สู่ต่อไป...อ้ายเท่ง

Page 1


สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

Fighting...Local Heroes สารคดีว ่า ด้ว ยเรื่องราวของอาสาสมั ครช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบภั ยภาคใต้

Documentary of Volunteers for Disaster Management in Southern Thailand

ISBN 978-616-329-022-9 บรรณาธิการอำ�นวยการ Editorial Director

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ขนิษฐา นันทบุตร โกเมศร์ ทองบุญชู Duangporn Heangboonyaphan, Khanitta Nuntaboot, Komet Thongbunchu

กองบรรณาธิการ Editor

สำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ Healthy Community Strengthening Section 3, Thai Health Promotion Foundation

ผู้จัดการ Manager

เนาวรัตน์ ชุมยวง

Noawarat Chumyuang

บรรณาธิการ Editor

อาทิตย์ เคนมี Artit Kenmee

กองบรรณาธิการต้นฉบับ Manuscript Editors

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ อภิรดา มีเดช อารยา คงแป้น Veerapong Soontornchattrawat, Aphirada Meedet, Araya Kongpaen

ออกแบบปกและรูปเล่ม Cover Design

ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

Nakwan Sriarunothai

พิสูจน์อักษร Proof Reader

คีรีบูน วงษ์ชื่น

Keereeboon Wongchuen


ที่อยู่

Address

สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2343 1500 โทรสาร 0 2343 1501 www.thaihealth.or.th

Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth)

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย

Published by

Thai Health Center, 99/8 Soi Ngamduplee, Thungmahamek Sathorn, Bangkok, Thailand 10120 Tel: (66) 2 343 1500 Fax: (66) 2 343 1501 www.thaihealth.or.th

สำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Healthy Community Strengthening Section 3,

ดำ�เนินการผลิตโดย

Produced by

เปนไท พับลิชชิ่ง โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine.org

Thai Health Promotion Foundation

Pen Thai Publishing Tel: (66) 2 736 9918 Fax: (66) 2 736 8891 waymagazine.org


คำ�นำ� Foreword

เรือ่ งราวทัง้ หมดเริม่ ต้นทีค่ าบสมุทรอินเดีย เมือ่ ระลอก คลื่ น ขนาดยั ก ษ์ เ คลื่ อ นตั วเข้ า โถมบริ เ วณชายฝั่ ง พื้ น ที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันเมื่อปลายปี 2547 ความ ตายของคนนั บ พั น ชี วิ ต บนชายหาดได้ ผ ลิ เ กิ ด สิ่ ง หนึ่ ง ที่ แห่หอ้ มปกคลุมตัง้ แต่เทือกเขาสก จรดลุม่ น้�ำ ทะเลสาบสงขลา จากลุ่มน้ำ�หลังสวนจนถึงเทือกเขาบรรทัด รวมถึงป่าพรุ ควนเคร็ง เราอาจมองได้ว่านี่คือ ‘วิกฤติ’ ที่นำ�ไปสู่ ‘โอกาส’ ความสูญเสีย ความตาย ในนามภัยพิบัติ นำ�ไปสู่การ รวมตัวกันของคนกลุ่มหนึ่ง พวกเขาเรียกตัวเองว่า ‘พลเมือง’ นี่คือที่มาขององค์กรอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติภาค ประชาชนทีก่ อ่ ตัวขึน้ ณ วันนี้ และเป็นทีม่ าของหน่วยปฏิบตั ิ การ ‘เท่ง - เสื้อส้ม’ ที่พร้อมกอบกู้ทุกสถานการณ์ อาสาสมัครเสื้อส้มเหล่านี้คือใคร พวกเขาคือชาวสวน ยางพารา เกษตรกรในชุมชน กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นพ่อ

All of the stories started at the Indian Peninsula when giant waves rolled into 6 provincial coastal areas on the Andaman coast in the late 2004. The death of thousands of people living on the beach was created one thing that covered from Khao Sok Mountain Ranges stretching to Songkhla Lake Basin; from Lang Suan Basing of the River to Khao Banthat Mountain Ranges including Kuan Kreng Swamp Forest. This can be what we call “crisis” leading to “opportunity”. Loss, death in the disaster led to the incorporation of a group. They called themselves “citizens” This is the origin of the volunteer organization dealing with disaster. Also this is the origin of “Teng Sia Som” (volunteers in orange shirts) who are ready to operate all of the situation. These volunteers in orange shirts are the rubber farmers, farmers in the community, village headman and whoever is willing to volunteer. “The network of disaster management in the


ของลูกชาย เป็นภรรยาของสามี พวกเขาคือใครก็ได้ที่มี หัวใจอาสา ‘เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้’ เริ่มจากจุด เล็กๆ ในระดับหมูบ่ า้ น ตำ�บล ก่อนจะขยายแนวร่วมออกไป เป็น โครงข่าย 5 ภูมินิเวศน์ ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ และพื้นที่เสี่ยงภัย ประกอบด้วย 1. ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา จำ�นวน 9 ตำ�บล ได้แก่ บ้านขาว ตะเครียะ บ้านใหม่ ระโนด ระวะ กระแสสินธุ์ เชิงแส โรง และเกาะใหญ่ 2. ภู มิ นิ เวศน์ เ ทื อ กเขาสก จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี จำ�นวน 5 ตำ�บล 1 เทศบาล ได้แก่ พนม พลูเถื่อน คลองศก ต้นยวน คลองชะอุ่น และเทศบาลพนม 3. ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวน-เขาพะโต๊ะ จังหวัด ชุมพร จำ�นวน 7 ตำ�บล ได้แก่ วังตะกอ พ้อแดง ท่ามะพลา หาดยาย บ้านควน บางน้ำ�จืด และฉวี 4. ภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง จำ�นวน 3 ตำ�บล ได้แก่ บ้านโพ นาโยงใต้ และนาท่ามใต้ 5. ภูมนิ เิ วศน์ปา่ พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำ � นวน 8 ตำ � บล ได้ แ ก่ เกาะขั น ธ์ นางหลง บ้ า นตู ล ขอนหาด เคร็ง ชะอวด วังอ่าง และท่าเสม็ด ปัจจุบนั สมาชิกอาสาสมัครสังกัดเท่ง เสือ้ ส้ม มีก�ำ ลังพล ทัง้ สิน้ 1,474 คน แบ่งเป็นอาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็ว 120 คน อาสาสมั ค รประจำ � พื้ น ที่ ตำ � บล 826 คน อาสาสมั ค ร

South” had started from a small point in the village and sub-district levels before it was expanded to 5 networks according to the geographic characteristics and the risk of the area. The 5 networks consist of: 1. Songkhla Lake Basin Landscape Ecology, Songkhla Province: there are 9 sub-districts which are Bankhao, Takrea, Banmai, Ranod, Rawa, Krasaesin, Cherngsae, Rong and Ko Yai. 2. Khao Sok Landscape Ecology, Surat Thani Province: there are 5 sub-districts and 1 municipality which are Panom, Pluthuean, Klong Sok, Tonyuan, Klong Cha-un and Panom municipality. 3. Lang Suan- Khao Pa Toa Landscape Ecology, Chumphon Province: there are 7 sub-districts which are Wangtako, Pordaeng, Tarmapla, Hadyai, Ban Kuan, Bangnamjued and Chawee. 4. Banthat Mountain Ranges Landscape Ecology, Trang Province: there are 3 sub-districts which are Banpho, Nayongtai and Natamtai. 5. Kuan Kreng Swamp Forest Landscape Ecology, Nakhon Si Thammarat Province: there are 8 sub-districts which are Ko Khan, Nanglong, Bantool, Khonhad, Kreng, Cha-uat, Wang-ang and Thasamed. At the present, there are 1,474 members of “Teng Sia Som” (volunteers in orange shirts). They can be divided as 120 persons for the fastmoving volunteers, 826 persons for the volunteers of sub-district, 100 persons for women health care volunteers, 428 persons for children and youth


กลุ่มสตรี อสม. 100 คน อาสาสมัครกลุ่มเด็กและเยาวชน 428 คน พร้อมด้วยครูฝกึ อาสาสมัครและนักวิชาการชุมชน ท้องถิ่นอีก 20 คน ถามว่าทำ�ไมประชาชนต้องลุกขึ้นมารวมพลังตั้งกลุ่ม ตั้งองค์กรปกป้องคุ้มภัยตนเอง ในเมื่อภารกิจการจัดการ ภัยพิบัติถือเป็นภารกิจระดับชาติ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองทีต่ อ้ งบำ�บัดทุกข์บ�ำ รุงสุขให้กบั อาณาประชาราษฎร์ คำ�ตอบง่ายๆ มีอยู่ว่า บทเรียนที่ผ่านมาในอดีตได้ สอนให้พวกเขารูว้ า่ ไม่มใี ครให้ความช่วยเหลือได้ดเี ท่าตนเอง การทำ�งานของหน่วยงานภาครัฐยังมีข้อจำ�กัดมากมาย ไม่ ว่าจะเป็นระเบียบราชการที่ยุ่งเหยิง ความซับซ้อนของสาย บังคับบัญชา การขาดแคลนกำ�ลังพล ขัดสนงบประมาณ ความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงไม่สอดคล้อง กับลักษณะความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติทไี่ ม่เลือกเวลา ในการเกิด ยังไม่นับเรื่องเศร้าอย่างการแจกถุงยังชีพแก่ผู้ประสบ ภัย ในทางหนึ่งคือการส่งเสริมให้ประชาชนตกอยู่ในบ่วง วัฒนธรรมของ ‘ผูร้ บั ’ จนเคยตัว ขณะที่ ‘ผูใ้ ห้’ ทีม่ รี ายชือ่ แปะ อยู่ข้างกล่องโฟมบรรจุอาหารก็แทบจะกลายสถานะเป็น ผู้ มีพระคุณไปโดยปริยาย รูปแบบการช่วยเหลือลักษณะนี้จึง ไม่ตา่ งอะไรกับการสงเคราะห์ผดู้ อ้ ยโอกาสหรือผูย้ ากไร้ และ ยิง่ เป็นการซ้�ำ เติมให้ประชาชนงอมือ งอเท้า จนไม่รจู้ กั ดิน้ รน ช่วยเหลือตนเอง

volunteers and 20 purposes of the trainers and community academics. It is asked why the people rise to power and set their own to protect themselves from disasters when the mission is considered a mission at the national level. Also, it is actually the duty of the government officials to protect the citizens. The simple answer is that the lessons of the past have taught the people to know that no one is able to help as well as their own. The government also has many limitations such as a mess regulation of the government, the complexity of the command line, the shortage of manpower, poor budget, and the delays in the rescue of victims. These are not consistent with the uncertainty of a natural disaster which can occur any time. The reasons mentioned above do not include the tragedy of the aid bags distributed to victims. It is the way to encourage people to fall into the cultures of being the “recipients” while the names of the “givers” are attached on the foam boxes containing food. This leads the givers become benefactors to the victims automatically. This form of assistance is like the support provided to the disadvantaged or the poor. And it further aggravates the people not to recognize their own struggles. Natural disasters, nowadays, are more and more intensified. And they will be harder if the patronage social system is continued to foster in the society.


แนวโน้มภัยธรรมชาตินับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และจะเสี ย หายหนั ก ขึ้ น หากขื น ปล่ อ ยให้ ร ะบบอุ ป ถั ม ภ์ แบบสังคมสงเคราะห์ดำ�เนินต่อไปโดยไม่มีใครลุกขึ้นมา ฉีกกฎ เหตุผลข้อต่อมา ในเมือ่ เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ทุกครัง้ ทีเ่ กิดภัยพิบตั ิ หน่วยงานภายนอกมักไม่สามารถช่วยเหลือได้ ทันท่วงทีหรือเข้าไม่ถงึ พืน้ ที่ เพราะไม่มใี ครเข้าใจสภาพพืน้ ที่ ได้ดีไปกว่าคนในชุมชนเอง ยังไม่นับว่าทุนของชุมชนที่มีอยู่ เดิม ไม่วา่ จะเป็นทุนทางปัญญาและทุนทางสังคมทีม่ จี ดุ แข็ง คือ ความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ มีความรักและหวงแหน ถิน่ ฐานบ้านเกิด องค์ประกอบเหล่านีย้ อ่ มสามารถพัฒนาไป สูก่ ารรวมตัวเป็นเครือข่ายอาสาสมัครทีเ่ ข้มแข็งและยัง่ ยืนได้ หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงหน้าต่างบานหนึ่งที่เผยให้เห็น เรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ลุกขึ้น มามีส่วนร่วมในชีวิตและชุมชนของตนเองอย่างสมศักดิ์ศรี ดวงพร เฮงบุณยพันธ์

ผู้อำ�นวยการสำ�นักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Another reason is that everyone agreed that every time a disaster occurs, the outside agencies are often unable to help or immediate access to the area because no one understands the area better than the people in the community; not counting the capitals existing in the community such as the intellectual capital and social capital which its strengths are kinship relationships and the love of their homeland. These elements can lead to the strong and sustainable volunteer network. This book is just one panel that reveals the story of a group of people manage their own lives and participate in community life and their own glory.

Duangporn Heangboonyaphan

Director, Healthy Community Strengthening Section, Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth)


สารบัญ Contents

1 2 3

เปิดปฏิบัติการ ‘เท่ง เสื้อส้ม’ Open the operation of ‘Teng Sia Som’ (Men with orange shirt)

เผชิญความตายด้วยสติ Facing death with consciousness

ถาม-ตอบ: ขุนศึกอาสา วีรบุรุษชาวบ้าน ‘โกเมศร์ ทองบุญชู’ Question&Answer: Warlord volunteer; Local hero ‘Komet Thongbunchu’

4 5

รวมหัวใจ ‘ฅนอาสา’ Being together ‘volunteers’

ส่งแรงใจ Moral Support Given


10

24

70

86

128


1

เปิดปฏิบัติการ ‘เท่ง เสื้อส้ม’

10

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


เหตุการณ์ผ่านไปหลายปี แม้วันนี้ผู้คนจะตื่นจากฝันร้ายแล้ว แต่เมื่อ ยามหลับตา หลายคนยังคงจดจำ�ภาพเหตุการณ์วันนั้นได้ดี...

เช้านั้นท้องทะเลเงียบสงบ ลมพัดบางเบา แต่จู่ๆ น้ำ�ทะเลกลับลดฮวบ จนเหือดแห้ง เหลือเพียงหาดทรายแห้งผากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และ ยังไม่ทนั ทีจ่ ะมีใครฉุกคิดได้วา่ นัน่ คือสัญญาณร้ายของภัยพิบตั ทิ กี่ �ำ ลังมาเยือน ไม่กี่อึดใจถัดมาก็เกิดคลื่นยักษ์สูงเทียมยอดมะพร้าว โถมเข้าซัดชายฝั่งอย่าง เกรี้ยวกราด กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างจนพังพินาศในชั่วพริบตา หลังคลื่นยักษ์สลายตัว เขาและผองเพื่อนรีบรุดไปยังที่เกิดเหตุ สิ่งที่ ปรากฏอยูเ่ บือ้ งหน้าเหลือเพียงร่องรอยความเสียหาย เศษซากอาคารบ้านเรือน กระจัดกระจายเกลือ่ นชายหาดและท้องถนน กินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล บรรยากาศเต็มไปด้วยความชุลมุนวุ่นวาย คราบน้ำ�ตา ความสูญเสีย และเสียง หวีดร้องของผู้คนยังคงกึกก้องอยู่ในความทรงจำ� เหตุการณ์มหาภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มคาบสมุทร อินเดีย และพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อปลายปี 2547 คร่า ชีวติ ผูค้ นไปนับแสนราย เป็นความสูญเสียครัง้ ใหญ่หลวงทีโ่ ลกไม่อาจลืมเลือน ทว่ามนุษย์เราไม่ควรปล่อยให้ชีวิตจมอยู่กับความเศร้านานเกินไป... ในนามของเพื่อนมนุษย์ จ.ท.โกเมศร์ ทองบุญชู อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้าน ไม้เสียบ ตำ�บลเกาะขันธ์ อำ�เภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวเรี่ยว หัวแรงสำ�คัญของเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองภาคใต้ ได้ระดมทีมงาน อาสาสมัครเท่าทีม่ เี ข้าช่วยเหลือค้นหาผูร้ อดชีวติ เก็บกูร้ า่ งของผูเ้ สียชีวติ จัดตัง้ ศูนย์พกั พิง สร้างทีพ่ กั ชัว่ คราวและถาวร ตลอดจนฟืน้ ฟูพนื้ ทีใ่ ห้แก่ผปู้ ระสบภัย Fighting..Local Heroes

11


ตลอดระยะเวลา 1 ปี เ ต็ ม เช่ น เดี ยวกั บ ที ม กู้ ภั ย และ จิตอาสาทีป่ ระเดประดังหลัง่ ไหลกันมาจากทัว่ สารทิศเพือ่ ช่วยกันซับคราบน้ำ�ตาอันดามัน ห้วงเวลาถัดมา หลังคลื่นลมสงบลงและทุกอย่าง ได้รับการฟื้นฟูให้คืนสู่สภาพปกติแล้ว ทว่าภารกิจของ ผู้ใหญ่โกเมศร์และทีมงานไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เหตุการณ์ ที่อันดามันเป็นแรงกระตุ้นสำ�คัญที่ทำ�ให้เขาต้องหันกลับ มาทบทวนระบบการทำ�งานภายในเครือข่ายตนเอง เพราะ ไม่อาจคาดเดาได้ว่าในอนาคตจะเกิดภัยพิบัติร้ายแรง เช่นนีข้ นึ้ อีกเมือ่ ใด ทัง้ เขาและแกนนำ�เครือข่ายแผนแม่บท ชุมชนพึ่งตนเองภาคใต้จึงเริ่มสั่งสมหาความรู้เพื่อพัฒนา ศักยภาพของตนเอง และยกระดับขึ้นเป็น ‘เครือข่ายการ จัดการภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้’ นีค่ อื ทีม่ าขององค์กรอาสาสมัครจัดการภัยพิบตั ภิ าค ประชาชนที่ก่อตัวขึ้น ณ วันนี้ และเป็นที่มาของหน่วย ปฏิบัติการ ‘เท่ง เสื้อส้ม’ ที่พร้อมตะลุยทุกสถานการณ์ หลังก่อตั้งเครือข่ายได้ไม่นานนัก เหล่าอาสาสมัคร เสื้อส้มก็ถูกทดสอบจากเหตุการณ์วิกฤติธรรมชาติครั้ง แล้วครั้งเล่า ปลายปี 2548 เกิดอุทกภัยในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย 7 จังหวัด ไล่มาตั้งแต่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เครือข่ายการจัดการ ภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้ได้ระดมอาสาสมัครเข้าช่วยเหลือ 12

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

พี่น้องผู้ประสบภัยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่หน่วยงานอื่นเข้า ถึงได้ยาก เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าองค์กรภาคประชาชน คนธรรมดาที่ไร้ซึ่งอุปกรณ์ทันสมัย ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ มีเพียงกายกับใจทีพ่ ร้อมจะช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน ก็สามารถช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้ จากนัน้ ปี 2549 เกิดน้�ำ ป่าดินโคลนถล่มพืน้ ที่ 3 จังหวัด ภาคเหนือ ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ทางเครือข่าย จัดการภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้ก็ได้ส่งทีมอาสาสมัครเข้าไป ช่ ว ยเหลื อ อี ก ครั้ ง รวมถึ ง เหตุ ก ารณ์ น้ำ � ท่ ว มใหญ่ เ มื อ ง โคราช เรี ย กได้ ว่ า แทบทุ ก ครั้ ง ที่ เ กิ ด ภั ย พิ บั ติ ร้ า ยแรง ทางเครือข่ายก็ได้สง่ กำ�ลังเข้าช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยทัว่ ทุก พื้นที่ ทุกภูมิภาค ในแง่หนึ่ง ภัยพิบัติที่ประเดประดังเข้ามาก็เป็นบท ทดสอบที่หล่อหลอมจิตใจเหล่าอาสาสมัครให้กล้าแกร่ง และบ่มเพาะประสบการณ์การทำ�งานให้เชี่ยวกรำ�ยิ่งขึ้น จนถื อ เป็ น ต้ น แบบของการทำ � งานอาสาสมั ค รจั ด การ ภัยพิบตั ภิ าคประชาชน ก่อนทีท่ กุ วันนีจ้ ะขยายวง ‘ฅนอาสา’ ขึ้ น มาอี ก นั บ พั น ชี วิ ต กระจายกำ � ลั ง อยู่ ใ นหลายพื้ น ที่ ทั่วภาคใต้ตามแต่ละภูมินิเวศน์ ‘ทำ�งานด้วยใจ ไม่มคี า่ จ้าง’ คือประโยคหนึง่ ทีพ่ วกเขา ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน


ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คำ�พระทีว่ า่ ‘อัตตา หิ อัตตโน นาโถ’ เป็นคาถาศักดิส์ ทิ ธิท์ ยี่ งั ใช้การ ได้ดี ยิ่งในสถานการณ์เฉียดเป็นเฉียดตาย ทั้งดินโคลนถล่ม น้ำ�ป่าไหล หลาก การสวดมนต์วงิ วอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าย่อมไม่ใช่ทาง เลือกของผูท้ จี่ ะอยูร่ อด ในเมือ่ พระเจ้าไม่สามารถประทานเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือยางลงมาได้ ทางเดียวเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้คือ การพึ่งตนเอง “การจัดการภัยพิบตั เิ ป็นสิง่ ทีช่ มุ ชนท้องถิน่ สามารถทำ�ได้เอง และ บางครั้งยังทำ�ได้ดีกว่าหน่วยงานราชการด้วยซ้ำ�” เป็นคำ�ยืนยันจาก Fighting..Local Heroes

13


ผู้ใหญ่โกเมศร์ กุ ญ แจดอกสำ � คั ญ ที่ จ ะรั บ มื อ ภั ย พิ บั ติ จ าก ธรรมชาติ ในมุ ม มองของผู้ ใ หญ่ โ กเมศร์ เ ชื่ อ มั่ นว่ า ระบบการจัดการภัยพิบัติที่ดีที่สุดอยู่ที่คนในชุมชน ท้องถิ่นเป็น ผู้กำ�หนด ส่วนภาครัฐมีบทบาทในฐานะ เป็น ผู้ให้การสนับสนุนเท่านั้น ฉะนั้นคำ�ตอบสุดท้าย จึ ง อยู่ ที่ ก ารพั ฒนากลไกการจั ด การภั ย พิ บั ติ ชุ ม ชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน “หน่วยราชการมักมีข้อจำ�กัดมากมาย ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ เช่น จังหวัดหนึ่ง มีเรือไม่เกิน 20 ลำ� ถ้าน้ำ�ท่วมทั้งจังหวัด ยังไงมันก็ไม่ พอใช้ ส่วนหน่วยปฏิบตั งิ าน เช่น เจ้าหน้าทีป่ อ้ งกันและ บรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งจังหวัดหนึ่งมีประมาณ สิบกว่าคน ถ้าเกิดภัยพิบัติหนักๆ เขาก็ไม่สามารถ ช่วยเหลือได้ทั่วถึง ทั้งยังติดขัดระบบระเบียบราชการ ที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ทำ�ให้การช่วยเหลือล่าช้า ใน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วชาวบ้านอย่างเราๆ จะมัวนิ่งเฉย อยู่อีกทำ�ไม” เขายกตัวอย่างกรณีดินโคลนถล่มที่ตำ�บลกรุงชิง อำ�เภอนบพิตำ� จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือน เมษายน 2554 เหตุการณ์ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ ปภ. ระดับจังหวัดก็ยงั ไม่สามารถเข้าถึงพืน้ ทีไ่ ด้ เหตุเพราะ

14

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

สะพานถูกตัดขาด เส้นทางทัง้ หมดปิดตาย ทางเดียวที่ เข้าได้คือการโรยตัวจากเฮลิคอปเตอร์ ทว่าผู้ที่อยู่ใกล้ จุดเกิดเหตุที่สุดก็คือคนในพื้นที่เอง ในภาวะคับขัน เช่นนี้ประชาชนจึงจำ�เป็นต้องช่วยเหลือพึ่งพาตนเอง ให้ได้ อย่ามัวก้มหน้ารอคอยความหวังที่ยังมาไม่ถึง นั่ น หมายความว่ า ภาคประชาชนควรต้ อ งมี การซักซ้อมและฝึกฝนคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็น ขั้นตอน ควรมีการจัดวางระบบตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ เพื่อให้สามารถ เผชิญกับสถานการณ์จริงที่ยากลำ�บากได้ โดยไม่ต้อง รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว


ทักษะสำ�คัญ กว่าหัวใจ ปัญหาในการซ้อมรับมือภัยพิบัติ นั้ น ผู้ ใ หญ่ โ กเมศร์ ม องว่ า ที่ ผ่ า น มาส่ ว นใหญ่ มั ก เป็ น การสาธิ ต ของ เจ้าหน้าทีห่ น่วยราชการนอกพืน้ ที่ ขณะ ที่ชาวบ้านเป็นเพียงผู้รับชมการแสดง แต่ในทางปฏิบัติจริงควรให้คนในพื้นที่ มีบทบาทโดยตรงในการฝึกซ้อม อย่าง น้อยที่สุดปีละครั้ง รวมทั้งต้องมีการ ซั ก ซ้ อ มร่ ว มกั บ ภาคี เ ครื อ ข่ า ยและ หน่วยงานต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นโรงพยาบาล มูลนิธิกู้ภัย ฝ่ายปกครอง ตำ�รวจ และ อาสาสมัครชุมชน “สำ�คัญที่สุดต้องให้ชาวบ้านรู้ว่า การซ้ อ มในวั น นี้ จ ะส่ ง ผลต่ อ ชี วิ ต เขา อย่างไร หากเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ ขึ้ น มาจริ ง ๆ เขาควรจะอพยพไปอยู่ ทีไ่ หนและดำ�รงชีวติ อย่างไร ไม่อย่างนัน้

ชาวบ้านจะไม่ให้ความสำ�คัญในการซ้อม” ผู้ใหญ่โกเมศร์แนะ แม้ว่าหลักใหญ่ในการทำ�งานของอาสาสมัครคือ ‘หัวใจ’ ที่ พร้อมรับใช้เพือ่ นมนุษย์ในยามยาก แต่ในสถานการณ์ฉกุ เฉิน อาศัย เพียงหัวใจอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมี ‘ทักษะ’ ในการเอาตัวรอด และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้จึงจะเป็นคุณสมบัติที่ครบถ้วนของ อาสาสมัคร เครือข่ายการจัดการภัยพิบตั พิ นื้ ทีภ่ าคใต้จงึ ได้มกี ารออกแบบ หลักสูตรการอบรมอาสาสมัครไว้หลายระดับ หนึง่ ระดับบุคคลและ ครอบครัว สอง หลักสูตรอบรมความรู้เฉพาะทาง เช่น การขับเรือ การช่วยเหลือด้วยเชือก การใช้เครือ่ งจักรกลหนัก หรือขัน้ สูงกว่านัน้ อาจมีการฝึกการใช้เครื่องพารามอเตอร์ เป็นต้น Fighting..Local Heroes

15


นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารประสานหน่ ว ยนาวิ ก โยธิ น กองทั พ เรื อ มาเป็ นวิ ท ยากรให้ ค วามรู้ ใ นการเอาตั ว รอด ประสานกับ ปภ. มาอบรมหลักสูตรการกู้ภัยทาง น้ำ� หรือเชิญหน่วยแพทย์พยาบาลมาอบรมเรื่องการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้อาสาสมัครนำ�ความรู้ 16

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ทั้งหมดมาบูรณาการเป็นหลักสูตรของชุมชนเองให้ สอดคล้องตามสภาพของแต่ละท้องถิน่ แต่ละภูมนิ เิ วศน์ “ภั ย ธรรมชาติ คื อ สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ยั บ ยั้ ง ไม่ ไ ด้ แต่ สามารถเตรียมตัวรับมือเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อย ที่สุดได้ และนี่คือภารกิจของเรา” ผู้ใหญ่โกเมศร์ย้ำ�


-1-

Open the operation of ‘Teng Sia Som’ (Men with orange shirt) The event had passed many years. Although the people have already got up from the nightmare, they still remember that day vividly… That morning, the sea was calm and the wind was light. But suddenly, the water in the sea decreased drastically. This had never happened before. No one realized that this was the bad sign that the

Fighting..Local Heroes

17


disaster was visiting. A few moments later, there

help with the search for survivors, recovered the

was a giant tidal wave which was high as a

bodies of the deceased and established temporary

coconut tree harshly hit the coast. It swallowed

shelters for the survivors including regenerated of

everything instantly.

the ruin areas for the victims for almost 1 year

After the giant wave had dispersed, he and

like other volunteers from all over the nation to

his friends rushed to the scene. What appears in

help the victims. After the situation was restored,

the foreground was only the traces of damage

and everything returned to normal, the mission of

and scattered dwellings that consumed vast area.

Mr.Komet and the team did not stop. They had

The atmosphere was filled with tears and losses.

to review their work in the network because the

The sound of people crying is still in the memory.

disasters are unpredictable. Therefore, he and

Tsunami that hit the Indian Ocean and the

the leaders of the self-reliant community master

areas of 6 provinces at the Andaman Coast in

plan of the South tried to accumulate knowledge

the late 2004 had killed more than one hundred

to develop their own potential and rise up “the

thousand of people. This is the great loss that is

network for disaster management in the South”.

unforgettable. Nevertheless, our lives should not be caught with sadness for too long… In the name of fellowman, CPL Mr.Komet Thongbunchu, the former village headman of Mai Siab Village, Ko Khan sub-district, Cha-uat

This is the origin of the volunteer organization dealing with the disaster. It is also the origin of “Teng Sia Som” (Men with orange shirt) who are ready for all events. After the network was set up, the volunteers were tested many times from the disasters.

district, Nakhon Si Thammarat Province, is the main

At the end of the year 2005, 7 provinces

person of the self-reliant community master plan of

on the Gulf of Thailand, which were Surat Thani,

the South. He gathered a team of volunteers to

Nakhon Si Thammarat, Phatthalung, Songkhla,

18

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


Pattani, Yala and Narathiwat, were

in Korat. It can be said that every time there is

flooded. The network gathered the

a deadly disaster, the network has sent forces to

volunteers to help the victims, especially the areas

assist the victims throughout the regions.

that other organizations could not reach to. This

The disasters that have occurred repeatedly

can be proved that only the ordinary public

are to strengthen the volunteers’ potential until

organization without modern equipment and

it is the model of the volunteer work in dealing

wages can help others.

with the disasters and becomes thousands of the

After the year 2006, there were flash floods which caused mudslides in 3 areas of the Northern Provinces: Phrae, Uttaradit and Sukhothai. The volunteers from the network for

“volunteers” are distributed in many areas in the South according to each landscape ecology. “We work with heart with no wages.” This is the sentence said by every volunteer.

disaster management in the South rushed to help the victims. They also went to the flooding scene Fighting..Local Heroes

19


Self-reliance The word ‘self-reliance’ is holy and can be

progress. Knowing the limitations, we have to help ourselves first.

used when there are near-death situations like

For example, I would like to show the case

landslides and flash floods. Praying to ask for

of the landslides at Krungching sub-district,

help from God is not a solution. Self-reliance

Nopphitam district, Nakhon Si Thammarat

is the answer

province in April, 2011. When the landslides

“Dealing with the disasters is what people

occurred, the staff could not reach into the

in the community can do by themselves and

scene because the bridge was cut off and the

they sometimes manage it better than the

roads were closed. The only way allowing

government organizations.” This is what Mr.

the staff to get to the scene was by rappelling

Komet emphasizes.

from helicopters. But those who lived near the

The effective system used to cope with a

scene were the people in the area. So, the

natural disaster, from the view of Mr.Komet, is

people were needed to achieve self-reliance.

the system set by the people in the community.

Do not wait and hope for the things that were

The government is just the supporters. Therefore,

not yet to come.

the key in dealing with disasters is the

This means that people should be trained

development of mechanisms for community

for dealing with disasters. They should be able

disaster management which is done by the

to manage with disasters starting from before

community and for the community.

the incident, during the incident and after the

“The government organizations have a lot of limitations such as having no equipment, having not enough workers or volunteers or complicated regulations resulting in slow 20

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

incident so that they do not have to wait for the help from the government.


Skills are important than heart For Komet, he thinks that the problems in practicing to deal with disasters in the past was the demonstration from the government officials outside the area that the villagers could only watch but had no chance to practice directly. The practice and rehearsal should be held at least once a year. Moreover, the network partners such as the hospital, the rescue foundation, the police officers and the community volunteers should practice and rehearse together. Komet suggested that “the villagers should be informed that how the practice and rehearsal will affect their lives if there is a real disaster. If not, the villagers will not pay attention to the practice and rehearsal.” Although the key factor to work as a volunteer is ‘heart’, survival skills are also important. The network of disaster management in the South has designed various courses for volunteers at different levels such as the individual and family levels. The courses for training specialized knowledge, such as driving a boat, rescuing with a rope and using equipment or using motor parameters are also provided. In addition, there are trainers from Marines and nurses. Then the volunteers can integrate the knowledge to create their own curriculum in accordance with the context of each landscape ecology. Mr.Komet emphasized that “we cannot resist natural disasters, but we can be prepared for the least possible loss.” This is our duty. Fighting..Local Heroes

21


เครือข่ายคนอาสา 5 ภูมินิเวศน์ เครือข่ายการจัดการภัยพิบตั พิ น้ื ทีภ่ าคใต้ เริ่มจากจุดเล็กๆ ในระดับหมู่บ้าน ตำ�บล ก่อนจะขยายแนวร่วมออกไปเป็นโครงข่าย 5 ภูมินิเวศน์ ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ และพื้นที่เสี่ยงภัย ประกอบด้วย

ภูมินิเวศน์เทือกเขาสก

จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำ�นวน 5 ตำ�บล 1 เทศบาล ได้แก่ พนม พลูเถื่อน คลองศก ต้นยวน คลองชะอุ่น และเทศบาลพนม Khao Sok Landscape Ecology, Surat Thani Province: there are 5 sub-districts and 1 municipality which are Panom,

The volunteer networks of 5 landscape ecologies “The network for disaster

Pluthuean, Klong Sok, Tonyuan, Klong Cha-un and Panom municipality.

management in the South” had started from a small point in the village and sub-district levels before it was expanded to 5 networks according to the geographic characteristics and the risk of the area. The 5 networks consist of:

ภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด

จังหวัดตรัง จำ�นวน 3 ตำ�บล ได้แก่ บ้านโพ นาโยงใต้ และนาท่ามใต้

Banthat Mountain Ranges Landscape Ecology, Trang Province: there are 3 sub-districts which are Banpho, Nayongtai and Natamtai.

ปัจจุบันสมาชิกอาสาสมัครสังกัดเท่ง เสื้อส้ม มีกำ�ลังพลทั้งสิ้น 1,474 คน แบ่งเป็นอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็ว 120 คน อาสาสมัครประจำ�พื้นที่ตำ�บล 826 คน อาสาสมัครกลุ่มสตรี อสม. 100 คน อาสาสมัครกลุ่มเด็กและเยาวชน 428 คน พร้อมด้วยครูฝึกอาสาสมัครและนักวิชาการชุมชนท้องถิ่นอีก 20 คน 22


ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวน-เขาพะโต๊ะ

จังหวัดชุมพร จำ�นวน 7 ตำ�บล ได้แก่ วังตะกอ พ้อแดง ท่ามะพลา หาดยาย บ้านควน บางน้ำ�จืด และฉวี Lang Suan- Khao Pa Toa Landscape Ecology, Chumphon Province: there are 7 sub-districts which are Wangtako, Pordaeng, Tarmapla, Hadyai, Ban Kuan, Bangnamjued and Chawee.

ภูมินิเวศน์ป่าพรุควนเคร็ง

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำ�นวน 8 ตำ�บล ได้แก่ เกาะขันธ์ นางหลง บ้านตูล ขอนหาด เคร็ง ชะอวด วังอ่าง และท่าเสม็ด ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา

จังหวัดสงขลา จำ�นวน 9 ตำ�บล ได้แก่ บ้านขาว ตะเครียะ บ้านใหม่ ระโนด ระวะ กระแสสินธุ์ เชิงแส โรง และเกาะใหญ่ Songkhla Lake Basin Landscape Ecology, Songkhla Province: there are 9 sub-districts which are Bankhao,

Kuan Kreng Swamp Forest Landscape Ecology, Nakhon Si Thammarat Province: there are 8 sub-districts which are Ko Khan, Nanglong, Bantool, Khonhad, Kreng, Cha-uat, Wang-ang and Thasamed.

Takrea, Banmai, Ranod, Rawa, Krasaesin, Cherngsae, Rong and Ko Yai.

At the present, there are 1,474 members of ‘Teng Sia Som’ (volunteers in orange shirts). They can be divided as 120 persons for the fast-moving volunteers, 826 persons for the volunteers of Sub-district, 100 persons for women health volunteers, 428 persons for children and youth volunteers and 20 purposes of the trainers and community academics.

23


2

เผชิญความตาย ด้วยสติ

24

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


เช้านีอ ้ ากาศขมุกขมัวชอบกล ท้องฟ้าไม่เป็นสีฟา้ ไม่มี แสงแดดลอดก้อนเมฆลงมาให้เห็นแม้สักนิด เหมือน พระอาทิตย์ไม่ยอมตื่นจากหลับใหล

ฝนตกหนักต่อเนื่องกันมา 3 คืนแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่า จะซาเม็ดลง ดูท่าจะจริงอย่างที่เขาว่ากันว่า เมืองแห่งนี้คือ ดินแดนฝนแปดแดดสี่ หรือเหมือนอย่างทีอ่ าจินต์ ปัญจพรรค์ เคยบรรยายไว้ในรวมเรือ่ งสัน้ ชุด มหา’ลัยเหมืองแร่ - ‘ฝนตก จนใบไม้โงหัวไม่ขึ้น’ ใครบางคนอาจชมชอบบรรยากาศฉ่ำ�เย็นจากสายฝน คล้ายกับว่ามันช่วยสร้างอารมณ์เปลี่ยวเหงาอย่างสุดแสน โรแมนติก แต่ฝนเม็ดโตๆ ที่ตกแบบไม่ลืมหูลืมตาอย่างใน เช้านี้กลับทำ�ให้ต้องรู้สึกกังวลใจอย่างประหลาด อากาศที่ เบาบางทำ�ให้หายใจไม่ทว่ั ท้อง กาแฟทีช่ งทิง้ ไว้คา้ งแก้วชืดสนิท

เสียงวิทยุสื่อสารจาก ‘ว.แดง’ ดังอู้อี้ฟัง ไม่ถนัดนัก แต่พอจับใจความได้ว่าสถานการณ์ ไม่ ค่ อ ยสู้ ดี มี ร ายงานแจ้ ง ว่ า ปริ ม าณน้ำ � ฝน บริเวณเทือกเขาพะโต๊ะ ช่วงรอยต่อจังหวัดชุมพรระนอง อยูใ่ นภาวะน่าเป็นห่วง ระดับน้�ำ ในแม่น�้ำ หลังสวนเริ่มล้นตลิ่ง ทีมงานกำ�ลังเฝ้าติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด 10.30 น. สายแล้ว แต่ฝนยังคงตกหนัก ทั้งกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำ�ในชุมชน ต่าง ร้อนรนกระสับกระส่าย จนต้องออกประกาศแจ้ง เตือนลูกบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยให้ เตรียมอพยพผูส้ งู อายุ เด็ก และผูป้ ว่ ย เคลือ่ นย้าย ออกไปยังพืน้ ทีป่ ลอดภัยหรือศูนย์อพยพตามทีม่ ี การนัดหมายกันไว้

Fighting..Local Heroes

25


11.00 น. เวลาล่วงผ่านไปเพียงครึ่งชั่วโมง โดยไม่ทันตั้งตัว มี รายงานแจ้งอีกครัง้ ว่า ขณะนีน้ �้ำ เริม่ ท่วมพืน้ ทีบ่ างส่วนแล้ว บางเส้นทาง ถูกตัดขาด มีชาวบ้านตกค้างอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอกำ�ลังอาสาสมัคร ในพื้นที่เข้าช่วยเหลือด่วน 11.30 น. สถานการณ์ลกุ ลาม พืน้ ทีต่ �ำ บลแหลมทรายเกิดน้�ำ ท่วม เป็นบริเวณกว้าง ระดับน้�ำ เพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว ประชาชนจำ�นวนมาก ตกค้ า งไม่ ส ามารถออกจากพื้ น ที่ ไ ด้ และมี บ างรายได้ รั บ บาดเจ็ บ ประธานศูนย์การจัดการภัยพิบัติภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวนสั่งระดม ทีมงานอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วและแกนนำ�ชุมชน พร้อมจัดตั้งศูนย์ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยโดยประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล มูลนิธิ กู้ชีพกู้ภัย เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ เทศบาลและ อบต. ข้างเคียง 12.00 น. หน่วยงานสนับสนุนเข้ารายงานตัวต่อผู้อำ�นวยการ ศูนย์ช่วยเหลือฯ รับทราบสถานการณ์ ประชุมทำ�ความเข้าใจแผนที่ 26

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ก่อนมอบหมายภารกิจและกระจายกำ�ลัง เข้าปฏิบัติหน้าที่ ทันทีทไ่ี ปถึงพืน้ ทีเ่ กิดเหตุ พบผูป้ ระสบภัย จำ � นวนหนึ่ ง ติ ด ค้ า งอยู่ บ ริ เ วณฝั่ ง ตรงข้ า ม แม่ น้ำ � หลั ง สวน ซึ่ ง ขณะนี้ ไ ด้ ก ลายสภาพ เป็นเกาะแก่งไปแล้วเรียบร้อย ทางเดียวที่ จะเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากที่นั่นได้คือ การ โรยตัวด้วยเชือก เรือกู้ภัยของเครือข่ายภัยพิบัตินับสิบ ลำ�ออกลาดตระเวนตามแนวชายฝั่ง จนถึง จุ ด ที่ มี ชั ย ภู มิ เ หมาะแก่ ก ารสร้ า งสะพาน เชื อ ก หน่ ว ยเคลื่ อ นที่ เ ร็ ว กระโจนขึ้ น จาก เรือ กระจายงานตามความถนัด คนหนึ่งเข้า ถากถางพื้นที่เพื่อเปิดทางลำ�เลียงผู้ประสบ ภัย คนหนึ่งเร่งตัดไม้ไผ่เตรียมสร้างบันไดลิง คนหนึ่งผูกเงื่อนมัดให้แน่นหนา ส่วนอีกคน ยอมเสี่ ย งชี วิ ต ลอยคอข้ า มลำ � น้ำ � สี ขุ่ น อั น เชี่ยวกราก เพื่อลากเชือกเส้นโตไปผูกยึดโยง กับอีกฝั่ง เวลากระชั้นเข้ามาทุกขณะ เข็มนาฬิกา ยังไม่หยุดเดิน ทุกคนต้องเร่งมือแข่งกับเวลา เหงือ่ เม็ดโตๆ ไหลปนกับเม็ดฝนจนเปียกปอน ไปทัง้ ตัว เสียงลมหายใจหอบถี่ แต่มอื ทัง้ สอง


ยังคงออกแรงต่อไปไม่หยุด กระทั่งเมื่อปลายเชือกทั้งสองฝั่งถูกมัดขึงตรึง แน่นจนแน่ใจได้ว่าปลอดภัย ผู้ประสบภัยต่างทยอย ปีนขึ้นบันไดลิง กลั้นหายใจแล้วกระโดดโรยตัวข้ามฝั่ง แม่น้ำ� แขวนชีวิตไปตามเส้นเชือกทีละคน ทีละคน จน สุดสายตา เหล่านักรบเสือ้ ส้มยืนปาดเหงือ่ เกิดรอยยิม้ น้อยๆ ผุดขึ้นบนใบหน้าของพวกเขา 15.00 น. เวลาไม่คอยท่า ระดับน้ำ�สูงถึงขั้น

วิกฤติ กระแสน้ำ�กราดเกรี้ยว ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ เสี่ยงภัยได้อีกต่อไป ศูนย์บัญชาการสถานการณ์มี คำ�สั่งด่วนผ่านวิทยุสื่อสารให้ทุกหน่วยยุติภารกิจและ ออกจากพื้นที่ให้หมดภายในครึ่งชั่วโมง ทั้งผู้บาดเจ็บ และผูป้ ระสบภัยส่วนทีเ่ หลือจึงถูกลำ�เลียงลงเรือ ก่อน จะมุง่ หน้าเข้าหาชายฝัง่ ทีป่ ลอดภัย ภารกิจครัง้ นีล้ ลุ ว่ ง ด้วยดี ทุกอย่างจบลงอย่างแฮปปี้เอ็นดิ้ง ไม่มีร่องรอย ของโศกนาฏกรรมหรือความสูญเสียปรากฏให้เห็น

Fighting..Local Heroes

27


ยกเว้นแต่เพียงว่า...เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องจริง! มันคือการซ้อมแผนเผชิญเหตุเสมือนจริงของกลุ่มเท่ง - เสื้อส้ม ซึ่งหากเป็นสถานการณ์จริง ทุกอย่างอาจไม่ได้สวยงามราบรื่นอย่างในวันนี้ ตรงกันข้ามกลับยังมีจุดบอดที่ต้องทบทวนแก้ไขและ ซักซ้อมให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้รอยยิ้มในวันนี้กลายเป็นคราบน้ำ�ตาในวันหน้า

28

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


อาสาสมัคร สู่พลังพลเมือง

แต่ เ ป็ น ครั้ ง ที่ เ ท่ า ไหร่ ก็ ไ ม่ อ าจทราบได้ ที่ พ วก เขาได้ช่วยฉุดแขนผู้คนให้รอดพ้นจากเงื้อมมือ มัจจุราช ใครล่ะจะไม่กลัวความตาย พวกเขาเองก็ เหมือนกัน ไม่ได้มีปีกงอกออกมาจากแผ่นหลัง ไม่ได้มีพลังพิเศษไปกว่าใคร เป็นแค่คนธรรมดา สามัญ หากเพียงแต่พวกเขาไม่อาจทนต่อเสียง ร่�ำ ร้องในหัวใจยามทีเ่ ห็นเพือ่ นมนุษย์ก�ำ ลังเดือด ร้อนต้องการความช่วยเหลือ สำ�นึกทีว่ า่ นัน้ ทำ�ให้ พวกเขาไม่อาจนิ่งดูดาย จนต้องออกไปเผชิญ ความเป็นความตายเพียงเพื่อช่วยเหลือใครสัก คนที่บางครั้งเขาเองก็ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ จิตสำ�นึกพืน้ ฐานเช่นนีแ้ หละทีท่ �ำ ให้พวกเขา ดูพิเศษไปจากคนธรรมดา...

แทบทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติไม่ว่าที่ใดก็ตาม คนกลุ่มนี้ มักจะไปถึงที่นั่นเป็นกลุ่มแรกๆ เสมอ ภายใต้ชุดยูนิฟอร์ม สีส้มจัดจ้าน เด่นชัดสะดุดตา กับข้อความที่สกรีนอยู่ด้าน หลัง ‘อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ’ คือเครื่องแบบแห่งความ ภาคภูมิใจสำ�หรับพวกเขายามที่ได้สวมใส่มัน ชาวบ้านพากันสงสัย คนกลุม่ นีเ้ ป็นใคร สังกัดหน่วยไหน องค์ ก รใด พวกเขาเรี ย กตั ว เองแบบง่ า ยๆ ซื่ อ ๆ ว่ า ‘เท่ง - เสื้อส้ม’ แม้ไม่ถึงกับเป็นวีรบุรุษที่เก่งกล้าสามารถมาจากไหน Fighting..Local Heroes

29


พวกเขาเชื่อกันว่า การใช้ชีวิตในท่ามกลาง ความผันผวนของสภาพดินฟ้าอากาศและความ แปรปรวนจากภัยธรรมชาติอย่างทุกวันนี้ ลำ�พัง การเป็นแค่ ‘ราษฎรธรรมดาๆ’ อาจไม่เพียงพอที่ จะอยู่รอดได้ เพราะหากราษฎรหมายถึงผู้สยบ ยอมต่ออำ�นาจ มีสิทธิ์มีเสียงเพียงแค่การหย่อน บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง 15 วินาที พวกเขาก็ขอ เลือกที่จะเป็น ‘พลเมืองเต็มขั้น’ ที่มีชีวิตอย่างมี ศักดิ์ศรีมากกว่า “ลำ � พั ง การเป็ น แค่ ร าษฎรคงไม่ ส ามารถ นำ�พาชุมชนท้องถิ่นของเราไปสู่ความอยู่ดีมีสุขได้ ฉะนั้นวันนี้ เราต้องก้าวพ้นความเป็นราษฎรไปสูก่ ารเป็นพลเมือง” เสียงของ ใครคนหนึง่ เอ่ยขึน้ กลางวงเสวนาแลกเปลีย่ นเรียนรู้ 5 ภูมนิ เิ วศน์ ซึ่งเป็นเวทีพบปะของสมาชิกเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติพื้นที่ ภาคใต้ที่จัดขึ้นในอำ�เภอหลังสวน ชุมพร กลางฤดูฝน 2556 สำ�หรับพวกเขา นิยามของความเป็นพลเมืองจะเกิดขึน้ ได้ ต้องเริม่ จากประชาชนแต่ละคนมีจติ อาสา อยากทำ�งานเพือ่ ส่วน รวม พร้อมจะเสียสละทั้งกายใจ ไม่โยนภาระให้ใครคนใดคน หนึ่ง ซึ่งนั่นก็คือพลังของพลเมือง “อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติคือผู้ที่มีจิตสำ�นึกสาธารณะ อยากแก้ไขปัญหาให้กับพื้นที่ของตัวเอง โดยเข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ� ร่วมตัดสินใจ” ว่าที่ ร.ต.หญิง กนกกาญจน์ ขวัญทอง สตรีเหล็กแห่งภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด ตำ�บลนาท่ามใต้ 30

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


จังหวัดตรัง แจกแจงความเป็นมาของอาสา สมัครจัดการภัยพิบัติ หากจะไล่ เ รี ย งคุ ณ สมบั ติ เ บื้ อ งต้ น ของ การเป็นอาสาสมัคร ข้อหนึ่ง-ใจต้องสู้ สองฝึ ก ฝนร่ า งกายให้ แ ข็ ง แรง พร้ อ มรั บ มื อ กั บ ทุ ก สถานการณ์ สาม-บริ ห ารเวลาให้ เ ป็ น สี่-สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ต้องไม่กระทบ ต่อปัญหาครอบครัวตนเอง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้อง ห้า-มีระเบียบวินัย ยึดมั่นในความ ถูกต้อง และข้อสุดท้าย พร้อมที่จะเรียนรู้และ พัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพของตนเองและ ทีมงาน “สรุ ป ความสั้ น ๆ ก็ คื อ ‘ใจมา-เวลามี คนทีบ่ า้ นไม่ดา่ ’ โดยเฉพาะคนทีม่ คี รอบครัวแล้ว” กนกกาญจน์แทรกอารมณ์ขัน

กนกกาญจน์ ขวัญทอง

“เวลาปฏิบตั งิ านจริง ไม่ใช่วา่ เกิดภัยพิบตั ขิ นึ้ เมือ่ ไหร่เราต้องออก ไปลุยทุกครั้ง ต้องเข้าใจว่าข้อจำ�กัดของการเป็นจิตอาสาก็มีอยู่ เช่น ต้องดูแลคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านก่อน ก่อนที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ เรา อาจปลีกตัวได้บา้ งในบางเวลา แต่ไม่ใช่วา่ ต้องไปให้ได้ทกุ ครัง้ ทีเ่ กิดภัย เพราะเรามาร่วมกันในเครือข่ายนี้ด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ แต่เราต้องรู้จักบริหารเวลาให้เป็น อย่าให้กระทบต่อชีวิตส่วนตัว” ใจพร้อม กายพร้อม ยังไม่พอ ต้องฝึกฝนเคีย่ วกรำ�ให้เต็มศักยภาพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ว่ากันตั้งแต่การปูฐานความรู้เรื่องภัยพิบัติ ฝึกให้รู้จักกฎระเบียบกติกาการอยู่ร่วมกัน ฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่อง มือกู้ภัยและวิทยุสื่อสาร การผูกเงื่อนเชือก ฝึกหลักสูตรการกู้ภัยทาง น้ำ� การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยเบื้องต้น ฝึกการจราจรอากาศยาน Fighting..Local Heroes

31


ภาคพื้น จนถึงการฝึกปฏิบัติการเสมือนจริง ไม่ว่าจะ เป็นการใช้เรือกู้ภัย การโรยตัวทางดิ่ง การลำ�เลียง ผู้อพยพด้วยเชือก และการดำ�รงชีพในสภาวะฉุกเฉิน ทัง้ หมดนีก้ เ็ พือ่ สัง่ สมประสบการณ์ให้เกิดความชำ�นาญ ก่อนที่จะเผชิญสถานการณ์จริง ระดับของการฝึก ฝน มีตั้งแต่หลักสูตรสำ�หรับ อาสาสมั ค รจั ด การภั ย พิ บั ติ ร ะดั บ ตำ � บล เพื่ อ ให้ มี ศักยภาพช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และเพือ่ นบ้านได้ ส่วนหลักสูตรเข้มข้นขึ้นมาอีกขั้นคือ อาสาสมัครชุด เคลื่อนที่เร็ว ซึ่งมีศักยภาพช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน ต่างพืน้ ทีต่ า่ งภูมภิ าคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทัง่

32

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

เมือ่ ผ่านประสบการณ์กจ็ ะเพิม่ ขีดความสามารถขึน้ เป็น วิทยากรหรือครูฝึกเพื่อพัฒนาอาสาสมัครรุ่นต่อๆ ไป “พลังของคนอาสาจะเติบโตขึ้นได้ต้องอาศัยแกน นำ�แต่ละชุมชนช่วยกันเฟ้นหาอาสาสมัครเข้ามาฝึก อบรม เพราะในทุกชุมชนต่างก็มีคนที่พร้อมจะเป็น จิตอาสาอยู่แล้ว เพียงแต่อาจยังไม่มีใครมองเห็น โดย เฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูก ฝัง ตั้งแต่วันนี้และต้องทำ�อย่างต่อเนื่อง” เธอมีความหวังว่า สักวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ๆ จะหยั่งรากลึกลงดิน แตกกิ่งก้านสาขา ให้ร่มเงาไปทั่ว ทุกท้องถิ่น


ศูนย์ภัยพิบัติ จุดรวมพลคนสู้ ‘ศูนย์การจัดการภัยพิบัติ’ หากจะเปรียบเทียบให้ ดูขรึมขลังขึ้นอีกนิดก็คือศูนย์บัญชาการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน เป็นทั้งศูนย์ประสานงานการระดมสมองและเป็น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายอาสาสมัคร ศูนย์ภยั พิบตั ทิ วี่ า่ นีส้ �ำ คัญอย่างไร และมีบทบาทอะไร เหตุใดจึงต้องตั้งศูนย์ฯ ผู้ที่ให้คำ�ตอบเรื่องนี้ได้ดีคงต้อง อาศัยความรู้จากนักวิชาการชุมชนท้องถิ่น (นวกชชทถ.) อย่าง อุทยั วรรณ ปลีกหนู ตัวแทนภูมนิ เิ วศน์ปา่ พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช เธอบอกว่า ศูนย์ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีการ รวมตัวของเหล่าอาสาสมัคร และอาสาสมัครจะดำ�เนิน กิ จ กรรมได้ อ ย่ า งราบรื่ น ก็ ต้ อ งอาศั ย ศู น ย์ แ ห่ ง นี้ เ ป็ น ศูนย์กลางการขับเคลื่อน ยามเมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย ศูนย์แห่งนี้จะเป็นจุดรวมพลในการระดมอาสาสมัครเพื่อ มาร่วมคิดกันว่าจะจัดการสถานการณ์นั้นอย่างไร องค์ประกอบหลักของศูนย์ฯ คือ หนึ่ง-สถานที่ ควร เป็ น ที่ ส าธารณะที่ มี ร ะบบสาธารณู ป โภคที่ ดี เส้ น ทาง คมนาคมคล่องตัว และมีระบบการสื่อสารที่ครบครัน สอง-ต้องมีคณะทำ�งานทีเ่ ป็นตัวแทนทัง้ จากชุมชน ท้องถิน่

และท้ อ งที่ เพื่ อ บู ร ณาการงานทุ ก ภาคส่ ว นเข้ า มาร่วมกัน สาม-ต้องมีข้อมูลที่แม่นยำ�ชัดเจน ทั้ง ข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยในชุมชน สี่-มีการเตรียมแผนการจัดการภัยพิบัติ ทั้งก่อน เกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ เพื่อ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ ใ นการเข้ า ช่ ว ยเหลื อ พี่ น้ อ ง


ผู้ประสบภัย ห้า-เครื่องมือและอุปกรณ์การกู้ภัย ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หก-ต้องมีทีมงาน ชุดอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี มี ความพร้อมที่จะออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้อื่นได้ สุดท้ายต้องมีกองทุนเพื่อหนุนเสริมการทำ�งาน ของศูนย์ฯ “ศูนย์ภัยพิบัติอาจมีได้ตั้งแต่ระดับตำ�บลไป จนถึงระดับภูมินิเวศน์ โดยแกนหลักในการขับ เคลื่อนศูนย์ฯ อยู่ที่กรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่น แต่จะมี ศักยภาพมากแค่ไหนต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็ง และการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในพื้ น ที่ โดย เฉพาะพลเมืองที่มีจิตอาสา” เธออธิบาย ท้ายทีส่ ดุ แล้ว ศูนย์การจัดการภัยพิบตั จิ ะเกิด ขึน้ ไม่ได้ถา้ ไม่มจี ติ อาสา และจิตอาสาจะทำ�งานได้ ยากลำ�บากหากไม่มศี นู ย์ฯ ทุกอย่างจึงต้องก้าวเดิน ไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ณ วันนี้ ศูนย์การจัดการภัยพิบัติได้ก่อตัวขึ้น แล้ว 5 ภูมินิเวศน์ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ด้ามขวาน เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พลังประชาชนมีอยู่ จริง

34

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


‘แผนที่ทำ�มือ’ หมุดหมาย และปลายทาง ปัจจัยสำ�คัญที่จะเป็นตัวชี้ขาดว่าภารกิจการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละพื้นที่จะสำ�เร็จหรือ ล้มเหลว บางครัง้ อาจไม่ได้ขน้ึ อยูก่ บั จำ�นวนอาสาสมัคร หรือความเพียบพร้อมของอุปกรณ์กภู้ ยั หากแต่ขนึ้ อยู่ กับสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลพื้นฐานบนกระดาษแผ่นเดียว ว่ า จะสามารถนำ � ทางไปสู่ เ ป้ า หมายที่ แ ท้ จ ริ ง ได้หรือไม่ ข้อมูลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ข้อมูลที่ว่านั้นจะต้อง ลงลึกถึงรายละเอียดตั้งแต่ระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ตำ�บล จำ�นวนประชากร เด็ก คนชรา หรือผู้ป่วย จุดเสี่ยงภัย เส้นทางอพยพ ศูนย์พักพิง ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนถูกถ่ายทอดลงบน ‘แผนทีท่ �ำ มือ’ ทีช่ าวบ้านช่วย กันขีดเขียนขึน้ ด้วยลายเส้นยึกยือแบบบ้านๆ แต่กว่า ทีร่ ายละเอียดทัง้ หมดจะถูกบรรจุอยูบ่ นหน้ากระดาษ ต้องอาศัยการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบ Fighting..Local Heroes

35


“แผนทีท่ �ำ มือ คือคำ�ทีเ่ ราเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆ มั น เป็ น ผลงานที่ เ กิ ด จากมั น สมองกั บ สองมื อ ชาวบ้าน ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดาวเทียมหรือ จีพีเอส แต่ใช้วิธีการสำ�รวจจากพื้นที่จริง โดยให้ คนในชุมชนท้องถิน่ ช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว นำ�มาบูรณาการออกมาเป็นแผนที่ทำ�มืออย่างที่ เห็น” มานพ ขุนแก้ว อาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็ว แห่งภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา สาธยายถึง กระบวนการทำ�งาน ก่อนจะคลี่แผนที่แผ่นใหญ่ ออกมาอวดให้เห็นเป็นตัวอย่าง สี สั น และความสวยงามของแผนที่ ห าใช่ ประเด็ น สำ � คั ญ ในการช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบภั ย หากแต่ อ ยู่ ที่ ค วามเที่ ย งตรง แม่ น ยำ � ชั ด เจน สามารถระบุเป้าหมายได้อย่างตรงพิกัด เพราะวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องแผนที่ ทำ � มือคือต้องสื่อสารให้เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก เป็นเครื่องมือ ให้ อ าสาสมั ค รกู้ ภั ย พิ บั ติ สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่าง รวดเร็ว “มาตราส่วนและทิศทาง ต้องถูกต้อง คือหัวใจหลักของ แผนที่ โดยมี ข อบระวางและ 36

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะยืนอยู่บนจุด ไหนของแผนที่หรือให้ใครเป็น ผู้ถือแผนที่ก็ตาม จะต้อง นำ�ทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้ โดยเฉพาะทีมงานที่มา จากต่างถิ่นย่อมไม่รู้จักสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละชุมชน แต่หากมีแผนที่ที่เฉพาะเจาะจงในพื้นที่นั้นๆ ก็จะช่วยให้ ทำ�งานได้ง่ายยิ่งขึ้น” มานพอธิบายเพิ่มว่า การกำ�หนดสัญลักษณ์ต่างๆ บนแผนที่มีหลักคิดสำ�คัญอยู่ว่า ต้องมีความเป็นสากลที่ สามารถสื่อสารให้หน่วยงานภาคีอื่นๆ เข้าใจได้ตรงกัน เช่น เส้นทางคมนาคมสายหลัก สายรอง แม่น้ำ� ลำ�คลอง โรงเรียน วัด มัสยิด โรงพยาบาล ที่ทำ�การ อบต. ลานจอด เฮลิคอปเตอร์ “บางพื้นที่อาจมีลักษณะพิเศษเฉพาะชุมชน เช่น คอกวัวคอกควาย โรงสี ซึ่งแต่ละชุมชน สามารถระบุลงในแผนที่ได้” กระนั้ น ก็ ต าม มานพ ยอมรับว่า สิ่งที่ยากที่สุดใน การจั ด ทำ � แผนที่ ทำ � มื อ คื อ การเก็ บ ข้ อ มู ล ครั ว เรื อ น ซึ่ ง เป็ น พื้ น ฐานสำ � คั ญ ที่ จ ะ บ่ ง ชี้ ไ ด้ ว่ า บ้ า นแต่ ล ะหลั ง มี กลุ่มเสี่ยงกี่ราย อาศัยอยู่จุดใด บ้าง เพื่อจะได้ส่งกำ�ลังช่วยเหลือ


ตามลำ�ดับเร่งด่วนหรือลำ�เลียงสิ่งของยังชีพได้ตรงตามความต้องการ ยิง่ ไปกว่านัน้ ข้อมูลทีแ่ สดงในแผนทีท่ �ำ มือยังสามารถนำ�ไปกำ�หนดแผนการ จัดการภัยพิบัติทั้งก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุได้อีกด้วย อัน จะนำ�ไปสู่การปฏิบัติและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีอื่นๆ ต่อไป แผนทีท่ �ำ มือทีถ่ กู วาดขึน้ อย่างเรียบง่ายด้วยลายเส้นยึกยือแบบชาวบ้าน แต่ สะท้อนถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนทีจ่ ะช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลใน พื้นที่ของตนเอง และแสดงให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็น เจ้าของร่วมกัน

Fighting..Local Heroes

37


‘กองทุนภัยพิบัติ’ ท่อน้ำ�เลีย ้ งฅนอาสา ภายใต้ ส ถานการณ์ ภั ย พิ บั ติ ที่ ไ ม่ ส ามารถคาดเดา สิง่ สำ�คัญในการรับมือภาวะวิกฤตินอกจากจะมีศนู ย์การจัดการ ภัยพิบัติ มีอาสาสมัคร มีแผนที่ทำ�มือ หรือมีข้อมูลครบถ้วน แล้ว สิง่ หนึง่ ทีป่ ฏิเสธไม่ได้คอื เงินทุนสนับสนุน เพราะถึงแม้ จะมีจิตอาสาที่ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวมมากแค่ไหน แต่ การขับเคลื่อนงานก็อาจไม่มีความต่อเนื่องถ้าไม่มีทุนรอน หล่อเลี้ยง หลังจากที่ต้องทนทุกข์กับปัญหาอุทกภัยซ้ำ�ซากของ ชาวลุ่มน้ำ�หลังสวน ตำ�บลพ้อแดง จังหวัดชุมพร ทำ�ให้ คนในหมู่บ้านเริ่มขบคิดหาทางออกให้กับปัญหาภัยพิบัติ โดยสมาชิกในชุมชนต่างมีมติเห็นควรลงขันจัดตั้ง ‘กองทุน การจัดการภัยพิบัติ’ เพื่อจะได้มีเงินสำ�รองสักก้อน เมื่อเกิด ปัญหาจะได้ไม่ต้องบากหน้าไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ จากหน่วยงานราชการซึ่งต้องรอผ่านขั้นตอนการอนุมัติ งบประมาณซับซ้อนวุ่นวายจนทำ�ให้การช่วยเหลือเป็นไป อย่างเชือ่ งช้าไม่ทนั การณ์ โดยกองทุนนีม้ พี นั ธกิจในการช่วย เหลือพี่น้องร่วมหมู่บ้านให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสถานการณ์ 38

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

อรุณ คงสุวรรณ

วิกฤติ และช่วยให้อาสาสมัครสามารถ ดำ�รงชีพอยู่ได้ในยามว่างเว้นจากภัย พิบัติ เงินไม่มี งานไม่เดิน อรุ ณ คงสุ ว รรณ อาสาสมั ค ร ชุ ด เคลื่ อ นที่ เ ร็ ว แห่ ง ภู มิ นิ เ วศน์ ลุ่ ม น้ำ � หลังสวน จังหวัดชุมพร ให้คำ�จำ�กัด ความว่ า กองทุ น ภั ย พิ บั ติ อ าจไม่ ไ ด้


หมายถึงตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายถึงเสบียงอาหารและ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องตระเตรียมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน “แต่ละภูมินิเวศน์ควรมีทุนเหล่านี้เป็นของตนเอง เพื่อที่จะ ดูแลอาสาสมัครไม่ให้เดือดร้อนในการยังชีพ กองทุนนีจ้ ะใช้ในการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของอาสาสมัครให้มีรายได้ ยกตัวอย่าง กรณีเครือข่ายอาสาสมัครภูมินิเวศน์ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งมีพื้นที่นาร้างอยู่เป็นจำ�นวนมาก ทางกลุ่ม ก็เปิดให้สมาชิกเข้าไปทำ�นาและเก็บเงินค่าเช่าเป็นเงินออมเข้า กองทุน เพื่อนำ�ไปช่วยเหลือพี่น้องยามเกิดภัยพิบัติ” ในแง่นี้ ‘ปัญญา’ ก็นับได้ว่าเป็นทุนชนิดหนึ่ง ดังเช่นชาวบ้าน ป่าพรุควนเคร็งที่สามารถแปลงพื้นที่นาร้างให้เป็นนาข้าว โดย ผลผลิตที่ได้ก็กลับคืนสู่กองทุนการจัดการภัยพิบัติ กองทุนนี้จึง เกิดขึ้นได้จากการใช้ปัญญาในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน อรุณยกตัวอย่างอีกกรณีหนึง่ เช่น เครือข่ายอาสาสมัครแห่ง ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีรายได้จากการท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์ในช่วงที่ว่างเว้นจากภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดย เหล่าอาสาสมัครได้จัดบริการเรือท่องเที่ยวพานักท่องเที่ยวล่อง ทะเลสาบชมความงามของธรรมชาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางใน การระดมเงินเข้ากองทุนเพื่อการจัดการภัยพิบัติต่อไป “การระดมทุนหรือจัดหาทุนมีหลากหลายรูปแบบ ขึน้ อยูก่ บั ศักยภาพของแต่ละชุมชน ถ้าหากมีการบริหารจัดการกองทุนภายใต้ การมีสว่ นร่วมอย่างเป็นระบบ เราจะมีทนุ ก้อนใหญ่เพือ่ หล่อเลีย้ ง การทำ�งานของอาสาสมัครต่อไปได้”

รวมกลุ่ม-ลงทุน-ลงแรง แรกเริ่ ม เดิ ม ที ด้ ว ยความที่ ก องทุ น การ จัดการภัยพิบัติของตำ�บลพ้อแดงไม่ได้รับงบประมาณจากส่วนใดเข้ามาเกื้อหนุน มีเพียงเงิน ทองเล็กๆ น้อยๆ ของชาวบ้านที่ช่วยกันสมทบ เข้ามาคนละ 20-30 บาทเท่านัน้ สมาชิกกองทุน จึงผุดความคิดขึ้นมาว่าต้องหาวิธีระดมทุนก้อน ใหญ่ หนึ่งในวิธีนั้นคือการจัดผ้าป่าสามัคคีเพื่อ หาทุนรอนมาค้ำ�ยันและสร้างความมั่นคงให้กับ กองทุ น ซึ่ ง ต้ น ผ้ า ป่ า ได้ ทำ � ให้ กองทุ น งอกเงย ขึ้นมา 30,000 บาท จนถึงเวลานี้กองทุนการ จัดการภัยพิบัติตำ�บลพ้อแดงมีเงินทุนไหลเวียน อยู่ 50,000 บาท มากพอที่จะช่วยให้คนทำ�งาน จิตอาสาสามารถดำ�เนินกิจกรรมได้ นอกเหนือจากเงินทุนตั้งต้นที่ได้จากการ ทอดผ้าป่า กองทุนดังกล่าวยังได้รบั การสนับสนุน งบประมาณจากโครงการกองทุนหมู่บ้านปีละ 300 บาท จากทั้งหมด 10 หมู่บ้าน และยังมี เงินที่ชาวบ้านร่วมสมทบในรูปแบบของการให้ ตามกำ�ลังทรัพย์ มีน้อยให้น้อย มีมากให้มาก ให้ไว้เพื่อเป็นเงินกองกลางในการจับจ่าย หรือ แปรเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์การช่วยชีวิตผู้ประสบ ภัย อาทิ นำ�เงินไปเปลีย่ นเป็นน้�ำ มันเชือ้ เพลิงเพือ่ Fighting..Local Heroes

39


ขับเคลื่อนใบพัดเรือมุ่งหน้าเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามแต่ละ หมู่บ้าน นอกจากกำ�ลังทรัพย์ที่พวกเขาต่างหยิบยื่นให้กันแล้ว พลัง กายก็นับเป็นแรงขับเคลื่อนสำ�คัญของกองทุนการจัดการภัยพิบัติ พวกเขามีกำ�ลังคนประมาณ 100 คน แบ่งออกเป็นหน่วยเคลื่อนที่ เร็วและอาสาสมัครกู้ภัยเพื่อคอยเฝ้าระวังในยามที่ภัยมาเยือน ซึ่ง ไม่เพียงแต่จะดูแลสอดส่องเฉพาะในพื้นที่อำ�เภอหลังสวน จังหวัด ชุมพร หรือพืน้ ทีภ่ าคใต้เท่านัน้ แต่หากเกิดภัยพิบตั ขิ นึ้ ไม่วา่ ภูมภิ าค ใดก็ตาม ชุดเคลื่อนที่เร็วยังส่งกำ�ลังไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างที่ ต่างถิ่นอีกด้วย อรุณบอกว่า ภายใต้เงินกองทุนที่มีอยู่นี้ยังมีเป้าหมายจะเพิ่ม จำ�นวนอาสาสมัครเพื่อรองรับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ในภายภาคหน้า โดยมีหลักการสำ�คัญในการทำ�งานคือ ทุกชีวิต ต้องปลอดภัย “ตอนนี้จิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มีอยู่ประมาณ 100 คน มีทั้ง อสม. ชาวบ้าน นักศึกษา และนักเรียนในพื้นที่ ทีใ่ ห้ความสนใจ โดยเราจะเข้าไปให้ความรูแ้ ละช่วยฝึกสอนเรือ่ งการ ช่วยเหลือตนเองเบือ้ งต้น เรามีเป้าหมายทีจ่ ะเพิม่ จำ�นวนอาสาสมัคร ให้ได้อย่างน้อยตำ�บลละ 25 คน ตอนนี้มีตำ�บลที่เข้าร่วมเครือข่าย การจัดการภัยพิบัติแห่งภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวนทั้งหมด 7 ตำ�บล ซึ่งเราจะขยายให้ได้ถึง 10 ตำ�บล และจะขยับเป้าไปเรื่อยๆ” อรุณ เล่าถึงแผนการขยายเครือข่ายจิตอาสาให้ฟัง 40

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ทุนแห่งศรัทธา

อย่ า งที่ บ อกไปแล้ ว ว่ า กองทุ น จั ด การ ภัยพิบัตินับเป็นหม้อข้าวหล่อเลี้ยงคนทำ�งาน จิตอาสาให้สามารถยืนหยัดอยูไ่ ด้ เพราะไม่อาจ นิ่งดูดายเอาเท้าแช่น้ำ�รอคอยความช่วยเหลือ จากภาครัฐ ดังนั้นการบริหารจัดการทุกอย่าง


ล้ ว นตกเป็ น หน้ า ที่ ข องสมาชิ ก ทุ ก คนที่ ต้ อ งร่ ว มกั น รับผิดชอบดูแล โดยเฉพาะการบริหารการใช้เงินทุนให้ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เหล่าสมาชิก กองทุนดังกล่าวจะดึงเอาผูน้ �ำ ชุมชน ท้องถิน่ ท้องที่ แต่ละแห่งมานั่งแท่นเป็นกรรมการร่วมกัน เพื่อความ โปร่งใสในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกงบมาใช้ ต้องทำ�ด้วยความโปร่งใส มีที่มาที่ไป และต้องให้ทุกคน รับทราบร่วมกัน ซึง่ งบทีจ่ ะนำ�ออกไปใช้ตอ้ งเกีย่ วข้องกับ การแก้ปัญหาในกรณีภัยพิบัติต่างๆ เท่านั้น “เงิ น กองกลางที่ มี อ ยู่ ถื อ เป็ น กองทุ น ที่ ทุ ก คนมี ส่วนร่วมเป็นเจ้าของ เราจะเอาไปใช้เกีย่ วกับการจัดการ เรือ่ งภัยพิบตั อิ ย่างเดียว ไม่ใช้สะเปะสะปะ เพือ่ จะได้เป็น ทุนสำ�รองหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา” นอกจากนี้ ท างสมาชิ ก ยั ง ได้ มี ก ารประชุ ม หา แนวทางเสริมสร้างความมัน่ คงให้กบั กองทุน โดยผลักดัน ให้เป็นมติประชาคมหมู่บ้านเพื่อเสนอต่อ อบต. ให้ พิจารณาจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้กับกองทุน หรือ สนับสนุนอุปกรณ์ภาคสนามที่จำ�เป็น อรุณย้ำ�ว่า กว่าที่กองทุนการจัดการภัยพิบัติจะ เกิดขึ้นได้ต้องทำ�ความเข้าใจกับพี่น้องในชุมชนให้เห็น ประโยชน์ร่วมกัน สร้างการมีส่วนร่วม เพื่อจะได้ช่วยกัน

ระดมทุนขึ้นมา ซึ่งกองทุนนี้จะเป็นของทุกคน หาก เกิ ด ภั ย พิ บั ติ ขึ้ น กองทุ น นี้ จ ะสามารถนำ � มาช่ ว ย เหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึงทุกครัวเรือน เมื่อทุก คนมีสว่ นร่วมในการระดมทุนก็จะเกิดความรูส้ กึ เป็น เจ้าของร่วมกัน “มันเป็นรูปแบบของกองทุนศรัทธา กองทุน แห่ ง ความเชื่ อ มั่ น ซึ่ ง ต้ อ งใช้ เ วลานานกว่ า จะไป พู ด คุ ยให้ ทุ ก คนเข้ า ใจ แต่ ด้ ว ยเพราะพื้ น ที่ ตำ � บล พ้อแดงประสบภัยพิบัติมาตลอด ทำ�ให้ทุกคนเข้าใจ ว่าถึงเวลาลำ�บากจริงๆ ก็ไม่มีใครมาช่วยเหลือเรา ได้นอกจากพวกเราเอง” ณ วันนี้ หลายพืน้ ที่ หลายตำ�บล สามารถจัดตัง้ กองทุนภัยพิบตั ขิ นึ้ มาได้ส�ำ เร็จ ถึงแม้จะเป็นกองทุน เล็กๆ น้อยๆ แต่ก็เป็นกองทุนที่เกิดจากการร่วมใจ กันของทุกคน

Fighting..Local Heroes

41


พลัง 3 ประสาน ‘ชุมชน-ท้องที่-ท้องถิ่น’

ªØÁª¹

42

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ระบบการจัดการภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้ที่ทุกคนทุ่มเท ขับเคลื่อนกันมาเป็นเวลากว่า 2 ปี จนเป็นเครือข่ายใย แมงมุม 5 ภูมินิเวศน์ สิ่งเหล่านี้ก่อรูปเกิดร่างขึ้นได้ก็ด้วย ·éͧ·Õè แนวร่วม 3 เสาหลักของสังคมระดับฐานราก อันประกอบ ไปด้วย ชุมชน ท้องที่ และท้องถิ่น หากทุกฝ่ายเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน ย่อมแปรเปลี่ยนเป็นพลังมหาศาล สำ�หรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ นายก อบต. ไม่ใช่ ผู้มีอำ�นาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว ทุกนโยบาย ·éͧ¶Ôè¹ ต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง โดย นายกฯ คือผูท้ ตี่ อ้ งรับผิดชอบสูงสุดต่อประชาชน เช่นเดียว กับองค์กรปกครองส่วนท้องที่ ทั้งกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำ�ชุมชน ซึ่งต้องดูแลทุกข์สุข ของลูกบ้าน ขณะเดียวกัน พลเมืองทั้งหลายต้องมีความตื่นตัวและมีจิตสำ�นึกในการเป็น เจ้าของ ซึ่งสามารถแสดงออกได้ด้วยการอาสาลงมือทำ�ด้วยความเต็มใจ หากแนวร่วมทั้ง 3 เสาหลักนี้เป็นมิตรแท้ต่อกัน การต่อสู้ต่ออุปสรรคนานาก็ไม่ใช่ เรื่องที่เกินกำ�ลัง โจทย์ใหญ่มีอยู่ว่า เราจะก้าวเดินไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร โดยไม่สะดุด ขากันเอง


บทบาท ‘ท้องที่’ กระบอกเสียงชาวบ้าน

จากประสบการณ์ในการบริหารจัดการภูมนิ เิ วศน์ ป่ า พรุ ค วนเคร็ ง ในนามเครื อ ข่ า ยจั ด การภั ย พิ บั ติ เพ็ญศรี ทองบุญชู กำ�นันตำ�บลเกาะขันธ์ อำ�เภอ ชะอวด นครศรีธรรมราช เห็นว่าการดำ�เนินงานของ ศูนย์ภัยพิบัติค่อนข้างมีบทบาทชัดเจนที่จะต้องสร้าง ความเข้าใจและความตระหนักให้กับคนในพื้นที่ เพื่อ ให้เกิดความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับมือ ภัยพิบัติได้ทันท่วงที “บทบาทของผู้นำ�ท้องที่ในการจัดการภัยพิบัติ ข้อสำ�คัญที่สุดคือ สร้างความเข้าใจกับชุมชน เมื่อภัย มา เราต้องแปรวิกฤติให้เป็นโอกาส ต้องรีบจัดการ วางแผนรับมือ จากนั้นก็ต้องสร้างความเข้าใจกับส่วน ราชการที่เกี่ยวข้อง” หากพู ด ถึ ง วิ สั ย ทั ศ น์ ใ นการทำ � งาน อดี ต กอง เลขานุการเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง 4 ภาค อย่างเพ็ญศรี ยังคงยึดหลัก ‘ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ใช้ กระบวนการมีสว่ นร่วมเป็นหัวใจ’ ฉะนัน้ ทุกปัญหาใน ชุมชนจะใช้เวทีประชาคมและมติเสียงข้างมากในการ ตัดสินใจ มติว่าอย่างไรก็ต้องว่าไปตามนั้น “เรายึดหลักเสียงข้างมาก แต่ก็ไม่ทิ้งเสียงข้าง น้อย” เพ็ญศรีว่า ทีผ่ า่ นมาเมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ เพ็ญศรีพบว่าอุปสรรค

หลั ก ๆ คื อ ความล่ า ช้ า ในการติ ด ต่ อ ประสานงานในพื้ น ที่ ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ แ ก้ ไ ขได้ ไ ม่ ย ากหากมี ก ารบริ ห ารจั ด การที่ มี ประสิทธิภาพ “จากที่เคยรอให้ทาง อบต. สั่งการ เราเลยมาร่วมกัน คิดว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร จึงเกิดแนวคิดก่อตั้งศูนย์รับมือ ภัยพิบัติของแต่ละชุมชนขึ้น”

เพ็ญศรี ทองบุญชู Fighting..Local Heroes

43


เมื่อแต่ละตำ�บลมีศูนย์รับมือภัยพิบัติของตัวเองแล้ว จึงค่อยๆ เข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายภูมินิเวศน์ โดย แต่ละภูมินิเวศน์จะต้องตอบคำ�ถามสำ�คัญให้ได้ว่า ทำ� อย่างไรส่วนราชการจึงจะยอมรับองค์กรภาคประชาชน อย่ า งพวกเขา ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ เ พ็ ญ ศรี ยื น ยั นว่ า ต้ อ งวั ด กั น ที่ ผลงานหรือทำ�ให้เห็นเท่านั้น เมื่อแต่ละภูมินิเวศน์สามารถเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน แล้ว หากประสบปัญหาเมื่อใดก็จะมีทีมเข้าไปช่วยเหลือ ทันทีโดยไม่ทอดทิ้งกัน “เมื่อก่อนเราทำ�แผนชุมชน เริ่มต้นด้วยชุมชน ขยาย ไปถึงระดับภาคและระดับประเทศ จากนี้ไปเราจะต้อง เชือ่ มร้อยภูมนิ เิ วศน์ของแต่ละภาค เสาะหาอาสาสมัครมา ขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อ และการจัดการภัยพิบัติจะต้องนำ�ไป สู่นโยบายที่ทำ�ให้รัฐบาลเห็นความสำ�คัญ และนำ�เข้าแผน อบต. ต่อไป” ในระยะยาว การบูรณาการเครือข่ายการจัดการ ภัยพิบตั จิ ะต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐให้มาร่วมขับเคลือ่ น ไปพร้อมๆ กัน ซึง่ เพ็ญศรีมองว่าการมีศนู ย์ภมู นิ เิ วศน์และ เครือข่ายระดับตำ�บลอาจยังไม่เพียงพอ ปั ญ หาใหญ่ ที่ สุ ด ในการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า น ภั ย พิ บั ติ ใ นท้ อ งที่ คื อ อำ � นาจในการอนุ มั ติ เ บิ ก จ่ า ย งบประมาณในกรณีฉุกเฉิน “ณ วันนี้ บอกตามตรงว่า พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ นายกฯ ต้อง 44

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

รอให้หน่วยเหนือสั่งการลงมาก่อน จึงอยากเสนอแนวคิด ว่า ตำ�บลควรมีงบประมาณอยู่ในมือตัวเอง เวลาเกิดภัย ขึ้นมาเราจะได้สามารถสั่งการกันเองได้ หรือแม้แต่การให้ ความช่วยเหลือพีน่ อ้ งผูป้ ระสบภัยในต่างพืน้ ทีด่ ว้ ยเช่นกัน” ‘ท้องถิ่น’ ต้องจริงใจ ในอดีต ภัยพิบัติส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากมือมนุษย์ หรือน้ำ�มือของพี่น้องในพื้นที่ด้วยกันเองที่เป็นต้นเหตุให้ ทรัพยากรธรรมชาติถกู คุกคามทำ�ลายจากความเห็นแก่ตวั ของคนบางกลุ่ม และเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น คนทั้งชุมชนก็ ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในฐานะผู้นำ�องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนจะ มาเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ สาธิต ไชยสุวรรณ นายก อบต.บ้านขาว อำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา บอกว่า พวกเขาไม่ได้ตั้งต้นที่เลขศูนย์ “เรามีทีมอาสาในตำ�บลกันอยู่แล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่ ท้องถิ่นและพี่น้องในตำ�บล ซึ่งพอได้มาร่วมไม้ร่วมมือกัน ก็สามารถดำ�เนินการได้แทบจะทันที แต่ปัญหาคือขาด ประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติ และวิธีที่จะก้าว ต่อไปให้ยั่งยืน” กรณี ก ารจั ด การภั ย พิ บั ติ สาธิ ต ได้ นำ � เรื่ อ งเข้ า ประชาคมหมูบ่ า้ น แล้วสามารถบรรจุไว้ในแผนแม่บทและ ออกเป็นข้อบัญญัตไิ ด้ ทำ�ให้ขณะนีป้ ระเด็นภัยพิบตั ถิ อื เป็น


วาระของตำ�บลบ้านขาวเรียบร้อยแล้ว ด้วยจำ�นวนอาสาสมัครกว่า 140 ชีวิต มีทั้งกลุ่มเยาวชน เจ้าหน้าที่ อสม. ผนวกกับฐานข้อมูลของชุมชนบ้านขาว ที่รวบรวมทั้งจากข้อมูลความจำ�เป็น พื้นฐาน (จปฐ.) โดยกรมการพัฒนา ชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล (รพ.สต.) “เรารู้เลยว่า บ้านไหนมีเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุบ้าง ซึ่ง อสม. ประจำ� ตำ � บลบ้ า นขาวจะแบ่ ง หน้ า ที่ กั น ดู แ ล เฉลี่ยเจ้าหน้าที่ 1 คน ต่อ 5 ครัวเรือน สำ�หรับข้อมูลส่วนกลาง รพ.สต. ก็จะ มีเก็บไว้ ขณะที่ทาง อบต. ก็จะเก็บไว้ อีกส่วนหนึ่ง เวลาเกิดภัยพิบัติเราจะ สามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ทันท่วงที” น อ ก จ า ก นี้ ใ น พื้ น ที่ ลุ่ ม น้ำ � ทะเลสาบสงขลายั ง มี เ ครื อ ข่ า ยเชื่ อ ม โยงระหว่างเทือกเขาบรรทัดและเทือก เขาสก ซึ่งประสานความช่วยเหลือกัน มาตลอด จากสถิตทิ ผี่ า่ นมาพบว่าพืน้ ที่ เขาสกมักประสบภัยน้ำ�ท่วมก่อนพื้นที่ ลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา ทำ�ให้ทีมอาสา

สมั ครมีป ระสบการณ์ ในการออกไปให้ค วามช่ วย เหลือเครือข่ายเป็นประจำ�ทุกปี ศูนย์ปฏิบตั กิ ารจัดการพืน้ ทีภ่ าคใต้ถอื เป็นศูนย์ ของกลุ่มลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา และยังมีสถานีฝึก ทางเรืออยู่ที่บ้านหัวป่า หมู่ที่ 1 “เมื่ อ มี ป ระสบการณ์ แ ล้ ว เราก็ ต้ อ งเตรี ย ม อาสาสมัครของเราให้พร้อมอยูเ่ สมอ เพราะภัยพิบตั ิ อาจเกิดขึ้นเวลาไหนก็ได้”

สาธิต ไชยสุวรรณ

Fighting..Local Heroes

45


ถ้าเรามองจากยอดเจดีย์ลงมาที่ฐาน ยอดจะสูงเด่นและ สง่างามก็ต้องอาศัยฐานที่มั่นคงแข็งแรงเป็นสำ�คัญ สำ�หรับชาว ชุมชนบ้านขาว ‘หลักสูตรชุมชน’ ก็คือฐานเจดีย์ที่ว่า ซึ่งทางชุมชน จะมีการปลูกฝังจิตสำ�นึกรักบ้านเกิดให้แก่เด็กนักเรียน เพือ่ รักษา วิถีที่คนรุ่นก่อนเคยทำ�ไว้ “ตอนนี้เรายังมีแรงอยู่ แต่วันข้างหน้าไม่มีใครรับประกัน ใครล่ะจะมาแทนเราได้ เราก็ต้องฝึกต้องขัดเกลาเยาวชนให้เป็น ตัวแทนเราต่อไป” ขึ้นชื่อว่าการทำ�งาน คงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในพื้นที่ไป ไม่พ้น ถ้าเกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น สาธิตมีวิธีแก้ง่ายๆ คือ “ความแตกต่างทางความคิดต้องมีบ้าง แต่เราเอามติเป็นที่ ตั้ง พี่น้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด เอามติส่วนใหญ่เข้าว่า ต่าง ความคิด แต่จุดยืนเป็นจุดเดียวกัน โชคดีอีกอย่าง อาจเพราะเรา มีขา้ ราชการเป็นคนในพืน้ ที่ พนักงาน อบต. ส่วนใหญ่กเ็ ป็นคนใน พื้นที่ ทำ�ให้เข้าอกเข้าใจกันได้ไม่ยาก” บางครั้งต้องยอมรับว่า ขั้นตอนและการทำ�งานของระบบ ราชการไม่ ส ามารถตอบโจทย์ แ ละความเร่ ง ด่ ว นของปั ญ หา ภัยพิบตั ไิ ด้ ในฐานะตัวแทนท้องถิน่ สาธิตบอกว่า ความเดือดร้อน ของประชาชนต้องมาก่อน “ในเมื่อพี่น้องเดือดร้อน เราก็ต้องมานั่งคุยกันว่าองค์กร ท้องถิ่นจะสามารถหลีกหนีข้อจำ�กัดของระบบราชการอย่างไร ได้บ้าง ต้องหาวิธีที่จะตอบสนองความต้องการของชาวบ้านให้ รวดเร็วที่สุด” 46

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะการอยู่รอด หากลองจินตนาการแบบสุดขั้ว นึกถึงภัยพิบัติที่รุนแรงร้ายกาจอย่างที่ไม่มีใครเคยพบ เคยเห็นมาก่อน แล้ววันหนึ่งต้องใช้ชีวิตติดอยู่บนเกาะแก่งท่ามกลางวงล้อมกระแสน้ำ�เชี่ยว เส้นทางคมนาคมทุกสายถูกตัดขาด ไม่สามารถสื่อสารกับโลกภายนอก ระบบสาธารณูปโภค ล้มเหลว น้ำ�ไม่ไหล ไฟฟ้าไม่มี เจอแบบนี้เข้าเราจะอยู่อย่างไร ใช่ว่าเรื่องแบบนี้จะเกินเลยจินตนาการ ทุกอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เพราะความ แน่นอนคือความไม่แน่นอน ถึงอย่างไรมนุษย์ตัวกระจ้อยก็ย่อมไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติได้ ต่อให้เป็นอาสาสมัครที่กรำ�ศึกมาแล้วอย่างโชกโชน ถึงจุดหนึ่งอาจทำ�ได้เพียงผ่อนหนักเป็น เบา แล้วรักษาชีวิตของตัวเองให้รอด กรณีสดุ ขัว้ แบบนีเ้ ครือข่ายภัยพิบตั ภิ าคใต้กม็ แี ผนสำ�รองเผือ่ ใจไว้แล้วเช่นกัน โดยได้มกี ารคิดทบทวนถึงภูมปิ ญ ั ญา บรรพชนคนรุ่นก่อน แล้วถอดองค์ความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ เคยได้ยินไหม เรื่องเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่มักจะพูดให้ฟังเสมอว่า หากเมื่อไหร่เห็นมดแดงพากันเดินเป็นทิวแถว ขนไข่อพยพขึน้ ทีส่ งู นัน่ เป็นสัญญาณเตือนให้รวู้ า่ อีกไม่นานฝนฟ้าจะถล่มหนัก หรืออาจเกิดน้�ำ ท่วมได้ คนโบร่�ำ โบราณ จึงรู้จักคิดหาวิธีถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ เพื่อกักตุนเสบียงไว้บริโภคในยามขาดแคลน และแม้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มี น้ำ�ประปา ก็สามารถหุงหาอาหารได้ อาจจะเรียกว่าเป็นความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ที่ภูมินิเวศน์เทือกเขาสก สุราษฎร์ธานี ยังคง มี ก ารสื บ ทอดมรดกทางภู มิ ปั ญ ญาในลั ก ษณะนี้ ใ ห้ ค นรุ่ น ลู ก รุ่ น หลานพอได้ เ ห็ น ได้ สั ม ผั ส อยู่ บ้ า ง ดั ง เรื่ อ งราวที่ ปรารถนา ศรชนะ รองนายก อบต.คลองศก ถ่ายทอดไว้เป็นความรู้ ณ เวทีนี้ “ที่ภูมินิเวศน์เทือกเขาสกของเราอาจจะแตกต่างไปจากภาคส่วนอื่นอยู่บ้าง พูดง่ายๆ คือชาวตำ �บลคลองศก ยังคงมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างย้อนยุค เพราะชีวิตจริงของพวกเราจะผูกพันใกล้ชิดอยู่กับป่าค่อนข้างมาก สภาพแวดล้อม ส่วนใหญ่ยังเป็นธรรมชาติ เป็นป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายที่ ช่วยให้ชาวบ้านดำ�รงชีพอยู่ได้ เช่น ขุดหัวมัน หัวกลอย เอามาประกอบอาหาร หาอยู่หากินกันได้ ไม่มีอด” Fighting..Local Heroes

47


และเมื่อถึงเวลาเกิดวิกฤติ ชาวตำ�บลคลองศก ยั ง สามารถนำ � ทั ก ษะการดำ � รงชี วิ ต เช่ น นี้ ม าใช้ แ ก้ ปัญหา นัน่ คือการย้อนกลับไปสูก่ ารใช้ชวี ติ ทีเ่ รียบง่าย โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาเครือ่ งมือเครือ่ งไม้ทซี่ บั ซ้อนยุง่ ยาก “ถามว่าถ้าไม่มีหม้อ ไม่มีเตาแก๊ส แล้วเราจะ หุ ง ข้ า วกิ น กั น ยั ง ไง เราก็ ใ ช้ วั ส ดุ ธ รรมชาติ อ ย่ า ง กระบอกไม้ไผ่ทหี่ าได้ไม่ยากในท้องถิน่ ชาวบ้านเรียก วิธีนี้ว่า ‘หลามข้าว’ หรือแม้กระทั่ง ‘ข้าวห่อใบบัว’ ก็ ทำ�ได้ไม่ยากเย็น “พอตกกลางคืนไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่าง คน สมัยเขาไม่มนี �้ำ มัน ก็ใช้ขไี้ ต้ ซึง่ เป็นภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิม

48

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

เราไม่สมควรจะลืม ในพื้นที่ของเรามีต้นยางใหญ่ เราก็เจาะรู ไม่ต้องใหญ่มาก สักพักจะมีน้ำ�ยางเหนียวๆ ไหลออกมา เอา ไปผสมกับกาบมะพร้าว สับให้ยุ่ย ใช้กาบหมากห่ออีกชั้น แล้ว ใช้ตอกไม้ไผ่รดั ให้แน่น ทีเ่ ล่ามานีแ้ ทบไม่ตอ้ งเสียเงินซือ้ อุปกรณ์ อะไรสักบาท ได้ทั้งก่อกองไฟ ได้ทั้งแสงสว่างและความอบอุ่น ที่สำ�คัญยังช่วยไล่แมลงและสัตว์ร้ายในเวลากลางคืน สามารถ ป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคอื่นๆ ที่มาจากยุงได้อีก” การหลามข้าวไม่เพียงแต่จะเป็นทักษะการเอาตัวรอดใน ภาวะวิกฤติของชาวคลองศกเท่านั้น แต่ในชีวิตปกติประจำ�วัน ก็ ยั ง เป็ น ที่ นิ ย มแพร่ ห ลาย โดยเฉพาะเป็ น เสน่ ห์ ที่ ดึ ง ดู ด ใจ นักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือนเทือกเขาสก “เขาสกของเรามี แ หล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว มากมาย ผู้ประกอบการต่างๆ ก็จะโชว์ วิธีหลามข้าวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ชิม และมีจอกไม้ไผ่ตัดเป็นแก้วน้ำ�ไว้บริการให้ กับนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นของที่ระลึก ไปเลย” นี่ คื อ ภู มิ ปั ญ ญาดั้ ง เดิ ม ที่ ช าวบ้ า น คลองศกยั ง คงสื บ ทอดกั น มาจนถึ ง ยุ ค ปัจจุบัน นับเป็นชุดความรู้ที่ถ่ายเทไปถึง คนรุน่ ลูกรุน่ หลานในท้องถิน่ โดยไม่ขาดห้วง ทั้ง ยังสามารถช่วยกระจายความรู้ให้กับ ภูมินิเวศน์อื่นๆ ต่อไป


บ้องไม้ไผ่รสเลิศ ปี 2540 เทือกเขาสก สุ ร าษฎร์ ธ านี เกิ ด น้ำ �ท่ ว ม หนัก หลายครัวเรือนติดอยู่ บนเขาไม่สามารถออกนอก พื้นที่ได้ ความช่วยเหลือจาก ภายนอกก็เข้าไม่ถงึ พวกเขา พวก เขาใช้วิธีหุงหาอาหารแบบคนโบราณ เทคนิคการหลามข้าว ฟังดูเหมือนไม่ ยาก แต่เอาเข้าจริงก็ตอ้ งอาศัยความพิถพี ถิ นั ไม่นอ้ ย และ ต้องอดทนรอคอยกว่าจะได้ขา้ วสวยร้อนๆ หอมกรุน่ นีค่ อื เสน่ห์จากกระบอกไม้ไผ่ เดิมทีการหลามข้าวเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านใน อดีต โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขาหรือกลุ่มนายพรานหา ของป่า และสามารถประยุกต์ใช้ได้ดใี นยามเกิดภัยพิบตั ิ จากธรรมชาติ สุมน ศักดา เป็นชาวตำ�บลคลองศก เกิดปี 2499 ในวั ย เด็ ก เขาเคยเข้า ป่าไปกับนายพรานและคนเก็ บ ของป่า การหลามข้าวจึงเป็นความรู้ติดตัวเขามาตั้งแต่ วันนั้นจนถึงวันนี้ “เมื่อก่อนไปตัดหวายในป่า บางครั้งต้องค้างแรม อยู่กลางป่าหลายคืน อาศัยวิถีการยังชีพแบบคนโบราณ ถึงไม่มีไฟฟ้าใช้ เราก็อยู่ได้”

เริม่ จากเสาะหาบ้องไม้ไผ่ลำ� สวยขนาดยาวสัก 2-3 ศอก หา ใบไม้ชนิดทีม่ ใี บกว้างพอทีจ่ ะห่อ ข้าวสารสัก 2 กำ�มือ ส่วนมากจะ นิยมใช้ใบแรดหรือใบยูง จากนัน้ โรยเกลือพอประมาณ ซึ่งเกลือจะ มีคุณสมบัติดูดความร้อนจากลำ�ไผ่ ให้ข้าวสุกได้เร็วขึ้น ในบ้องไม้ไผ่ 1 ลำ� สามารถบรรจุข้าวสาร ได้ราวๆ 9 ห่อ เสร็จแล้วเติมน้ำ�จนเต็ม อุดปลายกระบอก ด้วยใบเตยหรือใบตอง แล้วนำ�ไปหมกไฟ คอยพลิก กระบอกไม้ไผ่ไปมาเพื่อให้ข้าวสุกทั่วทุกห่อ ใช้เวลาราว 30 นาที แล้วเทน้ำ�ออกหรือรอจนกระทั่งน้ำ�เริ่มเหือด จากนัน้ ใช้วธิ กี ารดงข้าวหรือย่างด้วยไฟอ่อนๆ ต่ออีก 10 นาที ไม่นานก็จะเริ่มส่งกลิ่นหอมฉุย เป็นอันว่าหนังท้องตึง กันถ้วนหน้า ส่วนวิธีปรุงอาหารเมนูอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ปลาหรือเนื้อสัตว์ก็สามารถใช้กระบอกไม้ไผ่ได้เช่นกัน “ปีนี้ลุงอายุย่าง 55 แล้ว” สุมนบอก “ภูมิปัญญา แบบนี้คนเฒ่าคนแก่เขาสอนกันมา ตอนนี้พวกเขาตาย ไปหมดแล้ว วันนี้คุณมาฟังผมเล่าถึงวิธีการหลามข้าว เหมือนผมในวันนัน้ ทีฟ่ งั คนตัดหวายสอนหลามข้าว เมือ่ ผมตายลง วิธกี ารหลามข้าวก็จะยังอยูต่ อ่ ไป ถ้าเรายังคง ถามไถ่และเล่าเรื่องราวสู่กันฟัง” Fighting..Local Heroes

49


-2-

Facing death with consciousness This morning the weather was dusky. The sky was not blue. No light shone through the clouds. It was like the sun was still sleeping. It had been raining for 3 nights and no signs showing that it was going to stop soon. It was true as it was said that this is the city of 8 times raining and 4 times sunshine. Or it is like being described in the short story collection named “Mahalai Muang-rae (Mining University) by Argin Panjapan that – “it rains heavily until leaves cannot head up”. One may like a cold wet from the rain. It helps create a mood of extremely lonely romantic. But big rain drops that fall heavily in the morning made me feel strangely anxious. The light air made me breath smoothly. The coffee was left tasteless. 50

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


The noise from the radio was not clear but I

people by cooperating with the hospital, rescue

had got the gist that the situation was not good.

foundation, police officers and the municipality

The amount of rainfall to Pa Toa mountain ranges

and nearby Local Administrative Organizations.

at the joint of Chumphon province and Ranong

12.00 p.m. The support agencies presented

province was in serious situation. The team was

to the President of the Center for Disaster

monitoring the situation closely.

Management of Lang Suan Basin Landscape

10.30 a.m. It was late now but it was still

Ecology, acknowledged the situation, discussed

raining. The leaders of the community started

about the map and distributed volunteers to the

getting nervous. So they warned the villages to

scene.

prepare for evacuation.

As soon as they reached to the scene, they

11.00 a.m. Just half an hour passed. There

saw number of victims struck in the area across the

was a report that some areas were flooded.

Lang Suan River which had now been successfully

The villagers were in dangerous areas and the

converted into islands. The only way to move

volunteers were needed.

people out of there was abseiling by rope.

11.30 a.m. The serious situation expanded

10 rescue boats patrolled the coastline to

to Laemsai sub-district. Flooding covered a wide

the area that was strategically suitable for building

area and water levels rose quickly. Many citizens

a rope bridge. The fast-moving volunteers quickly

could not move out of the area. And some were

leap from the boats. They are distributed according

injured. The President of the Center for Disaster

to their aptitude. One cleared the paths for

Management of Lang Suan Basin Landscape

transporting the victims. Another made a ladder.

Ecology gathered the volunteers of fast-moving

Some tied knots tightly. Other swam across the

team and community leaders to go to the scene

torrents to tie the rope with another end.

and also establishes of the center for helping the

Time flew. Everyone must race against time. Fighting..Local Heroes

51


They were sweating. They were breathing with wheezing sound. But they continued working. When both ends of the rope were tied tightly, the victims claimed up the ladder, held their breath and jump across to the bank of the river. The men with orange shirt wiped their sweat and started to smile. 03.00 p.m. The water level was increasing in crisis level. The people could not be in area anymore. The Headquarter had ordered through the radio communication that everyone had to move out within a half hour. Both the injured and the victims were transported to the shelter. This mission was accomplished well. Everything ended happily. No trace of tragedy or loss was visible. 52

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


Except…this is not a true story! This is the virtual practice of “men with orange shirt” team. If it were a real situation, everything might not be pretty smooth like this. In contrast, there are some weak points that have to be reviewed.

From volunteers to citizen power Whenever there is a disaster, the team of men in orange shirt uniform is often among the first to reach to the scene. Their uniform is screened with the words “Disaster Management Volunteer”. This is the uniform of pride for them. The villagers are wonder who they are? But these volunteers call themselves “Teng Sia Som” (men in orange shirt) Although they are not as courageous as heroes, they can help people to survive from disasters many times. Who is not afraid of death? They are. They, who do not have special powers, just ordinary people, could Fighting..Local Heroes

53


not withstand the cries of the people who are

For them, the definition of citizenship would

in trouble. They may not be indifferent to the

happen if the people have individual volunteerism

situation. They have to go out to face the death

and are ready to sacrifice both body and soul for

just to help someone. Sometimes they do not even

the community and do not throw the burden to

know their names.

someone else. That is the power of citizens.

Thus the basic awareness makes them special to ordinary people…

Acting Sub-Lt. Kanokkarn Kwanthong, a heroine from Banthat Mountain Ranges Landscape

They believed that living in the midst of the

Ecology, Natamtai sub-district, Trang province

volatility of climate variability and natural disasters

clarified the establishment of “The volunteer of

today as just ‘ordinary people’ may not be enough

disaster management is the person who have

to survive. They do not want to surrender to the

public consciousness, want to solve the problems in

crushing power, just dropping election ballot for

their own are by cooperating together with others.”

15 seconds. ธThey prefer to be ‘full citizens’ living

The basic qualifications of are 1) fighting with

with dignity.

heart, 2) having strong health, 3) balancing time,

“Being just an ordinary people, we cannot

4) being able to help others, 5) being disciplined

bring our local community to the well-being. So

and 6) be ready to learn and improve the potential

today, we have to step out of the people to be

of their own and team.

citizens”, “the voice of the one who was in the

“When working, we do not have to go

meeting of the panel discussion of 5 landscape

every time there is a disaster. To understand the

ecologies held in Lang Suan, district, Chumphon

limitations of the volunteers is needed. We come

province in 2012, which is the meeting of the

together in this network with voluntary heart with

members of the network disaster management in

no force. But we need to manage time effectively.

the South.

Not let it to affect your private life.”

54

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


Being a volunteer, only heart and strong body,

“The power of the volunteer can be grown if

are not enough, the training is also required. The

the leaders of the community help search for the

volunteers are needed to train both in theory and

volunteers and train them. In every community,

practice. They are required to learn the disasters,

there are people who are ready to be volunteers,

train to recognize the regulatory rules of coexistence

but they are not seen, especially children and

and learn how to use rescue equipment and radio

young people who should be cultivated from now

communication and tie ropes. Water rescue

and be done continuously.”

training courses, basic first aid, aircraft ground

She hopes that someday new generation

traffic are also provided. The virtual training

seeds will be rooted in the soil and branch to

such as using the rescue boats, doing the vertical

provide shade to every local.

rappelling, transporting immigrants with ropes and living in a state of emergence are also trained.

The center of disaster: the assembly

These are done to prepare the volunteers for the

point of fighters

real situation.

“The center of disaster management” can

The levels of training range from courses

be called formally as the command center for

for district level disaster management that the

emergency situations. It is also the coordination

volunteers are able to help their families and

center for brainstorming and exchanging

neighbors. The intensive course is another level

knowledge of the volunteers in the network.

for the fast-moving volunteers. This intensive course

Uthaiwan Pleeknoo who is a community

allows them to have the potential to help victims

academic and the representative of Kuan Kreng

in different areas effectively and later they are

Swamp Forest Landscape Ecology, Nakhon Si

empowered through experience as lecturer or

Thammarat Province explained that the center

trainer to develop the next generation of volunteers.

of disaster management is generated the Fighting..Local Heroes

55


combination of the volunteers. Also, the volunteers

Uthaiwan Pleeknoo also explained that “the

are able to carry out activities smoothly because

disaster center may range from the district level

of the center. When there is an emergency, the

to the landscape ecology level. The committee

center is an assembly point for sharing ideas on

consisting of representatives of various sectors

how to handle the situation.

in the local community runs the center. But the

The major components of the center are

potential of the center depends on the strength and

as the following: 1) Place – there should be

participation of the people in the area, especially

good public utility such as transport mobility and

the citizens with voluntary heart.”

communications facilities. 2) Working group – the

Finally, the center of disaster management

working group should be the representatives from

would not have happened without volunteers, and

the local communities, regions and organizations

the volunteers will work with difficulty without the

in order to integrate all sectors to work together.

center. They must move forward together.

3) Data – it must be clear and precise, both

Today, there are 5 centers of disaster

physical data and the data of risk areas in the

management in 5 areas of landscape ecology

community. 4) Disaster management plan – the

in the South. This can prove that citizen power

plan should cover all matters before the incident,

does exist.

during the incident and after the incident. 5) Equipment – all equipment must be in a ready condition to use. 6) Skilled volunteers – the volunteers should be well trained and ready to help the others. Finally, there should have the fund supporting the work of the center.

56

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


‘Handmade map’: Pin and destination

The data must include the details of the family, village and sub-district, the amount of population, of children, of

The most decisive factor indicating if

the elderly or patients, risky points, migration routes, the

the mission in helping victims is successful

shelter center and etc. The data will be put in the handmade

or fail in each area does not depend

map done by the villagers. The systematic integration of

on the number of volunteers or modern

the data is required to put all the data into the paper map.

rescue equipment, but it depends on

“handmade map is a simple word describing the work

the data.

from the villagers’ brain. They do not use satellite or GPS. But they survey from the actual area. The villagers corporately collect the data and integrate them for making a handmade map”, Manop Khunkaew explained the process in making a handmade map before unfolding the map to show. The color or the beauty of the map is not a key in helping the victims, but the accuracy and clearness that can identify the exact target areas. The purpose of the handmade map is to allow the volunteers to access to the areas easily. The map should be easy to understand, easy to use in communication. “Scale and direction must be correct because it is the heart of the map. Whether standing at anywhere or who uses the map, it is able to navigate to the desired destination, especially when the outsiders who do not know the geography of the community use it. It is convenient if Fighting..Local Heroes

57


there is a map with specific information of the area. It will help them to work more easily.” Manop also explained that the symbols on the map must be standardized that can be used to communicate to other organizations such as the main and the secondary transportation, the river, the canal, the school, the temple, the mosque, the hospital, the Local Administrative organization or helipad. “Some specific places in the community such as cattle stalls or mills can also be identified on the map.” However, Manop admitted that the most difficult thing in making a handmade map is the data collection of the households. It is the important information which can indicate the numbers of the houses that are in the risky area including the areas the houses are located. Furthermore, the information shown on the map can also be made to the plan before the disaster occurs, during the incident and after the incident as well. This will lead to the implementation and integration with other organizations. The handmade map is drawn with simple lines, but it reflects the cooperation of people in the community who helped to collect data in their own areas. It also demonstrates the process of participation and a sense of belonging together.

58

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


‘Disaster fund’

Chumphon Province defined the disaster fund as

Under the circumstances of the disaster

it does not refer to only money, but it can be food

that is unpredictable, apart from the center of

and equipment that are prepared to use for the

disaster management, volunteers, a handmade

emergency situations.

map, the data which are the important things

“Each landscape ecology should have

in dealing with the crisis, the supporting fund is

these capitals of its own in order to take care of

also necessary because even with volunteers are

the volunteers. This fund will be used to promote

willing to sacrifice for the public, the work may

and develop the profession of the volunteers for

not be running continuously if there is no money.

instance, the volunteers Kuan Kreng Swamp Forest

After suffering with recurrent flooding at Lang

Landscape Ecology, who have a lot of abandoned

Suan, Pordaeng sub-district, Chumphon Province,

rice fields, open the fields for the members to rent

the people in the village began pondering a

for planting rice and collect the rent for the fund.”

solution to the disaster. The members agreed to

In this sense “wisdom” is also regarded as

establish the disaster management fund in order

a kind of capital. For example, the Kuan Kreng

to have reserve money so that they do not have to

Swamp Forest can convert abandoned rice fields

wait for help from the government which is quite

into fertile rice fields. The output is returned to the

slow. The fund’s mission is to help the villagers

disaster management fund. The fund is established

to survive in a crisis situation. And volunteers can

by using wisdom to manage resources sustainably.

help make a living when there is no disaster.

Arun also showed the case of the volunteers at Songkhla Lake Basin Landscape Ecology that they

No money, no progress of work

earn from Ecotourism when they do not have help

Arun Kongsuwan, the volunteer from fast-

victims. These volunteers organize boat cruises and

moving team of Lang Suan Landscape Ecology,

take tourists to visit the lake to admire the beauty Fighting..Local Heroes

59


of nature. This is another way to raise funds for

not only take care of the area in Lang Suan district,

the disaster management.

Chumphon province or southern areas, but also

“There are several ways to raise funds. It

everywhere there is a disaster.

depends on the potential of each community. If

Arun said that under the fund, there is another

the fund is managed systematically, we can have

goal which is to increase the numbers of volunteers.

a large capital to sustain the work of volunteers. “

The main principle is everyone must be saved. “Now there are about 100 volunteers

Grouping+investing+helping

who can help themselves. They are health care

Originally, the fund for disaster management

volunteers, villagers and the students in the areas.

of Pordaeng sub-district was not supported from

We will provide education and training for them

any sectors. Each villager donated about 20-30

to be able to help themselves. Our goal is to

baht for the fund. So, the members raised money

increase the number of volunteers to at least 25

by asking everyone to donate money. From this

persons per sub-district. Now there are 7 sub-

activity, they gained 30,000 baht. And now they

districts participating in the network of disaster

have about 50,000 baht.

management and we will extend up to the 10

The fund is also supported from the village

sub-districts and more”, Arun said.

fund 300 baht a year. Moreover, the villagers always donate to the fund.

Fund of faith

Apart from the fund, physical force is also an

As mentioned above, the disaster management

important factor driving the work of the disaster

fund is to live volunteers’ lives so that they can

management fund. They have about 100 people

continue working because they cannot wait for

which are divided into the volunteers in fast-moving

the government. It is all members’ responsibilities

team and the volunteers monitoring disaster. They

to manage the fund.

60

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


The committee of the fund is the community

At the present, many areas can raise their

leaders in each area in order to make every

funds. Even though it is a small fund, it is the fund

spending process clear.

from the villagers’ participation.

“The common fund belongs to everyone and it is used only for the disaster matters.” In addition, members had held the meeting

Third harmonic power “community – village – local government”

to find ways to strengthen the fund. They agreed to push it as a community consensus in order to propose to the Local Administrative Organization to allocate the budget or necessary equipment

Community

Village

to the fund. Arun also emphasized that it is not easy to establish the disaster management fund because it is needed to make the villagers understand its

Local government

benefits and encourage them to work urging the villagers to participate in raising funds is required since when they have a sense of belonging, they will be willing to help raise the fund.

Disaster management system have operated for more than 2 years that there are 5 landscape

“It is the form of fund of faith and trust. It takes

ecologies. It can be established from 3 main

a long time to make the villagers understand.

sectors: community, village and local government.

However, Pordaeng sub-district has faced disasters

For the Local Administrative Organization,

several times, so everyone understands that no one

the president cannot use power solely. All policies

can help except themselves.”

must respond to the public interest. The president Fighting..Local Heroes

61


is responsible to the citizens as with the local

Khan sub-district, Cha-uat district, Nakhon Si

governments, community leaders and village

Thammarat, pointed out that the center of disaster

headmen that are required to take care of the

management should create understanding and

welfare of the residents. Meanwhile the citizens

awareness to the people in the area in order to

must be aware and have senses of belonging

achieve cooperation in disaster preparedness.

which can be expressed by being willingly to help the community. If these 3 sectors can work together, they can fight against every obstacle.

“The major role of local leaders in disaster management is to create the understanding with the community. When there is a disaster, we need to transform the crisis into an opportunity. After that, the understanding with the government agency is

The role of ‘village’: spokesperson for the villagers

concerned.” When talking about the vision in working,

From direct experience in managing Kuan

Pensri who is a former secretariat to the Network

Kreng Swamp Forest Landscape Ecology, Pensri

of Four Regions for Community Self-Reliance

Thongbunchu, who is the village chief of Ko

Master Plan uses the principle of “listening to

62

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


people’s voices”. Therefore, all the problems in

from the community and extended to the regional

the community are solved by majority vote.

and national level. From now on, we will connect

“We hold the majority. However, it does not leave a minority”, Pensri said.

the landscape ecology of each region and seek for volunteers. And disaster management must

The delay in cooperation among organizations

have policies that can make the government see

in the area is the main problem when the disasters

how significant the network is and also put it in the

occur.

plan of the Local Administrative Organization. ”

When each sub-district has its own disaster

In the long run, the integration of the

management center, they gradually connect

network for disaster management will require the

into coherent network landscape ecology. Each

cooperation from government agencies. Pensri

landscape ecology has to answer to the important

thinks that only the center of landscape ecology

question that how we can make the government

and the network in sub-district level may not be

accept people like this. Pensri insisted that it can

enough.

be seen from the performance or work. “In the past, when we make plans we began

The biggest problem in helping the victims when the disaster occurs is Authority to approve Fighting..Local Heroes

63


emergency spending. “I think the sub-district should have budget on hand because when the disaster occurs, we can operate the assistance immediately.”

be launched as the provision. The disaster is now the agenda of Bankhao sub-district. With 140 volunteers and the data base of Bankhao sub-district including the data of the Basic Minimum Needs (BMN) and the Health Promoting

‘Local government’ must be sincere

Hospital, the data are quite completed.

In the past, most disasters are caused by

“We know about all the data of the villagers

human or the people in the community. The natural

like which households have children or the elderly.

resources are threatened from the selfishness of

One health care volunteer will take care of 5

some people. And when there is disaster, the

households. The data are kept by the Health

whole community must share responsibility.

Promoting Hospital and the Local Administrative

As being the Chief, Satit Chaisuwan, the Chief of Bankhao Local Administrative Organization, Songkhla Province told us that they do not start with nothing.

Organization. So, the data will be used immediacy when there is a disaster.” Additionally, the Songkhla Lake Basin has a network linked between Banthat mountain ranges

“We already have a team of volunteers in the

and Khaosok mountain ranges which always work

sub-district, both local officials and the community

together. Statistics from the past have shown that

members.. But the problem is lacking of experience

Khaosok area is likely to face with floods before

in dealing with disasters and sustainable ways to

Songkhla Lake Basin. The experienced team of

continue the operation.”

volunteers assists the network annually.

For the disaster management, Satit has

The operation center for the southern area

already brought it to the village discussion forum

is considered the center of Songkhla Lake Basin

and has also put it in the master plan and it can

group. There is also the naval training station at

64

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


Ban Huapa, village no.1. “When we have experiences, we have to prepare the volunteers because the disasters can occur any time.”

the representative of the community Satit said that the suffering of the villagers comes first. “When the villagers are in trouble, we have to discuss on how to avoid the limitations of the

If we look down from the summit of the

government’s work. We need to find the fastest

pagoda to its base, we will see that the summit

way to respond to the demands of the villagers.”

is beautiful if the base is strong. For Bankhao community, ‘the community curriculum’ can be compared to the base of pagoda. “Now we are able to handle it, but in the future we may not, so we have to train the children for representing us in the future.” When working, it is hard to avoid having trouble. Satit has some advice for this matter. “It is common that there are differences of opinion when working. But we have to base on the vast majority. Although we have different ideas but we still have the same standpoint. Fortunately, the government officers are the members of the community, so it is easy to understand each other.” Sometimes it must be admitted that the process and the work of government officials cannot respond to the disaster. Therefore, on behalf of Fighting..Local Heroes

65


Local wisdoms: the survival skills Let imagine of a drastic disaster that no one has ever found or seen before. And you have to live on the island surrounded by strong currents. Transportation is cut off. You cannot communicate with the outside world. The public utility system is fail: no electricity, and no water. 66

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


What would do you with this situation?

At Khao Sok Landscape Ecology, Surat Thani

Yes, that seems an overstatement to imagine.

Province, the people continue to inherit this

But, everything is able to happen any time because

wisdom to the younger generations as Partthana

certainty is uncertainty. Surely, human cannot

Sornchana, the vice president of Klongsok Local

overcome with the nature even the volunteers who

Administrative Organization shared in this seminar.

have been working for many years. What we

“Khao Sok Landscape Ecology may differ

can do is just to lessen the drastic situation and

from others. That is to say the people in Klong

save your life.

Sok still live with retro lifestyle because their real

For the worst case, the network for disaster

lives are bound closely to the forests. Most of the

management in the South has already had a

environment is natural. There are 2 national parks.

backup plan. They have reviewed the wisdom

There are a variety of natural resources that the

of the ancestors and adapted the wisdom to the

villagers can live.“

situations.

When facing with crisis, the villagers in Klong

Have you ever heard the story from the

Sok can also lead these skills to solve problems.

elderly about the evacuation of ants? In the past it

That is they return to the simple life without having

is believed that if you see them go marching with

to rely on complex tools.

their eggs to the higher ground, it is a warning

“Although there are no pot or gas stove, we

sign that the heavy rain is coming or there may

can cook rice by ‘cooking rice in bamboo’ or using

be flood. Therefore, the ancient people find ways

‘lotus leaf’ to wrap and cook rice.

to preserve foods for consumption during times of

“At night when there is no electricity, we use

scarcity. So, even without electricity or no running

sticky rubber from rubber tree mixed with coir

water, they can still cook.

by chopping and then wrap it with balm leaf.

This can be called the strength of culture.

This is also wisdom from our ancestors. We do Fighting..Local Heroes

67


not have to pay for this. It can also chase mosquitoes, insects or dangerous animals during the night.” Cooking rice in bamboo is not only the skills to survive in the crisis of the villagers in Khao Sok, but, it is also widely popular in daily life, particularly with tourists who visit Khao Sok. “There are a lot of tourist attractions at Khao Sok. The entrepreneurs show how to cook rice in bamboo to foreign tourists and there are glasses made from cutting bamboo to service to tourists so that they become souvenirs.“ This is the conventional wisdom that people in Khao Sok still carry on to the present day. It is the set of knowledge transferring to the younger generations. The knowledge can also be transferred to other landscape ecologies.

68

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


Delicious bamboo

our lives.”

In 1997, there was a big flood at Khao Sok

It started with looking for a bamboo trunk

Mountain ranges, Surat Thani province. A lot of

2-3 feet long and leaves that are wide enough

families could not move out and the assistance

to wrap rice. Then sprinkle salt on rice. The salt

could also not reach to the area. Therefore, the

will absorb the heat from bamboo and rice will

people cooked by ancient ways.

be cooked faster.

Cooking rice in bamboo is not difficult, but

Nine wrapped rice packs can be packed

it requires refinement and you have to be able

in one bamboo. Then, fill water in it fully. Seal

to wait for it. This is charm of cooking rice in

the bamboo with pandanus or banana leaves.

bamboo.

Then cook it with fire for about 30 minutes then

Formerly, cooking rice in bamboo is a way

pour water out or wait until the water started to

of life in the past, especially for the people living

dry. After that, roast it with light fire for another

in the forest or the hunters.

10 minutes. We can use this method with meat

Sumon Sakda is the villager in Klong Sok

or fish.

who was born in 1956. When he was young,

“This year I am 55 years old”, Sumon said.

went into the woods with hunters and the people

“The local wisdom has been taught by the elderly

who gathered of wild stuffs. So he has known

and now they are all dead. Today, you are

how cook rice in bamboo since that day.

taught how to cook rice in bamboo joints like I

“When going into the jungle for cutting

was taught by the man cutting rattan. Although

rattan, we had to stay many days in the forest.

I die, the methods of cooking rice in bamboo

We had to live our lives by ancient ways. Even

still exist.”

there was no electricity; we were able to live

Fighting..Local Heroes

69


3 ถาม-ตอบ :

ขุนศึกอาสา วีรบุรุษชาวบ้าน

‘โกเมศร์ ทองบุญชู’

70

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


กว่าจะเป็น ‘เท่ง-เสือ ้ ส้ม’ โกเมศร์ : อาสาสมัครเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติ พื้นที่ภาคใต้เกิดจากการรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งซึ่ง ก่อนหน้านี้เคยร่วมทำ�งานเป็นเครือข่ายกันมาก่อน แล้ว ในนามของ ‘เครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึง่ ตนเอง ภาคใต้’ จนกระทัง่ วันหนึง่ เกิดภัยพิบตั สิ นึ ามิเมือ่ เดือน ธันวาคม 2547 พวกเราได้ไปช่วยเหลือพี่น้องใน เครือข่ายของเราที่จังหวัดพังงา ซึ่งครอบครัวเขาเสีย ชีวิตทั้งบ้าน 7 คน เหตุการณ์ครั้งนี้ทำ�ให้เราเห็นว่า ภัยธรรมชาตินำ�มาซึ่งความสูญเสียร้ายแรงเกินกว่าที่ คิด พวกเราจึงระดมกำ�ลังจากสมาชิกที่มีอยู่ประมาณ 2,000 กว่าคน เพือ่ ช่วยเหลือฟืน้ ฟูทนี่ นั่ เป็นเวลา 1 ปี เต็มๆ จนกระทัง่ เดือนธันวาคม 2548 เกิดมหาอุทกภัย ครั้งใหญ่ฝั่งอ่าวไทย กินพื้นที่ถึง 7 จังหวัดภาคใต้ ผมจึงถอนตัวจากตรงโน้นมาช่วยพี่น้องฝั่งอ่าวไทย ต่อมาปี 2549 ดินถล่มที่เมืองลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์ และอีกหลายจังหวัดภาคเหนือ ทัง้ แพร่ น่าน ลำ�ปาง สุโขทัย เราก็เฮโลกันไปช่วยเหลือ ถ้ามีภยั ทีไ่ หน เราก็ไปช่วย ควักกระเป๋ากันเอง ทั้งค่าน้ำ�มัน ค่ากิน ค่าอยู่ พอตังค์หมดเราก็กลับ เมียที่บ้านบ่นก็เลิก ซึ่ง ตอนนั้นเราไม่มีหน่วยงานสนับสนุน ไม่มีงบประมาณ

ไม่มอี งค์กรช่วยเหลือ เราเป็นแค่องค์กรชาวบ้านธรรมดา สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ทำ�ให้เราฉุกคิดได้วา่ ภัยพิบตั เิ ป็นเรือ่ ง ใหญ่และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภัยแล้ง น้ำ�ท่วม ไฟ ไหม้ เยอะแยะไปหมด จึงหารือกันว่าเราน่าจะทำ�งาน เรื่องนี้กัน แต่ถ้าทำ�ในลักษณะเฮโลกันไปแบบนี้เห็นที จะไม่ไหว แล้วมันไม่ยงั่ ยืน เราจึงคิดว่าน่าจะจับมือกัน สร้างเครือข่ายที่เป็นระบบ

ลำ�พังแค่มีใจอย่างเดียว ยังไม่พออีกหรือ โกเมศร์ : การมีจติ อาสาอยากช่วยเหลือผูอ้ นื่ แต่ตวั เอง ไม่มีความรู้ บางครั้งก็สร้างปัญหาให้เขาด้วย เราเลย คิดว่าต้องทำ�เครือข่ายกันให้ชัดเจน และจากนี้ไปเรา คงไม่ใช่องค์กรทีจ่ ะไปช่วยเหลือเขาตลอด แต่สงิ่ สำ�คัญ ทีส่ ดุ คือทำ�อย่างไรให้คนในพืน้ ทีล่ กุ ขึน้ มาจัดการตัวเอง ได้ และเกิดจิตสำ�นึกว่าการจัดการภัยพิบัติเป็นหน้าที่ ของคนทุกคน ต้องยอมรับว่าในอดีตเรามักคิดว่าเรื่องภัยพิบัติ เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น อบต. อบจ. ต้องเข้ามาช่วย Fighting..Local Heroes

71


ซึ่งเมื่อก่อนอาจทำ�ได้ เพราะภัยพิบัติเกิดขึ้นแค่หย่อม เล็กๆ แต่ตอนนี้มันครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งฝั่งอ่าวไทย ถามว่าใครจะมาช่วยเราได้ ที่ผ่านมาคนติดกรอบคิด ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของฉัน เป็นหน้าที่หน่วยงานภาค รัฐ ซึง่ สุดท้ายมันจัดการอะไรไม่ได้เลย เราจึงสรุปได้วา่ คนที่เป็นผู้ประสบภัยก็คืออาสาสมัครที่ดีที่สุด เริ่มต้น ต้องเกิดจิตสำ�นึกและศรัทธาว่างานนี้เป็นงานของเรา

ด้วย กลายเป็นแรงกระตุ้นให้ดึงคนอื่นๆ เข้ามาร่วม ตอนหลังเราพบว่าเด็กและเยาวชนมักจะเป็น กลุ่มเสี่ยงต่อภัยพิบัติ เราจึงคิดว่าทำ�ไมเราไม่ช่วยให้ เด็กมันไม่เสี่ยง ให้มันจัดการตัวเองได้ จึงชักชวนเด็ก และเยาวชนเข้ามาฝึกอบรมกัน เด็กหลายคนเก่ง ฉลาด เรียนรูเ้ ร็ว รูจ้ กั การใช้เครือ่ งมือสือ่ สาร จากนัน้ ก็ขยายผล ไปยังกลุ่มสตรีและแม่บ้านทั้งหลาย

ทำ�อย่างไรจึงจะสร้าง จิตอาสาเหล่านี้ขึ้นมาได้ โกเมศร์ : ก่อนอืน่ เราต้องรูว้ า่ มีเพือ่ นทีไ่ หนบ้างทีเ่ คย ทำ�งานเครือข่าย และรู้ว่าคนคนนั้นมันชอบงานแบบนี้ แล้วชักชวนเข้ามาร่วมกัน เริม่ จากไม่กตี่ �ำ บล แล้วขยาย จากเล็กไปใหญ่ ถามว่าเราไปหาคนทีม่ จี ติ อาสาเหล่านี้ จากที่ไหน ก็มาจากทั้ง อปพร. ชรบ. อสม. ทั้งหลาย คนพวกนี้ใจรักอยู่แล้ว เราก็ชวนกันมาฝึกอบรมให้ ความรู้ เมื่อพวกเขาผ่านหลักสูตรการเป็นอาสาแล้ว ทำ�ให้เขามีศกั ยภาพมากขึน้ ถึงตอนนีเ้ ราฝึกอาสาสมัคร ได้ 1,400 กว่าคน ฝึกเสร็จเราก็ให้เสื้อสีส้มเพื่อเป็น สัญลักษณ์ของความภาคภูมใิ จ คนอืน่ เห็นก็อยากเป็น โกเมศร์ : หลักสูตรสำ�หรับอาสาสมัครทั่วไปมี 3 วัน

หลักสูตรการฝึกอบรม เป็นอย่างไร

72

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


เป็นการสอนให้ชว่ ยเหลือตนเองเบือ้ งต้นได้ เช่น ว่ายน้�ำ ขับเรือ หลักสูตรขัน้ ต่อมาคืออาสาสมัครชุดปฏิบตั กิ าร เคลื่อนที่เร็ว เราพัฒนาอาสาสมัครชุดนี้ขึ้นมาให้มี ศักยภาพช่วยเหลือผูอ้ นื่ ได้ ใช้เวลาอบรม 5 วัน เช่น ฝึก การลอยตัวในน้�ำ 3 ชัว่ โมง การลอยตัวเข้าฝัง่ ระยะทาง 500 เมตร การโรยตัว การผูกเงื่อนเชือก ว่ายน้ำ� กลางกระแสน้ำ�เชี่ยวได้ จริ ง ๆ แล้ ว เราพั ฒ นาหลั ก สู ต รขึ้ น เองจาก ประสบการณ์การทำ�งาน บางหลักสูตรก็ประยุกต์ มาจากหน่วยงานอื่น เช่น กรณีเหตุดินถล่มที่ตำ�บล กรุงชิง อำ�เภอนบพิตำ� จังหวัดนครศรีธรรมราช ฮ. ไม่สามารถร่อนลงได้เพราะไม่มคี นให้สญ ั ญาณ เราเลย คิดว่าต้องมีความรู้เรื่องนี้ จึงนำ�หลักสูตรอากาศยาน ของกองทัพมาปรับใช้

ตระหนักร่วมกันนั้นยาก เพราะทุกหน่วยงานก็ไม่เคย คุยเรื่องนี้กันจริงจัง เวทีกำ�นันผู้ใหญ่บ้านก็ไม่พูด เวที อบต. หรือเสียงตามสายกระจายข่าวก็ไม่ได้พูด เป็น เพราะระบบคิดของสังคมเราไม่ค่อยสนใจกับเรื่อง เหล่านี้ แม้กระทั่งสื่อมวลชนทั้งหลายนี่แหละ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ลองสังเกตดูสิ ฝนตกหนักจะตายอยู่แล้ว ยัง ฉายแต่ละครทีวี ประกวดร้องเพลง โฆษณายาบำ�รุง จะ มีสกั กีช่ อ่ งทีแ่ จ้งข่าวสารสถานการณ์วา่ เป็นอย่างไร พอ เกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างสึนามิ น้�ำ ท่วมภาคใต้ มหา อุทกภัย ก็พิสูจน์แล้วว่าสุดท้ายกูนี่แหละต้องพึ่งตัวกู บทเรียนที่เจ็บปวดที่สุดคือน้ำ�ท่วมเดือนมีนาคม 2554 เราไปบอกให้ชาวบ้านรีบอพยพ น้ำ�จะมาแล้ว เพราะพวกเราขี่เรือมากับน้ำ� เรารู้ปริมาณน้ำ�มาเท่าไร โกเมศร์ : ที่ จ ริ ง เรื่ อ งเหล่ า นี้ จ ะสื่ อ สารให้ สั ง คม น้�ำ ลงมากีล่ กู บาศก์เมตร แต่ค�ำ ทีช่ าวบ้านพูดเป็นเสียง

มีวิธีสื่อสารเพื่อ สร้างความตื่นตัว ให้กับประชาชนอย่างไร

Fighting..Local Heroes

73


เดียวกันคือ น้�ำ อะไรจะท่วมเดือนมีนาคม เป็นไปไม่ได้ นีเ่ ป็นอีกจุดหนึง่ ทีเ่ ราอยากให้คนเปลีย่ นวิธคี ดิ เพราะ ตอนนี้ อุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาก็ เ ชื่ อ ไม่ ไ ด้ บอกว่ า ภาคใต้ ฝั่ ง อ่าวไทยฝนตก 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เคยบอกว่าจะตก ที่ไหน ปริมาณเท่าไหร่

เราไม่สามารถพึ่งพา หน่วยงานราชการ ได้เลยหรือ โกเมศร์ : จากวิกฤติที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐควร หันกลับไปทบทวนดูว่าสุดท้ายแล้วใครควรจะเป็น เจ้าภาพในการจัดการภัยพิบัติ เพราะวันนี้เราพึ่งพา ส่ ว นกลางไม่ ไ ด้ เหตุ ผ ลก็ เ พราะหน่ ว ยรั บ ผิ ด ชอบ คื อ กรมป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย แม้ แ ต่ เฮลิ ค อปเตอร์ สั ก ลำ � ยั ง ไม่ มี เฉพาะที่ จั ง หวั ด นครศรีธรรมราชเรามี 1,600 หมู่บ้าน 165 ตำ�บล มีเรืออยู่ 22 ลำ� แล้วถ้าน้ำ�ท่วมเต็มพื้นที่มันจะไปรอด เหรอ อย่างเจ้าหน้าที่ อปพร. มาทำ�งานจริงๆ ก็ไม่กนี่ าย บางคนก็มาฝึกเพราะอยากได้เครือ่ งแบบ เพราะเห็นว่า 74

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ชุดมันเท่ดี บางคนก็มหี น้าทีแ่ ค่โบกรถ แล้วภารกิจหลัก มีแค่ 2 ครั้งต่อปี คือ 7 วันอันตราย ได้รายได้คนละ 250 บาท นั่นคือความจริง ภายใต้วกิ ฤตินี้ กระบวนการทีจ่ ะสร้างการมีสว่ น ร่วมก็คือ การตั้งวงพูดคุยและสร้างความเข้าใจกันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำ�คัญ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องลุกขึ้นมา ปฏิรูป แต่ปัญหาคือคนเหล่านี้จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ วันนี้ถ้ามีคนที่เข้าใจสักแค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ งานภั ย พิ บั ติ ก็ ส ามารถบรรเทาลงได้ ถ้ า ประชากร หมืน่ คน ขอแค่พนั คนเท่านัน้ ทีเ่ ข้าใจเรือ่ งพวกนี้ เพราะ ถ้าเขาเข้าใจแล้วก็สามารถขยายต่อได้ ฉะนั้นหัวใจ สำ�คัญคือเราจะขยายเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ให้กระจาย แตกหน่อไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างไร


คุณสมบัติเบื้องต้นของ นับตั้งแต่ปี 2547 จิตอาสาคืออะไร จนถึงวันนี้เกือบ 10 ปี โกเมศร์ : คนในวงการจิตอาสาชอบพูดกันว่า ‘ใจต้อง แล้ว คิดว่าเครือข่าย มาก่อน’ แบบว่าถ้าไม่ได้ไปช่วยชาวบ้านแล้วนอนไม่ หลับ พอมีใจแล้วก็ต้องจัดการเวลาให้ได้ ใจมา เวลา การจัดการภัยพิบัติ ต้องมี เช่น เกิดภัยพิบัติ 5 ครั้ง แต่ไปไม่ได้สักครั้งก็ แสดงว่าเวลาไม่มี ถึงจะมีใจอาสา แต่ถ้าไม่ได้ช่วยใคร มีพัฒนาการมากน้อย ก็เหมือนไม่ได้อาสานั่นแหละ ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องให้ ครอบครัวเข้าใจด้วยว่าเราไปทำ�อะไร ซึ่งการทำ�งาน แค่ไหน ตรงนี้ต้องรู้จักกำ�หนดแผนชีวิตตัวเองให้เป็น บางครั้ง เราก็เข้าใจว่าเขามีลูกที่ต้องดูแล ต้องรับจ้างกรีดยาง ถ้าไม่ไปทำ�งานก็โดนไล่ออก แต่อย่างน้อยก็ขอให้เขา มาร่วมกับเรา แบ่งเวลามาสัก 1 ใน 4 ก็ยงั ดี ถ้าแบบนี้ ก็ถอื ว่ามีจติ อาสาแล้ว เพราะเขามีจติ สำ�นึกเพือ่ ส่วนรวม โดยที่ไม่หวังค่าตอบแทนอะไร ฉะนั้นถ้าใจมา เวลามี เมียไม่ดา่ อันนีถ้ อื ว่าคุณสมบัตผิ า่ น งานอาสาเป็นงาน ที่ไม่สามารถสั่งใครได้ เพราะทุกคนใหญ่เท่ากัน เป็น ประชาชนเหมือนกัน ต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ� ร่วมกัน รับผิดชอบ ชัว่ โมงการทำ�งานของเราไม่ตายตัว ไม่มวี นั หยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะเวลาน้ำ�จะท่วมมันไม่เลือก หรอกว่าจะเป็นวันไหน

โกเมศร์ : ต้องยอมรับว่าช่วงปี 2547-2550 เรา เหมือนซอยเท้าอยู่กับที่ มีแต่คนหน้าเก่าๆ เดิมๆ แต่ มีใจรัก ก็คบหากันมาเรื่อยๆ พอน้ำ�ท่วมเราก็ไปช่วย กัน ไปเสร็จหมดตังค์ก็กลับ ตอนนั้นไม่มีความรู้ เสื้อ ชูชพี ไม่มสี กั ตัว ไม่รดู้ ว้ ยซ้�ำ ว่าจะตายไหม รูแ้ ค่วา่ อยาก จะไป ช่วงหลังเพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นเป็นระบบจริงๆ จังๆ เมือ่ ปี 2554 นีเ่ อง กว่าจะขับเคลือ่ นเป็นเครือข่าย เต็มรูปแบบก็ตอนปี 2555 ซึ่งในที่สุดเราก็มองว่า หัวจักรสำ�คัญคือคนนีแ่ หละ เราเลยมุง่ พัฒนาคน กลับ ไปเก็บข้อมูลพื้นที่แต่ละตำ�บล แล้วมาประมวลผล วิเคราะห์ ถามว่าพอใจไหม ก็พอจะพูดได้ เป็นการ Fighting..Local Heroes

75


ขยายผลที่สั่นสะเทือนอยู่มาก ดูจากปริมาณคนที่เข้า มาร่วมเป็นอาสาสมัครกว่า 1,400 คน คนเหล่านี้ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือครอบครัวได้ ช่วยเหลือเพื่อนบ้านได้ เขารู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ในการรับมือกับภัยพิบตั ิ เราสามารถเปลีย่ นวิธคี ดิ พวก เขาได้ แค่นี้ก็ถือว่าน่าพอใจ แต่เป้าหมายต่อไปคือจะ ทำ�อย่างไรให้เครือข่ายยั่งยืน การที่จะสร้างเครือข่ายให้ยั่งยืนและได้รับแรง ศรั ท ธาจากชาวบ้ า นทั่ ว ไป มั น ต้ อ งมี ชุ ด ทำ � งานที่ สามารถสร้างกระแสการรับรู้ไปสู่สังคมได้ คือเกิด ที่ ไ หนเราต้ อ งไปถึ ง ที่ นั่ น อย่ า งรวดเร็ ว ซึ่ ง จุ ด นี้ เ อง ทำ�ให้เราพัฒนาหน่วยเคลื่อนที่เร็วขึ้นมาราวๆ 10 เปอร์เซ็นต์จากทั้งหมด การทำ�งานของเราคือถ้าใคร พร้อมก็ล่วงหน้าไปก่อน อย่าคิดว่าเรามีคนเยอะแยะ เพราะในสถานการณ์จริงก็ต้องมีการสับเปลี่ยนกำ�ลัง พล เราไป 4-5 วัน ก็เปลี่ยนทีม เพราะแต่ละคนก็มี ทั้งเรื่องการงานและครอบครัวของเขาที่ต้องดูแลด้วย เช่นกัน ถ้าถามถึงความสำ�เร็จ วันนี้สิ่งสำ�คัญที่สุดคือ เรามีระบบ เรามีขอ้ มูล การไปช่วยงานในพืน้ ทีเ่ ราไม่มี สะเปะสะปะเหมือนเมื่อก่อน

76

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

แสดงว่าเครือข่าย อาสาสมัครมีความ คืบหน้ามากกว่าที่คิด โกเมศร์ : ในฐานะผู้รับผิดชอบ ถ้าให้ประเมินก็คิดว่า งานนี้ก้าวหน้าไปกว่าที่เราคิดไว้มาก เพียงแค่ปีกว่า เรามีศักยภาพไปขนาดนี้ จากร้อยพ่อพันแม่ที่ไม่เคย รูจ้ กั กันเลย ถ้าเป็นเวทีประชุมอย่างอืน่ นีค่ งทะเลาะกัน ตาย แต่นถี่ อื ว่าเรามาทำ�งานกับภัยพิบตั ิ ต้องอดทนต่อ สภาพการณ์ต่างๆ ได้ พวกเราจึงไม่มีเสียงบ่น อยู่ง่าย กินง่าย เรามาทีน่ เี่ พราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน เพราะ ฉะนัน้ นีค่ อื ตัวชีว้ ดั เลยว่าคุณได้พฒ ั นาความรูส้ กึ ความ เป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมในเครือข่ายนี้ สิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ให้เครือข่ายนี้ดำ�เนินกิจกรรม ต่อไปได้คือ หนึ่ง ตัวของอาสาสมัครเองต้องดำ�รงชีพ อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ต้องไม่มีแรงเสียดทานจาก ครอบครัว ถ้าเขาสามารถดูแลตัวเองได้แล้วก็จะทำ�งาน ช่วยเหลือสังคมได้มากขึน้ สอง ต้องมีส�ำ นึกหวงแหนใน ทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น หลังจากนั้นจึงเกิดส่วนที่ สาม คือ กำ�ลังใจที่จะเป็นอาสาสมัครต่อไป ซึ่งทาง ทีมงานจะต้องไปขบคิดและออกแบบระบบต่อไป


วันข้างหน้าจะขยาย ประสบการณ์การ เครือข่ายภูมินิเวศน์อื่นๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพิ่มเติมหรือไม่ ของผู้ใหญ่โกเมศร์ โกเมศร์ : ตอนนีเ้ ราเริม่ ขยับไปทีจ่ งั หวัดน่าน ซึง่ ทีผ่ า่ น มีครั้งไหนบ้างที่ มาก็มีการประสานเชื่อมโยงกันในระดับหนึ่ง ส่วนใน พื้นที่ภาคใต้ตอนนี้คงจะไม่เพิ่มภูมินิเวศน์ แต่เราจะ อยู่ในความทรงจำ� เพิ่มจำ�นวนลูกข่ายระดับตำ�บล ซึ่งตอนนี้เรามีอยู่แล้ว 30 กว่าตำ�บล จะพยายามไปให้ถึง 50 ตำ�บล โดย ให้ตำ�บลต่างๆ ไปหาลูกข่ายเพิ่ม ไปหาตำ�บลที่ได้รับ ผลกระทบจากภัยธรรมชาติในลักษณะเดียวกัน ไป หากลุม่ ทีม่ วี ถิ ชี วี ติ ใกล้เคียงกัน แต่กลุม่ ทีเ่ ข้าถึงยากคือ ฝัง่ อันดามัน เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุม่ นักธุรกิจนายทุน และจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยากเหมือนกัน

โกเมศร์ : ประสบการณ์ที่สะเทือนใจไม่เคยลืมเลือน และเป็นบทเรียนที่ทำ�ให้เราต้องเข้มงวดในกฎความ ปลอดภัยอย่างถึงทีส่ ดุ เหตุการณ์เกิดขึน้ ทีโ่ คราช วันนัน้ เราไปถึงทีเ่ กิดเหตุโดยไม่รขู้ อ้ มูลอะไรเลย แต่อยากไปช่วย เอาข้าวสารบรรทุกรถบรรทุกเรือไปด้วย คนที่นั่นบอก ว่าในชุมชนมีคนติดอยู่ 3 วันแล้ว เราเลยรีบเอาเรือ ไปรับ กระแสน้ำ�เชี่ยวมาก แต่ทีนี้เสื้อชูชีพไม่พอ เรา ต้องปลดเสือ้ ชูชพี ให้เขาใส่และต้องบังคับให้เขาใส่ดว้ ย เพราะถ้าเรือล่ม ผู้โดยสารเสียชีวิต เราจะตอบสังคม ยังไง ก็เหมือนกับนักบินถ้าหากเครื่องบินขัดข้อง ต้อง ให้ลูกเรือกระโดดก่อน ส่วนนักบินต้องเป็นคนสุดท้าย ที่จะโดดจากเครื่อง ถ้าไม่สละเครื่องก็ต้องสละชีวิต

Fighting..Local Heroes

77




-3-

for Community Self-Reliance Master Plan, Southern

Question&Answer : Warlord volunteer; Local hero ‘komet Thongbunchu’

Region”. Until one day there was Tsunami in December 2004. We went help the members in the network in Phangnga province. He lost 7 family members. This event allowed us to see that natural disasters lead to serious losses than expected. We, therefore, gathered 2,000 existing members to help recover the area for almost 1 year. Until December 2005, there was a major flood in the Gulf of Thailand which covered 7 southern provinces. So, I went over there to help the people at the Gulf of Thailand. Later in 2006, there were landslides in Muang Laplae district, Uttaradit province and other northern provinces like Phrae province, Nan province, Lampang province and Sukhothai province. We also went to help them. We went

How to be ‘Teng Sia Som’ (man with

everywhere there were disasters. We paid for

orange shirt)?

everything ourselves such as the cost of oil or

Komet : The volunteer of the network for

foods. When we ran out of money, we came back

disaster management in the South was from the

home. There were no organizations to support us.

combination of a group of people who previously

We were just an ordinary group of people.

worked as the network on behalf of the “Network 80

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

What had happened made us realize that the


disaster is a serious problem. So we discussed and agreed to create a network for dealing with the disasters.

How can we create volunteerism? Komet : Firstly, we need to know where our friends have been working on the network, and then we should ask them to join the network together.

Only heart is not enough?

Then it expands from small to large scales. Our

Komet : Having voluntary heart, but not

members are from various kinds of volunteers such as

having knowledge sometimes may cause

health care volunteers and civil defense volunteers.

problems. I think we need to create the clear

These people love to be volunteers. After they were

network. And from now on, we will not be the

trained and went through the courses offered, they

organization that only helps people. But most

would have more potential. Now, we have trained

importantly, I think of how to encourage the

more than 1,400 volunteers. After finish training,

people in the area to help themselves first, and

they were given orange shirt as a symbol of pride.

how to foster a sense that disaster management is the duty of all people. It is admitted that in the past, we usually thought that the responsibilities for the disaster management were the duties of the local organizations. It could be done in the past because the disasters happened as small patches. Now it covers the entire area of the Gulf of Thailand. So the people who are the victims are the best volunteers. Also, it should begin to believe that this is our work. Fighting..Local Heroes

81


This can persuade others to join the network.

Nakhon Si Thammarat province. At that time the

Later on, we have found that children and

helicopter could not land because there is not

adolescents are often susceptible to disasters. So

person to give signals. So, I think we need to

we thought why not we help the children not to

know about that. Then we applied the course of

risk it. Let they handle the disasters themselves.

military aircraft to our course.

So I persuaded children and young people to be trained together. Many of them are smart and

How can you communicate to the

they can learn quickly. They also know how to use

people to make them awake?

communication tools. Then this idea extends to the groups of women and housewives.

Komet : Indeed, it is difficult to communicate to the society to make them realize the problem together because all departments have never

What is the curriculum like?

talked about this seriously. This is because the

Komet : There is a 3-day course for general

society rarely pays attention to these matters. Even

volunteers. The course covers the basic assistance

the radio, television, or other presses, they seem

like swimming and sailing boat. There is also a

not to interest in these issues. So, it is a long proof

5-day course for a fast-moving volunteer. In this

that we have to rely on ourselves.

course, the volunteers will learn how to float in

The most painful lesson was the flooding in

the water for 3 hours, float to the coast for 500

March 2011 that we told the villagers to evacuate

meters, abseiling, tie knots and swim in the torrent.

because the water was coming. We rode the

Actually, the courses are developed from

boat so we knew how much water would come.

our experiences. Some courses were adapted

But the locals said that what kind of flood would

from other agencies, such as the landslides

happen in March. They did not believe me. It is

in Krungching sub-district, Nopphitam district,

a turning point because we cannot rely on the

82

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


meteorologist. They only say there is 70 percent

reform it. But the problem is that how many percent

of rainfall in Gulf of Thailand.

of these people understand the issue. If there is only 5 to 10 percent of the people understand, it

Can’t we rely on the government

more or less can relieve our burden. If the people

organizations?

understand what we want to tell them, it can be

Komet : From the disasters in the past, the government organizations should turn back to

expanded. So the key is that how to expand these seeds to other areas.

review that who should be the host for the disaster management because today we cannot rely on

What is the primary qualification of

the government organizations. The reason is that

the volunteer?

because the responsible is the Department of

Komet : As volunteers, we always say that

Disaster Prevention and Mitigation which does

“being a volunteer with heart comes first�. We

not have even a helicopter. Only at Nakhon Si

cannot get to sleep if we do not help others.

Thammarat, we have 1,600 villages, 165 sub-

Moreover, we should manage time effectively.

districts and is subjected to 22 boats. Also there

The family is also required to understand what we

are few civil defense volunteers working. Some

do. Working as a volunteer, we have to plan our

attend the training because they just want a

lives. We have to balance our work with volunteer

uniform. There are 2 main duties a year which are

work. At least you should give one-fourth of your

7 dangerous days and they get paid for 250 baht.

time to work as a volunteer. Everyone is equal

Under this crisis, the process used to create

when working as a volunteer. The working hours

the participation is to talking and discussing

are not consistent. We have no holidays because

together to create an understanding that this is

the disasters can occur every day.

an important issue that we have to stand up and Fighting..Local Heroes

83


From 2004 to the present which

faith of the villager, it requires a teamwork that can

is almost 10 years, how has the

generate awareness to society. That is to say we

network dealing with the disaster

should go to the scene immediately where there

management improved?

are disasters. This can develop the fast-moving

Komet : I have to admit that during 2004-

team up around 10 percent of all work. The way

2007 we did not have much progress. We did

we work is that anyone who is available can

not have knowledge or life vest. We did not even

go first. We do not have a lot of people in the

know if we would survive. We just knew that we

network. In the real situation, we interchange with

wanted to go. However, the system has been

the other teams. Each team works for 4-5 days

developed, systematically since 2011. And in

because each person also has their own duties.

2012, it was driven to be a full network. We aim

They have both job and family to take care of. If

to develop people because people are the key

asked about the success, I think the most important

of management. The data were collected and

thing is that we have system and data. We can

analyzed from each sub-district. The results have

work systematically.

had impacts a lot to the society; noticed from the numbers of are the people participating in

This means that the network of

the network that there are about 1,400 people.

v o lu n t e e r h a s p ro g r e s s t h a n

These people can help themselves, help their family

expected?

and neighbors. They know how to cope with the

Komet : On behalf of the responsible person,

disaster. We can change the way they think. This

I can say that our work has been processed a lot.

is considered satisfying. The next goal is to create

Just one year we have a lot potential. From the

a sustainable network.

people who do not know each other, but we can

To create a sustainable network and to gain 84

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

work well together. We do not have any problems


in working. This is because we have the same goal

the sub-district to find more networks which have

that is to help others who are the victims from the

the same lifestyles and get the same effects from

disaster. Therefore, this is the indicator showing

the disaster. The most difficult groups to reach to

that they want to be a part of the network.

are the areas in the Andaman coast because there

There are 3 most important things to continue doing. First, we have to find the ways to help the

are groups of business/persons and 3 southern border provinces.

members not to affect from being a volunteer. Their families are also not affected from their work. If

What is your unforgettable event

they can take care of themselves, they are able to

from helping the victims from the

help the society more. Second, they must cherish

disasters?

the natural resources. And third, the volunteers

Komet : The event that was mostly touched

should get moral support. This is what the team

and a precious lesson was that the disaster

needs to think about.

happening in Korat. We reached there without any information. We just wanted to help. We took rice

In the future, will you expand

and food with us on the boat. We were informed

the network to other landscape

that there were 3 people stuck in the community.

ecologies?

So we hurried to help. However, the currents were

Komet : Now we are expanding to Nan

very strong. We did not have enough life vests

province. We will not increase the landscape

so the volunteers had to take their life vests for the

ecology in the South, but we will increase the

victims because if the victims died, how could

networks in sub-district level. Now we have 30

we tell others? It is like the pilot that if the plane

sub-districts in the network. We are trying to

crashes, the passengers must jump first. The pilot

increase to 50 sub-districts. And we will encourage

must be the last person to jump from the machine. Fighting..Local Heroes

85


4

รวมหัวใจ ‘ฅนอาสา’ สู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นคน อรุณ คงสุวรรณ อาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วแห่งภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวน จังหวัดชุมพร

86

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

หลังจากต้องฟาดฟันกับปัญหาภัยพิบตั ทิ มี่ กั มาเยือน ผิดฤดูกาล ทั้งวาตภัย อุทกภัย ดินถล่ม น้ำ�ป่าไหลหลาก แต่ละปีต้องหอบลูกจูงหลานหนีตายกันไม่รู้กี่รอบ ต้อง พากั น ยกของขึ้ น ที่ สู ง ไม่ รู้ กี่ ห น ซึ่ ง เป็ น ปรากฏการณ์ ที่ ไม่เคยเกิดขึน้ มาก่อนในรอบไม่กที่ ศวรรษทีผ่ า่ นมา ผูท้ ตี่ อ้ ง รับกรรมเต็มๆ ก็เห็นจะเป็นชาวบ้านตาดำ�ๆ จากผลพวง ของความแปรปรวนทางสภาพอากาศและการขาดการ เตรียมพร้อมรับมืออย่างเป็นระบบ ความบอบช้ำ� จาก ภัยธรรมชาติ ทำ�ให้ชาวอำ�เภอหลังสวนชักชวนกันมานั่ง ล้อมวงจับเข่าถกปัญหา ถางทางแก้ไข และปรับตัวให้เข้า กับความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอันยากจะหลีกเลี่ยง พื้นที่ลุ่มน้ำ�หลังสวน บางปีน้ำ�ท่วม 2-3 หน พื้นที่


“ตัวผมเองเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดาทีร ่ บ ั ไม่ได้กบ ั สภาพการช่วยเหลือของรัฐทีม ่ เี พียงข้าวกล่อง ถุงยังชีพ ซึ่งบางครั้งมันทำ�ให้เรารู้สึกเหมือนไม่มีศักดิ์ศรี แต่วันนี้คนในพื้นที่เริ่มหันมาคิดกันแล้วว่าเราจะจัดการ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตรงหน้าเรายังไง โดยไม่ต้องเป็นภาระให้กับคนอื่น”

ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุดคือตำ �บล พ้อแดง เพราะเป็นพื้นที่ปลายน้ำ�ที่ต้องรองรับทั้งปริมาณ น้�ำ และความยากลำ�บากทีไ่ หลลงไปกองอยูใ่ นพืน้ ที่ ทุกครัง้ ที่ เ กิ ด อุ ท กภั ย พื้ น ที่ รั บ น้ำ � อย่ า งตำ � บลพ้ อ แดงจะถู ก น้�ำ ท่วมขังนานกว่าพืน้ ทีอ่ นื่ ระดับน้�ำ จะขึน้ เร็วและแรงจน ไม่สามารถตั้งรับได้ทันท่วงที อรุณ คงสุวรรณ อาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วแห่ง ภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ�หลังสวน จังหวัดชุมพร เล่าว่า นอกจาก การกระทำ�ของธรรมชาติทมี่ นุษย์ธรรมดาไม่อาจต้านทาน ได้แล้ว อีกเหตุผลที่พวกเขาตระหนักและรู้เช่นเห็นชาติก็ คือ ในนาทีที่เกิดภาวะวิกฤติไม่มีหน่วยงานรัฐหรือองค์กร ใดในท้องถิ่นที่ชาวบ้านสามารถพึ่งพาหรือฝากความหวัง ได้ อย่างมากก็มีเพียงกล่องข้าวน้อยและถุงยังชีพเท่านั้น ทีพ่ วกเขาได้รบั ในขณะทีป่ ริมาณน้�ำ จำ�นวนมหาศาลสยาย ปีกโอบล้อมหมู่บ้านทุกทิศทาง “ตั ว ผมเองเป็ น แค่ ช าวบ้ า นธรรมดาที่ รั บ ไม่ ไ ด้ กั บ สภาพการช่วยเหลือของรัฐทีม่ เี พียงข้าวกล่อง ถุงยังชีพ ซึง่

บางครัง้ มันทำ�ให้เรารูส้ กึ เหมือนไม่มศี กั ดิศ์ รี แต่วนั นีค้ นใน พืน้ ทีเ่ ริม่ หันมาคิดกันแล้วว่าเราจะจัดการภัยพิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ตรงหน้าเรายังไง โดยไม่ต้องเป็นภาระให้กับคนอื่น” นั่นคือเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้คนหลังสวนเริ่มรู้ซึ้งแล้ว ว่ า หากมั ว แต่ ร อให้ ห น่ ว ยงานภายนอกหยิ บ ยื่ น ความ ช่วยเหลือ เห็นทีจะหมดศักดิ์ศรีความเป็นคน ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องลุกขึ้นสู้ด้วยตัวเองภายใต้ขบวนการ ‘คน เสื้อส้ม’ “การเป็นอาสาสมัครไม่มเี งินเดือน แต่ทท่ี กุ คนเสียสละ เข้ามาทำ�งานตรงนี้ เพราะมองเห็นปัญหาร่วมกัน” อรุณ เอ่ยผ่านน้ำ�เสียงและแววตามุ่งมั่น เพราะความเป็นความตายเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่อาจคาดเดา โดยเฉพาะเหตุการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติที่นับวันจะมี แต่ความผัน ผวนขึ้นทุกที การป้องกันล่วงหน้าอาจช่วย บรรเทาความสูญเสียได้ระดับหนึ่ง แต่การปรับตัวให้เข้า กับสภาพการณ์ทเี่ ปลีย่ นไปอาจเป็นยายืดชีวติ ทีย่ งั่ ยืนกว่า

Fighting..Local Heroes

87


โกหกสีขาวกับเรื่องเล่ายายชู สาธิต ไชยสุวรรณ นายก อบต.บ้านขาว จังหวัดสงขลา

ภั ย พิ บั ติ ที่ เ กิ ด เป็ น ประจำ � ในพื้ น ที่ บ ริ เ วณลุ่ ม น้ำ � ทะเลสาบสงขลามีทั้งอุทกภัยและวาตภัย บริเวณลุ่มน้ำ� ทะเลสาบสงขลามีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ น้ำ�จึงท่วมทุกปี และยังเป็นพื้นที่ติดกับทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา ฤดูฝนปี 2553 เกิดอุทกภัยที่หนักหนาเกินกว่าใคร จะคาดคิด คนเฒ่าคนแก่ต่างประเมินสถานการณ์ต่ำ�กว่า ความจริง เพราะไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน แต่ด้วยวิถี ชีวิตที่หาอยู่หากินกับสายน้ำ� ทักษะการเอาตัวรอดจึงเป็น เรือ่ งทีช่ าวลุม่ น้�ำ ทะเลสาบสงขลาต่างพกติดตัว ทว่าสายฝน เดือนมีนาคมของปีนั้นทำ�ให้อะไรๆ ในลุ่มน้ำ�ทะเลสาบ สงขลาเปลี่ยนไป “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราไม่คาดคิดมาก่อน เพราะเกิด ช่วงเดือนมีนาคมจึงไม่มีใครเตรียมตัวทัน เมื่อเกิดเหตุแล้ว ผมทำ�ได้เพียงหางบประมาณ ประสานทางอำ�เภอ แต่ก็ช่วย ได้เพียงบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น” สาธิต ไชยสุวรรณ นายก อบต.บ้านขาว จังหวัด สงขลา และอาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็วแห่งภูมนิ เิ วศน์ลมุ่ น้�ำ ทะเลสาบสงขลา เล่าย้อนถึงความเสียหายในคราวนั้น หลังจากนั้น สาธิตนำ�ชุมชนบ้านขาวเข้าร่วมเครือข่าย 88

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


“เราฝึกเพื่อให้เราเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อที่จะแก้ปัญหายามฉุกเฉินได้” ภัยพิบัติภาคใต้ และเป็นส่วนหนึ่งในภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ� ทะเลสาบสงขลา ซึ่งต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกอบรม ทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ “เมือ่ ก่อนชาวบ้านจะดูวา่ ปีนนี้ �้ำ มากน้�ำ น้อยและคอย ฟังข่าวจากกรมอุตุฯ แต่ผู้ใหญ่โกเมศร์จะวางเป็นระบบ และกฎเกณฑ์อย่างแม่นยำ� รวมถึงมีการประสานงานที่ ชัดเจนระหว่างเครือข่าย หลักการของผมคือไม่ให้ชาวบ้าน ตื่นตระหนก” ในพื้นที่ตำ�บลบ้านขาว สาธิตเล่าว่ามีอาสาสมัครชุด เคลื่อนที่เร็ว 18 คน รวมถึงตัวเขาด้วย “ใช่ ผมฝึกด้วย เราเป็นผู้นำ� เป็นนายก อบต. ถ้านั่ง ดูลูกน้องฝึก ลูกน้องจะคิดยังไง นายหัวมานั่งดูอย่างเดียว เราต้องทำ�ให้ลูกน้องเห็นก่อน ซึ่งอาสาสมัครแต่ละคนเขา ก็ทำ�นาทำ�สวนนะ บางคนก็เป็นชาวประมง” “การเป็นอาสาสมัครไม่กระทบต่ออาชีพพวกเขา หรือ?” “เราจะสับเปลี่ยนกัน เหมือนวันนี้นาย ก ไป ส่วน นาย ข หยุด สับเปลี่ยนกัน เพราะแต่ละคนต้องดูแล ครอบครัว แต่หัวใจที่มีจิตอาสานั้นมันมีกันทั้ง 18 คน

อยู่แล้ว” “ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีครั้งไหนที่ คุณจดจำ�?” “ต้องกรณียายชูเลยครับ” ทีต่ �ำ บลนาโต๊ะหมิง จังหวัดตรัง สาธิตในฐานะอาสาสมัคร แห่ ง ภู มิ นิ เ วศน์ ลุ่ ม น้ำ � ทะเลสาบสงขลาก็ ไ ด้ รั บ แจ้ ง ข่ า ว ภัยพิบัติที่ตำ�บลนาโต๊ะหมิงเหมือนที่อาสาสมัครในแต่ละ ภูมินิเวศน์ได้รับ “วันนัน้ ผมไปกับลูกน้อง เรือเกือบล่ม” สาธิตเริม่ เล่า ปริมาณน้ำ�ที่บ่าท่วมตำ�บลนาโต๊ะหมิงระดับแผงอก ชายฉกรรจ์ มันเป็นระดับที่สร้างความวิตกให้อาสาสมัคร ชุดเคลื่อนที่เร็วอย่างสาธิตไม่น้อย แต่อีกบทบาทเขาเป็น นายก อบต. เป็น ‘นายหัว’ ของลูกน้องทีร่ ว่ มปฏิบตั ภิ ารกิจ เขาจะแสดงความอ่อนอกอ่อนใจต่อหน้าลูกน้องได้อย่างไร เพราะนั่นจะทำ�ให้ขวัญกำ�ลังใจของทีมเสีย พวกเขานั่งเรือที่บรรทุกอาหารและน้ำ�ดื่มฝ่าสายน้ำ� เชี่ยวกรากเข้าไปยังพื้นที่เสียหาย แวะลำ�เลียงเสบียงกรัง ตามพื้นที่ชายฝั่ง แล้วนั่งเรือเข้าไปในที่เกิดเหตุ

Fighting..Local Heroes

89


“เราก็คิดว่าเราเป็นคนลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลา เป็น เซียนเรืออยูแ่ ล้ว แต่เจอของจริงเราคาดไม่ถงึ แล้วตอนนัน้ เรือเราเบาด้วย แต่น้ำ�ไหลแรง กระแสน้ำ�เชี่ยวมาก มัน ลากเรือของเราไปชนต้นไม้ต้นยางไปทั่ว พูดง่ายๆ เราไป เปิดหน้ายางให้ชาวบ้านนาโต๊ะหมิงเสียหายไปหลายต้น” ด้วยการฝึกฝนของอาสาสมัครและเรียนรู้ว่าแต่ละ พื้นที่นั้นมีภูมิประเทศที่แตกต่างกัน การเข้าไปในพื้นที่ แต่ละแห่งต้องใช้ทักษะคนละแบบ พวกเขานั่งอยู่บนเรือ ทีล่ อยอยูบ่ นกระแสน้�ำ เชีย่ วกราก ตะลุยเข้าไปในดงต้นไม้ กีดขวางทางเรือ เพื่อไปยังบ้านหลังหนึ่ง บ้านของยายชู ยายชูตดิ อยูบ่ นชัน้ 2 ของบ้าน ซึง่ ไม่วา่ ใครจะเกลีย้ กล่อม อย่างไร ยายชูก็ไม่ยอมย้ายตัวเองลงมาจากบ้าน วันนั้น บรรดาอาสาสมัครต่างชักแม่น้ำ�เท่าที่มีทุกสายในประเทศ มาหว่านล้อม แต่ยายชูไม่ฟังใคร แกเป็นห่วงทรัพย์สมบัติ ภายในบ้าน “แกห่วงไม้ของลูกที่เตรียมไว้สร้างบ้าน แกกลัวหาย เราก็บอกป้าขึ้นมาเถอะครับ ถ้าเราทิ้งแกเราก็ไม่สบายใจ ใช่มั้ย แต่ถ้าเป็นพื้นที่ในลุ่มน้ำ�ทะเลสาบสงขลาผมพาขึ้น เรือเลย แต่ที่นาโต๊ะหมิงเราเป็นคนต่างพื้นที่ แต่เราต้อง เข้าใจแกด้วยนะ คนมีอายุมกั เป็นห่วงสมบัตทิ งั้ นัน้ เพียงแต่ แกไม่ฉุกคิดว่าถ้าแกตายไปสมบัติก็เอาไปไม่ได้ แต่ถ้าแก

90

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

อยู่แล้ว สมบัติหายมันสร้างใหม่ได้” “แล้วนายกฯ ทำ�อย่างไรครับ?” “ขู่ ผมต้องขู่แก” อ้อนวอนจนถึงทีส่ ดุ แล้ว ครัน้ จะตัดใจปล่อยยายชูไป ตามยถากรรมก็ไม่ใช่นิสัยของสาธิต เขาจึงตัดสินใจวิทยุ เรียกไปยังทีมงานบนฝั่ง กระซิบบอกคนบนฝั่งให้ตะโกน ผ่านวิทยุโต้กลับมาดังๆ ว่า ‘น้ำ�เหนือกำ�ลังมา มาแรงด้วย ปริมาณน้ำ�จะเพิ่มขึ้นอีก 2 เมตร’ พลันที่ยายชูได้ยินเสียงวิทยุที่ถูกเพิ่มระดับเสียงจน แม็กซิมัมจากวิทยุของสาธิต ซึ่งจงใจเปิดเสียงดังให้ยายชู ได้ยนิ อย่างถนัด ยายชูจงึ ยอมย้ายออกจากบ้านและสมบัติ ของแก “ขอถามด้วยความสุภาพ ในตอนทีฝ่ า่ สายน้�ำ เชีย่ วไป ช่วยยายชู นายกฯ ไม่กลัวตายหรือครับ?” “ทุกคนกลัว แต่เราต้องมีสติ เรามีการแลกเปลี่ยน ความรู้กันระหว่างภูมินิเวศน์ เราฝึกเพื่อให้เราเชื่อมั่นใน ตัวเอง เพื่อที่จะแก้ปัญหายามฉุกเฉินได้” “วันนั้นถ้ายายชูไม่ลงจากบ้าน คุณจะทำ�อย่างไร?” “ยังไงก็ต้องเอายายออกจากบ้านให้ได้” สาธิตไม่มี คำ�ตอบอื่น “ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สบายใจ เรารับไม่ได้”


ถึงเวลาลุกขึ้นยืน เพ็ญศรี ทองบุญชู กำ�นันตำ�บลเกาะขันธ์ อำ�เภอชะอวด นครศรีธรรมราช

“ทุกปัญหาแก้ได้ ถ้าคนในชุมชน มีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในชุมชน ตนเอง...ไม่ว่าปัญหาจะหนักแค่ไหน ก็แก้ได้”

สำ � หรั บ เพ็ ญ ศรี ทองบุ ญ ชู เป็ น กำ � นั น ตำ�บลเกาะขันธ์ อำ�เภอชะอวด นครศรีธรรมราช เหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 เป็น ‘วิกฤติ’ ที่นำ�ไปสู่ ‘โอกาส’ โอกาสที่นำ�ไปสู่ ความเหนียวแน่นกลมเกลียว พื้นที่ตำ�บลเกาะขันธ์จัดเป็นพื้นที่สีแดง สุ่ม เสีย่ งต่อภัยพิบตั ิ เพราะต้องรองรับน้�ำ จากเทือกเขา บรรทัดซึง่ มีฝนตกชุก แม้ในพืน้ ทีจ่ ะมีเขือ่ นถึง 2 แห่ง แต่ความเสี่ยงไม่ได้ลดลง เสี่ยงทั้งน้ำ�ล้นเขื่อนและ น้ำ�ธรรมชาติ ลั ก ษณะภั ย พิ บั ติ ที่ เ กิ ด ในอำ � เภอชะอวดมี ทั้งความเสี่ยงจากดินถล่มในพื้นที่ตำ�บลวังอ่าง ควนหนองหงษ์ เขาพระทอง ในส่วนบริเวณพื้นที่ เหนืออ่างเก็บน้ำ�ห้วยน้ำ�ใส ซึ่งเป็นรอยต่อของ จังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช มีความ เสี่ยงจากอุทกภัยได้ทุกเมื่อ วาตภั ย ที่ ขึ้ น ฝั่ ง จั ง หวั ด สงขลาเมื่ อ ปลายปี 2553 พื้ น ที่ อำ � เภอชะอวดก็ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ สวนยางโค่นถล่มล้มลงหลายร้อยไร่ ทั้งในพื้นที่ ตำ�บลเกาะขันธ์ นางหลง ชะอวด และขอนหาด “เมื่ อ ก่ อ นคนเกาะขั น ธ์ ไ ม่ เ คยคิ ด เรื่ อ งการ จัดการภัยพิบัติ แต่หลังจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นมา เราก็เห็นตรงกันว่าต้องตั้งคณะ Fighting..Local Heroes

91


ทำ�งาน ตั้งศูนย์ประสานงาน หาเครื่องมือ ข้อมูล แผนที่ และจุดต่างๆ ที่สามารถรวมพลกันเพื่อเตรียมรับมือกับ ภัยพิบัติ เพราะปัจจุบันฝนตกนอกฤดู เราต้องลุกขึ้นมา จัดการกันเอง” ตำ�บลเกาะขันธ์ได้จดั กระบวนการทำ�แผนพัฒนาแนว ใหม่ โดยจัดทำ�ฐานข้อมูลชุมชน สร้างเวทีเรียนรูร้ ว่ มกัน ใช้ กระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมรับผิดชอบ ร่วม ตรวจสอบติดตามประเมินผลและพัฒนายกระดับ จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์การ พัฒนารวมทัง้ การวัดผล และมีกระบวนการวางแผนชุมชน มีการสร้างความเข้าใจ จัดตั้งทีมทำ�งาน จัดเก็บข้อมูล กายภาพ ประวัติศาสตร์ชุมชน ค้นหาศักยภาพ ทุนทาง สังคม ทรัพยากร จัดทำ�บัญชีครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูล กำ�หนดแนวทางการแก้ปัญหา ยกร่างแผนแม่บทท้องถิ่น นำ�ไปสู่การปฏิบัติ นอกจากจะมีศนู ย์กลางการจัดการภัยพิบตั ิ เกาะขันธ์ ยังเพียบพร้อมด้วยเครื่องมือ ข้อมูล และสิ่งสำ�คัญคืองาน อาสาสมัครที่ยังขยายไปสู่เยาวชน “เราเอาเยาวชนมาฝึกฝนให้ความรูใ้ นการเป็นอาสาสมัคร จั ด การภั ย พิ บั ติ ทั้ ง กลุ่ ม สตรี อสม. เรารวมพลั ง กั น ทุกภาคส่วน” หัวใจสำ�คัญของการจัดการภัยพิบัติจึงเริ่มที่ ‘คน’ 92

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

“คนอาสาจะต้องมีใจ เสียสละเวลา และสิง่ สำ�คัญต้อง รูจ้ กั บริหารจัดการชีวติ ตนเองก่อน ก่อนทีจ่ ะบริหารเรือ่ งอืน่ ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม สร้างความเข้าใจในครอบครัว และมีความรู้ในเรื่องการใช้อุปกรณ์ วิธีการเข้าช่วยเหลือ ที่ สำ � คั ญ ต้ อ งมี ค วามพร้ อ มในเรื่ อ งชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ระดับหนึง่ เวลาออกไปช่วยเพือ่ น ช่วยสังคม ครอบครัวตัวเอง ต้องไม่เดือดร้อน” ทีเ่ กาะขันธ์มกี องทุนจัดการภัยพิบตั แิ ละการส่งเสริม อาชี พ ให้ แ ก่ อ าสาสมั ค รด้ ว ย ทั้ ง หมดนี้ ก็ เ พื่ อ พั ฒ นา ศักยภาพคนเหล่านี้ให้สามารถอยู่ได้ในสังคม “เรารวมกลุ่มกันทำ�อาชีพเสริม เลี้ยงโค เมื่อก่อนคน เกาะขันธ์ต่างคนต่างทำ�นา ก็มีปัญหาการใช้น้ำ� ตอนนี้เรา วางระบบการใช้น้ำ� เปิดน้ำ�เป็นเวลา แล้วหว่านพร้อมกัน ปัญหาตรงนั้นก็แก้ได้” เพ็ญศรีเป็นประธานชมรมกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้านอำ�เภอ ชะอวด จึงพยายามสนับสนุนให้งานจัดการภัยพิบตั ดิ �ำ เนิน ไปอย่างคล่องตัว กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดในชุมชนจะหักเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของผลกำ�ไรเข้าสูก่ องทุนการจัดการภัยพิบตั ิ “พื้นที่ไหนเป็นที่ว่างที่ชาวบ้านไม่ใช้ประโยชน์จะถูก แปรเปลี่ยนจากนาร้างเป็นนารวม นำ�ผลผลิตตรงนั้นมา ไว้โรงสีชุมชน ซึ่งเวลามีภัยเราก็นำ�ข้าวตรงนี้ไปช่วยเหลือ เพื่อนได้ ถ้าไม่มีภัยเราก็ขายเอามาเป็นทุนในกองทุนได้” “อะไรคือสิ่งยากในการทำ�งานนี้?”


“ฉั น มองว่ า ทุ ก ปั ญ หาแก้ ไ ด้ ถ้ า คนใน ชุมชนมีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในชุมชนตนเอง การรวมพลังความสามัคคี พร้อมที่จะร่วมมือ หาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ว่าปัญหาจะหนัก แค่ไหนก็แก้ได้ หากอาศัยความเข้าใจ ความ เป็นพี่น้องกัน ยึดหลักความถูกต้องมากกว่า ความถูกใจ ฉันว่านี่คือหัวใจของการบริหาร จัดการ” “ประสบการณ์ในการทำ�งานขับเคลื่อน เรื่ อ งการจั ด การภั ย พิ บั ติ ทำ � ให้ มุ ม มองคุ ณ เปลี่ยนไปอย่างไร?” “ภั ย พิ บั ติ ส มั ย นี้ น่ า กลั ว เพราะมั น ไม่ แน่นอน เราต้องเตรียมตัวตลอดเวลา เมื่อ ก่อนเราเตรียมแค่เทียนไขใช่มยั้ เดีย๋ วนีเ้ ราต้อง เตรียมอาหาร ที่สำ�คัญต้องมีความรู้ในการ ช่วยเหลือตัวเอง นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เรา ต้องรับมือ” พูดจบ เพ็ญศรีลุกขึ้นจากเก้าอี้ เดินไป สองสามก้าว ก่อนจะหันกลับมา บอกว่า “เรานั่งรอใครไม่ได้อีกแล้ว เราต้องลุกขึ้น มาทำ�กันเอง”

นี่คือปรารถนา ปรารถนา ศรชนะ รองนายก อบต.คลองศก อำ�เภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

“ศพนี่กลาดเกลื่อนไปหมด ฉันไปที่นั่นหลังเกิดเหตุ 1 วัน ตอนนั้นเราเป็นเครือข่ายจัดทำ�แผนแม่บทชุมชน มาแต่เดิม ก็เดินทางมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย นี่ฉัน จะบอกให้ ศพนี่ เ ต็ ม ไปหมด กลาดเกลื่ อ นไปทั่ ว เลย Fighting..Local Heroes

93


มองไปทางไหนก็เห็นแต่ศพ ไม่ว่าไทยฝรั่งเต็มไปหมดเลย เราจะใช้ขวดพลาสติกสีขาวครอบบนปลายไม้ซงึ่ ปลายอีก ด้านหนึ่งปักลงบนดิน นั่นคือ 1 ศพ พอมองออกไปเราจะ เห็นสีขาวโพลนของขวดพลาสติกเต็มพืน้ ทีเ่ ลย ในสระน้�ำ ก็ มีศพลอยอืดอยู่ คว่�ำ หน้าบ้าง เงยหน้าบ้าง ไม่รใู้ ครเป็นใคร นั่นคือเหตุการณ์สึนามิที่สะเทือนใจฉันมาก” นี่คือความทรงจำ�ของ ปรารถนา ศรชนะ ที่มีต่อ เหตุการณ์สนึ ามิเมือ่ ปี 2547 หลังเหตุการณ์คราวนัน้ มีการ อพยพผู้ประสบภัยสึนามิเข้ามาในบริเวณตำ�บลคลองศก อำ�เภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของปรารถนา “บ้านเราเป็นแนวเขตติดกับเมืองพังงา เมือ่ เกิดสึนามิ เขาขอความช่วยเหลือจากเรา ขอใช้พื้นที่สำ�หรับผู้อพยพ เราก็คดิ ว่าถ้าบ้านเราเกิดภัยพิบตั แิ บบนีบ้ า้ งล่ะ ใครจะช่วย เรา ถ้าเราไม่ช่วยผู้อื่นก่อน” ขณะเดียวกันบ้านเกิดของเธอก็จดั อยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย ดินถล่ม เพราะพื้นที่ในตำ�บลคลองศกเป็นพื้นที่เชิงเขา มี ลักษณะเป็นที่ราบสูง รายรอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ�คือน้ำ�ป่าไหลหลากและ ดินถล่ม นีจ่ งึ เป็นจุดเริม่ ต้นในการเข้าร่วมเครือข่ายการจัดการ ภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้ของชาวชุมชนคลองศก ส่วนตัวของ ปรารถนาเอง เธอเป็ น รองนายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น ตำ�บลคลองศก และเป็นอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วแห่ง 94

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

ภูมินิเวศน์เทือกเขาสก “ในจิตสำ�นึกจริงๆ เราต้องพึ่งตัวเองก่อน ก่อนที่จะ ขอความช่วยเหลือจากเพือ่ น ซึง่ เราจะพึง่ ตนเองได้อย่างไร หากไม่มีสติปัญญาและประสบการณ์” การเข้าฝึกอบรมสำ�หรับการเป็นอาสาสมัครหรือการ สวมอาภรณ์ ‘นักรบเสือ้ ส้ม’ เป็นการเติมเต็มสองสิง่ สำ�คัญ ที่เธอบอก สติปัญญาและประสบการณ์ เสียงเล่าลือเกี่ยวกับปรารถนามีอยู่ว่า ยามเมื่อเกิด เหตุภัยพิบัติไม่ว่าใกล้หรือไกล เราจะเห็น ผู้หญิงตัวเล็ก ตัดผมสั้นดูทะมัดทะแมง นัยน์ตาแกว่นกล้าสีน้ำ�ผึ้ง เดิน ถ่ายรูปความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติ ต้นเดือนสิงหาคม 2556 เกิดเหตุน้ำ�ป่าไหลหลาก บ่าท่วมพืน้ ทีบ่ ริเวณตำ�บลนาโต๊ะหมิง จังหวัดตรัง หลังจาก ได้ รั บ การประสานงานจากเครื อ ข่ า ยและพู ด คุ ย ข้ อ มู ล เบื้องต้นในแต่ละภูมินิเวศน์ ปรารถนาไม่ลังเลที่จะคว้า กล้องถ่ายรูป กระโดดขึ้นรถและเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว หลักร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ปรารถนาเดินเท้าเข้าไปในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ความเสียหาย เพือ่ ช่วยเหลือผูค้ นทีต่ ดิ อยูภ่ ายในบ้าน ลำ�เลียงพวกเขาไป ยังจุดอพยพ เธอเดินนำ�หน้าเด็กคนหนึ่ง เมื่อเหลียวมอง ไปข้างหลัง เธอเห็นเท้าของเด็กน้อยคนนั้นเปลือยเปล่า ไวเท่าความคิด เธอถอดรองเท้าของตนยื่นให้เด็กคนนั้น และระหว่างทางที่เธอเดินไป ไม่ว่าจะเจอใคร ทุกคนต่าง


“ถ้าบ้านเราเกิดภัยพิบัติแบบนี้บ้างล่ะ ใครจะช่วยเรา ถ้าเราไม่ช่วยผู้อื่นก่อน”

ดีใจทีไ่ ด้เห็นเธอปรากฏกายในชุดสีสม้ ราวกับแสงสีสม้ บน อาภรณ์ของเธอคือแสงแดดสำ�หรับต้นกล้า “ทั้งๆ ที่ฉันไม่มีอะไรติดตัวเลยนะ ไม่มีอาหาร ไม่มี น้ำ� มีแค่กล้องคล้องคอ คอยถ่ายภาพความเสียหายเก็บ ไว้เป็นข้อมูล” “เวลาเครือข่ายแจ้งขอความช่วยเหลือมายังพืน้ ทีข่ อง คุณ คุณไปทุกครั้งเลยไหม?” “ฉันไปทุกงาน ขับรถไปเองก็มี” “ถ้าหากว่าตอนนั้นคุณมีงานล่ะ เพราะคุณเป็นถึง รองนายก อบต.?” “คำ�ว่างานนี่นะ ถ้าคนใจอาสาจริงๆ เลี่ยงได้ค่ะ” ปรารถนาบอก น้�ำ เสียงเธอเหมือนนักร้องระดับพรสวรรค์ “คนที่ทำ�งานแทนเรามี ไม่ว่าด้านไหน ถ้าไม่ถึงขนาดว่า ญาติเสีย งานอาสาสำ�คัญกว่า...นี่คือฉัน” “ไม่แน่ใจว่าคุณแปลกกว่าคนอื่นหรือคนอื่นแปลก

กว่าคุณ เพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่างานเลีย้ งชีพสิส�ำ คัญ กว่า?” “เลี้ยงชีพก็ส่วนเลี้ยงชีพนะ มันคนละส่วนกัน ใน ครอบครัวของฉัน เราแบ่งกันรับผิดชอบ บ้านฉันมี 4 คน ก็ช่วยกันรับผิดชอบ ลูกชายมีธุรกิจถ่ายรูป” “อะไรคื อ หลั ก คิ ด เวลาคุ ณ ทำ � งานอาสาสมั ค ร ช่วยเหลือผู้ประสบภัย?” “ถ้าเราติดอยู่แค่ว่าหน้าที่ใครหน้าที่มัน ไม่ใช่หน้าที่ ฉัน ฉันไม่ทำ� ถ้าเป็นแบบนี้มันก็ไปกันไม่ได้ ฉันไม่สนใจ ตำ�แหน่ง ไม่ได้คดิ กับตำ�แหน่งเลย ในส่วนของจิตอาสาเรา มีอยู่ตลอด ฉันอยู่ตำ�แหน่งนี้แต่ทำ�ได้ทุกอย่าง แม้กระทั่ง เก็บขยะ เราต้องอยู่ติดดินที่สุด การทำ�งานเพื่อส่วนรวม เราต้องอยู่ติดดินอย่างถึงที่สุด” “นี่คือคุณ?” “ใช่ นี่คือฉัน” Fighting..Local Heroes

95


เรื่องวิเศษเรื่องหนึ่ง ว่าที่ ร.ต.หญิง กนกกาญจน์ ขวัญทอง อาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วแห่งภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด

ตำ�บลนาท่ามใต้ จังหวัดตรัง ถูกโอบล้อมด้วย ลำ�คลอง แม่น�้ำ ตรังคือแม่น�้ำ สายหลัก ตำ�บลนาท่ามใต้ มีพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ สมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เป็น เหมือนทุ่งนาร้าง เพราะไม่ค่อยมีเกษตรกรปลูกข้าว ประกอบกับการถมที่สูงเพื่อสร้างโรงงาน การปลูก ปาล์ม พื้นที่ส่วนที่เคยกักเก็บน้ำ�จึงหายไป และเมื่อ น้ำ�หลายสายมาบรรจบกัน ไม่มีทางระบายออก น้ำ� จึงไหลบ่าท่วมบ้านเรือน “เกือบทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ การช่วยเหลือของ ภาครัฐจะล่าช้า” ว่าที่ ร.ต.หญิง กนกกาญจน์ ขวัญทอง อาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วแห่งภูมินิเวศน์เทือกเขา บรรทัด เล่าถึงความช่วยเหลืออันล่าช้าจาก ‘คนข้างนอก’ จนก่อให้เกิดการรวมตัวของ ‘คนข้างใน’ “การรวมตัวของเราเกิดจากคนในชุมชน ฉันเอง ก็เป็นอาสาสมัคร เป็นคนธรรมดาในพื้นที่ที่ได้เรียนรู้ ว่าเมื่อเกิดปัญหาซ้ำ�ซากแบบนี้ เราต้องหาแนวทาง สร้างเครือข่ายให้คนชุมชนตระหนักว่าเราสามารถดูแล ตัวเองได้ แล้วนำ�ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติมาจัดการใน 96

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

พื้นที่ เราต้องช่วยเหลือตัวเองเป็นพื้นฐานสำ�คัญก่อน เพราะ หน่วยงานอื่นไม่สามารถช่วยเราได้อย่างทันท่วงที” การเตรียมการทีด่ คี อื การรูข้ อ้ มูลทีม่ อี ยู่ สำ�หรับภูมนิ เิ วศน์ เทื อ กเขาบรรทั ด จะมี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล พื้ น ที่ เ สี่ ย งภั ย ระดั บ ครัวเรือน โดยมีแกนนำ�แต่ละพื้นที่เป็นผู้เก็บรวบรวม ข้อมูล จะแสดงว่าในครัวเรือนหนึ่งมีสมาชิกกี่คน เป็นเด็ก สตรี หรือ คนชรา มีสตั ว์เลีย้ งชนิดใด จำ�นวนกีต่ วั ต้องการความช่วยเหลือ อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ


“สิ่งที่ฉันทำ�ไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะ ตัวเองหรือหมู่บ้านที่พวกเราอยู่ มันเป็นประโยชน์กับคนทั้งตำ�บล และละแวกใกล้เคียง”

จากนั้ น จึ ง ระดมความคิ ด กั น โดยการ วิเคราะห์ว่าพื้นที่ตรงไหนเหมาะจะใช้ประโยชน์ อะไร เช่น พื้นที่อพยพ ศูนย์ติดต่อสื่อสาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นระบบ นอกจากข้อมูลแล้ว การเตรียมการเมือ่ เกิด ภัยพิบัติ สิ่งที่สำ�คัญอย่างยิ่งก็คือ ‘อาสาสมัคร’ “เรามี ทุ น ทางสั ง คมอยู่ แ ต่ เ ดิ ม คื อ เหล่ า อาสาสมัครทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม อสม. อปพร. ซึ่งเขามีจิตใจอาสาอยู่แล้ว เมื่อเกิดภัย คนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ” “อะไรคือสิ่งสำ�คัญที่สุดในการรวมตัวกัน เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ?” “คนนีแ่ หละ คนแบบเรานีแ่ หละสำ�คัญทีส่ ดุ ถ้าเกิดภัยจริงๆ อาสาสมัครที่ได้รับการฝึกจะ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ช่วยเหลือครอบครัว

ได้ ช่วยเหลือเพือ่ นบ้านละแวกใกล้เคียงได้ ภัยมันเกิดได้ 24 ชัว่ โมง ไม่เลือกเวลา ฉันคิดว่าอาสาสมัครต้องมีในพื้นที่ให้มากที่สุด ฝึกให้ มากที่สุด” “คุณคิดว่าคนทีย่ อมเสียสละแบบนีค้ วรได้รบั ค่าตอบแทนบ้าง ไหม?” “ฉันคิดว่าบางครั้งไม่จำ�เป็นต้องมีค่าตอบแทน เพราะเรา อาสาช่วยเพื่อนอยู่แล้ว นึกออกไหม ไม่ว่าเรื่องอะไรเราเต็มใจที่จะ ช่วย พร้อมทีจ่ ะช่วย ฉันคิดว่าไม่จ�ำ เป็นต้องมีคา่ ตอบแทน เอาค่าใช้ จ่ายตรงนี้ไปสนับสนุนส่วนอื่นดีกว่า อาสาสมัครต้องมีความพร้อม เอาเงินตรงนี้ที่จะเป็นค่าตอบแทนอาสาสมัครไปช่วยคนที่อดอยาก มากกว่าเราดีกว่า” ว่าที่ ร.ต.หญิง กนกกาญจน์ เป็นนักวิชาการสาธารณสุข เธอ เป็นผู้หญิงตัวเล็ก ผมหยักศก พูดเร็วแต่ฟังชัด เธอเป็นอาสาสมัคร ชุดเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งผ่านการฝึกหนักกว่าการเป็นอาสาสมัครทั่วไป “ก่ อ นอื่ น เราต้ อ งดู บ ริ บ ทของพื้ น ที่ ที่ เ กิ ด เหตุ ก่ อ น ว่ า เขา ต้องการให้เราช่วยเรื่องไหนบ้าง ถ้าจำ�เป็นต้องลงน้ำ�เพื่อไปช่วย ผูป้ ระสบภัย ผูช้ ายก็ตอ้ งลงเพราะข้อจำ�กัดของหญิงกับชายมันก็มอี ยู่ พี่ผู้ชายก็ลงไป เราก็ช่วยประคับประคองบนฝั่ง ส่วนใหญ่ฉันจะอยู่ บริเวณฝัง่ มากกว่า สำ�หรับบางบริบทนะ เราในฐานะผูห้ ญิงบางครัง้ เราต้องถอยเพื่อสนับสนุนด้านอื่น เช่น อาหาร งานครัว” เป็นธรรมดาทีก่ ารเป็นผูห้ ญิงจะทำ�ให้เกิดข้อจำ�กัดในการสวม ชุดสีส้มปีนป่ายเชือก ลอยคอไปช่วยผู้ประสบภัย แรกๆ ครอบครัว Fighting..Local Heroes

97


ของเธอไม่เข้าใจ “ระยะแรกครอบครั ว ไม่ เ ข้ า ใจ เราจะ ไปทำ�ไม แต่พอทำ�ไป พวกเขาเห็นรูปแบบที่ ชัดเจน เห็นการทำ�งานที่เป็นระบบ ทางบ้าน ก็เห็นความสำ�คัญ เขาเห็นว่าสิ่งที่ฉันทำ�ไม่ได้ เป็ น ประโยชน์ เ ฉพาะตั ว เองหรื อ หมู่ บ้ า นที่ พวกเราอยู่ มันเป็นประโยชน์กับคนทั้งตำ�บล และละแวกใกล้เคียง” “คุณไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยครัง้ สุดท้าย ที่ไหน?” “ที่ตำ�บลนาโต๊ะหมิง เชื่อไหมครอบครัว ฉันมองว่าการทีฉ่ นั ไปช่วยเหลือคนอืน่ มันไม่ใช่ เรื่องธรรมดา แต่เป็นเรื่องวิเศษที่ฉันสามารถ ช่วยเหลือคนอื่นได้”

“พอได้เข้าไปสัมผัสกับคนที่ เดือดร้อนจริงๆ ทำ�ให้คิดได้ว่า ถ้าเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆ ก็คง ไม่รู้ว่าข้างนอกมันเกิดอะไรขึ้น” 98

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

เปิดโลกใบใหม่ อุทัยวรรณ ปลีกหนู อาสาสมัครแห่งภูมินิเวศน์ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัด นครศรีธรรมราช

หากถามว่าเธอเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมอาสาสมัคร ได้อย่างไร เธอบอกว่าทุกอย่างเกิดขึน้ โดยอัตโนมัตติ าม


สัญชาตญาณ เธอเองก็จดจำ�ไม่ได้ชัดนักว่ามันเริ่มตั้งแต่ เมื่อไหร่ เพราะแถบภาคใต้เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งเหลือเกิน รู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าเธออยู่ในชุดยูนิฟอร์มเสื้อส้มเสียแล้ว “ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นอาสาสมัคร แต่พอมีโอกาสได้เข้าไปร่วมทีมช่วยเหลือผู้ประสบ ภัย พอได้เข้าไปสัมผัสกับคนที่เดือดร้อนจริงๆ ทำ�ให้คิด ได้ว่าถ้าเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆ ก็คงไม่รู้ว่าข้างนอกมันเกิด อะไรขึ้น” แม้รูปร่างบอบบางอาจดูเป็นข้อจำ�กัดอยู่บ้างในการ ทำ�งานเสี่ยงภัย แต่สำ�หรับอุทัยวรรณถือว่าไม่ใช่อุปสรรค เพราะแต่ละคนย่อมมีความชำ�นาญเฉพาะตัวแตกต่างกัน ไป บางคนเก่งด้านผูกเชือก บางคนเก่งด้านสันทนาการ บางคนเก่งกีฬา บางคนทำ�งานดี แต่พดู ไม่เป็น ก็ขนึ้ อยูก่ บั ความถนัด ซึ่งสำ�หรับเธอรับหน้าที่เป็นนักวิชาการชุมชน ท้องถิน่ ให้กบั ทีมอาสาฯ มีบทบาทสำ�คัญในการสำ�รวจและ เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ แล้วนำ�มาวิเคราะห์แยกแยะ ออกมาเป็นแบบแผนการทำ�งานให้กับทีม “ในยุคแรกๆ เราก็ชว่ ยเหลือกันแบบญาติพนี่ อ้ ง เป็น เครือข่ายทีถ่ กั ทอกันแบบหลวมๆ โดยมีก�ำ นัน ผูใ้ หญ่บา้ น และแกนนำ�ชุมชนมาช่วยกัน ถ้ามีต้นไม้ล้มขวางก็ไปช่วย กันตัด ถ้าบ้านไหนมีปัญหาก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไปเท่า

ที่มีเรี่ยวแรง” เธอบอกว่า ถ้าชาวบ้านไม่ชว่ ยเหลือตัวเองแล้วใครจะ ทำ� เพราะภัยพิบตั ใิ นหมูบ่ า้ นตำ�บลของเราคือเรือ่ งของเรา จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ จนในที่สุดก็ก่อตัว เป็นเครือข่ายองค์กรภาคพลเมือง ก่อเกิดเป็นระบบการ จัดการภัยพิบัติที่ทุกคนร่วมกันสร้างขึ้นมาคนละไม้ละมือ “หน่วยงานท้องถิ่นเขาก็มีหน้าที่ช่วยเหลือเยียวยา แต่ถ้าเราคอยท้องถิ่นมันจะช้า กว่าจะได้รับการอนุมัติ บางครั้งติดวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ ไม่มีคนทำ� ไม่มีคนเบิก จ่าย ซึ่งภัยพิบัติมันเป็นสิ่งที่เรารอคอยไม่ได้ องค์กรภาค ประชาชนก็ต้องช่วยกันเอง “ยกตัวอย่างชัดๆ เช่น ถ้าวันหนึ่งเกิดมีพายุถล่มขึ้น มาปุ๊บ หลังคาบ้านพังเสียหาย ถ้าเราคอย อบต. กว่าจะ มาซ่อม กว่าจะเบิกกระเบื้อง สุดท้ายก็ต้องอาศัยแรงงาน ของจิตอาสานี่แหละมาช่วยกัน” ด้วยจุดแข็งของความเป็นชุมชนท้องถิน่ ทีอ่ ยูก่ นั แบบ บ้านพี่เมืองน้อง หลอมรวมเป็นสังคมเครือญาติ ถักทอ เป็นสายใยที่มองไม่เห็น แม้กระทั่งวัดและโรงเรียนก็เป็น องค์ประกอบสำ�คัญในชุมชนที่แยกกันไม่ขาด จุดนี้เองที่ อุทัยวรรณเชื่อมั่นว่าเป็นฐานรากของความเข้มแข็งและ เป็นทุนทางสังคมที่ยากจะประเมินค่าได้ Fighting..Local Heroes

99


มนต์รักเคลื่อนที่เร็ว 1 ธนกฤต นานอน เป็นลูกจ้างประจำ� อบต.นาท่ามใต้ จังหวัดตรัง และเป็นผูช้ ว่ ยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อยูก่ อ่ นแล้ว แต่เมือ่ 2 ปีกอ่ น เมือ่ เครือข่ายภัยพิบตั ภิ าคใต้ รวบรวมกำ�ลังพลในแต่ละภูมนิ เิ วศน์ เขาอยากเสริมความรู้ ด้านการจัดการภัยพิบัติให้ตัวเอง จึงเข้ารับการอบรมเป็น อาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็วแห่งภูมนิ เิ วศน์เทือกเขาบรรทัด ในตำ � บลนาท่ า มใต้ มี อ าสาสมั ค รชุ ด เคลื่ อ นที่ เ ร็ ว 13 คน ซึ่งคุณสมบัติของอาสาสมัครเหล่านี้เมื่อเกิดภัย พวกเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นปฐม แล้วสามารถ ช่วยเหลือผู้อื่นให้อยู่รอดปลอดภัยและเป็นระบบ “ต้องฝึกหนักกว่าอาสาธรรมดา อาสาสมัครทั่วไป จะฝึกการช่วยเหลือตัวเองก่อน แต่ชุดเคลื่อนที่เร็วต้อง ช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย” ธนกฤตกล่าวเสริม อาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็วจะเริม่ ฝึกตัง้ แต่ภาคทฤษฎี เช่น การจัดระเบียบภายในแถว การวางแผนในการช่วยเหลือ ผู้อื่น และฝึกการผูกเงื่อน เพราะในสถานการณ์จริง การ ช่วยชีวิตคนบางครั้งอาจขึ้นอยู่กับเงื่อนที่ผูก “หลักๆ ที่ใช้อยู่มี 5-6 เงื่อน ต้องรู้จักเลือกใช้เงื่อน ให้เข้ากับสถานการณ์” จากนั้นก็ฝึกการปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฝึกใช้อุปกรณ์ภายในเรือ ซึ่งธนกฤตผ่านการฝึก 100

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

มาแล้วทั้งหมด ธนกฤตเป็นชายร่างกำ�ยำ� ผิวเข้มแบบคนใต้ พูด น้อย ตรงข้ามกับประสบการณ์การช่วยเหลือคนของเขาที่ สามารถสร้างเป็นเรื่องเล่าได้มากมาย เช้าวันหนึ่งของเดือนสิงหาคม ฝนตกต่อเนื่องตลอด คืน ธนกฤตเดินทางมายัง อบต.นาท่ามใต้ เพือ่ เริม่ เช้าวันใหม่ เหมือนเช่นทุกวัน เช้าวันนั้นเขาตรวจสอบปริมาณน้ำ�ฝน และเห็นวี่แววบางอย่าง ไม่นานก็มกี ารแจ้งข่าวมาจากเครือข่ายภัยพิบตั ภิ าคใต้ รายงานว่าขณะนี้น้ำ�ป่าไหลบ่าเข้าท่วมหมู่ 2 หมู่ 3 และ หมู่ 4 ตำ�บลนาโต๊ะหมิง ความรุนแรงมากทีเดียว ต้อง ระดมกำ�ลังพลจากอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วโดยด่วน ธนกฤตถอดเสื้อผ้าชุดที่ใส่ออกจากบ้าน ฉวยคว้าเครื่อง แบบสีส้ม ตระเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ แล้วกระโดดขึ้นรถ โดยไม่รีรอ 2 เนตรนภา ช่วยขาว เป็นนักพัฒนาชุมชน ทำ�งาน ในพืน้ ทีต่ �ำ บลนาโต๊ะหมิง และเป็นอาสาสมัครชุดเคลือ่ นที่ เร็วประจำ�ตำ�บล หลายปีกอ่ นเธอเรียนหนังสืออยูท่ จี่ งั หวัด ภูเก็ต และในปีทสี่ นึ ามิโถมตัวซัดชายฝัง่ อันดามัน เธอเป็น คนหนึง่ ในอาสาสมัครทีเ่ ข้าช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ เธอเห็น ความตายเกลื่อนหาด


นาโต๊ะหมิงกลายสภาพเป็นผืนน้ำ� คนรักของเธอกำ�ลังเดินทางมาจากนาท่ามใต้ เขาชื่อธนกฤต 3

“เวลาเห็นคนตายฉันเฉยๆ นะ แต่สงสารคนทีย่ งั อยูม่ ากกว่า” หลังจากนั้นเนตรนภาฝึกงานที่สมาคมหยาดฝน จังหวัดตรัง สมาคมหยาดฝนเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ดำ�เนินการสนับสนุน ส่ ง เสริ ม ให้ ชุ ม ชนร่ ว มมื อ กั น ทำ � งานด้ า นการอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากร ธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรชายฝั่ง “ฉันชอบงานอาสาสมัครเป็นการส่วนตัว ชอบช่วยเหลือคน” เนตรนภาบอก เช้าวันหนึ่งในเดือนสิงหาคม เธอไปทำ�งานที่นาโต๊ะหมิงตาม ปกติ ท่ามกลางสภาพการเดินทางที่ทุลักทุเล ก่อนจะพบว่าพื้นที่

เมื่ อ ไปถึ ง จุ ด เกิ ด เหตุ ธนกฤตประเมิ น สถานการณ์ว่าจะใช้วิธีใดอุปกรณ์อะไรเข้าช่วย ชาวบ้าน เมื่อประเมินสถานการณ์เสร็จจึงร่วม วางแผนกั บ อาสาสมั ค รชุ ด เคลื่ อ นที่ เ ร็ ว จาก ภู มิ นิ เ วศน์ อื่ น ขณะที่ ป ริ ม าณน้ำ � ค่ อ ยๆ เพิ่ ม ระดับจนถึงชั้น 2 ของบ้าน บ้านซึ่งมีเด็กและ คนชราติดอยู่ ธนกฤตใช้เชือกต่อเชือก ผูกเป็นเงื่อนเชื่อม ต่อกันจากฝั่ง ลอยคอลากเชือกไปยังบ้านหลัง นั้น ซึ่งมีระยะห่างจากฝั่ง 500 เมตร ดูจาก ผิวน้ำ�คล้ายกับจะไม่เลวร้าย แต่ใต้ท้องน้ำ�นั้น เชี่ยวกราก “ผมประเมินแล้วเหนือ่ ยแน่ๆ” ธนกฤตบอก แต่ด้วยความที่มีจิตอาสาและด้วยทักษะที่สั่งสม มา “เราถือว่าเราเป็นนักรบเสือ้ ส้ม ต้องทำ�ให้ได้” เขาใช้ค�ำ ว่า ‘สะใจ’ หลังจากเอาชนะกระแส น้ำ�เชี่ยว และพาเด็กและคนชราลงเรือได้ “ตอนแรกผมคิ ด ว่ า หมดทางแล้ ว แต่ Fighting..Local Heroes

101


คนหนึ่งอายุได้เพียง 3 เดือน อีกคน 6 เดือน “แสดงว่าที่คุณร้อนรนจะไปที่นาโต๊ะหมิงในวันนั้น คุณไม่ได้รีบเร่งไปช่วยแฟนหรอกหรือ?” ธนกฤตยิม้ “เราต่างก็เป็นอาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็ว เหมือนกันนี่ครับ” ทัง้ สองแต่งงานใช้ชวี ติ ร่วมกันมา 8 ปี ธนกฤตไม่บงั คับ ให้เนตรนภาเปลีย่ นมาใช้นามสกุลของเขา ทัง้ คูม่ ลี กู ด้วยกัน 1 ขวบ “สำ�หรับเนตรนภา อะไรเป็นแรงขับให้คุณเลือกที่จะ เป็นอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็ว?” “ฉันคิดว่าการที่จะได้ออกไปช่วยเหลือคนที่ประสบ ภัย อย่างน้อยต้องมีต�ำ แหน่งแห่งที่ ต้องมีทมี่ าทีไ่ ป เพราะ ระบบการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยเขาเซตไว้เป็นระเบียบ ไม่ อย่างนัน้ ใครมาทำ�ก็ได้ มันจะมัว่ ถ้าเราอยากทำ�แบบนีเ้ รา ก็ต้องมีตำ�แหน่ง ฉันจึงฝึกเป็นอาสาชุดเคลื่อนที่เร็ว” ระหว่างพูดคุย ทั้งคู่ถนอมน้ำ�ตาลที่หยอดใส่กัน ไม่ กุมมือกันระหว่างพูดคุยเหมือนคู่รักคนดังเวลาออกสื่อ “สามีของคุณเป็นเหมือนฮีโร่ในสายตาคุณไหม?” “ธนกฤตน่ะหรือ เขาเป็นคนจิตใจดี นี่คือสิ่งที่ดีงาม ในชีวิตเขาที่ฉันสัมผัสได้” กับคำ�ถามเดียวกัน ธนกฤตไม่ตอบ เพียงส่งยิ้มให้ 4 เช้าวันนัน้ เนตรนภาเปลีย่ นอาภรณ์เป็นชุดยูนฟิ อร์ม ภรรยา เนตรนภาใบหน้าเรื่อแดงเหมือนสีบนแก้มนาง สีส้ม เธอลงน้ำ�ลอยคอไปช่วยเด็ก 2 คนที่ติดอยู่ในบ้าน มโนราห์ระหว่างถูกตัวพระบอกรัก พอพาคนอพยพออกมาได้ แ ล้ ว ผมสะใจมากที่ ช่ ว ยได้ ความพร้อมเป็นสิ่งสำ�คัญ ความพร้อมของทีมอาสาสมัคร ชุดเคลื่อนที่เร็ว รวมถึงความเป็นระเบียบและความฉับไว ในการทำ�งาน” “นี่คือเหตุการณ์ที่คุณประทับใจ?” “ใช่ แต่ที่ผมเสียใจคือจำ�ชื่อเขาไม่ได้แล้ว” “เวลาทีล่ อยคอในกระแสน้�ำ เชีย่ ว คุณนึกถึงความตาย บ้างไหม?” “จะว่ากลัวก็กลัว แต่ผมถือว่าเรามีประสบการณ์จาก การฝึก มั่นใจในตัวเองว่าสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้” “มีเคสไหนที่ช่วยไม่ได้ไหม?” “ไม่เคยครับ ยังไม่เคยช่วยใครไม่ได้” “มีครอบครัวไหม?” “แฟนของผมก็เป็นอาสาสมัครชุดเคลือ่ นทีเ่ ร็วเหมือน กัน ผู้หญิงผู้ชายสามารถทำ�งานได้เหมือนกัน แฟนผมชื่อ เนตรนภา เธอมีจิตอาสาอยู่แล้วเป็นเบื้องต้น ผมไม่ได้ ชวนเธอนะ เธอสมัครใจมาเอง ผมไม่มสี ทิ ธิไ์ ปห้ามหรอก” การทำ�หน้าที่ช่วยเหลือชีวิตผู้คนของเนตรนภาทำ�ให้ เธอเหมือนกินรีติดปีกในสุธนชาดก - มโนราห์

102

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


ชายผู้มองอั้ม พัชราภา ด้วยหางตา, หากว่า... ราวุธ สุทธิ์ศรี

ราวุธ สุทธิศ์ รี ชายร่างเล็ก ผิวสีน�้ำ ตาลไหม้ บุคลิกว่องไว เขาประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง และเป็นอาสาสมัครชุด เคลื่อนที่เร็วแห่งภูมินิเวศน์เทือกเขาบรรทัด “ถ้าเครือข่ายแจ้งมาว่าต้องการความช่วยเหลือ แต่วนั นัน้ ผมติดงาน ผมจะยัดงานให้ลกู น้อง แล้วไปช่วยคน ถ้ามีปญ ั หา ลูกน้องจะโทรมาถามผม ผมก็แก้ปัญหาผ่านทางโทรศัพท์” “อะไรดึงดูดให้คุณเป็นอาสาสมัคร?” “ผมอยากช่วยเหลือคน อยากรูจ้ กั เพือ่ นใหม่ๆ ในการฝึก ทักษะการเป็นอาสาสมัครชุดเคลื่อนที่เร็วต้องใช้เวลาคลุกคลี ร่วมกับเพื่อนๆ ฝึกทุกอย่างที่เอื้อให้เราสามารถช่วยเหลือ ผู้อื่นได้ ฝึกว่ายน้ำ� ฝึกขับเรือ ฝึกหนัก แต่มันก็แตกต่างจาก ฝึกทหารนะ ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร เพราะทุกคนเป็นพลเมือง เท่ากันหมด”

“ในหัวใจของคนอาสา ถ้าผู้หญิงมาห้ามเราไม่ให้เป็น ก็ต้องบอกเลยว่า ขอแยกทางกับหล่อนดีกว่า”

Fighting..Local Heroes

103


“คุณมีลูกไหม?” “ผมมีลูก 3 คน คนโตอายุ 24 ตอนนี้ผมอายุ 43 ผมมีเมียตอนอายุ 17 ลูกชายผมเป็นนักแสดง” “นักแสดง…ที่หมายถึงดาราน่ะหรือ?” “เปล่าๆ ไม่ใช่อย่างนัน้ ลูกชายผมแสดงมิวสิค วิดีโอให้กับบ่าววี” “บ่าววี?” “ใช่ คุณรู้จักบ่าววีไหม บ่าววีที่เป็นศิลปิน นักร้องนั่นแหละ ลูกชายผมทำ�งานอยู่กับบ่าววี” “ในการทำ�งานอาสาสมัคร คุณเคลียร์ตัวเอง กับภรรยาอย่างไร เพราะมันเป็นงานทีไ่ ม่สร้างราย ได้เข้าบ้าน?” “เธอเข้าใจผม ไม่มีใครว่าอะไร นี่แน่ะ ผม จะบอกให้นะ ในหัวใจของคนอาสา ถ้าผู้หญิงมา ห้ามเราไม่ให้เป็นก็ต้องบอกเลยว่า ขอแยกทาง กับหล่อนดีกว่า ต่อให้สวยยังไงก็ตามที ถ้ามาพูด แบบนีก้ บั คนทีม่ หี วั ใจอาสา ต่อให้เป็นอัม้ พัชราภา ก็ต้องบอกเลิก”

104

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

“จำ�เป็นด้วยหรือ ที่อาสาสมัครต้องเป็นคนหนุ่ม”

บทบาทกองหลัง ชม ชูปาน

อาสาสมัครแห่งภูมินิเวศน์ป่าพรุควนเคร็ง


ในวัยริม 50 ชม ชูปาน เป็นอาสาสมัครแห่ง ภูมนิ เิ วศน์ปา่ พรุควนเคร็ง หลังเห็นแววสงสัยบนใบหน้า คู่สนทนา เขาย้อนถามกลับมาว่า “จำ�เป็นด้วยหรือที่ อาสาสมัครต้องเป็นคนหนุ่ม” นอกจากเป็นเกษตรกรชาวสวน ลุงชมยังเป็น สารวัตรกำ�นันในชุมชน แต่สำ�หรับงานจัดการภัยพิบตั ิ เขาบอกว่าเขาเป็นกองหลัง “หน้าที่ผมดูแลเรื่องส่งเสบียงอาหารไปให้แนว หน้า ดูแลทุกอย่าง ถ้าไม่ไปเองก็สั่งให้คนอื่นซื้อ ทั้ง ข้าวสาร เนื้อสัตว์ พืชผัก เพื่อเตรียมลำ�เลียงไปที่เกิด เหตุ” ในบางสถานการณ์ การจัดหาอาหารก็ใช้วิธีขอ บริจาคจากชาวบ้าน “ไม่ใช่วา่ ไปส่งเสร็จแล้วกลับนะ ต้องไปทำ�อาหาร ให้เขาด้วย พอไปถึงก็ท�ำ กับข้าว คนมีหน้าทีแ่ จกก็แจก แม่บ้านผมก็ทำ�กับข้าว” ลุงชมอาศัยอยู่กับภรรยาลำ�พัง 2 คน ส่วนลูกๆ แยกย้ายไปประกอบอาชีพต่างเมือง “ลูกผม 2 คน อยู่ต่างจังหวัดหมด ที่บ้านก็อยู่กัน 2 คน ตายาย เวลาเกิดภัยพิบัติพวกเราก็หากินได้ ไม่เดือดร้อนอะไร” “อะไรคือสิง่ ทีย่ ากลำ�บากในการเป็นอาสาสมัคร?”

“การขอร้ อ งให้ ค นชราย้ า ยออกจากบ้ า นเวลา เกิดภัย” วันนั้นพายุเข้า น้ำ�บ่าท่วมหมู่บ้าน ต้นไม้หักโค่น พาดสายไฟ หล่นทับบ้านเรือน แต่หญิงชราไม่ยอมออก จากบ้าน คนแล้วคนเล่าทีเ่ ข้าไปเจรจาขอร้องให้ยายหนี ออกมา แต่หญิงชราไม่ฟังใคร ลุงชมเป็นคนสุดท้ายที่ เข้าไปทำ�หน้าที่เกลี้ยกล่อม ลุงชมบอก “ยายเอ๊ย อย่าอยู่ที่นี่เลย ทุกสิ่งทุก อย่างมันไม่หายไปไหนหรอก ถ้ายายไม่ไว้ใจ เอาไป ฝากไว้กับหมู่บ้านก็ได้ หรือฝากลูกหลานที่ไว้ใจก็ได้” หญิงชรายืนยัน “ถ้าฉันตาย ฉันขอตายอยูต่ รงนี”้ “ยาย คนเรามันตายทีไ่ หนก็ได้ แต่ถา้ ยายมาตาย อยู่ ใ นบ้ า น ในสถานการณ์ อ ย่ า งนี้ พวกผมจะอยู่ อย่างไร ผมมีโอกาสมาพูดมาบอกยายแล้ว จะยอม ปล่ อ ยให้ ย ายตายอยู่ ที่ นี่ เ หรอ แล้ ว ชี วิ ต ผมที่ เ หลื อ หลังจากยายตาย ผมจะอยู่อย่างไร คงจะนอนฝันร้าย ทุกคืน” สิ้นประโยคสุดท้าย หญิงชรายื่นมือให้ลุงชม เขา กุมมือหญิงชราออกจากบ้านหลังนั้นไปยังที่ท่ีมีความ หวังข้างหน้ารออยู่

Fighting..Local Heroes

105




-4-

Being together “volunteers”

Fight for the dignity of people

Having battled with the disaster problems

Arun Kongsuwan: The volunteer from fast-

that often unseasonably occur such as windstorm,

moving team of Lang Suan Landscape Ecology,

flood, landslides and flash flood, every year,

Chumphon Province

the people are needed to move several times in order to prevent them from the disaster. This is a

“I am just an ordinary folk who cannot stand with the help of the government which gave only a box of rice and an aid bag. Sometimes it makes us feel like we have no dignity. But, today, people in the area started to think how they can manage the disaster that occurred in front of them without being a burden to others.” 108

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

phenomenon that has never happened before in the past few decades. People who have suffered are the innocent villagers. This is the result of the changes of the climate and the lack of preparedness system. The impairment of a natural disaster makes Lang Suan people sit and discuss the issues in order to find the solution and adapt themselves to the changes of the nature that are hard to avoid.


Lang Suan watershed sometimes floods for

in the area started to think how they can manage

2-3 times a year. The areas affected by natural

the disaster that occurred in front of them without

disasters the most is Pordaeng sub-district because

being a burden to others.”

it is the downstream area which accommodates

That is the major reason that makes Lang Suan

the volume of water. Every time there is the flood,

persons know that if they only wait for outside

Pordaeng sub-district is considered the longest

organizations to help, there is no more dignity.

flood area and the level of water increase

This is why people have to fight by themselves

dramatically so that it is hard to control.

under the team called ‘people with orange shirt’.

Arun Kongsuwan, the volunteer from fast-

“Being volunteers has no salary, but everyone

moving team of Lang Suan Landscape Ecology,

sacrifices to work because we have seen the

Chumphon Province, said that apart from the

problems together” Arun said with determined

actions of the nature that ordinary human could not

tone and eyes.

withstand it, another reason that they recognize is

Because life is unpredictable, especially

the minutes of crisis that no government agencies

natural disasters which nowadays are increasingly

or any organizations where local residents can

volatile, precautions may help to ease the loss

rely on or hope to. There are only very small rice

to some degree. But to adapt to changing

boxes and aid bags given to them while having

circumstances may extend life more sustainable.

dramatic floods. “I am just an ordinary folk who cannot stand

White lie: the story of

with the help of the government which gave only

Grandmother Choo

a box of rice and an aid bag. Sometimes it makes

Satit Chaisuwan:

us feel like we have no dignity. But, today, people

Local Administrative Organization, Songkhla

The President of Bankhao

Fighting..Local Heroes

109


Province

Local Administrative Organization, Songkhla Province and the volunteer from fast-moving team

“We are trained to have self-confidence so that we can solve emergency problems”

of Songkhla Lake Basin Landscape Ecology, Songkhla Province explained the loss of the flood happened at that time. After that Mr. Satit led the villagers to join

The disasters that regularly occur in the

the network of the disaster in the South and be a

Songkhla Lake Basin are both flood and windstorm.

part of Songkhla Lake Basin Landscape Ecology

Songkhla Lake Basin is a basin pan, so it is flooded

which both theoretical and practical trainings are

every year. Moreover, it is also the area jointed

required.

with the sea and the Songkhla Lake.

“In the past, the villagers learned about

In the rainy season, in 2010, there was

the amount of water from the Department of

serious flooding that no one would expect. Old

Meteorology, but now Mr. Komet, the village

people expected it lower than the actual situation

headman, places a systematic and precise rules

because they had never experienced before. But

including explicit coordination between networks.

living with water, they had survival skills. However,

My principle is not to panic people.”

the rain in March of that year made the things in the Songkhla Lake Basin change.

There are 18 fast-moving volunteers in Bankhao sub-district including him, Mr. Satit said.

“We had never expected that situation

“Yes, I am also trained. I am the leader and

because it happened in March. I could only find

I am the President of Bankhao Local Administrative

the budget, cooperate with the district and relieve

Organization. I have to be the model for the others.

only the primary difficulty.”

Some volunteers are farmers, some are fishermen.”

Satit Chaisuwan, The President of Bankhao 110

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

“Does being volunteers af fect their


occupations?”

broken.

“We will interchange with each other. For

They took a boat carrying food and water

example, today Mr. A goes, but Mr. B does not

through the water rushing into the damaged area

go because each person must take care of the

they transported provisions on the coastal areas

family. We have 18 people with the heart of

and took a boat into the scene.

being volunteers. “What is the memorable event of your work as a volunteer?”

“We thought that we are the Songkhla Lake Basin people. We are good at riding boat. But it was really unexpected. At that time, we slowed

“It is the case of Grandmother Choo.”

the boat down, but the water currents were very

At Natoaming sub-district, Trang Province,

strong. It dragged our boats to hit the rubber trees.

Mr. Satit as a volunteer of Songkhla Lake Basin Landscape Ecology, was informed about the disaster at Natoaming sub-district.

We damaged several rubber trees.” With the trained volunteers and they learned that each area has different terrain. Therefore, to

“On that day, I went with subordinates that

go into each area requires a different skill. They

the boat almost capsized.”, Mr. Satit started to

sat on a boat floating on the torrent to go to

recall himself.

Grandmother Choo’s house.

The level of water that flooded Natoaming

Grandmother Choo was trapped on the

sub-district was at the breast of a man level. It was

second floor of the house. No one could

the level that made the volunteers nervous and

persuade her to move out of the house because

afraid. But his role as the President of the Local

she concerned about the property in the house.

Administrative Organization, he was not able to

“She concerned about her woods prepared

show his weakness in front of the subordinates

for building a house. We told her to move out.

because that would make the team’s morale

We could not leave her. If she was the villager Fighting..Local Heroes

111


in Songkhla Lake Basin, I would take her into the

Choo had not moved out of the house?”

boat right away. But it was uneasy as we are the

“We insisted moving her out of the house.”

outsiders at Natoaming sub-district. We had to

There are no other answers. If not, we cannot

understand her because most of the elderly always

stand what happened.”

concern about their properties.” “So what did you do?” “I threatened her”

Time to stand up

After appealing to the max, Mr. Satit called

Pensri Thongbunchu: The village leader of

the team on the radio. He whispered the man on

Ko Khan sub-district, Cha-uat district, Nakhon Si

the radio to shout out loud through the radio that

Thammarat

“flash water is coming and the amount of the water will increase two feet.” After Grandmother Choo had heard the noise from the radio that was increased the volume to the maximum, she decided to move out.

“Every problem can be solved if everyone in the community is trust in their community…even how big the problem is”

“May I ask you politely? Weren’t you afraid of death while going to help Grandmother Choo?”

For Pensri Thongbunchu, who is the village

“Everyone was afraid, but we must be

chief of Ko Khan sub-district, Cha-uat district,

conscious. We have the knowledge exchange

Nakhon Si Thammarat, the disaster occurred in

among the teams of different landscape ecology.

November, 2000, was the “crisis” leading to the

We are trained, so that we believe in ourselves

“opportunity” for the villagers to be united.

in order to resolve the emergency.” “What would you have done, if Grandmother 112

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

Ko Khan sub-district is a red area which is risky of disasters because it is to accommodate the


water from Banthat mountain ranges which rains

so we have to manage the disaster by ourselves.”

a lot. Although, there are 2 dams in the area, the

Ko Khan sub-district has a process to develop

risk is not reduced. It is risk of both overflow from

the new plan. The data base of the community

the dams and the natural water.

and a collaborative learning platform using the

The disasters occurred in Cha-uat district are

participatory process to learn, plan, operate,

the risks of landslides in the areas of Wang-ang

gain benefits, join for responsibility, evaluate and

sub-district, Khuan Nong Hong sub-district and

improve are needed.

Khao Phra Thong sub-district. At the areas over the

Then the committee of strategic management

basin of Huai Nam Sai, which is the boundaries

for improvement and evaluation is set up. There is

of Nakhon Si Thammarat, Trang and Phatthalung

a construction of the community planning process,

provinces, risk of flooding at any time.

the understanding making, the establishment of a

The windstorm on the coast of Songkhla

team work, physical and historical data storage,

province in the late 2010 affected Cha-uat

searching for the potential, social capital and

sub-district. Rubber trees collapsed and fell down

natural resources, doing household account,

several hundred acres in the areas of Ko Khan

analysis of the data, setting the solution and

sub-district, Nanglong sub-district, Cha-uat sub-

bringing the model scheme to the practice.

district and Khonhad sub-district.

Apart from having the center of disaster

“In the past, the people in Ko Khan sub-district

management, Ko Khan is also equipped with

had never thought about the disaster management.

tools, data and volunteer work extending to young

But after November 1, 2000 onwards, we agreed

people.

that a working group, the coordination center for

“Young people are trained to be volunteers

finding tools, data, maps and assembly points

for disaster management and women health care

must be set. This is because it rains unpredictably,

volunteers. All sectors are united.” Fighting..Local Heroes

113


The main point of disaster management starts at “people”.

every activity in the community is deduced to the disaster management foundation.

“The volunteers are required to sacrifice their

“The empty area will be used as the area

time. And the most important thing is that they

to plant rice for everyone in the community.

have to know how to manage their lives before

The productions from the area are kept at the

managing other issues. They also need to prepare

community mill and when there is a disaster the rice

themselves to be ready, make the understanding

can be used to help the people in the community.

in the family and have knowledge to use the

But if there is no disaster, the rice can be sold and

equipment and the approaches to help. And the

the money will be kept in the foundation.

most important thing is that their families should

“What is the difficulty in doing this work?”

not be affected.”

“I believe that every problem can be solved

Ko Khan sub-district has the disaster

if everyone in the community is trust in their

management foundation and the support for

community and is ready to cooperate to find the

careers for the volunteers. This is done to improve

ways to solve the problems. The problems can be

the potential of the volunteers.

solved even how big they are if they understand

“We set a supporting career group such

each other, and focus on the accuracy over

as cow raising group. In the past, the people in

the desirability. I am sure this is the essence of

Ko Khan sub-district did rice farming and they had

management.”

water problem usage. However, after we plan the water usage, the problem is solved.

“How does the experience in driving the disaster management change their viewpoint?”

Pensri, who is the village leader of Ko Khan

“The disasters nowadays are horrible. We

sub-district, Cha-uat district, is trying to support the

must be prepared and ready. In the past, we

disaster management. 10 percent of the profit from

prepared only candles, but not we have to prepare

114

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


food and we are required to know how to help

a stick with another end was pinned down on the

ourselves. These are changes that we have to

ground to indicate that it is one dead body. So,

cope with.”

when we looked out, we saw a lot of white plastic

After finish taking, Pensri stood up and walked a few steps before turning back to say that: “We cannot wait for anyone. We have to stand up and do it ourselves.”

bottles. There were also a lot of dead bodies in the pool. I was deeply moved by the tsunami.” This is the memory of Partthana Sornchana towards the 2004 tsunami. After the tsunami had occurred, there was an evacuation of the tsunami victims into Klong Sok sub-district, Phanom

This is the desire

district, Surat Thani Province which is Partthana’s

Partthana Sornchana: The vice president of

hometown.

Klong Sok Local Administrative Organization

“Our hometown is the city jointed with Phangnga province. When the tsunami occurred,

“Suppose that we face with the disasters, who will help us if we do not help other first?”

they asked for help from us to use the areas for the immigrants. We think that if we have a disaster like this who will help us if we do not help others first.” Meanwhile, her home is located in area that

“The dead bodies were all over. I went there

is prone to landslides because the area of Klong

a day after the accident had happened. At the

Sok sub-district is the area of foothills and plateau

time I worked in a network doing the master plan

surrounded by mountain ranges. Natural disaster

community. So I went to help the victims. The

that always occurs is a flash flood and landslides.

area was filled with dead bodies both Thai and

This is beginning to join the network of the

foreigners. We used a white plastic bottle to put in

disaster management in the South of the people Fighting..Local Heroes

115


in Klong Sok sub-district. For Partthana, she is the

Partthana walked into the area that had been

vice president of Klong Sok Local Administrative

damaged to help the people trapped inside the

Organization and a volunteer of fast-moving team

house and transported them to the evacuation

of Klong Sok landscape ecology.

point. She led one child and when she looked

“Actually, we should rely on ourselves first

back, she saw that the child walked with bare

before asking for help from others. But how can

foot. So, she took off her shoes and gave them

we rely on ourselves if we do not have wisdom

to the child. And along the way she walked,

and experience.”

when she everyone, they were so glad to see she

Participating in the training for being a volunteer of “Orange Shirt” is fulfilled her both wisdom and experience. There is a story telling about Partthana that whenever there is a disaster, whether near or far, we see the little girl with short haircut and brown eyes walks and takes the photos of ruins from the disaster. At the beginning of August 2013, there was flash flooding at Natoaming sub-district, Trang province. After obtaining the coordination of the

appeared in orange shirt. Her orange shirt lit as the sun for seedlings. “I had nothing, no food, no water, just a camera for taking photos of the damage area in order to store the data.” “Do you go every time the network ask for help from your area?” “Yes, I always go. Sometimes I have to drive to the disaster scenes by myself.” “What will you do if you have to work at that time?”

network and discussing the basics of landscape

“If we are volunteer by heart, we can avoid

ecology, Partthana did not hesitate to grab the

other work”, Partthana said with beautiful voice.

camera and jumped in the car moving at a

“We have others to work for us. If it is not a

hundred miles per hour to the scene.

funeral of relatives, for me, volunteer work is the

116

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


most important.” “I am not sure to judge that you are quite strange because other people always give first priority to their fulltime work that they can earn to

“What I have done is not useful for only myself or a specific village where I live. It is helpful to the people all the sub-district and the neighborhoods.”

live their lives.” “Earning to live life is another part. In my

Natamtai sub-district, Trang province is

family, we share responsibilities. We have 4

surrounded by canals. The Trang River is the

members and my son also has photography

main river. The area of Natamtai sub-district is

business.”

the basin. Initially, this area was like a deserted

“What is your principle when working as a volunteer?”

field because farmers rarely grew rice and it was high reclamation to build plants and to plant palm

“I do not think of the position. I can do

trees. So, the area of the catchment has been

everything even keep wastes. We have to be

lost. When the water lines are converged, there

down to earth.”

is no ways to drain out. So water runoff and the

“Is this you?” “Yes, this is me.”

houses are flooded. “Almost every time a disaster happens, the help of the government always delays “, Acting Sub-Lt. Kanokkarn Kwanthong: the volunteer from

Another miracle story

fast-moving team at Banthat Mountain Ranges

Acting Sub-Lt. Kanokkarn Kwanthong:

Landscape Ecology told us about the delay of help

The volunteer from fast-moving team at Banthat

from the “outsiders” so the “insiders” are required

Mountain Ranges Landscape Ecology

to form an assistance group by themselves. “The integration is from the people in our Fighting..Local Heroes

117


community. I am also a volunteer who is an

“we already have the social capital which is

ordinary person who has always learned that the

the volunteers such as health care volunteers or civil

problems occur repeatedly. We have to find ways

defense volunteers. These people have volunteered

to build a network for the people in the community

mind which are ready to help others.”

to realize that we can take care of ourselves. Then we will use the knowledge of disaster to manage in

“What is the most important thing when gathering to cope with disasters?”

the area. We need to help ourselves first because

“People are the most important thing. If there

no other agency can help us in a timely manner.”

is a disaster, the trained volunteers are able to help

The best preparation is having the data in

their families, and neighbors. The disaster can

hand. At Banthat Mountain Ranges Landscape

happen 24 hours so we have to have as many

Ecology, there is the collection of the data in the

as trained volunteers in the areas.”

risky areas at a family level. The leader of each area is responsible for this. The data will show the numbers of the family members in each household

“Do you think those people who are volunteers should get paid?”

separated by age and gender. The numbers of

“No, I think it is not necessary because the

pets are also included the demands for help are

volunteers are the people who are willing to help

also recorded.

others. I think the money should be spent for other

After that, the brainstorming process is

parts like helping the poor.”

used to analyze which areas should be used for

Acting Sub-Lt. Kanokkarn Kwanthong is a

evacuation or communication. These make the

public health academic who is small with curly

primary help systematic.

hair. She speaks fast but it is clear. She is in a

Besides the data, the “volunteers” are also essential. 118

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

fast-moving team which is required harder training than other volunteers.


“At first, we need to know the context of the

Open the new world

area: what they want us to help. If we need to get

Uthaiwan Pleeknoo: the volunteer of Kuan

into the water to help victims, the male volunteers

Kreng Swamp Forest Landscape Ecology, Nakhon

have to go because there are some limitations

Si Thammarat Province

of the female volunteers. However, the female volunteers will help on the land. Mostly, I wait to help on the land such as cooking or preparing foods.” It is common for a woman to have restrictions in wearing Orange Shirt. Also, their families seem

“When I had a chance to learn from the people who suffered from the disaster, I thought that if I just sat in a house, I would never know what happened outside.”

not to understand as well. “At first, my family did not understand me.

After being asked how she could participate

They did not understand why I have to do. But after

in volunteer team, she answered that everything

seeing that the work is systematic, they understood

happens automatically based on intuition. She did

me. They knew that I did everything for others not

not remember it clearly because there are disasters

only for myself, but it is helpful to the people all

very often in the South.

the sub-district and the neighborhoods.” “Where was the latest area you went to help victims?” “I went to Natoaming sub-district. Believe it or not my family thinks that the way I help others is a miracle.”

“I had never thought before that I would have been a volunteer. But when I had a chance to help victims, I thought that if I just sat in a house, I would never know what happened outside.” Although her slim body may be a limitation for risky working, Uthaiwan does not think it Fighting..Local Heroes

119


is an obstacle because each person will have

to help, it will take a long time. So, we have to

different areas of expertise. For her, she is a

help each other to repair the roofs.”

community academic for the volunteer team. She

With the strength of the community living

is responsible for collecting the data and analyzing

together as relatives, it becomes a kinship society.

it to determine the plan for the team.

It is woven into an invisible connection. Even the

“In the early days, we helped each other

temples or the schools, they are important elements

as relatives. It is a loose network. The village

in the community. This is the point that Uthaiwan

headman is a leader. We help each other as

believes it is the strong foundation and it can be

much as we could do.”

a social capital that is invaluable.

She said that if the villagers do not help themselves, no one can help them because the disaster occurring in our sub-district is our issue?

Fast-moving love

Started from one to two and from two to four, finally, the network of citizen organization is set up. There is a system which is the cooperation from everyone to deal with disasters.

-1-

Thanakit Nanorn: The permanent employee

at Natamtai Local Administrative Organization,

“Actually, there are local organizations that

Trang province and the staff preventing and

will help us, but it is quite slow. Therefore, the

relieving the public danger. However, 2 years

public sector organizations are needed to help

ago, when the network for disaster management

themselves.”

in the South was set up, he attended the training

“For example, suppose that there is a storm coming to the community and the roofs of our houses are damaged. If we wait for the authority 120

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

for fast-moving team of Banthat Mountain Ranges Landscape Ecology. There are 13 volunteers in fast-moving team


of Natamtai sub-district. The qualifications of these

Administrative Organization and he checked the

volunteers are that they are able to help themselves

amount of the rainfall and he noticed something

first and then are able to help other systematically.

wrong.

“We have to be trained harder than other

Soon the news of the disaster to from the

volunteers. Normal volunteers are mostly trained

network of disaster management in the South was

for helping themselves first, but the volunteers of

reported that there were flash floods in Village no.

fast-moving team are required to train for help

2, Village no. 3 and 4 at Natoaming sub-district.

others, Thanakit added.”

It was violent. The volunteers of fast-moving team

The volunteers of fast-moving team are trained for theory such as standing in lines, planning to

were needed. Mr. Thanakit quickly wore Orange Shirt and jumped in the car without hesitation.

help others and tying knots because in reality, rescuing people sometimes may depend on the knot tying.

-2-

Netnapa Chuaykao: The community

“We are needed to know at least 5-6 main

developer working in Natoaming sub-district. She

knot tying. “After that we are trained for first aid

is also a volunteer in fast-moving team of the sub-

and how to use equipment in boats.” Mr. Thanakit

district. Several years ago, she studied in Phuket.

has been trained all of these issues.

When the tsunami happened, she was a volunteer.

Mr. Thanakit has muscular body with dark

She saw a lot of dead bodies.

skin like other men in the South. He is not talkative

“I feel indifferent when I see dead bodies, but

which is opposite to his experience that can be

I feel sympathetic for the people who are still alive.

told a lot.

After that, Netnapa was a trainee at Yadfon

One day in August, it was raining throughout

Association, Trang province. Yadfon Association

the night. Mr. Thanakit went to Natamtai Local

is Non-Governmental Organization supporting Fighting..Local Heroes

121


the people in the community to collaborate on the

“I knew that it was surely difficult, but with

conservation of natural resources, especially the

voluntary heart and skills I have “ I am the Orange

coastal resources.

Shirt so I can do it.”

“I like voluntary work. I like to help others.”

He used the word “satisfied” to explain his feeling after he can cope with the torrent and help

Netnapa said. One day in August, she went to work in Natoaming sub-district with difficulties before she found Natoaming sub-district was flooded. Her lover, Mr. Thanakit, was coming from

the elderly and the children. “At first, I thought it was no ways to evacuate the people out of the house but after I did it, it felt really satisfied. The readiness is important.” “Is this your memorable event?”

Natamtai sub-district.

“Yes, but I could not remember their names.” -3-

When Thanakit arrived at the scene, he

“”When you swam in the torrent, did you think about the death?”

evaluated the situation in order to use appropriate

“Actually, I quite feared, but I was sure with

tools to help the villagers. After the evaluation

the skills I have and I believe that I can help others.”

was done, he planned with the volunteers from

“Did any cases that you cannot help?”

other teams. At the time, the amount of water was

“No.”

increasing until it reached the second floor of the

“Do you get married”

house which the elderly and the children were stuck

“My wife is a volunteer in fast-moving team as

in the house. He used the ropes and tied a knot

well. No matter the gender is, we can work. My

from the shore. And he swam to that house which

girlfriend’s name is Netnapa. She has a voluntary

was 500 meters from the land. From the surface,

heart. I do not convince her to be a volunteer but

it was not bad, but it was rapidly under the water.

she is willing to be.

122

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง


To help others makes Netnapa like Kinnaree (the mythical female bird with a human head).

very sweet to each other. They did not hold each other hands like other famous lovers when they are interviewed.

-4-

In the morning on that day, Netnapa changed her dress to Orange Uniform. And she swam to help 2 children, 3 and 6 months respectively, who were stuck in the house. “So it means that on that day you did not

“Is your husband a hero?” “Yes, he has good mind. He is a god thing in my life.” I asked Thanakit with the same question. He did not answer. He just smiled to his wife. And her face was blushing.

hurry to help your girlfriend?” Thanakit smiled. “We are volunteers of fastmoving team.” The have got married for 8 years. Thanakit did not force his wife to use his surname. They

The man who does not care Aum Patcharapa, if… Rawut Sutsri

have 1- year old child. “For Netnapa, what is the factor driving you to be a volunteer in fast-moving team?” “I think that to go out to help others, I should

“from the heart of a volunteer, if my girlfriend stops me from being a volunteer, I will break up with her”

have at least a position because the system to victims has been set up. We cannot make a mess

Rawut Sutsri is a medium-sized man with

with it. If we want to do this, we need to have a

brown skin and active character. He is a

position. So, I train as a fast-moving volunteer.”

construction contractor and a volunteer in the

During the discussion, they tried not to be

fast-moving team of Banthat Mountain Ranges Fighting..Local Heroes

123


Landscape Ecology.

My son is working with him now.”

“If the network calls for help, but I have to

“Working as a volunteer, how do you make

work. I will ask the subordinates to work for me

the understanding with your wife because it is a

and then I go to help victims. If the subordinates

work that does not generate revenue?”

have problems, they will call me. And I am able to solve the problems over the phone.”

“She understands me. She does not blame me. I have one thing to tell you that if my wife

“What appeals you to be a volunteer?”

stops me from being a volunteer, I will break up

“I want to help others. I want to have new

with her.” I do not care how much she is beautiful.

friends and I want to practice skills for being a

Even she is Aum Patcharapa*, I do not care. I will

volunteer in a fast-moving team. We are trained

break up with her for sure.”

to help others. We are trained to swim and to sail a boat. It is a hard training, but it differs from military training. Everyone is equal.”

The role of halfback

“Do you have children?”

Chom Chooparn: The volunteer of Kuan Kreng

“I have 3 children. The oldest child is 24

Swamp Forest Landscape Ecology

years old. I am now 43 years old. I got married when I was 17 years old. My son is an actor.” “An actor?...You mean an actor starring in

“Is it necessary to have only young volunteers?”

the films?” “No, he just starred in Music Video of Bao Wee”

124

In the age of 50, Chom Chooparn is a volunteer of Kuan Kreng Swamp Forest Landscape

“Bao Wee?”

Ecology. After he saw a doubt on the face of his

“Yes, you know Bao Wee who is a singer?

talker, he asked that “Is it necessary to have only

สู้ต่อไป...อ้ายเท่ง

* One of the most famous actress in Thailand during these years.


young volunteers?” Apart from being a farmer, Uncle Chom is also the chief inspector in the community. But for the disaster management work, he calls himself a halfback. “I am responsible for sending foods to the vanguard.” Sometimes, we have to ask for foods from the villagers.

houses. But the elderly woman refused to move out of her house. She insisted not moving out. Uncle Chom was the last person to persuade her. Uncle Chom told the elderly woman that “Grandma, do not live here. Everything will not be lost. If you are not sure, you can keep them with the community or your children who you rely on.” The elderly woman insisted that “If I have to die, I want to die here.”

“It is not just sending foods to them, but I have

“Grandma, we can die anywhere. But if you

to cook for them. Some may distribute foods. My

die in the house with this situation, how can we

wife also helps to cook.”

tell others that we let you die here. We will have

Uncle Chom lives with his wife. His children stay and work in other cities.

nightmare every night.” After the last sentence, the elderly woman

“I have 2 children and they live in other

gave her hand to Uncle Chom. He grabbed her

provinces. So I live with my wife. When the

hand and took her to the place where there is

disaster occurs, we can live our lives. We do not

hope.

suffer anything.” “What is the most difficulty as a volunteer?” “It is when we have to ask the elderly to move out of their houses.” On that day, there was a storm and the village was flooded. Trees fell across the power lines and Fighting..Local Heroes

125




ส่งแรงใจ


สมพร ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำ�หรับเพือ่ นพ้องพีน่ อ้ งฅนอาสาของเครือข่ายการจัดการภัยพิบตั พิ นื้ ทีภ่ าคใต้ทพี่ ยายามขับเคลือ่ นกลไกนี้ อย่างเป็นระบบในช่วงเวลากว่า 2 ปีทผี่ า่ นมา เราได้เห็นความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ ความทุม่ เทเสียสละของผูใ้ หญ่โกเมศร์ และทีมงานทั้ง 5 ภูมนิ ิเวศน์ เรื่อยมากระทั่งถึงขณะนี้ ด้วยทีมงานที่เข้มแข็งทำ�ให้รู้สึกชื่นชมยินดีและมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ทุกคนได้ทำ�อยู่นี้จะเป็นต้นแบบที่นำ�ไปสู่การขยายผลยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ในอนาคตข้างหน้ายังมีลทู่ างอีกมากทีส่ ามารถขับเคลือ่ นไปได้ เนือ่ งจากมีแม่ขา่ ยชุมชนท้องถิน่ น่าอยูข่ ณะนี้ อีกกว่า 70 แห่ง นอกจากนัน้ เรายังมีภาคีองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ อีกนับพันเครือข่ายกระจายอยูท่ วั่ ประเทศ เรามีพันธสัญญาต่อกัน เรียกว่าปฏิญญาร่วม หนึ่งในนั้นคือประเด็นการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย สาธารณะที่ต้องนำ�ไปสู่การปฏิบัติด้วย ช่วงเวลา 2 ปีเศษๆ ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการพัฒนามาแล้วระดับหนึ่ง แต่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น แต่สิ่ง ที่ได้ผลเป็นอย่างดียิ่งก็คือ เราได้ใจทุกคนมารวมกัน ตรงนี้เป็นต้นทุนที่มีความสำ�คัญที่สุด เพราะทุนทางใจนั้น หามาได้ยาก แต่ถ้ามันมีแล้ว มันจะเป็นพลังมหาศาล การเป็นจิตอาสาถือเป็นการเริม่ ต้นของความเป็นพลเมืองทีแ่ ท้จริง ซึง่ จะนำ�ไปสูก่ ารร่วมแรงร่วมใจเป็นเนือ้ เดียวกันของชุมชนนั้นๆ ไม่เฉพาะแค่การจัดการเรื่องภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังสามารถจัดการได้ทุกๆ เรื่อง ถ้าเรา รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีจิตสำ�นึกร่วมกันว่า นี่เป็นเรื่องของเรา ชุมชนของเรา เราเกิดที่นี่ ทำ�มาหากิน กันอยู่ที่นี่ แล้วเราก็ตายอยู่ที่นี่ เมือ่ สามารถจุดประกายวิธคี ดิ ใหม่ๆ ให้กบั สังคมได้ โดยเฉพาะสังคมฐานราก ซึง่ ถือว่าเป็นสังคมทีม่ คี วาม สำ�คัญที่สุดที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้ในอนาคต หากสังคมฐานรากเข้มแข็ง ประเทศชาติก็จะอยู่รอดได้


Moral Support Given


Somporn Chaibangyang

The President of Board Plan, Plan 3, Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth)

For the volunteers in the network of disaster management in the South who have been trying to run the system for over 2 years, we have seen a commitment and the sacrifice of Mr. Komet, who is a village headman, and 5 teams from landscape ecology. With a strong team, I would like to give my appreciation to you all and I am certain that all you have done will be is a model for other areas. In the future, there are many ways that can be driven since there are more than 70 hosts of the livable communities. Moreover, there are also thousands partners of the local governments nationwide. We are committed to each other, which is called the Joint Declaration. The disaster management is one of the public policies that is required to practice. During the past two years, although there has been a development, but it is just the beginning. However, what is even more effective is that we have encouraged everyone to come together. This capital is the most important because it is hard to get spiritual capital. But if it is, it is powerful. Being the volunteers represents the beginning of a true citizen which will lead to the efforts of a homogeneous community. Not only to deal with the disaster, but we can handle everything if we do together and have consciousness together that this is our community, we were born here, we live here and we will die here. If we are able to spark new thinking to society, especially the social foundations, which is a society that is most important to keep the country in the future, the nation will survive.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.