หวัง ตั้ง มั่น

Page 1

อนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก ลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมา ทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อ านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปร ะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล าสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ย กรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไท งใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยว ลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ท โมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมรา านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุง่ โพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่า นองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้า อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ป งหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพ รีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคน างปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวถช้าอง ดบ่อหัหินว ท่ใาจข้าผูม้ นดอนแก้ ว เชิชน งดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อ ำ ชุ ม นองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแค ส พร้ย์า ศรี ง ปฐานร ะพิมเ าน ท ศปทุไมทวาปี ย ใบักห้ไดน่ เขมราฐ า อ ยู่ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนช ก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรั ากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้ านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระก นทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก ชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไห งมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักไ ขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไ นองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควน ขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบ ม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอ ดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพ างคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสง ากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะค านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำ าดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไ ระโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโร างระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้า อนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก ลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมา ทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อ านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ปร ะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล

หวัง ตั้ง มั่น


หวัง ตั้ง มั่น ถอดหัวใจผู้นำชุมชน สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ จัดทำโดย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ บรรณาธิการบริหาร ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ บรรณาธิการ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข

กองบรรณาธิการ ภาคเหนือตอนบน หัวหน้ากองฯ:

กฤตพจน พงศ์ถิรประสิทธิ์ ภัทรีดา ทาวรรณะ ชัยยุทธ ทองหิลัย ธวัชชัย โกรดประโคน เบญจพร จันทรจิตรสุวล มนัส มีสุข สมพร สุยะ

ทต.เชิงดอย อบต.โพนทอง ทต.ประโคนชัย ทต.ประโคนชัย อบต.ไกรนอก ทต.อุโมงค์

กองบรรณาธิการ ภาคเหนือตอนล่าง หัวหน้ากองฯ:

ฐาปนา พึ่งละออ ณรงค์ศักดิ์ คำภูมี เมธาริณ เพชรแก้วกุล ธนัชพร บุญนิล ศิริลักษณ์ เกษประทุม ราตรี สวนบ่อแร่

อบต.วังหลุม อบต.วังหลุม อบต.บ่อแร่ อบต.บ่อแร่ อบต.บ่อแร่

กองบรรณาธิการ ภาคอีสาน หัวหน้ากองฯ:

มุทิตา เชื้อชั่ง ธีระพล กลางประพันธ์ ว่าที่ ร.ต.ทศวร สะสิริ สุทธิพงษ์ โตษยานนท์ ชุติมา ณ ชน ทศพร ตรีพุฒ

อบต.พิมาน อบต.บักได อบต.วังน้ำคู้ อบต.คอรุม อบต.หาดสองแคว


พลอยพัชร์ สุขจีน ภาคภูมิ สมั่นหลี จุลจักร จารุพงษ์

อบต.บ่อหิน อบต.บ่อหิน อบต.แม่ปะ

กองบรรณาธิการ ภาคกลาง หัวหน้ากองฯ:

ทรงยศ กมลทวิกุล ณัฐวุฒิ เกษษา เฉลิมพร อ่อนตีบ จริยา บุญธิคำ จิราวรรณ เพ็งประโคน เฉลิมเกียรติ ใจแก้ว

อบต.หัวไผ่ อบต.หนองโรง อบต.ปทุมวาปี ทต.ประโคนชัย ทต.เขมราฐ

กองบรรณาธิการ ภาคใต้ หัวหน้ากองฯ: ถ่ายภาพ พิสูจน์อักษร ผู้จัดการ ออกแบบ พิมพ์ที่

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ยุทธนา บิลละเบ๊ะ วิรัตน์ พรมอ่อน มะรอโซ เจะโซะ พิพัฒน์พงศ์ แก้วสุวรรณ ธวัชชัย สมันนุ้ย ธีระพงศ์ มณฑาสุวรรณ สนธยา ไพรภูธร อภิชา ม่วงนุ่ม จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เนาวรัตน์ ชุมยวง วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ บริษัท ที คิว พี จำกัด

จัดพิมพ์และเผยแพร่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่มมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343-1500 โทรสาร 02-343-1551 เว็บไซต์ www.thaihealth.or.th

ทต.ปริก ทต.ปริก อบต.มะนังดาลำ อบต.ควนรู ทต.เขาหัวช้าง จักรกฤษ อ่อนโต ธีระศักดิ์ สีพุธสุข


คำนำ ‘โครงการตำบลสุขภาวะ’ เริ่มต้นขึ้นในปี 2552 ภายใต้สำนักสนับสนุนสุขภาวะ ชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อการค้นหาทุนและ ศักยภาพของพื้นที่ ในการจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านหน่วยงานบริหารพื้นฐานคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระดับตำบล และบูรณาการเพื่อสานพลังเข้ากับภาคี ยุทธศาสตร์ที่มีภารกิจและการดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาในเชิงพื้นที่และมีเป้าหมายเพื่อ สนับสนุน และส่งเสริมการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น จากจุดเริ่มเล็กๆ ได้ถักทอให้เกิด ‘เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ ประกอบ ด้วย อปท.ที่เข้าร่วมโครงการ องค์กรชุมชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานพัฒนาภาคประชา สังคม แกนนำชุมชน นักวิชาการ สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันขับเคลื่อน กระบวนการสร้างสุขภาวะ ทั้งในด้านการสร้างความตื่นตัว สำนึกรับผิดชอบในการจัดการ ตนเอง กลั่ น กรองและตกผลึ ก เพื่ อ พั ฒ นาเป็ น นโยบายสาธารณะ รวมทั้ ง ผลิ ต ข้ อ มู ล และ องค์ความรู้ ที่สามารถนำใช้ได้ในฐานะตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพ ตัวแบบของการสร้างสุข กระทั่งเป็นทางเลือกของแนวทางการพัฒนาเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้กำหนดเป้าหมายร่วมในการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม 2) การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน 3) เกษตรกรรมยั่งยืน 4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 5) การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 6) การดูแลสุขภาพชุมชน และ 7) การ จัดการภัยพิบัติ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายเป็นเจ้าภาพหลักในขับเคลื่อน และผลักดัน โดยปรากฏเป็นรูปธรรมที่เรียกว่า ‘แหล่งเรียนรู้’ ที่เป็นกลไกปฏิบัติการสร้าง สุขภาวะในตำบล และเป็นต้นทางที่ใช้สำหรับการต่อยอดการพัฒนาให้กับตำบลอื่นๆ


เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ คือบทสัมภาษณ์นายก อปท. หรือผู้นำตำบล ซึ่งเป็นเสมือน เรื่องเล่าในฐานะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และการเข้าร่วม ในโครงการตำบลสุขภาพ ตลอดจน ความคิด ความหวัง การสรุปบทเรียน ความท้าทายที่มีต่อ ความยั่งยืนของโครงการและแนวทางการพัฒนาในตำบล บนภารกิจร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ และน่าจะบันทึกในที่นี้ด้วยว่า บทสัมภาษณ์ทั้งหมดทั้งสิ้น รวมไปถึงภาพถ่ายทุกภาพ เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมของฝ่ายสื่อสารของท้องถิ่นหลากหลายพื้นที่ ซึ่งล้วนแต่เป็นเยาวชน คนหนุ่มสาวในท้องถิ่นทั้งสิ้น สมพร ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ


สารบัญ กระบวนการ ‘ตำบลสุขภาวะ’: ความสุข ‘ของจริง’ ที่ผลิตเองได้ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

12

ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภาคเหนื อตอนบน (ล้านนา)

แอ่วเหนือ ดูสวัสดิการชุมชน ยลเกษตรยั่งยืน

สุริยัน แพรสี ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (ล้านนา)

22

คิดเอง ทำเอง มีความสุขเอง

นพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

28

อย่ายอมเป็นน้ำเต็มแก้ว

มงคล ชัยวุฒิ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

32

ป่าสร้างส่วนรวม การมีส่วนร่วมสร้างเรา

กนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

37

เติมเงินสวัสดิการ ให้กองทุนฯ ช่วยดูแล

ขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลอุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน

41

8 ระบบ 33 แหล่งเรียนรู้ สร้าง ‘เกาะคา’ น่าอยู่

เพ็ญภัค รัตนคำฟู นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเกาะคา อ.เกาะคา จ.ลำปาง

45

แอ่วหาชาวบ้าน เปิดโลกทัศน์ สร้างเรา

ด.ต.รวจมนตรี วงศ์อภิสิทธิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา

49

พึ่งรัฐให้น้อย พึ่งตัวเองให้มาก

สมิง ธรรมปัญญา นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองหล่ม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา

53

คำประกาศแห่งผาสิงห์ ‘ถ้าคุณกล้า เราก็กล้า’

ภานุวุธ บูรณพรหม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน

57


ภาคเหนื อตอนล่าง

ท่องภาคเหนือตอนล่าง ชมเครือข่ายร่วมทุกข์สุข

ชยภรณ ดีเอม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เหนือตอนล่าง

62

รุมกันคิด ของคน ‘คอรุม’

ผจญ พูลด้วง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

เวทีวิชาการชาวบ้าน เสาหลักชุมชน

ประเจตน์ หมื่นพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

กระบวนการหลากหลาย สร้างแกนนำ สร้างเครือข่าย

มานพ ยะเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

ให้เขาได้คิด ทำให้เขาได้เลือก

สุชาติ แดงทองดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

เริ่มที่คนหัวไว ใจอาสา

68

72

77

80

85

ธาดา อำพิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยเก่า อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี

ตำบลใหญ่ใช่จุดอ่อน

ประพจน์ เพียรพิทักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

90

เชื่อมร้อยต้นทุน ท้องถิ่นทวีคูณ

ไฉน ก้อนทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

96

เติมเต็มที่ขาดหาย

ศักดา กิ่มเกิด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแร่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

102

สิ่งดีๆ งอกได้ ด้วยการดัดแปลงและต่อยอด

วิเศษ ยาคล้าย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำคู้ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

106


สารบัญ ความสุขที่เกิดจากการให้และรับ

พงษ์เทพ ชัยอ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์

111

ก้าวแห่งความสุข ของ ‘เก้าเลี้ยว’

กิตติวัฒน์ เลิศพรตสมบัติ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์

116

ดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพ สร้างสุขรอบด้าน

จินตศักดิ์ แสงเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

120

ภาคตะวั นออกเฉียงเหนือ

ส่อง ‘อีสาน’ ก้าวที่ผ่านมา ก้าวที่จะไป

126

รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศึกษาตัวอย่าง ฟังจากล่างขึ้นบน ดึงพลังชุมชนสานต่อ ศานิต กล้าแท้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

132

เส้นทางสีเขียวสาย 304 และนวัตกรรม ‘เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน’

สำรวม กุดสระน้อย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา

137

‘สถาบันการเงินชุมชน’ จัดการดี คุณภาพชีวิตดี

ไสว จันทร์เหลือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

141

ผลลัพธ์ที่สัมผัสได้ คือคำตอบความยั่งยืน

ธงไชย วงค์อุดดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน อ.นาแก จ.นครพนม

145

ความหลากหลายชาติพันธุ์ คือจิตวิญญาณพื้นที่

ไพวัลย์ เกตุนันท์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

149

ยุคพระรอง ชิงการร้อย ไม่ชิงการนำ

วิชญะ เสาะพบดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์

153


ระบบข้อมูลดี นโยบายดี มีประสิทธิภาพ

วชิระ วิเศษชาติ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

159

ก้าวที่ท้าทายของการเป็น ‘แม่ข่าย’

เฉลิมชัย ดาดผารัมย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

163

จากร้อนแล้งสู่ตำบล ‘อยู่ดี’ และธรรมนูญ ‘กินได้’

ประกาศิต สุพรหมธีรกูร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ อ.อุทุมพิสัย จ.ศรีสะเกษ

166

บทบาทใหม่ ‘ผู้ประสาน’ และความสำคัญของ ‘ฐานข้อมูล’ ธำรงค์ ชำนิจศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

170

ภาคกลาง

สำรวจภาคกลาง ‘มาด้วยกัน ไปด้วยกัน’

ผศ.ดร.หทัยชนก บัวเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคกลาง

178

‘คอร์ทีม’ สานความเข้าใจ พึ่งพากันเอง

ประวิทย์ หนูเชื้อเรียง นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลชากไทย กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

183

หลัก 4 ใจ ‘วังใหม่’ น่าอยู่

นริศ กิจอุดม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี

187

คนละ 1 บาท สร้างพลังชุมชน

ชูชาติ บำรุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

192

รักท้องถิ่น จิตอาสา เป้าหมายที่ว่าไกลก็ใกล้เข้า

เรณู เล็กนิมิตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

196

โอกาสเปิด ที่ ‘บางปิด’

สุชาติ จิตมุ่งมโนธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางปิด อ.แหลมงอบ จ.ตราด

200


สารบัญ รู้หลักสามัคคี ‘รู้อะไร ทุกคนต้องรู้’

สมชาย จันธรรมาพิทักษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

204

ขยายผล: รหัสลับ ‘สุขภาวะ’ กับ ‘การเมือง’

208

ธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

‘แบ่งกัน-เกื้อกูล’ ต้นน้ำแห่งความสุข ทวีป จูมั่น หัวหน้าโครงการตำบลสุขภาวะหัวไผ่

212

อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุร ี

‘เครือข่าย’ คำที่บอกกับเราว่า เรามิได้เดินเพียงลำพัง

217

สมนึก วัฒนชีวโนปกรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

เสียงกระซิบแห่งความเชื่อมั่น ‘เรามาถูกทางแล้ว’

สุวรรณวิชช์ เปรมปรีดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

221

ความสุขที่ ‘โยง’ ได้ของคน ‘บางระกำ’

ณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ อ.บางเลน จ.นครปฐม

225

ภาคใต้ ตอนบน

ล่องใต้: แกะรอยเท้าก้าวย่างอันทายท้า

230

มานะ ช่วยชู ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน

ความสุขแบบยั่งยืน ทุกคนต้องมีส่วนร่วม

โสภณ พรหมแก้ว นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

236

อดีตพื้นที่สีแดง กับคำถามถึงความยั่งยืน

เชวง สมพังกาญจน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี

240

ชัยชนะของป่าชายเลน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ประดิษฐ์ จันทร์ทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่

245


บทพิสูจน์ความยั่งยืน-พลังพื้นที่ หลังเปลี่ยนผู้บริหาร ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์

248

อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองปากพูน ตำบลปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ขอเป็นฟูก ยาม ‘เธอ’ ล้ม

ประเสริฐ ทองมณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน อ.หลังสวน จ.ชุมพร

253

ภาคใต้ ตอนล่าง

ใต้ล่าง สร้าง ‘ทีม’ : ติดตามผลใกล้ชิด ดันลูกข่ายเป็นแม่ข่าย สุริยา ยีขุน

258

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน

‘อยู่รอด’ภายใต้ ‘ความเปลี่ยนแปลง’

สุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา

264

มีวันนี้ได้ เพราะพลังเครือข่าย

มหามัติ มะจะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

268

เมื่อเกษตรยั่งยืนจะอยู่ในข้อบัญญัติ

ถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

273

ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ 2 วัฒนธรรม

ชูสินธุ์ ชนะสิทธิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง

276

ขยายโครงการดีๆ จากจุดเริ่ม ‘ดูแลฐานทรัพยากร’

ธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

281

ยุคใหม่พัฒนา เน้นสร้างแกนนำจิตอาสา

สินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

285



กระบวนการ ‘ตำบลสุขภาวะ’:

ความสุข ‘ของจริง’ ที่ผลิตเองได้ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


เหลือเพียงแต่ว่า เราจะทำให้คนนอกเครือข่าย เข้าใจได้อย่างไรว่า การใช้กระบวนการแบบนี้ จะสร้างสุขได้ และเป็นกระบวนการ สร้างเสริมสุขภาพ อีกแบบหนึ่งที่ ได้ผล ‘ตำบลสุขภาวะ’ ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2552 สิ่งที่เราพบหลังจากเริ่มดำเนินการ มามีหลายประการ ประการแรก แนวโน้มคนในพื้นที่มีความกระตือรือร้นสูงขึ้นมาก หากเทียบกับช่วง แรกของการพูดคุยทำความเข้าใจ ประการที่สอง ขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะเจาะกับ ‘วัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วม’ ที่ผ่าน มาเราพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนในชุมชน เพราะวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้น มากมายจนทำให้อยูต่ วั คนเดียวไม่ได้ ต้องอยูเ่ ป็นกลุม่ เป็นชุมชน กระบวนการนำความเข้มแข็ง ของคนหนึ่ ง มาเติ ม เต็ ม ให้ ค นที่ อ่ อ นแอ หรื อ เอาความเชี่ ย วชาญมาแลกเปลี่ ย นกั น จึ ง เป็ น

สิ่งที่สังคมต้องการพอดี การสร้างการเรียนรู้จึงได้รับการตอบรับในระดับดีพอสมควร ประการที่สาม ตามกฎหมาย ท้องถิ่นต้องมีหน้าที่ดูแลเรื่องทุกข์สุขของประชาชน ในเรื่องบำบัดทุกข์ ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ท้องที่ คือ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ส่วนบำรุงสุขเป็นหน้าที่ ของท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเรา การทำงานร่วมกันที่ผ่านมาทำให้ท้องถิ่นเข้าใจบทบาทตนเองมากขึ้นในการสร้างสุข ของชุมชน เห็นได้จากในอดีต หากจะบอกให้ท้องถิ่นส่งเสริมการเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ เขาจะ

14 | หวัง ตั้ง มั่น


ไม่คอ่ ยฟัง แต่ปจั จุบนั ท้องถิน่ ให้ความสำคัญกับเรือ่ งนีเ้ อง และชุมชนก็มแี นวโน้มจะไปในทิศทางนี้ ดังนั้น แนวโน้มปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพก็จะคลี่คลายไปเรื่อยๆ โดยส่วนตัวเชื่อว่า การบอกกล่าวหรือการบังคับไม่ใช่หนทางที่ดีนัก เพราะสิ่งที่ได้มา มั ก จะไม่ ยั่ ง ยื น เขาต้ อ งมี ส ำนึ ก ด้ ว ยตั ว เอง ตระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาเอง และลงมื อ ปฏิ บั ติ เ พื่ อ แก้ปัญหาเอง และนั่นจะเป็น ‘ของจริง’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงอย่างเหล้า บุหรี่ การปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง หรือเรื่องใดก็ตาม จากปี 2552 ซึ่งเคยคิดว่า การทำเรื่องเหล่านี้คงจะแสนยาก มาถึงตอนนี้พบแล้วว่า ‘ไม่ยากอย่างที่คาด’ เหลือเพียงแต่ว่า เราจะทำให้คนนอกเครือข่ายเข้าใจได้อย่างไรว่า

การใช้ ก ระบวนการแบบนี้ จ ะสร้ า งสุ ข ได้ และเป็ น กระบวนการสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพอี ก

แบบหนึ่งที่ได้ผล สิ่งที่เครือข่ายตำบลสุขภาวะทำ คือการสร้างภาวะแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มต้นจากการ ทำให้ท้องถิ่นสำนึกว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ คนที่ทำงานท้องถิ่นต้องสำนึกว่า ตัวเองไม่ใช่ เจ้านายประชาชน ตัวเองต้องเป็นตัวหนุนเสริมให้ประชาชนเข้มแข็ง ให้ทำด้วยตัวเอง ตัดสินใจ

ถอดหัวใจผู้นำชุมชน สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 15


ด้วยตัวเอง มีปฏิบัติการด้วยตัวเอง และสำนึกว่า การที่ต้องพึ่งพาคนอื่น เป็นทุกข์อย่างมหันต์ โดยทั้งหมดสะท้อนออกเป็นรูปธรรมของแหล่งเรียนรู้ที่เรามี และนั่นคือความหมายของ ‘ชุมชนเข้มแข็ง’ ชุมชนจะเข้มแข็งได้ บุคคลต้องเข้มแข็ง ความเข้มแข็งในที่นี้ก็คือ มีจิตเข้มแข็งที่จะไป สู่จุดที่เรียกว่า การพึ่งตนเองได้ ‘ท้องถิ่น’ คือโครงสร้างสำคัญที่จะหนุนเสริมให้เกิดความเข้มแข็งนี้ เนื่องจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) เป็นโครงสร้างการจัดการในชุมชน ซึง่ เราพยายามเปลีย่ นโครงสร้าง นี้ให้หันมารับใช้ประชาชนมากขึ้นและอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะขณะนี้ อปท.จัดการเพื่อ ตอบสนองต่อ ‘ความต้องการเทียม’ หรือ Demand ของประชาชน ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็น

พื้นฐาน การที่ อปท.สนองความต้องการเทียมของชาวบ้าน แม้จะได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่ ความเข้มแข็ง สิ่งที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ทำ คือ เปลี่ยน แนวคิดของท้องถิน่ ให้เห็นว่า บทบาทของเขาคือต้องหนุนเสริมทำให้ชาวบ้านจัดการตนเองได้ เราไม่ได้ทำให้ อปท.เข้มแข็งแต่ทำให้ อปท. กำหนดบทบาทตนเองให้ถูกต้อง ทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่ใช่ทำ ‘ประชานิยม’ เพื่อให้ชาวบ้านต้องพึ่งพาตลอด นั่นต่างหากคือมุมมอง ต่อความเข้มแข็งที่แท้จริงของชุมชนที่เราพยายามผลักดัน ขณะเดียวกันในการทำงานร่วมกับท้องถิ่น เราก็เข้าใจธรรมชาติของเขาเป็นอย่างดี โดยปกติ ร ะบบการเมื อ งของไทยเป็ น ระบบอุ ป ถั ม ภ์ ใ นทุ ก ระดั บ เป็ น ระบบที่ ค นที่ ช่ ว ย คนอ่อนแอจะได้คะแนน เครือข่ายเราทำงานช่วยคนที่อ่อนแอ เช่น ทำอย่างไรให้คนป่วย คนพิการติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง วิธีการผลักดันในเรื่องนี้ก็คือ กำหนดว่า ท้องถิ่นต้องมีแหล่งเรียนรู้เรื่องการจัดการผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพผู้พิการ มีแหล่งเรียนรู้เรื่อง นวดแผนไทยที่ไปช่วยคนพิการ เมื่อเป็นเรื่องเหล่านี้ ท้องถิ่นก็ร่วมมือกับเรา เพราะทำงานกับ คนที่ยากลำบาก กลุ่มที่อ่อนไหวหรือมีผลทางการเมืองสูง ขณะเดียวกัน กลุ่มที่ทำเรื่องเกษตร เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจต่อรองทางการเมือง เราก็ต้องสร้างให้กลุ่มนี้มีความหมายทางการเมือง ขึ้นมาด้วย ฉะนั้น การทำงานกับ อปท.จึงไม่ยาก เพราะเราจับสองมิติมาผสมกัน คือ บทบาท หน้าที่ของเขาที่จะต้องสร้างสุขคนในพื้นที่ให้ได้ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ กับอีก มิติหนึ่ง คือมิติทางการเมืองที่เขาต้องได้คะแนนเสียง ต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน เราผสมสองสิ่ ง นี้ เข้ า ด้ ว ยกั น เพื่ อ ให้ ท้ อ งถิ่ น ทำงานได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และชาวบ้ า น ก็รู้เท่าทันท้องถิ่น

16 | หวัง ตั้ง มั่น


ดังนั้น พูดอีกด้าน ก็เหมือนเรากำลังทำเรื่องสร้างความเข้มแข็งในการเมือง ภาคประชาชน หากลงในรายละเอียดเนื้อหาของตำบลสุขภาวะ อาจกล่าวได้ว่า เรามี เนื้อหาครอบคลุมประเด็น 7 นโยบายสาธารณะ 84 ประการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่ได้ คิดเอง แต่เป็นการนำแหล่งเรียนรู้ของตำบลแม่ข่ายทั้งหมดมาประมวลและจัดกลุ่ม จนได้ออกมาเป็น 7 นโยบายสาธารณะ ซึ่งแต่ละเรื่องก็จะบอกว่าต้องทำเรื่องอะไร บ้าง ดังนั้น เรื่องต่างๆ ที่อยู่ในนโยบายสาธารณะล้วนแต่มีแหล่งเรียนรู้ แหล่งปฏิบัติ การที่ได้ผลอยู่ในตำบลเครือข่ายเราทั้งสิ้น แต่เมื่อนำแหล่งเรียนรู้มาจัดกลุ่มก็ปรากฏ ว่า เข้ากันได้กับงานวิชาการต่างๆ ที่นำมารองรับ ใน 7 นโยบายสาธารณะ 84 ประการนั้น หากให้ประเมิน เราคิดว่า

เครือข่ายทำได้ประมาณร้อยละ 60-70 และกลายมาเป็นตัวสร้างการเรียนรู้ ทำให้ พื้นที่ต่างๆ สามารถเทียบเคียงกับ 7 ประเด็นนี้ได้ และจะนำไปสู่เป้าหมายของ ชุมชนเข้มแข็งในที่สุด เครือข่ายตำบลสุขภาวะนั้น มีการจัดการแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย ซึ่งเป็นไป ใน 2 ลักษณะ ในบางประเด็น ลูกข่ายก็เข้มแข็งกว่าแม่ข่าย โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ถอดหัวใจผู้นำชุมชน สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 17


ที่ลูกข่ายดูจะเข้มแข็งกว่าซึ่งมีหลายสาเหตุ นั่นเพราะลูกข่ายมีโอกาสเปิดตัวเองนาน ได้เรียนรู้ ได้ดูระบบงานของแม่ข่ายมาก่อน ตัวเทียบเคียงก็จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แม่ข่ายรุ่นต่อไปก็จะเก่ง ขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาไปเรียนรู้ระบบการจัดการมามากแล้ว เมื่อเราเรียกร้องให้ท้องถิ่นทำเรื่องที่ ยากขึ้นๆ ก็ไม่มีปัญหา เช่น เรื่องระบบข้อมูล ตอนเริ่มโครงการไม่เคยคิดว่าเรื่องนี้จะเป็นไปได้ แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้ และเรากำลังจะทำให้ระบบข้อมูลเป็นระบบพื้นฐานของท้องถิ่น โดยให้ ท้ อ งถิ่ น ร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย เข้ า ไปปรั บ ข้ อ มู ล ให้ ทั น สมั ย อยู่ เ สมอ เนื่องจากหากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของมหาดไทยก็จะล่าช้าเกินไป โดยภาพรวม หากมองเชิงคุณภาพ ลูกข่ายโดยส่วนใหญ่ก็ย่อมยังไม่ดีเท่าแม่ข่ายอยู่ แล้ว แม้บางส่วนจะเก่งกว่าในบางประเด็น เขาก็เป็นลูกข่ายที่ไม่สนใจภาพรวม แต่สนใจ ประเด็ น เฉพาะ ซึ่ ง มี คุ ณ ภาพในอี ก มิ ติ ห นึ่ ง แต่ เ ป้ า หมายเรื่ อ งคุ ณ ภาพของเราอยู่ ที่ ว่ า เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของท้องถิ่นที่จะไปหนุนเสริมชุมชนเข้มแข็งได้หรือไม่ เพี ย งใด ไม่ ไ ด้ อ ยู่ ที่ ตั ว ประเด็ น อย่ า ลื ม ว่ า ท้ อ งถิ่ น ใช้ ง บประมาณรวมกั น แล้ ว ปี ล ะเกื อ บ 200,000 ล้านบาท หากเขามีประสิทธิภาพ บ้านเมืองก็จะดีขึ้น งานสร้างสุข งานด้านคุณภาพ ชีวิตก็จะดีขึ้นด้วย เพราะปัจจุบันงานโครงสร้างพื้นฐานแทบจะไม่มีอะไรให้ต้องทำต้องเน้น

อีกแล้ว เรามั่นใจว่า การบริหารของท้องถิ่นจะตอบโจทย์เรื่องการสร้างสุขได้ เพราะที่ผ่านมา ไม่มีโครงสร้างการจัดการใดที่จะรวมทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้านเพื่อให้มาหารือเรื่องการจัดการ ร่วมกันได้ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ไม่สามารถทำได้ แต่ท้องถิ่นทำได้ เราพยายามทำโมเดลต้นแบบของการเป็นชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เพื่อให้สังคมเห็นว่า การเป็นชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ควรร่วมมือกับใครบ้าง ต้องทำ นโยบายกี่ระดับ ตัวอย่างที่เห็นจากเครือข่ายนั้นพบว่าที่ผ่านมานโยบายท้องถิ่นไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากถูกค้านจากหลายที่ แต่เมื่อทำในระดับเครือข่าย แม่ข่ายกับลูกข่ายจะได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ อันที่แม่ข่ายไม่เคยทำได้เพราะมีคนค้านก็จะได้มีโอกาสทำ ทำให้ตัวนโยบายระดับ ท้องถิ่นเกิดขึ้นได้ นี่เป็นการเปลี่ยนแนวคิดหรือเปลี่ยนคอนเซปท์ (concept) ของท้องถิ่นไปจากเมื่อ ก่อนที่โดดเดี่ยว ทำงานลำพัง (stand alone) พูดแต่เรื่องค่าตอบแทน เดี๋ยวนี้จะเปลี่ยนมาพูด เรื่องการพัฒนา และเมื่อมีการข้ามเครือข่าย ก็เหมือนเป็นฐานของความเชื่อมั่นในการผลักดันให้ ประกาศเป็นนโยบายชาติด้วย เช่น เรื่องเกษตรยั่งยืน หากไม่ทำตลาดสีเขียวก็ไม่มีทางรอด

18 | หวัง ตั้ง มั่น


ดังนั้นรัฐบาลควรมีนโยบาย เช่น 1 ตำบล 1 ตลาดสีเขียว เวลาประกาศนโยบาย แบบนี้ อันนี้ไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นนโยบายเพื่อเปิดทางให้ท้องถิ่นใช้งบประมาณ ให้ชาวบ้านรู้ว่าเราไปทิศทางเดียวกับรัฐบาล เป็นต้น ตอนนี้ในจังหวัดจะตกลงกันว่า ใครจะเป็นแม่ข่าย จากนั้นตัวแม่ข่าย- ลู ก ข่ า ยก็ ท ำศู น ย์ เรี ย นรู้ ชวนคนมาดู ง าน สิ่ ง เหล่ า นี้ เริ่ ม เกิ ด ขึ้ น แล้ ว ชมรมไหน เก่งเรื่องอะไร ก็เปิดให้คนมาดูงาน มีโฮมสเตย์ ระบบเศรษฐกิจในชุมชนก็จะเฟื่องฟู ขึ้น ดังนั้น เครือข่ายตำบลสุขภาวะซึ่งมีประมาณ 1,500-2,000 กว่าตำบล ก็จะสร้าง ความเคลื่อนไหวไปได้เองเรื่อยๆ

ถอดหัวใจผู้นำชุมชน สร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ | 19



ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมง เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิงห์ ดอนแก้ว เชิงดอย แม่ทา อุโมงค์ เกาะคา บ้านต๋อม หนองหล่ม ผาสิง

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน (ล้านนา)


ภาคเหนือตอนบน จะมีความโดดเด่นเรื่อง การจัดการอาสามัคร และเกษตรยั่งยืน เพราะเรามีลูกข่าย ที่อยู่กับป่ากับเขา และยังมีเรื่องสวัสดิการ ที่แทบจะเป็นจุดขายของทุกที่ สุริยัน แพรสี

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือตอนบน (ล้านนา) ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน


แอ่วเหนือ

ดูสวัสดิการชุมชน ยลเกษตรยั่งยืน ผมอยู่กับโครงการสุขภาวะมาตั้งแต่เริ่ม จนเวลานี้ก็ 3 ปีกว่าแล้ว และถือเป็นปีสุดท้ายของโครงการ โดยเป็นนักวิชาการโครงการ และได้มี ส่วนร่วมในทุกกระบวนการ เราทำงานร่วมกับชาวบ้านและมีความคุ้นเคย กั น มา การทำโครงการจึ ง เป็ น เรื่ อ งง่ า ย ผมเข้ า มาก็ ช่ ว ยทั้ ง ฝ่ า ยบริ ห าร นักวิชาการ ชาวบ้าน ตั้งแต่การทำข้อมูลตำบล ถอดบทเรียน ทำหลักสูตร ไป จนถึงกระบวนการพัฒนาคน เช่น การฝึกวิทยากรแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น การที่ สสส. เข้ า มา เป็ น เรื่ อ งดี ต่ อ ชุ ม ชน คื อ ทำให้ ชุ ม ชนมี ก าร จัดการตัวเองอย่างเป็นระบบมากขึ้น จากเดิมที่การทำงานค่อนข้างสะเปะ- สะปะ ทั้งยังขาดการทบทวนในสิ่งที่ทำ มีลักษณะต่างคนต่างทำ ทำแล้ว

ตกอยู่กับตัวเอง เช่น แต่เดิมวิทยาการบางอย่างเป็นสมบัติภายในครอบครัว พอมาทำแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนการมีระบบแม่ข่าย ลูกข่าย ก็ช่วยให้ เกิดการถ่ายทอดต่อกันไป วิทยาการความรู้นั้นก็ไม่มีวันตาย ซึ่งสิ่งนี้ สสส. มองเห็นว่า เป็นสิ่งที่ขาดไป เรายอมรับในความเป็นมืออาชีพของ สสส.

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 23


เข้ามาปรับปรุงในส่วนนั้น และช่วยให้พวกเราเห็นศักยภาพของตัวเอง และทำให้ชุมชนได้เรียน รู้ถึงการแบ่งปัน อย่างในภาคเหนือตอนบนจะมีความโดดเด่นเรื่องการจัดการอาสามัคร และเกษตร ยั่งยืน เพราะเรามีลูกข่ายที่อยู่กับป่ากับเขา และยังมีเรื่องสวัสดิการที่แทบจะเป็นจุดขายของ ทุกที่ อย่างที่ตำบลดอนแก้ว เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่มีความโดดเด่นในเรื่องจิตอาสา การดูแลสุขภาพชุมชน การจัดสวัสดิการชุมชนให้กับคนตั้งแต่เกิดจนตาย และการจัดการขยะ แบบครบวงจร ซึ่งเริ่มต้นเกิดจากชุมชนประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะ และ จากปัญหาก็เริ่มต้นกระบวนการพัฒนา โดยใช้เวทีประชาคมในการสร้างการมีส่วนร่วม โดยวาง หลั ก การคั ด แยกขยะตั้ ง แต่ แ หล่ ง กำเนิ ด สร้ า งจิ ต สำนึ ก ในการอนุ รั ก ษ์ แ ละรั บ ผิ ด ชอบต่ อ

สิ่งแวดล้อม สร้างกลไกการขับเคลื่อนในระดับชุมชนโดยค้นหาศักยภาพของชุมชน และนำมา ประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว และต่อยอดจนเป็นธนาคารวัสดุ รีไซเคิล ที่นี่ยังเด่นในเรื่องศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสายสัมพันธ์ วัด โรงพยาบาล และ ชุมชน ที่ปรับวิธีคิดและกระบวนการทำงานใหม่ให้เน้นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกสู่ชุมชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ 6 สาขา เพื่อเติมเต็มการบริการให้กับ ชุมชน ตำบลอุโมงค์ เรียกว่าที่นี่เป็น ตำบลวิถีพอเพียง และสวัสดิการเงินออมชุมชน ความ โดดเด่นของที่นี่เห็นได้จากกลุ่มครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง (84 ครัวเรือน) ซึ่งเกิดจากการรวม ตัวของประชาชนที่มีความสนใจในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เข้ารับฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำเกษตรธรรมชาติ โดยเริ่มต้นมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 84 ครัวเรือนในปี 2552 และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ จนมีครัวเรือนที่สนใจสมัครเข้า ร่วมและผ่านกระบวนการฝึกอบรมจำนวน 252 ครัวเรือนในปัจจุบัน มีการรวมกลุ่มกันทำ กิจกรรมใน 7 ด้านได้แก่ 1) กลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ 2) กลุ่มทำนาอินทรีย์ 3) กลุ่มผลิตพืชผัก อินทรีย์ 4) กลุ่มพลังงานทดแทน 5) กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 6) กลุ่มผลิตน้ำหมักชีวภาพและ 7) กลุ่มแปรรูปผลผลิต โดยมีการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังมีกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการประชาชนตำบลอุโมงค์ (ออมหมู) ที่มีการ ออมในลักษณะการให้สัจจะต่อตนเอง ต่อชุมชน ต่อเพื่อนๆ ในสังคม โดยมีเงื่อนไขเพียงการ

24 | หวัง ตั้ง มั่น


ออมวันละ 1 บาท มีจำนวนสมาชิก 7,162 คน รูปแบบการดำเนินงานครอบคลุม ทั้ง 11 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 56 ของจำนวนประชากรทั้งตำบล บ้านต๋อม โดดเด่นด้านการดูแลสุขภาพชุมชน และการสร้างเครือข่าย จิตอาสาในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนในตำบลบ้านต๋อมได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง ตั้งแต่เกิดจนตาย การบริหารจัดการมุ่งทำงานเชิงรุก เน้นการเข้าถึงชุมชน ให้ครบ ทุกกลุม่ เป้าหมาย ผ่านการสร้างแกนนำจิตอาสา อีกทัง้ ยังมีการจัดบริการสาธารณสุข แบบผสมผสานทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น ในเรื่องการศึกษา ที่นี่มีโรงเรียนสร้างสุขตำบลบ้านต๋อม เป็นโรงเรียนขยาย โอกาสเพื่ อ ให้ เ ด็ ก ได้ รั บ โอกาสทางการศึ ก ษาให้ เ ท่ า เที ย มกั บ โรงเรี ย นในเมื อ ง นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมการมีจิตอาสาให้กับเด็กในโรงเรียน โดยมีกลุ่มจิตอาสาน้อยที่ คอยช่วยเหลือและดูแลรุ่นน้องในโรงเรียนและออกไปดูแลผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เชิงดอย ที่นี่เน้นการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในชุมชน โดยเฉพาะ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ผ่านกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างความ อบอุ่นให้กับครอบครัว รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกระบวนการให้ชุมชนมี ส่วนร่วมคิด ร่วมสร้างระบบ ร่วมบริหารจัดการและร่วมกันรับผลประโยชน์ อย่าง โครงการ ศาลาสร้ า งสุ ข ที่ มี ก ารจั ด ตั้ ง ของศู น ย์ พั ฒ นาครอบครั ว ตำบลเชิ ง ดอย

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 25


ผ่านกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อ ‘เพิ่มพื้นที่ทางสังคม’ ให้แก่ทุกกลุ่มวัย ศาลาสร้างสุข แห่งนี้สะท้อนปัญหาต่างๆ ของภาคประชาชนผ่านไปสู่การจัดการปัญหาได้อย่างถูกจุดของ ผู้บริหาร เกาะคา เป็นชุมชนเล็กๆ ที่น่ารัก มีเรื่องเด่นอย่าง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน (บ้านไร่อ้อย) เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างสร้างสรรค์ โดยอาศัยหลักการ มีส่วนร่วมในการจัดการทั้งทุน คน ทรัพยากร ข้อมูล และการพัฒนาศักยภาพแกนนำ นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการตำบลแบบครอบครัวเดียวกัน อันนำไปสู่การสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม สร้างสังคมสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้าง จิตสำนึกสาธารณะร่วม ผาสิงห์ เขาจะเด่นเรื่องกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งมีแนวคิดจากการสร้างงานสร้าง อาชีพเสริมโดยใช้ประสบการณ์จากการดำเนินชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน การปลูกผักให้มี คุณภาพและปลอดสารเคมี โดยอาศัยทุนในตำบล เกิดการรวมตัวกันเพื่อจัดการด้วยตนเอง มีการระดมทุน และถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนในตำบล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้ง ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกใน กลุ่มได้อีกทางหนึ่ง แม่ ทา ตำบลนี้อยู่ในหุบเขา พึ่งพาตัวเองมาโดยตลอด มีทุนที่ดีอยู่ และที่เด่นๆ เห็นจะไม่พ้นเรื่องเกษตร อย่าง ‘เกษตรยั่งยืนต้องสร้างสมดุลของชีวิต สังคม และทรัพยากร’ โดยการสานเครือข่าย ดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิต องค์ความรู้และภูมิปัญญา เชื่อมโยง กับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า อย่างยั่งยืน ผนวกกับการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบด้วยหน่วยงานกลางที่เป็นองค์กรนิติบุคคล สร้างความเชื่อถือและเป็นกลไก หลักในการเชื่อมโยงกลุ่มกิจกรรมในชุมชน เปิดโอกาสและช่องทางในการประสานตลาดเพื่อ การผลิตและการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค อย่างสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จัดตั้งขึ้นภายใต้ความต้องการปลดแอกจากการ เอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อผลผลิตและปัจจัยทางการเกษตร โดยได้ ดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมกองทุน การต่อ รองราคาผลผลิตกับพ่อค้าคนกลาง เป็นหน่วยกลางในการรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อ สนับสนุนกลุ่มกิจกรรมในตำบล สนับสนุนกลุ่มอาชีพด้านการเกษตร ส่งเสริมการเรียนรู้อย่าง ยั่งยืน การแปรรูปผลผลิตเชื่อมโยงด้านการตลาด สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสมดุลในระบบเกษตรของตำบล

26 | หวัง ตั้ง มั่น


เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการมารวมกลุ่มกันของ ประชาชนในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมีและการผลิตเชิงเดี่ยว โดยริเริ่ม ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเกษตรกรด้วยระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ริเริ่มระบบการผลิตที่ สอดคล้องกับลักษณะนิเวศและวิถีวัฒนธรรม แล้วจึงทำงานขยายแนวคิดให้กับประชาชนใน ชุมชน สานเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค เชื่อมโยงตลาดทั้งในและนอกชุมชน นอกจากนี้ยังมีระบบสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน อย่างเครือข่ายการจัดการ ทรัพยากรตำบลแม่ทา เกิดจากการที่ชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาและวิกฤตความแห้งแล้ง ทำให้ เกิดการรวมตัวจัดตั้งเป็นคณะกรรมการป่า เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าที่ยังสมบูรณ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่า ที่เสื่อมโทรมจากการสัมปทาน กระทั่งขยายเป็นเครือข่ายคณะกรรมการป่าตำบลแม่ทา เพื่อให้ ครอบคลุมถึงพื้นที่ต้นน้ำ หนองหล่ม ที่นี่มีแนวคิด ‘คิด สร้าง แบ่งปัน’ คือร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง และร่วม แบ่งปัน เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นหลัก ซึ่งเราเห็นได้จากโครงการสวัสดิการ กองทุน ตลอดจนธนาคารชุมชน และการส่งเสริมอาชีพ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้พิการ ซึ่งช่วยให้ ผู้พิการสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ โดยใช้การเย็บปักถักร้อย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชมรม ผู้สูงอายุที่มีความเหนียวแน่นมาก สามารถสร้างงานสร้างประโยชน์ เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่า ของชุมชนได้อีกด้วย

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 27


นพดล ณ เชียงใหม่

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เรามิอาจหวัง ถึงความเป็น ชุมชนสุขภาวะ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยๆ ในอนาคตอีก 10 ปี ดอนแก้วจะต้องมี ประชาชนที่มีความสุข 60 เปอร์เซ็นต์

ดอ


คิดเอง ทำเอง มีความสุขเอง ผมเริ่มทำงานเป็นฝ่ายบริหารตำบลดอนแก้วมาตั้งแต่ปี 2542 สมัยยังไม่มีกระจาย อำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเป็นประธานสภาท้องถิ่นภายใต้สังกัดกรมการปกครอง เมื่อมีการรับสมัคร เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว จึงได้เข้าร่วม และได้เป็นนายกองค์การ บริหารส่วนตำบลดอนแก้วตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน แนวทางการพัฒนาชุมชนดอนแก้วสู่ความเป็นชุมชนน่าอยู่นั้นเกิดขึ้นนานแล้ว ก่อนที่ สสส. จะเข้ามา โดยผมให้งบประมาณ ส่งคนไปศึกษาดูงานจากตำบลปากพูน แล้วก็นำความรู้ กลับมาเทียบกับตำบลของตนเอง พบว่าดอนแก้วมีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้ความรู้ได้ เพียงแต่ ต้องมารวบรวมให้ดีเหมือนที่เขาทำ ภายหลัง สสส. เข้ามาให้การสนับสนุน โดยให้เราเป็นแม่ข่ายและเป็นที่ตั้งของศูนย์ ประสานงานภาคเหนือตอนบน มาถึงขณะนี้เราก็เข้าร่วมตำบลสุขภาวะมา 3 ปี ซึ่งถ้าจะให้ นิยามความหมายของตำบลสุขภาวะ ก็คือ สุขภาวะที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านในชุมชน แล้วสภาวะ ไหนที่ชุมชนต้องการ ก็มองเพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อย่างตอนที่ผมเป็นประธานสภาท้องถิ่น เมื่อเดือนกันยายนปี 2542 ก็มีการคุยกันแล้วว่า ฝ่ายบริหารจะไม่ให้อะไรกับชาวบ้าน ถ้า

ชาวบ้านต้องการอะไร ต้องมีการแลกเปลี่ยน ผมเคยเป็นประธานกลุ่มหนุ่มสาวหมู่บ้านและ

อนแก้ว


ตำบลมาก่อน ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากการทำงาน และเห็นว่า ฝ่ายบริหารอย่าไปคิดแทน ชาวบ้าน ต้องปล่อยให้เขาคิดแล้วเสนอมา โดยเรามีหน้าที่คอยส่งเสริมและสนับสนุน ต้องยอมรับว่า สสส. เข้ามาช่วยเราหลายอย่าง เพราะก่อนหน้านี้ แม้ทางตำบลมี

นโยบายการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ แต่ยังไม่มีการวางระบบที่รัดกุม พอ สสส. เข้ามา การ ทำงานก็ดีขึ้น เป็นขั้นตอน โดยกระบวนการปฏิบัติ อบต.ดอนแก้ว ใช้ระบบให้ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะถ้าหากมองย้อนกลับไปในสมัยที่ ยังไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนก็มีการประชุม มีการทำประชาคมร่วมกัน เขาก็ ยังคิดเองได้ ดังนั้น ถ้ามามัวแต่คิดให้เขาอยู่ ชุมชนจะอ่อนแอ ไม่มีการพัฒนาตนเอง ผมมองว่า เราควรใช้วัฒนธรรมแบบสังคมเครือญาติ เน้นการพูดคุยกัน เพราะเราไม่ใช่สังคมเมืองที่ต่างคน ต่างอยู่ ตั้งแต่วันที่ผมเข้ามา ผมพยายามมองให้ทุกเรื่องไม่ใช่อุปสรรค ไม่ใช่ปัญหา เพราะ ถ้ามัวแต่คิดถึงปัญหา เราจะไม่มีแรงในการทำงานต่อ ถ้าทำก็คือลงมือทำเลย ถ้ามีปัญหาเกิด ขึ้นก็ต้องแก้ไขตรงจุดนั้นเลย ปัจจุบันนี้ ผมยอมรับว่า แม้ดอนแก้วจะมาถึงจุดนี้ แต่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ก็ยังอยู่แค่ในระดับที่เกินร้อยละ 50 ทั้งที่คนภายนอกมองอาจคะเนไว้สูงกว่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืม 30 | หวัง ตั้ง มั่น


ว่า ดอนแก้วเป็นสังคมกึ่งเมือง คนบางกลุ่มอย่างเช่นคนที่มีการศึกษาสูงๆ มักจะมองข้าม ไม่เข้ากลุ่ม อาจจะเพราะเขายึดระบบศักดินาอยู่ก็ได้ ถ้านับจำนวนปี ผมนำดอนแก้วมาสิบกว่าปี ต้องบอกตรงๆ เลยว่า การทำงานต้องมี ความต่อเนื่อง การวางคนถือเป็นสิ่งที่ผู้นำต้องวางแผน อย่างตอนนี้ผมพยายามสร้างคนที่จะ มาแทน พยายามสร้างไว้ให้มากที่สุด โดยเด็กรุ่นใหม่ที่เข้ามา ผมจะไม่ให้เขาเน้นเรื่องการสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน แต่ให้ไปเน้นเรื่องสุขภาพและการศึกษา ถ้าเด็กคิดถึงโครงสร้างพื้นฐาน เขาก็ จะไม่ได้รับการศึกษา ถึงแม้คนเราจะมีจุดอิ่มตัว แต่ก็ยังช่วยเหลือและสนับสนุนตลอดจน ประคับประคองกันไปได้ เพราะอย่างไรก็คือบ้าน คือท้องถิ่นของเรา ตอนนี้พยายามสร้าง คนรุ่นใหม่ วางแผนเรื่องคน ต้องมองระยะยาว ไม่ใช่มองแค่ช่วงสั้นๆ อย่างน้อยผมก็ยังมีเวลา อีกพอสมควร เพราะผมยังไม่คิดเรื่องการวางมือ กับอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องย้ำไว้กับคนรุ่นใหม่คือ ต้องยอมให้ประชาชนคิดเอง ทำเอง ให้เขา ทำแล้วมีความสุข มีความภาคภูมิใจ จริงอยู่ว่า เรามิอาจหวังถึงความเป็นชุมชนสุขภาวะแบบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยๆ ในอนาคตอีก 10 ปี ดอนแก้วจะต้องมีประชาชนที่มีความสุข 60 เปอร์เซ็นต์ เท่านี้ผมก็พอใจ สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะทิ้งไว้ คือตั้งแต่หลังปี 2549 มาถึงตอนนี้ มีการแทรกแซงจากรัฐ เข้ามาราวร้อยละ 70 แล้ว รัฐไม่ยอมปล่อยให้เราคิดเองอย่างแท้จริง ตัวอย่างหนึ่งที่เห็น

ได้ชัด คือการแทรกแซงด้านงบประมาณ แม้แต่การสั่งงานภาครัฐก็ยังคงทำอยู่ เช่น อยู่ดีๆ มา สั่งงานโดยที่ไม่สอดคล้องกับการบริหารงานชุมชน ในฐานะที่เราเป็นผู้รับคำสั่ง มันก็จำเป็น ต้องทำ เราต้องส่งเสริมสนับสนุน แต่บางอย่างต้องคิดนอกกรอบ ให้ชุมชนรับได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่เป็นการปฏิบัติที่ตรงข้ามกับคำสั่ง

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 31


มงคล ชัยวุฒิ

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

เราเป็นแม่ข่าย ไม่ใช่ว่าเราเก่ง ไม่ใช่ว่าเราพร้อม ไม่ใช่ว่าเรามีอะไรดีกว่า เพียงแต่เชิงดอย มีโอกาสก่อนที่อื่นเท่านั้น เมื่อมีการรับรุ่น เชิงดอยต้องเต็มที่ อย่ามีกั๊ก

เชิง


อย่ายอมเป็นน้ำเต็มแก้ว ผมได้รับเลือกตั้งเข้ามาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2547 ตอนนี้จะครบสมัยที่ 2 และต้นปี 2556 จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่แม้การเมืองมักเอาแน่เอานอนไม่ได้ อย่างน้อยด้วยความที่เกิดที่นี่ โตที่นี่ เป็นคนเชิงดอย บ้านอยู่หมู่ที่ 1 ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับเชิงดอย ตอนเป็นนายกฯ สมัยแรก เราใช้ศูนย์พัฒนาครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ของชุมชน ซึ่งโดดเด่นมาก ผมมักจะย้ำกับชาวบ้านเสมอว่า ผมเองเกิดที่นี่ โตที่นี่ แล้วก็จะตาย ทีน่ ี่ อยากทำงานตอบแทนบ้านเกิด ทำเพือ่ ชาวเชิงดอย โดยความแตกต่างของการทำงานของผม กับการบริหารก่อนหน้านั้น คือเมื่อก่อนจะเน้นในเรื่องสาธารณูปโภค อย่างถนน สะพาน ไฟกิ่ง ประปา หากแต่เวลานี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เราหันมาเน้นเรื่องคุณภาพชีวิต ด้านสังคม ด้านสุขภาพ คนเจ็บจำเป็นต้องได้รบั การดูแล คนพิการต้องมีรถเข็น เด็กทีพ่ อ่ แม่ตาย ถูกทิง้ บางคน เป็นเอดส์ เราต้องเข้าไปช่วยดูแล ทีมของผมคิดแบบนี้ และตั้งหน้าตั้งตาทำมาตลอดตั้งแต่

ปี 2547 โดยรากของความคิดตรงนี้ เริม่ มาคิดตัง้ แต่ผมเป็นสมาชิก อบต. หากแต่ตอนเป็นสมาชิก การเป็น 1 ใน 20 มันทำอะไรไม่คล่องตัว เมื่อเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมสภาก็มักจะแพ้เสียง ตัวอย่างทีเ่ ห็นชัดๆ คือโครงการรับขวัญวันหลานเกิด สืบเนือ่ งจากสโลแกนของเชิงดอย ที่ว่า ‘เราจะดูแลกันและกัน ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเชิงตะกอน’ สิ่งนี้เกิดขึ้นจากการที่ครั้งหนึ่ง เคยไปตรวจหอพัก เจอเด็กผู้หญิงอายุ 14 ปี กับเด็กผู้ชายอายุ 16 ปีมาเช่าห้องอยู่ด้วยกัน

งดอย


และมีลูกด้วยกัน 1 คน เมื่อถามว่า ทำไมไม่อยู่บ้าน ไม่เรียนหนังสือ เด็กบอกว่า เขาจีบกันแล้ว พลาดตั้งครรภ์ ถูกครูไล่ออกจากโรงเรียน ไปอยู่บ้านก็ถูกพ่อแม่ไล่ออกมาอีก เลยต้องเช่าหออยู่ จึงเห็นว่า ถ้าปล่อยอย่างนี้คงลำบาก พ่อแม่รุ่นเด็กขนาดนี้ ไม่รู้วิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง ลูกร้อง เพราะป่วยหรือเพราะหิวก็ไม่รู้ โครงการนี้สำหรับคนในพื้นที่ ใครจะแต่งงานให้มาเข้าโครงการ ทางเราจะเปิดบัญชี ออมทรัพย์ให้ 500 บาท แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องฝากต่อเดือนละ 50 บาท อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี ห้ามถอน และอีกส่วนหนึ่ง จะซื้อของใช้ให้ ผ้าอ้อม กะละมัง หรือรถเข็น เพื่อเป็นขวัญและ กำลังใจ โดยมีเงื่อนไข 3 ข้อที่ต้องทำก่อนเข้าโครงการ ข้อที่หนึ่ง คุณต้องจดทะเบียนสมรสเพื่อ ความมั่นคงของครอบครัว ข้อสอง คุณต้องฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลีนิก เพื่อที่จะได้มี การตรวจครรภ์ ข้อที่สาม คุณต้องเป็นคนในพื้นที่ตำบลเชิงดอย สิ่งที่ต้องนำมาแสดง เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบฝากครรภ์ และสมุดฝากธนาคาร ออมสิน คุณต้องเปิดบัญชีก่อน 100 บาท แต่พอลูกคลอด เราเสริมให้อีก 500 บาท แล้วคุณก็ ฝากต่อเดือนละ 50 บาท หากเดือนไหนไม่มีเงินฝาก ให้มาบอก ผมจะฝากให้ 50 บาท ทั้งหมด เพราะอยากให้ครอบครัวอบอุ่น มีความมั่นคงในชีวิต ต้องการให้เด็กที่เกิดมาไม่เป็นภาระของ สังคม นอกจากเรื่องคุณภาพชีวิต ยังเสริมเรื่องการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ถ้าจะทำอะไร ทางฝ่ายบริหารจะประชุมกับชาวบ้านก่อน อย่างการทำแผนยุทธศาสตร์ ทางเราจะมีงบให้ หมู่บ้านละหนึ่งโครงการ 300,000 แต่ไม่เกิน 400,000 บาท ให้ชาวบ้านประชุมกัน แล้วทำ โครงการมา เมื่อดูความเรียบร้อยแล้ว ก็เอามาบรรจุไว้ในแผน 3 ปี เป็นแผนยุทธศาสตร์ การมี ส่วนร่วมนั้น เป็นสิ่งที่การันตีว่า ชาวบ้านต้องการ เทศบาลหรือตัวผมไม่ได้ยัดเยียดให้ แม้กระทั่งงานปีใหม่เมือง ยี่เป็ง (งานลอยกระทง) หรืองานกีฬาต่างๆ ทีมบริหารจะ เชิญตัวแทนหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนประชาคม ผู้สูงอายุ ประธานกีฬา ประธานแม่บ้าน ประธาน อสม. คนเหล่านี้ต้องเป็นตัวแทนมาประชุมร่วมกัน ว่าจะทำอะไร ช่วยกันตัดสินใจใน พื้นที่ ในบริบทของเชิงดอยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงาน กระทั่งปี 2554 สสส. เข้ามาในชุมชนเชิงดอยและให้เราเป็นลูกข่ายแม่ทาแม่ออน ซึง่ การเข้ามาของ สสส. ช่วยกระตุน้ ความตืน่ ตัวของชาวบ้าน อย่างเมือ่ ก่อนชาวบ้านร่วมกิจกรรม ตามที่ผมกำหนดบ้าง ตามที่ชาวบ้านกำหนดเองบ้าง เป็นปีต่อปีมา แต่พอมีตำบลสุขภาวะของ สสส. ชาวบ้านจะคอยถามผมว่า นายกฯ อบรมถึงรุ่นไหนแล้ว รุ่นนี้ใครมา หน้าบ้านเราจะทำ อย่างไร โฮมสเตย์จะต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง แล้วแหล่งเรียนรู้ของเราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น 34 | หวัง ตั้ง มั่น


ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างที่เห็นได้ชัดและสอดรับกับเรื่องคุณภาพชีวิตคือ เรื่องเหล้า และเรื่องบุหรี่ เพราะฉะนั้น ถ้ามีงานเลี้ยงหรืองานต้อนรับของ สสส. ชาวบ้านจะไม่ทำ กลาย เป็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไปส่งผลระยะยาว จนผมมั่นใจว่า ทั้งสองสิ่งในพื้นที่ผมลดลง ทั้งยังเกิด โครงการลดเหล้าในงานศพทั้ง 10 หมู่บ้าน โดยเอาโครงการเชื่อมโยงกับอำเภอ เชื่อมโยงกับวัด ที่สำคัญที่สุด คือเรื่องการถอดบทเรียน เมื่อก่อนยังไม่มีการแยกออกมาเป็นระบบ ที่ชัดเจน แต่เมื่อ สสส. เข้ามาตอนแรก เราประกาศเสียงตามสายไปตามหมู่บ้าน ที่ไหนมีแหล่ง เรียนรู้ให้มาขึ้นทะเบียน ปรากฏมีมา 50-60 แห่ง ซึ่งต้องแจงกับชาวบ้านว่า ที่มาขึ้นทะเบียน อย่าเพิง่ มัน่ ใจว่า กิจกรรมของคุณคือแหล่งเรียนรู้ เพราะมีระบบการคัดเลือก ระบบการกลัน่ กรอง จนสุดท้ายมีการคัดเหลือแค่ 25 แหล่งเรียนรู้ใน 7 ระบบ นอกจากนี้ การทำงานชุมชนสุขภาวะยังช่วยให้เราใกล้ชิดชาวบ้านมากยิ่งขึ้น เพราะ เมื่อมีการรับรุ่นครั้งหนึ่งจะมีการประชุมกันก่อน ทั้งเรื่องของแหล่งเรียนรู้ โฮมสเตย์ ไกด์ พาหนะ ภายหลังจากลงพื้นที่ในเชิงดอย 4 คืน 5 วัน เราก็มาวิเคราะห์กันทุกครั้ง มีปัญหาอะไร บ้าง นั่นคือสิ่งที่ชุมชนต้องการ เพราะจะได้นำมาแก้ไข สิ่งที่เป็นคำชมเก็บไว้ที่ลิ้นชัก ผมย้ำกับ ทุกแหล่งว่า เราเป็นแม่ข่าย ไม่ใช่ว่าเราเก่ง ไม่ใช่ว่าเราพร้อม ไม่ใช่ว่าเรามีอะไรดีกว่า เพียงแต่ เชิงดอยมีโอกาสก่อนที่อื่นเท่านั้น เมื่อมีการรับรุ่น เชิงดอยต้องเต็มที่ อย่ามีกั๊ก จะเห็นว่า นอกจากชุมชนตัวเอง ยังมีการทำงานร่วมกับเครือข่าย เขามาแลกเปลี่ยน กับเรา ผมจะบอกกับชาวบ้านว่า สิ่งไหนที่เขาให้เราจงรับ อย่าให้เป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะผม เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 35


มั่นใจว่า เชิงดอยไม่เก่ง ไม่แน่จริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาแนะนำอะไรมา เรานำสิ่งนั้นมาเสริมเติม ตัวเอง ชุมชนสุขภาวะในฝันที่ผมวาดภาพไว้ คือชุมชนที่มีพื้นฐานที่ดี ประชาชนมีร่างกาย สุขภาพจิตดีต่อเนื่องกันไปจนถึงสภาพแวดล้อม ต้นไม้ใบหญ้า ภูมิทัศน์สวยงาม ดูเรียบร้อย สงบราบรืน่ เขียวขจี มีความสุขทางกายทางใจ เศรษฐกิจตามมาทีหลัง เพราะเมือ่ สภาพแวดล้อม ดี เศรษฐกิจตามมา จิตใจที่เกื้อกูลแบ่งปัน คนก็มีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน กว่าจะถึงวันนี้ เราต้องผ่านอะไรมามาก ชุมชนไม่ได้เข้ามาเต็มส่วนเท่าไร เพราะที ่

เชิงดอย เรามีปัญหาความไม่เข้าใจของชุมชน เชิงดอยมีความหลากหลายเรื่องชาติพันธุ์ ชนเผ่า ลีซอ มูเซอ เข้ามาอยู่เยอะ กลุ่มนี้สื่อสารด้วยลำบาก แล้วเวลาที่เขาให้กับสังคมส่วนรวมนั้นไม่มี เพราะจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา หลายครั้งไปหา นัดเขาแล้วแต่ไปไม่เจอ ทั้งยังต้องใช้ล่ามใน การสื่อสาร บางทีล่ามแปลกลับมาให้เราไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหายาเสพติดที่ติดมากับคนนอกพื้นที่ เอามาจากที่อื่น ช่วงหลังผม จึงตั้งชมรมสมานฉันท์ เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ เอา สกว.แม่โจ้มาร่วม เอา มช. มาร่วม เพื่อ สอนให้คนเหล่านี้หันมาพูดภาษาเดียวกัน คือภาษาไทย โดยเอาแกนนำของเขาเข้ามาร่วม ประชุม มาเป็น อสม. มาเป็นกรรมการหมู่บ้าน ตอนนี้ดีขึ้นเยอะ แต่ก็ยังไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกวันนี้ เชิงดอยไม่ได้อยูไ่ ด้ดว้ ยงบประมาณ สสส. หรืองบฯ ท้องถิน่ เท่านัน้ เพราะเรือ่ ง งบประมาณเท่าไรก็ไม่พอ เราวิ่งหางบประมาณข้างนอก หาโครงการต่างๆ เข้ามาช่วยในพื้นที่ ซึ่งเชิงดอยสามารถจัดการตัวเองเต็มที่ โดยงบฯ ส่วนอื่นๆ ที่ได้มา ผมทำในแบบของผม ถ้ามี กำหนดให้ทำ ผมจะไม่รับงบฯ ตัวนั้น โดยส่วนมากไม่มีปัญหา เพราะคนที่เอามาก็มีความ ปรารถนาดีกบั ชาวบ้านอยู่แล้ว กล้าพูดเลยว่า เคยเหนื่อยเคยท้อตอนถูกปัญหาในพื้นที่รุมเร้า ปัญหาการเมืองใน พื้นที่ ปัญหาความไม่เข้าใจของพี่น้อง แต่มานึกถึงคนที่ท้อกว่าเรา มีคนเหนื่อยกว่าเราเยอะแยะ ความท้อก็หายไป และที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมทุกวันนี้ คือลุงล้วน แกเป็นคนที่แขนขาดทั้ง สองข้าง เขาไปกาคะแนนให้ผม โดยใช้เท้าจับปากกาเขียน ทั้งเมื่อกาแล้วก็มาหาผมที่สำนักงาน แกบอกว่า ผมและภรรยากาให้นายกฯ แล้ว ขอให้นายกฯ ตั้งใจทำงาน ทุ่มเทเสียสละ ตรงนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้คิดว่า ถ้าจะทำอะไร อย่าท้อ ให้นึกถึงคนที่เลือกเรามา เขาอุตส่าห์เสียเวลา ไปเลือก เราต้องทำให้ได้ แล้วก็นึกถึงในหลวง ท่านเหนื่อยกว่าเรามาก แค่นี้เราสู้ได้ 36 | หวัง ตั้ง มั่น


กนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

เรามีเงื่อนไขร่วมกันว่า ป่าเป็นเรื่องส่วนรวม ถ้าอยากมีทรัพยากรใช้ ก็ต้องช่วยกัน จึงเป็นต้นทุนต่อมาถึงปัจจุบัน เมื่อมาทำงาน เรื่องชุมชนสุขภาวะ จึงได้เปรียบที่อื่น


ป่าสร้างส่วนรวม การมีส่วนร่วมสร้างเรา ความสำเร็จของผมมาจากการได้รับการยอมรับจากชาวแม่ทา ผมบอกอยู่เสมอว่า อบต. ไม่ใช่กลไกหลักของการพัฒนา หากแต่เป็นกลไกการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชนต่างหาก ซึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ราทำมาตัง้ แต่แรก เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปยังรุ่นพ่อรุ่นแม่ เพราะชุมชนแห่งนี้มีป่าร้อยละ 80 และเป็น พื้นที่ป่าสงวนเสียส่วนใหญ่ ครั้งหนึ่งเคยประสบปัญหาเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า แต่ด้วยความ ร่วมแรงร่วมใจของคนรุ่นพ่อแม่เราจึงเก็บรักษาป่ามาได้จนทุกวันนี้ ตลอดจนปัญหาเรื่องไม่มี น้ำใช้ ไม่มีป่าทำมาหากิน ป่าคือทุกสิ่งของแม่ทา ดังนั้นเรื่องป่า จึงกลายเป็นเรื่องส่วนรวมมา แต่ไหนแต่ไร ชาวบ้านต้องช่วยกันแก้ปัญหา เพราะไม่มีใครทำเองได้ นายกฯ จะเก่งขนาดไหน กำนันจะเก่งขนาดไหนก็ไม่สามารถทำเองไหว ที่ แ ม่ ทานั้น เด็กๆ ทุกคนได้รับการปลูกฝังเรื่องป่า เยาวชนแม่ทาคุยกันเรื่องป่า เข้าค่ายก็ตอ้ งเข้าค่ายเรือ่ งป่า แม้แต่คา่ ยเกีย่ วกับยาเสพติด ก็ตอ้ งมีเรือ่ งป่าไปเสริม เข้าค่ายเรือ่ ง สุขภาพ ก็ตอ้ งมีเรือ่ งป่า เพราะเป็นนโยบายสาธารณะของตำบล ผมเองก็เป็นเด็กคนหนึง่ ทีเ่ ติบโต มาพร้อมกับเรื่องราวเหล่านี้ ดังนั้น ตอนผมเข้ามาบริหารตั้งแต่ปี 2547 เรื่องป่าจึงแข็งแรง พอสมควรแล้ว จึงมาคิดว่าจะผลักดันเรื่องอะไรต่อ เพราะทรัพยากรเปลี่ยนแปลงไปตลอด ต้องวางแผนว่าจะทำอย่างไรกับการจัดการป่าที่รุ่นพ่อรุ่นแม่ทำมาไม่ให้เสียไปในช่วงที่เราอยู่ แม่ ท าจึ ง มี ต รงนี้ เ ป็ น ชนวนสำคั ญ เรามี เ งื่ อ นไขร่ ว มกั น ว่ า ป่ า เป็ น เรื่ อ งส่ ว นรวม ถ้าอยากมีทรัพยากรใช้ก็ต้องช่วยกัน จึงเป็นต้นทุนต่อมาถึงปัจจุบัน เมื่อมาทำงานเรื่องชุมชน สุขภาวะจึงได้เปรียบที่อื่น โดยเราเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะกับ สสส. มาจะครบ 3 ปีแล้ว ผมมองชุมชนสุขภาวะคือคนในชุมชนมีความสุข ซึ่งมีอยู่ 3 - 4 เรื่อง คือ พื้นที่อุดม สมบูรณ์ ทรัพยากรอุดมสมบรูณ์ มีความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สิน และสิ่งที่สำคัญคือ คนในชุมชนสามารถจัดการเรื่องภายในและเรื่องภายนอกที่เป็นปัญหาของเขาได้ อธิบายให้ ง่ายๆ ก็คือ เขาสามารถจัดการและกำหนดอนาคตของชุมชนได้ อย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 38 | หวัง ตั้ง มั่น


ระหว่างเพื่อนเครือข่าย ทำให้ชาวบ้านได้เห็นเรื่องอื่นๆ เขาสามารถนำมาต่อยอด ด้วยการ ประยุกต์ใช้กบั ชุมชนให้เป็นรูปธรรมอย่างไร ถ้าเขาทำได้ ชุมชนก็จะมีความสุขบนความยัง่ ยืนได้ ทีนี้ปัญหาของแม่ทาเอง คือคนในตำบลแม่ทามีหลายคนออกไปอยู่ข้างนอก เรียน หนังสือ พอเติบโตขึ้น รู้มากขึ้น กลายเป็นว่า เห็นแก่ตัวมากขึ้น ยิ่งคนที่ไปอยู่ในเมืองด้วยแล้ว แม่ทาเองใช้ข้อตกลงของชุมชนมาแต่เริ่มต้น แต่เวลานี้เริ่มเก่าและมีช่องโหว่ คนฉลาดขึ้น เราก็ ต้องมีเรือ่ งของกฎหมาย กฎระเบียบทีจ่ ะใช้บงั คับ เป็นเหตุให้เราเปลีย่ นจากทีเ่ รียกว่า ‘ข้อตกลง’ สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ ให้เป็น ‘ข้อบัญญัติของตำบล’ เพื่อให้มีสถานะทางกฎหมายมารองรับ ควบคุมไม่ให้เกิดการบุกรุกป่า รวมทั้งสื่อสารให้ชาวแม่ทาต้องรู้จักใช้พื้นที่ให้น้อยแต่เกิด

ประโยชน์สุงสุด ด้วยองค์ความรู้จากเกษตรกรรมยั่งยืน นอกจากเรื่องของป่าไม้แล้ว แม่ทาพยายามปรับเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ปัจจุบันมี

ความเจริญเข้ามาก็ต้องพยายามปรับ มีเรื่องของพืชเชิงเดี่ยวเข้ามา สุขของคนแม่ทาก็เปลี่ยน เป็นอีกรูปหนึ่งไป ซึ่งเราก็พยายามปรับให้สุขนั้นยืนอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนโดยไม่ไป รบกวนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เราจึงต้องมาตีโจทย์ว่า วิธีการผลิต ทำอย่างไรที่ไม่ไปบุกรุก ป่า การรักษาพยาบาลทำอย่างไร เพราะเราอยู่ห่างจากโรงพยาบาลที่ใกล้สุดประมาณ 25-26 กิโลเมตร เราจึงต้องรักษาขั้นต้นเองได้ หรือเรื่องโรงเรียน ทำอย่างไรที่จะให้เด็กๆ มีการศึกษา ที่ดีได้ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 39


ผมว่า การทำงานในชุมชนของเราได้รับความร่วมมือจากประชาชนถึงร้อยละ 70-80 อย่างเวลาทำแผนยุทธศาสตร์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรชุมชน ข้าราชการ มาประชุมหารือ ชาวบ้านหลายคนมาลงแรงทำอาหาร มาดูแลจัดการ หรือมีงานอะไรพวกเขาก็จะมา เพราะ พื้นฐานเราดี กระนั้น เรื่องหนึ่งที่อาจจะฟังดูแปลก แต่ผมต้องยอมรับว่า การมีส่วนร่วมนี้มีทั้ง จุดอ่อนและจุดแข็ง เพราะหลายครั้ง มันกลายเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจของผู้บริหาร มี หลายเรือ่ งทีค่ วรจะเสร็จเร็ว แต่กลายเป็นว่าช้า แต่ในอีกแง่หนึง่ มันก็ทำให้การตัดสินใจมัน่ คงขึน้ ภาพรวมของชุมชนตอนนี้ ผมค่อนข้างพอใจ หากมองทางกายภาพ เราอยู่ในหุบเขา มีภูเขา 2 ลูกกั้น ทางตะวันตกและทางตะวันออก ลึกสุดเราเป็นป่าชุมชน กระเถิบกลับมา หน่อยเป็นป่าใช้สอย เข้ามาอีกเป็นสวน เป็นที่ชาวบ้าน และก็เป็นชุมชน เป็นบ้าน นี่คือภาพ ทางกายภาพทีเ่ ราวางไว้ แต่ถา้ เป็นทางด้านสุขภาพ ก็อยากเห็นคนในชุมชนรักกันเหมือนเมือ่ ก่อน ที่ไม่มีรั้วกั้น ไม่มีใครต้องอยู่กันแบบบ้านใครบ้านมัน ชาวบ้านช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำนา ยังมีการเอาแรงไปช่วย เป็นสังคมพีน่ อ้ ง มีความปลอดภัย และทีส่ ำคัญเขาสามารถตัดสินใจเองได้ หลังจากนี้ แม้ไม่มี สสส. แล้ว แม่ทาก็ยังสามารถเก็บรักษาและสานต่อความสำเร็จได้ เพราะชุมชนแม่ทายืนด้วยตัวเองมาก่อนที่ สสส.จะเข้ามา นอกจากนี้ แม่ทาไม่ได้รับทุน สสส. ที่เดียว เราเป็น 84 ตำบลพอเพียงของ ปตท. โครงการดีๆ เข้ามา แล้วก็ผ่าน สิ่งที่เหลือไว้ คือโครงสร้างของการทำงาน ตลอดจนรากฐานที่ดี สิ่งเหล่านี้จะยังเหมือนเดิม นอกจากเชื่อมั่นในตัวชาวบ้านแล้ว เรายังต้องสร้างตัวผู้นำขึ้นมาสืบทอดงานของ ชุมชนด้วย ณ เวลานี้ ผมถือว่า ผมประสบความสำเร็จแล้ว ต้องสร้างเหมือนกับรุ่นพ่อที่ส่งไม้ ต่อให้ผม นี่เป็นกลไกอีกชั้นเพื่อป้องกันระบบงานเสีย และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เริ่มมาสูญหาย ในเรื่องการประสานงานกับภาครัฐ ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะ ท้องถิน่ เองถูกคาดหวังจากชาวบ้านทีเ่ ลือกเราขึน้ มา ต้องยอมรับว่า นโยบายประชานิยมเป็นสิง่ ที่ ชาวบ้านคาดหวัง เหมือนกับที่เขาได้จากรัฐบาลกลาง ครั้นจะหวังพึ่งงบประมาณตอนนี้ก็ไม่ไหว อย่างที่ผมบอก แม่ทามีอาชีพเกษตรกรรม เราไม่สามารถรีดภาษีจากชาวบ้านได้ ราย ได้จากการเก็บภาษี ได้แค่ภาษีโรงเรือนกับภาษีที่ดิน ในส่วนภาษีที่ดิน พอเขามีลูกเยอะ เขาก็ แบ่ง ตามกฎหมายหากไม่ถึง 3 ไร่ เราเก็บไม่ได้ จึงออกมาในรูปแบบว่า ชาวบ้านมาลงแรงกัน ทำถนนไหม เราออกทุนให้ กลายเป็นว่า ได้ทั้งถนน ได้ทั้งการรวมแรงชาวบ้าน และที่สำคัญ งานก็ออกมาดี และใช้กันอย่างรักษา เพราะมาจากหยาดเหงื่อแรงงานของพวกเขาเอง 40 | หวัง ตั้ง มั่น


ขยัน วิพรหมชัย

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พวกเราเป็นนักการเมือง เข้ามาทำงาน ในพื้นที่ตามวาระ แต่ชาวบ้านเขาที่อยู่อุโมงค์ จะทำอย่างไร ให้เขามีสำนึก ของความเป็นเจ้าของ

อุโมงค์


เติมเงินสวัสดิการ ให้กองทุนฯ ช่วยดูแล ผมย้ายมาอยู่ตำบลอุโมงค์เมื่อปี 2527 ตั้งแต่เด็ก แม้ไม่ใช่คนที่เกิดในพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้ มีความแตกต่างกันมากนัก การทำงานสมัยแรกในฐานะผู้บริหารตำบล ผมอยู่ได้ครบเทอม หลังจากนั้นมาลงเลือกตั้งสมัยที่ 2 ก็ได้รับเลือกอีกครั้ง แต่อยู่ถึงปี 2550 ก็ลาออกไปลงสมัคร ส.ส. แต่สอบตก ก็กลับมาเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ส.อบจ. โดยเป็นได้ 8 เดือนก็ลาออกมาลง ส.ส. อีก แล้วก็ได้เป็น ส.ส. ดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี 3 เดือน 29 วัน มี โอกาสทำงานการเมืองที่ตัวเองรัก พอยุบสภาฯ ผมก็ลงผู้แทนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้สอบตก จึงกลับ มา และได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีอุโมงค์เป็นสมัยที่ 3 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 การทำโครงการสุขภาวะร่วมกับ สสส. นั้น ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยนายกฯ และทีมงานชุด ก่อนแล้ว โดยเราเป็นเครือข่ายของปากพูน กระนั้นแม้เราจะใหม่ แต่ก็ได้รับความไว้วางใจให้ ขึ้นเป็นตำบลแม่ข่าย โดยใช้เวลาในการเตรียมตัวเป็นแม่ข่าย 2 เดือนเศษ เราต้องเข้าไปร่วม ประชุมกับ สสส. กับทีมงานส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค เพือ่ เข้าสู่กระบวนการขับเคลื่อน หลัง จากนัน้ จึงมีการทำความตกลงกับเพือ่ นภาคีทอ้ งถิน่ อีก 20 แห่ง ตอนนีม้ กี ารรับรุน่ ไป 5 รุน่ แล้ว ที่ผมเลือกกลับมาทำงานท้องถิ่น เพราะเห็นว่า ชุมชนท้องถิ่น คือรากฐานสำคัญ สำหรับการพัฒนาประเทศ ภายหลังจากมีประสบการณ์ทางการเมืองมาทุกระดับ ถ้าชุมชน ท้องถิ่นพึ่งตนเองได้ก็จะเป็นประโยชน์ที่สุด เป้าหมายสำคัญคือให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจถึงความ สำคัญของตัวเอง ว่าเขาเป็นเจ้าของท้องถิน่ อย่างแท้จริง ผมพูดอยูเ่ สมอว่า พวกเราเป็นนักการเมือง เข้ามาทำงานในพื้นที่ตามวาระ แต่ชาวบ้านที่อยู่อุโมงค์ คือเจ้าของ จะทำอย่างไรให้เขามีความ รับผิดชอบ มีสำนึกของความเป็นเจ้าของ ให้เขารักและหวงแหน มีความรับผิดชอบร่วมกัน พื้นฐานเรื่องการเลือกตั้งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วม ผมให้ความ สำคัญกับการเมือง การเมืองของผมคือไม่ซื้อเสียง จากนั้นในฐานะผู้ปกครอง ต้องมองให้หลุด จากอคติให้ได้วา่ หลังเลือกตัง้ คือจบ ไม่มอี ดีตในช่วงทีห่ าเสียงเลือกตัง้ มาเดินหน้าทำงานร่วมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติว่า ฝ่ายเขา ฝ่ายเรา ทุกคนเป็นคนในตำบลอุโมงค์ที่เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจ กันพัฒนาตำบลอุโมงค์ให้น่าอยู่ สร้างความร่วมมือ ดึงให้เข้าร่วมสนับสนุน 42 | หวัง ตั้ง มั่น


อย่างโครงการออมวันละบาท ผมเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงวันนี้ยังดำเนินการอยู่ ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 7,000 กว่าคน และตั้งเป้าหมายใหม่ว่า ภายในปีนี้จะต้องให้สมาชิกเพิ่ม เป็น 8,000 คนขึ้นไป เป็นโครงการที่ทุกคนลดรายจ่ายแล้วมาออมวันละบาท จากวันนั้น เรา เริ่มที่เงินบาทเดียว วันนี้เรามีเงิน 8,700,000 กว่าบาท แล้วเราก็สามารถให้สวัสดิการ ให้ความ มั่นใจกับคนของเรา คนเจ็บ คนป่วย คนไข้ สังคมมีการเอื้ออาทร เกื้อกูลซึ่งกันและกัน แล้วผม ก็เป็นนายกฯ คนแรกของประเทศไทยที่ให้เงินอุดหนุนแก่กองทุนสวัสดิการ ซึ่งตอนนี้ สตง. ตามมาเอาเงินคืน เพราะตอนนั้นรัฐบาลยังไม่เอาเป็นนโยบายระดับชาติ แต่ช่วงหลังรัฐบาลเอา นโยบายที่เราคิดกันหลายๆ แห่งมาเป็นนโยบายระดับชาติ เรามองกองทุนสวัสดิการว่า สามารถทำได้ เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น ผมใส่งบลงไปปีละ 1 ล้านบาท แม้จะมีปัญหาเพราะว่ารัฐบาลเขายังไม่มีนโยบาย สตง. ก็ไม่มีระเบียบ แต่สิ่งสำคัญ เราไม่ได้ไปโกงหรือคอร์รัปชั่น เราให้ประชาชน ปัจจุบันก็ยังอยู่ในขั้นตอนตามเงินคืน แต่เราให้ ชาวบ้านไปหมด ก็ไม่มีคืน การทำงานร่วมกับชุมชน กับคนหมู่มาก ปัญหาอุปสรรคก็ไม่พ้นเรื่องคน หากแต่ถ้า มองบวกมันก็เป็นพลัง ทำให้เราเข้มแข็ง เหลียวหน้าแลหลัง ยอมรับว่า คนแบ่งสีกัน เหลือง แดง เหล่านี้เป็นเรื่องยากที่สุด กระนั้นเราเลือกมองข้ามไป เราเลือกทำงานกับคนที่พร้อม แต่ ยอมรับว่า ยังมีกลุ่มคนอีกมากที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น กลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหา เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด กลุ่มที่ครอบครัวมีปัญหา ก็เป็นปัญหาที่ท้องถิ่นเราเผชิญ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 43


นอกจากนี้ ความที่ปัจจุบันท้องถิ่นมีความเจริญ กระโจนโตเหมือนกับคนมีลูกมาก ยากจน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพอมีงบฯ หากแต่รัฐบาลก็ไม่อยากให้ท้องถิ่นโตเท่าไร ผมทำงาน ระดับชาติ อยู่ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ตอนนี้รัฐก็แฝงเข้ามาคุมท้องถิ่น ทั้งที่กฎหมาย รัฐธรรมนูญกำหนดว่า งบฯ ของท้องถิ่นต้องร้อยละ 35 แต่ในตอนนี้ให้แค่ร้อยละ 25 เขาเอา เงินเหล่านั้นไปทำเป็นนโยบายประชานิยมเอง เช่น กองทุนสตรี กองทุนหมู่บ้าน การแก้ปัญหา น้ำท่วม เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยผู้พิการ มีท้องถิ่นจำนวนน้อยที่ได้รับเงินเหล่านั้น ทั้งยังเป็นเรื่องของ สายสัมพันธ์กับคนที่เป็นนักการเมืองระดับชาติ ตอนนี้รายได้ของรัฐมีปัญหา ประสบภาวะเศรษฐกิจ เงินที่ลงมาถึงท้องถิ่นจึงน้อยกว่า เดิม ตอนผมเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 มีส่วนต่างกับงบฯในปัจจุบันถึง 12 ล้านบาท ที่หายไป เพราะรั ฐ เอาไปทำเอง ท้ อ งถิ่ น จึ ง มี ส ถานการณ์ ก ารเงิ น ที่ ล ำบาก แต่ ก็ มี ท้ อ งถิ่ น ที่ ใ หญ่ มี เศรษฐกิจดี เขาก็อยู่ได้ โดยเฉพาะแหล่งที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม ภาคกลางภาคใต้มีเงินหลาย ร้อยล้าน เพราะว่าท้องถิ่นขณะนี้สามารถจัดเก็บภาษีด้วยตัวเองได้ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีป้ายอะไรต่างๆ แล้วอีกส่วน เป็นภาษีที่รัฐบาลกลางจัดเก็บให้ เช่น ภาษีรถ ภาษีล้อเลื่อน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นงบอุดหนุนทั่วไป ต่อคนต่อหัวในพื้นที่ แต่หลายท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บภาษีเองได้ หลายแห่งเก็บได้ไม่ถึงแสนต่อปี เพราะ ที่ดินก็ได้น้อย ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนก็น้อย ยิ่งตอนหลังมารัฐบาลจะให้โบนัส เขาก็เอาเงิน ภาษีอากรตัวนี้มาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็โตวันโตคืน เงินเดือน สวัสดิการอะไรก็มากขึ้น และตัวนั้นก็ไปกินเงินในส่วนของท้องถิ่น ดังนั้นมีหลายๆ ประการที่ ทำให้งบประมาณท้องถิ่นน้อยลง สิง่ สำคัญวันนีค้ อื เราต้องพึง่ พาตัวเองให้ได้ ใช้วธิ รี ดั เข็มขัด ใช้เศรษฐกิจพอเพียง พูดคุย กับเพื่อนร่วมงาน และให้ความจริงกับประชาชน อย่างเมื่อก่อนนี้ เราจะให้เงินอุดหนุนวัดละ 100,000 บาท เดี๋ยวนี้เราไม่สามารถให้ได้ ก็ต้องมาพูดคุยกับพระสงฆ์ กับชาวบ้าน มาทำความ เข้าใจว่า ปัจจุบันเงินของท้องถิ่นนั้นน้อย ไม่สามารถเอามาให้อย่างเมื่อก่อนได้ ผมทำทุกอย่างเท่าที่ทำให้ได้มากที่สุดกับท้องถิ่น วันหนึ่งเมื่อผมไป สิ่งเหล่านั้นจะยัง อยู่หรือไม่ ไม่มีใครตอบได้ อย่างช่วงที่หายไป ก็เป็นคนที่เราสร้างขึ้น แต่ที่ผมตัดสินใจกลับมา เป็นนายกฯ เพราะว่างานต่างๆ ทีเ่ ราทำไว้มนั ไม่สานต่อ ผมสงสารประชาชนทีเ่ ขาเคยสนับสนุน บ้านเมืองเคยเจริญ ภูมิทัศน์สวยงาม ชุมชนเข้มแข็งต่างๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วผมไม่อยากกลับมา เพราะต้องมาแข่งกับลูกน้องที่เราสร้างขึ้น 44 | หวัง ตั้ง มั่น


เพ็ญภัค รัตนคำฟู

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

สิ่งที่เราเชื่อมาตลอดว่า เป็นทางที่จะนำพาชุมชน ไปถึงเป้าหมาย คือการดึงชุมชนเข้ามา ให้เขาเป็นเจ้าของ

เกาะคา


8 ระบบ 33 แหล่งเรียนรู้ สร้าง ‘เกาะคา’ น่าอยู่ ผู้บริหารตำบลเกาะคาทำงานร่วมกับชุมชนมาตลอด โดยทีมบริหารของเราริเริ่มสร้าง การมี ส่ ว นร่ ว มตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นสมัยแรกของการเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเกาะคา โดยเล็งเห็นว่า เกาะคาจำเป็นต้องสร้างพลังทีม่ คี วามยัง่ ยืน ซึง่ คำตอบก็คอื การสร้างการมีสว่ นร่วม ของชาวบ้าน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เราวางเป้าหมายร่วมกับชุมชนไว้ตั้งแต่ต้น เป้าหมายในที่นี้ คือเราอยากเห็นเกาะคาเป็นเมืองน่าอยู่ น่าประทับใจ ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ ภาคประชาชน เมื่อ สสส. เข้ามา จึงไม่มีปัญหาเลย เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน คือการทำให้คนใน ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ และนำไปสู่ชุมชนสุขภาวะ 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม และ ปัญญา ประกอบกับทีน่ ที่ ำงานโดยอาศัยการมีสว่ นร่วมของประชาชนเป็นหลักอยูแ่ ล้ว จึงเป็นการ เกื้อหนุนกัน ซึ่งสิ่งที่ สสส. นำเข้ามา คือการสอนให้เราจัดองค์ความรู้ให้เป็นระบบ เกิดการ ถอดบทเรียน ช่วยให้เรารู้จักตัวตนชัดเจนขึ้น นำมาสู่ความเข้าใจในบริบท กระทั่งก่อให้เกิด กระบวนการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังเห็นได้ว่า โจทย์เรื่องชุมชนสุขภาวะนั้นสอดคล้องกับโจทย์ความเป็นเมืองน่าอยู่ ที่เราวางไว้ตั้งแต่ปี 2547 เราต่างต้องการให้ทุกคนในชุมชนมีความสุข โดยสิ่งที่เราเชื่อมา ตลอดว่า เป็นทางที่จะนำพาชุมชนไปถึงเป้าหมาย ก็คือการดึงชุมชนเข้ามา ให้เขาเป็นเจ้าของ เพราะเมื่อชุมชนรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของท้องถิ่นอย่างแท้จริง จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ เวลานี้ เราถอดบทเรี ย นออกมาได้ 8 ระบบ 33 แหล่ ง เรี ย นรู้ ซึ่ ง เราเชื่ อ ว่ า ทุกแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างให้เกาะคาเป็นเมืองน่าอยู่ ถามว่า การถอดบทเรียนใหม่มีความสำคัญอย่างไร ตรงนี้ เราเองก็ได้เข้าใจจากการ ทำงานตำบลสุขภาวะ เรามีความจำเป็นต้องรู้ในสิ่งที่ทำอยู่อย่างถี่ถ้วน ท้องถิ่นจำเป็นต้องรู้ 46 | หวัง ตั้ง มั่น


ข้อมูลของตัวเองเพราะจะนำไปสูก่ ารวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบได้ ซึง่ สสส. มองตรงนี้ได้ ละเอียด จึงกล้าพูดได้ว่า ชาวชุมชนเกาะคาเองก็มีความสุขที่ สสส.เข้ามาหนุนเสริม กระนั้นเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทำงานย่อมมีปัญหา อยู่แล้ว แต่ปัญหาทั้งหลายสำหรับเกาะคา คือโจทย์ที่ท้าทายการทำงานของเรา นำมาสู่การ ร่วมใจกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการขับเคลื่อนชุมชน โดยเรามองว่า ถ้าสามารถจัดการคนได้ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบก็จะตามมา ทุกวันนี้ เราทำให้คน เกาะคาตระหนักถึงความเป็นเจ้าของถิ่นผ่านการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ทำให้ปัญหาของ แต่ละคนในชุมชนเป็นปัญหาของทุกคนเช่นกัน นำไปสูก่ ารทำงานแบบครอบครัวเดียวกัน จนเป็น สังคมแห่งการไม่ทอดทิ้งกัน กลไกหนึง่ ทีเ่ ป็นกุญแจนำพาเราสูค่ วามสำเร็จ คือการใช้เวทีทชี่ อื่ ว่า ‘เวทีขว่ งผญา’ เป็น ภาษาเหนือ คำว่า ‘ข่วง’ คือ ลาน ‘ผญา’ คือ ปัญญา เวทีข่วงผญา เป็นลานแห่งปัญญาที่ รวบรวมความคิดเห็นของทุกคนในสังคม ซึ่งเกาะคาใช้เวทีข่วงผญาสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการทำงานร่วมกัน ทุกวันนี้ เรามุง่ สร้างการพัฒนาไปสูค่ วามยัง่ ยืน โดยมีรากฐานคือ คนของเกาะคา ซึง่ เมือ่ ถึงเวลาขาดผู้นำอย่างเรา ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะยังสามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะชาวเกาะคาเอง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 47


คือเจ้าของทุกสิ่ง ทุกโครงการของเกาะคาจะอยู่คู่กับชาวเกาะคา นายกฯ ไม่อ้างสิทธิความเป็น เจ้าของ พวกเราฝ่ายบริหาร ทั้งนายกฯ ปลัด พนักงาน หรือว่าสาธารณสุข ไม่มีใครสร้างสิ่งใด ขึ้นโดยลำพัง ดังนั้น เมื่อไม่มีทีมบริหารชุดนี้ ด้วยรากฐานความเข้มแข็งของชาวเกาะคาจะ สามารถผลักดันให้ทุกสิ่งดำเนินไปได้ เราเชื่อมั่นเช่นนั้น นอกเหนือจากการทำงานร่วมกับ สสส. แล้ว เกาะคายังทำงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ ด้วย เกาะคาเป็นพื้นที่เล็กๆ มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 3.95 ตร.กม. มีประชากรประมาณ 5,000 กว่าคน เกาะคาไม่ได้อยูอ่ ย่างเอกเทศ จำเป็นต้องมีการทำงานทีส่ มั พันธ์กนั กับส่วนกลาง หรือกระทรวงต่างๆ ด้วย เช่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เราจึงทำงานแบบบูรณาการ และสร้างภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ผลคือเกาะคากลายเป็นต้นแบบในการเป็นศูนย์รับ แจ้งเหตุเด็กและสตรี ซึ่งตรงนี้ได้รับงบประมาณจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

48 | หวัง ตั้ง มั่น


ด.ต.มนตรี วงศ์อภิสิทธิ์

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ความฝันอันเรียบง่ายของผม คืออยากให้พี่น้องประชาชน ในตำบลบ้านต๋อม มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพ กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน และเรือ่ งของสุขภาพหลายๆ ด้าน

บ้านต๋อม


แอ่วหาชาวบ้าน เปิดโลกทัศน์ สร้างเรา บ้านต๋อมเป็นตำบลเล็กๆ ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ตำบลบ้านต๋อมเริ่มต้นทำงาน กับ สสส. ในโครงการชุมชนสุขภาวะมาได้เกือบ 1 ปี โดยก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมนั้น ทาง เทศบาลตำบลบ้านต๋อมก็ได้ทำงานในลักษณะนี้อยู่ก่อนแล้ว เพราะพื้นฐานของงานอยู่ภายใต้ หลักของการพัฒนาชุมชน เพียงแต่ว่า การทำงานของเรานั้นยังมีช่องโหว่ ซึ่ง สสส. เป็นผู้เข้า มาแนะนำ โดยพานักวิชาการตลอดจนแนะนำให้รู้จักเพื่อนในเครือข่าย มาช่วยกันจัดหมวดหมู่ งานของเรา จากเดิมที่สะเปะสะปะ เรื่องเด่นหลายเรื่องก็ตกหล่นไป ก็นำมาบูรณาการหรือ เชื่อมโยงกัน โดยมี สสส. เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ เป็นเรื่องที่ดีที่ สสส. เข้ามาช่วยดูแลเรา ทำให้บ้านต๋อมเป็นที่รู้จักของเพื่อนเครือข่าย จากทั่วประเทศที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนร่วมกันพัฒนา เกิดการบรูณาการ ช่วยเหลือ ซึง่ กันและกันระหว่างเทศบาล หรือ อบต. ซึง่ ก่อนหน้านี้ เราไม่ได้รจู้ กั กันมาก่อน สสส. ช่วยเปิด โลกทัศน์ ให้เราได้รู้จักคนเยอะขึ้น ได้เพื่อนจากจังหวัดอื่นที่สามารถทำงานร่วมกันได้ ยอมรับเลยว่า หลายสิ่งที่บางครั้งเราว่า เราดีแล้ว พอไปเจอที่อื่น ที่อื่นเขาก็มีดเี หมือน กับเรา โลกทัศน์เหล่านี้เป็นข้อมูลให้เรานำเอาสิ่งนั้นมาบูรณาการร่วมกัน ผมถือว่า สสส. เป็น หน่วยงานที่เป็นรากฐานของการพัฒนา โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นอยู่ ในเรื่องของการใช้ ชีวิต โดยมีพื้นฐานสำคัญคือครอบครัว คือสุขภาพ สสส. เข้ามาช่วยจัดการให้ภาพออกมา ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โครงการตำบลสุขภาวะมีเป้าหมายที่ดี คือการสร้างตำบลที่มีความสุขรอบด้าน ซึ่งใน ความคิดของผมคือตำบลที่สามารถสร้างความสุขให้ชาวบ้าน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด หรือทั้งตำบล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพทางด้านจิตใจร่างกาย และทางด้านครอบครัว ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในสังคม ทุกๆ อย่างที่เป็นเรื่องของชาวบ้าน เรื่องของชุมชนจะต้อง ทำให้ชาวบ้านมีความสุขมากที่สุด ซึ่งเป็นความฝันอันเรียบง่ายของผม คืออยากให้พี่น้อง ประชาชนในตำบลบ้านต๋อมมีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพ กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน และ เรื่องของสุขภาพหลายๆ ด้าน 50 | หวัง ตั้ง มั่น


สิ่งที่ต้องพูดถึงอีกเรื่อง คือการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเราทำมาแต่เดิมอยู่ แล้ว คือการส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเกือบทุกอย่าง เพราะมีนโยบาย จากฝ่ายบริหารว่า ต้องดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมทุกเรื่อง แม้กระทั่งการจัดทำเทศบัญญัติ ผ่านการประชุมที่ผมทำอยู่ในลักษณะสภากาแฟ คือเป็นการประชุมสัญจรไปยัง 18 หมู่บ้าน ของบ้านต๋อม ทุ ก ๆ เดื อ นจะเชิ ญ ผู้ น ำท้ อ งที่ ไม่ ว่ า จะเป็ น กำนั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น ประธานแม่ บ้ า น ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ประธาน อสม. ตลอดจน กลุ่มเยาวชน เช่น กลุ่มสภาเยาวชนตำบล เพื่อเข้าร่วมประชุมสัญจร โดยผมจะไปทุกหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีการหารือกันนอกรอบ แม้กระทั่งสภาเทศบาล (สท.) โดยเราจะให้ชาวบ้าน เสนอความต้องการให้กับผู้นำชุมชนมาก่อน แล้วเราก็มานั่งคุยกันนอกรอบ อย่างการทำ เทศบัญญัติ เราจะเอา สท. กับผู้นำท้องที่อย่างผู้ใหญ่บ้าน กำนันมานั่งคุยกันก่อนว่า แต่ละ หมู่บ้านต้องการอะไร แล้วเราก็มานั่งคุยกับ สท.อีกรอบหนึ่งก่อนที่จะมีการจัดทำเทศบัญญัติใน การจัดประชุมสภาใหญ่ เพราะถือว่า จบจากข้างนอกมาแล้วค่อยมาคุยในสภาใหญ่ กระนั้น ความที่ชุมชนบ้านต๋อมเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท เราอยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นที่ตั้งของศาลากลาง ศูนย์ราชการทั้งหมดอยู่ในบ้านต๋อม เราจึงพบเจอปัญหายาเสพติด เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 51


เพราะนอกจากหน่วยงานต่างๆ ที่นี่ยังมีวิทยาลัยอยู่แห่งหนึ่ง เด็กมารวมกันจากต่างที่ต่างถิ่น จึงเป็นปัญหาที่เราพบตอนนี้ สิ่งที่เราทำได้คือ การประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ กับทาง ผู้อำนวยการวิทยาลัย และทำงานร่วมกับทางท้องที่ ร่วมมือกับทางอำเภอให้มีการจัดตั้งด่าน ตรวจยาเสพติดอยู่ทุกเดือน ในส่วนของโครงการสุขภาวะนั้น ตอนนี้เราเกือบครบปี เหลือเวลาอีก 2 ปี บ้านต๋อม จะต้องพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้วันหนึ่ง เมื่อ สสส. ไม่ได้สนับสนุนแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะยัง ดำเนินต่อไปได้บนพื้นฐานความร่วมใจของชาวบ้าน ณ วันนี้ เราประสบผลสำเร็จในเรื่องของ การเข้าหาชาวบ้านแล้ว ผมมีโครงการแอ่วหาชาวบ้าน โดยจะพาผู้นำ ผู้บริหาร สท. ที่ว่าง เดินทางไปเยี่ยม ชาวบ้านด้วยตัวเอง เพราะเห็นว่า หลายครั้งชาวบ้านไม่กล้าเข้าหาผู้นำ พอเราออกไปก็เจอ ปัญหา เช่น ไฟกิ่ง ไฟแสงจันทร์ ปัญหาเรื่องของถนน ที่บางครั้ง เราสามารถซ่อมได้ทันที นอกเหนือจากการทำงานร่วมกับ สสส. เรายังทำงานร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ ได้ดี ด้วย อาจจะเพราะผมเป็นข้าราชการมาก่อน การทำงานตรงนี้จึงค่อนข้างง่าย ไม่มีปัญหาเท่าไร บ้านต๋อมได้รับความร่วมมือจากภาครัฐทุกส่วน อย่างเรื่องของศาล เราได้รับความร่วมมือใน การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เรื่องของวิทยาลัยพยาบาล เราประสานในเรื่องของการออก เยี่ยมบ้าน ออกตรวจสุขภาพให้กับชาวบ้าน แล้วเรื่องของโรงพยาบาล เราจัดทำกลุ่มออกตรวจ ฟันให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนของการไฟฟ้า เราจัดบริการให้กับชาวบ้าน เช่น ออกไปตรวจไฟฟ้า ที่บ้าน หลอดไฟตรงไหนเสียเรารีบบริการ โดยเราจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างไว้ในวิทยาลัยเทคนิค อย่างที่บอกไปแล้วว่า บ้านต๋อมอยู่ในเขตเมือง จึงมีความข้องเกี่ยวไปทั่ว เวลาทางเรา ได้รับการร้องขอความอนุเคราะห์จากโรงเรียน ซึ่งจริงๆ บ้านต๋อมเองไม่มีโรงเรียนอยู่ในสังกัด ของท้องถิ่น แต่อย่างน้อย เราถือว่าโรงเรียนเหล่านี้อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เราก็ให้การ ช่วยเหลือ เช่น ในเรือ่ งของอาหารกลางวัน ส่วนเรือ่ งของทุนการศึกษา บางครัง้ ไม่สามารถช่วยได้ ต้องหางบประมาณข้างนอกมาช่วยโรงเรียน แต่เราก็ยินดีทำ

52 | หวัง ตั้ง มั่น


สมิง ธรรมปัญญา

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

เรื่องเด่นของเราที่ทำมานาน คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง และเกาะเกี ่ยวกันอย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าในตำบลจะมีกิจกรรมอะไร ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ จะเป็นแกนนำสำคัญ ในการเข้าไปร่วมกิจกรรมนั้นๆ

หนองหล่ม


พึ่งรัฐให้น้อย พึ่งตัวเองให้มาก พื้นเพของผมเป็นคนตำบลหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เข้ามามี บทบาทในการทำงานร่วมกับท้องถิ่น โดยลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนองหล่มในปี 2553 และได้รับเลือกจนเวลานี้ ก็ทำงานมาเป็นเวลา 2 ปี 11 เดือน ส่วน สภาพพื้นที่ ก็ต้องบอกว่า เราเป็นสังคมเกษตรกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ แต่เดิมนี้ ต้องยอมรับเลยว่า ตำบลหนองหล่มยังขาดการพัฒนาคน ซึ่งไม่ใช่ว่า ทีม บริหารไม่สนใจ หากแต่ด้วยความที่เราเป็นชุมชนชนบท เราขาดหลายอย่าง และชาวบ้าน ต้องการโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าด้านการพัฒนาคน ทำให้ต้องทุ่มเทงบประมาณลงไปในด้าน นั้น ซึ่งต้องยอมรับว่า ใช้เงินเยอะ ด้วยงบประมาณจากภาครัฐที่มาสนับสนุน ตลอดจนการจัด เก็บภาษีในพื้นที่นั้นได้ไม่เยอะเท่าไรนัก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะไม่ดี ส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดู ครอบครัว ครั้นจะให้เข้ามาร่วมกับชุมชนหรือการสร้างกลุ่มก็ทำได้ยาก กระทั่งได้เข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของโครงการตำบลสุขภาวะ ซึ่งเปรียบเสมือนการเปิดโลกทัศน์หลายๆ อย่างให้กับเรา จุดเริ่มต้นของเราเกิดจากการได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อบต.ดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแม่ข่าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงานภาคเหนือตอนบน โดยสิ่งที่ เราได้รับมา คือความรู้ตลอดจนการจัดการชุมชน เราเริ่มหันมามองเรื่องการพัฒนาสุขภาวะ ชุมชน เริ่มมีการประสานงานภายในชุมชน เพราะกระบวนการทำงานสุขภาวะจำเป็นต้องได้ รับการสนับสนุนจากชุมชนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในตำบลของเรา ให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ผ่านการอบรมจากแม่ข่าย ตลอดจนนักวิชาการของ สสส. ที่เข้ามา ช่วยปรับการทำงานของเราให้ดีมีมาตรฐาน ณ เวลานี้ ชุมชนมีส่วนร่วมกันมากขึ้น โดยเราจะให้โอกาสชาวบ้านได้คิดได้ทำด้วย ตนเองก่อน เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรม ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างเรามีหน้าที่เข้าไป หนุนเสริม จัดการเรื่องงบประมาณให้ วันนี้ ชาวบ้านเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับตำบลสุขภาวะ 54 | หวัง ตั้ง มั่น


และมีความตืน่ ตัวมากขึน้ เริม่ ซักถามประวัตแิ ละความเป็นมาของโครงการ บางครัง้ ทางเทศบาล ขอความร่วมมือจากชาวบ้านให้ช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของเทศบาล ชาวบ้านก็ให้ ความร่วมมือเป็นอย่างดี เราเริ่มสร้างทีละส่วน โดยการเข้าถึงชาวบ้าน เราต้องใช้วิธีเชิญแกนนำชาวบ้านที่ เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจง และขอความร่วมมือในการพัฒนาตำบลหนองหล่มไปด้วยกัน โดยให้มองผลประโยชน์และการพัฒนาตำบลเป็นหลัก ให้มองว่า ที่นี่คือชุมชนของทุกคน ไม่ใช่ ของผมหรือของใคร เรื่องเด่นของเราที่ทำมานาน คือกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีความเข้มแข็งและเกาะเกี่ยวกัน อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าในตำบลจะมีกิจกรรมอะไร ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะเป็นแกนนำสำคัญใน การเข้าไปร่วมกิจกรรมนั้นๆ รวมไปถึงกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุที่ทำอย่างต่อเนื่องจนได้รับ รางวั ล มากมาย หรื อ กลุ่ ม สตรี พิ ก ารเย็ บ ปั ก ประดิ ษ ฐ์ เป็ น กลุ่ ม ที่ ช่ ว ยเหลื อ ตนเองได้ โ ดย ไม่เป็นภาระให้กับสังคม แถมยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองหล่ม เป็นโครงการทีม่ าจากชาวบ้าน ในชุมชน อย่างธนาคารหมู่บ้าน เทศบาลตำบลหนองหล่มช่วยอุดหนุนกองทุน โดยกองทุนนี้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 55


ชาวบ้านให้ความสนใจ สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะกองทุนได้ช่วยเหลือกัน และกันไม่หวังผลตอบแทน ต้องยอมรับว่า สสส. เข้ามา ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ความเคลื่อนไหว ต่างๆ มีมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมและมีรายได้เสริม เช่น ชาวบ้านมี ส่วนร่วมในการจัดบ้านพักโฮมสเตย์ มีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร ได้ร่วมกลุ่มของแหล่ง เรียนรู้ในตำบล และยังสามารถขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในท้องถิ่น ดั้งเดิม เราเป็นตำบลเล็กๆ มีกลุ่มต่างๆ ที่ชาวบ้านจัดตั้งกันเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ดำเนิน กิจกรรมเฉพาะกลุ่มของตนเองเท่านั้นและอยู่แบบอย่างกระจัดกระจายไม่มีการเชื่อมโยงไป กลุ่มอื่นๆ ทำให้ไม่มีจุดเด่นในตำบล งบประมาณในการพัฒนาตำบล ต้องรอคอยจากเทศบาล หรือภาครัฐอย่างเดียว ตำบลก็เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นส่วนมาก การพัฒนาคนนั้นมี อยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น สสส. ช่วยให้ตำบลหนองหล่มได้ขับเคลื่อน และให้กลุ่มต่างๆ ในตำบลได้รวมตัวกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงแต่ละกลุ่มทำให้เกิดการรวบรวมแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในตำบลและมีการ ถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้รับทราบว่าในตำบลหนองหล่มมีแหล่งเรียนรู้อะไรบ้าง และแต่ละแหล่ง เรียนรู้ทำกิจกรรมอะไร มีส่วนช่วยเหลือชาวบ้านอย่างไร ซึ่งทำให้เห็นภาพการพัฒนาตำบล หนองหล่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผมยอมรับในการทำงานของ สสส. แต่บางครั้งการทำงานของ สสส. ก็เร่งด่วนมาก เช่น มีการประสานงานมาที่ตำบล ต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้น ทำให้ตำบลเตรียมความ พร้อมไม่ทัน เนื่องจากศักยภาพของชุมชนตำบลหนองหล่มเป็นตำบลที่อยู่ในชนบท ทำให้มี อุปสรรคในการแสวงหาเครื่องมือหรือคนเข้าร่วมยากมาก ณ ตอนนี้ โดยทั่วไปแล้ว ผมค่อนข้างพอใจ เพราะชาวบ้านเริ่มรู้จักการพึ่งพาตนเอง จากการทีเ่ ราได้พฒ ั นาและทำให้เขาได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจเกีย่ วกับการพัฒนาตำบล ซึง่ ผมมัน่ ใจว่า ชาวบ้านจะต้องขับเคลือ่ นได้ดว้ ยตนเอง ทัง้ นี้ เรายังได้วางรากฐานและปลูกฝังให้เยาวชนรุน่ ใหม่ ได้เรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการพัฒนาตำบลว่า อย่าหวังเพียงแต่พึ่งภาครัฐเพียงอย่างเดียว เพราะมันจะทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืน

56 | หวัง ตั้ง มั่น


ภานุวุธ บูรณพรหม

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ทำให้มันเป็นปกติ ทำงานให้เป็นวิถีของชุมชน เพียงแต่เพิ่มการทำงาน ให้เป็นระบบมากขึ้น

ผาสิงห


คำประกาศแห่งผาสิงห์ ‘ถ้าคุณกล้า เราก็กล้า’ ผาสิงห์เข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะจากการชักชวนของนายกฯปู (ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีตนายกเทศมนตรี เมืองปากพูน นครศรีธรรมราช) เป็นเวลากว่า 3 ปีที่นายกฯ ปู ได้ชักชวน ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ แม้ในช่วงแรกจะไม่เข้าใจคำว่าสุขภาวะ คิดว่า เป็นเรื่องสุขภาพ การลดน้ำหนัก หลังจากได้รับข้อมูลมากขึ้น จึงทำให้ทราบว่า คำว่าสุขภาวะ นั้นมีหลากหลายประเด็น ซึ่งถือเป็นทั้งหมดทั้งมวลของชีวิตคน และเชื่อมโยงได้หลายมิติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ อบต.ผาสิงห์ มีทีมงานที่ทำในประเด็นต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่มีการ จัดระบบ จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ สสส. เข้ามาช่วยจัดระบบการทำงานมาให้ การสนับสนุนทางวิชาการ และ อบต.จะได้ทำหน้าทีใ่ นการถ่ายทอดกระบวนการคิดให้กบั ชาวบ้าน เราเห็นว่า ชาวบ้านได้ประโยชน์ และยังเป็นทางเลือกหนึ่งในหลายๆ ทางให้กับพี่น้อง ประชาชน และหลังจากที่ได้เข้าร่วมเวทีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ก็ยิ่งเชื่อมั่นว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมไทย ถ้าโครงการนี้สำเร็จ มันคือการอภิวัฒน์ คือการ ปฏิวัติ ปฏิรูป หรือเปลี่ยนโครงสร้างหลายๆ ระบบในเวลาเดียวกัน และการปรับเปลี่ยน ประเทศนี้ก็คำนึงถึงฐานการพัฒนาระดับชุมชนเป็นสำคัญอีกด้วย ชาวบ้านผาสิงห์มีกิจกรรมหลากหลายอย่าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นทุนทางสังคม แต่หากไม่มี การจั ด ระบบให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มโยง เราจะมองไม่ เ ห็ น ทุ น เหล่ า นั้ น ได้ ชั ด ซึ่ ง ไม่ ใช่ เ พี ย ง คณะทำงาน แต่รวมถึงชาวบ้านและชุมชนที่ต้องเห็นความสำคัญด้วย การทำงานของ อบต. ผาสิงห์จงึ ต้องการการพัฒนาไปสูก่ ารบริหารงานอย่างเป็นระบบ ต้องมีการออกแบบการทำงาน แบบมองภาพความเป็นจริงของชุมชน วางแผนอนาคต และเชื่อมโยงไปยังเครือข่าย และอัน

ที่จริงคำว่าเครือข่ายนั้น ก็คือการสร้างมิตรนั่นเอง การทำงานในท้องถิ่น ถือเป็นการบริหารระดับล่างสุด เป็นการทำงานกับทุนของ ชุมชน หากไม่มีการจัดการให้เป็นระบบ ศักยภาพที่มีจะไม่ถูกนำมาใช้ ตรงนี้อาจเนื่องด้วย สังคมไทยเป็นสังคมพูดมากกว่าการบันทึก ดังนั้นการทำงานกับชุมชนจึงควรทำงานในเชิง

58 | หวัง ตั้ง มั่น


วิชาการให้มากขึ้น ทั้งยังต้องวางระบบที่ทำให้ไม่ต้องยึดติดกับผู้นำ ไม่ใช่ว่าเมื่อเปลี่ยนนายกฯ งานก็จบ หรือทำให้นโยบายต่างๆ ไม่มีความต่อเนื่อง หรือคำนึงถึงผลประโยชน์มากเกินไป ทั้งต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงทุนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นทีมหรือบูรณาการ การทำงานตามโครงการตำบลสุขภาวะของเรา เราพยายามทำให้มันเป็นปกติ ทำงาน ให้เป็นวิถีของชุมชน เพียงแต่เพิ่มการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น ให้ชาวบ้านค่อยๆ ซึมซับ เป็นการทำงานเพื่อสร้างกระบวนการปรับตัว เราคิดว่า ถ้าเราทำงานแบบตื่นเต้น มันจะ เหมือนเป็นการทำแบบไฟไหม้ฟาง เราต้องนำวิถีชีวิตเขามาใส่ระบบและใส่วิธีคิดเชิงระบบ แบบใหม่ให้ชาวบ้าน เพราะชาวบ้านนั้นมีทุนในการทำงานเพื่อสังคมอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะ ไม่ได้มองอนาคตยาวๆ อย่างเชื่อมโยง และอย่างเป็นระบบเท่านั้นเอง ในระยะเวลา 8 ปีทผี่ า่ นมาทีผ่ มเป็นนายกฯ แม้จะมีความพึงพอใจในผลงานตามตัวชีว้ ดั ที่มี แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาระบบต่อเนื่อง เมื่อปี 2547 ตำบลผาสิงห์มีผลการประเมิน มาตรฐานอยู่ในระดับที่ 63 จากประมาณ 90 ตำบล แต่ปัจจุบันเราสามารถขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไปติดยึดกับอันดับหรือรางวัลที่ได้ เพราะจะทำให้หลงและไม่คิด พัฒนา

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 59


การได้เข้าร่วมตำบลสุขภาวะ น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้ชาวบ้านพึงพอใจมากขึ้น เพราะโครงการนี้จะทำให้ชาวบ้านตระหนักในคุณค่าของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ในที่สุด ซึ่งการมองเห็นคุณค่าของตัวเองนี้ เราต้องพยายามให้ชาวบ้านสร้างกลุ่ม สร้างระบบ ภายในกลุ่มของตัว ต้องเริ่มต้นจากการทำให้ชาวบ้านเข้าใจบทบาทของตัวเอง และมีการจัด ระบบชีวิตตนเอง ต่อจากนัน้ เราต้องสร้างกระบวนการการพัฒนา สร้างชุมชน สังคม ครอบครัว ให้นา่ อยู่ ผ่านปัจจัย 4 ตามหลักศาสนา ควบคู่กับปัจจัยเสริม คือ เงินทุน การบริหารเงินเป็น ซึ่งจะนำ ไปสู่การมีวินัย การแบ่งปัน ไม่คำนึงผลประโยชน์ส่วนตนเพียงอย่างเดียว ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับ ชาวบ้าน และนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ และการพึ่งตนเองได้นี่คือความเข้มแข็ง ไม่ใช่มาพึ่ง

ฝ่ายบริหาร มาพึ่งนายกฯ เพราะนายกฯ เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว แต่ชาวบ้านคือเจ้าของ ชุมชน เพราะฉะนั้นชาวผาสิงห์จึงต้อง ‘ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์’ และในอนาคต ผาสิงห์จะต้องมีธนาคารชุมชนตำบลผาสิงห์ เพื่อขจัดความไม่มีของชาวบ้าน ผ่านกระบวนการ จัดการอย่างเป็นระบบ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด และพัฒนาทุนทางสังคม ทั้งหมดนี้ต้องขอบคุณ สสส. เพราะเราเองเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของสังคม และคงไม่มี หน่วยงานใดกล้าทำงานที่ยากแบบ สสส. หรอก เมื่อ สสส. กล้า ชุมชนก็กล้าที่จะลงมือทำ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจากฐานทุนของชุมชน

60 | หวัง ตั้ง มั่น


คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรน นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก ค แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม น วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหล คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลีย้ ว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทยั เก่า ค ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลีย้ ว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทยั เก่า คลองน้ำไหล บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อ หาดสองแคว เก้าเลีย้ ว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทยั เก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ ห เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแค ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ย คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรน นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก ค แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม น วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหล คลองน้ำไหล ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลีย้ ว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทยั เก่า ค ดงมูลเหล็ก บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลีย้ ว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทยั เก่า คลองน้ำไหล บ่อแร่ วังน้ำคู้ หาดสองแคว เก้าเลี้ยว ไกรนอก คอรุม นาบัว แม่ปะ วังหลุม อุทัยเก่า คลองน้ำไหล ดงมูลเ

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง


เกือบทุกตำบล เขาจะบอกเลยว่า ถึงไม่มีนายกฯ เขาก็ทำได้ คือไม่ต้องรอ ไม่ต้องเป็นนายกฯ คนนี้ ทางตำบลทำกันอยู่แล้ว ชยภรณ ดีเอม

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน


ท่องภาคเหนือตอนล่าง

ชมเครือข่ายร่วมทุกข์สุข

งานในหน้าที่รับผิดชอบของศูนย์ประสานงานภาคจะมีงานอยู่ด้วยกัน 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ทำหน้าทีใ่ นฐานะหัวหน้าทีมสนับสนุนวิชาการ ศูนย์ประสานงาน ภาคเหนือตอนล่าง งานหลักๆ โดยปกติจะทำงานคล้ายๆ กับงานตำบล คือจะมี อยู่ 4 แผนงาน แผนงานแรก คือเรื่องการสร้างความรู้ กับจัดการองค์ความรู้ให้ กับนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิชาการของตำบลเครือข่าย อันที่สอง จะเป็นงาน เชิงประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายสาธารณะหรือการถอดบทเรียนเรื่อง เด่นต่างๆ ของชุมชน แผนงานที่สาม จะเป็นเรื่องการสื่อสารสาธารณะ แต่จะ ไม่ได้เป็นสื่อสารสาธารณะแบบของตำบลเสียทีเดียว เพราะการสื่อสารตรงนี้จะ เป็นลักษณะการดึงข้อมูลมา แล้วนำข้อมูลไปนำเสนอต่อ ทัง้ ในเรือ่ งของชุดความรู้ หรือเป็นในลักษณะการสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อจัดเวที และสุดท้าย จะเป็นในเรื่อง ของแผนบริหารจัดการ ทั้งการบริหารจัดการงบประมาณ ข้อมูล หรือจัดการ กำลังคนที่มีอยู่ งานอีกฝ่ายหนึ่ง จะเป็นงานให้การสนับสนุนด้านวิชาการกับสำนัก 3 คือส่วนกลาง ซึ่งตรงนี้จะดูแลในเชิงประเด็นจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ของเด็ก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 63


และเยาวชน ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดนโยบายสาธารณะ จะทำงานร่วมกับนักวิชาการตำบลสุขภาวะ ตำบลอื่นๆ แม้ไม่ใช่ภาคเหนือตอนล่าง แต่สนใจในประเด็นที่ใกล้เคียงกันในเรื่องเด็กและ เยาวชน กล่าวเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมแล้ว ค่อนข้างจะได้เปรียบในเรื่องของการ จัดการเครือข่าย เพราะไม่แยกว่า เป็นตำบลสุขภาวะ หรือตำบลใครตำบลมัน แต่เขาจะทำงาน กันเหมือนพี่เหมือนน้อง ตำบลใดมีงาน ตำบลอื่นก็พ ร้อมที่จะไปช่วย ถ้าเราจัดเวทีหรือจัด กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับตัวโครงการหรือไม่ อาจจะเป็นการไปขึ้นงานตำบล ใหม่ หรือการถอดบทเรียน ตำบลที่เหลือก็จะไปช่วยเหลือกัน รวมทั้งช่วยเหลือกันในยามเกิด เหตุต่างๆ โดยไม่ต้องรอให้ตำบลที่ประสบภัยเอ่ยปาก นี่เป็นเรื่องที่เด่นมากในเรื่องการบริหาร จัดการเครือข่าย ส่วนในเรื่องของการจัดการตัวคน นักวิชาการของภาคเหนือตอนล่างทุกตำบลค่อน ข้างทำงานเป็นทีม การทำงานตรงนี้จะไม่แบ่งว่า อันนี้หน้าที่ฉัน อันนี้หน้าที่เธอ พอเพื่อนขอ ความช่วยเหลือว่า ทำอันนั้นอันนี้ไม่ได้ ก็จะช่วยกัน ตัวนายกฯ เองก็ค่อนข้างมีเครือข่ายในการ ทำงาน ส่วนตัวผู้ประสานงานโครงการ เขาก็จะไม่ได้รู้จักแค่ในตำบล แต่เขาสามารถประสาน กับตำบลอื่นๆ ในภาคเหนือตอนล่างหรือกับจังหวัดอื่นๆ ได้ด้วย ภาคเหนือตอนล่างจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือเหนือล่างส่วนล่าง กับเหนือล่างส่วนบน แต่วัฒนธรรมของเขาจะคล้ายๆ กัน คือเกือบทุกตำบลจะมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นในเรื่องของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีวัฒนธรรม อันนี้เป็นเรื่องความเชื่อที่อยู่กับภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีในเกือบทุกตำบล บางคนอาจจะบอกว่า แหล่งเรียนรู้นี้เกี่ยวกับวิถีชีวิต แต่ถ้าเป็นการ ประกอบอาชีพ เกือบทุกตำบลจะเป็นเรื่องของเกษตรกรรม อันนี้เห็นได้ชัด โดยจะมีเรื่องราว ต่างๆ เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญากับเกษตรกรรม หรือการบริหารจัดการกับประเพณี วัฒนธรรม เหนือล่างทั้งหมดจึงมีจุดที่เด่นตรงนี้ สิ่งที่ตามมาจึงเป็นการบริหารจัดการโดยใช้ หลักวัฒนธรรมประเพณีในการอยู่ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ คือแม้เขาอาจจะเด่นด้านเกษตร แต่ก็ ไม่ละเลยงานด้านอื่นๆ เขาอาจจะดึงเด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือบางที่เด่นเรื่อง ประเพณีวัฒนธรรม เขาก็จะเอาระบบบริหารจัดการ หรือว่าการเรียนรู้ชุมชนเข้าไปอยู่ตรงนั้น ด้วย บางพื้นที่ก็เป็นวัฒนธรรมอย่างเดียว แต่เกือบทุกแหล่งเรียนรู้จะอิงอยู่บนฐานวัฒนธรรม เขาจะกลืนกันไปทั้งหมด แต่ภายใต้จุดเด่นเหล่านี้ เขาก็ไม่ทอดทิ้งแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

64 | หวัง ตั้ง มั่น


เรื่องของศักยภาพของบุคคลนั้น ตัวนักวิชาการมี นายกฯ มี แต่การ แสดงออกตรงนี้ เข้าใจว่า คนภาคเหนือตอนล่างกับคนภาคกลางตอนบนจะขี้อาย ถ้าให้ยกมือ ขอคนกล้า จะไม่มี แต่ถ้าเพื่อนไป ไปไหนไปนั่น ขอให้มีคนกล้า ขอให้มี คนเปิด ไปได้หมด แต่ถ้าไม่มีคนนำเขาจะไม่ไป ให้ทำอะไรก็จะนั่งเฉยๆ ยิ้มก่อน แต่ ถ้าเพื่อนคนอื่นหรือภาคอื่นทำ ถึงค่อยลุกมาทำ เห็นง่ายๆ ถ้าจัดงานเวทีอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะ RECAP (Rapid Ethnographic Community Assessment Process การวิจัยชุมชนแบบเร่งด่วน) หรือ TCNAP (Thailand Community network Appraisal Program- การประเมินเครือข่ายชุมชน) พอเราเรียกลูกข่ายมาประชุม ถ้าไม่มีตำบลไหนเริ่มก็จะไม่มีใครเริ่ม แต่พอมีใครเริ่มก็จะเกิดความรู้สึกว่า เขาทำ แล้วเราต้องทำนะ เราไม่ทำ เราอยู่ไม่ได้ ก็จะเป็นแบบนี้ คือเป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งอาจจะสะท้อนว่า เขายังขาดความเชื่อมั่น คือมีความมั่นใจในตัวอยู่ลึกๆ แต่ไม่ กล้าดึงออกมาใช้ อันนี้เป็นลักษณะตัวบุคคล อันที่สอง คือศักยภาพของพื้นที่ ตัวชาวบ้านมีศักยภาพ แต่เขาจะกลัวว่า ถ้าบอกเรื่องราวในชุมชนออกไป คนข้างนอกเขาอาจจะไม่ได้คิดเหมือนเรา หรือ ไม่มั่นใจว่า สิ่งที่เราคิดนั้นถูกหรือเปล่า ชาวบ้านจะกลัวการเปิดรับคนข้างนอก

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 65


เข้ า มาเรี ย นรู้ ใ นชุ ม ชน แต่ ด้ ว ยความเข้ ม แข็ ง ของเขาหรื อ หากเป็ น สิ่ ง ที่ เขาทำอยู่ เ ป็ น ปกติ

ก็สามารถเล่าออกมาเป็นธรรมชาติได้ แต่อาจจะขาดความกล้าเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องการเข้าร่วมโครงการของแต่ละตำบลนั้น เมื่อก่อนตอนขึ้นโครงการใหม่ๆ ใน ช่วงแรกๆ เรามีข้อกำหนดไว้เลยว่า อบต.ที่จะมาร่วมโครงการ นายกฯ ต้องมีวาระเหลือไม่น้อย กว่ากี่ปี หากไม่เข้าเงื่อนไขนี้ก็ทำไม่ได้ แต่ตอนหลังเราตัดตัวชี้วัดนี้ออก เคยตั้งตัวชี้วัดขนาด แม้ กระทั่งว่า นายกฯ ต้องมีใจ หรือ อบต.ต้องมีงบฯ สนับสนุนกิจกรรมตรงนี้เพิ่ม และวาระของ นายกฯ ต้องเหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่พอมาตอนหลัง มีนายกฯ ที่เขาขอเข้าร่วมโครงการแม้ เขาจะเหลือวาระแค่หกเดือน แต่เขาอยากทำ เพราะชาวบ้านเขาเข้มแข็ง ไม่ว่านายกฯ จะเป็น ใคร หรือเปลี่ยนตัวเปลี่ยนทีมก็ไม่มีปัญหา เราก็เลยตัดเกณฑ์ตัวนี้ออก แล้วตั้งตัวชี้วัดใหม่ เช่น มีความสนใจในการเข้าร่วม คือให้โอกาสแม่ข่ายในการเลือกมากขึ้น ดูแล้วตำบลนี้น่าจะไม่ เบี้ยวเราแน่ มีวินัยในการทำงาน เป็นต้น ถ้าถามว่าในรอบปีถัดไป โอกาสที่จะขยายเครือข่ายสำหรับภาคเหนือตอนล่างมีไหม มีนะ แล้วมีค่อนข้างสูง เพราะตำบลอื่นๆ เขาเห็นเพื่อนทำ เพื่อนมีอันนี้แล้วส่งผลดีต่อชาวบ้าน นะ พี่น้องเขาดีนะ เขาก็คุยต่อๆ กันไป เลยอยากทำบ้าง มีหลายๆ ตำบลที่ไม่ได้ถูกเลือกเป็น ลูกข่าย เป็นตำบล หรือเป็น อปท.ที่โดดเดี่ยว ยังไม่ได้รับการชักชวนเข้าสู่เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เขาก็มาเสนอตัวว่า เขาขอเข้าร่วมด้วยได้ไหม แบบนี้ก็มีเหมือนกัน ทีนี้ พื้นที่ที่จะถูกดึงเข้าร่วม ณ ตอนนี้ที่เป็นลูกข่ายมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น มากกว่าช่วงแรกๆ ที่ เราขึ้นตำบลแรกๆ เพราะตอนนั้นไม่มีพี่เลี้ยง อย่างอุทัยเก่าก็โตมาด้วยตัวเอง ไม่มีแม่ข่ายที่จะ มาดูแลเขา แต่ตอนนี้ลูกข่ายที่ขึ้นใหม่มีแม่คอยประคับประคอง เพราะฉะนั้นจึงทำให้เชื่อได้ว่า จะมีตำบลใหม่เข้ามาร่วมอีกเยอะ ถ้าให้ถอดบทเรียน คงสรุปเป็นสูตรแห่งสำเร็จเป็นตัวแบบของภาคเหนือตอนล่าง ยังไม่ได้ เพราะโมเดลแหล่งเรียนรู้ทุกด้าน ในทุกที่ ทุกแหล่งเรียนรู้ มีธรรมชาติไม่เหมือนกัน การเล่าของวิทยากรก็ไม่เหมือนกัน แต่อันแรกที่เห็นว่า สามารถเป็นโมเดลหรือเป็นตัวแบบได้ คือเรื่องของการสร้างเครือข่าย ภาคเหนือตอนล่างมีเยอะ ทำอย่างไรในการสร้างเครือข่าย ระหว่างตำบลกับตำบล อันนี้เป็นโมเดลที่สามารถถอดได้เลย อันที่สองในเรื่องของเครือข่าย การจัดการคน นอกจากเรื่องการประสานระหว่างพื้นที่แล้ว การจัดการภายในของคนที่ทำงาน โครงการ หรือคนในตำบล ภาคเหนือตอนล่างก็น่าจะสามารถถอดโมเดลตัวนี้ได้ อันที่สาม คือ เรื่องของการจัดการข้อมูล ก็สามารถถอดทำเป็นโมเดลได้ เพราะภาคเหนือตอนล่างในช่วงหลัง

66 | หวัง ตั้ง มั่น


เริ่มจะเห็นวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือไม่ว่าจะตัวนายกฯ หรือนักวิชาการเอง ไปไหนจะมีสมุดหนึ่ง เล่ม ซึ่งเขาจะจดหรือเขียนอะไรตลอดเวลา อันนี้คือที่เราเห็น แล้วสามารถเอาข้อมูลตัวนี้ไป ผนวกกับข้อมูลอื่นเพื่อนำไปใช้ต่อได้ บางเรื่องเราอาจจะคิดว่า เขาได้แค่นี้แหละ เราแค่ถอดบทเรียนเรายังเหนื่อยเลย แต่ เขาสามารถมองอะไรที่มันกว้างกว่านี้ได้ เพราะฉะนั้นโมเดลคงไม่ถอดบทเรียนตำบลเดียว แต่ อาจจะถอดเป็นเรื่องๆ ได้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 67


ผจญ พูลด้วง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ถ้าเราแข็งแกร่งจริง ที่อื่นเขาก็มาดูงาน เพราะฉะนัน้ เราจะต้องต่อยอด ความแข็งแกร่งของเรา ต่อไปเรื่อยๆ


รุมกันคิด ของคน ‘คอรุม’ ก่อนที่จะมาเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ ตำบลคอรุมเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง อยู่แล้วนะ ผมเริ่มทำงานเป็นผู้บริหารตอนปี 2540 ก็เริ่มดำเนินงานกับชุมชน เริ่มประชุม เริ่ม ทำแผนร่วมกัน เราใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมต่อเนื่องมาจนถึงปี 2550 ชุมชนก็มี ความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ มีการประสานงานกับ อบต. ตั้งกลุ่มชาวบ้านดำเนินงานด้านต่างๆ อยู่แล้ว ต่อมาทาง สสส. ได้ทำโครงการร่วมขึ้นมาโครงการหนึ่ง คือโครงการ ‘จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองน่าอยู่’ ภายใต้โครงการหนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย ทางราชภัฏก็ได้จัดทำความ ตกลง หรือ MOU โดยเชิญ อปท. ทั้งสิ้น 30 แห่งร่วมด้วย แล้วจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกัน ตำบลต่างๆ จึงได้เห็นว่า อบต. คอรุม มีความเข้มแข็งในเรื่องชุมชนอย่างไร จากนั้น เลยได้ก่อรูปเป็นตำบลสุขภาวะขึ้นมา อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ทางคอรุมมีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น จากการที่ทาง สสส. ได้ลงพื้นที่เพื่อประเมินกลุ่มต่างๆ โดยเน้นในเรื่องการทำให้องค์กรจัดการ ตัวเองได้อย่างเป็นระบบมากขึน้ จนได้เป็นโมเดล 8 ระบบ เช่น ระบบการจัดการบริหารงานแบบ มีส่วนร่วม คือทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายในตำบลมามีส่วนร่วม โดยใช้ฐานหลัก 5 ฐาน คือ ภาครัฐ ท้องที่ ท้องถิ่น ชุมชน และภาควิชาการ มาร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้าน แล้วแยก ผลลัพธ์ออกมาดูให้ครบ 4 มิติ ที่ สสส. ตั้งไว้ คือ กายดี ใจดี สังคมดี ปัญญาดี ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ชุมชนมีความ กระตือรือร้นที่จะทำงาน มีความรักความสามัคคีมากขึ้น คนต้องมาร่วมกลุ่มกันมากขึ้น พอมี แขกมาเยี่ยมเข้ามาในตำบล ทุกคนจะช่วยกันต้อนรับอย่างไรดี กลุ่มต่างๆ ต้องเตรียมตัว


เตรียมฐานการเรียนรู้ให้แขกที่มาดูงาน รูปธรรมที่เห็นชัดก็น่าจะเป็นเรื่องรายได้ เพราะชุมชน เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากบ้านพักโฮมสเตย์ กลุ่มแม่บ้านจัดทำอาหาร และฐานต่างๆ ที่ เป็นวิทยากร อย่างกลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว จะเวียนหมู่กันมาทำ คนที่มาศึกษาดูงาน เขาก็ต้อง ตกลงกั น เองว่ า จะไม่ ซื้ อ จากต่ า งหมู่ บ้ า น จะซื้ อ กั น เอง จะเอื้ อ อาทรต่ อ กั น เงิ น ก็ ส ะพั ด หมุนเวียนอยู่ในชุมชน หากเปรียบเทียบระหว่างก่อนเข้าร่วมตำบลสุขภาวะและหลังเข้าร่วมจะพบว่าต่างกัน ลิบลับ ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะจริงๆ ชาวบ้านก็ไม่รวู้ า่ วิธกี ารทำงานร่วมกับองค์กรอย่าง อบต. จะทำอย่างไรดี เขาไม่รวู้ า่ จะเข้ามาได้อย่างไร พอเกิดการประชุม เกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ร่วมกัน ได้พูดได้คุยกัน จากนั้นเขาก็เข้ามาตลอด เกิดการเชื่อมโยงกันตลอด ทีนี้เราจะทำอะไร ก็งา่ ยแล้ว องค์กรอยากจะได้ความร่วมมือจากเขา เขาก็ยนิ ดีทจี่ ะตอบรับ ประสานความร่วมมือ กัน เชื่อมโยงไปถึงเรื่องความรักใคร่สามัคคี ความเอื้ออาทรในชุมชน ส่วนปัญหาที่เจอก็มีบ้างในเรื่องการจัดการ บางทีเราขาดความรู้เฉพาะด้าน เราก็เลย มาศึกษากันเอง จัดตั้งทีมนักวิชาการ ถอดบทเรียน เอาบทเรียนที่ได้มาศึกษา แล้วเอาชุมชนมา นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็ได้ข้อมูลออกมาว่า พวกเราจะแก้ปัญหาอย่างไร วันข้างหน้า จะเดินกันอย่างไร ซึ่งผมคิดว่า ความร่วมมือของชุมชนอยู่ที่ผู้บริหารมากกว่าว่าจะเปิดโอกาส ให้ชุมชนได้เข้ามาร่วมได้อย่างไร บางที่คณะผู้บริหารไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามาร่วม แต่ทนี่ เี่ ราจะกำหนดโมเดลออกมาชัดเจนเลยว่า เรามีฐานหลัก 5 ฐาน จะทำอะไรก็ตาม ฐานทัง้ 5 ก็จะมาร่วมกันทุกส่วนแล้วให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมจริงๆ สำหรับทีมงาน เจ้าหน้าที่นั้น เราก็บอกเขาว่า แม้การทำงานของ สสส. เป็นงานนอก ก็จริง แต่ทำแล้วเกิดประโยชน์กับชาวบ้าน พนักงาน ข้าราชการที่มาทำงานก็กินเงินเดือนภาษี ชาวบ้านอยู่แล้ว มันก็น่าจะมาทำร่วมกัน อย่าแบ่งแยกว่าอันนี้งาน สสส. อันนี้งานอะไร ให้คิด ว่าเป็นงานบริการชาวบ้านโดยภาพรวม ในฐานะผู้บริหารแล้ว ต้องทำได้ทุกอย่าง ข้าราชการไม่ควรจะแบ่งว่า งานนี้งาน สสส. จบแล้วก็จบกัน เพราะจริงๆ เป็นงานของตัวเองที่ต้องทำอยู่แล้ว และทุกฝ่ายก็แบ่งงานกัน ชัดเจน สำนักปลัด ส่วนโยธา การคลัง ส่วนศึกษา ส่วนเกษตร แบ่งกันชัดเจนอยู่แล้ว ทีนี้ การบูรณาการให้มีส่วนร่วมด้วยกัน ก็คือเอาทุกส่วนไปกำกับระบบ อย่างระบบเกษตรเพื่อ สุขภาวะ ก็เอาหัวหน้าส่วนเกษตรไปดูแล ระบบอาสาสมัครสาธารณสุขก็เอาสาธารณสุขไป ระบบสิ่งแวดล้อมก็เอาส่วนนั้นไปโดยตรง การคลังก็คุมเรื่องการเงิน กองทุนแต่ละหมู่บ้านที่มี อยูเ่ ยอะแยะมากมาย เงินแสนเงินล้าน ก็เอาการคลังไปมีสว่ นร่วม คิดในมุมกลับน่าจะเป็นผลงาน 70 | หวัง ตั้ง มั่น


ให้ตัวเองด้วยซ้ำไป เพราะเขาได้เอาไปเผยแพร่ ไม่ใช่ทำงานแต่ในเฉพาะส่วนของตัวเองเท่านั้น ส่วนในเรื่องการขยายเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ หากไม่กำหนดกรอบเครือข่ายก็เห็นว่าไม่ น่าจะมีปัญหา แต่ที่ต้องกำหนดกรอบว่า ต้องเป็นจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ เพราะบางครั้งการที่ ตำบลไหนจะมาเป็นลูกข่าย จะต้องมีความสนิทสนมกันในเบื้องต้น เพราะเป็นเรื่องของความ เชือ่ ถือ บางแห่งเราไม่คอ่ ยรูจ้ กั ไม่สนิทสนม เมือ่ เราไปชวน เขาก็ไม่เชือ่ มัน่ เรา แล้วเขาก็ไม่มาร่วม บางทีมาร่วมแล้วต้องถอดออกก็มี หรือมาร่วมแต่ไม่จบกระบวนการก็ม ี อย่างที่บอก ตำบลคอรุมเป็นตำบลที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งเรานำมาเป็นพื้นฐานของตำบลเลย จะทำอะไรก็แล้วแต่ เช่น ฐานที่มีอยู่ 30 ฐาน เราจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปแทรกทุกฐาน ส่วนใหญ่พื้นที่ในคอรุมจะทำเกษตร ทำนาข้าว ถึงร้อยละ 70 ทำนา 3 ครั้งต่อปี ฐานของชุมชนต่างๆ กลุ่มต่างๆ จึงมีความแข็งแกร่ง เป็น วิทยากรให้กับการศึกษาดูงานได้ โดยการศึกษาดูงานที่เราทำ ก็ใช้รูปแบบเดิมของ สสส. นี่แหละ คือมากินมานอนกับเรา เอางบประมาณมาให้เรา เมื่อมาดูงานที่เรา วิทยากรก็ได้

ค่าบรรยาย เงินก็ตกอยูท่ นี่ ี่ เพราะถ้าเราแข็งแกร่งจริง ทีอ่ นื่ เขาก็มาดูงานเยอะแน่นอน ถ้าไม่แข็ง เขาก็ไม่มาดูงาน เพราะฉะนั้นเราจะต้องต่อยอดความแข็งแกร่งของเราต่อไปเรื่อยๆ ผมเชื่อมั่นว่า ชาวบ้านของตำบลคอรุมมีความแข็งแกร่ง ใครจะมาเป็นผู้บริหารก็ได้ ไม่ใช่ผมเก่งคนเดียว หรือถ้าผมพ้นตำแหน่งไปก็จบ ผมไม่เชื่อแบบนั้น ผมเห็นว่าชาวบ้านเขา แข็งแกร่ง เขารู้จักคัดเลือกผู้นำ เขามีความรู้ไปไกลมากแล้ว ที่คอรุมเขาคุยกันว่า เขาจะเอาใคร มาเป็นผู้นำ ใครจะมาทำงานให้เกิดประโยชน์แก่แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบลซึ่งเป็นลูกข่าย เขารู้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมเป็นนายกฯ มาจนจะเข้า 5 สมัยนี้แล้วโดยไม่มีคู่แข่ง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 71


ประเจตน์ หมื่นพันธ์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

คนนาบัวเวลาทำอะไร ไม่ได้เริม่ ต้นจากผูน้ ำ พืน้ ฐานจริงๆ มาจากชาวบ้าน มาจากภูมปิ ญ ั ญาของพวกเขา


เวทีวิชาการชาวบ้าน เสาหลักชุมชน ตำบลนาบัวของเราขับเคลื่อนกันร่วมกับตำบลอื่นๆ ในลักษณะเครือข่ายช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน อย่างแม่ทากับเราก็เป็นเครือข่ายทีท่ ำงานเรือ่ งป่าอยูด่ ว้ ยกัน ทีนกี้ ารทำงานเครือข่าย นั้นมีอะไรก็แนะนำกันมา ทางนายกฯ ปากพูน ท่านก็แนะนำให้ผมรู้จักโครงการตำบลสุขภาวะ แนะให้ผมเขียนโครงการ ผมก็เขียนโครงการนำมาเสนอ สสส. จากนัน้ ก็ได้เข้าร่วมโครงการ สิง่ ที่ ได้เลยก็คือ จากที่ทำงานกันแบบสะเปะสะปะ พอเราได้รับการหนุนเสริมจากอาจารย์หลายๆ ท่าน ลงไปช่วยเช็คทุน เช็คข้อมูลในตำบลเรา เราจึงได้รู้วิธีการเช็คข้อมูล ก็เกิดเป็นระบบ ระเบียบมากขึ้นกว่าเดิม อย่างแหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่ง หรือกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เราก็สามารถ จัดกลุม่ เป็นระบบได้ ทีนเี้ ราก็ทำแบบไม่มวั่ แล้ว มีจดุ มุง่ หมาย มีความมุง่ หวังว่าจะเดินไปข้างหน้า อย่างไร ปัจจุบนั เราสามารถบอกได้เลยว่า แต่ละแหล่งสามารถทำงานเชือ่ มโยงกันได้ทกุ แหล่งเลย ต้องบอกว่า เป็นความโชคดีของนาบัวเราก็ว่าได้ ผมยกตัวอย่าง เช่น คนนาบัวมี

100 คน จะเป็นคนรากเหง้าเดียวกันหมด 80 คน คือเป็นเครือญาติกัน ที่ย้ายมาจากที่อื่นแทบ จะไม่มเี ลย เรามีบริบทของชุมชนดัง้ เดิมอยู่ เรียกได้วา่ ข้าวบ้านเหนือ เกลือบ้านใต้ ยังขอกินกัน ได้อยู่ เพราะเราพึ่งพากันตลอด ทำให้เวลาทำงานมีความสนิทสนมกัน เวลาเชิญประชุม ผมไม่ ต้องออกหนังสือเป็นทางการ แค่ยกหูโทรศัพท์คยุ กัน บอกกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ นก็มากันหมด บางครัง้ ถ้าเป็นทางการหน่อยก็อาจจะมีหนังสือตาม สิ่งนี้เป็นความโชคดีของนาบัวเรา

นาบัว


เราเป็นกันเอง เป็นเพื่อน เป็นพี่เป็นน้องกันจริงๆ โดยเฉพาะผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ บ้าน กำนัน เราแทบจะไม่แยกเลยว่า อันนี้ อบต. อันนี้ผู้ใหญ่บ้าน ขณะที่ตำบลอื่น เขาไปกัน แบบเส้นขนานก็มี เราพยายามรวมตัวกันให้เหมือนขนมเปียกปูน ผลจากการที่เราได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ทำให้พี่น้องในชุมชนของเรากระตือรือร้นมาก ณ ปัจจุบันพี่น้องจะถามตลอดว่า นายกฯ เมื่อไร ‘เพื่อน’ จะมา เพราะการมาเพื่อ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้กันแต่ละครั้งนั้น หนึ่ง ได้เพื่อนมานอนบ้านพัก ซึ่งบ้านพัก นี่เองเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุด มากินมานอน 4 คืน 5 วัน เขาได้อะไรเยอะ และยังมีการติดต่อ กันตลอด พอเพื่อนกลับไป เขาและเราจะไม่ทิ้งกัน จะติดต่อกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ไถ่ถามกัน เกี่ยวข้าวหรือยัง น้ำท่วมหรือยัง บางครั้งเพื่อนมาก็เอาของมาฝากกัน นี่คือความเปลี่ยนแปลง เรามีเพื่อนเยอะขึ้น ผมไปไหนก็มีเพื่อนเยอะขึ้น จากที่ไม่รู้จักคนใต้ เราก็รู้จักกัน ทั้งเหนือ ทั้ง อีสาน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อนมาคือมาแชร์ความคิดกัน พืน้ ทีน่ าบัว ทุนของเราเป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เพราะบริบทของพืน้ ที่ นาบัว 15 หมู่บ้านล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งหมด เรามีป่าไม้ ซึ่งผมใช้คำว่า นี่คือซูเปอร์มาร์เก็ต ของคนนาบัวเรา นี่คือทุนของเรา อย่างในฤดูนี้อีกสักพักก็จะมีไข่มดแดง ผักหวาน หน่อไม้ คนนาบัวบางคน ถ้าขยันแทบจะไม่ได้ใช้เงินเลย หากินได้ มีหน่อไม้ มีปลา มีผกั หวาน ผมเคยพูด ว่า ถ้าน้ำท่วมกรุงเทพฯ สัก 3 ปี คนนาบัวไม่อดหรอกครับ เพราะคนนาบัวทำนาเป็นหลัก

ทำไว้กิน แล้วก็เก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ เหลือถึงขาย ทุกหลังคาเรือนจะมียุ้งข้าวของตัวเอง และ ข้าวของนาบัวจะปลอดสาร อย่างมากก็ปุ๋ยอินทรีย์ครึ่งหนึ่งกับปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่ง เพราะเรามีกลุ่ม ทำปุ๋ย มีแหล่งปุ๋ย ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอัดเม็ด ส่วนการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงของเราไม่มีเลย ตำบลด้านล่างลงไปเขาฉีดอะไรกันก็ไม่รู้ ทำนาเองแล้วแต่ก็ยังต้องซื้อข้าวกินด้วย แต่นาบัวเรา ไม่ใช่ เราปลูกเองกินเอง ที่มาของชื่อ ‘นาบัว’ นั้น บางคนนึกว่าเราทำนาบัว แต่จริงๆ เราก็ทำนาข้าวนี่แหละ แต่บัวที่ว่าคือ บัวผุด ซึ่งออกดอกในช่วงฤดูทำนา มันจะมีดอกสีม่วงๆ เล็กๆ ผุดขึ้นเอง ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ว่า คนนาบัวทำนาปลอดสารเคมี เพราะถ้าพ่นสารเคมีลงไป รากบัวจะตาย การมี บัวผุดขึ้นในนา แสดงให้เห็นว่า เราทำนากันแบบปลอดสารเคมีจริงๆ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 นาบัวได้ดำเนินโครงการฯ เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่า พวกเราเก่งนะ แต่เป็นเหมือนกับแก้วน้ำที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน เพราะเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อน ถามต่อไปเลยว่า ถ้า สสส.หมดโครงการ นาบัวสามารถเดินต่อไปได้ไหม ตอบได้เลย 74 | หวัง ตั้ง มั่น


ว่า เดินได้สบาย เพราะนาบัวเราทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว เพียงแต่อดีตมันไม่เป็นระเบียบ ระบบ มันไม่รู้จัดตัวเองชัดเจน แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว เรามีจุดมุ่งหมาย มีเป้า คือถ้าให้ประเมิน เรื่องการจัดการตัวเอง การพึ่งตัวเองของชาวบ้าน ผมพอใจเกินครึ่งอยู่แล้ว ทุกวันนี้นาบัวรับ เพื่อนแทบจะไม่เว้นวัน นอกเครือข่ายก็มากันมาก บางครั้งพวกเรามีงานยังต้องพักไว้ก่อน ส่วนปัญหาอุปสรรคนัน้ ผมบอกตรงๆ เลยว่า นายกฯ อบต. เกือบทุกแห่ง เกือบทุกคน พอเข้ามาทำงานปั๊บ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานคืองานอันดับแรก งบประมาณไม่คิดหรอกว่าจะเอา มาบริหารจัดการเรื่อง ‘คน’ อย่างไร แต่พอเรามาทำงานกับ สสส. ทำให้เราต้องเปลี่ยนเลย ถามว่าการเปลี่ยนความคิดของผู้บริหารและคนในชุมชนยากไหม ผมว่ายากนะกว่าจะเปลี่ยน แนวคิดคนได้ เช่น 100 คน คนหัวไวใจเร็วจะมีสัก 20 คนเท่านั้น อีก 60 คนนั้น จะขอดูท่าที ก่อนว่าดีไหม ส่วนอีก 20 คน พูดอย่างไรเขาก็ไม่เอากับเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ที่นาบัวนี่ร้อยละ 80 พี่น้องของเรามีความสุขแน่นอน เพราะการทำงาน ของเรากระจายผลไปทุกหมู่บ้าน ยกเว้นหมู่เดียว อันนั้นก็ต้องบอกว่าลำบากหน่อยเพราะเขา เป็นม้ง คือทัง้ 14 หมู่นจี้ ะมีบ้านพักโฮมสเตย์ทุกหมู่ การทำกับข้าว เราก็เวียนกันทุกหมู่ เรื่อง แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในตำบลนาบัวที่สามารถจะเป็นวิทยากรถ่ายทอดให้เพื่อนได้เราก็มีถึง 39 แหล่ง จากปีแรก 35 แหล่ง ปีนี้เราพัฒนาขึ้นอีก 4 แหล่ง และเราจะพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 75


หยุดนิ่ง วิทยากรแหล่งเรียนรู้ เมื่อก่อนมีแค่แหล่งละ 2 คน แต่ตอนนี้ก็เพิ่มเป็น 3-4 คน ชาวบ้านที่พูดไม่เป็นก็พูดได้คล่องแคล่วขึ้น ที่จริงเมื่อก่อนนั้นเราก็เคยมีชาวต่างชาติมาดูงานในตำบลนาบัว มาดูวิถีชีวิตของเรา มานอนพัก มาก่อนที่เราจะทำงานกับ สสส. ผมเองก็บอกพี่น้องเราหลายครั้งแล้วว่า การ ต้อนรับเพื่อน ถ้าทำให้เขาประทับใจเดี๋ยวเขาก็มาอีก เพียงแต่ว่าเราจะรับเขาไหวไหม สิง่ เหล่านี้ นายกฯ คนเดียวทำไม่ได้หรอกครับ ต้องหลายคนหลายฝ่ายช่วยกัน คนนาบัว เวลาทำอะไรไม่ได้เริม่ ต้นจากผูน้ ำนะ พืน้ ฐานจริงๆ มาจากชาวบ้านด้วยซ้ำไป มาจากภูมปิ ญ ั ญา ของพวกเขา อาจแตกต่างจากตำบลอื่นที่ต้องมีผู้นำชักนำพาให้ทำ แม้แต่เรื่องกู้ชีพกู้ภัยของ นาบัว ชาวบ้านก็เป็นฝ่ายซือ้ รถ EMS ให้ อบต.ใช้ ชาวบ้านลงขันกันซือ้ ให้เลย อย่างนีม้ ที ไี่ หนล่ะ คือ อบต.เราติดขัดเรื่องงบประมาณ มีอยู่ปีหนึ่งชาวบ้านเสนอให้นายกฯ ซื้อรถ EMS หน่อย เพราะไกลจากโรงพยาบาลประมาณ 10 กิโลเมตร นายกฯ บอกโอเค แต่พอตัง้ งบฯ รถคันละเป็น ล้านเลย รอไปก็คงไม่ไหว ชาวบ้านเลยมาคุยกัน เขาไปถามว่า ตำบลเราใครจนทีส่ ดุ จะให้เท่าไหร่ เขาคุยกันทุกหมู่บ้านนะ เอ้า ก็ให้ 100 บาทก็แล้วกัน ใครไม่มีเงินก็เอาข้าวเปลือกมา ปรากฏ ว่าแค่ 1-2 วัน เขารวมเงินกันได้แล้ว แล้วก็ซื้อรถมือสอง ซึ่งยังใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ซื้อแล้วเขาก็ โอนให้ อบต. ผมก็ตั้งคณะทำงาน มีคนขับรถ ใครเจ็บใครเป็นไข้ฉุกเฉินก็รับส่งกันได้ เพราะ อบต.กับ รพ.สต.อยู่ตรงข้ามกัน เขามาบอกนายกฯ ส่งคนหน่อย คนขับรถก็ไปได้เลย เพื่อน ที่มาเรียนรู้กับเรา พอเห็นตัวอย่างจากเรา กลับไปเขาก็รวมเงินกันซื้อรถได้เหมือนกัน ได้เยอะ กว่านาบัวด้วยซ้ำไป แต่เรื่องที่เด่นจริงๆ ของนาบัว คือ เวทีวิชาการชาวบ้าน เพราะเป็นเวทีที่ชาวบ้านจัด กันเอง จัดมาปีนี้เป็นปีที่ 16 แล้ว คือเวทีนี้ ชาวบ้านจะเป็นคนนำเสนอ ทุกหมู่บ้านต้องนำ เสนอว่า ปีนเี้ ราจะขับเคลือ่ นนโยบายสาธารณะเรือ่ งอะไร เขามีปลี ะเรือ่ งมาสรุปกัน อย่างนายกฯ นายอำเภอ จะขึ้นไปพูดบนเวทีต้องขออนุญาตเขาก่อนนะ ถ้าเขาไม่อนุญาต เราก็ขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นเวทีของเขา ทางเราก็ตั้งงบฯ สนับสนุนให้เขา แต่ก็เพิ่งมีมาไม่กี่ปีนี่เอง อย่างผมต้อง พาทีมงานไป พาเลขาฯ ไปจดเลยนะว่า ชาวบ้านเขาต้องการอะไร เขาจะประชุมกันทั้ง 15 หมู่บ้านคล้ายการประชาคม นำเสนอหมู่บ้านละเรื่อง คนเสนอไม่ซ้ำกัน อย่างปีที่แล้ว เขาเสนอ ร่วมกันว่า เขาจะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ห้ามล่าสัตว์ ก็จะทำข้อตกลงกันทั้งตำบล แล้วเราก็ ประกาศ ให้กำนันออกเป็นระเบียบว่า ห้ามล่าสัตว์ป่านะ สภาตำบลก็ต้องรับเพราะเป็นของ ชาวบ้าน เพราะถ้าไม่รับก็โดนสิครับ นี่เรื่องจริงนะ มีอยู่ปีหนึ่ง อดีตนายกฯ คนหนึ่งไปเถียงกับ ชาวบ้านในเวทีนี้ ผลคือสอบตกเลย 76 | หวัง ตั้ง มั่น


มานพ ยะเขียว

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

การพัฒนา เพื่อเสริมศักยภาพชุมชน คือกระบวนการสร้างพลัง ให้กับประชาชน ให้ชุมชน ในตำบลของเรามีความสุข และแน่นอนเรา ก็ย่อมมีความสุขด้วย

แม่ปะ


กระบวนการหลากหลาย สร้างแกนนำ สร้างเครือข่าย แม่ปะเป็นตำบลที่มีความสัมพันธ์ในสายเครือญาติและชาติพันธุ์วรรณาตั้งแต่เริ่มมี ตำบลแม่ปะ การใช้ชีวิตของชาวตำบลแม่ปะจึงอยู่กันแบบพี่น้องและให้ความเคารพ ให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน และจากที่มีโอกาสได้รู้จักกับ ทวีป จูมั่น อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวทางการทำงานกับตำบลหัวไผ่ ซึ่งเป็น ตำบลสุขภาวะในฐานะตำบลแม่ข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต่อมาตำบลแม่ปะจึงได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับตำบลหัวไผ่ มองเห็นถึงประโยชน์ของการเป็นตำบลสุขภาวะซึ่งชาวตำบลแม่ปะจะได้รับประโยชน์จน สามารถถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับตำบลอื่นได้อีกด้วย นั่นเป็นเหตุผลที่ผมอยากขับเคลื่อน ตำบลแม่ปะให้เป็นตำบลต้นแบบตำบลสุขภาวะ หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะยังได้มีโอกาสไปศึกษา ดูงานจากหลายที่ จึงได้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตำบล เรามองเห็นศักยภาพของตัวเองว่า การพั ฒ นาเพื่ อ เสริ ม ศั ก ยภาพชุ ม ชนคื อ กระบวนการสร้ า งพลั ง ให้ กั บ ประชาชน ให้ ชุ ม ชน ในตำบลของเรามีความสุขและแน่นอนเราก็ย่อมมีความสุขด้วย รวมถึงได้รับความร่วมมือจาก แกนนำหรือคนในชุมชน เพื่อนำตำบลแม่ปะไปสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า ‘ตำบลที่มีสาธารณูปโภค พอเพียง ประชาชนมีคุณภาพและคุณธรรม’ ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ มีกระบวนการพัฒนาชุมชนที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลให้เกิดกลุ่มเครือข่าย แกนนำ และกิจกรรมจนสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ โดย ตอนนี้ที่ตำบลแม่ปะ มี 6 ระบบ 21 แหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้ลูกข่ายและคนที่สนใจเข้ามา ศึกษาเรียนรู้ได้

78 | หวัง ตั้ง มั่น


เมื่อตำบลแม่ปะมีทุนทางสังคมที่เข้มแข็งในทุกด้านแล้ว ในอนาคตผมก็หวังว่า จะเกิด การพัฒนาชุมชนที่ชาวบ้านสามารถจัดการตนเองได้ สามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นประโยชน์แบบต่อยอดกับชุมชนเครือข่ายอื่นและกับบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษาดูงาน พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาแหล่งเรียนรูเ้ พิม่ ขึน้ จากเดิม มีทนุ สนับสนุนมาส่งเสริมมากยิง่ ขึน้ รวมถึง การประสานงานเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และหน่วยงาน องค์กรภายนอกมาหนุนเสริมเพื่อร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ต่อไป

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 79


สุชาติ แดงทองดี

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

แค่ไปซื้อผงสะเดา เพื่อเอามาใช้แทนสารเคมี ผมขับรถไปซื้อให้เขาเลย ซือ้ กิโลกรัมเดียว 80 บาท แต่ค่าน้ำมันไม่รู้เท่าไร ซึ่งไม่เป็นไร สำคัญก็คือ บัดนี้เขามาทางเราแล้ว

วัง


ให้เขาได้คิด ทำให้เขาได้เลือก เราทำงานพัฒนากันมาตลอด แต่คุณภาพชีวิตของเราก็ยังไม่ดีขึ้น จึงมาดูว่ามันมาจาก สาเหตุอะไร อย่างเรื่องสุขภาพ เราหาสาเหตุโดยการเจาะเลือด คือเวลาประชุมเพื่อตรวจ สุขภาพ เราจะไม่บอกก่อนว่า เราจะเจาะเลือด เพราะถ้าบอกแล้วเขาจะหนี พอเข้าห้องประชุม ปั๊บ ปิดห้องล็อคเลย เพื่อให้ผลตรวจเลือดของคนในชุมชนสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด

พอผลตรวจเลือดออกมา ปรากฏว่า กว่าร้อยละ 60 อยู่ในขั้นเสี่ยง เลยมาคิดว่า เราจะทำ อย่างไรกับคนของเราดี จะทำอย่างไรให้โรคภัยไข้เจ็บมันน้อยลง เพราะที่เราเห็น คือ รพ.สต.มี คนไข้เบาหวาน ความดันมากมายเลย ซึ่งแปลว่าสุขภาพของคนในชุมชนแย่ และรู้สึกจะมาก กว่าใครในอำเภอ เป็นกันมากอยู่ตำบลเดียวเลย เราจึงตั้งเป้าหมายว่า จะต้องทำให้โรคพวกนี้ ลดลง และการจะทำให้ได้กต็ อ้ งได้รบั ความร่วมมือของชาวบ้านด้วย ปกติชาวบ้านนัน้ เขาไม่ยอม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมง่ายๆ เราก็พยายามตลอดเวลา ไม่ได้ทั้งหมดก็ขอส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็ทำ มาตลอด ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง แล้วในที่สุดก็มีโครงการตำบลสุขภาวะเข้ามา พอตำบลสุขภาวะเข้ามาช่วย และเป็นทางเดียวกับที่เราทำอยู่ คือทำในเรื่องที่เราเน้น มาตลอด เช่น เรื่องอาหาร เรื่องเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย มันก็เข้ากับจุดประสงค์ของ เราพอดี เราก็มาไล่ดูว่า สารเคมีที่เขาเคยใช้อยู่และเป็นอันตราย เราจะเอาตัวไหนมาแทนและ ทำอย่างไร แต่ก็เข้าใจอยู่ว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นยากมาก เลยต้องหาตัวอย่าง

งหลุม


หาวิธีการหลายวิธี มีทางไหนทำได้บ้าง สิ่งเหล่านี้โครงการสุขภาวะตำบลและเครือข่ายใน โครงการช่วยได้มาก ข้อดีของการทำงานโครงการตำบลสุขภาวะ อยู่ตรงที่ การดำเนินโครงการที่ทำได้ สะดวก เพราะไม่เป็นระบบราชการ ความคล่องตัวจึงมีมาก และได้รับความคิดใหม่ๆ จากการ ที่เรามีโอกาสพบปะกับตำบลต่างๆ ที่มีเจตนาเดียวกันและมาเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน เราได้เพื่อน เยอะ ถ้าเรารู้จักแบ่งเวลาราชการกับงานนี้ หากเราแบ่งได้ ก็จะไม่มีผลเสีย ถ้าแบ่งไม่ได้ก็เป็น อีกอย่าง โครงการนี้ว่าไปก็ต้องทุ่มเทถึงจะเห็นผล การทำงานตำบลสุขภาวะนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านก่อน เพราะชาวบ้าน จะถามว่า ทำแล้วเขาจะได้อะไร เพราะที่ผ่านมา เขาเคยได้แบบตรงๆ เลย จึงไม่แปลกที่เขาจะ ถามว่า โครงการนีท้ ำแล้วเขาจะได้อะไรบ้าง เราก็ตอ้ งชีแ้ จงให้เขาเข้าใจว่า เขาจะได้สขุ ภาพทีด่ ขี นึ้ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ มาเป็นสารทดแทน เรามีสารทดแทนให้ นะ หรือมีอยู่ตรงไหน ทำอย่างไร ให้เขาได้มีส่วนเรียนรู้ร่วมกับเรา ให้เขาได้คิด ให้เขาได้เลือก ซึ่งมันจะเป็นผลดีกับเขา ที่จริงคนใช้สารเคมีนี่เขารู้นะ เขาบอกเราว่า การใช้สารเคมี หนึ่ง คืออันตราย คนใช้ โดนก่อน คนบริโภคโดนทีหลัง แล้วราคาก็แพง เคยมีชาวบ้านมาบอกด้วยว่า เขาใช้สารเคมี แล้วเขาปวดหัว ต่อมาเราให้เขาใช้สารสกัดที่เราทำเอง พอเขาใช้แล้วไม่ปวดหัว อันนี้แสดงว่า เขาลอง เขานึกถึงสุขภาพ แต่ในเวลาเดียวกัน เราก็ต้องอำนวยความสะดวกกับเขาด้วยว่า

ถ้าเขาอยากจะได้สารตัวนี้ เขาจะเอาจากตรงไหน เราก็ตอ้ งเอือ้ ให้กบั เขา บริการเขาหน่อย ไม่งนั้ ใครจะมากับเราละ เชื่อไหม แค่ไปซื้อผงสะเดาให้เขา 1 กิโลกรัมที่จังหวัด ผมขับรถไปซื้อให้เขา เลย เพื่อเอามาใช้แทนสารเคมี กิโลกรัมละ 80 บาท แต่ค่าน้ำมันไม่รู้เท่าไร ซึ่งไม่เป็นไร สำคัญ ก็คือ บัดนี้เขามาทางเราแล้ว จากที่เราได้พยายามทำมา ตอนนี้คนก็หันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติมากขึ้น พอมัน แตกตัวต่อเนื่องแล้ว ผลปรากฏว่าในหมู่บ้าน ตอนนี้เขาจะมีข้อต่อรองแล้ว เช่น ถ้าคุณไม่ใช้ สารสกัดที่ว่านี้ เขาจะไม่รับจ้างฉีดยาให้ คือกลัวตายกันขึ้นมาแล้ว เขามีทางเลือก เขาก็เกิด ความรักในสุขภาพของตัวเองได้ เจ้าของนาที่จ้างคนฉีดก็ต้องเอาสารตัวนี้ไปใช้ ไอ้ตัวนี้จะใช้ ทดแทนสารเคมี และก็จะใช้กันหมดเลย ทุกคนก็สบายใจ มีความสุข เรื่องการทำงานต่อยอด หรือการพัฒนาต่อยอด เราทำแน่นอน คือเราทำเรื่องเกษตร ยัง่ ยืนมาตลอด ตอนนี้ มีอะไรใหม่ๆ ตรงไหน เราก็จะไปดูกอ่ นว่า มีประโยชน์ไหม พอทำได้ไหม 82 | หวัง ตั้ง มั่น


เช่น เราจะทำแคร่ปลูกผัก อันนี้อยู่ในระยะการทดลองทำ คือเราไม่ใช้ไฮโดรโปนิกส์ เพราะมัน มีกระบวนการทางเทคนิคค่อนข้างมาก เรื่องปลูกผักบนแคร่นี้ เกิดจากการที่เมื่อก่อน เขาทำห้างนาอยู่กลางนา เอาดินมา เอากะละมังมาปลูกผักเอาไว้กนิ กัน เขาก็ผสมดินทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงเพือ่ จะปลูกผักด้วย อย่างสมัยก่อน ล้างถ้วยล้างชาม ก็สาดไป ล้างปลาก็สาดไป ก็เป็นปุ๋ยทั้งนั้น แต่ตอนนี้มันไม่มีห้างนาแบบเมื่อ ก่อน เราก็อาจจะใช้อุปกรณ์อะไรที่ผุพังมาใส่ผสมดินแล้วก็ปลูก ส่วนเรื่องการหาลูกข่าย ตอนแรกเราพูดคุยกันเรื่องการจัดการอบรม คุยถึงผลดีของ การทำโครงการ จนได้เพื่อนที่มีความคิดเดียวกัน ก็ชี้แจงให้ฟังเรื่องงบประมาณข้างนอกเข้ามา ทำให้ทำงานได้คล่องขึ้น แต่ก็มีบ้างนะ มีบางตำบลที่เราชวนแล้วเขาไม่มาก็มี คือเขาเห็นพวก เราทำงานกันอยู่แล้ว อาจจะสงสัยว่า ทำงานอะไรกันไม่หยุดไม่หย่อนเลยตำบลนี้ ตำบลอื่นเขา อยู่เฉยๆ ก็ได้เงินเดือนเหมือนกัน เช้ามาก็มานั่งคุยกัน หมดเวลาแล้ว ไม่มีงานอะไรแล้ว แต่มัน ไม่ได้ใจนะ แล้วเรามาทำงานเพื่ออะไร ก็เพื่อชาวบ้านในตำบล ชาวบ้านในทุกชุมชนนั้นมีอะไร ดีๆ อยู่นะ อย่างที่เราไปจันทบุรีครั้งแรก พักคืนเดียว เราก็ได้วิชามาแล้ว ทำให้เราคิดได้ แต่คิด ได้แล้วทำอย่างไรให้คนอื่นคิดตาม ที่ผ่านมาเราก็พยายามจะดึงให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วน ร่วมกับการทำงาน แล้วตอนนี้ก็มีพวกที่มีแนวความคิด มีฝีมือทางด้านนี้เข้ามาช่วยทำงาน ต่อมาเราไปคุยกับทางผู้บริหารโรงเรียน เรื่องขอเด็กมาเข้าร่วมกิจกรรม ผู้บริหารเขาก็ยังไม่รู้ว่า เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 83


มันเป็นอย่างไร แต่เขาก็ให้เวลาสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมง พองานออกมาปั๊บ ก็มีอาสาสมัครมาเพิ่ม อีกเยอะเลย ผมคิดว่า งานที่เราทำมันจะไม่หยุดอยู่กับที่แล้ว เพราะมันเดินหน้าไปแล้ว เพียงแต่ เราต้องทำให้มันเข้ากับปัจจุบันเสมอ อย่างตอนนี้มีเรื่องอาเซียน เราก็ต้องทำงานเชิงรุก งานที่ ทำตามปกติก็ทำกันไป การมาทำงานตำบลสุขภาวะนั้น เราต้องคุยได้ว่า เราทำ คือคุยกันเองว่า ตำบลนี้ทำ อะไร ตำบลนั้นทำอะไร ที่ตำบลนี้เขาทำดีนะ เราต้องคุยได้ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราก็คุยกับ คนอื่นเขาไม่ได้ ที่ผมรู้สึกดีในการทำงานตำบลสุขภาพ คือความที่เพื่อนๆ ในตำบลสุขภาวะไม่หวง วิชา เราไปถามอะไร เขาจะบอกหมดเลย มีเรื่องดีๆ ในพื้นที่เขาก็จะมาบอก อย่างนายกฯ คอรุม เจอกันท่านจะคุยให้ฟังตลอดเรื่องข้าว เรื่องอะไรต่างๆ ที่มีประโยชน์ คนเบาหวานกิน ข้าวพันธุ์นี้ดีนะ เราก็ไปดูที่โรงพยาบาลว่า จะทำข้าวตัวนี้อย่างไรเพื่อมอบให้โรงพยาบาล พวก ที่รักสุขภาพก็คงจะซื้อไปบริโภค เราเลยจะไปปลูกข้าว ปลูกผักปลอดสารกันที่โรงพยาบาล ตอนนี้ก็คุยกับ อสม.แล้ว ถ้าทำก็เอาความคิดนี้ไปขายเขา เขาซึ่งทำงานทางด้านนี้อยู่ก็โอเคกัน น้ำทุ่งลงก็ว่าจะไปทำที่โรงพยาบาล ก็ต้องไปดูว่ามีน้ำไหม คือ 3-4 เดือนที่เราต้องดูแลกัน เพราะโรงพยาบาลเขามีพื้นที่ๆ เขายังไม่ได้ทำอะไร ก็คุยกับทางกรรมการโรงพยาบาลยุพราช แล้ว เขาก็สนใจ เรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมนั้น มันเป็นกุศโลบายนะ ทำอย่างไรให้เขามองเห็น ทำ อย่างไรให้เขาได้ประโยชน์ อย่างเช่นที่ไปคุยกับโรงเรียน เราไม่เคยพูดถึงหน่อไม้รวกเลย แต่ กรรมการเขาพูดนะ ทำไมคุณไม่มองหน่อไม้ของใกล้ตัวมาทำเป็นอาหาร เขาก็เริ่มมองเห็น ทีนี้ ก็มีแนวคิดว่าจะปลูกหน่อไม้ในโรงเรียนเยอะแยะเลย ก็จะทำหน่อไม้อัด หน่อไม้ต้ม หน่อไม้ แห้ง สุดท้ายคือ ข้าวเกรียบหน่อไม้ที่เราคิดไว้ ตอนนี้มี 4 อย่างแล้ว ได้สูตรมาแล้ว เป็น เอกลักษณ์ ทำออกขายได้หมด ถ้าเราดูแลมันได้ทุกปี รดน้ำใส่ปุ๋ย เป็นของใกล้ตัวของคน ในพื้นที่ สิ่งนี้เราเก็บเกี่ยวกับมาจากเพื่อน จากการมีส่วนร่วมกันทั้งนั้น พอเราเห็นแนวทางแล้ว เราก็จะช่วยกันทำ

84 | หวัง ตั้ง มั่น


ธาดา อำพิน

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยเก่า อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

จากที่ตัวใครตัวมัน พอมีคนเข้าไปนอนไปกิน 4 คืน 5 วัน บ้านที่เขาทำเป็นโฮมสเตย์ ก็ต้องพัฒนา ตื่นตัว ที่จะดูแลบ้าน ดูเรื่องความสงบเรียบร้อย ปัญหาอย่างเด็กแว้น ก็หายไป

อุทยั เก่า


เริ่มที่คนหัวไว ใจอาสา ผมเชื่อมั่นว่า โครงการตำบลสุขภาวะเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นของเราได้ จาก ที่เราเคยทำแบบเดิมๆ มานาน พอตั้งเป้าเป็นตำบลสุขภาวะหรือตำบลน่าอยู่ ทำให้ชุมชน ลุกขึ้นมาคิดเองทำเอง และก็เป็นเจ้าของชุมชนเอง เกิดความภาคภูมิใจ ระบบต่างๆ ที่ทาง สสส. ได้ให้ความรู้กับเราไว้ นักวิชาการของเราก็ดำเนินการสานต่อ ทุกคนลุกขึ้นมาทำงานเพื่อ ชุมชนของตัวเอง ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เราสามารถพึ่งตนเองได้ แล้วยังสามารถพัฒนา ต่อยอดได้ตลอดเวลา อุทยั เก่าเป็นตำบลเก่าแก่ เป็นเมืองเก่าตัง้ แต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว วัฒนธรรมแบบดัง้ เดิม ของคนในพื้นที่จึงยังมีอยู่ ตำบลจะเด่นในเรื่องของคน เราพัฒนาคน เราสร้างคนต้นแบบ หรือ สร้างตัวผู้นำเป็นรุ่นๆ ตั้งแต่รุ่นเล็ก ตั้งแต่เยาวชนขึ้นมา ที่เราเด่นเรื่องนี้ก็เป็นเพราะเราอยู่กัน แบบพีแ่ บบน้อง การบริหารจัดการไม่วา่ จะเป็นท้องที่ ท้องถิน่ เราจะขับเคลือ่ นจับมือไปด้วยกัน ถึงมันจะมีปัญหาก็จะช่วยแก้ไขกัน การแข่งขันในการเลือกตั้งแม้จะมี แต่เราก็มีกติกาซึ่งเป็น วัฒนธรรมของเราคือเมื่อได้มาทำงานแล้ว เราต้องไปด้วยกัน จับมือไปด้วยกัน พัฒนาชุมชน ด้วยกัน เป้าหมายของเราคือชุมชน ประชาชน ทำอย่างไรให้อยู่ดีมีสุข การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ถึงมันจะมีการแข่งขันกันบ้างก็กลายเป็นเรื่องเล็กน้อย แม้กระทั่ง สภา อบต.ของเราก็ยังไม่มี ฝ่ายค้าน เราจะใช้เสียงข้างมากในการทำข้อบัญญัติ เราจะไม่เอาแต่ อบต.มาทำข้อบัญญติ อย่างเดียว กำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ทัง้ ปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียน วัด ทุกคนมีสทิ ธิ ประธานกลุม่ ต่างๆ มีสิทธิเสนอข้อบัญญัติที่จะพัฒนาตำบลของเรา เวลางานออกมา ทุกคนจึงรู้สึกเป็นเจ้าของหมด แน่นอนว่า ปัญหาและอุปสรรคนั้นมีอยู่ในทุกเรื่อง เรื่องคน เรื่องทรัพยากร เรื่อง วิถีการผลิต ทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่เราก็เอาปัญหามาคุยกันตลอด แม้แต่ปัญหา ข้าราชการในตำบล ถ้าใครจะย้ายเข้ามาอยู่ในองค์กรหรือในตำบลของเรา เราจะต้องคุยกัน ก่อนว่า คุณจะอยู่ได้ไหม ในวิถีชีวิตของคนอุทัยเก่า วัฒนธรรมของเราที่เป็นกันมานาน อยู่กัน มาตัง้ แต่สมัยเป็นสภาตำบลมาจนเปลีย่ นเป็น อบต. ถ้าอยูไ่ ด้กม็ าอยู่ ถ้าคิดว่าอยูไ่ ม่ได้กไ็ ม่ตอ้ งมา 86 | หวัง ตั้ง มั่น


ตำบลเราไม่มีการเก็บค่าหัว แต่ถ้าคุณย้ายมา คุณต้องทำงาน เราจะพูดเสมอว่า คนมาอยู่ในที่นี้ คุณจะต้องทำงานให้คุ้มกับเงินเดือนของคุณ เงินเดือนของคนอุทัยเก่า ภาษีของชาวบ้าน คุณต้องทำให้คุ้ม ในด้านการทำงานเครือข่าย อุทัยเก่าสามารถเอาเพื่อนมาร่วมทำงานแล้วเราสร้าง เพื่อนขึ้นไปเป็นเครือข่ายระดับประเทศได้ อย่างตัวผมเองทำงานภาคประชาชนมานาน จะรู้ว่า เวลาเราไปเวทีสาธารณะ เราจะเจอบรรดานายกฯ พวกผู้บริหารท้องถิ่นที่เขาใส่ใจเรื่องท้องถิ่น เรือ่ งชุมชนน่าอยู่ เขาจะต้องมาเวทีอย่างนี้ แต่นายกฯ ทีเ่ ขาไม่มา โดยมากจะเป็นพวกผูร้ บั เหมา พวกนี้ไม่มาหรอก เสียเวลา ถึงเวลาเลือกตั้งเขาก็ซื้อเสียงกันเข้ามา เขาไม่สน การทำเครือข่าย ของเราหรือเวลาจัดเวทีต่างๆ ก็จะเลือกนายกฯ ที่เขามีจิตสาธารณะ เราก็จะรู้จัก คุยกัน

โทรหากัน เราก็จะโทรหาเพื่อนกลุ่มนี้ก่อน พอเราได้คนกลุ่มนี้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ มาเรียน กระบวนการคิด กระบวนการเชื่อมโยงต่างๆ เขาก็ได้แนวความคิดของเราไปแล้วก็ไปต่อยอด ของเขาเองจนสามารถขึ้นไประดับประเทศได้ คือโครงการนี้ เงื่อนไขความสำเร็จประการสำคัญ นั้นอยู่ที่ว่า ตำบลไหนมีผู้บริหารท้องที่กับท้องถิ่น ชุมชน ข้าราชการ ภาคีหลักทั้งสี่ จับมือกัน ทำงานด้วยกัน หากตำบลนี้เขาพร้อม เขาก็ยกระดับได้ ถ้าผู้บริหารเขาไม่มีใจ เราไปเติมอย่างไร ใส่ อ ย่ า งไร เขาก็ ไ ม่ เ อากั บ เรา เราก็ เ ห็ น แล้ ว ว่ า เขายั ง ไปไม่ ไ ด้ แต่ เราก็ พ ยายามให้ เขา เปลี่ยนแปลง

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 87


ตัวผมเองคาดหวังมากกับการขับเคลื่อนโครงการตำบลน่าอยู่ ตำบลที่ยกระดับเป็น ศูนย์เรียนรู้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกคนมีใจที่จะขับเคลื่อนท้องถิ่นชุมชนไปสู่เป้าหมายของตนเอง ด้วยกันทั้งนั้น และคิดว่าโครงการนี้ยังไม่หยุดแค่นี้ คงต้องต่อยอดทำเรื่องอื่นๆ อีก และวันข้าง หน้าประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอน หากทุกจังหวัดเพียงแค่จังหวัดละ 1-2 ตำบล สามารถทำตามเป้าหมายได้ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมองเห็นแล้วว่า ตำบลที่ยังไม่ขึ้นเป็นตำบลสุขภาวะ เขาเริ่มคิด เริ่มเห็นแล้ว เริ่มเห็นตำบลที่ประสบความสำเร็จ เห็นตำบลที่พัฒนาตัวเองจนกลาย เป็ น ตำบลน่ า อยู่ เพราะถ้ า เรามุ่ ง แต่ คิ ด แบบเดิ ม ๆ มั น ไม่ ยั่ ง ยื น แต่ ถ้ า เป็ น ตำบลสุ ข ภาวะ ชาวบ้านมีแต่ได้ประโยชน์ ชาวบ้านมีรายได้ และงบประมาณจาก สสส. ที่มาสนับสนุน ไปที่ ชุมชนหมด ชาวบ้านบางคนลุกขึ้นมาเป็นวิทยากร ทำโน่นทำนี่ นอกจากอาชีพหลัก เขาก็มี อาชีพรอง แล้วยังเกิดความรักความสามัคคี ในชุมชน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เกิดความ เปลี่ยนแปลงมากมาย ชุมชนเปลี่ยนไปเลย จากที่อยู่กันอย่างแยกย้าย ตัวใครตัวมัน แต่เดี๋ยวนี้มีคนเข้าไป นอนไปกิน 4 คืน 5 วัน บ้านที่เขาทำเป็นโฮมสเตย์ก็ต้องพัฒนาไปด้วย มีความตื่นตัวว่า เราจะ ต้องดูแลบ้าน ดูแลความสะอาด ดูเรื่องความสงบเรียบร้อย ปัญหาอย่างเด็กแว้นก็หายไปก็ เพราะโครงการนี้ ชาวบ้าน หรือเด็กๆ ก็ได้รับประโยชน์ เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่อยู่ในขั้น เสี่ยงก็หายไป แล้วชุมชนก็เอาเด็กกลุ่มนี้ขึ้นมาช่วยทำงาน ทำเรื่องโน้นเรื่องนี้ เด็กกลุ่มนี้ก็เกิด การพัฒนา องค์ความรู้ต่างๆ ที่เขาได้ไปเรียนมาก็ได้เอามาใช้ที่บ้าน อย่างที่บอก การดำเนินงานของเราจะเริ่มตั้งแต่การคัด การสร้างคน จากนั้นก็แบ่ง คนในตำบลของเราออกเป็น 2-3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มที่หัวไวใจกล้าที่มาทำงานสังคมโดยมี จิตอาสา ไม่หวังค่าตอบแทน เราก็เอาคนกลุ่มนี้ขึ้นมาก่อน เวลาเราจะไปดูงานหรือเราจะไป ศึกษาเรียนรู้ที่อื่นๆ เราก็จะเน้นเลย คนนี้ไปเรื่องนี้นะ พอทุกคนได้ทำงานตามที่ตนเองมีใจรัก อยู่แล้ว พอกลับมา เขาก็เข้าใจประเด็นงานของเขาเลย เขารับผิดชอบงานไปทำหมดจนนายกฯ ไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วอีกกลุ่มก็จะทำตามความสำเร็จของคนกลุม่ แรก อุทยั เก่าของเราจะใช้ผนู้ ำทำก่อน นายกฯ ก็ตอ้ งทำ กำนันต้องทำ ผูใ้ หญ่บา้ นต้องทำ สมาชิกต้องทำ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ต่างๆ คนกลุ่มแนวหน้าที่จะต้องทำก่อนคือคนเหล่านี้ แล้วให้กลุ่มที่เหลืออยู่ทำตาม

88 | หวัง ตั้ง มั่น


การทำงานในระบบเครือข่ายนี้ เราได้ความรู้เยอะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย เราอยากให้ผู้นำมีไฟ มองเห็นชุมชน เห็นประชาชน เห็นปัญหาของเขา เราไปดูงานกลับมาแล้ว ก็ต้องทำเลยและพัฒนาทันที ไม่ใช่ว่าไปมาแล้วก็จบกันเสียงบประมาณไป พอกลับมาแล้วยังไม่ ได้ทำ ไม่ได้เดินงานอะไร ชาวบ้านก็ไม่ได้อะไร ซึ่งเขาก็รอเราอยู่ เขารอผู้นำอยู่ ผู้นำจึงต้องเอา ความรู้ เอาสิ่งใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลง อย่ามัวแต่รอหรือปล่อยให้ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง เราต้อง ทำเพื่อเป็นตัวอย่าง ผมเองไปไหนกลับมา ผมก็ต้องรีบทำ ก็เลยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและ ตลอดเวลา ชาวบ้านพอเห็นว่าผู้นำทำ เห็นผู้นำมีความจริงใจต่อท้องถิ่น ต่อชุมชนของตัวเอง ก็ต้องทำ ดังนั้นผู้นำต้องทำนะ ไม่ใช่ว่าเอาแต่สั่ง

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 89


ประพจน์ เพียรพิทักษ์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชาวบ้านทีเ่ คยคิดว่า ถ้าทำแล้วจะขายของได้ไหม วันนีเ้ ขาเปลีย่ นความคิด ไม่จำเป็นต้องขายได้ แต่สขุ ภาพต้องมาก่อน

คลองน


ตำบลใหญ่ใช่จุดอ่อน เมื่อครั้งที่ผมไปประชุมที่เชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบท่านธาดา อำพิน นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลอุทัยเก่าตอนนั้นท่านไปพูดเรื่องตำบลสุขภาวะ เรื่องของแนวทางการพัฒนาที่ เอาท้องถิ่น เอาปัญหาชุมชนเป็นตัวตั้ง ซึ่งมาตรงกับแนวคิดของผมพอดี จากนั้นจึงไปศึกษาดู งานที่อุทัยเก่า เพราะเห็นว่าเขาอยู่ใกล้เรา เป็นโซนภาคเหนือล่าง-กลางบนเหมือนกัน พี่น้อง ประชาชนโดยพื้นฐานสังคมและภูมิประเทศใกล้เคียงกัน เราอาจเอาแนวทางมาพัฒนาความ เข้มแข็งแก่ชุมชนของเราได้ พอดีท่านก็ชวนให้ตำบลของเรามาเป็นลูกข่าย ผมก็ได้พูดคุยหารือ กั บ ผู้ บ ริ ห ารว่ า คลองน้ ำ ไหลของเราเป็ น ตำบลใหญ่ เวลาเราทำแผนความต้ อ งการของ ประชาชนในพื้นที่ หรือในทุกครั้งที่ลงพื้นที่ เขาก็จะพูดแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน พอถามว่าจะ ทำประชาคมตามความต้องการเมื่อไร เขาก็จะพูดแต่เรื่องของถนน เรื่องของแหล่งน้ำ เรื่องของ ไฟฟ้า แต่เรื่องของสุขภาพเขาไม่ค่อยจะพูดถึงกัน ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเขา แล้วในฐานะที่ เราต้องทำงานตามมติของประชาชน ต้องฟังเสียงประชาชน นี่จึงกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย ของเรา

น้ำไหล


วันนี้เรามาร่วมงานกับ สสส. ร่วมสร้างตำบลสุขภาวะ แรกเริ่มพี่น้องประชาชนก็ยังไม่ เข้าใจ แต่พอผู้นำชุมชนได้ไปที่อุทัยเก่ากลับมา เขาก็เริ่มมองตัวเอง แล้วก็เริ่มเห็นว่า ตำบลของ เราก็มีดีเหมือนกันนะ จากนั้นเราก็มาเช็คทุนของเราว่าเรามีอะไร เรามีชุมชนที่เข้มแข็ง มีหลาย ภาคส่วน มีทั้งฝ่ายปกครองท้องที่ โดยการนำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เรามีฝ่ายปกครองท้องถิ่น เรามีจุดแข็งของภาคประชาชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม อสม. เนื่องจากตำบลเราเป็นตำบล ใหญ่ จึงมี อสม. ในพื้นที่ 500-600 คน นี่ก็เป็นจุดแข็ง เรามีส่วนราชการภูมิภาคในพื้นที่ เพราะตำบลของเราเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอคลองลาน เมื่อส่วนราชการอยู่ตรงนี้ เมื่อมี นโยบายจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มา เขาก็ส่งมาให้เราได้เลย เรามีความพร้อม เรามีบคุ ลากร แล้วเราก็โชคดีทเี่ จ้าหน้าทีข่ องเราไม่วา่ จะเป็นนักวิชาการ หรือใครๆ เขามีใจรักในการทำงาน ลงพื้นที่ประชาคมตลอด แล้วเราก็พาเขาไปต่างจังหวัด

ไปกันหลายที่ ได้รู้ได้เห็นว่าท้องถิ่นต่างๆ ที่ไปพบเจอเหล่านั้นน่าอยู่อย่างไร แล้วทำไมเราจะมา ทำที่คลองน้ำไหลให้น่าอยู่ไม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้ได้จุดประกายทำให้คลองน้ำไหลก้าวมาสู่ตำบล สุขภาวะ ซึ่งต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากทางอุทัยเก่าที่เป็นต้นแบบ และอีกส่วนหนึ่งคือเรา ได้เรียนรู้ ได้ไปศึกษาดูงานบ่อยๆ ในแต่ละปี โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว

ที่เราทำมา ตั้งแต่เรื่องธรรมาภิบาล เรื่องของการกำจัดขยะ การใช้แก๊สชีวภาพต่างๆ เรานำ มาทบทวน นำมาประยุกต์ใช้ ได้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งที่เรามี โดยเฉพาะในเรื่องพลังงานทดแทน เรื่องเด็กและเยาวชน และเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน คือตอนแรกที่ไปนำเสนอเพื่อเข้าร่วมในโครงการตำบลสุขภาวะ เขาบอกว่า คลอง น้ำไหลเป็นตำบลใหญ่ ถือว่าเป็นจุดอ่อน ผมก็บอกว่าไม่ใช่ ผมว่าการเป็นตำบลใหญ่เป็นจุดแข็ง นะ เนื่องจากเรามีทรัพยากรมาก เรามีตัวเลือกมาก มีบุคลากรมาก มีปราชญ์ มีคนที่มีความรู้ มีคนเก่ง จึงน่าจะเป็นจุดแข็งมากกว่า ซึ่งวันนี้สิ่งที่ผมคิดนั้นถูกต้อง คลองน้ำไหลเรามีอยู่ 28 หมู่บ้าน ประชากร 20,000 คน เรามีอะไรที่ดีๆ กว่าอีกหลายตำบลเยอะแยะ เพียงแต่เรายังไม่ ได้เอาสิ่งดีๆ เหล่านั้นมาเจียรนัย ยกตัวอย่าง ‘ป้าดำ’ เมื่อก่อนแกสานตะกร้าไม่ไผ่ ตะกร้ายางพารา ก็สานของแกไป อาจจะขายได้เดือนละ 1-2 ใบก็เรื่องของเขา แต่ในวันนี้เขาพลิกชีวิต เขามีสินค้าขายดี มีให้สั่ง ทางอินเทอร์เน็ต คือมันเปลี่ยนไปแล้ว เพราะฉะนั้นเขาทำเองไม่ได้ ทำไม่ทัน ขยายไปให้ หมู่บ้านข้างเคียงช่วยทำก็ยังไม่พออีก ตอนนี้ขยายไปหลายตำบลแล้ว อันนี้แค่ตัวอย่างเดียว

92 | หวัง ตั้ง มั่น


คือเรื่องของสุขภาพ ท้องถิ่นเราไม่ค่อยมองหรอก ส่วนใหญ่เรื่องแบบนี้มักจะผ่านมา จาก รพ.สต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) แล้วก็ผ่านมาทาง อสม. แต่พอ สสส.เข้ามา เขาพูดถึงเรื่องสุขภาพ พูดถึงนโยบายสาธารณะ 7 ด้านซึ่งนโยบาย 7 ด้าน มันเป็นสิ่งที่ท้องถิ่น เราทำอยู่แล้ว แต่กระบวนการ หลักการ แนวคิดมันแตกต่างกัน ทีมวิชาการ สสส.เข้ามาใน ตำบล ก็เหมือนไปจัดกระบวนการ จัดรูปทรง รูปร่าง ขัน้ ตอน ให้เราได้ทำในสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ชาวบ้าน เขาที่เคยคิดว่า ถ้าทำแล้วจะขายของได้ไหม มาวันนี้เขาก็เปลี่ยนความคิด ไม่จำเป็นต้องขายได้ แต่สุขภาพต้องมาก่อน เช่น ผักปลอดสารพิษ เมื่อก่อนปลูกผักต้องขาย เดี๋ยวนี้ไม่ต้องครับ ทุก ครัวเรือนไม่มีสารพิษ เอาผักตรงนั้นมาปรุงอาหาร ที่เหลือนำไปจำหน่ายที่โรงพยาบาล ที่ศูนย์ เด็กเล็ก แต่เมือ่ ก่อนเราไม่คดิ พอ สสส. มาสนับสนุน สิง่ เหล่านีก้ เ็ กิดแบบเชือ่ มโยงกันไปทุกส่วน วันนี้คลองน้ำไหลไม่ได้ดูแลแค่เด็ก แต่เราดูแลตั้งแต่ก่อนที่จะมีเด็ก ดูตั้งแต่คุณแม่ เรา ลงไปดูก่อนที่จะมีคู่ด้วยซ้ำไป แต่ละปีเราจะมีงบประมาณให้สภาเด็กและเยาวชน เขาก็จะไป ทำโครงการพีส่ อนน้อง เราจะมีเด็กทีอ่ ยูใ่ นสภาเด็กของเรา และจากมหาวิทยาลัยในช่วงปิดเทอม เขาจะมาทำกิจกรรมต่างๆ กัน เราก็สนับสนุนงบประมาณเพื่อไปสอนว่า พิษภัยยาเสพติดเป็น อย่างไร หรือเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรจะมีผลอย่างไร ทั้งหมดนี้คือการเตรียม เยาวชนของเรา จากนั้นเราก็จะดูแลกันในช่วงตั้งครรภ์ ดูแลให้คุณแม่แข็งแรง แล้วพอลูกออก มา เราจะดูแลเขาอย่างไร การเข้าไปสู่วัยก่อนเด็กเล็กที่ดีควรทำอย่างไร เราดูแลจนจบ จนไป เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 93


ถึงขั้นเข้าเรียน แม้กระทั่งเรื่องการศึกษาเราก็ส่งเสริม วันนี้เรามีนักศึกษาที่ได้ทุนจาก อบต.เรา ส่งเรียนพยาบาลที่สวรรค์ประชารักษ์ เรียนจบมาก็มาดูแลในตำบล โดยเราจะมีข้อมูลให้เขา ดูว่า วันนี้ในเรื่องของสุขภาพ พี่น้องประชาชนในตำบลของเรา มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งส่วนมาก จะเป็ น เรื่ อ งเบาหวาน ความดั น เป็ น อั ม พฤกษ์ เมื่ อ ก่ อ นถ้ า ไม่ ม าทำงานกั บ สสส. งาน สาธารณสุขเหล่านี้ดูจะห่างท้องถิ่น เราจะมองว่าเป็นเรื่องของ อสม. เรื่องของโรงพยาบาล แต่ วันนี้ไม่ใช่แล้ว วันนี้ทางท้องถิ่นต้องหันมาดูว่า การที่เราจะสร้างให้พี่น้องประชาชนมีสุขภาพ แข็งแรง มั่นคง ยั่งยืนได้นั้น ต้องหันมาดูเรื่องสาธารณสุข เรื่องของคุณภาพชีวิตด้วย นี่เป็นสิ่งที่ เราได้จาก สสส. จากประมวลผลจากแผนปีที่หนึ่งหรือหนึ่งปีที่ผ่านมา ที่ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินและ ประเมิน พบว่า พี่น้องประชาชนพึงพอใจ เราประสบความสำเร็จร้อยละ 80 คือถือว่าอยู่ใน เกณฑ์ที่ดี ในเรื่องตำบลสุขภาวะนี้ คลองน้ำไหลทำมาเป็นปีที่ 2 แล้ว ตอนแรกๆ ก็ยอมรับว่า กลัวจะเหมือนหน่วยงานหรือองค์กรอื่นที่เข้ามาทำแผน ทำเสร็จแล้วก็เอาแผนเราไป แล้วก็ เงียบหายไป แต่พอเรามาทำงานกับ สสส. ตำบลสุขภาวะมันไม่ใช่แบบนั้น ทำแผนเสร็จแล้ว เราต้องเข้าประชุมสภาฯ ก่อน สภาฯ เขาก็ไม่คอ่ ยสนใจ เพราะเขาก็มงุ่ สนใจเรือ่ งน้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวกก่อน เพราะมันเป็นผลงานที่จับต้องได้ แต่เรื่องของสุขภาพ มันพูดถึงระยะยาว เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องประชาสัมพันธ์ เราไปพูดตำบลสุขภาวะ ชาวบ้านก็ไม่ค่อยเข้าใจ เราก็เลยเปลี่ยนว่า วันนี้เราจะทำคลองน้ำไหลให้เป็นตำบลน่าอยู่ จากที่รู้น้อยมาก คือไม่ถึง ร้อยละ 50 แต่ตอนนี้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70 สิ่งที่เราจะทำในปีที่ 2 (พ.ศ.2556) นี้ ผมตั้งงบประมาณไว้ 100,000 บาท เพื่อใช้ สร้างกระบวนการ โดยเอาผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และแกนนำประชาชนหมู่บ้านละ 5 คน มาจาก ประชาคมหมู่บ้าน จะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน เป็นกลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี หน่วยงานราชการที่ เกี่ยวข้อง โดยเราจะจัดเวทีให้คนในตำบลของเราก่อน เราจะทำให้เหมือนการรับเพื่อน โดยขอ ให้มานอนโฮมสเตย์ 4 คืน 5 วัน จะให้ชาวบ้านเราทุกหมู่บ้านรู้ว่า นี่คือ สสส. นี่คืองานตำบล สุขภาวะ ทีนี้จากที่มันมีแค่ร้อยละ 60-70 มันก็จะเพิ่มเป็นร้อยละ 90-100 ภายในปี 56 นี่คือ เทคนิคในการสร้าง เพราะวันนี้เขายังไม่รู้ว่า รถธงเขียว ธงแดงที่วิ่งฝุ่นตลบ มันคืออะไร พอบอกว่าตำบลสุขภาวะ ก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร แต่คนกลุ่มหนึ่งรู้แล้ว เพราะได้ประโยชน์ ทั้งโฮมสเตย์ รถสองแถว ทั้งไกด์เด็ก ไกด์เยาวชน ผู้นำที่เขามีส่วนเกี่ยวข้อง 94 | หวัง ตั้ง มั่น


ในวันนี้ตำบลของเรา นอกจากงาน สสส. ก็ยังมีเรื่องพลังงานทดแทน เรามีนโยบายว่า ชาวบ้านหลังคาเรือนไหนเลี้ยงหมู 5 ตัว อบต.จะสนับสนุนงบประมาณ ให้อีก 6,000 บาท ซื้อ วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสุกร จากที่เคยมี 20-30 ครัวเรือน วันนี้มีถึง 120 ครัวเรือน โครงการนี้ดีมาก ทำให้พี่น้องประชาชนประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีเด็กจากที่ ต่างๆ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนศึกษาดูงาน ช่วงเวลา 3 ปีที่เราทำความตกลงกับ สสส. เป็น 3 ปีที่เราเชื่อว่ามีคุณค่ายิ่ง วันนี้ สสส.ให้โอกาสเรา สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ผมพูดได้ว่า เกิดแล้วไม่ตาย เรามีกลุ่มอาชีพอยู่แล้ว มีฐาน เรียนรู้ตั้ง 29 ฐาน ถามว่า ถ้าเราปล่อย ไม่ทำต่อ เชื่อได้ว่าพี่น้องประชาชนเขาไม่ยอมแล้ว

ผมว่า วันนี้ชาวบ้านเขายืนได้เองแล้ว เกิดเองได้แล้ว

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 95


ผมเองเป็นคนโบราณ อายุมากแล้ว สมัยเป็นเด็ก ทานข้าวเย็นกันแต่ละครั้ง แม่จะใช้ให้ผมเอาแกงไป ให้บ้านโน้น เอาไปให้บ้านนี้ แบ่งปันกัน มาวันนี้ ภาพเก่าๆ กำลังกลับมา

ไฉน ก้อนทอง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ดงมูล


เชื่อมร้อยต้นทุน ท้องถิ่นทวีคูณ ดงมูลเหล็กเป็น อบต. หนึ่งที่ร่วมอยู่ในสมาคมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล แล้วมี อยู่ครั้งหนึ่งที่ผมได้พบกับคุณธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปากพูน นครศรีธรรมราช เขาก็คุยให้ฟังว่า ตอนนี้เขาทำโครงการตำบลสุขภาวะ ซึ่งมี สสส. ให้การสนับสนุน เขาก็ชวนว่า ถ้าสนใจก็อยากจะให้ไปเข้าร่วม พอได้รับเชิญตรงนั้นผมก็ไปดู แนวทาง ไปพบเห็นการทำงานของตำบลปากพูนภายใต้บริบทของการสร้างตำบลสุขภาวะ ก็ทำให้เราก็สนใจ เราจึงกลับมาพูดคุยในตำบลว่า บอกกับทุกคนว่า มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยการสนับสนุนของ สสส.ทุกคนคิดอย่างไร จากนั้นจึงนำมาสู่การทำบันทึกข้อตกลงกับ สสส. และนั่นคือจุดเริ่มต้นของดงมูลเหล็กในโครงการตำบลสุขภาวะ เราส่งทีมงาน 30 ชีวิตลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตำบลปากพูน โดย 30 ชีวิตที่ไป เราคัดเลือกคนที่มีใจอยากจะทำจริงๆ มีทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจาก 11 หมู่บ้าน ประธาน อสม. นักวิชาการ น้องๆ ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ไปช่วยกันเก็บข้อมูล โดยมีปลัดองค์การบริหาร ส่วนตำบลนำทีม เราโชคดี เพราะว่าคนชุดนี้ลงไปแล้วเก็บรายละเอียดได้หมด เราไปเห็น

ลเหล็ก


แนวคิด วิธีการในการทำ แล้วเมื่อเรากลับมาดูว่า ต้นทุนตำบลดงมูลเหล็กมีอะไรบ้าง เราก็ถึง บางอ้อว่า จริงๆ แล้วตำบลดงมูลเหล็กของเรานี้ก็น่าจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน แนวคิ ด ของปากพู น ในการทำตำบลสุ ข ภาวะ คื อ การให้ ค วามสำคั ญ กั บ ความสุ ข มวลรวมของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ แล้วสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการทำตรงนั้น คือเกิดความเอื้ออาทร ต่อกันและกัน ที่จริงก่อนที่เราจะหันกลับมาดูตัวเอง กลับมาเช็คต้นทุนของเรา เราไม่รู้หรอกว่า ที่ทำ อยู่ในทุกวันนี้ มันสามารถจะนำมาถ่ายทอดได้ เราเคยชินอยู่กับการทำงานแบบเดิมๆ เพราะ เห็นเขาทำกันอยู่เป็นปกติ เช่น กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มเยาวชน หรือกองทุนหลักประกัน สุขภาพ แม้แต่ธนาคารโคกระบือที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่พอเรากลับมาเช็คต้นทุนเสร็จ เราก็พบว่า เราขาดอยู่สิ่งหนึ่ง นั่นคือนำสิ่งต่างๆ ที่ทำกันเป็นปกติมาเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน อย่างเช่น เดิมทีปราชญ์ชาวบ้านเขาจะทำอยู่ในกลุ่มในหมู่บ้านของเขา คุณตาคุณยาย ที่มีความรู้ทางด้านจักสานเขาก็สอนเฉพาะเด็กในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เขาเท่านั้น แต่หลังจากที่ เราเอากระบวนการตรงนี้ไปเชื่อมร้อยและเชื่อมโยงให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรงนี้ ทำให้เราเห็นศักยภาพ ได้เห็นน้ำใจ ซึ่งเรามีอยู่แล้วแต่เราไม่เคยเห็น ทำให้เราได้แนวคิดได้ แนวทางจากการที่เราพูดคุยกัน ตอนที่เราเช็คต้นทุน ชาวบ้านยังรับรู้กันน้อย แต่ชาวบ้านมาเริ่มรับรู้หลังจากที่เราเชิญ เครือข่ายมาทำบันทึกข้อตกลงกับเราสองครั้ง เชิญผู้บริหารให้มาพักกับบ้านพักของชาวบ้านที่ เราเรียกว่า ‘โฮมสเตย์’ หลังจากนั้นชาวบ้านก็เริ่มตื่นตัวว่า เกิดอะไรขึ้นในหมู่บ้านในตำบล ทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างมาก โฮมสเตย์จากเดิมที่ไม่กล้าทำ เพราะกลัวว่าจะทำให้แขก อึดอัด กลัวตัวเองไม่พร้อมที่จะทำ หรืออายในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ แต่พอเราพูด เราคุย และส่ง

ทีมงานลงไปช่วย โดยมีแบบประเมินโฮมสเตย์ มีการจัดกลุ่มแม่บ้านทำกับข้าว อาหาร ขนม ความกลั ว ความไม่ ก ล้ า ต่ า งๆ ก็ ค่ อ ยละลายหายไป จากเดิ ม เรามี โ ฮมสเตย์ ม าสมั ค รไม่ ถึ ง 20 หลัง ปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราได้พฒ ั นาวิธกี ารบริหารจัดการโฮมสเตย์ทดี่ งมูลเหล็กเพือ่ ป้องกันการผูกขาด โดยให้ กลุ่มโฮมสเตย์เดิมที่มี 20 หลังมาพูดมาคุยกัน ให้เลือกตั้งกันเองว่า ใครจะเป็นประธาน ใครจะ เป็นคณะกรรมการ เพราะเขาจะต้องดูแลกันและดูแลแขกที่จะเข้าพัก ใครจะเป็นคนจัดเวลา แขกเข้าพัก ใครจะทำอาหาร ผลก็คือแต่ละครอบครัวมีรายได้เพิ่ม มีการกระจายรายได้อย่าง ไม่ซ้ำ ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างความตื่นตัวอย่างมาก 98 | หวัง ตั้ง มั่น


คือความเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านเกิดขึ้นชัดเจนมากก็ตรงที่ว่า พอมีแขกมาเข้าพัก เพื่อศึกษาดูงานตามแหล่งเรียนรู้ของเราซึ่งมีทั้งหมด 26 แหล่งทั้ง 11 หมู่บ้าน นิสัยของคนไทย แขกไปใครมาก็จะต้อนรับขับสู้ เป็นเจ้าบ้านที่ดี ทุกคนต้องเตรียมความพร้อม จากเมื่อก่อนที่ อยู่แบบตัวใครตัวมัน พอหลังจากเรามีแขก ทำให้เราต้องพูดคุยกัน ที่ไม่รู้จักกันก็รู้จักกัน เกิด ความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่บ้านและชุมชนของตัวเอง โดยเฉพาะ หมู่บ้านที่มีแหล่งการเรียนรู้ และไม่เฉพาะวิทยากรประจำฐานเท่านั้น ชาวบ้านที่อยู่ละแวก ใกล้เคียง ถ้าว่างเขาก็จะมาช่วยกันรับแขก มาช่วยกันดูแล เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะ คนทีม่ าดูงานนัน้ ไม่ใช่วา่ เขาจะมาถามเราอย่างเดียว เดีย๋ วนีช้ าวบ้านเขารูจ้ กั เก็บข้อมูลแลกเปลีย่ น จากตำบลที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย จากที่อยู่แบบตัวคนเดียว ตอนนี้เขาเริ่มมีเพื่อน เริ่มมี เครือข่าย กระตือรือร้น ทำให้ชุมชนเกิดรายได้อีกด้วย นอกจากโฮมสเตย์ซึ่งเป็นรายได้หลักแล้ว ตอนนี้เรายังมีของที่ระลึก ซึ่งตอนแรกเรายัง ไม่ได้ทำ เพราะยังไม่มีทักษะ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลก็เลยสนับสนุน โดยเชิญวิทยากรมา อบรม จำพวกพวงกุญแจและอะไรๆ อีกหลายอย่าง ที่ดงมูลเหล็ก เรายังให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน เรามีกลุ่มทำพืชปลอดสารอาหารปลอดภัย ตรงนี้เราก็นำส่วนหนึ่งไปเป็นอาหารให้กับแขกที่ไปพัก 4 คืน 5 วัน แม่บ้าน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 99


รับทำอาหาร ดูแลแขก แต่ละมื้อแต่ละวัน รวมทั้งนำมาวางขายให้กับแขกที่จะซื้อก่อนเดินทาง กลับ กลุ่มทำพืชปลอดสาร-อาหารปลอดภัยก็มีรายได้ จากเมื่อก่อนนี้ที่ทำแบบแข่งขัน เน้น งอกงามแบบใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ตลาดก็ค่อนข้างจะหายาก ตอนนี้ตลาดของเราเริ่มมีความ แน่นอน เพราะเรามีแขกเข้าไปทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาที่เอาเงินเป็นตัวตั้งนั้น ผมว่าเป็นการคิดที่ผิด ถ้า เอาเงินเป็นตัวตั้ง คุณไม่ต้องทำอะไรหรอกครับ เพราะจริงๆ แล้วไม่มีเงินมันก็ทำได้ เริ่มจาก การทำมาหากิน ถ้าคุณจะใช้ปุ๋ยเคมีมันต้องลงทุน แต่ถ้าคุณไม่มีเงิน คุณมีภูมิปัญญา คุณก็หา วิธีหมักปุ๋ย ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองได้ มูลสัตว์เราก็นำมาทำเป็นปุ๋ยได้ ที่ดงมูลเหล็กจะมีกลุ่ม

ปุ๋ยอัดเม็ดโดยใช้มูลสัตว์จากธนาคารโคกระบือ แทนที่มูลมันจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนตาม ถนนหนทาง ก็ทำเป็นที่เก็บแล้วเอามาแลกเปลี่ยนกัน ผมเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ดงมูลเหล็กจะสามารถยืนได้ด้วยตนเอง ถึงแม้ว่า สสส. จะไม่ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแล้วก็ตาม เราพร้อมทีจ่ ะขับเคลือ่ นด้วยตัวเอง และตอนนี้ เราก็ เริ่ ม มี เ ครื อ ข่ า ยที่ ไ ม่ ใช่ เ ครื อ ข่ า ย สสส. สนใจที่ จ ะเข้ า มาแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ กั บ ตำบล ดงมูลเหล็ก ซึ่งผมคิดว่า ความยั่งยืนนี้ก็เป็นสิ่งที่ สสส.เองก็ต้องการ อย่างไรก็ตาม แรงเสริมจาก สสส. ยังมีผลต่อแหล่งเรียนรู้ทั้งหมด 26 แหล่งของเรา ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น กำลั ง จะมี เ พิ่ ม อี ก หลายแหล่ ง เช่ น กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพที่ ดู แ ลการ สาธารณสุขในองค์รวม เราก็มอบให้ รพ.สต. ที่เขามีความสามารถ มีความรู้เป็นวิชาการอยู่แล้ว ช่วยดู อีกส่วนหนึ่งที่เรามี คือระบบอาสาสมัคร อย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ก็มีแนวความคิดจะนำภูมิปัญญาที่เขามีบวกเข้ากับหลักวิชาการ ตัวอย่างเช่น เรื่อง หญิงงามยามหลังคลอด เพื่อดูแลเรื่องการอยู่ไฟหลังคลอด ซึ่งอันนี้ไม่ได้อยู่ใน รพ.สต. แต่ เป็นกลุม่ ในหมูบ่ า้ นในชุมชนทีเ่ ขาดูแลของเขาเอง ซึง่ การเสริมวิชาการให้กลุม่ ต่างๆ ในลักษณะนี้ จะแตกแขนงออกไปอีกมาก สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้คนในชุมชนดงมูลเหล็กเริ่มมองเห็นความสำคัญของ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภาพในอดีตมันเริ่มกลับมา ผมเองเป็นคนโบราณอายุมากแล้ว สมัย เป็นเด็ก ทานข้าวเย็นกันแต่ละครัง้ แม่จะใช้ให้ผมเอาแกงไปให้บา้ นโน้น เอาไปบ้านนี้ แบ่งปันกัน ได้ปลามาตัวเดียวแต่ตัวโตๆ หน่อยก็ต้มแจก ภาพเก่าๆ กำลังกลับมา ที่ผ่านมาเราต่างคนต่าง อยู่ ต่างคนต่างทำ เรียกได้ว่า ตอนนี้มันตกผลึก อย่างน้อยๆ 26 แหล่งเรียนรู้ใน 11 หมู่บ้าน

100 | หวัง ตั้ง มั่น


เขาไปมาหาสู่กัน มันเป็นทางเดินที่เชื่อมให้เขาพูดคุยกัน มีปัญหาเขาก็ร่วมกันแก้ มีสุขร่วม เสพ มีทุกข์ร่วมต้าน เราอยู่กันอย่างนั้น ที่สำคัญความสำเร็จของเขา ไม่ได้ทำให้เขายึดติดที่ตัวนายกฯ หรือผู้บริหารคนไหน ผมคิดว่า เขายึดติดกระบวนการ ตอนนี้เขามีแนวทางที่จะดำเนินงาน ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการวาง ของผม พวกเราช่วยกันวางรูปแบบ ตอนนี้ไม่ต้องทำอะไรเขาก็เดินเองได้ เดี๋ยวนี้มีอะไรเขาก็แบ่งกัน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ เราไม่ต้องกลัวว่าภูมิปัญญา ชาวบ้านจะหายไปถึงแม้คุณตาคุณยายรุ่นนี้จะจากไปแล้ว เชื่อไหมไอ้ตัวเล็กๆ ที่อยู่ประถมก็ สามารถจะใช้ความรู้จากปู่ย่าที่สอนให้ไปทำเครื่องใช้ในครัวเรือนแบบโบราณได้ กระติ๊บใส่ข้าว หวดนึ่งข้าว กระด้งฝัดข้าว แกนพัดลมทำจากไม้ไผ่ ทำเป็นหมด เพราะฉะนั้นคนรุ่นนี้จากไป ภูมิปัญญาก็ยังถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไปดูกลุ่มสมุนไพรในโรงเรียนเถอะ เด็กๆ เริ่มมีความรู้จาก สมุนไพรใกล้ตัว เพราะกลุ่มชาวบ้านที่ทำเรื่องนี้ พอว่างเขาก็สอนกัน ไม่เก็บไว้คนเดียว เด็กๆ รู้ว่า ข่า ตะไคร้ พริก ผักใกล้ตัวเป็นสมุนไพรทั้งนั้น จนเดี๋ยวนี้กลุ่มสมุนไพรในโรงเรียนสามารถ ทำแคปซูลใช้เองได้ แม้เราไม่อาจเทียบกับของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร แต่เราก็ไม่น้อยหน้า หรอก

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 101


ศักดา กิ่มเกิด

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

พอเรามาทำตำบลสุขภาวะ เรากลายเป็นหนึง่ เดียวกัน มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน ตรงนีเ้ ป็นสิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ ของตำบล


เติมเต็มที่ขาดหาย โครงการตำบลสุขภาวะของบ่อแร่ เริ่มต้นเพราะทาง อบต.อุทัยเก่า ชักชวนมา จึงได้ เข้าไปร่วมและได้เห็นว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แล้วในชุมชนของเราเองก็มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ จากที่ เราได้ไปเรียนรู้มาจากอุทัยเก่า พอกลับมาก็ได้ประชุมหารือกันว่า เราสนใจเรื่องการขับเคลื่อน ตำบลสุขภาวะไหม เพราะในชุมชนของเรานั้นมีสิ่งดีๆ ที่คนที่อื่นควรจะได้มาเรียนรู้หรือได้มา รู้จักตำบลบ่อแร่เหมือนกัน จากวันนั้นจึงได้ทำเวทีประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิญผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ชาวบ้านมาร่วมกันคิด ชาวบ้านก็เห็นดีด้วย เราก็ดำเนินการขับเคลื่อน เอาแกนนำ ชุมชนที่เกี่ยวข้องไปร่วมฟังความคิดเห็นกับเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ตรงนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ เราเข้ามาทำงานสร้างตำบลสุขภาวะ การที่เรามาอยู่ตรงนี้ เราได้เพื่อน เราได้เรียนรู้ ที่เราไม่เคยเห็น หรือในตำบลเราไม่มี เราก็ไปดูตำบลอืน่ แล้วก็เอากลับมาเปรียบเทียบ เกิดแนวคิดปรับปรุงส่วนทีเ่ ราขาดหายไป ทำให้ แต่ละกลุ่มได้เรียนรู้ ตรงไหนขาดก็นำวิทยากรมาให้ความรู้ และกระชับการเชื่อมโยงกลุ่มนี้เข้า กับกลุ่มนั้น ทำให้ในชุมชนเกิดความกลมเกลียว จากที่ต่างคนต่างทำ พอเรามาทำตำบล สุขภาวะก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของตำบล เลย และก็เป็นความภาคภูมิใจด้วย และเราจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หมั่นดูที่อื่นๆ ว่าเขาทำ อย่างไร คอยหาอะไรเติมเต็มในสิ่งที่เราไม่มี สิ่งที่เราขาดหาย โดยมีประชาชนเป็นผู้ได้รับ ผลประโยชน์ เพราะเป้าหมายของเราก็คือ ต้องทำให้ชุมชนเราเข้มแข็งให้ได้ นี่เป็นความตั้งใจ ของผม

บ่อแร่


ส่วนปัญหาอุปสรรคนั้นก็มีบ้าง โดยเฉพาะเริ่มแรกที่เราเข้ามาดำเนินโครงการ เรา เผชิ ญ กั บ ปั ญ หาตรงที่ ชุ ม ชนยั ง ไม่ ค่ อ ยเข้ า ใจว่ า การเป็ น ตำบลสุ ข ภาวะนั้ น ต้ อ งทำงานกั น อย่างไร เขาก็คิดว่า เข้ามาแล้วเขาจะได้รับประโยชน์จากการมีผู้สนับสนุนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน แต่เราบอกว่า เรื่องเงินสนับสนุนกลุ่มนั้น เราไม่ได้ แต่เราได้ความรู้ แล้วต้องเอาความรู้นั้นไป ปฏิบัติเอง สมมติเขาอยากจะทำอะไรสักอย่าง ถ้าเขาไม่รู้ เราก็หาวิทยากรมาให้ความรู้ และเขา ก็จะได้ดำเนินการด้วยตัวเองได้ หลังจากเราทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เขาก็เข้าใจขึ้น และให้ ความร่วมมือดี ตรงนี้อาจจะเป็นเพราะตำบลบ่อแร่เป็นตำบลเล็กๆ ด้วยความรักความผูกพัน ใกล้ชิดจึงทำให้ไม่มีอุปสรรคอะไร เราจะขอความร่วมมืออะไรก็ง่าย เราเป็นผู้นำแต่เมื่อเราให้ ความสำคัญกับเขา เขาก็ดีด้วย ที่ตำบลบ่อแร่จึงไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีฝ่ายรัฐบาล ไม่มีฝ่ายสภา เวลาทำงานเราจะปรึกษากันก่อนทำ สำหรับพืน้ ทีท่ มี่ ปี ญ ั หา ผมจะนำสมาชิก 14 คน ฝ่ายบริหาร อีก 3 คน ไปลงพืน้ ทีท่ กุ คน พอเข้าสภา เราจึงไม่ตอ้ งมาเถียงกัน เรากับเจ้าหน้าทีก่ นิ ข้าวด้วยกัน

ทุกมือ้ ตอนกลางวัน ไม่วา่ จะเป็นทีมงาน สสส. ทีมงาน อบต. สมาชิก ตัวผมเอง ก็ทานข้าวร่วมกัน

ผมเชือ่ มัน่ ว่า คนเราทานข้าวด้วยกันแล้วก็เหมือนคนบ้านเดียวกัน ทำอะไรก็จะก็มปี ญ ั หาน้อยลง ที่จริงเรื่องต่างๆ ที่จะทำตำบลให้เป็นตำบลสุขภาวะนั้น เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นก็ทำมาอยู่ ก่อนแล้วแต่ไม่เต็มรูปแบบเหมือนอย่างนี้ เพราะพื้นที่ของผมนั้นงบประมาณน้อย ผมก็ต้อง พัฒนาไปตามที่ชาวบ้านเสนอมา ซึ่งก็เป็นเรื่องของการสร้างถนนหนทาง ส่วนเรื่องการพัฒนา คนนั้นต้องยอมรับว่าน้อย เพราะชาวบ้านไม่ค่อยยกมือให้ พองาน สสส. เข้ามา เราก็ได้โอกาส เน้นการพัฒนาคนเลย อย่างการสนับสนุนกลุ่มอาชีพ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้ชุมชนของเรา เข้มแข็งขึ้น แม้ว่า ในชุมชนของเราจะเข้มแข็งอยู่แล้ว แต่งานตรงนี้ก็เหมือนกับการเป็นพี่เลี้ยง ช่วยทำให้ชุมชนหรือกลุ่มต่างๆ พึ่งตนเองได้หากเขาไม่รู้ว่าจะพึ่งตนเองอย่างไร ดังนั้นหากให้ประเมินการจัดการตนเองของชาวบ้าน ผมว่าน่าจะประมาณร้อยละ 70 ได้ สิ่งที่มีการทำมาอยู่แล้วก็มาพัฒนาให้เขาเรียนรู้เพิ่ม อย่างกลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ย กลุ่มอะไรที่เรามีอยู่ กลุ่มกล้วยฉาบ กลุ่มไข่เค็ม ที่เราสนับสนุนมาตลอด พอเรามาเป็นตำบล สุขภาวะ เราก็เอาความรู้เสริมให้มันดีขึ้น เช่น ให้เขาไปเอาไข่เค็มจากกลุ่มที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ทำ กล้วยฉาบก็ชว่ ยกันซือ้ วัตถุดบิ ในพืน้ ทีก่ อ่ นไม่พอแล้วจึงค่อยไปเอาทีอ่ นื่ ปลูกกล้วยปลูกอะไรขึ้น มาก็มาขายที่กลุ่ม ก็จะเกิดการเชื่อมโยงกัน หรือเรามีกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด เพราะในพื้นที่มี การทำฟาร์มหมูเยอะ จึงมีแนวคิดว่า เอาขี้หมูมาตากแล้วปั้นเป็นเม็ด เราไปศึกษาที่อื่นว่าเขา ทำกันอย่างไร ก็เอามาให้คนในชุมชนทำ ซื้อเครื่องปั้นเม็ดให้กับกลุ่มแล้วก็เอาไปทำขายกัน แล้วการขายของเรานั้นไม่ใช่ว่าจะเก็บเอามาเป็นผลกำไร เราพูดกับกลุ่มเลยว่า สมมติผมทำนา 104 | หวัง ตั้ง มั่น


หากมาซื้อปุ๋ยที่นี่จะลดให้เลย ถ้าขายให้ชาวบ้าน 250 บาท ให้กลุ่ม 240 บาท ลดไปลูกละ 10 บาทเลย ใครซื้อมากก็ลดมาก ซื้อน้อยก็ลดน้อย เพื่อคืนกำไรให้กับกลุ่ม และวิธีการบริหาร งานก็ต้องให้เขาอยู่ได้ ให้เขาบริหารกันเอง ผมเป็นนายกฯ มา 3 สมัย เป็น อบต.ที่มีเงินน้อย เราก็ต้องหาแหล่งเงินอื่นมาเสริม เพื่อให้ชุมชนของเราอยู่ได้ ผมทำมาตลอด และจะแข็งแรงขึ้นเมื่อมี สสส. มาช่วย นอกจากงบฯ ที่เพิ่มขึ้น ความรู้ก็เพิ่มขึ้น เราก็ดีขึ้น จากที่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด ทำกัน 3-4 คน แต่ ตอนนี้ไม่ใช่ เขาให้ทำเป็นกลุ่ม ตรงไหนไม่พอ เราก็มีเอาเงินของ อบต. สนับสนุนเข้าไปในส่วน ที่มันขาดหายไป อย่างที่ผมบอก การรวมกลุ่มอะไรต่างๆ นั้น เมื่อก่อนนี้แม้ในชุมชนจะทำกัน จริงจัง แต่เขาก็ทำตามประสาของเขา ไม่มใี ครไปเชือ่ มโยงให้เขาแลกกัน ดังนัน้ พอทำตรงนี้ สิง่ ที่ ได้ก็คือ หนึ่ง ได้ใจชาวบ้าน เพราะเราไปเชื่อมโยงให้เขา ให้เขารู้วิธีการทำ วิธีการส่งออก ให้เขา รู้เรื่องการตลาด พอเขามีความรู้ เขาก็ดีใจ ภูมิใจที่มีคนช่วยดูแล ไม่โดดเดี่ยวเดียวดาย มาวันนี้ ผมเชือ่ ว่า เมือ่ เราทำโครงการครบ 3 ปี แล้ว สสส. ไม่สนับสนุนเรา เราก็อยูไ่ ด้ เพราะเราได้เรียนรู้แล้วว่า เราจะทำอย่างไร หรือแม้แต่ว่า ผมจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯ แล้วก็ตาม ผมก็เชื่อว่า ความเข้มแข็งนั้นก็จะยังอยู่ เพราะเราปลูกฝังให้ชุมชนมีส่วนร่วมตรงนี้ เขารู้จักวิธีการเลี้ยงตัวเองแล้ว เหมือนได้หัดก้าวหัดเดินแล้ว เมื่อเขาเดินได้ เขาก็จะเดินแข็งขึ้น เรือ่ ยๆ ผมทีอ่ าจจะไม่ได้มตี ำแหน่งอะไร แต่คนในชุมชนก็ยงั นับถือกัน ผมก็มโี อกาสช่วยได้ มาคุย มาให้คำแนะนำกันได้ น้องๆ ทีเ่ ขาทำอยูเ่ ขาก็ตอ้ งขับเคลือ่ นต่อไปได้ คนทีม่ าใหม่เขาก็ตอ้ งเห็นดี ด้วย เมื่อเห็นว่า ตำบลสุขภาวะมีแต่สิ่งดีๆ ให้ เขาก็ต้องมาขับเคลื่อนต่อ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 105


วิเศษ ยาคล้าย

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำคู้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

เราเก็บตัวอย่างจากปากพูน จากเชียงใหม่กด็ ี จากเพชรบุรกี ด็ ี หรือสิงห์บรุ กี ด็ ี เราเก็บเกีย่ ว แล้วนำมาต่อยอด


สิ่งดีๆ งอกได้ ด้วยการดัดแปลงและต่อยอด ผมเคยปฏิเสธเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะมาตลอด เพราะผมเห็นว่าแหล่งเรียนรู้ ของวังน้ำคู้ที่เด่นจริงๆ มีแค่ 5-8 แหล่งเท่านั้น แต่พอไปดูงานที่ปากพูนกับปลัดฯ ครั้งแรก ก็เข้าใจว่า ทำไมต้องมี 30 แหล่งเรียนรู้ ครั้งที่สอง พาไปอีก 5 คน ก็เอากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทีมงานที่สนใจเกี่ยวกับงานสาธารณะเข้าไป เขาก็บอกว่า ที่คิดว่าเรามีแหล่งเรียนรู้ 5-8 แหล่งนี่ ไม่ใช่แล้ว อพ.ปร.เราก็มี อสม.เราก็มี กองทุนวันละบาทเราก็มี บริการชุมชนก็มี จากนั้นเราก็ มาประชุมกัน สรุปว่าเอา เราจะเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ สุดท้ายก็มาลงนามใน MOU เข้าร่วม จึงได้เป็นลูกข่ายรุ่นแรกของปากพูน หลังจากนั้นเราก็พาทีมงานของเรา 30 คนไปดูงานที่ปากพูน ผมก็เตรียมคนที่จะทำ บ้านพักโฮมสเตย์ แหล่งเรียนรู้ ประธานชมรมผู้สูงอายุ ทุกส่วนที่คิดว่าพร้อม ทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ไปดูงานกัน คือจะไปศึกษาจริงๆ เพราะโครงการนีเ้ รามองว่ามันเป็นประโยชน์แน่ ก็ตงั้ ทีม ไปศึกษากัน พอ 30 คนกลับมา ก็นำมาขยายต่อ เลยกลายเป็นว่า ทั้งตำบลรู้หมดว่าทำอะไรอยู่

วังน้ำคู้


ส่วนผมก็คอยชี้แนะอย่างเดียว ติดขัดตรงไหนก็ติดต่อนายกฯ ปากพูน คุณธนาวุฒิ ถาวร พราหมณ์ ว่าจะแก้ไขอย่างไร ในทีส่ ดุ ก็ได้มา 30 แหล่งเรียนรู้ ทีเ่ ป็นนวัตกรรมชิน้ เด่นของเราก็มี เช่น การนำโรงเรียนประถมจำนวน 4 โรง มารวมกันให้เหลือ 1 โรง ซึ่งที่อื่นเขาทำแบบนี้ไม่ได้ แต่ของเราทำได้ หลังจากเข้าโครงการตำบลสุขภาวะ เราได้ทำเรื่องกองทุนวันละบาท เราไปดูตัวอย่าง จากปากพูนมาแล้ว เราก็เอามาทำเป็นสวัสดิการ เยี่ยมคนไข้ตามโรงพยาบาล คลอดบุตรได้ 2,000 บาท เราก็ตอ่ ยอด อพปร.เราก็ตงั้ กติกาว่า เหมากันหนึง่ สัปดาห์ ผูใ้ หญ่บา้ นก็พวกเดียวกัน หมด ตำบลวังน้ำคู้ไม่มีฝ่ายค้าน เป็นเพื่อนกัน มีอะไรช่วยกันหมด เราเก็บตัวอย่างจากปากพูน ก็ดี จากเชียงใหม่ก็ดี จากเพชรบุรีก็ดี หรือสิงห์บุรีก็ดี เราเก็บเกี่ยว แล้วนำมาต่อยอด อันไหนจำเป็นหรือเห็นว่ามีศักยภาพ อบต.ก็ตั้งงบประมาณของ อบต.ดูแลต่อ มันก็ เชื่อมโยงกับโครงการนี้ให้ขยายผลออกมา อย่างกองทุนวันละบาท เดิมนั้นวังน้ำคู้ไม่กล้าทำ พอไปดูของปากพูนมาก็กล้าทำ จนกำนันเก่าๆ บอกว่านายกฯ อย่าทำเลย กองทุนวันละบาท ทำแล้วมันเจ๊ง ผมก็ไปดัดแปลงจากของปากพูนมา โดยที่ของผมไม่มีเจ๊ง เพราะว่าใครเป็น สมาชิ ก กองทุ น นี้ แ ล้ ว ห้ า มตาย พอบอกว่ า ห้ า มตาย คนแก่ ก็ ส นใจ ต้ อ งเข้ า หน่ อ ย เพราะ โครงการนีม้ กี ติกาว่า ข้อ 1 ห้ามตาย ข้อ 2 ห้ามออกจากกองทุน คนแก่กเ็ ริม่ งงว่า ทำไมห้ามตาย ก็คือ คุณมาสมัครสมาชิกแล้ว ภายใน 3 เดือนห้ามตาย ถ้าตาย เงินสวัสดิการ 90 บาทที่ คุณบริจาคมานั้นคุณจะไม่ได้อะไรเลย ห้ามออกอันนี้ก็คือ คุณบริจาคมาแล้ว 5 ปี 10 ปีก็ช่าง เป็นเงิน 3,000 หรือ 5,000 บาท คุณบอกเบื่อแล้ว ไม่อยากส่งต่อ ขอออก ถ้าเป็นเงินสะสม สัจจะหรือเงินตำบลอื่นๆ เขาทำได้ พอคุณออก บาทแรกจนถึงบาทสุดท้ายต้องคืนคุณ แต่ของ ตำบลเราห้ามออก ถ้าคุณจะออกก็เชิญ แต่เงินที่คุณบริจาคมาไม่ได้คืนนะ เพราะมันคือการ บริจาค เขาก็จะไม่ออก เมื่อไม่ออกก็ต้องส่งต่อ นี่คือสิ่งที่ผมดัดแปลงมา ตำบลสุขภาวะมันได้ ประโยชน์อย่างนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่นำมาดัดแปลง คือ รัฐบาลให้เงินมาหมู่บ้านละ 100,000 บาท ผมไป แปลงใหม่ ทาง อบต.ให้เพิม่ อีก 100,000 บาท เป็น 200,000 บาท คุณอยูห่ มู่ 1 เป็นผูใ้ หญ่บา้ น เป็นสมาชิก อบต. ฝนตกปุ๊บหน้าบ้านคุณมีหลุมมีบ่อ ไฟสาธารณะดับ ผมก็เอาตำบลสุขภาวะนี้ ไปดัดแปลง คือ เอาดอกผลของเงิน 200,000 บาท มอบให้ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิก อบต. ไฟฟ้าดับ ก็บอกผูใ้ หญ่บา้ น และสมาชิก อบต. ได้เลย เอาเงินส่วนนีไ้ ปซ่อม แต่เงิน 200,000 บาท ของ อบต. ต้องยังอยู่นะ พอมาเป็นแหล่งเรียนรู้ เวลาผมหรือวิทยากรซึ่งเป็นสมาชิก อบต.

108 | หวัง ตั้ง มั่น


อธิบายเสร็จ ลูกข่ายทีม่ าสนใจก็เอากลับไปทำ ทำกันเป็นเรือ่ งธรรมชาติเลย ฝนตกลมพัด ไฟดับ ตอนเช้าต้องไปแก้ให้ สมัยที่ผมเป็นกำนัน เกษตรฯ ให้ข้าวมาหมู่บ้านละประมาณ 5 เกวียน เป็นข้าวพันธุ์ แล้วก็ให้แจกชาวบ้าน จะเอาไปเลยหรือจะเอามาคืนก็ได้ ผมก็ตกลงกับชาวบ้านว่า ขอกิโลกรัมละ 10 บาทเพื่อตั้งเป็นกองทุน แล้วกองทุนนี้เงินไม่หาย เอาเงินมาปล่อยให้ชาวบ้านกู้ ถ้าไปกู้ พ่อค้า เขาคิดร้อยละ 3 บาทต่อเดือน ปีหนึ่งร้อยละ 36 บาท เราก็ปล่อยร้อยละ 10 บาทต่อปี กองทุนนี้ก็ออกดอกออกผล เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่ง แหล่งเรียนรู้ ตรงนี้มันช่วยชาวบ้านได้เยอะ ถามว่าชาวบ้านจะพึ่งตนเองได้ไหม ว่าไปก็ยังไม่มากพอ ขณะนี้ อยู่ในระดับที่เป็นแค่ชนวน แต่บอกได้ว่าเริ่มดีขึ้น แหล่งเรียนรู้เหล่านี้ ต่อมาเราก็ตัดออกไปบ้างเหลือ 27 แหล่งเรียนรู้ แต่ที่เราแข็ง จริงๆ จะประมาณ 15 แหล่งที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ นอกนั้นก็คล้ายๆ ที่อื่น ผมเชือ่ ว่า หลังจากโครงการตำบลสุขภาวะจบแล้ว ตำบลก็จะอยูไ่ ด้ดว้ ยตนเองอย่างเข้ม แข็งขึน้ โครงการวันละบาทเกีย่ วกับ สสส.ไหม ไม่เกีย่ ว โรงเรียนเกีย่ วไหม ไม่เกีย่ ว มันเกีย่ วกับ เงิน อบต. ชมรมผูส้ งู อายุตอนนี้ เรือ่ งหมอนวดผ้าขาวม้าทีโ่ ด่งดังมากๆ นีม่ นั อยูด่ ว้ ยตัวของมันเอง

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 109


ตอนนี้เขามีม้วนผ้าขาวม้า มีเงินเข้า ปีใหม่นี้ สสส.จะเอาผ้าขาวม้าม้วนๆ ใส่ตะกร้าแจกร่วม 2,000 ผืน คนแก่ได้ค่าม้วน ผืนละ 30 บาท 2,000 ผืนนี่ได้เท่าไร ตำบลเล็กๆ อย่างผมได้ประโยชน์จากโครงการตำบลสุขภาวะมากกว่าตำบลใหญ่ๆ อย่างเทศบาลนคร ผลประโยชน์จะตกกับชาวบ้านมากที่สุด และทุกวันนี้ใน 20 ตำบลแรกที่จะ มาเป็นลูกข่าย ตอนแรกเขาบอกว่า อย่าเอาลูกข่ายที่เป็น อบต. ในพิษณุโลกนะ แต่ผมบอกว่า โครงการนี้มันคือเพื่อนช่วยเพื่อนถูกไหม ควรจะเอาคนที่สนิท แต่เดิมผมเอาเครือข่ายจาก ชุมพรมาเป็นลูกข่าย เพราะปลัดเคยทำงานด้วยกันแล้วต่อมาเขาย้ายไปชุมพร แต่มีปัญหาเรื่อง การเดินทาง พอดีปลัดเสียชีวิตเสียก่อน ไม่มีคนประสานงานต่อ เลยต้องตัดออกไป เลยเสนอ ว่า เพื่อนช่วยเพื่อนโครงการนี้ดี พิษณุโลกมี 9 อำเภอ ผมขอ 9 อบต. ได้ไหม ทางสำนัก 3 ก็ บอกว่าไม่ได้ นายกฯ ธนาวุฒิช่วยพูดให้ว่า 9 อำเภอนี้น่าจะได้นะ แล้วให้ 9 อบต. นี้ ขยายต่อ เขาก็เลยบอกว่า ลองดูหน่อยว่าจะเป็นอย่างไร จนปัจจุบันก็เห็นด้วยแล้ว ผมก็ไปเลือก อบต. เด่นๆ มาเป็นลูกข่าย เขากลับไปก็ไปกระจายงานออก

110 | หวัง ตั้ง มั่น


พงษ์เทพ ชัยอ่อน

นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

เราให้เขาแล้วเรามีความสุข วันนี้เราเป็นในฐานะผู้ให้ มากกว่าที่จะรับ แต่ที่จริงก็ ได้กันทั้งสองทาง เขาก็ ได้ เราก็ ได้

หาด สองแคว


ความสุขที่เกิดจากการให้และรับ ตำบลหาดสองแควเริ่มต้นเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ ด้วยการทำความตกลงกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ในโครงการ ‘จังหวัดน่าอยู่’ โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง โครงการนี้ก็ไปคัดสรรตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์มา 30 ตำบล เพื่อเป็นตำบลต้นแบบของตำบล สุขภาวะ พอปีที่ 2 ก็ขยายไปอีก 30 ตำบล เป็น 60 ตำบล แล้วขยายไปอีก จนกลายเป็น ตำบลสุขภาวะทั้งจังหวัด ซึ่งนั่นหมายความ ไม่มีตำบลอื่นเข้ามาเลือกพื้นที่ของอุตรดิตถ์เพื่อ เป็นลูกข่ายได้เลย หลังจากมีตำบลในพื้นที่อยู่ 60 ตำบลแล้ว ทางสำนัก 3 (สำนักสนับสนุนสุขภาวะ ชุมชน) สสส. อยากเห็นโมเดลของอุตรดิตถ์ทมี่ ี 2 ตำบลทำงานควบคูก่ นั เลยเลือกหาดสองแคว กั บ คอรุ ม มาเป็ น แฝดอิ น -จั น ในการที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นตำบลสุ ข ภาวะคู่ กั น ไป โดยที่ โ มเดล หาดสองแควมีดี คอรุมมีดี ก็จะใช้วิธีการแลกกัน เพราะฉะนั้น คนที่ไปดูงานตำบลต้นแบบก็จะ ได้ดู 2 ตำบล ไปนอน 4 คืน 5 วัน จะได้ศึกษาทั้ง 2 พื้นที่เปรียบเทียบกัน ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ ในช่วงของโครงการปีที่ 2 เพื่อทดลองดูว่า ทำอย่างนี้จะเกิดผลอะไรหรือไม่ นี่คือที่มาที่ไป ในส่วนของตำบลหาดสองแควนั้น เป็นชุมชนที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลเมื่อ 6 ปีก่อน จะเข้าร่วมกับโครงการนี้ เรามีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เป็นตำบลที่ได้รับการยอมรับจาก อำเภอ จังหวัด เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด โครงการต่างๆ ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็น โครงการที่โดดเด่น เรามีกลุ่มต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพ ซึ่งแม้จะมีมา นานแล้ว แต่ยังไม่ได้จับเอามารวมกันเป็นเรื่องเป็นราว ไม่เคยเอามาถอดบทเรียน เพียงแต่รู้ ข้อมูลว่า มีกลุ่ม มีอะไร พอเราเข้าโครงการ เราก็มาถอดบทเรียน เพิ่มการเรียนรู้ เอามาจัดการ ให้เป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นเรื่องเป็นราว เป็นเอกสาร เลยกลายเป็นว่า เรามีข้อมูลดีเพียงพอกับ การที่เราจะทำงานในระยะเวลาอันจำกัดในโครงการตำบลสุขภาวะช่วงปีเริ่มแรก คือเพียงแค่ ไม่กี่เดือนเท่านั้น งานที่เราประสานก็ง่ายและเร็วขึ้น จากการที่ทำงานสุขภาวะมาปีกว่าๆ ผมมั่นใจว่า ที่ผมได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานอีก ครั้งหนึ่งนี้ มาจากการทำงานตำบลสุขภาวะซึ่งเข้ามาหนุนเสริมการทำงานของ อบต. เพราะ 112 | หวัง ตั้ง มั่น


โครงการนี้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในชุมชน มีคนเข้ามาศึกษาดูงาน เดือนละประมาณ 4 ครั้ง โดยไม่รวมของ สสส. ซึ่งเราต้องงดไป 3 เดือน ไม่รับใครมาดูงาน เนื่องจากต้องหาเสียง 2 เดือน เลือกตั้ง 1 เดือน ซึ่งในช่วงที่เราหยุด ชาวบ้านได้เห็นเลยว่า ที่ผ่านมาหลังจากที่เราเข้า มาทำงานนั้นเกิดกระบวนการเคลื่อนไหวของคนในชุมชนอย่างไร ทุนคนมีรายได้ คนทำ ข้าวเกรียบ คนทำไม้กวาด คนทำจักสาน ทุกคนมีรายได้หมด อย่างน้อย 1 กลุ่ม ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อคณะดูงาน 1 รุ่น บางกลุ่มได้เป็นหมื่น คราวนี้พอหยุดไป 3 เดือน รายได้ก ็

หายไป ชาวบ้านเขาก็เห็น อย่างไรก็ตาม ผมเน้นและให้ความสำคัญว่า สิ่งที่ผมใส่ลงไปในชุมชนนั้นจะต้องเป็น ความยัง่ ยืน ผมพยายามบอกกับชาวบ้านเสมอว่า เงินทีไ่ ด้จากโครงการก้อนนี้ มาแค่ 3 ปีเท่านัน้ เพราะมันเป็นโครงการ เพราะฉะนั้นถ้า 3 ปีหมดโครงการไปแล้ว ชุมชนต้องอยู่ได้ กลุ่มต่างๆ ต้องอยู่ได้ โฮมสเตย์ต้องอยู่ได้ คนที่เป็นไกด์ก็ต้องอยู่ได้ เราจะต้องคิดถึงความยั่งยืน จะทำ อย่างไรก็แล้วแต่ ต้องทำให้เกิดวิธีคิดที่ไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงานภายนอกมากนัก แต่ให้พึ่งตนเอง แม้เสร็จสิ้นโครงการเมื่อครบ 3 ปีแล้ว จะมีคนมาดูงานน้อยลงไป แต่เราก็พยายามดึง ลูกค้าไว้ให้ได้ หรือลูกค้าใหม่ทมี่ าจากลูกค้าเก่าทีเ่ ขาศรัทธาในภาพของหาดสองแควแล้วบอกต่อ ทำให้ตำบลสุขภาวะที่เกิดขึ้นใหม่รู้ให้ได้ว่า ถ้าอยากดูเรื่องการจัดการขยะให้ไปที่หาดสองแคว เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 113


ถ้ า อยากดู เรื่ อ งโฮมสเตย์ ต้ อ งไปที่ ห าดสองแคว ถ้ า อยากดู เรื่ อ งการบริ ห ารจั ด การต้ อ งไป หาดสองแคว เหมือนกับปากพูน ใครจะไปดูต้นแบบก็ไปปากพูน ผมคิดว่าแต่ละตำบลมีศักยภาพไม่เท่ากัน ศักยภาพแรกคือผู้นำขององค์กร ผู้นำ องค์กรแต่ละคนมีความคิดไม่เหมือนกัน บางคนมีความคิดแค่จะทำโครงการให้เสร็จ บางคน คิดที่จะเอาหน่วยงานอื่นมาต่อยอด บางคนคิดที่จะสร้างให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ที่ยั่งยืน แต่ละที่ แต่ละคนก็มีแนวความคิดหรือบริบทที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งผมว่าเราเห็นได้ชัดจากการเข้ามาสู่ โครงการนี้ คือเราเอากระบวนการทำงานของ สสส. มาปรับใช้ ผมปรับสำนักงานให้ทำงาน เหมือน สสส.คือทำแล้วต้องเสร็จ จากที่เมื่อก่อนเราไม่รู้จัก สสส. เราทำงานแบบผลัดวัน ประกันพรุ่ง ทำแล้วไม่เสร็จก็เอาไว้พรุ่งนี้ ถ้างานไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร พรุ่งนี้ทำต่อ แต่พอเรามา รู้จักกระบวนการทำงานของ สสส. มาประชุม มาทำงานเสร็จดึกๆ ดื่นๆ เที่ยงคืนคุณต้องเสร็จ พรุ่งนี้ต้องมีงานใหม่ทำ เราก็เลยเอาเรื่องนี้เป็นนโยบายของการบริหารงานบุคคล ทีมงานของเราต้องทำงาน ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อที่พรุ่งนี้คุณจะได้เริ่มงานใหม่ นี่คือสิ่งที่เราได้จากการ ทำงานด้วยกัน นอกจากนี้ เราเห็นภาพเปรียบเทียบการทำงานระหว่างข้าราชการกับงานของ สสส. ซึ่งเมื่อก่อนมันเป็นงานที่จับแล้วไม่เป็นรูปธรรม ข้าราชการก็แค่แตะๆ งาน แต่มาวันนี้เรา แค่แตะไม่ได้แล้ว มันต้องจับแล้วยกขึ้นมาเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของคุณ มันถึงจะได้งาน เลยกลายเป็นว่า วันนี้งานของท้องถิ่นกับงานของโครงการกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อก่อนทาง อบต.ทำงานโดดเดี่ยวไม่มีหน่วยงานไหนมาสนใจ ไม่มีองค์กรไหนเข้า มาสนับสนุนงบประมาณ แต่การได้ร่วมงานกับตำบลอื่นๆ ทำให้เราเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยน องค์กร เปลี่ยนอะไรได้เลย ยิ่งเราเป็นนักการเมืองที่มีโอกาสได้ทำงานต่อเนื่อง ก็มีโอกาสวาง แนวคิด วางรากฐาน ใส่กระบวนการให้กับข้าราชการ สิ่งที่เราฟันธงคือ ต้องเปลี่ยน แล้ว เปลี่ยนได้จริงๆ ถ้าคุณทำไม่ได้ก็บอก หรือเหนื่อยก็บอก เราก็จะเปลี่ยนคน ผมเคยบอก ถ้า คุณเหนื่อย บอกผมนะ แต่ไม่มีใครกล้าบอก พอผมมอบนโนบายครั้งที่ 2 ผมก็บอกอย่างนี้ เหมือนกัน ถ้าใครเหนื่อย ข้าราชการ พนักงานคนไหนเหนื่อยให้บอก เพราะก่อนที่ผมจะก้าว เข้ามาดำรงตำแหน่ง มีคนฝากให้ลูกหลานมาทำงานด้วยมากมายทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพราะ ฉะนั้นถ้าคุณไม่ทำงาน หรือมันเหนื่อยมาก ผมจะได้เอาคนที่เขาอยากทำมาทำ ก็เป็นการขู่ เล็กๆ

114 | หวัง ตั้ง มั่น


การขยายเครือข่ายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผมภูมิใจ อันนี้กล้าการันตี เพราะตำบลที่มาเป็น ลูกข่ายของเรา ปรากฏว่าพอเขามาดูเราเสร็จแล้ว เขาก็เอารูปแบบของเราไปทำในตำบลของเขา แล้วเขาก็เชิญเราไปดู ผมไปดูแล้วก็ปลื้มใจว่า เราได้เป็นต้นแบบให้เขา บางทีเขาเอาไปทำแล้วดี กว่าเราด้วย เพราะเขาพัฒนาขึ้นไปอีก ของเราเท่าเดียวใช่ไหม เขาไปทำเป็นสองเท่า เช่น อบต.หนองหลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ปรากฏว่าเขาเป็น อบต.เจ้าพ่อน้ำมัน มีเงิน กว่า 30-40 ล้านบาท เขามาดูงาน 30 คน กลับไปได้หนึ่งเดือน เอามาอีก 100 คน มาดูอีก รอบ แล้วเอากลับไปทำในตำบลของเขา ทั้งเรื่องกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มโฮมสเตย์ แล้วก็เชิญผมไปดู นี่คือสิ่งที่ทำแล้วเห็นผล จากเชียงรายพาคนมาดูงานเรื่องเกี่ยวกับขยะ แล้วกลับไปทำ มีที่ไม่ เป็นหรือไม่เกี่ยวกับเครือข่ายหรือลูกข่ายของเราด้วย เขามาดูเสร็จแล้วเขาก็เอากลับไปทำ แล้วก็เชิญเราไปดู นี่คือสิ่งที่เราได้จากการเป็นตำบลสุขภาวะ เราให้เขา แล้วเรามีความสุข วันนี้ เราเป็นในฐานะผู้ให้มากกว่าที่จะรับ แต่ที่จริงก็ได้กันทั้งสองทาง เขาก็ได้ เราก็ได้ ทีนี้ในการสร้างความยั่งยืนก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ในวันสองวัน มันต้องใช้ระยะเวลา เพื่อที่จะพูดคุย เปลี่ยนแนวคิด ซึ่งเป็นเรื่องที่เปลี่ยนยากมาก ต้องใช้ระยะเวลา ต้องพยายาม อย่างต่อเนื่อง หนึ่งสมัย สองสมัย สามสมัย ถึงจะทำได้ ส่วนเรื่องการมีส่วนร่วม จากเมื่อก่อนที่ คนเราเห็นแก่ตัว คอยแต่จะรอรับ แต่วันนี้เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด ทำให้คนในชุมชนมามีส่วนร่วม กับท้องถิ่น ต้องทำให้เขารู้ว่า อบต.ไม่ใช่ของผมแต่เป็นของชาวบ้านทุกคน ชาวบ้านต้องมีส่วน ร่วมในการจัดการ เริ่มตั้งแต่กระบวนการคิดนโยบายต่างๆ คุณต้องเป็นคนคิดให้ผม เรื่องของ ความเดือดร้อน คุณต้องเป็นคนบอกผม ถ้าบอก อบต. บอกผูใ้ หญ่บา้ นไม่ได้ คุณต้องมาร่วมกัน บอก แล้วจัดลำดับความสำคัญมาว่า คุณจะให้ผมทำอะไร ผมจะเป็นผู้จ่ายเงินให้ทำในฐานะที่ ผมควบคุมงบประมาณเพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ แล้วการแก้ปัญหาก็จะได้ตามนั้นจริงๆ

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 115


กิตติวฒ ั น์ เลิศพรตสมบัติ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

หลังจากผ่าน กระบวนการถอดบทเรียน ทำให้ตอนนี้เรามีอยู่ 7 ระบบ 32 แหล่งเรียนรู้ สำหรับเพื่อนเครือข่าย และสำหรับชาวเก้าเลี้ยว เพื่อก้าวสู่ความเป็นชุมชน สุขภาวะ

เก


ก้าวแห่งความสุข ของ ‘เก้าเลี้ยว’ ผมเป็นคนในพื้นที่เก้าเลี้ยว พื้นเพแต่เดิมทำงานรับราชการกระทรวงสาธารณสุข กระทั่งออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเก้าเลี้ยว และได้รับเลือกให้ดำรง ตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 แต่เดิมในสมัยที่ สสส. ยังไม่เข้ามา การมีสว่ นร่วมของชาวบ้านในการทำกิจกรรมต่างๆ ยังน้อย ซึ่งเป็นผลจากการที่ประชาชนเห็นว่า ได้เลือกตั้งและมอบหน้าที่ให้นายกฯ ไปแล้ว นายกฯ ต้องไปจัดการ เพราะฉะนั้นในการเรียกประชุมหรือขอความคิดเห็นต่างๆ รวมไปถึง การทำกิจกรรมก็จะไม่ค่อยให้ความร่วมมือ นั่นเป็นแรงผลักดันให้เรามาหาคำตอบว่า จะทำอย่างไรให้ภาคประชาชนเข้ามามี

ส่วนร่วม พอดีทางเรามองเห็นกลุ่มๆ หนึ่ง คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในเทศบาล ตำบลเก้าเลี้ยวมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 16 ขณะที่ค่ามาตรฐานของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 เพราะ

ก้าเลี้ยว


ฉะนั้น เราจึงคิดจะนำผู้สูงอายุกลับมาเป็นกำลังสำคัญ โดยเอาข้าราชการที่เกษียณมาเป็นกลไก ขับเคลื่อนในกลุ่ม ผ่านการจัดตั้งชมรมขี่จักรยานออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ จนวันนี้ เมื่อเราเป็นแม่ข่ายน้องใหม่ล่าสุดในโครงการตำบลสุขภาวะของ สสส. โดย เริ่มต้นเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2555 แต่กว่าจะมาถึงตรงนี้ เราต้องผ่านการเป็นลูกข่ายมา 1 ปี ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มเติมประสบการณ์ ทำให้เราเห็นว่า ตำบลเรามีความพร้อมที่จะขึ้นมา เป็นแม่ข่ายได้แล้ว มีการประเมินทุนและศักยภาพของตัวเอง แล้วนำเสนอกับทาง สสส. เมื่อ ได้รับการพิจารณาเห็นแล้วว่า มีความเหมาะสมที่จะเป็นแม่ข่าย ก็เลยตกลงทำความตกลงหรือ ทำ MOU กัน การเข้าร่วมกับ สสส. เป็นประโยชน์แก่ชุมชนแน่นอน เพราะการทำงานกับ สสส. เปิดโอกาสให้เรามีเพื่อนในเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ให้เราได้ศึกษาว่า ที่ไหนดีไม่ดี อย่างไร แล้วก็ชวนชาวบ้านไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน เมื่อไปดูแล้วก็กลับมา พัฒนาหมู่บ้านของตนเอง โดย สสส. จะมีจุดเด่นในการขับเคลื่อนเครือข่าย ช่วยหนุนเสริมใน เชิงวิชาการ มีคณะอาจารย์มาช่วยดูวา่ รูปแบบกิจกรรมของเรา ต้องการสนับสนุนในเชิงวิชาการ มากน้อยแค่ไหน เพราะเราจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรของท้องถิ่น เพื่อให้เพื่อนของเรามา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลำดับต่อไป ผมมองว่า แนวทางการพัฒนาลักษณะนี้เป็นรูปแบบที่มีความยั่งยืน ขณะที่เมื่อก่อน ชาวบ้านพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ขาดการประเมินการแก้ไขในปัญหาต่างๆ พอเข้าร่วมตรงนี้ ก็เหมือนมีฝ่ายวิชาการเข้ามาตามเก็บรายละเอียด งานก็มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยหลัง จากผ่านกระบวนการถอดบทเรียน ทำให้ตอนนี้เรามีอยู่ 7 ระบบ 32 แหล่งเรียนรู้สำหรับเพื่อน เครือข่ายและสำหรับชาวเก้าเลี้ยวเพื่อก้าวสู่ความเป็นชุมชนสุขภาวะ ในความคิดของผม ชุมชนสุขภาวะ คือสภาวะของทุกคนในชุมชนที่มีความสุขทั้ง 4 มิติ มิติที่ว่าคือ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มิติในเรื่องของจิตใจ มีสุขภาพจิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ มิติในเรื่องของสังคม คือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และสุดท้ายคือมิติในด้าน ปัญญา อยู่ด้วยกันอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหา สังคมเราจะอยู่เย็น เป็นสุข เป็นตำบลที่น่าอยู่ อนาคต หากเราสามารถพัฒนาตัวเองสู่ชุมชนที่มีการรับรู้ประเด็นของปัญหา มีการ ระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมรับผิดชอบในการประเมินและการแก้ไข ปรับปรุง มีการดำเนินการจากรุ่นสู่รุ่น ให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมสานต่อ ตลอดจนการ 118 | หวัง ตั้ง มั่น


สร้างภาคีเครือข่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ เพราะผมเห็นแล้วว่า ชุมชนจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้ ต้องมีมิติของเครือข่าย ทำงานประสานกันเหมือนเพื่อน ตลอดจนความราบรื่นในการ ทำงานกับทางราชการ ภาคท้องถิ่น ภาคท้องที่ รวมไปถึงภาคเอกชน ทุกกลุ่มทุกแหล่งเรียนรู้ จึงมีความสำคัญทั้งหมด เพราะการจะสร้างตำบลให้น่าอยู่ ไม่ใช่ว่าระบบใดระบบหนึ่งจะเป็น พระเอก ทุกระบบก็คือหนึ่งในฟันเฟือง ขณะที่เรื่องของการบริหารในภาพรวม เก้าเลี้ยวสามารถจัดการตัวเองได้ เพราะการ บริหารงบประมาณมีการจัดการอย่างยืดหยุ่น ทั้ง สสส. เองก็รู้ดีถึงกลไกของระบบทางราชการ การใช้จ่ายเงินจึงต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของทางราชการ ดังนั้นเราจึงเอากิจกรรมเป็นตัวตั้ง ว่ากิจกรรมนี้จะต้องใช้งบประมาณเท่าไร ใช้ตามความเป็นจริงอย่างสมเหตุสมผล และมีการ ตรวจสอบงบประมาณกับแผนงานว่าตรงกันหรือไม่ ทุกวันนี้ ปัญหาหนึ่งที่เราเผชิญคือ การเมืองท้องถิ่นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ ชอบเรา กับกลุ่มที่ไม่ชอบเรา ถ้ากลุ่มไหนไม่ชอบเรา ถึงแม้เราจะพัฒนาอย่างไร เขาก็ตำหนิเรา หรือค้านเราเหมือนเดิม เพราะฉะนัน้ การจะทำชุมชนสุขภาวะให้ได้ผลอย่างเต็มทีค่ งเป็นไปไม่ได้ ได้ผลเพียงร้อยละ 80 ก็ถือว่าดีแล้ว นั่นจัดเป็นปัญหาหนึ่ง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 119


จินตศักดิ์ แสงเมือง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

การทำชุมชนสุขภาวะ เปิดโอกาสให้เราได้ไปดูงาน ในหลายพื้นที่ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ ในชุมชน

ไกร


ดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพ สร้างสุขรอบด้าน ที่จริงก่อนเข้าโครงการกับ สสส. เราพยายามทำงานของเรา แต่ก็ยังไม่มีทิศทางทำ กิ จ กรรมอะไรให้ กั บ ชุ ม ชนให้ ไ ด้ ผ ลเป็ น ไปอย่ า งที่ เราคาดหวั ง นั ก ที่ มี อ ยู่ ก็ เ พี ย งการแจก เบี้ยยังชีพ เสร็จแล้วก็กลับบ้าน แต่พอ สสส. เข้ามา เป็นโอกาสให้เราได้เพิ่มกิจกรรมกับ

ผู้สูงอายุ ให้ได้มาร่วมสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดก่อนที่จะแจกเบี้ยยังชีพในทุกๆ เดือน นอกจากผู้สูงอายุแล้ว ยังมีกิจกรรมให้กับเด็กและเยาวชนได้ทำในทุกเย็นวันศุกร์ ทุกเย็นวันศุกร์เราจะมีตลาดนัด หรือตลาดตอนเย็นที่วัดโคกยาง เราจะให้เด็กมาพบกันกลาง หมู่บ้านหลังเลิกเรียนเพื่อทำกิจกรรม โดยมีหน่วยงานพัฒนาสังคมหน่วยที่ 64 มาช่วยสอนร้อย ลูกปัด ทำพวงกุญแจ แล้วให้เด็กเดินขายในตลาด ในด้านเศรษฐกิจชุมชนนี้ เรายังได้ส่งเสริม อาชีพให้ทุกหมู่บ้านที่สนใจ เราพยายามสนับสนุนอย่างเต็มที่ และยังมีหน่วยงานพัฒนาสังคม จังหวัดเข้ามาช่วยพัฒนาด้วย การทำชุมชนสุขภาวะ เปิดโอกาสให้เราได้ไปดูงานในหลายพื้นที่ แล้วนำมาประยุกต์ ใช้ในชุมชน ซึ่งต้องยอมรับว่า งานพัฒนาดำเนินไปอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการถอดบทเรียน ชุมชนไกรนอกออกเป็น 5 ระบบ 23 แหล่งเรียนรู้ ที่เด่นๆ ของเราคือเรื่อง ‘ปูนแดง’ ที่ตอนนี้เราได้งบประมาณมาจากพัฒนาสังคม จังหวัดมา 100,000 บาท สนับสนุนในเรื่องปูนแดงที่ใช้ควบคุมลูกน้ำยุงลาย โดยได้รับเงินมา

รนอก


ทำวิจัยเพื่อที่จะขยายผลไปทั้งตำบล ทั้งอำเภอ จากเดิมที่มีอยู่ในหมู่บ้านเดียว ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ก็จะเป็นเรื่องที่ส่งผลดีต่อชุมชน โดยตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา ซึ่งทำให้ทุกวันนี้ ชาวบ้านเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเรายังมีโครงการอื่นๆ ร่วมกับชาวบ้านเป็นประจำ รวมทั้งงานประเพณีและงานเทศกาลต่างๆ เรื่องแหล่งเรียนรู้ ผมได้เข้าไปช่วยเหลือดูแลเกือบทุกแหล่งโดยทำมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่ง สสส. ได้ช่วยติดตามผลและช่วยกันพัฒนา ผ่านกระบวนการประชุมขยายผล ซึ่งผู้นำแต่ละ แหล่งก็จะเป็น อสม. เสียส่วนใหญ่ โดยมีผู้จัดการโครงการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ทำหน้าที่คุม อสม. อีกที และผมก็ให้ผู้จัดการเป็นตัวกลางคอยประสานงานกัน ในความคิดของผมชุมชนสุขภาวะต้องเป็นชุมชนที่น่าอยู่ มีกิจกรรมเกี่ยวกับสังคม ปัญญา มีความสุขอย่างรอบด้าน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ต้องให้เศรษฐกิจชุมชน ดีด้วย นอกเหนือจากการทำงานร่วมกับ สสส. แล้ว เรายังทำงานร่วมกับภาครัฐ ซึ่งเป็นไป อย่างราบรื่น ไม่มีปัญหาอะไร ประสานงานง่าย ผู้แทนหารือกันได้ เรื่องงบประมาณจากส่วน กลางก็ไม่มีปัญหา เพราะเราเป็นตำบลที่ไม่ใหญ่ ได้งบประมาณมาเราก็สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ 122 | หวัง ตั้ง มั่น


ต้องบอกว่า เราลงทุนเองตั้งแต่แรกเริ่ม ตอนแรกเป็นลูกข่ายของจังหวัด มีตำบลติดกันเป็น ประธานจังหวัด ส่วนมากจะเอาประธานจังหวัดเป็นแม่ข่าย พอได้ไปเห็นที่ปากพูน ก็คิดว่าน่า สนใจดี ทำให้ชาวบ้านมีความกระตือรือร้น เลยพาแกนนำไปศึกษาแล้วกลับมาทำ มาต่อยอด ซึ่งตอนลงไปพื้นที่ปากพูน เราไปกันเอง ใช้งบประมาณของเราเอง คือหวังจะให้ชาวบ้านได้ ประโยชน์เป็นหลัก พอ สสส. เข้ามา ก็มาแบ่งเบาตรงนี้และช่วยสนับสนุนให้ทั้งหมด การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน ได้สร้างความกระจ่างแล้วว่า การเมือง นั้นมีความไม่แน่ไม่นอน วันหนึ่งเราอาจจะไม่ได้อยู่ตรงนี้ แต่ก็เชื่อว่า สิ่งดีๆ ที่ได้เริ่มไว้จะยังคง อยู่ต่อไป โดยมีชาวบ้านเป็นกำลังสำคัญในการสานต่อกิจกรรมที่ทำไว้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนล่าง | 123



โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอ อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐา พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวา บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมรา บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอ อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐา พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวา บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมรา บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอ อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐา พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวา บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมรา บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอ อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐา พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวา บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมรา บ้านยาง หนองไฮ ประโคนชัย โพนทอง อุดมทรัพย์ ศรีฐาน พิมาน ปทุมวาปี บักได เขมราฐ บ้านยาง หนองไ

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคเหนือตอนบน | 125


มาถึงตอนนี้ หลายพื้นที่เริ่มสร้าง ความโดดเด่น เป็นแหล่งให้ผู้อื่นมาเรียนรู้ ได้หลายอย่าง ขณะที่บางพื้นที่ก็กำลังอยู่ ระหว่างการก่อร่างสร้างตัว รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน 126 | หวัง ตั้ง มั่น


ส่อง ‘อีสาน’

ก้าวที่ผ่านมา ก้าวที่จะไป หากดูในภาพรวม ตำบลที่เข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีจุดเด่นอยู่ 2 เรื่องหลักคือ เรื่องเกษตร และการดูแลสุขภาพ ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบสวัสดิการ แบ่งเป็นพื้นที่ตำบลศูนย์เรียนรู้เดิม 4 แห่ง และ ตำบลใหม่ 6 แห่ง ตำบลที่จะเข้าร่วมเป็นตำบลศูนย์เรียนรู้จะต้องทบทวนตัวเอง และเสริม ศักยภาพตนเองเพื่อให้มีความโดดเด่นเพียงพอเพื่อให้สามารถเป็น ‘แหล่งเรียนรู้’ ได้เสียก่อน การค้นหาและเพิ่มศักยภาพแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ เป็นก้าวแรกของการ ทำงานของ สสส. เราเน้นการเปิดพื้นที่ทั้งตำบลเพื่อดูฐานศักยภาพของตำบลว่า มีความเข้มแข็งของกลุ่มและแหล่งเรียนรู้ขนาดไหน ที่พูดว่า ‘แหล่งเรียนรู้’ จริงๆ แล้วก็คือ คนที่รวมกลุ่มกันเป็นชมรม เป็นเครือข่าย หรือกลุ่มประชาสังคมทั้ง หลายที่ทำงานอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ได้ขึ้นกับ อบต. และมีลักษณะการทำงาน แบบเอกเทศ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 127


เราพยายามผลักดันให้ท้องถิ่นเข้าไปสนับสนุนกลุ่มเหล่านี้ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ ท้องถิ่นอาจไม่รู้เลยว่ามีแหล่งเหล่านี้อยู่และสามารถช่วยงานตัวเองได้ หรือท้องถิ่นอาจรู้บ้างว่า มีกลุ่มไหนเกิดขึ้น แต่ไม่เข้าไปข้องเกี่ยว ซึ่งขณะนี้มีการปรับทัศนคติใหม่ โดยพยายามเข้าไป ทำความรู้จัก และสนับสนุนกลุ่มพลังประชาสังคม โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านงบประมาณ ช่วง 3 ปีแรกของการทำงานของ สสส. เป็นการสร้างการเรียนรู้ตนเองของพื้นที่ตำบลต่างๆ ใน ภาคอีสาน ผ่านการจัดกระบวนการถอดบทเรียนตนเอง โดยใช้เครื่องมือที่เราทำขึ้นมาอย่าง RECAP (Rapid Ethnographic Community Assessment Process - การวิจัยชุมชนแบบ เร่งด่วน) หรือทำระบบข้อมูล TECNAP (Thailand Community network Appraisal Program- การประเมินเครือข่ายชุมชน) เพื่อให้พื้นที่ถอดความเข้าใจตัวเอง เก็บข้อมูลตัวเอง เห็นประเด็นปัญหาตัวเอง แล้ววางแผนเองว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหา แต่การที่จะบอกได้ว่า ตัวเขาเองจะต้องพัฒนาต่อยอดแหล่งอะไรและอย่างไร ท้องถิ่น อาจมีขีดจำกัด เพราะไม่มีประสบการณ์ที่หลากหลายเพียงพอ สสส.จึงหนุนด้วยกระบวนการ สร้างการเรียนรู้ข้ามพื้นที่ เป็นการเรียนรู้ในที่อื่นๆ เช่น พาไปดูการทำงานที่ตำบลปากพูน นครศรีธรรมราชแบบเต็มรูปแบบ และเพื่อให้เรียนรู้ได้ชัดเจน ก็ให้พื้นที่ต่างๆ ตั้งโจทย์ไว้เลยว่า จะนำเอาส่วนไหนไปปรับใช้จริงในพื้นที่ได้อย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง ต้องการคนแบบไหน ต้องการข้อมูลแบบไหน เรียกว่าเป็นการจัดกระบวนการวางแผนการทำงานจริง มาถึงตอนนี้ หลายพื้นที่เริ่มสร้างความโดดเด่น เป็นแหล่งให้ผู้อื่นมาเรียนรู้ได้หลาย อย่าง ขณะที่บางพื้นที่ก็กำลังอยู่ระหว่างการก่อร่างสร้างตัว ตำบลศรีฐาน ผู้นำในพื้นที่สามารถเชื่อมโยงความคิดระหว่างสวัสดิการกับสถาบันการ เงินได้ค่อนข้างโดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว ความคิดที่จะเอาเงินไปช่วยคนทุกข์ยากก็เกิด ขึ้นช่วงการดูแลสถาบันการเงิน รวมถึงการเอาไปแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินซึ่งพวกแม่ค้าพ่อค้าที่ ตลาดต้องกู้รายวันดอกเบี้ยสูง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้หลายรายแล้ว ทำให้ชุมชนเข้าใจว่า การช่วย กันด้วยสวัสดิการของชุมชนเองเกิดผลดีกว่าใช้สวัสดิการอื่นช่วย ตำบลโพนทอง แหล่งเรียนรู้ทั้งหลายเน้นไปทางดูแลสุขภาพ มีการจัดตั้งอาสาสมัคร นำอาสาสมัครมาคุยกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยคนพิการ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่ม ‘เพื่อน ช่วยเพื่อน’ ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หนุนเสริม กันทำให้เกิดการปรับตัวเมื่อเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นการปรับเรื่องอาหาร การปรับเรื่องการออก กำลังกาย 128 | หวัง ตั้ง มั่น


ตำบลอุดมทรัพย์ มีความโดดเด่นเรื่องเกษตร แต่ก็ไม่ใช่เพียงเกษตรอย่าง เดียว ยังมีแหล่งเรียนรู้ที่โดดเด่นว่าด้วยเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคจิต ซึ่งตำบลอื่นๆ ทำ ไม่สำเร็จ แต่ที่อุดมทรัพย์ ผู้ป่วยโรคจิต 80 กว่ารายมาเข้าระบบของการช่วยเหลือ ไปรับยา ช่วยบำบัด เพื่อให้สามารถอยู่ในครอบครัว ในชุมชน รวมทั้งไปทำงานได้ โดยที่สังคมให้การยอมรับ ตอนนี้มีการจัดตั้งวงดนตรี มีชาวบ้านจ้างให้ไปแสดง ดนตรีในงานต่างๆ โครงการนี้เริ่มต้นโดยพระในพื้นที่เป็นคนดูแล จากนั้นท้องถิ่นไป สนับสนุน แสดงให้ว่า เขามีศักยภาพมาก่อน แล้วท้องถิ่นจึงเข้าไปเป็นส่วนเสริม ตำบลพิมาน เป็นตำบลใหม่ ตอนถอดบทเรียนดูเหมือนมีความเข้มแข็ง ด้านเกษตร แต่ยังไม่แน่ใจนัก อาจต้องเข้าไปดูอีกรอบ เพราะเมื่อเข้าไปดูการจัดการ แล้วจึงอาจจะเห็นว่า ได้หรือไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องกลุ่มช่วยเหลือกันด้วยที่ค่อน ข้างโดดเด่น ตำบลปทุมวาปี ก็เป็นตำบลใหม่ นายก อบต. ที่นี่ตั้งใจมาก กระบวนการ ของโครงการจะมีช่วงปีหนึ่งที่ตำบลต้องถอดบทเรียนตัวเอง และพัฒนาตนเองเพื่อ พร้อมรับเพื่อน ที่นี่ก็อยากจะพัฒนาตนเองเพื่อพร้อมรับเพื่อน พื้นที่อาจไม่ได้เด่นมา ก่อนมากนัก มีเรื่องเกษตรอยู่บ้าง แต่มีใจที่อยากพัฒนา นี่เป็นตัวช่วยหนึ่งที่อาจจะ ทำให้เขายกระดับตัวเองขึ้นมาและช่วยเพื่อนได้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 129


ตำบลบักได เด่นเรื่องทรัพยากรป่า ทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลสุขภาพจะเด่นเรื่อง การใช้สมุนไพรงู เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า งูเยอะ หมองูก็ใช้สมุนไพรรักษาพิษงูได้ผล โรงพยาบาลก็ใช้องค์ความรู้ของชาวบ้านประกอบกันด้วย ตำบลเขมราฐ มีเรื่องเด่น 2 เรื่อง คือทำ ‘โรงพยาบาล 1,500 เตียง’ มีการให้ทุนเด็ก ไปเรียนหลักสูตรพยาบาลชุมชนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้วเด็กก็กลับมาทำงานในพื้นที่ มี กระบวนการเพิ่มศักยภาพให้ อสม. โดยตั้งทีมประจำหมู่บ้าน เพื่อให้พยาบาลทำงานกับผู้ป่วย เรื้ อ รั ง ผู้ สู ง อายุ คนพิการ เข้าใจว่าถึงตอนนี้ พวกเขาสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงเหล่านี้ ครอบคลุมร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว อีกเรื่องคือ ‘ยุววิจัย’ ครูที่อยู่ในทีมเป็นคนเชื่อมประสาน โดยเห็นว่าเด็กๆ ที่ไปฝึกทำ วิจัยกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สามารถสร้างประโยชน์เพิ่มเติมจากกระบวนการวิจัยได้ เนื่องจากการวิจัยประวัติศาสตร์ชุมชน ทำให้เด็กมีศักยภาพในการค้นหา เด็กๆ ต้องเข้าไป ตรวจสอบรายครัวเรือนอยู่แล้ว จึงเชื่อมโยงให้เด็กกลุ่มนี้ทำระบบข้อมูลสุขภาพ ควบคู่ไปด้วย เรียกว่าเป็นการเก็บประวัติชุมชน ไปพร้อมๆ กับข้อมูลสุขภาพรายครัวเรือน ขณะเดียวกัน เมื่อ เด็กเรียนรู้ข้อมูลก็พัฒนาความคิดที่เกี่ยวข้องกับบ้านเกิดของเขาได้ ตำบลบ้านยาง ทำเรื่องระบบข้อมูล ระบบการถอดบทเรียนตนเอง ทีมของท้องถิ่น เป็นทีมที่เกาะติดงาน และไม่ทิ้งงาน เชื่อมประสานกับนายกฯ กับแหล่งเรียนรู้ได้ดี มีแหล่ง เรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะของอีสาน มีความเหนียวแน่นของผู้นำสูงกับชาวบ้านสูงยิ่งและเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน ตำบลประโคนชัย เช่นเดียวกับที่บ้านยาง มีความเหนียวแน่นของผู้นำกับชาวบ้านสูง ตำบลหนองไฮ เป็นพื้นที่ใหม่ เป็นลูกข่ายของตำบลปากพูน นครศรีธรรมราช พื้นที่นี้ พยายามพัฒนาตัวเองมาปีกว่า พยายามสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แหล่งเรียนรู้เขาก็ มีทั้งสวัสดิการกับเกษตร แต่ดูเหมือนเขาจะมั่นใจในสวัสดิการมาก เวลาและการทำงานที่ผ่านมาเป็นตัวพิสูจน์แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะ หากกลุ่ ม เหล่ า นั้ น ไม่ ไ ด้ ส ร้ า งประโยชน์ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน ก็ ค งจะไม่ ส ามารถอยู่ ไ ด้ ย าวนาน แม้ ประโยชน์นั้นไม่ได้ครอบคลุมเต็มทั้งพื้นที่ แต่เมื่อรวมๆ กันแล้วก็กระทบทั้งตำบลได้ นั่น หมายความว่า ท้องถิ่นสามารถเชื่อมแหล่งเรียนรู้กับผลกระทบต่อชาวบ้านได้ทั้งหมด นี่คือขั้น ตอนของการดูศักยภาพ 130 | หวัง ตั้ง มั่น


เมื่อดูศักยภาพแล้ว เราอาจยังไม่เห็นวิธีทำงานที่ได้ผลทั้งหมด เพราะบางกลุ่มก็ได้ผล บางกลุ่มก็ไม่ได้ผล และส่วนที่ได้ผลก็อาจได้ผลเพียงระยะสั้น เช่น พื้นที่ยังไม่ได้ยอมรับถึงขั้นว่า สหกรณ์ของกลุ่มนี้ควรเอาเงินปันผลที่ได้เกินเอาไปดูแลเด็กติดเชื้อ เรื่องแบบนี้จำเป็นต้องไป ต่อยอดทางความคิดอีก ที่ผ่านมา เราทำตำบลแหล่งเรียนรู้ สมมติว่า ตำบลหนึ่งมี 20 กว่าแหล่ง แล้วเราก็ สร้างการเรียนรู้ข้ามพื้นที่ พร้อมๆ กับให้พื้นที่อื่นเข้ามาเรียนรู้ด้วย ต่อไปตำบลจะต้องสร้าง กระบวนการการเรียนรู้ภายในของตัวเอง ไม่เช่นนั้น มัวแต่สร้างการเรียนรู้ให้ตำบลลูกข่าย แต่ ว่าแม่ข่ายเอง ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านอาจไม่ได้รับรู้ หรือไม่ได้รับประโยชน์จากกระบวนการ เรียนรู้นี้เลย การทำงานในระยะต่อไปของ สสส. ควรต้องแหลมคมขึ้นอีก โดยเน้นไปที่การทำงาน ของท้องถิ่นเลยว่าจะไปต่อยอดตรงไหน จากที่ตอนแรกเราทำในเชิงระบบ และเสริมศักยภาพ แกนนำ ถึงจุดนี้ต้องลงไปในเชิงรูปธรรมเลยว่า หากจะทำศูนย์เด็กเล็กต้องทำอย่างไร หากจะ ดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรต้องทำอย่างไร หากจะทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ ให้แนวคิดนี้มีอิทธิพล ต่อคนต้องทำอย่างไร นี่คืองานที่เราจะผลักดันในระยะต่อไป

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 131


ศานิต กล้าแท้

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

องค์ความรูเ้ หล่านี้ มาจากการแลกเปลีย่ น เรียนรูก้ บั พืน้ ทีอ่ น่ื ๆ และมีกองทุนหนุนเสริม เช่น กองทุน สปสช. และ สสส. ให้เราได้เรียนรูจ้ าก ตำบลทีเ่ ข้มแข็ง แล้วนำกลับมาประยุกต์ใช้

โพน


ศึกษาตัวอย่าง ฟังจากล่างขึ้นบน ดึงพลังชุมชนสานต่อ ตำบลโพนทองเข้าร่วมขับเคลื่อนโครงการกับ สสส. 2 ปีแล้ว และขึ้นเป็น ‘ตำบลศูนย์ เรียนรู้’ ได้ประมาณ 1 ปี ก่อนหน้านั้นเราได้เรียนรู้การทำงานทั้งทางวิชาการ การจัดการ การ วางทีม การทำงานร่วมกันกับทีมอื่น ซึ่งล้วนสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานของท้องถิ่นได้ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง สำหรับการทำงานในพื้นที่ เดิมเราเน้นเรื่องการศึกษา โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า เราอยาก จะให้คนของตำบลเราเป็นคนที่ดี มีคุณภาพ เรื่องการศึกษาจึงถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะถือเป็น เครื่องมือสำคัญ โดยมีการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น มีการสอนภาษาอังกฤษช่วงปิดเทอม โดย เชิญครูจากต่างประเทศมาสอน หรือก่อนที่จะมาเป็นตำบลสุขภาวะ เราส่งเสริมให้ชาวบ้าน ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมี แล้วส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งตอนนี้สามารถลดต้นทุนในการซื้อ ปุ๋ยเคมีลงได้จำนวนหลายแสนบาทต่อปี เป็นรูปธรรมที่ทำให้ชาวบ้านหันมาทำเกษตรอินทรีย์ มากขึ้น ในด้านสุขภาพ เรามองเห็นปัญหาคนพิการที่เป็นอัมพฤกษ์ จังหวัดเรายังอ่อนด้อย เรื่องการรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตก เส้นเลือดตีบในสมอง อันนำไปสู่ความเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ในตำบลเรามีผู้ป่วยลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก จากประชากร 8,865 คน มีผู้เป็น

นทอง


อัมพฤกษ์ตดิ เตียง 57 ราย ตัวเลขการสำรวจนีไ้ ด้มาจากการออกเดินหาเสียงของผูบ้ ริหารท้องถิน่ ซึ่งทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ฐานข้อมูลเบื้องต้นเช่นนี้เองที่จะเป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการกำกับดูแลท้องถิ่น นำมาสู่โครงการดูแลผู้พิการในพื้นที่ โครงการดูแลผู้พิการนี้ เป็นรูปเป็นร่างและประสบความสำเร็จได้ก็เพราะการเรียนรู้ จากเครือข่าย และที่สำคัญคือ การทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ปี 2550 ผ่านมา 4 ปี ถึงวันนี้ผู้พิการติดเตียงที่ตำบลโพนทอง 57 ราย สามารถเดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ 4 รายแล้ว และยังมีส่วนที่สามารถแบ่งเบาภาระครอบครัว ได้อกี 30 กว่าราย นัน่ หมายความว่า ถ้าเราไม่ได้ไปฟืน้ ฟู ดูแลผูพ้ กิ ารเหล่านีอ้ ย่างถูกวิธี พวกเขาก็ จะยังคงเคลือ่ นไหวไม่ได้และเป็นภาระของครอบครัวต่อไป สำหรับการดูแลนั้นจะทำโดยอาสาสมัครผู้มีจิตอาสาในชุมชน มีค่าตอบแทนให้นิด หน่อยโดยนำมาจาก สปสช. และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตำบลของเราเป็นตำบล ที่สมทบงบประมาณมากกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ คือสมทบถึงร้อยละ 150 เราได้มา 300,000 แต่สมทบไป 400,000 บาท ซึ่งเป็นผลจากการที่สมาชิก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในท้องถิ่น เห็ น ปั ญ หาตรงนี้ จึ ง สมทบงบประมาณเข้ า ไป ทำให้ ผู้ พิ ก ารของเราไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งรอแต่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไม่ต้องส่งโรงพยาบาลจังหวัดซึ่งมีภาระต้องดูแลคนจำนวน มหาศาลอยู่แล้ว ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการเรื่องนี้ได้เองโดยใช้จิตอาสาบวกกับการเรียนรู้ ร่วมกับเครือข่าย ทำให้ผู้พิการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นี่ถือว่าเป็นงานสำคัญในมิติ ของสุขภาพ นอกจากนี้เรายังเน้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะเรื่องน้ำเสีย ประชาชนมักทิง้ น้ำมันพืชที่ใช้แล้วลงในแหล่งน้ำทำให้น้ำเสีย จากการที่เราได้ร่วมเป็นตำบลแลกเปลี่ยนเรียนรู ้ ดูการทำไบโอดีเซลที่ปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบกับก่อนหน้านั้นก็ได้ศึกษาดูงาน โครงการพระราชดำริในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ทอดซ้ำไม่เกิน 3 ครั้ง เราจึงนำ หลักการเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ จากที่ เ ห็ น ว่ า ต้ อ งใช้ เ งิ น ทุ น ราว 400,000 - 800,000 แสนบาท อาจารย์ จ าก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ได้ช่วยทำโครงการนี้ โดยใช้งบประมาณเพียง 70,000 บาท เท่านั้น หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปีนี้เราได้ขับเคลื่อนรณรงค์เรื่องนี้กับคนในพื้นที่ ไม่ให้ ใช้น้ำมันทอดอาหารเกิน 3 ครั้ง แล้วนำน้ำมันมาจำหน่ายให้กับศูนย์ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล จาก นั้นผลิตน้ำมันไอโอดีเซลมาขายให้ อบต. แล้ว อบต. ก็เอามาเติมรถไถไปไถกลบซังข้าวในนาให้ 134 | หวัง ตั้ง มั่น


ชาวบ้าน นำไปเติมรถรับส่งเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ อบต. นอกจากจะสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจได้แล้วยังเป็นการลดปัญหาเรื่องสุขภาพด้วย การก่อตัวของแต่ละโครงการ เราเพียงแต่จุดประกายและชี้ให้เห็นโทษหรือผลของมัน แรงกระเตื้องจากชุมชนก็จะเกิดขึ้นเอง เช่น การชี้ว่า โรคมะเร็งเกิดขึ้นมาจากอะไร การใช้ น้ำมันพืชทอดซ้ำไม่เกิน 3 ครั้งจะช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างไร ใช้กำลังหลักคือกลุ่มอาสาสมัคร สาธารณสุข รวมกับข้าราชการบำนาญที่มีจิตอาสา โดยการประกาศเชิญชวนให้เข้ามาร่วม ถอดองค์ความรูห้ รือประสบการณ์ทเี่ ขามีอยู่ ตรงนีเ้ ป็นสิง่ สำคัญยิง่ สำหรับชุมชนทุกแห่ง ในการ ดึงคลังสมอง ดึงประสบการณ์จากข้าราชการบำนาญที่มีอยู่ทุกพื้นที่ ที่สำคัญ เรายังออกแบบระบบการจ่ายเงินให้สะดวกกับประชาชนมากขึ้น ด้วยการ กำหนดว่า หากใครนำน้ำมันพืชมาขายก็สามารถนำมูลค่าดังกล่าวมาชำระค่าน้ำค่าไฟได้ โดย ไม่ต้องเดินทางไปจ่ายไกลถึงในเมือง องค์ความรู้เหล่านี้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ และมีกองทุนหนุนเสริม เช่น กองทุน สปสช. และ สสส.ที่เข้ามาหนุนเสริมให้เราได้เรียนรู้จากตำบลที่เข้มแข็งแล้วนำ กลับมาประยุกต์ใช้ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 135


สำหรับกระบวนการกำหนดโครงการหรือยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้น คงไม่มากเกินไปที่จะกล่าวว่า ตำบลของเราเป็นตำบลที่ใช้การมีส่วนร่วมสูงมาก ผ่านเวทีชุมชน เข้มแข็ง ไม่ใช่นโยบายแบบบนลงล่างเช่นพื้นที่อื่น แต่เป็นการบริหารแบบสั่งจากข้างล่างขึ้นไป ข้างบน โดยตัวแทนผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกข้าราชการใน อบต. จะต้องออกไปรับฟัง ความคิดเห็นต่างๆ ของทั้ง 12 หมู่บ้านซึ่งมีการจัดประชุมทุกเดือน ทำให้เราพบเจอปัญหาที่ ต่างกันในแต่ละพื้นที่และถือโอกาสในการนำข้อมูลพื้นที่มาหารือเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทำให้ชุมชนเกิดความพึงพอใจ ทั้งนี้ เวทีในลักษณะนี้เกิดขึ้นในช่วงปัญหายาเสพติดระบาดหนัก เมื่อปี 2546-2548 หน่วยงานราชการทั้งอำเภอ หรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ได้เข้ามาสร้างเวทีชุมชนเข้มแข็ง เพื่อค้นหาผู้ค้า-ผู้เสพในท้องถิ่น แล้วนำออกมาทำ สัญญาเลิกค้าเลิกเสพ จากการทำเวทีแก้ปัญหายาเสพติดก็ค่อยๆ พัฒนามาสู่เวทีชุมชนเข้มแข็ง ที่เป็นกลไกสะท้อนปัญหาทุกปัญหาในพื้นที่ได้อย่างดี นอกจากนี้เรายังใช้เวทีชุมชนเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้ชรา หรือ การให้ทุนเยาวชนที่ยากจนเป็นประจำทุกเดือน หรือแม้กระทั่งการคัดเลือกนักเรียนเพื่อส่งไป เรียนคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ใช้วิถีการจัดการโดยให้ชุมชนเป็น

ผู้คัดเลือกเองเป็นอันดับแรก ถึ ง ที่ สุ ด หลายโครงการที่ เราดำเนิ น การก็ ยั ง เรี ย กไม่ ไ ด้ ว่ า ประสบผลสำเร็ จ ร้ อ ยเปอร์เซ็นต์ เช่น การลดละการใช้สารเคมี แต่ก็ยังไม่เลิกเสียทีเดียว ผู้บริหารและเครือข่ายที ่

ขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาวะก็ยังต้องดำเนินงานต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ความยั่งยืนนั้นไม่ได้จำกัด อยู่ที่ตัวบุคคล อย่างนายก อบต. หรือทีมบริหารชุดปัจจุบัน หากแต่อยู่ที่ประชาชนในชุมชน และแหล่งเรียนรู้ที่กระจายอยู่ในชุมชนทั้งหมด 28 แหล่ง ผู้บริหารชุดใหม่ที่เข้ามา ไม่ว่าจะ อย่างไรก็นา่ จะขับเคลือ่ นงานนีต้ อ่ ไปได้ เพราะแหล่งทัง้ 28 แหล่งและบ้านโฮมสเตย์ ได้กระจาย อยู่ทุกหมู่บ้าน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดรายได้ เกิดการเรียนรู้ของประชาชนขึ้นแล้ว และยังมีการ เชื่อมร้อยเครือข่ายกันทั่วประเทศ นี่คือหลักประกันที่มั่นคงสำหรับแนวทางที่เรากำลังร่วมกัน ดำเนินอยู่ว่า มันจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

136 | หวัง ตั้ง มั่น


สำรวม กุดสระน้อย

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

การรณรงค์ต่างๆ จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ หากไม่มี ‘เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน’ เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน ถือเป็นนวัตกรรม ของอุดมทรัพย์โดยเฉพาะ เขาเหล่านี้จะเป็นผู้คอยขับเคลื่อน คอยประสานกลุ่มต่างๆ

อุดม

ทรัพย


เส้นทางสีเขียวสาย 304 และนวัตกรรม ‘เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน’ เราเพิ่งเข้ามาร่วมงานกับ สสส. ได้เพียงไม่กี่เดือน ด้วยความตระหนักว่า ‘ตำบล สุขภาวะ’ มีเป้าหมายเดียวกันกับงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราต่างก็อยากเห็น ประชาชนในตำบลอยู่ดีมีสุข สุขภาพดี และอยากให้อุดมทรัพย์นั้น ‘อุดมทรัพย์’ สมชื่อ ทีน่ มี่ ปี ระชากรราว 11,000 คนเศษ ส่วนมากเป็นเกษตรกร เราจึงเน้นเรือ่ งการเกษตร ประกอบกับนายก อบต.ก็จบด้านการเกษตรมา จึงพยายามส่งเสริมด้านวิชาการเท่าที่จะเป็น ไปได้ สร้างแปลงสาธิตต่างๆ เพราะเราเชื่อว่า หากเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ ก็จะทำให้ รายได้สูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่สำคัญที่เราเน้นมากคือ ส่งเสริมให้เลิกใช้สารเคมี ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อผู้คนจะ ได้ มี สุ ข ภาพที่ ดี จ ากอาหารที่ ป ลอดภั ย ขณะนี้ ก ำลั ง ชู ตั ว อย่ า งของหมู่ บ้ า นห้ ว ยปม หมู่ 8 ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านปลูกผักไว้กินเองมา 50-60 ปี และทั้งหมดเป็นผักปลอดสารร้อยเปอร์เซ็นต์ เบือ้ งต้น เราสร้างสโลแกนเพือ่ เป็นแนวทางสร้างสุขภาพดีไว้ดว้ ยว่า ‘กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินกล้วยน้ำหว้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ’ นอกจากเรื่องสุขภาพ อุดมทรัพย์ ยังเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น สายตรวจขยะ บนถนนสาย 304 ที่วิ่งผ่านตำบลอุดมทรัพย์ยาว 17 กม. เพื่อให้ถนนหลักสายนี้ ไม่มีขยะตกค้างแม้แต่ชิ้นเดียว เมื่อก่อนทั้งคนนอก คนใน มักทิ้งขยะกันตามถนนหนทาง อบต. เคยเอาไปติดว่า ห้ามทิ้งขยะ ฝ่าฝืนปรับ 500 บาทบ้าง ปรับ 1,000 บาทบ้าง แต่ไม่ได้ผล แถม คนยังทิ้งขยะกันหนักขึ้นกว่าเดิม บรรดาผู้นำชุมชนจึงหารือกันแล้วทดลองใช้กุศโลบาย ตั้งป้าย ใหม่ว่า ‘เขตอภัยทานขยะ ฝ่าฝืนบาป’ ได้ผลเลย! ไม่ได้มีใครทิ้งขยะอีก หรือมีก็มีน้อยมาก นอกเหนือจากความสะอาด เรายังเป็นตำบลที่ ‘บ้าปลูกต้นไม้’ โดยมุ่งหวังให้เราเป็น พื้นที่สีเขียวครึ้ม เราปลูกริมถนน ปลูกในทุกที่ที่ว่าง ปลูกและดูแลอย่างจริงจัง ไม่ใช่ปลูกตาม วาระสำคัญแล้วก็ปล่อยปละละเลยเหมือนที่ทำกันทั่วไปคล้ายเป็นพิธีกรรม โดยเราเก็บเงินจาก เจ้าหน้าที่ อบต. คนละ 100 บาทต่อเดือน ได้ราวเดือนละ 5,000 กว่าบาท เก็บเงินจากผู้ใหญ่ 138 | หวัง ตั้ง มั่น


บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รวม 63 คน ได้เงิน 6,300 บาทต่อเดือน แล้วนำเงินส่วนนี้มาจ้างงาน คนในชุ ม ชนให้ ดู แ ลต้ น ไม้ ใ ห้ ง อกงาม ดู แ ลกระทั่ ง มั น โต แล้ ว จึ ง ดู แ ลต้ น อ่ อ นต้ น อื่ น ต่ อ ไป ถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่และสร้างงานให้ประชาชนด้วย รวมไปถึงผู้ที่ถูก คุมประพฤติในตำบลอุดมทรัพย์มีราว 40 คน พวกเขาก็ต้องมาช่วยบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เก็บขยะ ปลูกต้นไม้ด้วย เดือนละ 1 ครั้ง หลายคนอาจสงสัยว่า เราปลูกต้นอะไร ไม่ใช่ประดู่ ยางนาแบบที่อื่นๆ แต่เราเน้น ต้นไม้ใบเขียวที่ นก หนู กระแต กระรอก กินได้ด้วย เช่น ต้นหว้า ตะขบ มะเดื่อ ไทร เพื่อลด อัตราที่พวกมันจะไปกวนพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ต้องกล่าวไว้ด้วยว่า โครงการปลูกพืชนกหนูกินได้เต็มพื้นที่นี้ เกิดขึ้นจากการร้องเรียน ของประชาชนในพื้นที่เรื่องที่สัตว์เหล่านี้เข้าไปกินพืชผลทางการเกษตรของชาวนา เมื่อเรา ประชุมและปรึกษาหารือกันก็ได้ข้อสรุปว่า จะทำการปรับสมดุลธรรมชาติ ด้วยการปลูกต้นไม้ ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในพื้นที่ เราเริ่มปลูกกันมา 3 ปี ก็พบว่าได้ผลอย่างดี เมื่อบริเวณตำบลของเราโดยเฉพาะถนนสายหลัก 304 ซึ่งเป็นเส้นยุทธศาสตร์ที่รถ ผ่านไปภาคตะวันออก ภาคอีสานจำนวนมากกลับมาเขียวชอุ่มและสะอาดแล้ว สิ่งที่เรากำลัง จะทำต่อคือ รณรงค์กับคนสัญจรผ่านมา ด้วยการขึ้นคัทเอาท์ใหญ่ๆ ว่า ‘ปิดแอร์ เปิดกระจก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 139


ลดภาวะโลกร้อน’ เรียกว่าเมื่อเดินทางมาถึงวังน้ำเขียวแล้ว ผู้คนจะเปิดกระจกสูดอากาศที่ บริสุทธิ์ได้บนถนนเส้นนี้ การรณรงค์ต่างๆ ไม่ว่าเรื่องเกษตรอินทรีย์ เรื่องขยะ เรื่องปลูกต้นไม้ จะสำเร็จลุล่วง ไม่ได้ หากไม่มี ‘เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน’ เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน ถือเป็นนวัตกรรมของอุดมทรัพย์โดยเฉพาะ เขาเหล่านี้จะเป็น ผู้คอยขับเคลื่อน คอยประสานกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน ไม่ว่าผู้นำชุมชน อสม. กลุ่มแม่บ้าน เพื่อให้ทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกัน นอกจากนี้เขายังเข้าร่วมประชุมกับหมู่บ้านทุกครั้งด้วย เพื่อรับฟังเสียงสะท้อนหรือแลกเปลี่ยนให้คำแนะนำ หลายคนอาจขมวดคิ้วสงสัย แต่เจ้าหน้าที่หมู่บ้านไม่ใช่ใครอื่น เขาก็คือ เจ้าหน้าที่ของ อบต.นั่นเอง ปัจจุบันมี 17 คนในทุกฝ่าย เมื่อพวกเขาเข้ามาทำงานก็จะได้รับมอบหมายให้มี หมู่บ้านในความดูแล คนละ 1 หมู่บ้าน เพื่อให้การประสานงานในรายละเอียดต่างๆ เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง เวลาจะแจกเงินผู้สูงอายุ ครึ่งชั่วโมงก็เสร็จหมด เพราะเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน ลงไปจัดการพรึบเดียว หรืออยากประกาศ อยากเชิญประชุมเมื่อไร เจ้าหน้าที่หมู่บ้านก็จัดการ ได้รวดเร็ว 17 คนกดโทรศัพท์ 1 นาที ผู้ใหญ่บ้านของทั้ง 17 หมู่บ้านก็รู้ข่าวทั่วกันแล้ว ไม่ต้อง รอให้ธุรการนั่งไล่นัดหมาย นอกจากนี้ เรายั ง ให้ เจ้ า หน้ า ที่ อบต.จั ด เวรประชาสั ม พั น ธ์ คอยต้ อ นรั บ บริ ก าร อำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาติดต่อ อบต. โดยมีสโลแกนว่า ‘ประชาชนคือบุคคล สำคัญ’ ต้องนอบน้อมและให้ความสำคัญเท่ากันหมดไม่ว่าคนเล็กคนน้อยแค่ไหน ทั้งหมดนี้ สสส.มีส่วนหนุนเสริมอย่างมาก โดยเฉพาะการสร้าง ‘แรงบันดาลใจ’ ให้ กับคนทำงาน ผ่านการพาไปดูแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้เห็นโครงการต่างๆ การทำงานในลักษณะ ต่างๆ เป็นการปลุกกระแสให้ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ และน่าจะ ทำให้พวกเขาก้าวข้ามปัญหาใหญ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่กี่ปีแต่เป็นอุปสรรคในการผลักดันความ ร่วมมือในท้องถิ่นอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นคือ ปัญหาความแตกแยกทางการเมือง

140 | หวัง ตั้ง มั่น


ไสว จันทร์เหลือง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ความที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็ง ทำให้ผู้คนในพื้นที่ มีความเป็นอยู่ที่ดีตามไปด้วย การขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ก็เป็นไปโดยไม่ยากนัก... วัฒนธรรมที่เน้นความสามัคคี เป็นเนื้อนาดินของที่นี่

ศรีฐาน


‘สถาบันการเงินชุมชน’ จัดการดี คุณภาพชีวิตดี ศรีฐานเป็นตำบลขนาดใหญ่กว่า 1,000 ครัวเรือน และเป็นพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็ง มาแต่ไหนแต่ไร เนื่องจากมีสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของจังหวัดยโสธรอย่างหมอนทอผ้าขริบ หรือที่มักเรียกกันว่า หมอนสามเหลี่ยม นอกจากนี้สินค้าหลายชนิดซึ่งเป็นโอท็อปของจังหวัดก็ ยังสร้างรายได้หมุนเวียนรวมกันแล้วกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ความที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งจึงทำให้ผู้คนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีตามไปด้วย ส่วน การขับเคลือ่ นโครงการต่างๆ ก็เป็นไปโดยไม่ยากนัก เนือ่ งจากชุมชนของศรีฐานมีลกั ษณะเฉพาะ คือ ชาวบ้านจะเชื่อผู้นำและให้ความร่วมมือกับผู้นำเป็นอย่างดี หากเป็นผู้นำซึ่งมีเครดิตในการ สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน แต่หากถามว่าอะไรคือต้นทุนสำคัญของศรีฐาน คงต้องบอกว่า วัฒนธรรมที่เน้นความสามัคคีเป็นเนื้อนาดินของที่นี่ ขณะที่กลุ่มเอ็นจีโอในพื้นที่ก็ช่วยเสริมแนวคิดใหม่ๆ ในการบริหารจัดการ จนเกิดการ ริเริ่มจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชนขึ้นในปี 2549 นำโดยอดีตผู้ใหญ่บ้านที่เป็นที่นับถือของคนใน ชุมชน โดยทาง อบต.เป็นผู้ให้คำปรึกษา และให้สถานที่ใช้เป็นที่ทำการของสถาบันการเงิน จากนั้นค่อยๆ ขับเคลื่อนกันเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ สถานภาพการด้านการเงินของตำบลศรีฐาน เข้มแข็งมาก สร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมกับพื้นที่ ในปี 2552 ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินของพื้นที่ขึ้น โดยในช่วงนั้นชุมชนของเราเป็นชุมชน ขนาดใหญ่มกี ารค้าขาย มีธรุ กิจ และเงินหมุนเวียนมาก รวมไปถึงตลาดค้าขายข้าวและยางพารา ซึ่งเป็นพืชเกษตรสำคัญในพื้นที่ ชาวบ้านไม่ค่อยนิยมไปฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์ เพราะอาย และต้องเดินทางไกล มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยใช้วิธีเก็บเงินไว้ที่บ้าน เราจึงร่วมกันคิดจัดตั้ง สถาบันการเงินชุมชนกับทาง ธกส. โดยให้ชาวบ้านจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากทุกหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการสถาบันการเงินนี้ ขณะนี้ สถาบันการเงินของเรามีเงินหมุนเวียนทั้งเงินกู้และเงิน ฝากอยู่ที่ประมาณ 40 กว่าล้านบาท 142 | หวัง ตั้ง มั่น


ขณะนี้ ทางอบต.มีการส่งเสริมการออมสำหรับลูกหลานในชุมชน โดยส่งเสริมให้มี การฝากประจำตั้งแต่อยู่ ป.1 จนถึง ม.6 ส่วนดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินได้ปีละประมาณ 1-2 ล้านบาทนั้น ส่วนหนึ่งก็จะนำกลับคืนสู่ชุมชน ผ่านการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทุกคน ที่มาฝากเงิน โดย อบต.จ่ายอยู่ที่ปีละ 50,000 บาท ให้เป็นของขวัญ รางวัล หรือให้เป็นเงิน สวัสดิการ กำไรทีม่ าจากดอกเบีย้ นัน้ มาจากการทีเ่ ราคิดดอกเบีย้ สูงกว่า ธกส. นิดหน่อย เช่น หาก ธกส. คิดร้อยละ 9 เราก็คิดร้อยละ 10 แต่ประชาชนก็ยังยินดีที่ใช้บริการเรา เนื่องจากเราสร้าง ตัวตนจนมีความน่าเชื่อถือ ดอกผลที่เกิดก็กลับไปสู่ชุมชน และที่สำคัญ เราอำนวยความสะดวก หลายประการ เช่น หากกูเ้ งินกับเราไม่เกิน 50,000 บาท สามารถใช้บคุ คลค้ำประกันได้ ไม่ตอ้ งใช้ หลักทรัพย์ ในเรื่องของการโอนเงิน ก็สามารถโอนเงินไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ได้เลย ไม่ต้อง เดินทางเข้าเมือง 20 กิโลเมตรเช่นแต่ก่อน โดยเสียค่าบริการครั้งละ 25 บาทเท่านั้น เพราะ ทางสถาบันการเงินชุมชนได้ทำการเชื่อมโยงเครือข่ายออนไลน์กับธนาคารพาณิชย์ไว้แล้ว กิจการนี้ไปได้ดี จนต้องมีการขยายวันเปิดทำการ จากเมื่อก่อนจะเปิดเฉพาะวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ แต่หลังจากวันที่ 1 พ.ย. 2555 เป็นต้นมาก็เปิดบริการทั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ เนื่องจากมีลูกค้าเพิ่มขึ้นมาก

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 143


เมื่อเรามีโอท็อป มีสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง ทาง อบต.ศรีฐานก็สามารถทำหน้าที่ ส่งเสริมสุขภาพของประชาชนได้อย่างเต็มที่ เช่น เรือ่ งเกษตรอินทรียซ์ งึ่ เป็นผลงานทีโ่ ดดเด่นของ อบต. และชาวบ้านก็ให้การยอมรับ โดย อบต.ได้ให้การสนับสนุนด้านการลงทุนทำปุ๋ยชีวภาพ สร้างเครื่องอัดเมล็ดปุ๋ย อันที่จริงแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ได้แรงบันดาลใจจาก ‘โจน จันได’ ซึ่งปัจจุบัน กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในการทำ ‘บ้านดิน’ เมื่อก่อนเขาเป็นคนที่ริเริ่มแนวคิดเหล่านี้อยู่ที่ตำบล ศรีฐาน ก่อนจะย้ายไปเชียงใหม่ ตอนนีม้ คี รอบครัวทีท่ ำเกษตรอินทรียอ์ ยู่ 100 กว่าหลังคาเรือน และสามารถขายข้าวได้ในราคาดีด้วยจนกระทั่งได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ ทาง อบต. นอกจากจะสนับสนุนงบประมาณให้ทุกปีแล้ว ยังยกที่ดินให้กับกลุ่ม เกษตรอินทรีย์จำนวน 10 ไร่เพื่อทำเป็นแปลงสาธิตสำหรับผู้มาดูงานอีกด้วย การได้มีโอกาสร่วมงานกับ สสส. ผ่านการชักนำของอาจารย์ขนิษฐา นันทบุตร ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2554 ทำให้ อบต. และข้าราชการในท้องถิน่ ได้มโี อกาสเข้าร่วมประชุมในทุกที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายจำนวนมาก เกิดความเปลี่ยนแปลงในแง่ที่ชาวบ้านมีความ กระตือรือร้น อยากที่จะมีส่วนร่วม โดยเฉพาะกลุ่มของโฮมสเตย์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ ไ ม่ มี ค นไปพั ก กระทรวงท่ อ งเที่ ย วและการกี ฬ าก็ ไ ด้ รั บ รองมาตรฐานแล้ ว ด้ ว ย แต่กิจการนี้เฟื่องฟูมากในปัจจุบัน โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคณะดูงานที่มาจาก สสส. เพื่อมาดู แหล่งเรียนรู้ทั้ง 27 แห่งในพื้นที่

144 | หวัง ตั้ง มั่น


ธงไชย วงค์อุดดี

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

การที่ประชาชนเห็นผล รูปธรรมด้วยตนเอง ไม่ว่าเรื่องต้นทุนการผลิต ที่ลดลงจากการเลิกใช้สารเคมี หรือสุขภาพที่ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ทำให้พวกเขาเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ และนี่คือดัชนีชี้วัดความยั่งยืน

พิมาน


ผลลัพธ์ที่สัมผัสได้ คือคำตอบความยั่งยืน แม้ อบต.พิมาน จะเพิ่งเข้ามาร่วมงานกับ สสส.เมื่อต้นปี 2555 แต่ความเข้าใจเรื่อง สุขภาวะนัน้ เป็นพืน้ ฐานทีม่ มี าอยูแ่ ล้ว เราต้องการให้ประชาชนในตำบลมีสขุ ภาพกาย สุขภาพใจทีด่ ี สังคมมีการเอือ้ เฟือ้ ต่อกัน มีการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุดว้ ยผล เราไม่ได้มงุ่ เน้นการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานจำพวกถนนหนทางดังที่เป็นมาในอดีต แต่เริ่มหันมาตีความกว้างขวางไปถึงการพัฒนา คน เมื่อประชาชนมีสุขภาพดี มีการศึกษา การพัฒนาสิ่งต่างๆ ก็จะเป็นไปได้โดยง่ายกว่าที่คิด ด้วยวิธีคิดดังกล่าว ทำให้เราขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัย การเกษตรแบบยั่งยืน มีโจทย์ว่าทำอย่างไรให้ชาวนาหันมาทำนาอินทรีย์เพิ่มขึ้น การผลักดันเรื่องนี้ทำมาหลายปี โดย ทำร่วมกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ซึ่งมีการทำ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์กันแล้ว สอดคล้องกับโครงการจากภาคเอกชนที่เข้ามาขับเคลื่อนเรื่อง ‘วิถีพอเพียง’ ตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วย โดย ปตท.เริ่มเข้ามาทำ โครงการ ‘รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง’ ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อทำให้ผู้คนพึ่งตัวเองได้ ในการประกอบอาชีพ กิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ทีน่ นั้ มีปลัดอำเภอเป็นตัวเชือ่ มประสาน แต่หวั ใจสำคัญ ในการขับเคลื่อนนั้น เราให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนว่า เขาจะขับเคลื่อนกับเราไหม เขา ต้องการโครงการต่างๆ นี้หรือไม่ อย่างไร ก่อนที่เราจะดำเนินการโครงการ จะมีการทำ ประชาคมก่อน โดยให้ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น หารือร่วมกันแล้วร่วมชี้แจงให้พี่น้องประชาชนทราบ หากประชาชนตกลงทำร่วมกันก็จะง่ายต่อการพัฒนาต่อ ตัวอย่างของโครงการเกษตรอินทรีย์ ปัจจุบนั มีพนี่ อ้ งประชาชนเกินครึง่ ทีเ่ ข้าร่วม เพราะ การทำเกษตรในพื้นที่ของเราไม่ได้ทำเพื่อจำหน่ายอย่างเดียว แต่ทำไว้บริโภคเป็นหลัก เหลือ จากบริโภคแล้วจึงจำหน่าย คนของเราจึงตระหนักเรื่องสุขภาพ เรียกว่าเป็นห่วงสุขภาพตัวเอง ก่อน ความตระหนักเรื่องสุขภาพนี้มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เข้ามาช่วย ผลักดัน อธิบาย และให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพให้พี่น้องประชาชน 146 | หวัง ตั้ง มั่น


เราทำโครงการเกษตรอินทรีย์มาหลายปี ได้ความรู้ในการหมักปุ๋ย ทำน้ำหมักไล่แมลง ฯลฯ จากหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้ามาในตำบลของเรา โดยเฉพาะ ธกส. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 6 นครพนม เป็นต้น ขณะเดียวกันองค์กรบริหารส่วนตำบลก็มกี ารจัดการอบรมส่งต่อ ต่อยอด ความรู้เรื่องดังกล่าวเป็นประจำ รวมถึงมีบริการแจกน้ำหมักด้วย การที่ประชาชนเห็นผลรูปธรรมด้วยตนเอง ไม่ว่าเรื่องต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากการ เลิกใช้สารเคมี หรือสุขภาพที่ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ทำให้พวกเขาเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ ของมัน ขณะเดียวกันมันก็ยังเป็นดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของโครงการอีกด้วย นอกจากนี้ ความยั่งยืนอาจจะเกิดได้อีกจากการปลูกฝังเยาวชน วันนี้กลุ่มเยาวชนใน พื้นที่ของเราก็มีความตระหนักเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาก ล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัล ‘ลูกโลกสีเขียว’ โครงการสร้างอาชีพเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ อบต. อาจไม่ได้มีบทบาทเชิงรุกมาก เท่ากับบทบาทในการสนับสนุน เพราะตำบลพิมานเป็นพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่ ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ประชากรเพียง 6,000 คนเศษๆ งบประมาณก็ไม่เยอะ และต้องบริหารจัดการทุกส่วน ให้ลงตัว เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 147


อย่างไรก็ตาม ‘งานจักสาน’ ก็ยังสามารถเป็นจุดเด่นของพื้นที่ ผงาดอยู่ในโอท็อปได้ อย่างน่าชื่นชม เพราะไม้ไผ่ประดิษฐ์เป็นความถนัด เป็นภูมิปัญญาของพื้นที่ที่เราสืบทอดกันมา อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ กระติ๊บข้าว โคมไฟ แจกัน ฯลฯ ปัจจุบันมีการสั่งซื้อมาถึงในพื้นที่ ไม่ ต้องลำบากในการหาตลาด ส่วน อบต. ก็ทำหน้าที่สนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่มอาชีพนี้และ อาชีพอื่นๆ ที่อาจต้องการเงินทุนในการขยายกิจการ หรือบางหน่วยก็ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ อบต. ก็จะทำหน้าที่พาไปดูงาน ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับพื้นที่อื่นๆ การเข้ามาของ สสส. หนุนเสริมให้ทิศทางการทำงานของ อบต.ชัดเจนขึ้น ด้วยการ พัฒนาเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลพื้นที่ ซึ่งทำให้เรารู้จัก เข้าใจจุดเด่น จุดด้อยของตนเองอย่าง ถ่องแท้ และสามารถขึ้นเป็นตำบลต้นแบบที่สมบูรณ์ได้

148 | หวัง ตั้ง มั่น


ไพวัลย์ เกตุนันท์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

เราต้องเข้าไปศึกษาว่า ความเป็นมา ลักษณะวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของเขาเป็นอย่างไร และจะประยุกต์เข้ากับกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ทั้ง 4 ชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม อยู่กันอย่างมีความสุข และได้รับการพัฒนาที่เสมอภาค

ปทุมวาปี


ความหลากหลายชาติพันธุ์ คือจิตวิญญาณพื้นที่ ปทุมวาปีได้เข้ามาร่วมงานกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2553 โดยแรกเริ่มนั้นเป็นเครือข่ายของเทศบาลตำบลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช และเพิ่งได้ ขึ้นมาเป็นตำบลศูนย์เรียนรู้เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ตามแนวคิดของเรา การสร้างตำบลสุขภาวะ คือความพยายามทำให้ตำบลน่าอยู ่

มีความเข้มแข็ง จากเดิมที่คนในพื้นที่อยู่กันแบบต่างคนต่างอยู่ ทำอย่างไรเราจะเป็นผู้พลิก ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม เมื่อ สสส. ได้เข้ามามีบทบาท เราก็เกิดเรี่ยวแรงที่จะทำให้ชุมชนของเรามีความสุขใน 4 มิ ติ คื อ กาย ใจ สติ ปั ญ ญา และจิ ต วิ ญ ญาณ สิ่ ง ที่ เ น้ น มากที่ สุ ด เป็ น ลำดั บ ต้ น ๆ ก็ คื อ ความสุขทางกายและใจ โจทย์ของรามีง่ายๆ ว่า ทำอย่างไรกายและใจของชาวบ้านจะมี

ความสุข ทำให้พวกเขาได้รับความรู้ต่างๆ จากหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุดหน่วย หนึ่ง นั่นคือ อบต. ในเมื่อเราเกิดมาเป็นคนในพื้นที่ เรามีโอกาสได้ตอบแทนพี่น้องประชาชนที่ เขาเลือกเรามา เราก็ต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำทุกอย่างให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหม่ การพัฒนา และทำให้พวกเขามีความสุข ยกตั ว อย่ า งรู ป ธรรมด้ า นเศรษฐกิ จ ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ อั น หนึ่ ง ที่ จ ะทำให้ ผู้ ค นมี คุณภาพชีวติ ทีข่ นึ้ จากแต่กอ่ น ประชาชนมีปญ ั หาเรือ่ งการอพยพแรงงาน ต้องไปทำงานต่างบ้าน ต่างจังหวัด ทำอย่างไรให้ประชาชนกลับเข้ามา จึงเกิดการสร้างแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ต่างๆ ขึ้นในตำบลให้คนในชุมชนได้ศึกษา ชุมชนที่มี 12 หมู่บ้านจึงมีแหล่งเรียนรู้กระจายอยู่ เรานำ เอาภูมิปัญญาท้องถิ่นนำกลับมาใช้ ยกระดับกลุ่มที่เราเคยทำอยู่แต่ก่อน เช่น กลุ่มทอผ้า

กลุ่มอาชีพเสริมต่างๆ กลุ่มปลูกยางพารา กลุ่มจักสาน กลุ่ม อสม. อพส. ทำให้กลุ่มแน่นแฟ้น เชื่อมโยงกัน จุดเด่นของพื้นที่ที่อยากให้เครือข่ายอื่นมาเรียนรู้ มี 2 เรื่องหลักๆ คือ เรื่องวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับ ทรัพยากรธรรมชาติ 150 | หวัง ตั้ง มั่น


เหตุ ที่ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ของเราโดดเด่ น เนื่ อ งจากปทุ ม วาปี เ ป็ น ตำบลที่ มี ห ลาย ชาติพันธุ์ มีชนเผ่าประมาณ 4 เผ่าในพื้นที่ ได้แก่ ชาวโซ่ทะวืง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลือน้อย และทั้งประเทศไทยมีอยู่แค่ตำบลปทุมวาปีเท่านั้น กลุ่มภูไท กลุ่มไทย้อ และไทยลาวซึ่งเป็น

กลุ่มทั่วไป ขณะที่จังหวัดสกลนครทั้งจังหวัดมีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด 7 กลุ่ม ความหลากหลาย เช่นนี้ทำให้การบริหารจัดการต่างๆ ค่อนข้างยาก ต้องใช้จิตวิทยาในการเข้าไปทำความเข้าใจ เปลี่ ย นแปลงความคิ ด ของกลุ่ ม ต่ า งๆ ซึ่ ง มี วั ฒ นธรรม แนวคิ ด ความเป็ น อยู่ แ ตกต่ า งกั น

มากพอควร ทำให้ต้องใช้เวลาและวิธีการที่ต่างออกไป การจะเข้าถึงแต่ละกลุ่มได้ เราต้องเข้าไปศึกษาว่า ความเป็นมาของเขาเป็นมาอย่างไร ตั้งแต่บรรพบุรุษ ลักษณะวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของเขาเป็นอย่างไร และจะประยุกต์เข้ากับ กลุ่มอื่นๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ทั้ง 4 ชาติพันธุ์ 4 กลุ่มอยู่กันอย่างมีความสุข และได้รับการ พัฒนาที่เสมอภาค ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ปทุมวาปีเป็นพื้นที่ติดกับภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ เช่น ต้นน้ำยามที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำสงคราม ทำอย่างไรจะทำความเข้าใจกับคนในชุมชนว่า ต้ อ งอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ เ หล่ า นี้ ใ ห้ ไ ด้ ต้ อ งช่ ว ยรั ก ษาป่ า เพราะป่ า เปรี ย บเสมื อ น ซูเปอร์มาร์เก็ตของชุมชน บางคนยังไม่เข้าใจ แต่เราก็ต้องใช้ความพยายามต่อไป เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 151


อย่ า งไรก็ ต าม ถื อ ว่ า ปทุ ม วาปี เ ป็ น พื้ น ที่ ที่ โชคดี มี โ ครงการที่ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ ง ทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ที่มีบทบาทสำคัญคือ วัด ประชาชนจะช่วยกันดูแลหวงแหนสิ่งที่ เกี่ยวพันกับศาสนา การปลูกป่าโดยให้พระมาช่วยก็ทำให้การรักษาป่านั้นเป็นไปโดยง่ายขึ้น นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีโครงการพระราชดำริมีหลายโครงการ เช่น อ่างเก็บน้ำ โครงการส่งเสริม ศิ ล ปาชี พ โครงการฟาร์ ม ตั ว อย่ า ง เหล่ า นี้ ส่ ง ผลให้ ค วามเป็ น อยู่ ข องคนในพื้ น ที่ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลง จากที่แต่ก่อนสมัยคอมมิวนิสต์ พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สีแดง และภาครัฐและการพัฒนา แทบจะเข้าไม่ถึง ด้ ว ยงบประมาณที่ มี อ ย่ า งจำกั ด มาก ไม่ เ พี ย งพอต่ อ การทำงานของท้ อ งถิ่ น ที่ ครอบคลุมหลายมิติตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อได้ร่วมงานกับ สสส. ก็มีส่วนช่วยท้องถิ่นได้มาก ทั้งด้านงบประมาณและด้านวิชาการ โดยเฉพาะด้านวิชาการซึ่งไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะสนับสนุน ให้กับท้องถิ่นได้ ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงการพัฒนาศักยภาพของตนเองหลังจากที่ขึ้นเป็นตำบลแหล่ง เรียนรู้มาได้ 2-3 เดือน สสส. เข้ามาส่งเสริมให้เกิดแรงขับเคลื่อน เกิดการพัฒนาทั้ง 7 ด้านตาม นโยบาย สสส. ทำให้ตอนนี้ในพื้นที่มี 27 แหล่งเรียนรู้แล้ว แต่ เรายั ง คงต้ อ งเผชิ ญ อุ ป สรรคสำคั ญ เกี่ ย วกั บ การทำความเข้ า ใจกั บ คนในพื้ น ที่ เนื่องจากคนที่มีจิตอาสานั้นหายาก ต้องค้นหา ส่งเสริมและขยายส่วนนี้ โดยเราพยายามสร้าง ความเข้าใจกับผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ โรงเรียน รพ.สต. วัด ฯลฯ เพื่อดึงผู้นำเหล่านี้มาเพื่อ เปลี่ยนแปลงความไม่เข้าใจต่างๆ ให้เข้าใจเรื่องตำบลสุขภาวะให้ตรงกัน และร่วมมือกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคนนั้นพัฒนายาก จะทำให้เบ็ดเสร็จในทีเดียวคงยากจะเป็น ไปได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งเราก็ท้อแท้ว่าจะทำได้ไหม แต่วันนี้เราคิดว่าเราทำได้

152 | หวัง ตั้ง มั่น


วิชญะ เสาะพบดี

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

มีดอกไม้หลายพวง ถ้าไม่มีคนร้อย ก็จะเป็นพวงมาลัยที่สวยงามไม่ได้ ถ้าไม่มีคนร้อย มันจะไม่เป็นเรื่องเดียวกัน จะไม่เป็นเรื่องของตำบลของเรา แต่กลายเป็นคนละเรื่องคนละราว

บักได


ยุคพระรอง ชิงการร้อย ไม่ชิงการนำ เรื่อง ‘สุขภาวะ’ นั้น ต้องมาจากทั้ง กาย ใจ สังคม และสติปัญญา ความใฝ่ฝันใน ฐานะเป็นนายก อบต. จึงอยากเห็นพี่น้องในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกด้าน โดยเฉพาะ ความแข็งแรงทีเ่ กิดจากการสร้างด้วยตัวของตัวเอง ทัง้ ร่างกายทีแ่ ข็งแรง ชุมชนทีม่ กี ารเชือ่ มโยง และเกือ้ หนุนซึง่ กันและกัน เมือ่ เรามีสขุ ภาพกาย สุขภาพจิตใจทีด่ ี มีสภาพแวดล้อมทางสังคมทีด่ ี เราก็จะมีแนวคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง นี่คือหัวใจหลักเรื่องตำบลสุขภาวะใน อุดมคติ สำหรับการทำงานในพื้นที่ ตำบลของเรามีลักษณะพิเศษของ ‘พื้นที่ชายแดน’ ซึ่งมี ปัญหาทีพ่ นื้ ทีอ่ นื่ ไม่มี นัน่ คือ ภัยสงคราม ปัญหานีเ้ กิดจากปัจจัยภายนอกทีเ่ ราควบคุมไม่ได้กจ็ ริง แต่ใช่วา่ เราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย ปัจจุบนั เราสร้างเครือข่ายภายในในการช่วยเหลือตัวเอง ในเบือ้ งต้น เช่น การสร้างบังเกอร์ การสร้างหลุมหลบภัย การทำแผนอพยพ การออกแบบการส่ง สัญญาณการอพยพอย่างทั่วถึง เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ เราจะช่วยเหลือกันได้บ้าง เราพยายามที่จะหาจุดเด่นของตัวเอง พยายามจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ โดยไม่ รอคอยความช่วยเหลือจากภายนอก เราจัดการตัวเองก่อนทั้งในระดับครอบครัวถึงระดับ หมู่บ้าน ระดับคุ้ม และระดับตำบล ตัวอย่างรูปธรรมที่เราพยายามส่งเสริมและสรรค์สร้าง คือ เรื่องอาหารปลอดภัย เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นหลัก มีพืชเศรษฐกิจหลายอย่าง ไม่ว่า ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เราจึงจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้นมา ด้วย แนวคิดว่า ‘คนเรากินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น’ นอกจากนี้เรายังมีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม บางกลุ่มก็ประสบผลสำเร็จ บางกลุ่มอยู่ใน ขัน้ ตอนทีเ่ พิง่ เริม่ ทำ โดยอาศัยจุดเด่นของกลุม่ ทีป่ ระสบความสำเร็จมาแนะนำหรือมาหนุนเสริม กลุ่มที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เราเชื่อมร้อยกันด้วยเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน หากในชุมชนของเรามีปัญหาอะไรก็ จะจัดประชาคมทันที ยกตัวอย่างเรื่องภัยจากการสู้รบ เราจำเป็นต้องทำประชาคม เพราะถ้า 154 | หวัง ตั้ง มั่น


คนของเราไม่เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ร่วมกัน ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ได้เลย จะเกิด เป็นข่าวลือ หรือเกิดความไม่ชัดเจน ไม่มั่นใจในข้อมูล เราจึงต้องเริ่มให้ข้อมูลคนของเราก่อน จากนั้นเอาคนของเราเองมาเป็นตัวชูในการพัฒนาต่อในทุกๆ เรื่อง มองศักยภาพคนของตนเอง ก่อน เพราะคนของเรามีทั้งคนที่เก่งและคนที่ดี อีกทั้งชุมชนของเราก็มีความหลากหลายสูงทั้ง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เฉพาะภาษานี่เรามีถึง 4 ภาษา คือ ภาษาเขมร ภาษาส่วย ภาษาลาว และภาษาไทย ความที่เป็นพื้นที่ชายแดน สมัยก่อนที่จะมีเส้นเขตแดน บักไดกับอุดรมีชัยหรือเสียมราฐก็เป็น ประเทศไทยด้วยกัน เพิ่งมาแบ่งแยกตอนสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้พื้นที่นี้มีผู้คนเชื้อสายเขมร เชื้อสายลาว บางส่วนที่เป็นคนสุรินทร์ก็จะมีเชื้อสายส่วย ซึ่งเป็นเชื้อสายที่มีวัฒนธรรมประเพณี ที่เกี่ยวกับช้าง เราดึงจุดเด่นของแต่ละชุมชน แต่ละจุดมารวมเป็น ‘ศักยภาพรวมตำบล’ แล้วเอาสิง่ นี้ มากระจายไปสู่จุดที่ยังอ่อนแอหรือยังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น เรื่องเกษตรอินทรีย์ เรือ่ งปุย๋ อินทรีย์ สำหรับหมูบ่ า้ นทีย่ งั ไม่มแี นวคิดเรือ่ งนี้ เราก็จะพาไปดูทหี่ มูบ่ า้ นอืน่ บางหมูบ่ า้ นมี เรื่องฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มกองทุนสวัสดิการที่ดี เราก็จะพากลุ่มของเกษตรอินทรีย์ไปดู เพื่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างหมู่บ้านภายในตำบล เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 155


คนบักไดมี 12,000 คน เป้าหมายสูงสุดของ อบต. ก็คืออยากให้ทุกคนที่อยู่ในตำบลมี ความสุขทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ การสร้างสุขนี้แม้เป็นความใฝ่ฝันของนายก อบต.แทบ ทุกคน แต่ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถสร้างมันได้ด้วยตัวเองคนเดียว จะต้องเปิดให้ทุกคนร่วมกัน สร้าง ทุกคนในตำบลต้องดึงศักยภาพของตัวเองหรือดึงศักยภาพของกลุ่มตนเองออกมาร่วมกัน สร้างสรรค์ชุมชน ยกตั ว อย่ า ง กลุ่ ม ผ้ า ไหม เราไปคลุ ก คลี พู ด คุ ย กั บ เขาว่ า ยั ง ขาดอะไร ต้ อ งการให้ อบต.หนุนเสริมอะไร เราพบว่า บางกลุ่มเขาไม่ต้องการงบประมาณ แต่ต้องการให้นายกฯ พา ไปดูงานในที่อื่นๆ หรืออยากได้ความรู้ วิชาการยอมผ้า วิธีการเลี้ยงครั่ง เป็นต้น อย่าไปมอง ทุกเรื่องเป็นเรื่องงบประมาณ ตอนนี้มี 28 แหล่งเรียนรู้ในตำบล แต่ละแหล่งเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ความต้องการ ที่มาที่ไปของแต่ละแหล่งไม่เหมือนกัน การหนุนเสริมจึงต้องทำด้วยความเข้าใจว่า เป้าหมาย สูงสุดในอนาคตของแต่ละกลุ่มคืออะไร และให้เขาได้กำหนดด้วยตัวเอง เหมือนกับปลูกต้นไม้ บางพันธุ์ต้องให้เขาโตตามธรรมชาติ บางพันธุ์ต้องบำรุงรักษาใส่ ปุ๋ยไปเรื่อยๆ บางพันธุ์ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เพียงแต่ให้น้ำ เขาก็ไปได้ เมื่อรู้จักเขาดีแล้ว เราก็ต้องพยายามดึงให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม พยายามแนะนำว่า แหล่งของเขาหรือกลุ่มของเขาเป็นประโยชน์กับตำบล กับชุมชนมาก ถ้าท่านได้ไปช่วยให้เกิด กับหมู่บ้านอื่น ขยายไปสู่ระดับตำบลจะเกิดประโยชน์หรือเกิดเป็นการสร้างกุศลร่วมกันอย่าง ใหญ่หลวง อย่างไรก็ตาม การทำงานก็ไม่สามารถเกิดขึ้นลอยๆ เพียงจากการพูดคุยกับประชาชน เท่านั้น ยังมีหน่วยงานเบื้องหลังที่ประสานการทำงานร่วมกันอย่างเหนียวแน่นอีก 4 องค์กร ได้แก่ 1. กลุ่มกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 19 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 60 คน รวมกันเกือบ 100 คน กลุ่มแรกกลุ่มนี้ต้องดึงศักยภาพของเขาออกมา แล้วดึงเขามามีส่วนร่วม ต้องรู้ใจเขาใจเรา รู้บทบาทหน้าที่ของเขาของเรา 2. หน่วยราชการในพื้นที่ ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาลประจำตำบล โรงพยาบาลประจำ อำเภอ หน่วยทหารที่อยู่ในพื้นที่อีกไม่น้อยกว่า 10 หน่วย รวมไปถึงหน่วยราชการที่คอย สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาชุมชนอำเภอ ปลัดอำเภอ ปศุสัตว์ เกษตรอำเภอ ตำรวจ เป็นต้น 156 | หวัง ตั้ง มั่น


ส่ ว นราชการเหล่ า นี้ ส มั ย ก่ อ นทำงานแยกกั น แต่ ใ นมุ ม มองใหม่ เรามองถึ ง เป้ า หมายคื อ ประชาชนเป็นหลัก ดั ง นั้ น บทบาทในการสร้ า งสุ ข ภาวะในพื้ น ที่ หลายๆ อย่ า งเราไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งเป็ น พระเอก ควรให้บทบาทนั้นกับส่วนราชการ เช่น เรื่องเด็ก ก็ให้โรงเรียนเป็นพระเอก เราเป็น พระรอง หากเรารู้จักเป็น ‘พระรอง’ ในเรื่องต่างๆ พอถึงคราวเราเป็นพระเอกบ้าง เขาก็ยินดี จะเป็นพระรองให้ ทีส่ ำคัญต้องรูว้ า่ งานของส่วนราชการต่างๆ คืออะไร สิง่ ทีเ่ ขาต้องทำคืออะไร บางทีถึงขนาดต้องรู้ว่า แต่ละเดือนเขามีโปรแกรมอะไรต้องทำบ้าง บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่อง เล็กน้อย แต่ถ้าไม่รู้ เราก็ไม่สามารถที่จะร่วมงานกับเขาได้ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาว่างช่วงไหน 3. กลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่ม อสม. กลุ่มเอ็นจีโอในพื้นที่ที่ร่วมงานกัน และประชาชนใน พื้นที่ กลุ่มที่ 3 นี้เป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าเขาสามารถปรับแนวคิดหรือรู้ว่าในตำบลของ เราจะต้องสร้างประชาชนให้เป็นพลเมือง เป็นพละกำลังของเมืองให้ได้ เขาก็จะร่วมผลักดัน ตำบลของเราไปสู่ความสำเร็จ อบต.มีหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับเขา ให้โอกาสเขา หากเขายัง ขาดเหลือสิ่งใดก็ต้องเติมเต็มให้ 4. อปท. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบต. เมื่อก่อนนั้น อบต. มักจะ ใช้บทบาทนำเป็นส่วนใหญ่ แต่มาในช่วงหลังนี้ปรับบทบาทตัวเองมาเน้นหนักในการประสาน ให้ 4 องค์กรเหล่านี้อยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันได้ ถ้าเป็นขนมหวาน เราก็ถือเป็นน้ำเชื่อม ที่ผ่านมามักมีปัญหาเรื่องการชิงการนำ แต่ไม่ค่อยมีใครชิง ‘การร้อย’ มีดอกไม้หลาย ดอก ถ้าไม่มคี นร้อยก็จะเป็นพวงมาลัยทีส่ วยงามไม่ได้ เช่นกัน ถ้าไม่มคี นร้อย มันจะไม่เป็นเรือ่ ง เดียวกัน จะไม่เป็นเรื่องของตำบลของเรา แต่กลายเป็นคนละเรื่องคนละราว การมีโอกาสร่วมงานกับ สสส. จึงถือเป็นโอกาสที่ดีของเรา เพราะทำให้เราได้เรียนรู้ จากหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ มีโอกาสได้ไปภาคใต้ เหนือ กลาง อีสาน เห็นจุดเด่น จุดด้อยในที่ ต่างๆ เพื่อนำกลับมาปรับใช้กับพื้นที่ตนเอง เรียกว่าเราเอามาปรับใช้แบบเขมร แบบส่วย แบบ ลาว ไม่ใช่ไปเห็นของดีจากปากพูน นครศรีธรรมราช เราก็จะทำแบบนั้นทั้งหมด เราต้องมองตัว ของเราให้ขาด ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม งานที่เราทำในเรื่องตำบลสุขภาวะทุกวันนี้ ไม่ใช่เป็นงานของ สสส. แต่ เป็นงานของตำบล นโยบายสาธารณะ 7 ด้านที่ร่างกันนั้น เป็นงานของตำบลอยู่แล้ว แต่ สสส. เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 157


เป็นตัวหนุนเสริมที่สำคัญ หนุนเสริมทางด้านอบรม การจัดการ การให้วิชาความรู้ หรือพาไปดู งาน หรือการพัฒนาวิชาการแต่ละประเด็น เราถือว่าโชคดีที่ สสส. เลือกพื้นที่ของเราเป็นพื้นที่ หนุนเสริม และยังมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน สังเกตเห็นพัฒนาการคนในชุมชนได้ชัดเจน เช่น หลายคนจากเดิมที่พูดไม่เป็น ยังตอบโจทย์ทางวิชาการให้ใครไม่ได้ แต่มาถึงวันนี้กลายเป็น

นักวิชาการท้องถิ่น หรือกลายเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ กลายเป็นผู้จัดการโฮมสเตย์ มีการ แลกเปลี่ยนกันดูงานซึ่งส่งผลทางอ้อมให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมา ถึงที่สุดเรื่องความยั่งยืนยังเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญ ลักษณะการ ทำงานกับ สสส. นั้นพยายามสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และหวังให้มันตอบโจทย์เรื่อง ความยั่งยืนให้ได้ ไม่ยึดติดกับตัวนายก อบต. แต่ควรทำให้แหล่งเรียนรู้และองค์กรต่างๆ ที่ ประสานงานกันเกิดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะองค์กรที่ 3 คือประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ เพราะนายกฯ ก็ต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน หากประชาชนเข้มแข็ง และออกเสียง ยืนยันว่า จะเอาแบบนี้ ก็ต้องเป็นแบบนี้ ไม่มีใครกล้าคัดง้างกับประชาชน

158 | หวัง ตั้ง มั่น


วชิระ วิเศษชาติ

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

‘ข้อมูล’ เป็นสิ่งสำคัญ และหากบริหารจัดการข้อมูล ให้เป็นระบบ เราจะสามารถเห็นภาพรวม ของทั้งหมดได้ เครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ ที่มาเรียนรู้กับเรา ต่างก็สนใจแหล่งเรียนรู้เรื่องนี้ เพราะที่นี่สามารถเก็บข้อมูลได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์

เขมราฐ


ระบบข้อมูลดี นโยบายดี มีประสิทธิภาพ หากจะกล่าวให้สั้นที่สุดสำหรับการทำงานของเทศบาลตำบลเขมราฐ คงต้องบอกว่า ทุกโครงการ ทุกกิจกรรม เราดำเนินตามนโยบายของเขมราฐ คือ ‘4 ปี 3 สร้าง สู่ความยั่งยืน’ โดยแบ่งเป็น การสร้างคน (พัฒนาคุณภาพชีวิต) การสร้างงาน (พัฒนาการสร้างรายได้, ส่งเสริมอาชีพ) และการสร้างเมือง (พัฒนาตามบริบทของเมืองชายแดน วิถีคนสองฝั่งโขง) เพื่อ นำมาขับเคลือ่ นเป็นโครงการต่างๆ ทำให้ชมุ ชนน่าอยู่ และพร้อมให้ผอู้ นื่ เข้ามาแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ซึ่งรวมกันแล้วกลายเป็นความหมายของ ‘ตำบลสุขภาวะ’ เช่นกัน นโยบายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ช่วงนั้น สสส.ยังไม่ได้เข้ามาหนุนเสริม ตัวนโยบาย เกิดจากการลงพื้นที่ของผู้บริหารท้องถิ่น การทำเวทีประชาคม การทำกลุ่มศึกษา (focus group) เพื่อสอบถามถึงปัญหาและความต้องการของคนแต่ละกลุ่มในชุมชน จากนั้นนำมา สังเคราะห์จนกลายเป็นนโยบายดังกล่าว แทนที่จะเน้นสาธารณูปโภคแบบเดิม และเราก็ยึด แนวนโยบายนี้ในการขับเคลื่อนด้วยความมั่นใจ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากประชาชน และประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เข้ามาร่วมผลักดัน ช่วยเหลือด้านวิชาการ ไม่ ว่ า จะเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น มหาวิ ท ยาลั ย อุ บ ลราชธานี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ อุบลราชธานี เช่น การส่งเยาวชนไปศึกษาหลักสูตร ‘พยาบาลชุมชน’ กับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำให้ชมุ ชนได้พยาบาลกลับมาดูแลสุขภาพของคนในตำบลอย่างใกล้ชดิ หรือการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นช่วยการจัดระบบข้อมูล ช่วยออกแบบการทำงานเชิงรุกให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น อาจารย์ขนิษฐา นันทบุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ จุดเชื่อมต่อสำคัญ หลังจากอาจารย์และทีมนักศึกษาปริญญาเอกของอาจารย์ทำงานวิจัยชุมชน ได้ลงมาทำวิจัยเพื่อดูว่า นโยบายดังกล่าวของ อบต. นั้นใช้ได้จริงไหม จากนั้นจึงได้มีโอกาส ต่อเชือ่ มและร่วมงานกับ สสส. ทำให้ทอ้ งถิน่ ได้พฒ ั นาระบบจัดเก็บข้อมูล ทำข้อมูลให้ชดั เจนขึน้ จัดหมวดหมู่ให้เข้ารูปเข้ารอย 160 | หวัง ตั้ง มั่น


จนกระทั่งราวปีที่ผ่านมา เขมราฐได้ขึ้นเป็นตำบลแม่ข่าย 8 ระบบ 26 แหล่งเรียนรู้ สำหรับให้ท้องถิ่นอื่นได้มาดูงานหรือแลกเปลี่ยน ขณะนี้เป็นรุ่นที่ 10 แล้ว ซึ่งการมาดูงานของ พื้นที่อื่นก็สร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มต่างๆ ในตำบลด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากจะเป็นการ แลกเปลี่ยนมุมมอง ความรู้ แนวคิดกันแล้ว ยังสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม แม่บ้านที่มาทำอาหาร กลุ่มโฮมสเตย์ และยังทำให้คนเข้าใจและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ต่างๆ มากขึ้น ทำให้เขารู้ว่า เขาควรจะพัฒนามันต่อไปอย่างไร ชาวบ้านเริ่มมีส่วนร่วมมากขึ้น คิดร่วมกันมากขึ้น เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ เพราะมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้น เมื่อ ประกอบกับหลักวิชาการทีท่ ำให้สงิ่ ทีท่ ำกันอยูเ่ ป็นระบบมากขึน้ ก็งา่ ยต่อการบริหารด้วยเช่นกัน ผู้บริหารท้องถิ่นจะทำงานได้โดยมองเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ระบบ TCNAP (Thailand Community network Appraisal Program- การประเมินเครือข่ายชุมชน) หรือการจัดทำระบบฐานข้อมูล ของ สสส. นั้นก็ช่วยท้องถิ่นได้ มาก ช่วยตอกย้ำว่า ‘ข้อมูล’ เป็นสิ่งสำคัญ และหากบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ เราจะ สามารถเห็นภาพรวมของทั้งหมดได้ เครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ ที่มาเรียนรู้กับเรา ต่างก็สนใจ แหล่ ง เรี ย นรู้ เรื่ อ งนี้ เพราะที่ นี่ ส ามารถเก็ บ ข้ อ มู ล ได้ ร้ อ ยเปอร์ เซ็ น ต์ นั ก จั ด การข้ อ มู ล จาก ทั่ ว ทุ ก มุ ม นิ ย มมาเรี ย นรู้ ที่ นี่ กระทั่ ง บางครั้ ง หากพวกเขาไม่ ส ะดวกมา วิ ท ยากรประจำ แหล่งเรียนรู้ก็จะเดินทางไปบรรยายให้ตามที่ต่างๆ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 161


ส่วนแหล่งเรียนรู้อื่นๆ นั้น เราพยายามนำเสนอท้องถิ่นอื่นๆ ว่า การปรับใช้ขึ้นอยู่กับ บริบทแต่ละพื้นที่ แต่ที่สำคัญต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ และท้องถิ่นต้องมีวิธีคิดที่ถูกต้องเสียก่อน เพื่อนำต้นทุนของพื้นที่ตนเองไปขยายผลให้ตรงตามความต้องการของประชาชน อย่างพืน้ ทีเ่ ขมราฐซึง่ เป็นเมืองเก่า ก่อตัง้ มาตัง้ แต่ปี พ.ศ.2357 อีก 2 ปี ก็จะครบ 200 ปี เราวางแผนว่าจะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เขมราฐธานี เพื่อผลักดันเรื่องการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ โดยร่วมผลักดันกับโครงการสร้างบ้านแปงเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นเก่าที่เกษียณ อายุแล้ว เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่ที่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชุมชนมาร่วมกัน ชำระประวัติศาสตร์ ทำศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตคนริมโขง และวางแผนถึงขั้นสร้างถนน คนเดินตามสไตล์เมืองชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน เหล่านี้ล้วนเป็นการรวมต้นทุน ต่างๆ ในพื้นที่มาร่วมกันทำประโยชน์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยสรุปแล้วหัวใจสำคัญของความสำเร็จอยู่ที่ หนึ่ง ผู้บริหารต้องเข้าใจบริบทท้องถิ่น ตนเอง และสามารถสังเคราะห์เป็นนโยบายที่ชัดเจน สอง นโยบายดังกล่าวต้องพัฒนาด้าน ต่างๆ ให้ครอบคลุม และดึงการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ได้มากที่สุด ยิ่งคนเข้าใจมากเท่าไร ยิ่งคนเข้าร่วมมากเท่าไร การขับเคลื่อนและความยั่งยืนก็จะเกิดขึ้นมากเท่านั้น ถึงที่สุด แม้ความต้องการจะมีมากกว่างบประมาณหรือทรัพยากรที่ท้องถิ่นมี แต่หาก ท้องถิ่นเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาได้ดี และบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ มากที่สุด เชื่อว่าผลงานที่เกิดขึ้นก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ และการสร้าง เครือข่ายก็จะช่วยให้เราทะลุทะลวงเพดานหรือข้อจำกัดต่างๆ ไปได้อีกมาก ทั้งหมดนี้เองจะ เป็นตัวยืนยันว่า... เรามาถูกทางแล้ว

162 | หวัง ตั้ง มั่น


เฉลิมชัย ดาดผารัมย์

นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ทั้งหมดนี้ ผลักดันได้ก็ด้วย ‘ใจ’ ไม่ใช่มีเงินเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ท้องถิ่นจึงต้องปูพื้นฐาน สร้างความเข้าใจ เพราะเมื่อ ‘ได้ใจ’ กันแล้ว อย่างอื่นๆ ก็เป็นเรื่องรอง

บ้านยาง


ก้าวที่ท้าทาย ของการเป็น ‘แม่ข่าย’ เราอยู่ในเครือข่ายมาตั้งแต่ปี 2549 เรียนรู้มาเรื่อยๆ จนเพิ่งก้าวเข้ามาเป็นแม่ข่ายได้ ในช่วงไม่กี่เดือน ตอนนี้กำลังเตรียมความพร้อมรับคนมาดูงาน ไม่ว่าการเตรียมความสะอาด ของพื้นที่ การบริหารจัดการโฮมสเตย์ ในพื้นที่บ้านยาง มีแหล่งเรียนรู้ 22 ฐาน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผลิตครกหิน กลุ่มโรงสี ชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่ม อสม. กลุ่มสายใยรักของครอบครัว กลุ่มฌาปนกิจ ธนาคาร ชุมชน ซึง่ ต่อยอดจากกองทุนหมูบ่ า้ นตัง้ แต่สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของพื้นที่ที่ชาวบ้าน ต้องการหาอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา หลายๆ กลุ่มเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีความเข้มแข็ง แต่เดิม เช่น กลุม่ แม่บา้ นเกษตรกรซึง่ จะซือ้ ผลผลิตทางการเกษตรในพืน้ ทีม่ าแปรรูปทำเป็นขนม พริกแกงที่ขึ้นชื่อ สร้างรายได้ 50,000-60,000 บาทต่อเดือน ท้องถิ่นเพียงแต่เข้าไปดูแลและ สนับสนุนงบประมาณ หรือสิ่งที่เขาเรียกร้องต้องการ โดยมีพัฒนากรของอำเภอคอยเป็นพี่เลี้ยง เมื่อท้องถิ่นได้ร่วมงานกับ สสส. ทำให้เมื่อเข้าไปทำความเข้าใจกับแต่ละกลุ่มในพื้นที่ พวกเขาก็มีความเข้าใจร่วมกันมากขึ้นในเรื่อง ‘สุขภาวะ’ และมีการจัดระบบเพื่อสะดวกในการ บริหารและมีประสิทธิภาพในการทำงาน เครื่องมือสำคัญคือ ‘งานวิจัยชุมชน’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก สสส. ทำให้ วิเคราะห์ปญ ั หาได้อย่างไม่สะเปะสะปะ ทำงานกันเป็นระบบมากขึน้ จนตำบลบ้านยางสามารถ ก้าวขึ้นสู่ตำบลต้นแบบ เพื่อให้ตำบลอื่นๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ทิศทางเหล่านี้กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยก็มี ความกระตือรือร้นที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการของกลุ่มต่างๆ และมีจิตสำนึกที่อยาก ให้ชุมชนของตนเองพัฒนาไปข้างหน้าทัดเทียมหรือมากกว่าพื้นที่อื่นๆ

164 | หวัง ตั้ง มั่น


หากถามว่ามันจะยั่งยืนได้เพียงไหน อาจเป็นการเร็วเกินไปที่จะตอบคำถามนี้ แต่ลึกๆ แล้วก็เชื่อมั่นว่า หากเราสามารถทำให้กลุ่มต่างๆ เห็นประโยชน์ตอบแทนทั้งแบบรูปธรรมและ นามธรรมได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาร่วมเดินในเส้นทางนี้ กรณี พื้ น ที่ บ้ า นยางอาจจะมี ก ลุ่ ม ส่ ง เสริ ม อาชี พ อยู่ ห ลากหลายกลุ่ ม ท้ อ งถิ่ น จึ ง มี ความจำเป็นที่จะต้องมองเรื่องช่องทางการตลาดเพื่อสนับสนุนกิจการเหล่านี้ เช่น การดูงาน ของเครือข่ายต่างๆ สามารถช่วยส่งเสริมรายได้แต่ละกลุ่มได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ กลุ่มโฮมสเตย์ หรือโอท็อปต่างๆ และเรายังวางแผนจัดสถานที่ที่จะเป็นศูนย์รวมของโอท็อปใน ท้องถิน่ เพือ่ วางจำหน่ายอย่างเป็นระบบ นอกจากนีย้ งั สนับสนุนด้วยการพาไปดูงาน แลกเปลีย่ น เรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ ด้วย สิง่ เหล่านีจ้ ะทำให้ชาวบ้านมีรายได้สงู ขึน้ แรงงานทีจ่ ะอพยพไปทำงานนอกพืน้ ทีก่ ล็ ดลง ขณะเดียวกันเราก็พยายามส่งเสริมกลุ่มอื่นๆ ด้านสุขภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดี ขึ้น และทำให้เขาไม่อยากจากไปไหน ทั้งหมดนี้ ผลักดันได้ก็ด้วย ‘ใจ’ ไม่ใช่มีเงินเพียงอย่างเดียว เพราะเงินมากเพียงอย่าง เดียวไม่ใช่หลักประกันผลสำเร็จ ดังนัน้ ท้องถิน่ จึงต้องปูพนื้ ฐานสร้างความเข้าใจ และสร้างความ มั่นใจให้กับคนในพื้นที่ให้ได้เสียก่อน เพราะเมื่อ ‘ได้ใจ’ กันแล้ว อย่างอื่นๆ ก็เป็นเรื่องรอง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 165


ประกาศิต สุพรหมธีรกูร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

การประสานงาน กับหลายฝ่าย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ อบต.หนองไฮ ให้ความสำคัญ เพราะสามารถ เป็นพลังเกื้อหนุน และเป็นยุทธศาสตร์ต่อรอง เพื่อท้องถิ่น

หน


จากร้อนแล้งสู่ตำบล ‘อยู่ดี’ และธรรมนูญ ‘กินได้’ จากตำบลเล็กๆ ในภาคอีสานที่ค่อนข้างร้อนแล้งและยากจน ถึงวันนี้ตำบลหนองไฮ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะเรื่องระบบการจัดการ ที่เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ท้องถิ่น จึงสามารถขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ไปได้ด้วยดี รวมทั้งด้านเศรษฐกิจหรือปากท้องที่ดีขึ้นด้วย หนองไฮมีเป้าหมายที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ส่วนหนทางที่ทำให้เป้าหมายบรรลุ เราเลือกที่จะนำแนวคิด ‘ตำบลสุขภาวะ’ มาใช้ เพราะเป็นเรื่องที่ครอบคลุมในทุกมิติของ วิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรู้ การจัดการตนเอง กระทั่งความเข้าใจตนเองของประชาชน รวมทั้ง มีส่วนช่วยปลุกจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วม โดยทางตำบลได้เริ่มจากการศึกษาแนวคิด ตำบลสุขภาวะเมื่อราวปี 2551-2552 จากนั้นจึงตัดสินใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับทางตำบล ปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2553 เราไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นั่น เมื่อกลับมาก็นำมาประสานกับเรื่องที่ชุมชนทำอยู่แล้ว แต่เรื่องสำคัญที่เป็นเรื่องใหญ่คือระบบการจัดการ ซึ่งทำให้การมีส่วนร่วมชุมชนมีคุณภาพ โดยวิธีที่นำมาจัดการคือเรื่องประชาธิปไตยในท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม

นองไฮ


เราเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องหลัก เพราะถ้าระบบการจัดการไม่

แน่นหนาพอ จะทำให้ระบบอื่นรวน ซึ่งขณะนี้ตำบลหนองไฮมีระบบที่พัฒนาขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 9 ระบบที่สอดคล้องไปกับวิถีชีวิต ภาพรวมทั่วไปของหนองไฮ ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร ปลูกข้าว ปลูกผัก สิ่งที่ อบต.เข้าไปส่งเสริมก็คือ การทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษจนมีผลผลิตที่ออกมาสู่ท้องตลาด ทั้งข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิ และผักต่างๆ ผลที่ออกมาดี ทำให้กลุ่มหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาขอ ศึกษาดูงาน สิ่งที่ได้นอกจากการบริโภคข้าวและผักที่ปลอดสารเคมีแล้ว ยังทำให้มีสุขภาวะที่ดี ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้เพิ่ม หนี้สินที่มีก็ สามารถผ่อนชำระให้ลดลงได้ หรืออีกตัวอย่างโครงการหนึ่งคือ การจัดตั้งกองทุนขึ้นในตำบลที่เป็นทั้งการเก็บออม และสวัสดิการชุมชน ตอนนี้สมาชิกกองทุนก็มีร่วมพันคนแล้ว เงินในกองทุนเรานำมาช่วย สนับสนุนเงินทุนในด้านการเกิด การเจ็บป่วย เสียชีวิต รวมทั้งเมื่อสมาชิกมีความเดือดร้อน จำเป็นต้องใช้เงิน ก็สามารถกู้เงินกองทุนได้โดยเสียดอกเบี้ยต่ำ อย่ า งไรก็ตาม ทุกการทำงานย่อมมีปัญหาและอุปสรรค สำหรับที่นี่คือเรื่องของ การเมืองที่ระดับบนยังไม่เกื้อหนุนต่อระดับล่าง เพราะขณะที่เราพยายามจัดการตัวเอง เป็น ความคิดพื้นฐานจากชาวบ้าน ทำจากล่างขึ้นบน แต่ปัญหาทางการเมืองมาเป็นกระแส หรือถูก กำหนดจากส่วนกลางลงมา และมีผลต่อการตัดสินใจในชุมชนค่อนข้างมาก มีพลังอำนาจมาก กว่าชุมชน ความอิสระหรือการทำงานชุมชนจึงไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนอีกปัจจัยหนึ่ง ก็คือ เรื่อง เศรษฐกิจที่คนต้องมุ่งเรื่องปากท้องตัวเองก่อน แม้ว่าเราจะพ้นจากความแห้งแล้งยากจนหรือดี ขึน้ มากกว่าในอดีตแล้ว แต่ถงึ อย่างไรเรือ่ งเหล่านีก้ ย็ งั คงมีอยู่ แนวทางการทำงานจึงต้องเน้นภาพ ใหญ่ ทำเรื่องที่ส่งผลสะเทือนต่อทุกภาคส่วนหรือต่อสังคมให้ได้มากๆ ทั้งในระดับชุมชน ภูมิภาคหรือส่วนกลาง การประสานงานกับหลายฝ่ายจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ อบต.หนองไฮ ให้ความสำคัญ เพราะสามารถเป็นพลังเกื้อหนุนและเป็นยุทธศาสตร์ต่อรองเพื่อท้องถิ่นได้ ถ้ า ท้ อ งถิ่ น ทำเฉพาะตั ว ก็ ไ ม่ มี พ ลั ง หนองไฮจึ ง พยายามประสานกั บ หลายฝ่ า ยไป พร้อมๆ กับการมีแนวทางของตัวเอง ประสานไปทั้งจังหวัด อำเภอ ราชการ รัฐ หรือแม้แต่ กองทัพ แม้หนองไฮจะไม่ใช่พื้นที่ชายแดน แต่เราก็มองว่า ทำอย่างไรจะดูแลพื้นที่และเข้าถึง ประชาชนให้ได้รวดเร็ว จึงประสานไปยังหน่วยพัฒนาของกองทัพก็ช่วยทำให้หนองไฮจัดการ 168 | หวัง ตั้ง มั่น


ตัวเองได้ เมือ่ จัดการได้ ส่วนกลางก็จะฟังเสียงหนองไฮมากขึน้ เกิดความเข้มแข็ง เมือ่ ส่วนกลาง ไว้ใจก็จะถ่ายโอนทั้งภารกิจและอำนาจลงมา สำหรับความยั่งยืนของโครงการตำบลสุขภาวะ ถึงวันนี้ยังต้องยอมรับว่า มีความเสี่ยง อยู่ เพราะกระบวนการเพิ่งดำเนินมาได้เพียง 3 ปีเท่านั้น แนวทางในปัจจุบัน จึงต้องเน้นไปที่ การใช้สื่อเพื่อให้ความเข้าใจฝังลึกลงไปในพื้นที่ ต้องทำให้เข้าใจว่า การจัดการตนเองต้องอาศัย คนทุกคน เมื่อเข้าใจแล้ว ต่อไปไม่ว่าใครเข้ามาเป็นผู้นำท้องถิ่นก็ต้องยึดแนวนี้ นอกจากการใช้สื่อ เรายังพยายามสร้างธรรมนูญหรือสร้างกติกาให้เกิด เพื่อเป็น

หลักประกันของความยั่งยืนต่อไปในอนาคต แม้ผมจะไม่ได้เป็นผู้นำชุมชนแล้ว นอกจากนี้ เรายังต้องเน้นไปที่เยาวชนคนรุ่นหลัง เราต้องให้ความสำคัญและทำ ความเข้าใจให้มาก เพราะการศึกษาในปัจจุบนั ทำให้เขาห่างออกจากชุมชน รวมทัง้ จิตใจทีอ่ าสา ก็ลดลง เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่องยากและเป็นอนาคตที่ท้าทายอีกเรื่องหนึ่งสำหรับ ‘หนองไฮ’

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 169


สิง่ สำคัญไม่ใช่ เพียงการพาไปดูงาน เพราะเมือ่ ก่อน ท้องถิน่ ก็ไปดูงานบ่อย แต่ก็ไม่เคยเทียบเคียง หรือปรับใช้ได้จริง เพราะไม่เคยมีกระบวนการ ไม่มฐี านข้อมูลให้นำมาใช้ เมือ่ ไม่มขี อ้ มูล รบร้อยครัง้ ก็แพ้รอ้ ยครัง้

ธำรงค์ ชำนิจศิลป์

ปลัดเทศบาลตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ประโค


บทบาทใหม่ ‘ผู้ประสาน’ และความสำคัญของ ‘ฐานข้อมูล’ ผมเคยเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ตอนอยู่ที่ ต.หนองแวง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ก่อนจะมาอยู่ที่ อ.ประโคนชัย โดยช่วงนั้นเรียนรู้จาก อบต.ปากพูน จ.นครศรีธรรมราช เมื่อ

ทีมงาน สสส.เข้าไปเก็บข้อมูลเพื่อจะสนับสนุนทุน ก็พบว่าแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่หนองแวงยังมี จำนวนไม่เพียงพอ แต่อาจด้วยเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมงาน จึงให้จับมือกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ ต.พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ และ ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย รวมกันเป็น 3 อำเภอใน จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้เวลา 4 คืน 5 วัน เป็นการทำงาน ที่ มี ผู้ เ กี่ ย วข้ อ ง 3 ที ม มี ที ม ของหนองแวงเป็ น ศู น ย์ ก ลาง ดำเนิ น การมาตลอด 1 ปี จั ด กระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูได้ 10 รุน่ จากลูกข่าย 20 ตำบล หลังจากนัน้ ก็มกี ารทำ RECAP (Rapid Ethnographic Community Assessment Process - การวิจัยชุมชนแบบเร่งด่วน) ในพื้นที่ เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมของ 3 ตำบล และดูว่ามีอะไรพัฒนาขึ้นบ้าง ซึ่งพบว่า แต่ละที่ก็ล้วนมีความเติบโตขึ้น จนมีแนวคิดว่า อาจต้องแยกให้ต่างคนต่างโต อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการเลือกตัง้ ทีผ่ า่ นมา ผมได้ยา้ ยมาเป็นปลัดอำเภอประโคนชัย เรียกว่า จบเส้นทางการทำงานกับโครงการแรกที่หนองแวง แล้วมาสร้างในพื้นที่ใหม่ เพราะเรา เห็นว่า เป็นโครงการที่ดี เป็นสิ่งที่ท้องถิ่นควรทำอยู่แล้ว

คนชัย


เมื่อเข้ามาในประโคนชัยจึงได้พูดคุยกับ นายกฯ (นายประสงค์ พวงไพบูลย์) ทันที โดยนำข้อมูล TCNAP (Thailand Community network Appraisal Program- การ ประเมินเครือข่ายชุมชน) กับข้อมูลของปากพูนให้ดู เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า ประโคนชัยมี ข้อมูลเยอะ แต่ไม่มีการจัดการ นายกฯ เองหลับตาก็รู้หมด แต่ไม่มีข้อมูลอ้างอิง จึงเสนอให้ทำ ระบบฐานข้อมูล แต่ตอนนั้นยังไม่ได้คิดทำโครงการตำบลสุขภาวะต่ออย่างเป็นรูปเป็นร่าง พอดีกับที่อาจารย์ขนิษฐา นันทบุตร เสนอให้ตัดโครงการจากหนองแวงไปเสีย แล้วมาทำที่ ประโคนชัย ให้เวลา 6 เดือน ก่อนจะส่งทีมงานมาประเมิน เราเห็นทางแล้วว่า จะพาประโคนชัย เข้าสู่การทำงานแบบเดิมได้อย่างไร จึงติดต่อนายกฯ ให้เสนอประโคนชัยเป็นลูกข่ายของ ต.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมินได้ จากนั้นก็ได้รับการติดต่อจาก สสส. เชิญให้มาประชุมที่ขอนแก่น พบว่าโครงการเดิม ที่หนองแวงไม่เดินหน้ามา 6-7 เดือน เพราะนายกฯ แพ้เลือกตั้ง และตัวผมเองก็ย้ายมายังพื้นที่ อื่น ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่สำคัญยังอยู่ที่ตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม ทาง สสส. ยังคงเห็นว่า ควรย้ายโครงการนี้มาให้ผมดำเนินการต่อใน ฐานะผูร้ บั ผิดชอบและผูจ้ ดั การโครงการ ซึง่ ก็คอื การเป็นผูป้ ระสานให้เกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรู ้ ที่ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ป ระจำภาคอี ส าน ครอบคลุ ม 4 พื้ น ที่ คื อ ต.โพนทอง ต.บั ก ได ต.ศรี ฐ าน ต.เขมราฐ 172 | หวัง ตั้ง มั่น


ดังนัน้ ภารกิจของเรายังมีอยูเ่ หมือนเดิม สำหรับลูกข่ายในปีที่ 1 เราต้องการการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ของเขา ตั้งเป้าหมายว่า อย่างน้อยต้องเกิดแหล่งเรียนรู้ 3 แหล่ง แล้วพัฒนาจน เป็นศูนย์เรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีส่วนวิชาการของ 20 ตำบลที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลักดันให้ ต้องเก็บข้อมูลเช่นเดิม มีการประชุมฝ่ายบริหารทุก 3 เดือน แล้วนำ 20 ตำบลมาสู่เวทีฟื้นพลัง ร่วมเวทีนโยบายสาธารณะเป็นประจำทุกปี โดยสรุป ปีแรกเราเรียนรู้ในพื้นที่เรา แต่ปีที่สองนี้ยากขึ้นไปอีก เพราะเราไม่มีแหล่ง เรียนรู้ของตัวเอง แต่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานสองทาง ประหนึ่งเราเป็นศูนย์เรียนรู้ แต่เราไม่มี ที่ให้เขาเรียน เราเป็นเพียงผู้ประสานให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ความยากคือ เมื่อก่อนเรามีแหล่ง เรียนรู้ของตัวเอง เรารู้ว่าเราทำอะไรมาจึงมาถึงตรงนี้ แต่วันนี้เราไปฝากเรื่องนี้ไว้กับเพื่อน เรารู้ ว่าเพื่อนมีอะไร แต่เราก็ต้องฝากอนาคตไว้กับเขาว่า จะทำอะไรให้ลูกข่ายเราทั้ง 4 ตำบลได้รับ การเติมเต็มได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ประโคนชัยเอง เราพยายามพัฒนาเรื่องต่างๆ ไปด้วยกัน ตอนนี้ ส่งนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของเราไปเรียนรู้การทำ TCNAP เพื่อกลับมาทำข้อมูล พัฒนาแหล่ง เรียนรู้ในพื้นที่ที่ไม่เคยจัดการอย่างเป็นระบบ เจ้าหน้าที่หลายคนเมื่อผ่านการเรียนรู้เรื่องนี้ และมีโอกาสเห็นตัวอย่างในทีต่ า่ งๆ ทำให้เขาได้เห็นว่า บ้านฉันก็มี เพียงแต่ไม่รวู้ า่ ใครทำ เป็นมา อย่างไร มีผลกระทบอะไร เพราะเขาไม่เคยเก็บหลักฐานไว้เป็นระบบ อาจเรียกได้ว่า ประโคนชัยอยู่ในระหว่างการสร้างตัวเอง ซึ่งก็จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจากนี้ ก่อนประเมินว่าประโคนชัยพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้ได้หรือไม่ กิจกรรมในพื้นที่นั้นมีหลายอย่างที่น่าสนใจและเป็นวัฒนธรรม หรือเป็นสิ่งที่มีอยู่ใน พื้นที่นานแล้ว เช่น ในงานศพจะไม่มีเหล้าเลย ไม่มีการแจกการ์ดเชิญงานใดๆ อาจเพราะเมือง มีขนาดเล็ก ยังมีความเป็นชุมชนสูง ในงานบุญก็เห็นกลุ่มการจัดการเรื่องแห่เทียนพรรษา กลุ่ม เยาวชนที่วัดแจ้งทำผังการแบ่งงาน เหมือนชาร์ตแมงมุมว่า ใครมีหน้าที่อะไร เขาระดมกันได้ จำนวนมาก เรียกได้ว่ามีทุนเรื่องความสามัคคีในพื้นที่ ผมอยู่ประโคนชัยมาประมาณ 6 เดือน คือได้กลับมาในบ้านเกิดของตัวเองในเวลาที่ เหมาะสม นำเอาประสบการณ์การทำงานที่มีอยู่มาทำกับพี่น้องในพื้นที่ แต่พื้นที่นี้มีลักษณะ เป็นชุมชนเมือง การทำงานก็จะแตกต่างกับพื้นที่ชนบทที่เคยทำมา ในชนบทเราจะทำอะไรก็ ต้องสนใจเรื่องปากท้องชาวบ้านก่อน แต่ในเมืองเราไม่ต้องให้น้ำหนักตรงนั้นมากนัก แต่เรา สนใจว่า เขาจะได้รับการบริการอย่างไร จะมีความปลอดภัยในด้านต่างๆ อย่างไร เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 173


ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ กองทุนแม่ของแผ่นดิน เริ่มแรกเขามีเงินตั้งต้นประมาณ 8,000 บาทแต่พัฒนาต่อยอดได้เงิน 150,000 แสดงถึงพลังของพวกเขาเอง อาจเพราะ ประโคนชัยเป็นพื้นที่ในเมือง คนค่อนข้างมีการศึกษาที่ดี คนที่เกษียณอายุแล้วแต่มีความคิดมี ประสบการณ์ก็มีจำนวนมาก พวกเขาล้วนอยากจะกลับมาช่วยสังคม จุดนี้เป็นพลังที่ซุ่มซ่อน อยู่เงียบๆ ในชุมชน และเรากำลังจะเอาพลังนี้ออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จะชวนกันทำอีกหลายอย่าง เช่น กิจกรรมของเด็กและ เยาวชน มีการหารือกันถึงปัญหาเด็กเยาวชน ซึ่งเห็นว่าอาจต้องหาทางออกด้วยการหาเวทีให้ เขาได้คิด ได้แสดงออก เรื่องเหล่านี้มีตัวอย่างเยอะอยู่แล้ว บางทีเราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งคิดจน ปวดหัว เราสามารถหาตัวอย่างมาดูได้เลย เพื่อวิเคราะห์ว่าจะปรับใช้กับชุมชนอย่างไร สิ่งที่ผมกำลังดำเนินการนี้ นับเป็นความแปลกใหม่สำหรับที่นี่ นั่นคือการทำให้ชุมชน มีโอกาสออกเสียง การทำงานของท้องถิ่นที่ผ่านมาประชาชนอาจไม่ได้พูดมากนัก แต่นับแต่นี้ จะเปลี่ยนไป แม้แต่กับทีมงานก็ไม่มีการออกคำสั่ง แต่จะใช้การซักถามและให้โอกาสเขาพูด เรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นการเปิดโลกของตัวเอง ดังนั้น บทบาทของ สสส.ที่มาช่วยสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นนั้นจึงเป็นหัวใจสำคัญ มาก และเชื่อมั่นโดยส่วนตัวว่า เราสามารถนำตัวอย่างไปเทียบเคียงและปฏิบัติได้ในบริบทของ ตัวเราเอง ยิ่งสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากเท่าไร ความคิด จินตนาการของเรายิ่งกว้างไกล อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการพาไปดูงาน เมื่อก่อนท้องถิ่นไปดูงานบ่อยๆ ก็ไม่ เคยเทียบเคียงหรือปรับใช้ได้จริง เพราะไม่เคยมีกระบวนการ ไม่มีฐานข้อมูลให้นำมาใช้ เมื่อ ไม่มีข้อมูล รบร้อยครั้งก็แพ้ร้อยครั้ง แต่ถ้าเรามีฐานข้อมูล มีระบบการจัดเก็บก็จะช่วยในการ บริหารจัดการได้อย่างดี และการมีฐานข้อมูลก็จะทำให้การทำประชาคมมีประสิทธิภาพและแก้ ปัญหาได้ถูกจุดมากขึ้นด้วย ที่สำคัญ การได้มาสู่กระบวนการนี้ยังทำให้มีการพัฒนาตัวท้องถิ่นเองด้วย ทำให้เรา มองเห็นเรื่องเชิงลึกในการทำงานกับท้องถิ่น ผมเคยคุยกับพรรคพวกบางคน เห็นได้ชัดเจนว่า เขาไม่เข้าใจแก่นของการทำงานกับชุมชน หรือแก่นของการกระจายอำนาจว่า แท้ที่จริงนี้มันไม่ ได้กระจายเพื่อมากระจุกอยู่ที่ตัวเรา แต่อำนาจนั้นต้องถึงประชาชนในระดับรากหญ้า ให้เขามี สิทธิมีเสียงจริงๆ และหากการผลักดันสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก้าวไปถึงขั้นการเป็น ‘นโยบาย’ ได้ ก็จะยิ่งเป็นหลักประกันความยั่งยืน เพราะไม่ว่าใครเข้ามาบริหารก็ต้องเดินตามรอยที่วางไว้ 174 | หวัง ตั้ง มั่น


สำหรับอุปสรรคในการทำงานเท่าที่มองเห็นก็หนีไม่พ้นปัญหาเรื่อง ‘คน’ ส่วนแรกคือ คนในชุมชน ซึ่งส่วนนี้หากเราเข้าใจและเข้าถึงเขา ส่วนใหญ่แล้วว่าอย่างไรก็ว่าตามกัน แต่อีก สองส่วนคือ ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำนั้นเป็นโจทย์ที่ใหญ่กว่า บางทีฝ่ายการเมืองมองเห็น ภาพ อยากจะทำ แต่ฝ่ายประจำไม่เดิน มันก็เกิดสภาพตึงเครียดไปหมด แต่หากคนขับเคลื่อน ทั้งสองส่วนมีใจ และคิดว่างานนี้เกิดประโยชน์ ทุกอย่างก็จะไปได้ดี เราต้อง ‘ล้างสมอง’ ให้ พวกเขามองเห็นว่านีไ่ ม่ใช่แค่เรือ่ งของ สสส. แต่เป็นเรือ่ งความเข้มแข็งของประเทศ และผลักดัน ให้พวกเขาทำมากกว่างานรูทีน

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 175



ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชาก ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพ บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางป บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้าน หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หน หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโร ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชาก ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพ บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางป บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้าน หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หน หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโร ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชาก ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพ บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางป บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้าน หนองสาหร่าย หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หน หนองโรง บางระกำ ชากไทย วังใหม่ ทุ่งโพธิ์ บางคนที บางปิด บ้านซ่อง บ้านหม้อ หัวไผ่ หนองสาหร่าย

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง


การทำงานเป็นทีม ความเอื้อเฟื้อกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะเด่นของตำบล ในพื้นที่ภาคกลาง

ผศ.ดร.หทัยชนก บัวเจริญ

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน 178 | หวัง ตั้ง มั่น


สำรวจภาคกลาง

‘มาด้วยกัน ไปด้วยกัน’ พื้ น ที่ ภ าคกลางมี ต ำบลที่ เข้ า โครงการตำบลสุ ข ภาวะ 11-12 ตำบล (บางตำบลอยู่ระหว่างการเลือกตั้ง) มีสถาบันการศึกษา 2 แห่ง รวมทั้งหมด 14 แห่ง ซึ่ง 14 แห่งนี้ก็จะมีเครือข่าย 14 เครือข่าย โดยแต่ละแห่งจะต้องพัฒนา ศักยภาพตัวเองก่อนเพื่อให้มีความพร้อมในการส่งต่อแนวคิดดีๆ ของตัวเองให้กับ ที่อื่นในเครือข่าย โดยจะมีลูกข่ายของแต่ละแห่งประมาณ 20 ตำบล ในระยะหลัง จะลดลงเป็ น เครื อ ข่ า ยขนาดเล็ ก หรื อ ไซส์ S คื อ มี เ ครื อ ข่ า ยน้ อ ยลงจาก 20 เหลือ 10 และมีเครือข่ายขยายผลประมาณ 30 ตำบล โดยภาพรวมตำบลในพื้นที่ภาคกลางที่เข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ เป็ น ตำบลที่ มี ค วามมุ่ ง มั่ น มี พื้ น ฐานในการศึ ก ษางานตำบลสุ ข ภาวะที่ ดี ใน ลักษณะของการทำงานเป็นทีม เราจะเห็นความเอื้อเฟื้อกัน การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของตำบลในพื้นที่ภาคกลาง ในจุดที่ต้องปรับ คือเรื่องของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมจะน้อย เพราะมีพื้นที่กว้าง ทั้ง 28 จังหวัดจะแบ่งเป็นตะวันออก และตะวันตก เวลา เริ่มแรกของการเรียนรู้จึงไม่ค่อยรู้จักกัน เพราะวิถีชีวิตต่างกัน ทางด้านตะวันออก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 179


จะเป็นชาวสวน แต่ทางตะวันตกจะเป็นชาวนา เรียนรู้ชีวิตจึงดูเหมือนต้องแยกกัน คนทาง ภาคตะวันออกจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดี ในส่วนของฝั่งตะวันตกก็จะแบ่ง เป็น 2 โซน โซนที่ทำเกษตรกรรมจริงๆ กับโซนที่บ้านมีฐานะอยู่แล้ว ก็จะมีความยากง่าย แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม ฐานะทางเศรษฐกิจของภาคกลางจะดีกว่าภาคอื่นๆ เพราะมีที่ดินและเงิน สิ่งที่ สสส. ทำ จึงเน้นไปในเรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเรื่องของ จิตอาสา โดยมีแหล่งเรียนรู้ร่วมของทั้ง 11 อปท. เฉลี่ยตำบลหนึ่งจะมีประมาณ 25 แหล่ง

รวม 275 แห่ง ทั้งนี้แหล่งเรียนรู้ที่โดดเด่นของภาคกลาง คือ ระบบสวัสดิการ ระบบเกษตรกรรม ยัง่ ยืน อาจจะเป็นเพราะพืน้ ทีภ่ าคกลางทีเ่ ป็นตำบลสุขภาวะนัน้ ไม่ได้อยูใ่ นเขตของอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชนบท หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเราเลือกตำบลที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งไม่ สะท้อนให้เห็นในสังคมแบบอุตสาหกรรมมากนัก โดยเรื่องสวัสดิการในเขตภาคกลางนั้น มีความหลากหลาย แบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวัด ขึ้นกับพื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชน ชุมชนที่เขาไปได้ไกล และไม่ต้อง มาดูแลเรื่องสวัสดิการแล้ว เรื่องอื่นๆ จะตามมา เช่น ภูมิปัญญา วัฒนธรรม บางพื้นที่สวัสดิการ ยังไม่เกิด แต่จะไปมีความเข้มแข็งในเรื่องเกษตร ที่ทำมาหากิน ในภาพรวมแล้ ว จุ ด ที่ ท้ า ทายของภาคกลางจะเป็ น เรื่ อ งการเรี ย นรู้ ข องเด็ ก และ เยาวชน ซึ่ง สสส. มองถึงการสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคกลาง ในลักษณะเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วม อีกเรื่องที่ท้าทายของพื้นที่ภาคกลาง คือเรื่องของระบบสุขภาพ ถึงแม้ ภาคกลางจะใกล้กรุงเทพฯ แต่การเข้าถึงระบบสุขภาพยังมีความแตกต่างกัน เราจึงเห็นว่า

น่าจะสร้างความร่วมมือจากฐานเดิมของ สปสช. ได้ แต่ตำบลสุขภาวะที่เราเลือกยังไม่มีการ เชื่อมโยงกัน ซึ่งถ้านำโครงการตำบลสุขภาวะมาเชื่อมโยงกับฐานที่ สปสช.ทำมา ก็น่าจะทำให้ โครงการสุขภาวะของภาคกลางเข้มแข็งมากขึ้น ทีนี้เมื่อดู จุดเด่นจุดท้าทายของแต่ละ ก็อาจจะสรุปเป็นภาพรวมได้ ดังนี้ 1. บางระกำ ที่นี่มีความโดดเด่นเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม มีเรื่องของอาหาร มีเรื่อง ของจิตอาสาและการจัดการภัยพิบัติ เนื่องจากที่ผ่านมาประสบอุทกภัย เรื่องฐานการเรียนรู้ จึงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู ส่วนในด้านการมีส่วนร่วม นายกฯ ก็ให้ความสำคัญมาก

180 | หวัง ตั้ง มั่น


2. หัวไผ่ แต่เดิมนั้น เด่นในเรื่องเด็กและเยาวชน ที่หัวไผ่เองยังมีความ ชัดเจนเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่พอมาเจอน้ำท่วมเมื่อปี 2554 การสานต่องาน ตรงนี้ จึ ง ไม่ ต่ อ เนื่ อ ง เราจึ ง ได้ ป รั บ รู ป แบบของการสร้ า งการเรี ย นรู้ โ ดยการนำ เครือข่ายไปเรียนรู้กับที่อื่นที่เป็นต้นแบบ ทำให้การเรียนรู้ตำบลสุขภาวะไม่หยุด ชะงัก แต่เขาไม่ได้เรียนรู้กับตำบลแม่แบบของเขาเอง 3. หนองโรง จะเป็นตำบลที่ชัดเจนในเรื่องการจัดการของป่า เป็นพื้นที ่

ที่ร้อนที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ ยังมีเรื่องของการแกษตรที่เด่น และนายกฯ ของ ที่นี่ก็เป็นอีกที่ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม 4. หนองสาหร่าย เป็นพืน้ ทีท่ ำนา ทำในเรือ่ ง ‘โรงงานอาหารดิน’ และเน้น เรื่องคนดีศรีสุพรรณ ซึ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. บ้านช่อง เราจะเห็นความชัดเจนในด้านระบบการมีส่วนร่วม และระบบ เศรษฐกิจที่ทำในเรื่องการเพาะเห็ดและขยายไปทั่วพื้นที่ ที่นี่ยังคงรักษาภูมิปัญญา วัฒนธรรมไทย-ลาวไว้ได้ ที่สำคัญเกิดระบบใหม่คือ ‘ระบบถือแรง’ ซึ่งเป็นระบบที่ ทำให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของชุมชน 6. ชากไทย เราเห็นเรื่องการจัดการน้ำที่โดดเด่น เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม และการปลูกผักผลไม้ก็ต้องมีน้ำหมุนตลอดทั้งปี เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 181


7. วังใหม่ จะชัดเจนในเรื่องของสวัสดิการ มีการจัดตั้งสวัสดิการก่อนที่รัฐบาลจะ เข้ามาสนับสนุนเสียอีก มีการระดมทุนกันเอง คนวังใหม่เองก็มีความร่วมไม้ร่วมมือกันในการ ทำงาน 8. บางคนที เป็นเขตใกล้เมืองมาก แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีดิน น้ำ อุดมสมบูรณ์ คนใน พื้นฐานนี้จึงร่ำรวย แต่ก็ยังรักษาความร่ำรวยในด้านจิตอาสาไว้ได้ ทุกคนจะช่วยกัน ที่นี่ มีนายกฯ เป็นผู้หญิง และมีการดึงสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพอีกด้วย 9. บางปิ ด จะมี เวที ที่ ส ร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว ม 3 ลั ก ษณะ เวที ป ระชาพิ จ ารณ์ เวที ประชาคม เวทีร่วมใจ เพื่อช่วยประชาชนในการตัดสินใจ 10. ทุ่งโพธิ์ จะเน้นเรื่องการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วม และที่สำคัญเขามี สวัสดิการ มีกองทุนสวัสดิการของตำบล ที่คนในตำบลร่วมกันระดมทุนซื้อที่ดินคืนมา 11. บ้านหม้อ จะโดดเด่นในด้านการบริหารจัดการแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท เขามี โครงการ ‘1 เย็น 1 ซอย’ ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการแบบเข้าถึงคนกึ่งเมือง มีเวทีเรียนรู้ ธรรมชาติของคนในพื้นที่ เวที อบต.พบคนในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ ภูมิปัญญาหรือเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เฉพาะเรื่องที่โดดเด่น ยังมีเรื่องอื่นๆ ในแต่ละตำบลที่น่าสนใจและมีความ หวัง และที่เรามีความหวัง เพราะเราเชื่อว่า โครงการนี้จะสร้างความเข้มแข็งจากรากฐาน คือ ประชาชน เมื่อทำให้เขาเข้าใจแนวคิด ก็จะสามารถปรับและพัฒนาต่อยอดได้ โครงการตำบล สุขภาวะจึงไม่ได้พัฒนาแต่แหล่งเรียนรู้ แต่ยังพัฒนาผู้นำความเปลี่ยนแปลงด้วย อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา พื้นที่ภาคกลางประสบปัญหาอุทกภัย ยังมีปัญหาที่เกิดจาก ช่วงเปลี่ยนผ่านรอการเลือกตั้งทางการเมือง ซึ่งมีผลกระทบค่อนข้างมาก ทำให้โครงการตำบล สุขภาวะหยุดชะงัก

182 | หวัง ตั้ง มั่น


ประวิทย์ หนูเชื้อเรียง

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลชากไทย กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ที่ชากไทยเราใช้กลุ่มคน ที่เรียกว่า ‘คอร์ทีม’ เป็นตัวเชื่อม ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง ที่ทำให้คนในตำบล รักและเชื่อฟังได้ เพราะคนนี้อาจจะชอบนายกฯ อีกคนอาจจะไม่ชอบนายกฯ ก็ ได้

ชากไทย


‘คอร์ทีม’ สานความเข้าใจ พึ่งพากันเอง ชื่อของตำบล ‘ชากไทย’ หมายความว่า ป่าไม้เล็กๆ ที่มีคนไทยอาศัยอยู่ ปัจจุบันมี ‘ชาวชอง’ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของพื้นที่อาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 35 นอกจากนั้นเป็น คนไทยที่อพยพเข้ามาอาศัย ดั้งเดิมแล้วผมเป็นคนพื้นที่นี้ เราอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำงานอยู่ในฝ่ายปกครองมาก่อน ทำให้เรามีโอกาสได้ไปทุกพื้นที่ในตำบลชากไทย มีโอกาสได้ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้าน สภาพ พื้น ที่ข องชากไทยเรา มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสูง ประชาชนในพื้นที่ส่วนมากมีอาชีพด้าน การเกษตร ทำสวนเป็นอาชีพหลัก ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพทางการเกษตรของพื้นที่เรา แต่เดิมนั้นเป็นเรื่องของผลผลิต ผลไม้ตกต่ำ ตอนหลังเมื่อมาร่วมมือกันปรับแก้ สร้างการรวมกลุ่มกัน ทำให้คุณภาพของ ผลผลิตเริ่มดีขึ้น อีกปัญหาที่สำคัญของชากไทย คือปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำ เพราะว่าพื้นที่ ชากไทยของเราไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน ด้วยเหตุนี้เรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องของการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติจึงมีปัญหาทะเลาะกันบ่อยมาก เราเลยมาบริหารจัดการเรื่องแหล่งน้ำใหม่ ให้ความ สำคัญกับเรื่องนี้ ดึงให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม การมามีส่วนร่วมมารับรู้ปัญหาด้วยกัน มาแก้ ปัญหาด้วยกัน ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เผชิญหน้าลดลง ที่จริงแล้ว ชุมชนของชากไทยมีการรวมกลุ่มกันมาอยู่ก่อนแล้วแต่ดั้งแต่เดิม มีมาก่อน ที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่งและทำหน้าที่ตรงนี้ โดยใช้ต้นทุนที่ตัวเองมีอยู่เป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งเรื่องแผนพัฒนาหมู่บ้าน เมื่อก่อนขัดแย้งกัน เพราะชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม ตอนหลังมีการ พูดคุยกัน มีการทำประชาคม ดึงให้พี่น้องเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้น สถานการณ์การทำงานต่างๆ ในชุมชนก็ดีขึ้น มีความร่วมมือสนใจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ผมจึง

เห็นว่า การมีส่วนร่วม การสร้างโอกาสให้เขาได้เข้ามาร่วมกันจัดการเรื่องของชุมชนนั้นสำคัญ มาก ซึ่งโครงการตำบลสุขภาวะก็มุ่งเน้นเรื่องนี้เป็นสำคัญ เลยตรงกันกับความคิดอ่านของเรา ตำบลชากไทยเริ่มเข้าสู่โครงการสุขภาวะตั้งแต่ 15 กันยายน 2553 ถึงปัจจุบันก็ 2 ปีเศษแล้ว แม้ว่าเมื่อก่อนจะทำอยู่แล้วโดยคนในพื้นที่ ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน พอได้ 184 | หวัง ตั้ง มั่น


มาทำกับ สสส. ก็เหมือนเป็นการตอกย้ำแนวทางการทำงาน ระเบียบต่างๆ ให้เป็นระบบ ให้ มันเกิดผล ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นการยกระดับแนวทางของตำบลสุขภาวะที่เราทำ โดย เฉพาะการทำแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน โครงการตำบลสุขภาวะนี้ทำให้คนในชุมชนเข้มแข็ง มีศักยภาพ ทำให้เกิดการพูดคุย กัน แหล่งเรียนรู้เป็นปึกแผ่น มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ เกิดการรวมกลุ่มกัน แรกเริ่มนั้น บางคนไม่ได้ทำ เขาก็ว่าก็วิจารณ์ไปต่างๆ นานา แต่ตอนหลังเมื่อมีผลงานออกมาให้เห็น ทำให้ คนที่ไม่เคยเข้าร่วมก็มารวมกลุ่มกัน ปัญหาต่างๆ ก็ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ ทำให้ภาพรวมเริ่ม

ดีขึ้น ความมีส่วนร่วมมันก็ขยายออกไปอีกจากกลุ่มเล็กเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้อง ช่วยเหลือตลอด เดี๋ยวนี้เขาคิดเองได้ เริ่มทำโครงการมาขอเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี กระบวนการที่ชากไทยทำนี้ เป็นกลไกสร้างการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ซึ่งนำ ไปสู่การเป็นตำบลที่พร้อมทั้งในเรื่อง กาย จิต สังคม ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ทำให้รู้ว่า ถึงวันหนึ่งเมื่อจบโครงการ สสส. 3 ปีแล้ว ท้องถิ่นจะสามารถรองรับต่อได้ และ ตัวชาวบ้านเองสามารถจัดการต่อเองได้ภายใต้ทุนและศักยภาพที่กลุ่มที่เขามี วันนี้กลุ่มเขา

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 185


ไม่ได้เรียกร้องเม็ดเงิน เขาอยากได้แค่องค์ความรู้ ขอให้ตัวกลุ่มต่างๆ มาคุยกับเขาบ้าง เพื่อ แลกเปลี่ยนพัฒนา อีกส่วนหนึ่งที่คุยกันมาตลอด คืออยากให้ภาคประชาชนมีบทบาทกับท้องถิ่น ไม่ใช่ เวลาจะทำอะไรต้องอาศัยตัวผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่น ว่าจะให้อะไรหรือทำอะไร เราวางเป้าว่า อยากให้คนชากไทยกำหนดทิศทางของชากไทยเอง ลุกขึ้นมาจัดการตัวเองได้ การสร้างความร่วมมือกันในชุมชนให้เกิดขึ้นได้นั้น เราต้องแสดงให้เห็นว่า ถ้าร่วมกัน เดินแล้วจะได้ประโยชน์จากโครงการ ทั้งตัวเขาเอง ทั้งชุมชน เช่น เราทำปุ๋ย เมื่อมาร่วมกันทำ มันก็ได้ประโยชน์ เรื่องของวัตถุดิบ วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอย่างเช่นหญ้า เมื่อก่อนเรา ฉีดยา ตัดทิ้ง เดี๋ยวนี้เอามาทำปุ๋ย ก็ลดต้นทุนรายจ่ายลงได้ พอเขามาเข้าร่วมมาพิสูจน์ด้วย ตนเอง เขาก็เห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดี การรวมกลุ่มร่วมมือกันดีกว่าเขาทำอยู่คนเดียว อุปสรรคในการทำงานก็มีเป็นธรรมดา แต่เราต้องสร้างความเข้าใจของคนให้ได้ก่อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ที่ชากไทยเราใช้กลุ่มคนที่เรียกว่า ‘คอร์ทีม’ มีที่มาจากหน่วยงาน ท้องที่และภาคประชาชน ในการเป็นตัวเชื่อม ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่ทำให้คนในตำบลรักและ เชื่อฟังได้ เพราะคนนี้อาจจะชอบนายกฯ อีกคนอาจจะไม่ชอบนายกฯ แต่ไปชอบกำนัน หรือ ว่าคนนี้อาจจะไม่ชอบทั้งนายกฯและกำนัน แต่ไปชอบตัวชาวบ้านด้วยกันเอง เราอาศัยคนกลุ่ม นี้เข้าไปพูดเข้าไปคุย ไปชักชวนให้มาทำงานร่วมกัน ทีนี้ทำอย่างไรจะให้โครงการต่างๆ ที่ทำอยู่นี้เกิดความยั่งยืน ผมมองว่า เรามีระเบียบ ข้อตกลงร่วมกันไว้ในกลุ่ม ถึงผมไม่อยู่ ใครไม่อยู่ ก็มีระเบียบข้อบังคับในกลุ่ม กำหนดให้เดินไป ตามวิถีทางของมัน มุ่งไปสู่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ในความร่วมไม้ร่วมมือกับ สสส. ทำโครงการนี้ เราต้องยอมรับว่า เป็นโครงการที่สร้าง จิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนความคิด ภายใต้หลักที่ว่า คนเราถ้าได้ลองปรับ เปลี่ยนทัศนคติ ปรับเปลี่ยนความคิดแล้ว ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหาร ใครมาเป็นผู้นำ ก็ไม่ สามารถที่จะกลับสู่วงจรเก่าๆ ได้ ยกตัวอย่างว่า ถ้าเกิดคนตั้งเป้าหมายว่าจะเลิกบุหรี่ ตั้ง

เป้าหมายว่าจะเลิกยาเสพติด ผมว่าถ้าเขามีเป้าชัดว่าจะเลิก ใครบังคับให้กลับมาเสพก็ไม่กลับ แล้ว เป็นเพราะเขาปรับเปลี่ยนความคิดไปแล้ว เช่นเดียวกับเรื่องของการสร้างคน เราสร้าง คนให้มจี ติ อาสา สร้างคนให้มคี วามเอือ้ อาทรกัน เกือ้ กูลกัน คือต้องทำให้คนรูจ้ กั มองดูคนอืน่ ด้วย นอกจากมองดูตัวเอง ต้องมองความเป็นอยู่ มองความเป็นจริงในทุกมิติให้รอบด้านมากขึ้น 186 | หวัง ตั้ง มั่น


นริศ กิจอุดม

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

เราต้องโน้มน้าวประชาชน ให้มาสนใจเรือ่ งของสุขภาวะ สสส.ไม่ได้มาทำให้เรานะ เขามากระตุน้ เราเท่านัน้ เอาความรูม้ าให้เรา ตัวเราเป็นผูล้ งมือกระทำ ทำให้ใคร ก็ทำให้ตวั เราเอง

วังใหม่


หลัก 4 ใจ ‘วังใหม่’ น่าอยู่ พื้นที่โดยทั่วไปของตำบลวังใหม่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและพื้นที่เชิงเขา เราอยู่ห่างจาก ทะเลประมาณ 20 กิ โ ลเมตร ประชาชนส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวสวน มี ส วนผลไม้ เ ป็ น หลั ก กั บ

ยางพารา ส่วนการทำนาไม่ค่อยมีเหลือในพื้นที่แล้ว การเข้าร่วมกับ สสส. ตอบเป้าหมายของตำบลเรา สโลแกนของเราคือ ‘ตำบลวังใหม่ น่าอยู่’ ซึ่งสะท้อนว่า ความต้องการสร้างตำบลให้น่าอยู่นั้นมีมานานแล้ว คำว่า ‘น่าอยู่’ ของ เรา ครอบคลุมทุกบริบท ตั้งแต่ชุมชนปลอดโจรขโมย ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน มีรายได้ พอเพียง ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเป็นงานที่เราทำมาแต่ดั้งเดิม พอมาเจอกับโครงการ สุขภาวะ ของ สสส. จึงเป็นความสอดคล้อง ไปกันได้ กลายเป็นว่า ได้ต่อยอดงาน ซึ่งจริงๆ ตำบลวังใหม่ของเราเป็นตำบลที่แสวงหาเครือข่ายเพื่อต่อยอดในเรื่องของการพัฒนาอยู่แล้ว ที่ไหนเขามีสิ่งดี มีองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เราไม่มี เราไปเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้กับตำบลวังใหม่ แล้วยิ่ง สสส. มีเครือข่ายมากขนาดนี้ วังใหม่ก็จะมีแต่การพัฒนา ภายหลั ง เข้ า ร่ ว มกั บ โครงการตำบลสุ ข ภาวะ อย่ า งแรกที่ เ ห็ น ได้ ชั ด คื อ ความ กระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ตรงนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อก่อนเราทำ แต่เราไม่เคยเน้นว่า คนของเราเมื่อรู้เรื่องต่างๆ แล้วต้องถ่ายทอด เราไม่ได้ไปถึงขั้นนั้น แต่พอ สสส. มา แกนนำเรามีทักษะเพิ่มขึ้น ในเรื่องการดำเนินการและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จึงมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนภายใน ตลอดจนชุมชนต่างๆ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนมาเรียนรู้กับเรา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความตื่นตัวในการจัดการชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น การมีส่วนร่วมนั้นสำคัญมาก เดิมเรามีการลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่เป็น เพียงแค่การไปตรวจเยี่ยมฟังปัญหา ไม่เคยนำเขาเข้ามามีส่วนร่วมทำ พอโครงการมา เราจึง เน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้น ดึงเขามาร่วมพัฒนา ร่วมแก้ปัญหาด้วย ซึ่งก็คือการแก้ปัญหาของ ตัวเขาเองนั่นแหละ ทั้งยังเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน มีระบบมากขึ้น ไม่ใช่เป็นการสั่งไปจาก เราฝ่ายเดียวแล้ว มันเป็นการไป-กลับ ทั้งเราทั้งเขาเข้าหากัน มาร่วมกันทำงาน มีการสื่อสาร พูดคุยกัน 188 | หวัง ตั้ง มั่น


ภายหลังจากเราได้ไปเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องวิชาการ เราสามารถจัดข้อมูลของเราให้ เป็นระบบมากขึ้น เราส่งคนไปอบรมเรียนรู้ กลับมาชาวบ้านก็เริ่มทำ โดยจ้างเด็กนักเรียนใน ชุมชนทดลองทำ ตอนนี้เริ่มต้นขึ้นมาได้ เพราะเห็นแล้วว่า ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ วังใหม่ สามารถเอาข้อมูลพวกนีม้ าใช้ในการพัฒนา กระนัน้ ข้อมูลทีเ่ ราจัดเก็บก็มหี ลายแบบ ทัง้ ข้อมูลดิบ หรือข้อมูลที่เราได้มาแล้วมีการปรับแต่ง ข้อมูลที่เราใช้เอง หรือส่งต่อให้คนอื่น การจัดเก็บ ข้อมูลตอนนี้มีปัญหาอยู่อย่างเดียว คือ เรื่องรายได้ของชาวบ้าน เขาไม่อยากบอกเรา คนเก็บก็ ไม่ได้เก็บมาตั้งแต่ต้น อันนี้ต้องเข้าใจเขา แต่ก็จำเป็นต้องสอนต้องอบรมคนเก็บถึงวิธีการที่จะ ได้มา เพราะข้อมูลเหล่านี้สำคัญ เวลาเราทำงานมันช่วยเราได้ กระนั้นในการทำงาน ผมว่า สสส. ควรยืดหยุ่นบางอย่างลงบ้าง ฟังเสียงของท้องถิ่น ให้มากขึ้น สสส. คือแนวร่วมในการพัฒนาชุมชน แต่เรามิได้ร่วมมือกับ สสส. องค์กรเดียวใน การพัฒนาชุมชน สสส. ต้องเข้าใจตรงนี้ หาก สสส. ยืดหยุ่นได้บ้างในบางเรื่อง เช่นเรื่องเวลา ตามแผนดำเนินงาน หรือรับฟัง อบต. เพิ่มมากขึ้น อันนี้ก็น่าจะดี ขณะนี้เราเน้นเรื่องกองทุนสวัสดิการ มีการรวบรวมกองทุนสวัสดิการทุกกองทุนใน ตำบลวั ง ใหม่ ม าหลอมรวมกั น ทั้ ง หมดประมาณ 15-16 กองทุ น แล้ ว เรี ย กว่ า ‘กองทุ น สวัสดิการกลาง’ เอาข้อดีข้อเสียมาพิจารณา แล้วจัดตั้งเป็นกองทุนกลางเพื่อให้คนทั้งตำบลได้ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 189


มีสิทธิใช้กองทุนนี้ร่วมกัน ซึ่งที่อื่นก็มีประมาณนี้ แต่ที่เราต่างจากที่อื่น คือเราสามารถเอาทุก กองทุนมารวมกันได้ ตั้งแต่เราเริ่มทำตำบลสุขภาวะ เรื่องนี้เป็นที่โดดเด่นและชัดเจนขึ้นมาก ทั้งเงินทุนที่ได้ มาจากแหล่งต่างๆ และกองทุนทีช่ าวบ้านจัดหาด้วยตนเอง พอเรานำมารวมกัน เขาจะได้สองต่อ คือทุนของเขาเอง และทุนจากส่วนกลาง เช่น หากคนในชุมชนต้องนอนโรงพยาบาล จะได้วนั ละ 200 บาท เสียชีวิตได้ 5,000 บาท เป็นต้น อันนี้เป็นสวัสดิการที่งอกเด่นขึ้นมา ทำให้การมี

ส่วนร่วมของเราก้าวกระโดด ทำให้ระบบกองทุนสวัสดิการของเราเข้มแข็งขึ้นมาก นอกจากนี้ ยังดูแลเรื่องของการศึกษา ดูแลความเป็นอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย ของ สาธารณะต่างๆ ที่ต้องซ่อมแซม กองทุนตรงนี้ดูแลหมด แทบจะทุกเรื่องในหมู่บ้านที่เป็นของ ส่วนรวม และกองทุนกลางนีก่ ไ็ ม่เคยหายไป แม้วา่ จะมีการใช้ออกตลอด เพราะเรามีการสนับสนุน ใส่เติมลงไปตลอด ท้องถิ่นก็อุดหนุน เราเอาข้อดีข้อเสียของกองทุนต่างๆ มาปรับใช้เป็น กฎระเบียบของกองทุนกลาง แต่กว่าจะได้กฎระเบียบต่างๆ นี่ เราต้องผ่านการทำงานหนัก เราเอาผู้นำกลุ่ม ผู้นำกองทุนต่างๆ มาประชุมร่วมกัน คิดร่วมกัน เพื่อหารือข้อกำหนดที่จะนำ มาบังคับใช้ นับเป็นกองทุนสวัสดิการกลางที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่าง แท้จริง การดึงให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมได้นั้น ผมใช้หลัก สี่ใจ หนึ่ง ตัวผู้นำต้องแสดงออก ถึงการมีจิตใจที่เป็นสาธารณะ มีจิตอาสาในเรื่องของการทำงาน ทำโดยไม่หวังผลตอบแทน สอง มีใจซื่อตรง การจัดสรรงบประมาณ เราไม่มีเรื่องของพวกพ้อง เรามองเรื่องความจำเป็น และความต้องการใช้เป็นสำคัญ สาม เรามีความจริงใจ ปัญหาทุกอย่างที่เราแก้ เราทำเสมือน เป็นปัญหาของเราเอง สี่ เอาใจเขามาใส่ใจเรา สิ่งเหล่านี้มันทำให้ชาวบ้านเขาให้ความร่วมมือ เวลาทำงานร่วมกัน ซึ่งความร่วมมือกันทำงานนี่เองที่นำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ส่วนตัวผมทำมานาน เพราะอยู่มา 4 สมัย เป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่บ้านมาก่อนด้วย เราทำงานมานาน ต้องทุ่มเท ต้องทำให้ชาวบ้านเขาเห็น ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งไม่ได้สร้างกันง่ายๆ แต่บางคนเขาก็เก่ง เขาอาจจะใช้เวลาไม่นานก็ ทำได้ แต่จะยั่งยืนหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง กว่าจะมาถึงวันนี้ การพบเจออุปสรรคนั้นเป็นเรื่องธรรมดา คนทำงานในองค์กร ตัว ชาวบ้าน ถ้าเขาไม่ร่วมมือ สิ่งต่างๆ ก็ไม่เดินหน้า ก็ต้องค่อยๆ แก้ไป ปรับไป อุปสรรคสำคัญ ตอนนี้ อยู่ที่ชาวบ้านไม่พอเพียง อันนี้เหนื่อย นำไปสู่การเป็นหนี้นอกระบบ เพราะฉะนั้นเรา 190 | หวัง ตั้ง มั่น


ต้องทำให้เขากลับมามองถึงตัวตนให้ได้ ต้องทำให้ชาวบ้านรู้จักตัวเอง ตอนนี้เรามุ่งที่เด็ก เลย ไปทำที่โรงเรียน ให้เด็กรู้จักคิด ทำระบบบัญชีครัวเรือน สอนเขาตั้งแต่เด็ก ให้เขาได้รู้ถึงรายรับ รายจ่ายของครอบครัว ฝึกให้เขามีความรับผิดชอบ ช่วยพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก ผมอยู่มาเป็นสิบปี ซึ่งตามธรรมชาติไม่มีใครอยู่ได้ตลอดไป ในทุกที่ ถ้ายึดที่ตัวนายกฯ มันก็หมดไปพร้อมกับตัวนายก ถ้าเรายึดระบบการทำงานเป็นสำคัญ ถ้าเราทำระบบดี ใครเข้า มาก็ทำต่อได้ เราต้องยึดหลักการทำงาน เอาพี่น้องประชาชนเป็นหลัก อย่างไรเสียก็เดินต่อไป ได้ อย่างโครงการสุขภาวะนี้ เราต้องแสดงให้เห็นว่า มันเป็นของคนในตำบลวังใหม่ ไม่ใช่ของ นายกฯ ไม่ใช่ของ สสส. หรือของใคร ชาวบ้านเขาก็รับรู้ มันก็เดินต่อไปได้ไม่ว่าใครจะมาเป็น

ผู้บริหาร หัวใจของมันก็อยู่ที่กระบวนการมีส่วนร่วม เราให้ความสำคัญในสิ่งที่เขาถนัด เขาถนัด อะไรก็มอบหมายงานนั้นให้เขาทำ ให้ชาวบ้านออกความคิดเห็น ให้เขาได้แสดงออก เพราะ ชาวบ้านเขามีความรูใ้ นเรือ่ งทีเ่ ขาทำอยูแ่ ล้ว เราต้องเปิดโอกาส เปิดพืน้ ที่ เปิดเวที ให้เขาได้มาใช้ ได้มาแสดงออก เรามีหน้าที่ในการประสาน จัดเวที เตรียมความพร้อมต่างๆ สนับสนุนเขา เกิดการมีส่วนร่วม งานมันจะเดินไปข้างหน้าได้ ที่สุดแล้วเราต้องโน้มน้าวประชาชนให้มาสนใจเรื่องของสุขภาวะ ทำความเข้าใจ ใน เรื่องของภาพรวม สสส. ไม่ได้มาทำให้เรานะ เขามากระตุ้นเราเท่านั้น เอาความรู้มาให้เรา ตัวเราเป็นผู้ลงมือกระทำ ทำให้ใคร ก็ทำให้ตัวเราเอง สุขภาวะคืออะไร มันก็คือทุกเรื่องที่อยู่ รอบตัวเรานี่ล่ะ ไม่ว่าเราจะนั่ง เดิน นอน กิน ใช้ชีวิต ทำอย่างไรให้ทุกอย่างที่เราทำมันเกิดเป็น ความสุข ไม่เป็นทุกข์ อันนี้ล่ะคือสุขภาวะในความคิดเห็นของผม เราก็บอกเล่าให้ชาวบ้านที่เรา ดึงเขามาเข้าร่วมโครงการฟังสิ่งต่างๆ ที่เขาทำ นั่นก็คือทำไปเพื่อให้เขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่าง มีสุข นั่นล่ะเป้าหมายของโครงการสุขภาวะ เป้าหมายของเรา

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 191


ชูชาติ บำรุง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

สำหรับเราแล้ว กระบวนการเรียนรู้ เป็นสิง่ สำคัญ และแหล่งเรียนรู้ ทีจ่ ะสามารถถ่ายทอด ให้กบั ชุมชนและเครือข่าย เป็นสิง่ สำคัญทีจ่ ะนำไปสู่ ความเป็นตำบลสุขภาวะ อย่างแท้จริง


คนละ 1 บาท สร้างพลังชุมชน ตำบลทุ่งโพธิ์มีอยู่ 7 หมู่บ้าน พื้นที่ของทุ่งโพธิ์ด้านหนึ่งติดกับภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ของ ทุ่งโพธิ์เป็นที่ราบเชิงเขา และมีด้านที่ติดกับแม่น้ำ ที่สำคัญยังเป็นต้นน้ำของแม่น้ำปราจีนบุรี น้ำจากต้นน้ำปราจีนบุรีก็จะไหลลงแม่น้ำบางปะกง ชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลของเรายึดอาชีพอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เทียบแล้ว ประมาณร้ อ ยละ 80 เป็ น พื้ น ที่ ท ำการเกษตร โดยส่ ว นมากจะปลู ก มั น สำปะหลั ง สวน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ยูคาร์ลิปตัส ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ของเรามีหลากหลายชนิด พื้นที่ของ เราปลู ก ได้ ผ ลดี ม าก พื้ น ที่ ห ลั ก ๆ จะปลู ก ไผ่ ต ง ไผ่ ต งนอกฤดู จ ะเป็ น ที่ ขึ้ น ชื่ อ ของจั ง หวั ด ปราจีนบุรี ตำบลทุ่งโพธิ์จะปลูกไผ่ตงมากที่สุด ส่วนใหญ่จะผลิตและส่งออกเอง เป็นที่ต้องการ ของตลาดมาก ที่จริงโครงการที่เราร่วมกับ สสส. ทำนั้น เราได้ทำมาแต่เดิมอยู่แล้ว ทำก่อนที่ตำบล ของเราจะเข้าสู่เครือข่ายตำบลสุขภาวะ เด่นๆ เลยก็จะเป็นเรื่องสถาบันการเงิน สวัสดิการ

ทุ่งโพธ


ชุมชน เราเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2549 โครงการที่ตามมาก็คือศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เกษตรตำบล อปพร. จนกระทั่งมาร่วมในโครงการตำบลสุขภาวะในปี 2554 และเริ่มรวม โครงการต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นเรื่องเป็นราวก็ในปี 2555 โดยเราเป็นลูกข่ายของเทศบาลตำบล บ้านซ่อง ด้วยความที่เราทำมาก่อน และภาคประชาชนก็เข้มแข็งมาแต่เดิม ร่วมมือกันมา แต่เดิม ตรงนี้ทำให้เมื่อนำโครงการของ สสส. เข้ามาเสริมจึงทำให้ทุกอย่างลงตัว และเดินหน้า ต่อไปได้โดยไม่ติดขัด พอเข้าเป็นเครือข่ายของตำบลสุขภาวะ เราเลยมีแนวคิดในเรื่องระบบการจัดการเพิ่ม ขึ้นมา มีการวางแผน มีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ตรงนี้เป็นข้อดีที่เห็นได้หลังการเข้ามาของ โครงการตำบลสุขภาวะ แล้วชุมชนได้รับประโยชน์ที่แท้จริง การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเมื่อก่อนเวลาทำอะไรชาวบ้านจัดการตนเองก็ว่าไปตามความรู้ความถนัดที่ชาวบ้านเขามี พัฒนามาสู่การทำงานเป็นระบบ มีแผนงาน จากที่จดลงในสมุด พอได้ปรับเปลี่ยนก็มีการจัด เก็บข้อมูลที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น มีการแยกหมวดหมู่ ทำกันเป็นระบบมากขึ้น โครงการที่โดดเด่นของทุ่งโพธิ์เรา คือโครงการสวัสดิการชุมชน สถาบันการเงิน โดย เราจะรับเงินออมจากสมาชิกวันละ 1 บาท สวัสดิการที่จะได้รับคือ เมื่อคลอดบุตรจะได้รับ 1,500 บาท ถ้าเสียชีวิตก็จะมีเงินให้ สำหรับตำบลทุ่งโพธิ์ โครงการนี้ได้รับการตอบรับ ได้รับ ความร่วมมืออย่างจริงจัง ชาวบ้านเขาเห็นประโยชน์ของการออม โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ ผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุด การดึงชุมชนเข้ามาทำงานนัน้ เราจะใช้การประชุมเหมือนการประชุมจัดทำแผนพัฒนา ในการขับเคลื่อนสุขภาวะ ไม่ว่าจะส่งเสริมอาชีพ ด้านเศรษฐกิจ ข่าวสารตำบลทุ่งโพธิ์ มีอะไรที่ มันจะเกิดประโยชน์หรือเกิดผลกระทบต่อตำบล เราก็จะต้องพูดคุยในเวที แล้วก็จะแจ้งให้ ประชาชนได้ทราบ ประชาสัมพันธ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในตำบล เราไม่มีการปิดบังข้อมูล เมื่อ ชาวบ้านเขารู้ข้อมูล ความอยากมีส่วนร่วมมันจะเกิดขึ้นตามมา ด้วยสภาพพื้นที่ตำบลที่ส่วนมากเป็นพื้นที่การเกษตรกว่าร้อยละ 80 อีกร้อยละ 20 จะเป็นพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม หลายครอบครัวก็เริ่มออกไปรับจ้างทำงานเพิ่มขึ้น เหลือแค่ คนแก่กับเด็กอยู่ในบ้าน ซึ่งในการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะซึ่งต้องอาศัยพลังชุมชนมาร่วม บริหารจัดการนั้น ภาคเกษตรจะมีส่วนร่วมมากกว่าคนทำงานอุตสาหกรรม ขณะที่คนหนุ่มสาว ที่เขาไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรม การมีส่วนร่วมมันยังน้อยอยู่ นี่ก็เป็นอุปสรรคตามสภาพสังคม ของเรา 194 | หวัง ตั้ง มั่น


หลังจากที่เราได้ถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. ทำให้เราได้ความคิดและความเข้าใจเรื่อง ของ 7 ระบบ 7 นโยบายมา ที่เด่นมากที่สุด คือการบริหารจัดการตำบล โดยอาศัยต้นทุนจาก การที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง เราได้ความรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งของเรามีอยู่ 6 แหล่ง เช่น กลุ่มแปรรูปอาหาร กลุ่มด้านแกะสลักไม้ไผ่ พวกไผ่ตงนอกฤดู จนสามารถเชื่อมโยงแหล่ง เรียนรู้หรือกลุ่มต่างๆ เข้าหากันอย่างเป็นระบบ ซึ่งการสามารถเชื่อมกันแลกเปลี่ยนกัน ทำงาน ด้วยการสื่อสารกันตลอดเวลา ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ พูดง่ายๆ คือ การที่เราได้ทำงานร่วมกับ สสส. ท้องถิ่นของเรา นอกจากงบประมาณที่ เราได้ เรายังได้ในเรื่องของวิชาการ ซึ่งเป็นประโยชน์กับเรามาก บุคลากรที่ลงมาให้คำแนะนำ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และการดูแลสุขภาพ อย่างของทุ่งโพธิ์ที่เป็น เครือข่ายของเทศบาลตำบลบ้านซ่อง ได้เติบโตพัฒนาหลังจากได้เข้าสู่โครงการเรียนรู้ต่างๆ มี ก ารบริ ห ารงานพั ฒ นาตำบลที่ มี ทิ ศ ทาง และมี เ ป้ า หมาย เราได้ ใช้ สื่ อ วิ ท ยุ ชุ ม ชนในการ ประชาสัมพันธ์และกระจายข่าว เรามีการรับฟังปัญหา มีการทำประชาคมหมูบ่ า้ น หาทางแก้ไข ปัญหาร่วมกัน ประชุมกัน เพื่อแสวงหาแนวทางการจัดการเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นชุมชนที่น่าอยู่ ทั้งนี้ สำหรับเราแล้ว กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ และแหล่งเรียนรู้ที่จะสามารถ ถ่ายทอดให้กับชุมชนและเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นตำบลสุขภาวะอย่าง แท้จริง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 195


เรณู เล็กนิมิตร

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ทำให้ชมุ ชนรูส้ กึ รัก และเป็นเจ้าของชุมชน ท้องถิน่ ของตน บางคนทีจงึ มีอาสาสมัคร ทีม่ จี ติ อาสาร่วมทำงานกับเรา ซึง่ ทำให้การก้าวไปสูเ่ ป้าหมาย เป็นเรือ่ งทีอ่ ยูไ่ ม่ไกล

บาง


รักท้องถิ่น จิตอาสา เป้าหมายที่ว่าไกลก็ ใกล้เข้า บ้านบางคนที แต่เดิมนั้นเรียก ‘บางกุลฑี’ แปลว่า หม้อน้ำมีหูที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย น้ำ เรียกแต่ก่อนจนเพี้ยนมาเป็น ‘บางกับที’ ในหมู่บ้านมีวัดเก่าแก่สองวัด คือ วัดบางคณฑีใน และวัดบางคณฑีนอก ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านเป็น ‘บางคนที’ และใช้มาจนปัจจุบัน บางคนทีเป็นการรวมตัวกันของสองตำบล คือ ตำบลยายแพงกับตำบลบางคนที อบต.บางคนที มี 8 หมู่บ้าน ของ ตำบลบางคนที และ 5 หมู่บ้านของตำบลยายแพง เท่าที่ดิฉัน ติดตามดูอยู่ก่อนที่จะเข้ามาทำงาน บางคนทีสภาพชุมชนยังไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มากนัก ยังใช้ชีวิตโดยทั่วไปเหมือนแยกกันอยู่ แต่ทั้งสองตำบลเขาก็สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งถือ เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่ง พื้นที่ของเราส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ มีลำคลองสายเล็กๆ ไหลผ่าน ใช้ประโยชน์ในการสัญจร และการเกษตร โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านทำคือ สวนมะพร้าว และรับจ้างทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นเด็กและคนชรา ส่วนวัยทำงานมีเป็นส่วนน้อย เพราะเกือบทั้งหมดจะไปทำงานต่างถิ่น ตอนที่เราเข้ามาทำงาน ก็พยายามทำอะไรที่ทำให้พื้นที่ สามารถอยู่ได้ เช่น ส่งเสริมอาชีพที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดความต่อเนื่อง และพัฒนาให้ยั่งยืน

งคนท


ดิฉันคิดเสมอว่า สุขภาวะที่ดี คือการอยู่กับการอนุรักษ์ภายใต้การพัฒนา คือเราต้องมี การพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ด้วย ยกตัวอย่างโครงการที่เราทำ เช่น เรื่องของการลงแขก ลงคลอง เป็นการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง แต่ละครั้งมีประชาชนเข้าร่วมประมาณร้อยกว่าคน ก่อ ให้เกิดจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ แม่น้ำลำคลองสะอาดขึ้น สามารถสร้าง จิตสำนึกในการรักษาความสะอาดให้เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชน ทำให้ผู้คนในชุมชนอยากเห็นวิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมควบคู่ไปกับการดำรงชีวิตแบบที่อยู่ในยุคที่มีการพัฒนาแบบในปัจจุบัน และยัง เกิดความสามัคคีด้วย จะเห็นว่า การดำเนินการของเรานั้นไม่ได้มองในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างเดียว แต่จะมองในแบบองค์รวมด้วย เราอยากเห็นชุมชนพึ่งตนเองได้ เมื่อมีผู้มาเยือน หรือนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ หากเขาได้เห็นภาพวิถีชีวิตที่ดี สะอาด สงบ ก็จะทำให้เขา อยากกลับมาอีก ด้วยเหตุนี้ โครงการสุขภาวะในความคิดของเรา จึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาคน และพัฒนาท้องถิ่นควบคู่กันไป ตัวอย่างของการพัฒนาคนก็เช่น แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ต้องมีการ พัฒนาตัววิทยากร โฮมสเตย์ก็ต้องมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยของตนเอง เพื่อที่จะให้แขกที่มาพัก รู้สึกประทับใจ ถ้าดูในระดับพื้นที่ มีการพัฒนาคนในพื้นที่ให้หันมาให้ความสำคัญกับโครงการ มีการขึ้นป้ายโฆษณาโครงการและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น อุปสรรคที่สำคัญของเรา คือการทำงานที่ไม่ได้ดั่งใจ เช่น มีเป้าหมายในการทำงานสูง แต่ทำไม่ได้ตรงเป้า อันนี้เราถือว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ที่เราต้องหาทางแก้ไข แต่อุปสรรคในเรื่อง อื่นๆ เช่น งบประมาณหรืออะไรพวกนี้ ขอแค่เราทำตามหน้าที่ ทำด้วยความตรงไปตรงมา ซือ่ สัตย์สจุ ริต ทำให้ประชาชนไว้วางใจ การใช้งบประมาณต่างๆ ให้คมุ้ ค่า ก็คงจะไม่เป็นอุปสรรค เมื่อเราทำงาน หรือทำโครงการอะไรก็แล้วแต่ เราต้องเอาความสุขของประชาชนเป็น ที่ตั้ง อันดับที่สองคือ เราจะดูว่างบประมาณที่ใช้ไปคุ้มค่าหรือไม่ เกิดประโยชน์กับประชาชน มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นหลักในการทำงานทุกโครงการเลย เมื่อเรายึดสิ่งนี้ไว้ ผลที่เกิดจากการ ทำโครงการต่างๆ มันจะเกิดประโยชน์กับส่วนรวมและชุมชน สำหรับความร่วมมือในการทำงานระหว่างเรากับ สสส. นั้น สสส. จะหนุนเสริมใน เรื่องของการพัฒนา และสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ส่วนเราก็ต้องทำงานตอบโจทย์ของ สสส. ให้ได้ ต้องตรวจสอบประเมินการทำงานว่า ใช้งบประมาณให้คุ้มค่ามากแค่ไหน เราสามารถ ตอบสนองความต้องการของ สสส. ที่ได้ให้งบประมาณมาหรือไม่ อย่างสมมติว่า เรามีปัญหา 198 | หวัง ตั้ง มั่น


เราก็สามารถประสานงานกับ สสส. เพื่อขอความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำในเรื่องที่เราไม่รู้ สสส. ก็จะลงมาบูรณาการร่วมกับ อปท. ในการดูแลสุขภาวะของคนในชุมชน ทำให้เกิด ประโยชน์กบั อปท. ไม่วา่ จะเรือ่ งส่งเสริมอาชีพ หรือการทำให้คณ ุ ภาพชีวติ ของคนในท้องถิน่ ดีขนึ้ ช่วงที่ สสส. เข้ามาในช่วงแรก เรายังไม่พร้อมเท่าไร คืองานหลักก็มอี ยูแ่ ล้ว ต้องแบกรับ ภาระมากขึ้นอีก แรกๆ เรายังไม่สามารถปรับตัวกับระบบของ สสส. ได้ แต่เมื่อเริ่มไปได้สักพัก หนึ่ง ได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ ในปัจจุบันเราสามารถปรับตัวได้แล้ว โครงการ ต่างๆ ก็เดินไปข้างหน้า และประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินการโครงการต่างๆ ก็แสดงออกมา เป็นผลงานที่จับต้องได้ ชาวบ้านในชุมชนได้ประโยชน์จากการดำเนินการอย่างมาก สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เราต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม กับ อปท. อย่างต่อเนื่องและในทุกกระบวนการ การที่จะทำอะไร ต้องถามคนในชุมชนก่อน มี การประชาคมกันก่อนที่จะเริ่มหรือรับโครงการ เพื่อปลูกฝังให้คนในชุมชนรู้สึกรักและเป็น เจ้าของชุมชนท้องถิ่นของตน บางคนทีจึงมีอาสาสมัครที่มีจิตอาสาร่วมทำงานกับเรา ซึ่งจะ ทำให้การก้าวไปสู่เป้าหมายเป็นเรื่องที่อยู่ไม่ไกล เพราะสิ่งที่ทุกคนร่วมมือกันทำนั้น ประโยชน์ ไม่ ไ ด้ ไ ปตกที่ อื่ น ตกอยู่ กั บ ชุ ม ชน และผู้ ค นในชุ ม ชนต่ า งก็ ไ ด้ ป ระโยชน์ ร่ ว มกั น ต้ อ งสร้ า ง กระบวนการรับรู้ร่วมกันให้เกิดขึ้นก่อน ตรงนี้สำคัญ และจะทำให้เกิดความยั่งยืนขึ้นด้วย

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 199


สุชาติ จิตมุ่งมโนธรรม

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

การดูแลเรือ่ งการกัดเซาะชายฝัง่ นีก่ ต็ อ้ งใช้งบประมาณ ค่อนข้างสูง แต่พอเราเข้าสู่ โครงการตำบลสุขภาวะ การพัฒนาด้านอืน่ ๆ ทีส่ ำคัญ แต่ไม่เคยมีงบฯ เหลือ อย่างเรือ่ งคุณภาพชีวติ ก็ดขี น้ึ


โอกาสเปิด ที่ ‘บางปิด’ ที่มาของชื่อบางปิดนั้น เล่ากันว่า ในสมัยก่อนมีโรคระบาดร้ายแรง มีผู้คนล้มตายเป็น จำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่า ‘โรคห่า’ โรคนี้ระบาดเฉพาะพื้นที่บริเวณรอบหมู่บ้านเท่านั้น ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า ‘บ้านบังปิด’ ต่อมาคำว่า ‘บัง’ ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า ‘บาง’ และ ใช้เป็นชื่อหมู่บ้านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สภาพที่ตั้งของตำบลบางปิดอยู่ทางทิศเหนือของ อำเภอแหลมงอบ มีทางหลวงสายแหลมงอบ-แสนตุ้งเชื่อมต่อระหว่างตำบลกับอำเภอ ระยะ ทาง 12 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินเขาสลับที่ราบ สภาพพื้นที่ของบางปิดเมื่อสมัยปี 2548 เท่าที่ผมสังเกตติดตามดู การทำมาหากิน ต่างๆ ยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร เรียกว่าชาวบ้านยังลำบากอยู่ แต่ทุกวันนี้ได้พัฒนาไปตาม ยุคสมัย ความสะดวกสบายต่างๆ มีมากขึ้น ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น สภาพ ปัญหาโดยทั่วไปของตำบลบางปิดของเราคือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพของ ประชาชนในตำบลบางปิดส่วนใหญ่ก็จะเป็นการทำสวน ทำไร่ และทำประมง ตอนที่ผมเข้ามาในสมัยแรก เราเน้นการทำงานไปในด้านการศึกษาของเยาวชนใน ชุมชน เรื่องสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน นี่เป็นเป้าหมายงานหลักๆ ในยุคเริ่ม

บางปิด


ต้น และการบริหารจัดการของเราก็จะเน้นในเรื่องของการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว เราชี้แจงให้ ชาวบ้านเห็นว่า การมาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ไขนั้นจะทำให้ปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้ การมี ส่วนร่วมจะสามารถนำพาทุกโครงการไปสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งตำบลของเราก็ทำได้ดี เรามีการทำ ประชาคมกันอยู่เสมอ ดึงให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูล ร่วมตัดสินใจ มีอะไรๆ ก็จะมาร่วม ประชาคมกัน ประชาชนพอได้มาสัมผัส เข้ามาเห็นมารับรู้ด้วยตนเอง เขาก็เข้าใจถึงความ สำคัญของการมีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของเขา การทำงานของท้ อ งถิ่ น นั้ น เป็ น ที่ ท ราบกั น ดี อ ยู่ แ ล้ ว ถึ ง ข้ อ จำกั ด ด้ า นงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหาพอสมควร เพราะงบประมาณที่ใช้ในการบริหารท้องถิ่นมีไม่มาก งบฯ ที่ได้มาจาก ส่วนกลาง รวมแล้วประมาณ 10 กว่าล้าน เราใช้ในการดูแล เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ดูแลในเรื่องของคุณภาพชีวิต จะเหลือนำมาจัดสรรโครงการอื่นๆ ก็ทำไม่ได้เท่าที่ควร ซึ่งต้อง อธิบายก่อนว่า บางปิดเป็นพื้นที่ที่เป็นชายฝั่ง มีการกัดเซาะของน้ำทะเลตลอด เรื่องนี้สร้าง ความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เป็นมานาน และรุนแรงขึ้นทุกปี ในการจัดสรร งบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนจึงยังไม่เพียงพอ เพราะงบประมาณเมื่อมาถึงแล้ว มันมี หลายเรื่องที่ต้องจัดสรรแบ่งใช้ และการดูแลเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งนี่ก็ต้องใช้งบประมาณ ค่อนข้างสูง แต่เราก็พยายามที่จะบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่เราจะทำได้ เพื่อ ลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน แต่พอเราเข้าสู่โครงการตำบลสุขภาวะ สถานการณ์เรื่องงบประมาณเพื่อนำไปพัฒนา ด้านอื่นๆ ที่สำคัญแต่ไม่เคยเหลือไปถึงอย่างเรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องสุขภาวะของเราก็ดีขึ้น ที่สำคัญยังทำให้การจัดการเรื่องประชาคม เรื่องการแสดงความคิดเห็นต่างๆ เป็นระบบมากขึ้น เห็นถึงความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ตอนนี้โครงการที่เห็นเป็นรูปธรรม บ้างแล้ว จะมีด้านกลุ่มอาชีพ ด้านสวัสดิการชุมชน เรื่องของการออม ซึ่งเราดำเนินการอยู่ และ ได้ผลลัพธ์ที่ดี ที่จริงเราเพิ่งเข้าร่วมโครงการได้ไม่นาน งานต่างๆ จึงอยู่ในขั้นเริ่มต้น สสส. ก็เพิ่งจะ เข้ามา แต่ก็เริ่มเห็นผลบ้างแล้ว เชื่อว่าคงจะมีการพัฒนายิ่งขึ้นกว่านี้อีก เราเองเป็นลูกข่ายของ เทศบาลตำบลชากไทย ที่ผ่านมาได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เทศบาลตำบลชากไทย แล้วนำ ความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่ของเราเอง ซึ่งได้รับการตอบรับจากภาคประชาชนอย่างดีพอ สมควร เชื่อว่าจะเป็นผลดีและเติบโตต่อไปอีกในอนาคต เราก็จะพยายามทำตรงนี้ต่อไป

202 | หวัง ตั้ง มั่น


ส่วนความคิดเรื่องความยั่งยืนนั้น เรามีการปลูกฝังให้พี่น้องประชาชนในชุมชน เข้ามา มีส่วนร่วม ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการกันเองโดยทางท้องถิ่นเป็นเพียงผู้สนับสนุนและดูแล เท่านั้น เพื่อให้เขารู้สึกว่าทุกโครงการนั้นเป็นของเขาอย่างแท้จริง โดยโครงการแต่ละโครงการ ของเรานั้นมุ่งเน้นที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดอยู่แล้ว ตามมาตรฐาน เราดึงเขาเข้า มามีส่วนร่วม ให้เขาได้ลงมือทำ ได้ร่วมกันคิด เมื่อเขาได้ทำ ได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการต่างๆ เวลาได้ผลประโยชน์ขึ้นมา มันจะตกที่เขา ทำให้เขาอยากจะทำต่อไป ทีนี้ล่ะ ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นนายกฯ โครงการมันก็เดินหน้าต่อไปได้ การเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ การทำโครงการต่างๆ หรือการรวมกลุ่ม เช่น กลุม่ อาชีพ หรืออะไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนนัน้ ตืน่ ตัวกันพอสมควร เราได้ไปสอบถามชาวบ้าน ว่า การที่เราทำงานกับ สสส. ทำโครงการนั้น กลุ่มนี้ของชาวบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น พี่น้อง ประชาชนรู้สึกอย่างไร ปรากฏว่าเขาพอใจ เขาบอกว่า เมื่อก่อนแทบไม่มีการสนับสนุนแบบนี้ เลย การเกิดขึ้นของโครงการนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้คนอื่นได้เห็นความสำคัญ และเขาเองก็ได้ แสดงออกถึงสิ่งที่เขามี เมื่อดูจากการตอบรับการเข้าร่วมของชาวบ้านแล้ว เราก็เห็นว่า เรามาถูกทางแล้ว แม้ จะยังอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้นก็ตาม เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 203


สมชาย จันธรรมาพิทักษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

เรารูอ้ ะไร ทุกคนต้องรูเ้ หมือนเรา ตัง้ แต่ฝา่ ยทีท่ ำงาน ไปจนถึงชาวบ้าน เราต้องเปิดเผยข้อมูล กระบวนการมีสว่ นร่วม จึงจะเกิด

บ้าน


รู้หลักสามัคคี ‘รู้อะไร ทุกคนต้องรู้’ บ้านซ่องเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งมาแต่เดิม ผู้ใหญ่บ้านเขาก็ดูแลกันดีอยู่แล้ว ก่อน ผมเข้ามา เราก็เห็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันทำงาน ตำบลของเราได้รับรางวัลชนะเลิศตำบล พัฒนาดีเด่นจังหวัดฉะเชิงเทรา เขาได้กันก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่งเป็นนายกฯ สมัยแรก เมื่อปี 2543 จะเห็นว่าพื้นฐานเขาดีอยู่แล้ว ในปี 2544 เราก็ยังประกวดอยู่ และเราก็ได้ที่ 1 ของจังหวัดซึ่งมีทั้งหมด 91 ตำบล คนบ้านซ่องร้อยละ 70 ทำอาชีพเกษตร ทำนา เลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสากรรรมในเขต เรามีประมาณ 10 โรง ก็มีคนหนุ่มสาวบางส่วนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม เราสานต่อเรื่องการ พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เราเข้ามาเสริมเติมเต็มในส่วนที่ขาดเพื่อให้มันสมบูรณ์ขึ้น ยิง่ เมือ่ เราเข้าร่วมโครงการสุขภาวะ ความสามัคคีของเราก็เติบโตเพิม่ ขึน้ อีก ซึง่ จะว่าไป ก็ไม่ได้มีด้านนี้ด้านเดียว มันเจาะจงลำบาก เพราะทุกโครงการที่เราเรียนรู้นั้นได้ผลที่ดีหมด เราเลยสรุปว่ามันมาจากความสามัคคีของคนในชุมชน มาจากความไว้เนื้อเชื่อใจที่เขามีให้กับ เรา เป็นนายกฯ มา 3 สมัย นี่จะเข้าสมัยที่ 4 เราได้ทำงานต่อเนื่อง และงานของเรา ชาวบ้านก็ ยอมรับ ทุกคนทุกฝ่ายในชุมชนเราร่วมมือกัน เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของชุมชนบ้านซ่อง

นซ่อง


การจะทำสุขภาวะให้ดี ผมตั้งคำถามไว้ว่า ทำอย่างไรให้คนในตำบลของเรามีความสุข ความสุขหมายถึง สุขในทุกๆ เรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้ย่อยว่าแค่สุขกาย สุขจิต อย่างใดอย่างหนึ่ง มันต้องหมายถึงภาพรวมทั้งหมดในทุกด้าน ที่ประกอบรวมกันแล้วทำให้ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ตอนทีเ่ ราเข้าร่วมกับ สสส. ชาวบ้านเขาก็เริม่ มีพฒ ั นาการ ทีเ่ ห็นได้ชดั คือเด็กๆ ของเรา จากคนที่นำเสนอไม่ได้ คิดพูดอย่างไม่ค่อยมีระบบ ทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปเลย เขาสามารถ จัดการเรื่องต่างๆ ได้เป็นระบบ กล้านำเสนองานต่างๆ กรอบความคิดในการทำงานกว้างขึ้น การทำงานของเรา เราใช้ทุกภาคส่วน เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ทั้งผู้นำท้องถิ่น วัด โรงเรียน เวลาจะเริ่มต้นทำอะไร เราจะเอานโยบาย เอาความคิดของเราไป นำเสนอกับชาวบ้านก่อน ถ้าเป็นเรื่องที่ตำบลเราจะได้ประโยชน์ ถ้าทุกส่วนในชุมชนเขาเห็น ด้วย เราก็ทำ และดึงเอาเขามาร่วมลงมือทำกับเราด้วย ยิ่งถ้าพื้นฐานของเรื่องที่เราจะทำนั้นอยู่ บนฐานของความเข้าใจ ยอมรับ ทุกคนมองไปในทิศทางเดียวกันทั้งชุมชน เรียกว่า ตกผลึกแล้ว ก็จะกลายเป็นจุดแข็งที่จะทำให้เราไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่ององค์กรการเงินต่างๆ ในชุมชนทั้ง 14 หมู่บ้าน กลุ่มอาชีพที่หลากหลาย ความเป็นอยู่ในชุมชนก็จะดี กระนั้นทุกชุมชน ทุกการทำงานก็มิอาจเลี่ยงปัญหาได้ ปัญหามีอยู่ทุกที่ อย่างที ่

บ้านซ่องเจอตอนนี้ คือเรื่องของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เพราะมีเขตอุตสาหกรรมล้อมพื้นที่ของเราอยู่หลายจุด ตอนนี้เราจึงเร่งประสานงาน และดำเนินการเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วน ส่วนของโครงการนั้น เวลาผมจะทำอะไร จะใช้การมองภาพรวมก่อน ดูความต้องการ ของชาวบ้าน เช่น เราจะดูแลเรื่องสุขภาพ เราก็จะดูว่าจะทำอย่างไร ส่งเสริมเรื่องการออก กำลั ง กาย อาหารการกิ น ดี ไ หม โครงการที่ เขาไม่ ต้ อ งการ หากเราไปลงมื อ ทำมั น ก็ เ ปล่ า ประโยชน์ ความสำคัญคือ เรารูอ้ ะไร ทุกคนต้องรูเ้ หมือนเรา ตัง้ แต่ฝา่ ยทีท่ ำงานไปจนถึงชาวบ้าน เราต้องเปิดเผยข้อมูล กระบวนการมีส่วนร่วมจึงจะเกิด เราต้องให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ถูกถ่ายทอด ออกไป อย่าไปเก็บหรือจัดการเพียงลำพัง เพราะพื้นฐานการปกครอง ตัวผู้นำต้องสามารถ สร้างความเป็นธรรมให้กับชุมชนได้ ต้องไม่มีเรื่องพวกเขาพวกเรา ความเป็นธรรมเป็นเรื่อง สำคัญ ต้องโปร่งใสในทุกเรื่อง 206 | หวัง ตั้ง มั่น


ความมีคุณธรรมในตัวผู้นำนี่สำคัญมาก บ้านซ่องของเราชาวบ้านในชุมชนในท้องถิ่น ทุกคนตื่นตัวมาก เมื่อเขาศรัทธาเราแล้ว เราต้องทุ่มเททำงานคืนกลับไปให้เขามาก และมาก กว่าที่เขาให้เรามา ฉะนั้น เมื่อพื้นฐานด้านความปรองดองเรามีอยู่ การมาทำงานร่วมกับที่อื่น ร่วมกับ สสส. จึงไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งเราได้ประโยชน์จาก สสส. หลายอย่างนะ ทั้งเรื่องการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ การเพิ่มเติมในเรื่องของวิชาการต่างๆ โครงการตำบลสุขภาวะ จัดเป็นโครงการที่หนุนเสริมในส่วนที่ท้องถิ่นยังขาด เป็น โครงการที่พัฒนาคน ทั้งคนทำงาน และชาวบ้าน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้มี ส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชน อันนี้มันทำให้เรื่องราวของท้องถิ่น ภูมิความรู้ ต่างๆ เกิดการถ่ายโอนภายในเครือข่าย นอกจากนี้ ผมเชื่อในศักยภาพของคนของผม เพราะหลายอย่างนั้นเราทำต่อเนื่องมา นาน เช่น เรื่องการศึกษา ทำกันก่อนผมเข้ามาอีก เด็กๆ เยาวชนของบ้านซ่อง ไม่ว่าจะไปสอบ ศึกษาต่อที่ไหน ล้วนประสบความสำเร็จ เรามีเด็กๆ ที่ได้ทุนการศึกษาเยอะมาก และชุมชน บ้านซ่องของเราก็เน้นเรื่องการศึกษา อันนี้เป็นปัจจัยสำคัญ เรื่องการศึกษาทำให้คนบ้านช่อง เข้มแข็ง เราส่งเสริมทั้งเด็กเล็ก ประถมศึกษา ส่งเสริมให้เขารู้เรื่องคุณธรรม รวมทั้งเสริมหนุน เรื่องวิชาการในแต่ละด้านให้กับเด็กๆ เพราะเราเชื่อว่า นั่นคือปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืน และทำให้สิ่งที่เราและคนรุ่นก่อนๆ ทำมาไม่สูญเปล่า เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 207


ธีรศักดิ์ พานิชวิทย์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

การจะเอาเงินเพือ่ ไปทำ เรือ่ งสุขภาพ ให้ชาวบ้านมีความรูส้ กึ ว่า สุขภาวะนีต้ อบโจทย์เขาจริงๆ ได้นน้ั เราต้องคิดเนือ้ งานต่อ เอาคนมาเรียน มาดูงาน แล้วมีรายได้เข้ามา นัน่ ได้แค่เสมอตัวเท่านัน้


ขยายผล: รหัสลับ ‘สุขภาวะ’ กับ ‘การเมือง’ ตำบลบ้านหม้อ มีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองออก เป็น 6 หมู่บ้าน ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพรับราชการร้อยละ 50 ประกอบอาชีพส่วนตัวร้อยละ 30 ที่เหลือจะการเกษตร ทำนา ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ ชุมชนของเรากับโครงการตำบลสุขภาวะ เริ่มต้นขึ้นจากการเป็นลูกข่ายของ อบต. ปากพูน นครศรีธรรมราช ต่อมา อบต.ปากพูนก็เห็นว่า เรามีองค์ประกอบของงานครอบคลุม หลักการของนโยบายตำบลสุขภาวะ เลยเสนอให้เราเป็นแม่ข่าย เมือ่ เราประเมินทุนของเราอย่างรอบคอบ เราเองก็เห็นว่า น่าจะเข้าไปได้ องค์ประกอบ ก็พร้อมอยู่แล้ว และเรื่องสุขภาวะเราก็ทำมาก่อนที่จะเข้าร่วม แต่เราเองก็มีงานค่อนข้างเยอะ จึงนำเรือ่ งนีม้ าคุยกันว่า สนใจไหมทีจ่ ะเข้ามาเป็นฐานของ สสส. มันอยูท่ ชี่ าวบ้านเป็นผูต้ ดั สินใจ คูข่ นานกับผูบ้ ริหาร ชาวบ้าน 50 นายกฯ 50 คือถ้านายกฯ เอา ชาวบ้านไม่เอา โครงการนีก้ เ็ ดิน ไม่ได้ ชาวบ้านเอา นายกฯ ไม่เอา ก็เดินไม่ได้อยู่ดี เราก็เชิญทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เชิญผู้ใหญ่บ้าน กำนัน มาคุยกัน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเราในโครงการนี้ โดยตัวพื้นที่ของบ้านหม้อ เป็นพื้นที่แบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท ส่วนตัวคิดว่า เป็นอุปสรรค ค่อนข้างเยอะ เพราะลักษณะชุมชนเมืองนั้นจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้เท่าไร เพราะสังคมแบบเมือง ถ้าพูดถึงการมีส่วนร่วม เขาจะบอกว่าไม่ใช่หน้าที่เขา เราก็พยายามหา


จุดแข็งของเรา และเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ในแบบสังคมเมือง ในที่สุดมันก็คลายตัวออกมา ยก ตัวอย่างเช่น อบต.ของเรามีจุดแข็งเรื่องพบปะผู้คน ด้วยความที่เป็นพื้นที่เล็กๆ ทำให้เราสื่อสาร กันได้ตลอด ถ้ามองเฉพาะคนชั้นกลาง ปีนี้ผมดึงเขามาเป็นฐานการเรียนรู้แล้ว คือต้องเข้าใจนะว่า ชุมชนของเรามีสังคมจำแนกออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มของชาวบ้านพื้นบ้านก็ให้ความร่วมมือที่ดี กลุม่ ชัน้ กลางก็พอมีสว่ นร่วมระดับหนึง่ พวกทีม่ คี วามพร้อมค่อนข้างมาก ก็คดิ แบบคนสังคมเมือง ในสามส่วนนี้ เราดึงมาสองส่วนกว่าๆ แล้ว ซึง่ ต้องใช้วธิ ที ตี่ า่ งกันออกไป ตอนนีเ้ ราได้ ฐานเรียนรู้ จากกลุ่มคนชั้นบนแล้ว ซึ่งเขามีความพร้อม เป็นข้าราชการเกษียณอายุ เป็นอดีตผู้อำนวยการ แต่เขาอยากทำงานให้ชุมชน เราก็ดึงเขามาเป็นฐานเรียนรู้เลย ขยายความทางฝั่งชาวบ้าน ต้องยอมรับว่า กลุ่มนี้ตื่นตัวมาก พื้นฐานการมีส่วนร่วม ของเขามีมากอยูแ่ ล้ว การทำงานของเราก็เพียงแต่ไปช่วยให้เขากล้าแสดงออกมากขึน้ การสร้าง กลไกในลักษณะนี้ กับการสร้างการมีส่วนร่วมก็ทำได้สำเร็จส่วนหนึ่ง แต่ถามว่า ตอบโจทย์ ชุมชนทั้งหมดได้ไหม มันยังไม่ใช่ เป็นเพียงปัจจัยหนุนเสริมเท่านั้น คือวันนี้ มิติตำบลสุขภาวะ มันถูกออกแบบมาเป็นเรื่องของกิจกรรม เป็นตัวขับเคลื่อนการเรียนรู้ของชุมชน แต่มันไม่ใช่ ทั้งหมด เราจะได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ผมมองว่าถ้าเราพัฒนาโครงการนี้ ให้ตอบโจทย์ชุมชนในพื้นที่ ให้เกิดกระบวนการ เรียนรู้ควบคู่กับความคิดน่าจะดี เช่น เราบอกว่า เรากำลังสร้างการมีส่วนร่วมในหมู่บ้าน เราก็ น่าจะสร้างฐานการเรียนรู้ที่มั่นคงแล้วให้คนภายในมาศึกษาก่อน เพื่อให้คนภายในเกิดการ เรียนรู้และรับรู้ว่า ตำบลของเรามีโรงเรียนนะ เมื่อมีโรงเรียน มีความพร้อม ทุกคนรู้แล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมก็จะมีคนมาร่วมเยอะขึ้น ถึงที่สุด ผมต้องมาตั้งคำถามว่า โครงการตำบลสุขภาวะของ สสส. หรือการตอบโจทย์ ความต้องการของชุมชน อันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน โครงการนี้ถ้าจะให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด ต้องคิดมิติการเชื่อมต่อไปสู่มิติการเมือง และมิติการเมืองจะไปตอบโจทย์มิติชุมชนอีกที ถามว่าวันนี้ มันตอบโจทย์ใคร มันอาจจะไปตอบโจทย์ สสส. ก็ได้ เพราะดูจากเนื้องานที่ให้น้ำ หนักเรื่องวิชาการมากกว่า การพัฒนาก็อาจจะอ่อน คำถามคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้สมดุลที่สุด โครงการจึงจะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ เราต้องไม่ลืมว่า ถ้าเมืองขยายไปเรื่อย สุขภาวะก็ต้องเปลี่ยน คงจะนิ่งเฉย ไม่ได้ จึงต้องมีกิจกรรมหนุนเสริมที่ตอบรับกับพฤติกรรมชุมชน คือ เราต้องทำข้อมูลความ 210 | หวัง ตั้ง มั่น


ต้องการของชุมชนขึ้นมา อย่างปีหน้าต้องขยายงานต่ออีกเยอะ คือไม่อยากให้ชาวบ้านว่า อบต. ได้เงินมาแล้วไม่ได้ทำอะไรต่อ คือมันต้องขยายเติมเรื่อยๆ นอกจากนั้น ชาวบ้านเองก็ อาจจะอยู่ในสถานะที่ไม่เสถียร ส่วนหนึ่งยังไม่เข้าใจ แล้วยังเข้าไม่ถึง ซึ่งจะมีปัญหาแน่นอน โจทย์ที่ผมกำลังทำเรื่องสุขภาวะ ผมจะเอาบทเรียนเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มาจับ และผมก็พยายามศึกษาว่า ตำบลที่ทำโครงการตำบลสุขภาวะแล้ว ทำไมไม่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเมืองเลย ทำไมถึงสูป้ จั จัยการเงินไม่ได้ และผมกำลังทำองค์ความรูเ้ รือ่ งการเอาสุขภาวะ ไปสู้ในมิติการเมือง ผมกล้าพูดเลยว่า การที่เรารับเงินมาเป็น 10 ล้านนี้ เป็นทุกข์ใจมากกว่า เพราะสังคม ชนบทหรือคนเมืองต่างมองว่า พอเงินเข้ามาต้องมีผลประโยชน์ มันจึงเป็นเหมือนเผือกร้อน ไม่ใช่ลอดช่อง ซาหริม่ ทีม่ นั อร่อย ผมต้องสือ่ สารว่า ต้องใช้ในการสร้างการจัดการให้ชมุ ชนท้องถิน่ เข้าใจมากขึ้น การจะเอาเงินเพื่อไปทำเรื่องสุขภาพ ให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่า สุขภาวะนี้ตอบ โจทย์เขาจริงๆ ได้นั้น เราต้องคิดเนื้องานต่อ บางคนคิดโจทย์แค่ว่า เอาคนมาเรียน มาดูงาน แล้วมีรายได้เข้ามา บ้านเช่าได้เงิน ขายอาหารได้ คนซื้อของที่ระลึก นั่นได้แค่เสมอตัวเท่านั้น สิ่งที่ผมมอง ผมต้องการขยายวงให้ชาวบ้านเข้ามาใช้ประโยชน์ในมิติตำบลสุขภาวะ เช่น สมมติว่า มีฐานเรื่องสุขภาพ ทำอย่างไรให้ฐานสุขภาพไปมีผลกับชุมชนให้มากที่สุด คือมัน ต้องเปิดยุทธศาสตร์ใหม่ ทำเรื่องอาชีพอย่างไรให้อาชีพมันขยายวงกว้างขึ้น เหมือนกับที่เรา ถามว่า ทำเรื่องสุขภาวะแล้วได้อะไร ทุกคนจะไปคิดเพียงว่า รอรับรุ่นอย่างเดียวไม่ได้ วันนี้หาก จะทำขนมขาย ต้องคิดว่า ทำอย่างไรให้ตลาดโตขึ้น ทำอย่างไรให้ชุมชนมีรายได้จากโรงงาน ขนมพื้นเมือง คือต้องมีมิติขยายงานต่อออกไป ซึ่งตรงนี้จึงจะไปตอบกับมิติการเมืองได้ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 211


ทวีป จูมั่น

หัวหน้าโครงการตำบลสุขภาวะหัวไผ่ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

หัวไผ่ของเรา เดินด้วยแผนแม่บทชุมชน มาตัง้ แต่ปี 2545 เราเก็บข้อมูล วิเคราะห์ นำข้อมูลย้อนกลับไปให้ชมุ ชน หลังจากนัน้ จึงเกิดการมีสว่ นร่วม


‘แบ่งกัน-เกื้อกูล’ ต้นน้ำแห่งความสุข ตำบลหัวไผ่ เดิมขึ้นอยู่กับตำบลสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ต่อมามีการ จัดตั้งตำบลใหม่โดยรวมบางส่วนของตำบลสนามแจง บางส่วนของตำบลโพกรวม อำเภอเมือง สิงห์บรุ ี และตำบลงิว้ ราย อำเภออินทร์บรุ ี จังหวัดสิงห์บรุ ี เป็นตำบลใหม่ ให้ชอื่ ว่า ‘ตำบลหัวไผ่’ พื้นที่ของตำบลหัวไผ่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะต่อการทำนา ประชากรส่วนใหญ่ของ ตำบลหัวไผ่ ส่วนมากจึงยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ที่หัวไผ่ เราสร้างคนมาตั้งแต่ปี 2545 ก่อนที่ผมมาเป็นนายกฯ เสียอีก เรียกว่า ทำมา แต่ดั้งเดิมแล้ว โดยหัวไผ่เป็นชุมชนปฐมภูมิ ยังมีความเป็นพี่เป็นน้อง ยังมีความเป็นสังคมที่ พึ่งพากันพอสมควร การมีพื้นที่เกินครึ่งเป็นที่เกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก การประกอบอาชีพ จึงไม่หลากหลายนัก ทำให้คุยกันง่ายขึ้น พึ่งพากัน อาชีพเดียวกันก็เชื่อมร้อยเข้าด้วยกันได้ง่าย แต่ปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป เราต้องสร้างกลุ่มอาชีพให้เกิดขึ้น โดยให้ ภาคประชาชนเป็ น ผู้ ว างระบบด้ ว ยตั ว เอง อย่ า งเรื่ อ งสายน้ ำ แห่ ง ความสุ ข ที่ เราทำให้ เ ป็ น ตัวอย่างเรื่องของการใช้ทรัพยากรสาธารณะร่วมกัน โดยเราทำกับคนสี่กลุ่ม หนึ่ง กลุ่มชาวนา

หัวไผ


ผู้ใช้น้ำในคลองชลประทาน สอง กลุ่มผู้ทำผักบุ้ง สาม กลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ กลุ่มที่สี่ กลุ่มของคน หาปลา คนสี่กลุ่มต้องไปใช้กติการ่วมกัน โดยกติกาที่ว่านี้เกิดจากชุมชน แม้ว่าจะเป็นคลอง ชลประทานก็จริง แต่สิทธิในการใช้เป็นของคนในพื้นที่ เมื่อแบ่งกัน เกื้อกูลกัน ก็ทำให้มันมี ความน่าอยู่ เข้าข่ายในเรื่องของตำบลสุขภาวะ คำว่าสุขภาวะในมุมมองของผม คือ ทำอะไรก็ได้ที่มีความสุข โดยไม่เจาะไปในเรื่อง ของสุขภาพเท่านั้น ไม่เจาะเรื่องความเป็นอยู่ เรื่องอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทำอะไรก็ได้ที่มี ความสุขบนพื้นฐานที่สังคมต้องอยู่ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ ถ้าเราไม่ทำเรื่องตำบลสุขภาวะ หรือ ยกระดับของการจัดการตนเองให้คนในชุมชน คำว่าสุขภาวะก็ไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้นเรา ต้องยกระดับความยั่งยืนในการจัดการตนเองของคนในสังคมให้ได้ โดยไม่ต้องแบมือขอใคร นั้นจึงเรียกว่ายั่งยืน ก่อนที่ สสส. จะเข้ามา หัวไผ่เราเดินด้วยแผนแม่บทชุมชนมาตั้งแต่ปี 2545 เราเก็บ ข้อมูล วิเคราะห์ นำข้อมูลย้อนกลับไปให้ชุมชน หลังจากนั้นจึงเกิดการมีส่วนร่วม โครงการที่ ยั่งยืนของเรา อาทิ โครงการแก้ปัญหาภัยแล้ง เราสามารถทำให้พี่น้องประชาชนมาพูดคุยแก้ ปัญหากันได้ในเรื่องของการแย่งน้ำ เราทำให้เขารู้จักแบ่งปันกัน อีกโครงการคือ กลุ่มอาชีพ ซึ่งล้วนยืนอยู่ด้วยตนเองได้ มีอีกโครงการหนึ่งที่ทำให้หัว ไผ่เป็นที่รู้จัก คือเทศกาลกินอยู่อย่างไทย เทศกาลนี้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ เราจับเอาเรื่อง ของเพลงพืน้ บ้านมาร่วมกับอาหารการกิน เราเอาชีวติ แม่เพลงผูโ้ ด่งดัง ซึง่ ท่านเป็นคนของหัวไผ่ มาร่วมกับเรื่องอาหารปลอดสารพิษ โดยเมนูต่างๆ ก็เป็นเมนูพื้นบ้านอย่างแท้จริง อีกส่วน คือ ขนมไทยพื้นบ้าน เราไปทำการค้นดูว่า มีอะไรบ้าง ให้ชาวบ้านทำมาร่วมในกิจกรรม ตลอดจน ดึงเยาวชนมาร่วมแสดงงานศิลปวัฒนธรรมผสมผสาน นำเสนอเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ทเี่ กีย่ วข้อง กับวิถชี วี ติ ดัง้ เดิมของคนหัวไผ่ เป็นโครงการทีเ่ ราประสบความสำเร็จมาก นอกจากนี้ ศูนย์เด็กเล็ก ของเรา ก็เป็นอีกโครงการทีป่ ระสบผลสำเร็จ เรากำลังขยายผลอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ถ่ายทอดความรู้ ของเราสู่เครือข่าย อาจกล่าวได้ว่า หัวไผ่เดินได้ด้วยภูมิปัญญาวัฒนธรรม โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแผน แม่บท ผู้นำมีความเป็นกันเองกับชาวบ้าน เราเปิดให้ผู้คนร้องทุกข์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ การมีส่วนร่วมชัดเจนขึ้น อะไรที่เสริมหนุน เราทำทั้งนั้น นอกจากนี้ คนเป็นนายกฯ ยังต้องรู้จัก การจัดการงบประมาณ คนเป็นผู้นำต้องทำข้อบัญญัติงบประมาณเอง อย่าให้ฝ่ายปลัดซึ่งเป็น

214 | หวัง ตั้ง มั่น


ข้าราชการประจำจัดทำ หรือปล่อยให้สำนักปลัดจัดทำ เพราะเวลาเราลงพื้นที่ เราจะได้ชี้แจง กับชุมชน ทั้งเรื่องของงบฯ เรื่องของตลาด เราต้องตอบชาวบ้านได้ เมื่อ สสส. เข้ามา เรามีความร่วมมือกันในเรื่องงานวิชาการ สร้างคนในตำบลให้เกิด เป็นนักวิชาการ ขณะนีเ้ ป้าหมายของหัวไผ่ซงึ่ เป็นแม่ขา่ ย เราปรับในเรือ่ งของเครือข่ายขยายผล เราบอกเลยว่า ใครจะเป็นลูกข่ายเครือข่ายขยายผลต้องเอา ‘สามนัก’ เข้ามาอบรม คือ นักพัฒนา นักวิเคราะห์ นักวิชาการศึกษา มาอบรมเรื่องพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูล นี่คือส่วนหนึ่งที่เราได้ จาก สสส. ในเรื่องงานวิชาการ ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญ นอกจากนี้ สสส. ยังอุดหนุนในเรื่องงบประมาณ ทำให้เกิดงาน เกิดการจัดการ เราได้ เรียนรู้ข้ามเครือข่าย อันนี้สำคัญมาก การขึ้นเป็นแม่ข่ายแต่ละแม่ข่ายก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่มี สอนที่ไหน ประสบการณ์ตรงนี้ เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรงนี้ผมมองว่าสำคัญมาก ทำให้เกิดแนวความคิดที่หลากหลาย และที่สำคัญมันสามารถต่อยอดออกไปได้ไม่รู้จบ ปัญหาที่เราพบเจอโดยมากเป็นเรื่องของการรวมคน เพราะว่าการทำงานใหญ่ การ รวมคนในตำบลเข้ามาทำงานนั้นยากมาก ตัวนายกฯ มีลูกน้องแค่คนทำงานในออฟฟิศเท่านั้น ในส่วนของฝ่ายสภาฯ ตัวนายกฯ เองก็ไม่ใช่เจ้านายของฝ่ายสภาฯ ไม่ใช่เจ้านายของฝ่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ใช่เจ้านายของประชาชน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 215


อีกส่วนหนึ่งที่หนักมาก คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของประชาชน ทำอย่างไรให้ พี่น้องประชาชนรู้เรื่องของ อบต. ทั้งหมด ทำอย่างไรให้รู้ว่า เขาทั้งหมด คือเจ้าของท้องถิ่น เขาทั้งหมดต้องดูแลผลประโยชน์ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะตกกับตัวของเขาเอง ผมใช้วิธีเปิดปาก เวลาเราลงไปพบประชาชน ต้องมีข้อมูลจากภาคประชาชน วิธีเปิด ปาก คือทำให้เขาเล่าเรื่องของตนเอง เวลาลงเวที ประชาชนต้องเล่าทุกข์ของตนเอง อย่าเก็บ ความทุกข์ เราเป็นผู้นำก็ต้องฟังทุกเรื่องอย่างตั้งใจ เพื่อนำเอามาจัดการแก้ไขให้กับเขา นำมา ใช้ในการพัฒนา อีกอย่างคือการแก้ปัญหาคนทะเลาะกัน เราใช้วิธีการคือ ต้องมีกติกาในการ ตัดสิน อย่าเถียงกัน มีแนวทางให้เขาเดิน ให้เวลาเขากลับไปคิดว่าอะไรถูกผิด นอกจากนั้น เรื่องงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเราต้องบริหารให้ได้ อย่างหัวไผ่มี สามส่วน หนึง่ ภาษีทดี่ นิ เราเป็นผูจ้ ดั เก็บเอง ภาษีทรี่ ฐั จัดเก็บ เงินอุดหนุนมาจากท้องถิน่ มาจาก ภาษี เงินอุดหนุนทั้งสองอย่างนี่จัดการต่างกัน ถ้ามาจากท้องถิ่น บางอย่างมันระบุอยู่แล้วว่า ต้องทำอะไร เราก็ว่าไปตามนั้น แต่เงินที่มาจากภาษี อันนี้ขึ้นอยู่กับเรา ว่าเราจะจัดการอย่างไร บริหารงบฯ ไปตามปัญหาตามความต้องการ ผู้นำต้องรู้เรื่องงบฯ รู้เรื่องบริหารจัดการงบฯ ให้ ผลประโยชน์ตกกับประชาชน และสำคัญที่สุด คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดภัยพิบัติ เพราะหัวไผ่เป็นพื้นที่ หนึ่งที่ประสบปัญหาภัยพิบัติอย่างหนักหน่วง เราต้องใช้เวลาฟื้นฟูร่วมปี ในเวลานี้ ผมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งนายกฯ แล้ว ซึ่งก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า สิ่งต่างๆ ก็ ยังอยูไ่ ด้ สิง่ ทีเ่ ราทำมาสิบปีเริม่ เห็นผลหลังจากเราหมดวาระ ตอนนีโ้ ครงการต่างๆ ก็ยงั เดินหน้า ต่อ อย่างเช่น โฮมสเตย์ ก็พัฒนาจนเข้าสู่มาตรฐานของ ททท. แล้ว อีกโครงการ คือเรื่องผักบุ้ง ในคลองชลประทาน กิจการก็เติบโต เรือ่ งจักรสาน เรือ่ งชมรมดนตรี ต่างๆ เหล่านีก้ ย็ งั คงเดินหน้า ต่อไป เพราะในการทำงาน ผู้นำไม่ได้เป็นคนลงมือ เป็นเพียงพี่เลี้ยง เป็นผู้ให้แนวคิดเฉยๆ ชาวบ้านเขาเป็นผู้ลงมือทำงานด้วยตนเอง ไม่ได้จัดตั้งโดยผู้นำ และกติกาต่างๆ ก็เกิดจากพี่น้อง ประชาชน นี่ก็เป็นความยั่งยืนหนึ่ง

216 | หวัง ตั้ง มั่น


สมนึก วัฒนชีวโนปกรณ์

อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ถึงแม้ว่าบางโครงการ อาจยังไม่มีความพร้อม ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก เราก็ยังจะทำ ชาวบ้านยังทำ ทำไปเรื่อยจนกว่าจะทำสำเร็จ เพื่อหวังให้เห็นเป็นตัวอย่าง และดึงการมีส่วนร่วม ให้ได้มากขึ้นในอนาคต

หนอง


‘เครือข่าย’ คำที่บอกกับเราว่า เรามิได้เดินเพียงลำพัง ขอเล่าสภาพพื้นที่ก่อนว่า ตำบลหนองสาหร่ายนั้น มีคลองชลประทาน (คลองมะขาม เฒ่า-อู่ทอง) แบ่งฝั่งตะวันตก-ฝั่งตะวันออก โดยฝั่งตะวันออกจะอยู่ในฝั่งที่มีการทำชลประทาน มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ส่วนฝั่งตะวันตก จะเป็นฝั่งที่อยู่บนที่ดอน ไม่มีระบบชลประทานชุมชน จะอยู่ในลักษณะแห้งแล้งทำนาได้ปีละครั้ง ที่เหลือจึงต้องทำอาชีพเสริมตามฤดูกาล ที่เป็นที่ ดอนนี้จะมีอยู่ 3 หมู่บ้าน และจะอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร อาชีพหลักของคนที่นี่จึง มีเกษตรเป็นพื้น ปศุสัตว์มีไม่มากนัก และแต่เดิมการทำเกษตรกรรมของคนที่นี่ก็จะเป็นเกษตร เชิงเดี่ยว ส่วนสภาพสังคมของชาวหนองสาหร่ายนั้น มีความเกี่ยวพันกันจากระบบเครือญาติ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้มีการรวมตัวกัน เข้าวัดทำบุญ มีการละเล่นตามประเพณี นิ ย มแบบโบราณอยู่ เ สมอ ทั้ ง ในงานเทศกาลและงานประเพณี เช่ น ทำบุ ญ ณ แหล่ ง ประวัติศาสตร์หนองสาหร่าย ทุกวันที่ 23 มกราคม เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช การละเล่นประเพณีสงกรานต์ การทำบุญตักบาตร เข้าพรรษา แห่เทียน พรรษา ประเพณีลอยกระทง และมีศลิ ปวัฒนธรรมทีถ่ กู ถ่ายทอดจากบรรพบุรษุ หลายชัว่ อายุคน จนถึงปัจจุบันซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ เช่น กระบี่กระบอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว รำวงย้อนยุค ดนตรีไทย สำหรับการบริหาร ระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเป็นระบบบริหารหลักที่ หนองสาหร่ายยึดถือ โดยมี อบต. ทำหน้าที่หนุนเสริมการทำงานขององค์กรชุมชนตามความ ต้องการของภาคประชาชน ทั้งในเรื่องงบประมาณ และการประสานงานกับภาคีเครือข่าย หน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการหรือองค์ความรู้ ปัจจุบันเราเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างตำบลสุขภาวะ ตลอดจนงานสัมมนา ต่างๆ ซึ่งผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้าน เราได้ร่วมกับชุมชนดำเนินการ ทำให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น อย่างในเรื่องดูแลเด็ก สตรีมีครรภ์ ซึ่งชาวบ้านในชุมชนก็ให้ความร่วม มือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องของระบบเกษตรปลอดภัย ซึ่งเรามีแนวคิด ‘ลดการใช้สารเคมี 218 | หวัง ตั้ง มั่น


อยู่อย่างพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้’ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ของชาวหนองสาหร่าย และด้วยความที่ชาวบ้านโดยมากมีอาชีพเกษตรกรรม รายได้หลักก็เกษตรกรรม ทาง เราจึงได้ส่งเสริมให้ความรู้ เช่นที่หมู่ 4 เริ่มทำเกษตรกรรมครอบครัว มีที่อยู่ 30 ไร่ ให้คนใน ครอบครัวแบ่งคนละ 1 ไร่ เพื่อทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ปลูกข้าว ขุดบ่อปลา คือพ่อแม่ ไปทำ และพอลูกหลานกลับจากโรงเรียนก็ให้ไปช่วย โครงการนี้เรายังไม่ได้ร่วมกับ สสส. แต่ กำลังจะเป็นฐานเรียนรู้หนึ่งที่จะให้ สสส. เข้ามาช่วยหนุนเสริมด้านต่างๆ ให้กับเรา ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ เราทำร่วมกับโรงพยาบาล ร่วมมือกับ อสม. จัดโครงการ เกี่ยวกับโรคไต แต่เดิมผู้ป่วยจะต้องไปหาหมอทุกวัน เสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก ทาง อบต. จึงได้ ติดต่อกับโรงพยาบาล ส่งลูกหลานของผู้ป่วยไปหัดล้างไต เพื่อสามารถกลับมาดูแลคนใน ครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องการจัดการสุขลักษณะ การดูแลที่อยู่อาศัยให้ สะอาด ให้สาธารณสุขมาตรวจดูว่า ชาวบ้านทำถูกสุขอนามัยหรือไม่ การล้างไตที่บ้านจึงเป็น โครงการที่ได้ผลตอบรับดีมาก

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 219


ต้องยอมรับเลยว่า การทำโครงการสุขภาวะช่วยให้ชาวบ้านตื่นตัว และถึงแม้ว่า บางโครงการอาจยังไม่มีความพร้อม ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก เราก็ยังจะทำ ชาวบ้านยังทำ ทำไป เรื่อยจนกว่าจะทำสำเร็จ เพื่อหวังให้ชาวบ้านเห็นเป็นตัวอย่าง และดึงการมีส่วนร่วมให้ได้

มากขึ้นในอนาคต ตอนนี้เราเป็นแม่ข่ายมีลูกข่าย 20 แห่ง ลูกข่ายมาดูแล้วชอบใจ เช่นกัน เราเองก็ได้ อะไรจากการแลกเปลี่ยนตรงนี้ค่อนข้างมาก นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ชุมชนไม่ต้องเดินเพียง ลำพัง หากแต่มีเพื่อนที่เข้ามาที่พร้อมจะแบ่งปันเรา ต่างฝ่ายต่างก็ได้ความรู้ ที่สุดแล้ว ผมอยากให้ชุมชนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยมีเราเป็นเพียงพี่เลี้ยง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากเขา เกิดเพราะเขา เราเป็นนายกฯ เข้ามาแล้วก็ไป อาจจะได้กลับมาหรือไม่ได้กลับมา ตรงนี้จะไม่มีผลกับเขาเลยถ้าเขายืนเองได้ และเขาจะมี ความสุข หากแต่ต้องไม่ลืมการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความสามัคคีในชุมชนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ มาก อยากให้เขารักกัน

220 | หวัง ตั้ง มั่น


สุวรรณวิชช์ เปรมปรีดิ์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

เรายังไม่คิด ว่าเราประสบความสำเร็จ แต่เรารู้ว่า เรามาถูกทางแล้ว และจะนำไปสู่ความยั่งยืนในชุมชน ไปสู่ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปสู่ประเทศ นี่คือก้าวแรกของตำบลยั่งยืน

หนองโรง


เสียงกระซิบแห่งความเชื่อมั่น ‘เรามาถูกทางแล้ว’ พื้นฐานของชุมชนหนองโรงเป็นลักษณะสังคมเครือญาติ เรื่องสภาพแวดล้อมค่อนข้าง ลำบาก เพราะความแห้งแล้ง ส่วนมากชาวบ้านจะทำเกษตรโดยอาศัยน้ำฝน แม้จะไม่ค่อย ประสบความสำเร็จ แต่ชาวบ้านเองก็ไม่ค่อยทอดทิ้งพื้นที่ เขาพยายามต่อสู้เอาอาชีพเสริม เข้ามา ตอนนี้กลุ่มอาชีพของเรานั้นมี 30 กลุ่ม เราเองมีป่าชุมชน ป่าที่เราได้รางวัลที่ 1 ในเรื่อง การดูแลป่าชุมชนของประเทศไทย ได้รับถ้วยจากสมเด็จพระเทพฯ ป่าชุมชนของเราเป็นป่า

ซูเปอร์มาร์เก็ต ป่าคือสถานพยาบาล มียารักษาโรค มีสมุนไพรกว่า 200 ชนิด ป่าคือห้องเรียน ป่าคือสนามเด็กเล่น ป่าคือสถานที่เลี้ยงสัตว์ ป่าคือที่เก็บของป่า ตอนนี้เราพยายามขยายป่าของเราจาก 1,800 ไร่ เป็น 2,500 ไร่ จาก 17 หมู่บ้าน เราชักชวนชาวบ้านโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ เริ่มจากกลุ่มรักษาป่า พอเราเริ่มมีป่าก็มีคนภายนอก เข้ามาศึกษา ทำให้ชาวบ้านเริ่มคิดว่า น่าจะมีผลิตภัณฑ์อะไรสักอย่างสองอย่างเพื่อคนที่เข้ามา ดู พวกกลุ่มอาชีพจึงเกิดตามมามากมาย โดยเราไม่ได้เอาผลิตภัณฑ์ข้างนอกเข้ามาขาย เราเอา ของในป่ามาแปลง เช่น ข้าวเกรียบสมุนไพร หัวกลอย ผักหวาน ดอกสลิดที่มีอยู่ข้างในป่า มาแปลงเป็นพวกตอไม้ประดิษฐ์ต่างๆ โดยเฉพาะสวนนกชัยนาท เราทำส่งรายได้เดือนละ 200,000 - 300,000 บาท ทุกอย่างมาจากป่าทั้งสิ้น จะเห็นว่า ก่อนที่จะมีโครงการ สสส. เข้ามา ตำบลของเราได้ทำงานเหล่านี้อยู่แล้ว แต่เราไม่ได้วางเป็นระบบระเบียบอะไรไว้ ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คล้ายมวยวัด ไม่มีหลัก วิชาการอะไร พอ สสส.เข้ามา ก็นำหลักวิชาการมาจับ นำการวิจัยเข้ามา ทำให้เราเดินไปอย่าง ถูกทางมากขึ้น ที่สำคัญ สสส. ช่วยให้เกิดกระบวนการเพื่อชักชวนคนเข้ามา ทำให้เราเห็นตัวตนของ ตัวเอง เห็นชุมชนของเรา เห็นทรัพยากรที่เรามีอยู่ ทรัพยากรที่เราไม่จำเป็นต้องไปซื้อหามา นำสิ่งของที่มีอยู่ในตำบลมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า รวมทั้งยังทำหลักสูตรทั้งหมด 30 กว่ากลุ่ม เชื่อมโยงไปถึงโรงเรียน บ้าน วัด ให้มาหนุนเสริมกัน ทำให้ตำบลของเราเดินไปอย่างมั่นคง ทั้งยังสามารถเป็นต้นแบบให้กับคนอื่นๆ ด้วย 222 | หวัง ตั้ง มั่น


ในตำบลหนองโรงเวลานี้ สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้นมีมากมาย สิ่งแรกที่หนองโรงได้ทำ คือเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อจากเรื่องนั้น หนองโรงทำเรื่องกลุ่ม อาชีพ อย่างที่บอกว่า เรามีปัญหาเรื่องธรรมชาติ เรายังทำเรื่องอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมใน พื้นที่ ต่อไปถึงเรื่องเด็กและเยาวชนก็เป็นประเด็นที่หนองโรงให้ความสำคัญ และที่เห็นชัดอีก อย่างก็คือ การมีอาสาสมัครเรื่องสวัสดิการที่เข้ามาบูรณาการและเป็นตัวเชื่อมโยงระบบต่างๆ ซึ่งทำให้การทำงานของหนองโรงง่ายขึ้น และเป็นรูปธรรมขึ้น สสส. มีเป้าหมายที่ดี ซึ่งตำบลสุขภาวะในทัศนะของผมก็กว้างใหญ่มาก เราเป็นผู้นำ ท้องถิ่น ต้องคำนึงถึงคนในชุมชนของเรา บรรลุจุดประสงค์ในเรื่องของสุขภาพ ความอยู่ดีกินดี และพัฒนาศักยภาพทุกมิติตั้งแต่เกิดจนตาย มุ่งไปสู่เป้าหมาย แต่ความสุขนั้นมีหลายระดับ ใน ชุมชนไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีมาปรุงแต่งให้มากนัก ซึ่งเรามีโครงการของ สสส. มาช่วย ทำให้ดีขึ้น โดยมีชุมชนและพื้นที่เป็นตัวตั้ง เป้าหมายที่จะทำให้ชุมชนแข้มแข็งของ สสส. เป็นเรื่องที่ผมใฝ่ฝัน โจทย์คือทำอย่างไร ให้คนในชุมชนนั้นเข้มแข็ง ตอนแรกผมไม่ค่อยเห็นด้วย และตั้งคำถามว่า จะมีประโยชน์และ สร้างความเข้มแข็ง ความสุข ให้กับประชาชนได้จริงหรือไม่ แต่ปัจจุบัน จากการทำงาน ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เรามีความหวัง เห็นได้จากการเข้ามามีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยเฉพาะใน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 223


ตำบลของผม และการมีส่วนร่วมนี้จะเป็นต้นทางของการพัฒนาจนกลายเป็นชุมชนที่มีความ เข้มแข็งและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น เมื่อตีโจทย์แตก ก็จะเห็นว่า โครงการสุขภาวะนี้ คนที่ได้รับประโยชน์ คือประชาชน ของเรา หากแต่ประชาชนส่วนใหญ่ เขายังมองไปที่ถนน ตัวตึกอาคาร เขาไม่ได้มองว่า ตัวเรา เริ่มทำปุ๋ยใช้เองได้ ปลอดสารพิษ ไร้แมลงเข้ามารบกวน แบบนี้เขาไม่มอง เราอยากให้เขามาดู เรื่องข้างในก่อน ถ้าเรื่องข้างในดี มันจะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้อย่างอื่นดีตาม ทำ อย่างไรให้เขาปลูกผักไร้สาร ปลูกผักกินเอง ขณะนี้ในตำบลเริ่มที่จะปลูกผักไว้กินเอง เริ่มใช้ เศรษฐกิจพอเพียงตามคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สสส. เข้ามา ทำให้เรามีทั้งนักวิชาการ ผู้ประสานงานในตำบล มีการประชุม มีการ ถอดบทเรียน มีการสรุปเรื่องที่เราทำกัน ทำให้เราก้าวเดินไปข้างหน้า พัฒนาต่อเรื่อยๆ ทำให้รู้ แนวทางการพัฒนาของตัวเอง รู้จักการพัฒนาของที่อื่นๆ ในเรื่องของความยั่งยืน ตอนนี้เราไม่คิดว่า เราประสบความสำเร็จ แต่เรารู้ว่า เรามา ถูกทางแล้ว และจะนำไปสู่ความยั่งยืนในชุมชน ไปสู่ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปสู่ประเทศ นี่คือ ก้าวแรกของตำบลยั่งยืน และถ้าจะสร้างชุมชนให้มั่นคงเข้มแข็ง เรายังต้องเติมอีกหลายๆ เรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง นั่นคือหัวใจ ตัวผู้นำอย่างผมมาแล้วก็ไปตามเกมการเมือง ชุมชนเอง ตำบลเองต่างหากที่จะต้องเดินต่อ จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมโยง สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ให้ได้ ดึงให้เขาเข้ามา ให้เขารับรู้ว่า เขาเป็นเจ้าของตำบล เป็นเจ้าของระบบต่างๆ ซึ่งที่ถือว่า ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยวัดจากการที่ชาวบ้านเข้ามามีส่วน คือสวัสดิการ ช่วยตั้งแต่ เกิดกระทั่งตาย กระนั้นก็มีหลายครั้งที่เจอปัญหาอุปสรรคมาท้าทาย เราอยากทำหลายๆ เรื่อง บางครั้งสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก็ว่ากันไปตามสถานการณ์

224 | หวัง ตั้ง มั่น


ณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

เกษตรกรรมยั่งยืน เราเน้นเรื่องของการใช้สารเคมี และเชื่อมโยงไปยังเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะผมมองเห็นว่า สุขภาวะของผู้คนในชุมชนนั้น คือการสร้างให้ผู้คนในชุมชน มีความสุขในทุกๆ ด้าน

บางระกำ


ความสุขที่ ‘โยง’ ได้ ของคน ‘บางระกำ’ ตำบลบางระกำ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางเลน ระยะห่างจากอำเภอบางเลน ประมาณ 17 กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน แบ่งตำบลออก เป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ก่อนที่ผมจะเข้ามาทำงานตรงนี้ สภาพโดยทั่วไปของชุมชนเราจะแบบชนบทดั้งเดิม ส่วนมากแล้วยังไม่มีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันบ้าง แต่ก็ยังไม่เป็น ระบบ เป็นการรวมแบบกลุ่มเล็กๆ เฉพาะกิจ เป็นครั้งเป็นคราวไป การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนก็ถือว่ายังไม่มากเท่าที่ควร เพราะที่ผ่านมา รูปแบบการบริหารของนายกฯ คนเก่า จะเน้นไปในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากกว่า ที่จะเน้นไปเรื่องการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กร พื้นฐานโดยทั่วไปของชุมชนบางระกำของเรา เป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ แต่ ก็ มี อุ ต สาหกรรมบ้างเล็กๆ น้อยๆ ไม่มาก ชาวบ้านก็จะคุ้นชินกับวิถีชีวิตเกษตรกรรม เป็นหลัก สำหรับชุมชนบางระกำของเราตอนนี้มีอยู่ 2 ปัญหาที่เรากำลังทำงานแก้ไข 1) ปัญหา ที่เราเจอบ่อยคือเรื่องของภัยพิบัติ เพราะพื้นที่ของเราเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำท่าจีน ใน ฤดูน้ำหลาก เราจึงมีปัญหาน้ำท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรเป็นประจำ 2) ปัญหา เรื่องน้ำเน่าเสีย และปัญหาขยะหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ในแม่น้ำลำคลองที่เราต้องแก้ปัญหาอยู่ ทุกๆ ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่มากับน้ำท่วม ทั้งสองปัญหาเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกทั้งหมด ทำให้การ บริหารจัดการยากพอสมควร เพราะต้นเหตุมันไม่ได้เกิดจากเรา สำหรั บ ผมเรื่ อ งที่ เ น้ น ในการทำงานการบริ ห ารจั ด การในปี แรกเลย คื อ เรื่ อ งของ สิ่งแวดล้อม และแม่น้ำคูคลอง เราจะเน้นการพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นคนทำโครงการ ให้

ท้องถิ่นเป็นแค่ผู้สนับสนุน เราให้งบประมาณลงไปสู่ชุมชน แล้วสนับสนุนให้ชุมชนรวมกลุ่มกัน ร่วมมือกันในการแก้ปัญหาต่างๆ นี่เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ 226 | หวัง ตั้ง มั่น


เราเข้าร่วมกับโครงการสุขภาวะในราวปลายปี 2552 ต้นปี 2553 ชุมชนบางระกำเรา ถือเป็นรุ่นแรกๆ ของโครงการตำบลสุขภาวะ ซึ่งมาจนถึงวันนี้ เราก็ได้องค์ความรู้ต่างๆ จาก การทำงานร่วมกับ สสส. มากพอสมควร แต่ก็ยังมีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อพัฒนาต่อไป ก่ อ นที่ สสส. จะเข้ า มา การทำงานของเราก็ มุ่ ง ให้ ค วามสำคั ญ ในเรื่ อ งนโยบาย สิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพ และเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนอยู่แล้ว เช่น เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ และเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน เราก็เน้นเรื่องของการไม่ใช้สารเคมี และเชื่อมโยงไปยังเรื่อง สิง่ แวดล้อมด้วย เพราะผมมองเห็นว่า สุขภาวะของผูค้ นในชุมชนนัน้ คือการสร้างให้ผคู้ นในชุมชน มีความสุข อาชีพที่เป็นสุข ก็สร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นสุข ชีวิตก็มีความสุข เป็นความสุขที่เกิดใน ทุกๆ ด้าน พอมี สสส. เข้ามาหนุนเสริมก็ทำให้งานของเราไปได้เร็วและไกลขึ้น โครงการที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จ มี 3 โครงการ 1) โครงการเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นโครงการเด่นของเราที่ทำมายาวนานและต่อเนื่อง เราได้รับรางวัลเป็น 1 ใน 10 ของ ประเทศ อบต. เราไม่ได้เอาเงินรางวัลที่ได้มาเก็บไว้ แต่เราให้กับชุมชนหมด เพราะเราถือว่า ที่ โครงการสำเร็จมาได้นั้น มาจากความร่วมมือกันของผู้คนในชุมชน 2) เรื่องการจัดการองค์กร เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคกลาง | 227


การเงิน เป็นธนาคารในชุมชน หรือเรื่องการออม เรื่องนี้ถือว่าเราสามารถชักจูงให้ประชาชน เห็นความสำคัญของการออม 3) เรื่องสุขภาพชุมชน เราเน้นให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านสุขภาพดี ส่ ง เสริ ม ให้ ค นในชุ ม ชนหั น มาให้ ค วามสำคั ญ การดู แ ลเรื่ อ งสุ ข ภาพ อาหารการกิ น หรื อ ออกกำลังกาย ในแต่ละโครงการที่เราทำเราสร้างขึ้นมา ผู้บริหารของเราจะไม่เข้าไปเป็นผู้บริหาร โครงการนั้นเอง เราจะยกให้ชุมชนหรือชาวบ้านดูแล ให้เขาเป็นเจ้าของโครงการนั้นเอง เช่น ธนาคารชุมชน เราก็ให้ชาวบ้านเขาทำเอง พอมีปัญหาอะไรเราค่อยเข้าไปแก้ไข เมื่อแก้ปัญหา ได้แล้ว เราจึงมานั่งคุยกันให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจ และสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้บนพื้นฐานของข้อมูลข้อเท็จจริง เมื่อเป็นเช่นนี้ โครงการ ต่างๆ ก็จะสามารถไปต่อเองได้อย่างยั่งยืน เพราะทุกโครงการนั้นดำเนินไปด้วยพลังขับเคลื่อน ของชาวบ้านเอง สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะ คือ เรื่องของคน คนที่เข้าร่วม โครงการนี้มีการพัฒนาในเรื่องขีดความสามารถในการทำงาน กิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นดีขึ้น อย่างเห็นผล เพราะมีการแลกเปลี่ยนดูงาน มีคนเข้ามาเยี่ยม มันทำให้เขาเห็นศักยภาพของ ตัวเอง ซึ่งนำไปสู่ความกระตือรือร้น เพราะฉะนั้ น ข้ อ ดี ที่ สุ ด ของโครงการสุ ข ภาวะ คื อ การได้ แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ซึ่ ง กั น และกัน ระหว่างคนในชุมชนเอง และระหว่างคนต่างพื้นที่ โดยมีผู้บริหารได้มาพบกัน คุยกัน ชาวชุมชนได้เข้าไปเห็นการทำงานของ อบต. อื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สามารถนำกลับมาแก้ปัญหา ของเราเองได้อย่างถูกจุด ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดความสามัคคีซึ่งสำคัญมาก สำหรับปัจจุบัน

228 | หวัง ตั้ง มั่น


ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพ ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนท คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คลองประสงค์ ปากพูน บ้านควน ขุนทะเล ต้นยวน คล

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน


ความท้าทายในอนาคต ทีส่ ำคัญก็คอื ความพยายาม ที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ในด้านอัตลักษณ์ และเสน่ห์ของพื้นที่ตัวเอง มานะ ช่วยชู

ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน 230 | หวัง ตั้ง มั่น


ล่องใต้:

แกะรอยเท้าก้าวย่างอันทายท้า พื้นภาคใต้ตอนบน เป็นพี้นที่แรกๆ ของการดำเนินการโครงการตำบล สุขภาวะในเขตจังหวัดภาคใต้ โดยบุคคลที่เป็นแรงผลักดันที่สำคัญได้แก่ คุณ

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยทีมงาน และคุณสมพร ใช้บางยาง อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้นทางปากพูนได้ทำโครงการพยาบาลชุมชนขึ้น จึงมีโอกาสได้ คุยกับคุณธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีตนายกเทศบาลเมืองปากพูน ซึ่งได้ทำงาน กับทางคุณดวงพร เฮงบุณยพันธ์ อยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อได้รับรู้รับทราบถึง กิจกรรมต่างๆ ของทางปากพูน ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายและ น่าสนใจ จึงมีความคิดริเริม่ ทีจ่ ะทำให้ปากพูนเป็นแหล่งเรียนรูส้ ำหรับพืน้ ทีใ่ กล้เคียง โดยในระยะแรกเริ่ม ได้เชิญอาจารย์ประเวศ วะสี ลงมาในพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำ จากนั้นจึงมีการดำเนินการในส่วนของการบริหารการเรียนรู้เกิดขึ้น เริ่มมีการทำ โฮมสเตย์ ประกอบกับเริ่มมีเครื่อข่ายอื่นๆ มาร่วมเรียนรู้ด้วย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน | 231


องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เข้ามาเป็นเครือข่าย ร่วมเรียนรู้ด้วยนั้น มีปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การที่คุณธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีต นายกฯ มีแนวคิดและการลงมือปฏิบัติที่ชัดเจนในการพัฒนา สามารถตอบโจทย์ของพื้นที่ได้ รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของท้องถิ่นว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานใดๆ หรือไม่ได้ขึ้นอยู่ กับการแทรกแซงจากภายนอก ที่ตำบลปากพูนพยายามที่จะเอาปัญหาของชุมชนเป็นตัวตั้ง ดึง เอาศักยภาพของชุมชนมาใช้อย่างเต็มที่ เหล่านี้เองที่ทำให้สิ่งที่ริเริ่มขึ้น ณ ตำบลปากพูน สามารถขยับไปเป็นเครือข่ายต่างๆ ได้หลายเครือข่ายในจังหวัดนครศรีธรรมราช จุดแข็งในการดำเนินการโครงการตำบลสุขภาวะในเขตพื้นที่นครศรีธรรมราช ก็คือ ‘การปรับตัว’ ของทางตำบลที่เป็นศูนย์เรียนรู้ แม้จะต้องใช้ระยะเวลาการปรับตัวอยู่ช่วงหนึ่ง เช่นเรื่องการวางตัวบุคลากรที่เหมาะสมกับงาน แต่เมื่อทุกอย่างมีความลงตัวแล้ว โครงการก็ สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการทำงานร่วมกันระหว่างตำบลที่เป็นแม่ข่ายกับตำบลลูกข่ายทั้งหลาย นั้น ก่อนหน้านี้พบปัญหากระบวนการในการหนุนเสริมลูกข่ายยังไม่เข้มข้นมากพอ เนื่องจากมี จำนวนลูกข่ายที่ต้องดูแลค่อนข้างมาก แม่ข่ายอาจจะดูแลได้ไม่ดี และไม่สามารถจะเข้าไป กระตุ้นให้ลูกข่ายขยับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงพอ วิธีแก้ปัญหาก็คือการจัด วางให้เครือข่ายมี 3 ระดับ ทั้งขนาดเล็ก (ปีละ 10 เครือข่าย) ขนาดกลาง (ปีละ 15 เครือข่าย) และขนาดใหญ่ (ปีละ 20 เครือข่าย) โดยมีประเมินตั้งแต่ต้นเลยว่า ตำบลนี้ที่จะขึ้นเป็นตำบล แม่ข่ายมีกำลังพอที่จะดูแลลูกข่ายได้ขนาดไหน ในการจัดวางเลือกให้เหมาะสมก็จะทำให้การ ติดตามง่ายขึ้น นอกจากนี้ ก ารออกแบบการทำงานระหว่ า งแม่ ข่ า ยกั บ ลู ก ข่ า ยเพื่ อ ให้ เ กิ ด การ ปฏิสัมพันธ์กันบ่อยครั้งก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจากบทเรียนในอดีต บางทีลูกข่ายพอมาทำ MOU กับแม่ขา่ ยแล้วก็หายไป กว่าทีจ่ ะเกิดการปฏิสมั พันธ์กนั อีกที ก็คอื ช่วงแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ตามหลักสูตร ซึ่งยังคงไม่เพียงพอในการพัฒนาข่าย ที่สำคัญ ยังออกแบบการดำเนินงานให้มีการทำระบบข้อมูลควบคู่กันไปตั้งแต่ต้น

มีกระบวนการที่จะให้ผู้นำของตำบลลูกข่ายมาพบปะกันอย่างน้อย 2 -3 เดือนต่อครั้ง เกิดการ ‘กระชับเครือข่าย’ เข้ามา เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์ของลูกข่ายแต่ละพื้นที่ได้ ในด้านปัญหาที่แม่ข่ายกับลูกข่ายทำงานไปแล้วไม่ไปในทิศทางเดียวกัน การปรับปรุง เพื่อแก้ปัญหานั้น ประการแรกต้องสร้างความเข้าใจบทบาทของทั้งแม่ข่ายและลูกข่ายว่า 232 | หวัง ตั้ง มั่น


มีหน้าที่อะไรบ้าง ตั้งแต่เรื่องของการส่งคนมาในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะต้องใช้ หลักการกระจายกลุ่มอาชีพ กลุ่มคน ไม่ใช่ส่งคนแบบกลุ่มเดียวกันหมดมา เช่น ส่ ง แม่ บ้ า น หรื อ อสม. มาทั้ ง หมด เพราะหากไม่ มี ก ารกระจายสู่ ก ลุ่ ม คนที ่

หลากหลายในชุมชน ประโยชน์ที่ลูกข่ายได้รับก็จะน้อยตามลงไป หลังจากเข้ามา แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว เมื่อกลับไปเริ่มพัฒนาทักษะหน้าที่ตามที่ได้เรียนรู้ไป แม่ข่าย ก็จะลงไปพูดคุย ไปทำความเข้าใจให้ลูกข่ายทั้งหมดมาทำความเข้าใจร่วมกัน สำหรับการทำงานร่วมกับฝ่ายการเมืองในพืน้ ทีน่ นั้ ผูบ้ ริหารองค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ไม่ ว่ า จะเป็ น นายก อบต. หรื อ นายกเทศบาลตำบลที่ ม าจากการ เลือกตั้ง ซึ่งมีการเปลี่ยนวาระนั้น แม่ข่ายก็ต้องไปทำความเข้าใจกับผู้บริหารคนใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งมาเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจตรงกันและร่วมมือกันทำงานไปอย่าง ต่อเนื่องได้ ส่วนบทบาทผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ ตอนบนนั้น ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่สนับสนุนในเชิงวิชาการเป็นหลัก รวมทั้งสะท้อน ปัญหาต่างๆ ว่าอยู่ตรงจุดไหน ตรวจสอบว่า แม่ข่ายวางระบบในการไปติดตาม ลูกข่ายดีหรือไม่ รวมทั้งบทบาทการสนับสนุนในเชิงของการถอดบทเรียน เช่น

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน | 233


สมมติว่าทางบ้านควนจัดการลูกข่ายได้ดี ก็จะเอาบทเรียนของบ้านควน ไปแลกเปลี่ยนกับ ต้นยวน หรือป่าคลอก เพื่อให้เอาวิธีการไปปรับใช้ เป็นต้น รวมทั้งการเข้าไปสนับสนุนในเรื่อง ของกรณี ศึ ก ษาต่ า งๆ โดยแต่ ล ะโครงการมี ทั้ ง แม่ ข่ า ยและลู ก ข่ า ยที่ จ ะต้ อ งทำกรณี ศึ ก ษา ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานฯ ก็ต้องไปคุยเพื่อที่จะให้เข้าใจตัวกรอบและแนวทางในการทำ กรณีศึกษาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จังหวะก้าวของโครงการตำบลสุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนนั้น มีความท้าทายในอนาคต ที่สำคัญก็คือ ความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้เกิดความ น่าสนใจ ในด้านอัตลักษณ์และเสน่ห์ของพื้นที่ตัวเอง และในขณะนี้ก็พบกับปัญหาในการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ที่มีการขยับตัวช้าในบางพื้นที่ เครือข่ายก็ต้องเข้าไปกระตุ้น เพื่อให้เกิดความคิดที่ จะใช้ศักยภาพของท้องถิ่นหรือชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของการศึกษา เรื่องของสุขภาพ เป็นต้น แต่ที่ผ่านมาการทุ่มเทในเรื่องนี้อาจจะยังน้อยอยู่บ้าง ในส่วนของการรวมพลังเพื่อช่วยเหลือกันและกันของตำบลแม่ข่าย ก็พบว่ายังมี ไม่มากพอ แต่ต่อไปอาจจะเกิดเป็นวัฒนธรรมช่วยกันโดยธรรมชาติ เช่น หากมีภัยพิบัติหรือ ภัยธรรมชาติเกิดขึ้น องค์กรร่วมข่ายกันเองก็จะต้องเข้าถึงกัน นี่คือสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ตอนนี้ยังต้องใช้แรงกระตุ้นให้เกิดการประสานกัน เราพยายามสร้างความเป็นเพื่อน สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ทำให้เห็นว่า ทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้กระบวนเครือข่ายเดียวกัน แล้วเราก็มาร่วมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ไม่แบ่งแยก ผลงานโครงการของตำบลใดตำบลหนึ่ง พยายามที่จะสลายความรู้สึกแบ่งแยกนี้ โดยให้ นักวิชาการหรือคนทำงานได้จัดกระบวนการที่มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ตามแผนสุขภาวะชุมชน มีเรื่อง ‘ตำบลบูรณาการ’ โดยตำบลที่เด่นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ จะนำเอาเรื่องนั้นเป็นกลไกขับเคลื่อน บางตำบลใช้เรื่องป่าชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน บางชุมชน ขับเคลื่อนเรื่องสวัสดิการ บางชุมชนขับเคลื่อนเรื่องเด็ก บางชุมชนขับเคลื่อนเรื่องกลุ่มอาชีพ เป็นต้น เพราะถึงแม้จะหมดระยะเวลา 3 ปีของโครงการ แต่ก็จะยังมีการดำเนินการใน ประเด็นเด่นๆ ของแต่ละพื้นที่ต่อไป รวมถึงพยายามบูรณาการเรื่องอื่นๆ เข้ามาด้วย สิ่งนี้ก็จะ กลายเป็นจุดเรียนรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จะยังเป็นแนวคิดที่เป็นหลัก อยู่ ส่วนความสัมพันธ์ของเครือข่ายเดิมแต่ละที่ก็คงขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละเครือข่าย

234 | หวัง ตั้ง มั่น


จากการดำเนินการของโครงการฯ พบว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นมุมมองเปรียบเทียบ เรื่อง ‘ความตื่นตัวทางการเมือง’ ‘การมีส่วนร่วม’ กับ ‘การกระจายอำนาจและการพัฒนาทาง เศรษฐกิจสู่ท้องถิ่น’ ในส่วนภาคใต้ตอนบน ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาภาคใต้ที่รัฐบาลได้วางแผน จะพัฒนาเป็น Southern Seaboard มีแผนที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมรวมทั้งท่าเรือน้ำลึก และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่นครศรีธรรมราช สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของส่วนกลางที่ จะเข้ามาจัดการทรัพยากรในพื้นที่ โดยในส่วนของพื้นที่เองก็มีความพยายามที่จะใช้เรื่องสิทธิ ของชุมชนเข้าคัดค้าน รวมถึงอำนาจของท้องถิ่นเอง เช่นที่ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ เรื่องข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งเป็นความพยายามที่จะใช้อำนาจตาม ขอบเขตที่กฎหมายให้ แต่พบว่ายังคงไม่เพียงพอ ซึ่งคงจะต้องมีการกระจายอำนาจลงมาให้ มากขึ้นในอนาคต เพื่อให้คนในชุมชนสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนบน | 235


โสภณ พรหมแก้ว

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำว่า ‘สร้าง’ นัน้ เกิดจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะการทำให้พน่ี อ้ ง ประชาชนทุกคนรูส้ กึ ‘เป็นเจ้าของร่วม’ และพีน่ อ้ งประชาชนทุกคนคิดว่า เขาไม่ได้อยูอ่ ย่างโดดเดีย่ ว เป็นการใช้ชวี ติ อยู่ อย่างมีความหวัง

ขุน


ความสุขแบบยั่งยืน ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ต้องยอมรับว่า ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนและกระแสโลกาภิวัตน์ ได้ทำให้ชุมชน ท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาจากเมืองสู ่

ชนบทนั้น ทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนต้องตระหนักคิดว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองไป ตามกาลสมัย ขณะเดียวกันด้วยรากเหง้าที่เรายังมี และความเป็นท้องถิ่นที่มีเครือข่ายโยงใยใน ระบบเครือญาติมากมาย เมื่อปะทะกับโลกสมัยใหม่ ทำให้ความสุขแบบดั้งเดิมของเราเริ่ม หดหายไปพร้อมกับการพัฒนาที่ย่างกรายเข้ามา โครงการร่วมกันสร้างสุขที่ตำบลขุนทะเล เริ่มต้นมาจากความต้องการให้คนในตำบล ขุ น ทะเลมี ค วามสุ ข แบบยั่ ง ยื น ไม่ ใช่ สุ ข แบบครั้ ง คราว โดยความสุ ข แบบยั่ ง ยื น ต้ อ งมี กระบวนการมีสว่ นร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ และต้องร่วมกันรับผิดชอบกระบวนการเหล่านี้ มีธงตัง้ ไว้ ว่า จะทำให้คนในขุนทะเลอยู่ดีมีสุขและอยู่รอดปลอดภัย โดยสโลแกนที่ใช้มาเสมอคือ ‘ร่วมกัน สร้างสุขที่ขุนทะเล’ คำว่า ‘สร้าง’ นัน้ เกิดจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะการทำให้พนี่ อ้ งประชาชนทุกคน รู้สึก ‘เป็นเจ้าของร่วม’ และพี่น้องประชาชนทุกคนคิดว่า เขาไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว เป็นการ ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง และสิ่งสำคัญ คือการทำให้ทุกคนมีสุขร่วมกัน อย่างน้อยที่สุดก็ใน บั้นปลายชีวิต หลักการของโครงการร่วมกันสร้างสุขที่ตำบลขุนทะเลนั้น เกิดจากความคิดที่ว่า สิทธิ ความเป็นมนุษย์ของพี่น้องประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน เรื่องความเท่าเทียมนี้เป็นสิ่งท้าทาย

นทะเล


เพราะคนทุกคนย่อมที่จะมีสิทธิในทุกเรื่องเหมือนๆ กัน เช่น เรื่องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคน พิการนั้น ต้องนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการที่ทำให้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่มองเป็นแค่เรื่อง สังคมสงเคราะห์ ทีต่ ำบลขุนทะเล มีการทำกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวติ ของคนพิการ มีการจดทะเบียน คนพิการร้อยเปอร์เซ็นต์ ดูแลคนพิการทุกคนทีม่ ปี ญ ั หาให้เข้าสูร่ ะบบสวัสดิการ และเรายังตัง้ ทีม จิตอาสาขึ้นมา เพื่อไปเยี่ยมเยือนถึงบ้านด้วย นอกเหนือจากนีแ้ ล้วยังได้รบั เกียรติให้จดั ตัง้ ศูนย์การเรียนรู้ ‘สายใยรักฯ’ แห่งแรกของ ภาคใต้ ภายใต้พนื้ ทีก่ ว่า 40 ไร่ บทบาทความรับผิดชอบของศูนย์นี้ คือการเชือ่ มโยงข้อมูลต่างๆ ทั่วทั้งภาคใต้ ตั้งแต่ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การปลูกผักปลอดสารพิษ ฯลฯ รวมทั้งการ จัดการวางแผนรับมือเรื่องภัยพิบัติก็มีความสำคัญด้วยในพื้นที่ เพราะตำบลขุนทะเลนั้นเป็น พืน้ ทีป่ า่ ต้นน้ำ ติดภูเขา เส้นทางน้ำจะผ่านตำบลขุนทะเล ไหลลงไปสูป่ ากพนัง ฉะนัน้ ฤดูนำ้ หลาก จึงมีความเสีย่ งในเรือ่ งของดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในการจะช่วยและเหลือพีน่ อ้ งประชาชน เมื่อเกิดภัยพิบัตินั้น ใช้ระบบการจัดการแบบร่วมมือร่วมใจและวางแผนร่วมกันของคนในพื้นที่ เช่น อป.พร. ผู้นำท้องที่ ผู้ช่วยแพทย์ สารวัตร ฯลฯ มารวมกลุ่มกันเพื่อที่จะกำหนดยุทธศาสตร์ ในการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึงข้อมูลข่าวสาร ความเสี่ยงที่จะเกิด

ภั ย ธรรมชาติ เช่ น กรณี มี ฝ นตกติ ด ต่ อ สองวั น สองคื น มี ร ะบบเสี ย งตามสายครอบคลุ ม

65 ตารางกิโลเมตร ให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้ข่าวสารการเตือนภัยอย่างครอบคลุม 238 | หวัง ตั้ง มั่น


สำหรับการดำเนินโครงการตำบลสุขภาวะซึ่งตำบลขุนทะเลเป็นตำบลแม่ข่ายด้วยนั้น บางครั้งก็มีปัญหาในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตำบลลูกข่ายมีการเลือกตั้งใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นคนใหม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย ยกเลิกการทำกิจกรรมด้าน สุขภาวะ แล้วกลับมาเน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ในฐานะแม่ข่าย เราจะต้องเร่ง เข้าไปเชื่อมโยงกับนายกฯ คนใหม่ รวมทั้งพี่น้องประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน และแกนนำใน ชุมชนในพื้นที่นั้นๆ ให้พวกเขาเข้าใจว่า โครงการนี้ต้องการจุดประกายให้ทุกคนมีส่วนร่วมทาง ความคิด ให้ทุกคนได้ร่วมกันสร้างสุขอย่างแท้จริง ในฐานะแม่ข่ายก็ต้องดูแลลูกข่ายด้วยการให้ องค์ความรู้ สนับสนุนด้านวิชาการ ชี้ให้เห็นปัญหาต่างๆ แนะนำวิธีเยียวยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องพูดคุยกันได้เสมอ เรามีแนวคิดว่า ผู้บริหารจะต้องมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า ความสำเร็จของการดำเนินการ นั้น ไม่ใช่เพียงการได้รับเลือกตั้งเข้ามาบริหารงานในอนาคต แต่ต้องเอาประโยชน์และความสุข ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราจะต้องสร้างภาคประชาชนที่เป็นตัวแทนภาค ประชาชนที่ไม่ฝักใฝ่เรื่องการเมือง ให้เขาสามารถยืนอยู่ได้ตรงกลาง ให้เขามีพัฒนาการ เข้าใจ บทบาทการสร้างสุขภาวะของตำบลโดยแท้จริง ไม่เอียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และสามารถขับเคลื่อน โครงการนีไ้ ด้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ เกิดสุญญากาศทางการเมือง กลุม่ คนเหล่านีก้ จ็ ะเป็นตัวหลัก ในการเดินหน้าโครงการต่อไปได้ อย่างน้อยทีส่ ดุ พีน่ อ้ งประชาชนจะต้องเห็นบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาวะโดยตัวเขา เหมือนที่ตำบลขุนทะเล ซึ่งมีการฝึกอบรมเรื่องข้อมูล การจัดเก็บสถิติด้านครัวเรือนต่างๆ ทำให้ ได้รวู้ า่ วันนีค้ นในชุมชนมียอดหนีเ้ ท่าไร มีรายรับ รายจ่ายเท่าไร เมือ่ มีคนถามว่า เราทำข้อมูลไป ทำไม เราก็สามารถตอบได้ว่า เรานำข้อมูลเหล่านี้มาเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง การที่พี่น้องประชาชนทุกคนในตำบลขุนทะเล ได้ลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง นำไปสู่ กระบวนการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยไม่ต้องไปพึ่งรัฐมากมาย กระบวนการเหล่านี้ต้องมองไปที่ ท้องถิน่ ของเราเอง เพราะไม่มนี กั การเมืองระดับชาติคนไหนรูด้ กี ว่าคนท้องถิน่ เพราะเราเกิดทีน่ ี่ เราต้องตายที่นี่ ฉะนั้นท้ายสุดเราต้องร่วมสร้างสุขกับบ้านเรา หากว่าท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศ 7,853 แห่งรวมพลังกัน แม้ได้สักครึ่งหนึ่ง ก็อาจจะ เกิดแรงกระเพื่อมขึ้น เพื่อให้รัฐได้รับฟังว่า วันนี้รัฐจะต้องมีความจริงจังและจริงใจต่อการ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทั้งเรื่องการจัดการงบประมาณ เรื่องการให้อำนาจต่างๆ ซึ่งจะทำให้ เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม ซึ่ง เราต้องการมุ่งมั่นปรารถนาที่จะไปให้ถึงเป้าหมายตรงนั้นให้ได้ในอนาคต เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนบน | 239


เชวง สมพังกาญจน์ อดีตนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลายเรือ่ งสำเร็จก็เพราะคน หลายเรือ่ งทีผ่ ดิ พลาด ก็มาจากคน หลายๆ เรือ่ ง ทีต่ อ้ งการแก้ปญ ั หา ก็ตอ้ งอาศัยคน และหากจะไปจัดการคน ก็ตอ้ งแบ่งการจัดการ ออกเป็นแต่ละช่วงวัย

ต้น


อดีตพื้นที่สีแดง กับคำถามถึงความยั่งยืน ตำบลต้นยวนเป็นชุมชนเกษตรกร ชาวบ้านมีอาชีพทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ส่วนผลไม้ ในช่วงว่างการทำอาชีพหลัก ชาวบ้านก็จะร่วมกลุ่มกันสร้างอาชีพเสริมต่างๆ รวมทั้ง มีกลุ่มกิจกรรมหลายมิติเกิดขึ้นในพื้นที่ บางกลุ่มอยู่ได้ไม่นานต้องล้มไป บางกลุ่มก็ยังยืนอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่แต่ละกลุ่มมีทั้งคนและทรัพยากร ไม่ว่าจะอย่างไร พื้นที่นี้น่าจะเรียกได้ว่า มีทุนทางสังคมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง หลายกลุ่ม มีทรัพยากรที่เข้มแข็งอยู่แล้ว คนที่ปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่ม ก็มีภูมิรู้ ภูมิปัญญาอยู่ในตัว เมื่อมีการ รวมตัวกันของคนทีม่ แี นวคิดใกล้เคียงกันจึงทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างรวดเร็ว และผลักดัน กิจกรรมต่างๆ ไปได้ และจัดการได้อย่างต่อเนื่อง เมือ่ เริม่ เป็นตำบลสุขภาวะก็อาศัยทุนเหล่านี้ โดยมีกลุม่ หลักๆ ของชาวบ้านทีท่ ำอยูแ่ ล้ว ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะหลายกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่า โครงการตำบล สุ ข ภาวะ ที่ เ น้ น การต่ อ ยอด ขยายและแลกเปลี่ ย นองค์ ค วามรู้ นั้ น น่ า จะเป็ น แนวทางที ่

ถูกต้อง เพราะหากแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมกันไปตามลำพัง ไม่มีการขยาย ไม่มีการปรับปรุง ก็จะไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น หลังมีโครงการนี้ กลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ไม่ล้มไประหว่างทางก็เริ่มมาเรียนรู้ร่วมกัน มี การถ่ายทอดร่วมกัน บอกเคล็ดลับเรื่องดีๆ ของกลุ่มที่มาจากต่างอำเภอ ต่างภาค ส่วนกลุ่มใน พื้นที่ก็ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เมื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสองทาง ก็ทำให้ทราบว่า ทุกๆ เรื่องมี

พื้นฐานคล้ายๆ กัน แล้วทำอย่างไรจะทำให้มันเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

นยวน


การสร้างเครือข่ายดูเหมือนจะเป็นคำตอบเบื้องต้นของพวกเราในขณะนี้ เพราะ จัดการทุนทรัพยากร การจัดการกลุ่มให้ชาวบ้านสามารถคิดต่อหรือสร้างความเข้มแข็งได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากการแลกเปลี่ยนกับต่างเครือข่ายทั้งสิ้น ชาวบ้านถึงกับสะท้อนเองเลยว่า หากเครือข่ายอื่นๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ่อยๆ เขาก็สามารถที่จะยืนอยู่ได้ เพราะว่าอดีตที่ผ่านมา พวกเขามีภูมิปัญญา แต่ไม่รู้ว่าจะถ่ายทอด ให้ใคร คนในตำบลซึ่งเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดก็ไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไร เพราะเห็นอยู่บ่อยๆ จนเป็น วิถีปกติ แต่กับเครือข่ายภายนอก เมื่อพวกเขาได้เห็น เขาก็ประทับใจ เป็นแรงบันดาลใจให้พวก เขาได้ เพราะเป็นภูมิปัญญาที่หายาก ไม่เคยเจอ อย่างเช่น การกวนกาละแมโบราณที่ต้นยวน กลุ่มกาละแมกลุ่มนี้ตั้งอยู่ได้เพราะใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในหมู่บ้านที่นำมาเพิ่มมูลค่า หรือกลุ่ม กล้วยฉาบที่ตั้งมาได้นานแล้ว แต่ไม่เคยถ่ายทอดให้ใครรู้ว่ามีเคล็ดลับอันหลากหลายขนาดไหน การรวมกลุ่มของชาวบ้านนอกจากจะมีคนในพื้นที่แล้ว ยังมีการรวมกับอำเภอใกล้ เคียงที่มีวัฒนธรรมแตกต่างออกไป เป็นทิศทางที่สามารถทำให้ชาวบ้านจัดการกับเรื่องอะไร ก็ได้ แม้แต่เรื่ององค์กรการเงิน 242 | หวัง ตั้ง มั่น


เพราะแต่กอ่ นทีน่ เี่ คยเป็นพืน้ ทีส่ แี ดงหรือเขตคอมมิวนิสต์ หลักการจัดการ การรวมคน จะมีความเชื่อเรื่อง ‘การไม่ผิดสัญญา’ หรือ ‘ต้องไม่ขัดแย้ง’ ‘ไม่รังแกผู้อื่น’ อยู่เป็นพื้นฐานอยู่ แล้ ว วั ฒ นธรรมเช่ น นี้ ส ามารถทำให้ จั ด ตั้ ง องค์ ก รการเงิ น และบริ ห ารได้ โ ดยไม่ ต้ อ งอาศั ย

หลักกฎหมายเข้ามาจัดการ เป็นการนำหลักที่เคยมีในแบบฉบับของชาวบ้านมาจัดการในเรื่อง การจัดการเงิน เช่น มีคนกู้เงินไป ก็ทำสัญญาใจบอกว่า อีกสามเดือนจะนำมาคืน ถ้าไม่เคยมีระบบที่ ทำให้เกรงใจกัน หรือไม่เคยมีระบบที่เข้มแข็งอย่างระบบคอมมูน มันก็สามารถบิดเบี้ยวได้ ไม่จ่ายตามเวลา ไม่ห่วงสัญญา เมื่อใช้ระบบคอมมูนเข้ามาเกี่ยวข้อง ปรากฏว่าไม่ผิด ไม่เบี้ยว ไม่ขัดแย้ง ไม่ทะเลาะวิวาท มีความสามัคคีเพิ่มขึ้น เพราะมีความเชื่อในระบบที่เคยมีมาแต่ก่อน นี่คือความเข้มแข็งอย่างหนึ่งที่สามารถจัดการกันในชุมชนได้ สิ่งที่ท้องถิ่นมุ่งหวังและต้องการเน้นมากๆ คือเรื่องการจัดการคน เพราะค้นพบว่า หลายเรื่องสำเร็จก็เพราะคน หลายเรื่องที่ผิดพลาดก็มาจากคน หลายๆ เรื่องที่ต้องการแก้ ปัญหาก็ตอ้ งอาศัยคน และหากจะไปจัดการคนก็ตอ้ งแบ่งการจัดการออกเป็นแต่ละช่วงวัย วัยเด็ก แบบหนึง่ เยาวชนแบบหนึง่ วัยทำงานแบบหนึง่ ผูส้ งู อายุกอ็ กี แบบหนึง่ อย่าไปจัดการปะปนกัน เพราะความต้องการ ปัญหาของแต่ละช่วงวัยนั้นไม่เหมือนกัน การจัดการก็หมายถึงการดูแล ต้องให้ความสำคัญ ต้องไปวางแผนในเรื่องของความเป็นอยู่ให้เขาได้รับสิ่งที่ได้มาตรฐานที่สุด เท่าที่จะทำได้ ปัญหาที่พอจะมีอยู่บ้างคือเรื่องการจัดการงบประมาณ แม้เราจะได้ชื่อว่า มีการ กระจายอำนาจมายาวนานแล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาอยู่หลายประการ บางเรื่องสมควร ให้ท้องถิ่นจัดการเอง แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ ต้องให้หน่วยงานระดับบนขึ้นไปเป็นผู้จัดการ บางเรื่องรัฐบอกว่า เป็นเรื่องของท้องถิ่น แต่เอาเข้าจริงๆ กลายเป็นท้องถิ่นคอยรับอย่างเดียว การจัดการมาจากข้างบน สิ่งนี้ทำให้แนวทางการปฏิบัติไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน ไม่ตรงกับปัญหาในท้องถิ่น สำหรับบทบาทของภาคีเครือข่ายอย่าง สสส. ที่เข้าไปในชุมชนนั้น เรามองว่าเป็น เรื่องที่ดีมาก เพราะเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้เกิดการคิดสร้างสรรค์แนวทางต่างๆ บางครั้งคิด

ไม่ออก แต่ในเมื่อถูกกระตุ้นหรือได้เห็นความสำคัญของโครงการก็สามารถที่นำไปต่อยอด แนวความคิด สามารถจัดการได้ หรือบางครั้งคิดได้แต่ไม่รู้จะเอางบประมาณมาจากที่ไหนก็ อาศัยทรัพยากรจากตรงนี้ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนบน | 243


สสส.กำหนดแนวทางถู ก ต้ อ งแล้ ว ที่ เ ลื อ ก ‘ท้ อ งถิ่ น ’ เป็ น ตั ว กลาง แต่ ป รากฏว่ า

เมื่อโครงการลงไปให้กับท้องถิ่น ท้องที่ ซึ่งก็คือข้าราชการ อย่างผู้ใหญ่ กำนัน ก็มักจะออกตัว ว่า เขาไม่เกี่ยว ดังคำพังเพย ‘เสือสองตัวไม่อาจอยู่ในถ้ำเดียวกันได้’ เพราะทั้งสองส่วนต่างก็ กลัวจะไม่มีบทบาท หลายท้องที่มีปัญหานี้รวมถึงต้นยวนด้วยโดยท้องที่ไม่เข้าใจว่า ท้องถิ่นมี

งบประมาณอยู่แล้ว ทำไมยังต้องนำงบประมาณส่วนนี้มาให้อีก แต่ถามว่า ถูกไหมที่โครงการ สสส. เข้ามาในพื้นที่ คำตอบคือ ถูกต้องแล้ว เพราะ อดีตที่ผ่านมาในพื้นที่ไม่ค่อยมีการจัดการงบประมาณแบบการพัฒนาให้ต่อเนื่อง ให้ยั่งยืน เช่น พัฒนาหมู่บ้าน จัดการหมู่บ้าน ฝ่ายท้องที่เคยเข้าไปจัดการ ทำป้าย ทำรั้ว หมดโครงการก็

หายไป ชาวบ้านเองยังรู้สึกได้ว่า ถ้าจัดการไม่ยั่งยืน ก็ถือว่าเสียเวลาเปล่า ชาวบ้านในพื้นที่มี คำถามเรื่องความยั่งยืนตลอด แม้แต่กับโครงการของ สสส. ด้วยเช่นกัน เขาก็ถามว่าทำกี่ปี ถามว่า 3 ปีแล้วจะเลิกไหม ก็ได้แต่ให้คำตอบไปว่ายังตอบไม่ได้ เพราะความเข้มแข็งของ โครงการนั้นอยู่กับตัวประชาชนเอง มีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมทั้งหลาย 3 ปี

ก็เตรียมไป เมื่อกลุ่มต่างๆ มีความเข้มแข็งก็จะสามารถจัดการตัวเองได้ หรืออาจมีเครือข่าย อื่นๆ เข้ามาสนับสนุนต่อ เรียกได้ว่าแม้ว่า สสส. จะไม่ให้เงินมาแต่ความเข้มแข็งของเราเกิดขึ้น แล้ว

244 | หวัง ตั้ง มั่น


ประดิษฐ์ จันทร์ทอง สิ่งที่ชาวบ้านเฝ้าระวัง และหวงแหนมากที่สุด ในเวลานี้ก็คือ ป่าชายเลน เพราะที่มีอยู่มีมากกว่า 35,000 ไร่ ทุกคนรู้ว่า 1 ไร่ควรจะต้องมีต้นไม้ ไม่น้อยกว่า 2,000 ต้น หรือมากกว่าประชากร ของประเทศไทย

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

คลอง ประสงค์


ชัยชนะของป่าชายเลน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แรกเริ่มเดิมทีนั้นตำบลคลองประสงค์ไม่รู้จักกองทุนสุขภาวะของ สสส. แต่มามีโอกาส ได้รู้จักเมื่อคณะกรรมการบริหารของกองทุนได้ลงไปจัดประชุมสัมมนาที่รีสอร์ตในพื้นที่ของ ตำบลคลองประสงค์ นายก อบต. คลองประสงค์ ในฐานะเจ้าบ้าน จึงได้ไปทำความรู้จักและ แสดงความยินดีในการให้ความร่วมมือหรือสนับสนุน หลังจากนั้นได้รับการทาบทามจาก อบต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช จึงได้เข้าเป็นเครือข่าย อบต.ขุนทะเล ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ร่วมงานกันมาเกือบ 2 ปีเต็ม ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า โครงการของ สสส. เน้น การสร้างให้คนมีความคิด พัฒนาความคิด และต่อยอดความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง และ สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยง บูรณาการเรื่องต่างๆ เข้าด้วยกัน เรายินดีร่วมงานด้วยเพราะเห็นว่า เป็นการจัดการตนเอง พึ่งพาตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานราชการอื่นๆ เรื่องแรกที่ทำคือ การสร้างความเข้าใจ โดยเห็นตัวอย่างจาก อบต. ขุนทะเล ที่จะมี เสียงตามสายทุกวันในเวลาเทีย่ ง จึงกลับมาพยายามแลกเปลีย่ นความคิดระหว่างผูบ้ ริหารท้องถิน่ สมาชิกองค์กรท้องถิ่น และผู้บริหารท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงฝ่ายทางศาสนา ฝ่ายการ ศึกษา โรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนกันความคิดกัน เนื่องจาก อบต.คลองประสงค์ ไม่มีการ กระจายข่าวเสียงตามสาย ดังนั้น จุดเริ่มต้นก็คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันในทุกๆ เรื่อง สำหรับโครงการเด่นๆ เช่น โครงการซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนดูแลอยู่ มีการจัดการ การท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย เมื่อโครงการของ สสส. เข้ามา ก็ได้สนับสนุนความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ป่าชายเลน อนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง โครงการนี้เป็น ต้นทางของการเชือ่ มโยง เช่น ถ้านักท่องเทีย่ วลงไปเทีย่ ว ไปดูปา่ ชายเลน ไปดูวถิ ชี วี ติ ชาวบ้าน ไปดูวิถีอาชีพดั้งเดิม จะโยงไปถึงแหล่งเรียนรู้ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง หรือการใช้ชีวิตของชาวบ้าน ที่อยู่ภายในเกาะด้วยว่า อยู่กันอย่างไร ประเพณีวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

246 | หวัง ตั้ง มั่น


เมือ่ ใครได้ไปถึงทีน่ นั่ ก็จะได้เห็นว่า ทีน่ นั่ อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส ทะเลสวยดี สามารถ ‘มองฟ้าแลเล’ อาหารทะเลสดๆ มีบริการ โครงการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ ท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมนี้ กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากนักท่องเที่ยว สิ่งที่ชาวบ้านเฝ้าระวังและหวงแหนมากที่สุดในเวลานี้ก็คือ ป่าชายเลน เพราะป่าชาย เลนที่มีอยู่มากมาย มากกว่า 35,000 ไร่ ทุกคนรู้แล้วว่า 1 ไร่ควรจะต้องมีต้นไม้ไม่น้อยกว่า 2,000 ต้น เขารู้ว่าเฉพาะต้นไม้ป่าชายเลนคลองประสงค์ มีมากกว่าประชากรของประเทศไทย เสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งมีค่ามหาศาลที่ทำให้เขามีชีวิต มีรายได้ มีกุ้ง หอย ปู ปลา ในช่วงหนึ่งสิ่งเหล่านี้หดหายไปเพราะการให้สัมปทานและนากุ้ง แต่ท้ายที่สุด เมื่อป่ายชายเลน ถูกทำลาย ผลกระทบมันเกิดเยอะ นากุ้งเองก็ขาดทุน และกลายสภาพเป็นนาร้าง เจ้าของที่ดิน จึงยินยอมให้มีการปลูกต้นไม้ มีการฟื้นฟู เมื่อพวกเขาทำให้ป่าชายเลนพื้นตัว สัตว์น้ำที่เคยหาย ไปก็กลับมาเกือบทุกชนิดแล้ว รูปธรรมเช่นนี้ทำให้พวกเขาช่วยกันปกป้องป่าชายเลน ตอนนี้ค่อนข้างมั่นใจว่า ไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวผู้นำท้องถิ่น เปลี่ยนผู้นำท้องถิ่นหรือผู้นำ ท้องที่ แต่การดูแลรักษาทุกสรรพสิ่งในบริเวณนี้จะไม่เปลี่ยน เพราะชาวบ้านเริ่มเห็นคุณค่าแล้ว หน่วยงานต่างๆ เพียงแต่เป็นคนช่วยเสริมสนับสนุนเท่านั้น เราเองก็ไม่มีการลงไปชี้นำและ บงการ ชาวบ้านจะจัดการของเขาเอง มีคณะกรรมการของเขาเอง อบต. และส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องเป็นเพียงตัวส่งเสริมสนับสนุน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนบน | 247


ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปากพูน อาจจะเป็นพืน้ ที่ ทีอ่ ยูร่ ะหว่างทางของการพิสจู น์ ความเข้มแข็งนี้ หลังจากนายกฯ เดิม ทีผ่ ลักดันเรือ่ งนี้ หมดวาระลงแล้ว พืน้ ทีย่ งั จะขับเคลือ่ นต่อไป ได้เพียงไหน

ปา


บทพิสูจน์ความยั่งยืน-พลังพื้นที่ หลังเปลี่ยนผู้บริหาร ปากพูนเป็นเทศบาลเมืองทีค่ อ่ นข้างใหญ่ มีประชากรเกือบ 40,000 คน พืน้ ที่ 90 กว่า ตารางกิโลเมตร มีทั้งในส่วนที่เป็นเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบท มีอาชีพที่หลากหลายทั้งประมง เกษตร ค้าขาย พื้นที่เต็มไปด้วยความแตกต่างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ อาชีพ มีทั้งชาวพุทธ มุสลิม คริสต์ รวมทั้งผู้ไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ยังมี หัวใจของการเป็น ‘ตำบลสุขภาวะ’ ก็คือ ความสามารถที่เราจะใช้ทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ ในทุกด้าน ไม่ว่าทุนทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม มาบูรณาการให้เกิดความ เชื่อมโยงเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน นำเรื่องราวต่างๆ มาร้อยเรียงกัน แล้วทำให้เกิดภาวะที่ ประชาชนจะอยู่อย่างมีความสุข ถึงแม้จะจนก็จนอย่างมีความสุข จนอย่างมีความสุขเป็นอย่างไร มันก็คือ แม้ไม่มีเงินไม่มีทอง แต่ว่าลูกเรียนได้ เพราะ มีกองทุนสนับสนุน มีเพื่อนในชุมชน มีหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นที่จะช่วยเหลือกัน มีที่ดิน ทำกิน แม้คนที่ไม่มีที่ดินก็อาจมีคนที่มีที่ดินอาสาให้ที่ดินแก่ผู้ไม่มีที่ดินทำกิน และทุกคนก็มี ความรู้ที่จะไปทำไปปลูกผักปลูกพืชพันธุ์หาเลี้ยงตัวเองได้ ถามว่าไปถึงเป้าหมายเช่นนั้นได้ไหม ตัวผมเองไม่เคยคาดหวังให้มันไปถึงเป้าหมายถึง ขนาดทีอ่ ยูอ่ ย่างมีความสุขเพราะว่าคนเราตัดทุกข์ไม่ได้ และการตัง้ เป้าหมายให้ทกุ คนมีความสุขก็ เป็นสิ่งค่อนข้างไกลในความหมายที่ว่า อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำเฉพาะกับคนรุ่นนี้ และไม่ใช่เพียงว่า

ากพูน


ทำเรื่องเด็กให้เป็นเด็กดี มีคุณธรรม เพื่อที่โตแล้วจะเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นคนดีและมีคุณธรรมเพียง แค่นั้น แต่เป้าหมายไปไกลถึงว่า เมื่อเด็กคนนี้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีครอบครัวแล้ว มีคุณธรรมแล้ว เขามีลูกมีหลานแล้ว ก็อบรมบ่มเพาะลูกหลานให้มีคุณธรรมต่อไปอีกเรื่อยๆ จากประสบการณ์ของผม ตอนทำครั้งแรกสมัยยังเป็นนายกฯ อยู่นั้น ได้นำ 3 พลังมา ขับเคลื่อน คือ พลังของรัฐ พลังทางด้านวิชาการ พลังของชุมชน โดยจะเน้นหนักไปยังพลัง ชุมชน จนกระทั่งมาถึงระยะเวลาหนึ่งที่ไม่ได้เป็นนายกฯ มันเหมือนพลังของรัฐที่เราเคยเป็น ผู้ควบคุมให้พลังอื่นเดินตามในปัจจุบันอาจจะลดน้อยลงมากๆ แล้ว แต่ที่น่าสนใจก็คือ พลัง ชุมชนยังอยู่ แล้วพลังของความรู้ก็ยังทำงานได้อยู่ ทั้งนักวิชาการซึ่งเป็นคนภายในเอง รวมถึง พลังวิชาการจากภายนอกอย่างมหาวิทยาลัยที่สนใจเรื่องราวเหล่านี้ มีเพียงพลังของรัฐเท่านั้น ที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่จะกำหนด ทิศทางทุกอย่าง แต่คนที่จะกำหนดนโยบายสาธารณะได้สำหรับประเทศไทยก็จะต้องเป็น

ผู้ บ ริ ห ารองค์ ก รในระดั บ ชาติ คื อ นายกรั ฐ มนตรี อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ก็ คื อ ผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น จาก ประสบการณ์ที่มีพบว่า หากพลังหนึ่งพลังใดอ่อนแอ ถึงแม้ว่าพลังเดิมๆ ยังมีกำลังอยู่ก็จะ เดินไปได้ในระดับหนึ่ง แม้ไม่แรง ไม่เร็วเหมือนเดิม ผมเคยเป็นผู้บริหารท้องถิ่นที่เทศบาลเมืองปากพูน แต่ก็ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ที่ เทศบาลตำบลท่าแพซึง่ อยูใ่ นตำบลเดียวกันด้วย ปรากฏว่า พอไปอยูท่ เี่ ทศบาลตำบลท่าแพแล้ว

มีโอกาสพูดคุยกับนายกฯ และทีมบริหารทัง้ หมดเกีย่ วกับการทำเรือ่ งตำบลสุขภาวะ พลังท้องถิน่ ก็เริ่มขับเคลื่อน เริ่มให้ความสำคัญ และชุมชนก็เข้ามาร่วม ตอนนี้ที่ท่าแพ ชุมชนและท้องถิ่น เริ่มรวมตัวกันได้ จากเดิมต่างคนต่างอยู่ มีความขัดแย้งสูง ทั้งในชุมชน ทั้งเรื่องการเมือง ปัจจุบันนี้เริ่มเห็นความแตกต่างหลังจากเข้าไปผลักดัน มันทำให้เห็นว่า เราสามารถสร้างเรื่อง เหล่านี้ขึ้นได้อีกในพื้นที่อื่นๆ การสร้างการมีส่วนร่วมเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้สร้างขึ้นง่ายๆ โดยเฉพาะในบริบทสังคมไทย หากรัฐหรือผู้บริหารไม่ชวน ไม่ลงมือ ไม่ริเริ่ม ก็คงไม่เกิดขึ้น

ในอดีต คงไม่มีใครปฏิเสธว่าน้อยครั้งมากที่เราจะเห็นชาวบ้านนั่งหารือกันเองในเรื่องความ เดือดร้อน ส่วนใหญ่การผลักดันการแก้ปัญหามาจาก อบต. พัฒนาชุมชน หรือองค์กรอื่นๆ ทั้ง นั้น 250 | หวัง ตั้ง มั่น


หากวิเคราะห์จนเห็นแล้วว่า พฤติกรรมการมีสว่ นรวมหรือความแอคทีฟของประชาชน มีระดับนี้ ก็ต้องเอาฐานนี้เป็นตัวตั้ง แล้วจึงกลับไปดูที่ผู้บริหารและระบบตัวแทนชาวบ้าน เพราะส่วนนี้จะต้องแอคทีฟสูงกว่าและเป็นผู้ริเริ่ม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นจุดอ่อนของระบบการเมือง ไทยและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน แต่ในท่ามกลางจุดอ่อนก็มีจุดแข็ง นั่นคือ หากเขารวมตัวกันได้เมื่อใดก็ค่อนข้างที่จะมีความเข้มแข็ง เพราะทุกคนล้วนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ประโยชน์ที่จะเกิดก็จะได้รับร่วมกัน นี่เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่หากเราสามารถชักชวนให้พวกเขาเข้า มามีส่วนร่วมได้ ปากพูนอาจจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างทางของการพิสูจน์ความเข้มแข็งนี้ หลังจาก นายกฯ เดิมที่ผลักดันเรื่องนี้หมดวาระลงแล้ว พื้นที่ยังจะขับเคลื่อนต่อไปได้เพียงไหน เท่าที่ เห็นเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน ผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาก็ตัดงบประมาณลง ชาวบ้าน 5,0006,000 คนก็เลยมานั่งประชุมหารือกัน โดยเขาบอกว่า ในสมัยผมเป็นนายกฯ เขาไม่ต้องมา ต่อรอง เพียงแต่นั่งคุยเท่านั้น คนปากพูนจึงไม่คุ้นเคยนักกับการรวมตัวกันต่อรอง เพราะว่า ส่ ว นใหญ่ ผ มจะเป็ น คนชวนคุ ย อั น นี้ อ าจเป็ น ข้ อ ผิ ด พลาดอย่ า งหนึ่ ง ที่ เ น้ น การชวนคุ ย

แต่ปัจจุบันเมื่อผู้บริหารไม่เริ่ม ดูเหมือนชาวบ้านก็ไม่กล้านัก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนบน | 251


เรื่องทุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน โดนตัดงบประมาณจนเป็นปัญหา ตรงนี้เป็น อีกเรื่องที่ชาวบ้านพยายามต่อรอง แต่ว่าทีมผู้บริหารชุดใหม่เขาพยายามใช้ข้อกฎหมายเป็น

ข้ออ้าง เช่น บอกว่าที่ทำมานั้นผิดระเบียบ สุ่มเสี่ยง ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าต่อรองให้เดินหน้าต่อ เพราะกลัวผิดกฎหมาย แต่นั่นเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น เพราะมันไม่ควรผิดกฎหมาย แต่มัน เป็นศาสตร์ในการบริหารจัดการ เช่น ในเมื่อ อบต. ให้ทุนการศึกษาแบบโดยตรงไม่ได้ก็ให้ผ่าน กองทุน ผมไปจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เอาเงินใน ท้องถิ่นไปให้กองทุนแล้วกองทุนก็เอาไปให้เด็กอีกทีหนึ่ง แต่ชุดใหม่ ไม่กล้าทำ เพราะคิดว่ามัน ผิดระเบียบ เมื่อเอากฎมาเป็นตัวตั้งก็ไม่กล้าเสี่ยง เพราะมีบทลงโทษทั้งส่วนที่เรียกเงินคืน และ ยังอาจถูกฟ้องตามกฎหมายแพ่งอีก ในฐานะนักการเมือง (ท้องถิน่ ) รูส้ กึ ว่า การเป็นตัวแทนทีด่ ขี องประชาชนต้องมีวสิ ยั ทัศน์ และใจกว้าง อะไรที่เป็นเรื่องที่ดีสำหรับประชาชนต้องเก็บไว้ ไม่ว่าจะเป็นใครทำก็ตาม แม้แต่ กรณีการทำรัฐประหารตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 เรื่องที่รัฐบาลเดิมทำ เช่น กองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล รัฐบาลที่มาจากรัฐประหารยังต้องเก็บไว้ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนชื่อเล็กน้อย สะท้อนว่า ในเชิงทฤษฎีแล้ว นโยบายสาธารณะไหนที่เป็นเรื่องดี มันจะยังคงอยู่ ในทางกลับกัน เรื่องราวที่เรากำลังทำ บางทีอาจจะทำตามเขาบ้าง แต่หากเป็นเรื่องประโยชน์ที่ดีสำหรับ

ชาวบ้านก็จะส่งผลดีต่อชุมชนได้ และสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ผู้บริหารมาจาก การเลือกตั้ง มาจากชาวบ้านเลือกมาตรงๆ เป็นระบบประชาธิปไตยที่ไม่ได้มีเรื่องของเงินทอง มาเกี่ ย วข้ อ ง ลั ก ษณะแบบนี้ ช าวบ้ า นจะต่ อ รองได้ ง่ า ย แต่ ถ้ า เมื่ อ ไรชาวบ้ า นรั บ เงิ น จาก กระบวนการเลือกตั้ง เมื่อรับเงินแล้วก็ไม่มีอำนาจต่อรอง

252 | หวัง ตั้ง มั่น


ประเสริฐ ทองมณี

อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

คนที่รองรับปัญหาใหญ่ๆ ของระดับชาติไว้ได้คือท้องถิ่น ปัญหาระดับชาติล้ม แต่ท้องถิ่นไม่อด คนในเมืองตกงาน ข้าราชการตกงาน แต่กลับมาบ้านมีข้าวกิน มีที่อยู่อาศัย เพราะคนท้องถิ่น ยังมีทรัพยากรและทำกินเป็น

บ้านควน


ขอเป็นฟูก ยาม ‘เธอ’ ล้ม หากจะถามว่า เหตุใดจึงเข้าร่วมกับโครงการตำบลสุขภาวะ คงตอบเป็นอื่นไปไม่ได้ เพราะโครงการนี้มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน งบประมาณก็ลงสู่ประชาชนทุกคน การ สร้างแหล่งเรียนรู้ แนวการทำเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สำหรับจุดเด่นของ อบต.บ้านควน คือ ความเข้าใจกันและความแน่นแฟ้นกันในหมู่ ผู้นำชุมชน ทำให้เกิดการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยสามารถพูดคุยกันได้แทบทุกเรื่อง ในที่ประชุม ผู้นำ อบต.บ้านควน จะประชุมกันทุกเดือนโดยจะหมุนเวียนกันไปทั่วทั้ง 18 หมู่บ้าน คุยกันหลากหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องฐานการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านที่มีสวนยางมาก เราก็คิดว่าน่าจะเป็นฐานการเรียนรู้เรื่องยางพารา หมู่ที่มีปาล์มมากก็น่าจะเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง ปาล์ม รวมทั้งจะมีการขยายต่อไปในเรื่องไบโอดีเซล แม้เรายังไม่แจ่มชัดนักว่าจะไปในแนวทาง ไหน แต่อย่างน้อยเราก็ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเบื้องต้น จากนั้นจะนำข้อมูลทุกอย่างลงสู่ ชุมชน พูดคุยทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน ขณะนีบ้ างหมูบ่ า้ นก็เป็นแหล่งเรียนรูเ้ รียบร้อยแล้ว แต่ยงั ไม่ครบทัง้ 18 หมูบ่ า้ น มีราว 9-10 หมู่บ้าน เป็นฐานเรียนรู้หลักเกี่ยวกับเรื่องป่าชุมชน เราทำความเข้าใจกับชาวบ้านในเรื่อง ป่าชุมชน เรื่องธนาคารต้นไม้กันมาระยะหนึ่งเพื่อให้เข้าใจถึงเป้าหมายร่วมกันว่า เราต้องการให้ มีนำ้ ใช้ทกุ ครัวเรือนตลอดทัง้ ปี ไม่วา่ จะเป็นสระ เป็นฝาย ไม่วา่ จะแล้งอย่างไร ชาวบ้านควรจะมี น้ำใช้ เราเร่งจัดการเรื่องนี้เพราะเรารู้ตัวเองตั้งแต่ปี 2540 แล้วว่า บ้านควนกำลังจะขาดน้ำ หลายคนอาจรีบถามคำถามนี้ว่า ทำไมเราจึงรู้ว่าเราจะขาดน้ำ คำตอบแสนง่ายก็คือ เพราะป่าหมดและแหล่งน้ำก็เริ่มแห้ง ทั้งที่เมื่อก่อนเรามีป่าอันไพศาลและมีน้ำทุกหย่อมหญ้า ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ แต่ทุกวันนี้ชาวบ้านไปทำสวนยางบ้าง สวนปาล์มบ้าง ป่าก็เริ่ม

ลดน้อยลง 254 | หวัง ตั้ง มั่น


ช่วงปี 2540 เป็นจุดเริ่มความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดว่า หน้าแล้งนั้นยาวนานขึ้นเรื่อยๆ และในหน้าน้ำน้ำก็มากจนท่วม และแน่นอน มันเป็นสิ่งที่ชาวบ้านทุกคนเดือดร้อนและรับไม่ได้ จากนั้นเราก็เริ่มพูดคุย มีแนวคิดในการทำธนาคารต้นไม้ ธนาคารต้นไม้นี้ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย แต่เพื่อเพิ่มการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ แนวคิดในการทำธนาคารต้นไม้เกิดขึ้นเพราะเมื่อเราคิดปลูก ไม้ เราก็ไม่มีกล้าไม้ ที่ขายกันอยู่ก็ราคาแพง จึงมีการหาเมล็ดกล้าไม้มาเพาะเพื่อปลูกในพื้นที่ และเน้นปลูกในวันสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ เมื่อก่อนมีการรณรงค์ให้ปลูกริมถนน แต่ไม่ทันไร ฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องถนนก็มาตัดต้นไม้ทิ้ง จึงเปลี่ยนการรณรงค์ไปปลูกที่ใครที่มัน สวนใคร สวนมัน ใครมีที่ว่างตรงไหนให้ปลูกตรงนั้น ส่วนกล้าไม้นั้น หากเข้ามาเป็นสมาชิกก็จะแจก แต่ หากไม่ใช่สมาชิกก็อาจจะขายบ้างเพื่อหาทุนหมุนเวียน ไม้ที่ส่งเสริมให้ปลูกนั้น เป็นไม้ที่ให้ ประโยชน์ในระยะยาว หรือไม้ที่มีราคา เช่น ไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ ไม้จำปา ไม้พวกนี้อาจต้อง ใช้เวลานาน แต่มีราคาดี ขณะที่ไม้เนื้ออ่อนก็ปลูกเสริมไปด้วย อย่างไรก็ดี เรื่องการสร้างป่าเพิ่มน้ำนี้ ถือว่าเรายังทำไม่สำเร็จ ทำได้เพียงระดับ หนึ่งเท่านั้นหลังจากเริ่มทำมาไม่กี่ปี ยังปลูกกันไม่เต็มพื้นที่ แต่เราก็จะค่อยๆ ผลักดันต่อไป จาก 18 หมู่บ้าน ขณะนี้มีเพียง 3-4 หมู่บ้านที่รายงานว่า มีน้ำแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนบน | 255


นอกจากนี้เรายังมีแนวคิดเรื่องธนาคารขยะ เพราะเรามองเห็นภาพชัดว่า เมืองใหญ่ อย่างกรุงเทพฯ ต้องจมกองขยะอย่างแน่นอน ไม่มีที่ทิ้ง หรือขนทิ้งไม่ทัน บ้านยิ่งเพิ่มขึ้น ชุมชน ยิง่ เพิม่ ขึน้ ขยะก็ยงิ่ เพิม่ ขึน้ เรามองขยะไม่ใช่ขยะ แต่มองขยะเป็นทอง และมีคนอยากทำเรือ่ งนี้ เพราะทองขายได้ ไอเดียเรื่องนี้ได้มาจากการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจากตำบลอื่นๆ จังหวัด อื่นๆ ที่เขาทำกัน ดูแล้วทำได้ไม่ยาก ไม่ต้องใช้ทุนเยอะ มีทุนสัก 5,000 บาทก็ทำธนาคารขยะ ได้แล้ว เพียงแค่รู้จักคัดแยกขยะ รู้จักราคาขยะขั้นต้น มีทีมงาน 5-6 คนคอยจัดการ ซึ่งก็หาได้ จากเยาวชนที่เป็นอาสาสมัคร มีจิตสาธารณะ โดยเราจะนำสิ่งที่ไปเรียนรู้มาส่งต่อให้พวกเขาอีก ทีหนึ่ง สำหรับขยะเปียกที่แยกขายไม่ได้ เราก็สามารถทำปุ๋ยตามโครงการพระราชดำริได้ เรา ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะการไปเรียนรู้มาจากที่อื่นเช่นเดียวกัน จากนั้นเราประสานกับครู ในโรงเรียน ทางโรงเรียนก็ให้เวลา 2-3 ชั่วโมงต่อวันในแต่ละสัปดาห์ที่จะส่งเด็กๆ ที่สนใจมา อบรมและช่วยงานด้านนี้ เหล่านี้เป็นดอกผลจากการสนับสนุนของ สสส. ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มพลังให้ชุมชนได้ เราได้สะสม ‘ทุน’ โดยการไปเรียนรู้ ไปรวมกลุ่ม เพราะ สสส.มีเครือข่ายโยงทั่ว หากมี

เครือข่ายครบทุกจังหวัด ครบทุกตำบล ก็จะเป็นพลังมหาศาล คนที่มาในโครงการ สสส.จะ เข้าใจวิถีชีวิตชุมชนและมองภาพการเมืองใหญ่ออก วันนี้การเมืองใหญ่ยังมีปัญหาเยอะกว่า ท้องถิน่ เสียอีก และคนทีร่ องรับปัญหาใหญ่ๆ ของระดับชาติไว้ได้คอื ท้องถิน่ ปัญหาระดับชาติลม้ แต่ท้องถิ่นไม่อด คนในเมืองตกงาน ข้าราชการตกงาน แต่กลับมาบ้านมีข้าวกิน มีที่อยู่อาศัย เพราะคนท้องถิ่นยังมีทรัพยากรและทำกินเป็น เราพยายามเร่งพัฒนาไปเรือ่ ยๆ โดยพยายามกระจายการเรียนรูแ้ ละสลายการนำเดีย่ ว เพื่อว่าหากเราหลุดวงโคจรไปยังมีคนที่ประสานและเดินหน้าต่อได้

256 | หวัง ตั้ง มั่น


ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนัง ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาห บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนัง ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาห บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนัง ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาห บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนัง ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาห บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ่อหิน ท่าข้าม ปริก มะนังดาลำ ควนรู เขาหัวช้าง บ

เครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง


ภาพความก้าวหน้าที่ชัดเจน อย่างน้อยในเชิงกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ ทำให้เกิดกลุ่ม หรือโหนดจากจุดต่างๆ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ วิทยากรฐานเรียนรู้ และคนที่ทำกิจกรรม ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้นำด้าน การเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น สุริยา ยีขุน

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (ในฐานะ) ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน 258 | ชื่อหนังสือ


ใต้ล่าง สร้าง ‘ทีม’ :

ติดตามผลใกล้ชิด ดันลูกข่ายเป็นแม่ข่าย ในการทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับตำบลสุขภาวะที่ขับเคลื่อนร่วม กับทีมงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ภาคใต้ ตอนล่าง ครอบคลุมทั้งหมด 7 จังหวัด มีแม่ข่ายหลักๆ อยู่ประมาณ 6 แม่ข่ายที่ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ต้องประสานงาน ในขณะเดียวกันที่เทศบาลตำบลปริกเอง ก็เป็นหนึ่งในโครงการเรื่องการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะด้วย แม้ จ ะมี ก ารทำหน้ า ที่ 2 อย่ า งในเวลาเดี ย วกั น แต่ ค ณะทำงานของ โครงการร่วมขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะและคณะทำงานที่ศูนย์ประสานงานชุมชน ท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ภาคใต้ตอนล่างนั้น ทั้งสองชุดนี้ก็จะทำงานในลักษณะที่ เอือ้ ต่อกัน โดยการประสานงานกับเครือข่ายทีเ่ ป็นตำบลสุขภาวะในพืน้ ที่ 7 จังหวัด ภาคใต้ ต อนล่ าง บทบาทหลักเป็นหน้าที่ของศูนย์ประสานงานชุมชนท้องถิ่น

ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างนั้นประกอบด้วย จ.พัทลุง จ.ตรัง จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ซึ่งแต่ละจังหวัดไม่ได้มีโครงการใน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง | 259


ทุกพื้นที่ แต่จะเป็นลักษณะของโครงการที่เกิดขึ้นตามศักยภาพขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในแต่ละแห่ง หรือเครือข่ายท้องถิน่ ทีย่ นิ ดีทจี่ ะเข้าร่วมโครงการ และมีทนุ พอประมาณทีจ่ ะร่วมกัน ขับเคลื่อนกับลูกข่ายอื่นๆ หรือเครือข่ายอื่นๆ ได้ และจะต้องมีฐานเรียนรู้ ต้องมีแหล่งกิจกรรม มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนชุมชนอยู่แล้วเป็นฐาน ทุนเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ แม่ข่ายซึ่งเป็นตัวกลไกหลักสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ จากนั้นจึงลงไปติดตามและ ช่วยพัฒนา เพราะฉะนั้นลูกข่ายที่อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ก็สามารถยกระดับขึ้นมาเป็นแม่ข่าย เหมือนกับแม่ข่ายหลักได้ บทบาทหลักของศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง คือการหนุนเสริมทั้งใน ส่วนของการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในงานวิชาการ และงานภาคปฏิบัติ มีการหนุนเสริมของ แม่ ข่ า ยหรื อ ตั ว จุ ด ประกายต้ อ งทำหน้ า ที่ ใ นการติ ด ตาม เช่ น การเยี่ ย มเยี ย นเป็ น กำลั ง ใจ โดยบทบาทเหล่านี้เป็นบทบาทที่ทำให้แม่ข่ายที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากที่เคยเป็นลูกข่ายของ แม่ข่ายเดิมได้ส่งต่อองค์ความรู้และชุดของประสบการณ์ที่โตขึ้นบนพื้นฐานการจัดการ การจัดการในรูปแบบนี้จะทำให้เกิดการทำงานเชิงระบบ ซึ่งแตกต่างจากที่เคยปล่อย ให้พัฒนากันไปอย่างตามมีตามเกิด เพราะเมื่อปล่อยและไม่มีการหนุนเสริมแล้ว โอกาสของ ความผิดพลาดเกี่ยวกับโครงการก็จะมีสูง แต่หากเราวางระบบ โดยเฉพาะศูนย์ภาคใต้ตอนล่าง นั้นได้จัดทำแผนปฏิบัติการไว้ ทำให้เห็นว่า โจทย์ข้อที่หนึ่งในเรื่องของการหนุนเสริมนั้น เราจะ หนุนเสริมเรื่องใด เช่น เรื่องวิชาการ เรื่องกำลังใจ เรื่องของการวางระบบ หรือเรื่องของการ พัฒนาบุคลากร เป็นต้น เหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็นและทำให้ภาพการทำงานชัดเจนขึ้น ในแง่ของการจัดระบบทางความคิด ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรให้ลูกข่าย หรือผู้ที่ขึ้นมาเป็นแม่ข่ายใหม่สามารถที่จะเคลื่อนต่อได้ มีการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงมีการ ระดมความคิดเพื่อระดมทรัพยากรจากแหล่งให้ทุนต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงาน โดยศูนย์และ แม่ข่ายจะต้องทำงานกันเป็นทีมเวิร์ค ซึ่งแม่ข่ายในฐานะที่จะต้องรับผิดชอบลูกข่ายก็จะต้อง เข้าไปประกบแบบคู่ภาคีเป็นหุ้นส่วนกัน ศูนย์ฯ ก็จะอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจัด กระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตร แม่ข่ายก็จะเอาหลักสูตรนี้มาจัด วางใหม่ ทำให้มันเป็นหลักสูตรที่ชัดเจนขึ้น เสร็จแล้วก็จะมีการวิพากษ์หลักสูตร โดยทางศูนย์ฯ จะทำหน้าที่ในการเป็นผู้ประสานงานจัดเวที เพื่อดูว่า หลักสูตรต่างๆ มีความพร้อมไปถึงไหน ระดับไหน

260 | ชื่อหนังสือ


หากให้ ม องเป็ น ภาพความก้ า วหน้ า ที่ ชั ด เจน อย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด ในเชิ ง กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นได้ว่าการที่เราร่วมกันขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ ทำให้เกิดกลุ่มหรือโหนดจากจุดต่างๆ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ วิทยากรฐานเรียนรู้ และ คนที่ทำกิจกรรม ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ฉะนั้น เป้าหมายหลักที่ต้องการพัฒนาไปสู่การสร้างผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นใน แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชน ในระดับตำบล จังหวัด และประเทศ ก็พบว่ามีการ พัฒนาที่ดีขึ้น พืน้ ทีภ่ าคใต้ตอนล่างได้กำหนดนโยบายสาธารณะไว้ประมาณ 12 นโยบาย เมื่อมองย้อนกลับไปทำให้เห็นว่า ในแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน ลูกข่ายแต่ละ แห่งก็จะรับเอาประเด็นหรือนโยบายซึ่งเกี่ยวข้องกับพื้นที่ของเขาไปเคลื่อนต่อใน เชิงนโยบายระดับพื้นที่ รวมทั้งกำหนดเป็นโจทย์ขององค์กร แล้วก็ร่วมกันเคลื่อน กับภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการอีก ระดับหนึ่ง ถ้าหากมองผลลัพธ์ในเรื่องสุขภาพหรือความเป็นอยู่ จะเห็นว่าโครงการ ต่างๆ ในพื้นที่ที่ขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะส่วนใหญ่ทำให้เกิดพลังของภาคประชาชน เข้ า มาจั ด การตนเองในเรื่ อ งต่ า งๆ เช่ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง | 261


สวัสดิการสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และเรื่องเกษตรยั่งยืน ซึ่งในบางท้องถิ่นอาจจะเห็น เฉพาะมิติบ้าง หรือบางพื้นที่อาจจะมีครบทั้ง 7 มิติที่เป็นนโยบายสาธารณะ แล้วแต่ลักษณะ ของพื้นที่ ใน 6-7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง หากมองให้ลึกลงไปที่กลุ่ม 3 จังหวัด เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ก็จะเห็นบริบทที่ใช้หลักศาสนาเป็นตัวนำ บริบทที่ใช้บทบัญญัติทางศาสนามา เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ตรงนี้ทำให้เกิดการพัฒนาด้านจิตใจต่อพี่น้องประชาชนได้ เกิด การขัดเกลาไปสู่การปฏิบัติที่ทำให้เห็นภาพรวมของสังคมที่เป็นสุข พื้นที่เด่นๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ล่างนั้นมีหลายพื้นที่ อาทิ อบต.บ่อหิน มีจุดเด่น คือ ชุดการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งมีการออกข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ที่ผู้คนสามารถจัดการตนเองในเรื่องการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในบริเวณของเขาได้ และนำ ประเด็นเรื่องทรัพยากรนี้ขับเคลื่อนไปสู่การจัดการตัวเองในมิติอื่นๆ ใน 7 นโยบายสาธารณะ ได้อีกด้วย อบต.ควนรู ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่เป็นการจัดการตนเองเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร เรื่องของการเกษตร เรื่องของการจัดการสวัสดิการชุมชนคู่กับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง อบต.มะนังดาลำ ได้ใช้กลไกทางศาสนามาเป็นตัวนำ ทำให้เกิดการยอมรับในเรื่อง จิตใจของผูค้ น และสามารถเชือ่ มโยงไปสูก่ ารบริหารจัดการเรือ่ งอืน่ ๆ เช่น การเกษตร การศึกษา และสวัสดิการ สอดรับกับนโยบาย 7 ด้านได้เป็นอย่างดี โดยใช้เรื่องของความศรัทธาเป็นตัวนำ นอกจากนี้ที่มะนังดาลำ ยังมีการใช้กลไกของ ‘สภาซูรอ’ เข้ามาเป็นกลไกการพูดคุยกันถึง ประเด็นการลดความขัดแย้งในพื้นที่ หลักการของสภาซูรอก็คือ การปรึกษาหารือ การใช้เวที ประชาสังคมร่วมกัน ทำให้ผู้คนในชุมชนเริ่มที่จะหันเข้ามาสู่วิธีการทำงานร่วมกัน จากเดิม เป็นการทำงานที่ต่างคนต่างทำ ในส่วนของ อบต. มะนังดาลำเอง โครงการที่เป็นเชิงประเด็น เรื่องของสุขภาวะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็จะทำงานในลักษณะที่เปิดพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจ ร่วม ทำให้คนในพื้นที่เริ่มมีความเข้าใจว่า การอยู่ร่วมกันอย่างสันติหรือการอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข ต้องมาในแนวทางของการจัดการสุขภาวะในชุมชน เรื่องของการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้นั้น หากนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ ไม่มีโครงการเหล่านี้เข้าไป ก็จะพบลักษณะ ‘ต่างคนต่างอยู่ในภาวะวิกฤต’ เป็นสภาวะที่ หวาดระแวงไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน แต่กลุ่มพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการก็จะพบว่าอย่างน้อยที่สุดก็มี ความพยายามในการเปิดพื้นที่ทางความคิด สร้างการยอมรับและความไว้ใจซึ่งกันและกันใน ชุมชนมากขึ้น 262 | ชื่อหนังสือ


ส่วนประเด็นปัญหาของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง นั้น พบว่าอำนาจจากส่วนกลางยังคงพยายามเข้ามาครอบงำ คล้ายกับเป็นการ ‘กระจาย อำนาจที่เกิดภาวะลักลั่น’ ทั้งที่หากเราดูพัฒนาการของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย อำนาจ การเมืองของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะค่อยๆ ลดบทบาทและหายไป กลายไปเป็นเหมือน กลไกประสานงานเท่านั้นเอง แล้วมาให้บทบาทหลักแก่ท้องถิ่น แต่บ้านเรายังพบกับปัญหาที่ เหมือน ‘การแทงกั๊ก’ กันอยู่ ส่วนกลางกลัวที่จะสูญเสียอำนาจ กลัวการเติบโตของท้องถิ่น กลัวว่าตัวละครที่เล่นอยู่ในสภาใหญ่ทั้งหลายจะไม่มีอะไรทำ

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ตอนล่าง | 263


สุริยา ยีขุน

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

เราตระหนักดีวา่ การบริโภคเป็นเรือ่ งสำคัญ ในสังคมปัจจุบนั แต่ประเด็นสำคัญคือ เราจะเข้าสูก่ ารบริโภค อย่างยัง่ ยืนได้อย่างไร


‘อยู่รอด’ภายใต้ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในความตื่นตัวต่อการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ‘ตำบลปริก’ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา คือเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซีย ดังนัน้ แม้จะเป็นตำบลเล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญเชื่อมโยงกับภาพใหญ่ การบริหารจัดการท้องถิ่นและ ท้องที่จึงต้องเท่าทันต่อกระแสและความเปลี่ยนแปลง และนั่นหมายความว่า เราต้องมีแผน วิสัยทัศน์ของเทศบาล ซึ่งเราได้วางเรื่องนี้ไว้เป็นแผน 20 ปี และหนึ่งในแนวทางที่วางเอาไว้ คือ การนำแนวทาง ‘ตำบลสุขภาวะ’ มาใช้ ซึ่งมาถึงวันนี้ 10 ปี หรือครึ่งทางแล้ว เพราะโจทย์ของตำบลปริก คือต้องอยู่รอดภายใต้ความเปลี่ยนแปลง เราตระหนักดีว่า การบริโภคเป็นเรื่องสำคัญในสังคมปัจจุบัน แต่ประเด็นสำคัญคือ เราจะเข้าสู่การบริโภคอย่าง ยั่งยืนได้อย่างไร ครึ่งทางของตำบลสุขภาวะที่นำมาใช้จึงประสานเข้ากับวิถีพอเพียงให้ได้ สร้าง การร้อยเรียงวิถีชุมชนไปกับการพัฒนาให้ได้ เมื่อเรามีแผนหรือความตั้งใจตรงนี้ อีก 10 ปีต่อไป ข้างหน้า กระบวนการเรียนรูแ้ ละความเป็นสังคมสงบเรียบง่ายจะต้องเกิดขึน้ เพราะเราเชือ่ มัน่ ว่า การใช้แนวทางแบบพอเพียงจะเป็นการสร้างกำลังภายในเพื่อต้านทานหรือเป็นภูมิคุ้มกัน กระแสความเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่ๆ จากข้างนอกได้ เราใช้กลุม่ กิจกรรม กรรมการชุมชน เข้ามาเป็นแนวร่วมกับเทศบาล ใช้พลังชุมชนตรงนี้ เป็ น กลไกในการขั บ เคลื่ อ นร่ ว มกั น เพราะลำพั ง เทศบาลเองไม่ พ อทั้ ง ด้ า นกำลั ง คนหรื อ

ปริก


งบประมาณ เราจึงต้องมีพลังส่วนร่วมของกลุ่มชาวบ้านมาหนุน และสร้างกระบวนการที่เป็น ระบบร่วมกัน ทั้งนี้ เรื่องการศึกษา เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในวิสัยทัศน์ของทางเทศบาล ซึ่งมีทั้งใน และนอกระบบ โดยวางแนวการเรียนรู้เอาไว้ในรูปแบบที่เรียกว่า 8+2 คือ นอกจากความรู้ ทั่วไปแล้ว ยังต้องเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนเข้าไปอีกสองส่วน ไม่ว่าจะเป็น เรื่ อ งศาสนา ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ต ำบลปริ ก มี แ บบผสมผสานกั น ระหว่ า งวิ ถี พุ ท ธและมุ ส ลิ ม เรื่ อ ง สิ่งแวดล้อม เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเอง รวมทั้งการออกไป แลกเปลี่ยนศึกษาดูงานตามที่ต่างๆ เพื่อมาต่อยอดการทำงานภายใน โดยรูปธรรมของสิง่ ทีก่ ล่าวไป อาทิ ทางเทศบาลปริกมีโรงเรียนทีเ่ ปิดสอนถึงชัน้ มัธยม 1 และมีเป้าหมายจะเปิดชั้นเรียนเพิ่มไปเรื่อยๆ ให้ได้ปีละชั้นจนถึงมัธยม 6 เพื่อให้เด็กมีโอกาส เข้าถึงการศึกษา รวมทั้งเรายังสนับสนุนการเรียนในสายอาชีพด้วย เราต้องเตรียมพร้อมเด็กไปสู่อุดมศึกษาก็ได้ สายอาชีพก็ได้ ซึ่งกำลังติดต่อกับวิทยาลัย เทคนิคการอาชีพ เพราะเห็นตัวอย่างจากทางเยอรมนีที่ใช้การศึกษาแบบทวิภาคี หรือทำงาน ไปด้วยเรียนไปด้วย และสามารถเข้าสู่กระบวนการรองรับทางอาชีพ เพราะฐานะของคนใน ตำบลปริกเองก็ไม่ได้ร่ำรวยมากมาย การเรียนสายอาชีพจึงเป็นการช่วยพ่อแม่อีกทางได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ทางตำบลปริกตระหนักถึง นั่นคือ การรับมือภัยพิบัติที่ มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นในอนาคต สิ่งที่ต้องทำ คือการพยายามสร้างเครือข่ายการจัดการอย่าง มีส่วนร่วม และเครือข่ายต้องมีหลายระดับตั้งแต่ชุมชน อำเภอ กระทั่งต่างพื้นที่ เพื่อที่ว่า เมื่อ เกิดเหตุการณ์ขึ้นเราจะสามารถช่วยกันได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากรัฐเพียงอย่างเดียวซึ่ง จะลดความสูญเสียได้ ในระยะยาว นอกจากการสร้างเครือข่ายเพื่อรับมือสถานการณ์เฉพาะหน้าแล้ว การ อนุวัติตามหลักสากลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมยังเป็นเป้าหมายของท้องถิ่นเล็กๆ ของเราด้วย เพราะทรัพยากรธรรมชาตินั้นอยู่คู่กับเทศบาลตลอด ตำบลปริกต้องเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ เป็น เมืองที่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่หลุดกรอบนานาชาติ ตรงนี้ต้องอยู่ในโจทย์ของการพัฒนา ของเรา เช่น การเป็นเมืองต้นไม้ การมองหาพลังงานทางเลือก การบริโภคอาหารปลอดภัยบน พื้นฐานของการผลิตเอง การสร้างธนาคารอาหาร (Food Bank) ระดับชุมชนหมู่บ้าน การ จัดการขยะเป็นปุ๋ยหรือเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีได้ก็ด้วยตัวเราเอง สำหรับท้องถิ่นแล้ว เราตระหนักแน่ว่า รัฐส่วนกลางไม่อยากให้มีการกระจายอำนาจที่แท้จริง 266 | หวัง ตั้ง มั่น


แต่ทำไปเพื่อให้ต่างชาติเห็นว่า เป็นประเทศประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยแบบรัฐส่วนกลาง ไม่เคยแตะถึงพื้นจริงๆ อำนาจยังคงอยู่ที่ส่วนกลางและภูมิภาค กระบวนการกระจายอำนาจที่เราต้องการเห็น จึงเป็นรัฐที่ให้ความสำคัญกับการสร้าง พลังชุมชนท้องถิ่น ที่ไหนทำได้ต้องเปิดโอกาสและสนับสนุน ไม่ใช่ดึงอำนาจกลับ รัฐต้องปล่อย วางอำนาจแบบรวมศูนย์ ให้ท้องถิ่นวางโจทย์ของตัวเองได้ และต้องได้รับงบประมาณตามที่ รัฐธรรมนูญวางไว้ ถึงวันนี้ ตำบลปริกเดินทางตามแนวทางที่วางกันไว้มา 10 ปีแล้ว หากจะทบทวน บทเรียนความเข้มแข็งจากระยะเวลาที่ไม่มากไม่น้อยนี้ เราบอกได้ว่า ตอนนี้ตำบลปริกก้าวพ้น จากการแบมือขอมาแล้ว แม้ในสังคมไทย ปัจจัยเรื่องภาวะผู้นำยังจำเป็น แต่ก็เชื่อว่า ถึงผมจะ ไม่อยู่ในตำแหน่งแล้ว แกนนำชุมชน ภาคประชาชนก็จะผลักดันต่อไปได้ ซึ่งถ้าผู้มาทำต่อ

ไม่ เข้ า ใจก็ อ าจมี ผ ลกระทบบ้ า ง แต่ เชื่ อ ว่ า พลั ง ที่ ฟู ม ฟั ก กั น มาเป็ น 10 ปี จ ะทานได้ หรื อ

อย่างน้อยก็ไม่เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างแน่นอน ตอนนี้เราเดินมาได้ถึงร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่วางไว้แล้ว เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 267


มหามัติ มะจะ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

มันเป็นความสุขทีค่ อ่ ยๆ ขยายตัวขึน้ หลังจากพืน้ ทีน่ ้ี ถูกจำกัดความสุขมานาน เพราะปัญหาความไม่สงบ

มะน


มีวันนี้ ได้ เพราะพลังเครือข่าย มะนังดาลำเป็นพื้นที่หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ว่าจะเชื้อชาติศาสนาใด เราต่างก็มีความใฝ่ฝันจะสร้างให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ แห่งความสุขเช่นเดียวกัน การทำงานสุขภาวะเป็นอย่างหนึ่งที่ตรงกับหลักศาสนาโดยตรง ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ ต้องการจะเห็นคนในพื้นที่มีความสุข มีรอยยิ้มและแบ่งปัน โดยเบื้องต้นคนสร้างก็ต้องมีความ สุขและสามารถทีจ่ ะแบ่งปันความสุขให้กบั คนในพืน้ ทีไ่ ด้ คนทีม่ คี วามรูก้ ต็ อ้ งแบ่งปันองค์ความรู้ ต่างๆ ไปให้คนในพื้นที่ตามหลักวิถีของมุสลิม การขึ้นเป็นตำบลสุขภาวะนี้ โดยความตั้งใจในการอาสาเข้ามาแต่แรกก็คือ ต้องการ เปลีย่ นแนวคิดเรือ่ งการพัฒนาท้องถิน่ ว่า ไม่ใช่ทำงานเพียงแค่โครงสร้างพืน้ ฐานเท่านัน้ การสร้าง สุขให้แก่พนี่ อ้ งประชาชนไม่วา่ จะเป็นการสร้างอาชีพ การสร้างการมีสว่ นร่วม การสร้างวัฒนธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันก็เป็นเรื่องหนึ่งและเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยความตั้งใจและความพยายาม หลักคิดสำคัญของผมก็คือ เมื่อเป็นคนมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม วันหนึ่งภาวะผู้นำ จะต้องถูกทดสอบว่า เราได้ทำอะไรให้แก่อุมะบ้าง อุมะก็คือสหประชาชาติที่เราปกครอง เรื่องตำบลสุขภาวะเริ่มขับเคลื่อนมาประมาณ 1 ปี ก่อนหน้านั้นกระบวนการทำงาน เป็นไปในเชิงการพัฒนาสังคมเป็นส่วนใหญ่ ใช้เรื่องของการศึกษาเป็นตัวตั้งและนำไปสู่เรื่องการ

นังดาลำ


พัฒนาหลายๆ อย่าง เพราะเห็นว่าการพัฒนาพื้นที่นั้นต้องเริ่มพัฒนาคนก่อน การพัฒนาคนก็ คือการเข้าไปพัฒนาเรื่องการศึกษานั่นเอง การศึกษาทีเ่ ราทำอย่างเป็นรูปธรรมก็คอื เรือ่ ง ‘กีรออาตี’ หรือหลักในการอ่านอัลกุรอาน เป็นพืน้ ทีแ่ รกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นท้องถิน่ แรกทีเ่ ปิดการศึกษาเรือ่ งระบบกีรออาตีให้ กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียน จนนำไปสู่เรื่องการอ่านของเด็กหรือเยาวชนในพื้นที่ที่มีความเปลี่ยน แปลงค่อนข้างจะชัดเจน ส่วนในเรื่องการศึกษาในระบบ เรามีโรงเรียนของตัวเอง คือ โรงเรียนตัรบียะ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลำ ปีนี้เป็นปีแรกที่จะเปิดรับนักเรียนและจะมีการสอนใน หลักสูตรของ IBSM (Islam Best School Management) ซึ่งก็คือบูรณาการอิสลาม โดยเปิด การเรี ย นตอนเช้าตั้งแต่หกโมงครึ่ง เลิกบ่ายโมงครึ่ง คิดว่าน่าจะเป็นโรงเรียนแห่งแรกใน ประเทศไทยที่เปิดทำการลักษณะนี้ และจะมีกิจกรรมค่ายภาษาให้กับเด็กๆ ในช่วงปิดเทอม รวมทั้งมีการเปิดพื้นที่แสดงทางวิชาการให้กับเด็กๆ เยาวชนในพื้นที่ที่จะต้องออกมาแสดง นิทรรศการทักษะทางวิชาการ ไม่วา่ จะเป็นโรงเรียนตาฏีกา โรงเรียนประถมทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ ทุกคน จะมาแสดงผลงานปีละ 1 ครั้ง หลังจากที่เข้ามาขับเคลื่อนตั้งแต่สมัยแรกปี 2548 มาจนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ปีที่ 3 ของ สมัยที่ 2 รวมแล้ว 7 ปี การเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่เกิดขึ้นค่อนข้างมาก เรามีโรงเรียน มีการมีส่วนร่วม มีกลุ่มอาชีพ หลักคิดสำคัญก็คือ ชุมชนต้องแก้ปัญหาในชุมชน คนในพื้นที่ต้องช่วยกันแก้ปัญหา ใน กระบวนการในการขับเคลือ่ นทุกคนก็ตอ้ งช่วยกันทำ เราทำกันในวิถขี องเรา เรากลับเข้าไปสูเ่ รือ่ ง ทางศาสนาค่อนข้างชัดเจน และพร้อมทีจ่ ะเปิดพืน้ ทีร่ บั เครือข่ายอืน่ ทีจ่ ะเข้ามาแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ว่า นีค่ อื วิถที เี่ ราทำตามหลักของท่านศาสดามูฮมั หมัด (ซล) และการเผยแพร่ ก็คอื ส่วนหนึง่ ของ ภารกิจ มันเป็นความสุขที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้น หลังจากพื้นที่นี้ถูกจำกัดความสุขมานานเพราะ ปัญหาความไม่สงบ ภารกิจเช่นนี้กับงบประมาณที่ได้มาถามว่าพอไหม พื้นที่ของผมได้เพียง 25 ล้านบาท ต่อปีก็ย่อมจะไม่พอเพราะนอกจากต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐแล้ว ยังต้องจัดการ ตนเอง แก้ปัญหาของคนในพื้นที่ด้วย วันนี้ท้องถิ่นสามารถทำได้ทุกอย่าง ยกเว้นในเรื่องความ มั่นคงระหว่างประเทศ 270 | หวัง ตั้ง มั่น


สสส. หรือศูนย์เครือข่ายต่างๆ ลงพื้นที่มีบทบาทเป็นตัวหนุนเสริมการทำงานได้ค่อน ชัด เพราะท้องถิ่นมีข้อจำกัดเรื่องของงบประมาณ หลังจากนั้นเครือข่ายต่างๆ ก็ตามลงมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือแม้แต่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็ยังมาช่วยในเรื่อง ของงบประมาณ มาเติมเต็มในเรื่องของวิชาการและการจัดกิจกรรมต่างๆ ตำบลมะนังดาลำมาถึงวันนีไ้ ด้กเ็ พราะภาคีหนุนเสริม และทำให้การทำงานของท้องถิน่ คล่องตัวขึ้น แม้ภารกิจอาจจะเพิ่มมากขึ้น แต่เราก็ยินดี การสนับสนุนของ สสส. ทำให้เกิดการรวมกลุม่ การเพิม่ ศักยภาพของกลุม่ นำไปสูเ่ รือ่ ง รายได้ของกลุม่ โดยเฉพาะกลุม่ อาชีพต่างๆ ทีม่ อี ยู่ จนสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สามารถ ที่จะนำไปบอกกล่าวให้กับภาคีเพื่อนเครือข่ายที่เข้ามาเรียนรู้ได้ มันชัดเจนมากกว่า โครงการ ของรัฐซึ่งให้จัดทำโดยไม่มีการติดตาม ไม่มีประเมิน ไม่มีการร่วมพัฒนา เพียงแต่ลงๆ ไป จนไม่ สามารถเล็งเห็นผลลัพธ์ได้ว่ามันคืออะไร สำหรับแหล่งเรียนรู้ของตำบลมะนังดาลำนั้นมี 7 ระบบ 22 แหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ ที่น่าสนใจก็เช่น ระบบการศึกษา มีปอเนาะต้นแบบ มีโรงเรียนกีรออาตี เรื่องวัฒนธรรมลิเกฮูลู ซึ่งน่าจะเป็นที่แรกพื้นที่เดียวที่มีการอนุรักษ์ เรื่องการจัดการขยะและการมีส่วนร่วมของ เยาวชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 271


ความยั่งยืนของเรื่องดีๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราสามารถสร้างคนในพื้นที่ให้เขามี วิถี มีวิธีคิด มีความคิดด้วยตัวเขาเอง หากไปถึงตรงนั้น ‘หัว’ ก็ไม่ใช่สาระอีกต่อไป เพราะเขา จะเป็นคนเลือกหัวเอง ไม่ใช่หัวไปเลือกขบวน ที่เราทำงานได้วันนี้ หน้าที่ของเราเป็นเพียงตัวกระบวนการ ส่วนฮีดายะห์ (การชี้นำ) เป็นของพระผู้เป็นเจ้าที่จะให้มา เพราะฉะนั้นจะต้องหมั่นตรวจสอบเสมอว่า เราทำงานตรงนี้ ได้เต็มที่หรือยัง ทำด้วยจิตศรัทธาหรือไม่ ทำด้วยอิคลาส (ความบริสุทธิ์ใจ) หรือไม่ และคิดว่า เรื่องเหล่านี้คนในพื้นที่เขารับรู้ได้ว่า นายเอ นายบี นายซี เป็นคนอย่างไร เพราะฉะนั้นเขาจะ เป็นคนเลือกหัวเอง และขบวนตรงนี้จะต้องขับเคลื่อนไปจนชีวิตเราเข้าไปสู่หลุมฝังศพ

272 | หวัง ตั้ง มั่น


ถั่น จุลนวล

นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

อยากให้ภายใน อีก 10 ปี ข้างหน้า ตำบลควนรู เป็นพื้นที่เขียวขจี เป็นพื้นที่วิถีการเกษตร โดยประชาชนเป็นผู้ร่วมสร้าง

ควนรู


เมื่อเกษตรยั่งยืน จะอยู่ในข้อบัญญัติ ตำบลควนรู เรียนรู้การเป็นตำบลสุขภาวะมาตั้งแต่ปี 2552 โดยการชักชวนของ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึง่ เป็นตำบลแม่ขา่ ยทีไ่ ด้รบั การ สนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ในการพัฒนาตำบลสุขภาวะหรือที่เรียกว่า ‘23 เพื่อนเกลอ’ หลั ง จากนั้ น ก็ ท ำให้ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ข้ า มพื้ น ที่ ทำให้ ไ ด้ ค วามรู้ ใ หม่ ๆ

ขณะเดียวกันก็ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ทักษะสำคัญที่ได้จากโครงการนี้ คือการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและแกนนำในพื้นที่ การได้ เรี ย นรู้ ก ารบริ ห ารจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบและจั ด การงานที่ มี อ ยู่ ใ นตำบลให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ ซึ่งก็คือ การมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน การทำงานแบบมีส่วนร่วมของที่นี่ เริ่มที่ตัวผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. แกนนำกลุ่มองค์กรต่างๆ โดยใช้หลักการเดิน 3 ขา คือ ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชน และใช้เวที การประชุมสร้างการพบปะพูดคุยกันเดือนละ 1 ครั้ง มีการร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น ไปทัศนศึกษา ดูงานนอกพื้นที่ ฯลฯ เรื่องที่เราเน้นกันมาก คือการเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็น ประเด็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน มีกิจกรรมย่อยๆ เช่น ธนาคาร อาหารชุมชน ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง ตลาดผักพื้นบ้าน โดยดำเนินการแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักสวนครัวไว้กินเองโดยไม่ใช้สารเคมี ปลูกผักพื้นบ้านที่ หายาก ส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลผลิต นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้แล้ว ยังสามารถลด รายจ่ายในครัวเรือนได้อีกด้วย โดยใช้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแปลงสาธิตและเป็น แหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและบุคคลภายนอก ความคาดหวังของพวกเราคือ อยากให้ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า ตำบลควนรูเป็น พื้นที่เขียวขจี เป็นพื้นที่วิถีการเกษตร โดยประชาชนเป็นผู้ร่วมสร้าง ตรงนี้อาจจะมีการออก 274 | หวัง ตั้ง มั่น


เป็นข้อบัญญัติตำบลในเรื่องของการเกษตรยั่งยืน และเรื่องที่ดินทำกินทางการเกษตรเพื่อรักษา สภาพแวดล้อมที่ดีให้กับตำบล โดยจะเน้นการรักษาสภาพพื้นที่ทางการเกษตรให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ปรับให้สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ในอนาคตให้ได้ การออกข้อบัญญัตกิ เ็ พือ่ สร้างแนวทางการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมและให้เป็น ไปในทิศทางเดียวกัน หากมีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในตัวบทกฎหมาย โดยต้อง ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี (2555-2559) อันจะนำไปสู่ความ ยั่งยืนในการพัฒนาในอนาคตต่อไป ในฐานะผูบ้ ริหารท้องถิน่ เราพยายามสร้างประโยชน์เต็มทีก่ บั ประชาชนทีเ่ รารับผิดชอบ แม้ว่าการกระจายอำนาจในทางปฏิบัติยังเต็มไปด้วยปัญหา ไม่ว่าจะเป็นความซ้ำซ้อนในการ ทำงานของหน่วยงานอืน่ ๆ ความไม่คล่องตัวในการบริหารทัง้ เรือ่ งงบประมาณ ระเบียบกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง งบประมาณที่เป็นสัดส่วนของท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามเป้าที่ได้กำหนดไว้ในแผนการ กระจายอำนาจ หากมีการจัดสรรงบประมาณน้อยและภารกิจที่ถ่ายโอนมีมากขึ้น ก็จะเป็นการ เพิ่มภาระของท้องถิ่นมากขึ้น และจะไม่สามารถบริหารงานสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่าง เต็มที่ แต่เราก็จะเดินหน้าทำหน้าที่ต่อไป และพยายามทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมทั้ง ยึดหลักความพอเพียง พยายามทำให้ตำบลของเรายืนอยู่ให้ได้ด้วยลำแข้งตนเอง เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 275


ชูสินธุ์ ชนะสิทธิ์

นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

จนถึงตอนนี้ เทศบาลสามารถจัดการศึกษา ตัง้ แต่ศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก การศึกษานอกโรงเรียน และวิทยาลัย มีเด็กจบเป็นรุน่ ที่ 2 แล้ว และสามารถเข้าศึกษาต่อ ระดับมหาวิทยาลัยได้

เขาห


ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ 2 วัฒนธรรม จนถึงตอนนี้เทศบาลสามารถจัดการศึกษาตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การศึกษานอก โรงเรียน และวิทยาลัย มีเด็กจบเป็นรุน่ ที่ 2 แล้ว และสามารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ เทศบาลตำบลเขาหัวช้างมีอัตลักษณ์พิเศษคือ มีทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65 นับถือศาสนาอิสลาม พืน้ ทีเ่ ทศบาลเขาหัวช้างค่อนข้างใหญ่มาก ราว 170 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพืน้ ทีเ่ ป็น ป่าต้นน้ำบริเวณเทือกเขาบรรทัด ทำให้มีความหลากหลายของระบบนิเวศวิทยาภูเขามาก ส่วน พื้นที่ที่ชุมชนใช้ทำมาหากินมีประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา ส่วนที่ เหลือจะเป็นรับจ้าง ทำสวนผลไม้ หรือทำนาเพื่อการบริโภค สภาพของชุมชนก็มีความเป็นอยู่ไม่เหมือนที่อื่น เป็นการอยู่ร่วมกันบนสังคมที่มีความ แตกต่างทางศาสนา แต่กม็ คี วามเชือ่ มโยงทางสังคมในลักษณะเครือญาติ เพราะคนทัง้ 2 ศาสนา เป็ น เครื อ ญาติกันตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน นี่ก็คือภาพรวมของพื้นที่ที่มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ในตอนแรกคนในพื้นที่ดำเนินงานกันอยู่ในหลายเรื่อง หลายประเด็น โดยเฉพาะในมิติ ทางด้านสังคมวัฒนธรรม ไม่ว่าเพื่อรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

หัวช้าง


เรื่องการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพเสริมนอกเหนือจาก การกรีดยาง เป็นต้น แต่ทุกกลุ่มก็ต่างคนต่างทำ และทำกันอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีความ เป็นเอกภาพ ทางเทศบาลได้รวบรวมกลุ่มองค์กรต่างๆ เหล่านี้ที่ก่อตัวขึ้นในพื้นที่ไว้แล้วเพื่อเตรียม ทำเทศบาลต้นแบบเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แต่เมื่อทางเทศบาลได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการตำบลสุขภาวะกับ เทศบาลตำบลปริก ก็ประจวบเหมาะกับเราที่มีทุนทางสังคมอยู่ ทำให้สามารถขับเคลื่อนไป ด้วยกันได้ อีกทัง้ ยังเห็นว่าเป็นโครงการทีม่ ปี ระโยชน์ จึงร่วมศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการ การดำเนินงานทุกอย่างทางเทศบาลตำบลปริกให้การช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยง หลังจากนั้นก็ได้ รวบรวมสิ่งต่างๆ พัฒนาขึ้นเพื่อก้าวไปสู่ตำบลสุขภาวะ เป้าหมายของเรา ต้องการทำเรื่องของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เรื่อง การเกษตร และเรื่องวัฒนธรรม กลยุทธ์ทใี่ ช้คอื การสร้างกิจกรรมขึน้ มา เช่น การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ การสร้างวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันของสองศาสนา เรื่องระบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมนี้ ในอีกส่วนหนึ่งจะมุ่งเป้าไปสู่เรื่อง ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน การใช้เงินทองอย่างมีเหตุผลและอยู่ ด้วยความพอประมาณ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักของตำบลสุขภาวะ และสามารถก่อประโยชน์ที่ เรามุ่งหวังไว้ คือ 1) รักษาดูแลวัฒนธรรมให้คงอยู่ 2) เรื่องของการดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ 3) ในเรื่องของวิถีชุมชนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะเน้นเรื่องของการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีชุมชนเป็นผู้จัดการ ท่องเที่ยวและประสานไปกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือเครือข่ายการท่องเที่ยวที่อยู่ ในภูมิภาค หรือในจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ภายนอก เรื่องนี้เป็นเรื่องการเชื่อมร้อยระหว่างชุมชนด้วย กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวนี้จะรักษาระบบนิเวศวิทยาในพื้นที่ไว้โดย ไม่เน้นสิง่ ปลูกสร้าง ไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม แต่จะพยายามดูแลทรัพยากรธรรมชาติและให้ความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กับการท่องเที่ยว ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาในพื้นที่ประสบปัญหาการบุกรุก ทำลายเพื่อเป็นแหล่งเพาะปลูก ทำสวนยางพารา หรือแม้กระทั่งการการตัดไม้เพื่อมาทำบ้าน 278 | หวัง ตั้ง มั่น


เรือนและขาย ในช่วงหลังมีความพยายามแก้ปัญหาโดยการจัดการดูแลรักษาป่า มีการจัดตั้ง ชมรมอาสาป้องกันป่าที่เกิดขึ้นจากชุมชน ตรงนี้ทำให้องค์กรภายนอกเริ่มสนใจมาศึกษาเรียนรู้ เนื่องจากยังมีโครงการอื่นๆ เกิดขึ้นตามมาอีก เช่น โครงการธนาคารน้ำที่มีตัวเก็บน้ำถึง 400500 ตัว มีบางส่วนก็เข้ามาเที่ยวป่า มาดูพืชสมุนไพร เรือ่ งเหล่านีเ้ ป็นเรือ่ งทีพ่ นื้ ทีค่ ดิ และดำเนินการเอง ซึง่ ยังคงมีปญ ั หาทีก่ ารบริหารจัดการ งบประมาณที่ได้จากส่วนกลาง เพราะแนวนโยบายจากส่วนกลางก็ใช่ว่าจะสอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชนไปทั้งหมด นอกจากค่าใช้จ่ายประจำอย่างเบี้ยผู้สูงอายุหรือเงินเดือน ปัญหา ส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ ‘งบพัฒนา’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติ การระบายน้ำ ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาเรือ่ งถนนหนทาง บางเรือ่ งไม่ได้เกิดจากความต้องการของชุมชนโดยแท้จริง แต่สว่ นกลาง กลับจัดโครงการมาลงในพื้นที่ ในขณะที่โครงการที่ชุมชนต้องการจริงๆ ไม่ได้รับการจัดสรรลง มา หรือบางครั้งหน่วยงานอื่นที่มีงบประมาณลงมาให้กลับไม่ได้ศึกษาผลกระทบที่มีต่อชุมชน เช่น การจัดการเรื่องน้ำ หน่วยงานบางหน่วยงานมาสร้างฝายกั้นน้ำ ในช่วงน้ำหลาก ฝายนี้ก็จะ กลายเป็นฝายกั้นทำให้น้ำท่วมบ้านของประชาชน เทศบาลเองก็ได้เสนอไปว่า แต่ละโครงการที่ลงมาในพื้นที่ ต้องคุยกันนอกรอบก่อนว่า จะทำอะไร และจะต้องคุยในระดับชุมชนด้วย โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เป็นคนช่วยดูแล ให้ชี้เป้าว่า แต่ละโครงการควรจะออกแบบอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 279


ส่วนการทำงานกับ สสส. นั้น สิ่งสำคัญที่เห็นได้อย่างชัดเจนหลังจากการร่วมงานกัน คือ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อันเป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรม อีกทั้งยังมีโอกาสพัฒนา องค์ความรู้ด้านที่เรายังไม่มี เช่น การจัดการศึกษาโดยชุมชน เราเริ่มแนวทางนี้มากขึ้น มีการ ย้ายการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เข้ามาอยู่ในเทศบาล และต่อยอดการศึกษานอกระบบโดย ติดต่อกับวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีพทั ลุง ให้นำคณะอาจารย์เข้ามาสอนในเทศบาล จนถึงตอนนี้เทศบาลสามารถจัดการศึกษาตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การศึกษานอกโรงเรียน และวิทยาลัย มีเด็กจบเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว และสามารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ พัฒนา ความรู้ในการประกอบอาชีพได้ แนวคิดเหล่านี้ได้มาจากการที่เราไปศึกษาจากที่อื่นโดยการ สนับสนุนของ สสส. นอกจากนี้ ยั ง เป็ น หลั ง พิ ง ที่ ท ำให้ ท้ อ งถิ่ น มี ค วามมั่ น ใจมากยิ่ ง ขึ้ น ในการตั ด สิ น ใจ ดำเนินการในพื้นที่เพื่อให้เกิดสุขภาวะในด้านต่างๆ ก้าวแห่งการเริ่มต้นนี้เป็นก้าวสำคัญ และโครงการต่างๆ จะเป็นรูปธรรมที่ตอบคำถาม เรื่องความยั่งยืนได้ด้วยตัวของมันเอง หากประสบความสำเร็จ ไม่ว่านายกฯ คนไหนเข้ามาก็คง เดินหน้าสานต่อแนวคิดเหล่านี้ต่อไป

280 | หวัง ตั้ง มั่น


ธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

เรามีศูนย์เรียนรู้จำนวนมาก มีเป้าหมายเพื่อที่จะทำข้อมูล ทรัพยากรทั้งตำบล แล้วนำมาจัดทำผังชุมชน เราตั้งใจจะเขียน แผนอนาคตของชุมชนว่า เรามีทรัพยากรเท่าไร ใช้ไปปีละเท่าไร

บ่อหิน


ขยายโครงการดีๆ จากจุดเริ่ม ‘ดูแลฐานทรัพยากร’ ตำบลบ่อหินมีประชากรประมาณ 6,000 กว่าคน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มี 2 ส่วนการ ปกครอง คือเทศบาลตำบลสิเกา และ อบต.บ่อหิน ประชากรนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 70 และนั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลามประมาณร้ อ ยละ 30 อาชี พ ส่ ว นใหญ่ จ ะทำการเกษตรและ ประมง เพราะมีทั้งพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก และที่ราบชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมี

4 หมู่บ้านฝั่งตะวันตกของตำบลที่ติดกับทะเลอันดามันตลอดแนว จึงสามารถพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวได้ในอนาคต สิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ คืออยากจะจัดการตำบลด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย จึงได้ เกิดโครงการพลังชุมชนท้องถิน่ เพือ่ จัดการตนเองขึน้ เบือ้ งหลังแนวคิดนี้ เพราะเห็นว่าเจตนารมณ์ ของการกระจายอำนาจจากรัฐบาลสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นก็เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ จัดการดูแลและทำอะไรหลายอย่างที่เคยเป็นภาระหน้าที่ของรัฐส่วนกลาง ให้ประชาชนมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความใฝ่ฝันนี้ไปกันได้กับการขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ โดยในพื้นที่เราเน้นมากเรื่อง ของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่น จนเกิดกระบวนการร่วมคิดร่วมทำ เกิด กระบวนการขับเคลื่อน คนต้องช่วยตัวเองก่อนที่จะให้คนอื่นมาช่วย เราดำเนินการกันมาตั้งแต่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำตำบลและเป็นผู้จัดการแผน ของตำบล เราต้องการสร้างความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอกาสในการประกอบอาชีพ ความเป็นอยู่ การเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เรื่องเหล่านี้ทำให้คนอยู่ในสภาวะเป็นสุขได้ ด้วยความที่ดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 3 จึงทำให้ค่อนข้างมีความต่อเนื่องในการ ทำงานพอสมควร จึงจะขอลองยกตัวอย่างโครงการเด่นๆ ในพื้นที่ เช่น เรื่องของการจัดการ ทรัพยากร เรื่องนี้มาจากฐานคิดที่ต้องการทำให้ทุกครัวเรือนมีที่อยู่ที่มั่นคงและมีที่ดินทำกิน เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ เนือ่ งจากความสุขของครอบครัวอยูท่ เี่ ศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม ของครอบครัว

282 | หวัง ตั้ง มั่น


เรือ่ งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอยูใ่ นระบบการเรียนรูห้ นึง่ ของ ตำบล เรามีศนู ย์เรียนรูจ้ ำนวนมาก โดยเฉพาะเรือ่ งของการจัดการดิน น้ำ ป่า ทะเล มีเป้าหมาย เพื่อที่จะทำข้อมูลทรัพยากรทั้งตำบลแล้วนำมาจัดทำผังชุมชน เราตั้งใจจะเขียนแผนอนาคต ของชุมชนว่า เรามีทรัพยากรเท่าไร ใช้ไปปีละเท่าไร อีก 20 ปี ประชากรของตำบลจะเพิ่มขึ้น เท่าไร และจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้อยู่กับทรัพยากรได้ เช่น มีน้ำพอสำหรับบริโภค ป่าหรือที่ สาธารณะจะมีอยู่แค่ไหน ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรนั้น เราจะพบว่า การจัดสรรที่ดินยังไม่มี ความเป็นธรรมกับทุกคน บางคนมองว่าทีด่ นิ เป็นของส่วนรวม แต่บางคนก็มองว่าเป็นทีด่ นิ ของรัฐ ใครก็สามารถยึดครองได้ สิ่งที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น คือคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะได้ครอบครอง แต่คนที่ทำตามกฎหมายจะไม่กล้าเข้าไปยึดครองก็ทำให้เสียสิทธิ ส่วนทรัพยากรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน การอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล เราสามารถให้ ความรู้กับประชาชนได้ว่า การใช้ทรัพยากรของชาติ ไม่อาจมุ่งแต่เรื่องรายได้เพียงอย่างเดียว แต่ ต้องมองเรื่ องการฟื้นฟูการพัฒนา การเรียนรู้ด้วย เพื่อที่ทรัพยากรจะอยู่คู่กับเราและ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรเหล่านั้นได้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นอกจากนี้

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 283


เรายังสามารถสร้างความยั่งยืนได้ด้วยการปลูกฝังกลุ่มเยาวชนให้เกิดความรักและหวงแหน ทรัพยากร โดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนชายฝั่ง วันนี้พวกเขารู้แล้วว่า หากอนุรักษ์ป่าชายเลนไว้ ก็จะเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สมบูรณ์ในอนาคตซึ่งจากการจัดการ ทรัพยากร ยังนำไปสู่ระบบเรียนรู้ระบบอื่น เช่น เรื่องเศรษฐกิจชุมชนด้วย บ่อหินมีเอกลักษณ์เรื่องของการออม และมันก็ได้พัฒนาจากการออมไปสู่รูปแบบ อื่นๆ เช่น มีการรวมกลุ่มรับซื้อน้ำยางสดเพื่อรวบรวมไปขายโรงงานในราคาสูง แทนที่จะขาย ให้เฉพาะพ่อค้าคนกลาง แล้วนำผลกำไรมาแบ่งให้สมาชิก การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ทุกหมู่บ้าน มีการจัดตั้งกลุ่มข้าวสาร มีสถาบันการเงินที่พัฒนามาจากกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งสถาบันนี้ต่อไปจะ พัฒนาให้ครอบคลุมทั้งตำบลเพื่อจะได้เป็นแหล่งทุนในอนาคต สำหรับภาคีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมดำเนินการ ท้องถิ่นก็ยินดีต้อนรับทั้งนั้น ไม่ว่าจะ เป็น สสส. ส่วนราชการต่างๆ หรือกระทั่งบริษัทเอกชน ประโยชน์ที่ได้รับ คือความสะดวกใน การพัฒนา หรือข้อมูลทางวิชาการต่างๆ แต่เราก็ไม่ได้มองเรือ่ งของงบประมาณเพียงอย่างเดียว หากแต่ ม องเรื่ อ งความเชื่ อ มโยงกั บ เครื อ ข่ า ย การสร้ า งองค์ ค วามรู้ ต่ า งๆ เพื่ อ นำไปสู่ ก าร เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน ถ้าเราทำแบบนี้แล้วก็ทำให้เกิดความร่วมมือใน ชุมชน และไปกระตุ้นให้เกิดการอยากที่จะพัฒนาในพื้นที่ด้วย

284 | หวัง ตั้ง มั่น


สินธพ อินทรัตน์

นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

แนวคิดเรื่องระบบสุขภาพนั้น ต้องมองทั้งคนและสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างต้องคิดแบบองค์รวม และในการปฏิบัติการ ก็ต้องใช้วิธีการทำงานที่ ส่งเสริม ‘แกนนำชุมชน’ ให้เป็นตัวอย่างทุกเรื่อง

ท่าข้าม


ยุคใหม่พัฒนา เน้นสร้างแกนนำจิตอาสา ตำบลท่าข้าม อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีประชากร ประมาณ 9,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีฐานะปานกลาง ลักษณะสังคม เป็นแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท เนื่องจากเป็นพื้นที่ชานเมืองหาดใหญ่ จึงมีความเจริญแผ่ขยายมาถึง การเข้าร่วมในโครงการตำบลสุขภาวะนั้น เริ่มมาจากการเชิญชวนของสมาคมองค์การบริหาร ส่วนตำบลแห่งประเทศไทยที่มุ่งหวังให้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารแนวใหม่ เสริมแนวคิด เสริมกระบวนทัศน์ โดยประชุมร่วมกันกับเทศบาลเมืองปากพูน และกำนันธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เลขาธิการสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นกำนันธีรศักดิ์ ดำรง ตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อที่เพชรบุรีด้วย รวมทั้งแกนนำท้องถิ่น ต่างๆ ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนในด้านวิชาการจาก สสส. เมื่ อ ประมาณปี 2542-2546 การบริ ห ารจั ด การท้ อ งถิ่ น ยั ง ขึ้ น อยู่ กั บ กองบริ ห าร ราชการส่ ว นตำบล สั ง กั ด กรมการปกครอง ภารกิ จ ส่ ว นใหญ่ ยั ง เป็ น เรื่ อ งการสั่ ง การและ โครงสร้างพื้นฐาน จนเมื่อได้ทำงานกับ สสส. ซึ่งเน้นการทำงานโดยยึด ‘คน’ เป็นตัวตั้ง ทำให้ ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้มาสนใจเรื่องสุขภาพ เกษตรยั่งยืน ความน่าอยู่ ของชุมชน เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ต้องใช้การขับเคลื่อนเรื่องเป็นหลัก ทำให้คนมีความรู้รอบด้าน ไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่ง ชุมชนจึงจะน่าอยู่ เรียกว่าเป็นการเกิดมิติใหม่ในตำบล มีการมองทุกเรื่อง ให้เป็นองค์รวม แทนที่การบริหารแบบเก่าที่เน้นแต่การบริหารแบบภาพใหญ่ แต่ไม่เป็นระบบ เช่น แนวคิดเรื่องระบบสุขภาพนั้น จะต้องมองทั้งคนและสิ่งแวดล้อมด้วย ทุกอย่าง ต้องคิดแบบองค์รวมทัง้ สิน้ และในการปฏิบตั กิ ารก็ตอ้ งใช้วธิ กี ารทำงานทีจ่ ะต้องส่งเสริม ‘แกนนำ ชุมชน’ ให้เป็นตัวอย่างทุกเรื่อง มุ่งพัฒนาแกนนำเป็นอันดับแรก สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงจัดกิจกรรมเสริมมากกว่าพัฒนาคนทั้งตำบลในคราวเดียวกัน และได้ใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคน อบต.ท่าข้ามมีจุดอ่อนในเรื่องรายได้ เพราะมีรายได้ไม่เกิน 23 ล้านบาท ทั้งรายได้ที่ จัดเก็บเองและภาษีจดั สรร จึงต้องใช้งบประมาณจากแหล่งอืน่ ๆ เข้ามาเชือ่ มโยงด้วย โดยลำพังแล้ว 286 | หวัง ตั้ง มั่น


อบต.ท่าข้ามไม่มีศักยภาพเพียงพอต่อการบริหารจัดการกับนโยบายสาธารณะที่มีมากมาย รอบด้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำงานโดยไม่มีวันหยุด และต้องประสานงานกับ หน่วยงานภายนอก ต้องยึดความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ผ่านเวทีการพูดคุยใน ชุมชน หากหน่วยงานใดมาดำเนินการในพืน้ ทีแ่ ต่ไม่ได้เชือ่ มโยงประสานงานกับท้องถิน่ และไม่ได้ เป็นความต้องการของประชาชน ตำบลท่าข้ามก็ต้องต่อรองกับหน่วยงานนั้น เพื่อหาข้อสรุปที่ เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรล้วนแต่มีแผนงาน มีปฏิทินงานเป็นของ ตนเองอยู่แล้ว และใช้ อบต.ท่าข้าม เป็นฐานในการเคลื่อนงาน หลังจากผลักดันและพัฒนาคนจึงได้เกิดแกนนำในแต่ละด้านเพิ่มมากขึ้น สามารถใช้ ‘กลไกจิตอาสา’ ในการขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้ถึง เทคนิคต่างๆ เพิ่มเติม และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นหลังของชุมชนได้ เกิดการพัฒนา แกนนำไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสานต่อการพัฒนาที่ได้วางรากฐานไว้ และในส่วนของผู้บริหาร อบต. คนต่อๆ ไป ก็จะสามารถนำข้อมูลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา มากำหนดเป็นประเด็น นโยบายของท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง แต่หากไม่นำสิ่งเหล่านี้ มาใช้และต่อยอดในการพัฒนา ก็ถือว่าเป็นการสูญเปล่า

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใตัตอนล่าง | 287



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.