ไกรนอก

Page 1




Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ ไกรนอก เรื่อง อภิรดา มีเดช ภาพ คีรีบูน วงษ์ชื่น ออกแบบปกและรูปเล่ม ณฐพัฒญ์ อาชวรังสรรค์ เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ

978-616-329-006-9 บรรณาธิการอ�ำนวยการ

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ

ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 โทรสาร 0 2343 1501 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1

เมษายน 2556


ด�ำเนินการผลิตโดย

เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com


คÓนÓÓ ท่ามกลาง​กระแส​วิกฤติ​เศรษฐกิจ​โลก​ครั้ง​ใหญ่​เป็น​ ประวัตกิ ารณ์​ใน​รอบ​หลาย​สบิ ​ปี ท�ำให้​เกิด​การ​ตงั้ ​คำ� ถาม​วา่ วิกฤติ​นี้​จะ​ใหญ่​ขึ้น​อีก​เพียง​ใด จะ​ยืด​เยื้อ​ขนาด​ไหน และ​ วิกฤติ​นี้​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​สังคม​ไทย​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ มาก​น้อย​เพียง​ใด ความ​วิตก​ดัง​กล่าว​อาจ​จะ​ไม่​เกิด​ขึ้น​เลย​ หาก​ปัจจุบัน​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ไม่​ถูก​ลาก​เข้า​สู่​ระบบ​การ​ ผลิต​เพื่อข​ าย นัก​วิช า​การ​ห ลายๆ ท่าน ได้​วิเคราะห์​ถึง​ระบบ​ เศรษฐกิจ​ของ​ประเทศไทย​ว่า​ ใน​ระบบ​ทุนนิยม​ยัง​คง​มี​อีก​ ระบบ​ด�ำรง​อยู่​ใน​ลักษณะ​คู่​ขนาน นั่น​คือ​ระบบ​เศรษฐกิจ​ ชุมชน​ หรื อ​อาจ​จะ​กล่าว​เป็น​ศั พท์​ส มัย​ใหม่​ได้ ​ว่ า ​ระบบ​ เศรษฐกิจ​แบบ​พอ​เพียง ใน​อดีต ​ชุมชน​หมู่บ้าน​จะ​มี​วิถี​ชีวิต​ที่​เรียบ​ง่าย​ เน้น​ ความ​พ อ​เ พี ย ง มี ​ครอบครั ว​เ ป็น ​หน่ว ย​ก าร​ผ ลิต การ​ ช่ว ยเหลื อ ​ซึ่ ง ​กั น​และ​กัน ​ มี ​น�้ำใจ​เป็น ​พื้ น​ฐาน​ของ​ชีวิต มี​ พิธกี รรม​ตา่ งๆ เป็น​ระบบ​การ​จดั การ​ใน​ชมุ ชน​และ​ให้​ความ​ ส�ำคัญ​ต่อ​บรรพบุรุษ ผู้​เฒ่า​ผู้​แก่ ครอบครัว


ต่ อ ​ม า​ห ลั ง ​จ าก​รั ฐ ​แ ละ​ร ะบบ​ทุ น นิ ย ม​ไ ด้ ​เข้ า ไป​มี​ อิทธิ พล​ต่อ​ชุมชน การ​ผลิต​เชิงเดี่ยว​และ​ลัทธิ​บริโภค​นิยม​ ท�ำให้​ชาว​บ้าน​มี​ราย​จ่าย​ที่​เป็น​ตัว​เงิน​มาก​ขึ้น เพียง​เท่านั้น​ ยัง​ไม่​พอ ​สงิ่ ​ท​ที่ ำ� ลาย​ความ​เข้ม​แข็ง​ของ​ชมุ ชน​ท​มี่ าก​ทสี่ ดุ คือ รัฐแ​ ละ​ทนุ เ​ข้าไป​ถา่ ย​โอน​ทรัพยากร​จาก​ระบบ​ชมุ ชน​หมูบ่ า้ น ยิง่ รัฐ​และ​ทนุ ​เข้าไป​กอบโกย​มาก​เท่าไร ชุมชน​หมูบ่ า้ น​ ไทย​ยิ่ง​ประสบ​ความ​อ่อนแอ ค�ำ​พูด​ดัง​กล่าว​ไม่ใช่​ค�ำ​พูด​ ลอยๆ ที่​ไม่มี​หลัก​ฐาน​รองรับ หาก​แต่​เมื่อ​กวาดตา​ไป​ทั่ว​ แผ่น​ดิน​ไทย หลัง​การ​ประกาศ​แผน​พัฒนา​เศรษฐกิจ​และ​ สังคม​มากว่า 40 ปี จะ​ม​สี กั ​ก​ชี่ มุ ชน​ท​คี่ นใน​ชมุ ชน​ไม่ป​ ระสบ​ ปัญหา​ความ​ยากจน ไม่​ประสบ​ปัญหา​สิ่ง​แวดล้อม หรือ​ไม่​ ประสบ​ปัญหา​สุขภาพ จาก​สถานการณ์​ดงั ​กล่าว​ถึงเ​วลา​แล้ว​หรือย​ งั ​ท​สี่ งั คม​ ไทย​ควร​กลับม​ า​เน้นก​ าร​พฒ ั นา​ท​ไี่ ม่ม​ อง​แต่ม​ ติ ​ปิ ระสิทธิภาพ การ​สร้าง​มูลค่า​และ​ก�ำไร​หรือ​การ​ตลาด​ด้านเดียว แต่​ควร​ จะ​เป็น​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ชุมชน​และ​สังคม เรา​ไม่​ควร​ลด​ทอน​ผู้คน​ลง​ไป​เป็น​เพียง​ตัวเลข หาก​ ควร​เป็น​เพื่อ​ส่ง​เสริม​ศักยภาพ​และ​ศักดิ์ศรี​ความ​เป็น​มนุษย์ ค�ำ​ต อบ​ส�ำ หรั บ ​ค�ำ ถาม​ข้ า ง​ต้ น ​นี้ ค งจะ​ต้อ ง​ช่วย​กัน​ค้นหา ไม่ว​ ่า​จะ​ใช้​ระยะ​เวลา​นาน​เท่าไร คณะ​ผู้​จัด​ท�ำ



ไกรนอก



อภิรดา มีเดช

นอกจากภาพลักษณ์ของดินแดนประวัตศิ าสตร์และ ความเก่าแก่ทางอารยธรรม บางมุมของสุโขทัยก็ท�ำให้เรา ได้พบกับชุมชนชาวนาที่ยังมีวิถีเรียบง่าย คล้ายวันเก่าๆ ลองนึกภาพทุ่งข้าวในแดดจางๆ ยามแดดร่มลมตก ดูกไ็ ด้ นัน่ อาจเป็นภาพฝันของใครหลายคนทีอ่ ยากหลีกหนี ความวุ่นวายมาลองใช้ชีวิตง่ายงามแบบนี้ บางที เ ราน่าจะลองจูนภาพชาวนาในหัวกันเสียใหม่ ชาวนาทุกวันนีไ้ ม่ได้โรแมนติกขนาดนัน้ แล้ว พวกเขาก็มมี อื ถือ มีรถขั บ มีความเป็นอยู่พอมีพอกิน ไม่ได้เดือดร้อนหรือ แร้น แค้นเช่นภาพที่เราคุ้นชิน แต่ปัญหาที่ได้ยินมาเนืองๆ ถึงอนาคตของคนท�ำนา เพราะคนรุ่นใหม่ที่นี่และอีกหลาย พื้น ที่ไม่ค่อยอยากเจริญรอยตามคนรุ่นพ่อแม่สักเท่าไหร่ เด็กๆ ก็เล่นอินเทอร์เน็ตและชอบเล่นเกมไม่ตา่ งจากทีอ่ นื่ ๆ บรรยากาศคล้ายวันคืนเก่าๆ ก�ำลังจะกลับมา มาตรวัด ความสุขประจ�ำตัวเราบอกอย่างนั้น อย่าเพิง่ ท�ำหน้าเลีย่ น เราแค่จะบอกว่า พวกเขาเลือก ทีจ่ ะกลับไปไม่พงึ่ พาสารเคมีในนา เหมือนย้อนเวลากลับไปสู่ ยุคอนาล็อกที่ใครหลายคนท�ำมันหล่นหายไปแล้ว กลับไปอุม้ ชูดนิ น�ำ้ และสานสัมพันธไมตรีกบั ธรรมชาติ อีกครั้ง แม้จะปฏิเสธไม่ได้วา่ เราก้าวเข้าไปในโลกดิจติ อลกัน เกินครึง่ ตัวแล้ว แต่หลายสิง่ ทีน่ ยี่ งั คงเรียบง่ายในสายตาเรา

11


ทิศเหนื อ อ ทิศเหนื

05 05

ตำบลกกแรต ตำบลกกแรต

บ้านวัดโบสถ บ้านวั์ ดโบสถ์

วัดโบสถ์

วัดโบสถ์

ร.ร.วัดโบสถ์

ตำบลไกรกลาง ตำบลไกรกลาง

า คุ้งย

บ้า

ร.ร.วั วัดค้ดุงโบสถ์ ยาง

บ้า

าง คุ้งย

บ้านไร่ บ้านไร่

ร.ร.วัดคุ้งยาง ร.ร.วัดคุ้งยาง วัดคุ้งยาง

รพ.สต.ไกรนอก รพ.สต.ไกรนอก

บ้านเกาะบ้านเกาะบ้านไกรนอก บ้านไกรนอก

วัดดอนแค

วัดดอนแค

ตำบลบ้ านใหม่ สุขเกษม ตำบลบ้ านใหม่ สุขเกษม

ตำบลดงเดื ตำบลดงเดื อย อย

ตำบลชุ มแสงสงคราม ตำบลชุ มแสงสงคราม อำเภอบางระกำ ณุโลก อำเภอบางระกำ จังหวัจังดหวั พิษดณุพิโษลก


ลก

อภิรดา มีเดช

13

01 01 02 02 03 03 07 07 12 12 วัดโบสถ์ วัดโบสถ์

18 18 09 10 09 10 06 06 04 04 08 08 19 19 16 16 17 17 11 11 23 23

ร.ร.วัดโบสถ์ ร.ร.วัดโบสถ์

วัดคุ้งยางวัดคุ้งยาง ร.ร.วัดคุ้งยาง ร.ร.วัดคุ้งยาง

รพ.สต.ไกรนอก รพ.สต.ไกรนอก

20 20 21 21 13 13 24 24 22 22

15 15

แผนที ่แหล งปฏิ บัต ิการเรี ยนรู  ไกรนอก แผนที ่แหล งปฏิ บัต ิการเรี ยนรู  ไกรนอก 01 02 03 04

05 06 07 08 09 10 11 12

ดการตำบลแบบมี สววนร 01 การบริ การบริ หารจัหารจั ดการตำบลแบบมี สวนร ม วม ทธศาสตร การพั ฒนาแบบมี สววนร แผนยุ ทธศาสตร การพั ฒนาแบบมี สวนร ม วม 02 แผนยุ 03 หอกระจายข าวและเสี หอกระจายข าวและเสี ยงไรยสงไร ายสาย 04 อาสาสมั ฝายพลเรื อาสาสมั ครปคอรป งกัอนงกั ภัยนฝภัายยพลเรื อน อ/ น / ปอนงกั นและบรรเทาสาธารณภั ศูนยศูปนอยงกั และบรรเทาสาธารณภั ย ย ไกรนอก อบต.อบต. ไกรนอก นแบบมี สววนร ม  หมู 05 การปรั การปรั บภูมบิทภูัศมนิทแัศบบมี สวนร ม วหมู 1 1 ศู น ย พ ั ฒ นาเด็ ก เล็ ก วั ด โบสถ 06 ศูนยพัฒนาเด็กเล็ วัดโบสถ สภาเด็ กและเยาวชน 07 สภาเด็ กและเยาวชน มออมทรั สัจหมู จะ  หมู 08 กลุมกลุ ออมทรั พยสพัจยจะ 2 2 มดอกไม จันแทร และพวงหรี ด  หมู 09 กลุมกลุ ดอกไม จันทร ละพวงหรี ด หมู 1 1 10 ข า วปลอดสารพิ ษ หมู  1 ขาวปลอดสารพิษ หมู 1 ่อการประดิ 11 กลุมกลุ เย็บมเย็ ผาบเพืผ่อาเพื การประดิ ษฐ ษหมูฐ  หมู 2 2 วิสาหกิ ชุมชนผลิ ่ม  หมู 12 กลุมกลุ วิสมาหกิ จชุมจชนผลิ ตน้ำตดืน้่มำดืหมู 3 3

ขาอวซมมืออมมืหมู อ หมู 13 13 กลุมกลุขามวซ 55 วิสาหกิ ชุมชนปุ อินยทรีอัดยเม็ อัดดเม็ด วิสมาหกิ จชุมจชนปุ ยอินยทรี 14 14กลุมกลุ

หมู หมู 8 8

บานขนมแบ น หมู 15 15บานขนมแบ งปนงปหมู 44 ษดนตรี 16 16อนุรอนุ ักษรดักนตรี ไทยไทย หมูหมู 22 มุนไพร หมูหมู 44 17 17ศูนยศูสนมุยนสไพร ปูนแดงควบคุ ยุงลาย 18 18ปูนแดงควบคุ มลูกมน้ลูำกยุน้งำลาย หมูหมู 11 19 มแสดงพื น (รำชาวนา) 19 กลุมกลุ แสดงพื ้นบ้านนบา(รำชาวนา) หมูหมู 22 อาสาสมั ครสาธารณสุ ข (อสม.) ครสาธารณสุ ข (อสม.) 20 20อาสาสมั อาสาสมั สูงอายุ (อผส.) ครดูคแรดูลผูแสลผู​ูงอายุ (อผส.) 21 21อาสาสมั อาสา าสา 22 22แมอแม มออกกำลั งกายฮู ออกกำลั งกายฮู ลาฮูลปาฮูป 23 23กลุมกลุ โรงพยาบาลสุ ข ภาพดี ิถีไทย 24 24โรงพยาบาลสุขภาพดีวิถีไวทย



อภิรดา มีเดช

หากต้องการมาเที่ยว อ.กงไกรลาศ การนั่งรถมาลง ที่ส ถานีขนส่งพิษณุโลกดูจะสมเหตุสมผลกว่า เพราะตาม แผนที่ อ.กงไกรลาศ จะถึงก่อนตัวเมืองสุโขทัย ในเมือ่ ไม่ได้มี ความจ�ำเป็นต้องไปให้ถึงเมืองสุโขทัยก็ควรบอกเคาน์เตอร์ จ�ำหน่ายตัว๋ รถทัวร์แต่เนิน่ ๆ ว่าต้องการซือ้ ตัว๋ ไปลงพิษณุโลก เพีย ง 4 ชั่วโมงเศษ รถทัวร์ก็พาเรามาถึงตัวเมือง พิษณุโลก แต่นั่นยังไม่ใช่จุดหมายของเราในวันนี้ ก่อนออกเดินทาง เราได้โทรแจ้งกับทาง อบต. ไกรนอก ไว้คร่าวๆ แล้วว่าน่าจะถึงพิษณุโลกด้วยรถเทีย่ วใดแต่ทนั ที ที่เท้ า แตะขนส่งพิษณุโลกก็รีบแจ้งทาง อบต. อีกครั้งว่าถึง พิษณุโลกเรียบร้อยแล้ว ไม่เกินครึ่งชั่วโมง รถของทาง อบต. ก็มารับ งงเรื่อง จุดนั ด พบกันเล็กน้อย ด้วยความไม่คุ้นเคยกับขนส่งที่นี่ มาก่อน แต่หลังจากวนรถหนึ่งรอบ เราก็ได้พบกัน บิ๊ก - นีลวัจน์ แสงเมือง ผู้ประสานงานจาก อบต. ไกรนอก โผล่หน้าออกมาจากกระจกรถที่ค่อยๆ เลื่อนลง พร้อมรอยยิ้มสดใส ก่อนจะเดินลงมารับเราถึงที่ เมื่อแบก

15


16

ไกรนอก

กระเป๋าเข้าประจ�ำที่นั่งขึ้นรถเรียบร้อย บิ๊กก็แนะน�ำให้รู้จัก กับที ม อบต. อีก 2 ท่าน ที่จะช่วยแนะน�ำและพาเที่ยว ชมไกรนอกในครั้งนี้ จากสถานีขนส่ง เราต้องนั่งรถอีก ประมาณครึ่งชั่วโมงก็จะถึงตัวอ�ำเภอกงไกรลาศ และเข้าสู่ ต�ำบลไกรนอก ระหว่า งทางคือพื้นที่ในการท�ำความรู้จักเพื่อนใหม่ และไม่นานเสียงหัวเราะและความคุน้ เคยก็คอ่ ยๆ ก่อตัวขึน้




อภิรดา มีเดช

สัญลักษณ์ของ อบต. ไกรนอก คือต้นยางนาใหญ่ที่ ยืนต้น เด่ นเป็นสง่าอยู่ในวัดคุ้งยาง อีกหนึ่งศูนย์รวมจิตใจ ของชาวต�ำบลไกรนอก เมื่อถามถึ งความเก่าแก่ของยางนาต้นนี้ พลศักดิ์ ฝ้ายอิ่ ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 แหงนหน้าขึ้นมองล�ำต้นเปลา ตรงของมันที่ชี้ขึ้นฟ้าแล้วว่า “ยางต้นนัน้ ใครไปตัดไม่ได้ มีอนั เป็นไปทุกที ทุกวันนี้ อายุมากแล้ว เพราะเราก็เห็นมาแต่ไหนแต่ไร ใครไปขอหวย ก็ไม่ให้ ขออะไรก็ไม่ให้ แต่ใครจะไปท�ำอะไรไม่ได้หรอก ทีม่ า รับจ้างตัดก็มีอันเป็นไปทุกครั้งทุกคน” ความส�ำ คั ญ ของยางใหญ่น่าจะเห็นได้จากค�ำขวัญ ของทีน่ ี่ “ชินกรบ้านไกร ต้นยางสูงใหญ่ หลวงพ่อใยศักดิส์ ทิ ธิ”์ หลายคนคงคุน้ หูนกั ร้องลูกทุง่ ชือ่ ดัง ชินกร ไกรลาศ กันมาบ้าง ส่วนหลวงพ่ อ ใยก็เป็นที่เคารพนับถือของชาวไกรนอกมา ยาวนาน การเลือกต้นยางขึน้ มาเป็นสัญลักษณ์ของไกรนอก จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนที่นี่ได้ไม่น้อย

19


20

ไกรนอก

แต่ก่อน ต�ำ บลไกรนอกขึ้นชื่อเรื่องความเจริญ และ เป็นหมู่บ้านนักเลงที่เพียงเอ่ยชื่อ คนฟังก็ถึงกับผวา นักเลงสมั ย ก่ อนต่างจากนักเลงหัวไม้เกกมะเหรก เกเรหรืออันธพาล นักเลงคือคนจริง ท�ำอะไรท�ำจริง และที่ ส�ำคัญคือโหดจริง ผู้ใหญ่พลศักดิ์เล่าว่า เมื่อเสียงปืนดังขึ้น ต้องมีใครสักคนได้กลับวัดแทนกลับบ้าน นอกจากไกรนอก ยังมีต�ำบลไกรในและไกรกลาง รวมเป็นสามไกร

พลศักดิ์ ฝ้ายอิ่ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1


อภิรดา มีเดช

ไม่วา่ มองไปทางไหน เราจะเห็นแต่ทอ้ งนา เพราะคน ไกรนอกส่วนใหญ่ท�ำนาเป็นอาชีพหลัก เดือนพฤษภาคมที่ เรามา แม้จะไม่ได้เห็นทุง่ ข้าวเขียวสดไกลสุดสายตา แต่กไ็ ด้ มีโอกาสเห็นก�ำเนิดนาข้าว เพราะเป็นช่วงที่พวกเขาเตรียม ทดน�้ำเข้านาและเริ่มการไถหว่านข้าวกันอีกครั้ง พวกเขาจะเป็ น ชาวนาเต็มตัวก็เฉพาะหน้านา แต่ หลังจากเก็ บ เกี่ ยวและขายข้าวได้ เราจะเห็นพวกเขาสลับ โหมดไปท�ำกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายเป็นรายได้เสริม ระบบเศรษฐกิจชุมชนทีพ่ วกเขาริเริม่ กันขึน้ มา ทุกวันนี้ มีบทบาทในการขับเคลือ่ นชุมชนไม่แพ้การท�ำหน้าทีก่ ระดูก สันหลังของชาติแต่อย่างใด แล้วเมือ่ หน้านาเวียนมาอีกครัง้ พวกเขาก็จะกลับมา ใช้เวลาแต่เช้าตรู่ขลุกอยู่ในนากันอีกครั้ง

21



อภิรดา มีเดช

หนึ่งในคนที่ รู้ จักความเป็นไกรนอกได้ดีที่สุดคงเป็น ใครไปไม่ได้ นอกจาก จินตศักดิ์ แสงเมือง นายก อบต. ไกรนอก ในมุมมองจินตศักดิ์ ความภูมิใจของชาวไกรนอก นอกเหนือจากการเป็นบ้านเกิดของศิลปินแห่งชาติอย่าง ชินกร ไกรลาศ และเป็นแหล่งบ่มเพาะศิลปินนักร้องฝีมือดี อย่างสุพรรณ สันติชยั และทิว สุโขทัย แล้ว ยังมีตน้ ยางทีอ่ ยู่ หน้าวัดคุง้ ยาง ซึง่ เขาฟังคนเฒ่าคนแก่เล่ามาว่าอยูม่ าตัง้ แต่ สมัยพม่าหนีทัพอะแซหวุ่นกี้ แล้วพระนเรศวรมาดักอยู่ แต่ก่อนเรียกว่า บ้านไกรป่าแฝก ในไตรกลาง เรายังได้ทราบว่า แต่ก่อนที่นี่เรียกว่า ‘ไตรนอก’ ซึ่ง คนสมัยก่อนเล่ากันมาว่า ‘ไตร’ มักจะใช้กับพุทธศาสนา ชาวบ้านจึงแผลงค�ำและค่อยๆ กร่อนมาเป็น ‘ไกร’ เหมือน ทุกวันนี้ ตอนนี้ ต�ำบลไกรนอกของพวกเขาได้รับเลือกเป็น ต�ำบลต้นแบบสุขภาวะ ทุกอย่างดูง่ายที่จะสานต่อ แต่ เชือ่ เถิดว่ากว่าจะง่ายดายอย่างทุกวันนีต้ อ้ งผ่านการท�ำงาน

23


24 เก้าเลี้ยว

จินตศักดิ์ แสงเมือง นายก อบต. ไกรนอก


อภิรดา มีเดช

หนักมาไม่น้อย จินตศักดิย์ กประโยชน์ ให้วศิ าล วิมลศิลป์ ผูอ้ ำ� นวยการ รพ.สต. ไกรนอก ซึ่งรับหน้าที่ผู้จัดการโครงการ น�ำทีมดูแล โครงการชนิดห้ามเกษียณ จริงๆ แล้ว นายกจินตศักดิ์รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ ระบบบริหารจัดการต�ำบลเป็นหลัก แต่เอาเข้าจริง เขาก็ ต้องดูแลทุกข์สุขชาวไกรนอกรอบด้าน 360 องศา ไม่ว่า ใครมีปัญหาอะไรก็ต้องมาปรึกษา “ถ้าขาดเหลืออะไรก็ต้องมาหานายก เพราะเรามี ก�ำลังอยู่ ก็ให้ไปช่วยกันได้” เมื่ อ ถามถึ ง ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการท� ำ งาน จินตศักดิ์ยิ้ม “ไม่ค่อยมีครับ เพราะชาวบ้านเราจะเข้ามาช่วยกัน พอเราคุยกับเขาเข้าใจ จากแต่ก่อนมีหัวไวใจสู้อยู่ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่สนใจเรื่องนี้ก็ 20 เปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ส่วนพวกที่ลังเลรอดูท่าทีอีกประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เรา ก็ต้องหาทางดึงกลุ่มที่รอดูท่าทีออกมาให้ได้” ส่วนตัวนายกเป็นคนต�ำบลไกรกลาง แต่เมือ่ แต่งงาน และใช้ชีวิตครอบครัวกับภรรยาซึ่งเป็นคนที่นี่ก็ตัดสินใจ ย้ายมาอยู่ที่ไกรนอกเป็นการถาวร นายกแอบกระซิบถึง สาเหตุหนึ่งที่เขาอาสาเข้ามาพัฒนาไกรนอกว่า “แต่ก่อน ตอนผมเป็นวัยรุ่นก็มาจีบสาวที่นี่ เพราะ ไกรนอกเจริญก่อนเขา เจริญมากด้วย แต่พอเราอยูไ่ ปสักพัก

25


26

ไกรนอก

เห็นว่าต�ำบลยังไม่ไปไหนสักที ก็เลยคิดว่าท�ำอย่างไรจึงจะ ให้มันกลับมาเจริญเหมือนตอนเรายังหนุ่ม “คื อ เราเคยเห็ นว่ า มั น เจริ ญ มาก่ อ นแล้ ว กลั บ มา ล้าหลังเขา ถึงตอนนีท้ เี่ ราท�ำมาก็ชว่ ยให้ขยับไปอยูแ่ นวหน้า ได้แล้ว และจะท�ำต่อไปอีกเรื่อยๆ” จินตศักดิ์กล่าว เรื่องงบประมาณเขายอมรับว่าไม่ค่อยเป็นปัญหา ตอนนีไ้ กรนอกอยากได้บคุ ลากรทีจ่ ะเข้ามาช่วยกันผลักดัน มากกว่า “ตอนนี้คิดว่าเหลือการพัฒนาคนที่เราต้องท�ำกัน ต่อไป อยากจะพัฒนาคนให้รุดหน้าไปกว่านี้”


อภิรดา มีเดช

มีส่วนร่วมกับส่วนรวม นั่งรับลมยามสายในเพิงพักริมคลองฟากร้องที่คน ไกรนอกเรียกว่า ‘ห้างน้อย’ หรือ ‘ศาลาน้อย’ เปิดโล่ง ต้อนรับผู้คนที่ผ่านไปมาตลอดเวลา ใครอยากพักผ่อนก็ ออกมานั่งเล่นที่นี่ได้ มองน�ำ้ มองต้นไม้ สบายใจแล้วค่อยกลับไปท�ำงานต่อ “ห้างน้อยริมคลองนี่ได้ชาวบ้านช่วยกันทั้งนั้น ใครมี เสาเหลือเก็บไว้ทบี่ า้ นก็ขอเขามาปลูก แต่หลังนีเ้ ป็นเสาหิน เพราะตั้งใจปลูกไว้รับแขก” พลศักดิ์ ฝ้ายอิ่ม ผู้ใหญ่บ้าน 3 สมั ย ของหมู ่ 1 บ้ า นวั ด โบสถ์ ที่ อ ารมณ์ ดี ไ ด้ ทั้ ง วั น บอกเล่าที่มาก่อนจะปรับปรุงพื้นที่พักผ่อนให้ร่มรื่นชื่นตา อย่างทุกวันนี้ ด้วยโครงการปรับภูมิทัศน์แบบมีส่วนร่วม บริเวณริมคลองฟากร้อง แต่ก่อนมีคลองผ่ากลางระหว่างบ้านเหนือกับบ้าน ฟากร้อง (ปัจจุบัน บ้านเหนือและบ้านฟากร้องรวมกันเป็น หมูบ่ า้ นวัดโบสถ์ หมู่ 1) เนือ่ งจากมีวดั โบสถ์เป็นศูนย์กลาง คนก็ข้ามไปข้ามมาล�ำบาก ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดถนนขึ้น แล้ว อบต. ก็เข้ามาดูแล เอาลูกรังมาลง ราดยางมะตอยให้ จากนั้น ชาวบ้านก็จัดประชาคมกันและได้ข้อสรุป ว่าจะขุดคลองกลางหมู่บ้านให้เป็นคลองเก็บน�้ำ ทาง อบต. ก็เข้ามาสนับสนุน พอขุดเสร็จ แรกๆ ยังดูดี แต่สักพักก็

27


28

ไกรนอก

เกิดปัญหายุงเยอะ ทั้งยุงลาย ยุงร�ำคาญ ชาวบ้านจึงต้อง รวมตัวกันดายหญ้า ท�ำความสะอาด และช่วยกันหาพืชผัก สมุนไพรมาปลูกข้างคลอง ได้ประโยชน์ทั้งคลุมดินบริเวณ ตลิ่งและยังน�ำไปประกอบอาหารเลี้ยงชาวบ้านเวลามา ช่วยงานกัน “แต่กอ่ น ถ้ามืดแล้วมานัง่ แบบนี้ โดนยุงหามแน่ ก็ได้ ความร่วมมืออย่างดีจากชาวบ้าน อบต. คณะกรรมการหมูบ่ า้ น แม้แต่เวลามาขุดลอกต้องเลีย้ งข้าวปลา ก็หงุ ข้าวเลีย้ ง เราก็ อาศัยเรี่ยไรกัน ช่วยกันท�ำกับข้าว” ของแบบนี้ ผู้ใหญ่พลศักดิ์ว่า ถ้าท�ำกันแค่คนสองคน อย่างไรก็ไม่ส�ำเร็จ “อยูท่ นี่ กี่ เ็ ลยไม่มเี รือ่ งหนักใจอะไร เพราะทุกคนคุยกัน ง่าย ใครต้องการความช่วยเหลืออะไรก็สง่ ต่อถึงกันได้หมด” ผลจากความร่วมมือร่วมใจ ท�ำให้หมู่ 1 ได้รางวัล หน้าบ้านน่ามองระดับจังหวัด เพราะทุกคนที่น่ีรวมตัวกัน ง่าย ทัง้ ผูใ้ หญ่บา้ น ชาวบ้าน และ อบต. ไม่มกี ารแบ่งแยกกัน เวลาท�ำอะไรจะเน้นการมีสว่ นร่วม เพราะทุกคนเห็นแล้วว่า ได้ผลเพียงใด การมีส่วนร่วมอีกเรื่องที่เราสัม ผัสได้คือ ต�ำบลนี้มี แต่คนอารมณ์ดี ข�ำกันเสียงดัง แข่งกันปล่อยมุข แต่พอ ใครปล่อยมุขปุ๊บ คนอื่นก็ช่วยชงและรับมุขกันได้อย่างเป็น ธรรมชาติ


ภูมิปัญญาก�ำจัดยุงลาย ระหว่างปี 2546-2547 ชาวบ้านวัดโบสถ์หมู่ 1 เป็นไข้เลือดออกกันมาก เพราะคลองฟากร้องไม่ได้รับการ ขุดลอก ท�ำให้รกและเป็นแหล่งเพาะพันธุย์ งุ นานาชนิด พอ ปี 2548 ก็ยังมีคนเป็นไข้เลือดออกกันอีก ทาง อสม. ก็คิด ไม่ตก เพราะใส่ทรายอะเบทอย่างทีไ่ ด้รบั ค�ำแนะน�ำมา น�ำ้ ก็ มีกลิน่ เหม็นและเมือ่ น�ำไปอาบก็เกิดผดผืน่ คัน สูดดมเข้าไป นานๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย


30

ไกรนอก

ขณะเดียวกัน เมื่อ ลูกจันทร์ ม่วงป่า หนึ่งใน อสม. บังเอิญไปเห็นคนเฒ่าคนแก่ที่คลองฟากร้องเอาปูนแดง ใส่ไปในโอ่งน�้ำ เมื่อถามว่าใส่ปูนเพื่ออะไร ก็ได้ค�ำตอบว่า เวลาใส่ปูนไว้ ยุงมันจะไม่มาไข่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายเขาก็ท�ำ แบบนี้กันมาตลอด “อย่างคนแก่เขากินหมากกันอยู่แล้ว เขาก็เอาปูน แดงใส่น�้ำกินด้วย ใส่โอ่งอาบด้วย มียายคนหนึ่งที่ใช้ปูน มาตลอด แต่แกก็แข็งแรง ไม่เคยไปโรงพยาบาลเลย แกเพิง่ มาตายตอนอายุ 80-90 นีเ่ อง” ลูกจันทร์ ประธานกลุม่ และ ผูก้ อ่ ตัง้ กลุม่ ปูนแดงควบคุมลูกน�ำ้ ยุงลาย กล่าวถึงภูมปิ ญ ั ญา ชาวบ้านที่คนรุ่นใหม่นึกไม่ถึง จากนัน้ จึงมีการเรียกประชาคมกัน ชวนสาธารณสุข อ�ำเภอ สาธารณสุขจังหวัด นายก อบต. กรรมการหมูบ่ า้ น กลุม่ กองทุนต่างๆ มาปรึกษาหารือกันว่า ถ้าไม่ใช้ทรายอะเบท จะใช้อะไรแทนได้บ้าง ทาง อสม. ก็เสนอว่าลองใช้ปนู แดงกันดีไหม เพราะ ไม่มอี นั ตรายต่อร่างกาย คนแก่กก็ นิ หมากกันอยูแ่ ล้ว ชาวบ้าน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความคิดนี้ ทางกลุม่ จึงตกลงกันว่าจะ ทดสอบประสิทธิภาพของปูนแดง โดยน�ำโหลมา 2 ใบ ใส่ ลูกน�้ำโหลละ 20 ตัว โหลหนึ่งเติมทรายอะเบท อีกโหลใส่ ปูนแดง ทิ้งไว้แล้วบันทึกผลทุกชั่วโมง ปรากฏว่า โหลทีเ่ ติมทรายอะเบท ลูกน�ำ้ จะตายภายใน 4 ชั่วโมง ส่วนโหลที่ใส่ปูนแดง ลูกน�้ำยุงจะตายภายใน 6


อภิรดา มีเดช

ชั่วโมง แต่ปูนแดงจะท�ำให้ลูกน�้ำเฉพาะที่เป็นตัวอ่อนตาย ฤทธิไ์ ม่แรงพอจะท�ำให้ลกู น�ำ้ ทีโ่ ตกว่านัน้ ตายได้ ทางกลุม่ จึง ได้ขอ้ มูลว่า ปูนแดงสามารถควบคุมไม่ให้ยงุ ลงไปวางไข่ในน�ำ้ จากนั้นมา พวกเธอจึงรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาใช้ ปูนแดงกัน เพราะปูนแดงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ราคา ไม่แพง แถมยังหาง่าย เป็นของทีค่ นเฒ่าคนแก่ตอ้ งมีตดิ บ้าน ตอนนี้ทางกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ปูนแดงสูตรใหม่ที่ผสม ขิงเข้าไปด้วย วิธีท�ำก็เพียงน�ำขิงไปโขลกจนละเอียด บีบน�้ำ แล้ ว น� ำ มาคลุ ก เคล้ า กั บ ปู น อั ต ราส่ ว นที่ ใ ช้ ปู น แดง 4 กิโลกรัม ใส่น�้ำขิง 4-5 ขีดเท่านั้น เมื่อปั้นเป็นก้อนแล้ว น�ำไปตากแดด ใช้เวลาผึ่งให้แห้งประมาณ 3 วัน ความจริงลูกจันทร์แนะว่าจะใช้แบบเปียกๆ ก็ได้ เหมือนกัน แต่ต้องระวังปูนนอนก้น ถ้าผิวน�้ำข้างบนใส ยุง อาจจะลงมาไข่อีกได้ “แต่ถา้ เห็นน�ำ้ เป็นฝ้าเมือ่ ไหร่ ถึงก�ำลังจะง้างขาไข่ แต่ ในที่สุดยุงก็จะตัดสินใจบินหนีไป” ลูกจันทร์ว่า ปริมาณการใช้ ถ้าโอ่งมีฝาปิด ใช้ปูนแดง 1 ก้อน ต่อ 1 โอ่งมังกร แต่ถา้ เป็นโอ่งอาบน�ำ้ ทีเ่ ปิดฝาไว้ตลอด ลูกจันทร์ ยืนยันมั่นเหมาะว่าใส่ไปได้เลย 4-5 ก้อน ขิงที่เอามาผสมก็ขุดได้จากข้างคลองนี่เอง แต่เมื่อ ผสมกับปูนแล้ว น่าแปลกที่ไม่มีกลิ่นขิง เธอบอกให้ลอง ดมน�้ำดูได้เลย แล้วก็ไม่ได้ท�ำให้น�้ำมีรสเฝื่อนแต่อย่างใด เหมือนดื่มน�้ำธรรมดาตามปกติ

31


32

ไกรนอก

ตอนนี้ ก ลุ ่ ม ปู น แดงอยากลองเอาตะไคร้ ห อมมา ผสมดูบ้าง เพราะต้องการเพิ่มประสิทธิภาพปูนแดงให้ ก�ำจัดลูกน�้ำยุงได้ทันใจกว่านี้ แต่ลูกจันทร์บอกต้องเอาไป ทดลองดูก่อน ก่อนจะใส่ปูนลงไป ลูกจันทร์แนะว่าควรล้างโอ่งให้ สะอาดก่อนแล้วเติมน�ำ้ ให้เต็มโอ่ง ถ้าไม่เต็ม ยุงจะมาไข่อกี ปูนที่ใส่ใช้ได้ประมาณ 3 เดือน พอๆ กับทรายอะเบท แล้ว เดี๋ยวนี้ราคาทรายอะเบทถังหนึ่งราคาหลายพันบาท แต่ ปูนแดงเธอบอกว่า ใช้กันทั้งหมู่บ้านอย่างมากที่สุด 1 ปี๊บ ปีหนึ่งใช้แค่ 5 ปี๊บ ทั้งถูกและไม่มีอันตรายแอบอยู่ข้างหลัง “ชาวบ้านที่นี่เขาจะพูดง่าย อย่างถ้าเราบอกว่าวันนี้ จะลงไปส�ำรวจยุง ชาวบ้านก็จะเตรียมล้างโอ่ง ล้างตุ่มไว้ เรียบร้อย เราก็จะเอาปูนไปใส่ให้เขา แต่ถ้าบางบ้านยัง เสียดายน�้ำอยู่ เราก็เอาปูนไว้ให้เขาไปใส่เอง” นอกจากนั้น ทางกลุ่มยังแบ่งขายเป็นถุง ถุงละ 20 บาท ขายปลีกก้อนละ 1 บาท หรือใครมาขอนิดๆ หน่อยๆ ก็ให้ฟรี ไม่คิดสตางค์ “เดี๋ยวนี้ต�ำบลเราจะไม่มีตัวลูกน�้ำหรอก เพราะเรา ป้องกันได้ตงั้ แต่วางไข่ เมือ่ ยุงไม่สามารถไข่ได้ ปัญหาชาวบ้าน ที่เป็นไข้เลือดออกก็ลดลงมาก” หมู่ 1 จึงเป็นเจ้าของรางวัลหมู่บ้านปลอดลูกน�้ำ ยุงลายอยู่เนืองๆ เรียกได้ว่ากวาดมาแล้วทั้งระดับต�ำบล อ�ำเภอ และระดับจังหวัด


อภิรดา มีเดช

แต่มากกว่ารางวัลใดๆ คือโอกาสที่จะมีสุขภาพดี ปลอดไข้เลือดออกของคนทัง้ หมูบ่ า้ นและทัว่ ต�ำบลไกรนอก นั่นเอง

33


34

ไกรนอก

สภาเด็ก พูดถึงความเข้มแข็งของผู้ใหญ่ในหมู่บ้านที่หาตัวจับ ยากแล้ว กลุม่ เยาวชนของไกรนอกก็มกี ารรวมตัวทีเ่ หนียวแน่น ไม่แพ้ผู้ใหญ่เลยทีเดียว แม้จะจุดประกายโดยผู้ใหญ่ แต่เมื่อถึงเวลาด�ำเนิน งานจริง เด็กๆ ก็ต้องบริหารจัดการกันเองเป็นหลัก วัตถุประสงค์ของการตัง้ สภาเด็กและเยาวชนไกรนอก ก็เพื่อให้เด็กๆ ซึมซับประวัติความเป็นมา เข้าใจรากของ

น้องแม็ค คมทัศน์ พิรณฤทธิ์


อภิรดา มีเดช

ต�ำบล วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านต่างๆ จนสามารถ เชื่อมโยงและสื่อสารผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ ละครทั้ง ในแบบร่วมสมัยและย้อนยุค รวมถึงการจัดท�ำโครงการ ผสมผสานและกิจกรรมยามว่างส�ำหรับเด็กและเยาวชน ให้ใช้เวลาว่างอย่างมีสาระและสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน หลั ง จากคั ด เลื อ กประธานสภาเด็ ก และเยาวชน ไกรนอกเสร็จแล้ว สมาชิกสภาฯ ทั้ง 15 คน จะมาประชุม ปรึกษากันว่า ควรจัดกิจกรรมหรือท�ำอะไรให้ชุมชนบ้าง แต่ละคนต้องไปท�ำการบ้านเพือ่ เสนอโครงการและความคิด ใหม่ๆ เพือ่ หาเสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาให้อนุมตั แิ ละ

น้องไอซ์ ภานุพงศ์ ยิ้มณรงค์

35


36

ไกรนอก

ด�ำเนินการต่อไป น้องแม็ค-คมทัศน์ พิรณฤทธิ์ อายุ 19 ปี อดีต เหรัญญิกสภาหน้าหวาน ที่แม้จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้วที่ ราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก แต่ด้วยความผูกพันกับ น้องๆ จึงกลับมาช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกสภาฯ หลายต่อหลายหน แม็คเล่าถึงโครงการต่างๆ ที่เขาเป็น ส่วนหนึ่งในการคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในชุมชนจริงๆ “อย่างโครงการพี่สอนน้อง เราจะเข้าไปหาแต่ละ โรงเรียนในต�ำบลและจัดกิจกรรมไว้เป็นฐานๆ ที่วัดคุ้งยาง เช่น ท�ำดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว เทียนเจล ท�ำให้เด็กๆ มีกิจกรรมในเวลาว่าง และได้ฝึกอาชีพไปด้วย เมื่อท�ำเสร็จ เราก็ให้เขาเอาผลงานกลับบ้านไปด้วย” ช่ วงงานเทศกาลอย่า งลอยกระทง หรือ เทศกาล กินปลา สภาเด็กจะเป็นตัวตั้งตัวตีจัดกิจกรรมแสดงละคร ประวั ติ ศ าสตร์ ป ระเพณี ล อยกระทง รวมทั้ ง การแสดง พื้นบ้านต่างๆ แม้แต่เวทีคนเก่ง หรือการประกวดร้องเพลงประจ�ำ ต�ำบลทุกวันศุกร์ ก็สร้างสีสันและเสียงตอบรับจากเยาวชน ที่นี่ได้เป็นอย่างดี แม็คเล่าอย่างออกรสว่า การประชันกัน ของผู้ชนะในรอบลึกๆ สนุกและน่าลุ้นขนาดไหน ส่วน น้องไอซ์-ภานุพงศ์ ยิ้มณรงค์ อายุ 18 ปี สมาชิกสภาอีกคนที่เพิ่งหมดวาระและต้องส่งต่อกิจกรรม ให้กับสมาชิกสภารุ่นต่อไป ก็พูดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เคยมี


อภิรดา มีเดช

ส่วนร่วมและยังต้องการผลักดันให้สภาเด็กสานต่อในอนาคต “ทุกเดือนเราจะมีกจิ กรรมถนนสีขาว ให้นอ้ งๆ ไปช่วย เก็บขยะ ท�ำความสะอาดถนน ตัง้ แต่หน้า อบต. เข้ามาในเขต ชุมชน ส่วนใหญ่จะนัดกันล่วงหน้า ไม่เสาร์ก็อาทิตย์ แล้ว วันจริงก็จะมีประกาศเสียงตามสายให้ทุกคนมาช่วยกัน” เมือ่ ถามถึงปัญหา ทัง้ คูต่ อบเหมือนกันว่า ช่วงปิดเทอม จะหาคนช่วยค่อนข้างยาก ไม่คอ่ ยมีคนอยูบ่ า้ น เวลามีการ แสดงก็จะซ้อมและแสดงกันตามจ�ำนวนสมาชิกที่อยู่กัน เท่านัน้ ส่วนปัญหาการสือ่ สารกับผูป้ กครองของน้องๆ ก็มบี า้ ง ส่วนมากเวลาเข้าร่วมกิจกรรม น้องๆ จ�ำเป็นต้อง กลับดึก หรือบางครั้งเวลาเลี้ยงฉลองหลังแสดงเสร็จ เรา ก็เลยต้องเข้าไปคุยและแจ้งผู้ปกครองให้ แม้จะไม่ได้อยู่ในต�ำแหน่งแล้ว แต่แม็คและไอซ์ก็ยัง อยากเห็นสภาเด็กและเยาวชนไกรนอกพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากกิจกรรมสร้างสรรค์ชมุ ชนทีจ่ ะต่อยอดจากกิจกรรม ที่เคยเริ่มไว้แล้ว เหนืออื่นใดคงเป็นเรื่องของจิตอาสาที่ พวกเขาอยากให้สมาชิกสภารุ่นต่อไปให้ความส�ำคัญ “อยากให้ช่วยกันสานต่อโครงการ และคิดโครงการ ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนของเรา อยากให้น้องๆ เข้าใจว่า จิตอาสาจริงๆ คือการท�ำโดยไม่ตอ้ งหวังผลตอบแทนทีเ่ ป็น ตัวเงิน เพราะเราจะได้ผลตอบแทนอย่างอืน่ ๆ กลับมาอย่าง เทียบกันไม่ได้”

37



อภิรดา มีเดช

ฮูลาฮูป ความสนุกที่ลดเอวได้ การมีหน้าท้องแบนราบคงเป็นสิง่ ทีห่ ญิงสาวและใคร หลายคนปรารถนา แต่กลุ่มออกก�ำลังกายฮูลาฮูปของที่นี่ ไม่ได้ตั้งมาเพื่อความสวยความงามเป็นหลัก จากค�ำกล่าวของประธานกลุ่ม นกเล็ก เพชรี่ อสม. หญิงท่านนี้ก็อาจเป็นหนึ่งในหญิงสาวที่ปรารถนาหน้าท้อง ปลอดไขมันเช่นกัน แต่สุขภาพและความสนุกกลับเป็น แนวคิดหลักทีท่ ำ� ให้เธอรวบรวมสมาชิกและตัง้ กลุม่ นีข้ นึ้ มา ย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 จากการส�ำรวจข้อมูล สุขภาพของชาวไกรนอกพบว่า คนในชุมชนส่วนมากเป็น เกษตรกร กลางวันท�ำนาท�ำไร่ ตอนเย็นกลับมาก็ซอื้ อาหารถุง เสียส่วนใหญ่ เกิดภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง “ส�ำรวจไปแล้ว พบว่าผู้ชายมีปัญหาน�้ำหนักเกิน ร้อยละ 90 ส่วนผู้หญิงก็ประมาณร้อยละ 80 แล้วเราจะ จัดการกันอย่างไรดี” ด้วยความที่เธอเป็น อสม. แล้วกิจกรรมในวัน อสม. (20 มีนาคม) ประจ�ำปีที่หัวหน้า รพ.สต. แจ้งมาก็คือ การ แข่งขันฮูลาฮูประดับอ�ำเภอ ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือจากชาวบ้าน ทั้ง 8 หมู่ หมู่ละ 5 คน มารวมกันตั้งเป็นกลุ่มขึ้น แล้วก็

39


40

ไกรนอก

เลือกให้เธอเป็นประธานกลุ่ม เมื่อถึงวันแข่งขัน กลุ่มของนกเล็กก็อาศัยความคิด สร้างสรรค์ น�ำท่าเต้นแอโรบิกมาประกอบเวลาเล่นฮูลาฮูป ไปด้วย “เราก็ไม่รวู้ า่ เขาจะเล่นแบบไหน ถ้ายืนหมุนอยูเ่ ฉยๆ คงไม่มใี ครแพ้ชนะ ก็เลยมีกติกาว่าต้องเล่นประกอบท่าทาง พอตัดสินออกมาก็ปรากฏว่า ชมรมไกรนอกได้รับรางวัล ที่ 1 แล้วได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาอีกประเภท เพราะเอาห่วงฮูลาฮูปไปประกอบท่าทางร่วมกับการเต้น แอโรบิกด้วย” ประสบความส�ำเร็จขนาดนี้ พวกเธอจึงกลับมาจัดตัง้ กลุ่มอย่างเป็นทางการ โดยมีหลักจ�ำง่าย 4 ตัวอักษร ดังนี้ ก คือ การจัดตั้งกลุ่ม ข คือ เงื่อนไข ทุกคนต้องท�ำตามกติกา รักษาเวลา ค คือ ความสามัคคี และความร่วมมือ ส่วน บ คือ การบริหารจัดการ นกเล็กบอกว่า การจัดการของกลุ่มไม่ได้มีการฝาก หรือออมทีย่ งุ่ ยากแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่การค้าขาย แต่เน้น เพือ่ ออกก�ำลังกายกันเอง เลยไม่ได้มกี ารระดมทุนอะไร ซึง่ อบต. ไกรนอก ก็ช่วยอุดหนุนมา 3,000 บาท เพื่อเป็นทุน ซือ้ ห่วงฮูลาฮูปมาไว้ให้เล่นกันในกลุม่ อีกส่วนก็กนั ไว้ เวลา ออกก�ำลังกายเสร็จ เอาไว้ซื้อน�้ำเลี้ยงสมาชิก เวลาสนุกกับฮูลาฮูปของกลุม่ ในแต่ละสัปดาห์ เดีย๋ วนี้


อภิรดา มีเดช

ไม่จ�ำเป็นต้องโฆษณาอะไรมากมายแล้ว เพราะใครๆ ที่ ทราบว่ากลุ่มฮูลาฮูปจะเล่นกันตอนไหนก็มักจะมารอก่อน เวลาเสมอๆ ส่วนใหญ่จะเล่นกันสัปดาห์ละ 3 วัน ตั้งแต่ 17.00-17.30 น. นอกจากนั้น ทางกลุ่มยังส่งต่อความสนุกเหล่านี้ ให้กับโรงเรียนในต�ำบล เธอและเพื่อนสมาชิกได้มีโอกาส เข้าไปสอนเด็กๆ ให้หัดเล่นกันด้วย “เด็กๆ จะหัดไม่นานค่ะ บางทีเราก็ไม่ทันได้สอน เขาหัดของเขากันเองเลย เวลาเขามาหมุน เขาก็พฒ ั นาของ เขาเอง แล้วก็ใส่ห่วงเพิ่มเข้าไปเอง หลักง่ายๆ คือ ถ้าเรา หมุนให้มันไม่หล่นได้แล้วก็ค่อยพัฒนาไปท�ำท่าอื่นๆ เช่น กางมือ นั่ง หรือชูมือส่ายไปมา” นกเล็กชวนให้เราดูน้อง ผู้ชายคนหนึ่งที่เล่นทีเดียว 3 ห่วง ตรงเอว 2 และขึ้นมา หมุนตรงคออีกห่วงหนึ่ง “อันนี้ได้ 3 ห่วงเลย เด็กๆ วัยก่อนประถมเล่นได้ถึง 3 ห่วงค่ะ” แต่ 3 ห่วงที่ว่า เป็นห่วงขนาดส�ำหรับเด็ก ไม่ใช่ ขนาดมาตรฐาน ขณะทีฝ่ ง่ั ผูส้ งู อายุ นกเล็กก็บอกว่าไม่นอ้ ย หน้ากันแต่อย่างใด “ชมรมผู้สูงอายุเราก็ได้ไปสอน ตอนนี้ก็มีหลายคน ทีม่ าเล่นกับเรา ผูส้ งู อายุหลายคนเอวยังไหว แต่พอมีปญ ั หา เรื่องตา เลยท�ำให้เล่นไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่” ประโยชน์ของฮูลาฮูปที่นกเล็กพยายามให้ทุกคน ท�ำความเข้าใจ คือ มันช่วยสลายไขมันหน้าท้อง ช่วยลด

41


42

ไกรนอก

หน้าท้องโดยเฉพาะ “แต่อย่างความอ้วนมันไม่ลดนะ จะลดเฉพาะจุด คือหน้าท้อง หน้าท้องจะยุบเห็นๆ เลย คนที่อยากได้เอวดี เอวสวย อย่าลืมหามาเล่นกันค่ะ” ใครอยากลดหน้าท้อง ติดฮูลาฮูปไว้ที่บ้านสักอัน ท่าจะดี แต่ความสนุกสนานเวลาเล่นพร้อมหน้ากันหลายๆ คน แบบทางกลุม่ ออกก�ำลังกายฮูลาฮูป กับท�ำอยูห่ น้าทีวคี นเดียว ที่บ้าน คงต่างกันพอสมควร นอกจากฮู ล าฮู ป ผู ้ สู ง อายุ จ ะเล่ น โยคะ และ ออกก�ำลังกายแบบเบาๆ ซึ่งคนในชุมชนช่วยกันคิดท่าเอง นอกจากนั้นยังมีร�ำกระบี่กระบองด้วย

ข้อควรระวังของฮูลาฮูป ก่อนเล่นทุกครัง้ เพือ่ ป้องกันการปวดเมือ่ ยเนือ้ ตัว ควร อบอุน่ ร่างกายก่อนด้วยการยืดเส้นยืดสาย เอาห่วงบิดไปมา แม้การเล่นฮูลาฮูปจะมีประโยชน์ แต่ถา้ เล่นในช่วงที่ ไม่เหมาะสมอาจเกิดโทษตามมา โดยเฉพาะผู้หญิง ไม่ควร เล่นในช่วงที่มีประจ�ำเดือน เพราะฮูลาฮูปจะไปบีบบริเวณ ปีกมดลูก เสี่ยงต่อการเป็นปีกมดลูกอักเสบได้




อภิรดา มีเดช

ร�ำชาวนา หากจะพูดถึงต้นก�ำเนิดการแสดงพื้นบ้านชุดส�ำคัญ ของชาวไกรนอก คงต้องย้อนไปถึงการอบรมลูกเสือชาวบ้าน ในปี 2519 เป็นธรรมเนียมเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ลูกเสือ รุ่นน้องต้องจัดการแสดงปิดท้าย 1 ชุด และ ติ๋ม-ปราณีต คงรอด สมาชิกลูกเสือชาวบ้านในวัย 30 กว่าๆ เป็นผูเ้ สนอ ให้แสดงร�ำชาวนา แม้จะมีการแสดงฟ้อนเล็บกับเซิ้งกระติบเป็นคู่แข่ง แต่ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน แม้แต่เรื่องคัดเลือกการ แสดงก็ตอ้ งโหวตกัน และผลปรากฏว่า ส่วนใหญ่เทคะแนน ให้การแสดงแปลกใหม่ที่ปราณีตเสนอขึ้น ด้วยความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนและรักการร้องร�ำ ท�ำเพลง แม้จะไม่ใช่แม่เพลงอาชีพ แต่เมื่อเพื่อนสมาชิก ไว้วางใจ ปราณีตจึงอาสาแต่งเนื้อเพลงและลุกขึ้นมาน�ำ ร�ำชาวนา เวลานัน้ การเต้นก�ำร�ำเคียวหรือร�ำกลองยาวถือเป็น การละเล่นพื้นบ้านของชาวนาและคนภาคกลางอยู่แล้ว ร�ำชาวนาทีป่ ราณีตคิดขึน้ เป็นการน�ำท�ำนองของร�ำวงชาวทะเล มาปรับเป็นเพลงร�ำชาวนา พอฝึกซ้อมและได้ออกแสดง ครั้งแรกก็เป็นที่ชื่นชอบของคนดู เพราะมันสะท้อนวิถีชีวิต ของคนที่นี่ได้เป็นอย่างดี

45


46

ไกรนอก

จากนัน้ ไม่วา่ จะมีการประชุมลูกเสือชาวบ้านคราวใด จะต้องมีการแสดงร�ำชาวนารับรุ่นน้องแทบทุกครั้ง แต่เมื่อ กิจกรรมของเหล่าลูกเสือชาวบ้านเริ่มซบเซาลง ปราณีตที่ ไม่ได้เป็นศิลปินอาชีพก็กลับไปท�ำนาตามปกติ ร�ำชาวนาได้รับการรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้งในปี 2534 เมื่อปราณีตได้เป็นคณะกรรมการพัฒนาสตรี และต้องน�ำ เสนอศิลปะพื้นบ้านประจ�ำต�ำบลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ การแสดงในครั้งนั้นให้บทเรียนกับปราณีตหลายอย่าง “ส่วนใหญ่เขาก็ชอบใจ แต่ที่ติก็มีบ้างว่าเนื้อเพลง ยาวเกินไป คือตอนนั้นมีเท่าไหร่ก็เอาไปร้องหมด คนฟัง นานๆ ก็เบื่อ” ปราณีตและทีมแสดงได้ข้อคิดกลับมาว่า เนื้อเพลง ในการแสดงควรกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ และนอกจากการร�ำ น่าจะหาอุปกรณ์และรีวิวประกอบเพื่อเพิ่มสีสันและความ น่าสนใจ หัวหน้าทีมกลุ่มแสดงพื้นบ้าน หมู่ 2 ในวัย 56 ปี ถ้าเต็มที่จะใช้ผู้แสดงประมาณ 30 คน มีบรรเลงดนตรีไทย ประกอบ แต่ถ้าชุดเล็กจะอยู่ที่ 10 คน เวลาร้องจะมีลกู คู่ เป็นเพลงร้องรับกัน ถึงสนุกสนาน คล้ายๆ เพลงประสานเสียง คล้ายๆ เพลงเรือ เวลาไปแสดงที่ไหนก็อาจจะมีการปรับรูปแบบบ้าง ไปงานหนึง่ อาจจะเริม่ ต้นด้วยค�ำกลอนเกีย่ วกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บางงานก็ร้องล�ำตัดเชิญชวนให้มาเป็น


อภิรดา มีเดช

ลูกเสือชาวบ้าน แต่ละงานจะไม่ได้รอ้ งเพลงแบบนีอ้ ย่างเดียว เห็นแสดงกันเต็มทีข่ นาดนีน้ กึ ว่าซ้อมกันมาแรมเดือน แต่พอถามถึงเวลาซ้อม ปราณีตสารภาพว่า บางครั้งก็ นัดแนะกันทางโทรศัพท์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้ซ้อม อะไรมากมาย “ขอแค่มีดนตรี ที่เหลือก็ไปได้หมด แค่บอกกันว่า งานนี้เราจะเล่นอย่างนี้นะ เขาก็จะรู้กัน ส่วนใหญ่ท่าร�ำจะ ไม่ค่อยเปลี่ยนมากอยู่แล้ว” พอการแสดงร�ำชาวนาเริม่ เป็นทีพ่ ดู ถึง เวลามีเทศกาล งานประเพณีต่างๆ ทั้งในสุโขทัยเอง หรือจังหวัดใกล้เคียง อย่างพิษณุโลกและอุทัยธานี ก็จะมีคนเข้ามาติดต่อปราณี ตและลูกทีมให้ไปช่วยร�ำเปิดงานให้ “แม้แต่งานเกี่ยวกับกฎหมายก็ยังขอให้เราไปแสดง เราก็ใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องลงไป เอาชีวิตชาวนาที่ต้องเอา โฉนดไปจ�ำนองเพือ่ กูเ้ งินแล้วถูกฟ้องร้องผิดสัญญาเพราะน�ำ้ ท่วม ก็นงั่ คิดเนือ้ ไประหว่างทาง พอถึงก็พร้อมขึน้ แสดงได้” ด้วยสปิรติ ล้วนๆ ในทุกการแสดง ปราณีตบอกเราว่า ไม่เคยต้องใช้ตวั ช่วย เพราะเธอจะขอไมค์ขนึ้ ร้องสดทุกครัง้ “คนแสดงต้องมีใจรัก ใจต้องมาก่อน หลายงาน ไม่ได้มีเงินให้ เราก็ไปกันเฉยๆ นี่แหละ ใครมาเชิญก็ไปจน จ�ำงานแทบไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง คนเชิญ จะสงสัยว่า ไม่ถามก่อนเหรอว่าเขาจะให้เท่าไหร่ “เราถือว่ามันเป็นภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้าน ก็ไม่ได้เรียกร้อง

47


48

ไกรนอก

อะไร เพราะเราต้องการเผยแพร่ให้คนอืน่ และเยาวชนรุน่ หลัง ได้เห็นความส�ำคัญ” ทุกวันนีค้ งหาเยาวชนทีส่ นใจศิลปะพืน้ บ้านได้ไม่งา่ ยนัก ปราณีตเองก็เห็นว่าความสนใจของเด็กๆ จับจ้องอยู่แต่ หน้าจอคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แต่ทางกลุม่ ก็ยงั หวัง จะสืบสานร�ำชาวนาของไกรนอกไว้ดว้ ยการชวนลูกหลานให้ เข้าไปมีส่วนร่วมบนเวทีแสดง “เราก็พาขึ้นเวทีด้วยกัน อย่างไปร�ำวันลอยกระทงก็ ให้ถือกระทงโชว์เลย หรือมีเทศกาลอะไรก็พยายามพาเขา ไปด้วย บางทีก็ให้ช่วยถือพานเล็กพานน้อย ให้เขาค่อยๆ ซึมซับไปเอง”

เพลงร�ำชาวนา ค�ำร้อง: ปราณีต คงรอด ท�ำนอง: ร�ำวงชาวทะเล เจ้าท่องตามท้องทุ่งนา ฝนโปรยลงมา เรารีบท�ำนา (ฝนโปรยลงมา เรารีบท�ำนา)


อภิรดา มีเดช

ชีวิตชาวนา เช้ามาเร็วไว (ชีวิตชาวนา เช้ามาเร็วไว) แบกคันไถ ร้องเพลงแทนขลุ่ย (แบกคันไถ ร้องเพลงแทนขลุ่ย) ออกทุ่งไปกับเพื่อนทุย (ชะ) รีบจ�้ำลุยน�้ำกระจุย (ชะ) เช้าตรู่เดินลุย ร้องเพลงแทนขลุ่ย จูงทุยเพื่อนยา ชีวิตชาวนา คว้าหาบเดินตาม (ชีวิตชาวนา คว้าหาบเดินตาม) ทั้งข้าวน�้ำ หาบตามเร็วไว (ทั้งข้าวน�้ำ หาบตามเร็วไว) ไม่ชักช้าเวลาจะสาย (ชะ) น�้ำปลาเด็ดดวงอยู่ไหน (ชะ) อย่าลืมน�ำไป ผัดเผ็ดปลาไหลกินในท้องนา ชีวิตชาวนา พึ่งฟ้าเบื้องบน (ชีวิตชาวนา พึ่งฟ้าเบื้องบน) ถ้ามีฝน แล้วคงได้ท�ำ (ถ้ามีฝน แล้วคงได้ท�ำ) ตกกล้าไถนาหว่านด�ำ (ชะ) ท�ำทุกปีอย่างนี้ประจ�ำ (ชะ) ดีใจเลิศล�้ำ หัวใจชุ่มฉ�่ำพวกเราชาวนา

49


50

ไกรนอก

ชีวิตชาวนา ฝนฟ้าอ�ำนวย (ชีวิตชาวนา ฝนฟ้าอ�ำนวย) ถ้าฝนช่วย แล้วได้ข้าวดี (ถ้าฝนช่วย แล้วได้ข้าวดี) ถ้าฝนไม่ตกสักที (ชะ) น�้ำในคลองมองดูก็ไม่มี (ชะ) น�้ำบาดาลไม่มี ชาวนาปีนี้ต้องกินน�้ำตา ในท้องทุ่งนา ปูปลามากมาย (ในท้องทุ่งนา ปูปลามากมาย) กบมากหลาย กุ้งหอยเป็นต้น (กบมากหลาย กุ้งหอยเป็นต้น) มีมากหมักปลาร้าไว้ล้น (ชะ) ท�ำน�้ำปลาก็ก้าวหน้าเห็นผล (ชะ) ไปเถิดหน้ามน เราไปลงโคลนช่วยกันจับปลา ในท้องทุ่งนา ผักหญ้ามีกิน (ในท้องทุ่งนา ผักหญ้ามีกิน) ผักกระถิน ต�ำลึง ผักบุ้ง (ผักกระถิน ต�ำลึง ผักบุ้ง) ปลอดสารพิษ วิตามินมีสูง (ชะ) กินกับข้าวกล้องที่หุง (ชะ) กินผักบ�ำรุง กระถินผักบุ้งบ�ำรุงสายตา


อภิรดา มีเดช

ชีวิตชาวนา อุราเรืองรอง (ชีวิตชาวนา อุราเรืองรอง) ข้าวตั้งท้อง เราต้องส�ำราญ (ข้าวตั้งท้อง เราต้องส�ำราญ) หมากยาต้มขนมหวาน (ชะ) แม่โพสพท่านเป็นมิ่งขวัญ (ชะ) แป้งหอมน�้ำมันจัน เตรียมไปท�ำขวัญแม่โพสพบูชา ชีวิตชาวนา เกิดมาเพื่อลุย (ชีวิตชาวนา เกิดมาเพื่อลุย) คอยหว่านปุ๋ยไล่ตัวแมลง (คอยหว่านปุ๋ยไล่ตัวแมลง) น�้ำแห้งดินแตกระแหง (ชะ) น�้ำจากคลองต้องเสาะแสวง (ชะ) เหนื่อยแทบหมดแรง ต้องรีบหาแหล่งวิดน�้ำเข้านา ชีวิตชาวนา บูชาไหว้วอน (ชีวิตชาวนา บูชาไหว้วอน) หลับบนหมอน นอนคิดกังวล (หลับบนหมอน นอนคิดกังวล) เฝ้าคิดจิตเป็นกุศล (ชะ) ปีนี้ให้ข้าวดีสักหน (ชะ) เทพไทเบื้องบน ชาวนายังจน ท่านโปรดเมตตา

51


52

ไกรนอก

ชีวิตชาวนา อุรารุ่งเรือง (ชีวิตชาวนา อุรารุ่งเรือง) เห็นข้าวเหลือง ออกรวงแล้วแม่ (เห็นข้าวเหลือง ออกรวงแล้วแม่) นกกับไก่ไม่ให้รังแก (ชะ) ชาวนาไทยตั้งใจดูแล (ชะ) อย่าช้าเชือนแช เร็วเร็วสิแม่ ท�ำหุ่นไล่กา ชีวิตชาวนา เตรียมหาซื้อเคียว (ชีวิตชาวนา เตรียมหาซื้อเคียว) ป้าแดงพี่เขียว เกี่ยวข้าวกันให้ยุ่ง (ป้าแดงพี่เขียว เกี่ยวข้าวกันให้ยุ่ง) เกี่ยวมัดจัดไว้กองสูง ช่วยกันจริงกะหนิงกะหนุง ชาวนาป้าลุง เดินเท้าสายยุ่ง แล้วชื่นอุรา ชีวิตชาวนา ปู่ย่าบอกแนว เกี่ยวข้าวแล้ว ยังมีพิธี แม่โพสพและพ่อโพศรี (ชะ) เกี่ยวข้าวแล้วเราอย่าหนี (ชะ) รับขวัญท่านซี เป็นประเพณีของไทยนานมา เดี๋ยวนี้ท�ำนากันไม่เหมือนโบราณ (เดี๋ยวนี้ท�ำนากันไม่เหมือนโบราณ) ค่าแรงงานนั้นหรือมากมาย


อภิรดา มีเดช

(ค่าแรงงานนั้นหรือมากมาย) ค่าปักด�ำ ซ�้ำยังรถไถ (ชะ) ย่าฆ่าแมลง ปุ๋ยแพงใจหาย (ชะ) เกี่ยวต้องว่องไว ต้องจ้างต่อไป แลกกับเงินตรา ถึงเวลา เราต้องเปลี่ยนแปลง (ถึงเวลา เราต้องเปลี่ยนแปลง) ปุ๋ยยาแพงมากแล้วน้องพี่ (ปุ๋ยยาแพงมากแล้วน้องพี่) ชาวนาไทยใช้เกษตรอินทรีย์ (ชะ) ปุ๋ยท้องนาราคาปรานี (ชะ) ท�ำปุ๋ยอินทรีย์ ตามทฤษฎีองค์มหาราชา ท�ำนาอินทรีย์ ดินดียั่งยืน (ท�ำนาอินทรีย์ ดินดียั่งยืน) เหมือนตายแล้วฟื้น ผืนดินชุ่มฉ�่ำ (เหมือนตายแล้วฟื้น ผืนดินชุ่มฉ�่ำ) ตามรอยพ่อ พอเพียงเยี่ยงน�ำ (ชะ) ข้าวอินทรีย์กินดีทุกค�ำ (ชะ) พ่อหลวงท่านเดินน�ำ ชาวนาเดินตามต้องร�ำ่ รวยเงินตรา วันนี้ชาวนา ขอลาท่านไป (วันนี้ชาวนา ขอลาท่านไป)

53


54

ไกรนอก

ขอให้ใจสดใสเรืองรอง (ขอให้ใจสดใสเรืองรอง) ขอให้คุณพระคุ้มครอง (ชะ) คิดสิ่งใดให้สมใจปอง (ชะ) ลาภยศเงินทอง ให้มีมากองไหลมาเทมา วันนี้ชาวนา ขอลาทุกท่าน ต้องจากกัน แล้วนะน้องพี่ ชาวนาขอสวัสดี จากท่านไปไม่ลืมไมตรี ลาก่อนวันนี้ โอกาสหน้ามีคงได้พบชาวนา โอกาสหน้ามีคงได้พบชาวนา



ชญาดา พุ่มไม้


อภิรดา มีเดช

ปลูกข้าว ได้สุขภาพ การจะท�ำให้คนรอบข้างเชื่อถือได้ต้องตั้งต้นจากสิ่ง ที่อยู่ภายในตัวเองก่อน นี่คือแนวคิดแรกเริ่มของกลุ่มข้าว ปลอดสารพิษ หมู่ 1 ที่ ชญาดา พุ่มไม้ ประธานกลุ่ม ภูมิใจเสนอ “คนสมัยก่อนก็ท�ำนาปีละครั้ง ไม่ได้เผาฟาง ไม่ได้ ใส่ปุ๋ยใส่ยาอะไร เราก็พยายามตามรอยที่คนสมัยก่อน ท�ำกันมาเท่านั้น” แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ประธานกลุ่มร่างเล็กบอกเรา ว่าต้องฝ่าอุปสรรคที่ท�ำเอาใจฝ่อไปหลายหน จะว่าไป การเปลีย่ นมาท�ำข้าวปลอดสารอาจต้องเสีย อะไรหลายๆ อย่าง แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือสุขภาพของคน ท�ำที่จะส่งต่อความมั่นใจไปถึงคนกินนั้น คุ้มค่ากว่าเป็นแน่ ความตัง้ ใจเดิมของกลุม่ ทีเ่ น้นท�ำเองกินเองเป็นหลัก จึงมัน่ ใจได้รอ้ ยเปอร์เซ็นต์วา่ ข้าวในนาเป็นข้าวปลอดสารพิษ จริงๆ แรงบันดาลใจดีๆ ส่งต่อให้กนั ได้ แล้วแต่ใครจะรับมา แล้วลงมือท�ำจริงๆ แค่ไหน หากย้อนไปในช่วงก่อนตั้งกลุ่ม ชญาดาเล่าว่าเคยไปเที่ยวพิจิตรแล้วเห็นข้าวหอมนิลที่

57


58

ไกรนอก

แพ็คส่งไปญี่ปุ่น ตอนนั้นเธอยังไม่สนใจ แม้จะได้ยินว่า ช่วยป้องกันโรคมะเร็งกับหัวใจ แต่พอได้ศึกษาและเห็น ประโยชน์ของข้าวหอมนิล ประกอบกับแรงสนับสนุนจาก พีส่ าวซึง่ เป็นอาจารย์โรงเรียนกงไกรลาศวิทยาทีม่ โี อกาสไป ดูงานโรงเรียนชาวนาของมูลนิธขิ า้ วขวัญทีส่ พุ รรณบุรเี มือ่ ปี 2552 ได้วิธีการท�ำนาปลอดภัยหลายต่อหลายเรื่อง ตั้งแต่ การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ตรวจสอบแมลงดีแมลงร้าย รวมถึง วิธีท�ำจุลินทรีย์แบบแห้งและแบบน�้ำ หลังดูงานกลับมา พี่สาวไฟแรงมาก มาขยายให้เธอ ฟังและช่วยจุดประกายให้ชญาดาตัดสินใจรวบรวมสมาชิก 10 กว่ า ชี วิ ต ร่ ว มกั น ก่ อ ตั้ ง กลุ ่ ม ข้ า วปลอดสารพิ ษ ขึ้ น กิจกรรมแรกของกลุ่มคือการทดลองเพาะพันธุ์ข้าวในวง ซี เ มนต์ โดยน� ำ พั น ธุ ์ ข ้ า วอิ น โดที่ ไ ด้ จ ากพี่ ส าวด� ำ ในวง ประมาณ 7 ต้น แต่ละต้นแตกกอได้ถึง 40-45 ต้น พอ ผลผลิตเก็บเกีย่ วได้ ค�ำนวณแล้วได้ประมาณ 154 ถังต่อไร่ ซึ่งถือว่าเยอะมาก เพราะปกติ 1 ไร่ ได้ 100 ถัง ก็เรียกว่า เยอะแล้ว แต่พอเอาลงในแปลงใหญ่กลับพบปัญหาระลอกแรก เพราะอากาศร้อนและปัญหาเชือ้ รา ทางกลุม่ เลยเปลีย่ นวิธี หว่านเป็นหว่านน�้ำตมแทน สมาชิกก็ช่วยกันไถหว่าน ดูแล จนข้าวเกีย่ วได้ ถึงตอนเกีย่ ว สมาชิกก็เข้ามาช่วยกันโดยไม่มี ใครคิดค่าแรง ผลผลิตครั้งแรกสุดอยู่ที่ 70 ถังต่อไร่ หักค่า ใช้จ่ายแล้วก็เหลือเป็นกองทุนให้หมู่บ้าน


อภิรดา มีเดช

ปี 2553 ทางกลุม่ ก็เริม่ เพาะกล้าข้าวในวง แล้วค่อย ไปลงในแปลงใหญ่อีกครั้ง คราวนี้เจอเพลี้ยกระโดดเข้าไป เต็มๆ ผลผลิตลดฮวบเหลือ 50 ถังต่อไร่ “ปีที่สองถือว่าแย่ลงไปอีก เราก็เริ่มท้อ ไม่ค่อยมีใจ จะท�ำกันแล้ว” ชญาดาว่า แต่ในปีเดียวกัน ได้มีการส�ำรวจและจัดท�ำ FAP โมเดล (โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสุขภาวะชุมชน [Family and Community Assessment Program: FAP]) น�ำร่องกับ ชาวบ้านหมู่ 1 ก่อน ปรากฏว่าคนทีน่ เี่ ป็นความดันเบาหวาน กันมาก แล้วก็มีอัตราเสียชีวิตด้วยมะเร็งค่อนข้างสูง พอปี 2554 ชญาดาเล่าว่าไปเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ มาปลูกเป็นหลัก ส่วนข้าวหอมนิลท�ำในสัดส่วนที่น้อยกว่า ได้ผลผลิตไม่เยอะ แต่กินแล้วมีประโยชน์มาก ทางกลุ่มจึง อาศัยลูกฮึดท�ำข้าวหอมนิลต่อไป “นาเราไม่ได้ใส่สารเคมีเลย ตั้งแต่ตอนเตรียมดินก็ จะใส่ปุ๋ยคอกขี้วัวก่อน แล้วไถกลบไว้ พอตกกล้าเสร็จ ถึง ช่วงด�ำนาก็ไถคราดแล้วเทจุลินทรีย์น�้ำลงไปเพื่อให้มันย่อย สลายฟางข้าว แล้วหว่านด้วยกากใบชาเพื่อฆ่าหอยเชอรี่” ปกติจะให้หอยเชอรีต่ ายจริงๆ ต้องหยอดยาเคมี แต่ เมือ่ ตัง้ ใจจะท�ำข้าวปลอดสารแล้วต้องหักดิบการใช้ยาให้ได้ ไม่อย่างนัน้ จุลนิ ทรียท์ ลี่ งไว้กอ่ นหน้าจะตาย ทางกลุม่ จึงใช้ วิธหี ว่านกากใบชาแทน ซึง่ เธอยอมรับว่า การตัดสินใจไม่ใช้ ยาในช่วงแรกๆ ต้องเหนื่อยหน่อย เพราะต้องหว่านกาก

59



อาทิตย์ เคนมี

ใบชาหลายรอบกว่าหอยจะตาย และต้องคอยซ่อมข้าวที่ ถูกท�ำลายอยู่เรื่อยๆ “แต่ช่วงซ่อมข้าวนี่ดีอยู่อย่าง ท�ำให้เราได้เห็นว่า เกิดอะไรขึน้ ในนาบ้าง ช่วงแรกๆ จะเห็นใบข้าวเหมือนโดน ห่ออยู่ ตอนแรกคิดว่าเป็นพวกหนอนห่อใบ พอแกะดูก็เจอ แมงมุม ซึ่งเป็นแมลงดี” ชญาดาเล่าไปยิ้มไป จากทีแรกทีค่ ดิ ว่าแมลงดีนา่ จะมีไม่เยอะ แต่พอได้ลง นาจริงๆ เธอก็ยงั เห็นความหลากหลายของกลุม่ แมลงดีทมี่ ี ทั้งแมงมุม แมลงเต่าทอง และแมลงปอ “เราปล่อยให้แมลงมันจัดการกันเอง ส่วนปุ๋ยก็แทบ ไม่ได้ใช้ นาเกือบ 6 ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักไปแค่ลูกเดียว เพราะเรา เตรียมดินค่อนข้างเยอะ ใส่มูลสัตว์ ใส่จุลินทรีย์ลงไป ปุ๋ย อะไรก็ไม่ได้ใส่” ส�ำหรับปัญหาที่กลุ่มต้องเผชิญ ชญาดายังแอบเป็น ห่วงปริมาณผลผลิตอยู่บ้าง ตอนนี้จึงท�ำนาปลอดสารพิษ ในส่วนที่กินเองเป็นหลัก หลังจากผลผลิตอยู่ตัวแล้วคงได้ ขยายพื้นที่นาปลอดสารไปให้ทั่วต�ำบลในเร็ววัน

61


62

ไกรนอก

วิธีผลิตจุลินทรีย์แห้ง-น�้ำ เริม่ ด้วยการผลิตจุลนิ ทรียแ์ ห้ง โดย 3 วัตถุดบิ ส�ำคัญ คือ ใบไผ่ 5 กิโลกรัม ดินจากภูเขาที่มีจุลินทรีย์ 1 กิโลกรัม และร�ำละเอียด 1 กิโลกรัม เอามาคลุกเคล้าแล้วรดน�้ำ อย่าแฉะเกินไป ห่อด้วยกระสอบทิง้ ไว้ 7 วัน จะเกิดราขาวขึน้ สามารถน�ำไปท�ำจุลินทรีย์น�้ำต่อ เตรียมถัง 100 ลิตร 1 ใบ ใส่น�้ำ 80 ลิตร กาก น�้ำตาล 5 กิโลกรัม น�ำห่อจุลินทรีย์แห้งลงไปแช่ประมาณ 7 วัน เมื่อเห็นฝ้าขาวๆ ขึ้น และมีกลิ่นคล้ายน�้ำส้มสายชู ก็สามารถน�ำไปใช้ได้แล้ว น�้ำส้มควันไม้ ผลพลอยได้จากการเผาถ่านที่มีประโยชน์รอบด้าน เก็บไว้ข้ามปีได้ยิ่งดี เป็นทั้งสารปรับปรุงดิน ก�ำจัดศัตรูพืช เร่งการเจริญเติบโตของพืช ช่วยขยายผลให้ใหญ่ขึ้น ถ้าฉีด ก่อนเก็บเกี่ยวจะเพิ่มน�้ำตาลในผลไม้ ส�ำหรับอัตราส่วนการใช้นำ�้ ส้มควันไม้ 1 ต่อ 50 จะใช้ พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ถ้าเข้มข้นมากกว่านี้ รากพืช จะเป็นอันตรายได้ ส่วน 1 ต่อ 100 ใช้พ่นโคนต้นไม้ รักษา โรครา โรคเน่า กันแมลงวางไข่


อาทิตย์ เคนมี

ข้าวหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีม่วงอมด�ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตัน ตอนปลูกจะมีเวลาขยายกอ ค่อนข้างน้อย ปักด�ำไปประมาณ 60 วันก็ตอ้ งน�ำไปแตกกอ จากนั้นข้าวจะเริ่มตั้งท้อง พอ 65 วันจะเริ่มออกรวง 95 วันก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว

63



อภิรดา มีเดช

กินข้าว ได้สุขภาพ ในบริเวณของ รพ.สต. เราได้ยินเสียงต�ำข้าวและ ฝัดข้าวดังเป็นระยะ ส่วนใหญ่ทมี่ าฝัดข้าวเป็นกลุม่ ผูส้ งู อายุ ที่ลีลาการฝัดดูเป็นมืออาชีพมากๆ ในอาคารโปร่งโล่ง มีหลังคาคลุม มีอุปกรณ์สีข้าว ต่างยุคสมัยทีย่ งั ท�ำงานประสานกันได้ดี ตัง้ แต่ครกไม้ตำ� มือ เครื่องสีข้าวแบบโบราณ โดยมีเครื่องสีข้าวไฟฟ้าตั้งอยู่ ไม่ไกลนัก ดูจากท่าทางคล่องแคล่วและหน้าตาแจ่มใสของ ศิรเิ พชร เพชรี่ ประธานกลุม่ ข้าวซ้อมมือ หมู่ 5 คงการันตีถึงสุขภาพดีที่ได้จากการกินข้าว ซ้อมมือทีท่ างกลุม่ ผลิตเองไม่มากก็นอ้ ย “เครื่องสีแบบโบราณนี้ต้องหมุน วนไปมา ข้าวทีไ่ ด้จะป่นหน่อย สีเครือ่ งนี้ ช่วยเรียกเหงือ่ ได้ดี ท�ำแล้วหุน่ ดี กล้ามขึน้ แน่ๆ” เธอชี้และอธิบายการท�ำงานของ เครื่องสีข้าวให้ฟัง นอกจากจะได้ข้าวกลับ ไปหุงที่บ้าน คนท�ำยังได้ออกแรงและ ศิริเพชร เพชรี่

65


66

ไกรนอก

ได้สุขภาพเป็นของแถม เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ก่อนจะตั้งเป็นกลุ่มข้าวซ้อมมือ ศิ ริ เ พชรบอกว่ า ชาวบ้ า นหมู ่ 5 ก็ เ หมื อ นรวมตั ว กั น เป็นกลุม่ ธรรมชาติอยูก่ อ่ นแล้ว เธอเล่าติดตลกว่า อีกสาเหตุ ที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาเพราะตัวเองเป็นคนกลัวเข็มฉีดยามาก ไม่สบายทีไรไม่อยากไปหาหมอเลย จึงต้องพยายามดูแล สุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอกจากหมั่นออกก�ำลังกาย แล้ว อาหารการกินก็เป็นสิง่ ทีศ่ ริ เิ พชรหันมาให้ความส�ำคัญ “ทีแรกก็ซื้อข้าวซ้อมมือกิน แต่อยู่ไปอยู่มา เห็นครก เพื่อนบ้านคว�่ำไว้เฉยๆ ก็ขอยืมมาต�ำข้าวกินเองดูบ้าง เรา เกิดทันยุคที่เขาต้องหาบน�้ำกิน ต�ำข้าวกิน ก็คิดว่าเมื่อก่อน เรายังท�ำได้ ท�ำไมตอนนี้เราจะท�ำไม่ได้ล่ะ” แม้ศริ เิ พชรจะไม่ได้เกิดทีไ่ กรนอก แต่เมือ่ ตัดสินใจมา ใช้ชีวิตคู่กับคนที่นี่ นานวันเข้า เธอก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็น คนที่นี่ไปโดยปริยาย เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการต�ำแล้วผสม กับข้าวธรรมดาให้คนในบ้านลองชิมก่อน พอได้ใจคนที่ บ้าน ลูกสาวลูกชายเธอบอกกินแล้วอร่อย หวานหอมดี ศิริเพชรเลยต�ำมาเรื่อย ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน เพราะ เก็บไว้นานไม่ดี มดกับมอดจะชอบมาก ที่บ้านเธอเลยต�ำ ไว้ครั้งละครึ่งถัง ผูส้ งู อายุทเี่ คยต�ำข้าวฝัดข้าวมาก่อน พอเห็นเราท�ำก็ ขอเอาข้าวเขามาต�ำบ้าง พอเขามาท�ำ ต�ำก็เก่ง ฝัดข้าวก็เก่ง


อภิรดา มีเดช

ก็เกิดเป็นกลุ่มย่อยๆ ต่างคนก็ต่างมาต�ำกันที่นี่ กลุ่มคนรักสุขภาพของศิริเพชรที่รวมตัวกันอย่าง หลวมๆ คงกลายมาเป็นกลุ่มข้าวซ้อมมืออย่างวันนี้ไม่ได้ แน่ หากไม่ได้แรงผลักดันจากกิจกรรมและความเข้มแข็ง ของ อบต. ปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกได้ว่า การลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ปากพูน คราวนั้ น ช่ ว ยจุ ด ประกายให้ ศิ ริ เ พชรไม่ น ้ อ ย แม้ ส ภาพ แวดล้อมโดยรวมจะแตกต่าง แต่เธอก็บอกว่าได้แนวคิด กลับมา เมื่อผสานกับสิ่งที่ชุมชนไกรนอกมี นั่นคือความ ร่วมมือของท้องถิน่ ทุกภาคส่วน ไม่วา่ จะเป็นโรงเรียน บ้าน วัด “มองไปทางไหนก็มีแต่ไร่แต่นา เพราะหมู่บ้านเรา ท�ำนาเลี้ยงตัว ก็เลยเสนอว่ามาท�ำเรื่องข้าวกันดีไหม จนใน ที่สุดก็เป็นจุดเริ่มต้นให้หยิบเรื่องข้าวขึ้นมา” ด้วยทุนทางสังคมของไกรนอกที่มีความแข็งแกร่ง ของนาข้าวและชาวนาอยู่แล้ว ผนวกกับการเก็บข้อมูลจาก ชาวบ้านแล้วสรุปเป็น FAP โมเดล พบปัญหาด้านสุขภาพ ร่างกายของคนไกรนอก จะเจ็บป่วยกันเยอะด้วยอาการที่ ไม่ใช่โรคติดต่อ อาทิ ความดัน เบาหวาน เหน็บชา ซึ่งแก้ ได้ด้วยอาหารการกิน ท�ำให้การประชาคมของหมู่ 5 ครั้ง ถัดมา เลือกการแปรรูปข้าวซ้อมมือเป็นหนึ่งในศูนย์เรียนรู้ ของต�ำบล “ทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับข้าวอยู่แล้ว ปกติก็ 3 มื้อ ต่อวัน เราก็เลยตัดสินใจท�ำข้าวซ้อมมือกัน เป็นการเพิ่ม

67


68

ไกรนอก

มูลค่าให้ข้าวแล้วเราก็ได้ประโยชน์ด้วย แทนที่จะกินข้าว ขาวธรรมดาเหมือนแต่ก่อน พอมาท�ำตรงนี้ เราเองก็ได้กิน ข้าวซ้อมมือด้วย” นอกจากนี้ แนวโน้มผู้สูงอายุในต�ำบลน่าจะเยอะขึ้น แต่ละคนก็มีโรคประจ�ำตัวกันทั้งนั้น ทางกลุ่มจึงคิดกันว่า ท�ำอย่างไรจะให้คนสูงอายุที่นี่กินอยู่อย่างมีคุณภาพ ก็มา ลงตัวที่การกินเป็นหลัก เคล็ดลับการผลิตข้าวซ้อมมือของไกรนอก ศิริเพชร แย้มให้ฟังว่า ถ้าจะให้ดี ข้าวที่จะเอามาสีควรเป็นข้าวหอม มะลิ เพราะถ้าเอาข้าวธรรมดามาท�ำจะออกมาแข็งมาก ของที่นี่เลือกใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปลอดสารพิษ เกีย่ วใหม่ๆ จากอ�ำเภอคีรมี าศ และปัจจุบนั ก็ได้ขา้ วเปลือก บางส่วนจากสมาชิกหมู่ 1 กลุม่ ข้าวปลอดสารพิษ และกลุม่ เกษตรอินทรีย์ หมู่ 8 เมือ่ ถามถึงผลตอบรับ รอยยิม้ บนใบหน้าของศิรเิ พชร น่าจะพอบอกได้ “ข้าวซ้อมมือเราสามารถเข้าไปนั่งในใจใครได้หลาย ร้อยคนแล้ว ไม่ตอ้ งไปวางขายทีไ่ หนเลย เราก็ดใี จทีร่ ณรงค์ ขยายผลไปแล้วคนชอบ ต�ำบลที่มาดูงานก็ซื้อไป เขายัง สงสัยว่าท�ำไมเราท�ำได้ในราคาถูกมาก คือเราดูแล้วว่ามัน ได้กำ� ไร และทางกลุม่ ก็ไม่ได้มงุ่ ทีผ่ ลก�ำไรเป็นหลัก อยากให้ คนในต�ำบลรวมทั้งคนที่ซื้อไปได้สุขภาพมากกว่า” เธอแย้มให้ฟังเล็กน้อยว่า ขณะนี้มีโครงการจะตั้ง


อภิรดา มีเดช

ศูนย์เรียนรู้วิถีข้าว แสดงวิถีชีวิตชาวนา รวบรวมครกและ เครื่องสีข้าวโบราณหลายแบบไว้ให้เด็กๆ และเก็บเป็น ประวัติศาสตร์ของไกรนอกเองด้วย

ขั้นตอนผลิตข้าวซ้อมมือ ข้าวซ้อมมือต่างจากข้าวกล้อง เพราะข้าวกล้องจะ หมายถึงข้าวเปลือกที่ผ่านการสีเพียงครั้งเดียว สารอาหาร จะเหลืออยูม่ ากกว่า ขณะทีข่ า้ วซ้อมมือคือข้าวเปลือกทีผ่ า่ น การสี 2 ครั้ง หรือข้าวเปลือกที่ผ่านการต�ำมือจากครกของ ชาวบ้านที่มีลักษณะเป็นเม็ดป่นๆ กว่า เมื่อสีหรือต�ำจนได้ที่จะน�ำมาฝัดบนกระด้งเพื่อแยก เปลือกออก เมล็ดใดเปลือกยังอยู่ครบถ้วนจะถูกคัดกลับ เครื่องสีหรือครกต�ำอีกครั้ง

69


70

ไกรนอก

ปุ๋ยอินทรีย์ เคมีกับอินทรีย์เพิ่งเป็นปฏิปักษ์กันมาได้ไม่ถึงครึ่ง ศตวรรษ แต่ทกุ วันนี้ การจะเลือกหันหน้าเข้าหาอินทรียห์ รือ เกษตรไร้สารพิษของเกษตรกรส่วนใหญ่กลับยากขึ้นทุกที ข้อดีของการท�ำเกษตรอินทรียอ์ าจจะไม่เห็นผลทันตา แบบใช้ปบุ๊ รูป้ บ๊ั แต่เมือ่ รวบรวมข้อดีขอ้ เสียเพือ่ เปรียบเทียบ กันในระยะยาวแล้ว ใครๆ ก็ตอ้ งยอมรับว่า ค�ำตอบสุดท้าย หนีไม่พ้นเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรหลายคนยังไม่มั่นใจ เพราะเชื่อว่ากว่าจะ ได้เวลาลืมตาอ้าปาก พวกเขามิตอ้ งล้มคว�ำ่ คะม�ำหงายหมด ก�ำลังใจไปก่อนหรือ บางทีเราอาจจะยังมีความหวัง เพราะการพึ่งพา อินทรียไ์ ม่ได้มดี แี ค่ความปลอดภัย แต่ยงั ช่วยลดต้นทุนการ ผลิตของเกษตรกรได้ด้วย อย่างที่ กฐิน แสงมี เลขานุการ สาวแห่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด หมู่ 8 วัย 35 ปี เล่าถึงการก่อตั้งกลุ่มและอนาคตของการท�ำ เกษตรอินทรีย์ที่สดใสขึ้นเรื่อยๆ จุดเริ่มต้นของปัญหาเกิดขึ้นในปี 2549 ซึ่งเป็นปี ที่ชาวไกรนอกประสบปัญหาปุ๋ยเคมีขึ้นราคา เวลาประชุม หมูบ่ า้ น ชาวบ้านจึงเสนอปัญหาและต้องการให้ผนู้ ำ� หมูบ่ า้ น ช่วยเหลือ


กฐิน แสงมี



อภิรดา มีเดช

“ถ้าชาวบ้านอยากให้ขายข้าวได้ราคาดี อันนั้นเรา ไม่ ส ามารถช่ ว ยได้ ก็ เ ลยคิ ด กั นว่ า เราน่ า จะลดต้ น ทุ น ในการผลิตแทน ซึ่งวิธีหนึ่งที่มีคนท�ำแล้วส�ำเร็จก็คือ การ ท�ำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดใช้เอง” แม้ตอนนี้อาจจะต้องอาศัยวัตถุดิบจากภายนอก หมู่บ้าน แต่ในอนาคตอันใกล้ ทุกคนตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้ วัตถุดิบที่หาได้ในชุมชน เช่น ขี้วัว แต่ต้องผ่านกระบวนการ หมักอย่างน้อย 6 เดือน -1 ปี ซึง่ ตรงนีค้ งต้องเรียนรูเ้ พิม่ เติม พอผลิตปุ๋ยได้ล็อตแรกก็น�ำตัวอย่างไปส่งให้ส�ำนัก วิชาการเกษตร จังหวัดพิษณุโลก ช่วยตรวจคุณภาพปุ๋ย ที่ผลิตขึ้น เมื่อได้ใบรับรองว่ามีแร่ธาตุอาหารที่พืชต้องการ ครบถ้วนจึงเริม่ ต้นผลิตใช้กนั ในกลุม่ ผูน้ ำ� หรือคณะกรรมการ ก่อนจะจดทะเบียนเป็นกลุม่ วิสาหกิจชุมชนผลิตปุย๋ อินทรีย์ อัดเม็ดขึ้นในปี 2551 โดยมีคณะกรรมการเข้าร่วม 15 คน ผลิตแล้วคณะกรรมการก็น�ำไปทดลองกับที่นาตัวเองก่อน “เมื่อทดลองใช้แล้วเทียบกับแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีแปลง ข้างเคียง ผลผลิตที่ได้แทบไม่แตกต่างกันเลย ก็ยิ่งท�ำให้ เรามั่นใจมากขึ้น” ปริมาณผลผลิตอาจไม่แตกต่าง แต่สภาพดินจะเริ่ม ต่างกัน ถ้าสังเกตดีๆ โดยแปลงทีเ่ คยใช้ปยุ๋ เคมีมา ดินเสือ่ ม ดินแข็ง พอหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ดินก็กลับมาร่วนซุยขึ้น กฐินเล่าว่า ตอนที่ใช้ปุ๋ยเคมีในนา ยิง่ ใช้กต็ ้องยิ่งเพิ่ม ปริมาณ แต่พอหันมาใช้ปยุ๋ อินทรีย์ นานวันไปก็สามารถลด

73


74

ไกรนอก

ปริมาณปุ๋ยลงได้ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในหนทางลดต้นทุนการ ผลิตลงได้ในระยะยาว เธอยกตัวอย่างบ้านตัวเองท�ำนาอยู่ 65 ไร่ แต่ก่อน ใช้เคมีลว้ นๆ ค่าปุย๋ อยูท่ ปี่ ระมาณ 70,000 - 80,000 บาท แต่พอมาใช้ปยุ๋ อินทรีย์ ค่าปุย๋ ลดลงเหลือประมาณ 30,000 -  35,000 บาท ช่วยลดค่าใช้จา่ ยเรือ่ งปุย๋ ไปได้ครึง่ หนึง่ หลังจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนแล้วก็ดำ� เนินงานโดย คณะกรรมการกลุ่ม มีการจัดท�ำบัญชีเป็นระบบ โปร่งใส ถ้ามีสมาชิกมาสมัครจะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าคนละ 50 บาท ฝากหุ้นขั้นต�่ำ 100 บาท เมื่อสิ้นปี ได้ก�ำไรเท่าไหร่ จะปันผลให้สมาชิกร้อยละ 10 เวลาสมาชิกมาซื้อปุ๋ยไปใช้ยังเฉลี่ยคืนให้สมาชิกอีก กระสอบละ 5 บาท ตั้งแต่ท�ำมาก็มีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ถึงตอนนี้สมาชิกแตะ 150 รายแล้ว เมือ่ เราถามว่า พอสังเกตออกไหมว่านาแปลงไหนใช้ ปุ๋ยเคมี แปลงไหนเป็นอินทรีย์ เธอก็ส่ายหัว “ถ้าดูเฉยๆ จะดูไม่ออก แต่ถา้ ลองจับต้นข้าวก็จะพอรู้ ถ้าใช้ปุ๋ยเคมี ข้าวจะต้นอ่อน ล้มง่าย แต่ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ข้าวจะต้นแข็งกว่า” กฐินน�ำชมจานปัน้ เม็ดปุย๋ บริเวณนีจ้ ะได้กลิน่ แปลกๆ จากน�้ำหมักชีวภาพที่สเปรย์ออกมาตลอดเวลา ช่วยให้ปุ๋ย ขึน้ เม็ดได้งา่ ย น�ำ้ หมักตัวนีส้ ามารถซือ้ ส่วนผสมมาหมักเองได้ “ถ้าแฉะมากไป ปุย๋ จะเม็ดใหญ่ ถ้าน้อยไปก็จะเม็ดเล็ก


อภิรดา มีเดช

เป็นผงเลย คนที่ปั้นบ่อยๆ จะควบคุมตรงนี้ได้” ขัน้ ตอนในการผลิตปุย๋ จะคลุกเคล้าส่วนผสมแล้วจึง น�ำเข้าเครือ่ งตีปน่ เมือ่ เข้ากันดีกย็ า้ ยมาใส่ในโม่ เคล้าให้เข้ากัน แล้วถึงเอามาเทแล้วขึ้นจานปั้นเม็ด แล้วจึงน�ำไปตากแดด พอแห้งก็จะเข้าเครื่องคัดแยกเม็ด เม็ดที่พอดีจะลงมาช่อง กลาง ส่วนทีเ่ ล็กหรือใหญ่เกินจะออกซ้าย-ขวา เราก็สามารถ เอาไปตีป่นได้ใหม่ แต่จะเหลือเศษครั้งละไม่มาก เพราะ ส่วนใหญ่ขนาดเม็ดจะออกมาก�ำลังดี แม้จะอยู่ในช่วงพฤษภาคม แต่นาบริเวณหมู่ 7- 8 กลายเป็นสีเขียวสดใสกันหมดแล้ว ถามกฐินก็ได้ความว่า เขาต้องรีบท�ำนาหนีนำ�้ ท่วม เพราะถ้าน�ำ้ มาจะถึงหมู่ 7 และ 8 ก่อน ซึ่งเธอบอกว่าชินกับน�้ำเสียแล้ว “หมู่บ้านเราท่วมทุกปี หน้าน�้ำก็จะเป็นชาวเลกันอยู่ 3 - 4 เดือน” เธอแอบติดตลก จากผลประกอบการของกลุม่ ทีก่ ฐินเล่ามา มีแนวโน้ม ดีขึ้นเรื่อยๆ จากปีแรกได้ก�ำไร 9,200 บาท ปีที่สองพุ่งขึ้น มาเป็น 99,000 บาท ส่วนปีทสี่ ามได้กำ� ไร 120,000 บาท คาดว่าปี 2554 น่าจะได้ประมาณ 200,000 บาท ส่วนปี 2555 ยังไม่ได้สรุป ต้องรอปิดงบดุลก่อน โดยรวมถือเป็นอีกโครงการทีไ่ ด้รบั ผลส�ำเร็จสวยงาม แต่ทสี่ ำ� คัญกว่านัน้ คงเป็นการท�ำให้ปยุ๋ อินทรียก์ ลับมานัง่ ใน ใจเกษตรกรไกรนอกได้อีกครั้ง

75





อภิรดา มีเดช

กลุ่มอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ครัวเรือน จากต้นทุนทางสังคมและศักยภาพทีม่ อี ยูแ่ ล้วของชาว ต�ำบลไกรนอก สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจระดับชุมชน ควบคูไ่ ปกับการท�ำเกษตรปลอดภัย เพิม่ รายได้ในยามว่างเว้น จากฤดูทำ� นา เผลอๆ อาจกลายเป็นรายได้หลัก และต่อไป เราอาจจะได้เห็นพวกเขาท�ำนาเป็นงานอดิเรกก็เป็นได้

ต่อยอดจาก ‘พวงหรีด’ แม้จะเป็นของที่คนท�ำไม่ได้ใช้ คนใช้ก็ไม่ได้ท�ำ แต่ อย่างไรพวงหรีดและดอกไม้จันทน์ก็ยังอยู่คู่พิธีศพชาวไทย พุทธ รวมทั้งชาวต�ำบลไกรนอก ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวบ้าน ก็มีวิธีสั่งซื้อมาจากต�ำบลใกล้เคียง และบ้างก็ต้องไปถึง ต่างอ�ำเภอ ในปี 2552 มีชาวบ้านหมู่ 1 หลายคนเห็นว่า ทัง้ ดอกไม้ จันทน์และพวงหรีดน่าจะเป็นสิ่งที่พวกเขาท�ำกันเองได้ ไม่จ�ำเป็นต้องไปสั่งจากที่อื่น จึงเริ่มปรึกษากันว่า เป็นไป ได้ไหมหากจะตั้งกลุ่มเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์และหรีด งานศพกันเอง เพราะจะช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้และ

79


80

ไกรนอก

อาชีพเสริม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนพิการ และชาวนาที่ ว่างจากการท�ำนา สุดารัตน์ สร้อยสุข ตัวแทนกลุ่มดอกไม้จันทน์และ พวงหรีด หมู่ 1 เล่าให้ฟังว่า ก่อนตั้งกลุ่ม ลออจิตร สังข์ทอง หนึง่ ในสมาชิกปัจจุบนั ได้ไปเรียน ต้นกล้าอาชีพกับกรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน เมือ่ จบหลักสูตรก็ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง ทุกคนในวงสนใจ ลออจิตรจึงติดต่อ กั บ ครู ที่ ก รมอี ก ครั้ง พร้อ มๆ กับรวบรวมสมาชิกให้ ไ ด้ 20 คน แล้วครูจะเข้ามาสอนให้ถงึ ไกรนอก ในทีส่ ดุ ทางกลุม่ ก็ได้คนเรียนครบตามจ�ำนวนพอดี “ครูกเ็ ข้ามาสอนให้ 5 วัน เรียนเสร็จก็ได้ตงั้ กลุม่ เป็น ทางการ แล้วก็ให้เพือ่ นสมาชิกลงหุน้ คนละ 100 บาท เพือ่ เป็น ทุนซือ้ อุปกรณ์ทำ� ดอกไม้จนั ทน์และพวงหรีด” สุดารัตน์กล่าว ประมาณไม่ถึงอาทิตย์ก็มีเหตุคนใน ชุมชนเสียชีวิต ทาง อบต. ได้โทรเข้ามาที่ กลุ่มให้ท�ำพวงหรีดให้เจ้าภาพ 1 พวง เธอยอมรับว่า หรีดพวงแรกที่ท�ำ ค่อนข้างมีปัญหา เพราะฝีมือยังไม่เข้าที่ เข้าทาง ผลงานที่ออกมายังไม่ถูกใจคนสั่ง ส่ ว นหนึ่ ง เพราะใช้ โ ครงจากต้ น กระถินยักษ์เอามาประกบกัน


อภิรดา มีเดช

ตอนมารับ คนรับถูกหนามต�ำมือ เขาเลยแนะน�ำให้เอา หนามกระถินออกให้หมดก่อน เราก็พยายามปรับปรุงมา เรื่อยๆ สมาชิกในกลุ่มถ้ามีโอกาสไปงานศพทั้งต่างจังหวัด หรือนอกเขต จะไปดูแล้วเอามาแลกเปลี่ยนกัน ผ่านไปไม่นาน เมือ่ สมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า ผลงานเริ่มพอไปวัดไปวาได้ ทางชมรมก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็เข้ามาสนับสนุน ถ้ามีคนเสียชีวติ ในหมูบ่ า้ นก็จะสัง่ พวงหรีด จากกลุ่ม 1 พวง ทางเจ้าภาพถ้าเห็นพวงหรีดที่กลุ่มท�ำ แล้วใช้ได้ เขาก็อาจจะสัง่ ซือ้ อีก ส่วนดอกไม้จนั ทน์ถา้ ต้องการ ด้วยก็จะเข้ามาสั่งเอง ส�ำหรับแนวคิดในการท�ำพวงหรีด ทางกลุม่ พร้อมใจ กันบอกว่าคิดกันเอง ท�ำกันเองเป็นหลัก แต่กไ็ ด้คำ� แนะน�ำมา เหมือนกันว่า ถ้าประดิษฐ์จากของใช้อย่างถาดหรือกระด้ง เล็กๆ ได้ก็ยิ่งดี “เราคิดถึงตอนหลังจากใช้เป็นพวงหรีดแล้วยังสามารถ เอาไปใช้ต่อได้ ของใช้เหล่านี้ส่วนใหญ่เสร็จงานศพแล้วก็ จะบริจาคเข้าวัด” ปกติ ส มาชิ ก จะได้ ท� ำ งานที่ ต นเองถนั ด เป็ น หลั ก บางรายก็รบั งานกลับไปท�ำทีบ่ า้ นได้ แต่ถา้ ช่วงไหนงานเร่งก็ จ�ำเป็นต้องมารวมหัวรวมใจกันทีอ่ าคารกิจกรรมประจ�ำกลุม่ “ใครถนั ด ท� ำ อะไรก็ ใ ห้ เ ขาท� ำ อย่ า งนั้ น คนที่ ท� ำ ดอกไม้จันทน์ได้สวยก็จะท�ำไป คนที่ปักพวงหรีดได้ดีก็จะ ปักพวงหรีด คนทีเ่ ขียนได้กจ็ ะรับหน้าทีเ่ ขียน แต่ถา้ งานมัน

81


82

ไกรนอก

เข้ามามากๆ เราจะมารวมตัวกัน ทีนไี้ ม่เลือกต�ำแหน่งแล้ว” ทับทิม กลิ่นอ�ำพัน หนึ่งในสมาชิกให้ข้อมูล นอกจากพวงหรีดและดอกไม้จนั ทน์ สุดารัตน์บอกเรา ว่ามีการเรียนรูแ้ ละพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยูต่ ลอด อย่าง เมือ่ ปี 2553 อาจารย์จาก กศน. เอาโอ่งบุผา้ ไหมมาให้ดู เมือ่ เห็นทุกคนในกลุ่มสนใจและรวมตัวกันอยู่แล้วก็มีอาจารย์ เข้ามาสอนวิธีท�ำให้ เลยได้ของที่ระลึกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง “มันเป็นของที่ไม่ได้ก�ำไรอะไรมากมาย แต่ท�ำให้ สมาชิกซึ่งก็คือคนในชุมชนได้มานั่งพูดคุยกัน ผู้สูงอายุมา แลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั มีอะไรก็เอามากินกัน คนแก่ทนี่ กี่ จ็ ะ ไม่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะลูกหลานส่วนใหญ่กไ็ ม่คอ่ ยอยูบ่ า้ น” สุดารัตน์พูดถึงผลพลอยได้ที่ชุมชนจะได้รับ ซึ่งจริงๆ อาจ จะเป็นเหตุผลที่แท้จริงของการตั้งกลุ่มก็ได้ ในการปัน ผลรายปี หลังหักต้นทุนไว้แล้ว 4,000 5,000 บาท ก�ำไรที่ได้จะจ่ายคืนแก่สมาชิก โดยดูจาก บันทึกผลงานของสมาชิกแต่ละคนว่าเข้ามาช่วยท�ำอะไรบ้าง ลดปัญหาการมาโต้แย้งทีหลังว่าท�ำไมได้มากได้นอ้ ยกว่ากัน “มีทนุ จริงๆ อยูป่ ระมาณ 2,000 บาท แต่กอ็ ยูม่ าได้ ถึงทุกวันนี้ เพราะความร่วมมือ ความสามัคคี ไม่ได้คิดว่า ท�ำแล้วจะต้องได้ก�ำไรเยอะๆ” ตอนนี้พวกเธอท�ำเหมือนเป็นหน้าที่ไปแล้ว เพราะ ถือว่าท�ำให้คนในต�ำบลเดียวกัน


อภิรดา มีเดช

หลากงานประดิษฐ์จากผ้า สโลแกน ‘ท�ำงานไม่เว้นวันหยุดราชการ’ ต้องยกให้ กลุ ่ ม แม่ บ ้ า นจากหมู่ 2 น�ำทีมโดย สมควร อิ น อ� ำ พร ประธานกลุ่มเย็บผ้าเพื่อการประดิษฐ์ กลุม่ นีร้ เิ ริม่ กิจกรรมขึน้ ตัง้ แต่ปี 2544 จากโครงการ ประชาคมหมูบ่ า้ นของทางอ�ำเภอกงไกรลาศ โดยมีคณาจารย์ ของ กศน. เข้าร่วมด้วย ในตอนนัน้ สมควรอาสาเป็นตัวแทน เพื่อนๆ ปรึกษาว่า ถ้าต้องการตั้งกลุ่มเย็บผ้าเพื่อเป็น อาชีพเสริม ก็ได้รบั อนุมตั ดิ ว้ ยดี จากนัน้ ก็มวี ทิ ยากรมาสอน ส่วนทาง กศน. ก็ให้ยืมจักรมาเย็บที่กลุ่ม สมาชิกช่วงก่อตัง้ ประมาณ 20 คน ก็รบั งานเย็บเสือ้ โหล กางเกงโหล พอมี ก�ำไรบ้าง รับงานอยูไ่ ด้ปกี ว่า ทาง กศน. ก็ต้องเอาจักรคืน กลุ่มเย็บผ้าจึง เหมือนต้องปิดตัวลงกลายๆ ต้นปี 2553 ประณีต บุญรอด หนึง่ ในสมาชิกกลุม่ ได้ไปดูงานที่ระยอง แล้วไป

83



อภิรดา มีเดช

เจอกระเป๋าผ้าทีเ่ ย็บเป็นลวดลายต่างๆ กลับมาเลยเสนอว่า ลองเย็บกระเป๋าผ้ า กั น ดี ไ หม สมควรก็ ล องไปหาคนมา รวมกลุ่มอีกครั้ง แต่เมื่อไม่มีจักรแล้วก็ต้องอาศัยเย็บมือ ไปก่อน วรกานต์ จันโท คณะกรรมการกลุม่ ทีม่ จี กั รอยูท่ บี่ า้ น ก็เริ่มเย็บผ้าเป็นบล็อก 6 เหลี่ยม แล้วค่อยมาเย็บรวมให้ เป็นรูปเป็นร่างด้วยมืออีกที สมควรยังเป็นตัวตั้งตัวตีเขียนโครงการส่งให้ อบต. แล้วขอตั้งกลุ่มอีกครั้ง นอกจากนั้นยังได้ความอนุเคราะห์ งบประมาณและหลักสูตรการเรียนการสอนจากศูนย์พฒ ั นา สังคม หน่วยที่ 64 จังหวัดสุโขทัย ก็มสี มาชิกเข้าร่วม 30 คน “ตอนนัน้ ยังไม่มจี กั รให้ ต้องไปยืมจักรจากกรมพัฒนา แรงงานศรีส�ำโรง นายกฯ ช่วยท�ำเรื่องขอยืมให้ เลยได้มี จักรมาเรียนเย็บจนจบหลักสูตร” ศูนย์พัฒนาสังคมยังช่วยซื้อจักรให้ 4 ตัว เป็นจักร อุตสาหกรรม 3 ตัว กับจักรโพ้งอีกตัว แล้วยังมีงบดูงานการ ผลิตกระเป๋าผ้าทีอ่ ำ� เภอสวรรคโลก และเชิญวิทยากรมาสอน ให้ถงึ ที่ ถ้าใครไม่ถนัดเย็บจักรก็ยงั มีหลักสูตรระยะสัน้ สอน สานตะกร้าพลาสติกและท�ำยาดมอีกด้วย “ทางกรมพัฒนาฝีมอื แรงงานก็มาต่อยอดให้ เขาก็มา สอนตัดเสือ้ เชิต้ ให้เรา แล้วก็มคี นติดต่องานเข้ามาขอให้เรา เย็บ ก็เลยท�ำกันมาเรื่อยๆ” เมื่ อ ถามถึ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องทางกลุ ่ ม ที่ ข ายดี ที่ สุ ด สมควรตอบแทบจะทันทีว่า

85


86

ไกรนอก

“ทีช่ มุ ชนเราท�ำแล้วขายได้ตลอดคือสายยางวิดน�ำ้ กับ ถุงเท้ากันหอย เพราะคนที่นี่ต้องใช้กันตลอด เพราะเราท�ำ นากันทั้งนั้น สายยางวิดน�้ำจะใช้เมื่อต้องการทดน�้ำเข้านา ส่วนถุงเท้า เวลาจะลงโคลน หว่านข้าว ก็ต้องใส่กัน ไม่ใส่ ไม่ได้ เพราะหอยจะบาดเท้าเอาง่ายๆ” ตอนนีท้ กี่ ลุม่ มีจกั ร 8 ตัว ก็ถอื ว่ายังน้อย สมาชิกส่วน ใหญ่จะมีจักรเล็กอยู่ที่บ้าน แต่ถ้ามีงานรวมกันก็จะมาท�ำที่ นี่ นอกจากนั้น ยังมีการออมเงินร่วมกันของสมาชิกรายละ 20 บาทต่อเดือน และอนุญาตให้สมาชิกกู้ยืมได้ ปั ญ หาที่ พ บบ่ อ ยมั ก จะเกิ ด กั บ สมาชิ ก หน้ า ใหม่ สมควรเล่าว่ามีคนอยากเข้ากลุ่มไม่น้อย แต่พอเวลาต้อง เดินจักรอุตสาหกรรมจริงๆ จะกลัวและไม่กล้าเย็บ ถึงจะ ผ่านการอบรมมาก็ยังไม่กล้า เธอก็เลยแก้ปัญหาด้วยการ ชวนไปเย็บบล็อกผ้า 6 เหลีย่ มเป็นผ้าคลุมขนาดต่างๆ แทน เพราะต้องเย็บมืออย่างเดียว “ถ้ า ใครเย็ บจั ก รไม่ เ ป็ น ก็ ไ ปช่ ว ยสานตะกร้ า ท� ำ ไม้กวาด หรือจะท�ำของช�ำร่วยจากลูกปัดก็ได้ เราก็รับท�ำ ของช�ำร่วยอยู่แล้ว อย่างงานแต่งงานก็มีคนมาจ้างเย็บ กระเป๋าผ้าใบเล็กๆ เราก็รับท�ำ”


บ้านขนมแบ่งปัน ร้านอาหารและของฝากจากต�ำบลไกรนอกร้านนี้ ขึ้ น ชื่ อ เรื่ อ งขนมทองม้ ว นหลากรสชาติ ทั้ ง ทองม้ ว นสด ทองม้วนกรอบ ใส่ไส้หมูหยอง รสชาเขียว และขนมไทย หากินยากอย่างข้าวเหนียวแดง ทีเ่ น้นวัตถุดบิ คุณภาพ หอม หวานมัน อร่อยติดใจ นุน่ -กันตินนั ท์ ชัยขาว เจ้าของร้าน ‘บ้านขนมแบ่งปัน’ หมู่ 4 อธิบายค�ำว่า ‘แบ่งปัน’ ที่มาของชื่อร้านว่า “ที่ เ ลื อ กค� ำ นี้ เ พราะมั น สื่ อ ความหมายดี ๆ ได้ หลายอย่าง แบ่งปันความอร่อยก็ได้ หรือจะแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับคนในชุมชนก็ได้เหมือนกัน” ได้ยินมาว่าเธอชอบ ค�ำค�ำนี้มาก จนใช้เป็นชื่อเล่นของลูกชายคนเดียวก่อนจะ ตั้งชื่อร้านเสียอีก บ้านขนมแบ่งปันเป็นวิสาหกิจชุมชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 หลังจากนุน่ เปิดกิจการผลิตทองม้วนร่วมกับญาติๆ และให้คนในพื้นที่ได้เข้ามาท�ำขนมทองม้วนก่อน ตอนแรก เธอใช้สูตรดั้งเดิมของโคราชบ้านเกิดที่มีร้านทองม้วนอยู่ ที่นั่น จริงๆ ทองม้วนของอ�ำเภอกงไกรลาศได้ชอื่ ว่าเป็นต้น ต�ำรับของทองม้วนอยูแ่ ล้ว ตอนแรกๆ นุน่ ก็เลยค่อนข้างกลัว เพราะเหมือนเธอก�ำลังต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในดงทองม้วน เธอพยายามเดินไปซือ้ ทุกร้านทีเ่ ขาว่าอร่อยๆ ลองซือ้ กลับมา


นุ่น-กันตินันท์ ชัยขาว


อภิรดา มีเดช

ให้ครอบครัวลองชิมและเปรียบเทียบกับของที่เธอท�ำ “ถ้าเราใช้ของคุณภาพดีกว่า แต่ขายราคาเท่ากับ เจ้าอื่นๆ เราและลูกน้องจะอยู่ล�ำบาก ถ้าสมาชิกในกลุ่ม มีรายได้น้อยเกินไป เขาก็จะไม่มาท�ำ เราจึงยืนยันที่จะท�ำ สินค้าที่ดีมีคุณภาพ แต่ขอให้อร่อย แล้วลูกค้าจะยอมจ่าย ในมูลค่าที่แพงกว่าเอง” สิ่งหนึ่งที่นุ่นให้ความส�ำคัญมากๆ คือวัตถุดิบ ถ้า อะไรหาได้จากในไกรนอก เธอก็จะเลือกใช้กอ่ นของทีอ่ นื่ ๆ “อย่างหนึง่ ทีบ่ า้ นเราท�ำได้คอื งาด�ำ เวลาท�ำนา เขาจะ หว่านงาไว้ขา้ งๆ คันนา ถ้าเอามาขายเราก็จะรับซือ้ ไว้ทงั้ หมด มะพร้ า วก็ จ ะมี คุ ณ ลุ ง ในหมู ่ บ ้ า นขี่ ม อเตอร์ ไ ซค์ ล ากมา ขายให้ แต่เขาอาจจะหามาให้ไม่ได้ทั้งหมด หลักๆ เราสั่ง จากต�ำบลวังทอง (อ�ำเภอศรีสำ� โรง) แต่มะพร้าวอ่อน คุณลุง คนเดียวกันนี้ก็คอยหามาให้บ้าง ส่วนแป้งมัน บ้านเราท�ำ ไม่ได้ ก็ต้องสั่งซื้อจากท้องตลาดทั่วไป” นุน่ กระซิบบอกเราว่า สูตรทองม้วนดิน้ ได้เสมอ หาได้ เป็นร้อยเป็นพันในอินเทอร์เน็ต สิ่งส�ำคัญอยู่ที่วัตถุดิบ เธอ จะใส่ใจทุกขัน้ ตอน ตัง้ แต่เลือกมะพร้าว คัน้ กะทิ ก�ำไรน้อย ไม่เป็นไร แต่ขอให้อร่อย “บางครัง้ เจอช่วงทีม่ ะพร้าวไม่มนั เราก็จะให้เขาลดน�ำ้ ลงมาครึง่ หนึง่ เลย จะได้กะทิเท่าไหร่ ต้นทุนกะทิขนึ้ ไม่เป็นไร ขอให้ขนมออกมาดี ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวลูกค้าจะผิดหวัง” หลั ง แต่ ง งาน เธอตั ด สิ น ใจย้ า ยตามสามี ม าอยู ่ ที่

89


90

ไกรนอก

ไกรนอก และเหมือนต้องเริ่มกิจการชนิดนับหนึ่งใหม่ แต่ ไม่นาน เธอก็เริม่ สังเกตว่ามีลกู ค้าแวะมาเยือนถึงหน้าประตู ไหนจะลูกค้าประจ�ำที่โทรมาสั่งซื้ออยู่ไม่ขาดอีก “เราเลยตั ด สิ น ใจจั ด ตั้ ง เป็ นวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนดี กว่ า ชาวต� ำ บลจะได้ มี ง านท� ำ ในช่ ว งว่ า งจากการท� ำ นาด้ ว ย เพราะงานของเราจะไม่ได้บังคับว่าต้องเข้าออกเป็นเวลา หรือตอกบัตร” เจ้าหน้าที่ผลิตทองม้วนที่นี่เบ็ดเสร็จเกือบ 20 ชีวิต แต่ ส ามารถผั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น เข้ า งานได้ เมื่ อ ถึ ง หน้านาก็สามารถลาไปท�ำนาได้ 1 อาทิตย์ หรือจะลาสัก 3 วัน ไปดูแลนาก็ได้เช่นกัน เพราะการปันผลจะดูจากผลงานทีท่ ำ� มีการบันทึกผลการท�ำงานแต่ละวันไว้ เพื่อปันผลให้แต่ละ คนตามความสามารถและผลงานที่ท�ำได้จริง “สมาชิกกลุม่ เรามีรายได้ 300-400 บาทต่อวัน ถือว่า โอเค เขาอยูไ่ ด้ เราก็อยูไ่ ด้ ลูกค้าก็พอใจ ก็ถอื ว่า 3 ปีทกี่ อ่ ตัง้ วิสาหกิจชุมชนมา เราประสบความส�ำเร็จแล้ว” นอกจากพนักงานประจ�ำ กลุม่ เยาวชนไกรนอกทีอ่ ยาก มีงานท�ำหลังเลิกเรียนก็จะเข้ามาช่วยกะเทาะมะพร้าว หรือ ปิดเทอม ถ้าเด็กคนไหนว่าง นุน่ ก็จะลองให้มายืนม้วนขนม “ถ้าเขาอดทนก็จะท�ำได้ เพราะต้องอยูห่ น้าเตาแก๊สที่ ค่อนข้างร้อน ต้องใช้ความอดทนพอสมควร แต่กม็ บี างเทอม ที่น้องๆ จะมากันเป็นแก๊ง ท�ำกันตลอดทั้งเทอมเลยก็มี” จากความตั้งใจแรกที่นุ่นต้องการตั้งเป็นวิสาหกิจ


อภิรดา มีเดช

ชุมชน เน้นจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเธอตามร้านของฝาก ทั่วๆ ไปอย่างเดียว แต่พอเริ่มมีลูกค้ามาเคาะประตูเรียก แล้วพอดีท�ำเลอยู่ติดถนน ก็เลยลองเปิดร้านเพื่อจ�ำหน่าย สินค้าของเราและรองรับสินค้าของชุมชนไปพร้อมๆ กัน ทาง อบต. ก็มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ให้ทางร้าน ด้วยการชวนไปออกบูธแสดงสินค้าอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น งานของอ�ำเภอ งานระดับจังหวัด กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง “ตรงนี้ก็เป็นส่วนช่วยให้คนรู้จักร้านขนมแบ่งปันได้ เยอะมาก เพราะแต่ก่อนคนแทบไม่เคยได้ยินชื่อเรา พอได้ ออกงานบ่อยๆ เข้า คนทีไ่ ด้ชมิ ก็จะติดใจ ตามมาถึงทีร่ า้ นเอง” บรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกตัวช่วยให้ทองม้วนของบ้าน ขนมแบ่งปันโดดเด่นกว่าเจ้าอืน่ แต่นนุ่ ก็ยงั คิดว่าจะไม่หยุด พัฒนาเรือ่ งนี้ เธอยกตัวอย่างการแพ็คขนมในถุงฟอยล์ทจี่ ะ ช่วยยืดอายุทองม้วนได้นานกว่าถุงพลาสติกธรรมดาหลาย เดือนทีเดียว แม้จะกลับจากสุโขทัยแล้วหลายวัน แต่เรายังรูส้ กึ ถึง รสชาติทองม้วนสดและทองม้วนกรอบหลากรสหลายรูป แบบที่ติดลิ้นได้อยู่เลย

91


92

ไกรนอก

อาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุ เสียงร้องร�ำท�ำเพลงและเสียงปรบมือให้จังหวะดัง แว่วมาจากศูนย์อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่เราก�ำลังจะมี โอกาสเข้าไปสังเกตการณ์ แม้อายุจะยังไม่เข้าเกณฑ์กต็ ามที การได้ฟังพ่อเพลงแม่เพลงมาต่อเพลงและร้องร�ำ กันครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ยากจะลืม น่าเสียดาย ที่ตัวอักษรไม่อาจถ่ายทอดความประทับใจนี้ได้อย่างที่เรา ต้องการ ณรงค์ สว่างไสว สวมหมวก 2 ใบ ทัง้ ในฐานะ อสม. และหนึ่งในทีมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ที่ท�ำงาน กันมาเข้าปีที่ 4 แล้ว เหตุผลที่ณรงค์เลือกมาดูแลผู้สูงอายุก็เพราะตัวเขา ในฐานะ อสม. เวลาลงพืน้ ทีเ่ ข้าไปตรวจความดัน ดูแลเรือ่ ง อาหารการกิน และแนะน�ำยาอยู่เป็นประจ�ำ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็จะเห็นผู้สูงอายุนั่งเหงาหงอยอยู่บ้านคนเดียวเพราะ ลูกหลานไปท�ำงานกรุงเทพฯ กันหมด “พอไปบ่อยๆ เข้าก็สนิทคุ้นเคยกับผู้สูงอายุมากขึ้น จากที่บางคนเป็นโรคซึมเศร้า หลังจากเราได้ไปพูดคุยด้วย อาการเขาก็ดีขึ้น ร่าเริงและดูมีความสุขขึ้น”



94

ไกรนอก

การจัดพบปะผู้สูงอายุเป็นประจ�ำทุกเดือนของทาง ศูนย์คงเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัว “การทีเ่ ราชวนผูส้ งู อายุมารวมตัวกันทีน่ ี่ นอกจากจะ ท�ำให้เขามีกจิ กรรมท�ำร่วมกันแล้ว ยังท�ำให้เขามีเพือ่ นคุยวัย ใกล้เคียงกันที่เข้าอกเข้าใจ หายเหงาไปได้เยอะ” ปี 2553 เป็นปีทเี่ ริม่ ตัง้ ศูนย์อาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุ อย่างจริงจัง หลังจากทาง อบต. เก็บข้อมูลสถิติผู้สูงอายุว่า ผู้สูงอายุในไกรนอกมีถึงกว่า 700 คน และมีคนที่เป็นโรค ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดัน ตอนนี้ ณรงค์เล่าว่ามีโครงการก�ำหนดจุดของผู้ป่วย แต่ละบ้าน โดยการปักธงสีเขียวกับสีแดงเพื่อก�ำหนดจุด ให้คนลงพื้นที่ได้หาบ้านผู้ป่วยง่ายๆ ธงเขียวจะเป็นผู้ป่วย ความดัน ส่วนธงแดงเป็น ผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยให้ง่ายต่อ การเตรียมอุปกรณ์เพื่อตรวจผู้ป่วยตามอาการของโรค แนวคิดนี้ ณรงค์บอกว่าได้มาจากช่วงน�้ำท่วมที่ต้อง ส่งทีมออกไปส�ำรวจผู้ป่วยตามบ้าน การก�ำหนดจุดแบบนี้ ช่วยให้ง่ายต่อการท�ำงานและประหยัดเวลามากขึ้น “หลังจากเปิดศูนย์ทำ� งานมาประมาณ 1 ปี เราก็คดิ ว่า นอกจากจะดูแลสุขภาพกายผู้สูงอายุแล้ว เราควรดูแล สุขภาพใจด้วย โดยการน�ำผูส้ งู อายุมาเพิม่ ศักยภาพโดยการ จัดกิจกรรมเดือนละ 1 วัน” ด้านผลตอบรับ ณรงค์ยอมรับว่ามีแนวโน้มดีขึ้น เรือ่ ยๆ เพราะผูส้ งู อายุสว่ นใหญ่ตอ้ งการกลับมาร่วมกิจกรรม


อภิรดา มีเดช

อีก และผู้สูงอายุที่เคยท�ำกิจกรรมแล้วยังชวนผู้สูงอายุคน อื่นให้มาร่วมกิจกรรมกันเป็นทอดๆ “ส่วนใหญ่คนใหม่ๆ จะเต็มใจมากัน เพราะเพือ่ นๆ ที่ เคยมาร่วมกิจกรรมไปคุยให้ฟงั และชวนกันมา แต่สว่ นมาก จะอยากมา เพราะมาแล้วได้สนุกกับเพื่อนๆ พร้อมหน้า พร้อมตา” กิจกรรมในหนึ่งวันจะมีการรับประทานอาหารและ นัง่ คุยกัน มีสอนออกก�ำลังกาย สอนนวดด้วยตัวเอง นวดบ่า นวดคอ ผลัดกันนวดให้คนข้างๆ บางครัง้ ก็มกี ารแลกเปลีย่ น ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร หรือใครอยากร้องร�ำท�ำเพลงก็ เปิดโอกาสให้เต็มที่ “สมัยก่อนมีพอ่ เพลงแม่เพลง หลายคนหยุดร้องเพลง ไปนานแล้ว แต่พอได้กลับมารวมตัวกัน เขาก็ได้กลับมาร้อง มาเล่นกันอีกครั้ง” ได้ฟงั แม่เพลงหลายท่านทีย่ งั คงเสียงดีไม่มตี กในวันนี้ แล้วอดนึกถึงพวกท่านสมัยสาวๆ ไม่ได้ เราเลยลองพยายาม หลับตาแล้วฟังอีกครั้ง

95


96

ไกรนอก

โรงพยาบาล สุขภาพดีวิถีไทย แปลกไหม ถ้าเราจะบอกว่า คนไกรนอกชอบมาโรง พยาบาลทั้งที่ไม่ได้ป่วย แถมยังมากันบ่อยๆ แทบทุกเพศ ทุกวัย คงแปลกถ้าโรงพยาบาลที่นี่เปิดรับรักษาพยาบาล เพียงอย่างเดียว แต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) ไกรนอก ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะแนวคิ ด ของโรงพยาบาลสุ ข ภาพดี วิ ถี ไ ทย วิศาล วิมลศิลป์ ผู้อ�ำนวยการ บอกเราว่าจะเน้นที่การให้ ความรู้ชาวไกรนอก ส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกัน โรคก่อนจะป่วยเป็นหลัก ส่วนด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพก็ มีบริการนวดแผนไทย เรียกได้ว่าจะให้การรักษาพยาบาล ก็ต่อเมื่อเจ็บป่วยจริงๆ เท่านั้น จากสถานผดุ ง ครรภ์ ต� ำ บลไกรนอกในปี 2513 ต่อมาปี 2523 ได้ยกระดับเป็นสถานีอนามัย และเมื่อ ปี 2553 รัฐมีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) ตัววิศาลเองเข้ามาประจ�ำที่ไกรนอกตั้งแต่ปี 2551 โดยตั้งใจไว้ว่าจะเน้นการท�ำงานเชิงรุกเพื่อให้ รพ.สต.


อภิรดา มีเดช

ไกรนอก เป็นสถานพยาบาล ‘ใกล้บ้านใกล้ใจ’ ซึ่งเขาก็ได้ น�ำทีมออกเยี่ยมชาวบ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน ทุกวันเป็นเวลา 1 ปีเต็ม เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับคนไข้ จากนั้นก็พยายาม ท�ำให้การบริการทุกอย่างมารวมกันทีจ่ ดุ เดียว ทัง้ ทันตกรรม และนวดแผนไทย “จากการเก็บข้อมูลพบว่า ในจ�ำนวนคนไข้ มี 50 เปอร์เซ็นต์ที่ป่วยจริงๆ อีกครึ่งหนึ่งมาโรงพยาบาลเพราะ ติดการกินยา” ผู้อ�ำนวยการ รพ.สต. กล่าว ส่วนมากชาวไกรนอกจะเจ็บป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อ และกระดูก จึงมาขอยาแก้ปวดกลับไปกิน พอกินไปนานๆ ยาก็จะกัดกระเพาะท�ำให้ปว่ ยเป็นโรคกระเพาะและล�ำไส้ ก็ จะเข้ามาขอยารักษากระเพาะและล�ำไส้ เป็นวัฏจักรแบบนี้ ไปเรื่อยๆ เมือ่ พบสถิตเิ ช่นนี้ เขาจึงปรับระบบการรักษาเสียใหม่ โดยน�ำระบบการรักษาพื้นบ้านเข้ามาบูรณาการกับระบบ การรักษาสมัยใหม่ โดยสามารถลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ลงร้อยละ 10 ค่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้อยู่ในต�ำบลไกรนอก อยู่ที่ 27,000 บาทต่อเดือน “การรักษาแบบพื้นบ้านที่ทาง รพ.สต. น�ำมาใช้ก็ คือ การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ อย่างการนวด อบ ประคบ พอคนไข้ปวดหลัง ปวดเอว เราก็ให้ใช้การประคบ แทนการให้ยาแก้ปวด ก็ทำ� ให้เราลดค่ายาไปได้เดือนละกว่า หมื่นบาท หรือลดไปได้ครึ่งหนึ่ง”

97


วิศาล วิมลศิลป์


อภิรดา มีเดช

นอกจากนี้ ยั ง ใช้ วิ ถี พื้ น บ้ า นในด้ า นอื่ น ๆ อาทิ ผู้หญิงหลังคลอดที่น�้ำคาวปลาเดินไม่สะดวกก็จะได้รับ ค�ำแนะน�ำให้ใช้การประคบหน้าท้องหรือการนอนคว�ำ่ ซึง่ เป็น วิถชี าวบ้านทีใ่ ช้ได้ผลดี นอกจากนี้ ยังมีตอู้ บสมุนไพรไม้โอ๊ก ได้มาตรฐานและทนทานกว่ากระโจมพลาสติกหลายเท่า ซึ่งก็ได้รับงบสนับสนุนจาก อบต. สมุนไพรล้างพิษที่วิศาลแนะน�ำให้ใช้ ได้แก่ ว่าน รางจืด เนือ่ งจากคนในต�ำบลนีม้ สี ารเคมีตกค้างในเลือดมาก ถึงร้อยละ 86 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย รพ.สต. จะให้ว่าน รางจืดกลับไปต้มดืม่ วันละ 1 แก้ว จากนัน้ 6 เดือน ให้กลับ มาตรวจเลือดหาสารพิษใหม่อกี ครัง้ ก็ปรากฏว่าสารพิษใน เลือดลดลงไปอยู่ในเกณฑ์เกือบเป็นปกติ ทางโรงพยาบาล จึงส่งเสริมให้ชาวไกรนอกท�ำค้างปลูกรางจืดกันทุกบ้าน ส่วนการบรรเทาอาการของคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคข้อ กระดูก และกล้ามเนือ้ ในต�ำบล ก็ชว่ ยได้ดว้ ยการนวด ขณะนี้ คนทีน่ วดประจ�ำให้กบั รพ.สต. มีคนเดียว เพราะจะให้บริการ นวดได้ต้องมีใบประกาศเรียนนวดไม่น้อยกว่า 372 ชั่วโมง ในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มจะเพิ่มคนนวดเป็น 2 คน แล้วตระเวนออกเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน ช่วงเช้าท�ำงาน อยู่ที่โรงพยาบาล แต่ช่วงบ่ายจะลงพื้นที่ไปหาผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เข้ามารักษาไม่สะดวก อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน อัมพฤกษ์ วันหนึ่งประมาณ 4 ราย น่าเสียดายที่วิศาล เหลือเวลาท�ำงานเพียงไม่กี่เดือน เพราะปี 2556 ก็ต้อง

99


100 ไกรนอก

เกษียณอายุแล้ว ข้อจ�ำกัดอย่างหนึง่ ของทีน่ คี่ งเป็นเรือ่ งสถานที่ วิศาล บอกว่าเคยขอไปทาง อบต. เพือ่ ท�ำการขยายอาคาร แต่กข็ ยาย ออกไปได้เพียง 6 เมตร และเมือ่ แจ้งโครงการขอสร้างอาคาร ใหม่กไ็ ม่ได้รบั อนุมตั ิ เพราะทาง อบต. เห็นว่าทีน่ เี่ ป็นสถานี อนามัยแหล่งสุดท้ายที่ยังคงรูปแบบอาคารแบบเดิมอยู่ จึงต้องท�ำการอนุรักษ์ไว้ ตอนนี้ที่ รพ.สต. มีคลินิกทันตกรรมทุกวันอังคาร ทางโรงพยาบาลจัดส่งทันตาภิบาลมาให้เพือ่ ขูดหินปูนและ ท�ำทันตกรรมอื่นๆ ส่วนการดูแลผู้สูงอายุกว่า 700 คน ใน ต�ำบล โรงพยาบาลก็ได้งบจาก อบต. มาหนุนเสริม “เราเปิดเป็นศูนย์ผู้สูงอายุ จัดงานพบปะกันเดือน ละครั้งเพื่อเข้ามาพูดคุย ร้องเพลง หรือบางคนที่มีความ สามารถในการจักสานก็เอาความรู้มาแบ่งปันคนอื่น ตรงนี้ จะเกิดเป็นคลังปัญญาขึ้น เป็นคลังความรู้ที่น่าจะส่งต่อไป ถึงเยาวชนได้ เรามีโครงการจะน�ำนักเรียนที่สนใจด้านนี้ เข้ามาเรียนรู้กับผู้สูงอายุโดยตรง” การประชุมของผู้สูงอายุก็จัดขึ้นเดือนละครั้ง โดย จ�ำกัดจ�ำนวนทีห่ มูล่ ะ 4 คน เพราะถ้ามามากเกิน สถานทีก่ ็ รับไม่ไหว และจะหมุนเวียนคนทีม่ าไปเรือ่ ยๆ ส่วนคนทีม่ า ไม่สะดวก ทาง อสม. จะไปเยี่ยมที่บ้านโดยมีของเยี่ยม ไปฝากด้วย หรือคนที่อยากมา แต่มาเองไม่ได้ อสม. ก็จะ พามาส่งที่ประชุม


อภิรดา มีเดช 101

โรงพยาบาลสุขภาพดีวถิ ไี ทยของชาวไกรนอกจึงเป็น สถานที่ พ บปะของคนไม่ ป ่ ว ยที่ ต ้ อ งการดู แ ลสุ ข ภาพให้ แข็งแรงอยู่เสมอ จะมีบ้างที่เข้ามานวดแก้ปวด หรืออบ สมุนไพรล้างพิษ และบางครั้งก็ยังได้รับกล้าว่านรางจืด ติดมือกลับบ้านไปปลูกฟรีๆ

ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย สุนันทา สีขาว จบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย รุ่น 1 สามารถช่วยแนะน�ำผู้ป่วยได้ว่าควรจะนวดรักษา แบบใด โดยเน้นการนวดรักษาและยาแผน โบราณ งดใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งคนไข้ จะถูกซักประวัติกอ่ นว่ามีโรคประจ�ำตัว อะไรหรือเปล่า “อย่ า งคนเป็ น ไทรอยด์ แ ล้ ว หลบในหรือมีอาการไทรอยด์เป็น พิษจะไม่สามารถนวดได้ เพราะ เส้นเลือดจะกระจายตัวอาจเป็น อันตราย หรือผู้ป่วยมะเร็ง ระยะ 2-3 ก็นวดไม่ได้ เพราะ สุนันทา สีขาว


102 ไกรนอก

จะท�ำให้มะเร็งก�ำเริบ ยกเว้นมะเร็งมดลูกสามารถนวดได้ แต่ เ ป็ น การนวดเบาๆ เป็น การนวดรัก ษาเพราะผู ้ ป ่ ว ย มักมีอาการปวดเมื่อยตามตัว” สุนันทาให้ข้อมูลว่า การรักษาด้วยการนวดจะมี 2 แบบ คือ การนวดแบบราชส�ำนักกับนวดแบบเชลยศักดิ์ ซึง่ ผูช้ ว่ ยแพทย์แผนไทยก็ตอ้ งตรวจดูวา่ คนไข้ควรได้รบั การ รักษาโดยการนวดแบบใด การนวดราชส�ำนักคือการนวดรักษา ส่วนนวดเชลยศักดิ์ เป็นการนวดตามจุดตามเส้นเพือ่ ผ่อนคลาย และหลายครัง้ เธอก็จะใช้ 2 วิธีนี้ผสมกัน ใช้เวลานวดประมาณ 45 นาที “คนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตห้ามใช้วิธีการนวดแบบ เชลยศักดิ์เด็ดขาด แต่ควรจะนวดตามจุดแบบราชส�ำนัก” ส�ำหรับคนทั่วไป สุนันทาแนะน�ำให้ลองอบสมุนไพร เพราะจะช่วยขับเหงื่อและสารพิษในร่างกาย อบครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 45 นาที ส่วนยาต�ำรับสมุนไพร 20 อย่าง เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิน้ ชัน มะแว้ง ก็ได้รบั การฟืน้ ฟูขนึ้ มาอีกครัง้ ใครมีอาการไอ ที่ รพ.สต. ก็จะต้มใบกะเพราแล้วเติมเกลือหนึ่งเม็ดให้ดื่ม ร่วมกับการกวาดคอไปด้วย “บางคนหลังคลอดเราจะให้นึ่งหม้อเกลือแทนการ อยูไ่ ฟ แต่กต็ อ้ งอาศัยคนทีม่ คี วามรูถ้ งึ จะท�ำได้ เมือ่ ก่อนคน ทีน่ ห่ี ลังคลอดนิยมกินข้าวต้มกับของเค็มๆ หรือต้มน�ำ้ เกลือ กิน เพราะเชื่อว่าจะช่วยขับน�้ำคาวปลา แต่ความจริงยิ่งกิน


อภิรดา มีเดช 103

แบบนั้นความดันจะเพิ่ม ตัวก็จะบวม และยิ่งท�ำให้ไม่มี น�้ำนมเลี้ยงลูก” บางเรือ่ งสุนนั ทาก็เลยต้องรับหน้าทีช่ ว่ ยปรับความคิด ความเชื่อของชาวไกรนอกเสียใหม่


104 ไกรนอก

ศูนย์สมุนไพร ก้าวแรกที่เข้าไปยังศูนย์สมุนไพร เราสัม ผัสได้ถึง ความร่มรื่นของพันธุ์ไม้ที่รายล้อมอยู่รอบตัว ในสวนยา ธรรมชาติขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่แห่งนี้มีป้ายชื่อพร้อมค�ำ บรรยายสรรพคุณสมุนไพรชนิดต่างๆ แทรกตัวอยู่เพื่อให้ เราท�ำความรู้จักชื่อและสรรพคุณเบื้องต้นของมันได้ง่ายๆ ที่นี่ เราได้จิบชาใบสักร้อนๆ ผสมใบเตย ที่ สมพงษ์ สินจันทร์ แห่งศูนย์สมุนไพร หมู่ 4 ใส่กาเตรียมไว้รับรอง


อภิรดา มีเดช 105

แขกที่ ม าเยี่ ย มเยื อ น เขาบอกว่ า ชาใบสั ก นี้ จ ะช่ ว ยลด ปริมาณน�้ำตาลในเลือดได้ ไม่นา่ เชือ่ ว่า จากประสบการณ์ตรงในวัยเด็กจะกลาย เป็นความมุง่ มัน่ และแนวทางของเขาในวันนี้ สมพงษ์เล่าว่า ตั้งแต่ประมาณ 7 ขวบ พ่อแม่ของเขาท�ำนากลับมาบ้านก็ ปวดเมือ่ ย จึงใช้ให้เขาขึน้ ไปเหยียบท้องบ้าง เหยียบน่องบ้าง ตอนนั้นเขาขึ้นไปยืนได้ทั้งตัว เมื่อโตขึ้น เขาก็ได้เข้าไปท�ำงานโรงงานในกรุงเทพฯ ด้วยความสนใจด้านนวดเป็นทุนเดิม สมพงษ์จงึ สมัครเรียน นวดที่วัดโพธิ์ “ปี 2540 ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ผมไปลงเรียนไว้ 2 คอร์ส ทั้งนวดสายราชส�ำนัก เป็นการนวดด้วยนิ้วมือ อย่างเดียว กับนวดกดจุด เรียนจบก็ยงั ท�ำงานในโรงงานอยู่ แต่รับนวดให้คนในนั้นไปด้วย” 2 ปีต่อมา กระทรวงสาธารณสุขจัดงานมหกรรม สมุนไพร แล้วเปิดหลักสูตรอบรมนวดแผนไทย สมพงษ์จึง เข้าไปลงชื่อเอาไว้ ไม่นานก็มีหนังสือมาเชิญไปสอบ มีคน ลงเข้าสอบนับร้อย แต่รับเพียง 60 คน และในที่สุดเขาก็ได้ รับคัดเลือกเข้าอบรม หลังจบหลักสูตรไม่นาน สมพงษ์กต็ ดั สินใจย้ายกลับ มาไกรนอกเมือ่ ปี 2545 มาเป็นวิทยากรให้ กศน. ขณะเดียวกัน ก็เปิดรับนวดที่ตลาดนัดหมู่บ้านทุกวันพุธ ชาวบ้านก็เริ่ม รู้จักและเรียกเขาว่า ‘หมอพงษ์’ จนติดปาก ตอนนั้นเขายัง


106 ไกรนอก

รับนวดตามบ้านเป็นหลัก ระหว่างนัน้ บ้านกลางสวนหลังนี้ ก็เพิ่งสร้าง พร้อมๆ กับที่เขาพยายามน�ำพันธุ์สมุนไพร ต่างๆ มาปลูก นอกจากนวดแผนไทยแล้ว สมพงษ์ยังศึกษาวิธีนวด กดจุดฝ่าเท้าจากต�ำราแพทย์แผนจีน เพราะมีความเชื่อว่า อาการเจ็บที่ฝ่าเท้าสะท้อนถึงอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย อื่นๆ ซึ่งพอนวดได้ตรงจุดจะสามารถสะท้อนไปยังอวัยวะ ภายในต่างๆ เหล่านั้นได้ “เวลาใครมาดูงาน ผมจะบอกเลยว่า ใครอยากมา เรียนส่วนตัวหรือเป็นคณะ ผมยินดีสอนให้ฟรี เพราะอาจารย์ ที่ ส อนผมนวดฝ่ า เท้ า เป็ น อาจารย์ จี น เขาก็ ส อนให้ ฟ รี แต่จะมีตรู้ บั บริจาค ไว้ดแู ลคนพิการและคนป่วยทีช่ ว่ ยเหลือ ตัวเองไม่ได้” เมื่อพูดถึงประโยชน์ของการนวดควบคู่ไปกับการ ใช้สมุนไพร ก็เป็นการส่งต่อสุขภาพดีให้กันอย่างไม่สิ้นสุด “ลูกศิษย์มาเรียนกับผมแล้วก็ไปช่วยนวดให้คนอืน่ ต่อ หรือเวลาชาวบ้านเห็น ผมปลูกสมุนไพรไว้เยอะก็มาขอไป ต้มที่บ้าน อย่างคนคีรีมาศ (ต่างอ�ำเภอ) ก็ยังมาขอพันธุ์ ไปปลูก” นอกจากนั้น ความรู้ด้านนี้ยังสามารถกระจายได้ใน วงกว้างขึน้ เพราะขณะนีศ้ นู ย์สมุนไพรของสมพงษ์เปิดเป็น แหล่งเรียนรูอ้ ย่างเป็นทางการ พร้อมให้ความรูแ้ ก่ผทู้ สี่ นใจ โดยไม่หวงวิชาแต่อย่างใด


อภิรดา มีเดช 107

กินอาหารตามธาตุ แบ่งตามเดือนเกิดได้ 4 ธาตุ ดังนี้ ธาตุไฟ (กุมภาพันธ์ - เมษายน) ร่างกายร้อน ถ้าไป กินของเผ็ดร้อนจะยิ่งร้อนไปใหญ่ ควรกินอาหารขม เย็น จืด เป็นหลัก ขม: บอระเพ็ด มะระ เย็น: ฟัก บวบ หยวกกล้วย จืด: รางจืด เสลดพังพอน บัวบก ผักบุ้ง ใบย่านาง ธาตุลม (พฤษภาคม - กรกฎาคม) เกิดปลายเดือน เมษายนก็ยังอยู่ในธาตุลม จะขี้หนาว ต้องกินของร้อนเพื่อ ขับลมและปรับสมดุล ร้อน: ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พวกเครือ่ งต้มย�ำ ไพล ขมิ้น กะเพรา ธาตุน�้ำ (สิงหาคม - ตุลาคม) ขี้หนาว จะเจ็บคอบ่อย ไอบ่อย เป็นหวัด แน่นหน้าอก ท้องเดินบ่อย ควรกินของ เปรี้ยวเพื่อปรับธาตุ เปรี้ยว: มะนาว มะขาม มะม่วง มะกรูด หรือผลไม้ ที่มีรสเปรี้ยวน�ำ ธาตุดิน (พฤศจิกายน - มกราคม) คนธาตุนี้โชคดี กินได้ครบทุกรส ไม่มีข้อห้ามอะไรเป็นพิเศษ


108 ไกรนอก

บันทึกช่วงเปลี่ยนผ่าน ประวั ติ ค วามเป็ น มาของต� ำ บลไกรนอก รวมถึ ง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น อาจจะรางเลือนและ จางหายไปในเร็ววัน หากไม่มีการบอกเล่าหรือจดบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร ลุงเดชา ไกรสีกาจ ปราชญ์ชาวบ้านวัย 69 ปี อดีต ผูใ้ หญ่บา้ นหมู่ 6 เป็นหนึง่ ในผูส้ ง่ ต่ออดีตให้คนรุน่ ใหม่ชว่ ยกัน เก็บรักษาเอาไว้ นอกจากต้นยางนาทีเ่ ป็นสัญลักษณ์ของ อบต. ไกรนอก แล้ว เราแทบไม่เห็นยางต้นอื่นในบริเวณนั้นเลย ซึ่งเดชา บอกว่าแต่ก่อนเคยมีต้นยางในต�ำบลมากกว่านี้ “ยางต้นนีผ้ มก็เห็นมันโตอยูอ่ ย่างนีแ้ ล้ว แต่ตอนนีก้ งิ่ ตรงยอดมันก็เริ่มตาย ก็อย่างนี้แหละ เหมือนคนแก่ โรคก็ จะคอยเบียดเบียน แต่ก่อนยอดมันสูงสง่า ก็เหมือนคนเรา แก่ขึ้น มันก็จะหง่อมลง” เดชาเล่าถึงวิถีชีวิตคนสมัยก่อนที่ผูกพันกับน�้ำเป็น ปกติวสิ ยั พวกเขาไม่เคยคิดว่าน�ำ้ ท่วมจะเป็นปัญหาทีต่ รงไหน “ส่วนมากแต่ละบ้านจะมีเรือกัน ก็ไม่ทุกบ้านหรอก เพราะพอถึงฤดูกาล น�้ำจะขึ้นทุกปี จะท่วมเกือบทุกปี แล้ว ก็ท่วมเป็นเดือนๆ แต่เราก็อยู่กับน�้ำได้ ไม่มีปัญหา อยู่กัน แบบสมัยก่อน สินค้าก็ไม่มีมากอะไร เครื่องกินเครื่องใช้ก็


อภิรดา มีเดช 109

หากินกันได้” แต่ในที่สุด เรือก็ค่อยๆ ลดบทบาทลง เพราะถนน ได้รับการสถาปนาให้เป็นเส้นทางสัญจรหลัก คนทั่วไปก็ เริ่มอยากจะมาอยู่บ้านชิดถนนกัน “ถนนเกิดในช่วงที่ผมเรียนอยู่ ประมาณปี 24972498 นี่แหละ ผมยังไปช่วยเขาขุดเลย พอปี 2499 ขึ้น ป.4 มันก็มีถนนเสียแล้ว” สมัยนั้น ไม่ว่ารถหรือเรือก็ยังไม่มีมาก เมื่อรถมีน้อย คนทีน่ กี่ ไ็ ม่คอ่ ยได้ไปไหนกัน ต่างจากทุกวันนี้ นึกจะไปไหน ก็ไปได้ สมัยก่อน เดชาว่าจะไปไหนก็ต้องนัดกันเดิน แต่ก็ เป็นประสบการณ์สนุกสนานที่เขายังประทับใจ “ตอนเด็กผมยังไปกับเขาเลย เดินไปบ้านกงเป็น ชั่วโมง ก็ออกกันตั้งแต่เช้า (หัวเราะ) คนแต่ก่อนส่วนมาก ก็เดินครับ เพราะรถยังไม่มีมาก ถ้าไม่ทันรถก็ต้องเดินเอง เดินกันเป็นแถวไป รถจักรยานก็ไม่มี น้อยคนจะมีขี่ ก็เดินกันไป คุยกันไป ก๊อกแก๊กๆ คุยตลกโปกฮาแล้วก็เดินกันไปเรือ่ ยๆ” แต่เมื่อถามว่า แล้วตอนนี้ยังชอบเดินอยู่ไหม “เดินก็ขาอ่อนเลยครับ ทุกวันนีไ้ ม่เดินแล้ว อาศัยซ้อน มอเตอร์ไซค์หลานแทน” อย่างที่ทราบกัน ชาวไกรนอกส่วนใหญ่มีอาชีพเป็น ชาวนา แต่กอ่ นจะติดการใช้ปยุ๋ เคมีหรือยาปราบศัตรูพชื แบบ ทุกวันนี้ พวกเขาอาจจะลืมไปว่าเคยไม่ต้องพึ่งมันมาก่อน “รอฝนอย่างเดียว ท�ำนากันปีละหนเดียว ก็อาศัย


110 ไกรนอก

น�้ำจากคลองธรรมชาติเท่านั้น เครื่องยนต์กลไกที่จะสูบน�้ำ อะไรก็ไม่มี จะใช้กระทงที่สานกันแต่ละบ้านถ่ายน�้ำเข้านา ปุ๋ยหรืออะไรก็ยังไม่มีหว่านกัน ยาอะไรก็ไม่มีฉีด “เรื่องปุ๋ยเรื่องยาน่าจะมาช่วง 2508-2509 ผมเพิ่ง แต่งงานแล้วไปอยูบ่ า้ นพ่อตา เกษตรอ�ำเภอเขาก็ยงั เพิง่ เริม่ เอามาให้ลอง ช่วง 2507-2508 ก็เริ่มมีบ้างแล้ว แต่คนก็ ยังไม่นยิ มกัน เขาก็ยงั ไม่คอ่ ยใช้กนั รถไถก็เริม่ เข้ามาแทนวัว ควายประมาณปี 2509 พ่อตาผมเริ่มซื้อรถไถ แต่ช่วงนั้น คงยังไม่แพร่กระจายเท่าไหร่” การท� ำ นาและการศึ ก ษาในสมั ย นั้ น ก็ ถื อ เป็ น ขั้ ว ตรงข้ามระหว่างกัน “ทุกวันนี้ไม่ค่อยมีใครอยากท�ำนากันแล้ว เขาจะ เรียนกันแทบทุกคน แต่รุ่น ผม คนจะเรียนได้ต้องมีฐานะ มีนามากๆ พ่อแม่ถึงส่งเรียนได้ พวกผมคนจนไม่มีโอกาส ได้เรียนหรอก” เมือ่ ถามถึงของอร่อยขึน้ ชือ่ ของไกรนอก เดชาก็บอกว่า ความอร่อยของคนแต่ก่อนนั้นเป็นของง่ายๆ “สมัยก่อน ผักหญ้าปลาไม่ต้องซื้อ พอเดือน 6 เขาก็ ท�ำแปลงปลูกกัน ไปหยอดพริก มะเขือ ข้าวโพด แต่ถา้ เดือน 12 ก็ปลูกมัน หรือหยอดถั่วลิสงกันเอง หนุ่มสาวเขาก็จะ นัดกันไปดายหญ้าปลูกพริกกันโดยมากอาหารจะท�ำกินกันเอง “มีอย่างหนึ่งอร่อยมากๆ พอเดือน 6 เขาจะไปซื้อ มันหมูที่ตลาดบ้านกง (ต่างต�ำบล) เอามาเก็บใส่หม้อไว้ผัด


อภิรดา มีเดช 111

กับอะไรต่ออะไร น�้ำมันหมูจะหอม ขย�ำกินกับพริกนี่อร่อย มาก ไม่มีอะไรมาก แค่นี้ก็อร่อยแล้ว” เรียกได้ว่า เดชาอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านมากมาย ทั้ง เปลี่ยนจากสัญจรทางน�้ำเป็นทางบก เปลี่ยนจากอินทรีย์ เป็นเคมี หรือจากท�ำนาแบบรอฟ้าฝนเป็นไม่ต้องร้องเพลง รออีกต่อไป ความรวดเร็วปานติดจรวดเข้ามาแทนที่ แต่เป็น ธรรมดาที่ของเก่าและใหม่มักจะถูกน�ำมาเปรียบเทียบกัน ว่าเปลี่ยนไปแล้วดีขึ้นไหม ผ่านชีวิตมาร่วมๆ 70 ปี พบเห็นความเปลี่ยนแปลง มาก็มาก แต่แววตาของเดชายังเป็นประกายทุกครัง้ ทีไ่ ด้เล่า เรื่องในอดีต “งานบุญนีค่ นมากมาย ถ้าวันพระใหญ่นเี่ ต็มศาลาเลย คนมาก พระก็มาก เพราะคนสมัยก่อนบวชกัน 2-3 พรรษา มารุ ่ น หลั ง ๆ คนต้อ งออกไปท�ำมาหากิน กัน สมั ย ก่ อน กรุงเทพฯ ยังไม่มีใครรู้จักหรอกครับ” พุทธศาสนาดูจะผูกพันกับวิถชี วี ติ ชาวไกรนอกอย่าง แยกไม่ออกเลยทีเดียว ปัจจุบนั ไกรนอกมี 3 วัด คือ วัดโบสถ์ วัดคุง้ ยาง และ วัดดอนแค แต่วดั ดอนแคน่าจะบูรณะขึน้ มาอีกครัง้ ระหว่าง ปี 2517-2518 เพราะเคยเป็นวัดร้างมาก่อน สมัยก่อน คน หมู่ 7-8 ก็จะขึ้นมาท�ำบุญที่วัดคุ้งยาง “โดยมากคนสมัยก่อนจะเตรียมตัวบวชกันปีสองปี


112 ไกรนอก

ถ้าจะบวชก็ต้องบวชเอาพรรษากัน ผมก็เคยบวชเรียนเมื่อ ปี 2506 ตอนนั้นบวชอยู่ 1 พรรษา” ชีวติ ทีเ่ รียบง่ายก็เรียบง่ายเสียจนคนสมัยนีไ้ ด้ฟงั อาจ จะเผลอขมวดคิ้ว เพราะมันง่ายได้ขนาดนั้นจริงๆ “ท�ำนาก็ทำ� ครัง้ เดียว ท�ำนาแล้ว ถ้าหน้านีก้ ห็ าฟืนไป รอหุงข้าวกิน คนที่มีวัวควายก็เอาไปเลี้ยง คนหาปลากินก็ ไปลงปลา โดยมากไม่ค่อยได้ซื้อกิน ปลาหาง่าย สมัยนั้น การซื้อการจับจ่ายใช้สอยน้อยมาก” ประเพณีหลายอย่างเคลือ่ นไปจากขนบเดิม การพบ กันของชายหนุ่มและหญิงสาวก็เปลี่ยนไปมากๆ “เวลาหนุ่มสาวจะพบกัน เขาจะมีความเกรงใจกัน ถ้าไปดูลเิ กแล้วนัง่ คูเ่ คียงกัน นัน่ ธรรมดา แล้วหน้าตรุษหรือ สงกรานต์เขาก็เล่นกันสนุก ไม่ได้สาดกันอย่างนี้ อาจจะมี สาดเล่นกันบ้างวันสุดท้าย เล่นกันไม่รุนแรง “แต่กอ่ น ตรุษสงกรานต์เขามีเล่นโยนลูกช่วงกัน ชาย อยู่ข้างหนึ่ง หญิงอยู่ข้างหนึ่ง ใครรับลูกช่วงได้ก็ขว้างไป ไปทางใครก็มาเป็นขี้ข้า จับข้อไม้ข้อมือกันได้ในเทศกาล หลังจากนัน้ ก็ไม่มี ไม่ได้แตะต้องกัน” อีกทีท่ หี่ นุม่ สาวจะพบกันได้คอื เวลาเกีย่ วข้าว นวดข้าว ที่เขาเรียกว่า ไป ‘เอาแรง’ กัน กับอีกอย่างคือการต�ำข้าว ตกกลางคืน หนุ่มสาวจะนัดกันมาช่วยต�ำครก “การดืม่ สุรามีเฉพาะช่วงท�ำนากันเท่านัน้ อย่างตอน ลากข้าวเข้าลาน เขาจะท�ำกะแช่กนิ กันเองในฤดูงานเท่านัน้ เอง


อภิรดา มีเดช 113

พอหมดจากงานก็ไม่มีแล้ว” เมื่อถามถึงเอกลักษณ์ของที่นี่ เดชาใช้เวลาคิดชั่วครู่ แล้วบอกว่า “จะเป็นเรื่องวัดเป็นส่วนมาก ทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็น อะไรที่เป็นจุดเด่น คิดว่าน่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับวัดวา อารามและศาสนานี่แหละ” ประสบการณ์ในยุคเปลี่ยนผ่านของลุงเดชาน่าจะ ช่วยให้เรามองภาพอนาคตได้ชัดเจนขึ้นโดยไม่จ�ำเป็นต้อง หลงลืมสิ่งดีๆ ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นไปเสียทั้งหมด

ลุงเดชา ไกรสีกาจ



อภิรดา มีเดช 115

โฮมสเตย์ หลังจากถึงไกรนอก ทีแ่ รกทีบ่ กิ๊ และทีม อบต. พาเรา มาก็คอื โฮมสเตย์ หรือบ้านทีเ่ ราจะได้เข้าพักในครัง้ นี้ ทีต่ อ้ ง มาที่แรกก็เพราะเราจะได้เก็บสัมภาระและเตรียมตัวเที่ยว ได้อย่างสบายเนื้อสบายตัว เมื่ อ ถึ ง หน้ า บ้ า นโฮมสเตย์ บ้ า นไม้ 2 ชั้ น ขนาด กะทัดรัด เราก็เห็น พี่ทิว-ศิริรัตน์ จันโท ออกมายืนยิ้ม เผล่รออยู่บนเรือนแล้ว หลังจากทักทายพี่ทิวและคุณตายัน จันโท พ่อของ พี่ทิวแล้ว เธอก็เชื้อเชิญและเดินน�ำเราเข้าไปในห้องพัก เป็นห้องติดแอร์ แต่ก็มีพัดลมไว้ให้ส�ำหรับคนไม่ชอบแอร์ ปูที่นอนไว้บนพื้น กว้างขวางขนาดพอนอนได้สบายสัก 5-6 คนทีเดียว “ถ้านอนข้างนอกจะเย็นสบาย ไม่ตอ้ งใช้พดั ลมเลยนะ อากาศมันถ่ายเทดีอยูแ่ ล้ว ส่วนยุงปกติจะเยอะช่วงหน้าน�ำ้ ” ความจริง พอขึ้นบันไดเข้าไปในบ้านก็รู้สึกว่าบ้าน ค่อนข้างโปร่งสบาย ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะปกติทิวอยู่กับพ่อ เพียง 2 คน แต่พอดีช่วงที่เรามาพัก พี่ชายอีกคนของเธอ กลับมาเยี่ยมบ้านพอดี บ้านที่เคยเงียบสงบก็ดูจะสดชื่นมี ชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิม หลังจากเก็บกระเป๋าเข้าบ้านพี่ทิวเรียบร้อย เราก็


116 ไกรนอก

ขอตัวออกไปส�ำรวจไกรนอกกับบิ๊กและทีม อบต. ไกรนอก กว่าจะกลับมาอีกทีกเ็ ย็นย�ำ่ อาบน�ำ้ อาบท่าเสร็จถึงได้เวลา มื้อเย็นจนได้ วันแรกสงสัยจะตะลุยไกรนอกหนักไปนิด พอหัว ถึงหมอนก็หลับไปอย่างง่ายดาย ตื่นอีกทีประมาณก่อน 7 โมงเช้า คนที่นี่ตื่นกันแต่เช้าตรู่ เราที่ยังงัวเงียเล็กน้อย ก็พลอยออกไปเดินสูดอากาศยามเช้ากับเขาทั้งที่ยังตื่นไม่ เต็มตาเหมือนกัน เรามีโอกาสกินอาหารรสมือพี่ทิวในมื้อเช้าและเย็น ของทุกๆ วัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารปรุงง่ายๆ แต่ความ อร่อยมาจากความสดที่หาได้รอบบ้าน “พี่ท�ำกับข้าวเอง เพิ่งท�ำเมื่อเช้า กินกันแบบง่ายๆ นะ พอกินได้ใช่ไหมจ๊ะ” เราพยักหน้าและบอกว่ากินได้ สบายอยู่แล้ว แค่ข้าวกับน�้ำพริกตาแดง แกล้มผักสดที่เด็ดได้จาก ข้างบ้าน เราว่าสุดยอดแล้ว แต่พอเราเข้ามาพัก พีท่ วิ ก็เพิม่ เมนูบนโต๊ะให้เป็นพิเศษกว่าเคย อยู่กันแค่สองพ่อลูก บางครั้งก็ไม่จ�ำเป็นต้องใช้โต๊ะ กินข้าว พี่ทิวบอกว่าเวลากินก็นั่งกับพื้นไปเลย แต่ส�ำหรับ คุณพ่อต้องนั่งบนตั่งและมีโต๊ะกินข้าวส่วนตัว ซึ่งพี่ทิวต้อง คอยดูแลอยูใ่ กล้ๆ และตักข้าวให้ทา่ นกินก่อนคนอืน่ เพราะ ท่านค่อนข้างมีอายุ จับช้อนไม่ค่อยถนัดแล้ว ฟักทอง บวบ ฟัก มะเขือพวง และพืชผักต่างๆ คล้าย


อภิรดา มีเดช 117

ตลาดสดแสนดีทเี่ ปิดบริการตลอด 24 ชัว่ โมง เพราะมีเวลา ว่างหลังจากท�ำนา พี่ทิวเลยมีเวลาใส่ใจแปลงผักข้างบ้าน รวมทั้งเห็ดนางฟ้าที่เธอเพาะไว้ในห้องน�้ำชั้นล่างที่ไม่ได้ ใช้แล้ว “นี่ก็ออกไป 2 หนแล้ว เอามาผัดกินก็อร่อยดีนะ ถ้า ออกบ่อยกว่านี้ก็จะลองท�ำเพิ่ม แต่ตอนนี้อากาศมันร้อน เห็ดเลยไม่ค่อยจะออก” แม้จะได้มีโอกาสพักที่บ้านพี่ทิวเพียงไม่กี่วัน แต่ เราก็อดที่จะประทับใจในความเอื้อเฟื้อและน�้ำใจดีๆ ของ เจ้าของบ้านไม่ได้

พี่ทิว ศิริรัตน์ จันโท


118 ไกรนอก

เที่ยวไกรนอก ที่นี่เราสามารถเก็บเกี่ยวบรรยากาศดีๆ รอบตัวได้ ทันที ไม่จ�ำเป็นต้องไปไหนไกล เพราะมองไปทางไหนก็ จะเห็นทุ่งนายาวไปจนจรดเส้นขอบฟ้า ตื่นเช้ามาเพียง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกก็จะได้ชมพระอาทิตย์ขนึ้ และ เมื่อถึงเวลาพระอาทิตย์ตกก็แค่หันหน้าไปยังฝั่งตรงข้าม พระอาทิตย์ก็พร้อมจะตกลงต่อหน้าเรา ไกรนอกยังเหมาะกับคนชอบชมนกชมไม้ เพราะแค่ เดินเล่นเพลินๆ หน้าโฮมสเตย์ เราก็มีโอกาสได้ชมนกทุ่ง และนกน�้ำหลากชนิด อย่างนกกาน�้ำ นกยาง หรือแม้แต่ กระเต็นน้อยสีฟ้าสดที่บินมาเกาะกิ่งไม้ใกล้ตา เดือนที่เหมาะมาเที่ยวไกรนอกคงเป็นช่วงมิถุนายน ถึงกันยายนที่นาข้าวจะเขียวสด มองไปทางไหนก็ชื่นตา ชื่นใจ และอีกครั้งคือช่วงต้นพฤศจิกายน ถ้ามาตอนนั้น อากาศจะเย็นสบาย ทุง่ ข้าวก็จะเหลืองอร่ามพร้อมเก็บเกีย่ ว แถมจะได้เห็นชาวไกรนอกยิ้มกว้างๆ เพราะข้าวได้ผลดี อย่างที่ตั้งใจไว้ ช่วงทีค่ วรเลีย่ งหรือหากอยากมาอาจจะต้องโทรศัพท์ มาสอบถามกับทาง อบต. ไกรนอกก่อน คงเป็นช่วงกันยายน ถึงตุลาคมทีเ่ ป็นหน้าน�ำ้ ทางหมู่ 7-8 ซึง่ เป็นทีร่ าบลุม่ ต�ำ่ กว่า ทางตอนเหนือจะมีน�้ำท่วมขังเป็นบางส่วน


อภิรดา มีเดช 119

วัดคุ้งยาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของต�ำบลไกรนอก บริเวณหมู่ 2 ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจทีอ่ ยูค่ คู่ นไกรนอกมาตัง้ แต่แรกเริม่ ที่นี่มีต้นยางนาใหญ่อยู่ข้างหน้าวัด เดิมกุฏิ 5 ห้องของวัดจะอยู่ใกล้ต้นยางใหญ่ แต่ ยุคหลังๆ เจ้าอาวาสเริ่มท�ำการปรับปรุงมาเรื่อยๆ พอเริ่ม มีถนน ชาวบ้านก็ยา้ ยขึน้ มาฝัง่ ทิศเหนือเข้าหาถนนกันหมด แล้วก็มีการจัดสร้างศาลาหลังใหม่ขึ้น เมื่อ 40 ปีที่แล้ว จะมีโบสถ์หลังเล็กๆ ตั้งอยู่ ไม่มีฝา มีแต่มุงหลังคา จากนั้น ทางวัดจึงมีการก่อสร้างโบสถ์หลัง ปัจจุบันแบบก่ออิฐ แต่ก็เจอพายุแรงจนโบสถ์หัก เลยต้อง บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน


120 ไกรนอก

วัดโบสถ์ อยู่ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านวัดโบสถ์ ไม่ไกลจากวัดคุ้งยาง จากการบอกเล่าทราบว่า วัดนีเ้ ป็นวัดเก่าแก่ มีอายุประมาณ 200 ปี โดยหลวงพ่อโปดซึ่งเป็นพระธุดงค์บังเอิญมาเจอ โบสถ์หลังนี้ จึงได้อาสาเข้ามาบูรณะ ไม่นานหมูบ่ า้ นโดยรอบ ก็ ไ ด้ ชื่ อว่ า หมู ่ บ ้ า นวั ด โบสถ์ ต ามไปด้ ว ย ถื อ เป็ นวั ด แรก ในต�ำบลที่ได้พระอุปัชฌาย์ ตัวโบสถ์ท�ำด้วยไม้สัก แต่ก็มีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ โดยรอบวัดโบสถ์เคยมีเจดีย์ล้อมรอบ ซึ่งก็ผุกร่อนหลุดร่วง ไปตามเวลา ทางหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสพยายามบูรณะ มาโดยตลอด แม้ท่านจะมีอายุเข้าปีที่ 87 แล้วก็ตาม


อภิรดา มีเดช 121

ปิดท้าย นีเ่ ป็นเพียงส่วนหนึง่ ของต�ำบลไกรนอกทีเ่ ราอยากให้ คุณได้มาสัมผัส ส�ำหรับเรา การได้มาเห็นความเรียบง่าย อย่างเป็นธรรมชาติ เฝ้าดูผู้คนที่นี่ใช้ชีวิตประจ�ำวันกัน ก็ ถือเป็นความสุขและความทรงจ�ำดีๆ ในการเดินทางครัง้ นีแ้ ล้ว เราเชือ่ ว่าคุณจะรูส้ กึ และสัมผัสความประทับใจจาก ที่นี่ได้ด้วยประสบการณ์ตรงเท่านั้น หวั ง ไว้ ว ่ า ถ้ า มี โ อกาสคงได้ ม าเที่ ยวไกรนอกอี ก หลายๆ ครั้ง ก่อนกลับ เราไม่ลืมซื้อทองม้วนและขนมหลากชนิด ติดมือกลับไปด้วย แต่ไม่สัญญานะว่าไปถึงแล้วของฝากจะ หมดก่อนหรือเปล่า หลังหิ้วกระเป๋าลงจากรถของ อบต. และกลับมายืน ที่สถานีขนส่งพิษณุโลกอีกครั้ง ความรู้สึกของเรากลับต่าง จากเมื่อตอนขามาลิบลับ คงเพราะถึงเวลาต้องโบกมือลา แล้วกระมัง



ภาคผนวก ข้อมูลต�ำบลไกรนอก


124

ไกรนอก

สภาพทั่วไปของต�ำบล ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พื้ น ที่ ร าบลุ ่ ม เหมาะแก่ ก ารท� ำ นา ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านไกรนอก หมู่ 2 บ้านไร่ หมู่ 3 บ้านวัดยาง หมู่ 4 บ้านไกรนอก หมู่ 5 บ้านป่ายาง หมู่ 6 บ้านโป่งแค หมู่ 7 บ้านวังไผ่สูง หมู่ 8 บ้านหนองมะเกลือ พื้นที่หมู่ 7-8 ทางตอนใต้จะเป็นที่ราบลุ่มต�่ำกว่า ทางตอนเหนือ


อภิรดา มีเดช 125

อาณาเขตต�ำบล ทิศเหนือ ติดกับ ต.กกแรต และ ต.ไกรกลาง อ.กงไกรลาศ ทิศใต้ ติดกับ ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ ทิศตะวันออก ติดกับ ต.บ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ไกรกลาง อ.กงไกรลาศ

ข้อมูลสถานที่ส�ำคัญของต�ำบล 1) วัดคุ้งยาง 2) วัดโบสถ์ 3) วัดดอนแค 4) โรงเรียนวัดคุ้งยาง 5) โรงเรียนวัดโบสถ์ 6) โรงเรียนบ้านโป่งแค 7) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.)


เพลง​ศักยภาพ​ชุมชน ค�ำร้อง-ท�ำนอง วสุ ห้าวหาญ เรียบ​เรียง​ดนตรี ศราวุช ทุ่งข​เี้​หล็ก ขับ​ร้อง​โดย ฟาง​แก้ว พิชญา​ภา, ศราวุธ ทุ่งข​ี้​เหล็ก, สมชาย ตรุพ​ ิมาย

หนึ่ง​สมอง​สอง​มือ​ที่​มี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิด​ดีๆ ออก​มา​ยืนต​ รง​นี้ ท�ำ​เพื่อ​เมือง​ไทย​ด้วย​กัน ไม่ว​ า่ จ​ ะ​อยูท​่ ไี่ หน เรา​เป็นค​ น​ไทย​เปีย่ ม​ความ​สามารถ เป็นก​ ำ� ลังข​ อง​ประเทศ​ชาติ พัฒนา​บา้ น​เมือง​กา้ ว​ไกล เป็น​คน​ เหนือ อีสาน กลาง​ใต้ ก็ร​ กั เ​มือง​ไทย​ดว้ ย​กนั ท​ งั้ ​นนั้ (สร้อย) หาก​เรา​ร่วม​มือ​ร่วมใจ ท�ำ​สิ่ง​ไหน​ก็​ไม่​เกิน​ แรง โครงสร้าง​ชุมชน​แข็งแกร่ง เพราะ​เรา​ร่วม​แรง​ร่วม​มือ​ สร้างสรรค์ จัดการ​ทรัพยากร​ชว่ ย​กนั ด้วย​มมุ ​มอง​ท​เี่ รา​แบ่ง​ ปัน ใช้​ความ​คิด​สร้างสรรค์ใ​ห้​เต็ม​ศักยภาพ อยู่ ​ช นบท​ห่ า ง​ไ กล ท�ำ​น า​ท�ำ​ไ ร่พ อ​เ พี ย ง​เ ลี้ยง​ตัว ใช้​ชุมชน​ดูแล​ครอบครัว ใช้​ครอบครัว​ดูแล​ชุมชน ปูพ​ ื้น​ฐาน​ จาก​หมู่บ้าน​ต�ำบล สร้าง​แปลง​เมือง​ไทย​ให้​น่า​อยู่​ดัง​ฝัน ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​บ้าน​เรา เรียน​รู้​ร่วม​กัน​เพื่อก​ าร​พัฒนา ชุมชน​ท้อง​ถิ่นบ​ ้าน​เรา เรียน​รู้​ร่วม​กัน​ช่วย​กัน​พัฒนา


อยู่​ตาม​เมือง​ใหญ่​เมือง​หลวง หัวใจ​ทุก​ดวง​ซ่อน​ไฟ​ มุ่ง​มั่น ก้าว​ออก​มา​จาก​รั้ว​ที่​กั้น​จับ​มือ​กัน​ท�ำ​เพื่อ​เมือง​ไทย คนละ​มือ​สอง​มือ​คือ​น�้ำใจ โอบ​กอด​ชุมชน​ไว้​ด้วย​ความ​สุข​ ยืนนาน หนึ่ ง ​สมอง​สอง​มือ​ที่​มี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิด​ดีๆ ออก​มา​ยืน​ตรง​นี้ ท�ำ​เพื่อ​เมือง​ไทย​ด้วย​กัน หาก​เ รา​ร่ว ม​มื อ​ร่ ว มใจ ท�ำ​สิ่ง ​ไหน​ก็​ไม่​เ กิ น​แรง โครงสร้ า ง​ชุม ชน​แ ข็ ง แกร่ ง เพราะ​เ รา​ร่วม​แ รง​ร่ วม​มือ​ สร้างสรรค์ จัดการ​ทรัพยากร​ช่วย​กัน ด้วย​มุม​มอง​ที่​เรา​ แบ่ง​ปัน ใช้​ความ​คิด​สร้างสรรค์​ให้​เต็ม​ศักยภาพ ด้วย​มุม​ มอง​ท​เี่ รา​แบ่ง​ปนั ใช้​ความ​คดิ ​สร้างสรรค์​ให้​เต็ม​ศกั ยภาพ...

เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.