คู่มือเส้นทางการเรียนรู้การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการจัดการขยะโดยชุมชน

Page 1

¤Ù‹Á×Í “àÊŒ¹·Ò§¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ ¡ÒÃà¾ÔèÁ¾×é¹·ÕèÊÕà¢ÕÂÇáÅСÒèѴ¡ÒâÂÐâ´ÂªØÁª¹”

Green & Waste »ÃСͺ¡ÒÃàÃÕ¹Ãٌ㹧ҹ àÇ·Õ¿„œ¹¾ÅѧªØÁª¹·ŒÍ§¶Ôè¹ÊÙ‹¡ÒÃÍÀÔÇѲ¹»ÃÐà·Èä·Â¤ÃÑ駷Õè 4 »ÃШӻ‚ 2557

“ ¾ÅѧªØÁª¹·ŒÍ§¶Ôè¹Ã‹ÇÁÊÌҧ¹Çѵ¡ÃÃÁ ¡ÒèѴ¡ÒÃÊØ¢ÀÒÇÐâ´ÂàÍÒ¾×é¹·Õè໚¹µÑǵÑé§ ”

1



การจัดงาน เวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำ�ปี 2557 “พลังชุมชนท้องถิน่ ร่วมสร้างนวัตกรรม การจัดการสุขภาวะโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง” ในปีน้ี เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิน่ น่าอยู่ ได้ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง สถานการณ์ สำ � คั ญ ที่ ชุ ม ชน ท้องถิ่นประสบอยู่ นอกจากความเสี่ยงด้าน สุขภาพทั้ง 10 มิติ ตามที่ทราบโดยทั่วกันใน เครือข่ายฯ แล้ว ยังพบว่าสถานการณ์ในพืน้ ที่ มี ป ระเด็ น ที่ สำ � คั ญ ทั้ ง ด้ า นความไม่ มั่ น คง ทางอาหาร ที่มาจากพื้นที่การผลิตน้อยลง อัตราการซื้ออาหารจากนอกชุมชนมีสูงขึ้น ส่งผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจาก ความไม่ปลอดภัยของอาหาร พื้นที่การผลิต ในเขตไร่นา กลับไม่เพียงพอและไม่เอื้อต่อ การจัดการอาหารของชุมชน จึงพบว่ามีหลาย ชุมชนพยายามคิดค้น และส่งเสริมให้ครัวเรือน ในพื้นที่หันมาผลิตอาหารไว้บริโภคในระดับ ครอบครัว ทั้งการปลูกผักในพื้นที่ขนาดเล็ก ข้างบ้าน (สวนผักข้างบ้าน) การปลูกผักในล้อ ยางรถยนต์ การปลูกผักแนวตั้ง การปลูกผัก


ในพื้นที่สาธารณะเช่น ริมถนน รวมทั้งการ อนุรักษ์ป่าชุมชนให้ทำ�หน้าที่เป็น ซุปเปอร์ มาเก็ต (คลังอาหาร) ของคนในชุมชน ทีส่ ามารถ เข้าไปหาอาหารจากธรรมชาติมาบริโภคได้ แนวทางดังกล่าวจึงเรียกโดยรวมว่า “การเพิ่ม พืน้ ทีส่ เี ขียว” ซึง่ มีทง้ั ในระดับครอบครัว ชุมชน และ พื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ การพัฒนาในระดับพื้นที่ ที่มาพร้อมการบริโภคสมัยใหม่ ก่อให้เกิด ปัญหาขยะล้นชุมชน ทัง้ ทีม่ าจากสินค้าอุปโภค และบริโภค ปัญหานี้กำ�ลังทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้น การค้นหาวิธีใน “การจัดการขยะแบบ ครบวงจร” จึงเป็นกระบวนการเรียนรูท้ ส่ี �ำ คัญ เนื่องจากในบางท้องถิ่นต้องมีภาระหน้าที่ โดยตรงในการจัดการขยะ เช่น ท้องถิ่นที่มี สถานะเป็นเทศบาล รวมทั้งท้องถิ่นที่เป็น องค์การบริหารส่วนตำ�บล ที่ต้องเร่งคิดหา มาตรการในการจัดการเพื่อให้ปัญหาขยะ อยู่ ใ นระดั บ ที่ ค วบคุ ม และจั ด การได้ อั น จะ ทำ�ให้สามารถลดงบประมาณ ลดการจัดการ ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพและสิ่ ง แวดล้ อ ม ด้วยการใช้กิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำ�นึก ให้มีการคัดแยก เพื่อนำ�ไปสร้างรายได้ หรือ นำ�ไปประดิษฐ์สิ่งของใช้ในครอบครัว


ในงานครั้งนี้จึงได้จัดพื้นที่การเรียนรู้ ทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการจัดการในรูปแบบต่างๆ ของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ รวมทั้งการได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากข้อมูลต่างๆ เพื่ อ สร้ า งความตระหนั ก โดยใช้ ห ลั ก การ “จัดการตนเอง จัดการกันเอง และการสร้าง การมีส่วนร่วม” เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นของเรา น่าอยู่ต่อไป

ชื่อมั่นว่าเราทำ�ได้ ธัญญา แสงอุบล กุมภาพันธ์ 2557



1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว แนวคิด ปัจจุบันเรากำ�ลังเสี่ยงต่อความไม่มั่นคง ทางอาหารมาก ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งของเกษตรกร ทีอ่ ายุเฉลีย่ สูงขึน้ พืน้ ทีเ่ กษตรลดน้อยลง มีการ ปลูกพืชพลังงานมากขึ้น มีการใช้สารเคมีสูง ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม และสภาพ ภูมิอากาศก็เปลี่ยนแปลง ยังไม่นับเรื่องภัย คุ ก คามจากระบบการผลิ ต อาหารแบบ อุตสาหกรรม ซึ่งถูกครอบครองโดยบริษัท ขนาดใหญ่ การทำ�เกษตรในเมือง ไม่ว่าจะ เป็นการทำ�สวนผักในชุมชน หรือการปลูก ผักกินเองที่บ้าน ก็ถือเป็นหลักประกันสำ�คัญ ที่แม้ว่าอาหารจะขาดแคลน หรือราคาแพงขึ้น เพียงใด เราก็ยังมีอาหารที่ปลอดภัยไว้กิน อย่างพอเพียง อีกทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วย คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากการผลิต อาหารด้วยตนเองในระดับครัวเรือนในพื้นที่ ขนาดเล็กแล้ว ในระดับชุมชนยังมีพื้นที่ สาธารณะ หรือพื้นที่ว่างเปล่าที่คนในชุมชน

5


สามารถใช้พื้นที่ร่วมกันในการสร้างอาหาร ทั้งการปกป้องอาหารในธรรมชาติ เช่น การ อนุรกั ษ์ทรัพยากรในป่าชุมชน การปลูกป่าเพิม่ เพื่อสร้างความหลากหลาย หรือที่เรียกว่า “ซุปเปอร์มาเก็ตชุมชน” รวมทั้งการใช้พื้นที่ สาธารณะริมถนน หรือทีร่ กร้างให้คนในชุมชน ทำาแปลงผักร่วมกัน ทำาให้ชุมชนสามารถ พึง่ ตนเองและมีอาหารที่ปลอดภัยบริโภคได้ á¹Ç·Ò§ จัดการเรียนรู้ โดยการถ่ายถอดความรู้ ทัง้ แนวคิดและเทคนิคในการเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียว ที่มีรูปธรรมที่ชัดเจน โดยมีแนวคิดคือ“เขียว กินได้ ไร้สาร” และจัดนิทรรศการมีชีวิต “บ้ า นและสวนแบบชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น น่ า อยู่ ” โดยการแสดงนิทรรศการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

6


ดำ�เนินการโดยการจัดแสดงการเพิ่มพื้นที่ สีเขียว 3 ระดับ ทั้งในระดับ โรงเรียน ชุมชน และพื้นที่สาธารณะ วัตถุประสงค์ ถ่ายทอดการเรียนรูผ้ า่ นการจัดนิทรรศการ สิง่ มีชวี ติ โดยนำ�เอาสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงมาจัดแสดง เพือ่ ให้เห็นแนวทางในการจัดการ การเกิดขึน้ จริง ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นจริงโดย การเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวในโรงเรียน การเพิม่ พืน้ ที่ สีเขียวในชุมชนและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในพืน้ ทีส่ าธารณะ สร้างการเรียนรูโ้ ดยการจัด การเรียนรู้เป็น 3 เมนู ตามระดับของการ จัดการ ดังนี้ เมนูที่ 1 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครัวเรือน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครัวเรือนเป็น การส่งเสริมการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยน ทัศนะคติในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้ สำ�หรับบริโภคในครัวเรือน การเพิ่มรายได้

7


ในครัวเรือนและช่วยส่งเสริมให้บริโภคผักที่ ปลอดสารเคมี นอกจากนีย้ งั เป็นการปรับปรุง ภู มิ ทั ศ น์ ข องบ้ า นเรื อ นให้ ส วยงามและยั ง ก่อให้เกิดประโยชน์การใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ การช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของ ผู้ว่างงานหรือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามบ้าน เรือนได้มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกทำา ทำาให้ สภาพจิ ต ใจผ่ อ นคลายและแจ่ ม ใสมากขึ้ น ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ที่ 1 สวนผักคนเมือง - การปลูกผักสวนครัวในรูปแบบต่างๆที่ ใช้ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น และมีพื้นที่จำากัด

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 สวนครัวรั้วกินได้ - การปลูกพืชโดยมีวัตถุประสงค์ ป้องกัน ภัยขโมยเป็นเป้าหมายหลักโดยมีผลผลิตที่ เกิดขึ้นเป็นเป้าหมายรอง เช่น การปลูกพืช สาธิต

8


เมนูที่ 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เป็นการ ปรั บ เปลี่ ย นและใช้ ป ระโยชน์ พื้ น ที่ อั น เป็ น สาธารณะ อันได้แก่ โรงเรียน วัด สถานที่ ราชการ สถานที่สาธารณะ เป็นต้น จากไม้ ประดั บ ให้ เ ป็ น พื ช ผั ก สวนครั ว ที่ ส ามารถ บริโภคได้และเพือ่ การเรียนรู้ ด้านการเกษตร แก่ ป ระชาชนและเยาวชนในโรงเรี ย นและ สถานที่สาธารณะ นอกจากนั้นการมีพื้นที่ สีเขียวในเขตชุมชน ทำ�ให้บรรยากาศโดยทัว่ ไป ดูร่มรื่น สวยงาม ลดความแข็งกระด้างของ สิ่งปลูกสร้าง ลดความตึงเครียดทางจิตใจ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนไม่ว่าจะ อยู่ในรูปแบบใด ต่างก็มีประโยชน์มากมาย ฐานการเรียนรู้ที่ 1 สวนผักในโรงเรียน - แสดงการส่งเสริมและการให้ความ ร่วมมือระหว่าง อปท. กับโรงเรียนจนเกิด รูปแบบการพัฒนาการเกษตร จนสามารถ ขยายผลไปยังครอบครัวได้ ฐานการเรียนรู้ที่ 2 หมู่บ้านน่ามอง - การส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน ผลิตอาหารด้วยการจัดทำ�โครงการที่ทำ�ให้

9


คนทั้งชุมชนร่วมกันทำ� เช่น การส่งเสริมให้ ปลูกผักในล้อยาง หรือการประกวดหน้าบ้าน น่ามอง สวนกินได้ เมนูที่ 3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ สาธารณะ พืน้ ทีร่ กร้างว่างเปล่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณะ พืน้ ทีร่ กร้างว่างเปล่า เป็นการปรับปรุงภูมทิ ศั น์ ในพื้ น ที่ ส าธารณะให้ มี ค วามสวยงามและ ปลอดภัยไม่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า สัตว์ มีพิษ รวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อคนชุมชน ที่สามารถใช้เป็นแหล่งอาหาร และสร้าง ผลกระทบทางอ้อมในการแก้ปัญหาในการ จัดการสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้หรือ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ รกร้างว่างเปล่า และยังเป็นการช่วยลดการ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนและยังส่งเสริมให้มีการ ปลูกป่าเพิ่มมากขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มีมาก ยิ่งขึ้น

10


ฐานการเรียนรู้ที่ 1 การใช้ประโยชน์พื้นที่ สาธารณะเพื่อการเพาะปลูก - สาธิตการปลูกพืช การคัดเลือกพันธุ์ พืชให้เหมาะสมกับพื้นที่สาธารณะก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การปลูกพืชเพื่อจัดการ สิ่งแวดล้อม สาธิตผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นพื้นที่สีเขียว และทำ�ให้สภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหามีการ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น กิจกรรมรณรงค์ จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้ และสาธิตวิธีการง่ายในการเพิ่มพื้นทีส่ ีเขียว ในชุมชน ประกอบด้วย 5 ชุดกิจกรรมรณรงค์ ดังนี้ 1) เรือ่ งยายเมีย้ นยอดหญิงสตรีเหล็ก ให้ความรู้ในการการจัดการพื้นที่สีเขียวของ ในครัวเรือน มีการแนะนำ�ปัญหาสารเคมี ตกค้างในผลผลิตการเกษตรโดยเฉพาะพืช ผักสวนครัว

11


2) เรือ่ งปลูกผักไดมากกวาอาหาร ยาย เมี้ยนเล่าให้หมอฟังเกี่ยวกับผลพลอยได้ ที่ปลูกผัก คือ การออกกำาลังกาย 3) เรือ่ งโรงเรียนของหนู เป็นการจัดการ พื้นที่สีเขียวของในชุมชน แนะนำาประโยชน์ การปลูกผักในโรงเรียน 4) เรือ่ งปาละเมาะสูค รัวชุมชน เป็นการ จั ด การพื้ น ที่ สี เขี ย วของในพื้ น ที่ ส าธารณะ แนะนำาปัญหาพื้นที่รกร้าง และเป็นอันตราย มาเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ 5) เรือ่ งตนแคกําจัดขยะ การจัดการ พื้นที่สีเขียวของในพื้นที่สาธารณะ เป็นเรื่อง ปัญหาขยะ ที่มีคมมาทิ้งริมทางเสมอ แต่คน ในชุมชนช่วยหาทางแก้ปญ ั หา คือ ปลูกต้นไม้ แล้วทำาให้คนไม่กล้าทิ้งขยะ

12


2. การรณรงค์การจัดการขยะ แนวคิด สร้างจิตสำานึกและให้ข้อมูลการจัดการ ขยะแต่ละชนิด มีจุดรับแลกขยะ และการ สร้างรูปธรรมให้ปรากฏอย่างชัดเจน สร้าง กระบวนการใน 2 ส่วน คือ การสร้างจิตสำานึกในการลดขยะจาก ต้นทาง ทำาให้เห็นแนวคิดการลดปริมาณขยะ จากการเริ่มต้น คือ เราสามารถทำาให้ขยะ น้อยลงได้ด้วยการคิดทุกครั้งที่ซื้อ วิธีการ นำาเสนอข้อมูลสินค้าแต่ละชนิด และหลังจาก เกิดขยะแล้วมีมูลค่าเท่าไหร่ และการแสดงวิธีการจัดการขยะแบบ ครบวงจร Zero Waste โดยกำาหนดให้มี การสอนการคัดแยกขยะทัง้ ในระดับครัวเรือน องค์กร ชุมชน รวมทั้งกระบวนการสาธิต และ นำาผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมทดลองจัดการขยะ ด้วยตนเองเพื่อสร้างความเข้าใจและการนำา ไปใช้ได้อย่างครบวงจร

13


วัตถุประสงค์ เพือ่ สร้างกระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการ ขยะแบบครบวงจรอย่างเป็นรูปธรรมส่งผล ให้สามารถนำ�ไปปรับใช้ในพื้นที่จริง กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยเมนู การเรียนรู้ทั้งหมด 5 เมนู โดยการแสดงให้ เห็ น ตั้ ง แต่ เริ่ ม ต้ น ของการสร้ า งขยะและ มาถึ ง จุ ด สิ้ น สุ ด ของขยะเพื่ อ ให้ ข ยะมี เ หลื อ น้อยที่สุด อันประกอบด้วยแนวทางดังนี้ เมนูที่ 1 คิดก่อนใช้ (คิดใหม่ทำ�ใหม่) การลดขยะสามารถลดได้ดว้ ยตัวเราเอง โดยก่อนจะทิ้งขยะควรหยุดคิดสักนิดว่าจะ สามารถลดปริมาณขยะ หรือนำ�ขยะกลับมา ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ แนวคิดที่น่าสนใจ คือการเปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ได้ทำ�ตาม กระแสแต่อย่างเดียว เช่น การซือ้ สินค้าทีผ่ ลิต จากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการลด การใช้ทรัพยากรและใช้เท่าที่จำ�เป็นหรือนำ� มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้ถุงผ้า

14


หรือตะกร้าหวาย เลิกง้อถุงพลาสติก ใช้กล่อง ข้าว หรือปิน่ โต ลดการใช้โฟมใช้แก้วน้�ำ ส่วนตัว งดใช้แก้วที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง พยายาม อย่าใช้กระดาษสิ้นเปลือง ควรพิมพ์และถ่าย เอกสารเท่าที่จำ�เป็น จะช่วยลดการตัดต้นไม้ และลดพลังงานในการผลิตได้ ลดเว้นขอบ กระดาษลง สามารถใช้พื้นที่กระดาษเพิ่ม ได้มากขึ้น ทานอาหารให้เต็มอิ่ม อย่าเหลือ ทิ้งขว้าง เพื่อจะได้ไม่ไปปะปนกับขยะทั่วไป แล้วจัดการยาก จะช่วยลดขั้นตอนและลด พลังงานในการกำ�จัดขยะ ฐานการเรียนรู้ แสดงให้เห็นถึงมูลค่าสินค้า และมูลค่าบรรจุ ภัณฑ์ ก่อนและหลังจากการใช้เพื่อทำ�ความ เข้าใจในการลดปริมาณขยะตั้งแต่คิดจะซื้อ สินค้า

15


เมนูที่ 2 ขยะทองคำา (ขยะมีมูลค่า) การจัดการขยะด้วยวิธีการคัดแยกเป็น วิธีการแก้ปัญหาขยะที่ทุกคนสามารถทำาได้ โดยการนำ า มาใช้ แ ละจั ด การคั ด แยกขยะ อย่างเป็นระบบ โดยคัดแยกขยะมูลฝอยออก เป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และ ขยะอันตราย และดำาเนินการรีไซเคิลครบวงจร อย่างมีประสิทธิภาพ ถือหลักการกำาจัดขยะ จากแหล่งกำาเนิดต้นทาง ลดปริมาณขยะ และนำากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเรียกว่า ขยะรีไซเคิล เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน อีกด้วย

16


บางพื้นที่มีการทำาโครงการชุมชน ปลอดขยะ (Zero Waste) การจัดตั้งศูนย์ คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำาหมักจากขยะ อินทรีย์ “ชุมชนไร้ถัง” โดยเดิมทีนั้น มีการ จัดเก็บขยะโดยภาคเอกชนแล้วเกิดปัญหาขึ้น มากมาย จึงดำาเนินการยกเลิกระบบถังขยะ ยกเลิกการเก็บค่าขยะ และเน้นหนักมาตรการ ทางสังคม ให้สมาชิกในชุมชนร่วมมือกันลด ขยะและคัดแยกขยะแทนการพึง่ พาเทคโนโลยี และธนาคารขยะ รวมทั้งการนำาวัสดุเหลือใช้ มาใช้ใหม่เพื่อทำาให้ชุมชนได้รับประโยชน์ สูงสุด และสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน มากกว่าการสร้างรายจ่ายด้านการจัดการขยะ

17


ทำาให้ท้องถิ่น หรือชุมชนสามารถนำาเงินไป พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ได้ โดยการ สร้างการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ช่วยกันทำาอย่างพร้อมเพียงสร้างแรงจูงใจ ด้านรายได้ให้กับประชาชนในการร่วมกัน คัดแยกขยะ จากบ้านเรือนเพื่อลดปริมาณ ขยะที่ ต้ อ งนำ า ไปบำ า บั ด และกำ า จั ด ให้ เ หลื อ น้อยที่สุด โดยการสร้างตลาดชื้อ - ขายขยะ รีไซเคิลในชุนชน มีการกำาหนดสถานที่ หรือ จุดนัดพบในชุมชนที่เดินทางได้สะดวก หรือ ศูนย์รับแลกเพิ่มมูลค่าขยะ กำาหนดนัดหมาย การนำ า ขยะมารวบรวมเพื่ อ นำ า ไปขายหรื อ รวบรวมไปกำาจัด โดยให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและชุมชนมีการหารือ และสมัครใจ ดำาเนินการร่วมกันสร้างเสริมธุรกิจรีไซเคิล

18


หรื อ การแปรรู ป ใช่ ใ หม่ โ ดยสนั บ สนุ น ผู้ ประกอบการให้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบ จากวัสดุรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้น และพัฒนา วิธีการนําขยะมูลฝอยมาแปรรูปเพื่อนํากลับ มาใช้ประโยชน์ (Recycle) ฐานการเรียนรู้ จัดการเรียนรูใ้ นการการคัดแยกขยะทีโ่ รงเรียน เพือ่ สร้างจิตสำ�นึกให้แก่เด็ก จนมาถึงกิจกรรม ของผู้ใหญ่ในชุมชน คือ การจัดการธนาคาร ขยะ และศูนย์ลดโลกร้อน ที่เน้นการให้ความ สำ�คัญของข้อมูลการจัดการขยะที่ส่งผลกระ ทบต่อการใช้พลังงาน

เมนูที่ 3 ขยะชีวภาพ (ขยะเพื่อการเกษตร) ปริมาณขยะในครัวเรือนแต่ละวันมี องค์ประกอบหลายอย่าง ที่สามารถจัดการได้ และในองค์ประกอบของขยะเหล่านั้น ก็มีขยะ อินทรีย์ปะปนอยู่ด้วย ขยะเหล่านี้มีทั้งส่วนที่ ย่อยสลายได้ง่าย ย่อยสลายยาก ประมาณ ครึ่ ง หนึ่ ง ของขยะที่ เ กิ ด จากชุ ม ชนเป็ น ขยะ

19


อินทรีย์ที่สามารถนำากลับมาใช้ได้ ได้แก่ พวก เศษอาหาร เศษใบไม้ เป็นต้น ขยะเหล่านี้ จะเน่าเสียได้ง่าย (ย่อยสลายง่าย) เพราะมี จุลินทรีย์ต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็น ตัวการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทั้งยังมีน้ำาและ ความชื้ น ของขยะสู ง เป็ น ตั ว ช่ ว ยเร่ ง ในการ ย่อยสลายที่ดี และจากกระบวนการย่อยสลาย ของจุลินทรีย์ตามธรรมชาตินี้เอง จึงเหมาะสม ในการนำามาหมักทำาปุ๋ยนำามาใช้ประโยชน์ ภายในชุมชนได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายชุมชนได้ดำาเนินงาน คัดแยกขยะสด (เปียก) ออกจากขยะประเภท อื่ น ๆโดยการจั ด ให้ มี ถั ง เพื่ อ รองรั บ ขยะ ประเภทนี้ และเก็บรวบรวมมาใช้ประโยชน์ ในการทำาน้ำาหมักชีวภาพ การนำามาผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ และขยะประเภทเศษไม้ หรือ เปลือกผลไม้ที่ย่อยยาก ก็นำามาเผาด้วยเตา เผาถ่านประสิทธิภาพสูง จึงทำาให้สามารถ กำาจัดขยะกลุ่มนี้ให้สามารถเกิดประโยชน์ ต่อไปได้

20


ฐานการเรียนรู้ ทำ�การจัดการเรียนรู้โดย การให้ความรู้ในการทำ�ปุ๋ยอินทรีย์จากขยะสด จากการเลี้ยงไส้เดือนโดยการให้ย่อยสลาย เศษอาหารจากครัวเรือน และสามารถได้ ปุ๋ยอินทรีย์ประสิทธิภาพสูงใช้ในการเกษตร เพื่อลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรใน ชุมชน นอกจากนั้นมีการให้ข้อมูลและวิธี การจัดการขยะที่ย่อยสลายยากด้วยเตาเผา ถ่านประสิทธิภาพสูงและได้น้ำ�ส้มควันไม้ ที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ทำ�ให้ชุมชน (เกษตรกร) สามารถทำ�การผลิตอาหารที่ ปลอดภัยได้ เมนูที่ 4 ขยะเพิ่มมูลค่า (ประดิษฐ์ของใช้จากขยะ) ในแต่ละวันจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวน นับร้อยล้านตัน แต่เราสามารถกำ�จัดขยะได้ เพียงวันละไม่กี่สิบล้านตันเท่านั้น (ข้อมูลจาก กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) จึงมีขยะที่เหลือ

21


ตกค้ า งรอการกำ � จั ด อยู่ เ ป็ น จำ � นวนมาก แม้จ ะมี พื้ น ที่ ที่ จั ด ไว้ เ พื่ อ รองรั บ ขยะแต่ก็ ไม่ เ พี ย งพอกั บ ปริ ม าณขยะที่ เ พิ่ ม ขึ้ น อย่ า ง รวดเร็ว เราสามารถสร้างความสำ�คัญและ ประโยชน์ของการคัดแยกขยะ โดยอาจจะ เริม่ จากภายในโรงเรียนก่อน เมือ่ นักเรียนรูจ้ กั แยกขยะและทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางแล้ว ก็จะ ทำ�ให้โรงเรียนดูสะอาดสะอ้าน มีบรรยากาศ ที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ และเมื่อเริ่มต้นจาก ในโรงเรียนได้ผลดีแล้วก็สามารถขยายผลไป ยังชุมชนต่อไปได้ การให้ความสำ�คัญกับการทำ�ตลาด เป็น อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม การใส่ใจกับตัว ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ ว ยการออกแบบจะช่ ว ยเพิ่ ม ศักยภาพการแข่งขันได้อย่างแท้จริง และให้ คนหั น มาเห็ น คุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ จ าก วัสดุเหลือใช้มากขึ้น เกิดประโยชน์ขึ้น คือ ขายได้และสร้างจิตสำ�นึกดีถึงกัน โดยการ ออกแบบสิ่งเหลือใช้เหล่านั้น เพื่อเปลี่ยนจาก ขยะให้เป็นชิ้นงานใหม่ และสามารถทำ�เงินได้ ด้วยการลดปริมาณขยะ ไม่ใช่เพียงแค่แก้ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่สามารถ

22


สร้างรายได้เพิ่มจากของที่มีอยู่ โดยเฉพาะ ช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง และที่สำาคัญอาจทำาให้ งานออกแบบของเมืองไทยมีความแตกต่าง ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกระแสรักษ์โลกกำาลัง เป็นที่นิยมในขณะนี้ การพัฒนาเรือ่ งการออกแบบ มีส่วน สำาคัญอีกประการ เพราะพฤติกรรมคนซื้อ ไม่ ว่ า คนไทยหรื อ คนต่ า งชาติ ต้ อ งการ ผลิตภัณฑ์ดี มีคุณภาพ มีสไตล์ และราคาถูก ต้นทุนจากวัตถุดบิ เรามีราคาถูก เป็นการสร้าง มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ารนำ า วั ส ดุ รีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ เช่น เศษไม้จากการ ก่อสร้าง สามารถนำามาทำาเฟอร์นิเจอร์ได้ ถุงใส่เมล็ดกาแฟในร้านขายกาแฟสามารถ นำามาทำากระเป๋า กล่องนมสามารถนำามา ทำาโต๊ะ ขี้เลื่อยสามารถทำาเป็นธูป หรือ

23


แม้แต่การดัดแปลงของใช้ง่ายๆ ในบ้าน เช่น การนำ�ขวดโหลกาแฟมาล้างทำ�ความ สะอาดและใช้เป็นขวดโหลใส่ของ ฐานการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนรู้ และสร้างรายได้แก่ครัวเรือน และ ชุมชน เช่น การผลิตตะกร้า หมวก จาก กล่องนม การผลิตของใช้หรือของตกแต่งจาก วัสดุเหลือใช้

เมนูที่ 5 จุดจบของขยะ (เตาเผาขยะเพื่อลดมลพิษ) การเผาขยะเป็นกระบวนการสุดท้าย ที่ ชุมชนหรือท้องถิ่นควรจะทำ� เมื่อได้รณรงค์ และการสร้ า งกระบวนการคั ด แยกแล้ ว ปริ ม าณขยะที่ ต้ อ งกำ � จั ด จะเหลื อ น้ อ ยกว่ า ร้อยละ 40 เท่านั้น ชุมชนท้องถิ่นที่ต้อง

24


จั ดการขยะเองจะสามารถลดภาระในการ จัดการได้มาก โดย สามารถลดงบประมาณ ลดการใช้พื้นที่ในการจัดการขยะ ลดมลพิษ ในชุมชน และสามารถทำ�ให้คนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เมื่อการเผาเป็นวิธี สุดท้ายที่เราจะทำ� ขนาดและวิธีเผาจึงเป็นสิ่ง ที่ต้องใช้ความรู้ในการจัดการ เตาที่ มี ก ารออกแบบมาเป็ น พิ เ ศษเพื่ อ ให้ เข้ากับลักษณะสมบัติของ ขยะ คือมีอัตรา ความชื้นสูง และมีค่าความร้อนที่แปรผันได้ การเผาไหม้จะต้องมีการควบคุมที่ดีเพื่อจะ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด มลพิ ษ และการรบกวน ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ก๊าซพิษ เขม่า กลิ่น เป็นต้น ก๊าซซึ่งเกิดจากการเผาไหม้จะได้รับ การกำ�จัดเขม่าและอนุภาคตามที่กฎหมาย ควบคุม ก่อนที่จะส่งออกสู่บรรยากาศ ขี้เถ้า ซึ่งเหลือจากการเผาไหม้ ของขยะที่ส่งเข้า เตาเผา จะถูกนำ�ไปฝังกลบหรือใช้เป็นวัสดุ ปูพื้นสำ�หรับการสร้างถนน ส่วนขี้เถ้าที่มี ส่วนประกอบของโลหะอาจถูกนำ�กลับมาใช้ ใหม่ได้ นอกจากนัน้ ในบางพืน้ ที่ ทีม่ ปี ริมาณ ขยะอยูม่ าก สามารถทีจ่ ะนำ�พลังงานความร้อน

25


ที่ได้จากการเผาขยะมาใช้ในการผลิตไอน้ำา หรือทำาน้ำาร้อน หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ประโยชน์หลักที่ได้รับจากการเผาไหม้ขยะ มูลฝอยในเตาเผาได้แก่การนำาเอาพลังงาน ที่มีอยู่ในขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยการเผาทำ า ลายขยะมู ล ฝอยในเตาเผา สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทน จากหลุม ฝังกลบ และสามารถใช้ทดแทน เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ นอกจากนี้ยังเป็นการลด การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมด้วย ซึ่งกระบวนการจัดการต้องสอดคล้องกับปัญ หาและศักยภาพในการบริหารจัดการของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

26


ฐานการเรียนรู้ จะทำ�ให้เรียนรู้ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการจัดการขยะด้วยเตาเผาไร้มลพิษ ซึง่ เป็น เตาเผาขนาดเล็ก พร้อมกันเรียนรู้การนำ�ขยะ มาผลิตพลังงาน ที่มีการทำ�อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบนั ซึง่ เหมาะสมกับท้องถิน่ ทีม่ ปี ริมาณ ขยะจำ�นวนมากพอ ชุดกิจกรรมรณรงค์ จัดกิจกรรมรณรงรงค์เพือ่ สร้างจิตสำ�นึก และสาธิตวิธีการง่ายในการจัดการขยะ หรือ นำ�ขยะมาใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ประกอบ ด้วย 5 ชุดกิจกรรมรณรงค์ ดังนี้ 1) เก็บถุงไว้ใช้ เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนรู้ที่มาเข้าร่วม สามารถทำ�ได้ง่ายและสามารถนำ�ไปใช้ได้ จริงในชีวิตประจำ�วันโดยมีการสาธิตขั้นตอน การกระบวนการพับถุงพลาสติก ที่เหลือจาก การจับจ่ายซื้อของ เพื่อให้สามารถนำ�มาใช้ ใส่สิ่งของต่างๆ ตามต้องการได้อีก

27


2) สาธิตของประดิษฐ์จากขยะ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ของใช้จากขยะ และสิ่งเหลือใช้ในรูปแบบต่างๆ มาสาธิตวิธี การทำาในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เช่น การประดิษฐ์กระเป๋าจากกล่องนม อื่นๆ

3) เกมคัดแยกขยะ เล่นเกมคัดแยกขยะหลากหลายประเภท ที่เป็นขยะแห้ง ได้แก่ ขวด กระดาษ ถุง พลาสติก เป็นต้น โดยให้ผู้เข้าร่วมเก็บขยะ ที่กระจายอยู่ใส่ตะกร้าของตัวเอง แล้วนำามา คัดแยกใส่ถังที่เตรียมไว้ให้ตามประเภทขยะ ให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 1 นาที นำาขยะ ที่เก็บมาชั่งกิโลตามประเภทขยะ นำาน้ำาหนัก ที่ได้มาคิดเป็นราคา โดยอ้างอิงตามราคา ประเภทขยะที่อยู่ในบอร์ดนิทรรศการ

28


ตัดสินเกมส์โดยรวมผลมูลค่าราคาขยะที่เก็บ มาได้ ใครมีมูลค่าราคาขยะมากที่สุดถือเป็น ผู้ชนะ และมอบของที่ระลึกแก่ผู้ชนะ และ ตัวแทนผู้ร่วมเล่นเกมส์ 4) แฟชั่นโชว์ชุดขยะ รณรงค์เรื่องการจัดการขยะ และมี กิจกรรมรณรงค์ทอ่ี ยากให้เกิดการเรียนรู้ และ ตระหนักถึ ง ปั ญ หาขยะและช่ ว ยกั น จั ด การ ขยะ 5) ชุดละครหน้าขาวคิดก่อนทิ้ง รณรงค์เพือ่ สร้างจิตสำ�นึกในการจัดการ ขยะ และแสดงให้เป็นถึงปัญหาของขยะ เรือ่ ง ที่ 1 ขยะเดินเองไม่ได้ และ เรือ่ งที่ 2 นายบรรทม

29


30

กําหนดการ รณรงค “เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดขยะ เพิ่มการเคลื่อนไหวทางกาย (Green&Waste-PA )” ระหวางวันที่ 1 – 3 มีนาคม พ.ศ.2557 ณ ศูนยนิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร


31


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.environnet.in.th/ , สวนผักคนเมือง และ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ (สสส.สน. 3) ผู้ดำ�เนินการ - นางธัญญา แสงอุบล และนักวิชาการ ศูนย์สนับสนุนทางวิชาการเพื่อขับเคลื่อน เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นภาคอีสาน (ศวภ.อีสาน) - นายไพโรจน์ พวงทอง และคณะ องค์การบริหารส่วนตำ�บลสมอแข อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สนับสนุนโดย สำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน. 3 ) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.)

32


บันทึก ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... .................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... .................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... ...................................................................... 33


34


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.