หนองสาหร่าย เรื่องและภาพ โดย ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ หนองสาหร่าย เรื่องและภาพ ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว ออกแบบปกและรูปเล่ม น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
978-616-7374-57-4 บรรณาธิการอำนวยการ
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 979/116-120 ชั้น 34 อาคารเอส. เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 0500 โทรสาร 0 2298 0230 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1
ม ถิ นุ ายน 2555
ดำเนินการผลิตโดย
เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com
คำนำ ท่ า มกลางก ระแสวิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ โ ลกค รั้ ง ใ หญ่ เ ป็ น ประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดการตั้งคำถาม ว่าว กิ ฤติน จี้ ะใหญ่ข นึ้ อ กี เพียงใด จะยดื เยือ้ ข นาดไหน และ วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชนหมู่บ้านไทย มากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้น เลยหากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบ การผลิตเพื่อขาย นักวิชาการหลายๆ ท่าน ได้วิเคราะห์ถึงระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่าในระบบทุนนิยมยังคงมีอีก ระบบดำรงอยู่ในลักษณะคู่ขนาน นั่นคือระบบเศรษฐกิจ ชุมชนหรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ได้ว่าระบบ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดีตชุมชนหมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเน้น ความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การช่วย เหลือซ งึ่ ก นั แ ละกนั ม นี ำ้ ใจเป็นพ นื้ ฐ านของชวี ติ มีพ ธิ กี รรม ต่างๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชนและให้ความสำคัญ ของบรรพบุรุษ ผูเ้ฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อช ุมชน การผลิตเชิงเดี่ยวและลัทธิบริโภคนิยม ทำให้ช าวบา้ นมรี ายจา่ ยทเี่ ป็นต วั เงินม ากขนึ้ เพียงเท่านัน้
ยังไม่พอสิ่งที่ทำลายความเข้มแข็งของชุมชนที่มากที่สุด คือ รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชน หมู่บ้าน ยิ่งรัฐและทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู่บ้านไทยยิ่งประสบความอ่อนแอ คำพูดดังก ล่าวไม่ใช่ คำพูดลอยๆ ทีไ่ม่มีหลักฐ านรองรับ หากแต่เมื่อกวาดตา ไปทวั่ แ ผ่นด นิ ไทย หลังก ารประกาศแผนพฒ ั นาเศรษฐกิจ และสังคมมากว่า 40 ปี จะมีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไม่ ประสบปญ ั หาความยากจน ไม่ป ระสบปญ ั หาสงิ่ แ วดล้อม หรือไม่ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าวถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สังคมไทยควรกลับมาเน้นการพัฒนาที่ไม่มองแต่มิติ ประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและกำไรหรือการตลาด ด้านเดียว แต่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและ สังคม เราไม่ควรลดทอนผู้คนลงไปเป็นเพียงตัวเลข หาก ควรเป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรี ความเป็น มนุษย์ คำตอบสำหรับค ำถามข้างต้นนี้ คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ร ะยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดทำ
10 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
01 หนองสาหร่าย แดนยุทธหัตถี 1 จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าสมัยที่ยังผมเกรียน นุ่งกางเกงขาสั้น เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งตอนที่เรียนวิชา ประวัติศาสตร์พูดถึงตำบลหนองสาหร่ายขึ้นมาว่า เกิด มาเป็นคนไทยแล้วชาติหนึ่งต้องไปกราบไหว้บูชาบรรพ กษัตริย์ที่นั่นสักครั้งหนึ่งถึงจะไม่เสียชาติเกิด ด้วยความเป็นเด็กแ ละยงั ไม่ใส่ใจอะไรมากมายนกั จึงคิดไปว่า อะไรจะขนาดนั้นถึงกับเสียชาติเกิดเลย เหรอครับอาจารย์ จวบจนโชคชะตาพาหมุนวนมาเป็น นักศึกษาประวัติศาสตร์จึงได้ค้นพบความจริงว่า ‘หนอง สาหร่าย’ เป็นอะไรมากกว่าที่เราคิดและเข้าใจเมื่อสมัย เด็กๆ มากมายนัก ตำบลหนองสาหร่ายเป็นต ำบลทมี่ ปี ระวัตเิ ชือ่ มโยง กับประวัติศาสตร์ชาติ โดยบริเวณพื้นที่มีหนองน้ำชื่อว่า ‘หนองสาหร่าย’ ซึ่งเป็นแหล่งพักทัพขององค์สมเด็จพระ นเรศวรมหาราช เมื่อคราวสงครามยุทธหัตถีในสมัยกรุง ศรีอยุธยา โดยการนำทัพของพระองค์เข้าต่อตีกับพม่า และใช้หนองน้ำแห่งนี้เป็นยุทธภูมิตั้งค่ายเพื่อตั้งรับทัพ พม่า จนกระทั่งกระทำยุทธหัตถีช นะพม่า
11
12 หนองสาหร่าย
ยิ่งได้อ่านบันทึกเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี ของสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ นิทานโบราณคดี ยิง่ ข นลุกโดยเฉพาะประโยคทวี่ า่ “เจ้าพ ี่ จะยนื ช า้ งอยูใ่ นทรี่ ม่ ไม้ท ำไม เชิญเสด็จม าทำยทุ ธหัตถีก นั ให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริยใ์ นภายหน้า ทีจ่ ะทำยทุ ธหัตถี ได้อย่างเรา จะไม่มแี ล้ว” ยังอดคิดไม่ได้เลยว่าถ้าศึกครั้งนั้นพระองค์ดำ เพลี่ยงพล้ำ ป่านนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร นึกแล้ว เสียวจริงๆ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
2 ประเทศชาติย ่อมมีโชคชะตาของตนเอง พม่าอาจ จะกำลังชดใช้กรรม เมืองไทยก็อาจจะกำลังใช้บุญเก่า หมด แต่ประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ เรื่องราวของ คนรนุ่ ก อ่ นกค็ อื เรือ่ งราวของคนยคุ น นั้ คนยคุ เราคงได้แ ต่ เฝ้าเรียนรู้และเข้าใจมัน มีอ ยูป่ หี นึง่ ม โี อกาสไปงานอนุสรณ์ส ถานดอนเจดีย์ ภาพมวลมนุษย์ท ตี่ า่ งหลัง่ ไหลมาจากทกุ ส ารทิศย งั ค งตดิ อยู่ในห้วงความคิด ณ วันน ั้นคิดแต่เพียงว่าก ็ดีนะจะได้มี เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น คนในพื้นที่จะ
13
14 หนองสาหร่าย
ได้มีงานเพิ่ม ณ วันนี้ คิดไปคิดมาในอีกแง่หนึ่ง คนที่มางาน รู้จักความเป็นมา รู้จักความสำคัญ รู้จักรากเหง้าของ ดอนเจดียม์ ากนอ้ ยเพียงไร ไม่ได้อ ยากปลุกป นั่ ให้ค นไทย กลับมาจงเกลียดจงชังคนพม่า เพียงแต่ไม่อยากให้เรา มองแต่เพียงเปลือกนอก เราควรใช้โอกาสนี้เพื่อเรียนรู้ ตัวตนของเรา 3 พูดแต่เรื่องหนักๆ เดี๋ยวจะหมดอารมณ์เที่ยวกัน เสียก่อน ปัจจุบันใครจะมาหนองสาหร่ายหรือจะมา ดอนเจดีย์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างในสมัยก่อน เส้นทางที่จะ มาก็มีหลากหลายแต่ที่คนนิยมใช้บริการมากสุดคือเส้น ทางหลวงสาย 340 เริ่มจากบางใหญ่ ตรงมาตามถนน วงแหวนตะวันต ก ผ่านหา้ ง บิก๊ ค งิ ส ์ คาร์ฟ รู -์ ทางเข้าอ ำเภอ ไทรน้อยให้เตรียมชิดซ้าย คอยมองป้ายทางไปจังหวัด สุพรรณบุรี ตามป้ายแยกซ้ายมือ แล้วขับตรงตลอดไป อีกร าว 50 ก.ม. จะเห็นถ นนเลีย่ งเมืองเพือ่ แ ยกไปอำเภอ อู่ทอง ให้เลี้ยวไปทางนั้นแล้วขับต ่อไปเรื่อยๆ ประมาณ 20 ก.ม. จะมที างแยกไปอีกประมาณ 10 ก.ม. ก็จ ะถึง อำเภอดอนเจดีย์ หรือหากใครไม่สะดวกขับรถมาเองก็อาจจะอาศัย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
การเดินทางโดยอาศัยรถประจำทางมาก็ได้ไม่ว่ากัน ที่ เห็นจะสะดวกที่สุดก็ได้แก่ บริการรถตู้สายกรุงเทพฯ สุพรรณ - ดอนเจดีย์ - หนองหญ้าไซ - ด่านช้าง ระหว่างทางอดทจี่ ะอจิ ฉาคนสพุ รรณฯไม่ได้ทถี่ นน เข้าจังหวัดถือว่าเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยและดีที่สุดเส้น ทางหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว แล้วเมื่อไหร่หนอ บ้านเราจะเป็นอย่างนี้บ้าง นัง่ ร ถออกจากกรุงเทพฯมาแรกๆ ส่วนตวั ย งั ไม่รสู้ กึ ว่าได้ออกไปท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก เพราะว่าเส้นทางช่วง แรกๆ ยังต้องผ่านชุมชนใหญ่ๆ หลายชุมชน แต่ผ่าน อำเภอไ ทรน้ อ ยม าแ ล้ ว จ ะเริ่ ม เห็ น ค วามเขี ยวข จี ข อง เรือกสวนไร่นา ความอุดมสมบูรณ์ของภาคการเกษตร และความเงียบสงบของชุมชนชนบท 2 ชัว่ โมงกว่าบ นรถตู้ เย็ น ฉ่ ำ มี เ วลาท บทวน ว่ า แ ท้ จ ริ ง แ ล้ ว เ สน่ ห์ ของเมืองไทยไม่ได้อยู่ที่ สิง่ ก อ่ สร้างใหญ่โตหรือค วาม ไฮเทคข องเ ทคโนโลยี ต่ า งๆ หากแ ต่ ค วามมี น้ ำ จิ ตน้ ำ ใจ ความอุ ด ม สมบู ร ณ์ ข องธ รรมชาติ
15
16 หนองสาหร่าย
และวฒ ั นธรรมมากกว่า ทีเ่ ป็นจ ดุ เด่นข องการทอ่ งเทีย่ วไทย อย่างแท้จริง 4 รถเทียบท่าที่ตัวอำเภอดอนเจดีย์ ออกมายืนบิด ขี้เกียจเพื่อคลายความเมื่อยล้าได้ไม่นาน เสียงตามสาย ของ พี่สวัสดิ์ กันจรัตน์ ปลัด อบต.หนองสาหร่าย ดังข ึ้น มาทันทีทันใด “ขับรถหลงทางหรือเปล่า ทำไมยังไม่ถึงหนอง สาหร่ายอีก” “อ๋อ ไม่ได้เอารถมาครับ อยากจะสัมผัสชีวิตแบบ นักเดินท างมากกว่า เลยใช้เวลานานหน่อย ว่าแ ต่ผ มจะ เข้าไปที่ อบต. ได้อย่างไรครับ” แม้ว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจะสะดวก กว่าการนั่งรถประจำทางเป็นไหนๆ แต่พูดตามตรงเอา แบบอุดมคติเลย การเดินทางแบบนั้นมันเหมือนปิดกั้น ตัวเองให้อยูใ่นโลกแคบๆ เกินไป ถ้าข ับร ถมาเองเราจะมี โอกาสได้ถ่ายรูปสองข้างทางมั้ย เราจะมีโอกาสได้พูดคุย กับผู้คนในท้องถิ่นมั้ย เราจะมีโอกาสแกล้งหลับแ ล้วแอบ ฟังว่าใครนินทาคุณมั้ย ไม่มที างแน่นอน ยืนร อพป่ี ลัดพักห นึง่ พีแ่ กจดั บริการเต็มท ช่ี น้ั ผ บู้ ริหาร เลยทเี ดียวดว้ ยการสง่ ร าชรถพร้อมคนขบั ม ารบั ถ งึ ทีท่ า่ ร ถ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
17
18 หนองสาหร่าย
นั่งต่อไปอีกเพียงอึดใจหรือประมาณ 5 ก.ม. เห็นจะได้ ก็ถ ึงที่ทำการ อบต. อันเป็นจุดห มายปลายทาง พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลเบื้องต้นกันพักใหญ่จึง ทำให้ทราบว่าเดิม ‘ตำบลหนองสาหร่าย’ เป็นตำบลที่อยู่ ในการปกครองของตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ เมือ่ อ งค์พ ระสถูปเจดียไ์ ด้ร บั ก ารบรู ณะขนึ้ เป็นท เี่ รียบร้อย แล้ว ชุมชนตำบลหนองสาหร่าย เติบโตขึ้นตามลำดับ จนกระทั่ง พ.ศ. 2505 จึงได้ย กฐานะ เป็นตำบลหนองสาหร่ายและแยกออกมาเป็นอ ำเภอดอนเจดีย์ แต่เดิมน นั้ ตำบลหนองสาหร่าย ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน แต่ เนื่องจากถูกแบ่งแยกไปเป็นตำบลทะเลบกบางส่วนจึง ทำให้ตำบลหนองสาหร่าย คงเหลือ 10 หมู่บ้าน และต่อ มาในปี พ.ศ. 2539 ได้ร บั ก ารยกฐานะจากสภาตำบลเป็น องค์การบริหารสว่ นตำบล ปัจจุบนั ม พี นื้ ทีท่ งั้ หมด 63.80 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันตำบลหนองสาหร่ายแบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านดอนมะเกลือ หมูท่ ี่ 2 บ้านโคกหม้อ 1 หมูท่ ี่ 3 บ้านหนองขุม หมูท่ ี่ 4 บ้านห้วยม้าล อย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
หมู่ที่ 5 บ้านสระด่าน หมู่ที่ 6 บ้านท่าก ุ่ม หมู่ที่ 7 บ้านหนองสาหร่าย หมู่ที่ 8 บ้านกรวด หมู่ที่ 9 บ้านโคกหม้อ หมู่ที่ 10 บ้านหนองกะหนาก
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองราชวัตร อำเภอ หนองหญ้าไซและตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวังหว้า อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ลำน้ำท่าคอย กั้นเขต ติดต่อ) ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทะเลบก อำเภอ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากร จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 7,672 คน แยก เป็นชาย 3,775 คน หญิง 3,897 คน เฉลี่ยแล้วความ
19
20 หนองสาหร่าย
หนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 120.25 คน / ตาราง กิโลเมตร
ภูมิประเทศ ลักษณะทางกายภาพของตำบลหนองสาหร่ายจะ มีคลองชลประทาน (คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง) แบ่งฝั่ง ตะวันตก-ฝั่งตะวันออก โดยฝั่งตะวันออกจะอยู่ในฝั่งที่ มีการทำชลประทานมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ส่วนฝั่งตะวันตก จะเป็นฝั่งที่อยู่บนที่ดอนไม่มีระบบชลประทาน ชุมชน จะอยู่ในลักษณะแห้งแล้งทำนาได้ปีละครั้ง ที่เหลือจึง ต้องทำอาชีพเสริมตามฤดูกาล ที่เป็นที่ดอนจะมีอยู่ 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1, 4 และ 9 อีก 7 หมู่บ้านจะอยูใ่น เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร อาชีพหลักของคนที่นี่จะ ทำเกษตรเป็นพื้น ปศุสัตว์มีไม่มากนัก ซึ่งแต่เดิมการทำ เกษตรกรรมของคนที่นี่ก็จะเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ประชาชนชาวหนองสาหร่ายมีความเกี่ยวพันกัน เป็นระบบเครือญาติ มีป ระเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ที่ ส่งเสริมให้ม กี ารรวมตวั ก นั เข้าว ดั ท ำบุญ มีก ารละเล่นต าม ประเพณีน ยิ มแบบโบราณอยูเ่ สมอ ทัง้ ในงานเทศกาลและ งานประเพณี เช่น ทำบุญ ณ แหล่งประวัติศาสตร์ห นอง-
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
สาหร่าย ทุกวันที่ 23 มกราคม เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล แด่องค์ส มเด็จพระนเรศวรมหาราช การละเล่นประเพณี สงกรานต์ การทำบุญต กั บาตรเข้าพ รรษา แห่เทียนพรรษา ประเพณีล อยกระทง และมศี ลิ ปวฒ ั นธรรมทถี่ กู ถ า่ ยทอด จากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบันได้รับการ อนุรักษ์ไว้ เช่น กระบี่กระบอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว รำวงย้อนยุค ดนตรีไทย เป็นต้น ส่วนที่มาของชื่อหนองสาหร่ายตามความเชื่อของ คนในพนื้ ทีเ่ ชือ่ ก นั ว า่ บ ริเวณนใี้ นสมัยก อ่ นเมือ่ ห ลายรอ้ ยปี มาแล้วเป็นบ งึ น ำ้ ข นาดใหญ่ ในชว่ งหน้าแ ล้งน ำ้ ในบงึ ไม่ได้ รับก ารถา่ ยเท จึงม สี าหร่ายเกิดข นึ้ จ ำนวนมาก คนโบราณ จึงเรียกบริเวณนี้ว่าหนองสาหร่าย จริงเท็จประการใด ผู้เขียนก็เกิดไม่ทันในสมัยนั้นเสียด้วย ก็คงต้องแล้วแต่ วิจารณญาณ
21
22 หนองสาหร่าย
15 14
13
11
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
12
7
9
5 10 2 4 8 1
6 3
23
24 หนองสาหร่าย
02 เกษตรเชิงเดี่ยว ต้นตอ ของปัญหาทั้งหลาย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
25
26 หนองสาหร่าย
ขณะที่นั่งพักเหนื่อยบนที่ทำการ อบต. มีคุณลุงท่านหนึ่ง ท่าทางใจดี เดินเข้าม าถามวา่ เดินท างเป็นยังไงบา้ ง หลงทาง หรือถึงได้มาช้า ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าลุงนี่เป็นใครถึงได้มา ถามซอกแซกอะไรนักหนา จนพี่ปลัดเดินมาแนะนำให้ รู้จักว่าลุงค นนี้แหละที่เป็นนายก อบต. อดคิดในใจไม่ได้ว่า โอ้ ลุงแก่ขนาดนี้แล้วจะมา ทำงานเพื่อป ระชาชนไหวเหรอ แต่พอได้พูดคุยเท่านั้น ลุงได้แสดงวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารสมัยใหม่ทันที คือแทบไม่น่าเชื่อว่าคนอายุรุ่นนี้ จะไฟแรงขนาดนั้น คุณลุงสมนึก วัฒนชีวโนปกรณ์ นายก อบต. หนองสาหร่ า ยบ่ น ดั ง ๆ ให้ฟังว่า “ ค น บ้ า น นี้ ก็ เหมือนกับที่อื่นๆ จากที่ เมื่อก่อนก็ทำเกษตรเพื่อ ดำรงชี พ พอยุ ค ป ฏิ วั ติ เขี ย วรั ฐ ก็ ม าส่ ง เ สริ ม ใ ห้ ผลิ ต เ พื่ อ ก ารค้ า การ พาณิชย์ ไอ้การทำเกษตร แบบนั้ น ต้ อ งใ ช้ ทุ น ใช้
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เทคโนโลยี ชาวบ้ า นก็ ต้ อ งไ ปห าทุ น กู้ ห นี้ ยื ม สิ น ม า ไม่ ว่ า จ ากใ นร ะบบห รื อ น อกร ะบบ ท้ า ยสุ ด หั ก ล บ กลบหนี้ชาวบ้านแล้วชาวบ้านตกอยู่ในสภาวะหนี้สิน ล้นพ้น จนมคี ำกล่าววา่ ‘ทำนาปีม แี ต่ห นีก้ บั ซ งั ทำนาปรัง มีแต่ซังกับหนี้’ ” ฟังดูก็เหมือนกับว่าเกษตรเชิงเดี่ยวจะเป็นจำเลย ใหญ่ของสังคมไทย เพราะว่าหากพิจารณาดีๆ ก็จะพบ ว่าสังคมเกษตรในหลายพื้นที่ก็ประสบปัญหาจากการ ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหา หนี้สิน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมโดยรวม ก็ได้แต่อดสงสัยไม่ได้ว่า ในเมื่อเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นต้นเหตุแห่งปัญหา แล้วท ำไมภาครฐั ถงึ ได้ตะบต้ี ะบัน ส่งเสริมม ากว่า 4 ทศวรรษ แปลกแต่จริง ไ ป ๆ ม า ๆ เ ห มื อ น ชี วิ ต เ ก ษ ต ร ก ร ไ ท ย ช่ า งมื ด มนเ หลื อ เ กิ น ก็ ไ ด้ แ ต่ ถ อนห ายใจอ ดส งสาร คนไทยร่วมชาติไม่ได้ ยิ่งคุย หน้าผู้เขียนยิ่งห่อเหี่ยวลง เรื่อยๆ จนลุงสมนึกถามว่าหนุ่มจะหน้าเสียไปทำไม ที่เล่าให้ฟังมันเรื่องของสมัยก่อน แต่ว่าตอนนี้ชาวบ้าน เริ่มล ืมตาอ้าปากกันได้แ ล้ว อันเนื่องจากน้อมนำแนวคิด เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้
27
28 หนองสาหร่าย
แหม ก็ค ณ ุ ล งุ เล่นเล่าไม่ห มดนนี่ า ก็เลยพานนกึ ไป ว่าชาวหนองสาหร่ายยังคงอยู่ในวังวนนั้นอยู่ จะวา่ เชือ่ เต็มร อ้ ยกค็ งไม่ใช่เสียท งั้ หมด จึงเอ่ยป าก ถามว่ า พ อจ ะมี ตั ว อย่ า งก ลุ่ ม เ กษตรกรที่ ท ำเ กษตร แผนใหม่แ ล้วประสบความสำเร็จให้ดูบ้างหรือไม่ หรือจะ เป็นแค่ราคาคุย
เชิงเดีย่ วมปี ญั หามากนกั ถ้างน้ั กล็ องปลูกทกุ อย่างดเู ผือ่ จะได้ผ ล ไม่รวู้ า่ ท า่ นนายกฯคดิ ว า่ ถ กู ห ยามหรือเปล่า รีบเดิน ไปสั่งการให้คนรถเอารถออกพาไปดูหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงทันที ตกลงไปกระตุกหนวดเสือหรือเปล่านี่ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 7 ผู้ใหญ่ ประจักษ์ บานไม่รู้โรย เดินออกมาต้อนรับด้วยใบหน้าท ี่ ยิ้มเยาะอยู่ในทีว่า ‘หึ พวกลองของมาอีกแล้ว’ ก็ไม่ได้คิดอยากจะลองของหรือมาจับผิดอะไร ชาวบ้านหรอกนะ แค่สงสัยเท่านั้นว่าเป็นไปได้หรือ ทีแ่ ค่ ปรับเปลี่ยนแนวคิดในเวลาไม่ก ี่ปีชาวบ้านจะมีชีวิตด ขี ึ้น “ปี พ.ศ. 2550 เป็นป ีที่หมู่ 7 บ้านหนองสาหร่าย ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านนำร่องเศรษฐกิจพอเพียง จากพัฒนาชุมชนอำเภอดอนเจดีย์ การทำงานในระยะ เริ่มต้นก็ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะที่นี่ แต่ดั้งเดิมช าวบ้านก็
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ทำไร่นาสวนผสมอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่รู้ตัว พอเราเห็นว่าในชุมชนมีทุนอยู่แล้ว มันง่ายที่จะ ทำให้ประสบความสำเร็จ ก็เลยไปหางบประมาณที่ จะมาสนับสนุน เราจะเน้นความร่วมมือกันของคนใน หมูบ่ า้ น เช่น พอทำบา้ นไหนเสร็จก จ็ ะเฮโลไปชว่ ยอกี บ า้ น ทำ ไม่ได้ต ่างคนต่างทำบ้านใครบ้านมัน” จากใจจริงฟังแค่นี้จะไปหายข้องใจได้อย่างไร ช่วง ที่พี่ประจักษ์ขอตัวไปคุยกับลูกบ้าน ตนเองได้ถือวิสาสะ เดินไปดูแปลงสาธิต ตามสัตย์จริงเห็นแปลงสาธิตก็ยังไม่ ปักใจเชื่อเพราะว่าแ ปลงสาธิตใครๆ ก็ท ำได้ ไอ้เรื่องปลูก ผัก ปลูกข้าว เลี้ยงหมู เลี้ยงปลาในพื้นที่เดียวกันใครๆ ก็ สร้างภาพกันได้
29
30 หนองสาหร่าย
จ้องจับผิดได้พักหนึ่ง เหมือนพี่ผู้ใหญ่จะรู้ตัวเลย เดินมาจับไหล่เบาๆ แล้วพูดว่า “คงคิดว ่าทีน่ ี่สร้างแปลง สาธิตไว้ให้ค นนอกเข้าม าดเู ท่าน นั้ ใช่ม ยั้ งัน้ เดีย๋ วพพี่ าออก ไปดูพวกผักสวนครัวที่ปลูกตามคันนาหรือสองข้างทาง แล้วกัน น้องจะได้เชื่อว่าคนบ้านนี้ทำอะไรทำจริง” เจ้าถิ่นเปิดโอกาสแล้วมีหรือที่จะทิ้งโอกาส “เอาสิ พี่ ผมกอ็ ยากเห็นเหมือนกนั ว า่ มันจ ะจริงเหมือนทพี่ บี่ อก มั้ย” เหมือนท้ากันไปท้ากันมา ดีท ี่พี่เขาเป็นคนไม่มอี ะไร ถ้าเป็นคนเอาเรื่องแกคงคิดว่าเราไปกวนบาทาแน่ๆ พูดเสร็จ หนึ่งหนุ่มน้อยกับหนึ่งหนุ่มใหญ่พากันขี่ มอเตอร์ไซค์อ อกไปสำรวจตามแปลงนาและสองขา้ งทาง
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
รอบหมูบ่ า้ น ก็ต อ้ งยอมรับว า่ ทีพ่ แี่ กพดู ไว้ไม่เกินเลยจริงๆ ทั้งคันนา ทั้งสองข้างทาง หรือแ ม้แต่ในตัวผืนนา (ที่เก็บ เกี่ยวแล้ว) ล้วนแล้วแ ต่เต็มไปด้วยพืชผักทำเงิน ไม่ว่าจะ เป็นผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ป ระดับ เห็นแ ล้วก ็อดชื่นใจ แทนคนบ้านนี้ไม่ได้
ปรับทฤษฎี ให้เข้าก ับชุมชน ไม่ ใช่ปรับชุมชนให้เข้าก ับทฤษฎี กลับมานั่งค ุยต่อที่บ้านพี่ประจักษ์ พอดีอ าบุญศรี มณีวงษ์ ประธานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล ผ่านเข้ามาพอดี จึงได้สอบถามว่าได้มี การนำองค์ค วามรดู้ งั ก ล่าวไปเผยแพร่แ ก่ค นหมูอ่ นื่ ห รือว า่ มีการต่อยอดอย่างไรบ้าง ได้ ค วามม าว่ า ปั จ จุ บั น มี ก ารข ยายก ารด ำเนิ น โครงการไปทวั่ ท งั้ ต ำบล แต่ย งั ค งตอ้ งใช้เวลาอกี พ อสมควร เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ คนที่ต่อต้านยังมี ไม่ใช่ ทุกคนจะเห็นดีเห็นงามไปเสียทั้งหมด แต่แนวคิดที่พี่บุญศรีกล่าวถึง เรื่องเกษตรทฤษฎี ใหม่นี่ล่ะถือว่าเป็นไฮไลท์ท ีเดียว “ถึงช มุ ชนเราจะประสบความสำเร็จ คนในชมุ ชนมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองในด้านอาหาร การกินได้มากกว่าเดิม แต่เวลาหน่วยงานราชการเข้าม า ประเมินเขาก็มักจะไม่เข้าใจและคิดว่าชุมชนเรายังพึ่งพา
31
32 หนองสาหร่าย
ตนเองไม่ได้ คือกระทรวงเกษตรกำหนดไว้ว่าเกษตร แผนใหม่ต อ้ งมกี ารแบ่งพ นื้ ที่ 30-30-40 นะ ตามรปู แ บบ ที่ พ ระองค์ท่ า นใ ห้ เป็ น แ นวทาง แต่ร าชการลื ม ไ ปว่า ที่ พ ระองค์ ท่ า นย กตั ว อย่ า งมั น เ ป็ น พื้ น ที่ แ ห้ ง แ ล้ ง ใ น ภาคอีสาน แต่ของพวกเราตีความหลักการของพระองค์ตาม ความเข้าใจวา่ การเกษตรแผนใหม่-คุณต อ้ งมนี ำ้ คุณต อ้ งมี ความหลากหลายของเรือ่ งพนั ธุไ์ ม้ คุณต อ้ งมคี วามหลาก หลายของเรื่องอาหาร และก็ต้องมีความพอเพียงในเรื่อง ที่อยู่อาศัย ก็จะครบองค์ 4 ที่พระองค์ท่านตรัสไว้ แต่ ส่วนใหญ่คนจะไปตใีนเชิงปริมาณ โดยเฉพาะราชการจะ ตีความวา่ ถ า้ ค ณ ุ ไม่มสี ระนำ้ 30 เปอร์เซ็น ตามทฤษฎีข อง
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
พระองค์ท่าน ก็จะไม่ได้เข้าโครงการที่ราชการสนับสนุน แต่ในความเป็นจ ริงเมือ่ เรามคี วามอดุ มสมบูรณ์ข องนำ้ พ อ มันก็ไม่จำเป็นที่เราต้องขุดสระน้ำไว้ในพื้นที่ ผมจะใช้ท ฤษฎีเป็นต วั ต งั้ แ ละเอากระบวนการสอด เข้าไป คือช มุ ชนจะไม่ได้เอาแบบฟอร์มส ำเร็จรูปท รี่ าชการ เซ็ต มาใช้ท งั้ ด นุ้ แต่เราจะใช้ห ลักก ารของพระองค์ท า่ นมา ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับช ุมชนเราเอง” ถ้าเป็นผ รู้ บั ผ ดิ ช อบมานง่ั ฟ งั เองคงคดิ ว า่ ถ กู ช าวบา้ น สอนมวยเอาอย่างไม่ต้องสงสัย ก็ถือว่าเป็นโชคดีของ เราไปทไ่ี ม่ได้มหี น้าทร่ี บั ผดิ ชอบเรื่องนี้
หลักการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 1. ปลูกพืชให้แข็งแรงสมบูรณ์ 2. คงสัตว์หรือแมลงทีเ่ป็นศัตรูตามธรรมชาติ ของศัตรูพืช 3. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ 4. เกษตรกรเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการพืช นีออนพิฆาต ภูมิปัญญาคนหมู่ 7 ตอนที่ ก ำลั ง จ ะอ อกจ ากศู น ย์ เ รี ย นรู้ ห มู่ บ้ า น เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 7 สินชัย หอมสะอาด ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ได้ต ะโกนเรียกเอาไว้ว ่าอ ย่าเพิ่ง
33
34 หนองสาหร่าย
ไป ยังม อี กี เรือ่ งทอี่ ยากเล่าให้ฟ งั ผูเ้ ขียนจงึ ได้ต ะโกนกลับ ไปว่า “โอ๊ยพี่ ที่นี่มีอะไรโชว์เยอะแยะจัง เก็บไว้ให้ศูนย์ อื่นเขาโชว์บ้าง” แต่พี่สินชัยบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความ ภาคภูมิใจของคนบ้านนี้เลย ไม่เล่าไม่ได้ เอ๊า ไหนไหนก็ไหนไหนแล้ว มีอะไรโชว์ออกมา ให้หมด พี่สินชัยเดินมาหาพร้อมกับชุดไฟนีออน แวบแรก ก็ คิ ด น ะ มั น แ ปลกต รงไ หนพี่ ไอ้ ชุ ด ไ ฟล่ อ แ มงดา ล่อตั๊กแตนแบบนี้ที่อยุธยาบ้านผมก็มี แต่ก็ไม่กล้าถาม อะไรมากอย่างที่บอก มาเยือนถิ่นเขาก็ต้องรู้จักเกรงใจ เจ้าบ้านบ้าง ถามไถ่จนได้ที่จึงเข้าใจว่าชุดนีออนที่พี่เขาเอามา โชว์นั้นมีไว้จัดการเพลี้ยกระโดด ตอนนั้นก็ยังมึนๆ อยู่ ว่าเพลี้ยก ระโดดนี่ใช้ไฟล่อได้ด้วยหรือ “เรื่องนี้เราภูมิใจมากเพราะว่าห มู่ 7 เป็นที่แรกใน สุพ รรณฯทมี่ นี ว ตั ก รรมจากภมู ปิ ญ ั ญาในการจดั การเพลีย้ กระโดด โดยการร่วมกันใช้ไฟล่อแมลง คือปัญหาจริงๆ ของชุมชนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาศัตรูพืช อย่างเมื่อปี 2552 มีปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดมาก เรียกว่าแทบจะ หมดตัว ใช้ยาฉีดก็เอาไม่อยู่ ยิ่งใช้เหมือนเพลี้ยยิ่งดื้อยา ที นี้ น านเ ข้ า ๆ มี ช าวบ้ า นสั ง เกตจ ากห ลอดไ ฟ สาธารณะว่าเวลาเพลี้ยกระโดดมันจะชอบไปเล่นไฟ อีก
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
อย่างในสมัยท มี่ ปี ญ ั หาตกั๊ แตนระบาดมากๆ เรากเ็ คยลอง ใช้วิธีนี้แล้วได้ผล จึงได้มีการนำวิธีนี้มาทดลองใช้อีกครั้ง หนึ่ง ทดลองไปทดลองมาได้ผลดีกว่าที่คิด จึงได้มีการ ส่งเสริมและขยายไปสู่พื้นที่อื่น” ดูจากชุดไฟที่พี่สินชัยนำมาโชว์แล้วก็ไม่ได้ใช้วัสดุ อุปกรณ์ท มี่ รี าคาคา่ ง วดแพงหรือต อ้ งใช้ค วามรเู้ ชิงเทคนิค อะไรพิสดารมากนัก ชุมชนอื่นๆ ก็น่าจะปรับไปใช้ได้ไม่ ยาก โดยวัสดหุ ลักๆ ที่ใช้จะมี 4 อย่าง ได้แก่ 1) ผ้ายาง 2) ต้นกล้วยตัด 4 ท่อน 3) ไฟนีออน 4) น้ำมัน ส่วนวิธีการก็ง่ายๆ เปิดไฟให้เพลี้ยมาเล่น พอ เพลี้ยบินเล่นจนหมดแรงก็จะตกลงมาในผ้ายางที่ใส่ น้ำมันไว้ ส่วนในปัจจุบันม ีการพัฒนาไปเป็นชุดล่อแมลง โดยมีการเพิ่มพัดลมและถุงผ้าดักแมลง ทีนี้พอเพลี้ยมา เล่นไฟพดั ลมกจ็ ะดดู แ มลงลงไปในถงุ ด กั ซึง่ ป ระสิทธิภาพ ก็ด ขี นึ้ อย่างสมัยก อ่ นทไี่ ม่มพี ดั ลมดดู แมลงตวั ใหญ่ก ย็ งั ม ี แรงพอทีจ่ ะบนิ ห นีไปได้ แต่พ อมพี ดั ลมคราวนแี้ มลงเกือบ จะ 100 เปอร์เซ็นต์เลยทจี่ ะตกลงไปในถุงดัก ก่อนกลับ ผู้ใหญ่ประจักษ์ฝากแนวทางในการทำ หมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพ อพยี งให้ส ำเร็จ ปัจจัยแ รกทตี่ อ้ งคำนึง คือ ผู้นำต้องเอาจริงเอาจัง ออกมาลุยทำให้ชาวบ้านเห็น ทั้งยังควรทำงานในรูปแบบเครือข่ายกับแกนนำในชุมชน ไม่ใช่ฉายเดี่ยวไม่ฟังใคร อย่างในชุมชนจะมีการประชุม
35
36 หนองสาหร่าย
คณะกรรมการหมู่บ้านทุกเดือน อีกปัจจัยคือโครงการที่ จะนำมาส่งเสริมชาวบ้านควรเป็นโครงการที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ อ้ น ชาวบา้ นสามารถใช้ภ มู ปิ ญ ั ญาดงั้ เดิมม าปรับใช้ได้ รวมทั้งควรจะต้องเน้นการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนเอง เพียงเท่านี้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ ใครจะทำอีกต่อไป
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
37
38 หนองสาหร่าย
03 โรงงานอาหารดิน คลังเสบียงชุมชน
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ออกจากบ้านผู้ใหญ่ประจักษ์มาด้วยความอิ่มเอม เห็น ผืนนาเขียวชอุ่มไปตลอดสองข้างทาง ความสงสัยเข้ามา เยือนอีกคำรบหนึ่ง ตกลงความเขียวสดชื่นที่เห็นมาจาก ปุ๋ยธรรมชาติหรือปุ๋ยเคมี หันรีหันขวาง ทั้งพ ี่ปลัดแ ละลุง นายกฯ คงคิดสงสัยในใจว่าไอ้น ี่จะเล่นเราอีกมั้ยน ี่ และก็เป็นอย่างที่คาด “ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็น สิบๆ ปี ดินมันไม่เสื่อมเหรอครับ ทำไมนาแถวนี้ถึงได้ เขียวสดอย่างนี้” ทั้งพี่ปลัดและลุงนายกฯ บอกว่าให้ใจ เย็นๆ เดี๋ยวพอไปถึงโรงงานอาหารดินจะให้วิทยากร ประจำศูนย์เป็นคนอธิบายให้ฟัง เท่านั้นเองความเงียบ ถึงบังเกิดขึ้น โรงงานอาหารดนิ ตัง้ อ ยูท่ หี่ มู่ 3 บ้านหนองขมุ โดย เป็นศ นู ย์ป ฏิบตั กิ ารทแี่ สดงให้เห็นว ธิ ลี ดปญ ั หาการใช้ส าร เคมีและการทำเกษตรแบบผิดวิธีของเกษตรกร โดยการ สร้างอาหารให้แก่ดิน ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจาก การนำมลู ส ตั ว์ เศษฟาง ใบไม้แ ละวตั ถุดบิ ท มี่ อี ยูใ่ นตำบล นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปถึงที่หมายเครื่องยังไม่ทันเย็น พี่ก้านร่ม ภูฆัง พี่สาวหน้าตาใจดีเดินต รงเข้ามาหาพร้อมกับอธิบายที่มา ของโรงงานอาหารดินให้ฟ ังทันที “บ้านเราเมื่อสมัย 10 กว่าปีที่แล้วดินมันแย่ปลูก อะไรก็ไม่งาม เราก็ไม่รู้จะแก้ยังไง ไปปรึกษารัฐให้มา
39
40 หนองสาหร่าย
ตรวจสอบคุณภาพดิน เขาก็บอกว่าที่ดินของตำบลนี้มัน แย่ก็เนื่องมาจากการเร่งผลผลิตโดยการใช้สารเคมี โดย เฉพาะปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ซึ่ง ทำลายระบบนิเวศและการทำลายดินที่มีธาตุอาหารจน กระทั่งไม่มีธาตุอาหารอยู่ในพื้นดิน ตอนนั้นเราก็เถียง อยู่เหมือนกันนะ อ้าว! ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการเกษตร เป็นคนแนะนำให้เราใช้ปุ๋ย ใช้ย าเอง พอดินเสียจะว่าเรา ได้อย่างไร” เห็นพี่ก้านร่มเริ่มมีอารมณ์จึงรีบ ดึงกลับมาคุยต่อว่าแล้วเป็นไงมาไง ชาวบ้านถึงค้นพบวิธีการปรับปรุง ดินให้ม ีสภาพดขี ึ้นมาได้ “หลังจ ากทรี่ สู้ าเหตุข องดนิ เสือ่ ม ชุมชนกไ็ ด้ม านงั่ ค ยุ ก นั แ ล้ว ว่าจะเอาอย่างไรต่อดี จะลอง ไปหาหมอดีมาให้คำปรึกษา หรือจะเอารัฐเป็นที่พึ่งอีก สักค รัง้ จังหวะนนั้ ป ระมาณ ปี 2548 เป็นช่วงเดียวกับ ที่เกษตรจังหวัดและกรม ควบคุ ม ม ลพิ ษ คั ด เ ลื อ ก หมู่ บ้ า นเ ราเ ป็ น ห มู่ บ้ า น
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
นำร่องในโครงการไถกลบตอซัง แต่ก็ไม่ได้ผลเนื่องจาก การไถกลบตอซังไม่ได้เพิ่มอาหารดินสักเท่าไหร่ พอวิธีนั้นไม่ได้ผลทั้งพ ี่ทั้งแ ฟนเริ่มคิดแ ล้วว่า ตาย ล่ะ เราไปชวนชาวบ้านมารวมกลุ่มแล้วทดลองทำตาม วิธขี องรฐั ด ู พอไม่ได้ผ ลจะเกิดว กิ ฤติศ รัทธาหรือเปล่า คุย ไปคยุ ม าเห็นข า่ ววา่ ทีช่ ยั นาทมคี นใช้พ วกปยุ๋ ห มัก น้ำห มัก กากนำ้ ตาล แล้วได้ผ ล จึงได้ข องบ อบต. ไปดงู าน กลับม า ก็ม าทดลองทำทแี่ ปลงสาธิตซ งึ่ ได้ผ ลดมี าก เราจงึ ต ดั สินใจ ว่า เอาล่ะ เราเจอวิธีการที่เหมาะสมแล้ว”
สารอาหารจากธรรมชาติ ของดีด ีทั้งนั้น ถามไถ่ต อ่ ไปวา่ แ ล้วพ ร่ี ไู้ ด้อ ย่างไรวา่ ต วั ไหนเหมาะสม ต่อสภาพดินแบบไหน ใส่เท่าไรถึงจะ พอดี แล้วจะรับประกันได้หรือไม่ว่า จะไม่ล้มเหลวเหมือนเมื่อครั้งไถกลบ ตอซังอีก “ก็เสียวๆ อยู่ว่าถ ้าชาวบ้านเอา ไปใช้จริงแ ล้วไม่ได้ผลจะทำอย่างไร ดี ว่าในกลุ่ม 31 คนที่ร่วมกับเราตั้งแต่ ครั้งแรกเขาเอาด้วย ก็เหมือนกับว่า มีพวกแล้ว เราก็ลองผิดลองถูก ปรับ แก้ไปเรื่อยทดลองตามปัญหาของนา
41
42 หนองสาหร่าย
แต่ละคน มีทั้งใช้มูลสัตว์ ใช้หน่อกล้วยหมัก มีการให้ สมาชิกนำสูตรน้ำหมัก สูตรปุ๋ยต่างๆ กลับไปทดลองใน ทีน่ าตนเอง เรียกว่ากลุ่มของเราลงมือปฏิบัตทิ ดลองจริง ในพื้นที่จริง เราทดลองอยูป่ กี ว า่ ก เ็ ห็นผ ลแล้ว คิดง า่ ยๆ ทดลอง ประมาณสองนา นาแรกยงั ไม่เห็นผ ลเท่าไหร่ พอนาทสี่ อง เปรียบเทียบกนั พบวา่ แ ม้วา่ น าทใี่ ส่ป ยุ๋ ห มักจ ะใบไม่เขียว งามเท่าท ใี่ ส่ป ยุ๋ เคมี แต่ว า่ จ ะทนแมลง ทนนำ้ ได้ด กี ว่า ส่วน ทีเ่ ห็นได้ช ดั คือน าทใี่ ส่ป ยุ๋ ส ตู รของกลุม่ ด นิ จ ะนมิ่ เวลาดงึ ต้นข า้ วขนึ้ ม ารากจะขาว ส่วนนาทใี่ ส่ป ยุ๋ เคมีเวลาดงึ ต น้ ข า้ ว ขึ้นมารากมันจะดำ แค่นี้เราก็พอจะรู้แล้วว่าดินเริ่มมี สารอาหารเพิ่มขึ้นแล้ว หลักการง่ายๆ คือ ดินม ันขาดอาหาร วิธแี ก้ก็คือ เติมธ าตุอ าหารให้ด นิ ก ลับม าอดุ มสมบูรณ์เหมือนเดิม คือ ทีผ่ ่านมาธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มันไม่มคี วามสมดุล ดินก เ็ สีย น้ำก เ็ สีย อย่างลม เวลาคนในชมุ ชนหายใจกจ็ ะมี กลิน่ เคมี ทัง้ อ ณ ุ หภูมอิ ากาศกร็ อ้ นกว่าแ ต่ก อ่ น แต่พ อเรา ทำตรงนกี้ ส็ ามารถเรียกความอดุ มสมบูรณ์ท เี่ คยมกี ล บั ม า ได้ จะบอกว่าเป็นความภาคภูมิใจส่วนตัวด ้วยก็ว่าได้” ถึงขั้นนี้แล้ว สิ่งทยี่ ากที่สุดไม่ใช่เรื่ององค์ความรู้ พี่ ก้านร่มบ อกผมว่า ทีย่ ากที่สุดค ือก ารโน้มน ้าวให้ช าวบ้าน เชื่อ แต่พี่เขาจะมีหลักการแปลกๆ อยู่อย่างหนึ่งแทนที่
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
จะไปชกั ชวนคนทหี่ วั อ อ่ นกอ่ น พีแ่ กกลับเล่นพ งุ่ ไปหาคน หัวรั้นเป็นอันดับแรก โดยแกพูดไว้สั้นๆ ว่า “กับคนหัวรั้นนี่เราชอบ ยิ่งต้องเข้าหา ยิ่งต้องไป ตีซี้ ถ้าทำให้คนพวกนี้หันมาใช้ปุ๋ยของเราได้มันก็จะจุด ประกายให้คนอื่นๆ ในชุมชนเอาอย่าง” ได้มีโอกาสตามพี่ก้านร่มเข้าไปในโรงงาน เมื่อ เปรียบเทียบกับโรงงานที่เห็นในภาพถ่ายเมื่อครั้งเริ่ม ทำการกับตอนนี้มันช่างแตกต่างกันมากเหลือเกิน จาก ที่เป็นเพียงอาคารหลังเล็กๆ ผลิตปุ๋ยได้วันละไม่เท่าไหร่ แค่เพียงพอความต้องการของสมาชิก แต่ในปัจจุบันคง ไม่เกินเลยไปทเี ดียวหากจะบอกวา่ จ ดั เป็นว สิ าหกิจข นาด ย่อมได้เลย เกือบลืมท ี่จะถามว่า ถ้าช าวบ้านหันม าใช้ปุ๋ยหมัก ชีวภาพกันหมดแล้ว เรื่องของวัตถุดิบที่จะนำมาผลิต จะเพียงพอหรือ ซึ่งก็ได้คำตอบว่า ในชุมชนเองมีวัสดุ เหลือเฟือไม่ต้องไปหาซื้อจากชุมชนอื่น ส่วนตัวคิดว่า เรือ่ งนกี้ น็ บั เป็นอ กี เรือ่ งทไี่ ม่ส ามารถมองขา้ มได้ เพราะไม่ ว่าจะใช้ปุ๋ยเคมีห รือปุ๋ยหมัก แต่ห ากเราไม่สามารถพึ่งพา วัตถุดิบภายในชุมชนตนเองได้ ชุมช นนั้นๆ ก็ยังไม่ถือว่า พึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง ชัดเจน จริงใจ เคล็ดลับความสำเร็จ เฝ้าถ ามวา่ พ มี่ เี คล็ดล บั อ ะไรบา้ งทที่ ำให้โรงงานดนิ
43
44 หนองสาหร่าย
ของพี่ประสบความสำเร็จ จะว่าด้วยคู่ชีวิตเป็นแรงใจทดี่ ี จะว่าหน่วยงานให้การสนับสนุนเต็มที่ หรือจะว่าโชคดี สิ่งต่างๆ เหล่านั้นคงไม่ใช่เหตุผลหลักในการทำงานให้ ประสบความสำเร็จแน่ๆ “ความจริงใจ” คำเดียวสั้นๆ จริงใจแล้วไม่ได้ผล คนเขาจะเชื่อหรือพี่ “เราทำอะไรเราจริงใจ โปร่งใส ทำงานด้วยความ จริงใจ ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง ยิ่งในตัว ผลิตภัณฑ์ด้วย แล้ว รับป ระกันได้เลยว่าป ุ๋ยที่เราผลิตก็มีคุณภาพจริง มี ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ไม่ได้ผล ยิ่งเรื่องเงิน เราไม่ได้
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ทำคนเดียว แต่มีการทำงานในรูปแบบคณะ กรรมการ ทั้งยังเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วน ร่วม มีเวทีพูดค ุย เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและ หาทางออกร่วมกัน” ใช้ปุ๋ยของพี่แล้วได้อะไร โอเค นาดีขึ้น ดินดีขึ้น รายจ่ายลดลง แล้วยังมีอะไรอีกที่ จะได้รับ ยิงคำถามแบบชวนหาเรื่องใส่ไป ทีแรกนึกว่าจะมองหน้ากันไม่ติดในข้อหาที่ จ้องจับผิดเสียทุกเรื่อง “จริงที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุทางธรรมชาติ อะไรนี่ เราก็ไม่ได้คิดลึกไปไกลว่าจะลดทุน ได้เท่าไหร่ หรือจะเพิ่มผลผลิตได้เท่าไหร่ ที่ เราทำก็เพราะว่าเกิดจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม ในชุมชน คือ ชุมชนใช้สารเคมีมากมันก็ไม่ได้ หายไปไหน มันก็อยู่ในนา ในน้ำ ในดิน ในชุมชนของเรา เอง สุขภาพของคนในชุมชนก็ย่ำแย่ พวกที่น็อคคานาก็ มีให้เห็นกันไม่น้อย เราจึงคิดว่าถ ้าจะมีอะไรที่จะช่วยลด ปริมาณสารเคมีในชุมชนได้บ ้างเราก็เต็มใจและยินดีทำ ฟังค วามคดิ ข องสาวบา้ นนอกแล้วอ ยากจะดา่ ต วั เอง กลับบ้างจังว่า ชีวิตนี้ได้ทำอะไรเพื่อสังคมอย่างจริงจัง แล้วบ้างหรือย ัง
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 5 ขั้นต อน ดังนี้
45
46 หนองสาหร่าย
1. การผสมปยุ๋ อนิ ทรีย์และการหมักเลี้ยงจลุ ินทรีย์ ชีวภาพ โดยการหมักวัตถุดิบทุกอย่างรวมกันเสร็จแล้ว ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืน ผ้าสูง 1 ฟุต นาน ประมาณ 8 วัน ข้อระวังคือต้องหมั่นกลับกองปุ๋ยหมัก ทุกวัน 2. การผึ่งปุ๋ยหมัก หลังจากที่มีการกลับกองปุ๋ย หมักค รบ 8 วัน นำกองปยุ๋ ห มักม าเกลยี่ บ างๆ ผึง่ ให้เกือบ แห้งประมาณ 2-3 วัน 3. การตีป่น เมื่อปุ๋ยหมักผึ่งจนเกือบแห้งแล้ว จึง นำเข้าเครือ่ งบด ข้อค วรระวัง คือ หากปยุ๋ ห มักย งั เปียกอยู่ หรือมีความชื้นมาก ควรค่อยๆ ใส่จะช่วยให้เครื่องบด ทำงานได้ ในกรณีท ี่ปุ๋ยหมักแ ห้งเกินไปให้ใส่น้ำหมักสูตร ผลไม้พรมให้พอชื้นเพื่อลดฝุ่น 4. การปั้นเม็ด โดยการใช้ปุ๋ยหมักผสมน้ำหมัก ชีวภาพแล้วจึงนำเข้าเครื่องอัด ข้อดีของการอัดเม็ด คือ ลดการเป็นฝุ่น ใช้งานได้ส ะดวก และเพิ่มมูลค่าทางการ ตลาด 5. การผึ่งให้แห้งและบรรจุ หลังจากปั้นเป็นเม็ด ได้ตามขนาดที่ต้องการแล้ว นำมาผึ่งให้แห้ง ใช้เวลา ประมาณ 4 ชั่วโมง ข้อดี คือ ทำให้สามารถเก็บปุ๋ยได้ นานขึ้น
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
47
48 หนองสาหร่าย
04 ศูนย์พยากรณ์ศัตรูพืช โหรหลวงแห่งหนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
หลังจากพูดคุยเรื่องการตั้งใจลดปริมาณสารเคมีของ ชุมชนได้อรรถรส พลางนึกขึ้นได้ว่าตัวการใหญ่ที่ทำให้ ชุมชนการเกษตรหลายๆ ทีต่ อ้ งประสบปญ ั หาสงิ่ แ วดล้อม คือ ปัญหาการใช้ย าฆา่ แ มลงและยาปราบศตั รูพ ชื จึงถ าม ผู้นำทางใจดีทั้งสองว่า ดูเรื่องปุ๋ยไปแล้ว ตอนนี้อยากดู บ้างว่าถ้าคนที่หนองสาหร่ายใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ใส่ใจ เรื่องสุขภาพ และเรื่องการพึ่งพาตนเองจริง แล้วในเรื่อง การจัดการแมลงหรือศัตรูพืช คนที่นี่จะมีการจัดการโดย ไม่ใช้สารเคมีอ ย่างไร คือถามจากใจจริงก็กลัวอยู่เหมือนกันที่ชุมชนที่ อุตส่าห์สร้างความรู้สึกดีๆ ในเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จะมาตกม้าตายในเรื่องใช้สารเคมีจัดการศัตรูพืช แล้วก็ไม่ทำให้ผิดหวัง พูดไปเหมือนรใู้จ เห็นป้าย ลิบๆ มาแต่ไกล ‘ศูนย์พยากรณ์ศัตรูพืช โหรหลวงแห่ง หนองสาหร่าย’ ตั้งเด่นเป็นสง่าร อต้อนรับแขกผู้มาเยือน ผู้จ้องมาคุ้ยแคะความจริงอ ย่างไม่ส ะทกสะท้าน พอเ ข้ า ไปถึ ง อ าคารที่ ท ำการจึ ง ท ำให้ ท ราบว่ า แท้จริงแล้วศูนย์พยากรณ์ศัตรูพืชเป็นศูนย์ที่อยู่ภายใต้ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลอีกต่อ หนึ่ง แต่ว่าการทำงานของคณะทำงานของศูนย์แห่งนี้ ไม่ได้แยกส่วนว่าใครจะดูแลส่วนไหน ใครจะเน้นเรื่อง เทคโนโลยี ใครจะเน้นเรื่องศัตรูพืช อันนี้ไม่ใช่ แต่ท ุกคน
49
50 หนองสาหร่าย
ต้องสามารถอธิบายและทำงาน ในส่วนของเรื่องการเกษตรได้ อย่างครบถ้วน ส่วนใครจะเก่ง กว่าใคร ชำนาญกว่าใคร ศูนย์นี้ ไม่ได้เน้นเรื่องที่ว่าเป็นหลัก อ า บุ ญ ศ รี ม ณี ว ง ษ์ ประธานศนู ย์ฯ ทีพ่ บทบี่ า้ นผใู้ หญ่ ประจักษ์มาแล้ว เดินมาทักทาย พร้อมกับบอกว่ากินน้ำกินท่าให้หายเหนื่อย ดูท่าเรานี้ สงสัยเรือ่ งศตั รูพ ชื ม ากเลยนะเห็นเมือ่ เช้าค ยุ ก บั เจ้าส นิ ช ยั เรื่องใช้หลอดนีออนล่อเพลี้ยเลยนี่ “ที่มาจริงๆ ของกลุ่มนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2531 ชุมชน มีปัญหาหนูนาแพร่ร ะบาด ต่างคนก็ใช้วิธีจัดการที่หลาก หลาย ไม่ว่าจะใช้ยาเบื่อบ้าง ใช้ไฟฟ้าบ้าง ใช้วิธีดักจับ บ้าง แต่ทำอย่างไรปัญหาก็ไม่หมดสักที อาศัยที่เราเป็น สมาชิกส ภาชมุ ชนกพ็ อรจู้ กั ค นอยูบ่ า้ ง เลยนดั ร วมกลุม่ ม า นัง่ ล อ้ มวงคยุ ก นั ว า่ จ ะเอายังไงดี ลองใช้ว ธิ นี ดั ห มายกำจัด หนูนาพร้อมกันทั้งตำบลดสู ักตั้งมั้ย เอาแบบทีเดียวหมด ไปเลย ซึ่งผลทอี่ อกมาก็เป็นที่พอใจของคนในชุมชน ที่นี้พอชาวบ้านเห็นว่าทำงานเป็นกลุ่มมันประสบ ความส ำเร็ จ กว่ า ท ำเ ดี่ ยวๆ จึ ง ไ ด้ มี ก ารร วมก ลุ่ ม ท ำ กิจกรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาอาชีพ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
อย่างต่อเนื่อง โดยยึดเรื่องของการพึ่งพาตนเองและใช้ ทรัพยากรของชุมชนให้ค ุ้มที่สุด” ฟังไป จิบน ำ้ เย็นไป แต่ก ย็ งั ไม่เห็นอ ยูด่ วี า่ จ ะมวี ธิ กี าร อ ะไรทจี่ ะถา่ ยทอดให้ค นในชมุ ชนไปใช้ในการจดั การศตั รู พืชได้เลย อาบุญศ รี ได้แต่ส่ายหน้า แล้วบ อกว่าใจเย็นๆ ยังไม่ถึงจุดไคลแมกซ์
เมื่อโหรใหญ่ถือกำเนิด “นับจากจุดนั้นเราก็ทำงานเรื่องพัฒนาอาชีพให้ คนในชมุ ชนเรือ่ ยมาตลอด จุดเปลีย่ นสำคัญท ที่ ำให้ก ลาย มาเป็นศูนย์พยากรณ์ศัตรูพืช คือช่วงปี 2552 เหมือน อย่างที่น้องรู้มาจากเมื่อเช้าว่าที่นี่ประสบปัญหาเพลี้ย กระโดดอย่างรนุ แรง ก็ใช้ฐ านจากกลุม่ เดิมเป็นท ตี่ งั้ จริงๆ ก็ต้องขอบคุณสำนักงานเกษตรและสำนักงานพัฒนา ชุมชนทสี่ นับสนุนเรือ่ งงบประมาณ และกเ็ รือ่ งองค์ค วามรู้ ในการจัดการศัตรูพืชต่างๆ และที่จะลืมกล่าวถึงไม่ได้ คือ พ่อเฉลา-แม่พัน มณีว งษ์ ผูใ้ หญ่ใจดีส องทา่ นทบี่ ริจาคทดี่ นิ ในการจดั ส ร้าง อาคารศูนย์เรียนรู้และพัฒนาอาชีพ ซึ่งทสี่ ำนักงานมีการ จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลและมีการให้ ความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่ในนั้น อย่างครบวงจร”
51
52 หนองสาหร่าย
ก็ได้แ ต่พ ลางคดิ ไปวา่ แ ล้วอ ย่างนกี้ ารทำงานจะเป็น อิสระหรือ รับเงิน รับทุน รับที่ คนอื่นมาใช้จัดตั้งศูนย์ อย่างนี้ แต่อ าบญ ุ ศ รีก ย็ งั ย นื ยันอ ยูด่ วี า่ เจ้าของทนุ เจ้าของที่ ไม่ได้เข้าม ายมุ่ ย่ามการทำงานของคนในกลุม่ มีแ ต่จ ะชว่ ย สนับสนุนด ้วยซ้ำไป ถ้าอย่างนั้นก็แล้วไป ไม่ใช่ชาวบ้านอุตส่าห์มีความ ตั้งใจดีแต่มาโดนเตะสกัดจากเจ้าของทุน ที่พูดอย่างนี้ เพราะว่าเห็นมานักต่อนักแล้วที่เมื่อเวลาชาวบ้านได้ทุน หน่วยงานภาครัฐจะมาพร้อมกับข้อกำหนดว่าต้องทำ อย่างโน้น ทำอย่างนี้ ต้องซื้อข องกับเจ้าโน้น ต้องว่าจ ้าง ผู้รับเหมาเจ้านี้
สารชีวภัณฑ์ สรรพาวุธในการสู้ศึก ถึงต อนไคลแมกซ์แ ล้ว เราจะได้ร กู้ นั เสียทีว า่ ช มุ ชนนี้ ใช้วิธีการใดในการทำนายทายทักการมาเยือนของเหล่า อริศัตรู (พืช) “การป้องกันศัตรูพืชของตำบลหนองสาหร่ายจะ ทำงานเป็นเครือข า่ ยทกุ ห มูบ่ า้ นโดยมตี วั แทนแปลงอาสา ที่จะมีอาสาสมัครทำการสำรวจตรวจนับว่าอะไรคือศัตรู พืช และมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่ต้องจัดการ ถ้า จำเป็นวิธีการอะไรที่ควรนำมาใช้ จากนั้นในช่วงประชุม ตำบลในแต่ละครั้งก็เอาผลมานั่งคุยกันว่าสถานการณ์
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
จะไปในทิศทางใด เราจะเตรียมอะไรไว้ให้เหมาะสมกับ ปัญหาในช่วงนั้นๆ” โชคดที มี่ คี วามรทู้ างการเกษตรอยูบ่ า้ งจงึ พ อรวู้ า่ ว ธิ ี ดังก ล่าวเป็นว ธิ กี ารของระบบ Integrated Pest Management (IPM) หรือแปลเป็นไทยได้ว่าการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสาน ทีนมี้ าถงึ อ าวุธห นักท ใี่ ช้ต อ่ กรกบั บ รรดาวายรา้ ย ไม่ ว่าจ ะเป็น เชือ้ ร าไตรโคเดอร์ม า เชือ้ ร าบวิ เวอเรีย และเชือ้ แบคทีเรียควบคุมห นอนและโรคพืช (บีท ีและบีเอส) ต่าง ถูกงัดมาใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในแต่ละช่วง “เรามปี ระสบการณ์จ ากเมือ่ 5-6 ปีท แี่ ล้ว ซึง่ ช มุ ชน ประสบปญ ั หาเพลีย้ ร ะบาด ปรากฏวา่ ม กี ารใช้ย าฆา่ แ มลง จำนวนมากทำให้เกิดส ารพิษต กค้าง สิ่งแ วดล้อมเป็นพ ิษ ทีส่ ำคัญต วั เราเองกจ็ ะไม่ร อดเอาเสียเองดว้ ย ทีน่ อ็ คคานา ก็มีอยู่พอสมควร แล้วเรื่องของเรื่องมันไม่ได้น็อคเฉพาะ
53
54 หนองสาหร่าย
คนที่ใช้เสียด้วย คนในหมู่บ้านที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรเลย กับยาฆ่าเพลี้ยก็พลอยได้รับหางเลขไปด้วย เราถือว่า ครั้งนั้นเป็นบทเรียนสอนใจเลยว่า สารเคมีนี่ไปล้อเล่น กับมันไม่ได้เลย” ได้ยนิ เรือ่ งราวแล้วข นหวั ล กุ เลย ไม่น า่ เชือ่ ว า่ การทำ เกษตรกรรมของชาวนาไทย ช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมาใน ยุคแ ห่งก ารพฒ ั นาประเทศนชี่ า่ งนา่ ก ลัวจ ริงๆ ทำนาทีน กึ ว่าไปรบ ไหนจะตอ้ งเจอทงั้ ย า เจอทงั้ ภ ยั พ บิ ตั ิ เจอทงั้ ก าร กดราคาจากพอ่ ค้า ใครทตี่ าสว่างแล้วก ร็ อดไป ส่วนใครที่ ยังห ลงมวั เมาอยูใ่ นวงั วนของการผลิตเพือ่ ข ายอย่างเข้มข น้ ก็ไม่รู้ว่าวันไหนจะเจอแจ๊คพ็อตเข้าก ับตัวเอง ยั ง ไ ม่ ไ ด้ เ ล่ า ผ ลพลอยได้ อี ก อ ย่ า งข องก ารใ ช้ กระบวนการ IPM คือการใช้กระบวนการตรวจนับยัง ทำให้ทราบว่านอกจากแมลงที่เป็นศัตรูแล้วก็ยังมีแมลง ทีเ่ป็นเพื่อนของชาวนาด้วย เช่น แมลงปอ แมงมุมชนิด ต่างๆ ที่คอยมากินพวกแมลงศัตรูพืช ซึ่งใครสามารถใช้ ประโยชน์จากองค์ความรู้นี้ได้ ก็จะถือเป็นการลดการใช้ สารเคมีด้วยไปอีกทางหนึ่ง
กรอกบิวเวอเรีย ลงขวด กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ยามเย็น คุยกับอาบุญศรีจนถึงยามแดดร่มลมตก เอ๊ะ จะมี การประชุมกลุ่มฯวันนี้ด้วยหรือ ถ้าอย่างนั้นขอตัวกลับ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เลยดกี ว่า แต่ด ไู ปดมู าทำไมสมาชิกก ลุม่ พ ยากรณ์ศ ตั รูพ ชื มีแต่เด็กวัยรุ่นท ั้งนั้น ปรากฏว่าหน้าแ ตกเข้าใจผิดอย่างแรง ไม่มปี ระชุม หรือน ดั ค ยุ อ ะไรเป็นพ เิ ศษทงั้ ส นิ้ ในยามเย็นท เี่ ด็กในเมือง บางคนยงั ค งเทีย่ วเตร่ต ามหา้ งสรรพสนิ ค้า ลูกห ลานบา้ น หนองสาหร่ายเลือกทจี่ ะใช้เวลารว่ มกนั ก บั ค รอบครัว บ้าง ก็เตรียมสารชีวภัณฑ์ต่างๆ บ้างก็กรอกสารที่ผลิตสำเร็จ ลงขวดเพื่อส ะดวกในการใช้ “ผมว่ า กิ จ กรรมนี้ เ หมื อ นใ ห้ เ ด็ ก ไ ด้ เ รี ย นวิ ช า วิทยาศาสตร์ไปในตัว เพราะเด็กจะต้องรู้ว่าเชื้อตัวนั้น ตัวน มี้ คี ณ ุ สมบัตอิ ย่างไร มีว ธิ กี ารเพาะพนั ธุอ์ ย่างไร ยิงป นื นัดเดียวได้น กหลายตวั ทัง้ ก ระชับค วามสมั พันธ์ข องคนใน ครอบครัว ทัง้ ป ลูกฝ งั ค า่ น ยิ มการไม่ใช้ส ารเคมี ทัง้ ป ลูกฝ งั แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทั้งให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ ถ้าเป็นมวยก็เรียกว่าค รบเครื่องเลยทีเดียว” แน่ น อนว่ า ทุ กอ ย่ า งต้ อ งมี ด ำ มีข าว เมื่ อ มี ค น ชื่นชอบก็ต้องมีคนที่ไม่เห็นด้วยเป็นธรรมดาของโลก “การที่จะโน้มน้าวคนที่ไม่เห็นด้วยต้องพยายาม แสดงให้เห็น ผลดี ผลเสีย เปรียบเทียบกัน อย่างเป็น รูปธรรมโดยเฉพาะเรื่องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการ ทำปุ๋ยใช้เอง ทำพวกเชื้อรา บีท แี ละบีเอสใช้เอง ซึ่งตอน นีก้ ไ็ ด้ร บั ก ารยอมรับแ ละเข้าใจจากชมุ ชนมากขนึ้ อย่างไร
55
56 หนองสาหร่าย
ก็ดีกลุ่มเราไม่มีการต่อต้านบริษัทขายยากำจัดศัตรูพืช ใครจะใช้อะไรเราปล่อยให้ชุมชนตัดสินใจเอง”
วิธีการป้องกัน กำจัดศ ัตรูพืชแบบผสมผสาน 1.เริ่มต้นต ั้งแต่การเตรยี มดิน การเลือกพันธุ์ การ กำหนดระยะการปลูก การให้น ้ำ การให้ปุ๋ยทเี่หมาะสม 2.การติ ด ตามส ถานการณ์ ศั ต รู พื ช แ ละศั ต รู
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ธรรมชาติ โดยสำรวจแปลงปลูกพืชเป็นประจำ พร้อม บันทึกข้อมูล 3.วิเคราะห์ข้อมูลศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติ (ตัวห้ำ ตัวเบียน) ที่ได้จากการสำรวจแปลงปลูกพืช 4.ตัดสินใจว่าจะทำการกำจัดศัตรูพืชหรือไม่ ถ้า จำเป็นต้องทำการกำจัด จะเลือกวิธีใด คุ้มค่ากับการ ลงทุนและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
57
58 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
05 กลุ่มแกล้งจนคนหนองสาหร่าย
กำลังจ ะกลับท พี่ กั อาบญ ุ ศ รีช วนกนิ ข า้ วเย็นต อ่ พ ร้อมกบั บอกวา่ อ ย่างเพิง่ ก ลับย งั ม ขี องดีอ กี อ ย่างของกลุม่ ท อี่ ยาก อวด เราก็ไม่อยากให้เสียน้ำใจ แถมอาแกมีเรื่องราวดีๆ เล่าให้ฟังอ ีก ก็เลยถือโอกาสฝากท้องกับอาหารพื้นบ้าน ของคนสพุ รรณฯเสียเลย “ที่เคยเล่าให้ฟังว่าชุนชนเราเอาทฤษฎีมาปรับเข้า กับชุมชน ไม่ได้เอาชุมชนปรับเข้ากับทฤษฎีน่ะ เมื่อเช้า ไม่มเี วลาเล่าเรือ่ งการจดั การออมทรัพย์ข องกลุม่ เราให้ฟ งั อย่างนี้นะ กลุ่มของเรามีชื่อว่ากลุ่มแกล้งจน อันนี้ไม่ได้ หมายความว่ามีเงินแล้วแกล้งจน วิธีคิดคือเอาทฤษฎี แกล้งด นิ ข องพระองค์ท า่ นมาจบั คือ พระองค์ท า่ นตรัสไว้ ว่าดินพรุมันเป็นดินไม่ดี ไม่ส ามารถปลูกพืชได้ พระองค์ ท่านแกล้งด้วยการเอาน้ำเข้า เอาน้ำออก เอาปูนใส่ จน ในที่สุดก็กลายเป็นดินดไีด้ ก็มาคิดว่าพวกเราจนเพราะอะไร จนเพราะเรื่อง เงินใช่ม ยั้ ถ้าอ ย่างนนั้ ล องเอาเงินเข้า เงินอ อกตามทฤษฎี ของพระองค์ท่านดู คือเอาเงินเข้าให้เป็นทุนแล้วก็แปลง
59
60 หนองสาหร่าย
ออกไปให้เกิดป ระโยชน์แ ก่ช มุ ชน ในทสี่ ดุ เงินก จ็ ะเริม่ เป็น ประโยชน์ ครั้งแรกกลุ่มเรามีเงินอยู่เพียงแค่ 1,200 บาท เอง ลงทุนคนละ 30 บาท พอใครไม่มที ุนก็เข้ามาเอาเงิน จากตรงนี้ไปใช้ จากการเก็บเล็กผสมน้อย ภายในเวลา 5 ปี กลุ่มเรามเีงินเกือบล้าน” จะไม่เชื่อก็ไม่ได้เพราะที่กระดานแสดงเงินฝาก เงินกู้ ของกลุ่มเขียนไว้อย่างชัดเจน แต่มีเรื่องที่สงสัยอยู่ เรื่องหนึ่ง เพราะว่าเหมือนคลับคล้ายคลับคลาว่า ตอนที่ อาแกเล่าเหมือนจะได้ยินว่าในช่วงทำกลุ่มออมทรัพย์ มีเจ้าห น้าที่ ธกส. เข้าม าเสนอทนุ ท จี่ ะจดั ต งั้ ธ นาคารชมุ ชน แต่ชุมชนเลือกที่จะตอบปฏิเสธเงินก้อนนั้นไป มีคนเขามาเสนอเงินให้แท้ๆ แต่ไม่มีใครเอา ก็ แปลกอยู่ไม่น้อย “ถ้าไปเอาเงินเขามานน่ั แ ปลวา่ เรากต็ อ้ งเอาเครือ่ งมอื เขา เอากฎระเบียบของเขามาใช้ด้วย แถมดอกผลต่างๆ ก็ต้องส่งกลับให้ ธกส. ชุมชนก็เลยคิดว่าทำเท่าที่ทำได้ และใช้เงินข องชมุ ชนเองเพือ่ ท ผี่ ลตอบแทนจะไม่ไหลออก นอกชุมชนน่าจะเหมาะกว่า อีกอย่างคนในชุมชนจะได้ มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของซึ่งชุมชนสามารถออกแบบ กฎ-กติกาทเี่น้นค วามเอือ้ อ าทรได้ตามทตี่ ้องการได้ เวลา ใครมากเู้ ราจะปล่อยให้เขาเป็นค นวางแผนการใช้เงิน และ การคนื เงินด ว้ ยตนเองวา่ ค ณ ุ จ ะนำเงินม าคนื ก ลุม่ อ ย่างไร
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ต้องให้เขาคิดว่าตอนนี้มีเพื่อนที่รอคุณอยู่ เมื่อเพื่อนช่วย คุณแล้วคุณจะช่วยเพื่อนอย่างไร แต่ว ่าภ ายใน 10 เดือน ก็ต้องส่งคืนให้ห มด” นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจที่ชุมชนอื่น จะนำไปปรับใช้ตาม โดยเฉพาะในแง่การบริหารจัดการ ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มทุนและไม่รั่วไหลออกนอก ชุมชน ปัจจัยอ กี ห นึง่ อ ย่างทที่ ำให้ก ารทำงานของอาบญ ุ ศ รี ประสบความสำเร็จแ ม้จ ะถูกต่อต ้านจากคนในชุมชน คือ คุณอ าจจะยดึ ห ลักเดียวกบั พ ระนเรศวร ถ้าร ะเบิดจ ากใน ชุมชนไม่ได้ เราต้องใช้หลักตีล้อมจากภายนอก ต้องไป สร้างเครือข า่ ย สร้างเพือ่ น หาแรงกำลังใจจากนอกชมุ ชน แล้วตีกลับมาสร้างความเข้าใจแก่ช ุมชน ก่อนจะกลับคุณอายังทิ้งท้ายเท่ให้ฟังอีกว่า “สิง่ ท จี่ ะฝากถงึ ช มุ ช นอนื่ ๆ ทีอ่ ยากจะพงึ่ พาตนเอง ได้ ชุมชนตอ้ งอย่าไปวงิ่ ต ามเงิน เหมือนอย่าไปวงิ่ ต ามเงา ยิง่ ต ามกไ็ ม่เจอ หลักเศรษฐกิจพ อเพียงถา้ เราจบั ท ฤษฎีได้ คนรวยคนจนใช้ได้ห มด”
61
62 หนองสาหร่าย
06 การจัดการขยะในครัวเรือน การจัดการเพื่อสุขภาพ หลังจ ากนอนพกั ม าหนึง่ ค นื ในใจเฝ้าค ดิ ต ลอดเวลา นาย แพทย์กับการจัดการขยะมันจะเข้ากันตรงไหน ไม่ใครก็ ใครคงเบลอๆ แน่ท ี่จับคู่การทำงานที่ผิดฝั่ง ผิดฝ าเช่นนี้ เช้าวันรุ่งขึ้นวันนี้พี่ปลัดฉายเดี่ยว บอกว่านายกฯ มีประชุมในจังหวัดอาจจะตามมาสมทบตอนเที่ยงๆ เรา นัง่ ร ถลดั เลาะไปตามคลองชลประทานมะขามเฒ่า-อูท่ อง ข้ามไปทางฝั่งตะวันตกของตำบลเพื่อไปที่โรงพยาบาล
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ส่งเสริมสุขภ าพชุมชนบ้านห้วยม้าลอย ระหว่างทางพปี่ ลัดก็เล่าให้ฟ งั ไปเรือ่ ยวา่ ฝ งั่ ท เี่ ราจะ ไปถือว่าเป็นฝั่งที่แห้งแล้งกันดารไม่มีระบบชลประทาน ชุมชนทำนาได้แค่ปีละครั้ง ที่เหลือจึงต้องทำอาชีพเสริม ตามฤดูกาล ถ้าจะเทียบแล้วคนฝั่งนี้เศรษฐกิจสู้ฝั่งต ะวัน ออกไม่ได้ ขณะตำบลเดียวกันยังมีความเหลื่อมล้ำเลย แล้ว นับป ระสาอะไรกบั ในระดับป ระเทศ คิดแ ล้วก ต็ อ้ งยอมรับ ความจริงอันแ สนโหดร้าย รอยยิ้มอันแ สนจะมีไมตรีจิตของชายหนุ่มร่างอวบ คุ ณ หมอสมนึ ก พลเสน ถื อ เป็ น เครื่ อ งชู ก ำลั ง ชั้ น ดี หลังจากเดินทางฝ่าคลื่นความร้อนของฝั่งตะวันตกมา ระยะหนึ่ง
ไข้เลือดออกกับการจัดการขยะ คู่หูที่มาเจอกันโดยบังเอิญ ที่ บ อกว่ า ผิ ด ฝ า ผิ ด ฝั่ ง ตัง้ แต่แ รก คงเป็นเพราะตวั เราเอง มากกว่ า ที่ ม องอ ะไรแ ยกส่ ว น แบบค นที่ ยึ ด ติ ด กั บ รู ป แ บบ การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยท่ี สอนให้ค นรนุ่ ใหม่ค ดิ อ ะไรเป็นส ว่ นๆ
63
64 หนองสาหร่าย
ไม่ม องวา่ ส งั คมแต่ละสว่ น ปัญหาแต่ละอย่างลว้ นแล้วแ ต่ เลี้ยวลดเกี่ยวข้องกันไม่ท างใดก็ทางหนึ่ง อย่างเรื่องการบริการด้านสุขภาพกับการจัดการ ขยะ คนที่เรียนอย่างแยกส่วนคณะใครคณะมันอย่าง ผู้เขียนก็ได้แต่นึกว่า คนของแต่ละสาขาไม่มีทางที่จะเข้า มาจัดระบบบริหารจัดการให้ทั้งสองอย่างทำงานได้ตาม กลไกที่มีประสิทธิภาพเท่าที่คนสาขานั้นๆ จะจัดการ เอง “มันเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญนะ แรกๆ หมอตั้งใจ ว่าที่เข้าไปจัดการขยะก็เพื่อแค่ต้องการกำจัดแหล่งเพาะ พันธุ์ยุงลาย ตั้งแต่ที่ย้ายมาทำงานที่นี่ คนหมู่ 4 บ้าน ห้วยมา้ ล อยมปี ญ ั หาเป็นโรคไข้เลือดออกกนั ม าก รณรงค์ ป้องกันอย่างไรก็ไม่ได้ผล เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่ ยังคิดว่าเป็นห น้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และ ผู้นำชุมชน หมอจึงคิดแก้ปัญหานี้ด้วยการให้ชาวบ้านมีส่วน ร่วมในการดูแลและป้องกันตนเอง โดยการจัดการขยะ อันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี ซึ่งขอบอกเลยว่า แรกๆ ชาวบา้ นให้ค วามรว่ มมอื ในการมาประชุมน อ้ ยมาก ตอนนั้นก็ท้อแต่เรารู้สึกว่าเพื่อชาวบ้านจะถอยไม่ได้” บทเรียนครั้งนั้นทำให้หมอหนุ่มกลับมาทบทวน ความผิดพลาดว่าตนเองผิดพลาดตรงไหน เราตั้งใจทำ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เพื่อชุมชนแท้ๆ แต่ทำไมชาวบ้านถึงไม่เห็นค่า ทำไม ชาวบ้านถึงไม่ให้ความร่วมมือ เหมือนเส้นผมบงั ภ เู ขา นัง่ ข บคิดแ ล้วข บคิดอ กี ก็ย งั ไม่เข้าใจสกั ท ี ภารโรงของโรงพยาบาลคงอดรนทนไม่ไหว เดินมาบอกคุณหมอหนุ่มว่า “โอ๊ย หมอ ใครเขาจะมา ประชุมด้วย เวลากลางวันชาวบ้านชาวช่องเขาก็ต้อง ทำมาหากิน ลองให้ชุมชนเขาจัดสรรเวลากันเองมั้ย เผื่อ อะไรจะดีขึ้น”
รื้อฟื้นคุ้มทั้ง 8 กระบวนการทางสังคมแต่ดั้งเดิม หลังจากถึงบางอ้อ เมื่อรู้ปัญหาก็ต้องหาทาง แก้ไข หมอสมนึกได้ทำการศึกษาบริบทในพื้นที่หมู่ที่ 4 ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร จนพบว่าแต่เดิมการจัดการ บริหารชุมชนจะมีระบบคุ้มซึ่งแต่ละคุ้มมีคณะกรรมการ การทำงานของเขาอยู่แล้ว เพียงแต่หลังๆ พอมีการจัด ระเบียบการปกครองทอ้ งถนิ่ ข นึ้ ม าใหม่ค วามตอ่ เนือ่ งของ ระบบคุ้มจ ึงลดน้อยลง “พอทราบว่ามีระบบที่ว่าอยู่ หมอจึงได้ไปค้นหา รายชื่อคุ้ม สำรวจรายชื่อคณะกรรมการประจำแต่ละคุ้ม แล้วเรียกประชุมให้แต่ละคุ้มทราบ เราก็ชี้แจงถึงความ จำเป็นต่างๆ ที่ชุมชนต้องจัดการขยะ ซึ่งกว่าจะทำให้ แต่ละส่วนเห็นด้วยก็เล่นเอาเหนื่อยทีเดียว
65
66 หนองสาหร่าย
ในช่วงที่พูดคุยเราก็ต้องปรับการทำงานให้เข้ากับ ชุมชน เรื่องที่จะทำงานตามเวลาราชการ สีโ่มงเย็นกลับ บ้านนี่เลิกพูดไปได้เลย เพราะว่าช าวบ้านมีข้อจำกัดทาง ด้านเวลา แต่ละคุ้มจะมีเวลาที่หมอจะลงไปแตกต่างกัน ออกไป เพราะวา่ การประกอบอาชีพข องชาวบา้ นในแต่ละ คุ้มก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมู่บ้าน ที่สำคัญเวลาออกไปประชุมที่คุ้มเราจะทำงานใน ลักษณะพดู ค ยุ ม ากกว่า เพราะบรรยากาศการพดู ค ยุ ท คี่ มุ้ จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและชาวบ้านกล้าที่จะ เสนอความคิดเห็น มากกว่าเวลาที่จัดป ระชุมท ี่อนามัย” ฟังที่หมอเล่าแล้วเห็นภาพเลย เวลาทตี่ ้องกระเตง เอกสารไปคุ้มนั้นทีคุ้มนี้ทีจนกว่าจะครบทั้ง 8 คุ้ม นี่ ถ้าไม่เสียสละจริงๆ คงทำไม่ได้ เพราะจะว่าเป็นหน้าที่ โดยตรงก็ไม่ใช่
มาตรการทางสังคม แนวทางที่จำเป็นต้องใช้ “แรกๆ หลังจากที่มีการตกลงเรื่องรูปแบบการ ทำงานกับชาวบ้าน เราตกลงกันว่าจะเริ่มจากขยะที่อยู่ ในบ้านใครบ้านมันก่อน แค่นี้ก็เหนื่อยแล้วเพราะว่ามัน จะมีที่บางบ้านทำ บางบ้านไม่ทำซึ่งถ้าไม่ทำทุกบ้าน การระบาดของโรคไข้เลือดออกก็ยังเท่าเดิม ก็ต้องทำให้ เข้าใจ อธิบายเขาว่าเศษขยะภายในบ้านหรือนอกบ้านนี่
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดีนะ ถ้าไม่ทำลายปล่อย ไว้วันหนึ่งลูกเมียพี่ อาจจะโชคร้ายเป็นผู้ป่วยโรคไข้เลือด ออกเสียเอง” เหมอื น ๆ กับส งั คมหลายๆ สังคม เมือ่ ม คี นหมูม่ าก ป ญ ั หากจ็ ะมากตาม ปรากฏวา่ การรณรงค์เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ชาวบ้านมาเข้าร่วมโครงการ หมอหนุม่ แ ละทมี ง านจงึ ได้เสนอเรือ่ งการจดั ต งั้ ‘มาตรการ ทางสังคมขึ้นมา’ เพื่อเป็นตัวบังคับให้ทุกบ้านได้ตื่นตัว ในการปฏิบัติ “หลังจากทำงานไปพักหนึ่ง ผมและทีมงานเห็น ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เข้าไปพูดคุยกับกรรมการคุ้มแต่ละ คุ้มจนสรุปไปว่าจะสร้างกฎ กติกาทางสังคม มีการร่วม กันจัดตั้งมาตรการทางสังคมที่มีการเก็บค่าปรับ และให้
67
68 หนองสาหร่าย
เงินรางวัลตามความเหมาะสม โดยจะกำหนดลักษณะการทำงานไว้ว่าจะกำจัด ขยะและทำความสะอาดบ้านเรือนทุกวันศุกร์ แล้วเราจะ ให้ อสม. ออกสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันที่ 20 ของเดือน หากพบลกู น้ำย งุ ล ายจะมคี า่ ป รับด งั นี้ บ้านชาวบา้ นทวั่ ไป หลังคาเรือนละ 10 บาทต่อครั้ง บ้านผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ผูใ้ หญ่บ า้ น สมาชิก อบต. ประธานคมุ้ อสม. สถานีอ นามัย โรงเรียนนี่แพงหน่อยแห่งล ะ 100 บาทต่อครั้ง เพราะว่า เป็นค นที่มีหน้าท ี่รณรงค์แต่กลับไม่ใส่ใจเสียเอง ส่วนเงิน ที่ได้จะนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป” ถึงตอนนี้ถามพี่หมอไปว่า ถ้าบ้านไหนไม่ทำตาม มติของชุมชนแล้วเขาจะยอมให้ปรับแ ต่โดยดหี รือ “เรื่องนี้ผู้ใหญ่ในคุ้มเขาเอาอยู่ เราไม่ต้องกลัว” โอเคครับ ฟังเท่านี้ก็หายสงสัยในทันที
ทอดผ้าป่าขยะ งานบุญเพื่อสาธารณประโยชน์ อย่างไรก็ดีการทำงานในช่วงแรกๆ นั้นชาวบ้านมี การกำจัดขยะโดยการทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่มกี าร คัดแยกขยะใดๆ ทั้งสิ้น คุณห มอสมนึกจึงเสนอว่าไหนๆ จะทำแล้วก็น่าจะทำให้เกิดประโยชน์ในแง่การหารายได้ ให้แก่ชุมชนด้วยอีกท างหนึ่ง “เห็นชาวบ้านทิ้งขยะกันแบบไม่มีการจัดการก็
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เสียดาย แทนที่เขาจะมีรายได้เพิ่มจากงานที่อุตส่าห์ ลงแรงไป ทีมงานของเราจึงส่ง อสม. ไปให้คำแนะนำ ชาวบ้านเรื่องการ ‘คัดแยกขยะ’ มี 5 ประเภท ได้แก่ 1 ขยะเปียก 2 ขยะแห้ง 3 ขยะอนั ตราย 4 ขยะทสี่ ามารถ เพิ่มมูลค่าได้ และ 5 ขยะที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ เพื่อ ชาวบา้ นรจู้ กั ก ารคดั แ ยกขยะเพือ่ ส ะดวกตอ่ ก ารทงิ้ การนำ ไปขาย ส่วนที่มาของการทอดผ้าป่าขยะมาจากสมัยก่อน เวลาชุมชนจะทำอะไรทีก็ต้องเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านที หนึ่ง ทีนี้ อบต.เตียง ชมชื่น เห็นว่าแทนที่ชาวบ้านจะ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างไปขายซึ่งมันจะได้ค่าขยะไม่ คุ้มค่าขนส่ง แถมเงินที่ได้ก็ยังไม่เกิดประโยช์แก่ชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม แกเลยเสนอว่าถ้างั้นเรามาทำผ้าป่า ขยะกันดีกว่า ชุมชนจะได้มีเงินทุนในการนำไปพัฒนา สาธารณประโยชน์ด้านต่างๆ” จะว่าไปแนวทางดังกล่าวก็น่าสนใจไม่น้อย ชาว บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน วิธีการเท่าที่ฟัง จากพี่หมอก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแค่ชาวบ้านนำขยะที่คัด แยกไว้แล้วมารวมกันที่วัด เสร็จแล้วก็ขายเพื่อนำเงินมา รวมกันเพื่อไปใช้ในเรื่องที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือ คนในหมู่บ้านลงความเห็นกันว่าเหมาะสม เห็นมั้ยครับ ไม่เห็นจะยงุ่ ยากอะไรเลย ใครๆ ก็นา่ จะทำได้ถา้ ตง้ั ใจจริง
69
70 หนองสาหร่าย
07 นวัตกรรมชุมชนกลุ่มขนมไทย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
นัง่ ร ถตะลอนไป ตะลอนมา เกือบจะ 2 วัน ไม่เห็นพ ปี่ ลัด จะพาไปชิมของเด็ดเมืองหนองสาหร่าย อดรนทนไม่ไหว เลยเอ่ยป ากออกมาเองกอ่ น “พีป่ ลัด พีพ่ าผมไปทโี่ น่นท นี่ ี่ ไปดแู ต่เรือ่ งหนักๆ สาระเยอะ ไม่เห็นพ าไปกนิ ข นมอะไร บ้างเลย ไม่ได้แล้ว ขออะไรที่เบาๆ หัวบ ้างนะพี่” ได้ฟ ังดังนั้น พี่แกจึงร้องบอกว่า “ไม่ต้องห่วงพี่คิด ไว้แ ล้วว า่ เดีย๋ วนอ้ งตอ้ งอยากชมิ ข องเด็ดข องทนี่ บี่ า้ ง พีโ่ ทร ไปบอกคนทกี่ ลุม่ ข นมไทยไว้แ ล้ว อีก 15 นาทีไม่เกินก ว่าน ี้ เราก็น่าจะไปถึง” “ ป้าส มบูรณ์ น้องทจี่ ะมาดกู ลุม่ ข นมไทยมาถงึ แ ล้ว ขนมที่สั่งไว้ป้าทำเสร็จหรือยัง” ยังไม่ทันได้พูดคุยทำความรู้จักอะไรเลย พี่ปลัด แกเ ล่ น ทั ก ป้ า แ บบนั้ น ท ำเอาเ ราดู เ ป็ น ค นเ ห็ น แ ก่ กิ น ไปถนัดตาเลยทีเดียว ป้าสมบูรณ์ สวัสดี เดินยิ้มแฉ่งออกมาพร้อมกับ ทองหยอดสีทองนวลดูน่ากินเป็นอย่างยิ่ง เพียงเท่าน ี้เรา ก็รู้แล้วว่ามาถูกที่ กลุ่มขนมไทย หมูท่ ี่ 8 บ้านกรวด ได้ร ับการจัดตั้ง ขึ้นเมื่อป ระมาณ ปี 2533-2535 โดยมีป้าส มบูรณ์ คนดี ที่ยืนอยู่เบื้องหน้าเป็นผู้ริเริ่มจัดต ั้งขึ้นมา ไหนลองดูหน่อยซิ ทำขนมเก่งแล้วจะเล่าเรื่องเก่ง ด้วยหรือเปล่า ผูเ้ ขียนเลยทำตมี นึ ช มิ ข นมเพียงอย่างเดียว
71
72 หนองสาหร่าย
ไม่ถามอะไรเลยสักอย่าง จนป้าแ กคงคิดว่าไอ้นี่มันใช่คน ทีจ่ ะมาทำสารคดีจ ริงหรือเปล่า หรือว่าแ ค่คนที่มาหลอก หาของกินฟรีกลางทาง “จุดเริ่มต้นเกิดจากที่ตัวเองเป็นคนชอบทำกับข้าว ทำขนมหวาน สมัยเด็กๆ เวลาไปงานวัด งานบุญต่างๆ นีอ่ ยูน่ งิ่ ไม่ได้เลย ใจมนั ค อยแต่จ ะไปวนุ่ วายชว่ ยทำนนู่ ทำ นี่ ช่วงนั้นผู้ใหญ่ก็ให้แค่ช่วยขูดมะพร้าวบ้าง ช่วยเตรียม เครื่องบ้าง พอโตเป็นสาวขึ้นมาหน่อยมีโอกาสไป เยี่ยมญาติที่ราชบุรี ไปเห็นที่บ้านเขาทำ ขนมขาย เรานี่ตาลุกวาวเลย ไม่ใช่ ว่าอยากจะไปทำ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ขายอะไรหรอกนะ เพียงแต่ใจมนั ช อบทางดา้ นนี้ ตอนนนั้ อาศัยครูพักลักจ ำเอา ฝึกไป ฝึกไป จนชำนาญก็เริ่มต้น เอาออกไปขายที่ตลาดในอำเภอ ยิง่ ช ว่ งประมาณเดือนกมุ ภาพันธ์ มีนาคม เมษายน งานบวช งานบุญจะชุกมาก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สมาชิกใน กลุ่มเข้ามาทำงานพร้อมเพรียงกันมากที่สุด บางครั้งหัก ค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้ถ ึงวันละ 3-4 พันบาท” เมื่อเห็นอีก ฝ่ายเงียบ แกจึงตัดรำคาญเล่าเอง เสียเลย
ใครๆ ก็เรียนได้ถ้าตั้งใจจริง มีอ กี เรือ่ งทเี่ ราอดชนื่ ชมปา้ ส มบูรณ์ไม่ได้ คือแ กเล่า ให้ฟ งั ว า่ ป กติแ ล้วค นทำขนมไทยมกั จ ะหวงสตู ร เปรียบได้ กับจ งอางหวงไข่เลยทเี ดียว ถ้าไม่ใช่ล กู ใช่ห ลานอย่าไปคดิ เชียวว่าจะได้สูตรมา อย่างตอนที่ป้าไปเรียนที่ราชบุรีถ้า ไม่ใช่ล ูกหลานป้าแกบอกว่าค นที่นั่นก็คงไม่สอนให้ “ขนาดเป็นลูกเป็นหลาน ญาติทรี่ าชบุรียังห วงวิชา เลย ไม่รู้กลัวเราจะไปทำขายแข่งหรือเปล่า ยิ่งตอนที่ สหกรณ์อ อมทรัพย์ด อนเจดียส์ ง่ ไปฝกึ อ บรมเพิม่ ท โี่ รงแรม อัมรินทร์ จังหวัดตรัง ด้วยแล้ว ไม่รคู้ นสอนกั๊กวิชาหรือ เปล่า เหมือนสอนครึ่งๆ กลางๆ กลับมาเราจึงตั้งใจว่า เราโชคดีมีทั้งโอกาสและมี
73
74 หนองสาหร่าย
ทั้งคนสนับสนุน ดังนั้นต้องไม่เป็นคนหวงวิชา มีเท่าไหร่ ใครเรียนได้จะสอนเต็มที่ไม่มีหมกเม็ด เพราะใจจริงก็ อยากจะอนุรกั ษ์ให้ค นรนุ่ ต อ่ ไปได้ร วู้ า่ ข นมไทยเรามอี ะไร บ้าง มีวิธีการทำอย่างไร ตอนนี้ป้าจะคิดถึงเรื่องความสุข ทางจิตใจมากกว่า” สืบทราบมาอีกอย่างว่า นอกจากทำนา ทำขนม ขายแล้ว ตอนนปี้ ้าสมบูรณ์ได้รับการแต่งตั้งอย่างไม่เป็น ทางการให้เป็นหัวหน้าวิชาคหกรรม แห่งโรงเรียนวัด บ้านกรวด เท็จจริงประการใดให้เจ้าตัวเล่าให้ฟังน่าจะ ดีกว่า “บทบาทอีกอย่างที่ป้าได้รับจากชุมชน คือ เรามี ส่วนร่วมในการเรียนการสอนในวิชาคหกรรมของคนใน ชุมชน ซึง่ ใช้พ นื้ ทีโ่ รงเรียนบา้ นกรวดเป็นส ถานทที่ จี่ ดั ให้ม ี การเรียนรู้สำหรับนักเรียน และผู้สนใจ ซึ่งในทุกข ั้นตอน จะไม่มกี ารคดิ ค า่ ใช้จ า่ ยใดๆ ทัง้ ส นิ้ หากจะมบี า้ งกค็ งเป็น ในส่วนของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทำขนม” ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คุณป้าที่ปกติเป็นชาวนา ชาวไร่ ธรรมดาๆ จะมจี ติ สำนึกท อี่ าจจะเรียกวา่ ม ากกว่าค นเมือง หลายๆ คนเสียอีก ในขณะที่คุณป้าต้องการสืบทอด ภูมิปัญญาแก่ลูกแก่หลานโดยไม่คิดมูลค่า คนบางคนที่ มีหน้ามีตาในสังคมกลับใช้ภูมิปัญญาของไทยมาหากิน กันอย่างไม่คำนึงถึงจิตสาธารณะ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ยังไงก็ลูกชาวนา จะทิ้งนา ทิ้งไร่ เป็นอันไม่มีแน่ ถามต่อไปว่าป ้าไม่เสียดายโอกาสบ้างหรือ เพราะ เท่าที่ฟังไม่ว่าจะทำขนมขายหรือเปิดโรงเรียนสอนการ ทำขนมไทยรายได้น่าจะมากกว่าการทำนาซึ่งเป็นอาชีพ หลัก “นานเี่ ลิกท ำไม่ได้เลย ห้ามเชียว นาเหล่าน เี้ ป็นส งิ่ ท ี่ พ่อเรา แม่เรา บรรพบุรษุ ข องเราตรากตรำบกุ เบิกม าถงึ ร นุ่ เรา แล้วจะให้เลิกก็เหมือนเป็นคนอกตัญญู ส่วนทำขนม ขายเราถือว่าเป็นอาชีพเสริมพอกิน พอใช้จ่าย ถ้าชาวนาทุกคนคิดได้อย่างป้าสมบูรณ์ก็คงจะดี ปัญหาเรือ่ งชาวนาขายทดี่ นิ ท ำกนิ เพือ่ ต ามกระแสบริโภคนิยมก็คงจะมีไม่มากเหมือนดั่งเช่นในปัจจุบัน ก็คงได้ แต่บ่นดังๆ ชีวิตใครชีวิตมัน ทุกคนต่างต้องยอมรับ ผลกรรมในสง่ิ ท ต่ี นเองกระทำ และกค็ งตอ้ งดำรงชวี ติ ต อ่ ไป ท่ามกลางโลกที่โหดร้าย
75
76 หนองสาหร่าย
08 ศิลปะพื้นบ้านเพลงอีแซว
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
กินขนมไปแล้ว จะให้ครบเครื่องมันต้องมีดนตรีให้ฟัง เสียหน่อย เอ้า พี่ปลัดขอความบันเทิงให้น้องหน่อย มาสุพรรณฯเมืองครูเพลงอีแซวทั้งทีถ้าพลาดไปคง เหมือนมาไม่ถึงสุพรรณฯแน่ “อยากไปดกู ลุม่ เพลงพนื้ บ า้ นกอ่ นกไ็ ด้ จริงๆ แล้ว พี่อยากพาไปที่ศูนย์คนดีศรีสุพรรณก่อน เพราะกลุ่มนี้ แสดงตวั ต นของคนสพุ รรณฯได้ช ดั เจนมากทสี่ ดุ แต่ป ลูก เรือนตอ้ งตามใจผอู้ ยูใ่ นเมือ่ แ ขกอยากไปฟงั เพลงพนื้ บ า้ น ก่อน พี่ก็ไม่มีปัญหา” รถ อบต. พาเลี้ยวเลาะไปตามเส้นที่ถ้านำผู้เขียน มาปล่อยไว้ค งบอกได้ค ำเดียวว่า “ผมอยูท่ ี่ไหนครับพ ี่” ก็ ขนาดพปี่ ลัดซ งึ่ ท ำงานในพนื้ ทีย่ งั บ อกเลยวา่ โรงเรียนบา้ น หนองขุมที่เรากำลังจะไปนั้นมีเส้นทางที่สลับซับซ้อน อ ยู่ สั ก ห น่ อ ย ก็ ไ ด้ แ ต่ ภ าวนาว่ า เมื่ อ ไ ปถึ ง แ ล้ ว จ ะไ ม่ เสียเที่ยว เอาเข้าจริงๆ ตัวผูเ้ขียนเองยังมีความเข้าใจคลาด เคลือ่ นวา่ เพลงอแี ซวเป็นเพลงทอ้ งถนิ่ ป ระจำภาคกลางที่ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณนานกาเล แต่เมื่อได้มาพบคุณครู มนัส และคุณครูวงษ์ศิริ แก้วเขียว แล้วจึงได้ทราบว่า เพลงอแี ซวเป็นเพลงทมี่ วี วิ ฒ ั นาการมาพร้อมๆ กับร ะบบ ประชาธิปไตยในประเทศไทย คือเพิง่ ถ อื ก ำเนิดเอาในชว่ ง 2475 มานี่เอง
77
78 หนองสาหร่าย
จะจริงเท็จประการใด ขอมอบหน้าที่ให้คุณครูทั้ง สองเป็นผู้เล่าแล้วกัน
ร้องแซวกันไปแซวกันมา จากเพลงฉ่อยสู่เพลงอีแซว “ที่มาของเพลงอีแซวจริงๆ แล้วเกิดจากการหา อะไรท ำแ ก้ เ บื่ อ ข องค ณะที่ เ ดิ น ท างม าท ำบุ ญ ใ นง าน เทศกาลหลวงพอ่ โต วัดป า่ เลไลยก์ ทีส่ มัยก อ่ นการเดินท าง ไม่สะดวก เวลางานเลิกต้องรอจนถึงเช้าถึงจะเดินทาง กลับภูมิลำเนาได้ ระหว่างนั้นตอนกลางคืนไม่มีอะไรทำคณะที่มา จากทางเหนือ (อ่างทอง สิงห์บรุ ี กาญจนบุร)ี ซึง่ ช อบเล่น เพลงฉ่อย และคณะที่มาจากทางใต้ (ลาว ไทยทรงดำ) ซึ่งมีวัฒนธรรมการเป่าแคน จะแข่งขันประชันเพื่อความ สนุกสนาน ร้องแซวไปแซวมาเลยเปลีย่ นมาเป็นการละเล่น เพลงอีแซว มีการพัฒนาทางด้านเครื่องดนตรีเพราะ เพลงฉ่อยมีจังหวะช้า และได้มีการปรับให้มีช่วงจังหวะ ทีส่ นุกสนานขึ้น ต่อม านักเพลงแคน 3 คน ได้แก่ นายโปรย เสร็จ กิจ นายเฉลียว บ้านปู่เจ้า และนายกร่าย จันทร์แ ดง ซึ่ง เป็นกลุ่มบ ุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถด้นกลอนสด เพลงอแี ซวได้ด เี ป็นพ เิ ศษ จึงได้ถ า่ ยทอดเพลงอแี ซวให้แ ก่ นางบัวผัน และนางขวัญจิต ศรีประจันต์ นำไปเผยแพร่
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ทางวงดนตรีเพลงลูกทุ่ง วิทยุ และโทรทัศน์ จนคนดู เริ่มรู้จักและเกิดความนิยม” ฟังก นั ค ร่าวๆ พอเป็นน ำ้ จ มิ้ ให้ร ทู้ มี่ าทไี่ ปของเพลง อีแซวแล้วกันนะครับ ขืนไปร่ายยาวแบบรายงานทาง ประวัติศาสตร์ เกรงว่าจากหนังสืออ่านเล่นสบายๆ จะ กลายเป็นที่ปิดตาสำหรับนอนกลางวันเข้า
ไม่มีการบังคับ ทุกอ ย่างมาจากใจล้วนๆ ระหว่ า งที่ นั่ ง ฟั ง ทั้ ง ค รู ม นั ส แ ละค รู ว งษ์ ศิ ริ เ ล่ า ประวัติความเป็นมาของเพลงอีแซว น้องๆ ตัวน้อยก็เริ่ม เดินเข้ามาในห้องซ้อมทีละคนสองคน แต่ละคนนี่มองไป แล้วได้แต่ถอนใจ เฮ้อ มันจ ะเป็นไปได้อย่างไรกัน เด็กๆ ตัวน อ้ ยตวั น ดิ ท โี่ ตมากบั ว ฒ ั นธรรมปอ๊ บ โตมากบั โลกสมัย ใหม่ โตมากบั ด นตรีท คี่ นรนุ่ ค ณ ุ ครูไม่มวี นั เข้าใจ จะมาเป็น ผู้สืบทอดเพลงพื้นบ้านได้อ ย่างไร “ถามจริงเถอะน้อง คุณครูเขาบังคับให้เข้ากลุ่ม หรือเปล่า พี่ดูจากหน้าแล้วเหมือนน้องไม่ค่อยอยากมา ซ้อมเท่าไหร่เลยนะ” ขณะที่คุณครูทั้งสองมัวแต่เตรียม เครื่องดนตรี ผู้เขียนถือโอกาสแอบถามสมาชิกวงดนตรี แห่งโรงเรียนบ้านหนองขุมเป็นการหยั่งเชิง เห็นคนตะล่อมสมาชิกรุ่นน้องเช่นนั้น รุ่นพี่ย่อม ยอมไม่ได้ ศนิส า ทันน กิ า ศิษย์เก่าผ เู้ คารพอาจารย์ท งั้ ส อง
79
80 หนองสาหร่าย
เยี่ยงพ่อ แม่ คนที่สอง ได้อ อกมาตอบโต้ผู้ที่จ้องจับผิดว ง อันเป็นที่รักของเธอว่า “ทีพ่ พี่ ยายามถามรนุ่ น อ้ งหนูแ บบนนั้ หนูต อบแทน เลยว่าที่นี่ไม่มีการบังคับจิตใจใคร พี่จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่การร่วมกิจกรรมทุกอย่างมาจากใจทั้งนั้น สิ่งที่หนูได้ มากที่สุดจากวงนี้คือเรื่องของความรัก ความอบอุ่น ใคร จะว่าวงหนูแบบนี้หนูไม่ยอม” เห็นท่าไม่ดีกลัวว่าน้องจะเข้าใจผิดไปใหญ่โต จึง อธิบายการทำงานของคนเขียนหนังสือให้ฟังว่า จริงๆ แล้วไม่ได้จ้องจับผิดอะไร แค่ต้องการค้นหารายละเอียด และขอ้ มูล เพือ่ จ ะนำมาเขียนงานให้ต รงกบั ค วามเป็นจ ริง ให้ได้มากที่สุด “ครูว่า เด็กๆ เขาคงยังไม่เข้าใจวิธีของน้องมาก นัก เดี๋ยวครูขออธิบายเรื่องการดำเนินงานของวงต่อเอง แล้วกัน” ครูวงษ์ศิริเดินมาเห็นเหตุการณ์พร้อมกับเป็น กรรมการแยกศึกไปด้วยในตัว “การรับสมัครสมาชิกจะบังคับไม่ได้เพราะว่าจะ ซ้อมนอกเวลาเรียน ฉะนั้น ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วม ต้องรับรู้และเต็มใจ ก็มีบางส่วนที่อยากร่วมกับเรา แต่ พ่อแม่ไม่อนุญาต พูดตรงๆ เราก็เข้าใจเพราะว่าหลัง จากเลิกเรียนแล้ว พ่อแม่ก็อยากให้ลูกของตนกลับไป ช่วยงานทบี่ ้าน”
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ไม่ต้องมีพื้น ขอมีแค่ ใจมาก่อน ทีเ่หลือครูจัดให้ สิง่ ท นี่ า่ ท งึ่ ท สี่ ดุ เท่าท สี่ มั ผัสด ว้ ยตนเอง ซึง่ ก ไ็ ม่แ น่ใจ เหมือนกนั ว า่ ผ อู้ นื่ จ ะซาบซึง้ ด ว้ ยหรือไม่ก ค็ อื เด็กท มี่ าเข้า ร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ทาง ด้านดนตรีห รือท างดา้ นการแสดงเลยแม้เต่น อ้ ย ส่วนใหญ่ จะมาเป็นก็เมื่อต อนที่เข้าวงนี้แล้วท ั้งนั้น ครูมนัสก็อธิบายให้ฟังว่า เรื่องแบบนี้มันไม่ต้อง สอนอะไรกันมาก ถ้าเด็กเขามีใจแค่มานั่งฟัง นั่งดู รุ่นพี่ ซ้อมรำ ซ้อมเต้น ซ้อมรอ้ ง เด็กก จ็ ะเป็นด ว้ ยตวั ข องเด็กเอง พร้อมกันนี้ครูมนัสได้ยกตัวอย่างของมือก ลองให้ฟ ัง “อย่างเจ้านี่เมื่อก่อนไม่เป็นอะไรเลย มานั่งฟัง นั่ง ร้อง ตั้งแต่สมัย ป.1 พอ ป.4 ซึ่งเป็นเกณฑ์ทเี่รารับเข้าว ง
81
82 หนองสาหร่าย
เข้ามาแป๊บเดียวก็เป็นแล้ว เพราะเ ขาเ ห็ น เขาฟั ง ม า ตั้งแต่เด็ก จะมีก็เรื่องของ โน้ตเพลง เรื่ององค์ความรู้ ทางด้านดนตรีที่เพิ่มไปใน ช่วงหลัง” พู ด ถึ ง เ รื่ อ งค วามรู้ ด้านดนตรี เลยถามต่อไป ว่ า แล้ ว อ ย่ า งนี้ คุ ณ ครู ไ ป เอาใครมาสอนเรื่องทฤษฎีดนตรี เพราะว่าเท่าที่ดูจาก ขนาดของโรงเรียนแล้วไม่น า่ จ ะมคี รูท สี่ อนทางดา้ นดนตรี เฉพาะทาง ไหนจะเรือ่ งรำ เรือ่ งวธิ กี ารแสดงอกี คุณครูท งั้ ส อง ท่านจะไปหาวิทยากรมาจากไหน ครูว งศ์ศิริตอบทันทีว่า “ดิฉันเป็นคนดูแลเรื่องการ เต้น การรำ การแสดงเองค่ะ ส่วนครูมนัสจะดูแลเรื่อง การร้อง การดนตรี” ซักถามประวัติคุณครูทั้งสองได้ความว่า ฝ่ายครู มนัส ครอบครัวมีพื้นฐานทางเพลงลูกทุ่ง เพลงฉ่อย ตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด ฝ่ายครูวงศ์ศิริหรือก ็เคยร่ำเรียน ในวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทั้งเรื่องร้องเรื่องรำไม่ต้องกลัวว่า จะผิดเพี้ยน
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
เรื่องการฝึกสอนนี่ครูมนัสฝากไว้ว่า “เคล็ดลับ ที่ทำให้เด็กเราเป็นที่ยอมรับ คือร้องให้สุดคำ รำให้สุด แขน” ถึงตอนนั้นเองที่น้องๆ มากันจนเกือบจะครบวง จึงได้ถือโอกาสขอให้น้องๆ ทำการแสดงคอนเสิร์ตรอบ พิเศษ อันม ผี เู้ ขียนและปลัดส วัสดิ์ นัง่ เป็นแ ขกกติ ติมศักดิ์ อยู่สองคน ยอมรับว่าถึงจะเป็นการแสดงที่เกิดจากเด็กๆ ที่อยู่เพียงแค่ชั้น ป.4-6 แต่การแสดงก็ไม่ได้มีอะไร ขาดตกบกพร่อง อาจจะมีในเรื่องความชำนิชำนาญ พลั ง ใ นก ารร้ อ ง การเ ต้ น ที่ สู้ มืออ าชีพไม่ได้ แต่ในภาพรวมตอ้ ง ขอค ารวะใ ห้ แ ก่ ผู้ ฝึ ก สอนทั้ ง สองท่านจากใจจริง
83
84 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
09 คนดีศรีสุพรรณ แนวคิดเพื่อเติมเต็มสังคม
85
86 หนองสาหร่าย
ช่วง 2 วันท อี่ ยูใ่ นหนองสาหร่ายมกั จ ะได้ยนิ มักจ ะพบเห็น แนวคิดเรือ่ งคนดศี รีสพุ รรณ ไม่ว า่ จ ะไปศนู ย์เรียนรทู้ ไี่ หน ก็ไม่พ้นที่จะมีการพูดถึงว่าที่ศูนย์ของเขาส่วนหนึ่งที่ ประสบความสำเร็จได้มาจากระบบคนดีศรีสุพรรณ ต่อเรือ่ งนกี้ ไ็ ด้แ ต่ถ ามตวั เองวา่ มันม ดี ว้ ยหรือร ะบบ การบริหารสังคมที่คนทั้งชุมชนยึดถือเป็นแม่แบบในการ พัฒนาชุมชน ถามพี่สวัสดิ์ แกก็บอกว่าตั้งแต่มาบรรจุเป็นปลัด อบต. ที่นี่ก็ได้ยินระบบนี้ตั้งแต่แรกแล้ว นั่นสิถ้าระบบนี้ มีมาตั้งนานแล้ว ทำไมคนบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างคน อยุธยาเช่นผ มถงึ ไม่เคยรบั ร เู้ ลยวา่ ค นสพุ รรณฯเขามรี ะบบ แบบนี้ไว้ดูแลจัดการสังคมกันนะ แล้วคนดีศรีอยุธยาล่ะ หมดไปตั้งแต่สมัยเสียกรุง ครั้งที่ 2 หรือ อันนี้กค็ งไม่ใช่ อย่างท่านปรีดี พนมยงค์ ท่านก็เป็นคนดีศรีอยุธยานี่ คิดไปความคิดเริ่มฟุ้งไปกัน ใหญ่ ระบบคนดศี รีสพุ รรณคงไม่ใช่ร ะบบทคี่ ดิ ข นึ้ ม าเพือ่ ไปดูถูกคนจังหวัดอื่นว่าเป็นคนไม่ดีหรอกนะ
น้ำใจที่เหือดหาย ที่มาของระบบคนดี คิดง่ายๆ ในเชิงภาวะวิสัย ส่วนตัวคิดว ่าจ ุดกำเนิด หรือความจำเป็นต้องมีระบบคนดีศรีสุพรรณน่าจะเนื่อง
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
มาจากเมือ่ ว ถิ ชี มุ ชนเปลีย่ นไป ความเอือ้ อ าทร ความเห็น อกเห็นใจตอ่ ก นั เหมือนอย่างในอดีตล ดนอ้ ยถอยลง ความ เห็นแ ก่ตัวเริ่มเพิ่มข ึ้น ปัจจัยเหล่าน ี้คงเป็นต ัวเร่งให้คนใน พื้นที่เริ่มก ลับมามองแล้วว่าท ำอย่างไร สังคมโดยรวมถึง จะกลับไปดีงามเหมือนเช่นแต่ก่อนได้ ฟังดูช่างโรแมนติกเหลือเกินกับแนวความคิดแบบ นี้ แต่อย่างนี้ถ้าจะมีอะไรที่เหนี่ยวรั้งสังคมไม่ให้แย่ไป มากกว่านกี้ ็คงจะดีไม่น ้อย พี่บรรจง แหยงกระโทก ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวดั บ า้ นกรวด เล่าให้ท งั้ ผ เู้ ขียนและทงั้ ป ลัดผ ไู้ ม่ใช่ คนในพื้นทีฟ่ ังว่า “ในปี 2540 สมัย ที่ ท่ า นบ รรหาร ได้ เ ป็ น นายกสมัยท ี่ 2 เป็นช ว่ งทมี่ ี การประกาศใช้แ ผนพฒ ั นา เศรษฐกิ จ ฉ บั บ ที่ 8 ซึ่ ง เน้นการพัฒนา และท่าน ได้คัดเลือกจังหวัด สุ พ รรณบุ รี เ ป็ น จั ง หวั ด น ำร่ อ ง ในโครงการเพื่อ สร้างกระแสและ
87
88 หนองสาหร่าย
จุดประกายการพัฒนาคนและสังคม โดยใช้ชื่อโครงการ ว่า โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ แรกๆ ก็ไม่ได้มีการ ประกาศใช้ทั้งจังหวัด จะมีก็แค่ 19 โรงเรียนในอำเภอ เมือง ต่อมาประมาณปี 2543 จึงได้มีการขยายออกไป ทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี พอประมาณปี 2544 ก็ขยาย ลงไปที่ระดับห มู่บ้าน โดยโ ครงการนี้ มี เ ป้ า ประสงค์ อ ยู่ ที่ ก ารใ ห้ เ ด็ ก ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ทั้ง 11 ประการ เช่น ด้านการพดู ด้านการแต่งก าย ด้านมารยาท ด้านความสะอาด ด้านการออม เป็นต้น” อดทจี่ ะควิ้ ข มวดไม่ได้ว า่ ทำไมโครงการดๆ ี แบบนี้ ถึงไปไม่ถึงบ้านเราบ้าง ก็คงต้องทำความเข้าใจนโยบาย การบริหารประเทศของเมืองไทยที่เปลี่ยนไปตามรัฐบาล ทีเ่ ข้าม า รัฐบาลทเี่ ข้าม าใหม่ห ลังส มัยท า่ นบรรหารอาจจะ ไม่ได้สนับสนุนเรื่องนี้ก็เป็นได้ โครงการดีๆ แบบนี้ถึง ไม่ขยายไปสจู่ ังหวัดอื่นๆ
ให้เขาได้รู้ ได้เห็น ได้ท ำบ่อยๆ จิตสำนึกถึงจะเปลี่ยนได้ “พี่ ท ำโ ครงการเยาวชนค นดี ศ รี สุ พ รรณม ากว่ า 10 ปี บอกได้เลยว่ากับเด็กต้องเน้นสร้างแรงบันดาลใจ มากกว่าที่จะไปบังคับ เช่น เราจะเล่าให้ฟังว่าลูกเป็น คนสุพรรณฯนะ ตอนนมี้ โี ครงการคนดฯี หนูเป็นเด็กก ลุม่
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
แรกของประเทศทไี่ ด้ม โี อกาสรว่ มโครงการดๆ ี อย่างนี้ คือ เราจะค่อยๆ ตะล่อมสอนแบบไหนดีแบบไหนไม่ดี พอ ทำๆ ไป เด็กก็จะเรียนรู้ไปเอง ที่สำคัญคือ เราต้องย้ำบ่อยๆ เวลาเด็กทำดีจะ คอยอธิบายว่าหนูได้ทำความดีตามเป้าหมายทั้ง 11 ประการแล้วน ะ อ ย่างเวลาเด็กท ำการบา้ นมาสง่ ต ามเวลา เรากจ็ ะชมวา่ ห นูท ำความดตี รงตามเรือ่ งตรงตอ่ เวลา หรือ เวลาไปซื้อของที่สหกรณ์ถ้ามีการเข้าแถวเป็นระเบียบ เรียบร้อยก็จะทำดีตรงตามเรื่องการปฏิบัติตนในการเข้า แถวเรียงลำดับก่อน-หลัง ในการรับบริการต่างๆ ถ้าเป็น ไปได้เราจะพยายามปลูกฝังเด็กในทุกโอกาสที่มี” หากจะถามว่าคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ บอกได้เต็ม ปากเต็มค ำวา่ เห็นด ว้ ยกบั โครงการนี้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่
89
90 หนองสาหร่าย
ยังพ อจะมขี อ้ ส งสัยอ ยูท่ กี่ ารชมเด็กในทกุ ๆ โอกาสมนั จ ะ เหมือนการสปอยล์เด็กจนเกินไปหรือไม่ แต่อ ย่างไรก็ดี พี่บรรจงได้เล่าให้ฟ ังว่า เรื่องที่เด็ก ทุกค นจะดีทุกคนคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนเรื่องที่มีพฤติกรรม เบีย่ งเบนไปจากศลี ธ รรมอนั ด ขี องสงั คมไทยมนั ก ม็ บี า้ ง แต่ ในเรื่องยาเสพติดนี่ถือว่าย ังโชคดที ี่เรายังพอควบคุมได้ ตัวผู้เขียนคิดว่าโครงการนี้ทำได้เท่านี้ก็ถือว่าโอเค แล้ว ก็เปรียบเสมือนการเลีย้ งลกู เราเลีย้ งได้แ ต่ต วั ความคดิ เลี้ยงไม่ได้ แต่อย่างในกรณีนี้ชุมชนปูพื้นปลูกฝังค่านิยม เรื่องคุณงามความดีให้แก่เด็กในชุมชนไปแล้ว ส่วนใน ภายภาคหน้าเมื่อเด็กเติบใหญ่จะนำไปปรับใช้ได้เพียงใด ก็ข นึ้ อ ยูก่ บั เด็กค นนนั้ ๆ ว่าเมือ่ ได้ร บั ค า่ น ยิ มใหม่ๆ ไปแล้ว จะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด
เด็กโดนไปแล้ว ถึงทีผู้ ใหญ่บ้าง เรากล่าวถงึ โครงการคนดใี นสว่ นของเด็กก นั ไปแล้ว คราวนี้ถึงตาของผู้ใหญ่บ้าง เรื่องนี้ล่ะเป็นเรื่องที่สร้าง ความสนเท่ห์ให้แก่ผู้เขียนยิ่งนัก กับเด็กนี่มันไม่มีปัญหา อะไรนักหรอก หากจะมีผู้ใหญ่ไปคอยจ้องจับผิด คอย เตือน หรือคอยสั่ง คอยสอน แต่กับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ท่านๆ ยิ่งโดยเฉพาะใน วัยที่หัวหงอกแล้วด้วย ยังส งสัยอยู่ว่าใครจะไปสอนเรื่อง
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
คนดีได้ ดีไม่ดีเวลาไปสอนจะพานโดนด่าเอาเสียด้วยซ้ำ ว่า “เอ็งเป็นใครมาสอนขา้ เรือ่ งความดี ข้าน โ้ี ตจนหวั ห งอกแล้ว ไม่ต ้องให้ใครมาสอนหรอกว่าอ ะไรดี ไม่ด ี” “ที่มาของโครงการในระดับผู้ใหญ่มาจากครั้งหนึ่ง ท่านบรรหารไปประเมินโรงเรียนแล้วเจอเด็กถ ามกลับม า ว่า ให้เด็กเป็นค นดแี ล้วผ ใู้ หญ่ล ะ่ จะไม่เป็นค นดเี หรอ จาก ประโยคนนั้ เองจงึ ได้จ ดุ ป ระกายให้โครงการนขี้ ยายตวั ล ง ในระดับหมู่บ้าน โดยคัดจากหมูท่ ี่มีความพร้อมก่อน สมมุติว่าในตำบลก็ไปเลือกหมู่ที่มีความพร้อมมา ทำเป็นหมู่ต้นแบบก่อน เหมือนประกวดหมู่บ้านต้นแบบ ก่อน พอกระจายเต็มพ นื้ ทีใ่ นระดับต ำบลแล้วจ งึ ป ระกวด
91
92 หนองสาหร่าย
กันในระดับตำบล พอดีทั้งตำบลแล้วจึงแข่งกันระหว่าง ตำบล โดยประกาศเป็นนโยบายสร้างพัฒนาคนในระดับ จังหวัด” ถึงตอนนี้เราคุยเรื่องการทำงาน ทำให้เข้าใจทันที เลยว่ า ร ะบบคุ้ ม ที่ รื้ อ ฟื้ น ขึ้ น ม ามั น มี ข้ อดี ห ลายอ ย่ า ง อย่างในการรณรงค์โครงการคนดีฯของระดับผู้ใหญ่จะใช้ รูปแบบการจัดการทางสังคมคล้ายๆ กับในการจัดการ ขยะที่กล่าวถึงไปแล้ว จะบอกว่าคณะกรรมการชุดเดียวกันยังได้เลย เพียงแต่เปลี่ยนหัวข้อในการรณรงค์ ส่วนตัวคิดว่าการ คงคณะกรรมการไว้เป็นชุดเดียวกันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี คือ มีก ารทำงานทตี่ อ่ เนือ่ งและสามารถเชือ่ ม การทำงานกับโครงการอื่นๆ ในลักษณะบูรณาการได้ อย่างไม่ติดขัด ส่วนข้อเสียก็อาจจะเป็นที่อำนาจในการ ตัดสินกระจุกอยู่ที่คณะกรรมการชุดเดียว จุดนี้ก็ต้องมีการจัดการให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจเกิด ปัญหาได้ สุดท้ายเรื่องของความดี ความเลว เป็นเรื่องที่ต้อง ใช้เวลา การจะปรับพ ฤติกรรมคน หรือส ร้างจติ สำนึกอ ะไร ก ต็ ามทไี ม่ใช่ส ง่ิ ท จ่ี ะทำกนั ได้ภ ายในวนั เดียว ขอเป็นก ำลังใจ ให้ค ณะทำงานทกุ ค น อย่าเพิง่ ท อ้ ถอยไปเสียก อ่ น ส่วนตวั มีความเชื่อว่างานของท่านไม่วันใดวันหนึ่งต้องสัมฤทธิ์
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
ผลอย่างแน่นอน
11 เป้าหมายในการพัฒนา มีด ังนี้ 1 รักษาความสะอาดร่างกาย บ้านเรือน และ ชุมชน 2 มีจิตสำนึกร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3 มีวิถีประชาธิปไตย 4 เป็นผู้ประหยัดอ ดออม และนิยมไทย 5 ปฏิบัติตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม หรือห ลัก ธรรมของศาสนาอื่นที่เด็กและเยาวชนนับถือ 6 เป็นผู้มีมารยาทแบบไทย 7 มีวินัยจราจร 8 เป็นคนตรงต่อเวลา 9 ปฏิบัติตนในการเข้าแถวเรียงลำดับก่อน-หลัง ในการรับบริการต่างๆ 10 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของ โรงเรียน และกลุ่มโดยเคร่งครัด 11 ไม่พัวพันยาเสพติด
93
94 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
95
96 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
10 แหล่งประวัติศาสตร์หนองสาหร่าย แหล่งเรียนรู้ตัวตน
97
98 หนองสาหร่าย
หากไม่ไปเยือนโบราณสถานบึงหนองสาหร่ายก่อนกลับ จากแดนยทุ ธหัตถี คงไปเล่าให้ใครฟงั เต็มป ากไม่ได้ว า่ ไป เยือนดินแดนแห่งนี้มาแล้ว ด้ ว ยค วามที่ ต ราห น้ า ว่ า ต นเองเ ป็ น นั ก เรี ย น ประวัตศิ าสตร์ต ามความหมายของอาจารย์น ธิ ิ เอียวศรีว งศ์ ทีถ่ อื ป ระวัตศิ าสตร์เป็นเรือ่ งทตี่ อ้ งเรียนรกู้ นั ต ลอดทงั้ ช วี ติ การไ ด้ ม าเ ยื อ น มาเรี ย นรู้ มาสั ม ผั ส สถานที่ ท าง ประวัตศิ าสตร์เช่นน ชี้ า่ งสร้างสภาวะทเี่ รียกวา่ ‘สิง่ ท ที่ ำให้ หัวใจเต้นแ รง’ ขอย้ ำ ใ นที่ นี้ ว่ า ค วามห ลงใหลใ นส ถานที่ ท าง ประวั ติ ศ าสตร์ ข องตนเองไ ม่ ใ ช่ ห ลงใหลไ ด้ ป ลื้ ม แ บบ นักชาตินิยมทางทหารที่มีความคิดคับแค้นในเรื่องอดีตที่ ผ่านมา และเที่ยวไปหาเรื่องชาติเพื่อนบ้านเพื่อให้ได้มา แต่เพียงเศษอิฐเศษปูนของคนรุ่นก่อนๆ ถามวา่ ม นั ค มุ้ ก นั ห รือไม่ กับค วามเสีย่ งทจี่ ะสญ ู เสีย เพื่อนในโลกยุคปัจจุบัน พูดเช่นนี้อาจถูกกล่าวหาเอาง่ายๆ ว่าเป็นคนไทย ขายชาติ ไม่หวงแหนดินแดนอันเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษเสีย เลือดเสียเนื้อแ ลกไว้ซึ่งอิสรภาพ ออกนอกเรื่องไปเสียไกล กลับมาพูดถึงแหล่ง ประวัติศาสตร์หนองสาหร่ายดีกว่า เรื่องที่บอกไปว่าที่ แห่งน สี้ ร้างแรงกระเพือ่ มตอ่ ห วั ใจกเ็ นือ่ งมาจาก ท่านลอง
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว
หลับตาคดิ ต าม ขณะทเี่ ราเดินไปรอบๆ บึงห นองสาหร่าย ขณะที่เราขึ้นไปกราบไหว้บูชาพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เราไม่มีทางรู้เลยว่าแต่ละ ย่างก้าว เราเดินไปตามเส้นทางการต่อสู้ของพระองค์ ท่านแค่ไหน ที่ที่เรายืนอยู่อาจจะเป็นที่ที่ครั้งหนึ่งมีคนนับแสน นับหมื่น มาชุมนุมเพื่อเรียกร้องเอกราช หรือในอกี ม มุ ห นึง่ ท ท่ี เ่ี รายนื อ ยูอ่ าจจะเป็นท ท่ี ค่ี รัง้ ห นึง่
99
100 หนองสาหร่าย
ม ีคนนับแสนนับหมื่น มาชุมนุมเพื่อเรียกร้องความจงรัก ภักดีของประเทศราช ไม่ทางใดทางหนึ่ง ปัจจุบัน ณ สถานที่แห่งนี้เป็น ที่ที่เราไม่อาจคิดได้ว่ามันคือหนองน้ำธรรมดาหนอง หนึง่ แต่ม นั ค อื ห นองนำ้ ท เี่ คยเป็นส ถานทตี่ อ่ สูข้ องคนทมี่ ี อุดมการณ์แตกต่างกัน ฝั่งหนึ่งอยากได้อิสรภาพ ฝั่งห นึ่ง ร้องหาความจงรักภักดี สิง่ เหล่าน คี้ อื ส งิ่ ท เี่ ราตอ้ งพงึ ต ระหนักอ ยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วันว่า ณ ที่แห่งนี้ ณ ประวัติศาสตร์ช ่วงหนึ่ง ประเทศของ เราได้สร้างตัวตนขึ้นมา
เมื่อค วามโลภบังตา ความศักดิ์สิทธิ์ก็เอาไม่อยู่ ขณะทเี่ ดินร อบแหล่งป ระวัตศิ าสตร์ห นองสาหร่าย มีค วามรสู้ กึ ว า่ ท ำไมหนองนำ้ น มี้ ขี นาดเล็กจ งั ไม่เห็นส มกบั ทีบ่ นั ทึกไว้ในพระราชพงศาวดารเลยวา่ ทีน่ เี่ ป็นห นองนำ้ ขนาดใหญ่สามารถเลี้ยงผู้คน ช้าง ม้า ได้เป็นแสนๆ “เท่าที่มีผู้ใหญ่เล่าให้พี่ฟัง รู้สึกว่าส มัยก ่อนหนอง- สาหร่ายมีขนาดใหญ่กว่าในปัจจุบันมาก แต่คนในอดีต ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรจึงมีการรุกล้ำพื้นที่รอบๆ แหล่งประวัติศาสตร์เพื่อทำเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและ เป็นพื้นที่อยู่อาศัยเรื่อยมา พี่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าถ ้าปี 2517 รัฐไม่มนี โยบายจดั ร ปู ท ดี่ นิ จ ากกรมชลประทานและมกี าร
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 101
สร้างคันล้อมรอบขึ้นมา ทุกวันนี้ จะยั ง มี ห นองส าหร่ า ยใ ห้ เราเห็ น หรือไม่” ชะโงกห น้ า อ อกไ ปดู ที่ แ นว นอกรั้วพบว่าพื้นที่ภายนอกกลาย สภาพเป็นเรือกสวน ไร่น า ไปตาม คำบอกเล่าของพี่ปลัด พบว่าสิ่งที่ แกเล่าก็มีความเป็นไปได้จริง จะว่าคนยุคสมัยก่อนก็ไม่ได้ เพราะว่าค่านิยมของยุคสมัยแตก ต่างกัน จะเอาความคิดของคนยุคนี้ไปตัดสินคนยุคก่อน ก็ไม่ได้ เพราะหากจะต้องว่าคนยุคก่อนในเรื่องไม่มีจิต อนุรักษ์จริง คงต้องไปรื้อค้นมาว่ากันเกือบทั้งประเทศ ยิ่งบ้านผู้เขียนที่อยุธยาด้วยแล้ว โบราณสถานที่เราเห็น กันอยู่มีถึงครึ่งของสมัยก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ กอปรกบั ก ต็ อ้ งยอมรับว า่ ย คุ ท มี่ กี ารจบั จองทดี่ นิ ก นั อย่างกว้างขวางนั้น ประชาชนก็ทำตามนโยบายรัฐที่เปิด พืน้ ทีท่ างการเกษตรใหม่จ ำนวนมากเพือ่ เร่งผ ลิตให้เพียงพอ ตามความต้องการของตลาดโลก ณ วันนี้เราคงได้แต่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งที่ยังหลง เหลืออ ยู่ไม่ให้สูญหายไปมากกว่าน ี้
102 หนองสาหร่าย
ให้ชุมชนเข้าม าใช้ประโยชน์ หนึ่งในวิธีการอนุรักษ์ ถามพี่ปลัดสวัสดิ์ไปว่า เดี๋ยวนี้ยังคงมีคนมารุกล้ำ พื้นที่หนองสาหร่ายเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า ก็ได้คำตอบ เป็นที่น่าชื่นใจมาพอสมควร คือหลังปี 2517 มีบุคคล ท่านหนึ่งเดินทางมาเพื่อสร้างพระตำหนักถวายองค์ สมเด็จพระนเรศวรเนื่องจากฝันเห็นสมเด็จพระนเรศวร ทรงประทับ ณ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเป็น เรือ่ งอทิ ธิป าฏิหาริยม์ ากไปเสียห น่อย แต่อ ย่างนอ้ ยกย็ งั ด ี ที่ทำให้การบุกรุกพื้นที่หนองน้ำลดน้อยลง ตอนที่ พี่ ป ลั ด เล่ า ใ ห้ ฟั ง เป็ น เ วลาเ ดี ยวกั บ ที่ ผู้ เ ขี ย นเ ดิ น ขึ้ น ไ ป ก ร า บ สั ก ก า ร ะ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็ จ พ ระน เรศวร พอดี เ หลื อ บไ ปเ ห็ น เครื่ อ งอ อกก ำลั ง ก าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 103
พร้อมกันนั้นพแี่ กก็เล่าให้ฟังโดยที่ไม่ต้องถามเลย “เครื่องออกกำลังกายพวกนั้นเป็นของกลุ่มคนรัก สุขภาพ ซึ่งทุกๆ เย็นจะมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อการออก กำลังก าย มีก ารรเิ ริม่ ก ารเต้นแ อโรบกิ ทีล่ านกฬี าในแหล่ง ประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างให้แหล่งประวัติศาสตร์มีชีวิต ชีวา สร้างให้แหล่งประวัติศาสตร์เป็นแหล่งสันทนาการ ในชุมชน พูดถ งึ เรือ่ งการมสี ว่ นรว่ มของชมุ ชน อีกเรือ่ งหนึง่ ท ี่ น่าชื่นชม คือ ชาวบ้านไปศึกษาพงศาวดารมาแล้วมาจัด
104 หนองสาหร่าย
กิจกรรมร่วมกันในวันที่ 23 มกราคม ของทุกป ี ซึ่งเป็น วันทสี่ มเด็จพระนเรศวรมาพักทัพท ี่หนองน้ำ กิจกรรมต่างๆ ภาคประชาชนเอามาลงที่แหล่ง เรียนรู้นี้ พีว่ ่าเป็นสิ่งท ี่ดมี ากๆ เลยนะชาวบ้านจะได้ช่วย กันด แู ล บำรุงร กั ษา ไม่ใช่ป ล่อยหน้าทีด่ งั ก ล่าวให้เป็นข อง ภาครัฐแ ต่เพียงฝ่ายเดียว” หากจะพูดกันจริงๆ แบบไม่มีปิดบัง เรื่องการ ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ รัฐไม่สามารถทำ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 105
โดยลำพังได้ ถึงทำได้ก็ไม่ยั่งยืนและก็อาจจะทำอย่าง ไม่ถูกวิธี การจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งจากส่วนกลาง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ส่ ว นป ระชาชน น่ า จ ะเ ป็ น ช่ อ งท างที่ เหมาะสมที่สุดในการปลูกฝังให้เราได้ซึมซับถึงมรดก ทางป ระวั ติ ศ าสตร์ แ ละวั ฒนธรรม ท่ า มกลางค วาม เปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันน ี้
106 หนองสาหร่าย
11 ลาแล้วไม่ลาลับ มีโอกาสจะกลับมาเยือนใหม่
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 107
108 หนองสาหร่าย
หากจะคิดแบบนักท่องเที่ยวกระแสหลักทั่วไป คงต้อง บอกกล่าวดว้ ยความสตั ย์ซ อื่ ว า่ ความสะดวกสบาย ความ ใหญ่โตอลังการของสถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้แต่ความ ครบครันของแหล่งช็อปปิ้งค งไม่มีให้ท่านอย่างแน่นอน แต่ห ากทา่ นคอื นักเดินท างผแู้ สวงหาชวี ติ แสวงหา ความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น หนองสาหร่าย นับเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งท่านไม่อาจมองข้ามได้ ไม่ว่าจะด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือ ความหลากหลายทางพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ทีน่ ี่มีให้ท่านได้ เรียนรู้อย่างไม่รจู้ ักเบื่อเลยทีเดียว สังคมไทยพยายามที่จะพัฒนาและสร้างรูปแบบ กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นทางเลือกหนึ่งใน หลายๆ ทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวตา่ งประเทศ โดยมกี ารตงั้ ช อื่ ผ ลิตภัณฑ์ก ารทอ่ งเทีย่ ว ที่ แ ตกต่ า งกั น ไม่ ว่ า จ ะเ ป็ น การท่ อ งเ ที่ ยวเ ชิ ง สั ม ผั ส วัฒนธรรมชนบททเี่ รียกวา่ ‘Home Stay Village’ หมูบ่ า้ น ท่องเที่ยวโอท็อปหรือหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือ การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในบรรดาแบรนด์เนมอันหลากหลายมีจุดร่วมกัน อยู่จุดหนึ่งที่ผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยวแนวนี้ต้องพึงระลึก อยู่เสมอ ท่านต้องยอมรับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 109
ประเพณี และความเป็นอยู่ อย่างที่ชุมชนเป็นอยู่ ไม่ว ่า จะมบี างสิ่งที่ขัดใจท่านหรือไม่ก็ตาม ที่สำคัญ คือ ท่านต้องไม่ทำตัวเป็นตุลาการตัดสิน ว่าอะไรผิดอะไรถูก หากยังไม่ได้รับรู้ รับฟ ัง ถึงที่มาที่ไป ของสิ่งที่ท่านกำลังเผชิญอยู่ ยอมรับว า่ 2-3 วันท ตี่ ะลอนไปตะลอนมา เข้าอ อก บ า้ นนที้ ี บ้านนนั้ ท ี เทีย่ วไปจอ้ งจบั ผิดเรือ่ งนนั้ บ า้ ง เรือ่ งนี้ บ้ า ง จนเ กื อ บโ ดนเ จ้ า ของบ้ า นเ ขาไ ล่ แ ทบไ ม่ ทั น นั้ น บางครั้งก็ทำไปด้วยยังต ิดค่านิยมแบบสังคมเมืองอยู่ แต่ใจจริงไม่ได้มีเจตนาเลวร้ายอะไรแอบแฝงอยู่ แม้แต่น อ้ ย ทีบ่ างครัง้ ย กึ ย กั ไปยึก ย กั ม ากแ็ ค่ล ลี าทตี่ อ้ งการ จะเค้นสิ่งที่เจ้าถิ่นอยากเล่าให้ออกมาให้ได้มากที่สุด ที่ สำคัญค ือ ตนเองยังร ู้สึกว่าย ังร ู้ไม่ห มด สงสัยอ ะไรก็ต้อง
110 หนองสาหร่าย
ถาม แม้ว่าบางครั้งจะมากเสียจนเจ้าถิ่นรำคาญไปบ้าง การทจ่ี ะสร้างสงั คมไทยให้เป็นส งั คมแห่งก ารเรียนรู้ หรือสังคมฐานความรู้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคม จะต้องสร้างลักษณะนิสัยรักการเรียนรู้ ผู้คนในสังคม ต้องตระหนักว่า การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกส ถานที่ และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ ในสถานศกึ ษาเป็นเพียงชว่ งเวลาชว่ งหนึง่ ข องชวี ติ เท่านัน้ ความรู้ที่ได้จากสถานศึกษาไม่ใช่องค์ความรู้ที่ให้คำตอบ หรือให้ความกระจ่างกับชีวิตได้ทั้งหมด และหากใครเป็น ผู้ที่ยึดเรื่องการเรียนรู้เป็นกิจ ประจำดว้ ยแล้ว การมาเยือนหนองสาหร่ายนนั้ พร้อมทจี่ ะ เปิดกว้าง และจะไม่ทำให้ท่านผิดห วังอ ย่างแน่นอน
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 111
112 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 113
114 หนองสาหร่าย
ภาคผนวก ข้อมูลทั่วไป ตำบลหนองสาหร่าย เป็นตำบลที่มีประวัติเชื่อม โยงกับประวัติศาสตร์ชาติ โดยบริเวณพื้นที่มีหนองน้ำ ชื่อว่า ‘หนองสาหร่าย’ เป็นแหล่งพักทัพขององค์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช เมื่อคราวสงครามยุทธหัตถี ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำทัพของพระองค์เข้าต่อตี กับพม่า และใช้หนองน้ำแห่งน ี้เป็นยุทธภูมิตั้งค่าย เพื่อ ตั้งรับทัพพม่า จนกระทั่งกระทำยุทธหัตถีชนะต่อพม่า ตามบันทึกในพงศาวดารชาติไทยเรา หนองสาหร่าย ถือเป็นยุทธภูมิที่เหมาะสมกับการรบทำให้ไทยได้รับ ชัยชนะต่อพม่า ด้วยพระปรีชาสามารถขององค์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช เดิม ‘ตำบลหนองสาหร่าย’ เป็นต ำบลทอี่ ยู่ในการ ปกครองของตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ อยูห่ า่ ง จากทวี่ า่ การอำเภอศรีประจันต์ ข้ามฝงั่ แ ม่นำ้ ส พุ รรณบุรี (ท่าจีน) ไปทิศตะวันตก ประมาณ 16 กิโลเมตร เมื่อ องค์พระสถูปเจดีย์ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นที่เรียบร้อย แล้ว ชุมชนตำบลหนองสาหร่าย เติบโตขึ้นตามลำดับ จนกระทั่ง พ.ศ. 2505 จึงได้ย กฐานะ เป็นตำบลหนอง- สาหร่าย และแยกออกมาเป็นอ ำเภอดอนเจดีย์ แต่เดิมน นั้
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 115
ตำบลหนองสาหร่าย ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน แต่ เนื่องจากถูกแบ่งแยกไปเป็นตำบลทะเลบกบางส่วนจึง ทำให้ต ำบลหนองสาหร่าย คงเหลือ 10 หมูบ่ า้ น และตอ่ ม า ในปี 2539 ได้ร บั ก ารยกฐานะจากสภาตำบลเป็นอ งค์การ บริหารส่วนตำบล จำนวน หมู่บ้าน 10 หมู่บ้านได้แก่ 1.หมู่ที่ 1 บ้านดอนมะเกลือ 2.หมู่ที่ 2 บ้านโคกหม้อ 1 3.หมู่ที่ 3 บ้านหนองขุม 4.หมู่ที่ 4 บ้านห้วยม้าลอย 5.หมู่ที่ 5 บ้านสระด่าน 6.หมู่ที่ 6 บ้านท่าก ุ่ม 7.หมู่ที่ 7 บ้านหนองสาหร่าย 8.หมู่ที่ 8 บ้านกรวด 9.หมู่ที่ 9 บ้านโคกหม้อ 10.หมู่ที่ 10 บ้านหนองกะหนาก
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองราชวัตร อำเภอ หนองหญ้าไซ และตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
116 หนองสาหร่าย
ทิศใต้ ติดต่อก ับตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ทิ ศ ต ะวั น อ อก ติ ด กั บ ต ำบลวั ง ห ว้ า อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ลำน้ำท่าคอย กั้นเขต ติดต่อ) ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทะเลบก อำเภอ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะ ดิน บริเวณหนองสาหร่ายเป็นพื้นที่ดินเหนียว เหมาะ สำหรับก ารเพาะปลูก ข้าว ผลไม้ และพชื ผ กั ต า่ งๆ มีล ำน้ำ ไหลผา่ นหนึง่ ส ายคอื ลำน้ำท า่ ค อย มีร ะบบชลประทานที่ ไหลมาจากปากคลองมะขามเฒ่าจ งั หวัดช ยั นาท และจาก เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในเขตการบริหาร จัดการของกลุ่มลุ่มน้ำท่าจีน การคมนาคมมีถนนเข้าถึง ทุกค รัวเรือน ในหมู่บ้านเชื่อมโยงทุกตำบล ประชากร จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 7,672 คน แยกเป็น ชาย 3,775 คน หญิง 3,897 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 120.25
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 117
118 หนองสาหร่าย
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 119
คน / ตารางกิโลเมตร
อาชีพห ลัก การท ำน า รองล งม าไ ด้ แ ก่ การท ำส วนผ ลไ ม้ ปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และค้าขาย มีรายได้โดย เฉลี่ยประมาณปีละ 50,000 บาท / ครัวเรือน การผลิตที่สำคัญของตำบล 1. การประกอบอาชีพเกษตรกรรม - การกสิกรรม ได้แก่ การทำนา การเพาะปลูก มะม่วง ลำไย มะพร้าว แตงโม ถั่วฝักยาว เป็นต้น - การปศุสัตว์ ได้แก่ โค สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น - การประมง ได้แก่ การเพาะเลี้ยงปลา กุ้ง กบ เป็นต้น 2. การประกอบอุตสาหกรรม จะมีความสัมพันธ์ กั บ ก ารผ ลิ ต ท างการเ กษตรใ นต ำบล โดยมี โ รงงาน อุตสาหกรรม ได้แก่ - โรงสีข้าว 2 แห่ง
120 หนองสาหร่าย
สภาพทางสังคมประกอบด้วย การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง - โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 8 แห่ง สาธารณสุข - สถานีอนามัย 2 แห่ง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจสายตรวจประจำตำบล 1 แห่ง แหล่งน้ำธ รรมชาติ - หนองสาหร่าย 1 แห่ง - แม่น้ำท ่าคอย 1 สาย การบริการพื้นฐาน การคมนาคม การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ มีความสะดวก รวดเร็ว เนือ่ งจากได้ม โี ครงการปรับปรุงถ นนในเขตตำบล อย่างต่อเนื่อง โดยมีเส้นทางทสี่ ำคัญภายในตำบล ดังนี้ -ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3496 แยกดอนเจดีย์-ด่านช้าง บรรจบสาย 3350
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 121
ท่าช้าง สระบัวก ล่ำ ระยะทาง 27 กม. -ถนนกรมชลประทาน ริมค ลองส่งน้ำ 2 ขวา ระยะทาง 49 กม. -ถนนกรมโยธาธกิ าร หมายเลข สพ 2092 บ้านสวนสกั -บ้านหนองสาหร่าย ระยะทาง 4.9 กม. ถนนสำนักงานเร่งรัดพ ัฒนาชนบท หมายเลข สพ 3162 บ้านดอนเจดีย์-บ้านหนองกระทุ่ม ระยะทาง 9.8 กม. -ถนนสำนักงานเร่งรัดพ ัฒนาชนบท (คสล.) หมายเลข สพ 5229 บ้านท่ากุ่ม ระยะทาง 2.2 กม. ถนนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท โครงการถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน บ้านกรวด
ข้อมูลอื่น ๆ มวลชนจัดตั้ง -ลูกเสือช าวบ้าน 3 รุ่น -อปพร. 1 รุ่น -หนึ่งตำบลหนึ่งหน่วยกู้ภัย 1 รุ่น -ประชาคมหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน -วิสาหกิจชุมชนหมูท่ ี่ 3 1 แห่ง
122 หนองสาหร่าย
ระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชนของ ตำบลหนองสาหร่าย ประกอบด้วยระบบย่อยที่เกี่ยวข้อง ในเบื้องต้น ดังนี้ 1) ระบบการบริหารจดั การแบบมสี ว่ นรว่ ม องค์การ บริหารสว่ นตำบลหนองสาหร่าย บริหารจดั การตำบลดว้ ย แนวคิดแบบหนุนเสริมเป็นหลัก โดย อบต. หนุนเสริม การทำงานขององค์กรชุมชนตามความต้องการของภาค ประชาชนในเรื่องงบประมาณ และประสานงานกับภ าคี เครือข่ายหน่วยงานภายนอกเพื่อหนุนเสริมด้านวิชาการ องค์ความรู้ และงบประมาณเพิ่มเติม 2) ระบบเกษตรปลอดภัย มีแ นวคิด ‘ลดการใช้สาร เคมี อยู่อย่างพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้’ ซึ่ง ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทำให้หนองสาหร่าย ประกอบอาชีพหลักอย่างมีความสุขมากขึ้น 3) ระบบจดั การสงิ่ แ วดล้อม การจดั การสงิ่ แ วดล้อม ของตำบลหนองสาหร่ายเน้นก ารสร้างการมสี ว่ นรว่ มและ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในตำบลจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยตนเอง สร้างระบบนิเวศให้กลับคืนมา โดยการ ออกแบบกิจกรรมให้ทุกครัวเรือนมีการจัดการขยะระดับ ครัวเรือน 4) ระบบเศรษฐกิจแ ละสวัสดิการ เน้นเพือ่ ให้ค นใน ชุมชนมคี วามเอือ้ อ าทรตอ่ ก นั ช่วยเหลือเกือ้ กูลซ งึ่ ก นั แ ละ
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 123
กัน ส่งเสริมการมีหลักประกันชีวิตตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต สามารถพงึ่ พาตนเอง ลดรายจา่ ย เพิม่ ร ายได้ และแบ่งป นั กำไรกลับค นื ส ชู่ มุ ชน โดยให้ป ระชาชนในตำบลมกี ารรวม กลุม่ ท ำอาชีพเสริมต ามภมู ปิ ญ ั ญาดงั้ เดิม การเชือ่ มโยงกบั คนในชมุ ชนจะอยูใ่ นลกั ษณะของการได้ร บั ป ระโยชน์ร ว่ ม กัน 5) ระบบพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน ตำบล หนองสาหร่ายมีการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน โดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ในชุมชนและการ จัดกระบวนการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากการร่วมทำ กิจกรรมต่างๆ ของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและ เยาวชนสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินช วี ติ ป ระจำวนั และมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปได้ 6) ระบบสุขภาพชุมชน มีแนวคิดการสร้างการ มีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ผู้นำชุมชน ภาคท้องถิ่น ภาคท้องที่ แล้วประสานงานกับหน่วยบริการสุขภาพ ระดับป ฐมภมู ใิ นการให้บ ริการรว่ มกบั อ งค์การบริหารสว่ น ตำบลหนองสาหร่ายทำตามนโยบายหลักป ระกันส ขุ ภาพ ถ้วนหน้าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่ม เป้าหมาย เพื่อต้องการให้ป ระชาชนในตำบล เกิดค วาม เสมอภ าค เท่ า เ ที ย มกั น แ ละเ ข้ า ถึ ง บ ริ ก ารท างด้ า น สุขภาพ
124 หนองสาหร่าย
7) ระบบคนดีศรีสุพรรณ เป็นแนวคิดที่เน้นการ พัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง ทั้งท างด้านการศึกษา คนและ สังคม ด้วยกระบวนการพัฒนาด้วยคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ 11 ประการ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของ จังหวัดสุพรรณบุรโีดยเริ่มต้นจาก ‘โครงการเยาวชนคนดี ศรีสุพรรณ’ ในสถานศึกษา และขยายออกไปยังหมู่บ้าน และชุมชนทุกแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ชื่อว่า ‘โครงการหมู่บ้านคนดีศรีสุพรรณ’ และ ‘โครงการตำบล คนดีศรีสุพรรณ’
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว 125
เพลงศักยภาพชุมชน คำร้อง-ทำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย
วสุ ห้าวหาญ ศราวุช ทุ่งข ี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งข ี้เหล็ก, สมชาย ตรุพ ิมาย
หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ว า่ จ ะอยูท่ ไ่ี หน เราเป็นค นไทยเปีย่ มความสามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลางใต้ ก็ร กั เมืองไทยดว้ ยกนั ท ง้ั นน้ั (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมม องที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ช มุ ชนดแู ลครอบครัว ใช้ค รอบครัวด แู ลชมุ ชน ปูพ นื้ ฐ าน จากหมู่บ้านตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น ่าอยู่ดังฝัน
เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org
ชุมชนทอ้ งถนิ่ บ า้ นเรา เรียนรรู้ ว่ มกนั เพือ่ ก ารพฒ ั นา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกด วงซ่อนไฟ มุ่งมั่น ก้าวออกมาจากรั้วที่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทย คนละมือสองมือค ือน้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็ม ศักยภาพ..