คลองน้ำไหล เรื่องและภาพ นิธิ นิธิวีรก ุล
Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ คลองน้ำไหล เรื่องและภาพ นิธิ นิธิวีรกุล ออกแบบปกและรูปเล่ม ณฐพัฒญ์ อาชวรังสรรค์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
978- 616 -7374- 78- 9 บรรณาธิการอำนวยการ
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 โทรสาร 0 2343 1501 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1
ธันวาคม 2555
ดำเนินการผลิตโดย
เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com
คำนำ ท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่เป็น ประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดการตั้งคำถาม ว่าวิกฤติน ี้จะใหญ่ขึ้นอีกเพียงใด จะยืดเยื้อขนาดไหน และ วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชนหมู่บ้านไทย มากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย หากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบการ ผลิตเพื่อขาย นักว ชิ าการหลายๆ ท่าน ได้ว เิ คราะห์ถ งึ ร ะบบเศรษฐกิจ ของประเทศไทยว่าในระบบทุนนิยมยังคงมีอีกระบบดำรง อยู่ในลักษณะคู่ขนาน นั่นคือระบบเศรษฐกิจชุมชนหรือ อาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบ พอเพียง ในอดีตชุมชนหมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเน้นความ พอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันมีน้ำใจเป็นพื้นฐานของชีวิต มีพิธีกรรม ต่างๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชนและให้ความสำคัญ กับบรรพบุรุษ ผูเ้ฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อม าหลังจ ากรัฐแ ละระบบทุนนิยมได้เข้าไปมอี ิทธิพล ต่อชุมชน การผลิตเชิงเดี่ยวและลัทธิบ ริโภคนิยมทำให้ช าว
บ้านมีรายจ่ายที่เป็นตัวเงินมากขึ้น เพียงเท่านั้นยังไม่พอ สิ่งที่ทำลายความเข้มแข็งของชุมชนที่มากที่สุด คือ รัฐ และทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชนหมู่บ้าน ยิ่งรัฐแ ละทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชนหมู่บ้านไทย ยิ่งประสบความอ่อนแอ คำพูดดังก ล่าวไม่ใช่คำพูดลอยๆ ที่ไม่มีหลักฐานรองรับ หากแต่เมื่อกวาดตาไปทั่วแผ่นดิน ไทย หลังการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มากว่า 40 ปี จะมีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไม่ประสบ ปัญหาความยากจน ไม่ประสบปัญหาสิ่งแ วดล้อม หรือไม่ ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ด งั ก ล่าวถงึ เวลาแล้วห รือย งั ท สี่ งั คมไทย ควรกลับมาเน้นการพัฒนาที่ไม่มองแต่มิติประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและกำไรหรือการตลาดด้านเดียว แต่ควร จะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและสังคม เราไม่ควรลดทอนผู้คนลงไปเป็นเพียงตัวเลข หากควร เป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้ คงจะต้องช่วยกันค้นหา ไม่ว ่าจ ะใช้ระยะเวลานานเท่าไร
คณะผู้จัดทำ
สถานีข นส่งคลองลาน 21/09/55 ถึง...เธอ เสี ย งป ระกาศเ รี ย กผู้ โ ดยสารภ ายในส ถานี ข นส่ ง คลองลานที่เงียบเหงาดังขึ้น ขณะที่ฉันมองออกนอก หน้าต่างรถไปยังเทือกเขาบึงหล่มที่เห็นอยู่ลิบๆ พลาง คิดถึงความหมายอันหลากหลายของขุนเขาตระหง่าน เฉกเช่น เรื่ องราวของผู้คนจากหลากทิศ ที่มาอาศัย อยู่ ร่วมกันใต้เงื้อมเงาเขาบึงห ล่มในตำบลคลองน้ำไหล ผูค้ นจากหลายภมู ภิ าคของประเทศ ทัง้ ภ าคกลาง อีสาน
เหนือตอนบน และชนเผ่าจากดงดอย ซึ่งกว่าจะดั้นด้น เดินท างมาปักหลักตั้งรกรากก็แสนยากแล้ว ทว่าอุปสรรค ความขัดแย้ง ปัญหานานาที่พวกเขาเผชิญกลับเป็นข ุนเขา ที่ต้องปีนป่าย กว่าจ ะมาถงึ ว นั น ี้ วันท คี่ วามหลากหลายในคลองนำ้ ไหล ร วมตวั ก นั เป็นส ายน้ำ ไหลรวมไปสตู่ ำบลแห่งค วามสงบสขุ ย้อนเวลากลับไปหน่อย ไม่ไกลมากหรอก แค่จ ดุ เริม่ จาก ห้องพักหมายเลข 306 เช้ามืดวัน ฝนพรำอีกเช่นเคย ฉันเดินอ อกจากโรงแรมในตวั เมืองพจิ ติ รทา่ มกลางสายฝน โปรยปรายมาเบาๆ เพื่อข้ามถนนตัดผ่านตัวเมืองไปยัง
10
คลองน้ำไหล
สถานี ข นส่ ง ป ระจำจั ง หวั ด พิ จิ ต รก่ อ นเ วลาม าถึ ง ข อง รถโดยสารสายพิจิตร-กำแพงเพชรจะเข้าเทียบชานชาลา ตีห้าส ามสิบนาที ตามที่ฉันได้สอบถามคิวร ถเมื่อเย็นวาน เมื่อถึงเวลานัด รถโดยสารสีส้มก็เลี้ยวเข้ามาจอดใน ชานชาลา สายฝนที่โปรยปรายดเูหมือนจะเทหนักม ากขึ้น ขณะที่ผู้โดยสารทยอยกันมาหลังฉันมาถึงสถานีขนส่งได้ ไม่นาน พวกเขาพากันเดินไปขึ้นรถ ฉันเองก็หิ้วกระเป๋า สะพายขึ้นบ่าตามไปเช่นกัน แต่ก่อนก้าวขึ้นบันได ฉัน ไม่ลืมถามคนขับเพื่อความแน่ใจว่ารถคันนี้ไปถึงสถานี ขนส่งก ำแพงเพชรใช่ไหม? แน่นอนว่าคำตอบคือ ใช่ 3 ชั่วโมงเศษจากสายฝนสู่แสงแดดยามสาย พลันที่ ฉันมองเห็นซากปรักหักพังของเจดีย์บ้าง กำแพงอิฐบ้าง มองเผินๆ ไม่ต่างจากที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ฉัน รู้ทันทีว่าก ำลังเข้าเขตจังหวัดก ำแพงเพชร ฉันมาถึงที่นี่หลังควันหลงบรรยากาศแห่แหนต้อนรับ ฮีโร่โอลิมปิกเหรียญเงิน ซึ่งเป็นคนกำแพงเพชร แต่ป้าย แสดงความยินดียังมีให้เห็นอยู่ตามสถานที่ต่างๆ แม้ กระทั่งในสถานีข นส่งก ำแพงเพชร เหมือนทุกครั้งเมื่อมาถึงยังเมืองแปลกหน้า ฉันเดิน สำรวจสภาพรอบๆ สถานีขนส่งเพื่อหาอาหารรองท้อง และกาแฟดื่มส ักแก้วเพื่อปลุกสติให้ตื่น ก่อนจะเริ่มติดต่อ
นิธิ นิธิวีรกุล
ไปยงั เจ้าห น้าทีป่ ระสานงานขององค์การบริหารสว่ นตำบล คลองน้ำไหล ซึง่ จ ะตอ้ งเดินท างมารบั ฉ นั ท สี่ ถานีข นส่งต าม เวลานัด และไม่นานนักหลังวางโทรศัพท์ รถกระบะสีดำ ของเจ้าห น้าที่ อบต. ก็เลี้ยวเข้ามาจอดยังหน้าส ถานีขนส่ง เพื่อม ุ่งหน้าส ู่ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน ข้อมูลข องตำบลคลองน้ำไหลเท่าที่ฉันมอี ยู่ในมือ และ ได้อ่านมันเมื่อคืนขณะอยู่ในห้องพัก 306 บอกให้ฉัน ทราบคร่าวๆ ว่า ตำบลคลองน้ำไหลเป็นเมืองที่ผู้คนจาก หลากหลายภมู ภิ าคอพยพมาตงั้ ร กราก ตัง้ แต่ล ำปาง น่าน แพร่ เชียงราย ลำพูน ร้อยเอ็ด นครพนม นครสวรรค์ พิจติ ร นครศรีธรรมราช และรวมถงึ ช นเผ่าป กากะญอ หรือช นเผ่า กะเหรี่ยง
11
12
คลองน้ำไหล
เดิมนั้นตำบลคลองน้ำไหลเป็นส่วนหนึ่งของตำบล โป่งน้ำร้อน กระทั่งในปี 2511 จึงได้แยกออกมาตั้งเป็น ตำบลใหม่ ชือ่ ต ำบลคลองนำ้ ไหลนำมาจากลำคลองทไี่ หล มาจากภเู ขาตน้ น้ำในเขตอทุ ยานแห่งช าติค ลองลาน ซึง่ เป็น น้ำตกที่สวยงาม อบต.คลองน้ำไหล ก่อต ั้งข ึ้นเมื่อวันท ี่ 2 มีนาคม 2538 แรกเริ่มเป็น อบต. ขนาดเล็ก มีโครงสร้างบริหารงานเป็น 3 ส่วน คือส ำนักงานปลัด กองคลัง และกองโยธา แต่เดิม ใช้อ าคารของสภาตำบลเป็นท ที่ ำการ ทว่าป จั จุบนั ได้ รือ้ ล ง แล้วก่อสร้างขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม รวมถึงขยายส่วนงาน ต่างๆ ให้มากขึ้นก ว่าเดิมเป็น 3 กอง 8 ฝ่าย มีหมู่บ้าน ในเขตปกครองทั้งหมด 28 หมู่บ้าน ๏
ตำนานอพยพ คลองน้ำ (ตา) ไหล
ปัญญา กาวงอ้าย รองนายก อบต.คลองน้ำไหล
นิธิ นิธิวีรกุล
“ปีที่ผมเกิดพอดี ผมเกิด 2500” ปัญญา กาวงอา้ ย รองนายก อบต.คลองนำ้ ไหล ต้อนรับ ฉันด ว้ ยเรือ่ งราวสมัยก อ่ นของชาวคลองนำ้ ไหลทยี่ อ้ นเวลา กลับไปตั้งแต่สมัยที่ท่านรองฯ เพิ่งจะลืมตาดูโลก ซึ่ง ไม่เพียงแต่ฟ งั แ ล้วด จุ ต ำนานในนทิ านปรัมปรา แต่ย งั ท ำให้ร ู้ อีกว า่ ทีม่ าของชอื่ ค ลองนำ้ ไหลนนั้ แท้จริงในความเข้าใจของ ชาวบ้านมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับน้ำตกโดยสิ้นเชิง “เมื่อก่อนสมัยอยู่ลำปาง ผู้เฒ่าผู้แก่เขาเล่าให้ฟังต่อๆ กันมาว่า แถวลำปางมันไม่มีที่ทำกิน ญาติพี่น้องลูกหลาน ก็เยอะ มันไม่พอกิน เลยอพยพมาในปี 2500 ซึ่งเป็นป ีที่ ผมเกิดพอดี ก็อพยพมาหาที่อุดมสมบูรณ์ เดินทางกันมา ไกลมาก จนมาพบกับผู้ใหญ่เชียงฝัน ชาวกะเหรี่ยงที่เขา ปางควาย เมือ่ ม าถงึ ค ลองแม่ลาย เขากเ็ รียกคลองนำ้ ตาไหล สุดท้ายก็เลยกลายเป็นที่มาของชื่อคลองน้ำไหล “สมัยก่อนที่เขาเรียกว่าคลองน้ำตาไหล เพราะมาถึง แล้วเดินทางกลับยาก รถไม่มี ต้องเดิน กว่าจะออกไปได้ ต้องใช้เวลาเป็นค รึง่ เดือน จากแค่ต รงวดั เดินไปบา้ นผใู้ หญ่ ต้องใช้เวลา 4 วัน แต่พอสมัยนี้มถี นนตัดผ่าน แป๊บเดียว ก็ถึงแ ล้ว”
15
16 คลองน้ำไหล
รองน าย กฯ ปั ญ ญาบ อกกั บ ฉั น ว่ า ที่ ม าข องชื่ อ คลองน้ำไหลมาจากชื่อเรียกคลองแม่ลายของชาวบ้าน ที่ ข นานน ามใ ห้ ว่ า ค ลองน้ ำ ตาไ หล ด้ ว ยก ารเ ดิ น ท าง เข้าออกสมัยเมื่อ 50 กว่าปีก่อนค่อนข้างลำบาก ในยุค เริ่มต้นบุกเบิกนั้นมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งนำโดยลุงน้อยหวัน โอทอง ซึ่งเดินทางจากตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาอยู่ที่บ้านคลองน้ำไหลในเขตตำบล โป่ ง น้ ำ ร้ อ น ต่ อ ม าช าวบ้ า นไ ด้ นิ ม นต์ ห ลวงพ่ อ ค ำมู ล อินทรวิชัย เจ้าอาวาสวัดพระบาทแม่ไท อำเภอแม่ทะ มาร่วมสร้างบ้านแปงเมือง และให้ชื่อหมู่บ้านเมื่อแรก ตัง้ ว่า ‘บ้านคลองน้ำไหล’ เนือ่ งจากมลี ำคลองไหลผา่ นและ เป็นส ายน้ำท เี่ ปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ท หี่ ล่อเลีย้ งผคู้ น อพยพ จากนั้นมีการแต่งตั้งนายเชียงฝันเป็น ผู้ใหญ่บ้าน คนแรก โดยมีนายหนานจันทร์ ฟองธิวงศ์ เป็นผู้ช่วย ขณะที่เอกสารทางราชการระบุว่าลุงน้อยหวัน คือ ผู้ น ำใ นก ารอ พยพช าวบ้ า นจ ากล ำปางม ายั ง ค ลองน้ ำ ไหลในปี 2499 เอกสารของทายาทพ่อหนานจันทร์ก็ ระบุไปอีกอย่าง อีกทั้งปี พ.ศ. ยังตรงกันกับเรื่องเล่าของ รองนายกฯ ปัญญา ซึ่งเป็นชาวลำปางที่อพยพกันม าจาก แม่ทะเมื่อวันท ี่ 1 กุมภาพันธ์ 2500 จากเอกสาร ‘ประวัติบ้านคลองน้ำไหล’ โดยอาจารย์ บุญส่ง ฟองธิวงศ์ ซึ่งเป็นทายาทของนายหนานจันทร์
นิธิ นิธิวีรกุล
หรือที่เรียกกันในหมู่ชาวบ้านว่าพ่อหนานจันทร์ ระบุว่า พ่อหนานจันทร์นั้นคือผู้นำในการอพยพชาวลำปางมาตั้ง รกรากที่คลองน้ำไหลเป็นพวกแรก โดยท่านได้กล่าวไว้ ในบันทึกว่า ‘เราคงจะได้ทดี่ นิ ผ นื ใหญ่น เี้ ป็นท ที่ ำกนิ ส บื ต อ่ ล กู ห ลาน ของเราไปในภายภาคหน้า เราจะไม่อดเหมือนอยู่ลำปาง อีกแล้ว’ ฉันเองก็ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ชุมชนนะ แต่เมื่อเห็น ข้อแตกต่างในเอกสารก็อดที่จะนำมาบันทึกให้เธออ่านใน รูปของจดหมายไม่ได้ เพราะเรื่องพวกนี้มันสำคัญทีเดียว กับประวัติชุมชนแต่ละท้องถิ่นที่ควรต้องมีการสอบทาน ให้ถูกต้องต่อไป เพียงแต่อาจไม่ใช่หน้าที่ฉัน หลังจากพ่อหนานจันทร์นำผู้คนอพยพมาจากลำปาง แล้ว ในปี 2501 พ่อหนานจันทร์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคลองน้ำไหลในสังกัดปกครองของ ผู้ใหญ่เชียงฝัน “จากนนั้ ม าเขากป็ รึกษาหารือก นั ส ร้างวดั สร้างโรงเรียน ปี 2501 วัดย ังเป็นกระต๊อบอยู่เลย เมื่อมาถึงปี 2502 ก็ สร้างโรงเรียน แรกๆ สมัยนั้นโรงเรียนจะอยูใ่นพื้นที่เดียว กับวัด แต่ก็เกิดป ัญหาเวลาเด็กนักเรียนมาเรียนกัน ทำให้ รบกวนสมาธิข องพระ เลยตอ้ งยา้ ยวดั ก บั โรงเรียนอยูค่ นละ ฝัง่ เมือ่ ป ี 2516 ปัจจุบนั เสาของโรงเรียนเก่าก ย็ งั เหลืออยู”่
17
18
คลองน้ำไหล
รองนายกฯ ปัญญาเล่าเสริมจากข้อมูลในเอกสาร ซึ่งระบุ เพิ่มเติมว่าในปี 2511 ผู้ใหญ่เชียงฝันได้ลาออกจากการ เป็น ผู้ใหญ่บ้าน พ่อหนานจันทร์จึงขึ้นเป็น ผู้ใหญ่บ้าน คลองน้ำไหลขึ้นม าแทน จากปี 2511 มาถึ ง ปี ส ร้ า งวั ด แ ละโ รงเรี ย นบ้ า น คลองน้ำไหลหลังใหม่ จนถึงปี 2517 พ่อหนานจันทร์ ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกับการมาถึง ของถนนและเสาไฟฟ้าที่นำความเจริญเข้ามาสู่ตำบล คลองน้ำไหล และรวมถึงผ คู้ นจากจงั หวัดต า่ งๆ ก็ห ลัง่ ไหล มายังท ี่นี่...ที่คลองน้ำไหล ๏
อุทยานแห่งชาติ คลองลาน
23
20
16
17
27
8
25
9
19
1
3
28
21 2 15
14
11
18
22 12
24
6
ตำบลคลองลานพัฒนา
4
10
7
5
ตำบลสักงาม
26
13
ตำบลวังทอง
ภาพรวม คลองน้ำไหล
ประพจน์ เพียรพิทักษ์ นายก อบต.คลองน้ำไหล
นิธิ นิธิวีรกุล
“จุ ด เ ด่ น ข องต ำบลค ลองน้ ำ ไ หลอ ยู่ ที่ พื้ น ที่ ก ว้ า งใ หญ่ รวมด้ ว ยผู้ ค นจ ากห ลากห ลายเ ชื้ อ ส าย และเ รายั ง มี ธรรมชาติทสี่ วยงาม” ประพจน์ เพี ย รพิ ทั ก ษ์ นายก อบต.คลองน้ ำ ไ หล บอกกับฉันหลังบทสนทนายามบ่ายเริ่มต้น ซึ่งจุดเด่น ทั้งสามส่วนนี้คือคำอธิบายภาพกว้างของคลองน้ำไหล อย่างชัดเจน ทั้งความกว้างใหญ่ของพื้นที่ที่รวบรวมผู้คน จากหลายภูมิภาคเข้ามาไว้ด้วยกัน ทั้งภาคเหนือท ี่เป็นคน ส่วนใหญ่ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงสภาพ ทางธรรมชาติท ยี่ งั ส มบูรณ์ โอบลอ้ มดว้ ยขนุ เขา และนำ้ ตก ทีไ่หลมาจากอุทยานแห่งช าติคลองลาน แม้ว่าก ารบริหารงานของ อบต.คลองน้ำไหล อาจไม่ได้ แตกต่างจากที่อื่นมากนักคือ ยึดหลักการมีส่วนร่วมของ ทุก ฝ่าย โดยจะมีการแบ่งส่วนบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายท้องที่ ซึ่งประกอบไปด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครองท้องถิ่น ซึ่งก็คือคณะผู้บริหารของ อบต. และ ฝ่ายขา้ ราชการประจำ ซึง่ เป็นส ว่ นของสำนักงานปลัด อบต. ที่คอยช่วยแก้ปัญหาของชาวบ้านคลองน้ำไหลในเรื่องการ ประสานงานกับภาครัฐนอกพื้นที่ ขณะที่ฝ่ายสุดท้ายเป็น ภาคส่วนทนี่ ายกฯ ประพจน์บอกว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
21
22
คลองน้ำไหล
นั่นก ็คือ ภาคประชาชน “ภาคประชาชนเป็นส ว่ นกำลังห ลักข องเราในการพฒ ั นา ตำบลคลองน้ำไหล ซึ่งเราจะให้เขาได้มีเวทีประชาคม โดย ทาง อบต. จะลงพื้นที่ทั้ง 28 หมู่บ้านไปรับทราบปัญหา แล้วนำปัญหาทั้ง 28 หมู่บ้านนั้นกลับมาวิเคราะห์ให้รู้ว่า ปัญหาหลักๆ จากฐานรากของประชาชนนั้นคืออะไร” ถึงจ ะเป็นเช่นน นั้ ถึงจ ะมกี ารรว่ มมอื ในระดับภ าครัฐแ ละ ภาคประชาชน มีการลงพื้นที่และการแบ่งฝ่ายดำเนินการ อย่างชดั เจน นายกฯ ประพจน์ก ไ็ ม่ล มื บ อกกบั ฉ นั ว า่ คนทีน่ ี่ มีการจัดตั้งกลุ่มก้อนของเขาเพื่อแก้ปัญหาของตัวเองใน พื้นที่ก่อนแล้ว ทั้งในรูปของอาสาสมัครบ้าง กลุ่มดูแล ผู้สูงอายุบ ้าง หรือกระทั่งกลุ่มสภาเยาวชนที่ฉันได้เล่าไป จนอาจกล่าวได้ว า่ ภ าพโดยรวมของชมุ ชนคลองน้ำไหล มีความเข้มแข็งในตัวอยู่แล้ว กระทั่งปี 2554 นายกฯ ประพจน์ ไ ด้ มี โ อกาสล งพื้ น ที่ ต ำบลอุ ทั ย เ ก่ า อำเภอ หนองฉาง จั ง หวั ดอุ ทั ย ธานี ได้ พ บปะแ ละพู ด คุ ย เพื่ อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องตำบลสุขภาวะ ถึงขนาดที่นายกฯ บอกกับฉันว่า นี่แหละคือแนวทางในการแก้ปัญหาชุมชน ท้องถนิ่ ได้อ ย่างยงั่ ยืน ด้วยการสร้างฐานความสขุ ท งั้ ส ขุ กาย และสุขใจ นำไปสู่การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายหนึ่งในตำบล สุขภาวะ
นิธิ นิธิวีรกุล
“วันนี้ท้องถิ่นของเราจะอยู่คนเดียวไม่ได้ วันนี้ท้องถิ่น ของเราอาจมีดีส่วนหนึ่ง แต่บางส่วนก็อาจจะยังไม่ดีพอ เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีโอกาสไปเรียนรู้ ทำให้เราสามารถ นำความรู้ที่ได้จากแต่ละท้องถิ่นกลับมาพัฒนาท้องถิ่น ของเราเอง” ๏
23
สุรินทร์ บุญนาค
นิธิ นิธิวีรกุล
ศาลาสร้างสุข จากภาพรวมของตำบลคลองน้ำไหล ฉันเดินมายังอาคาร ชั้นเดียวด้านหน้าห้องทำงานนายก อบต. ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ‘ศูนย์ส ร้างสขุ ต ำบลคลองนำ้ ไหล’ ภายในมกี ารจดั ว างสนิ ค้า จากคนในชุมชนเพื่อการสร้างรายได้ เช่น ดอกไม้จันทน์ พวงหรีด และพวงกุญแจ โดยสุรินทร์ บุญนาค บอกเล่า ให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นที่พัฒนามาจากการทำขนมทองม้วน ขึ้นก่อน “เรามีสมาชิก 19 คน หุ้นกันคนละ 100 บาท เอาไป ซือ้ อ ปุ กรณ์ท ำขนมตา่ งๆ มาอบรมทำขนมทองมว้ นขนึ้ ก่อน แรกๆ ก็ทำกันเองชิมกันเองก่อน ต่อมาจึงเริ่มขายกัน ในชุมชน ก็มรี ายได้ขึ้นมาเดือนละ 3,000-4,000 บาท”
25
26
คลองน้ำไหล
รายได้เดือนละ 4,000 บาทที่พี่สุรินทร์บอกฉัน แก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ร้อยละ 20 นำไปฝาก ธนาคาร ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30 นำไปซื้อวัตถุดิบ ส่วนที่ 3 ร้อยละ 50 แบ่งปันให้สมาชิกภายในกลุ่ม แล้วมาทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีดได้อย่างไร? พี่สุรินทร์บอกฉันว่าต้องการช่วยเหลือเด็กสาววัยรุ่นที่ ท้องก่อนแต่ง ทำให้ออกจากโรงเรียนตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ บางคนไม่มคี วามรพู้ อทีจ่ ะไปสมัครงานทไี่ หน บางคนตอ้ ง รับผ ิดชอบเลี้ยงดูลูกน้อยแต่เพียงลำพัง พีส่ ุรินทร์จึงจัดตั้ง กลุม่ ท ำดอกไม้จ นั ทน์แ ละพวงหรีดเพิม่ ข นึ้ ม าอีก โดยขอทุน สนั บ สนุ น จ ากศู น ย์ พั ฒ นาสั ง คมห น่ ว ยที่ 4 จั ง หวั ด กำแพงเพชร นำมาเป็นค า่ ใช้จ า่ ยในการอบรมให้กบั ค ณ ุ แม่ ยังส าวทที่ ้องไม่พร้อมให้มรี ายได้พอเลี้ยงตัวและลูกน ้อย ปัญหานเี้ ชือ่ มโยงไปยงั ป ญ ั หาทมี่ มี าแต่เดิมข องเยาวชน ในพนื้ ทีค่ ลองนำ้ ไหล ซึง่ เผอิญว า่ ภ ายในศาลาสร้างสุขแ ห่งนี้ ยังเป็นท ตี่ งั้ ข องกลุม่ ส ภาเด็กแ ละเยาวชน ซึง่ ร บั ผิดชอบดแู ล ปัญหาวยั ร นุ่ ม าแต่ค รัง้ ท คี่ ลองนำ้ ไหลอาจเรียกได้ว า่ เป็นย คุ ‘อันธพาลครองเมือง’ ๏
นิธิ นิธิวีรกุล
27
28
คลองน้ำไหล
นิธิ นิธิวีรกุล
สุขใจที่เห็นรอยยิ้ม ด้วยความที่ตำบลคลองน้ำไหลมีผู้คนจากหลากหลาย ภูมิภาค ต่างพกเอาความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ของตน จนกระทั่งหลงลืมไปว่า ขณะนี้ทุกคนได้มาอยู่ร่วมกัน บนแผ่นดินเดียวกันแล้ว “ทุกวันนี้ปัญหาการตีกันลดน้อยลงมาก ไม่เหมือน สมัยก่อน คืออ ย่างเมือ่ ก อ่ นนหี้ มู่ 15 กับห มู่ 9 มันอ ยูต่ ดิ กัน แค่ข้ามสะพานมานี่ก็หัวแ ตกแล้ว” สุ รั ต น์ คำจั น ทร์ ที่ ป รึ ก ษาส ภาเ ด็ ก แ ละเ ยาวชน คนปัจจุบัน บอกฉันถึงวันวานเมื่อครั้งบ้านคลองน้ำไหล ยังแ บ่งฝักแบ่งฝ่ายที่ไม่ใช่ด้วยเรื่องสีเสื้อ “อย่างงานปใีหม่ที่สแี่ ยกคลองน้ำไหล ซึ่งจัดทุกปี ในปี
29
30
คลองน้ำไหล
แรกๆ จัดได้แ ค่คืนเดียวก็เลิกเพราะเด็กตีกัน แค่สัก 2 ทุ่ม ก็ต้องเริ่มใส่หมวกกันน็อคแล้ว เพราะขวดมันจะลอยมา จากทกุ ท ศิ เลย อันน กี้ ลุม่ ท า่ ช้าง อันน กี้ ลุม่ บ า้ นใหม่ มีกลุม่ หมู่ 4 หมู่ 6 อยูโ่ซนเดียวกัน หมู่ 15 อีกโซนหนึ่ง หมู่ 9 หมู่ 18 อีกโซน ตรงนเี้ป็นกลุ่มคลองน้ำไหล กลุ่มคนเหนือ วัยรุ่นคนเหนือนะครับ ซึ่งเลยเข้าไปจะเป็นหมู่ 8 และหมู่ 20 จะเป็นคนอีสาน ซึ่งทั้งหมดนี้จะรู้จักกันหมด ยกเว้น กลุม่ ค ลองนำ้ ไหล เพราะกลุม่ เราเป็นก ลุม่ ท ใี่ หญ่ม าก และ ไม่เคยจะเข้าก ับใครเลย” ฉันฟังแล้วอดนึกถึงภาพตามไม่ได้ ปีใหม่นองเลือด สมัยนั้นเป็นอย่างไร อาจนึกภาพได้ไม่ชัดเมื่อมองเห็น สภาพคลองน้ำไหลของปัจจุบันขณะที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ หนึ่งในเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ฉันถามสุรัตน์ต่อถึงที่ มาที่ไปของการทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งน่าคิดตรงที่ว่าสื่อ อย่างภาพยนตร์มีอิทธิพลแค่ไหนกับวัยรุ่นของประเทศนี้ เพราะสรุ ตั น์บ อกกบั ฉ นั ว า่ ส าเหตุข องการไม่ถ กู กันร ะหว่าง หมู่บ้านแต่ละหมู่ในคลองน้ำไหลมีสาเหตุมาจากการ ปลูกฝังข องรุ่นพี่ จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง อีกประการมาจาก ภาพยนตร์แ นวแก๊งสเตอร์หรือหนังฮ่องกง “ผมยงั เคยเห็นก บั ต าเลยวา่ รุน่ พ ขี่ มี่ อเตอร์ไซค์เอาดาบ ไล่ฟันเหมือนในหนังเปี๊ยบเลย ผมก็เลยมารู้ว่า อ๋อ มันมา จากหนัง แล้วร นุ่ พ กี่ ส็ งั่ ส อนกนั ม า รุน่ พ มี่ นั จ ะทำให้เห็นว่า
นิธิ นิธิวีรกุล
พวกเราไม่ถ กู ก บั ก ลุม่ ไหนบา้ ง พอรนุ่ น อ้ งขนึ้ ม ามนั ก เ็ กลียด กันไปโดยอัตโนมัติ แต่พอโตขึ้นมาก็เลิกกันไป บางคนก็ ทำงานด้วยกันได้” แต่ก ว่าจ ะถงึ ว นั ท ำงานรว่ มกนั ได้ กว่าจ ะถงึ ว นั ท ตี่ า่ งฝ่าย ต่างมองย้อนกลับไปถึงห้วงเวลาที่ฉันเชื่อว่าไม่แต่เพียง สุรัตน์เท่านั้นหรอกที่ตั้งคำถามกับมัน ฉันอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าพ วกเขาหรือว ยั ร นุ่ ในตอนนนั้ ไม่ส ามารถกลับมาทำงาน ร่วมกันได้ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น? หนทางในการแก้ปัญหาบางอย่าง เวลาช่วยได้ แต่ บางอย่าง รอแต่เวลาบางทีอาจสายเกิน อาจเพราะแบบนั้น สมชาย กีดคำ ประธานสภาเด็ก และเยาวชนคนแรกจึงลุกขึ้นทำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ไข ปัญหาที่มีแต่เยาวชนด้วยกันเท่านั้นที่เข้าใจ และแนวทาง แก้ป ญ ั หานนั้ ส ง่ ต อ่ ม ายังส รุ ตั น์ในฐานะทเี่ คยดำรงตำแหน่ง ประธานสภาเด็กฯ รุน่ ท ี่ 3 และเป็นท ปี่ รึกษาให้ก บั ส ภาเด็กฯ ในปัจจุบัน “แนวคิดของสภาเด็กฯ จัดต ั้งขึ้นเพื่อแ ก้ไขปัญหาความ รุนแรง เนื่องจากสมัยก่อนเด็กวัยรุ่นในคลองน้ำไหลมี ปัญหาทะเลาะกันมาก แรกๆ ผู้ใหญ่ในชุมชนไม่เข้าใจว่า จะทำไปทำไม ทำแล้วได้อ ะไร จนเราทำกจิ กรรมมาเรือ่ ยๆ ตั้งแต่ปี 2549 จนมาถึงปัจจุบัน สภาเด็กฯ ของเราก็ได้รับ การยอมรับมากขึ้น”
31
32
คลองน้ำไหล
เวลา 6 ปีในการทำงานที่แทบจะเรียกได้ว่าโดดเดี่ยว เพราะผหู้ ลักผ ใู้ หญ่ในชมุ ช นแรกๆ ยังไม่เข้าใจ และมองว่า เป็นเรื่องของ ‘เด็กๆ’ จึงยังไม่ให้การสนับสนุนเท่าที่ควร กว่าจะได้รับก ารยอมรับก็ลถุ ึงปี 2552 เมื่อมีการประชุม ในระดับอ ำเภอ กลุม่ ส ภาเด็กแ ละเยาวชนของตำบลคลอง น้ำไหลจงึ ได้ร บั โอกาสในการเป็นต้นแ บบพสี่ อนน้องให้แก่ เยาวชนกลุ่มอื่นๆ ทีท่ ำงานคล้ายๆ กัน “เราเป็นที่แรกที่เริ่มทำ ดังนั้นเรา จะมี ป ระสบการณ์ ม ากกว่ า ให้ คำแนะนำได้ดีกว่า เพราะเราได้ ลงมื อท ำม าก่ อ นแ ล้ ว ปัจจุบัน
สุรัตน์ คำจันทร์
นิธิ นิธิวีรกุล
เราจะมีโครงการเยาวชนต้นกล้าน้อย ทำงานคล้ายๆ กับมูลนิธิอนุรักษ์ธรรมชาติ แล้วก็มี อสม.น้อย ซึ่งได้รับ การสนับสนุนบ่อยๆ จาก อบจ. อบต. และสำนักงาน พั ฒ นาสั ง คมที่ จ ะใ ห้ ก ารส นั บ สนุ น เ ราอ ยู่ ต ลอด” ทว่าไม่แต่เพียงปัญหาความรุนแรงเท่านั้น ปัญหาของ เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรก็เป็นปัญหาที่กลุ่ม ให้ความใส่ใจและสนใจ “หลั ง ก่ อ ตั้ ง ก ลุ่ ม ส ำเร็ จ เราก็ ท ำโ ครงการอ นามั ย เจริ ญ พั น ธุ์ ซึ่ ง เ ป็ น โ ครงการจ ากส่ ว นก ลางห รื อ ร ะดั บ ประเทศเลยนะครับ เขากระจายให้แต่ละจังหวัดไปทำกัน และทั้งจังหวัดกำแพงเพชรมันไม่มีเลย มีแต่ที่นี่ที่เดียว เขาเลยมุ่งมาที่นี่ เราจึงได้ส่งตัวแทนไปร่วมประชุม เสร็จ แล้วกลับมาอบรมเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ เน้นเรื่องเดียว ล้วนๆ จากนั้นกน็ ำเอาความรนู้ ี้ไปขยายในค่าย “ต่อม าเราจึงเกิดโครงการพี่สอนน้อง โครงการนเี้ราทำ กับน้องๆ ชั้น ม.3 เหมือนเป็นการไปแนะแนวให้รุ่นน้อง ในฐานะรุ่นพี่ เพื่อชี้แนะให้เห็นว่ามีโรงเรียนไหนบ้างที่น่า ไปเรียนและมจี ุดเด่นอ ะไรทนี่ ่าส นใจ คือในสภาของเราจะ มีร นุ่ พ มี่ าจากหลายโรงเรียน เพราะหลังจ ากเขาได้ไปเรียน ต่อในเมืองแล้วก็จะมีเพื่อนจากหลายโรงเรียนกลับมาให้ คำแนะนำกับน้องๆ ถ้าสนใจโรงเรียนไหนก็ให้เขาลอง ไปสอบ ซึ่งนอกจากเรื่องแนะแนวการศึกษาแล้ว เราจะก็
33
34
คลองน้ำไหล
ให้ความรู้เรื่องยาเสพติดกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์แทรก เข้าไปด้วย โดยจะพยายามไม่ให้เรื่องพวกนี้หายไป” ทุกๆ ปี สภาเด็กและเยาวชนจะมีกิจกรรมที่เปรียบ เสมือนเป็นการยดึ โยงเยาวชนเข้าไว้ด ว้ ยกนั ภ ายใต้ก จิ กรรม ทัศนศึกษา ซึ่งในด้านหนึ่งไม่ต่างจากการพาเยาวชนไป เที่ยว แต่ ในอีกด้านหนึ่งการพาเยาวชนไปลงพื้นที่ยัง ชุมชนอนื่ ๆ ได้พ ดู ค ยุ ก บั เยาวชนจากตำบลอนื่ ๆ ก็เป็นการ หลอมละลายเปลือกบางอย่างที่ห่อหุ้ม ในการลงพื้นที่เพื่อศึกษาตัวอย่างจากกลุ่มอื่น สุรัตน์ บอกกับฉันว่า แม้ในฐานะกลุ่มก้อนที่ก่อตั้งและกรุยทาง ด้านนมี้ ากอ่ น แต่ส ภาเด็กแ ละเยาวชนคลองนำ้ ไหลกไ็ ม่ได้ เน้นว า่ ต วั เองจะตอ้ งเด่นห รือด งั ก ว่า แต่ไปเพือ่ ด วู ธิ คี ดิ ข อง กลุ่มอื่น อย่างไหนดีกว่าก็นำมาปรับใช้ แม้จ ะประสบความสำเร็จในการลดปัญหาการทะเลาะ เบาะแว้งของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ แม้จะลบคำปรามาส ของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เคยดูแคลนลงได้ กระนั้นปัญหาที่ กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนต้องเจอเป็นป ระจำทุกปีคือ การ ขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามารับไม้ต่อจากรุ่นพี่ “ปัญหาหลักของงานเยาวชนคือ น้องเขาต้องเรียน หนังสือต่อ พอเรียนจบน้องเขาก็ต้องย้ายพื้นที่ พอย้าย แล้วม นั ก จ็ ะขาดความตอ่ เนือ่ งไป แต่น นั่ ก ไ็ ม่ส ำคัญเท่ากับ การที่โรงเรียนทุกวันนี้เน้นการเรียนหนังสือมาก กิจกรรม
นิธิ นิธิวีรกุล
เขาจะไม่ค ่อยเน้นเท่าไหร่ พอถึงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เด็ก ส่วนหนึ่งเขาก็จะมาช่วยงานเรา แต่ก็มีบางส่วนที่ถูกครู เรียกตัวไปช่วยงานที่โรงเรียน ซึ่งพอเราเห็นปัญหาตรงนั้น แล้วจึงต้องมาปรับเปลี่ยนวิธีใหม่โดยคัดเลือกเฉพาะ เยาวชนที่สมัครใจจริงๆ รวมถึงการชักชวนน้องๆ ที่เรียน กศน. ซึง่ เขาจะมเี วลาวา่ งเยอะ ไม่เหมือนกบั เมือ่ ก อ่ นทเี่ รา จะดึงสมาชิกจากโรงเรียนโดยถูกครูเกณฑ์มาอีกที ทำให้ ดูเหมือนว่าเด็กต้องทำตามคำสั่งของโรงเรียน ซึ่งเราจะ ไม่เอา เพราะมันไม่ใช่งานของจิตอาสา แต่มันเป็นการ บังคับเขามาโดยที่เขาไม่ได้สมัครใจ” แล้วต ัวสุรัตน์ล ่ะ ใครเป็นคนชักชวน? “พีส่ มชาย กีดคำ เป็นคนชักชวนเข้ามา คือเรามาแบบ งงๆ ว่ามาทำไม มาเพื่ออะไร ทำไมต้องมา มาแล้วก็ เห็นเด็กแต่ละหมู่บ้าน นั่งมองหน้ากันไปเลิกลั่กๆ แต่ พอนานเข้าก็เริ่มมีการคุยกัน เริ่มเห็นว่ามันมีประโยชน์ เรากเ็ ริม่ ท ำ พอทำแล้วม นั ม คี วามสขุ น ะ มันเป็นค วามสขุ ท ี่ เปรียบยาก แต่มันดีตรงที่เราไม่ต้องไปถือดาบไล่ฟันใคร” “แล้วส รุ ัตน์เคยตีกับเขามั้ย?” ฉันถามแล้วม องตรงไปที่ ตาของเด็กหนุ่มตรงหน้า เขาหัวเราะเบาๆ ตอบหนักแน่น “เคยครับ” “แล้วค วามสุขที่ได้จากตอนนั้นกับต อนนตี้ ่างกันมั้ย?” “ไอ้ต อนทไี่ ปตี มันเหมือนกบั ว า่ ส ะใจน่ะค รับ สะใจทเี่ รา
35
36
คลองน้ำไหล
ทำมันได้ เราโดนมันเหยียดหยาม มันสะใจมากเลย เออ เราเก่ง แต่พอมาเทียบกับความสุขที่เราทำทุกวันนี้ มัน เทียบกันไม่ได้เลย ความสุขในตอนนั้นมันเป็นความสุขที่ เราได้เห็นเขาเสียน้ำตา แต่ความสุขทุกวันนี้เป็นความสุข ทีเ่ ราได้เห็นเด็กย มิ้ ทุกว นั น ผี้ มไปเดินต ลาดมนี อ้ งแต่ละคน เข้าม าทกั บอกตรงๆ ผมจำไม่ได้ห รอก แต่น อ้ งเขาจำผมได้ เขาจะเข้าม าทกั ส วัสดีค ะ่ พีจ่ ะไปไหนคะ มันเป็นค วามรสู้ กึ ที่ดีอย่างบอกไม่ถูก” “คล้ายๆ กับรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า” “ใช่ค รับ คือเมือ่ ก อ่ นนี้ ตัง้ แต่ร ะดับค นในชมุ ชนไปจนถึง ระดับผ วู้ า่ ฯ ต่างกเ็ คยชหี้ น้าว า่ เด็กๆ อย่างพวกเรานแี่ หละ คือตัวสร้างปัญหาให้กับสังคม แต่เราในฐานะเยาวชนก็ มองว่าอาจมีแค่ส่วนน้อยที่สร้างปัญหาให้กับสังคมจริงๆ แต่ป ญ ั หาของสงั คมมนั ม าจากใครละ่ มันก ล็ กั ษณะเดียวกัน กับเรื่องทะเลาะวิวาท เรื่องท้องก่อนวัยอันควร ซึ่งปัญหา มันไม่ได้มาจากเยาวชนอย่างเดียวหรอก แต่มันมาจาก คนโตมากกว่าที่ทำให้เห็น ยกตัวอย่างโรงเรียนแห่งหนึ่ง ออกกฎให้เด็กนักเรียนหญิงห้ามใส่กระโปรงสั้น แต่ลอง เดินเข้าไปในโรงเรียนดสู ิ จะเห็นค รูใส่ก ระโปรงสนั้ จูเ๋ ลย คือ ตรงนแี้ หละ เราจะเห็นเลยวา่ ป ญ ั หามนั เกิดจ ากใคร แต่เรา ว่าเขาไม่ได้หรอก เพราะเราเป็นเยาวชน” ท้อบ้างมั้ย?
นิธิ นิธิวีรกุล
“เคยมีคนถามเหมือนกันว่าทำแล้วได้อะไร เราก็บอก ไม่ได้อะไรหรอก แต่ดูสนิ ั่น เห็นรอยยิ้มเด็กนั่นไหม” บางครั้งการทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อบางคนและเพื่อ บางสิ่ง ใช่ว่าจ ะมีคำตอบสำเร็จรูป เธอว่าไหม? ๏
37
ลอยทุกข์ ลอยโศก
มงคล วงศ์ตารินทร์
นิธิ นิธิวีรกุล
ความที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในคลองน้ำไหลอพยพโยกย้าย มาจากภาคเหนือ โดยเฉพาะลำปางเป็นส ำคัญ พวกเขาจงึ นำเอาประเพณีพ นื้ เพของชาวลา้ นนาตดิ ตัวม าดว้ ย หนึง่ ใน ประเพณีท สี่ บื ทอดกนั มา กระทัง่ ก ลายมาเป็นแ หล่งเรียนรู้ แหล่งส ร้างรายได้ให้ก บั ช าวบา้ นกลุม่ ห นึง่ ในหมู่ 17 รวงผงึ้ พัฒนา นั่นก ็คือ ‘ประเพณีลอยโคมประทีป’ “การทำโคมลอยนี้เป็นประเพณีที่พวกเรานำติดตัวมา ตั้งแต่อพยพ มีผู้รู้อยู่ 3 ท่าน คือลุงสิงห์แก้ว วรรณจักร์ ลุงแก้ว สมนำปน ลุงแก้วมา โอ้ทอง” มงคล วงศ์ตารินทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 17 เล่าถึงที่มาของการรวมตัวกันของ ชาวบ้าน ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีผู้ใหญ่บอกกับฉันว่าเป็นเพียง แค่การทำเอาสนุก ไม่ได้ถือเป็นจริงเป็นจัง โดยการลอย โคมป ระที ป ข องช าวบ้ า นที่ ค ลองน้ ำ ไ หลนี้ จ ะล อยกั น ทุกวันลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 หรือเดือนยเี่ป็งของคนคลองน้ำไหล “ต่อมาจึงเริ่มมีการอนุรักษ์ เพราะเราเห็นว่าเหลือแต่ ผู้สูงอายุไม่กี่รายเท่านั้น เราจึงมาปรึกษากันจนเห็นว่า ควรที่จะจัดเป็นประเพณีไว้ให้ลูกให้หลานได้สืบทอดและ ไม่ห ลงลืมว่าเราเป็นชาวลำปาง” พู ด ก็ พู ด เ ถอะน ะ ฉั นว่ า ไ ม่ น่ า จ ะมี แ ค่ ฉั น เ ท่ า นั้ น ที่
39
40 คลองน้ำไหล
เคยสงสัยว่าทำไมชาวล้านนาถึงต้องลอยโคมกัน เอาล่ะ เรารู้กันมานมนานแล้วว่าพี่น้องภาคเหนือมีการลอยโคม กันจ นกลายเป็นจ ดุ ข ายดา้ นการทอ่ งเทีย่ ว กระทัง่ ก ลายเป็น ปัญหาในเรื่องการลอยโคมที่บ้างตกใส่หลังคาบ้านคนจน ทำให้เกิดไฟไหม้ รวมถึงบดบังทัศนวิสัยของเครื่องบินบน ฟากฟา้ กระนัน้ ก ารลอยโคมกย็ งั ค งอยู่ และนา่ จ ะอยูต่ อ่ ไป คำถามคือ ชาวล้านนาลอยโคมเพื่อส ิ่งใดกัน? พระครูวาปีวชิรกิจ เจ้าอาวาสวัดรวงผึ้ง ในฐานะที่ ปรึกษากลุ่มโคมลอยประทีปเป็นผู้ให้คำตอบ “สิ่ ง ที่ ท างวั ด แ ละญ าติ โ ยมไ ด้ พ ร้ อ มใจกั น ส ร้ า ง วัฒนธรรมประเพณี ก็เพราะว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ เราสืบทอดต่อมาจากชาวล้านนา โดยจะจัดกัน ในวันลอยกระทงเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่ พระเกตุแ ก้วจ ฬุ ามณี และยงั ป ล่อยเคราะห์ต อ่ ชะตาชีวิตตัวเอง เป็นการอธิษฐานให้ชีวิตตัว เองมคี วามเจริญร งุ่ เรือง แม้วา่ ท เี่ ราทำมานี้ เป็นส งิ่ ท เี่ กิดข นึ้ ม านานกจ็ ริง แต่ท เี่ รา ทำก็เพื่อให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมกัน เข้ามาสร้างความรักสามัคคี”
พระครูวาปีวชิรก ิจ
นิธิ นิธิวีรกุล
ต่อจากความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการลอยโคม ประทีปนั้น คือการจุดโคมเพื่อถวายแด่พระเขี้ยวแก้ว พระรากข วั ญ พระจุ ฬ า (ยอดพ ระเ กศา) พระโ มฬี (มุ่นพระเกศาทั้งหมด) ปิ่น มณี (เครื่องรัดเกล้า) ของ พระพุ ท ธเจ้ า ที่ ป ระดิ ษ ฐาน ณ จุ ฬ าม ณี เ จดี ย์ สวรรค์ ชั้ น ด าวดึ ง ส์ รวมถึ ง ยั ง เ ป็ น การป ล่ อ ยทุ ก ข์ ป ล่ อ ยโ ศก ต่อดวงชะตาไปกับดวงประทีปที่ลอยสู่สวรรค์ ในฐานะที่ปรึกษาเช่นกันกับพระครูวาปีวชิรกิจ ผู้ใหญ่ มงคลยังได้เชิญชวนนักศึกษาและเยาวชนให้มาเป็นกำลัง อีกแ รงหนึง่ ในการสบื ทอดประเพณีล อยโคมประทีป ไม่น บั ชาวบา้ นและผเู้ ฒ่าผ แู้ ก่ ซึง่ ไม่เพียงแต่ม ปี ระโยชน์ในดา้ นที่ ทำให้ชาวบ้านใช้เวลาทำกิจกรรมนี้ร่วมกันเท่านั้น แต่ยัง เป็นการปลูกฝ งั ร ากเหง้าข องบรรพบุรษุ ท อี่ พยพกนั ม าจาก อำเภอแม่ทะ ตัง้ แต่พ อ่ ห นานจนั ทร์จ นไปถงึ ล กู ห ลานคลอง น้ำไหลที่สืบเชื้อสายมาจากลำปาง ทว่าผู้ใหญ่มงคลไม่ได้ต้องการให้ประเพณีนี้จำกัดวง อยูแ่ ค่ในหมู่ชาวลำปางเท่านัน้ เมือ่ เห็นวา่ เป็นการสบื ทอด ทีด่ งี าม ผูใ้ หญ่จ งึ ป ระสานไปยงั ช มรมผสู้ งู อ ายุป ระจำตำบล คลองนำ้ ไหลเพือ่ ให้เข้าม าเรียนรรู้ ว่ มกนั ก บั ช าวบา้ นหมู่ 17 จนสามารถทจี่ ะทำโคมลอยเพื่อจำหน่ายได้ แม้แรกเริ่มเดิมทีประเพณีโคมลอยตามความเชื่อจะ เป็นการทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่ทุกวันนี้การ
41
42 คลองน้ำไหล
ทำโคมลอยประทีปของกลุ่มชาวบ้านหมู่ 17 ได้ขยายไป ไกลกว่านั้น โดยรวมเอาทุกงานบุญ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้น บ้านใหม่ งานวัด งานปีใหม่ ฯลฯ เพื่อมิให้การลอยโคม ประทีปเหลือเพียงแค่วันลอยกระทงในหนึ่งปี ส่วนตัวแล้วฉันมองว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีทีเดียวนะ เพราะ ไม่ เ พี ย งแ ต่ เ ป็ น การส ร้ า งร ายไ ด้ ใ ห้ กั บ ช าวบ้ า นที่ เ ข้ า มาเ ป็ น ส มาชิ ก ก ลุ่ ม เ ท่ า นั้ น แต่ ยั ง เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง บางสิ่งจากอดีตที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน และฉันว่าตัวเอง เข้าใจพระครูวาปีวชิรกิจ เข้าใจผู้ใหญ่มงคล กระทั่งผู้รู้ ทัง้ สามท่านไม่ผ ดิ ห รอกวา่ นัน่ แ หละคอื ส งิ่ ท ผี่ กู โยงพวกเขา ไว้ด้วยกันในฐานะลูกหลานชาวล้านนา “ส่วนอนาคตขา้ งหน้า ผมวาดหวังว า่ จ ากจำนวนสมาชิก ทั้งหมด 30 คนที่รวมตัวกัน ผลิตเพื่อจำหน่ายโคมลอย ประทีป ผมหวังว่าเราจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพือ่ ท ำให้ก ลุม่ ท ำโคมลอยของเราพฒ ั นาจนเป็นศ นู ย์เรียนรู้ ของตำบล และศูนย์กลางจำหน่ายของตำบลคลองน้ำไหล ต่อไป” ๏
นิธิ นิธิวีรกุล
43
นิธิ นิธิวีรกุล
กลองยาว บ้านมอมะปรางทอง
45
46 คลองน้ำไหล
ฉันเคยบอกเธอหรือยังว่า สมัยเรียนประถมฉันเคยอยู่ ชมรมดนตรีไทย ใช่ ฉั น เ คยใ ฝ่ ฝั น อ ยากจ ะเ ป็ น นั ก ด นตรี ไ ทยกั บ เขาด้วยนะเธอ เพียงแต่ ฝันของฉันไม่ใช่ การตีระนาด เหมือนอย่างศร ศิลปะบรรเลง หรือห ลวงประดิษ ฐไพเราะ บรมครูระนาดเอก แต่ฝันของฉันคือการตีกลองยาว ทว่า ตลอด 3 ปีที่ฉันอยู่ชมรมดนตรีไทย อย่างเดียวที่ฉันได้ตี คือ กรับ ที่บ้านมอมะปรางทอง ไพศาล จุลพ ันธ์ บอกเล่าที่มา ที่ไปของกลุ่มก ลองยาว โดยเริ่มจ ากการอพยพโยกย้ายมา จากจังหวัดเพชรบุรีพร้อมกันกับชาวบ้านคนอื่นๆ ซึ่งมา จากสพุ รรณบุรบี า้ ง นครนายกบา้ ง เริม่ ก อ่ ต งั้ เป็นกลมุ่ ก อ้ น ทางกจิ กรรมจริงจังในปี 2554 มีส มาชิกแ รกกอ่ ต งั้ 14 คน ซึ่งล้วนแต่เป็น ผู้สูงอายุและวัยกลางคนในชุมชน ขณะที่ เยาวชนบางส่วนยังไม่ให้ความสนใจ “เราต้องการอนุรักษ์ต รงนี้ให้เด็กน้อยได้สืบสานต่อ” ธงชัย ดีประชา เล่าต่อ โดยบอกว่าแต่เดิมตัวเองนั้น เคยเล่นดนตรีอยู่ในวงลิเกมาก่อน แต่พอมีอายุม ากขึ้น จึง ออกมาเล่นกลองยาวร่วมกับชาวบ้านคนอื่นๆ ในชุมชน ทีต่ า่ งกม็ สี ายเลือดนกั ด นตรีภ าคกลางดว้ ยกนั ท งั้ น นั้ อ ยูแ่ ล้ว กระทั่ ง วั น ห นึ่ ง ลุ ง ธ งชั ย เ กิ ด ปิ๊ ง ไ อเ ดี ย อ ยากใ ห้ มี การอนุรักษ์ดนตรีไทยขึ้น ชะรอยว่าลุงแกอาจเพิ่งได้ดู
นิธิ นิธิวีรกุล
ภาพยนตร์เรื่องโหมโรงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ในปี 2550 ลุงธ งชัยได้ป รึกษากบั ผ ใู้ หญ่ไพศาลแล้วก ก็ อ่ ต งั้ กลุม่ ขึ้นมาเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากสมาชิก 14 คน มีการ ตระเวนเล่นตามงานวัด งานบุญ งานขึ้นปีใหม่ และงาน เทศกาลต่างๆ แม้กระทั่งคอนเสิร์ตจากวงดนตรีเพื่อชีวิต ชือ่ ด งั ท มี่ าเปิดก ารแสดงทกี่ ำแพงเพชรอย่างคาราบาว กลุม่ กลองยาวบ้านมอมะปรางทองก็เคยขึ้นไปแจมมาแล้ว กระทั่งในปี 2554 จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 7 คน เพื่อดูแลผลประโยชน์ในกลุ่ม เนื่องจากเริ่มมกี ารไป แสดงตามสถานที่ต่างๆ มากขึ้น แล้วจึงมีการฝึกสอนไป ยังเยาวชนเพื่อปลูกฝังให้รู้จักหรืออย่างน้อยก็ตีกลองเป็น รวมถึงมีการประสานไปยังกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ให้คนเฒ่าคนแก่ได้ใช้กลองยาวเป็นกิจกรรมยามว่าง ๏
47
นิธิ นิธิวีรกุล
‘ลาวโซ่ง’ ไม่ใช่ลาว เย็นย ำ่ ก อ่ นการมาถงึ ข องรตั ติกาล ลุงประพนธ์ เพิม่ สมบัติ เลขานุการนายก อบต. ซึ่งรับไม้ทำหน้าที่ไกด์กิตติมศักดิ์ ให้ฉันแ ทนรองนายก อบต. ได้พาฉันเลี้ยวเข้าสู่บ้านเรือน ไม้ใต้ถุนสูง หลังคามุงห ญ้าคา ซึ่งตั้งอยู่อย่างโดดเด่นก่อน เข้าสูอ่ าณาบริเวณเขตบา้ นหมู่ 4 ท่าช้าง ซึง่ เป็นช มุ ชนทอี่ ยู่ อาศัยข องกลุ่มชาวไทดำ หรือ ‘ลาวโซ่ง’ “บรรพบุ รุ ษ ข องพวกเ ราเ ท่ า ที่ ผู้ เ ฒ่ า ผู้ แ ก่ เ ล่ า ใ ห้ ฟั ง สืบเชือ้ ส ายมาจากชาวลาวโซ่งท เี่ วียดนามและอพยพเข้ามา ในสมัยกรุงธนบุรีนี่แหละ” ไพร เสนาพิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน เริ่มต้นเล่าถึงที่มาที่ไป ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีในความเข้าใจ
49
50
คลองน้ำไหล
ของฉัน คิดว ่าพวกเขาคือคนลาวอีกเผ่าหนึ่ง แต่ที่จริงหา ได้เป็นเช่นนั้น ชนเผ่าลาวโซ่งที่แท้นั้นเป็นชนเผ่าไทที่อาศัยอยู่ใน แคว้นสิบสองจุไท หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำในเวียดนาม เหนือ อพยพเข้ามาในประเทศตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีด้วย สาเหตุของการแพ้ภัยส งคราม นั่นเป็นข้อมูลดิบๆ เท่าที่ เรารู้กัน ทว่าสำหรับชาวลาวโซ่งที่บ้านท่าช้างนั้นอพยพ กันมาจากภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากเพชรบุรี และสุพรรณบุรี “พอเรารวู้ า่ ม ญ ี าติพ นี่ อ้ งลาวโซ่งด ว้ ยกนั ท นี่ ี่ พวกเรากพ็ ากนั อ พยพมาดว้ ย” เคียน ทองเย็น ประธานคณะกรรมการไทดำอธิบาย ฉันถ ามต่อว่า นั่นผ่านมาแล้วก ี่ขวบปี “30-40 ปี” ทั้ ง จ ากเ รื่ อ งเ ล่ า ก ารอ พยพข อง พ่อหนานจันทร์ และประวัติชีวิต ฉบั บ ย่ น ย่ อ ข องร องน าย กฯ ปัญญา ที่บอกเล่าถึงเส้นทาง อันยากลำบากกว่าจะมาถึง คลองนำ้ ไหล ซึง่ ในสมัยก อ่ น
นิธิ นิธิวีรกุล
โน้นเรียกกนั ว า่ ค ลองนำ้ ตาไหล เพราะหากมาถงึ แ ล้วย ากจะ กลับอ อกไป ทัง้ ด ว้ ยรถโดยสารทเี่ ดือนหนึง่ จ ะมสี กั ครัง้ และ หากในเดือนนนั้ ม เี พียงหนึง่ ค นทตี่ อ้ งการออกไปจากพนื้ ที่ คลองน้ำไหล รถโดยสารก็จะไม่ให้บริการ ด้วยไม่คุ้มค่า น้ำมันเดินท าง ยิ่งตอกย้ำว่ากว่าท ี่กลุ่มคนแต่ละชนเผ่าจะ มาตดิ ต่อห ากนั จ นเจอ เหมือนในเพลงทเี่ ธอชอบรอ้ งให้ฟงั มันไม่ได้ง่ายเลย เธอคิดเหมือนฉันไหม? สายเลือด ประเพณี อาจดู คร่ำครึในบางสายตา แต่ส ำหรับบ างคน มันคือ สิ่งยึดเหนี่ยวยึดโยงพวกเขาเข้าไว้ด้วยกัน เลยทีเดียว “เรามภี าษาของเรา มีป ระเพณีไหว้ผี บรรพบุรุษข องเรา อย่างพิธีแปลงขวัญ หรือเรียกขวัญของคนภาคกลาง เราจะ จั ด ขึ้ น ใ นวั น ส งกรานต์ เพื่ อ รำลึ ก ถึ ง บ รรพบุ รุ ษ มี อินคอน (ฟ้อนแคน) ไป จนค่ำ”
51
52
คลองน้ำไหล
จำปี ทองดอนเกรื่อง รองประธานกรรมการไทดำ ในฐานะปราชญ์ประจำชุมชนด้านวัฒนธรรมประเพณีของ ชาวไทดำทบี่ า้ นทา่ ช้างบอกกบั ฉ นั ก่อนจะขยายความไปถึง วิถชี วี ติ ป ระจำวนั ข องชาวไทดำ ตัง้ แต่เรือ่ งการขนึ้ บ า้ นใหม่ การผิดผี การจัดงานศพที่จะต้องมีการแสดงร้องไห้ตลอด การแห่แหนศพ เพื่อบอกเหล่าเทวดาให้ทราบว่าผู้ตายนี้ เป็นคนดี เมื่อกลุ่มลาวโซ่งแต่ละกลุ่มจากหลากพื้นที่มาพบปะ พบเจอกันในคลองน้ำไหล การก่อต ั้งก ลุ่มเพื่อก ารอนุรักษ์ อย่างเป็นร ูปธรรมจึงถ ือกำเนิดขึ้นในปี 2541 โดยมี นิคม ฟูแก้ว เป็น ผู้ริเริ่ม และเป็นประธานกลุ่มไทดำคนแรก และมีประคอง ธนโกไสย เป็นรองประธานกลุ่ม กระทั่ง ถึงป ี 2543 กลุ่มไทดำก็ได้รับเงินสนับสนุนก้อนหนึ่งเพื่อ ดำเนินการจัดงานประเพณีไทดำ มีโรงเรียนในพื้นที่ให้ ความร่วมมือ และรวมถึงมกี ารติดต่อประสานกับสมาคม ไทดำแห่งประเทศไทยภาคเหนือในการสืบสานประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ ๏
พลังงานใกล้ตัว “เรามรี ะบบพลังงานในคลองนำ้ ไหลทงั้ หมด 6 ชนิด คือ เตาแกลบชีวมวล เตาย่ า งไ ร้ ค วั น เตาเ ศรษฐกิ จ เตาซูเปอร์อั้งโล่ เตาถ่าน 200 ลิตร และบ่อหมักแก๊สจากมูลสัตว์ ซึ่ง สามารถจดุ เตาแก๊สได้ถ งึ 2 ชัว่ โมง ไม่น บั เรื่องน้ำที่ไหลออกมาจากบ่อยังสามารถ เอาไปใช้รดต้นไม้ได้อ ีก” ก่อนเลีย้ วเข้าส ศู่ าลารมิ ถ นนภายใน ผู้ ใหญ่สมจิตร กลิ่นซ้อน
นิธิ นิธิวีรกุล
บ้านบึงหล่ม ลุงประพนธ์เกริ่นให้ฟังถึงภาพโดยรวมของ กลุ่มพลังงานในตำบลคลองน้ำไหล ซึ่งที่บ้านบึงหล่มเป็น หนึง่ ในศนู ย์เรียนรเู้ รือ่ งเตาเผาถา่ น ใช้ช อื่ ก ลุม่ ว า่ ‘กลุม่ เตา เศรษฐกิจบ้านบึงหล่ม’ เริม่ จ ากผใู้ หญ่ส มจติ ร กลิน่ ซ อ้ น ไปดงู านทโี่ คราช แล้ว นำกลับมาเผยแพร่ความรู้การใช้เตาเผาถ่าน 200 ลิตร ให้กับชาวบ้านหมู่ 6 ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็มีการปรับปรุง ถังน้ำมันภายในหมู่บ้านกันเอง ทว่าพวกเขากลับพบว่า มันไม่สอดคล้องนักกับวิถีชีวิต รวมถึงการใช้งานที่ไม่ได้ ประสิทธิภาพดั่งใจเท่าที่ควร จึงนำความรู้จากผู้ใหญ่ สมจิตรปรับปรุงต ่อโดยแทนที่จะตั้งเตาขึ้น ชาวบ้านก็วาง เตานอนกอ่ ด นิ ข นึ้ ก ลบตวั ถ งั เจาะกน้ ถ งั ส อดทอ่ พ ลาสติก ลงไป เพื่อเป็นทางสำหรับนำน้ำที่กลั่นจากการเผาไปใช้ เป็นน ำ้ ส้มค วันไม้ ใช้ร ดพชื ผ ลทางการเกษตรปอ้ งกันแ มลง ได้อีกต่อห นึ่ง ขณะที่ณัฐนนท์ จักกระโทก วิทยากรประจำฐาน เรียนรู้ได้เสริมว ่า กลุ่มเตาเศรษฐกิจบ้านบึงหล่มได้มีการ ประสานเชือ่ มโยงไปยงั ก ลุม่ ป กากะญอ เกษตรกรทอี่ ำเภอ โกสัมพีนคร รวมถึงที่อำเภอไทรงาม แม้แต่ลงไปไกลถึง จังหวัดพ งั งากย็ งั ม ี โดยเป็นการผลิตเตาตามทมี่ กี ารสงั่ ซือ้ และเป็นการเผยแพร่ความรู้ในการสร้างและใช้งานเตา เศรษฐกิจข องบ้านบึงหล่ม ๏
55
เตาแก๊สชีวมวล ใช้แกลบ ออกจากหมู่ 6 ล่องไปตามถนนสายหลักของตำบลคลอง น้ำไหลมุ่งสู่ทางไปอำเภอคลองลาน ลุงประพนธ์พาฉัน มายังที่หมายต่อไปคือ ‘กลุ่มเตาแก๊สชีวมวลใช้แกลบ’ นวัตกรรมของบ้านคลองพลู หมู่ 9 “หลักการทำงานของเตาแก๊สเรา หัวใจหลักคือพัดลม โดยตั ว นี้ จ ะกิ น ไ ฟป ระมาณตั ว ล ะ 3 บาท” บุ ญ ลื อ เมืองกระจ่าง บอกพลางสาธิตวิธีใช้งานที่ไม่ต่างจาก เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน คือหยิบแกลบใส่ลงไป ในตัวเตา แล้วเสียบปลั๊ก รอไม่นานนักหม้อต้มบนเตาก็เริ่มเดือดปุดๆ สะดวก และง่ายดาย จนฉันต้องถามพี่บุญลือว่า การทำเตาเช่น
นี้ยากไหม? “ไม่ย ากครับ” พี่บุญลือว่า แล้วอธิบายถึงการสร้างเตาแก๊สชีวมวลใช้ แกลบ เริ่มจ ากการหาวัสดุจำพวกแผ่นเหล็กหรือท่อใยหิน มาก่อเป็นร ูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว สูง 80 เซนติเมตร แล้วทำท่อเหล็กขนาด 1 นิ้วคูณ 1 นิ้ว ความยาว 75 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน สำหรับน ำอากาศ เ ข้ า สู่ เ ตา และที่ ข าดไ ม่ ไ ด้ ถื อ เ ป็ น หั ว ใจห ลั ก ข องเ ตา ประเภทนี้ เ ลยก็ คื อ พั ด ลม DC ขนาด 12 โวลต์ เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดป ระมาณ 2 นิว้ พ ร้อมดว้ ย Adapter ระบบ DC 12 โวลต์ ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟให้แก่พัดลม เลือกเอาชนิดที่สามารถปรับแรงดันได้เพื่อเพิ่มขนาดเร็ว หรือช้าให้ กับ พัดลม เหมือนกับ พัดลมตามบ้านทั่วไป ส่วนประกอบอื่นๆ ก็คือดินเหนียวผสมแกลบสำหรับ ทำฉนวนกันความร้อนด้านในเตา และตะแกรงเหล็ก สำหรับรองเตาด้านล่าง พี่ บุ ญ ลื อ บ อกฉั นว่ า เ ตาห นึ่ ง ตั ว ใ ช้ ต้ น ทุ น ต กตั ว ล ะ 1,100-1,200 บาทต่อชิ้น ซึ่งดูแล้วไม่แตกต่างจากแก๊ส หุงต้มแอลพีจีที่ใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไป ทว่าเมื่อคิดถึง ระยะยาว เตาแก๊สชนิดนี้คุ้มค ่ากว่ามาก ไม่ต้องไปคิดไกล ถึงระดับชาติตามเคมเปญโฆษณาของบริษัทผลิตน้ำมัน เอาแค่ค า่ แ ก๊สแ อลพจี ที จี่ ะไม่ต อ้ งเสียอ กี เลยตลอดชวี ติ นัน่
58
คลองน้ำไหล
ก็มากเกินค ุ้มแล้ว แต่ เ ดี๋ ย วก่ อ น ฉั น ถ ามพี่ บุ ญ ลื อ ถึ ง ปั จ จั ย ส ำคั ญ อี ก ประการ นั่นคือเชื้อเพลิง ถึงไม่ต้องใช้แก๊สแอลพีจีแล้ว เตาแกลบก็ต้องใช้แกลบในการเผาไหม้อยู่ดี ถ้าเช่นนั้นคน บ้านคลองพลูไม่ต ้องหาซื้อแกลบกันหรือไร? คำตอบจากพี่บุญลือคือ ไม่ต้องซื้อ “ในชุมชนของเราแกลบยังพอขอกันได้อยู่” พี่บุญลือต อบยิ้มๆ อนาคตสำหรับกลุ่ม พี่บุญลือบอกฉันว่า ความตั้งใจ คือจ ดั หาวสั ดุท มี่ ตี น้ ทุนถ กู ล งกว่าก ารใช้แ ผ่นเหล็กม าเชือ่ ม เป็นแกนเตาอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากทำได้ เตาแก๊ว ชีวมวลใช้แกลบก็จะมีราคาถูกลงไปอีก ๏
นิธิ นิธิวีรกุล
59
บุญลือ เมืองกระจ่าง
อรุณส วัสดิ์ อรุณรุ่งมาถึงในอ้อมกอดของขุนเขาปางควาย ฉันตื่นขึ้น แต่ตะวันยังไม่โผล่พ้นยอดเขาปางควาย ภายในบ้านพัก ของรองนายกฯ ปัญญา ซึ่งยังไม่ได้จัดทำเป็นโฮมสเตย์ จริงจัง แม้ในตำบลคลองน้ำไหลจะมเีกสต์เฮ้าส์อยู่ไม่น้อย เนือ่ งจากใกล้ท ตี่ งั้ ข องอทุ ยานคลองลาน กระนัน้ คลองนำ้ ไหลก็ยังไม่ได้มองไปถึงจุดที่ตำบลจะกลายเป็นแหล่งท่อง เทีย่ วสำคัญข นึ้ ม าอกี แ หล่งข องจงั หวัดก ำแพงเพชร เว้นแต่ ว่าเธอจะมาเที่ยวในแบบฉัน คือพยายามทำตัวกลมกลืน
นิธิ นิธิวีรกุล
ไปกับชาวบ้าน ไม่ใช่วางท่าเป็นลูกค้าที่คนท้องถิ่นต้อง ประเคนทุกอย่างให้เพราะจ่ายเงินแล้ว อากาศยามเช้าที่คลองน้ำไหล รวมถึงบรรยากาศโดย รอบทำให้ฉันนึกถึงลำปางที่เราเคยไปเดินเล่นตลาดเช้า ที่โน่นด้วยกัน นึกเปรียบเทียบระหว่างลำปางในภาพจำ ของฉันกับลำปางในสมัยที่รองนายกฯ ปัญญา กระทั่ง คนอื่นๆ อพยพจากมาคงแตกต่างกันน่าดู แต่อากาศที่ สดชื่น บรรยากาศที่เงียบสงบ ฉันว่าถ ้าให้เลือกได้คงไม่มี ใครอยากย้อนกลับ เพราะที่คลองน้ำไหลเป็นบ้านที่น่าอยู่ สำหรับทุกค น “ผมเนี่ยพ่อแ ม่เสียชีวิตหมดตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ก็ไม่มี ข้าวไม่มอี ะไรกนิ เหมือนกนั จะมกี แ็ ต่ข า้ วเหนียวปนั้ ก ลมๆ ก้อนหนึ่ง เล่าไปลูกๆ ไม่เชื่อแล้ว” ก่อนรออาหารเช้า รองนายกฯ ปัญญากเ็ ล่าให้ฉ นั ฟ งั ถ งึ ภาพชวี ติ ห นหลังส ว่ นตวั แกล้มก าแฟรอ้ นและปาท่องโก๋ไป พลางๆ รองปัญญาบอกฉันว่า สมัยอยู่ลำปางนั้นชีวิตพี่ น้อง 7 คนลำบากมาก หลังพ ่อแม่เสียชีวิต ยิ่งลำบากมาก ขึน้ ห ลายเท่า พีน่ อ้ งบางคนถงึ ก บั ต อ้ งยา้ ยไปอยูก่ บั ญ าติค น อืน่ ๆ ส่วนรองปญ ั ญากเ็ ดินท างมากำแพงเพชร เพือ่ ม ายังไร่ ของลุงทคี่ ลองน้ำไหล สมัยที่ยังเรียกว่าคลองแม่ลาย
61
62
คลองน้ำไหล
“มาถึงคลองแม่ลาย แม่ค้าก็บอกจะไปคลองน้ำตาไหล เรอะ ผมยังจ ำอยูใ่นสมอง พอมาได้ปุ๊บก็ขึ้นรถคอกหมูมา ทางมันไม่ค่อยดี ก็โยกไปทางนั้นทีทางนี้ที ตะขอเกี่ยวก็ เกีย่ วเสือ้ ข าดวนิ่ ไปหมด มาได้ถ งึ ค รึง่ ท างกม็ าเจอกลุม่ ช าว เขาใส่ชุดประจำเผ่ายืนกันเต็มสองข้างทางไปหมด ผมมา ถึงก็ไปทำงานกับลุง เลี้ยงวัว ทำนาให้ลุง นานๆ จะมาดู หนังขายยาทวี่ ัดคลองน้ำไหลสักทีหนึ่ง” “อยู่กับลุงไปก็ช่วยเขาปลูกบ้าน ทำนา เขาสัญญาว่า จะแบ่งที่นาให้ แต่ก็ไม่ได้ ก็ธรรมดานะ พอลูกเขาเติบโต ขึ้นม า เขาก็ให้ลูกเขา กระทั่งผ มอายุประมาณ 19 ปี ก็ได้ มีโอกาสจับป่า คือเป็นการจับจองที่ป่ามาทำไร่ทำนาตาม ประสาเราน่ะ” “จับป่าหรือครับ?” ฉันถาม “คล้ายกับสลากรึเปล่า ครับ” “ใช่ คล้ายๆ กับจ บั ส ลาก” รองนายกฯ ปัญญาตอบ “จับ แล้วรัฐก็ให้ตัดเอาเอง ก็ได้กับเขามาล็อตหนึ่ง ล็อตหนึ่งได้ ประมาณ 5-6 ไร่ พอได้ม าก็โค่นป่าปลูกข ้าวโพด เก้งก วาง หมูป่าเยอะ กับข้าวนี่แทบไม่ต ้องซื้อ ทำไปก็เก็บเงินไปจน ซื้อควายได้ตัวหนึ่ง ควายตัวละ 4,000-5,000 บาท ผมก็ เอาควายมาชว่ ยทำไร่ข า้ วโพดได้อ กี ไร่ห นึง่ พอผา่ นไปอกี ป ี ผมก็ซื้อเกวียนได้หนึ่งเล่ม ใช้เป็นพาหนะ” ชีวติ ช าวไร่บ กุ เบิกข องคนหนุม่ ร นุ่ ก ระทงของรองนายกฯ
นิธิ นิธิวีรกุล
ปัญญาเริ่มจะไปได้ดี และไปได้สวย กระทั่งมีหมายเกณฑ์ ให้ต้องไปรับราชการทหารที่พิษณุโลก “ประจำการอยูไ่ ด้ 2 ปีก ป็ ลดมาแต่งงาน ผมกใ็ ช้ช วี ติ ม า เรื่อย จนได้มาเป็นรองนายก อบต.นี่แหละ” อาหารเช้าเสร็จแล้วพร้อมเสิร์ฟ รองปัญญาเชิญฉันให้ กินตามสบาย จนเมื่อใกล้หมด ประตูหลังบ ้านก็เปิดออก ใบหน้าคุ้นเคยของลุงประพนธ์ก็เยี่ยมเข้ามา แล้วบอก กับฉัน “ป่ะ เราไปกันเถอะ วันนี้ยังมอี ีกหลายที่” ๏
63
ชาติพันธุป์ กากะญอ
นิธิ นิธิวีรกุล
“ทีแรกก็ทำนาทำไร่อยู่บนเขา จนเมื่อปี 2526 ทาง ราชการให้ย้ายลงไปอาศัยอยู่ที่เขื่อน แรกๆ ราชการ ก็เอาข้าวของของมาให้ แต่ต่อมาก็ขาดหายไป เราก็ อยู่ลำบาก เลยย้ายออกมาหาที่ทำมาหากิน จนมา ได้ทปี่ ัจจุบัน แต่ก็ยังไม่ถาวร ยังลำบากอยู่ และไม่รู้ว่า เมื่อไหร่จะต้องย้ายออกไปอีก” หวาด คงสวัสดิ์ อดีต สมาชิก อบต.คลองน้ำไหล บอกกันฉัน เมื่อถามถึง จุดเริ่มของปกากะญอที่คลองน้ำไหล สะกอ หรื อ ปกาก ะญอ เป็ น กลุ่ ม ช าติ พั น ธุ์ ที่ มี ประชากรจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย เมื่อเทียบ กับกะเหรี่ยงกลุ่มอื่นๆ หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดย กระจายไปยังจ ังหวัดต ่างๆ 15 จังหวัด หนึ่งในนั้นคือ กำแพงเพชร ซึง่ ม ที งั้ ท ตี่ ำบลคลองลานพฒ ั นาและตำบล คลองน้ำไหลด้วยเช่นกัน ประวั ติ ข องก ารโ ยกย้ า ยถิ่ น ฐานข องก ลุ่ ม ช นเ ผ่ า ปกากะญอในคลองน้ำไหลที่บ้านสามัคคีธรรม ซึ่งอยู่ ติดกับอุทยานแห่งชาติคลองลานก็ไม่ได้แตกต่างจาก ชนเผ่าปกากะญอจากที่อื่นๆ รวมถึงประสบปัญหา ไม่แตกต่างในเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งแม้ทาง อบต. จะ พยายามจัดสรรหาที่ดินทำกินให้ ก็ติดปัญหาเรื่อง
65
66
คลองน้ำไหล
ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ รวมถึงปัญหาใหญ่ที่สุดคือเรื่องเงิน เพราะหากชาวปกากะญอสักคนจะซื้อที่ดินสัก 1 ไร่ บนเขาเพื่อป ลูกมันส ำปะหลัง เขาต้องใช้เงิน 7,000 บาท ต่อหนึ่งไร่ เมื่อม องจากมุมมองคนเมืองอย่างเราๆ พูดได้ เต็มปากเลยวา่ ร าคาถกู แต่ส ำหรับช าวเขา เงิน 7,000 บาท นั้นหายากยิ่ง และการทำไร่ไม่ได้ทำเพียงแค่ไร่เดียว หากต้องการจะอยูใ่ห้รอด ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาที่รอการ สะสาง แม้ในภาพรวม แม้ในวิถีชีวิตที่ฉันมองเห็น ชนชาว ปกากะญอทคี่ ลองนำ้ ไหลนจี้ ะไม่เดือดรอ้ น ยังค งอยูอ่ าศัย ได้ต ามอตั ภาพ ภาพไร่ม นั ส ำปะหลังท ที่ อดยาวแผ่ก ว้างอยู่ เบื้องหน้าลดหลั่นไปตามไหล่เขายังคงเป็นภาพที่งดงาม และชวนให้กดชัตเตอร์เก็บลงบนเมมโมรี่การ์ดไม่รู้เบื่อ กระนั้นเราต้องไม่ลืมว่าเบื้องหลังภาพที่งดงามของไร่ มันสำปะหลังบ นไหล่เขานนั้ คือห ยาดเหงือ่ ข องชนเผ่าห นึง่ ที่แทบจะถูกผลักไสให้ไปอยู่ชายขอบของสังคม เท่าทเี่ป็นมาจากอดีต ถึงทุกวันนี้ก็ไม่เคยเปลี่ยน “ชาวเขาทนี่ ี่เดือดร้อนมากที่สุด ที่ทำกินอะไรก็ไม่มี ยัง ไม่มีเอกสิทธิ์ ไม่มี นส 3 ก. ทีแรกจะย้ายพวกผมไปทาง บึงหล่ม แต่พ วกเราไม่ยอม ชาวเขานี่ชอบอยู่กับป ่ากับเขา ที่เห็นปลูกไร่ปลูกมัน ไม่ใช่ไร่ของชาวปกากะญอ แต่เป็น ของคนอื่นทั้งนั้น พวกเราไม่มีที่ดิน ไม่มีไร่ของตัวเอง ซึ่ง
นิธิ นิธิวีรกุล
ก็ได้แต่หวังว่าจะมีหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยบ้าง” พี่หวาดฝากทิ้งท้าย และฉันก็ไม่รู้ว่าจะมีหน่วยงานใด บ้างทไี่ด้ยิน ๏
หวาด คงสวัสดิ์
67
นิธิ นิธิวีรกุล
ฟังเสียงสะล้อ ซอซึง เสียง ดนตรีลี า้ นนาดงั อ อกมาจากศาลารว่ มใจ บ้านชัยมงคล หมู่ 19 ภายในนั้นม ีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งทั้งเด็กเล็ก ผู้เฒ่า ผู้แก่ และคนหนุ่มสาวต่างนั่งจับกลุ่มกัน มีทั้งที่กำลัง ห้ อ มล้ อ มเ รื อ สุ พ รรณหงส์ ที่ ป ระดั บ ต กแต่ ง จ ากวั ส ดุ ธรรมชาติ มีทั้งที่กำลังนั่งคุยกันสัพเพเหระ และก็มีทั้งที่ กำลังตระเตรียมเครื่องดนตรีอันเป็นเป้าหมายในการมา เยือนที่นี่ของฉัน เพื่อฟังด นตรีล้านนา เพื่อฟังเรื่องราวของชาวเชียงราย พลัดถิ่น สมศักดิ์ พรมมาบุญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 19 และเป็นที่ ปรึกษาให้ก บั ก ลุม่ ส ะล้อซ อซงึ บ อกฉนั ถ งึ ทีม่ าทไี่ ปของกลุม่
69
70
คลองน้ำไหล
ที่เริ่มต้นตั้งแต่พ่อตัน ผ่อนชมภู อพยพพาครอบครัวจาก เชียงรายมายังบ้านคลองน้ำไหลเฉกเช่นพ่อหนานจันทร์ที่ อพยพมาจากลำปาง ขณะทพี่ อ่ ห นานจนั ทร์ถ างป่าถ างพง ให้กับพี่น้องชาวลำปางด้วยกันเพื่อตั้งรกราก พ่อตันก็ กรุยทางให้ก ับชาวเชียงรายด้วยเสียงดนตรี “แต่ก่อนก็ไม่ได้รวมกลุ่มจริงจังอะไรมาก แค่เล่นไว้ จีบสาวไปตามเรือ่ ง พอเสร็จจ ากนากร็ วมกลุม่ ก นั ป ระมาณ 5-6 คน เล่นสะล้อซอซึงด้วยกัน แต่ยังไม่ได้ทำเป็นเรื่อง เป็นราว พอดีท าง อบต. เขาเห็นว่าก ลุ่มสะล้อที่หมู่ 19 นี้ เข้มแ ข็งก ว่าก ลุม่ อ นื่ ๆ ในคลองนำ้ ไหล ก็เลยเอาหมูเ่ ราเป็น ฐานสำหรับการเรียนรเู้รื่องสะล้อซอซึง”
สมศักดิ์ พรมมาบุญ
นิธิ นิธิวีรกุล
อายุ ผู้ ใ หญ่ บ อกกั บ ฉั นว่ า แ กนั้ น 46 ปี แ ล้ ว ตั้ ง แต่ วัยเด็ก แกยังทันได้เห็นภาพพ่อตันกับเพื่อนฝูงเดินดีดซึง ไปต ามถ นนร นแ คมใ นค ลองน้ ำ ไ หลที่ ยั ง ค งเป็ น เพี ย ง ถนนดิน นึกภาพตามแล้วฉันอ ิจฉา เธอลองนึกส ิ เสียงซึง ในความเงียบของถนนดินที่ยังไร้แสงไฟ ไร้เสียงประดิษฐ์ ต่างๆ มีเพียงเสียงจากราวป่าและเสียงดนตรีสำเนียง ล้านนาที่ดังขึ้นในความโพล้เพล้ ด้วยความที่เล่นดนตรีพื้นบ้านกันจนโดดเด่นนั่นเอง กลุ่ ม ข องพ่ อ ตั น จึง เริ่ม ได้ รับ การว่า จ้างให้ ไปเล่น ต าม งานบุญงานมงคลต่างๆ ได้ค่าจ้างบ้าง ไม่ได้บ้างในกรณี ที่รู้จักมักคุ้น ทว่ามากกว่านั้นคือการสืบสานให้สำเนียง ล้านนาจากเชียงราย ลำปาง ยังคงดังไปทั่วคลองน้ำไหล กระนั้นทุกวันนี้สถานการณ์ทางด้านการอนุรักษ์ดนตรี พื้นบ้านประเภทนี้ใช่ว่าจะง่าย ผู้ใหญ่สมศักดิ์บอกกับฉันว่า ทุกวันนี้ทางกลุ่มยังคง เฟ้นหาเยาวชนมาสืบทอดอยู่ ซึ่งฉันเข้าใจว่ามันไม่ง่าย เลยที่จะให้เด็กและเยาวชนหันมาสนใจดนตรีพื้นบ้าน ตัว ฉันเองสมัยวัยร ุ่นยังหัดดีดก ีตาร์มากกว่าจะดีดซึง ทว่ า เ มื่ อ กวาดส ายตาไ ปยั ง ก ลุ่ ม ผู้ เ ฒ่ า ผู้ แ ก่ ที่ ก ำลั ง ตระเตรียมเครื่องดนตรีเพื่อเล่นให้ฉันฟ ังสักเพลง ว่าเสียง ดนตรีล า้ นนาจากคลองนำ้ ไหลนนั้ เป็นอ ย่างไร ก็ย งั ใจชืน้ ได้ ทีว่ า่ ภ ายในกลุม่ น นั้ ม เี ยาวชนรวมอยูด่ ว้ ย และแม้เขาจะไม่
71
72
คลองน้ำไหล
ได้นั่งลงในตำแหน่งสะล้อหรือซอหรือซึง เป็นแต่เพียงคน เคาะจงั หวะตกี ลองสากล แต่บ รรยากาศของเสียงสะล้อซ อ ซึงคงซึมผ่านเสียงอึกทึกของเสียงกลองซึมเข้าไปในหัวใจ จนหลอมรวมเป็นเนื้อดนตรีเดียวกันได้ เสียดายที่จดหมายนี้ไม่อาจเปิดเสียงได้ ไม่เช่นนั้นฉัน จะส่งผ่านเสียงจากคลองน้ำไหลไปให้เธอฟัง ๏
นิธิ นิธิวีรกุล
73
โบราณวัตถุ บนเขาบึงหล่ม
พล มะโรงมืด
นิธิ นิธิวีรกุล
ออกจ ากห มู่ 19 ลุ ง ป ระพนธ์ พ าฉั น ข้ า มถ นนต รง สี่แยกคลองน้ำไหลมายังอีกฟากฝั่งของชนชาวอีสาน ในคลองน้ำไหลตามนัดที่เราจะต้องมีการพูดคุยกับ กลุ่มฐานเรียนรู้ต่างๆ ในบริเวณบ้านบึงหล่ม หมู่ 6 ต่อเนือ่ งถงึ บ า้ นคลองใหญ่ใต้ หมู่ท ี่ 7 ซึง่ ในอดีตเยาวชน หรือวัยรุ่นในพื้นที่ฝั่งนี้จะไม่ถูกกันกับเยาวชนในพื้นที่ อีกฝัง่ ระหว่างทขี่ บั ผ า่ นถนนทเี่ ป็นห ลุมเป็นบ อ่ บ างสว่ น เทือกเขาสูงเป็นแนวยาวก็แผ่กว้างให้เห็นอยู่เบื้องหน้า ฉันถามลุงป ระพนธ์ถึงชื่อเขา “เขาบงึ ห ล่ม แถบบริเวณนเี้ ป็นห มูบ่ า้ นของเขาบงึ หล่ม สมัยโบราณเขาว่ากันว่าพระนเรศวรเคยเดินทัพผ่านมา ตรงนี้ด้วยนะ” ฉันฟ งั แ ล้วก ค็ ดิ ในใจวา่ เอาละ่ ส ิ พระนเรศวรของเรานี่ เดินทัพไปทั่วประเทศเลยหรือไร แต่อย่างว่านะ เพราะ มันเป็นเรื่องโบราณนานมา แม้แต่ภาพยนตร์ยังใช้ชื่อว่า ‘ตำนาน’ เช่นน ั้นแล้ว ฟังไว้ไม่เสียหลาย ลุงประพนธ์เริ่มเล่าให้ฟ ังสั้นๆ ถึงความเชื่อของผู้คน ในคลองน้ำไหลที่เชื่อต่อๆ กันมาว่า ในอดีตกาลนั้น กองทัพข องสมเด็จพ ระนเรศวรเคยเดินท พั ผ า่ นมาทางนี้ เพื่อมุ่งหน้าไปยังกาญจนบุรีไปตีพม่า เหตุที่ชาวบ้าน เชื่อเช่นนั้นก็เพราะมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ จำพวก
75
76
คลองน้ำไหล
เครื่องโถโอชามและอาวุธอย่างปลายหอก แบบที่เห็นกัน ในภาพยนตร์เรื่อง ‘ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช’ ฉันไม่แน่ใจว่า ชาวบ้านปักใจเชื่อเรื่องกองทัพของ สมเด็จพระนเรศวรเคลื่อนผ่านมาทางนี้ก่อนหรือหลัง ภาพยนตร์ออกฉาย และฉันก็ไม่กล้าถามลุงแกเสียด้วยสิ จึงฟังอย่างเงียบๆ ลงท้ายลุงแกถามว่า อยากไปแวะคุย กับอดีตสหายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ทำนา อยู่บริเวณตีนเขาและรู้เรื่องนี้ดที ี่สุดไหมล่ะ? แน่นอน ด้วยความช่างสงสัย เมื่อมคี นยื่นข้อเสนอ ฉัน ไม่รอช้าทจี่ ะตะครุบ “ครับ มีของเก่าแก่อยู่บนเขานั่นจริง” พล มะโรงมืด หรือพี่พล อดีตทหารกองทัพปลดแอกประชาชน ตอบรับ คำบอกจากลุงประพนธ์ด้วยน้ำเสียงเข้มแข็งสมเป็นอดีต ทหาร ทั้งด้วยชุดที่แกใส่ และท่าทางทะมัดทะแมง “บนเขาก็มีพวกใบหอก พวกจานชาม อะไรแบบนี้ แต่ ทุกวันนี้ใบหอกไปอยู่กับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 ของเก่าอื่นๆ เคยอยูก่ บั เจ้าอ าวาสวดั เทพนมิ ติ ก่อนทที่ า่ นจะมอบตอ่ ไป ให้พ พิ ธิ ภัณฑ์แ ห่งช าติก ำแพงเพชร” พีพ่ ลเล่าถ งึ โบราณวัตถุ ต่างๆ หลังฉันถามว่ายังมีหลงเหลือไหม อดีตสหายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ ลงจากป่า เดินทางจากภาคพื้นอีสานมาตั้งรกรากอยู่ที่ ตีนเขาบึงหล่มไม่เพียงบอกกับฉันว่ายังมีอีกมาก แต่ต้อง
นิธิ นิธิวีรกุล
ไปขุดหา เพราะเขาเชื่อว่าบนนั้นน่าจะยังมีอะไรอีกมากที่ ซ่อนอยู่ ทั้งเจดีย์องค์เล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นค นสร้าง หรือโพรงถ้ำลึกที่เคยมีคนเอาลำไผ่โยนลงไปเพื่อทดสอบ ความลึก ซึ่งนานกว่า 5 นาทีจึงจะได้ยินเสียงตกกระทบ ของลำไผ่กับพื้นถ้ำ ระหว่างเล่า พี่พลก็ชี้ไปยังที่นาติดกันกับของแก แล้ว เล่าว่าที่นาผืนนี้เป็นของชาวนาอีกคนชื่อพงษ์ ผู้ซึ่งเป็น อีกคนที่เคยประสบเหตุแปลกประหลาดบนเขาบึงห ล่ม “ไอ้พงษ์มันทำนาอยู่ตรงนี้ เย็นๆ มัน กลับมาจาก จังหวัดตาก เมื่อปีกลายนี้เองนะ มันกลับมาก็ได้ยินเสียง มโหรีดังขึ้นจ ากอีกฟ ากของเขา มันก็เดินข้ามไปหานะ แต่ ก็ไม่พบ ไม่ได้ยิน ก็เดินกลับมาที่เดิมก็ได้ยินอีก ผมเอง บางครัง้ ม านอนทนี่ ี่ บ่ายวนั น นั้ ม คี นนำของคาวของไหว้ม า เซ่นศ าลตนี เขาบงึ ห ล่ม ตกกลางคนื ร าวๆ ตีส อง ผมกไ็ ด้ยนิ เสียงหมามันกัดกัน เห่ากันขรมไปหมด แต่พอเช้ามา ผมเดินไปดู ของไหว้ของเซ่นกลับย ังอยู่ในสภาพเดิม” ระหว่างพูดคุย ชาวนาชื่อลุงพงษ์ก็บังเอิญขี่จักรยาน ผ่านมาพอดี แล้วเล่าประวัติสั้นๆ ให้ฟังว่า แกมาอยู่ที่ บึงหล่มตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการตัดถนน แม้แต่ผู้ใหญ่บ้าน ก็ ยั ง ไ ม่ มี โดยพี่ พ ลยั ง บ อกอี ก ด้ ว ยว่ า สมั ย ก่ อ นที่ น า บริเวณนี้เคยเป็นสุสานป่าช้าร้างมาก่อน ตกกลางคืนแก จะเห็นดวงไฟลอยสูงขึ้นมาเหนือที่นาของแกเป็นดวงๆ
77
78
คลองน้ำไหล
ลุงพงษ์
นิธิ นิธิวีรกุล
แล้วลอยหายขึ้นไปบนเขา เพราะเป็นต ำนาน เราจงึ ห าขอ้ ส รุปไม่ได้ แต่พ น้ ไปจาก ตำนานแล้ว สิ่งที่น่าคิดต่อไปคือ บทสนทนาหลังฉันกับ ลุงประพนธ์ที่กลับกันขึ้นมาบนรถแล้ว และเลขานุการ นายกฯ ได้ชี้ให้ฉันเห็นแนวการขุดลำน้ำเพื่อดึงน้ำจาก บึงหล่ม ผันลงสู่คลองปลาร้า ตามแผนพัฒนาปรับปรุง ของกรมชลประทานที่ได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ตัง้ แต่ป ี 2554 และได้ม แี ผนสำหรับภ าวะขาดแคลนนำ้ ข อง ชาวบ้านเมื่อมีการดำเนินก่อสร้างไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ทว่าภ าพทเี่ห็นยังคาราคาซัง ฉันฟังเงียบๆ ในคำบอกเล่าของลุงประพนธ์ต่อป ัญหา ของแผนพัฒนา ซึ่งมักกระทบชาวบ้านไม่ม ากก็น้อยเสมอ อย่างการปรับปรุงพัฒนานี้เช่นกัน แม้ในบั้นปลายอาจ เป็นผลดีต่อชาวบึงหล่ม และรวมถึงคลองน้ำไหลโดยรวม กระนั้นมันคงดีไม่น้อยใช่ไหม ถ้าภาครัฐมีการวางแผน ระยะยาวมาตงั้ แต่ต น้ มันอ ดไม่ได้จ ริงๆ นะเธอทฉี่ นั จ ะคดิ ย้อนกลับไปยังคำพูดของผู้นำชุมชนชาวปกากะญอ พูดก็พูดเถอะ หากวิญญาณบรรพชนบนเขาบึงหล่มมี อยูจ่ ริง หวังว่าท ่านคงสดับรับฟ ังบ้าง เธอว่าไหม? ๏
79
จากข้าวโพด สู่ดอกไม้ประดิษฐ์ จากหุ้นตั้งต้น 100 บาท พวงทอง เหลี่ยมบาง กับก ลุ่ม แม่บ้านหมู่ 7 บ้านคลองใหญ่ใต้ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อพับ เศษใบขา้ วโพดทเี่ หลือจ ากการเก็บเกีย่ วมาพบั เป็นด อกไม้ ประดิษฐ์ขายตั้งแต่เมื่อปี 2553 ระยะแรกอาจกล่าวได้ว่า กิจการของกลุ่มไม่ได้เป็นล่ำเป็นสันมากนักในแง่ของ รายได้ทกี่ ลับเข้ามา พวงทองจึงเริม่ ค ดิ ต อ่ ว่าจ ะทำเช่นไรกบั ใบข้าวโพดนอกเหนือจากดอกไม้ประดิษฐ์ที่เห็นจนชินตา
นิธิ นิธิวีรกุล
พอได้เห็นก ระทงทำจากกาบมะพร้าวบา้ ง ทำจากหยวก กล้วยบา้ ง จากการไปดตู วั อย่างงานทตี่ ำบลลานดอกไม้ตก อำเภอเ มื อ ง จั ง หวั ด ก ำแพงเพชร พวงทองจึ ง คิ ด ท ำ กระทงขึ้นใช้บ้างในชุมชน เนื่องจากงานวันลอยกระทง ทีค่ ลองน้ำไหลเป็นง านใหญ่ท ี่ รวมเอาหลากหลายประเพณี เข้ า ม าไ ว้ ด้ ว ยกั น ใ นคื น เดี ยว ทั้ งก ารล อยโ คมป ระที ป ทั้งกลุ่มก ลองยาว เมื่อคิดได้เช่นนั้น พวงทองจึงคิดใช้วัสดุ
81
82
คลองน้ำไหล
ในชุมชนแทนการนำเข้าจากภายนอกเข้ามา โดยกลับ ไปใช้ใบข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชปลูกมากภายในชุมชนบ้าน คลองใหญ่ใต้มารวมเข้ากับกาบมะพร้าวที่มีอยู่แล้ว รวม ถึงบางส่วนจากที่เหลือจากกลุ่มเตาเผาเศรษฐกิจบ้านบึง หล่มในพนื้ ทีต่ ดิ ก นั ผลิตภัณฑ์ต อ่ ยอดจากดอกไม้ป ระดิษฐ์ มาเป็นกระทงสวยงามในรูปลักษณ์ต่างๆ ตั้งแต่ไก่ฟ้า เรือ สำปั้น จึงเกิดขึ้น “เราอยากให้คนแก่และเด็กมีรายได้ขึ้นมาบ้างหลังว่าง จากการทำนา” “แรกๆ เราขายไม่ค่อยได้ เพิ่งจะมาปีนี้นี่แหละที่ขาย ได้ดี มีค นจากกรุงเทพฯ มาสั่ง คนจากพัทยาก็มาสั่ง” เกือบ 3 ปีในการพยายามที่เป็นมากกว่าการใช้เวลา ว่างหลังงานหลักคือการปลูกข้าวโพด พวงทองและกลุ่ม แม่บ้านหมู่ 7 จึงประสบความสำเร็จ ไม่แต่เพียงในแง่ที่ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นหน้าเป็นตาของชุมชน มีคนจาก นอกพื้นที่เข้ามาดูงานไม่ต่างจากเมื่อแรกครั้งที่พวงทอง เดินทางไปดูงานที่อื่นเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้ให้พออยู่ ได้ มีเหลือเก็บแก่สมาชิกทั้งหมด 25 คนอีกด ้วย “ในหมู่ 7 เรามีกลุ่มแม่บ้านที่สร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุ เหลือใช้ด ว้ ยกนั 2 กลุม่ คือก ลุม่ ท ำกระทงกบั ก ลุม่ ส านตะกร้า จากยางพารา ซึ่งอยู่ถัดไปจากนี้” ผู้ใหญ่อำนวย บัวสด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการรวมกลุ่มในบ้านหมู่ 7 ที่ไม่ได้
นิธิ นิธิวีรกุล
มีแต่การทำกระทง ก่อนจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการนำ ใบข้าวโพดมาใช้ โดยจะต้องคำนึงถึงฤดูเพาะปลูกด้วย เพราะขา้ วโพดนนั้ ไม่ส ามารถปลูกได้ในหน้าร อ้ น เนือ่ งจาก สภาพอากาศที่แห้งแล้ง จึงปลูกได้แต่หน้าฝน แต่ทว่า ในหน้าฝน ใบข้าวโพดซึ่งชื้นจากสภาพภูมิอากาศทำให้ การลงสใี บขา้ วโพดนำไปประดับก ระทงไม่ส วยงามอย่างที่ ควรเป็น ส่งผลให้ต้องมีการสั่งซื้อเศษใบข้าวโพดจาก หมูบ่ า้ นทมี่ กี ารทำระบบชลประทานสามารถปลูกข า้ วโพด ในฤดูร้อนได้ ฉันฟังแล้วกระหวัดนึกถึงเรื่องท่อ ส่งน้ำจากบึงหล่มไปยังคลองปลาร้า ขึ้นมาทันที “คล้ายๆ ต้นทุนน่ะครับ มันต้อง เพิ่มต้นทุน ปกติเราใช้ต้นทุนจำพวก สีน ำ้ อ ยูแ่ ค่น นั้ แต่ถ า้ ในหน้าแล้ง หาก มี ย อดสั่ ง ซื้ อ เ พิ่ ม เ ข้ า ม า เราก็ ต้ อ ง เพิ่มต้นทุนในจุดนี้เข้าไปด้วย แม้จะ มีบางบ้านในกลุ่มเราที่ทำระบบน้ำ ประปาใช้เอง แต่มันก็ไม่เพียงพอต่อ คนอื่นๆ ในกลุ่ม” ๏ พวงทอง เหลี่ยมบาง
83
‘ถ้าเราทำได้ คนอื่นก ็ทำได้’
วาสนา เพชรไทย
นิธิ นิธิวีรกุล
ออกจ ากฐ านเ รี ย นรู้ ก ลุ่ ม ด อกไม้ ป ระดิ ษ ฐ์ ส ร้ า งสรรค์ วัสดุเหลือใช้มาได้ไม่ไกลนัก ลุงประพนธ์ก็เลี้ยวรถมา จอดยังด้านหน้าศาลาหลังหนึ่ง ซึ่งมีรถอีแต๋นสีฟ้าสดใส จอดนิ่งอ ย่างสงบอยู่ พร้อมด้วยกลุ่มแม่บ ้านที่กำลังขึ้นรูป ตะกร้าสาน หญิ ง วั ย ก ลางค นไ ว้ ผ มสั้ น น างห นึ่ ง เ รี ย กทั ก ทาย เลขานุการนายก อบต. อย่างคนคุ้นเคย ก่อนจะหยอก เหย้าหยอกเอินกันตามประสา นั่นเองฉันจึงได้รู้จักกับ ‘ป้าดำ’ หรือ วาสนา เพชรไทย ประธานกลุ่มสานตะกร้า จากยางพารา ซึง่ เป็นอ กี ห นึง่ ก ลุม่ ส ร้างรายได้ภ ายในชมุ ชน หมู่บ้านคลองใหญ่ใต้ของหมู่ 7 “แต่แรกเลย เราไม่ได้ทำหรอก แต่พอดีเราไปเห็น กระเป๋าแ บบนที้ งี่ านหนึง่ พอเราจะไปจบั เขากพ็ ดู ข นึ้ ม าว่า กระเป๋าใบนี้มีแต่คนมีสตางค์เท่านั้นซื้อใช้ เราก็คิดว่าเอ๊ะ มันไม่ใช่นะ กลับมาบ้าน เราก็มาลองผิดลองถูก อาศัยที่ มีต น้ ทุนอ ยูแ่ ล้วจ ากแม่ท เี่ คยทอผา้ ขณะเดียวกันป า้ ล ำปาง นึกรักษ์ ที่เป็นรองประธานกลุ่ม ก็เคยทอผ้ามาก่อน จึง พอแกะลายได้” ป้าดำเล่าเรื่องราวเมื่อเริ่มก่อตั้งกลุ่มสานตะกร้า ซึ่ง มีจุดเริ่มจากการเอาชนะคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ‘กลุ่ม
85
86
คลองน้ำไหล
สานตะกร้าจากยางพารา’ บ้านคลองใหญ่ใต้จึงเริ่มก่อ ตั้งขึ้นเล็กๆ ก่อนในรูปของเพื่อนบ้านทำกันเอง ใครมี ความรูด้ า้ นไหนเอามาปรับใช้ได้ก เ็ อามาใช้ เช่น ป้าด ำและ ป้าลำปาง ซึ่งเคยทอผ้ามาก่อนก็นำความรู้เรื่องการทอผ้า มาปรับใช้กับการสานตะกร้า ด้วยใจมุ่งมั่นเพื่อทดลองให้เห็นว่า กระเป๋าหน้าตา หรูไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป ป้าดำบอกกับฉันว่า กำลัง สำคัญข องกลุม่ ก ค็ อื ค นในชมุ ชนดว้ ยกนั ท เี่ ป็นเรีย่ วแรงหลัก การทีป่ า้ ด ำสามารถสานตะกร้าจ ากยางพาราให้ด ดู ี มีร าคา ขึ้นมาได้ แกนหลักที่ทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ อาจ
นิธิ นิธิวีรกุล
ไม่ใช่ตัวป้าดำเอง หากแต่เป็นทุกคนที่ร่วมก่อร่างสร้างทำ ด้วยกนั ม านบั ต งั้ แต่เมือ่ ครัง้ ท คี่ ดิ ท ำเพียงแค่ก ระเป๋าห น้าตา สวยไว้ใช้เองในราคาไม่แพง “ทีแรกเราก็ทำในบ้านแหละ ทำกันเอง เลี้ยงหลาน ด้วย แต่พ อลกู ม าเห็นก บ็ อกให้แ ม่อ อกมาทำขา้ งนอกเถอะ หลานมนั ร อ้ น เรากอ็ อกมานงั่ ท ำทกี่ ระท่อม คนจาก อบต. ผ่านมาเห็นเข้าพอดี ก็เลยชวนมาทำตำบลสุขภาวะ” หลังจาก อบต.คลองน้ำไหล เข้ามาชักชวนให้กลุ่ม ของป้าดำเข้าร่วมเป็นหนึ่งในฐานเรียนรู้ตำบลสุขภาวะ แน่นอนว่าด้านหนึ่งนั้นทุนสนับสนุนย่อมตามมา กระนั้น ตลาดหลักๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการขายผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มตามที่ป้าดำบอกฉันกลับเป็นลักษณะบอกกัน ปากต่อปากมากกว่า “ตลาดของเรามาจากการบอกปากต่อปาก พอมีคน เข้ามา ซื้อเป็นของฝากกลับไป คนที่เห็นก็ถามว่ากระเป๋านี้ ตะกร้านี้มาจากไหน แล้วเขาก็โทรมาสั่งออเดอร์ บางคน ก็มาซื้อถึงที่ก็มี อย่างขันโตกนี่ก็เหมือนกัน ถามว่าเราคิด ทำเองแต่แรกมั้ย ไม่ใช่ แต่มีลูกค้าเขาโทรมาว่าอยากได้ ขันโตกฝีมือป้าด ำ เราก็เลยลองทำดู” ความที่ใฝ่รู้ และเอาจริงเอาจังกับการงานที่ระยะแรก ผลิตเป็นแค่งานอดิเรก ป้าดำใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ถึงขั้นไปที่ไหน ไม่ว่าไปเที่ยว หรือไปดูงานตามตำบล
87
88
คลองน้ำไหล
สุขภาวะต่างๆ ป้าดำจะมองทุกอย่างเป็นลวดลาย จดจำ แล้วนำกลับมาสานต่อลายเดิมให้พัฒนาอยูเ่สมอๆ “ถ้าได้เห็นรูปแล้ว ป้าดำก็ทำได้ ทุกคนก็ทำได้” “พูดง า่ ยๆ ป้าด ำทำได้ ทุกค นกท็ ำได้ว า่ ง นั้ ?” ลุงประพนธ์ เย้า ป้าด ำตอบอย่างสัตย์ซื่อว่า “ใช่ ถ้าป้าดำทำได้ ทุกคน ก็ทำได้” ไม่เพียงแค่ก ารเปิดห เู ปิดต าให้ก ว้างตอ่ ก ารรบั ส งิ่ ใหม่ๆ
นิธิ นิธิวีรกุล
เพื่อนำมาพัฒนาเป็นลายตะกร้า ลายกระเป๋าเท่านั้น ใน ทุกๆ ผลิตภัณฑ์ท สี่ านจากมอื ต อ่ ม อื ท กุ ช นิ้ ป้าด ำยนื ยันว า่ ไม่เคยทำแบบสขุ เอาเผากนิ ผลิตภัณฑ์จ ากกลุม่ ส ายตะกร้า จึงละเอียดและเป็นที่ต้องการของลูกค้าถึงขั้นบอกต่อ “ช้าป้าไม่ว่า คุณทำไปเลย 3 เดือนเสร็จลูกหนึ่ง ป้าก็ ไม่ว่า ขอให้งานออกมาสวย ออกมาดี” มองตะกร้าป้าด ำแล้ว เธออยากได้สักใบใช่ไหมล่ะ? ๏
89
กองทุนส วัสดิการ ผูพ้ ิการ แดดยามเที่ยงสาดต้องตรงศีรษะ ฉันก้าวเข้าสู่บรรยากาศ เงี ย บส งบค ลอเ สี ย งที วี เ บาๆ ภายในตึ ก แถวริ ม ถ นน ไม่ไกลนักจากที่ทำการ อบต.คลองน้ำไหล เพื่อพูดค ุยกับ หนึ่งในผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นหมอนวดของ ‘กลุ่ม กองทุนสวัสดิการผู้พิการ’ ที่ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจที่จะ ให้ผู้พิการทางสายตาไม่ต้องเป็นภาระของครอบครัว เดือนๆ หนึง่ ท ที่ ำการของกลุม่ ก องทุนส วัสดิการผพู้ กิ าร ซึ่งเปิดเป็นร้านนวดด้วยนั้นรับลูกค้ามากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ช่วงจังหวะ กระนั้นรายได้ที่ผู้พิการแต่ละคนได้รับ จากการเป็นหมอนวดตกไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท สูงสุด 7,000 บาท นับไม่ว่าเลวทีเดียว
นิธิ นิธิวีรกุล
นอกจากการนวดจะเป็นร ายได้ห ลักแ ล้ว ทีน่ ยี่ งั ร บั ส อน นวดโดยไม่ค ดิ ค า่ ใช้จ า่ ยสำหรับผ พู้ กิ าร ไม่แ ต่เพียงการนวด แผนโบราณเท่านั้น ที่นี่ยังสอนการอ่านอักษรเบรลล์ การ ใช้ไม้เท้าช ว่ ยในการเดินท าง ซึง่ ท งั้ หมดได้รบั ก ารสนับสนุน ด้านเงินท นุ แ ละบคุ ลากรผสู้ อนจาก 2 หน่วยงาน คือ สมาคม คนตาบอดแห่งประเทศไทย และโครงการต้นกล้าอาชีพที่ สนับสนุนเรื่องการแนะแนวอาชีพต่างๆ ให้แก่ผู้พิการ แรกเริ่มเดิมทีนั้น กลุ่มกองทุนสวัสดิการผู้พิการก่อตั้ง ขึน้ ในรปู ข องชมรมคนพกิ ารตำบลคลองนำ้ ไหลขนึ้ ม ากอ่ น ในราวปี 2538 มีไพศาล คุ้มนุ่น เป็นประธานชมรม สมาชิกก อ่ ต งั้ 46 คน กระทัง่ ได้ร บั ท นุ ส นับสนุนในปี 2552 จึงเริ่มมีสวัสดิการให้แก่สมาชิก และปีเดียวกันนั้นเอง ชมรมคนพิการตำบลคลองน้ำไหลจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กองทนุ ส วัสดิการผพู้ กิ ารคลองนำ้ ไหล” ทีม่ ไี พศาล คุม้ นุน่ เป็นประธานกลุ่มคนแรก และมีสมศักดิ์ ใจแก้ว เป็น รองประธาน ๏
91
ลาก่อน... คลองน้ำไหล
นิธิ นิธิวีรกุล
เสียงประกาศเรียกผู้โดยสารดังขึ้นอีกครั้งฉุดกระชาก ฉั น จ ากภ าพค วามท รงจ ำต ลอดเ กื อ บ 2 วั น ที่ ฉั น อ ยู่ ในคลองน้ำไหล ฉันมองผ่านกระจกหน้าต่างบานใหญ่ ไปยังเทือกเขาบึงหล่มอีกครั้ง พร้อมกันนั้นก็หวนระลึก ถึงเรื่องราวของชาวบ้านจากกลุ่มต่างๆ บางเรื่องราวมีทั้ง ปัญหาที่แก้ไขได้อย่างสวยงาม บางเรื่องราวก็มีทั้งปัญหา ที่รอวันช ำระสะสางให้เรียบร้อย ขณะที่อีกบางเรื่องราวยัง ไม่รู้ว่าจ ะมีวันท แี่ ก้ปัญหาได้ไหม รถโ ดยสารเ คลื่ อ นอ อกจ ากส ถานี ข นส่ ง ค ลองลาน ภาพของเทือกเขาหล่มค อ่ ยๆ เลือ่ นผา่ น ฉันได้แ ต่ห วังในใจ ว่าสายน้ำไหลที่หลอมรวมความแตกต่างทั้งทางชาติพันธุ์ และขนบประเพณีของคลองน้ำไหลจะชะล้างปัญหาที่รอ วันสะสางให้กลายเป็นเพียงเรื่องราวอันลำบากยากเข็ญ แต่หนหลัง เหมือนกับเรื่องราวในตำนานอพยพของพ่อ หนานจันทร์ เหมือนกับปัญหาทะเลาเบาะแว้งในความ แตกต่างของเยาวชนที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น ซึ่งในวันนี้ไม่มี อีกแล้ว ฉันหวังจริงๆ ๏
93
ภาคผนวก ความเป็นมาตำบลคลองน้ำไหล ในร าวปี 2499 ได้ มี ช าวบ้ า นก ลุ่ ม ห นึ่ ง นำโ ดย ลุงน้อยหวัน โอทอง กับพ วก เดินท างมาจากตำบลบา้ นบอม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาอาศัยอยู่ที่บ้านคลองน้ำ ไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (ในขณะนั้น) ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อคำมูล อินทรวิชัย เจ้าอาวาสวัดพระบาทแม่ไท อำเภอแม่ทะ มาร่วมสร้าง บ้านแปงเมือง และให้ชื่อหมู่บ้านว่า ‘บ้านคลองน้ำไหล’ เนื่องจากมีลำคลองไหลผ่านและเป็นสายน้ำที่เปรียบ เสมือนเส้นเลือดสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนที่อพยพมา โดยทางการได้แต่งตั้งนายเชียงฝันเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก มีนายหนานจันทร์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นิธิ นิธิวีรกุล
ชือ่ ต ำบลคลองนำ้ ไหล นอกจากมที มี่ าจากชอื่ ข องนำ้ ตก ที่ไหลลงมาจากอุทยานคลองลานแล้ว ยังมีเรื่องเล่าอีก กระแสหนึ่งถึงที่มาของชื่อคลองน้ำไหลว่า สืบเนื่องมา จากสมัยก่อนการเดินทางไปมาระหว่างจังหวัดค่อนข้าง ยากลำบาก การทผี่ คู้ นจะเดินท างเข้าม าทคี่ ลองนำ้ ไหลแล้ว จะกลับออกไป ต้องใช้เวลาแรมเดือนในการรอรถโดยสาร ซึ่งมีเพียงแค่ค ันเดียวเท่านั้น ด้วยความที่รอนานนี่เอง ผู้ที่ อพยพเข้ามาบางส่วนที่ทนคิดถึงบ้านเกิดไม่ไหวจึงร้องไห้ ออกมา จนเกิดเป็นชื่อเรียกตำบลที่มีลำคลองจากน้ำตก ไหลผ่านมาว่า ‘คลองน้ำตาไหล’ ซึ่งต่อมาตัดทอนเหลือ เพียงคำว่า ‘คลองน้ำไหล’
สภาพทั่วไป สภาพพนื้ ทีด่ งั้ เดิมข องตำบลคลองนำ้ ไหลเป็นป า่ ดงดบิ มีไม้ใหญ่หลายประเภท ทั้งไม้ยาง ไม้สัก เป็นจำนวนมาก ปี 2511 ได้แยกตัวออกจากตำบลโป่งน้ำร้อน โดยใช้ชื่อ ตำบลคลองน้ำไหล เพราะมีลำคลองซึ่งไหลมาจากภูเขา ต้นน้ำในเขตอุทยานคลองลาน ประชากรอพยพมาจากหลายจังหวัด ทั้งลำปาง น่าน แพร่ เชียงราย ลำพูน ร้อยเอ็ด นครพนม นครสวรรค์ พิจติ ร นครศรีธรรมราช และมชี าวเขาเผ่าก ะเหรีย่ ง หรือป กากะญอ
95
96
คลองน้ำไหล
การปกครองของตำบลคลองน้ำไหลเริ่มจัดตั้งเป็น องค์การบริหารสว่ นตำบลเมือ่ ว นั ท ี่ 2 มีนาคม 2538 แรกเริม่ จัดเป็น อบต.ขนาดย่อม มีโครงการบริหารงาน 3 ส่วน ประกอบด้วย สำนักงานปลัด กองคลัง และกองโยธา เดิมใช้อ าคารของสภาตำบลเป็นท ที่ ำการ ปัจจุบนั ได้ม กี าร รื้อถอนแล้วสร้างขึ้นใหม่บนที่ดินเดิม โดยมีการทำบุญขึ้น อาคารใหม่วันท ี่ 11 พฤษภาคม 2549 ทุกวันนี้ อบต.คลองน้ำไหล จัดเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถนิ่ ท มี่ ขี นาดใหญ่ข นึ้ แบ่งโครงสร้างการบริหารงาน ออกเป็น 3 กอง 8 ฝ่าย ประกอบดว้ ย สำนักงานปลัด 4 ฝ่าย กองคลัง 2 ฝ่าย กองโยธา 2 ฝ่าย มีห มูบ่ า้ นในเขตปกครอง ทัง้ หมด 28 หมูบ่ า้ น พนักงานสว่ นตำบล 21 คน พนักงาน จัดจ ้างตามภารกิจ 23 คน และพนักงานจ้างทั่วไป 4 คน ตำบลคลองนำ้ ไหลมพี นื้ ทีท่ งั้ หมด 393 ตารางกโิ ลเมตร พืน้ ทีถ่ อื ค รองทงั้ หมด 245,625 ไร่ เป็นพ นื้ ทีท่ ำการเกษตร 69,483 ไร่ มีลักษณะของที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ จรดตำบลสักง าม อำเภอคลองลาน จังหวัด กำแพงเพชร ทิศใต้ จรดตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน
นิธิ นิธิวีรกุล
จังหวัดกำแพงเพชร ทิ ศ ต ะวั น ต ก จรดต ำบลโ มโ กร อำเภออุ้ ม ผาง จังหวัดตาก ทิศต ะวันอ อก จรดตำบลวงั ทอง ตำบลอา่ งทอง อำเภอ เมือง จังหวัดกำแพงเพชร
อาชีพ อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ (มันสำปะหลัง) อาชีพเสริม รับจ้าง ทอผ้า เลี้ยงสัตว์
ภูมิประเทศ ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศเป็ น ที่ ร าบเชิ ง เขา มี ภู เ ขาส ลั บ ซับซ้อนเป็นจ ำนวนมาก พื้นทีภ่ ูเขาเป็นป ่าไม้อ ุดมสมบูรณ์ เป็นแ หล่งต้นน้ำล ำธาร มีน้ำตกไหลตลอดทั้งปี คือ น้ำตก คลองนำ้ ไหล (น้ำตกปางควาย) มีบ งึ ข นาดใหญ่ คือ บึงหล่ม มีน้ำตลอดปี มีลำคลองที่ได้รับน้ำจากภูเขา 3 สาย คือ คลองน้ำไหล คลองปิ่นโต และคลองใหญ่ มีฝนตกชุกใน ฤดูฝนและฝนทิ้งช ่วงในมิถุนายนถึงกรกฎาคม
97
98
คลองน้ำไหล
สภาพภูมิอากาศ เขตพื้นทีอ่ ำเภอคลองลาน มีสภาพภูมิอากาศเป็นแ บบ มรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มต ั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
จำนวนหมู่บ้าน มีทั้งหมด 28 หมู่บ้าน จำนวน 6,690 ครัวเรือน และ เป็นห มูบ่ า้ นทอี่ ยูใ่ นเขต อบต.คลองนำ้ ไหล เต็มท กุ ห มูบ่ า้ น (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎรอำเภอคลองลาน ณ เดือน พฤษภาคม 2554)
หมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านคลองน้ำไหลเหนือ นายอุดอน ตะมะวงค์ หมู่ 2 บ้านคลองน้ำไหล นางกฤษณา แสงอรุณ
นิธิ นิธิวีรกุล
หมู่ 3 บ้านแม่สอด นางจันทรา วงศ์เมืองคำ หมู่ 4 บ้านท่าช้าง นายไพร เสนาพิทักษ์ หมู่ 5 บ้านมอมะปรางทอง นายไพศาล จุลพ ันธ์ หมู่ 6 บ้านบึงหล่ม นางสมจิตร กลิ่นซ้อน หมู่ 7 บ้านคลองใหญ่ใต้ นายอำนวย บัวส ด หมู่ 8 บ้านสุขสำราญ นายบุญเชิด เทพมงค์ หมู่ 9 บ้านคลองพลู นายประสิทธิ พรายสังข์ หมู่ 10 บ้านมอเศรษฐี นายสมพงษ์ บุญหนัก หมู่ 11 บ้านคลองปิ่นโต นางกนกพร เจริญร ส หมู่ 12 บ้านทุ่งหญ้าคา นายเนี้ยว สิงห์ท อง หมู่ 13 บ้านคลองหัวแหวน นายทวี ปานกลีบ
99
100 คลองน้ำไหล
หมู่ 14 บ้านใหม่ชัยทอง นางนงครวญ พรมมาก หมู่ 15 บ้านศรีดอนชัย นายสอาด วรรณจักร์ หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม นายคำอ้าย อุดเลิศ หมู่ 17 บ้านรวงผึ้งพัฒนา นายมงคล วงศ์ตารินทร์ หมู่ 18 บ้านไร่อุดม นายวิเลียด ยอดที่รัก หมู่ 19 บ้านชัยมงคล นายสมศักดิ์ พรมมาบุญ หมู่ 20 บ้านใหม่วงศ์เจริญ วิชาญ อาสนาทิพย์ หมู่ 21 บ้านคลองน้ำไหลเหนือพัฒนา นายสุภาพ วงศ์เมืองคำ หมู่ 22 บ้านหนองปลาไหล นายอุดมทรัพย์ นาคพงษ์ (กำนันตำบลคลองน้ำไหล) หมู่ 23 บ้านหล่มช ัย นายทองดี จันทร์หีบ หมู่ 24 บ้านคลองใหญ่ ใหม่ นายถวิล ยืนยั่ง
นิธิ นิธิวีรกุล 101
หมู่ 25 บ้านใหญ่ศรีสุวรรณ นายบุญรอด บุญมาสอน หมู่ 26 บ้านบึงทรัพย์เจริญ นายไสว สิงหพันธุ์ หมู่ 27 บ้านร่มโพธิท์ อง นางจันทร์เพ็ญ หาญป๊ก หมู่ 28 บ้านคลองด้วน นายวีระ อ่างอินทร์
การคมนาคม มีถนนลาดยางติดต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและ อำเภอคลองลาน คือถนนหมายเลข 1117 และมีถนน ติดต่อภายในตำบลด้วยกันทั้งหมด 6 สาย ดังนี้ สายที่ 1 ถนนลาดยาง ตำบลคลองน้ำไหล ติดต่อกับ ตำบลคลองลานพัฒนา และตำบลสักงาม สายที่ 2 ถนนลาดยาง ตำบลคลองน้ำไหล ติดต่อกับ ที่ว่าการอำเภอคลองลาน สายที่ 3 ถนนลาดยาง บ้านแม่สอด ไปยงั บ า้ นสขุ ส ำราญ สายที่ 4 ถนนล าดยาง บ้ า นแ ม่ ส อด ไปยั ง น้ ำ ตก คลองน้ำไหล สายที่ 5 ถนนล าดยาง บ้ า นค ลองน้ ำ ไ หล ไปยั ง
102 คลองน้ำไหล
บ้านบึงหล่ม สายที่ 6 ถนนลาดยาง น้ำตกคลองน้ำไหล ไปยังน้ำตก คลองลาน
การไฟฟ้า ตำบลคลองน้ำไหลมีทั้งพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงและไฟฟ้า เข้าไม่ถึงในทั้ง 28 หมู่บ้าน มีครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 6,445 ครัวเรือน
แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำตกคลองน้ำไหล เป็นแ หล่งน ำ้ ตกธรรมชาติอ ยูท่ างทศิ ต ะวันต กของตำบล ติดต่อกับเขตหมู่ที่ 16 และ 17 เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของอำเภอคลองลาน ลำคลองจำนวน 3 แห่ง ดังนี้ ลำน้ำคลองน้ำไหล เป็นลำคลองธรรมชาติ ไหลผ่าน หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 12, 16 และ 17 ยาวประมาณ 20 กิโลเมตร พื้นทีร่ ับน้ำในฤดูฝนประมาณ 12,000 ไร่ และ ในฤดูแล้งป ระมาณ 3,000 ไร่ ลำคลองปิ่นโต เป็นลำคลองธรรมชาติ ไหลผ่านหมู่ที่
นิธิ นิธิวีรกุล 103
2, 3, 4, 6, 8, 10, 11, 12, 14, 15, 20 และ 23 ยาว ประมาณ 30 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำในฤดูฝนประมาณ 12,000 ไร่ และในฤดูแล้งป ระมาณ 1,500 ไร่ ลำคลองใหญ่ เป็นล ำคลองธรรมชาติ ไหลผา่ นหมูท่ ี่ 3, 5, 6 , 7, 10, 11 และ 12 ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำในฤดูฝนประมาณ 3,000 ไร่ และในฤดูแล้ง ประมาณ 500 ไร่ บึงจ ำนวน 1 แห่ง ตั้ ง อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ ห มู่ 6 มี พื้ น ที่ ป ระมาณ 314 ไร่ กรมชลประทานได้ขุดลอกบึงเมื่อปี 2544 มีพื้นที่รับน้ำ ประมาณ 5,500 ไร่ กินอาณาบริเวณพื้นที่ตั้งแต่หมู่ 6 ในตำบลคลองน้ำไหล และหมู่ 3 กับหมู่ 5 ในเขตตำบล คลองลานพัฒนา อ่างเก็บน้ำจ ำนวน 3 แห่ง อ่างเก็บน้ำคลองพลู ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 25 มีพื้นที่ ประมาณ 70 ไร่ ใช้ในการทำประปาหมูบ่ า้ นเป็นห ลัก และ ใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้ง อ่างเก็บน้ำคลองน้ำไหล 3 ใช้ในการทำการเกษตร ในพื้นทีห่ มู่ที่ 3, 8, 16 และ 23 อ่างเก็บน ้ำค ลองน้ำไหล อยูใ่นพื้นทีห่ มูท่ ี่ 16 และ 17
104 คลองน้ำไหล
จุน้ำได้ประมาณ 38,500,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถ จ่ายน้ำทำการเกษตรได้ประมาณ 25,000 ไร่
กรอบการทำงานของตำบลคลองน้ำไหล จากแนวคิดของ อบต.คลองน้ำไหล ที่ต้องการเน้น คุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีรายได้พอเพียง บทบาทของ ผู้นำ อบต.คลองน้ำไหล ได้กระตุ้นให้ชาวบ้านในตำบล มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องไปกับการทำงานของ อบต. ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาส ให้ชาวชุมชนคลองน้ำไหลมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติ ติดตามประเมิน ผล รวมถึงรับผลประโยชน์ ที่เกิดจากการร่วมมือของทุกฝ่าย ซึ่ง อบต.คลองน้ำไหล จะมีการจัดการอยู่ 2 ระดับ คือ การจั ด การกั น เองโ ดยม ติ ข องก ลุ่ ม ประกอบด้ ว ย ฝ่ายท้องถิ่น ฝ่ายท้องที่ หน่วยงานรัฐ และประชาชน จัดให้มีเวทีประชาคมหมู่บ้านทั้ง 28 หมู่บ้าน เพื่อให้ ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนมีส่วนร่วมในการคิด ปฏิบัติ และ เรียนรู้ร่วมกันไปกับเจ้าหน้าที่ของ อบต. ซึ่งใช้ฐานคิดที่ มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตที่ดีและพอเพียงเป็นหลักในการนำ ชาวบ้านทุกคนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
นิธิ นิธิวีรกุล 105
วิถีชีวิตและประเพณี ตำบลคลองน้ำไหลนั้นเป็นแหล่งรวมผู้คนจากหลาย จังหวัดห ลายภมู ภิ าค จึงม วี ฒ ั นธรรมประเพณีท หี่ ลากหลาย ตามไปด้วยตามแต่ละชุมช นนั้นๆ ดังนี้
ปกากะญอ ตำนานของชนเผ่าปกากะญอ ระบุว่า ที่ตั้งของชนเผ่า ดั้งเดิมนั้นอยู่บนภูเขาที่มีชื่อ ‘ทอทีปล่อก่อ’ มีผู้เฒ่า ‘เทา ะแมป่า’ เป็น ผู้นำ กระทั่งสืบเชื้อสายจนไม่มีที่พอทำกิน ทำให้ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมายังลุ่มน้ำสาละวินบ้าง อิร วดีบ้าง ในที่สุดก็เกิดการตั้งชุมชน เกิดเป็นร ัฐกะเหรี่ยง ขึ้นมา จนกระทั่งเกิดสงครามกับรัฐบาลพม่าทำให้กลุ่ม กะเหรีย่ งแตกพา่ ย ส่วนหนึง่ อ พยพเข้าม าอยูใ่ นประเทศไทย อีกส่วนก่อตั้งเป็นกองกำลังสู้รบเพื่อทวงคืนเอกราชจาก รัฐบาลพม่า กลุม่ ช าวเขาปกากะญอในตำบลคลองนำ้ ไหล ยังค งพดู ภาษาของชาวปกากะญอเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่พูดภาษาไทยภาคกลางได้ชัดเจน
106 คลองน้ำไหล
ไทดำ กลุ่มไทดำในตำบลคลองน้ำไหล มีการอนุรักษ์ภาษา ดั้งเดิมของชาวไทดำที่ฟังเผินๆ อาจคล้ายภาษาลาว แต่ ไม่ใช่ แท้ท จี่ ริงแ ล้วภ าษาของกลุม่ ไทดำจดั อ ยูใ่ นกลุม่ ภ าษา ไท-กะได มีผู้ที่ใช้ภาษานี้ทั้งหมด 763,700 คน อยู่ใน ประเทศเวียดนาม 699,000 คน ซึ่งภาษาไท-กะไดนี้ เป็นสาขาแยกย่อยของภาษาไต-แสกมาอีกทีหนึ่ง ถือเป็น อีกหนึ่งภาษาที่กำลังเผชิญวิกฤตการสูญสลายหายไป เนื่องจากในปัจจุบันอัตราการรู้ภาษานี้แม้แต่ในกลุ่มชน ดั้งเดิมทเี่วียดนามเองกม็ ีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
บุญบั้งไฟ ในสมัยก่อนมีการทำชลประทานในพื้นที่บริเวณหมู่ 6 ถึงหมู่ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มคนอีสานเสียส่วนใหญ่ และยังมีสภาพแห้งแล้งยากต่อการเพาะปลูก ชาวบ้านใน แถบนี้ซึ่งนำวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นอีสานมาด้วย จึงได้จ ดั ง าน ‘บุญบ งั้ ไฟ’ เพือ่ ข อฝนให้พ ชื ผ ลทางการเกษตร งอกงามตามความเชือ่ ท สี่ บื สานกนั ม าแต่โบราณ โดยความ เชือ่ น นั้ ม เี รือ่ งเล่าเริม่ ต น้ จ ากการทพี่ ญาแถนทไี่ ม่ย อมปล่อย ฝนให้ต กลงมาบนโลก นางอทุ ยั เทวีจ งึ เรียกประชุมช าวโลก
นิธิ นิธิวีรกุล 107
แล้วร้องท้าพญาแถนให้ทำการแข่งจุดบั้งไฟกัน หากนาง และชาวโลกชนะ พญาแถนจะต้องปล่อยน้ำลงมา ผลปรากฏว่าบั้งไฟพญาแถนพ่ายแพ้ จึงยอมปล่อยฝน ตกลงในเดือน 6 ปีนั้นเอง ซึ่งเดือน 6 ก็ถือเป็นการเข้าสู่ ฤดูฝนพอดีเช่นกัน
โคมลอยประทีป เกิดจากความต้องการจุดโคมลอยเคราะห์ลอยโศกไป กับโคมในคืนเดือนเพ็ญวันลอยกระทงของชุมชนบ้านหมู่ 17 ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มประดิษฐ์โคมลอยเพื่ออนุรักษ์ และสอดแทรกความเชือ่ พ นื้ ถ นิ่ ล า้ นนา ซึง่ โยงกบั เรือ่ งทาง ศาสนาในดา้ นทวี่ า่ การลอยโคมคอื ก ารถวายเป็นพ ทุ ธบูชา ถวายบชู าพระเขีย้ วแก้ว พระรากขวัญ พระจฬุ า (ยอดพระ เกศา) พระโมฬี (มุ่นพระเกศาทั้งหมด) ปิ่นมณี (เครื่อง รัดเกล้า) ทีป่ ระดิษฐาน ณ จุฬามณีเจดีย์ สวรรค์ช นั้ ด าวดึงส์ อีกทั้งยังเป็นกุศโลบายในการสร้างความรักความสามัคคี และยังส ามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย
เล่าป ระกอบภาพ 1
นิธิ นิธิวีรกุล 109
1) กลองยาว
เชื่ อ กั น ว่ า ก ลองย าวนั้ น ไทยเ ราไ ด้ แ บบม าจ าก ประเทศพม่า โดยในยุคสมัยกรุงธนบุรี ต่อเนื่องถึงต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ไทยกับพม่ายังรบกันอยู่ ทหารไทยเห็น พม่าต กี ลองยาวในชว่ งพกั ร บกนั ส นุกสนานกน็ ำแบบอย่าง มาสร้างเป็นกลองของตนเอง
2) ตะโพนมอญ
ลักษณะคล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า ให้เสียงกังวาน ลึกกว่า เรียกในภาษามอญว่า ‘เมิกโหน่ก’
2
110 คลองน้ำไหล
3) วัดคลองน้ำไหล
ตั้ ง อ ยู่ ที่ ห มู่ 2 เป็ นวั ด แ ห่ ง แ รกที่ ส ร้ า งขึ้ น ใ นต ำบล คลองน้ำไหล มีเจดีย์องค์ส ำคัญของตำบล ซึ่งสร้างขึ้นด้วย เงินส่วนหนึ่งจากการออกเหรียญวัตถุมงคลโดยพระครู อินทรวิชัย หรือ ‘หลวงพ่อคำมูล’ แห่งว ัดพระบาทแม่ไทที่ ลำปาง ก่อนจะพังทลายลงในราวปี 2516 ปัจจุบันได้รับ การบูรณะจนเป็นเจดีย์ทรงล้านนาที่สวยงามองค์หนึ่ง
3
นิธิ นิธิวีรกุล 111
4) วัดไพรสณฑ์รัตนาราม (วัดป่า)
ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 เป็นวัดในสังกัดธรรมยุตินิกาย สร้างขึ้น ในปี 2522 โดยมีหลวงปู่แก้ว ฆนวชฺชโร เป็นเจ้าอาวาส รูปแรก เมื่อหลวงปู่มรณภาพลงจึงร้างไปชั่วร ะยะหนึ่ง ต่อ มาชาวบา้ นได้ไปอาราธนานมิ นต์พ ระณรงค์ศกั ดิ์ ฐิตวํโส ซึง่ จำพรรษาอยู่ที่วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง) ขณะนั้น เมื่อ เจ้าคณะจังหวัดทราบเรื่องจึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัด ปัจจุบนั พ ระณรงค์ศ กั ดิเ์ ลือ่ นสมณะศกั ดิเ์ ป็นพ ระครูป ญ ั ญา สัตติคุณ
4
เที่ยว คลองน้ำไหล
นิธิ นิธิวีรกุล 113
อ่างเก็บน้ำคลองน้ำไหล
ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 16-17 ปากทางก่อนเข้าถึงน้ำตก คลองน้ำไหล มีความจุน้ำได้ 38.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถจ่ายน้ำทำการเกษตรได้ประมาณ 25,000 ไร่
114 คลองน้ำไหล
น้ำตกคลองน้ำไหล
น้ ำ ตกค ลองน้ ำ ไ หลห รื อ รู้ จั ก ใ นอี ก ชื่ อ ว่ า ‘น้ ำ ตก ปางควาย’ เป็ น ชื่ อ ที่ ม าจ ากเ ทื อ กเ ขาที่ ช าวบ้ า นใ น คลองน้ำไหลเรียกกันมาแต่โบราณ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 16 และ 17 เป็นน ำ้ ตกขนาดกลาง มี 9 ชัน้ ไหลจากหน้าผาสูง 60 เมตร อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ คลองลาน มีพ ื้นที่กว่า 187,500 ไร่ ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองลานพฒ ั นา ตำบลคลองนำ้ ไหล และตำบล โป่งน้ำร้อน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน จุดสูงสุดของภูเขาวัดจากระดับน้ำทะเลได้ 1,439 เมตร เป็นต้นกำเนิดข องแม่น้ำคลองขลุง คลองสวนหมากที่ไหล ลงสู่แม่น้ำป ิง
นิธิ นิธิวีรกุล 115
สำหรับการท่องเที่ยวน้ำตกคลองน้ำไหล แนะนำให้ มาชมช่วงเช้าเป็นต้นไปจะสวยงามกว่าตอนบ่าย เนื่อง จากแสงแดดยามเช้าจะตกกระทบละอองน้ำตกเป็นภาพ ที่สวยงามมาก
บึงหล่ม
อยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 6 โดยกรมชลประทานได้ทำการ ขุ ด ลอกบึ ง เ มื่ อ ปี 2544 มี พื้ น ที่ บึ ง ทั้ ง หมด 314 ไร่ ทัศนียภาพโดยรอบโอบด้วยเขาหล่ม ซึ่งมีตำนานท้องถิ่น เกี่ยวกับเรื่องการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวร บนเขามี การขดุ พ บโบราณวตั ถุม ากมาย ปัจจุบนั ม กี ารเก็บร วบรวม และจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ส ถานแห่งช าติกำแพงเพชร
116 คลองน้ำไหล
ไร่มันสำปะหลัง
กำแพงเพชรเป็นพ ื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอ ันดับ 2 ของ ประเทศ รองจากนครราชสีมา ซึง่ ม พี นื้ ทีเ่ พาะปลูกท งั้ หมด 1,470,924 ไร่ ขณะที่กำแพงเพชรมีพื้นที่เพาะปลูก 371,145 ไร่ ในตำบลคลองน้ำไหลมีพื้นที่เพาะปลูก มันสำปะหลังทั้งหมด 37,947 ไร่ มากกว่าพื้นที่ทำนา ทั้งนาปรังและนาปีรวมกัน 14,657 ไร่ จากพื้นที่ทำการ เกษตรทั้งหมด 66,483 ไร่ มันส ำปะหลังจ ดั เป็นพ ชื ห วั ช นิดห นึง่ ชือ่ ว ทิ ยาศาสตร์ค อื Manihot Esculemta Crantz คนไทยเรียกมนั ส ำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกมันต้นเตี้ย ภาคใต้ เรียกมันเทศ ซึ่งกลับกันกับการเรียกมันเทศทั่วไปของคน ภาคกลาง โดยคนใต้จะเรียกมันเทศว่า มันหลา มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน พบ หลั ก ฐานก ารป ลู ก มั น ส ำปะหลั ง ใ นโ คลั ม เบี ย แ ละ เวเนซูเอลามานานกว่า 3,000-7,000 ปี โดยมีการพบ โบราณวัตถุเป็นเหยือกรูปทรงมันสำปะหลัง รู้จักในชื่อ Mocha Yuca อายุเก่าแ ก่ก ว่าส องพนั ปีท กี่ รุงล มิ า ประเทศ เปรู มันส ำปะหลังถ อื เป็นพ ชื เศรษฐกิจห ลักข องคลองน้ำไหล ก็ ว่ า ไ ด้ โดยผ ลิ ต ผลที่ ไ ด้ จ ะถู ก น ำไ ปแ ปรรู ป เ ป็ น แ ป้ ง มันสำปะหลังแ ละมันส ำปะหลังเส้น
นิธิ นิธิวีรกุล 117
ชนิดและสายพันธุ์ของมันสำปะหลัง
ชนิดหวาน มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ ไม่มีรสขม สามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรงไม่ต้องผ่านการแปรรูป พันธุ์ทนี่ ิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ห้านาที พันธุ์ระยอง 2 ชนิดขม มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกสูง ต้องนำไป แปรรูปก่อน เช่น พันธุ์ระยอง 1, 3, 5, 60 และ 90 เป็นต้น
การเดินทาง
นัง่ ร ถโดยสารจากสถานีข นส่งก รุงเทพฯ (หมอชิต) สาย กรุงเทพฯ-คลองลาน มาลงยงั ส ถานีข นส่งค ลองลาน ซึง่ อ ยู่ ไม่ไกลจากปากทางเข้าที่ทำการ อบต.คลองน้ำไหล
การติดต่อ
อบต.คลองน้ำไหล โทร.055-786-399
เกร็ดเรื่องเล่า ‘ชากังราว’ ไม่ใช่ชื่อเดิมของกำแพงเพชร
ฉันเขียนเรื่องนี้เพราะคิดขึ้นได้ว่าในเช้าวันที่ฉันมา ถึงกำแพงเพชรนั้น ฉันเห็นในพื้นที่บริเวณสถานีขนส่ง มีขายเฉาก๊วยชากังราวอยู่เต็มไปหมด แรกก็แค่คิดว่า เจ้าของสินค้ายี่ห้อนี้ช่างขยันจริง ขายจากนนทบุรีมาถึง กำแพงเพชรเชียว กระทัง่ ม านกึ ข นึ้ ได้ว า่ ช อื่ เดิมข องจงั หวัด กำแพงเพชรคือ ‘ชากังราว’ นี่นา ฉันจึงเกิดความสนใจ ที่จะค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาที่มาที่ไปของชื่อเดิมของจังหวัด นี้ เผื่อว่าอาจจะเป็นความรู้ประดับติดตัวไว้บ้าง ครั้นจะ เก็บไว้คนเดียวก็ใช่ที่ เลยขอนำเรื่องราวที่ได้จากการไป
นิธิ นิธิวีรกุล 119
ค้นคว้าของฉันกลับมาให้เธออ่าน ถือเป็นเกร็ดความรู้ เสริมไปด้วย อนึ่ง ข้อมูลส ่วนใหญ่ข องฉันนำมาจากหนังสือ ‘ศาสนา และการเมือง’ ของอาจารย์พิเศษเจียจันทร์พงษ์ “ศั ก ราช 735 ฉลู ศ ก (พ.ศ.1916) เสดจ ไ ปเ มื อ ง ซากังราว แลพญาไสแก้ว และพญาคำแหง เจ้าเมือง ซากั ง ราวอ อกรบต่ อ ท่ า น ท่ า นไ ด้ ตั ว พ ญาไ สแ ก้ ว ต าย แลพญาคำแหง แลพลท้ังปวงหนีเข้าเมืองได้ แลทัพหลวง เสดจกลับค ืนมา” ข้ อ ความข้ า งต้น ปรากฏอยู่ ในพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งบอกเล่า เกียรติประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือ ขุนหลวงพงั่ว ในการทำสงครามกับเมืองต่างๆ หนึ่งใน เมืองที่พระองค์ได้ยกทัพไปรบก็คือเมืองที่ชื่อ ‘ซากังราว’ หรือชากังราว เมื อ งช ากั ง ร าวห รื อ ซ ากั ง ร าวนี้ จั ด เ ป็ น เ มื อ งที่ สู้ ร บ ป้องกันเมืองตนเองได้อย่างเข้มแข็งในยุคที่อยุธยายังรบ กับสุโขทัยเพื่อแผ่อ าณาจักร ยั ง ไ งน่ ะ ห รื อ ? เพราะข ณะใ นที่ เ มื อ งส ำคั ญ ๆ ของ กรุงสุโขทัย อย่างเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย ยัง ยอมแพ้ไม่ค ดิ ต อ่ ต า้ นกองทัพข องขนุ ห ลวงพงัว่ เลย มีเพียง เมืองชากังราวเท่านั้นที่ทำให้กษัตริย์อยุธยาต้องยกทัพ
120 คลองน้ำไหล
มารบเอาชัยถ งึ 3 ครัง้ ด ว้ ยกนั ซึง่ เป็นท นี่ า่ ส งั เกตอกี ด ว้ ยนะ ว่า ในเอกสารโบราณยังระบุนามเจ้าเมืองชากังราวว่า พญาคำแหง ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงของ กรุงสุโขทัยแน่นอน แต่ก ษัตริย์นามคำแหงนี้เข้มแข็งจ ริงๆ ด้วยความเป็นเจ้าเมืองเข้มแ ข็ง ถึงข นั้ ก ษัตริยอ์ ยุธยายงั ไม่อ าจตีเมืองได้ถ ึง 3 ครั้งนั่นเอง พญาคำแหงจึงสถาปนา ตนเองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่เมืองชากังราว ซึ่ง ตำแหน่งนี้มีสถานะเทียบเท่ากษัตริย์ในกรุงสุโขทัย ซึ่งใน การรบครั้งท สี่ ามนี้เอง พระราชพงศาวดารได้ระบุเพียงว่า พระมหาธรรมราชาออกถวายบังคม โดยไม่อธิบายอะไร เพิ่มอีก ขณะที่อาจารย์พิเศษได้ตั้งข้อสังเกตว่าการถวายบังคม นัน้ ไม่อ าจนบั ได้ว า่ เป็นการยอมแพ้ข องพระมหาธรรมราชา ต่อกองทัพอยุธยาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เพราะในเวลาต่อมา ขุนหลวงพงั่วก็ยังยกทัพไปตีเมือง ชากังร าวอกี ค ำรบที่ 4 ทว่าในการเสด็จไปรบครัง้ น ี้ พระองค์ ได้ ท รงป ระชวรร ะหว่ า งท างแ ละส วรรคตก่ อ นตี เ มื อ ง ชากังราว ดังนั้น อาจารย์พิเศษจึงเสนอว่าเป็นไปได้ไหมที่ การถวายบังคมของพระมหาธรรมราชา หรือพญาคำแหง เจ้าเมืองชากังราว เป็นเพียงการคำนับต่อกันระหว่าง แม่ทัพต่อแม่ทัพ เพียงแต่มหาธรรมราชานั้นมพี ระชนมายุ อ่อนกว่าส มเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เท่านั้น
นิธิ นิธิวีรกุล 121
ต่ อ ม าใ นรั ช ส มั ย ข องส มเด็ จ พ ระบรมไ ตรโลกน าถ พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพมาตีเมือง หน้าด า่ นทางตอนเหนือข องอยุธยาในเขตลมุ่ แ ม่นำ้ ย มและ แม่น้ำน ่าน มีค วามในพระราชพงศาวดารระบุว่า “ศักราช 813 มแมศก (พ.ศ.1994) ครั้งนั้นมหาราช มาเอาซากังราวได้แล้ว จึ่งเอาเมืองศุกโขไท เข้าปล้นเมือง มิได้ กเลิกทักก ลับคืน” มหาราชในพงศาวดารก็คือพระเจ้าติโลกราชนั่นเอง และนั่นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชื่อเมืองนี้ในเอกสาร หลั ง จากนั้ น ไ ม่ มี ก ารก ล่ า วถึ ง เ มื อ งช ากั ง ร าวอี ก เ ลย จนกระทั่งสิ้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แล้วไฉนชากังราวถึงกลายมาเป็นกำแพงเพชร? สมเด็ จ พ ระเจ้ า บ รมว งศ์ เ ธอ กรมพ ระยาด ำรง ราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขาว่า “ข้ า พเจ้ า ไ ด้ ต รวจส อบแ ผนที่ เ ข้ า กั บ เ รื่ อ งที่ มี ม าใ น พระราชพงศาวดาร เห็นว่าเมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่น นอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้” โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเทียบเคียง กับสภาพเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ นอกจากนั้นยังทรงพบ ชื่อเมืองชากังราวในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการ ลักพา ที่กล่าวถึงเมืองชากังราวไว้คู่กันกับกำแพงเพชรว่า
122 คลองน้ำไหล
“ชาดงราวกำแพงเพชร” กระนั้ น กรมพ ระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงตั้งข้อ วินิจฉัยไว้จากการศึกษาศิลาจารึกนครชุม ซึ่งเดิมเชื่อว่า ได้จากวัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ต่อมาจึงได้ทรงรับ ทราบวา่ ศ ลิ าจารึกได้ย า้ ยมาจากวดั ม หาธาตุ ตรงกนั ข า้ มฝงั่ แม่นำ้ ก บั เมืองกำแพงเพชรปจั จุบนั หาใช่จ ากวดั ม หาธาตุไม่ เมื่อทรงทราบเช่นนั้น พระองค์จึงทรงตั้งข้อวินิจฉัยว่า เมืองชากังราวอาจมิใช่เมืองกำแพงเพชร แต่เป็นเมือง นครชุมทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิงในเขตเมืองโบราณ ปากคลองสวนหมากต่างหาก เช่นนั้น ลองคิดกันเล่นๆ ดีไหมว่า ถ้าเมืองชากังราว ไม่ใช่เมืองกำแพงเพชรที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วเมือง ชากังราวจริงๆ อยูท่ ี่ไหน? อาจารย์พ เิ ศษได้ส อบทานจากหนังสือพ งศาวดารโยนก ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเอกสารโบราณของล้านนาฉบับ ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน และในพงศาวดารโยนกนี่เองที่มี การกล่าวถึงเหตุการณ์สู้รบระหว่างพระเจ้าติโลกราชกับ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไว้อย่างค่อนข้างละเอียด แต่ฉันไม่ข อกล่าวถึง ณ ที่นี้ แต่จะย่นย่อให้เธออย่างสั้นๆ ตามที่ฉันเข้าใจว่า อาจารย์พิเศษท่านตั้งข้อสังเกตไว้ว่า บางทีเมืองชากังราวในอดีตอาจไม่ใช่เมืองกำแพงเพชรใน ปัจจุบันนี้ก็เป็นได้ เนื่องจากเส้นทางเดินทัพของพระเจ้า
นิธิ นิธิวีรกุล 123
ติโลกราชจากเชียงใหม่ลงมายังเมืองตอนใต้ ซึ่งเป็นเขต เมืองทางเหนือในปกครองของอาณาจักรอยุธยานนั้ ไม่นา่ เป็นไปได้เมื่อพิจารณาตามหลักที่ว่าหัวเมืองฝ่ายเหนือ ต่างๆ ล้วนขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น ซึ่งในบรรดา เมืองขึ้นท ั้งห ลายนี้ รวมถึงเมืองชากังราวด้วย ลองจิ น ตนาการต ามน ะ ขณะที่ พ ระเจ้ า ติ โ ลกร าช ทรงยกทัพลงมาตีได้เมืองต่างๆ ไล่มาตั้งแต่เมืองทุ่งยั้ง ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ เมืองสองแควจังหวัดพิษณุโลก เมืองปากยมจังหวัดพิจิตร พระยาผากอง เจ้าเมืองน่าน ก็ยกทัพลงมาช่วยป้องกันเมืองชากังราว ซึ่งหากดูตาม แผนที่ประเทศแล้วจะพบว่า ก่อนจะมาถึงกำแพงเพชร จากจังหวัดน่านจะต้องผ่านแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และ พิษณุโลกมากอ่ น ซึง่ ในยคุ ส มัยน นั้ ท งั้ ส โุ ขทัยแ ละพษิ ณุโลก ล้วนขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาแล้วทั้งสิ้น ย่อมเป็นไปได้ยากที่ พระยาผากองจะยกทัพมาช่วยพระติโลกราชโดยไม่ผ่าน การต่อต้านจากเมืองในขอบขัณฑสีมาของอยุธยาทาง สุโขทัยแ ละพิษณุโลก อาจารย์พิเศษจึงเสนอว่า มีความเป็นไปได้ที่เมือง ชากังราวควรจะเป็นเมืองพิชัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปั จ จุ บั น นี้ ม ากกว่ า คื อ อ ยู่ เ หนื อ เ มื อ งส องแ ควห รื อ พิษณุโลกในเขตปกครองของอยุธยาขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันนี้ เขตอำเภอพิชัย ต่อเนื่องอำเภอตรอน และอำเภอเมือง
124 คลองน้ำไหล
จังหวัดอ ตุ รดิตถ์น นั้ พบหลักฐ านการมอี ยูข่ องเมืองโบราณ ถึง 5 เมืองดว้ ยกนั ค อื ‘เมืองโบราณปากคลองโพ’ ทีไ่ หลลง แม่นำ้ น า่ นฝงั่ ต ะวันต ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอ ตุ รดิตถ์ ‘เมืองโบราณตาชูชก’ ในเขตอำเภอตรอน ‘เมืองพิชัย’ ริมแม่นำ้ น า่ นฝงั่ ต ะวันอ อก ในเขตอำเภอพชิ ยั ‘เมืองโบราณ บ้านนายาง’ ห่างจากเมืองพิชัยไป 12 กิโลเมตร และ ‘เมืองโบราณบ้านท้องโพลง’ ในเขตอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เมืองโบราณทั้ง 5 นี้ อาจารย์พ ิเศษตั้งข้อสันนิษฐานว่า ทุกเมืองล้วนมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเมืองชากังราว ด้วยกันทั้งสิ้น แต่เมืองที่น่าเป็นไปได้ที่สุดคือเมืองพิชัย เนื่องจากสภาพอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และภูมิประเทศ ที่ราบกว้างใหญ่ เหลือก็แต่การขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อ หาหลักฐานมายืนยันข ้อสันนิษฐานเท่านั้น ก่อนจะจบเกร็ดเรื่องเล่าที่มาที่ไปของชื่อชากังราว ฉัน อยากบอกเธอเหมือนกันนะว่า หากบ้านเรามีการศึกษา ให้ครอบคลุมนำข้อมูลทุกอย่างมากางเพื่อพิจารณาและ ถกเถียงถงึ ค วามเป็นไปได้ และเทีย่ งตรงทสี่ ดุ ข องชดุ ข อ้ มูล ที่ใช้อ ธิบายเรื่องราวต่างๆ ทีเ่กี่ยวพันก ับร ากเหง้าข องชาติ คงเป็นเรื่องที่ดไีม่น้อย และฉันหวังเช่นนั้นจริงๆ ๏
126 คลองน้ำไหล
เพลงศักยภาพชุมชน คำร้อง-ทำนองวสุ ห้าวหาญ เรียบเรียงดนตรีศราวุช ทุ่งขเี้หล็ก ขับร้องโดยฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย
หนึ่ ง ส มองส องมื อ ที่ มี รวมเ ป็ น ห ลายค วามคิ ด ดี ๆ ออกมายืนต รงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราเป็นคนไทยเปี่ยมความสามารถ เป็ น ก ำลั ง ข องป ระเทศชาติ พัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลางใต้ ก็รักเมืองไทยด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้ า งชุ ม ชนแ ข็ ง แกร่ ง เพราะเ ราร่ ว มแ รงร่ ว มมื อ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศ ักยภาพ อยูช่ นบทหา่ งไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลีย้ งตวั ใช้ชมุ ชน ดูแลครอบครัว ใช้ครอบครัวดูแลชุมชน ปูพื้นฐานจาก หมู่บ้านตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน
นิธิ นิธิวีรกุล 127
ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพ ัฒนา อยูต่ ามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทกุ ด วงซอ่ นไฟมงุ่ มัน่ ก้าวออกมาจากรั้วที่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทย คนละ มือส องมอื ค อื น ำ้ ใจ โอบกอดชมุ ชนไว้ด ว้ ยความสขุ ย นื นาน หนึ่ ง ส มองส องมื อ ที่ มี รวมเ ป็ น ห ลายค วามคิ ด ดี ๆ ออกมายืนต รงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเรารว่ มมอื ร ว่ มใจ ทำสงิ่ ไหนกไ็ ม่เกินแ รง โครงสร้าง ชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเรารว่ มแรงรว่ มมอื ส ร้างสรรค์ จัดการ ทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วยมุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ...
เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org