บ้านต๋อม

Page 1


บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข เรื่องและภาพ พัชรินทร์ สุอินไหว ภาพประกอบ ชาวาร์ ปก หนวดเสือ ออกแบบรูปเล่ม ขวัญเรียม จิตอารีย์ พิสูจน์อักษร เจริญพร เพิ่มบุญ พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2556 เลข ISBN บรรณาธิการอ�ำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

กองบรรณาธิการ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org

ด�ำเนินการผลิตโดย


มีหอพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ย็น เ น อ ต น า ๊ ว ี่ยวก ขี่จักรยานเท ครับ ีนะ ด ศ า ก า ย ร บร

มีวังมัจฉา

มีดอกบัวให้กิน

มีร้านก๋ว

มีกว๊านพะเยา

ยเตี๋ยวอ

ร่อย

มีพวกเรา กลุ่มเด็กลานผญ๋าฯ

บ้านต๋อมของเรามี... มีปลาหมอ ปลานลิ

ปลาบึก

มีกระเป๋าผักตบชวา ือง

เฟ ะ ม ่ ี จ น ้ ิ ล มีล�ำไย

น า ๊ ว ก ง ิ อ ด มีหา

มีรปู ปั้นพญานาค

เยาวชนลานผญ๋า สืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาบ้านต๋อม


ค�ำน�ำ เมื่อไม่นานมานี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยว ที่ ไ หนสั ก แห่ ง เรามั ก จะมี จิ น ตนาการด้ า นดี เ กี่ ย วกั บ สถานที่ที่เราก�ำลังจะไป...ทะเลสีฟ้าใส หาดทรายทอด ยาวสีขาวจัด ภูเขาครึ้มหมอกโรยเรี่ยยอดไม้ อาหาร ท้องถิ่นรสชาติแปลกลิ้นแต่ถูกปาก ชาวบ้านจิตใจดี คอนหาบตะกร้า ฉีกยิ้มบริสุทธิ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ฯลฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลาที่เรานึกอยากจะไปเที่ยวที่ไหน สักแห่ง เรามักพกพาอารมณ์โหยหาอดีต ก่อนลงมือ ค้นหาข้อมูลพิกดั ต�ำบลเป้าหมายทีจ่ ะพาเราพบ ...อาคาร บ้านเรือนยุคคุณปู่คุณย่า ตลาดเก่าแก่ กาแฟโบราณ ของเล่นสังกะสี ขนมกินเล่นหน้าตาเชย ๆ แต่อร่อย เพราะปรุงแต่งด้วยรสชาติอดีต ฯลฯ จินตนาการและความคาดหวังท�ำนองนี้ บางทีก็ สมดั ง ใจ แต่ ห ลายครั้ ง ก็ ค ลาดเคลื่ อ นไปจากภาพที่ คิดเอาไว้ คลาดเคลื่อนเพราะข้อเท็จจริงหลายประการ เปลี่ยนไป แล้ ว ทุ ก วั น นี้ เรายั ง มี จิ น ตนาการและอารมณ์ ความรู้สึกชนิดใดอีก เมื่อคิดถึงการท่องเที่ยวศึกษา บ้านเมืองของเราเอง

ความจริงมีอยูว่ า่ ปัจจุบนั นีช้ มุ ชนทุกต�ำบลหย่อม ย่านในประเทศไทยล้วนก�ำลังเปลี่ยนไป และแน่นอนว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้หาได้มีความหมายเชิงลบ หลายปี ที่ ผ ่ า นมา ผู ้ ค นในชุ ม ชนระดั บ ต� ำ บล หลายต่อหลายแห่งในประเทศของเราได้อาศัยต้นทุน ทรัพยากรเดิมเท่าที่ชุมชนมี ผนวกกับออกแรงขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ชุมชนที่พวกเขาเป็นเจ้าของ ให้เป็นชุมชนที่สามารถผลิตความสุขและคุณภาพชีวิต ทีด่ ี ป้อนกลับคืนสูว่ ถิ ชี วี ติ ของสมาชิกในชุมชนด้วยกันเอง คนเล็กคนน้อยเหล่านีล้ งมือท�ำมานาน หลายแห่ง ประสบความส�ำเร็จในระดับน่าอิจฉา แต่เราจะอิจฉาได้อย่างไร ถ้าไม่ได้ไปสัมผัสจับ ต้อง และมองเห็นด้วยตาร้อน ๆ ของเราเอง ชุมชนเหล่านีอ้ าจจะไม่มหี าดสีขาวทอดยาว ทะเล ไม่ใสจัด แถมยังไม่มีตลาดโบราณร้อยปี แต่นอกเหนือ จากความสุขในวันนี้แล้ว สิ่งที่พวกเขามีอีกแน่ ๆ คือ ‘อนาคต’ เราอยากออกแบบอนาคตของชุมชนเราให้เป็นไป แบบไหน ลองเดินเข้าไปชมตัวอย่างสาธิตได้จากหนังสือ เล่มนี้ คณะผู้จัดท�ำ


1

ย้อน ส�ำนึกแรกขณะตืน่ ขึน้ เช้านี้ เรือ่ งราวชีวติ ทีเ่ พิง่ พ้นผ่าน ไหลบ่าสู่ ห้วงใจท�ำให้ฉันต้องตั้งค�ำถามกับตัวเองว่า ทุกวัน นี้ฉันมีความสุขดีอยู่ ไหมนะ แล้วทุกข์ทั้งหลายที่มาสลับ สับหว่างไม่ว่างเว้นตามวาระของชีวิตนั้นเล่า บางครั้งก็ช่าง หนักหนาถาโถมเข้ามาเกินจะรับไหว สิ่งใดกันนะที่ยึดโยงให้ ฉันมีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้ ผู้คนอื่น ๆ ล่ะ พวกเขาประคอง ความสุขไปยืนเผชิญหน้าความทุกข์กันได้อย่างไร


ฉั น ขยั บ ตั ว ลุ ก ขึ้ น นั่ ง พิ ง หมอนหวั ง ตื่ น ให้ เ ต็ ม ตา ภาพและเรื่องราวของผู้คนต่าง ๆ ที่เคยประสบพบเจอใน วัยวันผ่านมาของชีวิตเวียนหน้าเข้ามาทักทายอรุณสวัสดิ์ หลายคนมี ค วามสุ ข จนน่าอิจฉา ด้วยเงิน ทอง วาสนา การงาน ชื่อเสียง เกียรติยศ อีกหลายคนพวกเขาเป็น ชาวบ้านธรรมดา แต่ค�ำพูดแววตาสีหน้าของพวกเขากลับ อิ่มเอมเป็นประกายอยู่ ในความทรงจ�ำ ดู เ หมื อ นวั น นี้ ค วามสุ ข ของฉั น คงพากั น กระเจิ ง หนีหายด้วยเหตุเงื่อนไขของชีวิต โชคดีที่ผู้คนที่นึกถึงท�ำให้ ฉันเหมือนจะเริ่มเรียนรู้ว่า คุณค่าในชีวิตอันเกิดจากการ ลงแรงท�ำงานและส่งมอบความปรารถนาดีต่อผู้คนรอบข้าง บันดาลความสุขมาให้ ถึงเวลาแล้วล่ะ ทีฉ่ นั ต้องลงมือท�ำงาน เขียนเล่าเรือ่ งราวของพวกเขา อาจบางทีการท�ำงานจะบันดาล ดลความสุขในชีวิตฉันกลับคืนมา

ฉันลุกจากที่นอน จัดการธุระส่วนตัว จากนั้นจึงมา นั่งอยู่ที่โต๊ะท�ำงาน ย้อนความทรงจ�ำถึงพวกเขา ชาวต�ำบล บ้านต๋อม อ�ำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เอ.. ฉันเริ่มท�ำความ รู้จักกับพวกเขาได้ยังไงกันนะ จ�ำได้วา่ วันนัน้ ฉันมีเรือ่ งผิดหวังเสียใจ แต่กลับต้อง ฝืนเดินทางข้ามจังหวัดแต่เช้าตรู่เพื่อไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ต�ำบลสุขภาวะ ระหว่างนัง่ รถโดยสารประจ�ำทาง ฉันไม่อยาก ยิ้ ม ไม่ อ ยากสบตาใคร ปิ ด เปลื อ กตาและหลั บ ไปด้ ว ย ใจหม่นหมอง สะดุง้ ตืน่ อีกทีระหว่างทาง ป้ายร้านรวงต่าง ๆ ข้างทางบอกว่า ฉันมาถึงจังหวัดพะเยาแล้ว ฉันถอนหายใจ เบา ๆ พูดดัง ๆ ในใจว่า ฉันไม่มีความสุข ถอนหายใจอีก ครั้ง ฝืนยิ้มน้อย ๆ ที่มุมปาก บอกตัวเองว่า พอไหวอยู่น่ะ แค่สองสามวันเอง เดี๋ยวค่อยไปร้องไห้ต่อที่บ้าน


พัชรินทร์ สุอินไหว

หนึง่ เนือ้ ต�ำบลเดียวกัน

ที่ท่ารถขนส่งพะเยา พี่เจ้าหน้าที่เทศบาลต�ำบล บ้ านต๋ อ มส่ งลุ ง จ� ำเริ ญคนขับ รถมารับ เขายิ้ม กว้าง ต้อนรับ ฉันเปิดปากยิม้ แรกของวันเมือ่ ยามสายทักทาย เขากลับ ซ่อนทุกข์ไว้ภายใน พยายามเปิดประสาท รับสิ่งต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นต้องทราบข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อ น�ำมาเขียนหนังสือเล่มนี้

ลุงจ�ำเริญขับรถจากขนส่งพาฉันไปยังต�ำบล บ้านต๋อม ออกจากขนส่งแค่ชั่วอึดใจ ลุงก็เริ่มแนะน�ำ ชุมชนว่า เขตต�ำบลบ้านต๋อมอยู่ติดถนนใหญ่ ส่วน ราชการทั้ ง หมดไม่ ว ่ า จะเป็ น ศาลากลาง วิ ท ยาลั ย พยาบาลบรมราชชนนี วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค พะเยา โรงพยาบาลจังหวัดพะเยา และอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่ อยูใ่ นเขตต�ำบลบ้านต๋อม จากนัน้ ก็ขบั รถเลีย้ วเข้าซอย เล็ก ๆ สภาพบ้านเรือนเปลี่ยนไป กลายเป็นชุมชน กึง่ เมืองกึง่ ชนบท ก่อนเข้าสูเ่ ขตชนบทจริง ๆ ฉันมองเลย บ้านเรือนสองข้างทางไปเห็นทุ่งข้าวเขียวอยู่เป็นระยะ ถัดจากนัน้ ไปไม่ไกล ฉันตืน่ เต้นจนร้องเสียงหลงเมือ่ ได้ เห็นเวิง้ น�ำ้ กว้างใหญ่ทอดตัวอยูใ่ นสายตา ‘กว๊านพะเยา’ นั่นเอง เพิ่งผ่านเขตเมืองมาหยก ๆ ใครจะคิดฝันว่าจะ ได้มาเจออ่างเก็บน�ำ้ ธรรมชาติทใี่ หญ่ทสี่ ดุ ในภาคเหนือ รถตู้พาฉันขึ้นสะพานขุนเดช เรื่องน่าประทับใจ ส�ำหรับฉัน คือ ทุกรอบที่ขึ้นสะพานนี้ต้องมีใครคนใด คนหนึง่ บนรถให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับสะพานอย่างภาคภูมใิ จ ฉันปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า... เมื่อมาถึงสะพานขุนเดชก็เป็นที่รู้กันว่าได้เดิน ทางมาถึ ง ต� ำ บลบ้ า นต๋ อ มแล้ ว ชื่ อ สะพานนั้ น เรี ย ก ตามชื่อ ขุนเดช ใจหาญ ก�ำนันคนที่ 3 ของต�ำบล ผู้น�ำ ชาวบ้านสร้างสะพานไม้ใช้ข้ามน�้ำบริเวณรอยต่อปาก

15


16

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

แม่ น�้ ำ อิ ง ซึ่ ง ไหลลงจากภู เ ขามาผสานต่ อ กั บ กว๊ า น พะเยา กลายเป็นเวิง้ น�ำ้ ใหญ่ตดั ขาดผืนดินออกจากกัน ทุกวันนี้จากสะพานไม้ผอม ๆ ยาวร่วมหนึ่งกิโลเมตรที่ ขุนเดชสร้าง ได้กลายร่างเป็นสะพานปูนอ้วน ๆ หดสั้น ลงมาแค่ 200 เมตร แม่น�้ำแคบลงหรืออย่างไรกันนะ ฉันเกิดค�ำถามขึ้นในใจ ผ่านกลับไปกลับมาหลายครั้ง เข้า ฉันจึงต้องถามกับคนทีข่ า้ มสะพานนีท้ กุ เมือ่ เชือ่ วัน ค�ำตอบมีอยู่ว่า จริงอยู่ สมัยก่อนนั้นน�้ำท่าอุดมกว่าทุกวันนี้ เป็นเครื่องชี้ว่า ธรรมชาติป่าเขาสมบูรณ์ ผู้คนก็ไม่มาก เท่ า กั บ ปั จ จุ บั น เมื่ อ มี ก ารอพยพเข้ า มาตั้ ง รกราก หนาแน่ น ขึ้ น ตามวั น เวลา รวมทั้ ง การพั ฒ นาที่ แ ปร เปลี่ ย น บริ เ วณซึ่ ง เคยเป็ น แอ่ ง น�้ ำ เมื่ อ ถู ก น�้ ำ พั ด พา ตะกอนมาทับถมก็กลายเป็นผืนดินชุ่มน�้ำ สามารถอยู่ อาศั ยได้ ผู ้ มาใหม่ เริ่ม ตั้ง บ้านเรือ นรุกล�้ำเขตกว๊าน มากขึ้ น น�้ ำ เสี ย จากครั ว เรื อ นถู ก ทิ้ ง ลงมายั ง กว๊ า น ท�ำให้กรมประมงเข้ามาจัดการพื้นที่ สร้างถนนกันเขต พื้นที่สาธารณะออกจากที่อยู่อาศัยของประชาชน กั้น สัดส่วนห้ามผู้ใดรุกล�้ำ ดังนั้น รูปทรงของกว๊านจึงมีอัน ต้องเปลี่ยนไป บริเวณที่ราบลุ่มน�้ำเจิ่งนองจึงหดหาย กลายเป็นเขตก�ำแพงถนน สะพานขุนเดชจึงหดสั้นลง ด้วยประการฉะนี้

พัชรินทร์ สุอินไหว

หากต้องร่างแผนทีต่ ำ� บลบ้านต๋อมคร่าว ๆ ในใจ ฉั น นึ ก ถึ ง ที่ ร าบเชิ ง เขาบริ เ วณรอบกว๊ า นพะเยา มี ดอยหลวงหรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่าดอยผีปันน�้ำ ตั้งตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันตก ผีหรือเทวดาได้ปัน ล�ำน�้ำอิงและล�ำน�้ำแม่ต๋อมไหลผ่านต�ำบลบ้านต๋อม มารวมกับแม่น�้ำสายอื่น ๆ ที่กว๊านพะเยา ก่อนแม่น�้ำ อิงจะแยกไหลไปหล่อเลี้ยงที่ราบลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

17


1 การบริหารจัดการต�ำบล 18 สืบสานสายใยรักในท้องถิ่น 2 ศูนย์พัฒนาครอบครัว ศิลปินรุ่นเยาว์ 3 สภาเด็กและเยาวชน 19 ศูนย์เรียนรู้ทัณฑศิลป์ 4 สปสช. 20 เกษตรทางเลือกผสมผสาน 5 ลานผญ๋าหละอ่อน 21 กลุ่มสะล้อซอซึงบ้านแท่นดอกไม้ 6 โรงเรียนนวัตกรรม อสม. 22 กลุ่มเจียระไนพลอย 7 ต�ำบลลดเหล้าในงานศพ 8 ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา 9 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 10 เยาวชนคนรักษ์ร่องไผ่ เทศบาลต�ำบลบ้านต�๊ำ 11 หัตถกรรมแม่บ้านบ้านร่องไผ่พัฒนา (พรมเช็ดเท้า) 12 โรงเรียนสร้างสุข 13 ชุมชนสันหนองเหนียวรักษ์บ้านเกิด 14 ศูนย์ อปพร. ม.8 15 หมอเมืองสมุนไพรพื้นบ้าน 9 16 กลุ่มธนาคารข้าว ม.7 ม.6 17 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 7 บ้านร่องห้า 8

แหล่งเรี ยนรู้ต�ำบลบ้านต๋อม ถนนพหลโยธิน สาย 1

ม.16

ล�ำน�้ำอิง

ถนนหมายเลข 1143 แม่ต�๊ำ-แม่ ใจ ม.18 20 25 10 6 5

ม.9 ม.10 11 ม.4 ม.12

24 1-4 23

12

ม.3

ม.13

ม.2

14

16 15 23

18

13

17

เทศบาลต�ำบล ท่าวังทอง

19

ม.15 ม.1 ม.11 21

ม.17

23 ชมรมผู้สูงอายุกองทุนฮอมบุญ 24 กองทุนสวัสดิการชุมชน 25 กลุ่มไม้กวาดสานสัมพันธ์ผู้สูงอายุ

ต�ำบลสันป่าม่วง

กว๊านพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา


20

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ต�ำบลบ้านต๋อมมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน โดยตั้ง ชุมชนแยกเป็นสองฝั่งล�ำน�้ำอิง ด้านทิศตะวันออกหรือ ฝั่งกว๊านพะเยามีอยู่ 8 หมู่บ้าน ส่วนด้านทิศตะวันตก ของล�ำน�้ำมี 10 หมู่บ้าน ผู้คนที่นี่นับถือพุทธศาสนา พูดภาษาค�ำเมือง ล้านนา ส�ำเนียงอ่อนหวานเฉพาะตัวแบบคนพะเยา เมือ่ รื้อค้นไปถึงรากเหง้าประวัติศาสตร์ชุมชน บรรพบุรุษ คนบ้านต๋อมกลุ่มแรก ๆ นั้นอพยพมาจากที่ต่าง ๆ เริม่ ต้นเมือ่ ท้าวชัยยะสนและท้าวชัยยะแสน สองพีน่ อ้ ง จากจังหวัดน่านพาผูค้ นอพยพมาอยูอ่ าศัย ท�ำไร่ทำ� สวน เลี้ยงวัวควาย ในพื้นที่สันดอน 2 แห่ง อันเป็นที่มาของ ‘บ้านสันป่างิ้ว’ และ ‘สันต้นผึ้ง’ จากนั้นชาวบ้านจาก

พัชรินทร์ สุอินไหว

ทีอ่ นื่ ๆ เช่น ล�ำปาง เชียงราย ได้อพยพมาอาศัยอยูเ่ พิม่ เติม ป่าตะเคียน ป่าไผ่ ป่าต้นงิ้ว (นุ่น) ป่าต้นห้า (หว้า) ที่ราบลุ่มเชิงเขาหลวงและพื้นที่ชุ่มน�้ำริมกว๊านค่อย ๆ แปรเปลี่ยนสภาพกลายเป็นชุมชนซึ่งมีผู้คนมา ‘ต๋อม’ อยู่กันหนาแน่น ค�ำว่า ‘ต๋อม’ เป็นภาษาเหนือส�ำเนียง พื้นถิ่นพะเยา แปลว่า รวมกันเข้ามาเป็นกลุ่มก้อน จึง เป็นที่มาของชื่อ ‘ต�ำบลบ้านต๋อม’ ในที่สุด

แม้รากสาแหรกบรรพบุรุษของพวกเขาจะมา จากหลายแหล่ง หลากเผ่าพันธุ์ แต่กถ็ อื ว่ามาจากท้อง ถิ่นล้านนา เมื่อผู้คนที่อพยพมาจากต่างถิ่นในยุคแรก เริ่มกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว พวกเขาได้ร่วมกันสร้าง ‘วัดต๋อมใต้ศรีมงคล’ ไว้เป็นศูนย์รวมจิตใจ ซึง่ บ่งบอกว่า บัดนี้ คนอาศัยถิ่นนี้ได้หลอมรวมวัฒนธรรมประเพณี เป็นชาวต�ำบลเดียวกันแล้ว

21


พัชรินทร์ สุอินไหว

พลอยและรอยจ�ำ

ชี วิ ต ผู ้ ค นที่ นี่ ผู ก พั น กั บ วิ ถี เ กษตรกรรมและ ประมงน�้ำจืดแต่ไรมา แม้ช่วงเวลาร่วม 30 ปีที่ผ่านมา กระแสการพั ฒ นาประเทศเคลื่ อ นผ่ า นพั ด พาท� ำ ให้ สั ง คมชนบทไทยโดยรวมแตกสลาย ส� ำ หรั บ ต� ำ บล บ้ า นต๋ อ มซึ่ ง เป็ น ชุ ม ชนในเขตอ� ำ เภอเมื อ งอยู ่ แ ล้ ว ได้เปลี่ยนฉากปรับตัวจากสภาพชนบทมาเป็นสังคม กึง่ เมืองกึง่ ชนบทบางส่วนเท่านัน้ ด้วยเพราะเป็นชุมชน ริมกว๊านพะเยา จึงมีแหล่งน�ำ้ แหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์

แม้ พื้ น ที่ เ พาะปลู ก ส่ ว นใหญ่ จ ะปลู ก ข้ า วได้ เ พี ย งปี ละครัง้ นอกจากนี้ ขาข้างหนึง่ ของชุมชนก็ยนื อยูไ่ ด้ดว้ ย อุตสาหกรรมครัวเรือนที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามา รองรับอย่างพอเหมาะพอเจาะตลอดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมในแต่ ล ะช่ ว งเวลา ค� ำ ว่ า ‘ล่มสลาย’ จึงใช้กับที่นี่ไม่ได้ ครอบครัวพี่น้องยังคงอยู่ พร้อมหน้า ไม่ได้ดิ้นรนย้ายถิ่นฐานไปท�ำงานอื่นไกล ผูค้ นยังมีชวี ติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ี ชุมชนเติบโตขยับขยาย ด้วยอาชีพอุตสาหกรรมครัวเรือนที่ว่า ฉันว่าพวกเขาช่างโชคดีเสียนี่กระไร ที่คนกลุ่ม แรก ๆ ซึง่ ออกจากบ้านไปท�ำงานกรุงเทพฯ เมือ่ 30 กว่า ปีที่ผ่านมา ได้สั่งสมประสบการณ์เพียงชั่วไม่กี่ปี แล้ว พาตัวเองกลับบ้านพร้อมกับฝีมือเชิงช่างด้านเจียระไน พลอย ตัง้ ตนเป็นเถ้าแก่ผรู้ บั เหมา รวมทัง้ ช่างผูช้ ำ� นาญ งาน สอนพี่น้องเพื่อนฝูงชาวบ้านธรรมดา ๆ จนกลาย เป็นช่างเจียระไนพลอยกันทั่วย่านต�ำบล ป้าย ‘หมูบ่ า้ นเจียระไนพลอย’ ซึง่ ได้รบั มอบจาก โครงการอุตสาหกรรมพัฒนาชนบท ท�ำจากแผ่นโลหะ อย่างดีที่ติดตั้งอยู่หน้าบ้านไม้สองชั้นของพี่เครือวัลย์ ข่ายสุวรรณ นั้นเก่าเขรอะเลอะเลือนแทบอ่านไม่ออก บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนในช่วงเวลาร่วม 30 ปีที่ ผ่านมาเป็นอย่างดี

23


24

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ชั้นล่างของบ้านไม้ หลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ส�ำหรับ วางโต๊ะจักรเจียระไนพลอย กว่ายี่สิบตัว มันคือโรงงานย่อม ๆ ของช่างฝีมือชาว บ้านในละแวกนั้น มีพี่เครือวัลย์เป็นนายจ้าง เจ้าของ สถานที่ และผู้จ่ายงาน “พี่ อ อกบ้ า นไปท� ำ งานเป็ น ลู ก จ้ า งเจี ย ระไน พลอยทีก่ รุงเทพฯ มาก่อนหลายปี ช่วงนัน้ มีคนออกจาก หมู ่ บ ้ า นไปเยอะเหมื อ นกั น นะ แต่ พ อมี วิ ช าติ ด ตั ว ก็มีลู่ทาง หลายคนก็กลับบ้าน อยากให้ญาติพี่น้อง คนบ้านเดียวกันมีการมีงานท�ำ เลยมาตัง้ โรงงานเล็ก ๆ อยู่ที่บ้าน พูดถึงแล้วก็นึกถึงสมัยก่อน ตอนนั้นต�ำบล บ้านต๋อมนี่ท�ำพลอยกันครึกครื้นมาก คนมาท�ำกันเป็น กลุ่มเป็นก้อน ตื่นเช้ามากินข้าวเสร็จก็มาท�ำงานกัน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องออก หางานท� ำ ข้ า งนอกบ้ า น หลังจากหน้านาก็มงี านท�ำ” พี่เครือวัลย์ย้อนความหลัง ให้ฉันฟังขณะที่สาธิตการ เจียหินสีหม่นให้มีเหลี่ยม เงาขับประกายงาม พี่เครือวัลย์ ข่ายสุวรรณ

รอยเท้าบอกเล่าทางเดินได้ดฉี นั ใด การมาเยือน ทีน่ ที่ ำ� ให้ได้รบั รูว้ า่ รอยถลอกช�ำ้ บนหัวเข่าก็บอกเล่าวิถี ชี วิ ต คนบ้ า นต๋ อ มได้ ดี ฉั น นั้ น พี่ ใ บตอง บุ ณ ยานุ ช เก่งการ นักพัฒนาชุมชนของเทศบาลต�ำบลบ้านต๋อม เล่าให้ฟังว่า “สมัยเป็นสาว ๆ พวกเราจะถูกหนุ่ม ๆ แซวกัน ว่า สาวบ้านต๋อมหัวเข่าไม่สวย ถ้าสาวคนไหนหัวเข่า เป็นรอยนะ จะรู้เลยว่าเป็นช่างเจียระไนพลอย เพราะ เผลอใจลอยเอาหัวเข่าไปชนสายพานเครื่องเจียระไน” “พี่เองก็เป็นหนึ่งในคนท�ำพลอยมาก่อน พอจบ ป. 6 ก็ท�ำงานเลย ตอนนั้นคิดว่า อยากท�ำงาน อยาก ได้เงินเหมือนคนอื่นเขา เขาท�ำพลอยกันทั้งหมู่บ้าน


26

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ได้เงินเยอะ เราก็อยากท�ำบ้าง โห ตอนนั้นท�ำกันเป็น ล�ำ่ เป็นสัน แต่ละบ้านพ่อแม่ลกู ท�ำช่วยกัน เก็บตังค์ซอื้ ที่ดินสร้างบ้านกันได้เลยนะ อย่างบ้านพี่เองก็สร้างได้ จากอาชีพเจียระไนพลอย พอมีเงินมาบ้าง พี่ก็ค่อย เรียนหนังสือไปด้วย เจียระไนพลอยไปด้วย จนมีทุก วันนี้ ย้อนนึกไปพี่ก็ขอบคุณอาชีพเจียระไนพลอย นี่แหละ เพราะเราเองก็มาจากตรงนั้น” นั บ เวลากว่ า 10 ปี ที่ อ าชี พ นี้ ห ล่ อ เลี้ ย งคน บ้านต๋อม จนกระทั่งชะตาของประเทศประสบวาระ วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 กระเทือนอาชีพซึ่งเกี่ยวกับ เครื่องประดับตกแต่ง เช่น อัญมณี อย่างไม่อาจหลีก เลี่ยง เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับต้น ๆ งาน เจี ย ระไนพลอยจึ ง มี อั น ซบเซาลง ชาวบ้ า นค่ อ ย ๆ ประคับประคองปรับตัวกันไป จากนั้นไม่นาน ราชการก็เข้า มาโอบอุ ้ ม สร้ า งรู ป แบบขึ้ น ใหม่ในลักษณะกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน จนพัฒนาเป็นสินค้า โอทอปในเวลาต่อมา ก่อนจะ ซบเซาลงอีกครัง้ ด้วยรูปแบบ ดังกล่าว ผู้ว่าจ้างเดิมกลาย เป็นหัวหน้ากลุ่ม ชาวบ้านยัง

เป็นเพียงผู้ผลิต ครั้นต้องไปออกงานโอทอปไกล ๆ ชาวบ้านก็ไม่ได้ไปด้วย ท�ำให้กลุม่ อืดช้าเดินไปข้างหน้า ก็ติดข้างหลัง โชคดีที่ช่วงเวลานั้นรัฐเข้ามาส่งเสริม สร้างอาชีพใหม่ ๆ เกิดวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ขึ้น ชุมชน จึงยังคงเข้มแข็งอยู่ได้ ทุกวันนี้ สิ่งที่หลงเหลือใช่เพียงป้ายฝุ่นเขรอะ โรงงานหมอง แต่ยังคงมีช่างฝีมือด้านเจียระไนพลอย หลายคนที่ เ ป็ น ทรั พ ยากรอั น มี คุ ณ ค่ า ซึ่ ง ทางศู น ย์ อั ญ มณี จั ง หวั ด พะเยา เชื้ อ เชิ ญ ให้ เ ป็ น ครู ผู ้ ส อน นั ก เจี ย ระไนพลอยรุ ่ น ต่ อ ไปของจั ง หวั ด บางคราว ทางศูนย์กส็ ง่ คนมาเรียนถึงในหมูบ่ า้ น ทัง้ ยังผันตัวเป็น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ นชุ ม ชนซึ่ ง คุ ณ ครู พ าเด็ ก ๆ มาศึ ก ษา อาชีพที่ส�ำคัญยังมีหลายคนไม่ละทิ้งอาชีพนี้ แม้รอย แผลเป็นบนหัวเข่าของคนทัว่ ย่านต�ำบลจะค่อย ๆ เลือน จาง แต่ยงั คงเป็นรอยจ�ำว่าชีวติ ชาวบ้านอย่างพวกเขา ค่อย ๆ ถูกขัด ถูกเจียระไนจนมีต้นทุนทางสังคมเป็น ประกายวับวาวในทุกวันนี้ได้อย่างไร


พัชรินทร์ สุอินไหว

นายกเทศมนตรีบุญทิตย์ เมืองซื่อ

เพราะเปิดใจ จึงก้าวไปอย่างไม่สะดุด เป็นธรรมดาว่า เมื่อไปเยือนแห่งหนต�ำบลไหน ย่อมไม่อาจละเลยธรรมเนียมที่ต้องไปท�ำความรู้จัก ทักทายผู้หลักผู้ใหญ่ของหมู่ชนที่นั่น เมื่อเริ่มโอภาปราศรัย ฉันได้มองทะลุลงไปถึงน�้ำใสใจจริงของท่าน นายกเทศมนตรีบุญทิตย์ เมืองซื่อ ผู้อยู่ในแวดวงการ พั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ต� ำ บลบ้ า นต๋ อ มมาเป็ น เวลากว่ า สิบปี

ท่านนายกเกริ่นเล่าความเป็นมาให้ฉันฟังว่า ตนเป็นคนต�ำบลบ้านต๋อมแต่ก�ำเนิด ครั้นปี 25372538 ต�ำบลบ้านต๋อมก�ำลังจะถูกยกฐานะเป็น องค์การ บริหารส่วนต�ำบลบ้านต๋อม ท้องถิ่นก�ำลังจะถูกเปลี่ยน แปลงให้ชาวบ้านสามารถมีสิทธิบริหารจัดการต�ำบล เพือ่ ปกครองดูแลกันเองได้ ตนจึงตัง้ ใจไว้วา่ จะเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งในการพัฒนาต�ำบลให้เจริญก้าวหน้าให้ได้ และแล้วเขาก็ท�ำได้อย่างที่ตั้งใจ ได้รับความ วางใจจากชาวบ้านทุกครัง้ ทีล่ งสมัคร กระทัง่ ก้าวขึน้ มา เป็นนายกองค์การบริการส่วนต�ำบลบ้านต๋อมถึง 2 สมัย เว้นวรรคในสมัยที่ผ่านมา และกลับมานั่งต�ำแหน่ง นายกเทศมนตรี เ ทศบาลต� ำ บลบ้ า นต๋ อ ม ในสมั ย ปัจจุบันอีกครั้ง “ย้อนถึงตอนท�ำงานท้องถิ่นครั้งแรกๆ ตอนนั้น เราก็ยังไม่รู้ว่าเราจะเริ่มต้นพัฒนาต�ำบลเรายังไง ก็ไป ชวนคนต่างๆ ในต�ำบลมาสุมหัวคุยกันว่า คิดยังไง กันบ้าง อยากให้ต�ำบลเราเป็นยังไง โรงเรียน อนามัย วั ด ชาวบ้ า น ก็ อ อกความเห็ น ช่ ว ยกั น สร้ า งการมี ส่วนร่วมตั้งแต่สมัยนั้น” ตลอดระยะเวลาการเป็นท้องถิ่นจัดการตนเอง ของต�ำบลบ้านต๋อมนั้น นายกบุญทิตย์ เล่าให้ฟังว่า

29


พัชรินทร์ สุอินไหว

“เราก็ เ น้ น พั ฒ นาหลายเรื่ อ งไปพร้ อ มกั น นะ เพราะตอนนั้นคนบ้านเรายังยากจน ไม่มีถนนหนทาง ไม่พร้อมเรื่องน�้ำ เรื่องไฟฟ้า ต้องท�ำเรื่องโครงสร้าง พื้นฐานก่อน จากนั้นก็ท�ำเรื่องการพัฒนาอาชีพ สร้าง รายได้ให้คนในชุมชน เพราะเรื่องปากท้องก็ส� ำคัญ ท้องอิ่ม สมองถึงจะแล่นคิดท�ำอะไรดีๆ ต่อได้ ต่อมา ก็ต้องพัฒนาคน ให้ความรู้คนด้วยว่า การที่เราน�ำเอา เครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาในชุมชนนั้นมันมีวิธีใช้ยังไง ที่ส�ำคัญคือ เราจะอยู่กับสิ่งที่เราพัฒนามานั้นอย่างไร ไม่ให้มันท�ำร้ายเรา” ท่านนายกบุญทิตย์ ท�ำงานการเมืองท้องถิ่น เรื่อยมา กระทั่งในสมัยที่แล้ว ต�ำบลบ้านต๋อมใด้ถูกยก ฐานะให้เป็นเทศบาลต�ำบลบ้านต๋อม และเมื่อมีการ เลือกตัง้ ดาบต�ำรวจมนตรี วงศ์อภิสทิ ธิ์ ก็ได้รบั เลือกตัง้ ให้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง นายกเทศมนตรี ต� ำ บลบ้ า นต๋ อ ม เปลี่ยนมือจากนายกบุญทิตย์ไป

ทางด้านดาบมนตรี หลังจากวิเคราะห์ชมุ ชน ว่า ต�ำบลบ้านต๋อมนั้นมีทุนทางสังคมอะไรบ้าง ขาดเหลือ ประเด็ น ใดต้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ เ ข้ ม แข็ ง ก็ ไ ด้ ค� ำ ตอบว่ า ผลงานซึ่ ง ท้ อ งถิ่ น ได้ พั ฒ นาในช่ ว งที่ ผ ่ า นมา ท� ำ ให้ ชาวบ้านต๋อมมีสาธารณูปโภคทีด่ แี ล้วระดับหนึง่ มีงาน มีรายได้ มีกลุม่ อาชีพ ทัง้ ยังมีกลุม่ จิตอาสาต่างๆ รวมตัว กันสร้างประโยชน์ให้ชุมชนหลายกลุ่มทั่วต�ำบล ดาบมนตรีจึงวางแผนการบริหารจัดการต�ำบล มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคนและการศึกษา เติมเต็มสิ่งที่ ขาดไป ขณะเดียวกันก็ผลักดันต�ำบลบ้านต๋อมเข้าสูก่ าร เป็นต�ำบลสุขภาวะ ท�ำงานพัฒนาบุคลากรในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นครูภูมิปัญญา กลุ่มอาชีพ กลุ่มจิตอาสา ต่างๆ ในต�ำบล ให้แต่ละกลุม่ ได้มโี อกาสขับเน้นศักยภาพ

อดีตนายกเทศมนตรี ดาบต�ำรวจมนตรี วงศ์อภิสิทธิ์

31


พัชรินทร์ สุอินไหว

ของตนเอง ผ่านการท�ำงานอย่างมีส่วนร่วม จัดการ องค์ความรู้ จนสามารถยกระดับขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ ประสานให้เกิดการท�ำงานเป็นเครือข่ายทัง้ ภายในและ ภายนอกชุมชน เพื่อให้เป็น “บ้านต๋อมเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่ ต�ำบลสุขภาวะ” ที่ยั่งยืนต่อไปได้ จากสายตาฉัน ต�ำบลบ้านต๋อมถือเป็นต�ำบล ซึ่ ง มี ต ้ น ทุ น ทางสั ง คมหลากหลายอยู ่ แ ล้ ว ตั้ ง แต่ ต ้ น ไม่วา่ จะเป็นท�ำเลทีต่ งั้ ซึง่ มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ เอื้ออ�ำนวยแก่การท�ำมาหากิน ผู้คนมีวัฒนธรรมเดียว สนิทเนียนก่อให้เกิดสัมพันธ์อันดี พื้นที่ส่วนหนึ่งยัง เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดหลายแห่ง ซึ่ง หน่วยงานเหล่านีก้ ม็ สี ว่ นเสริมให้ตำ� บลบ้านต๋อมมีภาคี การท�ำงานที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน และทุ น ทางสั ง คมที่ ด าบมนตรี จั บ มาปั ด ฝุ ่ น ขัดเงาชวนชาวบ้านมาพัฒนาต่อยอดกันทัง้ หมดนี้ ก็มา จากต้นทุนที่นักพัฒนาท้องถิ่นรุ่นก่อนหน้านี้วางสร้าง ท�ำกันมานั่นเอง

สิ่งหนึ่งที่ฉันรู้สึกชัดเจนจากการได้มีโอกาสพูด คุยกับทั้งอดีตนายกดาบมนตรี และนายกบุญทิตย์ ทีไ่ ด้กลับมาเป็นนายกอีกครัง้ ก็คอื พวกเขาต่างเป็นผูน้ ำ� ที่เปิดกว้างและมองเห็นประโยชน์ของชาวบ้านเป็น ส�ำคัญด้วยกันทั้งคู่ “ผมมาลองนั่ ง พิ จ ารณาดู แ ล้ ว สั ง คมมั น พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน การท�ำงานเครือข่าย มันเหมือนการเปิดประตูให้เราได้ออกไปเรียนรู้คนอื่น และคนอื่นได้มาเรียนรู้เรา อย่างนี้การพัฒนาที่ยั่งยืน และไม่หลงทางมันถึงจะเกิดขึ้นในต�ำบลบ้านต๋อมเรา ได้ ก็ต้องยกความดีให้ดาบมนตรี เหมือนกันนะ เขา เหมือนเป็นคนไปเปิดประตูบานนั้นก่อน ผมเองก็เห็น ว่าดี ถึงได้รบั ลูกพัฒนางานต่อ” นายกบุญทิตย์กล่าว ผู้น�ำที่นี่ท�ำฉันรู้สึกว่า การจะน�ำพาต�ำบล ไปข้างหน้าได้นั้น ต้องเป็นคนจริงที่เห็นประโยชน์ ของชาวบ้าน กล้ายอมรับที่จะต่อยอดงาน ของผู้อื่นโดยที่ยังให้เกียรติแก่กันและกัน คงเป็นเพราะทุกเรื่องราวล้วนมีที่มาที่ไป บ้านต๋อมจึงยังพร้อมก้าวต่อไปข้างหน้า อย่างสง่างาม

33


พัชรินทร์ สุอินไหว

ส�ำคัญที่ครอบครัว

“เราพูดถึงการพัฒนาคน พัฒนาการศึกษา พั ฒ นาความสุ ข ของต� ำ บล ทุ ก อย่ า งก็ เ ริ่ ม ต้ น จาก ครอบครัว จะดีจะร้ายอยู่ที่ครอบครัวนะ” ค�ำพูดของ พี่ ห น่ อ ย ศรี ว รรณ แก้ ว สื บ หั ว หน้ า ฝ่ า ยการศึ ก ษา ดังก้องในหัวฉัน เมื่อหยุดตรองจึงเข้าใจเป็นจริงดังว่า

เพราะเมือ่ นึกถึงการท�ำงานของ ‘ศูนย์พฒ ั นาครอบครัว ชุมชนต�ำบลบ้านต๋อม’ หรือชื่อย่อ ศพค.บ้านต๋อม แหล่งเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะเหมือนศูนย์ประสานงานการ ท�ำงานของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเยาวชนไป จนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ กล่าวคือเป็นการรวมกลุ่มต่าง ๆ หลากหลายประเด็นให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการ เพื่อ ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และพัฒนาสถาบัน ครอบครัว อันน�ำไปสู่การบริหารจัดการแก้ไขปัญหา สังคมอย่ างเข้มแข็งและยั่งยืน พูดง่าย ๆ ว่า กิจกรรมวันส�ำคัญ กีฬาต�ำบล การ ฝึกอบรมต่าง ๆ งานพัฒนาการศึกษา พัฒนาเด็กและ เยาวชน หรือกิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับผู้คน-ครอบครัวที่ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนบ้านต๋อม อันมี ลักษณะเป็น ‘งานหน้าหมู่’ หรืองานของส่วนรวม จะ ตกลงบนหน้าตักของ ศพค.บ้านต๋อม แทบทั้งสิ้น

35


36

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ฉันมองว่านี่เป็นจุดแข็งความหลากหลายของ กลุม่ ต่าง ๆ ทีอ่ าสามาท�ำงานร่วมกัน ท�ำให้มองปัญหา และความต้องการได้ครอบคลุม ดังนั้นจึงสามารถเปิด กว้ า งสร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมได้ ไ ม่ จ� ำ กั ด ไม่ ว ่ า จะเป็ น โครงการต�ำบลงดเหล้า กองทุนขยะฮอมบุญของชมรม ผู้สูงอายุ สองกิจกรรมโดดเด่นล้วนก่อร่างขึ้นมาจาก จุดนี้ ฉันว่าพวกเขาตีความค�ำว่า ‘ครอบครัว’ ได้ฉกาจ ฉกรรจ์ก็ตรงนี้

พัชรินทร์ สุอินไหว

หลายปีมานี้ เทศบาลต�ำบลบ้านต๋อมได้รับทั้ง ประกาศเกียรติคุณและโล่ผ่านผลงานดีเด่นด้านสตรี และครอบครัวจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มัน่ คงของมนุษย์ตดิ ต่อกันแทบทุกปี นีเ่ องเครือ่ งรับรอง คุณภาพความแข็งแรงยั่งยืนและความภาคภูมิใจของ ‘ครอบครัวต�ำบลบ้านต๋อม’ ที่พวกเขาร่วมสร้างมา ด้วยกัน

37


2 ความสุขของพ่อบ้าน จากวิถีชีวิตพื้นบ้านที่ ใกล้ล่มสลาย

อาจเป็นเพราะเรามักนิยามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปใน ทางเสื่อม ไม่มีทางแก้ และมีแนวโน้มว่าสิ่งที่เคยเป็นจะมี อันต้องจบลงในเร็ววันว่าคือ ความล่มสลาย เรื่องเล่าของบรรดาคุณลุงพ่อบ้านที่นี่ท�ำให้ฉันหวั่น สะทกถึงความล่มสลายที่จะเกิดขึ้น ทว่า พวกเขาอาจรู้สึก ถึงมันยิ่งกว่าเมื่อลองจินตนาการว่า หากวิถีชีวิตพื้นบ้านซึ่ง เป็นเสมือนฐานทางสังคมเศรษฐกิจของชุมชนแต่ ไรมามีอัน ต้องล่มสลายลง ผู้คนอาจยิ้มแห้ง ๆ บ้านต๋อมอาจมีเรื่อง ให้ภาคภูมิ ใจน้อยลง อย่างไรก็ตาม ฉันมีเรื่องราวจากพ่อบ้าน 3 กลุ่ม มาเล่าให้ฟัง


พัชรินทร์ สุอินไหว

ชุมชนสันหนองเหนียวรักษ์บา้ นเกิด กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านที่เข้มแข็ง

เย็นย�่ำ ก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน พ่อหลวง เสงีย่ ม แก้วก�ำ๋ ผูใ้ หญ่บา้ นสันหนองเหนียว พายเรือพา ฉันชมฉากและชีวิตชาวประมงพื้นบ้านกว๊านพะเยา คราทีไ่ ปเยือน ฉากกว๊านพะเยาคือแผ่นน�ำ้ กว้างไกลสุด ลูกหูลูกตา ดอยหลวงทอดตัวสะท้อนมุมแดดดูดแสง สีน�้ำเงินอยู่ทางด้านตะวันตก เหนือขึ้นไปคือท้องฟ้าที่ เปลีย่ นสีไล่เรียงจากฟ้า น�ำ้ เงิน กลายเป็นชมพู แดง ส้ม ก่อนตะวันจะลับลาไป นอกจากเรือหาปลาล�ำเล็กของ เรา มี ช าวประมงสองสามคนพายเรื อ มาวางเบ็ ด ทอดแห หว่านอวนดักปลา พวกเขาท�ำงานที่คุ้นเคย ของตนไปอย่างสงบ

โลกหมุนก�ำหนดฤดูกาล ภายในขวบปีหนึ่ง ๆ ฉากและวิ ถี ชี วิ ต ประมงพื้ น บ้ า นหาได้ ซ�้ ำ ซากจ� ำ เจ เหมือนกันทุกวันไม่ ทุกคนต่างช่วยกันเล่าให้ฉนั ฟังว่า... หากฤดูหนาวมาเยือนเมื่อไหร่ ผืนน�้ำโล่งกว้าง ทีฉ่ นั เห็นพืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ จะกลายเป็นบึงบัวสายทอดยาว ออกไปจรดสองฝั่งกว๊าน พวกมันออกดอกสีชมพูเข้ม ชูช่อสยายกลีบต่อท้องฟ้าเหมือนจะถามว่า พวกมัน โผล่พ้นจากตมโคลนขึ้นมาได้อย่างสง่างามพอไหม ท้องฟ้าคงไม่ตอบค�ำถาม ครั้นฤดูหนาวโบกมือลา บัวสายจึงหดตัวลากลับซุกตัวอยู่ในโคลนดินบ�ำรุงตัว เองรอรับหน้าหนาวปีถัดไป ล่วงเข้าปลายมีนาฯ ต้นเมษาฯ ตลอดฤดูร้อน บัวหลวงในบึงก็แทงใบชูดอกออกมาไถ่ถามท้องฟ้าด้วย ค�ำถามเดียวกันกับบัวสาย ระหว่างที่รอค�ำตอบจาก ท้องฟ้าก็ปล่อยให้ผึ้งแมลงผสมเกสรผลัดดอกออกฝัก เป็นของขวัญแก่โลกไปพร้อมกัน กระทั่งมรสุมฤดูฝน มาเยือน บัวหลวงเหมือนจะรู้ว่าหมดเวลารอคอย หน้าร้อนปีหน้าพวกมันจึงกลับมาบานสะพรั่ง ไถ่ถาม ท้องฟ้าอีกครั้ง ดอกไม้ หุ บ บานในกว๊ า นใช่ เ พี ย งแต้ ม ฉาก สี ห วานในแต่ ล ะฤดู ก าลเท่ า นั้ น หากสั ม พั น ธ์ กั บ มิตินิเ วศน์อื่น ๆ และการท�ำ มาหากิ น ของผู ้ ค น กอ

41


42

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

บัวสาย บัวหลวง คือแหล่งอนุบาลปลา สายบัว ฝักบัว คือรายได้และอาหาร ฤดูหมุนผ่าน ฝนห่าใหญ่ตกจาก ที่ไกลใกล้ น�้ำฟ้าน�้ำดินรินไหลจากภูเขาหลายลูกมา รวมกันที่กว๊านพะเยา ชะสวะบ�ำบัดน�้ำจนใสก่อนไหล ลงแม่น�้ำอิงไปยังที่อื่น ๆ ต่อไป จากนั้น ลมหนาวก็ น� ำ ทางนกอพยพมาพั ก อาศั ย ร่ ว มกั บ นกประจ� ำ ถิ่ น ตะวันส่องแดดร้อนช่วยตากปลา ชาวประมงยังคงหา เลี้ยงชีพได้ตลอดปี ผักตบชวามีคนมาเก็บไปท�ำเครื่อง จักสาน ชาวบ้านปลูกกล้วยริมสันดอน บึงกว๊านยืนยัน จะเลี้ยงชีวิตผู้คนและสรรพสัตว์ไปอีกนานยาว ฉากและชีวิตเช่นนี้อาจท�ำให้ใคร ๆ เกิดค�ำถาม เช่นเดียวกับฉันว่า มันเกี่ยวอะไรกับค�ำว่า “ล่มสลาย” “ก่อนหน้านั้นสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ลุงบุญ โยนแห ทีหนึ่งได้ปลาตะเพียนห้าหกสิบตัวโต ๆ ทั้งนั้น แต่ปลา มันไม่มรี าคาอะไรหรอก ขายกิโลละบาทครึง่ ยังไม่มใี คร ซื้อ คนสมัยนั้นเขาก็ยังแลกเปลี่ยนกัน บ้านเราหาปลา ไม่ได้ปลูกข้าว ก็เอาปลาไปแลกข้าว เอาปลาไปแลก ปลาร้า ก็เป็นอยู่กันอย่างงี้ พอเวลาผ่านไป คนเยอะ ขึ้น เงินก็มีราคา ปลาก็มีราคา คิดดู เมื่อก่อนปลา สวายนีไ่ ม่มใี ครกิน เดีย๋ วนีก้ โิ ลตัง้ เท่าไหร่ คนก็จบั ปลา เยอะขึ้ น ที่ ดิ น ริ ม กว๊ า นก็ ถู ก รุ ก ล�้ ำ มากขึ้ น คนก็ ม า จับจองกันจนกว๊านหดลง น�้ำเสียจากบ้านชาวบ้านไม่

พัชรินทร์ สุอินไหว

เท่าไหร่ แต่เขตเมืองปล่อยน�้ำเสียจนต้องรณรงค์ให้มี การบ�ำบัดน�้ำก่อนทิ้งลงกว๊าน ผักตบชวาก็ขึ้นเต็มบึง แก้ปัญหาไม่ได้ ที่ส�ำคัญคือปลามันหายไปจริง ๆ นะ หากินกันไม่ได้เลย” ลุงบุญ หรือ ลุงสมบูรณ์ บัวเทศ แกนน�ำประมงพื้นบ้าน เท้าความ “ปลามันแพงขึ้น หลายคนก็อยากจับปลาได้ เยอะ ๆ ช็อตปลาบ้าง ท�ำให้ปลาเป็นหมันออกลูกไม่ได้ นกก็หายไป ก็เล่นยิงนกกันเป็นว่าเล่น” พ่อหลวงเสงีย่ ม ส�ำทับ ก่อนจะปรายตาล้อเลียนไปยังลุงบุญอย่างมี ความหมาย

พ่อหลวงเสงี่ยม แก้วก�๋ำ

43


“ลุงว่าลุงนี่แหละเอาเครื่องช็อตปลามาเผยแพร่ ที่ ก ว๊ า นเป็ น คนแรกเมื่ อ ยี่ สิ บ กว่ า ปี ที่ แ ล้ ว ” น�้ ำ เสี ย ง ติดตลกปนภาคภูมิใจของลุงบุญท�ำให้ฉันถึงกับอึ้งไป ก่อนแกจะเล่าต่อว่า “ลุงทัง้ ช็อตปลา ยิงนก ได้ตงั ค์ตอนนัน้ วันละเป็น พัน ได้วิชาช็อตปลามาจากที่อื่นน่ะ มีคนสอนมา แต่ สังคมรังเกียจลุง ชาวบ้านรังเกียจลุง ลุงก็ไม่ได้สนใจ นะ ตอนนั้นใครจะเกลียดก็เกลียดไป จนกระทั่งพ่อ หลวงเสงีย่ มนีแ่ หละมาคุยกับลุงว่า เอ..ท�ำอย่างงีม้ นั ไม่ ดีมงั้ อยากให้คดิ ดูดี ๆ ท�ำอย่างงีป้ ลามันก็หายไปหมด ลุงก็มานอนคิดอยู่สามสี่วัน จากนั้นก็เลิกท�ำ ปลามัน หายไปจริง ๆ ลุงต้องออกหาปลาไกลขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง เขตห้ามจับปลาของกรมประมง ก็โดนกรมประมงจับ ยึดเครื่องมือท�ำมาหากิน จากนั้นก็มีปัญหาอีกว่า กรม ประมงไม่อนุญาตให้จับปลาในฤดูวางไข่ แต่ชาวบ้าน ก็ต้องท�ำมาหากินจึงต้องลักลอบจับปลากัน ก็โดนจับ กันเยอะ เดือดร้อนกันไปหมด”

พ่อหลวงเสงี่ยมเล่าบ้าง “ตอนนั้นลุงได้ไปดูงาน ประมงพื้นบ้านมาหลายที่ เห็นคนที่ทะเลน้อยสงขลา เขาดูแลทะเลของเขาได้ กลับมาคิดถึงว่า กว๊านเราเล็ก กว่าทะเลเขา ท�ำไมจะช่วยกันดูแลไม่ได้ เลยมาชวน ชาวบ้านตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน ตอนนั้นไม่รู้ จะเอาใครเป็นหัวหน้า ชาวบ้านก็บอกว่า ให้ลุงบุญ องคุลิมารกลับใจนี่แหละเป็นแกนน�ำอนุรักษ์ จะได้ไม่ กลับมาท�ำอีก” พวกเราหัวเราะครืนทั้งวง บ้านสันหนองเหนียวเป็นหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ติด กว๊านเป็นบริเวณกว้าง คนในหมู่บ้านเป็นชาวประมง เกือบทั้งหมด เมื่อมีปัญหากับกรมประมงราวปี พ.ศ. 2540 ชาวบ้านจึงมาคิดกันว่าจะท�ำยังไงดี ได้ความว่า คิ ด การใหญ่ ท� ำ คนเดี ย วย่ อ มไม่ ส� ำ เร็ จ จึ ง ชั ก ชวน หมูบ่ า้ นข้าง ๆ มาเป็นเครือข่าย จากนัน้ ก็เกิดการขยาย ผลชวนกันต่อ ๆ ไปจนทั่วคุ้งน�้ำ ยุทธการเดินขบวน เรียกร้องเริม่ ต้นขึน้ เครือข่ายชาวบ้านขอเปิดโต๊ะเจรจา


พัชรินทร์ สุอินไหว

ต่อรองกับกรมประมง ยื่นข้อเสนอว่า ขอหาปลาใน กว๊านตลอดทั้งปีไม่มีเว้นแม้ฤดูวางไข่ แต่จะกันพื้นที่ อนุรักษ์ริมกว๊านไว้เป็นแหล่งอนุบาลปลา โดยขอให้ กรมประมงเป็นผูจ้ ดั การเรือ่ งพันธุป์ ลาและอาหาร โดย ชาวบ้านเป็นฝ่ายดูแล การนี้จากงานเครือข่ายชาวบ้านระดับต�ำบล กลายเป็นงานระดับอ�ำเภอ กระตุ้นไปถึงระดับจังหวัด เรียกร้องและด�ำเนินการอยู่ 2-3 ปี จึงเป็นไปตามที่ ชาวบ้านเสนอ มีการออกกฎกติกามารยาทในการใช้ กว๊านร่วมกันทั้งจังหวัด ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ แต่ละ หมู ่ บ ้ า นริ ม กว๊ า นต้ อ งกลั บ มาออกกฎเหล็ ก ควบคุ ม กันเองอีกชั้นหนึ่ง หมูบ่ า้ นสันหนองเหนียวซึง่ เป็นตัวตัง้ ตัวตีมาแต่ ต้นเป็นชุมชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการ และควบคุมกันเองโดดเด่นกว่าทุกหมู่บ้าน มีการกัน เขตอนุรักษ์ในส่วนของนาบัวหลวง บัวสาย ไว้เป็น แหล่งอนุบาลปลา ใบบัวกางร่มให้ลกู ปลาน้อย รากกอ เป็นแหล่งอาหารและทีห่ ลบภัยให้เติบโตก่อนจะออกไป เผชิญโชค หากินในห้วงน�้ำกว้างตามธรรมชาติ

“ถ้าลุงจับได้ปลาตัง้ ท้องก็จะเอามาปล่อยในเขต อนุรักษ์ ให้มันออกลูกต่อไป... บัวหลวง บัวสาย นี่ หมู่บ้านเราก็ตั้งกฎควบคุมอยู่นะ ให้คนมาเก็บฝักบัว หรือสายบัวไปขายได้ในบางที่เท่านั้น ไม่ให้เก็บหมด เพราะส่วนหนึง่ เราก็เหลือไว้ให้คนมาดู ปีนหี้ มูบ่ า้ นเรา เริม่ จัดการโฮมสเตย์ ให้คนมาเทีย่ วชมกว๊าน ดูบวั ดูนก ดูวิถีชีวิต ได้มาเรียนรู้ว่าพวกเราชาวประมงพื้นบ้าน อยู่กันอย่างไร” ลุงบุญขยายความ มืดแล้ว ไฟทีศ่ าลาริมน�ำ้ เปิดติด ๆ ดับ ๆ พวกเรา ส่องไฟฉายสนทนา สูดอากาศบริสุทธิ์ริมกว๊าน ไม่มี กลิ่นบัวหลวงบัวสาย เพราะฤดูนี้พวกมันก�ำลังยุบกอ เก็บสะสมอาหาร ถ้อยความที่สนทนาบอกฉันว่า เส้น ทางการอนุรักษ์ยังมีอะไรให้ต่อสู้ผลักดัน การท�ำมา หากินยังทุกข์เช้าเย็นตามวิถชี าวบ้านธรรมดา ใช่วา่ สุข เสียทุกสิ่ง แต่เมื่อฉันถามว่า แล้วที่ท�ำอยู่ทุกวันนี้เพื่อ อะไร ค�ำตอบคล้ายมีกลิ่นหอม ราวกับว่า ฉันได้กลิ่น อายชีวิตจากบทสรุปเรื่องเล่าของพวกเขาที่ปลายจมูก

47


48

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

“ที่ ท� ำ อยู ่ ทุ ก วั น นี้ ก็ เ พื่ อ ลู ก หลานนะ โลกมั น เปลี่ยน เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าลูกหลานจะมาเป็นชาว ประมงพื้นบ้านอย่างพวกเราทั้งหมด แต่อยากเห็นว่า อย่างบางคนเรียนหนังสือจบมา ไปท�ำงานที่ห้างใน เมือง กลับมาตอนเย็นก็ยังออกมาวางเบ็ด ดักปลา เช้าก็ออกมาเก็บเบ็ดก่อนออกไปท�ำงาน มีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่เด็ก ๆ จับปลาไม่เป็นเลย มีแต่คนรุ่นลุงที่ท�ำ แต่ตอน นี้ถ้ามาดูนะ เสาร์อาทิตย์ เด็ก ๆ จะมาพายเรืออยู่ใน กว๊ า นเต็ ม ไปหมด ปลามั น ตั ว ใหญ่ จั บ ได้ ที ก็ ภู มิ ใ จ เหมือนได้รางวัล ตัวละ 5-6 กิโล เอากลับไปให้พ่อแม่ อาทิตย์หน้าก็มาใหม่ อย่างน้อยพวกเขาไม่ต้องไป มัว่ สุมอย่างอืน่ แค่นกี้ ภ็ มู ใิ จแล้ว วันหนึง่ ข้างหน้า พวก เขาก็มีทางเลือกว่าจะเป็นอะไร หรือพอท�ำเป็นบ้างใน สิง่ ทีบ่ รรพบุรษุ ริมกว๊านท�ำกันมา อยากให้มนั ไม่หายไป ไหน ไม่ได้ตายไปกับคนรุน่ ลุง” ใครสักคนบอกความนัย ในความมืด ฉันจงใจไม่ค้นหาว่าเป็นเสียงใคร รู ้ สึ ก เพี ย งว่ า นี่ คื อ บทสรุ ป ที่ ดั ง มาจากใจทุ ก คนที่ นี่ ชาวประมงพื้นบ้าน-นักอนุรักษ์ผู้เข้มแข็ง


พัชรินทร์ สุอินไหว

กลุ่มเกษตรทางเลือกและผสมผสาน จากผืนดินแล้งแห้ง สู่แรงบันดาลใจแก่ผู้คน

ฉันขอสรุปเรือ่ งนีไ้ ว้ตรงย่อหน้าแรกเลยว่า ‘ความ สุขที่นี่มีกลิ่นเหม็น แต่น่าดมชะมัด’ มันเหม็นจริง ๆ ไม่ ได้อำ� ก็พอ่ ทา เครือวงค์ เล่นเลีย้ งสัตว์สารพัดแบบปล่อย เพ่นพ่าน กิน ขี้ เยี่ยว ไปมาทั่วสวนเกษตรผสมผสาน ขนาดแค่ย้อนกลับไปนึก ฉันยังแอบได้กลิ่นตุ ๆ

ระหว่างเดินทางไปยังบ้านพ่อทา แกนน�ำกลุ่ม เกษตรทางเลือกผสมผสานที่หมู่บ้านร่องห้า พี่ใบตอง ชี้ชวนให้ฉันสังเกต บรรยากาศแล้งร้อน ไร่นา ป่าแพะ ทุ ่ ง หญ้ า คาเตี้ ย ๆ โดยเฉพาะพื้ น ดิ น ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย ก้อนหินดินแดงอันแห้งผาก ทั้งยังก�ำชับหลายครั้งว่า “ดูไว้นะ ถ้าไปถึงบ้านพ่อทาแล้วจะเข้าใจว่าท�ำไมทาง เทศบาลฯ ถึ ง ยกระดั บ ให้ เ ป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ด ้ า น การเกษตร” ฉันจินตนาการสิ่งที่จะเจอไว้ในใจบ้างแล้วว่า คงเป็นสวนเกษตรซึ่งปลูกพืชหลายอย่าง แต่เมื่อถึงที่ หมายก็ต้องร้อง ‘ว้าววว’ ออกมาดัง ๆ ด้วยภาพที่เห็น เกินเลยจากความคาดหมาย สวนหน้าบ้านพ่อทาเป็น ดินด�ำชุ่มน�้ำ ปลูกได้ทุกอย่างแม้กระทั่งเฟิร์น ฉันบอก ตัวเองว่า ที่แปลงนี้ดินคงดีอยู่ก่อนแล้วล่ะน่า พืชผลจึง อวบงามจนสวนของพ่อทาดูเหมือนโอเอซิสท่ามกลาง ดินแล้งแห้งผากที่ห้อมล้อม “เมื่อก่อนมันก็เป็นดินปนทรายแบบที่รอบ ๆ นี่ แหละ ขุดลงไปแค่คืบก็เจอแต่หินทั้งนั้น ก็มันดินผืน เดียวกัน ลุงใช้เวลาหลายปีกว่าจะปรับปรุงดินให้เป็น อย่างนี้ได้ ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าจะท�ำอย่างไร พอดีไปเห็น เทศบาลดึงผักตบชวาออกจากกว๊านมากองทิ้งไว้ที่

51


52

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

สะพานขุนเดช ลุงก็ไปขอเขามาฟรี ๆ ลุงจ้างรถขนมา ถมสวนได้ทั้งหมด 72 เที่ยว เวลาผ่านไป พอมันยุบก็ กลายเป็นปุย๋ เป็นดิน ค่อย ๆ ปลูกกล้วย ปลูกต้นไม้ ซือ้ ขี้วัวมาใส่ ดินก็ดีขึ้นมา” ฉันพยายามซอกแซกถามโน่นนี่ หวังจะจับผิด พ่อทาอีกเรือ่ ง สิบกว่าปีทผี่ า่ นมาอย่างไรเสียก็นา่ จะใช้ สารเคมีบา้ งไม่มากก็นอ้ ย ค�ำตอบทีไ่ ด้รบั คือไม่เลยสัก นิด แม้กระทั่งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง สัก กระผีกริ้นก็ไม่เคยใกล้กรายสวนเกษตรพื้นที่ยี่สิบไร่ แห่งนี้ “ลุงไม่ใช้สารเคมีเพราะลุงเคยเห็นญาติลุงป่วย เป็นโรคมะเร็ง สาเหตุคงเพราะยาฆ่าหญ้า สารเคมี ลุงว่าบางทีสวนเราไม่ใช้ สวนรอบ ๆ ใช้ น�้ำเอย อากาศ เอย มันก็ไหลหากันได้ อันตรายมากนะของพวกนี้ ลุงนี่ไม่เคยใช้เลยสักอย่างและไม่คิดจะใช้เลยด้วย” พ่อทาย�้ำว่า การจะเป็นเกษตรกรต้องคิดเรื่อง การพึ่งตนเองให้มาก ความขยันหมั่นเพียรจึงเป็นของ ที่มาคู่กัน หากเกียจคร้านก็จะท�ำการงานเช่นที่พ่อทา ท�ำไม่ส�ำเร็จ ดังนั้น แทนที่จะนั่งคุยกันเพลิน ๆ ให้ ง่วงเหงา พ่อทาจึงพาฉันเดินชมสวน

พัชรินทร์ สุอินไหว

ผ่านดงไก่ อ้อมฝูงเป็ด แยกเข้าเล้าหมู แวะดู ต้นนู้นต้นนี้สารพัด พ่อทาดูแข็งแรง มีความสุขและ ภาคภูมิใจกับสิ่งที่ได้ลงแรงกายแรงใจสร้างมา แต่ฉัน ต้องสารภาพว่าไม่คุ้นกลิ่นความสุขของชายชราเลย สักนิด จะปิดจมูกเดินก็ดูจะเสียมารยาท อาศัยกลั้น หายใจเป็นพัก ๆ ยามต้องปะทะกับบรรดาขี้สัตว์แสน รักของพ่อทาจัง ๆ โดยเฉพาะฝูงหมูซึ่งทั้งเดินเพ่นพ่าน และยืนจมกองขี้หมูในเล้าหลายสิบตัว “ที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้ว่า ก่อนนั้นต้องซื้อขี้วัวมาใส่ สวน ตอนหลังก็ค้นพบวิธี เลี้ยงหมูเองเลย หมูขี้ออก มาก็ตักมาตากแดดและเอาไปใส่สวน ทีนี้ก็ไม่เสียตังค์ ซื้อละ วิธีการคือ ใส่ปุ๋ยในที่ดอนเยอะกว่าที่ลุ่ม เพราะ ถ้าฝนตกหรือรดน�ำ้ มันจะไหลลงมาเท่ากันพอดี ขีน้ มี่ นั

พ่อทา เครือวงค์

53


54

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

มีประโยชน์นะ เลี้ยงนกเลี้ยงไก่ก็ปล่อยไปให้มันขี้ตาม ดิน ตามต้นไม้ เราไม่ต้องจัดการอะไร มันใส่ปุ๋ยต้นไม้ ให้เราเอง ขี้ไก่ถ้าได้เยอะ ๆ ก็เอาให้ปลากิน หมุนเวียน กั น อยู ่ อ ย่ า งงี้ เงิ น ทุ น มั น ไม่ อ อกไปไหน เราเป็ น เกษตรกรท�ำแบบนี้น่าจะอยู่รอดได้มากกว่า” การคุยกับพ่อทาท�ำให้ฉนั เกิดมุมมองอย่างหนึง่ ว่า ความพอเพียงคือวิถีความพึงพอใจในการบริโภคที่ พอดี แต่การเป็นเกษตรกรนั้นจ�ำเป็นต้องอาศัยการ จัดการที่ค�ำนึงถึงเศรษฐศาสตร์แห่งความคุ้มค่าด้วย จึงจะอยู่รอดและประสบความส�ำเร็จ กระทั่งมูลสัตว์ก็ ไม่เว้น การหว่านโยนเมล็ดพันธุ์หลากหลายชนิดลงไป ในดินที่เรียกว่าผสมผสานในแบบของพ่อทาก็ใช่ว่า ไร้การคิดค�ำนวณหรือจัดการใด ๆ

พัชรินทร์ สุอินไหว

“ลุงมาตรองดูละ ถ้าปลูกอย่างเดียวทั้งสวน ปีหนึ่งกว่าจะได้เงินก็หนเดียว ถ้าปีไหนราคาตกก็เสี่ยง ขาดทุน ยิ่งถ้าต้องซื้อปุ๋ยซื้อยาก็ยิ่งไม่เหลือ แต่ปลูก หลายอย่างออกลูกทั้งปีก็ได้เงินทั้งปี เก็บกินได้ทั้งปี ถ้าไม่ต้องซื้อปุ๋ยซื้อยาก็จะมีก�ำไรจากตรงนั้นอีก” สิบกว่าปีผา่ นไป สิง่ ทีช่ ายคนนีเ้ พียรท�ำอย่างไม่ ระย่อ สวนกระแสการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการใช้ สารเคมีซงึ่ เกษตรส่วนใหญ่ในประเทศท�ำ ในทีส่ ดุ ก็หยัง่ รากแตกใบเกิดดอกออกผลให้คนชม “งานแบบนี้มันใช้เวลาพิสูจน์ ต้องใช้ความขยัน อดทน กว่าลุงจะท�ำให้ดินดี ปลูกต้นไม้โตได้ทุกอย่าง ขนาดนี้ต้องใช้เวลาหลายปี เมื่อก่อนก็ไม่กล้าไปบอก ไปแนะน�ำใคร ก็ค่อย ๆ ท�ำของเรามาคนเดียว ค่อย ๆ หาความรู้ ค่อยดูค่อยอ่านจากหนังสือ จากโทรทัศน์ บ้าง ท�ำไปสังเกตไปว่าอะไรมันใช้ได้ผล เดี๋ยวนี้ลุง พิสจู น์ได้ละ ว่าการท�ำเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีมนั ได้ผล จริง ได้เงินจริง ตอนนี้ก็กล้าแนะน�ำคนอื่นได้แล้ว เหมือนตอนนี้เรามีวิชาความรู้อยู่เต็มพุง ลุงก็อยากให้ คนอื่นเข้ามาเรียนรู้ มาแลกเปลี่ยน ลุงเองเห็นต้นไม้ มันงามเก็บขายได้ก็มีก�ำลังใจว่า สิ่งที่เราเชื่อเราท�ำได้ มันพิสูจน์ได้ ก็อยากให้คนที่มาเห็นเกิดก�ำลังใจ”

55


56

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

แม้ เ ราจะเคยเห็ น คนที่ ท� ำ ในสิ่ ง คล้ า ยกั น กั บ พ่อทาทางโทรทัศน์อยูบ่ อ่ ย ๆ เรือ่ งราวของพ่อทาอาจจะ ไม่ได้โดดเด่นกว่าใคร แต่การพลิกฟื้นผืนดินทรายแห้ง แล้งให้กลายเป็นสวนเกษตรปลอดสารงอกงามคือแรง บั น ดาลใจส� ำ คั ญ ของเพื่ อ นเกษตรกรในต� ำ บล จน กระทัง่ คน 12 คน มารวมตัวกันตัง้ กลุม่ เกษตรทางเลือก ผสมผสานขึ้น และหันเหสู่วิถีเกษตรธรรมชาติ พัฒนา องค์ ค วามรู ้ เ พื่ อ น� ำ ไปสู ่ วิ ถี ก ารพึ่ ง พิ ง ตั ว เองอย่ า งมี ความสุข ก่อนสังคมเกษตรจะล่มสลายด้วยเกษตรกร ต้องตกเป็นทาสการตลาดและบริษทั ปุย๋ -ยา อย่างน้อย วันนี้คนกลุ่มเล็ก ๆ ในต�ำบลบ้านต๋อมก็ก�ำลังประคอง ตนฝ่าฟันวิกฤตไป แม้ทางที่เดินอาจยากล�ำบากและ อาศัยเวลา สวนไม้งามของพ่อทายังคงเป็นความหวัง


พัชรินทร์ สุอินไหว

กลุม่ ธนาคารข้าว ยุ้งฉางแห่งการแบ่งปัน

“หมู่บ้านเราท�ำนาได้ครั้งเดียวต่อปี เพราะน�้ำ ไม่ดี” ลุงสุข ทวีเชื้อ เปิดการสนทนาเสียงดังฟังชัด “อ้าว ก็มีน�้ำกว๊านพะเยา?” ฉันเผยข้อสงสัย “เค้าเรียกว่า นอนหัวหนุนน�ำ้ ไม่มปี ญ ั ญาเอาน�ำ้ มาใช้ เพราะกว๊านอยู่ด้านล่าง เราอยู่ด้านบน คนที่อยู่ ฝั่งกว๊านเขาก็ได้ท�ำนาปีละสองครั้งอยู่นะ หรือไม่งั้นก็ ปลูกข้าวโพด ปลูกหอม ปลูกถั่วเขียว แต่เรานี่น�้ำไม่มี

ปลูกข้าวแต่ละปีเรียกว่าปลูกให้เทวดารักษา คือต้องรอ น�ำ้ ฟ้า รอน�ำ้ ฝน ว่าปีนฝี้ นจะตกเยอะไหม ถ้าปีไหนน�ำ้ ดี ก็ค่อยยังชั่ว แต่ถ้าอย่างปีนี้ฝนทิ้งช่วงก็ต้องคอยลุ้นกัน ว่าจะเป็นยังไง จะได้ข้าวเยอะไหม” “ตอนไปคุยกับพ่อทา ได้ยินมาว่าเป็นดินปน ทรายด้วยใช่ไหมคะ ที่ปลูกข้าวบ้านเรา” ฉันถามเพิ่ม “ถ้าขาดน�้ำ ปีไหนฝนทิ้งช่วง ปีนั้นข้าวจะแกร็น ต้นเล็กหดกอทันที ภาษาบ้านเราเรียกว่าข้าวรัด นับ ประสาอะไรกับข้าว ขนาดหญ้ายังรัดเลย มันเป็นดิน ปนทราย รักษาน�ำ้ ในดินไม่ได้ ก็ตอ้ งใส่ปยุ๋ คอกช่วยดิน เยอะ ๆ สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับฟ้ากับฝนนะ ว่าแต่ละปี ข้าวจะพอกินไหม” ลุงสุขตอบ ในวิ ก ฤตที่ ต ้ อ งเผชิ ญ สติ ป ั ญ ญาและน�้ ำ ใจ เอื้ อ อาทรมี บ ทบาทส� ำ คั ญ ที่ ช ่ ว ยพาทุ ก คนรอด แม้ ‘ธนาคารข้าว’ จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ชาวบ้านหมู่ 13 บ้านร่องห้าป่าสัก ยืนยันว่า การจัดการธนาคารข้าว ของพวกเขาค่อนข้างแตกต่างจากที่อื่น ด้วยมุ่งเน้นไป ที่ ก ารช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น ภายในหมู ่ บ ้ า นก่ อ น แสวงหาผลก�ำไร เหมือนดังที่ลุงศรีมูล ท�ำดี ประธาน กลุม่ ธนาคารข้าว บอกฉันว่า “กินน้อย ๆ แต่กนิ นาน ๆ”

59


60

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

มั น เป็ น ยั ง ไงน่ ะ หรื อ ?...ผู ้ ที่ จ ะเป็ น สมาชิ ก ธนาคารข้าวได้ คือชาวบ้านทีป่ ระสบปัญหาขาดแคลน ข้าวในหมู่บ้านร่องห้าป่าสักและหมู่บ้านใกล้เคียงอีก สองหมูบ่ า้ น แต่ไม่จำ� เป็นต้องเป็นชาวนา เพราะถือว่า ทุกคนกินข้าวเหมือน ๆ กัน สมาชิกแรกเข้าต้องน�ำข้าว มาร่วมถือหุน้ อย่างน้อยหนึง่ หุน้ หุน้ หนึง่ คือ ข้าวเปลือก จ�ำนวน 5 ต๋าง หรือ 70 กิโลกรัม ถ้าไม่ได้ท�ำนาหรือ ไม่มีข้าวก็คิดเป็นเงินไป หลั ง ฤดู เ ก็ บ เกี่ ย วประมาณเดื อ นธั น วาคมถึ ง มกราคมของทุ ก ปี คณะกรรมการจะก� ำ หนดวั น ให้ สมาชิกน�ำข้าวมารวมกันที่ ยุ้งฉาง โดยทุกคนจะต้องมา ช่วยกันชั่ง ตวง แบกขนข้าว ขึ้ น ยุ ้ ง ให้ เ สร็ จ ในวั น เดี ย ว พวกเขาจะน�ำข้าวปลาน�ำ้ ท่า มานั่งล้อมวงกินกันเหมือน วั น ลงแขกท� ำ งานในไร่ น า

ลุงสุข ทวีเชื้อ

คณะกรรมการจะน�ำเงินค่าหุน้ ทีไ่ ด้ซอื้ ข้าวทีเ่ กินมาจาก สมาชิกที่ปลูกข้าวในวันนั้นเอง เพราะหลักการของ ธนาคารแห่ ง นี้ คื อ เก็ บ แต่ ข ้ า ว เพราะข้ า วจะมี ค ่ า มากกว่าเงินเมื่อวันเวลาของการปล่อยกู้มาถึง


พัชรินทร์ สุอินไหว

ช่วงกลางปี ย่างเข้า สู่เดือนกรกฎาคม ขวบรอบ วิกฤตชาวนาในหมู่บ้านจะ มาถึ ง หลายครอบครั ว ข้าวสารเริ่มร่อยหรอ หลาย คนต้ อ งเริ่ ม ท� ำ นาอี ก รอบ แต่ขาดทุนทรัพย์ บ้างก็ไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ การปล่อย กูข้ า้ วในช่วงนีเ้ ปรียบเสมือนการกูว้ กิ ฤต เพราะให้ราคา ทีถ่ กู กว่าเกือบครึง่ ต่อครึง่ เมือ่ เทียบกับราคาข้าวในท้อง ตลาด ที่ส�ำคัญคือ ชาวบ้านไม่จ�ำเป็นต้องใช้เงินสด แลกข้าว และยังเป็นการแบ่งเบารายจ่ายของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีรายรับจากการท�ำนาเพียงปีละครั้ง อีก ครึ่งปีที่เหลือคือรับจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในภาคธุรกิจ ก่อสร้างและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งท�ำรายได้ไม่มากนัก

หลักการและการปฏิบัติตามพื้นฐานแห่งการ ช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นเช่นนี้นี่เอง “ธนาคารข้าวนี่ตั้งมาตั้งแต่ปี 2545 แล้วนะ ตอนนี้เรามีสมาชิกอยู่ 60 คน แต่กว่าจะตั้งกลุ่มตั้งกฎ รวมชาวบ้านมาเป็นกลุ่มเป็นก้อนให้เข้าใจเหมือนกัน ทุกคนได้นี่ต้องใช้เวลาเป็นสิบปีนะ มีปัญหาก็แก้กัน ตลอด เช่น หน้าแล้งฝนทิ้งช่วง ข้าว 50 กิโลที่สมาชิก เอาส่ ง แยกแล้ ว ได้ ข ้ า วลี บ สองกระสอบ มั น ก็ เ สี ย

สมาชิกของธนาคารสามารถกู้ยืมข้าวได้ไม่เกิน รายละ 10 ต๋าง หรือ 140 กิโลกรัม โดยคิดอัตราดอกเบีย้ เพิ่มอีก 2 ต๋าง กรณีปล่อยกู้ครบแล้ว แต่ยังมีข้าวค้าง ยุ้งฉาง คณะกรรมการจะจัดสรรปล่อยกู้แก่ชาวบ้าน ทัว่ ไปโดยให้สมาชิกกลุม่ เป็นผูค้ ำ�้ ประกัน เมือ่ ครบ 1 ปี คณะกรรมการจะน�ำก�ำไรที่ได้ในส่วนของดอกเบี้ยมา ปันผลเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน ลุงศรีมูล ท�ำดี

63


64

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

พัชรินทร์ สุอินไหว

“งานทุกอย่างมันก็มีอุปสรรคปัญหาเหมือนกัน หมด เราเป็นชาวบ้านเหมือนกัน เราเป็นกรรมการก็ไม่ ได้ค่าตอบแทนอะไร พี่น้องเดือดร้อนก็มาช่วยเหลือกัน ก็ต้องเอื้ออาทรค่อยแก้ปัญหากันไป” ลุงศรีมูลพูดน้อย แต่สรุปความหนักแน่น

ผลประโยชน์ของธนาคารซึ่งก็คือเราทั้งหมด กรรมการ ต้องคอยดู ต้องขอให้เอาข้าวที่มีคุณภาพมา ต้อง พยายามให้สมาชิกกลุ่มรักษาความดี รักษาเครดิต รักษาคุณภาพ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่ม อย่างปีนี้ก็ กลัวว่าจะเจอหญ้าที่ปนมากับข้าวนาหว่านอยู่เหมือน กัน” ประธานกลุ่มแจกแจง

ชาวนาปลู ก ข้ า วจ� ำ ต้ อ งบนบานร้ อ งขอเทวา อารักษ์ แม่พระธรณี ปกปักรักษา ดูแลข้าวกล้าของ พวกเขา ขออ�ำนวยชัยให้โชคดี มีเมล็ดข้าวสมบูรณ์ให้ กินแต่ไรมา คนไม่ได้ปลูกข้าวอย่างฉันไม่รู้หรอกว่า บนฟ้า อากาศ ผืนดิน ท้องนา มีเทวดาอยู่จริงไหม รู้แต่ ว่าในยามเดือดร้อน คนบ้านร่องห้าป่าสักยังมีข้าวกิน เพราะคนธรรมดาเดินดินตากแดดหน้าด�ำอย่างพวกเขา เห็นอกเห็นใจกันและกันว่าทุกข์ร้อนที่แต่ละคนประสบ นั้นเป็นเยี่ยงไร

65


3 ความสุขของแม่บ้าน หัตถกรรมชุมชนในโลกสมัยใหม่

โลกจะเคลื่อนไปแค่ ไหน แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่โดย เฉพาะในชนบทยังคงครอบครองอาณาเขตส่วนตัวอยูภ่ ายใน บ้านเช่นเดิม ด้วยสรีรภาพที่ต้องท้องและคลอดท�ำให้ต้อง ดูแลลูก ๆ และท�ำงานอยู่กับบ้าน ฉันไม่ ได้จะกล่าวถึง บทบาทของสตรี เพียงแค่สงสัยว่า ความสุขของ พวกเธอคืออะไร และเป็นอย่างไรกันบ้าง


พัชรินทร์ สุอินไหว

กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาบ้านต๋อมดง การก้าวกระโดดของวิสาหกิจชุมชนสู่ตลาดสมัยใหม่

สิบกว่าปีกอ่ น เทศบาลดึงผักตบชวาขึน้ มาจาก กว๊านพะเยา กลายเป็นขยะกองพะเนิน ไม่มที างก�ำจัด เดชะบุญได้พ่อทามาขนไปถมสวน แต่ปัจจุบัน ผักตบ ชวากลั บ มี ร าคาค่ า งวดและถู ก น� ำ มาท� ำ เป็ น สิ น ค้ า ประจ�ำต�ำบลไปเสียแล้ว

ฉั น รู ้ สึ ก ตื่ น ตาตื่ น ใจกั บ กระเป๋ า ผั ก ตบชวา ประณีตงดงามร่วมร้อยใบที่ก�ำลังบรรจุหีบห่อรอส่ง ลูกค้า และอีกหลายร้อยใบที่สานเป็นตัวกระเป๋าแล้ว แต่ยังประกอบไม่ส�ำเร็จ บ้างก็รอท�ำสี เพิ่มลาย รอบุ ผ้า ใส่หูหิ้ว แยกวางเป็นกอง ๆ ไว้ที่บ้านของแม่สมศรี วงค์ปัญญา อดีตประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผักตบ ชวาบ้านต๋อมดง “ไม่กี่ปีก่อน ตอนนั้นแม่เป็นสมาชิกสภาต�ำบล คิดอยากพัฒนาอาชีพก็ท�ำโครงการพากลุ่มแม่บ้านไป อบรมสานกระเป๋าผักตบชวาจากอีกหมู่บ้านหนึ่งที่เขา ท�ำกันอยู่แล้ว แต่พอเรามาท�ำกันเองกลับต้องรอรับ ออเดอร์งานจากกลุ่มอื่นอย่างเดียว ซึ่งได้มาน้อยมาก เรียกว่านาน ๆ ที แม่บา้ นก็เสียก�ำลังใจ แม่กเ็ ลยปรึกษา กับลูกสาวว่าจะท�ำอย่างไรดี ให้สนิ ค้าทีเ่ ราท�ำมาได้ขาย ทุกวันนี้ลูกสาวเป็นประธานกลุ่ม เพราะเขาขายของได้ ท�ำตลาดไปได้ไกลกว่า” แม่สมศรีเล่าความเป็นมา

69


70

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

“ตอนแรกก็ คิ ด อยู ่ แ ล้ ว ว่ า อยากขายของใน อินเทอร์เน็ต คิด ๆ ว่าอยากขายของที่เป็นผลิตภัณฑ์ บ้านเรา พอแม่มาถามก็เข้าทางกันเลย เอารูปไปโพสต์ ในเว็บไซต์ขายของ ตอนแรก ๆ ก็ขายได้อาทิตย์ละใบ สองใบ ค่อย ๆ ขายดีขนึ้ เรือ่ ย ๆ พอมีลกู ค้าก็เริม่ ท�ำเป็น เว็บไซต์ ทุกวันนี้อาทิตย์หนึ่งขายได้เป็นหลักร้อย มีทั้ง ลูกค้าคนไทย ลูกค้าต่างประเทศ และลูกค้าทีร่ บั ของเรา ไปขายตามจตุจักร ภูเก็ตมั่ง การขายในอินเทอร์เน็ต เป็นตลาดที่กว้างมาก แต่เราก็ต้องคอยอัพเดทสินค้า บ่อย ๆ แล้วก็ท�ำแบบ คิดลายให้ตรงกับความต้องการ ของตลาด ต้องคอยดูว่าตอนนี้คนนิยมสี นิยมแบบ นิยมลายอะไร เราก็ออกแบบลองท�ำดู ต้องไม่หยุดนิ่ง อยู่กับที่” มะปราง-ปรางประภา เรืองงาม ประธาน กลุ่มคนปัจจุบันเล่าให้ฉันฟังถึงที่มาของความส�ำเร็จ

ปรางประภา เรืองงาม ตามมุมมองของฉัน ความโดดเด่นของกลุม่ นีค้ อื การผสานตัวเข้ากับธุรกิจการค้าในโลกสมัยใหม่ได้ อย่า งกลมกลืน พูดอย่างไม่ อ ้ อ มค้ อ ม นี่ คื อ ธุ ร กิ จที่ บริหารจัดการโดยเจ้าของกิจการซึ่งท�ำการตลาดเป็น และเคลื่อนไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับวิสาหกิจชุมชน ในแบบเดิ ม ๆ เพราะในส่ ว นของการจั ด การนั้ น ประธานกลุ่มกับเจ้าของธุรกิจคือคนคนเดียวกัน มี หน้าที่ในการหาตลาด ติดต่อลูกค้า บริหารจัดการการ ผลิตอย่างครบวงจร เพียงแต่เน้นให้ผู้ผลิตสินค้าเป็น สมาชิกชุมชน โดยกระจายงานแต่ละขั้นตอนแก่ผู้ที่ มีความถนัดแตกต่างกันไป และจ่ายค่าแรงเป็นรายชิ้น ตามความสามารถในการผลิต


ทว่า ขณะเดียวกันก็ยังคงมีลักษณะของกลุ่ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนอยู ่ ใ นส่ ว นการบริ ห ารจั ด การ เช่ น เทศบาลฯ และหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนอบรม ให้ความรู้พัฒนาทักษะของสมาชิก มีการออมเงินหุ้น ละ 200 บาท เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมและมีเงินปันผลแก่ สมาชิกทุกปี เงินปันผลนี้ส่วนหนึ่งยังน�ำมาช่วยเหลือ กิจกรรมของชุมชนอีกด้วย ส�ำหรับฉันแล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ งานนี้ เป็นงานที่ค�ำนวณคร่าว ๆ แล้ว เกี่ยวพันและ หล่อเลี้ยงคนในชุมชนบ้านต๋อมกว่า 300 ครัว เรือน คนบ้านริมกว๊านนอกจากจับปลาท�ำประมงแล้ว ยังใส่ปุ๋ยบ�ำรุงผักตบชวาซึ่งเคยเป็นเพียงวัชพืชให้อวบ อ้วนเจริญวัย จากนัน้ จึงน�ำขึน้ จากน�ำ้ ท�ำความสะอาด ตากแห้ง ย้อมสี เตรียมไว้ขายคนสานกระเป๋า การสาน บุผ้าหรือท�ำลายกระเป๋าจะแยกเป็นส่วน ๆ ตามถนัด กระจายหลากหลายวัย ตั้งแต่เด็ก แม่บ้าน ย่า ยาย ช่วยกันในครอบครัว บ้างท�ำเป็นงานหลัก บ้างท�ำเป็น งานเสริมหลังช่วงฤดูท�ำนา ผลิตภัณฑ์แต่ละส่วนเมื่อ ท�ำเสร็จก็จะน�ำมาส่งทีก่ ลุม่ มีผคู้ นประกอบตัวกระเป๋า และตกแต่งให้โดดเด่นสวยงามก่อนออกสู่ตลาด

ฉันว่าการงานที่เกาะเกี่ยวผู้คนใน ชุมชนมากมายให้มรี ายได้ มีอาชีพ ไม่ตอ้ ง ออกไปหางานที่อื่นไกล ๆ ได้อยู่บ้าน ดูแล กันและกัน เป็นการงานที่ดูเบาไม่ได้เลย


พัชรินทร์ สุอินไหว

หั ต ถกรรมแม่ บ ้ า นบ้ า นร่ อ งไผ่ พั ฒ นา พ ร ม เ ช็ ด เ ท ้ า ล า ย ก า ร ์ ตู น การรวมกลุ่มแบบบ้าน ๆ ของแม่บ้านตัวเล็ก ๆ ที่ ไ หน ๆ ในบ้ า นต๋ อ มล้ ว นก่ อ เกิ ด เรื่ อ งราว น่าประทับใจ แม้แต่เรื่องต่อไปนี้ที่ดูเหมือนเล็กน้อย จากผูค้ นทีร่ สู้ กึ ว่าพวกเขาเองตัวเล็ก แต่ความรูส้ กึ ทีไ่ ด้ กลับยิ่งใหญ่ไพศาล

ที่ ท� ำ การศู น ย์ หั ต ถกรรมแม่ บ ้ า นบ้ า นร่ อ งไผ่ พัฒนาเป็นห้องสีเ่ หลีย่ มเล็ก ๆ ทีบ่ รรจุคนเข้าไปสัก สิบ คนก็น่าจะแน่นมาก ๆ แล้ว ผนังห้องด้านหลังแขวน ประดั บ พรมเช็ ด เท้ า ลายการ์ ตู น หลากหลายลาย น่าเอ็นดูเหมือนสถานที่เลี้ยงเด็ก ตอนไปถึง พี่อารีย์ เมืองซื่อ พี่ค�ำมูล หลักฐาน พี่เพ็ญศรี ยอดอ้อย และพี่ รัชฏาภรณ์ สุดธะนะ รอฉันอยูก่ อ่ นแล้ว แม้ตอ้ งรอนาน แต่พวกเขาก็ยังยิ้มใส ๆ ให้อภัยฉัน “ครั้งแรกเลย เราก็ท�ำแค่พรมเช็ดเท้าลายทั่วไป นี่แหละ สักประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีคนมาจ้างให้ท�ำ ลายการ์ตูน ตอนนั้นเขาเอาแบบมาให้ เราก็ท�ำส่งไป ตอนหลังเราก็เลยออกแบบลายกันเอง ขายดีกว่าเดิม ก็เลยท�ำกันมา มีปัญหาบ้างว่า ตอนที่เอาไปท�ำกันเอง ออกมาไม่ค่อยสวย ตัวการ์ตูนหน้าเบี้ยว ก็ช่วยกันคิด ว่าท�ำแบบกระดาษออกมาเป็นบล็อกก่อน เวลาท�ำก็ ท�ำตามแบบก็จะได้ตวั การ์ตนู ออกมาหน้าตาเหมือนกัน หมด งานมีมาตรฐานขึ้นมา” พี่อารีย์ ประธานกลุ่ม เล่าแจ้งแถลงไข

75


76

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

แม่บ้านกลุ่มนี้รวมตัวกันมาเป็นเวลาร่วม 15 ปี แล้ว ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 19 คน การบริหาร จัดการกลุ่มแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ท�ำงานในลักษณะ ช่วย ๆ กันมากกว่าจะจัดตัง้ อย่างเป็นทางการ โดยทาง กลุ่มจะเป็นผู้รับงานจากลูกค้ามากระจายแก่สมาชิก มีการจัดการระบบบัญชี แบ่งปันผลก�ำไร แต่ละเดือน ทุกคนจะส่งเงินออมของตนเดือนละ 20 บาท และ เก็ บ เงิ น ออมของกลุ ่ ม อย่ า งน้ อ ยเดื อ นละ 50 บาท เพื่อสะสมน�ำส่งกองทุนกู้ยืมต่าง ๆ ซึ่งทางกลุ่มกู้มา ลงทุนซื้อจักรเย็บผ้า เงินออมส่วนที่เหลือส่วนหนึ่งยัง น�ำไปช่วยเหลือกิจกรรมของหมู่บ้านด้วย เรื่องราวสัพเพเหระจากบรรดาแม่บ้านสมาชิก ที่เต็มอกเต็มใจเล่าให้ฉันฟังบอกเล่าอะไรมากมาย “มันก็ได้ความสัมพันธ์ในครอบครัวนะ ตอน กลางคืนนัง่ ดูทวี ี พ่อแม่ลกู นัง่ เฉย ๆ ก็ไม่ได้อะไร พีย่ ก กะละมังมาให้คนละใบ ให้นั่งตัดเศษผ้าดูทีวีไป”

พัชรินทร์ สุอินไหว

“ผัวพีก่ ช็ ว่ ยนะ ตอนทีท่ ำ� ใหม่ ๆ มานัง่ ช่วยกันทุก คืนเลย นั่งที่ไหนก็เอามาตัด ตอนหลังท่าจะเบื่อ ต้อง ใช้ถึงท�ำให้ เวลาเรางานเร่ง ๆ เขาก็ถึงมาช่วย” “ทางกลุ่มซื้อผ้าหลาย ๆ สีเป็นม้วนใหญ่มาตัด แบ่งเป็นกิโลขาย ใครอยากได้สอี ะไรเท่าไหร่กต็ ดั รวม ๆ กันชั่งทีเดียว ท�ำเป็นกลุ่มแบบนี้มันก็ดี มีผ้าหลายสีให้ ท�ำ ท�ำเป็นตัวการ์ตูนตัวนู้นตัวนี้ ผ้าเศษเหลือก็เอามา แลกกันหรือคืนเปลี่ยนสีไปอีก ก็ไม่ต้องทิ้ง มันคุ้มค่า กว่า”

77


78

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

“ท�ำคนเดียวอาจจะได้ก�ำไรมากกว่า ไม่เสีย เวลามาท�ำงานกลุ่ม แต่ท�ำของใครของมันนี่มันก็ไม่ ค่อยสนุกนะ อยู่ด้วยกันท�ำด้วยกันเป็นกลุ่ม มีอะไรก็ คุยกันได้ ช่วยกันก็สนิทกันไป ปรึกษากันได้ มีแบบ ใหม่ ๆ มาก็มาช่วยกันดูว่าตรงนั้นตรงนี้ท�ำยังไง ก็ลอง ท�ำกันดู มันมั่นใจขึ้น มีอะไรก็เตือนกัน บางคนรับไม่ ได้กโ็ กรธ บอกว่าเลิกเข้ากลุม่ ละ แต่พออีกอาทิตย์หนึง่ ก็กลับมาใหม่ อยู่เป็นกลุ่มมันดีไง ทิ้งกันไปไหนไม่ได้ หรอก”

พัชรินทร์ สุอินไหว

ฉันแค่ถามนิด ๆ หน่อย ๆ แต่พวกเขาช่วยกันคุย ช่วยกันตอบ ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่ซ่อนเรื่องราวซึ่งมี มิ ติ ชี วิ ต เล่ า เรื่ อ งด้ ว ยตั ว มั น เอง ฉั น เหมื อ นนั่ ง อยู ่ ท่ า มกลางเสี ย งสนทนาของกั ล ยาณมิ ต ร เบิ ก บาน จริงใจ และไม่ปิดบังซ่อนเร้นเลย เหมื อ นพวกเขาจะบอกฉั น กลาย ๆ ในเสี ย ง หัวเราะที่ลอยวนว่า นี่ไง ความสุข เพียงท�ำหน้าที่ของ ตนให้ดีเท่าที่ท�ำได้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่จ�ำเป็นต้อง รอให้องค์ประกอบของชีวิตครบถ้วนสมบูรณ์หรอก

79


4 ความสุขของพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ค่อยย่างอย่างแช่มช้า ทว่าไม่หยุดเดิน

ฉันลองจินตนาการว่า หากตัวเองมีชีวิตอยู่จนล่วงสู่ วัยไม้ ใกล้ฝั่งจะเป็นอย่างไรนะ จะปล่อยสังขารโรยร่วงไป กับริว้ รอยชราเงียบ ๆ ล�ำพัง หรือฉันยังอยากจะฝากคุณค่า แบ่งปันความหมาย ก่อเกือ้ ความรื่นรมย์ ในชีวิตแก่ชุมชน และลูกหลาน นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าถึงตอนนัน้ ตัวเองจะเป็น อย่างไร


พัชรินทร์ สุอินไหว

ชมรมผู้สูงอายุ กองทุนขยะฮอมบุญ ขยะและวัยชราที่ ไม่ยอมไร้ค่า

แรกแรงบั น ดาลใจจากสถานการณ์ น�้ ำ ท่ ว ม รุ น แรงในปี 2554 ที่ ผ ่ า นมา กลุ ่ ม ผู ้ สู ง อายุ ต� ำ บล บ้านต๋อมอยากมีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน ภาคกลาง ทว่าทุกวันนี้ต่างพึ่งพิงลูกเต้า ท�ำมาหากิน ไม่ไหวเหมือนแต่ก่อน จึงไม่มีเงินทองเหลือเฟือเพื่อ

ช่วยเหลือใครอย่างใจนึก ทางศูนย์พัฒนาครอบครัว ชุมชนต�ำบลบ้านต๋อม (ศพค.) จึงชวนพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยมา นั่งพูดคุยกันว่า ถ้าช่วยกันเก็บขยะมาฮอมหรือรวมกัน แล้วน�ำไปขายก็จะได้เงินมาร่วมท�ำบุญ กิจกรรมครั้ง นั้น บรรดาคนแก่ทั้งต�ำบลไม่สนใจความชรา เร่งเก็บ ขยะมาขายได้เงินเรือนหมืน่ น�ำไปฮอมบุญตามศรัทธา ดังตั้งใจ ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาขยะซึ่งก�ำลังเป็นปัญหา ใหญ่ของต�ำบลได้ในคราเดียวกัน ความส�ำเร็จจากกิจกรรมครัง้ นัน้ ท�ำให้ในปีตอ่ มา ทาง ศพค. ต่อยอดเป็นโครงการ ‘กองทุนขยะฮอมบุญ’ ขึ้น โดยการสนับสนุนของส�ำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา ชักชวนพ่ออุ๊ย แม่ อุ ๊ ย ชมรมผู ้ สู ง อายุ แ ต่ ล ะหมู ่ บ ้ า นน� ำ ขยะที่ ข าย ได้ จ ากครั ว เรื อ นมารวมกั น ในวั น นั ด แจกเบี้ ย ยั ง ชี พ จากนัน้ น�ำขยะทีไ่ ด้ไปขายเก็บเป็นเงินกองกลางเพือ่ ให้ ผู้สูงอายุสามารถใช้ท�ำบุญสุนทานตามศรัทธา และ ความเหมาะสม ฉั น เตร็ ด เตร่ เ ที่ ย วเล่ น ไปถึ ง วั ด บ้ า นต๋ อ มดง แวะเข้าไปนั่งคุยกับพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยที่ก�ำลังเตรียมงาน ผ้าป่า ฉันเข้าไปคุยกับกลุม่ พ่ออุย๊ บริเวณลานวัด แกล้ง ถามว่า ท�ำไมต้องแยกขยะด้วย โยนทิ้งลงคลองไม่ ง่ายกว่าเหรอ ทุกคนร้องครางและส่ายหน้าพร้อมกัน ฉันเปลี่ยนไปคุยกับกลุ่มแม่อุ๊ยซึ่งนั่งท�ำช่อผ้าป่าใน

83


84

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ศาลาบ้าง ยายหน้อย ยายบุญมา ยายเส่ง ยายค�ำ ยายจันทร์แก้ว ยายแสงดี ใครสักคนพูดเกี่ยวกับขยะ ฮอมบุญไว้ว่า “ดีสิ ขายคนเดียวได้คนละเล็กละน้อย เมื่อก่อน ก็เอาไปขายเองได้ไม่กี่บาท แต่เดี๋ยวนี้เอามาฮอมกัน น้อยบวกน้อยก็ได้มาเป็นเงิน แต่ก็ไม่หลายบาทนะ เดือนหนึ่งเกือบร้อยเท่านั้นแหละ บางทีก็ไม่ถึง ก็เอา มาเก็บเป็นเงินส่วนกลาง ลงบัญชีกันไว้ ถ้ามีผ้าป่าก็ เอาไปฮอมผ้าป่า ถ้าผู้สูงอายุในหมู่บ้านเจ็บป่วยอยู่ใน โรงพยาบาล เราก็ไปบอกหัวหน้า ก็เอาเงินไปซื้อขนม นมเนยติดไม้ติดมือไปเยี่ยมเพื่อนคนแก่เหมือนกันที่ ไม่สบาย ดีสิ ยายก็เอาไปฮอมกับเขาเหมือนกัน กล่อง นม ขวดน�้ำมันพืช ขยะในบ้านน้อย ๆ นิด ๆ ก็หยิบไป”

เวลาได้ยินใครพูดถึงเงินหลักสิบหลักร้อยนั้น ฟั ง ดู ช ่ า งน้ อ ยนิ ด แต่ เ มื่ อ ฉั น ฟั ง ผู ้ เ ฒ่ า ผู ้ แ ก่ เ หล่ า นี้ เล่าเรือ่ งขยะและสิง่ ละอันพันละน้อยอืน่ ๆ ในชีวติ ท�ำให้ รู้สึกว่า ของบางอย่าง เรื่องบางเรื่อง คนบางคน อาจดู เหมือนไม่มีมูลค่า แต่ก็ใช่ไร้คุณค่าแต่อย่างใด โครงการกองทุ น ขยะฮอมบุ ญ ได้ รั บ รางวั ล อปท. (องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) ต้นแบบ การ ด�ำเนินงานโครงการนวัตกรรมคนไทยใจอาสาดีเด่น (Good Practice) จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อทราบเรื่องนี้ฉันรู้สึกยินดี ด้วยมันเป็นดังรางวัลการันตีคุณค่าจิตใจอันดีงามของ พวกเขา


พัชรินทร์ สุอินไหว

หมอเมืองสมุนไพรพืน้ บ้าน รู้เวท รู้คน รู้ต้นไม้ รู้ยา

การได้ คุ ย กั บ ตาแต๋ ว ค� ำ ลื อ ครู ภู มิ ป ั ญ ญา หมอเมืองสมุนไพรพื้นบ้าน ท�ำให้ฉันนึกถึงเรื่องที่พ่อ เล่า ชายสองคนร�่ำเรียนวิชาแพทย์จนใกล้จบหลักสูตร เมื่ อ ถึ ง วาระทดสอบว่ า ใครมี คุ ณ สมบั ติ ส อบผ่ า น อาจารย์ได้แจกตะกร้าคนละใบให้ไปเก็บพืชที่ไม่ใช่ยา ชายคนแรกกลั บ มาพร้ อ มหญ้ า อี ก หนึ่ ง นั้ น ตะกร้ า ว่างเปล่า ผลปรากฏว่า คนหลังสอบผ่าน เพราะไม่มี อะไรที่ไม่มีค่า ไม่สามารถเป็นยา แม้แต่หญ้าข้างทาง

“ต้องรู้จักต้นไม้จึงจะรู้จักยา ที่สืบทอดกันไม่ ค่อยได้เพราะคนไม่รู้จักต้นไม้ หลายอย่างมันก็อยู่ใน ป่า ตารูจ้ กั หมด แต่ไปเองไม่ได้แล้ว แก่แล้ว บางทีคน ที่เคยมารักษาเขาอยู่ป่าอยู่ดอย เขาไปเจอก็ตัดกิ่งเก็บ ใบไม้มาให้ ตาถึงได้ท�ำเป็นยา ทุกอย่างเป็นยาได้หมด แต่กต็ อ้ งอ่านต�ำราตัวอักษรล้านนา ต้องแก้ปริศนาเป็น คนเมือ่ ก่อนไม่ได้บอกอะไรกันง่าย ๆ เราต้องใช้ปญ ั ญา ถึงจะแก้ปริศนาได้ว่าต�ำราที่เขียนไว้หมายถึงอะไร อย่าง ‘พระหน้อยหนีไปบวช’ รู้ไหมล่ะคืออะไร?” ชาย ชราถามปริศนาทิ้งท้าย ค�ำตอบคือ ‘ขมิ้น’ นั่นเอง แม้จะเป็นเรื่องที่ดู ยุ่งยากซับซ้อน แต่องค์ความรู้บางอย่างก็สามารถ ถ่ายทอดได้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน ซึ่ ง ท� ำ งานกั บ โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บล บ้านต๋อมจึงมาขอความรู้ไปใช้ วิทยาลัยพยาบาล พะเยามาท�ำวิจัยถอดองค์ความรู้ด้านยาสมุนไพรและ การเยียวยารักษา โรงเรียนในต�ำบลให้เด็กมาเรียน ทั้งเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านและอ่านเขียนอักขระล้านนา กับตาแต๋วในฐานะครูภูมิปัญญาของชุมชน

87


88

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ขณะเดียวกัน ทาง อบต. เองก็ได้เข้ามาส่งเสริม ให้เกิดกลุ่มหมอสมุนไพรพื้นบ้าน ชวนพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ในหมู่บ้านสันป่าสักให้มาท�ำลูกประคบสมุนไพรขาย ตัง้ ต้นจากความรูเ้ รือ่ งสมุนไพรของพ่อแต๋ว ไม่เน้นเรือ่ ง รายได้ หากแต่ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมนี้เป็นตัวประสาน ให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน จะได้ ไม่ต้องนั่งเหงาเฝ้าสังขารอยู่ที่บ้านกันเปล่าดาย หลังจากคุยกับตาแต๋วอยู่นาน ฉันย้อนนึกถึง นั ก วิ ช าการประวั ติ ศ าสตร์ ค นหนึ่ ง ซึ่ ง เคยบอกไว้ ว ่ า จริง ๆ แล้ว ความรู้เรื่องยาและการรักษาโรคของไทย หาได้ด้อยกว่ายาจีนซึ่งแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ มากกว่าแต่อย่างใด ปัญหาเรื่องการยากที่จะส่งต่อ สืบทอดนั้นเกี่ยวพันกับการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม จากอินเดียและขอม เพราะนอกจากตัวยาแล้ว การ รักษาโรคแต่ละครัง้ จะหายหรือไม่หายยังขึน้ อยูก่ บั มนต์ อาคมที่เสกเป่าลงไปขณะท�ำยาหรือขณะท�ำพิธีรักษา

พัชรินทร์ สุอินไหว

“ยาแก้หา้ ต้น ใช้ตน้ ไม้หา้ อย่างมาเป็นยา เอาไป ตากแห้ง บดให้ละเอียด แต่ก็ยังใช้ไม่ได้นะ ก่อนเข้า พรรษาต้องเอาไปวางไว้หน้าองค์พระ ช่วงเข้าพรรษา พระจะเทศน์ตลอด ก็ได้มนต์จากตรงนั้น หลังเข้า พรรษาจึงจะน�ำออกมาใช้ได้ อีกอย่างนะ คนที่ท�ำยา เองก็ตอ้ งมีมนต์ทสี่ ะอาด ต้องมีศลี ต้องมีคาถาคุม้ ครอง รอบตัว ไม่งั้นจะแก้มนต์ของคนอื่นไม่ได้ อันนี้ตาก็ไม่รู้ จะสอนใครยังไง” ตาแต๋วเล่าเรือ่ งยาและพิธกี รรมความ เชื่อที่เกี่ยวข้องให้ฉันฟัง

ตาแต๋ว ค�ำลือ

89


พัชรินทร์ สุอินไหว

ฉันคิดว่า อย่าเพิง่ ยอมเชือ่ แต่กไ็ ม่ลบหลูใ่ ห้รา้ ย ว่าโบราณงมงาย เมือ่ ลองพลิกมองให้ถว้ นทัว่ โดยค�ำนึง ถึงค�ำว่า ‘สุขภาวะ’ แล้ว สมัยปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษ ของเรา แพทย์ทยี่ ดึ ถือคุณความดี มีกระบวนการรักษา ที่เชื่อมโยงมิติความเชื่อ ชีวิต จิตใจ และร่างกายเข้า ด้วยกัน นั่นก็เข้าข่าย ‘สุขภาวะ’ มิใช่หรือ ทีส่ ำ� คัญ ตาแต๋วเองเคยป่วยหนักตอนอายุ 50 ปี แต่รักษาตัวจนหายด้วยยาสมุนไพร ก่อนหันมาศึกษา เรื่องนี้อย่างจริงจังเป็นเวลาสิบปีจวบจนรู้เวท รู้ต้นไม้ รู้ยา รู้คน เจนจิต แล้วจึงเริ่มต้นรักษาผู้คนโดยไม่ คิดค่ารักษา หมอยาพื้นบ้านผู้ทรงคุณความดีท่านนี้

สรุปความให้ฉันกระจ่างใจว่า “ตารั ก งานที่ ต าท� ำ เพราะตาได้ ช ่ ว ยมนุ ษ ย์ เหมือนกัน ทีค่ นเขาไปนัง่ สวดมนต์ภาวนา เขาว่าโปรด สัตว์ ตาว่าโปรดคนเรานี่แหละดี บางทีเด็กเกิดมาได้ สามสี่วัน เขาว่าเป็นสะป้าน (colic) ร้องไห้แง ๆ นมแม่ ก็ไม่กิน เจ็บไหนพูดก็ไม่ได้ มาถึงตา ตาก็มียา มีคาถา ปัดเป่ารักษาให้ วันต่อมา พ่อแม่เด็กยิ้มเข้ามาหาที่ บ้าน ดีใจที่ลูกหายป่วยหายไข้ ตาก็ยินดี” นี่คงไม่ต้อง บรรยายอะไรแล้ว ถึงตอนนี้ ฉันยังไม่ได้ค�ำตอบที่ถามตัวเองใน ตอนแรก รู้เพียงชื่นชอบที่พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยเหล่านี้เป็นอยู่ เหลือเกิน ชีวิตวัยหนุ่มสาวที่ยังต้องก้าวย่างไปในโลก อีกนาน หากถึงคราที่ร่างชราท�ำให้ต้องก้าวช้าลงไป อาจบางที หากยังคงไปต่อด้วยความคิดจิตใจแบบ เดียวกันกับพวกเขา แม้แช่มช้า แต่ก็น่าจะงดงาม

91


5 ความสุขของชุมชน {เกลี่ยทุกข์สร้างสุข

ฉั น มี โ อกาสไปเยื อ นหลายหมู ่ บ ้ า น ได้ พ บปะ พูดคุยผู้คนมากหน้าหลายตา ทุกคนต่างมีรอยยิ้มต้อนรับ โอภาปราศรัยด้วยน�้ำจิตน�้ำใจอันดี อะไรต่อมิอะไรดูดี เสียจนคนที่แอบแบกทุกข์ซุกซ่อนไว้ ในใจอย่างฉันรู้สึก ไปแล้วว่า ชุมชนของพวกเขาช่างมีความสุขจนอยากจะอยู่ เสียที่นี่


พัชรินทร์ สุอินไหว

โรงเรี ยนนวัตกรรมสุขภาพ สร้างคน = สร้างสุข

ฉั น พบพานเพี ย งความสุ ข จากคนบ้ า นต๋ อ ม อย่างที่บอก แต่เชื่อไหมว่า... “ช่วงปี 2538-2545 สถิติการฆ่าตัวตายและคิด ฆ่าตัวตายของคนต�ำบลบ้านต๋อมติดอันดับ 1-3 ของ จังหวัดพะเยาทุกปีเลยนะ ปี 2538 เป็นเรื่องของวิกฤต ผู้ป่วยเอดส์เป็นส่วนใหญ่ ปีต่อ ๆ มาคือปัญหาสะสม เรือ้ รังทัง้ ด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ พอมาถึงปี 2550 นี่ ตกอันดับแล้วนะ สามสี่ปีหลังมานี่ไม่มีเลย”

ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้านต๋อม หรือ หมอสาคร นาต๊ะ ของชาวบ้าน บอก เรื่องที่ฉันแทบไม่เชื่อหูตัวเองก่อนเล่าต่อว่า “ที่สถิติลดลงจนไม่มีเลยในปีหลัง ๆ มานี้ คิดว่า ปัจจัยภายในชุมชนมีส่วนอย่างมาก เราได้สร้างระบบ ที่มีการดูแลซึ่งกันและกันอย่างเอื้ออาทรขึ้นมา โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น หรือ อสม. เป็น กลไกหลั ก ที่ เ ข้ า ไปดู แ ลชาวบ้ า นกั น เองทั้ ง ในเรื่ อ ง สุขภาพกายใจของผู้ป่วยและคนในชุมชน มีการฝึก ค้นหากรณีที่มีความเสี่ยงในการคิดฆ่าตัวตายและ เจ็บป่วย ให้พวกเขาไปเป็นเพือ่ นให้กำ� ลังใจกัน เพราะ คนเรามักจะมีช่วงเวลาวิกฤตอยู่ 5 นาที 10 นาที ซึ่ง หากมีคนเข้าไปช่วยแบ่งเบาความทุกข์ รับฟัง คิดหา ทางออกช่วยกัน ทุกข์ด้วยกัน มันก็จะผ่านพ้นไปได้ ดู ที่ ก ลไก อสม. นะ แรกก่ อ ตั้ ง มามี แ ค่ ร ้ อ ยกว่ า คน ปัจจุบันมีถึง 366 คน ตรงนี้เป็นปัจจัยเสริมอย่างมาก ในการท�ำงานส่งเสริมสุภาพชุมชนของ รพ.สต. ให้เกิด ประสิทธิภาพ” หนึ่งในที่พึ่งพิงทางสุขภาพของชาวบ้านที่นี่คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านต๋อม แต่วิธีคิด ของบุคลากรทีน่ กี่ ลับเป็นการพยายามมุง่ เน้นให้ทกุ คน เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้นจึงเกิด ‘กระบวนการสร้าง

95


96

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

นั ก สุ ข ภาพ’ ขึ้ น มาดู แ ลสุ ข ภาพของตน ครอบครั ว และชุมชน เป็นการท�ำงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา และฟื้นฟูสภาพก่อนถึงมือหมอ “อยากให้ ค นที่ ม ารู ้ สึ ก ว่ า สถานี อ นามั ย เป็ น เหมือนบ้าน อยากให้คนมาแล้วได้เรียนรู้มากกว่ามี อนามัยอยู่รอคนเจ็บคนป่วย หรือเปิดประตูอนามัยให้ คนเดินไปเดินมาเท่านัน้ เรามี อสม. ตัง้ แต่ปี 2538 แต่ มาท�ำเป็นโรงเรียน อสม. ให้คนได้มาเรียนรู้ เมือ่ ปี 2544 มีทีมสหวิชาชีพทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วย หนุนเสริมให้ความรู้ และก็ท�ำงานต่อเนื่องเรื่อยมา” หมอสาครย้อนความเป็นมา การสร้างนักสุขภาพขึ้นมาท�ำงานในชุมชนนั้น หลั ก ใหญ่ ใ จความอยู ่ ที่ ว ่ า แท้ จ ริ ง แล้ ว ผู ้ ที่ ม าโรง พยาบาลเพราะคิดว่าตนป่วยมีสัดส่วนมากกว่าผู้ป่วย

หมอสาคร นาต๊ะ

จริง ๆ หาก อสม. สามารถมีส่วนร่วมเข้าไปช่วยกระตุ้น ให้ชุมชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ เรียนรู้ การใช้สมุนไพรดูแลตนเองเบื้องต้น ถือเป็นกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ เพราะท�ำให้ชาว บ้านเจ็บป่วยน้อยลง ลดความจ�ำเป็นในการใช้บริการ สาธารณสุขของรัฐลงไปได้ วิ ธี คิ ด เรื่ อ งดั ง กล่ า วยั ง ท� ำ ให้ เ กิ ด นวั ต กรรม เครือ่ งมือกายภาพบ�ำบัดแบบบ้าน ๆ ในการดูแลผูป้ ว่ ย อัมพาต อัมพฤกษ์เรื้อรัง ซึ่งพักฟื้นนอนเป็นผักรอคอย ความตายอยู่ที่บ้าน ให้หายป่วยมาแล้วหลายราย “พอเราไปเห็นคนป่วยในหมู่บ้านนอนแขนขา ไม่มีแรง ช่วยตัวเองไม่ได้ จ�ำเป็นต้องฟื้นฟูสภาพ ต้อง ใช้เครื่องมือกายภาพบ�ำบัด เราก็มาคิดกันว่าจะท�ำ ยังไงกันดี ก็ซื้อรอกตัวละ 40 บาท ไม่กี่ตัว กับเชือก สองเส้น เอาไปแขวนติดไว้กับขื่อบ้านที่เขานอนอยู่ให้


เขาชักขึ้นชักลง คิดท�ำเตียงลมให้คนไข้กันแผลกดทับ ก็เย็บผ้าเป็นถุงเหมือนที่นอน ช่วยกันเป่าลูกโป่งยัด เข้าไปให้เต็ม ราคาเตียงกายภาพบ�ำบัดเป็นหมื่น ท�ำ กันเองต้นทุนเดี๋ยวนี้ก็แค่ 700 บาท ก็ช่วยชาวบ้านได้ แล้ว” ลุงจันทร์ พุ่มพวง เล่าด้วยความภูมิใจ “เคยมีคนไข้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นคุณ ยาย ไม่มญ ี าติพนี่ อ้ งดูแล หมอไปเจอตอนไปเยีย่ มบ้าน ก็ได้ประสานให้ อสม. ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงเข้าไป ดู แ ล ทั้ ง เรื่ อ งกิ น อยู ่ กระทั่ ง ท� ำ ความสะอาดบ้ า น ประสานเทศบาลให้ลงมาช่วยเหลือ เราจะประสานช่วย กันหมด ท�ำงานมาหลายที่นะ แต่ที่นี่มีความสุขที่สุด เพราะเราท�ำงานและอยู่กันเหมือนครอบครัว อย่าง อสม. มาช่วยท�ำงาน ท�ำให้เราเข้าถึงชาวบ้านได้ง่าย และช่วยเหลือพวกเขาได้จริง” พี่กมลลักษณ์ เครือน้อย พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ หรือที่ชาวบ้านเรียกเธอ ว่าหมอกบ ช่วยเล่า

กมลลักษณ์ เครือน้อย กุญแจส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ อสม. ต�ำบลบ้านต๋อม เป็น กลไกหลักในเรื่องการดูแลสุขภาพชุมชนนั้น มาจาก การยอมรับของชาวบ้านด้วยว่า ชาวต�ำบลบ้านต๋อม เป็นผู้คัดเลือก อสม. ของพวกเขาเอง ใช่ว่าใครอยาก สมัครก็เป็นได้เหมือนที่อื่น “เพราะฉะนั้น ชาวบ้านเขาจะฟังกันเอง เพราะ เขาเลือกมา เรื่องต่าง ๆ ที่ทาง รพ.สต. ท�ำ หรือรณรงค์ ผ่านกลไก อสม. ถือเป็นเรื่องของชาวบ้านด้วย ไม่ใช่ เรือ่ งของหมอเท่านัน้ ทีน่ ี่ อสม. ถือเป็นตัวแทนชาวบ้าน ซึ่งกลไก อสม. มีอยู่ในทุกหมู่บ้าน หลายกลุ่มคน และ เข้ า ใจหลายประเด็ น ปั ญ หา ท� ำ ให้ เ ราท� ำ งานเรื่ อ ง สุขภาพง่ายขึ้น เขาเรียนรู้ที่จะดูแลกันเองทั้งมิติด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ผมว่าเรามาถูกทาง แล้ว” ค�ำพูดของหมอสาคร คือบทสรุปทีส่ มบูรณ์ทสี่ ดุ


พัชรินทร์ สุอินไหว

ศูนย์เรี ยนรู้ทัณฑศิลป์ คุกยิ้มได้ คนยิ้มได้

แม้ฉนั จะพยายามท�ำตัวเป็นคนดี รักเพือ่ นมนุษย์ เห็นอกเห็นใจคนชายขอบในสังคมสักแค่ไหนก็ไม่อาจ ปฏิเสธได้ว่า ลึกลงไปในใจนั้น ฉันแอบประหวั่นเมื่อ พี่เจ้าหน้าที่เทศบาลต�ำบลบ้านต๋อมบอกว่า ฉันต้องไป สัมภาษณ์ผู้ต้องขังในเขตเรือนจ�ำ

เรือนจ�ำกลางจังหวัดพะเยาตัง้ อยูใ่ นเขตเทศบาล ต�ำบลบ้านต๋อม แม้กอ่ นหน้านีม้ กี จิ กรรมให้นกั โทษออก มาช่วยเหลือบริการชุมชนอย่างสม�่ำเสมอ แต่เชื่อว่า คนส่วนใหญ่คงแอบหวั่นใจเช่นเดียวกับฉัน กระทั่งเมื่อปี 2552 อดีตผู้บัญชาการเรือนจ�ำ กลางจังหวัดพะเยา คุณวิชัย โชติปฏิเวชกุล มีแนวคิด เรือ่ งการคืนคนดีให้สงั คม หวังทีจ่ ะท�ำลายปราการแห่ง อคติของคนข้างในและข้างนอกทีม่ ตี อ่ กัน เปลีย่ นความ รูส้ กึ หวาดหวัน่ ไม่ไว้ใจ มาเป็นการยอมรับในความเป็น มนุษย์ของกัน และเชื่อมั่นว่า แม้จะเคยผิดพลั้งมาก่อน แต่ทกุ คนสามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคมได้ ในเชิงรูปธรรม ก�ำแพงเรือนจ�ำหาได้ถกู ทุบท�ำลาย ลงแต่อย่างใด ทว่า พื้นที่ด้านนอกได้มีการก่อตั้งศูนย์ การเรี ย นรู ้ ทั ณ ฑศิ ล ป์ ขึ้ น ในปี ถั ด มา เพื่ อ เป็ น พื้ น ที่ สร้างสรรค์ และเป็นศูนย์ฝกึ อาชีพของนักโทษชัน้ ดีทใี่ กล้ พ้นโทษ และถูกคัดเลือกให้ออกมาท�ำงานบริการทีศ่ นู ย์ ซึง่ แยกออกเป็นศูนย์ชาย-หญิงตามระเบียบของเรือนจ�ำ โดยศูนย์หญิงนัน้ เปิดบริการร้านกาแฟและนวดแผนไทย ส่วนศูนย์ชาย เปิดบริการซ่อมรถจักรยานยนต์ นวดจับ เส้น บ้านดิน โรงเห็ด ปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น

101


102

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

พัชรินทร์ สุอินไหว

“ที่นี่นอกจากจะเปิดให้บริการประชาชนทั่วไป แล้ว ยังเป็นเหมือนศูนย์ประสานงานให้กับชุมชนที่เข้า มาติดต่อทางเรือนจ�ำด้วย คือหากชุมชนต้องการให้ทาง เรือนจ�ำน�ำนักโทษออกไปบริการชุมชนเรือ่ งต่างๆ แทนที่ ชาวบ้านจะต้องไปยืนเกาะลูกกรงคุกคุยกับผูค้ มุ ก็มาหา เราที่นี่ มันก็ช่วยลดความรู้สึกในทางร้ายลง ได้มองกัน ในแบบคนธรรมดา” พี่จุฑาทิพย์ โชติพงษ์หิรัญ ผู้คุม เรือนจ�ำกลางจังหวัดพะเยา กล่าวด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ดาบต� ำ รวจมนตรี วงศ์ อ ภิ สิ ท ธิ์ อดี ต นายกเทศมนตรีต�ำบลบ้านต๋อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

จุฑาทิพย์ โชติพงษ์หิรัญ

“เราเชื่อมโยงเครือข่ายการท�ำงานร่วมกันอยู่ เช่น ให้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ถึงในเรือนจ�ำ ให้หมอสมุนไพรพื้นบ้านมาให้ความรู้ ผู้ต้องขังในเรื่องสมุนไพร การท�ำลูกประคบ การนวด แบบเหยียบขาง* ซึ่งเป็นการรักษาพื้นบ้าน “จะว่าไป เราก็ไม่ได้ให้เขาอย่างเดียวนะ แต่ เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ทางบ้านต๋อมเองยังเคยเชิญ ผู้ต้องขังมาเป็นวิทยากรให้บทเรียนความรู้แก่เยาวชน เราเองก็ต้องแลกเปลี่ยนท�ำความเข้าใจว่า เขาเป็น อย่างไร เขาเองก็จะได้เรียนรูโ้ ลกข้างนอกจากเรา ไม่ปดิ ตัวเอง ได้รู้ว่า สังคมไม่ได้มองว่าเขาเป็นเพียงคนขี้คุก เขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตที่ดีข้างนอกได้”

* ย�่ำขาง หรือ เหยียบขาง คือ วิธีการหนึ่งในการรักษาโรคของชาว ล้านนา ภาคกลางหรืออีสาน เรียก ย�่ำฉ่า เหยียบฉ่า หรือเหยียบไฟ ใช้บำ� บัดอาการเจ็บปวดในร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนือ้ เคล็ดขัดยอก หรือฟกช�้ำ วิธีการย�่ำขางคือ นวดหรือชุบเท้าผู้รักษาด้วยน�้ำยา ไพล และน�้ำมันงา แล้วย�ำ่ บนขาง หรือผาลไถที่เผาไฟจนร้อนแดง จากนั้น จึงย�ำ่ ลงบนร่างกายของผูป้ ว่ ยส่วนทีเ่ จ็บปวด ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที หรือแล้วแต่อาการของโรค

103


104

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

หมอสาคร นาต๊ะ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านต๋อมเสริมว่า “เราต้องมองว่า ในเรือนจ�ำคือหมู่บ้านขนาด ใหญ่ทมี่ ผี คู้ นอาศัยอยูใ่ นนัน้ เป็นพันๆ คน จึงจ�ำเป็นต้อง มี อสม.ในเรือนจ�ำ คนทีเ่ ข้าใจเรือ่ งการรักษาโรคเบือ้ งต้น พืชสมุนไพร การออกก�ำลังกาย โภชนาการ ต้องมีบทบาท ในการให้ความรูพ้ อๆ กับ อสม. ทัว่ ไป ต่างแค่อยูใ่ นแดน นั ก โทษ ตอนนี้ เ รามี อสม. อยู ่ ใ นเรื อ นจ� ำ 42 คน น้อยนะเมือ่ เทียบกับสัดส่วนคนทัง้ หมด แต่เราเน้นเรือ่ ง จิตอาสา ไม่มีค่าตอบแทน ฝึกคนดี ให้คนดีไปสอนน้อง ดูแลกันเองในชุมชนของพวกเขา ทาง รพสต. เองก็พา อสม. เข้าไปตรวจร่างกาย ให้ความรู้เรื่องสุขภาพเกือบ ทุกสัปดาห์ คือถ้ามองในแง่คุณภาพชีวิต ในนั้นก็ต้องมี กลไกที่ละเอียดอ่อนเข้าไปพัฒนาจิตใจ ซึ่งส่วนนั้นก็มี พระครูวสิ ทุ ธิ ปัญญารัตน์ เจ้าอาวาสวัดร่องห้า เจ้าคณะ ต�ำบลบ้านต๋อม ท่านได้เข้าไปเทศนาในฐานสุขภาพจิต อาทิตย์ละครั้งด้วยเช่นกัน”

พัชรินทร์ สุอินไหว

ระหว่างอยูท่ ศี่ นู ย์ทณ ั ฑศิลป์นนั้ บริกรหญิง 3 คน ท่าทางสุภาพเรียบร้อย มารยาทดี คอยบริการเครื่องดื่มให้เรา ฉันมานึกได้ภายหลังว่า พวกเขาคือ นักโทษหญิงซึ่งถูกส่งออกมาท�ำงาน ด้านนอกเรือนจ�ำ ซึ่งพี่จุฑาทิพย์ขยาย เรื่องนี้ว่า พวกเขาต้องออกจากเรือนจ�ำ เพื่อมาท�ำงานเวลา 8 โมงเช้า กลับ 4 โมงเย็น และถูกตรวจร่างกายทุกครั้ง ก่อนเข้าออก ทุกคนมีความสุขทีไ่ ด้ออก มาข้างนอก โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่า ตน ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของสังคม พ่อแม่ สามารถแวะเวียนมาเยีย่ มเยือนกอดจับสัมผัสกัน ได้ พวกเขาบ่นพึมเมือ่ วันหยุดเสาร์อาทิตย์มาถึงเพราะ ต้องกลับไปอยูห่ ลังซีล่ กู กรง ส่วนอีกหลายคนก�ำลังยินดี ด้วยอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อเป็นอิสระแล้ว ก็จะ สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยอาชีพนวดแผนไทย หรือ ชงเครื่องดื่ม

105


พัชรินทร์ สุอินไหว

เมือ่ ฉันเข้าไปพูดคุย พวกเขาทัง้ เปิดและปิดตัวต่อโลก กล้าๆ เกรงๆ แต่ ก็ดูจริงใจ เหนียมอาย น่ารัก “อยู่ข้างในมันรู้สึกยังไงไม่รู้ มัน เหงาบอกไม่ถูก ไม่เห็นรถเห็นถนน อยู่ ที่นี่ก็ดีขึ้น ความรู้สึกแรกที่ก้าวออกมา ข้างนอก ก้าวไม่เป็นเลย ได้แต่ถาม ตัวเองว่า ฉันจะเดินไปทางไหนดี” ฉันไม่ได้ถามพวกเขามากค�ำ ไม่ถามอะไรลึกซึง้ หรือบีบให้ตอ้ งเค้นค�ำตอบซึง่ ไม่อยากตอบ ไม่อยากให้ พวกเขารู ้ สึ ก ว่ า ตนผิ ด ปรกติ ม ากหรื อ ไรจึ ง ต้ อ งมี คนแปลกหน้ามาคอยถามซอกแซก ฉันเพียงอยาก ทักทายเป็นเพื่อนกับพวกเขาเท่านั้นเอง มารู ้ ตั วอี กที ก็ ตอนกล่าวลาและหันหลัง กลับ พวกเขาไม่ น ่ า หวาดกลั ว เลยสั ก นิ ด เหมื อ นผู ้ ห ญิ ง ธรรมดาๆ อายุรุ่นราวคราวเดียวกับฉันนั่นเอง ไม่รู้ว่า ก�ำแพงอคติบาง ๆ ที่เคยมีเลือนหายไปไหน ฉันหันหลัง กลับไป ยิ้มให้ พร้อมพูดว่า ‘โชคดีนะ’ พวกเขายิ้มตอบ กลับมาอย่างยินดี

คงมีทุกข์ซุกซ่อนอยู่ทุกที่เป็นธรรมดา นั่นคือ ถ้อยค�ำซึ่งฉันร�ำพันในใจซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า สิ่งใหม่ที่ฉันได้ เรียนรู้จากที่แห่งนี้คือ เมื่อมีทุกข์ ให้ร่วมแบ่งปันความ ทุกข์ของกัน ความเป็นชุมชนคือ การทีเ่ ราทุกคนช่วยกัน แบ่ง เกลีย่ เฉลีย่ ทุกข์ของใครคนหนึง่ ซึง่ ก�ำลังเจ็บปวดอยู่ เช่ น เดี ย วกั บ โมงยามที่ แ บ่ ง ปั น สุ ข เมื่ อ ได้ ร ่ ว มทุ ก ข์ ร่วมสุข รักจึงก่อเกิด

107


6 ความสุขของหละอ่อน { ชุมชนส่งต่อสุข} ฉันมาคิดว่า เหตุที่ต้องเกลี่ยทุกข์ที่มี ให้บางเบา อาจเพียงเพราะว่า เพื่อไม่ ให้มันกลัดหนองพุพองเป็น เนื้อร้าย ส่งกลิ่นเน่าเหม็น กลายเป็นอากาศให้ทุกคน หายใจ-ให้ติดเชื้อกันไปหมด โดยเฉพาะคนที่ภมู ิคุ้มกันต�่ำ ติดเชือ้ ทัง้ ดีรา้ ยได้งา่ ย ๆ เช่นเด็ก ๆ ฉันคิดถูกไหมนะ


พัชรินทร์ สุอินไหว

งอกงามอย่างมีความสุข

อากาศบริสุทธิ์ ดินดีมีแร่ธาตุ น�้ำสะอาดพอ เพียง แสงแดดส่องถึง และการดูแลใส่ใจด้วยความรัก ไม่ ว ่ า เมล็ ด พั น ธ์ุ ช นิ ด ใดก็ จ ะแตกรากผลิ ใ บออกมา งอกงามแข็งแรง เด็ก ๆ ของเราก็เช่นเดียวกัน คุณว่าไหม?

ปัญหาก็คือว่า ต�ำบลบ้านต๋อมเป็นเขตกึ่งเมือง กึ่งชนบท มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ผู้ปกครองที่พอมีศักยภาพทางเศรษฐกิจมีทางเลือก หลากหลาย สามารถส่งลูกหลานไปเรียนในเมืองได้ไม่ ยาก ดังนัน้ โรงเรียนในพืน้ ทีจ่ งึ มักจะถูกมองข้าม หรือ ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองที่อาจจะกังวลเรื่อง คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนชุมชน ฉันมีเรื่องจะเล่าให้คุณฟัง... ที่ศูนย์เด็กเล็กบ้านร่องห้า มีเด็กนักเรียนอายุ 2-4 ขวบอยู่ราว 60 คน มีครูผู้ดูแลเด็ก 3 คน แต่มีพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา รวมทั้งพระสงฆ์ในชุมชน หลายสิบคนหมุนเวียนมาสอน มาท�ำกิจกรรมให้ความ รู้นอกห้องเรียนแก่ลูกหลานของพวกเขา ด้วยเชื่อว่า ศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้เป็นของทุกคน แม้จะส่งลูกถึงหน้า ห้องเรียนแล้ว แต่หน้าที่อบรมดูแลก็ไม่ได้ฝากฝังไว้กับ ครูเพียงล�ำพัง การเรียนการสอนส�ำหรับเด็ก 2-4 ขวบที่นี่เน้น พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ โดย ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เกิดการปรับ หน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรออกมาเป็นกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรง มากกว่าการเรียนการสอนในต�ำรา

111


พัชรินทร์ สุอินไหว

“ที่โรงเรียนเราจะมีศาลานั่งเล่น เราก็ท�ำเป็น ศาลาภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ปลูกผักสวนครัวด้วยกันก็เอา มาบูรณาการเรียนท�ำอาหาร ชาวบ้านร่องห้าเลีย้ งปลา ดุกในสระใหญ่ ที่นี่เราก็ให้เด็กเลี้ยงปลาในท่อซีเมนต์ หน้าโรงเรียนมีแปลงดินเล็ก ๆ ก็ทำ� โครงการพีส่ อนน้อง ให้เด็กประถมกับน้องปลูกผักด้วยกัน เก็บผักบุ้งได้ เขาก็ เ อามาแบ่ ง น้ อ ง อย่ า งวั น นี้ ห น่ ว ยการเรี ย นรู ้ เรื่องข้าว ผู้ปกครองก็มาสอนท�ำบัวลอย เด็กก็ได้ปั้น ได้ เ ล่ น ได้ ท� ำ จริ ง ที่ ผ ่ า นมามี ง านประเพณี ต าน ก๋วยสลาก ก่อนวันจริงเราก็ชวนเด็ก ๆ มาเตรียมข้าว ของพากันไปท�ำพิธีที่วัด ก่อนไปจริงกับผู้ปกครองใน วันรุ่งขึ้น” ครูปุ้ย วรรณา เพ็งศรี เล่าถึงกิจกรรมในศูนย์

113

ส่วนที่โรงเรียนบ้านต๋อมซึ่งเป็นโรงเรียนขยาย โอกาสประจ�ำต�ำบล ประกาศเจตนารมณ์ชดั เจนว่าเป็น ‘โรงเรียนสร้างสุข’ ท�ำการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ บูรณาการการเรียนรู้หลักสูตร ท้องถิ่น เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาของชุมชน จัดท�ำห้องสมุดมีชีวิตเพื่อการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน บรรยากาศดี และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีกิจกรรมคัด แยกขยะใส่ใจสิง่ แวดล้อม และปลูกฝังหัวใจดีงามโดยให้ นักเรียนคิดกิจกรรมเพื่อสังคม จนเกิดเป็นกิจกรรมดูแล ผู้สูงอายุตามบ้านของ ‘ชมรมจิตอาสาน้อย’ จริงอยูว่ า่ เด็ก ๆ ทีม่ าเรียนในโรงเรียนนี้ ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ฐานะทางบ้านยากจน หลาย คนครอบครัวหย่าร้าง อาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง กับอีก ส่วนหนึ่งสอบไม่ผ่าน ไม่ สามารถเข้าโรงเรียนในเมือง ได้ ทว่า ผลจากการส่งเสริม การเรี ย นรู ้ ข องโรงเรี ย น บ้านต๋อมท�ำให้เด็กมีผลการ เรียนในระดับที่ดี นักเรียน หลายคนสามารถสอบวั ด ผลโอเน็ ต และเอเน็ ต ติ ด อันดับต้น ๆ ของจังหวัด ครูปุ้ย วรรณา เพ็งศรี


พัชรินทร์ สุอินไหว

ค� ำ ถามของฉั น คือ อะไรคือสิ่งที่ใช้ชี้วัด คุณภาพของการศึกษา กั น หรื อ ? ค� ำ ตอบคื อ ฉันไม่รู้ แต่มีความเห็น ว่า เมื่อยกคอกรั้วของ โรงเรียนออกไป ความหมายของการเรียนรู้ก็จะทั้ง ไพศาลและครอบคลุมหลายมิตขิ องชีวติ ซึง่ เป็นสิง่ ทีท่ งั้ โรงเรียนเด็กเล็กเด็กโตในต�ำบลบ้านต๋อมมุ่งหวังตั้งใจ ในส่วนของชุมชนนั้น มีการส่งเสริมกิจกรรม การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในแทบทุกหย่อมย่าน เริ่ ม ต้ น จาก ‘ศู น ย์ พั ฒ นาครอบครั ว ในชุ ม ชนต� ำ บล บ้านต๋อม’ ซึง่ มีกจิ กรรมส่งเสริมพัฒนาการและการดูแล เด็กตัง้ แต่อยูใ่ นครรภ์จนกระทัง่ เติบโต อีกทัง้ ผูใ้ หญ่ใจดี ในชุมชนยังเปิดโอกาสให้มี ‘สภาเด็กและเยาวชนต�ำบล บ้านต๋อม’ เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีช่องทางพัฒนาตนเอง แสดงบทบาท ศักยภาพ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่คิดท�ำ ขึ้นโดยมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุน ในแต่ละหมู่บ้าน เด็ก ๆ ได้รับการถ่ายทอด ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม จากพ่อครูแม่ครู ภูมปิ ญ ั ญา เกิดเป็นกลุม่ เด็กและเยาวชนซึง่ ท�ำกิจกรรม

สร้ า งสรรค์ ห ลายกลุ ่ ม อาทิ ‘ลานผญ๋ า สื บ สาน ศิ ล ปวั ฒ นธรรมล้ า นนาต� ำ บลบ้ า นต๋ อ ม’ คื อ พื้ น ที่ บริเวณลานวัดบ้านต๋อมกลาง ซึ่งเด็ก ๆ ใช้เรียนศิลปะ การต่ อ สู ้ ก ระบี่ ก ระบอง และขยายไปสู ่ ม วยไชยา ‘กลุ่มสะล้อซอซึงบ้านแท่นดอกไม้’ ที่เด็ก ๆ ได้เข้ามา เรียนดนตรีล้านนารวมวงกับผู้ใหญ่ ‘กลุ่มสืบสาน สายใยรั ก ในท้ อ งถิ่ น ศิ ล ปิ น รุ ่ น เยาว์ ’ คื อ วงปี ่ พ าทย์ พืน้ บ้านของเด็กทีพ่ ระครูวสิ ทุ ธิปญ ั ญารัตน์ เจ้าอาวาส วั ด ร่ อ งห้ า เป็ น ผู ้ ริ เ ริ่ ม และขยายผลสอนเด็ ก ๆ ใน โรงเรียนต่อมา เด็ก ๆ ไม่ตา่ งกับต้นไม้เล็ก ๆ ทีจ่ �ำต้องเติบโตมา ด้วยสายใยรัก เมื่อได้พูดคุยกับคุณครูหลายคน พวก เขาบอกฉันว่า “คือจบมาก็ท�ำงานที่ศูนย์เด็กเล็กนี้ เลย เรียกว่าตัง้ แต่เป็นสาว จนแต่งงาน จน มีลูกก็ยังให้ลูกเรียนที่นี่ และยังท�ำงานที่ นี่อยู่จนทุกวันนี้ และก็เ ป็น คนบ้ านนี้ ตั้งแต่เกิดด้วยนะ ท�ำมาจนรู้ตัวว่า ตัว เองรักในงานที่ท�ำ มีความรู้สึกว่าศูนย์ เด็กเล็กนี้เป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง” ครูปยุ้ ของเด็ก ๆ ศูนย์เด็กเล็กบ้านร่องห้า พูด

115


116

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

ลุงสุรชัย มูลเชื้อ

“โรงเรียนเรามีเด็กที่เรียนรู้ได้ไม่เท่ากันอยู่เยอะ บางคนอาจจะไม่เก่งเลข ไม่เก่งอังกฤษ แต่ครูเชื่อว่า การให้เขาออกไปเรียนรู้ข้างนอก ได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ความแตกต่างของเด็กแต่ละคนก็จะถูกพัฒนาไปด้วย กันได้ ทุกอย่างคือการสอน เป็นประสบการณ์ให้เด็กรู้ ว่าตัวเองน่าจะไปทางไหนได้ อย่างน้อยให้เด็กค้นพบ ว่าตนมีดีอะไร มีความสามารถอะไร จะได้มีแนวทาง ในการด�ำเนินชีวิต ผู้ใหญ่บางคนยังไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าตัว เองต้องการอะไร ถ้าเด็กเขาได้เรียนรูห้ ลายอย่าง ได้เจอ ทางของเขาตั้งแต่เด็ก ต่อไปเขาก็จะมีความสุข” เสียงจากครูปานเลขา สารศรี โรงเรียนบ้านต๋อม

ครูปานเลขา สารศรี

“ชี วิ ต ลุ ง ใกล้ เ วลาแล้ ว ถ้ า เปรี ย บเที ย บก็ ค ง เหมือนไม้ขีดไฟก้านสุดท้ายในกลัก จุดใช้ก้านอื่นมา หมดแล้ว ลุงไปมาแล้ว เป็นมาแล้วหลายอย่าง เมื่อ แก่ตัวก็อยากเอาวิชาความรู้ที่ตัวเองมีมาสอนลูกสอน หลานทีบ่ า้ นเกิด จุดไม้ขดี ไฟก้านสุดท้ายให้มแี สงสว่าง อีกไม่นานลุงก็จะตายแล้ว แต่ลูกหลานยังอยู่ อะไรดี


118

บ้านต๋อม ต�ำบลแห่งความสุข

พัชรินทร์ สุอินไหว

ที่บ้านต๋อม ความสุขใช่เพียงเพียรกอบกู้ความ ง่อนแง่นเจียนล่มสลายในอดีต แต่คือการทุ่มแรงเทใจ คิดสร้างสรรค์ท�ำสิ่งต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้ปัจจุบัน มีแต่เรื่องน่ายินดีในทุกมิติของชีวิต ที่ส�ำคัญ พวกเขา ไม่ได้ละเลยค�ำถามข้อใหญ่ จะสร้างอนาคตที่อยู่เย็น เป็นสุขให้ลูกหลานได้อย่างไร ฉันคิดว่า สิ่งนี้เองคือ แรงใจทีค่ อยผลักดันให้พวกเขาร่วมกันคิดสร้างค�ำตอบ ไม่ดีลุงก็จะสอน อยากให้เขาเป็นคนดี มีเส้นทางที่ดี” ชายชราชื่อ สุรชัย มูลเชื้อ ครูสอนกระบี่กระบองที่ลาน ผญ๋าบอกความในใจ ยังมีอกี หลายความในใจทีค่ ณ ุ ครูหลายท่านบอก เล่ากับฉัน ล้วนแล้วแต่บ่งบอกถึงการทุ่มเทแรงใจให้ กับการพัฒนาการเรียนรูข้ องเด็ก ๆ ฉันสัมผัสได้ชดั เจน ว่า พวกเขาทั้งหมดก�ำลังร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมเพื่อให้เมล็ดพันธุ์น้อย ๆ ลูกหลานของพวก เขาได้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง มีอนาคตอัน สดใส

119


ภาค ผนวก ฉันคิดว่า ได้ยอ้ นความทรงจ�ำเล่าเรือ่ งราว ของชาวชุมชนบ้านต๋อมหมดแล้ว ระหว่างเล่า คือ การเรียนรู้สุขทุกข์ของชีวิต ทั้งจากพวกเขาและ ภายในตน ถึงตอนนี้ ไม่สำ� คัญอีกแล้วว่าฉันทุกข์ น้ อ ยลงไหม แต่ ก ารได้ พ บพวกเขาท� ำ ให้ ฉั น มี เรี่ยวแรงเดินต่อ และรู้สึกชัดเจนในใจว่า ฉันหลง รักพวกเขาเข้าแล้ว....ผู้คนในต�ำบลแห่งความสุข

ความสุขคือ... “อยู่ที่นี่มีเพื่อนเยอะ มีสอนศิลปะ การต่อสู้ที่วัดใกล้บ้าน ผมชอบไป มีวันหนึ่งกลับบ้านค�่ำหน่อย พ่อแม่เลย ไม่ ให้ ไป เพราะคิดว่าผมไปเล่นเกม ผมอยู่ ที่วัดกับเพื่อนๆ และพ่อครูตลอด ไม่ ได้ ไปไหน ผมอยากไปอีก แต่ ไม่ ได้ ไปแล้ว ตอนนี้เลยไม่ค่อยมีความสุข เสียใจนิดหน่อย”

น้องตอนน�้ำ อดิเทพ แซ่ลี

สมาชิกลานผญ๋าสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา


“ยายอยู่ที่นี่มาเท่าอายุที่เกิด พ่อยายเป็นผู้ ใหญ่บ้านมา 8 สมัย อยู่มาตั้งแต่ ไม่มีรถยนต์ จนตอนนี้มีรถเครื่องรถยนต์ เต็มไปหมด แต่จิตใจผู้คนก็ ยังเป็นเหมือนเดิม คนก็ยังมี น�้ำใจ ยายรักที่นี่ เพราะที่นี่ เป็นบ้านเกิดของยาย”

ยายแฉล้ม ดูการเรื อน ลูกสาวอดีตผู้ ใหญ่บ้าน บ้านสันป่าสัก

“เมื่อก่อนการพัฒนาชุมชนมาจากรัฐ ชาวบ้านไม่ ได้เป็นคนคิดเอง ก็ร้สู ึกไม่มีส่วนร่วม ไม่รู้สึกหวงแหน เราเลยท�ำโครงการที่ชุมชนมี ส่วนร่วม โดยส่วนตัวหมอเป็นคนที่นี่ แต่ ไม่เคย ท�ำงานที่บ้านมาก่อน พอได้มาท�ำงานก็ยิ่งรู้สึกดีที่ ได้โอนมาท�ำงานท้องถิ่น การอยู่กับงานให้บริการ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจของพวกเรา ชาวบ้านด้วยกันเองนี่ ก็เป็นงานที่มีความสุขใจนะ”

พี่หมอถวิล บัวดี ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลต�ำบลบ้านต๋อม ผู้จัดการโครงการเสริ มสร้างเครื อข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ มุ่งสู่ต�ำบลสุขภาวะ


“บ้านเราก็ดีนะ มีตลาด มีวัดมีวา อยู่ก็สบายใจ ใกล้เมืองไปไหนก็ง่าย รุ่นป้าน�้ำใจคนก็ยังเหมือนเดิม คนเราเนอะ มีเงินมีทอง ยิ้มหัวเราะทักทายกัน ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ลูกหลานก็ได้ท�ำงานกันหมดแล้ว ก็มีความสุขนะ ป้าอยู่บ้านแถวหลังทุ่งนานู่นแน่ะ มีสระเลี้ยงปลา ป้าท�ำขนมขาย ตี 2 ก็เอาออกมา วางขายที่ตลาด มีอะไรก็เอามาวางขาย ได้นิดได้หน่อยก็ดี ไป พออยู่พอกิน”

ป้าสมมี นางาม แม่ค้าขนม บ้านต๋อมกลาง

“ทุกวันนี้ก็มีความสุขดีอยู่ ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ชุมชนเราช่วยกัน ลูกหลานได้เรียนหนังสือ เราเป็นผู้ ใหญ่ก็ได้ช่วยกันสร้างท�ำอะไรไว้ ให้ลูกหลาน ก็ดี ใจว่า ต่อไปภายหน้าเขาจะอยู่ ได้ มีความสุข มีกว๊าน มีปลา มีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ปัญหามันมีอยู่แล้ว จะให้สุขทุกอย่าง ไม่ทุกข์เลยน่ะ มันบ่มี ท�ำมาหากินก็ย่อมทุกข์ มันเป็นธรรมดาของชีวิตชาวบ้าน”

พ่อหลวงเสงี่ยม แก้วก�๋ำ ผู้ ใหญ่บ้านสันหนองเหนียว แกนน�ำกลุ่มประมงพื้นบ้านสันหนองเหนียวรักษ์บ้านเกิด


ที่ตั้ง อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดเขตเทศบาลต�ำบลบ้านต�๊ำ ทิศใต้ ติดเขตเทศบาลต�ำบลสันป่าม่วง ทิศตะวันออก ติดเขตเทศบาลต�ำบลท่าวังทอง ทิศตะวันตก ติดเขตเทศบาลต�ำบลสันป่าม่วง และเขตเทศบาลต�ำบลบ้านต�๊ำ

สภาพภูมิประเทศ

เป็นที่ราบเชิงเขาอยู่บริเวณรอบกว๊านพะเยา โดยมีดอยหลวงตัง้ อยูท่ างทิศตะวันตก มีแม่นำ�้ ทีส่ ำ� คัญ ไหลผ่าน จ�ำนวน 1 สาย คือ ล�ำน�้ำแม่ต๋อม

สภาพภูมิอากาศ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝน เริม่ ตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือน กุมภาพันธ์

หมู่บ้าน

จ�ำนวน 18 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านร่องห้า หมู่ที่ 2 บ้านสันต้นผึ้ง หมู่ที่ 3 บ้านสันหนองเหนียว หมู่ที่ 4 บ้านต๋อมกลาง หมู่ที่ 5 บ้านต๋อมดง หมู่ที่ 6 บ้านต๋อมดง หมู่ที่ 7 บ้านต๋อมดง หมู่ที่ 8 บ้านห้วยทรายค�ำ หมู่ที่ 9 บ้านร่องไผ่ หมู่ที่ 10 บ้านร่องไผ่ หมู่ที่ 11 บ้านแท่นดอกไม้ หมู่ที่ 12 บ้านสันป่างิ้ว หมู่ที่ 13 บ้านสันป่าสัก หมู่ที่ 14 บ้านร่องห้าป่าฉ�ำฉา หมู่ที่ 15 บ้านร่องห้า หมู่ที่ 16 บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 17 บ้านแท่นดอกไม้ หมู่ที่ 18 บ้านป่าสักร่มเย็น


เพลงศักยภาพชุมชน ค�ำร้อง-ท�ำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย

วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย

หนึง่ สมองสองมือทีม่ ี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี ่ ย มความ สามารถ เป็นก�ำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ท�ำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ท�ำนาท�ำไร่พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชมุ ชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพนื้ ฐาน

ชุมชนท้องถิน่ บ้านเราเรียนรูร้ ว่ มกันเพือ่ การพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุง่ มัน่ ก้าวออกมาจากรัว้ ทีก่ นั้ จับมือกันท�ำเพือ่ เมืองไทย คนละมือสองมือคือน�้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดี ๆ ออกมายืนตรงนี้ ท�ำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ ท� ำ สิ่ ง ไหนก็ ไ ม่ เ กิ น แรง โครงสร้ า งชุ ม ชนแข็ ง แกร่ ง เพราะเราร่ ว มแรงร่ ว มมื อ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เ ราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.