aw_jombung.indd 1
สุขคดีที่
จอมบึง
8/14/13 5:03:56 PM
aw_jombung.indd 2
Healthy Planet
สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้
สุขคดีที่จอมบึง
โดย สร้อยแก้ว คำมาลา
พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2556 ISBN 978-616-7790-24-4
บรรณาธิการอำนวยการ ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) องค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง ผู้จัดการ เนาวรัตน์ ชุมยวง ภาพประกอบ ธันยนันท์ ฉัพพรรณรังษี พิสูจน์อักษร จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ออกแบบปกและรูปเล่ม วัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org
8/14/13 5:03:59 PM
aw_jombung.indd 3
8/14/13 5:04:02 PM
aw_jombung.indd 4
คำนำ
ท่ า มกลางกระแสวิ ก ฤตเศรษฐกิ จ โลกครั้ ง ใหญ่
เป็นประวัตกิ ารณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดคำถามว่า วิกฤตนี้ จะใหญ่ขึ้นอีกเพียงใด จะยืดเยื้อขนาดไหน และวิกฤตนี้จะส่ง ผลกระทบต่อสังคมไทย ชุมชน หมู่บ้านไทยมากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หากปัจจุบัน ชุมชน หมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบการผลิตเพื่อขาย นั ก วิ ช าการหลายๆ ท่ า นได้ วิ เ คราะห์ ถึ ง ระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ในระบบทุนนิยมยังคงมีอีก ระบบดำรงอยู่ ใ นลั ก ษณะคู่ ข นาน นั่ น คื อ ระบบเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน หรื อ อาจจะกล่ า วเป็ น ศั พ ท์ ส มั ย ใหม่ ไ ด้ ว่ า ระบบ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดีต ชุมชน หมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เน้น ความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต มีการช่วย เหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเป็นพื้นฐานของชีวิต มีพิธีกรรม ต่างๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชน และให้ความสำคัญต่อ บรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่ อ มา หลั ง จากรั ฐ และระบบทุ น นิ ย มได้ เข้ า ไปมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ชุ ม ชน การผลิ ต เชิ ง เดี่ ย วและลั ท ธิ บ ริ โ ภคนิ ย ม ทำให้ชาวบ้านมีรายจ่ายที่เป็นตัวเงินมากขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ สิ่งที่ทำลายความเข้มแข็งของชุมชน มากที่สุด คือการที่รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจาก ชุมชน หมู่บ้าน ยิ่งรัฐและทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู่บ้านไทย ยิ่งประสบความอ่อนแอมากยิ่งขึ้น
8/14/13 5:04:06 PM
aw_jombung.indd 5
คำพูดดังกล่าวไม่ใช่ คำพูดลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐาน รองรับ ยิง่ เมือ่ กวาดตาไปทัว่ แผ่ น ดิ น ไทยหลั ง การประกาศ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และ สั ง คมแห่ ง ชาติ ม ากว่ า 50 ปี จะมี สั ก กี่ ชุ มชนที่คนในชุมชน ไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่ประสบปัญหาสิง่ แวดล้อม หรื อ ไม่ ป ระสบปั ญ หา สุขภาพ จากสถานการณ์ ดังกล่าว ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ สั ง คมไทยควรกลั บ มา เน้ น การพั ฒ นาที่ ไ ม่ ม องแต่ มิติของการสร้างมูลค่าและกำไร หรือการตลาดด้านเดียว แต่ควร จะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน และสังคม เราไม่ควรลดทอนผู้คนลงไป เป็นเพียงตัวเลข หากควรส่งเสริม ศักยภาพและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ คำตอบสำหรั บ คำถามข้ า งต้ น นี้ คงจะต้องช่วยกันค้นหา ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลา นานเท่าไร คณะผู้จัดทำ
8/14/13 5:04:10 PM
aw_jombung.indd 6
ต อ น ที่ 1
รู้จัก
จอมบึง
8/14/13 5:04:13 PM
aw_jombung.indd 7
8/14/13 5:04:16 PM
aw_jombung.indd 8
8/14/13 5:04:19 PM
aw_jombung.indd 9
อาการตื่ น เต้ น กั บ การต้ อ งเดิ น ทางแต่ เช้ า
ทำเอานอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน เวลานี้ฉันจึง ง่วงจัด สะลึมสะลือ แสงแดดยามเช้าที่เพิ่งทอดฉาย จากฟากฟ้าผ่านท้องทุ่งระหว่างทาง แม้งามตาแต่ก็
ไม่อาจสะกดเปลือกตาที่หรู่หลุบให้ลืมตามองต่อไปได้ ฉันหลับไปทั้งที่แสงแดดสวยมาสะกิดแขนสะกิดไหล่ ปล่อยให้ร่างกายได้ผ่อนพักชั่วขณะ เมื่ อ ลื ม ตาอี ก ครั้ ง ก็ เ ห็ น ป้ า ยบอกทางแยกไป อำเภอจอมบึ ง พอดี คนขั บ แท็ ก ซี่ ไ ม่ รู้ ท างไปอำเภอ จอมบึง ทั้งคนโดยสารและพลขับจึงต้องอาศัยการถาม จากข้างทาง แต่ก็ไม่ยากเกิน จากแยกจังหวัดราชบุรีไป อำเภอจอมบึง เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร เท่านั้น แม้จะได้งีบเพียงชั่วเวลาสั้นๆ แต่ก็ทำให้รู้สึก สดชืน่ ขึน้ ฉันมองสองข้างทางทีเ่ ป็นป่า ต้นไม้ เป็นระยะๆ สุขคดีที่จอมบึง |
8/14/13 5:04:19 PM
aw_jombung.indd 10
เห็นภูเขา ยิง่ ได้เห็นภูเขามากขึน้ เท่าไหร่หวั ใจก็ยงิ่ พองโต การได้เข้าใกล้ธรรมชาติมันเหมือนเป็นกลไกอัตโนมัต ิ ที่มักมาพร้อมกับความสงบ ปลอดโปร่ง หายใจโล่ ง
ลมหายใจเข้า-ออกก็ผ่อนช้าลง อำเภอจอมบึ ง อยู่ ห่ า งกรุ ง เทพฯ เพี ย ง 133 กิ โ ลเมตร ใช้ เ วลาเดิ น ทางชั่ ว โมงกว่ า ๆ ก็ ถึ ง แล้ ว ธรรมชาติทเี่ ห็นทำให้รสู้ กึ ว่า การจะเดินออกมาหาความ สงบ เป็นที่ผ่อนพักกายใจหาไม่ยากและไม่ได้อยู่ไกล เมืองหลวงเลย
10 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:04:23 PM
aw_jombung.indd 11
คิ ด แล้ ว ก็ อ ดคิ ด ถึ ง ที่ ม าของชื่ อ จอมบึ ง ไม่ ไ ด้
แต่ก่อนพื้นที่ที่เรียกจอมบึง ไม่ได้ชื่อจอมบึง (พื้นที่นี้อยู่ ในหมู่ ที่ 10 บ้ า นแสนกระบะ) แต่ ชื่ อ ท้ อ งทุ่ ง ชาตรี
อันเนื่องมาจากบริเวณนั้นเป็นสมรภูมิรบระหว่างไทย กั บ พม่ า ซึ่ ง เมื่ อ พม่ า ทานกำลั ง ไม่ ไ หวก็ แ ตกหนี ทั้ ง
กองหน้าและกองหลวง ภายหลังสงครามเก้าทัพแล้ว
ท้องทุ่งแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า ท้องทุ่งชาตรี
สุขคดีที่จอมบึง | 11
8/14/13 5:04:27 PM
aw_jombung.indd 12
จากนั้นมาจนปี พ.ศ.2438 (รศ.114) ครั้นเมื่อ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำจอมพล และทรงได้ทอด พระเนตรบึ ง ที่ ท้ อ งทุ่ ง ชาตรี จึ ง ตรั ส ว่ า “นี่ ห รื อ บึ ง สวยงามดี ต่อไปจะเจริญ ต่อไปให้เรียกว่า จอมบึง” ด้ ว ยเหตุ นี้ ท้ อ งทุ่ ง ชาตรี จึ ง เปลี่ ย นชื่ อ มาเป็ น ‘จอมบึง’ ทีน่ ปี่ รากฏการค้นพบหลักฐานเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่กำหนดอายุได้ไม่น้อย กว่า 4,000 ปี กระจัดกระจายอยู่โดยรอบทุ่งจอมบึง เริม่ ต้นด้วยคนสมัยหินใหม่ตอนต้น พบขวานหินกะเทาะ ที่บ้านหนองบัว วังมะเดื่อ วัดจอมบึง หนองบ้านเก่า บ้านเกาะนอก และบ้านปากบึง ตำบลจอมบึง นอกจากนี้ ที่เนินชัฏหนองคา ริมทุ่งจอมบึง มีร่องรอยขวานหิน กะเทาะ ขวานหินขัด ของผู้คนสมัยหินจนถึงสมัยโลหะ ตอนปลาย จนได้รับเอาวัฒนธรรมจากคูบัวและเขางู พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนสมัยทวารวดีเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ตำบลจอมบึงจึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญตั้งแต่ สมั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ต้ น ประวั ติ ศ าสตร์ ท วารวดี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 และในสมัยของ ฯพณฯ จอมพล 12 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:04:27 PM
aw_jombung.indd 13
ผิน ชุณหะวัณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ผู้ เ ปิ ด ป้ า ยกิ่ ง อำเภอจอมบึ ง เมื่ อ วั น ที่
1 มีนาคม พ.ศ.2497 เพียงประวัตศิ าสตร์ของจอมบึงก็มคี วามเย้ายวนใจ พอทีจ่ ะให้เราเดินทางมาเยือนยลแถบถิน่ นีแ้ ล้ว ยังมิตอ้ ง นับถึงธรรมชาติปา่ เขา ทีม่ องไปแล้วก็เพลินตา สบายใจ หากกระนัน้ สิง่ ทีม่ ากกว่าการเดินทางเพือ่ ผ่อนพักกายใจ และทำให้ฉันเดินทางมาถึงที่นี่ก็เป็นเพราะว่า ที่ตำบล จอมบึงมีสิ่งที่มากกว่าคำว่า การท่องเที่ยว ตำบลจอมบึงที่ฉันกำลังมุ่งหน้าไป นอกจากจะ ทำให้ ฉั น ได้ เ ยื อ นแหล่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ล้ ว มิ ติ ข อง สุขคดีที่จอมบึง | 13
8/14/13 5:04:31 PM
aw_jombung.indd 14
สังคม การจัดการแหล่งเรียนรู้ แหล่งศึกษาชุมชนใน ปัจจุบันก็นับว่าน่าสนใจยิ่ง แดดอ่อนสาดส่องใบไม้สองข้างทาง เมือ่ นึกถึงว่า ฉันกำลังจะได้พบใครและเรื่องราวอันใดในเวลาอีกไม่
กี่นาทีข้างหน้านี้ก็พาให้ตื่นเต้น ก็ความขี้ตื่นเต้นนี้ไงเล่า ที่เล่นเอาฉันนอนไม่หลับทั้งคืนจนต้องมานั่งสัปหงกบน แท็กซี่ เอาเถอะน่า ได้งีบไปหนึ่งงีบแล้ว ไม่เพียงแต่ ทำให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น ฉันยังรู้สึกว่า พร้อมแล้วกับ การเรียนรู้ครั้งนี ้
14 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:04:31 PM
aw_jombung.indd 15
จอมบึง
จากกรุงเทพฯ มาอำเภอจอมบึงมีระยะทาง ประมาณ 133 กิโลเมตร โดยเส้นทางรถยนต์ จากกรุ ง เทพฯ มาราชบุ รี 100 กิ โ ลเมตร และเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอจอมบึงอีก 33 กิโลเมตร การเดินทางมาอำเภอจอมบึงที่สะดวกที่สุด คือการเดินทางในเส้นทางรถยนต์ ซึง่ สำหรับ รถโดยสารนั้ น มี ทั้ ง รถบั สและรถตู้ โ ดยสาร สำหรับรถตู้โดยสารนับได้ว่าเป็นพาหนะที่ได้ รับความนิยมที่สุด เนื่องจากมีรถออกทุกครึ่ง ชั่ ว โมง ตั้ ง แต่ เวลา 04.00 น.-20.00 น. ราคาตั๋วรถตู้ประมาณ 180 บาท
8/14/13 5:04:33 PM
aw_jombung.indd 16
ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เป็น เส้ น ทางผ่ า นไปอำเภอสวนผึ้ ง จึ ง ทำให้ ต ำบล จอมบึ ง มี ผู้ สั ญ จรไปมาอยู่ บ่ อ ยๆ มี ร ถโดยสาร เดิ นทางเข้าออกกรุงเทพฯ สะดวก ไปมาง่าย ลักษณะที่ตั้งของตำบลจอมบึงมีทั้งที่ราบเชิงเขา ภูเขา และที่ราบลุ่มลุ่มน้ำ ดังนั้น ภาคการเกษตร จึงมีทั้งการทำไร่และทำนาคละกันไปตามสภาพ ภู มิศาสตร์
ตำบลจอมบึงมีประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนมา แต่โบราณกาล กว่า 4,000 ปีมาแล้ว กระทั่งมา
8/14/13 5:04:37 PM
aw_jombung.indd 17
ถึงยุคตอนต้นรัตนโกสินทร์ กลุ่มไทยทรงดำได้ย้ายอพยพ ถิน่ ฐานจากเวียดนามเข้ามาในเมืองไทย และคนไทยทรงดำ จำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีก็ได้เคลื่อนย้ายมา ลงหลักปักฐานทีห่ มูบ่ า้ นตลาดควาย ตำบลจอมบึง จึงทำให้ คนในพื้ น ที่ ต ำบลจอมบึ ง คละเคล้ า ไปด้ ว ยกลุ่ ม คนไทย หลากหลายชาติพันธุ์ทั้งไทยทรงดำ ทั้งลาวเวียง ลาวตี ้
แต่ถงึ แม้จะมีความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ ทว่าในแง่ของ การประกอบอาชีพก็ล้วนคล้ายคลึงกัน นั่นคือส่วนใหญ่ ประกอบอาชี พเกษตรกรรม ด้วยความเป็นชุมชนโบราณในบางหมู่บ้าน และมีพื้นฐาน ทางอาชี พ การเกษตรเช่ น นี้ เ อง แหล่ ง เรี ย นรู้ ข องตำบล จอมบึงจึงเป็นเรื่องของการเกษตรและวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการเกษตรอินทรีย ์
8/14/13 5:04:40 PM
aw_jombung.indd 18
ต อ น ที่ 2
การจัดการ ท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วม
8/14/13 5:04:43 PM
aw_jombung.indd 19
8/14/13 5:04:46 PM
aw_jombung.indd 20
8/14/13 5:04:53 PM
aw_jombung.indd 21
รถแท็ ก ซี่ พ าฉั น มาถึ ง อบต.จอมบึ ง ก่ อ น
8 นาฬิกาในราคา 1,100 บาท อันที่จริงก่อนหน้านี้
ฉันตั้งใจจะโดยสารรถตู้ แต่มาไม่ทันเที่ยว 6 โมงเช้า (เผอิญรถออกก่อนเมื่อคนขึ้นเต็มรถไปแล้ว) หากรอ เทีย่ วต่อไปก็จะไม่ทนั เวลานัดหมาย จึงทำให้ฉนั ตัดสินใจ เรี ย กรถแท็ ก ซี่ ซึ่ ง ก็ นั บ ว่ า แท็ ก ซี่ ใ จดี พ อสมควร
ทั้งราคาไม่แพง และมารยาทในการขับรถก็ดี และช่างบังเอิญเสียจริงที่นายก อบต.จอมบึง คุณชาญชั ย ใช่ รุ่ ง เรื อ ง เพิ่งมาถึงพอดี อันที่จริงนัด หมายการคุยกับนายกฯ ชาญชัยเป็นวันพรุ่งนี้ กระนั้น เมื่อมีโอกาสเจอกันก่อน นายกฯ จึงต้อนรับขับสู้ใน บรรยากาศที่ ดี อ ย่ า งยิ่ ง (เนื่ อ งจากวั น นี้ มี กิ จ กรรม บริ ก ารชุ ม ชนโดยวิ ท ยาลั ย เทคนิ ค โพธารามที่ ม าให้ ความรู้เชิงเทคนิคในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า นายกฯ ชาญชัยมาเป็นประธานเปิดงาน และก็มาแต่เช้า จึง ทำให้มีเวลาว่างได้พูดคุยกัน) สุขคดีที่จอมบึง | 21
8/14/13 5:04:53 PM
aw_jombung.indd 22
กาแฟร้ อ นยิ่ ง ช่ ว ยเพิ่ ม รสชาติ ก ารคุ ย บนโต๊ ะ
ม้าหินอ่อน ขณะที่แสงแดด 8 นาฬิกายังไม่ร้อนแรง ใต้ ร่มไม้หน้าสำนักงาน อบต.จอมบึง แผ่ครึม้ ร่มเงา สายลม โชยผ่านบางๆ นายกฯ ชาญชัย ใช่รงุ่ เรือง ซึง่ เป็นนายกฯ มาถึง 3 สมัยแล้ว เล่าถึงความตั้งใจในการมาเป็นผู้บริหาร อบต.จอมบึ ง ว่ า เกิ ด ขึ้ น ด้ ว ยความต้ อ งการทดแทน
บุญคุณแผ่นดินเกิด อยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับ ตำบลจอมบึ ง เมื่ อ ได้ มี โ อกาสรู้ จั ก กั บ ตำบลสุขภาวะของ สสส. ก็เห็นว่า ที่ ตำบลจอมบึ ง ก็ มี ทุ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ดี ๆ ตั้ ง มากมาย โดยเฉพาะภู มิ ปัญญาของบรรพบุรุษ ดังนั้น จึงได้ มาจัดระบบให้เกิดการเรียนรู้ โดย สามารถทำออกมาได้ 8 ระบบ 33 แหล่งเรียนรู้
8/14/13 5:04:57 PM
aw_jombung.indd 23
“แต่ก่อนเราก็อาจจะอยู่ของเราไปโดยไม่รู้ว่า เรามีดีอะไร แต่เมื่อเราได้มีโอกาสไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ ของตำบลหนองโรง จ.กาญจนบุรี เราก็เห็นว่า จริงๆ เรา มีทุนการเรียนรู้ที่ดีๆ หลายอย่าง โดยเฉพาะภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ซึ่งหากไม่มีการพัฒนา ไม่มีการสืบทอด แล้ว นานวันไปมันก็จะขาดหายไป” การเกิดแหล่งเรียนรูแ้ ละจัดระบบฐานการเรียนรู้ ทำให้ ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและ รักษาคุณค่าของสิ่งดีๆ ในชุมชนมากขึ้น ซึ่งทางอบต. เองก็ ยิ น ดี ที่ ค นในชุ ม ชนได้ เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการ จัดการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง “พื้นฐานแนวคิดหรือภาพรวมของตำบล คือ ต้องการให้คนในชุมชนมีสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ ที่ดี โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือการ พัฒนา เพราะคนที่รู้ดีที่สุดก็คือคนในชุมชน จึงควรได้ รับการแก้ไขโดยคนในชุมชน ให้พวกเขาจัดการกันเอง มี ก ารประชาคมความคิ ด ช่ ว ยกั น คิ ด แก้ ไขปั ญ หา
เราเป็ น ผู้ บ ริ ห าร เราก็ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ สนั บ สนุ น กระบวนการเหล่านี้ เพื่อให้การแก้ไขและพัฒนาเป็นไป สุขคดีที่จอมบึง | 23
8/14/13 5:04:57 PM
aw_jombung.indd 24
อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ถูกต้องตามลำดับ เพราะผู้ได้รับ ประโยชน์ทางสังคมก็คือคนในชุมชนนั่นเอง” นายกฯ ชาญชัยยังได้เล่าถึงศักยภาพของคนใน ชุมชนว่า คนในพืน้ ทีต่ ำบลจอมบึงนีส้ ว่ นใหญ่จะมีความ อดทน แข็ ง แกร่ ง เป็ น ทุ น อยู่ แ ล้ ว เพราะสภาพพื้ น ที่ ทางการเกษตรของคนแถบนี้ไม่ค่อยเอื้ออำนวยในเรื่อง การเกษตร โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีพื้นที่การเกษตรติด เชิงเขา เพราะค่อนข้างแล้ง จึงทำให้ต้องต่อสู้มากกว่า คนในพืน้ ทีอ่ นื่ ของอำเภอจอมบึง เมือ่ ต้องต่อสูก้ บั ความ แล้งมาก ก็ทำให้มีความสามัคคีกันมาก เพราะทุกคน ตระหนักดีว่า ยามใครมีปัญหาขึ้นมา ลำพังตนเองอาจ ไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องขอความร่วมไม้ร่วมมือจาก หลายๆ คนถึงจะแก้ได้ เช่นนั้นแล้ว พวกเขาจึงมีความ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสูง “หมู่ บ้ า นในเขตการดู แ ลของ อบต.จอมบึ ง
ส่วนใหญ่ไม่ได้ชุ่มน้ำเหมือนพื้นที่อื่นๆ บางบริเวณค่อน ข้างแล้ง แต่ชาวบ้านทีน่ อี่ ยูด่ ว้ ยความอดทน สิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ของจอมบึงก็คือ คนจอมบึงมีความอดทนสูง มีความ เข้มแข็ง พวกเขารวมกลุม่ กันเหนียวแน่นมาก ผมกล้าพูด 24 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:04:58 PM
aw_jombung.indd 25
ได้เลยว่า คนที่นี่หากได้ไปอยู่ในพื้นที่อื่นที่อุดมสมบูรณ์ เขาผลิตพืชผลการเกษตรได้มากกว่าคนอื่นๆ เพราะ
คิดดูเถิดว่า ดินที่อื่นที่อุดมสมบูรณ์ จิ้มอะไรลงดินก็ขึ้น แต่กบั คนทีป่ ระคบประหงมแค่ไหนก็ยงั ตาย แต่พวกเขา ยังสู้ ยังอดทนอยู่มาได้ นั่นแปลว่า ไม่ว่าพวกเขาจะไป อยู่ที่ไหนเขาก็อยู่ได้ เพราะเขาได้เรียนรู้สู้ชีวิตมาเยอะ แล้ว”
8/14/13 5:05:01 PM
aw_jombung.indd 26
ด้วยความที่ดินแล้งนี้เอง ทำให้ชาวบ้านจอมบึง ส่วนหนึ่งเมื่อพ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว (ตำบลจอมบึงทำนา ได้แค่ครั้งเดียว) จึงมักออกไปรับจ้างที่อื่น เมื่อนายกฯ นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามา จึงสามารถดึงบางคน ให้กลับมาอยู่บ้านได้ เพราะเชื่อว่า ถ้าเรารู้จักอยู่แบบ พอมีพอกินไม่ฟุ้งเฟ้อ ที่นี่ก็ยังสามารถทำให้ทุกคนมีอยู่ มีกินโดยไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานหรือครอบครัวไป 26 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:05 PM
aw_jombung.indd 27
“บางคนถ้าจะไป เราก็ไม่วา่ กัน มันเป็นเรือ่ งปกติ ทุกคนต้องทำมาหากิน แต่พอถึงหน้าฝน พวกเขาก็ กลั บ มา ส่ ว นเรื่ อ งความฟุ่ ม เฟื อ ยของคนในท้ อ งถิ่ น
ผมอาจจะแบ่งคนเป็น 2 กลุม่ อย่างคนกลุม่ อายุ 40-50 ปี นี่ เขาจะรู้ จั ก ใช้ แต่ ถ้ า เป็ น วั ย รุ่ น เราก็ ต้ อ งยอมรั บ เพราะเขาตกอยู่ใต้ระบบทุนนิยม ก็มีบ้างไปที่จะไป ตามกระแส ซึ่งก็อยู่ที่ครอบครัวเขาด้วย หากมีผู้ใหญ่ สุขคดีที่จอมบึง | 27
8/14/13 5:05:09 PM
aw_jombung.indd 28
เป็นตัวอย่าง สามารถหล่อหลอมเด็กให้รู้จักคิดได้ เด็ก ก็จะเป็นคนอีกแบบ ซึ่งถ้าเรามีแบบอย่างมากขึ้น เรา นำเรื่องนี้มาพูดถึง มาพัฒนาเด็กๆ ของเราไปเรื่อยๆ ไม่ ยอมแพ้ เศรษฐกิจพอเพียงก็จะเป็นไปได้จริง” นายกฯ พูดด้วยรอยยิ้มภาคภูมิใจ ฉันทวนคำพูด “สิ่งที่ดีที่สุดของตำบลจอมบึง คือ คนจอมบึง” อดรู้สึกไม่ได้ว่า ถ้าฉันเป็นคนที่นี่ ได้ยินอย่างนี้ แล้วคงจะดีใจมาก ภูมิใจมาก เมื่อนายกฯ อยากให้ที่นี่เป็นตำบลสุขภาวะแล้ว แล้วความสุขของนายกฯล่ะ คืออะไร - ฉันยิงคำถามไป 28 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:11 PM
aw_jombung.indd 29
นายกฯ เอียงหัวคิดครู่หนึ่ง ก่อนจะยิ้มกว้างกว่าเดิม “คือรอยยิ้มของทุกคนครับ ถ้าทุกคนมีรอยยิ้ม นั่นแปล ว่าเขามีความสุข มันเป็นการบ่งบอกทางกายภาพที่ ชัดเจนว่า ความเป็นอยู่ของเราเป็นอย่างไร เพราะถ้า คนไม่มีความสุขก็คงไม่ยิ้ม” แดดเริ่มแรงขึ้น นายกฯ ขอตัวเมื่อคำถามต่างๆ หมดลงเพื่ อ ไปเป็ น ประธานเปิ ด งานที่ อ าคารเอนกประสงค์ที่อยู่ใกล้ๆ ฉันมองกาแฟเย็นชืดที่ยังเหลือกว่า ครึ่งแก้ว แต่ดวงตาตื่น ใจตื่น มองสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่นี่เป็นสำนักงานขนาด กะทัดรัดไม่ใหญ่โตโอ่อ่า เนื่องจากกำลังมีการสร้าง อาคารสำนักงานใหม่ของ อบต. ในพื้นที่ข้างเคียง จึง ได้มาอาศัยอาคารแห่งนี้ชั่วคราว ทว่า การมาอาศัย ทุกคนไม่ได้มาเพียงแค่ตัว แต่ทุกคนพกพาความร่วมไม้ ร่วมมือในการดัดแปลงตกแต่งอาคารสถานที่แห่งนี้มา ด้วย ประหนึ่งที่นี่คือบ้านของทุกคน เพราะสำนักงาน ชั่วคราวแห่งนี้เป็นอาคารที่เต็มไปด้วยสีสัน ใครเห็น แล้วก็ต้องสะดุดตา เมื่อถามไถ่กับเจ้าหน้าที่ถึงทราบว่า เป็นเพราะทุกคนในสำนักงานมาช่วยกันเป็นช่างทาสี สุขคดีที่จอมบึง | 29
8/14/13 5:05:11 PM
aw_jombung.indd 30
30 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:15 PM
aw_jombung.indd 31
ดังนั้น ในความร่วมแรงแข็งขันนี้เอง ช่างทาสีมือสมัคร เล่นจึงปล่อยของเต็มที่ ละเลงสีกันอย่างสนุกมือ จนได้ อาคารหลากสีขึ้นมา ฉันมองตัวอาคารก็ได้แต่ยิ้มขำๆ เป็นอาคารที่ บ่งบอกถึงความสนุกสนานได้ดที เี ดียว นีก่ ระมังทีเ่ รียกว่า ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคน มิ เ พี ย งเท่ า นั้ น รอบๆ อาคารสำนั ก งานยั ง มี ตะกร้าปลูกผักหลากหลายชนิดตั้งวางกระจายกันไป อย่ า งเหมาะสม เนื่ อ งจากผั ก ในตะกร้ า เป็ น หนึ่ ง ใน แหล่งเรียนรูท้ ตี่ ำบลจอมบึงภาคภูมใิ จ ดังนัน้ ทาง อบต. จึงนำนวัตกรรมทางการเกษตรชิ้นนี้มาประดับอาคาร ด้วย เศษหญ้ า เศษใบไม้ ถู ก โกยไว้ ร อบโคนต้ น ตาม หลักการเกษตรที่ดี ไม่ว่าแนวคิดที่มีต่อแหล่งเรียนรู้เป็นเช่นไร แต่ดู เหมือนว่า อบต. พร้อมจะปฏิบัติตามอย่างเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ถือได้ว่าที่นี่เป็นสำนักงานที่น่ารักมากแห่งหนึ่ง เท่าที่เคยเห็นมา สุขคดีที่จอมบึง | 31
8/14/13 5:05:15 PM
aw_jombung.indd 32
แหล่งเรียนรู้ตำบลจอมบึง 8 ระบบ 33 แหล่ง 1.ระบบการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่น 1. การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม 2. แผนพัฒนาตำบล 3. การจัดทำบัญชีครัวเรือน 4. จอมบึงมาราธอน 5. ศูนย์พัฒนาครอบครัว 6. กองทุน สปสช. 2. ระบบสวัสดิการสังคมโดยชุมชน 7. สถาบันการเงิน ม. 9 8. กลุ่มกองทุนออมบุญวันละบาท 3. ระบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน 9. ห้องเรียนวิถีพอเพียง (โรงเรียนบ้านหนองขนาก) 32 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:19 PM
aw_jombung.indd 33
4. ระบบเศรษฐกิจชุมชน 10. กลุ่มทำกระเป๋าหนัง ม. 10 11. กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ ม. 13 12. กลุ่มผลิตภัณฑ์ประจำบ้าน (พิมเสนน้ำ) ม. 8 13. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากลูกตาล 14. กลุ่มเฟอร์นิเจอร์จากแขนงไม้ 5. ระบบจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนท้องถิ่น 15. ป่าชุมชนเขาล้าน บ้านหนองขนาก ม. 9 16. การจัดการขยะด้วยไส้เดือน (รพ.ยุพราช) 17. กลุ่มปุ๋ยน้ำหมักฉี่ไส้เดือน 6. ระบบส่งเสริมการเกษตรชุมชนและวิถีพอเพียง 18. กลุ่มปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ม.4 19. กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด การทำ EM ม. 13 20. กลุ่มสารไล่แมลง ม. 11 21. กลุ่มปลูกผักในตะกร้า 22. กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อสุขภาพ ม. 7 23. กลุ่มการปลูกผักไฮโดรโปร์นิค ม. 4 24. กลุ่มบ้าน 84 พรรษา วิถีพอเพียง 25. กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธรรมชาติ ม. 10 7. ระบบภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น 26. กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องจับสัตว์ขนาดจิ๋ว ม. 4 27. การแสดงรำโทน ไทยทรงดำ ม. 5 28. แหล่งเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาไทยจากไม้ไผ่ ม. 10 8. ระบบสุขภาพชุมชน 29. กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ ม. 7 30. ส่งเสริมห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ 31. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจอมบึง 32. กลุ่มบำบัดทุกข์ บำรุงสุข (อปพร., อส,ตร.) สุขคดีที่จอมบึง | 33
8/14/13 5:05:22 PM
aw_jombung.indd 34
8/14/13 5:05:25 PM
aw_jombung.indd 35
ต อ น ที่ 3
เพียงไล่แมลง เราต่างมีชีวิต อยู่ ได้
8/14/13 5:05:28 PM
aw_jombung.indd 36
8/14/13 5:05:32 PM
aw_jombung.indd 37
“น้ำหมักอยูใ่ นถังนัน้ ครับ แต่เราอย่าเพิง่ เปิด
เลย คุ ย กั น ก่ อ นดี ก ว่ า ไม่ อ ย่ า งนั้ น อาจจะเวี ย นหั ว เพราะเหม็ น เอาได้ ” พี่ ส มพรพู ด กลั้ ว หั ว เราะอย่ า ง อารมณ์ดี ฉันเหลือบมองถังสีฟ้าและสีเทาประมาณ 5 ถัง ซึ่งบรรจุน้ำหมักกลิ่นฉุนไว้ มันคือ การหมักน้ำยาไล่ แมลงซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 1 เดือนจึง จะใช้ได้ พี่สมพร อินทร์สาลี หัวหน้ากลุ่มสารไล่แมลง และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำน้ำหมักของหมู่บ้าน หมูท่ ี่ 11 เชือ้ เชิญให้นงั่ อย่างเป็นมิตร บริเวณทีน่ งั่ คล้าย ศาลามุ ง สั ง กะสี ขนาดกะทั ด รั ด มี เ ก้ า อี้ แ ละบอร์ ด
แสดงสูตรน้ำหมักสารไล่แมลงและข้อดีของการทำสาร
ไล่แมลง นั่นแสดงว่า ที่ผ่านมานั้นต้องเคยมีคนเข้ามา เรียนรูก้ บั พีส่ มพรหลายครัง้ แล้ว พีส่ มพรถึงได้จดั สถานที่ สำหรับให้ความรู้เป็นกิจจะลักษณะเช่นนี้ สุขคดีที่จอมบึง | 37
8/14/13 5:05:32 PM
aw_jombung.indd 38
ผักงามไม่ต่างจากผักในตลาดเลย ครับ และอาจจะงามกว่าด้วย เพราะผมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้เรียนรู้มาจากการอบรม ปุ๋ยอินทรีย์ให้อาหารผักดีมากครับ สมพร อินทร์สาลี
8/14/13 5:05:36 PM
aw_jombung.indd 39
“แต่กอ่ นผมไม่ได้มงุ หลังคา ปรากฏว่า พอฝนมา บอร์ด อะไรก็เปียกฝน ตอนหลังต้องมุงหลังคา มันก็เลยดูเป็น สัดส่วนขึ้น” พี่สมพรเล่าว่า ก่อนนี้ตนเองไม่เคยคิดหรอกว่า วันหนึ่งสิ่งที่ทำจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนได้เข้ามา ศึกษาและแวะเวียนมาตลอดไม่ได้ขาดมานานหลายปี แล้ว ซึ่งหากจะเท้าความถึงจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ การทำสารไล่แมลง ก็คงต้องนับตัง้ แต่ปี 2548 ทีพ่ สี่ มพร ได้เข้าไปร่วมอบรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้ง แรก และได้ความรู้เรื่องการเกษตรอินทรีย์รวมถึงการ ผลิตสารไล่แมลงมา เมื่อได้ความรู้ พี่สมพรก็เริ่มนำมาปฏิบัติ และ พบว่ามันได้ผลดีต่อพืชผักและดีต่อร่างกายมาก เพราะ ก่อนนั้นพี่สมพรเคยทำการเกษตร (เช่าที่เขาทำ) โดย ผักที่ปลูกล้วนต้องใช้การพ่นยาฆ่าแมลงในปริมาณที่สูง และใช้บ่อยจนกระทั่งตัวเขาเองเป็นโรคภูมิแพ้ในระดับ ทีจ่ ดั ว่ารุนแรง ซึง่ ทุกๆ เช้าจะต้องจามไม่ตำ่ กว่า 10 ครัง้ จามอย่างหนักจนปวดโพรงจมูก แต่กระนั้นก็ไม่อาจจะ หายาอะไรมารักษาให้หายได้ สุขคดีที่จอมบึง | 39
8/14/13 5:05:36 PM
aw_jombung.indd 40
“ผมจามหนักชนิดที่ว่า เมื่อตื่นมาตอนเช้า ผม ต้องรีบเดินออกจากบ้านไปไกลๆ ไม่อย่างนัน้ ภรรยาและ ลูกจะรำคาญมาก” แต่เมื่อเขาได้ทดลองใช้สูตรน้ำหมักสารไล่แมลง อย่างต่อเนือ่ ง อาการเป็นภูมแิ พ้ของเขาก็คอ่ ยๆ หายไป “ผมถึงมาคิดได้ว่า ที่ผมเป็นภูมิแพ้ น่าจะเป็น เพราะผมพ่นยาฆ่าแมลงมากเกินไป” ซึ่งหากย้อนเวลาลึกเข้าไปอีกนิด พี่สมพรยังได้ เท้าความให้ฟังว่า เป็นคนต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาอยู่ที่นี่ ดังนั้น ครอบครัวของเขาจึงไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง แต่จะอาศัยการขอเช่าที่คนอื่นทำการเกษตรในเนื้อที่ ประมาณ 2 ไร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ผักกาด มะเขือ พริก ซึ่งหากต้องการรายได้ดีก็ต้องพ่นยาเพื่อ ให้พืชผักงาม ดังนั้น พี่สมพรจึงไม่มีเวลาจะมาหยุดคิด สิ่งใดทั้งนั้น นอกจากต้องเร่งทำให้ผักงาม ได้ราคาดี เพราะต้ อ งหาเงิ น มาจ่ า ยค่ า เช่ า ทั้ ง ที่ ดิ น ทำกิ น และ
ค่าเช่าบ้านอาศัย จนกระทั่งมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจ พอเพียงนั่นเอง จึงเริ่มเปลี่ยนแนวทางในการทำการ 40 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:36 PM
aw_jombung.indd 41
เกษตร เริ่มจากการที่ยังคงทำการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เหมือนเดิม แต่งดใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี หันมาใช้ สารไล่แมลงและปุ๋ยอินทรีย์แทน โดยเขาจะพ่นบ่อย หน่อย หรือประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง “ผักงามไม่ต่างจากผักในตลาดเลยครับ และ อาจจะงามกว่าด้วย เพราะผมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้เรียนรู้ มาจากการอบรม ปุ๋ยอินทรีย์ให้อาหารผักดีมากครับ งามมากเลย” สุขคดีที่จอมบึง | 41
8/14/13 5:05:39 PM
aw_jombung.indd 42
การอบรมครั้งนั้นเองที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไป อย่างมาก หรืออาจเรียกได้ว่า เปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง เมื่อ เขาเริม่ เห็นว่า การทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจนัน้ ทำให้ ต้องคิดถึงเรื่องการปลูกเพื่อขายเป็นหลัก จึงพยายาม หันมาปลูกเพื่ออยู่มากขึ้น ซึ่งเมื่อเขากลายเป็นตัวอย่าง ของคนทำสารไล่แมลงในหมูบ่ า้ น มีคนมาเรียนรูม้ ากขึน้ พี่สมพรจึงได้มาทำงานเป็นลูกจ้างที่ อบต. เขาเลิกเช่า ที่ทำการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ แต่หันมาทำการเกษตร แบบพอเพียง โดยอาศัยเงินเก็บจำนวนหนึ่งมาซื้อบ้าน และที่ดินแปลงเล็กๆ อยู่ เพื่อจะได้ปลูกผักให้รอบบ้าน และลดการจับจ่าย สมดั่งคำสอนของในหลวง
42 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:41 PM
aw_jombung.indd 43
พี่สมพรนับได้ว่าเป็นเกษตรกรรุ่นแรกที่เข้ารับ การอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่อมาเขายังได้ แนะนำให้เพื่อนคนอื่นๆ เข้าไปร่วมอบรมและกลับมา
ทดลองวิถีเกษตรอินทรีย์กัน “ผมมาชวนชาวบ้านและเพื่อนคนอื่นๆ ให้ไป กัน ส่วนใหญ่คนที่เข้าอบรมจะไม่ค่อยมีเงิน โดยมาก เป็นคนจน ซึ่งพอเราไปอบรมก็ทำให้เราได้รู้ว่า ถ้าเรา คนจนด้ ว ยกั น มารวมกลุ่ ม กั น เราจะสามารถเข้ า ถึ ง แหล่งทุนได้ เราเรียนรู้ตรงนี้ จึงมารวมกลุ่มเพื่อจะได้ ขอทุนมาทำสารไล่แมลง” กลุ่มสารไล่แมลงตอนนี้มีสมาชิก 48 คน ทุกคน ล้วนผ่านการอบรมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมา แล้วทั้งสิ้น ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีอย่างยิ่ง พี่สมพรบอกว่า การที่ทุกคนไปอบรมมา ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ เป็น ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทำให้คุยกันง่ายขึ้น เมือ่ ได้รวมกลุม่ กันแล้ว สมาชิกในกลุม่ จึงเริม่ เก็บ ออมเงิน โดยออมกันคนละ 50 บาทต่อเดือน ต่อมาก็ เพิ่มเป็นเดือนละ 100 บาท ซึ่งเมื่อเงินออมมากพอก็ให้ เพื่อนสมาชิกกู้ยืมได้ จะได้นำไปลงทุนทำการเกษตร สุขคดีที่จอมบึง | 43
8/14/13 5:05:41 PM
aw_jombung.indd 44
สร้างเนื้อสร้างตัว ขณะเดียวกันทุกคนก็มาร่วมช่วยกัน ผลิตสารไล่แมลงโดยเอาบ้านพี่สมพรเป็นศูนย์กลาง เป็นที่นัดหมายเพื่อมาผลิตสารร่วมกัน ซึ่งกระบวนการ ทำก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยาก เพราะส่วนมากจะใช้วัตถุดิบ พวก มะกรูด ตะไคร้หอม ข่า เปลือกแค สะเดา ฯลฯ แล้วแต่ว่าจะนำไปพ่นไล่แมลงอะไร สมาชิ ก หลายคนที่ ไ ม่ มี เ วลามาช่ ว ยก็ จ ะนำ วัตถุดิบเหล่านี้มาสมทบ เมื่อหมักได้ที่แล้ว ก็จะนำไป บรรจุขวดแจกจ่ายเพื่อนสมาชิกไปโดยไม่มีการเก็บเงิน ซึ่งในระยะแรกที่เริ่มต้นทำร่วมกันนั้น ทางกลุ่มสาร
ไล่แมลงได้บันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ใช้ในการทำการ เกษตรด้วย ซึ่งก็ปรากฏว่า การทำการเกษตรอินทรีย์ และสารไล่แมลงนี้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก และเห็น ได้ชัดเจน “ทุกวันนี้เราถึงยังทำกันอยู่เรื่อยๆ ถ้าไม่ได้ผลดี จริงก็คงเลิกไปนานแล้ว” นอกจากการมาร่วมกันผลิตสารไล่แมลงแล้ว ผลพวงของการผลิตสารไล่แมลงยังทำให้สมาชิกเริ่มหัน มาเพาะเห็ดฟางขาย เนื่องด้วยเมื่อทุกคนได้เข้ารับการ 44 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:41 PM
aw_jombung.indd 45
อบรมแล้ว การได้รบั ความรูเ้ รือ่ งการเพาะเห็ด และจาก การส่งเสริมในเรื่องก้อนเห็ดสำหรับเพาะในช่วงแรก ทำให้สมาชิกหลายคนสนใจ และกลับมาทดลองเพาะ เห็ดฟาง ซึ่งปรากฏว่าทำรายได้ดีมาก และการใช้สาร ไล่แมลงกับเห็ดฟางก็ได้ผลดีด้วย ทุกวันนี้สมาชิกที่เพาะเห็ดฟางมีมากกว่า 30 ครอบครัวเลยทีเดียว พี่ ส มพรพาฉั น มาให้ รู้ จั ก กั บ น้ า สาย อุ่ น ภั ก ดิ์ วัย 57 ปี หนึ่งในผู้เพาะเห็ดฟางขาย ตอนที่เราไปถึง น้ า สายเพิ่ ง บรรจุ เ ห็ ด ฟางสำหรั บ จำหน่ า ย น้ า สายบรรจุ ไ ปทั้ ง หมด 20 กว่ า ห่ อ ราคาห่อละ 10 บาท นัน่ เท่ากับว่าวันนี้ น้าสายขายเห็ดฟางได้ 200 กว่าบาท แล้ว ช่ ว งนี้ นั บ ว่ า เป็ น ช่ ว งปลายๆ ของก้อนเห็ดแล้ว เห็ดอาจจะออกไม่ เยอะ หากเป็ น ช่ ว งเห็ ด ออกใหม่ เห็ ด จะให้ ผลผลิ ต จำนวนมาก สุขคดีที่จอมบึง | 45
8/14/13 5:05:42 PM
aw_jombung.indd 46
ช่วงที่ออกชุกมากๆ เพียง 2-3 วันก็ได้หลายพัน 10 วัน ได้เงินหมื่นกว่าบาท แต่หากเป็นช่วงปลายๆ อย่างนี้
ก็จะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 200 บาท แต่โดยเฉลี่ยแล้ว จะได้ ป ระมาณ 300-500 บาทต่ อ วั น ซึ่ ง โชคดี ที่
เห็ ด ฟางเป็ น ที่ ต้ อ งการของตลาดมาก พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า คนกลางจะมารับซื้อเห็ด ถึงที่ ไม่ว่าเห็ ดจะออกมาก
เท่าไหร่ก็สามารถขายได้หมด สำหรับเห็ดบรรจุหอ่ มีตงั้ แต่ 7-10 บาท แล้วแต่ ว่าช่วงไหนมีเห็ดออกมากหรือออกน้อย ช่วงออกน้อย พร้อมๆ กันก็จะราคาสูง ช่วงออกมากพร้อมๆ กันก็จะ ลดราคาลงไป แต่ว่าจะขายในรูปของบรรจุห่อแบบนี้ เนื่องจากพ่อค้าจะนำไปขายต่อได้สะดวก 46 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:44 PM
aw_jombung.indd 47
การทำเรือนเพาะเห็ดของแต่ละครอบครัวนั้นไม่ เท่ากัน บางครอบครัวอาจเป็นเรือนเดียว บางครอบครัว อาจมี 2 หรือ 3 เรือน ซึ่งเรือนหนึ่งสามารถเพาะเห็ด ได้ถึง 2,000-3,000 ก้อน และสามารถเก็บได้นานถึง 5-6 เดือนเลยทีเดียว สำหรับบ้านน้าสายมี 2 เรือน แต่น้าสายไม่ได้ เรียกเรือนหรอกค่ะ น้าสายเรียก ‘เล้า’ เหมือนเล้าหมู เล้าไก่นั่นล่ะค่ะ แต่นี่คือ เล้าเห็ด น้าสายเล่าว่า เมื่อก่อนน้าสายมีพี่สาวทำสวน มะเขือเปราะ แล้วต้องพ่นยาประจำ จนสุขภาพทรุดโทรม เป็นภูมิแพ้ ต่อมาไม่นานก็เป็นมะเร็งตับ แม้จะ ไม่รู้ว่าสาเหตุของการเป็นมะเร็งตับของพี่สาวว่าเป็น เพราะเหตุใดกันแน่ แต่น้าสายก็เชื่อว่า การพ่นยาน่า จะเป็นสาเหตุหนึ่ง ซึ่งพี่สาวของน้าสายก็จากไปในวัย เพียง 10 กว่าปีเท่านั้นเอง ดังนัน้ เมือ่ มีโอกาสไปอบรมในโครงการเศรษฐกิจ พอเพียง จึงเข้ามาร่วมกลุ่มสารไล่แมลงด้วย จนกระทั่ง มาเพาะเห็ดขาย และนำสารไล่แมลงมาพ่นในเล้าเห็ด “เห็ดฟางก็มีแมลงรบกวนเหรอคะ” ฉันถาม สุขคดีที่จอมบึง | 47
8/14/13 5:05:45 PM
aw_jombung.indd 48
“มีสิ มี” น้าสายตอบเสียงสูง “พวกแมลงหวี่ แมลงวันทอง พวกนี้จะชอบมา เจาะก้อนเห็ดช่วงที่เราเพาะเห็ดในระยะเริ่มต้น ซึ่งเรา ต้องระวังมากๆ เราจะพ่นกันประมาณ 1-2 อาทิตย์ต่อ ครั้ง จนกว่าเห็ดจะเริ่มออกดอก ช่วงออกดอกเล็กก็ยัง ต้องพ่นอยู่ จนกว่าเริ่มออกดอกใหญ่ที่แมลงหวี่แมลง-
วันทองไม่สามารถเจาะกินหรือฝังไข่ได้แล้วนั่นล่ะ เรา ถึ ง จะเลิ ก พ่ น แล้ ว คิ ด ดู เ ถอะ คนที่ กิ น เห็ ด ฟางที่ เขา
ใช้ยาฆ่าแมลงพ่นจะอันตรายขนาดไหน นี่เราใช้แค่สาร ไล่แมลง เพราะเราไม่ฆ่า เราเพียงไล่ มันก็มีชีวิตอยู่ได้ เราก็มีชีวิตอยู่ได้” น้าสายพูดยิ้มๆ น้าสายพาเราเดินไปดูเล้าเห็ดของแก ซึ่งได้เก็บ ไปจนหมดแล้ว ภายในเล้าเห็ดมีแมลงหวี่และแมลงวันทองเยอะมาก “แมลงยังเยอะอยู่เลย” ฉันว่า “ไม่เป็นไร ตอนนี้มันไม่ทำให้เห็ดเสียหายแล้ว ปล่อยมันไป”
48 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:45 PM
aw_jombung.indd 49
แมลงหวี่ที่เยอะมากเพียงนี้ อาจทำให้ผู้มาใหม่ และเคยชินกับความสะดวกสบายรู้สึกรำคาญได้ แต่ สำหรับน้าสายแล้ว แมลงหวี่ไม่ใช่ศัตรู ไม่มีศัตรูพืช ไม่ใช่ศัตรูของมนุษย์ เพราะมันก็มี วิถชี วี ติ ของมัน เพียงแต่อย่าให้มนั มารบกวนและทำลาย เรา และเราก็จะไม่ทำลายมัน เมื่อเราได้ไปดูการผลิตสารไล่แมลงของกลุ่มสาร ไล่แมลงแล้ว การได้มาเห็นเล้าเห็ดและรับรูก้ ระบวนการ
สุขคดีที่จอมบึง | 49
8/14/13 5:05:49 PM
aw_jombung.indd 50
วิธีพ่นไล่ วิธีคิดที่ไม่ได้มุ่งจะทำให้ตาย แต่แค่ไล่ให้ไป ทางอืน่ พลันคำๆ หนึง่ ก็ผดุ ขึน้ มาในระหว่างการสนทนา นั้น ‘สันติภาพ’ ทีเ่ ราทุกคนถามหากันบ่อยเหลือเกิน ในยุคที่เต็มที่ไปด้วยความขัดแย้งนี้ ทั้งที่จริง มันอาจเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่นนี้ได้ ด้วย การไม่มองใครหรืออะไรเป็นศัตรู “มา มากินกล้วยแขกเร็ว” น้าสายชักชวน หน้ า บ้ า นน้ า สายเปิ ด เป็ น เพิ ง ขายขนมหวาน กล้วยแขก ไก่ปิ้ง น้าสายเป็นคนขยัน นอกจากเพาะ 50 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:05:56 PM
aw_jombung.indd 51
เห็ดแล้วก็ยงั ทำโน่นนีข่ าย แม้วา่ ลูกเต้าจะเรียนจบ มีงาน มีการทำแล้ว แต่น้าสายก็ไม่วายทำมาหากินพึ่งตนเอง “อยู่เฉยๆ ไม่เป็น” น้าสายบอกพลางหัวเราะ สำหรับเป้าหมายของกลุ่มเพาะเห็ดฟางนั้น ใน อนาคตทุกคนหวังว่าจะสามารถผลิตก้อนเห็ดด้วยตนเอง ได้ เนือ่ งจากทุกวันนีย้ งั ซือ้ ก้อนเห็ดจากทีอ่ นื่ มาเพาะอยู่ ก้อนเห็ดหนึ่งก้อนราคา 5 บาท แต่ถ้ามาช่วยกันทำเอง จะเหลือต้นทุนราคาก้อนละ 1 บาทกว่าๆ เท่านัน้ ซึง่ จะ ช่วยลดต้นทุนได้มากถึง 3,000-5,000 บาทเลยทีเดียว กล้ ว ยแขกหอมกรุ่ น เราพากั น กิ น ไปบนรถ ระหว่างทางผ่านแปลงข้าวโพด พืชเศรษฐกิจที่แลกว้าง ลิ บ โล่ ง สองฝั่ ง ถนน การเกษตรอั น มี ค วามแตกต่ า ง
บนเส้นทางที่แต่ละคนเลือกดำเนินไป
สุขคดีที่จอมบึง | 51
8/14/13 5:05:58 PM
aw_jombung.indd 52
8/14/13 5:06:02 PM
aw_jombung.indd 53
ต อ น ที่ 4
ป่าชุมชน เขาล้ า น (ฟังสิ ต้นไม้กำลังร้องไห้)
8/14/13 5:06:05 PM
aw_jombung.indd 54
8/14/13 5:06:15 PM
aw_jombung.indd 55
เขาล้าน ได้ชื่อว่า ‘เขาล้าน’ เพราะบริเวณ
หนึ่งของยอดเขาเป็นทุ่งหญ้าแบบเขตทุ่งหญ้าสะวันนา เห็นเป็นลานโล่งบนภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า เขาล้าน ลักษณะภูเขาของตำบลจอมบึงไม่ได้เป็นแนว เทือกเขายาวเหยียด แต่จะเป็นภูเขาหินที่โผล่ขึ้นมา เป็นลูกๆ ตรงโน้นตรงนี้ ซึ่งเขาล้านก็คล้ายกัน หากแต่ เป็นเขาที่ดูลูกใหญ่กว่าเพื่อนหน่อย ซึ่งถ้าวัดเส้นรอบวง ของภูเขาก็จะได้ความยาว 3 กิโลเมตรครึ่ง มีเนื้อที่ ประมาณ 437 ไร่ แต่ถ้ารวมพื้นที่ลาดชันของภูเขาด้วย แล้ว ป่าผืนนีข้ องเขาล้านจะมีพนื้ ทีถ่ งึ 900 ไร่เลยทีเดียว ป่าไม้ทขี่ นึ้ ในเขาล้านเป็นป่าเบญจพรรณ มีตน้ ไม้ ปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น พันธุไ์ ม้ทพี่ บเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ไผ่รวก พะยอม มะค่าแต้ แดง โมกมัน สะเดา
ขีเ้ หล็ก ยอป่า ผักหวานป่า ฯลฯ และเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของ สุขคดีที่จอมบึง | 55
8/14/13 5:06:15 PM
aw_jombung.indd 56
สัตว์ป่าชนิดต่างๆ เช่น กระรอก กระแต งู ผึ้ง แย้ นก ฯลฯ สำหรับพรรณไม้ที่หนาแน่นมากที่สุดก็คือ ไผ่ ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ป่าแห่งนี้เป็นที่หาหน่อไม้ เก็บเห็ดใน ฤดูฝน ขณะที่เขาลูกอื่นๆ มักถูกสัมปทานจากกลุ่มทุน เพื่อระเบิดหินทำโรงปูน หรือโรงโม่หิน หมู่บ้านหมู่ที่ 9 บ้านหนองขนาก เป็นหมู่บ้านที่ ได้ใช้ผลประโยชน์จากป่าเขาล้านโดยตรง และด้วยเห็น ถึงผลกระทบของเขาลูกอื่นๆ ที่ถูกระเบิดไปแล้ว คนใน ชุมชนโดยเฉพาะประธานป่าชุมชนเขาล้าน สงัด จิตสุ ว รรณ อดีตผู้ใหญ่บ้าน จึงได้ชวนชาวบ้านมาร่วม รั ก ษาป่ า เขาล้ า นโดยประกาศเป็ น เขตป่ า ชุ ม ชน ซึ่ ง
เริ่ ม ต้ น อย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการตั้ ง แต่ ปี 2535 และมา ประกาศอย่างจริงจังโดยประสานความร่วมมือกับภาค รัฐในปี 2543 “ผมอยากให้เขาลูกนี้มันอยู่ตลอดไป เพราะถ้า เราไม่ออกมาประกาศ มันก็คงจะเหมือนเขาลูกอื่นๆ กลายเป็นเศษหิน ผงปูน ทั้งที่ป่าพวกนี้ให้อาหารกับเรา ซึ่งผมถือว่า ภูเขาลูกนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง และ ไม่ใช่ของคนจอมบึง แต่มันเป็นของคนไทยทุกคน” 56 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:15 PM
aw_jombung.indd 57
ลุงสงัดเล่าถึงแรงบันดาลในความรู้สึกหวงแหน และความต้องการที่จะรักษาป่าเขาล้านไว้ ลุงบอกว่า เป็นเวลาเกิน 10 ปีมาแล้วที่คนที่นี่มีโรงไฟฟ้า มีก๊าซ พม่า มีน้ำมันเตาดีเซล มีบริษัทเอกชนมาผลิตไฟฟ้า แล้ ว ขายให้ กั บ การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย
แต่ว่าคนที่นี่ต้องสูญเสียอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่การสูญเสีย ทรัพยากร-ธรรมชาติเท่านั้น คนที่นี่ยังต้องเผชิญกับ ปัญหาฝุ่นละอองด้วย โดยเฉพาะในหน้าแล้ง “แต่คุณเชื่อไหม ต้นไม้นี่ช่วยกรองอากาศให้เรา ได้ ทำให้อากาศดีขนึ้ ได้ ผมถึงต้องการทีจ่ ะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ ป่าผืนอืน่ เราอาจทำอะไรไม่ได้เพราะเป็นเขตหมูบ่ า้ น อื่น แต่ป่าเขาล้านอยู่ในพื้นที่ที่เราดูแล เราจึงต้องรีบ ประกาศให้เป็นเขตป่าชุมชน ป่าผืนนีจ้ ะได้ไม่ถกู ทำลาย คนในหมู่บ้านก็จะได้มาเก็บหาของป่า หาหน่อไม้ หา เห็ด เอาไปกินไปแกงได้ แล้วคุณเชื่อไหม คนมาหา หน่อไม้นี่ บางทีไม่ใช่แค่คนในหมู่บ้านเราอย่างเดียวนะ บางทีมาจากไหนไม่รู้ เอารถกระบะมาเป็นคันๆ เลย มาขุ ด เพื่ อ เอาไปขาย แบบนี้ เราไม่ ใ ห้ เราจึ ง ต้ อ งมี มาตรการในการใช้ป่าเขาล้านร่วมกัน” สุขคดีที่จอมบึง | 57
8/14/13 5:06:15 PM
aw_jombung.indd 58
และมาตรการในการหาใช้สอยป่าเขาล้านก็ได้ กลายมาเป็น ‘ธรรมนูญป่าชุมชนเขาล้าน’ ซึ่งนอกจาก จะมีกฎระเบียบในการใช้สอยแล้ว ยังมีกฎในการร่วมกัน ดูแลรักษาเพื่อไม่ให้ป่าถูกทำลายอีกด้วย ซึ่งชาวบ้าน ทุกคนต่างก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ด้วยการสอดส่อง ดูแลคนที่เข้ามาเพื่อแสวงผลกำไรจากป่า
สงัด จ
ิตสุวร
รณ
58 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:19 PM
aw_jombung.indd 59
“เราก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ทุกวันหรอก ยังมี ที่มีคนมาลักลอบตัดไม้ หรือยิงสัตว์ แต่อย่างน้อยการ ออกกฎระเบียบจะช่วยทำให้ทุกคนในหมู่บ้านช่วยเป็น หูเป็นตา สอดส่องดูแล เราไม่ได้หวงนะครับว่าป่าผืนนี้ ต้องเป็นคนของคนหมู่ 9 หมู่เดียว คนหมู่บ้านอื่นๆ ก็ สามารถมาหาเอาไปกินได้ หรือจะหาไปขายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ แต่หากเอาไปแสวงหาผลกำไรมากขนาด รถกระบะๆ เป็นคันๆ แบบนี้ไม่ได้” ป้องกันไม่ได้เด็ดขาดจากคนที่ชอบทำลาย แต่ อย่างน้อยที่สุดก็สามารถลดระดับการทำลายมากให้ เป็ น การทำลายน้ อ ยที่ สุ ด ได้ ซึ่ ง นอกจากปั จ จั ย จาก
ชาวบ้านด้วยกันแล้ว ปัญหาที่อดีตผู้ใหญ่บ้านสงัดกังวล ที่สุดก็คือ การให้สัมปทาน เพราะถ้ามีการสัมปทาน ป่าก็จะหายไปหมด “มี ค นมาตั ด ไม้ แต่ ป่ า มั น ก็ ยั ง อยู่ แต่ ถ้ า ให้ สัมปทาน มันหมดเลยนะครับ” โชคดีทเี่ มือ่ มีการประกาศป่าเขาล้านเป็นป่าชุมชน ขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้อย่างเป็นทางการ (โดยขึ้น ทะเบียน 2 ครั้งในปี 2543-2548 และปี 2554-2559) สุขคดีที่จอมบึง | 59
8/14/13 5:06:19 PM
aw_jombung.indd 60
หลั ง จากนั้ น จึ ง ได้ มี นั ก วิ ช าการเกษตรเข้ า มาทำวิ จั ย อย่างต่อเนื่อง อันส่งผลดีต่อป่าชุมชนผืนนี้อย่างมาก เพราะทำให้ชุมชนมีหลักฐานงานวิชาการของป่าเขา ล้านไว้ใช้ต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ป่าผืนนี้ไว้ “คุณเคยได้ยินเสียงของต้นไม้ไหม” ลุงสงัดถามอย่างอารมณ์ดี ขณะที่เรานั่งคุยกัน ในเขตป่าเขาล้าน ปล่อยให้ตัวสัมผัสกับดิน ไม่ต้องเกรง ว่าจะเปื้อน ฉันเลิกคิ้วยิ้ม ไม่ตอบ “คุ ณ รู้ ไ หม เวลาที่ ผ มมาอยู่ ใ นป่ า ผื น นี้ ที ไร
ผมมักจะได้ยินเสียงของมันทักทายผม บางครั้งผมเห็น ต้นไม้บางต้นเจริญเติบโตขึ้น จากที่เคยเห็นต้นเล็กๆ แต่วันนี้มันใหญ่ขึ้นมาก ผมรู้สึกสุขใจมาก แต่บางครั้งที่ ต้ น ไม้ บ างต้ น หายไป ถู ก ตั ด ไป ผมได้ ยิ น เสี ย งต้ น ไม้ ร้องไห้” คำพูดของลุงสงัดทำเอาฉันอึ้ง “เวลาผมมาที่นี่ ผมมีความสุข ผมคิดว่าเขาคงรู้ ว่า ผมมีความสุข เช่นเดียวกัน เวลาที่พวกเขาร้องไห้ ผมคิดว่า ผมได้ยินเสียงและเข้าใจความรู้สึกนั้น”
60 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:20 PM
aw_jombung.indd 61
สุขคดีที่จอมบึง | 61
8/14/13 5:06:24 PM
aw_jombung.indd 62
ลุงสงัดพาเราเดินชมป่าเขาล้านในต้นฤดูฝนที่ น้ ำ ในลำห้ ว ยยั ง แห้ ง ขอดอยู่ แต่ ลุ ง ก็ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ทาง
น้ ำ ไหล ลุ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง จุ ด พั ก น้ ำ เป็ น แห่ ง ๆ โดยการ
เอาหินมากัน้ ไว้เพือ่ จะชะลอการไหลของน้ำ ให้นำ้ ซึมลง ดินให้มากที่สุด เพื่อที่ฤดูแล้งจะได้คงความชุ่มชื่นไว้ได้ นานๆ ปีนลี้ งุ สงัด อายุ 73 ปีแล้ว แต่ยงั กระฉับกระเฉง และเปี่ยมด้วยไฟในการรักษาและปกป้องป่าเขาล้าน ลุ ง สงั ด ดู มี ค วามสุ ข มากที่ ไ ด้ พ าเรามาชมป่ า เขาล้ า น สีหน้าและแววตาดูกระตือรือร้นที่จะบอกเล่าเรื่องราว “ผมอยากขอบใจคุณมากนะที่มาสัมภาษณ์ผม การที่คุณมาสัมภาษณ์ มันเป็นการกระตุ้นให้ผม ให้ ชาวบ้านมีแรงเร้าในการทำงานมากขึ้น ถ้ามีการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เรารู้ว่า เรามาถูกทาง เพื่อให้การ ทำงานของเราดีขึ้น เราก็จะมีกำลังใจ” คำพูดที่กลั่นออกมาจากหัวใจทำให้ฉันได้แต่ยิ้ม พยักหน้าหงึกๆ ก่อนหน้านี้ฉันจะถามลุงสงัดว่า มีอะไร อยากจะบอกบ้างไหม นอกจากคำถามต่างๆ ที่ฉันถาม ไป ลุงก็ตอบมาว่า “ขอบใจมากนะที่มาสัมภาษณ์ผม” 62 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:25 PM
aw_jombung.indd 63
ฉั น เชื่ อ แน่ ว่ า คนที่ อ ยากมาสั ม ภาษณ์ อยาก เรียนรู้กับลุงสงัดและชาวบ้านหมู่ 9 คงไม่ได้มีแค่ฉัน
คนเดียวหรอก ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าภาคภูมิใจอีกแห่งหนึ่ง ของตำบลจอมบึง และฉันเชื่อว่าจะมีคนอีกจำนวนมาก ที่ อ ยากมาสั ม ผั ส ป่ า เขาล้ า น อยากเก็ บ ซั บ เรื่ อ งราว
การจัดการป่า การดูแลรักษา ที่สำคัญคือ การดูแลโดยใช้หัวใจฟัง ฟั ง เสี ย งพวกเขาสิ พวกเขายิ้ ม นะ พวกเขา หัวเราะนะ พวกเขาร้องไห้นะ “ผมได้ยิน”
สุขคดีที่จอมบึง | 63
8/14/13 5:06:25 PM
aw_jombung.indd 64
1. ให้ทุกคนมีหน้าที่ลาดตระเวนรักษาป่า (เข้ากลุ่มลาด ตระเวนตามความถนัดและสะดวก) 2. ห้ามบุกรุกแผ้วถางป่า ถ้าฝ่าฝืนปรับ 10,000 บาท 3. ห้ามตัดต้นไม้ ถ้าใครตัด ปรับต้นละ 2,000 บาท (ตามขนาดใหญ่-เล็ก) 4. ห้ามล่าสัตว์ (สัตว์เล็ก 1,000 บาท สัตว์ใหญ่ 2,000 บาท) 5. ห้ามเผาป่า หากฝ่าฝืนโดนจับกุมจะส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐ ดำเนินการตามกฎหมาย 6. ห้ามเผาป่าในเขตป่าชุมชน หรือตัดป่าชุมชนมาเผา ถ่าน ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท 7. การใช้ประโยชน์จากป่า สามารถทำได้โดยอนุโลมของ กฎหมาย และยึดถือหลักความยั่งยืนของป่า ดังนี้
8/14/13 5:06:29 PM
aw_jombung.indd 65
7.1 เก็บเห็ดเพื่อบริโภคไม่เกิน 1 กิโลกรัม/คน 7.2 เก็บหน่อไม้ไม่เกินคนละ 20 กิโลกรัม/คน 7.3 ห้ า มขุ ด ต้ น ไป สามารถขุ ด หน่ อ หรื อ หั ก หน่ อ ได้ อย่างเดียว เพื่อให้ต้นไม้ได้เจริญเติบโตในป่า 7.4 การเก็บพืชผักสามารถเก็บได้พอประมาณ ให้ยึด หลักการการสืบพันธุ์ 7.5 การหาแมลง/ไข่ แ มลง ทำได้ เ ฉพาะบริ โ ภคใน ครัวเรือน 7.6 หากจำเป็นต้องตัดไม้ ให้แจ้งประธานหรือคณะ กรรมการป่าชุมชนเขาล้าน โดยขึ้นอยู่กับความ จำเป็นในการใช้ประโยชน์ ห้ามตัดจำหน่ายในทุก กรณี 7.7 การเก็บเศษไม้ ปลายไม้ (เช่น การตัดแขนงไม้ไผ่) สามารถทำได้โดยความจำเป็น ห้ามจำหน่ายหรือ ดัดแปลงเพื่อการค้า 7.8 การใช้ประโยชน์เพือ่ การก่อสร้างสาธารณประโยชน์ (ใช้ ป ระโยชน์ ร่ ว มกั น ) เป็ น อำนาจหน้ า ที่ ข อง คณะกรรมการป่าชุมชนที่จะประสานกับเจ้าหน้าที่ ป่าไม้ดำเนินการ 7.9 การใช้ประโยชน์ป่าไม้เพื่อการก่อสร้างอื่นๆ กรณี ไม่ใช่ไม้ใหญ่ (เช่น การตัดกิ่งไม้ทำค้างถั่ว) ต้อง ผ่านความเห็นชอบจากประธานหรือคณะกรรมการ ก่อนการดำเนินการ
8/14/13 5:06:33 PM
aw_jombung.indd 66
ต อ น ที่ 5
ปลูกผัก ในตะกร้า กับ ครอบครัว คุณครูนักคิด
8/14/13 5:06:37 PM
aw_jombung.indd 67
8/14/13 5:06:39 PM
aw_jombung.indd 68
8/14/13 5:06:44 PM
aw_jombung.indd 69
“เดี๋ยวจะพาไปดูกลุ่มปลูกผักในตะกร้า”
รองนายกฯ อบต.จอมบึง พล จันทรชิต บอก ด้วยรอยยิ้มกว้าง “ผักในตะกร้าที่คุณเห็นตั้งอยู่หน้า อบต. นั่นแหละ มีที่มาจากที่นี่ เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ ของเรา” ใช่ น่าสนใจทีเดียว ทำไมต้องปลูกในตะกร้า พลาสติก มีเหตุผลอะไรหรือ ? เมือ่ รองฯ พล พาไปเยือนบ้านครู สมหวัง สุขพ่วง ที่บ้านหนองยาว หมู่ที่ 10 ฉันก็พบว่า สิ่งที่เห็นมันมี เรื่องราวมากกว่าแค่ผักในตะกร้า หากมันคือวิธีคิดของ การเกษตรแนวใหม่ ที่ เ ปี่ ย มด้ ว ยนวั ต กรรมและการ ประสมประสานให้สอดรับกับปัญหาและเงื่อนไขของ พื้นที่และบุคคล ครูสมหวังไม่ได้ทำสิง่ นีเ้ พือ่ ตนเอง แต่เพือ่ ความรู้ ทางด้านการเกษตรสำหรับการเรียนการสอนให้เด็ก สุขคดีที่จอมบึง | 69
8/14/13 5:06:44 PM
aw_jombung.indd 70
และขยายไปสู่ชุมชน เนื่องจากครูสมหวังเป็นครูสอน หนังสือระดับประถมในอำเภอจอมบึง และเมือ่ ปี 2544 ก็ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียงหนองขนาก ตำบลจอมบึง พร้อมกับคู่ชีวิต ครูดาวเรือง สุขพ่วง ซึ่งเมื่อตั้งใจจะ
ลงหลักปักฐานที่นี่แน่นอนแล้ว แม้ว่าโรงเรียนหนองขนากจะเป็นเพียงโรงเรียนเล็กๆ แต่ทั้งสองก็มีความ
มุ่งมั่นตั้งใจต่อการมาสอนในโรงเรียนแห่งนี้ ครูสมหวังได้แรงใจในการทำการเกษตรปลอดสารพิษจากเหตุการณ์ที่ลูกศิษย์วัย 9 ขวบซึ่งตอนนั้น เรียนอยู่ชั้น ป.3 ได้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากกินแตงโมที่ ปลูกในอำเภอจอมบึง 70 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:48 PM
aw_jombung.indd 71
“ลูกศิษย์เราตายไปต่อหน้าต่อตา ผมสะเทือนใจ กับเรื่องนี้มาก เพราะแตงโมในพื้นที่จอมบึงฉีดยาฆ่า แมลงเยอะมาก เย็นวันนั้นเด็กป.3 คนนี้กำลังหิวข้าว ข้าวที่บ้านหมด ย่าจึงออกไปซื้อข้าว เขาก็ฝากยายให้ ช่วยซื้อแตงโมมาด้วย ยายก็ซื้อมา ด้วยความหิวเขาก็ กิ น แตงโมไปเกื อ บหมดลู ก ประมาณ 3 ใน 4 ของ
ผล ปรากฏว่ า พอกิ น ไปมาก ขนาดนั้ น แล้ ว เขาก็ น้ ำ ลาย ฟู ม ปาก ถ่ า ยด้ ว ย ย่ า กิ น นิดเดียวแค่ถ่ายท้อง ย่ารีบ พาหลานไปโรงพยาบาล แต่กว่าจะไปถึง หลานช็อค แล้ ว และเสี ย ชี วิ ต ก่ อ นถึ ง โรง พยาบาล ผมสะเทือนใจกับเรือ่ งนี้ จึ ง คิ ด ว่ า จะทำอย่ า งไรที่ จะทำให้ ค นเราหั น ม า ป ลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ ได้ อย่างน้อย สมหวัง สุขพ่วง
8/14/13 5:06:51 PM
aw_jombung.indd 72
72 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:57 PM
aw_jombung.indd 73
ทุกครอบครัว หากไม่ต้องซื้อกินแล้วปลูกกินเอง เราก็ สามารถที่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงได้ โดยเฉพาะผักประเภท ที่มีต้นกำเนิดจากจีน พวกกะหล่ำ ผักกาด ผักกวางตุง้ ผั ก คะน้ า ใช้ ย าฆ่ า แมลงเยอะมาก และเดี๋ ย วนี้ ย า
ฆ่าแมลงมันเป็นแบบดูดซึมด้วย ไม่มีกลิ่น มันซึมเข้าไป ในผัก นี่เป็นปัญหาใหญ่ ผมไม่อยากให้คนเราต้องมา เจอกับสภาพแบบนี้ เลยพยายามหาวิธีที่จะให้คนปลูก ผักกินเอง และไม่ต้องมีเงื่อนไขเรื่องที่ดินหรือทำเลที่จะ ปลูก เพราะปลูกแบบนี้มีพื้นที่เพียงตารางวาเดียวก็ ปลูกได้แล้ว” ครู ส มหวั ง เล่ า ว่ า ก่ อ นหน้ า จะมาเป็ น ครู
ครูสมหวังเคยเป็นเกษตรกรมาก่อน รู้ดีว่าการทำการ เกษตรเชิ ง เศรษฐกิ จ นั้ น ต้ อ งใช้ ฆ่ า แมลงมากแค่ ไ หน
ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเรียนต่อและมาประกอบอาชีพครู
จึงได้ปลูกฝังลูกศิษย์และชุมชนในเรือ่ งการทำการเกษตร แบบไม่ตอ้ งใช้ยาฆ่าแมลง และในที่สุดก็ได้ออกแบบมา เป็น ‘การปลูกผักในตะกร้า’ “เราปลูกในพื้นที่น้อยเพื่อจะได้ดูแลทั่วถึง ปลูก เนื้อที่น้อยๆ อาจดีกว่าปลูกเป็นไร่หากเราดูแลไม่ทั่วถึง สุขคดีที่จอมบึง | 73
8/14/13 5:06:58 PM
aw_jombung.indd 74
ก็เลยมาทดลองปลูกกับกระถาง แต่กระถางมันแตกง่าย หนักด้วย ผมทดลองมาหมดครับ ถ้วย ถัง กาละมังแตก เอามาทดลองหมด สุดท้ายมาลงเอยด้วยวัสดุสงั เคราะห์ คือสายรัดพลาสติกสานเป็นตะกร้า เพราะทน ตากแดด ได้เป็น 10 ปี ไม่มพี ษิ ตกค้างเข้าไปในพืชผักเรา ออกแบบ ให้อากาศถ่ายเทดี รากชอนไชได้ดี ปลูกผักต้นเล็กหรือ ต้นใหญ่ก็ได้โดยเลือกตะกร้าให้ใหญ่ตามขนาดชนิดผัก “ความคิดในการออกแบบตะกร้าก็ได้มาจาก ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน เพราะคนสมัยก่อนเขาจะ ปลูกผักบนกระบะไม้ใช่ไหมครับ แต่ว่ามันผุง่าย แต่ แบบนีผ้ ยุ าก แม้มนั อาจเป็นวัสดุสงั เคราะห์ แต่ถา้ คิดถึง ประโยชน์ระยะยาวมันก็คุ้มค่า ใช้ประโยชน์ได้คุ้ม” ครูสมหวัง สุขพ่วง อธิบาย พลางเดินชี้ให้เราดู ผักในตะกร้าหลากหลายรูปแบบ หลายขนาดที่วางข้าง รัว้ “เห็นไหมครับ บริเวณบ้านเราอาจจะมีไม่มาก แต่เราก็เอากระถางวางไว้ริมรั้วได้ ขนย้ายก็สะดวก” ผักที่เหมาะมากสำหรับการปลูกผักในตะกร้า ได้แก่ ต้นหอม ผักบุง้ จีน ผักกวางตุง้ ผักคะน้า ผักกุยช่าย 74 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:06:58 PM
aw_jombung.indd 75
มะเขือเทศ ผักชี ผักกาดขาว พริก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ ผล พืชสมุนไพร ฯลฯ พืชหัว เช่น ขิง ข่า กระชาย ฯลฯ แต่การจัดวางผักในตะกร้าจะต้องมีวิธีการวางที่ เหมาะสมด้วย คือต้องจัดวางตะกร้าให้ชิดกันเพื่อรักษา ความชื้นบริเวณรากพืช ให้น้ำสม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องมาก เกิ น ไป พรวนดิ น โดยใช้ วิ ธี ก ารบี บ เคาะ หรื อ ขยั บ ตะกร้าเพื่อให้ดินหลวม ให้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการ ดูแลทางเทคโนโลยีชีวภาพ และถ้าจะปลูกในโรงเรือน มุ้งก็ได้เพื่อป้องกันแมลง ศัตรูพืช นอกจากปลูกผักในตะกร้าแล้ว ครูสมหวังกำลัง อยู่ในระหว่างการทดลองปลูกข้าวในตะกร้า โดยใช้
สุขคดีที่จอมบึง | 75
8/14/13 5:07:00 PM
aw_jombung.indd 76
พืน้ ทีน่ อ้ ยนิดมากถ้าเทียบกับการปลูกข้าวโดยทัว่ ไป โดย ครูใช้ขา้ วพันธุไ์ รซ์เบอรี่ (ซึง่ เป็นการผสมระหว่างข้าวพันธุ์ หอมดินกับหอมมะลิ) ปลูกในตะกร้าและวางลงในบ่อที่ ก่ออิฐสูงขึ้นมาประมาณ 2 ฟุตริมรั้ว ยาวไปตามถนน ภายในมีน้ำขังไว้เช่นเดียวกับการทำนา ซึ่งครูสมหวัง บอกว่า ต้นข้าวจะมีระยะเวลาหนึ่งกับความต้องการ
น้ำขัง แต่หลังจากนั้นไม่ต้องแล้ว ฉะนั้น สามารถยกไป วางไว้บริเวณที่ดินส่วนอื่นได้ แล้วนำต้นข้าวรุ่นต่อไป มาแช่บ่อตรงนี้ต่อไป ด้วยการทำเช่นนี้ การปลูกข้าววิธีนี้จะสามารถ ปลูกได้ถึง 4-6 รุ่นต่อปี ขณะที่การปลูกข้าวทั่วไป ปลูก ได้เต็มที่ 3 ครั้งต่อปี มันเป็นเพียงการทดลองครั้งแรกด้วยนิสัยความ ช่างคิดช่างทดลองของครูสมหวัง ซึ่งครูหวังว่า หากได้ ผลดี วันข้างหน้าก็อาจจะเขียนหลักสูตรแนะนำเกษตรกร หรือคนทีส่ นใจจะปลูกข้าวกินเองเหมือนกับการปลูกผัก กินเองเช่นกัน ครูสมหวังยังได้พาเราเดินเทีย่ วชมสวนในบริเวณ เนื้ อ ที่ ไ ม่ ถึ ง 2 ไร่ (เนื้ อ ที่ 2 ไร่ ร วมทั้ ง ตั ว บ้ า นด้ ว ย 76 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:00 PM
aw_jombung.indd 77
อนุมานว่า หากเป็นพืน้ ทีก่ ารเกษตรจริงๆ อาจประมาณ เพียง 1 ไร่เศษเท่านัน้ ) บ้านครูสมหวังปลูกผักนานาชนิด ไม่วา่ พืชผักไม้ผลอย่างมะละกอ ต้นกล้วย หรือผักนานา ชนิด อย่างชะอม ตำลึง มะระ ไม้ยืนต้นอย่าง ต้นไผ่ หรือพืชผักสมุนไพรสารพัน นอกจากผั ก แล้ ว ครู ยั ง เลี้ ย งสั ต ว์ อ ย่ า ง หมู ป่ า เป็ด ไก่ และบ่อปลาที่น่าตื่นตาตื่นใจ สุขคดีที่จอมบึง | 77
8/14/13 5:07:05 PM
aw_jombung.indd 78
ครูสมหวังเลี้ยงปลาดุกพันธุ์รัสเซียตัวอ้วนพีมาก โดยการให้อาหารทีค่ รูผลิตขึน้ มาเอง ซึง่ มีสว่ นผสมของรำ ข้ า วปลายหั ก หุ ง สุ ก แล้ ว ผสมกั บ เศษพื ช ผั ก เหลื อ ใช้ (เศษต้นกล้วย ผักตบ ใบหม่อน หรือต้นกระถินก็ใช้ได้ 78 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:07 PM
aw_jombung.indd 79
นำมาสับให้ละเอียด) และลูกตะคร้อหมักกับผลกล้วยสุก ซึ่งกลิ่นของลูกตะคร้อนี้เองที่จะทำให้อาหารปลามีกลิ่น หอม ทำให้ปลาอยากมากิน เมือ่ ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมอาหารปลาเสร็จแล้ว ก็จะได้อาหารปลาที่คล้ายแป้งนวดข้าว (ที่ปั้นทำขนม ต่างๆ) สามารถนำไปวางไว้บนขอบบ่อให้ปลากินได้ “การที่เราไม่ต้องโยนลงไปในสระ จะช่วยทำให้ น้ ำ ในสระสะอาด คุ ณ เห็ น ไหม บ่ อ ปลาผมน้ ำ ไม่ ด ำ
นะครับ และไม่มีกลิ่น” ครูไม่ได้โม้ เป็นเรื่องจริงค่ะ บ่อปลาดุกของครู น้ำสีน้ำคลอง ไม่ใช่สีดำหรือ มีกลิ่นเหม็นอย่างบ่อปลาที่เคยเห็นในอีกหลายๆ แห่ง ครูสมหวังยังปล่อยระบายน้ำในสระทิ้งทุกสัปดาห์และ เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ตลอดโดยการสูบน้ำจากบ่อขึ้นมา ขณะเดียวกันน้ำจากบ่อปลาก็ไม่ได้ถ่ายทิ้งเฉยๆ เพราะ น้ำจากบ่อปลานี่แหละที่มีคุณค่า มีประโยชน์อย่างมาก ต่อพืชผัก เพราะอุดมไปด้วยปุย๋ จากการถ่ายมูลของปลา ครูสมหวังได้ต่อท่อและสายยางสำหรับการถ่าย น้ำเสียจากบ่อปลาไปยังแปลงผักหรือสวนผักต่างๆ และ สุขคดีที่จอมบึง | 79
8/14/13 5:07:08 PM
aw_jombung.indd 80
ผักของครูกง็ ามมากอย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ต้นกล้วยใกล้ บ่อปลา จะมีลำต้นทีส่ งู มาก อวบใหญ่ ผลทีไ่ ด้กล็ กู ใหญ่ มาก “เพราะได้ปุ๋ยจากบ่อปลานี่แหละครับ ไม่ต้อง เอาปุ๋ยจากที่ไหนเลย” ครูพูดยิ้มๆ ด้วยความภูมิใจ ความรักชอบในวิถกี ารเกษตรของครูมไิ ด้เกิดขึน้ แต่เพียงครูคนเดียวเท่านั้น แต่สมาชิกในครอบครัวก็ พลอยได้รบั แรงบันดาลใจมาจากหัวหน้าครอบครัวคนนี้ ด้วย น้องพ็อต หรือ อภิวรรษ สุขพ่วง วัย 25 ปี แม้ จะเรียนจบมาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อเดินเข้า มาสู่สนามชีวิตจริง เขากลับรู้สึกรักชอบในการอยู่กับ ธรรมชาติ การได้ปลูกผัก ขลุกกับดินมากกว่า “อาจเป็นเพราะซึมซับมากับสิ่งเหล่านี้น่ะครับ เห็นคุณพ่อทำมาตลอด ตอนวัยรุน่ ผมเคยอยากได้กตี าร์ นะครับ อยากเล่นกีตาร์ แต่พ่อกลัวเสียการเรียนก็เลย ให้มาช่วยทำการเกษตร ไปๆ มาๆ จากความอยากได้ กีตาร์ก็มาจับจอบแทน” น้องพ็อตเล่าอย่างอารมณ์ดี 80 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:08 PM
aw_jombung.indd 81
วันนั้นที่เราพบกับน้องพ็อต เขากำลังขับรถไถ เข้าบ้าน เห็นทีแรกก็ไม่คดิ ว่าจะเป็นลูกชายเจ้าของบ้าน เพราะมีมากทีเดียวที่ฉันจะพบว่า ภารกิจใดๆ ที่พ่อแม่ ปฏิบัตินั้น ผู้เป็นลูกมักจะเลือกเดินไปอีกเส้นทางหนึ่ง หาได้น้อยที่ลูกๆ จะเจริญรอยตาม ทุกวันนีน้ อ้ งพ็อตทำการเกษตรช่วยพ่อ เขาสูแ้ ดด
สู้ลมไม่เกี่ยงงานหนัก เมื่อถามว่า ชอบชีวิตเช่นนี้หรือ เขาบอกว่า “ชอบครับ” เมื่ อ ชอบแล้ ว ก็ ไ ม่ มี เ หตุ ผ ลที่ จะไปทำอะไรอย่างอื่น ได้ทำใน สิ่ ง ที่ ช อบก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ มี ค่ า ที่ สุ ด แล้ว น้ อ งพ็ อ ตยั ง มี โ ครงการ กับคุณพ่อว่า ในอีก 2 ปี ถ้าพ่อ เกษียณ จะมาทำเกษตรเต็ ม รู ป แบบร่ ว มกั น พร้อมกั บ สร้ า งที่ นี่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อภิวรรษ สุขพ่วง สุขคดีที่จอมบึง | 81
8/14/13 5:07:10 PM
aw_jombung.indd 82
ให้กับผู้คน ให้คนอื่นๆ ได้มาศึกษา เพราะทีน่ ไี่ ม่ได้มแี ค่ การทำสวนเท่านัน้ ทีด่ นิ ติดกันถัดจากบ้านยังเป็นทุ่งนา ที่ครอบครัวนี้ลงแรงทำด้วยกัน และไม่ได้มีเพียงแค่การผลิตการเกษตรพืชผล เบื้องต้นเท่านั้น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็น อีกอย่างหนึ่งที่ครอบครัวนี้ได้คิดค้น เสาะหาสูตรเพื่อ ต่อยอดไปสู่ตลาดให้ได้ อย่างน้ำกระเจีย๊ บ น้ำตะคร้อ ทีส่ ามารถเก็บไว้ได้ นานหลายปี ทำเป็ น หั ว เชื้ อ ได้ โ ดยไม่ เ สี ย ไม่ ต้ อ งใส่
สารกันบูด วันนัน้ น้องพ็อตอธิบายให้ฉนั ฟังอย่างฉะฉาน ด้วยว่า เขาได้ลงมือปฏิบัติและทำด้วยตนเองเลย น้ำตะคร้อหอม อร่อยมาก ขณะที่น้ำกระเจี๊ยบ ก็ดื่มได้รสสดชื่น “ส่วนเนื้อกระเจี๊ยบที่เราเคี่ยวเอาน้ำเสร็จแล้ว เรายังนำเนื้อมันมาเป็นแยมหรือกินเล่นได้” ครู ด าวเรื อ ง คุ ณ แม่ น้ อ งพ็ อ ตยั ง ได้ น ำเนื้ อ กระเจี๊ยบที่เคี่ยวเสร็จแล้วมาให้ชิม คล้ายๆ พวกผลไม้ แช่อิ่ม แต่สดกว่ามาก เพราะไม่ได้ผ่านการหมักดอง “อีกอย่างก็คือ ขนมกุยช่ายที่เราช่วยกันแนะนำ 82 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:11 PM
aw_jombung.indd 83
ให้เด็กนักเรียนที่โรงเรียนได้ปลูกกุยช่ายในตะกร้า แล้ว นำใบกุยช่ายมาทำขนม สร้างรายได้ให้เด็กๆ” ครูดาว เรืองเสริม กุยช่ายทีป่ ลูกนัน้ เป็นกุยช่ายอ่อน เหมาะสำหรับ ทำขนมกุยช่ายโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันวิธีการเก็บ
กุยช่ายก็ตดั เพียงแค่ใบกุยช่ายไปเท่านัน้ ทีเ่ หลือก็ปล่อย ให้มันได้งอกออกมาใหม่จนกว่าจะโต แล้วตัดใหม่ด้วย วิธเี ดิม ดังนีแ้ ล้ว จึงทำให้สามารถตัดใบกุยช่ายมาบริโภค ได้หลายครั้งสำหรับการปลูกกุยช่ายต่อหนึ่งครั้ง เป็นอย่างไรคะ เห็นครอบครัวนักคิดและช่าง ต่อยอดก็อดทึ่งไม่ได้ใช่ไหม เดี๋ยวตอนต่อไป จะพาไปรู้จักกับโรงเรียนที่มี ห้องเรียนวิถพี อเพียง โรงเรียนหนองขนาก ทีค่ รูดาวเรือง และครู ส มหวั ง ได้ ส ร้ า งสรรค์ ใ ห้ กั บ เด็ ก ๆ จนทำให้ โรงเรี ย นที่ มี แ นวโน้ ม จะโดนยุ บ แต่ แรก กลั บ มาเป็ น โรงเรียนตัวอย่างได้ในที่สุดค่ะ
สุขคดีที่จอมบึง | 83
8/14/13 5:07:11 PM
aw_jombung.indd 84
ต อ น ที่ 6
ห้องเรียน วิถีพอเพียง
8/14/13 5:07:14 PM
aw_jombung.indd 85
8/14/13 5:07:17 PM
aw_jombung.indd 86
8/14/13 5:07:19 PM
aw_jombung.indd 87
โรงเรียนบ้านหนองขนาก เป็นโรงเรียนระดับ
ประถมที่ปัจจุบันมีครู 4 คน และนักเรียนเพียง 85 คน เท่านั้น แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับเทอมที่แล้วที่มีเพียง 51 คน เทอมนี้ก็ถือว่าดีกว่ามาก และยังรอดจากการ ถูกลิสต์รายชื่อในโครงการยุบโรงเรียนขนาดเล็กของ รัฐบาล นั่นเป็นเพราะอะไร น่าสงสัยและอยากรู้ใช่ไหม? แต่น่าเสียดายนิดหนึ่ง ที่เรามาเยี่ยมชมโรงเรียน กันในวันเสาร์ จึงทำให้ไม่พบเด็กๆ แต่ถึงอย่างไรใน
คำบอกเล่าของของครูดาวเรือง ก็ทำให้เห็นภาพการ พลิกฟื้นโรงเรียนที่เคยเป็นโรงเรียนร้างอยู่สามปีให้กลับ มาเป็นโรงเรียนตัวอย่าง และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ น่าสนใจของตำบลจอมบึง ย้อนกลับไปเมื่อปี 2544 เมื่อครูสมหวังและครู ดาวเรืองตัดสินใจย้ายจากโรงเรียนวัดรางบัว ซึ่งเป็น สุขคดีที่จอมบึง | 87
8/14/13 5:07:20 PM
aw_jombung.indd 88
โรงเรียนใหญ่ของอำเภอจอมบึง และเลือกมาสอนที่ โรงเรียนบ้านหนองขนากด้วยความประสงค์จะให้ชีวิต บั้นปลายได้ก่อประโยชน์ให้กับผู้อื่นให้มากที่สุด การ เลือกสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก จึงน่าจะทำประโยชน์ ให้กับชุมชนมากกว่าการอยู่โรงเรียนใหญ่ ประกอบกับ ขณะนัน้ ทางโรงเรียนวัดรางบัวมีอตั ราครูเกินอยู่ 2 อัตรา ครูสมหวังจึงได้ชักชวนครูดาวเรืองให้ย้ายมาสอนที่นี่ พร้อมกับความตั้งใจจะใช้วิถีชีวิตเกษตรพอเพียงอย่าง จริงจังมากขึ้น “ตอนนั้ น โรงเรี ย นบ้ า นหนองขนากกำลั ง เริ่ ม ปรับปรุงหลังจากร้างอยู่ 3 ปี เพราะก่อนนั้นเขายุบ โรงเรียนและย้ายเด็กๆ ไปเรียนรวมกันที่โรงเรียนตลาด ควาย แต่ตอนหลังชาวบ้าน ผู้ปกครองเด็กก็อยากให้ เด็ ก ๆ ได้ ก ลั บ มาเรี ย นที่ นี่ เขาก็ ร่ ว มไม้ ร่ ว มมื อ กั น ทำความสะอาด ถางหญ้า ตอนนั้นหญ้ารกมาก คิดดูว่า ร้างไปตั้ง 3 ปี ตอนครูดาวเรืองกับครูสมหวังมา เรายัง เห็ น ร่ อ งรอยของการถู ก ทิ้ ง ให้ ร้ า งอยู่ ห ลายอย่ า ง
ต้นหญ้าขึ้นสูง ห้องเรียนมีแต่ฝุ่น หยากไย่ รกมาก นก หนู อยู่เต็มไปหมด” 88 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:20 PM
aw_jombung.indd 89
ครูสมหวังเป็นคนนครปฐม แต่ด้วยความรักใน อาชีพเกษตรจึงได้มาซือ้ ทีด่ นิ ทีต่ ำบลจอมบึงเพือ่ ทำการ เกษตรยามว่างจากอาชีพครูไปด้วย ดังนั้น ด้วยความรู้ ด้ า นการเกษตรที่ มี ม าตลอดจึ ง ได้ น ำสิ่ ง เหล่ า นั้ น มา ถ่ายทอดยังนักเรียนของตัวเองด้วย “ห้องเรียนพอเพียงของเด็กๆ ก็เริ่มต้นขึ้นตอน ทีค่ รู 2 คนย้ายมา ตอนนัน้ พบว่า โอกาสทางการศึกษา ต่อของนักเรียนที่นี่มีน้อย ตอนนั้นยังไม่มีโครงการเรียน ฟรี 15 ปี นักเรียนที่ได้เรียนต่อมีแค่ 2 คน ครูก็ถาม พวกเขาว่า ทำไมไม่เรียนต่อล่ะลูก เขาก็บอก ไม่มีเงิน เพราะถ้าจะเรียนต่อ อย่างน้อยต้อง มีเงินประมาณ 900 บาท ถึงจะ เรียนได้ “ครู กั บ ครู ส มหวั ง ก็ ม า คิดกันว่า ทำอย่างไรดีนะถึงจะ ให้ เ ด็ ก ๆ มี ร ายได้ จะได้ มี
เงินไปเรียนต่อ เราก็มา เห็ น ทางออกคื อ กระเจี๊ยบ เพราะ ครูดาวเรือง สุขคดีที่จอมบึง | 89
8/14/13 5:07:22 PM
aw_jombung.indd 90
ที่นี่กระเจี๊ยบขึ้นเยอะมาก กระเจี๊ยบขึ้นข้างทางเต็มไป หมด ในไร่มนั สัมปะหลังนี่ก็มีแต่กระเจี๊ยบ เขาพยายาม ทำลายกันแต่ไม่หมด มันกลายเป็นวัชพืชสำหรับที่นี่ กระเจี๊ยบพันธุ์พื้นเมืองนี่แหละค่ะ มันขึ้นในดงอ้อย ดง มัน แล้วในไร่มันนั้น เวลาต้นมันขึ้นสูง มองไปข้างล่าง จะเห็นกระเจี๊ยบขึ้นเต็มไปหมด สวยมาก เข้าไปตัดกัน ได้สบาย เลยชวนเด็กๆ ไปมุดดงมัน ไปตัดกระเจี๊ยบมา ชาวบ้านเห็นเราตัดกับเด็กๆ เขาก็มาช่วยด้วยนะ ก็มา ช่วยกันทำน้ำกระเจี๊ยบ แยมกระเจี๊ยบ” เมื่อติดอาวุธความรู้ในการทำน้ำกระเจี๊ยบ แยม กระเจี๊ยบแล้ว จากนั้นครูก็ได้ให้เด็กๆ เอาไปให้ที่บ้าน
90 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:24 PM
aw_jombung.indd 91
ให้ เ ด็ ก ลองสรุ ป มาว่ า ถ้ า ทำ 1 ขวดจะต้ อ งมี ต้ น ทุ น
เท่าไหร่ เด็กนักเรียนก็ได้บทสรุปว่า น้ำกระเจีย๊ บ 1 ขวด ใช้ผลกระเจี๊ยบสุก 7 ขีด และน้ำตาล 1 กิโลกรัม ซึ่ง
ในยุคทีน่ ำ้ ตาลยังไม่แพง โลละประมาณ 10 กว่าบาทนัน้ น้ำกระเจีย๊ บขวดหนึง่ ขายได้ 35 บาท 3 ขวด 100 บาท ก่อนที่จะขยับราคามาเป็น 40 บาท จนปัจจุบันขวดละ 80 บาท จากการฝึกให้นักเรียนเป็นคนที่พึ่งตนเองนี้เอง ในที่สุดเด็กๆ ทุกคนก็สามารถเรียนต่อได้ (ตอนหลังมี โครงการเรียนฟรี 15 ปี จึงทำให้อัตราการเข้าเรียนต่อ ของโรงเรียนบ้านหนองขนากเต็มจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีโครงการเรียนฟรีมาแล้วก็ตาม ครูทั้งสองก็ยังคงให้นักเรียนโรงเรียนหนองขนากฝึกฝน การหารายได้เสริมให้กบั ตนเองด้วยการทำน้ำกระเจีย๊ บ และขนมกุ ย ช่ า ยทอดที่ ไ ด้ วั ต ถุ ดิ บ จากต้ น กุ ย ช่ า ยที่
เด็กนักเรียนปลูกในตะกร้า ด้วยความรู้ด้านการเกษตรที่ครูสมหวังมี และ ทุกด้านได้ถา่ ยทอดให้นกั เรียนนีเ้ อง จึงทำให้เด็กนักเรียน โรงเรียนนี้ได้ฝึกฝนในการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง สุขคดีที่จอมบึง | 91
8/14/13 5:07:25 PM
aw_jombung.indd 92
ลดการซือ้ การจับจ่าย และให้มาเป็นผูผ้ ลิตและจำหน่าย ไม่ว่าการปลูกผักในตะกร้า (ฝึกสอนให้เด็กสานตะกร้า เอง) การทำปุย๋ หมักอินทรีย์ การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยา ทำความสะอาดพืน้ หรือการแปรรูปอาหารตามวัตถุดบิ ทีม่ ี เมื่อดูรอบๆ โรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองขนาก มี ป่ า มี พื้ น ที่ ที่ เ ป็ น ธรรมชาติ ร่ ม รื่ น มี เ ศษไม้ เ ศษฟื น จำนวนมาก ซึ่ ง เมื่ อ ครั้ ง ครู ด าวเรื อ งและครู ส มหวั ง ชักชวนให้เด็กมาหัดทำน้ำกระเจี๊ยบที่โรงเรียน ปรากฏ ว่าแก๊สที่ใช้หุงต้มจะหมดไวมาก ต้องออกไปซื้อบ่อยๆ ชาวบ้านจึงแนะให้ใช้ฟืนจากต้นไม้รอบโรงเรียน แต่ ครั้ น ใช้ ฟื น แล้ ว ก็ ยั ง เห็ น ว่ า ฟื น หมดเร็ ว อี ก เช่ น กั น
วันหนึ่งได้มีชาวบ้านที่ทำน้ำตาลโตนดขายมาบอกว่า สำหรับเขาแล้ว เขาใช้ฟืนเพียงนิดเดียวเท่านั้นสำหรับ การเคี่ยวน้ำตาล เพราะเตาเคี่ยวน้ำตาลไม่ต้องใช้ฟืน มาก แต่กลับให้ความร้อนมาก ครูสมหวังและครูดาวเรืองจึงได้ไปดูเตาเคี่ยว น้ำตาล ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ แล้วก็พบว่า เตาสำหรับเคี่ยวน้ำตาลถูกออกแบบเป็นพิเศษจากเตา 92 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:25 PM
aw_jombung.indd 93
ทั่วๆ ไป นั่นคือจะมีช่องใส่ฟืนแคบๆ ยาวเข้าไป แล้ว ตรงกลางทีว่ างกระทะจะตีวงปิดล้อม ทำให้ความร้อนไป รวมอยู่ตรงนั้น และระบายขึ้นข้างบนลนกระทะ ใน ขณะที่ถ้าเราตั้งเตาแบบทั่วไป ความร้อนจะกระจายไป ทั่ว ทำให้ใช้ความร้อนได้ไม่คุ้มค่า “พอเราเห็นเขาเคี่ยวน้ำตาลแล้ว เราก็เอาความ คิดนี้มาดัดแปลงทำที่โรงเรียน จากนั้นก็ให้เด็กๆ ได้ เปลี่ยนเวรกันทำน้ำกระเจี๊ยบ เงินที่ได้ก็จะเป็นเงินกอง กลาง เราเปิดบัญชีเป็นเงินส่วนรวม หากใครทำมาขาย เป็ น ส่ ว นตั ว ก็ จ ะเปิ ด บั ญ ชี ใ ห้ เ ป็ น เงิ น ส่ ว นตั ว เขา พอ ปลายปีก็จะเอาเงินส่วนรวมมาเฉลี่ยกัน ด้วยเหตุนี้ เด็ก ทุกคนจึงมีเงินเรียนต่อแน่นอน”
สุขคดีที่จอมบึง | 93
8/14/13 5:07:28 PM
aw_jombung.indd 94
เมื่อถามว่า เด็กนักเรียนที่ทำน้ำกระเจี๊ยบและ ขนมกุ ย ช่ า ยขาย สามารถมี ร ายได้ ต่ อ ปี เ ท่ า ไหร่ ครู
ดาวเรืองบอกว่า “ประมาณ 6,000 -7,000 บาท ต่อคน” ฉันฟังแล้วอึ้งทีเดียว สำหรับนักเรียนประถม
ตัวเล็กๆ (เฉพาะระดับ ป.4-ป.6 เท่านั้นที่ครูอนุญาตให้ มาทำกิจกรรมการขายสินค้าแปรรูป แต่หากมีเด็กเล็ก กว่านี้มาขอร่วม ก็จะพิจารณาเป็นรายบุคคล ดูที่ความ มุ่งมั่นตั้งใจ) ครูดาวเรืองบอกว่า ที่มีรายได้สูงขนาดนี้ เพราะ ทำกั น ตลอด แม้ ไ ม่ ไ ด้ ท ำทุ ก วั น แต่ ห ากโรงเรี ย นมี 94 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:30 PM
aw_jombung.indd 95
กิจกรรมโรงเรียนหรืองานแสดงนิทรรศการต่างๆ ก็จะ นำไปขายตลอด และขายได้หมดทุกครั้ง “บางครั้งเด็กๆ เขาก็ได้ทิปจากผู้ใหญ่ ก็เอามา เข้ากองกลาง” และเงินกองกลางที่ว่านี้จะมีคณะกรรมการร่วม ดูแล ซึ่งมีทั้งตัวแทนนักเรียน ตันแทนผู้ปกครองและครู ร่วมกันรักษาผลประโยชน์ให้นักเรียนทุกคน ด้วยตัวอย่างแห่งการพึ่งตนเองบนวิถีพอเพียง เช่ น นี้ เ อง โรงเรี ย นบ้ า นหนองขนากจากที่ เ คยเป็ น โรงเรียนร้าง จึงกลายเป็นโรงเรียนตัวอย่างหรือแบบ อย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ หรือแม้แต่ชุมชนอื่นๆ ได้มา ศึกษาดูงาน ซึ่งแต่ก่อนเวลามีใครมาดูงาน ครูดาวก็จะ พาแขกเข้าไปเยี่ยมชมในห้องเรียน แต่ตอนหลังเมื่อมี คนเข้ามาเยี่ยมมากเข้า ครูดาวเรืองจึงได้จัดมุมๆ หนึ่ง ของอาคารเรี ย น และเรี ย กมุ ม นั้ น ว่ า ‘ห้ อ งเรี ย นวิ ถี
พอเพียง’ เพื่อทุกคนจะสามารถมาดูได้ตลอดเวลาโดย ไม่รบกวนการเรียนของเด็กคนอื่นๆ หรือบางครั้งหาก ช่วงพักเทีย่ ง มีนกั เรียนคนไหนว่าง อยากมาสานตะกร้า ก็สามารถมานั่งทำได้เลย เนื่องจากมีอุปกรณ์วางให้ พร้อมอยู่แล้ว สุขคดีที่จอมบึง | 95
8/14/13 5:07:30 PM
aw_jombung.indd 96
ครูดาวเรืองชี้ชวนให้เราดูรอบๆ โรงเรียนซึ่งยังมี พืน้ ทีส่ ามารถทำอะไรได้อกี หลายอย่าง แต่กระนัน้ ครูก็ ยังเป็นห่วงการเรียนของนักเรียน ด้วยเห็นว่า อย่างไร การเรียนก็ต้องมาก่อน ดังนั้น จะไม่ให้นักเรียนทำอะไร มากเกินไป ขอเพียงแค่ให้ทกุ คนได้รจู้ กั ช่วยเหลือตนเอง และรู้จักวิถีแห่งการพอเพียง แล้วจะรู้ว่า เราสามารถ อยู่ได้ นั่งรถออกจากโรงเรียนหลังเยี่ยมชมห้องเรียน วิ ถี พ อเพี ย งของโรงเรี ย นบ้ า นหนองขนาก ก็ เ ห็ น เงา ตะคุ่มๆ กลางพงหญ้าคาหน้าโรงเรียน รู้ว่าคงมีใครสัก คนมาตัดหญ้าเพื่อใช้ประโยชน์ทำอะไรสักอย่าง แต่ไม่ คิดว่า เงาตะคุ่มๆ นั้นจะเป็นน้องพ็อตลูกชายของครู ดาวเรืองนั่นเอง ส่งเสียงแซวกันพอขำๆ นึกว่าเป็นภารโรงที่ไหน น้องพ็อตในชุดเสื้อแขนยาว หมวกคลุมหน้าดูไม่ออก เลยว่า เป็นบัณฑิตจบใหม่ที่น่าจะใช้ชีวิตอยู่ในห้องแอร์ แต่งตัวในชุดคนทำงานกินเงินเดือน แต่กลับเป็นว่า
เขาชอบวิถีชีวิตเช่นนี้ และยินดีจะเป็นโดยไม่เกี่ยงงอน งานหนัก แดดร้อน 96 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:30 PM
aw_jombung.indd 97
สู ต รแห่ ง การประสบความสำเร็ จ ในชี วิ ต ของ
คนเราไม่เหมือนกัน เมื่อเลือกจะเดินในวิถีทางที่สง่า ผ่ า เผย ไม่ ก้ ม หั ว ให้ ใ คร สำหรั บ แนวทางแห่ ง ความ
พอเพียงก็สามารถทำให้คนเรามีที่ยืนอยู่ได้ ขอแต่เพียง เป็นคนจริงเท่านั้น
สุขคดีที่จอมบึง | 97
8/14/13 5:07:34 PM
aw_jombung.indd 98
ต อ น ที่ 7
พลังชีวิต
(นวดเพื่อสุขภาพ- ใส่ ใจผู้สูงอายุ)
8/14/13 5:07:38 PM
aw_jombung.indd 99
8/14/13 5:07:41 PM
aw_jombung.indd 100
8/14/13 5:07:46 PM
aw_jombung.indd 101
ในเช้าวันฟ้าหลังฝน แสงแดดที่ส่องเต็มแรง
ทำให้ท้องฟ้าดูสวย ฟ้าสีฟ้าเข้ม ตัดกับต้นตาลเด่นที่ บ้ า นปากานต์ หมู่ ที่ 7 บ้ า นหนองมะค่ า ที่ ตั้ ง ของ
กลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ จนอดไม่ได้ที่จะกดชัตเตอร์กล้อง ถ่ายรูปเก็บไว้สักภาพ มิ เ พี ย งแดดแรงจะทำให้ ท้ อ งฟ้ า ดู ส วย แต่
แดดแรงยังทำให้คนทำสมุนไพรอบแห้งมีความสุขกับ การได้ น ำสมุ น ไพรสดนานามาตากแดด น้ อ งกานต์ หรือ กานต์สินี จิตพนมกาญจน์ และปา-ปาณิสรา จั น ทรั ต ทั ต 2 คู่หูที่มีความคิดอยากทำนวดสปาจน กระทั่งแตกยอดงานมาสู่การผลิตสมุนไพรนานาเพื่อให้ ผู้ป่วยสามารถนำไปรักษาด้วยตนเองได้ รวมไปจนถึง การบริโภคเพื่อดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ก็ได้ เปิดประตูบ้านและแหล่งเรียนรู้เพื่อมอบความรู้เป็น วิทยาทานแก่ผู้มาเยือน สุขคดีที่จอมบึง | 101
8/14/13 5:07:47 PM
aw_jombung.indd 102
ภายในบริเวณบ้านอันกว้างขวาง กานต์และปาทำเรือน นวด ซุ้มเรียนรู้ และอาคารผลิตอาหารแปรรูป การ ผลิตยาสมุนไพรอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย กานต์เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของกลุ่มนวดเพื่อ สุขภาพนี้ เริ่มต้นจากการที่เธอเคยเป็นเจ้าหน้าที่การ เงิ น ของโรงพยาบาลเอกชนแห่ ง หนึ่ ง เมื่ อ ประมาณปี 2540 เธอพบแม่คนหนึ่ง นำเงินมาจ่ายค่ารักษาลูกด้วย เงินจำนวน 162 บาท เงินจำนวนนี้แม้อาจเป็นเงิน จำนวนน้ อ ยนิ ด สำหรั บ ใครหลายคน แต่ มั น เป็ น เงิ น
102 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:51 PM
aw_jombung.indd 103
ที่ มี ค่ามากสำหรับเขา เขานับเหรียญทีละเหรียญต่อ
หน้าเธอ ก่อนจะเอ่ยด้วยอาการน้ำตาคลอว่า “นี่เป็น เงินก้อนสุดท้ายที่ฉันมี ถ้าจ่ายค่ายาหมด ฉันก็ไม่มีเงิน ซื้อนมให้ลูกคนเล็กแล้ว” กานต์สงสารแม่คนนั้นมาก จึงได้ติดต่อแพทย์ เจ้ า ของไข้ แ ละขอยกเว้ น ค่ า แพทย์ ซึ่ ง หลั ง จากได้
ช่วยเหลือเขาไป กานต์ก็เริ่มคิดว่า มากกว่านี้เธอจะ สามารถช่วยคนอื่นได้อีกไหม ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจไป เรียนการแพทย์ทางเลือก และเลือกเรื่องการนวดเพื่อ สุขภาพ เมือ่ พร้อมแล้วก็ออกมาเปิดร้านนวดด้วยตนเอง พร้อมกับปา เพื่อนร่วมงานที่โรงพยาบาลเดียวกันซึ่งมี แนวความคิดไปในทางเดียวกัน โดยเริ่มเปิดที่จังหวัด กาญจนบุรี บ้านเกิดของกานต์ก่อน ก่อนจะย้ายมาที่ ตำบลจอมบึ ง บ้ า นเกิ ด ของปา และอยู่ ม าตราบจน ปัจจุบัน การออกมาเปิดร้านเองจะเป็นการช่วยเหลือคน อย่างไรหรือ ? เมื่อถามกานต์ กานต์ก็ตอบว่า “เวลาที่ เราทำการรั ก ษาเขาด้ ว ยตั ว เราเอง
เราจะมีเวลาพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างน้อยก็เป็นชั่วโมงหรือ สุขคดีที่จอมบึง | 103
8/14/13 5:07:51 PM
aw_jombung.indd 104
2 ชั่ ว โมง ระหว่ า งนั้ น เองที่ เราจะรู้ ส ถานการณ์ ข อง
ผู้ป่วยว่า เขาพร้อมจ่ายให้เรามากน้อยแค่ไหน บางที เราก็ไม่เก็บถ้ารู้ว่าเขาไม่มี การเปิดนวดบางทีก็เหมือน การหาเพื่อนนะคะ เราจะพบเพื่อนที่มีแนวคิดไปใน ทางเดียวกันเยอะขึ้น ขณะเดียวกันก็พบความรู้ใหม่ๆ” แต่กว่าที่กานต์กับปาจะสามารถเปิดร้านและ ยืนหยัดอยู่ได้จริงๆ ก็ต้องผ่านอุปสรรคมากมาย เพราะ การเปิดร้านนวดไม่ได้เป็นที่นิยมนักในยุคนั้น เธอทั้ง สองจึงต้องทำอาหารปิ่นโตส่งผู้ป่วยด้วย โดยอาหารที่ ส่งเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ปลอดผงชูรสและไม่เป็นภัย ต่อโรคที่พวกเขาเป็น “เพราะเราเห็ น แล้ ว ว่ า หลายโรคที่ ทุ ก คนมา รักษากับเรานัน้ ต้องดูแลควบคูไ่ ปกับอาหารการกินของ แต่ละคนด้วยก็เลยรับทำปิ่นโตไปด้วย แต่ตอนหลังเริ่ม ไม่ไหวเพราะต้องนวดด้วย และความที่ต้องรีบส่งปิ่นโต ให้ทันในแต่ละวัน ทำให้วันหนึ่งเกือบเกิดอุบัติเหตุร้าย แรง กานต์ก็เลยเลิก แล้วหันมาทำพวกอาหารแปรรูป และจำหน่ายปลีกแทนการส่งปิ่นโต”
104 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:52 PM
aw_jombung.indd 105
ด้ ว ยความตั้ง ใจที่ จะให้ ทุ กคนได้ รู้จั ก การดู แ ล รักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงโดยมิได้จบแค่ การรักษาเช่นนี้เอง หลายปีให้หลังมานี้ กานต์กับปา เริ่มตั้งหลักได้ มีคนนิยมมานวดและซื้ออาหารแปรรูป สมุนไพรต่างๆ มากขึ้นชนิดที่ทำกันไม่เคยพอ ขณะ เดียวกันชื่อเสียงและความยอมรับนับถือที่ปา-กานต์ได้ สั่ ง สมมานั บ สิ บ กว่ า ปี นี้ เ อง ทำให้ เริ่ ม มี ค นเข้ า มาขอ เรี ย นรู้ ม ากขึ้ น ซึ่ ง ปาและกานต์ ก็ ยิ น ดี ที่ จ ะถ่ า ยทอด
จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพของจอมบึง “กลุ่มของเราไม่ได้จำกัดว่า เป็นสมาชิกหมู่บ้าน หมูท่ ี่ 7 เท่านัน้ เพราะเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งความสนใจเฉพาะ สุขคดีที่จอมบึง | 105
8/14/13 5:07:54 PM
aw_jombung.indd 106
ของคน สมาชิกจึงมาจากหลายหมู่บ้านที่เราถ่ายทอด ความรู้เรื่องการนวดโดยพยายามรักษามาตรฐาน และ กานต์ยงั ปรุงลูกประคบเอง ซึง่ ก็จะมีคนมารับลูกประคบ จากที่นี่ไปขาย” นอกจากเกิ ด กลุ่ ม นวดอย่ า งชั ด เจนแล้ ว ปากานต์ ยั ง ตระเวนให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ และร่ ว มมื อ กั บ แหล่งเรียนรู้อื่นๆ ของตำบลจอมบึง อาทิ กลุ่มส่งเสริม ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ที่จะนัดเจอกันทุกวันที่ 5 ของ เดือนโดยเปิดบริการนวดฟรี หรือบางครัง้ ทีส่ าธารณสุข อำเภอหรือจังหวัดจัดกิจกรรมสัมมนาหรือประชุม ก็ มั ก จะมอบหมายให้ ป ากานต์ ดู แ ลเรื่ อ งอาหารหรื อ อาหารว่างเพื่อให้สอดรับกับเวทีเพื่อสุขภาพ ปา-กานต์ มิ เ พี ย งแต่ จ ะมี ส วนเพื่ อ รองรั บ การ ผลิตสุมนไพรเท่านัน้ แต่นาข้าวของพ่อปาณิสราก็ยงั เป็น นาข้าวอินทรีย์ และเด็กหญิง กนกวรรณ วรรณเลิศ วัย 9 ขวบ หลานสาวของปา ซึ่งได้รับการถ่ายทอด เรื่องการนวด การผลิตอาหารสุขภาพ จนกระทั่งเธอ รับแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ ยังกลายเป็นผู้นำเยาวชนจนได้ รับรางวัลเยาวชนดีเด่นของจังหวัดราชบุรีเมื่อปี 2555 106 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:07:54 PM
aw_jombung.indd 107
จนอาจเรียกได้ว่า คนรอบข้างของทั้งสองต่างก็ได้รับ อิทธิพลแนวคิดนี้จนสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้กับ สังคมได้ และเมือ่ พูดถึงการดูแลสุขภาพของกลุม่ นวดเพือ่ สุขภาพแล้ว คงเป็นไปไม่ได้ถ้าจะข้ามเรื่องกลุ่มส่งเสริม ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุของตำบลจอมบึง เนื่องจากแหล่ง เรียนรู้แห่งนี้เป็นตัวอย่างและเป็นความภาคภูมิใจอย่าง ยิ่งของตำบลจอมบึง และทุกวันที่ 5 ของเดือน อันเป็น
8/14/13 5:07:59 PM
aw_jombung.indd 108
วันนัดหมายพบปะร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มส่งเสริม ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ จะมีคนเข้าร่วมมากถึง 500 คน เลยทีเดียว (กลุม่ ได้เริม่ ดำเนินการมาประมาณ 5 ปีแล้ว) ปัจจุบันกลุ่มส่งเสริมห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ มี
เจ้าหน้าที่ อบต.ที่ดูแลอยู่คือ รองนายกฯ มุ้ย เทียมผูก และประธานกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ วั ย 71 ปี คื อ ป้ า เล็ ก -
ศรีรัตน์ เจียมรุ่งรักษา ป้ า เล็ ก หน้ า ตาผิ ว พรรณดู อ่ อ นกว่ า วั ย มาก
ครั้งแรกเห็นฉันยังนึกว่า คนวัย 50 กว่าไม่เกิน 60 ด้วยซ้ำ ทั้งกิริยา อารมณ์ดูสนุกสนานนั้นคง ช่วยส่งเสริมให้ป้าดูอ่อนวัยลง แต่หาได้รู้ไม่ ว่า ป้าเล็กเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมาตั้งแต่ ปี 2539 แล้ว ป้าเล็กฉายแสงไปทั้งหมด 32 ครั้ง และปัจจุบันระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ฉั น เชื่ อ แน่ น อนว่ า ความมี สุ ข ภาพจิ ต ดี ข องป้ า เล็ ก มี ผ ลต่ อ การรักษาโรค เพราะป้าดูจติ ใจงาม มีเมตตา เสียสละ อารมณ์ดี เมื่ อ มาเป็ น ประธาน
ป้าเล็กก็ดูไม่เครียดเลย 108 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:00 PM
aw_jombung.indd 109
ฉันถามป้าว่า กลุม่ ส่งเสริมห่วงใย ใส่ใจผูส้ งู อายุนี้ มีดีอะไร ? ไม่ตอ้ งนับว่า มีสมาชิกกว่า 500 คน ซึง่ มากเป็น พิเศษเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ แต่ป้าไม่ทันได้ตอบ เสียง โขมงโฉงเฉงของผู้เฒ่าที่แย่งกันตอบจนเหมือนเด็กๆ ก็ ทำให้บรรยากาศการสัมภาษณ์สนุกสนานครืน้ เครงอย่าง ยิง่ “มันสนุกมาก ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย เรา จะรอให้ถึงวันนั้น เพราะเราจะได้มาเจอกัน ได้มาตรวจ สุขภาพ ได้มาเล่นเกม ได้ของรางวัลกลับบ้าน ได้กนิ ข้าว เทีย่ งฟรีดว้ ยกัน บางคนบ้านไม่ได้อยูใ่ นเขตตำบลจอมบึง นะ แต่ เขาก็ ม า เพราะมาแล้ ว เขาสนุ ก ” ป้ า บุ ญ ชู คานพุ่ม หนึ่งในคณะกรรมการเสียงดังกว่าเพื่อน จึง แย่งตอบได้มากกว่าเพื่อน ขณะที่ทุกคนต่างเสริมว่า ใช่ๆๆ และกิจกรรมสนุกๆ เช่นนี้ ผู้ให้การสนับสนุน อย่างเป็นทางการก็คือ อบต.จอมบึง เนื่องจากทาง คณะทำงาน โดยเฉพาะนายกฯ เองเห็นว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ นั้ น ได้ ดู แ ลลู ก หลานมามากแล้ ว ในบั้ น ปลายชี วิ ต
พวกเราจึงควรได้ดูแลท่าน สุขคดีที่จอมบึง | 109
8/14/13 5:08:01 PM
aw_jombung.indd 110
วันนัดพบที่เลือกวันที่ 5 ของเดือน เพราะเป็น วันที่ภาครัฐจะมอบเบี้ยผู้สูงอายุให้ผู้เฒ่าวัยเกิน 60 ปี ทุกคน ดังนั้น จึงได้เลือกเอาวันนี้ โดยให้มีกิจกรรมช่วง เช้า และพอช่วงบ่ายหลังรับประทานอาหารเที่ยงแล้วก็ รับเบี้ยผู้สูงอายุไปด้วยเลย “ถ้ า ผู้ เ ฒ่ า บางคนไม่ อ ยากเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม
มาขอรับเบี้ยแล้วกลับเลยได้ไหม” “ได้สิ ได้ มารับได้เลย แต่ส่วนใหญ่เขาก็จะอยู่ กันนะ เพราะมันสนุก” ป้าบุญชูคนเดิมตอบ กิจกรรมที่แสนสนุกที่ป้าบุญชูเล่ามีอะไรบ้าง นอกจากที่ป้าได้สาธยายมาก่อนหน้านี้แล้ว ในงานยังมี การออกร้าน แสดงความสามารถ และการจำหน่าย สิ น ค้ า ต่ า งๆ เช่ น พื ช ผั ก อิ น ทรี ย์ ที่ แ ต่ ล ะคนปลู ก สามารถนำมาจำหน่ายที่นี่ได้ ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ด้าน อาหารที่ ม าตรวจสอบคุ ณ ภาพผั ก อิ น ทรี ย์ ด้ ว ยว่ า ปลอดสารจริงหรือไม่ เพราะหากพบว่ามีสารปนเปื้อน เจ้ า ของผั ก รายนั้ น จะถู ก ยกเลิ ก สิ ท ธิ์ ใ นการจำหน่ า ย ทันที
110 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:01 PM
aw_jombung.indd 111
กลุ่มสานไม้ไผ่ สานตะกร้า แหล่งเรียนรู้ของ ตำบลจอมบึงก็มา โดยเฉพาะเด็กๆ โรงเรียนบ้านหนอง ขนากก็จะนำน้ำกระเจี๊ยบ น้ำตะคร้อ ขนมกุยช่ายมา จำหน่าย กลุ่มนวดของปา-กานต์ที่มาดูแลรักษาให้ผู้ฒ่า ฟรี และยังมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจสุขภาพฟรี ไม่ว่าความดัน น้ำตาลในเลือด หรือโรคอื่นๆ ที่คนแก่ มักเป็นกัน โดยมีกฎกติกาของกลุ่มผู้สูงอายุว่า ถ้าใครมี โรคประจำตัวอะไรแล้ว เดือนต่อมาสามารถลดระดับ ความรุนแรงของโรค เช่น ความดันลดลง น้ำตาลในเลือด
สุขคดีที่จอมบึง | 111
8/14/13 5:08:03 PM
aw_jombung.indd 112
ลดลง หรือโรคปอด โรคหัวใจดีขนึ้ ก็จะมีรางวัลให้ และ ถ้าใครดูแลได้ดีมากเป็นพิเศษ ติดอันดับหนึ่ง สอง สาม ก็จะมีรางวัลพิเศษให้อีกต่างหาก นอกจากการเปิดร้านและซุ้มเพื่อสุขภาพแล้ว กิจกรรมบนเวทีก็ครื้นเครงเฮฮามาก เพราะจะมีดนตรี มีการเชิญออกมารำ มีการแข่งกันร้องเพลง แข่งกันเต้น เป็นต้น
112 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:07 PM
aw_jombung.indd 113
“พวกเขาสนุ ก จริ ง เหรอ” ฉั น ถามอี ก ครั้ ง
อดสงสัยไม่ได้ว่า วัยปูนนี้แล้ว บางทีอาจจะเบื่อหน่าย กับกิจกรรมแบบนี้ก็ได้นะ “สนุกจริงๆ ผู้เฒ่าก็ไม่ได้ต่างจากเรานะ ผู้เฒ่าก็ ต้องการความสนุกสนาน แต่ที่เขาเงียบๆ อยู่ที่บ้าน เพราะเขาไม่มีอะไรจะทำ เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับ เขา” ทั้งป้าบุญชู ป้าน้อย ป้าเล็ก ยืนยันตรงกันว่า
ทุกคนสนุก แม้ว่าบางคนอาจจะไม่ได้ออกมาเต้น มา ร้องเพลง แต่เขาพอใจที่ได้มาตรวจสุขภาพ แค่นั้นเขาก็ มีความสุขแล้ว “ฟังดูแล้วเหมือนเป็นวันเด็กของผูส้ งู อายุ” ฉันว่า ทุกคนหัวเราะชอบใจ “ใช่ๆ ถูกต้อง เป็นวันเด็ก ของผู้เฒ่า” นอกจากกิจกรรมทุกวันที่ 5 ของเดือนแล้ว กลุม่ ส่งเสริมห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ยังมีกิจกรรมพาไหว้พระ 7 วัด 9 วัดให้กับผู้สูงอายุทุกปี “เป็ น เหมื อ นการพานั ก เรี ย นไปทั ศ นศึ ก ษา
นั่นแหละ” ป้าบุญชูว่า เห็นภาพเลย สุขคดีที่จอมบึง | 113
8/14/13 5:08:07 PM
aw_jombung.indd 114
“แต่เป็นผู้เฒ่า ก็เหมือนงานวันที่ 5 น่ะแหละ หลายคนจะอยากไปกันเพราะได้ไปทำบุญด้วย และ ส่วนใหญ่พวกเรารูจ้ กั กัน ไม่เหมือนทัวร์ทอ่ งเทีย่ วอืน่ ๆ” และที่ ส ำคั ญ ค่ า ใช้ จ่ า ยฟรี เพื่ อ ให้ ผู้ สู ง อายุ ไ ด้ สะดวกและสบายใจต่อการไปไหว้พระ ระหว่างสัมภาษณ์ น้ำเสียงที่ทุกคนเล่า บ่งบอก ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ว่ า ทุ ก คนสนุ ก และพอใจแค่ ไ หนกั บ
114 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:11 PM
aw_jombung.indd 115
กิจกรรมนี้ ประเด็นสำคัญ ฉันว่าเพราะคณะทำงาน ทั้งหมดไม่ได้มองเห็นว่า ผู้สูงอายุเป็นคนวัยไม้ใกล้ฝั่ง แต่ เ ป็ น วั ย คนธรรมดา หรื อ เหมื อ นเด็ ก คนหนึ่ ง ที่ ยั ง ต้องการความใส่ใจดูแลและความสนุกสนานในชีวิต นี่ จึ ง นั บ ว่ า เป็ น สี สั น ของแหล่ ง เรี ย นรู้ ต ำบล จอมบึงทีเดียว
สุขคดีที่จอมบึง | 115
8/14/13 5:08:14 PM
aw_jombung.indd 116
ต อ น ที่ 8
ของฝาก จากตำบล จอมบึง
8/14/13 5:08:17 PM
aw_jombung.indd 117
8/14/13 5:08:20 PM
aw_jombung.indd 118
8/14/13 5:08:29 PM
aw_jombung.indd 119
ฟ้ า ครึ้ ม ฝน อากาศอบอ้ า วระดั บ ที่ ท ำให้
เหนียวตัวเหนอะหนะ แต่ฉันแทบไม่รู้สึกอะไรเลย ตลอดเวลาที่ได้มาเรียนรู้อะไรมากมายหลาย อย่างจากห้องเรียนชีวิตของตำบลจอมบึง ความรู้ใหม่ๆ ทำให้ฉันตื่นตัวและอยากเก็บซับไว้ให้มากที่สุด มิตอ้ งนับถึงภาพบรรยากาศ ธรรมชาติของตำบล จอมบึงที่ทำให้ฉันต้องโดดลงรถแวะถ่ายรูปข้างทางอีก หลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อคราวได้ไปเขาล้าน ฉันได้แต่ แอบภาวนาขอให้การดูแลรักษาป่าเขาล้านมัน่ คงยืนนาน สมกับความตั้งใจของผู้ก่อตั้งป่าชุมชนทุกคน แล้วไหนจะวัดวาปีสุทธาวาสที่ฉันได้เข้าไปเยี่ยม เยือนกลุ่มการแสดงรำโทน ไทยทรงดำ ของหมู่ 5 ด้วย ความมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมของคน
ทรงไทยดำ บรรพบุรุษของคนบ้านตลาดควายที่ได้ตั้ง รกรากมานมนานพร้อมศิลปวัฒนธรรมอันเหนียวแน่น สุขคดีที่จอมบึง | 119
8/14/13 5:08:29 PM
aw_jombung.indd 120
ที่ได้ฝังรากให้กับลูกหลาน วันนี้แม้ว่ากระแสวัฒนธรรม สมัยใหม่จะมาแรง แต่กระนั้นคนบ้านตลาดควายก็ยัง เห็นความสำคัญของถิ่นกำเนิดและรากเหง้า จึงได้จัด ศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ที่วัดแห่งนี้ และโดย เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อันมี ขวัญใจ สายสุด กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอจอมบึงมาเป็นหัวเรี่ยว หัวแรงคนสำคัญ ศิลปะการแสดงของคนไทยทรงดำนั้น ปกติ คือ การรำแคน แต่สำหรับบ้านตลาดควาย ด้วยความเป็น
กลุม่ คนไทยทรงดำทีเ่ ดินทางออกมาห่างจากกลุม่ ใหญ่ๆ ที่ส่วนมากอยู่แถวเพชรบุรี จึงทำให้คนไทยทรงดำที่นี่ รั บ เอาศิ ล ปะการรำโทนของภาคกลางมาแทนการ
120 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:33 PM
aw_jombung.indd 121
รำแคน กระนั้ น ก็ นั บ ว่ า เป็ น อั ต ลั ก ษณ์ เ ฉพาะของ
คนไทยทรงดำที่นี่ ฉันแวะถ่ายรูปที่วัดวาปีสุทธาวาสอีกครั้ง ขณะ แข่ ง กั บ ก้ อ นเมฆทะมึ น ภาวนาขอให้ ฝ นอย่ า เพิ่ ง ตก ขณะที่ รี บ บึ่ ง เพื่ อ ไปขึ้ น รถตู้ ใ ห้ ทั น ก่ อ น 5 โมงเย็ น
พี่กนกวรรณ ผู้ซึ่งเอื้ออารีด้านที่พักให้ฉัน (โฮมสเตย์)
ก็ ชวนฉันแวะรับของฝาก อันเป็นขนุนทอด มันทอด กรอบ ซึ่งอร่อยมากๆๆๆ จนฉันกินเกลี้ยงไป 1 ถุง ระหว่างอยู่บนรถ (ฮา) ขณะที่ เ ปลไม้ ไ ผ่ (ที่ อบต.แขวนไว้ ใ ต้ ร่ ม ไม้ สำหรับพนักงานพักผ่อนหย่อนคลาย) ของหมู่ 10 ก็น่า สนใจมาก แต่ ฉั น คงหอบเอากลั บ กรุ ง เทพฯ ไม่ ไ ด้ กระนั้น กลุ่มจักสานไม้ไผ่ที่ได้รองนายกฯ พล จันทรวิชติ เป็นผูน้ ำกลุม่ ก็ยงั มีการผลิตเปลขนาดเล็กสำหรับ วางผลไม้ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัยก่อนใน ขนาดจิ๋วเพื่อเป็นของที่ระลึกของฝาก จะว่าไปแล้ว เป็นการยากที่จะบอกว่า แหล่ง เรียนรู้ที่ดีที่สุดของตำบลจอมบึงคืออะไร หากสิ่งหนึ่งที่ ฉั น มั่ น ใจและสามารถตอบได้ เ ต็ ม ปากเต็ ม คำก็ คื อ สุขคดีที่จอมบึง | 121
8/14/13 5:08:33 PM
aw_jombung.indd 122
แหล่งเรียนรู้ที่นี่เด่นที่การเชื่อมโยง เมื่อไรที่คุณรู้เรื่อง หนึ่ง ความรู้ของคุณจะไม่จบเท่านั้น หากจะโยงต่อๆ ไปถึงแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น แหล่งเรียนรู้ ผักในตะกร้า โยงไปถึงห้องเรียนวิถีพอเพียง และโยงมาถึงตลาดนัด ของวั น ที่ 5 ของเดื อ นซึ่ ง เป็ น กิ จ กรรมกลุ่ ม ส่ ง เสริ ม ห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ความเชื่ อ มโยงนี้ เ องที่ ท ำให้ ฉั น เห็ น มิ ติ ก าร จัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนได้ชัดเจนขึ้น ฉันโบกมืออำลาคณะทำงานแหล่งเรียนรู้ของ ตำบลจอมบึงทุกคนที่มาส่งที่คิวรถตู้ ไม่ว่าพี่กนกวรรณ รองฯพล รองฯมุย้ น้องแอน (และก่อนหน้านีม้ นี อ้ งปลา 122 | สุขคดีที่จอมบึง
8/14/13 5:08:35 PM
aw_jombung.indd 123
ที่มาเป็นผู้ช่วยทำงานให้ฉัน) ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ทุกๆ คน แน่ะ ฝนตกพอดี เรียกได้ว่า ฟ้าฝนให้โอกาสตามคำขอจริงๆ ฝนเริ่มโปรย ฉันพกความอิ่มท้องอิ่มใจขณะมอง สายฝนข้างกระจก เหมือนเติบโตขึ้นอีกนิด หรืออย่าง น้อยก็อีกหนึ่งก้าวกับการได้มาเรียนรู้ในที่แห่งนี้
สุขคดีที่จอมบึง | 123
8/14/13 5:08:35 PM
aw_jombung.indd 124
ภาคผนวก องค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง ได้รับการยกฐานะจาก สภาตำบลจอมบึงให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวั น ที่ 20 มี น าคม พ.ศ.2539 ตั้งอยู่เลขที่ 2 หมู่ที่ 12 ตำบลจอมบึง อำเภอ จอมบึง จังหวัดราชบุรี ทีท่ ำการองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง อยูท่ างทิศตะวันตก ของจังหวัดราชบุรี ระยะห่างจากจังหวัดราชบุรีประมาณ
23 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอจอมบึงประมาณ
2 กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง และ ตำบล หนองกวาง อำเภอโพธาราม ทิศใต้ ติดต่อตำบลหินกอง และตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลรางบัว ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง เขตปกครององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบล ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ประมาณ 78.72 ตร.กม. หรือ 49,202.41 ไร่ มีจำนวน
ครัวเรือนทั้งหมด 3,174 ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มตอนกลางของ ตำบล ส่ ว นบริ เวณรอบนอกเป็ น พื้ น ที่ ร าบสู ง สลั บ เนิ น เขา
ในฤดูฝนน้ำจะหลากมารวมกันบริเวณทุ่งจอมบึงซึ่งอยู่ตอน
8/14/13 5:08:35 PM
aw_jombung.indd 125
กลางของตำบล ทำให้ บ ริ เวณพื้ น ที่ ต อนกลางของตำบล เหมาะแก่การทำนา ส่วนบริเวณรอบนอกเหมาะแก่การเพาะ ปลูกพืชไร่ สภาพภูมิอากาศ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย แต่การที่มีเทือกเขา ตะนาวศรีบังไว้ ทำให้บางอำเภอเป็นที่อับฝน คือ อำเภอ สวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอจอมบึง และเป็นพื้นที่หนึ่ง ที่ มี ฝ นตกน้ อ ยที่ สุ ด ในประเทศ โดยมี ป ริ ม าณน้ ำ ฝนเฉลี่ ย 1,000-1,250 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซี ย ส สู ง สุ ด ในเดื อ นเมษายน-พฤษภาคม ประมาณ 36 องศาเซลเซี ย ส และต่ ำ สุ ด ในเดื อ น ธั น วาคม-มกราคม ประมาณ 18 องศา เซลเซียส โดยเฉพาะบริเวณเชิงเขาหรือ หุ บ เขาในพื้ น ที่ อ ำเภอสวนผึ้ ง และอำเภอบ้านคาจะมีสภาพ อากาศหนาวมาก เฉลี่ย 8-15 องศาเซลเซียส จั ง หวั ด ราชบุ รี ได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ป ริ ม าณ โอโซนมากที่สุดติดอันดับ ของโลก
8/14/13 5:08:44 PM
aw_jombung.indd 126
เพลงศักยภาพชุมชน
คำร้อง-ทำนอง วสุ ห้าวหาญ เรียบเรียงดนตรี ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก ขับร้องโดย ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย
หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ ว่ า จะอยู่ ที่ ไ หน เราเป็ น คนไทยเปี่ ย มความ สามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมือง ก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ก็รักเมืองไทย ด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่ เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรง ร่วมมือสร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมอง ที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ชุมชนดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพื้น ฐานจากหมูบ่ า้ นตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้นา่ อยูด่ งั ฝัน
8/14/13 5:08:45 PM
aw_jombung.indd 127
ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเรา เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น เพื่ อ การ พั ฒ นา ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น บ้ า นเรา เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ช่ ว ยกั น พัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุ่งมั่น ก้าวออกมาจากรั้วที่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทย คนละมือสองมือคือน้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุ ม มองที่ เราแบ่ ง ปั น ใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ ห้ เ ต็ ม ศักยภาพ... เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org
8/14/13 5:08:45 PM
aw_jombung.indd 128
8/14/13 5:08:45 PM