_boohin.indd 1
6/12/13 3:53:23 PM
Healthy Planet
สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้
ตำบลบ่อหิน สุขสารคดี พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2556 ISBN 978-616-7790-17-6
บรรณาธิการอำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์
กองบรรณาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) องค์ การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน ผู้จัดการ เนาวรั ตน์ ชุมยวง
ภาพประกอบ ธั นยนันท์ ฉัพพรรณรังษี
aw_boohin.indd 2-3
พิสูจน์อักษร จิ รนันท์ หาญธำรงวิทย์
ออกแบบปกและรูปเล่ม วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org
6/12/13 3:53:30 PM
คำนำ
ท่ า มกลางกระแสวิ ก ฤตเศรษฐกิ จ โลกครั้ ง ใหญ่ เป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดคำถามว่า วิกฤตนี้จะใหญ่ขึ้นอีกเพียงใด จะยืดเยื้อขนาดไหน และ วิกฤตนี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ชุมชน หมู่บ้านไทย มากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึน้ เลยหากปัจจุบนั ชุมชน หมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อขาย นั ก วิ ช าการหลายๆ ท่ า นได้ วิ เ คราะห์ ถึ ง ระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ในระบบทุนนิยมยังคงมีอีก ระบบดำรงอยู่ในลักษณะคู่ขนาน นั่นคือระบบเศรษฐกิจ ชุมชน หรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ได้ว่า ระบบ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดี ต ชุ ม ชน หมู่ บ้ า นจะมี วิ ถี ชี วิ ต ที่ เรี ย บง่ า ย เน้นความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเป็นพื้นฐานของชีวิต มี พิธีกรรมต่างๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชน และให้ ความสำคัญต่อบรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว
aw_boohin.indd 4-5
ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อชุมชน การผลิตเชิงเดี่ยวและลัทธิบริโภคนิยม ทำให้ชาวบ้านมีรายจ่ายที่เป็นตัวเงินมากขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ สิ่งที่ทำลายความเข้มแข็งของ ชุ ม ชนมากที่ สุ ด คื อ การที่ รั ฐ และทุ น เข้ า ไปถ่ า ยโอน ทรั พ ยากรจากชุ ม ชน หมู่ บ้ า น ยิ่ ง รั ฐ และทุ น เข้ า ไป กอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู่บ้านไทย ยิ่งประสบความ อ่อนแอ คำพูดดังกล่าวไม่ใช่คำพูดลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐาน รองรับ ยิง่ เมือ่ กวาดตาไปทัว่ แผ่นดินไทยหลังการประกาศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมากว่า 50 ปี จะ มีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่ประสบปัญหาสิง่ แวดล้อม หรือไม่ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สังคมไทยควรกลับมาเน้นการพัฒนาที่ไม่มองแต่มิติของ การสร้างมูลค่าและกำไร หรือการตลาดด้านเดียว แต่ ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและสังคม เราไม่ ค วรลดทอนผู้ ค นลงไปเป็ น เพี ย งตั ว เลข
หากควรส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดทำ
6/12/13 3:53:39 PM
บ่อหิน
aw_boohin.indd 6-7
6/12/13 3:53:45 PM
ไปตรังมาก็บ่อยครั้ง ผ่านอำเภอสิเกามาก็
หลายหน แต่แทบจะไม่เคยรู้เลยว่า มีตำบลเล็กๆ แห่ง หนึ่งที่ซ่อนความน่ารัก น่าสนใจไว้มากขนาดนี้ ตำบลบ่อหิน ตั้งอยู่ใน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พื้ น ที่ ข องบ่ อ หิ น มี ลั ก ษณะความหลากหลายทาง ภูมิศาสตร์ พื้นที่ทางตอนเหนือจะเป็นที่ราบค่อนข้าง สูง ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบมีภูเขา ทิศ ตะวันตกเป็นเทือกเขาบางส่วนและติดกับชายทะเล ส่วนทิศใต้เป็นพื้นที่ราบ ประชากรส่วนใหญ่ของตำบล นับถือศาสนาอิสลาม และเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพ ทำสวนยาง สวนปาล์ม และประมงชายฝั่ง เมื่อทราบว่าต้องไปที่นี่ แผนที่ประเทศไทยก็ถูก กางออก พร้อมกดการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เมื่อค้นก็ยิ่งพบสิ่งที่น่าสนใจ และตั้งใจจะไปดูให้เห็นกับ ตาอยู่หลายที่ เป็นต้นว่า สุขสารคดี ตำบลบ้านยาง |
aw_boohin.indd 8-9
6/12/13 3:53:53 PM
ฟาร์มสเตย์ ทำไมถึงไม่เรียกโฮมสเตย์หนอ? เกาะหลอ หลอ จะมีใครฟันหลออยู่หรือเปล่า? บ่อน้ำร้อนเค็มกลางทะเล จะมีจริงหรือ? ศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ เค้าทำอะไรกับแม่ปู? ปลาเค็มกางมุง้ เค้ากลัวปลาถูกยุงกัดหรือเปล่า? ลิเกป่า คงจะได้เข้าไปดูในป่ากันล่ะคราวนี้ ... ทั้งหมดนี้ เป็นคำถามที่กระจัดกระจายอยู่ใน สมองก่อนออกเดินทาง คำตอบจะถูกหรือผิด อย่างที่
ผู้เขียนจินตนาการไว้ ลองเดินทางไปด้วยกัน
นัดพบที่หน้าอำเภอ
เรา อันหมายถึง ฉันและช่างภาพหนึง่ คน เดินทาง ถึงหน้าอำเภอสิเกาประมาณ 10 โมงเช้า วีออสสีขาว จอดรออยู่ แ ล้ ว ที่ นั่ น แหม่ ม - เพี ย งเพ็ ญ พึ่ ง หล้ า
นักวิชาการศึกษา ประจำสำนักงานปลัด อบต. หญิงสาว ร่างสูง คลุมฮิญาบ หน้าเปื้อนยิ้ม ส่งสัญญาณให้เรา
ขับรถตามไปยังจุดหมายปลายทาง และจุดแรกที่เราได้ทำความรู้จักและสร้างความ สนิทสนมกับบ่อหิน คือ ‘บ่อหินฟาร์มเสตย์’ 10 | สุขสารคดี ตำบลบ้านยาง
aw_boohin.indd 10-11
บ่อหินฟาร์มเสตย์ เรือนไม้หลังยาวติดทะเล ฉาก หน้าเป็นผืนน้ำ กระชังปลา และชายป่าโกงกาง สัมผัส แรกคือลมเย็น แม้แดดแรงและเป็นวันหยุด แต่เหล่า เจ้าหน้าทีข่ อง อบต.บ่อหิน ยังคงรอต้อนรับอย่างพร้อม เพรียง บรรจง นฤพรเมธี เจ้าของบ่อหินฟาร์มสเตย์ แนะนำสถานที่และพาเราเข้าที่พัก เก็บข้าวของ ก่อน จะถึงช่วงเวลาสำคัญ นั่นคือ มื้อเที่ยงพอดี อาหารหลายอย่างส่งกลิ่นหอมเตะจมูก ปลากระพงราดพริก ปลาเก๋านึ่งซีอิ๊ว ผัดผักปลาเค็ม ปูม้า ผัดวุน้ เส้น ซึง่ วัตถุดบิ ทัง้ หมด ก็หาเอาจาก “แถวๆ นัน้ ” มื้อนี้ เราจึงได้ทำความรู้จักกันอย่างอิ่มเอมเลยทีเดียว บนโต๊ะอาหาร เราได้ทราบว่า บ่ายนี้จะมีคณะ นั ก เรี ย นจากโรงเรี ย นสุ ร าษฎ์ ธ านี เข้ า มาพั ก และทำ กิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาธรรมชาติที่นี่ เป็นโอกาสดี ที่เราจะได้แฝงตัวไปด้วยกันกับน้องๆ เสร็จมือเที่ยง เตรียมหมวก เตรียมเสื้อ เตรียมตัวออกทะเลกันได้เลย สุขสารคดี ตำบลบ้านยาง | 11
6/12/13 3:53:53 PM
01 ฟาร์มสเตย์ กระชังปลา หญ้าทะเล aw_boohin.indd 12-13
6/12/13 3:53:56 PM
01 มีหม้อข้าวใบใหญ่ จะทุบทำไมเสีย
เมื่ออิ่มหนำกับอาหารที่แสนจะอร่อย เราก็แฝง ตัวนั่งเงียบๆ เพื่อรอออกทะเลศึกษาระบบนิเวศน์กับ คณะนักเรียน สักพักก็ได้ยินเสียงน้องๆ ตะโกนถาม
ช่างภาพ “ลุงพร้อมหรือยัง จะไปกันแล้ว “ “..................ลุง!” “เอ้า ลุงก็ลุง ไปกันเลย” เสียงช่างภาพตะโกน ตอบอย่างจำนน เมื่อเรือออกทะเล ลมแรงและแดดจ้าก็ขับสีของ ฟ้าให้ฟา้ มากกว่าทีเ่ คยเห็น ตัดกับสีเขียวของผืนน้ำทะเล แต้มด้วยภูเขาและเกาะแก่งที่มีทั้งพันธุ์ไม้และนกต่างๆ หิ น งอกหิ น ย้ อ ย และภาพวาดของธรรมชาติ ที่ แ ต้ ม
บนหน้าผาก็เรียกเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดาเด็กซ่า อยู่ไม่น้อย สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 15
aw_boohin.indd 14-15
6/12/13 3:54:00 PM
สักพัก เราก็นั่งเรือผ่าน ‘อ่าวบุญคง’ ซึ่งเป็น บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์มากในแถบนี้ พี่บรรจง เล่าว่า บริเวณนี้เป็นห้องอาหารขนาดใหญ่ของเหล่า พะยู น เพราะมี ห ญ้ า ทะเลขึ้ น อยู่ เ ป็ น จำนวนมาก นอกจากนี้ หากการท่องเที่ยวของฟาร์ม สเตย์ตรงกับช่วง ‘น้ำลง’ เราก็จะได้ ลงไปปลูกหญ้าทะเล หรือไม่ก็เก็บ เมล็ดหญ้าทะเลเพื่อนำไปขยาย พันธุ์กับโครงการ ‘ธนาคารหญ้า ทะเล’ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ ให้กับทะเลได้อีก ถือเป็นอีกหนึ่ง กิจกรรมที่ไม่ควรพลาดทีเดียว ผ่านอ่าวบุญคง เรามองเห็น เกาะครก เกาะสาก ตั้งเด่นเคียง กั น ด้ ว ยรู ป ร่ า งแปลกตาอยู่ กลางผืนน้ำ ผ่านเกาะผีที่มี เรื่ อ งเล่ า ว่ า เคยมี ช าวประมงพบโครงกระดูก มนุษย์ที่นั่น ก่อนเรือ 16 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 16-17
จะแวะให้หยุดพักเล่นน้ำกันที่เกาะหลอหลอ ที่นี่ทราย ขาวนุม่ เท้า น้ำใสน่าแช่อยูท่ งั้ วัน เหล่าเด็กซ่า กระโจน ลงน้ำกันอย่างสนุกสนาน “เด็กพวกนี้ ต้องให้เขาเห็นเอง รู้เอง ไม่ต้องไป ยัดเยียดข้อมูลทางวิชาการให้เขาหรอก” พี่บรรจงบอก ขณะยืนมองเด็กๆ เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน “พอเค้ า รู้ ว่ า ธรรมชาติ มั น ให้ ค วามสุ ข กั บ เค้ า เค้าก็อยากให้มันมีอย่างนั้นเรื่อยไป” จะว่าไปแล้วพี่บรรจงไม่ใช่คนที่นี่ แต่มาอยู่ที่นี่ จนเรียกที่นี่ว่า ‘บ้าน’ อยู่กับทะเล อยู่กับบ่อหินจนมอง อะไรๆ ออก “ผมว่าทีน่ ี่ เหมือนหม้อข้าว มันอุดมสมบูรณ์ เรา มีทรัพยากรเต็มไปหมด ผมต้องทำให้มันยังอยู่ให้ได้ มากทีส่ ดุ เด็กๆ และคนอืน่ ๆ ก็ตอ้ งชวนเขามาดู มาเห็น หม้อข้าว เขาจะรู้ว่าอย่าทุบหม้อข้าวของตัวเอง เพราะ ไม่เช่นนั้น เราก็จะอดตาย”
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 17
6/12/13 3:54:06 PM
บ่อน้ำร้อนกลางป่า และสปาโคลน
หนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ที่ฟาร์มสเตย์ แนะนำ คือเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ซึ่งถือ เป็นโรงเรียนธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่นี่เราได้เข้าชั้นเรียน กับคุณครูบรรจงที่ชี้ให้เราดูใบไม้ขนาดเล็กใหญ่ เรียนรู้ สรรพคุ ณ ของต้ น ไม้ ใ บหญ้ า ที่ ทั้ ง คนทั้ ง สั ต ว์ ไ ด้ พึ่ ง พา สั ม พั น ธ์ ชี้ ใ ห้ ดู สั ต ว์ ที่ ยั ง ไม่ เ คยได้ ยิ น แม้ แ ต่ ชื่ อ แต่
ภาพรวมภาพใหญ่คือการได้เห็น ‘วงจรความสัมพันธ์’ ตั้ ง แต่ เ ศษใบไม้ ห ล่ น ย่ อ ยสลายไปจนถึ ง มนุ ษ ย์ ตั ว โต เหล่านักเรียนนั่งฟังบ้าง คุยบ้าง เล่นกันบ้าง แต่พอลอง หลอกถาม พวกเขาจำข้อมูลได้แม่นเป๊ะ! 18 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 18-19
นอกจากป่าชายเลนซึ่งเปรียบเสมือนโรงเรียน อนุบาลขนาดใหญ่ และตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของ วงจรธรรมชาติทางทะเลแล้ว บ่อหินยังมี ‘ความลับ’ บางอย่าง ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆ หลืบเร้นกลางทะเลอันดามัน มี ‘น้ำร้อน’ ผุดขึน้ มาอย่างไม่น่าเชื่อ หลายปีก่อน ชาวประมงเข้ามาหา ปลายามเช้ามืด พบว่าบริเวณนี้มีควันพวยพุ่ง เหมือน ไอน้ำบางอย่าง ด้วยความตื่นเต้นตกใจ นี่มันธรรมชาติ หรือไสยศาสตร์กันแน่ จึงชวนเจ้าของฟาร์มสเตย์มาดู ลงไปพิสูจน์กันให้แน่ชัด พบเป็นน้ำพุผุดขึ้นมา และที่ แปลกยิง่ กว่าคือ มันเป็นน้ำร้อน ยามน้ำลงจะเห็นตาน้ำ ผุดขึ้นมาอย่างชัดเจน บริเวณโดยรอบนั้นก็เป็นโคลนสี ดำเนื้อเนียน พี่บรรจงพาเราและน้องๆ ไปหยุดพักดูความ มหัศจรรย์ของที่นี่ด้วย ชาวประมงคนหนึ่งบอกเล่าว่า มาทุกทีคนที่บ้านบอกให้เก็บโคลนดำที่นี่ไปให้ทุกครั้ง ด้วยว่าเคยลองเอาไปพอกหน้าพอกตัว แล้วผิวนวล เนียนจนคนใกล้ตัวทัก (^_^) เหล่าคณะได้ยินได้ฟัง
ดังนั้น ไม่รอช้า รีบนำโคลนมาละเลงแขน ขา ส่วน
บางคนก็ถึงกับลงไปนอนกลิ้งเกลือกกันเลยทีเดียว สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 19
6/12/13 3:54:10 PM
ตะวันตกทะเล โทรศัพท์ (ก็) ตกทะเล ตลอดวั น ทะเลมั น สวยเสี ย จนฉั น ต้ อ งยก โทรศัพท์ขึ้นมาบันทึกภาพไว้เกือบตลอดเวลา เมื่ อ เพลิ ด เพลิ น จนลื ม ตั ว เหมื อ นธรรมชาติ เตือนสติ เขย่าตัวให้ตนื่ จากภวังค์ แกล้งให้โทรศัพท์หล่น ร่วงจากกระเป๋า ราวกับจะเตือนเบาๆ ว่า “มองฉันผ่าน สายตา สวยกว่าผ่านเลนส์นะจ๊ะ” แม้จะกู้ชีพขึ้นมา ผายปอด ก็ไม่ทันเสียแล้ว โทรศัพท์ดับสนิท ทิ้งให้เห็น เพียงแสงสว่างวาบตรงหน้าจอเป็นครั้งสุดท้าย
20 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 20-21
จากสปาโคลน เรามีอีกหนึ่งจุดที่ต้องแวะในช่วง เย็น คนที่นี่เรียกว่า ‘หาดเก็บตะวัน’ ตะวันสีส้มอมแดง ดวงโตกว่าปกติยามอยู่ใกล้พื้นโลกและพื้นน้ำอันดามัน เหล่ า นั ก เรี ย นเสร็ จ จากไปเรี ย นรู้ แ หล่ ง ป่ า ชายเลน ธรรมชาติ และสปาโคลน จึงกระโจนเข้าหา ราวกับจะ เข้าไปคว้าดวงตะวันนั่น นกกินปลาชื่ออะไรไม่รู้ เกาะ กลุ่มโฉบไปมา บนพื้นทรายและริมฝั่งน้ำตื้น ดูสมดุล และกลมกลืน ภาพซีลูเอทไกลๆ เป็นจุดดำๆ ของคนที่ เล่ น น้ ำ และชาวบ้ า นที่ ห ว่ า นแห เก็ บ หอย บวกกั บ
ลมเย็นยามนี้ ในใจฉันก็คิดว่า เมื่อโทรศัพท์ตกทะเลไป ก็ดีเหมือนกัน ฉันจะได้ใช้ตามอง และใช้ใจบันทึกภาพ แทน
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 21
6/12/13 3:54:16 PM
คุยข้างกระชังปลา
เมื่ อ มี เวลา เราอยากทราบความเป็ น มาของ
บ่ อ หิ น ฟาร์ ม สเตย์ และยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น เราอยากรู้ ว่ า
พี่บรรจง ซึ่งไม่ใช่คนที่นี่ แต่รักที่นี่ยิ่งกว่าบ้านเกิด คิด อะไร ตะวันหมดแสง ปลากะพงเพิ่งกินเหยื่ออิ่ม เรา ชวนพีบ่ รรจงมานัง่ คุย เพือ่ ขอข้อมูลทีม่ าทีไ่ ปของฟาร์มสเตย์ ซึ่งเราทราบเพียงคร่าวๆ ว่า มันเริ่มจากการรัก ในการทำประมง และวิกฤตเท่านั้นเอง... หลายปีก่อน บรรจงได้มาเลี้ยงปลากระชังที่นี่ ซึ่งก็มีคนทำอยู่ก่อนแล้ว เป็นการทำแบบต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดมีปัญหา เมื่อ
22 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 22-23
ปลาในกระชังหนึ่งเป็นโรค และเนื่องจากอยู่ในบริเวณ คุ้งน้ำเดียวกัน ก็ย่อมทำให้ปลากระชังอื่นเสียหายตาม ไปด้วย จากนัน้ จึงทำให้เกิดการโทษกัน หวาดระแวงกัน เกิ ด การทะเลาะเบาะแว้ ง กั น ทำให้ ต่ า งคนต่ า งอยู่
มิหนำซ้ำในช่วงเวลาเดียวกัน ยังเจอกับเหตุการณ์สนึ ามิ คลื่ น ยั ก ษ์ ไ ด้ เข้ า ถล่ ม ทำความเสี ย หายให้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ กระชังปลาและทีอ่ ยูอ่ าศัย แต่ความสูญเสียยังไม่เท่ากับ ความบอบช้ำทางจิตใจของบรรจงและชาวประมงทุกคน ขณะหลายหัวใจยังคงเปียกชื้น ใครบางคนได้ลุกขึ้นมา ส่ ง สั ญ ญานให้ ไ ด้ หั น หน้ า มานั่ ง จั บ เข่ า คุ ย กั น คิ ด หา ทางออกโดยใช้ ‘การจัดการ’ จากการพูดคุยอยู่หลายวัน ในที่สุดก็เกิด ‘กลุ่ม เลี้ยงปลากระชัง’ ที่มีการจัดการเป็นรูปแบบชัดเจน ดู แ ล บริ ห ารรายได้ และแบ่ ง ปั น ผลกำไรกั น แบบ ยุติธรรม ทำให้กลุ่มเติบโตและแข็งแรงขึ้น จนได้จด ทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำได้สักพักก็ต้องเจอวิกฤตซ้ำ เนื่องจากราคา ปลากะพงตกต่ ำ เพราะคนร่ ำ ลื อ กั น ว่ า ปลากิ น ศพ
เน่าเปื่อยจากภัยสึนามิ แต่เพราะรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 23
6/12/13 3:54:18 PM
กลุม่ จึงช่วยกันคิด บางคนว่า เมือ่ เอาออกไปขายข้างนอก ไม่ได้ เปิดเป็นร้านปลาเผาให้คนมานั่งกินริมน้ำ ริม กระชังเสียเลย เพราะมั่นใจในคุณภาพปลาที่เลี้ยงมา กั บ มื อ ร้ า นปลาเผาข้ า งกระชั ง จึ ง เกิ ด ขึ้ น ในตอนนั้ น และเป็นที่เลื่องลือว่า ปลาที่นี่ เนื้อหวานนุ่มลิ้น ชื่อ เสียงส่งไปแบบปากต่อปาก คนมากินปลาที่นี่มากมาย เมื่อเป็นเช่นนั้น กลุ่มไม่หยุดที่จะคิดต่อยอด เห็นว่าบาง ครั้ง คนที่มาจากไกลๆ บางทีนั่งกินปลา นั่งชมวิวป่า ลำพูจนดึก จะขับรถกลับบ้านก็ไกลอยู่ จึงหารือกันเปิด เป็นที่พัก พัฒนามาเรื่อยจนได้รับมาตรฐานอย่างโฮม สเตย์ แต่เรียกให้เก๋กว่าว่า ‘ฟาร์มสเตย์’ พลังสร้างสรรค์ของแกนนำกลุ่มยังไม่หยุด บวก กับจิตอนุรักษ์ที่มี ล่องเรือไปในทะเลตรังพบว่ามีดีที่ ทรัพยากร เกาะแก่ง หินงอก หินย้อย บ่อน้ำร้อนเค็ม กลางทะเล และจุ ด ชมตะวั น ตกน้ ำ 360 องศา มี กิจกรรมเก็บเมล็ดและปลูกหญ้าทะเล เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เก๋ไม่น้อยหน้าใคร ทำให้บรรจุโปรแกรมท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ในแนวเห็นจริงทำจริงลงไปในโปรแกรมการพัก ฟาร์มสเตย์แห่งนี้ไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า ผลดี ไ ม่ ไ ด้ ต กกั บ ใครที่ ไ หน กลุ่ ม ที่ ท ำงานมี กิ น มี ใช้ 24 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 24-25
เศรษฐกิจไม่ฝืดเคือง ส่วนคนที่มาเที่ยวมาพัก ได้ซึมซับ ใจอนุรักษ์ไปโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว “บ่อหินมีตน้ ทุน ถ้าเราผลักดันได้ มาบ่อหินแล้ว มีที่กิน ที่พัก และที่เที่ยว ทุกอย่างมันครบ คนท้องถิ่น มีงาน ที่สำคัญ คนท้องถิ่นรู้ว่า ถ้าธรรมชาติสมบูรณ์คน จะเข้ามา เขาก็จะช่วยเป็นหูเป็นตาและรักษาไปโดย อัตโนมัติ เรื่องเศรษฐกิจไม่ต้องพูดถึง เมื่อเขามีรายได้ เขาก็มีความสุข มีเวลา มีจิตใจทำเรื่องดีๆ” บรรจงเล่า ให้เราฟังด้วยน้ำเสียงเนิบช้าแต่ทว่ามั่นคง ทะเลตอนค่ำดูมีมนต์ลึกลับ แต่หนักแน่นมั่นคง เหมือนคำพูดของบรรจงในวันนั้น คืนนี้เรานอนหลับ พักสบายทีฟ่ าร์มสเตย์ เสียงเด็กนักเรียนซาลงตอนราวๆ ห้าทุ่ม แล้วทุกอย่างก็เงียบสงบ. เช้าวันรุง่ ขึน้ เรายังมีกจิ กรรมร่วมกับเด็กนักเรียน อีกหนึง่ อย่าง คือการไปปลูกป่าชายเลน โดยการปลูกป่า ของที่นี่ทำกันจริงจังและเห็นผล มีการดูแลต่อเนื่อง ศึกษาพืน้ ที่ และขยายพืน้ ทีป่ ลูกไปอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเราร่วมกันปลูกต้นโกงกางและต้นแสมราว 200 ต้น ก่อนจะแยกทางกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนสุราษฎ์ธานี อย่างอิ่มใจ สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 25
6/12/13 3:54:19 PM
บ่อหินฟาร์มสเตย์ ตั้ ง อยู่ ที่ บ้ า นพรุ จู ด หมู่ ที่ 2 ตำบลบ่ อ หิ น อำเภอสิ เ กา จังหวัดตรัง มีสมาชิกจำนวน 20 ครอบครัว ภารกิจหลัก ของกลุ่ ม คื อ การเลี้ ย งปลากระชั ง ได้ แ ก่ ปลากะพงขาว ปลาเก๋า หอยแมลงภู่ หอยนางรม โดยได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐ สมาชิกใช้เวลาประมาณ 2 ปี ก็สามารถส่งคืน เงินกู้ให้แก่กลุ่มได้ ทำให้กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการ ลงทุ น ของสมาชิ ก บ่ อ หิ น ฟาร์ ม สเตย์ ได้ พั ฒ นามาเป็ น ลำดับ พร้อมๆ กับกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด ที่เติบโตขึ้น จึงเป็นที่รู้จักและได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งระดับ จังหวัดและระดับประเทศ ในปี 2552 บ่อหินฟาร์มสเตย์
ได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ปัจจุบัน
26 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 26-27
บ่อหินฟาร์มสเตย์จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเน้นการ เรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ ขึ้นอยู่กับความต้องการของ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว และนำชมแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วบริ เวณใกล้ ๆ ประเภทนั่งเรือหางยาวไปก็ถึง มีบริการตั้งแต่นั่งเรือล่องชม ระบบนิเวศป่าชายเลน เดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชม บ่อน้ำพุร้อนกลางป่าชายเลน หรือจะเลือกไปพายเรือคยัค เที่ ย วบริ เ วณอ่ า วบุ ญ คง เป็ น ต้ น (http://www.mculture.in.th/) ผู้สนใจมาท่องเที่ยวที่บ่อหินฟาร์มสเตย์ หรื อ ต้ อ งการรายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ติ ด ต่ อ ที่ คุ ณ บรรจง
นฤพรเมธี ประธานวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนเลี้ ย งปลากระชั ง
บ้ า นพรุ จู ด ตำบลบ่ อ หิ น อำเภอสิ เ กา จั ง หวั ด ตรั ง
โทร. 081 892 7440
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 27
6/12/13 3:54:25 PM
นอกจากชาวบ้านจะห่วงเรือ่ งปากท้องทีต่ อ้ งดูแล ในแต่ ล ะวั น แล้ ว ยั ง มี อี ก หลายคนที่ พ บว่ า การดู แ ล เสบียงคลังสำรอง ให้มีอยู่มีกินไปนานๆ ในระยะยาว ก็ สำคัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากัน เราเดินทางต่อไปยังหมูบ่ า้ น ติดกันที่ยังคงมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอยู่ นั่นก็คือ หมู่ 6 ซึง่ ทีน่ เี่ ราทราบมาว่า มีศนู ย์เรียนรูเ้ ล็กๆ น่ารักๆ ซ่อนตัว อยู่ และที่นี่ มีกลุ่มคนที่เป็นห่วงเรื่องเสบียงในอนาคต ของคนในชุมชนบ่อหินรอพบเราอยู่
เหตุเกิดจากปูสามตัว
“เหตุเกิดจากปูสามตัว” สุธรรม คนเที่ยง หนึ่ง ในบุคคลใจอาสา กลุ่ม ‘ศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ’ ตอบกับเราทันควันเมื่อเราถามถึงที่มาที่ ไปของกลุ่มนี้... “ตอนนั้ น เห็ น ปู 3 ตั ว ที่ ช าว ประมงจับมา มันตัวเล็กมาก ในใจคิดว่า ถ้าปูตัวเล็กนี้ยังไม่ถูกจับ ยังเติบโตไป ในทะเล มันคงจะโตขึ้น แล้วก็
28 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 28-29
ขยายพันธุ์ได้มากกว่า 3 ตัว” ว่าแล้วสุธรรมจึงขอซื้อ
ปูสามตัวนั้นจากชาวประมง และแม้ตอนนั้นจะยังมี
องค์ความรูท้ นี่ อ้ ยอยูบ่ า้ ง การทดลองเพาะเลีย้ งแบบผิดๆ ถูกๆ ก็เกิดอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ด้วยความเอาจริงจัง
จึงไม่ยอมปล่อยมือ ไปศึกษาจากผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ทที่ ำประมง มาช้านาน และเห็นพฤติกรรมปูดำมามาก อีกทั้งขอ ความรู้จากหน่วยงานวิชาการ ชวนมาศึกษา ทดลอง เพาะเลี้ยง หาแนวร่วมและอาสาสมัครเข้ามาช่วย ศูนย์ ก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้น สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 29
6/12/13 3:54:30 PM
“จิตอาสามันแรง” ไชยวัฒน์ หัตไทรทอง อีก หนึ่งสมาชิกผู้ดูแลศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำบอกกับเรา เมื่อ เราเอ่ยถามถึงว่า ทำแล้วได้อะไร “อยากมองไปในทะเลแล้วเห็นปูเห็นปลา เราก็ เลยลองผิดลองถูกกันไปเรื่อยๆ ตอนแรกก็เลี้ยงไม่ถูก เพาะไม่เป็น แต่ก็ไม่หยุด ขอข้อมูลจากหน่วยราชการ บ้าง ผู้เฒ่าผู้แก่บ้าง ค่อยๆ ทำมา จนเราสามารถขยาย พันธุ์ปูดำได้ “พอเราตั้งใจ เราขยายพันธุ์ แล้วเราก็ตั้งเป็น ศูนย์เรียนรู้ ดูวงจรชีวติ ปูดำ ชาวบ้านเขาเห็น เขารูว้ า่ เรา กำลังตั้งใจทำอะไร เขาก็เริ่มไม่ใช้อวนถี่ เขารู้ว่า ปูเล็กยังไม่ควรจับ อันนั้นที่เราสัมผัสได้” ปู ด ำ ชื่ อ ก็ บ อกว่ า ตั ว ดำ เป็ น อาหารแสนอร่ อ ยกิ โ ลละหลายร้ อ ย บาท พบหาได้ง่ายตามฝั่งทะเลน้ำตื้น แม่ พั น ธุ์ แ ละลู ก น้ อ ย อาศั ย และฟูมฟักกันอยู่บริเวณ ป่าชายเลน บริเวณศูนย์ เรี ย นรู้ มี ต าข่ า ยล้ อ ม 30 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 30-31
เป็นห้องขนาดไม่ใหญ่นัก ยามน้ำลด ปล่อยแม่ปูที่ไข่
สีมว่ ง (ไข่แก่เต็มที)่ รอเวลา สลัดไข่ออก “ที่ต้องล้อมรั้ว เพื่อแยกตัวเมียและลูกไว้ และ กันตัวผู้ออกไป เพราะตัวผู้จะกินตัวอ่อนเสีย เมื่อน้ำขึ้น อีกครัง้ ลูกปูทโี่ ตได้ที่ ลอดรูตาข่ายออกได้ ก็วา่ ยสูท่ ะเล เพื่ อ ไปใช้ ชี วิ ต และกลั บ เข้ า มาเพื่ อ วางไข่ ยั ง ชายฝั่ ง
ป่าชายเลนอีกครัง้ และเมือ่ ชาวบ้าน เมือ่ เด็กๆ เห็น ว่า มันมีป่า มันมีปู นั่นคือเขารู้ว่ามันสมบูรณ์” สุธรรมเล่า ให้เราฟัง ดังสโลแกนเก๋ที่ปักอยู่บนเสื้อของพี่ทั้งสองคน ว่า “เห็นป่า เห็นปู เห็นความสมดุลของธรรมชาติ” อีกความน่ารักของศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ คือศูนย์ แห่งนี้ตั้งอยู่ที่โรงเรียนอนุบาล ตกบ่ายคล้อย เด็กน้อย มานั่งดูปู ชี้ปลา ศึกษานอกห้องเรียน เมื่อเห็นปู เห็น ปลา เห็นป่าโกงกาง เห็นวงจรจนคุ้นตา นานวันเข้า จึง กลายเป็นวิทยากรตัวน้อย สามารถแนะนำ บอกเล่าให้ ความรู้แก่ผู้มาเยือนได้อย่างคล่องแคล่ว เห็นแล้วอิ่มสุข นอกจากเราจะได้ขยายพันธุ์ปู เรายังได้ขยายต้นกล้า สำนึกรักธรรมชาติให้กับเด็กตัวน้อยๆ เพื่อเป็นกำลัง ใหญ่ๆ ให้บ้านเมืองต่อไปในอนาคตอีกด้วย สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 31
6/12/13 3:54:32 PM
รู้จักปูดำ
ปูดำ มีส่วนประกอบของโครงสร้าง คือ มีส่วนหัว กั บ อกรวมกั น เรี ย กว่ า Cepthalothrorax ส่ ว นนี้ จ ะมี กระดองหุ้ ม ไว้ ลั ก ษณะภายนอกที่ สั ง เกตเห็ น ได้ อ ย่ า ง ชัดเจนคือ ลำตัวของปูได้วิวัฒนาการโดยเปลี่ยนเป็นแผ่น บางๆ เรียกว่า ‘จับปิง้ ’ พับอยูใ่ ต้กระดอง จับปิง้ เป็นอวัยวะ ที่ใช้เป็นที่พยุงไข่ของแม่ปู (ในระยะที่มีไข่นอกกระดอง) นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แยกเพศได้อีกด้วย กล่าวคือ ในเพศ เมียจับปิ้งจะมีลักษณะปลายมนกลมกว่าเพศผู้ ซึ่งมีรูปเรียว และแคบ ในฤดู ผ สมพั น ธุ์ เพศเมี ย จะมี พ ฤติ ก รรมก้ า วร้ า ว และจะปล่อยฮอร์โมนเพศออกมาเพื่อกระตุ้นให้ตัวผู้สนใจ เมือ่ ได้จงั หวะ ปูตวั ผูจ้ ะขึน้ คร่อมและใช้ปลายขาเดินคูท่ ี่ 2-4 พยุงตัวเมียไว้ขา้ งล่าง โดยปูเพศเมียจะไม่ขดั ขืน ในการจับคู่ ลักษณะนี้ จะทำกันประมาณ 3-4 วัน จนกระทั่งปูเพศเมีย ลอกคราบ ในระหว่างนี้ปูตัวผู้จะช่วยพ่นน้ำและป้องกัน ศั ต รู ใ ห้ ปู เ พศเมี ย ที่ ก ระดองยั ง นิ่ ม อยู่ ปู ตั ว ผู้ จั บ ปู ตั ว เมี ย หงายท้องขึ้น ปูตัวผู้จะสอดตัวเข้าไประหว่างจับปิ้งของเพศ เมียเพือ่ สอดอวัยวะสืบพันธุ์ (gonopod) คูย่ าวซึง่ มีลกั ษณะ เรียงแหลมเล็กเข้าไปในรูเปิดของปูเพศเมียซึ่งมีสองรูใต้ 32 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 32-33
จับปิ้ง ช่วงนี้ปูเพศผู้จะใช้ขาช่วยพยุงตัวเองไว้เพื่อไม่ให้ปู เพศเมียที่ตัวนิ่มเป็นอันตราย เมื่อได้จังหวะปูเพศผู้ก็จะ ปล่อยน้ำเชือ้ (Spermatophore) ไปเก็บไว้ใน receptacle ซึ่งอยู่ตอนปลายสุดของรูเปิดของปูเพศเมีย ขั้นตอนนี้จะใช้ เวลาประมาณ 12-15 ชัว่ โมง เมือ่ ได้รบั น้ำเชือ้ แล้ว ปูตวั เมีย จะกลับมาอยู่ในท่าปกติ ส่วนปูตัวผู้จะเกาะหลังปูตัวเมียไป อีก 2-3 วัน จนกระทั่งกระดองของปูตัวเมียแข็ง ปูเพศผู้จึง แยกตัวออก ปูทะเลเป็นสัตว์น้ำกร่อยที่มีการอพยพย้ายถิ่น เพื่อ การแพร่พันธุ์ โดยปูเพศเมียจะอพยพจากแหล่งหากินใน บริเวณเขตน้ำกร่อยออกไปวางไข่ในทะเล ส่วนลูกปูวัยอ่อนมีอยู่ 2 ระยะคือ ระยะ Zoea 1-5 และ Megalopa 1 ระยะ ในระยะ Zoea เป็นระยะที่ ระยางค์ว่ายน้ำยังไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ จึงล่องลอย หากินไปตามกระแสน้ำ เมื่อเข้าระยะ Megalopa จะมีการ ว่ายน้ำสลับกับการหยุดเกาะอยูก่ บั ทีเ่ ป็นครัง้ คราว เมือ่ ลูกปู ลอกคราบจากระยะ Megalopa ก็จะเป็นปูที่มีลักษณะ เหมือนพ่อแม่ ปูเพศเมียที่สมบูรณ์เพศและผ่านการจับคู่ ผสมแล้วก็จะอพยพออกไปวางไข่
ที่มา: บรรจง เทียนส่งรัศมี และบุญรัตน์ ประทุมชาติ. 2545.
ปูทะเล: ชีววิทยาการอนุรักษ์ทรัพยากรและการเพาะเลี้ยงในเชิง พาณิชย์อย่างยั่งยืน. เอกสารเผยแพร่เครือข่ายวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมพืชและสัตว์น้ำ (สกว). 264 หน้า. สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 33
6/12/13 3:54:38 PM
02 พลังชุมชน และระบบบริหาร การจัดการ ท้องถิ่น aw_boohin.indd 34-35
6/12/13 3:54:44 PM
02 บ่ายของวันนี้ เราจะไปดูอกี มุมของบ่อหิน ไป รู้จักบ่อหินให้ลึกขึ้น ไปรู้จักในแง่การจัดการ เศรษฐกิจ ชุมชน และสวัสดิการด้านต่างๆ
รู้จักชุมชนบ่อหิน
เราไปดูโน่นดูนี่ตั้งหลายที่ ยังไม่รู้เลยว่า ทำไมที่ นีถ่ งึ เรียกว่าบ่อหิน เราจึงไปสอบถามข้อมูลจากทีท่ ำการ อบต.บ่อหิน โดยมีเจ้าหน้าทีใ่ จดีหลายคนช่วยกันค้นคว้า หาข้อมูลให้ ก่อนจะยื่นเอกสารให้เราอ่าน “เล่ากันว่า มีบ่อน้ำอยู่แห่งหนึ่งที่เมื่อยามคลื่น ซัดน้ำทะเลเข้าหาฝั่ง ความแรงของคลื่นทำให้น้ำทะเล นั้นลงไปในบ่อซึ่งเป็นบ่อน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ที่น่าแปลกใจคือ เมื่อนำน้ำในบ่อไปใช้ ปรากฏว่า
น้ำในบ่อดังกล่าวกลายเป็นน้ำจืดและสามารถนำมา
บริโภคได้ตลอดทั้งปี ชาวบ้านจึงเรียกบ่อน้ำดังกล่าวว่า สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 37
aw_boohin.indd 36-37
6/12/13 3:54:47 PM
พัฒนาคน พัฒนาชุมชน
ทะเลอันดามัน ที่มา: http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl
‘บ่อหิน’ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งยังปรากฏหลักฐานอยู่ ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านพรุจูด จนถึงปัจจุบัน”
ความแตกต่างที่กลมกลืน
ตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาที่บ่อหิน สิ่งที่เราชินตา ก็ คือการอยู่ร่วม และทำกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้านที่มี ทั้งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม โดยประชากร ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อเราค้นดูข้อมูล ทางวิชาการก็พบว่า ตำบลบ่อหินมีมสั ยิดทัง้ หมด 3 แห่ง และสำนักสงฆ์อีก 1 แห่ง มัสยิดจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิดบ้าน ดุหุน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 มัสยิดบ้านโต๊ะบัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 และมัสยิดบ้านปากคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ส่วนสำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง คือสำนักสงฆ์บ้านไร่ออก ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 38 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 38-39
หลังกลับมาจากศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ ผู้ประสานงานคนเก่งของเราเอ่ยทีเล่นทีจริงกับท่านนายก อบต. ว่า ไปกินข้าวบ้านนายกดีกว่า ท่านนายกจึงตกปาก รับคำเสียเดี๋ยวนั้น หน้าที่หนักจึงไปตกอยู่กับแม่บ้าน ของท่านทีต่ อ้ งเตรียมสำรับฉบับเร่งด่วน ผักปลา เก็บหา เอาแถวนั้น เครื่องแกงตำกันทันควัน ผู้ช่วยทั้งผัดทั้ง แกงกันพัลวัน ให้เราได้อิ่มอร่อย เปรมปรีดา ระหว่าง ย่อย เรามีโอกาสได้คุยกับ ธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน และท่านรองนายก จำรัส ผลบุญ ฉันยิงคำถามเข้าไปหานายกด้วยปัญหา “คน บ่อหินนี่ มีปัญหาเรื่องอะไร” “ต้ อ งเท้ า ความนิ ด นึ ง นะ ตำบลบ่ อ หิ น นี่ เ ป็ น
ที่ ตั้ ง ของที่ ว่ า การอำเภอสิ เ กา ประชากรส่ ว นใหญ่ ประกอบอาชีพทำสวน ทั้งสวนยางแล้วก็ปาล์ม ส่วนอีก จำนวนหนึ่ง ราว 10 เปอร์เซ็นต์ ทำอาชีพประมง ทีนี่ ปัญหาทีถ่ ามมานี่ ต้องตอบเลยว่า ปัญหาของบ่อหินแต่ ก่อนนัน้ คือความยากจน แต่เราก็ยังมีข้อดีอยู่บ้างตรง ที่มีต้นทุนทางความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มาก สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 39
6/12/13 3:54:49 PM
บาน ปากคลอง หมูที่ 9 บาน หัวหิน หมูที่ 6
บานดุหุน หมูที่ 3 บาน โตะบัน หมูที่ 6 บานพรุจูด หมูที่ 2
บานไลตนวา หมูที่ 4
บานใหมทุงโพธิ์ หมูที่ 7
บานไรออก หมูที่ 5
บานบอหิน หมูที่ 1
องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น มี จ ำนวน หมู่ บ้ า นที่ อ ยู่ ใ นเขตการปกครองจำนวน 9 หมู่ บ้ า น ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อหิน หมู่ที่ 2 บ้านพรุจูด หมู่ที่ 3 บ้านดุหุน หมู่ที่ 4 บ้านไสต้นวา หมู่ที่ 5 บ้านไร่ออก หมู่ที่ 6 บ้านหัวหิน หมู่ที่ 7 บ้านใหม่-ทุ่งโพธิ์ หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะบัน และหมู่ที่ 9 บ้านปากคลอง ปัจจัยทางภูมศิ าสตร์ ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนบ่อหิน (สวนยาง+ประมง)
aw_boohin.indd 40-41
ทิศตะวันตกทั้งหมดติดทะเลอันดามัน ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะทั้งที่ราบและที่ดอนค่อน ข้างสูง และเป็นชายทะเล พื้นที่ทางตอนเหนือจะเป็น ทีร่ าบค่อนข้างสูง ส่วนพืน้ ทีท่ างทิศตะวันออกเป็นทีร่ าบ มีภูเขา ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาบางส่วนและติดกับ ชายทะเล ส่วนทิศใต้เป็นพื้นที่ราบ
อาชีพ
ชาวบ้ า นส่ ว นใหญ่ เ กื อ บทั้ ง หมดทำสวนยาง สวนปาล์ม ประมงชายฝั่ง ทำสวนผลไม้ รับจ้าง รับ ราชการและค้าขาย รายได้เฉลี่ยประมาณ 32,000 บาท/คน/ปี ดังข้อมูลที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบล บ่อหินได้รวบรวมไว้ ดังนี้ - ทำสวนยางพารา 11,378 ไร่ - ทำสวนปาล์มน้ำมัน 3,244 ไร่ - ทำสวนผลไม้ 2,496 ไร่ - เลี้ยงสัตว์และอื่นๆ 234 ไร่
(ที่มา: ข้อมูลแผนชุมชนตำบลบ่อหิน 2554 สนง. พัฒนาชุมชน อ.สิเกา)
6/12/13 3:54:53 PM
บ่อหินมีต้นทุนทางทรัพยากร ที่ ดี มี ทรัพยากรหลากหลายประเภท ซึ่งเป็นที่อยูซึ่ท่งี่ บ่อหินมีตน้ ทุนทางทรัพยากร ที่ดี มีทรัพยากรหลากหลายประเภท น ของชาวชุ า งแท้ จ ริ ง ทรัาพงๆยากร เป็นที่อยู่ที่กินของชาวชุกิมชนอย่ างแท้จมริงชนอย่ ทรัพยากรประเภทต่ นัน้ ประเภทต่างๆ นัน้ ประกอบไปด้วย ประกอบไปด้วย ทรั พ ยากรป่ า ไม้ เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ท รั พ ยากรป่ า -
ชายเลนอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นป่าธรรมชาติในบริเวณที่มี ภูมิศาสตร์เป็นภูเขา ทรั พ ยากรน้ ำ พื้ น ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น มี ปริมาณน้ำผิวดินที่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และมีคลองป่า แบกและคลองยูงที่เป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร โดยมีแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ คลองยูง คลองป่าแบก คลอง ไม้ตาย คลองโต๊ะบัน (คลองน้ำเค็ม) ทรั พ ยากรดิ น พื้ น ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น มี ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ดิ น ส่ ว น ใ ห ญ่ เ ป็ น ดิ น เ ห นี ย ว
บนทราย และดินร่วนปนทราย เพราะมีพื้นที่อยู่ใกล้ชายทะเล ทำให้ สภาพพื้นที่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และการปศุสัตว์ aw_boohin.indd 42-43
ทรั พ ยากรป่ า ไม้ เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ท รั พ ยากรป่ า ชายเลนอุ ด ม สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นป่าธรรมชาติในบริเวณที่มีภูมิศาสตร์เป็น ภูเขา ทรั พ ยากรน้ ำ พื้ น ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น มี ปริมาณน้ำผิวดินที่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และมีคลองป่า แบกและคลองยูงที่เป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร โดยมีแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ คลองยูง คลองป่าแบก คลอง ไม้ตาย คลองโต๊ะบัน (คลองน้ำเค็ม) ทรั พ ยากรดิ น พื้ น ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น มี ลักษณะของดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวบนทราย และดินร่วนปน ทราย เพราะมีพื้นที่อยู่ใกล้ชายทะเล ทำให้สภาพพื้นที่เหมาะสำหรับ ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และการปศุสัตว์
6/12/13 3:55:05 PM
บางทีบางวันไม่มีรายได้อะไรเลย ก็อาศัยจับปลาจับ ปูมากิน มันก็ดำรงชีวิตได้” นายกให้ขอ้ มูลเพิม่ ว่า ทีบ่ อ่ หินก้าวไปได้กเ็ พราะ รูปแบบการบริหารการปกครอง ที่นอกจากจะแบ่งเป็น หมู่บ้านแบบตำบลอื่นทั่วไปแล้ว ในหนึ่งหมู่บ้านยังแยก เป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อให้ระบบการจัดการและการดูแล เป็นไปได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย รองนายกฯ ยังเสริมให้เราฟังว่า “จุดเด่นของบ่อหิน มีอยู่สองจุดใหญ่ๆ คือ ส่วน แรก เป็นการบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นปึกแผ่นของ ท้องที่ และมีความสงบสุขโดยการอยู่ร่วมกันของ 2 ศาสนา ทั้งไทยพุทธ และไทยมุสลิม ส่วนที่สอง คือการ จัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเป็น
ธรรมฤทธ ิ์ เขา
ุ บญ สั ผล ร ำ จ
ความหมายรวมของการพัฒนา ฟื้นฟู ศึกษา และการ ใช้ประโยชน์ให้หลากหลาย” ฉันพยักหน้าหงึกๆ อย่างเห็นด้วย ยังไม่ทันจะ ได้ถามอะไรต่อ ท่านรองฯ ก็เสริมต่ออีกว่า “ส่วนปัจจัยที่ทำให้บ่อหินเปลี่ยนไปในทางที่ดี ขึน้ นี้ เหตุผลจริงๆ แล้ว คือการพัฒนาคน เมือ่ บุคคลากร ได้เรียนรู้ มีความรู้ จึงทำให้ชมุ ชนเกิดการเปลีย่ นแปลง” ประโยคสุดท้ายของท่านรองฯ พอจะสรุปความ เป็นบ่อหินได้ดีเลยทีเดียว มื้อกลางวันมื้อนี้ จึงเป็นมื้อ ที่ทำให้เรามองเห็นภาพรวมระบบการจัดการท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหินได้ชัดเจนขึ้นเยอะ
าท
บ
44 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 44-45
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 45
6/12/13 3:55:41 PM
03 เศรษฐกิจ และสังคม aw_boohin.indd 46-47
6/12/13 3:55:50 PM
03 บ่อหินไม่มี ‘7-11’
นายก ธรรมฤทธิ์ เล่าให้ฟังว่า ชาวชุมชนบ่อหิน มีปัญหาความยากจน จากการเรียนรู้และแลกเปลี่ยน กันของแต่ละหมู่บ้าน โดยการสนับสนุนจาก อบต.และ หน่วยงานต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัดสร้างกลุ่มสวัสดิการ เพือ่ ช่วยเหลือด้านต่างๆ เกิดเป็นกลุม่ หลายๆ กลุม่ เช่น กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด สัจจะออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน
ที่รับ ‘ซื้อของตามใบสั่ง’ ซึ่งของที่สั่งก็ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย แต่ เ ป็ น ของเพื่ อ ดำรงชี วิ ต และช่ ว ยประกอบอาชี พ
เช่ น ข้ า วสาร น้ ำ มั น อวน แห และเครื่ อ งตั ด หญ้ า นอกจากนั้นยังมีปันหุ้น และเงินช่วยเหลือยามเกิด แก่ เจ็บ และตาย เมื่อความเป็นอยู่ไม่ฝืดเคือง กลไกการ ดำเนินชีวิตคล่องขึ้น สุขภาพกายใจแข็งแรง ชุมชนก็อยู่ ไม่ไกลคำว่า ‘ตำบลสุขสภาวะ’ สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 49
aw_boohin.indd 48-49
6/12/13 3:55:56 PM
ร้านค้าชุมชนของคนบ่อหิน
เช้าวันที่สองในบ่อหิน เพียงเพ็ญ พาเรามาพบ นิตินัยต์ เขาบาท ประธานและผู้จัดการ ร้านค้าชุมชน ของบ้านโต๊ะบัน หมู่ 8 “ร้านค้าชุมชนเกิดจากความต้องการของสมาชิก ในชุ ม ชน ที่ ต้ อ งการลดค่ า ใช้ จ่ า ย และแก้ ปั ญ หาค่ า ครองชีพที่สูงขึ้นจนไม่สมดุลกับรายได้ จึงจัดตั้งร้านค้า ขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ของชาวบ้าน เช่น ข้าวสาร ปุ๋ย น้ำมัน แก๊ส อวน และ อุปกรณ์ทำประมงต่างๆ 50 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 50-51
“เวลาขาย เราก็มีแบบผ่อนจ่าย ให้เอาข้าวสาร ไปกินก่อน แล้วก็ผ่อนจ่ายทุกวันนัดหมาย คือวันศุกร์ ช่วงบ่าย ซึ่งถือเป็นวันว่างของอิสลาม” นิตินัยต์ เล่าไป ยิ้มไป โดยมีสมาชิกกลุ่มนั่งยิ้มอยู่ข้างๆ ร้านค้าชุมชนของบ้านโต๊ะบัน เป็นห้องชั้นเดียว กว้างยาวไม่มาก ภายในวางสินค้าต่างๆ ไว้ เช่น กระสอบ ข้าวสาร จานชามให้เช่าสำหรับงานและเทศกาลต่างๆ และสินค้าอุปโภคบริโภคอีกหลายอย่าง ที่วางเด่นอยู่ หน้าร้านคือ ปั๊มหลอด หรือปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ เติมเรือประมง เมื่อถามนิตินัยต์ว่า มีโครงการจะหา อะไรมาขายเพิ่มอีก ก็ได้คำตอบว่า เป็นพวกอุปกรณ์ เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ให้เช่า สำหรับจัดงานต่างๆ นอกจากจะขายของราคาถูกกว่า ท้องตลาด และมีระบบการผ่อนจ่ายแล้ว ที่ นี่ ยั ง ให้ เ งิ น ปั น ผลแก่ ส มาชิ ก อี ก ด้ ว ย
ผูจ้ ดั การร้าน ซึง่ จบทางบัญชีมาโดยตรง บอกเราว่า “พอทำแล้วมันเป็นประโยชน์ ต่อชุมชนส่วนรวม ชาวบ้าน สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 51
6/12/13 3:56:05 PM
จัดการกับรายได้-รายจ่ายของตัวเองได้ดีขึ้น แล้วยังมี เงินออม เงินปันผลให้กับสมาชิก” เมื่อเราถามถึงปัญหา “ก็มีนะ ปัญหาก็คือ บางทีร้านอื่นเค้าก็ขายถูก กว่าเรา ทีเ่ ขาเป็นรายใหญ่ๆ แต่เราต้องทำให้สมาชิกเห็น ว่า เรามั่นคงกว่า มีผลตอบแทนดีกว่า มีปันผล และใน ระยะยาว ผลกำไรยังนำมาเป็นสวัสดิการช่วยเหลือใน หลายๆ กรณี” เมือ่ ในสังคมปัจจุบนั เซเว่น อีเลฟเว่น กลายเป็น ความหมายของร้านค้าสะดวกซื้อไปเสียแล้ว แต่บ่อหิน ไม่มเี ซเว่น และชาวบ่อหินก็เห็นว่าไม่ใช่เรือ่ งสำคัญอะไร เพราะเมื่อชุมชมรวมกลุ่มกันจัดตั้ง ‘ร้านค้าชุมชน’ ได้ ซื้อสินค้าในรูปแบบสมาชิก มีการใช้เครดิต (เอาของไป ก่อน แล้วผ่อนจ่าย) มีการได้รับปันผล และได้รับเงิน สวัสดิการต่างๆ นี่สิ ร้านสะดวกซื้อของจริง เราจะเห็ น ได้ ว่ า ชาวชุ ม ชนนั้ น มั ก จะมี ค วาม เคลือ่ นไหวและการรวมตัวกันเพือ่ ทำสิง่ ดีๆ ให้กบั ชุมชน เสมอ ทั้งนี้เพื่อปากท้องและการดำรงชีวิต เช่นเดียวกับ เรื่องราวของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เราจะพาไปรู้จัก 52 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 52-53
กลุ่มน้ำยางสด
กลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ (กลุ่มน้ำยางสด) บ้านดุหนุ บ้านดุหนุ หมู่ 3 เป็นอีกกลุม่ หนึง่ ที่เล็งเห็น ถึ ง ความเข้ ม แข็ ง ทางเศรษฐกิ จ ของครอบครั ว และ ชุมชน เมื่อสมาชิกส่วนใหญ่ของบ้านดุหุนซึ่งทำสวน ยางพาราเป็นหลัก ได้พบเจอกับความไม่ยุติธรรมของ พ่อค้าที่เข้ามารับซื้อน้ำยางสดภายในหมู่บ้าน ความ เคลื่อนไหวบางอย่างจึงเกิดขึ้น สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 53
6/12/13 3:56:17 PM
เกษม ช่วยรักษ์ หรือ บังเกษม ผู้เป็นประธาน กลุ่ ม พั ฒ นาสวนสงเคราะห์ (กลุ่ ม น้ ำ ยางสด) บ้ า น
ดุหนุ เล่าให้ฟงั ว่า กลุม่ นีส้ ร้างขึน้ ตัง้ แต่ปี 2543 เพือ่ รับ ซือ้ น้ำยางสดในราคายุตธิ รรม ไม่โกงน้ำหนัก นอกจากนัน้ ยังจัดสวัสดิการให้สมาชิก เพื่อบริหารจัดการสิ่งจำเป็น ต่อการใช้ชีวิตของชาวสวนยาง กลุ่ ม พั ฒ นาสวนสงเคราะห์ (กลุ่ ม น้ ำ ยางสด) บ้านดุหุน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 โดย
ษ ์
ยรัก ม ช่ว
เกษ
54 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 54-55
จดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัด ตรัง ในช่วงแรก กลุ่มมีกิจกรรมคือรับซื้อยางแผ่นดิบ แต่ประสบปัญหาเลยหยุดไป จนเมื่อปี 2547 ได้รับ
งบประมาณจากองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบลบ่ อ หิ น สร้ า งโรงรั บ ซื้ อ น้ ำ ยางสดเพื่ อ ใช้ ด ำเนิ น กิ จ กรรมของ กลุ่มจนถึงปัจจุบัน “แต่ ก่ อ นพ่ อ ค้ า คนกลางเข้ า มารั บ ซื้ อ น้ ำ ยาง แล้วเขาวัดเปอร์เซ็นต์น้ำยางแบบไม่ให้ความเป็นธรรม กดราคา แล้วก็เอาเข้าไปชั่งน้ำหนักในห้อง เราก็ไม่เห็น ว่าชั่งได้เท่าไหร่ เขาให้ราคาเท่าไหร่ก็ต้องเอา จึงคิดกัน ว่า ถ้าเราสร้างกลุ่มขึ้นมาเอง รับซื้อน้ำยางสดในราคา ยุติธรรม รวบรวมกันแล้วเอาไปขายเอง เราก็จะได้ผล กำไรมากขึ้น” บังเกษมเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของกลุ่ม “คนที่เอาน้ำยางมาขายกับเรา ต้องเป็นสมาชิก กับเราก่อน พอเป็นสมาชิกแล้วจึงจะเอามาขายได้ พอ
กลุ่มได้กำไร เราก็จะแบ่งเงินปันผล ซึ่งต่อมา เราก็
ต่ อ ยอดโดยนำผลกำไรของกลุ่ ม มาจั ด ตั้ ง เป็ น กลุ่ ม
ออมทรัพย์และกลุ่มสวัสดิการชุมชนด้วย ซึ่งทั้งหมดมัน ก็ไปเอือ้ การดำเนินชีวติ การทำอาชีพของเขานัน่ แหละ” สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 55
6/12/13 3:56:21 PM
เมื่อถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจาก มีกลุ่ม บังเกษมเล่าว่า ชาวบ้านมีความคล่องตัวมากขึ้น เขาสามารถวางแผนการเงินของครอบครัวได้ว่าวันไหน จะได้รับเงิน วันไหนจะต้องจ่ายเงิน “สำรวจแล้ว ชาวบ้านมีเงินสดต่อวันคล่องตัวขึน้ เพราะเขาขายน้ำยางได้เลย มันใกล้ ไม่ต้องรอรวบรวม ไปส่งขายในเมือง ซึ่งไกล แล้วน้ำยางที่กว่าจะไปถึงก็
ไม่สด ได้ราคาน้อยลง ถ้าเขานำมาขายที่กลุ่ม น้ำยาง จะยังคงสดๆ ได้ราคาดี การชั่งน้ำหนักยุติธรรมและ เปิดเผย แล้วอย่างทีบ่ อก เรามีสวัสดิการอย่างอืน่ ด้วยนะ บางทีชาวบ้านที่เป็นสมาชิกไม่มีเงินซื้อปุ๋ย กลุ่มเราก็มี ปุ๋ยให้ไปใส่ต้นยาง แล้วค่อยมาผ่อนจ่าย แถมสมาชิกยัง มีเงินปันผลและเงินช่วยเหลือกรณีต่างๆ อีก อย่างเมื่อ วันก่อนที่พายุเข้า ต้นยางล้มเป็นแถบๆ กลุ่มเราก็จัด ชดเชยให้ ค่าต้นยางล้ม ต้นละ 100 บาท ทุกอย่างมัน ก็ทำให้เขาสามารถบริหารรายรับรายจ่ายได้”
56 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 56-57
รับฝากสัจจะ
นอกจากนี้บ้านดุหุนยังมี ‘สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนบ้านดุหุน’ เข้ามาเกื้อหนุน ให้สมาชิกใน ชุมชน สามารถดูแลเศรษฐกิจของครอบครัวได้ง่ายขึ้น ผู้ใหญ่ สมบูรณ์ ตรงบาตัง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านดุหุน เล่าให้ฟังว่า หมู่บ้านจะมีการรักษาทรัพย์ นั่นคือ การฝากเงินเพื่อการออมทรัพย์โดยใช้หลักการ ทางศาสนาอิสลาม คือการหลีกเลีย่ งการให้ดอกเบีย้ มา
สมบูรณ
์ ตรงบา
ตัง
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 57
6/12/13 3:56:25 PM
เป็ น ตั ว ขั บ เคลื่ อ นไปคู่ กั น สมาชิ ก จะมี เ งิ น ฝากและ สวัสดิการต่างๆ มาช่วยเหลือ ไม่วา่ จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็มีเงินส่วนต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือตามหลักการที่ กำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังมีการ ‘ซือ้ ของตามใบสัง่ ’ นัน่ คือ ชาวบ้านอยากได้อะไรก็เขียนมา เราก็จะจัดหามา จำหน่ายในราคายุติธรรม โดยมีข้อกำหนดคือ ต้องเป็น สิ่งของที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต “ชาวบ้านที่เป็นสมาชิก เขาจะเข้ามาฝาก-ถอน ทุกวันอังคาร ซึ่งเป็นวันทำการของที่นี่ และจะมีการ ออมทรัพย์ หรือที่เรียกว่า ‘รับฝากสัจจะ’ ทุกวันที่ 1 ของเดือน คำว่ารับฝากสัจจะจึงเหมือนเป็นคำมัน่ สัญญา 58 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 58-59
ว่าจะฝากเงินอย่างสม่ำเสมอในทุกวันนัดหมายนั่นเอง นอกจากนั้นเขาก็ยังสามารถซื้อของตามใบสั่งได้ นั่นคือ เขาอยากซื้ออะไร เขาก็จะมาเขียนไว้ที่กลุ่ม กลุ่มก็จะ จัดซื้อมาแล้วให้สมาชิกผ่อน แต่เราจะพิจารณาตาม ความเหมาะสมนะ สินค้าที่สั่งซื้อต้องเอื้อประโยชน์ต่อ ชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องตัดหญ้าสำหรับชาวสวน เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ ลูกให้หลานเรียนหนังสือ โดยสินค้าที่สั่งซื้อมาเราจะให้ ผ่อนชำระเป็นงวดโดยไม่มีดอกเบี้ย พอการเงินคล่อง ชาวบ้านก็มีความสุข ยิ้มออก” สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านดุหุนแห่งนี้ ถือเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจฐานรากที่จัดตั้งขึ้นจาก การบู ร ณาการเชื่ อ มโยงการบริ ห ารจั ด การของกลุ่ ม องค์กร กองทุนการเงินต่างๆ โดยร่วมกันบริหารจัดการ เงินทุนในชุมชนเพื่อให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่าง คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด นี่ก็ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่แสดงให้เห็น ถึงการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจชุมชน อันเชื่อมโยงไปสู่ ความสุขของตำบลได้อย่างชัดเจน สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 59
6/12/13 3:56:28 PM
ยุติธรรมเท่ากับความสุข
อีกหนึ่งการจัดการภายในท้องถิ่นที่โดดเด่นของ บ่อหินก็คือ ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ่อหิน ที่ได้จัด ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือในการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทของคนในชุมชน “ยุติธรรม ไม่ได้แปลว่า ชี้คนผิด ชี้คนถูก แต่ ยุ ติ ธ รรมคื อ ทำยั ง ไงให้ ทั้ ง สองฝ่ า ยอยู่ ด้ ว ยกั น ได้ ”
ชูศักดิ์ แซ่เลี้ยว เลขาศูนย์ยุติธรรมชุมชน บอกกับเรา งานเด่นของศูนย์ยุติธรรมฯ นอกจากไกล่เกลี่ย คดี ค วามให้ ไ ม่ ต้ อ งขึ้ น โรงขึ้ น ศาล และไม่ ต้ อ งจ่ า ย
ค่าทนายแล้ว ยังทำหน้าที่รับรายงานตัวให้กับผู้ถูกคุม ประพฤติ
60 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 60-61
“เมื่ อ เราได้ ดู แ ลคนของหมู่ บ้ า นเราเอง ด้ ว ย ความที่เราใกล้ชิดกันมากกว่า ทำให้เราได้พูดคุยกัน มากขึ้น มีการให้คำปรึกษา ผู้ที่ถูกคุมประพฤติก็รู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น และรับฟังคำแนะนำต่างๆ ได้ดี” ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ่อหิน จัดตั้งขึ้นจาก สภาพปัญหาการเกิดข้อพิพาทขึ้นในชุมชน และตาม นโยบายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคนในชุมชน เพื่อให้เป็นองค์กรกลางในการให้ความช่วยเหลือใน เรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การติดตามคุมประพฤติ
ผู้ที่เคยทำผิด ทำให้มีการยุติข้อพิพาท ของคนในชุมชนอย่างยุติธรรม และ เสมอภาค ศูนย์ใช้หลักการทำงานแบบ หุ่ น ยนต์ ที่ มี ข าช้ า งซ้ า ยและขวา ข้างหนึ่งเป็นคณะกรรมการชุมชน อีกข้างหนึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่คนในชุมชน ให้ความเคารพนับถือ “ต้องทำให้หุ่นยนต์ ก้าวไปด้วยขาทัง้ สองข้าง ให้ได้” ชูศกั ดิบ์ อกถึงวิธี สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 61
6/12/13 3:56:34 PM
การทำงานของกลุ่ม ซึ่งฟังดูแล้ ว เป็ น แนวความคิ ด ที่ แสดงออกถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ ระบบอาวุโสในชุมชน เพราะเชือ่ ว่าระบบอาวุโสจะเป็นตัว หล่อหลอมที่ดีกว่าการใช้กฎและไม้แข็งเพียงอย่างเดียว
แบ่งเขตไม่แบ่งใจ
ตามข้อมูลพืน้ ฐานระบุวา่ ตำบลบ่อหิน มีประชากร 6,725 คน จำนวนครัวเรือนราว 2,000 ครัวเรือน และ มีพื้นที่ของตำบล 75,937.5 ไร่ (ข้อมูลจากองค์การ บริหารส่วนตำบลบ่อหิน) เมื่อเราพิจารณาแล้วจะเห็น ได้ว่า จำนวนครัวเรือนเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบ กั บ พื้ น ที่ ทั้ ง หมด แต่ ล ะกลุ่ ม หลั ง คาเรื อ นในแต่ ล ะ หมู่บ้านจึงอยู่ห่างไกลกันมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่
62 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 62-63
ถูกกันด้วยลำคลอง หรือไม่ก็ภูเขา ภายในเขตหมู่บ้าน เดียวกัน บางทีก็อยู่ไกลกันเกินจะข้ามสันเขาไปร่วม กิจกรรม หรือรวมกลุ่มต่างๆ ทั้ ง ชาวบ้ า นและ อบต. จึ ง ปรึ ก ษาหารื อ หา ทางออกจนมาเจอความลงตัวที่หลักการ “การแบ่งการ ปกครองหมู่บ้านตามระบบเขตบ้าน” โดยมีหมู่ 4 บ้าน ไสต้นวา ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการที่โดดเด่น และ สามารถเป็นต้นแบบให้กับที่อื่นๆ ได้ เพือ่ ให้การปกครองเกิดขึน้ ได้อย่างทัว่ ถึง รูปแบบ การแบ่งเขตบ้านที่นี่จึงเกิดขึ้น คนในละแวกเดียวกัน สามารถทีจ่ ะเลือกผูน้ ำของเขาเอง นัน่ คือ ใน 1 หมูบ่ า้ น จะมีเขตปกครองย่อยๆ เกิดขึ้นได้อีก การแลกเปลี่ยน การดูแล จึงดูแลกันได้ใกล้ชดิ ขึน้ เมือ่ มีรปู แบบทีช่ ดั เจน
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 63
6/12/13 3:56:40 PM
ผลที่ ไ ด้ จ ากการแบ่ ง เขตการปกครองแบบนี้ ทำให้
ชาวบ้านแน่นเหนียวและเป็นปึกแผ่นมากขึ้น จากนั้น จึงมีการขยายผล และการถ่ายทอดไปสู่ชุมชนอื่นๆ ธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายก อบต. บ่อหิน เล่าให้ เราฟังว่า “ระบบบริหารจัดการท้องถิ่นในตำบลบ่อหิน
หมูท่ ี่ 4 บ้านไสต้นวา ได้กลายเป็นต้นแบบการปกครอง แบบแบ่งเขต มีสภาองค์กรชุมชนทำงานควบคู่ไปกับ สภา อบต.บ่อหิน โดยหมูท่ ี่ 4 นี้ ได้แบ่งเขตการปกครอง เป็น 7 เขต ตามจำนวนประชากร ตามเส้นทางการ คมนาคม ตามสภาพภู มิ ศ าสตร์ คู ค ลอง เทื อ กเขา
ให้ชาวบ้านเลือกเองว่า อยากจะอยู่เขตไหน เพราะ
บางบ้ า นหากไม่ ส ะดวกที่ จ ะข้ า มเขาไปอยู่ อี ก เขต ก็ สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่กับอีกเขตหนึ่งในละแวกใกล้ กัน แต่ละเขตจะมีประมาณ 20-30 ครอบครัว ก็ตกลง กั น เอง แล้ ว เลื อ กหั ว หน้ า เขต กรรมการบริ ห ารเขต แล้วแต่ชาวบ้านจะตั้งกติกาขึ้นมากันเอง เพื่อมาทำงาน โดยมีวาระ 2 ปี ทำงานเหมือนเป็นรัฐบาลในหมู่บ้าน การเลือกหัวหน้าเขตนี้ แต่ละเขตจะดำเนินการ ไม่เหมือนกัน บางเขตอาจมีการเลือกตัง้ เพราะมีผสู้ มัคร 64 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 64-65
มากกว่า 1 คน บางเขตหากไม่มีผู้สมัคร ก็จำเป็นต้อง ให้คนในเขตทั้งหมดช่วยกันสรรหาตัวแทนขึ้นมาเป็น หัวหน้าเขต โดยให้เป็นที่ยอมรับด้วย ซึ่งหัวหน้าเขตทั้ง 7 คนจะเป็นคณะกรรมการหมูบ่ า้ นโดยตำแหน่ง สะท้อน ปัญหาในแต่ละเขตได้ชัดเจน เมื่อถึงเวลาประชุมก็เอา ปัญหา เอาข้อเสนอมาคุยกับผูใ้ หญ่บา้ น จากเดิมในอดีต ที่ผู้ใหญ่บ้านกับกำนันอาจเข้าไม่ถึงปัญหา ระบบแบ่ง เขตนี้ก็จะทำให้ผู้ใหญ่บ้านกับกำนันได้รับทราบปัญหา ที่แท้จริง” นายธรรมฤทธิ์ กล่ า วอี ก ว่ า “การให้ อ ำนาจ หั ว หน้ า เขตปกครองเที ย บเท่ า กั บ ผู้ ใ หญ่ บ้ า น ทำให้
ชาวบ้านได้มสี ว่ นร่วมในการปกครองตนเอง มีสทิ ธิ และ ได้ ใช้ ร ะบอบประชาธิ ป ไตยอย่ า งเต็ ม ที่ โ ดยเฉพาะ กระบวนการทางสังคม การเลือกตั้งหัวหน้าเขต และ คณะกรรมการ เพราะแต่ละเขตนอกจากจะมีหัวหน้า แล้ ว ยั ง มี ร องประธาน เหรั ญ ญิ ก เลขานุ ก าร มี กรรมการเขต และนอกจากหัวหน้าเขตทั้ง 7 คนแล้ว ยังมีการเลือกคณะทำงานขึ้นมาดูแลชุมชน 8 คน 8 ด้านอีกด้วย” สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 65
6/12/13 3:56:41 PM
คณะกรรมการ 8 คน ดูแล 8 ด้าน ฟังดูแล้วน่า สนใจดี มันมีด้านอะไรบ้าง “เดิมมีเพียง 6 ด้าน ต่อมาเราเล็งเห็นว่า ควร ให้ความสำคัญกับกีฬาและการพัฒนาสตรี เลยเพิ่มขึ้น มาอีก 2 ด้าน เป็น 8 ด้าน ซึ่งการดูแลทั้ง 8 ด้านนี้ ประกอบด้วย 1.ด้านอำนวยการ 2.ปกครองและรักษา ความสงบเรียบร้อย 3.แผนพัฒนาหมู่บ้าน 4.ส่งเสริม เศรษฐกิจ 5.สังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 6.การ ศึ ก ษา ศาสนาและวั ฒ นธรรม 7.เยาวชน กี ฬ าและ
สั น ทนาการ 8.การพั ฒ นาและส่งเสริมสตรี ผมมอง ว่ า การดำเนิ น การในมิ ติ ที่ เ อื้ อ อาทรทำให้ สั ง คมมี
ความสุข ให้คนที่ด้อยโอกาสเข้าถึงโอกาสมากขึ้นด้วย สวัสดิการชุมชน”
66 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 66-67
การแบ่งการปกครองหมูบ่ า้ นตามระบบเขตบ้าน ของหมู่ 4 นี้ เป็นแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่ที่มี วัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวชุมชนได้เข้าถึง ได้ลดช่องว่าง ได้สร้างโอกาส และได้สร้างผู้นำในการแก้ปัญหาสังคม โดยการให้ความสำคัญแก่กลุ่มย่อยนี้ก็เพื่อความทั่วถึง ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข และแก้ปัญหาสังคม ทั้งนี้มี วิธีการหลักๆ ที่ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา คือ การ พูดคุยเป็นสำคัญ ปัจจุบนั โมเดลการแบ่งเขตการปกครองหมูบ่ า้ น ตามระบบเขตบ้านนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ขยายผล และนำไปปรับใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้อีกด้วย เราจะเห็นได้ว่า กลุ่มต่างๆ ในตำบลบ่อหินที่
ขับเคลือ่ นชุมชนในมุมของเศรษฐกิจ สวัสดิการ ตลอดจน ด้านสังคม ซึ่งหมายถึงการอยู่ร่วมกัน ล้วนเกิดมาจาก ความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง ผู้คนที่อุทิศ ตนเพื่อเป็น ‘หัวขบวน’ เหล่านี้ล้วนน่านับถือ มีความ เสียสละและหวังดีต่อชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่ไม่มี ใครมาบังคับ สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 67
6/12/13 3:56:45 PM
04 ศิลปะ วัฒนธรรม 68 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 68-69
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 69
6/12/13 3:56:48 PM
04 ลิเกป่า อย่าให้สูญ
นอกไปจากเรื่องปากท้องแล้ว การรดน้ำบำรุง จิตใจก็เป็นเรื่องสำคัญของชีวิต ศิลปะก็คือน้ำอันชุ่มฉ่ำ นั้น ศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นล้วนบอก รากเหง้า และเป็นเรื่องเล่าที่ดีของชุมชน ถ้าให้บอกสิ่ง ที่ เ ป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องบ่ อ หิ น บอกได้ เ ลยว่ า สิ่ ง หนึ่ ง นอกจากธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์แล้ว ก็คือ ‘ลิเกป่า’ การแสดงแขนงหนึ่งซึ่งกำลังจะสูญหายเต็มที และบ่อ หินก็เป็นที่หนึ่งที่ยังคงหลงเหลือ โดยให้ความสำคัญใน การอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้อย่างเต็มกำลัง บ่ายแก่วันนั้น เราเชิญ ถาวร รักรู้ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 มาร่วมพูดคุยบอกเล่าถึง ลิเกป่า ด้วยสำเนียง แปร่งอย่างมีเอกลักษณ์ และลีลาน้ำเสียงการเล่าอย่าง ออกรส ทั้งที่มีเสียงหัวเราะกังวาน แต่ก็รู้ได้ว่า ในใจนั้น กังวลนักว่า ศิลปะแขนงนี้จะสูญหายไป สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 71
aw_boohin.indd 70-71
6/12/13 3:56:52 PM
“มันไม่มีแล้ว การันตีได้เลยว่า นี่อาจเป็นที่สุด ท้ายที่ยังเหลืออยู่ เราถึงได้พยายามสอนเด็ก สอนลูก สอนหลาน ว่านี่แหละลูกเอ๋ย ศิลปะ นี่แหละลูกเอ๋ย อย่าให้สูญไป” ลิเกป่า หรือบ้างก็เรียก ‘ลิเกรำมะนา’ มีประวัติ ความเป็นมาบอกเล่าว่า มาจากชายแขกต่างเมือง 3 คน เรี ย กชื่ อ กั น ว่ า แขกดำ แขกแดง แขกจั ตุ รั ส เข้ า มา อาศัยอยู่ในเมืองไทย (สมัยนั้นเรียกบางกอก) โดยไม่มี หลักฐานแสดงตนหรือหลักฐานอื่นใด และได้ถูกตำรวจ จับคุมตัวไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาตำรวจพิจารณา เห็นว่าทั้งสามคนปฏิบัติตัวดี ไม่ได้ก่อความเดือดร้อน อะไรกับชาวไทย ตำรวจจึงได้ปล่อยตัวทั้งสามคน และ
ถาวร รักรู ้
72 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 72-73
ตำรวจได้ถามว่า วัฒนธรรมการละเล่นของประเทศทั้ง สามคนนั้นมีอะไรบ้าง ทั้งสามคนบอกว่าการ ‘เต้นเทศ เต้นแขก’ แล้วต่อมาได้เรียกชื่อการละเล่นนี้ว่า ‘ลิเก’ นายเมือง (พระยารัษฎานุประดิษฐ์) ได้พบเห็น ทั้งสามคนก็เลยชวนมาทำงานอยู่ที่จังหวัดกระบี่ พอ ช่ ว งเดื อ นรอมฎอนวั น ตรุ ษ อี ดี้ ล ฟิ ต รี ทั้ ง สามคนนี้ ก็ แสดงการละเล่นลิเกเพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับ ชาวมุสลิม โดยแขกดำ แสดงเป็นยายี, แขกแดง แสดง เป็นเทศ, แขกจัตุรัส แสดงเป็นเสนา จากนั้นทั้งสามคน ก็ แ ยกทางกั น ไป (ไปอยู่ ที่ ไ หน หรื อ กลั บ เมื อ งของ ตนเองหรือไม่ ไม่มีใครรู้) เหลือเพียงแขกแดงอยู่คน หนึ่งที่ยังคงอาศัยอยู่ที่จังหวัดกระบี่ และได้เชิญชวน ชาวกระบี่ ที่ ส นใจมาฝึ ก ซ้ อ มการแสดงของแขกแดง ต่อมาก็เรียกการละเล่นนี้ว่า ‘ลิเกป่า’
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 73
6/12/13 3:56:58 PM
ครั้งหนึ่งนายแดง รำภา ได้ไปแสดงหนังตะลุง ในงานประเพณีหนึ่งที่จังหวัดกระบี่ และได้เห็นการ แสดงลิเกป่าของแขกแดงก็ชอบใจ จึงถามความเป็นมา ของการแสดงลิเกป่า ต่อมาก็ได้ชวนคนในหมู่บ้านมา ฝึกซ้อมการละเล่นลิเกป่า และได้ตั้งคณะลิเกป่าขึ้นที่ บ้านหัวหิน หมู่ที่ 6 ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ชื่อว่า ‘คณะลิเกแดงตรัง’ เมื่อนายแดง รำภา เสียชีวิตลง ได้ มีนายเพื่อม ดำมีศรี และนายถาวร รักรู้ สืบทอดการ ละเล่ น ลิ เ กป่ า มาจนถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ ซึ่ ง มี ชื่ อ คณะว่ า ‘กิจจาเกสรสุนทรศิลป์’ ศิษย์แดงตรัง ความตั้งใจที่จะสืบสานศิลปะลิเกป่านั้น ได้รับ ความร่วมมือจากโรงเรียน และ อบต.บ่อหิน ให้บรรจุ เป็นหลักสูตรศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการเรียนการ สอนให้เด็กๆ โดยผู้ใหญ่และคณะ มีการสอนจากรุ่นพี่สู่ รุ่นน้อง มีการสนับสนุนให้จัดแสดงในวาระต่างๆ เพื่อ เผยแพร่ให้ชาวตำบล อำเภอ และจังหวัดอื่นๆ ได้เห็น ผู้ใหญ่ถาวรเล่าว่า การแสดงลิเกป่าแต่เดิมนั้น จะเป็นการพูดต่อกลอนกันระหว่าง แขกแดง (ตัวเอก), ยายี (ภรรยา-นางเอก) และเสนา (คนรั บ ใช้ ) และ
74 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 74-75
ตัวแสดงสมทบอื่นๆ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับแขกจากบ้านจาก เมืองมาเมืองไทยทางแถบทะเลตะวันตก ได้ภรรยาเป็น คนไทยชื่อยายี หรือยาหยี ต่อมาแขกมีความคิดถึงบ้าน จึงชวนยายีกลับบ้านเมืองของตนเอง ในระหว่างการเดินทางกลับประเทศโดยทาง เรือ จะเป็นการเล่าเรื่องผ่านการว่ากลอนคล้องจอง ด้วยสำเนียงถิ่นใต้ แต่ในปัจจุบัน เพื่อให้การแสดงเข้า ถึงและมีประโยชน์มากขึ้น เนื้อหาการแสดงจะเพิ่มการ อนุรักษ์ธรรมชาติเข้าไปด้วย เด็กๆ ที่ได้ร่วมแสดง และ ผู้ชมก็จะได้ซึมซับไปอย่างไม่รู้ตัว
เกร็ดลิเกป่า :
• เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมี รำมะนา โหม่ง ปี่ ฉิ่ง กรับ • เครื่องแต่งกาย เหมือนชาวมาลายู • เล่นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เด็ก และผู้ใหญ่ • แสดงในงานรื่นเริงทุกประเภท • หากต้ อ งการชมตั ว อย่ า งเพิ่ ม เติ ม ลองเข้ า ไปใน YouTube เสิร์ชหา ‘ลิเกป่า’
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 75
6/12/13 3:56:59 PM
05 ปลาเค็ม เตยปาหนัน กับความสำคัญ ของโรงเรียน 76 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 76-77
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 77
6/12/13 3:57:05 PM
05 อีกหนึง่ มุมมองเมือ่ เราได้มาบ่อหิน คือมุมมอง
เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนชุมชน นอกเหนือจากการประกอบอาชีพหลักของชุมชน คือการทำสวนยาง สวนปาล์มและประมงแล้ว ยังมี
คนอีกกลุ่มหนึ่ง ใช้เวลาที่ว่างจากอาชีพหลักมาถักทอ จักสาน หรือบ้างก็ต่อยอดจากอาชีพประมง มาแปรรูป สั ต ว์ น้ ำ เป็ น การเพิ่ ม มู ล ค่ า เพิ่ ม เม็ ด เงิ น ให้ กั บ ชาว ชุมชนได้เป็นอย่างดี
กางมุ้งให้ปลา
โรงเรือนหลังคาโค้งสีขาวขนาดใหญ่ ปิดมิดชิด ภายในมีตะแกรงจำนวนมากวางเรียงราย โรงเรือนทีว่ า่ นี้ ตั้งเด่นอยู่ใกล้ตลาดสดเทศบาล ที่นี่คือ กลุ่มแปรรูป อาหารทะเล (ปลาเค็มกางมุ้ง) ของบ้านโต๊ะบัน หมู่ 8 สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 79
aw_boohin.indd 78-79
6/12/13 3:57:09 PM
หมู่บ้านซึ่งติดกับชายฝั่งทะเล ประชาชนส่วนใหญ่จึง ประกอบอาชีพประมง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า บ่อหินมีต้นทุนด้าน ความอุ ด มสมบู ร ณ์ เมื่ อ คนรู้ จั ก เก็ บ เกี่ ย วและสร้ า ง มูลค่าเพิ่มก็ย่อมเป็นที่มาของรายได้ เมื่อในทะเลมีปลา นานาชนิด การทำปลาเค็มไว้กินก็เป็นภูมิปัญญาทาง ด้านการถนอมอาหารทีม่ มี าช้านาน แต่หากเมือ่ ต้องการ เพิม่ โอกาส เพิม่ รายได้ ‘ปลาเค็มกางมุง้ ’ ก็เป็นคำตอบ หนึง่ เรือ่ งรายได้คงไม่ใช่ยอ่ ยๆ เมือ่ ‘ศศิวรรณ’ บอกว่า เขากู้เงินสร้างบ้านเป็นล้าน โดยใช้ปลาเค็ม เป็นเครดิต แรกเริ่มเดิมที ศศิวรรณ ชูเสียง แจ้ว ผู้ริเริ่มกลุ่มแปรรูปอาหารทะเล (ปลาเค็มกางมุ้ง) หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะ บัน ก็เป็นแม่ค้าขายปลาสดทั่วไป “ตอนแรกก็ ข ายปลาสด รับมาจากเรือประมง แล้วก็ เอาไปขาย ทีนี้ก็มาคิดว่า
80 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 80-81
ปลามันมีเยอะกินสดไม่หมด จะทำยังไงกันได้บ้าง ก็คิด จะทำปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ทีแรกเราก็ทำกันแบบ ลองผิดลองถูก ตากแดดบนตะแกรง ฝนตกก็ทำไม่ได้ ปลามันไม่แห้ง ไม่ได้คุณภาพ หน้าร้อนแม้แดดจัด ก็ ต้องเจอกับหนอนที่แมลงวันมาไข่ไว้ ต่อมาได้รับความ ร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้ามาออกแบบ ‘มุ้ง’ ไว้ ตากปลา “ปลาที่ใช้แปรรูปของที่นี่มีหลายชนิด ทั้งปลา
สีเสียด ปลาหลังเขียว ปลาทราย ปลาเม็ดขนุน ปลา ตาโต พอเราได้ปลามา ก็เอาแล่ ทำความสะอาด ใส่ สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 81
6/12/13 3:57:13 PM
เกลือ แล้วก็ตาก ทีน่ เี่ ราไม่ได้แช่ยาอะไร ไม่ใส่สารกันบูด กินได้สบายใจเลย” ศศิวรรณเสริม ปลอดทั้งแมลง และไม่ง้อแดด ด้วยความสด สะอาด และรสชาติที่ดี ปลาเค็มกางมุ้งจึงเป็นที่รู้จัก เป็นสินค้าของฝากเมือ่ มีใครมาเทีย่ วบ่อหิน ต้องซือ้ ติดไม้ ติดมือกลับไปด้วยเสมอ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือ จากหลายๆ หน่วยงานทั้ง อบต.บ่อหิน และหน่วยงาน ราชการต่างๆ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ มีเยาวชนและ กลุ่มคนจากที่ต่างๆ มาศึกษาดูงานอยู่เป็นประจำ
ไม่ เ พี ย งแต่ ป ระโยชน์ ที่ ชั ด เจนด้ า นเศรษฐกิ จ ของกลุ่มผู้ทำและชุมชนเท่านั้น ความร่ำรวยทางจิตใจ ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน ศศิวรรณเล่าให้ฟังว่า เด็กหลายคน มาทำงาน รั บ จ้ า งแล่ ป ลา ตั ด หั ว ปลา ตากปลาที่ นี่ สามารถส่ ง ตั ว เองเรี ย นจบ ทั้งมีความรู้และมีรายได้ เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวได้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ศศิวรรณ ภูมิใจไม่แพ้ยอดเงินในบัญชีเลยทีเดียว
ปาหนัน เจ้างาม หนามคม เพราะกลิ่นภิรมย์ ชมแล้วชื่นหัวใจ
เมื่อรู้ว่าจะไปดูกลุ่มจักสานเตยปาหนัน เพลงนี้ ก็ ล อยมาในหั ว (พ่ อ เปิ ด ให้ ฟั ง นะ ผู้ เขี ย นเกิ ด ไม่ ทั น หรอก ^^) ปาหนัน เจ้าเอย แสนงาม ทั้งรูป ทั้งนาม งามเหมือนยั่วนิยม ปาหนัน เจ้างาม หนามคม เพราะกลิ่นภิรมย์ ชมแล้วชื่นหัวใจ หอมเอย เชยชื่นชวน กลิ่นเจ้าเย้ายวน เหมือนชวนให้ชมร่ำไป (เพลงปาหนัน ศิลปิน รวงทอง ทองลั่นทม) 82 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 82-83
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 83
6/12/13 3:57:16 PM
ผู้เขียนเคยเห็นต้นเตยปาหนัน เห็นมันขึ้นอยู่ริม ทะเล แต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่า มันมีประโยชน์อะไรบ้าง แม้ว่าบ่อหินจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชายฝั่งซึ่ง เป็นดินทราย แต่กม็ ไี ม้ทะเลนามเท่วา่ เตยปาหนันขึน้ อยู่ มากมาย ซึ่งคงจะเป็นได้แค่ชื่อเท่ๆ หากภูมิปัญญาย่า ยายไม่ได้บอกไว้ ว่าเตยปาหนันนัน้ หนา นำใบมาจักเป็น ตอก ทอถักเป็นผืนเสื่อ ปัจจุบันออร์เดอร์ไม่ธรรมดา ทั้งโรงแรมห้าดาว ไปจนถึงชาวต่างประเทศก็ยกนิ้วให้ กับฝีไม้ลายลวดของชาวบ่อหิน นี่แค่เวลาว่างจากกรีด ยางเก็บยาง ก็นั่งสานนั่งเย็บ ได้เงินจ่ายค่าเทอมให้ลูก ไม่รู้ตัว กลุ่มจักสานเตยปาหนันบ้านดุหุน หมู่ 3 จัด ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสืบทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้ า นการจั ก สาน ต่ อ มาได้ รั บ การส่ ง เสริ ม และการ พัฒนาการออกแบบจากสมาคมหยาดฝน สำนักงาน พัฒนาชุมชน อำเภอสิเกา อุตสาหกรรมจังหวัดตรัง อบต.บ่อหิน และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ตรัง เพื่อให้สินค้าตอบสนองความต้องการของตลาด สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง มีรูปแบบสวยงาม จนกลาย เป็นสินค้าที่ระลึกของจังหวัดตรัง 84 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 84-85
“เตย แม่บอกให้ไปเล่นข้างนอกก่อน แม่มแี ขก” จันทร์เพ็ญ ปูเงิน หันไปดุลูก น้องเตย น้ำตาล และ
ดาวุด ทีเ่ ข้ามาวนเวียนอยูใ่ นบ้าน ซึง่ เป็นทีท่ ำการ ‘กลุม่ จักสานเตยปาหนันบ้านดุหุน’ ขณะที่เราขอเข้าไปเยี่ยม ชมและพูดคุย เด็กน้อยจอมแก่นทั้งสามก็ป่วนเสียจน ผู้ ป ระสานงานของเราต้ อ งควั ก แบ๊ ง ค์ ยี่ สิ บ ให้ ไ ปซื้ อ
ไอติมกินกัน ถึงได้เงียบไป เราจึงได้มีโอกาสคุยเสียที “ทำงานจักสานนี่มากี่ปีแล้ว” “ตั้ ง แต่ ไ ม่ แ ต่ ง งาน ตอนนี้ ก็ อ ย่ า งที่ เ ห็ น นะ
ลูกสามคนแล้ว ก็ 10 กว่าปีแล้วล่ะ” จันทร์เพ็ญเล่าไปขณะมือกำลังตัดและ เย็บปกสมุดบันทึกที่ทำจากต้นเตยไป ด้วย “กว่าจะได้ ปกสมุดสักเล่มนี่ต้อง ทำยังไงบ้าง” พี่จันทร์เพ็ญเล่าเสียละเอียดยิบ จนฉันจดแทบไม่ทัน ลวดลายที่ใช้ในการขึ้น งานก็ มี ห ลากหลาย อาทิ
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 85
6/12/13 3:57:18 PM
ลายลูกแก้ว ลายดอกมะลิ ลายเจมาสิเละ รูปแบบงาน ก็ตามแต่ออเดอร์ บางทีก็มีโรงแรม 5 ดาวสั่งทำสมุด บันทึกปกสานผสมลวดลายจากผ้าปาเต๊ะ กล่องทิชชู กระเป๋า รองเท้า บางทีสั่งทำเบาะรองนั่ง สวยเรียบง่าย สไตล์ ‘เซน’ ซึ่งรูปแบบและวัสดุผสมกลมกลืนกันได้ดี มาก นอกเหนือจากชิน้ งานจะสร้างรายได้และชือ่ เสียง ให้กับชุมชนแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นอีกอย่างคือ ชาวบ้านรู้สึก ได้ว่า งานนี้ทำให้ผสู้ งู อายุเกิดความภาคภูมใิ จในตัวเอง ที่สามารถทำรายได้เลี้ยงตัวเอง นอกจากนี้กลุ่ม ยังทำ หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาเรื่องการจักสานให้กับ ชุมชนและผู้ที่สนใจอีกด้วย เด็กหญิงเตยและน้องๆ ยังคงมาสร้างสีสันให้ พวกเราอยู่ตลอดเวลาการพูดคุย คราบไอติมยังเปื้อน แก้มเด็กๆ เหมือนกับความเชี่ยวชาญในงานจักสานที่มี อยูใ่ นตัวแม่ของเขา กลุม่ คนทีส่ บื ทอดและสร้างชือ่ เสียง ให้ประเทศ มักเป็นคนตัวเล็กๆ เสมอ ฉันอมยิม้ ตามเด็ก หญิงเตย ในใจนึกภาพเบาะรองนัง่ และสมุดบันทึกยาม ไปอยู่ในมือฝรั่งมังค่า แล้วมีป้ายติดว่า ‘เมดอินไทย แลนด์’ 86 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 86-87
ปกสมุด จากเตยปาหนั น
• ตัดใบเตยปาหนันจากกอ โดยตัดจากด้านนอกซึ่งเป็นใบแก่ เข้าไปด้านใน • ริดหนามด้านข้างใบ ออกทั้งสองด้าน • ตัดแกนกลางใบออก • นำใบที่ได้ไปลนไฟ เพื่อให้แห้ง และเหนียวทน • ดึงเส้นดี หมายถึง ตัดให้ได้ขนาดเส้นตอก ที่ต้องการ โดยใบเตย 1 ใบ จะดึงเส้นดีได้ 4 เส้น • ขูดให้นิ่ม • แช่น้ำ 2 คืน • ตากแดดให้แห้ง โดยการเรียงเส้นตอก บนลานโล่ง • ขูดให้นิ่มและตรงอีกครั้ง • ย้อมสี ในขั้นตอนนี้อาจย้อมสี หรือไม่ย้อมก็ได้ แล้วแต่ความต้องการ • จักตอก ด้วยลวดลายต่างๆ เช่น ลายสอง ลายลูกแก้ว • ตัดเย็บหรือขึ้นงานตามต้องการ เช่น ปกสมุดบันทึก เบาะรองนั่ง กล่องเก็บของ กระเป๋า รองเท้า สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 87
6/12/13 3:57:24 PM
เปิดบัญชี ใหม่ ปิดบัญชีเก่า
หากว่ า คนในชุ ม ชนสามารถหารายได้ เ ลี้ ย ง ครอบครัวได้เพียงอย่างเดียว ก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถ จัดการกับเงินทุนสำรองของครอบครัวได้หรือไม่ การ ออมอาจเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวบ่อหิน เห็นความสำคัญ และเมื่อจะปลูกฝังอะไรสักอย่างหนึ่ง ช่วงวัย เด็กคงเป็นการเริ่มต้นที่ให้ผลดีที่สุด โรงเรียนบ้านดุหุน แห่งบ่อหิน ก็เห็นความสำคัญของการออม และเห็นว่า ควรจะเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก ทางโรงเรียนจึงได้จัดตั้ง ธนาคารโรงเรียนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า ‘ธนาคารโรงเรียน (อิสลาม) บ้านดุหุน’ เมือ่ รถของเราเลีย้ วเข้าไปในรัว้ โรงเรียน เด็กๆ ซึง่ กำลังทำข้อสอบอยู่ก็ต้องเงยหน้ามามองพวกเราอย่าง แปลกใจ โรงเรียนเล็กๆ อาคารชั้นเดียวมีสองหลัง วันนี้ พี่ๆ มีการสอบกัน ส่วนน้องอนุบาลนั้นกำลังเรียนเรื่อง การแปรงฟันกันอย่างสนุกสนาน วันนี้เราพบกับคุณครูน่ารัก 3 ท่าน
88 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 88-89
คุณครูสทิ ธินี นวลศรี, คุณครูปรียานุช กฤตยานาถ และ คุณครูธัญวรัตม์ ตั้งคีรี “ทีโ่ รงเรียนบ้านดุหนุ เด็กนักเรียนทีน่ เี่ ป็นมุสลิม เสีย 98 เปอร์เซ็นต์” คุณครูปรียานุช บอกเล่าข้อมูล คร่าวๆ ของเด็กในโรงเรียนนี้ ระหว่างพาเราเดินไปที่ ธนาคารโรงเรียน
คุณครู สิทธิน ี นวลศรี
คุณครู ปรียานุช กฤตยานาถ
คุณครู ธัญวรัตม์ ตั้งคีรี
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 89
6/12/13 3:57:27 PM
ห้องสำนักงาน ซึ่งเด็กๆ เรียกว่าธนาคาร เป็น ห้องขนาดไม่ใหญ่ พื้นที่กว้างยาว ราวๆ เด็กประถม 3 คนกางแขน ที่แห่งนี้เป็นที่ทำการของธนาคารโรงเรียน ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร สาขาสิเกา) เด็กชายธิตณ ิ ฐั บุญญา เรียนอยู่ ป.5 แต่ตำแหน่ง ใหญ่ โ ตชื่ อ โก้ ว่ า ผู้ จั ด การธนาคาร เล่ า ให้ เราฟั ง ว่ า
ตอนเที่ ย ง เด็ ก ๆ จะเอาเงิ น มาฝากที่ ธ นาคาร โดย
เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยการเงินและบัญชีจะรับฝากและลงบันทึก ตรวจสอบเงิน ส่วนตัวเขาจะคอยตรวจสอบความถูกต้อง แล้วก็เซ็นชื่ออีกทีหนึ่ง
90 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 90-91
“ให้เด็กๆ จัดการเรื่องเงินทองเองอย่างนี้ จะมี ผิดบ้างไหม” ฉันหันไปถามคุณครูปรียานุช “คุณครูประจำชั้นจะคอยตรวจสอบ และคอย เป็นพี่เลี้ยงอยู่แล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร” คุณครูคนสวย ตอบพร้อมโชว์ลักยิ้ม “แล้วครูสอนเรือ่ งความซือ่ สัตย์ยงั ไง นีบ่ างทีเห็น บอกว่า วันหนึ่งมีเป็นหลักหมื่นนะ” ฉันต้อน
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 91
6/12/13 3:57:33 PM
“มั น อยู่ ใ นหลั ก ศาสนาอยู่ แ ล้ ว แล้ ว มั น ก็ ถู ก
ปลู ก ฝั ง มาตั้ ง แต่ ใ นชั้ น เรี ย น และเด็ ก พวกนี้ ก็ ถู ก
คัดเลือกมา เพราะซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบสูง” ครูยิ้มหวานอีกที คราวนี้ฉันหวั่นไหว ขอปลีกตัวไปคุย กับเด็กๆ ธิติณัฐ, อนันตญา และ มุอุ์มินต์ ดูมีสง่าน่าดู ยามอยู่ ที่ โ ต๊ ะ ประจำตำแหน่ ง เด็ ก น้ อ ยหน้ า แฉล้ ม ที่ เรียนแค่ ป.5-ป.6 กลับดูคล่องแคล่วเมื่ออธิบายวิธีการ ทำงานให้ฉันฟัง
92 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 92-93
“พอมี ค นเอาเงิ น มาฝากหรื อ ถอน เราก็ ค ลิ๊ ก จำนวนเงินลงตรงนี้ แล้วก็กดตรงนี้ มันก็จะไปหักลบ กับที่เค้ามีอยู่ และก็โชว์ยอดล่าสุด” มุอุ์มินต์ เจ้าหน้าที่ บัญชีแสดงการใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลให้ เราดูอย่างคล่องแคล่ว “แล้วมุอุ์มินต์ เอาเงินมาโรงเรียนวันละกี่บาท” ฉันถาม “ม๊ะให้มาวันละ 40 บาท ผมฝากวันละ 10 บาท” “โอ้โห ตอนนี้ก็รวยแล้วล่ะสิ” ฉันแซว ขณะ มุอุ์มินต์ไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มอย่างภูมิใจ หันกลับมาคุยกับคุณครูธัญวรัตม์ คุณครูใจดีอีก หนึ่งท่าน ครูเล่าว่า ครูอยู่ที่นี่มาหลายปี จนพอจะเห็น ภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “ธนาคารโรงเรียน ก็เหมือนธนาคารทั่วไปนั่น แหละ เพียงแต่เราฝากที่นี่ เราไม่ต้องไปธนาคารใน เมือง มันไกล เราฝากที่นี่ เก็บที่นี่ แล้วธนาคารก็จะมา รับเงินเราไปเก็บอีกที
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 93
6/12/13 3:57:37 PM
“เมื่อเด็กรู้จักการออม แต่ก่อนเด็กไม่มีรองเท้า ไม่ มี ชุ ด นั ก เรี ย น เดี๋ ย วนี้ เขาเก็ บ เงิ น ก็ มี เ งิ น ซื้ อ ได้
ผู้ปกครองเห็นว่ามันดีจริง ก็เห็นพ้อง ช่วยกันออมด้วย สั่งลูกเลย ให้ฝากทุกวัน” ด้านคุณครูสิทธินี นวลศรี ช่วยเสริมอีกว่า “ข้อดีของโครงการนี้คือ เด็กมีเงินออม ส่งผล ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น เขาสามารถนำเงิน เก็ บ ตรงนี้ ไ ปซื้ อ อุ ป กรณ์ ก ารเรี ย น เสื้ อ ผ้ า ได้ ถ้ า เขา ต้ อ งการ ที่ ส ำคั ญ มั น ช่ ว ยปลู ก ฝั ง ให้ เขารั ก การออม
ตัง้ แต่เด็ก ซึง่ เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นอกจากนี้ ฉันคิดว่า มันเป็นการบูรณาการกับ การเรียนการสอนด้วย เพราะเด็กได้ใช้วิชาคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ไปในตัว เราลาจากที่แห่งนี้ด้วยภาพเด็กๆ และคุณครู หน้าธนาคารเล็กๆ ที่น่ารักแห่งนี้ พร้อมกับเสียงเรียนๆ เล่นๆ ของน้องอนุบาลที่ยังไม่ซาลง ถ้ า การเดิ น ทางครั้ ง นี้ ข องฉั น เปรี ย บเหมื อ น ละครสั ก เรื่ อ ง ฉากจบของฉั น ก็ พ อจะทำให้ หั ว จิ ต หัวใจกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง เมื่อย้อนกลับไปมอง 94 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 94-95
ละครเรื่อง ‘บ่อหิน’ ก็คงจะพบเห็นฉากต่างๆ ฉาก เปิดที่เป็นทะเลกว้าง ภาพที่เห็น คือภาพผู้คนทำมา หากิน ปลูก ปัน ฝัน ฝาก มีดราม่า มีท้อ มีอึกทึก ตัว ละครต่างโลดแล่นและสัมพันธ์กัน ขับเคลื่อนและส่ง พลังต่อเนื่อง ก่อนจะจบลงด้วยความเชื่อในเรื่องพลัง ของเยาวชน และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เย็นวันนี้ คงต้องเดินทางจากลาบ่อหิน ภาพ คุณครูคนสวยยังติดตา อยากให้เด็กทั้งโลกได้เรียน กับคุณครูแสนดีมีลักยิ้ม ฉันมองผ่านกระจกรถไปที่ ภูเขา 7 ยอด นอกจากเรื่องคุณครูคนสวยแล้ว อีก เรื่องที่ฉันกำลังคิดก็คือ ....ฉันจะกลับมาบ่อหินอีกเมื่อไหร่ด ี
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 95
6/12/13 3:57:38 PM
ภาคผนวก ชุมชนบ่อหินอยู่กันอย่างมีความสุข พึ่งพา ตนเองได้ ชุมชนมีการจัดการ วงจรชีวิตมัน เกี่ยวเนื่องคล้องจองและสมดุล สุขภาพดี เศรษฐกิจดี สภาพแวดล้อมดี มันก็ไม่ไกลจาก นิ ยามของคำว่า ความสุข ธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน
ปัจจัยที่ทำให้บ่อหินเปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นนี้ เหตุผลจริงๆ แล้ว คือการพัฒนาคน เมื่อบุคลากรมีการเรียนรู้ มี ความรู้ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จำรัส ผลบุญ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน
ทุกวันนี้ มีคนมาบอกว่า ถ้าไม่มีกลุ่มก็ไม่ได้ใส่ปุ๋ยต้นยาง... แค่ นี้แหละ มีแรงทำต่อแล้ว เกษมศักดิ์ ช่วยรักษ์
ที่ทำไปคือ ทำแค่พออยู่ได้ ชีวิตมีความสุข ยังเห็น ทรั พยากรสมบูรณ์ แค่นั้น ไม่ได้มีเป้าหมายเท่ๆ บรรจง นฤพรเมธี ผู้ก่อตั้งบ่อหินฟาร์มสเตย์
พอเราตั้งใจขยายพันธุ์ ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชีวิตปูดำ เราก็สัมผัสได้ว่า เขาก็เริ่มไม่ใช้อวนถี่ เขารู ้ว่าปูเล็กยังไม่ควรจับ แค่นั้นเราก็ปลื้มใจ ไชยวัฒน์ หัตไทร สมาชิกศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ
ความยุติธรรม คือ ความสุข ถ้าแนวทางที่เราแนะนำไป ทำให้เกิดความสุข นั่นคือ ความยุติธรรม ชูศักดิ์ แซ่เลี้ยว เลขาศูนย์ยุติธรรมชุมชน
ประธานกลุ่มน้ำยางสด และสวัสดิการปุ๋ย 96 | สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน
aw_boohin.indd 96-97
สุขสารคดี ตำบลบ่อหิน | 97
6/12/13 3:57:54 PM
รายละเอียดแหล่งเรียนรู้ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน มัสยิด
12
8
หมูที่ 3 บานดุหุน
หมูที่ 9 บานปากคลอง หมูที่ 6 บานหัวหิน
21 19
6
มัสยิด
20 18 4
หมูที่ 4 บานไลตนวา 2 5
โรงเรียน บานไลตนวา
3
22 30
29 28
26 1 13
มัสยิด
วัดสิเกา
ที่วาการอำเภอสิเกา โรงเรียนบานบอหิน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิเกา 25 โรงพยาบาลสิเกา
โรงเรียนพรุจูด
31
5
หมูที่ 2 บานพรุจูด
11 27
หมูที่ 7 บานใหม
23 15
10
7
โรงเรียนลิเกประชาผดุงวิทย
ระบบบริหารจัดการท้องถิ่น 3 แหล่งเรียนรู ้ 1. สภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหิน 2. ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลบ่อหิน หมู่ที 4 3. การแบ่งการปกครองหมู่บ้านตามระบบเขตบ้าน หมู่ที่ 4 ระบบการเรียนรู้ การศึกษา และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 4. ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมแบบบูรณาการ ประจำมัสยิดบ้านดุหุน (ฟัรฎูอีน) หมู่ที่ 3 5. ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (ลิเกป่า) หมู่ที่ 2 ระบบอาสาเพื่อชุมชน 6. ชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 7. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) หมู่ที่ 1 8. อาสาสมัครชุดเฉพาะกิจทางทะเล หมู่ที่ 9
aw_boohin.indd 98-99
สำนักงานกองทุนสงเคราะห
หมูที่ 1 การทำสวนยาง บานบอหิน
24
หมูที่ 5 บานไรออก
สำนักสงฆบานไรออก โรงเรียนบานไรออก อนามัยบานไรออก 29
ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9. กลุ่มอนุรักษ์เตยปาหนันโรงเรียนบ้านพรุจูด หมู่ที่ 2 10. ต้นแบบโรงเพาะฟักปูม้าชุมชน (ธนาคารปูม้า) หมู่ที่ 2 11. ศูนย์การเรียนรูก้ ารเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ และการจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง หมู่ที่ 2 12. กลุ่มอนุรักษ์หญ้าทะเล บ้านปากคลอง หมู่ที่ 9 13. กลุ่มฟื้นฟูและพัฒนาเชิงอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน บ้านตะบัน หมู่ที่ 8 14. ศูนย์เรียนรู้แม่ปูดำ หมู่ที่ 6 15. ธนาคารต้นกล้าหญ้าทะเล หมู่ที่ 2 ระบบเศรษฐกิจชุมชน 16. สถาบันการเงินชุมชนบ้านไสต้นวา หมู่ที่ 4 17. กลุ่มผลิตเครื่องแกงบ้านไสต้นวา หมู่ที่ 4 18. กลุ่มจักสานเตยปาหนันบ้านดุหุน หมู่ที่ 3 19. กลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ (กลุ่มน้ำยางสด) บ้านดุหุน หมู่ที่ 3 20. สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านดุหุน หมู่ที่ 3 21. ธนาคารโรงเรียนบ้านดุหุน หมู่ที่ 3 22. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านดุหุน หมู่ที่ 3 23. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด หมู่ที่ 2 24. ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 5 25. กลุ่มแปรรูปอาหารทะเล (ปลาเค็มกางมุ้ง) หมู่ที่ 1 26. ร้านค้าชุมชน บ้านโต๊ะบัน หมู่ที 8 27. การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (บ่อหินฟาร์มสเตย์) หมู่ที่ 2 28. กองทุนปุ๋ยเพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 29. กองทุนข้าวสารสตรีบ้านไร่ออกและบ้านใหม่ หมู่ที่ 7 ระบบสวัสดิการชุมชน 30. กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ่อหิน หมู่ที่ 3 31. กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลบ่อหิน หมู่ที่ 1 32. กองทุนการจัดการศพ (มายัต) บ้านโต๊ะบัน (ไม่ระบุ)
6/12/13 3:57:56 PM
เพลงศักยภาพชุมชน
คำร้อง-ทำนอง วสุ ห้าวหาญ เรียบเรียงดนตรี ศราวุช ทุ่งขี้เหล็ก ขับร้องโดย ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย
หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว่ า จะอยู่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี่ ย มความ สามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลางใต้ ก็รักเมืองไทยด้วย กันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่ เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรง ร่วมมือสร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมอง ที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชุมชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพื้น ฐานจากหมูบ่ า้ นตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้นา่ อยูด่ งั ฝัน
aw_boohin.indd 100-101
ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเรา เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น เพื่ อ การ พั ฒ นา ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเรา เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ช่ ว ยกั น พัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุ่งมั่น ก้าวออกมาจากรั้วที่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทย คนละมือสองมือคือน้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ.. เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org
6/12/13 3:57:56 PM