แม่ปะ

Page 1



แม่ปะ

เรื่องและภาพ ติณ นิติกวินกุล


Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ แม่ปะ เรื่อง และ ภาพ ภาพติณ นิติกวินกุล ออกแบบปกและรูปเล่ม น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

978-616-7374-82-6 บรรณาธิการอำนวยการ

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-343 -1500 โทรสาร 02-343 -1551 www.thaihealth.or.th พิมพ์ครั้งที่ 1

ธันวาคม 2555


ดำเนินการผลิตโดย

เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com


6

แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

7


คำนำ ท่ามกลาง​กระแส​วกิ ฤติเ​ศรษฐกิจโ​ลก​ครัง้ ใ​หญ่เ​ป็น​ ประวัติการณ์ใ​น​รอบ​หลาย​สิบ​ปี ทำให้​เกิด​การ​ตั้ง​คำถาม​ ว่าว​ กิ ฤติน​ จ​ี้ ะ​ใหญ่ข​ นึ้ อ​ กี เ​พียง​ใด จะ​ยดื เ​ยือ้ ข​ นาด​ไหน และ​ วิกฤติ​นี้​จะ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​สังคม​ไทย​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ มาก​น้อย​เพียง​ใด ความ​วิตก​ดัง​กล่าว​อาจ​จะ​ไม่​เกิด​ขึ้น​ เลย​หาก​ปัจจุบัน​ชุมชน​หมู่บ้าน​ไทย​ไม่​ถูก​ลาก​เข้า​สู่​ระบบ​ การ​ผลิตเ​พื่อข​ าย นัก​วิชา​การ​หลายๆ ท่าน ได้​วิเคราะห์​ถึง​ระบบ​ เศรษฐกิจ​ของ​ประเทศไทย​ว่า​ใน​ระบบ​ทุนนิยม​ยัง​คง​มี​อีก​ ระบบ​ดำรง​อยู่​ใน​ลักษณะ​คู่​ขนาน นั่น​คือ​ระบบ​เศรษฐกิจ​ ชุมชน​หรือ​อาจ​จะ​กล่าว​เป็น​ศัพท์​สมัย​ใหม่​ได้​ว่า​ระบบ​ เศรษฐกิจ​แบบ​พอ​เพียง ใน​อดีตช​ มุ ชน​หมูบ่ า้ น​จะ​มว​ี ถิ ช​ี วี ติ ท​ เ​ี่ รียบ​งา่ ย​เน้น​ ความ​พอ​เพียง มีค​ รอบครัว​เป็น​หน่วย​การ​ผลิต การ​ช่วย​ เหลือซ​ งึ่ ก​ นั แ​ ละ​กนั ม​ น​ี ำ้ ใจ​เป็นพ​ นื้ ฐ​ าน​ของ​ชวี ติ มีพ​ ธิ กี รรม​ ต่างๆ เป็น​ระบบ​การ​จัดการ​ใน​ชุมชน​และ​ให้​ความ​สำคัญ​ ของ​บรรพบุรุษ ผูเ้​ฒ่า​ผู้​แก่ ครอบครัว ต่อ​มา​หลัง​จาก​รัฐ​และ​ระบบ​ทุนนิยม​ได้​เข้าไป​มี​ อิทธิพล​ต่อช​ ุมชน การ​ผลิต​เชิงเดี่ยว​และ​ลัทธิ​บริโภค​นิยม​ ทำให้ช​ าว​บา้ น​มร​ี าย​จา่ ย​ทเ​ี่ ป็นต​ วั เ​งินม​ าก​ขนึ้ เพียง​เท่านัน้ ​


ยัง​ไม่​พอ​สิ่ง​ที่​ทำลาย​ความ​เข้ม​แข็ง​ของ​ชุมชน​ที่​มาก​ที่สุด คือ รัฐ​และ​ทุน​เข้าไป​ถ่าย​โอน​ทรัพยากร​จาก​ระบบ​ชุมชน​ หมู่บ้าน ยิ่ง​รัฐ​และ​ทุน​เข้าไป​กอบโกย​มาก​เท่าไร ชุมชน​ หมู่บ้าน​ไทย​ยิ่ง​ประสบ​ความ​อ่อนแอ คำ​พูด​ดังก​ ล่าว​ไม่ใช่​ คำ​พูด​ลอยๆ ทีไ่​ม่มี​หลักฐ​ าน​รองรับ หาก​แต่​เมื่อ​กวาดตา​ ไป​ทวั่ แ​ ผ่นด​ นิ ไ​ทย หลังก​ าร​ประกาศ​แผน​พฒ ั นา​เศรษฐกิจ​ และ​สังคม​มากว่า 40 ปี จะ​มี​สัก​กี่​ชุมชน​ที่​คนใน​ชุมชน​ไม่​ ประสบ​ปญ ั หา​ความ​ยากจน ไม่ป​ ระสบ​ปญ ั หา​สงิ่ แ​ วดล้อม หรือไ​ม่​ประสบ​ปัญหา​สุขภาพ จาก​สถานการณ์​ดัง​กล่าว​ถึง​เวลา​แล้ว​หรือ​ยัง​ที่​ สังคม​ไทย​ควร​กลับ​มา​เน้น​การ​พัฒนา​ที่​ไม่​มอง​แต่​มิติ​ ประสิทธิภาพ การ​สร้าง​มูลค่า​และ​กำไร​หรือ​การ​ตลาด​ ด้าน​เดียว แต่​ควร​จะ​เป็น​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ชุมชน​และ​ สังคม เรา​ไม่​ควร​ลด​ทอน​ผู้คน​ลง​ไป​เป็น​เพียง​ตัวเลข หาก​ ควร​เป็น​เพื่อ​ส่ง​เสริม​ศักยภาพ​และ​ศักดิ์ศรี ​ความ​เป็น​ มนุษย์ คำ​ตอบ​สำหรับค​ ำถาม​ข้าง​ต้น​นี้ คงจะ​ต้อง​ช่วย​กัน​ ค้นหา ไม่​ว่า​จะ​ใช้ร​ ะยะ​เวลา​นาน​เท่าไร คณะ​ผู้​จัด​ทำ


10 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

01 เกริ่นนำ สภาพ​ชีวิต​ของ​ผม​และ​เพื่อนๆ ใน​เมือง​หลวง​ทุก​วัน​นี้ เรา​ต่าง​มี​ลักษณะ​ที่มา​ที่​ไป​ไม่​แตก​ต่าง​กัน​นัก เรา​เติบโต​ ใน​ชนบท มี​โอกาส​ทาง​ครอบครัว​และ​สังคม​จึง​ได้​มา​เล่า​ เรียน​ใน​เมือง​หลวง บาง​คน​เข้าเ​มือง​ตงั้ แต่ร​ ะดับช​ นั้ ป​ ระถม บางคน​เริ่ม​ต้น​ตอน​ชั้น​มัธยม จำนวน​ไม่​น้อย​ใช้​ชีวิต​ใน​ เมือง​ใหญ่เ​มือ่ เ​รียน​ตอ่ ร​ ะดับอ​ ดุ มศึกษา หลังจ​ าก​เรียนจบ​ เรา​ได้​งาน​ทำ​ใน​เมือง​และ​ใช้​ชีวิต​ต่อ​กัน​มา​อีก​หลาย​ปี ปีแล้ว​ปี​เล่า​ผ่าน​ไป​จน​วัน​หนึ่ง​เมื่อ​สายน้ำ​แห่ง​ชีวิต​พา​เรา​ ไหล​กลับ​ไป​ยัง​จุด​เริ่ม​ต้น​ของ​ชีวิต

11


12 แม่ปะ

ที่​นั่น... แม่น้ำ​เมย​ใน​วัน​นั้น​วัน​ที่​สายตา​ผม​จับ​จ้อง​อยู่​อย่าง​ เพลิดเพลิน​บริเวณ​ใกล้​ต้นน้ำ ที่​สำคัญ​กว่า​นั้น​เป็น​จุด​ที่​ เรียก​กัน​ว่า ‘แม่น้ำ​ไหล​กลับ’ ระหว่ า ง​ก ำลั ง ​รั บ ​ล ม​เ ย็ น ​ส บาย​อ ยู่ ​นั้ น รู้ สึ ก ​มี ​ บางอย่ าง​เคลื่อนไหว​อยู่ ​ด้าน​หลัง ด้ วย​สัญชาตญาณ​ เอาตัวรอด​ ผม​เบี่ยง​ตัว​หลบ เมื่อ​หัน​หลัง​กลับ​ก็​เห็น​ชาย​ ชาว​พม่า 2 คน​อยู่​ใน​สายตา หนึ่ง​นั้น​อยู่​ใน​ระยะ​คว้า​ ไหล่ผ​ ม​ได้ เขา​คว้า​ไหล่​ผม​พลาด​หน​หนึ่งแ​ ล้ว ผม​เห็น​ท่า​ ไม่สด​ู้ ร​ี บี เ​ดินก​ ลับไ​ป​ทร​ี่ ถ แต่ย​ งั ท​ นั ไ​ด้ยนิ อ​ กี ค​ น​ตะคอก​วา่ “ทำไร” เมื่อห​ ันห​ ลังก​ ลับไ​ป​มอง​กเ็​ห็นช​ าย​คน​นั้นช​ หี้​ น้าใ​ส่​ ผม​ด้วย​ท่าที​คุกคาม ทีร​่ ถ...นัง่ ล​ ง​ดา้ น​ขา้ ง​คน​ขบั แ​ ล้ว ผม​เอ่ยถ​ าม​สารถีท​ ​ี่ ชื่อ​เติ้ล​ว่า “ที่​นี่​มัน​ผืน​แผ่น​ดิน​ของ​ใคร​กัน” สารถีพ​ ดู อ​ ย่าง​เคร่งเครียด​วา่ “พีล​่ ง​จาก​รถ ผม​ตาม​ ไม่ทัน​ต้อง​ขอโทษ​ด้วย” พูด​พลาง​กระชับ​มีด​ดาบ​ยาว​ใน​ ซอง​หนัง “ผม​ติด​รถ​มา​ด้วย ตะกีก้​ ำลัง​จะ​ลง​จาก​รถ พอดี​ พี่​ขึ้น​มา​ก่อน” “ผม​ตอ้ ง​ขอโทษ​คณ ุ ต​ า่ ง​หาก ถ่าย​รปู เ​พลินไ​ป​หน่อย วิว​สวย​มาก” ถูก​แล้ว วิว​ไกลๆ สวย​มาก ต้นไม้ใ​บ​หญ้า ป่า​ เขา​ลำเนา​ไพร​เขียว​ชอุ่ม​เรียก​ความ​สดชื่น เสียดาย​สภาพ​


ติณ นิติกวินกุล

แวดล้อม​ราย​รอบ​ทย​ี่ นื อ​ ยูไ​่ ม่เ​อือ้ เ​ลย เป็นเ​พิงข​ อง​ชาว​พม่า​ และ​ห้อง​แถว​ไม้​ปลูก​ติด​กัน​เป็น​พรืด รก​เรื้อ​ไป​ด้วย​ขยะ​ และ​ข้าว​ของ​วาง​ระ​เกะ​ระกะ​สุม​กัน​ล้วน​ไม่​น่า​ดู “เดือน​ก่อน​เพื่อน​รุ่น​พี่​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า ถูก​พวก​นี้​มัน​ กระชาก​กล้อง​วิ่ง​หนี พี่​คน​ที่​ถูก​กระชาก​ก็​วิ่ง​ไล่​ตาม แต่​ ไป​เจอ​กับ​กลุ่ม​ของ​พวก​มัน​ดัก​ไว้ เข้า​รุม​เตะ​ต่อย​และ​ฟัน​ แขน​ขาด​ไป​ข้าง​หนึ่ง” เติ้ล​เล่า “แรง​ขนาด​นี้​เลย” ผม​ตกใจ “ครับ” “มิน่า ผม​ถึง​เคย​ได้ยิน​เรื่อง​นั่ง​ยาง​พวก​นี้” ทันที​ที่​ พูดป​ ระโยค​นี้​ออก​ไป ก็ได้​แต่พ​ ูด​กับ​ตัวเ​อง​ว่า นี่​ใจคอ​ผม​ กลาย​เป็น​คน​โหด​ร้าย​และ​แบ่ง​เขา​แบ่ง​เรา​ไร้​มนุษยธรรม​ ไป​ตั้งแต่เ​มื่อ​ไหร่ จาก​นั้น​เติ้ล​ก็​เล่า​ให้​ฟัง​ถึง​เรื่อง​การ​จัดการ​ปัญหา​ ที่ทาง​การ​ใช้ค​ ำ​ว่า ‘การ​จัดการ​ชน​เผ่า’ ซึ่งก​ ็​คือ​การ​จัดการ​ คน​ต่างด้าว​ที่​มี​พรมแดน​ติด​ทาง​นี้ ซึ่งไ​ม่​พ้น​คน​พม่า​ที่​เข้า​ มา​ใช้​แรงงาน เข้า​มา​ใช้​ชีวิต​ใน​ไทย “ที่​แม่ปะ​เรา​โดด​เด่น​ใน​เรื่อง​นี้​มาก​ครับ เรา​แก้​ ปัญหา​ได้​อย่าง​เป็น​ระบบ” เติ้ลว​ ่า

13


14 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

02 ความเป็นมา

15


16 แม่ปะ

ด้วย​ระยะ​ทาง​จาก​กรุงเทพฯ เกือบ 500 กิโลเมตร​ และ​ระยะ​เวลา​กว่า 9 ชั่วโมง ผม​ก็​มา​ยืน​ภายใน​บริเวณ​ ขนส่ง​อำเภอ​แม่สอด จังหวัด​ตาก ก่อน​จะ​โทรศัพท์​ถึง​ เติ้ล​ซึ่ง​เป็น​เจ้า​หน้าที่​ประจำ​โครงการ​ตำบล​สุข​ภาวะ​ของ สสส. เพื่อแ​ จ้ง​ว่า​ผม​มา​ถึง​แล้ว และ​อีก​ไม่​เกิน 10 นาที ผม​ก็​มา​นั่ง​ใน​ร้าน​อาหาร​พร้อม​กับ​เพื่อน​ร่วม​งาน​ของ​เติ้ล​ และ​หัวหน้า​สำนักงาน​ปลัด​ของ อบต.แม่ปะ ร่วม​โต๊ะ​ รับ​ประทาน​อาหาร​กัน​อย่าง​เอร็ดอร่อย จาก​นั้น​อีก 20 นาที​ก็​ตกลง​กัน​ได้​ว่า​พรุ่ง​นี้ 7 โมง​เช้า​เรา​จะ​เริ่ม​ตระเวน​ แม่ปะ​กัน ‘แม่ปะ’ เป็นต​ ำบล​ทบ​ี่ ริหาร​จดั การ​โดย อบต.แม่ปะ ซึ่ง​ปรากฏ​อาคาร​สำนักงาน​อยู่​ที่​หมู่ 10 มี​นายก อบต. คน​ปัจจุบัน​คือ มานพ ยะ​เขียว ที่​ดำรง​ตำแหน่งม​ า​ตั้งแต่​ ปี 2541 ตำบล​แม่ปะ​มี​ประวัติ​ความ​เป็น​มา​โดย​เล่า​สืบ​ต่อ​ กัน​มา​ว่า เมื่อ​ประมาณ 85 ปี​ก่อน ได้​มี​ช้าง​ไม่​ปรากฏ​ ว่า​ใคร​เป็น​เจ้าของ หาย​ไป​บริเวณ​พื้นที่​ของ​ตำบล​พะ​วอ​ ใน​ปัจจุบัน เจ้าของ​ได้​ติดตาม​หา​ช้าง​เชือก​ที่​หาย​นั้น​ไป​ หลาย​ท้อง​ที่​แต่​ก็​ไม่​พบ ต่อ​มาก​ลับ​พบ​ช้าง​เชือก​นั้น​ที่ ‘บ้าน​สัน​ป่าซาง’ คำ​ว่า ‘พบ’ ภาษา​ชาว​บ้าน​เรียก​ว่า ‘ปะ’ คำ​ว่า ‘สัน’ หมาย​ถึง หมู่บ้าน​ที่​ตั้ง​อยู่​ที่​ดอน คำ​ว่า ‘ซาง’ หมาย​ถึง ไม้ไผ่​ซาง ชาว​บ้าน​จึง​เรียก​ว่า ‘บ้าน​แม่ปะ​บ้าน​


ติณ นิติกวินกุล

สัน​ป่าซาง’ ต่อ​มา​ทาง​ราชการ​ได้​ตั้ง​หมู่บ้าน​เป็น​ทางการ คำ​ว่า ‘สัน​ป่าซาง’ จึง​หาย​ไป​และ​เกิด​หมู่บ้าน​อีก​หลาย​ หมู่บ้าน​บริเวณ​รอบๆ จึงต​ ั้ง​เป็น ‘ตำบล​แม่ปะ’ มา​จนถึง​ ทุก​วัน​นี้ ล่วง​มา​ปี 2493 มี​พระ​ราช​กฤษฎีกา​เปลี่ยนแปลง​ เขต​เทศบาล​ตำบล​แม่สอด จังหวัดต​ าก พ.ศ. 2493 เมื่อ​ วัน​ที่ 17 มิถุนายน ผู้รับ​สนอง​พระบรม​ราชโองการ​คือ จอมพล ป. พิบูลส​ งคราม นายก​รัฐมนตรีใ​น​สมัย​นั้น โดย​ เปลีย่ นแปลง​เขต​เทศบาล​ตำบล​แม่สอด​เสียใ​หม่ต​ าม​ความ​ จำเป็น​แห่ง​การ​บริหาร​งาน​ของ​เทศบาล ตาม​ประกาศ​ กระทรวง​มหาดไทย เรื่อง ตั้ง​ตำบล​แม่ปะ​และ​ตำบล​ ท่าสาย​ลวด​ใน​ท้อง​ที่​อำเภอ​แม่สอด จังหวัดต​ าก เมื่อ​วัน​ ที่ 27 พฤศจิกายน 2493 ให้​เหตุผล​ว่า เนื่องจาก​ได้​มี​ พระราช​กฤษฎีกา​เปลีย่ นแปลง​เขต​เทศบาล​ตำบล​แม่สอด เพื่อ​ลด​เขต​เทศบาล​ตำบล​แม่สอด​ให้​เล็ก​ลง​ตาม​ความ​ จำเป็น​แห่ง​การ​บริหาร​งาน​ของ​เทศบาล จึง​เป็น​เหตุ​ให้​ กระทบ​กระเทือน​ถึง​เขต​การ​ปกครอง​ส่วน​ภูมิภาค เพราะ​ ส่วน​ที่​เคย​อยู่​ใน​เขต​เทศบาล​มา​แต่​เดิม ได้​เปลี่ยน​สภาพ​ มา​เป็น​อยู่​นอก​เขต​เทศบาล ฉะนั้น​เพื่อ​ให้การ​ดำเนิน​ การ​ปกครอง​เป็น​ไป​ตาม​นัย​แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ลักษณะ​ ปกครอง​ท้องที่ พ.ศ. 2457 ข้าหลวง​ประจำ​จังหวัด​ตาก อาศัย​ความ​ใน​พระ​ราช​บัญญัติ​ลักษณะ​ปกครอง​ท้อง​ที่

17


18 แม่ปะ

พ.ศ.2457 มาตรา 6, 29 และ​พระ​ราช​บัญญัติ​ว่าด้วย​ ระเบียบ​ราชการ​บริหาร​แห่งร​ าช​อาณาจักร​ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ให้​ดำเนิน​การ​ปรับปรุง​เขต​การ​ปกครอง​ใน​ ท้องที่​อำเภอ​แม่สอด​เสีย​ใหม่ โดย​รวม​เขต​หมู่บ้าน​ต่างๆ ทีไ่​ด้​ถูก​เปลี่ยน​สภาพ​มา​อยู่​นอก​เขต​เทศบาล​นี้ จัดต​ ั้ง​เป็น​ ตำบล​ขึ้น​ใหม่​อีก 2 ตำบล ขนาน​นาม​ว่า ตำบล​แม่ปะ​ และ​ตำบล​ท่า​สาย​ลวด ให้​ขึ้น​ อยูใ​่ น​ความ​ปกครอง​ของ​อำเภอ​ แม่สอด นั่ น ​เ ป็ น ​ที่ ม า​ด้ า น​ก าร​ ปกครอง​ข อง​ต ำบล สำหรั บ​ ความ​เป็นม​ า​ของ​ผู้คน​ใน​ตำบล​ แม่ ป ะ​นั้ น ​เ กี่ ยวข้ อ ง​กั บ ​ค วาม​ เป็ น ​แ ม่ ส อด​อ ย่ า ง​แ ยก​กั น​ ไม่ ​อ อก เพราะ​แ ม่ ส อด​อุ ด ม​ สมบูรณ์​มา​ตั้งแต่​สมัย​รัชกาล​ที่ 5 สมัยน​ ั้น​ฝั่ง​พม่าเ​จริญ​เติบโต​ กว่า เพราะ​อยู่​ใต้​การ​ปกครอง​ ของ​อังกฤษ แม่สอด​มเ​ี ขตแดน​ตดิ กับ​ พม่า​ตามพ​ร ม​แดน​ธรรมชาติ มี​การ​ไป​มา​หาสู่​ค้าขาย​กัน​โดย​


ติณ นิติกวินกุล

ตลอด มี​กะเหรี่ยง​อยู่​มาก คน​ไทย​ทั้งหมด​ใน​แม่ปะ​ซึ่ง​ เป็น​ส่วนหนึ่ง​ของ​แม่สอด ล้วน​แล้ว​แต่​อพยพ​มา​จาก​ ลำปาง​โดย​ส่วน​ใหญ่ หนี​ภัย​แล้ง​และ​มา​หา​แหล่ง​ทำ​กิน ส่วน​ใหญ่ย​ ้าย​มา​จาก​อำเภอ​เถิน โดย​เริ่มต​ ั้ง​รกราก​ใน​ครั้ง​ แรก​ที่​บริเวณ​บ้าน​แม่ปะ​เหนือ หมู่ 1 ใน​ปัจจุบัน เมื่อม​ ี​

19


20 แม่ปะ

การ​ใช้​นามสกุล​ใน​สมัย​รัชกาล​ที่ 6 ชาว​บ้าน​ที่​อพยพ​มา​ อยู่​ตำบล​แม่ปะ​จึง​นำ​เอา​ชื่อ​บ้าน​ของ​ตัว​เอง​จาก​จังหวัด​ ลำปาง​มา​เป็นน​ ามสกุล เช่น นามสกุล ต๊ะท​ องคำ มา​จาก​ อำเภอ​แม่ทะ นามสกุล กา​สม​สัน มา​จาก​บ้าน​กาด บ้าน​ สัน อำเภอ​ห้างฉัตร เป็นต้น สมัย​นั้น​ยัง​มี​การ​ปกครอง​ระบบ​มณฑล ซึ่ง​ตำบล​ แม่ ป ะ​ขึ้ น ​อ ยู่ ​กั บ ​เ ทศาภิ บ าล​แ ม่ ส อด ขึ้ น ​กั บ ​ม ณฑล​ นครสวรรค์ ซึ่ง​มี​สมาชิกเ​ทศาภิบาล​เป็น​คน​แม่ปะ​คน​แรก ชื่อ​นาย​ฮ้อ​ยมา ยะ​เขียว หลังจ​ าก​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​การ​ ปกครอง ใช้พ​ ระ​ราช​บญ ั ญัตว​ิ า่ ด​ ว้ ย​ระเบียบ​ราชการ​บริหาร​ แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 20 ตาม​ที่​ กล่าว​ข้าง​ต้น ได้​แบ่ง​เขต​การ​ปกครอง​ให้​แม่ปะ​เป็น​ตำบล​ แม่ปะ อำเภอ​แม่สอด จังหวัด​ตาก โดย​มี​กำนัน​คน​แรก ชื่อน​ าย​มูล ธรรมะ​แงะ มีเ​นื้อทีก่​ าร​ปกครอง​โดย​ประมาณ 198 ตาราง​กิโลเมตร มีห​ มู่บ้าน​ทั้งหมด 4 หมู่ คือ บ้าน​ แม่ปะ​เหนือ หมูท่​ ี่ 1 บ้าน​แม่ปะ​กลาง หมูท่​ ี่ 2 บ้าน​แม่ปะ​ ใต้ หมู่​ที่ 3 และ​บ้าน​ห้วย​กะ​โหล​ก หมูท่​ ี่ 4 ระหว่าง​ปี 2537-2538 มี​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​สภา​ ตำบล ตำบล​แม่ปะ​จึง​ได้​จัด​ตั้ง​สภา​ตำบล​แม่ปะ​มี​ฐานะ​ เป็นน​ ิ​ตบิ​ ุลคล​ตาม​กฎหมาย มีส​ ม​ศักดิ์ คง​เอี่ยม ซึ่ง​เป็น​ กำนัน​ตำบล​แม่ปะ​สมัย​นั้น​ดำรง​ตำแหน่ง​เป็น​ประธาน​ สภา​ตำบล


ติณ นิติกวินกุล

จน​กระทั่งใ​น​วัน​ที่ 30 มีนาคม 2539 กระทรวง​ มหาดไทย​ประกาศ​จดั ต​ งั้ ต​ ำบล​แม่ปะ​เป็นอ​ งค์การ​บริหาร​ ส่วน​ตำบล มี​ผู้นำ​สูงสุด​คือ​ประธาน​กรรมการ​บริหาร​ชื่อ สม​ศกั ดิ์ คง​เอีย่ ม มีป​ ระธาน​สภา​คน​แรก​ชอ่ื มานพ ยะเขียว โดย​สภาพ​พื้นที่​ทาง​ภูมิศาสตร์ แม่ปะ​มี​สภาพ​ อากาศ​เย็น​ชื้น​ตลอด​ทั้ง​ปี ทำเล​ที่​ตั้ง​ห่าง​จาก​ที่​ว่าการ​ อำเภอ​แม่สอด 3 กิโลเมตร อยู่​ห่าง​จาก​ตัว​จังหวัดต​ าก​ ทาง​ทิศ​ตะวัน​ตก 90 กิโลเมตร มี​พื้นที่​ดูแล 198 ตาราง​ กิ​ิโลเมตร มี​ประชากร ณ วันท​ ี่ 23 กันยายน 2555 ตาม​ ฐาน​ข้อมูล​ประชากร​ของ​กรม​การ​ปกครอง กระทรวง​ มหาดไทย รวม​แล้ว 14,035 คน แยก​เป็น​ชาย 7,255 คน หญิง 6,780 แยก​เป็น​จำนวน​บ้าน​ได้ 6,329 หลังคา​ เรือน จาก​จำนวน 11 หมู่บ้าน​ซึ่ง​ได้แก่ หมู่ 1 บ้าน​แม่ปะ​ เหนือ หมู่ 2 บ้าน​แม่ปะ​กลาง หมู่ 3 บ้าน​แม่ปะ​ใต้ หมู่ 4 บ้าน​ห้วย​กะโหลก หมู่ 5 บ้าน​ปาก​ห้วย​แม่ปะ หมู่ 6 บ้าน​ห้วย​หิน​ฝน หมู่ 7 บ้าน​หนองบัว หมู่ 8 บ้าน​แม่ปะ​ บ้าน​สัน หมู่ 9 บ้าน​พระ​ธาตุ หมู่ 10 บ้าน​ร่วมใจ​พัฒนา และ​หมู่ 11 บ้าน​หนองบัว​คำ โดย​ส่วน​ใหญ่​แล้ว​มี​ความ​ เป็น​อยู่​เรียบ​ง่าย ประกอบ​อาชีพ​ทางการ​เกษตรกรรม อาทิ ทำ​ไร่ข​ ้าวโพด ไร่ถ​ ั่ว​เหลือง ทำ​นา เลี้ยง​หมู เลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ด และ​เลี้ยง​ไก่ นอก​เหนือ​จาก​ประกอบ​อาชีพ​ รับจ้าง​ทวั่ ไป อีกห​ ลาย​ครอบครัวย​ งั ป​ ระกอบ​อาชีพพ​ ร้อม​

21


22 แม่ปะ

กัน​หลาย​อาชีพ ครอบครัวข​ อง​ผม​ทำ​ไร่ รับจ้าง แม่เ​ลีย้ ง​หมู เลี้ยง​ไก่ พี่สาว​และ​น้องชาย​ชาย​ของ​ผม​ก็​ยัง​คง​ ทำ​ไร่​และ​เลี้ยงหมู ผม​ไม่มี​วันล​ ืม เช่น​เดียวกัน​ กับเ​ติล้ ชายหนุม่ จ​ าก​ตวั เ​มือง​ตาก เรียน​ตอ่ แ​ ละ​ เติบโต​ใน​เชียงใหม่​กว่า 10 ปี ตระเวน​ทำงาน​ บริษัท​ใหญ่​โต​ทั้ง​ใน​เชียงใหม่ ลำปาง และ​ตาก ก่อนที่​วัน​หนึ่ง​แม่​ของ​เติ้ล​จะ​บอก​ว่า กลับ​บ้าน​ เรา​เถอะลูก เติล้ เ​ข้าใจ​ใน​นำ้ เ​สียง​ของ​แม่น​ นั้ เ​ป็น​ อย่าง​ดี​เมื่อภ​ รรยา​คลอด​ลูกสาว​ให้​เขา...


ติณ นิติกวินกุล

23


4

24 แม่ปะ

5

11 10

7

9 5

11 20

14

3 15

16

2 3

8

6

15

2 1

18 19

9 4 21

17

1

7

12


ติณ นิติกวินกุล

8

13

6

25


26 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

03 โฮมสเตย์ เมื่อค​ ิดถึง​บ้าน สำหรับผ​ ม​แล้ว​มี​อยู่ 2 วิธี ถ้า​ไม่​ กลับ​บ้าน​ก็​หา​อะไร​ทำให้ห​ ่าง​จาก​คำ​ว่าบ​ ้าน หน​นี้​ ผม​เลือก​พัก​โฮม​สเตย์... ที่​นี่​มี​โฮม​สเตย์​จำนวน​หลาย​หลัง​ที่​เข้า​ร่วม​ โครงการ ตั้ง​อยู่​ใน​เขต​ภูมิประเทศ​สวยงาม​และ​ อากาศ​ดี กระจาย​ไป​ทั่ว​ทั้งต​ ำบล ด้วย​ความ​คิดถึง​ บ้าน คิดถึง​พ่อ​คิดถึง​แม่ คิดถึงพ​ ี่​น้อง​และ​ชีวิต​หน​ หลัง ผม​จึง​หลับอ​ ย่าง​มี​ความ​สุข ตื่น​เช้า​มา​เติ้​ลมา​รอ​รับ​ผม​ที่​โฮม​สเตย์ หลัง​ อาบ​น้ ำ ​แ ต่ ง ​ตั ว ​แ ล้ ว เขา​พ า​ผ ม​ไ ป​รั บ ​ป ระทาน​ อาหาร​เช้า​ที่​เอร็ดอร่อย​มาก ‘บะหมี่​แห้ง​ต้มยำ’ ซึ่ง​ร้าน​ก๋วยเตี๋ยว​ที่​ตาก​ทุก​ร้าน​จะ​ใส่​แคบหมู​ให้​ ด้วย (ที่​สำคัญ​แคบหมู​ของ​แท้​จาก​ตาก​ต้อง​เป็น​ แคบหมู​ติด​มัน)

27


28 แม่ปะ

04 พบนายกฯ เล็ก ที่ทำการ​องค์การ​บริหาร​ส่วน​ตำบล​แม่ปะ​เช้า​นั้น อากาศ​ ปลอด​โปร่ง แม่บ​ า้ น​ยก​กาแฟ​ให้ด​ มื่ ร​ บั ย​ าม​เช้า ผม​ออก​มา​ ยืนห​ น้าท​ าง​เข้า มอง​ดร​ู ถ​จกั รยาน ดูค​ น​ตอ้ น​ววั ดูเ​ด็กๆ ไป​ โรงเรียน ดูผ​ ู้คน​ผ่าน​ไป​ผ่าน​มา วิถชี​ ีวิต​ที่​ผม​เคย​คุ้น​ชิน​แต่​ เยาว์​วัย​กลับ​มา​อีก​ครั้ง เติ้ล​พา​ขึ้น​อาคาร​เพื่อ​ไป​พบ​นา​ยกฯ มานพ ตลอด​ ทาง​เดิน ตาม​ตวั อ​ าคาร ตาม​ผนัง หรือแ​ ม้แต่ใ​น​หอ้ งน้ำ จะ​ พบ​คำขวัญค​ ำคม​ติดไ​ว้​เป็น​ข้อคิด​และ​เตือน​ใจ เมือ่ เ​ข้าพ​ บ​นา​ยกฯ สบ​โอกาส​ผม​ถาม​ทา่ น​ได้ค​ วาม​ กระจ่าง​ว่า “ดี​กว่า​ไม่มี ดี​กว่า​ไม่​ทำ ดีก​ ว่าไ​ม่​ได้​อ่าน” นา​ยกฯ มานพ เป็น​คน​สนุกสนาน พูดจา​เสียง​ดัง​ และ​ดู​จริงใจ “ผม​จบ​ครู​มา พ่อ​ผม​เป็น​กำนัน ผม​เคย​ถาม​พ่อ​ว่า​ คน​เรา​เกิด​มา​ต้อง​มี​อะไร​ถึง​จะ​เป็น​คน​อย่าง​สมบูรณ์ พ่อ​ ผม​ตอบ​ว่า​อะไร​รู้​ไหม” ผม​นิ่งแทน​ ​​ คำ​ตอบ​ว่าไ​ม่​ทราบ “คน​เรา​ตอ้ ง​มส​ี าม​อย่าง พ่อบ​ อก​ผม หนึง่ ต​ อ้ ง​หมัน่ ​ ทำบุญ สอง​ต้อง​มี​สัจจะ และ​สาม​ต้อง​มี​เงิน” ผม​ยิ้ม​พลาง​พยัก​หน้าร​ ับ


ติณ นิติกวินกุล

“ตอน​นี้​ผม​เชื่อ​ว่า​ผม​มี​ครบ​ล่ะ ผม​ถึง​มา​ทำ​งาน​ เป็นนา​ยก อบต.แม่ปะ” นา​ยกฯ ตอบ​อย่าง​มั่นใจ​พลาง​ ขยับ​ตัว​ออก​จาก​โต๊ะ ลุก​ยืน​ให้ผ​ ม​ถ่าย​ภาพ​เป็น​ที่​ระลึก “ยืนก​ ด​็ อ​ี ย่าง​ทค​ี่ ณ ุ ว​ า่ ใครๆ มา​หา​ผม​กถ​็ า่ ย​ภาพ​ผม​ เอาแต่​นั่ง เบื่อ​ละ” นา​ยกฯ พูดพ​ ลาง​หัวเราะ​อารมณ์ด​ ี เมื่อ​ถาม​ถึง​เป้า​หมาย​ใน​การ​ทำงาน​ใน​ตำแหน่ง​ นายกฯ ท่าน​ตอบ​ว่า “ผม​ขอ​แค่​ให้​แม่ปะ​บ้าน​ผม​มี​ระบบ​

29


30 แม่ปะ

สาธารณูปโภค​ครบ​ถว้ น ชาว​บา้ น​ได้ใ​ช้น​ ำ้ ใ​ช้ไ​ฟ​ใช้ถ​ นน​ตาม​ ที่​ควร​จะ​ได้ คน​มี​คุณภาพ​และ​คุณธรรม สอง​อย่าง​หลัง​นี้​ ถ้า​คน​ของ​เรา​ดี อะไรๆ ก็​ดี​ตาม​ไป​หมด” นา​ยกฯ มานพ​ยงั เ​ล่าว​ า่ ใน​อกี 2-3 ปีข​ า้ ง​หน้าต​ ำบล​ แม่ปะ อำเภอ​แม่สอด จังหวัด​ตาก จะ​ได้​เป็น​ส่วนหนึ่ง​ ของ​เมือง​เขต​เศรษฐกิจพ​ เิ ศษ​ชายแดน​และ​เป็นป​ ระตูเ​มือง​ รองรับ​การ​เป็น​สมาชิก​ประชาคม​เศรษฐกิจ​อา​เชีย​น​ใน​ปี 2558 ที่​จะ​ถึง​นี้ “เรียก​ง่ายๆ ว่า อบต.แม่ปะ จะ​ไม่​ธรรมดา​แล้ว เรา​ต้อง​พัฒนา​ทั้ง​สภาพ​เมือง พัฒนา​คน พัฒนา​จิตใจ​ให้​ เติบโต​พร้อม​กนั ท​ งั้ ใ​น​ดา้ น​โครงสร้าง​พนื้ ฐ​ าน​ทาง​เศรษฐกิจ​ และ​โครงสร้าง​พนื้ ฐ​ าน​ทาง​สงั คม แต่ต​ อ้ ง​อย่าง​รป​ู้ ระมาณ​ ตน ยึด​หลัก​พอ​เพียง” นา​ยกฯ กล่าว “ตอน​แรก​ผม​คิด​จะ​ไม่​ลง​สมัคร​นา​ยกฯ ที่​กำลัง​จะ​ หมด​สมัยใ​น​เร็วว​ นั น​ ี้ แต่เ​มือ่ ม​ อง​ไป​ขา้ ง​หน้าแ​ ล้วท​ ำให้ผ​ ม​ ต้อง​คิด​ทบทวน” เขา​หมาย​ถึง​อายุ​การ​ทำงาน​ใน​ตำแหน่ง​ นายก อบต.แม่ปะ กำลัง​จะ​หมด​วาระ​ใน​เดือน​สิงหาคม หลัง​จาก​การ​พูด​คุย​กับ​นา​ยกฯ ผ่าน​พ้น​ไป​ใน​วัน​ นั้น ล่าสุด​เมื่อ​วัน​ที่ 25 สิงหาคม 2555 ซึ่ง​เป็น​วัน​ลง​ คะแนน​เลือก​นายก อบต.แม่ปะ ชื่อ​ของ​มานพ ยะ​เขียว ก็ได้​รับ​เลือก​จาก​ประชาชน​ใน​พื้นที่​ให้​อยู่​รับ​ใช้​ทำงาน​ต่อ​ อีก​สมัย


ติณ นิติกวินกุล

31


32 แม่ปะ

05 การจัดการชนเผ่า : ระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม


ติณ นิติกวินกุล

ตั้งแต่​มา​ถึง​จังหวัด​ตาก เลย​มา​ถึง​อำเภอ​แม่สอด จน​เข้า​ สู่​ตำบล​แม่ปะ​ขณะ​นี้ ผม​พบเห็น​ชาว​พม่าอ​ ยู่​เต็ม​รายทาง ทัง้ เ​ดินเ​ดีย่ ว (ซึง่ ไ​ม่ค​ อ่ ย​จะ​ม)ี เดินเ​ป็นก​ลมุ่ (อันน​ แ​ี้ ทบ​จะ​ เดินข​ วาง​ถนน) จนถึงช​ มุ ชน​ของ​ชาว​พม่าม​ ใ​ี ห้เ​ห็นม​ ากมาย​ เต็ ม ​ไ ป​ห มด ประชากร​แ ฝง​เ หล่ า ​นี้ ​ว่ า ​กั น​ว่ า ​ม ากกว่ า​ คนไทย​เสีย​อีก ส่วน​จะ​เท่า​ไร​และ​จริงเ​ท็จ​เพียงใด คง​ต้อง​ สอบถาม​ข้อมูล​จาก​พี่​วุด-เจษฎา ต๊ะ​ทองคำ คน​รู้​จริง​ที่​ ทำงาน​คลุกคลีก​ บั ค​ น​พม่าท​ เ​ี่ รา​เรียก​อย่าง​เป็นท​ างการว่า​ ชนเผ่านั้น พีว​่ ดุ ใ​ห้เ​กียรติค​ ยุ ก​ บั ผ​ ม ณ สถาน​ทจ​ี่ ริงท​ ใ​ี่ ช้ป​ ระชุม พูดค​ ยุ รวม​ไป​ถงึ เ​มือ่ จ​ บั กุมช​ าว​พม่าท​ ก​ี่ ระทำ​ผดิ ก​ เ​็ ชิญต​ วั ​ มาส​อบ​สวน​กันท​ ี่​นี่ “ตลอด​แนว​ชายแดน​ไทย​พม่า 540 กิโลเมตร มี​ ทุก​ทาง​ให้​คน​พม่า​เข้า​มา​ใน​ไทย” พี่​วุด​เริ่ม​ต้น​พูด​ให้​เห็น​ ภาพ​อย่าง​ง่าย “แต่​แม่ปะ​โด่ง​ดัง​ขึ้น​มา​ก็​เพราะ​ถูก​ใช้​เป็น​ ศูนย์บ​ ญ ั ชาการ​ใน​ทกุ ๆ เรือ่ ง​ทเ​ี่ กีย่ ว​กบั ช​ น​เผ่า ทัง้ ค​ วบคุม​ และ​ดูแล​จัดการ” “คน​พม่า​ที่​นี่​เป็น​พวก​ไหน​ครับ” “ต้อง​ถาม​ว่า คน​ที่มา​จาก​พม่าเ​ป็น​พวก​ไหน” พี่วุด​ เคลียร์​ให้ “อ้อ ครับ” ผม​ยิ้ม “มี​หมด​แหละ คะ​ฉิ่น ว้า ไทย​ใหญ่ ยะ​ไข่ มอญ

33


34 แม่ปะ

กะเหรี่ยง กะเหรี่ยง​นี่​เยอะ​หน่อย แต่ม​ าก​สุด​ก็​พวก​พม่า​ แท้ๆ” “เยอะ​แค่​ไหน” “นับย​ าก คุณค​ ดิ ด​ ต​ู าม​แนว​ตะเข็บไ​ทย​พม่าย​ าว​เท่า​ ไหร่ พวก​นี้​เข้า​ออก​ได้ต​ ลอด แม่น้ำ​ก็​แคบ​นิดเ​ดียว เดิน​ ข้าม​ยัง​ได้ ถ้า​ให้​คาด​เดา​ก็​คง​ประมาณ 30,000-40,000 คน สำหรับ​พวก​ที่​อยูถ่​ าวร​นะ พอ​จะ​เช็ค​ได้​คร่าวๆ ไม่ใช่​ พวก​ข้าม​ไป​ข้าม​มา​หรือ​พวก​หลบ​ซ่อน “ “มี​วิธี​ตรวจ​สอบ​ยังไ​ง​ครับ” “เรา​จะ​มี​หัวหน้า​กลุ่ม​สำหรับ​พวก​นี้​อีก​ที เวลา​มี​ เรือ่ ง​มอ​ี ะไร​กต​็ ดิ ต่อผ​ า่ น​พวก​นี้ ให้พ​ วก​เขา​ปกครอง​กนั เอง อย่าง​ปัญหา​เล็กๆ น้อยๆ เรา​ก็​ให้​หัวหน้าพ​ วก​นี้​เคลียร์​ กันเอง​ก่อน เว้น​แต่​มี​ปัญหา​กับ​คน​ไทย ก็​เอา​มา​คุย​กัน​ พร้อม​หัวหน้า บางที​หัวหน้าก​ ็​ต้อง​รับ​ผิดช​ อบ​ด้วย” “ท่าทาง​คงจะ​ยุ่ง​ยาก​วุ่นวาย​มาก” “แรกๆ ก็​ยุ่ง​ครับ หลังๆ พอ​พวก​นี้​เข้าใจ​ว่าห​ าก​ มา​ทำ​วุ่นวาย​เมือง​ไทย เขา​ก็​จะ​ไม่มี​งาน พอ​ไม่มี​งาน​ก็​ ไม่มี​เงิน ไม่มเี​งิน​ก็​แย่​สิ อด​ตาย บางทีเ​ขา​ก็​จัดการ​กันเอง​ ไม่ต้อง​มา​ถึง​เรา” “แสดง​ว่า​ต้อง​มี​กฎ​กติกา​การ​อยู่​ร่วม​กัน​ที่​ค่อน​ข้าง​ ชัดเจน” “แน่นอน มีห​ ลัก 5 ข้อ​ง่ายๆ ไม่ย​ าก ข้อ​หนึ่ง ห้าม​


ติณ นิติกวินกุล

เดิน​ขวาง​ถนน” “อะไร​น ะ​ค รั บ ถึ ง​กั บ ​ต้ อ ง​ห้ า ม​ไ ม่ ​ใ ห้ ​เ ดิ น ​ข วาง​ ถนน” “คุณ​มา​นี่​น่า​จะ​เห็น​แล้ว​นะ เห็น​ให้​ชัด​ต้อง​เย็นๆ ค่ำๆ แถว​นี้​พม่า​เดิน​ยัง​กะ​เดิน​ชายหาด ยิ่ง​พวก​มา​ใหม่ ไม่รู้​เป็นไร ถ้า​ยิ่ง​เมา​นะ มัน​จะ​เดิน​เป็นก​ลุ่ม​กัน​ขวาง​ ถนน รถ​มา​ก็​ไม่​หลบ เรา​ต้อง​หลบ​มัน บางทีเ​ป็น​ผู้​หญิง​ ขี่​รถ​มอเตอร์ไซค์ม​ า มันจ​ ะ​แกล้ง​ให้​ตกใจ​จน​รถ​ล้ม เมื่อ​ คืน​ก็​คนหนึ่ง กว่า​จะ​เคลียร์​ได้ มันอ​ ้าง​ผู้ใหญ่​โน่น​ผู้ใหญ่นี่ ผม​ต้อง​บอก​ว่า​กู​นี่​ล่ะ​ใหญ่​สุด” พี่​วุดห​ ัวเราะ “ตบ​ไป​ที​ถึง​ ได้​หาย​เมา” ผม​ยิ้ม

35


36 แม่ปะ

“คุณ​คง​เข้าใจ​นะ ต้อง​ใช้​ทั้ง​พระ​เดช​ทั้ง​พระคุณ” ผม​ถาม​ต่อ “แล้วข​ ้อ​สอง​ล่ะ​ครับ” “ข้อ​สอง ห้าม​ออก​นอก​เคหะสถาน​หลัง 3 ทุ่ม ข้อ​ สาม กรณี​มี​เรื่อง​พิพาท คณะ​กรรมการ​สามารถ​นำ​ตัว​มา​ ไกล่เ​กลี่ยไ​ด้ คณะ​กรรมการ​ก็​ประกอบ​ด้วย หัวหน้าช​ าว​ พม่า ทาง อบต. ซึ่ง​ก็​คือ​ผม ตัวแ​ ทน​อื่นๆ อีก​ประกอบกัน เช่น ผู้ใหญ่บ​ ้าน ตัวแทน​จาก​โรงงาน โรงงาน​ใน​แม่ปะ​มี​ เยอะ คุณ​เห็น​เงียบๆ แบบ​นี้ มี​ถึง 37 โรง​เชียว​นะ พวก​ พม่า​พวก​นี้​ทั้ง​ทำงาน​แบบ​ถูก​กฎหมาย​และ​แฝง​เข้าไป​ อีก พวก​โรงงาน​จะ​ให้​ความ​ร่วม​มือ​กับ​เรา​ดมี​ าก คน​งาน​ คนไหน​มี​ปัญหา ไล่​ออก​หมด พวก​พม่าก​ ลัวต​ กงาน​มาก “ข้อ​สี่ สามารถ​เรียก​นัด​ประชุมใ​ห้​ความ​รขู้​ อ​ความ​ ร่วม​มือ โดย​เคลื่อน​ย้าย​ไป​ให้​ความ​รู้​ถึงที่​ได้ อย่าง​กรณี​ ไป​ให้​ความ​รู้​เรื่อง​เดิน​ถนน เรื่อง​ไม่​ถ่ม​น้ำ​หมาก ไม่บ​ ้วน​ น้ำลาย​ลง​ถนน กฎ​การ​ขบั ร​ ถ การ​ให้ส​ ญ ั ญาณ เรือ่ ง​โรคภัย​ ไข้​เจ็บ การ​ดูแล​ตนเอง​จาก​โรค​ติดต่อ และ​ข้อ​ห้า ต้อง​เข้า​ ถึง​กลุ่ม​ของ​ตัว​เอง​และ​เข้าใจ​กลุ่ม​ของ​ตัว​เอง อย่าง​ทบี่​ อก​ พวก​นี้​จะ​มี​หัวหน้า​แต่ละ​กลุ่ม​ดูแล​กันเอง” หลัง​จาก​พูด​จบ พี่​วุดก​ ็​โทร​เรียก​หัวหน้าก​ ลุ่ม​ให้ม​ า​ พบ​ผม ตาม​คำร้อง​ขอ​ของ​ผม ‘ผู้ใหญ่​กะลา’ ตาม​คำ​เรียก​ชื่อ​ของ​พี่​วุด​คน​นี้ อยู่​ เมือง​ไทย​มา​นาน​มาก มี​ลูก​ถึง 7 คน​กับ​เมีย​หลาย​คน


ติณ นิติกวินกุล

เมือ่ ผ​ ม​ถาม​วา่ ป​ ระเทศ​พม่าเ​ปิดม​ าก​ขนึ้ ออง​ซาน​ซจ​ู ก​ี เ​็ ป็น​ อิสระ​แล้ว อยาก​กลับ​พม่า​ไหม แก​ตอบ​ว่าไ​ม่ ไม่​อยาก​ กลับ​แล้ว อยู่​เมือง​ไทย​มี​ความ​สุข​ดี มี​งาน​ทำ มี​เงิน​ใช้ จะกลับไป​พม่า​ทำไม​กัน เมื่อ​ผม​ถาม​ถึง​อาชีพ แก​ก็​ตอบ​ ว่าท​ ำ​ไร่ข​ า้ วโพด แล้วล​ กู ๆ ล่ะ อยาก​กลับพ​ ม่าม​ ยั้ แก​ตอบ​ ว่า​พวก​ลูก​แก​เท่า​ที่​เคย​คุย​กัน​ก็​ไม่มี​ใคร​อยาก​กลับ​สักคน

37


38 แม่ปะ

ทุกคน​เกิด​เมือง​ไทย​หมด หัวหน้า​พม่า​แต่ละ​คน​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ดูแล​คน​ของ​ ตัว​เอง​อย่าง​ต่ำๆ 400-500 คน การ​พดู ค​ ยุ ก​ บั พ​ ว​ี่ ดุ แ​ ละ​ผใู้ หญ่ก​ ะลา​ทำให้ค​ ดิ ถึงเ​รือ่ ง​ คน​พม่าท​ ี่​เกิด​ใน​ไทย คน​เหล่า​นี้​ไม่​ได้​สัญชาติ​ไทย แม้จ​ ะ​ เกิด​เมือง​ไทย จึง​นับ​ว่าเ​ป็น​อีก​ปัญหา​หนึ่ง ยัง​ไม่​ต้อง​พูด​ ถึง​คน​ไทย​แท้ๆ ที่​เกิด​มา​ไร้​สัญชาติ​อีก​จำนวน​ไม่​น้อย ซึ่ง​ ประมาณ​การ​กนั ว​ า่ ก​ ว่าค​ รึง่ ห​ นึง่ ข​ อง​คน​ทอ​ี่ ยูใ​่ น​แม่ปะ​เป็น​ คน​ไทย​ไร้​สัญชาติ “ใช่ พวก​นี้​กลับ​พม่า​ก็​ไม่​ได้ อยู่​ใน​ไทย​ก็​มี​ปัญหา ที่จริง​น่า​สงสาร​นะ” “แล้ว​ทำไม​ไม่​ให้​สัญชาติ​ไทย​ล่ะ​ครับ​พี่” “ผม​ก็​ไม่รู้​นะ อาจ​จะ​เป็น​เรื่อง​ความ​มั่นคง​ก็ได้ พวกนีเ​้ ยอะ นับร​ วมๆ กับพ​ วก​พม่าแ​ ท้อ​ กี แค่แ​ ม่สอด​อาจ​ จะ​มี​พม่า​นับ​แสนๆ คน มากกว่าค​ น​ไทย​ใน​แม่สอด​หลาย​ สิบ​เท่า​ตัว​เชียว​นะ เคย​มคี​ น​พูด​เล่นๆ ว่า สัก​วัน​พวก​นี้​ลุก​ ขึ้น​มา​ยึด​ครอง​แม่สอด ทำได้ส​ บาย​เลย” พี่​วุดห​ ัวเราะ สรุป​รวม​ความ​ใน​ครั้ง​นั้น ผม​ได้​ข้อคิด​ว่า​เหตุ​ที่​ แม่ปะ​เป็น​เอก​ใน​เรื่อง​การ​จัดการ​ชน​เผ่า​หรือ​คน​พม่า​คน​ ต่าง​ถิ่น​จน​ประสบ​ผล​สำเร็จ​นี้ ก็​มา​จาก​คน​ทำงาน​อย่าง​ พีว่ ดุ ท​ ต​ี่ งั้ ใจ​จริงแ​ ละ​มค​ี วาม​เด็ดข​ าด นอกจาก​รป​ู้ ญ ั หา​และ​ อยู่​กับ​ปัญหา​มา​นาน พี่​วุด​ยัง​มี​หลัก​การ​สำคัญ​คือ การ​


ติณ นิติกวินกุล

จัดการ​อย่าง​คอ่ ย​เป็นค​ อ่ ย​ไป ให้พ​ วก​เขา​รถ​ู้ งึ ค​ วาม​ตงั้ ใจดี​ และ​ให้​เขา​มสี​ ่วน​ร่วม​ใน​การ​จัดการ​ตนเอง ผม​เคย​ได้ยิน​คำ​คำ​หนึ่ง​นาน​พอ​สมควร​แล้ว มา​ที่​ แม่ปะ​ก็ได้​ยิน​คน​พูดเ​ข้าหู​หลาย​หน คือ​คำ​เรียก​ขาน​พม่า​ ใน​ไทย​ว่า ‘พืช​ล้มลุก​ชนิด​หนึ่ง’ ซึ่ง​มี​ความ​หมาย​หลาย​ นัยยะ นับแ​ ต่ก​ าร​เดินท​ าง​ข้าม​ไป​ข้าม​มาระ​หว่าง​ชายแดน​ ไทย​พม่า การ​ไม่มี​ตัวต​ น​ที่แท้​จริง รวม​ถึง​การ​เป็นค​ น​ไร้​ ความ​หมาย...ไร้​ค่า

39


40 แม่ปะ

06 น้ำพ​ ริก​กงุ้ : ระบบ​เศรษฐกิจ ชุมชน ถ้ า ​ก ารก​ลั บ ​บ้ า น​ห มาย​ถึ ง ​ก าร​ไ ด้ ​รั บ ​ป ระทาน​ น้ำพริกฝ​ มี อื แ​ ม่ล​ ะ่ ก​ ็ การ​มา​แม่ปะ​กค​็ อื ก​ าร​ได้ร​ บั ป​ ระทาน​ น้ำพริกกุ้ง น้ำ​พริก​กุ้ง​นับ​เป็น​อาหาร​พื้น​เมือง​ของ​ชาว​จังหวัด​ ตาก โดย​เฉพาะ​ชาว​แม่สอด​โดย​ทั่วไป แต่น​ ้ำ​พริก​ที่​ผลิต​ โดย​กลุ่ม​แม่​บ้าน​หมู่บ้าน​แม่ปะ​ใต้​ผิดแผก​ออก​ไป​โดย​มี​ เอกลักษณ์​ที่​โดด​เด่น​กว่า​ที่​อื่น​ก็​คือ รสชาติ​ที่​เป็นก​ลาง ไม่​เผ็ด​มาก รวม​ทุก​รส​ไว้ใ​น​คำ​เดียว และ​เก็บ​ได้​นาน ใน​ อุณหภูมิ​ห้อง​สามารถ​วาง​ไว้​ได้​นาน​นับ​เดือน หาก​เก็บ​ ใน​ตู้​เย็น​จะ​เก็บ​ไว้​รับป​ ระทาน​ได้ 3-6 เดือน เนื่องจาก​ ขั้น​ตอน​การ​ผลิตส​ ะอาด การ​เลือก​ใช้​วัตถุดิบท​ มี่​ ี​คุณภาพ นอกจากนี้ี​ยังมี​บรรจุ​ภัณฑ์​หลาย​ขนาด​ให้​เลือก​ซื้อ ตั้งแต่​ ถุงล​ ะ​ครึง่ กิโลกรัม ถุงล​ ะ 1 กิโลกรัม เล็กล​ ง​มา​ขนาด​บรรจุ​ กระป๋อง​สอง​ขนาด​คือ 250 กรัมแ​ ละ 100 กรัม กลุ่ม​ทำ​น้ำพ​ ริก​กุ้ง​แม่ปะ อยูท่​ ี่​หมู่ 3 บ้าน​แม่ปะ​ใต้ มีป​ า้ ส​ น​ี วล สิงห์ส​ าย เป็นแ​ กน​นำ​กลุม่ ซึง่ ท​ กุ ว​ นั น​ ม​ี้ ผ​ี ผ​ู้ ลิต​ อยู่​ประมาณ 19 ราย ผลิต​ได้​สัปดาห์ล​ ะ​ประมาณ 2 ครั้ง ครั้ง​หนึ่ง​ประมาณ 20 กิโลกรัม ขึ้น​อยู่​กับค​ ำ​สั่ง​ซื้อ สำหรับส​ ่วน​ผสม​ต่างๆ ป้าส​ ี​นวล​ยินดีเ​ผย​เคล็ดล​ ับ น้ำ​พริก​กุ้ง 20 กิโลกรัม​จะ​มี​ส่วน​ผสม​ดังนี้


ติณ นิติกวินกุล

กุ้งแห้ง 8 กิโลกรัม พริก​แห้ง 2 กิโลกรัม กระเทียม 5 กิโลกรัม มะขาม​เปียก 8 กิโลกรัม น้ำ​ตาล​ปี๊ป 3 กิโลกรัม กะปิ​อย่าง​ดี 5 กิโลกรัม น้ำมัน​พืช 3 กิโลกรัม หอมแดง 5 กิโลกรัม วิธี​ทำ​นั้น​ไม่​ยาก ป้าส​ ี​นวล​เล่า​ว่า ก่อน​อื่น​ต้อง​ล้าง​ กุง้ แห้งใ​ห้ส​ ะอาด​แล้วบ​ ด​ให้ล​ ะเอียด วาง​ทงิ้ ไ​ว้กอ่ น นำพริก​ ไป​ป่น​เตรียม​ไว้ จาก​นั้น​นำ​มะขาม​เปียก น้ำตาลปี๊บแ​ ละ​ พริกป​ น่ ค​ ลุกเ​คล้าใ​ห้เ​ข้าก​ นั ตัง้ ก​ ระทะ​ให้ร​ อ้ น เท​นำ้ มันพืช​ ลง​ใน​กระทะ รอ​ให้ร​ ้อน จาก​นั้น​ใส่​ส่วน​ผสม​สี่​อย่าง​แรก​ที่​

41


42 แม่ปะ

คุลก​เคล้า​ไว้​ลง​กระทะ ใส่​กุ้งแห้งท​ ี่​บด​ละเอียด​ลง​ผสม​ให้​ เข้า​กัน​สัก​พัก เมื่อค​ ลุก​เคล้า​จน​ได้ที่ ให้แ​ บ่ง​น้ำ​พริก​ออก​เป็น 5 ส่วน นำ​ที​ละ​ส่วน​คั่ว​ใน​กระทะ​ที่​ไฟ​อ่อน​ราว 3-4 ชั่วโมง​ โดย​ดว​ู า่ ส​ ว่ น​ผสม​ทกุ อ​ ย่าง​แห้งส​ นิทห​ รือย​ งั เมือ่ แ​ ห้งด​ แี ล้ว​ ก็​พัก​ไว้​ให้​เย็น หัน​ไป​หั่น​หอมแดง​และ​กระเทียม​เจียว​ให้​ กรอบ แยก​เก็บ​ไว้​ใน​ภาชนะ​ทปี่​ ิด​สนิท​มิดชิด นำ​สว่ น​ผสม​นำ้ พ​ ริก หอม กระเทียม​ผสม​คลุกเ​คล้า​ ให้​เข้า​กัน จาก​นั้น​ก็​ใส่​ใน​บรรจุ​ภัณฑ์​ต่างๆ รอ​ขาย​ปลีก​ ขายส่ง​ให้​ลูกค้าต​ ่อ​ไป


ติณ นิติกวินกุล

จะ​เห็น​ว่า​ไม่​ยาก แต่​กว่า​จะ​มี​วัน​นี้​ป้า​สี​นวล​กับ​ เพื่อนๆ ใช้​เวลา​ตั้งแต่ป​ ี 2536 ทีเ่​ริ่ม​คิดท​ ำ​ขาย​ครั้ง​แรก จนถึง​ปี 2542 ได้​ทั้งเ​ครื่องหมาย​มาตรฐาน อย. จาก​ กระ​ทรวง​สาธารณสุข ได้ท​ งั้ เ​ครือ่ งหมาย​รบั รอง​มาตรฐาน​ ผลิตภัณฑ์​ชุมชน (มผช.) จาก​กระทรวง​อุตสาหกรรม และ​ได้​รับ​เครื่องหมาย​ชวน​ชิม​ชวน​ใช้​จาก​กรม​ส่ง​เสริม​ การเกษตร ปี 2549 ได้​รับ​การ​คัด​เลือก​เป็น​หนึ่ง​ตำบล​หนึ่ง​ ผลิตภัณฑ์ ระดับ 3 ดาว จน​กระทั่งป​ ี 2553 จึงไ​ด้​รับ​ การ​ยก​ระดับ​เป็น 5 ดาว “แรกๆ ป้า​ไม่​ได้​คิด​ทำ​หรอก ตอน​นั้น​ประมาณ​ ปี 2536 มี​คณะ​กฐิน​จาก​กรุงเทพฯ ป้า​กับ​แม่​บ้าน​คน​ อื่นๆ ก็​ทำ​น้ำ​พริก​กุ้ง​ไป​ต้อนรับ เกิน​คาด​จ้ะ​พ่อห​ นุ่ม คน​ ชอบ​กัน​มาก ป้า​กับ​เพื่อนๆ ได้​ทิป 500 บาท นอก​เหนือ​ จาก​คำ​ชื่นชม ทำให้​ป้าก​ ับ​เพื่อน​คิด​ทำ​ขาย ว่าก​ ัน​ตรงๆ อย่าง​นี้​แหละ แต่​กว่า​จะ​ได้​สูตร​ที่​รส​กลมกล่อม​คน​ชอบ​ รับ​ประทาน​ก็​ต้อง​ลอง​ผิดล​ อง​ถูกกัน​หลาย​ครั้ง บางที​ทำ​ แล้ว​ขึ้น​รา ทำ​แต่ละ​ครั้ง​ก็​คนละ​รส เพราะ​มือ​คน​ทำ​ไม่​ เที่ยง” ถึง​ตรง​นี้​ป้าห​ ัวเราะ​ร่วน ผม​ยิ้ม​ให้​ป้าแ​ ก​แต่เ​ป็น​ยิ้ม​ ที่​ชื่นชม​ใน​ความ​มุมานะ ผม​กบั เ​ติล้ ซ​ อื้ ก​ นั ค​ นละ 2 กระป๋อง​ตดิ มือ ป้าส​ น​ี วล​ ใจดี​ลด​ให้​กระป๋อง​ละ 10 บาท ​​

43


44 แม่ปะ

07 หมูดำ: ระบบเศรษฐกิจชุมชน


ติณ นิติกวินกุล

ผม​บอก​กับ​เติ้ล​ว่า​ตอน​เด็กๆ ที่​บ้าน​ผม​เลี้ยง​หมูสี​ชมพู สีขาวๆ โต​ขึ้น​มา​ถึง​รู้​ว่าที่​บ้าน​เลี้ยง​หมู​ขุน ขุน​ส่ง​โรง​ฆ่า เขา​เรียก​ว่า​พันธุย์​ อร์ก​เชียร์ “แต่ท​ น​ี่ ไ​ี่ ม่ใช่ห​ มูสช​ี มพู นา​ยกฯ มานพ​เขา​สนับสนุน​ ให้​เลี้ยง​หมู​เหม​ย​ซาน​และ​หมูด​ ำ” “หมู​ดำ เป็น​ไง ใช้​หมู​ลูกผสม​หรือ​หมู​ดู​ร็อ​คห​รือ​ เปล่า” “ไม่รส​ู้ พ​ิ ี่ ไม่น​ า่ จ​ ะ​ใช่ แต่ท​ ท​ี่ ผ​ี่ ม​กำลังจ​ ะ​พา​พไ​ี่ ป เป็น​ อีก​แหล่ง​เรียน​รู้​ของ​ที่​แม่ปะ​เรา” เป็น​เรื่อง​น่า​ตื่น​เต้น​สำหรับ​ผม​ใน​ตอน​แรก​เมื่อ​ ได้ยิน​เติ้ล​พูด​ถึง​หมู​ดำ ตอน​แรก​ผม​นึกถึง​หมู​เหม​ย​ซาน​ ซึ่ง​สี​ดำ​เหมือน​กัน​และ​ดู​จะ​มีชื่อ​เสียง​แพร่​หลาย​กว่า แต่​ เมื่อ​เติ้​ลบ​อก​ว่า​ไม่​ทราบ เขา​เอง​ไม่​เคย​เห็น​หมูเ​หม​ย​ซาน​ มา​ก่อน แต่​ที่​บ้าน​เขา​แม่ปะ เขา​เห็น​หมู​ดำ​มา​ก่อน​ผม​ หนหนึ่ง​เมื่อไม่นาน​มา​นี้ “แล้ว​เขา​เลี้ยง​กัน​ยัง​ไง” ผม​ถาม​ต่อ เติ้ล​ส่าย​ศีรษะ​แล้ว​พูด​ต่อว่า “ไม่รสู้​ ิ​พี่ อาจ​จะ​เลี้ยง​ เหมือน​หมู​ชนิด​อื่น​หรือ​เปล่า ผม​ก็​ไม่​แน่ใจ มัน​ยัง​ใหม่​ มาก​สำหรับ​ทนี่​ ี่” แล้ว​เติ้ลก​ ็​พา​ผม​ไป​ยังห​ มู่ 2 พี่เพ็ญ​ศรี รัตติ​วัลย์ เจ้าของ​หมูด​ ำ​ทว​ี่ า่ น​ ย​ี้ นื ร​ อ​ตอ้ นรับอ​ ยูท​่ ป​ี่ ระตูบ​ า้ น จาก​นนั้ ​ พา​เรา​ไป​ยัง​โรง​เลี้ยง​หมู​ที่​อยู่​ภายใน​รั้ว

45


46 แม่ปะ

ด้วย​สภาพ​โรงหมู​ที่​สะอาด​สะอ้าน ไร้​กลิ่น​เหม็น​ ผิดแผก​จาก​ที่​ผม​เคย​คุ้น​เมื่อ​นึกถึง​เล้า​หมู แม่ห​ มูด​ ำ​กำลังห​ ลับ ลูกห​ มูท​ โ​ี่ ต​พอ​ประมาณ กำลัง​ ซุกซน ผม​ประหลาด​ใจ​ที่​พเี่​พ็ญ​ศรี​บอก​ว่า ลูก​หมูพ​ วก​นี้​ อายุ 15 วัน​เอง “นอกจาก​โต​เร็ว เนื้อที่​ได้​ก็​ต่าง​จาก​หมู​ฟาร์ม​ด้วย รสชาติด​ ี​กว่า มัน​น้อย​กว่า เนื้อ​เยอะ สาม​ชั้น​น้อย​กว่า” “หมู​ดำ​ของ​พี่​ลูกผสม​หรือ​เปล่า​ครับ” ผม​เดา​เอา “ค่ะ ที่​จริง​หมูด​ ำ​ก็​คือ​หมูเ​หม​ย​ซาน​ลูกผสม ขึ้น​อยู่​ กับ​ว่า​เหม​ย​ซาน​ผสม​กับพ​ ันธุ์​อะไร” “ของ​พี่​ผสม​กับ?” “ดู​ร็อค​ค่ะ ใน​อัตราส่วน​เท่า​ที่​ฟัง​จาก​คน​ขาย​พันธุ์​ มานะ​คะ เหม​ย​ซาน 25 ดู​ร็อค 75 ค่ะ เลย​มี​ทั้งส​ ี​ขาว สีดำ สี​ออก​แดงๆ บางที​สี​ก็​ข่ม​กัน​ไป​หมด ตัว​เดียว​มี​ หลายสีก​ ม​็ ี ปศุสตั ว์เ​คย​บอก​วา่ ห​ มูด​ ำ​ทม​ี่ ด​ี ร​ู อ็ ค​ใน​สาย​พนั ธุ​์ เป็นอ​ ตั ราส่วน​มากกว่าจ​ ะ​ให้ค​ วาม​แข็งแ​ รง​มาก​กว่าด​ ร​ู อ็ ค​ ในอัตราส่วน​น้อย​กว่า เหมาะ​สำหรับเ​ลี้ยง​ตาม​บ้าน​นอก เลี้ยง​แบบ​บ้านๆ นั่น​แหละ​ค่ะ” “พี่​ได้​พันธุ์​จาก​ไหน​ครับ” “เชียงใหม่​ค่ะ พี่​คน​หนึ่งแ​ นะนำ​มา” “เป็น​มายัง​ไง​พี่​ถึง​ได้​มา​เลี้ยง​หมู​ดำ​ครับ” “ตอน​แรก​พี่​ก็​ปลูก​ข้าวโพด เลี้ยง​ไก่​แบบ​คน​อื่น​


ติณ นิติกวินกุล

แถว​นี้ แต่​ราย​ได้​มัน​น้อย​ไม่​พอ​ค่า​ใช้​จ่าย ข้าวโพด​ก็​ราคา​ ตก มี​ผู้​เฒ่า​แนะนำ​ให้​เลี้ยง​หมู ก็​เลย​เลี้ยง​หมูพ​ ันธุ์​ทั่วไป​ ก่อน พอ​มี​คน​พูด​ถึง​หมู​เหม​ย​ซาน พี่​ก็​อยาก​ลอง​เลี้ยง​ ดู แต่​พี่​ไม่มคี​ วาม​รู้ ไม่รหู้​ า​พันธุ์​ได้ทไี่​หน คือ​อยาก​เลี้ยง​ แต่​ไม่รจู้​ ะ​เริ่ม​ยัง​ไง พอดี​มี​คน​จาก​เชียงใหม่​มา​เยี่ยม​ญาติ เลย​ได้​พูด​คุยแ​ ลก​เปลี่ยน​กัน เขา​จึง​แนะนำ​ให้​ไป​ซื้อ​พันธุ์​ ที่​เชียงใหม่” “ตั้งแต่​เมื่อไ​หร่ค​ รับ” “ปี 2552 ค่ะ ก็ได้​พันธุ​์นี้​มา เขา​บอก​ว่า​ไม่​ใช่​ เหมย​ซาน 100 เปอร์เซ็นต์ พี่​ก็​มา​รู้ที​หลัง​ว่าเ​หม​ย​ซาน 100 เปอร์เซ็นต์​แทบ​ไม่มหี​ รอก​ที่​เมือง​ไทย ปศุสัตว์​เขา​ มา​พัฒนา​สาย​พันธุ์​ให้​เหมาะ​กับ​เมือง​ไทย ผสม​กับ​พันธุ์​ นั้น​พันธุน์​ ี้ ที่​พี่​ซื้อ​มา​นี่​ตอน​แรก​ไม่รู้​หรอก​ว่าผ​ สม​กับ​พันธุ์​ อะไร ตอน​หลังถ​ ึง​รู้

47


48 แม่ปะ

“ตอน​แรก​พี่​ซื้อล​ ูก​หมูม​ า 4 ตัว ตัวล​ ะ 1,000 บาท ซื้อ​จาก​พวก​แม้ว​ค่ะ ลูก​หมู​โต​เร็วม​ าก​ค่ะ ชุดแ​ รก​ขายได้​ ตัวละ 3,500 บาท ดีใจ​มาก เลี้ยง​แค่ 2 เดือนเอง ทีนี้​ ก็​ไป​ซื้อ​ใหม่​มา​ผสม​พันธุ์​เอง แรกๆ ก็​เลี้ยง​ด้วย​ข้าว​ ธรรมดา ข้าว​เปียก​ข้าว​แห้ง รำ​หยาบ กล้วย​อะไร​แบบ​ นั้น​แบบ​เลี้ยงหมู​ทั่วไป ต่อ​มา​ปศุสัตว์​มา​เห็น​เขา​แนะนำ​ ให้​เลี้ยงด้วย​หัว​อาหาร ด้วย​ปริมาณ 1 กระป๋อง​ต่อห​ มู 10 ตัว​ใน​แต่ละ​มื้อ ให้​แค่​แรก​เกิด​อาทิตย์เ​ดียว​ลูก​หมูโ​ต​ เร็ว​มาก​และ​โต​เท่าๆ กัน​ทุก​ตัว​ด้วย” “ทุก​วัน​นนี้​ ่า​จะ​มี​คน​มา​ซื้อ​หมูข​ อง​พี่​เยอะ​นะ​ครับ” “ค่ะ ถ้าเ​ป็น​หมู​ขุน 7 เดือน​ก็​ขาย​ได้ ส่วน​ลูก​หมู 2 เดือน​กข​็ าย เรือ่ ง​ราคา​นแ​ี่ ล้วแ​ ต่ต​ กลง​กนั บาง​คน​ไม่ค​ อ่ ย​ม​ี สตางค์ พีก​่ ใ​็ ห้เ​ขา​เอา​ลกู ห​ มูไ​ป​เลีย้ ง​ตอ่ ไ​ป​เป็นห​ มูข​ นุ (ขาย​ เนื้อ) ขาย​ได้​เท่า​ไหร่​พี่​ขอ 1,500 บาท คือ​เอา​ไป​เลี้ยง​ต่อ​ ฟรีๆ จาก​ที่​เรา​เลี้ยง​ไว้ 2 เดือน” “ถ้า​เกิด​ว่า เอ่อ...หมู​ตาย​ล่ะ” พีเ​่ พ็ญศ​ รีย​ มิ้ “ไม่มค​ี ะ่ พีจ​่ ะ​ชว่ ย​ไป​ดแู ล ทีผ​่ า่ น​มายัง​ ไม่​เคย​มี​เลย​ค่ะ พีก่​ ็​เลือก​คน​เหมือน​กัน” ผม​เดิน​ดู​รอบๆ โรง​เลี้ยง ลูก​หมู​น่า​รักๆ วิ่ง​กัน​ อลหม่าน​แสดง​วา่ แ​ ข็งแ​ รง​ดี แม่ห​ มูเ​พิง่ ค​ ลอด​ลกู ก​ ม​็ ี อย่าง​ ที่​พี่​เพ็ญศ​ รี​บอก ถึง​ตรง​นี้​พี่​เพ็ญ​ศรี​เล่า​ให้​ฟัง​เรื่อง​แปลกๆ ของ​หมู


ติณ นิติกวินกุล

อย่าง​หมู​ดำ​นี่​ใช้​เวลา​ตั้ง​ท้อง 115 วัน​ไม่​ขาด​ไม่​เกิน ที่​ แปลก​อีก​อย่าง​คือ หาก​ตรง​กับ​วันพระ วัน​มาฆบูชา วัน​ อาสาฬหบูชา วันพระ​ใหญ่เ​หล่าน​ ี้ หมูจ​ ะ​ไม่ค​ ลอด จะ​เลย​ ไป​วัน​รุ่งข​ ึ้น​ค่อย​คลอด เรื่อง​นี้​สร้าง​ความ​ประหลาดใจแก่​ พี่เพ็ญศ​ รีแ​ ละ​ผม​มาก ซึ่งเ​มื่อ​ถาม​หา​คำ​อธิบาย​พี่​เพ็ญ​ศรี​ เอง​ก็​ตอบ​ไม่​ถูก ผม​เห็น​แม่​หมู​เพิ่ง​คลอด​เมื่อ​ตอน​เช้า ก่อน​ผม​มา​ ไม่กี่​ชั่วโมง จึง​เลี่ยง​ออก​มา​เพื่อ​ให้​มัน​ได้​พัก​ผ่อน​สบายๆ สภาพ​โรงหมู​ที่​ยกพื้น​สูง ไม่​เลอะเทอะ ไร้​กลิ่น​ เหม็น บรรดา​ไก่​ที่​วิ่ง​มา​แอบ​จิก​อาหาร​จิกหัว​อาหาร​ ก็พลอย​โต​เร็ว​ไป​ด้วย เป็น​ผลพลอยได้​โดย​ไม่รตู้​ ัว ผล​ตาม​มา​ที่​สำคัญ​ก็​คือ ฐานะ​ความ​เป็น​อยู่​ที่​ดี​ขึ้น​ มาก สามารถ​สร้าง​บ้าน​ของ​ตัว​เอง​ได้ ออก​รถ​กระบะ​ไป​ รับ​ส่งข​ อง และ​ครอบครัวก​ ็​มคี​ วาม​สุข

49


50 แม่ปะ

08 กองทุน​หมู่บ้าน: ระบบ​องค์กร​ การ​เงิน​และ​สวัสดิการ​ชุมชน ออก​จาก​บ้าน​พเี่​พ็ญศ​ รีอ​ ย่าง​อิ่มใจ เรา​เดินท​ าง​ต่อไ​ป​ยังท​ ี่​ ที่​เติ้ล​พูดก​ ับ​ผม​ว่า “พี่​เคย​ให้​เงิน​ใคร​ยืม​แล้วไ​ม่​ได้​คืน​มั้ย” “บ่อย ถาม​ทำไม” ผม​แปลก​ใจ “ทีท​่ ผ​ี่ ม​จะ​พา​ไป ทีน​่ นั่ ส​ ามารถ​ทำให้ค​ น​ทย​ี่ มื เ​งินไ​ป​ แล้ว ไม่มใี​คร​แม้แต่​คน​เดียว​ไม่​คืน​เงิน” “งง อะไร​ของ​เติ้ล” เติ้ล​หัวเราะ “ฟัง​แล้ว​งง​ใช่​มั้ย” “งง​กับ​สำนวน​ภาษา​ของ​เอ็ง​มากกว่า” ผม​กระเซ้า เขา​หัวเราะ บ้าน​ร่มรื่น แวดล้อม​ต้นไม้​และ​การ​จัดส​ วน​ปรากฏ​ อยู่​ตรง​หน้า​ผม พี่​แสง​หล้า เจริญสุข เจ้าของ​บ้าน​ออก มา​ต้อนรับ “นี่​แหละ​ประธาน​กองทุนห​ มู่บ้าน เจ้าของ​เงิน​ที่​ยืม​ ไป​แล้ว​ไม่มใี​คร​เลย​ที่​ไม่​คืน” เติ้ล​พูดแ​ ล้ว​หัวเราะ พีแ​่ สง​หล้าไ​ด้ยนิ เ​สียง​หวั เราะ​ของ​เรา​สอง​คน จึงเ​อ่ย​ ถาม เมื่อท​ ราบ​ความ​พแี่​ สง​หล้า​พูด​ว่า “เงิน​ของ​พี่​ที่ไหน เงิน​กองทุน​หมู่บ้าน ของ​รัฐ​ให้​มา​ ให้​พี่​น้อง​บ้าน​เรา พีก่​ ็​แค่​มา​ช่วย​ดูแล” “แต่​เท่า​ที่​ผม​ตระเวน​มา​ร้อยเอ็ด​เจ็ด​ย่าน​น้ำ ผม​


ติณ นิติกวินกุล

ไม่​เคย​ได้ยิน​กองทุน​หมู่บ้าน​ที่ไหน​มี​อัตรา​ส่ง​ใช้​คืน​แบบ​นี้ พี่​ทำ​อย่างไร​ครับ” “พี่​บอก​คน​กู้​ว่าต​ ้อง​ฝึก​ให้​มี​วินัย​ใน​การ​ใช้​เงิน ก่อน​ จะ​ให้ใ​คร​กก​ู้ ต​็ อ้ ง​สบื ป​ ระวัตก​ิ อ่ น เพราะ​คน​จะ​กต​ู้ อ้ ง​กรอก​ แบบ​ฟอร์มใ​ห้เ​รา​พจิ ารณา เรา​พจิ ารณา​กนั ใ​น​รปู แ​ บบ​คณะ​ กรรมการ ไม่ใช่พ​ ี่​คน​เดียว ทีนเี้​รา​ก็​ไป​สืบ​เสาะ คน​นี้​เป็น​ อย่างไร ไป​ถาม​เพื่อน​บ้าน นิสัย​ใจคอ ประวัตเิ​รื่อง​เงินๆ ทองๆ ใน​อดีต เวลา​พิจารณา​ จะ​ใ ห้ ​ ใคร​กู้ ตอน​นั้น​พี่​ไม่มี​ญาติ พี่​ บอก​ทุ ก ​ค น​เ ลย แล้ ว ​ใ คร​ สัญญา​จะ​ใช้​เงิน​เท่า​ไหร่​ถึง​ เวลา​ก็​ต้อง​ตาม​นั้น​เวลา​ นัน้ ไม่มบ​ี ดิ พลิว้ คน​เรา​นะ่ ​ มี​เงิน​มาก​ก็​สำลัก​เงิน ยิ่ง​ คน​ไม่​เคย​มี​ยิ่ง​หนัก​ใหญ่” “ดอก​เ ท่ า ​ไ หร่ ​ ครับ” “ร้อย​ละ 6 ตั้งแต่​ปี 2544 พอ​ปี 2546 ขึ้ น ​เ ป็ น​ ร้ อ ย​ล ะ

51


52 แม่ปะ

12 ตอน​นเ​ี้ หลือร​ อ้ ย​ละ 10 เงินใ​น​กองทุนม​ ป​ี ระมาณ 1.8 ล้าน คน​กู้​ทั้ง​ตำบล​รวม​แล้ว​ประมาณ​กว่า 600 คน ทั้ง​ ตำบล​เรา​มี​อัตรา​ใช้​เงิน​คืน​ร้อย​ละ​ร้อย​เหมือน​กัน” “เยี่ยม​จริงๆ เลย​พี่ ผม​เคย​เจอ​เต็ม​ที่​ก็​ร้อย​ละ 80-90 ก็​ว่า​ดีแล้ว นี่​ร้อย​ละ​ร้อย โอ้​โห เยี่ยม​สุดๆ” ผม​ ชื่นชม​จาก​ใจ “หลายๆ ที่ ​ที่​มี​ปัญหา​ส่วน​ใหญ่​จะ​เกิด​จาก​ตัว​


ติณ นิติกวินกุล

กรรมการ​เอง” “ยัง​ไง​หรือ​ครับ” “เล่นพ​ รรค​เล่นพ​ วก ไม่เ​สียส​ ละ คน​เรา​อยูใ​่ น​สงั คม​ ต้อง​เสียส​ ละ ต้อง​รจู้ กั แ​ บ่งป​ นั หาก​เรา​อยูด่ ส​ี ขุ ด​ ี แล้วเ​พือ่ น​ เรา​ไม่​สุข​มี​แต่​ทุกข์ เรา​จะ​สุข​ได้​หรือ” พี่​แสง​หล้า​บอก “ครอบครัว​พี่​ต้อง​ดี​ด้วย ไม่​งั้น​พี่​จะ​ทำงาน​อย่าง​นี้​ ได้​ไง” “คง​ถูก​ของ​น้อง พี่​มี​แฟน​เข้าใจ ลูกๆ ก็​เข้าใจ” พี่​ แสง​หล้า​ยิ้ม​ตอบ​อย่าง​มคี​ วาม​สุข บท​สนทนา​กับ​พี่​แสง​หล้า​อีก​หลาย​นาที​ต่อ​มา​ล้วน​ แล้ว​แต่​พูด​ถึง​ครอบครัว​และ​ลูกๆ ทำให้​ผม​ยิ่ง​มั่นใจ​ว่า​ ครอบครัว​เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่สุด​ใน​ชีวิต ทำให้​ผม​ยิ่ง​คิดถึง​ บ้าน อยาก​เป็น​ดั่ง​สายน้ำ​ที่​ไหล​กลับ​ไป​หา​บ้าน​อย่าง​ที่​ เติ้ลเ​ป็น​อยู่

53


54 แม่ปะ

09 ออม​ทรัพย์เ​พื่อก​ าร​ผลิต: ระบบ​ องค์กร​การ​เงิน​และ​สวัสดิการ​ชุมชน


ติณ นิติกวินกุล

“บริเวณ​หมู่ 1 ของ​ตำบล​แม่ปะ มีก​ ลุม่ อ​ อม​ทรัพย์เ​พือ่ ก​ าร​ ผลิต​ที่​ประสบ​ความ​สำเร็จ น่าส​ นใจ​นะ​ครับ​พี่” เติ้ล​พูด “เป็น​ยัง​ไง​หรือ เคย​ได้ยิน​แต่​ออม​ทรัพย์​สัจจะ ออมทรัพย์เ​พื่อ​การ​เก็บ​หอม​รอบ​ริบ ออม​ทรัพย์​เพื่อ​การ​ ผลิต​นี่​เป็น​ไง” ผม​ถาม เติ้ลย​ ิ้ม​แทน​คำ​ตอบ ผม​พูด​ว่า “ถ้าอ​ ยาก​จะ​รู้ ต้อง​ตาม​ไป​ดู” พูด​เอง​ผม​ ก็ห​ วั เราะ​เอง เติล​้ ม​อง​หน้า เขา​ไม่เ​ข้าใจ​มกุ “มุกค​ ง​โบราณ​ ไป” ผม​พูด “เคย​รู้​จัก​หมอ​ซ้ง รายการ​ตาม​ไป​ดมู​ ั้ย” “เคย​ได้ยิน​รุ่น​พี่ๆ พูด​ขึ้น​มา​อยู่​หลาย​ครั้ง​รายการ​ ตาม​ไป​ดอู​ ะไร​เนี่​ย แต่​ผม​ไม่ไ​ด้​ดู เกิด​ไม่ทัน” พูดจ​ บ​เติ้ล​ก็​ ยิ้ม มุก​นผี้​ ม​เข้าใจ​ครับ เติ้​ลมัน​จะ​บอก​ว่าผ​ ม​แก่ รถ​กระบะ​ของ​เติ้ล​พา​ผม​ไป​ยัง​หมู่ 1 ถนน​หนทาง​ ที่​ผ่าน​ไป​นั้น​ดู​ร่มรื่น เมื่อ​ไป​ถึงที่​ทำการ​ของ​กลุ่ม​ออม​ ทรัพย์ฯ ผม​สังเกต​เห็น​กลุ่ม​คน​เคลื่อนไหว​บริเวณ​นั้น​ซึ่ง​ เป็น​สถานที่ทำการ​ติดๆ กัน​อยู่ 2-3 แห่ง ผม​มอง​ป้าย​ แล้วเ​ห็นว​ า่ เ​ป็นท​ งั้ ท​ ที่ ำการ​สาธารณสุข ทีท่ ำการ​กลุม่ อ​ อม​ ทรัพย์เ​พือ่ ก​ าร​ผลิตแ​ ละ​เป็นโ​รง​เรือน ภาย​หลังจ​ งึ ท​ ราบ​วา่ ​ โรง​เรือน​นั้น​ทาง​กลุ่ม​กำลัง​ทดลอง​ปลูก​ผัก​ไฮโดรโปนิกส์​์ หรือ​การ​ปลูก​ผัก​โดย​ไม่ใ​ช้​ดิน พี่​ผู้​หญิง​คน​หนึ่ง​เดิน​มา​ต้อนรับ เติ้ล​แนะนำ​ให้​ รู้จัก ผม​จึง​ทราบ​ว่า​คือ​พี่​ณัฐ​พิมล ปา​คำ​มา ประธาน​

55


56 แม่ปะ

กลุ่ม​ออมทรัพย์​เพื่อ​การ​ผลิต หลัง​จาก​ดื่ม​น้ำ​ที่​พี่​ณัฐ​นำ​ มา​ต้อนรับ ผม​ไม่ร​ ีรอ​ยิง​คำถาม​ทันที “คือ​อะไร​ครับ กลุ่ม​ออม​ทรัพย์​เพื่อ​การ​ผลิต” “กลุ่ม​ออม​ทรัพย์​เพื่อ​การ​ผลิต​คือ การ​รวม​ตัว​กัน​ ของ​ประชาชน​ใน​การ​ช่วย​เหลือ​ตนเอง​และ​ช่วย​เหลือ​ซึ่ง​ กันแ​ ละ​กนั ใ​น​ดา้ น​เงินท​ นุ โดย​การ​ประหยัดเ​งิน แล้วน​ ำมา​ สะสม​รวม​กัน​ที​ละ​เล็ก​ละ​น้อย​อย่าง​สม่ำเสมอ​เพื่อ​ใช้​เป็น​ ทุน​สำหรับ​สมาชิก​ที่​มี​ความ​จำเป็น​ที่​มี​ความ​เดือด​ร้อน กู้​ ยืมไ​ป​ใช้ใ​น​การ​ลงทุนพ​ ฒ ั นา​อาชีพห​ รือเ​พือ่ ส​ วัสดิการ​ของ​ ครอบครัว” “ผม​ไม่​เคย​ได้ยิน​กลุ่ม​ที่​รวม​ตัว​กัน​แล้ว​ใช้​ชื่อ​ว่า ออมทรัพย์​เพื่อ​การ​ผลิต” “อันท​ จ​ี่ ริงม​ ม​ี า​นาน​แล้วน​ ะ​คะ เท่าท​ พ​ี่ ร​ี่ มู้ า ริเริม่ โ​ดย​ ราชการ​มา​นาน​แล้ว​ตั้งแต่ป​ ี 2517 โดย​กรม​การ​พัฒนา​ ชุมชน เป็นการ​ผสม​ผสาน​ระหว่าง​แนวคิด​ของ​สหกรณ์​ การเกษตร​เครดิต​ยู​เนี่ยน​และ​สิน​เชื่อ​เพื่อ​การเกษตร มี​ ครั้งแรก​ที่​บ้าน​ใน​เมือง หมู่ 3 ตำบล​ละงู อำเภอ​ละงู จังหวัด​สตูล และ​บ้าน​ขัว​มุง หมู่ 6 ตำบล​ขัว​มุง อำเภอ​ สารภี จังหวัด​เชียงใหม่ ก็ค​ ือ​ใช้​หลัก​การ​ออม​ทรัพย์​เป็น​ เครื่อง​มือใ​น​การ​พัฒนา​คน ทำให้ค​ น​มี​คุณธรรม 5 ข้อ คือ 1) ความ​ซอื่ สัตย์ 2) ความ​เสียส​ ละ 3) ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ 4) ความ​เห็นอ​ ก​เห็นใจ และ 5) ความ​ไว้ว​ างใจ​ใน​หมูส​่ มาชิก”


ติณ นิติกวินกุล

พี่​ณัฐพิมล​ร่าย​ยาว​ใน​ข้อมูล​แน่น​เปรี๊ยะ “แล้ว​ที่​แม่ปะ​นี่​ตั้งก​ ลุ่ม​กัน​มา​ตั้งแต่เ​มื่อ​ไหร่ค​ รับ” “ปี 2534 ตอน​นนั้ ป​ ญ ั หา​หลักๆ ก็ค​ อื ค​ วาม​ยากจน ความ​ไม่ส​ ะดวก​ใน​การ​ไป​ธนาคาร เจ้าห​ น้าทีพ​่ ฒ ั นา​ชมุ ชน​ ก็ใ​ห้ค​ ำ​แนะนำ​วา่ น​ า่ จ​ ะ​เปิดเ​ป็นก​อง​ทนุ เ​ลย ตอน​แรก​ออม​ เดือน​ละ 10-20 บาท คน​หนึง่ ม​ ไ​ี ด้ 1 บัญชี ต่อม​ า​ชาวบ้าน​ เห็น​ถึง​ประโยชน์ สมัคร​กัน​เข้า​มา​มาก​ขึ้นๆ ทุก​วัน​นี้​มี​ ทั้งหมด” พี่​ณัฐพ​ ิมล​ก้ม​ดู​เอกสาร “282 คน” “ตอน​นี้​ออม​กัน​คนละ​กี่​บาท​ครับ” “ต่ำ​สุดต​ อน​นี้ 5 บาท สุงส​ ุด​ก็ 3,000 บาท​ต่อ​ เดือน” “ยาก​เหมือน​กัน​นะ​ครับ อัน​นี้​เป็น​แบบ​ที่​อื่น​มั้ย คือต​ ้อง​เท่า​กัน​ทุก​เดือน แบบ​ฝาก​ประจำ​ธนาคาร อะไร​ ประมาณ​นี้” “เหมือน​กนั ค​ ะ่ เริม่ เ​ท่าไ​หร่ก​ ต​็ อ้ ง​เท่านัน้ ต​ ลอด​ทงั้ ป​ ี จะ​เปลี่ยนแปลง​ต้อง​ไป​เริ่ม​ใหม่เ​มื่อ​ครบ​ปี​ไป​แล้ว” “บอก​ได้​มั้ย​ครับ​ว่าต​ อน​นี้​มี​เงิน​เท่าไ​หร่แ​ ล้ว” พี่​ณัฐ​พิมล​ยิ้ม ก่อน​จะ​ตอบ​ว่า “บอก​ได้​ค่ะ ก็​ ประมาณ 1 ล้าน​กว่า​บาท ดอก​ผล​เรา​เอา​ไป​พัฒนา​ หมู่บ้าน เช่น ไป​ช่วย​ปลูก​ป่า​ชุมชน ช่วย​จัด​งาน​วัน​เด็ก​ ใน​รูป​แบบ​เงินใ​ห้​เปล่า ให้ไ​ป​ฟรีๆ ไป​เลี้ยง​อาหาร​ใน​งาน​ ต่างๆ ภายใน​ตำบล ให้ค​ วาม​ช่วย​เหลือก​ลุ่ม อสม. ซื้อ​

57


58 แม่ปะ

อุปกรณ์ท​ างการ​แพทย์อ​ ย่าง​เครือ่ ง​วดั ค​ วาม​ดนั สนับสนุน​ เงิน​ทุน​สร้าง​สวน​สุขภาพ อย่าง​นี้​เป็นต้น พูด​อย่าง​นี้​อย่า​ หา​ว่า​โม้ เรา​ได้​กลุ่ม​ออม​ทรัพย์​ยอด​เยี่ยม​ที่ 2 ของ​จังหวัด​ ตาก​นะ” พี่​ณัฐพ​ ิมล​กล่าว​อย่าง​ภาค​ภูมิใจ “แล้ว​ปัญหา​ที่​มขี​ อง​การ​ดำเนิน​การ​ล่ะ​ครับ” “แทบ​ไม่มี​เลย​นะ เรา​ถึง​ได้ที่ 2 ไง เพราะ​ตั้งแต่ท​ ำ​ มา​โดย​เฉพาะ 10 ปี​หลัง คน​ที่​เป็น​หนี้​นอก​ระบบ​ลด​ลง​ เยอะ​มาก หัน​มา​ออม​กัน​มาก​ขึ้น ไม่ใช่​แต่​ออม​กับ​กลุ่ม หลาย​ครอบครัว​ยังเ​อา​เงิน​ไป​ฝาก​ธนาคาร ไป​ทำ​นั่น​ทำ​นี่​ ให้เ​กิดด​ อก​ออก​ผล ทัง้ หมด​กเ​็ พราะ​การ​ได้ม​ า​ออม​กบั ก​ ลุม่ ​ จน​เห็นดี​เห็น​งาม​กับ​การ​รู้จัก​ออม รู้จักใ​ช้​เงิน” “ดี​จัง​ครับ” “ภายใน​ปี​นี้​เรา​จะ​เติบโต​เป็น​ธนาคาร​ชุมชน​แล้ว​ นะคะ กำลังด​ ำเนินก​ าร​อยู่” “เยี่ยม​เลย​ครับ” นอกจาก​พูด​ออก​ไป​แล้ว ผม​ยัง​ ชม​ชอบ​การ​ทำงาน​ของ​พี่​ณัฐ​พิมล​อยู่​ใน​ใจ เพ​ราะ​พี่​ณัฐ​ คง​สังเกต​ผม​ที่​มอง​ไป​รอบๆ ที่ทำการ​นี้​อยู่​หลาย​ครั้ง เพราะ​ที่​ผม​เคย​เห็น​มา​นั้น​มัก​จะ​ใช้​ศาลา ห้อง​หับ​ของ​รัฐ ของ​เทศบาล ของ อบต. เป็นท​ ี่ทำการ แต่ท​ ี่​นี่​เป็น​กึ่งๆ อาคาร กึ่งๆ ห้อง​หับ พี่​ณัฐ​พิมล​อธิบาย​ต่อว่า “พวก​เรา​ ช่วย​กนั ค​ ะ่ มา​จาก​ดอก​ผล​ของ​เงินก​ องทุนน​ เ​ี้ ช่นก​ นั ใช้ง​ าน​ ได้ ไม่​จำเป็นต​ ้อง​ดู​สวย เน้น​การ​ใช้สอย​ค่ะ คน​อื่น​มา​ยืม​


ติณ นิติกวินกุล

ใช้ได้ ไม่​หวง​เลย” พี่​ณัฐพ​ ูดต​ ่อ​อย่าง​ปลื้ม​ใจ เมื่อ​ผม​พูด​ถึง​สวัสดิการ พี่​ตอบ​ว่า “เรา​มี​สวัสดิการ​แก่​สมาชิก โดย​พิจารณา​เป็น​ รายๆ ไป ไม่​ได้​กำหนด​เป็น​ข้อๆ แต่ต​ ่อ​ไป​เรา​จะ​กำหนด​ เป็น​ข้อ​บังคับ​ชัดเจน” พี่​ณัฐ​พิมล​ยิ้ม และ​อีก​เรื่อง​ที่​สร้าง​ ความ​ภมู ใิ จ “ต่อไ​ป​เรา​จะ​ทำ​ทน​ี่ เ​ี่ ป็นเ​คาน์เตอร์เ​ซอร์วสิ น​ ะ ค่าน้ำ ค่าไ​ฟ พวก​ใบ​เสร็จ​ทั้ง​หลาย​สามารถ​มา​จ่าย​ที่นี่​ได้ เติม​เงิน​ออนไลน์ท​ ุก​ระบบ” เติ้​ลบ​อก​กับ​ผม​ภาย​หลัง​ว่า ทุก​อย่าง​กำลัง​จะ​ เปลี่ยน​ไป​แล้ว นั่น​น่ะ​สิ...ผม​คิด เมื่อ​ก่อน​เมื่อ​พูด​ถึง​ระยะ​ ทาง 10-20 กิโลเมตร​ถอื ว่าเ​ป็นห​ นทาง​ทธ​ี่ รรมดา ไม่ไ​กล ทุก​วัน​นี้ 1-2 กิโล​ก็​พูด​กัน​ว่า​ไกล​แล้ว

59


60 แม่ปะ

10 อสม.หมู่ 1: ระบบ​การ​ดูแล​สุขภาพ​ ชุมชน อาสา​สมัคร​สาธารณสุขห​ รือท​ เ​ี่ รียก​กนั จ​ น​ตดิ ปาก​วา่ อสม. นั้น ที่​แม่ปะ​โดด​เด่น​มาก ผม​ได้ยิน​ชื่อ​ตั้งแต่ย​ ัง​เดิน​ทาง​ไป​ ไม่​ถึง​แม่ปะ “ใช่​ครับ​พี่” เติ้ล​ยืนยัน พี่​อำ​พร ชาญ​ธัญ​กรรม ใน​ฐานะ​ผู้นำ​กลุ่ม เดิน​ ออก​มา​จาก​ที่ทำการ​ศูนย์​สาธารณ​สุ​ขมุ​ล​ฐาน​ชุมชน​มา​ พูด​คุย​ด้วย ด้วย​สีหน้า​ที่​เป็น​มิตร พี่​อำ​พร​เล่า​ถึง​การ​ทำงาน​ อย่างไร​ให้​ประสบ​ผล “เรา​ทำงาน​กัน​เป็น​ทีม​ค่ะ และ​ทำ​ต่อ​เนื่อง​ตลอด​ ทั้ง​ปี” พี่​อำ​พร​ยิ้ม​แย้ม “เริ่ม​ตั้งแต่​ต้น​ปี​ก็​คือ​จัด​กิจกรรม​ วัน​เด็ก​ภายใน​หมู่บ้าน เดิน​กุมภาพันธ์​ก็​สำรวจ​ลูกน้ำ​ยุง​ ลาย เรา​จะ​รณรงค์​กัน​ตั้งแต่​เดือน​กุมภาพันธ์​เป็นต้น​ไป ทำ​ทั้ง​ตำบล โดย​แต่ละ​หมู่บ้าน​ตั้ง​กติกา​กันเอา​เอง พอ​ ถึง​เดือน​มีนาคม​ก็​รณรงค์​วัคซีน​โรค​พิษ​สุนัข​บ้า เรา​จัด​ฉีด​ ให้​เข็ม​ละ 40 บาท คือ​กระทรวง​จะ​ให้​มา​เข็ม​ละ 5 บาท ซึ่ง​เป็น​บัญชี​เฉพาะ​เรื่อง​โรค​พิษ​สุนัข​บ้า ส่วน​ที่​เหลือ​เรา​ก็​ หา​กันเอา​เอง “พอ​เข้าเ​ดือน​เมษายน​เรา​กจ​็ ดั ก​ จิ กรรม​รดน้ำด​ ำหัว​


ติณ นิติกวินกุล

ผู้​สูง​อายุ​ใน​หมู่บ้าน​นะ​คะ โดย​มี อบต. ให้การ​สนับสนุน ส่วน​เดือน​พฤษภาคม​เรา​จะ​รุก​หนัก​ใน​เรื่อง​การ​กำจัด​ แหล่งล​ กู น้ำย​ งุ ล​ าย ไม่ร​ อ​ให้เ​กิดป​ ญ ั หา พวก​กะลา​คว่ำ น้ำ​ ขังใ​น​ยาง​รถยนต์ ใน​โอ่ง เรา​กข​็ อ​ความ​รว่ ม​มอื ใ​ห้เ​ท​ทงิ้ ช่วย​ กันด​ แู ล​กนั ต​ ลอด รวม​ถงึ แ​ จก​ทราย​อะเบท​ให้ช​ าว​บา้ น​ดว้ ย จาก​นนั้ เ​ดือน​มถิ นุ ายน​กเ​็ ป็นก​ จิ กรรม​ของ​กลุม่ อ​ อม​ทรัพย์ ส่วน​เดือน​กรกฎาคม​ถึง​ตุลาคม​จะ​มี​กิจกรรม​เลี้ยง​อาหาร​ กลาง​วัน ​ผู้​สุ​งอา​ยุ​ทุก​วันพระ โดย​จะ​ไป​ถึง​วัด ชักชวน​ ชาวบ้าน​ให้​ทำบุญ​กัน นอกจาก​นี้​จะ​มี​การ​ตรวจ​สุขภาพ​ ผู้​สูงอ​ ายุ วัด​ความ​ดัน ตรวจ​เบา​หวาน เดือน​พฤศจิกายน​ เรา​มี​กิจกรรม​ใน​เทศกาล​ลอย​กระทง ส่งเ​สริม​ให้​ผู้​สูง​อายุ​ ทำ​กระทง สามารถ​นำ​ไป​ขาย​ได้​ใน​วันลอย​กระทง รวม​

61


62 แม่ปะ

ถึง​มี​การ​ออก​ร้าน​ของ อสม. ตาม​งาน​ต่างๆ ใน​ตำบล ใน​ จังหวัด เพื่อห​ า​ราย​ได้​เข้า​อีก​ทาง” พี่​อำ​พร​ร่าย​ยาว​อย่าง​ มือ​อาชีพ​ทไี่​ม่​ต้อง​ถามไถ่​กัน​ให้​มาก “มี​หน่วย​งาน​ต่างๆ มา​ดู​งาน​บ่อย​ค่ะ” เมื่อ​พูดถ​ ึง​ เรื่อง​นี้​พี่​อำ​พร​หัวเราะ​และ​ไข​แถลง “ยัง​ไม่​หมด​นะ​คะ สิ้น​ปี​เดือน​ธันวาคม เรา​จะ​ รณรงค์​หยอด​ยา​ป้องกัน​โปลิโอ​ใน​เด็ก​ไทย​และ​ต่างด้าว ตอน​นี้​เรา​กำลัง​ทำ​โครงการ​ออก​กำลัง​กาย​ภูมิปัญญา​ชาว​ บ้าน อย่าง​เช่น​ทำ​ลาน​ออก​กำลัง​ภูมิปัญญา โดย​นำ​กะลา​ ไป​ฝงั ด​ นิ ใ​ห้ค​ น​ให้ผ​ เ​ู้ ฒ่าเ​ดินย​ ำ่ ไ​ป​มา เป็นการ​นวด​ฝา่ เท้าไ​ป​ ใน​ตัว อย่าง​นี้​เป็นต้น” พี่​อำ​พร​กล่าว​ด้วย​ความ​มั่นใจ​ใน​โครงการ​และ​ กิจกรรม​ตา่ งๆ และ​พดู ต​ อ่ ด​ ว้ ย​วา่ “หลาย​ครัง้ น​ ะ​คะ​มกั จ​ ะ​ มีค​ น​ถาม​วา่ พ​ วก​เรา​ทำ​ไป​แล้วไ​ด้อ​ ะไร พวก​เรา​ไม่ส​ ามารถ​ อธิบาย​ได้​หรือบ​ อก​ความ​รู้สึก​ได้​ทั้งหมด​หรอก​ค่ะ เพราะ​ ว่า​คน​ที่​เขา​ไม่​เคย​ทำ​จะ​ไม่​สามารถ​รับ​รู้​ถึง​ความ​รู้สึก​นี้​ได้ แต่พ​ วก​เรา​รค​ู้ ะ่ ว​ า่ ท​ ำ​แล้วไ​ด้อ​ ะไร เพราะ​วา่ ถ​ า้ ท​ ำ​แล้วไ​ม่ได้​ อะไร พวก​เรา​ก็​คง​ไม่​ทำ” พี่​อำ​พร​ยิ้ม “ทุก​วัน​นี้​มี อสม. เยอะ​มั้ย​ครับ” “14 คน เฉพาะ​หมู่ 1 นะ​คะ เวลา​เรา​ประชุมเ​รา​ จะ​ให้​ทุก​คน​ได้​แสดง​ความ​เห็น เมื่อ​ตกลง​ร่วม​กัน​เรา​ก็​จะ​ ทำงาน​เป็น​ทีม ปรึกษา​หารือ​กัน​ตลอด เมื่อ​ได้​รางวัล​ก็​


ติณ นิติกวินกุล

ถือ​เป็น​ของ​ทุก​คน ไม่ใช่​ของ​ใคร​คน​ใด​คน​หนึ่ง” พี่​อำ​พร​ ภูมิใจ เดิน​ทาง​มา​หมู่ 1 คราว​นี้​เรา​เห็น​สีหน้า​แห่งค​ วาม​ ภาค​ภูมิใจ​เต็ม​ไป​หมด อย่าง​เช่น​เมื่อ​พี่​อำ​พร​เล่า​ถึงที่​ ทำการ​ศูนย์​สาธารณสุข​ชุมชน​มูลฐาน “เดิม​ที่​แห่ง​นี้​สร้าง​ด้วย​ไม้” พี่​อำ​พร​เล่า “ชาว​บ้าน​ ร่วมใจ​กนั อ​ อกแรง​ออก​เงิน แบก​ไม้ม​ า​รว่ ม​กนั ส​ ร้าง​ขนึ้ ใ​น​ปี 2536 พอ​ถงึ ป​ ี 2546 ก็ช​ ำรุด ทาง​คณะ​กรรมการ​หมูบ่ า้ น​ และ อสม. จึง​ร่วม​กัน​ทำ​โครงการ​ขอ​ไป​ยัง อบจ. ได้​เงิน​ สนับสนุน​มา 16,900 บาท ก่อสร้าง​เสร็จ​และ​เปิด​ใช้ใ​น​ ปีเ​ดียวกัน ใน​ตำบล​แม่ปะ​มท​ี น​ี่ แ​ี่ ห่งเ​ดียว​และ​เป็นเ​อกเทศ​ ไม่​ต้อง​ไป​ใช้​ร่วม​กับ​ใคร”

63


64 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

11 กู้​ชีพ​กู้ภัย: ระบบ​การ​ดูแล​สุขภาพ​ ชุมชน

65


66 แม่ปะ

เดิน​ทาง​กลับ​มา​ที่ทำการ อบต. อีก​หน ผม​กับ​เติ้ล​แวะ​ รับประทาน​อาหาร​เทีย่ ง​กนั ท​ ร​ี่ า้ น​อาหาร​หน้าทีท​่ ำการ ซึง่ ​ ดู​เป็น​ร้าน​ริม​ทาง​ทั่วๆ ไป พบเห็นไ​ด้​ทุกๆ ทีใ่​น​ประเทศ เรา​สงั่ ก​ ะเพรา​ไก่ไ​ข่ด​ าว ตอน​แรก​คดิ แ​ ค่ว​ า่ ก​ นิ ใ​ห้อ​ ยูท​่ อ้ ง​ก​็ พอ แต่ป​ รากฏ​วา่ ไ​ม่ใช่ เพราะ​รา้ น​นพ​ี้ ถิ พี ถิ นั ต​ งั้ แต่ข​ า้ วสวย​ ที่​ใส่​ใน​ถ้วย​กลม​ก่อน​จะ​โปะ​ลง​ใน​จาน​แบน​กว้าง​ให้​ดู​เป็น​ รูป​เป็น​ทรง ผัด​กะเพรา​เสร็จ​ก็​ไม่​ได้​ราด​บน​ข้าว​สวย แต่​ เท​วาง​ไว้​ใกล้​ข้าว​ก่อน​จะ​วางไข่​ดาว​ทอด​เสร็จ​ใหม่​หมาด​ อีก​ด้าน​ใกล้​กัน เมื่อ​ตัก​คำ​แรก​และ​คำ​ที่​สอง​เข้า​ปาก​ลง​ กระเพาะ ลิ้น ​ผม​บอก​ว่า​อร่อย​มาก อีก​ไม่​ถึง 5 นาที กะเพรา​ไข่​ดาว​ก็​หมด​จาน เปิด​ตู้​แช่​เลือก​กาแฟ​เย็น​กระป๋อง​ล้าง​ปาก แล้ว​ คุ ย ​กั บ ​เติ้ ล ​ร ะหว่ า ง​ร อ​เจ้ า ​ห น้ า ที่ ​ที ม ​กู้ ​ชี พ ​ที่ ​นั ด ​ไ ว้ ​ห ลั ง​​ รับประทาน​อาหาร​และ​พัก​ผ่อน “ทีจ​่ ริงก​ เ​็ ข้าไป​ได้น​ ะ​พ”ี่ เติล​้ บ​อก “พีๆ ่ กลุม่ น​ พ​ี้ ร้อม​ ทำงาน​ตลอด ไม่มเี​วลา​พัก​ที่​แน่นอน” “ไม่เ​ป็นไ​ร​เติล้ นัดเ​ป็นน​ ดั อีกอ​ ย่าง​เติล้ ก​ เ​็ หนือ่ ย​กบั ​ ผม​มา​ตั้งแต่​เช้า น่า​จะ​ได้พ​ ัก​บ้าง” “ไม่​เป็นไร​พี่ สนุก​ดี ไม่เ​หนื่อย​เลย” “อย่า​มา​เกรงใจ​ผม เหนื่อย​สิ เช้า​เดียว​ตระเวน 7 แห่ง ขอบใจ​มาก​นะ” ผม​บอก​จาก​ใจ​จริง “ได้เ​วลา​แล้วพ​ ี่ ไป​เถอะ” เติล้ ห​ วั เราะ​แทน​คำ​ชมเชย​


ติณ นิติกวินกุล

จาก​ผม​แล้ว​ลุก​ขึ้น​ออก​จาก​ร้าน “เดี๋ยว ยัง​ไม่​ได้​จ่าย​ตังค์” ผม​ตะโกน​ตาม​หลังเขา (ฮา) อาคาร​ที่ทำการ​หลัง​เก่า​ของ อบต. เป็น​สถาน​ที่​ ทำงาน​อย่าง​ไม่เ​ป็นท​ างการ​ของ​หน่วย​กช​ู้ พี ก​ ภู้ ยั แ​ ละ​หน่วย​ อื่นๆ เพิ่ง​หมาด​จาก​ปรอย​ฝน​เมื่อ​สัก​ครู่​ระหว่าง​ทผี่​ ม​กับ​ เติ้ล​รับ​ประทาน​อาหาร เมื่อ​เปิด​ประตู​เข้าไป พี่​ธนา​ธร ศรี​กา​วี กำลัง​ โต้ตอบ​วทิ ยุส​ อื่ สาร​กอ่ น​จะ​ปดิ เ​ครือ่ ง​แล้วย​ มิ้ ใ​ห้ ผม​แนะนำ​ ตัวเอง “เชิญ​นั่ง​ครับ กาแฟ​มั้ย” พี่​ธนา​ธร​ถาม “ไม่​ครับ ดื่ม​มา​แล้ว” พีธ่​ นา​ธร​หัน​ไป​กด​น้ำ​จาก​ตู้​น้ำ​ดื่ม​วาง​ต้อนรับ “งั้น​ ดื่มน​ ้ำ​ก่อน” “ท่าทาง​งาน​ยุ่งอ​ ยู่​นะ​ครับ” “ไม่​หรอก แล้ว​แต่ว​ ัน​ครับ” จาก​นั้น​พี่​ธนา​ธร​ก็​อธิบาย​ขั้น​ตอน​การ​ทำงาน​ให้​ ฟัง หน่วย​หรือ​กลุ่ม​ของ​พี่​ธนา​ธร​จริงๆ แล้ว ชื่อ​ว่า ‘ชมรม​กู้​ชีพ​กู้ภัย อบต.แม่ปะ’ ไม่ข​ ึ้น​กับ​ทาง อบต. แต่​ ทำงาน​ช่วย​เหลือ อบต. เพราะ​ฉะนั้น​จึงไ​ม่มี​งบ​ประมาณ​ โดยตรง หาก​จะ​ได้ก​ ็​เป็น​งบ​สนับสนุน​ใน​บาง​โอกาส ซึ่ง​

67


68 แม่ปะ

ทุก​คน​ที่​เข้า​มา​ทำงาน​จำนวน 8 คน​นั้น​ทำงาน​ด้วย​ใจ​ ล้วนๆ ด้วย​เงิน​ส่วน​ตัว​ทุกค​ น ข้าว​ของ​วัสดุอ​ ุปกรณ์​ก็​ซื้อ​ หา​กันเอา​เอง พี่​ธนา​ธร​ออก​มา​แนะ​นำ​เพื่อนๆ ซึ่ง​วัน​นี้​มา​กัน​ บางส่วน ผม​จึง​ขอ​อนุญาต​ชัก​รูปเ​ป็น​ที่​ระลึก จาก​นั้น ​ผม​ถาม​ตรงๆ ว่า ทำไม​ถึง​เสีย​สละ​มา​ ทำงาน​นใ​ี้ น​เมือ่ ไ​ม่ไ​ด้อ​ ะไร พีธ​่ นา​ธร​ตอบ​วา่ คน​เรา​ทำงาน​ ก็​ใช่​ว่า​หวัง​จะ​ได้​อะไร​ตอบแทน​เสมอไป ตลอด​เวลา​ ที่​ได้​เห็น​การ​ช่วย​เหลือ​ผู้​ประสบ​อุบัติเหตุ​บน​ท้องถนน คน​จม​น้ำ เป็น​ลม​ชัก​ที่​ล่าช้า ขาด​อุปกรณ์ และ​ได้​รับ​ การช่วยเหลือไ​ม่ถ​ กู ว​ ธิ ข​ี อง​หลักก​ าร​ชว่ ย​เหลือผ​ ป​ู้ ระสบภัย​ ที่​ถูก​ต้อง เช่น การ​เคลื่อน​ย้าย​ผู้​ประสบ​ภัย การ​ขาด​ อุปกรณ์​ช่วย​เหลือ ขาด​ถัง​ออกซิเจน ขาด​เปล มัน​เป็น​ สาเหตุ​ที่​ทำให้​คน​เจ็บ​อยู่​แล้ว​บาด​เจ็บ​รุนแรง​มาก​ขึ้น แถมยัง​เสี่ยง​ต่อ​การ​เสีย​ชีวิต​อีก “ตอน​นั้น​ปี 2552 ผม​ได้​ใช้​รถ​ส่วน​ตัว​ของ​ผม​ทำ​ เป็น​รถยนต์​กู้​ชีพ​เคลื่อน​ย้าย​คน​เจ็บ​แทน จาก​นั้น​ก็​ชวน​ เด็กๆ คน​ที่สนใจ​คน​ที่​ชอบ​ช่วย​เหลือ​ผู้​อื่น​ให้​มา​สมัคร​ เข้า​เป็น​อาสา​สมัคร​กู้​ชีพ​รวม​ได้จ​ ำนวน 12 คน เข้าร​ ่วม​ ทำงาน​โดย​ตงั้ เ​ป็นก​ลมุ่ บ​ ริหาร​จดั การ​กนั เอง แล้วผ​ ม​กพ​็ า​ เด็กท​ ั้งหมด​ไป​อบรม​ที่​ศูนย์​แม่ข​ ่าย​กู้​ชี​พน​เร​นทร ทีอ่​ ำเภอ​ แม่สอด จังหวัดต​ าก เพือ่ น​ ำ​ความ​รท​ู้ ไ​ี่ ด้ม​ า​ใช้ใ​น​การ​ปฏิบตั ​ิ


หน้าที่​ช่วย​เหลือค​ น​อื่น​อย่าง​ถูก​ต้อง​และ​มี​ประสิทธิภาพ” พีธ​่ นา​ธร​เล่าต​ อ่ ว่า ราย​ได้ส​ ว่ น​หนึง่ จ​ ะ​มา​จาก​คา่ น​ ำ​ ส่ง​คน​เจ็บ​ประมาณ​ราย​ละ 300 บาท หรืออ​ าจ​เรียก​ว่า​ ค่าน้ำม​ ัน​จะ​เหมาะ​กว่า ปัญหา​ของ​ชมรม​หรือ​หน่วย​งาน​ กู้​ชีพ​ของ​พธี่​ นา​ธร​หรือ​ที่​อื่นๆ ล้วน​แล้ว​แต่ไ​ม่​ต่าง​กันก​ ็​คือ ขาด​งบ​ประมาณ​และ​ขาด​กำลัง​คน บาง​ครั้ง​หน่วย​งาน​ ราชการ​ก็​ไม่​เข้าใจ เพราะ​เป็น​ชมรม​ที่​ไม่​ขึ้น​ตรง​กับใ​คร “แต่​มัน​อิสระ​ดี” พี่​ธนา​ธร​เน้น​ย้ำ​จุด​นี้ “งาน​กภู้ ยั ส​ ว่ น​ใหญ่จ​ ะ​ไป​ทาง​ซเ​ู ปอร์ไ​ฮเวย์ม​ ากกว่า ไป​แถวๆ ทางหลวง​แม่สอด-ท่าสองยาง ส่วน​ภายใน​ตำบล​ จะ​เป็น​งาน​กู้​ชีพ รับ​ส่ง​คน​เจ็บ​และ​อุบัติเหตุ​เล็กน้อย​ เสียส่วน​ใหญ่” ก่อน​จาก​กนั ผม​ถาม​ถงึ ส​ งิ่ ท​ อ​ี่ ยาก​ได้ คำ​ตอบ​ชดั เจน​ ที่สุด​ก็​คือ “อยาก​ได้ที่​ทำการ​เป็น​หลัก​แหล่ง​ครับ จะ​ได้​ ทำงาน​กัน​อย่าง​เป็น​กิจ​จะลักษณะ​มาก​ขึ้น” พี่ธนาธรว่า


70 แม่ปะ

12 ศูนย์​พัฒนา​เด็ก​เล็ก: ระบบ​การ​ เรียน​รูเ้​พื่อช​ุมชน

ออก​จาก​ที่ทำการ อบต.แม่ปะ หลัง​ที่ทำการ​มี​เนื้อที่​ กว้าง​ขวาง​สะอาด​สะอ้าน​สบาย​ตา ทีน่​ ั่น​คือ ‘ศูนย์​พัฒนา​ เด็ก​เล็ก​แม่ปะ’ ซึ่ง​ตำบล​แม่ปะ​มี​ศูนย์​เด็ก​เล็ก 2 แห่ง นอกจาก​ทผ​ี่ ม​ยนื ม​ อง​อยูน​่ ี้ อีกแ​ ห่งค​ อื ศ​ นู ย์พ​ ฒ ั นา​เด็กเล็ก​ แม่ปะกลาง


ติณ นิติกวินกุล

ศูนย์​เด็ก​เล็ก​แห่ง​แรก​อยู่​หลัง​ที่ทำการ อบต. มี​ ครูสุพรรณ ไชยา เป็นห​ ัวหน้าศ​ ูนย์ พี่​สุพรรณ​ทำงาน​มา​ ตั้งแต่​ปี 2546 ตั้งแต่​ยัง​สังกัดก​ รม​พัฒนา​ชุมชน ก่อน​จะ​ โอน​มา​ให้​ทาง อบต. ดูแล​ใน​ปี​เดียวกัน ปัจจุบัน​มี​เด็ก​เล็ก​ก่อน​วัยเ​รียน​ซึ่ง​อายุต​ ั้งแต่ 2-4 ปี อยู่​ใน​การ​ดูแล​ถึง 65 คน แต่​มี​ครู​ผู้​ดูแล​เพียง 7 คน อบต. ให้​งบ​สนับสนุน​แก่​เด็ก​วัน​ละ 13 บาท​ต่อ​คน เด็ก​ที่​นี่​ส่วน​ใหญ่​เป็น​เด็ก​กะเหรี่ยง​ซึ่ง​พ่อ​แม่​มัก​ขาด​การ​ อบรม​ดูแล และ​มัก​คิด​ว่าป​ ล่อย​ให้​ครู​ดูแล​ไป​แล้ว ครู​ต้อง​ ดูแล​ไป​ตลอด เช้าม​ า​ส่ง​ลูก บ่าย​มา​รับ​กลับ​ก็​เป็น​อัน​หมด​ หน้าที่ การ​ตอ่ ย​อด​สงั่ ส​ อน​ทบ​ี่ า้ น​จงึ ไ​ม่มี วิธแ​ี ก้ป​ ญ ั หา​ของ​ ที่​นี่​ก็​คือ จัด​ประชุม​ให้​ความ​รแู้​ ก่​ผู้​ปกครอง “เรา​จะ​ถาม​ผู้​ปกครอง​ที​ละ​คน​ถึง​ปัญหา​ที่​บ้าน หลัง​จาก​การ​ประชุม​ที่​พูด​โดย​รวม​ถึง​การ​ดูแล​เด็ก​ที่​บ้าน โดย​เรา​จะ​ให้​ความ​รทู้​ ี่​ถูก​ต้อง​ใน​การ​ดูแล​เด็ก​ที่​บ้าน บอก​ ให้​พ่อ​แม่​ผู้​ปกครอง​เอาใจ​ใส่​ลูก​อย่าง​ใกล้​ชิด ไม่​ใช้​ความ​ รุนแรง ให้​พูดจา​มี​เหตุผล​กับ​เด็ก เด็ก​วัย​นี้​รับ​รู้​ได้​ดีแล้ว แม้จ​ ะ​ยงั ไ​ม่เ​ข้าใจ​ใน​เหตุผล แต่จ​ ะ​เป็นการ​สอน​ให้เ​ด็กร​ จู้ กั ​ การ​พูดจา รู้จัก​ฟัง​คน​อื่น ปัญหา​ที่​บ้าน​ทพี่​ บ​ก็​มัก​จะ​เป็น​ เรื่อง​ไม่​ให้​โอกาส​เด็ก​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ เรื่อง​ล้อ​เลียน​หรือ​ขู่​ เด็ก​ให้ก​ ลัว เรื่อง​การ​สอน​ความ​เป็น​ระเบียบ​เรียบร้อย​แก่​ เด็ก เรื่อง​การ​ลงโทษ​อย่าง​รุนแรง​กับเ​ด็ก อย่า​ลืม​ว่า​เด็ก​

71


72 แม่ปะ

คือ​กระจกเงา​ของ​ผู้ใหญ่​ค่ะ พ่อ​แม่​เป็น​อย่างไร​ลูก​ก็​เป็น​ อย่าง​นั้น” ครู​สุพรรณ​สรุป​ให้​แง่​คิด​แก่​ผม ครู​สุพรรณ​พา​เดิน​ชม​ภายใน​ศูนย์ ผม​เห็น​เพดาน​ ที่​สูง​และ​รอบๆ อาคาร​ที่​ทำให้​โล่ง​โปร่ง มี​แสง​ส่อง​ลง​ มาก​ระ​จาย​ทั่ว​พื้นที่​โดย​รอบ โต๊ะเ​ก้าอี้ ของใช้​ของ​เด็ก​ที่​ สะอาด ห้อง​หับ​ต่างๆ ก็​ตั้ง​ เป็นช​ ื่อ​ของ​อัญมณี อาทิ ห้อง​ มรกต ห้ อ ง​บุ ษ ราคั ม ห้ อ ง​ พลอย​ไพลิน ห้อง​ทับทิม ห้อง​ โกเมน เป็นต้น “ทาง อบต. ดูแล​ดีแล้ว​ ค่ะ แต่​ที่​อยาก​ได้​อย่าง​เดียว​ ตอน​นี้ ” ครู ​สุ พ รรณ​บ อก “สนามเด็ ก ​เ ล่ น ​ที่ ​มี ​ห ลั ง คา​ มุงค่ะ” ระหว่ า ง​เ ดิ น ​อ อก​จ าก​ ศู น ย์ ​ฝ น​โ ปรย​ล ะออง​ล ง​ม า​ พอดี ผม​ถึง​ได้​เข้าใจ​ว่า​ทำไม​ ต้องการ​หลังคา ฝน​หยุด​ตก​ตอน​รถ​ของ​ เติ้ล​เดิน​ทาง​มา​ถึง​ศูนย์​พัฒนา​ เด็ก​เล็ก​แม่ปะ​กลาง


ติณ นิติกวินกุล

ศูนย์พ​ ฒ ั นา​เด็กเ​ล็กต​ ำบล​แม่ปะ​แห่งท​ ส​ี่ อง​นต​ี้ งั้ อ​ ยูท​่ ​ี่ บ้าน​แม่ปะ​กลาง มีค​ รูบ​ รู พา ใจ​เครือ รักษา​การ​ใน​ตำแหน่ง​ หัวหน้า​ศูนย์แ​ ละ​ทำงาน​ที่​นี่​มา​ตั้งแต่ป​ ี 2532 ว่า​ไป​แล้ว​ที่​แม่ปะ​กลาง​อาจ​ดเู​ก่า​แก่​กว่า​ทแี่​ ห่ง​แรก เนื่องจาก​ก่อ​ตั้ง​มา​ตั้งแต่ป​ ี 2512 โดย​สังกัด​กรม​พัฒนา​

73


74 แม่ปะ

ชุมชน​แต่แ​ รก ก่อน​จะ​ย้าย​มา​ให้ อบต.แม่ปะ ดูแล​เต็ม​ตัว​ ก็เ​มื่อ​ปี 2542 สภาพ​อาคาร​เป็น​เรือน​ไม้​ค่อน​ข้าง​เก่า แต่​ ทว่า​สะอาด​สะอ้าน เด็กๆ กำลังน​ อน​หลับส​ บาย เพราะ​ เวลา​บ่าย​เป็น​เวลา​พัก​ผ่อน​ของ​เด็กๆ ที่​นมี่​ ี​ครู​เพียง 4 คน กับเ​ด็ก​ที่​มี​ถึง 67 คน ปัญหา​ ของ​ที่​นี่​คือ​เรื่อง​การ​สื่อสาร​ระหว่าง​เด็ก​กับ​ครู เนื่องจาก​ เป็น​เด็ก​กะเหรี่ยง ครู​ที่​พูด​ภาษา​กระ​เห​รี่​ยง​กับ​เด็ก​ได้​รู้​ เรื่อง​มี​เพียง​แค่​คน​เดียว “ดู แ ล​เ ด็ ก ​ใ ห้ ​เ หมื อ น​ดู แ ล​ลู ก ​ห ลาน​แ ละ​ค นใน​ ครอบครัว​เรา​ค่ะ” ครู​บูรพา​บอก​เทคนิค​การ​ดูแล​เด็ก​แก่​ ผม ซึ่ง​ครู​ก็​มัก​ใช้​บอก​กับค​ รู​ใหม่ๆ ครูร​ ุ่น​น้อง หรือ​คน​ที่​ สนใจ “ควร​เลีย้ ง​ลกู ด​ ว้ ย​ความ​รกั ควร​โอบ​กอด​เด็กท​ กุ วัน ไม่​ควร​เปรียบ​เทียบ​ลูก​เรา​กับ​ลูก​คน​อื่น ฝึก​ลูก​ให้​อยู่​ คนเดียว​เมื่อ​ถึง​คราว​จำเป็น เรื่อง​ห้าม​โน่น​ห้าม​นี่ พี่มัก​ ไม่ค่อย​ทำ เพราะ​คน​เรา​ควร​มอง​ควร​พูด​แต่​แง่​ดี​ไม่ใช่​ หรือ แง่​ร้าย​หรือ​เรื่อง​ไม่ด​ ี​อยู่​ตรง​ข้าม​กัน​อยู่​แล้ว เรา​เลี้ยง​ ลูกด​ ้วย​ความ​รัก กอด​ลูกท​ ุก​วัน เรื่อง​การ​ตลี​ ูกห​ รือล​ งโทษ​ เด็ก​แรงๆ ก็​จะ​ไม่มี​โดย​อัตโนมัติ” ได้​คุณครู​ที่​มี​แนวคิด​อย่าง​นี้ ทำให้​ผม​อยาก​ให้​ ครู​ทุก​คนใน​โลก โดย​เฉพาะ​ครู​เด็ก​เล็ก​มี​แนวคิด​เช่น​นี้​ ทุกคน...การก​ลับ​บ้าน​ของ​ผม​คง​ตอบ​คำถาม​บาง​อย่าง​ที่​


ติณ นิติกวินกุล

เคย​ค้างคา​ใจ​ได้ เรื่อง​สภาพ​แวดล้อม​ภายนอก​เป็น​อีก​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​พี่​ บูรพา​อยาก​จะ​ให้​มี​การ​ปรับปรุง​สำหรับ​ศูนย์​แห่ง​นี้ แม้​ จะ​ไม่​สำคัญ​เท่า แต่​ก็​คือ​รูป​ลักษณ์​ภายนอก​ที่​สำคัญ​ไม่​ แพ้​กัน นั่น​ก็​คือ​การ​ทาสี​อาคาร​ใหม่ การ​ทำ​สวน​หย่อม​ แก่​เด็ก​รอบๆ อาคาร และ​ปรับปรุงซ​ ่อมแซม​อาคาร​เรียน​ ส่วน​ที่​ชำรุด

75


76 แม่ปะ

13 กองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพ: ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน ทุก​วัน​นี้​ไม่มี​ใคร​ไม่รู้​จัก​เรื่อง​หลัก​ประกัน​สุขภาพ หรือ​ที่​ ชาว​บ้าน​ยัง​เรียก​กัน​ติดปาก​ว่า ‘30 บาท​รักษา​ทุก​โรค’ อีก​แล้ว ผม​เดินท​ าง​ไป​ถงึ ส​ ถาน​ทน​ี่ ดั พ​ บ​พบ​ี่ ญ ุ เ​รือง ยะเขียว ใน​ฐานะ​ผู้​อำนวย​การ​โรง​พยาบาล​ส่ง​เสริมสุข​ภาพ​ตำบล​ แม่ปะ ซึง่ ม​ ส​ี ถานีอ​ นามัยท​ ข​ี่ นึ้ ต​ รง​ถงึ 3 แห่ง (รพสต.แม่ปะ, รพสต.บ้าน​ห้วยกะโหลก และ รพสต.บ้าน​ห้วย​หิน​ฝน) นับ​ว่าม​ าก​ ทีส่ ดุ ใ​น​จงั หวัดตาก พีบ​่ ญ ุ เรือง​ให้การ​ ต้ อ นรั บ ​แ ละ​ใ ห้ ​ร ายละเอี ย ด โดย​เ ฉพาะ​ค วาม​เ ป็ น ​โ รง​ พยาบาล​สง่ เสริมสุขภ​ าพ​ ตำบล​ซึ่ ง ​ยั ง ​เ ป็ น ​ข อง​ ใหม่​ของ​ชาว​บ้าน “โรง​พ ยาบาล​ ส่งเสริมสุขภ​ าพ​ตำบล หรือ รพ.สต. คุณ​หมอ​ท่าน​หนึ่ง​ เปรียบเทียบ​ว่า​มี​รั้ว​ตำบล​ เป็ น ​รั้ ว ​ข อง​โ รง​พ ยาบาล


ติณ นิติกวินกุล

เตียง​ที่​บ้าน​ผู้​ป่วย​คือ​เตียง​ของ​โรงพยาบาล เรา​เอง​มี​ทีม​ สห​วิชาชีพ อย่าง​พยาบาล​วิชาชีพ เจ้าห​ น้าทีส่​ าธารณสุข ทัน​ตาภิ​บาล เภสัชกร แพทย์​แผน​ไทย​และ​อื่นๆ รวม​ถึง อสม. ร่วม​กนั ด​ แู ล​สขุ ภาพ​ของ​คนใน​ตำบล​ทร​ี่ บั ผ​ ดิ ช​ อบ เรา​ มีพ​ นั ธ​กจิ ด​ แู ล​คน ไม่ใช่แ​ ค่ด​ แู ล​โรค เรา​ตอ้ ง​ใกล้ช​ ดิ ท​ งั้ ก​ าย​ และ​ใจ​กับ​ชาว​บ้าน เรา​มี​แฟ้มค​ รอบครัว​และ​ข้อมูล​ชุมชน​ อย่าง​ครบ​ถว้ น ใช้ว​ างแผน​แก้ไข​ปญ ั หา​สขุ ภาพ​โดย​เน้นก​ าร​ สร้าง​เสริมสุข​ภาพ คือ​ยก​ระดับ​สุขภาพ​ให้​ดี​ขึ้น​กว่า​ปกติ เช่น ทำให้​เกิด​การ​ออก​กำลัง​กาย การ​เลือก​รับประทาน​ อาหาร​ที่​ไม่​ทำลาย​สุขภาพ และ​การ​ป้องกันโรค ทั้ง​ใน​ ตัวคน​และ​สังคม​ชุมชน “โดย​ภ าพ​ร วม​เรา​จ ะ​ไ ม่ ​เน้ น ​ไ ป​ที่ ​ก าร​รั ก ษา​โ รค เพราะ​นั่น​เป็น​ปลาย​เหตุ กองทุน​หลัก​ประกัน​สุขภาพ​ และ​รพ.สต.แม่ปะ จะ​ให้การ​ดูแล​รักษา​โรค​ทั่วไป รวม​ ถึง​การ​เชื่อม​ต่อ​ด้วย​เทคโนโลยี​สื่อสาร​กับ​โรง​พยาบาล​ แม่ขา่ ย ทำให้ข​ ดี ค​ วาม​สามารถ​ใน​การ​ดแู ล​รกั ษา​โรค​มม​ี าก​ ขึ้น แพทย์​สามารถ​พูด​คุย​กับ​ผู้​ป่วย​ที่ รพ.สต. ได้ วินิจฉัย​ โรค​จาก​ทาง​ไกล​ได้ ผู​ป้ ่วย​โรค​เรื้อรัง​ที่​อาการ​ไม่​ได้​วิกฤติ​ ก็​สามารถ​กลับ​มา​อยู่​ใน​ความ​ดูแล​ของ​ทีม รพ.สต. ซึ่ง​อยู่​ ใกล้​บ้าน​ได้ คง​ไม่มี​ใคร​อยาก​จะ​ไป​นอน​ป่วย​อย่าง​เห​งาๆ ที่​โรง​พยาบาล​ใน​เมือง หาก รพ.สต. ใกล้บ​ ้าน​ก็​ดูแล​ได้​ไม่​ แพ้​กัน​ใช่​มั้ย​ครับ”

77


78 แม่ปะ

“ปัญหา​ทพ​ี่ บ​ของ​คนใน​แม่ปะ​คอื อ​ ะไร​ครับ เกีย่ ว​กบั ​ การ​สาธารณสุขแ​ ละ​สุขภาพ” “โรค​ไม่ต​ ดิ ต่อเ​รือ้ รัง อย่าง​เบา​หวาน ความ​ดนั โ​ลหิต​ สูง โรค​หลอด​เลือด​สมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และ​อื่นๆ พวก​โรค​ติดต่อก​ ็​อย่าง​โรค​ไข้​เลือด​ออก อุจจาระ​ร่วง หรือ​ พวก​โรค​ระบบ​ทาง​เดิน​หายใจ ซึ่ง​เรา​จะ​เน้น​การ​ป้องกัน​ ก่อน​จะ​แก้ไข ยก​ตัวอย่าง​การ​ใส่​คลอรีน​ใน​น้ำ​ของ​โรงงาน ใน​น้ำ​ประปา​หมู่บ้าน อสม. เอง​ก็​ลง​ไป​ดูแล​ชาว​บ้าน​ใน​ ละแวก ผม​คดิ ง​ า่ ยๆ ว่า อสม. หนึง่ ค​ น​ดแู ล 10-15 หลังคา​ เรือน และ​เป้าห​ มาย​ระยะ​ใกล้ต​ อน​นก​ี้ ค​็ อื อ​ ย่าง​นอ้ ย​ปห​ี นึง่ ​ คน​อายุ 35 ปี​ขึ้น​ไป​ต้อง​ได้ร​ ับ​การ​ตรวจ​สุขภาพ” “แล้ว​โดย​ตัว​กองทุน​เอง​มี​ปัญหา​อะไร​หรือ​เปล่า​ ครับ” “ไม่มค​ี รับ การ​ดำเนินง​ าน​ของกอง​ทนุ ท​ ำ​ใน​รปู แ​ บบ​ คณะ​กรรมการ​อยูแ​่ ล้ว คณะ​กรรมการ​เอง​ซงึ่ ม​ น​ี ายก อบต. เป็นป​ ระธาน​โดย​ตำแหน่ง ปลัด อบต. โดย​ตำแหน่ง และ ผอ.รพ.สต.โดย​ตำแหน่ง นอกจาก​นี้​ยัง​มี​ตัว​แทน​ อบต. ตัวแทน อสม. ผู้ทรง​คุณวุฒิ​ใน​พื้นที่ และ​ตัวแทน​ผู้​เข้า​ ประชุม​หรือ​คน​ที่​ชาว​บ้าน​เลือก​กันเอง แรกๆ ปัญหา​ที่​ เกิด​คือ คณะ​กรรมการ​ยังไ​ม่​ทราบ ไม่เ​ข้าใจ​หลัก​เกณฑ์​ การ​ใช้​เงิน​กองทุน ซึ่ง​เงิน​ทไี่​ด้​ปี​หนึ่งๆ มา​จาก​หลาย​ทาง ทั้ง​จาก​ทาง อบต. งบฯ​โดยตรง​จาก​กระทรวง​สาธารณสุข


ติณ นิติกวินกุล

เงิน​บำรุง​จาก​ชาว​บ้าน ราย​ได้​จาก​ทอด​ผ้าป่า และ​ราย​ ได้ที่​ได้​จาก​กิจการ​กองทุน เรา​ก็​ใช้​เงิน​ไป​สนับสนุน​ทีม​ งาน​ลงพื้นที่ ให้ อสม. ให้​ผู้นำ​ชุมชน อย่าง​ตั้ง​ทีม​สห​ วิชาชีพห​ รือใ​ช้เ​งินก​ องทุนเ​ลีย้ ง​อาหาร​ผท​ู้ มี่ า​บริจาค​โลหิต เป็นต้น” พี่​บุญเรือง​ร่าย​ยาว​ถึง​ความ​เป็นก​อง​ทุน​หลัก​ ประกัน​สุขภาพ​ของ​แม่ปะ “เรา​จะ​ใช้​วัน​เสาร์​ทำงาน​เชิง​รุก​ครับ เมื่อ​ไม่​กี่​วัน​ ก่อน​กจ​็ ดั ‘โครงการ​ฝกึ อ​ บรม​พฒ ั นา​สขุ ภาพ​จติ ส​ ดใส ใส่ใจ​ ผู้​สูง​อายุ’ โดย​มนี​ า​ยกฯ มานพ เป็นป​ ระธาน​ใน​พิธี และ​มี​ วิทยากร​จาก​โรง​พยาบาล​แม่สอด​มา​ให้ค​ วาม​รก​ู้ บั ผ​ ส​ู้ งู อ​ ายุ​ ที่มา​ร่วม​โครงการ​กว่า 400 คน” จาก​นนั้ พ​ บ​ี่ ญ ุ เ​รือง​กพ​็ า​เดินช​ ม​สถาน​ที่ ซึง่ เ​จ้าห​ น้าที​่ หลาย​คน​กำลังง​ ว่ น​อยูก​่ บั ง​ าน ทัง้ ๆ ทีเ่​ป็นว​ นั อ​ าทิตย์ “เรา​ กำลัง​เตรียม​ลงพื้น​ที่​ใน​วัน​อังคาร​ครับ ตรวจ​เบา​หวาน ความ​ดัน” พี่​บุญ​เรือง​บอก ผม​นึก​ขึ้น​ได้​จึงถ​ าม​ว่า “หาก​คน​ไม่​มา​รับก​ าร​ตรวจ​ ล่ะ” “ก็​ให้ อสม. ทำ​หน้าที่​เก็บตก​ราย​บ้าน​เลย​ครับ สำหรับค​ น​ที่​ไม่​มา” การ​ทำงาน​เชิง​รุก​เช่น​นี้​เอง​ทำให้​กองทุน​สุขภาพ​ที่​ แม่ปะ​เป็น​อีก​แหล่ง​เรียน​รู้​ที่​สำคัญ

79


80 แม่ปะ

14 ชรบ. เวร​ยาม​ชายแดน: ระบบ​ อาสา​สมัคร​เพื่อช​ุมชน การ​ทำงาน​อาสา​สมัคร​ทุก​ประเภท​จะ​ประสบ​ผล​ได้​ก็​ เพราะ​คน​ทำงาน​นั้น​ทำ​ด้วย​ใจ ทีแ่​ ม่ปะ​เอง​ก็​เช่น​เดียวกัน ชุด​รักษา​ความ​ปลอดภัย​หมู่บ้าน (ชรบ.) ไม่มี ​ราย​ได้​ ตอบแทน​ให้ ทุก​คน​ทำงาน​ด้วย​ใจ​ก็​เพื่อ​ส่วน​รวม ทำงาน​ ร่วม​กับ​พี่​วุด-เจษฎา ต๊ะท​ องคำ ใน​ฐานะ​หัวหน้าท​ ีม​การ​ จัดการ​ชน​เผ่า​จน​ประสบ​ผล​สำเร็จ ปัญหา​ของ ชรบ.แม่ปะ ดูจ​ ะ​เป็นเ​รือ่ ง​แรงงานต่างด้าว​ ที่​ทะลัก​เข้า​มา​ครั้ง​หนึ่งๆ เป็น​จำนวน​ไม่​น้อย ขณะ​ผม​ กำลัง​สัมภาษณ์​พี่​วุด​อยู่​นั้น มี​ชาว​บ้าน​แจ้ง​เข้า​มา​ทาง ชรบ. คน​หนึง่ ว​ า่ มีแ​ รงงาน​ตา่ งด้าว​เป็นช​ าว​กะเหรีย่ ง-พม่า กำลังเ​ดินล​ ดั เ​ลาะ​ผา่ น​บริเวณ​ไร่ข​ า้ วโพด​ทา้ ย​หมู่ 1 ผม​จงึ ​ ขอ​ติดตาม​พวี่​ ุด​และ​พี่ ชรบ. อีก 15 คน นำ​กำลัง​เข้าไป​ ตรวจ​สอบ เมือ่ ไ​ป​ถงึ ไ​ร่ข​ า้ ว​โพก​วา้ ง​สดุ ล​ กู ห​ ล​ู กู ต​ า เห็นแ​ รงงาน​ ต่างด้าว​จำนวน​มาก​กลุ่ม​ใหญ่​กำลัง​เดิน​อย่าง​รีบร​ ้อน ชุด ชรบ.จึง​แสดง​ตัวข​ อ​ทำการ​ตรวจ​ค้น แต่​แรงงาน​เหล่า​นี้​ได้​ พา​กัน​วิ่ง​หนี​แตก​กระเจิง​ไป​คนละ​ทิศ​ละ​ทาง ผม​วิ่ง​ตาม​ ทีมพ​ ว​ี่ ดุ พีว​่ ดุ บ​ อก​ให้ต​ าม​อย่าใ​ห้ห​ า่ ง จน​สามารถ​ตดิ ตาม​ จับกุมก​ ลับม​ า​ได้ก​ ว่า 10 คน ทัง้ หมด​สารภาพ​วา่ ห​ ลบ​หนี​


ติณ นิติกวินกุล

เข้า​เมือง​มายังอ​ ำเภอ​แม่สอด​เพื่อ​หา​งาน​ทำ ชุด ชรบ. จึง​ ได้​นำ​ตวั ​สง่ ​ให้​กบั ​ทาง​นาย​อำเภอ จาก​นนั้ ​นาย​อำเภอ​ก็​จะ​ ส่ง​ต่อ​ให้​ด่าน​ตรวจ​คน​เข้า​เมือง​แม่สอด​ดำเนิน​การ​ผลัก​ ดัน​ออก​นอก​ราช​อาณาจักร​หรือ​ดำเนิน​คดี​ตาม​กฎหมาย​ ต่อ​ไป นี่​คือ​หนึ่ง​ใน​การ​ทำงาน​แทน​เจ้า​หน้าที่​ราชการ​ได้​ อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ พี่ๆ ทุก​คน​ไม่​ขอ​ให้​เอ่ย​ชื่อ​และ​ถ่าย​ ภาพ ผม​จงึ ต​ อ้ ง​ปฏิบตั ต​ิ าม แต่ข​ อ​คยุ ก​ บั ผ​ ห​ู้ ลบ​หนีเ​ข้าเ​มือง​ คน​หนึ่ง​โดย​ผ่าน​ล่าม ผู้ ​ห ลบ​ห นี ​เ ข้ า ​เ มื อ ง​ คนนีเ​้ ป็นช​ าว​ฮนิ ดู สัญชาติ​ พ ม่ า ชื่ อ ​เ ช็ ค ไ ม่ มี ​ นามสกุล อายุ 22 ปี บอก​กั บ ​ผ ม​ผ่ า น​ล่ า มว่ า​ เดิน​ทาง​มาจาก​เมือง​พะโค พม่า ครัง้ นีเ​้ ป็นค​ รัง้ แรก​ ที่ ​เ ดิ น ​ท าง​เ ข้ า​

81


82 แม่ปะ

มายัง​ฝั่ง​ไทย โดย​ใช้​เวลา​ใน​การ​เดิน​เท้าอ​ ยู่ 4 วัน ตั้งใจ​ กับเ​พื่อน​อีก 5-6 คน ว่า​จะ​เข้าไป​รับจ้าง​ปลูก​ข้าวโพด​ใน​ พื้นที่​ตำบล​ด่าน​แม่​ละ​เมา อำเภอ​แม่สอด ส่วน​คน​อื่นๆ เมื่อ​ถึง​ฝั่ง​ไทย​ก็​จะ​แยก​ย้าย​กัน​ไป ผม​ขอ​ดู​ถุง​ปุ๋ย​ที่​สะพาย​เสมือน​ย่าม เช็ค​ให้​ผม​ดู ใน​นั้น​เป็น​เสื้อ 2 ตัว โสร่ง 1 ผืน ข้าวสาร​แห้ง ปลา​เค็ม​ และ​อาหาร​ที่​ผม​ไม่รจู้​ ัก​อีก 2-3 อย่าง เหตุท​ ี่มา​เมือง​ไทย​ ก็เพราะ​มี​เพื่อน​เคย​มา​แล้วไ​ด้​เงิน​กลับ​ไป​เยอะ ผม​ถาม​ล่าม​ว่า ถ้า​จะ​ถาม​เขา​ว่า​กิน​ข้าว​หรือ​ยัง ภาษา​พม่าต​ ้อง​พูด​ว่า​อย่างไร ล่าม​บอก​ว่า “ทะ​มิน​ซา ปีป้​ ี่​ลา” แล้วย​ ้อน​ถาม​ผม​ ว่า​จะ​ถาม​ไป​ทำไม ผม​บอก​ว่า​อยาก​เลี้ยง​ข้าว​เช็ค​สัก​มื้อ ล่าม​และ​พๆ ี่ ชรบ. ไม่ว​ า่ ก​ ระไร ผม​จงึ ส​ งั่ ข​ า้ ว​ผดั ห​ มูใ​ห้เ​ช็ค​ จานหนึ่งพ​ ร้อม​กับ​น้ำ​ดื่ม​หนึ่งข​ วด เช็ค​ดู​จะ​งุนงง เมื่อ​พี่​ ล่าม​เล่าใ​ห้ฟ​ งั เช็คย​ กมือไ​หว้ย​ กใหญ่ ผม​รบั ไ​หว้แ​ ทบ​ไม่ทนั ​ พลาง​บอก​ว่า​ไม่​เป็นไร ผม​เพียง​นึก​สงสาร​ขึ้น​มา​ก็​เท่านั้น​ เมื่อ​นึกถึง​ตัว​เอง​ตอน​หนุ่มๆ ที่​ไป​หา​งาน​ทำ​ที่​กรุงเทพฯ ผม​วก​กลับ​มา​ที่​เรื่อง​เวร​ยาม​ชายแดน​ที่​พี่​สมคิด ต๊ะมะ​ปด​ุ๊ ซึง่ เ​ป็นห​ นึง่ ใ​น​ทมี ช​ ดุ ชรบ. และ​เป็นห​ วั หน้าก​ ลุม่ ​ เวร​ยาม​ชายแดน​หมู่ 3 นอกจาก​นย​ี้ งั เ​ป็นผ​ ใู้ หญ่บ​ า้ น​หมู่ 3 อีก​ด้วย โดย​เป็น​มา​ตั้งแต่ป​ ี 2552 การ​ถอื ก​ ำเนิดข​ นึ้ ม​ า​ของ​เวร​ยาม​ชายแดน เนือ่ งจาก​


ติณ นิติกวินกุล

แรก​เริ่ม​เดิมที​มี​รถ​มอเตอร์ไซค์​หาย​บ่อย​มาก​ใน​ตำบล​ แม่ปะ ครั้ง​นั้น​พสี่​ มคิด​เป็น​หัวหน้าช​ ุด​เฝ้า​เวร​ยาม โดย​ขี่​ รถ​มอเตอร์ไซค์​ไป​จอด​ตาม​จุด​ต่างๆ โดย​เฉพาะ​จุด​ที่​รถ​ หาย​บ่อย ปราก​ฏ​ว่าไ​ด้ผ​ ล จาก​นั้น​ทาง อบต. ก็​ให้​งบ​สนับสนุน​มา 30,000 บาท โดย​ตั้ง​กลุ่ม​เวร​ยาม​ชายแดน​ขึ้น​มา​นำร่อง​ก่อน​ใน​ หมู่ 3 แต่​ทำได้ 4 เดือน​ก็​หมด​งบ​ประมาณ แต่​ชาว​บ้าน​ ชื่นชอบ​ก็​ช่วย​กัน​สมทบ​ทุน​โดย​จ้าง​เวร​ยาม​ต่อ​คนละ 5070 บาท​ตอ่ ค​ นื ทำ​มา​ตลอด​หลาย​ปี ทุกว​ นั น​ แ​ี้ ต่ละ​บา้ น​จะ​ ให้เ​ดือน​ละ 20 บาท ได้ม​ า​กใ​็ ห้ช​ ดุ ชรบ. คืนล​ ะ 200 บาท คืนหนึง่ 4 คน​ออก​ตรวจ​ตรา​ตาม​บา้ น​ตา่ งๆ ใน​หมู่ 3 โดย​ มีข​ อ้ ต​ กลง​งา่ ยๆ ว่า ใคร​อยูว​่ นั ไ​หน​ของ​สปั ดาห์ก​ อ​็ ยูว​่ นั น​ นั้ ​ ตลอด เช่น วัน​จันทร์​ก็​วัน​จันทร์ต​ ลอด​ต่อ​เนื่อง เมื่อ​ผม​ถาม​ถึง​อาวุธ​ประจำ​กาย พี่​สมคิด​บอก​ว่า ใช้​ปืน​ลูกซอง​ของ อบต. ซึ่งถ​ ือ​เป็น​ของ​ส่วน​กลาง ส่วน​ ลูกกระสุน​นั้น​ทาง​อำเภอ​สนับสนุน​งบ​ให้ “ปัญหา​ที่​พบ​นานๆ ครั้ง​นั้น​คือ เรื่อง​การ​ปล้น​รถ ทัง้ ร​ ถยนต์ รถ​มอเตอร์ไซค์ ซึง่ ห​ ลาย​เดือน​กอ่ น​มก​ี าร​ปล้น​ รถ​ติดๆ กัน 3 ครั้งใ​น​แถบ​บริเวณ​เดียวกัน เรา​ก็​ติดตาม​ จน​จบั ไ​ด้ ปรากฏ​วา่ เ​ป็นค​ นร้าย​จาก​ทอ​ี่ นื่ ม​ า​ดกั ป​ ล้นผ​ ห​ู้ ญิง​ ที่​ขับ​รถ​ใน​ที่​เปลี่ยว แล้ว​นำ​รถ​ส่ง​ไป​ขาย​ต่อ​ฝั่ง​พม่า​ทันที​ โดยไม่​สามารถ​ตาม​รถ​กลับ​มา​ไม่ไ​ด้”

83


84 แม่ปะ

“ปล้น​แล้ว​ขาย​ฝั่ง​พม่า​ทันที​เลย​ หรือ​ครับ” ผม​สงสัย “ใช่ เรียก​ว่า​ปล้น​กลาง​คืน พอ​เช้า​ ก็​เอา​เข้า​ฝั่ง​พม่า​ทันที” “ส่วน​เรื่อง​ที่​เกิด​ขึ้น​ประจำ​ก็​เรื่อง​ พม่า​กะ​เห​รี่​ยง​เมา​แล้ว​ทะเลาะ​กันเอง หาก​ยงั ไ​ม่เ​ลิกท​ ะเลาะ​ตดิ ๆ กันห​ ลาย​ครัง้ ​ ก็เ​รียก​มา​ปรับ​สัก​ที” “เยอะ​มาก​หรือ​ครับ” “ก็​มอี​ ยู่​เรื่อยๆ อย่าง​เช่น ข้อ​ห้าม​ ไม่​ให้​ชาว​พม่า-กะ​เห​รี่​ยง​ออก​จาก​บ้าน​ เกิน 3 ทุ่ม ถ้าเ​จอ​เรา​ก็​จับ​ปรับ หาก​ออก​ มา​ด้วย​เหตุ​จำเป็น​ต้อง​มี​ป้าย​อนุญาต​ แขวน​คอ อย่าง​พวก​พม่า​ทำงาน​เลิก​กะ​ ดึก เดิน​บน​ถนน​หรือ​ขี่​รถ​มอเตอร์ไซค์​ ก็​ต้อง​มี​ป้าย​แขวน ส่วน​ใหญ่​ช่วง​หลังๆ ไม่มี​ปัญหา เว้น​ก็​แต่​พวก​ลักลอบ​เข้า​มา​ ทำงาน พวก​นี้​เรา​จับ​ได้​บ่อย”


ติณ นิติกวินกุล

85


86 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

15 การ​จัดการ​ป่า​ชุมชน​ห้วย​หิน​ฝน หมู่ 6: ระบบ​การ​เรียน​รู้​เพื่อช​ุมชน ด้วย​เนือ้ ทีก​่ ว่า 2,830 ไร่ข​ อง​ปา่ ช​ มุ ชน​บา้ น​หว้ ย​หนิ ฝ​ น จึง​ ไม่ใช่เ​รื่อง​ง่าย​เลย​ที่​จะ​จัดการ​ดูแล พี่​อดิ​ศักดิ์ สุขอาภรณ์ ต้อง​เหน็ดเหนื่อย​ไม่​น้อย​กว่า​จะ​ฟัน ฝ่า​มา​ได้​จนถึง​ทุก​ วันนี้ ผม​ได้​เห็น​ผืน​ป่า​มหึมา​ที่​บาง​ส่วน​โล้น​โกร๋น​ไป แต่​ พี่​อดิ​ศักดิ์​ก็​ต่อสูเ้​พื่อ​ให้ก​ ลับ​คืน​มา​ได้ “ผม​ทำ 20 ปี​แล้ว ปลูก​เอง​บ้าง ขึ้น​เอง​บ้าง” พี่อดิศักดิ์​ว่า “แต่​ประกาศ​เป็น​ป่า​ชุมชน​เมื่อ​ปี 2548 ที่ผ่าน​มา​นี่เอง” “พี่​ทำ​ยัง​ไง​ถึง​รักษา​ป่าไ​ด้​ครับ” “ต้อง​พูด​ให้​ชาว​บ้าน​เข้าใจ เมื่อ​เขา​เข้าใจ​เขา​ก็​ช่วย​ ผม สำหรับ​คนนอก​ก็​ต้อง​สู้ พวก​ลักลอบ​ตัด​ไม้​นี่​เยอะ กว่าจะ​ทำให้ล​ ด​น้อย​ลง​นี่ เหนื่อย” “แสดง​ว่า​ทุก​วันน​ ี้​ก็​ยังม​ ี” “มี บางที​อ้าง​มา​เก็บ​ของ​ป่า แต่​พอ​เผลอ​ก็​แอบ​ ตัดไม้ ตัด​เป็น​ท่อน​เล็กๆ แล้ว​ลักลอบ​ขน​ออก​ไป” “จับ​ได้?” “ได้​ครับ อาศัย ชรบ. บ้าง ชาว​บ้าน​ช่วย​กัน​บ้าง บางที​ก็​ทหาร ตำรวจ ได้ก​ ็​ส่ง​ดำเนิน​คดี​หมด”

87


88 แม่ปะ

“พี่​ก็​ต้อง​ระวัง​ตัวไ​ม่​น้อย?” “เมื่อ​ก่อน​ไป​ไหน​มา​ไหน​ต้อง​ระวัง เดี๋ยว​นี้​ไม่​ถึง​ ขนาด​นั้น” บท​สนทนา​เกี่ยว​กับก​ าร​รักษา​ป่า​มี​อีก​มาก เหมือน​ หนัง​บู๊​หรือ​อ่าน​เพชร​พระ​อุ​มาก็ไม่ป​ าน สนุก ตื่น​เต้น​มาก เรื่อง​ถูก​ลอบ​ยิง เรื่อง​คน​ไม่​เห็น​ด้วย สารพัด​ที่​จะ​พาน​ พบ ทุก​วัน​นี้​ชาว​บ้าน​เห็น​คุณค่า​แล้ว ช่วย​กัน​ดูแล​รักษา เพราะ​ป่า​ชุมชน​ไม่ใช่​ของ​ใคร​คน​ใด​คน​หนึ่ง เหมือน​ปอด​ เหมือน​อากาศ​เหมือน​ชีวิต​ของ​คน​ห้วย​หิน​ฝน​และ​แม่ปะ ทุก​วัน​นี้​ชาว​บ้าน​ทุก​คน​สามารถ​ใช้​ประโยชน์​ได้​โดย​การ​ ขอ​อนุญาต​ก่อน พีอ่​ ดิ​ศักดิ์​ยัง​เตรียม​พัฒนา​พื้นที่​บริเวณ​หนึ่ง​ซึ่งเ​ป็น​ ช่วง​หน้าผา​สูงช​ ัน เพื่อ​การ​ท่อง​เที่ยว​เชิง​ผจญ​ภัย พีอ​่ ดิศ​ กั ดิต​์ งั้ ใจ​ทำ​เป็นท​ ส​ี่ ำหรับเ​ล่นก​ ฬี า​ปนี ห​ น้าผา ตั้ง​แคม​ป์ เดิน​ป่า ทาง อบต. กำลังส​ นับสนุน​งบ​ประมาณ​ มา เพื่อ​ทำ​ป้าย​โฆษณา​และ​ซื้อ​หา​วัสดุ​อุปกรณ์ ผม​มอง​เห็นค​ วาม​กา้ วหน้า เห็นค​ วาม​เปลีย่ นแปลง​ ของ​แม่ปะ​อยู่​รำไร...


ติณ นิติกวินกุล

89


90 แม่ปะ

16 สายน้ำไหลกลับ ตรง​ด่าน​แม่สอด​ข้าม​ไป​ยัง​เมีย​วดี​ฝั่ง​พม่า​นั้น ผม​เดิน​ ทอด​น่อง​ดู​ร้าน​รวง​ใน​ตลาด​ริม​เมย​และ​สภาพ​ชีวิต​ของ​ ผู้คน​บริเวณ​นั้น ปล่อย​ให้​เวลา​ผ่าน​ไป​นาน​นับ​ชั่วโมง นักท่องเที่ยว​เดิน​กัน​ขวักไขว่​เที่ยว​ซื้อ​หา​ข้าว​ของ ผม​เร่​ดู​ แล้ว​ไม่​ติดใจ​อะไร นอกจาก​ของกิน​เล่น​อย่าง​สอง​อย่าง​ ระหว่าง​เดิน​เรื่อย​เปื่อย​กับ​กาแฟ​เย็น​แก้ว​หนึ่ง กุ้ง​สดๆ ปู​เป็นๆ วาง​ขาย​เกลื่อน​กลาด คง​เพราะ​ใกล้​ทะเล​ทาง​ ฝั่ง​พม่า คน​แม่ปะ​แม่สอด​จึง​มี​อาหาร​ทะเล​กิน​ราคา​ถูก​


ติณ นิติกวินกุล

มากกว่า​คน​เหนือ​จัง​หวัดอ​ ื่นๆ ผม​ไม่​ได้​ยก​กล้อง​กด​ชัตเตอร์ เก็บ​กล้อง​ลง​กระเป๋า​ เรียบร้อย​แล้ว แม้​บริเวณ​นี้​จะ​ปลอดภัย แต่​ยัง​ขยาด​ต่อ​ เหตุการณ์​ถูก​ฉก​กล้อง​ที่​เพิ่ง​ผ่าน​มา เห็น​คน​จาก​ที่​ต่างๆ มากมาย เห็น​รถ​รา รับล​ ม มอง​ฟ้า มอง​พื้น ใจ​ผม​คิดถึง​ บ้าน... ข้อความ​สั้น​จาก​โทรศัพท์​มือ​ถือ​ดัง​ขึ้น ผม​กด​อ่าน ปรากฏ​ข้อความ​ว่า “หนูค​ ิดถึง​พ่อ​นะ” ผม​หัน​ไป​บอก​เติ้ล​ว่า “ผม​อยาก​กลับ​บ้าน​แล้ว”

91


92 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล

ภาคผนวก

93


94 แม่ปะ

1. น้ำ​พริกก​ ุ้ง ว่าไ​ป​แล้วน​ ำ้ พ​ ริกก​ งุ้ ใ​น​แม่สอด คน​ทวั่ ไป​มกั จ​ ะ​เรียก​ ว่า ‘น้ำ​พริก​พม่า’ เข้าใจ​ว่า​เพราะ​อิทธิพล​ของ​คน​พม่า​ที่​ ข้าม​ไป​มา​หาสู่​กับ​คน​ไทย​มา​นาน คน​ตาก​และ​คน​เหนือ​ เอง​จงึ ไ​ด้ร​ บั ป​ ระทาน​อาหาร​ทะเล​ทงั้ แ​ บบ​สด​และ​ตาก​แห้ง ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่ก​ ็​ผ่าน​มา​จาก​ทาง​แม่สอด​นี่เอง จึง​มี​การ​แลก​ เปลี่ยน​วัฒนธรรม​และ​อาหาร​การ​กิน​แก่ก​ ัน ที่​จังหวัด​ตาก เมื่อ​พูด​ถึง​น้ำ​พริก​กุ้ง แต่ละ​ท้อง​ถิ่น​ ก็​จะ​มี​น้ำพ​ ริกพ​ ม่าห​ รือน​ ้ำ​พริกก​ ุ้ง​ที่​รสชาติแ​ ตก​ต่าง​กัน​ไป แล้ว​แต่​ลิ้น แล้ว​แต่​คน​ชอบ คำ​ว่า​น้ำ​พริก​กุ้ง​เข้าใจ​ว่าเ​พิ่ง​ มา​แพร่​หลาย​ภาย​หลัง​การ​รณรงค์​ให้​ผลิต​สิน​ค้า​โอ​ท็อป​ เมื่อ​ไม่​กี่​ปี​มา​นี้​เอง จะ​ให้​เรียก​ว่า​น้ำ​พริก​พม่า​ก็​กระไร​อยู่ ใน​เมื่อ​มี​กุ้ง​เป็น​ส่วน​ผสม​หลัก​จะ​เรียก​ว่า​น้ำ​พริก​อื่น​ไป​ ทำไม​กัน

2. หมูเ​หม​ย​ซาน หมู​ดู​ร็อค และ​หมู​ดำ​ซี​พี คุโร​บุต​ะ ‘หมู​พันธุ์​เหม​ย​ซาน’ เป็นห​ มู​นำ​เข้า​จาก​สาธารณรัฐ​ ประชาชน​จนี มีล​ กั ษณะ​พนั ธุกรรม​ทเ​ี่ ด่นด​ า้ น​การ​ให้ล​ กู ดก น้ำนม​มาก เลีย้ ง​ลกู เ​ก่ง มีค​ วาม​ทนทาน​ตอ่ โ​รค​สงู สามารถ​ ปรับ​ตัว​เข้า​กับ​สภาพ​แวดล้อม​และ​สภาพ​อากาศ​ได้​ดี กินเก่ง​กิน​ได้​ทุก​อย่าง เช่น เศษ​ผัก เศษ​อาหาร หญ้าแ​ ละ​ วัตถุดบิ เ​หลือจ​ าก​โรงงาน​อาหาร​สำเร็จรูป อาหาร​กระป๋อง


ติณ นิติกวินกุล

และ​อาหาร​จาก​โรง​สี ลักษณะ​ประจำ​พันธุ์​คือ มีล​ ำ​ตัว​สี​ดำ หน้าผ​ าก​ย่น ใบ​หู​ยาว​ปรก​หน้า ขน​ดำ มี​เต้าน​ ม 8-9 คู่ เป็น​หนุ่ม​สาว​ เร็ว (เพศ​เมียพ​ ร้อม​จะ​ผสม​พนั ธุค​์ รัง้ แ​ รก​ได้ต​ งั้ แต่อ​ ายุ 3-4 เดือน) พ่อพ​ นั ธุโ​์ ต​เต็มท​ ม​ี่ น​ี ำ้ ห​ นักเ​ฉลีย่ 195 กิโลกรัม แม่​ พันธุ์​โต​เต็ม​ที่​จะ​มี​น้ำ​หนัก​เฉลี่ย 175 กิโลกรัม ออกลูก​ ครอก​ละ 16-18 ตัว รัฐบาล​สาธารณรัฐป​ ระชาชน​จีน​น้อมเกล้าฯ ถวาย​ หมูพ​ นั ธุเ​์ หม​ยซ​ าน​แด่ส​ มเด็จพ​ ระ​เทพ​รตั น​ราช​สด​ุ าฯ สยาม​ บรม​ราช​กุมารี 2 ครั้ง ครั้ง​แรก​เมื่อ​วัน​ที่ 19 มิถุนายน 2524 จำนวน 2 คู่ และ​ครั้ง​ที่ 2 เมื่อ​วัน​ที่ 8 มกราคม 2537 จำนวน 2 คู่ รวม​ทั้งหมด 4 คู่ (เพศ​ผู้ 4 ตัว เพศ​ เมีย 4 ตัว) ใน​การ​นี้​ได้พ​ ระราชทาน​ให้ก​ รม​ปศุสัตว์​รับ​มา​ เลี้ยง เพื่อ​ศึกษา​วิจัย​และ​ขยาย​พันธุ์​ที่​หน่วย​งาน​ของกอง​ บำรุง​พันธุ์​สัตว์​ปัจจุบัน ณ ศูนย์วิจัย​และ​บำรุง​พันธุ์​สัตว์​ นครราชสีมา อำเภอ​ปากช่อง จังหวัดน​ ครราชสีมา จากนัน้ ​ กรม​ปศุสตั ว์ไ​ด้ผ​ สม​พนั ธุก​์ บั ห​ มูส​ าย​พนั ธุต​์ า่ งๆ อาทิ ลาร์จ​ ไวท์ ดู​ร็อค ใน​อัตราส่วน​ต่างๆ ‘หมู​พันธุด์​ ู​ร็อค’ หมู​พันธุ์​ดรู​ ็​อค​มี​ถิ่น​กำเนิด​มา​จาก​ ประเทศ​สหรัฐอเมริกา เป็นห​ มูป​ ระเภท​เนือ้ ข​ นาด​ใหญ่ รูป​ ร่าง​หนา​ลึก ความ​ยาว​ของ​ลำ​ตัว​สั้น สะโพก​ใหญ่​เด่นชัด มี​สี​ตั้งแต่​แดง​เข้ม​ไป​จน​อ่อน หัว​มี​ขนาด​ปาน​กลาง หู​ย้อย​

95


96 แม่ปะ

ไป​ข้าง​หน้า ‘หมูด​ ำ​คโ​ุ ร​บตุ ะ​ ’ เป็นห​ มูเ​นือ้ ด​ ำ​สาย​พนั ธุเ​์ บิรก์ เ​ชียร์ (Berkshire) ทีน​่ ำ​เข้าส​ าย​พนั ธุจ​์ าก​ทวีปอ​ เมริกาเหนือโ​ดย​ บริษัท​ซี​พี เมื่อป​ ี 2548 ผสม​และ​พัฒนา​สาย​พันธุ์​ต่อ​มา​ จนถึงป​ จั จุบนั ส​ ามารถ​เลีย้ ง​เพือ่ ก​ าร​ผลิตเ​นือ้ ไ​ด้แ​ ล้ว ส่วน​ ชือ่ ‘คุโ​ร​บตุ ะ​ ’ เป็นช​ อื่ ท​ น​ี่ ำ​มา​จาก​ญปี่ นุ่ เนือ่ งจาก​คน​ญปี่ นุ่ ​ นิยม​บริโภค​เนือ้ ห​ มูด​ ำ​พนั ธุเ​์ บิรก์ เ​ชียร์ม​ า​นาน​แล้ว และ​ชาว​ ญี่ปุ่น​ก็ได้​ตั้ง​ชื่อ​หมู​พันธุ์​เบิร์ก​เชียร์​ใหม่​ว่า​คุ​โร​บุต​ะ ทำให้​ คน​ไทย​คุ้น​เคย​กับ​ชื่อ​นี้​มากกว่า ความ​พเิ ศษ​ของ​เนือ้ ห​ มูค​ โ​ุ ร​บตุ ะ​ ค​ อื มีไ​ข​มนั แ​ ทรก​ใน​ ชั้น​กล้าม​เนื้อ​มากกว่า​เนื้อ​หมู​ทั่วไป​และ​มี​เส้นใย​ใน​กล้าม​ เนื้อ​เล็ก​กว่า​เนื้อ​หมู​อื่นๆ ทำให้​เนื้อ​หมู​คุ​โร​บุต​ะ​นุ่ม​กว่า​ และ​อุ้มน​ ้ำ​มากกว่า เนื้อ​จึงม​ ีความ​ชุ่ม​ฉ่ำ

3. สหกรณ์​การเกษตร​เครดิตย​ ู​เนี่ยน คื อ ​ส หกรณ์ ​ที่ ​จั ด ​ตั้ ง ​ขึ้ น ​โ ดย​ค วาม​ส มั ค ร​ใ จ​ข อง​ ประชาชน​ที่​อยู่​ใน​ชุมชน​เดียวกัน หรือ​ประกอบ​อาชีพ​ใน​ โรงงาน​บริษัท​หรือ​สถาบัน​การ​ศึกษา​เดียวกัน รวม​ชื่อ​ กัน​จด​ทะเบียน​เป็น​สหกรณ์​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​สหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดย​มี​สมาชิก​เป็น​เจ้าของ​สหกรณ์ บริหาร​ โดย​สมาชิก​และ​เพื่อ​สมาชิก ทั้งนี้ วัตุ​ประสงค์​ใน​การ​จัด​ ตัง้ ส​ หกรณ์ค​ อื เพือ่ ช​ ว่ ย​เหลือต​ นเอง​และ​รว่ ม​มอื ช​ ว่ ย​เหลือ​


ติณ นิติกวินกุล

ซึ่ง​กัน​และ​กัน ทั้ง​ทาง​ด้าน​เศรษฐกิจ​และ​สังคม ภาย​ใต้​ อุดมการณ์ หลักก​ าร และ​วิธกี​ าร​สหกรณ์ รวม​ทั้ง​การ​เอื้อ​ อาทร​ตอ่ ก​ นั โ​ดย​ใช้ห​ ลักค​ ณ ุ ธรรม 5 ประการ อันป​ ระกอบ​ ด้วย ความ​ชอื่ ส​ ตั ย์ ความ​เสียส​ ละ ความ​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ ความ​ เห็นใจ​กัน และ​ความ​วางใจ​กัน

4. สินเ​ชื่อ​เพื่อก​ ารเกษตร เป็น​สิน​เชื่อ​สำหรับ​ผู้​ประกอบ​การ กสิกรรม การ​ ประมง และ​การ​เลี้ยง​สัตว์ กำหนด​ให้​ผู้รับ​สิน​เชื่อ​ได้​ทั้ง​ เอกชน​และ​นิติบุคคล กลุ่ม​เกษตรกร​และ​สหกรณ์​ที่​มี​ สมาชิก​ทั้งหมด​เป็น​เกษตรกร โดย​เงิน​สิน​เชื่อ​นี้​สำหรับ​ เป็น​เงิน​ลงทุน​เพื่อ​การ​ผลิต​ด้าน​การเกษตร และ​เป็น​ ทุนหมุนเวียน​เพื่อ​ช่วย​เสริม​สภาพ​คล่อง​ทางการ​เงิน​ให้​ แก่​เกษตรกร 5. ธนาคาร​ชุมชน เป็นการ​ดำเนินง​ าน​อย่าง​หนึง่ ข​ อง​ธนาคาร​ออมสิน โดย​ประชาชน​ใน​ชุมชน​ต้อง​มี​ความ​ต้องการ​ให้​ธนาคาร​ ไป​จัด​ตั้ง​ใน​พื้นที่​ของ​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​นั้นๆ โดย​ทำ​หนังสือ​ ร้องขอ​ให้​มี​การ​จัด​ตั้ง​ธนาคาร และ​ทาง​ธนาคาร​ออมสิน​ ภาค​จะ​สำรวจ​ขอ้ มูลเ​บือ้ ง​ตน้ ต​ า่ งๆ ของ​พนื้ ทีท​่ จ​ี่ ะ​ขอ​จดั ตัง้ ​ ธนาคาร​ชุมชน เช่น จำนวน​ประชากร ราย​ได้​ประชากร​

97


98 แม่ปะ

เฉลีย่ สาธารณูปโภค อาชีพใ​น​ทอ้ ง​ถนิ่ เป็นต้น จาก​นนั้ จ​ ดั ​ ทำ​เวที​ประชาคม​เพื่อท​ ราบ​ความ​ต้องการ​ของ​ชุมชน โดย​ ให้​มี​ตัวแทน​ของ​ประชาชน​ใน​พื้นที่ นักการ​เมือง​ท้องถิ่น พ่อค้า นักธ​ รุ กิจ กำนัน ผูใ้ หญ่บ​ า้ น ผูน้ ำ​กลุม่ อ​ งค์กร​ชมุ ชน ตัวแทน​จาก​หน่วย​งาน​ราชการ และ​ตัวแทน​จาก​ธนาคาร​ ออมสินเ​ข้าร​ ว่ ม เพือ่ แ​ สดง​ความ​คดิ เ​ห็นแ​ ละ​หา​ขอ้ ย​ ตุ เ​ิ กีย่ ว​ กับ​การ​จัด​ตั้ง​ธนาคาร​ชุมชน​ขึ้น เจตนา​ของ​ธนาคาร​ออมสิน​ก็​เพื่อ​ให้​เป็น​สถาบัน​ การ​เงิน​ที่​ได้​ใกล้​ชิด​กับ​ประชาชน​และ​ชุมชน ปัจจุบัน​ ทั่วประเทศ​มี​แล้ว 18 แห่ง

6. ทราย​อะเบท ทราย​อะเบท (Abate Sand Granules) เป็น​ชื่อ​ ทางการ​ค้า​ของ​บริษัท บี​เอ​เอฟ​เอส ที่​มี​เครื่องหมาย​ตรา​ พระอาทิตย์ (อะเบท) คน​ทั่วไป​แม้แต่​ผู้​ขาย​เอง​จึง​มัก​ เข้าใจ​ผิด เหมือน​กับเ​รียก​ผง​ซักฟอก​ว่าแ​ ฟ้บ ถ่าย​เอกสาร​ เรียก​ว่า​ซีรอกซ์ เป็นต้น ความ​จริง​ทราย​อะเบท​เป็น​เม็ด​ทราย​ที่​ถูก​เคลือบ​ ด้วย​สาร​เคมีท​ ี่​มี​ค่า​ความ​เป็น​พิษ LD50 (ค่า LD50 คือ การ​วัด​ความ​รุนแรง​ของ​สาร​เคมี​กำจัด​แมลง) ปัจจุบัน​ เรา​จะ​ใช้​คำ​ว่า​ทราย​กำจัด​ลูกน้ำ​ยุง​ลาย​หรือ​ทราย​เคมี​ ฟอส แทน​คำ​ว่า ทราย​อะเบท สรุปค​ วาม​สั้นๆ เป็น​สาร​


ติณ นิติกวินกุล

เคมี​สังเคราะห์​โดย​มี​ฟอสฟอรัส​เป็น​องค์​ประกอบ​สำคัญ และ​ส าร​เ คมี ​ฟ อ​ส นี่ ​เ อง​ที่ ​ท ำให้ ​ยุ ง ​ทั้ ง ​ห ลาย​ย อมสยบ เพราะ​มี​พิษ​รุนแรง​ต่อ​ลูกน้ำ​ของ​ยุง​หรือ​แมลง​หวี่ เรา​จึง​ ใช้​คุณสมบัติ​ด้าน​นี้​ของ​ทราย​เคมี​ฟอ​สมา​กำจัด​ลูกน้ำ​ ยุงลาย สาร​เคมี​ฟอ​สมี​หลาก​หลาย​รูป​แบบ ทั้ง​รูป​แบบ​น้ำ ผง หรือ​เป็น​เม็ด แต่​ทนี่​ ิยม​ใช้​ก็​คือ​การนำ​สาร​เคมี​ฟอ​สมา​ เคลือบ​เม็ด​ทราย กลาย​เป็น​ทราย​เคมี​ฟอส ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​ เม็ด​ทราย​ที่​เคลือบ​มี​สาร​ออก​ฤทธิ์ 1-2 เปอร์เซ็นต์ จึง​ไม่​ เป็น​อันตราย​ต่อ​คน​และ​สัตว์ สามารถ​นำ​ไป​กำจัด​ลูกน้ำ​ ของ​ยงุ ล​ าย​ตาม​บา้ น​เรือน เพือ่ ป​ อ้ งกันม​ ใ​ิ ห้เ​กิดก​ าร​ระบาด​ ของ​โรค​ไข้​เลือด​ออก​ซึ่งม​ ี​ยุง​ลาย​เป็น​พาหะ​ได้​ทันที สำหรับว​ ธิ ใ​ี ช้ท​ ราย​กำจัดย​ งุ ล​ าย​กไ​็ ม่ย​ าก เพียง​แค่น​ ำ​ ทราย 1 กรัม ใส่ใ​น​นำ้ 10 ลิตร ก็จ​ ะ​ชว่ ย​กำจัดล​ กู น้ำอ​ ย่าง​ ได้ผ​ ล ทัง้ นีก​้ าร​ใส่ท​ ราย​กำจัดย​ งุ ล​ าย​ใน​ภาชนะ​ทม​ี่ น​ี ำ้ ข​ งั จ​ ะ​ ป้องกันไ​ม่ใ​ห้เ​กิดล​ ูกน้ำไ​ด้น​ าน​ประมาณ 1-3 เดือน​ขึ้นอ​ ยู่​ กับ​การ​ใช้ หลัง​จาก​ใช้​เสร็จ​แล้ว​ต้อง​เก็บ​ใน​ภาชนะ​บรรจุ​ที่​ ปิด​มิดชิด ใน​ที่​เย็น แห้ง และ​มี​การ​ระบาย​อากาศ อย่างไร​ก็ตาม ทราย​กำจัด​ยุง​ลาย​มี​ข้อ​เสีย​บ้าง​คือ​ อาจ​จะ​มก​ี ลิน่ เ​หม็น แต่ห​ าก​เปิดภ​ าชนะ​ทงิ้ ไ​ว้ 2-3 วัน กลิน่ ​ เหล่า​นี้​ก็​จะ​หาย​ไป​เอง ข้อ​จำกัดอื่น​คือ​สามารถ​กำจัด​ได้​ เพียง​ลูก​น้ำ​เล็กๆ ของ​ยุงเ​ท่านั้น ไม่​สามารถ​กำจัดล​ ูกน้ำ​

99


100 แม่ปะ

ตัว​เต็ม​วัย​ของ​ยุง​ได้ ดัง​นั้น​หาก​มี​การ​ระบาด​ของ​ไข้​เลือด​ ออก​แล้ว การ​ใช้​ทราย​กำจัด​ยุง​ลาย​ก็​ดู​จะ​ไม่ทัน​การ​และ​ ทราย​นี้​จะ​ใช้ได้​ผล​ดี​กับ​แหล่ง​น้ำ​นิ่ง​ที่​ค่อน​ข้าง​สะอาด มี​ อินทรีย์​วัตถุ​ตกค้าง​อยู่​น้อย​มากกว่า​น้ำ​เน่า​เสีย​หรือ​น้ำ​ ท่วม​ขัง

7. โรง​พยาบาล​ส่ง​เสริมสุข​ภาพ​ตำบล เป็น​สถาน​พยาบาล​ประจำ​ตำบล​สังกัด​กระทรวง​ สาธารณสุข หรือ องค์กร​ปกครอง​ส่วน​ท้อง​ถิ่น มี​ขีด​ ความ​สามารถ​ระดับ​ปฐม​ภูมิ (Primary Care) ได้​รับ​ การ​ยก​ฐานะ​จาก​สถานี​อนามัย หรือ​ศูนย์​สุขภาพ​ชุมชน ตามน​โย​บาย​ของ​รัฐบาล​สมัย​อภิสิทธิ์ เวช​ชา​ชีวะ เป็น​ นายก​รัฐมนตรี เมื่อป​ ี 2552 เพื่อย​ ก​ระดับใ​ห้เ​ป็น​ระดับ​ โรงพยาบาล​ประจำ​ท้อง​ถิ่น 8. ตลาด​ริมเ​มย ตลาด​รมิ เ​มย เป็นช​ มุ ชน​บริเวณ​รมิ ฝ​ งั่ แ​ ม่นำ้ เ​มย สุด​ ทางหลวง​หมายเลข 105 (สาย​ตาก-แม่สอด) ตัง้ อ​ ยูต​่ ำบล​ ท่าส​ าย​ลวด ตรง​ขา้ ม​กบั อ​ ำเภอ​เมียว​ ดีข​ อง​พม่า เป็นต​ ลาด​ ค้าขาย​สินค้า​ทั้ง​พื้น​เมือง​ของ​ไทย-พม่า และ​นำ​เข้า​จาก​ จีน​และ​อินเดีย​มากมาย นอกจาก​นี้​ยัง​เป็น​ตลาด​การ​ค้า​ อัญมณี เช่น หยก ทับทิม และ​พลอย​สจ​ี าก​พม่า ตลอด​จน​


ติณ นิติกวินกุล 101

งาน​หัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ วัตุ​โบราณ​จาก​ไม้​สัก


102 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 103

ภาพ​เล่า: เล่าด​ ้วย​ภาพ


104 แม่ปะ

1. อ่าง​เก็บ​น้ำ​ห้วย​ลึก ตัง้ อ​ ยูท​่ ห​ี่ มู่ 8 เป็นอ​ า่ ง​เก็บน​ ำ้ ข​ นาด​กลาง อยูใ​่ นเขต​ ลุ่ม​น้ำ​สาละ​วิน เริ่ม​ก่อสร้าง​ใน​ปี 2528 แล้ว​เสร็จ​ในปี 2531 งบ​ประมาณ​ค่า​ก่อสร้าง​รวม​ระบบ​ส่ง​น้ำ​ทั้งสิ้น 62 ล้าน​บาท ลักษณะ​ของ​ตัว​อ่าง​เก็บ​น้ำ​เป็น​เขื่อน​ดิน ความสูง​ของ​สัน​เขื่อน 26 เมตร ความยาว 703 เมตร มีพื้นที่​รับ​น้ำ​ฝน 12 ตาราง​กิโลเมตร ความ​จุ​ของ​อ่าง​ เก็บน้ำ 5.80 ลูกบาศก์​เมตร


ติณ นิติกวินกุล 105


106 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 107

2. วัดเ​วฬุ​วัน ตั้ง​อยู่​ที่​หมู่ 2 สังกัดค​ ณะสงฆ์มหา​นิกาย พื้นที่​ตั้ง​ วัด​เป็น​ที่ราบสูง​อยู่​ท่ามกลาง​หมู่บ้าน มี​ถนน​ล้อมรอบ​ บริเวณวัด อาคาร​เสนาสนะ​ต่างๆ มี​อุโบสถ ศาลา​ การเปรียญ กุฏิ​สงฆ์​เป็น​อาคาร​ไม้​สำหรับ​ปู​ชนีย​วัตถุ​ มีพระประธาน​ใน​อุโบสถ​มี​พระนาม​ว่า ‘พระพุทธ​พร​ชัย​ ประสิทธิ์’ สมเด็จ​พระบรม​โอ​รสาธิ​ราชฯ สยาม​มกุฎ​ราช​ กุมาร​และ​พระ​วร​ชายา ได้​เสด็จ​มา​ทรง​เท​ทองหล่อ​และ​ มีเจดีย์​ทรง​มอญ 1 องค์


108 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 109

3. ศาล​เจ้าพ​ ่อพ​ ะ​วอ ใน​ภาพ​เป็น​ศาล​พะวอ ภายใน​ บริ เ วณ​ที่ ท ำการ​อ งค์ ก าร​บ ริ ห าร​ส่ ว น​ ตำบล​แม่ปะ ศาล​เจ้า​พ่อ​พะ​วอ​นั้น​ตั้ง​อยู่​ บน​เนิน​เชิง​เขา​พะ​วอ บน​ถนน​สาย​ตากแม่สอด บริเวณ​หลัก​กิโลเมตร​ที่ 62-63 เขต​ต ำบล​พ ะวอ ศาล​นี้ ​เป็ น ​ที่ ​เคารพ​ นับถือ​ของ​ชาว​เมือง​ตาก​และ​ชาว​อำเภอ​ แม่สอด​เป็น​อย่าง​มาก ประวัตคิ​ วาม​เป็น​มา​ของ ‘เจ้า​พ่อ​ พะ​วอ’ นั้น​มี​เรื่อง​เล่า​กัน​มา​ว่า ท่าน​เป็น​ นักรบ​ชาว​กะเหรีย่ ง มีศ​ กั ดิฐ​์ านะ​เป็นน​ าย​ ด่าน​แม่​ละ​เมา เมือง​หน้า​ด่าน​ของไทย​ ใน​รัช​สมัย​ของ​สมเด็จ​พระเจ้าตากสิน​ มหาราช คอย​ดูแล​รักษา​หา​ข่าว​แจ้ง​เหตุ เมื่อ​มี​เหตุ​หรือข​ ้าศึก​ศัตรู​รุก​ล้ำแดน​มา ‘พะ​ว อ’ เป็ น ​ชื่ อ ​ข อง​ก ะเหรี่ ย ง คำนำ​หน้าว​ ่า ‘พะ’ ก็ค​ ือ ‘นาย’ คำ​ว่า ‘วอ’ อาจ​จะ​แผลง​มา​จาก ‘วา’ แปล​ว่า​ ขาว หรือน​ าย​ขาว ‘พะวา’ อาจ​จะ​เพี้ยน​ เสียง​มา​เป็น ‘พะ​วอ’ ก็ได้ ส่วน​คำ​ว่า ‘พะ​ วอฮ์’ ออก​เสียง ‘วอ’ อยู่​ใน​ลำ​คอ ‘พา​


110 แม่ปะ

วอฮ์’ ก็​คือ ‘นาย​แดง’ เดิมทีศ​ าล​เจ้าพ​ อ่ พ​ ะ​วอ​อยูอ​่ กี ด​ า้ น​หนึง่ ข​ อง​ภเู ขา แต่​ เมือ่ ท​ างการ​ได้ส​ ร้าง​ถนน​ตดั ผ​ า่ น​จงึ ไ​ด้ม​ าส​รา้ ง​ศาล​ขนึ้ ใ​หม่​ เมื่อ​ปี 2507 มี​ผู้​เล่า​ว่าศ​ ักดิ์สิทธิ์​มาก ถ้าใ​คร​ไป​ล่า​สัตว์​ ใน​บริเวณ​เขา​พะ​วอ​มัก​จะ​เกิด​เหตุ​ต่างๆ เช่น รถ​เสีย เจ็บ​ ป่วย หรือห​ ลง​ทาง และ​ดว้ ย​เหตุท​ เ​ี่ จ้าพ​ อ่ พ​ ะ​วอ​เป็นน​ กั รบ​ จึง​ชอบ​เสียง​ปืน ผู้​ที่​เดิน​ทาง​ผ่าน​จึง​นิยม​ยิง​ปืน​ถวาย​ท่าน​ เป็นการ​แสดง​ความ​เคารพ หรือ​มิ​ฉะนั้น​ก็​จะ​จุด​ประทัด​ หรือ​บีบ​แตร​รถ​ถวาย ชาว​บา้ น​เล่าก​ นั ม​ า​วา่ พอ​ถงึ ฤ​ ดูฝ​ น​ทน​ี่ จ​ี่ ะ​ได้ยนิ เ​สียง​ อาม๊อ​ ก (เสียง​ปนื ใ​หญ่) เสียง​นจ​ี้ ะ​ดงั ล​ นั่ ส​ นัน่ ไ​ป​ทวั่ ท​ งั้ เ​มือง​ และ​หุบเขา เชื่อ​กัน​ว่า​เป็นการ​เตือน​จาก​เจ้า​พ่อ​พะ​วอ​ว่า​ เกิด​อะไร​ขึ้น ถ้า​เป็นต้น​ฝน​ก็​หมายความ​ว่า ลง​พืช​ไร่​ได้ แต่​ถ้า​เป็น​ฤดู​แล้งห​ มายความ​ว่าจ​ ะ​เกิด​อาเพศ อย่างไร​ก็ตาม ที่มา​ของ​เจ้า​พ่อ​พะ​วอ ข้อมูลจ​ าก​ หลาย​แหล่ง​มัก​อ้าง​ว่า​ท่าน​เป็น​นักรบ​สมัย​พระ​นเรศวร​ มหาราช แต่​เท่า​ที่​สืบค้น ‘พะวอ’ เป็น​นาย​ด่าน​ละ​ เมา​ใน​สมัย​พระเจ้าตากสิน เดือน 11 ปี 2318 เมื่อ​ พม่า​โดย​การนำ​ทัพ​ขอ​งอะ​แซ​ห​วุ่น​กี้​เคลื่อน​ทัพ​เข้า​มา​ ในเขตแดนไทย ด่าน​ละ​เมา​ซงึ่ เ​ป็นด​ า่ น​หน้าผา​มอง​เห็นท​ พั ​ พม่าแ​ ต่ไ​กล พะ​วอ​แจ้งข​ า่ ว​นแ​ี้ ก่บ​ รรดา​เมือง​รายทาง ตัง้ แต่​ เมือง​ตาก เมือง​ระแหง เมือง​กำแพงเพชร​และ​เมือ​งอื่นๆ


ติณ นิติกวินกุล 111

เพือ่ ร​ วบรวม​กำลังไ​ว้ต​ า้ น​พม่า แต่เ​มือง​ตา่ งๆ เห็นว​ า่ พ​ ม่า​ ยก​ทัพ​มา​ครั้ง​นี้​มี​แสนยานุภาพ​อัน​ยิ่ง​ใหญ่​เหลือ​กำลัง​ที่​ จะ​ต้าน​ได้ ต่าง​อพยพ​ครอบครัว​หนี​ไป​กัน​หมด ท่าน​จึง​มี​ ใบบอก​ไป​ยัง​เมือง​หลวง แต่​การ​เดิน​ทางใน​สมัย​นั้น​จาก​ แม่ล​ ะ​เมา​ถงึ ธ​ นบุรี ไม่ทนั ก​ องทัพข​ า้ ศึกท​ ป​ี่ ระชิดช​ ายแดน พะวอ​จึง​นำ​กำลัง​ที่​มี​อยู่​ปะทะ​กับ​ข้าศึก สู้​รบ​อย่าง​เต็ม​ กำลังแ​ ละ​เมื่อ​ทัพ​หลวง​มา​ถึง​ก็​ไม่ทัน​เสีย​แล้ว เรือ่ ง​ราว​ของ​พะ​วอก​ลาย​เป็นต​ ำนาน​เล่าข​ าน​สบื ต​ อ่ ​ กัน​มา​นาน ศาล​แห่ง​แรก​สร้าง​เมื่อ​ใด​ไม่​ปราก​ฏ​หลักฐาน


112 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 113

4. วัดพ​ ระ​ธาตุ​สิรมิ​ งคล เป็นว​ ดั ท​ ช​ี่ าว​บา้ น​ใน​พนื้ ทีเ​่ คารพ​ศรัทธา​อย่าง​สงู ตัง้ ​ อยูบ​่ น​ถนน​สาย​แม่สอด-แม่ระมาด ห่าง​จาก​อำเภอ​แม่สอด​ ไป​ทาง​ทิศ​เหนือ​ประมาณ 4 กิโลเมตร ภายใน​วัด​มี​เจดีย์​ ทีช​่ าว​บา้ น​ทวั่ ไป​เรียก​วา่ พระ​ธาตุพ​ ญา​หน่อก​ ว​ นิ้ สร้าง​ขนึ้ ​ ตาม​แบบ​ศลิ ปะ​มอญ ภายใน​บรรจุพ​ ระพุทธ​รปู ท​ องคำ ซึง่ ​ เป็น​ที่​เคารพ​นับถือ​ของ​ประชาชน​ชาว​ตำบล​แม่ปะ โดย​มี​ ชาว​บ้าน​มา​ไหว้​พระ​ธาตุ​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​ตลอด​วัน สำหรับ​ตำนาน​เกี่ยว​กับ​พระ​ธาตุ​พญา​หน่อ​ก​วิ้น กล่าว​คือ​เมื่อ​ประมาณ 200-300 ปี​มา​แล้ว มี​พี่​น้อง​ กะเหรี่ยง 3 คน ซึ่ง​ฐานะ​ร่ำรวย​มาก มีช​ ้าง​เป็น​กรรมสิทธิ์​ ถึง 280 เชือก มี​อาชีพ​ค้า​ไม้​สัก​อยู่​ใน​ประเทศ​พม่า ได้ ส ร้ า ง​เ จดี ย์ ​ไ ว้ ​เ ป็ น ​อ นุ ส รณ์ และ​เ ป็ น ​ที่ ​สั ก ​ก า​ร ะ​ใ น​ พระพุทธ​ศาสนา​คนละ​องค์ ได้แก่ เจดียแ​์ ม่ก​ ห​ุ ลวง ผูส​้ ร้าง​ คือพ​ ะ​หน่อเ​ข เจดียท​์ เ​ี่ มียว​ ดี ผูส​้ ร้าง​คอื ม​ ะ​สว่ ย​จา​พอ และ​ เจดีย์​ที่​ตำบล​แม่ปะ ผู้​สร้าง​คือ​พะ​ชี​พอ


114 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 115

5. วัดโ​พธิ​คุณ วัด​โพธิ​คุณ เรียก​อีก​ชื่อ​ว่า​วัด​ห้วย​เตย เป็น​วัด​ป่า​ สาย​ปฏิบัติ​ที่​ร่มรื่น​ด้วย​พันธุ์​ไม้​นานา​ชนิด ภายใน​วัด​ ออกแบบ​จัด​วาง​ผัง​สภาพ​ภูมิ​ทัศน์​ตลอด​จน​สิ่ง​ก่อสร้าง​ ที่​งดงาม​เป็น​เอกลักษณ์​เฉพาะ​ตัว อาคาร​เป็น​แบบ​ไทย​ ประเพณี ไม่เ​คร่งครัดใ​น​เรื่อง​แบบแผน​ของ​ลวดลาย​และ​ องค์​ประกอบ​เครื่อง​ประดับ​อาคาร​เท่าใด​นัก กล่าว​คือ​ ออกแบบ​สร้างสรรค์​ใน​ประเพณี​ที่​เป็น​บรรยากาศ​และ​ ท่าที​ความ​เป็น​เอกลักษณ์​ไทย ด้วย​ความ​รู้สึก​สัม ผัส​ มากกว่า​ที่​จะ​เน้น​รูปแ​ บบ การ​อ อกแบบ​ฐ าน​อุ โ บสถ​ใ ห้ ​แ อ่ น ​โ ค้ ง ​แ บบ​ฐ าน​ สำเภา เพื่อ​ลด​ความ​แข็ง​กระด้าง​และ​ให้​ความ​รู้สึก​ไม่​ หนัก​ตื้อ​จน​เกิน​ไป ฐาน​ลวด​บัว​เป็น​แบบ​ฐาน​ปัทม์​แข้ง​ สิงห์ มีหน้า​กระดาน​ล่าง​รับ ยืด​ ท้อง​ไม้​ระหว่าง​เอว​ขัน (ลูก​แก้ว​ อกไก่ ) เพื่ อ ​เ พิ่ ม ​ร ะยะ​ค วาม​ สูง​เป็น​ช่อง​ลูกฟัก ปรุ​เป็น​ช่อง​ ระบาย​อ ากาศ​แ ละ​แ สง​ส ว่ า ง ปาก​ฐ าน​ปั้ น ​เ ป็ น ​บั ว ​เ ชิ ง ​บ าตร ซ้อน​ขนึ้ ไ​ป​รบั ผ​ นังอ​ กี ท​ ห​ี นึง่ ด้าน​ ผนัง​หุ้ม​กลอง​ทั้ง 3 ด้าน เป็น​ ฐาน​ยก​เก็จ​กระเปาะ​ย่อ​มุม​ไม้​


116 แม่ปะ

แปด​เพือ่ ร​ บั ซ​ มุ้ จ​ ระนำ (ลักษณะ​เป็นซ​ มุ้ ซ​ กี ท​ รง​เครือ่ ง​ยอด) เพื่อ​ประดิษฐาน​พระพุทธ​รูปป​ าง​มาร​วิชัย​ทั้ง 3 ด้าน ทีน่​ อี่​ ุโบสถ​มี 3 ชั้น ชั้นแ​ รก​ไว้ส​ ำหรับพ​ ระ​ภิกษุส​ งฆ์​ เรียน​บาลี ชั้น​สอง​มี​พระ​ประธาน​ชื่อ พระ​ทศพล​ญาณ ชั้น​สาม​มี​พระ​ประธาน​ชื่อ พระ​ตรี​โลก​เชษฐ์ ทั้งหมด​เป็น​ ผล​งานการ​ออกแบบ ตกแต่ง​รวม​ถึง​การ​ปั้น​พระพุทธ​รูป โดย​ สม​ประสงค์ ชาวนา​ไร่ ศิลป​บัณฑิต​จาก​วิทยาลัย​ ครู ​อุ บ ลราชธานี ​แ ละ​ม หา​บั ณ ฑิ ต ​ท าง​ด้ า น​โ บราณคดี มหาวิทยาลัย​ศิลปากร ท่าน​ได้​อุทิศ​ชีวิตแ​ ละ​จิตใจ​ใน​การ​ ก่อสร้าง​ยาวนาน​กว่า 17 ปี เพื่อ​ถวาย​เป็น​พุทธ​บูชา​โดย​ ไม่​ขอรับค​ ่า​ตอบ​แทน​ใดๆ


ติณ นิติกวินกุล 117


118 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 119

6. ศาล​เจ้าพ​ ่อขุนส​าม​ชน ศาล​เจ้า​พ่อขุน​สาม​ชน​ตั้งอ​ ยู่​ทาง​ขวา​มือ ทางหลวง​ หมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) ระหว่าง​กิโลเมตร​ที่ 70-71 ศาล​นี้​เพิ่ง​สร้าง​เสร็จ​และ​ทำ​พิธี​เปิด​เมื่อ​ปลาย​ปี 2523 เหตุ​ที่​สร้าง​ศาล​นี้​เพราะ​มี​การ​เล่า​กัน​ว่า​มี​คหบดี​ ผู้หนึ่ง​เจ็บป่วย​ด้วย​โรค​อัมพาต​มา​ช้า​นาน แล้ว​ได้​ฝัน​ว่า​ มี​ผู้​มา​บอก​ให้​สร้างศาล​แห่ง​นี้​ขึ้น​ตรง​บริเวณ​ที่​เป็น​ที่​ตั้ง​ ศาล​ใน​ปัจจุบัน คหบดี​ผู้​นี้​จึง​สร้าง​ศาล​ขึ้น​ถวาย​เรียก​ว่า ศาล​เจ้า​พ่อขุน​สามชน นับ​แต่​นั้น​มา​อาการ​ของ​คหบดี​ ผู้นั้น​ก็​หาย​เป็น​ปกติ ชาวบ้าน​จึง​ให้​ความ​เคารพ​นับถือ​ ศาล​แห่ง​นี้​มาก


120 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 121

7. เนินพ​ ิศวง อยู่​บริเวณ​กิโลเมตร​ที่ 68 สาย​ตาก-แม่สอด มี​ ลักษณะ​เป็น​ทาง​ขึ้น​เนิน​ที่​แปลก กล่าว​คือ​เมื่อ​นำ​รถ​ ไป​จอด​ไว้​ตรง​ทาง​ขึ้น​เนิน​โดย​ไม่​ได้​ติด​เครื่อง​รถ​จะ​ไหล​ ขึ้ น ​เ นิ น ​ไ ป​เ อง นั ก ​วิ ท ยาศาสตร์ ​ไ ด้ ​พิ สู จ น์ ​พ บ​ว่ า ​เ ป็ น​ ภาพลวงตา ได้​มี​การ​วัดร​ ะดับค​ วาม​สูง​ของ​เนิน​ลูก​นี้​แล้ว​ ปรากฏ​ว่า ช่วง​ที่​มอง​เห็น​เป็น​ที่​สูง​นั้น มี​ระดับค​ วาม​สูง​ต่ำ​ กว่าช​ ว่ ง​ทเ​ี่ ห็นเ​ป็นท​ าง​ลง​เนิน ดังน​ นั้ ร​ ถ​ทเ​ี่ รา​มอง​เห็นไ​หล​ ขึน้ น​ นั้ แท้จริงไ​หล​ลง​สท​ู่ ต​ี่ ำ่ ก​ ว่า นักท​ อ่ ง​เทีย่ ว​หลาย​คน​มกั ​ แวะ​จอด​รถ​บน​เนินแ​ ล้วด​ บั เ​ครือ่ งยนต์ป​ ล่อย​ให้ร​ ถ​ไหล​ขนึ้ ​ ไป​เอง​จน​เป็น​ที่​สนุกสนาน


122 แม่ปะ

8. ไม้ ไม้​สัก​และ​เศษ​ไม้ ไม้​ทั้ง​ต้น​แกะ​สลัก ไม้​สัก​แกะ​สลัก หรือ​เสา​ไม้​สัก​ ทัง้ ห​ ลัง แม้แต่เ​ศษ​ไม้ท​ ำ​เฟอร์นเิ จอร์ มีใ​ห้พ​ บเห็นไ​ด้ท​ วั่ ไป​ ใน​แม่ปะ ใน​แม่สอด​และ​จังหวัดต​ าก แม้แต่โ​ฮม​สเตย์​ของ​ แม่ปะ​เอง​ก็ตาม ไม้​สัก​ส่วน​ใหญ่​ใน​จังหวัด​ตาก​จะ​ไม่ใช่​ไม้​สัก​ทอง​ เหมือน​ที่​จังหวัด​แพร่ แต่เ​ป็น​ไม้​สัก​ที่​เรียก​กัน​ว่า ‘ไม้ส​ ัก​ขี้​ ควาย’ และ ‘ไม้​สัก​พม่า’ (สัก​มัณฑ​เลย์) มีท​ ั้ง​ถูก​ลักลอบ​ ตัด​และ​ตัด​ถูก​กฎหมาย​ข้าม​มา​จาก​ฝั่ง​พม่า ตาม​ตลาด​ และ​สถาน​ที่​ต่างๆ ใน​แม่ปะ​และ​แม่สอด เรา​จะ​เห็น​ เฟอร์นเิ จอร์ท​ ท​ี่ ำ​มา​จาก​ไม้เ​หล่าน​ ใ​ี้ น​ราคา​ถกู แ​ สน​ถกู เ​มือ่ ​ เทียบ​กับ​ซื้อ​ที่​กรุงเทพฯ และ​จังห​ วัดอ​ ื่นๆ แต่ม​ ี​คำ​แนะนำ​ ว่า ถ้า​มั่นใจ​ว่า​นำ​ผ่าน​ด่าน​ได้​ก็​ซื้อ เพราะ​จะ​ต้อง​เสีย​ ภาษี​ตาม​ด่าน​ต่างๆ กว่าจ​ ะ​พ้น​มา​ได้​เฟอร์นิเจอร์​หรือไ​ม้​ ท่อนนั้น​ก็​ราคา​ไม่​ต่าง​กับ​ซื้อ​จาก​ทอี่​ ื่น


ติณ นิติกวินกุล 123


124 แม่ปะ


ติณ นิติกวินกุล 125

9. ก๋วยเตี๋ยว​เมือง​ตาก ก๋วยเตี๋ยว​พื้น​เมือง​ดั้งเดิม​ของ​จังหวัด​ ตาก​ทุก​วัน​นี้​หา​รับ​ประทาน​ได้​ยาก แม้​ใน​ จั ง หวั ด ​ต าก​เ อง​ก็ ​มั ก ​ดั ด แปลง​ใ ส่ ​นั่ น ​นิ ด ​นี่ ​ หน่อย แต่​ใน​ตำบล​แม่ปะ​ยัง​พอ​มี​ก๋วยเตี๋ยว​ สไตล์​พื้น​เมือง​เก่า​แก่ใ​ห้​ได้​รับป​ ระทาน​กัน เอกลักษณ์​เฉพาะ​ของ​ก๋วยเตี๋ยว​เมือง​ ตาก​ก็​คือ ต้อง​ใส่​แคบหมูช​ ิ้น​เล็กๆ หมู​สับ​นั้น​ จะ​ลวก​หรือ​รวน​ให้​สุก​ก็ได้ กุ้งแห้ง​ต้อง​เป็น​ ตัวๆ ถั่วฝักยาว​ต้อง​หั่น​แฉลบ ลวก​ให้​สุก บางร้าน​ก็​ไม่มี​ถั่วฝักยาว แต่​ใช้​ผักชี​ฝรั่ง​ซอย แต่​บาง​ร้าน​ก็​ใส่​ทั้งส​ อง​อย่าง


126 แม่ปะ

เพลง​ศักยภาพ​ชุมชน คำร้อง-ทำนอง วสุ ห้าวหาญ เรียบ​เรียง​ดนตรี ศราวุธ ทุ่งข​ ี้​เหล็ก ขับ​ร้อง​โดย ฟาง​แก้ว พิชญา​ภา, ศราวุธ ทุ่ง​ขี้​เหล็ก, สมชาย ตรุ​พิมาย หนึ่ง​สมอง​สอง​มือ​ที่​มี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิดด​ ีๆ ออก​ มา​ยืน​ตรง​นี้ ทำ​เพื่อ​เมือง​ไทย​ด้วย​กัน ไม่​ว่า​จะ​อยู่​ที่ไหน เรา​เป็น​คน​ไทย​เปี่ยม​ความ​สามารถ เป็น​กำลัง​ของ​ประเทศ​ชาติ พัฒนา​บ้าน​เมือง​ก้าว​ ไกล เป็น​คน​เหนือ อีสาน กลาง​ใต้ ก็​รัก​เมือง​ไทย​ ด้วยกันทั้งนั้น (สร้อย) หาก​เรา​ร่วม​มือ​ร่วมใจ ทำ​สิ่ง​ไหน​ก็​ไม่​เกิน​แรง โครงสร้าง​ชุมชน​แข็งแกร่ง เพราะ​เรา​ร่วม​แรง​ร่วม​มือ​ สร้างสรรค์ จัดการ​ทรัพยากร​ช่วย​กัน ด้วย​มุมม​ อง​ที่เรา​ แบ่ง​ปัน ใช้​ความ​คิดส​ ร้างสรรค์​ให้​เต็ม​ศักยภาพ อยู่​ชนบท​ห่าง​ไกล ทำ​นา​ทำ​ไร่ พอ​เพียง​เลี้ยง​ตัว ใช้​ ชุมชน​ดูแล​ครอบครัว ใช้​ครอบครัว​ดูแล​ชุมชน ปู​พื้น​ฐาน​ จาก​หมู่บ้าน​ตำบล สร้าง​แปลง​เมือง​ไทย​ให้​น่า​อยู่​ดัง​ฝัน ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​บ้าน​เรา เรียน​รู้​ร่วม​กัน​เพื่อ​การ​พัฒนา ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​บ้าน​เรา เรียน​รรู้​ ่วม​กัน​ช่วย​กัน​พัฒนา อยู่​ตาม​เมือง​ใหญ่เ​มือง​หลวง หัวใจ​ทุก​ดวง​ซ่อน​ไฟ​มุ่ง​


ติณ นิติกวินกุล 127

มั่น ก้าว​ออก​มา​จาก​รั้วท​ ี่​กั้น​จับ​มือ​กัน​ทำ​เพื่อ​เมือง​ไทย คนละ​มือส​ อง​มือ​คือ​น้ำใจ โอบ​กอด​ชุมชน​ไว้ด​ ้วย​ความ​ สุข​ยืนนาน หนึ่ง​สมอง​สอง​มือ​ที่​มี รวม​เป็น​หลาย​ความ​คิดด​ ีๆ ออก​ มา​ยืน​ตรง​นี้ ทำ​เพื่อ​เมือง​ไทย​ด้วย​กัน หาก​เรา​ร่วม​มือร​ ่วมใจ ทำ​สิ่ง​ไหน​ก็​ไม่​เกิน​แรง โครงสร้าง​ ชุมชน​แข็งแกร่ง เพราะ​เรา​ร่วม​แรง​ร่วม​มือ​สร้างสรรค์ จัดการ​ทรัพยากร​ช่วย​กัน ด้วย​มุม​มอง​ที่​เรา​แบ่งป​ ัน ใช้​ ความ​คิด​สร้างสรรค์ใ​ห้​เต็ม​ศักยภาพ ด้วย​มุม​มอง​ที่​เรา​ แบ่ง​ปัน ใช้​ความ​คิดส​ ร้างสรรค์​ให้เ​ต็ม​ศักยภาพ..

เข้าไป​ฟงั แ​ ละ​ดาวน์โหลด​เพลง​ศกั ยภาพ​ชมุ ชน​ได้ที่ www.punsook.org



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.