคบสมุนไพรพาสเจอไรส์ ก็เหมือนลูกประคบทัว่ ไป คือเมือ่ เปิดกระป๋องแล้วให้นำ� ลูกประคบไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที ทดสอบความ ร้อนของลูกประคบโดยแตะทีท่ อ้ งแขนหรือหลังมือก่อน ว่าร้อนได้ที่แล้ว ช่วงแรกที่ลูกประคบยังร้อนอยู่ต้อง ประคบด้ ว ยความเร็ ว ไม่ ค วรวางลู ก ประคบไว้ บ น ผิวหนังนาน ๆ แค่แตะแล้วยกขึ้น พอลูกประคบคลาย ความร้อนลงแล้วก็สามารถวางประคบได้นานขึ้น หรือ กดคลึงตามร่างกายจนกว่าลูกประคบจะหายร้อนจึง

57


58

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เปลี่ยนใช้อีกลูกหนึ่งแทน ลูกประคบที่ใช้แล้วสามารถ น�ำไปนึ่งต่อใช้ซ�้ำได้อีก ลู ก ประคบพาสเจอไรส์ ห นึ่ ง กระป๋ อ งใช้ ไ ด้ ประมาณ 10-15 ครัง้ เมือ่ เปิดใช้แล้วต้องเก็บไว้ในตูเ้ ย็น สิง่ ทีค่ วรระวังในการประคบสมุนไพรคือ ต้องไม่ ใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่ เคยเป็นแผลมาก่อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะผิวหนังของเขารับรูแ้ ละ ตอบสนองช้า อาจท�ำให้ผวิ หนังพองไหม้ได้งา่ ย และไม่ ควรประคบสมุนไพรในกรณีทเี่ กิดการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะยิ่งท�ำให้อักเสบ บวมมากขึ้นหรืออาจมีเลือดออกตามมาได้ นอกจากนี้ หลังจากประคบสมุนไพรเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน�้ำ


ภัทรพร อภิชิต

ทันที เพราะจะล้างตัวยาออกไปด้วย และร่างกายจะ ปรับตัวไม่ทัน ท้ายสุด พี่อรวรรณบอกเราว่า ที่สุดของความ ภูมิใจไม่ได้อยู่ที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้แก่ วงการสมุนไพรเท่านั้น แต่เหนืออื่นใดคือการช่วยให้ คนในชุมชนมีรายได้มากขึ้น เป็นอาชีพเสริมของคน หลายคนที่ไม่มีโอกาสหรือไม่สามารถไปท�ำงานอย่าง อืน่ ได้ ตอนนีใ้ นกลุม่ มีสมาชิกกันอยู่ 132 คน การท�ำงาน จะเน้นการช่วยเหลือเกือ้ กูลซึง่ กันและกัน ใครมีแรงมาก ก็ชว่ ยคนมีแรงน้อย อยูก่ นั อย่างถ้อยทีถอ้ ยอาศัย ท�ำให้ ชุมชนท้องถิน่ ของเธอเป็นชุมชนแห่งความสุขอย่างทีต่ งั้ ปณิธานไว้

59


60

บางคนที ต�ำบลในฝัน

อะไรอยู่ในลูกประคบ ลู ก ประคบกลม ๆ ป้ อ ม ๆ หนึ่ ง ลู ก มี สมุนไพรสดด้วยกันถึง 14 ชนิด ซึ่งแต่ละอย่าง ก็มีสรรพคุณสุดยอดต่างกันไป o ไพล แก้ปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก ลดการ อักเสบ ลดปฏิกริ ยิ าภูมแิ พ้ ฆ่าเชือ้ แบคทีเรีย ขับน�ำ้ ดี ช่วยย่อย ขับลม ป้องกันการแข็งตัวของหลอด เลือด o ขมิ้นชัน แก้เคล็ด ยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล ขับลม ลดการ อักเสบบวม แก้โรคผิวหนัง ขับประจ�ำเดือน แก้บิด เป็นยาระบายอ่อน ๆ o ใบส้มป่อย บ�ำรุงผิวพรรณ เพิ่มความ ต้านทานโรค แก้เคล็ด ยอก บวม o ใบมะขาม แก้คน ั ตามร่างกาย ฟก ช�ำ้ บวม ช่วยบ�ำรุงผิว o ใบขลู ่ แก้ เ คล็ ด ขั ด ยอก ขั บ ปั ส สาวะ ริดสีดวงทวาร o ว่านน�้ำ ท�ำให้ผิวชุ่มชื่น


ภัทรพร อภิชิต

o ตะไคร้หอม เป็นน�้ำมันหอมระเหย ท�ำให้ สดชื่น แก้ปวดเมื่อย ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดการ อักเสบ o ผิวมะกรูด น�้ำมันหอมระเหยช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียน หายใจไม่อิ่ม จุกเสียดแน่น บ�ำรุงหัวใจ ขับลม ช่วยการท�ำงานของกระเพาะ ล�ำไส้ o ใบขี้เหล็ก ช่วยให้นอนหลับ ช่วยระบาย ท�ำให้ผิวชุ่มชื่น o เถาวั ล ย์ เ ปรี ย ง ลดการอั ก เสบ เพิ่ ม ภูมค ิ ม ุ้ กัน แก้เส้น แก้ปวดเมือ่ ย แก้กษัย บ�ำรุงโลหิต บ�ำรุงธาตุ ขับน�้ำคาวปลา แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ แก้เส้นเอ็นขอด แก้บิด แก้ไอ บ�ำรุงเส้น o ผักบุง้ นา แก้คน ั จากลมพิษ ลดพิษผดผืน ่ คัน ลดน�้ำตาลในเลือด o พิ ม เสน ช่ ว ยแต่ ง กลิ่ น แก้ ล มวิ ง เวี ย น รักษาแผล แก้พุพอง แก้หวัด o การบูร เป็นสารหอมช่วยแต่งกลิ่น ใช้ บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ลม วิงเวียน บ�ำรุง หัวใจ รักษาแผล แก้พุพอง

61


62

บางคนที ต�ำบลในฝัน

o เกลือ ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาตัว ยาซึมผ่านผิวหนังได้อย่างสะดวก วิธีการคือ 1) น�ำสมุนไพรทั้งหมดมาโขลกพอหยาบ ตามอัตราส่วนดังนี้ o ไพล ขมิ้นชัน และผิวมะกรูด อย่างละ 1 กิโลกรัม o ตะไคร้ ห อม ใบมะขาม เถาวั ล ย์ เ ปรี ย ง ใบขลู่ ผักบุ้งนา และว่านน�้ำ อย่างละ 2 กิโลกรัม o พิมเสน การบูร อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ o เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ 2) น�ำส่วนผสมที่โขลกเรียบร้อยแล้วห่อ รวมกันในผ้าขาว นึ่งให้ร้อนก่อนน�ำไปใช้ประคบ


ภัทรพร อภิชิต

ลูกประคบสมุนไพรพาสเจอไรส์ ตรา ‘คณฑี’ มีจ�ำหน่ายที่ที่ว่าการกลุ่มสมุนไพรบ้าน สวนบางคนที หมู่ 7 ต�ำบลบางคนที อ�ำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม รหัส ไปรษณีย์ 75120 สนใจสอบถามได้ที่ โทร. 08-1792-6630

63


3. เบเกอรีเพื่อชุมชน

ทุกครัง้ ในเวทีประชาคมหมูบ่ า้ นแต่ละหมู่

เจ้าหน้าที่ อบต. จะมีขนมของว่างเสิร์ฟให้กับชาวบ้าน ที่มาร่วมประชุมไม่ซ�้ำชนิดกันเลยในแต่ละวัน ครั้งแรก ทีเ่ ราได้รบั คัพเค้กในถุงพลาสติกใสมานัน้ บอกตามตรง คิดประมาทในใจว่าคงเป็นขนมจากตลาดนัดทั่วไป รสชาติแค่พอประทังท้องว่างได้เท่านัน้ ต่อเมือ่ ได้กดั ค�ำ แรกแล้วนั่นแหละถึงพบว่าเค้กเผือกชิ้นนั้นอร่อยใช้ได้


เลยทีเดียว แล้วยิ่งได้รู้เบื้อง หลั ง ของขนมเค้ ก ขอบอก เลยว่า เกิดความปลาบปลื้ม ชืน่ ชมว่าเป็นขนมเค้กทีอ่ ร่อย อย่างมีคุณค่าด้วย คนท� ำ ขนมเค้ ก ชิ้ น นั้ น คื อ คุ ณ น ฤ ม ล ทรั พ ย์ ส� ำ ราญ หรื อ พี่ ม ล ผู ้ ห ญิ ง ตั ว เล็ ก ๆ ที่ ท� ำ งาน หลายบทบาท เธอเป็ น ทั้ ง อาจารย์ประจ�ำแผนกอาหาร ที่ วิ ท ย า ลั ย ส า ร พั ด ช ่ า ง สมุทรสงคราม เป็นสมาชิก องค์การบริหารส่วนต�ำบล บางคนที เป็ น กรรมการ กองทุนหมู่บ้าน กรรมการ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ท�ำงานพัฒนาจังหวัด และ เป็นประธานกลุ่มบ้านสวนเบเกอรี พี่มลเป็นคนบ้านยายแพงโดยก�ำเนิด พ่อแม่ ของเธอก็ เ กิ ด ที่ นี่ พี่ ม ลเรี ย นจบการเรื อ นที่ ส ถาบั น เทคโนโลยี ร าชมงคล วิ ท ยาเขตพระนคร (ชื่ อ เดิ ม วิ ท ยาเขตโชติเวช) และจบปริญญาตรีจ ากสถาบัน ราชภัฏสวนสุนนั ทา พอเรียนจบปุบ๊ พีม่ ลก็มงุ่ หน้ากลับ


บ้านปั๊บ ความคิดที่จะหางานท�ำอยู่ในเมืองใหญ่ไม่มี เลย เธอบอกว่าอยากเอาความรูก้ ลับมาพัฒนาบ้านเรา มากกว่า แล้วความตัง้ ใจของพีม่ ลก็เป็นจริง เมือ่ ได้กลับ มาเป็ น อาจารย์ ส อนท� ำ ขนมและอาหารให้ กั บ ทั้ ง นักศึกษาและกลุม่ ชุมชนต่าง ๆ ทัว่ ทัง้ จังหวัด สร้างงาน สร้างอาชีพให้ผคู้ นมากมาย กลายเป็นนักกิจกรรมด้าน วัฒนธรรมอาหารตัวยง ความฝันอย่างต่อไปของพี่มล คืออยากตั้งกลุ่มพัฒนา เพราะต�ำบลยายแพงบ้านเกิด ของเธอนั้นเหมือนเป็นดินแดนลับแล ไม่มีคนรู้จัก ไม่ เคยมีใครสนใจ น่าจะมีกลุม่ พัฒนาหรือแหล่งเรียนรูเ้ พือ่ ส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพของคนในชุ ม ชน และสร้ า งสรรค์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปใหม่ ๆ ที่เป็นของท้องถิ่น พี่มลเอาความรู้และความถนัดของตัวเองมา ใช้เผยแพร่สู่ชุมชน เธอเป็นคนไม่หยุดนิ่ง ช่างคิดและ สร้างสรรค์ เป็นต้นว่า ดัดแปลงเอาเนือ้ ปลาทูมาท�ำเป็น ขนมต่าง ๆ เช่น คุกกี้ปลาทู เค้กปลาทู และที่ยอดนิยม จนคนอืน่ เอาไปท�ำขายทัว่ บ้านทัว่ เมืองก็คอื ข้าวเกรียบ ปลาทู ซึ่งพี่มลเป็นคนคิด แต่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ไว้เฉพาะ ตัวเอง สามปีที่แล้ว พี่มลก่อตั้งกลุ่มบ้านสวนเบเกอรี เป็นศูนย์เรียนรูเ้ พือ่ การผลิต โดยใช้พนื้ ทีใ่ นบ้านของเธอ


เองสร้างห้องครัวเล็ก ๆ ขึ้นมาใหม่เป็นฐานปฏิบัติการ เราถามเธอว่า ไม่คดิ เปิดร้านขนมหรือท�ำกิจการของตัว เองเหมือนคนส่วนใหญ่บ้างหรือ พี่มลตอบอย่างมั่นใจ ว่าไม่ เธอคิดแต่วา่ อยากสร้างงานสร้างอาชีพให้หมูบ่ า้ น ต�ำบล และจังหวัด “อยากท�ำเป็นวิทยาทานให้คนอื่นก่อน เวลา เราถึงจุดอิ่มตัวค่อยไปท�ำอะไรของเราเอง” บ้านสวนเบเกอรีก่อตั้งด้วยทุนส่วนตัวของพี่ มลล้วน ๆ เธอเป็นทั้งคนวางแผนงาน ด�ำเนินการ และ ควบคุมการผลิต รับสมาชิกซึ่งเป็นคนหมู่ 4 หมู่ 5 บ้าน ยายแพงที่อยู่ใกล้เคียงมาเรียนรู้วิชาท�ำขนม ซึ่งแต่ละ คนบอกกับเราว่าไม่เคยมีความรู้เรื่องเบเกอรีมาก่อน เลย แต่เข้ามาท�ำงานนีเ้ พราะความสนใจ อยากเพิม่ พูน ความรู้ที่อยู่ติดตัวตลอดไป ทั้งยังเป็นรายได้เสริมจาก งานประจ�ำที่รับผิดชอบอยู่ด้วย กลุม่ บ้านสวนเบเกอรีเป็นแหล่งเรียนรูท้ จี่ ดั อยู่ ในระบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาของ อบต. บางคนที ซึ่งต้องการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับคนทุกเพศวัย เพื่อ ใช้เป็นทักษะในการประกอบอาชีพเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองให้คนในชุมชน กลุม่ บ้านสวนเบเกอรีดำ� เนินการโดยรับออเดอร์ ท�ำอาหาร ขนม และของว่างตามสั่ง ลูกค้ารายใหญ่ที่


68

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เป็นผูส้ นับสนุนหลักอย่างเป็นทางการก็ไม่ใช่ใครทีไ่ หน อบต. บางคนทีนั่นเอง เวลามีประชุม สัมมนา หรือท�ำ ประชาคม อบต. ก็จะสนับสนุนด้วยการสัง่ ขนมของกลุม่ แทนที่จะไปเสียตังค์อุดหนุนร้านค้าข้างนอก ชาวบ้าน ย่ า นบางคนที กั บ ยายแพงส่ ว นมากจะรู ้ จั ก และเคย ลิ้มลองขนมของบ้านสวนเบเกอรีกันทั้งนั้น ส่วนลูกค้า อื่น ๆ ก็คือหน่วยงานในละแวกใกล้เคียง คนบ้านไกล อาจยังไม่รู้จักบ้านสวนเบเกอรี แต่ถ้าได้รู้จักแล้วจะสั่ง ออเดอร์ขนมไปจัดเลี้ยงบ้าง ทางกลุ่มก็ยินดี ขนมอร่ อ ยขึ้ น ชื่ อ ของบ้ า นสวนเบเกอรี มี ทั้ ง บัตเตอร์เค้ก ทอฟฟีเ่ ค้ก ชิฟฟอน และคุกกีเ้ นยสด อยาก รู้ว่าอร่อยแค่ไหน ต้องลองด้วยตัวเองเท่านั้น กลุ่มบ้านสวนเบเกอรียังไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็น ทางการนัก เพราะติดว่าพี่มลยังงานเยอะ มีหน้าที่ต้อง รับผิดชอบหลายอย่าง แต่เจ้าตัวตั้งใจว่าในอนาคตอัน ใกล้นี้ กลุ่มจะเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น มีสมาชิกมากกว่า นี้ สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น และเร็ว ๆ นี้ก็จะได้ ฤกษ์เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ให้ความรู้เรื่อง การท�ำขนมอบ ขนมไทย และอาหารว่าง ส�ำหรับผลิต และจ�ำหน่ายแก่ผู้สนใจทั่วไปด้วย อีกผลงานหนึ่งที่พี่มลก�ำลังหมายมั่นปั้นมือให้ เป็นจริงในเร็ววันคือ การผลิตแป้งกล้วย เพราะบางคนที


ภัทรพร อภิชิต

เป็นแหล่งปลูกกล้วยเยอะและมีคุณภาพ หากสามารถ น�ำกล้วยมาแปรรูปผลิตเป็นแป้งใช้แทนแป้งสาลีสำ� หรับ ท�ำขนมอบได้จะลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากภายนอกได้ อีกมาก

ตลอดเวลาที่พี่มลเล่าถึงงานของเธอ สีหน้า และแววตานัน้ เป็นประกายด้วยความมุง่ มัน่ พีม่ ลท�ำให้ เราได้เห็นว่าคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่มีความตั้งใจจริง สามารถใช้ความรูเ้ ท่าทีม่ ที ำ� ประโยชน์เพือ่ สาธารณะได้ มากมาย เธอบอกว่า “อยากให้คนพูดถึงขนมแล้วนึกถึง บ้านเรา” ดูแล้วงานของเธอน่าเหนื่อย แต่คนเล่าไม่มี วี่แววของความเหน็ดเหนื่อยแม้แต่น้อย

69


70

บางคนที ต�ำบลในฝัน

“มี ค วามสุ ข ใน การท� ำ งาน ถ้ า พู ด ถึ ง ความยาก ทีจ่ ริงทุกอย่าง ก็ยากหมด กว่าจะฝึกคน ท�ำงานให้ได้อย่างที่เรา ต้ อ งการ ท� ำ ทิ้ ง ท� ำ ทิ้ ง ตลอด เราต้ อ งคิ ด ค้ น ต้ อ งพั ฒ นา เช้ า -บ่ า ย ลงชุ ม ชน กลางคื น ไป สอนภาคค�่ำ ท�ำงานจน ใคร ๆ แซวว่าได้พักบ้าง ไหมเนี่ย แต่เมื่อมีความ ตั้งใจ เราก็ท�ำงานอย่าง มีความสุข” ความสุขอันหอมหวานของ พี่ ม ลยั ง กลายเป็ น ความสุ ข ของ คนในชุมชนอีกมากมายไม่รจ ู้ บด้วย


ภัทรพร อภิชิต

บ้านสวนเบเกอรีรับสั่งท�ำขนมและของว่าง รับจัดอาหารว่างช่วงเบรกในงานต่าง ๆ รวมทั้งเปิด สอนหลั ก สู ต รวิ ช าชี พ ระยะสั้ น ให้ กั บ บุ ค คลทั่ ว ไป สนใจสอบถาม โทร. 08-4024-9797 (กรุณาสั่งขนมล่วงหน้า 2 วัน)

71


4. เกษตรเพื่อสุขภาวะ


แต่ไหนแต่ไร

ชาวสวนบางคนที ไ ม่ เ คย ต้ อ งอาศั ย เคมี ใ นการท� ำ เกษตร เพราะภูมปิ ญ ั ญาใน การท� ำ ดิ น ยกร่ อ งนั้ น ให้ ผลพลอยได้ เ ป็ น ปุ ๋ ย ชั้ น ดี นั่นคือโคลนเลนที่ต้องลอก คลองทุกสองปีขึ้นมาไว้บน หลังร่องเพื่อไม่ให้ร่องสวน ตื้ น เขิ น โคลนเลนเหล่ า นี้ อุดมด้วยแร่ธาตุสารอาหาร ซึ่ ง กระแสน�้ ำ พั ด พามา สะสมวั น แล้ ว วั น เล่ า แต่ แล้ ว เมื่ อ ทางการส่ ง เสริ ม การเกษตรสมั ย ใหม่ ป ลู ก พืชเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีเร่ง


74

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ผลผลิต เกษตรกรชาวนาชาวสวนก็เลยพลอยตกเป็น ทาสติดสารเคมีการเกษตรกันงอมแงม ผลที่ได้ในเวลา ต่อมาคือผืนดินเสือ่ มโทรม พืชพรรณธัญญาหารทีป่ ลูก ได้ก็เป็นพิษไม่ปลอดภัย ชาวสวนเองก็ต้องรับสารเคมี โดยตรงจนก่อให้เกิดโรคร้ายเจ็บป่วยเรื้อรัง แต่ ยั ง ไม่ ส ายเกิ น ไปที่ จ ะหวนกลั บ มาหา เกษตรธรรมชาติ เช่นที่บ้านบางคนทีและยายแพง ระบบเกษตรเพื่อสุขภาวะค่อย ๆ วางรากฐานหนา แน่นขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาหันกลับมาท�ำการเกษตร แบบผสมผสาน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดการ ใช้สารเคมี เกิดการ พึ่ ง พาตนเอง และ สร้างเครือข่ายขยาย ผลเชือ่ มโยงถ่ายทอด ความรู ้ ค วามคิ ด ไป ถึงท้องถิ่นชุมชนอื่น ด้วย


ปุ๋ยชีวภาพบ้านยายแพง กว่ า 15 ปี ที่

โชติวิชญ์ เสือเล็ก จาก บ้านเกิดของเขาทีต่ ำ� บล ยายแพงไปท� ำ งานยั ง ประเทศไต้ ห วั น ที่ นั่ น นอกจากประสบการณ์ ในการท�ำงานกับคนหมู่ มากที่ ไ ด้ ติ ด ตั ว กลั บ มาแล้ ว เขายั ง เรี ย นรู ้ ห ลั ก การ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งจากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวจากที่นั่นด้วย พี่โชติวิชญ์เล่าว่า ตอนที่เขาออกจากสนามบิน เมืองไทเปครั้งแรก มองไปสองข้างทางเห็นมีแต่แปลง เกษตรขนาดเล็กเรียงรายเต็มไปหมด ปลูกพืชผักสวน ครัวหลากหลายชนิด ทัง้ ถัว่ ฝักยาว กะหล�ำ่ มะเขือ พริก


โชติวิชญ์ เสือเล็ก

ผักชี มะละกอ อ้อย มันแกว ปีแรกเขายังพูดภาษาไม่ได้ จึงแค่เมียง ๆ มอง ๆ พอปี ต่ อ มาเริ่ ม สื่ อ สารรู ้ เ รื่ อ ง พี่ โ ชติ วิ ช ญ์ ก็ ไ ด้ พู ด คุ ย กั บ ชาวบ้านแถวนัน้ ถามเขาว่า ท� ำ ไมถึ ง ปลู ก หลายอย่ า ง ที่ นิ ด เดี ย วท� ำ ไมไม่ ป ลู ก อย่างเดียวจะได้ได้เยอะ ๆ “เขาบอกว่าเขายึด หลักเศรษฐกิจพอเพียงของ พระองค์ ท ่ า นมาเป็ น แนว ป ฏิ บั ติ ค น จี น น ะ ค รั บ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งหมาย ความว่า อยากกินอะไรก็ ปลู ก อย่ า งนั้ น เหลื อ กิ น ก็ แบ่งปัน เหลือจากแบ่งปันก็ เอาไปขาย ผมถามเขาต่อ ด้ ว ยว่ า ใช้ ปุ ๋ ย ยี่ ห ้ อ อะไร ท�ำไมผักถึงงามมาก ตอน นั้นผมยังไม่มีความรู้เรื่อง ชีวภาพ เขาบอกท�ำใช้เอง


ภัทรพร อภิชิต

หมักเอาไว้จนเย็นแล้วเอาไปใช้ มันดีจริง ๆ ผมเลยตัง้ ใจ ว่ากลับเมืองไทยมาท�ำเกษตรดีกว่า” ปี 2548 พี่โชติวิชญ์เดินทางกลับภูมิล�ำเนา เขา พบว่าที่ดินในสวนซึ่งยกร่องปลูกส้มโอและใช้สารเคมี มานานหลายปี ดินเริม่ แน่น รดน�ำ้ แล้วน�ำ้ ไหลย้อนกลับ ไม่ซึมลงดิน เขาตัดสินใจโค่นส้มโอทั้งหมด เปลี่ยนมา ใช้ ปุ ๋ ย ชี ว ภาพตามสู ต รที่ ไ ด้ เ รี ย นรู ้ ม าจนผื น ดิ น ฟื ้ น ตัวอย่างรวดเร็ว ใครผ่านมาเห็นก็ต้องชื่นชมที่สวนนี้ได้ ผลผลิตดี พีโ่ ชติวชิ ญ์บอกว่า ทีแรกเขาตัง้ ใจจะกลับมา เป็นเกษตรกรใช้ชวี ติ เงียบ ๆ กับครอบครัว แต่พอผูใ้ หญ่ บ้านรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพก็ขอร้องให้เขาถ่ายทอดความรู้นี้ สู่ชุมชน “ผมมานอนคิดว่า ถ้าคนมางมงายกับปุ๋ยเคมี อย่างเดียว ดินก็เสื่อมลง ได้ผลผลิตน้อย ปัญหาใน ครอบครัวจะเกิดตามมา คนเราพอท�ำงานเหนื่อยแล้ว ไม่ได้เงินก็เครียด แล้วเป็นไง พ่อบ้านเครียดก็ออกข้าง นอกกินเหล้า ติดอบายมุข เที่ยวผู้หญิง นี่คือผลพวงที่ ตามมา แต่พอเปลี่ยนจากใช้เคมีมาเป็นชีวภาพ ลงทุน น้ อ ยลง ได้ ผ ลผลิ ต มาก สุ ข ภาพดี ขึ้ น ความสุ ข ใน ครอบครัวเกิด พ่อบ้านก็ไม่ออกไปเที่ยวไหน” พีโ่ ชติวชิ ญ์ตงั้ ใจจะถ่ายทอดวิชาความรูด้ า้ นการ ท�ำปุ๋ยชีวภาพและเกษตรธรรมชาติ แต่พอเริ่มท�ำก็มี ปัญหาตามมา

77


78

บางคนที ต�ำบลในฝัน

“ลงทุนท�ำปุย๋ แล้วแจกในหมูบ่ า้ น คนก็ไม่ยอมรับ เขาว่าผมไม่ได้จบมาทางนีจ้ ะเก่งได้ยงั ไง เราก็มาคิดว่า เพราะปุ๋ยไม่มีราคา เลยตั้งราคาไว้เลยว่ากระสอบละ 100 บาท ค�ำนวณว่าบ้านหนึ่งจะได้ 8 กระสอบ เท่ากับ เงิน 800 ใครไม่เอาก็ได้ แต่ต้องเอาไว้อย่างน้อยหนึ่ง กระสอบ แล้วทีเ่ หลือเรารับซือ้ ทัง้ หมด อย่างน้อยแต่ละ บ้านต้องมีสวนครัว คุณต้องได้ใช้ปยุ๋ นีแ้ น่ พอใช้แล้วจะ รู้ว่าผลเป็นยังไง “ปี ต ่ อ มามี งบ SML ลงมา เราท�ำประชาคม หมู่บ้าน ชาวบ้านเขาก็บอกเองเลยว่าให้เอางบนี้มา ลงทุนท�ำปุ๋ย เราได้งบมา 18,000 บาท ท�ำครั้งแรกได้ กลับมา 22,000 บาท แล้วก็ท�ำต่อมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2550 จนตอนนี้เงินงอกขึ้นมาเป็นหลักแสน เขาก็เห็น ว่าเราท�ำจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่งเดินทางมา พบเราด้ ว ยตั ว เองแล้ ว ให้ ง บสร้ า งโรงเรื อ นผลิ ต ปุ ๋ ย ผมก็ยกที่ดินมุมหนึ่งให้สร้าง ออกรังวัด ยกให้เป็น ลายลักษณ์อักษรเลย ผมตายไปแล้วที่ตรงนี้ก็ยังเป็น ของชุมชนอยู่ คิดเสียว่าเราได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน แล้วกัน “ส่วนทุนสนับสนุนเราไม่เอา อยากให้ชาวบ้านมี ส่วนร่วม ระดมหุ้น หุ้นละ 100 บาท คนละไม่เกิน 20 หุน้ แล้วมีปนั ผลให้ทกุ ปี อย่างปีทผี่ า่ นมาก็เพิง่ ปันผลไป ได้คนละสามสี่ร้อยบาท”


ภัทรพร อภิชิต

ทุกวันนี้พี่โชติวิชญ์กลายมาเป็นวิทยากรของ กรมพัฒนาที่ดิน เดินทางไปเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ สนใจในการปรับปรุงคุณภาพดินทั่วสารทิศ ทั้งสาธิต และสร้างเครือข่ายไปพร้อมกัน หากชุมชนไหนรวมตัว กันท�ำปุ๋ยแล้วขายไม่ได้กย็ งั ยินดีรบั มาหาตลาดให้ด้วย “วิชาของผมหวงไหม ผมไม่หวงหรอก พระองค์ ท่านยังไม่หวง แล้วผมจะหวงท�ำไม” ปุ๋ยชีวภาพบ้านยายแพงใช้แรงงานคนในการ ผสมส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน ไม่ใช่เครื่องจักร เปิดโรง ท�ำปุ๋ยแต่ละครั้งใช้แรงงานในหมู่บ้านไม่ต�่ำกว่า 12 คน ท�ำงาน 2 วัน คลุกจนส่วนผสมเข้ากันดีแล้วคลุมด้วย ผ้ายางให้เกิดความร้อนเป็นไอน�ำ้ ทิง้ ไว้ประมาณ 20 วัน ต้องระดมก�ำลังกลับมาพลิกกองทีหนึ่ง ท�ำอย่างนี้ 3 ครั้ ง กว่ า จะได้ ปุ ๋ ย ชี ว ภาพตามสู ต ร ท� ำ งานคราวละ ครึ่งวัน ได้ค่าแรง 250-300 บาท เลีย้ งข้าวเลีย้ งขนม พร้อม แรงงาน ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ได้รับค่าแรงเท่ากัน เป็นเทคนิคในการซื้อใจ ค�ำนวณ ดูวา่ ไม่ขาดทุนเป็นพอ ถือว่าคืนความสุขให้กบั ชาวบ้าน ต่อไปก็จะเกิดความเกรงอกเกรงใจให้เกียรติกัน

79


80

บางคนที ต�ำบลในฝัน

การใช้แรงงานคนผสมปุ๋ยยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เมื่อชาวบ้านมาท�ำงาน เขาจะได้รู้ได้เห็นส่วนผสม ต่าง ๆ ทีอ่ ยูใ่ นปุย๋ ด้วยตัวเอง ทีแรกบางคนไม่เคยเชือ่ ว่า ปุ๋ยชีวภาพของพี่โชติวิชญ์นี้ดีจริง พอได้มาลงมือท�ำก็ ออกไปพูดได้เลยว่าของจริงเป็นอย่างไร ค�ำพูดจากปาก ชาวบ้านด้วยกันเองย่อมจูงใจกันได้มากกว่า “ปุ๋ยของเรากระสอบหนึ่ง 25 กิโลกรัม ขาย 120 บาท ได้ก�ำไรไม่เท่าไหร่ หักค่าใช้จ่ายแล้วแต่ละครั้งจะ เหลือเพียงหมื่นกว่าบาท ถ้าท�ำแบบธุรกิจจะเหลือเงิน อย่างน้อยสามสี่หมื่น แต่ผมไม่ท�ำ ผมไม่อยากเห็นชาว บ้านโดนหลอก เมื่อก่อนมีรถวิ่งขายปุ๋ยชีวภาพเข้ามา ในหมู่บ้าน ผมไปดูที่โรงงานมาหลายที่แล้ว มันหลอก ลวงทั้งนั้น เขาใส่แค่ดิน ขี้เถ้าแกลบ ขุยมะพร้าว และ ยูเรีย บางกระสอบบอกผสมขีค้ า้ งคาว ซึง่ ทีจ่ ริงแต่งกลิน่ เลียนแบบได้ ปุ๋ยแบบนี้ทดสอบดู เอามือจิ้มลงไปจะ เย็นเจี๊ยบเลย เพราะยูเรียท�ำให้เย็นเกินปกติ เราเลย อยากท�ำของดีออกมาจ�ำหน่ายในราคาไม่แพง ชาวบ้าน ซื้อได้ ไม่ต้องไปโดนเขาหลอกอีก”


ภัทรพร อภิชิต

ปั จ จุ บั น ปุ ๋ ย ชี ว ภาพบ้ า นยายแพงผลิ ต ไม่ พ อ จ�ำหน่าย ตอนนี้ถึงขั้นต้องมีการสั่งจองล่วงหน้าเลยที เดียว การตลาดแบบบ้าน ๆ ที่พี่โชติวิชญ์น�ำมาใช้และ แสนจะได้ผลก็คอื ให้คนในหมูบ่ า้ นช่วยกันเป็นกระบอก เสี ย ง ใครออกไปนอกพื้ น ที่ ก็ บ อกเล่ า เรื่ อ งปุ ๋ ย ของ หมู ่ บ ้ า นให้ ผู ้ อื่ น ได้ รั บ รู ้ ถ้ า แนะน� ำ ลู ก ค้ า ได้ ก็ จ ะมี ส่วนแบ่งให้กระสอบละ 10 บาท ชาวบ้านหมู่ 4 ต�ำบล ยายแพงทุกคนจึงนอกจากจะเป็นผู้ใช้ปุ๋ยโดยตรงแล้ว ยังท�ำหน้าทีเ่ ป็นพ่อค้าตัวแทนปุย๋ ของหมูบ่ า้ นด้วยความ ภาคภูมิใจ

ส น ใ จ ปุ ๋ ย ชี ว ภ า พ ย า ย แ พ ง ติ ด ต่ อ ได้ ที่ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนกลุ ่ ม เกษตรปุ ๋ ย อิ น ทรี ย ์ ชี ว ภาพยายแพง โทร. 08-9778-6855

81


82

บางคนที ต�ำบลในฝัน

อะไรอยู่ในปุ๋ย ปุ๋ย 1 ส่วน ประกอบด้วย: o ขี้วัว 120 กระสอบ o ขี้ไก่ 80 กระสอบ o ขี้หมู 50 กระสอบ o ขี้ค้างคาว 20 กิโลกรัม o หินฟอสเฟต 50 กิโลกรัม o ยิปซัม 50 กิโลกรัม o กระดูกป่น 50 กิโลกรัม o น�้ำหมักชีวภาพ 200 ลิตร ปุย๋ 1 ส่วนจะผสมกับปุย๋ เคมี 10 กิโลกรัม โดยใช้สต ู ร 8-24 ช่วยบ�ำรุงดอกและผล และ สูตร 25-7-7 ช่วยบ�ำรุงใบ ในส่วนของน�ำ้ หมักชีวภาพ มีสว่ นผสม ดังนี้ o ปลาทะเล 40 กิโลกรัม o กล้วยน�้ำว้าสุก 15 กิโลกรัม o น�้ำมะพร้าว 60 ลิตร o กากน�้ำตาล 40 กิโลกรัม o สาร พด.2 ช่วยย่อยสลาย


ภัทรพร อภิชิต

(สารเร่ง พด.2 คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มี ความสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จาก พืชและสัตว์ที่สดหรืออวบน�้ำ ในสภาพที่ไม่มี ออกซิ เ จน จะได้ ข องเหลวที่ ป ระกอบด้ ว ย กรดอินทรีย์และฮอร์โมน สามารถน�ำไปใช้ ในรูปปุ๋ยอินทรีย์น�้ำ เหมาะส�ำหรับพืชผักและ ไม้ผล)

83


5.


ตั้ ง แ ต ่ สมั ย

เด็ ก ๆ เราอาจได้ เ รี ย น ท่องจ�ำกันมาว่า “มีสลึง พึ ง บรรจบให้ ค รบบาท” สอนให้รู้จักการเก็บหอม รอมริบ แต่ในชีวติ จริงเมือ่ โตเป็ น ผู ้ ใ หญ่ บางที ก็ ออมได้ บ ้ า ง ไม่ ไ ด้ บ ้ า ง แถมยังมีกลยุทธ์ทางการ ตลาดมากมายที่เย้ายวนใจให้เราอยากเป็นหนี้ด้วยซ�้ำ ไป ในระบบสังคมชุมชน การออมไม่ใช่แค่เรื่องส่วน บุคคล แต่การออมร่วมกันเป็นหนทางแห่งการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน คือสิ่งจ�ำเป็นที่ช่วยให้สมาชิกใน ชุมชนมีความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูง และ เป็นสวัสดิการชุมชนทีช่ ว่ ยให้คนแต่ละคนเกิดความอุน่ ใจในหลักประกันอันมั่นคงของชีวิต ทุกวันพฤหัสบดีที่ 3 ของเดือน ที่ท�ำการของ กลุ่มออมบุญวันละบาทซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารเรียนเก่าของ โรงเรียนวัดสินวิเศษศรัทธาราม ติดกับที่ท�ำการของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางคนที จะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะเป็นวันนัดเก็บงวดเงินออม กรรมการจะมารวม ตัวกันแต่เช้า ถือโอกาสประชุมประจ�ำเดือนไปด้วย แล้ว จะน�ำเงินออมทั้งหมดที่เก็บได้ไปเข้าธนาคารชื่อบัญชี ของกลุ่มในวันนั้นเลย



ภัทรพร อภิชิต

เราพบกรรมการบางส่วนคือ คุณวันดี คงก�ำเหนิด คุณชยานุช วิมลประดิษฐ คุณอรวรรณ เต็มเปีย่ ม และคุณเพ็ญแข วิมลประดิษฐ พวกเธอทั้งหมดรวมทั้ง กรรมการที่ เ หลื อ เป็ น ผู ้ มี บ ทบาทในชุ ม ชนต� ำ บล บางคนทีและยายแพงในฐานะผู้น�ำ ผู้ช่วย และผู้ใหญ่ บ้าน ไม่ต้องแปลกใจที่กรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ต�ำบลนีผ้ หู้ ญิงมีบทบาทสูง และงานหลายอย่างก็สำ� เร็จ ได้ด้วยพลังของบรรดาดอกไม้เหล็กเหล่านี้ทั้งนั้น พี่วันดีเล่าให้เราฟังว่า เมื่อก่อนนี้ในเขต อบต. บางคนทีไม่เคยมีกลุ่มการออมมาก่อน หรือพูดให้ถูก ก็คือ ถ้ามีก็ล่ม ไปไม่รอดซะส่วนใหญ่ จนกระทั่งมี นโยบายรัฐเรือ่ งการส่งเสริมการออมเพือ่ เป็นสวัสดิการ เกิดแก่เจ็บตายให้กับประชาชนเข้ามา บรรดาผู้ใหญ่ บ้านและผูช้ ว่ ยหมูต่ า่ ง ๆ ปรึกษาหารือกันว่าเป็นแนวคิด ที่มีสาระแก่นสารและจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้าน โดยตรง จึงช่วยกันก่อร่างสร้างกลุ่มขึ้น แต่ปญ ั หาอุปสรรคแรกทีเ่ จอคือไม่ได้รบั ความ ร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของต�ำบล หลังจากเชิญ มาด�ำรงต�ำแหน่งประธาน คณะกรรมการพยายามขับ เคลื่อนกลุ่มอยู่พักใหญ่โดยไม่มีผู้น�ำ โครงการก็ไม่ สามารถด� ำ เนินการได้ต ามความตั้ง ใจเสียที รอจน กระทั่งเนิ่นนานผ่านไป จึงได้นายกฯ เรณู ซึ่งเพิ่งเข้ามา

87


รับต�ำแหน่งสด ๆ ร้อน ๆ ยอมมานัง่ เป็นประธานกลุม่ ให้ ในระยะแรก กลไกต่าง ๆ ถึงเดินต่อไปได้ ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ บรรดากรรมการทุก คนไม่เคยมีความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งกลุ่ม ออมทรัพย์เลยสักนิดเดียว นี่ถือเป็นสิ่งใหม่ของชุมชน พวกเขาไม่รู้แม้กระทั่งว่าจะต้องเริ่มนับหนึ่งกันอย่างไร งานเอกสารทีจ่ ำ� เป็นต้องมีอะไรบ้าง หน่วยพัฒนาสังคม ที่ 59 จึงได้จัดงบฯ ให้กรรมการไปดูงานจากกลุ่มออม ทรัพย์จังหวัดต่าง ๆ ที่ท�ำจนประสบผลส�ำเร็จแล้ว จาก นัน้ กรรมการก็กลับมานัง่ ทบทวนระดมความคิดกัน บาง อย่างที่ได้เรียนรู้จากการดูงานก็ใช่ว่าจะสามารถน�ำมา ใช้ กั บ พื้ น ที่ ไ ด้ เพราะบริ บ ทแวดล้ อ มที่ แ ตกต่ า งกั น นั่นเอง โครงการนี้เริ่มต้นจากการลองผิดลองถูกจริง ๆ แต่ปจั จัยทีท่ ำ� ให้ประสบผลส�ำเร็จจนถึงวันนีไ้ ด้นา่ จะมา จากความมุ่งมั่นตั้งใจและเสียสละของคนกลุ่มที่เป็น กรรมการนี่เอง “แรงผลักดันอันหนึ่งคือ เวลาเชิญไปประชุม ที่ จั ง หวั ด มี ค นพู ด ต่ อ หน้ า ที่ ป ระชุ ม เลยว่ า ต� ำ บล บางคนทีน่ะจัดการเรื่องเงินไม่ได้เลย ตั้งกลุ่มอะไรก็ หายหมด ล้มหมด เขาพูดแบบดูถูกเรา ท�ำให้เป็นแรง ฮึดว่าพวกเราต้องท�ำงานนี้ให้ส�ำเร็จ”


กรรมการของกลุ่มออมบุญวันละบาทต้อง อาศัยความทุ่มเทด้วยจิตอาสา ท�ำงานโดยไม่มีค่า ตอบแทน ท�ำให้บางคนล่าถอยห่างหายไปบ้าง แต่คนที่ เหลืออยู่ก็เรียกว่าล้วนหนักแน่นในหลักการ มั่นคงใน จุดยืนโดยแท้ หลักการของกลุ่มออมบุญวันละบาทคือการ ออมเพื่อมอบเป็นสวัสดิการ เป็นค่าท�ำขวัญเมื่อมีเด็ก เกิดใหม่ เมื่อเจ็บป่วยเบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล และ เมื่อเสียชีวิตจะมีเงินร่วมท�ำบุญให้ก้อนหนึ่ง การออม แบบนี้ไม่มีการปันผล ไม่มีการให้กู้ยืม แต่ออมเพื่อเป็น หลักประกันในยามยากของชีวิต “อันนี้เป็นการออมบุญ เดือนหนึ่งก็ 30 บาท ปกติเราเสียค่าใช้จา่ ยอย่างอืน่ มากกว่านี้ เล่นหวยไม่ได้ อะไรขึน้ มา ไปท�ำบุญตามทีเ่ ขาเรีย่ ไร บางทีกไ็ ม่รวู้ า่ เขา ท�ำจริงหรือไม่จริง แต่อนั นีเ้ ห็น ๆ เลย แม้วา่ สมาชิกบาง คนเราจะไม่รจู้ กั เขา แต่เมือ่ เขาเจ็บป่วยหรือเสียชีวติ ขึน้ มา เงินออมของเราก็ได้ช่วยท�ำบุญกับเขาด้วยแน่นอน ท�ำบุญแค่วันละบาทเดียว จิตใจเราสบาย” ปัจจุบันนี้กลุ่มออมบุญวันละบาทเปิดท�ำการ มาได้ 3 ปี มีสมาชิกทั้งหมด 396 คน มียอดเงินสะสม ในธนาคารกว่า 330,000 บาท และส่วนทีน่ ำ� ไปซือ้ สลาก ออมสินอีก 200,000 บาท รวมแล้วกว่า 500,000 บาท


90

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ถือว่ามั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ละปี จะมีประชุมใหญ่ของสมาชิกหนึ่ง ครั้ ง มี ก ารเปิ ด รั บ สมาชิ ก ใหม่ สี่เดือนครั้ง ผู้ที่จะเป็นสมาชิกได้ ต ้ อ ง เ ป ็ น ค น ใ น พื้ น ที่ ต� ำ บ ล บางคนที แ ละต� ำ บลยายแพง สมัครได้โดยไม่จ�ำกัดอายุ ตั้งแต่ เด็กแรกเกิดจนถึงคนแก่ สวั ส ดิ ก ารที่ ม อบให้ คื อ ค่าท�ำขวัญเด็กแรกเกิด 500 บาท ค่าโรงพยาบาลเบิกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 วัน วันละ 100 บาท กรณีเสียชีวิต หากเป็นสมาชิกใน ช่วงเวลา 6 เดือน - 2 ปี จะได้รับ เงิ น ชดเชย 2,000 บาท อายุ สมาชิ ก 3 – 5 ปี จะได้ รั บ เงิ น ชดเชย 3,000 บาท เมื่ อ มี ส มาชิ ก กลุ ่ ม เสี ย ชี วิ ต กรรมการก็ จ ะไปร่ ว มงาน พร้ อ มมอบเงิ น สวั ส ดิ ก าร เป็ น ความอบอุน่ ทีค่ นในสังคมเดียวกัน แม้ ไ ม่ รู ้ จั ก ก็ ม อบให้ กั น ได้ บาง


ภัทรพร อภิชิต

ครอบครั ว ที่ ไ ม่ ขั ด สนก็ ม อบเงิ น คื น กลั บ มาให้ ก ลุ ่ ม ขณะทีบ่ างครอบครัว เงินสวัสดิการทีไ่ ด้รบั นีอ้ าจมีคา่ มี ความหมายอย่างยิ่ง ช่วยให้สามารถจัดงานศพลุล่วง ไปได้ “รู้สึกเป็นเกียรติกับชีวิตที่ได้ท�ำประโยชน์เพื่อ ชุมชนของเรา ท�ำแล้ว ก็ มี ค วามสุ ข เห็ น คนในชุ ม ชนมี ก าร ออม เพราะบางคน ชี วิ ต เ ข า ไ ม ่ เ ค ย มี หลักประกันเลย สอง คื อ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความ สามัคคีในชุมชน” ในอนาไคต เมื่ อ ฐานะของกลุ ่ ม ออมบุญวันละบาทมี ความมั่ น คงยิ่ ง ขึ้ น แล้ว คณะกรรมการ ตั้งใจไว้ว่าจะขยายสวัสดิการไปสู่เด็กด้อยโอกาสและ คนเฒ่าคนแก่ที่ขาดแคลนต่อไป บุญที่ออมไว้จะไม่ได้ เป็นแค่เรื่องของการเกิดแก่เจ็บตายเท่านั้น แต่จะเป็น อานิสงส์ที่ส่งผลถึงสังคมวงกว้างสืบไป

91


6.


การลงแขก เป็นประเพณีพนื้ บ้านของไทย ที่ใช้วิธีผลัดเปลี่ยนช่วยเหลือกันท�ำงาน สมัยก่อนไม่มี การว่าจ้าง เวลาจะเอาแรงต้องการคนช่วยท�ำงานต้อง เรียกระดมเพื่อนบ้านมาช่วย เสร็จแล้วก็ต้องผลัดไป ท�ำตอบแทนคืนให้เขาด้วย ผู้คนพึ่งพากันแบบถ้อยที ถ้อยอาศัย มาถึงเดี๋ยวนี้ระบบลงแขกแทบจะหายไป จากสังคมไทย เราใช้เงินจ้างแรงงานแทน แต่ทบี่ างคนที มี ก ารฟื ้ น ฟู ธ รรมเนี ย มการลงแขกเพื่ อ ท� ำ งาน สาธารณประโยชน์ในลักษณะของจิตอาสา อย่างเช่น กิจกรรมลงแขกลงคลอง โดยผู้น�ำท้องถิ่นและท้องที่ท�ำ เป็นแบบอย่าง สร้างจิตส�ำนึกให้ชาวบ้านมาร่วมกันท�ำ สิง่ ดี ๆ เพือ่ ท้องถิน่ นอกจากบรรลุวตั ถุประสงค์หลักของ กิจกรรมตามที่ตั้งไว้แล้ว ผลพลอยได้อย่างอื่นที่ตามมา จากการลงแขกคือ สมาชิกในชุมชนได้ใกล้ชิดผูกพันกัน ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี และการช่วยเหลือเกือ้ กูล ท�ำให้ท้องถิ่นน่าอยู่ขึ้น ไพบู ล ย์ เจริ ญ สมบั ติ หรื อ อาหมอ สมาชิ ก องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางคนที ผูเ้ ป็นแกนน�ำหลักใน กิจกรรมลงแขกลงคลองอธิบายให้เราฟังว่า จังหวัด สมุทรสงครามทั้งสามอ�ำเภอนั้นเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ติด ทะเล เวลาน�ำ้ ขึน้ จะเพิม่ ระดับสูงท่วมพืน้ ที่ คนสมัยก่อน ได้ใช้ภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการคิดสร้างบ้านแปง


94

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เมืองให้คนสามารถอยูร่ ว่ มกับน�ำ้ และใช้นำ�้ ได้อย่างปกติ สุขด้วยการวางผังขุดคลองท�ำดินยกร่อง อาหมอบอก ว่า ร่องสวนแทบทัง้ หมดเกิดจากการขุดด้วยแรงงานคน ถึงได้เป็นรูปเหลีย่ มเป็นสัดเป็นส่วนสวยงาม โดยเฉพาะ ในเขตอ�ำเภอบางคนทีทั้งอ�ำเภอ พื้นที่จะคล้าย ๆ กัน หมด แบ่งเป็นหนึ่งขนัดสวนเนื้อที่ประมาณไม่เกิน 10


ภัทรพร อภิชิต

ไร่ ในทุกขนัดสวนจะมีการวางระบบจัดการน�้ำเข้าน�้ำ ออกเอาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าสวนจะอยู่ใกล้หรือไกลจาก แม่น�้ำและล�ำคลองก็จะมีน�้ำส่งเข้าไปหาทุกพื้นที่ การขุดคลองด้วยสองมือของคนโบราณคือ งานที่ละเอียดประณีต เวลาน�้ำขึ้นก็ไหลขึ้นทั่วถึงทุก พืน้ ที่ เวลาน�ำ้ ลงก็ลดระดับลงแห้งยันถึงปากอ่าว ระดับ ความลาดเอียงสอดคล้องกันหมด ไม่เหลือเศษวัชพืชให้เจริญเติบโตใน ท้องร่องได้ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ระบบ ทางน�้ำก็มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมี ถนนมาแทนล�ำคลอง คนหันไปใช้รถ แทนเรือ ล�ำคลองหลายสายไม่ได้รับ การเหลียวแล ไม่มีการขุดลอก หรือ ไม่ทางการก็ขดุ ลอกโดยใช้รถแบ็คโฮ เพื่อความสะดวก แต่รอยจ้วงจาก เครื่องจักรท�ำให้พื้นคลองเป็นหลุม เป็ น บ่ อ เมล็ ด วั ช พื ช ฝั ง ตั ว เจริ ญ เติบโตได้ ล�ำคลองจึงยิง่ ตืน้ เขินจนถึง ขั้นตีบตัน รวมทั้งผลจากสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ ขวางทางน�้ำ เช่น คอสะพาน ที่ ตี บ แคบ หรื อ สร้ า งอาคารรุ ก ล�้ ำ

95


96

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ล�ำน�ำ้ สาธารณะ ข้อนีม้ กั เกิดบ่อยกับคนต่างถิน่ ทีม่ าซือ้ ที่ซื้อทางปลูกบ้านในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งไม่ได้ เรียนรูม้ าก่อนว่าจะอยูเ่ มืองสามน�ำ้ ต้องคิดหาทีท่ างให้ น�้ำอยู่ด้วย กิจกรรมลงแขกลงคลองจึงเกิดขึ้นด้วยความ ส�ำนึกของคนในพื้นที่ว่า ต้องร่วมใจกันดูแลอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคูคลองสาธารณะ ให้ยั่งยืนต่อไป ไม่อย่างนั้น สักวันหนึ่งเมื่อระบบน�้ำ ระบบคลองล่มสลาย หายนะความเดือดร้อนก็จะมา เยือนพวกเขาแน่ ๆ “เมื่อก่อนชาวบ้านก็ชวนกันมาลงแขกลงคลอง ในวันส�ำคัญ ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันแม่

ไพบูลย์ เจริญสมบัติ


ภัทรพร อภิชิต

วันพ่อ ร่วมกันพัฒนาในคลอง ตัดแต่งกิ่งไม้ เก็บขยะ แล้วแต่ความสมัครใจว่าใครมีเวลาว่างก็มา แต่มาท�ำ อย่างเป็นจริงเป็นจังเมื่อปีเศษ ๆ ที่ผ่านมานี้เอง เป็น โครงการของ อบต. รวมกันท�ำทัง้ 13 หมู่ ทุกเดือน เดือน ละครั้งในวันเสาร์แรกของเดือน เราจับฉลากไว้ก่อนว่า หมู่ไหนได้หมู่แรก เรียงไปถึงหมู่ที่ 13 หมุนเวียนกันไป ผู้น�ำชุมชนทุกคนก็รู้แล้วว่าวันนั้นต้องท�ำตัวให้ว่าง” อาหมอบอกว่ า กิ จ กรรมจิ ต อาสาอย่ า งนี้ จ ะ ส�ำเร็จได้ก็ต้องอาศัยผู้น�ำชุมชน สมาชิก อบต. ผู้ใหญ่ บ้านและผู้ช่วย ร่วมใจท�ำตัวเป็นแบบอย่างให้ชาวบ้าน ก่อน ข้อดีอีกอย่างของการร่วมกิจกรรมก็เลยเป็นการ ท�ำให้ผู้น�ำชุมชนได้มารู้จักกัน เพราะยิ่งสภาพสังคม เปลี่ยนไป แม้แต่ผู้น�ำเองก็ไม่เคยเห็น หน้าค่าตากัน ไม่รวู้ า่ ใครเป็นใคร เมือ่ ได้ พบเจอกันก็มโี อกาสสังสรรค์พดู คุยแลก เปลี่ยน ท�ำให้ความสัมพันธ์ในชุมชน แน่นแฟ้นขึ้นมาก

97


98

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ส่วนการด�ำเนินกิจกรรมลงแขกลง คลอง อาหมอบอกว่าไม่ได้ใช้งบประมาณ จาก อบต. สักบาท แต่เขาใช้วิธีขอให้ผู้น�ำ ชุมชนช่วยกันลงขันออกเงินคนละนิดละ หน่ อ ย ซื้ อ ข้ า วปลาอาหารหรื อ ขนมมา เลี้ยงกัน “นายกฯ บอกให้ของบฯ ได้ แต่ผม ว่าใช้น�้ำใจดีกว่า ใครมีอะไรก็หิ้วมา ใครมี สวน พอถึงหน้าผลไม้ก็เอามาให้หลัวสอง หลัว เป็นการเอื้อซึ่งกันและกัน” กิจกรรมลงแขกลงคลองของ อบต. บางคนที แต่ละครั้งจะคึกคักสนุกสนาน เฉพาะผู้น�ำที่มาร่วมกันก็ 80 คนเข้าไป แล้ว ทัง้ ยังมีประชาชนในพืน้ ทีห่ มูน่ น้ั ๆ มา ร่วมด้วยช่วยกัน คนต่างพืน้ ทีท่ นี่ กึ สนุกมา เข้าร่วมด้วยก็มี หมู่ไหนเอาการเอางาน หน่อยจะมีผมู้ าร่วมลงแขกถึง 200 คน พอ มาแล้วก็จะมีการแบ่งจุดกันท�ำงาน เพราะ ล� ำ คลองและล� ำ ประโดงในแต่ ล ะหมู ่ มี ความยาวนับสิบกิโลเมตร พวกเขาช่วยกัน เก็บขยะ เก็บสวะเศษไม้ในล�ำคลอง ตัด ต้นไม้ที่ล้มขวางคลอง ท�ำความสะอาด


ภัทรพร อภิชิต

ล�ำคลองให้น�้ำไหลผ่านได้สะดวก ใช้เวลา ครึ่งวันท�ำงานเสร็จก็กินข้าวร่วมกัน ก่อน จะแยกย้ายกลับบ้าน หลังจากท�ำมาจนเวียนครบทุกหมู่ แล้ว อาหมอบอกว่าจ�ำนวนชาวบ้านมีแนว โน้มจะมาร่วมลงแขกลงคลองกันมากขึ้น “ช่วงแรก ๆ ชาวบ้านอาจมองว่า ที่ พวกเรามาท�ำก็เพราะได้งบประมาณมา แล้วก็เอามาใช้แค่นั้นเอง ที่จริงไม่มีงบ ประมาณ แต่เราท�ำจริง เนรมิตให้คลอง เปลี่ยนสภาพได้” กิจกรรมลงแขกลงคลองในพื้นที่ อื่นอาจไม่ได้จริงจัง หรือท�ำแค่สร้างภาพ ถ่ายรูปนิดหน่อยแล้วจบ แต่ไม่ใช่ส�ำหรับ ที่นี่ เพราะคนอย่างอาหมอและชาวบ้าน บางคนที บ้านยายแพงตระหนักว่า บ้าน ของพวกเขาน่าอยู่ที่สุดในโลก ธรรมชาติ ส่ ง น�้ ำ จื ด ที่ ส ะอาดคุ ณ ภาพดี ม าให้ ใ ช้ ตลอด 365 วันต่อปี ไม่เคยขาด ต้องช่วย กั น รั ก ษาหรื อ อย่ า งน้ อ ยก็ ไ ม่ ท� ำ ลายไป มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อลุ่มน�้ำนี้ จะได้เป็นสวรรค์ของพวกเขาตลอดไป

99


7. ดาหลาในสวนมะพร้าว


ภัทรพร อภิชิต

สี สั น อย่ า งหนึ่ ง ของตลาดน�้ ำ บางน้ อ ย รวม ทั้ ง ตลาดน�้ ำ อั ม พวา นอกเหนื อ จากวิ ถี ชี วิ ต ริ ม น�้ ำ บรรยากาศสบาย ๆ ริมคลอง ขนมและอาหารหน้าตา น่ารับประทานในกระทงใบตองแล้ว ยังมีดอกไม้รปู ทรง สวยสีขาว แดง และชมพู ให้คนเดินตลาดซื้อหาชื่นชม ด้วย ‘ดาหลา’ ดอกไม้ก้านยาวที่แต่ก่อนแต่ไรไม่ใคร่ มีใครนิยมน�ำมาปักแจกัน เดีย๋ วนีพ้ บเห็นแทบทุกทีแ่ ถบ บางคนที จนบางคนเผลอคิดว่า เป็นดอกไม้ประจ�ำถิ่น ไปเสียแล้ว

101


102

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ประเทือง สุขประเสิรฐ


ภัทรพร อภิชิต

ด อ ก ด า ห ล า ที่ เรี ย งรายในร้ า นดอกไม้ หรื อ วางขายกั น ในอ� ำ เภอ อั ม พวาและบางคนที นั้ น มาจากแหล่งปลูกที่ต�ำบล บางคนที แต่ที่จริงคนเก่า คนแก่บอกว่า ดาหลาไม่ใช่ พืชพรรณทีม่ อี ยูใ่ นเรือกสวน แต่ เ ดิ ม หรอก เรื่ อ งราว น่ า ชื่ น ใจของดอกดาหลา ขยายความโดยประเทื อ ง สุขประเสิรฐ แกนน�ำกลุ่ม ไม้ตดั ดอก (ดาหลา) ซึง่ บอก ว่ า ที่ จ ริ ง เรื่ อ งเริ่ ม มานาน มากแล้ ว ตั้ ง แต่ ป ี 2538 เ กื อ บ จ ะ ยี่ สิ บ ป ี ที เ ดี ย ว ก� ำ นั น เป็ ด หรื อ ธวั ช สุ ข ประเสริ ฐ เจ้ า ของกิ จ การ ข้าวหลามแม่ส�ำเภา หนึ่งในของดีบางคนทีรุ่นปัจจุบัน ได้ทดลองน�ำหน่อดาหลาแค่ 20 หน่อจากภาคใต้มา ปลูกตามท้องร่องว่าง ๆ ในสวนมะพร้าว

103


104

บางคนที ต�ำบลในฝัน

หลังจากปลูกแล้วก�ำนันเป็ดได้ทดลองตัดดอก ดาหลาไปฝากขาย ไม่นานพี่ประเทืองก็สนใจเข้าร่วม อีกคน เพราะน�ำ้ ท่วมปี 2539 ทีท่ ำ� ให้มะพร้าวเสียหาย อย่างหนัก ชาวสวนจึงต้องพยายามมองหาช่องทาง ใหม่ ๆ การปลู ก ดาหลาเริ่ ม ขยั บ เป็ น รู ป เป็ น ร่ า งใน ปี 40 นีเ่ อง อาศัยงบฯกระตุน้ เศรษฐกิจซึง่ สนับสนุนโดย อบต. บางคนที คราวนี้ ส มาชิ ก เริ่ ม รวมตั ว กั น ได้ และตั้ ง กลุ ่ ม ดอกดาหลาขึ้ น โดยมี พี่ ป ระเทื อ งเป็ น ประธาน หลังจากนั้น สมาชิกก็ค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องการ ปลูกดอกดาหลา ได้ปุ๋ยชีวภาพจากกลุ่มพี่โชติวิชญ์ มาใช้ปรับปรุงดิน ในที่สุดก็สรุปได้ว่าดอกดาหลาเป็น พืชทีส่ ามารถอยูร่ ว่ มกับมะพร้าวและไม้ผลอืน่ ๆ ในสวน ได้อย่างกลมกลืน


ภัทรพร อภิชิต

จากเดิ ม ที่ ต ้ อ งเสาะหาซื้ อ กล้ า ดาหลา สมาชิ ก กลุ ่ ม ก็ เ ริ่ ม ขยายหน่ อ เอง มี ก ารคั ด เลื อ ก ค้ น หาสายพั น ธุ ์ ที่ เ หมาะกั บ สภาพดิ น น�้ ำ ในพื้ น ที่ สมุทรสงคราม หาดาหลาหลากสีสันเพิ่ม จากแดง ชมพู มีการหาหน่อดาหลาสีขาวมาปลูกไป ๆ มา ๆ กลับกลายเป็นว่า เดี๋ยวนี้มีดอกดาหลาเบ่งบานอยู่ใน ตามเรือกสวนหลายแห่งของบางคนที ท�ำรายได้ดี ไม่แพ้มะพร้าวเสียด้วย ในส่วนของการขาย ดอกดาหลาทีอ่ วดโฉมอยู่ ตามตลาดน�้ ำ ยั ง คงเป็ น ที่ นิ ย มของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว จนกระทั่งปัจจุบันได้ขยายช่องทางการขายไปสู่โลก อินเตอร์เนต ส�ำหรับจ�ำหน่ายแก่ผู้ที่ไม่อาจแวะมา เที่ยวชมซื้อหาถึงถิ่น สองปีที่ผ่านมากลุ่มยังได้รับการ สนับสนุนผ่านกองทุนส่งเสริมอาชีพเศรษฐกิจชุมชน อีกระลอก ท�ำให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ชาวสวนที่กู้ยืม เงินมาซื้อหน่อดาหลาและลงทุนอื่น ๆ ในตอนแรกเริ่ม ทยอยคืนเงิน มีผู้สนใจปลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ

105


106

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ผู้สนใจสั่งซื้อ นอกจากการสนั บ สนุ น เรื่ อ ยมาจาก อบต. บางคนทีแล้ว เทศบาลต�ำบลกระดังงานับเป็นลูกค้า ขาประจ�ำทีร่ บั ซือ้ ดอกดาหลาจากกลุม่ เพือ่ น�ำไปแปรรูป เป็นน�้ำดอกดาหลาจ�ำหน่าย ตลาดน�้ำอัมพวา เป็น แหล่งรับซื้อดอกดาหลาขนาดใหญ่และเป็นเสมือน สถานทีป่ ระชาสัมพันธ์ให้คนรูจ้ กั ดอกดาหลาของต�ำบล บางคนทีมาตลอด ในชุมชนเอง เครือข่ายที่สนับสนุน ก็เช่น ชมรมผู้สูงอายุน�ำดอกหลาไปตกแต่งประดับ สถานที่ในงานกิจกรรมของชมรม รวมทั้งงานศพ งาน บุญโดยประชาชนทัว่ ไปทีน่ า่ รักเป็นพิเศษก็คอื กลุม่ ดอก ดาหลาได้ น� ำ ก� ำ ไรจากการขายดอกไม้ แ ก่ ผู ้ สู ง อายุ วนกลับมาเป็นการเลี้ยงอาหารผู้สูงอายุอีกทีหนึ่ง สมาชิกส่วนใหญ่จากจ�ำนวน 13 คนในปัจจุบัน บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นอกจากจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วการปลูกดอกดาหลา ตั้งแต่เตรียมดิน ปลูกหน่อ ดาหลา ไปจนถึงการคอยดูแล โกยดินกลบโคนต้น ตัด แต่งต้น ใบ ดอก รดน�้ำล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ท�ำให้ ได้ใช้แรง ท�ำให้รสู้ กึ กระฉับกระเฉง มีชวี ติ ชีวากว่าเดิม


เดีย๋ วนีด้ อกดาหลาไม่ได้อยูแ่ ค่ในแจกันอีกแล้ว ยังมีย�ำดอกดาหลา อาหารจานย�ำสีสวยสด มีสบู่ดอก ดาหลาสวยหอม เปี่ยมสรรพคุณทางสมุนไพร แล้วถ้า ใครมาบางคนที เที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ จนจุใจแล้ว ขอเชิญชิมน�้ำดาหลาสีชมพูหวานชื่นใจรวมทั้งขนม อื่น ๆ ที่มีดอกดาหลาเป็นส่วนประกอบฝีมือพี่มล จาก บ้านสวนเบเกอรีด้วย


108

บางคนที ต�ำบลในฝัน

นอกจากนี้ ปรากฏว่า ขนม สบู่ หรือน�้ำดอก ดาหลายังมีส่วนส่งเสริมให้ชาวสวนลด หรือถึงขั้นงด ฉีดพ่นสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงในสวน ทั้งในแง่อาหาร ปลอดภัย และการรักษาสภาพแวดล้อมผ่านการเกษตร แบบปลอดสารอันเป็นนโยบายสาธารณะที่ส�ำคัญของ ต�ำบลบางคนที และถ้าดื่มด�่ำดอกดาหลาด้วยสายตาแล้ว ลิ้ม รสลงกระเพาะแล้วยังไม่หน�ำใจ อยากจะไปให้ถงึ ต้นตอ ว่าดอกไม้สีสวยนี้มาจากไหน ก็ต้องตรงไปที่บ้านสวน ของพี่ประเทือง ซึ่งเดี๋ยวนี้คึกคักมีชีวิตชีวาเพราะเป็น ทั้งที่ท�ำการกลุ่ม ที่พบปะนัดหมายของสมาชิก รวมทั้ง ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ส�ำหรับผู้สนใจ มีวิทยากรรอให้ ความรู้เรื่องดาหลาอยู่ถึง 3 ท่าน ได้แก่ ตัวพี่ประเทือง เอง ก� ำ นั น เป็ ด และวิ ท ยากรหญิ ง อี ก ท่ า น คื อ พี่ เอี่ยมวรรณ มีเย็น


ภัทรพร อภิชิต

109

ใครที่สนใจซื้อหาหรือหาความรู้เกี่ยวกับ ดอกดาหลา การปลูก การดูแลรักษาสามารถแวะ มาที่นี่ได้ เพราะเป็นสถานที่จัดจ�ำหน่าย และ จุดนัดพบของผู้ประกอบการแบบครบวงจร หรือโทรศัพท์ติดต่อประเทือง สุขประเสริฐ โทร. 09-7793-5833 ธวัช สุขประเสริฐ โทร. 08-6169-9653


8. ของดีบางคนที


ใครทีเ่ คยผ่านไปผ่านมาจากถนนหน้า

ตลาดน�้ ำ อั ม พวา ผ่ า นอุ ท ยาน ร.2 มาถึ ง ตลาดน�้ ำ บางน้อย ช่วงก่อนถึงตลาดน�้ำบางนกแขวก ถ้าสังเกต ดี ๆ มองไปทางซ้ายมือจะเห็นแผงกระบอกข้าวหลาม เรียงรายเป็นทิวแถวบนเตาเผาอย่างเป็นระเบียบอยู่ ริมถนน นัน่ แหละคือของดีบางคนทีทเี่ ราภูมใิ จน�ำเสนอ

“ข้าวหลามแม่ส�ำเภา”


112

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ธวัช สุขประเสริฐ หรือทีช่ าวบ้านเรียกหาคล่อง ปากว่า ก�ำนันเป็ด ก�ำลังง่วนอยู่กับการพลิกกระบอก ข้าวหลามบนเตา ทุกเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์ ก�ำนันเป็ด จะยืนประจ�ำท�ำหน้าที่ตรงนี้เสมอ ลูกค้าทั้งคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวจะทยอยมาซื้อข้าวหลามไม่ขาดสาย ก่ อ นจะตกบ่ า ยเมื่ อ ขายข้ า วหลามหมด เขาก็ อ าจ หายตัวเข้าไปอยู่ในสวน ท�ำงานเงียบ ๆ ก�ำนันเป็ดเป็นลูกของแม่สำ� เภา ซึง่ ถ้ายังมีชวี ติ อยู่ก็จะอายุ 97 ปีนี้ ก�ำนันบอกว่าแม่ เผาข้าวหลามเลี้ยงลูกทั้งเจ็ดเติบโต เป็นผูเ้ ป็นคนได้กเ็ พราะข้าวหลามนีเ่ อง ว่าแล้วก็เล่าประวัติสั้น ๆ เส้นทางสาย ข้าวหลามของแม่ส�ำเภาว่า เดิมทีแม่ ส�ำเภามีอาชีพท�ำน�้ำตาล และรับจ้าง เผาข้าวหลาม จากนั้นก็เริ่มขยับมารับ ข้าวหลามไปขายตามตลาดนัดซึ่งท�ำ รายได้ดีกว่า ต่อมาก็เผาข้าวหลามเอง แล้วพายเรือส�ำปั้นไปขาย จากนั้นก็ เขยิบไปขายทีว่ ดั ช่วงเวลามีงาน ท�ำเตา ยกพืน้ เลือ่ ยกระบอกจากบ้าน บรรทุก ใส่เรือมาดไป จนถึงขัน้ ว่าแม่สำ� เภายก ร้านไปอยู่ที่วัดเต็มตัวเลย ท�ำกันสด ๆ


ธวัช สุขประเสริฐ


114

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เผากันร้อน ๆ ฝ่ายก�ำนันเป็ดก็อยู่เป็นลูกมือคอยช่วย ตลอด ตัง้ ร้านกลางลานวัด นอนกลางดินกินกลางทราย จนกว่างานวัดจะเลิกถึงเก็บร้านกลับบ้าน ก่อนจะมาเป็นลูกไม้ตกใต้ต้น ก�ำนันเป็ดไป เรียนก่อสร้างจนจบ ท�ำงานคุมก่อสร้างคอนโดฯ แต่วัน หนึ่งพอกลับมาบ้าน เห็นแม่อายุมากเผาข้าวหลาม ขายหน้าบ้าน ขายดิบขายดี จึงตัดสินใจลาออกจาก งานทันที เขากลับมาเดินตามรอยแม่ เดินหน้าสืบทอด กิจการข้าวหลามแม่ส�ำเภาเต็มตัว ในย่านบางคนทีนั้นมีอาชีพท�ำข้าวหลามขาย ในหน้าหนาวอยู่หลายเจ้า แต่ก�ำนันเป็ดเปลี่ยนมาท�ำ ขายทุกวันไม่เลือกฤดูกาล ในบรรดาข้าวหลามหลาย เจ้าที่ว่านั้น บ้างก็เลิกราไป บ้างก็ไม่มีคนสืบทอด ขณะ ทีข่ า้ วหลามแม่สำ� เภากิจการมีแต่จะโตมัน่ คงขึน้ เพราะ ก�ำนันเป็ดถือมั่นในคุณภาพ จนเป็นที่ยอมรับและ เลื่องลือกันทั่วไปว่า ข้าวหลามแม่ส�ำเภายุคก�ำนันเป็ด หอมหวานมันอร่อยสุดยอดจริง ๆ “ถ้าเราสุกเอาเผากินก็อยู่ไม่ได้ ต้องรักษา คุณภาพ คงเส้นคงวา รสชาติต้องเสมอ ไม่มั่ว” เคล็ดลับความอร่อยของข้าวหลามก�ำนันเป็ด คือเลือกใช้ขา้ วเหนียวเขีย้ วงูของเชียงราย ซึง่ อร่อยและ นิม่ กว่าข้าวเหนียวจากทางอีสาน แม้ราคาสูงกว่าก็ยอม


ข้ า วหลามแม่ ส� ำ เภา บางคนที จ�ำหน่ายทั้งปลีกและส่ง โทร. 08-6169-9653


116

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ลูกค้าขาประจ�ำมักเรียกร้องว่า ถ้าข้าวของแพง จะปรับ ราคาข้าวหลามขึน้ ตามสภาพเศรษฐกิจก็ไม่วา่ ขออย่าง เดียวอย่าลดคุณภาพ รสชาติไม่เปลีย่ นแปลง เท่านีก้ พ็ อ ข้าวหลามแม่ส�ำเภาสืบทอดมาได้ด้วยความ ซือ่ สัตย์และให้เกียรติในอาชีพ ผ่านมาบางคนทีอย่าลืม หาโอกาสแวะชิมหรือซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับ ไปให้ได้ แต่ขอเตือนไว้ก่อนว่า ถ้าอร่อยติดใจ ต้องกลับ มาบางคนทีอีกบ่อย ๆ นะเออ


ภัทรพร อภิชิต

117


118

บางคนที ต�ำบลในฝัน

ภาคผนวก องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางคนที

ความเป็ น มา จัดตั้งขึ้นโดยประกาศ

กระทรวงมหาดไทย ได้ยกฐานะสภาต�ำบลบางคนที เป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลบางคนทีต้ังแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และต่อมากระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยุบรวมองค์การบริหารส่วนต�ำบลยายแพง กั บ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลบางคนที เ มื่ อ วั น ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547


ภัทรพร อภิชิต

ที่ตั้ง อยู่ในเขตพื้นที่อ�ำเภอบางคนที จังหวัด

สมุทรสงคราม โดยมีระยะทางจากที่ท�ำการองค์การ บริหารส่วนต�ำบลถึงที่ว่าการอ�ำเภอบางคนทีประมาณ 3 กิ โลเมตร และอยู่ห่างจากจัง หวัด สมุทรสงคราม (ศาลากลางจั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม) ประมาณ 15 กิโลเมตร

119


120

บางคนที ต�ำบลในฝัน

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลต�ำบลบางนกแขวก และต�ำบลตาหลวง อ�ำเภอด�ำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับต�ำบลจอมปลวกและต�ำบล กระดังงา ทิศตะวันออก ติดต่อกับต�ำบลตาหลวง อ�ำเภอ ด�ำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับต�ำบลบางยี่รงค์ (แม่น�้ำ แม่กลอง) เนื้อที่ทั้งหมด 5,311.5 ไร่ หรือ 8.49 ตาราง กิโลเมตร


ภัทรพร อภิชิต

121


หมู่ที่ 1 บ้านบางคนที

หมู่ที่ 2 บ้านบางคนที

3 3

3

3

หมู่ที่ 8 บ้านบางคนที

โรงเรียน วัดบางคนที

บ้า

แม

วัดบางคนทีไน

่น�้ำ อง

่กล

แม

3

17

หมู่ที่ 9 บ้านบางคนที

1. มะพร้าวขาว 2. อสม. 3. ลงแขกลงคลอง 4. เย็บกระทง 5. วิสาหกิจชุมชน 6. ปราชญ์ชาวบ้าน 7. ธรรมชาติบ�ำบัด 9. ออมทรัพย์ 10. ดอกดาหลา

3

11 12 13 หมู่ที่ 7 14 บ้านบางคนที 15 16 3 17 หมู่ที่ 5 บ้านบางคนที หมู่ที่ 4 บ้านบางคนที 10 3 อยต. บางคนที

ต. อ.


ต. ตาหลวง อ. ด�ำเนินสะดวก

แหล่งเรียนรู้ ‘บางคนที’

หมู่ที่ 1 ต. ยายแพง

ต. ตาหลวง อ. ด�ำเนินสะดวก

3

หมู่ที่ 2 ต. ยายแพง

19 3 หมู่ที่ 3 านบางคนที

1

โรงเรียน บ้านยายแพง

2 3 4

อนามัย บ้านยายแพง

5 6

โบสถ์คริสต์ วัดบางน้อย

7

กระดังงา บางคนที

3 หมู่ที่ 5 ต. ยายแพง

9

3 หมู่ที่ 3 ต. ยายแพง

8

11. ศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีทางการเกาษตร 12. บริหารจัดการต�ำบล 13. กองทุน สปสช. 14. ศูนย์เสริมความสุข 15. ชมรมผู้สูงอายุ

ต. จอมปลวก อ. บางคนที

16. สมุนไพรลูกประคบ 17. ออมบุญวันละบาท 18. จักสานไม้ไผ่ 19. โรงเรียนวิถีพุธ 20. การบริหารจัดการปะปา


124

บางคนที ต�ำบลในฝัน

หมูบ ่ า้ น มีหมูบ่ า้ นในเขตปกครองทัง้ หมด 13 หมู่บ้าน ดังนี้

ต�ำบลบางคนที

หมู่ที่ 1 บ้านบางคนที หมู่ที่ 2 บ้านบางคนที หมู่ที่ 3 บ้านบางคนที หมู่ที่ 4 บ้านบางคนที หมู่ที่ 5 บ้านบางคนที (คลองระก�ำ) หมู่ที่ 7 บ้านบางคนที หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งน้อย หมู่ที่ 9 บ้านบางคนที (บางกล้วย)

ต�ำบลยายแพง

หมู่ที่ 1 บ้านยายแพง หมู่ที่ 2 บ้านยายแพง (บ้านสะพานแดง) หมูท่ ี่ 3 บ้านยายแพง (บ้านปากคลองบางน้อย) หมู่ที่ 4 บ้านยายแพง (บ้านคลองเขาควาย) หมูท่ ี่ 5 บ้านยายแพง (บ้านปากคลองเขาควาย) • หมายเหตุ หมู ่ 6 อยู ่ ใ นเขตปกครองของ เทศบาลต�ำบลบางนกแขวก


ภัทรพร อภิชิต

ประชากร

จ�ำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,417 คน แบ่งออกเป็นประชากรต�ำบลบางคนที จ�ำนวน 1,861 คน แยกเป็นชาย 887 คน หญิง 974 คน และประชากรต�ำบลยายแพงจ�ำนวน 1,556 คน แยก เป็นชาย 725 คน หญิง 831 คน

125


126

บางคนที ต�ำบลในฝัน

เพลงศักยภาพชุมชน ค�ำร้อง-ท�ำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย

หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี ่ ย มความ สามารถ เป็นก�ำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้ อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�ำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�ำนาท�ำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชมุ ชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพนื้ ฐาน จากหมู่บ้านต�ำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน


ภัทรพร อภิชิต

ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเราเรี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น เพื่ อ การ พัฒนา ชุมชนท้องถิน่ บ้านเราเรียนรูร้ ว่ มกันช่วยกันพัฒนา อยูต่ ามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ มัน่ ก้าวออกมาจากรัว้ ทีก่ นั้ จับมือกันท�ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน�ำ้ ใจ โอบกอดชุมชนไว้ดว้ ยความสุข ยืนนาน หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ท� ำ สิ่ ง ไหนก็ ไ ม่ เ กิ น แรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เ ราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ

127



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.