ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น

Page 1

รวมปาฐกถาและคำบรรยาย 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่

ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น เวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย’ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 1-3 มีนาคม 2555


รวมปาฐกถาและคำบรรยาย 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่

ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น เรียบเรียงจาก เวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย’ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 1-3 มีนาคม 2555

จั ดทำโดย

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

บรรณาธิการบริหาร ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ บรรณาธิ การ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข

กองบรรณาธิการ พงษ์พันธ์ ชุ่มใจ

มุทิตา เชื้อชั่ง จิระนันท์ หาญธำรงวิทย์ คิม ไชยสุขประเสริฐ สุลักษณ์ หลำอุบล

ผู ้จัดการ

เนาวรัตน์ ชุมยวง

ออกแบบ พิมพ์ท ี่

วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ บริษัท ที คิว พี จำกัด

จัดพิมพ์และเผยแพร่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 โทรสาร 02-343-1551


คำนำ การประชุมหรือเวทีระดมความคิดในหลากหลายรูปแบบ มักจะมีกิจกรรมนำโดยการ เรียนเชิญผู้รู้ ผู้นำทางความคิด ผู้นำทางจิตวิญญาณ มาแสดงทัศนะหรือให้ข้อมูลในหลากหลาย ลักษณะ แทบจะทุกการประชุมหรือทุกเวที เป้าหมายของการแสดงปาฐกถาและบรรยายพิเศษในเวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่ การอภิวัฒน์ประเทศไทย’ ครั้งที่ 2 อาจจะแตกต่างผิดแปลกออกไป ตรงที่พยายามทำให้ทุกคน ที่เข้าร่วมเกิดความรู้สึกว่า เราต้องเรียนรู้เก่ง เรียนรู้เป็น เพราะจากปาฐกถา เราอาจจะยังไม่รู้ หรือรู้แบบไม่ชัดเจน การทำให้ทุกคน (รวมทั้งผู้อ่านด้วย) รู้สึกได้ว่า ตัวเราเองทั้งในฐานะของ สมาชิกในครอบครัว สมาชิกของกลุ่ม สมาชิกของชุมชน สมาชิกของตำบล ผู้บริหารองค์กร และในอีกหลายฐานะ มีโอกาสฟัง (อ่านด้วย) แล้วไตร่ตรองว่า แท้จริงแล้ว เราก็ ‘เป็นคนหนึ่ง ส่วนหนึ่ง’ ที่จะต้องร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามและกำหนดความเป็นไปของสังคม รวมทั้งยังคาดหวัง ให้ผู้ฟัง (ผู้อ่าน) ได้หลุดออกจากการครุ่นคิดต่อสิ่งที่อยู่แต่ในพื้นที่ของตน เปิดโลกออกมารับรู้ เพือ่ กระตุน้ แรงบันดาลใจทัง้ ทีก่ ำลังงอกงามหรือทีก่ ำลังจะหมดสภาพจากแรงกระแทกรอบๆ ตัว หนังสือที่อยู่ในมือของท่านและที่ท่านเพียรพยายามอ่านสาระข้างในนี้ เราหวังให้ท่าน ช่วยกันผลักดันไปให้ถึงเป้าหมายที่คณะผู้จัดวาดหวังไว้ข้างต้นเป็นอย่างน้อย ซึ่งจักทำให้ หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ายิ่งขึ้น และที่สำคัญที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ปรากฏเป็นคุณประโยชน์ ต้องขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี ทุกท่านที่ได้ให้ความเมตตา (ความรัก) แก่พวกเราในการมาแสดงปาฐกถาและบรรยายพิเศษ โดยมีเป้าหมายเช่นเดียวกับ ‘เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ และผู้อ่านทุกท่าน ด้วย…จงมั่นใจ สมพร. ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ



สารบัญ กล่าวนำ

บทบาทของ สสส. ในการหนุนเสริม ‘ขบวนเครือข่ายร่วมสรัางชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’

ปาฐกถาพิเศษ

ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการตนเองข้อเสนอสำหรับอนาคต ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน

7

11

จุดประกาย

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม พงศ์โพยม วาศภูติ

27

ปาฐกถาพิเศษ

สัจจะออมทรัพย์วิวัฒน์สู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชน อัมพร ด้วงปาน

37

บรรยายพิเศษ

แนวคิดว่าด้วยพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน กรณีตัวอย่างต่างประเทศ

49

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์

ปาฐกถาพิเศษ

การดูแลสุขภาพชุมชน : ความคิดสืบต่อจากปฏิบัติการในพื้นที่ รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร

61

ปาฐกถาพิเศษ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผลต่อการจัดการทรัพยากร ของชุมชนท้องถิ่น

71

ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย

บรรยายพิเศษ

พลังสังคมกับการฟื้นฟูชุมชนอย่างยั่งยืนภายหลังภัยพิบัติ ณรงค์ อภิชัย

85

จุดประกาย

การอยู่ร่วมกันเป็นการสะท้อนถึงพลังปัญญาของชุมชนท้องถิ่น พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ

103


ปาฐกถาพิเศษ

ฐานปฏิบัติการสู่ยุทธศาสตร์อาหารของประเทศ ศ.(เกียรติคุณ) นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์

113

บรรยายพิเศษ

มุมมองและกระบวนทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ ต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ

127

บรรยายพิเศษ

บทบาทของชุมชนท้องถิ่นกับการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สมพร ใช้บางยาง

139

ปาฐกถาพิเศษ

การรับมือภัยพิบัติด้วยชุมชนท้องถิ่น ดร.พิจิตต รัตตกุล

145

ปาฐกถาพิเศษ

ชุมชนท้องถิ่นคือฐานของประเทศ ศ.(เกียรติคุณ) นพ.ประเวศ วะสี

ประกาศปฏิญญา

ปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

167 179


บทบาทของ สสส. ในการหนุนเสริม ‘ขบวนเครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ในปี 2554 ผมมีโอกาสได้ชมการแสดงบนเวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น

สูก่ ารอภิวฒ ั น์ประเทศไทย’ แล้วรูส้ กึ ประทับใจ แต่พอมาในปี 2555 ผมยิง่ ประทับใจกว่าทุกปี เพราะนักแสดงที่ขึ้นมาบนเวทีทั้งหมดไม่ใช่นกั แสดงมืออาชีพเลย หากแต่เป็นคนทีท่ ำงานในการ พัฒนาชุมชนและท้องถิน่ ตัวจริงทีท่ ำงานอยูใ่ นพืน้ ที่ ผมเห็นท่านนายก อบต. นายกเทศมนตรีหลายๆ ท่านทีม่ าร่วมและแสดงให้เห็นถึงพลัง หรือในการจัดเวทีระดับภาค ผมก็มีโอกาสได้ไปร่วมใน หลายๆ เวที เห็นความตั้งใจจริงๆ ของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นที่ร่วมกันสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อ หวังจะเห็นความเปลีย่ นแปลงในประเทศไทย อยากเห็นทุกพืน้ ทีใ่ นประเทศไทยเป็นพืน้ ทีๆ่ น่าอยู่ และอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ความสำเร็จทั้งหมดนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุ ข ภาพ (สสส.) เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมให้เกิดขึ้น โดยวางบทบาทไว้สามด้าน ด้านที่หนึ่ง คือทำหน้าที่จุดประกาย ทำให้คนที่มีความคิดดีๆ ได้มาแลกเปลี่ยน และทำให้เกิดความคิด ทีจ่ ะพึง่ พาตนเอง และนำไปสูก่ ารมีสว่ นร่วม ด้านทีส่ อง สสส. มุง่ หวังทีจ่ ะกระตุน้ ให้คนดีๆ ภาคี ดีๆ มาร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมทดลอง เพื่อให้ผลเหล่านี้กลับไปสู่ประชาชน และหลังจาก นั้น สสส. ก็วางบทบาทในการสนับสนุน เราทำงานกับคนตัวเล็กตัวน้อยในทุกพื้นที่ เราทำงานกับภาคนโยบาย เราทำงานกับ ภาควิชาการ เพื่อหวังหนุนเสริมให้ความคิดดีๆ ของชุมชนและท้องถิ่น หรืองานในการสร้าง เสริมสุขภาพได้เติบโตขึ้น ผมจำได้วา่ 3 ปีทแ่ี ล้ว ตอนที่ สสส. เริม่ เข้าไปทำความรูจ้ กั เริม่ ทำงานกับชุมชนท้องถิน่ หลายๆ ท้องถิ่นมีคำถามมากมายว่า สสส. ที่ถนัดทำงานเรื่องสุขภาพ เมื่อมาทำงานกับชุมชน ท้องถิ่นจะเห็นผลหรือไม่ แต่วันนี้ผมคิดว่า ผลที่ได้นั้นเห็นได้ชัดเจนมาก เราเห็นท้องถิ่นหลายๆ ท้องถิ่นเป็นต้นแบบในการลงไปดูแลเรื่องของความสุข เรื่องของคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที ่ ตัง้ แต่แรกเกิดจนกระทัง่ เสียชีวติ เรียกว่า ดูแลตัง้ แต่ตน้ จนจบ และพิสจู น์ให้เห็นว่า ท้องถิน่ ทำได้ มากกว่าที่คนไทยคิดเยอะ ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกัน ในเวทีวชิ าการ ‘ฟืน้ พลังชุมชนท้องถิน่ สูก่ ารอภิวฒ ั น์ประเทศไทย ครัง้ ที่ 2 ประจำปี 2555’ สสส. จะขอทำหน้าที่ในการจุดประกายความคิด เราอยากให้ความคิดดีๆ


ของชุมชนท้องถิน่ ทีม่ อี ยูท่ ง้ั ประเทศเหล่านีแ้ พร่ขยายออกไป สสส. จะเติมหนุนในส่วนของการทำสือ่ ทำความรู้ เพื่อให้สิ่งที่ดีๆ ที่ท้องถิ่นสร้างขึ้นเกิดและเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดยเราเข้าไปมีส่วน มีบทบาท เข้าไปเชื่อมแกนนำ ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายต่างๆ แต่ต้องบอกว่า งานทั้งหมดไม่ได้ เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากเครือข่ายและภาคีที่อยู่ในพื้นที่จริงๆ สุดท้าย สสส. ขอทำหน้าที่สนับสนุน โดยการดึงทั้งส่วนวิชาการเชื่อมโยงไปสู่นโยบาย เพื่อทำให้ทิศทางดีๆ ที่เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นได้คิดขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเกิดผลจริง ในระดับประเทศต่อไป และถ้ า หากถามว่ า แล้ ว สสส. มี ท ิ ศ ทางอย่ า งไรต่ อ ชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น ขอเรี ย นว่ า คณะกรรมการกองทุนของ สสส. มีนโยบายสำคัญที่จะทำงานกับชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดไว้ ในแผน 3 ปีอย่างชัดเจนว่า จะสนับสนุนขบวนของการเคลื่อนเรื่องการสร้างชุมชนท้องถิ่นให้

น่าอยู่ รวมทั้งได้วางนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในแผน 10 ปีข้างหน้า เพราะเราเชื่อว่าชุมชนและท้องถิ่น คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดสุขภาวะ ในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย สสส. ขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อท่านสมพร ใช้บางยาง ที่เป็นแกนหลักสำคัญในการ เชื่อมโยงการทำงาน ขอขอบคุณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกๆ ท่าน ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ซึ่งเป็นกลไกสำคัญ ในการทำงานให้เกิดความเปลีย่ นแปลงและนำความสุขมาสู่คนไทย ผมขอขอบคุณสถาบันการศึกษาทุกๆ แห่งที่เข้ามาร่วมทำงาน วันนี้ผมพบอาจารย์ จำนวนมากลงไปทำงานในพื้นที่ ลงไปคลุกคลีกับนายก อบต. นายกเทศมนตรี ไปคลุกคลี กับคนในชุมชนเพื่อทำให้ความรู้เหล่านั้นเกิดการตกผลึกและขยายผล เรียกได้ว่า เปลี่ยนภาพ ของสถาบันการศึกษาซึ่งเดิมเคยสอนอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยอย่างสิ้นเชิง สุดท้ายขอขอบคุณองค์กรชุมชนและภาคสังคม เราได้พิสูจน์แล้วว่า ชุมชนและท้องถิ่นร่วมมือจับมือกันได้ แล้วเราจะเป็นพลัง สำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้



ท้องถิ่นกับการบริหาร

จัดการตนเอง ข้อเสนอสำหรับอนาคต

ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต


เราจะฟื้นพลังของชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทยได้อย่างไร …

ในความเห็นของผม เกีย่ วข้องกับลักษณะของรัฐไทยอยูม่ าก แม้เราจะอยูใ่ นระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง แต่เรากลับมีรัฐที่รวมศูนย์มาก เป็นรัฐรวมศูนย์เข้มข้นที่สุดรัฐหนึ่งในโลก เรามี ส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าคเป็นพระเอก เราเน้น ‘เอกนิยม’ เป็นหลักคิด คือ มีชาติเดียว ภาษาเดียว อำนาจรัฐเดียว เป็นรัฐเดี่ยว และเป็นรัฐเดี่ยวที่ค่อนข้างจะเถรตรงด้วย คืออำนาจสาธารณะ อยู่กับรัฐแต่ผู้เดียว รัฐของเราแม้จะมีความตั้งใจดี แต่รัฐของเราผูกขาดการแก้ปัญหา ผูกขาดการ จัดการ การบริหาร การดูแลสังคมและประเทศไม่ค่อยมีที่ทางให้ความคิดเชิงซ้อน ความคิด หลายมิติ ความคิดหลายระดับ ในประเทศไทยมีรัฐย่อยไม่ได้ ข้อเสนอเรื่องปกครองท้องถิ่น รู ป แบบพิ เ ศษที ่ ส ามจั ง หวั ด ภาคใต้ ก ็ ม ี ค นไม่ เ ห็ น ด้ ว ยเยอะ มี แ นวคิ ด ที ่ จ ะทำภาคให้เป็น การปกครองส่วนท้องถิน่ ทีใ่ หญ่กว่า อบจ. ก็คดิ ยาก หลายท่านอยากทำมณฑลขึ้นมาใหม่ที่เป็น ท้องถิ่นก็ยากในวิธีคิดของรัฐแบบ ‘เอกนิยม’ ที่มองและคิดว่า 76 จังหวัดต้องเหมือนกันหมด เป็นความคิดมาตรฐานที่ต้องปกครองจากกรุงเทพฯ โดยตรง ท้องถิ่นมีได้เพราะเป็นค่านิยมสากล แต่ท้องถิ่นที่ใช้ได้ตามมาตรฐานของรัฐไทย ต้องไม่มฐี านะ ต้องไม่มอี ำนาจ ต้องไม่มคี วามชอบธรรมมากนัก ชุมชนและประชาสังคมทีจ่ ะมี

ตัวตน มีสถานะ มีความชอบธรรมก็ยาก เว้นเสียแต่รัฐจะอนุมัติหรือมอบให้ รัฐไทยจึงเป็นรัฐ ที่รับเหมางานทำแทนท้องถิ่นและชุมชนเกือบทุกเรื่อง ซึ่งก็ด้วยเจตนาที่ดี แต่ถึงจะเจตนาดี อย่างไร ก็เป็นรัฐที่รับเหมาทำงานแทนท้องถิ่นและชุมชนเกือบทุกเรื่องอยู่นั่นเอง ต้องย้ำว่า รัฐที่ผมพูดอยู่ แม้ในปัจจุบันที่มีรัฐสภา รัฐธรรมนูญ นักการเมือง เป็นหน้า เป็นตา เป็นหัว แต่ตวั ตนหรือหัวใจ หรือวิธกี ารทำงานของรัฐก็ยังเป็นราชการ มีกระทรวง มีกรม เป็นตัวตน เป็นจิตวิญญาณ ลองสังเกตดูเถิดว่า จะปฏิวตั ริ ฐั ประหารกันทีค่ รัง้ จะร่างรัฐธรรมนูญ กันกี่หน สิ่งที่จะไม่ถูกแตะต้องก็คือ รัฐเช่นว่านี้ ในการยึดอำนาจแต่ละครั้ง ก็ยึดแค่สภา ยึด ครม. ก็พอแล้ว โดยรัฐที่มีอยู่ก็ยังดำเนินการเองได้

12 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


รัฐเดี่ยวที่ว่านี้ รวมศูนย์และรวบอำนาจที่ส่วนกลางและผูกขาดอำนาจสาธารณะ รวมศูนย์แบบไหน รวมศูนย์แบบที่มีนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีเป็นหลัก เราอาจจะเรียกว่า ‘กรมมาธิปไตย’ ก็ได้ คือปกครองโดยกรมเป็นหลัก เพราะการบังคับ บัญชาของราชการไทยทำโดยกรมเป็นหลัก ภูมิภาคของไทยจริงๆ แล้วในความเห็นของผม เป็นงานสนามของกรมทั้งหลาย งบประมาณของรัฐบาลก็มีกรมเป็นผู้ตั้ง การบังคับใช้กฎหมาย

กรม งบประมาณ

การร่าง กฎหมาย พ.ร.ก. และ พ.ร.บ.

กรม การบังคับใช้ กฎหมาย

ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็เป็นงานของกรม ความจริงการร่างกฎหมาย การร่างพระราชบัญญัติ การร่างพระราชกำหนดก็เริ่มจากกรมเป็นส่วนใหญ่ จังหวัดและอำเภอจริงๆ คนของเราไม่มี ปลัดอำเภอมีนายอำเภอ คนของกรมการ ปกครอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พื้นที่ในประเทศไทยถือเป็นพื้นที่เดียว จังหวัด เป็นพื้นที่ส่วนย่อ หรือส่วนย่อยของประเทศ เป็นพื้นที่สนามของกรมต่างๆ ส่วนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นส่วนย่อหรือส่วนย่อยของอำเภอและจังหวัดเท่านั้น รัฐไทยถือเอกนิยม เป็นสรณะ ทุกอย่างต้องเป็นหนึ่ง นี่เป็นหลักคิดของรัฐไทยในรอบกว่า 100 ปีมานี้ โดยเฉพาะ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมานี้ เป็นฐานคิดที่แรงมาก แรงจนกระทั่งคนไทยมองไม่เห็นว่า เราสามารถพัฒนาประเทศโดยท้องถิ่นขนาดต่างๆ ได้ จะสร้างท้องถิ่นที่ใหญ่ระดับภาค หรือระดับมณฑลก็น่าจะลองดูได้ จะให้จังหวัดเป็นท้องถิ่นที่จัดการตนเองก็น่าจะลองส่งเสริม

ดูได้ แต่ด้วยความคิดเอกนิยมที่ว่านี้ จึงทำได้ยาก เอกนิยมที่ว่านี้ คำนึงถึงแต่ความเป็นชาติเดียวกันเท่านั้น จนลืมความจริงว่า ประเทศเรามีหลายเอกลักษณ์ หลายความภาคภูมิใจ หลายความภักดีได้ โดยไม่

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 13


จำเป็นต้องทิ้งชาติ สังคมไทยจริงๆ เป็นพหุลักษณ์ ไม่ได้เป็นเอกลักษณ์มากกว่าที่เราคิด เป็นสังคมผู้ย้ายถิ่น เป็นสังคมผู้อพยพ อันประกอบด้วยถิ่นต่างๆ ภาคต่างๆ คนส่วนน้อย ในสังคมไทยจริงๆ เป็นคนจำนวนมาก เช่น คนลาว คนจีน แม้แต่คนมาเลย์ คนมอญ คนไทใหญ่ มากทัง้ นัน้ คนเขมรก็เยอะ คนพม่าก็เยอะ คนอิสลามก็มีมากกว่าที่เราคิด เอกนิยมจะไม่เห็นใครนอกจากรัฐ หนึ่งเดียวเท่านั้นที่จะเป็นผู้ปฏิรูป ผู้พัฒนา หรือ ผู้อนุรักษ์ประเทศ มหาอุทกภัยก็ต้องจัดการโดยรัฐเท่านั้น รัฐแต่ผู้เดียว แต่สิ่งที่น่าทึ่งมาก ในความเห็นผม คือคนไทยล้วนยอมรับรัฐรวมศูนย์ผูกขาดองค์อธิปัตย์ ที่มีกรมและกระทรวง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ระยะหลังรัฐชนิดนี้ถูกแต่งเติมให้มีประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีองค์กรอิสระ มีศาลรัฐธรรมนูญ มีศาลปกครอง มีองค์กรมหาชน มีการมีส่วนร่วม มีพลเมือง มีประชาสังคม มีการปฏิรูป แต่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งแต่ทหาร ข้าราชการ นักการเมือง นักวิชาการ นักกฎหมาย นักธุรกิจ นักปฏิรูป ต่างยอมรับรัฐที่ผมว่ามานี้ไม่มากก็น้อยทั้งนั้น เหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่สั่นสะเทือนการเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การเดินขบวนเมื่อปี 2516 ปี 2519 มีการปะทะ นองเลือด มีการจลาจล มีการปะทะเสียชีวิต เมื่อปี 2535 และเหตุการณ์ปั่นป่วนที่เกิดขึน้ ในปี 2549 ถึงปี 2555 ณ วันนี้ หาได้กระทบรัฐเช่นนี้ มากนัก พวกเราขัดแย้ง ต่อสู้ ทะเลาะกันในแทบทุกเรื่อง แต่เราไม่เคยแตะเรื่องพื้นฐานของรัฐ แทบจะไม่มใี ครโยกคลอนการรวมศูนย์ การผูกขาดอำนาจสาธารณะที่มีกรมเป็นที่ตั้งนี้เลย อดคิดไม่ได้ว่า เราทะเลาะกันที่ระดับหัว หน้าตา แต่ไม่ได้สนใจตัวตน จิตวิญญาณ ของรัฐที่กำลังบริหารและพัฒนาประเทศนี้มากนัก รัฐราชการรวมศูนย์ทผ่ี กู ขาดอำนาจและทรัพยากรสาธารณะเช่นที่กล่าวมานี้ เริ่มตั้งแต่ การปฏิรปู สมัยรัชกาลที่ 5 เริม่ จากการปกครองพืน้ ทีท่ ว่ั ประเทศด้วยระบบเทศาภิบาล ในตอนแรก กรมยังมีไม่มาก และไม่ได้หย่อนตัวไปสู่จังหวัดและอำเภอมากนัก แต่เราก็เริ่มรัฐแบบนี ้

ด้ ว ยการเน้ น มาตรฐานเดียว เอกภาพเดียว เน้นการควบคุมประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ สถาปนาอำนาจรัฐเหนือดินแดนที่แบ่งชัดจากดินแดนเพื่อนบ้านหรืออาณานิคม พื้นที่ของรัฐ แบบรัฐสยาม รัฐไทย จะชัดเจนเมื่อเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศ แต่สำหรับพื้นที่ ในประเทศเองแล้ว ชุมชนท้องถิ่นไม่อาจอ้างอำนาจหรือทรัพยากรเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือ กำลังคนใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงส่วนย่อ ส่วนย่อยที่ถูกประดิษฐ์ ลบล้าง เปลี่ยนแปลงได้ดังใจ จากส่วนกลาง จากรัฐ ส่วนชุมชนท้องถิน่ ในไทยไม่ใช่องค์รวมขนาดเล็ก ไม่ใช่บรู ณาการขนาดย่อม ทีอ่ ยูไ่ ด้ดว้ ยตนเองหรือเกือบจะอยูไ่ ด้โดยมีศกั ดิศ์ รี และมีความชอบธรรมด้วยตนเอง

14 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


รัฐรวมศูนย์ผูกขาดทำแทน มีผลงานพอสมควรในรอบ 100 ปีมานี้ แต่เวลานี้รัฐเช่นนี้น่าจะใกล้ถงึ ทางตัน ลูกตุม้ แห่งการปฏิรปู น่าจะเหวีย่ งออกจากขัว้ ทีเ่ ป็นรัฐนิยม ‘กรมมาธิปไตย’ ไปสู่ขั้วที่ชุมชนประชาสังคมและท้องถิ่น จัดการตนเอง มีจินตนาการ มีความสร้างสรรค์ มีความใฝ่ฝันของตนเอง การเปลี่ยนแปลง 2475 ทำให้มณฑลหายไป จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมา สูอ่ ำนาจเมือ่ ปี 2500 ทำให้เกิดการพัฒนาโดยส่วนกลาง มีกรมมากขึน้ ตัง้ แต่ปี 2516 เป็นต้นมา เรามีกรม และคณะกรรมการต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จากยุคจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นต้นมา มีกรมมากขึ้น และหย่อนตัวลงไปในพื้นที่มากขึ้น การถดถอยของกระทรวงมหาดไทยทำให้ กรมอืน่ ๆ ลงไปในพืน้ ทีม่ ากขึน้ และแบ่งงานปกครองของมหาดไทยไปเรือ่ ยๆ งานปกครองทุกวันนี้ กลายเป็นงานเฉพาะไปแล้ว ทั้งๆ ที่แต่เดิมเคยเป็นงานทั่วไป หลังยุค 14 ตุลาคม 2516 มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีรัฐบาลผสม ได้เห็น รัฐมนตรีของต่างพรรคที่อยู่ต่างกระทรวงแย่งกันเพื่อผลประโยชน์ในการเลือกตั้ง รัฐรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจสาธารณะที่เราเห็นในประเทศไทย มีความเป็นมาอย่างไร ก็ตอบได้ว่า เราเอามาจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐประชาธิปไตยของฝรั่ง โดยเฉพาะ ของฝรั่งเศส จึงขอเล่านิดหน่อย ในฐานะที่ฝรั่งเศสเป็นต้นแบบของเราในการปกครองเยอะมาก ในประเทศฝรัง่ เศส ในยุคกลาง ก่อนทีจ่ ะเกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุคนัน้ ฝรั่งเศสมีกษัตริย์ มีเจ้า มีขุนนาง แต่ไม่มีรัฐ มีแต่อำนาจของบ้านเมือง ที่เราไม่เรียกว่ามีรัฐ เพราะอำนาจสาธารณะในฝรั่งเศสในตอนนั้นแบ่งกันถือ ไม่ได้ถือไว้แต่ผู้เดียวโดยรัฐ แบ่งกันถือ ระหว่างบ้านเมืองทีม่ กี ษัตริยห์ รือเจ้า กับบรรดาประชาสังคม ชุมชน ท้องถิน่ เพราะฉะนัน้ การเกิดรัฐ ในตอนแรกของฝรัง่ เศส คือการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึง่ ทีเ่ ราได้รบั การอธิบายมาตลอด

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 15


คือการที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด อำนาจทั้งหมดทั้งปวงอยู่ในมือพระมหากษัตริย์ แต่ประเด็นที่เราสนใจมากกว่าคือ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหล่านั้น ได้เอาอำนาจในการ ปกครองตนเอง จัดการตนเอง ของชุมชน ของสังคม ของพระ ของท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัย ไปหมดสิ้น สังคมย่อยที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Guild’ หรือ ‘College’ ซึ่งเคยมีศักดิ์ศรีมาก ก็หมดความหมายไป ซึ่งก็คือชุมชนและท้องถิ่นหมดไป แม้ ว ่ า ต่ อ มาจากรั ฐ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ใ นตะวั น ตกจะกลายเป็ น รั ฐ เสรี น ิ ย ม รัฐประชาธิปไตย แต่ประเด็นทีส่ ำคัญอยูท่ ส่ี งั คมและท้องถิน่ ลดบทบาทลง ดูแลและจัดการตนเอง ได้น้อยลง มีรัฐที่ไปรับเหมาทำแทน พร้อมกับแนะนำสั่งสอนสังคมและท้องถิ่นเข้ามาแทน สยามในยุคที่เผชิญอาณานิคม สมัยรัชกาลที่ 5 ก็ต้องตามฝรั่ง ชุมชนสังคมที่เดิมเอง มีไม่มากนักอยู่แล้วก็หดหายไป แล้วก็ลดความสำคัญลงไปยิ่งขึ้น เดิมสังคมไทยมีพหุนิยม ไม่น้อย พหุนิยมแบ่งอำนาจ แบ่งบทบาทระหว่างรัฐกับสังคม รัฐกับท้องถิ่น รัฐกับหมู่บ้าน ตำบลก็ต้องลดลง ประเทศกลายเป็นเอกนิยมมากขึ้นๆ ประเทศราชหัวเมือง ท้องถิ่นต่างๆ ถูกบงการควบคุมโดยส่วนกลางมากขึ้น เอกสิทธิ์ อิสระของท้องถิ่นและชุมชนน้อยลงเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐและชาติโดดเด่นเฉิดฉายมากขึ้น

รัฐรวมศูนย์-ผูกขาดอำนาจสาธารณะ มาจากไหน

ยุโรป สยาม ยุค ร.5

ฝรั่งเศส แม่แบบ

• แนวคิดดั้งเดิมที่ว่า สังคม = สังคมย่อยรวมๆ ร่วมกัน เริ่มหมด • ปัจเจกนิยมแรงขึ้น เสรีนิยมแรงขึ้น • เดินตามเขา-สังคม-เอกสิทธิ์ ที่เดิมก็มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับ

ตะวันตกในยุคกลาง ก็หายไป • กฎหมายของชาติ ได้เข้าไปแทนที่กฎหมายท้องถิ่น กฎหมายเมือง กฎหมายพระ กฎหมายมหาวิทยาลัย

• สมัยหลุยส์ที่ 14 คือยุคทองของรัฐที่เริ่มรวมศูนย์ และผูกขาด อำนาจสาธารณะ

16 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


กลับมาที่ฝรั่งเศสแม่แบบของเรา หลังจากเริ่มมีรัฐรวมศูนย์ กฎหมายของชาติได้ เข้าไปแทนที่กฎหมายของท้องถิ่น กฎหมายของเมือง กฎหมายของพระ แทนที่กฎหมายของ มหาวิทยาลัย กฎหมายของสมาคมวิชาชีพต่างๆ ที่ปกครองดูแลพัฒนาช่างฝีมือ หมอ นักเขียน อะไรต่างๆ ด้วยตนเอง หรือก็คอื การจัดการตนเองนีแ่ หละก็ไม่สามารถใช้กฎหมายของตนเองได้ รัฐได้เข้าไปแทรกแซงอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว วรรณะ ศาสนา หลังจากยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ทำให้เกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาอีกไม่กี่ร้อยปี ก็เกิดปฏิวัติ ค.ศ.1789 ซึ่งโดยทั่วไปคนเข้าใจว่า เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งแรกของโลก แต่เราไม่ได้สนใจตรงที่เป็นประชาธิปไตยที่คนอื่นเขาสนใจอยู่แล้ว เราไม่ได้ไปสนใจตรงที่ว่า

พระมหากษัตริยถ์ กู แทนทีด่ ว้ ยระบอบสาธารณรัฐมากนัก แต่เราสนใจตรงทีว่ า่ รัฐประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นหลังปี ค.ศ.1789 ก็รับเอารัฐรวมศูนย์ผูกขาดอธิปัตย์ของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นแหละมาต่อยอดด้วยประชาธิปไตย ต่อยอดด้วยรัฐธรรมนูญ และต่อยอดด้วยนักการเมือง อันที่จริงรัฐรวมศูนย์ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติประชาธิปไตย ยิ่งรวมศูนย์มากขึ้น ยิ่งมี อำนาจอธิปไตยมากขึ้นด้วยซ้ำ เพราะเสริมด้วยความชอบธรรมของรัฐสภา ด้วยการเลือกตั้ง ด้วยการเชิดชูประชาชน เพราะฉะนัน้ ดูในแง่หนึง่ ฝรัง่ เศสเปลีย่ นเป็นประชาธิปไตย เป็นแม่แบบ ประชาธิปไตยประเทศหนึ่ง นอกจากอังกฤษ นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่ในแง่ที่สำคัญมาก ก็ยังคงเป็นรัฐราชการรวมศูนย์ ผูกขาดอำนาจสาธารณะ มีการยกเลิกเมืองโบราณที่เป็น

เมืองอิสระ ที่ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ‘Commune’ ที่เคยปกครองตนเอง ไปเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่รัฐบาลควบคุมได้ง่ายดาย ตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญของรัฐ รัฐชนิดนี ้

ในประเทศฝรัง่ เศส ซึง่ เป็นตัวแบบของรัฐสยามในเวลาต่อมาได้ยกเลิกอำนาจบทบาทและเอกสิทธิ์ ของชุมชน ประชาสังคม และศาสนาจักรไปแทบทั้งหมด ในประเทศอื่นๆ ของยุโรป การรวมศูนย์ผูกขาดอธิปัตย์อาจไม่หนักเท่ากับในฝรัง่ เศส แต่โดยสาระก็คล้ายกัน ประเทศที่ไม่เป็นรัฐเดี่ยว แต่ เ ป็ น สหพั น ธรั ฐ เช่ น สหรั ฐ อเมริ ก า เป็นสมาพันธรัฐ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ การรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจโดยรัฐไม่มากเท่ากับใน ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามสยามรับต้นแบบเหล่านี้ โดยเฉพาะจากตะวันตกโดยตรง และจาก อาณานิคมตะวันตกที่อยู่รอบบ้านด้วย ซึ่งในประเทศอาณานิคมที่อยู่รอบบ้านนั้น ก็ยิ่งมีเหตุผล จะยึดอำนาจและบทบาทจากสังคม จากชุมชน และจากท้องถิ่น เพราะคนที่ฝรั่งไปยึดมาเป็น คนละผิว คนละภาษา คนละวัฒนธรรมอยู่แล้ว

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 17


ในตอนแรก หรือสมัยรัชกาลที่ 5 ทีเ่ รามองว่าเป็นรัฐปฏิรปู ทันสมัย ทันตะวันตกนัน้ อันนี้ก็จริงอยู่ ไม่ได้ผิด แต่ในอีกด้านหนึ่ง รัฐเช่นนี้ก็ยึดอำนาจจากหัวเมือง จากประเทศราช ยึดอำนาจจากขุนนางโดยการเลิกไพร่ สร้างพุทธศาสนจักรให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยขึ้นต่อ

สังฆราชองค์เดียวที่กรุงเทพฯ ยกเลิกภาษาถิ่น ไม่ส่งเสริมภาษา เอกลักษณ์ ของวัฒนธรรมถิ่น หรือวัฒนธรรมภาค ส่งข้าราชการจากกรุงเทพฯ ไปทั่วประเทศ ยึดการเก็บภาษีและการคลัง จากเมือง นคร ประเทศราช ตำรวจถูกส่งไปรักษาความสงบซึ่งถูกส่งไปจากกรุงเทพฯ มีแต่ ตำรวจที ่ บ ั ญ ชาการจากกรุ ง เทพฯ เท่ า นั ้ น ไม่ เ คยมี ต ำรวจของภาค หรื อ ของมณฑล ครู

จากกรุงเทพฯ ทัง้ หลาย ก็นง่ั รถไฟไปทัว่ ประเทศ น่าจะไปพร้อมๆ กับกองทหาร การปกครองท้องที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำกันเช่นนั้น ส่วนการศึกษาของท้องถิ่น

ถูกยกเลิก ประวัตศิ าสตร์และตำนานท้องถิน่ ถูกแทนทีด่ ว้ ยประวัติศาสตร์ชาติ ในตอนรัชกาลที่ 5 และ 7 ความจริงพระมหากษัตริย์ยังให้บทบาทของชุมชนและเมืองสูง สังคมและชุมชนก็พอ จะรักษาบทบาทได้บ้าง แต่ความคิดที่ว่ารัฐเป็นผู้นำ รัฐเป็นผู้รู้ เป็นผู้ทันสมัยกว่าเริ่มก่อรูปขึ้น ในทางกลับกันภาคสังคมต่างๆ ท้องถิ่นต่างๆ ถูกมองว่าเป็นชาวบ้าน เก่าแก่ คร่ำครึ ล้าสมัย และมักจะถูกมองว่าไม่รับผิดชอบ ไม่มีหลักวิชา และไม่เป็นตัวแทนชาติ บางคนเรียกรัฐสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ประเด็น ของเรามองว่าเป็นรัฐทีไ่ ปยึดอำนาจการจัดการดูแล บริหาร และการพัฒนาตนเองมาจากสังคม และท้องถิ่นทั้งหลายด้วย รัฐรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจสาธารณะเชิงเดี่ยว เช่นที่ผมกล่าวมานี ้

สืบทอดต่อมาเรือ่ ยๆ จากยอดทีเ่ ป็นพระมหากษัตริย์ และขุนนางในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เปลี่ยนยอดเป็นประชาธิปไตยในเวลาต่อมาและที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นำมาซึ่งประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ เราก็รู้สึกว่าก้าวหน้า แต่ก็จะสลับยึดอำนาจ กบฏ รัฐประหารอยู่เสมอ มีการถกเถียง โต้แย้ง ต่อสู้ กระทั่งจับกุมคุมขัง และต่อมามีการเลิกบรรดาศักดิ์ มีการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่ในด้านหนึ่ง รัฐรวมศูนย์ผูกขาดอธิปัตย์ก็ยังอยู่ยั้งยืนยงมาได้อย่างน่าพิศวง และรวมศูนย์ ผูกขาดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และชอบธรรมขึ้นด้วย รัฐธรรมนูญในปี 2475 และกฎหมายในปี 2476 ฉบับหนึ่ง ได้ริเริ่มขึ้นมาในสิ่งใหม่ ก็คือตั้งเทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากนั้นมาก็เกิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบอื่นๆ ตามมา แต่ในที่สุด องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ก็ ถู ก ผนวกเข้ า กั บ ส่ ว นภู มิ ภ าค และส่ ว นกลางอย่ า ง เรียบร้อย ใครคิดให้เทศบาลมีบทบาทสร้างความผาสุกแก่อาณาประชาราษฎร ก็ดูไม่ทันสมัย

18 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ช่วงแรก สมัย ร.5

ยึด

• อำนาจจากหัวเมืองและประเทศราช จากขุนนาง • อำนาจการเก็บภาษีและการคลังจากเมืองนคร ประเทศราช

เลิก

• ไพร่ • ภาษา ไม่ส่งเสริมเอกลักษณ์และวัฒนธรรมถิ่น

ควบคุม แทนที่

• ส่งข้าราชการจากกรุงเทพฯ ไปทั่วประเทศ มีรถไฟไปทั่วประเทศ • การปกครองพื่นที่เรียกว่า เทศาภิบาล ไม่มีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น • ประวัติศาสตร์ และตำนานท้องที่ หรือท้องถิ่น ถูกแทนที่ด้วย ประวัติศาสตร์ชาติ • มีเสนาบดี อธิบดี แต่ก็มีสมุหเทศาและเจ้าเมือง

ช่วง สมัย ร.5 - ร.7

ให้บทบาท

• ให้มณฑลและเมืองมีบทบาทสูง • สังคมและชุมชน พอรักษาบทบาทได้

เริ่มก่อรูป ความคิด

• “รัฐเป็นผู้นำ ผู้รู้ ผู้ทันสมัยกว่า” • “พระมหากษัตริย์เป็นประธานหลักของรัฐ

ทำให้ประเทศและสังคม ก้าวหน้าสู่อารยประเทศ” • ประเทศถูกมองว่า รักษาเอกราชไว้ได้จากตะวันตก

ควบคุม

• ชุมชน ภาคสังคม ประชาสังคม ถูกทำให้เป็น ชาวบ้าน เก่าแก่ ล้าสมัย ไม่รับผิดชอบ ไม่มีหลักวิชา และไม่เป็นชาติ

การเปลี่ยนแปลง 2475

นำมาซึ่งประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ

• สลับกับการยึดอำนาจ เป็นกบฏหรือรัฐประหาร และการปกครองของคณะทหาร

มีการถกเถียง...

• โต้แย้ง ต่อสู้ จับกุมคุมขัง เลิกบรรดาศักดิ์ จำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์

แต่ในด้านหนึ่ง...

• รัฐ รวมศูนย์ ผูกขาดอธิปัตย์นี้ก็ยังอยู่ยั้งยืนยง และรวมศูนย์-ผูกขาดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ชอบธรรมขึ้นด้วยรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง


การเปลี่ยนแปลง 2476 มีความริเริ่มใหม่ คือ ตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-เทศบาลขึ้น แต่ในที่สุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ถูกผนวกเข้ากับ ส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง อย่างเรียบร้อย ยุคก่อน 14 ตุลา 16 ประเทศ ภูมิภาค ท้องถิ่น

• การพัฒนาประเทศกลายเป็นการพัฒนาโดยส่วนกลาง สภาพัฒน์ฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ • ภูมิภาครักษาความสงบเรียบร้อย • ท้องถิ่นแทบสูญพันธุ์ ถูกวาทกรรมเรื่องชาติ รัฐ เทคโนแครต ส่วนกลาง

ระยะ 5 ปี มานี้ “ท้องถิ่นและประชาชนยังไม่พร้อม” นี่เป็น

วาทกรรมถาวร ที่ช่วยบิดเบือนความจริง

และปิดบังศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

20 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ต้องส่วนภูมิภาคสิ ส่วนกลางสิจึงจะดี ประชาชนท้องถิ่น คือรับบริการจากรัฐ คือคนที่คอย การควบคุมจากรัฐ คอยการอุ้มชู ดูแล จัดการและพัฒนาโดยรัฐ จะให้ดีละก็ จงอยู่เฉยๆ อย่าซุกซน อย่าส่งเสียง พวกเรารัฐ รัฐบาล ข้าราชการ นักการเมืองกำลังมาช่วยแล้ว บางท่านเรียกรัฐไทยสมัย พ.ศ.2485-2516 ว่าอำมาตยาธิปไตย ในความหมายที่ว่า ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน ผลัดเปลี่ยนกันมาเป็นผู้ปกครอง ก็ไม่ผิด แต่ประเด็นของ ผมคือ โครงร่างและอวัยวะของรัฐเช่นว่านี้ ยังใกล้เคียงกับรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กล่าวมา ข้างต้น ในยุคก่อน 14 ตุลา 2516 การพัฒนาประเทศยิ่งกลายเป็นการพัฒนาโดยส่วนกลาง มากขึ้น เกิดสภาพัฒน์ฯ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เกิดธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งทำงานอย่างกระตือรือร้น เกิดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

มีการสร้างมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง ส่วนภูมิภาค มีหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อย ในช่วงเวลาทีก่ ล่าวมานี้ ท้องถิน่ แทบสูญพันธุ์ ถูกวาทกรรมเรื่องชาติ เรื่องรัฐ เป็นผู้รู้ดี ถูกวาทกรรมเรื่องเทคโนแครตรู้มากกว่า กระหน่ำซ้ำเติมจนแทบอ่อนปวกเปียกไปหมด และระยะหลังใน 5 ปีมานี้ ยังถูกธรรมาภิบาลมาผสมโรงวิจารณ์ด้วย ถูกกระแสวิจารณ์จาก ผู้ที่สืบสายเลือด ผูกขาดสกุลในท้องถิ่นวิจารณ์ด้วย ส่วนข้อวิจารณ์ว่า ประชาชนยังไม่พร้อม ถือว่าเป็นวาทกรรมถาวร ช่วยปิดบังศักยภาพของชุมชนและท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ทีส่ ำคัญ บางทีขา้ ราชการ และพนักงานของท้องถิน่ เองก็คดิ อย่างนัน้ นักคิดนักวิชาการ ที่มีกำเนิดจากต่างจังหวัดเช่นผม หรือบางคนจากอำเภอ ท้องถิน่ หรือจาก อบต. ก็อดคิดอย่าง นัน้ ไม่ได้ เราคิดว่าส่วนกลางและชาติคือความหวัง คือทางรอด เป็นความคิดของคนทุกระดับ แม้กระทั่งคนมีการศึกษาสูง เราเห็นว่าท้องถิ่นยังไม่พร้อม ชุมชน ประชาชนยังไม่พร้อมที่จะ ดูแลตนเอง จงรับบริการจากรัฐไปก่อน ให้รฐั ทีเ่ ป็นคุณพ่อรูด้ ี คุณแม่รดู้ ี ปรารถนาดี บริหารให้ทา่ น ไปก่อน จงรับนโยบาย รับผลประโยชน์รับการควบคุมดูแลไปก่อน ส่วนการดูแล จัดการตนเอง คนทั่วไปก็คิดว่ารอไปก่อน รอต่อไป การที่คนไทยส่วนใหญ่คิดแบบนี้ ที่ยอมรับรัฐเอกนิยม รัฐที่รวมศูนย์ผูกขาดอำนาจ สาธารณะมาก อาจจะเกี่ยวข้องกับการเรียนหนังสือ เรียนจากครูอาจารย์ เรียนจากหลักสูตร ของส่วนกลางเท่านัน้ แม้ใครจะมาจากต่างจังหวัด ต่างอำเภอก็บูชารัฐกันทั้งนั้น บูชาส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ขณะเดียวกันชอบดูเบาและวิจารณ์ท้องถิ่น พอๆ กับที่ชอบค่อนขอด ก่นด่า นักการเมือง สลับกับการมองว่า ประชาชนยังไม่พร้อมตลอดกาล บางคนบอกว่าไม่ใช่แค่เป็น

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 21


วาทกรรม แต่เป็นความจริงด้วย ยิ่งประชาชนทุกวันนี้ ปรารถนาที่จะดูแลปกครองท้องถิ่น

ของตนเอง ด้วยตนเองแล้ว คนโดยทั่วไปก็ยิ่งสงสัยไว้ก่อนว่าจะทำได้จริงหรือ อันที่จริง 10 ปีมานี้ บ้านเมืองเรามีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น เคียงคู่กับการ สร้างประชาสังคม สร้างความเป็นจิตอาสา สร้างความเป็นพลเมือง อ้างหลักนิติรัฐ นิติธรรม กระทั่งนิติราษฎร์ ก่อนหน้านี้ก็มีแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน มีกระบวนการเอ็นจีโอ แต่ทั้งหมดนี้ หากยังคิดในกรอบเก่า ยังยอมรับรัฐรวมศูนย์ผูกขาดมาก ก็จะได้ผลไม่มากนัก มีข้อสังเกตว่า การปฏิรูปสังคมที่ทำในสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยัง ไม่ออกจากกรอบเก่านี้เท่าไหร่นัก รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นของไทยรักไทย พลังประชาชน หรือ เพื่อไทย ก็ยังเชื่อมั่นกับการพัฒนาและการนำจากส่วนกลางมากกว่า แต่พวกเราที่นั่งอยู่ตรงนี้ ก้าวข้ามเส้นเหล่านี้ไปแล้ว และกำลังจะก้าวข้ามมากขึ้น เรื่อยๆ เราอยากดูและบริหารบ้านเมืองเล็กๆ สังคมเล็กๆ ด้วยตัวของเราเอง เราอยากออกจาก รัฐที่รับเหมาทำแทน รัฐบาลส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคอาจดีจริง อาจจะเก่ง แต่เราไม่น่าจะหยุด แค่การปกครองที่ดี เราน่าจะอยากได้การปกครองตนเองด้วย เราน่าจะอยากได้โอกาส ทรัพยากร อำนาจ และความชอบธรรมในการดูแลท้องถิน่ ซึ่งเป็นบ้านเมืองเล็กๆ ของเรา ในการ ดูแลชุมชนและประชาคมที่เป็นสังคมเล็กๆ ของเราให้มากขึ้นด้วย เพือ่ ไม่ให้มองกันสุดขัว้ ขอให้เข้าใจว่า รัฐรวมศูนย์ผกู ขาดทำแทนทีก่ ล่าวมาในข้างต้นนี้ ก็มีความสำเร็จ และมีผลงานพอสมควร บางช่วงอาจจะมากด้วยซ้ำ ในรอบ 100 ปีมานี้ รัฐเช่นที่ว่านี้ได้พัฒนา ได้สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ สร้างระบบกฎหมาย สร้างความมั่นคง สร้างประชาธิปไตย สวัสดิการ การศึกษามาไม่น้อย แต่ผมคิดว่าเวลานี้รัฐเช่นนี้น่าจะใกล้ถึง

ทางตัน ลูกตุ้มแห่งการปฏิรูปน่าจะเหวี่ยงออกจากขั้วที่เป็นรัฐนิยม ‘กรมมาธิปไตย’ มีการ ผูกขาดอำนาจสาธารณะ เหวี่ยงไปสู่ขั้วที่มีภาคสังคม มีท้องถิ่น มีชุมชนที่มีบทบาท มีความ ชอบธรรม มีศักดิ์ศรี น่าจะไปสู่ขั้วที่ชุมชน ประชาสังคม และท้องถิ่น จัดการตนเองเป็นผู้ใหญ่ เสียที ดูแลพัฒนาตนเองได้ มีจนิ ตนาการ มีความสร้างสรรค์ มีความใฝ่ฝนั ของตนเอง ไม่ใช่เป็นเพียง ผูร้ บั บริการ รับการกำกับดูแล รับการควบคุม รับการสอนการสัง่ จากรัฐแต่เพียงอย่างเดียวเท่านัน้ ‘การกระจายอำนาจ’ บางทีผมก็คิดว่าเป็นการคิดที่อยู่ในกรอบเก่า การพัฒนา ประเทศโดยรัฐบาล ถึงจะมีโปรเจกต์เท่าไหร่ออกมา ก็เป็นการคิดในกรอบเก่าอยูไ่ ม่นอ้ ย จะใส่เงิน ใส่ธรรมาภิบาลเข้าไปอีกเท่าไหร่ก็ไม่น่าจะดีขึ้นมากนัก อาจถึงเวลาที่เราต้องยกเครื่องรัฐไทย ด้วย หลักคิดใหม่ ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ คือการคืนอำนาจ คืนให้กับท้องถิ่น ชุมชน ประชาสังคม

22 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ทางออกของประเทศ ของชาติ และของรัฐ

รวมทั้งของประชาธิปไตย รัฐที่มีหลายระดับ หลายมาตรฐาน ธรรมาภิบาลที่มีมากกว่าหนึ่งแบบ หนึ่งระดับ รัฐที่ชอบสนับสนุนความแตกต่างหลากหลาย รัฐที่ยอมรับสังคมหลายระดับ พหุลักษณ์ พหุวัฒนธรรม พหุศึกษา แก้รัฐธรรมนูญ แก้กฎหมาย เพื่อเอื้อให้เกิด ปลดปล่อยพลังงานท้องถิ่น ชุมชน ประชาสังคม ดังที่เคยปลดปล่อยธุรกิจภาคเอกชนมาแล้ว ท้องถิ่น-ชุมชน-จังหวัดที่ปกครองดูแลตนเอง ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอำนาจ บทบาท ทรัพยากร ทีอ่ ำนาจกรมลดลง หรือหมดไป ต้องลองทำ อย่างเร่งรีบ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 23


คืนให้กบั พืน้ ทีแ่ ต่เน้นท้องถิน่ ไม่ใช่เน้นภูมภิ าค มอบภาระ อำนาจ และทรัพยากรให้ทอ้ งถิน่ และ สังคม ลดอำนาจรัฐ ลดบทบาทรัฐ ลดทรัพยากรส่วนกลางและภูมิภาค ต้องขอเติมว่าไม่ใช่แค่ ให้น้ำหนักในพื้นที่มากขึ้น ในความหมายที่ว่าให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดแบบซีอีโอ หรือให้งบ มาลงที่จังหวัดมากขึ้นเท่านั้น แต่คืนอำนาจให้ชุมชน ประชาสังคม และท้องถิ่นให้มากขึ้น ปล่อยพวกเขาให้ดูแลตนเองมากขึ้น พัฒนาบ้านเมืองของตนเองตามความใฝ่ฝัน และตาม ความสร้างสรรค์ของตนเองมากขึ้น ถ้าถามว่า เห็นโอกาสที่กระบวนทัศน์ใหม่จะได้เกิดไหม ผมเห็นนะครับ เพราะว่า ฝรั่งเศสต้นแบบของเราเวลานี้ก็เปลี่ยนไปแล้ว รัฐเดี่ยวของฝรั่งเศสในเวลานี้มีกระทั่งภาคที่เป็น ท้องถิ่น รัฐเดี่ยวแบบฝรั่งเศส ราชการส่วนภูมิภาคมีบทบาทน้อย มีทรัพยากรน้อย ท้องถิ่นต่าง หากที่มีทรัพยากรมาก มีบทบาทมาก อบจ. ของฝรั่งเศสมีบทบาทสูงมาก สูงกว่าจังหวัด

ที่เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยวเหมือนกัน มีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข เวลานี้มีจังหวัดเป็น อบจ.เท่านั้น ญี่ปุ่นไม่มีภูมิภาค จังหวัดของญี่ปุ่นเป็น อบจ. อังกฤษมีพระมหากษัตริย์

เป็นประมุข เป็นแม่แบบประชาธิปไตย ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค มิหนำซ้ำ ไม่กี่ปีมานี้ใน ประเทศอังกฤษไม่ได้มีแต่รัฐสภาของสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่มีรัฐสภาของเวลส์ รัฐสภา ของไอร์แลนด์เหนือ รัฐสภาของสก็อตแลนด์ควบคู่ไปด้วย เพราะฉะนั้น รัฐเดี่ยวแบบที่เรา เป็นก็สามารถปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรับกระบวนทัศน์ใหม่ได้ ในส่วนของท้องถิ่น ประชา สังคมทีม่ อี ยู่ ผมก็เห็นเรือ่ งดี คนดี เรือ่ งทีส่ ร้างความโดนใจต่างๆ มากมาย ไม่ใช่ทอ้ งถิน่ และประชาสังคมที่เฉื่อยชา อย่างที่ถูกวาทกรรมของส่วนกลาง ของคนมีการศึกษาว่า เอามาตลอด ต่อไปนี้ส่วนกลางคงต้องปรับกระบวนทัศน์ของตัวเอง ในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัย ผมได้ เห็นส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคล้มไปหมด ‘เอาไม่อยู’่ แต่ได้เห็นท้องถิน่ ประชาสังคมหลายแห่ง ‘เอาอยู่’ สร้างสรรค์จนถึงขนาดทำคลองประดิษฐ์ได้ ท้องถิ่นหลายแห่งรักษาตัวเองได้อยู่ และผมเชื่อว่า ถ้าน้ำท่วมปีต่อไปก็ต้องอาศัยชุมชน ประชาสังคม และท้องถิ่น ในตอนที ่

เกิดมหาอุทกภัย ผมเห็นมูลนิธิ องค์กรต่างๆ ไปแจกเสื้อผ้า ไปแจกผ้าห่มให้ ไม่หยุดทุกวัน ผมยังสงสัยเลยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ทำงานสู้ได้หรือเปล่า กรมประชาสงเคราะห์ ทำงานสู้มูลนิธิเหล่านี้ได้หรือเปล่า อดคิดไม่ได้ว่าสู้ไม่ได้

24 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


เราต้องการรัฐทีป่ ลดเบรก รัฐทีป่ ลดโซ่ รัฐทีก่ ระตุน้ ประสาน นำ แต่อย่าทำมาก เกินไป อย่าทำแทนเสมอ อย่าทำให้เสมอ แม้จะทำดี ทำเก่งอย่างไร ในตอนนี้ต้อง พยายามปล่อย ต้องพยายามเปิดให้พวกเราทำเองบ้าง เราไม่พอใจแค่เพียงการหย่อนบัตร แค่เพียงการมีสิทธิมีเสียงเท่านั้น ไม่พอ ... ดี การได้หย่อนบัตรนัน้ ดี การมีสทิ ธิมเี สียงนัน้ ดี ... แต่ไม่พอ เรามีรฐั บาลจากการเลือกตัง้ เท่านัน้ ไม่ พอ เรามีแต่นโยบายและงบประมาณทีม่ าลงท้องทีเ่ ราไม่พอ ถึงจะลงมากจนเราใจหายอย่างไร ก็ ต ามก็ ไ ม่ น ่ า จะพอ เราน่ า จะอยากได้ ก ารดู แ ลปกครองและการดู พ ั ฒ นาตนเองด้ ว ย เราต้องการรัฐแบบใหม่ที่เปิดทาง ที่หนุนท้องถิ่น และประชาสังคมให้เป็นกำลังหลักในการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้มากขึ้น เราต้องยึดหลักที่ว่า ปัญหาของประเทศต้องแก้ด้วย ท้องถิ่น ชุมชน ประชาสังคมด้วย จะต้องคิดด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศ จะเจริญเติบโตได้ดี ต้องอยู่ที่ชุมชน ท้องถิ่นและประชาสังคมด้วย เราต้องการรัฐแบบใหม่ที่มีหลายระดับได้ มีหลายมาตรฐานได้ แม้กระทั่งธรรมาภิบาล ก็ควรมีได้มากกว่า 1 แบบ 1 ระดับ สำนักงานอะไรที่ทำหน้าที่ตรวจการใช้เงินทุกวันนี้ ใช้ธรรมาภิบาลแบบส่วนกลางไปทำให้ท้องถิ่นทำงานยาก รัฐ 3 ระดับ การปกครองราชการ 3 ระดับ ไม่ควรจะเหมือนกัน เพราะฉะนัน้ ธรรมาภิบาลทีม่ ตี อ่ ส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าคเป็นแบบหนึ่ง ธรรมาภิบาลที่มีต่อท้องถิ่นน่าจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ทำให้ท้องถิ่นคึกคัก สนุก อยากทำ เราต้องการรัฐแบบใหม่ที่ชอบสนับสนุนความแตกต่าง ความหลากหลายตามพื้นที่ ตามภาคได้มากขึ้น เราต้องการรัฐที่ยอมรับสังคมหลายระดับ ยอมรับพหุลักษณ์ พหุวัฒนธรรม แม้กระทั่งพหุการศึกษา มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่การศึกษาเหมือนกันไปหมด มีแต่การศึกษา ของชาติอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้รู้แต่เรื่องชาติ แต่ไม่รู้เรื่องท้องถิ่นเลย การแก้รัฐธรรมนูญใหม่ ผมคิดว่าน่าจะต้องคิดประเด็นนี้ด้วย อย่าแก้มาตราอื่นๆ แล้วปล่อยมาตราทีว่ า่ รัฐไทยเป็นรัฐเดีย่ ว คิดจะแบ่งแยกไม่ได้อยู่แค่นั้น น่าจะต้องอธิบายด้วยว่า เราอยากเห็นรัฐแบบนี้ ถ้ายังเป็นรัฐเดี่ยวจะเป็นพหุนิยมมากขึ้นได้ ต้องปลดปล่อยพลัง ของท้องถิ่น ชุมชน ประชาสังคม ดังที่รัฐสมัยหนึ่งได้ปลดปล่อยพลังธุรกิจภาคเอกชนมาแล้ว ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เราพัฒนาเศรษฐกิจด้วยรัฐวิสาหกิจ ปรากฏว่า เศรษฐกิจไปไม่รอด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับสภาพัฒน์ฯ ยกเครือ่ งใหม่ ปล่อยให้ภาคเอกชน ซึ่งทีแรกดูแล้วไม่น่าไว้วางใจ เพราะเล็ก การศึกษาไม่มาก และเป็นคนจีนเป็นส่วนใหญ่

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 25


ได้จัดการตัวเอง เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ และสภาพัฒน์ฯ สมัยนั้นมีวิสัยทัศน์มาสนับสนุน มาปลดโซ่ ปลดเบรกให้ธุรกิจภาคเอกชน ทุกวันนี้เศรษฐกิจของเราอยู่ได้ด้วยภาคเอกชน ฉันใดก็ฉันนั้น ผมคิดว่าประเทศชาติของเราในยุคต่อไปจะอยู่ได้ต้องอยู่ที่ชุมชน และท้องถิ่นให้มากขึ้น ไม่ได้อยู่ที่รัฐ รัฐยังสำคัญอยู่ แต่ความสำคัญของรัฐไม่ได้อยู่ที่การ ทำแทน ทำให้ ทำเพื่อ แต่อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจะปลดปล่อยพลังใหม่ๆ ที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น

ให้ออกมาให้มากขึน้ ทางรอดของประเทศชาติ ทางรอดของระบอบประชาธิปไตยอยูท่ นี่ นั่ ครับ


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม

พงศ์โพยม วาศภูติ อดีตกรรมการปฏิรูปประเทศและอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย


ก่อนที่จะเริ่มเรื่องของท้องถิ่น อยากจะนำท่านทั้งหลายไปสู่ภาพใหญ่

ของบ้านเมืองของเรา บ้านเมืองของเราในแบบที่เรียกว่า ‘รัฐชาติ’ น่าจะเริ่มมาเมื่อไม่นานนี้เอง สมัยก่อน ตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา มาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เราปกครองกันอย่างหลวมๆ เมืองใหญ่ๆ ก็เอาลูกหลานของกษัตริย์ไปปกครอง แต่ถ้าเมืองเล็กๆ น้อยๆ เราก็ปล่อยให้ประชาชนที่มี อิทธิพล หรือมีความเป็นผู้นำตามธรรมชาติปกครองกันไป ซึ่งเรียกว่าระบบกินเมือง มีพระยา กินเมือง ตั้งเป็นขุนนาง ดูแลราษฎรไม่ให้เดือดร้อน เวลามีศึกสงคราม ก็ส่งคนมาช่วยอยุธยา รบกับข้าศึก ระหว่างที่ไม่มีศึกสงครามก็รับใช้รับสอยราชการเจ้าเมืองไป หมุนเวียนกันเข้ามา มีระบบส่วย ระบบไพร่หลวง ไพร่ราบ ที่จะหมุนเวียนกันเป็นระบบ ปกครองกันหลวมๆ ส่วนเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นเมืองประเทศราชก็ส่งเครื่องบรรณาการประจำปีบ้าง 2-3 ปีส่งทีหนึ่งบ้าง ถ้าแข็งข้อขึ้นมาก็ไปปราบเสียทีหนึ่ง แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นรัฐชาติไทย ก็นา่ จะตัง้ แต่สมัยรัชกาล ที่ 5 ทีป่ ฏิรปู การปกครองเป็นต้นมา การปฏิรปู การปกครอง แบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม และยกเลิกระบบเจ้าเมืองเก่า เป็นระบบข้าหลวง ส่งจากส่วนกลางไปปกครองดูแลราษฎร แบ่งกระทรวงเป็น 12 กระทรวง และมีข้าราชการลงไปเป็นมือเป็นไม้ของส่วนกลางหรือเมืองหลวง ออกไปดูแลเพื่อจะให้บ้าน เมืองเป็นปึกแผ่น ก็เป็นเรื่องที่อาจจะมีความเหมาะสมจำเป็นสำหรับสมัยนั้น แต่เมื่อบ้านเมือง เจริญขึ้น มาถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอำนาจของรัฐก็ยังแน่นหนามั่นคงอยู่เหมือนเดิม ทางคณะกรรมการปฏิรปู ประเทศทีม่ ที า่ นอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ได้ศกึ ษาและ ค้นพบปัญหาการเสียดุลอำนาจของสังคม โดยเฉพาะการที่รัฐมีอำนาจมาก ทำให้เกิดปัญหา เรื่องความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมอยูห่ ลายประการ ทีส่ ำคัญยังพบด้วยว่า ยิง่ รัฐทำให้มาก เท่าใด ประชาชนก็ยง่ิ อ่อนแอมากเท่านัน้ ประกอบกับปัญหาในปัจจุบนั มีความสลับซับซ้อนมากขึน้ ความต้องการของประชาชนในแต่ละพืน้ ทีก่ ไ็ ม่เหมือนกัน ดังนัน้ จึงเสนอว่า จะต้องหาทางผ่องถ่าย อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และที่สำคัญ คืองบประมาณ ไปให้

28 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประชาชนได้บริหารจัดการตนเอง การแก้ปญ ั หาของบ้านเมืองจึงจะสามารถดำเนินไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาราษฎรบุกรุกป่าบ้าง ชายฝั่งบ้าง เชื่อว่าการต่อสู้ระหว่างรัฐกับ ประชาชนนี้ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ ต่อให้นายกรัฐมนตรีลงมาเองก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเรื่องนี้ มีเรื่องไปผูกมัดหรือเกี่ยวข้องกับระเบียบกฎหมายมากไปหมด สิ่งหนึ่งที่คิดว่าจะทำให้แก้ไขเรื่องยากๆ เหล่านี้ได้ คือเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ บริหารจัดการปัญหาที่มีอยู่นั้นเอง โดยที่รัฐส่วนกลางมีบทบาทในการกำหนดมาตรการ หรือ มาตรฐาน เหมือนสนามเด็กเล่น ถ้าครูบอกว่า เธอพักแล้วนะ เล่นอะไรก็เล่นกันไป แต่หา้ มไม่ให้ รังแกกัน ไม่ให้คลุกดินคลุกทราย ห้ามไม่ให้ปีนรั้วออกไป ตราบที่นักเรียนยังทำตามในกรอบนี้ ก็นา่ พึงพอใจ แต่ปจั จุบนั ไม่ใช่ เขาจะบอกว่า เด็กผูช้ ายมาอยูต่ รงนี้ เด็กเล็กมาอยูม่ มุ นี้ เด็กผูห้ ญิง ไปอยู่ตรงโน้น คือเป็นลักษณะที่รัฐทำให้ หรือสั่งการทุกอย่าง เป็นลักษณะของคุณพ่อรู้ดี อย่างที่เรียนแล้วว่า ถ้าเราเอาลูกมาอุ้มไว้ ช่วยเหลือทุกอย่าง ลูกต้องลำบากแน่นอน เมื่อพ่อแม่ตายไป คงสู้คนอื่นเขาไม่ได้ และเผลอๆ อาจจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการ แข่งขันกันสูง มีการเอารัดเอาเปรียบกันมากได้ ดังนัน้ สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราเห็นว่าจะต้องแก้ไขโดยด่วน คือดึงเอาอำนาจสัง่ การ กำหนดนโยบาย อนุมตั ทิ ง้ั หลายทัง้ ปวง ลงมาให้กบั พีน่ อ้ งประชาชนข้างล่างได้ดูแลตัวเอง เอางบประมาณที่มีอยู่ 2 ล้านล้านบาทแบ่งมาให้ประชาชนได้บริหารจัดการตนเอง แต่ถามว่า เงินก็ดี อำนาจก็ดี ลงมาแล้วจะอยู่ตรงไหน มันก็ต้องมีองค์กรหนึ่งในโครงสร้างการปกครอง สิ่งที่เราเสนอก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน เราก็ไม่ปรารถนาที่จะให้องค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นสวมอำนาจโดยใช้ ระบบราชการเข้ามาบริหารจัดการในลักษณะเดียวกับรัฐที่เคยทำมาในอดีต คือสั่งการทุกเรื่อง คิดแทนทุกเรื่อง ทำให้ทุกเรื่อง เราอยากเห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานร่วมกับ

เครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ทุกตำบลหมู่บ้านในประเทศไทยขณะนี้มีกลุ่มต่างๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเยาวชน กลุ่มรักษ์ต้นไม้ กลุ่มรักษ์น้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ และกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบของกฎหมาย เช่น กลุม่ สหกรณ์ เครือข่ายภาคประชาชนในประเด็นต่างๆ หรือด้านสาธารณสุข ก็มี อสม. ฉะนัน้ เราก็อยากเห็นเครือข่ายเหล่านีท้ ำงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิน่ ด้วย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 29


ถ้าเราเอาอำนาจ เอางบประมาณลงมาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราก็อยากเห็น ประชาชนเข้ามาถ่วงดุล เราเอาตัวอย่างที่ดีมาพูดบนเวที ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ประโยชน์เท่าใดนัก เพราะคนที่ยังทำไม่ดีก็ยังมีอยู่มาก ใน 7,000 - 8,000 แห่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แน่นอนมีดีสุดโต่ง และก็มีไม่ดีสุดโต่ง กลางๆ นี่เยอะ ขึ้นอยู่ที่การชี้นำว่าจะไปทางไหน อย่างไรก็ตาม พอพูดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็เห็นใจ ผมเคยเป็นนายอำเภอ เป็นประธานสุขาภิบาล ต่อมา เขาบอกว่านายอำเภอถอนตัว ผู้ว่าฯ ถอนตัวจากการเป็นนายก บริหารองค์การส่วนจังหวัด สวมหมวกสองใบออกมาเสีย ให้ประชาชนเลือกตั้งเข้าไป แต่พอ ประชาชนเข้าไป ก็เข้าไปในคราบราชการ มีเครื่องแบบ มีเงินเดือน มีค่าตอบแทน จะประชุมที ต้องออกหนังสือประชุม มีเบี้ยประชุม มีรถประจำตำแหน่ง เอาล่ะ ก็เป็นธรรมดาที่ประชาชน เมื่อเข้าไปในสภาท้องถิ่น หรือเป็นผู้บริหารท้องถิ่นก็อดมีความปลาบปลื้มไม่ได้ว่า เดี๋ยวนี้เรา ไม่ใช่คนธรรมดาแล้ว เป็น Somebody มีหน้าที่ มีอำนาจ อนุญาตสร้างบ้านหรือไม่กไ็ ด้ ดูใหญ่โตดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่แหละที่ผมเรียกว่าเป็นคราบราชการที่ระบบได้สร้างไว้ ผมเองนั้นเสียดายตรงที่ว่า ในสมัยที่ผมเป็นอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็เป็นได้ไม่นานพอที่จะแก้ไขเรื่อง พวกนี้ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้กำกับดูแลท้องถิ่น ก็ออกระเบียบ ออกหนังสือสั่งการ มาเยอะแยะ และขณะนี้กำลังแย่ตรงที่ สตง. (สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) ก็หยิบเอา ระเบียบและหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยมาเล่นงานท้องถิ่น ผิดระเบียบต่างๆ ก็เอา เงินคืน เพราะฉะนัน้ วันนีส้ ง่ิ ทีเ่ ราอยากเห็นก็คอื อยากเห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระ มากพอสมควร อาจจะออกระเบียบบางอย่างของตัวเองได้ มีบุคลากรของตัวเอง โดยอาจจะมี ระบบกลางกำกับอยู่ แต่เปิดโอกาสให้บางท้องถิ่นแปลกแยกจากระบบกลางได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแม่ฮ่องสอน อยากจะพัฒนาเร่งด่วน อาจจะอยากจ้างดอกเตอร์สัก คนมาเป็นปลัดเทศบาลหรือเป็นที่ปรึกษาเทศบาล ต้องใช้เงินสักแสนสองแสนจ้างเขา ระเบียบ ก็ไม่เปิดโอกาสให้ทำ แต่สง่ิ ทีค่ ณะปฏิรปู ฯ เสนอคือ ต้องเปิดโอกาสให้ทำได้ แม้แต่เรือ่ งอำนาจของ ตำรวจ ก็ควรจะแบ่งอำนาจของตำรวจบางส่วนมาให้ ฉะนั้น ส่วนกลางเอง หรือส่วนภูมิภาค ถ้าจะยังอยู่ เราก็อยากจะเห็นว่า สองส่วนนีท้ ำให้นอ้ ยทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำได้ แล้วปล่อยให้งานปฏิบตั ิ เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมกับภาคประชาชน ถามว่า แล้วภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ก็ไม่ยาก เพียงแต่เปิดโอกาส

30 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของความอดทน ประชาธิปไตยไม่ใช่มีแต่สภา ส.ส. สจ. สท. ส.อบต. แล้วจะเรียกว่า เป็นประชาธิปไตยได้ อบต.เกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีมานี่เอง ผมยังจำได้ ขณะนั้นผมเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง มหาดไทยที่ชื่อ อารีย์ วงศ์อารยะ แล้วคนที่ยกสภาตำบลทั้งหมดเป็น อบต.ก็คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นด้วยเลย 6,000-7,000 แห่ง จะยกอย่างไร ปัญหาสารพัด แต่วา่ การเมืองตอนนัน้ เขาก็ไม่ฟงั กระทรวงมหาดไทย ท่านจำได้ไหม วันแรกที่มี อบต.เกิดขึ้น มันสับสนวุ่นวายไปหมด ใครจะมาเป็นผู้บริหาร ใครจะมาเป็น

สภา อบต. และบริหารกันเปะปะ ตลกมาก แต่เดี๋ยวนี้เป็นอย่างไร เข้าที่เข้าทางแล้ว ดังนั้น เวลาและการเรียนรู้มันสามารถทำให้เกิดการพัฒนา อย่างไรก็ตามยังอยากเห็นการพัฒนา ทีเ่ ร็วกว่านี้ ถามว่าทำไมถึงต้องเร็ว เพราะขณะนีโ้ ดยเฉพาะเมืองไทย ไม่มที างออกจริงๆ บ้านเมือง ไม่มีทางออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้เลย เพราะอำนาจในการกำหนดนโยบาย สั่งการ แก้ไขกฎหมาย และทีส่ ำคัญคืองบประมาณก้อนใหญ่ทเ่ี ป็นผลประโยชน์มหาศาลนัน้ ใหญ่เกินกว่า

ที่จะยอมแพ้กันง่ายๆ เพราะฉะนัน้ การต่อสูท้ ก่ี รุงเทพฯ การต่อสูท้ ร่ี ฐั สภา ทีแ่ ย่งชิงกันเป็นรัฐบาล จึงรุนแรงมาก และ ก่อให้เกิดความแตกแยกในบ้านเมืองเราอย่างมหาศาล ผมมีความเชื่อว่า ถ้า ‘สเต็กผล ประโยชน์’ เหล่านีม้ นั เล็กลง เอาส่วนทีม่ นั ใหญ่แยกลงมาข้างล่างเสีย ให้การแก้ไขปัญหาและการ พัฒนาพื้นที่เป็นเรื่องของคนที่อยู่ในพื้นที่ เขาจะบริการจัดการตนเองได้ โดยมีกรอบมาตรฐาน ทีก่ ำหนดโดยรัฐบาล ผมคิดว่าการต่อสูข้ า้ งบนจะลดความรุนแรงลง ผมมองไม่เห็นทางออกเลย ตราบใดทีอ่ ำนาจรัฐบาลยังมหาศาลงบประมาณยังเป็น 2 ล้านล้านบาทและกำลังจะเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 31


ปัจจุบัน กิจกรรมร้อยละ 80-90 เป็นของรัฐ เป็นของส่วนกลางและภูมิภาค อีก ร้อยละ 10-20 เป็นของท้องถิ่น แต่เราต้องกลับหัวกลับหาง หมายความว่ากิจกรรม ทัง้ หมดร้อยละ 70-80 เป็นของท้องถิน่ รัฐบาลกลางให้เหลือนิดเดียว ทำเท่าทีจ่ ำเป็น ทำเท่า ที่อยากจะสงวนบางสิ่งบางอย่างไว้ แน่นอนว่าเราเป็นรัฐเดีย่ ว แบ่งแยกมิได้ แต่ผมไปดูญป่ี นุ่ เขาก็เป็นรัฐเดี่ยว เกาหลีเขาก็ เป็นรัฐเดีย่ ว เกาหลีใต้เขามีปญ ั หากับเกาหลีเหนือมาก เขาก็ยงั มีการปกครองตนเองเต็มรูปแบบ หรือ Full autonomy ซึ่งหมายถึง ท้องถิน่ มีอสิ ระเต็มที่ ยกเว้นเรือ่ งความมัน่ คง เรือ่ งทีเ่ ขาจะต้องไป เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับประเทศอื่นๆ เท่านั้นเอง ฉะนัน้ ท่านลองหลับตานึกภาพว่า ถ้ากิจกรรมทัง้ หลาย ข้าราชการทั้งหลาย โรงเรียน ทั้งหลาย สถานีอนามัยทั้งหลาย รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชนก็อาจจะเป็นของท้องถิ่นด้วย คนมี ความรู้ก็จะอยู่เต็มไปหมด ท่านนายกฯ ที่อยู่ที่นี่ก็อาจจะใจสั่น เพราะจะต้องไปปกครองคนมี ความรู้ที่มีอยู่เยอะแยะเหล่านี้ ซึ่งผมมีความมั่นใจเลยว่า คนเก่งๆ มีความรู้ก็ต้องลงมารับใช้ มาสูก้ นั ตรงนี้ ไม่ใช่ลงมาแย่งกัน โดยทีเ่ ราจะต้องสร้างกลไกไว้รองรับ นั่นก็คือ การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม เราสร้างขึ้นมาได้ หรืออาจจะมีอยู่แล้ว รอเราไปร่วม หรือเรา เปิดช่องนี้ไว้ กระทรวงมหาดไทยหรือรัฐก็อาจจะไปเร่งเปิดหน้าต่าง ประตู ให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ ยิ่งถ้าท่านผู้บริหารท้องถิ่น หรือสภาท้องถิ่น ไปชักชวนให้มาร่วมกัน มากขึ้นก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เราลองหลับตานึกภาพตัวอย่าง เช่น โรงเรียน ถ้าโรงเรียนทุกโรงเรียนของรัฐเป็นของ ท้องถิ่น ถามว่าจะมีใครยอมให้ลูกหลานของเราโง่กว่าอีกจังหวัดหนึ่งไหม ลำพูนจะยอมไหม ที่จะให้เด็กของเราโง่กว่าเด็กเชียงใหม่ เชียงรายจะยอมลำปางไหม แพร่จะยอมพะเยาไหม เมื่อไม่ยอมก็จะเกิดการแข่งหรือสู้กันในทางที่ดี เราลองหลับตานึกภาพอีกว่า ถ้าเราขับรถจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่ง ที่สวยงามสะอาดเรียบร้อย พอพ้นไปอีกทีห่ นึง่ สกปรกรกรุงรัง ถามว่านายกฯ จะอยูไ่ ด้ไหม อาจจะ อยู่ได้ในระยะแรกๆ เท่านั้น แต่ตอ่ ไปก็อยูไ่ ม่ได้ ฉะนัน้ รัฐก็เพียงแต่กำกับดูแล ผูว้ า่ ฯ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ต้องถอยออกมา ผมเคยไปดู ง านที ่ เ ยอรมนี เกษตรจั ง หวั ด เขาก็ ม ี แต่ ม ี ส องคนกั บ ผู ้ ช ่ ว ยเท่ า นั ้ น ทำหน้าที่คอยแนะนำท้องถิ่น สมมติถ้าหนอนลงนาข้าว ก็จะบอกว่าใช้ยานี้สิ แต่ท้องถิ่นจะ เชื่อหรือไม่ก็เรื่องของท้องถิ่น เป็นเรื่องของประชาชนที่ต้องไปตัดสินใจเอา ไม่เชื่อก็ตามใจ ก็ไม่

32 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ได้ว่าอะไร แต่เขาจะคอยให้คำแนะนำทางวิชาการ หรือถ้าเป็นฝ่ายปกครองอย่างพวกผม อาจจะกำกับดูแลไม่ให้ออกนอกกรอบ แต่กรอบมันควรจะเป็นกรอบกว้างๆ ไม่ใช่ไปบอกทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่น มีทอ้ งถิน่ แห่งหนึง่ เอารถหลวงไปขายเป็นรถของตัวเอง พอมีปญ ั หานี้ กระทรวง ก็ออกเป็นหนังสือสั่งการที่ทำให้ท้องถิ่นที่ดีๆ ต้องปวดหัว คือระเบียบหรือหนังสือสั่งการนั้น ถ้ามองในแง่บวก เขาก็มคี วามปรารถนาดี ไม่อยากให้มจี ดุ อ่อน-รูรว่ั แต่วา่ ยิง่ ทำยิง่ สัง่ ท้องถิน่ ต่างๆ ยิ่งกระดิกตัวไม่ออก และกลายเป็นระบบราชการไปหมด สิ่งสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วม คือทำอย่างไรถึงจะให้ประชาชนมีความ รู้สึกว่า เขาเป็นเจ้าขององค์กรปกครองท้องถิ่น ท้าเลยว่า ให้กลับไปถามว่า อบต. เทศบาล ตำบล อบจ. เป็นของใคร เขาก็จะบอกว่าเป็นของหลวงทัง้ นัน้ เพราะระบบมันสร้างมาเป็นอย่างนัน้ ฉะนัน้ ตรงนีค้ ดิ ต้องหาทางทำให้ประชาชนมีความรูส้ กึ ว่า เขาเป็นเจ้าขององค์กรปกครองท้องถิน่ เมื่อเขาเป็นเจ้าของ เขาจะต้องรับรู้ รับทราบเมื่องบประมาณมา จะทำข้อบัญญัติ ข้อบังคับ โครงการต่างๆ ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้วิพากษ์วิจารณ์เสนอแนะ ไม่ใช่ผู้บริหารท้องถิ่น กับสภาท้องถิ่นว่ากันสองหน่วยพอ คงไม่ใช่ เราอยากเห็นว่า พอทำข้อบัญญัติงบประมาณเสร็จแล้ว ให้มีการทำสำเนาให้เจ้าบ้าน ในพื้นที่ได้รับรู้ ได้เก็บไว้ อาจจะเป็นฉบับย่อ ว่าจะมีถนนอะไรเกิดขึ้น หน้าตาของถนนคร่าวๆ จะเป็นอย่างไร เป็นหินบดอัด หรือโรยกรวด หรือว่าจะเป็นถนนลาดยาง หรือคอนกรีตหนา กว้าง ยาวเท่าไหร่ เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในการเข้ามาท้วงติง หรือแม้แต่การจัดซื้อจัดจ้าง ก็อยากเห็นประชาชนเข้ามามีสว่ นรับทราบ หรือการควบคุมงานก่อสร้าง เราตัง้ ประชาชนมาเป็น ผู้ช่วยผู้คุมงานได้ไหม แล้วก็ตรวจรับ แจ้งล่วงหน้า 3-7 วันเพื่อให้ประชาชนมาเดินตรวจ พร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ดังนัน้ เมือ่ พูดถึงความโปร่งใส ความโปร่งใสจึงมีอยูส่ องอย่าง คือความโปร่งใสที่เกิดจาก ตัวเรา ความโปร่งใสที่เกิดจากพรรคพวกและสภาท้องถิ่น ข้าราชการท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ นี่คือ ความโปร่งใสที่เกิดจากภายใน ส่วนความโปร่งใสภายนอกก็อย่างที่ผมพูด คือเปิดโอกาสให้ ประชาชนรับรู้รับทราบ มาท้วง มาติง แน่นอนว่าประชาธิปไตยไม่ราบรื่น อย่างที่บางท่านถามว่า ไม่ยุ่งหรือ ยุ่งแน่ เพราะจะ มีฝ่ายไม่เห็นด้วย เกลียดขี้หน้าเรา ค้านโดยมีและไม่มีเหตุผล แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของ ความอดทน ประชาธิ ป ไตยไม่ ใ ช่ ม ี แ ต่ ส ภา ส.ส. สจ. สท. ส.อบต. แล้ ว จะเรี ย กว่ า เป็ น ประชาธิปไตยได้ ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่มีองค์ประกอบมากมาย เป็นเรื่องของเหตุของผล

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 33


เรือ่ งของการมีสว่ นร่วม เรือ่ งของเสียงข้างมาก ตัดสินด้วยเสียงข้างมาก แต่ตอ้ งรับฟังเสียงข้างน้อย เรือ่ งของนิตริ ฐั ก็ตอ้ งมีระเบียบกฎหมายรองรับ ไม่ใช่พดู กันไป อยากทำอะไรก็ทำ และประชาธิปไตย สุดท้ายนั้น ก็จะต้องเป็นวิถีชีวิต อยู่ในลมหายใจของเรา ไม่ใช่ว่า เราอยู่บ้าน มีเมียหนึ่งคนลูกหนึ่งคน โหวตกันว่าวันเสาร์จะไปไหนดีระหว่าง ดูหนังกับไปทะเล ลูกกับเมียสองเสียงยกมือจะไปทะเล ผมยกจะไปดูหนัง เสร็จแล้วก็ตดั สินใจ ไปดูหนัง เพราะเป็นเงินของผม ดังนั้นจะเห็นว่า ประชาธิปไตยต้องเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน แล้วไปถึงประเทศชาติ เราเชือ่ ว่าการมีสว่ นร่วมต้องฝึกทำ และมัน่ ใจว่า อบต.ไหน เทศบาลไหน ลองเปิดโอกาส ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์โครงการต่างๆ ประจำปีแล้ว พอถึงปีหน้า ไม่ทำก็ไม่ได้แล้ว เพราะ มันติดใจ เพราะฉะนั้นอำนาจของประชาชนในเรื่องของการมีส่วนร่วม ฟังดูอาจจะคิดว่ามีแต่

แง่ลบจะมากำกับดูแลวุ่น จุ้นจ้านอยู่อย่างเดียว ไม่ใช่ เราต้องคิดว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชนนั้นในอีกด้านหนึ่ง ก็คือการสนับสนุน ถ้าประชาชนรู้สึกว่า อบต.เป็นของเขา เราจะ ปล่อยให้ อบต.เจ๊งไม่ได้ เราต้องคอยช่วยเหลือ ต้องสนับสนุน ต้องช่วยกัน เมือ่ สองวันก่อน มีนกั ข่าวมาถามว่า จะเลือกตัง้ ท้องถิน่ กันทัว่ ประเทศ จะฆ่ากันบ้าง แจกเงิน กันเต็มไปหมด ผมจึงบอกไปว่า นีเ่ ป็นปัญหาพืน้ ฐานจากการที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมตั้ง แต่ต้น เขาไม่สามารถจะรู้ว่าใครดีใครเก่ง เพราะฉะนั้นเอาเงินดีกว่า ง่ายดี แต่ถ้าประชาชน มีส่วนร่วมตัง้ แต่ตน้ จะรูว้ า่ คนนีด้ ี คนนีเ้ ก่ง และเขาจะเลือกได้ แต่ตอนนีถ้ ามหน่อยว่า นอกจาก กากบาทเป็นครัง้ เป็นคราวแล้ว เขาจะมีสว่ นร่วมตรงไหนทีจ่ ะทำให้เขาได้รวู้ า่ ใครเก่ง ใครดี ใครไม่ดี ท่านอย่าดูถูกตัวเอง ศักยภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นมากมาย ท่านอาจ จะดู แ ค่ ก ฎหมายที ่ ท ่ า นรั บ ผิ ด ชอบ แต่ ท ่ า นสามารถทำอะไรได้ อ ี ก เยอะ ยกตั ว อย่ า งเช่ น ท่านสามารถปราบโจรผู้ร้ายได้ อาจจะนึกว่าเรือ่ งของกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น นายอำเภอ ตำรวจ ลองนึกดูว่า ในพื้นที่ของเรา ซอยนี้มีโจรจี้เป็นประจำ ถ้าท่านเป็นนายก อบต. หรือเทศบาล ท่านสามารถไปตัดต้นไม้ให้

โล่ง โปร่ง เพิ่มแสงสว่าง ติดป้ายเตือน หรือตั้งอัตราจ้างยามท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือดูแล ประชาชน เห็นไหมว่า ท่านสามารถช่วยตำรวจได้ในเรื่องโจรผู้ร้าย ให้มันเบาบางลงได้ หรือ อุบัติเหตุทางถนน ท่านก็มาช่วยติดไฟกระพริบ ป้ายเตือนเป็นระยะ หรือทาสีสะท้อนแสง ฉะนั้น ศักยภาพของท้องถิ่นนั้นมากกว่าที่ท่านคิด แต่เราต้องไปเรียกร้องเอาอำนาจ บทบาท หน้าที่และงบประมาณเพิ่มเติมลงมา

34 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ขณะนีห้ ลายจังหวัดกำลังเสนอจังหวัดจัดการตนเองขึน้ มา หลายจังหวัดกำลังเคลือ่ นตัว มี ค นถามว่ า เขาจะยอมหรือ บอกได้เลยว่า นักการเมืองไม่มีวันยอม เว้นแต่ท่านจะใช้

พลังของท่าน คือพลังกากบาท ถ้าเครือข่ายเรามากพอ และคนเข้าใจมากพอ เราก็สามารถ จะใช้การเจรจากับพรรคการเมือง แน่นอนว่า อำนาจรัฐเขาไม่ให้ง่ายๆ เว้นแต่จะบีบเอามา ท่านอาจจะบอกว่า ถ้าพรรคนี้ไม่สนใจกระจายอำนาจเพิ่มเติมให้กับประชาชน เราก็จะไปหา พรรคการเมืองอื่นที่เขาสนใจมากกว่านี้ เป็นไปได้ไหมครับ เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่ความเข้าใจ และการรวมตัว และการรู้จักพลังของพวกเราที่จะเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา สรุปก็คือ เราอยากเห็นท้องถิ่นร่วมกับภาคประชาชนบริหารจัดการตนเองในพื้นที่ได้ ด้วยการเรียกร้องอำนาจ ใช้พลังทางการเมืองของท่านเข้าไปเจรจา และดึงอำนาจลงข้างล่าง เพื่อให้บา้ นเมืองของเราเกิดความสงบมากกว่าเดิม ทำให้ก้อนผลประโยชน์เล็กลง และลงมา อยู่ข้างล่าง เพื่อลูกหลานของเราจะได้เกิดมาในพื้นที่ที่พ่อแม่เป็นคนดูแล ทีส่ ำคัญคือ ท่านต้องไม่ยอมเขา เช่น งบประมาณ ทีเ่ ขาจะให้ทอ้ งถิน่ ปีน้ี 500,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26 เท่ากับปีที่แล้ว แต่ปรากฏว่า พอไปดูในงบอุดหนุน จะแยกเป็นสองงบใหญ่ๆ คืองบอุดหนุนทั่วไปกับงบอุดหนุนเฉพาะกิจ งบอุดหนุนเฉพาะกิจ อาจจะมีหลายชื่อ แล้วก็มี รายการเต็มไปหมดว่า รัฐขอให้ทำนั่นทำนี่ แต่ที่แปลกใจคือ งบทั่วไป ที่ไปคิดเองทำเอง ก็ปรากฏว่า มีรายการเต็มไปหมดเหมือนกัน แล้วนีค่ อื อะไร ผมก็ไปต่อว่ากรรมการทีเ่ ป็นตัวแทน ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในคณะกรรมการกระจายอำนาจ ว่าเราไปยอมเขาได้อย่างไร เขาบอกว่า รัฐมนตรีบ้าง ประธานขอร้องบ้าง ก็เลยไปยอมเขา พวกเราก็เป็นเสียอย่างนี้ เรามีสมาคมท้องถิ่น เรามีสันนิบาตเทศบาล เรามีสมาคมข้าราชการท้องถิ่น จึงอยาก ให้รวมตัวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องเป็นเครือข่ายท้องถิน่ โดยตรง เครือข่ายอาชีพ เครือข่ายสาธารณสุข เครือข่ายศึกษา ช่วยกันใช้พลังทางการเมืองของท่าน ช่วยกันเรียกร้องในทางทีถ่ กู ทีค่ วร ดีกว่ามาใส่เสือ้ คนละสีเย้วๆ กัน ซึง่ ไม่มปี ระโยชน์อะไร เวลานี้ ผมก็โดนต่อว่าเมือ่ พูดเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ เขาบอกว่าจะมาขายกระทรวงมหาดไทย อีกแล้ว จะมายุบกระทรวงฯหรือ อยากกราบเรียนว่า ผมอยูก่ ระทรวงมหาดไทยมา 37 ปี ผมเป็น นายอำเภอ 3 อำเภอ เป็นผู้ว่าฯ 4 จังหวัด เป็นอธิบดี 2 กรม ผมเป็นปลัดกระทรวง ผมรัก กระทรวงมหาดไทย แต่ผมอยากเห็นประเทศไทยของเราเจริญก้าวหน้า และรับผิดชอบตัวเอง จัดการกับชีวิตของตัวเองมากกว่านี้ ผมเชื่อว่า เราจะทำได้ดีกว่าการที่ให้คนอื่นมาสั่งให้เราทำหรือมาทำให้เรา 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 35



สัจจะออมทรัพย์วิวัฒน์ สู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชน

อัมพร ด้วงปาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ


การออมนั้นมีมาตั้งแต่ในอดีต สมัยปู่ สมัยทวด แต่รูปแบบการออม

จะเป็นการออมไว้ในธนาคารบ้าง ออมไว้ที่บ้านบ้าง ไม่ได้เกิดประโยชน์เต็มที่ หรือได้ประโยชน์ บ้างก็น้อยมาก มาในตอนหลัง เรามาคิดได้ว่า การออมที่ไม่ได้มีการจัดการด้วยตัวเราเองนั้น จะได้ประโยชน์น้อย แต่ถ้าออมในกลุ่มองค์กรชุมชน ในหมู่บ้าน ตำบล และจัดการกันเอง ก็จะ ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ การพัฒนาต่างๆ ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั เราปฏิเสธไม่ได้วา่ ปัจจัยที่จะหนุนเสริมต่อการ พัฒนาได้นั้นต้องอาศัยทุนเป็นหลัก แต่ทุนในที่นี้ สังคมอาจจะมองไปทีต่ วั เงินอย่างเดียว แต่ท่ี จริงแล้วไม่ใช่ เงินเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่จะเสริมการพัฒนาให้มี ประโยชน์สูงสุด 3 ปัจจัยหลักที่ว่า คือ 1.ทุนคน 2.ทุนองค์ความรู้หรือความคิด 3.ทุนทรัพยากร ที่เป็นตัวเงินและธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า สิ่งเหล่านี้รวมเป็นทุนทั้งสิ้น และวันนี้จะขอหยิบเอาทุน ที่เป็นตัวเงิน ทุนคน และทุนองค์ความคิดมาอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจกับพวกเรา ได้มีโอกาสคลุกคลีกับทุนชุมชนหรือการออมทรัพย์ของชาวบ้านมาถึงวันที่ 1 มีนาคม 2555 ก็ เ ป็ น เวลา 31 ปี เ ต็ ม จากที ่ ไ ด้ เ ริ ่ ม ต้ น ร่ ว มกั น เพี ย งไม่ ก ี ่ ค น จนกระทั ่ ง วั น นี ้ เ รามี

การออมทรัพย์เต็มพื้นที่ของ ต.คลองเปียะ 11 หมู่บ้าน ประชากร 6,000 กว่าคน ถามว่า ทำไม เราจึงสามารถสร้างกระบวนการตรงนี้ขึ้นมาได้ คำตอบคือ นั่นเป็นเพราะเรารู้ว่า ทางออกที ่

พี่น้องประชาชนคนยากไร้ คนยากจน คนรากหญ้า หรือคนเล็กคนน้อยจะแหวกชีวติ ออกจาก วงจรความจนได้ ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการออม แต่ต้องออมแบบออมร่วมกัน จัดการร่วมกัน ไม่ใช่จัดการคนเดียว หรือให้ใครอื่นมาจัดการให้ จึงอยากจะยกตัวอย่างให้เห็นการออม ที่ ต.คลองเปียะ ซึ่งพอจะเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างให้คิด

38 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


แนวคิดในการจัดสวัสดิการชุมชน วิธีการสร้าง ความคิดดีอยู่ด ี

(ลดหนี้)

ส่งเสริมการออม กู้เงินตนเอง

กองทุน กลุ่ม

ที่คลองเปียะ เราสามารถสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่า เป็นการส่งเสริมการออมเพื่อไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนนั้น เราอาจจะยังไม่ใช้คำนั้น แต่อยากใช้คำว่า “ส่งเสริมการออมเพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองได้” ส่วนจะเข้มแข็งหรือไม่ อย่างไรเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่หากสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว นั่นแหละคือความสำเร็จ

ของคุณภาพชีวิตคน เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการจัดการการออมร่วมกัน หรือทำออมทรัพย์ร่วมกัน ทำสหกรณ์ร่วมกัน หรือทำอะไรก็แล้วแต่ร่วมกัน เราต้องมีเป้าหมายชัดว่า เราทำเพื่ออะไร ทำแล้วสมาชิกได้อะไร ที่ ต.คลองเปียะ ได้วางเป้าหมายเอาไว้ 3 ประเด็นหลักๆ ซึง่ วันนี้เราทำได้แล้วทั้งหมด คือ 1) ทำให้คนมีเงินได้รายเดือน ซึ่งคนในที่นี้ หมายถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ให้มรี ายได้ เป็นรายเดือน หรือพูดรวมๆ ว่า มี เ งิ น เดื อ นก็ แ ล้ ว กั น ตรงนี ้ ท ุ ก คนชอบ ทุ ก คนอยากได้ 2) ทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มี สวัสดิการดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า สวัสดิการทุกมิติ ที่สังคมต้องมี และที่สำคัญไปกว่านั้น 3) กระบวนการการออม คือกระบวนการสร้างเนื้อ สร้างหนัง กระดูก เส้นเอ็น เพื่อยึดโยงคุณภาพชีวิตของคนให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืนจนชีวิต จะหาไม่ นั่นคือบำนาญชีวิตนั่นเอง การออมทรัพย์ร่วมกันไม่ว่าวิธีการใด ต้องทำให้ได้ 3 ส่วนนี้เป็นหลัก และวันนี ้

คลองเปียะของเราทำได้ ถ้าท่านไม่เชื่อ พรุ่งนี้ไปดู ไปถามลุงดำป้าแดงดู เพราะหลังจากวันที่ 15 เราจ่ายปันผลกันแล้ว หวยออกกันทั้งตำบล 7,000 กว่าคนถูกหวยกันทุกคนโดยไม่ต้องซื้อ นั่นคือหวยจากเงินออม บางครอบครัวท่านเชื่อไหมครับ ได้ปันผลและดอกเบี้ยเงินฝากถึง 200,000 - 300,000 บาท เราทำให้เขาได้แล้ว และบำนาญชีวติ ก็เป็นสิง่ ทีท่ กุ คนต้องการ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 39


เพราะฉะนั้นสรุปรวมว่า การออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีสูตรการจัดการ ทีม่ งุ่ ไปสูค่ วามมัน่ คงของคุณภาพชีวติ ของสมาชิกให้ได้ ไม่ใช่ทำกลุม่ โตใหญ่ มีเงินหลายร้อยล้าน แต่สมาชิกผอมโซ ถ้าทำอย่างนั้นแสดงว่า เนื้อในการจัดการไม่ตอบสนองความต้องการสมาชิก สิง่ ทีอ่ ยากฝากกับพวกเราในช่วงเวลาอันจำกัดนีว้ า่ เริม่ ต้นจากการออมนัน้ ถูกต้องแล้ว ไม่ว่าจะกึ่งรัฐกึ่งเอกชน ไม่ว่ากองทุนหนึ่งล้าน ที่เรียกว่ากึ่งรัฐกึ่งเอกชน เพราะรัฐบาลให้ไป หมูบ่ า้ นละล้าน แต่ทค่ี ลองเปียะ 300 กว่าล้าน วันนี้เป็นหยาดเหงื่อแรงงานของพี่น้องชาวบ้าน ทุกคน ไม่ใช่เงินรัฐ เพราะฉะนั้นเราจึงบอกได้ว่า เราพัฒนาการออมไปสู่การพึ่งตนเองได้แล้ว

อย่างสมบูรณ์ ซึง่ สมบูรณ์ในทีน่ ค้ี อื รัฐบาลไม่ให้ 1 ล้าน เราก็ไม่เดือดร้อน เพราะมีเงินเข้าทุกเดือน เฉพาะเงินออมอย่างเดียวกว่า 220,000 บาทเศษต่อเดือน และเงินดอกผล เงินคืนอีกเดือนหนึ่ง ประมาณ 7-8 ล้านบาท เงินหมุนเวียน 1,000 กว่าครัวเรือนจาก 11 หมูบ่ า้ น 1 ตำบล พอทีจ่ ะ พึ่งตนเองได้ พอที่จะผันไปเป็นทุนให้พี่น้องในการแก้ปัญหาได้หลายเรื่องหลายอย่าง หรือครบ ทุกองคาพยพของชีวติ ก็วา่ ได้ หากเราทำได้ในประเด็นเหล่านี้แล้ว มั่นใจได้ว่า นั่นคือคำตอบของชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการทรัพยากรตัวเงินด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญาได้สำเร็จ และเกิดประโยชน์สูงสุด เราไม่ได้ได้เพียงแค่เงินเดือน เรื่องของสวัสดิการ และบำนาญชีวิตเท่านั้น เรามองเห็นไป สู่ภัยพิบัติที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ไม่ว่าภัยพิบัติจากน้ำท่วมก็ดี ภัยพิบัติจาก น้ำแล้งก็ดี เราสร้างภูมิคุ้มกันไว้หมดโดยใช้เงินออมตรงนี้เป็นเครื่องมือ ทำให้คุณภาพชีวิตของ เรามีความมั่นคง เราคิดถึงเรื่องป่า เราส่งเสริมการปลูกป่าโดยใช้ดอกผลเงินออมนี้ ให้ลุงดำป้าแดง ปลูกต้นไม้ ปลูกป่าในที่ดินของตนเอง ปลูก 50 ต้นก็มาเข้าโครงการ ทุกวันสุดท้ายของเดือน เราจะจ่ายค่าต้นไม้ให้กับคนที่ปลูกต้นไม้ โดยให้ค่าดูแลต้นละ 3 บาทต่อเดือน ซึ่งตรงนี้เป็นเงิน หลายแสนบาทต่อปีทม่ี าจากการออมร่วมกัน มาจากการจัดการให้เกิดกำไร และเอากำไรตรงนัน้ มาจ่าย มีหลายครอบครัวที่ปลูกเกิน 1,000 ต้น แสดงว่า นั่นคือบำนาญชีวิตกลายๆ แล้ว เพราะเราให้ค่าดูต้นไม้ 10 ปี แต่ต้นไม้ใช้เวลาดูแล 2-3 ปีก็สามารถเติบโตได้เอง เงินดูแล ในปีต่อๆ มากลายเป็นเงินได้ฟรี เป็นสวัสดิการ เมื่อครบ 10 ปี กลุ่มถอนตัว ไม่เอาอะไรคืนเลย ต้นไม้ก็ตกเป็นของคนที่ปลูก เพราะ ฉะนั้นลูกหลานก็จะมีไม้ใช้สอย มีไม้ปลูกบ้านซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ โดยไม่ต้องซื้อ ไม่มีเงิน

ก็สามารถปลูกบ้านได้ถา้ เรามีตน้ ไม้ นี่คอื วิธคี ดิ ของชุมชนคลองเปียะทีพ่ ฒ ั นาไปสูก่ ารพึง่ ตนเอง

40 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


และทำให้ชมุ ชนของเรามีภูมิคุ้มกัน มีต้นไม้กระจายอยู่ทุกพื้นที่ อย่างน้อยครอบครัวละ 50 ต้น มีไม้เศรษฐกิจ ไม้ที่สามารถปลูกบ้านได้ในอนาคตข้างหน้า นอกเหนือจากนั้น กองทุนการศึกษา กองทุนส่งเสริมอาชีพ กองทุนดูแลผู้สูงอายุ ทีไ่ ร้ผ้อู ปุ การะ หรือทุนการศึกษา ทุนส่งเสริมสังคมปีละหลายแสนบาทที่เราให้ความช่วยเหลือ ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากกำไรของการจัดการเงินออมที่เราเรียกว่า ‘ออมทรัพย์’ นั่นเอง วันนี้ชุมชนคลองเปียะยังคิดถึงเรื่อง ‘ดิน’ เพราะเราคิดว่า ถ้าเราปล่อยให้ชาวบ้าน ขายที่ดิน ให้ที่ดินจากคนจนกลายไปอยู่ในมือคนรวยที่เราเรียกว่านายทุนอันตราย ที่อันตรายก็ เพราะหากเราปล่อยไว้อย่างนี้ ต่อไปเราอาจไม่มีที่ดินจะให้ลูกหลานปลูกบ้านแม้แต่บ้าน สี่เสา เพราะฉะนั้นจึงมีนโยบาย มีกองทุนสวัสดิการเรื่องการซื้อที่ดินไว้ให้ลูกหลานของเรา ในอนาคต หากมีใครจำเป็นต้องขาย และไม่เพียงแค่คิด แต่วันนี้เราเริ่มซื้อแล้ว มีชาวบ้านถามว่า แล้วซื้อที่ดินไปทำไม ก็ตอบว่า ไม่ได้ซื้อให้ลุงอัมพรหรอก แต่ซื้อให้ กลุม่ ออมทรัพย์คลองเปียะ แล้วกลุม่ ออมทรัพย์คลองเปียะจะจัดการให้ลกู หลานเราในวันข้างหน้า หากไม่มีที่ปลูกบ้าน ไม่มีที่ทำกิน สามารถมาขอผ่อนจากกลุ่มในระยะยาวได้เลย และเราจะไม่ บวกกำไรเหมือนนายทุน การที่คิดทำอย่างนี้ เพราะดินเป็นฐานชีวิต ดินเป็นแหล่งผลิตปัจจัยสี่ ชีวิตสัตว์โลก ดำรงอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีดิน ไม่มีป่าไม้ ไม่มีน้ำ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาให้ครบวงจร เพราะฉะนั้น ในเบื ้ อ งต้ น จึ ง อยากบอกว่ า นี่แหละคือการจัดการการออมทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ต่อสมาชิก ต้องทำอย่างนี้ วันนี้ไม่มีที่ไหนในประเทศไทยที่กล้าให้คนป่วยเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คลองเปียะเราทำได้มา 7 ปีแล้ว และเป็น 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีเพดาน โดยไม่จำกัดโรค โดยไม่จำกัดยา มันอาจดีกว่าสวัสดิการของรัฐที่บางเรื่องเบิกไม่ได้ แต่ที่ คลองเปียะเบิกได้หมด ขอเพียงว่าป่วยแล้วนอนในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นเอง บางคน บางครอบครัวเบิกได้เป็นแสนๆ เช่น คนที่ขยันป่วยหน่อย ต้องพบหมอเป็นประจำทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน ฯลฯ จริงอยูท่ ว่ี า่ เรามีบตั รทอง แต่ยงั ไม่นา่ ภูมใิ จ ถ้าเราปล่อยให้บตั รทองดูแลเราฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้นคนคลองเปียะไม่ปฏิเสธบัตรทอง เพียงแค่ไม่ใช้บัตรทอง เพราะกลุ่มดูแลเขาหมด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สามารถเป็นคำตอบได้ไหมว่า เราเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้หรือไม่ และอย่างไร

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 41


ความเข็มแข็งของชุมชน ด้านธุรกิจชุมชน

การเสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยปัญญา การเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้

การจัด

ออมทรัพย์ชุมชน

การเรียนรู้ด้วย ปัญญา การเชื่อมโยง สู่การปฏิบัติงาน

กลไกทางการและภาคีภายนอกชุมชน ที่สนับสนุนสัจจะออมทรัพย์

ทุนของเรา 300 กว่าล้านแล้ว และเรามีเป้าหมายจะพัฒนาชุมชนคลองเปียะให้เป็น ชุมชนที่มีทุน 1,000 ล้านให้ได้ในไม่กี่ปีข้างหน้า โดยใช้หลักการออมร่วมกัน จัดการร่วมกัน อย่างนี้ตลอดไป ในส่ ว นสวั ส ดิ ก ารบำนาญชี วิ ต ก็ เ ช่ น เดี ย วกั น ทุ ก คนต้ อ งการ ทุ ก คนอยากได้ ซึ่งวันนี้สมาชิกชุมชนคลองเปียะ 7,000 กว่าคน ทุกคนได้บำนาญหมดแล้วเหมือนข้าราชการ มากน้อยขึ้นอยู่กับอายุขัยของการเป็นสมาชิก อย่างสมาชิกร่วมรุ่นของลุงอัมพร บำนาญเฉลี่ย เป็นเดือนๆ ละ 30,000 กว่าบาท มากพอแล้วครับ เกษตรกรคนหนึ่งได้รับเงินบำนาญ 30,000 กว่าบาท มันเหลือล้นแล้ว การที่พูดว่า มันเหลือล้นนั้นเพราะหนึ่ง ประหยัดซื้อ ประหยัดจ่าย จากการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต กินแต่พอดี ใช้แต่พองาม พอเหมาะ พอสม พอควร หรือใช้คำว่า พอประมาณนั่นเอง ตามศักยภาพตามความรู้ นอกจากนั้นสวัสดิการบำนาญของคลองเปียะก็ดีกว่าบำนาญของข้าราชการ บำนาญ ของครูแดงได้เมื่อเกษียณอายุ แต่พอครูแดงตาย บำนาญก็จบตรงนั้น แต่บำนาญของลุง ลุงตายได้ลกู ต่อ แปลกไหมครับ เงินบำนาญ 30,000 กว่าบาทนี้ ลูกรับต่อได้นะครับเมือ่ ลุงตายแล้ว นี่คือการจัดการทรัพยากรที่เป็นตัวเงิน เงินเล็กเงินน้อยของคนยากคนจน รวมพลัง เป็นก้อนใหญ่มหาศาล 300 กว่าล้าน และจะถึง 1,000 ล้านในอีกไม่กป่ี ขี า้ งหน้า ตรงนีเ้ ราเดินต่อ

42 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


มันไม่ได้สำคัญที่ชื่อ ไม่ได้สำคัญว่าเป็นอะไร เราเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นออมทรัพย์ชุมชน สถาบันชุมชน เป็นสหกรณ์ หรือเป็นเครดิตยูเนียน ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่เนื้อหาสาระของการจัดการ ภายในว่า มันชี้ประโยชน์ให้ใคร เพราะว่าการออมมันหยุดไม่ได้ เหมือนค่าครองชีพที่หยุดไม่ได้ ทุกเรื่องมันแพงหมด เพราะว่า ทรัพยากรมีจำกัด ขณะทีก่ ารบริโภคเพิม่ ประชากรเพิม่ ตรงนีเ้ ป็นเครือ่ งมือที่บอกเราให้เข้าใจได้ โดยไม่ต้องเรียนสูงมากมาย เมื่อคนเพิ่ม แต่ทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะฐานที่เป็นแหล่งผลิตปัจจัยสี่นั้นลดน้อยลง เราไปรุกล้ำประเทศอื่นไม่ได้แล้ว พื้นที่ประเทศไทยมีเท่าไหร่ก็เท่านั้น แต่ประชากรเพิ่มขึ้นๆ ยกตัวอย่างคลองเปียะ เมือ่ ปี 2523 เมื่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ประชากรมี 3,000 กว่าคน ผ่านมา 31 ปีถงึ ตอนนี้ มีประชากร 6,000 กว่าคน เพิม่ ขึน้ เท่าตัว ไม่ตอ้ งพูดถึงประชากรของประเทศไทย คลองเปียะมีพน้ื ทีเ่ พียง 40,000 กว่าไร่เท่านัน้ แล้วประเทศไทยล่ะ เพราะฉะนัน้ สิง่ สำคัญทีส่ ดุ คือกระบวนการเรียนรูเ้ รือ่ งการจัดการทรัพยากร เงิน ดิน น้ำ ป่า เป็นหัวใจของเรา หากเรารักบ้านเมือง ซึ่งหากทำได้จะเป็นการช่วยประเทศไทย การที่ กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะจ่ายเงินค่ารักษาพยายามให้คนคลองเปียะปีละหลายล้านบาท เพราะคนคลองเปียะไม่ใช้บัตรทอง ในด้านการศึกษา เรามีทนุ การศึกษามอบให้ลกู หลานทุกปี เด็กที่อยากเรียน เรามีทุน เรียนฟรีให้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งถึงปริญญาตรี ไม่ต้องให้กู้แล้วไปเอาคืน ล้มกลางทางก็ไม่มีการลงโทษ นั่นคือวิธีคิดของเรา วันนี้เราพูดถึงสถาบันการเงิน สหกรณ์ ฯลฯ ขอบอกว่า มันไม่ได้สำคัญที่ชื่อ ไม่ได้ สำคัญว่าเป็นอะไร เราเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นออมทรัพย์ชมุ ชน สถาบันชุมชน เป็นสหกรณ์

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 43


หรือเป็นเครดิตยูเนียน ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่เนื้อหาสาระของการจัดการ ภายในว่า มันชี้ประโยชน์ให้ใคร ทั้งนี้ กระบวนการจัดการเงินชุมชนที่คลองเปียะนั้น ชี้ประโยชน์ให้สมาชิกมีความ มัน่ คง ซึง่ ความมัน่ คงของคน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ มีเงินเดือนกิน มีสวัสดิการยามเจ็บป่วย และมีบำนาญชีวิต ทุกวันนี้ เมือ่ ดูทวี แี ล้วเศร้าสลด คนอายุ 70-80 ปี ต้องดูแลกันเองเพราะลูกทิง้ เนือ่ งจาก อดีตเราไม่เคยคิดวางแผนชีวิตเลย พอแก่ตัวมีแต่หนังหุ้มกระดูก ลูกเลยทิ้ง เพราะฉะนั้น กระบวนการการออมทรัพย์นี้จะสร้างเนื้อให้พี่น้องเอง ในวันข้างหน้าลูกไม่ทิ้ง ไม่ทิ้งแน่นอน เพราะมีเนื้อ ออมไว้แล้วเป็นล้านๆ แล้วลูกจะทิ้งได้อย่างไร และในวันนี้ก็ไม่เป็นภาระให้ลูก อยากจะกินอะไร เอาเงินให้ลูกหลานไปซื้อให้กิน ไม่ได้ขอเงินลูกหลาน แม้ว่าจะไม่ได้ทำงาน ไม่ได้กรีดยางแล้ว แต่ก็มีเงินเดือนกินจากเงินออม และดอกผลจากเงินออมก็เกิดมากขึน้ ทุกปี เพราะเราออม เราสะสมทุกเดือน เรารักการออมเป็นชีวิตจิตใจ เพราะการออมทำให้เราเป็นเรา การออมทำให้ครอบครัว เรามั ่ น คง เราเป็นเกษตรกร ลูกก็เป็นเกษตรกร แต่ครอบครัวก็มั่นคง มีบำนาญเหมือน ข้าราชการ และเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ได้รับการรักษาที่มากกว่า และดีกว่าด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพูดถึงเรื่องการออมทรัพย์นั้น มีกลุ่มมากมายเป็นหมื่นเป็นแสน กลุม่ ในประเทศไทย แต่เมือ่ ไปดูเนือ้ ใน กลับไม่ชถ้ี งึ ความสำเร็จ ไม่ชี้ถึงผลประโยชน์ของสมาชิก เท่าไรนัก มี ส มาชิกที่คลองเปียะถามว่า กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะยังไม่จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล แล้วจะล้มไหม เราก็บอกไปว่า คำตอบอยู่ที่ ‘มึงกับกู’ ถ้า ‘มึง’ คือสมาชิกปฏิบัติ ตามกติกา ‘กู’ ไม่โกง กลุ่มไม่ล้ม มันอยู่ที่คน 2 กลุ่ม เท่านั้นคือ สมาชิกและกรรมการ ไม่ว่า กลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มออมทรัพย์ แต่สิ่งที่ประเมินมาแล้วทั่วประเทศ ปัญหาอยู่ที่ ‘กู’ หรือพวก กรรมการมากกว่า กรรมการไม่โปรงใส ยึดอำนาจรวมศูนย์เกินความจำเป็น ตรงนี้เลยเจ๊ง สำหรับที่คลองเปียะ เรากระจายอำนาจ ในวันที่ 1 ของทุกเดือน คือวันที่เราออมกัน ทั่วทุกหมู่บ้านในตำบลคลองเปียะ เงินเข้าทุกหมู่บ้าน กระจายอำนาจกันทำงานทุกหมู่บ้าน ไม่ได้เป็นส่วนตัว นัน่ เป็นภาระหน้าทีท่ เ่ี ราต้องขยายผลความสำคัญของการออมในระยะเวลาสัน้ ๆ ส่วนวิธีการขยายผลไปสู่นโยบาย จะใช้อยู่ 3 วิธี 1) เอกสาร ซึ่งที่อื่นใช้วิธีการแจก แต่เราขาย เพราะองค์ความรู้ภูมิปัญญา ถ้าเราแจกมันไม่มีคุณค่า ขายเอาเงินเข้ากองทุน

44 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


2) รับเชิญไปบรรยาย ทั้งที่เรือนจำและในมหาวิทยาลัย 3) ไปเรียนรูด้ งู านในมหาวิทยาลัย และ เมือ่ เร็วนี้ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาก็ได้ลงพืน้ ทีไ่ ปเรียนรูก้ ารออมทีค่ ลองเปียะ หากพู ด ถึ ง เรื ่ อ งการพั ฒ นาการออมไปสู่ ส ถาบั น การเงิ น นั ้ น ก็ ไม่ใช่เรื่องยาก ที่คลองเปียะสามารถเอาป้ายไปขึ้นได้เลยว่า ‘สถาบันการเงินชุมชนคลองเปียะ’ เพราะมันคือ สถาบันการเงินจริงๆ เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เกิดจากหยาดเหยื่อแรงงานของชาวบ้านที่มา ออมร่วมกันทุกเดือน ไม่ได้เอาเงินรัฐ มีเพียงครั้งหนึ่งที่กองทุนเพื่อสังคมได้นำเงินมาช่วยเหลือ ในช่วงต้นแก่ชุมชนคลองเปียะ 500,000 บาท และมีตำบลอื่นๆ อีกรวมเป็นเงิน 2 ล้านบาท โดยไม่เอาคืน ถึงวันนี้เงินก้อนนี้ได้สะสมและงอกเงยเป็นเรือนล้านแล้ว เพราะไม่ได้นำเงินทุน ตัวนี้ไปใช้จ่าย แต่เอาไปทำเป็นกองทุนจนเกิดดอกเกิดผลเรื่อยมา จนกระทั่งกองทุนเติบโตเป็น 10 ล้านบาท นอกจากนั้นการจ่ายเงินช่วยเหลือสมาชิกฟรีๆ ทั้งหมดของคลองเปียะก็ไม่ได้เอาตัว ทุนมาจ่าย แต่เป็นการเอาดอกผลของเงินที่บริหารจัดการให้เกิดกำไร แล้วเอากำไรมาจ่าย เพราะฉะนั้นจ่ายเท่าไหร่เงินก็ไม่หมด ยิ่งจ่ายกองทุนยิ่งมากขึ้น การทีก่ ลุม่ ออมทรัพย์จะขยายไปสูก่ ารเป็นสถาบันการเงินนัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ ห็นด้วยอย่างยิง่ หากรัฐเห็นความสำคัญของกระบวนการการออมของชุมชน และส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชน รวมตัวกัน เพราะมันเป็นกระบวนการแก้จนได้จริงๆ คนคลองเปียะยืนยันได้ว่า ไม่จนแล้วครับ จะจนได้อย่างไรเมื่อสะสมทุกเดือน จากร้อยเป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน เป็นร้อยล้าน หลายครอบครัวหลายเปอร์เซ็นต์แล้วเขาจะจนไปได้อย่างไร สวัสดิการพร้อม บำนาญชีวติ ได้พร้อม ทุกเรื่องได้พร้อม มีความจำเป็นในการลงทุนอะไรก็มาเอาเงินไป มาถอนเงิน ไม่ต้องกู้ก็ได้ คลองเปียะไม่เน้นการกู้ เราเน้นการออมเป็นหลัก ลุงดำมีเงินสะสมไว้ 50,000 บาท มีความจำเป็นเอาเงินไปใช้เลีย้ งไก่ 20,000 บาท สามารถมาถอนได้เลย แต่ลงุ ดำไม่ถอนเงินออม เขากู้เงินตัวเอง เราไม่ต้องเป็นหนี้ใคร เป็นทุนจากเงินออม และหากลุงดำกู้เงิน 20,000 บาท มาแล้วล้มเหลว เลี้ยงไก่ขาดทุน กลุ่มก็ตัดเงินทุน 20,000 บาทนั้นออก เหลือ 30,000 บาท ลุงดำก็เป็นสมาชิกอยูต่ อ่ ไป เจ็บไข้ได้ปว่ ยก็ได้สวัสดิการไม่ตา่ งจากเดิม มีนกั วิชาการเคยมาถามว่า หากทำอย่างคลองเปียะ คนกูเ้ งินตัวเอง แล้วมันมีประโยชน์อะไร ก็บอกเขาว่า ถ้าประเทศไทย ของเราสอนคนให้กเู้ งินตัวเองได้ นั่นแหละคือความเป็นไทยที่สมบูรณ์ ในประเด็นความต้องการการหนุนเสริมจากรัฐบาล หากรัฐบาลเห็นความสำคัญกับ กระบวนการการออม กับสถาบันการเงินของชุมชน รัฐบาลน่าจะหาทางเติมเต็ม ไม่ใช่ไป

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 45


เริม่ ต้นนับหนึง่ ทีผ่ า่ นมา ไม่คอ่ ยเห็นด้วยกับกองทุนหมูบ่ า้ น 1 ล้านบาท เพราะไปเริม่ ต้นนับหนึง่ ให้ แต่เมื่อทำไปแล้วอย่างนั้นก็ดี หากบริหารจัดการเป็นก็เกิดประโยชน์ แต่ก็น่าเสียดายที่หลาย พื้นที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เกิดแต่หนี้อย่างเดียว ผลประโยชน์ที่ได้ คนจนก็ดูตาปริบๆ เพราะใช้ไม่ได้ ไปกู้กรรมการก็ไม่ให้ เพราะกลัวว่าหากกู้ไปแล้วเกิดเสียหาย เงินจะไม่ได้คืน แต่คนคลองเปียะไม่คิดอย่างนั้น เราไม่อยากให้คนจนกู้เงินครับ เพราะถ้าเราตั้ง กองทุนให้คนจนกู้เงิน เจ๊งลูกเดียว จนทั้งความคิด จนทางปัญญา จนไปหมดทุกอย่าง ตรงนี้ ธ.ก.ส.ท่านรองเอ็นนู ซือ่ สุวรรณ รองผูจ้ ดั การ ธ.ก.ส. รู้ดี เพราะฉะนั้นจะต้องมีกระบวนการว่า จะให้คนจนพอกพูนสร้างเนื้อของตนเองได้อย่างไร วันหนึ่งเขาสามารถออมเงินได้ กู้เงินได้ ทางออกคือ ให้คนจนสะสมเงิน ได้มาอย่างไรก็แล้วแต่ 20-30 บาทต่อเดือนก็ได้ คนใช้แรงงาน ก็ออมได้ เคยได้ไปบรรยายทีอ่ สี านเมือ่ ราวปี 2532-2533 พีน่ อ้ งอีสานบอกว่า ทางอีสานไม่มรี ายได้ ไม่มีเงินออม เลยบอกว่าไม่จริงครับ เราทำงานโรงงานก็มีรายได้ใช่ไหม อย่างน้อยวันละ 120130 บาท สมมติใน 1 เดือน เราทำงาน 20 วัน พักผ่อน 10 วัน ใน 20 วันนีเ้ ราเก็บออมไว้วนั หนึง่ ได้ไหม 19 วันนั้นจ่ายอะไรก็ได้ และหนึ่งวันนี้ก็สร้างเนื้อให้คุณแล้ว ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราก็ สะสมได้ทั้งแผ่นดิน ทุกอาชีพเลย ไม่จำเป็นจะต้องมีรายได้หรือมีเงินเหลือก่อนถึงจะออม ยิ่งเงินไม่พอ เรายิ่งต้องจัดการการออมให้เกิดประโยชน์ แล้วมันจะพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ หากรัฐบาลเห็นความสำคัญตรงนี้ น่าจะส่งเสริมในเรื่องการออม เพื่อช่วยประเทศไทย เพราะเมือ่ ทุกชุมชนมีเงินทุนเป็นของตนเอง รัฐบาลก็ไม่ตอ้ งแจกตลอดไป คนคลองเปียะมัน่ ใจว่า แม้น้ำท่วม 3 เดือนแต่คนคลองเปียะไม่เดือดร้อน เพราะเราเตรียมความพร้อมตรงนีไ้ ว้ทง้ั หมด เรามีกองทุนดูแล มีเงินค่าอาหาร เงินช่วยเหลือให้เขาพร้อม เพราะฉะนั้นในบางพื้นที่ที่พี่น้อง ไม่ได้เตรียมความพร้อม ไม่ได้สร้างภูมคิ มุ้ กัน แค่ 3 วัน ก็โวยแล้ว แสดงว่าเราพึง่ ตนเองไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องแจกทุกฤดูกาล และในวันนี้ประเทศไทย เราแจกทุกฤดูกาลแล้ว ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง หนาวก็แจก แจกหมด จนมีแต่แจกลูกเดียว สงสารประเทศไทย หากต้อง เป็นไปอย่างนี้ อยากฝากพวกเราที่รักการออม มีอุดมการณ์การออม ออมแล้วต้องเกิดประโยชน์ ใช้กระบวนการจัดการแบบโปร่งใส ใช้หลักคุณธรรมข้อเดียว คือจะไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบแค่ นัน้ จบ ผู้นำของเราเองที่เป็นประธาน เป็นผู้บริหาร เราจะไม่กระทำในสิ่งที่ตัวเราเองไม่ชอบ เช่น เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว เพื่อนโกงเรา เราชอบไหมครับ อยู่ร่วมกัน เพื่อนเอาเปรียบเรา

46 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


เราชอบไหมครับ เพือ่ นด่าเรา เราชอบไหม สิง่ เหล่านีท้ เ่ี ราไม่ชอบ เราอย่าทำ อย่าไปว่าคนอืน่ ว่า ต้องไม่ทำ แต่ให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อนเป็นเบื้องต้น แล้วคนอื่นค่อยตามมาทีหลัง ค่อยใช้กฎ ใช้กรอบ ใช้กติกามาเป็นเครื่องประคับประคองตรงนั้น การที่จะพัฒนาประเทศไทย หรือวิวัฒนาการการออมไปสู่การเงินชุมชนเป็นเรื่องที่จะ ต้องทำ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ แล้วเราก็ไม่ออมเพียงแค่สร้างทุนเพื่อกู้ ต้องคิดให้ครบ วงจรที่ชีวิตต้องการ เหมือนที่ทำที่คลองเปียะ ต้องคิดอย่างนั้นได้จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด เรามีทั้งเงินยังชีพ มีกองทุนเพื่อการศึกษา คนทุพพลภาพเรามีเงินช่วยเหลือ ไฟไหม้เรามีให้ หลังละ 50,000 บาท และเงินก็ให้เร็วมาก ไฟไหม้วันนี้พรุ่งนี้เงินถึง เพราะเรามีหลักเกณฑ์ในการ อนุมัติไว้แล้ว ดังนั้นกระบวนการจึงเร็วมาก หากเราไม่ทำอย่างนี้แล้วมัวแต่หาจากที่อื่นมา กระบวนการจะไปไม่ได้ และมันจะหยุดชะงัก แล้วจะเกิดปัญหาในวันข้างหน้า โดยเฉพาะเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังหมดไปในทุกวันนี้ ที่ผ่านมาเรายังได้สร้างองค์กรสมาคมฟื้นฟูหมู่บ้านชนบทสงขลาไปเป็นองค์กรกองทุน หมุนเวียนให้ชาวบ้านสงขลา เราพบกันทุกเดือนเพื่อเอาสิ่งดีๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากปราชญ์สงขลาก็ดี ของผู้นำในหลายจังหวัดภาคใต้ก็ดี จนกระทั่งส่วนหนึ่งไปเกิดการลงทุน ทำวิสาหกิจ เกิดโรงแป้งขนมจีนที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว มีผลกำไรดี และจดทะเบียนเป็นบริษัทเครือข่ายผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด จ.นครศรีธรรมราช เป็นการร่วมหุ้น ร่วมทุน ร่วมคิด ร่วมทำด้วยกัน ซึ่งตรงนี้เกิดจากการได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้การขยายผล มาจากการเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆ และนำปัญหา มาสู่การปรับประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการดำเนินการตรงนี้ยังสอดรับกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง สมบูรณ์ พึ่งตนเองได้อย่างสมบูรณ์ เรามั่นใจครับ บ้านเมืองเกิดวิกฤติอย่างไร เราไม่กระทบ หรือกระทบบ้างเราก็ไม่กระเทือน ที่ผ่านมาไม่ว่า วิกฤติเกิดขึ้นในปีไหนก็ตาม เราอยู่สบาย ไม่มี อะไรแสดงให้ เ ห็ น ความผิ ด ปกติ ค่ า ครองชี พ เงิ น ไหลเข้ า ไหลออกในแต่ ล ะเดื อ นก็ ป กติ เพราะฉะนั้นหากเป็นเช่นนี้ได้ ทำให้คนมีความคิดที่เป็นปกติและมั่นคง สังคมไม่วิกฤติ ไม่เกิด ปัญหาแน่

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 47



แนวคิดว่าด้วยพื้นที่สร้างสรรค์ สำหรับการเรียนรู้ของเด็ก และเยาวชน กรณีตัวอย่างต่างประเทศ

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สสส.


พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทุกท่าน

ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบาย เรื่องการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และการวัดผล ให้เห็นจริง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่อยากแลกเปลี่ยน เพราะประเทศไทยขาดพื้นที่สร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างมาก เวลาพูดถึงพื้นที่สร้างสรรค์ หลายคนถามว่าคืออะไร มีนิยามแค่ไหน โจทย์แรก จึงอยากเปิดประเด็นเกี่ยวกับนิยามว่า จะนิยามคำนี้อย่างไร บางกลุ่มนิยามโดยมองมิติทางกายภาพเป็นหลัก แล้วเชื่อมโยงกับการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกาย กลุม่ ทีค่ ดิ แบบนีจ้ ะมีพน้ื ทีท่ ค่ี นตืน่ ตัว (Active) ตลอดเวลา ใช้ชวี ติ แบบสุขภาพดี มีที่ออกกำลังกาย มีลานกีฬา ลานกิจกรรมต่างๆ อีกกลุ่มอาจคิดด้วยมุมที่เอาชุมชนเป็นหลักว่า พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่สุขภาวะ ต้องเน้นเรื่องของการส่งเสริมให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย การเข้าใจกัน กลุ่มที่สาม จะเน้นเรื่องการจัดการ ให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้าง โดยอาจ มองว่าพื้นที่สร้างสรรค์เป็นพื้นที่ที่ทุกกลุ่มทุกฝ่ายใช้ร่วมกันในเชิงการสัญจรได้ ทำอย่างไรเรา จะมีทางจักรยาน มีลู่วิ่ง ทางคนเดิน ทุกอย่างที่ใช้ร่วมกันได้อย่างดี กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญ กับเรื่องผังเมืองภูมิสถาปัตย์ การก่อสร้างต่างๆ กลุ่มที่สี่ อาจคิดถึงเรื่องจิตวิญญาณ มองว่าพื้นที่สร้างสรรค์ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่แล้ว สร้ า งแรงบั น ดาลใจ ภาษาอั ง กฤษใช้ ค ำว่ า มี DNA อยู ่ ใ นนั ้ น มั น อาจเป็ น พื ้ น ที ่ ท ี ่ ไ ม่ ไ ด้ สะดวกสบาย อาจไม่ได้ใหญ่โตหรูหราแต่อยู่แล้วรู้สึกว่า มีตัวตนเราอยู่ในนั้น มีประวัติศาสตร์ มีเรื่องเล่าอยู่ในนั้น กลุ่มที่ห้า มองว่า พื้นที่สร้างสรรค์นั้น เมื่ออยู่แล้วต้องมี Sense of Ownership มีความเป็นเจ้าของ มีความผูกพันร่วมกัน กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับรากเหง้าทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ต่างๆ คุณค่าทางศิลปะ ผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นต้น

50 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ทั้งหมดนี้คือนิยามของพื้นที่สร้างสรรค์ หรือ Healthy Space ทั้งสิ้น ประเด็นคือ เราจะ ทำให้ความหมายและคุณค่าหลากหลายเหล่านี้มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้อย่างไร จึงขอสรุปว่า ไม่ว่าจะนิยามด้วยความสนใจด้านใดก็ตาม ที่สำคัญที่สุด พื้นที่นี ้

ต้องเห็นคนที่มีสุขภาวะที่ดีหรือ Healthy People อยู่ในพื้นที่สุขภาวะหรือ Healthy Space ด้วย ฉะนั้นหัวใจสำคัญของพื้นที่สร้างสรรค์คือ คน + พื้นที่ เป็นความสัมพันธ์ที่เอื้ออาทร ต่อกัน จะทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้นใช้พื้นที่อย่างมีคุณค่า แล้วจึงคิดต่อว่า พื้นที่จะช่วย ส่งเสริมศักยภาพของคนที่อยู่ได้อย่างไร เขาบอกว่านักวางแผนเมือง นักจัดการ หรือหน่วยงานท้องถิ่นทั้งหลายผิดพลาด มาเยอะ หากเราเอารถยนต์เป็นตัวตั้ง เราก็จะเห็นเมืองที่มีแต่รถ คุณภาพชีวิตคนก็ค่อยๆ ถดถอยลงไป มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก เมื่อมีการทดลองทำบางอย่างที่นิวยอร์ก เขาคำนวณแล้ว พบว่า มีคนเดินทาง 240 คนที่เดินทางในเวลาเดียวกัน ถ้าใช้รถยนต์ส่วนตัวต้องใช้ถึง 177 คัน แต่ถ้าใช้รถขนส่งมวลชน จะใช้แค่ 3 คัน แต่ถ้าใช้รถรางจะใช้แค่คันเดียว อันนี้เป็นวิธีคิดว่า เราจะจัดการให้เกิดการใช้พื้นที่ร่วมแล้วจะเกิดผลต่างๆ ได้อย่างไร ประเด็นที่มาคุยในวันนี้ เราไม่อยากได้รถ ไม่อยากได้เมืองที่เอารถเป็นตัวตั้ง ไม่อยาก ได้พื้นที่ที่เอาสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นตัวตั้งโดยไม่เห็นชีวิตของคน ถ้าเราออกแบบพื้นที่ที่เอาคน เป็นตัวตั้ง เราก็จะได้คนที่มีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ที่ศูนย์กลางของเมืองที่เมลเบิร์น เป็นจุดที่คนส่วนใหญ่ลงรถและต่อรถ ไม่ว่ารถไฟ ใต้ดิน รถราง ความน่าสนใจคือ พอออกแบบให้ดี มันกลายเป็นที่ชุมนุมสังสรรค์ของคนจำนวน มากและมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในวันธรรมดาหรือวันหยุด แล้วก็เกิดกิจกรรม เกิดพื้นที่ สาธารณะที่ปฏิสังสันทน์ (Dialogue) กันตลอดเวลา ซึ่งเราอยากได้พื้นที่ลักษณะนี้เยอะๆ สรุ ป แล้ ว ในเรื ่ อ งนิ ย าม โดยเฉพาะคนที ่ จ ะออกแบบให้ เ กิ ด พื ้ น ที ่ ส ร้ า งสรรค์ ใ ห้

เด็กและเยาวชน อาจสรุปออกมาเป็น 3 หัวใจหลัก คือ พื้นที่นั้นต้องส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะ ที่ดีของผู้อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ประสบภาวะ ยากลำบาก เช่น ผู้พิการ พื้นที่สุขภาวะที่ว่านี้ต้องส่งผลให้เกิดสุขภาวะด้วย หัวใจเรื่องที่สองคือ เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับการออกแบบวางแผนอย่างตั้งใจ และเมื่อมีความตั้งใจก็อาจต้องใช้ หลักการการออกแบบเชิงสุขภาวะ หรือ Healthy by Design หัวใจที่สามซึ่งสำคัญมาก คือต้อง เป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะนำ ไปสู่ความยั่งยืน เพราะความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนในท้องถิ่นเป็นเจ้าของและดูแล

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 51


ตั ว แรกนั ้ น ถ้ า เราเอามิ ต ิ ผ ลลั พ ธ์ เ ป็ น ตั ว ตั ้ ง เราจะตอบได้ ว ่ า ทำไมต้ อ งมี พ ื ้ น ที ่ สร้างสรรค์ และพื้นที่สร้างสรรค์สำคัญอย่างไรต่อการมีสุขภาวะ เมื่อพิจารณาตัวเลขของประเทศไทย คนไทยเกือบร้อยละ 35 มีภาวะอ้วน 1 ใน 4 ของประชากรน้ ำ หนั ก เกิ น ร้ อ ยละ 60 ของคนไทยออกกำลั ง กายต่ ำ กว่ า ค่ า มาตรฐาน ค่ามาตรฐานระบุว่า ต้องออกกำลังกายประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 30 นาที แต่ถ้าเราวัดจากการมีกิจกรรมทางกาย ตัวเลขอาจจะมากกว่านี้เล็กน้อย เด็กผู้หญิงยิ่งโตขึ้นก็ จะยิ่งออกกำลังกายน้อยลง แต่โดยรวม ไม่ว่าจะหญิงหรือชายไทยออกกำลังกายต่ำกว่าค่า มาตรฐานทั้งสิ้น แน่นอน คนในเขตเมืองออกกำลังกายน้อยกว่าคนในชนบท คนในภาคกลาง ออกกำลังกายต่ำที่สุด ขณะที่ภาคที่มีการออกกำลังกายสูงสุด คือภาคใต้ หากเปรียบเทียบสถิติพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของคนไทย เราจะเห็นว่า สถิติอัตรา การดื่มแอลกอฮอล์ดิ่งลงเรื่อยๆ เป็นกระบวนการทำงานที่ได้ผลนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา อัตราการสูบบุหรีข่ องคนไทยต่ำลงเป็นลำดับ แต่ทน่ี า่ หนักใจคือ สภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงมาก นี่คือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลกก็ อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ส่วนเส้นออกกำลังกายไม่ขยับเลย คืออยู่ที่ร้อยละ 29.6 ในปี 2550 เราคิดว่า เราจะทำให้ได้ร้อยละ 32 ในปี 2554 แต่ปรากฏว่าทำไม่ขึ้น ได้ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นี่เป็นสัญญาณอันตรายสำหรับสังคมไทย ไม่เฉพาะสภาพกายเท่านั้น แต่รวมถึงจิตใจ และการเรียนรู้ด้วย นอกจากสถานการณ์เรือ่ งอ้วนและการออกกำลังกายไม่เพียงพอแล้ว โรคเรือ้ รัง ขณะนี้ กลายเป็ น เพชฌฆาตอันดับต้นของสังคมไทยและของทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ ลองคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ประเทศต้องเสียไป ไม่ว่าการ รักษาพยาบาล การสูญเสียทรัพยากรบุคคล จะพบว่าสูงมากถึงร้อยละ 65 ถ้าดูเรื่องของเด็ก ตอนนี้ร้อยละ 33 ของเด็กไทยมีพัฒนาการต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่า เรื่องทางกาย หรือทางสติปัญญา และเรื่องสุขภาพจิต ขณะนี้คนไทยเครียดมาก นักวิชาการต่างประเทศเคยเขียนไว้ว่า ถ้าจะทำให้คนมีสุขภาพดี แต่ยังไม่จัดการ ปัจจัยแวดล้อม ก็ยากที่จะทำให้คนมีสุขภาพดีได้ หมายความว่า ไม่ว่าเราจะรณรงค์ให้ ความรู้อย่างไร ถ้าเราไม่ควบคุม หรือส่งเสริมให้เกิดปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เหมาะสมก็จะไม่ สามารถทำให้คนมีสุขภาพที่ดีได้ ที่พูดมาทั้งหมดเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่า ถ้าเราอยากเห็นคน

52 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


กระบวนการการเรียนรู้ของเด็ก ไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในตำรา ในหลักสูตร หรือในพื้นที่ แต่มันโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลง ของโลกทั้งโลกได้ แม้เราอยู่ในจุดๆ เดียว ถ้าเราออกแบบวางแผนให้ด ี ก็จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องได้กว้างขวาง ไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิต มีสุขภาพที่ดี เราต้องจัดการสภาพแวดล้อม ปัจจัยแวดล้อม และ พื้นที่สร้างสรรค์ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยสรุปพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ บางทีแค่ไม่กต่ี ารางเมตรเล็กๆ ก็สามารถแก้ปญ ั หาสุขภาพกาย ได้มาก ต่างประเทศมีงานศึกษาวิจัยเรื่องเหล่านี้มากมาย น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ค่อยมี การวิจัยเรื่องนี้มากนัก อยากเชิญชวนหลายๆ ท่านให้ทำวิจัยท้องถิ่น วิจัยชุมชน เพื่อจะตอบ โจทย์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ มีการยืนยันว่า พื้นที่สร้างสรรค์ช่วยเรื่องการลดความเสี่ยงจากการบริโภค ลดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ยาเสพติด และที่สำคัญมันทำให้อายุยืนขึ้น เช่นที่เมืองโบโกตา เมืองหลวงของโคลัมเบีย เป็นเมืองที่น่าสนใจมาก ได้รับรางวัล Healthy City ขององค์การสหประชาชาติ ก่อนหน้านี้ เมืองนี้สุขภาพไม่ดีเลย รถก็ติด ไม่มีใคร อยากอยู่ แต่ปรากฏว่านายกเทศมนตรีตัดสินใจปรับทัศนียภาพและปิดถนนสายหลักของเมือง สัปดาห์ละ 2 วัน ให้คนออกมามีกิจกรรมกันเต็มที่ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง จนปัจจุบันนี ้

ก็ยังทำอยู่ อาจจะเคยได้ยินเรื่องของ Car Free Sunday ก็มาจากเมืองนี้ ปิดถนนแล้วให้ทุกคน ออกมามีกิจกรรมร่วมกัน ไม่เฉพาะออกกำลังกาย ขี่จักรยานเท่านั้น มีทั้งศิลปะ การแสดงต่างๆ กิจกรรมของเยาวชน ใครอยากทำอะไรทำได้เต็มที่ พอหลังจากทดลองปิดถนน ปรากฏว่าคนมา ใช้กันเยอะ เทศบาลของเมืองจึงตัดสินใจสร้างหลังคา ทางเดินที่ร่มรื่นคลุมตลอดทั้งเมือง จนเมืองนี้ได้ชื่อว่า มีหลังคาคลุมทางเดินที่ยาวที่สุดในโลก ทำให้ทุกคนอยากเดิน อยากขี่ จักรยาน 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 53


อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นงานวิจัยที่อังกฤษ ทดลองศึกษาคนที่อยู่ตอนเหนือกับตอนใต้ ของเส้นทางรถไฟฟ้าสาย Northern Line ของลอนดอนซึ่งวิ่งจากเหนือลงใต้ เขาลองไป ศึกษาว่า ทำไมคุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ตอนใต้สุดของทางรถไฟไม่ค่อยดี ช่วงชีวิตก็สั้นกว่าถึง 7 ปี ทั้งที่อยู่ลอนดอนเหมือนกัน หนำซ้ำคนทางใต้ยังมีปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ความ รุนแรง มีการเก็บข้อมูลศึกษาระยะยาวซึ่งพบว่า เงื่อนไขสำคัญอันหนึ่งคือ คนทางเหนืออยู่ใน พื้นที่ที่มี ‘พื้นที่สีเขียว’ ค่อนข้างเยอะ และเมื่อมีพื้นที่สีเขียวชาวบ้านแถบนั้นก็ปลูกพืชผักสวน ครัวกินเอง เกิดการเชื่อมต่อกันอย่างชัดเจนระหว่างการมีพื้นที่สีเขียวกับการเลือกที่จะบริโภค อาหารสุขภาพ ขณะที่คนที่อยู่ทางตอนใต้มีพื้นที่น้อยมาก และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มี พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่โล่งเลย โอกาสที่จะทานอาหารพวก Junk Food ก็มีมาก ส่งผลต่อเนื่องกัน มายาวนาน เริ่มเห็นเลยว่า เพียงแค่ปรับพื้นที่แล้วใส่กิจกรรมที่เหมาะสม มีการดูแล มีการ จัดการ ไม่จำเป็นต้องไล่รื้อบ้านออกหรือเวนคืนพื้นที่ใหญ่โตก็สามารถทำให้คนมีสุขภาพดีได้ อีกมิติหนึ่ง ข้อสรุปจากงานวิจัยจำนวนมากบอกว่า การมีพื้นที่สร้างสรรค์ ส่งผลต่อ สุขภาพใจ สุขภาพสังคม สุขภาพปัญญาได้มาก ไม่วา่ จะเป็นการลดความเครียด การพัฒนาการ ทางสติปัญญา มีงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับการศึกษาระบุว่า สมองของเด็กจะพัฒนาตลอด เวลา ถ้าเด็กได้อยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสม ระบบประสาทของเด็กจะเจริญเติบโตมากกว่า ปกติถึงร้อยละ 25 ของการเติบโตปกติ และเขาบอกว่า การหายใจและการเรียนรู้เป็นเรื่อง ธรรมชาติ ก ็ จ ริ ง แต่การเรียนรู้จะถูกสกัดกั้นได้ทุกเมื่อถ้าสภาพแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา ไม่เหมาะสม ดังนั้นการเรียนรู้จึงผูกกันมากับสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างที่เกาหลีใต้ คลองชองเกชอน เป็นตัวอย่างที่โด่งดังในการตัดสินใจ ปรับสภาพเมือง เขาพบว่ายิ่งสร้างถนนเท่าไรก็ไม่พอรองรับรถ และคุณภาพชีวิตคนก็แย่มาก ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เขาจึงตัดสินใจทำโครงการที่จะรื้อสะพานออกหมดแล้วปรับถนน เปลี่ยนให้เป็นคลอง ตรงนี้เคยเป็นคลองโบราณมาก่อน ยาว 5.8 กม. แต่กว่าจะทำการ ปรับเปลี่ยนได้กใ็ ช้กระบวนการมีสว่ นร่วมสูงมาก มีการประชุมทัง้ หมด 4,000 กว่าครัง้ กับทุกฝ่าย แรกๆ ทุกคนไม่มีใครเห็นด้วย มีแรงต่อต้านจากทุกฝ่ายค่อนข้างสูง แต่คนดูแลโครงการนี ้

อดทนมาก ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ใช้งานวิชาการ ใช้ที่ปรึกษามาร่วมงานเยอะมาก มีการ ทำสถานการณ์จำลองออกไป ประมวลผลกระทบต่างๆ มากมาย แล้วในที่สุด ทุกคนก็เอาด้วย แล้วเราจะเห็นได้วา่ มันสวยมากเลย คนก็ออกมาใช้เยอะมาก กลายเป็นทางเดิน จัดนิทรรศการ ภาพวาด ศิลปะ ทำกิจกรรมอะไรก็ได้

54 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


มีการประเมินผลของการปรับปรุงนี้ด้วยและน่าสนใจมาก เพราะมันสามารถลด ปริมาณฝุ่นละอองที่อยู่รอบบริเวณได้ถึงร้อยละ 35 ลดความร้อน มลภาวะต่างๆ ที่สำคัญ

ยังเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกว่าร้อยละ 90 ของ ประชาชนก็เห็นด้วยกับโครงการนี้ หลังจากประชุมกันไป 4,000 กว่าครั้ง ร้านค้า ผู้ประกอบการ แถวนั้นที่ตอนแรกโวยวายและไม่เห็นด้วย ปรากฏว่าไม่จริงเลย พอทำทางสวยมากและ มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มันยิ่งทำให้ธุรกิจแถวนั้นเจริญงอกงาม เจ้าของโครงการนี้ต่อมา ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีของกรุงโซล และต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีด้วย อีกตัวอย่างที่นิวยอร์ก เขตเวสต์ไซด์ เกาะแมนฮัตตัน ก่อนหน้านี้ทางรถไฟเก่า ที่ไม่ได้ใช้แล้วถูกทิ้งเอาไว้ กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม แหล่งก่ออาชญากรรม ก็มีโครงการ The High Line Project เกิดขึน้ มา เพราะคนทำโครงการเห็นว่า จะทิง้ พืน้ ทีเ่ อาไว้ให้วา่ งเปล่าทำไม จึงออกแบบทำสวนสาธารณะบนทางรถไฟลอยฟ้า ปรากฏว่ามีคนมาเดินมาใช้จำนวนมาก เกิดความปลอดภัยขึ้น คดีอาชญากรรมต่างๆ ลดลงเป็นลำดับ เพราะพื้นที่ถูกเปิดออกและ ถูกจัดการ สิ่งเหล่านี้ต้องการวิสัยทัศน์เหมือนกันว่าจะจัดการอย่างไร อีกตัวอย่างทีเ่ มืองชิคาโก เมืองนีไ้ ด้ชอ่ื ว่ามีความร้อนสูงมาก เพราะลักษณะเหมือนเกาะ มีอาคารสูงล้อม มีแหล่งอุตสาหกรรมค่อนข้างเยอะ อาจคล้ายทางเหนือของบ้านเราที่เป็น แอ่งกระทะ จึงมีการริเริ่มโครงการหลังคาสีเขียว คือปลูกต้นไม้ไว้ข้างบน พอทำเสร็จก็ไป ประเมิน วัดผลกระทบ ปรากฏว่าช่วยลดความร้อนและมลภาวะลงได้มาก นี่เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงกายภาพ แต่อยากให้ทุกท่านเห็นว่า กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ มันผ่านการทำกระบวนการมากมาย ตั้งแต่การคิด การวางแผน การมี ส่วนร่วม และที่สำคัญ คือการมองไปข้างหน้า หรือวิสัยทัศน์ของผู้นำในพื้นที่ เราพูดกันถึงการส่งผลต่อมิติสุขภาวะไปแล้ว อยากกล่าวถึงอีกคีย์เวิร์ดหนึ่งคือ การออกแบบอย่างมีหลักการ อยากเล่าแค่สองโจทย์ใหญ่คือ โจทย์แรก หลักการสำหรับ ปรับเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะในเขตเมือง อาจเป็นระดับเทศบาล ระดับเมืองก็ได้ ว่ามีหลักการ จะปรับให้เป็นพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์อย่างไร มีตวั อย่างของต่างประเทศให้ดู โจทย์ทส่ี องอยากเจาะไป ในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โจทย์แรก หลักการสำคัญมากๆ ของการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ คือ ต้องคิดอย่าง บูรณาการ เมื่อก่อนเมื่อพูดเรื่องปรับพื้นที่ ส่วนใหญ่ตกเป็นภาระของนักผังเมือง วิศวกร แต่เพียงผู้เดียว ขณะนี้ ‘นัก’ เหล่านั้นเริ่มรู้สึกตัวและพูดแล้วว่า ที่ผ่านมาพวกเขาไม่ได้ใช้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 55


วิชาชีพในทางที่เป็นประโยชน์เท่าไร ออกแบบแต่โครงสร้างอาคาร ถนน โดยไม่ได้นึกถึงการ มีคนเป็นตัวตั้ง ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาวะ แต่มาในช่วงหลัง พวกเขาเริ่มพูดคุยกัน เรื่องนี้มากขึ้นว่า จะออกแบบให้ผังเมืองเอื้อต่อสุขภาวะอย่างไร การเริ่มต้นการทำงานด้วยความคิดแบบบูรณาการ ต้องรู้ว่าการทำพื้นที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่ภาระของคนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เราน่าจะต้องหลอมรวมคน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบ ทั้งหมด ประชาคมของเมืองของท้องถิ่น คนที่ทำงานด้านสาธารณสุขสุขภาพก็ต้องเกี่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความยั่งยืนของชุมชน ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ด้านสภาพที่อยู่อาศัย แม้แต่ด้านเศรษฐกิจ ต้องเอามาทำงานร่วมกันทั้งหมด หัวใจสำคัญที่สุดของเรื่อง Healthy by Design อย่างน้อยเราต้องมีหลักคิดว่า 1) พื้นที่ ที่เราจะทำ ต้องใช้ประโยชน์และเอื้อที่ให้เกิดกิจกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแบบตื่นตัว หรือเคลื่อนไหว (Active) สามารถใช้ประโยชน์เรื่องอื่นๆ และกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า ต้องคำนึง ถึงประโยชน์ใช้สอยและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ 2) การออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์ต้อง คิดถึงความสะดวกสบาย คิดถึงภาพลักษณ์ที่ปรากฏขึ้น สวยงาม น่าอยู่ ความปลอดภัย ความสะอาด สีเขียว คุณค่าประวัติศาสตร์ที่จะปรากฏในพื้นที่นั้นด้วย 3) คิดถึงการเข้าถึง คนทุกกลุ่มต้องสามารถเข้าถึงและเข้าใช้พื้นที่นั้นได้โดยสะดวก ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก ไม่ใช่สร้างเสร็จแล้วล้อมรัว้ ปิดเหมือนสวนสาธารณะทีเ่ ราเห็นอยู่ นอกจากนีม้ นั ควรเชือ่ มโยง หรือเป็น Linkage เชื่อมต่อให้คนเดินเข้าพื้นที่นี้ไปสู่ที่อื่นได้ ตัวอย่างของเมืองไทยมีบ้างแต่ไม่ มากนัก แต่ต่างประเทศจะเห็นเยอะ ลงรถไฟฟ้าแล้วมีทางเดินเชื่อมต่อไปยังจุดต่างๆ มากมาย และบีบบังคับให้เราต้องเดิน 4) การมีสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม เราจะออกแบบพื้นที่ให้ คนหลากหลายกลุ่มเข้าไปใช้และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่นั้นได้อย่างไร ตัวอย่างที่อังกฤษ มีสวน สาธารณะแห่งหนึ่งที่ลอนดอน ตอนแรกคนออกแบบก็ไม่ได้คิดว่าจะมีคนหลากหลายมาใช้ ออกแบบเสียงดงามโดยจำลองสวนในวังมา ปรากฏว่า คนที่เป็นผูอ้ พยพโดยเฉพาะจากเอเชีย ใต้ไม่กล้าเข้าไปใช้ เพราะตัง้ แต่ประตูกอ็ ลังการแล้ว ทุกคนก็รสู้ กึ ว่า ไม่ใช่พน้ื ทีข่ องฉัน คนจำนวน หนึง่ ก็ถกู กีดกันออก ตอนหลังทางเทศบาลลองทำแบบสอบถามว่า ทำไมจึงไม่เข้ามาใช้ พอเขารู้ ว่าคนไม่เข้า เพราะรู้สึกไม่ใช่ของเขา เขาเลยแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนรั้ว เปลี่ยนทางเข้าให้เปิด มากขึ้น แค่เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ที่กล่าวมาทั้งหมด ขอสรุปเป็นหลักการว่า ถ้าเราจะสร้างพื้นที่ส่วนกลางให้ชุมชนได้ใช้ อย่างมีชีวิตชีวา ต้องคำนึงถึงเรื่องการมีทางสัญจรที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้หมด เมืองไทย

56 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


เรารณรงค์เรื่องทางจักรยานเยอะ แต่ทำไม่ค่อยสำเร็จ ต้องคำนึงถึงการเดินได้อย่างปลอดภัย และรื่นรมย์ด้วย มีต้นไม้ มีแสงไฟส่องสว่าง และสำคัญมาก คือต้องปรับพื้นที่ให้สนองตอบ ความต้องการของชุมชน กระตุ้นให้คนมาร่วมกันทำกิจกรรมจากหลากหลายกลุ่ม นอกจากเรือ่ งการออกแบบ การทำกระบวนการแล้ว ทีส่ ำคัญมากอีกอย่างคือการทำแผน ลองดูในเว็บไซต์จะพบหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่างประเทศทำไว้เยอะ อยากจะ สนับสนุนให้ทุกพื้นที่ ทุกท้องถิ่นทำแผนเป็นเล่มขึ้นมา โจทย์ ที่ ส อง อยากเจาะเรื ่ อ งการทำพื ้ น ที ่ ส ร้ า งสรรค์ ใ นโรงเรี ย น อย่ า งที ่ บ อกว่ า หากเด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมแล้ว สมองของเขาจะเติบโตมากกว่าปกติถึง ร้อยละ 25 หลักการสำคัญของการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในโรงเรียน คือต้องบูรณาการ โรงเรียน ต้องไม่ใช่พื้นที่เพื่อกิจกรรมการเรียนการสอนเท่านั้น โรงเรียนต้องรวมเรื่องการเรียน ชีวิต ทางสังคม โภชนาการ กิจกรรมทางกายและอื่นๆ อีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน เวลาเราพูดถึงการ เรียน เราไม่ได้หมายความเฉพาะการเรียนในตำรา แต่หมายถึงการเรียนรู้เพื่อปัญญา ที่เรา เรียกว่า ภูมิปัญญา ขั้นแรกจึงต้องหลอมรวมทุกมิติเข้าด้วยกันในพื้นที่นี้ ตัวอย่างจากต่างประเทศมีมากมายว่า ถ้าอยากจะสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน อาจใช้โรงเรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการทำงาน ซึ่งจะทำได้ง่ายที่สุด เพราะโรงเรียนจะเป็น

ตัวดึงดูดส่วนต่างๆ เข้ามา และอาจขยายการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในรัศมีที่กว้างออกไปได้ด้วย นอกจากนั ้ น หลั ก การสำคั ญ คื อ ไม่ ใ ช่ แ ค่ ท ำพื ้ น ที ่ ใ นโรงเรี ย นเท่ า นั ้ น เวลาพู ด ถึ ง พื้ น ที่ สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เราหมายถึงทั้งพื้นที่ในและนอกโรงเรียน ไม่ใช่ออกแบบพื้นที่ ข้างในเสียดิบดี แต่พอเด็กกลับบ้าน ออกไปนอกโรงเรียนแล้ว ไม่ได้มีอะไรเอื้อให้เขามีสุขภาวะ ที่ดีเลย ดังนั้น การออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนจะต้องเชื่อมต่อกับพื้นที่ข้างนอกด้วย และไม่ใช่ทำแต่เรื่องพื้นที่ แต่ต้องจัดให้มีกิจกรรมหรือหลักสูตรควบคุมดูแลเรื่องของอาหาร การบริโภค และกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญคือให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแต่แรก ตัวอย่างแรก ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์จับมือกันทำหลักสูตรการเรียนการสอน ที่ผนวกกับสวนสัตว์ของพื้นที่นั้นๆ เข้ามา แล้วทำโครงการรณรงค์ให้ช่วยกันรักษากอริลล่า อาจจะงงว่า มันเกี่ยวอะไรกัน โครงการนี้เป็นโครงการที่ให้เด็กๆ ช่วยบอกผู้ปกครองว่า อย่าทิ้ง แบตเตอรีม่ อื ถือ แต่ให้เอามาบริจาคทีโ่ รงเรียน ถ้าทำอย่างนีจ้ ะรักษาชีวติ กอริลล่าได้ โครงการนี้ ทำแล้วได้ผลมาก ทราบไหมว่า ทำไมมันเกี่ยวกัน หลายท่านคงทราบว่า แบตเตอรี่มือถือนั้น

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 57


ต้องใช้การทำเหมืองแทนทาลั่มสูงมาก และทำกันมากในประเทศคองโก แล้วกว่าจะขจัดพวก แทนทาลั่มไปได้ใช้เวลายาวนานมาก แค่กิจกรรมนี้ก็ผูกเรื่องการอนุรักษ์เข้ากับกอริลล่า

ในสวนสัตว์ซึ่งช่วยได้มาก โครงการนี้ทำให้เด็กๆ ช่วยรวบรวมโทรศัพท์ที่หมดอายุแล้วไป บริจาค ปีเดียวได้ 60,000 กว่าเครื่อง และสามารถระดมทุนได้สูงมาก โครงการที่สอง เป็นการรณรงค์ให้ช่วยรักษาชีวิตของลิงอุรังอุตังที่อินโดนีเซีย เพราะ ทุกวันนี้ป่าอินโดนีเซีย ป่าเขตร้อนชื้นถูกทำลายเร็วมาก ทำให้ลิงอุรังอุตังต้องตายวันละ ประมาณ 5 ตัว เหตุผลก็มาจากการตัดไม้ทำลายป่าเพราะเอาพื้นที่ไปปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเอาไปผลิตอาหารจำนวนมาก โดยเฉพาะพวกช็อกโกแลต ขนมเด็ก จึงมีการรณรงค์เรื่อง เหล่านี้โยงมาถึงพฤติกรรมของเด็ก ถ้าช่วยกันไม่กินขนมพวกนี้ ช่วยบอกพ่อแม่ จะสามารถ รักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง สุดท้าย เพิ่งมีการรณรงค์เมื่อปลายปีที่แล้ว รณรงค์ให้ใช้กระดาษรีไซเคิลเป็นกระดาษ ชำระ เพราะปีที่แล้วสหประชาชาติประกาศให้เป็นปีอนุรักษ์ป่าไม้ และพบว่ากระดาษชำระเป็น ตัวการสำคัญในการทำลายป่าไม้ เขาจึงรณรงค์เรื่องนี้โดยใช้หมีเป็นตัวรณรงค์ ทั้งหมดที่นำมาเล่าเพื่อให้เห็นว่า กระบวนการการเรียนรู้ของเด็กไม่จำเป็นต้อง อยู่เฉพาะในตำรา ในหลักสูตร หรือในพื้นที่ แต่มันโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งโลกได้ แม้เราอยู่ในจุดๆ เดียว ถ้าเราออกแบบวางแผนให้ดีก็จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องได้ กว้างขวาง นอกจากนี้ในหลายประเทศได้จัดทำโครงการ Walking School Bus คือรณรงค์พาเด็ก เดินไปโรงเรียน โดยให้คนในชุมชนผลัดกันดูแล โดยเฉพาะคุณแม่ คุณป้า คุณย่า คุณยาย ที่ไม่ได้ทำงาน จะจัดแถวพานักเรียนเดินไปโรงเรียน เป็นโครงการที่ทำในหลายประเทศ รวมทั้ง ในสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งก็ทำได้สำเร็จด้วย อีกตัวอย่างหนึ่ง เป็นโครงการที่น่าสนใจมากที่ประเทศอังกฤษ อังกฤษเป็นประเทศ ที่คนน้ำหนักเกินสูงที่สุดในโลก 2 ใน 3 ของคนอังกฤษอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะเด็กๆ รัฐบาลก็เห็นความสำคัญของเรื่องนี้เลยตั้งโครงการชื่อว่า Change for Life อนุมัติงบประมาณ 40 ล้านปอนด์ลงไปที่โรงเรียนระดับพื้นที่เทศบาล โดยให้โรงเรียนที่สนใจส่งโครงการเข้ามาว่า จะจัดการสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนรอบข้างให้เอื้อต่อการที่เด็กจะมีสุขภาพดีได้ อย่างไร เรื่องที่เขาทำก็ง่ายๆ แต่ได้ผล เช่นทำหลังคาในพื้นที่โล่งให้เด็กๆ อยากออกมาเล่น ข้างนอก ไม่ว่าฝนตกแดดออก ทำให้สนามมีเครื่องเล่น เครื่องออกกำลังกายของคนทุกเพศ

58 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ทุกวัย ทำทางเดินเท้าเชื่อมไปสู่ชุมชนรอบโรงเรียนด้วย แทนที่จะให้ออกจากห้องเรียนก็นั่งรถ กลับบ้านเลย อีกตัวอย่างหนึ่งที่ออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา น่าสนใจมาก รัฐนี้ทั้งรัฐจับมือร่วมกัน ระหว่างภาคส่วนที่ทำเรื่องการศึกษากับสุขภาพ กลุ่มที่ทำเรื่องผังเมือง กลุ่มที่ทำเรื่องวิศวกรรม การก่อสร้าง กลุ่มที่ทำเรื่องการปกครองดูแลท้องถิ่น เขาจับมือกันหมด แล้วประกาศเป็น ปฏิญญาออนแทรีโอ เรื่อง Healthy School Program เพื่อจะขับเคลื่อนให้เกิดโรงเรียนสุขภาวะ ทั้งรัฐ และมีงบประมาณลงมา มีการร่วมมือกันออกแบบวางแผน และดำเนินการในพื้นที่ ทั้งหมด และยังประกาศเป็นสหพันธ์แห่งความร่วมมือ ทำทุกเรื่องที่จะทำให้โรงเรียนทั้งหมด เป็นโรงเรียนสุขภาวะ เรื่องที่ทำแล้วสำเร็จ เช่น เอาขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมออกจากการขาย ในโรงเรียน และเพิ่มเมนูผลไม้ลงไปในเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนมากขึ้น เปิดพื้นที่สนาม ของโรงเรียนให้คนรอบๆ ชุมชนมาใช้หลังโรงเรียนเลิก หรือแม้แต่จัดกิจกรรมรณรงค์ตลอดทั้งปี แล้วชวนพ่อแม่ผู้ปกครองมาร่วมด้วย มีคีย์เวิร์ดอีกตัวหนึ่ง คือ มีกระบวนการ และกระบวนการนั้นต้องเน้นความยั่งยืน ขอเล่าตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของประเทศไทย คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน ของ สสส. ซึ่งขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน ล่าสุดมีหนังสือออกมาชื่อว่า ‘เล่นเพื่อสร้างโลกที่ เป็นสุข’ เป็นการถอดองค์ความรู้ว่า การจะจัดพื้นที่เล่นสำหรับเด็กๆ นั้นมีหลักการอย่างไรบ้าง เขียนได้น่าสนใจและอ่านง่ายมาก ลองถอดทั้งเล่มออกมาสรุปเป็นกระบวนการได้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจคือ พื้นที่เหล่านั้นต้องออกแบบจากความต้องการและธรรมชาติของเด็ก คนออกแบบต้อง เข้าใจว่าเด็กมีธรรมชาติอย่างไร เด็กอาจต้องการการท้าทาย การเรียนรู้ที่เป็นอิสระโดยไม่โดน ปิดกั้น เคยลองไปสำรวจความต้องการใช้พื้นที่ เด็กพูดเหมือนกันหมดว่า อยากให้พ่อแม่หรือ ผู้ใหญ่ในครอบครัวพาเขาไปเล่น เรื่องนี้ดูจะสำคัญกว่าการมีพื้นที่เล่นเสียอีก แสดงว่า การออกแบบพื้นที่ที่ดี คือต้องเอื้อให้ผู้ใหญ่สามารถไปกับเด็กได้ด้วย และการออกแบบทั้งหมด ต้องมีการคาดการณ์ผลลัพธ์ล่วงหน้าแล้วว่า เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ซึ่งมันจะ ย้อนกลับมาที่การออกแบบ ดังนั้น เมื่อถอดออกมาเป็นกระบวนการจะได้ดังนี้ ขั้นที่หนึ่ง ค้นหารูปแบบการพัฒนาเด็ก ต้องเข้าใจช่วงวัยของเด็กที่มีพัฒนาการ ที่แตกต่างกัน การเล่น ความต้องการการใช้พื้นที่ของเด็กก็แตกต่างกัน องค์ความรู้พวกนี ้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 59


ค่อนข้างละเอียดอ่อน กระบวนการที่สำคัญคือต้องดึงการมีส่วนร่วมจากภาคีต่างๆ หรือ Steakholder ทั้งหมดเข้ามาร่วม ไม่ว่าท้องถิ่น นักวิชาการ ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง คนออกแบบ นักผังเมือง นักภูมิสถาปัตย์ ฯลฯ ต้องรวมไว้ในกระบวนการเดียวกัน ขั้นตอนที่สองคือ จัดให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่องนี้ภาคีของ พวกเราทำได้ดีทีเดียวในหลายแผนงาน เขามักจะให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ออกมาเขียนภาพ ‘ครั้งหนึ่งของคุณที่มีความสุขกับพื้นที่เล่นเป็นอย่างไร’ มันก็จะพรั่งพรูออกมา เมื่อมีการ เขียนภาพความทรงจำในประวัตศิ าสตร์ มันจะออกเป็นมติรว่ มกันได้วา่ พืน้ ทีค่ วรจะเป็นอย่างไร ขัน้ ตอนทีส่ ามคือ สำรวจพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสม สำรวจทรัพยากรทีม่ ี และระดมทรัพยากร ซึ่งอาจเป็นทั้งทรัพยากรใหม่ที่ต้องลงทุน หรือทรัพยากรที่เหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ ท่อน้ำ ขั้นตอนที่สี่คือ ลงมือปฏิบัติ ทำให้มันเกิดขึ้นจริง จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ขั้ น ตอนสุ ด ท้ า ย คื อ ต้ อ งมี ก ารประเมิ น ผล ตามที่ตั้งผลลัพธ์ไว้ และพยายาม จัดกิจกรรมให้ต่อเนื่องในระยะยาว นี่เป็นกระบวนการที่ภาคีเครือข่ายของ สสส. ที่ทำเรื่องพื้นที่เล่นเขาทำมาหลายปี และถอดบทเรียนออกมาเป็นกระบวนการ เป็นการออกแบบโครงการทีเ่ อาเด็กเป็นตัวตัง้ โดยเฉพาะ เด็กที่ขาดโอกาส โดยเขาได้ลงไปทำงานในหลายพื้นที่ มีโครงการที่ทำกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ภูชี้ฟ้า ทำกับเมืองเก่าที่แพร่งภูธร กรุงเทพฯ ทำที่เพชรบุรี ฯลฯ ซึ่งทุกอันเหมือนกันหมด คือค้นหาการ ทำงานกับกลุม่ เด็กเยาวชนก่อน แล้วกลุม่ เด็กเยาวชนจะขยายต่อไปถึงกลุม่ ผูใ้ หญ่ อบต. ท้องถิน่ ต่างๆ ขยายไปเป็นลำดับ และสิ่งที่คาดหวังคือ มันจะขยายไปสู่นโยบายระดับชาติ กระบวนการทั้งหมดอาจตีโจทย์ได้ว่า เมื่อกำหนดพื้นที่ กำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ฝ่ายแล้ว ก็ดำเนินการโดยเน้นการเชื่อมโยงทุกมิติ เน้นการมีส่วนร่วม และมีการประเมินผล ทั้งหมดนี้เป็นความหวังและความฝันของทุกคนว่า เราจะสามารถทำให้เด็กๆ ของเรามีพื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่สุขภาวะ เพื่ออนาคตของเด็กและเมืองที่น่าอยู่ได้

60 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


การดูแลสุขภาพชุมชน : ความคิดสืบต่อ จากปฏิบัติการในพื้นที่ รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


กระบวนการการเรียนรู้การปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพในพื้นที่ จะเป็น

ประโยชน์มากยิง่ ขึน้ หากท่านได้เทียบเคียงกับประสบการณ์ของท่านเองในชุมชนท้องถิน่ แล้วดูวา่ ข้อเสนอนโยบายสาธารณะทีป่ รากฏประมาณ 14 ข้อ อยูบ่ นบริบทสังคมวัฒนธรรมของท่านอย่างไร และจะนำใช้ให้เกิดประโยชน์เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ และการดูแลสุขภาพชุมชนของคนในพื้นที่ได้ อย่างไรบ้าง โดยใน ส่วนที่หนึ่ง เป็นข้อสรุปจากพื้นที่ที่ได้ศึกษาการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพนั้น เป็นพืน้ ทีใ่ น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ ตำบลศูนย์เรียนรู้ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจากสำนัก 3 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุภาพ (สสส.) ในการพัฒนากระบวนการปฏิบตั กิ ารสูต่ ำบลสุขภาวะ 4 มิติ ลักษณะที่สอง คือ ตำบลเครือข่ายที่เข้าร่วมในกระบวนการเรียนรู้กับตำบล ศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อยอดงาน ให้นำไปสู่สุขภาวะ 4 มิติ โดยกระบวนการการดำเนินการของพื้นที่ดังกล่าว จะมีการดำเนินการมากกว่า 1 ระบบและ มากกว่า 1 ด้าน ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริบทของพื้นที่ จะนำเสนอเป็นภาพรวมที่เป็นลักษณะร่วม ของชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยพื้นที่ที่เป็นตำบลศูนย์เรียนรู้มีประมาณ 33-35 แห่ง เพิ่งเริ่มใหม่ 2 แห่ง ส่วนพื้นที่ตำบลเครือข่ายมีประมาณ 900 กว่าตำบล ส่ ว นที่ สอง จะเป็นข้อเสนอที่สังเคราะห์มาจากปฏิญญาทั้ง 5 ภาค ซึ่งรวมแล้ว ประมาณ 14 ข้อ การวิเคราะห์ข้อเสนอจะเทียบเคียงกับลักษณะของการดำเนินการเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยเทียบกลับมาที่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ กับระบบบริการสุขภาพของชุมชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่

62 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


บริ บทของการดูแลสุขภาพของคนไทย

ในบริบทของการดูแลสุขภาพของคนไทยในพื้นที่ตำบลศูนย์เรียนรู้และตำบลเครือข่าย จะนำเสนอในลักษณะดูกระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน ส่ ว นที ่ ห นึ ่ ง คื อ การค้ น หาทุ น ทางสั ง คม ในแง่ ข องการมี แ กนนำ หรื อ ผู ้ น ำของ กลุม่ ต่างๆ รวมถึงการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ของคนในพืน้ ที่ หรือทีเ่ ราเรียกว่า หน่วยปฏิบตั กิ าร นอกจากนี้ในเรื่องทุนทางสังคม ยังมีเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและทางสังคม ทางกายภาพ คือส่วนที่เป็นพื้นที่พบปะของผู้คน ส่วนทางสังคมคือ โอกาสหรือช่องทาง ทีผ่ คู้ นได้สอื่ สารกันให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เพือ่ นำไปสูก่ ารทำงานร่วมกันหรือการตัดสินใจ ร่วมกัน ส่วนทีส่ อง กระบวนการช่วยเหลือเกือ้ กูลกันของคนในชุมชน ตัง้ แต่ระดับความคิด ข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือระดับของงบประมาณที่มาช่วยเหลือจุนเจือกันในแง่ ของสวัสดิการหรือความช่วยเหลืออื่นๆ หรือกระทั่งในระดับที่เป็นลักษณะของการดูแลกัน ช่วยเหลือกัน ซึ่งการช่วยเหลือกันนี้จะมีผลกระทบต่อเรื่องของสุขภาพโดยตรง ในกรณีของ การเจ็บป่วยที่มาช่วยเหลือดูแลกัน แบ่งปันอาหาร แบ่งปันทรัพยากร หรือกรณีที่มีการสร้าง วัฒนธรรมการช่วยเหลือดูแลกันเพิ่มขึ้น อาจเป็นไปได้ทั้งในส่วนที่องค์กรชุมชนเป็นตัวผลักดัน หรือองค์กรนอกชุมชนเป็นตัวสนับสนุนก็ได้ นอกจากนี้การเอาทรัพยากรทั้งหมดมาจุนเจือกัน

ก็ส่งผลต่อการต่อยอดทรัพยากรด้วยเช่นกัน เช่น การจัดการด้านอาชีพ การจัดการรายได้ และการมีกองทุนเพื่อหนุนเสริมการเกื้อหนุนกันให้เกิดขึ้นได้ สุดท้ายคือการมีข้อตกลงร่วมหรือแนวทางการปฏิบัติร่วม ซึ่งเราเรียกว่า นโยบาย ของชุมชนท้องถิ่น ทั้งในแง่ของการส่งเสริมการช่วยเหลือกัน การสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริม การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของกระบวนการสองส่วน คือการค้นหาทุนทางสังคม และการสร้าง กระบวนการเกื้อกูลกันในชุมชนที่ก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าว

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 63


บริบทการดูแลสุขภาพของคนไทย

ทุนทางสังคม

• คนเก่ง • กลุ่ม • องค์กร • เครือข่าย

โครงสร้างพืน้ ฐาน เวทีจดั กิจกรรม พบปะ

วัด/รร./บ้าน หอประชุม อปท.

พืน้ ที ่ พูดคุย

ร้านค้า คุ้มบ้าน สภากาแฟ สภาชูรอ

เกือ้ กูล โดยชุมชน

• การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • กองทุน สวัสดิการ • การช่วยเหลือ care giver (อสม. อาสาสมัครอื่นๆ) • การร่วมกิจกรรม (เปิดช่องทาง/โอกาส)

การเสริมสร้างศักยภาพ การสร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชน การใช้ขอ้ มูลเป็นฐานในการทำงาน

สุขภาพ

ผลลัพธ์

• เจ็บป่วยมีการดูแล • อาหารปลอดภัย การเงิน • วัฒนธรรมดูแลสุขภาพ • ส่งเสริมสุขภาพและ อาชีพ รายได้ กองทุน ป้องกันโรค

สุขภาวะ 4 มิต ิ

นโยบาย

• พอเพียง • มีส่วนร่วม • เป็นเจ้าของ • ร่วมรับรู้ • วัฒนธรรมเกื้อกูล (อยู่ร่วมกัน พึ่งกัน แลกเปลี่ยนกัน)

ฉะนั้น เมื่อดูลักษณะของความต้องการในการดูแลสุขภาพ จากการที่เราเข้าไปดู ทุนทางสังคม มีการพัฒนาเครือ่ งมือบางอย่างเพือ่ ให้เห็นว่า มีอะไรเกิดขึน้ บ้างในชุมชนท้องถิน่ โดยตำบลศูนย์เรียนรู้ทั้ง 35 ตำบลและตำบลเครือข่ายเกือบพันแห่งใช้เครื่องมืออยู่สองส่วน อันที่หนึ่ง เครื่องมือที่เข้าไปดูข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงทรัพยากร ทุนทางสังคม กลุ่มคนที่ร่วมคิด ร่ ว มปฏิ บ ั ต ิ ก ารกั น เพื ่ อ ทำให้ เ กิ ด การเปลี ่ ย นแปลงในการดำเนิ น ชี ว ิ ต ของผู ้ ค น อั น ที ่ ส อง เป็นเครื่องมือที่เข้าไปเห็นปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดในชุมชน ลักษณะของกระบวนการที่เราเข้าถึง หรือค้นหาทุนทางสังคม ปรากฏว่า ทำให้เราเห็น ทั้งสองด้าน คือด้านที่เป็นทุนด้านบวก กับด้านที่เป็ นเงื่อนไขให้ทุนนำไปใช้ประโยชน์ต่อ กระบวนการเกื้อกูลกันของคนในชุมชนได้หรือไม่ได้ด้วย เราเห็นหมดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างเชิงระบบและที่รัฐบาลจัดหาให้ โครงสร้างพืน้ ฐานก็เช่น บ้าน วัด โรงเรียน วิถชี วี ติ บางอย่าง ส่วนโครงสร้างทีร่ ฐั จัดหาให้ เช่น หน่วยบริการสุขภาพที่อยู่ในพื้นที่เครือข่ายของหน่วยบริการสุขภาพ ส่วนโครงสร้าง ที่เกื้อหนุนให้เกิดการดูแลกันได้ก็เช่น อาสาสมัคร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้ความ ช่วยเหลือดูแลกันในกรณีสำคัญ 3-4 กรณี เช่น ผูช้ ว่ ยเหลือตัวเองได้นอ้ ย ผูม้ ปี ญ ั หาสุขภาพ ผูถ้ กู

64 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ทอดทิง้ ผูม้ ปี ญ ั หาการเงิน หรือผูด้ อ้ ยโอกาสทางสังคม ผูป้ ว่ ยระยะสุดท้าย ผูพ้ กิ าร ส่วนกรณีอน่ื ๆ ก็เป็นกรณีการจัดการช่วยเหลือตนเองพอเป็นไปได้บ้าง อาจต้องอาศัยทรัพยากรจากในหรือ นอกชุมชน ในกระบวนการของการดูแลและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน มี 2 ส่วน คือ 1) กระบวนการตรง ในการดูแลสุขภาพหรือการจัดการปัญหาสุขภาพของผู้คน 2) เป็นการ ไปหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่มที่รวมตัวร่วมคิด ร่วมทำกันอยู่ เช่น กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มแพทย์แผนไทย หรือกลุ่มที่ส่งผลกระทบย้อนกลับมาที่สุขภาพคน เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทั้งสองส่วนนี้มีการทำงานคู่กันไป เพราะลักษณะของปัญหาสุขภาพไม่ได้ เป็นจากเหตุปจั จัยโดยตรง คือ โรค แต่เป็นปัญหาทีเ่ กิดจากปัจจัยทางด้านสังคม สิง่ แวดล้อมด้วย ลักษณะการทำงานขององค์กรชุมชนหรือเรียกว่าทรัพยากรทุนทางสังคมของชุมชนด้านหนึ่งจึง เป็นด้านที่ไปผลักดันโดยอ้อมให้ย้อนกลับมาที่สุขภาพของคน อีกด้านหนึ่งคือหน่วยบริการ สุขภาพ หรืออาสาสมัครที่ดูแลคนอื่น จึงเป็นลักษณะของการทำงานเคียงคู่กันไป ในระบบปฐมภูมิ เท่าที่ดูตำบลสุขภาวะหลายพื้นที่ เห็นว่าตำบลสุขภาวะที่เข้มแข็ง มีทั้งระบบที่ไปเกี่ยวข้องกับด้านอื่นของชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม กับระบบที่มุ่งไปที่

ระบบของชุมชนในการหนุนเสริมการดูแลสุขภาพตามบริบท การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กบั ระบบสุขภาพชุมชน

ช่วยเหลือต นเอ ง

สุขภาพ

ง เสยี่ต ่ ุ ม ล ้ องก ก า

เองได้น้อ ือตน ย เหล

กล

มุ่ ป ั้ง ว่ ย รความช่วยเหลือท หม ด

• การค้นหาและนำใช้ ทุนทางสังคม • การสรุปบทเรียน • การเรียนรูข้ า้ มพืน้ ที ่ • การประชุม/อบรม • การเรียนรูจ้ ากการ ปฏิบตั จิ ริง • การสร้างกองทุน • ฯลฯ

สุขภาพดี ช ่วย

ดี ได้

• กลุม่ ผูส้ งู อายุ • เครือข่าย • เกษตรยัง่ ยืน • อนุรกั ษ์ปา่ ชุมชน • กลุม่ เลีย้ งโค • กลุม่ ทำขนม • กลุม่ จักสาน • เครือข่ายสืบสาน ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ • คน • ข้อมูล • งาน/กิจกรรม • ทุน/งบประมาณ • ฯลฯ

การสร้างความเชือ่ มโยงของกลุม่ คน กลุม่ อาชีพ และภาคีเครือข่าย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 65


อปท.กับการเสริมความเข้มแข็งให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ • การสร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชน • ทำแผนทีท่ นุ ทางสังคม • กำหนดประเด็นปัญหา • วางแผนแก้ไขปัญหา • ดำเนินการแก้ไขปัญหา • ประเมินผล และพัฒนาต่อยอด

• วิเคราะห์ Stakeholders และการแบ่งปันผลประโยชน์ • ขับเคลือ่ นชุมชนทัง้ ด้านการพัฒนาทักษะ และการสร้างความ มัน่ ใจ (การจูงใจ สนับสนุน และเสริมศักยภาพ) • การสร้างความเข้มแข็งให้บคุ คล ครอบครัว กลุม่ เครือข่าย องค์กร

การสร้าง การมีสว่ นร่วม/ ความเป็นหุน้ ส่วน

• พัฒนาและปรับเปลีย่ นโครงสร้าง พืน้ ฐาน/สังคม ความเข้มแข็งของ • การพัฒนาด้านการจัดการ บริ กิ ารสุขภาพปฐมภูม ิ คน งาน เงิน เครือ่ งมือ ทรัพยากรอืน่ ๆ การเสริมสร้างศักยภาพ การมีงบประมาณ ทีพ่ อเพียง • การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้กบั บุคลากร และอาสาสมัคร • การพัฒนาสมรรถนะให้กบั ครอบครัว กลุม่ ในการช่วยเหลือดูแล • การสร้างจิตอาสา เพือ่ ช่วยเหลือ

• จัดตัง้ กองทุนสุขภาพ โดยชุมชน เพือ่ ชุมชน • ความโปร่งใส และยึดหลัก ความเสมอภาค เท่าเทียม ยุตธิ รรมในการใช้ งบประมาณ

• การสร้างความสัมพันธ์กบั องค์กร หน่วยงานภายนอกเพือ่ สนับสนุน งบประมาณในกิจกรรม

ดูแลคนในชุมชน

ปัญหาสุขภาพโดยตรง เช่น การบริการสุขภาพ หรือการดูแลสุขภาพ ถ้าเข้มแข็งทั้งสองด้าน จะไม่มีผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังถูกทิ้งอยู่ที่บ้านโดยไม่มีคนดูแล ผู้สูงอายุจะมีกิจกรรมและมีอาสา สมัครเข้าไปช่วยดูแลตามบ้าน หรือเป็นผู้ที่เข้าไปกระตุ้นกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพตาม ลักษณะการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มผู้สูงอายุด้วย ถ้าลงพื้นที่ใด เดินเยี่ยมบ้านแล้วพบผู้พิการนอนแช่ มีแผลเต็มตัว หรือมีคนป่วยนอน รอความตายที่บ้าน อันนี้เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า ระบบการจัดการของชุมชนท้องถิ่นไม่มี หรือมี แต่ไม่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าบริการสุขภาพจะประกาศตัวเองว่า เก่ง ดี ประสบผลสำเร็จ อะไรก็ตามแต่ เคยคุยในหลายเวทีพบว่า มีประมาณร้อยละ 10 ของกลุ่มต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ

ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง เป็นผูต้ อ้ งการการช่วยเหลือดูแลทีบ่ า้ น ถ้าองค์กรท้องถิน่ เข้มแข็ง กลุม่ ชาวบ้าน อาสาช่วยเหลือเกื้อกูลกันแล้ว คนเหล่านี้จะได้รับการช่วยเหลือดูแล โดยอาศัยระบบบริการ สุขภาพเข้าไปหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ ฉะนั้น ถ้าดูลักษณะของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการ เสริมความเข้มแข็งให้กับบริการสุขภาพ จะมีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มกิจกรรมด้วยกัน

66 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


1) การเสริมศักยภาพ ที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่น ที่ทำเรื่องสุขภาวะ มีการปรับเปลี่ยนอยู่สองสามด้าน คือ โครงสร้างทั้งทางกายภาพและสังคม ดังที่เรียนไปแล้ว, เครื่องมือในการทำงาน ชุมชนท้องถิ่นจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือในการทำงาน หลายพื้นที่ใช้ธรรมนูญสุขภาพเป็นเครื่องมือโดยเอา อปท.เป็นศูนย์กลางในการผลักดันการ ปฏิบัติให้เกิดผล, การเพิ่มทักษะส่วนบุคคล อาสาสมัคร ครอบครัว เหล่านี้เป็นการเสริม ศักยภาพของระบบบริการสุขภาพได้, การสร้างกลุ่มอาสาสมัคร เป็นสิ่งที่เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นองค์ประกอบหนึง่ ที่ อปท. เข้าไปหนุนเสริมหรือเพิม่ ความเข้มแข็งให้บริการสุขภาพปฐมภูมดิ ว้ ย 2) การสร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มหรื อ สร้ า งการเป็ น หุ้ น ส่ ว น สำหรับ อปท.เห็นเป็น

รูปธรรมที่สุด คือการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกองทุนสุขภาพชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วม เราใช้ ทุกกิจกรรมของการทำงานที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมได้ ให้ท้องถิ่นไปร่วมมือกับหน่วยบริการ สุขภาพ หรือกระทั่งกระตุ้นให้หน่วยบริการสุขภาพกลับมาร่วมมือกับ อปท. ที่ผ่านมา อปท. พยายามวิเคราะห์ว่า ประโยชน์จะเกิดกับคนในชุมชนมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และถ้า

ภารกิจก่อประโยชน์กับประชาชนแล้ว ไม่ว่าหุ้นส่วนความร่วมมือจะอยู่ในหรือนอกชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะพยายามยื่นมือไปสร้างความร่วมมือกับกลุ่มและองค์กร เหล่านั้นมากขึ้น นี่คือสิ่งที่เรามองเห็นจากตำบลสุขภาวะ 4 มิติ 3) ส่วนสุดท้ายนี้อาจจะยังโต้แย้งกันอยู่ คือ เรื่องการจัดการเงิน ข้อเสนอของชุมชน ท้องถิน่ บอกว่า ถ้าเรามีกระบวนการของการจัดการของชุมชนเอง ผสมกับเงินทีม่ าตามโครงสร้าง ของระบบการบริหารของภาครัฐหรืองบประมาณต่างๆ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สงู สุดได้ แต่กรณี ที่มีการจัดการการเงินของชุมชนเอง น่าจะทำให้การเกื้อหนุนกันเองในชุมชนในด้านสุขภาพมี ความยัง่ ยืนมากขึน้ เช่น มีกองทุนสวัสดิการของชุมชนเอง ช่วยเหลือผูพ้ กิ าร ผูป้ ว่ ยเรือ้ รัง ผูส้ งู อายุ

14 ข้อ ปฏิญญา 5 ภาค กั บการเสริมความเข้มแข็งของระบบดูแลสุขภาพชุมชน

หลังจากดูบริบทการดูแลสุขภาพในชุมชนในรูปแบบของการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเรื่อง สุขภาพแล้ว ก็จะมาที่การวิเคราะห์ 14 ข้อเสนอที่ได้จากปฏิญญาทั้ง 5 ภาค กับการเสริมความ เข้มแข็งของระบบดูแลสุขภาพชุมชนว่าเป็นอย่างไร เช่น ศึกษาว่าการทำฐานข้อมูลชุมชน เป็นกระบวนการเสริมศักยภาพหรือไม่ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างไร การสนับสนุน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 67


เราสามารถเทียบเคียง 14 ข้อเสนอการดูแลสุขภาพชุมชน ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู ่ เข้ากับผลที่เกิดขึ้นกับสุขภาวะ 4 มิติได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องการสร้างปัญญา ของการดูแลจัดการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และการเกื้อกูลกันก็เป็นการสร้างสังคม ให้ช่วยเหลือกันด้านการดูแลสุขภาพไปในตัว ส่งเสริมอาสาสมัครให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพประชาชนจะเป็นอย่างไร เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่า 14 ข้อเสนออยู่ในบริบทของการทำงานเพื่อเสริมความเข้มแข็งซึ่งกัน และกันระหว่าง อปท. หน่วยบริการสุขภาพในชุมชน และกลุ่มอาสาสมัครที่อยู่ในชุมชน 1) ฐานข้อมูล เป็นกระบวนการที่ชุมชนท้องถิ่นได้ผลักดันองค์กรในชุมชน อปท. หน่วยบริการสุขภาพ ให้เข้าร่วมค้นหาข้อมูล จัดทำข้อมูลด้วยตนเอง และนำใช้ข้อมูลเหล่านั้น ด้วยตนเอง หลายพื้นที่อาจมีคนลงไปทำข้อมูลให้ แต่กระบวนการที่ตำบลศูนย์เรียนรู้ทั้งหมดทำ เป็ น กระบวนการที่เราผลักดันให้ทางพื้นที่ทำเองทั้งหมด ซึ่งระหว่างการทำข้อมูลก็เป็น กระบวนการเรียนรู้ข้อมูลไปด้วยในตัว เวลานำข้อมูลไปสู่เวทีแลกเปลี่ยนหรือเวทีการทำแผน ก็จะนำไปใช้ได้อย่างที่เข้าใจข้อมูลของเขาเองเป็นอย่างดี กลุ่มคนข้างนอกไม่ได้มีส่วนร่วมใน กระบวนการทำข้อมูล และไม่ได้ใช้ข้อมูลของแต่ละตำบลเลย แต่ละตำบลทำเอง ใช้เอง และเทียบเคียงกับเพื่อนได้ หรืออาจไม่เทียบเคียง แต่นำไปใช้ปรับแผนการพัฒนาเรื่องต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ของตัวเอง 2) สนับสนุนส่งเสริมอาสาสมัคร ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยหรือต้องการความช่วย เหลือ ชุมชนท้องถิ่นพยายามสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มกัน มีกิจกรรมเพื่อช่วยคนอื่น เป็น องค์ประกอบของการช่วยเหลือกัน เราจึงวิเคราะห์อออกมาว่า ผลกระทบน่าจะไปตกอยู่กับ ประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาสุขภาพ หรือไปมีส่วนสัมพันธ์กับลักษณะบริการ สุขภาพของหน่วยปฐมภูมิได้ หรือเป็นตัวเสริมพลังให้กับอาสาสมัครได้ด้วย 3) การจัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนเพื่อพัฒนาระบบดูแลสุขภาพชุมชนให้ทั่วถึง

68 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ครอบคลุมทุกปัญหา อันนี้คือลักษณะของการจัดการการเงินของชุมชนเอง เพื่อนำมาใช้เป็น ทรัพยากรของการผลักดันการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของชุมชน 4) กองทุนฟื้นฟูสมรรถนะผู้พิการระดับตำบล บางตำบลมีผู้พิการ 300-400 คนต่อ ประชากรประมาณหมื่นคน ลักษณะการดูแลผู้พิการ ท้องถิ่นต้องผสมผสานหรือบูรณาการงาน กับหน่วยบริการสุขภาพ หากทำเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะไม่เกิดผล หากท้องถิ่นใดดูแลผู้พิการ ได้ครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่ากลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากหรือดูแลตนเองได้ ก็จะ ทำให้เห็นว่า ชุมชนท้องถิ่นนั้นมีความเข้มแข็ง 5) การสมทบงบประมาณเข้ากองทุน เราพูดกันไปแล้วว่า ปฏิบัติการดูแลสุขภาพ ชุมชนนี้เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริการสุขภาพ การบริการไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อย่างเดียว แต่เข้าไปอยู่ในแผนหรือข้อบัญญัติของชุมชน ท้องถิ่นด้วย เพื่อมาหนุนเสริมให้กิจกรรมของการดูแลสุขภาพกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 6) ธรรมนูญสุขภาพ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการของ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ชัดเจนว่า ใครต้องทำอะไรบ้าง 7) การร่วมลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ อันนี้มีความแพร่หลายกว้าง ขวางมากยิ่งขึ้น เราเริ่มต้นที่การส่งพยาบาลเรียน ขณะนี้ขยายไปสู่สาขาอื่นด้วย และผลผลิต เริ่มกลับมาทำงานในพื้นที่แล้ว 8) จัดหน่วยบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาเฉพาะพื้นที่ ที่สะดวก รวดเร็ว และมี คุ ณ ภาพ เรื่องนี้ไปเพิ่มและขยายศักยภาพของโครงสร้างบริการสุขภาพของชุมชน หากไม่ยึดติดว่าต้องเป็นของหน่วยงานใด 9) เตรียมความพร้อมรับการถ่ายโอน เป็นกระบวนการที่ชัดเจนว่า สร้างการมีส่วน ร่วม เสริมศักยภาพ และวางการจัดการการเงินไว้ว่า จะทำอย่างไรถ้าจะมีหน่วยบริการสุขภาพ ที่ต้องจัดการเองให้ได้ การมีส่วนร่วมคิด ร่วมเข้าใจ ร่วมปฏิบัติของภาคประชาชน หรือองค์กร ชุมชน ก็จะทำให้บริการสุขภาพขยายไปแทนที่จะมีจาก รพ.สต.อย่างเดียว 10) การส่งเสริมภูมิปัญญา 11) ทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ วางแผนจัดการของการทำงานร่วมกันของชุมชนที่ อยู่ในท้องถิ่น ในแง่ของการเกื้อกูลกัน 12) การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นในเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรที่ว่าด้วย เรื่องการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ หรือการแก้ปัญหาการเจ็บป่วย รวมไปถึงการมีอาหาร

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 69


ผลกระทบจาก 14 ข้อเสนอของระบบการดูแลสุขภาพชุมชน กองทุนสุขภาพ ท้องถิ่นสามารถถ่ายทอด การดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพ ความพร้อมรับการถ่ายโอน ภารกิจด้านสาธารณสุข กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน มีหน่วยเฝ้าระวัง ช่วยเหลือดูแล

อาสาสมัครที่มีศักยภาพ ในการช่วยเหลือดูแล

ปัญญา

ข้อบัญญัติท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพ

สังคม จิตใจ ร่างกาย

สุขภาวะ 4 มิต ิ การใช้ข้อมูลเป็นฐาน ในการดูแลสุขภาพ

มีระบบการส่งต่อ การรักษา หน่วยบริการสุขภาพ ที่เข้าถึงได้ง่ายและ ตรงความต้องการ บริโภคอาหารจาก ร้านค้าที่ปลอดภัย บุคลากรด้านสุขภาพ ที่เพียงพอในการดูแล

สุขภาพในชุมชนด้วย ถ้าคนในชุมชนมีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังเยอะ ก็มีเมนูสุขภาพขึ้นมา ซึ่งเข้าไปเกี่ยวกับการเกษตรด้วย เชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับอาหารปลอดภัยและอาชีพเกษตร 13) จัดให้มีอาหารปลอดภัย หนึ่งร้านหนึ่งชุมชน อันนี้มีตัวอย่างเกิดขึ้นแล้ว 14) หน่วยพิทกั ษ์สขุ ภาพชุมชน เรือ่ งนีไ้ ม่เหมือนอาสาสมัคร แต่เป็นการช่วยเหลือกัน ในเขตบ้านใกล้เรือนเคียง เป็นการสอดส่องดูแลทั้งพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค พฤติกรรม ในการช่วยเหลือกันหรือเกื้อกูลกันเพื่อให้สุขภาพของกลุ่มตนเองดีขึ้น ใน 14 ข้อเสนอทั้งหมด มีประสบการณ์จริงในพื้นที่และทำได้จริง ก่อให้เกิดผลจริง จึงสามารถสรุปออกมาได้ในลักษณะเช่นนี้ จากทั้งหมดนี้ สามารถเทียบเคียง 14 ข้อเสนอการดูแลสุขภาพชุมชนของเครือข่าย ร่ ว มสร้ า งชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น น่ า อยู ่ ท ี ่ ส นั บ สนุ น โดย สสส. ร่ ว มโดยองค์ ก รทั ้ ง ภาครั ฐ เอกชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการมา เข้ากับผลที่เกิดขึ้นกับสุขภาวะ 4 มิติได้ ไม่ว่าการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การมีอาสาสาสมัครมาช่วยกัน ซึ่งทั้งหมด เป็นเรื่องการสร้างปัญญาของการดูแลจัดการแก้ปัญหาด้วยตนเองระดับหนึ่ง และการเกื้อกูล กันก็เป็นการสร้างสังคมให้ช่วยเหลือกันด้านการดูแลสุขภาพไปในตัว 70 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผลต่อการจัดการทรัพยากร ของชุมชนท้องถิ่น

ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม


อย่างทีท่ ราบกันว่า ทรัพยากรป่าไม้ น้ำ ทีด่ นิ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ทั้งหลายเป็นฐานชีวิตที่สำคัญของชุมชน แต่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่มาคุกคาม ชีวิตและสังคมของมนุษยชาติก็ว่าได้ กลไกในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สำคัญในปัจจุบัน จะมีกลไก ในเรื่องการบรรเทาปัญหา คือการพยายามลดการปล่อยตัวการ คือก๊าซเรือนกระจก และการ ปรับตัวกับปัญหาเมื่อปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้ว ทัง้ นี้ ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ที่เป็นฐานชีวิตที่สำคัญของชุมชน มีทั้งผลกระทบทางตรงที่เป็นปัญหาในทางกายภาพ และ ผลกระทบทางอ้อมที่เป็นผลมาจากนโยบายเพื่อบรรเทาปัญหาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ เมือ่ เรามาดูผลกระทบทางตรง ทางกายภาพ มีองค์กรระหว่างประเทศคือ คณะกรรมาธิการ ระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ซึ่งเป็นองค์กรทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยตรงได้ประเมินไว้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ลงไปถึงโครงสร้างของระบบนิเวศ คือ ทะเล อาจมีความเป็นกรดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปะการังไปจนถึงทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ และหากอุณหภูมิโลกร้อนไปจนถึง 1.5-2.5 องศาเซลเซียส ก็มีโอกาสที่สัตว์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะสูญพันธุ์ได้ถึง ร้อยละ 20-30 ส่วนธนาคารโลก (World Bank) ก็ได้ระบุถึงงานของ IPCC ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากโลกร้อนหรือการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศ จะทำให้เกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติอย่างพายุตา่ งๆ มากขึ้น น้ำทะเลจะสูงขึ้นจากการที่ก้อนน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ความสูงของน้ำทะเลอาจเพิ่มสูง ขึ้นถึง 1 เมตร และในบางประเทศอย่างบราซิล ฟิลิปปินส์ เวเนซุเอลา ฟิจิ มีโอกาสที่น้ำทะเล จะสูงถึง 5 เมตรได้เลย ซึ่งจะทำให้พื้นที่บางพื้นที่ของประเทศหายไป เช่น เกาะในอินโดนีเซีย อาจหายไปถึง 8 แห่ง

72 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


จากงานศึกษาของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเมินภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่อุณหภูมิได้เริ่มสูงขึ้นแล้ว 0.3 องศาเซลเซียส มีผล ทำให้น้ำทะเลเริ่มสูงขึ้นทีละนิด และที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือคนยากจนที่มีรายได้ต่ำ อยู่ใต้เส้นความยากจน คิดจากรายได้เฉลี่ย 1.5 เหรียญต่อวัน หรือประมาณวันละ 50 บาท โดยกรณีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรเหล่านี้ประมาณ 93 ล้านคน ซึ่งจะได้รับ ผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทั้งนี้ ADB ยังได้ทำแบบจำลองคาดการณ์อนาคตของประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามว่า แนวโน้มของภัยแล้งจะเพิ่มขึ้น และปริมาณผลผลิตข้าวจะลดลงถึง ประมาณร้อยละ 50 ในปี ค.ศ.2100 หรืออีกประมาณ 90 กว่าปี แม้ไม่เร็วนักแต่ก็ไม่ไกลเกินไป ในด้านเศรษฐกิจ ADB คำนวณว่าถ้าทุกอย่างยังดำเนินไปอย่างปกติหรือเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ คือ ไม่มีการพยายามบรรเทาหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น และอาจทำให้เกิดความสูญเสียต่อทั้ง 4 ประเทศต่อปีถึง ร้อยละ 6.7 ของจีดีพีรวมของ ทั้ง 4 ประเทศ จากงานศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในหลายพื้นที่มีความ เสี่ยงต่อภัยพิบัติ โดยประเมินว่า ฝนอาจตกหนักเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ปริมาณผลผลิต ทางการเกษตรที่สำคัญอย่างข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด แม้จะได้รับผลกระทบ ไม่รุนแรงนัก แต่จะทำให้เกิดการแปรปรวนของผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยง ต่อเกษตรกรมากขึ้นเป็นลำดับ ตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง สำหรับผลกระทบทีเ่ กีย่ วข้องกับนโยบาย ซึง่ นโยบายเป็นเรือ่ งของการแก้ปญ ั หา แบ่งเป็น นโยบายการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยลด Greenhouse gas หรือก๊าซเรือนกระจก กับนโยบายของการปรับตัว ทั้งนี้นโยบายเพื่อบรรเทาปัญหา อาจเป็น ตัวที่มาก่อให้เกิดผลเสียกับตัวชุมชนเอง เช่น นโยบายการส่งเสริมพลังงานทางเลือก ซึ่งก่อให้ เกิดผลกระทบใน 2 ลักษณะ ประการแรก ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ตรงนี้เป็นเรื่อง ที่ทางชุมชนทราบดีว่า พื้นที่ปลูกพืชมีจำกัด พื้นที่จะปลูกพืชอาหารตอนนี้อาจถูกนำมาปลูกพืช พลังงานแทน ประเทศอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างได้ดี เขาเป็นประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ เพื่อทำไบโอดีเซล ปัจจุบันต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เพราะผลิตข้าวไม่พอ ดังนั้น นโยบายนี้จะทำให้เกิดการแย่งพื้นที่ที่จะไปปลูกพืชอาหาร

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 73


นโยบายการส่งเสริมพลังงานทางเลือกซึ่งเป็นนโยบายของการบรรเทาปัญหาภูมิ อากาศนี้ยังทำให้พื้นที่ป่าลดลง โดยนอกจากจะเอาพื้นที่การเกษตรมาปลูกพืชพลังงานแทนพืช อาหารแล้ว บางส่วนยังมีการบุกรุกเข้าไปเพาะปลูกในพื้นที่ป่าด้วย ซึ่งกรณีเดียวกันในประเทศ อินโดนีเซียที่ปลูกปาล์มน้ำมันผลิตไบโอดีเซลแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก็มีการบุกรุกป่า อย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยเอง มูลนิธิโลกสีเขียวก็เคยอ้างอิงข้อมูลว่า กรมอุทยานฯ ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในปีเดียวถึง 17 คดี และคงมี

ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นนโยบายตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ ว่าจะทำให้สมดุลได้อย่างไร เมื่อเป็น

ที่แน่นอนว่า เราต้องการส่งเสริมการแก้ปัญหาภาวะก๊าซเรือนกระจก แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ให้ เกิดการทำลายทรัพยากรหรือแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร นอกจากนี้ยังมีนโยบายความไม่สมดุลของการพัฒนาที่เกี่ยวกับฐานทรัพยากร เช่น ทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีงานศึกษาของ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ในพื้นที่จังหวัดระยอง พบปั ญ หาสภาวะการแย่ ง ชิ ง น้ ำ ระหว่ า งอุ ต สาหกรรมหนั ก กั บ ชุ ม ชน และจากการที ่ รศ.ดร.สุจริต เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงมีการทำโมเดลปริมาณน้ำ ที่เปลี่ยนไปจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยระบุว่า ความต้องการน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ น้ำอาจไม่เพียงพอเพราะมีการแย่งชิงการใช้น้ำ ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าหนักใจยิ่งในอนาคต ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็เคยชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมามีคดีที่มีความไม่เป็นธรรมจาก การที่รัฐเอื้อประโยชน์ให้อุตสาหกรรมรายใหญ่แย่งชิงเอาน้ำไปจากชุมชน ซึ่งความขัดแย้งนี ้

จะสูงขึน้ มากในอนาคตเมือ่ โลกร้อน หรือปัญหา Climate change กลายเป็นปัญหาทีร่ นุ แรงขึน้ มา เพราะฉะนั้นในแง่นี้เราคงต้องเตรียมใจ เตรียมตัว เตรียมการไว้ว่า เราจะจัดการทรัพยากร อย่างไร ซึ่งมันคงไม่ใช่เพียงระดับชุมชน แต่ระดับรัฐเองก็ต้องดูภาพรวมด้วย สำหรับสาเหตุของปัญหานั้น จะขอพูดในเชิงกึ่งทฤษฎีว่า เรื่องของเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เรามองทรัพยากรเป็นสิ่งที่ใช้ร่วมกัน มันมีคุณสมบัติที่กีดกันไม่ให้คนอื่นมาใช้ ประโยชน์ได้ยาก แต่ขณะเดียวกัน เมื่อใช้แล้วก็จะหมดไปหรือเสื่อมสภาพลง ยกตัวอย่าง อากาศที่เราหายใจเข้าไปซึ่งจะห้ามไม่ให้คนอื่นหายใจก็ไม่ได้ หรือป่าไม้แม้คุณสามารถล้อมรั้ว ป่าได้ แต่ถึงล้อมรั้ว แต่คุณสมบัติที่ป่าเป็นแหล่งต้นน้ำหรือเป็นตัวฟอกอากาศ เราก็ไม่สามารถ ครอบครองเอาคุณสมบัติเหล่านี้มาเป็นของเราคนเดียวได้ ตรงนี้ก็คือการกีดกันการใช้ได้ยาก แต่ขณะเดียวกันพอใช้แล้วมันก็หมดไป เพราะฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ ทรัพยากรธรรมชาติสว่ นใหญ่ จะถูกใช้ในลักษณะมือใครยาวสาวได้สาวเอา มันง่ายทีจ่ ะเกิดสภาวะการใช้แบบนัน้ โดยเฉพาะ

74 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


แนวคิดของภูมิปัญญาตะวันออก เน้นในเรื่องพฤติกรรม เรื่องจิตใจ และเรื่องปัญญา ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และแนวทางภูมิปัญญาตะวันออก สามารถช่วยตรงนี้ได้ อย่างยิ่งเมื่อคนเห็นแก่ตัวหรือคิดถึงแต่ผลประโยชน์สั้นๆ ก็จะใช้ทรัพยากรเฉพาะให้ตนเองได้ ประโยชน์ ผลสุดท้ายทรัพยากรก็เสียหายไป นอกจากจะกระทบต่อส่วนรวม ยังกลายเป็นผลเสีย แก่ตัวเองด้วย ซึ่งในทางทฤษฎีเกมก็อธิบายว่า คนถ้าคิดแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นของตนเอง ผลลัพธ์สุดท้ายกลับกลายเป็นผลเสียที่ตัวเองได้รับในที่สุด บรรยากาศโลกก็มีลักษณะเป็นทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันเช่นเดียวกัน แล้วที่ผ่านมาที่เกิด ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น ก็เป็นผลจากการใช้แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ส่วนหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะทุกประเทศต่างคิดแต่ว่าจะพัฒนา แล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไม่บนั ยะบันยังโดยไม่ได้สนใจว่าใครจะเป็นอย่างไร ในทีส่ ดุ ผลคือ ตัวเองก็เดือดร้อนไปด้วย นอกเหนือไปจากเรื่องใครมือยาวสาวได้สาวเอาในการใช้ทรัพยากรบรรยากาศโลกแล้ว ยังมีเรื่องของความไม่เป็นธรรมด้วย คือ เราต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็น ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมมาอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่อดีตทีผ่ า่ นมา โดยเฉพาะ หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว ประเทศที่ร่ำรวยในปัจจุบัน ไม่ว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และยุโรป ใช้วิธีพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้กลายเป็นประเทศร่ำรวย ขึน้ มาได้ เพราะฉะนัน้ เขาคือผูท้ ป่ี ล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าไปในบรรยากาศโลกมากทีส่ ดุ รวมทัง้ สหรัฐซึง่ มาพัฒนาในช่วง 100 กว่าปีหลัง แต่กม็ กี ารปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึน้ มามหาศาลคิดเป็น ร้อยละ 30 ของระดับการสะสมของก๊าซเรือนกระจก หรือในที่นี้คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 75


ทั้งโลก สหภาพยุโรปปล่อยประมาณ ร้อยละ 26.5 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม ของทั้งโลก คิดรวมกันแล้ว ประเทศร่ำรวยทั้งหลายใช้บรรยากาศของโลกไปก่อนคนอื่น โดยการ ปล่อย CO2 สะสมคิดเป็นร้อยละ 76 หรือเท่ากับ 3 ใน 4 ของปริมาณการปล่อยสะสมทั้งโลก เลยทีเดียว เพราะฉะนัน้ พวกเรายังไม่ได้ลมื ตาอ้าปาก พวกเขาก็ใช้กนั ไปหมดแล้ว นีค่ อื ตัวอย่าง นอกเหนือไปจากเรื่องความเป็นธรรมในการใช้บรรยากาศโลกไปก่อน ยังมีการใช้ใน ปัจจุบันด้วย เพราะปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศไม่ได้ผลิตก๊าซเรือนกระจกด้วย ตนเอง แต่ผลักภาระให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างพวกเราผลิตโดยผ่านการลงทุน คงเคยได้ยินว่า มีการย้ายฐานอุตสาหกรรมมาให้เราผลิต เขาผ่านการนำเข้าสินค้า พูดง่ายๆ ว่าให้พวกเราเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อให้เขาบริโภค เมื่อมีการผลิตสินค้า ก็เกิดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งก๊าซเรือนกระจกตรงนี้กลายเป็นสิ่งที่เราปล่อยจากการผลักภาระ ของประเทศพัฒนาแล้ว จากงานศึกษาของสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) เมื ่ อ ปี 2554 โดยการคำนวณของ รศ.ดร.ชยั น ต์ ตั น ติ ว ั ส ดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ประเทศไทยได้รับภาระก๊าซเรือนกระจกที่ส่งต่อมาจาก ประเทศพัฒนาแล้วประมาณร้อยละ 7 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ และมีนกั วิชาการทีเ่ คยมาร่วมทำการวิจยั กับสถาบันธรรมรัฐฯ ได้ทำการศึกษาพบว่า ประเทศจีน

ก็มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผ่านมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณร้อยละ 29 อีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากของความไม่สมดุลของการพัฒนาคือ การพัฒนาภายใต้ ระบบบริโภคนิยมซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มีการกระตุ้น มีการโฆษณาให้มนุษย์เกิดการ บริโภคและผลิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตรงนี้ศาสตราจารย์แซชส์ (Jeffrey D. Sachs) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย ได้เขียนหนังสือชื่อ The Price of Civilization (ราคาของอารยธรรม) เล่าถึงงานวิจัย ด้านสมองคือ ‘Neural Plasticity’ ว่า สมองเหมือนเป็นพลาสติกที่เราสามารถจะปรับเปลี่ยนได้ งานวิจัยสมัยใหม่พบว่า คุณลักษณะของสมองสามารถเปลี่ยนไปได้จากประสบการณ์ที่ซ้ำๆ ซึ่งศาสตราจารย์แซชส์อ้างถึงว่า การโฆษณาก็ดี หรือสื่อภายใต้ระบบบริโภคนิยมปัจจุบัน ที่เน้นธุรกิจมากๆ ก็ดี มีส่วนไปกระตุ้นให้สมองของคนเกิดความอยากได้วัตถุอยู่ตลอดเวลาไม่มี ที่สิ้นสุด ซึ่งสอดคล้องกับระบบทุนนิยมแบบบริโภคนิยมที่ต้องการให้คนบริโภคสินค้าตลอด

76 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


และปรากฏว่ามันไปมีผลต่อสมองได้จริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก และในที่สุดมันไปมีผลต่อ

สิ่งแวดล้อมได้ เมื่อคนอยากได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทรัพยากรทั้งหลายก็ต้องถูกดึงนำมาใช้เพื่อผลิต สินค้าและวัตถุต่างๆ ซึ่งมีงานศึกษาขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF: World Wide Fund for Nature) คำนวณรอยเท้านิเวศว่า มนุษย์แต่ละคนใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียออกมา เท่าไร และดูความสามารถของโลกที่จะรองรับตรงนี้ พบว่า ขณะนี้เราใช้โลกไปแล้ว 1.5 ใบ คือเราใช้อนาคตไปแล้ว หมายความว่า หากเราอยู่อย่างนี้กันต่อไป เราก็จะอยู่กันไม่ได้ ตรงนี้ มาจากการบริโภคที่ล้นเกินและความฟุ่มเฟือยส่วนหนึ่งด้วย ท่านมหาตมะ คานธี เคยกล่าวไว้วา่ “โลกใบนีม้ เี พียงพอสำหรับความจำเป็นของทุกคน แต่ไม่เพียงพอต่อความโลภอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในใจคน” ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ทำให้อยากนำ เอากรอบแนวคิดที่อาศัยภูมิปัญญาตะวันออก ซึ่งในที่นี้อาจจะพูดได้ว่าเป็นแนววิถีพุทธ แต่ความจริงแล้ว คือ ศาสนาอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคทางตะวันออกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่ โดยแนวคิ ด นี ้ ด ิ ฉ ั น ประยุ ก ต์ ม าจากหนั ง สื อ การพั ฒ นาที ่ ย ั ่ ง ยื น ของ พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาประกอบในการอธิบาย น่ า สนใจว่ า ความจริ ง แล้ ว ถ้ า เรามองระบบมนุ ษ ย์ ซ ึ ่ ง เป็ น ศู น ย์ ก ารสร้ า งสั ง คม เศรษฐกิจ ในกลไกสถาบันในการจัดการ รวมทั้งการมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมา ตอบสนองความต้องการ แต่ระบบมนุษย์อยู่ภายใต้ระบบใหญ่ คือระบบธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ เรามองไม่ค่อยเห็น มนุษย์จึงรู้สึกว่า ตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง และเอาธรรมชาติมาเป็น ปั จ จั ย ในการผลิตสิ่งต่างๆ สร้างสังคม สร้างเศรษฐกิจ มีวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ก็เพื่อ

ตอบสนองความต้องการของเรา และธรรมชาติเป็นแค่ปัจจัยการผลิตหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อมนุษย์มีอัตตาสูง มีความโลภ และไม่มีปัญญาพอที่จะคิดถึงว่า ตัวเองเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติในระบบใหญ่ เราก็จะใช้กันอย่างที่เรียกว่าไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ยิ่งเมื่อถูกกระตุ้น ด้วยการโฆษณาหรือสื่อที่เป็นธุรกิจมากๆ แน่นอนว่าธรรมชาติมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอกจากนีศ้ าสตราจารย์แซชส์ ยังกล่าวในหนังสือเล่มดังกล่าวด้วยว่า วิกฤติทางการเงิน ที่ผ่านมาและเป็นอยู่ในทุกวันนี้มีส่วนมาจากความโลภ อย่างในอเมริกามีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ บริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อย่างเลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) ที่ไม่มีใครคิดว่าจะพังก็ยัง พังได้ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจตรงนี้คือ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่า ความโลภ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ คือต้องยอมรับความโลภ แต่มองว่าวิธีแก้ปัญหาต้องกำกับโดยใช้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 77


ระบบของมนุษย์ คนเป็นศูนย์กลาง

คนเป็นศูนย์กลาง สังคม + เศรษฐกิจ + กลไกเชิงสถาบัน

ธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

ทุกอย่างเพื่อ ตอบสนอง

ความต้องการ ของมนุษย์!!

ธรรมชาติ

พัฒนาจิตใจ

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

สังคม + เศรษฐกิจ + กลไกเชิงสถาบัน

เพื่อสันติสุข

ของมนุษย์ และธรรมชาติ!!

กฎหมาย เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ การสร้างแรงจูงใจทางด้านราคา และกลไกเชิงสถาบัน ต่างๆ เป็นนวัตกรรมทางสังคม หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยกำกับหรือแก้ไข ปัญหา ซึ่งรวมถึงปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย แนวคิ ดเช่นนี้ไม่ผิด การใช้กลไกระเบียบกฎหมาย เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งหลายเป็นเงื่อนไขที่มีความจำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ คือความโลภหรือจิตใจของมนุษย์เอง สิ่งเป็นที่ดิฉันพูดถึงก่อนหน้านี้ คือภูมิปัญญาตะวันออกเป็นสิ่งที่ขาดหายไปในแนวคิดปัจจุบัน คือจะทำอย่างไรที่จะพัฒนา จิตใจของคนได้ หากหันมามองแนวภูมิปัญญาตะวันออกโดยเฉพาะแนวพุทธ มองว่ามนุษย์สามารถ แก้ไข สามารถพัฒนาจิตใจ และทำให้ความโลภลดลงไปได้ ตรงนี้ตรงกับที่กลุ่มนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพิสูจน์การพัฒนาจิตออกมาเป็นวิทยาศาสตร์ โดยทดลองกับพระชาวฝรั่งเศสชื่อ แมทธิว ซึ่งเดิมท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ที่ สถาบัน

ปาสเตอร์ ในฝรัง่ เศส และบวชมากว่า 10 ปี ท่านสนใจอยากให้คนมาทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่า การฝึกจิตหรือนั่งสมาธิแล้วมีผลอย่างไร เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินได้ทดลองสแกนสมองท่าน ซึ่งฝึกสมาธิ มากว่าหมื่นชั่วโมง พบว่าสมองมีความแตกต่างจากคนทั่วไป โดยสมองในส่วนที่พูดถึงระดับ ความสมดุลทางอารมณ์ ความสงบ สามารถวัดได้จากการสแกน และเห็นความเปลีย่ นแปลงว่า สมองแสดงถึงจิตใจที่สมดุลทางอารมณ์ มีความสงบมากกว่าคนทั่วไป

78 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า วิทยาศาสตร์เริ่มพิสูจน์แล้วว่า การฝึกจิตเป็นเรื่องที่ เป็นไปได้ และเปลี่ยนแปลงคนได้จริงๆ ดังนั้นภูมิปัญญาตะวันออกที่มองว่า คนแก้ไขได้ พัฒนาได้ ลดความโลภลงได้ เป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้จริง และพอคนมีความสุขมาก มัน อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยวัตถุมากเท่ากับคนที่ไม่มีความสุขซึ่งจะต้องแสวงหาอยู่ตลอดเวลา จากกรอบแนวคิดที่พูดถึงก่อนหน้านี้ หากเป็นไปได้ก็อยากให้มีการนำกลไกเชิง สถาบัน ไม่วา่ นโยบาย กฎหมาย เครือ่ งมือทางเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีตา่ งๆ นำมา ร่วมพัฒนาควบคู่กันไปกับการพัฒนาจิตใจมนุษย์ในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ โดยเฉพาะการพัฒนามนุษย์นั้น พระพรหมคุณาภรณ์เคยพูดไว้ว่า สามารถทำได้ ทั้งระดับพฤติกรรม ซึ่งคล้ายกับแนวทางกระแสหลักที่พูดถึง คือการส่งเสริมให้มีธรรมาภิบาล หรือการสร้างจริยธรรมต่างๆ ที่เราอาจใช้สื่อมาช่วยกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ ส่วนอีกระดับเป็น เรือ่ งการพัฒนาจิตใจและปัญญา ซึง่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ที่พระองค์พูดถึงเงื่อนไขการมีเหตุมีผล ความพอเพียง การมีคุณธรรมบวกปัญญา ก็เป็นเรื่องที่ น่าสนใจว่าจะเกิดขึ้นได้จริง คนต้องมีปัญญา ต้องเกิดการฝึกจิตใจ ดังที่พูดมาตั้งแต่ต้นว่า ทรัพยากรธรรมชาติมีลักษณะของการใช้ร่วมกันอยู่ กีดกันการ ใช้ได้ยาก ทำให้เกิดมือใครยาวสาวได้สาวเอา อย่างในกรณีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ซึ่งเป็นความล้มเหลวอันหนึ่งในการจัดการบรรยากาศโลก แต่ในความเป็นจริง ถ้าเรามาดู

ในระดับชุมชน จะเห็นว่ามีความสำเร็จที่ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรที่มีลักษณะของ การใช้ร่วมกันได้

ความร่ วมมือของชุมชน ลดโลกร้อน งานศึกษาในระดับระหว่างประเทศ โดยศาสตราจารย์เอลินอร์ ออสตรอม (Elinor Ostrom) ผู้หญิงคนแรกของโลกที่คว้ารางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ เธอพัฒนาแนวคิดหรือ ทฤษฎีในการอธิบายความร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากรที่ไม่มีการทำลาย โดยไม่ต้อง อาศัยปัจจัยภายนอก เช่น รัฐเข้ามาแทรกแซง แต่เป็นวิวัฒนาการของกลุ่มที่เกิดขึ้นมาเองได้ใน หลายๆ กรณี เช่น กรณีป่าชุมชน และกรณีชลประทานราษฎร์ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย เนปาล ไทย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น และเธอบอกด้วยว่า เมื่อชุมชนร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์ อยู่ ด้วยกันในระยะยาว จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันได้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 79


ทำให้เห็นผลประโยชน์ระยะยาวที่จะร่วมมือกัน ไม่จำเป็นจะต้องคิดแต่ผลประโยชน์ใน ช่วงสั้นๆ และกอบโกยแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาอีกต่อไป แต่มาร่วมมือกันแล้ว ก็มีกติกาชุมชนร่วมกันได้ โดยเงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันจัดการทรัพยากร คือจะต้องมีความไว้ วางใจและการตอบแทน ซึ่งความหมายของการต่างตอบแทน คือหากใครทำดีก็ได้รับการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากใครทำไม่ดีก็สามารถให้ชุมชนลงโทษได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมี เงื่อนไขสองอย่างนี้แล้ว จะเกิดการร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากรได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็น

ป่าไม้ ประมง ชุมชน หรือการจัดการน้ำ สิ่งที่ศาสตราจารย์ออสตรอมพูดถึงนั้น เธอดูในเรื่องพฤติกรรมภายนอก และบอกว่า เป็นเรื่องที่ความร่วมมือเกิดขึ้นได้ถ้าชุมชนมีขนาดเล็ก ความไว้เนื้อเชื่อใจเกิดได้ง่าย แต่ไม่ได้ พูดถึงในแง่ของสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าดูดีๆ หลายๆ ชุมชนที่ถูกพูดถึง จะมีผู้นำที่มีคุณธรรมหรือมีการพัฒนาจิตใจในระดับหนึ่ง ซึ่งแม้ไม่ใช่ชุมชนชาวพุทธ จะเป็น ชุมชนมุสลิมหรืออื่นๆ ก็จะคล้ายกัน คือมีวัฒนธรรมประเพณีแบบภูมิปัญญาตะวันออกที่ให้ ความสำคัญด้านจิตใจและการเคารพธรรมชาติ หรือการเน้นความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรงนีน้ ำไปสูก่ ารเกิดความไว้เนือ้ เชือ่ ใจได้งา่ ยขึน้ และเป็นเงือ่ นไขทำให้เกิดความสำเร็จได้งา่ ยขึน้ งานศึกษาของสถาบันธรรมรัฐฯ เอง เรามีตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการทรัพยากร ชุมชน โดยเราได้ศึกษาเพื่อทำให้เห็นว่า ความสำเร็จตรงนี้มีสมมติฐานที่ว่า มี ‘ภูมิปัญญา ตะวันออก’ อยู่เบื้องหลังความสำเร็จส่วนหนึ่ง ซึ่งงานวิจัยตรงนี้ได้ทุนจาก สกว.ไปศึกษาการ ประยุ ก ต์ เ ศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน เช่น กรณีชมุ ชนทีบ่ า้ นละหอกกระสัง จังหวัดบุรรี มั ย์ และทีช่ มุ ชนบ้านเปร็ดในจังหวัดตราด กรณีแรกที่บ้านละหอกกระสัง ชุมชนเคยประสบปัญหาป่าไม้ถูกบุกรุกและไม่ได้รับ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้เกิดจุดเปลี่ยน คือคิดแล้วว่า จะรอให้คนอื่นมาช่วยไม่ได้ จะต้องช่วยตัวเอง เป็นการคิดแบบระเบิดข้างในตามหลักการทรงงานของในหลวงว่า เราต้อง ระเบิดจากประสบการณ์ข้างในของตนเองและต้องช่วยตนเอง เกิดมีการรวมกลุ่มและตั้งเป็น

กลุ่มอนุรักษ์พิทักษ์ป่าไม้ขึ้นมา ชุมชนนี้เก่งตรงที่ว่า มีการใช้คุณธรรมบวกปัญญา รวมทั้ง นวัตกรรมทางสังคมมาช่วยในการจัดการทรัพยากร เช่น การบวชป่า การทำให้คนเคารพ ธรรมชาติ ส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือกัน และมีการเคารพผู้เฒ่าที่มีปัญญาและถ่ายทอด

80 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประสบการณ์ทางความคิดให้ลูกหลาน ทำให้สังคมมีความอ่อนโยน มีความอบอุ่น ซึ่งปรากฏ ว่าได้ผลมาก ดิฉันเคยได้คุยกับคุณประมวล เจริญยิ่ง ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน พบว่า ชุมชนเปลี่ยนไป อย่างมากมาย มีความร่มเย็น ทรัพยากรธรรมชาติกลับฟื้นคืน พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ความหลาก หลายทางชีวภาพเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับกลไกการปรับตัวและการบรรเทาปัญหาโลกร้อน เมื่อมี ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ชุมชนสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น ลด ความเสี่ยงในเรื่องปัญหาการขาดอาหารและด้านการเกษตร ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ บางครั้งช่วยให้เจอพืชที่สามารถทนแล้ง ทนฝนได้เป็นพิเศษ กรณีต่อมาที่ชุมชนเปร็ดในจังหวัดตราด ซึ่งเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านการอนุรักษ์ป่า ชายเลน มีผู้นำเป็นพระชื่อสุบิน ปณีโต (วัดไผ่ล้อม จ.ตราด) นำเรื่องคุณธรรมเข้ามาช่วย ทำให้ ชุมชนคิดเป็น ทำเป็น และมีวิธีสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์โดยสอดแทรกเรื่องภูมิ ปั ญ ญา เช่ น การทำ ‘ตลาดปู ’ ซึ ่ ง ปู น ี ้ เ กิ ด มาจากการที ่ ป ่ า ชุ ม ชนอุ ด มสมบู ร ณ์ ทำให้ ปู มีปริมาณเยอะ ชาวบ้านสามารถจับเอามาขายจนสร้างเป็นระบบตลาดขึน้ มาได้ พร้อมสอดแทรก แนวคิดในการอนุรักษ์ที่จะไม่จับปูในช่วงฤดูวางไข่มีคำเช่น ‘กติกาหยุดจับร้อยคอยจับล้าน’ ซึ่งได้ผลดีมาก และในส่วนของชุมชนก็มีการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ด้านอาหาร และมี เทคโนโลยีพื้นบ้านเพื่อป้องกันภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นลมกัดเซาะชายฝั่งซึ่งเรียกว่า ‘เต๋ายาง’ ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ เป็นเหมือนกับการสร้างภูมิคุมกันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ ในหลวงด้วย พระสุบิน ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่ท่านเป็นผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มสัจจะออมทรัพย์’ โดยใช้คุณธรรมในเรื่องของสัจจะและความซื่อสัตย์เข้ามาช่วย จนกระทั่งปัจจุบันสมาชิกมี

เงินทุนหมุนเวียนถึง 700 ล้านบาทแล้ว และเท่าที่ทราบ หนี้สูญน้อยมากจนแทบไม่มีเลย ทั้งนี้ จากผลการการดำเนินการตรงนี้ งานวิจัยของสถาบันธรรมรัฐฯ ที่เข้าไปศึกษาในบริบทของการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ พบว่า ป่าชายเลนของบ้านเปร็ด สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1,200 ตันต่อปี ซึ่งเมื่อคำนวณโดยนำประชากรมาหารแล้ว พบว่าจะช่วย ลดโลกร้อนโดยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากการฟื้นฟูป่าชายเลนได้ถึง 1.85 ตันต่อคน ต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของภาคการใช้ที่ดินและป่าไม้ ปกติที่เท่ากับ 0.91 ตันต่อคนต่อปี ถึง 2 เท่า

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 81


ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า ชุมชนสามารถช่วยลดโลกร้อนได้เป็นรูปธรรมจริง จากการ มีภูมิปัญญาช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น เพราะชุมชนมี โครงการที่จะทำต่อโดยมีความคิดที่จะรวบรวมเงินซื้อพื้นที่นากุ้งร้างมาทำเป็นป่าชายเลน ล่าสุดเพิ่มไป 40 ไร่ ชุมชนนี้ถือว่าเป็นชุมชนที่มีการทำทั้งแนวทางการปรับตัวและบรรเทา ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างดี จากตัวอย่างที่นำเสนอ จะเห็นได้ว่า ชุมชนมีเงื่อนไขตรงกับที่ศาสตราจารย์เอลินอร์ ออสตรอม กล่าวไว้ คือความร่วมมือในชุมชนดีมาก มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีกติกาที่ตอบโต้ คอยจัดการกับคนในชุมชนได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม หากเรามองทั้ง 2 กรณี จะเห็นได้ว่า มีพฤติกรรมที่เห็น มาจากภูมิ ปัญญาและเรื่องระดับจิตใจที่มาสนับสนุนให้พฤติกรรมเหล่านี้เกิดได้ง่ายขึ้น และในความเป็น จริงแล้ว ก็ยังมีอีกหลายกรณี นอกเหนือจาก 2 กรณีตัวอย่างที่ได้ยกมา

การพั ฒนาแบบบูรณาการ

นอกเหนือไปจากปัญหาความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรแล้ว ดังที่ดิฉันกล่าวถึง ในตอนต้น ยังมีปัญหาความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ทำให้การใช้ทรัพยากรมีเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ ทีนี้เมื่อสมองนั้นสามารถปรับได้เปลี่ยนได้ ดังที่ได้มีงานวิจัยออกมาแล้ว จึงเป็นเรื่องที่น่าคิด อย่างจริงจังว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่นำเอาเรื่องของจิตเข้ามาด้วย ในส่วนของข้อเสนอ อยากให้มีการนำเอาแนวภูมิปัญญาตะวันออก คือการพัฒนาจิต มาร่ ว มใช้ ก ั บ แนวทางกระแสหลั ก คื อ การใช้ ก ลไกเชิ ง สถาบั น การใช้ ว ิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี ซึ่งอาจรวมถึงการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่า กลไกเชิงสถาบัน มีความจำเป็น โดยเฉพาะในกรณีที่คนยังมีความต้องการในระดับพื้นฐานอยู่ เราก็ต้องใช้กลไก ในทางวิทยาศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์ และทางสถาบันเข้ามาช่วย แนวทางอันหนึ่งที่ดิฉันสนใจ คือตัวอย่างแนวทางที่เรียกว่า ‘แนวทางแบบองค์รวมใน การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ ซึ่งแนวคิดนี้มองว่า เวลาที่รัฐจะแก้ปัญหาการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรัฐจะมองเฉพาะจุด เฉพาะเรื่อง แต่แนวทางแบบองค์รวมจะมองว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัญหาที่แยกมามองเดี่ยวๆ ไม่ได้ แต่ต้องไปสอดแทรกอยู่ในทุก ภาคส่วนของการพัฒนาในเศรษฐกิจและสังคมของเราเลย ซึ่งหมายความว่า เราจะต้อง

82 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สร้างขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนให้ได้ทั้งในแง่ขององค์ความรู้ ในแง่ของสิทธิการ เข้าถึงทรัพยากร ตลอดจนถึงเงินทุนต่างๆ ไม่ใช่แค่คิดเรื่องวิธีการที่จะปรับเปลี่ยนเทคนิค การปลูกพืชเท่านั้น ตรงนี้ ดร.ศุภกรณ์ ชินวรรณโณ ได้เสนอวิธีการขับเคลื่อนการสร้างขีดความสามารถ ในการรับมือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5 ข้อ คือ 1) การสร้างความตระหนักรู้ เพื่อให้ชุมชนเรียนรู้ เข้าใจถึงผลกระทบและความเสี่ยงในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลง และตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมา 2) การสร้างความรู้ เพื่อถ่ายทอดให้ ชุมชนสามารถใช้ในการหาทางเลือกต่างๆ และแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกับอนาคต และสถานการณ์เสี่ยงที่แตกต่างกัน 3) การสร้างความสามารถด้านเทคนิค ในการกำหนดรูปแบบวิธกี ารดำเนินการต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อปรับวิถีชีวิตหรือทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ได้ 4) การสร้ า งกลไกเพื่ อ สนั บ สนุ น เงิ น ทุ น และทรั พ ยากรที่จำเป็นในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การปรับตัว 5) การปรับปรุงและจัดการระเบียบ กฎหมาย องค์กรและกลไก ที่จะสนับสนุนและเอื้อให้ชุมชนสามารถพัฒนาการดำเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทนทาน ต่อความเสี่ยงต่างๆ คือพูดง่ายๆ ว่า ต้องมีวิธีการเพิ่มขีดความสามารถให้ชุมชนทำสิ่งเหล่านี้ได้เอง ไม่ใช่ มีผู้ไปบอกไปให้เขาอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างตอนนี้ที่สถาบันธรรมรัฐฯ เอง มีโครงการนำความรู้ สมัยใหม่มาบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำโครงการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้าน เปร็ดในจังหวัดตราด เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ชุมชนร่วมกับองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งงานนี้ได้รับการ สนับสนุนจาก สสส.ร่วมกับ สกว. โดยเราพยายามที่จะเน้นการสร้างขีดความสามารถของ ชุมชนในการทั้งปรับตัวและบรรเทาปัญหาของโลกร้อนโดยเน้น 3 ส่วน คือ 1) เรื่องการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าชายเลนที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มพูนขึ้นมา 2) การส่งเสริมเรื่องทรัพยากรประมงและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และ 3) พลังงานทางเลือก ตรงนี้เราอยากจะเน้นว่า ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ต้องทำไปด้วยกัน ทั้งในส่วนของ กลไกความพร้อม ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมเรื่องการพัฒนาจิตใจซึ่งเป็นแนวคิดของภูมิปัญญา ตะวันออก ที่เน้นในเรื่องพฤติกรรม เรื่องจิตใจ และเรื่องปัญญา ซึ่งองค์การสหประชาชาติ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 83


ได้กำหนดว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการแก้ไขปัญหาการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และแนวทางภูมิปัญญาตะวันออกสามารถจะช่วยตรงนี้ได้อย่างเต็มที่ ยกตั ว อย่ า งเช่ น แนวพุ ท ธก็ ม ี เ รื ่ อ งการเสพบริ โ ภคอย่ า งมี ป ั ญ ญา หรื อ ‘โยนิ โ ส มนสิการ’ ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ได้เคยพูดถึงการเสพว่า มีทั้งการเสพด้วยตัณหา และเสพ ด้วยปัญญา ทั้งนี้การเสพด้วยตัณหา เช่น การทานอาหารที่บอกว่าอร่อยโดยไม่บันยะบันยัง แต่หากเสพด้วยปัญญา เรามี ‘โภชเนมัตตัญญุตา’ พิจารณาในการรับประทาน ทำให้รู้ว่าจะ ทานแค่ไหน อย่างไรให้เพียงพอและเป็นประโยชน์ เราจะเห็นว่า เรื่องการพัฒนาจิตใจและปัญญาเป็นเรื่องใหญ่ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิเสธ เรื่องการพัฒนากลไกเชิงสถาบันและเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมาช่วย เพราะสิ่งเหล่านี้เราต้อง ยอมรับว่า เป็นเงื่อนไขที่จำเป็น แต่เป็นเงื่อนไขที่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งตอนนี้ในภาคธุรกิจก็ยอมรับ แล้วว่า ความโลภก็เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดวิกฤติต่างๆ มากมาย ดังนั้น การพัฒนาใจพร้อมๆ ไปกับการสร้างสังคม เศรษฐกิจ และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะทำให้การพัฒนา สามารถทำไปได้อย่างสมดุล เหมาะสม เป็นธรรม นำไปสูค่ วามยัง่ ยืนของการจัดการทรัพยากรด้วย ดิฉันอยากตั้งโจทย์สุดท้ายไว้ก่อนที่จะจบว่า แนวทางพัฒนาที่บูรณาการภูมิปัญญา ตะวันออกและแนวทางกระแสหลักเข้าด้วยกัน จะทำอย่างไรให้สมดุล และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร อีกทั้งการทำให้เกิดการพัฒนาจิตใจที่เป็นรูปธรรม โดยอาศัยระบบการศึกษา องค์กรศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงระบบสื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ตรงนี้เป็นโจทย์

ที่อยากทิ้งท้ายไว้

84 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


พลังสังคม กับการฟื้นฟูชุมชนอย่างยั่งยืน ภายหลังภัยพิบัติ ณรงค์ อภิชัย ผู้อำนวยการภาคสนาม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ


เราต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า ชาวบ้านรอความหวังกับ ส.ส.ส.

หรือเปล่า ส.แรก คือ พึ่งสารเคมี ชาวบ้านพึ่งสารปราบศัตรูพืชอยู่หรือเปล่า ผืนป่าบนดอยหมด ก็เพราะยาปราบศัตรูพืช ถ้าไม่มียาปราบศัตรูพืชชาวน่านไม่สามารถปลูกข้าวโพด 400,000500,000 ไร่ได้ แต่เพราะสารเคมีพวกนี้ราดที 500 เมตรสบายมาก ดังนั้นความเข้าใจเรื่อง ไฟป่าว่า ทำให้ป่าหมดดอยจึงไม่ตรงประเด็น ประเด็นอยู่ที่การใช้สารเคมีเข้มข้น ทำให้ ครัวเรือนหนึ่งๆ ปลูกพืชเดี่ยวได้ 50 ไร่ 100 ไร่ ส.ที่สอง คือ หวังจากสมาชิก จุด จุด จุด หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสมัชชา สมาคม สำนักงานประสานงานอุบัติภัย หรือรอผู้สื่อข่าว เราจะรออย่างนี้ไหม ปีนี้ ปีหน้า และปีต่อไป เรากำลังสร้างนิสัยพึ่งพาคนอื่นอยู่หรือเปล่า ส.อีกชุดหนึ่ง คือ เราติดอยู่กับความสุข ความสบาย ความสะดวกมากไปหรือไม่ ผมเห็น ‘รถพุ่มพวง’(รถขายของชำ) ตั้งแต่ยอดเขาถึงอยุธยา ไม่ว่าน้ำมากน้ำน้อยก็ซื้อของกิน ตัวนี้หรือเปล่า ต้นเหตุของ ‘อุบัติภัย’ ชาวบ้านขาด ไม่ใช่เพราะภัยพิบัติ ไม่ใช่เพราะมีน้ำมา แต่สิ่งที่ชาวบ้านขาดตั้งแต่ก่อนน้ำมา คือ ชาวบ้านขาดความตระหนัก เพราะเขาหิว เขาเป็นหนี้ เพราะมีแต่การอุปถัมภ์ รถคันแรก บ้านคันแรก อันนี้หรือเปล่าที่ชาวบ้านขาดแล้วเราให้เสมอ ทำให้ในท้ายทีส่ ดุ พวกเขาขาดองค์ความรู้ ปัญญา หรือขาดโอกาส ตัวอย่างทีช่ ดั เจน เช่น เขาขาด พืชพันธุ์ดั้งเดิม น้ำท่วมทีโทรศัพท์ซื้อเมล็ดพันธุ์ก็ไม่มีขาย สิ่งต่างๆ หายไปอยู่ที่บริษัทหมด กลายเป็นลูกผสม ปลาลูกผสม หมูลูกผสม แล้วทั้งหมดก็เป็นหมัน การจัดการทุนที่เหมาะสมไม่ว่า ดิน น้ำ ป่า หรือสิ่งที่ชาวบ้านขาดเหล่านี้ เป็นอุบัติภัย หรือตัวเริ่มต้นอุบัติภัย ฉะนั้น ผมคิดว่า สิ่งต่างๆ ที่หายไป ทำให้พลังของชุมชนอ่อนแอลง ขาดภูมิคุ้มกัน พระเจ้าอยู่หัวฯ เองก็ทรงพูดเรื่อง ‘ภูมิคุ้มกัน’ เพราะถึงที่สุด เราอาจห้ามมัน

ไม่ได้ แต่เราลดความรุนแรงของมันได้ ไม่ให้เป็นภัยพิบัติ แต่เป็นภัยปกติ

86 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ตัวอย่างกิจกรรมที่เสนอแนะ อยู่พอ

อยู่ยั่งยืน

ครัฐ

ภา จาก

บาย

ระยะเวลาดำเนินการ 2-3 เดือน

อยู่รอด

นโย

สภาวะปกติ

อยู่ได้ ฟื้นฟู

สภาวะภัยพิบัติ

จะลองยกโครงการหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2554 ตอนนั้นเราคิดว่า ภาครัฐ องค์กรต่างๆ ทำอะไรอยู่ แล้วเราควรทำอะไร ปกติมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงจะไม่ทำเรื่องภัยพิบัติ เรื่องช่วยเหลือ เรื่องให้สิ่งของ แต่ภัยพิบัติคราวนี้มันหนักเหลือเกิน เราจึงต้องกลับมาทำให้ ต่ำกว่าเส้นปกติ ส่วนจะทำอย่างไรให้ยั่งยืนค่อยว่ากัน เอาแค่ฟื้นฟูก่อน เราคิดว่าภายใน 3-6 เดือนนี้ ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นแรกที่จะทำ เราจัดชุดกล้าผัก พันธุ์พืชต่างๆ สำหรับ ชุมชนที่ต้องการลุกขึ้นมาพึ่งตัวเอง ภาครัฐ ภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่นเขาร่วมมือกันเต็มที่ เราจึงมุ่งเสริมศักยภาพชุมชนให้มีพืชอาหารและความมั่นคง นอกจากนี้ยังเสริมรายได้ ลดค่า ใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว และยังเน้นว่า ต้องเป็นไปอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ได้เอาไปยัดเยียดให้ ต้องให้ เขาลุกขึ้นมาเอง ทีเ่ ราทำได้คอื เราคืนเวลาให้ ตอนน้ำท่วมก็ทว่ มไป เราก็หาทีด่ อนเพือ่ เพาะกล้า ต้นกล้า ที่เพาะไว้รอ อายุ 25-70 วัน จังหวัดไหนท่วมนานได้กล้าอายุนาน จังหวัดไหนท่วมไม่นานก็ได้ กล้าอายุน้อยหน่อย หมายความว่า น้ำลดปุ๊บให้ปั๊บ ไม่กี่วันโตได้กินลูก นั่นคือเวลาที่เหมาะสม และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เราตั้งเป้าล้านคน แต่แจกเป็นครัวเรือน โดยเน้น ‘สามพร้อม’ คือ พร้อมกิน พร้อม ปลูก พร้อมเพาะ จะขอไม่ลงรายละเอียด คนชุมชนที่อยากเพิ่มรายได้ ไม่ว่าพริก มะเขือ อะไร

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 87


ก็ได้ ขอให้บอก เราจะส่งเมล็ดพันธุม์ า คนชัยนาท อ่างทอง สิงห์บรุ ี อยุธยา ปลูกผักขายอยูแ่ ล้ว เราจึงหาทุนจากการขอความช่วยเหลือจากคนนอกด้วย หนึ่งชุดที่บอกไปดังกล่าวมีมูลค่า 250 บาท เราวางจังหวัดที่น้ำท่วมโดยใช้แผนที่ดาวเทียมช่วยในการวิเคราะห์ โดยจำแนกไว้ 3 โซน คือ 5 จังหวัด 3 จังหวัด และ 5 จังหวัด เน้นกระบวนการสร้างความเข้าใจชุมชน ไม่ได้ไปเอา รายชื่อจากจังหวัดแล้วก็มอบๆๆ ให้ เราดูแผนที่ดาวเทียมว่า น้ำท่วมตรงไหน เราขับรถอ้อมไป หาที่ดอนแล้วไปตั้งศูนย์ อย่างจังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี ท่วมไม่มากเลยถ้าเทียบทั้งจังหวัด แต่สื่อเอากล้องไปส่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขาก็เข้มแข็งระดมอาหารจากอำเภออื่น เข้าไป แต่อย่างอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ถือว่าหนัก เพราะท่วมถ้วนหน้า ที่น้ำลดคืออำเภอ ท่าเรือ ก็เป็นจุดในการตั้งศูนย์เรื่องพืชอาหารต่อไป ดูข้อมูลภาครัฐบอกว่า มีผู้เดือดร้อน ประมาณ 4-5 ล้าน แต่เราดูแล้ว น่าจะประมาณ 1.5 ล้าน จึงตั้งเป้าการช่วยเหลือที่ 1 ล้านคน ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากน้ำท่วม ท่วมต่างกรรมต่างวาระ ถ้าเราจะไปเตรียมตัวเพาะแล้วมอบในวัน เดียวกัน วิธีเดียวกันก็เป็นไปไม่ได้ เราจึงไล่ตั้งแต่พิษณุโลกลงมา เอาคนและพื้นที่ เวลาที่ เหมาะสมเป็นตัวตัง้ ในการดำเนินงาน เราใช้พน้ื ทีส่ องจังหวัดเป็นแปลงเพาะ เพาะกล้าไว้ 1.8 ล้าน โดยมีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง จังหวัดอื่นๆ กลุ่มเกษตรกรเป็นตัวประกอบ ลงพื้นที่อุทัยธานีวันที่ 16 ตุลาคม ประมาณ 1 พฤศจิกายน น้ำลดครึ่งหนึ่งแล้ว เราก็เริ่มเข้าชุมชน คุยกับชาวบ้าน และคุยกับ อบต.ท้องถิ่นทุกพื้นที่ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของเรา ถามเขาว่าจะ ร่วมโครงการไหม เราอยากให้ชาวบ้านที่ต้องการพันธุ์พืชที่เราเพาะได้พันธุ์พืชไปแล้วไป ช่วยเสริมรายได้ ลดรายจ่าย มีอาหารกินในชุมชนอย่างรวดเร็ว ปรากฏว่าเราได้ความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน เราตั้งฐานอยู่ในกองทัพอากาศ กองทัพบกก็ส่งคนมาช่วย แล้วยังมีครู นั ก เรี ย นจากโรงเรี ย นต่ า งๆ มี ช าวบ้ า นมาช่ ว ยกั น แพ็ ค ของ การแพ็ ค ของเป็ น เรื ่ อ งใหญ่ เพราะของมีประมาณอย่างละ 60 ตัน กระเทียม เกลือ พริก แต่พลังชุมชนเคลียร์ทุกอย่างให้ เป็นเรื่องเล็ก เราได้เด็กและผู้ปกครองในกรุงเทพฯ มาช่วยแพ็คซองเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 400 คน เราเพาะกล้าเตรียมไว้หลายอย่าง เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว กะเพรา โหระพา พริก เป็นต้น มีทั้งกล้าเล็ก กล้าใหญ่ ตามความเหมาะสม หรือที่ลพบุรี ในพื้นที่กองทัพอากาศ มีพื้นที่เกษตร เราก็ยึดพื้นที่เลย พื้นที่ไหนน้ำยังไม่ลดแต่พอมีพื้นที่ปลูกได้ เราก็ไปมอบให้เขาเลย โดยในการมอบ จะชวนผู้บริจาคไปร่วมมอบด้วย ชุมชนท้องถิ่นก็เตรียมตัวในการรับเพื่อเอาไปปลูก สรุปแล้ว

88 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


อบต. ท้องที่ ท้องถิ่น วัด โรงเรียน เป็นสิ่งที่ทำให้กระบวนการส่งมอบสำเร็จ เราได้เงินบริจาค มา 85 ล้าน เราใช้ไป 40 ล้าน เพราะ อบต.ท้องที่ท้องถิ่นเขารับผิดชอบในการขน การส่งมอบ สิ่งที่เรามอบไม่เพียงแต่ต้นกล้า เรามอบสายพันธุ์ที่ดี เรามอบเวลาที่หายไป เรามอบ กำลังใจให้กัน เวลาที่หายไปนี่สำคัญ ไปปลูกไม่ต้องนับหนึ่ง ถ้าท่วม 60 วัน เราเอาพริกอายุ 60 วันไปให้ เรียกว่าแทบจะเก็บกินได้เลย โครงการนี้ครอบคลุมทั้งหมด 13 จังหวัด 78 อำเภอ 498 ตำบล 3,347 หมู่บ้าน 988,800 คน ไม่ถึงเป้าหนึ่งล้านคน เพราะคนภาคกลางครอบครัว เล็กกว่าภาคเหนือมาก เรามาร์คจุดจีพีเอสทุกพื้นที่ที่เรามอบ เพราะเราต้องการตรวจสอบ เราจะตามไป ดูว่า ชาวบ้านปลูกอย่างไร พื้นที่อยุธยามอบให้เยอะมาก อยากรู้ว่าชาวบ้านเพิ่มรายได้ ลดค่า ใช้จา่ ยเท่าไร สิง่ เล็กๆ เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีท่ ำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนดีขน้ึ ชาวบ้านสอบถามกันว่า มีอะไรกินกันบ้าง เอามาแลกกัน เหลือก็ขาย ตอนแรกเขาห่วงเรื่องการตลาด แต่ไม่มีปัญหา ทุกอย่างขายได้ กินได้ แบ่งปันกันได้ เพื่อนร่วมทางนี่สำคัญมาก การรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่รวบรวมเมล็ด พันธุ์นั้นส่งให้เราถึง 17 ตัน เรื่องอุปกรณ์ มีบริษัท SCG (ปูนซีเมนต์ไทย) ช่วยประสานร้านที่ ปิดหนีน้ำท่วมให้เปิดร้าน เพราะปั๊มไม่มี ท่อไม่มี เขาก็เปิดให้ โรงพลาสติกปิด ถาดไม่มีขาย ต้องเปิดโรงงานปั๊มให้ ไม่มีรถ อบจ.สั่งไม่มีใครไปให้ นอกจากเพื่อนกันเท่านั้นที่เขาจะทำให้ ทัง้ กำลังภายในและทัง้ ‘เพือ่ น’ ทีจ่ ะช่วยเรา เราขอบริษทั ยาขมน้ำเต้าทองปิดไลน์การผลิต 30 วัน แล้วปั๊มซองเมล็ดพันธุ์ส่งให้เรา เราติดต่อบริษัทปกติไม่ทำให้ เราจ่ายไปเฉลี่ยหัวละ 40 บาทที่ เราช่วยคน รายได้ต่อคนประมาณ 667 บาท เราคิดดูแล้ว ต้นพริก มะเขือ กะเพรา โหระพา ทีใ่ ห้ไป เก็บได้เมือ่ อายุ 120 วัน เป็นมูลค่า 659 บาท ตอนนีช้ าวบ้านลดค่าใช้จา่ ยได้เฉพาะงานนี้ 659 บาท ฉะนั้น การที่เราจะคุยเรื่องพลังสังคมฟื้นฟูชุมชน พลังต่างๆ ที่ขาดหายไป หรืออ่อนแอ เราควรจะทำเรื่องอะไรที่จะให้เกิดสิ่งนั้นๆ เพื่อทดแทนสิ่งที่หายไป เราต้องไปลดค่าใช้จ่ายที่เขา จ่ายให้กับรถพุ่มพวง เราต้องการเอาพันธุ์พืชที่หายไปและเหมาะสมกลับคืนมา ต้องให้เขารู้ว่า จัดการน้ำไหลเข้านาและให้ไหลออกอย่างเหมาะสมอย่างไร ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ได้อย่างไร ให้มีความรู้ ให้ชุมชนรวมตัวกันและพึ่งพาตัวเองอย่างไร คำว่ายั่งยืนนั้น หมายถึงความมั่นคง ทางอาหาร กับความมั่นคงทางทุนสังคม และทุนทรัพยากรหรือเปล่า สังคมมีทุนในการรวมตัว กันเพื่อจัดการ มีทรัพยากรที่จะจัดการน้ำให้ไหลไปถูกทิศทางหรือเปล่า เฉพาะพิษณุโลกที่ท่วม

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 89


ตัวอย่างกิจกรรมที่เสนอแนะ อยู่ยั่งยืน 1-2 ปี

อยู่พอ

• ปรับปรุงแผนป้องกันน้ำท่วม • กำหนดนโยบาย การบริหารจัดการน้ำ • ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ขนาดเล็ก • เพิ่มความมั่นคง ทางอาหาร

อยู่ได้

6 เดือน

1 เดือน

• บูรณาการเครื่องมือ/ รถไถชาวบ้าน • กองทุนน้ำมันรถไถ ฟื้นฟู • กองทุนฟื้นฟูต่างๆ 0-30 วัน (โดยมีเงื่อนไข) • ซ่อมแซมบ้านเรือน • รักษาโรคระบาดสัตว์ • มอบปัจจัยประกอบอาชีพ • สร้างงาน • อาหาร • ฟื้นฟูสุขภาพ / จิตใจ

อยู่รอด 3 เดือน

• สนับสนุนกล้าผักสวนครัว • ส่งเสริมพันธุ์พืชและสัตว์ • สร้างกลุ่มชุมชน

ก่อนเขา เราไปคุยแล้วเนื่องจากมีงบประมาณไทยเข้มแข็งและงบประมาณต่างๆ ที่ลงมา คลองก็เป็นถนนหมด คลองใหญ่ก็กลายเป็นคลองเล็ก มันเลยท่วม อยู่ดีๆ บนที่ดอนน้ำท่วม เราแค่เอาแบ็คโฮไปจวก น้ำก็ไหล น้ำก็ลด สิง่ ต่างๆ เหล่านีเ้ ป็นทุนทีค่ วรจะสร้าง ฉะนัน้ ความยัง่ ยืน คือภูมิคุ้มกันของพลังชุมชน ฉะนั้น เราติด ส.ส.ส. เราพึ่ง ส.ส.ส. เราติดความสุข ความสบาย ความสะดวก ทำอย่างไรให้ชาวบ้านลุกขึน้ มาเพือ่ ให้เกิดอภิวฒ ั น์ คือความก้าวหน้าอย่างยิง่ ใหญ่ อย่างก้าวกระโดด แต่ก่อนเราจะกระโดดไปข้างหน้า เรามักต้องถอยหลัง เราต้องถอยหลังเพื่อตั้งสติหลายๆ ก้าว เพือ่ จะวิง่ แล้วกระโดดไปข้างหน้า ทาง อบต.หัวไผ่ เขากำลังถอยตัง้ สติ เพือ่ ดูวา่ อดีต ภูมปิ ญ ั ญา พลังสังคมของท้องถิ่นที่จะฟื้นฟูชุมชน ที่อยู่ในวิถีชีวิตของเขามีวิธีการอะไรบ้าง เราต้องดูภูมิ สังคมในอดีตด้วย แผนทีร่ อ่ งน้ำเดิมมีไหม จีพเี อสมีไหม เราคุยกันก็สามารถเขียนแผนทีท่ างน้ำได้ พันธุ์ดั้งเดิมเราจะเก็บขยายได้อย่างไร ที่ดอนมีไหม มีพื้นที่ทำเป็นแหล่งอาหารชุมชนได้ไหม ฟัก แฟง แตงกวา นี่เลิกปลูกกันแล้วหรือ อาหารที่จะเก็บไว้ได้นาน เช่น มันเทศ ที่เราสามารถ เก็บก่อนน้ำท่วมเอาไว้กิน ไม่มีแล้วหรือ เครื่องกรองน้ำแบบเดิม หิน ดิน ทราย ถ่าน ไม่มีแล้ว

90 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สิ่งที่เรามอบไม่เพียงแต่ต้นกล้า เรามอบสายพันธุ์ที่ดี เรามอบเวลาที่หายไป เรามอบกำลังใจให้กัน เวลาที่หายไปนี่สำคัญ ไปปลูกไม่ต้องนับหนึ่ง ถ้าท่วม 60 วัน เราเอาพริกอายุ 60 วันไปให้ เรียกว่าแทบจะเก็บกินได้เลย หรือ ทำไมต้องแบกน้ำมาจากกรุงเทพฯ ทำไมไม่มีธนาคารข้าว ฝากข้าวกับเพื่อนต่างอำเภอ ต่างจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม ประเด็นเหล่านี้หรือเปล่าที่เราควรจะคุยกัน ผมมีกญ ุ แจหนึง่ ตัวทีจ่ ะกระตุน้ ชุมชน ถ้าเราต้องการให้ชมุ ชนลุกขึน้ มาคิด บางทีมนั ยาก แต่มีวิธีการหรือกุญแจหนึ่งดอกที่ใช้เสมอ คือ ชวนชาวบ้านพูดคุยในเรื่องนี้ ให้รู้สาเหตุ รู้ตนเอง และรู้คิดในการนับ ก. ไก่ ข. ไข่ ค. ควาย ง. งู และ จ. จาน ก. ไก่ ให้ดวู า่ ของเดิมทีช่ าวบ้านเก็บกิน เก็บเกีย่ ว อ่างน้ำเดิมอยูไ่ หน พันธุข์ องพ่อแม่มไี หม อันนั้นคือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ถมไป เราต้องขุดใหม่ไหมให้น้ำมันไหล หรือต้องสร้างแหล่ง อาหารชุมชนใหม่ไหม ให้เขาคิด ถ้าคิดไม่ออกต้องไปค้นคว้ามา ประชุมแบบนี้ได้ประโยชน์ เว็บไซต์ อบต.มีทุกพื้นที่ สามารถลิงก์อินเทอร์เน็ตได้ ให้เด็กนักเรียนดูยูทูปหรือกูเกิล ความรู้ พื้นฐานเหล่านี้หาได้ เราต้องเน้นให้เกิดงานและสร้างเงินในพื้นที่ ชวนชาวบ้านคิด ไม่อยาก ให้เขาไปขายแรงงานในจุดต่างๆ ถ้าลดค่าใช้จา่ ยในพืน้ ทีแ่ ละหาช่องทางสร้างรายได้ ตัว จ.จานคือ จัดการเรื่องน้ำ ดิน พืช จดค่าใช้จ่าย ทำอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากประเทศไทยมีไวรัสตัว หนึ่ง คือ ศรีธนญชัย ชอบแปรงบฯ เปลี่ยนแนวคิด ยิ่งถ้ามีถึง ช. ช้าง ก็ต้องรอชาติหน้าเลย อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นประชาชน องค์กรที่เข้ามาช่วยเหลือ ผู้ให้กับผู้รับต่างเป็นคนๆ เดียวกัน วันหนึ่งเราเป็นผู้รับ ต่อไปเราก็จะเป็นผู้ให้ ถ้าสังคมดี ชุมชนดี ความมั่นคงโดยรวม ก็จะดี เศรษฐกิจดี ประเทศชาติดี

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 91



การบูรณาการระบบฐานข้อมูล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ระดับชุมชนท้องถิ่น

รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์


ท่านที่ทำงานในแนวของการบริหารแบบมีส่วนร่วมน่าจะมีประสบการณ์

เป็นอย่างดีว่า เรื่องฐานข้อมูลสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ระดับชุมชน ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ก่อนอื่นอยากจะชวนดูว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในทุกๆ ฉบับ ล้วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น กว่าจะออกมาเป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้กับทุกระดับต้องประกอบด้วย ข้อมูล หากไม่มีข้อมูล การทำแผนก็ไม่ตรงเป้าและไม่สามารถตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำแผนระดับชาตินั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแม่นตรงตาม ความต้องการของท้องถิ่นหรือภาคประชาชน ถ้าประชาชนในพื้นที่แต่ละชุมชนไม่ส่งขึ้นมาเอง ดังนั้นเฉพาะแผนฯ ฉบับที่ 11 ที่กำลังใช้จึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คงนึกออกอยูแ่ ล้วว่า การจะลงมติให้เป็นหนึง่ เดียวกันได้นน้ั ต้องตีแผ่กนั ด้วยข้อเท็จจริง หรือ Fact ถ้าคนมีความรักในการสร้างความสำเร็จสาธารณะร่วมกัน เขาย่อมฟังข้อมูล แม้ว่า ในความเป็นจริงจะคิดจะเชื่อเหมือนกันหรือไม่ แต่ถ้าข้อมูลมันจริงและมีปลายทางอยู่ที่ ประโยชน์สาธารณะก็ต้องรับข้อมูลนั้น ดังนั้นการเห็นพ้องต้องกันจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องใช้ข้อ เท็จจริง ไม่ใช่แค่ความรู้สึก ดังนั้น จะขอนำเสนอผลการศึกษาในพื้นที่ที่ทำเรื่องนี้อยู่ คือ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมี การทบทวนวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแผนของจังหวัดในปีที่ผ่านมา โดยการทบทวนนี้ ก็ได้ทำ ข้อมูลจากทุกมิติเพื่อที่จะเชื่อมข้อมูลเข้าหากันจนได้เป็นแผน เช่น อุตรดิตถ์มีวิสัยทัศน์คือ ‘เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรม สัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน’ ซึ่งทุกคีย์เวิร์ดเหล่านี้กว่าจะได้มา มีที่มาทั้งนั้น และมีข้อมูลสนับสนุนทั้งหมด เราได้งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ ปลายปี 2551 เพื่อมาทำงานกับชุมชน สิ่งที่ทำให้เราได้พลังและน้ำหนักอย่างมาก คือเรา ทำงานกับพื้นที่ ทุกตำบลที่เราทำ เราเริ่มจากการทำข้อมูล หรือ ‘เอ็กซเรย์พื้นที่’ คือ ทำข้อมูลสุขภาวะครัวเรือน ทำตัวชี้วัด ซึ่งไม่ใช่ตัวชี้วัดที่มีอยู่แล้ว แต่เน้นให้ชุมชนร่วมกัน

94 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สร้างขึ้นมาเอง ไม่ได้เน้นความสมบูรณ์ที่สุดแต่เน้นให้เป็นไปเท่าที่เขาจะมองเห็นว่า คุณภาพ ชีวิตคืออะไร สุขภาวะหรือการอยู่ดีมีสุขใน 4 มิติ กาย ใจ สังคม ปัญญานั้นมองตัวชี้วัดอย่างไร แล้วจึงเก็บข้อมูล โดยข้อมูลสำคัญมี 2 ส่วน คือ บันทึกข้อมูลสุขภาวะครัวเรือน กับบันทึก ข้อมูลสำรวจศักยภาพและทุนชุมชน เริม่ ต้น 30 ตำบล เราใช้ขอ้ มูลนีร้ ว่ มกับจังหวัด ซึง่ ได้วเิ คราะห์ ปัญหาเร่งด่วน 10 อันดับแรกออกมา รวมทั้งนำไปทบทวนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัด ส่วนเรื่อง ‘สัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน’ นั้น มาจากการที่อุตรดิตถ์มีพื้นที่ชายแดนราว 140 กิโลเมตร มีด่านที่เชื่อมกับ สปป.ลาว และที่โดดเด่นในด้านการค้าคือ ช่องภูดู่ ห้วยต่าง มหาราช ห้วยพร้าว ทั้งหมดอยู่ต่างตำบลกัน เราเข้ามาช่วยในเรื่องข้อมูลว่า ถ้าจะทำให้วิสัย ทัศน์เกี่ยวกับแผนการค้าชายแดนไทย-ลาวจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็ต้องออกมาจากข้อมูลอีกเช่นกัน นี่เป็นตัวอย่างจากงานวิจัยเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนทำแผนพัฒนาของ จังหวัด เพื่อให้เห็นว่าในการทบทวนวิสัยทัศน์ระดับจังหวัดต้องมีข้อมูลช่วยอย่างไร

ความสำคัญของฐานข้อมูลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม นำองค์กรเชิงกลยุทธ์

พัฒนาต่อเนือ่ ง

เน้นเป้าหมายชุมชน

บริหารแบบบูรณาการ อย่างมีสว่ นร่วม

ทุกคนมีสว่ นร่วม

ใช้ขอ้ เท็จจริง / ฐานข้อมูล

ทีท่ นั ความเปลีย่ นแปลง ฐานข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม

ส่วนระดับชุมชนท้องถิ่น เท่าที่ถอดบทเรียนดู 30 ตำบลที่เราทำงานด้วยเป็นระยะ เวลา 3 ปี จนมาถึงปี 2554 ได้ขยายผลไปอย่างน้อย 60 ตำบลและเป็นเครือข่ายกันทั้งหมด จะเห็นความสอดคล้องกันกับหลักการการบริหารแบบมีส่วนร่วม

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 95


ขั้นตอนในการทำข้อมูลเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ของระดับชุมชน ท้องถิ่นก็ดี หรือระดับจังหวัดก็ดี ล้วนจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชื่อมกันมาเป็นลำดับ เน้นการมีส่วน ร่วมของทุกคน แม้ในการปฏิบัติจริงจะไม่สามารถประชุมร่วมกับทุกคนได้ แต่ก็พยายามให้มี ผู้นำจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม ซึ่งทำได้ดีมากในระดับชุมชน พยายามมีเวที ประชาคมทุก หมู่บ้าน ในเวทีหลักมีแกนนำจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่มหรือองค์กรชุมชน ทุกเวทีจะเอา ข้อเท็จจริงต่างๆ มาคลี่ดู ก่อนจะตัดสินใจในแผนงานหรือโครงการใดๆ เรียกได้ว่า ต้องมีการ เอาข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ไปเก็บเอามาให้พิจารณาก่อนลงประชามติ เช่น ตำบลหาดสองแคว ที่มี ‘นโยบายติดดาว’ เป็นตัวอย่างว่า เมื่อนำข้อมูลออกมา ให้ประชาชนพิจารณาแล้วประชาชนเห็นว่าอยากจะให้เน้นนโยบายอันไหนก็ติดดาวมา ดาวถี่ ที่สุดก็จะเป็นนโยบายลำดับต้น นี่เป็นตัวอย่างของการใช้ข้อมูลเพื่อการทำแผนพัฒนา สรุปกระบวนการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคี สานพลังเครือข่ายองค์กรภาคีแบบบูรณาการ (Research: R) บูรณาการ (Integration: I)

(Communication: C)

เครือข่าย (Network: N)

พันธกิจ ศาสตร์ ตำบลสุขภาวะ ภายนอก

กลยุทธ์การขับเคลื่อนงาน

• สื่อสารบนฐานข้อมูลที่ทันต่อความ เปลี่ยนแปลง • สร้างองค์ความรู้ควบคู่การปฏิบัติงาน • สร้างความมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน (TQM,BMK,KM) • สร้างเครือข่ายกลไกเชิงระบบต่อเนื่อง (เชื่อมงานกับระบบ QA ขององค์กร)

ภายในตำบล/กลุ่มตำบล/กลุ่มจังหวัด

กระบวนการทำงานร่วมกัน เน้นเสริมพลัง/เสริมประสบการณ์/วิจัย PAR / พัฒนาต่อเนื่อง (CQI) ทีมวิชาการ/ทีม อปท. และทีมองค์กรภาคีในพื้นที่ (ตัวชี้วัด/เครื่องมือ/SSS/Best Practice/ดูงาน/คัดสรรผลงานเด่น/ฯลฯ)

นอกจากนี้ คำว่า ‘พัฒนาต่อเนื่อง’ ก็มีความสำคัญมาก เราจะทำต่อเนื่องไม่ได้ ถ้าไม่มีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา การทำฐานข้อมูลไม่ใช่ทำปีนี้เสร็จแล้วก็จบไป มันต้องมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาหรือเราเรียกว่า ‘ข้อมูลมีชีวิต’ ถึงจะพัฒนาต่อเนื่องได้

96 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ถ้าจะทำงานแบบมีส่วนร่วมแล้ว ไม่ได้ข้อเท็จจริงมาคลี่ดู ก็จะเป็นการเดินทาง ที่เราไม่สามารถมั่นใจได้เต็มที่ แต่ถ้าเอาข้อมูลมาคลี่ดู ในการสร้างข้อสรุปร่วมกัน เราจะมั่นใจว่า เราไม่หลงทาง ที่สำคัญ ยุทธศาสตร์แผนงานระดับชาติ คงจะไม่ตรงเป้าแน่ ถ้าระดับท้องถิ่นไม่ตรงเป้า แล้วฐานข้อมูลเชื่อมกับการบริหารแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมได้อย่างไร ตรงนี้ หลายท่านเรียกว่า ‘อุตรดิตถ์โมเดล’ เป็นส่วนที่มหาวิทยาลัยใช้ร่วมกับประชาคมในพื้นที่ ซึ่งเราเรียกมันว่า RICN Model R (Research) คือ การจัดการความรู้ I (Integration) คือ การบูรณาการ งานของเราที่ทำอยู่ ต้องบูรณาการให้เชื่อมกับ ปั ญ หาของชุ ม ชนท้องถิ่น มุ่งเป้าสุขภาวะ มหาวิทยาลัยของเราอาจจะทำได้ไม่ยากเท่า

มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เราออกแบบการทำงานที่มีแกนนำจากทุกคณะลงไปรับผิดชอบใน 30 ตำบล จึงเป็นบูรณาการศาสตร์ได้ ปัญหาหนึ่งปัญหา เราจะวิเคราะห์ร่วมกัน โจทย์ที่เกี่ยวกับ ปัญหาของคณะไหน คณะนั้นก็จะเป็นเจ้าภาพหาคำตอบ แล้วออกมาเป็นชุดเดียวกัน พอทำไประยะหนึ่ง ประมาณกลางปี 2552 มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายเลยว่า ต้องบูรณาการ มีตัวชี้วัดสำหรับทุกคณะ ถ้าคุณสอนต้องมี Research Base บูรณาการไปกับ การสอน ทำงานเชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตจริง เพราะปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นต้อง ทำงานเพือ่ ท้องถิน่ อยูแ่ ล้ว และยังต้องบูรณาการพันธกิจ สอนวิจยั บริการวิชาการกับชุมชนท้องถิน่ เวลาทำงานกับภาคีก็เชื่อมกับพันธกิจของเขา เขาทำพันธกิจอะไรอยู่ ก็ต้องได้ผลงาน ตามพันธกิจเขาด้วย ทำให้เกิดการเสริมพลังการทำงานในองค์กรที่มาร่วมมือกันไปในตัวด้วย C (Commucation) คือ การสื่อสารข้อมูลที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ต้องได้ จากข้อเท็จจริง และมีการจัดการข้อมูลที่พร้อมใช้ประโยชน์ มีการทำฐานข้อมูลของทั้ง 30 ตำบลร่วมกัน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 97


กรณีตัวอย่างการการใช้ข้อมูลเป็นฐานการพัฒนาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (C) ภาพสรุปการเชื่อมโยงสถานการณ์ปัญหาสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ และการปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่ระดับตำบล 1.ขั้นเตรียมการ

2. ขั้นกำหนดนโยบาย

• ฐานข้อมูลตำบล • ข้อมูลสถานการณ์ปญ ั หา* • การวิเคราะห์ปัญหาและ สร้างทางเลือกในการ แก้ไขปัญหา • การถอดบทเรียนแหล่ง- เรียนรู้เพื่อสืบทอด พัฒนาภูมิปัญญา องค์ความรูส้ กู่ ารใช้ประโยชน์

เชื่อมโยงผล การวิเคราะห์ ปัญหาและทางเลือก เพื่อพัฒนาสู่ การกำหนดนโยบาย แผนงานโครงการ แบบมีส่วนร่วม

องค์กรภาคี ภาคีภาครัฐ ประชาชน/เอกชน ภาควิชาการ • มรภ.อต. • อปท. • ผูน้ ำชุมชน • อสม. • ชมรมผูส้ งู อายุ • สอ. • คณะกรรมการหมูบ่ า้ น • สภาวัฒนธรรมตำบล • รร.ในเขตตำบล • องค์กรที ่ • คณะกรรมการบริหารกองทุนระบบประกันสุขภาพ • กศน.ในตำบล เกีย่ วข้อง • ชมรมข้าราชการบำนาญ • กลุม่ แหล่งเรียนรูช้ มุ ชน

3. ขั้นนำนโยบายสู่การปฏิบัติ • การบริหารโครงการสู่ ความสำเร็จแบบบูรณาการ อย่างมีส่วนร่วม

4. การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม • การประเมินเพื่อใช้ผลปรับปรุง (ก่อน ระหว่างทำงาน) • การประเมินเพื่อตัดสินใจ (หลังทำงาน/จะทำต่อหรือยุติ)

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การจัดการความรู้/การเสริมพลัง พลัง**

N (Network) สำคัญมาก คือ เครือข่าย หลายคนย้ำเลยว่า ปัจจัยความสำเร็จ ที่สำคัญคือ การเรียนรู้ เครือข่ายของเราจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในมหาวิทยาลัยเอง หรือในพื้นที่ เราจะมีการจัดเวทีเครือข่ายเรียนรู้ ใครมีประสบการณ์ความสำเร็จอะไร ก็จะเอา มาแบ่งปัน มีการออกแบบการประชุมให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จ มองถึง โจทย์ที่ยังติดขัดและช่วยกันหาทางออก นี ่ เ ป็ น ภาพของการทำงานที ่ ต ้ อ งอาศั ย การสื ่ อ สารบนฐานข้ อ มู ล ที ่ ท ั น ต่ อ ความ เปลี่ยนแปลง แล้วก็ต้องเป็นข้อมูลที่มาจากของจริง คือ มาจากชาวบ้าน เวลาจัดเวทีร่วมกับ ชาวบ้าน เราต้องฟังเขาให้มาก แล้วพยายามต่อยอดจากต้นทุน หรือแนวความคิดที่เขามี เราจัดให้มกี ารพบปะกันทุกเดือน เดิมเราติดขัดว่า จะเอาเวลาไหนมาเจอ นัดกันยาก แต่ตอนหลัง เราบูรณาการกับเวทีที่เขาต้องประชุมกันอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้เข้มข้นขึ้น และมีวาระการ ประชุมที่เพิ่มมูลค่าให้กับการประชุมได้เป็นอย่างดีทุกครั้ง ทำให้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ดึงศักยภาพและความต้องการของชุมชนออกมาจริงๆ

98 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สิ่งนี้มีค่ากับอาจารย์ของเรามากๆ เพราะเราลงไปเอาข้อมูลจากพื้นที่จริง ยิ่งเอา อาจารย์จากทุกคณะไปฟัง อาจารย์แต่ละคณะก็จะมีมุมมองของเขาที่แตกต่างกันไปอย่าง น่าสนใจ เช่น ในเวทีประชุมที่ขุนฝาง เขาทำนโยบายสาธารณะ โครงการพืชผักปลอดภัย สุขภาพกายใจแข็งแรง เพราะข้อมูลที่คลี่ออกมาดู จะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ที่จริงกว่าจะมา เลือกโครงการนี้ใช้เวลานาน เพราะเดิมทีเดียว ปัญหาเรื่องสุขภาพ หลายคนอยากได้ทางเลือก ในการซื้อเครื่องออกกำลังกาย อบต.ก็เงินไม่ค่อยมี ไม่อยากให้ซื้อเครื่องออกกำลังกาย ส่วนฝ่ายเกษตรก็มีเป้าหมายอยากให้หนุนทำเกษตรปลอดภัย แต่ชาวบ้านก็ไม่ทำ จึงต้อง อาศัยเวทีประชุมที่นำเอาข้อมูลมาพิจารณากัน เพราะเงินจะได้ไปใช้อย่างอื่น เครื่องออกกำลัง กายก็มี แต่ยังไม่พอ อยากได้ทุกหมู่บ้าน ถ้าประชามติโดยไม่มีข้อมูลมาเป็นตัวตั้ง ชวนกันคุย

ก็คงสรุปไม่ได้ สุดท้ายจึงเกิดการยอมรับร่วมกันว่าจะเอาเงินนี้ไปทำอะไร เมื่อทำโครงการพืชผักปลอดภัยสุขภาพกายใจแข็งแรง ใช้โครงการนี้เป็นตัวสร้าง การมีสว่ นร่วมในชุมชน ทีจ่ ริงมีรายละเอียดอีกมาก โครงการนีไ้ ด้รางวัลด้วย เราขอโล่จากผูว้ า่ ฯ โดยกำหนดจัด Symposium เพื่อให้รางวัล 2 รางวัลในทุกปี รางวัลแรกคือ รางวัลแหล่งเรียนรู้ ที่มีผลงานเด่นด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ อีกรางวัลคือ โครงการสร้างสรรค์ที่มีผลงานเด่น

ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ เราประกาศไว้ล่วงหน้า ตำบลขุนฝางนี้ได้รางวัล ไม่ใช่แค่เพราะ มีพืชผักที่ปลอดภัย แต่มีเกณฑ์ของการสร้างความร่วมมือ การเขียนโครงการเชื่อมกับข้อมูล ปัญหาที่แท้จริง เกณฑ์ของโครงการดีๆ ที่ควรจะเป็นอยู่ในนั้นหมดเลย เน้นความมีส่วนร่วม เน้นตัวชี้วัดด้านสุขภาวะอย่างน่าสนใจ นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การนำข้อมูลมาคลี่ดูจะสามารถสร้างความร่วมมือ สร้างการ ยอมรับได้อย่างไร การที่เรามีข้อมูล 30 ตำบลในเบื้องต้น เริ่มจากการทำงานช่วงปลายปี 2551 ซึ่งเริ่ม ทำงานโครงการ สสส. และขยายเป็ น 60 ตำบลในปี 2554 ด้ ว ยการพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล อยากเรียนว่า เดิมทีในตำบลก็มีอาจารย์ของเราไปทำวิจัยบ้างแล้ว มีหลากหลายข้อมูล แต่จุด ที่เราไปทำงานร่วมกับ 30 ตำบลดังกล่าวนี้ เราอยากได้ข้อมูลภาพที่ชัดเจน เพราะจาก ประสบการณ์ระดับจังหวัด เราไม่ค่อยมั่นใจในตัวข้อมูลว่าจะเป็นของจริง เนื่องจากมันไม่ค่อย ชัดเจนมาตั้งแต่ระดับตำบล ดังนั้นเมื่อเราไปทำกับตำบล เราจึงร่วมมือกับชุมชนทำตัวชี้วัด สุขภาวะชุมชน คลี่ดูแนวทางต่างๆ แล้วให้พื้นที่ตกลงว่าตัวชี้วัดและเกณฑ์สุขภาวะแบบใด เขาต้องการแค่ไหน อย่างไร แล้วไปทำการเก็บข้อมูลทุกครัวเรือน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 99


ทั้งนี้ เราอาจจัดฐานข้อมูลว่ามี 5 ฐานย่อย คือ 1) ศักยภาพและบริบทชุมชน จุดเด่นหรือข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับชุมชน 2) องค์กรชุมชนและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เพื่อให้เห็นว่า แหล่งเรียนรู้เด่นๆ ที่นี่เป็นอย่างไร มีระดับดาวอยู่สักเท่าไร 3) นวัตกรรม องค์ความรู้ ภูมปิ ญ ั ญาเป็นอย่างไร 4) สถานการณ์สขุ ภาวะชุมชนตามตัวชีว้ ดั อยูร่ ะดับไหน ส่ ว นนี ้ จ ะทำอย่ า งละเอี ย ด สุ ด ท้ า ยคื อ 5) ประเด็ น ปั ญ หาของชุ ม ชน จะมี ท ั ้ ง ที ่ เ ป็ น

ก้อนโตๆ นำปัญหานั้นมาวิเคราะห์ ปัญหาไหนเป็นปัญหาวิจัย ปัญหาไหนมีองค์ความรู้ แล้วสามารถให้บริการวิชาการได้เลย ตรงนี้มีประโยชน์มากกับภาคี โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย เพราะจะทำให้ได้โจทย์วิจัยง่าย เอาข้อมูลไปทำแผนบริการวิชาการได้สะดวก แล้วเชื่อมโยง โจทย์ไปสู่แผนพัฒนาของจังหวัดในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาที่มีซ้ำในทุกตำบลคือ ปัญหาการใช้สารเคมีในเครือข่ายเกษตรกร รองลงมาคือ เรื่องสุขภาวะ ปัญหาเกี่ยวกับเด็กเยาวชน นี่เป็นฐานข้อมูลเพื่อหวังการเรียนรู้ ใครมาเกี่ยวข้องบ้าง ช่วงแรกมหาวิทยาลัยอาจเกี่ยวข้องเยอะหน่อย เพราะเป็น ตัวนำในการสร้างเครื่องมือ ชวนอาจารย์คณะต่างๆ ลงพื้นที่มาช่วย แต่มาช่วงท้ายๆ ในปี 2554 ตัวนำจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีในพื้นที่ เพราะช่วงหลัง พวกเขาตั้งทีม ‘หน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชน’ TRMU คือ Tambon Research Management Unit บางตำบลจะใช้นักวิชาการการศึกษา เป็นประธานดำเนินงาน นายก อบต. เป็นที่ปรึกษา แต่ ไม่ได้แปลว่า มีเฉพาะ อบต. ยังมีแกนนำส่วนอื่นๆ อีกที่มาร่วมเป็นภาคี ก็จะมีทีมจัดการความ รู้และวิจัยชุมชน ซึ่งมีภารกิจหนึ่งในการอัพเดทฐานข้อมูลให้มีชีวิต เพราะเขาต้องทำข้อมูลอยู่ แล้วทุกปี งานไม่ยาก เพราะทำไว้แล้ว คนมาดูงานก็ใช้แค่คลิกเดียว อันนี้เป็นการลดช่องว่าง ในอดีต ซึ่งยุ่งยากมากถ้าอาจารย์จะทำงานวิจัยกับพื้นที่ ในฐานข้อมูลที่เราทำร่วมกับตำบล เราเน้นความง่าย เน้นการสร้างการเรียนรู้ร่วม กันมากกว่าจะให้ซับซ้อน อีกทั้งไม่ได้เน้นทำมากมาย เอาเฉพาะที่ทำได้ ใช้งานได้จริงก่อน ถ้าเขาเห็นประโยชน์กจ็ ะอยากทำ แต่ถา้ ทำมาเยอะแล้วไม่ได้ประโยชน์กเ็ ป็นการลงทุนทีส่ ญ ู เปล่า เมื่อฐานข้อมูลตำบลเชื่อถือได้ ระดับจังหวัดก็จะง่ายมาก ระดับกลุ่มจังหวัด หรือ ระดับประเทศก็จะได้ของจริง เรื่องนี้อยู่ในใจมานาน เพราะในส่วนตัวที่ทำเรื่องยุทธศาสตร์

งานวิจัย ทั้งระดับภูมิภาค ประเทศ จังหวัด ถ้าเราไม่ได้ภาพที่ชัดเจนจากพื้นที่ เราก็ไม่ค่อย แน่ใจ เวลาระดมความคิดแต่ละครั้งในเวที เราก็ไม่สามารถพูดทุกอย่างได้หมด การมีฐาน ข้อมูลนี้จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน

100 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ชุมชนคือส่วนที่ได้ก่อนเลยจากการทำงานนี้ องค์กรชุมชนรวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชน กลุ่มการเรียนรู้ชุมชน เช่น กลุ่มข้าวอินทรีย์ ต.วังดิน จ.อุตรดิตถ์ เวลาเราถอด บทเรียนแหล่งเรียนรู้ เราจะถามเขาว่า จุดเด่นของเขาคืออะไร สิ่งที่ต้องการพัฒนาคืออะไร สิ่งที่ยังติดขัดคืออะไร และต้องการการสนับสนุนอย่างไร เป็นโจทย์ระดับตำบลที่มาจาก ตัวคนจริงๆ เมื่อได้โจทย์มาก็จะอัพเดทตรงฐานข้อมูลประเด็นปัญหาเพื่อการวิจัยและการ พัฒนา แล้วก็สามารถเอาไปใช้ได้ทุกภาคี เฉพาะของมหาวิทยาลัย ก็สามารถนำไปทำโครงการ วิจัย อาจให้ลูกศิษย์เราไปทำ และเชื่อมกับกลุ่มองค์กรเหล่านี้ได้โดยสะดวก ในอดีตลูกศิษย์ บางคนไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่า พื้นที่ของเขามีอะไรดี แล้วเขาจะกลับไปเป็นกำลังสนับสนุน

พื้นที่ได้อย่างไร ต่อยอดสิ่งดีๆ ที่มีได้อย่างไร คอนเซ็ปต์อย่างนี้มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำเพียง แหล่งเดียว ยังลงไปถึงระดับโรงเรียน เรามีเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อท้องถิ่น เวลาได้ทุนวิจัยมา เราจะทำ Subproject ให้เขาทำในพื้นที่เขาเองด้วยเพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกัน ส่ ว นของ อบต.นั ้ น ใช้ ไ ด้ อ ยู ่ แ ล้ ว เพราะต้ อ งทำแผน ทำอะไรของตั ว เองอยู ่ ท ุ ก ปี บางโครงการใช้เงินตัวเอง แต่เงินก็ไม่ได้เยอะ ดังนั้น หน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนที่เป็น มือเป็นไม้ เป็นภาควิชาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะช่วยเขียนโครงการ โดยเชื่อม เครือข่ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ตอนนีเ้ รากำลังหนุนให้เชือ่ มโยงเขียนโครงการเสนอขอทุนเอง เพราะความจริงแหล่งทุนมีเยอะ เพียงแค่เราได้โจทย์ดีๆ ที่เป็นความจำเป็น และมีนวัตกรรม ที่สร้างสรรค์ เป็นต้นแบบให้ที่อื่นๆ ได้ ใครๆ ก็อยากสนับสนุน สุดท้ายเป็นยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการสนับสนุนตำบล ถ้าเป็นมหาวิทยาลัย ก็จะมีแผนวิจยั และบริการวิชาการ ซึง่ โดยส่วนตัวทำไว้หมดทัง้ สัน้ กลาง ยาว โดยใช้ขอ้ มูลพวกนี้ ใครอาจจะมองว่า แผน 10 ปีนานเกินไป แต่ที่จริงมันไม่นานเลย ต้องมองไปข้างหน้าขนาดนั้น มาถึงวันนี้มองย้อนไป 10 ปีนี่แป๊บเดียว โดยสรุป ฐานข้อมูล ใครเอาไปใช้ก็ได้ ประโยชน์ สำหรับทุกภาคส่วนที่มาร่วมมือกับเรา นอกจากนีย้ งั มีการเชือ่ มข้อมูลระหว่างตำบล จากฐานข้อมูลตำบลทีไ่ ด้เล่าไป บางส่วน มหาวิทยาลัยทำโครงการวิจัยเอง ถ้าเป็นเรื่องงานวิจัยนำมาทำแผนชัด แต่บางเรื่องเกินกำลัง กว่าเราจะทำ อปท.อาจมีแผน มีงบทีจ่ ะสนับสนุน หรืออีกส่วนมีการวิเคราะห์ปญ ั หาต่อ แล้วทำ ชุดโครงการเชื่อมโยงกับแหล่งทุน เช่น สกว. ถ้าท่านอยู่ในพื้นที่ไหน แล้วเชื่อมกับสถานศึกษาในพื้นที่ได้จะดีมาก ไม่เฉพาะ มหาวิทยาลัยราชภัฏ แต่มหาวิทยาลัยเทคนิค และหน่วยวิชาการอืน่ ๆ ก็เช่นกัน เพียงแต่ราชภัฏ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 101


มีปรัชญาเพื่อท้องถิ่นอยู่แล้ว เพียงแต่แนวการทำงานแต่ละที่อาจจะไม่เหมือนกัน ของอุตรดิตถ์ พยายามลดจุดอ่อนที่เคยมีในอดีต ให้สะดวกต่ออาจารย์รุ่นใหม่ เพราะทุกมหาวิทยาลัยของ ราชภัฏจะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ อาจารย์รุ่นเก่ากำลังจะหมดรุ่น พอลูกศิษย์ทำงานมาก็

อัพเดทฐานข้อมูลไว้ ซึง่ จะยิง่ ทำให้งา่ ยขึน้ อาจารย์รนุ่ ใหม่ๆ ไม่ตอ้ งไปเริม่ ต้นใหม่ให้ยงุ่ ยาก วันนี้มี การทำ ‘คู่มือ’ ให้ด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำตามทั้งหมด เพียงแต่ให้ลองทำดู มันอาจ ไม่เหมาะกับบริบทใหม่ๆ ก็ได้ อย่างไรก็ตาม คู่มือนี้มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหมดว่าถ้าต้องการทำ โจทย์วิจัยให้ได้ดีและตรงกับความต้องการของท้องถิ่นต้องทำอย่างไร ต้องออกแบบการประชุม อย่างไร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องมีข้อมูล ความรู้จากคนเก่าๆ ที่ทำมาได้สำเร็จ พอได้โจทย์แล้วพัฒนา มาเขียนโครงการให้โดนใจแหล่งทุนควรทำอย่างไร พอได้ทุนแล้วหน่วยจัดการงานวิจัยต้องทำ อย่างไร พอได้งานออกมาดีแล้ว จะผลักดันสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ทั้งหมดนี้จะเชื่อมกับกลไกประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ช่วงแรกๆ งานบางอย่าง ไม่อยู่ในตัวชี้วัดของหน่วยงานภายนอกที่มาประเมิน เราก็ทำตัวชี้วัดภายใน แต่ตอนหลังนี้ การประเมิ น มี ค วามยื ด หยุ ่ น มากขึ ้ น ก็ เ ชื ่ อ มโยงกั น ได้ ห มด นี ่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งระบบภายใน มหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการทำงาน โดยภาพรวมจากที่เล่ามา คงเห็นร่วมกันว่า ข้อมูลความรู้จะเป็นพลังที่จะสร้างการ ยอมรับร่วมกัน ซึ่งสำคัญมากสำหรับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ถ้าจะทำงานแบบมีส่วนร่วม แล้วไม่ได้ข้อเท็จจริงมาคลี่ดู มันก็จะเป็นการเดินทางที่เราไม่สามารถมั่นใจได้เต็มที่ แต่ถ้าเอา ข้อมูลมาคลี่ดู ในการสร้างข้อสรุปร่วมกัน เราจะมั่นใจว่า เราไม่หลงทาง ที่สำคัญ ยุทธศาสตร์ แผนงานระดับชาติคงจะไม่ตรงเป้าแน่ ถ้าระดับท้องถิ่นไม่ตรงเป้า ถ้าถามว่า ใครควรเป็นตัวหลักในการทำข้อมูล โดยส่วนตัวเห็นว่า ควรหนุนให้ อปท.เป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน ส่วนที่เหลืออยู่ที่ว่าเขาจะมีฝีมือในการใช้งานภาค วิชาการในพื้นที่ได้แค่ไหน อย่างของอุตรดิตถ์นี่มีการใช้งานภาควิชาการได้เก่งมาก เราก็มี ลูกศิษย์ลูกหาที่จะไปช่วยทำได้อยู่แล้ว อปท.ควรเป็นหลัก และทำฐานข้อมูลให้มีชีวิต เพราะ ความจริงเขาทำอยู่แล้วแต่กระจัดกระจาย การทำฐานข้อมูลมีชีวิตจะทำให้การพัฒนาต่อเนื่อง เป็นจริงได้ และฐานข้อมูลต้องเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ตำบล และสุดท้าย การเรียนรู้ คือตัวช่วยที่ทำให้พัฒนาต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมได้ อย่างไม่หยุดยั้งและยั่งยืน 102 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


การอยู่ร่วมกันเป็นการ สะท้อนถึงพลังปัญญา ของชุมชนท้องถิ่น

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า


ผมไม่อยากให้ชมุ ชนท้องถิน่ เราอยูใ่ นกล่องกระดาษหรือลังทีเ่ ขาขีดกรอบ เอาไว้ แล้วเราก็ดิ้นขลุกขลักอยู่ข้างในโดยไม่รู้ว่า นอกลังมีอะไร ผมจึงอยากจะเปิดมุมมองให้

เห็นว่า ข้างนอกบ้านเขาเป็นอย่างไร และเขามองเราอย่างไร เชือ่ แน่วา่ บางเรือ่ งทีจ่ ะพูด บางท่าน ไม่เคยได้ยินมาก่อน และเป็นเรื่องที่เราไม่สนใจไม่ได้ แม้ว่าสังคมไทยอาจไม่ค่อยสนใจเรื่อง พวกนี้สักเท่าไร เหตุที่ไม่อาจละเลยได้ เพราะในปี 2558 นี้ เราจะเปิดเขตแดนเข้าสู่ประตู อาเซียน แต่สิ่งที่ผมจะนำมาเสนอ อาจจะมองกว้างมากกว่าอาเซียนไปอีก กรณีภาคใต้ ในอนาคตข้างหน้า อาจไม่ต้องแก้ปัญหาอะไรเลย เพราะสามารถแก้ ปัญหาได้ด้วยตัวเขาเอง เป็นไปได้ว่า ในอีกไม่เกิน 30 ปี ภาคใต้และประชากรของประเทศไทย จะเปลี่ยนไป จากตัวเลขที่ศึกษามา ภาคใต้คนส่วนใหญ่ร้อยละ 85 เป็นมุสลิม หากเราดูอัตรา การเกิดหรือจำนวนประชากรชาวมุสลิมในระดับโลก จะพบว่า วันนี้ศาสนาอิสลามมีประชากร 2,000 ล้านคน นับเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลก ในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีประชากร มุสลิมเพิม่ ขึน้ เป็น 3,800 ล้านคน หมายความว่า มากกว่าครึง่ โลก อยากให้ทอ้ งถิน่ เห็นว่า นีเ่ ป็น แนวโน้มของโลกที่จะต้องเกิดอยู่แล้ว ฉะนั้น อย่าไปกังวล ในปี 2558 จะมีคนที่เขาพูดภาษาเดียวกันในอาเซียนถึง 300 ล้านคน แต่ก่อนรัฐห้าม คนภาคใต้เรียนภาษามลายู ใช้ภาษายาวี ต่อไปนี้ไม่ต้องไปห้ามเขาแล้ว เพราะอีก 3 ปี เขาจะ พูดภาษาเดียวกันหมด 300 กว่าล้านคน นี่เป็นเพียงมุมมองเดียวเกี่ยวกับภาวะประชากรทั้งของไทยและของโลก ขณะที่ภาวะ ประชากรของคนไทยนั้นไม่ได้ขยายใหญ่โตอะไรเลย ยังคงเป็น 63 ล้านคน และยังทำการคุม กำเนิดได้ดีลำดับต้นๆ ของโลก ในขณะที่เหนือของเราไปคือ จีน มีประชากร 1,300 ล้านคน และข้างๆ เราคือ อินเดีย มีประชากร 1,200 ล้านคน ดังนั้น ต่อไปในอนาคต ท้องถิ่นคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่า ทำไมจึง พบเห็นคนอินเดีย คนจีน จำนวนมากเข้ามาอยู่ในท้องถิ่น มีการคาดการณ์กันว่า ในปี ค.ศ. 2063 หรืออีกไม่เกิน 50 ปี อินเดียจะมีประชากรมากที่สุดในโลก น่าจะถึง 1,500 คน

104 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ท่านแปลกใจไหมว่า อาหารที่คนทานกันมากที่สุดในโลกคือ แกงมัสมั่น นั่นก็เพราะคนที่ทาน อาหารชนิดนี้ คือคนอินเดีย และคนอินเดียมาประเทศไทยมากที่สุดในโลก

เปรียบเทียบประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตามจำนวนประชากร ประเทศ 1. จีน 2. อินเดีย 3. อินโดนิเซีย 4. ฟิลิปปินส์ 5. เวียดนาม 6. ไทย 7. พม่า 8. กัมพูชา 9. มาเลเซีย 10. ลาว 11. สิงคโปร์ 12. บรูไน รวม

จำนวนประชากร 1,336,718,015 1,189,172,906 245,613,043 101,833,938 90,549,390 66,720,153 53,999,804 44,725,543 28,728,607 6,477,211 4,740,737 401,890 3,169,681,237

ผมเพิง่ ไปอินเดียเมือ่ ไม่นานมานี้ และพบว่า คนอินเดียมาแต่งงานกับคนไทยจำนวนมาก เพราะประเทศไทยดอกไม้เยอะ อาหารเยอะ ที่ท่องเที่ยวเยอะ เขาจึงมากันมาก ถ้าเขาแต่งงาน ที่ประเทศเขาต้องเสีย 10 กว่าล้าน แต่มาอยู่ประเทศเรา ถูกกว่าเยอะและยังพาญาติมาเที่ยวได้ ด้วยอินโดนีเซียก็เป็นอีกประเทศที่มีประชากรจำนวนมากถึง 300 ล้านคน รวมแล้ว 3 ประเทศ ที่อยู่รอบบ้านเรา มีประชากรมากกว่าครึ่งโลก เราจึงควรใช้สิ่งนี้เป็นโอกาสของเรา ต่อไปท่านจะเจอคนต่างถิ่นมากมาย โดยที่ท่านไม่เข้าใจว่า คนเหล่านี้มาอย่างไร ทราบไหมว่า คนอิหร่านทำวีซ่าประเทศไทยมากที่สุดในโลก เขามาเพราะประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายโดยเฉพาะภูเก็ตกับพัทยา ชาวรัสเซียเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ปีละเป็นแสนๆ คน เขาไปเมืองกาญจน์ฯ เยอะมาก เพราะชอบนอนรีสอร์ทใกล้ธรรมชาติ ส่วน คนตะวันตกชอบไปโฮมสเตย์ สแกนดิเนเวียนล้วนมีความฝันอันสูงสุดว่า ขอให้ได้มาประเทศไทย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 105


สักครั้งในชีวิต สิ่งซึ่งล้วนเป็นที่ที่ท่านดูแลกันอยู่ ดังนั้น อย่าทิ้งแหล่งทรัพยากรท้องถิ่นของท่าน ทรัพยากรนั้นจะใช้ได้ในอนาคต ใครรักษาได้มากก็จะหาเงินได้มาก ใครทำลายมากก็จะหมด ฐานทรัพยากรที่จะทำมาหากิน ที่สำคัญ มีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่แต่งงานกับคนไทย ทราบหรือไม่ว่า มีหญิง ไทยที่แต่งงานและอยู่กับคนยุโรป 400,000-500,000 คน ต่อไปเขาอาจกลับมาอยู่ท้องถิ่น นายก อบต.ต่อไปอาจเป็นคนต่างชาติ เพราะเขามีลูก ลูกเขาก็มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ กลุ่มพวกนี้เขารวมตัวกัน BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) สี่ประเทศนี้ ส่วนใหญ่อยู่ รอบๆ ประเทศเรา มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และมีประชากรมากที่สุดในโลกด้วย เราจะทำอะไรกับพวกเขาได้บ้าง สำหรับอาเซียน ยังมีอาเซียน+3 บวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

เข้ามา ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกท่าน ท่านต้องเตรียมการอะไรบ้างหากอาเซียนเปิด ลูกของ ท่านอาจเบื่อประเทศไทยแล้วไปเรียนที่สิงคโปร์แทนก็ได้ เพราะใช้ระบบเดียวกันทั้งหมด เป็ น เหมื อ นประเทศเดี ย วกั น ผมเกษี ย ณราชการแล้ ว อยากไปใช้ ช ี ว ิ ต ที ่ ม าเลเซี ย ก็ ไ ป รับบำนาญที่นั่นได้ เมื่อเปิดเต็มที่มันจะเป็นอย่างนั้น สินค้าที่ท่านทำในท้องถิ่นแล้วขายดีมาก ต่อไปมันอาจไม่ใช่แบบนั้น เพราะอาจมีอีกประเทศหนึ่งขายสินค้าคล้ายๆ กันแล้วราคาต่ำกว่า ถ้าไม่เตรียมตัวให้ดีอาจจะแพ้ได้ เพราะสินค้าเหล่านั้นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนเป็น ประเทศเดียวกัน สิ่งที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้คือ คนจะเคลื่อนย้ายกันอย่างมากภายในอาเซียน 10 ประเทศ ในขณะที่เราไม่มีความพร้อม และดูเหมือนลาวยังมีความพร้อมมากกว่าเรา ประเทศต่างๆ เหล่านี้มีประชากรที่มาอยู่กับเราจำนวนมาก เฉพาะพม่า มีไม่ต่ำกว่า 3-4 ล้านคนในประเทศไทย มีการแต่งงานกัน มีลูกออกมา อนาคตอะไรจะเกิดขึ้น ท้องถิ่นท่าน จะเป็นอย่างไร ทางภาคเหนือ นายก อบต.บางแห่งก็เป็นม้ง เขาก็คือคนไทย อนาคตจะเป็น อย่างนั้น มีความหลากหลายมากขึ้นซึ่งก็เป็นความสวยงามของประเทศไทย สถาบันพระปกเกล้าเคยทำวิจัยสอบถามถึงความรู้สึกของประชาชนใน 10 ประเทศว่า รู้สึกเป็นประชาชนของ ‘อาเซียน’ มากน้อยเพียงใด ประเทศลาวรู้สึกถึงความเป็นอาเซียนมาก ที่สุด นี่เป็นไปได้อย่างไร ทำไมเขาจึงสนใจอาเซียนมาก เขาภาคภูมิใจในความเป็นอาเซียน ถามย้อนกลับไปที่ท่าน ท่านไม่กระตือรือร้นเป็นอาเซียนบ้างหรือ ประเทศไทยได้อันดับแปด ไม่ได้สนใจ ถึงเวลาก็แก้ปัญหาไปวันๆ และนี่คือลักษณะของสังคมไทย

106 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


รู้สึกว่าเป็นประชาชนอาเซียน

ประเทศ 1. ลาว 2. กัมพูชา 3. เวียดนาม 4. มาเลเซีย 5. บรูไน 6. อินโดนิเซีย 7. ฟิลิปปินส์ 8. ไทย 9. พม่า 10.สิงคโปร์

จำนวนประชากร 96% 92.7% 91.7% 86.8% 82.2% 73.0% 69.6% 67.0% 59.5% 49.3%

คำถามต่อมาคือ คุ้นเคยเกี่ยวกับอาเซียนมากขนาดไหน พบว่า เวียดนามคุ้นเคยมาก ที่สุด ลาวเป็นอันดับสอง ประเทศไทยดีขึ้นมาหน่อยได้อันดับสี่ คำถามต่อมาคือ อยากรู้เกี่ยว กับประเทศอื่นๆ มากแค่ไหน ปรากฏว่า เราอยากรู้มากที่สุด เราเพิ่งตระหนักเมื่อรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการท่านหนึ่งบอกว่า ต่อไปนี้ต้องเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ทางภาคใต้ต้องเรียน ภาษามลายูแล้ว จะเริ่มก็สายเสียแล้ว เหลือเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้นแทนที่จะเริ่มมาตั้งนานแล้ว สถาบันพระปกเกล้ายังทำวิจัยต่อว่า ประชาชนประเทศอื่นๆรู้เรื่องอาเซียนมา จากไหน อันดับแรกมาจากทีวี แต่ทีวีบ้านเราไม่เคยให้ความรู้เรื่องอาเซียนเลย อันดับสองมา จากหนังสือพิมพ์ บ้านเราก็มีแต่ข่าวฆาตกรรม ดารา อันดับสามมาจากในโรงเรียน ท้องถิ่นต้อง บอกโรงเรียนด้วยว่า ต้องมีการสอนเรื่องนี้ ให้รู้ว่าเมื่ออาเซียนเข้ามาท้องถิ่นจะได้หรือจะเสีย จะเสียตรงไหน จะได้สร้างภูมิคุ้มกัน จะได้ตรงไหนจะได้เตรียมศักยภาพไว้ก่อน ลองดูปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เช่น โลกาภิวัตน์ จะเล่าให้ฟังว่า ยุคสมัย เปลี่ ย นแปลงไป ในอดีตรบกันโดยใช้ทหาร ต่อมาสู้กันระหว่างระบบสังคมนิยมและเสรี ประชาธิปไตย ยุคหลังมานี้สู้กันในทางเศรษฐกิจ วันนี้อเมริกาพ่ายแพ้แล้ว จีนเป็นอันดับหนึ่ง และที่กำลังเป็นอันดับสองคืออินเดีย แต่วันนี้ประเทศไทยเลียนแบบอเมริกันมากกว่าจีนหรือ อินเดีย ผมจึงบอกได้เลยว่า ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศที่พ่ายแพ้ต่อไปในอนาคตเช่นเดียว

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 107


สถานะประเทศไทยวันนี้ ความสงบสุขอยู่ลำดับที่ 107 ของโลก ลาวลำดับที่ 32 มาเลเซียลำดับที่ 19 เวียดนามลำดับที่ 30 ส่วนพม่ากับกัมพูชา อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แล้วเราจะเอายังไงกับประเทศไทย ประเทศที่มีลำดับใกล้เคียงทั้งหมด ก็คือประเทศในแอฟริกาใต้​้ กับประเทศเกิดใหม่ทั้งสิ้น พัฒนาประเทศอย่างไรจึงมาอยู่ตรงนี้ กับอเมริกัน ไม่สามารถแก้ปัญหาของตัวเองได้เช่นเดียวกับอเมริกัน แต่ที่เราไม่เคยไปศึกษา หาความรู้ คือจากฝั่งจีนและอินเดีย ซึ่งมาจากฐานพอเพียงเหมือนหลักชุมชนของเรา จีนนั้น เริ่มผลิตที่ปัจจัยสี่ พอเพียง พึ่งตัวเอง เมื่อพึ่งตัวเองได้จึงขายไปข้างนอก ประเทศอินเดียวันนี้ ซื้อขายในประเทศร้อยละ 85 ส่งออกแค่ร้อยละ 25 ประเทศไทยไม่แตกต่างจากจีนและอินเดีย มีฐานทางวัฒนธรรมสูงมาก ฐานทุนทางสังคมสูงมาก ขาดอย่างเดียว คือทุนทางปัญญาที่จะ พัฒนาต่อยอดและสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเอง เพราะภูมิทางปัญญาของเราก็อปปี้ตะวันตกมา ซึ่งไม่ใช่บริบทของไทยเลย เช่น ท่านไปเอาระบบประเมินผลจากต่างประเทศในตะวันตกมาใช้ วันนี้ต้องมาปวดหัวนั่งทำเอกสารซึ่งไร้สาระทั้งสิ้น สาระอยู่ที่ตัวท่านทั้งหมด ผมมีข้อยืนยัน มีการศึกษาวิจัยมาแล้วเมื่อ 4-5 รัฐบาลที่ผ่านมาว่า จุดแข็งคนไทย อยู ่ ท ี ่ ไ หน ซึ ่ ง ไปจ้ า งฝรั ่ ง ทำ ผลการศึ ก ษาสรุ ป ว่ า วั ฒ นธรรมเยอรมั น เป็ น แบบวิ ศ วกร ผลิตเครื่องจักรต่างๆ จึงรุ่งเรือง คนไทยไม่ใช่แบบนั้น ที่เราทำอยู่จึงได้ตายหมด น้ำท่วมหมด เพราะไม่ใช่วัฒนธรรมของเรา จะทำได้ต้องมีวินัย มีความเป็นชาตินิยม แต่คนไทยไม่มีวินัย และความไม่มีวินัยทำให้ชาติไทยรอดหลายครั้ง เพราะตกลงอะไรกับใครก็ไม่ได้ทำตามนั้น ส่วนฝรั่งเศสทำน้ำหอม ไวน์ แฟชั่นเสื้อผ้า เพราะเขาหนาวมาก เมื่อหนาวมากก็ทำไวน์มาดื่ม ไม่อาบน้ำก็ทำน้ำหอมดับกลิน่ และทำเสือ้ ผ้าสวยๆ เปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ วัฒนธรรมแบบนีเ้ หมาะกับ

108 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


เขา ส่วนอิตาลี เดี๋ยวนี้รถแปลกประหลาดที่วิ่งบนถนนมาจากอิตาลีทั้งนั้น เพราะเขาผลิตชิ้น เดียวแต่มูลค่ามหาศาล รถคันเดียว 50 ล้าน ขณะที่รถญี่ปุ่นต้องสร้าง 10-20 คันถึงจะเท่า อิตาลี เป็นวัฒนธรรมแบบเซ็กซี่ ส่วนอเมริกันขายเด็กๆ แบล็คเบอรี่ แอปเปิล อะไรที่เป็นของ เด็กๆ อเมริกันทำขายหมด เป็นวิถีของเขา ส่วนญี่ปุ่น อะไรเป็นไฮเทคโนโลยีเขาทำหมด ส่วน ประเทศไทยที่ขายได้คือ การท่องเที่ยว ถ้าท่านทำเรื่อง ‘การท่องเที่ยวที่มีชีวิต’ เชื่อว่าท่านจะ ขายได้ทั้งชีวิตเลย เช่น โฮมสเตย์ ท่องเที่ยวเชิงการผจญภัย ไต่ผา ดำน้ำ นอกจากนี้เรายังขึ้น ชื่อเรื่องการบริการ การนวด อาหาร เป็นต้น ผมอยากให้ภาคใต้ทำมัสมั่นกระป๋องซึ่งเป็น ฮาลาล เชื่อว่าจะสามารถขายได้อย่างมาก สรุปแล้วจุดแข็งของคนไทยคือ Human touch culture หรือสินค้าที่ต้องอาศัย สัมผัส ซึ่งก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี่คือจุดขาย และจุดขายนั้นก็อยู่ที่ตัวคน ซึ่งเมื่อ

จุดแข็งอยู่ที่ตัวคน คนไทยจึงไม่มีวินัย จะทำให้ท้องถิ่นเหมือนกัน ทำให้ตายก็ทำไม่ได้ ไม่เชื่อ ลองไปดูรปู แกะสลักทีฐ่ านของปราสาทนครวัดทีก่ มั พูชา เป็นรูปทหารสยามทีไ่ ปร่วมรบ กองทหาร อื่นหน้าตรงอาวุธตรง หน้าตัดตรงกันหมด แล้วลองดูรูปทหารไทย เดินไปคุยไป อาวุธทิ่มไป คนละทาง ไร้รูปแบบ อยู่ท้องถิ่นลองสังเกตดู นักวิชาการหลายคนไม่เข้าใจว่า ทำไมโมเดลดีๆ ในบางที่ จึงเอาไปใช้ที่อื่นไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาด จะเอาทฤษฎีไหนมาใช้ก็ไม่ได้ด้วย ผมเคยพูดถึงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่มีชีวิต มันคือการเอาสิ่งที่มีชีวิตผลิตสิ่งที่มีชีวิต เอาสิ่งที่มีชีวิตผลิตสิ่งที่ไม่มีชีวิต เอาสิ่งที่ไม่มีชีวิตผลิตสิ่งที่มีชีวิต ท่านเลี้ยงสัตว์ คือการเอาสิ่ง มีชีวิตผลิตสิ่งที่มีชีวิต แต่ระบบของซีพี เอาสิ่งที่ไม่มีชีวิตผลิตสิ่งที่มีชีวิต ใช้เครื่องจักรเลี้ยงหมด เอาสิ่งที่มีชีวิตผลิตสิ่งไม่มีชีวิต หลายคนใช้ทรู ซึ่งเป็นทรูไลฟ์ มีชีวิต ท่านอยู่บ้านดูทีวีก็ของทรู โทรศัพท์ก็ของทรู ไปข้างนอกเล่นอินเทอร์เน็ตก็ของทรูอีก วิถีชีวิตท่านก็ไปพร้อมกับมัน ใครมี ธุรกิจแบบนี้ก็กินไม่หมด ซีพีนี่ขายอาหาร จะรบราฆ่าฟันกันตายก็ยังต้องกิน คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ของไทยเบฟ ขายเครื่องดื่มทั้งหมด เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชีวิตทั้งสิ้น นอกจาก นี้ยังซื้อทั้งหมดที่เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นความสุขของคน ยุคนี้เป็นยุคสุดท้าย วันนี้ต่อสู้กันด้วยจิตวิทยา เอาตัวคุณธรรมของศาสนาเป็นนำร่วม กับวัฒนธรรม ใครรักษาศาสนา ใครรักษาวัฒนธรรมได้ดี คนนั้นจะขายได้ตลอด ท้องถิ่นนั้นจะ ขายได้ตลอด ภาคใต้เมื่อไรเหตุการณ์จบ จะเป็นภาคที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เพราะใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ มีคุณค่าของสิ่งต่างๆ มหาศาล คนจะมาเที่ยว มาดูวัฒนธรรมเยอะ อีกทั้งยังอยู่ใน บริเวณพื้นที่เก่าแก่ของโลกเช่นเดียวกันกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย เพราะยุคนี้เป็นวิถีของมุสลิม

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 109


กำลังอำ ทางบก / ท นาจทางทหาร :: างเรือ / ทา งอากาศ ารเมือง :: ก ง า ท จ า กำลังอำนบประชาธิปไตย ระบอ

รูปแบบการทำสงคราม สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ์ หนึ่งประเทศสองระบบ

มุสลิม/ท้องถิ​ิ่นนิยม

ม ังค างส า / จท สน นา ศา อำ า : รรม ลัง ย ธ กำ จิตวิท วัฒน

ิจ ::

ก รษฐ ศ เ ง ทา รี นาจ นิยมเส ำ อ ำลัง ทุน

ยูเรเซีย(Eurasia)

ใครเอาวัฒนธรรมมาขายก็ขายได้ตลอด ตัวอย่างเช่น เกาหลี เดีย๋ วนีเ้ ด็กๆ หน้าตาเป็นเกาหลีหมด ร้องเพลงเกาหลี เสื้อผ้าแบบเกาหลี เครื่องสำอางเกาหลี ขายได้หมด และการต่อสู้ในยุคนี้ที่เอา สังคมเป็นตัวนำ ใช้ Media power สื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือที่ท่านต้องใช้ให้มากที่สุด เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ วิดีโอลิงก์ โทรศัพท์มือถือ วิทยุ ทั้งหมดต้องใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน เรียกได้ว่าเป็นกระแสของโลก ยกตัวอย่าง คนคนหนึ่งอยู่ต่างประเทศ ไม่มีคณะรัฐมนตรี ไม่มีรัฐบาล ไม่มีกำลัง ทหาร ไม่มีประชากรในมือ ต่อสู้กับคนในประเทศที่มีทั้งคณะรัฐมนตรี งบประมาณ ข้าราชการ เป็นล้านคน ซึ่งฝ่ายหลังต้องพ่ายแพ้ มันแพ้ด้วยมีเดียพาวเวอร์ เดี๋ยวมาอีกแล้ววิดีโอลิงก์ สุดท้ายคนที่มีทุกอย่างยังพ่ายแพ้ คนไทยนั้นจุดแข็งอยู่ในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แล้วท่านพยายามจะพัฒนาตัวเองให้จับ ต้องได้ มันตายหมด สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ วันนี้มหาวิทยาลัยไทยตายหมดแล้ว เพราะอะไร ผมไม่ได้ดีใจกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่วันนี้เก่งเรื่องวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์มาก เพราะ ธรรมศาสตร์ควรจะเก่งเรื่องการเมืองและการปกครอง ผมไม่ได้ดีใจกับมหาวิทยาลัยมหิดลเลย ที่วันนี้ติดอันดับการดนตรีในระดับโลก เพราะเขาควรจะเก่งแพทย์กับพยาบาลมากกว่า ดนตรี ควรอยู่ที่ศิลปากร แต่ศิลปากรบอกว่า วันนี้คิดยาไข้หวัดนกได้แล้ว ดูเหมือนมหาวิทยาลัยไป ผิดที่กันหมด 110 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ท่านต้องใช้มหาวิทยาลัยท้องถิ่นเป็นหน่วยปัญญาความรู้ นั่นก็คือ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ดังทีอ่ าจารย์ประเวศ วะสีบอกว่า ต้องให้ราชภัฏนัน้ เป็นแหล่งภูมปิ ญ ั ญา ความรูท้ อ้ งถิน่

มีอะไร แล้วนำมาพัฒนาต่อยอด ที่ผ่านมาคนไทยเรียนแต่วิชาทิ้งถิ่น ยิ่งเรียนสูงยิ่งออกจาก ท้องถิ่นไปไกลเรื่อยๆ บางคนไปเรียนเมืองนอกแล้วก็ไม่กลับมาอีก เราต้องเรียนจากท้องถิ่น

ตัวเอง รู้ว่ามีอะไร แล้วค่อยหาภูมิปัญญาความรู้มาพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นตัวเองเพื่อให้เกิด คุ ณ ค่ า มู ล ค่ า สถาบั น การศึ ก ษาไทยไม่ ม ี ส อนเรื ่ อ งพวกนี ้ ท่ า นต้ อ งกลั บ ไปเรี ย กร้ อ งให้ มหาวิทยาลัยท้องถิ่นทำสิ่งเหล่านี้ แล้วเด็กๆ จะต้องเรียนเพื่อจัดการทรัพยากรท้องถิ่นมากกว่า การไปจัดการทรัพยากรของประเทศอื่น จังหวัดอื่น หนังสือ Mega Trend Asia แนวโน้มอภิมหาเอเชีย เขียนเมื่อปี 2538 ก่อนเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ เขียนไว้ไม่ทันได้แปลเป็นไทยเลย ประเทศไทยวิกฤติก่อนแล้ว เขาบอกว่า ประเทศ ชาติต่อไปนี้จะเจริญก้าวหน้าได้ด้วยเครือข่าย ต่อไปต้องเชื่อมเครือข่ายกัน เครือข่ายท่าน ไม่ใช่เชื่อมกับท้องถิ่นด้วยกันเองเท่านั้น ถ้าติดกับกัมพูชาต้องเชื่อมกับกัมพูชา ติดกับพม่าต้อง เชื่อมพม่า ติดกับมาเลเซียต้องเชื่อมกับมาเลเซียด้วย และมันเป็นวิถีของอาเซียน ไม่ใช่วิถีของ ตะวันตก แล้วต่อไปนีค้ วรจะต้องดูวถิ ขี องอินโดนีเซียเป็นหลัก จะเกิดเมืองใหญ่ๆ เยอะขึน้ คนจะ อพยพไปเมืองใหญ่ รวมทั้งจะเป็นยุคของผู้หญิง จากของเดิมที่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย หากดู จากสถิติ ผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งใหญ่ๆ ระดับชาติ เกือบจะครึ่งหนึ่งของโลก อยากจะจุดประกายอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญหาของประเทศไทยที่มีมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือ อยู่ภายใต้การจัดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งมีอยู่ 4 เรื่อง พม่าโดนอยู่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและ

การขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย เชื่อมโลก สู่ไทย แข่งขัน

กว้างไกล

หุ้นส่วนเศรษฐกิจ เพื่อนบ้าน

สร้างความ เข้มแข็ง

แหล่ง สนับสนุน สร้าง ภูมิคุ้มกัน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 111


ประชาธิปไตย อิรกั ก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยโดนระเบียบโลกใหม่ในเรือ่ งสิง่ แวดล้อม การค้าเสรี การพัฒนาประเทศที่ไม่ยั่งยืน ท่านลองไปอ่านดูว่า ใช่ไหม แล้วจะทำอย่างไร สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ท้องถิ่นท่านได้อย่างไร ลองดูสถานะประเทศไทยวันนี้ ความสงบสุขอยู่ลำดับที่ 107 ของโลก ลาวลำดับที่ 32 มาเลเซียลำดับที่ 19 เวียดนามลำดับที่ 30 ส่วนพม่ากับกัมพูชาอยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แล้วเราจะเอายังไงกับประเทศไทย ประเทศทีม่ ลี ำดับใกล้เคียงทัง้ หมด ก็คอื ประเทศในแอฟริกาใต้ กับประเทศเกิดใหม่ทั้งสิ้น พัฒนาประเทศอย่างไรจึงมาอยู่ตรงนี้ นอกจากนี้ เรือ่ งก่อการร้าย ประเทศเราเสีย่ งต่อการก่อการร้ายอันดับหนึง่ ของภูมภิ าคนี้ เพราะรับอิทธิพลจากต่างประเทศมา ทำตามเขา จึงเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายเช่นกัน ประเทศไทย กระบวนการจัดการภาคเอกชน ดีกว่าภาครัฐ ภาคเอกชนไทยอยู่ใน ลำดับที่ 19 ของโลก แต่ภาครัฐอยู่ที่ลำดับ 23 ของโลก ฉะนั้น อย่าไปพึ่งพารัฐ เพราะรัฐจะ ทำให้ท่านอ่อนแอ จะเข้มแข็งได้ท่านต้องอยู่บนขาตัวเองและให้ภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุน เท่านั้น และท่านต้องหาทุนทางปัญญาให้มากๆ นี่เป็นแนวความคิดที่ควรจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศใดกระจายอำนาจมากที่สุด จะมีความเป็นประชาธิปไตยสูง และมีความเจริญ ประเทศจีนกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณลงไปท้องถิ่นถึงร้อยละ 69 อินโดนีเซียกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นร้อยละ 70 อาเจะห์มีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งมาก มี 39 พรรค และคนอยากเล่นการเมืองท้องถิ่น เพราะเงินเยอะ ผู้ว่าฯก็มาจากการเลือกตั้ง กัมพูชากระจายอำนาจลงท้องถิ่น ร้อยละ 34 ขณะที่ของไทย กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นร้อยละ 25.25 และลงท้องถิ่นจริงๆ แค่ร้อยละ 15 เท่านั้น ดังนั้นจึงมีความล้าหลังเรื่องประชาธิปไตย และการกระจายอำนาจ ดังนั้น ท่านต้องยืนอยู่บนขาของตัวท่านเอง ผมเพียงจุดประกายให้ทา่ นในการเชือ่ มสูอ่ าเซียน สูโ่ ลก การสร้างภูมคิ มุ้ กัน การแสวงหา ความร่วมมือ การพัฒนาจุดแข็ง ฯลฯ ล้วนเป็นโจทย์ที่ท่านต้องคิดต่อ

112 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ฐานปฏิบัติการ สู่ยุทธศาสตร์อาหาร ของประเทศ ศ.(เกียรติคุณ) นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานคณะกรรมการ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย


‘ยุทธศาสตร์อาหารของประเทศ’ เริ่มมีการวางแผนมาตั้งแต่ปี 2552

ขณะนี้อยู่ในช่วงของการขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด ซึ่งแผนที่ว่านี้จะขับเคลื่อนไม่ได้เลย หากไม่มี การดำเนินงานทั้งระดับส่วนกลาง และระดับชุมชนอย่างคู่ขนานกันไป โดยการนำเสนอเรื ่ อ งนี ้ จะแบ่ ง เป็ น 4 ประเด็ น ประเด็ น แรก ที ่ ไ ปที ่ ม าของ คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ปี 2551 ประเด็นทีส่ อง สถานการณ์ดา้ นอาหารของประเทศไทย ประเด็นที่สาม กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย และประเด็นที่สี่ ความมั่นคงด้านอาหารในระดับชุมชน

ประเด็นที่ 1 ที ่ไปที่มาของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติปี 2551

ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องอาหารมากกว่า 30 หน่วยงาน แต่ละหน่วยงาน มีกฎหมาย มีหน้าที่ให้รับผิดชอบในแต่ละด้าน แต่ที่สำคัญที่สุด คือขาดความเป็นเอกภาพ ในการดำเนินงาน แม้ที่ผ่านมาจะทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่หากต่อไปมีการแข่งขันมากขึ้น มีทรัพยากรน้อยลง โดยทีก่ ารบริหารจัดการไม่ดขี น้ึ ไม่มปี ระสิทธิภาพ ก็คงลำบาก จึงมีการออก พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.2551 ให้หน่วยงานต่างๆ จาก 11 กระทรวง รวมไป ถึงกรมและกองที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นกรรมการ พ.ร.บ.นี้ระบุว่า ให้เน้นการดูแลงาน 4 ด้าน คื อ 1) ความมั่ น คงด้ า นอาหาร2) คุ ณ ภาพอาหาร 3) ความปลอดภั ย อาหาร และ 4) อาหารศึกษา หลังจากที่มี พ.ร.บ. มีการตั้งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติขึ้นโดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีเลขานุการ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) กระทรวง สาธารณสุข และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวง

114 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


การดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อาหารในปัจจุบัน 1

2

3

4

5

6

7

8

9 10

11

12

เพาะปลูก แหล่ง แปร จำหน่าย โฆษณา นำเข้า เลีย้ งสัตว์ ขนส่ง ฆ่า เชือด รวบรวม สภาพ ขนส่ง แปรรูป ขนส่ง จัดเก็บ ปรุงจำหน่าย & ประมง เบือ้ งต้น บริโภค กระทรวง กระทรวงเกษตร กระทรวง สาธารณสุข และสหกรณ์ พาณิชย์

กระทรวง อุตสาหกรรม

กระทรวง การต่างประเทศ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มากกว่า 30 หน่วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มากกว่า 30 ฉบับ

กระทรวง มหาดไทย

ขาดความเป็นเอกภาพ ในการดำเนินงาน

เกษตรฯ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ซึ่งผมก็ถูกคัดเลือกเป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็น ประธานในการยกร่ า งยุ ท ธศาสตร์ ทำงานเต็ ม ที ่ 1 ปี จนแล้ ว เสร็ จ เป็ น หนั ง สื อ ที ่ ช ื ่ อ ว่ า แผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ คือ เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ การจัดการ 4 ด้านข้างต้น ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ ต้อง ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และกำกับดูแลประเมินผลงานตามนโยบายของยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ความมั่นคงด้านอาหารคืออะไร ทุกๆ คน พู ด คำนี ้ แต่ ต ี ค วามหมายไม่ เ หมื อ นกั น ในระดั บ สากล องค์ ก ารอาหารและเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ (FAO) ให้นยิ ามว่า ความมัน่ คงด้านอาหารจะเกิดขึน้ ได้เมือ่ ประชาชนทุกคน ทุกวัย ทุกเวลา สามารถเข้าถึงอาหาร ไม่ว่าจะโดยเสาะหาจากธรรมชาติหรือเพาะปลูก จะเข้าป่าหา อาหาร หรือจับปลาหาอาหาร หรือเพาะปลูก หรือเลี้ยง ถือว่าเข้าถึงทางกายภาพ หรือเข้าถึง โดยการซื้อหา คือการเข้าถึงโดยเศรษฐกิจ ต้องมีงานทำ มีเงินไปซื้อ คนอยู่ในเมืองต้องเข้าถึง โดยเศรษฐกิจ คนอยู่ในชนบทเข้าถึงทางภายภาพ หรือเข้าถึงโดยเศรษฐกิจก็ได้ หรือเข้าถึงโดย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 115


ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ไม่มีจะกิน ไปเข้าวัด ไม่มีจะกิน ไปหาญาติพี่น้อง หรือรัฐบาล มีนโยบายช่วยเหลือสงเคราะห์ให้ได้อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการ ตามวัย และมีการดำรงชีวิตที่ขันแข็งและมีสุขภาวะที่ดี นี่เป็นความคิดระดับสากล ระดับโลก แต่พอมาเขียน พ.ร.บ. ในปี 2551 ซึ่งผมถูกเชิญไปยกร่าง พ.ร.บ. ด้วย ตอนแรกเลย เขียนคล้ายๆ สากล มีคุณค่าทางโภชนาการ จนกระทั่งประชาชนมีสุขภาวะดี แต่ต่อมาก็เห็นว่า การคิดแบบสากลไม่พอ เพราะประเทศไทยผลิตอาหาร จึงเพิ่มว่า ต้องดูแลระบบการผลิต ที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรทาง อาหารของประเทศ ทั้งในภาวะปกติ หรือยามเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัย หรือการก่อการร้าย อันเนื่องมาจากอาหาร พ.ร.บ. คณะกรรมการ อาหารแห่งชาติ พ.ศ.2551 ครอบคลุม

ความมั่นคง ทางอาหาร (Food Security)

คุณภาพอาหาร (Food Quality)

ความปลอดภัย อาหาร (Food Safety)

อาหารศึกษา (Food Education)

เชื่อมโยง 11 กระทรวง กว่า 30 หน่วยงาน / พ.ร.บ.กว่า 30 ฉบับ กลาโหม

คลัง

ต่างประเทศ พัฒนาสังคมฯ อุตสาหกรรม สาธารณสุข

พาณิชย์ มหาดไทย สภาความมั่นคง แห่งชาติ

วิทยาศาสตร์ฯ ศึกษาธิการ

สภาพัฒน์

สนง.คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค

เกษตรฯ สนง.สุขภาพ แห่งชาติ

ส่ ว นในเรื ่ อ งความปลอดภั ย อาหาร ก็ ต ้ อ งจั ด การอาหารให้ ป ลอดภั ย สำหรั บ การบริโภคของมนุษย์ ทั้งนี้ความปลอดภัยเกิดจากอะไร ที่สำคัญที่สุดเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อแบคทีเรีย และบางทีเกิดจากไวรัส แบคทีเรียเกิดจากสิ่งแวดล้อมสกปรก น้ำสกปรก เกิดการปนเปื้อน หรือมนุษย์เองขาดความระมัดระวัง ขาดการดูแลเรื่องน้ำ การสุขาภิบาลน้ำ สุ ข าภิ บ าลอาหาร สุ ข าภิ บ าลส่ ว นบุ ค คล เช่ น เล็ บ ยาว เล็ บ ดำ ไม่ ล ้ า งมื อ ก่ อ นกิ น ข้ า ว เรื่องอาหารปลอดภัยในตอนหลัง จึงมาเน้น 3 คำ คือ ล้างมือ ใช้ช้อนกลาง และอาหารร้อน

116 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ในเรื่องสารเคมีตกค้างหรือใช้ผิดปกติ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ พวกเชื้อรา เชื้อไวรัสต่างๆ สำคัญที่สุด คือเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ดังนั้นเรื่องสุขอนามัยต้องมาอันดับหนึ่ง สำหรับคุณภาพอาหาร คือ คุณภาพทางกายภาพ เช่น ไข่ฟองโตๆ ก็เกรดเอ ไข่ฟองเล็ก ก็เกรดซี เกรดเอก็ได้ราคาดี ผลไม้กายภาพงามก็ดี มีการพัฒนาพันธุ์ให้ได้คุณภาพทาง โภชนาการที่ดี ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการที่พึงจะมี ไม่ใช่ว่าฉีดน้ำเข้าไปให้อาหารมีน้ำหนัก มากขึ้น แบบนี้ใช้ไม่ได้ ในเรื่องอาหารศึกษา จริงๆ คำนี้ เราใช้ว่า ‘กระบวนการส่งเสริมพัฒนาและวิจัย เพื่อให้ความรู้ความตระหนักและพฤติกรรมที่ถูกต้องในห่วงโซ่​่อาหาร และการบริโภค อาหาร’ เราอยากจะเห็นเกษตรกรทุกคนและคนไทยทุกคนเป็นผู้มีความรู้ด้านอาหาร คือ ‘Food Educator’ คือ รู้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องพันธุ์อะไรต่างๆ เข้าใจ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น

นักปฏิบัติ แต่เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ก็ต้องเข้าใจปัจจัยการนำเข้า ว่ามีความพิถีพิถัน มีความ ละเอียดละออ ท่านที่เคยทำสวน ทำไร่ จะรู้ว่า ความละเอียด ความพิถีพิถันเป็นเรื่องใหญ่ เวลาใช้ปุ๋ยก็ใช้ให้เป็น ใช้ให้ถูกต้อง ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง อันตรายแน่นอน ดินก็เสื่อมไปด้วย และ ทำให้เสียเงินเปล่า สำหรับแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ได้นำเสนอคณะ กรรมการอาหารแห่งชาติ และในที่สุดเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2553 หลังจากนั้นมีความพยายามในการขับเคลื่อน แต่เพราะปัญหาเรื่องการเมือง ปัญหาเรื่อง น้ำท่วม ทำให้ขับเคลื่อนได้ช้า ตอนนี้มีการนำยุทธศาสตร์นี้ไปอยู่ในแผน 11 และอยู่ในกรอบ การดำเนินงาน โดยที่ สสส. เองก็รับมาส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเน้นเรื่องชุมชน และขณะนี้ก็มีการขับ เคลื ่ อ นในห่ ว งโซ่ อ าหาร มี ก ารขั บ เคลื ่ อ นคุ ณ ภาพความปลอดภั ย อาหาร เชื ่ อ มโยงไปสู ่ โภชนาการ ไปสู่เรื่องสุขภาพ

ประเด็นที่ 2 สถานการณ์ ด้านอาหารของประเทศไทย

ประเทศไทยมีประชากรเกือบ 65 ล้านคน เป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก สินค้าอาหารที่ส่งออกมาก คือข้าว ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง อาหารทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ยัง เป็นอาหารดิบ สิ่งที่เราอยากเห็นต่อไปในอนาคต อยากเห็นอาหารมีคุณภาพ อาหารมี

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 117


คุณค่า อาหารเริ่มแปรรูปมากขึ้นอีก เพิ่มคุณค่า คุณภาพ เพื่อเพิ่มราคา พูดกันตรงๆ เพราะส่งของดิบไปขาย ได้มูลค่าน้อย จึงต้องคิดวิจัย และอยากให้เกษตรกรมาคิดเรื่องเหล่านี้ ประเทศไทยเป็นครัวโลก มูลค่าส่งออกอาหารเกือบ 900,000 ล้านบาท แต่การใช้ ประโยชน์จากการถือครองที่ดินยังไม่เหมาะสม เนื้อที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น คู่แข่งสำคัญ คือพื้นที่ปลูกยางพารา ตัวเลขในปี 2551 พื้นที่ปลูกข้าวลดลงเรื่อยๆ จาก 56 ล้าน ไร่เหลือ 50 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น พื้นที่ปลูกผักผลไม้ก็ลดลง เพราะเกษตรกรก็ อยากมีรายได้ แต่ถ้าเรามองภาพทั้งประเทศไทย ทั้งโลก ต้องมีการดูแลพื้นที่ผลิตพืชอาหาร เพื่อให้มนุษย์กิน และต้องทำให้เกษตรกรมีรายได้ด้วย จุดนี้เป็นคำถามที่สำคัญ ซึ่งต่างจากใน อดีตทีค่ ดิ ว่า ต้องทำให้เกษตรกรหายจน ซึง่ อาจจะไม่เพียงพอ นีค่ อื ประเด็นทีต่ อ้ งคิดให้หนัก ประเทศไทยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 110 ล้านไร่ ในอดีตเคยมีมากถึง 140 ล้านไร่ ซึ่งลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากกลายเป็นที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงสนามกอล์ฟ ขณะที่หลายประเทศเขาใช้แนวคิด ‘โซนนิ่ง’ เพื่อดูแลพื้นที่ผลิตอาหาร โดยไม่ให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น จะซื้อไปสร้างตึกไม่ได้ แต่ของเมืองไทยนั้นเละ จึงต้องกลับมาดู กันเรื่องนี้อีกเรื่อง ในเรื่องดินและป่าไม้ลดลง จนกระทั่งในหลวงต้องออกมารับสั่ง โดยเมื่อปี 2504 หรือเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีป่าไม้ร้อยละ 50 ตอนนี้มีไม่ถึงร้อยละ 30 ทั้งๆ ที่นับรวม ป่าเศรษฐกิจ ป่าสวนยาง ซึ่งไม่ใช่ป่าจริง ป่าจริงต้องเป็นป่าเบญจพรรณ ไม้ยืนต้น เพราะเมื่อ ฝนตกลงมา สวนป่าปลูกนั้น รากไม้หยั่งลงไปในชั้นดินตื้น จึงทำให้เกิดดินพังทลาย เมื่อป่าลดลงจึงมีผลต่อแหล่งน้ำและระบบนิเวศวิทยา ดินก็เสื่อมโทรม ทำให้ผิวดิน เหลือน้อย ป่าชายเลนที่เคยมีถึง 4,000 ตร.กม. ตอนนี้เหลือ 1,500 ตร.กม. ป่าชายเลนสามารถ ป้องกันน้ำท่วม และถือว่าเป็นแหล่งเพาะชำผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ป่าชายเลนก็ลดลงไปเยอะ เพราะมีการทำลาย มีการรุกพื้นที่ เพราะความโลภของมนุษย์ที่ต้องการ ‘ยึด ยื้อ แย่ง’ เรื่องของทรัพยากรน้ำ มีปัญหาสามประการ ประเด็นที่หนึ่งน้ำมาก เกิดน้ำท่วม เมื่อทางน้ำไหลไม่พอก็ต้องเกิดน้ำท่วมล้น เมื่อทางน้ำที่ควรจะไหลไปสร้างอะไรกันไว้ น้ำก็ล้น ประเด็นที่สอง น้ำน้อย ทำให้แล้ง และประเด็นที่สาม คุณภาพน้ำ เมื่อน้ำเหม็นเน่า สกปรก ก็เกิดเชื้อโรค ดังนั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะมีน้ำที่สี่ คือน้ำดีที่ปลอดภัย การเกษตรต้องใช้น้ำถึงร้อยละ 70 ของความต้องการใช้น้ำทั้งหมด เราใช้น้ำเพื่อ การเกษตรจำนวนมาก คำถามคือ เราต้องมีดินเท่าไหร่ มีน้ำเท่าไหร่ที่จะผลิตอาหารให้เพียงพอ

118 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


เมื่อมีการปฏิบัติการที่ดี จนได้อาหารที่มีคุณภาพความปลอดภัยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการค้า ในการวางแผนเราจึงเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิต เพื่อให้อาหารที่ผลิตในครัวเรือน ชุมชน และอุตสาหกรรม มีเพียงพอ มีคุณภาพ และปลอดภัย เราไม่ได้เขียนแผนเพื่อระดับชาติ แต่เขียนแผนเพื่อระดับครัวเรือนชุมชน สำหรับชาวไทยและส่งให้ชาวโลกบริโภค นี่คือคำถามหลักๆ และคำถามเหล่านี้ก็ลงไปที่ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ต้องดูแล เพราะหากรอจากส่วนกลาง ทำอย่างไรก็ไม่ สามารถดูแลได้ทั่วถึง ในเรื่องแรงงานภาคเกษตรกร ขณะนี้คนไม่อยากเป็นเกษตรกร เกษตรกรมีอายุ เฉลี่ยเกิน 45 ปี ทั้งยังประสบกับปัญหายากจนและปัญหาหนี้สิน ขณะเดียวกันด้านอาหารโภชนาการ สถานการณ์ขาดอาหารเราดีขึ้นมากในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา เพราะมีการพัฒนาการดูแลด้านสาธารณสุข ขณะเดียวกันก็ยังเหลือผู้ขาดธาตุเหล็ก และไอโอดีนอยู่บ้าง แต่ที่น่ากลัวขณะนี้ คือสังคมเราเป็นสังคมบริโภคมากขึ้น เริ่มมีผู้น้ำหนัก เกิน ทำให้เกิดโรคอ้วน หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งบางประเภท

ประเด็นที่ 3 กรอบยุ ทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย

ในการวางแผนยุทธศาสตร์ เราจะต้องเน้นตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ เนื่องจากเป็นแผนใหญ่ จึงมีแผนชี้นำ มีการวิเคราะห์จุดเสี่ยง และสร้างการมีส่วนร่วมของทุก ภาคส่วน มีการใช้วิชาการ ใช้การบูรณาการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มีการเปรียบเทียบกับแผน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 119


กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย (พรบ. คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ)

• ความมั่นคงอาหาร • คุณภาพอาหาร • ความปลอดภัยอาหาร • อาหารศึกษา

แนวคิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

• เป็นแผนชี้นำ • สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน • บูรณาการการดำเนินงาน • มีการวิเคราะห์จุดเสี่ยง • มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน • เกิดความยั่งยืน

แผนยุทธศาสตร์ด้าน อาหารของต่างประเทศ

• อาเซียน • ญี่ปุ่น • อังกฤษ • ออสเตรเลีย • แคนาดา • สหภาพยุโรป •ฯลฯ

• การวิเคราะห์สถานการณ์ • SWOT Analysis

กรอบยุทธศาสตร์ด้านอาหาร

• วิสัยทัศน์ • วัตถุประสงค์ • ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 ด้านความมั่นคงอาหาร 2 ด้านคุณภาพ & ความปลอดภัยอาหาร 3 ด้านอาหารศึกษา 4 ด้านการบริหารจัดการ ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่/ เชื่อมโยงระดับนานาชาติ ประเทศ ชุมชน และครัวเรือน

แผนยุทธศาสตร์ด้าน อาหารของต่างประเทศ

• สภาพัฒน์ฯ • สาธารณสุข • เกษตรและสหกรณ์ • อุตสาหกรรม • พาณิชย์ • ฯลฯ

จำเป็นต้องมีงานวิจัย ใหม่ๆสนับสนุน เพิ่มเติม

ของนานาชาติ และพิจารณาในแต่ละกระทรวงว่า ทำอย่างไรจึงจะบูรณาการกันให้ได้ มีการ วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง และทำยุทธศาสตร์ ส่วนในด้านการบริหารจัดการ ต้องครอบคลุม ห่วงโซ่อาหาร และเชื่อมโยงกับระดับนานาชาติ ประเทศ ชุมชน และครัวเรือน ขณะเดียวกัน

ก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดที่กล่าวมา มาสู่รูปธรรมตามแผนนี้ หลักๆ มีอยู่ 3-4 อย่าง หนึ่ง เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร สอง เพื่อสิ่งแวดล้อม สาม เพื่อรายได้และเพื่อการค้า เมื่อมองเรื่องเกษตรและอาหาร เกษตร ก็คือแหล่งอาหาร ทั้งจากธรรมชาติและที่ทำ ขึ้นมาเอง รวมถึงการบริการ ซื้อขาย ซึ่งก็ต้องพิจารณาคุณภาพอาหารที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ขณะนี้มนุษย์อายุยืนขึ้น พอมีรายได้เพิ่มอีกนิดหนึ่ง ก็นึกถึงอาหารที่อร่อย นึกถึงคุณภาพความ ปลอดภัย เพราะทุกคนอยากอายุยืน ขณะเดียวกัน มีการแข่งขันกันระหว่างการผลิตอาหารเพื่อมนุษย์ (Food) ผลิตอาหาร เพื่อเป็นอาหารสัตว์ (Feed) ผลิตพืชเพื่อเป็นพลังงาน (Fuel) ผลิตพืชเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น ถุงพลาสติก (Bio-Product) ดังนั้น เราจะจัดสรรการผลิตอย่างไรให้พอดี

120 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่รุนแรง เดี๋ยวก็น้ำมาก เดี๋ยวก็น้ำแล้ง ทางยุโรป ก็เกิดหนาวจนหิมะล้นเมือง หน้าร้อนก็ร้อนทั้งเมือง ซึ่งเป็นสาเหตุที่มนุษย์ทำทั้งนั้น และยังมี ปัจจัยภายนอก คือการค้าขาย ในที่สุดเราก็ต้องการอาหารที่มีคุณภาพเพื่อผู้บริโภค เพื่อการ ค้าขาย และเพื่อโภชนาการให้ได้สารอาหารพอเพียงต่อร่างกายของมนุษย์ในทุกวัย และใน ที่สุดก็เพื่อสุขภาวะที่ดี คือปลอดจากอาหารเป็นพิษ ทำให้ไม่อ้วน ไม่ผอม ไม่เป็นโรคเรื้อรัง หรือถ้าเป็นก็น้อย ในเรื่องวัฒนธรรมด้านอาหาร เรื่องนี้ก็สำคัญ โดยเฉพาะวัฒนธรรมในชุมชนและ ท้องถิ่น เพราะเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและธุรกิจการค้า ดังนั้น เราต้องมองให้สมบูรณ์แบบและมองให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งในเรื่องห่วงโซ่ เรื่องดิน เรื่องน้ำ นอกจากนี้ ยังต้องมองถึงเรื่องพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ อยากเห็นชุมชนที่มีอะไรดีๆ ให้เก็บของดีๆ เอาไว้ เช่น ถ้ามีเงาะพันธุ์ดี ก็ต้องพัฒนาให้ดี มีลองกองก็ต้องพัฒนาให้มันดี โดยใช้ทั้งวิธีการพื้นบ้านและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ถ้าระดับชุมชนทำเองไม่ได้ ก็สามารถเข้า ร่วมกับมหาวิทยาลัย หรือให้ลูกหลานที่ส่งไปเรียนกลับมาช่วย ทั้งนี้ แต่ละชุมชนควรมีศูนย์ สะสมพันธุ์พืชไว้ด้วย ขณะเดียวกัน พืชและสัตว์ที่โตบนดินก็ต้องการดินที่อุดมสมบูรณ์ ต้องการ โภชนาการ เหมือนมนุษย์ที่ต้องการอาหาร โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ พืชและสัตว์ก็ต้องการ คล้ายๆ กัน ในสภาพที่สมดุล ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพราะฉะนั้นโภชนาการของพืชและสัตว์ จึ ง ต้ อ งมี ก ารศึ ก ษา พื ช และสั ต ว์ น ั ้ น เหมื อ นมนุ ษ ย์ ต้ อ งป่ ว ย ถ้ า พื ช และสั ต ว์ พ ั น ธุ ์ ไ ม่ ด ี ทุพโภชนาการ อาหารไม่พอ ก็เป็นโรคขาดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคมาก เมื่อพืชและ สัตว์่ป่วยก็ต้องใช้ยาเท่าที่จำเป็น แต่ทางที่ดีควรให้พืชและสัตว์มีโภชนาการที่ดี อย่าไปแก้ ปลายเหตุ หลังจากมีการปฏิบัติการที่ดี โดยเฉพาะสุขอนามัยของพืชและสัตว์ รวมทั้งสุขอนามัย ของมนุษย์ จนได้อาหารที่มีคุณภาพความปลอดภัยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการค้า ในการ วางแผนเราจึงเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิต เพื่อให้อาหารที่ผลิตในครัวเรือน ชุ ม ชนและอุ ต สาหกรรม มี เ พี ย งพอ มี ค ุ ณ ภาพและปลอดภั ย เราไม่ ไ ด้ เ ขี ย นแผนเพื่ อ

ระดับชาติ แต่เขียนแผนเพื่อระดับครัวเรือนชุมชน ในยุทธศาสตร์ที่ 1 จึงมุ่งให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุก

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 121


ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหาร หลักการ : เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากร

เพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

การผลิต

ฐานทรัพยากร/ ปัจจัยการผลิต

การกระจาย

• ปฏิรูป • สร้างสมดุล • พัฒนาประสิทธิภาพ • ส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร • อนุรักษ์ • เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ของชุมชนและครัวเรือน การบริหารจัดการ • กำหนดเขตการผลิต • พัฒนาระบบโลจิสติกส์ • สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร

สร้างระบบรองรับในภาวะวิกฤติ วิจัยพัฒนาเทคโนโลยี/ นวัตกรรม สร้างความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร (รัฐ เอกชน และภาคประชาชน)

ภาคส่วน คือให้มีความร่วมมือในภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน สร้างพื้นฐานวิจัยพัฒนา นวัตกรรม สร้างระบบรับรองในภาวะวิกฤติ ที่สำคัญ คือดูแลฐานทรัพยากรการผลิต ปฏิรูป กฎหมายการถือครองที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม ดูแลเรื่องโซนนิ่งเพื่อการผลิตอาหาร (Food, Feed, Fuel, Bio-product) มีการอนุรักษ์ทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับเรื่องการเป็นเกษตรกรนั้น เขียนไว้ในกลยุทธ์ที่ 5 ว่า อยากให้เด็กนักเรียนได้ เรียนรู้การเกษตรเหมือนโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่มีในโรงเรียน ให้เด็กเรียน รู้ผักสวนครัว เมนูอาหาร คุณภาพอาหาร ดูแลเรื่องสหกรณ์ การจัดการอาหารในโรงเรียน ดูแล เรื่องฝึกอาชีพ รายได้ และการถนอมอาหาร ให้ชาวบ้านและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการ ในที่สุดก็เกิดโภชนาการและสุขภาพที่ดี ขณะเดียวกันก็ชื่นชม เชิดชู อาชีพการเป็นเกษตรกร สร้างแรงจูงใจทุกอย่าง ส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องการกระจายอาหารเพื่อให้มีการบริโภค เพื่อให้มีโภชนาการดี สุ ข ภาพดี ขณะเดียวกันก็ พั ฒ นาระบบขนส่ ง หรื อ โลจิ ส ติ ก ส์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยยังมีราคาแพง คิดแล้วเกือบร้อยละ 20 ของค่า อาหาร ขณะที่หลายๆ ประเทศอยู่ที่ร้อยละ 12-14 จึงต้องพิถีพิถันเรื่องนี้ด้วย

122 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สำหรับเรื่องอาหารของชุมชน ทำอย่างไรจะผลิตอาหารให้ดี ให้พอสำหรับการ บริโภคในชุมชนและส่งออกได้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3 คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร หลักใหญ่ๆ คือ 1) มีมาตรฐานเดียวใช้ได้ทั่วประเทศไทย ทุกกระทรวงต้องใช้หมด พูดแบบนี้ง่าย แต่ใน กระบวนการไม่ง่าย แต่เมื่อท่านผลิตอาหารขอให้มีมาตรฐานและคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ประเภทใดก็แล้วแต่ ทั้งการทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรแบบใช้สารเคมี ถ้ามีโรคพืชก็ต้อง ปราบ เหมือนมนุษย์ป่วยก็ต้องกินยา แต่อย่าให้มียาตกค้าง อย่าใช้ยาเกินเหตุ เราไม่ปฏิเสธ การใช้ ส ารเคมี ใครอยากทำเกษตรอิ น ทรี ย ์ ก ็ ท ำไป แต่ ถ ้ า พื ช และสั ต ว์ ป ่ ว ยต้ อ งหาหมอ อย่าปล่อยตามบุญตามกรรม อย่าให้มีสารตกค้าง ดังนั้น การผลิตขั้นต้นจึงต้องมีคุณภาพ ความปลอดภัย

ยุทธศาสตร์คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร หลักการ : ดูแลคุณภาพและความปลอดภัยอาหารในห่วงโซ่อาหารเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค และการค้าทัง้ ในและต่างประเทศ ซึง่ เป็นพืน้ ฐานของการแก้ไขปัญหาความยากจน ของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการค้า/ การตลาด สร้างความเป็นธรรม และอำนวยความสะดวกในการค้า เสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย สร้างมาตรฐาน ความปลอดภัย ให้เป็นมาตรฐานเดียว

การผลิตขั้นต้น • วิจัย/พัฒนาพันธุ์/GAP • ฟาร์มต้นแบบ • รวมกลุ่มเกษตรกร • Food educator

มาตรฐานอาหาร

- มีคุณภาพ - มีความปลอดภัย - มีคุณค่าทางโภชนาการ

สร้างระบบประกันคุณภาพ เช่น ระบบตรวจสอบ รับรองและห้องปฏิบัติการ

การผลิตอาหาร ในระดับชุมชน

ภาคอุตสาหกรรม อาหาร

• วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้/นวัตกรรม • แปรรูป/ ถนอมอาหาร/ลดการสูญเสีย • วัฒนธรรมท้องถิ่น • ยกระดับ/แหล่ง สถานีรวบรวม

• เสริมสร้างความเข้มแข็ง • ยกระดับการผลิต • สร้างมูลค่าเพิ่ม • เพิ่มขีดความสามารถสู่สากล

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 123


ถัดไปก็เอามาตรฐานนั้นมาผลิตอาหารชุมชน ที่เราเรียกว่า OTOP (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์) อยากเห็น OTOP มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มคุณค่า มูลค่า ขณะนี้ขอเรียนว่า ที่มาขายตามที่ต่างๆ ยังทำได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือยังสูญเสียเยอะ อยากให้มีการเพิ่ม มูลค่าอาหารด้วยการผลิตเป็น OTOP ญี่ปุ่นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีแนวคิดเรื่อง OTOP มีการปลูกแห้วขาย โดยมีขั้นตอนพิถีพิถัน เก็บแห้วมาปอกเปลือก บรรจุกระป๋องขาย ที่สหรัฐอเมริกา เขาทำระดับชุมชน เราจึงอยากเห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็น OTOP ไม่ว่าจะเป็นกล้วยตาก กล้วยฉาบก็แล้วแต่ ที่ผ่านมาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทุนมหาวิทยาลัยศิลปากรไปวิจัยร่วมกับชุมชนราชบุรี เรียกว่า Banana House มีผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งกล้วย กล้วยทุกประเภท มีการวิจัยเรื่องการสุกของกล้วย จึงอยากให้ชุมชน ร่วมกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาทำเรื่องนี้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่ม คุณค่าและมูลค่า ในระดับอุตสาหกรรม แทนที่จะส่งไก่หรือกุ้งไปขาย ก็ไปทำอาหารพร้อมบริโภค เช่น กุ้ง เครือซีพีเดิมส่งกุ้งไปขายกิโลกรัมละ 400 บาท ปัจจุบันมีการแปรรูปเป็นเกี๊ยวกุ้งเพื่อ เพิ่มมูลค่า หรือกรณีที่เกิดปัญหาโรคไก่ระบาด เราส่งไก่ดิบไม่ได้ ก็ส่งออกเป็นไก่ทอดเสร็จ พร้อมบริโภค เป็นต้น หลังจากที่ผลิตในระดับชุมชนและอุตสาหกรรมแล้ว ก็ต้องมีระบบประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เอาของตกมาตรฐานออกไป เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อการค้า เพื่อแก้ ความยากจน อยากให้เน้นเรื่องความพิถีพิถันปลอดภัย และมีการสร้างตราสินค้า หรือทำ แบรนด์เนมเพื่อค้าขาย ในยุทธศาสตร์ที่ 4 เรื่องอาหารศึกษา ต้องมีการศึกษาในห่วงโซ่ทั้งหมด ศึกษาเรื่อง การบริการ เรื่องของระบบข้อมูลข่าวสาร ขณะนี้จะมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารระดับตำบล จึงอยากเห็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพรวมเข้าไปด้วย อยากเห็นเรื่องการดูแล ทางด้านกฎหมายที่มี 30 ฉบับ ทำอย่างไรจะบูรณาการกันได้ ขณะเดียวกันก็มีองค์กรที่ดูแล สนใจด้านนี้ ลงไปที่ อบจ. อบต. และชุมชน เชื่อว่า แผนนี้จะทำให้ฐานทรัพยากรในการผลิตอาหาร สมบูรณ์และยั่งยืน ชุมชนและ เกษตรกรมีการผลิตอาหารที่เข้มแข็ง มีการจัดการเศรษฐกิจที่เป็นธรรม สร้างรายได้ ผู้บริโภค เข้าถึงอาหารมีคุณภาพ มีกลไกในการจัดการ และสร้างความเชื่อถือทุกระดับ 124 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ยุทธศาสตร์คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร หลักการ : เน้นกระบวนการส่งเสริมพัฒนา และวิจยั เพือ่ ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก ในการ ใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตและกระจายอาหารในห่วงโซ่อาหาร ตลอดจนพฤติกรรมที ่ พึงประสงค์ในการบริโภคอาหาร วิจัยพัฒนา

ผลลัพธ์

หลักปฏิบัติที่ดี

พื้นฐาน

อาหาร ปลอดภัย และมีคุณค่าทาง โภชนาการ • การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี • การรวบรวมองค์ความรู้ ในการผลิต • เผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง หลักปฎิบัติที่ดีด้านสุขลักษณะ • การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม

ความหลากหลายทาง โภชนาการสำหรับ การควบคุมและ ชีวภาพของพืชและ พืชและสัตว์ การป้องกันโรค สัตว์ (พันธุกรรม) พืชและสัตว์

การใช้ที่ดิน การจัดการน้ำ

ถ่ายทอดความรู้

ประเด็นที่ส ี่ ความมั่นคงด้านอาหารในระดับชุมชน

ยุทธศาสตร์นี้มุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารในทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน และประเทศ

ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ข้อปฏิบัติในการบริโภคอาหาร

ฉลากโภชนาการ

การบริโภค

การคุ้มครองผู้บริโภค

บุคคล/ครอบครัว & ชุมชนเป็นหลัก การแปรรูปอาหาร ลดการสูญเสีย • สูตรอาหารหลากหลาย • เสริมด้วยสารอาหาร

การผลิตอาหาร

• การบริการด้านสุขภาพ • การดูแลรักษา • การป้องกันและควบคุม ทุพโภชนาการ (ขาด-เกิน) • อาหารในโรงเรียน, อื่นๆ

การใช้ประโยชน์ ในร่างกาย การเฝ้าระวังและ ประเมินผล

ข้าวและธัญพืช ถั่ว ปลา ผลไม้ ไก่ ผัก ไข่ นม

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 125


ในระดับบุคคล มีการผลิตอาหารปลอดภัย เข้าถึงอาหารปลอดภัย มีการบริโภค อาหารที่ดี ระดับครัวเรือนและชุมชน ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้บัญชีครัวเรือนในการ จัดการ และใช้สหกรณ์ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และในระดับชาติ ก็สามารถแข่งขันได้และนำรายได้เข้าประเทศ ในเรื่องการผลิต เรามักจะเน้นแต่การผลิตจำนวนมากๆ แต่เราลืมเรื่องการค้าขาย และการตลาด หากอุปทานห่วงโซ่อาหารภาคการเกษตรมีความเข้มแข็ง เกษตรกรก็จะไม่จน ดังนั้นในเรื่องของการจัดการ จึงมีการทดลองการแบ่งเวลาเพื่อการเพาะปลูกอย่างในชุมชนใน ฟิลิปปินส์ โดยให้เกษตรกรเพาะปลูก 3 วันต่อสัปดาห์ และไปทำงานประเภทอื่นๆ ในวันที่ เหลือ โดยเกษตรกรมีชั่วโมงทำงานเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวันก็สามารถอยู่ได้ ทั้งนี้ในระดับชุมชน ต้องมีแผนอาชีพ และส่งเสริมให้เกษตรเป็น Food Educator ส่งเสริมให้ค้าขายเป็น รู้ความ ต้องการและเข้าใจตลาด รู้คุณภาพ ราคา สถานที่ และฤดูกาล เช่น ผลิตพืชที่เป็นที่ต้องการใน ตลาดต่างประเทศ แทนการแย่งกันผลิตข้าวราคาถูก ทั้งนี้ผู้ผลิตและผู้บริโภค ต้องเป็น Food Educator ต้องมีการส่งเสริมเกษตรกรรุ่น ใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ทำให้เกษตรกรเข้าถึงปัจจัยการผลิต รวมทั้งดิน และแหล่งน้ำ รวมถึงแนวคิดเรื่องโฉนดชุมชนซึ่งในรัฐบาลชุดก่อน (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้เริ่มในชุมชนกว่า 100 แห่ง ต้องมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี อย่างเรื่องพันธุ์พืช ปุ๋ย เรื่องการควบคุมป้องกันโรค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้พออยู่ พอกิน พอใช้ ในที่สุดก็จะเกิดความ อยู่เย็นเป็นสุข โดยแบ่งการใช้พื้นที่ก็คือร้อยละ 30 เป็นแหล่งน้ำ ร้อยละ 30 ปลูกพืชผัก ร้อยละ 30 เป็นนาข้าว และร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัย สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม อยากเห็นครอบครัว หมู่บ้าน โรงเรียน วัด อบต. สร้างความเข้มแข็ง หาช่องทางการตลาด วัฒนธรรมท่องเที่ยว มั่นคง และพึ่งพาตนเองได้ ทั้งนี้ บทบาทของผู้นำท้องถิ่นนั้น ต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำบัญชีครัวเรือน มีความรู้ด้านอาหารศึกษา สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ลดความขัดแย้งในชุมชน สนับสนุนให้ เกษตรกรผลิตอาหารคุณภาพปลอดภัย โดยสรุ ป แล้ ว เรื ่ อ งของความมั ่ น คงด้ า นอาหาร จึ ง ต้ อ งมุ ่ ง ไปสู ่ ค วามมั ่ น คงด้ า น โภชนาการ เพื่อให้สุขภาพดี ชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้พื้นฐานของการดูแลฐานทรัพยากรการผลิต ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มรายได้ ในที่สุดเมื่อมีการบริโภคที่ถูกต้อง ก็จะมีภาวะสุขภาพที่ดี 126 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


มุมมองและกระบวนทัศน์ ของผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ ต่อการพัฒนา สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ก่อนอืน่ ผมต้องกราบขอบพระคุณ 3 ส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง 1. สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่อนุมัติโครงการให้ไปทำงานสำคัญของประเทศ อันนี้ ต้องทำด้วยหัวใจและลงพื้นที่จริงๆ 10 จังหวัด 40 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่านคิดดู ว่าความเป็นนักวิชาการที่ลงไปคลุกฝุ่นกับเด็กและไปทำงานกับ อบต.นี่ขนาดไหน 2. ผลงาน ทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวผม แต่ขึ้นเกิดจากตัวเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ เราเป็นเพียงผู้ไป เยี่ยมเยือน ไปให้กำลังใจ ไปดูงานของเขา แล้วก็ไปถอดบทเรียนเท่านั้นเอง และสิ่งสำคัญ ที่ผมจะทำต่อไปคือพยายามเชื่อมงาน 40 อบต.กับพื้นที่เหล่านี้ให้ไปกับตัวนโยบาย ไปกับ

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วก็ให้ผู้ใหญ่ในชาติได้เห็นว่าหากเราจะสร้างเด็กและ เยาวชนไม่ให้ทะเลาะกัน ตีกัน หรือมีกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เรากำลังทำสงครามแย่งเวลากับความ เลวร้ายจากสิ่งแวดล้อมที่เต็มบ้านเมืองอยู่ในขณะนี้ เราต้องดึงเวลาเด็ก ดึงกิจกรรม ดึงพื้นที่ ให้เด็ก แล้วเขาจะสร้างชาติเอง ผู้ใหญ่อย่างเราเป็นเพียงผู้สนับสนุนส่งเสริมเท่านั้น 3. ท่านผู้นำท้องถิ่น ต้องขอบคุณมากๆ ที่ดูแลคณะนักวิจัยที่ลงพื้นที่เป็นอย่างดี ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แง่คิดต่างๆ กว่าจะถอดมาเป็นหนังสือ ซึ่งมีทั้งหมด 11 โมเดล 12 กรณีศกึ ษาทีป่ ระสบความสำเร็จในการจัดตัง้ สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล โดยบอกเล่าปัญหา และการใช้ภูมิปัญญา รวมทั้งการปฏิบัติในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาทีละเรื่อง ผมเรียนให้ทราบเลย ว่า การมีนโยบายจากรัฐส่วนกลางจากบนลงล่าง ผมยืนยันเลยว่าทุกนโยบายจะประสบความ สำเร็จจริงๆ ประมาณไม่เกินร้อยละ 30 ทุกนโยบายถ้าไม่มีหน่วยงานหรือผู้ใหญ่ลงไปช่วยเหลือ เด็กๆ หรือการทำงานในท้องถิ่น และการประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นให้เป็น ยากที่จะประสบ ความสำเร็จเกินร้อยละ 50 เมื่อปี 2553-2554 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มี นโยบายให้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล จำนวน 7,422 แห่งทั่วประเทศ และ หลังจากที่ สสส.ได้อนุมตั เิ พือ่ ให้ศกึ ษาเรือ่ งนี้ เราก็ได้ลงไปติดตามการทำงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบล 40 แห่ง ใน 10 จังหวัด

128 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ผมอยากเสนอเป็นคอนเซ็ปต์เล็กๆ ที่เกิดจากเสียงของเด็กที่พูดในท้องถิ่นว่า ขึ้นอยู่กับ การสดับตรับฟังของผูใ้ หญ่วา่ ท่านฟังเสียงเด็กเป็นไหม ซึง่ มีหลายประเด็นทีอ่ ยากให้กลับไปฟัง หากนายก อบต.หรือ อปท. ฟังเสียงเด็กเป็น เสียงนี้ก็จะกลายเป็นเสียงสร้างสรรค์ กลายเป็น เสียงดนตรี เป็นเสียงพิธีกร เสียงการประชุมร่วมกับผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเด็กทีอ่ อกมา ‘เต้นบีบอย’ ทีส่ มุทรสาคร เด็กกลุม่ นัน้ เบือ้ งแรกคือกลุม่ เสีย่ ง คนจะมองว่า เด็กเต้นบีบอยเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แต่เราเปิดพื้นที่ให้กับเขา ยอมรับเขา ขณะนี้เด็กเหล่านั้นกลายเป็นแกนหลักของจังหวัดในการจัดกิจกรรมทุกประเภท จากกลุ่มที่เคยแยกตัวทำกิจกรรม เพียงแต่ผู้ใหญ่ฟังเสียงของเขา เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ ขณะนี้ เด็กกลุ่มนี้กลายเป็นเด็กที่มีพละกำลังและช่วยเหลืองานของจังหวัดทั้งจังหวัด แต่หากว่า ท่านฟังเสียงเด็กไม่เป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เด็กจะมีความเสี่ยงในเรื่อง ยาเสพติด การเมา การทะเลาะวิวาท และเรื่องเชิงชู้สาว ปัญหาร่วมของ 40 อบต. ที่เราลงพื้นที่ พบปัญหาร่วม 4 ประเด็น คือ 1) ปัญหา ยาเสพติด ยาบ้ากลับมาระบาดรุนแรง 2) เด็กหญิงท้องก่อนวัยอันสมควร 3) เมาแล้วทะเลาะ วิวาท และ 4) เด็กทะลักออกจากระบบโรงเรียน ทุกๆ พื้นที่เราจะพบเด็กประมาณ 25-30 คน ทีอ่ อกจากระบบโรงเรียนกลางคัน และไม่มอี ะไรทำ ในทีส่ ดุ ก็รวมกลุม่ ตัง้ แก๊งค์ สร้างความวุน่ วาย ในสังคม ถ้าผูใ้ หญ่ไม่เข้าใจ ไม่ฟงั เด็ก เขาก็จะกลับไปทีก่ ลุม่ และทำในสิง่ ทีอ่ นั ตราย เป็นกลุม่ เสีย่ ง ที่น่ากลัว เราได้ฟงั เสียงของเด็กและผูใ้ หญ่ทเ่ี กีย่ วข้อง ตัวอย่างชีวติ ของผูใ้ หญ่โชคชัย ลิม้ ประดิษฐ์ ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 7 บ้านหนองกลางดง ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ประวัตชิ วี ติ ของท่านมืดมาตลอด เป็นนักเลงผ่านชีวิตมาโชกโชน สุดท้ายท่านกลับไปช่วยงานเด็กที่ท้องถิ่น ของท่าน จากเด็กทีเ่ คยขีม่ อเตอร์ไซค์เฉีย่ วกันไปเฉีย่ วกันมาจะตีกนั ท่านจับให้มาเล่นกีฬาด้วยกัน สุดท้ายเด็กรู้จักกัน ก็รักกัน ไม่ทะเลาะกันเลย เพราะฉะนั้นต้องมีกลวิธีที่จะทำให้เด็กที่ต่างคน ต่างอยู่ ต่างหมั่นไส้กัน จับมาเล่นกีฬาด้วยกัน ทำอะไรต่างๆ ร่วมกัน เพื่อที่ว่า สุดท้ายก็จะเป็น เพื่อนกัน ท่านนายก อบต.วอแก้ว จ.ลำปาง ผมประทับใจท่านมาก ท่านเป็นนายก อบต.หนึ่ง ในไม่กี่ท่านที่นั่งประชุมร่วมกับสภาเด็กฯ ตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า ท่านนายก อบต.เล่นกับเด็ก ประชุมกับเด็ก ทำงานกับเด็ก ทำให้สภาเด็กเดินหน้าไปได้ ท่านบอกว่า ท่านมีงบประมาณ 13 ล้านบาท แต่ท่านบริหารงบฯ โดยไม่สร้างถนน ไม่สร้างสาธารณูปโภค เพราะสิ่งเหล่านี้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 129


ทางหลวงชนบทช่วยสร้างได้ ท่านเอางบมาพัฒนาคุณภาพชีวติ มาพัฒนากลุม่ ผูส้ งู อายุ กลุม่ สตรี และกลุ่มเด็กและเยาวชน ตรงนี้เป็นมุมมองของนายก อบต.สมัยใหม่ คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ใช่คนรุ่นเก่าที่คิดแต่เรื่องการก่อสร้าง เรื่องสาธารณูปโภคแล้ว เพราะฉะนั้น เวลานี้หากใครด่าท้องถิ่น ผมจะด่าตอบกลับไปว่า คุณเข้าใจเรื่องท้องถิ่นเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว แต่ขณะนี้ท้องถิ่นนั้นเปลี่ยนไปแล้ว และเขาพัฒนาตัวเองไปมากมาย และคุณนั่นแหละที่ตกยุค ในกรณีเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ผมได้พบกับ คุณมยุรี ยกตรี พมจ.เชียงใหม่ ซึ่งหาก พมจ.ใน 77 จังหวัด มีแนวคิดแบบคุณมยุรี ผมคิดว่า งานการเชื่อมในระดับพื้นที่จะดี คือท่านใช้กรรมวิธี ‘ยอ เยี่ยม ยุ’ ไปทุกพื้นที่ คือ ใช้ทั้งลูกยอ ให้กำลังใจเยี่ยมเยียน และใช้ลูกยุ นอกจากนีย้ งั มีคำเด็ดของท่านรองนายก อบต.สำโรง ผมประชุมกลุม่ กับท่าน ท่านบอกว่า มีนโยบายสั่งลงมา ให้งบลงมา แต่ถ้าภายในองค์กรคือ อบต.ไม่ให้ความสำคัญ และไม่มี จิตสำนึกในเรื่องนั้นจะสำเร็จยาก ต้องเกิดจากภายในองค์กร และจากการที่ผมได้ทำงานกับ สภาเด็กและเยาวชนระดับประเทศ เขาบอกเลยว่า นโยบายสำคัญ 3 ด้านของเขา คือ ยาเสพติด สภาเด็กและเยาวชนระดับอาเซียน และสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล โดยจะทำสภาของ เขาเชื่อมกับสภาเด็กและเยาวชนระดับอาเซียน และลงไปสู่ระดับฐานราก เพื่ออุดในจุดอ่อน ที่สุดคือสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ต่อมาเป็นฮาร์ดคอร์ตัวจริงที่ จ.ยโสธร ซึ่งผ่านชีวิตด้านมืดมาอย่างโชกโชน เป็น ปราชญ์เด็กที่มีความคิดที่ลุ่มลึก แต่เมื่อเขาพูด ผู้ใหญ่มักฟังไม่เข้าใจ ถ้ามีผู้ใหญ่ที่คุยกับเขา แล้วบอกว่า คุณมีงบฯ เท่าไหร่จะทำงานนี้ คือยังมองโดยใช้เงินงบประมาณเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ใช้ ตัวเด็ก หรือตัวกิจกรรมโครงการเป็นตัวตั้ง เขาก็จะบอกเลยว่า พูดกันคนละภาษา มีตัวอย่างของเยาวชน ผู้ผลิตนวัตกรรมกิจกรรมเด็กและเยาวชนที่ จ.อุบลราชธานี เขาจะกระตือรือร้นตลอด การทำงานของเขา ผมคิดว่ามากกว่าข้าราชการระดับซี 8 ซี 9 แม้เป็นเพียงสภาเด็กฯ เขาบอกความล่าช้าของระบบราชการว่า แค่รอจดหมายฉบับเดียว ซึง่ ถ้า ส่วนกลางให้จดหมายกับเขา เขาสามารถตะลุยไปถึงเวียดนาม ไปถึงลาว กัมพูชาแล้ว ตรงนี้ มันต้องรัฐต่อรัฐ แต่ส่วนกลางก็รอและเกี่ยงกันไปมาว่า ใครจะเป็นผู้ออกจดหมาย ซึ่งเด็กไม่ ทำงานโดยรอระบบราชการ เขาทำด้วยความรู้สึกว่า เขาอยากทำ สถานการณ์และปัญหา ในแง่ของรัฐ เมื่อมีคำสั่งลงมาจากรัฐบาล เป็นนโยบายให้มี การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

130 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


(พม.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัญหา คือ ขาดการประสานงานระหว่างกระทรวง ไม่มีทีมที่ปรึกษา เด็กระดับประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย จัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนขึ้นมาแบบตัวใครตัวมัน ไม่มีคู่มือ ไม่มีองค์ความรู้ว่า จะดำเนินการได้อย่างไร ไม่มีหลักสูตรการฝึกอบรม ไม่มีงบประมาณ ไม่มีอะไรให้พวกเขาเลย ดังนั้นจึงทราบได้เลยว่า ผลจะเป็นอย่างไร มาดูในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการสำรวจพบว่า มีผู้นำท้องถิ่นประมาณ ร้ อ ยละ 30 ซึ ่ ง มี จ ิ ต ใจเรื ่ อ งการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต เมื ่ อ เห็ น นโยบายตรงนี ้ ก ็ จ ะเล็ ง เห็ น ช่องทางแก้ไขปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยงในชุมชนของพวกเขาได้ คนกลุ่มนี้จะมีวิสัยทัศน์ในเรื่องการ พัฒนาคุณภาพชีวิต มีตัวนโยบาย บุคลากร งบประมาณ สถานที่ กลุ่มผู้นำหลัก และหลักสูตร แต่ผู้นำท้องถิ่นที่ยังมีแนวคิดในเชิงการสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้าต่างๆ ก็จะไม่รู้จัก กลุ่มเด็ก พวกเด็กแว้นในชุมชน เราจะไปหาได้ที่ไหน เด็กต้องบอกว่า ให้ไปหาที่ร้านซ่อม มอเตอร์ไซค์ พวกเขาจะอยู่ที่นั่น นอกจากนั้นยังมีเรื่องอคติต่อเด็ก ซึ่งกรณีเด็กเต้นบีบอยเป็นตัวอย่างที่ดีมาก ชุมชน มักเกรงว่าเด็กเหล่านี้จะมีเรื่องความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการที่เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย ออกมาเล่นดนตรีเปิดหมวก ก็ถูกตั้งคำถามว่า มีพฤติกรรมชู้สาวหรือเปล่า ทีนี้สภาเด็กและเยาวชนจะริเริ่มอย่างไร เมื่อมีการตั้งแล้วตั้งใหม่กันอยู่หลายหน เราพบว่า มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลร้อยละ 70 ซึง่ ล้มเหลวจากการปฏิบตั ติ ามนโยบาย เราจะเห็นได้ว่า ทุกพื้นที่จะให้ส่งตัวแทนมาจากโรงเรียน แล้วเลือกให้ได้ครบตามโครงสร้าง ระบบ จากนั้นจึงส่งส่วนกลาง มีการประชุมกันสักครั้งหนึ่งแล้วก็จบ แล้วก็เลือกตั้งใหม่ คือ เป็นการตั้งตามระบบ ตั้งตามนโยบาย ตามโครงสร้างแล้วก็พับไป สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลมักมีการจัดงานอีเวนท์ เช่น งานวันเด็ก งานวัน เยาวชน แล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีงานที่ให้เด็กได้ทำ ได้ประชุม หรือจัดกิจกรรมด้วยตัวเขาเอง ให้ งบประมาณต่ำ มีการครอบงำเด็ก โดยหวังผลเลิศ จึงทำให้เกิดการบงการเด็กให้ทำสิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม การบงการนัน้ แม้เด็กจะทำตาม แต่กจ็ ะไม่มใี จให้ ผมจะไม่โทษเด็กเลย ลูกผมก็ต้องไปกวดวิชา ต้องไปเรียนพิเศษ ไม่มีเวลา ซึ่งเด็กในระบบที่เป็นตัวแทนเข้ามา เขาก็ จะติ ด เรี ย น ไม่ ม ี เ วลา ครอบครั ว ไม่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กลั ว เสี ย เวลาเรี ย นหรื อ เตรี ย มสอบ วันลา ผู้บริหารโรงเรียนก็บอกลาบ่อย ไม่ให้ลา หรือไม่นับว่าเป็นวันลา มีปัญหาต่างๆ มากมาย ส่วนเด็กนอกระบบก็ขาดโอกาส ต้องเผชิญกับอคติ ความไม่เชื่อถือ มีพฤติกรรมเสี่ยง

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 131


หากนายก อบต.หรือ อปท.ฟังเสียงเด็กเป็น เสียงนีจ้ ะกลายเป็นเสียงสร้างสรรค์ กลายเป็นเสียงดนตรี เป็นเสียงพิธกี ร เสียงการประชุมร่วมกับผู้ใหญ่ แต่หากว่า ท่านฟังเสียงเด็กไม่เป็น เด็กจะมีความเสีย่ งในเรือ่ งยาเสพติด การเมา การทะเลาะวิวาท และเรือ่ งเชิงชูส้ าว เราจึงมีคำถามงานวิจัยเกิดขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้สภาเด็กและเยาวชนยั่งยืนและ ดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นข้อแรก สอง ทำอย่างไรให้ผู้นำในสภาท้องถิ่น สนใจ สาม ทำอย่างไรให้สภาเด็ก มีกลุ่มเด็กทั้งในและนอกระบบ ขณะนี ้ ง านเกี ่ ย วกั บ การมี ส ่ ว นร่ ว มของเด็ ก และเยาวชนจะอยู ่ ใ นขั ้ น ที ่ 3 และ 4 คือ ทำพอเป็นพิธี และถูกมอบหมายให้ทำโดยรับทราบก่อน เด็กมีสว่ นร่วมน้อยในระยะเริม่ แรก แต่รอ้ ยละ 30 ที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ และลงไปทำกิจกรรมกับเด็ก จะไปถึงขั้นที่ 6 และ 7 แล้ว ซึ่งตรงนี้เป็นความแตกต่าง ผมมี 11 โมเดล แต่ไม่มเี วลาทีจ่ ะเสนอได้หมด หากทำได้กจ็ ะสวยงามหมดจดมากเลย เช่น ที่ ‘คูหาใต้โมเดล’ มีการตั้งสภาเด็กและเยาวชนแล้วล้มเหลว 2-3 ครั้ง เหมือนๆ กับทุกที่ แต่สุดท้ายเขาพบอย่างหนึ่งว่า เวลาเอาเด็กมารวมกัน อย่าเพิ่งไปเน้นตัวสาระมาก แต่ให้เขาได้ สนุกสนาน ทำกิจกรรม มีกีฬาสันทนาการ และจะเกิดผู้นำตามธรรมชาติขึ้น จากนั้นจึงมีการ ดึงเด็กที่เป็นผู้นำตามธรรมชาติ 3-4 คนมาขัดเกลา มาจัดตั้งกลุ่มและพัฒนา แล้วให้เด็กกลุ่มนี้ ไปดึงเพือ่ น หลังจากนัน้ ก็จะมีเวลาทีผ่ ใู้ หญ่ปรึกษาหารือกันว่า จะทำอะไรกันในชุมชน ซึง่ กลุม่ เด็กๆ จะเป็นคนบอกเองว่า เขาจะทำอะไร ผู้ใหญ่ที่ ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา น่ารักมาก นายก อบต.และรอง นายก อบต.เต็มที่กับสภาเด็ก ท่านเรียนรู้จากความล้มเหลว 2-3 ครั้งว่า มันเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น เด็กไม่มีเวลา ติดเรียน ติดสอบ พ่อแม่ไม่ให้มา ฯลฯ ท่านก็ค่อยๆ พัฒนาจากกลุ่มเล็กๆ 2-3 หมู่บ้านที่ท่านคุ้นเคยก่อน พอเด็กทำกิจกรรมมากขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้น เด็กซึ่งมี

132 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ธรรมชาติ คือต้องการเพื่อน ต้องการสังคม พวกเขาจึงค่อยๆ ทยอยเข้ามา งานเกี่ยวกับเด็ก

ก็จะกลายเป็นสิ่งที่พวกเขาคิดค้นกันเองว่าจะทำอะไร ซึ่งเขาบอกเลยว่า จะทำเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องภูเขา และเรื่องต่างๆ สุดท้ายคูหาใต้ก็ได้กลายมาเป็นสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล ทีส่ ามารถดำเนินกิจกรรมได้ จากเด็กทีไ่ ร้เดียงสา ไม่รเู้ รือ่ งอะไร จนในวันนีก้ ลายเป็นเด็กทีก่ ล้าพูด ฉะฉาน มีพัฒนาการทั้งตำบล จากการถอดองค์ประกอบของสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล ปัจจัยและเงื่อนไขที่ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คือ ตัวโครงสร้างไม่มีการประชุม ขาดสถานที่ ขาดกิจกรรม ไม่มีที่ปรึกษา งบประมาณน้อย เด็กติดเรียน อคติ ไม่รู้จักกลุ่มเด็ก ส่วน เงื่อนไขที่ทำให้ ประสบความสำเร็จ มีองค์ประกอบ 3 ฝ่ายที่สำคัญคือ ตัวผู้นำมีนโยบายส่งเสริม ลงพื้นที่ ให้งบประมาณ มีกิจกรรม และกลไก คือข้าราชการพนักงาน สุดท้ายคือตัวสภาเด็กและ เยาวชน หากมีอยู่ในพื้นที่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปแล้วร้อยละ 50 ข้าราชการจะเป็นผู้คัดเลือกผู้นำทางธรรมชาติ เพราะเขารู้จักเด็กในพื้นที่ทุกคน มีค่าย ฝึกอบรม เปิดโอกาสให้เด็กมีการประชุม ตัง้ ประเด็น สร้างกิจกรรม และตัง้ สภาเด็กและเยาวชน อย่ารีบร้อนตั้งตามโครงสร้าง แต่ให้เด็กรวมกลุ่มก่อน แล้วพวกเขาก็จะมีภาวะผู้นำธรรมชาติขึ้น ร่วมกิจกรรม ชักชวนเพื่อนร่วมประชุม แล้วร่วมสร้างแผน สร้างองค์ความรู้ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด ถือเป็นตัวหลักที่จะลงไปในพื้นที่ พร้อมกับสภาเด็กและ เยาวชนอำเภอ และ อบต.เพื่อที่จะพูดคุย แนะนำโครงการ มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ เพราะเป็น ผู้มีประสบการณ์ คือเป็นไปในลักษณะพี่สอนน้อง ตัว พมจ.จะเป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา และเป็นผู้ประสานงาน ส่วน สสส.เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ยกตัวอย่าง สภาเด็ก และเยาวชนที่คลองขวาง ใช้งบเพียง 50,000 บาทในการขุดลอกคลองทั้งคลอง ซึ่งหากเป็น หน่วยงานราชการ ต้องใช้งบประมาณเป็นหลักล้าน ตรงนี้เป็นเรื่องจิตใจ เมื่อเด็กหัวใจพองโต แล้วก็จะคิดการใหญ่ เมื่อคิดแล้วก็ทำเลย โดยเอาตัวเป้าหมายและตัวโครงงานกิจกรรมของเขา เป็นหลัก ไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่คิดแต่เรื่องงบประมาณ เอาเงินมาก่อน แต่เด็กคิดเรื่องความสนุก และการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นหลัก จะเห็นได้วา่ องค์กรต้นแบบจะมองปัญหาร่วม มีวสิ ยั ทัศน์ ร่วมมือเต็มทีเ่ ต็มเวลา ร่วมคิด ร่วมประสานงบประมาณพื้นฐาน และมีการปรึกษาหารือ ใครอยากไปดูสภาเด็กและเยาวชน สามารถไปได้ทค่ี หู าใต้ กับที่ ต.จะโหนง จ.สงขลา หรือที่ ต.วอแก้ว จ.ลำปาง และอีกหลายๆ พืน้ ที ่

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 133


สำหรับ ‘สันทรายหลวงโมเดล’ ที่ จ.เชียงใหม่ จะเป็นโมเดลเทศบาลตำบล ซึง่ เทศบาล ตำบลนีม้ ฝี า่ ยทีร่ เิ ริม่ คือสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด มี อบจ.และเทศบาลตำบล เด็กอยูใ่ นสังคม กึ่งเกษตรกึ่งเมือง เด็กจะใช้เวลาว่างเล่นเกม ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการคบเพื่อนฝูงที่ไม่ดี ที่สันทรายหลวง สภาเด็กและเยาวชนค่อยๆ เกิด โดยมีฝ่ายสนับสนุนที่สำคัญ คือ อสม. กศน.ตำบล และปราชญ์เด็ก ที่อยู่กับเด็กแล้วค่อยๆ ฟอร์มทีมขึ้นมา สุดท้ายจึงเกิดเป็น สภาเด็กและเยาวชนตำบลสันทรายขึ้น เมื่อไปดูที่เทศบาลตำบลสันทรายหลวงจะเห็นได้ว่า มีการใช้สถานที่อย่างเต็มที่ ทั้งในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยสถานที่ตั้งของเทศบาลตำบลเป็นสถานที่ตั้งของสภาเด็กและ เยาวชนด้วย เพราะฉะนั้นเทศบาลตำบลจึงเป็นบ้านหลังที่ 2 ของเด็ก เด็กคุ้นเคยกับผู้ใหญ่ มีการปรึกษาหารือกันได้ตลอด กิจกรรมที่เด็กคิดริเริ่มสามารถจัดได้ที่เทศบาลตำบล สุดท้าย ก็สามารถดึงเด็กทีก่ ำลังจะไปมิไปแหล่ ใช้เวลาไม่ถกู ต้อง ติดเกมหนักให้กลับมาทำกิจกรรมได้ ความจริงผมเชื่อนะครับว่า เด็กไทยทุกคนมีจิตดี เขาเรียกว่าจิตแรกเป็นจิตดี มี

จิตสาธารณะ และเป็นจิตที่รักตัวเอง แต่สถานการณ์ของปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ สร้างขึ้นมาโดยไม่คิดนั้น มีผลไปฆ่าเด็กทุกวัน ทำลายเด็กเรื่องจิตอาสา ทำลายจิตดีของเด็ก ทุกวัน ตรงนี้ต้องโทษผู้ใหญ่ อีกทั้งไม่มีการควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อมของเด็ก ปล่อยให้ร้านเกม ทั่วประเทศจ่ายส่วยตู้เกมจนระบาดเต็มบ้านเมืองไปหมด มาดูที่จังหวัดตรัง ที่ ‘ตรังโมเดล’ เป็นเทศบาลนครที่มีการริเริ่มจากผู้บริหารท้องถิ่น ที่บอกว่า ในพื้นที่ของตรังมียาบ้ากลับมาระบาด แล้วจะทำอย่างไร จึงมีการเชิญผมไปเป็น วิทยากรช่วยจัดตั้ง โชคดีมากได้สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนที่กลับจากสงขลามาอยู่ที่ตรัง เขาจึงกลายมาเป็นคนต้นคิด นี่คือรูปแบบที่เราต้องรักษาสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเอาไว้ เพราะคนเหล่านี้ทำงานดีมีประสบการณ์ แต่เมื่ออายุเกิน 25 ปี ก็หมดวาระ ซึ่งเรามีแนวคิด เรื่องการสร้างศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน เอาเด็กที่มีประสบการณ์หรือกลุ่มคนที่สนใจ กิจกรรมโครงการมาอยู่ที่ศูนย์นี้ เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดและ เทศบาลนคร เพราะฉะนั้นเด็กกลุ่มนี้ก็จะมีพี่เลี้ยงและเขาก็จะค่อยช่วยเหลือน้องตลอด รูปแบบของจังหวัดตรัง มีสภาเด็กฯ นคร สภาเด็กฯ ตำบล และสภาเด็กฯ จังหวัด แล้วก็มีโค้ช ตรงนี้เนื้อแท้มาจากตัวผู้บริหารเทศบาลนครกับตัวเด็ก ซึ่งขณะนี้ก้าวหน้าไปถึง ขั้นการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง ในส่วนบทบาทหน้าที่ เขาเริ่มสร้าง หลักสูตรของตนเอง เริ่มฝึกวิทยากร โดยที่สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นเป็นพี่เลี้ยง

134 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


จากโมเดลที่ผมยกตัวอย่าง สิ่งที่ผมจะให้ท่านต่อไป คือข้อค้นพบอันเป็นองค์ประกอบ ของความสำเร็จ คือ 1) สภาเด็กและเยาวชนที่เราไปพบนั้น เด็กตีโจทย์เป็น เมื่อมีนโยบาย หรือกิจกรรมต่างๆ เด็กจะปรึกษาหารือกัน คิดกันเอง เรียกว่าเด็กตีโจทย์เป็น 2) เด็กทำงาน กันเป็นทีม ซึ่งผมใช้คำว่า ‘ทีมเพลิน’ เพราะเด็กไม่ได้ทำงานแบบผู้ใหญ่ที่ต้องเอาเป็นเอาตาย เพื่อความสำเร็จ แต่เขาทำงานไป สนุกไป เป็นสาระปนสนุก ไปไหนไปกันเป็นกลุ่ม 3) ต้องมี

พี่เลี้ยง ในหลายๆ อบต.หลายๆ พื้นที่ สำนักการศึกษา สำนักพัฒนาชุมชน ผู้หญิงที่อยู่ใน พื้นที่ ผมอยากโคลนนิ่งเขาออกมาทุกคน เพราะตา จิตใจ วิธีการพูดของพวกเขามันเหมือนแม่ กับพี่อยู่ในเวลาเดียวกัน โดยมีความเป็นห่วงเป็นใย พูดคุย แนะนำดุบ้าง ชมเชยบ้าง บุคคล เหล่านี้ต้องยกย่องอย่างมากจริงๆ ถือเป็นพี่เลี้ยงที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เลย 4) การเปิดโอกาส เพิ่มพื้นที่ เพราะขณะนี้พื้นที่เสี่ยง พื้นที่เลวร้ายในสังคมมีมากกว่าพื้นที่ดีๆ ถึง 2 เท่า ถ้าท่านไม่ทำกิจกรรมและเพิ่มพื้นที่ดีๆ เด็กก็เข้าพื้นที่เลวแน่นอน แล้วเราก็จะมาเสียใจทีหลัง ว่าทำไมเราไม่ทำพื้นที่ชุมชนของเราให้มันดีกว่านี้ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการบริหารความขัดแย้ง งบประมาณที่เพียงพอ เครือข่าย มีความเข้าใจระบบราชการ และเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เด็กใช้เงิน ไม่เป็น ส่วน สสส.ก็มีระเบียบขั้นตอนการใช้เงินที่ยุ่งยาก ในขณะที่เด็กที่ทำงานโดยมี

จุดอ่อน คือเรื่องเงิน ทั้งนี้ ในส่วนสภาเด็กและเยาวชน มี 3 กลุ่ม คือ สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็ก และเยาวชนจังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับเริ่มต้น ระดับกลาง และระดับใหญ่ ซึ่งสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลนั้นเพิ่งเริ่มต้น ต่อไปสภาเด็ก และเยาวชนจังหวัดจะกลายเป็น Coaching (ผู้ฝึกสอน) ไม่ใช่พวกเรา เพราะฉะนั้นสภาเด็กและ เยาวชนในระดับเริ่มต้น เราต้องดูว่า เด็กมีความเป็นธรรมชาติหรือไม่ โดยเริ่มจากการพูดคุย กับเขา รับฟังสิ่งที่เขาริเริ่ม ฟังให้เป็น อย่าสั่งเป็นอย่างเดียว ให้ความสนใจกับเขา สนุกสนาน ตัวผมเองอายุ 60 ปีแล้ว แต่ยังพูดภาษาเดียวกับเด็ก นี่ไม่ได้โม้ นอกจากนั้นต้องเปิดโอกาสให้เด็กไปศึกษาดูงาน แล้วเด็กเขาจะบอกต่อกันเอง ที่ผ่านมามูลนิธิสยามกัมมาจล และ สสส.จัดพาเด็กไปศึกษาดูงาน เด็กเขาบอกว่า เขาได้ไปดู ต้นแบบ ได้ไปเรียนรู้ แล้วสุดท้ายเขาเอาแนวความคิดต่างๆ ไปประยุกต์ เด็กคิดเอง ประยุกต์เอง ทำเอง เพียงแต่ผู้ใหญ่พาเขาไปและให้โจทย์เขาบ้างเท่านั้นเอง

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 135


สำหรับสภาเด็กและเยาวชนระดับกลาง ซึ่งเป็นสภาที่เขาเริ่มทำงานมา 2-3 ปี เริ่มรู้ กระบวนการ รู้ขั้นตอน ต้องให้โอกาส ให้สถานที่ ต้องมีการประชุม มีบุคลากรที่คอย แนะนำ มีหลักสูตรที่เหมาะสม มีการพูดคุยแนะนำเสริมทักษะ มีค่ายพอเพียงทำงาน เป็น ไปดู Best Practice (ตัวแบบการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ) บ้าง ซึ่งขณะนี้ผมก็กำลังจับคู่ สภาเด็กและเยาวชนที่คลองขวาง จ.นนทบุรี กับที่ เสม็ดใต้ จ.กาญจนบุรี ให้ไปแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งให้มีตัวอย่างรุ่นพี่ มีความเป็นหุ้นส่วนกัน (Partnership) มีวิทยากร ท้องถิ่น เยี่ยมพื้นที่ สร้างบรรยากาศ ยกย่อง หากลุ่มชมรมเพิ่ม ส่วนการเขียนโครงการ หากเด็กยังเขียนโครงการไม่ดี เราก็ต้องเสริม ส่วนสภาเด็กและเยาวชนระดับที่เป็นมืออาชีพ เป็นระดับพี่เลี้ยง วิทยากร ซึ่งอยู่ใน สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดที่จะมาช่วย หรือมาเป็นผู้ Facilitator ให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีการ อบรมในหลักสูตรเฉพาะด้าน เช่น หลักสูตรเกี่ยวกับอาเซียนศึกษา หลักสูตรการเป็น วิทยากรให้กับเด็ก ทำเวิร์คช็อปนวัตกรรมพื้นที่ที่คิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็ก และศึกษา เปรียบเทียบคู่มือการบริหาร กล้าคิดนอกกรอบระบบบริหารราชการ แหล่งงบประมาณ ตัวอย่าง ที่สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองขวาง เด็กเพียง 5-6 คน คิดการใหญ่ ลอกคลองและเก็บขยะ ซึ่งตำบลนี้เป็นแหล่งทิ้งขยะของคนทั้งจังหวัดนนทบุรี เด็กจึงจับเรื่อง ขยะกับคลองเป็นหลัก และออกรณรงค์ จากการที่ผู้ใหญ่ในพื้นที่ขาดจิตสำนึก ใช้คลองเป็นที่ รองรับขยะ โรงงานอุตสาหกรรมทิ้งน้ำเสียลงคลอง ส่วนในที่นาก็มีการชะล้างปุ๋ยและยาฆ่า แมลงลงน้ำ ส่งผลให้ปลาตาย เด็กๆ เห็นปัญหาเหล่านี้ และหลังการลอกคลองที่ใช้งบ ประมาณเพียง 50,000 บาท เด็กๆ ประมาณ 50 คน ก็ได้ดึงพลังของชุมชนกลับมาทั้งชุมชน กรณีที่ ต.สันทรายหลวง จ.เชียงใหม่ มีปราชญ์เด็ก อสม.และ กศน.ตำบลที่ทำงาน ไปกับเด็กตลอดไม่เว้นเสาร์-อาทิตย์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีแกนหลักของเด็กและเยาวชน รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ด้วย ที่ผ่านมา ผมไปที่ ต.คำน้ำสร้าง จ.ยโสธร มีการทำสภาเด็กและ เยาวชนมา 2-3 รุ่น แต่ก็ล้มแล้วล้มอีก จนกระทั่งสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเข้ามาช่วยก่อตั้ง ค่อยๆ ทำ สุดท้าย อบต.ที่นี่กำลังทำเรื่องสถานที่ที่สำคัญที่สุดของจังหวัด คือ อ่างเก็บน้ำหลุบ หนองนอ ให้เป็นสถานที่จัดตั้งค่ายฝึกอบรมของเด็กและเยาวชน ยังมีอีกหลายเรื่องที่จะต้องพูด แต่ประเด็นที่ผมอยากฝากก็คือ หากท่านจัดตั้งสภา เด็กและเยาวชนระดับตำบล เทศบาลตำบล เทศบาลนคร และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำเร็จ คุณูปการ 2 ข้อ ที่เราจะเห็น คือ หนึ่ง เด็กที่อยู่ในพื้นที่ ในชุมชน อยู่ในท้องถิ่นของท่าน

136 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ซึ่งเป็นลูกหลานของท่าน ถ้าเขามีพื้นที่ มีโอกาส และได้มาทำกิจกรรมด้วยกัน จากเด็กที่อยู่ ห่างกัน ไม่เคยรู้จักกัน แต่พอมาทำงานด้วยกัน เมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาจะมีความรักถิ่นฐาน เขาจะเป็นกัลยาณมิตร เขาจะเป็นเพื่อนกัน เมื่อเติบโตขึ้น เขาจะเป็นผู้นำท้องถิ่น เป็นนายก อบต. เป็นสภาท้องถิ่น ผมเชื่อว่า เขาจะไม่ทำร้ายกัน ถึงแม้จะขัดแย้งกันก็จะใช้วิธีพูดจา ปรึกษาหารือ ไม่ยิงกัน สอง สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนขณะนี้เกินวิกฤติ แต่เป็นวิกฤติหนักจนไม่รู้จะ หนักอย่างไร ถ้าหน่วยเล็กที่สุดและสำคัญที่สุดไม่หันมาสนใจดูเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่ยังมัวแต่สนใจเรื่องสร้างถนน สร้างสาธารณูปโภค นั่นหมายถึง ท่านกำลังนำสิ่งที่ไม่ด ี

ทั้งหลายเข้ามาสู่ชุมชนของท่านโดยไม่รู้ตัว เพราะเมืองยิ่งเจริญ ท้องถิ่นยิ่งเจริญ ยิ่งนำความ ฉิบหายมาโดยไม่รู้ตัว เมื ่ อ ท่ านมีความรู้สึกว่าพอแล้วสำหรับเรื่องสาธารณูปโภค แล้วกลับมาทำเรื่อง คุณภาพชีวิต มาใส่ใจเรื่องเด็กและเยาวชน ยกตัวอย่างปัญหาของเด็กแว้น มีนายก อบต.บอก กับผมว่า ได้ดา่ ได้เตือน แต่เด็กยิง่ บิดแรง นัน่ แสดงว่า ท่านฟังเสียงเด็กไม่เป็น เพราะเด็กยิง่ ถูกด่า ถูกว่า ยิ่งทำให้เกิดการต่อต้าน แต่หากท่านฟังเสียงเด็กเหล่านี้เป็น เดินเข้าไปหา และรับฟัง พวกเขา เด็กกลุ่มนี้จะมาเป็นมือซ้ายมือขวาของท่านในการแก้ไขเยียวยาปัญหาในแต่ละชุมชน แล้วหลังจากที่ได้เข้าไปหาและทำความรู้จักเด็ก จัดตั้งกลุ่มชมรมเด็ก อย่าเพิ่งตั้งสภาเด็กและ เยาวชน เพราะเด็กเมื่อมารวมตัวกัน เขาจะทำงานตามที่เขาถนัด ท่านเพียงแต่ให้คำปรึกษา หาพี่เลี้ยงให้เขา พูดคุยแนะนำกับเขา สุดท้ายเด็กเขาจะเลือกว่าเขาจะทำเรื่องอะไรดีๆ ให้กับ ชีวิตของเขา เด็กคิดเป็น รักเป็น เราอย่าดูถูกเด็ก สุดท้ายปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยง เรื่องยาเสพติด เรื่องคุณแม่วัยใส เรื่องเด็กทะเลาะวิวาท ในชุ ม ชน เมื ่ อ จั ด ตั ้ ง สภาเด็ ก และเยาวชน ให้ เ ด็ ก ทำกิ จ กรรม ไม่ ว ่ า เรื ่ อ งดนตรี ศิ ล ปะ แข่งเรือปลอดเหล้า ฯลฯ มันก็ดึงเด็กจากภาวะเสี่ยงทั้งหมดเข้าสู่ภาวการณ์เป็นพลเมืองที่มี คุณภาพ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราไม่รอรัฐบาลส่วนกลาง รัฐบาลส่วนกลางจะแก้ปัญหา เรื่องน้ำท่วมหรืออะไรก็ตาม แต่สำหรับท้องถิ่น ท่านกำลังจะปล่อยหรือกำลังจะดูแลเขา ต้องเลือกเอา และไม่วา่ เรากำลังจะฟังเด็กหรือเรากำลังจะไม่ฟงั เด็ก เด็กก็จะเติบโตขึน้ ทุกวัน เขาจะเป็นคนดี คนมีปัญหา หรือคนที่สำคัญของสังคม ขึ้นอยู่กับที่ท่านกำลังทำงาน กับเด็กนั่นเอง

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 137



บทบาทชุมชนท้องถิ่น กับการพัฒนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สมพร ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


วันนีช้ มุ ชนท้องถิน่ ของเราได้ทำเรือ่ งศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก จนกระทัง่ เป็นที่

ยอมรับ นี่คือความสำเร็จชิ้นโบแดงของท้องถิ่นในภารกิจที่รับถ่ายโอนมาก็ว่าได้ เพียงช่วงระยะ เวลา 4-5 ปี เราสามารถผลักดันและพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีความก้าวหน้า มีความเข้าอก เข้าใจในตัวของอุดมการณ์หรือหลักคิดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่า เป็นศูนย์พัฒนาคน ไม่ใช่ ศูนย์รบั เลีย้ งเด็กดังทีไ่ ด้รบั ถ่ายโอนมาตัง้ แต่แรก และเชือ่ เหลือเกินว่า หากท้องถิน่ ไม่รบั ถ่ายโอน ตรงนี้มา และไม่มาขับเคลื่อนเรื่องนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในบ้านเราก็คงยังไม่เกิด หรือถ้าเกิด ก็คงกระท่อนกระแท่น ไม่กระจายไปทั่วประเทศอย่างทุกวันนี้ สิ่งที่ผมเคยใฝ่ฝันและพูดกับผู้บริหาร สมาชิก รวมทั้งผู้ดูแลเด็กมาตลอดช่วง 2 ปีที่อยู่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นอกเหนือไปจากความก้าวหน้าของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน แนวคิด รวมทั้งความก้าวหน้าของผู้ดูแลเด็กที่มีความมั่นคงมากขึ้นก็คือ การได้เห็นเด็กไทยทุกคนในช่วงอายุ 3-5 ปี ได้รบั การดูแลจากท้องถิน่ รับเด็กทุกคนเข้า มารับการพัฒนาขัน้ พืน้ ฐานทีศ่ นู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก นีค่ อื ความใฝ่ฝนั ทีอ่ ยากจะฝากไว้ ในช่วงที่อยู่ด้วยกันที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เราเจอผู้ดูแลเด็กทีไรก็เห็นแต่ น้ำตา เจอแต่เสียงร้องขอโน่นขอนี่ ถึงขนาดร้องเพลงอ้อนอธิบดีฯ ว่า ไม่ไหวแล้ว อย่างโน้น อย่างนี้ แต่ถึงวันนี้เราเห็นความก้าวหน้า มีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ผมไปเจอผู้ดูแลเด็ก ทีไ่ หนก็ยม้ิ แย้มแจ่มใส และยังได้เห็นพัฒนาการทีด่ ขี น้ึ ในทุกภาคส่วน เหลืออย่างเดียวว่า จะทำ อย่างไรให้ทุกคนในชุมชนของท่านได้เข้าใจเหมือนที่ผู้ดูแลเด็กหรือผู้บริหารที่เข้าใจว่า เด็กเล็ก หรือเด็กปฐมวัย คือผู้ที่เราจะต้องดูแลเขาอย่างดี ในฐานะการปูพื้นฐานของการสร้าง คน ซึ่งเป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง และเป็นหัวใจของการแก้ไขปัญหาทั้งหลายทั้ง ปวงของบ้านเมืองเรา เพราะที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรู้สึกของคนทั่วไป คือศูนย์ รับเลีย้ งเด็กหรือศูนย์ชว่ ยเหลือเด็ก สำหรับคนทีไ่ ม่มเี วลาดูแลลูก หรือว่ายากจนทีเ่ อามาฝากทีศ่ นู ย์ ประเทศทีเ่ ขาเจริญแล้ว ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งกับคนมาเลเซียจนถูกไล่ไปอยู่ในเกาะขนาดเล็กทางตอนใต้ของ

140 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประเทศ เพราะเชื่อว่าจะทำให้อดตายได้ แต่ด้วยการเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ประกอบกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่เห็นว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ ‘คน’ จึงให้ความสำคัญ กับการพัฒนาคนในทุกระดับ จนคนของเขาเติบโตมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ ‘คน’ ซึ่งเป็น ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชุมชน ของสังคม ของประเทศชาติ ของชนชาติ ของโลกนี้ คือผู้ที่จะ ทำให้เกิดสิ่งที่ทั้งดีและไม่ดีในสังคมทั่วไป เขาสามารถพัฒนาคน จนกระทั่งมีคุณภาพและ สามารถพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองของเขาให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ เจริญก้าวหน้าจน เป็นผู้นำในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งๆ ที่ตอนเริ่มต้นประเทศ เชื่อกันว่า เขาต้องล้มหายตายจากไป อย่างไม่มีอะไรจะกิน ถึงวันนี้สิงคโปร์ก็ยังถือว่า ทรัพยากรคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เขายังพัฒนาอยู่ และพัฒนาอย่างก้าวหน้า ถึงขนาดมีการสอนวิชาเทคโอเวอร์ (ครอบงำ หรือซื้อกิจการ) ให้กับ คนของเขา และไปเทคโอเวอร์ธุรกิจในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย และกอบโกยผล ประโยชน์จากทรัพยากรในประเทศของเรา จากผืนดินของเรา จากแรงงานของเรา ฯลฯ มีอย่างเดียว ที่เขาไม่เอาไว้ในประเทศเรา คือกำไรจากการลงทุน ซึ่งเขาเอากลับไปยังประเทศของเขา ผมเคยได้ยนิ ได้ฟงั คำพูดทีด่ เู หมือนกับขำ แต่มนั สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เรือ่ งคน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญจริงๆ คือฝรั่งเขาพูดว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ พร้อมหมด และสามารถทำให้มันเจริญก้าวหน้าได้ แต่ขาดอย่างเดียว เขาบอกว่าถ้าประเทศ ไทยจะเจริญ ต้องไม่มีคนไทยอยู่ในประเทศ เจ็บแสบไหม ท่านเข้าใจไหมครับที่ว่า ‘ต้องไม่มีคน ไทยในประเทศไทย’ เพราะอะไร นั่นเพราะคนไทยไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถที่จะใช้ทรัพยากร ใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างมากมาย ทั้งทุนทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มันแข็งแกร่ง เราไม่รู้จัก ใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แล้วเราก็ไม่เคยคิดที่จะสร้างคน เมื่อทุนนิยมเข้ามาก็ถูกทุนนิยมครอบจน กระทั่งไม่เหลืออะไร ณ วันนี้ผมคิดว่าสมองคนไทยก็โดนครอบไปแล้ว เพราะอะไรเราก็ตามเขาหมด และ ถ้าท้องถิ่นของเราไม่คิดที่จะมาช่วยกันสร้างคน ซึ่งเป็นบทบาทที่ชัดเจนอยู่แล้วของท้องถิ่นที่จะ ต้องดูแลคนทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย บ้านเมืองก็ไปไม่รอด ความอยู่รอดของประเทศจึงอยู่ที่ ท้องถิน่ หากวันนีท้ อ้ งถิน่ ไม่เตรียมคนสำหรับอนาคตข้างหน้า ทรัพยากรบ้านเราทีม่ มี ากมาย ก็คง ไม่สามารถจะรักษาหรือไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อบ้านเมืองของเราได้ ถ้าเราไม่สำนึกในวันนี้ เราจะไม่มีอะไรกิน และเราก็ไม่รู้ว่าคนไทยในอนาคตจะอยู่ อย่างไร หรือจะมีประเทศไทยอยูบ่ นโลกนีอ้ กี หรือเปล่า หรือจะมีเพียงประเทศไทย แต่ไม่มคี นไทย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 141


เราไม่ได้สร้างคน เราไม่ได้สร้างคนของเราให้มีคุณภาพ ในการใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างมากมาย ไม่ได้สร้างคนให้มีปัญญาในการที่จะอยู่ให้ได้ กับการเปลี่ยนแปลง อยู่แล้ว เพราะมันไม่ใช่วิถีของคนไทย ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีศิลปะของคนไทย เพราะเราไม่ได้ รักษาสิ่งที่เป็นหัวใจของสังคมของเราเลย นั่นก็คือ ‘คนไทย’ นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้พวกเราคิด คิดไปให้มากกว่าภารกิจของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่ง ไม่ได้เป็นเพียงเรือ่ งการดูแลเด็ก 3-5 ขวบ ความจริงมันมีความสำคัญทีย่ ง่ิ ใหญ่กว่านัน้ มหาศาลนัก อย่างไรก็ตามความภาคภูมิใจที่ใครก็ตามพูดถึงในการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็ก 3-5 ขวบนี้ ผมคิดว่ามันยังไม่เพียงพอ การดูแลคนตั้งแต่เกิดจนตายก็ยังไม่เพียงพอ การสร้าง กระบวนการเรียนรู้ซึ่งยังขาดอยู่มากในสังคมไทย ทำให้สังคมไทยไม่ใช่ ‘สังคมเหตุผล’ แต่กลายเป็น ‘สังคมอารมณ์’ ไม่ใช่สังคมแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่สังคมปัญญา ตรงนี้เป็นอุปสรรค สำคัญ และเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “ถ้าประเทศไม่มีคนไทยแล้วประเทศไทยจะเจริญ” เราจะ ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นหรือ หรือเราจะอยู่ไปวันๆ แล้วตามฝรั่งไป ตามนายทุนไป ปล่อยให้ผู้มี อำนาจใช้เงินซื้อและหาประโยชน์จากเราโดยที่เราก็เพลิดเพลินกับการได้อะไรมาง่ายๆ โดยที่ ไม่ได้เห็นคุณค่าของชีวิต คุณค่าของแผ่นดิน หรือคุณค่าของความเป็นชาติบ้านเมือง ผมจึงไม่อยากให้มองภารกิจศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ว่าเป็นแค่ภารกิจการดูแลเด็ก 3-5 ปี แต่มันมีความหมายมีความสำคัญมากไปกว่านั้น และไม่อยากให้เราหยุดแค่การดูแลคนเฉพาะ อายุ 3-5 ปี หรือระดับปฐมวัยเท่านั้น ผมเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าเราหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยไม่ต้องรอแผน พัฒนาชาติซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่ชาติจะหันมาพัฒนาคนกันได้ตามที่มีเขียนไว้ว่า ให้เน้นการพัฒนาคน ซึ่งก็สายไปเสียแล้ว ความจริงประเทศที่เจริญ ยกตัวอย่างญี่ปุ่น แม้แพ้สงครามโลก แต่ก็ พัฒนาคนจนประสบความสำเร็จ อเมริกา ประเทศตะวันตกต่างก็พัฒนาคน ให้ความสำคัญ กับคน เพราะฉะนัน้ อยากให้พวกเรามองทัง้ ระบบ มองให้เห็นสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต แล้วเอา

142 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในบ้านเมืองของเรา มาหลอมรวมให้เป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อที่ เราจะเห็นถึงภารกิจที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญนี้ ส่วนตัวผมเอง ไม่รู้จะช่วยอะไรไปได้มากกว่านี้ แต่ก็ดีใจที่ได้ใช้ความพยายามมา 2 ปี เพื่อทำสิ่งนี้ในฐานะที่มีโอกาสในราชการในฐานะอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จทีเ่ ราเห็น ผมคิดว่าต้องถือเป็นผลงานชิน้ โบว์แดงของท้องถิน่ จึงอยาก ให้กำลังใจ แต่ก็อยากฝากข้อคิดที่เป็นภาระที่หนักอึ้งสำหรับพวกเราข้างต้นไว้ และย้ำว่า นี่ไม่ใช่ภาระของท้องถิ่นหรือผู้ดูแลเด็กเท่านั้น แต่ภาระการสร้างคนเป็นเรื่องของพวกเราทุกคน ที่จะต้องพึงตระหนัก ในฐานะที่เรายังไม่ใช่สังคมเรียนรู้ ไม่ใช่สังคมปัญญา เราจึงจำเป็นจะ ต้องใฝ่รู้และสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับตัวเองไปพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ ขอฝากถึงท้องถิ่น ฝากพวกเราเป็นข้อคิดอีกข้อ นั่นก็คือ การเข้ามาของ ประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า เพราะในขณะที่พวกเราคิดว่า เราจะมีความเจริญมาก ยิ่งขึ้น แต่ผมไม่แน่ใจว่า เราจะมองถูกหรือเปล่า ความเจริญที่ว่านี้ เป็นความเจริญที่แท้จริง ที ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คมหรื อ ประเทศของเราจริ ง หรื อ ไม่ เพราะจากประสบการณ์ จากตัวอย่างทีเ่ ห็นของการเข้ามาของทุน ก่อนการเปิดประชาคมอาเซียนในบ้านเรา มันมีความ ชัดเจนว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีกับชุมชนหรือบ้านเราเท่าไหร่เลย การเข้ามาของทุนต่างชาติโดยใช้ประชาธิปไตยเป็นข้ออ้าง เมื่อมาผนวกกับทุนของเรา ณ วันนี้มันได้สร้างความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมเรามากมาย คนรวยกับคนจน เมื่อก่อนอยู่ด้วยกันได้ อยู่กันแบบที่ไม่ต่างกันนัก แต่ในวันนี้มีคนรวยไม่กี่ตระกูล และที่สำคัญ มันได้สร้างความแตกแยกไปสู่การแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ และอ้างอำนาจอธิปไตยของ พวกเราทุกคนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของกลุ่มพรรคพวก ด้วยการร่วมมือกันทั้งทุนและ นักการเมือง และในฐานะข้าราชการทีเ่ พิง่ เกษียณอายุ ขอเรียนว่า มันไม่ใช่เฉพาะทุนและนักการเมือง ทีเ่ ราเคยพูดกันว่าเป็นธุรกิจการเมืองเท่านัน้ ณ วันนีข้ า้ ราชการก็กลายเป็นเครือ่ งมือนักการเมือง ไปแล้ว ซึ่งไม่รู้ว่าจะเหลืออะไรให้กับพวกเรา ถ้าพวกเราไม่ตระหนักและไม่สร้างความเข้มแข็ง ให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมจึงไม่มั่นใจว่า การเข้ามาของประชาคมอาเซียน จะทำให้ประเทศเรา เจริญจริงหรือไม่ หลายคนพูดว่า การเข้ามาของประชาคมอาเซียนนั้น ไม่แน่ใจว่าประเทศไทย จะกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีนหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 143


ผมไม่แน่ใจว่า เราภาคภูมิใจต่อความเป็นเอกราชของชาติไทยหรือเปล่าในขณะนี้ แต่ตัวผมเองไม่ค่อยภาคภูมิใจในความเป็นเอกราชเท่าไหร่ เพราะผมไม่มั่นใจว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยเป็นเอกราชจริงหรือไม่ การเข้ามาของทุนโดยเฉพาะทุนต่างชาติ เขาเข้ามาเพื่อ แสวงหากำไร เขาเข้ามาใช้พื้นที่เรา ใช้คนของเรา แรงงานของเรา ทรัพยากรของเรา ใช้แผ่นดิน ของเรา ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างบนผืนแผ่นดินของเรา และสิ่งที่เขาได้ไปคือกำไร ไม่ได้เอาไว้ที่ ประเทศเรา ไม่ได้เอามาพัฒนาประเทศเราเลย เขาเอากลับประเทศเขาทัง้ หมด ผมก็อยากจะถาม หรือใครก็ได้ช่วยตอบหน่อยก็ได้ว่า มันต่างกันไหมกับการเป็นเมืองขึ้นในสมัยก่อน การเป็นเมืองขึ้นในสมัยก่อน ใครเป็นเมืองขึ้นก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ ประเทศที่เป็นเจ้าเมืองขึ้น มันต่างกันไหมครับ มันอาจจะต่างด้วยวิธีการ แต่ในสาระสำคัญ ผมว่ามันไม่ได้ต่างกัน ผมถึงไม่ค่อยภาคภูมิใจในเอกราชของความเป็นไทยในวันนี้สักเท่าไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่ได้สร้างคนของเราให้มีคุณภาพในการใช้ทรัพยากร ที่เรามีอยู่อย่างมากมาย ไม่ได้สร้างคนให้มีปัญญาในการที่จะอยู่ให้ได้กับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้ในฐานะที่มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับพวกเราอีกสิ่งหนึ่งก็คือ พวกเราจะต้องเรียนรู้ให้มากที่สุดจากการเข้ามาของสังคมทุนนิยม ก็คือการเรียนรู้เพื่อให้เราอยู่ได้กับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเข้ามาของทุนซึ่งค่อนข้างจะ รวดเร็วและค่อนข้างจะอันตรายต่อเรา เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้ และต้องทำให้เรา แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งผมคิดว่า แนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่สมบูรณ์ที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่าน ไม่เคยพูดเรื่องการต่อต้านทุนนิยม ไม่ได้พูดว่า ทุนนิยมนั้นเป็นอันตรายอะไร ท่านเพียงแต่ให้ ปรัชญาว่า การจะอยู่ในสังคมได้กับสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ จะต้องใช้ปัญญา ใช้เหตุและผล อยู่อย่างพอเพียง เพือ่ จะได้เป็นภูมคิ มุ้ กัน ใช้สติปญ ั ญา ใช้การศึกษา การมีความรู้ กับการมีคณ ุ ธรรม ท่านไม่ได้บอกว่าต่อต้านทุน แต่ท่านสอนให้เรารู้เพื่อที่จะอยู่กับทุน หรืออยู่กับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม อยู่ในโลกใบนี้ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนและแสดงทัศนะจากที่ได้พบ ได้คุย ได้เห็นมา อย่างน้อยท่านอาจเอาไปคิดว่า สิ่งที่ได้พูดคุยกับท่านนี้เป็นความจริงหรือไม่ จะเอาไปใช้ในการ ทำงานหรือดำรงตนของท่านได้มากแค่ไหนหรือไม่ ผมเชื่อเหลือเกินว่า เรายังมีเวลาพอที่เราจะช่วยกันสร้างคนเพื่อมารักษาบ้าน รักษาเมืองได้

144 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


การรับมือภัยพิบัติ ด้วยชุมชนท้องถิ่น

ดร.พิจิตต รัตตกุล คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) และผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกัน ภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC)


เป็นทีแ่ น่ชดั ว่า ภัยพิบตั ติ อ่ ไปนี้ จะเกิดอย่างถีข่ น้ึ เข้มข้นขึน้ และมี

รูปแบบที่แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็นอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น ใครที่คิดว่าเรื่องภัยพิบัต ิ

เป็นเรื่องที่นานๆ มาที เมื่อมาทีก็แก้กันที อันนี้ไม่จริงอีกต่อไป และคนที่จะได้รับผลกระทบจาก สิง่ เหล่านีก้ อ่ นก็คอื ชุมชนในท้องถิน่ ต่างๆ โดยเฉพาะชุมชนทีอ่ ยูบ่ ริเวณเชิงเขา ริมน้ำ อยูท่ ร่ี มิ ทะเล ชุมชนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบก่อนใคร ใน 24 ชั่วโมงแรก จะไม่มีความช่วย เหลือจากส่วนกลางไปถึง จำได้ไหมครับเมื่อปี ค.ศ. 2004 เกิดเหตุการณ์สึนามิ หลายๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชน หรือตำบล หรือหมู่บ้าน ถูกทิ้งเอาไว้ถึง 24 ชั่วโมง 30 ชั่วโมง 40 ชั่วโมง กว่าจะมีความช่วยเหลือจากส่วนกลางเข้าไปถึง นี่คือข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ ได้ ชุมชนหรือคนในท้องถิ่น คือคนที่เผชิญหน้ากับภัยพิบัติก่อนเพื่อน ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ คนในชุมชนนั้นรู้มากกว่าคนในส่วนกลางในเรื่อง ของการจัดการรับมือกับภัยพิบตั ิ ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ในชุมชนสัง่ สอนกันมา ให้รเู้ ส้นทาง รูค้ วามเสีย่ งภัย รู้มากกว่าคนจากกระทรวงต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ คนในกระทรวงต่างๆ ไม่รู้หรอกครับ คนใน ท้องถิ่นรู้มากกว่า แต่ถึงแม้บอกว่ารู้มากกว่า ในวันนี้เป็นต้นไปก็ยังต้องรู้มากขึ้นไปอีก เพราะ ภัยพิบตั จิ ะเกิดเข้มข้นขึน้ ถีข่ น้ึ แปลกๆ ใหม่ๆ ขึน้ เพราะฉะนัน้ ความรูด้ ง้ั เดิมในชุมชนนัน้ ถึงแม้วา่ จะรู้มากกว่าคนของรัฐบาลในส่วนกลาง แต่ก็ยังคงต้องขวนขวายเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไปอีก สาเหตุที่ภัยพิบัติจะเกิดถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น แปลกขึ้นนั้นไม่ใช่อื่นไกล แต่เป็นเพราะความ เปลี่ยนแปลงที่เรียกกันว่า ‘โลกร้อน’ เมื่อเกิดโลกร้อน ระดับน้ำในมหาสมุทร ในทะเลก็จะ เปลี่ยนแปลงไป เกิดความเปลี่ยนแปลงของลม ความเปลี่ยนแปลงของพายุ ความเปลี่ยนแปลง ของไหล่ทวีป ความเปลี่ยนแปลงของน้ำในชั้นใต้ดิน แทบทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปหมด ตรงนี้เป็น สาเหตุให้อะไรๆ ก็ดูไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ใครที่บอกว่า ภัยพิบัตินั้นนานๆ มาที โลกร้อนเหรอไม่ต้องห่วง เปิดพัดลม อาบน้ำ ปะแป้งมันก็หายร้อนนั้น ไม่ใช่แล้ว เพราะที่แท้ มันคือสาเหตุสำคัญยิ่งที่จะ ทำให้เราเสียหายในชีวติ ดูเฉพาะปีทแ่ี ล้ว มีภยั พิบตั ทิ างธรณีวทิ ยา มีภยั พิบตั ทิ างอุตนุ ยิ มวิทยา และภัยพิบัติทางอุทกภัย สารพัดภัยพิบัติเกิดขึ้นทั่วโลก ญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ และ

146 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ระบบเตือนภัยสมัยใหม่ ไม่ใช่ระบบเตือนภัยอย่างทีเ่ รารูๆ้ กัน คือกดกริง่ แล้ววิง่ ซึง่ มันไม่ทนั แต่เป็นการเอาข้อมูลให้ชาวบ้าน ให้ผนู้ ำชุมชนได้รบั ทราบก่อนล่วงหน้า ซึง่ ถือเป็นการเตือนภัยทีด่ ที สี่ ดุ เพราะว่าเวลาเขากดปุม่ สัญญาณ ชาวบ้านจะรูเ้ ลยว่าต้องทำอะไร เกิดคลื่นยักษ์สึนามิแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของเราเมื่อปี ค.ศ. 2004 แต่มีความรุนแรงกว่ามาก ทำให้มีคนตาย 20,000-30,000 คน ในประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าอเมริกา ญี่ปุ่น ต่างได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในปี

ที่ผ่านมา แต่เชื่อไหมครับ มีข้อมูลที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าซีกโลก ตะวันตก หรือทางตะวันออก จำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติไม่ต่างกันมากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 60: 40 โดยเกิดในฝั่งเอเชียร้อยละ 60 ฝั่งตะวันตกร้อยละ 40 แต่ที่แตกต่างกันมากที่สุด คือความ เสียหายต่อชีวิต การล้มตาย การเจ็บป่วย การสูญเสียทางเศรษฐกิจ คนที่อยู่ในแถบเอเชีย

เสียหายมากกว่าเยอะ เพราะประเทศในแถบนี้ไม่คุ้นเคยกับภัยพิบัติ และเราเป็นประเทศ หนึ่งที่ให้การสนับสนุนชาวบ้านเพื่อให้เขาป้องกันตัวเองได้ไม่เพียงพอ พายุและน้ำท่วม เป็นสาเหตุใหญ่แห่งความสูญเสีย มาดูเฉพาะในแถบเอเชียที่ได้รับ ความเสียหายนัน้ มากมายเหลือเกิน เชือ่ ไหมครับว่า ความเร็วของพายุทพ่ี ดั ผ่านในประเทศจนๆ อย่างประเทศเรา บังกลาเทศ หรือพม่า กับความเร็วของพายุทผ่ี า่ นประเทศรวยๆ เช่น ในอเมริกา หรือยุโรปอื่นๆ ความเร็วของพายุเท่ากัน แต่พวกเราตายมากกว่ามาก ทวีปอเมริกามีพายุหมุน แคทรีนา ทางฝั่งปากีสถาน บังคลาเทศมีพายุใต้ฝุ่นความแรงลมเท่ากัน 150-170 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่พวกเขาตายน้อย ทางเอเชียเราตายเยอะกว่า นั่นก็เป็นเพราะการเตรียมการของ เรายังสู้เขาไม่ได้ ความเข้มข้นของภัยพิบตั ใิ นส่วนของอุทกภัยทีจ่ ะเกิดขึน้ มีทง้ั ส่วนของภาคเหนือตอนบน ไล่ลงจนมาถึงภาคกลาง และภาคใต้ ในส่วนภาคอีสานก็มีภัยที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับชีวิต

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 147


10 อันดับภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย (2443-2554)

จากจำนวนผู้เสียชีวิต

ภัยพิบัติ

แผ่นดินไหว (seismic activity)

น้ำท่วม พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว (seismic activity) พายุ น้ำท่วม น้ำท่วม น้ำท่วม น้ำท่วม

วัน/เดือน/ปี จำนวนผู้เสืยชีวิต 26 ธ.ค. 2547 25 ก.ค. 2554 27 ต.ค. 2505 19 พ.ย. 2531 มิ.ย. 2498 3 พ.ย. 2532 3 ม.ค. 2518 1 ส.ค. 2538 20 ส.ค. 2549 ต.ค. 2545

8,345 813 769 664 500 458 239 231 164 154

มากทีส่ ดุ คือภัยแล้ง เพราะฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราจะต้องระวังมากทีส่ ดุ คือเรือ่ งของพายุ น้ำท่วม ดินถล่ม และภัยแล้ง ซึ่งเป็นสาเหตุ 10 อันดับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากตัวเลข จำนวนผูเ้ สียชีวติ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเห็นได้เลยว่า ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ไม่หนีไปจากสาเหตุเหล่านี้ ดินถล่มนั้น ถือเป็นดารา ซึ่งมีความสำคัญที่เราต้องจับตาระวังอย่างใกล้ชิดในปัจจุบนั จากสมัยก่อนซึง่ มีเหตุการณ์ดนิ ถล่มทีน่ ครศรีธรรมราช ทีอ่ ตุ รดิตถ์ เรายังสามารถนับได้ แต่เดีย๋ วนี้ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ร่วมกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบตั แิ ห่งเอเชีย (ADPC) ได้ไปสำรวจ ปรากฏว่ามีอยู่เกือบ 5,000 ชุมชนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดดินถล่ม อย่างที่เรียนแล้วว่า แนวโน้มการเกิดภัยพิบัตินั้น รุนแรงขึ้น ถี่ขึ้น และเกิดภัยพิบัติ ใหม่ๆ มากขึ้น เอาเฉพาะเรื่องน้ำท่วม ใน 1 ปีที่ผ่านมา เรามีถึง 60 กว่าจังหวัดที่ต้องเผชิญกับ ปัญหาน้ำท่วม มีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบถึง 13-14 ล้านคน ซึ่งสาเหตุของน้ำท่วมก็ดังที่ผมได้ เรียนไปก่อนหน้า ภัยของโลกร้อนได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย กระแสน้ำร้อน น้ ำ อุ ่ น ภู ม ิ อ ากาศ ลมรุนแรง การขับเคลื่อนตัวของน้ำ ในมหาสมุทร ไหล่ทวีป ชั้น ธรณี เปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ จึงเกิดความผิดปกติทั้งปวง ต่อไปนี้ฤดูฝนจะไม่เป็นฤดูฝน ฝนจะตกไม่ สม่ำเสมอและจะเป็นในลักษณะของฝนสลับกับแล้งจัด และยังหารูปแบบของการพยากรณ์ไม่ได้

148 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ท่านอดีตรองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาจะเป็นพยานให้ได้ว่า ต่อไปนี้การพยากรณ์ แม้จะมีวิธี การและเทคโนโลยีสูงขึ้น แต่เนื่องจากความผิดปกติของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราคาดการณ์ในระยะยาวไม่ได้ แต่การคาดการณ์ในระยะสั้นอาจมีความแม่นยำขึ้น และจากการคาดการณ์ไม่ได้นี่เอง ทำให้เกิดปัญหาต่อคนที่บริหารน้ำเหนือเขื่อน ไม่รู้ ว่าในช่วงไหน จะปล่อยน้ำเหนือเขื่อนเพื่อการเกษตร หรือปล่อยน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าดี รวมไป ทั้งการเก็บรักษาน้ำเพื่อป้องกันน้ำ ท่วมในตอนล่าง ทุกสิ่งสับสนไปหมด จากที่เมื่อก่อนมี สูตรง่ายๆ ว่า จะเก็บร้อยละ 30-40 ในช่วงเดือนไหน กรมชลประทานสามารถนำน้ำไปใช้เพื่อ การเพาะปลูกได้เท่านี้ ใช้น้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้เท่านั้น แต่ปัจจุบันรูปแบบของภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การพยากรณ์ว่า ฝนจะตกลงมาในช่วงไหนทำได้ยาก อีกทั้งปริมาณน้ำที่ เก็บอยู่ในเขื่อนก็จะแปรปรวนไปด้วย เพราะความจุของเขื่อนเปลี่ยนแปลงจากการที่ปริมาณ ตะกอนดินเกิดการเปลี่ยนแปลง ทีนี้ แล้วน้ำท่วมในกว่า 60 จังหวัดในปีที่ผ่านมา (2554) ได้ให้บทเรียนอะไรกับ เราบ้าง นี่คือสิ่งที่ผมจะนำมาหารือเพื่อให้ช่วยกันตอบ เพราะเมื่อเราเก็บบทเรียนเหล่านี้ไว้แล้ว เราก็จะได้นำบทเรียนเหล่านี้ไปใช้ในการวางแผนครั้งหน้า เพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดซ้ำอีก บทเรียนแรกที่สุด คือความรู้สึกที่บอกว่า น้ำเป็นภัยนั้น เป็นเรื่องของความเป็น จริงแค่ครึ่งเดียว คนกรุงเทพฯ อาจจะกลัวน้ำ เห็นน้ำมาอยู่กลางถนนหน้าบ้าน แค่ราวถังสอง ถังก็ตกอกตกใจ ยกที่นอน ยกเตียงหนีหมด เพราะคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าน้ำเป็นภัย แต่แท้ที่จริง นั่นเป็นแค่ครึ่งเดียว น้ำสำหรับคนที่เป็นเกษตรกร หรือสำหรับผู้ที่ใช้น้ำซึ่งไม่ใช่การ ใช้นำ้ ในขวดนัน้ น้ำคือสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่ามหาศาล เพราะฉะนัน้ ผมคิดว่า อย่าเป็นโรคกลัวน้ำ เราต้อง รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติต่อเขาอย่างดี ไม่ให้เขาเป็นภัย ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพ ให้รู้ว่า เขามี ส่วนที่จะมาเป็นประโยชน์ต่อเราด้วยเช่นกัน น้ำเป็นคุณ ผมกำลังบอกใครหลายคนว่า อย่ารีบ เอาน้ำจากเขื่อนปล่อยลงทะเลหมด ถึงเวลาแล้งแล้วจะไม่มีใช้ แหล่งเก็บน้ำที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่บอกว่าเป็นแก้มลิงธรรมชาติ 2 ล้านไร่ ผมคิดว่า ต้องพิจารณาดูให้ดี แม้เป็นการถ่วงน้ำที่ไหลมาจากด้านเหนือ แต่เราจะสูญเสียพื้นที่เพาะปลูก ไปส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นการที่ต้องสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกไปส่วนหนึ่งนี้ ราชการจะต้องหาทาง จัดสรรพื้นที่ดอนให้กับเกษตรกรที่ยอมสละพื้นที่นาของตนเองให้เป็นที่รับน้ำจากเหนือ ซึ่งพื้นที่ ดอนซึ่งไม่เคยมีระบบชลประทานนี้ กรมชลประทานต้องวิริยะอุตสาหะที่จะส่งน้ำขึ้นไปยังพื้นที่ ดอนให้กับเขา เพื่อเป็นการชดเชยผลผลิตข้าวที่เขาต้องเสียไป เพราะพื้นที่ 2 ล้านไร่ไม่ใช่น้อยๆ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 149


และไม่ใช่เพียงแต่นำผลผลิตมาขาย แต่มนั คือข้าวทีช่ าวบ้านบริโภคด้วย เพราะฉะนัน้ ในเรือ่ งนี้ ผมไม่ขอเถียงในหลักการถ่วงน้ำหรือหน่วงน้ำเอาไว้ แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นอยู่ของ ชาวบ้านด้วย บทเรียนที่สองที่เราได้เรียนรู้และเจ็บปวด คือ การประสานงานกันหลายฝ่ายเพื่อ รับมือกับภัยพิบัตินั้น ยังเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุด หากว่าเราไม่ประสานงานกัน มัวแต่ทะเลาะ เบาะแว้ง กลัวว่าพรรคนั้นจะได้คะแนนเสียงเพราะป้องกันไม่ให้น้ำท่วมได้ พรรคนี้จะได้เสียง เพราะทำให้น้ำออกไปจากพื้นที่ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของคนที่คิดแคบ คิดสั้นๆ เตี้ยๆ ไม่มีความ กว้างไกล และคิดอย่างเดียวว่า จะต้องเอาของตัวเองให้รอด ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น และ บทเรียนที่เจ็บปวดที่สุดในการประสานงานเรื่องน้ำท่วมที่ผ่านมาก็คือ เราทะเลาะกัน เรานึกว่า ใครที่ทำประโยชน์ทางการเมืองได้จะได้คะแนนความนิยม ทะเลาะกัน ด่ากันทุกวันเรื่องน้ำ คนที่จะเปิดประตู 1.5 เมตรกับคนที่จะเปิดประตู 1.7 เมตรมานั่งเถียงกัน กลายเป็นเรื่อง ที่น่าอนาถใจเป็นอย่างยิ่ง เรือ่ งนีเ้ ป็นบทเรียนทีส่ ำคัญ ทีช่ าวบ้านอย่างพวกเรา ผูท้ อ่ี ยูใ่ นองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในชุมชนต่างๆ จะช่วยกันเปล่งเสียงดังๆ ว่า อย่าเอาเรื่องความทุกข์ของเรามาเป็นประเด็นใน การหาเสียงอย่างเด็ดขาด ไม่วา่ จะเป็นผูว้ า่ กทม. นายกรัฐมนตรี หรืออธิบดีคนไหนก็ตาม ผมคิดว่า วันนัน้ ทีป่ ระชาชนพูด พวกนักการเมืองทัง้ หลายจะต้องหยุดทีจ่ ะเอาความทุกข์ของเรามาหาเสียง นั่นคือประเด็นที่ 3 ที่ว่า ภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องหาคะแนนนิยม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องร่วมมือ กันทำ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเชื่อไหมครับว่า ประเทศอังกฤษเขามีพรรคฝ่ายค้านและ ฝ่ายรัฐบาล แต่เขารู้ว่าเป็นภาวะที่ทำให้ประเทศชาติเสี่ยงต่อการเสียเอกราช ฝ่ายค้านของเขา ไม่มานัง่ แย้งว่า ไอ้นน่ั ผิด ไอ้นถ่ี กู ส่วนฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ได้มานัง่ ด่าฝ่ายค้าน แต่เขาตัง้ เป็นคณะมนตรี สงครามขึ้นมา โดยเอาฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเข้ามาช่วยกันคิดหาทางออกเพื่อเอาชนะ สงครามกับเยอรมนี ไม่ใช่คิดตำหนิติเตือนกันซึ่งจะทำให้ชาวบ้านแย่ ทั้งนี้เราคงไม่ต้องถึงกับ ตัง้ เป็นคณะมนตรีนำ้ ท่วม แต่วา่ ร่วมมือกันทำ แนะนำ ให้กำลังใจกัน และช่วยสนับสนุนความคิดกัน สำหรับข้อ 4 ที่เราเรียนรู้คือ สังคมรู้ว่า การเตรียมองค์ความรู้เรื่องภัยพิบัติให้กับ ตนเองนัน้ เป็นสิง่ สำคัญมาก ไม่ใช่ถอื ว่าเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งนานๆ มาที ส่วนตัวผมได้ไปอยูท่ ภ่ี าคใต้ ในช่วงหลังปี 2004 ได้ทำงานให้กับองค์กรของสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือในชุมชน 16 แห่ง ซึ่งชาวบ้านบอกว่า ไม่มีหรอกสึนามิครั้งต่อไป เพราะผ่านมา 70 ปีเพิ่งเคยเห็นครั้งแรก

150 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


และกว่าจะมาอีกครั้งก็อีก 70-80 ปี แต่จะคิดเช่นนี้ไม่ได้ เพราะหากคิดเช่นนี้ วัฒนธรรมของ การรับรู้และการเตรียมการในการรับมือภัยพิบัติมันจะจางหายไป ข้อที่ 5 ข้อสุดท้าย ต้องจัดการกับภัยก่อนล่วงหน้า ไม่ใช่เพียงมีการจัดการเมือ่ ภัยมา แต่ต้องเริ่มทำทันทีในการเตรียมการเมื่อภัยผ่านพ้นไป เพื่อเตรียมรับมือในครั้งต่อไป ไม่ใช่หลัง ภัยพิบัติผ่านพ้นไปแล้วก็นั่งสบายบอกว่า หายเหนื่อยสักที แล้วปีหน้าค่อยว่ากันใหม่ อย่างนี ้

ไม่ได้แล้ว ณ นาทีที่ภัยเก่าผ่านพ้นไป ควรเริ่มเตรียมการที่จะรับมือกับภัยใหม่ครั้งหน้า

แผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2562 (SNAP) เกิดภัยพิบัติ (Disaster Impact) การเตรียมความพร้อม (Preparedness)

ระหว่างเกิดภัย

ก่อนเกิดภัย การป้องกันและลด ผลกระทบ (Prevention and Mitigation)

การจัดการในภาวะ ฉุกเฉิน (Emergency Response)

หลังเกิดภัย การฟื้นฟูบูรณะ (Rehabilitation and Reconstruction)

ส่วนแนวคิดหรือสิง่ ทีจ่ ะเป็นข้อเสนอให้รฐั บาลได้ดำเนินการเพือ่ รับมือภัยพิบตั ิ ผมคิดว่ามีดังต่อไปนี้ 1) การสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ จุดแข็ง-จุดอ่อนของพื้นที่แต่ละแห่ง แล้วเอา ข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชุมชนรับรู้ สำหรับครั้งที่ผ่านมานั้น เรารู้แล้วว่า ทิศทางของน้ำที่ไหล ลงมาใต้เขื่อนจะไปที่ไหน เพราะฉะนั้นจะสามารถทำการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ตาม ทิศทางนั้นได้ไหม ว่ามีจังหวัด อำเภอ ตำบลไหนมีความเสี่ยง แล้วเอาการวัดความเสี่ยงของ แต่ละพื้นที่มาเปิดเผยให้ชาวบ้านรับทราบว่าตรงนี้คือภัย มีมากน้อยแค่ไหน และจะต้องทำ อย่างไร อย่าปิดบัง อย่าบอกว่าไม่เป็นไร น้ำไม่ท่วม เอาอยู่ 2) การคาดการณ์ระยะสั้นและระยะยาวจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ระบบเตือน ภัยในสมัยใหม่ ไม่ใช่ระบบเตือนภัยอย่างที่เรารู้ๆ กัน คือกดกริ่งแล้ววิ่ง ซึ่งมันไม่ทัน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 151


แต่เป็นการเอาข้อมูลให้ชาวบ้าน ให้ผู้นำชุมชนได้รับทราบก่อนล่วงหน้า เป็นเดือน เป็น สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นการเตือนภัยที่ดีที่สุด เพราะว่าเวลาเขากดปุ่มสัญญาณ ชาวบ้านจะรู้เลยว่า ต้องทำอะไร เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์พายุนากีสที่ประเทศพม่า ADPC ได้ส่งโมเดลไปให้ว่า อาจเกิด เหตุการณ์ขึ้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี เมื่อเขาเชื่อ ก็มีการส่งข้อมูลไปให้ชุมชน ที่ทำประมงและเกษตรกรรมในลุ่มน้ำอิรวดีตอนล่าง ชาวบ้านรู้เหตุการณ์ 3 วันล่วงหน้า โดยคำเตือนแบบเดิมๆ คือพายุรุนแรง คลื่นสูง ห้ามออกเรือ เป็นคำเตือนที่มองดูธรรมดา ทำให้ชาวบ้านไม่ได้ตื่นตัว ซึ่งหากเราให้ความรู้ก่อนล่วงหน้า จะทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึก และสำนึกว่า หากมีการเตือนภัยขั้นสุดท้าย คือการกดปุ่มแล้ว จะต้องวิ่ง จะต้องอพยพ จะต้อง ขนย้ายข้าวของ 3) ข้าราชการต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันต่อปี ไม่ใช่ทำเฉพาะในฤดูฝน สำนักระบายน้ำของ กทม.ไม่ใช่มาขุดท่อก่อนฝนตก ต้องทำมาตั้งแต่หลังจากฝนหายไปแล้ว น้ำท่วมหายไปแล้วด้วยซ้ำ ท่อในกรุงเทพฯ ความยาว ทั้งหมดกว่า 3,000 กิโลเมตร หากรอขุดอีก 2 เดือนก่อนฝนมา ไม่ทันหรอกครับ เพราะฉะนั้น ล้าง ลอก ต้องทำ ต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง สำนักระบายน้ำไม่ใช่ทำงานก่อนฝนตก แต่ ต ้ อ งทำงานทั ้ ง ปี กรมป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย ศู น ย์ เ ตื อ นภั ย พิ บ ั ต ิ แ ห่ ง ชาติ กรมชลประทาน หน่วยงานเหล่านี้ต้องทำงานทั้งปี และในปีนี้ก็ได้เริ่มเห็นแล้วว่า มีการทำงาน ทัง้ ปีเกิดขึน้ เมือ่ น้ำมาปับ๊ ทัง้ นายกฯ และ กทม.ก็เริม่ เดินหน้าในการทำงานเพือ่ เตรียมความพร้อม 4) อำนาจในการตัดสินใจและสั่งการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีส่วน ในการบัญชาการด้วย หรือที่เรียกว่า ICS หรือ Incident Command System คือระบบ บัญชาการในท้องถิ่นควรเป็นคนในท้องถิ่น แต่จะมีระบบบัญชาการอย่างไร ตรงนี้หน่วยงาน ราชการจากส่วนกลางต้องเติมความรู้ วิธีบริหารการสั่งการ การเป็นผู้บัญชาการให้กับท้องถิ่น ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุขึ้น ต้องมีการอบรม การฝึก การเติมความรู้ให้กับผู้ดำเนินการในแต่ละ พื้นที่ แต่ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ คนที่กระทรวง หรือคนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรองนายกฯ ไปนั่งบัญชาการ ต้องเป็นคนในชุมชนเท่านั้น และครั้งนี้รัฐบาลต้องรู้ไว้แล้วว่า อย่าเอานักการเมืองมาเป็นผู้บัญชาการในระดับ ประเทศ แต่เอาคนที่เขาทำมาตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน 365 วัน เอากรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยมาบัญชาการในระดับประเทศ ส่วนในระดับท้องถิ่นก็เอาคนที่เตรียมความพร้อม เอาไว้มาดำเนินการ 152 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


สำหรับการประสานงานระหว่างหน่วยงานสำคัญๆ ในรัฐบาลกับท้องถิ่นต้องใกล้ชิด กัน ชลประทานจังหวัด กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีตัวแทนอยู่ในจังหวัด อบจ. ผู้ว่าราชการจังหวัด ป้องกันภัยจังหวัด ผู้ดูแลเขื่อน ฯลฯ การประสานงานตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในพื้นที่แต่ละ พื้นที่ ความร่วมมือกันของท้องถิ่นใกล้เคียงกันก็มีความสำคัญ ไม่ใช่คนต่างท้องถิ่นต่างคน ต่างกั้น เพราะน้ำ ลมพายุ หรือดินโคลนที่ถล่มมาจากภูเขาซึ่งสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เลือกตำบลหรือหมูบ้าน ไม่เลือกพรมแดน เพราะฉะนั้นความร่วมมือระหว่าง อบต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และระหว่างหมูบ่ า้ นเป็นเรือ่ งจำเป็นอย่างยิง่ ต้องมีการร่วมกันหารือ สภาพภูมิอากาศ จุดแข็ง จุดอ่อน ของพื้นที่แต่ละแห่งต้องรู้และ แบ่งปันระหว่างหน่วยงาน

การคาดการณ์ระยะสั้น-ยาว ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และสังคมต้องรับทราบ อำนาจในการตัดสินใจสั่งการของ การบริหารท้องถิ่นจะต้องขอการ สนับสนุนจากส่วนกลาง

ราชการ ต้องทำงานเรื่องภัย 24x7x365

Coordination ระหว่างหน่วยงานสำคัญ ระดับรัฐหลายๆ หน่วยงานกับ

ท้องถิ่นต้องใกล้ชิด

ทุกคนต้องมีส่วนร่วม เอาตัวรอดคนเดียวไม่ได้ การประสานงาน เป็นเรื่องจำเป็น

ข้อสังเกต ต่อการรับมือ ภัยพิบัติ

ความร่วมมือของท้องถิ่น ใกล้เคียงกัน เพราะภัยไม่เลือกถิ่น

ทั้งนี้ ข้อเสนอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการจัดการภัยพิบัตินั้น เรื่องแรกสุด คือ การทำแผนทีร่ บั มือภัยพิบตั ขิ องชุมชน เรือ่ งนีส้ ำคัญ เพราะแผนทีน่ จ้ี ะบอกถึงจุดเสีย่ งภัย จุดอพยพ และการจัดทำแผนที่นี้ จะทำให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งที่อยู่ใกล้กันมาร่วมทำแผนที่ความ ปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน เรื่องเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อการรับมือภัยพิบัตินั้น จะทำ อย่างไร หลายท่านที่ผ่านการฝึกอบรม CBDRM (โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน) หรือ การเตรียมความพร้อมโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน หรือที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เอามาแปลงเป็น OTOS (โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย) หรือโครงการที่องค์การเพื่อการ พัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) ร่วมกับ ADPC เข้าไปทำงานใน 4 จังหวัดใต้เขื่อน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 153


ทั ้ ง หมดนี ้ ค ื อ แผนการว่า ชุมชนที่พูดมา ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร ชุมชนต้องเป็น

ผู้บัญชาการ ทำอย่างไร และอะไรเป็นจุดเริ่มต้น ผมคิดว่าแรกเริ่มที่สุดคือ ชุมชนต้องรู้ว่า กำลังเผชิญหน้ากับภัย อะไร เมื่อไหร่ และพื้นที่ใดในชุมชนที่มีความเสี่ยง ใครบ้างที่อยู่ในพื้นที่นั้น การเฝ้าระวังทำอย่างไร นี่คือ แผนที่ที่จะเกิดขึ้น แต่ละครัวเรือนต้องมีการตกลงกันไว้เลยว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว ใครจะไปไหน อย่างไร แม้แต่แผนของบ้านแต่ละหลังคาเรือน ต้องบอกไว้เลยว่า คนแก่ ผู้ป่วย ใครจะเป็นคนดูแลรับผิดชอบ เด็กหรือลูกหลานที่ไปโรงเรียน เมื่อได้ยินเสียงเตือนภัย ห้ามกลับ มาบ้าน ให้ไปที่ศูนย์อพยพเลย การเตรียมการในเรื่องของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครมีขีด ความสามารถ อสม.ประจำหมูบ่ า้ น หรือ อบต.มีกค่ี น มีการฝึกอบรมก่อนล่วงหน้าหรือไม่ สถานที่ อพยพปลายทางซึง่ จะอยูบ่ นทีส่ งู ขึน้ ไปในกรณีทห่ี นีนำ้ ท่วม หรือหนีคลืน่ ยักษ์ มีทเ่ี ก็บอาหารแห้ง และยาบางส่วนเอาไว้หรือไม่ ระบบในเรือ่ งของการเตือนภัยในหมูบ่ า้ น เช่น การเตือนภัยจากดินถล่ม ไม้ไผ่ทจ่ี ะเคาะ แก้วที่จะถูกเอาไปวางไว้บนยอดเขาเพื่อรองรับและวัดปริมาณน้ำฝนใน 24 ชั่วโมง ใครเป็น ผู้ดำเนินการ นี่คือระบบเตือนภัย หรือแม้แต่ในเรื่องของการให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน (อปพร.) หรืออาสาสมัครของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในชุดปฏิบัติการของหมู่บ้าน ซึ่งชุดปฏิบัติการนี้มีตั้งแต่เรื่องระบบเตือนภัย ชุดอพยพ ชุดรักษาความปลอดภัย ชุดการปฐม พยาบาลเบื้องต้น ชุดการฟื้นฟู ฯลฯ ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้กำหนดเอา ไว้ว่า อปพร.หรืออาสาสมัครที่มีความกล้าหาญ แข็งแกร่งในแต่ละหมูบ้านหรือชุมชนจะต้อง แบ่งแยกความเชี่ยวชาญออกไป อย่าทำเป็นภาพรวมทั้งหมดพร้อมๆ กัน นั่นคือเรื่องการเตรียม ความพร้อมของชุมชนที่เขาจะต้องรู้ก่อนเป็นเบื้องต้น ผมขอเล่าอะไรให้ท่านฟัง การเตรียมความพร้อมของชุมชนนั้น มีเรื่องการอพยพเป็น องค์ประกอบส่วนหนึ่ง มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งมาแนะนำชาวบ้านว่า จะมีการซ้อมอพยพ หนีภัยสึนามิกัน แต่ว่าเส้นทางอพยพที่ชาวบ้านกำหนดเอาไว้ 2 เส้นทางเพื่อขึ้นที่สูงนั้นไม่พอ ต้องมีเส้นทางที่ 3 ด้วย ซึ่งชาวบ้านคัดค้าน เพราะเป็นเส้นทางที่ต้องวิ่งผ่านชายหาดเป็น

เส้นทางยาว กลัวไม่ทัน ขณะที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ยืนยันว่า ต้องเอาให้ได้ ส่วนตัวผมซึ่งนั่งอยู่ ในที่ประชุมนั้นด้วย ได้ทำการสอบถาม ทำให้ทราบว่า การที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนนั้น ต้องการให้มีเส้นทางอพยพที่ 3 เป็นเพราะจุดนั้นไม่มีพุ่มไม้มาก ไม่บังกล้องโทรทัศน์จาก กรุงเทพฯ ในการถ่ายเก็บภาพ อยากเป็นข่าว เท่านัน้ เอง อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยืนยันทีจ่ ะไม่ซอ้ ม

154 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


อพยพโดยใช้เส้นทางนั้น เพราะเกรงว่าจะทำให้เกิดความสับสนเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นจริง สุดท้าย จึงมีการเกณฑ์คนมาวิง่ ผ่านในเส้นทางที่ 3 ให้กล้องโทรทัศน์ถา่ ยภาพ โดยไม่มกี ารไปถ่ายเส้นทาง ทีช่ าวบ้านเตรียมการไว้ ดังนัน้ การแทรกแซงของคนทีไ่ ม่รจู้ กั พืน้ ทีน่ น้ั เราต้องหลีกเลีย่ งให้จงได้ สำหรับขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือภัยพิบัติโดยชุมชนนั้น มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้นำชุมชน อาจไม่ใช่ทั้งชุมชน แต่เป็นผู้นำชุมชน ซึง่ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น อบต.เท่านัน้ หากแต่เป็นลูกบ้าน ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ หรือวัยรุน่ ในชุมชนที่พร้อมมานั่งประชุมหารือกันว่ารูปแบบของการเตรียมความพร้อมที่ประกอบด้วย 6-7 ชุดคณะกรรมการ ใครจะทำแผนที่ ใครจะทำเรือ่ งการกำหนดจุดแจกจ่ายอาหาร จุดแจกจ่ายยา จุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครจะเป็นคณะกรรมการค้นหาผู้ประสบภัยและเครื่องมือในการ ค้นหามีหรือไม่ การประชุมนี้เป็นการประชุมภายในของชุมชน อย่าให้ส่วนราชการมายุ่ง ถ้าส่วนราชการจะมามีส่วนร่วม ก็เป็นเพียงแค่การกำหนดหัวข้อเท่านั้น ส่วนการกำหนด รายละเอียดเป็นเรื่องของชุมชน 2) แผนรับมือ เมื่อมีการมอบหมายงานกันครบถ้วน มีคณะทำงานแล้ว จากนั้นจะมี แผนเกิดขึ้น ทั้งแผนที่ทำมือ แผนอพยพ แผนเตือนภัย แผนการรักษาพยาบาลเบื้องต้น แผนการรักษาความปลอดภัย และหลายๆ แผนซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มเล็กๆ ที่แบ่งกันไปทำงาน เมื่อแผนเกิด ก็มาประชุมประชาพิจารณ์ร่วมกัน ให้ชุมชนมารับทราบว่า มีตัวแทนของชุมชน กลุ่มหนึ่งไปทำแผนต่างๆ ไว้ ซึ่งคุณป้าคนหนึ่งอาจจะบอกว่า แผนอพยพอันนี้ไม่ได้เลือก เพราะเส้นทางการอพยพที่เขียนไว้นั้น ถูกปิดกั้นไปแล้วโดยหนองน้ำ เป็นต้น จากนั้นเอาข้อมูล ที่ได้จากการระดมความคิดไปใช้ในการแก้ไขเพิ่มเติม 3) การซ้อมแผนของชุมชน ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่แต่การกดสัญญาณเตือนแล้ววิ่งเพียง อย่างเดียว แต่ตอ้ งซ้อมแผนโดยให้ความเข้าใจกับชาวบ้านต่อเนือ่ งกันไปด้วย แล้วการซ้อมแผน ก็ทำโดยชาวบ้าน หน่วยราชการอื่นไม่ต้องเข้าไปยุ่ง แต่เข้าไปในฐานะผู้สนับสนุนเครื่องมือบาง อย่าง เช่น เรือ คีมตัดเหล็กขนาดใหญ่ อุปกรณ์ค้นหาผู้ที่ติดอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือผู้ที่มีความรู้ เรื่องระบบไฟฟ้าที่จะดูแลความปลอดภัยไม่ให้เกิดเหตุไฟฟ้าช็อต เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมที่ ผ่านมาที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 คน ส่วนใหญ่แล้วเสียชีวิตจากไฟฟ้าช็อต ซึ่งความรู้เหล่านี้ เราไม่สามารถสืบถ่ายกันได้ทั่วถึง เพราะฉะนั้นกรรมการประจำตำบลหรือประจำชุมชนจะเป็น ผู้ที่สานความรู้เหล่านี้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 155


4) จากนั้นต้องมีการสรุปบทเรียนและการประเมินผล ดูว่ามีจุดไหนที่จะต้องแก้ไข เพิ่มเติมอย่างไร สิ่งสำคัญเมื่อเสร็จทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว จะต้องมีคณะกรรมการประจำชุมชนเกิดขึ้น เป็นคณะกรรมการอพยพ คณะกรรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คณะกรรมการเตือนภัย ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชน โดยคนที่จะเป็นแกนหลักได้มากที่สุดคือ อปพร.และ อสม.ที่จะช่วยสนับสนุน แต่ก็ไม่ได้กีดกันไว้เฉพาะคนกลุ่มนี้เท่านั้น ชาวบ้านคนอื่น ที่ยินดีจะช่วยก็สามารถเข้ามาทำได้ ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการเตรียมความพร้อมของชุมชน คือ นานเข้าๆ ความเข้มแข็งเหล่านี้ก็จะจางหายไป เตรียมมา 2 ปีแล้วไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติ ปีที่ 3 ก็ชักล้าแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายก อบต. เทศบาลตำบล เทศบาลนคร ต้องเอาเรื่องนี้บรรจุในรายการของบประมาณให้ได้ แม้ท่าน ไม่มีเงิน ก็ให้ใส่หมวดเอาไว้ว่า งบประมาณในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติประจำ ท้องถิ่นของท่าน เป็นหมวดที่ใส่เอาไว้เพื่อไม่ให้ลืม และสามารถจะเพิ่มเติมไปอีกได้ เพื่อให้ คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นในท้องถิ่นมีงบประมาณในการฝึกฝน ซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ เลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ หรือแม้แต่เอาไปทำเรื่องการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยพิบัติ เช่น การปลูกป่าโกงกาง เป็นต้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ เรื่องของการที่จะต้องรักษา ไม่ให้จืดจางเมื่อเวลาผ่านพ้นไป เรื่องสุดท้าย คือเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกัน ที่จะเสนอต่อภาครัฐ ประชาชน และ หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมี 5 ภูมิคุ้มกันด้วยกัน ข้อแรกคือ การทำแผนที่ พื้นที่เสี่ยงภัย 70,000 กว่า หมู่บ้านทั่วประเทศให้ได้ โดยไม่ใช่แผนที่ทำมือ แต่ใช้ระบบภาพถ่ายดาวเทียม ด้วยระบบที่ เรียกว่าเป็น การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อที่จะใช้ข้อมูลเป็นแนวทางให้กับชุมชน ในการวางแผนและทำแผนที่ละเอียดในชุมชนอีกครั้ง การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมด และข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงภัย เช่น การเปลี่ยนทางเดินน้ำ ย้ายโรงเรียน ย้ายโรงพยาบาลออกนอกเขต ปลูกป่าโกงกาง และ การสร้างสิ่งก่อสร้างให้แข็งแรง อันนี้คือสิ่งที่ราชการส่วนกลางต้องทำ สำหรับชุมชนที่เผชิญหน้ากับภัยด่วนนั้น ต้องมีแผนรับมือโดยชุมชน อย่างกรณีที่มี การอบรม CBDRM การฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ผู้นำชุมชน มีการทำความตกลงล่วงหน้า ระหว่างหน่วยงานทั้งพลเรือนและทหารว่า ใครจะทำอะไรก่อนหลัง ตรงไหน และจะพึ่งพา ส่งต่อลูกกันอย่างไร 156 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ชุมชนท้องถิ่น กับการสร้างอาเซียนน่าอยู่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)


โอกาสที่ได้มาพบกับพวกท่านทั้งหลาย ก็เนื่องด้วยภารกิจประการหนึ่ง

นั่นคือ ภารกิจของการสร้างประชาคมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า ประชาคม อาเซียน ประชาคมซึ่งมีประชากร 600 ล้านคน ใน 10 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายต้องการที่จะเป็น ประชาคมเพื่อที่จะเป็นฐานในการไปแข่งขันกับคนอื่นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ขณะนี้จีน อินเดีย กำลังรีบเร่งพัฒนาขนานใหญ่ ถ้าเราอยู่กันแค่ 64 ล้านคน เราจะ สู้เขาไม่ได้ และที่น่าภูมิใจที่สุดก็คือ การที่อาเซียนจาก 5 ประเทศขยายมาเป็น 10 ประเทศนั้น เริ่มต้นโดยประเทศไทย ในประเทศ โดยคนไทย จึงเป็นมรดกทางปัญญาของคนไทยที่ทำให้กับ ภูมิภาคและให้กับประชาคมโลก และขณะนี้ยังมีประเทศคู่เจรจาอีกมากมายที่มาเกี่ยวข้อง กับเรา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เรียก ‘อาเซียน+3’ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กลายเป็น ‘อาเซียน+6’ หลังสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่บาหลี อเมริกากับรัสเซียมาด้วย ดูแล้ว ประชากรเกินครึ่งโลก รายได้ประชาชาติรวมแล้วเกินครึ่งหนึ่งของโลก และกำลังเป็นจุดของ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก โดยมีจนี อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นผูน้ ำ และอาเซียน เป็นผู้ประสานอยู่ตรงกลาง เหตุที่อาเซียนต้องเป็นผู้ประสานอยู่ตรงกลาง เพราะจีนกับญี่ปุ่น เขาไม่ถูกกัน เราคงทราบดี อินเดีย จีน เขาพูดกันไม่รู้เรื่อง จึงต้องอาศัยประเทศเล็กๆ อย่างเรา ในการเป็นหัวหอกให้เขาเจรจากัน อย่างไรก็ตาม ที่ท่านได้ยินในหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ บ่อยที่สุด คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทุกคนหวังตลาด 600 ล้านคนนี้ ชนชั้นกลางกำลังขยายตัว กำลังซือ้ เพิม่ ขึน้ ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในบ้านเรา ลงทุนเพือ่ ขายสินค้า ขายการบริการ ฉะนัน้ โทรคมนาคมจะเข้ามา การแพทย์การพยาบาลจะเข้ามา การขนส่ง โลจิสติกส์จะเข้ามา การศึกษา ก็กำลังเข้ามา เราจึงต้องสร้างคนให้แข่งขันกับชาวโลกได้ ซึ่งคงต้องพูดกันอีกเยอะเกี่ยวกับ ระบบการศึกษาไทย เราทำกันมานาน แต่กย็ งั ไม่พร้อมทีจ่ ะส่งคนออกไปแข่งขันกับคนอืน่ เขาได้ การค้าปลีกก็เข้ามา ร้านโชห่วยทั้งหลายจะมีปัญหา เพราะจะมีร้านใหญ่จากต่างประเทศ ที่มีวิธีจัดการ วิธีเลือกสรรสินค้า ควบคุมมาตรฐานสินค้า การขนส่ง การจัดการทุกอย่างที่ดี

158 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ค่าโสหุ้ยเขาจึงต่ำกว่า เขาจึงอยู่เต็มพื้นที่ของประเทศเราในขณะนี้ และกำลังเข้ามาทั่วอาเซียน ท่านจะได้ยินคำว่า AEC (ASEAN Economic Community) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บ่อยที่สุด มากที่สุด และเป็นที่สนใจที่สุด เพราะเป็นเรื่องของเงินในกระเป๋า อาชีพ งาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังมีอีก 2 เรื่องที่ท่านควรจะทราบ คือเรื่องที่เกี่ยวกับ การเมืองและความมั่นคง ทำอย่างไร อย่าให้ 10 ประเทศนี้กระทบกระทั่งกัน ทำอย่างไรให้ เขมรกับไทยอย่าทะเลาะกัน ทำอย่างไรไม่ให้มาเลเซียกับฟิลิปปินส์ซึ่งยังมีเขตแดนที่เป็นปัญหา กันอยู่ต้องรบกัน เพราะถ้ามีภาพของความขัดแย้ง ความรุนแรง คนที่จะมาซื้อ คนที่จะมาขาย คนที่จะมาเที่ยว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในอาเซียนถึง 60 ล้านกว่าคนก็จะไม่เข้ามา เมื่อเขาไม่มา เราก็ขาดรายได้ส่วนนั้นไป นี่คือเรื่องความมั่นคงและการเมือง เพราะอาเซียน นั้นต่างกันทุกทาง คุณสมบัติอันเดียวที่จะรวมอาเซียนเข้ามาอยู่ด้วยกันได้ คือ อยู่ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นเอง เพราะชื่อสมาคม คือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ขณะนี้อีสติมอร์กำลังเคาะประตูอยากเข้ามาด้วย จะกลายเป็น 11 ประเทศ ซึ่งกำลัง อยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกัน ประเทศที่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือบรูไน ก็อยู่ในนี้ ประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ 2 ประเทศ คือ ลาวกับเวียดนามก็อยูใ่ นนี้ คาทอลิกหรือคริสเตียนประเทศเดียวในเอเชียก็อยูใ่ นนี้ นั่นคือ ฟิลิปปินส์ ประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดคืออินโดนีเซียอยู่ในนี้ ประเทศพุทธเถรวาทหรือ หินยาน พม่า ไทย เขมร ลาว ก็อยู่ในนี้ ฮินดูคือ เกาะบาหลีทั้งเกาะอยู่ในนี้ ฉะนั้น ความแตก ต่างหลากหลายของอาเซียนมีมากเหลือเกิน การจะทำให้เกิดความร่วมมือทางการเมือง สันติภาพ ความเข้าใจจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับชุมชนท้องถิ่น คือเสาหลักว่าด้วยเรื่อง วัฒนธรรมและสังคม เพราะอาเซียนไม่ต้องการให้ 10 ประเทศที่เข้ามาอยู่ในประชาคมเดียวกันต้องสูญเสียความเป็น ตัวของตัวเอง หากแต่ต้องรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ รักษาความเป็นพิเศษของตนเองไว้ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรมย่อย วัฒนธรรมใหญ่ ภาษา ศาสนา ค่านิยม ต้องเก็บรักษาเอาไว้ อาเซียนไม่ต้องการให้คนเหมือนกันทุกคน ไม่ต้องการให้ 10 ประเทศนี้เหมือนกันทุกประเทศ ปัญหามันอยู่ตรงที่เรื่องของการบริหารจัดการความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งมาคล้องจองกับสิ่งที่ท่านกำลังคิดกำลังทำอยู่ในขณะนี้ คือทำอย่างไรให้ชุมชนของท่าน บริหารจัดการปัญหาของท่านเอง ดูแลทรัพยากรของท่านเอง พยายามทีจ่ ะสร้างสรรค์คนรุน่ ใหม่ เยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อจะรับและสืบทอดมรดกของท่านตรงนั้นให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 159


ประเทศไทยแตกต่างหลากหลาย เหลือที่จะพรรณนา ความคิดที่จะเอาอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ตรงกลาง เพื่อจะชี้นำออกไปมันจึงฝืนธรรมชาติ เป็นไปไม่ได้ อาเซียนตระหนักตรงนี้ดี อาเซียนจึงบอกให้รักษาความหลากหลายไว้ มาเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน และมาพร้อมกับความแตกต่างที่ท่านมีอยู่ นโยบายที่ได้ร่วมกันทำปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ทั้ง 7 ประการของท่าน คือสิ่งที่จะต้องทำให้ได้ เราเห็นความหลากหลายที่อยู่ตรงนี้ด้วยความภูมิใจ เพราะผมก็คอื ความหลากหลายอันหนึง่ และการทีไ่ ด้มโี อกาสมายืนอยูต่ รงนี้ ก็เพราะสังคมไทย ยอมรั บ ความหลากหลายในระดับหนึ่ง และมีความหลากหลายอีกกี่อย่างที่เราสามารถ ดึงมาใช้ประโยชน์ให้ประเทศชาติของเราได้ น้องหม่อง (ด.ช.หม่อง ทองดี) ที่พับเครื่องบินกระดาษเก่ง แกเป็นลูกคนต่างด้าว แกมี ความสามารถ แกเกิดในประเทศไทย แกสมควรที่จะมีโอกาสได้เป็นผู้แทนของประเทศไทยออก ไปแข่ ง ขั น กั บ ชาวโลก แต่ แ กไม่ ม ี สู ต ิ บ ั ต ร และแกไม่ ม ี บ ั ต รประจำตั ว แกไม่ ม ี ส ิ ท ธิ จ ะได้

พาสปอร์ต จึงออกไปเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันไม่ได้ ปรากฏว่าเป็นเรื่องเป็นราว ขึ้นมา ก็มีการอะลุ่มอล่วย ยอมให้แกไป และแกก็ได้แชมป์ นี่คือตัวอย่างเล็กๆ ตอนทีค่ ณ ุ อานันท์ ปันยารชุน อยูใ่ นฐานะประธานกรรมการอิสระเพือ่ ความสมานฉันท์ เรื่องภาคใต้ ซึ่งมีกรรมการอยู่ 59 คนประชุมครั้งแรก คุณอานันท์ซึ่งนั่งอยู่หัวโต๊ะ ถามที่เหลือ ว่า “ผมเนี่ย แม่เจ๊ก พ่อมอญ ใครบ้าง 58 คนที่นั่งอยู่ที่นี้ (ที่กระทรวงการต่างประเทศ) ที่พูดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า ไทยแท้ ไม่มีอะไรปน” ทุกคนหลบตาคุณอานันท์กันหมด เพราะทุกคน สาม สี่รุ่น ถึงทวด ถึงก๋ง เรามาจากที่อื่นกันทั้งนั้น คุณอานันท์พูดด้วยว่า “พูดถึงเรื่องภาคใต้ แล้ว เราคือใครที่จะไปพูดกับคนกลุ่มนั้นที่อยู่มาเป็นพันๆ ปี” นี่คือสิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยและคนไทยต้องยอมรับให้ได้ในความหลากหลายของ ประเทศไทย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีประชากรเหมือนกันทุกมิติ ทุกเรื่อง ภูมิหลัง ความ

160 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


คิดความเชื่อ ภาษา วัฒนธรรม ค่านิยม เครื่องแต่งกาย อาหาร ศาสนา ชาติพันธุ์ แตกต่าง หลากหลายเหลือที่จะพรรณนา ความคิดเรื่องการจะเอาอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ตรงกลางเพื่อจะ ชี้นำออกไปทุกอำเภอ ทุกตำบล ทุกรากหญ้า มันจึงฝืนธรรมชาติ เป็นไปไม่ได้ อาเซียน ตระหนักตรงนี้ดี อาเซียนจึงบอกให้รักษาความหลากหลายไว้ เมื่อเข้ามาอยู่ใต้หลังคา ของอาเซียน ก็ไม่ต้องเปลี่ยน เพียงขอให้มีความรู้สึกสำนึกว่า เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน และ มาพร้อมกับความแตกต่างที่ท่านมีอยู่ในตัวของท่านเอง ฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องตระหนัก ซึ่งถือว่าเป็นหัวหอกที่จะทำความเข้าใจกับคนไทย ทั้งหมด 64 ล้านคน นั่นก็คือ เราอยู่กันด้วยความแตกต่างด้วยความเคารพ และอยู่กัน ด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ดูถูก ดูหมิ่น ไม่รังเกียจ และไม่กีดกันโอกาสของกันและ กัน เอาทุกส่วนที่เป็นของที่มีค่า ที่เป็นของดี มารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อร่วมกันผลักดัน ประเทศไทย ผลักดันบนพื้นฐานของความพร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาประเทศไทยให้ยั่งยืน เอาของดีที่ตัวเองมีมามอบให้กับประเทศชาติ เพราะไม่ว่าในอาเซียน ในเอเชียใหญ่ หรือ ในโลกนั้นเต็มไปด้วยการแข่งขัน ถ้าเราไม่เอาความเด่นมารวมกันเป็นเกลียวเพื่อออกไป บนเวทีโลก เราก็แข่งกับคนอื่นเขาไม่ได้ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ นอกจากตระหนักในความแตกต่างหลากหลายแล้วใช้ให้เป็น ประโยชน์แล้ว ต้องมองไปข้างหน้า เด็กๆ ลูกหลานต้องพร้อมทีจ่ ะออกไปแข่งขัน การทีท่ า่ นเห็น การศึกษาเป็นประเด็นหนึ่งใน 7 ประการที่ท่านต้องการมีส่วนร่วมพัฒนานั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แล้ว เพราะถ้าการศึกษาไม่ดี เตรียมตัวไม่พร้อมก็ไม่รู้จะไปแข่งขันกับใคร ต่อไปนี้เขาบอกว่ามี 7 สาขาอาชีพที่เรียนที่ไหนก็ได้ ไหลวนกันได้ แม้จะไม่เปิดทันที เพื่อไม่ให้เกิดอาการช็อค แต่จะเปิดให้กันและกันแน่ๆ คือ วิศวกรรม เรียนจุฬาไปทำงาน สิงคโปร์ได้ เรียนที่มาเลเซียไปทำงานฟิลิปปินส์ได้ เรื่องสถาปัตยกรรม พวกนักตกแต่งภายใน ออกแบบอาคารทั้งหลาย พวกนี้เคลื่อนย้ายได้ หมอ หมอฟัน พยาบาล ทั้งสามอาชีพ เริ่มมี การยอมรับในวิทยฐานะของกันและกัน นักบัญชี เรียนทีไ่ หนก็ได้ จบจากไหนก็ได้ ย้ายไปในสิบ ประเทศนีไ้ ด้ พวกงานโรงแรม งานท่องเทีย่ ว ช่างสำรวจมาตรฐานทั้งหลายก็เคลื่อนที่ได้ แล้วหันมามองดูคนของเราที่อยู่ในต่างจังหวัด สภาพการศึกษาที่เป็นอยู่อย่างนี้ ที่ยังสอนให้คนท่องจำ ที่ยังเอาหลักสูตรจากส่วนกลาง ที่ยังไม่มีการเสริมทักษะให้คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา เราจะไปสู้เขาได้อย่างไร ยิ่งภาษาอังกฤษยิ่งลำบาก ลูกหลานของท่านจำเป็นต้อง เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษามลายูที่มีอยู่ รักษาเอาไว้ให้ได้ เพราะครึ่งหนึ่งของอาเซียนพูด

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 161


ภาษามลายู ส่วนภาษาจีน ภาษาอังกฤษ คือภาษาทีใ่ ช้ในกรอบวงการของอาเซียน ใครฟังไม่ชดั พูดไม่ได้ ให้เตรียมล่ามไปเอง เขาไม่จัดให้ และต้องเป็นล่ามกระซิบอยู่ข้างหู เพื่อไม่ให้สร้าง ความรำคาญแก่คนอื่น ถ้าออกไปพูดไม่ชัด ปกป้องแนวคิดของตัวเองไม่ได้ นำเสนอให้เขา ประทับใจและนำไปเป็นวาระของทั้งภูมิภาคไม่ได้ก็สู้ใครไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของความคิด ‘อาเซียน’ เป็นมรดกทางความคิดของคนไทย 45 ปีมาแล้ว แต่วันนี้กลายเป็นว่า บทบาทของ เราน้อยลง แถมยังมีความรู้สึกแปลกๆ อีกว่า พูดภาษาอังกฤษได้ พูดภาษาต่างประเทศได้ รักประเทศไทยน้อยลงเสียอีก 30-40 ปีที่แล้วประเทศเพื่อนบ้านของเราเพิ่งได้อิสรภาพ แต่เราไม่เสียให้ใคร เราพูด กับเพื่อนๆ บอกว่า “อย่ามาดูถูกเรานะ ถึงแม้ภาษาอังกฤษเราไม่ดี แต่เราไม่เคยเป็นเมืองขึ้น ของใคร” อย่างนี้เป็นการแก้ตัวมากกว่าการอธิบาย เดี๋ยวนี้คิดจะส่งเสริมภาษาอังกฤษสัปดาห์ ละวัน ผมคิดว่า คงจะเป็นวันที่เงียบที่สุด ไม่ว่าจะในมหาวิทยาลัยและในห้องเรียนไหน การที่จะเข้าไปร่วมกับอาเซียน ไม่มีใครบังคับให้เปลี่ยนเพื่อไปรวมกับเขา แต่สิ่งที่เรารู้ เองว่าต้องทำ คือ ความสามารถในการแข่งขัน ต้องเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และเราก็ไม่มี โอกาสได้พัฒนาสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทุกท่านที่ทำเรื่องการศึกษารู้ดี เราพูดเรื่องการปฏิรูป มาสิบกว่าปี ขณะที่ประเทศอื่นเขาไม่พูดมาก แต่ทำเลย พวกเรามัวแต่เล่นกีฬาสีกันบ่อย มันไม่มีทางหลีกเลี่ยงสำหรับการจัดการกับอนาคต ยกเว้นจะพูดกันเรื่องการศึกษา เราสอนให้ เด็กจำ พ.ศ. จำชื่อ จำสถิติ จำตัวเลข แต่เดี๋ยวนี้สิ่งเหล่านั้นสามารถใช้กูเกิ้ลหาได้หมด จะเอา ที่ไหนเมื่อไรก็ได้ ถ้าเป็นไปได้ ควรให้เด็กคิด วิเคราะห์ ตั้งคำถาม กล้าที่จะไม่ยอมรับสิ่งที่ อาจารย์มาสอนแบบหนึง่ สอง สาม สี่ อาจารย์ออกข้อสอบให้ตอบมาหนึง่ สอง สาม สี่ แต่ถา้ เรียง สี่ สาม สอง หนึ่ง อาจารย์ไม่ให้คะแนน อย่างนี้ไม่ได้ ผมยกตัวอย่างเรื่องไททานิค เรือสำราญที่ชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก

วิธีสอน วิธีทำให้เด็กคิดในต่างประเทศคือ อาจารย์ 4 คนให้เด็กเขียนบทความ 10 หน้า อาจารย์ภาษาอังกฤษจะตรวจเฉพาะภาษาอังกฤษของเด็ก อาจารย์วิทยาศาสตร์จะให้เด็ก อธิบายว่า มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมภูเขาน้ำแข็งละลาย ลูกนี้ทำไมจึงแตกมาจากภูเขาใหญ่แล้ว ไหลมาตามกระแสน้ำ อาจารย์คณิตศาสตร์ก็ต้องหวังให้เด็กเอาสูตรคณิตศาสตร์ไปคำนวณว่า ส่วนหนึ่งของภูเขาน้ำแข็งโผล่น้ำ อีก 8 ส่วนจมอยู่ในน้ำ ใช้สูตรเกี่ยวกับมวลสาร ส่วนอาจารย์ สังคมศาสตร์ถามว่า คนที่นั่งในชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ชั้นสามในเรือไททานิกมีภูมิหลังเป็นอย่างไร ชั้นหนึ่งคือพวกร่ำรวย ชั้นสองคือพวกเซลล์แมน นักธุรกิจเดินทางระหว่างอเมริกาและยุโรป

162 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ชั้นสามคือพวกอพยพ แรงงาน ที่ไม่มีเงินซื้อตั๋วราคาแพง จึงได้นั่งท้องเรือ อาจารย์ 4 คนตรวจ 4 อย่างในรายงานชิ้นเดียว อย่างนี้เขาเรียกว่า ‘บูรณาการ’ ผมคิดย้อนกลับมาว่า ถ้าเป็นห้องเรียนของไทย คำถามจะต้องเป็น Multiple Choice และคงถามว่า เหตุการณ์ไททานิก เกิดที่มหาสมุทรไหน หนึ่ง อินเดีย สอง แอตแลนติก สาม แปซิฟิก และอันสุดท้ายคือ ถูกทั้งหมด แล้วเด็กได้อะไร ครูได้อะไร ข้อมูลเหล่านี้มันหาได้ ง่ายมากสมัยนี้ แต่สิ่งที่ควรติดตัวเด็กไปหลังจากผ่านวิชานั้นไปแล้วคือ วิธีคิด วิธีวิเคราะห์ วิธี สังเคราะห์ วิธีบูรณาการข้อมูล สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้ากระทรวงศึกษาไม่ยอมปล่อย และไม่ ยอมบอกว่า ท่านทั้งหลายในภูมิภาคมีสิทธิที่จะทดสอบ ทดลอง ศึกษาวิจัยเอาเองว่า วิธีการ สอนอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับเด็ก คนที่จะเข้ามาอยู่ในประชาคมอาเซียน คือ คนในอีก 3 ปีข้างหน้า 5 ปีข้างหน้า10 ปีข้างหน้า คือรุ่นลูกรุ่นหลาน ไม่ใช่รุ่นเรา แล้วจะเตรียม ตัวเขาอย่างไรให้ไปอยู่ในประชาคมแล้วไม่เสียเปรียบคนอื่น แข่งกับเขาได้ หรืออย่างน้อยๆ ยืนรักษาตำแหน่งของตัวเองไว้ได้ ถึงไม่ชนะก็ไม่แพ้ แต่ถ้าไม่พร้อมในสิ่งเหล่านี้ ออกไปไม่ได้ แล้วเศรษฐกิจของเราขณะนี้ เขาเรียกเศรษฐกิจที่มีรายได้อยู่ในระดับกลาง Middle income คิดเป็นรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อหัวต่อปี และเราไม่สามารถจะขยับไปไหนได้มากกว่านั้น เหตุผลเพราะการศึกษา เราไม่ได้มีการค้นคว้าวิจัย เราไม่ได้เตรียมคนของเราเพื่ออนาคต เราสอนให้ท่อง แรงงานของเราก็ไม่มีคุณภาพ จึงไม่สามารถยกระดับเศรษฐกิจของเราได้ ผมเพิ่งไปพม่า ประธานาธิบดีพม่าบอกว่า อยากได้คน 2-3 ล้านคนที่อยู่ในประเทศ ไทยและมาเลเซียกลับ พวกเขาทำงานต่ำสุด ถ้าเขากลับไป โรงงานจะอยู่ได้ไหม เพราะคนไทย ไม่ย อมเข้า ไปทำงานเหล่านั้น แล้วจะเกิดปัญหา จะเกิดโกลาหลขึ้น แต่เราไม่ยกระดับ เศรษฐกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีขึ้นมา หรือใช้ทักษะ ใช้ความรู้ ที่เพิ่มขึ้นกว่านั้น ก็เพราะการ ศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ นี่คือปัญหา ท่านต้องการทำเรื่องภัยพิบัติ หลังจากสึนามิเมื่อปี ค.ศ.2004 เข้ามาในหลายประเทศ ผู้คนตายไป 300,000 กว่าคน เมื่อปี ค.ศ. 2008 ผมเพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง ไซโคลนนากีสที่พม่า ส่งผลให้ตายไป 140,000 คน ภัยพิบัติเหล่านี้มาบ่อยขึ้น แล้วทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้า สังคมและชุมชนไม่แข็งแรง ไม่มั่นคง ไม่พร้อม จะยิ่งลำบาก เพิ่งไปพม่ามา ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ โรงเรียน โรงพยาบาลเขายกสูงขึ้นเพื่อเป็นที่หลบภัยได้ เขาเรียนรู้แล้ว เรารู้ว่าบังกลาเทศโดน ไซโคลนหนักกว่าพม่าอีก และโดนหลายครั้ง แต่คนตายน้อยกว่ามาก นั่นก็เพราะเขาเตรียมตัว ดีกว่า น้ำท่วมกรุงเทพมหานครมีปัญหาไปทั่วโลก เพราะประเทศไทยผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่ท่าน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 163


ประสบและเห็นคือ ‘เอาไม่อยู่’ เพราะมันใหญ่เกินไป และต้องการให้ทุกอย่างมาจาก กรุงเทพมหานคร ชุมชนบ้านนอก ตำบลบ้านนอก อำเภอบ้านนอก ไม่ได้ตระหนักและไม่ได้ เตรียมพร้อม เพราะทุกอย่างต้องกำหนดจากกรุงเทพฯ งบประมาณ คน นโยบาย โลกสมัย ใหม่ยุคโลกาภิวัตน์ โลกยุคอาเซียน เป็นไปไม่ได้ที่จะต้องรอฟังจากส่วนกลางอีกต่อไป ผมถามน้องๆ ก่อนจะมาประชุมว่า ในที่ประชุมพูดเรื่องพุทธสุภาษิตว่า ‘อัตตาหิ อัตตโน นาโถ’ บ้างไหม น้องๆ บอกว่า ไม่ได้ยิน จึงอยากนำมาเตือนว่า ถึงที่สุด อาจารย์ ประเวศ วะสี เคยพูดกับผมนานแล้วว่า “ทางเดียวเท่านั้นที่จะอยู่รอด ชุมชนต้องเข้มแข็ง” แต่ชุมชนประกอบด้วยตัวบุคคล ปัจเจกชน จะเข้มแข็งไปไม่ได้ ถ้าคนไม่แข็ง ไม่พร้อม ไม่ตื่น ไม่มีสติ และไม่พึ่งตนเอง ยอมเป็นเหยื่อให้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าการพนัน ยาเสพติด กระแส บริ โ ภคนิ ย มทั ้ ง หลาย เพราะขาดสติ ท ี ่ จ ะยื น เป็ น ตั ว ของตั ว เอง ถ้ า อ่ อ นปวกเปี ย กไหลไป ทุกทิศทางที่เขาดึงไป สังคมก็จะไม่ไปไหน ประเทศชาติก็มีแต่จะถอยหลัง เพราะทุกคนยอม จำนนกับสิ่งล่อลวงทั้งหลาย ฉะนั้นจึงต้องขออนุโมทนาสำหรับสิ่งที่ท่านทำอยู่นี้ แต่ที่ต้องตระหนัก คือความจำเป็น ที่จะต้องตื่นตัว เตรียมพร้อมเพื่อการแข่งขัน เหตุผลที่ต้องจับกลุ่มอาเซียน ก็เพราะโลกมันจะ เปิดเรา นัน่ คือ WTO (องค์การการค้าโลก) เหตุผลที่ WTO จะเปิดเรา ก็เพราะกระแสโลกาภิวตั น์ มันเหมือนกับน้ำ ที่ไหนต่ำมันก็ไปที่นั่น ที่ไหนเป็นที่ว่าง มันก็ไปที่นั่น เขาผลิตสินค้าที่ไหนได้ใน ราคาที่ต่ำกว่า เขาก็ไปที่นั่น เดี๋ยวนี้เขาไปจีน อินเดีย และจะไปพม่า ไปเขมร ไปเวียดนาม ส่วนที่เคยเป็นของเรา พวกสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เรื่องที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก เรื่องที่ใช้ ฝีมือและแรงงาน จะไม่อยู่กับเราอีกต่อไป แล้วอาเซียนยังต้องไปแข่งกับจีน อินเดีย เราจึงต้อง รวมกัน แต่การที่เขารวมกันนั้นก็ยังต้องแข่งขันกัน เราจึงต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าเวทีพร้อมสติ พร้อมความสามารถในการแข่งขัน และพร้อมความตั้งใจที่จะออกไปสู้ ในการพูดคุยกับผู้นำพม่า เขาบอกว่า จะสร้างนิคมอุตสาหกรรม เริ่มต้น 3 แห่ง ยะไข่ ลงมาที่ ทวาย ลงมาใกล้ๆ กับย่างกุ้ง ใหญ่โตมโหฬาร แล้วมีคนมาลงทุนโดยที่มีบางส่วนย้าย ไปจากประเทศไทยด้วย ผมเรียนประธานาธิบดีว่า ประสบการณ์ของอาเซียน จะพัฒนา อย่างไรก็ตาม แต่ต้องไม่ลืมภาคเกษตร ไม่ลืมเรื่องอาหาร ไม่ลืมเรื่องที่จะเกี่ยวข้องกับ กระบวนการที่จะผลิต ยกระดับผลผลิตด้านอาหาร เพราะถึงที่สุดแล้วคนต้องกินอาหาร Body Language พอเขาได้ยิน เขาเปลี่ยนทันที คึกคักขึ้นมาทันที ประเด็นนี้โดนใจ เขาบอกผมว่า ลุ่มน้ำอิรวดีที่เคยโดนไซโคลนนากีส ที่อาเซียนและยูเอ็นเข้าไปช่วยนั้น มีศักยภาพที่จะเป็น

164 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


‘ชามข้าวใหม่ของเอเชีย’ ของอาเซียน เพราะมันกว้างใหญ่ไพศาล น้ำก็พร้อม ขาดแต่ถนนและ เทคโนโลยี และพันธุ์ที่ดีขึ้น ครั้งหนึ่งที่นี่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เคยเป็นที่ผลิตข้าวให้เอเชีย และให้โลก ดังนั้น ‘Rice Bowl’ ในอนาคตก็จะไม่ใช่เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาหรือลุ่มน้ำโขงแล้ว เมือ่ ไม่นานมานี้ กระทรวงเกษตรส่งเสริมให้มกี ารสนับสนุนเรือ่ งการพัฒนาแบบพอเพียง ระหว่างประเทศ ซึ่งผมเคยพูดมานานว่า ประเทศไทยในเวทีโลกนั้น ไม่มีอะไรใหม่ที่จะเสนอ คนอื่น เดี๋ยวนี้โลกทั้งโลกยอมรับว่า ทุกอย่างในโลกนี้จำกัดหมดแล้ว ใครจะสูดอากาศบริสุทธิ์ ต้องใช้เครื่องฟอกอากาศ ใครต้องการดื่มน้ำบริสุทธิ์ ต้องเป็นน้ำขวดแล้ว เมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา น้ำท่วมที่นครศรีธรรมราช ผมอยู่มาจนอายุเกิน 60 ปี ผมไม่เคยเห็น น้ำมาเร็วและใหญ่ขนาดนั้น มาแบบน่ากลัวมาก เหตุผลง่ายนิดเดียว ภูเขามันโล้นหมดแล้ว ฝนตกลงมานับได้เลย 8 ชั่วโมงท่วมนครศรีธรรมราชทันที ดังนัน้ ความยัง่ ยืนคือชีวติ ความยัง่ ยืนคือทางรอด ความยัง่ ยืนคือปัญญา โลกทัง้ โลก กำลังเผชิญปัญหานี้ เขากำลังจะประชุมกันอีกที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียกว่า ‘ริโอพลัส’ ซึง่ เป็นสถานทีท่ เ่ี คยประชุมเรือ่ งสิง่ แวดล้อมเมือ่ 20 ปีทแ่ี ล้ว เพราะคาร์บอนมันมากขึน้ มันร้อนมากขึน้ กลายเป็นเรือนกระจก ภูเขาน้ำแข็งละลาย น้ำทะเลขึน้ หลายประเทศทีเ่ ป็นเกาะ จะสูญหายไปจากบัญชีรายชื่อประเทศของโลก เพราะน้ำท่วม เกิดปัญหาในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศอีกว่า ถ้าเขาต้องอพยพไปอยู่ที่ไหนในแอฟริกาหรืออเมริกาทางตอนใต้ เขาจะ ยังเป็นประเทศอยู่ไหม ในเมื่อยกทั้งเกาะไปอยู่นั่น ขณะนี้มันไปถึงขั้นนั้นแล้ว ฉะนั้นสิ่งที่เรามีอยู่ เราต้องรักษาไว้ ประคองไว้ในชุมชนของท่าน ท่านต้องเป็นเจ้าของ ท่านต้องเป็นใหญ่ อย่าให้ธุรกิจจากข้างนอก กลไกตลาดจากข้างนอกมาเป็นผู้กำหนดสิ่งซึ่ง ท่ า นมี อ ยู ่ เพราะนั ่ น คื อ ชี ว ิ ต ของท่ า น เรื ่ อ งของเกษตรยั่ ง ยื น ทรั พ ยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ชุมชนต้องยึดเอาไว้เป็นของท่านเอง รัฐธรรมนูญก็เปิดโอกาส เพียงแต่ จะสร้างกลไกอย่างไรที่จะประสานงานกัน สร้างเครือข่ายร่วมกัน เพิ่มพลังให้กันและกัน

เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ให้ได้ อาเซียนเป็นห่วงเรือ่ งนี้ เหตุทอ่ี าเซียนเป็นห่วงเรือ่ งนี้ เพราะสิบประเทศเราอยูก่ นั แบบนี้ ถ้าไทยป่าไม้หมด น้ำท่วม เขมรก็โดน มันกระทบกันหมด ไม่มีใครที่จะได้รับการยกเว้นจากใคร เพราะโลกได้บรู ณาการภิวตั น์เข้าหากัน ปัญหาคุณคือปัญหาฉัน ปัญหาฉันคือปัญหาคุณ ดังนัน้ เราต้องเป็นเจ้าของ ต้องมีส่วนกำหนด และต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทในการจัดสรรและแก้ไขปัญหา ซึ่งในรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 165


ธรรมชาติของอำนาจนั้น เชื่อเถิดว่า อำนาจจะไม่พอเพียงในอำนาจที่มีอยู่ อำนาจ จะหาอำนาจเพื่อเพิ่มอำนาจตลอดไป นั่นคือธรรมชาติของมนุษย์ ใครก็ตามที่มีอำนาจต้อง ขยายอำนาจ และจะรู้สึกไม่ปลอดภัยถ้าไม่ได้ขยายต่อ ถึงที่สุดมันก็ไปเจอปัญหา เจอคนที่จะ ยืนขึ้นมาบอกว่า พอแล้ว ฉันไม่ยอม และก็จะเกิดความขัดแย้ง ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำให้ได้ คือการจัดแบ่งสรรความสัมพันธ์ ขอบข่าย อำนาจ สิทธิ หน้าที่ และอยู่กันให้ได้บนขอบข่ายของกฎเกณฑ์นั้น ถ้าทำไม่ได้ ประเทศจะไม่มีความสมบูรณ์ สังคมจะไม่มีความสงบ ท่านก็จะสูญเสียความเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั ้ น สิ ่ ง เดี ย วที ่ อ ยากฝากไว้ คื อ Yes! จะมี ป ระชาคมอาเซี ย นเกิ ด ขึ ้ น แต่ ใ น ประชาคมอาเซียนไม่ต้องการให้ทุกคนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และการเตรียมตัว เพื่อเข้าไปสู่อาเซียนที่ดีที่สุด คือการเป็นตัวของตัวเอง มีพลัง มีคุณภาพ มีความสามารถ ในการแข่งขันเพียงพอ และจะทำได้ก็ด้วยการปฏิรูปการศึกษา เตรียมตัว พัฒนาเครือข่ายของ ตัวเองให้พร้อมรักษาสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว อย่าให้คนอื่นเข้ามาเอาเปรียบ เข้ามารังแก ซึ่งจะ ทำได้ ก็ตอ้ งทำให้เกิดความสามัคคีผกู โยงกันทัว่ เพือ่ ยืนหยัดว่า อำนาจนอก อำนาจกลาง เข้ามา ก้าวก่ายรุกล้ำเราไม่ได้ เพราะเราคือผู้ซึ่งมีอำนาจ และรัฐธรรมนูญก็ได้รับรองไว้ หวังว่ารัฐธรรมนูญที่จะแก้กัน จะไม่เปลี่ยนหมด หวังว่าองค์กรอิสระจะยังอยู่ แต่ถ้า ทุกอย่างราบเรียบในแบบอำนาจที่ยังคงรวมศูนย์อยู่ตรงกลาง จะเกิดปัญหา ปัญหาภาคใต้ก็ เกิดจากปัญหานี้ คนที่ส่งไปทำงานในภาคใต้ก็พร้อมจะหันหลังให้ประชาชนและหันหน้าเข้า กรุงเทพฯ คอยดูสัญญาณว่า จะขยิบตาเมื่อไร ดูสัญญาณว่าจะมีตำแหน่งว่างเมื่อไรและพร้อม วิ่งเข้ากรุงเทพฯ เห็นประชาชนคือบันไดเท่านั้น ฉะนัน้ เราต้องยืนยันว่า การทีร่ ฐั ธรรมนูญแบ่งพืน้ ทีใ่ ห้เรา การกำหนดให้เราเป็นสถาบัน เป็นองค์กร เป็นเครือข่าย เราต้องรักษาไว้ให้ได้ ถ้าท่านล้มตรงนี้ อย่าหวังเลยว่า เข้าไปใน ประชาคมอาเซียนแล้วท่านจะอยู่รอด ถ้าทำไม่ได้ตรงนี้ อย่าหวังเลยว่า ท่านจะไปแข่งขันกับ เขาในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ ถ้าทำไม่ได้ตรงนี้ อย่าหวังเลยว่าจะได้ประโยชน์เต็มที่จากตลาด ที่เปิดขึ้นจาก 600 ล้านคน เป็น 3,000 ล้านคน และขยายต่อไปเรื่อยๆ เริ่มต้นต้องอยู่ให้รอด ต้องเข้มแข็ง และต้องมีสติ มีปัญญาที่จะยืนหยัดรักษาปกป้อง ผลประโยชน์ของเราเองในท้องถิ่น อาเซี ย นไม่ ไ ด้ ไ กลตั ว ท่ า นเลย ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ที่ เ ข้ ม แข็ ง และน่ า อยู่ คื อ การ เตรียมตัวเพื่ออาเซียน และอาเซียนตระหนักว่า ท่านต้องอยู่คู่การเปลี่ยนแปลงและ การพัฒนาของอาเซียน 166 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ชุมชนท้องถิ่น คือฐานของประเทศ ศ.(เกียรติคุณ) นพ.ประเวศ วะสี


ท่านสมพร ใช้บางยาง ได้พูดหลายครั้งว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นแรง

ขับเคลื่อนเรื่องทั้งหมด คือ วิธีคิด ถ้าติดอยู่กับวิธีคิดที่เก่าๆ เราก็ไม่มีแรงที่จะไป เราต้องจับ

วิธีคิดให้ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมจะกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่องของวิธีคิด วิธีคิดที่นำมาเสนอ เริ่มต้นเลย คือชื่อเรื่อง ‘ชุมชนท้องถิ่นคือฐานของประเทศ’ ถ้าฐานของประเทศแข็งแรงประเทศก็จะมั่นคง ที่ผ่านมาเราไม่ได้ถือหลักนี้ เราไปพัฒนาข้างบน ไปสร้างพระเจดีย์จากยอด ไม่มีพระเจดีย์องค์ใดสร้างสำเร็จจากยอด พระเจดีย์ต้องสร้าง จากฐาน ถ้าเราจับจุดนี้ได้ แล้วมุ่งไปที่ตรงนี้ ไม่ช้าก็เร็ว ประเทศจะมั่นคงและยั่งยืน ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ หรือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ พูดตรงกันหมดว่า ประเทศไทย รวมศูนย์อำนาจต่อไปไม่ได้อีกแล้ว การรวมศูนย์อำนาจร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เป็นเหมือน หลุมดำของประเทศไทย ที่ดูดซับพลังสร้างสรรค์จากคนไทยไปหมด ที่จริงคนไทยและสังคม ไทยมีสิ่งดีๆ เยอะแยะมากมาย แต่ถูกดูดซับไปหมด คนไทยมีสมรรถนะน้อยลง มีความขัดแย้ง มากขึ้น มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมาดูว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเราตกอยู่ใน หลุมดำแล้วขึ้นจากหลุมดำไม่ได้เป็นเวลาถึงร้อยปี ซึ่งหลุมดำนี้นำไปสู่ปัญหาต่างๆ อย่างน้อย 8 ประการด้วยกัน

168 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


หลุมดำประเทศไทย

๘. ชุมชนท้๑. องถิ่น ๒. รง แ ุน อ่อนแอ ย้งร

มิค ไร้ท สัญ างอ ญีก อก ลีย ุค

ขัดแ

๓. ๗. ศู น ย์ ร วม ระบบราชการ าย รัฐประหารง่ อ่อนแอ อำนาจ ๖. ล้มเหลว ๕. คอร์๔. ร ัปชั่น ัรฐ เข้ ม ข้น แย่งชิงอำนาจ การเมืองรุนแรง

ประการที่หนึ่ง ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ เมื่อชุมชนท้องถิ่นคือฐานของประเทศ ถ้าฐาน ของประเทศอ่อนแอ ประเทศทั้งหมดก็ทรุดตัวลง ประการที่สอง ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง เช่น ความรุนแรงที่สามจังหวัดภาคใต้ เพราะเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เป็นวิถีชีวิตของผู้คน เป็นคุณค่า และการ รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางที่จะให้เหมือนกันไปหมด ย่อมขัดแย้งกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ความขัดแย้งนี้ออกไปเป็นอาการต่างๆ และอาการหนึ่ง ก็คือความรุนแรงที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ประการที่สาม ระบบราชการอ่อนแอ เพราะการใช้อำนาจไปเรื่อยๆ มันก็อ่อนแอ จะแข็งแรงต้องใช้ปัญญา ถ้าใช้อำนาจไปเรื่อยก็ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องหาความรู้ ไม่ต้องทำ อะไร ก็อ่อนแอไปเรื่อยๆ ถ้าระบบราชการเปลี่ยนบทบาทไปสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ทั้งทาง นโยบายและทางวิชาการ ระบบราชการก็จะแข็งแรง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาท ถ้ายัง รวมศูนย์อำนาจระบบราชการก็จะอ่อนแออยู่เช่นนี้ ประการที่สี่ ระบบคอร์รัปชั่นเข้มข้น อำนาจรวมศูนย์เข้มข้นที่ไหน คอร์รัปชั่นจะมาก ที่นั่น เราพูดกันอยู่เรื่อย เรื่องคอร์รัปชั่น เราพูดอย่างนั้นอย่างนี้ แต่หากเราไม่ได้ทำตรงนี้ เราก็ แก้ปัญหาไม่ได้ เราพยายามสั่งสอนธรรมะไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้ผล เพราะไม่ได้จับที่เหตุ

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 169


เหตุของคอร์รัปชั่น คือการรวมศูนย์อำนาจ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ย้อนหลังไป 100 กว่าปี เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่น รวมศูนย์อำนาจ ต่อมาเขากระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น 26 ท้องถิ่น คอร์รัปชั่นก็หมดไป ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เจริญรุ่งเรือง คนไม่เคยได้ยินชื่อนายก รัฐมนตรีเลย เพราะว่าความสำคัญไปอยูท่ ท่ี อ้ งถิน่ ท้องถิน่ สามารถพัฒนา แก้ปญ ั หาต่างๆ ได้หมด มีคณะรัฐมนตรี 7 คน ต้องจับสลากกันเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องหมุนเวียน และไม่มีใครรู้ว่า นายกรัฐมนตรีชื่ออะไรเพราะปัญหาไม่มี เพราะมีการกระจายการดูแลไปหมดแล้ว ประการที่ห้า การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองรุนแรง เพราะอำนาจรวมศูนย์ ใครแย่ง ชิงอำนาจได้ก็กินรวบหมดทั้งประเทศ คนก็อยากลงทุนตรงนี้ จะลงทุนเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน ก็อยากลงทุน อยากฆ่ากันก็เอา เพื่อเอาชนะให้ได้ เพื่อรวบอำนาจรวมศูนย์ ถ้าอำนาจกระจาย ไปหมด ก็ไม่มีแรงจูงใจที่อยากจะลงทุนเพื่อแย่งอำนาจ เพราะฉะนั้นการที่อำนาจรวมศูนย์ ทำให้เกิดความรุนแรงในทางการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ ประการที่หก เกิดสภาวะรัฐล้มเหลว เพราะเมื่อทางการเมืองและทางราชการเป็น อย่างนั้น ไม่ได้ใช้ความรู้ แต่ใช้อำนาจ ก็แก้ปัญหาอะไรต่างๆ ไม่ได้ เพราะปัญหาที่ซับซ้อนและ ยากนั้นใช้อำนาจแก้ไขไม่ได้ ต้องใช้ความรู้ ใช้สังคมเข้ามา เพราะฉะนั้นรัฐจึงแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้เลย แก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ แก้ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ได้ แก้ปัญหาเรื่อง การใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนไม่ได้ แก้ปัญหาความรุนแรงสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ไม่ได้ เกิดสภาวะที่เรียกว่ารัฐล้มเหลว ประการที่ เ จ็ ด ทำรั ฐ ประหารได้ ง่ า ย เมื่ออำนาจรวมศูนย์อยู่ก็ยึดอำนาจได้ง่าย ถ้าอำนาจกระจายไปสู่ท้องถิ่นหมด ยึดอำนาจไม่ได้ ประเทศที่กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ทำรัฐประหารไม่ได้ อินเดียทำรัฐประหารไม่ได้ ยากจนอย่างไรก็ทำรัฐประหารไม่ได้ เพราะเขา กระจายอำนาจไปหมดแล้ว ที่ผ่านมา เวลาการเมืองมีปัญหา ไม่มีประสิทธิภาพ กองทัพมาทำ รัฐประหารเสียทีหนึง่ ฉีกรัฐธรรมนูญไป เราจึงมีรฐั ธรรมนูญ 18 ฉบับ และเรากำลังจะเขียนกันใหม่

อีกแล้ว ทีนี้การรัฐประหารก็ทำยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนจะต่อสู้ ทำแล้วก็ไม่เวิร์คเหมือนกัน ตกลงเมื่อการเมืองไม่เวิร์ค รัฐประหารก็ไม่เวิร์ค ก็เกิดปัญหา ประการที่ 8 คือ ไร้ทางออก ก็จะนำไปสู่มิคสัญญี กลียุค จะเห็นว่า นี่เป็นหลุมดำประเทศไทย ผมเองพูดมานานแล้วว่า ทั้งหมดทำให้คนไทย เหมือนไก่อยู่ในเข่ง ถูกโครงสร้างกักขังไว้ เราจิกตีกันร่ำไป ทั้งๆ ที่ทั้งหมดจะถูกนำไปฆ่า รอถูก

170 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


นำไปเชือดหมดทุกตัว แต่ก็ยังจิกตีกันร่ำไป จะจิกตีกันเลือดตกยางออกอย่างไรก็ออกจากเข่ง ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยกันดูว่า เข่งนี้คืออะไร และจะต้องออกจากเข่งให้ได้ การที่เรามาพูดเรื่องชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย คือการรวมตัวกันออกจากเข่งอำนาจนี้ การปฏิรูปประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน เราต้องการปฏิรูป เปลี่ยนรูปประเทศไทย เสียใหม่ จากรูปสามเหลี่ยมหัวลง หมายถึงฐานแคบ ถ้าฐานแคบอย่างนี้ก็โคลงเคลง มันไม่ มั่นคง ความมั่นคงจะเกิด ฐานต้องกว้าง เช่น พระเจดีย์หรือพีระมิด นี่ก็ตรงไปตรงมาที่สุด ง่ายที่สุด แต่ประเทศไทยพลาดมาตลอด 100 ปีที่ผ่านมา เราพยายามพัฒนาข้างบน เศรษฐกิจ ก็จะเอาข้างบน การศึกษาก็จะเอาข้างบน การเมืองก็จะเอาข้างบน เพราะฉะนั้นการปฏิรูป คือเปลี่ยนรูปเสียใหม่ มาเป็นประเทศไทยที่ฐานกว้าง คือตั้งฐานของประเทศให้มั่นคง ฐานของ ประเทศคือชุมชนท้องถิ่น นี่เป็นแนวคิดที่ว่าเรามาพูดเรื่องชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การ อภิวัฒน์ประเทศไทย

ปฏิรูปประเทศไทย ชุมชนท้องถิ่น

ตั้งฐานของประเทศให้มั่นคง การพัฒนานั้น มีทั้ง ‘มิจฉาพัฒนา’ และ ‘สัมมาพัฒนา’ ถ้าเราไปทางมิจฉาพัฒนา ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งลำบากเข้าไปเรื่อยๆ แล้วลองดูเรื่อง ‘ข้างบน’ กับเรื่อง ‘ข้างล่าง’ ผมคิดว่า ต้องทำความเข้าใจเรื่องระหว่างสังคมข้างบน กับสังคมข้างล่าง ถ้าถามว่า ‘ข้างบน’ ‘ข้างล่าง’ คืออะไร ข้างบน คือ อำนาจ มายาคติ และความ ฉ้อฉลต่างๆ งบประมาณใส่ไปเท่าไหร่ๆ ก็ไปฉ้อฉล ผลไม่ค่อยได้ ส่วนข้างล่าง คือความจริง ของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 171


ยกตัวอย่างให้ดูเรื่องเศรษฐกิจ ข้างล่างผลิตอาหาร ผลิตข้าวของเครื่องใช้ ผลิตบริการ เหล่านี้เป็นเศรษฐกิจจริง แต่ถ้าไปดูรายได้ข้างบน กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่า พวกนี้ถ้ายิ่งมาก สังคมยิ่งลำบาก กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่า แต่ข้างล่างผลิตอาหารได้ ผลิตข้าวของเครื่องใช้ ผลิตบริการได้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะเป็นของจริง เพราะฉะนั้นข้างบนจึงเป็นเรื่องของมายาคติ ทีนี้ โลกที่พัฒนากันนี้ พัฒนาแต่เรื่องข้างบน จึงนำไปสู่วิกฤติทั่วโลก ลองไปดูวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ในอเมริกา ในยุโรปที่แก้ไขไม่ได้ เพราะพัฒนาแต่เศรษฐกิจมายาคติ ข้างล่างนั้นเป็นเรื่อง ความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน ตรงนี้นำมาสู่ข้อสรุป ซึ่งอาจจะรุนแรง แต่เป็นความจริง เพราะความถูกต้องนั้น ต้องถักทอกันขึ้นมาเองจากหน่วยย่อยข้างล่าง เป็น Self-organization จากหน่วยย่อย ข้างล่าง ไม่มีใครสามารถเสกความถูกต้องลงมาจากข้างบนได้ เหมือนร่างกายของเรา ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อนและวิจิตรที่สุดในจักรวาล มาจาก เซลล์ๆ เดียว ซึ่งต้องมีความถูกต้องทุกประการ จากดีเอ็นเอ 3,000 ล้านตัวอักษร ถ้าผิดไป แม้แต่ตัวเดียว เซลล์ก็พิการ สืบต่อไปเป็นชีวิตที่ปกติไม่ได้ เซลล์ต้องถูกต้องทุกประการ จากเซลล์ๆ เดียว เป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปด ขึ้นมาจนเป็นร่างกายที่วิจิตรที่สุด ต้องถูกต้อง ทั้งหมดจึงจะดำรงอยู่ได้ ความเป็นปกติ สุขภาพดี ไม่มีใครสามารถเสกเราได้ทันทีทันใดโดย ไม่ได้ขึ้นมาจากเซลล์ๆ เดียว ข้อสรุปตรงนี้คือ ความถูกต้องจะต้องถักทอกันขึ้นมาเองจากหน่วยย่อยข้างล่าง Selforganization นี่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตเกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต เพราะปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า Self-organization สร้างขึ้นมา หน่วยย่อยข้างล่างคืออะไร คือชุมชน เพราะฉะนั้นจะสังเกตว่า ในชุมชนทำให้ถูก ต้องได้ง่าย เรื่องการท่องเที่ยวก็ดี เรื่องสัมมาชีพก็ดี เรื่องอะไรก็ดี เพราะชุมชนเป็นที่ของการ อยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นศีลธรรมจึงอยู่ที่ชุมชน ข้างบนไม่มีที่อยู่ของศีลธรรม ข้างบนเป็นเรื่อง ของอำนาจ มายาคติ เพราะฉะนั้นจะสอนศีลธรรมกันเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เกิด เพราะมันไม่มีที่อยู่ ศีลธรรมไม่ใช่การสอน ศีลธรรมคือระบบชีวิต การอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นศีลธรรมจึงอยู่ใน ชุมชน มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์ ท่านสอนศีลธรรม ท่านบอกสอนไม่ได้ในห้องเรียน ท่านพานักศึกษาไปเรียนรู้ในชุมชน ท่านบอกศีลธรรมอยู่ใน ชุมชน ศีลธรรมคือการอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นจะสังเกตว่า พระสอนกันมากทุกวัน สอนศีล 5

172 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หมายถึงประชาชนจัดการปกครองตัวเอง ขึ้นมาเป็นลำดับ เรียกว่า ชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตัวเอง แล้วเราก็จัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ แล้วยังจัดการนโยบายอีกด้วย ซึ่งไปไกลกว่า การปฏิวัติประชาชนแบบเก่า ที่รุนแรง มีการล้มตาย และไม่แน่ว่าจะสำเร็จ วันหนึ่งเป็นหมื่นเที่ยว แต่ศีลธรรมก็ไม่เกิด เพราะศีลธรรมไม่ได้เกิดจากการสอนศีลธรรม เกิดจากระบบชีวิตของการอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราพยายามทำชุมชนให้ดีทั้งหมดเลย ชุมชนก็จะเป็นฐานสร้างความถูกต้องขึ้นมาจากข้างล่าง ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ การพัฒนาประเทศก็ไม่ยาก เรามีทรัพยากร มีองค์กร มีสิ่งต่างๆ ร้อยแปดที่จะช่วยกันสนับสนุนตรงนี้ แล้วก็จะเกิดเป็นกระบวนการชุมชนขึ้นมา ขั้นที่หนึ่ง มีสภาผู้นำชุมชน ประมาณ 40-50 คน ในแต่ละชุมชน ขั้นที่สอง ทำการ สำรวจชุมชน ผมเอามาจากผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ขั้นที่สาม ทำแผนชุมชน ขั้นที่สี่ เสนอสภาประชาชน คือที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้าน นี่เป็นประชาธิปไตยทางตรง คนทั้ง หมู่บ้าน 500 คน และ 1,000 คนมาประชุมร่วมกัน เมื่อสภาประชาชนรับรองแผนชุมชนแล้ว คนทั้งชุมชนก็ขับเคลื่อนแผนชุมชนด้วยกัน เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้ง 8 เรื่องเข้ามา เชื่อมโยงกัน คือ เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา และประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยชุมชน เป็นประชาธิปไตยที่มีคุณภาพสูงสุด ประชาธิปไตยของเรามี 3 ระดับด้วยกัน ประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตยท้องถิน่ ประชาธิปไตยระดับชาติ เราต้องเริ่มตั้งแต่ที่ฐาน ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ และสามารถเข้าไป สนับสนุนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ให้มีขึ้นเต็มพื้นที่ทั้งหมด เรามีองค์กรท้องถิ่น 7,000 กว่าองค์กร ซึ่งองค์กรท้องถิ่นสามารถทำได้หลายเรื่อง หนึ่ง สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นของท่าน สอง ทำสิ่งที่เหนือความสามารถของชุมชน และสาม ขับเคลื่อนนโยบาย

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 173


กระบวนการชุ มชน ๑.สภาผู้นำชุมชน ๒.สำรวจข้อมูลชุมชน ๓.ทำแผนชุมชน ๔.สภาประชาชน ๕.คนทั้งชุมชนขับเคลื่อนแผนชุมชน

การพัฒนาอย่างบูรณาการ

เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – วัฒนธรรม – สิ่งแวดล้อม – สุขภาพ – การศึกษา – ประชาธิปไตย

สังคมศานติสุข

เราพูดถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ความเข้มแข็งคือการจัดการตนเอง การที่สามารถจัดการตนเองได้แปลว่ามีปัญญา เพราะการจัดการ คือปัญญาที่ครบรอบ ของมันเป็น ‘อิทธิปัญญา’ แปลว่าปัญญาที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ‘อิทธิ’ แปลว่าสำเร็จ เหมือนอิทธิบาท 4 ความรูแ้ บบท่องหนังสือ ยังเป็นความรูแ้ บบจัดการไม่เป็น ยังไม่ใช่ปญ ั ญา การจัดการนัน้ เลยความรู้ไปอีก คือ จัดการเป็น แก้ความยากจนได้ จัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสังคม เรือ่ งต่างๆ รวมทัง้ การจัดการขับเคลือ่ นนโยบาย ซึง่ การจัดการนัน้ จะจัดการสองเรือ่ งใหญ่ๆ ด้วย กัน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง หรือจังหวัดจัดการตนเอง นั่นคือ จัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ และจัดการนโยบาย ‘เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ ได้ตกลงกันแล้วว่า จะจัดการนโยบาย 7 เรื่อง ด้วยกัน เรามีปฏิญญาแล้วว่าจะจัดการ 7 เรื่อง แต่ละเรื่องทำอย่างน้อย 3 เรื่องด้วยกัน รวมทั้งหมดเป็น 21 เรื่อง เราก็ทำมาเป็นลำดับ อยากเรียนตรงนี้ด้วยว่า มีฝ่ายก้าวหน้าที่อยากเห็นสังคมมีความเป็นธรรม และเรียน ทฤษฎีปฏิวัติมา ก็จะพูดถึงการปฏิวัติประชาชน เราก็ไม่ได้ไปขัดแย้งอะไร แต่อยากอธิบายว่า สิ่งที่เรียกว่า ปฏิวัติประชาชน รวมตัวไปยึดอำนาจรัฐ หรือไปโค่นล้มอำนาจนั้น อาจารย์

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยบอกผมว่า ตอนท่านอยู่ในป่า ท่านก็คิดยึดอำนาจรัฐ แต่ท่านบอก ว่า โชคดีที่ไม่สำเร็จ คือถ้ายึดสำเร็จ มันเป็นภาระว่า จะจัดการอย่างไร เพราะถ้าเราไปดู ประวัติศาสตร์จีน เมื่อผู้ปกครองเป็นทรราชย์ ประชาชนจะรวมตัวกันเรียกว่า ‘Uprising’ ส่วนใหญ่จะถูกปราบ คนส่วนน้อยสำเร็จโค่นล้มได้ แต่ปกครองไม่ได้ จะถูกคนอืน่ มาปกครองแทน

174 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


ความเข้มแข็ง = การจัดการตนเอง = อิทธิปัญญา ชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง ปฏิวัติประชาชน (แบบเก่า)

ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย =

จัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ และจัดการนโยบาย (รุนแรง) รวมตัวกันล้มอำนาจ แต่ประชาชนปกครองไม่ได้ (สันติ) ประชาชนจัด การปกครอง ขึ้นมาเป็นลำดับ

ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ คือที่อียิปต์ ประชาชนรวมตัวไปโค่นล้มประธานาธิบดี ออสนี มูบารัค แต่ประชาชนมาปกครองไม่ได้ กองทัพก็มาปกครองแทน นั่นคือการปฏิวัติประชาชน ผมวงเล็บไว้ว่า เป็น ‘แบบเก่า’ แต่ที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ มันเลยไปแล้ว ประชาชนปฏิรูป ประเทศไทย หมายถึงประชาชนจัดการปกครองตัวเองขึ้นมาเป็นลำดับ เรียกว่า ชุมชน จัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตัวเอง แล้วเราก็จัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ แล้วยังจัดการนโยบายอีกด้วย ซึ่งไปไกลกว่า การปฏิวัติประชาชนแบบเก่าที่รุนแรง มีการ ล้มตาย และไม่แน่ว่าจะสำเร็จ แต่การอภิวัฒน์ประเทศไทยนั้น เป็นสันติวิธี ไม่รุนแรง และการันตีว่าจะสำเร็จ ทำไมจึงการันตีว่าจะสำเร็จ ก็เพราะว่าเรื่องที่ยากและซับซ้อนนั้นใช้อำนาจไม่ได้ ผล ในต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งมามีอำนาจมาก แต่แก้ ปัญหาไม่ได้ เรื่องยากและซับซ้อน ใช้อำนาจแก้ปัญหาไม่ได้ ฝรั่งบอกมานานแล้วว่า “Power is less and less effective.” ผมเองได้ ท ราบมานาน และได้ เ ตื อ นคุ ณ ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ว่ า “คุณทักษิณ คุณอย่าไปใช้อำนาจ มันไม่ได้ผล แล้วมันจะเกิดสิ่งแทรกซ้อนตามมาเยอะเชียว” ผมบอกวิธีแก่คุณทักษิณ แต่มันก็ยาก ผมก็เห็นใจ ผมไม่ได้ว่าท่าน ผมบอกให้ทำสิ่งต่อไปนี้ ซึ่งผมจะอธิบายให้ฟัง “ต้องเปิดพื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง” นี่คือสิ่งที่ผมบอกท่าน แต่มันก็เข้าใจยาก สสส. ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เพื่อเป็นเครื่องมือการเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญา อย่างกว้างขวาง เรามีหมู่บ้าน 80,000 หมู่บ้าน ถ้าทุกหมู่บ้านมีสภาผู้นำชุมชน ตามสูตรของ ผู้ใหญ่โชคชัย มีผู้นำหมู่บ้านๆ ละ 50 คน ท่านทั้งหลายคูณไปสิ 80,000 คูณด้วย 50 คือ 4 ล้าน

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 175


คน ผู้นำเหล่านี้เป็นผู้นำตามธรรมชาติ คุณภาพดีกว่าผู้นำโดยการเลือกตั้ง และผู้นำโดยการ แต่งตั้ง อย่างน้อย 4 ล้านคน และยังมีสภาประชาชนอีกทั้ง 80,000 หมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วม ตำบลอีก 8,000 ตำบล มีองค์กรท้องถิ่นทั้งหมด 7,000 กว่าองค์กร แล้วมีสภาองค์กรท้องถิ่นอีก คนอีกกี่หมื่นคน แล้วที่ระดับจังหวัดก็มีประชาคม มีจังหวัดที่กำลังรวมตัวกันทำเรื่องต่างๆ อีก ทั้งหมด คือการเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง นี่คือพลังมหาศาล ที่จะแก้ปัญหาเรื่องที่ยากและซับซ้อนที่สุด คือการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ให้ได้ในประเทศของเรา เพราะฉะนั้นที่เรามาคุยกันเรื่องชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ก็คือการเปิดพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ใครที่สนใจทางธรรมะจะรู้ว่า พระจะพูดถึง อินทรีย์ 5 พละ 5 หมายถึง สิ่งที่ดีงาม ทุกองค์ประกอบเข้ามารวมตัวกันเป็นอินทรีย์ 5 พละ 5 ถ้าดูกระบวนการชุมชนท้องถิ่นทั้งหมด ก็จะประกอบด้วยพลัง 5 ประการเข้ามารวมกัน พลั ง ที่ ห นึ่ ง พลั ง ของความถู ก ต้ อ ง ทั ้ ง หมดที ่ ท ำไปเพื ่ อ สร้ า งความเป็ น ธรรม เพื่อสร้างการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งหมดเป็นเรื่องของความถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องปล้นบ้านปล้นเมือง จะไปฆ่าแกงใคร จะไปทำ อะไรเพื่อส่วนตัวก็เปล่า พลังของความถูกต้องจะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ถ้าเราทำอะไรไม่ถูกต้อง เดี๋ยวก็มอด เดี๋ยวก็หมดแรง พลังที่สอง พลังของความสามัคคี เพราะเราใช้ความคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทา ไปด้วยความเป็นกลาง เราไม่แยกข้าง ไม่แยกขั้ว แยกสี เราถือคนทั้งหมดเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วย กัน ไปด้วยความเมตตา ไปด้วยความกรุณา ไปด้วยความรักผู้คนทั้งหมด ว่าคนทั้งหมดไม่ว่า จะเป็นใคร เป็นชาวบ้าน นักวิชาการ นักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง เป็นอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็มารวมตัวกันทั้งหมดเป็นพลังทางสังคม หรือพลังทางสามัคคี นี่เป็น พลังที่สอง พลังที่สาม พลังทางปัญญา เราไม่ได้ไปพูดด่าทอใคร ไม่ได้ไปยุยงให้เกลียดชังให้ เกิดความโกรธ แต่เราพูดถึงการใช้ข้อมูล ใช้ความรู้เข้ามา เอามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นประเด็นนโยบาย การที่เสนอเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะได้เป็นยอดของปัญญา การไป เรียกร้องยังไม่เป็นปัญญา แต่เป็นอารมณ์ ความต้องการ ถ้าเราสามารถสังเคราะห์เป็น นโยบายได้ นั่นคือเป็นปัญญาแล้ว

176 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


พลังที่สี่ พลังของการจัดการ ที่เราพูดแล้วว่า ‘ชุมชนจัดการตัวเอง’ ‘ท้องถิ่นจัดการ ตัวเอง’ นอกจากนั้น เรายังมีการจัดการที่สามารถรวมตัวกันทุกพื้นที่ขับเคลื่อน เอาความรู้มา เอาปัญหามาวิเคราะห์ เอาความรู้ต่างๆ มาสังเคราะห์เป็นนโยบาย จัดการให้มีการประชุม สมัชชาได้ มี สสส. เป็นเครื่องมือหนุนการจัดการ การจัดการต้องมีทรัพยากรหนุนหลังอีก การที่มีองค์กรอย่าง สสส. เกิดขึ้น ก็เป็นพลังหนุนหลังชุมชนท้องถิ่น ภาคประชาชนและภาคสังคมเป็นภาคที่สำคัญที่สุด แต่ไม่มีเครื่องมือเชิงสถาบัน เลย เรามีอยู่ 3 ภาค คือภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ซึ่งจำเป็นทั้ง 3 ภาค แต่ต้องเสมอ กันและสมานกัน เป็นสังคมสมานุภาพ ผมใช้คำนี้มา 10 กว่าหรืออาจจะ 20 ปีแล้ว แต่ไปดู ภาครัฐ กับภาคธุรกิจ มีเครื่องมือเชิงสถาบันมากมาย แต่ภาคสังคมไม่มีเลย เขามี ธนาคาร หอการค้า มีสมาคม สภาอุตสาหกรรม ระบบการศึกษาทั้งหมดเป็นเครื่องมือเชิง สถาบันของภาครัฐ และภาคธุรกิจ แต่ภาคประชาชนไม่มีเครื่องมือเชิงสถาบัน สสส. ที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องมือเชิงสถาบันที่ใหญ่โตมากเลยของภาคสังคม แล้วเกิดขึ้น โดยกฎหมาย เกิดขึ้นโดยความชอบธรรม ที่บอกว่าเป็นเครื่องมือมาเปิดพื้นที่ทางสังคม เปิดพื้นที่ทางปัญญา นี่เป็นเครื่องมือการจัดการที่ใหญ่เบ้อเร่อเลย ที่มาจัดการหนุนหลังด้าน ทรัพยากร ด้านการจัดการ และนี่เป็นพลังที่สี่ พลังที่ห้า พลังสันติวิธี สันติวิธีเป็นพลัง ทำให้มันไปได้ไกล ทำให้พลังทั้งสี่มีโอกาส เติบโต ถ้าไปตีกันเสียแล้ว นองเลือดเสียแล้วประเดี๋ยวก็จะหมดพลัง หมดโอกาสที่จะขับเคลื่อน ต่อไป สันติวิธีทำให้พลังสร้างสรรค์ต่างๆ งอกงาม ผนึกตัวกัน และทำงานต่อไป การมารวมตั ว กั น ทำเรื ่ อ ง ‘ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น จั ด การตนเองสู่ ก ารอภิ วั ฒ น์

ประเทศไทย’ เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เป็นการผนึก

พลังพละ 5 นี้ ทั้งหมดเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น ถ้าเราขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป มันจะ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันขับเคลื่อนด้วยความเป็นกลาง ไม่ได้ไปต่อต้านใคร ไม่ได้มุ่งไป ทำลายใครเลย ไปด้วยความรัก ด้วยความสามัคคี จนเต็มประเทศ พลังของความถูกต้อง พลังของปัญญาก็จะขยายตัวไปเต็มประเทศ ไปแก้ปัญหาต่างๆ แล้วความขัดแย้งแทบจะ ฆ่ากันตายที่ทำอยู่ข้างบนขณะนี้ก็จะหมดไป ประเทศไทยของเราต้องมีอนาคต ประเทศไทยของเราต้องเป็นประเทศทีน่ า่ อยู่ ทีส่ ดุ ประเทศไทยจะน่าอยูท่ สี่ ดุ ก็เพราะคนไทยพวกเราทุกคนร่วมกันสร้างประเทศไทย ร่วมกันอภิวฒ ั น์ประเทศไทยด้วยแนวทางชุมชนท้องถิน่ จัดการตนเอง

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 177



ประกาศ

ปฏิญญาเครือข่าย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ณ วันที่ 3 มีนาคม 2555 เวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย’ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 ประกาศโดย

สมพร ใช้บางยาง

ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และประธานกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป


พลังปฏิบัติการของเครือข่าย ซึ่งหลอมรวมเรียกว่า ‘เครือข่ายร่วมสร้างชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่’ ที่มีอุดมการณ์ร่วมกันที่จะนำพาชุมชนไปสู่การจัดการตนเอง องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ได้ ป รั บ เปลี ่ ย นตนเองขนานใหญ่ ด้ ว ยความมั ่ น ใจ ในศักยภาพของตนเองและชุมชนมากขึ้น สถาบันการศึกษาได้เข้ามาร่วมในกระบวนการของเครือข่ายตามวิสัยทัศน์ของสถาบัน การศึกษาที่พึงมีต่อชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนได้ปรับบทบาทจากการร่วมปฏิบัติการ เป็นผู้อำนวยการในการ ปฏิบัติการ และได้ยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะของท้องถิ่น ในปี 2554 เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของพวกเรา มีสมาชิก 44 เครือข่าย มีพื้นที่ ปฏิบัติการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 3 พันตำบล สถาบันการศึกษา 9 สถาบัน องค์กร พัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน 12 องค์กร และองค์กรอิสระอีก 7 องค์กร รวมทั้งได้ประสาน ความร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรของรัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมประโยชน์ภายใต้ภารกิจของแต่ละ องค์กรไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จร่วมกัน ปฏิ ญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกันแสดงเจตจำนงที่จะขับเคลื่อนและ รณรงค์ให้เกิดปฏิบัติการของพื้นที่ใน 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย ให้น่าอยู่ ดังนี้ นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 1) จัดทำธรรมนูญท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นกลไกในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมรับผลประโยชน์ในทุกเรื่อง 2) ปฏิรูปกระบวนการประชาคม ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนและแผนพัฒนา ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง 3) จั ด ทำระบบฐานข้ อ มู ลเพื่อให้คนทั้งในและนอกชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ของชุมชนและติดตามการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ และการนำข้อมูลไปใช้ ในการพัฒนางานขององค์กรชุมชน กลุ่มทางสังคม และประชาชน 180 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


นโยบายสาธารณะการจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน 1) จัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรรทุนรูปแบบต่างๆ ในชุมชน เช่น เงิน แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น 2) สนับสนุนให้ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มกิจกรรมมีการจัดสวัสดิการให้แก่ กลุ่ม 3) สนับสนุนการจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ถูก ทอดทิ้ง ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เป็นต้น นโยบายสาธารณะด้านการเกษตรยั่งยืน 1) สนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรยั่งยืนอย่างน้อย 1 แห่งทุกตำบล และขยายครอบครัวทำเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ 10 ของจำนวนครอบครัวในตำบล ทุกปี 2) สนับสนุนให้มีตลาดสีเขียวเพื่อจำหน่ายผลผลิตจากระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ในตำบล 3) จัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ระดับตำบล นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1) ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทุกประเภท 2) ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ในการเพิ่มพื้นที่ สีเขียว 3) สนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านมีการจัดการขยะในระดับครัวเรือน นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 1) สนับสนุนให้เกิดกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชน เช่น ศูนย์ประสานงานเด็กและ เยาวชนระดับตำบล สภาเด็กและเยาวชนประจำตำบล เป็นต้น 2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ การศึกษาทางเลือกอื่นๆ สำหรับเด็กและเยาวชน โดยจัดการศึกษาตามความต้องการของเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้ในการเพิ่มสมรรถนะเด็กและเยาวชนทุกด้าน รวมทั้งขยายการศึกษา

7 ประเด็นนโยบายสาธารณะ สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 181


ให้ครอบคลุมเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาด้วย 3) สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ หรือลานกิจกรรมอย่างน้อย 1 พื้นที่ในตำบล นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชน 1) จัดตั้งสนับสนุนส่งเสริมอาสาสมัครและผู้ที่มีจิตอาสาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในการดูแลสุขภาพชุมชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 2) สนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพที่เป็นคนของชุมชนท้องถิ่น 3) จัดตั้งและดำเนินการศูนย์บริการสุขภาพแบบบูรณาการและมีศักยภาพในการ เชื่อมต่อกับระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติ 1) จัดตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล เพื่อเป็นกลไกในการจัดทำแผนและ ศูนย์กลางบัญชาการเตรียมความพร้อม ควบคุมสั่งการในภาวะวิกฤติ ตลอดจนแจ้งเตือนภัย พิบัติของพื้นที่ 2) อาสาสมัครจัดการภัยพิบตั ิ โดยขยายผลให้เกิดความต่อเนือ่ งของสมาชิกจากรุน่ สูร่ นุ่ 3) จัดตั้งกองทุนการจัดการภัยพิบัติ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมจัดสรรงบ ประมาณสมทบตามความเหมาะสม ปฏิบัติการในพื้นที่ 21 ประการที่กล่าวมา เป็นปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ที่สมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จักต้องขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมในทุกชุมชนท้องถิ่น ภายใน 3 ปี นับแต่นี้ไป พร้อมๆ กับการสนับสนุนและผลักดันให้อีกกว่า 63 ปฏิบัติการพื้นฐานของ ชุมชนท้องถิ่นในเครือข่าย ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขและภาวะแวดล้อม ของแต่ละชุมชนท้องถิ่น

182 | ชุมนุมความคิด ปรับทิศชุมชนท้องถิ่น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.