ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

Page 1

ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเวศ วะสี


ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเวศ วะสี พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ จำนวน ๖,๐๐๐ ​เล่ม

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.๓) รูปเล่ม นายวัฒนสินธุ์ สุวรัตนานนท์ พิมพ์ที่ บริษัท เครล คอมพิวเตอร์ จำกัด โทร. ๐-๒๖๘๒-๔๔๓๕-๘ โทรสาร ๐-๒๖๘๒-๔๔๓๙

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ๙๗๙ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น ๓๔ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๙๘๙-๐๕๐๐ โทรสาร ๐๒๒๙๘-๗๕๗๑

ชุมคือชนท้ อ งถิ น ่ ฐานของประเทศ ประเทศจะมั่นคง

เมื่อฐานแข็งแรง


สารบาญ ๑. อะไรคือหลุมดำประเทศไทย ๕ ยิ่งพัฒนายิ่งแตกแยกยิ่งทอนพลัง ๒. ประเทศไทยเข้าเกียร์ผิด : ประเทศถอยหลัง ๙ เพราะเข้าเกียร์สมองส่วนหลัง ๓. ความถูกต้อง ๑๒ ต้องถักทอกันขึ้นมาจากหน่วยย่อยข้างล่าง ๔. ชุมชนจัดการตนเอง: รากฐานของความถูกต้องจากข้างล่าง ๑๗ ๕. ท้องถิ่นจัดการตนเอง ๒๐ ๖. จังหวัดจัดการตนเอง ๒๒ ๗. เป้าหมายของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๒๔ ๘. ชุมชนจัดการตนเอง-ท้องถิ่นจัดการตนเอง-จังหวัดจัดการตนเอง ๒๙ คือการเปิดพื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ๙. ความเป็นสถาบันและเครื่องมือเชิงสถาบันของชุมชนท้องถิ่น ๓๔ ๑๐. ทำยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ๓๖ ปัจฉิมกถา ๔๒

อะไรคือหลุมดำประเทศไทย ยิ่งพัฒนายิ่งแตกแยกยิ่งทอนพลัง

คนไทยควรจะตั้งคำถามว่า ทำไมยิ่งพัฒนาคนไทยยิ่งมีความสุข น้อยลง คนไทยแตกแยกกันมากขึ้น มีความรุนแรงมากขึ้น สมรรถนะของ ประเทศมันน้อยจนเกือบถึงขั้นที่เรียกว่ารัฐล้มเหลว เกือบไม่สามารถแก้ ปัญหาอะไรได้ เช่น แก้ความยากจนไม่ได้ ยิ่งทำช่องว่างระหว่างคนจนกับ คนรวยยิ่งห่างมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำที่มากเกินนำไปสู่การขาดความเป็น ธรรมในทุกเรื่อง เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งและความรุนแรง รัฐไม่ สามารถอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ไม่สามารถแก้ ปัญหาความรุนแรงที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีสมรรถนะในการป้องกัน และจัดการภัยพิบัติ ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งความขัดแย้งทางการเมืองที่ ที่กำลังเคลื่อนตัวไปสู่จุดพลิก (Tipping point) ที่อาจฆ่ากันตายเป็นเบือ แบบมิคสัญญีกลียุค ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |


ทำไมประเทศไทยจึงตกเข้ามาอยู่ในสภาพไร้ทางออก เราควรจะ หยุด และพยายามหาคำตอบว่าอะไรคือ “หลุมดำประเทศไทย” ที่ดึงดูดพลัง สร้ า งสรรค์ ใ นตั ว เองของสั ง คมไทยไปหมด ผมพยายามหาคำตอบนี ้

มาช้านานในชีวิตและสรุปว่า

อำนาจรั ฐรวมศูนย์คือหลุมดำประเทศไทย ประเทศไทยปกครองโดยรวมศูนย์อำนาจไว้ทส่ี ว่ นกลางและข้างบน การรวมศูนย์ก่อให้เกิดปัญหาฉกรรจ์ของประเทศอย่างน้อย ๘ ประการคือ (ดูรูป) ๑. ชุมชนท้องถิ่น อ่อนแอ ๒. ขัดแย้งรุนแรง

๘. ไร้ทางออก มิคสัญญีกลียุค ๗. รัฐประหารง่าย

๖. รัฐล้มเหลว

| ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

รวมศูนย์อำนาจ

๓. ระบบราชการ อ่อนแอ ๔. คอร์รัปชั่น เข้มข้น

๕. แย่งชิงอำนาจ การเมืองรุนแรง

(๑) ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ แทนที่จะแก้ปัญหากันเองได้ในพื้นที่ ปัญหาทุก ชนิดต้องวิ่งเข้าหาส่วนกลาง ซึ่งก็ทำไม่ไหวและทำไม่ได้ดี ชุมชนท้องถิน่ อ่อนแอก็เท่ากับฐานของประเทศอ่อนแอ (๒) เกิดความขัดแย้งระหว่างอำนาจรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น ความ รุนแรงที่ชายแดนใต้เป็นตัวอย่างของความขัดแย้งระหว่างอำนาจรวม ศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น (๓) ระบบราชการที่รวมศูนย์ใช้อำนาจ จึงอ่อนแอทางปัญญา ประเทศขาด สมรรถนะ (๔) อำนาจเข้มข้นที่ไหน คอร์รัปชั่นมากที่นั่น ปัญหาคอร์รัปชั่นจึงแก้ไม่ตก และชอนไชประเทศจนเน่าเฟะ (๕) ระบบรัฐที่รวมศูนย์อำนาจเป็นแรงจูงใจให้มีการแย่งชิงอำนาจทาง

การเมืองกันอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะโดยใช้อาวุธ หรือเงิน หรืออิทธิพล ใดๆ ส่งผลความรุนแรงไปทั่ว และทำให้ได้นักการเมืองที่มีคุณภาพต่ำ (๖) เมื่อทั้งระบบการเมืองและระบบราชการมีสมรรถนะต่ำ ทำให้เกิดสภาพ “รัฐล้มเหลว” แก้ไขปัญหาอะไรไม่ค่อยได้ ซึ่งอันตรายยิ่งนัก (๗) อำนาจรวมศูนย์ทำให้ทำรัฐประหารได้ง่าย ถ้าอำนาจกระจายไปหมดจะ ยึดอำนาจไม่ได้เพราะไม่รู้จะยึดตรงไหน เมื่อก่อนเมื่อการเมืองบริหาร บ้านเมืองไม่ได้ดีก็ใช้การทำรัฐประหารเป็นการแก้ปัญหา แต่ระยะหลัง รัฐประหารทำได้ยากขึ้นเพราะมีคนต่อต้านและรัฐประหารก็แก้ปัญหา ของประเทศไม่ได้ (๘) เมื่อรัฐก็ล้มเหลว รัฐประหารก็แก้ปัญหาประเทศไม่ได้ ก็ตีบตันไร้ ทางออก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดมิคสัญญีกลียุค ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |


ในการต่อสู้ทางการเมืองใน ๘๐ ปีที่ผ่านมา เป็นการแย่งชิงอำนาจ ที่ส่วนบน โดยไม่ได้แก้โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ จึงแก้ปัญหาประเทศ

ไม่ได้ แต่กลับแตกแยกรุนแรงและประเทศมีสมรรถนะต่ำมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ ว ่ า จะแก้ ร ั ฐ ธรรมนู ญ หรื อ ต่ อ สู ้ ก ั น อย่ า งไร ถ้ า ยั ง ไม่ เ ข้ า ใจ โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์จะไม่หายวิกฤตและไม่หายรุนแรง ถ้าช่วยกันทำความเข้าใจกันมากๆ ว่า ที่คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่ง จิกตีกันร่ำไปนั้น เกิดจากโครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ เราก็ปฏิรูปประเทศได้ ด้วยสันติวิธี (ดูรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปเรื่อง “ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ” และวิดีโอเรื่องเดียวกัน ที่สำนักงานปฏิรูป) การต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันเป็นการใช้สมองส่วนหลัง ประเทศจึง เสมือนเข้าเกียร์ผิด

| ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ประเทศไทยเข้าเกียร์ผิด ประเทศถอยหลัง เพราะเข้าเกียร์สมองส่วนหลัง สมองส่วนหลังเป็นสมองสัตว์เลื้อยคลาน สมองมนุษย์มี ๓ ส่วนคือ ส่วนใน หรือส่วนหลัง เป็นสมองสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian brain ) ส่วนกลาง เป็ น สมองสั ต ว์ เ ลี ้ ย งลู ก ด้ ว ยน้ ำ นม (Mammalian brain) ส่วนนอก หรือส่วนหน้า เป็นสมองมนุษย์ (Human brain) ตามรูป ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน |


นีโอ - คอร์เต็กซ์ สมองมนุษย์ = สติปัญญา ศีลธรรม

สมองสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม = อารมณ์ความรู้สึก สมองสัตว์เลื้อยคลาน = ความอยู่รอด

สมองชั้นในสุด หรือสมองส่วนหลังวิวัฒนาการมาจากสมองสัตว์ เลื้อยคลานมีหน้าที่เพื่อความอยู่รอด เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การ หาอาหาร การสืบพันธุ์ การต่อสู้ การทำร้ายกัน สมองชั้นกลางวิวัฒนาการมาจากสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก สมองชั้นนอก หรือสมองส่วนหน้าเป็นสมองมนุษย์ เป็นส่วนที่ พอกเข้ามาใหม่ (Neo-cortex) มีหน้าที่เกี่ยวกับสติปัญญา วิจารณญาณ

ศีลธรรม ในเกือบ ๑ ศตวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยอยู ่ในโหมดการต่อสู้ แย่งชิงอำนาจที่ส่วนบน ในการต่อสู้เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามจะมีการลดทอนบริบทของ ความจริงทั้งหมดอันซับซ้อนให้เหลือมิติเดียวคือ ความโกรธความเกลียดมุ่ง ทำลายฝ่ายตรงข้าม โดยใช้วิธีการทุกรูปแบบ เช่น ความเท็จ ความรุนแรง หรือวิธีการอื่นใดที่ไม่ชอบธรรม การปลุกระดมความเกลียดชังนั้นทำง่าย แต่ไม่ประเทืองปัญญา 10 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

แต่การพัฒนา หรือการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั้นยากและ ต้องใช้สติปญ ั ญาสูง การทำงานให้สำเร็จนัน้ ต้องคิดถึงคนอืน่ และการร่วมมือ ต้องคิดถึงเรื่องวิธีการและการจัดการ ต้องมีวิจารณญาณ การพัฒนาจึงต้อง ใช้สมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นที่อยู่ของสติปัญญา วิจารณญาณและศีลธรรม สังคมควรพิจารณาใคร่ครวญดูว่า จริงหรือที่เชื่อว่าการต่อสู้แย่งชิง อำนาจจะทำให้ชาติเจริญได้ ในสังคมที่ซับซ้อนและมีปัญหายากๆ ถึงมี อำนาจก็แก้ปัญหาไม่ได้ แล้วเราจะแย่งมีอำนาจกันไปทำไม นอกจากไม่ได้ผลแล้วยังมีโรค แทรกซ้อนตามมา โรคแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดคือ การที่สังคมใช้สมองสัตว์ เลื้อยคลาน หรือสมองส่วนหลังมากเกิน ทำให้เจริญได้ยาก ประเทศไทยน่าจะต้องเข้าเกียร์ใหม่ เปลี่ยนจากเกียร์หลังเป็นเกียร์หน้า หรือการใช้สมองส่วนหน้า เราจะได้ก้าวหน้าเสียที

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 11


ปฏิรูปหมายถึงหมุนรูป (ดังรูป) จากรูปที่ฐานแคบ เป็นฐานกว้าง

ความถูกต้อง ต้องถักทอกันขึนมา ้ จากหน่วยย่อยข้างล่าง ไม่มีพระเจดีย์องค์ใด สร้างได้จากยอด พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน

การที่เราจะก้าวต่อไปได้และพ้นวิกฤต จะต้องสรุปความคิดหลัก ให้ได้ ความล้มเหลวของเราเกิดจากการพัฒ นาแบบรวมศูนย์ที่ให้ความ สำคัญกับข้างบน เสมือนพยายามสร้างพระเจดีย์จากยอด ไม่มีพระเจดีย์ องค์ ใ ดสร้ า งได้ จ ากยอด เพราะจะพั ง ลงๆ เนื ่ อ งจากไม่ ม ี ฐ านรองรั บ

พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน ฐานที่แข็งแรงจะรองรับส่วนบนให้มั่นคง เราจึงต้องหมุนรูปการพัฒนาประเทศเสียใหม่

12 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

(ก) ฐานแคบ ตั้งมั่นไม่ได้

(ข) ฐานกว้าง ทำให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง

อะไรที่ฐานแคบจะตั้งมั่นไม่ได้จะต้องล้มลง โครงสร้างทุกอย่างที่ จะมั่นคง ฐานต้องกว้าง เช่น พระเจดีย์หรือพีระมิด ประเทศไทยล้มเพราะ พัฒนาแบบฐานแคบ หรือพัฒนาแบบทุบฐาน ความสนใจทุกชนิดพุ่งไปแต่ ข้างบน เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา การสือ่ สาร ประชาธิปไตย ไม่เข้าใจความ สำคัญของข้างล่าง ทิศทางอนาคตของประเทศคือสร้างฐานของประเทศให้แข็งแรง ชุมชนท้องถิ่นคือฐานของประเทศ ส่วนล่างของสังคมหรือชุมชนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ของประเทศ เป็นที่อยู่ของคนส่วนใหญ่ มีทรัพยากรต่างๆ เช่น ที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ พืช สัตว์ สินแร่ เป็นความจริงของชีวิต เป็นที่อยู่ของคนส่วนใหญ่ และการอยู่ร่วมกัน เราควรเข้าใจความแตกต่างของสังคมข้างบนกับข้างล่าง ในขณะที่ข้างบนเป็นเรื่องของอำนาจ รูปแบบ และมายาคติ

ข้างล่างคือความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 13


ชุมชนคือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับคนและระหว่าง คนกับสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันคือสังคม สังคมมีมาก่อนที่จะมีรัฐและภาคธุรกิจ ต่อมาเมื่ออำนาจรัฐใหญ่โตแผ่ขยายมากขึ้น และอำนาจภาคธุรกิจ มีพลังมหาศาล ก็เบียดพื้นที่ทางสังคมให้เล็กและอ่อนแอ เมื่อสังคมอ่อนแอ การอยูร่ ว่ มกันก็เสียสมดุล การเสียสมดุลคือความไม่สบาย ความไม่เป็นปรกติ ความไม่ยั่งยืน สังคมเข้มแข็งจึงเป็นกุญแจของความยั่งยืน และสังคมเข้มแข็งต้องเริ่มที่ชุมชนเข้มแข็ง ประดุจชีวิตร่างกายอันแสนวิจิตรของเรานั้นเริ่มจากเซลล์เดียว เซลล์ๆ เดียวนั้นต้องปรกติทุกอย่าง จึงจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ระบบใหญ่ ของร่างกายที่ปรกติได้ ความผิดปรกติแม้นิดเดียวก็ทำให้ไม่รอดชีวิตหรือ เป็นชีวิตที่พิการได้ ไม่มีใครสามารถเสกระบบร่างกายทั้งหมดขึ้นมาจากข้างบนได้ แต่ ต้องเริ่มต้นที่หน่วยย่อยที่ถูกต้องคือเซลล์เดี ยวของร่างกาย สังคมก็เช่น เดียวกัน ที่ไม่สามารถเสกสังคมใหญ่ที่ดีขึ้นมาจากข้างบนได้ แต่ต้องเริ่มต้น ที ่ ห น่ ว ยย่ อ ยที ่ ถู ก ต้ อ งคื อ ชุ ม ชน และถั ก ทอความถู ก ต้ อ งขึ ้ น มาจาก

หน่วยย่อย การถักทอกันขึ้นมาเอง (Self-organization) เป็นธรรมชาติของ สรรพสิ่งบนโลก ตรงนี้ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ดีๆ เพราะความไม่เข้าใจตรงนี้ จึงพากันวิกฤตทั้งโลก 14 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ดังที่กล่าวข้างต้นว่า “ข้างบน” เป็นเรื่องของอำนาจและมายาคติ แต่ข้างล่างคือความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน จะขอยกตัวอย่างให้เห็น ในเรื่องเศรษฐกิจจริงกับเศรษฐกิจมายาคติ เศรษฐกิจจริงประกอบด้วย การทำไร่ ทำนาผลิตอาหาร ใช้แรงงาน สร้างสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต เศรษฐกิจของคนข้างล่าง จึงเป็นเศรษฐกิจจริงที่มี ประโยชน์ต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่น ทีนี้ถ้ามาดูรายได้ของคนข้างบนจาก ๓ เรื่อง คือ กำไร ค่าเช่า ดอกเบี้ย จะเห็นว่าถ้าเทียบกับการทำไร่ ทำนาผลิต อาหารเลี้ยงผู้คน การใช้แรงงานสร้างสิ่งและบริการที่จำเป็นแก่ชีวิต ก็จะเห็น ชัดเจนว่า ส่วนไหนเป็นเศรษฐกิจจริง ส่วนไหนเป็นเศรษฐกิจมายาคติ เศรษฐกิจจริงเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของตนเองและชีวิตของผู้อื่น ส่วนเศรษฐกิจมายาคติ เช่น กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่า ถ้ามากเกินไป ย่อมเป็นการขูดรีด หรือทำร้ายผู้อื่น เศรษฐกิจมายาคติ เช่น การเงิน เนื่องจากเป็นมายาคติ จึงมีการเล่นกลและฉ้อฉลได้มาก วิกฤตเศรษฐกิจ โลกเกิดจากไปอยู่ในเศรษฐกิจมายาคติมากเกิน ในยามที่วิกฤตเศรษฐกิจโลก กำลังรุนแรงและลุกลาม คนไทยจะ ต้องพยายามทำความเข้าใจตรงนี้ให้ดีๆ แล้วตั้งระบบเศรษฐกิจของเรา

เสียใหม่ให้อยู่บนฐานที่มั่นคง มิฉะนั้นจะโดนคลื่นวิกฤตโลกซัดให้จมมิดไป ด้วย เศรษฐกิจชุมชนเป็นฐานของเศรษฐกิจจริง เป็นเศรษฐกิจชีวิตและ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล เศรษฐกิจชุมชนต้องเป็นตัวตั้ง และถักทอกันขึ้น มาเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น การถักทอกันขึ้นมาจากข้างล่างจะทำให้เกิด ระบบใหญ่ที่ถูกต้อง มีบูรณาการและมีดุลยภาพ ทำให้เกิดความเป็นปรกติ หรือสุขภาวะ และความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 15


ถ้าเข้าใจหลักการนี้ที่ว่า ความถูกต้อง ต้องถักทอกันขึ้นมาจาก หน่วยย่อยข้างล่าง และข้างล่างคือชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาประเทศก็จะไม่ยาก ไม่ช้า ไม่รุนแรง สันติ และใช้ ปัญญา มิฉะนั้น นอกจากรุนแรงแล้วยังไม่สำเร็จอีกด้วย

16 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ชุมชนจัดการตนเอง รากฐานของความถูกต้อง จากข้างล่าง ขอให้ทุกคนยอมเสียเวลาที่จะทำความเข้าใจที่ตรงนี้ เพราะถ้า เข้าใจ ชีวิตของท่านจะเปลี่ยน สังคมจะเปลี่ยน และโลกจะเปลี่ยน เปลี่ยน จากลบเป็นบวก เปลี่ยนจากทุกข์เป็นสุข เปลี่ยนจากทำลายเป็นสร้างสรรค์ เปลี่ยนจากอวิชชาเป็นปัญญา เปลี่ยนจากรุนแรงเป็นสันติ กระบวนการชุมชนประกอบด้วย (๑) การก่อตัวของสภาผูน้ ำชุมชน ในชุมชนแต่ละแห่งจะมีผนู้ ำ ตามธรรมชาติ ประเภทต่างๆ จำนวนมาก อาจเป็นผู้นำกลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ เยาวชน คนพิการ ครู พระ หมอ ศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน อาจจะมี หมู่บ้านละ ๔๐-๕๐ คน ผู้นำตามธรรมชาติเหล่านี้ผุดบังเกิดขึ้นเองจากการ ทำงานร่วมกัน ไม่ได้เกิดจากการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 17


ผูน้ ำตามธรรมชาติเหล่านีจ้ ะมีคณ ุ สมบัติ ๕ อย่างคือ เป็นคนเห็นแก่สว่ นรวม เป็นคนสุจริต เป็นคนฉลาด เป็นคนติดต่อสื่อสารเก่ง และเป็นที่ยอมรับของ คนทั่วไป ผู้นำตามธรรมชาติเหล่านี้ จึงมีคุณภาพสูงมาก ในขณะที่ผู้นำโดย การเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ไม่แน่ว่าจะมีคุณสมบัติเหล่านี้ สภาผู้นำชุมชน เกิดจากผู้นำตามธรรมชาติ ๔๐-๕๐ คนเหล่านี้มา รวมตัวกันเอง โดยไม่ตอ้ งรอให้มใี ครแต่งตัง้ การแต่งตัง้ เป็นเรือ่ งของความเป็น ทางการ ซึง่ มีขอ้ จำกัดมาก การก่อตัวกันขึน้ มาเอง (Self-organization) เป็น สัจจธรรมตามธรรมชาติ มีความถูกต้องกว่าความเป็นทางการมาก แต่สภา ผู้นำชุมชนก็ควรรวมผู้นำที่เป็นทางการเข้ามาด้วย ซึ่งมีอยู่ ๓ คน ใน ๑ หมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้าน ๑ คน กับสมาชิกสภาตำบล ๒ คน (๒) ทำการสำรวจข้อมูลชุมชน สภาผู้นำชุมชนทำการสำรวจ ข้อมูลชุมชน ข้อมูลชุมชนเป็นฐานของความจริงที่ทำให้เกิดพลังทางปัญญา ข้อนี้จึงขาดเสียมิได้ (๓) ทำแผนชุมชน สภาผู้นำชุมชนใช้ข้อมูลชุมชนมาประกอบ

การทำแผนชุมชน ซึ่งเป็นแผนพัฒนาอย่างบูรณาการทุกด้านเชื่อมโยงกัน (๔) นำเสนอสภาประชาชน หรือ สภาชุมชน สภาประชาชน หมายถึง ที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้าน เนื่องจากหมู่บ้านมีขนาดไม่ใหญ่นัก คนทัง้ หมดจึงมีสว่ นร่วมได้ เป็นประชาธิปไตยทางตรง (Direct democracy) สภาประชาชนวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มเติมลดทอน แล้วในที่สุดรับรองแผนชุมชน (๕) คนทัง้ ชุมชนร่วมกันขับเคลือ่ นการพัฒนาตามแผนชุมชน เมื่อคนทั้งหมู่บ้านมีส่วนในการทำแผนชุมชน จึงเข้าใจและร่วมขับเคลื่อนได้ ซึ่งต่างจากแผนที่ทางราชการสั่งมา ที่ไม่ได้เป็นของเขา เขาไม่เข้าใจมัน ร่วม ทำไม่ได้ 18 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

(๖) เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ เมื่อชุมชนขับเคลื่อนการ พัฒนาตามแผน ก็จะเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๘ เรื่อง เชื่อมโยง เคลื่อนไปด้วยกัน คือ เศรษฐกิจ-จิตใจ-สังคม-วัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อมสุขภาพ-การศึกษา-ประชาธิปไตย การพัฒนาอย่างบูรณาการทำให้เกิด สังคมศานติสุขและความยั่งยืน จะเห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยชุมชน เป็นประชาธิปไตยทาง ตรง ที่ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญา อย่างกว้างขวาง เป็นสันติวิธี เป็นความสมานฉันท์ เป็นอรรถประโยชน์ต่าง จากประชาธิ ป ไตยระดั บ ชาติ ท ี ่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความแตกแยก และไม่ เ กิ ด

อรรถประโยชน์พอเพียง ฉะนั้น ต้องระวังอย่าให้ประชาธิปไตยระดับชาติลงไปแบ่งแยก คนในชุมชนออกเป็นพรรคนั้นพรรคนี้ แล้วเกิดความแตกแยกในชุมชน กระบวนการชุมชนทำให้คนในชุมชนทั้งหมดสมานฉันท์ ความสมานฉันท์ ของคนในชุมชนจะเป็นพลังของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน ชุมชน ไม่ใช่เพื่อพรรคนั้นพรรคนี้ ลองนึกภาพถ้าทั้ง ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้านทั่วประเทศ ประชาธิปไตย ชุมชนเบ่งบาน เราจะเปิดพื้นที่ทางสังคมพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง

เต็มพื้นที่ของประเทศ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้หมด ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผูกขาดที่เล่นกันอยู่ไม่กี่คน จนประเทศหมดพลัง ถ้าเข้าใจกระบวนการชุมชน ว่าเป็นรากฐานของความถูกต้องจาก หน่วยย่อยข้างล่าง การทำอะไรต่อไปก็ทั้งไม่ยาก ทั้งสันติ ทั้งใช้ปัญญา และ ทั้งเกิดอรรถประโยชน์ ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 19


ท้องถิ่นจัดการตนเอง

ในขณะที่ชุมชนเป็นภาคประชาชน ท้องถิ่นหรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เวลาเรา ใช้คำว่า “ชุมชนท้องถิ่น” มีความหมายเป็น ๒ นัย นัยหนึ่งคือ ท้องถิ่นกิน พื้นที่หลายชุมชน อาจทั้งลุ่มน้ำ หรือท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน แต่อีก นัยหนึง่ ท้องถิน่ เป็นการพูดโดยย่อของคำเต็มว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ อปท. ซึ่งมี ๓ ประเภท คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีรวมกัน ๗,๐๐๐ กว่า องค์กร ถ้าท้องถิ่นมีความสามารถในการจัดการตนเองได้มากที่สุด ประเทศ จะลงตัว ฉะนั้น ท้องถิ่นเองก็ดี องค์กรอื่นใดก็ดี ควรสนับสนุนให้ท้องถิ่นมี ความสามารถในการจัดการสูง การจัดการเริ่มด้วยการมีข้อมูล ทุกตำบล ควรทำการสำรวจข้อมูลตำบล ข้อมูลตำบลจะพาไปสู่การเชื่อมโยง การ พัฒนาคือการเชื่อมโยง 20 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ควรมีสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น หรือจะเรียกว่า ศูนย์วิชาการ เพื่อท้องถิ่นก็ได้ ในทุกระดับ โดย อปท. เป็นผู้ออกงบประมาณค่าใช้จ่าย แต่ถ้า อปท. ใดมีงบประมาณไม่พอ องค์กรภายนอกจะสนับสนุนบางส่วน บ้างก็ได้ คนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาสมัยใหม่ที่มีความสามารถในการจัดการ ทำข้อมูลและค้นความรู้ได้ ควรสมัครไปทำงานที่สถาบันจัดการความรู้เพื่อ ท้องถิ่น เพราะงานข้อมูลและความรู้เพื่อสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่น มี ความสำคัญมากต่ออนาคตประเทศไทย อปท. แต่ละแห่งอาจมีจุดอ่อนจุดแข็งไม่เหมือนกัน การเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายเพื่อเรียนรู้จากกัน อย่างที่ สสส. กำลังสนับสนุนอยู่มีความ สำคัญมาก เพราะจะทำให้ อปท. ทั้งหมดเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ หน้าที่ของ อปท. โดยสรุปก็คือ (๑) สนับสนุนความเข้มแข็งของ ชุมชนทั้งหมดในท้องถิ่นของตน (๒) ทำในสิ่งที่เกินความสามารถของชุมชน (๓) เชื่อมโยงกันระหว่างท้องถิ่นที่ใกล้เคียงให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ขึ้นที่ สามารถจัดการเรื่องใหญ่ๆ เช่น จัดการลุ่มน้ำ จัดการผืนป่า ป้องกันภัยพิบัติ ฯลฯ (๔) รวมตัวกันขับเคลื่อนนโยบายเพื่อชุมชนท้องถิ่น เป้าหมายของการพัฒนาจะกล่าวถึงในตอนที่ ๗…

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 21


จังหวัดจัดการตนเอง ภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ ในการออกจากหลุมดำของการปกครองโดยรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ ส่วนกลาง นอกจากจะมีเรื่องชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง แล้ว ยังมีเรื่องจังหวัดจัดการตนเองด้วย ในพื้นที่จังหวัด นอกจากชุมชนท้องถิ่น แล้วยังมีองค์กรและภาคส่วนอื่นๆ อันหลากหลาย เช่น องค์กรของกรม ต่างๆ องค์กรภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรต่างๆ ในจังหวัดควรรวมตัวกันเป็นประชาคมจังหวัด หรือ ภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ เนื่องจากภาคีมีความแตกต่างหลากหลาย มาก ควรมีกลไกประสานงาน ซึ่งอาจเรียกว่า ศูนย์ประสานงานพัฒนา จังหวัด ศูนย์นี้มีขนาดเล็ก แต่มีสมรรถนะสูง ทำงานเต็มเวลาและต่อเนื่อง งานของศูนย์นี้ต้องการคนทำงานที่มีความสามารถเหมาะสม จึงต้องพิถีพิถัน ในการคัดเลือกเป็นพิเศษ ความสำเร็จและความล้มเหลวของภาคีพัฒนา จังหวัดอย่างบูรณาการ ขึ้นกับสมรรถนะของศูนย์ประสานงาน 22 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ศูนย์ประสานงานพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการจัดทำข้อมูลจังหวัด (๒) จัดประชุมภาคีทั้งหมดเพื่อสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม ของการพัฒนาจังหวัด (๓) จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม (๔) ประสานการพัฒนาตามแผน และประสานการสนับสนุนทั้ง จากภายในและภายนอกจังหวัด (๕) ประสานการติดตามเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ เพื่อปรับปรุง ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (๖) จัดให้มีการสื่อสารทั้งระหว่างกันภายในจังหวัด และกับ ภายนอก (๗) จั ด การประชุ ม สมั ช ชาจั ง หวั ด เพื ่ อ เป็ น กลไกขั บ เคลื ่ อ น นโยบาย ทั้ง ๗ ข้อนี้คือ ตัวอย่างของ “การจัดการ” การพัฒนา ซึ่งเป็น กระบวนการทางปัญญาอันนำไปสู่ความสำเร็จ เมื่อกระบวนการจัดการนี้ หมุนวนอย่างต่อเนื่อง ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ จะเชื่อถือไว้ วางใจกันมากขึ้นเรื่อย ความสำเร็จมีมากขึ้นเรื่อยๆ ความสุขมีมากขึ้นเรื่อยๆ จังหวัดใกล้เคียงที่มีวัฒนธรรมเหมือนกัน ควรรวมตัวเป็นกลุ่มจังหวัด จัดการตนเอง เพื่อสามารถทำการที่ใหญ่ขึ้น ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 23


เป้าหมายของการพัฒนาอย่างบูรณาการ โดยเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง กุญแจคือการพัฒนาอย่างบูรณาการ การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและวิกฤตการณ์เกิดจากการพัฒนาแบบ

แยกส่วน ทุกอย่างคิดและทำแบบแยกส่วนหมด เช่น พัฒนาแต่เศรษฐกิจ แยกส่วนจากสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมและสิ ่งแวดล้อมก็วิกฤต และก็ ทำให้เศรษฐกิจวิกฤตด้วย เพราะทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน การศึกษาก็

แยกส่วนจากชีวิตไปเอาวิชาเป็นตัวตั้ง หากเปรียบเทียบกับร่างกายของเรา ถ้าหัวใจไปทาง ปอดไปทาง ตับไปทาง เราก็เป็นคนอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ที่เรามีความเป็นปรกติและสุขภาพดี ก็เพราะทุกองค์ประกอบใน ร่างกายของเราเชื่อมโยงบูรณาการกัน การบูรณาการทำให้เกิดความสมดุล ความสมดุลทำให้เกิดความยั่งยืน 24 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

เพราะฉะนั้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ พัฒนาอย่างแยกส่วนไม่ได้ การพัฒนาอย่างบูรณาการเอากรมเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะกรมแยก เป็นกรมละเรื่องๆ ถ้าเอากรมเป็นตัวตั้งจะพัฒนาแบบแยกส่วน การพัฒนา อย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง พื้นที่ก็คือชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด กลุ่มจังหวัด และเมื่อเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งแล้วก็ต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ ไม่ใช่ ยังคิดแบบเดิมที่พัฒนาแบบแยกส่วน นั่นคือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ต้องบูรณาการเข้ามาสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน นั่นคือเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่าง สมดุลระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ต้องดูว่าอะไรเป็นตัวร่วม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล เช่น (๑) การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ สัมมาชีพหมายถึงอาชีพที่ไม่ เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมี

รายจ่ายน้อยกว่ารายได้ ฉะนั้นคำว่า สัมมาชีพจึงไม่ได้หมายถึงเศรษฐกิจ เท่านั้น แต่หมายถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และศีลธรรมอีกด้วย การมีสัมมาชีพ เต็มพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความร่มเย็นเป็นสุข เมื่อการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นเป้าหมายร่วม การพัฒนาทุกชนิด ต้องพุ่งไปสู่การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ พลังงาน

สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา การศึกษาไม่ควรจะลอยตัวออกจากการ สร้างสัมมาชีพ การเรียนรู้จากการทำงานและมีรายได้เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 25


(๒) การเป็นสังคมที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน ทุกพื้นที่สามารถ สำรวจว่าใครอยู่ในข่ายที่จะถูกทอดทิ้งบ้าง เช่น คนแก่ เด็กกำพร้า คนพิการ และจัดให้มีอาสาสมัครดูแลทุกคน มีการเชื่อมโยงทางวิชาการเข้ามาช่วย ให้การดูแลมีคุณภาพขึ้น และมีกองทุนเข้ามาสนับสนุน การที่คนไทยจะดูแล ซึ่งกันและกัน ถ้าทุกพื้นที่เป็นสังคมที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน เราจะเป็นสังคม ไทยหัวใจมนุษย์ที่มีความสุขเหลือหลาย (๓) การเชื่อมโยงผู้บริโภคในเมืองกับผู้ผลิตในชนบทให้ เกือ้ กูลกัน พลังผู้บริโภคคือพลังเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุด ถ้า เกษตรกรผลิ ต อาหารแบบอนุ ร ั ก ษ์ แ ละเพิ ่ ม พู น สิ ่ ง แวดล้ อ ม ที ่ เ รี ย กว่ า

วนเกษตรก็ดี หรือเกษตรผสมผสานก็ดี หรือเกษตรยั่งยืนก็ดี ถ้าผู้บริโภค อาหารในเมืองบริโภคอาหารจากการผลิตของเกษตรกรที่ทำเกษตรยั่งยืน โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง นอกจากได้บริโภคอาหารที่เป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว

ยังมีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควรจะมีคนส่วนหนึ่งประกอบธุรกิจเพื่อ สังคมขนาดเล็ก (Small Social Enterprise = SSE) ที่เชื่อมโยงระหว่าง

ผู้บริโภคในเมืองกับผู้ผลิตในชนบทให้เกื้อกูลกัน (๔) ระบบสุขภาพชุมชนทีด่ ที สี่ ดุ ขณะนี้เรามีโครงสร้างครบ ถ้า ตั้งเป้าหมายและมีการจัดการที่ดี เราสามารถมีระบบสุขภาพชุมชนที่ดีที่สุด ที่นอกจากสร้างระบบสุขภาพที่ดีแล้วยังสร้างสัมมาชีพได้เป็นจำนวนมาก อบต. สามารถร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์หรือวิทยาลัยการพยาบาล และ โรงพยาบาลชุมชน ผลิตพยาบาลของชุมชน เพื่ออยู่ประจำในชุมชน เพื่อให้ บริการใกล้บ้านใกล้ใจ ผู้สูงอายุมีมากขึ้นเรื่อยๆ และเจ็บป่วยเรื้อรัง ควรจะ มีคนดูแลถึงบ้าน ซึ่งอาจเป็นพยาบาลเยี่ยมบ้าน อาสาสมัคร และผู้บริบาล

ผู้บริบาลคือเด็กจบ ม.๖ ซึ่งได้รับการฝึกอบรม ๖-๑๒ เดือน สามารถช่วย 26 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และช่วยผ่อนแรงพยาบาลได้ แต่ละจังหวัดจะต้องการ

ผู้บริบาลจำนวนไม่น้อย เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการสร้างอาชีพที่มีประโยชน์ ต่อสังคม ระบบสุขภาพชุมชนต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานวิชาการ เช่น สถานีอนามัย และโรงพยาบาลชุมชน (๕) ป้องกันภัยพิบตั ิ ทุกชุมชนท้องถิ่นต้องสามารถป้องกัน และ จัดการภัยพิบัติได้ (๖) พลังงานชุมชน แต่ละชุมชนต้องพยายามผลิตพลังงานใช้ เองให้พอเพียง ด้วยวิธีต่างๆ ที่ทั้งทำให้เป็นการสร้างอาชีพด้วย และทำให้

สิ่งแวดล้อมดีด้วย (๗) วิจยั ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ สร้างพิพธิ ภัณฑ์ ศูนย์ศลิ ปะ ศูนย์กฬ ี า ส่งเสริมการท่องเทีย่ วชุมชน ทุกท้องถิ่นควรจัดให้มีการวิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะช่วยการรวมตัวของคนใน ท้ อ งถิ ่ น ควรมี พ ิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ ต ำบล รวมทั ้ ง ศู น ย์ ศ ิ ล ปะ ศู น ย์ ก ี ฬ า และ

ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน (๘) มีสถาบันการเงินชุมชนระดับตำบล อบต. กับ ธกส. สามารถร่วมมือกันดำเนินการให้มีสถาบันการเงินของชุมชนระดับตำบล เพื่อ เป็นเครื่องมือการออม การลงทุน และการจัดการสวัสดิการ สถาบันการเงิน ชุมชนระดับตำบลทีป่ ระสบความสำเร็จ อาจมีเงินเพิม่ ขึน้ ถึง ๑๐๐ กว่าล้านบาท และกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการกระตุ้นการเรียนรู้ การประกอบ อาชีพ และกิจการทางสังคม (๙) มีต้นไม้เพิ่มขึ้น... ต้น ต่อตำบล มีการกำหนดเป้าหมาย จำนวนต้นไม้ที่จะให้มีเพิ่มขึ้นต่อตำบล ต่ออำเภอ ต่อจังหวัด ถ้าเป็นไปได้ให้ มีป่าไม้ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ เพื่อให้ความสมดุลของธรรมชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 27


กลับคืนมา ป้องกันความแห้งแล้งและน้ำท่วม นอกจากนั้น การมีต้นไม้ มากๆ แล้วเลือกตัดไปทำประโยชน์โดยไม่เสียความเป็นป่า จะให้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจมหาศาล เคยมีผู้คำนวณว่า แต่ละอำเภอจะมีรายได้จากต้นไม้ ไม่น้อยกว่าปีละ ๕๐๐ ล้านบาท (๑๐) ปฏิรูปการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น ต้องมองการศึกษา ใหม่ การศึกษาทุกวันนี้คับแคบ และแยกส่วนเป็นเรื่องของโรงเรียน ครู และ วิชาการเท่านั้น เมื่อแยกส่วนก็บีบคั้น บีบคั้นหมดทุกฝ่าย ทั้งต่อนักเรียน

ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารการศึกษา กลายเป็นการศึกษาที่ก่อความทุกข์ยาก ให้แก่คนทั้งแผ่นดิน การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือแก้ทุกข์ไม่ใช่ก่อทุกข์ มนุษย์สามารถจะเรียนรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกหนทุกแห่ง ไม่ใช่จาก ครูและที่โรงเรียนเท่านั้น ต้องปรับเปลี่ยนตัวตั้งของการศึกษา จากการเอา วิชาเป็นตัวตั้ง แยกส่วนไปจากชีวิต มาเป็นเอาชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็น ตัวตั้ง มีชีวิตที่ไหนมีการเรียนรู้ที่นั่น ชีวิตต้องทำงาน ต้องมีรายได้ ก็ต้อง เรียนรู้จากการทำงานและมีรายได้ ไม่ใช่เรียนแล้วจนทั้งครูและนักเรียน

การเรียนรู้ในชุมชนและสัมมาอาชีวะศึกษาควรจะเป็นฐานของการศึกษา สำหรับคนทั้งมวล การปฏิรูปการศึกษาเพื่อชุ มชนท้องถิ่นนี้ โรงเรียนและ กระทรวงศึกษาไม่สามารถทำได้ตามลำพัง ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และประชาคม จังหวัด ต้องเข้ามาสนใจอย่างจริงจัง เพราะเป็นเครื่องมือใหญ่ของการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็นตัวอย่างของเป้าหมายของการพัฒนาอย่าง บูรณาการในจังหวัด ภาคีพัฒนาจังหวัดอาจเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็ได้ตามที่

เห็นควร 28 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง คือการเปิดพืนที ้ ่ทางสังคม และพืนที ้ ่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ในสังคมปัจจุบันที่สลับซับซ้อนและยาก อำนาจแก้ปัญหาไม่ได้ ฝรั่งเองพูดมานานแล้วว่า Power is less and less effective. (อำนาจ ใช้ได้ผลน้อยลงๆ) เรือ่ งนีผ้ มเคยเตือนคุณทักษิณ ชินวัตร เมือ่ แรกเป็นนายกรัฐมนตรี และคุยกับผมเป็นการส่วนตัว เมื่ออำนาจแก้ปัญหายากๆ ไม่ได้ แต่โลกเต็ม ไปด้วยปัญหายากๆ และเต็มไปด้วยการใช้อำนาจ จึงแก้ปัญหาไม่ได้ และ วิกฤตมากขึ้นๆ

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 29


กุญแจ คือ การเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่าง กว้างขวาง เรื่องชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการ ตนเอง ที่กล่าวมาใน ๔ ตอนที่แล้ว คือ การเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่

ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ซึ่งแสดงด้วยภาพข้างล่างนี้

รูปข้างล่างจะแสดงความมหาศาลของพื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ ทางปัญญาที่ฐานของประเทศ ความถูกต้องเป็นธรรม

ระบบต่างๆ ประชาคมจังหวัด ท้องถิ่น สภาผู้นำชุมชน สภาประชาชน

ตำบล ๘,๐๐๐ หมู่บ้าน ๙๐,๐๐๐

สู่

จัดการ ตนเอง

พระเจดีย์แห่งการพัฒนา

จากหลุมดำ (แผนการรวมศูนย์อำนาจ)

ดอกไม้ บานทั่วประเทศ (ชุมชนท้องถิ่นเบ่งบาน)

ในระบบปิดคนมีส่วนร่วมได้น้อย รู้สึกอึดอัดขัดข้องไปหมด ใน ระบบเปิดคนทั้งแผ่นดินมีส่วนร่วมได้ เหมือนดอกไม้บานทั้งประเทศ

30 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

เรามีหมู่บ้านประมาณ ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านหนึ่งมีสภาผู้นำ ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยผู้นำตามธรรมชาติ ประมาณ ๕๐ คน ก็จะมีผู้นำตาม ธรรมชาติ ท ั ้ ง หมดประมาณ ๘๐,๐๐๐ x ๕๐ = ๔,๐๐๐,๐๐๐ คน

สภาประชาชนหรือที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้าน คือการเปิดพื้นที่ทางสังคมที่ ใหญ่ที่สุด มีองค์กรปกครองท้องถิ่นอีก ๗,๐๐๐ กว่าแห่ง สภาตำบล สภา เทศบาล สภาจังหวัด ที่มีผู้นำอีกหลายหมื่นคนมีส่วนร่วม ประชาคมจังหวัด ยังขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆ อันหลากหลายเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งหมดเป็น พื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอันกว้างใหญ่ไพศาล การจัดการตนเอง หมายถึงสมรรถนะทางปัญญา ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 31


การจัดการเป็นอิทธิปัญญา (อิทธิ= สำเร็จประโยชน์) หรือปัญญาที่ จะทำให้สำเร็จประโยชน์ การจัดการต้องเอาความรู้มาใช้ แต่ไปละเลยความรู้ ปัญญาหมายถึงรู้ทั้งหมด การจัดการคือการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมด ให้สำเร็จประโยชน์ การศึกษาของเราที่เน้นการเอาวิชาหรือความรู้เป็นตัวตั้ง ทำให้

คนไทยเกือบจะขาดภูมิปัญญาในการจัดการไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ทำอะไรไม่ ค่อยเป็น เพราะการทำอะไรให้สำเร็จนั้นต้องการการจัดการ ฝรั่งนั้นรู้ว่าการจัดการมีอำนาจแห่งความสำเร็จมาก จึงพูดว่า “Management makes the impossible possible.” (การจัดการทำให้ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้) เมือ่ คิดว่าอะไรเป็นไปไม่ได้ ให้ใส่การจัดการเข้าไปจะทำให้เป็นไปได้ การใช้อำนาจโดยไม่เป็นนั้น นอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังก่อให้เกิด ความยุ่งยากและความรุนแรงตามมาได้ ฉะนั้นระบบรัฐซึ่งคุ้นเคยกับการใช้ อำนาจ โดยไม่ใช้ความรูแ้ ละจัดการไม่เป็น จึงทำงานได้ผลน้อยลงๆ บ้านเมือง ยุ่งยากและรุนแรงมากขึ้นๆ ถ้ารัฐล้มเหลว ประชาชนจะลุกฮือ (Uprising) แต่ที่เราเห็น ทั้งในประวัติศาสตร์และในปัจจุบ ันว่า เมื่อประชาชนลุกฮือขึ้น โค่นล้มรัฐบาลจะเรียกว่าปฏิวัติประชาชน หรืออะไรก็ตามที แม้นโค่นล้ม รัฐบาลสำเร็จ แต่ประชาชนปกครองไม่ได้จะขัดแย้งกับอำนาจใหม่ต่อไป

ดังที่กำลังเกิดขึ้นที่อียิปต์ ฉะนั ้ น ที ่ เ รี ย กว่ า ชุ ม ชนจั ด การตนเอง ท้ อ งถิ ่ น จั ด การตนเอง จังหวัดจัดการตนเองนี้ไม่ใช่เรื่องการแย่งชิงและโค่นล้มอำนาจ แต่เป็นการ สถาปนาอำนาจในการปกครองตนเองของประชาชนขึ้นมาตามลำดับ เมื่อ ประชาชนจัดการตนเองได้ บ้านเมืองก็จะลงตัวด้วยสันติวิธี 32 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ที่เรียกว่าจัดการในที่นี้ คือการจัดการการพัฒนาอย่างบูรณาการ และจัดการเชิงนโยบาย ชุมชนท้องถิน่ และจังหวัดทีจ่ ดั การตนเองจะเข้าใจประเด็นนโยบาย จากการปฏิบัติและเรียนรู้ที่จะขับเคลื่อนนโยบายระดับต่างๆ มากขึ้นๆ จนถึงขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติได้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพก็ดี สมัชชาปฏิรูปก็ดี สมัชชาชุมชน ท้องถิ่นจัดการตนเองก็ดี ก็คือกระบวนการทางสังคมและปัญญาที่ภาคส่วน ต่างๆ นำเอาปัญหามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ จนได้ข้อสรุปทางนโยบายเป็นมติ และขับเคลื่อนการปฏิบัติตามมติต่อไป นี่ก็คือการเปิดพื้นที่ทางสังคม และ พื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เพื่อขยับเขยื้อนเรื่องที่ยากและซับซ้อนไปสู่ ความสำเร็จด้วยสันติวิธี เรื่องที่ยากและซับซ้อนไม่มีฝ่ายใดฝ่ายเดียว ไม่ว่าจะมีอำนาจ

แค่ไหน จะทำได้สำเร็จ และถ้าดันโดยอำนาจต่อไปก็จะเกิดความรุนแรง ฉะนั้น จึงหวังว่าภาคส่วนต่างๆ จะพยายามทำความเข้าใจกระบวนทัศน์ใหม่ ในการพั ฒ นาด้ ว ยการเปิ ด พื ้ น ที ่ ท างสั ง คมและพื ้ น ที ่ ท างปั ญ ญาอย่ า ง

กว้างขวาง

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 33


ความเป็นสถาบัน และเครื่องมือเชิงสถาบัน ของชุมชนท้องถิ่น ที่อธิบายข้างต้นมาทั้งหมดเพื่อแสดงให้เห็นว่าชุมชนท้องถิ่นคือ ฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศแข็งแรง ประเทศทั้งประเทศจะมั่นคง ฐานของประเทศจึงมีความสำคัญสุดประมาณ อะไรที่มีความสำคัญมากต้องมีความเป็นสถาบัน และมีเครื่องมือ เชิงสถาบัน ความเป็ น สถาบั น หมายถึ ง มี ค วามถู ก ต้ อ งดี ง าม ผู ้ ค นให้ ก าร ยอมรับและคอยรับฟัง สิ่งที่พูดหรือทำมีผลกระทบต่อทิศทางความเป็นไป ของสังคม ทีผ่ า่ นมาเพราะการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจทีก่ ล่าวถึงในตอนที่ ๑ ชุมชนท้องถิ่นไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรี ถูกทอดทิ้งหรือแม้แต่ถูกทำลายให้ 34 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

อ่อนแอ ตั้งแต่นี้ต่อไปด้วยจิตสำนึกใหม่ว่าแท้ที่จริงชุมชนท้องถิ่นคือฐาน ของประเทศ ชุมชนท้องถิ่นต้องมีความเป็นสถาบัน ทุกฝ่ายรวมทั้งตัวชุมชน

ท้องถิ่นเอง ต้องช่วยกันสร้างให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเป็นสถาบัน นั่นคือตั้ง อยู่ในความถูกต้องดีงาม มีความรู้ มีสมรรถนะ มีศักดิ์มีศรีเป็นที่เคารพ นับถือและยอมรับ และมีเครื่องมือเชิงสถาบัน ในขณะที่ภาครัฐและภาคธุรกิจมีเครื่องมือเชิงสถาบันเต็มไปหมด ภาคประชาชนซึ่งเป็นภาคที่สำคัญที่สุดกลับไม่มีเครื่องมือเชิงสถาบันเลย

นี่เป็นความอปรกติที่นำไปสู่การเสียความสมดุลอย่างรุนแรง เครื่องมือเชิงสถาบัน ประกอบด้วย องค์กร ระบบ กฎหมาย ลอง นึกดูว่าระบบธนาคารทั้งหมดเป็นเครื่องมือเชิงสถาบันของใคร ระบบการ ศึกษาทั้งหมดเป็นเครื่องมือเชิงสถาบันของภาครัฐและภาคธุรกิจ แต่ไม่ใช่ เครื่องมือเชิงสถาบันของชุมชนท้องถิ่นเลย ท้องถิน่ อาจเริม่ มีความเป็นสถาบันทีม่ กี ฎหมายรองรับ มีงบประมาณ แต่ยังขาดศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับ ดังจะเห็นว่าหน่วยงานที่เคยสังกัดกับ ราชการส่ ว นกลางยั ง รู ้ ส ึ ก ไม่ ส บายใจที ่ จ ะย้ า ยไปสั ง กั ด กั บ อปท. และ

งบประมาณที่จัดให้ อปท. ก็ยังน้อยเกินไป แต่สถานการณ์ตรงนี้จะดีขึ้น เรื่อยๆ เพราะพลังท้องถิ่นนั้นเป็นพลังมหาศาลทางการเมือง ชุมชนยังต้องการเครื่องมือเชิงสถาบันหลายอย่าง เช่น (๑) เกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มี องค์กรชุมชนเล็กๆ ที่สมาชิกมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึงและควบคุมได้ องค์กร ของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานมีการจัดการที่ดี (๒) มีธนาคารของประชาชน โดยมีสถาบันการเงินชุมชนขนาดเล็ก ของชุมชนทั้งหมดมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายจะเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุด ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 35


หากภาคประชาชนมีธนาคารเป็นสถาบันของตนเองจะเป็นพลังทางการจัดการ มหาศาลทุกๆ เรื่อง (๓) องค์กรชุมชนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะจัดการทรัพยากร เช่น ที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน (๔) ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการการศึกษาให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตนเอง (๕) ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการความยุติธรรมชุมชนได้ (๖) มี พ.ร.บ. สภาชุมชนท้องถิ่นที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและ ประธานรั ฐ สภาต้ อ งเข้ า ร่ ว มประชุ ม สภาชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น เพื ่ อ รั บ ข้ อ เสนอ นโยบายจากชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น ไปปฏิ บ ั ต ิ ข้ อ นี ้ จ ะเท่ า กั บ เป็ น การต่ อ เชื ่ อ ม ประชาธิปไตย ๓ ระดับเข้าด้วยกัน คือ ประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตย ท้องถิ่น ประชาธิปไตยระดับชาติ จะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ ยังคงมีเครื่องมือเชิงสถาบันอื่นๆ อีกที่ชุมชนท้องถิ่นควรจะมี ซึ่ง เมื่อมีแล้วจะทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีพลังการพัฒนามาก ที่นำมากล่าวไว้เพื่อ เป็นเครื่องเตือนให้คิดถึงเรื่อง ความเป็นสถาบั น และเครื่องมือเชิงสถาบัน ของชุมชนท้องถิ่น

36 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

๑๐

ทำยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ มีการพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานพอสมควร มี ก ารพู ด ถึ ง หลั ก การว่ า จะต้ อ งพั ฒ นาอย่ า งบู ร ณาการให้ เ กิ ด ดุลยภาพจึงจะยั่งยืน แต่ไปไม่ถึงยุทธศาสตร์การปฏิบัติ การพัฒนาอย่าง

ยั่งยืนจึงไม่เกิดขึ้น ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน คือการพัฒนาอย่างบูรณาการ ที่เอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง เพราะชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ และ เป็นความจริงของชีวิตและการอยู่ร่วมกัน เศรษฐกิจชุมชนเป็นเศรษฐกิจจริง จึงยั่งยืนกว่าเศรษฐกิจข้างบน ซึ่งมีส่วนของเศรษฐกิจมายาคติอยู่มากซึ่ง

สุ่มเสี่ยงต่อความไม่ยั่งยืนและวิกฤต ในเมื่อการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง เป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็ควรทำให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ และหมุนทุกสิ่งทุกอย่างให้มาสนับสนุนยุทธศาสตร์นี้ ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 37


(๒) ศิ ล ปะและศิ ล ปิ น การสื ่ อ สารด้ ว ยศิ ล ปะและโดยศิ ล ปิ น

ทุกประเภท รวมทั้งทำภาพยนตร์ดีๆ (๓) จัดการการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพาผู้คนไปเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ของชุมชนท้องถิ่น

ต่อไปนี้คือการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ๔ ทิศ ๑๒ ประการ ดังรูป ศิลปะ/ศิลปิน

การสื่อสาร

โลกทัศน์-วิธีคิด

เชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนเศรษฐกิจมหภาค ต่อ ๑ บริษัท ระบบเศรษฐกิจ ๑ ตำบล

ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

การท่องเที่ยวชุมชน

ยุทธศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่น ระบบการศึกษาและศาสนา

หลักสูตร

๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด

ทิศทางที่ ๒ ระบบรัฐ

ปรับบทบาท ระบบรัฐ

กฎหมาย

งบประมาณ หลักธรรมชุมชน

ทิศที่ ๑ โลกทัศน์และวิธีคิด โลกทัศน์และวิธคี ดิ ก็คอื สัมมาทิฐเิ กีย่ วกับการพัฒนา ถ้ามีสมั มาทิฐิ สิ่งที่ตามมาก็คือสัมมาพัฒนา ขณะนี้ภาคส่วนต่างๆ ยังขาดความเข้าใจ ว่าการพัฒนาต้องเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้นการสนับสนุน ยุทธศาสตร์ทิศทางที่ ๑ คือการสร้างโลกทัศน์และวิธีคิดที่ถูกต้อง เสนอไว้ ๓ ประการ คือ (๑) การสื่อสาร ต้องทำการสื่อสารที่ดีทุกรูปแบบ รวมทั้งสร้าง

นักเขียนเรื่องชุมชนท้องถิ่น (Journalists) จำนวนที่มากพอ 38 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ระบบรัฐควรปรับตัวหันมาสนับสนุนบทบาทของชุมชนท้องถิน่ โดย (๑) ปรั บ บทบาทจากการใช้ อ ำนาจสั ่ ง มาเป็ น สนั บ สนุ น ชุ ม ชน

ท้องถิ่นเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ (๒) แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเองได้มากที่สุด (๓) ปฏิรูปงบประมาณที่เอากรมเป็นตัวตั้ง ไปเป็นเอาพื้นที่เป็น

ตัวตั้ง

ทิศทางที่ ๓ ระบบการศึกษาและศาสนา ให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการศึกษาเองที่สอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด (๑) หลักสูตรชุมชนภาคปฏิบัติ ในการศึกษาทุกชนิดทุกประเภท ให้ผู้เรียนไปศึกษาโดยใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน เพื่อเรียนรู้จากชีวิต จริงปฏิบัติจริง ฐานของระบบการศึกษาควรเป็นการศึกษาใน ชุมชน และสัมมาอาชีวศึกษา (๒) มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนพื้นที่ทางวิชาการให้มีอย่างน้อย ๑ มหาวิทยาลัย ทำงานร่วมกับ ๑ จังหวัด ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 39


(๓) ความมุ ่ ง หมายทางสั ง คมของทุ ก ศาสนาคื อ ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง สถาบันทางศาสนาควรนำหลักธรรมเกีย่ วกับชุมชนเข้มแข็ง เช่น อปริหานิยธรรมมาสอนมากๆ และสนับสนุนกระบวนการ ชุมชน ควรสำรวจวัดและพระสงฆ์ทส่ี นใจงานชุมชนทัว่ ประเทศ และส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อชุมชน

ทิศทางที่ ๔ ระบบเศรษฐกิจ

การสนับสนุนยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๔ ทิศ ๑๒ ประการที่ กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าอะไรเมื่อเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ทุกภาคส่วนต้องหมุนตัวมาสนับสนุนยุทธศาสตร์นั้น ในเมื่อยุทธศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์ชาติ พลังต่างๆ ของประเทศต้องปรับตัวมา หนุนยุทธศาสตร์นี้ ต้องร่วมกันทำยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์ชาติ

(๑) เชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนกับเศรษฐกิจมหภาคให้เกื้อกูลกัน เศรษฐกิ จ ชุ ม ชนเป็ น เศรษฐกิ จ แบบบู ร ณาการ เศรษฐกิ จ มหภาคเป็นเศรษฐกิจพลัง แต่อาจแยกส่วนและเสี่ยง การ เชื่อมโยงทั้งสองจะเสริมประโยชน์ซึ่งกันและกัน (๒) ๑ บริษัทต่อ ๑ ตำบล เรามีตำบลประมาณ ๘,๐๐๐ ตำบล

แต่มีบริษัทเป็นหมื่นๆ แห่ง จึงมีความเป็นไปได้ที่ ๑ บริษัทจะ ไปสนับสนุนความเข้มแข็งของ ๑ ตำบล ในด้านสมรรถนะ การจัดการ (๓) ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) งานเพื่อสังคมมีมาก แต่เงินเพื่อการทำงานทางสังคมมีจำกัด ถ้าทำธุรกิจที่มีกำไร ด้วย มีประโยชน์ต่อสังคมด้วย การทำเพื่อสังคมก็จะก้าวข้าม ความจำกัด ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างหนึ่งที่น่าทำมากคือการ เชื่อมโยงผู้บริโภคในเมืองกับเกษตรกรที่ทำเกษตรยั่งยืน เพราะพลังผู้บริโภคเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนที่สำคัญที่สุด 40 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 41


ปัจฉิมกถา วิกฤตใหญ่ของโลกเป็นวิกฤตการณ์อยู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์ กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม เป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ มากของโลกทั้งใบ และวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด จึงเป็นวิกฤต อารยธรรม (Civilization Crisis) วิกฤตใหญ่เกิดขึ้นเพราะจิตสำนึกเล็กของมนุษย์ที่เห็นเฉพาะส่วน แบบแยกส่วน คิดแบบแยกส่วน และทำแบบแยกส่วน การพัฒนาแบบแยก ส่วนนำไปสู่การเสียดุลยภาพ การเสียดุลยภาพนำไปสู่การอปรกติ ความไม่ ยั่งยืน และความล่มสลาย ยุทธศาสตร์ชมุ ชนท้องถิน่ อยูภ่ ายใต้กรอบความคิดใหญ่ คือความคิด มหาบูรณาการ (Grand Integration) เริ่มตั้งแต่ บูรณาการจิตสำนึกที่เห็นว่า มนุษย์ทั้งหมดและธรรมชาติทั้งหมดล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นเป้า หมายของการพัฒนาคือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด หรือเพื่อชนะคู่ต่อสู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายแบบแยกส่วนและไม่เจริญ (อนารยะ) การพัฒนาทุกอย่างต้องถือการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง ถ้าเอาอย่างอื่น เช่น ตลาด เงิน วิชา องค์กร สถาบัน วิชาชีพ เป็นตัวตั้ง จะพลาดหมด 42 | ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น

การพัฒนาอย่างบูรณาการจะทำได้โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งเท่านั้น เอากรมเป็นตัวตัง้ ไม่ได้ เพราะกรมแยกส่วนเป็นเรือ่ งๆ พืน้ ทีค่ อื ชุมชนท้องถิน่ ระบบที่ซับซ้อนและวิจิตรที่สุดคือร่างกายของเรา สร้างมาจาก เซลล์ๆ เดียว ไม่มีใครเสกความซับซ้อนที่ถูกต้องมาจากข้างบนได้ ความ

ถูกต้องต้องก่อตัวถักทอกันขึ้นมาเอง (Self-organization) จากหน่วยย่อย ข้างล่าง ข้างบนเป็นเรื่องของอำนาจและมายาคติ ถ้าพยายามทำกันอยู่เฉพาะ ข้างบนก็พลัดตกเข้าไปอยู่ในโมหภูมิได้ง่าย แล้วพากันเข้าไปสู่ความไม่

ถูกต้อง เช่น การฉ้อโกง การใช้อำนาจ ความรุนแรง และเกิดวิกฤตการณ์กัน ทั่วโลก หน่วยย่อยที่มีความถูกต้องง่ายที่สุดคือชุมชน แนวทางชุมชนท้องถิ่น จึงถือหลักการการถักทอกันขึ้นมาเองจาก ความถูกต้องของหน่วยย่อยคือชุมชน แล้วขยายตัวขึ้นมาตามลำดับ เพื่อ กระชับพื้นที่ของความถูกต้องขึ้นมาจากข้างล่าง ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันใน การปฏิบัติและมีการจัดการโดยใช้ความรู้ นั่นคือกระบวนการทางสังคม และกระบวนการทางปัญญาอย่างศานติ ในอนาคตอันใกล้ โลกคงจะวิกฤตอย่างยิง่ ไทยคงจะวิกฤตอย่างยิง่ เพราะผลของการพัฒนาด้วยกระบวนทัศน์เก่า เมื่อออกจากวิกฤตไม่ได้ด้วย กระบวนทัศน์เก่า กระบวนทัศน์ใหม่ก็จะผุดบังเกิดขึ้น กระบวนทั ศ น์ ใ หม่ ท ี ่ จ ะทำให้ ห ายวิ ก ฤต คื อ กระบวนทั ศ น์

มหาบูรณาการ (Grand Integration) ที่นำมาใช้ในการเสนอยุทธศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่นนี้ ท่านทั้งหลายจงมีโยนิโสมนสิการ ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 43



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.