กรณ๊ศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Page 1

เวทีชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย

ท้องถิ่นกับการปูทางสร้างคน:

8 ครั้งที่

กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

13 มีนาคม 2555

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน


บทนำเสนอ 1) บทบาทของท้องถิน่ ต่อการพัฒนาศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก นายวีระชาติ ทศรัตน์

ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและพัฒนากิจกรรมเยาวชน สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ถ่ายโอนภารกิจศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ ส่วนราชการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรมการพัฒนาชุมชน กรมการศาสนา หรือสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ (สปช.) มาให้กับท้องถิ่น จำนวน 15,000 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมเกือบทุกตำบล มีผู้ดูแลเด็กหรือ ครูพี่เลี้ยง ได้รับการถ่ายโอนมาด้วย 38,000 คน โดยมีจำนวนเด็กเล็กอยู่ประมาณ 600,000-700,000 แสนคน ช่วงเวลานั้นกรมเพิ่งตั้งใหม่ 1 และตนเองเพิ่งไปดำรงตำแหน่ง หลังจากการถ่ายโอนภารกิจจึงต้องรีบทำการ ศึกษาว่า จะทำอย่างไรให้ศูนย์เหล่านั้นได้รับพัฒนาเป็นสถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง รวมทั้ง ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2 ที่จะต้องทำให้เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพอีกด้วย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยท่านอธิบดี ได้วางนโยบายในการยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนา เด็กเล็กให้เป็นสถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งแรกของชุมชนที่มีคุณภาพ โดยเน้นหนักไปที่การ พัฒนาด้านต่างๆ ซึ่งส่วนที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การพัฒนาครูและบุคลากร

1

ภารกิจหน้าที่ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (สน.บท.) สังกัดกรม การปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาภารกิจในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นลำดับ สืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ สอดคล้องตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2540 ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะ ต้องยกฐานะของสำนักให้เป็นส่วนราชการระดับกรม ซึ่งในปี พ.ศ.2545 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (http://th.wikipedia.org) 2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถาน ศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา อันนำไปสู่การกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (แนวทางการ ประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน, 2554)


ทางกรมได้ให้ความรู้ความเข้าใจกับครูที่ได้รับการถ่ายโอนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของความรู้ ทักษะ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงาน ขณะเดียวกันก็เล็งเห็นถึง อนาคตว่า เขาจะต้องมีความเติบโตก้าวหน้าในวิชาชีพ จึงจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาให้กับคุณครูเหล่านั้น โดยตั้งเป้าหมายว่า ทุกศูนย์จะต้องมีครูที่เรียนจบการศึกษาปฐมวัยโดยตรง หรืออยู่ในระหว่างกำลังศึกษา ช่วงแรกของการถ่ายโอน ยังมีศูนย์เกิดใหม่เพิ่มขึ้นจาก 15,000 แห่ง เป็น 18,000 แห่ง จึงตั้งเป้าว่า จะจัดสรรทุนการศึกษาปีละ 18,000 ทุน เมื่อคนแรกเรียนจบ คนที่สองก็เรียนต่อเนื่องกันมา จนปัจจุบัน มีผู้เข้ารับ การศึกษาไปแล้วประมาณ 28,000-29,000 หมื่นคน สำเร็จการศึกษา 25,000 คน และยังคงศึกษาอยู่ 13,000 คน ซึ่งครอบคลุมเกือบทุกศูนย์ นอกจากนั้นก็มีคนที่เรียนด้วยตนเอง หรือมีทุนของท้องถิ่นอุดหนุนส่งให้เรียนโดยตรง บ้าง ทำให้ครูปฐมวัยได้พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งครูเหล่านี้จะต้องมีความมั่นคงในอาชีพ จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นข้าราชการ โดยทำเรื่อง ขออัตรากำลังไปยังรัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า ระหว่างที่เราพัฒนาด้านอื่นควบคู่กันไป ทั้งในเรื่องของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงสร้าง และวิชาการต่างๆ ทำให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญ และยอมรับในศักยภาพของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่า เป็นสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง จึงให้อัตรากำลังมา โดยให้กรมจัดสรรเพื่อให้

ท้องถิ่นดำเนินการคัดเลือกบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูจำนวน 15,000 อัตรา ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินเพื่อ คัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง สำหรับปีหน้า จะจัดสรรเพิ่มอีก 5,000 อัตรา รวมเป็น 20,000 อัตรา ซึ่งจะทยอยบรรจุ ไปจนครบ นั่นคือในส่วนของนโยบายโดยรวมทั้งหมด ในส่วนของการพัฒนาด้านวิชาการ เป็นสิ่งที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาครู ซึ่งเราได้จัดทำเกณฑ์

หรือแนวทางให้กับท้องถิ่นในการพัฒนายกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนเอง แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ด้านหลักสูตร-กิจกรรมการพัฒนาเด็ก และเรื่องสุดท้าย 4) ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ที่อยู่ในพื้นที่ โดยกำหนดเกณฑ์ตัวบ่งชี้ให้ได้วัดหรือตรวจสอบตนเองว่า ณ ขณะนี้ดำเนินการไปถึงไหน เหล่านี้เป็น สิ ่ ง ที ่ ท างกรมกำหนด เพื ่ อ จะยกระดั บ การพั ฒ นาศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ของท้ อ งถิ ่ น ให้ ม ี คุ ณ ภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการเป็นสถานศึกษาและหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทางด้านของระบบการบริหารจัดการ ในปี 2551-2552 มีคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติเกิดขึ้น ซึ่งมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เราเห็นว่า น่าจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อรองรับนโยบายตรงนี้ ปีที่แล้ว ทางกระทรวงมหาดไทยจึงสั่งการให้ทุกจังหวัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ กำหนดแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดตนเอง รวมทั้งตั้งคณะกรรมการ ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น เป็นคณะกรรมการย่อย เพื่อให้การพัฒนาเด็กสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด และเป็น แนวทางเดียวกันทั่วประเทศ ตอนนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนกันอยู่


นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบสารสนเทศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการบริหารจัดการ ซึ่งได้จัดทำโปรแกรม สำเร็จรูปของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้ผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น จังหวัด หรือกรม ได้เข้าไปใช้ข้อมูล ตรงนี้ โดยมีทั้งข้อมูลในส่วนของบุคลากร วิชาการ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ หรือการพัฒนาในภาพรวมของ ทั้งประเทศ เรื่องสุดท้ายคือ เราได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ จำนวน 305 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็น

ศูนย์ต้นแบบนำร่อง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับศูนย์อื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่ รวมทั้งยังร่วมมือกับทางเครือข่าย เช่น สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในการช่วยเหลืองานทางด้านวิชาการให้กับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นวิทยากร องค์ความรู้ บทเรียน หรือแนวทางในการจัดประสบการณ์ นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อปีที่แล้ว ให้ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคัดเลือก ศูนย์ต้นแบบที่ดีๆ จากทุกภาค ครอบคลุมทุกบริบท ทั้งบนเขาและพื้นราบ อย่างองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้า หลวง (อบต.แม่ฟ้าหลวง) หรือพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำมาพิจารณาว่า แต่ละพื้นที่มีศักยภาพที่จะนำไป พัฒนาเครือข่ายได้อย่างไร โดยให้ศูนย์ต้นแบบที่ดีๆ เหล่านั้น เลือกเครือข่ายเพื่อไปพัฒนาต่ออีก 5 แห่ง รวมทั้งหมด 65 แห่ง เมื่อบวกรวมกับศูนย์ต้นแบบ ก็เป็น 70 กว่าแห่ง ตอนนี้โครงการดำเนินการเสร็จแล้ว ผลจากการประเมินหรือการนิเทศงาน ปรากฏว่า ศูนย์เครือข่ายที่ ผ่านการอบรมจากศูนย์ต้นแบบ มีการพัฒนาและยกระดับตนเองสูงขึ้น ซึ่งผลที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือ การเปิดเทอม ครั้งที่ผ่านมา มีเด็กเข้ามาพักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มมากขึ้น และเอกสารต่างๆ ทางด้านวิชาการก็สอดคล้องกับ แนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัย จากจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 15,000 แห่ง มาเป็น 18,000 แห่ง ปัจจุบัน เรามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรวม 20,000 กว่าแห่ง ซึ่งเป็นศูนย์ที่มีการลงทะเบียน และยังมีที่เหลือค้างเพราะยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ แต่ได้ส่ง รายงานการจัดตั้งมาแล้วอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนจำนวนครูตอนนี้มีเกือบ 50,000 คน และจำนวนเด็กรวมแล้วเกือบ 1,000,000 ล้านคน อย่างไรก็ตาม นโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้การบ้านมา บอกว่า เด็กทุกคนต้องได้รับการพัฒนา ซึ่งข้อมูล จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ระบุไว้ว่า ปัจจุบัน มีเด็กที่เรียนอยู่ในระบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือ โรงเรียนอนุบาล ร้อยละ 86.9 หรือร้อยละ 87 และมีเด็กอีกจำนวนร้อยละ 13 ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ เราจึงต้องช่วย กันรณรงค์ตรงส่วนนี้กันต่อไป ในภาพรวม ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพยายามส่งเสริมและพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นที่ ยอมรับของชุมชน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งนโยบายของกรมคือ ต้องการให้ท้องถิ่นทุกแห่งจัด ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อย 1 ศูนย์ และอนาคตอยากจะให้มี ‘1 ศูนย์ 1 โรงเรียนอนุบาล’ เพื่อรองรับการ พัฒนาจากชุมชนให้ครอบคลุมตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่ง ณ ขณะนี้ ศูนย์บางศูนย์ ท้องถิ่นบางแห่ง ได้มีการจัดตั้ง โรงเรียนอนุบาลหรือมีการขยายจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไปเป็นโรงเรียนอนุบาล ประมาณ 958 แห่ง จากเดิมที่เคยมี อยู่แค่ 400 กว่าแห่ง จุดนี้เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า แนวทางการพัฒนาของกรมที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่น เล็งเห็นความสำคัญและหันมามุ่งพัฒนาเด็กเล็กซึ่งจะเป็นฐานรากในการพัฒนาคนต่อไปในอนาคต


2) การพัฒนาศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก กรณีเทศบาลเมืองปูเ่ จ้าสมิงพราย นายสรรเกียรติ กุลเจริญ

นายกเทศมนตรีเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนอืน่ ขอแนะนำสภาพพืน้ ทีเ่ พือ่ จะได้เข้าใจถึงปัญหาในการพัฒนาศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กของเทศบาลฯ ง่ายขึน้ เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ยกฐานะมาจากสุขาภิบาลสำโรงใต้ เป็นเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2540 ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และเปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2553 มีพื้นที่ติดต่อกรุงเทพมหานครทางทิศเหนือติดเขตบางนา และทิศตะวันตกเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครโดยสะพาน ภูมิพล 1-2 ที่ถนนพระราม 3 มีพื้นที่รวม 25.5 ตารางกิโลเมตร ประชากรตามทะเบียนบ้านประมาณ 80,000 คน ไม่รวมประชากรแฝง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุตสาหกรรมดั้งเดิมของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนอาชีพรองคือ ค้าขาย ประชากรที่รับจ้างตามโรงงานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีเวลาดูแลบุตรหลาน พอคลอดลูกออกมาโตหน่อยก็ส่ง ไปอยู่ต่างจังหวัดบ้าง ให้ปู่ย่าตายายที่อยู่บ้านเลี้ยงดูบ้าง หรือหากโตพอจะเข้าโรงเรียนได้ ก็นำมาฝากไว้ที่ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ทางเทศบาลได้รับการถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาจากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 5 แห่ง และจาก สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) อีกจำนวน 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 7 แห่ง สภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับถ่ายโอนมาจากกรมการพัฒนาชุมชน บางศูนย์มีเด็กเข้ามาประมาณ 350 คนต่อปี ต้องอยูก่ นั อย่างแออัด มีอาคารหลังเล็ก 2 ชัน้ เพียงหลังเดียว บางแห่งต้องอาศัยใต้ถนุ บ้านของชาวบ้าน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนน เด็กเรียนอยู่ใต้ถุนบ้าน เวลาฝนตก น้ำขัง ก็ต้องอพยพเด็กขึ้นมาข้างบน ห้องน้ำก็ไม่สะดวก หรือบางแห่งอยู่ติดถนนใหญ่ เคยถูกรถสิบล้อเสยเข้าไปที่หนึ่ง อันตรายมากขณะที่บางแห่งก็อยู่ติดกับโรงงาน อุตสาหกรรมเหล็ก ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับโอนมาจาก สปช. ซึ่งมีอยู่ 2 แห่งนั้น ตอนแรกที่ศูนย์ยังอยู่ภายใต้การดูแล ของ สปช. ก็สามารถเรียนในโรงเรียนของเขาได้ แต่พอได้รับถ่ายโอนมา ชักเกิดความไม่พอใจ ไม่อยากให้เรียนใน อาคารเรียนของเขาแล้ว ทั้งที่มีข้อตกลงก่อนการถ่ายโอนว่า ยังสามารถใช้สถานที่ได้ แต่เอาเข้าจริงก็เกิดปัญหา ในฐานะของตัวแทนประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ต้องมองการพัฒนาในทุกมิติตามอำนาจหน้าที่ที่ กฎหมายกำหนด ซึ่งการศึกษาถือเป็นมิติที่สำคัญมิติหนึ่งในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นเรื่องที่มี ความละเอียดอ่อนมากพอสมควร ในการที่จะพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการอย่างสมวัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา อารมณ์ และสังคม ต้องทำควบคู่กันไปทั้งหมด เพราะฉะนั้นการพัฒนาจะต้องทำให้เด็กได้รับการดูแลที่ เหมาะสม แต่เมื่อมาเจอสภาพดังที่ได้รับการถ่ายโอนมา ก็ต้องรีบหาทางแก้ไข


การแก้ไขในเบือ้ งต้น เนือ่ งจากทางเทศบาลมีศกั ยภาพมากเพียงพอในการเข้าไปดูแลปรับปรุงอาคารสถานที่ ถึงจะขยายหรือเพิ่มห้องเรียนไม่ได้ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นของโรงเรียนหรือของเอกชน รวมทั้งมีปัญหากฎหมาย ข้อระเบียบต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ เราจึงทำการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่มีอยู่เดิมในโรงเรียนให้มี สภาพที่ดีขึ้น และทำรั้วรอบขอบชิด เพื่อให้เด็กได้มีที่อยู่-ที่เรียนอย่างสมบูรณ์ อีกส่วนที่สำคัญคือ การพัฒนาบุคลากรให้มีวุฒิภาวะมากเพียงพอ เพราะเมื่อก่อน การเป็นครูผู้ดูแลเด็ก ไม่ได้จำกัดความรู้ แค่พออ่านออกเขียนได้ ก็สามารถเป็นผู้ดูแลเด็กได้แล้ว เราจึงต้องเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากร เหล่านี้ เพื่อให้เขามีศักยภาพเพียงพอที่จะดูแลเด็กให้มีพัฒนาการอย่างสมวัย มีอยู่ช่วงหนึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ริเริ่มให้เด็กรับประทานอาหารกลางวันฟรี แต่กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นสนับสนุนเงินพียงแค่ร้อยละ 60 ของจำนวนเด็กที่มีอยู่ ทางเทศบาลจึงสนับสนุนเงินเพิ่ม โดยจัด ให้เต็มจำนวนร้อยละ 100 เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่า เด็กคนไหน “ยากจน” หรือเด็กคนไหน “อยากจน” จากนั้นจึงให้ ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเข้าไปดูแลเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยของเด็ก ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว จะต้องหาอาคารเรียนใหม่ทดแทนของเดิม ขณะที่ในส่วนอาคารเก่าที่ยัง สามารถปรับปรุงได้ก็ทำการปรับปรุงกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การแก้ไขในลักษณะบูรณาการซึ่งทางเทศบาลได้

ดำเนินการอยู่ ณ ขณะนี้ คือการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาล โดยกำหนดนโยบายว่าโรงเรียนอนุบาลที่สร้างใหม่จะเป็น โรงเรี ย นที ่ ร ั บ เด็ ก ในวั ย 5-6 ขวบคื อ ก่ อ นเข้ า เรี ย นชั ้ น ประถมศึ ก ษา ส่ ว นศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก เดิ ม จะดู แ ล เด็กวัย 3-4 ขวบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล และบรรเทาความแออัดของศูนย์พัฒนา เด็กเล็กที่มีอยู่เดิม เมื่อตัดสินใจสร้างอาคารเรียนแล้ว เราต้องสร้างให้สมบูรณ์พร้อมที่จะรองรับเด็กได้อย่างเต็มที่ ตอนที่ทาง เทศบาลได้สร้างอาคารเรียนไปแล้วทั้งสิ้น 4 อาคาร มีหอประชุมอีก 1 อาคาร รวมเป็น 5 อาคาร ถ้านับจำนวน ห้องเรียนที่ประมาณไว้มีทั้งหมด 78 ห้อง ถามว่า เอาตัวเลขจากที่ไหนมาเป็นฐาน เราใช้วิธีการคำนวณ จากเด็กที่อยู่ ในช่วงอายุ 3-6 ขวบ ซึ่งรวมแล้วมีอยู่ประมาณ 4,000 คน ถ้าเด็กมาเรียนกับเทศบาลร้อยละ 50 หรือจำนวน ประมาณ 2,000 คน โดยแบ่งไปอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 พันคน และมาอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลอีก 1,000 คน ซึ่ง ส่วนนีค้ อื เด็กในพืน้ ที่ แต่ยงั มีประชากรแฝงอีกเป็นจำนวนมาก ทีเ่ ขามีลกู มีหลานเช่นกัน ดังนัน้ ถ้าเรามีเด็ก 1,000 คน เท่ากับ 50 ห้องเรียน ก็เผื่อไว้อีก 20 ห้องเรียน สำหรับให้เด็กเหล่านั้นมีโอกาสเข้ามาเรียนด้วย ขณะนี้ อาคารดังกล่าวอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพรายได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จทรงวางศิลาฤกษ์ โดยในวันที่วางศิลาฤกษ์นั้น ตนเอง หมดวาระพอดี แต่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าถวายข้อมูลให้กับพระองค์ท่าน พระองค์รับสั่งถามว่า ทางเทศบาลมีวิธีการเก็บค่าใช้จ่ายอย่างไร เราก็กราบทูลว่า ในขณะนั้น มีการเก็บเงิน เด็กปีละ 500 บาท เนื่องจากทางกรมยังไม่ได้สั่งลงมาว่าให้งดการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ซึ่งความจริง เงิน 500 บาท ที่เก็บไป ก็เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้สึกว่า เขาได้มีส่วนร่วมในการเรียนของเด็กเพราะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ใช่ โรงเลี้ยงเด็ก เคยพูดไว้หลายต่อหลายครั้งแล้วว่า ประชาชนมักมองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเหมือนโรงเลี้ยงเด็ก


เช้าขึ้นมา ก็เอาเด็กไปไว้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แล้วออกไปทำงาน เลิกงาน 5 โมงเย็นถึงมารับกลับ บางครั้งเราพา บุคลากรไปอบรม ก็จะได้ยินเสียงค่อนแค่นว่า “มันหยุดกันอีกแล้ว” ใช้คำแรงอย่างนี้เลย “ดูสิมันทำให้เราต้องเสียเงิน 100 บาท ไปจ้างคนเลี้ยงเด็ก” ทางเทศบาลจึงพยายามหลีกหนีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังมีรับสั่งให้เราต้องคิด โดยท่านบอกว่า โรงเรียนแห่งนี้ขอให้เป็นโรงเรียน นานาชาติ ซึ่งคำว่า นานาชาติ ในที่นี้หมายถึง ชาติพม่า เขมร ลาว ที่เข้าทำมาหากินในประเทศไทย ต้องให้เด็ก เหล่านี้ได้เรียน ซึ่งเราก็มาคิดต่อว่า พระองค์ท่านทรงมองการณ์ไกลมาก เพราะถ้าคนเหล่านี้ไม่ได้รับการศึกษา เล่าเรียน หรือถูกรังเกียจไม่ให้เข้าเรียน ต่อไปในอนาคตก็จะสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยได้ สำหรับโรงเรียนแห่งใหม่ คาดว่าในปีการศึกษา 2556 คงจะได้เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ทางเทศบาลยังดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านอื่นไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาครูผู้ดูแล เด็กให้มีความพร้อม ให้ความรู้ จัดอบรมเป็นประจำ ส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจาก สถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย มีครูผู้ดูแลเด็กทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นข้าราชการ จำนวน 47 คน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 7 แห่ง ผลจากการพัฒนาดังกล่าวทำให้เราได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น ได้รับรางวัลผู้ดูแลเด็กดีเด่น จากกรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผ่านการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) สำนักนายกรัฐมนตรี ผ่านการประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับ ดีมากของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ และได้รับรางวัลศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ยอดเยี่ยมระดับจังหวัด

ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2553 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็น ผู้ประทานรางวัลให้ รวมทั้งยังได้รับรางวัลศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ปลอดโรคดีเด่นระดับประเทศ จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย ทางด้านปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและลักษณะสังคม เมือง อย่างที่เรียนให้ทราบไปในตอนต้น ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถูกมองว่าเป็นโรงเลี้ยงเด็ก คือแค่พัฒนาให้เด็ก

กินได้ ถ่ายได้ ใช้มือเป็น ตักข้าวเองเป็น คนส่วนหนึ่งยังคงมองเห็นภาพอยู่แค่นั้น อีกทั้ง ปัญหาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจของหน่วยงานอื่นๆ ก็ทำให้เราไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ ยกตัวอย่างเช่น ทางเทศบาลเคยจ้างครูผู้มี ความชำนาญในการถ่ายทอดทักษะการเรียนรู้ด้วยดนตรีจากโรงเรียนดนตรีครีบูน เพื่อมาพัฒนาทักษะทางด้านการจำ ให้กับเด็กโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ปรากฏว่า เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาตรวจ ท่านบอกว่า เกิน ความจำเป็น เราก็มานั่งคิดว่าคนที่มาตรวจเขามีลูกหรือเปล่า เขาไม่อยากให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งดีๆ อย่างนี้หรือ เราเคยให้ชาวต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษ โดยวัตถุประสงค์ของการสอนไม่ได้ต้องการให้เด็กรู้ภาษา อังกฤษ แต่ตอ้ งการฝึกประสบการณ์ให้เด็กมีความกล้าพูดคุยกับชาวต่างชาติ เพราะแม้แต่ตวั เราเองเวลาเจอชาวต่างชาติ ทีไร แม้จะพูดได้นิดหน่อยแต่ก็ไม่กล้าพูด ดังนั้น ถ้าเราฝึกเด็กเสียตั้งแต่ต้น เจอชาวต่างชาติให้เข้าไปหา คลุกคลีพูด


คุย เขาก็จะมีความกล้า ในอนาคตเขาก็อยากจะพูดภาษาอังกฤษให้ได้ จะได้สื่อสารกับชาวต่างชาติรู้เรื่อง แต่ก็โดน ปัญหาในทำนองเดียวกันว่า เกินความจำเป็น หรือบางเรื่องซึ่งมองผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องที่ดูเกินความจำเป็นจริงๆ ก็ได้ เช่น การมอบวุฒิบัตรให้กับเด็ก ซึ่งในความคิดของเรา ก็เพียงเพื่อให้เด็กมีกำลังใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เขาอยากจะเรียนต่อไปในอนาคต ก็ถูกกล่าวว่า เกินความจำเป็นอีกเหมือนกัน ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนอัตรากำลังและผู้มีวุฒิการศึกษาที่จะมา ทดแทนครูผู้ดูแลเด็กที่ว่างลง ซึ่งมีทั้งตายหรือลาออกไปบ้าง เพราะผู้ที่มีวุฒิการศึกษาสูง เขาก็อยากจะไปอยู่ตาม โรงเรียนมากกว่ามาอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กระทรวงศึกษาธิการรับรู้ในเรื่องเหล่านี้ดี แต่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะปัญหาการ ขาดแคลนอัตราครูของโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งทางเทศบาลต้องการให้การอุดหนุนช่วยเหลืออัตรา ครูกับโรงเรียนต่างๆ ปีหนึ่งเกือบร้อยอัตรา อันที่จริง บุคลากรทางการศึกษาหากเทียบกับจำนวนเด็กนั้นมีเพียงพอ แต่ว่าส่วนใหญ่ไปอยู่ตามกรม หน่วยงาน หรือสำนักงานการศึกษาต่างๆ ไม่ยอมลงมาสอนเด็ก และสุดท้าย การขาดความร่วมมือในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชน เพราะเราอยู่ในเขตสังคม เมือง ซึ่งต่างคนต่างอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระดับเทศบาลตามที่ระเบียบกำหนด แต่ที่ผ่านมา ปรากฏว่า เรายังไม่ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการศูนย์ฯ ในการเข้ามาช่วยเหลือดูแลหรือพัฒนา มากเท่าที่ควร มีแค่การเข้าร่วมประชุม แต่ไม่ได้มาร่วมมีบทบาทอย่างแท้จริง ส่วนทางด้านชุมชนเอง อาจจะเป็นเพราะคนไทย แม้จะ “เห็น” ความสำคัญ แต่ไม่ค่อย “ให้” ความสำคัญ กับการศึกษา และเป็นปัญหาที่ลามลงมาถึงชุมชน พอเด็กเข้าโรงเรียนก็เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องให้การศึกษาไม่ใช่ ชุมชนมาช่วยกันดูแล


3) การพัฒนาศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลชากบก นายนาค ระยอง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง กรณีของท่านนายกเทศมนตรีเมืองปู่เจ้าสมิงพราย แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับองค์การบริหารส่วนตำบล ชากบก (อบต.ชากบก) เพราะเรามีคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มาจากชุมชน ในส่วนของภาคประชาชนแท้ๆ แต่อาจจะเสียดุลในเรื่องของงบประมาณอยู่นิดหน่อย บริบทของพื้นที่ อบต.ชากบก เป็นชุมชนที่อยู่ในจังหวัดระยอง มีพื้นที่จำนวน 40.2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็น พื้นที่เกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาและยางพารา พื้นที่ในตำบลของเราไม่มีโรงงานตั้งอยู่ ทำให้สามารถดูแล คุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเต็มที่ เรามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ซึ่งได้รับการถ่ายโอนมาจากกรมการพัฒนาชุมชน และมีศูนย์อบรมเด็ก ก่อนเกณฑ์ในวัดอีก 2 แห่ง มาจากการทำข้อตกลงกับคณะกรรมการวัด เพื่อนำมาให้ อบต.ดูแลรับผิดชอบ รวมแล้ว จึงมีทั้งหมด 4 แห่ง กระจายอยู่ตามชุมชนในพื้นที่ตำบลชากบก และมีจำนวนเด็กเล็กประมาณ 300 กว่าคนที่เรา รับมาดูแล ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 70-80 ของเด็กเล็กทั้งหมดในพื้นที่ โชคดีที่ทาง อบต.พยายามให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยมีคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มาจากชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนคิดว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ใช่ของ อบต. แต่เป็นของชุมชน ผู้ปกครอง ทุกท่านต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะพาบุตรหลานมาเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เราสามารถอยู่ ร่วมกับชุมชน ร่วมกันทำงานขับเคลื่อน ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาโรงเรียนและมีการเกื้อหนุนกันในส่วนของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นสถานีอนามัย หรือโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมา เราสามารถทำงานตามบริบทพื้นที่ของเราได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องของบุคลากร ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์ทั้ง 4 แห่ง มีจำนวน 17 ท่าน ซึ่งทั้งหมดนี้เราส่งเสริมให้เรียน ในระดับปริญญาตรี ถือว่า ประสบความสำเร็จ ตอนนี้เหลืออีก 5 ท่าน กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้และต้อง ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษานอกระบบฯ ที่ส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กได้เป็นข้าราชการ โดยที่ ผ่านมา มีครูที่ได้รับการบรรจุไปแล้ว 4 ท่าน ถือเป็นการเกื้อหนุนและสร้างขวัญกำลังใจได้เป็นอย่างดี ทางด้านการส่งเสริมในเรื่องการดูแลสุขภาพ เราทำงานร่วมกับสถานีอนามัย โดยทุกปีจะมีการตรวจสุขภาพ เพื่อดูพัฒนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กออทิสติก หรือเด็กที่ยังมีพัฒนาการไม่สมวัย และอีกส่วนหนึ่งที่กำลังดำเนิน การคือ การให้เด็กเรียนภาษาอังกฤษ เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กต้องได้รับการส่งเสริม แต่การพัฒนาตรงนี้ อาจจะมี เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มาตรวจและบอกว่า เกินอำนาจหน้าที่หรือเกินความจำเป็น ซึ่งความจริงไม่ใช่ เรื่องนี้ต้องถือเป็นนโยบาย บางครั้งเราจึงต้องตัดสินใจอย่างกล้าหาญ โดยปีนี้คิดว่า จะเพิ่มจำนวน ครูที่มาเติมเต็มในเรื่องภาษาอีก 4 ท่าน เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรางวัลมาพอสมควร ถือเป็นเกียรติประวัติ และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนในโรงเรียนที่เราดำเนินการพัฒนาอยู่


4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก นางสาวปิยนันท์ แซ่จิว

หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

10

เทศบาลตำบลกระสัง อาจเรียกได้ว่า เซาะกราว ซึ่งเป็นภาษาเขมร แปลว่า บ้านนอกจริงๆ บ้านนอกกว่าท่าน นายก อบต.ชากบกเสียอีก ส่วนใหญ่เป็นคนเขมร มีจำนวนประชากรแค่ราว 4,000 กว่าคน พื้นที่เล็กๆ และรายได้ ไม่มากนัก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสังได้รับการถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ (สปช.) เมื่อปี 2544 และตนเองมารับตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ เมื่อปี 2549 ตอนเข้ามา ท่านนายกเทศมนตรี ถามว่า อยากได้เงินเดือนเท่าไหร่ เราตอบว่า ไม่ต้องการเงินเดือนเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท แต่ต้องการให้ อนุญาตให้ตนเองบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกึ่งเบ็ดเสร็จ-กึ่งเอกชน โดยสิ่งแรกที่ขอคือ ขอคัดเลือกบุคลากร ตามวุฒิภาวะการศึกษาปฐมวัย และไม่ให้มีเรื่องของระบบอุปถัมภ์เข้ามาในศูนย์ ไม่อย่างนั้นก็จะมี ‘เจ้าแม่’ หลากหลายมาอยู่รวมกัน ขออภัยที่ต้องพูดเรื่องนี้ตรงๆ เพราะวันนี้เรามาเปิดใจคุยกันเพื่อจะได้พัฒนาเด็กปฐมวัยใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างถูกต้อง ขั้นตอนการคัดเลือกบุคลากรครูผู้สอน เราเริ่มจากประกาศในอินเทอร์เน็ตว่า ต้องการรับคุณครูที่จบสาขา การศึกษาปฐมวัย ภาคปกติ กฎเกณฑ์ก็คือ เกรดเฉลี่ย 3 ขึ้นไป โดยส่งประวัติย่อ (Resume) มาให้พิจารณาก่อน ซึ่งต้องเขียนด้วยลายมือ เพราะเราต้องการจะดูความตั้งใจ จากนั้นจึงเปิดสอบ ซึ่งข้อสอบที่ใช้ เราเป็นคนจัดทำและ หิ้วข้อสอบมาเองจากบ้าน รับรองว่าไม่มีการรั่วไหลอย่างแน่นอน ให้ทุกคนสบายใจได้ ว่าที่นี่ไม่มีระบบอุปถัมภ์ ขอให้ ทำข้อสอบอย่างเต็มที่ หลังจากสอบข้อเขียน 100 คะแนน เพื่อดูว่ามีความรู้ตรงกับการดูแลเด็กปฐมวัยหรือไม่ เพราะ เราไม่เอาชื่อนางงามมาถามผู้สอบ ถามความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัยเท่านั้น แต่ต้องการบุคลากรที่จบสาขานี้มา โดยตรง หากผ่านร้อยละ 80 ก็จะมาพิจารณาเรื่องของบุคลิกภาพ วิธีการสัมภาษณ์ เราจะมีเกณฑ์ในการวัด โดยดูตั้งแต่ตอนคุณครูเดินเข้ามา ถ้าขาโก่งขอให้ไปทางซ้าย หรือ แต่งหน้ามากเกินก็ถอยออกไปอีกนิดหนึ่ง ยิ่งแต่งตัวรัดติ้วก็ถอยออกไปไกลอีก หากพิจารณาแล้ว กิริยามารยาท การพูดจา การนั่ง เรียบร้อย ก็ให้ผ่านไปได้ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีท่านรองนายกเทศมนตรี และท่านปลัด มาร่วมเป็น กรรมการประเมินด้วย หลังจากนัน้ ก็มาถึงขัน้ ตอนทดสอบการสอน ซึง่ วันดังกล่าว เราจะนัดหมายกับกลุม่ ‘เด็กเฮ้ว’ จำนวน 20 คน บอกเขาว่า วันนี้ให้ทำเต็มที่ จากนั้นก็ปล่อยลงไปในห้อง ส่วนตนเองจะคอยเดินดูอยู่ข้างนอก ไม่เข้าไปนั่งข้างใน พอเห็นเราไม่ยอมเข้าไปนัง่ ดู เขาก็จะเครียดทันที คุณครูบางท่านหิว้ สือ่ การสอนมาเต็มมือ แต่จดั การเด็กนักเรียนไม่ได้ วุ่นวายกันทั้งห้อง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ขณะที่คุณครูอีกคน เดินมามือเปล่า แต่เด็กเงียบ เพราะใช้ตัวเองเป็นสื่อทั้งหมด เราก็เห็นแล้วว่า เด็กคนนี้ล่ะใช่เลย เสร็จแล้วก็ทำการพิจารณาตัดสินให้คุณครูเข้ามาทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


กฎเกณฑ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง ถ้าเข้ามาทำงานแล้วขอ 3 อย่าง ถ้าคุณครูทำ 3 อย่างนีไ้ ม่ได้ เดินเข้าประตูมาทางขวา หากทำความผิดให้ออกไปทางซ้ายได้ทนั ที ไม่ตอ้ งพูดกันมาก ซึง่ 3 อย่างทีว่ า่ นัน้ ก็คือ 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความรับผิดชอบต่องาน และ 3) ห้ามมีกรณีชู้สาวกับคนที่มีเจ้าของแล้ว พอเข้ามาทำงาน ทุกวันศุกร์ก็จะมีการจัดอบรม (Training) ให้แก่คุณครู โดยเน้นการเรียนการสอนตาม หลักสูตรจิตปัญญา กระบวนการเรียนการสอน จะสอนตั้งแต่ การเขียนแผน ไล่ไปจนถึงการขัดห้องน้ำ แม้กระทั่ง สอนเรื่องการแต่งตัว เพราะเวลาที่เข้ามาอยู่ศูนย์ ถ้าวันหนึ่งคุณครูใส่ขาสั้นไปตลาด ก็จะทำให้ผู้ปกครองเกิดความ ไม่นับถือ หรือไปเอะอะโวยวาย ดื่มเหล้า ก็ไม่น่านับถือเช่นกัน เราต้องทำให้คุณครูยอดเยี่ยม เป็นครูมืออาชีพ ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มักจะดูถูกคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรียกว่า พี่เลี้ยงบ้างอะไรบ้าง ทั้งที่เขาเรียนจบ ปริญญาตรี จบครุศาสตร์ ซึ่งคำว่า ครุ แปลว่า หนักมาก เรียนหนัก ไม่มีเวลาไปมองใครได้เลย สองมือต้องหิ้วของ พะรุงพะรัง เรารู้สึกว่า คำว่า พี่เลี้ยง ฟังดูแล้วไม่ดี จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า คุณครูผู้ดูแลเด็ก ถือว่าเป็นการยกย่อง คุณครู เพราะคุณครูเป็นผู้สร้างมนุษย์ในสังคมเรา ด้านการจัดการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คุณครู 1 คน จะดูแลเด็กทั้งหมด 20 คน โดยจะใช้ สื่อการเรียนการสอนที่เน้นของจริง ใช้ของธรรมชาติ ราคาไม่แพง เช่น ใบไม้ ก้อนหิน สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สร้างความ ใกล้ชดิ กับคุณครู ให้เกิดความอบอุน่ ซึง่ คุณครูผดู้ แู ลเด็ก ไม่วา่ จะเป็นผูป้ ระกอบอาหาร หรือผูด้ แู ลสวน เราเรียกว่า คุณครู ทั้งหมด เพราะต้องการให้เกียรติ เนื่องจากเขาสามารถสอนเด็กได้ คุณครูผู้ประกอบอาหารก็สามารถสอน เด็กทำอาหาร คุณครูผู้ดูแลสวนก็สามารถสอนเด็กปลูกต้นไม้ ทำให้เด็กมีระเบียบเรียบร้อย ก้อนหินที่วางเรียงรายไว้ ในสวนไม่เคยถูกทำลาย เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจ พอเด็กตื่นเช้ามาโรงเรียน เราก็จะเปิดเพลงให้ทั้งเด็กและต้นไม้ฟัง มีความน่ารัก อบอุ่น เด็กเห็นคุณครูเดิน มาปุ๊บ สิ่งแรกที่ทำคือ ดอกบัวหุบ-ดอกบัวตูม หมายถึง การไหว้ ถ้าเด็กหิ้วของมาก็จะวางของไว้ก่อน แล้วจึงกล่าว คำว่า สวัสดีครับ/ค่ะ คุณครู น่ารักมาก สร้างความชื่นใจ เงินกี่ล้านบาทก็ไม่สามารถซื้อความงดงามของเด็กได้ การปฏิบัติระหว่างคุณครูกับเด็กก็เป็นการสอนกิริยามารยาทในสังคมไปในตัว หากคุณครูนั่งกับพื้น เด็กก็ ต้องนั่งกับพื้น เด็กนั่งบนเก้าอี้ คุณครูก็ต้องนั่งบนเก้าอี้ด้วย รวมทั้งเรามีการจัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้น่าอยู่ จัดทุกมุมให้เด็กได้เรียนรู้ เด็กที่มา เรียนที่นี่ ตอนแรกไม่ได้เรียกว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง แต่จะเรียกว่า ‘หนองกกคอนแวนต์’ ส่วน การจัดระเบียบภายในห้องเรียนก็ตอ้ งเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง เป็นเหมือนบ้านทีน่ า่ อยู่ ให้เด็กเรียนรูเ้ หมือนอยูบ่ า้ นจริงๆ เครื่องเล่นที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รูปแบบการก่อสร้างจะผสมผสานธรรมชาติ และคำนึงถึงความ ปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก ดังจะเห็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้งว่า มีเด็กตายเพราะถูกเครื่องเล่นหล่นลงมา ทับบ้าง เราจึงต้องทำให้แข็งแรง และใช้ไม้เพื่อให้เกิดความอ่อนนุ่ม รวมทั้งสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย อย่างชิงช้า ถ้าอ๊อกเหล็กมา เด็กก็อาจจะเกิดการกระแทก แต่ถ้าใช้พลาสติก ซึ่งมีอายุการใช้งาน 5 ปี พอหมดอายุ ก็ไม่สามารถ ซ่อมแซมได้

11


12

ทุกๆ เช้า คุณครูจะมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตั้งแต่ 6 โมง เพื่อมาตรวจดูสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในศูนย์ ถ้าเห็นว่า เครื่องเล่นชิ้นไหนเริ่มแย่ ก็จะจัดการซื้อหามาเปลี่ยน เพื่อความปลอดภัยของเด็ก เราขอให้ผู้บริหารเห็น ความสำคัญตรงจุดนี้ เพราะหากเด็กเป็นอะไรไป ผู้บริหารเป็นคนแรกที่ต้องรับผิดชอบ และเมื่อท่านมารับตำแหน่ง นายกฯ ท่านต้องมีจิตอาสาในการพัฒนามนุษย์ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หรือเครื่องอำนวยความสะดวก ต่างๆ อย่างถ้าทำถนนหนทางดี ผู้ปกครองขับรถมาส่งเด็กนักเรียนแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ พอมาอยู่ในศูนย์ เด็กก็จะมี ความสุข ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มาถึ ง เรื ่ อ งสุ ข ภาวะของเด็ ก ที ่ น ี ่ เ ราไม่ ใ ห้ เ ด็ ก ใช้ ถ าดหลุ ม ในการรั บ ประทานอาหาร เพราะถาดหลุ ม

จะประกอบด้วยหลุม 3 หลุมคือ ข้าว กับข้าว และขนมหวาน ซึ่งเด็กจะเอามารวมกันเป็นหลุมเดียว ทำให้ไม่เกิดการ สร้างระเบียบวินัย เราต้องการส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเข้าสังคม จึงไม่อยากให้ติดนิสัยไม่ดีเหล่านี้ไป เวลาไปรับ ประทานอาหารในโรงแรม 5 ดาว จะได้ดูดีตั้งแต่ยังเด็ก รวมทั้งเด็กต้องล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยจะ มีสบู่เตรียมไว้ให้ เราต้องคอยคิดค้นว่า ทำอย่างไรจะให้เด็กล้างมือได้ คุณครูจึงเปรียบเหมือนวิศวกรสร้างเด็ก

ให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง-ทำเอง-เก็บเอง เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ต้องแปรงฟันทุกวัน และทางศูนย์จะเชิญคุณหมอจาก โรงพยาบาลในอำเภอ มาตรวจสุขภาพให้แก่เด็ก ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ใน 1 ปีจะมีการตรวจ 2 ครั้ง และทุกๆ วัน คุณครูกจ็ ะต้องตรวจดูเด็กตัง้ แต่ศรี ษะจรดเท้า คอยดึงถุงเท้าออกมาดูวา่ คุณพ่อคุณแม่ได้ตดั เล็บให้ลกู หรือยัง เหล่านี้ เป็นต้น การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง เรียนตามตรงว่า เราไม่มีเงินในการบริหาร จัดการมากนัก เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีระบบที่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดสรร งบประมาณและได้บรรจุครูให้เป็นข้าราชการแล้ว ที่ผ่านมา จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนค่อนข้างสูงมาก ซึ่งโชคดีที่ตำบลกระสังเป็นชุมชนที่ค่อนข้างมีฐานะ โดยเฉพาะกลุ่มคนจีนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เราสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์ เช่น ผู้ปกครองบริจาคเงินมา 10,000 บาท ภายใน 1 อาทิตย์ต้องนำเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทันที และเน้นเรื่องของความซื่อสัตย์ อย่างเราไปซื้อ ของที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ต้องเอาใบเสร็จกลับมาให้ผู้ปกครองดูว่า ซื้อของเรียบร้อย ไปดูได้ และถ่ายรูปให้ ด้วย เงินจะได้ไม่ค้างและไม่ถูกนำไปเข้าบัญชีเงินบริจาค เพราะถือว่าเป็น ‘เงินอุทิศ’ เพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จริงๆ ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ภายในศูนย์ เราก็ไม่ได้ซื้อ แต่มีผู้ปกครองนำมาให้ เมื่อได้รับมา ถ้านำมาทิ้งไว้ ผู้ปกครองก็ จะหมดกำลังใจในการช่วยเหลือเรา ดังนั้นถ้าได้อะไรมา 1 วันต้องทำให้เสร็จ ต้องมีเทคนิควิธีการ คุณครูกับเด็กจะ รีบนำต้นไม้ไปปลูกตอนเย็นวันนั้นทันที พอผู้ปกครองมารับเด็ก เห็นต้นกล้วยขึ้น ก็เกิดความภาคภูมิใจ หรือผักบุ้ง เราก็ได้เมล็ดพันธุ์มาจากผู้ปกครองเหมือนกัน นำมาปลูกขาย เป็นรายได้ให้กับทางศูนย์ บางครั้งก๊อกน้ำแตก ไม่รู้จะ เอาเงินที่ไหนมาซื้อ ก็นำเงินตรงนี้ไปใช้และทำบัญชีไว้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสังจึงเปรียบเสมือนบ้าน หลังใหญ่


นอกจากนี้เรายังส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้ให้กับลูก ยกตัวอย่าง ครั้งหนึ่งเราไปเรียนรู้เรื่องช้างที่จังหวัดสุรินทร์ ก็มีผู้ปกครองไปร่วมด้วย และการเรียนรู้เรื่องช้าง ก็สามารถบูรณาการ ได้ทุกวิชา ตั้งแต่วิชาภาษาไทยว่า ‘ช้างชื่ออะไร’ วิชาคณิตศาสตร์ว่า ‘ช้างมีส่วนไหนบ้าง-เล็กหรือใหญ่’ วิชา วิทยาศาสตร์ว่า ‘ช้างกินอะไร-มีสีผิวอะไร’ วิชาสังคมศาสตร์ว่า ‘ช้างอยู่ที่ไหน-ช้างทำอะไร’ และวิชาศิลปะว่า ‘เมื่อเห็น ช้างรูปร่างแบบนี้ ก็ให้เด็กกลับมาวาดภาพได้’ ทางด้านการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน เราก็มีกิจกรรมให้ผู้ปกครองช่วยสอนลูกในเรื่องการ เกี่ยวข้าว โดยคุณครูต้องถือเคียวลงไปเกี่ยวด้วย ซึ่งได้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันองค์กรใน ชุมชน อย่างสถานีตำรวจก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก หลังจากเรียนในห้องแล้วก็ไปเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยประสาน กับทางท่านผู้กำกับฯ ทำหนังสือไปขอความอนุเคราะห์ ท่านก็ให้เด็กเล่นได้ทุกอย่าง บางครั้งเปิดหวอดังสนั่นหวั่นไหว จนคนนึกว่าโจรมาปล้นตำบลกระสัง อยากจะขอเสริมเติมเต็มในเรื่องการเป็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง เป็น 1 ใน 13 ศูนย์ต้นแบบทั่วประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งต้องขอขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ให้การ สนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการเผยแพร่การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับศูนย์เครือข่าย ศูนย์เครือข่ายของเราประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกลางดง จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์เครือข่ายในจังหวัดบุรีรัมย์ 3 แห่งคือ ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยสำราญ กับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ เราได้มอบให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเยีย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ เป็นศูนย์ต้นแบบต่อไป ส่วนอีก 3 ศูนย์ที่เหลือยังคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้าน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง จะขยับขึ้นไปเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ และมีความคาดหวังว่า อยาก จะให้ศูนย์ตรงนี้เป็นวิทยาลัยครูเล็กๆ สำหรับคุณครูผู้ดูแลเด็ก เข้าไปฝึกการเรียนรู้ทุกอย่าง หากท่านใดสนใจอยาก จะส่งคุณครูมาฝึกที่ศูนย์ของเรา ก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะอุทิศเวลาให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อีกเรื่องหนึ่ง อยากจะเล่าประสบการณ์จากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้ให้ทุนการศึกษาปฐมวัยกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ คัดเลือกคุณครูผู้ดูแลเด็กจังหวัดละ 1 คนไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ ในเรื่องการเรียนการสอนปฐมวัย ซึ่งตนเองเป็น คนหนึ่งที่ได้ไปมา จึงอยากจะนำประสบการณ์ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยน ถึงสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้กับศูนย์พัฒนา เด็กเล็กของประเทศไทยได้ ถ้ามองในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อม คิดว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศไทยดีกว่ามาก เพราะพื้นที่ต่างๆ เอื้อต่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กมากกว่า ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีแต่ตึกสูง น่าหวาดเสียวมาก ยังคิดว่า ถ้าเด็ก ตกลงมาจะเป็นอย่างไร และคุณครูก็จะขังเด็กไว้อยู่แต่ในห้อง บริบทของเราจึงไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม

13


สิ่งที่เราได้รับกลับมาคือ เรื่องของกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) 3 ซึ่งเราสามารถนำปรับใช้กับคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของประเทศไทยได้ เมื่อกลับมาที่จังหวัดบุรีรัมย์ เราก็ตั้งเป้าไว้ว่า ต่อไป ถ้าใครมาศึกษาดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ จะต้องสามารถ ไปดูงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดได้ทุกศูนย์ เพราะเราสร้างเครือข่ายไว้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของทุกอำเภอ เป็นดรีมทีม (Dream Team) ซึ่งคัดเลือกมาทั้งหมด 23 อำเภอ ซึ่งการศึกษาดูงาน เราไม่จำเป็นต้องไปดูสถานที่ที่มี ตึกสวยงาม สื่อราคาแพง แต่ให้ไปดูกระบวนการเรียนการสอน แล้วนำกลับมาปรับใช้กับท้องถิ่นของเราเอง อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นบางแห่งยังไม่เห็นความสำคัญของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ให้ บางครั้ง เราจึงต้องช่วยตัวเอง โดยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปถึงท่านนายกฯ ผ่านผู้ว่าฯ เพื่อให้คุณครูได้ไป ศึกษาดูงาน รวมทั้งต้องประสานสัมพันธ์ระหว่าง กองคลัง พัสดุ และทุกภาคส่วน ให้เห็นความสำคัญของคุณครู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพราะเขามักจะค่อนแคะว่า คุณครูไม่เห็นทำอะไรเลย นั่งร้องเพลงไปวันๆ นั่งเล่านิทานไปวันๆ แต่หารู้ไม่ว่า นั่นล่ะคือทำ นั่นล่ะคือ การสร้างมนุษย์ ซึ่งปัจจุบัน ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ภายในจังหวัดบุรีรัมย์เองดี ขึ้นเยอะ และผู้บริหารก็เห็นความสำคัญ ถือว่า เราได้สร้างเครือข่าย ทั้งผู้บริหาร คุณครู และเด็ก ให้มีศักยภาพ เพิ่มมากขึ้น

3

14

โครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำ ตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม (บทความเรื่องการสอนแบบ โครงการ (Project Approach) โดย รศ.ดร.พั ช รี ผลโยธิ น เข้ า ถึ ง ได้ ท ี ่ http://www.edba.in.th/EDBA_Main/ index.php?option=com_content&view=article&id=67)


เวทีระดมคิด นายแก้ว สังข์ช ู

กรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป

ก่อนจะมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดขึ้น เด็กต้องเข้า เรียนชั้นประถมศึกษาเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งสังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนา ธุรกิจนำ ชุมชน ทำให้พ่อแม่ต้องวิ่งหาเงิน ส่งผลให้เด็กต้องว้าเหว่ อยู ่ ก ั บ บ้ า น บางครั ้ ง เคยได้ ย ิ น ข่ า วว่ า เด็ ก ตกน้ ำ ตาย เนื่องจากไม่มีคนดูแล พอมีการตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขึ้นมา ซึ่งเมื่อก่อนยังอยู่กับกรมการพัฒนาชุมชน อย่าง น้อยสิ่งหนึ่งที่น่าดีใจคือ การได้นำเด็กเล็กไปไว้ในที่ ปลอดภัย สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำเรื่องศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนที่ 1 คือ กระบวนการทางความคิด ซึ่งคนที่คิด ก็คือ คนในชุมชน ต้องมานั่งล้อมวงร่วมกันคิดว่า จะเอา เด็กมาจากไหน จะสร้างอาคารแบบใด จะสร้างตรงไหน ก่อน สร้างแล้วจะปลอดภัยไหม ใกล้ถนนหนทางก็ไม่เอา อยู่ห่างไกลก็ลำบาก หากมีกระบวนการคิดเช่นนี้ ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กจะเป็นของชุมชนตั้งแต่คิดจะสร้าง แม้แต่ ไม้ที่ใช้ รูปแบบอาคาร ชุมชนก็เป็นคนออกแบบ เพราะ เมื่อก่อนส่วนราชการมักจะบอกว่า เขาสนับสนุนได้แต่ ไม่มีงบประมาณให้ และส่วนที่ 2 คุณครูที่เข้ามาดูแลเด็ก ต้องผ่านการ พิจารณาจากชาวบ้าน เพื่อดูว่า สกุลของเขาเป็นอย่างไร มีการลักเล็กขโมยน้อยหรือไม่ รวมทั้งกิริยามารยาท ต่างๆ เมื่อผ่านกรรมการแล้ว ก็ต้องผ่านชุมชนให้ความ

เห็นชอบทั้งหมด กว่าคุณครูคนนั้นจะสามารถเข้ามาสอน เด็กได้ ซึ่งเมื่อก่อนเราไม่ได้ดูเรื่องวุฒิการศึกษา แต่ดู เรื่องคุณงามความดีเป็นหลัก ว่ามีความงาม ความดี การ ครองตนดีหรือไม่ มองลึกถึงขนาดนั้น เมื่อเปิดศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กแล้ว คุณครู รวมถึงผู้ปกครอง ก็จะมา ร่วมกันทำอาหารให้แก่ลูกของเขา เพื่อไม่ให้ขาดแคลน อาหาร นี่เป็นกระบวนการในส่วนที่ตนเองได้ดำเนินการกับ ชุมชนในจังหวัดพัทลุง โดยรับงบประมาณจากกองทุน เพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund: SIF) จนสามารถสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากถึง 30 กว่าศูนย์ ก่อนจะมาถึงปี 2547 ซึ่งท่านสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ณ ขณะนั้น ได้ เข้ามาดำเนินการในเรื่องการถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไปให้กับท้องถิ่น เมื่อก่อนนั้น ท้องถิ่นว้าเหว่มาก แม้แต่ค่าตอบแทน ของครู ผู ้ ป กครองก็ ต ้ อ งเป็ น คนออกเอง บางที ต ้ อ ง ทอดผ้าป่า ปีละ 2 ครั้ง เพื่อจะได้มีค่าตอบแทนสำหรับ ครูผู้ดูแลเด็ก แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ผู้ปกครองเองก็ต้อง จ่ายเงินเพิ่มเติมด้วย และยังต้องดูเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับ เด็กอีกเยอะแยะไปหมด หรือบางครั้ง มีคนยืมยอดเด็ก ของศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก ไปใช้รบั ตำแหน่ง เป็นผูอ้ ำนวยการ ก็มี เพราะเด็กที่ตัวเองดูแลอยู่มีไม่ครบ จึงเอาจำนวน เด็กในศูนย์ไปนับรวมเป็นนักเรียนของตนเองด้วย อันนี้ เป็ น เรื ่ อ งจริ ง แล้ ว พอได้ ร ั บ ตำแหน่ ง ผู ้ อ ำนวยการก็ ลอยแพเด็กเหล่านี้กลับมาหาพวกตนอีก นี่คือความ เจ็บช้ำน้ำใจที่สุด ทำไมเอาไปแล้วไม่เอาไปให้ตลอด ยัง จะคืนกลับมา แต่หลังจากมีการถ่ายโอนให้ท้องถิ่นรับช่วงต่อ จึง ทำให้ ศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก กลายเป็ น ของชุ ม ชนจริ ง ๆ เดื อ นหนึ ่ ง ๆ คณะกรรมการศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก จะ

15


16

ประชุมร่วมกัน และประเมินว่าสิ่งที่ทำผ่านมามีปัญหา หรือไม่ เราจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเราเอง อย่ า งไรก็ ต าม สิ ่ ง ที ่ ก ั ง วลคื อ วิ ส ั ย ทั ศ น์ และ กระบวนการดำเนินงานของแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน บางท้องถิ่นถึงกับต่อรองกันว่า ถ้าคุณเป็นหัวคะแนนให้ ฉัน ฉันจะให้ลูกของคุณมาเป็นครูผู้ดูแลเด็ก เหล่านี้เป็น สิ่งที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเรามองไม่เห็น มีความเป็นห่วงว่า การเจริญเติบโตทางด้านคมนาคม ทุกวันนี้ไปไกลมากกว่าที่คาดคิด เด็กจะถูกดูดจากชุมชน ไปสูส่ งั คมเมืองเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ นีเ่ ป็นเรือ่ งทีน่ า่ สังเวชใจ และ อบต.ต้องรับภารกิจจากหน่วยงานของรัฐมากมาย ทำให้ศักยภาพในการจัดการงบประมาณเหลืออยู่น้อย มาก จึงอยากเสนอว่า รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณว่า ด้วยการพัฒนาเด็กให้ท้องถิ่นมากกว่านี้ ไม่ใช่ว่าจะมี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้นมาเป็น 4 หรือ 5 ศูนย์ ก็ยัง ให้งบประมาณเท่าเดิม เมื่อเป็นอย่างนั้นเราจะไปแข่งขัน กับเอกชนในเมืองได้อย่างไร รัฐอย่าใช้วิธีคิดแบบหวาดระแวง แต่ต้องคิดแบบให้ ความสำคัญต่อท้องถิ่นให้มาก แล้วท้องถิ่นจะนำไปสู่การ จัดการ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศูนย์พัฒนา เด็กเล็กให้มากที่สุด ถ้าชุมชนมีส่วนร่วมสร้างให้เกิด ความเป็นเจ้าของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็จะยั่งยืน ทุกวันนี้ เขาไม่อยากให้เด็กออกจากชุมชน แต่จำใจ เพราะสั ง คมเบี ย ดบั ง เขา เด็ ก ของเรากั บ เด็ ก ในเมื อ ง แตกต่างกันคนละเรื่องเลย แต่ถ้ามีงบประมาณ มีการ พัฒนาบุคลากร มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่โดดเด่น ทันสมัย สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนไป เคยเสนอนายกเทศบาลตำบลพนางตุ ง อำเภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง ว่า ให้ยุบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งหมด เหลือเพียงแค่ศูนย์เดียวได้ไหม จากนั้นไปซื้อ รถเมล์ที่กรุงเทพฯ สัก 2 คัน นำมาตกแต่ง ติดแอร์ แล้ว

ทำหน้าที่รับ-ส่งเด็กไปเรียนในตำบล ไม่ต้องไปที่จังหวัด เพราะจะทำลายเศรษฐกิจของชุมชน ถ้าเรียนที่ชุมชน เงินจะอยู่ในหมู่บ้าน ในตำบล แต่เมื่อออกไปต่างอำเภอ เงินจะไปอยู่กับจังหวัดและเอกชน นี่คือวิธีคิด เพราะ สังคมเรากำลังเป็นไปแบบนี้ นอกจากนี้ แต่ละจังหวัด แต่ละท้องถิ่น จะต้องไป สำรวจดูว่า มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดี มีคุณภาพ และ สร้างการมีส่วนร่วมอยู่ทั้งหมดกี่ศูนย์ เอาปริมาณที่มี ความชัดเจน และ อปท. เห็นดีเห็นงามด้วย ให้การ สนั บ สนุ น เต็ ม ที ่ จะสามารถเปลี ่ ย นวิ ธ ี ค ิ ด ของคนใน อนาคตได้

นางวาทินี ธีระตระกูล

ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ปั ญ หาที ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั ้ น พื้นฐาน (สพฐ.) พบในพื้นที่ มีดังนี้ 1) แต่ละจังหวัดมีศูนย์ที่เข้มแข็งอยู่ไม่กี่แห่ง ถ้าทำ อย่างที่นำเสนอมาได้ทุกศูนย์ แล้วนำเอาศูนย์ที่เข้มแข็ง เหล่านี้มาเป็นศูนย์ต้นแบบและขยายออกไป ก็จะทำให้ การศึกษาปฐมวัยดีขึ้น หรือถ้า อบต.มีงบประมาณเยอะ ในเรื่องนี้ และรับเรื่องปฐมวัยไปดูแลทั้งหมดได้ก็คงจะดี มาก 2) การสำรวจข้อมูลสารสนเทศทางประชากรศาสตร์ ว่า เด็กอายุ 2-6 ปี อยู่ในพื้นที่ของ อบต.ส่วนไหน มี จำนวนเด็กที่เข้ารับการศึกษาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ อบต.จัดเป็นจำนวนเท่าไหร่ ไปอยู่โรงเรียนของ สพฐ. เท่าไหร่ เพื่อจะรวบรวมว่า มีจำนวนประชากรร้อยละ เท่าไหร่ที่ได้รับการศึกษา ซึ่งตรงนี้เรายังไม่มีข้อมูล มี ข้อมูลอยู่เฉพาะประชากรใน อบต. แต่ไม่รู้ว่า เด็กไป เรียนอยู่ที่ อบต. เทศบาล โรงเรียน หรือ สพฐ. เท่าไหร่


ซึ่งเฉพาะของ สพฐ.เอง น่าจะพอสำรวจได้ แต่เราไม่รู้ว่า ไปอยู่ที่ไหนอีก แต่ละหน่วยคงจะต้องช่วยเก็บข้อมูล ว่า เมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้ร้อยละ 100 หรือเปล่า เพื่อ ตอบสนองนโยบายของนายกรัฐมนตรี 3) เรื่องความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือก ครูที่คุณครูปิยนันท์นำเสนอ เป็นเรื่องที่ดีมาก สพฐ.เอง อยากให้เป็นอย่างนี้ แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะระบบราชการ ส่วนมากแล้วเป็นการสอบบรรจุเข้ามา เมื่อบรรจุเข้ามา แล้ว น่าจะต้องมีการอบรม ฝึกฝน ก่อนจะไปลงฝึก ปฏิบัติจริงด้วย 4) การประชาสัมพันธ์เรื่องความสำคัญของการ ศึกษาปฐมวัย การอบรมเลีย้ งดูเด็กทีถ่ กู หลักการ ซึง่ ตรงนี้ ทำเท่าไหร่ก็ยังประชาสัมพันธ์ไม่ได้ทั่วถึงสักที เป็นส่วน หนึ ่ ง ที ่ อ ยากจะให้ ทุ ก หน่ ว ยงานช่ ว ยกั น โดยเฉพาะ สื่อมวลชน 5) นโยบายเรื่องการศึกษาปฐมวัยยังไม่ค่อยมีความ ชัดเจน ในระดับชาติมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่พอลงมาถึงระดับ จังหวัด ระดับเขต ระดับโรงเรียน แม้จะมี แต่ก็ไม่ได้ ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ การปฏิบัติ จึงไม่ได้ตามนโยบายที่กำหนด อันนี้เป็นจุดอ่อนของการ ดำเนินงาน ถ้าทุกหน่วยงานดำเนินการได้ก็จะดี 6) การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน อบต. และศูนย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ซึ ่ ง ตอนนี ้ ศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ที ่ ใ ช้ โรงเรี ย นประถมเป็ น ห้ อ งเรี ย น มี อ ยู ่ ห ลายแห่ ง แต่ เนื่องจากว่า ศูนย์ไหนเติบโตเร็ว ห้องเรียนของ สพฐ.ก็ จะมีไม่เพียงพอ เพราะอย่างไรก็มีอยู่แค่ห้องเดียว และ ขณะนี้โรงเรียนเองก็มีสถานที่ไม่เพียงพอ ถ้ามีเด็กมาก ขึ้น ก็ไม่สามารถจะดูแลได้ ทาง อบต. จังหวัด หรือกรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ ซึง่ มีงบประมาณมาก สามารถ สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ใหญ่โต ถือว่า น่าชื่นชม ถ้า เป็นอย่างนีไ้ ด้ทกุ ทีก่ จ็ ะคงดี ไม่ควรไปคาดหวังกับโรงเรียน

ประถม เพราะอย่างเก่งก็มีแค่ห้องเดียวที่จะจัดให้สำหรับ เด็กเล็ก ซึ่งไม่มีทางเพียงพอ และ 7) อัตรากำลังครูที่ขาด ฟังจากที่กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นกล่าวมา ก็รู้สึกชื่นชมว่า เขามีอัตรา กำลังและมีงบประมาณสนับสนุนเยอะ ปีแรกมี 15,000 คน ปีต่อไปจะเพิ่มอีก 5,000 คน ขณะที่ทาง สพฐ. ขอ อัตรากำลังแค่ 5,000 คน ก็ยังชี้แจง (Defend) ไม่ค่อย ได้ ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องค่อยๆ ผลักดันกันต่อไป

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

ขออนุญาตถามคำถามเพราะมีเรื่องที่อยากรู้และยัง ไม่รู้อยู่หลายข้อ ข้อที่ 1 ฟังจากสถิติของกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น บอกว่า มีจำนวนเด็กเล็กที่เข้ามาอยู่ในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 87 และยังเหลืออีกร้อยละ 13 จึงอยากจะรู้ว่า เราเคยทำการศึกษาไหมว่า เด็กจำนวน ร้อยละ 13 นี้ เป็นเพราะอะไรเขาถึงไม่เข้ามาอยู่ใน ระบบ ถ้ ามองในแง่ ด ี อาจจะเป็ น เพราะพ่อ แม่ ค ิ ดว่ า ตนเองสามารถพัฒนาลูกได้ดีกว่า ซึ่งไม่รู้ว่าใช่หรือไม่ ถ้า ใช่จะสุดยอดมาก และถ้ามีจริงจะมีอยู่สักเท่าไหร่ และ จำนวนที่เหลือคืออะไร ข้อที่ 2 บางครอบครัวพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูก โดยนำ ไปฝากไว้ให้ย่าหรือยายเลี้ยงดูแทน คำถามก็คือ มีความ แตกต่างระหว่างเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พ่อแม่ยัง อยู่กับลูกและไม่ได้อยู่กับลูกหรือไม่ อย่างไร เพราะ ความจริงแล้ว เราอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียงไม่

กี่ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเวลาที่เหลือเป็นเวลาที่เขาต้องอยู่กับ บ้าน หรืออยู่กับชุมชน ตรงนี้จะทำอย่างไรให้เกิดความ เชื่อมโยงกัน ไม่อย่างนั้น เราก็จะมองเพียงว่า ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กทำได้ดีแล้วก็ดีใจ แต่ไม่กี่ชั่วโมงก็กลับไป

17


อยู่บ้าน แล้วเวลาอยู่ข้างนอกเด็กจะมีปัญหาไหม ถ้าไม่มี ระบบที่สัมพันธ์กันอยู่ ข้อที 3 ่ เป็นประเด็นเล็กๆ อยากทราบว่า พฤติกรรม หรือธรรมชาติของเด็กชายกับเด็กหญิงมีความแตกต่าง กันแค่ไหน เพราะดูจากเด็กเล็กอาจจะเห็นอะไรมากกว่า เด็กที่โตแล้ว ซึ่งถูกกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialize) โดนสังคมครอบค่อนข้างมากว่า ผู้หญิงต้อง เป็นอย่างนัน้ ผูช้ ายต้องเป็นอย่างนี้ แต่ถา้ ดูจากธรรมชาติ ตอนเด็ก คุณครูหรือใครทีม่ ปี ระสบการณ์ชว่ ยแลกเปลีย่ น หน่อย อยากจะเรียนรู้บทบาทของสตรี ว่าเราจะพัฒนา กันต่อไปอย่างไร และ ข้อที่ 4 เป็นเรื่องที่อยากรู้มาก เพราะตนเอง เคยแต่เป็นครูในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเรียนว่า การสอน ในมหาวิทยาลัยนั้นเซ็งที่สุด เพราะนักศึกษาผ่านการหล่อ หลอมทางสังคมมาจนกระทั่งตาไม่มีแววแล้ว เขาไม่ค่อย อยากรู้อยากเห็นอะไรสักเท่าไหร่ มาเรียนเพราะอยากได้ ปริญญา อยากสอบให้ผ่านเท่านั้น คนที่อยากรู้อยากเห็น มีอยู่น้อยมาก แตกต่างจากเด็กเล็กๆ อายุ 3-4 ขวบ จะ มีความอยากรู้อยากเห็นเยอะแยะไปหมด คำถามก็คือ เด็กสูญเสียความอยากรู้อยากเห็นไปในระดับไหน และ เป็นเพราะอะไร เราจะได้ช่วยกันคิดว่า ในระดับนั้นๆ จะ ต้องตามไปทำอะไรกันต่อด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะระดับของ เด็กเล็กเพียงอย่างเดียว

นายวีระชาติ ทศรัตน์

ผู้ อ ำนวยการส่ ว นส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและ พัฒนากิจกรรมเยาวชน สำนักประสานและพัฒนาการ จัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

18

ขอตอบคำถามของอาจารย์เจิมศักดิ์ ข้อที่ 1-3 ดังนี้ ข้อที่ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีว่า จะต้องรณรงค์ให้

พ่อแม่พาเด็กอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป มาเข้าสู่ระบบการ พั ฒ นาการศึ กษาของรั ฐ หรื อ ท้ อ งถิ ่ น ซึ ่ ง จากข้ อ มู ล ที ่ สกศ.ได้รวบรวมมา จำนวนเด็กเล็กที่อยู่ในระบบ ณ ขณะนี้ คือ ร้อยละ 87 เมื่อลองลบตัวเลขดูก็จะเหลือ ประมาณร้อยละ 13 ที่ยังไม่เข้าสู่ระบบ อย่างไรก็ตาม เด็กจำนวนร้อยละ 87 ไม่ได้อยู่ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด แต่กระจายไปอยู่ที่อื่นๆ ด้วย ทั้งภาคเอกชน โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน (ตชต.) และทุกสถานที่ที่มีการจัดการ ศึกษาปฐมวัยทั้งหมด ส่วนเด็กจำนวนร้อยละ 13 คงจะ เป็นตัวเลขที่ให้เป็นการบ้านกับกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นไปดำเนินการต่อ ซึ ่ ง จากการที ่ ท างกรมได้ ส ำรวจเป็ น ระยะเวลา 2 เดือนกว่า และมีการทยอยรายงานเข้ามา ข้อมูลเท่าที่ได้ ณ ตอนนี้ คงไม่ถึงร้อยละ 100 ยังมีความคลาดเคลื่อน อยู่ เพราะศักยภาพในการเก็บข้อมูลยังไม่ครอบคลุม เนื่องจากทาง อบต.มีคนลงไปเก็บข้อมูลเพียงไม่กี่คน แต่ต้องเดินเข้าไปทุกบ้าน ทุกหลังคาเรือน คิดว่า น่าจะ ได้ประมาณร้อยละ 80 ที่อยู่ระหว่างการสำรวจว่า เด็กที่ ไม่ได้อยู่ในระบบการดูแลของรัฐ ท้องถิ่น และเอกชน ต่างๆ มีอยู่จำนวนเท่าไหร่ ข้อที่ 2 เราพยายามทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็น แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับผู้ปกครอง นอกเหนือจาก การให้บริการในเวลาปกติ ผู้ปกครองสามารถเข้ามา ศึกษาเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กในช่วงนอกเวลาเรียนได้ ว่าควรจะดูแลเด็กอย่างไร เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นไป ตามพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งชุมชนก็สามารถเข้ามา มีส่วนร่วมได้ด้วย และ ข้อที่ 3 พฤติกรรมเด็กชายและเด็กหญิงใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คิดว่า คงไม่แตกต่างจากในอดีตสัก เท่าไหร่ แต่ปัจจุบัน เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์และการ


สื่อสารต่างๆ ทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ประกอบกับวิถี ชีวิตของพี่น้องประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่ต้อง ออกจากบ้านมาทำมาหากิน แยกตัวเป็นสังคมเดี่ยว ไม่มี คนดูแล ทำให้เด็กถูกทอดทิ้ง หรือต้องไปอาศัยอยู่ร่วม กับคนอื่น ก็อาจจะซึมซับพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ เราจะพบว่า เด็กอายุ 3 ขวบบางคนเริ่มมีพฤติกรรม ทางเพศแล้ว เพราะนอนอยูห่ อ้ งเดียวกับผูป้ กครอง ทำให้ ได้เห็นภาพอะไรบางอย่างที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการดูสื่อ วีดิทัศน์ต่างๆ ซึ่งเป็นหนังคนยากจน ไม่มีเสื้อผ้าใส่ เด็ก บางคนถือมาเปิดดูที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็มี โดยที่เขา ไม่ได้คิดอะไร แต่ถูกซึมซับมา พฤติกรรมชาย-หญิงก็คง เริ่มตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว นอกจากประเด็นดังกล่าวข้างต้น ยังมีปัญหาในส่วน ที่ท้องถิ่นคงต้องหาวิธีรองรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในบางพื้นที่อย่างจังหวัดสมุทรปราการ หากสังเกตดู จะพบว่า มีแรงงานเยอะมาก และเขาต้องการให้ท้องถิ่น ช่วยดูแลลูกหลานของเขา นอกเหนือจากช่วงเวลา 7 โมง เช้า ถึง 5 โมงเย็น เนือ่ งจากเขาทำงานเป็นกะ เวลากลางคืน ก็ไม่มีเวลาดู เป็นไปได้ไหมที่ท้องถิ่นจะช่วยดูแลเด็กทั้ง กะดึกและกะเช้า ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ต้องไปคิดร่วมกันว่า พร้อมจะทำหรือเปล่า ส่วนครูผู้ดูแลเด็กคงจะต้องอาศัย ครู อ ี ก ประเภทหนึ ่ ง ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งมี ค วามรู ้ ท างด้ า น พัฒนาการเด็กก็ได้ หรือกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ต่อไปข้างหน้า ท้องถิ่นก็อาจจะต้องเข้ามาดูแลกลุ่มเด็ก เหล่านี้ด้วย เพื่อลดภาระผู้ปกครองที่จะต้องออกไป ประกอบอาชีพมากขึ้น เพราะบางคนคลอดลูกแล้วก็ทิ้ง เลย ประเด็นสุดท้ายที่อยากกล่าวถึงคือ การที่ประชาชน คอยแต่แบมือเพื่อรอให้รัฐบริการ เรื่องนี้คงต้องชี้แจงให้ ผู้ปกครองเข้าใจว่า เขาต้องมีส่วนร่วมในการดูแลลูก หลานของตัวเอง เพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง

ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นส่วนที่กรม ท้องถิ่น และชุมชนต้องเข้ามาดูแล ร่วมกัน

นายแก้ว สังข์ชู

กรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป

จากคำถามที่ว่า เป็นเพราะอะไร เด็กจำนวนร้อยละ 13 ถึ ง ไม่ เ ข้ า มาอยู ่ ใ นระบบ ขอเรี ย นว่ า ในส่ ว นของ จังหวัดพัทลุง การที่เด็กจะไปอยู่กับปู่ย่าตายายนั้นไม่มี แล้ ว เพราะทุ ก คนต้ อ งไปอยู ่ ท ี ่ ศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก ทั้งหมด นอกจากนั้น อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นพ่อแม่ที่พอมี อันจะกิน ก็จะส่งลูกเข้าเรียนเอกชน แต่เด็กที่อยู่กับบ้าน นั้นไม่มีเลย เหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะในชนบท เรามองเห็นกัน ง่าย และทางกรรมการหมู่บ้าน กรมการปกครอง ก็จะ คอยเตือนด้วยว่า เด็กจะต้องเข้าไปอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก หรือบางทีกรรมการศูนย์ต้องเอารถมอเตอร์ไซค์ เข้าไปบรรทุกเพื่อตามมาเรียนก็มี และถ้าครอบครัวไหน ยากจน ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ก็จะมีกองทุนสวัสดิการชุมชน คอยช่วยเหลือดำเนินการให้ ผลทุกอย่างมันเกิดจากการ ดูแลกันเองของชุมชน เพราะคนทุกคนต้องมีคุณค่าเท่า เทียมกัน

รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

คำถามที ่ ถ ามไปนั ้ น เกี ่ ย วพั น กั บ ประเด็ น ที ่ ต ั ้ ง ข้อสงสัยว่า เพราะพ่อแม่ตอ้ งออกไปทำงาน ไม่ได้อยูด่ แู ล ลูก ฉะนั้นการส่งลูกไปอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอาจจะดู ดีกว่าการส่งลูกไปให้ย่าหรือยายเลี้ยงดูหรือเปล่า ปัจจัย ตรงนี้ถือเป็นแรงผลักหรือไม่ 19


ส่ ว นคำถามเรื ่ อ งพฤติ ก รรมเด็ ก ชาย-เด็ ก หญิ ง เหตุ ผ ลที ่ ถ ามเรื ่ อ งนี ้ ข ึ ้ น มา เพราะมี ง านวิ จ ั ย ของต่ า ง ประเทศ ซึง่ ไม่มน่ั ใจว่าถูกหรือเปล่า เขาได้เฝ้าดูพฤติกรรม ในวัยเด็ก และพบว่า เด็กชายนั้นชอบพื้นที่เยอะ เล่นกับ อำนาจ อะไรที่รุนแรง แต่เด็กผู้หญิงจะเล่นอะไรกระจุก กระจิก และชอบอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมชาติ หรือถูกครอบโดยสังคมจึงกลายเป็น อย่างนี้ คิดว่า คุณครูปฐมวัยน่าจะช่วยตอบคำถามนี้ได้

นางสาวปิยนันท์ แซ่จิว

หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

20

ก่อนอื่น ขอตอบคำถามที่อาจารย์ถามว่า มีเด็กเล็กที่ ยังอยู่กับคุณตาคุณยายในชุมชนไหม ปัจจุบัน มีเยอะ มาก เพราะเด็กสมัยนี้อายุ 13-14 ปี ก็ท้องแล้ว ปัญหา จึงตกอยู่ที่คุณตาคุณยายซึ่งต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู เรามอง เห็นปัญหาดังกล่าว จึงเชิญคุณตาคุณยายมาอบรมเรื่อง การเลี้ยงดูบุตรหลานในวัยปฐมวัย เนื่องจากวัยและวุฒิภาวะที่แตกต่างกันมาก ทำให้ บางครั้งก็เกิดความไม่เข้าใจ อย่างถ้าเด็กกินอะไรไม่ทัน ก็จะโดนตบหน้า นี่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ ซึ่ง ความจริงแล้ว ผู้ที่จะเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย อายุไม่ควรเกิน 25-30 ปี นั่นเป็นเหตุผลที่เราเน้นว่า การคัดเลือกครู ปฐมวัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะถ้าอายุมากเกินไป ก็จะไม่ได้อย่างใจ เรื่องที่เราอบรมและให้องค์ความรู้แก่คุณตาคุณยาย ได้แก่ 1) ส่งเสริมเรื่องการรับประทานอาหารของเด็ก

2) เรียนรู้พฤติกรรมของเด็กวัยปฐมวัย และ 3) การทำ กิจกรรมร่วมกับคุณตาคุณยาย เช่น บางทีคุณตาคุณ ยายจะตำหมาก ก็ ให้ ห ลานช่ ว ยตำ จะได้ ช่ ว ยพั ฒ นา กล้ามเนื้อมัดเล็ก พออธิบายตรงนี้ทำให้คุณตาคุณยาย

เริ่มเข้าใจ หรือคุณตาคุณยายชอบทานน้ำพริก แต่เด็กยัง ทานไม่ได้ เพราะจะทำให้สายตาเสีย เราก็ต้องให้องค์ ความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารของเด็ก และพา คุณตาคุณยายมาเรียนรู้การทำอาหารที่ศูนย์ ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กจึงเปรียบเสมือนสถาบันพัฒนาครอบครัว และ หลังจากให้องค์ความรู้ไปแล้ว เราก็ต้องตามไปดูที่บ้านว่า ได้ปฏิบัติตามไหม ประมาณร้อยละเท่าไหร่ ผลที่ออกมา ก็น่าพอใจ ส่วนปัญหาเด็กมีความเบี่ยงเบนในเรื่องพฤติกรรม ทางเพศ จากชายจะกลายเป็นหญิง จากหญิงจะกลาย เป็นชาย ปัจจุบันก็มีเยอะมากเช่นกัน ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กจึงต้องมีสื่อและอุปกรณ์ให้ครบ เพื่อจะได้มองเห็น พฤติกรรมของเด็กทั้งหมด เรามองเห็นพัฒนาการของเด็กที่เริ่มมีความเบี่ยงเบน เช่น เด็กชายคนหนึ่ง อยู่ใกล้ชิดกับคุณแม่มากเกินไป เพราะพ่อไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด เขาก็จะมีพฤติกรรม เหมือนผู้หญิง ชอบใส่กระโปรง แต่งหน้า ทำผม เมื่อ คุณครูเข้าไปพบเห็นเข้า ก็จะต้องมีวิธีการพูดให้เด็ก เข้าใจ ไม่ใช่แว้ดๆ ใส่เด็ก ไม่เช่นนั้นเด็กจะจำฝังใจ ใส่ มาทุกวัน แกล้งครูดีกว่า ดังนั้นครูผู้ดูแลเด็กจึงต้องมี จิตวิทยาสูงมาก เช่น “หนูอยากจะลองดูว่า ผู้หญิงเขา เป็นกันแบบไหนใช่ไหม กำลังเรียนรู้อยู่ใช่หรือเปล่า แต่ หนูเป็นผู้ชาย ต้องใส่แบบนี้นะ” โดยเราต้องมีเสื้อผ้าทั้ง หญิงและชายให้เขาได้เห็น และเวลาจัดกิจกรรมโฮมรูม (Home Room) ทุกเช้า ก็ต้องเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ เพื่อ บอกให้รู้ว่า เขาเป็นผู้ชาย ทางด้านครอบครัว ก็ต้องตาม ไปดูพฤติกรรมของคุณแม่ที่บ้าน เมื่อพบว่า คุณแม่แต่ง หน้าให้เด็กดูทกุ วัน จึงลองปรึกษาว่า ให้คณ ุ ปูม่ าอยูท่ บ่ี า้ น ทำอะไรแบบผู้ชายให้เด็กดูหน่อย เพื่อให้เขาเลียนแบบ หรือบางทีเด็กหญิงเป็นทอม ไปขึ้นคร่อมชกเด็กชาย เนื่องจากพื้นฐานของเด็กคนนี้ พ่อแม่แยกทางกัน เด็ก


อาศัยอยู่กับคุณพ่อ คุณพ่อก็สอนให้ลูกเป็นผู้ชายเต็มที่ เราจึงเรียกคุณพ่อมาพบที่คลินิกผู้ปกครอง และบอกว่า ลูกเป็นผู้หญิงต้องสอนให้เป็นผู้หญิง ไม่ใช่ไปขึ้นคร่อม ผู้ชาย แบบนั้นใช้ไม่ได้ คุณพ่อต้องเรียนรู้วิธีเลี้ยงลูก ใหม่ แล้วคุณพ่อกับคุณแม่จะคืนดีกันได้ไหม ครูปฐมวัย ต้องช่วยจนถึงขนาดนั้น แม้กระทั่งเวลาเข้าไปอยู่ในมุ้ง ก็ ต้องคอยสอนว่า คุณพ่อคุณแม่ถ้าจะมีอะไรกุ๊งกิ๊งกัน เวลาค่ำคืน ช่วยดูลูกก่อน เขย่าให้เต็มที่ว่าหลับดีหรือยัง เหล่านี้เป็นต้น พฤติกรรมของเด็กชายและเด็กหญิงในปัจจุบัน ก็ จะเป็นอย่างที่ได้เล่ามา ซึ่งคุณครูผู้ดูแลเด็กต้องคอยช่วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กทุกวันๆ จนกระทั่งเด็กมี พฤติกรรมที่ดีขึ้น และผู้ปกครองก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ด้วย

นายแก้ว สังข์ชู

กรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป

นายสมคิด สิริวัฒนากุล

คณะประสานงานองค์กรชุมชน (คปอ.)

มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นครูบอกว่า เมื่อก่อนตอนเด็กอยู่ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก็เป็นเด็กดี แต่พอขึ้นไปเรียนระดับ ประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ทำไมถึงสูบบุหรี่ กลาย เป็นคนเกเร ชอบชกต่อย เรื่องดีๆ เหล่านี้ จะทำอย่างไร ให้ ม ี ค วามต่ อ เนื ่ อ ง และชุ ม ชนจะมี ส ่ ว นช่ ว ยกั น ดู แ ล อย่างไร เพราะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถึงจะดีเพียงใด แต่ เด็ ก ก็ ม าอาศั ย อยู ่ แ ค่ 2-3 ปี เมื ่ อ ออกไปแล้ ว จะหา โรงเรียนแบบไหนให้เด็กได้เรียนต่อ อี ก ทั ้ ง เดี ๋ ย วนี ้ ใ นชนบท สิ ่ ง แวดล้ อ มพื ้ น ฐานทาง สังคมก็เปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน เอาลูกมาฝากไว้ กับตายาย เพื่อเป็นการพ้นภาระ ถ้าหากไม่มีวิธีการทำให้ ตายายหรือคนในชุมชนเข้าใจเรื่องเด็กอย่างเพียงพอ ก็ จะกลายเป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง หมายความว่า การ พัฒนาต้องเป็นกระบวนการทางสังคมเชื่อมต่อกันทั้ง ระบบการศึกษา ทั้งครูที่ขึ้นกับท้องถิ่นและไม่ขึ้นกับ

ท้องถิ่น ต้องหันหน้าเข้าหากัน ตลอดจน กำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน อบต. ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเด็กเล็ก ถ้ามี

จุดมุ่งหมายที่ต้องการจะพัฒนาคน เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ไปร่วมงานศพในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีคนมาเล่าว่า ตอนไปทอดแหหาปลา มีเด็กบอกว่า “ตา เอาสักหน่อยไหม” แล้วชูแก้วเหล้าขาวให้ จะเห็นว่า เดี ๋ ย วนี ้ พ ฤติ ก รรมของเด็ ก นอกจากเรื ่ อ งชู ้ ส าวแล้ ว เหล้า-เบียร์-บุหรี่ก็มีมาก เพราะระบบสังคมที่เป็นอยู่นี้ใช่ หรือไม่ที่เป็นคนสอน ดังนั้นถ้าทางฝ่ายปกครอง ครู และ ชุมชน ยังสร้างสิ่งแวดล้อมพื้นฐานทางสังคมที่ไม่ดีให้แก่ เด็ก และนโยบายทางการศึกษายังแยกส่วนอยู่ ปัญหา ทุกอย่างก็จะยังคงดำเนินไปในลักษณะนี้

พอเด็กกลับจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาอยู่ที่ครัว เรื อ น พ่ อ แม่ ต ้ อ งออกไปทำมาหากิ น เด็ ก ก็ จ ะเปิ ด โทรทัศน์ดู ซึ่งเด็กอายุ 2-3 ขวบ เดี๋ยวนี้เปิดโทรทัศน์เอง เป็นแล้ว แล้วเปิดไปเจอละครซึ่งแต่งตัวกันล่อแหลมมาก เด็กซึมซับเรื่องเหล่านี้มากกว่าการดูพ่อแม่ที่อยู่มุ้งเสียอีก เพราะซึมซับอยู่ทุกวัน พฤติกรรมการเบี่ยงเบนทางเพศ ทั้งหลาย ก็เห็นตัวอย่างจากในละครทั้งหมด จึงอยากจะฝากว่า สื่อของเราพัฒนาได้ไหม เพราะ ละครแบบนี ้ ท ำให้ เ ด็ ก เสี ย และกลายเป็ น ปั ญ หาของ สังคม เวลาเขาแสดงบทเลิฟซีนกัน อย่าคิดว่าเด็ก 2-3 ขวบ จินตนาการไม่ได้ เขาไปไกลกว่าที่เราคิด ผิดจากคน รุ่นตนเองอายุ 15 ปี ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าสื่อไม่จำกัด ตรงนี้ ถึงป้องกันอย่างไรก็ไม่มีทาง เพราะเราไม่ได้อยู่กับ ลูกตลอดเวลา

21


ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

22

ตอนนี ้ ก ำลั ง ทำงานวิ จ ั ย ใกล้ จ ะแล้ ว เสร็ จ ชื ่ อ ว่ า โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทาง สั ง คมในกรุ ง เทพมหานคร ซึ ่ ง กทม.ร่ ว มกั บ สถาบั น บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และมหาวิทยาลัย 25 แห่ง ทำการวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งประเด็นเรื่อง ความยากจน โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ การเข้าถึง การบริการของรัฐ การถูกรังแกโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และการ เป็นคนไม่มีปากเสียง พูดอะไรไม่มีใครฟัง เราไปทำการศึกษาเชิงลึกใน 50 เขต รวม 96 ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยชุมชนอยู่ 5 ประเภท คือ ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชุมชนบ้านจัดสรร เคหะชุมชน และชุมชน ชานเมือง ในส่วนนี้มีเรื่องเกี่ยวกับเด็กเล็กกับการศึกษา อยู่บ้าง ในเชิงรูปธรรม รู้สึกแปลกใจที่ กทม.ก็มีปัญหา เหมือนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะชุมชนแออัดกับชุมชน เมืองจะมีความแตกต่างกัน เพราะชุมชนแออัดไม่มีที่ดิน ของตนเอง ส่วนใหญ่เป็นที่บุกรุก ไม่ค่อยถูกต้องตาม กฎหมาย ส่วนที่ถูกต้องก็มีอยู่บ้างแต่เป็นพื้นที่แคบ ดัง นั้นจึงมีสภาพการดูแลเด็กเล็กที่ไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่า ไหร่ เครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากรครูก็ขาดแคลน และไม่ ได้เรียนมาทางด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง เพียงแค่หา ใครมาเป็นครูดูแลเด็กได้ก็นับว่าเก่งแล้ว ในขณะที่ชุมชน เมื อ ง จะมี ป ั ญ หาเรื ่ อ งคุ ณ ภาพครู แต่ ชุ ม ชนที ่ ม ี ก าร จั ด การศึ ก ษาปฐมวั ย ได้ ด ี ก ว่ า เพื ่ อ นคื อ เคหะชุ ม ชน เพราะมีระบบการจัดการที่การเคหะฯ มาวางไว้ให้ ส่วน ชุมชนบ้านจัดสรรไม่ต้องพูดถึง เพราะเขามีการรวมตัว กัน ก็จะมีการดูแลเรื่องนี้อยู่

ในเชิงปัจจัย เด็กเล็กทั้งหลายก็เหมือนกับเด็กโต มี ตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก แต่ปัจจัยสำคัญที่พบ คล้ายคลึงกันคือ ผู้ปกครอง ซึ่งต้องทำงานปากกัดตีนถีบ ไม่ ค ่ อ ยมี เ วลาที ่ จ ะให้ ค วามสำคั ญ หรื อ มาพู ด คุ ย กั บ คุณครู ทางด้านโรงเรียนเองก็จัดการศึกษาตามระบบ นโยบายเรียนฟรี ซึ่งมีตัวชี้วัดมากมาย ก็เลยไม่มีความ ละเอียดอ่อนกับเรื่องเหล่านี้ อันนี้เป็นเรื่องที่เราคงทราบ ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองในเชิงวิเคราะห์ ทุกวันนี้ ชุมชนแทบทุก ประเภทยังหวังพึ่ง กทม.ที่จะทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ต่างๆ ลงมา แม้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือขาดแคลน ก็เอาแต่ รอเพียงงบประมาณอย่างเดียว เหตุผลที่เป็นอย่างนี้อาจ จะเป็นเพราะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สมาชิก สภาเขต (ส.ข.) ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ไปสัญญิงสัญญาไว้ จึงรู้แต่เพียงว่า ต้องรองบประมาณ และอี ก จุ ด หนึ ่ ง ที ่ น ่ า สั ง เกตก็ ค ื อ การศึ ก ษาของ เด็กเล็ก ยังเป็นปัญหาของแต่ละครอบครัว ของใครของ มัน ไม่ได้เป็นปัญหาในเชิงวาระของชุมชน กระบวนการ ชุมชนอ่อนแอมากในการจัดการปัญหาเรื่องการศึกษา ที่ ผ่านมา กรรมการชุมชนอาจจะไปดูเรื่องปัญหายาเสพติด น้ำท่วม ไฟฟ้าไม่สว่าง แต่พอเป็นเรื่องการศึกษาหรือเด็ก เล็ก กลายเป็นเรื่องของใครของมัน อาจจะเป็นด้วยเรื่อง ดังกล่าวเป็นเรื่องที่มองไม่เห็นเพราะอยู่ในตัวเด็ก เหล่านี้ เป็นประเด็นที่น่าขบคิด อย่างนโยบายเรียนฟรีก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นเรื่องของส่วนรวม และไม่ได้ เรียนฟรีจริง คนที่มีสตางค์จ่ายเพิ่มก็ดีไป แต่คนที่ไม่มี สตางค์ ลูกหลานก็ไม่มีอุปกรณ์การเรียนครบเหมือนกับ คนอื่น


นายทวีป จูมั่น

อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

มีเรื่องที่อยากชวนคุยหลายประเด็น ดังนี้ ประเด็น ที่ 1 ต้องฝากกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพราะ มีเรื่องน่าประหลาดอย่างหนึ่งในการทำศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ซึ่งได้เงินมาจากกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund: SIF) เหมือนกัน และได้ รับรางวัลระดับดีมาก ยอดเยี่ยมมาโดยตลอด ก่อนที่ ตนเองจะลาออกจากตำแหน่งนายก อบต. มีเจ้าหน้าที่ จากกรมไปตรวจที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เชื่อหรือไม่ เสื้อ ชูชีพที่เตรียมไว้สำหรับฝึกให้เด็ก 3 ขวบว่ายน้ำเป็น ทาง กรมกลับมาบอกว่า ให้คืนเงิน เพราะไม่คุ้มค่า นี่เป็น ปัญหาที่เกิดจากการไม่ร่วมกันทำงาน และไม่เข้าใจกัน ฝ่ายตรวจสอบก็แค่ไปตรวจสอบ ส่วนฝ่ายที่มีหน้าที่ด้าน การศึกษาก็ทำเรื่องการศึกษาไป และ ประเด็นที่ 2 อัตราส่วนระหว่างอาจารย์ต่อ จำนวนเด็กเล็ก ควรจะอยู่ที่ อาจารย์ 1 คนต่อเด็ก 10 คน เพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงของการพัฒนาสมอง การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีอยู่ 2 เรื่องหลัก เรื่องแรกคือ การบริหารจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

แห่งไหนที่มีชื่อเสียงย่อมขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการทั้ง สิ้น และอีกเรื่องหนึ่งคือ การพัฒนาสมอง เพราะเรา ต้องการให้เซลล์สมองของเด็กเติบโตเต็มที่ ดังนั้นถ้า อัตราส่วนยังเป็นครู 1 คน ต่อเด็ก 25 คน คิดว่า คงจะ จัดการกับเด็กได้ลำบาก ส่ ว นที ่ จ ะมาเสริ ม กั บ เรื ่ อ งของการพั ฒ นาสมอง ได้แก่ 1) ความเป็นพี่เลี้ยง ตนเองมีประสบการณ์เรื่องนี้ มาตั้งแต่ปี 2515 ตอนที่อยู่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ความ เป็นพี่เลี้ยงจะไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่อาจารย์เจิมศักดิ์ได้ บอกไว้ เกี่ยวกับเรื่องจะไปหยุดพฤติกรรมของสมองว่า

อย่านะ ไอ้นน่ั ก็ไม่ได้ ไอ้นไ่ี ม่ได้ ครูบางคนใช้กาวลาเท็กซ์ ทามือเพื่อไม่ให้เด็กซน ทาเสร็จเด็กก็มานั่งร้องไห้ 2) การ มีส่วนร่วม เป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเห็น ความสำคัญ นำเอาเรื่องของวัฒนธรรมเข้ามาสอนใน โรงเรียนให้ได้ และ 3) สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและ ภายนอกจะต้องดี สุดท้าย ถ้าจะตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาสมองของ เด็กปฐมวัย ต้องยอมรับว่า หน่วยงานที่ทำให้เด็กเกิด พฤติกรรมเบี่ยงเบนมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัย เพราะ มหาวิทยาลัยเอาคนที่จะเป็นเบ้าออกมาหลอม เพื่อที่จะ ผลิตครูเอกปฐมวัย การจะพัฒนาสมองนั้น ต้องฝึก ทั ก ษะ 4 ด้ า น ขอเล่ า จากประสบการณ์ ท ี ่ เ คยสอบ ครูปฐมวัย เราบอกข้อสอบล่วงหน้า โดยมีโจทย์ให้เขาไป คิดกิจกรรมที่จะทำใน 4 เรื่อง คือ 1) กิจกรรมฝึกทักษะ การฟัง 2) กิจกรรมฝึกทักษะการพูด 3) กิจกรรมฝึก ทั ก ษะกล้ า มเนื ้ อ -ประสาทสั ม ผั ส ที ่ เ ชื ่ อ มโยงกั น และ 4) กิจกรรมการฝึกให้เปลี่ยนพฤติกรรมทางสังคม แล้ว บอกให้ไปเขียนมาส่ง บางคนเขียนไม่ได้เลย นั่นแสดงว่า มหาวิทยาลัยที่ฝึกครูเอกปฐมวัย ยังทำไม่ถูกต้อง เพราะ ความจริงแล้ว สำหรับเด็กปฐมวัยมีแค่ 4 เรื่องหลักนี้ เท่านั้นเองที่เป็นหัวใจสำคัญ ดั ง นั ้ น จึ ง อยากฝากให้ ก รมส่ ง เสริ ม การปกครอง ท้องถิ่นช่วยคิดในเรื่องนี้ ว่าจะทำอย่างไร ให้มีการปรับ ลดอัตราส่วนจนเหลือครู 1 คน ต่อเด็ก 10 คน รับรองว่า ถ้าทำได้ คุ้มแน่นอน และยังมีบทเรียนที่ได้รับจากศูนย์ สาธิตการพัฒนาเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ว่า อย่าให้ครูพี่เลี้ยงอยู่คนเดียวต่อห้อง ใน 1 ห้องควรจะมีครูพเ่ี ลีย้ ง 2 คน จะสามารถจัดการกับเด็ก ได้ดีกว่า โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องใช้ความเป็น พี่เลี้ยง ทำให้เด็กทั้งหมด ไม่ว่าจะ 10 คนหรือ 20 คน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

23


24

ซึง่ บางคนอาจจะเรียนส่วนราก บางคนเรียนส่วนต้น หรือ สุดท้าย ขอโทษแทนพี่น้องท้องถิ่นที่บางคนอาจจะ บางคนเรียนส่วนปลายก่อน แต่ทุกคนต้องได้เรียนรู้หมด ประหม่าไปบ้าง ส่วนตนเองถึงบ้านนอกแต่สมาร์ท ไป ไหนก็ผกู เนคไท ปิดโทรศัพท์มอื ถือเรียบร้อย มีการเรียนรู้ นายมานพ ยะเขียว ถึ ง ไม่ ม ี โ รงเรี ย นสอน แต่ เ ราก็ ฝ ึ ก ฝนเองไปในตั ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ สมัยก่อน ชาวบ้านไปไหนเกาะกันเป็นปลิง แต่เดี๋ยวนี้ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไม่ ใ ช่ ต้ อ งเป็ น ดาวฤกษ์ ไ ม่ ใ ช่ ด าวเคราะห์ เพราะเรา อบต.แม่ปะเคยโดนเรียกเก็บเงินคืน เนื่องจากนำ ทุกคนมีแสงสว่างในตัวเอง งบประมาณที่ได้มา ไปอุดหนุนเพื่อจ้างคุณครูชั้นประถม ศึกษาจำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,000,000 บาท แต่เราก็ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ชาน มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ได้คืนเงินให้ จำได้ว่า ตอนนั้นท่านสมพร ใช้บางยาง ศาสตราภิ ยังเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอยู่ ในฐานะของคนทำสื่อ อยากจะเรียนว่า เรื่องการรัก เราใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อหลักในการสอนเด็ก โดยให้ การอ่านเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก คุณครูชั้นประถมศึกษามาสอนการฟ้อนเล็บ เพราะทำให้ อยากจะเปรียบเทียบว่า ระหว่างการอ่านหนังสือกับ มีสมาธิและเป็นการออกกำลังกายไปในตัว เด็กที่เรียนใน การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตำบลแม่ปะทุกคนต้องฟ้อนเล็บเป็น ก่อนหน้านี้เราเคย แต่ ค นมั ก ไม่ รู ้ ว ่ า แตกต่ า งกั น บางคนเข้ า ใจว่ า การดู สอนแม่บ้าน โดยตัดชุดให้ร้อยกว่าชุด พอไปรำให้เจ้า โทรทัศน์กับฟังวิทยุมันง่ายดี และคนไทยก็ชอบฟัง-ชอบ นายดู ปรากฏว่า สามีเกิดความหึงหวงขึ้นมา สุดท้ายก็ ดู แต่ไม่ชอบอ่าน อยากจะเรียนว่า การอ่านหนังสือทำให้ ล่มไป จึงต้องมาฝึกฝนเด็กเล็กขึ้นใหม่ เราเป็นนายตัวเอง จะหยุดพิจารณาเมื่อไหร่ก็ได้ เถียงกับ อีกเรื่องหนึ่ง อยากฝากถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลนี้ มันได้ อ่านซ้ำ-อ่านใหม่ได้ เป็นนายตัวเองตลอดเวลา แต่ ว่า ไม่ต้องหวงเงินงบประมาณ ครั้งหนึ่งเคยมีพรรคร่วม เวลาดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ จะถูกเขาลากดึงไปตลอด รัฐบาล เอาเงินค่าอาหารไปเปลี่ยนเป็นโครงการสร้างถนน จากประเด็นนี้ไปประเด็นโน้น ไปเรื่อยๆ เราตกเป็นทาส 2,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง แต่แย่ง ไม่เป็นตัวของตัวเอง และจะคิดอะไรซับซ้อนไม่เป็น อาหารเด็กเล็กถือเป็นบาป เพราะเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ เดี๋ยว เพราะฉะนั้นสื่อในเรื่องการอ่านจึงสำคัญมาก นี้กรรมตามทันแล้ว บาปกินหัว ฉะนั้นทุกบาททุกสตางค์ ไม่อยากจะทะเลาะเรื่องนโยบายการแจกแท็บเล็ต ของเด็กห้ามยุ่ง ใครยุ่งจะมีอันเป็นไป (Tablet) ให้กับเด็กนักเรียน หากแจกแล้วสามารถทำให้ เราอยากให้ แ นวคิ ด 1 ศู น ย์ พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก 1 เด็กรู้จักแหล่งข้อมูลในการอ่าน หรือกระตุ้นให้มีความ โรงเรียนอนุบาล ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อยากรู้อยากเห็น อยากค้นคว้า อยากอ่าน ถ้าเป็นอย่าง เป็นความจริง และอยากให้แก้ไขกฎหมายรองรับให้ นั้น ไม่ว่าอะไรก็น่ายินดีหมด แต่ถ้าทำไปแบบสูตรสำเร็จ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกู้เงินธนาคารได้ มีโปรแกรม นั่งฟัง-นั่งดู เรากำลังจะเสียคน เพราะมันไป เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับเทศบาล โดยอาจจะระบุว่า ขึ้นอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา เพราะความจริง ต้องกู้มาทำเฉพาะเรื่องของการศึกษาเท่านั้น แล้ว แท็บเล็ตก็คือ กระดานชนวนไฟฟ้าเท่านั้นเอง


ปิดท้าย

กับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป เวทีนี้เป็นเวทีที่นำเอาตัวอย่างดีๆ มานำเสนอและช่วยกันระดมความคิดแลกเปลี่ยนกัน เพื่อตอบโจทย์ว่า ทำอย่างไรสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นทั้งประเทศ พัฒนาการของเด็กเล็กถือเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะช่วงวัยนี้ เป็นโอกาสแห่งการพัฒนาที่สำคัญ ที่สุดของมนุษย์ โดยปกติ โปรแกรมในสมองมนุษย์จะเปิดในช่วงระหว่างอายุ 0-6 ขวบ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ต่อไป เด็กคนนี้ จะเป็นคนฉลาด ดี และมีความสุขหรือเปล่า ถ้าผ่านพ้นช่วงวัยนี้ไปแล้ว หน้าต่างแห่งโอกาสก็จะปิดลง ปัจจุบัน ปีหนึ่งๆ มีเด็กเกิดใหม่จำนวน 700,000-800,000 คน ถ้านับไปอีก 10 ปี ลองนึกภาพว่าจะมีเด็ก กี่ล้านคน นี่คือ อนาคตของประเทศ เราจึงต้องทุ่มเททำตรงนี้ พวกผู้ใหญ่แก่แล้ว บางทีก็หมดหวัง แต่เด็กถือเป็น โอกาสสำคัญ เดิมทีการทำงานของประเทศเรา ตลอดระยะเวลา 100 ปี ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (อดีตคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ใช้คำเรียกว่า ‘กรมมาธิปไตย’ คือ เอากรมเป็นตัวตั้ง แม้ต้องยอมรับว่า กรมมีความสำคัญในเรื่องวิชาการ แต่ไม่มีทางทำงานได้เต็มพื้นที่ มาตอนหลังเรารู้แล้วว่าท้องถิ่นมีความสำคัญ ท้องถิ่นทั้ง 3 ชนิด คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ ให้เป็นชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง กลุ่มจังหวัด จัดการตนเอง การทำงานต้องมุ่งไปในทิศทางนั้น ขณะเดียวกันส่วนอื่นๆ ก็ช่วยสนับสนุนทางด้านวิชาการและ นโยบาย วันนี้เราได้ฟังเรื่องราวจากทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับของกรม ซึ่งบทบาทของกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นจะมองเรื่องของภาพรวมเป็นหลัก และเป็นเรื่องดีที่กรมมีความสนใจในเรื่องการศึกษาระดับปฐมวัย ตั้งแต่ สมัยท่านสมพร ใช้บางยาง ยังเป็นอธิบดีอยู่ ก็พยายามผลักดันเรื่องนี้ จากนั้นก็มาถึงระดับของท้องถิ่น ซึ่งมีทั้ง เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ ที่อยู่ใกล้ชิดเมือง และองค์การบริหารส่วนตำบลชากบก จังหวัด ระยอง ซึ่งอยู่ไกลจากเมืองออกไป ท่านนายก อบต.บอกว่า เป็นคนบ้านนอก แต่เราบอกว่า บ้านนอกนี่ล่ะสำคัญ ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับบ้านนอก บ้านนอกสำคัญกว่าในเมือง ข้างล่างสำคัญกว่าข้างบน แล้วสุดท้ายก็คือ ระดับ ของผู้ปฏิบัติ ซึ่งมาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เก่งเหลือเกิน พูดจาเก่งกว่านายก รัฐมนตรีเสียอีก จากที่เล่าถึงขั้นตอนการคัดเลือกครูซึ่งมีความเข้มงวดมาก รวมถึงเรื่องความสุจริตต่างๆ ฟังแล้ว อยากให้ไปทำหน้าที่คัดเลือกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม โจทย์ของเราคือ ทำอย่างไรจะทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะถ้าผ่านพ้นจากตรงนี้ไปเราจะเสียโอกาส คนเรานั้นชาติหน้าเกิดเป็นอะไรไม่รู้ แต่ถ้าชาตินี้เสียโอกาสไป ก็น่า

25 25


26

เสียดายมาก เรื่องทั้งหมดจึงมีความด่วนอยู่ในตัวของมันด้วย ตอนนี้นอกจากองค์กรของรัฐแล้ว ยังมีองค์กรอย่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งพร้อมจะหนุนเสริมเต็มที่ แรงเยอะ และมีสตางค์ด้วย ต้องมาระดมความคิดช่วยกันทำ ประเด็นที่จับได้ สังคมไทยยังขาดความเข้าใจในความสำคัญของเด็กเล็ก รวมถึงความสำคัญของ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัย เมื่อสักครู่ มีผู้เล่าถึงสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งบอกว่า สิ่งที่ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กทำนั้นเกินความจำเป็น นั่นแปลว่า เขายังไม่เข้าใจ ทั้งที่มีผู้เชี่ยวชาญพูดเรื่องการพัฒนาเด็กเล็กมาเป็นระยะ เวลา 20-30 ปี แต่ความเข้าใจเรื่องนี้ก็ยังไม่ทั่วถึง จึงน่าจะต้องมีใครลงมาช่วยดูเรื่องการสื่อสารสักหน่อย ประเด็นเกี่ยวเนื่องที่อยากจะเรียนให้ทราบคือ ณ ขณะนี้ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS กับ สสส. เพิ่งตกลงจับ มือร่วมกัน ทำแคมเปญช่วยหาเงินบริจาค...ให้คนอื่น ไม่ใช่เข้าตัวเอง ไม่ใช่เข้า ThaiPBS หรือ สสส. เพื่อทำให้เกิด เรื่องดีๆ เพิ่มขึ้นในสังคม ปีหนึ่งๆ อาจจะได้เงินถึง 3,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องระยะยาว และเรื่อง เด็กเล็กเป็นเรื่องหนึ่งที่เข้ามาอยู่ตรงนี้ได้ เพื่อทำให้คนเข้าใจความสำคัญเรื่องนี้ และอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นรูปแบบที่ทำแล้วได้ผลแน่นอน คือลองไปดูว่า มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดีๆ อยู่ที่ไหน บ้าง เราต้องทำแผนที่ (Mapping) ทั้งประเทศ เพื่อกระจายเรื่องเหล่านี้ และส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาเรียนรู้ สร้าง เครือข่ายให้ขยายตัวออกไปเต็มพื้นที่ เรื่องต่อมา คนบ้านนอกควรภูมิใจในตัวเอง เพราะชีวิตที่ลำบากถือเป็นชีวิตที่เจริญ คนซึ่งชีวิตมีแต่ความ สะดวกสบาย ไม่ได้ฉลาดอะไร ความลำบากทำให้เราเรียนรู้ คิดว่า ในอนาคตต้องสนใจเรื่องข้างล่าง ที่ผ่านมาเรา พัฒนาไม่สำเร็จเพราะสนใจข้างบนมากเกินไป เคยพูดอยู่เรื่อยว่า พระเจดีย์สร้างไม่สำเร็จจากยอด ต้องสร้างจากฐาน พระเจดีย์ เพราะฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับข้างล่าง และบางครั้งก็อาจจะพูดรุนแรงเกินไปว่า ที่อยู่ของศีลธรรมนั้น อยู่ข้างล่าง เพราะข้างล่างเป็นความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน ส่วนข้างบนเป็นเรื่องของอำนาจและมายาคติ หากไปดูเรื่องของเศรษฐกิจที่กำลังจะพังทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป ตอนนี้กระทบไปถึงประเทศจีน ประเทศอินเดีย เพราะเป็นเศรษฐกิจมายาคติที่ลอยตัวอยู่ข้างบน แต่ข้างล่างเป็นเรื่อง ของการทำมาหากิน การเพาะปลูก ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นของจริงทั้งนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญกับของจริง ความจริง ของชีวิตและการอยู่ร่วมกันข้างล่าง จากที่ฟังมาทั้งหมด รู้สึกดีใจที่ท้องถิ่นสนใจเรื่องของการศึกษามาก และสะท้อนให้เห็นว่า มีความเข้าใจดี กว่าข้างบน หลายท่านพูดถึงความสำคัญของดนตรี ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งตอนนี้เขาศึกษาจนรู้แล้วว่า

สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อเซลล์สมองโดยตรง เซลล์ในสมอง มีเซลล์หนึ่งที่เรียกว่า เซลล์กระจกเงา (Mirror Neurons) เวลาเห็นใครทำอะไรก็จะสะท้อน ไปที่กระจกเงา สามารถทำเป็นได้ทันที สิ่งนี้บอกถึงอะไร มันบอกว่า จุดสำคัญของการเรียนรู้ในคน คือการเห็น คนอื่นทำ และร่วมทำ ไม่ได้เกิดจากการสั่งสอน ถ้าไปดูพฤติกรรมของคนโดยทั่วไป ร้อยละ 90 เรียกว่า พฤติกรรม ใต้จิตสำนึก (Subconscious behaviour) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการเห็นคนอื่นทำ มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่เกิดจากการจงใจสั่งสอน แต่การศึกษาของไทยกลับไปทุ่มเททั้งเวลาและทุกสิ่งทุกอย่างในสิ่งที่ทำแล้วได้ผลน้อย


ไม่ยอมมุ่งเน้นไปในเรื่องการปฏิบัติ การเห็นคนอื่นร่วมปฏิบัติ ซึ่งในที่ประชุมแห่งนี้มีความเข้าใจในเรื่องนี้ค่อน ข้างเยอะ เหมือนที่มีคนค่อนแคะว่า ครูผู้ดูแลเด็ก วันๆ เอาแต่ร้องเพลง ไม่เห็นสอนอะไรเลย คนอื่นพูดไม่เข้าใจ แต่คนที่ทำจะเข้าใจ อาจารย์เจิมศักดิ์ได้พูดถึงประเด็นที่ว่า เด็กเกิดใหม่นั้นอยากเรียนรู้ เพราะทุกอย่างใหม่สำหรับเขาทั้งหมด เขาจึงสนใจทุกสิ่งทุกอย่าง อยากจะสำรวจซอกเล็กซอกน้อย แต่มีงานวิจัยของต่างประเทศ บอกว่า แม่ที่เลี้ยงลูกมัก กลัวว่าเด็กจะได้รับอันตราย จึงพูดแต่ คำว่า ‘No’ กับ ‘Don’t’ คอยห้ามไม่ให้เด็กทำโน่นทำนี่ ทุกๆ 9 นาที ความจริง สมองของมนุษย์นั้นมีอยู่ 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 อยู่ด้านในสุด เป็นสมองของสัตว์เลื้อย คลาน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ การเต้นของหัวใจ การกินอาหาร การสืบพันธุ์ การต่อสู้ หลบภัยต่างๆ เพื่อความ อยู่รอด ส่วนที่ 2 เป็นสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalian brain) เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และ ส่วนที่ 3 เป็นสมองส่วนมนุษย์ อยู่บริเวณด้านหน้า มีขนาดใหญ่เบ้อเร่อ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับสติปัญญา วิจารณญาณ ศีลธรรม ถ้าเด็กได้คิดและทำอะไรเอง จะเป็นการใช้สมองส่วนหน้า และทำให้มีความสุข จากนั้นจะเกิดศีลธรรมขึ้นมาเอง แต่ถ้าถูกจัดการแบบบนลงล่าง (Top Down) เมื่อไหร่ มันจะถูกกระตุกให้ไปใช้สมองส่วนหลัง คิดจะต่อสู้ ซึ่งเป็น ส่วนของสัตว์เลื้อยคลาน ฉะนั้นที่เราสอนศีลธรรมไปจึงไม่สำเร็จ ศีลธรรมไม่เกิด เพราะศีลธรรมสอนกันไม่ได้ แต่ถ้า เด็กได้คิดเอง ศีลธรรมจะเกิด อันนี้ถือเป็นเรื่องแปลก ยกตัวอย่างของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม (ปราชญ์ชาวบ้านด้านวนเกษตร) เคยทำการทดลองกับเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประมาณ 20 คน โดยบอกว่า ลุงมีเงินอยู่ 300 บาท แจกให้กับทุกคนไม่พอหรอก อยากให้ หนูลองคิดกันดูว่า ควรจะทำอย่างไรกับเงินนี้ดี เด็ก 20 คนจึงลงความเห็นเป็นฉันทามติว่า ควรจะให้เด็กคนนี้ เพราะ พ่อแม่เขาจนที่สุด เด็กเรียนรู้เองได้ แต่ถ้าผู้ใหญ่วิบูลย์ไปตัดสินเสียก่อน เด็กย่อมจะไม่พอใจ อาจจะทะเลาะ เบาะแว้งกัน และรู้สึกเกลียดผู้ใหญ่ แต่เมื่อเขาปรึกษาและตัดสินกันเอง เขาจะมีศีลธรรมเกิดขึ้น แต่สังคมไทยเราเป็นสังคมอำนาจ พ่อแม่หรือคุณครูถึงจะรักเด็กก็จัดการแบบ Top Down ตลอด เราต้อง ขจัดตรงนี้ให้ได้ ต้องนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน คนเราต้องคุยกัน อย่าไปใช้อำนาจ แล้วทุกอย่างจะเปิด คุยกันด้วย ความเสมอกัน สนทนา (Dialogue) กัน ต้องเปลี่ยนแปลงจากสังคมอำนาจ ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ถ้าพ่อแม่ร่วม เรียนรู้กับลูก พ่อแม่และลูกก็จะมีความสุข จะฉลาด พ่อแม่ก็ได้เรียนรู้ด้วย เพราะลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน ครูก็ ร่วมเรียนรู้กับนักเรียน เจ้านายก็ร่วมเรียนรู้กับลูกน้อง เป็นการเรียนรู้ทั้งหมด เราต้องการปรับตรงนี้ เพราะฉะนั้นทุกตำบลน่าจะมีสภาเด็กและเยาวชน ให้เด็กได้คิดเองทำเอง และมีผู้ใหญ่คอยหนุน จะทำให้ เกิดสิ่งดีๆ ขึ้น และเกิดศีลธรรม เด็กอาจจะคิดทำรายการวิทยุ หรือส่งภาพยนตร์สั้นเข้าประกวด อย่างโครงการ ประกวดหนังสั้น จากบทความ ‘คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดโดยโครงการปิ๊งส์ ภายใต้แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกฯ สสส. ร่วมกับ คณะกรรมการ

เครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป) เป็นต้น และถ้าสภาเด็กและเยาวชนของตำบล สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างตำบล เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด จนกระทั่งเกิดเป็นเครือข่ายเด็กและเยาวชนเชื่อมโยงกันไปทั่วประเทศ ก็จะเป็นการสร้าง อนาคตไปข้างหน้า

27


28

เมื่อสักครู่ อาจารย์เจิมศักดิ์ยังได้ตั้งประเด็นคำถามเรื่องของพ่อแม่ ซึ่งตนเองกำลังเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ พอดี เป็นเรื่องการปฏิรูปแนวคิดการศึกษา การศึกษาของเราที่ผ่านมา พยายามปฏิรูปกันอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เพราะเรา ไม่ได้ปฏิรูปแนวคิด (Concept) เราใช้แนวคิดการศึกษาแบบเก่ามาร้อยกว่าปี และมีปัญหา ตัดกลับมายังเรื่องนี้ ตอนนี้กำลังเขียนเรื่องเด็กเล็ก โดยถ้าจะมองให้สมบูรณ์ มีอยู่ 3 เรื่องที่ต้องทำ ไม่ใช่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพียงอย่างเดียว พ่อแม่เองก็มีส่วนสำคัญ เพราะเป็นครูคนสำคัญที่สุดสำหรับลูก พ่อแม่รักลูก ลูกได้ทำอะไรกับพ่อแม่จะมีความสุข แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจ ถ้าพ่อแม่มีรายได้น้อย ต้องไปทำงาน ก็ไม่มี เวลาอยู่กับลูก ฉะนั้นเราจึงต้องไปดูเรื่องของระบบเศรษฐกิจด้วย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ ดังนัน้ เรือ่ งที่ 1 ต้องเน้นการมีสมั มาชีพเต็มพืน้ ที่ ซึง่ จะไปกระทบกับเรือ่ งคุณภาพเด็ก เพราะถ้ามีสมั มาชีพ

เต็มพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรยั่งยืน จะทำให้มีเวลามากขึ้น เคยไปคุยกับชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง เดิมทีเดียว สามีต้อง เที่ยวเร่ร่อนออกจากบ้านไปขายของ ภรรยาอยากให้สามีทำเกษตรอยู่บ้าน จะได้อยู่ด้วยกันพ่อ-แม่-ลูก ตอนหลังสามี จึงเปลี่ยนอาชีพ มาทำเกษตรยั่งยืน ทำให้มีเวลาอยู่ด้วยกัน ครอบครัวอบอุ่น ถ้าพยายามทำเรื่องนี้ให้เต็มพื้นที่ จะ เป็นปัจจัยทำให้พ่อ-แม่-ลูกได้อยู่ด้วยกัน เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งได้กล่าวถึงกันไปพอสมควรแล้ว และ เรื่องที่ 3 คนไทยไม่มีวัฒนธรรมการอ่าน พวกที่ทำงานเรื่องการส่งเสริมการอ่าน รู้มานานแล้วว่า

ถ้าเราไม่อ่าน แค่ดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ จะไม่มีทางเข้าใจเรื่องซับซ้อนได้ สังคมเรามีเรื่องซับซ้อนเยอะมาก หาก ไม่เข้าใจก็จะตีกัน หยาบคาย กักขฬะ ขัดแย้ง รุนแรง ทำอะไรไม่สำเร็จ และคนไทยที่เข้าใจเรื่องซับซ้อนนั้นมีน้อย อันที่จริงคนต่างประเทศก็เป็นเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในแต่ละหมู่บ้านไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็แล้วแต่ จะต้องมีคนที่รักการอ่าน ที่รู้เรื่องนี้ เพราะตนเองก็มาจากหมู่บ้านริมภูเขา สมัยก่อนอยากอ่านแต่ก็ไม่มีอะไรจะอ่าน ต้องอ่านตามถุงกล้วยแขก ถุงใส่ของ ต่างๆ ฉะนั้นท่านนายก อบต. หรือเทศบาล น่าจะลองไปสำรวจดูว่า ในแต่ละชุมชนมีใครรักการอ่านบ้าง แล้ว

ส่งเสริมให้เขารวมตัวเป็นชมรมรักการอ่านของหมู่บ้าน และดูแลห้องสมุดหมู่บ้าน ห้องสมุดหมู่บ้านสามารถมีได้ทุกหมู่บ้าน และถ้ามีคอมพิวเตอร์ด้วยก็จะยิ่งดีใหญ่ เมื่อคนเหล่านี้รักการอ่าน เขาจะดูแลหนังสือ เราก็จัดการให้เขามีหนังสือที่ควรมี-ควรอ่าน จะรับบริจาคหรือจะซื้อก็ได้ จากนั้นคนที่รักการอ่าน เขาก็จะอยากให้คนอื่นได้อ่านบ้าง ไปชวนคนอื่นอ่าน และเมื่ออาศัยอยู่ในหมู่บ้าน เขาจะรู้ว่าพ่อแม่บ้านไหนที่มีลูกบ้าง ก็จะไปส่งเสริมให้พ่อแม่บ้านนั้น อ่านนิทานดีๆ ให้ลูกฟัง เพราะว่าการที่เด็กเล็กได้ฟังนิทานดีๆ จะไปสร้างโปรแกรม ในสมอง สมมติว่า โปรแกรมเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ก็จะเกิดขึ้นได้ช่วงนั้น ถ้าเราตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เด็ก สิ่งนี้จะเหนียวแน่นมาก ถึงจะเจอคนโกงเต็มบ้านเมืองก็จะไม่โกง เพราะเอาอยู่ สรุปแล้วมีทั้งหมด 3 เรื่องคือ สัมมาชีพเต็มพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชมรมรักการอ่านกับห้องสมุด หมู่บ้าน เพื่อเข้ามาเสริมกัน และในอนาคตเสนอว่า ท้องถิ่นอาจจะมีการจัดประกวดการอ่านทั้งประเทศ เหมือนที่ เมืองจีนที่นำไปสู่การสอบเป็นบัณฑิตหรือจอหงวนก็อาจจะเป็นไปได้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.