จดหมายข่าว วันที่ 23 ตุลาคม 2556

Page 1

จดหมายขาวปั น สุ ข ่ ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2556

ความสุขของอุ้ย

เปิดค่ายพลเมืองเยาวชน ร่วมพิสูจน์ความดีมีรูปธรรม

ส� ำ นั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชน ภายใต้ ส� ำ นั ก งาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ อบต.หัวง้ม จัดพิธีเปิดกิจกรรมสร้างสรรค์ (ค่าย) “พลเมือง เยาวชนร่วมสร้างวิถีความดี” เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 23 ตุลาคม 2556 โดยได้รับเกียรติจาก นายสมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 3 มาเป็นประธาน เปิดในพิธี นายสมพร ใช้บางยาง กล่าวว่า กิจกรรมนี้ได้รับการจัด ขึ้นตามความประสงค์ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันประเด็นนโยบาย เรื่อง “การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน” ให้เป็นวาระส�ำคัญ ของชุมชน เพื่อสร้างฐานพลเมืองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ขับเคลื่อนรูปธรรมของการพัฒนาสุขภาวะในกลุ่มเด็กและ เยาวชน “อยากให้เยาวชนที่เข้ามาอบรมในค่ายฯ ครั้งนี้ ได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้จากชาวต�ำบลหัวง้ม ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่ เยาวชนสามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะการแพร่ ขยายนวั ต กรรมธนาคารความดี ใ ห้ ก ระจายทั่ ว ทุ ก ชุ ม ชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งทาง สสส. ให้ค�ำมั่นสัญญาว่า อย่าง น้อยท้องถิ่น 200 แห่ง จะสามารถน�ำเอาธนาคารความดี ไปพั ฒ นาชุ ม ชนของตนเองต่ อ ไป” ประธานกรรมการ บริหารแผนคณะที่ 3 กล่าว ด้านนางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก สนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวว่า เหตุที่เลือกต�ำบลหัวง้ม

นั้น เพราะที่นี่ได้แสดงให้เห็นถึงรูปธรรมของความดี ซึ่งง่าย ต่อการเข้าถึง โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ทาง สสส. มี พั น ธกิ จ ในการขั บ เคลื่ อ นสุ ข ภาวะของเด็ ก และ เยาวชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ท่ า มกลางปั ญ หาต่ า งๆ ทั้ ง จาก ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ฯลฯ ส�ำหรับกิจกรรมการเรียนรูใ้ นครัง้ นี้ นายวินยั เครือ่ งไชย นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลหัวง้ม กล่าวว่า ทางต�ำบลหัว ง้มได้จดั เตรียม 6 เมนูความดี 15 ฐานการเรียนรู้ ทีท่ างต�ำบล พยายามหนุนให้เยาวชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการ ท� ำ ความดี และเพื่ อ ให้ พ วกเขาได้ น� ำ ไปต่ อ ยอด และ ปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเองต่อไป ด้ า นตั ว แทนเยาวชนที่ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมสร้ า งสรรค์ (ค่าย) “พลเมืองเยาวชนร่วมสร้างวิถีความดี” ในครั้งนี้ เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ได้มาท�ำกิจกรรมร่วม กับเพื่อนๆต่างภาค ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษา อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถใช้ เ วลาว่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ ใ นช่ ว ง ปิดเทอม และยังบอกอีกว่าจะน�ำความรู้และสิ่งดีๆ ที่ได้ จากการท�ำกิจกรรมในครั้งนี้ ไปพัฒนาต่อยอดชุมชน ท้องถิ่นของตนเองให้ยั่งยืนสืบไป ในการนี้ นายวิชยั ได้กล่าวสรุป เพือ่ เชิญชวนให้ทอ้ งถิน่ ทั่ วประเทศเปิ ด โอกาสและพื้ นที่ ใ ห้ กั บเยาวชน ส่ งเสริ ม ทั ก ษะด้ า นต่ า งๆ ให้ กั บ พวกเขา ผ่ า นการสร้ า งสรรค์ กิจกรรมดีๆ ให้กับเยาวชนซึ่งเป็นฐานพลเมืองที่ส�ำคัญของ ประเทศต่อไป

ต�ำบลหัวง้ม อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในอดีตมี การฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่ได้รับความเอาใจ ใส่จากลูกหลาน คิดว่าตัวเองไร้คุณค่าและเป็นภาระของ คนอื่น แต่เมื่อองค์การบริหารส่วนต�ำบลหัวง้มและชาว ชุมชนได้ร่วมกันค้นคิดวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทั่งเกิดมิติที่จะท�ำงานร่วมกันอย่างมีพลัง เกิดการ ประสานความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ เกิดการ ท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น ในหลายปี ที่ ผ ่ า น ไม่ ว ่ า จะเป็ น โครงการธนาคารความดี ต�ำบลหัวง้ม ที่มีกลุ่มสัมพันธ์ ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มกันท�ำกิจกรรม ให้มีอายุยืนยาว มีสุขภาวะอนามัยที่สมบูรณ์ ทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ และสังคม หรือโรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบล หัวง้ม ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่มีความ ส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิต ท�ำให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่า “แก่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ” ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้ น กั บ ผู ้ สู ง อายุ จึ ง ค่ อ ย ๆ ลดลงและหมดไปในที่ สุ ด พร้อมๆกับการกลับมาของ “ความสุข” ที่เกิดขึ้นกับ ชุมชน

อุ๊ยจินดา อุโมงค์ อายุ 65 ปี บ้านป่างิ้ว หมู่ 1 นักเรียนชั้นปีที่ 4 โรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบลหัวง้ม กล่าวว่า ความสุขบั้นปลายคือของชีวิต คือการรู้สึกว่าตนเองยังมี คุ ณ ค่ า สามารถช่ ว ยเหลื อ สั ง คมและคนอื่ น ได้ เมื่ อ มี กิจกรรมทางสังคม แม่จินดา ก็จะกระตือรือร้นอาสา เข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ อย่างไม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ย ไม่ ว่าจะเป็นงานศพ งานแต่ง งานบุญ แม่จินดาถึอว่านั่นเป็นความสุข สูงสุดที่ตนเองจะสามารถท�ำได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ...ความสุข...เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้นามพยายาม แสวงหา และหยิบยื่นให้แก่ผู้อื่นเพื่อต่อยอดความสุข ของตนไปสู่ผู้คนรอบข้าง โปรดดูแลความสุข และ หยิบยื่นให้แก่กันและกัน ในยามที่ความสุขขาดแคลน เราก็จะได้รับความสุขนั้นกลับคืนมา....


ตุงมงคล สร้างชีวิตดี

น�้ำใจดี น�ำทาง สรรค์สร้างชุมชน ต�ำบลหัวง้ม อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงรายมีผู้สูงอายุมากถึง 1,400 คน คิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรทั้งหมด ทั้งประชากรอีกส่วนหนึ่งมีโรคประจ�ำตัว จึงท�ำให้โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพต�ำบลจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครดูแลสุขภาพประจ�ำชุมชนขึ้น เพื่อให้ความรู้และ ช่วยดูแลคนในชุมชนในการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวานและหลอดเลือด นายสมพงค์ ช�ำหา ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหัวง้ม ได้เน้นใน การส่งเสริมการป้องกัน ภัยคุกคามทางด้านสุขภาพ ทั้งเรื่องของเหล้า บุหรี่ หลีกเลี่ยงใน การท�ำเกษตรกรรม ที่ใช้สารเคมี ซึ่งสิ่งไหนที่หมอแนะน�ำว่าดี หมอก็จ�ำท�ำเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยต่างๆ ภายใต้ชื่อว่า “ธรรมนูญสุขภาพ” โดยมีทางกลุ่มอาสาสมัครประจ�ำชุมชนหัวง้มมีอยู่ประมาณ 174 คน ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่ม อาสาสมัครประจ�ำชุมชน จิตอาสา 40 คน ที่จะดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ติดบ้านติดเตียง จาก 13 หมู่บ้านหัวง้ม อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในการท�ำงานแบบจิตอาสา นางบัวรวย ศรีทิค�ำ หนึ่งในอสม.หมู่ที่ 6 ได้เล่าว่าตนเองได้เข้ามาท�ำงานเป็นอสม.เมื่อ ปี 2542 ที่มีอาชีพหลักในการท�ำนาแต่ตนเองนั้น มีใจที่ชอบและรักในการท�ำงานอาสา สมัคร ท�ำแล้วมีความสุขจึงเข้ามาเป็นอาสาสมัครประจ�ำชุมชน ท�ำหน้าที่เป็นสื่อให้ชาวบ้าน รู้จักการดูแลสุขภาพ มีการจัดตั้งกลุ่มออกก�ำลังกาย เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคนใน ชุมชนได้ท�ำกิจกรรมร่วมกัน หน้าที่ของอาสามัครดูแลสุขภาพชุมชนคือการท�ำงานร่วมกับพยาบาลวิชาชีพของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหัวง้ม จนมีทักษะและสามารถปฏิบัติและให้ความรู้กับ ญาติผู้ป่วย ให้ปฎิบัติกับผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลหัวง้ม จนได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรมสาธารณสุขดีเด่น สาธารณสุขเขต 1 ในปี 2551

ขอสามก�ำ เฮามาอู้ก�ำเมือง เปิ้นฮักตั๋ว = ฉันรักเธอ อิดก่อเจ้า = เหนื่อยไหมคะ ป้อหลวงบ้าน = ผู้ใหญ่บ้าน น่าฮักขนาด = น่ารักมาก จุ๊เปิ้นเมา บะเอาเปิ้นแต๊ะ = หลอกให้ เขารักเขาหลง ร�ำขนาด = อร่อยมากๆ

ตุง คือ ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา พบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย ท�ำ ด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ เป็นรูปแถบยาว ห้อยลง ใช้ประดับ หรือประกอบ พิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่ใช้ตุง แนวคิดการรวมกลุ่มตุงมงคลสร้างชีวิตดีนี้เริ่มเมื่อพ.ศ. 2544 โดย กลุ่มน�ำโดย นิตยา ใจเที่ยง ประธานกลุ่มตุงมลคล บ้านกู่สูง หมู่ 10 เล่าว่าอยากให้ชาวบ้านสืบสาน ภูมิปัญญาของคนรุ่นหลัง ซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนต�ำบลหัวง้ม มาเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนชุมชน กลุ่มตุงมงคล สร้างชีวิต นั้นมีหลากหลายแบบเช่น ตุงเจ็ดสี ตุงเหล็ก ตุงตอ ตุงแดง และตุง 12 ราศี โดยตุง 12 ราศีนี้ นิตยาเล่าว่า “จะใช้ตุงนี้ในงานบุญสงกรานต์เพื่อไปปัก ในกองทรายโดยให้ เจ้ า ของราศี เ กิ ด นั้ นน� ำ ตุ งราศี เ กิ ด ของตนมาปั ก ซึ่ ง เป็ น ประเพณี ที่ สืบทอดกันมายาวนานแล้วของชาวล้านนา โดยไม้ที่จะน�ำมาท�ำเสานั้นจะใช้ไม้ทั่วๆไปไม่ได้ ต้องเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนล้านนานั่นคือไม้ที่มาจากต้นเกี๋ยง หรือ จั๋ง โดยต้น เกี๋ยงนี้จะมีลักษณะคล้ายกับต้นปาล์ม ต่อมาจึงเริ่มมีแนวคิดการท�ำตุงเงินตุงทอง โดยทางกลุ่มมีแนวคิดที่ว่า อยากให้เกิดการ รวมตัวที่เหนียวแน่น สร้างรายได้เสริม และสร้างความแตกต่างจากตุงของที่อื่นๆ จึงคิด สร้างตุงเงิน ตุงทองนี้ขึ้น “ตุงเงิน ตุงทองนี้ ในสมัยโบราณเมื่อกษัตริย์ล้านนาออกรบกับ ข้าศึก และได้รับชัยชนะมา จะมีตุงเงิน ตุงทองถือน�ำหน้าขบวนของกษัตริย์เพื่อบ่งบอกถึง ความส�ำเร็จ ชัยชนะที่ชนะข้าศึกได้” นิตยากล่าว จึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างตุงเงินตุงทองใน รูปแบบของของช�ำร่วย เพื่ออวยพรส�ำหรับผู้รับให้ประสบความส�ำเร็จในด้านต่างๆ อีกทั้งยัง ใช้ประดับบ้าน ประดับร้าน ใส่กับหิ้งพระ ปัจจุบันกลุ่มตุง มีสมาชิกจ�ำนวน 35 คน ประกอบด้วยกลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อ เด็กและเยาวชน ผลิตภัณฑ์กลุ่ม ยังท�ำให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในต�ำบล สร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัว และ บางคนได้ยึดการท�ำตุงมงคลเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย

ความดีวันละเรื่อง คนดีวันละคน การท� ำ ความดี ถื อ ว่ า ไม่ ใช่ เรื่ อ งยาก และทุ ก คนก็ สามารถท�ำได้ โดยเริ่มจากตัวเราท�ำได้วันละเรื่องแค่นี้เรา ทุกคนก็จะมีแต่ความสุข วันนี้เรามีโอกาสได้พบกับ พี่ พิเชษฐ์ ปันจีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 บ้านดงเจริญ ต�ำบลหัวง้ม อ�ำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พี่พิเชษฐ์เป็นชาวนาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยยังคงวิถีชีวิต ดั้งเดิม ด้วยการใช้ควายในการท�ำนา และมีการรวมกลุ่ม เลี้ยงควาย ให้เช่าควายย�่ำนา และมีการท�ำปุ๋ยจากขี้ควาย และวั น ที่ 23 ตุ ล าคม 2556 นี้ พี่ พิ เชษฐ์ กั บ เพื่ อ นๆ หมู่บ้านดงเจริญ ได้เสียสละเวลามาเป็นวิทยากรบรรยายใน ฐานควายดีมีเงินเดือนและฐานสามัคคีคือพลังสร้างคนดี ให้ กับพลเมืองเยาวชนกลุ่มสีน�้ำเงิน พี่พิเชษฐ์ เล่าว่า ทางกลุ่มได้ร่วมกันเตรียมงานครั้งนี้กว่าร่วมเดือน เพื่อให้ฐานเรียนรู้มีความพร้อมมากที่สุด เพียงเท่านี้ ก็ท�ำให้ได้คะแนนความดีเพื่อน�ำไปฝากที่ธนาคารความดี นี้ก็เป็นหนึ่งตัวอย่างความดีที่ทุกคนสามารถท�ำได้ พวกเราในฐานะ พลเมืองเยาวชนกลุ่มสีน�้ำเงินจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ มาร่วมสร้างวิถีความดีด้วยกัน ไม่เพียงแต่ในงานกิจกรรม สร้างสรรค์ (ค่าย) “พลเมืองเยาวชนร่วมสร้างวิถีความดี” ครั้งนี้เท่านั้น แต่อยากให้น�ำไปท�ำต่อที่บ้านของตัวเองต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.