7+1 นโยบายสาธารณะ

Page 1



7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ บรรณาธิการอำนวยการ นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ บรรณาธิการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้เขียน นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม 1. นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ 2. นางสาวนิสา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต 3. นางสาวกิ่งแก้ว บุตนุ 4. นางสาวณัฐกานต์ เล็กเจริญ 5. นางสาวณัฐธญา วิไลวรรณ 6. นายมานะ ช่วยชู 7. นางสาวกัลยา หอมเกตุ นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน 1. อาจารย์ประพันธ์ แจ้งเอี่ยม 2. อาจารย์ชยภรณ ดีเอม 3. นางสาวปิยกานต์ ฟักสด 4. อาจารย์นิศากร สนามเขต 5. นายอิทธิพล ฟ้าแลบ นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 1. นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ 2. นางธัญญา แสงอุบล 3. นางสาวมัทนา ภูครองหิน 4. นางสาวสมจิตร จันทร์เด่


นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. นายสุริยา ยีขุน 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชพงศ จันจุฬา 3. นางสาวรุจิยา สุขมี 4. นางสาวรัตจณี รักษ์เพชร 5. นางสาวอารมณ์ มีรุ่งเรือง นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 1. อาจารย์ชยภรณ ดีเอม 2. อาจารย์เจนจิรา เล็กอุทัย 3. นายอิทธิพล ฟ้าแลบ

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา นันทบุตร 2. นางสาวอาริยา สอนบุญ 3. นางพรรณิภา ไชยรัตน์ นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก บัวเจริญ 2. นายมานะ ช่วยชู 3. นางสาวกัลยา หอมเกตุ 4. นางสาวกิ่งแก้ว บุตนุ

นโยบายสาธารณะด้านการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา นันทบุตร 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชตวรรณ ศรีตระกูล 3. นางอุไร จเรประพาฬ


ความเป็นมา ปี 2554 เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 1 โดยทีมสนับสนุนวิชาการได้นำใช้องค์ความรู้ จากปฏิบตั กิ ารของ ‘แหล่งเรียนรู’้ 2 ของ ‘ศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะ 4 มิติ’ หรือเรียกกันโดยทั่วไป ว่า ‘แม่ข่าย’ 3 ประมวลและวิเคราะห์กิจกรรมที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการยกระดับ คุณภาพชีวติ ของประชาชนในพืน้ ทีโ่ ดยชุมชนท้องถิน่ มาเป็น 7 กลุม่ นโยบายสาธารณะ 84 ข้อเสนอ ซึง่ เป็น ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นที่นำใช้ในการขับเคลื่อนและผลักดันให้มีการนำสู่ปฏิบัติการ ในพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางโดยผ่านกระบวนการสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักในเวทีนโยบาย สาธารณะระดับภูมิภาคและเวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย จนเกิดเป็นปฏิญญา

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ของแต่ละภูมิภาคและมีข้อตกลงร่วมของเครือข่ายในภาพรวม

ที่เรียกว่า ‘ปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 7 นโยบายสาธารณะ 84 ข้อเสนอ ร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่’ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2555 ซึ่งสมาชิกของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น

น่าอยู่ได้ใช้เป็นแนวทางการขับเคลือ่ นของแต่ละพืน้ ทีท่ ง้ั ระดับตำบล เครือข่าย และจังหวัด ปี 2555 เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดย ‘54 แม่ข่าย 4 ศูนย์ประสานงาน’ และ

‘6 ศูนย์ (ทีม) สนับสนุนวิชาการ’ ได้ทบทวนบทเรียนจากพื้นที่และข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนการ

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ หมายถึง การรวมตัวของพื้นที่ในระดับตำบลและระดับจังหวัดที่มีเป้าหมาย เพื่อร่วมสร้างพื้นที่ของตนเองให้เป็นตำบลน่าอยู่และจังหวัดน่าอยู่ โดยเครือข่ายฯ มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้

ร่วมกันและผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับตำบล เครือข่าย และจังหวัด รวมถึงการมีบทบาทหน้าที่ในการ

ขับเคลื่อนและรณรงค์ให้มีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคืนอำนาจให้ชุมชน 2 แหล่งเรียนรู้ หมายถึง จุดที่รวบรวมความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชนอันอาจเกิดจากการรวมตัวของ องค์กรชุมชน นโยบายของภาครัฐ หรือการร่วมกันระหว่างองค์กรชุมชนกับภาครัฐ ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาหรือการ พัฒนานวัตกรรมในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยมีกระบวนการคิด การปฏิบัติการจริง มีการเรียนรู้ และสั่งสมชุดประสบการณ์ในการพัฒนาจนได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ ภาคี และหน่วยงานต่างๆ โดยมี วิทยากร (แกนนำ/ผูน้ ำ/ผูน้ ำการเปลีย่ นแปลง) ทีส่ ามารถถ่ายทอดและบอกเล่าประสบการณ์ให้กับผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ รวมถึง การแสดงให้เห็นถึงระบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองได้ 3 ศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะ 4 มิติ หรือ ‘แม่ข่าย’ หมายถึง พื้นที่ระดับตำบลหรือพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ที่มีกระบวนการค้นหาทุนและศักยภาพโดยการวิจัยชุมชนแบบเร่งด่วน มีการระบุชัดเจน 1


ขับเคลือ่ นนโยบายสาธารณะทั้ง 7 ประเด็น 84 ข้อเสนอ โดยมีการวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์และผลกระทบต่อ การลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและการจัดการตนเองด้านสุขภาพโดยชุมชนท้องถิ่นใน 8 ด้าน 4 ที่มี

เป้าหมาย ‘ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ ให้เป็นฐานของการ ‘ร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู’่ ซึง่ ได้พฒ ั นา และปรับปรุงมาเป็น 7+1 นโยบายสาธารณะ 93 ข้อเสนอ ร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่ เข้าสู่การประชุมเชิง ปฏิบตั กิ าร ‘ทบทวนจังหวะก้าวการขับเคลือ่ นของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ ใน 9 กลุ่มจังหวัด

มีสมาชิกของเครือข่ายฯ เข้าร่วมกว่า 8,000 คน พร้อมทั้งได้ร่วมลงมติ (โหวต) เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ของข้อเสนอที่หากนำไปขับเคลื่อนในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มจังหวัดจะก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลงสูเ่ ป้าหมาย การร่วมสร้างชุมชนท้องถิน่ น่าอยูต่ อ่ ไปได้ คณะผู้จัดทำเอกสารฉบับนี้ ได้ทบทวนข้อมูลที่เป็นผลสรุปทั้งที่เป็นข้อแนะนำและการขอปรับแต่ง สาระของข้อเสนอจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ‘ทบทวนจังหวะก้าวการขับเคลื่อนของเครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่’ ที่กล่าวมาข้างต้น พร้อมทั้งได้ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่เป็นผลการวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงมติที่เกี่ยวข้องขององค์กรทางนโยบาย แล้วนำมาประมวลและวิเคราะห์ถึงความ เป็นไปได้ที่จะนำสู่การปฏิบัติโดยชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสรุปภาพรวมได้ 88 ข้อเสนอ 7+1 นโยบายสาธารณะ ร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่ เอกสารฉบับนี้เป็นผลผลิตจากกระบวนการทบทวนที่กล่าวมา ด้วยการใช้ข้อความรู้ที่เกิดจากการ ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายและข้อความรู้จากการทบทวนข้อมูลวิชาการที่บ่งบอกถึงความจำเป็น ของการดำเนินงานตาม 88 ข้อเสนอ 7+1 นโยบายสาธารณะร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ รวมถึงผลที่ เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมาและที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดผลกระทบต่อการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง

4 มิติ (กาย ใจ ปัญญา และสังคม) เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ถึ งทุนที่มีศักยภาพในการทำหน้าที่เป็น ‘แหล่งเรียนรู้’ มีการพัฒนาผู้รู้และแกนนำของแหล่งเรียนรู้ให้มีขีดความสามารถใน

การสร้างการเรียนรู้ร่วมกันภายในพื้นที่ของตนเองและสมาชิกเครือข่าย มีกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับ สมาชิกเครือข่าย และทำหน้าที่กลไกบริหารจัดการเครือข่าย รวมถึงการทำหน้าที่เป็นกลไกในการกระตุ้นให้เครือข่ายมี กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่มีการประกาศปฏิญญาร่วมกัน 4 ผลลัพธ์และผลกระทบต่อการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) การดูแลสุขภาพ 2) ความ มั่นคงทางอาหาร 3) การออกกำลังกาย 4) การจัดการภัยพิบัติและลดอุบัติเหตุจราจร 5) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ 6) การควบคุมการบริโภคยาสูบ 7) สุขภาวะของกลุ่มเด็กและเยาวชน และ 8) การลงทุนด้านสุขภาพโดย ชุมชน


สารบัญ นโยบายสาธารณะด้ านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม (10 ข้อเสนอ)

1. จัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชนหรือมีศูนย์รายงานข้อมูล 2. หนุนเสริมการสร้างเครือข่ายขององค์กรชุมชนและกลุ่มทางสังคม ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบข้ามพื้นที่ 3. ปฏิรูปการทำประชาคมโดยเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ 4. ออกข้อบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสนับสนุนให้ทุกกลุ่มในชุมชนท้องถิ่นมีการจัดสวัสดิการ

5. ให้จัดทำ ‘ธรรมนูญท้องถิ่น’ ที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีทุกภาคส่วน 6. รายงานผลการดำเนินงานต่อประชาชน (public report) อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี 7. จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 8. สนับสนุนกระบวนการ ‘ค้นหาแกนนำของตำบลจากทุกภาคส่วน’ 9. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง ‘สภาองค์กรชุมชน’ 10. สร้างและพัฒนานักวิจัยชุมชน

ประเด็ นนโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน (12 ข้อเสนอ)

14 16 18 20 22 24 26 28 30 32

1. จัดตั้งกองทุนสวัสดิการกลางเพื่อจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในตำบล 2. สนับสนุนการจัดเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกระดับ

36

4. ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่เป็นสมาชิกกลุ่มสวัสดิการที่มีอยู่ในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม 5. การจัดสวัสดิการให้แก่ชุมชนโดยผ่านกระบวนการจัดการฐานข้อมูล และการนำใช้ข้อมูลชุมชน

43

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบงบประมาณให้กองทุนสวัสดิการชุมชน และให้สมาชิกมีการออมร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน

38 41

46


6. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการจัดสวัสดิการชุมชน 7. จัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและจัดสรรที่ดินทำกิน

48 50

8. หนุนเสริมการเพิ่มศักยภาพแกนนำในการบริหารกองทุน เพื่อจัดการสวัสดิการสังคมให้มีประสิทธิภาพ

52

10. สร้ างเครือข่ายการจัดสวัสดิการสังคม 11. การจั ดตั้งกองบุญหรือกองทุนอื่นๆ เฉพาะกลุ่มและขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชน

56

9. ส่งเสริมระบบสวัสดิการสังคม 7 ด้าน และครอบคลุมในทุกกลุ่มทุกชาติพันธุ์อย่างน้อย 4 ใน 7 ด้าน

54

58

12. ผลักดันและเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการ 60 และผู้ได้รับผลกระทบได้เข้าเป็นสมาชิกและได้รับสวัสดิการจากกองทุนสวัสดิการโดยไม่มีเงินสมทบ

นโยบายสาธารณะด้ านเกษตรกรรมยั่งยืน (14 ข้อเสนอ)

1. ส่งเสริมให้เพิ่มครัวเรือนเกษตรกรรมยั่งยืนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของครัวเรือนเกษตรกรในตำบล 64 2. สนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้าง 67 ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ ในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน

70

5. สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตและการตลาด ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค

74

4. ให้มีแผนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองด้านอาหาร

72

6. ให้มีการจัดทำและนำใช้ฐานข้อมูลการตกค้างของสารเคมีการเกษตรในร่างกาย 7. สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด

76

8. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียนในตำบลจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเกษตรกรรมยั่งยืน 9. ให้มีการพัฒนามาตรฐานเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยของชุมชนโดยชุมชน 10. จั ดให้มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชท้องถิ่นและพันธุ์พืชหายาก 11. ส่ งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้าน

12. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับชุมชนในการวางแผนการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน

78 80 82 84 86 88


13. ออกกฎ กติกา ข้อตกลงร่วม ในการควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการใช้สารเคมีในชุมชน

14. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

90 92

นโยบายสาธารณะด้ านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (10 ข้อเสนอ) 1. สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกวิธี 2. ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า รวมทั้งปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ป่าเดิม

96

98

3. การทำข้อตกลงหรือออกข้อบัญญัติการดูแลรักษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทุกประเภท

100

5. หนุนเสริมการบริหารจัดการแหล่งน้ำหรือจัดทำธนาคารน้ำโดยชุมชน 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกในระดับครอบครัวและชุมชน และมีศูนย์เรียนรู้

104

8. สนับสนุนให้มีการจัดทำและการนำใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9. ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ

111

4. สนับสนุนการจัดตั้งกลไกคณะทำงาน และส่งเสริมการพัฒนาอาสาสมัครดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. กำหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพตามบริบทของพื้นที่

10. สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นโยบายสาธารณะด้ านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน (10 ข้อเสนอ) 1. สนับสนุนและจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบล หรือกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชนเพื่อให้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมของชุมชน

2. ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้เด็กและเยาวชนมีเวทีในการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 3. กำหนดกฎเกณฑ์ให้ทุกกลุ่มกิจกรรมมีสมาชิกกลุ่มเป็นเด็ก และเยาวชนร่วมอยู่ด้วยในกลุ่มต่างๆ ในตำบล 4. มีนโยบายร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงวัยรุ่น

8 |

7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่

102

106 108

114 116

120 123 126 129


5. สร้างพื้นที่สร้างสรรค์หรือลานกิจกรรม อย่างน้อย 1 พื้นที่ในตำบล 6. จัดตั้งศูนย์คลายทุกข์เพื่อยุติความรุนแรงแก่เด็กและครอบครัว และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังความรุนแรงโดยมีทีมสหวิชาชีพระดับตำบลร่วมด้วย

7. สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ รวมถึงการจัดระบบการศึกษารูปแบบบูรณาการ สังคม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพตามบริบทพื้นที่ สำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งเด็กพิเศษ 8. สร้างภาคีเครือข่ายและจัดตั้งกลไกขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการเพิ่มสมรรถนะเด็กและเยาวชนทุกด้าน

9. จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 10. จัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน (13 ข้อเสนอ) 1. จัดทำและใช้ ‘ฐานข้อมูลชุมชน’ ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล เพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ กลุ่มอาสาสมัคร และแหล่งเรียนรู้

131 134 137 140 142 144 148

2. จัดให้มีศูนย์ประสานงานอาสาสมัครของชุมชนเพื่อเพิ่มทักษๅ 152 และวางแผนจัดบริการให้การดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกสภาวะสุขภาพ 3. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลของอาสาสมัคร 4. สร้างและพัฒนาอาสาสมัครให้การดูแลกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเฉพาะด้าน (เช่น แรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น)

154

6. ส่งเสริมสนับสนุนหรือสร้างมาตรการในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสุขภาพ แม่และเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ ในชุมชน

160

156

5. ผลักดันให้กองทุนมีแผนการทำงานในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มประชากรเป้าหมาย 158 ตั้งแต่เด็กในครรภ์จนตาย รวมทั้งการจัดการกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

7. สนับสนุนให้หน่วยบริการสุขภาพหรือศูนย์บริการสุขภาพสามารถประสาน และให้บริการครอบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่ และส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน 8. จัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือดูแลโดยเชื่อมโยง กับแหล่งเรียนรู้และทุนทางสังคมของพื้นที่

162 165


9. จัดทำคู่มือหรือแนวทางการดูแลสุขภาพตนเอง และการช่วยเหลือดูแลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ 168 10. จั 170 ดให้มีร้านอาหารปลอดภัยหรือแหล่งจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย 11. สร้ างช่องทางการสื่อสาร และกระจายข่าวสารด้านสุขภาพ 12. สร้างเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครในพื้นที่และเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ 13. สร้างเยาวชนอาสาสมัครร่วมให้การดูแลสุขภาพ

นโยบายสาธารณะด้ านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่น (8 ข้อเสนอ)

172

174 176

1. สนับสนุนและสร้าง ‘อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ’ 2. จัดตั้ง ‘ศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล’ แบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของท้องที่ ท้องถิ่น ชุมชนและภาคเอกชน

180

4. จัดตั้ง ‘กองทุน’ การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล 5. จัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติ

187

3. จัดทำฐานข้อมูลชุมชนแบบบูรณาการ และข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อพัฒนาแผนที่การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล

6. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนระบบการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน 7. จัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงาน’ เครือข่ายท้องถิ่นกับพื้นที่ใกล้เคียง/ภูมิภาคเพื่อการจัดการภัยพิบัติ

8. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติประจำภาค

นโยบายสาธารณะด้ านการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน (11 ข้อเสนอ)

1. ทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคลากรด้านสุขภาพ 2. ตั้งศูนย์หรือหน่วยบริการสุขภาพแบบบูรณาการที่เกิดจากการร่วมสมทบทุนของทุกภาคส่วน เพื่อจัดหรือเสริมให้บริการสุขภาพครอบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่ 3. ตั้งศูนย์ประสานงานให้การช่วยเหลือประชาชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ จัดจ้างบุคลากร เพื่อจัดหรือเสริมบริการสุขภาพ ครอบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่ 5. สนับสนุนกระบวนการค้นหาแกนนำจิตอาสาและพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถเข้าร่วมให้บริการสุขภาพได้

182 185

188 191 193 196

200 204 207 209

211


6. จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อลงทุนด้านสุขภาพโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ

214

7. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพเพื่อลดต้นทุนการดูแลสุขภาพ

217

9. การสนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้ที่มีรายได้จัดสรรทุนเพื่อการดูแลสุขภาพ โดยใช้การมีสุขภาพดีเป็นเงื่อนไขของการจัดสวัสดิการ

224

8. การลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล และออกแบบการลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่

220

10. สนับสนุนให้จัดตั้งแหล่งอาหารปลอดภัย (เช่น การทำเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สมุนไพรใกล้ตัว เป็นต้น)

227

11. ผลักดันให้มีการสมทบทุนจากทุกภาคส่วนในการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขภาวะชุมชน 4 มิติ (กาย ใจ ปัญญา และสังคม)

230



นโยบายสาธารณะ

ด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วม


ข้ อเสนอที่ 1

จัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน หรือมีศูนย์รายงานข้อมูล จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าระบบฐานข้อมูลชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการ พัฒนาตำบลสู่ตำบลสุขภาวะทั้งในฐานะการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของภาคีที่เกี่ยวข้อง และ

ในฐานะการใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการพัฒนาตำบล ระบบฐานข้อมูลเป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยระบบจัดเก็บ ข้อมูลอย่างมีระบบ มีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน

และดูแลรักษาป้องกันข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วิกิพีเดีย, 2555) แม้ว่าองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจะสามารถรวบรวมข้อมูลบางอย่างได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรในแต่ละช่วงอายุ แต่ข้อมูลดังกล่าวนำมาจากฐานข้อมูลประชากรของภาครัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบ ทะเบียนบ้าน จะไม่ได้ถูกนำมาอยู่ในฐานข้อมูลนี้ด้วย หากมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลของท้องถิ่นเอง จะทำให้ทราบชัดเจนถึงจำนวนประชากรที่มีอยู่จริง (ศุภโชค จุ่มช่วย, 2554) การใช้ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นมีประโยชน์ทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ สำหรับภาค ประชาชนใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาให้แก่ภาคประชาชน กล่าว คือ ชุมชนสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง รวมถึงการใช้เป็นหลักฐานและ การแสดงความจริงใจที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหา สำหรับภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ระบบฐานข้อมูล เชิงพื้นที่ เพื่อการจัดการ ดูแล และป้องกันการเกิดปัญหา ซึ่งหากการดำเนินงานของทัง้ ภาคประชาชน และภาครัฐสามารถกระทำได้อย่างควบคูก่ บั การมีสว่ นร่วมของชุมชนและมีความเข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว ก็จะสามารถจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ (ถาวร อ่อนประไพ, 2552) ในการจัดทำฐานข้อมูล ชุมชนจะได้รบั ทราบข้อมูลในระดับครัวเรือนและข้อมูลเชิงประเด็น ซึง่ จากการเรียนรูร้ ว่ มกันทำให้ชุมชน

14 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดทำระบบฐานข้อมูลมีความจำเป็น ต่อการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และนำไปสู่แนวทางการกำหนดนโยบายขององค์กรในชุมชน ได้ (สมยศ รู้ชั้น และคณะ, 2554) ดังนั้นการจัดทำระบบฐานข้อมูลจึงมีความจำเป็น เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้จัดทำแผนพัฒนา ท้องถิ่น ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน (ศุภโชค

จุ่มช่วย, 2554)

เอกสารอ้างอิง

ถาวร อ่อนประไพ. 2552. โครงการการพัฒนาระบบฐาน ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินทำกินแผนพัฒนาชุมชน และการจัดการทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สมยศ รู้ชั้น และคณะ. 2554. โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในชุมชนตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศุภโชค จุม่ ช่วย. 2554. การพัฒนาแผนพัฒนาท้องถิน่ โดยใช้ฐานข้อมูลชุมชน กรณีศกึ ษาชุมชนบ้านควนทัง. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เว็บไซต์ http://www.comsrt.net63.net/1Database.htm. ฐานข้อมูลเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org/wiki/ระบบฐานข้อมูล. 24 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 15


ข้ อเสนอที่ 2

หนุนเสริมการสร้างเครือข่าย ขององค์กรชุมชนและกลุ่มทางสังคม ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบข้ามพื้นที่ ‘องค์กรชุมชน’ หมายถึง องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่น ดั ้ ง เดิ ม (พระราชบั ญ ญั ต ิ ส ภาองค์ ก รชุ ม ชน พ.ศ.2551, มาตรา 3) ที ่ ม ี ก ารติ ด ต่ อ สื ่ อ สารโดยมี วัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการช่วยเหลือกัน และมีกระบวนการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งไม่เพียง เฉพาะแค่องค์กรชาวบ้านในชุมชนเพียงเท่านั้น แต่จะมีรูปแบบของความเป็นองค์กรชุมชนที่อยู่คนละ พื้นที่ก็ได้ (ประเวศ วะสี, 2540) ซึ่งหากได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถด้วยการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) โดยเฉพาะการให้ความสำคัญและการกระตุ้นให้กลุ่มต่างๆ ได้มี โอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันให้มากและมีความต่อเนื่อง เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจ หรือพัฒนาแนวปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ (สมชัย ฤชุพันธ์ และคณะ, 2549) กระบวนการนี้ทำให้เกิดการ ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้จากอีกคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ของบุคคล ให้เป็นความรู้ของกลุ่มและเป็นความรู้ขององค์กร รวมถึงเชื่อมโยงคนที่มีรูปแบบแตกต่างกัน มีวิธีการ ทำงานและภูมิหลังต่างกันเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

นำไปสู่การทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ทุกฝ่ายในลักษณะเครือข่ายของกลุ่มองค์กรชุมชน (ครรชิต พุทธโกษา, 2554 และสมเกียรติ ฉายโช้น, 2546) การดำเนินการตามกระบวนการนี้ยังตอบสนองต่อ การพัฒนาองค์กรให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.

2546, หมวด 3 มาตรา 11)

16 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


กระบวนการนี้สามารถพัฒนาความรู้ของบุคคล ให้เป็นความรู้ของกลุ่ม และขององค์กร รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์และพัฒนาความรู้ เกิดการเชื่อมโยงคนและงาน จึงหนุนเสริมการสร้างเครือข่ายขององค์กรชุมชนและกลุ่มทางสังคมด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้ข้ามพื้นที่

เอกสารอ้างอิง

ครรชิต พุทธโกษา. คูม่ อื การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ ธันวาคม 2554. http://www1.nrct.go.th/downloads/sci_adviser/manual_develop_ community.pdf

สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. กรอบแนวคิดและทฤษฎีการจัดการความรู้. http://www.car.chula.ac.th/qa-web/ documents/km_theory.pdf. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 แนวความคิดด้านองค์กรชุมชนในประเทศไทย 30 พฤษภาคม 2554. http://sna2ur.blogspot.com/2011/05/ blog-post_9812.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 สถาบันพัฒนาสยาม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยและพัฒนา เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถ ในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พขบ.), มีนาคม, 2549. สมเกียรติ ฉายโช้นและคณะ. โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาเครือข่ายกลุ่ม/องค์กรประชาชนในพื้นที่ จังหวัดตรัง. สกว. : กรุงเทพฯ, 2546. KM in Business. 2009, December 26. การแลกเปลี ่ ย นเรี ย นรู ้ (Knowledge Sharing) คื อ อะไร?

http://kminbusiness.wordpress.com/2009/12/26. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2556

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 17


ข้ อเสนอที่ 3

ปฏิรูปการทำประชาคม โดยเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชาคม เป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนด้วย ตนเอง เป็นการรวมตัวกันตามสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น สมาชิกที่มารวมกันมีส่วนร่วมกัน

คิด ร่วมตัดสิน ร่วมดำเนินการและร่วมรับผิดชอบอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน (ศิริพร มูสิกะ, ม.ป.ป.) และการประชาคมยังเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 อย่างไรก็ดี การประชาคมต้องมีกติกาของการอยู่ร่วมกันหรือวินัยของชุมชนที่จะไม่ดำเนินการ ใดๆ ในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ใช้กฎหมู่ (ดาเรศ ชูยก, ม.ป.ป.) ทั้งนี้การทำประชาคมให้ประสบความ สำเร็จจะต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์มาเป็นตัวสนับสนุนในการทำประชาคม (โลแมสและคณะ, ม.ป.ป.) นิยามข้อมูลเชิงประจักษ์หมายถึงข้อเท็จจริงที่ใช้เพื่อสนับสนุนหรือสรุป หรือเป็นข้อมูลที่เชื่อถือ ได้ซึ่งได้จากกระบวนการสืบค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่ง หลักฐานเชิงประจักษ์นี้อาจเป็นสิ่งที่รับรู้ได้โดยการสังเกต ทดลอง หรือเป็นข้อมูลวิจัยที่มีกระบวนการ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ (อรพรรณ โตสิงห์, ม.ป.ป.) กรณีที่มีการนำข้อมูล

เชิงประจักษ์ทางการแพทย์มาพัฒนางานนโยบายทางสุขภาพพบว่า ผลของการทำงานเป็นที่น่าพอใจ และได้ผลดีกว่าการทำงานในอดีตซึ่งเป็นการปฏิบัติงานตามความเคยชินที่ปราศจากหลักฐานหรือ ข้อมูลเชิงประจักษ์อันเป็นเหตุขัดขวางการพัฒนาไม่ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ การที่ไม่ได้

รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและเพียงพอทำให้การบริการหรือการบริหารจัดการในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพ ลดลง (รุจา ภูไ่ พบูลย์ และนันทพันธ์ ชินล้าประเสริฐ, 2555) จากตัวอย่างดังกล่าวจึงทำให้ข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนา รวมถึง การทำประชาคมของท้องถิ่น เพื่อให้การทำประชาคมเกิดประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาและตอบ โจทย์ปัญหาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการทำประชาคมจึงต้องอาศัยระบบข้อมูลที่มีความแม่นยำมากที่สุด และหากต้องการ ให้กระบวนการจัดทำระบบข้อมูลเป็นกระบวนการที่สร้างการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นด้วยแล้ว ชุมชน ท้องถิน่ ต้องดำเนินการเองทุกขัน้ ตอนตามหลักการ ตัง้ แต่เก็บข้อมูลตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์และนำใช้

18 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เพื่อให้การทำประชาคมเกิดประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ปัญหาท้องถิ่นได้จริง การทำประชาคมจึงต้องอาศัยระบบข้อมูลทีม่ คี วามแม่นยำมากทีส่ ดุ ข้อมูลเองในการออกแบบการทำงานด้วย ชุมชนท้องถิน่ จึงเสมือนเป็นเจ้าของระบบข้อมูลเองดังตัวอย่าง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งร่วมมือกับองค์กรชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนา ระบบข้อมูลตำบลด้วยการนำใช้โปรแกรม Thailand Community Network Appraisal Process หรือ TCNAP โดยใช้สองหลักการคือ พัฒนาระบบข้อมูลและสร้างการเรียนรู้ให้กับอาสาสมัครและหน่วยงาน ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งเห็นข้อมูลปัญหาของชุมชน เช่น ผู้สูงอายุไม่มีคนดูแล ผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้ รับการช่วยเหลือ คนพิการไม่ได้รับการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพ คนไม่มีงานทำ ครอบครัวมีรายได้ น้อยและมีคนพึ่งพิงมาก คนพิการตกสำรวจ เป็นต้น และการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบ

เร่งด่วน (Rapid Ethnography Community Assessment Program : RECAP) ทีเ่ ป็นการค้นหาทุนทางสังคม และศักยภาพของชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมส่งผลกระทบต่อสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

ซึ่งหากนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาใช้ประโยชน์ จะเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้กระบวนการประชาคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ปัญหาของชุมชนและการร่วมแสดงความเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยการใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2553ก, 2553ข) ดังนั้น จึงเสนอให้ปฏิรูปการทำประชาคมโดยเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในชุมชนท้องถิ่น เอกสารอ้างอิง ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ก). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดพื้นฐาน 7 ด้านที่แสดงศักยภาพของ ตำบล. กรุงเทพฯ : ทีคิวพี จำกัด. ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ข). กรอบกระบวนการวิจัยชุมชนสู่ตำบลสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : ทีคิวพี. ศิริพร มูสิกะ. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเวทีประชาคม. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ดาเรศ ชูยก. เวทีประชาคม เวทีการแสดงของประชาชน. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา. อรพรรณ โตสิงห์. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับพยาบาลศัลยกรรม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. รุจา ภู่ไพบูลย์ และนันทพันธ์ ชินล้าประเสริฐ. 2555. พยาบาลสร้างสรรค์บริการจากหลักฐานเชิงประจักษ์

สู่การปฏิบัติ. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ.

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 19


ข้ อเสนอที่ 4

ออกข้อบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสนับสนุนให้ทุกกลุ่มในชุมชนท้องถิ่น มีการจัดสวัสดิการ

การจัดสวัสดิการสังคมเป็นกิจกรรมหนึ่งของชุมชน ที่มีขึ้นเพื่อการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้สนับสนุนบนหลักการการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือกันเอง ของชุมชน ด้วยการสนับสนุนให้ทุกกลุ่มในชุมชนท้องถิ่นมีการจัดสวัสดิการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ของทุกกลุ่มในการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งสามารถจัดสวัสดิการได้หลากหลายตาม ความเหมาะสมของกลุ่ม ทั้งนี้รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนมีทั้งรูปแบบธรรมชาติและรูปแบบที่มี

การจัดการ โดยรูปแบบที่มีการจัดการนั้นสามารถกำหนดได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ 1. การจัดสวัสดิการจากฐานองค์กรการเงินชุมชน 2. การจัดสวัสดิการจากฐานการผลิตและธุรกิจชุมชน 3. การจัดสวัสดิการจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. การจัดสวัสดิการจากฐานอุดมการณ์/ศาสนา 5. การจัดสวัสดิการจากฐานผู้ยากลำบาก รวมทั้งควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัด สวัสดิการชุมชนได้อย่างเต็มที่ และการบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนกับระบบสวัสดิการอื่นๆ ที่มี อยูห่ ลากหลายในชุมชนและในสังคมไทย (ชินชัย ชีเ้ จริญ, ม.ป.ป.) ซึง่ สอดคล้องกับข้อเสนอของเครือข่าย สวัสดิการชุมชนกว่า 3,500 กองทุนทัว่ ประเทศ ทีเ่ สนอให้คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดแนวทาง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่าง ต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ถาวร ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของผู้บริหาร

(คำประกาศสมัชชาสวัสดิการชุมชน, 2553)

20 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน และการบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชน กับระบบสวัสดิการอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน

ด้วยเหตุนี้ชุมชนท้องถิ่นจึงเป็นกลไกสำคัญที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีสว่ นร่วมใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ เป็นพลังหลักในการพัฒนาฐานรากของ ประเทศให้มั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองสามารถบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิง่ แวดล้อมในระดับท้องถิน่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, 2555) ดังนั้น การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนโดย สนับสนุนให้ทกุ กลุม่ ในชุมชนท้องถิน่ มีการจัดสวัสดิการ จึงเป็นแนวทางการบริหารจัดการแบบมีสว่ นร่วมที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดระบบ สวัสดิการสังคมโดยชุมชน

เอกสารอ้างอิง

ชินชัย ชี้เจริญ. ม.ป.ป. การจัดสวัสดิการชุมชน : สวัสดิการทางเลือกในสังคมไทย : สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11.

เว็บไซต์

http://www.codi.or.th/welfare/index.php?option=com_content&view=article&id=144%3A2010-11-29-07-2123&catid=50%3A2010-06-28-10-12-17&Itemid=6&lang=th. คำประกาศสมัชชาสวัสดิการชุมชน, 2553 สวัสดิการชุมชนปฏิรูปประเทศไทย

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 21


ข้ อเสนอที่ 5

ให้จัดทำ ‘ธรรมนูญท้องถิ่น’ ที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีทุกภาคส่วน

ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 287 บัญญัติให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวไว้ด้วย ประกอบกับพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 มาตรา 50 กำหนดให้การปฏิบัติงานตาม อำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้าน เมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน (กรณีของ อบต. เป็นไปตามมาตรา 69/1 แห่ง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552) พร้อมทั้งตามมติสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 2 ที่ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาสังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะการบริหารจัดการ

การตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อ

การปฏิรูป, 2555) การจัดทำธรรมนูญท้องถิ่นที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีทุกภาคส่วนใน ลักษณะของการร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับ ประโยชน์ ร่วมติดตามประเมินผลและตรวจสอบในสิง่ ทีม่ ผี ลกระทบต่อตนเองหรือชุมชน ยกตัวอย่างเช่น ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2552) นัน้ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่การร่วมรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง การร่วมแสดงความคิดเห็น การร่วมกำหนดข้อตกลง กติกา และ การร่วมดำเนินการตามที่ธรรมนูญกำหนด เป็นต้น 2) การใช้ข้อมูลตามหลักวิชาการ หลักสังคม วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิน่ และการจัดการความรู้ 3) การกำหนดเจตนารมณ์และเป็นพันธะร่วมกันของ สังคมเพื่อให้สามารถใช้ชี้นำการกระทำของคนในชุมชนท้องถิ่น 4) กำหนดทิศทางและเป้าหมายของ

22 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


กำหนดหลักการมีส่วนร่วม เปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ใช้ข้อมูลวิชาการและการจัดการความรู้เป็นฐานสำคัญ ให้สังคมสามารถนำไปใช้เป็นฐานอ้างอิง เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายของระบบสุขภาพในอนาคต ชุมชนท้องถิน่ ในอนาคต และนำสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้จริงในพืน้ ที่ เช่น ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพสูต่ ำบลสุขภาวะ ของประชาชนตำบลดงมูลเหล็ก ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2552 ธรรมนูญสุขภาพอำเภอยะรัง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพตำบลดงน้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2555 เป็นต้น ดังนั้น จึงเสนอให้จัดทำ ‘ธรรมนูญท้องถิ่น’ ที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี

ทุกภาคส่วน เพื่อเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยจากล่างสู่บน จากระดับชุมชน สู่ระดับประเทศ

เอกสารอ้างอิง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 28. สมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป. 2555 มติสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ ปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 2 มีนาคม 2555 ข้อ 6. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 (2552, 1 ธันวาคม) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ, 2552 ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพสู่ตำบลสุขภาวะของประชาชนตำบลดงมูลเหล็ก ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2552 ธรรมนูญสุขภาพอำเภอยะรัง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2555 ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2555 นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 23


ข้ อเสนอที่ 6

รายงานผลการดำเนินงาน ต่อประชาชน (public report) อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

การรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ต่อประชาชน ถือว่ามีความสำคัญ อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือหลักความโปร่งใส หมายถึงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยการ ปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือ

เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบ และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และช่วยให้การ ทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการท้องถิ่น จึงต้องมีการเปิด เผยข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ทั้งนี้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้กำหนด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดช่องทางให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และมาตรา 9 ยังได้ รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม

ย่อมมีสิทธิเข้าขอตรวจดูข้อมูลของหน่วยงานของรัฐได้ (สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร

ของราชการ, 2540) ทั ้ ง นี ้ ก ระบวนการรายงานผลการดำเนิ นงานต่ อ ประชาชน ยั ง ถื อ ว่ า เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของ กระบวนการการติดตามแผนพัฒนา ซึ่งเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศุภโชค จุ่มช่วย, 2554) นอกจากนี้ รูปแบบ ‘การเปิดช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างหลากหลาย’ ยังเป็นวิธีการ ขั้นพื้นฐานที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ส่วนใหญ่พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับการรายงานผลการดำเนินงานต่อ

24 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การเปิดช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างหลากหลาย เป็นวิธีการขั้นพื้นฐานที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประชาชน จะมีการเปิดช่องทางการรับรู้ข้อมูลหลากหลาย ดังเช่น เอกสารเผยแพร่ข้อมูลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น วารสาร ป้าย/บอร์ดประชาสัมพันธ์ เสียงตามสายหอกระจายข่าว ศูนย์เรียนรู้ ชุมชน เว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตู้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้าร่วมฟังการประชุมสภาท้องถิ่น เป็นต้น ดังนัน้ จึงเสนอให้รายงานผลการดำเนินงานต่อประชาชน (public report) อย่างน้อย 2 ครัง้ ต่อปี เพื่อแสดงความโปร่งใส ตรงไปตรงมา และให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร นำสู่การพัฒนาการ

ดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2540. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ศุภโชค จุม่ ช่วย. 2554. การพัฒนาแผนพัฒนาท้องถิน่ โดยใช้ฐานข้อมูลชุมชน กรณีศกึ ษาชุมชนบ้านควนทัง. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 25


ข้ อเสนอที่ 7

จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีเจตนารมณ์ทช่ี ดั เจนในการส่งเสริมให้ ประชาชนมีสว่ นร่วมในการบริหารงานท้องถิน่ และกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เพิม่ ขึน้ เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ, ม.ป.ป.) โดย เฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 287 ว่าด้วยเรื่องสิทธิการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นของประชาชน ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงหลักการกระจายและรับรองสิทธิของ ประชาชนในการมีสว่ นร่วมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อนุรกั ษ์ นิยมเวช, 2554)

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จะมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์และแนวทางในการพัฒนาในระดับต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องดำเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการมี ส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทัง้ ในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขัน้ ตอน ของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ

26 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ ‘สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข’ ด้วย ความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 66 ดังนั้น จึงเสนอให้จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อ ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นใช้แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง บนฐานของข้อมูล การคิดการตัดสินใจและลงมือกระทำจากการมี ส่วนร่วมทุกภาคส่วน

เอกสารอ้างอิง

ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. ม.ป.ป. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น: จากรัฐธรรมนูญ’ 50 สู่ร่างพระราชบัญญัติ. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น, สถาบันพระปกเกล้า อนุรักษ์ นิยมเวช. 2554. บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพ มหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 18, 22, 28. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555 - 2559

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 27


ข้ อเสนอที่ 8

สนับสนุนกระบวนการ ‘ค้นหาแกนนำของตำบลจากทุกภาคส่วน’

กระบวนการค้นหาแกนนำของตำบลเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน และการยกระดับความเป็นพลเมือง เนือ่ งจากผูน้ ำหรือแกนนำจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์กร ดังนัน้ ประสิทธิภาพของแกนนำ จึงมีความสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร (สถาบันพัฒนา ข้าราชการพลเรือน, 2553) ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่พบว่า การสร้าง

ผู้นำหรือแกนนำ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมกันนั้น สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลเป็นรูปธรรม

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพและมีโอกาสประสบผลสำเร็จ องค์ประกอบหนึ่งที่จะต้องมีคือ ผูน้ ำ หรือแกนนำทีด่ แี ละมีศกั ยภาพ ซึง่ แกนนำทีด่ จี ะต้องเป็นผูน้ ำการเปลีย่ นแปลงทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ มีความรู้ ความ สามารถในการบริหารจัดการ การประสานงานและการกระตุ้นให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา (ครรชิต พุทธโกษา, 2554) ดังทฤษฎีของโรเบิร์ต เฮาส์ (Robert House) ได้กล่าวไว้ว่าลักษณะผู้นำหรือ

28 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


แกนนำทีม่ ปี ระสิทธิภาพควรมีรปู แบบของภาวะผูน้ ำดังนี้ คือ ภาวะผูน้ ำแบบชีน้ ำ (Directive Leadership)

ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive Leadership) ภาวะผู้นำแบบเน้นสัมฤทธิ์ผล (AchievementOriented) และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative Leadership) (ภาวะผู้นำ, ม.ป.ป.) รวมถึง คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำหรือแกนนำนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ อาทิ มีคุณธรรมจริยธรรม

มีความซือ่ สัตย์สจุ ริต มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีความยุตธิ รรมและมีวิสัยทัศน์ ดังนั้นผู้นำหรือ แกนนำจึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมกันนั้นจะ ต้องสอดคล้องและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ

(สิปปนนท์ เกตุทัต, 2534) ดังนั้น จึงเสนอให้สนับสนุนกระบวนการ ค้นหาแกนนำของตำบลจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็น ส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินงานของชุมชนท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. 2553. หลักสูตรผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพ (Effective Team Leader). สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ครรชิต พุทธโกษา. 2554. คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ. เว็บไซต์ http://www.edu.nu.ac.th/selfaccess/researches/admin/upload/278101010110042is.pdf ภาวะผู้นำ สืบค้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 สิปปนนท์ เกตุทัต. (2534). คุณลักษณะผู้นำ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 32(2), 3-4.

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 29


ข้ อเสนอที่ 9

ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง ‘สภาองค์กรชุมชน’

องค์กรชุมชนเป็นองค์กรระดับรากหญ้าที่ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ดำเนินการโดย คนในชุมชน มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กระบวนการเรียนรู้การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอย่างหลากหลายตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น การ จัดการสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเด็กและเยาวชน เงินทุน ฯลฯ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเสริมสร้างองค์กร ชุมชนท้องถิน่ ให้เข้มแข็ง เพือ่ ให้องค์กรชุมชนมีสถานภาพทีช่ ดั เจนในการดำเนินการพัฒนาชุมชนท้องถิน่ ร่วมกับสถาบันต่างๆ ในท้องถิ่น ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ การสร้างประชาธิปไตยและระบบธรรมาภิบาล (พระราชบัญญัติสภาองค์กร ชุมชน, 2551) สภาองค์กรชุมชนจึงเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำหน้าที่ในการบ่มเพาะความเป็นพลเมืองอัน เป็นรากฐานของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งมีประชาชนเป็นผู้แสดงหลัก โดยผ่านสภาองค์กรชุมชนเพื่อ ให้เกิดการยอมรับการขับเคลื่อนในวงกว้าง ฉะนั้น สภาองค์กรชุมชนจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของการ กระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, 2550)

ซึ่งจะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนและคนในชุมชนท้องถิ่น

ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของกลุ่มองค์กรต่างๆ และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาอื่นๆ ที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน

ทั้งผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เข้ามาร่วมใช้เวทีพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น

ร่วมกัน (กรกฤษณ์ จงจัดกลาง, 2550)

30 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการกระตุ้น ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง

ดังนัน้ จึงเสนอให้สง่ เสริมและสนับสนุนการจัดตัง้ สภาองค์กรชุมชน โดยทีค่ วรมีการดำเนินงาน ของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างต่อเนื่อง โดยให้แนวทางในการปฏิบัติที่มีความชัดเจน และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาองค์กรชุมชน โดยเฉพาะความรู้ดา้ นวิชาการและพัฒนารูปแบบการจัด กิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด สามารถแลกเปลีย่ นเรียนรูใ้ นเวทีระดับชาติ (สุธิดา บัวสุขเกษม, 2554)

เอกสารอ้างอิง

กรกฤษณ์ จงจัดกลาง. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสภา องค์กรชุมชน พ.ศ.2551 กรณีศึกษาตำบลสุขเกษม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญา

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (2550). สภาองค์กรชุมชน : เส้นทางประชาธิปไตยชุมชนรากฐาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). (2551). พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). สุธิดา บัวสุขเกษม. (2554). แนวทางการพัฒนาบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็ง ของชุมชน กรณีศกึ ษาตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุร.ี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 31


ข้ อเสนอที่ 10

สร้างและพัฒนานักวิจัยชุมชน

การวิจัยชุมชน เป็นการทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ การค้นหาแกนนำและศักยภาพของ ชุมชน หาปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ พร้อมทั้งปัจจัยเงื่อนไขต่างๆ โดยการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธีการและเครื่องมือที่แตกต่างกัน แต่มักประกอบด้วย การสำรวจ การสังเกต การ สัมภาษณ์ การอภิปรายกลุม่ การจัดเวทีประชุมปรึกษาหารือ ตลอดจนการศึกษาเอกสารทีม่ ี ปฏิบตั กิ ารนี้ มีวิวัฒนาการจากการมีส่วนร่วมขององค์กร-หน่วยงานในชุมชน (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2555) ซึ่งเทคนิคที่นิยมใช้ในการวิจัยชุมชน เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่ผคู้ น จำนวนหนึง่ ในองค์การหรือชุมชน หรือทีเ่ รียกว่านักวิจยั ชุมชน เข้ามาร่วมศึกษาปัญหาโดยกระทำร่วมกัน

งานวิจัยชุมชนมีหัวใจสำคัญ อยู่ที่การสร้างคนหรือสร้างนักวิจัยชุมชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชุมชน สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาของตัวเองได้ในระยะยาว

กับนักวิชาการตั้งแต่ต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นการเสนอผลและการอภิปรายผลการวิจัย โดยให้ผู้คนที่อยู่กับ ปัญหาได้ค้นหาปัญหาที่ตนเองมีอยู่ร่วมกับนักวิชาการ จึงเป็นกระบวนการที่คนในองค์การหรือชุมชน มิใช่ผู้ถูกกระทำ แต่เป็นผู้กระทำการที่มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นและมีอำนาจร่วมในการวิจัย ดังนั้น

32 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


หากต้องการให้ผู้นำ สมาชิกในชุมชน หรือคนในองค์การมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร ควรให้ บุคคลเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยชุมชนจึงจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (ดุษฎี และคณะ, 2553) จากหลักการการวิจัยชุมชนดังกล่าวจึงทำให้เกิดนักวิจัยชุมชนขึ้นเพื่อให้นักวิจัยชุมชนสะท้อนปัญหา ของชุมชนและเรียนรู้แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชนได้อย่างตรงจุด งานวิจัยชุมชนจึงไม่ใช่ แค่สร้างองค์ความรู้แต่ถือเป็นงานวิจัยที่มีชีวิต มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างคนหรือสร้างนักวิจัยชุมชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชุมชนสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาของตัวเองได้ในระยะยาว ดังนั้น จึงเสนอให้สร้างและพัฒนานักวิจัยชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของชุมชน ท้องถิ่นผ่านกระบวนการวิจัยชุมชน นำสู่วิธีการในการจัดการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาของ ชุมชนท้องถิ่นต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. 2555. กรอบกระบวนการวิจัยชุมชนสู่ตำบลสุขภาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 2 ดุษฎี โยเหลา และคณะ. 2553. โครงการพัฒนาหลักสูตรการวิจัยชุมชนด้านครอบครัว. สำนักงานกิจการ สตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม | 33



นโยบายสาธารณะ

ด้านการจัดสวัสดิการสังคม โดยชุมชน


ข้ อเสนอที่ 1

จัดตั้งกองทุนสวัสดิการกลาง เพื่อจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนที่ด้อยโอกาส ในตำบล

แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) ยุทธศาสตร์ข้อ 6.1 ว่าด้วย ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อสวัสดิการถ้วนหน้า โดยจัดให้ผู้ที่สมควรได้รับการ ดูแลเป็นพิเศษ ได้รับหลักประกันขั้นพื้นฐานและการดูแลอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้ เน้นการบูรณาการและการใช้ประโยชน์จากการดำเนินงานในระบบประกันสังคมรูปแบบ ต่างๆ โดยให้สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น เงินสงเคราะห์บุตร และการให้ประชาชนเข้าถึง

สิทธิสวัสดิการที่พึงได้รับ การจัดสวัสดิการสังคมมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการศึกษา

2. ด้านสุขภาพอนามัย 3. ด้านที่อยู่อาศัย 4. ด้านการทำงานและการมีรายได้ 5. ด้านนันทนาการ

6. ด้านกระบวนการยุติธรรม 7. ด้านบริการสังคมทั่วไป (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์, 2554) จากนโยบายและแนวทางการส่งเสริมด้านสวัสดิการสังคมของภาครัฐ สู่การจัดการตนเองของ ชุมชนท้องถิ่นโดยร่วมกันคิดหาวิธีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผ่านการรวมกลุ่มเป็นกองทุนชุมชนต่างๆ โดยใช้ฐานการช่วยเกื้อกูลฉันญาติพี่น้อง อาศัยความร่วมมือของทุกคนในชุมชนและภาคีทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีรูปธรรมความสำเร็จให้พบเห็นอยู่มากมาย ในชุมชนท้องถิ่น เช่น การให้โอกาสแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสของกองทุนสวัสดิการตำบลนาพูน อำเภอ

วังชิ้น จังหวัดแพร่ แต่นั่นเป็นเพียงการจัดสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือให้แก่สมาชิกของกลุ่มกองทุนเท่านั้น ในชุมชน ท้องถิ่นยังพบผู้ด้อยโอกาส เช่น คนจน เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนถูกทอดทิ้ง ผู้ป่วยร้ายแรง

รวมถึงผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนั้นชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐ จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนกลางเพื่อจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมบุคคลทุกกลุ่ม ในชุมชนและสังคมอย่างทัดเทียมกัน (ภคพนธ์ ศาลาทอง, 2546) และร่วมกันค้นหารูปแบบที่เหมาะสม

36 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจะทำให้การจัดสวัสดิการชุมชนมีความครอบคลุม ควรมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการกลาง เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม

และช่วยลดภาระการดูแล ตลอดจนการเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกด้วย เพือ่ พัฒนากองทุนสวัสดิการกลางให้เกิดความเข้มแข็งและเป็นกลไกการขับเคลือ่ นทีม่ ปี ระสิทธิภาพต่อไป เช่นเดียวกับการดำเนินงานของเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เอื้อต่อผู้ยากลำบากในพื้นที่อำเภอ น้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นการร่วมกันของกองทุนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มลูกหาบ

ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ในด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ (ชัชภูมิ สีชมพูและ คณะ, 2552)

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ภคพนธ์ ศาลาทอง. (2546). กระบวนการการจัดตั้งและดำเนินงานของเครือข่ายกองทุนกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชัชภูมิ สีชมภู และคณะ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เอื้อต่อผู้ยาก ลำบากในพื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 4, ฉบับที่ 8 (มกราคม-มิถุนายน 2552). สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2549). แนวทางการ ดำเนินงานและการบริหารงบประมาณ โครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก. กรุงเทพฯ : กระทรวงการ พัฒนาสังคมฯ. นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 37


ข้ อเสนอที่ 2

สนับสนุนการจัดเวทีนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกระดับ

ปัจจุบัน รูปแบบของการจัดสวัสดิการมุ่งให้ความสำคัญกับมนุษย์ทุกคน (Welfare for All) ภายใต้หลักการสิทธิ ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม การมีส่วนร่วม และความต้องการของประชาชน ได้แก่ 1. สวัสดิการกระแสหลัก คือ สวัสดิการโดยรัฐ เป็นการจัดสวัสดิการภาคบังคับของรัฐที่จัดให้กับ ประชาชน โดยคำนึงถึงความครอบคลุม ทั่วถึง เป็นธรรม ครบถ้วน รูปแบบที่จัดให้ เช่น การจัดบริการ ในรูปแบบของสถาบัน การจัดบริการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. สวัสดิการกระแสรอง คือ สวัสดิการทางเลือกทีเ่ กิดขึน้ จากศักยภาพ ความเข้มแข็งของภาคชุมชน ภาคประชาชน และภาคพืน้ ถิน่ สวัสดิการในรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นจากความสนใจและความสมัครใจร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย การจัด ระบบสวัสดิการจึงขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันประกอบด้วย สวัสดิการพื้นถิ่น หมายถึง การสร้าง

หลักประกันผ่านช่องทางของวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน เป็นสวัสดิการที่เกิดขึ้นจากฐานคิดด้าน ประเพณี ด้านวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านศาสนา ด้านจิตวิญญาณ ด้านอื่นๆ เช่น กองบุญข้าว กองทุนซากาตในศาสนาอิสลาม เป็นต้น รวมถึงหลักประกันเพื่อความมั่นคงของ คนในชุมชนทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปแบบของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่น กองทุนสัจจะ ออมทรัพย์ กองทุนออมวันละบาท กองทุนสวัสดิการผู้นำชุมชน กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน เป็นต้น 3. สวัสดิการท้องถิ่น คือ สวัสดิการโดยรัฐที่เกิดจากการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น เป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการร่วมระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นที่ตอบสนองกับความต้องการ ของแต่ละท้องถิน่ โดยมีกลไกการขับเคลือ่ นเพือ่ ให้เกิดความสำเร็จ ได้แก่ กลไกด้านนโยบาย กลไกการ บริหารจัดการ และกลไกการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ของสังคม (กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2548)

38 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การสร้างการเรียนรู้ในการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน ถือเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ที่กลุ่มในชุมชนมีโอกาสสร้างความคิด จากการสรุปบทเรียนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่าย

การพัฒนากระบวนการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั ่ ง ยื น

จึงมีความสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรและเครือข่าย ในการ

ขับเคลื่อนและดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยเริ่มจากการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์เบื้องต้น เพื่อวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีการบูรณาการแผน งบประมาณ และการ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงาน ร่วมประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ และต้องได้รับการสนับสนุนด้าน วิชาการ บุคลากร งบประมาณและปัจจัยต่างๆ ตามเงื่อนไขของพื้นที่อย่างต่อเนื่องจากภายในและ ภายนอกองค์กร (มนตรี วงศ์รักษ์พานิช และคณะ, 2549) จากการศึกษาเครือข่าย ‘ฝ้าย ไหม ไผ โบราณ’ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า การพัฒนากระบวน เรียนรู้ของเครือข่าย โดยการแลกเปลี่ยน การถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย จนสามารถพึง่ พาตนเองได้ โดยการผสมผสานภูมปิ ญ ั ญา พื้นบ้านกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์ และคณะ, 2550) กระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ การพัฒนากลุ่มให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายและโครงข่ายสวัสดิการสังคมโดย ชุมชน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึง คือ 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

องค์ความรู้ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 39


หน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการทำงาน 4) ปัจจัยทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับความสัมพันธ์กบั ผูอ้ น่ื (ประเสริฐ เลอสรวง, 2553) ดังนั้น การพัฒนากระบวนการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและ

ยั่งยืน ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและยกระดับสู่การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มี

ประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุ ษ ย์ . รายงานการศึ ก ษาเรื ่ อ ง ทิ ศ ทางและรู ป แบบ

การจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม 2548, ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เทพเพ็ญวานิสย์. แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์ และคณะ. (2550). การพัฒนากระบวนการเครือข่ายการเรียนรู้ กรณีศึกษา

เครือข่าย ‘ฝ้าย ไหม ไผ่ โบราณ’ จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. ประเสริฐ เลอสรวง. (2553). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงานภาครัฐ : กรณี ศึกษา หน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. มนตรี วงศ์รักษ์พานิช และคณะ. (2549). กระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้ มาตรฐานปี 2549. ประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45.

40 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 3

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมทบงบประมาณให้กองทุนสวัสดิการชุมชน และให้สมาชิกมีการออม ร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน

ปี 2552 รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย ‘สวัสดิการชุมชน’ เป็นวาระแห่งชาติ เพือ่ สร้างหลักประกัน ความมั่นคงของชุมชนฐานราก สร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนการจัด สวัสดิการตามแนวทางสวัสดิการชุมชน รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนและ สมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการโดยตรงให้กับชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุน สวัสดิการชุมชน ในปีงบประมาณ 2554 มีการสนับสนุนการพัฒนาและการสมทบกองทุนสวัสดิการ ชุมชนที่มีการจัดตั้งแล้ว จำนวน 2,300 ตำบล/เมือง โดยมีหลักเกณฑ์การสนับสนุนที่จะนำไปสู่การ พัฒนาคุณภาพกองทุนสวัสดิการชุมชน การดูแลผู้ด้อยโอกาสในตำบล และการขยายฐานสมาชิกให้ ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน มุง่ เน้นให้ภาคประชาชน เป็นผู้ริเริ่ม เป็นเจ้าของ และดำเนินการด้วยตนเองจนมีคุณภาพระดับหนึ่ง และได้รับการสนับสนุนจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รัฐจึงสนับสนุนสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนในรูปแบบ 1 กองทุน 1 องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน ดังนี้ 1. มุง่ เน้นการดำเนินงานเพือ่ ให้เกิดคุณภาพทีน่ ำไปสูค่ วามเข้มแข็งทีย่ ง่ั ยืนของกองทุนสวัสดิการ ชุมชนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงการสร้างขบวนการเปลี่ยนแปลงภาคประชาชน สร้างมิติทางสังคมให้เกิด การเกื้อกูลกันและสร้างความกระตือรือร้นในการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณ 2. เครือข่าย สวัสดิการชุมชนทุกระดับในพืน้ ทีเ่ ป็นแกนหลักในการขับเคลือ่ นงานสร้างเจตนารมณ์ในการสร้างสวัสดิการ และเป้าหมาย และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม 3. ดำเนินการยกระดับและต่อยอดจากงานสวัสดิการชุมชนที่ขบวนองค์กร

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 41


หาก อปท. ส่งเสริมให้สมาชิกมีการออม ร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน จะทำให้โอกาสในการสร้างวินัยการใช้เงินของสมาชิกมีสูงขึ้น และยังสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกองทุนสวัสดิการชุมชน

ชุมชนดำเนินการอยู่ที่เป็นกระบวนการภาคประชาชนด้วยการสร้างเวทีสาธารณะและบูรณาการกับ

งานพัฒนาด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและการบริหารจัดการ แบบธรรมาภิบาล 4. ในกระบวนการทำงานต้องสร้างการเรียนรู้และการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนา สวัสดิการชุมชนทั้งในการนำไปปฏิบัติได้และตามหลักวิชาการ (นโยบายรัฐบาล, 2555) นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 หมวดสมาชิกและสิทธิ ประโยชน์ของสมาชิก ได้กำหนดการจ่ายเงินเข้ากองทุนให้มาจาก 2 ฝ่าย คือ สมาชิกจ่ายสะสมและรัฐ จ่ายสมทบ โดยให้สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท แต่ต้องไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสม โดย มีอัตราตามที่กำหนดในบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ และเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกิน จำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ, 2554) มีตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการสมทบงบประมาณ อย่างเช่น เทศบาลตำบล อุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ทีใ่ ห้การสนับสนุนงบประมาณกองทุนสวัสดิการมาอย่างต่อเนือ่ ง จนถึงปัจจุบัน การที่มีนโยบายของรัฐส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสมทบงบประมาณให้ กับกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยมีเงื่อนไขสมาชิกออมร่วมได้มากขึ้น จนขยายครอบคลุมทุกท้องถิ่นทั่ว ประเทศ

เอกสารอ้างอิง

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550. ราชกิ จ จานุ เ บกษา. หลั ก เกณฑ์ ก ารพิ จ ารณาอนุ ม ั ต ิ ง บประมาณสมทบกองทุ น สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชน ปีงบประมาณ 2555. 42 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 4

ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ เป็นสมาชิกกลุ่มสวัสดิการ ที่มีอยู่ในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม

การสร้างและการรักษาสมาชิกเพื่อความมั่นคงของกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนฯ ควร สร้างตราสินค้า (brand) หรือสร้างชื่อ ‘กองทุนสวัสดิการชุมชน’ ให้ชัดภายใต้ปรัชญาการช่วยเหลือ เกือ้ กูลกันในชุมชน โดยใช้สอ่ื บุคคลทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือและเป็นทีย่ อมรับเป็นหลัก รวมทัง้ เพิม่ ช่องทางการ สื่อสาร เช่น เสียงตามสาย ป้าย เพื่อเป็นการตอกย้ำสารและเพิ่มความถี่ในการสื่อสารให้มากขึ้น

การสื่อสารของกองทุนฯ ที่เน้นเฉพาะสารที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางตรงเพียงอย่างเดียวอาจ

ไม่สามารถสร้างและรักษาความเป็นสมาชิกได้ ดังนั้นควรเปลี่ยนจุดเน้นเป็นการนำเสนอผลประโยชน์ที่ สอดคล้องกับหลักการและปรัชญาของกองทุนสวัสดิการชุมชน และเสริมด้วยการสร้างคุณค่า (value benefit) โดยการนำจุดเด่นของกองทุนสวัสดิการชุมชน ในแง่ของความผูกผันทางใจ และประโยชน์ของ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชน (ภัทรา บุรารักษ์, 2554) สำหรับมาตรการที่เป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีของกองทุนที่คณะกรรมการและ สมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้นก็คือ การประชาสัมพันธ์การเข้ามีส่วนร่วมของคณะกรรมการและสมาชิก การประชุม การกำหนดระเบียบ ความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ การเขียนโครงการการบริหารจัดการ เงินกู้ การติดตามประเมินผลการนำเงินกู้ไปใช้ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการ จัดการบริหารกองทุน การศึกษาดูงาน การร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกกับคณะกรรมการ และกำหนดมาตรการในการลงโทษและให้รางวัลแก่สมาชิกและคณะกรรมการในด้านต่างๆ (ตรอน

นิลยกานนท์, 2551) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการดำเนินงานของกองทุน คือ คณะกรรมการของกองทุน การออมเงินหรือถือหุ้นของสมาชิก การจัดการกองทุน การปฏิสัมพันธ์กับภายนอกแบบพหุภาคี การ ติดต่อประสานงาน และการรับรูข้ อ้ มูลข่าวสาร (วีระพันธ์ อันดี, 2546) ส่วนปัจจัยทีม่ ผี ลต่อประสิทธิภาพ การจัดระบบบริหารจัดการกองทุน คือ ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ การเสียสละ การมีส่วนร่วม

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 43


การสร้างและการรักษาสมาชิกเพื่อความมั่นคง ของกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนฯ ควรสร้างตราสินค้า (brand) หรือสร้างชื่อ ‘กองทุนสวัสดิการชุมชน’ ให้ชัดเจน ภายใต้ปรัชญาการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน และการประชาสัมพันธ์ (ถาวร กุลโชติ, 2546) โดยปัญหาอุปสรรคที่พบในการนำนโยบายกองทุนไป ปฏิบัติคือ คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบ ข้อบังคับ การบริหารจัดการ การทำบัญชี และการประชาสัมพันธ์ขาดความต่อเนื่อง รวมถึงสมาชิกส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจกู้เงินมากกว่า

การออม และขาดความรู้ในการพัฒนาอาชีพ (อเนก ผ่องแผ้ว, 2546) นอกจากนี้ควรพิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างแรงจูงใจในการเป็นสมาชิกโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์และระยะเวลาในการได้รบั สิทธิประโยชน์ (มุกดา ลิ้นสุวรรณ, 2544) ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นควรจัดการข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการนำมาใช้ ประโยชน์และปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน และทำการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับ ประชาชนและภาคีต่างๆ และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ในการนำ ความรู้และประสบการณ์ที่มีมาสร้างกระบวนการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่คณะกรรมการและสมาชิก ร่วมถึงการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายทั้ง ภายในและภายนอกชุมชนเพื่อนำแนวคิดมาปรับใช้ และส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้ สมาชิกกองทุนร่วมกลุ่มในรูปของสหกรณ์ในเรื่องของการออมเงิน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน (วรรณี ศรีวิลัย, 2551)

44 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

ตรอน นิลยกานนท์. (2551 : บทคัดย่อ). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านยางงาม หมู่ที่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ยุทธศาสตร์ การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ถาวร กุลโชติ. (2546). ประสิทธิผลการจัดระบบและการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง : กรณีศึกษาอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา. ภัทรา บุรารักษ์ และคณะ. (2554). การสร้างและรักษาสมาชิกเพื่อความมั่นคงของกองทุนสวัสดิการชุมชน จังหวัดพะเยา. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2554 ‘การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน’. มหาวิทยาลัยพะเยา. (27-29 มกราคม 2554). มุกดา ลิ้นสุวรรณ. (2544). แรงจูงใจการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : ศึกษากรณีพนักงานไฟฟ้า นครหลวงเขตวัดเลียบ. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา. วรรณี ศรีวิลัย. (2551). รายงานการวิจัย การถอดบทเรียนผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่น ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. วีระพันธุ์ อันดี. (2546 : บทคัดย่อ). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ของ จังหวัดบุรีรัมย์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์. เอนก ผ่องแผ้ว. (2546). ปัญหาอุปสรรคของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท สาขาวิชา นโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 45


ข้อเสนอที่ 5

การจัดสวัสดิการให้แก่ชุมชน โดยผ่านกระบวนการจัดการฐานข้อมูล และการนำใช้ขอ้ มูลชุมชน ในการถ่ายโอนการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน ภาครัฐส่วนกลางได้มีการถ่ายโอนภารกิจ ด้านสวัสดิการสังคมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (พระราชบัญญัติกำหนดแผนและ

ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2542) เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน ดังนั้น ภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการจัด

กองทุนสวัสดิการสังคมโดยชุมชนจะเกิดความเข้มแข็ง และสามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาได้ทุกกลุ่มวัย รัฐต้องลดการรวมศูนย์การจัดการต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการฐานข้อมูล มาให้ภาคประชาชนจัดการเอง สวัสดิการสังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนดังที่กล่าวมา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายบังคับซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่ภาครัฐมีอยู่ ในด้านข้อจำกัดที่เป็นจุดอ่อนพบว่า ในการกำหนด นโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐยังติดขัดปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขาดฐานข้อมูลที่ เข้าถึงปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยเฉพาะข้อมูลคนจน คนด้อยโอกาสที่ยังขาด ความชัดเจนและไม่เป็นปัจจุบัน และมีลักษณะการรวมศูนย์การจัดการอยู่ที่ภาครัฐนั่นเอง (สำเริง

เสกขุนทด และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์, 2543) 46 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ดังนั้นการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ สูงสุดจะต้องมีการจัดทำข้อมูลและสามารถจัดการข้อมูลเพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ไข ปัญหา และครอบคลุมสมาชิกตรงตามเป้าหมายในการจัดสวัสดิการ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการ จัดสวัสดิการสังคม จึงต้องคำนึงถึงการนำใช้ข้อมูลชุมชนที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลชุมชน และจำเป็น ต้องร่วมกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน เพื่อสะดวกต่อการนำใช้แก้ไขปัญหาและ วางแผนการพัฒนากองทุนและเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งต่อไป

เอกสารอ้ างอิง

ชัชภูมิ สีชมภู และคณะ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เอื้อต่อผู้ยาก ลำบากในพื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 4, ฉบับที่ 8 (มกราคม-มิถุนายน 2552). ธรรมนูญ ศิริวัฒนาโรจน์. (2548). การจัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายระดับตำบลของกองทุนหมู่บ้านในตำบล เพชรชมพู กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต ยุทธศาสตร์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. วรรณี ศรีวิลัย. (2551). รายงานการวิจัย การถอดบทเรียนผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่น ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. สำเริง เสกขุนทด และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2553). สวัสดิการชุมชนเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ท้องถิ่น : กรณีศึกษาตำบลหนองแวงโสกพระ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 47


ข้ อเสนอที่ 6

ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ว่าด้วยการจัดสวัสดิการชุมชน

แนวคิดของสวัสดิการชุมชน เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชนท้องถิ่นที่ร่วมกันสร้างระบบ ประกันความมั่นคงของชีวิต โดยเริ่มจากการพึ่งตนเองก่อน เป็นการช่วยเหลือที่มากกว่าเงินหรือวัตถุ เน้นความสัมพันธ์ทด่ี ี การมีนำ้ ใจ การไว้ใจซึง่ กันและกัน การจัดสวัสดิการชุมชนต้องการทำให้คนในชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนัน้ การมีกองทุนสวัสดิการจึงเป็นการสร้างการออมเพือ่ การให้ เป็นกองบุญมาก กว่ากองทุนทั่วไป ทุกคนต่างเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ ‘เป็นการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี’ รวม ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเผื่อแผ่ถึงผู้ทุกข์ยากและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนอีกด้วย (คู่มือการดำเนินงาน โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน, 2552) ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งกองบุญหรือกองทุนสวัสดิการชุมชนในหลายรูปแบบทั้งที่เป็นกองทุน สวัสดิการชุมชนวันละบาท กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มออมทรัพย์สัจจะ เป็นต้น การดำเนินการที่ ผ่านมาเป็นการเริ่มต้นด้วยชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันและกันใน ลักษณะกองทุนเพื่อช่วยเหลือกัน ตัวอย่างกลุ่มของครูชบ ยอดแก้ว จังหวัดสงขลา พระอาจารย์สุบิน ปณีโต จังหวัดตราด การจัดตัง้ กองทุนสวัสดิการชุมชนในรูปแบบต่างๆ ดังกล่าวก็ได้มกี ารกระจายตัวอยู่ ในทุกจังหวัด และมีหลายแห่งที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ทั้ง สถานที่ ข้อมูล งบประมาณ การประสานงาน การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการหนุนเสริม กองทุนให้มคี วามเข้มแข็งมากขึน้ อย่างเช่นเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ก็ได้มี การตั้งเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อสมทบงบประมาณให้กับกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ มาตั้งแต่ปี 2549 และก็เป็นแนวทางที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาสนับสนุนกองทุน สวัสดิการชุมชนมากขึ้น ต่อมารัฐบาลก็ได้มีนโยบายสนับสนุนอย่างชัดเจนที่เรียกว่านโยบาย 1:1:1 หรือนโยบายสวัสดิการชุมชนแบบสามขา (พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550) ส่งผลให้กองทุนสวัสดิการเกิดความมั่นคงมากขึ้นในการจัดสวัสดิการให้กับภาคประชาชน ได้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น

48 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจะทำให้เกิดการสนับสนุนอย่างมีกลไกเชิงระบบ และมีขั้นตอนที่ถูกต้อง รวมทั้งเกิดประโยชน์ร่วมกัน จะต้องกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เพื่อสมทบงบประมาณดังกล่าว จากแนวทางการสนับสนุนจากส่วนต่างๆ ดังกล่าว แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุน แต่ก็ จะเป็นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นองค์กรที่อยู่กับพื้นที่คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็น องค์กรสำคัญทีจ่ ะหนุนเสริมกองทุนสวัสดิการชุมชนได้อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ให้การสนับสนุนได้อย่างถูกต้อง เป็นที่ยอมรับ จึงต้องมีการออก ‘ข้อบัญญัติท้องถิ่น’ ซึ่งมีลักษณะเป็น ‘กฎ’ หรือ ‘นิติกรรมทางการปกครองที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป’ ตามหลักกฎหมายมหาชน ซึ่งใน ปัจจุบันได้ถูกรับรองไว้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

ดังนั้นการที่จะให้ท้องถิ่นสมทบงบประมาณสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน ตามหน้าที่ความ

รับผิดชอบให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นดำเนินการ โดยท้องถิ่นมีหน้าที่ที่ต้องสมทบงบประมาณที่

เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ซึ่งมีความสำคัญต่อประชาชนในท้องถิ่นมาก เช่น การจัดให้มีหน่วยบริการ ทางสาธารณสุข จัดให้มีสถานสงเคราะห์เด็กและคนชรา เป็นต้น (โกวิทย์ พวงงาม, 2546) โดยการ ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นจะช่วยให้กองทุนสวัสดิการชุมชนได้มีการสนับสนุนจากท้องถิ่นในด้าน สถานที่ ข้อมูล งบประมาณ การประสานงาน การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เป็นต้น ก็จะส่งผลให้กองทุน สวัสดิการชุมชนเกิดความเข้มแข็งและสามารถจัดสวัสดิการภาคประชาชนให้กว้างขวางและครอบคลุม เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้สูงอายุ

เอกสารอ้างอิง

โกวิทย์ พวงงาม. (2546). การปกครองท้องถิน่ ไทย: หลักการและมิตใิ หม่ในอนาคต. พิมพ์ครัง้ ที่ 4, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ราชกิจจานุเบกษา. (2539). พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2552). คู่มือการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด. นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 49


ข้อเสนอที่ 7

จัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรร ทรัพยากรธรรมชาติและจัดสรรที่ดินทำกิน

แนวคิดเรื่องสวัสดิการสังคม คือ แนวคิดว่าด้วยการกินอยู่แต่พอดี มีสุขและมีสิทธิ เพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อความผาสุก ความสามัคคี และความมั่นคงทางสังคม โดยสวัสดิการสังคมนั้นมี หลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวเงิน สิ่งของ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการจัด สวัสดิการสังคมบนพื้นฐานการดำรงชีวิต ‘แบบพึ่งพาตนเอง’ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนใน ชุมชนและธรรมชาติ ในปัจจุบันการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชนได้พัฒนาไปมากกว่าการดูแลในเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพียงอย่างเดียว จากการศึกษาของสำเริง เสกขุนทด และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ (2553) พบว่า ควรมีการปรับปรุง ระบบการจัดสวัสดิการสังคมให้เหมาะสมกับความเป็นจริงและสอดคล้องกับขีดความสามารถของกลุ่ม รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการออม เพื่อเป็นหลักประกันในด้านต่างๆ รวมทั้งมีการบูรณาการ ของกองทุนสวัสดิการสังคมกับการพัฒนาชุมชน เพื่อเชื่อมโยงงานสวัสดิการสังคมให้เข้ากับมิติการ พัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชน ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ อาชีพ สังคม การดูแลผู้เดือดร้อน สร้างการเรียนรู้ รักษา ประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญา สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นอีกด้วย การจัด สวัสดิการสังคมโดยชุมชนที่มีความหลากหลายแบบครบมิติ ครอบคลุมถึงการจัดสวัสดิการในด้าน พลังงาน ที่ดินทำกิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิได้มุ่งเน้นการเฉพาะกิจกรรมที่ยกระดับ ฐานะทางเศรษฐกิจเท่านั้น การจัดสวัสดิการสังคมให้กับคนในชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันนั้น กองทุนจะเกิดความ เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเอง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1. ความมั่งคั่งที่เกิดจาก ความหลากหลายของภาคการผลิตจริงที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก อันเป็นการลดรายจ่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ยิ่งถ้าหากชุมชนสามารถนำเอาความหลากหลาย

50 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ถ้าหากชุมชนสามารถนำเอาความหลากหลายของผลผลิต ที่ชุมชนผลิตได้มาใช้เป็นสวัสดิการชุมชนมากขึ้นเท่าใด ส่วนเกินของชุมชนจะเกิดขึ้นมากเท่านั้น ของผลผลิตที่ชุมชนผลิตได้มาใช้เป็นสวัสดิการชุมชนมากขึ้นเท่าใด ส่วนเกินของชุมชนจะเกิดขึ้นมาก เท่านั้น พร้อมกับลดบทบาทความสำคัญของเงินตราให้น้อยลง เพราะแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรที่จะ ทำให้เงินตรารั่วไหลออกไปนอกชุมชน 2. ผลผลิตส่วนเกินของชุมชนมาจากทุนที่มีอยู่ภายใน ไม่ว่าจะ เป็นแรงงาน ที่ดิน ทรัพยากร ภูมิปัญญา เทคโนโลยี ล้วนทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในชุมชนลดต่ำลง อันเป็นผลจากระบบการผลิต และปรัชญาการผลิตแบบใหม่ที่ลดต้นทุน ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ จากทุนภายในที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกร่วมในการกำหนดบทบาทหน้าที่เพื่อนำชุมชนไปสู่การ พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน (เพ็ญศิริ พันพา, 2545) ดังนั้น การจัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและจัดสรรที่ดินทำกิน จึง เป็นการจัดสวัสดิการสังคมอีกรูปแบบหนึ่งที่ชุมชนสามารถดำเนินการให้เป็นรูปธรรมร่วมกันได้ โดย เชื่อมโยงทุนชุมชนในมิติต่างๆ ส่งผลต่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ดี

ยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น การจัดสวัสดิการด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

เอกสารอ้างอิง

เพ็ญศิริ พันพา. (2545). ระบบบุญนิยม : การพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง : ศึกษา เฉพาะกรณีสาธารณโภคีศีรษะอโศก ชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีษะเกษ. พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำเริง เสกขุนทด และอภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2553). สวัสดิการชุมชนเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ท้องถิ่น : กรณีศึกษาตำบลหนองแวงโสกพระ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร-

มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 51


ข้อเสนอที่ 8

หนุนเสริมการเพิ่มศักยภาพแกนนำ ในการบริหารกองทุน เพื่อจัดการสวัสดิการสังคมให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาแกนนำในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะ ว่าการจะพัฒนากองทุนให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถจัดการสวัสดิการสังคมให้มปี ระสิทธิภาพได้นน้ั ผู้นำต้องได้รับการพัฒนาศักภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าแนวทางในการบริหารกองทุนให้เข้มแข็งและ เกิดความยั่งยืน คือ การเพิ่มรายได้ โดยการ 1. เพิ่มจำนวนสมาชิก 2. การหาผลประโยชน์จากเงินทุน สะสม 3. การบูรณาการรายได้จากกองทุนอื่นๆ ในตำบล นำผลประกอบการบางส่วนมาจัดสวัสดิการ 4. การจัดกิจกรรมการกุศลนำรายได้มาจัดสวัสดิการ 5. การผลักดันให้องค์การบริหารส่วนตำบลและ รัฐบาลจ่ายสมทบในอัตรา 1:1:1 และการลดรายจ่าย ปรับลดสวัสดิการด้านต่างๆ ที่มีจำนวนสูงให้

ลดจำนวนลง (สงวน เทพโกษา, 2552) ดังนั้น การจะบริหารกองทุนให้เกิดความเข้มแข็งดังกล่าว แกนนำจึงต้องได้รับการสนับสนุน จากภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องการผลการศึกษาวิจัยที่พบว่า การพัฒนา ศักยภาพแกนนำของเครือข่ายให้มีศักยภาพในการติดต่อประสานงาน การบริหารจัดการ การนำเสนอ ผลงาน ตลอดจนมีภาวะผู้นำที่สามารถขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการให้มีความเข้มแข็งและเกิดความ

ยั่งยืนได้ (ชัชภูมิ สีชมภู และคณะ, 2552) รวมถึงผลการศึกษาพบว่า การจะจัดสวัสดิการสังคมให้ได้มี ประสิทธิภาพนั้น ตัวผู้นำต้องได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน เป็นการยอมรับในตัวผู้นำและ

คณะกรรมการที่มีความซื่อสัตย์ โปร่งใส มีความรับผิดชอบ และการจัดบริการด้วยความเสมอภาค

เท่าเทียมกัน (ปัญญา เลิศไกร, 2550) ดังนัน้ การพัฒนาแกนนำจึงมีความสำคัญและความจำเป็นต่อการบริหารกองทุน โดยมีตวั อย่าง กองทุนสวัสดิการที่มีการพัฒนาแกนนำอย่างต่อเนื่องคือ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลอุทัยเก่า อำเภอ หนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแกนนำอย่างต่อเนื่องทั้งการประชุม ฝึกอบรม การไป

52 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจะจัดสวัสดิการสังคมให้ได้มีประสิทธิภาพนั้น ตัวผู้นำต้องได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

ศึกษาดูงาน เปิดพืน้ ทีก่ ารแลกเปลีย่ นเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง อีกทัง้ ในการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการ นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นำในกองทุนสวัสดิการด้วยกันเองแล้ว องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นยังสนับสนับสนุนให้แกนนำกองทุนสวัสดิการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแกนนำแหล่งเรียนรู้ ของระบบต่างๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ดังนั้น หากแกนนำได้มีการพัฒนาและได้รับการ เอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะทำให้การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการเกิดความเข้มแข็ง และสามารถจัดสวัสดิการสังคมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

ชัชภูมิ สีชมพู และคณะ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เอื้อต่อกลุ่ม

ผู้ยากลำบากในพื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ปีที่ 4, ฉบับที่ 8 (มกราคม-มิถุนายน 2552). ปัญญา เลิศไกร. (2550). แนวคิดและรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ. รัฐศาสตร-

มหาบัณฑิต ปริญญาโท การบริหารจัดการสาธารณะสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สงวน เทพโกษา. (2552). แนวทางการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 53


ข้อเสนอที่ 9

ส่งเสริมระบบสวัสดิการสังคม 7 ด้าน และครอบคลุมในทุกกลุ่มทุกชาติพันธุ์ อย่างน้อย 4 ใน 7 ด้าน ความต้องการพืน้ ฐานของมนุษย์ตง้ั แต่เกิดจนตาย คือสิทธิทค่ี นไทยทุกคนควรได้รบั ซึง่ หมายถึง คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันในสังคม สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปใน ปัจจุบัน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ขาดความเอื้ออาทร การดำเนิน ชีวิตภายใต้ค่าครองชีพที่สูง ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมามากมาย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิต ตามความจำเป็นและ เหมาะสม ครอบคลุมการบริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชีพ

การประกอบอาชีพ นันทนาการและกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการจะต้องมุ่งเน้นการส่งเสริม การพัฒนา การสังเคราะห์ การคุม้ ครอง การป้องกัน การแก้ไข และการบำบัดฟืน้ ฟู ภายใต้การมีสว่ นร่วม ของชุมชนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาและภาคีที่เกี่ยวข้อง (พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคม, 2546) ในเชิงการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่แล้ว การส่งเสริมต้องมุ่งเน้นความร่วมมือของประชาชน

ภายใต้จิตอาสาเป็นหลัก การส่งเสริมระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมและตรงต่อความต้องการของชุมชน ตลอดจนการเข้าถึงการบริการของกลุม่ เป้าหมายทุกกลุม่ ในพืน้ ที่ จำเป็นต้องให้องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลเป็นกลไกสนับสนุนหลักที่ทำให้สวัสดิการสังคมเดินไปได้อย่างคล่องตัวและต่อเนื่อง

โดยให้ความสำคัญกับสวัสดิการที่พัฒนาคุณภาพชีวิต (สุรพงค์ อุดมศรี, 2549) อย่างไรก็ตาม การจัดสวัสดิการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกชาติพันธุ์ ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากคนพิการและผู้ด้อยโอกาสบางกลุ่มในพื้นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมได้ เช่น การ ตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลที่ตรงกับความต้องการของคนพิการและผู้ด้อยโอกาส จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามาแก้ไขและพัฒนา ทั้งด้านการฟื้นฟูในพื้นที่ ด้านสวัสดิการ

54 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ต้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลตำบล เป็นกลไกสนับสนุนหลัก ที่ทำให้สวัสดิการสังคม เดินไปได้อย่างคล่องตัวและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับสวัสดิการที่พัฒนาคุณภาพชีวิต

ช่วยเหลือทางอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การจ้างงาน การตลาด และการจัดเบี้ยยังชีพ

(ดารารัตน์ ทิพย์วงค์, 2551) โดยที่สถาบันการเงินตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีที่มีการ จัดสวัสดิการครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน 1. ด้านการศึกษา 2. ด้านสุขภาพอนามัย 3. ด้านที่อยู่อาศัย

4. ด้านการทำงานและการมีรายได้ 5. ด้านนันทนาการ 6. ด้านกระบวนการยุติธรรม 7. ด้านบริการ สังคมทั่วไป ตามประกาศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งตอบสนองต่อ การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สวัสดิการสังคมโดยชุมชนที่มีครบทั้ง 7 ด้าน จะเป็นเครื่องมือสร้างคุณค่าให้กับ ประชาชนในทุกกลุ่ม สร้างความรู้สึกมีศักดิ์ศรี และเป็นพลังในการพัฒนาชุมชน การสนับสนุน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม 7 ด้าน และให้อย่างครอบคลุมในทุกกลุ่ม

ทุกชาติพันธุ์อย่างน้อย 4 ด้านแก่ประชาชนในชุมชน บนแนวคิด ‘ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี’

จึงจะนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่ดีของชุมชนในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

ดารารัตน์ ทิพย์วงค์. (2551). ปัญหาและความต้องการในการได้รับสวัสดิการความช่วยเหลือจากภาครัฐ ของคนพิการ ในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546. สุรพงค์ อุดมศรี. (2549). การจัดบริการสวัสดิการสังคมในแขวงกาวิละ เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 55


ข้อเสนอที่ 10

สร้างเครือข่ายการจัดสวัสดิการสังคม

การขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการสังคมต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และ

เพื่อให้เหมาะสม เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม และมีมาตรฐาน รูปแบบสวัสดิการจึงต้องมีความ

ลากหลาย เป็นสวัสดิการแบบทางเลือกให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในสังคมอย่างครอบคลุม จะสังเกต ได้ว่า กลไกที่ทำให้การจัดสวัสดิการสังคมเกิดขึ้น คือกลไกของนโยบาย การบริหารจัดการ และการ ดำเนินงาน ซึ่งการจัดสวัสดิการสังคมจะบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับการใช้ กลไกการทำงานทั้ง 3 ส่วนไปพร้อมๆ กัน และที่สำคัญคือ กลไกสนับสนุนเพื่อสร้างเครือข่ายและ พัฒนาความร่วมมือในงานสวัสดิการสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดพลังในการขับเคลื่อนงานเชิง พื้นที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมหรือบทบาทในการจัดสวัสดิการ สังคมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาและ องค์กรอื่น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน (พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม, 2546) โดยจัดระบบความสัมพันธ์ของสวัสดิการสังคมทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับ ชาติ ท้องถิ่น และชุมชน ให้มีคุณภาพและความยั่งยืน โดยการใช้บทบาทขององค์กร ภาคี เครือข่าย ที่ไม่แสวงหาผลกำไรและต้องรับผิดชอบต่อสังคม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11, 2555-2559) การขั บ เคลื ่ อ นสวั ส ดิ ก ารสั ง คมโดยชุ ม ชนให้ ส ามารถสร้ า งคุ ณค่ า ให้ ก ั บ ประชาชนนั ้ น

สิ่งสำคัญต้องมีเครือข่ายในการสร้างการเรียนรู้และช่วยเหลือกัน โดยต้องคำนึงถึงจิตอาสาที่เข้ามาร่วม กันทำงาน และมีปฎิบัติการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นเหมือนองค์กร สนับสนุนหลักในการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสวัสดิการสังคมด้วย

56 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมโดยชุมชน ให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับประชาชนนั้น สิ่งสำคัญคือต้องมีเครือข่ายในการสร้างการเรียนรู้ และช่วยเหลือกัน

การดำรงอยู่ของเครือข่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญ ได้แก่ วิธีคิดของผู้นำกลุ่ม องค์กรและระบบของเครือข่าย คุณค่าที่เกิดขึ้นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์ของระบบเครือข่ายภายใต้การ บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการของกลุ่ม องค์กร รูปแบบของเครือข่ายและการจัด ระบบการสื่อสาร ประเภทของกิจกรรมที่เชื่อมโยงและศักยภาพของกลุ่ม องค์กรที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย

(ชัชภูมิ สีชมพูและคณะ, 2552)

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. 2550. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการ สังคม พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550. ชัชภูมิ สีชมภู และคณะ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เอื้อต่อ

ผู้ยากลำบากในพื้นที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 4, ฉบับที่ 8 (มกราคม-มิถุนายน 2552). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559).

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 57


ข้อเสนอที่ 11

การจัดตั้งกองบุญ หรือกองทุนอื่นๆ เฉพาะกลุ่ม และขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ฐานคิดทางด้านศาสนาเป็นพื้นฐานสำคัญที่ชุมชนนำมาใช้เป็นหลักในการช่วยเหลือเกื้อกูล ระหว่างกัน การมารวมกันบริหารจัดการฐานปัจจัยการผลิตที่เน้นประโยชน์สูงสุด จึงเป็นไปภายใต้ หลักคิด ‘บุญนิยม’ ที่มุ่งหมายให้ผู้คนบริโภคอย่างพอดี เมื่อมีผลผลิตส่วนเกินจึงนำมาจัดสวัสดิการที่ ครอบคลุมต่อความจำเป็นพืน้ ฐานในการดำรงชีวติ ให้แก่สมาชิก ขณะเดียวกัน แนวคิดของกองบุญนิยม

ก็มิได้มุ่งเน้นเฉพาะกิจกรรมยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ แบบแผนการใช้ชีวิต การบริโภค และการยกระดับความคิดและจิตสำนึก เน้นการขัดเกลาให้คนเกิด การเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก (เพ็ญศิริ พันพา, 2545) ที่ผ่านมา ชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์สวัสดิการเกื้อกูลและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ การออมวันละบาทเพื่อจัด สวัสดิการ การมีชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ การแลกเปลี่ยนออมแรง การออมความดีในชุมชนและ สังคม การจัดให้มีป่าชุมชน เป็นต้น (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2549) จะเห็นได้ว่ากลุ่มเหล่านี้สามารถ สร้างสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล ด้านช่วยเหลือคนสูงวัย ด้านกองทุนการศึกษาได้ด้วย ซึ่งไม่ว่า จะเป็นชุมชนเมืองหรือชุมชนชนบท ต่างก็พยายามสร้างสรรค์โครงข่ายช่วยเหลือกันเอง (Mutual aid) หรือที่ประวัติศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคม เรียกว่า สมาคมเพื่อนช่วยเพื่อน (friendly society) (ณรงค์

เพ็ชรประเสริฐ, 2544) อย่างไรก็ตาม การจัดโครงข่ายความมั่นคงทั้งในรูปการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ หรือปัจจุบัน พยายามจะใช้คำว่า ‘กองทุนบุญ’ ซึ่งมีนัยยะหมายรวมถึง การแบ่งปัน ช่วยเหลือคนทุกกลุ่มให้มีความ กินดี เป็นอยู่ดี มีสุข และมีสิทธิ แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมกลุ่มคนทุกประเภท โดย เฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาสที่อยู่ในสภาพช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือได้อย่างจำกัด การสร้าง สวัสดิการสังคมจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมควบคู่ไปด้วย ต้องให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมและช่วยเสริม

ทุนทางสังคมของชุมชน เป็นการเรียนรู้ของชุมชน สังคมโดยรวมจะต้องเข้าใจและยอมรับบนฐานคติที่ 58 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


แนวคิดของกองบุญนิยมมิได้มุ่งเน้นเฉพาะกิจกรรมยกระดับ ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ แบบแผนการใช้ชีวิต การบริโภค ตลอดจนยกระดับความคิดและจิตสำนึก

เป็น ‘สิทธิ’ ดังจะเห็นตัวอย่างการเน้นใช้ศักยภาพของชุมชนและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการฝึก สมาชิกในชุมชน ก็นับเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเริ่มต้นจากการมองจุดดีที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างเป็น

จุดเด่น เช่น กลุม่ ออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวติ ทีต่ ำบลน้ำขาว ภายใต้การนำของครูชบ ยอดแก้ว กลุม่ สัจจะสะสมทรัพย์เพือ่ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวติ ภายใต้การนำของ พระสุบนิ ปณีโต และกลุ่ม สัจจะออมทรัพย์อีกหลายๆ แห่ง เช่น กลุ่มออมทรัพย์ (กองบุญ) บ้านเกาะขวาง ตำบลห้วยแร้ง

อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมให้คนปรับ เปลีย่ นท่าทีตอ่ ชีวติ ทีป่ ระสบผลสำเร็จ รัฐหรือหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องสามารถเข้าไปประเมินผล หากได้ผลดี ก็ส่งเสริมและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความหลากหลาย แตกต่างกัน และอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาและสามารถทำการศึกษาวิจัยควบคู่ไปได้ ที่สำคัญต้อง มีการติดตามประเมินผลโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2544)

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรมประชาสงเคราะห์. (2545). แผนพัฒนางานสวัสดิการ สังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2545-2549) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2544). บทสังเคราะห์ภาพรวม การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและ

คนด้อยโอกาสในสังคมไทย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2544). เศรษฐศาสตร์การเมืองฉบับสวัสดิการโดยภาคชุมชน (1) กลุ่มออมทรัพย์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2549). สวัสดิการสังคม ในมิติกินดี อยู่ดี มีสุข มีสิทธิ ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพ็ญศิริ พันพา. (2545). ระบบบุญนิยม : การพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง : ศึกษา เฉพาะกรณีสาธารณโภคีศีรษะอโศก ชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ. พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต พัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 59


ข้อเสนอที่ 12

ผลักดันและเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบ ได้เข้าเป็นสมาชิกและได้รับสวัสดิการ จากกองทุนสวัสดิการโดยไม่มีเงินสมทบ

สำหรับแนวทางการพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่กล่าวไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) จะอยู่ในส่วนการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ ชุมชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ฐานรากของสังคมมีคุณภาพและ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ส่งผลให้คนไทย จำนวนมากยังขาดภูมิคุ้มกันและไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากกระแส โลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งขาดโอกาสในการเข้าถึงและไม่ได้รับการ คุ้มครองจากหลักประกันความมั่นคงทางสังคมที่มีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบจากประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549) ดังนัน้ ในการพัฒนาคุณภาพคน และสร้างการคุม้ ครองทางสังคม จึงต้องมุง่ เน้นการเสริมสร้าง คนไทยให้มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถ ปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยการพัฒนาคุณภาพในทุกมิติ ทั้งด้าน สุขภาพ การศึกษา การเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะฝีมือ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างหลักประกันความ มั่นคงทางสังคมให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนตลอดทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการคุ้มครองและช่วยเหลือ

กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการและผู้ได้รับผลกระทบด้านต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว (ขัดติยา กรรณสูตร และจตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร, 2546) ตลอดช่วงที่ผ่านมา สังคมไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยคำนึงถึงศักดิ์ศรี สิทธิ และโอกาส ของ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการและผู้ได้รับผลกระทบด้านต่างๆ กลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่ได้รับการ

ส่งเสริมให้มีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมคนปกติ ตัวอย่างรูปธรรมของผูพ้ กิ ารคือ ไม่มที างข้ามถนนสำหรับ คนตาบอดโดยเฉพาะ ขาดลิฟต์และทางลาดสำหรับผูพ้ กิ ารทีน่ ง่ั รถเข็น แม้แต่ตกึ อาคารในมหาวิทยาลัย

60 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจะคุ้มครองและช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้ผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบด้านต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว จะต้องเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่าได้เข้าเป็นสมาชิก และได้รับสวัสดิการจากกองทุนสวัสดิการโดยไม่มีเงินสมทบ หลายแห่ง จึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นความด้อยสิทธิและด้อยโอกาสในชีวิตประจำวันของคนพิการ แม้ว่า ในส่วนของผู้พิการจะมีพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ที่กำหนดให้มีการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยการรักษาฟื้นฟูทางแพทย์ ทางการศึกษา และทางสังคม แต่สิทธิและ โอกาสของคนพิการในสังคมก็ยังถูกละเลย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พยายามมองหาแนวทางในดำรงชีวิตของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้พิการ และผู้ได้รับผลกระทบด้านต่างๆ โดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้าเป็นสมาชิกและได้ รับสวัสดิการจากกองทุนสวัสดิการโดยไม่มีเงินสมทบ ซึ่งสอดคล้องงานวิจัยของ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (2544) อย่างเช่น กองทุนสวัสดิการตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่สมาชิก ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งชี้ให้เห็นแนวทางในการพัฒนาระบบสวัสดิการ อย่างเข้าใจและเข้าถึง ด้วยหลักการฝึกตนและเอื้อเฟื้อต่อกันโดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทีต่อชีวิตของ สมาชิกเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรที่ช่วยพัฒนากองทุน พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสวัสดิการให้แก่สมาชิก ด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีการศึกษาวิจัยที่เน้นการสนับสนุนการส่งเสริมพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม และการเป็นพลเมืองที่ดี รวมถึงแนวทางการพัฒนารูปแบบและกลไกในการสนับสนุนจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทุกระดับ ให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ ให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้าเป็นสมาชิก และได้รับ สวัสดิการจากกองทุนสวัสดิการโดยไม่มีเงินสมทบ อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จะช่วยฟื้นฟูและพัฒนา คุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นคนให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ รวมถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาและความคิดใหม่ๆ ซึ่ง ทำให้ ‘ความเป็นชุมชน’ กลับมาเกิดขึ้นบนรากฐานของความเอื้ออาทรและความร่วมมือของคนใน ชุมชน แม้จะไม่เท่าในอดีต แต่ก็พอที่จะทำให้เกิดเงื่อนไขในการแสวงหาความร่วมแรงร่วมใจสร้างสรรค์ ‘วิถีการดำรงชีพ’ ในรูปแบบต่างๆ อย่างเกื้อกูลกันต่อไป นโยบายสาธารณะด้านการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน | 61


เอกสารอ้างอิง

ขัดติยา กรรณสูตร และจตุรงค์ บุญยรัตนสุนทร (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคน ด้อยโอกาส : กลุ่มนอกกำลังแรงงาน โครงการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรมประชาสงเคราะห์ (2545). แผนพัฒนางานสวัสดิการ สังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2545-2549) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (2544). เศรษฐศาสตร์การเมืองฉบับ สวัสดิการโดยภาคชุมชน (1) กลุม่ ออมทรัพย์ คณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (2544). บทสังเคราะห์ภาพรวม การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อย โอกาสในสังคมไทย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

62 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


นโยบายสาธารณะ

ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน


ข้ อเสนอที่ 1

ส่งเสริมให้เพิ่มครัวเรือนเกษตรกรรมยั่งยืน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของครัวเรือนเกษตรกรในตำบล

การทำเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นระบบการเกษตรที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง ลดปัจจัยการผลิตจาก ภายนอก นำมาสู่การลดต้นทุนการผลิตอันเป็นสาเหตุหลักของหนี้สินภาคการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรไทย จากผลกระทบของ ‘การปฏิวัติเขียว’ (มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ, 2530) สะท้อนให้เห็นถึงผล กระทบในแง่มุมต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายด้านการเกษตรที่ก่อให้เกิดปัญหาความ ยากจน ปัญหาหนี้สินต่อเกษตรกรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค (ประเวศ วะสี และคณะ, 2548) ในขณะที่ข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ.2546 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า มีครัวเรือน

ผู้ถือครองทำการเกษตรลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 33.5 ของครัวเรือนทั้งประเทศ บทเรียนในระดับพื้นที่สะท้อนให้เห็นว่าเครือข่ายเกษตรกรและกลุ่มประชาชนในชุมชนจำนวน ไม่น้อยที่งดใช้สารเคมี พัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดการพึ่งพิง ปัจจัยภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติในไร่นา ตลอดจนการมี สุขภาพที่ดีที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยตัวชี้วัดของเกษตรกรรมที่ยั่งยืน นอกจากสนองตอบต่อวิถีความเป็นอยู่ของครัวเรือนแล้ว ระบบการผลิตนั้นๆ ต้องมีผลกระทบต่อ คุณภาพของสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และที่สำคัญต้องคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของ ระบบนิเวศซึ่งเป็นฐานการผลิตและสังคมที่สำคัญของประเทศไทย สวนทางกับผลที่เกิดขึ้นจากการ

ส่งเสริมการเกษตรที่มุ่งไปสู่การทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายเข้าสู่ตลาดทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมการผลิตให้ได้ตามต้องการมากขึ้นทั้งการใช้ ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร, 2547) ผลกระทบที่เห็นได้ชัดต่อระบบสุขภาพของคนไทยทั้งในระดับชุมชนและสังคม จากสถิติข้อมูล การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรพบว่า มีเกษตรกรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างใน

64 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การส่งเสริมให้เกิดการขยายครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืน จะส่งผลให้เกษตรกรมีสุขภาพและรายได้ที่มั่นคง ด้วยระบบการผลิตที่หลากหลาย สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอีกวิธีหนึ่ง เลือดที่อยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยผลการตรวจเมื่อปี 2550 พบว่ามี เกือบ ร้อยละ 40 สูงขึ้นก้าวกระโดดกว่าปี 2540 ถึง 2 เท่า (เครือข่ายวิชาการเพื่อเฝ้าระวังสารเคมี เกษตร, 2554) และข้อมูลการสุ่มตรวจเลือดของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2552 พบว่ามี

ผู้บริโภคถึง ร้อยละ 61 ที่ได้รับสารเคมีการเกษตรในระดับที่ไม่ปลอดภัยและยังพบสารเคมีการเกษตร ในเลือดจากสายรกและมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการ พัฒนาสติปัญญา ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าทารกแรกคลอดที่มีแม่เป็นเกษตรกร มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง มากกว่าทารกที่มีแม่ไม่ใช่เกษตรกรถึง 9.8 เท่า ในขณะที่เด็กนักเรียนอายุ 12-13 ปีตรวจพบสารเคมี กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและไพรีทรอยด์สูง โดยพบแม้กระทั่งในเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้มีอาชีพเกษตรกรรม โดยตรงด้วย และระดับที่ตรวจพบสูงกว่าที่รายงานของสหรัฐฯ และเยอรมนี ถึง 3 เท่า ดังนั้น

การดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการขยายครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืนจะส่งผลให้เกษตรกรมีสุขภาพ และรายได้ทม่ี น่ั คงด้วยระบบการผลิตทีห่ ลากหลายสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบนั และยังเป็นการ คุ้มครองผู้บริโภคอีกวิธีหนึ่ง (อานัฐ ตันโช, 2549) การกำหนดให้มีการขยายครัวเรือนของแต่ละตำบลจนถึง ร้อยละ 5 ของจำนวนครัวเรือน เกษตรกรนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ในด้านการบริหารจัดการจะต้องคำนึงถึงผลผลิตที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของส่วนเกินจากการบริโภคในครัวเรือนแล้ว จะต้องมีจำนวนมากพอที่จะสร้าง เงื่อนไขในการทำให้มีพื้นที่ของตลาดในระดับตำบลที่รองรับการกระจายสินค้าให้เป็นรายได้และ

ผู้บริโภคเข้าถึงผลผลิตที่ปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วยที่ต้องงดเว้นการบริโภคอาหารที่ ปนเปื้อนสารเคมี รวมถึงจากการประเมินร่วมกันของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ว่า สามารถ นำสู่การปฏิบัติได้ในชุมชนท้องถิ่น

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 65


เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2536. เกษตรยั่งยืน อนาคตการเกษตรไทย. เครือข่ายวิชาการเพื่อเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร(ThaiPAN). เอกสารการประชุมเพื่อเฝ้าระวังสารเคมีครั้งที่ 1

วันที่ 16-17 มิถุนายน 2554 ณโรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพมหานคร. จัดพิมพ์ โดย แผนงานสนับสนุน ความมั่นคงทางอาหาร และแผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อสุขภาวะของเกษตรกรและความ

เข้มแข็งของชุมชนและสังคม นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. 2547. เกษตรกรรมยั่งยืน : กระบวนทัศน์ กระบวนการและ

ตัวชี้วัด. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 311 น. ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และไชยรัตน์ เจริญโอฬาร. 2548. เกษตรกรรม

ยั่งยืน : หลากหลายมุมมองทางการเกษตรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์ พิมพ์ดี. 271 น. มาซาโนบุ ฟู กู โ อกะ. ม.ป.ป. ‘ปฏิ ว ั ต ิ ย ุ ค สมั ย ด้ ว ยฟางเส้ น เดี ย ว ทางออกของของเกษตรกรรมและ

อารยมนุษย์’. คำนิยมของ เดชา ศิริภัทร. หน้า 9-12. ผู้แปล รสนา โตสิตระกูล. สำนักพิมพ์ มูลนิธิ โกมลคีมทอง อานัฐ ตันโช. 2549. เกษตรกรรมธรรมชาติประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ. 300 น.

66 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 2

สนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้าง ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นหลัก ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในประเทศไทยมาจากการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก จากสถิติของสำนัก ควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ดูแลรับผิดชอบเรื่องปุ๋ยเคมีทางการเกษตรโดยตรงพบว่า การนำเข้าปุ๋ยเคมีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง กล่าวคือ ในปี 2554 นำเข้าปุ๋ยเคมีรวม 5,579,181 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่นำเข้าจำนวน 5,172,708 ตัน เพิม่ ขึน้ เป็นจำนวน 406,473 ตัน และเพิม่ ขึน้ จากปี 2550 ทีเ่ คยนำเข้าจำนวน 4,350,516 ตัน เท่ากับในช่วง 4 ปีมีการนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 1,228,665 ตัน และมูลค่าของปุ๋ยที่ นำเข้าเป็นจำนวนเงินมหาศาล กล่าวคือ ในปี 2554 มูลค่าปุ๋ยเคมีที่นำเข้าคือ 78,899,186,558 บาท ต่างกับปี 2550 ที่มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 45,139,741,534 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็นจำนวน เงินที่ต่างกันถึง 33,759,445,024 บาท ตัวเลขเหล่านี้แปรผันตรงกับจำนวนหนี้สินของเกษตรกรที่เพิ่มสูง ขึ้นเช่นกัน เพราะปุ๋ยเคมีเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญของเกษตรกร รวมทั้งปัญหาจากการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลต่อการลดความอุดมสมบูรณ์ของดิน การตกค้างของสารพิษในแหล่งน้ำ และสุขภาพของคนในชุมชน จึงมีความพยายามของกลุ่มเกษตรกรที่คิดค้น พัฒนา และปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันมากขึ้น เพื่อลด ต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบที่เกิดขึ้น การปรับปรุงดินเป็นหัวใจหลักของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ถ้าดินมีความสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ ก็จะดี มีคณ ุ ภาพสูง ต้นทุนการผลิตต่ำ และช่วยให้งานในไร่นาเบาลง (มูลนิธเิ กษตรกรรมยัง่ ยืน (ประเทศ ไทย), 2545) ปุ๋ยอินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญในระบบการเกษตรที่สร้างความปลอดภัยของอาหารและ

สุขภาวะของคนในชุมชน ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรืออินทรีย์วัตถุที่ได้รับ การแปรสภาพแล้วจากกระบวนการย่อยสลายโดยการกระทำของจุลนิ ทรีย์ (กลุม่ งานส่งเสริมดินและปุ๋ย, 2550) วัตถุดิบในการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่หาได้จากไร่นาและในชุมชน ตามประเภทของ ปุย๋ อินทรียค์ อื 1. ปุย๋ คอก ได้มาจากสิง่ ขับถ่ายของสัตว์เลีย้ ง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 67


การปรับปรุงดินเป็นหัวใจหลักของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ถ้าดินมีความสมบูรณ์ผลผลิตที่ได้ก็จะดี มีคุณภาพสูง ต้นทุนการผลิตต่ำ และช่วยให้งานในไร่นาเบาลง 2. ปุ๋ยหมักได้จากการนําชิ้นส่วนของพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น เศษซากพืช วัชพืช ใบไม้ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานน้ำตาล แกลบ จากโรงสีข้าว ขี้เลื่อยจากโรงงานแปรรูปไม้ ขยะเปียกจากครัวเรือน ผลไม้ เป็นต้น และ 3. ปุ๋ยพืชสดได้ จากการปลูกพืชบํารุงดินตระกูลถั่วต่างๆ แล้วไถกลบ จากการสำรวจในปี 2553 ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่า โรงงาน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศจำนวน 2,731 แห่ง กว่าร้อยละ 50 ดำเนินการโดยกลุ่มเกษตรกร

ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน โดยไม่ได้ดำเนินการในลักษณะของโรงงาน การดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของ กลุม่ เกษตรกรเป็นการนำวัตถุดบิ ทีม่ ใี นท้องถิน่ มาผลิตเป็นปุย๋ สูตรต่างๆ ทีเ่ หมาะสมกับพืชผลแต่ละชนิด

ซึ่งนอกจากจะเป็นการประหยัด ลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเป็นการทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในชุมชน

สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง รวมทั้งลดปัญหาขยะอีกด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกระบวนการส่งเสริมการใช้ปุ๋ย อินทรีย์ ด้วยการที่ อปท.กำหนดเป็นนโยบายของท้องถิ่น มีการจัดสรรงบประมาณและมีบุคลากร

รับผิดชอบ การสนับสนุนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง และจัดซื้ออุปกรณ์ (ศิรินภา อ้นบางเขน, 2555 และ บาลเย็น สุนันตา และคณะ, 2553) ทั้งนี้การสนับสนุนของ อปท.ดังกล่าวเป็นงานสำคัญที่ช่วยให้ระบบ เกษตรกรรมยั่งยืนขยายเพิ่มขึ้นในพื้นที่อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน ทั้งจากการลดการใช้ สารเคมีการเกษตรลง มีอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้างสมดุลของสิ่งแวดล้อม

68 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. การสำรวจโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ทั่วประเทศ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ข้อมูลสถิติตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย 2518 .จาก http://www.doa.go.th/ard/. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 กลุ่มงานส่งเสริมดินและปุ๋ย สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดิน บาลเย็น สุนันตา และคณะ. 2553. กระบวนการและรูปแบบการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นในตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. งานวิจัยท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). 2545. เทคนิคการปรับปรุงบำรุงดิน : ความสำคัญของการปรับปรุง บำรุ ง ดิ น ในระบบเกษตรกรรมยั ่ ง ยื น . 2545. จาก http://www.sathai.org/knowledge/02_soil/ soil_improvement.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 ศิรินภา อ้นบางเขน และคณะ. 2555. แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วมขององค์การ บริ ห ารส่ ว นตำบลหนองหลวง อำเภอลานกระบื อ จั ง หวั ด กำแพงเพชร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 69


ข้อเสนอที่ 3

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ ในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน

พื้นที่สาธารณะประโยชน์คือ ที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อน ไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบ เป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ (กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย) ส่วนอํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดําเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กระทรวงมหาดไทย, 2544) ในชุมชนมีพื้นที่สาธารณะที่มีศักยภาพในการทำการเกษตรและสร้างอาหารให้กับคนในชุมชน ทีถ่ กู ปล่อยทิง้ ไว้ เช่น ทีร่ กร้าง พืน้ ทีร่ มิ แหล่งน้ำสาธารณะ ริมถนน ทางสัญจร เป็นต้น ในหลายตำบล

จึงมีการเข้าใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะโดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ แบบกลุ่มที่คนในชุมชนมี

ส่วนร่วมและแบบครอบครองเป็นของตนเอง ในแบบที่เป็นการครอบครองเป็นของตนเอง คนในชุมชน ไม่มีส่วนร่วม ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนในชุมชนกันเองและคนในชุมชนกับคนภายนอก จำเป็นต้องมีการจัดการในพื้นที่ (สุนีย์ ฉัตรศิริยิ่งยง และคณะ, 2555) การบริหารจัดการการใช้ ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะเป็นหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ โดยมี การดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การให้กลุ่มผู้ปลูกผักปลอดสารพิษใช้พื้นที่ริมขอบ หนองน้ ำ สาธารณะปลูกผัก และมีข้อตกลงร่วมในการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรเพราะจะส่งผลต่อ

น้ำทีค่ นในชุมชนใช้ประโยชน์รว่ ม (สุกญ ั ญา พรหมนารท และเบญจวรรณ ทัศนลีลพร, 2547) การให้คนใน ชุมชนตกลงจัดสรรแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรพอเพียงในแต่ละครัวเรือน (คณะนักวิจัยปกากญอสาละวิน,

70 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การที่ อปท. สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ ในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ทำให้คนในชุมชนมีพื้นที่เพาะปลูก อาหารปลอดภัยมากขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชน 2548) รวมถึงการดำเนินการโดย อปท. เอง เช่น การปลูกต้นแค ต้นขี้เหล็ก กล้วย ตะไคร้ มะกรูด เป็นต้น ไว้ตามริมทางให้คนในชุมชนได้ดูแลรักษาและนำมาบริโภคได้ การที่ อปท. สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนได้ส่ง ผลกระทบให้คนในชุมชนมีพื้นที่เพาะปลูกอาหารปลอดภัยมากขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชน รวมทั้งเป็นแปลงทดลองหรือแปลงตัวอย่างของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่สร้างแรงจูงใจให้ กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

เอกสารอ้างอิง

กรมที่ดิน. ที่สาธารณะประโยชน์. http://www.dol.go.th/dol/index.php?option=com_content&task=view&id= 32&Itemid=42. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 กระทรวงมหาดไทย. 2554. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขอ 5 (2) คณะนักวิจัยปกากญอสาละวิน. 2548. วิถีแม่น้ำ วิถีป่าของปกากญอสาละวิน. เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วนิดาเพรส. สุกัญญา พรหมนารท และเบญจวรรณ ทัศนลีลพร. 2547. พื้นที่สาธารณะในชุมชนไท-เลยการศึกษาทาง ด้านกระบวนการของพื้นที่และสังคมกรณีศึกษาหมู่บ้านนาอ้อจังหวัดเลย. ชุดโครงการเรือนพื้นถิ่นและ ชุมชนไท-เลย : การศึกษาทางสถาปัตยกรรมและสิง่ แวดล้อม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. ขอนแก่น. สุนีย์ ฉัตรศิริยิ่งยง และคณะ. 2555. หลักสูตรเกษตรเชิงระบบ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 71


ข้อเสนอที่ 4

ให้มีแผนการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมให้ประชาชน พึ่งตนเองด้านอาหาร ในภาพรวมของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก มีบริษัทธุรกิจอาหารที่ติด

อันดับ 1 ใน 10 ของโลก แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยยังมีความไม่มั่นคงทางอาหารอยู่ ข้อมูลจาก

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2552 ระบุว่า ในช่วงปี 2547-2549 ประเทศ ไทยมีประชากรเป็นผู้ขาดสารอาหารถึง ร้อยละ 17 ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กอยู่ในอัตราที่ต่ำ

การขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นทางเลือกของชุมชน จะเป็นทิศทางในการแก้ปัญหา ทำให้ชุมชนลดความเสี่ยง ในความไม่มั่นคงทางอาหารที่รุกคืบเข้ามาทุกขณะ

ขณะทีใ่ นชุมชนเกษตรกรรมพบว่า เกษตรกรต้นแบบทีท่ ำเกษตรกรรมยัง่ ยืนจำนวน ร้อยละ 78 โดยเฉลีย่ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารได้ทั้งปลา ผัก ผลไม้ และเนื้อ รวมทั้งสมุนไพร และเกษตรกรต้นแบบ จำนวน ร้อยละ 92 สามารถลดการซื้ออาหารจากภายนอก (นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร, 2547) จึงสะท้อนให้เห็นว่า ‘ความมั่นคงทางด้านอาหาร’ โดยสร้างความอุดมสมบูรณ์ในไร่นาของ

72 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ตัวเอง การผสมผสานให้เกิดความหลากหลายทางการผลิตในแปลงนา เปลี่ยนการใช้สารเคมีสู่การ ผลิตอินทรีย์ หันกลับมาใช้พันธุกรรมพื้นบ้าน เร่งสร้างรูปแบบการพึ่งตนเอง และขยายแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นทางเลือกของชุมชน ข้อสรุปเหล่านี้จะเป็นทิศทางในการแก้ปัญหาให้ชุมชน

ลดความเสี่ยงในความไม่มั่นคงทางอาหารที่รุกคืบเข้ามาทุกขณะ (ทรงเดช ก้อนวิมล, 2550) และในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาการ เกษตรของท้องถิ่นของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกล่าวถึงความร่วมมือที่ต้องการให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทหลักร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมให้มีแผนพัฒนาด้านการเกษตร ของท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม จึงนับว่าแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านอาหาร เป็นวิธีการที่มีรูปธรรมและแนวนโยบายที่สอดคล้องสามารถดำเนินการได้

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ข้อมูลเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่นกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมการเกษตรและที่ดิน. ทรงเดช ก้อนวิมล. 2550. ‘กระบวนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติการทำเกษตรไปสู่แนวทางการส่งเสริมการทำ เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลหนองตอกแป้น’. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). นันทิยา หุตานุวัตรและณรงค์ หุตานุวัตร. 2547. งานวิจัยเรื่อง ‘เกษตรกรรมยั่งยืน : กระบวนทัศน์ กระบวนการ และตัวชี้วัด’. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ. 2552. รายงานประจำปี องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO). ปี 2552.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 73


ข้อเสนอที่ 5

สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาระบบการผลิต และการตลาดที่สอดคล้องเหมาะสม กับความต้องการของผู้บริโภค

การจัดการระบบผลิตและการจัดการตลาดในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการสร้างรายได้ที่ มั่นคงแก่ครอบครัวเกษตรกร ตัวชี้วัดการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในมิติของการเพิ่มรายได้ประกอบด้วย 1) การผลิตที่คำนึงถึงการตลาด 2) การขายผลผลิตสู่ตลาดใน และนอกชุมชน และ 3) รายได้และความเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว (นันทิยา หุตานุวัตรและ ณรงค์ หุตานุวัตร 2547) นอกจากนั้น การสร้างเครือข่ายตลาดนัดสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมทำให้เกิดการ พัฒนาระบบตลาดที่จะเป็นช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน การสร้างระบบตลาดมิใช่แค่กิจกรรมการซื้อขายสินค้าเท่านั้นแต่เป็นตลาดที่สร้างระบบความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อการยกระดับให้เป็นตลาดที่ว่าด้วย ‘ตลาดแห่ง การรักใคร่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ พื้นบ้าน ปลอดภัย’ และเป็นพื้นที่ของการจัดการความรู้ให้คนได้มาแลก เปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (กนกพร รัตนสุธีระกุล, 2550) ผลจากการสำรวจความต้องการของสมาชิกในโครงการ ‘ผักประสานใจ’ ที่ จ.สุพรรณบุรี ทำให้เห็นว่าเกษตรกรจะสามารถลดความเสี่ยงในการวางแผนการผลิตที่อาจจะไม่ตรงความต้องการ ของกลุ่มผู้บริโภค และตัวอย่างของการผลิตผักคุณภาพเพื่อการค้าสำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยใน จังหวัดนครปฐม ทำให้เห็นว่าการดำเนินงานนั้นต้องเน้นการประสานความร่วมมือในการทำงานทั้งภาค รั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มี ก ารรวบรวมข้ อ มู ล การถ่ า ยทอดความรู ้ แลกเปลี ่ ย น ประสบการณ์ โดยการจัดเวทีชุมชน ใช้กลไกกลุ่มและเครือข่าย มีแกนนำที่เป็นเกษตรกรด้วยกันเป็น กลไกหลักในการทำงาน ทำให้เกษตรกรเกิดการยอมรับ สร้างการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ มีกิจกรรมต่อเนื่องและยั่งยืนเพื่อพัฒนาอาชีพ และจากสถานการณ์ ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดจากการผลิตพบว่า คนจนมีความเสี่ยงต่อการเข้าไม่ถึงอาหาร ในส่วน ประชาชนผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยและขาดเสถียรภาพความมั่นคง

74 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การสร้างเครือข่ายตลาดนัดสีเขียวอย่างมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการพัฒนาระบบตลาดที่จะเป็นช่องทางการเชื่อมต่อ ให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ทางอาหารเนื่องจากฐานทรัพยากรอาหารเสื่อมโทรม (สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 2551) จึงนับ ได้ว่า การสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาระบบตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคใน ชุมชนจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นและผู้บริโภคสามารถ เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยจากระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

ชัชรี นฤทุม และคณะ. 2551. พัฒนาทางเลือกใหม่ในภาคเกษตร : การผลิตผักคุณภาพเพื่อการค้าสำหรับ กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดนครปฐม. กนกพร รัตนสุธีระกุล. 2550. การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความเป็นเครือข่ายตลาดนัดสีเขียว อย่างมีส่วนร่วม. นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. 2547. ‘เกษตรกรรมยั่งยืน : กระบวนทัศน์ กระบวนการ และ

ตัวชี้วัด’. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 2551. รายงานนำเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 1 พ.ศ. 2551. วันที่ 11–13 ธันวาคม พ.ศ.2551. ‘เกษตรและอาหารในยุควิกฤต’. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 75


ข้อเสนอที่ 6

ให้มีการจัดทำและนำใช้ฐานข้อมูล การตกค้างของสารเคมีการเกษตรในร่างกาย

สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในพืช ผัก และผลไม้ ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเกษตรกรผู้ผลิต จากรายงานวิจัยและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ เกษตรกรทั้ง 4 ภาคของประเทศที่ได้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,217 คน พบว่า กว่าร้อยละ 30 มีปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในกระแสเลือดและกำลังอยู่ในภาวะที่ ไม่ปลอดภัย ในขณะที่การใช้สารเคมีการเกษตรมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2553 ของคณะกรรมการมะเร็งแห่งชาติ กระทรวง สุขภาพและบริการของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตร เป็น สาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกาและมีข้อเสนอแนะให้คนอเมริกันเปลี่ยนมาบริโภคอาหารที่ ผลิตโดยการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมี และยังได้ระบุถึงความเสี่ยงของคนงานและเกษตรกร ที่ใช้สารเคมีการเกษตรว่า มีความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่เด็กที่อาศัยอยู่ ในบริเวณพื้นที่การเกษตรก็มีความเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น ในขณะที่ ข้อมูลการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมือง แกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า เกษตรกรบางส่วนมีพฤติกรรมการใช้สารเคมี การเกษตรและการปฏิบัติตัวยังไม่ถูกต้อง ประชาชนที่เข้ารับการตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเลือดมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยถึงร้อยละ 54.14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในพื้นที่มีการใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตสูงและเกิดจากการที่ประชาชนในพื้นที่มีการบริโภค ผลผลิตการเกษตร (ผักและผลไม้) ที่มีการปนเปื้อนของสารกลุ่มดังกล่าว จึงมีแนวทางการแก้ปัญหา โดยใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตร พร้อมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ต้องร่วมมือกันในการแสวงหา ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาโดยใช้แนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างการเรียนรู้

76 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ชุมชนท้องถิ่นใช้การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเครื่องมือสำคัญรณรงค์ให้ประชาชน ได้ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพมากขึ้น

ทั้งนี้พบว่า ชุมชนท้องถิ่นใช้การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเป็นเครื่องมือสำคัญในการรณรงค์ให้ ประชาชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

วิทญา ตันอารีย์ และสามารถ ใจเตี้ย. 2542. การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการ เกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ศักดา ศรีนิเวศน์ และนันทนา ทราบรัมย์. 2554, 11 กุมภาพันธ์. พิษภัยของสารกำจัดศัตรูพืช ผลกระทบ ต่อสุขภาพของคนไทยวันนี้. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. http://www.ryt9.com/s/tpd/1086032. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2542. โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผักสดปลอดสารเคมี (พ.ศ.2537 – 2542). กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี . สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. http:// www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/CHEMICAL.HTM. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ม.ป.ป. ทำอย่างไรห่างไกลจากพิษภัยยาฆ่าแมลง. กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. เอกสารประกอบการงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ปี 2554. President’s Cancer Panel, U.S. Department of Health and Human Service. รายงานประจำปี 2553.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 77


ข้อเสนอที่ 7

สนับสนุนให้มีการจัดทำ แผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด ในระหว่างปี 2537-2547 ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว โดยประมาณการว่า ต้นทุนสุขภาพของเกษตรกรและต้นทุนอื่นๆ ที่รัฐต้องเสียไปเพื่อควบคุมและติดตามผลกระทบจากการ ใช้สารเคมีอาจสูงถึง 5.4 พันล้านบาทต่อปี เทียบเท่าจะมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรู พืชในแต่ละปี และยังสร้างความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคในประเทศอย่างมาก นอกจากนั้นยังประสบปัญหาสินค้าการเกษตรส่งออกถูกตีกลับจากต่างประเทศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรียแ์ ห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2551-2554 ทีร่ บั ผิดชอบ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ระบุให้มีการสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำและ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ระดับชุมชนและท้องถิ่นแบบครบวงจร รวมทั้งการ จัดการด้านการตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจรเพื่อการพึ่งตนเองและ ความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 เรื่องเกษตรและอาหารในยุควิกฤต ได้มีมติให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ชุมชนและ

ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน และท้องถิ่นแบบครบวงจร จัดกระบวนการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องทุกปี (สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, 2551) สอดคล้องกับข้อเสนอในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มติเรื่อง การพัฒนากลไก และกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ อาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารที่มีมติให้กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

แต่งตั้งคณะกรรมการอาหารปลอดภัยในระดับพื้นที่หรือทบทวนหรือจัดให้มีระบบ กลไกการพัฒนา กระบวนการ รวมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากอาหารและ

78 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด มีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพัฒนากลไก ในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

สินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร โดยคำนึงถึงบริบทด้านวัฒนธรรม และศาสนาในพื้นที่ เช่น อาหารฮาลาล จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยให้มีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมยัง่ ยืนระดับจังหวัดจึงมีความสำคัญเพราะเป็นเครือ่ งมือสำคัญ ที่จะพัฒนากลไกในการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง ภาคประชาชน เพือ่ ให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันในการสร้างและขยายระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนและอาหารปลอดภัยในระดับกว้างมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 พ.ศ.2551. ‘เกษตรและอาหารในยุควิกฤต’ น.2. มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555. มติที่ 8 ประเด็น ‘การพัฒนากลไกและกระบวนการที่ สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้า เกษตรที่เป็นอาหาร’. เอกสาร ข้อเสนอในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 พ.ศ.2555. มติ 8 ประเด็น ‘การพัฒนากลไกและกระบวนการที่ สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้า เกษตรที่เป็นอาหาร’.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 79


ข้อเสนอที่ 8

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับโรงเรียนในตำบล จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเกษตรกรรมยั่งยืน การขาดคนสืบทอดในอาชีพเกษตรกรรมเป็นสถานการณ์สำคัญของชุมชนเกษตรกรรม จากข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย แม่โจ้ สำรวจความคิดเห็นเยาวชนพบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวประกอบ อาชีพการเกษตร แต่มากกว่าครึ่งเรียนต่อสาขาวิชาอื่นและไม่ต้องการเรียนสาขาการเกษตร ข้อมูลได้แสดงให้เห็นแนวโน้มว่าประเทศไทยในอนาคตจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานภาค การเกษตร ขาดผู้สืบทอดอาชีพเกษตรกรรม เพราะถึงแม้จะเป็นลูกหลานของเกษตรกรเองก็ยัง ไม่ต้องการที่จะเรียนต่อสาขาทางด้านการเกษตร แต่เมื่อสอบถามในประเด็นทักษะและความรู้ ทางการเกษตร ยังพบว่า เยาวชน ร้อยละ 96.8 คิดว่าจำเป็นต้องมีทักษะความรู้เบื้องต้นทาง ด้านการเกษตร เพราะสามารถนำมาใช้ในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ หรือประกอบเป็น อาชีพเสริมได้ในอนาคต หากชุมชนท้องถิ่นบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมยั่งยืนให้บรรจุในการเรียน การสอนของโรงเรียนในท้องถิ่นหรือพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษานอกระบบ มีกระบวนการสร้าง คุณค่าและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และนำชุมชนมามีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ให้ แก่นักเรียนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการมาร่วมเป็นครู ร่วมจัดการอบรม หรือให้ความรู้ในเรื่อง ต่างๆ หรือสามารถบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ เช่น ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านการเกษตร การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การนำผลผลิตจาก การเกษตรมาแปรรูป การขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชสมุนไพร การเพิ่มผลผลิตการสร้างมูลค่า ผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

80 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับโรงเรียนในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเกษตรกรรมยั่งยืน จะเป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการสร้างผู้สืบทอด ในภาคการเกษตรได้ในอนาคต ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโรงเรียนในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เกษตรกรรมยั่งยืนจะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญในการสร้างประสบการณ์และจิตสำนึกให้แก่เด็กและ เยาวชนในท้องถิ่น เป็นฐานความรู้ที่สำคัญในการสร้างผู้สืบทอดในภาคการเกษตรได้ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

ถวิลศักดิ์ ทองโท. โครงการ ‘หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมสำหรับเด็ก และเยาวชนบ้านเชียงเพ็งตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร’. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพล) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2554. ‘แนวโน้มอนาคตไทย...กับอาชีพเกษตรกรรม’.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 81


ข้อเสนอที่ 9

ให้มีการพัฒนามาตรฐานเกษตรและอาหาร ที่ปลอดภัยของชุมชนโดยชุมชน การนำเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอันเนื่องมาจากนโยบายการ พัฒนาประเทศที่มุ่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ระหว่างปี 2537-2547 ปริมาณการนำเข้าสารเคมี เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว และแม้ว่าการใช้สารเคมีจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 2.5 ต่อปี ก็ตาม แต่เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม คือ ร้อยละ 13.2 ต่อปี การใช้สารเคมี ทางการเกษตรส่งผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกรโดยตรง ข้อมูลการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกร

การกำหนดมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตร และอาหารที่ปลอดภัย เป็นแนวทางในการควบคุม การใช้สารเคมีการเกษตรและการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนท้องถิ่น

จากการตรวจเลือดพบว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงขึ้นจาก ร้อยละ 16 ในปี 2540 เป็น

ร้อยละ 29 ในปี 2545 ประมาณการว่า ต้นทุนสุขภาพของเกษตรกรและต้นทุนอื่นๆ ที่รัฐต้องเสียไป เพื่อควบคุมและติดตามผลกระทบจากการใช้สารเคมีอาจสูงถึง 5.4 พันล้านบาทต่อปี เทียบเท่ามูลค่า

82 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแต่ละปี การใช้สารเคมีเข้มข้นในการเกษตรเช่นนี้ทำให้ เกิดปัญหาการตกค้างของสารเคมีในอาหาร สร้างความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคใน ประเทศอย่างมาก และยังทำให้เกิดปัญหาสินค้าส่งออกถูกตีกลับจากต่างประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้การกำหนดมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยจึง เป็นแนวทางในการควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรและการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร เพื่อส่งเสริม

สุขภาพของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยความร่วมมือจากกลุ่มและองค์กรในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

ประภาพร ขอไพบูลย์ และคณะ. 2551. สถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คุ ณ ภาพความมั ่ น คงและการศึ ก ษาทางด้ า นอาหารพร้ อ มแนวทางการแก้ ไ ข. สำนั ก งานกองทุ น สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 83


ข้อเสนอที่ 10

จัดให้มีการขึ้นทะเบียน พันธุ์พืชท้องถิ่นและพันธุ์พืชหายาก จากการศึกษาวิจัยระบบเกษตรกรรมยั่งยืนกับการจัดการพันธุ์พืชท้องถิ่นภายใต้โครงการ นำร่องเพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศ ไทย) ในปี 2544-2546 พบว่า ในอดีตแต่ละชุมชนมีพันธุกรรมพืชที่หลากหลายได้รับการคัดสรรและ

นำมาใช้ประโยชน์โดยคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนที่สุดได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับการนำมาเพาะปลูก รวมทั้ง เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ของชุมชน จนปรากฏเป็นพืชพันธุ์เฉพาะและประจำถิ่นต่างๆ อยู่ร่วมกับ แบบแผนและวิถีการผลิตที่แต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละกลุ่มชนสรรค์สร้างและถ่ายทอดสืบต่อกันมา ตัวอย่างเช่น ในแต่ละชุมชนจะมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านหลากหลายชนิดที่ชุมชนพัฒนาให้เหมาะสม เช่น เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีระบบนิเวศต่างกัน (เช่น พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ พันธุ์ข้าวทนแล้ง พันธุ์ข้าวทนเค็ม พันธุ์ที่ปลูกในที่ดอน ที่ลุ่ม และที่น้ำหลาก เป็นต้น) เหมาะสมกับการใช้แรงงานในครอบครัว เช่น

ข้าวเบาที่ใช้ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์ข้าวกลางและพันธุ์ข้าวหนัก สามารถ ทยอยเก็บเกี่ยวตามอายุการสุกของข้าวได้ เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ เช่น ข้าวจ้าวแดงพบใน

ภาคอีสานเป็นข้าวแข็งเหมาะกับการทำขนมจีน ข้าวเหนียวก่ำหรือข้าวเหนียวดำของภาคเหนือและ ภาคอีสานให้ผลผลิตน้อย แต่ปลูกเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ข้าวเหนียวขี้ตมใหญ่ของภาคอีสานมี ความหวานสูงเหมาะแก่การทำเหล้าและสาโท ข้าวปกาอำปึลของชุมชนแถบจังหวัดสุรินทร์ ดอกข้าว จะมีรสเปรี้ยวนกไม่กิน ข้าวบือกวาโพปริ๊ของชาติพันธุ์ปกากญอหุงขึ้นหม้อและอิ่มท้องนาน ข้าวหน่วย เขือเป็นข้าวจ้าวของภาคใต้ มีเมล็ดสั้นปลูกเพื่อใช้สำหรับเลี้ยงนกเขา เป็นต้น ด้วยความหลากหลายดังกล่าวจึงทำให้แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติที่เหมาะสมหรือสามารถ ตอบสนองต่อพื้นที่ สภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความชอบที่แตกต่างกันไป

จุดแข็งสำคัญของพันธุ์พืชท้องถิ่นคือ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีการเกษตร จึงเป็นฐานพันธุกรรมสำคัญ

84 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


จุดแข็งสำคัญของพันธุ์พืชท้องถิ่นคือ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี การเกษตร จึงเป็นฐานพันธุกรรมสำคัญ ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นฐานทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญของแต่ละชุมชน รวมถึงเป็นฐาน

ภูมิปัญญาอันเป็นมรดกตกทอดของชุมชนที่พัฒนาต่อยอดปรับใช้ให้เหมาะสมต่อได้ แต่การเปลี่ยนแปลงและการรุกคืบของพันธุ์พืชเชิงพาณิชย์และเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ ทำให้พันธุกรรมพืชพื้นบ้านหลงเหลืออยู่ไม่มาก ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์อย่าง ต่อเนื่อง จนพันธุ์พืชหลายชนิดกลายเป็นพันธุ์พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะให้ความสำคัญกับพันธุ์พืชท้องถิ่นและพันธุ์พืชหายากของชุมชน โดยใช้เครื่องมือสำคัญคือ การบันทึกและขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชเหล่านี้โดยชุมชนหรือโดยองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรู้ ความตระหนัก การสืบทอด การต่อยอดความรู้ การพัฒนาและขยาย พันธุ์พืชเฉพาะถิ่นและพันธุ์พืชหายากนั้น ให้เหมาะสมสอดคล้องกับภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน และเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์อาหารและ การเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. 2547. พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน : สถานะ การคงอยู่ และการหายไปของพันธุ์ข้าว

พื้นบ้าน. โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. 2551. ชุมนุมพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 4 ภาค 170 สายพันธุ์. จาก http://sathai.org/th/ institute-of-sustainable-agriculture-safi/sa-knowledge-and-technique/item/89-federation-region-107indigenous-rice-seed.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556. นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 85


ข้อเสนอที่ 11

ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนา พันธุกรรมพื้นบ้าน ‘พันธุกรรม’ ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในระบบการเกษตร เป็นต้นทุนและตัวกำหนด

รูปแบบการผลิต หลายทศวรรษทีผ่ า่ นมาพันธุกรรมได้ถกู ใช้เป็นเครือ่ งมือของธุรกิจการเกษตร เนือ่ งจาก

มีมูลค่าทางการตลาดสูงและสามารถชี้นำระบบการผลิตอาหารและปัจจัยการผลิตได้อย่างครบวงจร จึงเกิดการพัฒนาพันธุท์ ใ่ี ห้ผลผลิตสูง (High Yielding Varieties-HYV) และพันธุล์ กู ผสม (Hybrid) ตลอดจน การใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ซึ่งการพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์เหล่านั้น ถูก

รวมศูนย์โดยนักวิชาการของรัฐและบริษัทธุรกิจการเกษตรทั้งในและต่างประเทศแล้วจึงนำมาส่งเสริม ให้เกษตรกร เป็นการพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้าและการครอบงำ ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันเราบริโภคอาหาร จากบริษัทอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลากะพง จากกระชังเลี้ยง ใน

ขณะที่ปลาธรรมชาติและปลาที่เกษตรกรรายย่อยสามารถเพาะพันธุ์ได้เองค่อยๆ หายไป เป็ดไล่ทุ่ง

ไก่พื้นบ้าน ผักพื้นบ้าน อยู่ในสถานภาพเช่นเดียวกัน ชนิดและระบบการผลิตเช่นนี้ได้กำหนดรสนิยม การบริโภค โดยเฉพาะของคนรุ่นใหม่อย่างชัดเจน ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต การพึ่งตนเองได้ ของเกษตรกร และการสร้างความมั่นคงในวิถีการเกษตรที่มีอิสรภาพ พันธุกรรมพื้นบ้านจึงเป็นคำตอบ สำคัญของการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พันธุกรรมพื้นบ้านเป็นความหลากหลายของระบบการ ผลิตของชุมชน จากการศึกษาของเกษตรกรตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร พบว่า ชุมชน ได้เปลี่ยนการผลิตจากการปลูกข้าวเหนียวพื้นบ้านเพื่อการบริโภคและใช้ประโยชน์มาเป็นการปลูก

ข้าวเจ้าหอมมะลิ 105 เพื่อการค้า ส่งผลให้ระบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการบริโภคของ ชุมชน เช่น กับข้าวที่รับประทานกับข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่แตกต่างกัน จากวิถีหาเก็บหากินจาก ธรรมชาติกลายเป็นการซื้ออาหารเพิ่มขึ้น คนรุ่นใหม่ไม่มีความรู้เรื่องข้าวและผักพื้นบ้าน เมื่อชุมชนมี การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้านของชุมชนให้กลับคืนมา ข้าวพื้นบ้านเป็นกุญแจไขสู่การ

พึ่งตนเองของเกษตรกร และทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของข้าวพื้นบ้าน ผลงานวิจัยของชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับ 86 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้าวพื้นบ้านเป็นกุญแจไขสู่การพึ่งตนเองของเกษตรกร และทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของข้าวพื้นบ้าน สภาพนิเวศในชุมชน (ดาวเรือง พืชผล และคณะ, 2553) และจากผลงานวิจัยการประเมินผลการ ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทยพบว่า เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรผลิตได้มี เปอร์เซ็นต์ความงอกสูงประมาณ ร้อยละ 96-98 สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ ร้อยละ 40 โดยเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ประมาณ ร้อยละ 20 ที่เหลือ

แบ่งปันพี่น้องและจำหน่ายให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง (สถาบันวิจัยพืชไร่และ

พืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร, 2555) งานวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกรและ ชุมชนที่สามารถอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้านที่เหมาะสมกับวิถีการเกษตรของชุมชนและ ครอบครัว ข้อเสนอนโยบายสาธารณะข้อนี้จึงมุ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญของการ อนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมที่กำหนด ระบบการผลิต วิถีการบริโภค และระบบสุขภาพของคนในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่

ได้เห็นความสำคัญและตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพื้นบ้านของชุมชนจะนำไปสู่การ พัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความเป็นพลเมืองของคนในชุมชน างอิง เอกสารอ้ ดาวเรือง พืชผล และคณะ. 2553. งานวิจัยเรื่องการศึกษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านเพื่อการขยายผลผลิตข้าว ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่บ้านกุดหิน บ้านกำแมด บ้านโนนยาง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร. 2555. การประเมินผลการดำเนินงาน โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 87


ข้อเสนอที่ 12

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับชุมชนในการวางแผน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ระบบเกษตรยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวคือ ในมิติของการอนุรักษ์ การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในแปลงอิงหลักการของนิเวศเกษตร เช่น

การไหลเวียนของธาตุอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างพืชปลูกและศัตรูพืช การใช้ประโยชน์จากความ หลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น ในมิติของการฟื้นฟู ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนนำไปสู่การสร้างความสมดุลและฟื้นความ สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา ตัวอย่างจากการไม่ใช้สารเคมีการเกษตรที่ทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน การมีแหล่งน้ำที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมีการเกษตร การไม่ทำลายความหลากหลายของพืชและสัตว์ที่อยู่ร่วมในแปลงเกษตรและในธรรมชาติ การปลูกพืช ในระบบผสมผสานรูปแบบต่างๆ ที่สร้างความเกื้อกูลระหว่างทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิตในระบบ เช่น วนเกษตร เกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และในมิติของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรมยั่งยืนคำนึงถึงการจัดการ ทรัพยากรอย่างเหมาะสมทีจ่ ะก่อให้เกิดประโยชน์สงู สุดจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีส่ ร้างความหลากหลาย ของระบบการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงของอาหารและรายได้ และเชื่อมโยงกับสิทธิการจัดการและ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นธรรม นอกจากนั้น ความเป็นอยู่ของเกษตรกรท่ามกลาง ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ครอบครัวของเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องอาศัยอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เห็ด หน่อไม้ สัตว์น้ำ และพืชผักตามธรรมชาติ ดังนั้นแล้ว ข้อเสนอนี้จึงมุ่งให้ อปท. ซึ่งมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงได้ดำเนินการ

ร่วมกับชุมชนในการวางแผนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน

รวมถึงการวางแผนการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของชุมชน เช่น

88 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.และชุมชนจำเป็นต้องมองทุกประเด็นของปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขไปพร้อมๆ กันอย่างเป็นระบบ ทั้งปัญหาความมั่นคงทางอาหาร สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และอำนาจหน้าที่ของ อปท. ในการสนับสนุนเชิงบวก การบุกรุกพื้นที่ป่า การปนเปื้อนของสารเคมีการเกษตรในแหล่งน้ำ เป็นต้น โดย อปท.และชุมชนจำเป็น ต้องมองทุกประเด็นของปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขไปพร้อมๆ กันอย่างเป็นระบบ ทั้งปัญหาความ มั่นคงทางอาหาร สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนเชิงบวก ทั้งนี้ต้องเป็นการดำเนินการที่ อปท.และชุมชนมีส่วนร่วมในทุก

ขั้นตอนของการดำเนินงาน (ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา, 2551)

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร (ศวทก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ จาก http://www.mcc.cmu.ac.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556. รศ.ดร.ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. 2551. ระบบจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน ระดับตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่-ภาคเหนือตอน บนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). จาก http://www.abc-un.org/research/. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 89


ข้อเสนอที่ 13

ออกกฎ กติกา ข้อตกลงร่วม ในการควบคุมการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการใช้สารเคมีในชุมชน การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรระดับชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากการใช้สารเคมีอยู่ใน สถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมหรือกำกับดูแลได้ นอกจากนั้น ประเภทของสารเคมีที่นำมาใช้มีความ หลากหลายมากขึ้นและเพิ่มปริมาณการใช้สูงมากขึ้น (วิเชียร อ้นประเสริฐ, 2547) อันเนื่องจากระบบ การผลิต พืชที่ปลูก ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกร และการส่งเสริมการขายของบริษัทสารเคมี การเกษตรรูปแบบต่างๆ ผลกระทบจากการใช้สารเคมีการเกษตรปรากฏชัดและทวีความรุนแรงมากขึ้น ทัง้ จากการเจ็บป่วยของคนในชุมชน การตกค้างของสารเคมีการเกษตรในร่างกาย และการเปลีย่ นแปลง ของสภาพแวดล้อมในชุมชน เช่น อาหารจากธรรมชาติลดน้อยลง การปนเปื้อนของสารเคมีการเกษตร ในแหล่งน้ำ การเสื่อมคุณภาพของดิน เป็นต้น ส่วนการโฆษณาประชาสั ม พั นธ์ ส ารเคมีก ารเกษตรในชุมชนมีวัตถุประสงค์ท ี่ต้อ งการให้ เกษตรกรใช้สินค้าปริมาณมากขึ้น เกษตรกรที่ไม่เคยใช้เกิดความสนใจและทดลองใช้ และหันมาสนใจ ตราสินค้าของบริษัท หรือให้เกิดความจงรักภักดีต่อสินค้าของบริษัทยิ่งขึ้น มีรูปแบบการดำเนินการที่ หลากหลาย เช่น ติดป้ายโฆษณา มีพนักงานขายหรือตัวแทนผู้จำหน่าย ประสานเกษตรกรในพื้นที่

เป้าหมายหรือผู้นำชุมชน หรือผ่านร้านค้าให้การแนะนำลงพื้นที่เพาะปลูกเอง รถโฆษณา การแสดง สาธิตแนะนำสินค้า ซึ่งอาจมีการขาย ลด แลก แจก แถม หรือจัดชิงโชครางวัล การจัดแปลงสาธิต พร้อมการอบรมให้ความรู้ การติดตามให้คำแนะนำหลังการใช้สินค้า เป็นต้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2550-2554) ใน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เรื่องลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงาน หลักในการดูแลรับผิดชอบสารเคมีการเกษตรได้วางมาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ประการหนึ่งที่สำคัญ คือ จำกัด ควบคุมกลไกการตลาดสารเคมีเกษตรที่ทำให้มีการใช้เกินความจำเป็นหรือไม่ปลอดภัยต่อ

90 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ห้ามติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์สารเคมีการเกษตรทุกรูปแบบ ห้ามทำแปลงสาธิตทดลองประสิทธิภาพของสารเคมี เพื่อจูงใจเกษตรกร การเก็บภาษีป้ายโฆษณาสารเคมีการเกษตร ในอัตราก้าวกระโดด ประชาชนและสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรใช้สารเคมี ที่มากเกินความจำเป็น ข้อเสนอนโยบายสาธารณะนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการและดูแลการใช้และการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สารเคมีการเกษตร เป็นความร่วมมือกันของคนในชุมชนที่จะกำหนดและควบคุมการใช้ ที่คำนึงถึงความแตกต่างในระบบการผลิตและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน เช่น การมีข้อตกลงร่วมกัน ของชุมชนที่จะไม่ใช้สารเคมีการเกษตรใกล้แหล่งน้ำสาธารณะหรือพื้นที่ต้นน้ำ การประกาศพื้นที่สีเขียว ปลอดสารเคมีการเกษตรเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย (zoning) การห้ามติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ สารเคมีการเกษตรทุกรูปแบบ ห้ามทำแปลงสาธิตทดลองประสิทธิภาพของสารเคมีเพื่อจูงใจเกษตรกร การเก็บภาษีป้ายโฆษณาสารเคมีการเกษตรในอัตราก้าวกระโดด เป็นต้น โดยมีองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเป็นกลไกเชื่อมประสานความร่วมมือและการออกกฎ กติกา และ ข้อตกลงร่วมของคนในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

วิเชียร อันประเสริฐ. 2547. ชุมชนกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2550-2554).

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 91


ข้อเสนอที่ 14

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุดหนุนงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกองทุนปรับเปลี่ยน สู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ปัญหาหนี้สินเกษตรกรเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังและยึดติดเกษตรกรจนไม่สามารถ หลุดพ้นจากวงจรของระบบเกษตรเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมีการเกษตรได้ ไม่มีโอกาสดำรงชีพได้ อย่างมั่นคงยั่งยืน และการเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในช่วงเริ่มต้น จะเป็นระยะปรับเปลี่ยนที่ เกษตรกรอาจประสบปัญหาปริมาณผลผลิตลดลง ความสมบูรณ์ของผลผลิต และการต้องสร้าง

ช่องทางการตลาดที่ให้ราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงในระยะนี้ ประกอบ กับเกษตรกรอาจต้องลงทุนเพิ่มเพื่อปรับเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น การปรับแปลงเกษตร การ จัดระบบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งเกษตรกรต้องการความมั่นใจด้านเศรษฐกิจและมีช่องทางมีรายได้และ

เงินทุนเพื่อใช้จ่ายในช่วงระยะปรับเปลี่ยน จึงเป็นเหตุให้การขยายครอบครัวเกษตรกรรมยั่งยืนโดย เฉพาะกลุ่มเกษตรกรรายย่อยเป็นไปได้ยาก แม้ผลดีของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนต่อคุณภาพชีวิต เกษตรกร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจะเป็นที่ประจักษ์ชัดก็ตาม กองทุนปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนทางการ เกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนรายครอบครัวหรือกลุ่มได้ โดย แนวคิดหลักของกองทุนคือ การสร้าง ‘ทุนชุมชน’ (Community Capital) ที่มิใช่เงินตราเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและชุมชน เช่น ทุน ทรัพยากรที่ก่อให้เกิดผลผลิต รวมถึงเงินและสินทรัพย์อื่นๆ ที่เป็นความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ ทุนทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี และปัจจัยบริการทางโครงสร้างพื้นฐาน ทุนเหล่านี้จะร่วมกันและ

มีระบบการบริหารจัดการแบบกองทุนที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยอาศัยหลักของการ

เอื้ออาทร โดยกองทุนนั้นอาจเป็นกองทุนของกลุ่มที่ดำเนินการด้านระบบเกษตรกรรมยั่งยืน หรือ

92 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


กองทุนปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นแหล่งทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน รายครอบครัวหรือกลุ่มได้

กองทุนที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนกับกลุ่มทางการเงินอื่นๆ ในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจหลักคือ ‘บำบัดทุกข์ บำรุงสุข’ ให้กับคนในชุมชน โดย เฉพาะด้วยการส่งเสริมให้เกิดสัมมาชีพ อาหารปลอดภัย และสุขภาวะของคนในชุมชน การจัดสรรงบ ประมาณและทุนต่างๆ ของ อปท. หรือสมทบทุนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ในการจัดตั้ง กองทุนที่ดำเนินการด้านนี้โดยเฉพาะ หรือการเป็นกลไกในการเชื่อมประสานหรือสมทบทุนร่วมกับกลุ่ม ทางการเงินในพื้นที่ รวมทั้งในการสร้างช่องทาง ระบบ ระเบียบ หรือเงื่อนไขให้เกษตรกรหรือกลุ่ม เกษตรกรที่ต้องการปรับระบบการผลิต ดังนั้น กองทุนปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วน ร่วมช่วยเหลือกันของคนในชุมชนจึงเป็นภารกิจหลักของ อปท.

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). 2546. ชุดโครงการวิจัยเรื่อง เกษตรกรรมยั่งยืนกับหนี้สินเกษตรกร รายย่อย. ภายใต้โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2547. โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเงินระดับ จุลภาค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร. 2555. เอกสารประกอบการตัดสินใจเข้าร่วม โครงการกองทุนสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืน.

นโยบายสาธารณะด้านเกษตรกรรมยั่งยืน | 93



นโยบายสาธารณะ

ด้านการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ข้อเสนอที่ 1

สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดการขยะ ในระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกวิธี การจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่า หลังจาก

การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ การจัดทำแผนชุมชน การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการสร้างเครือข่ายร่วมกับชุมชนอื่นๆ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนนั้น ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรม อย่างเช่น สามารถช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดเฉลี่ยเดือนละ 16 ตัน ชุมชนเกิดการตื่นตัวต่อปัญหาที่เกิดจากขยะ เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มภายในชุมชนมาก ขึ้น เกิดกลุ่มการทำงานด้านการจัดการขยะ โดยมีสมาชิกจำนวน 50 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ เกิด เป็นอาชีพเสริมซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเฉลี่ยเดือนละ 4,000-6,000 บาทต่อครัวเรือน ใน ขณะทีก่ ลุม่ รับซือ้ ขยะภายในชุมชนมีเงินหมุนเวียนเฉลีย่ เดือนละกว่า 100,000 บาท สามารถสร้างรายได้ เข้ากลุ่มเฉลี่ยเดือนละกว่า 10,000 บาท รวมทั้งยังส่งผลให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และการทำงาน

ขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง (พรพิมล วิกรัยพัฒน์, 2550) ซึง่ สอดคล้องกับการศึกษาเรือ่ งความเข้มแข็ง ของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในบ้านใหม่หลังมอ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ทั้งนี้ ผลกระทบดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของชุมชน

(กิ่งกาญจน์ บุญมา, 2544) นอกจากนั้นแล้ว ผลการศึกษาของวรพล ภูภักดี (2554) ซึ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการ มูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงวิชยั อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังพบว่า เมื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมาก ย่อมส่งผลให้มีระดับการจัดการ มูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนอยู่ในระดับมากไปด้วย

96 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.สามารถกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนชุมชน เพื่อผลักดัน เชื่อมประสาน เร่งเร้า และกระตุ้น ให้กลุ่มต่างๆ องค์กรชุมชนและครัวเรือนเกิดการตื่นตัว ตระหนักรู้ต่อปัญหาการจัดการขยะในแต่ละระดับ ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนชุมชน ทั้งนี้เพื่อผลักดัน เชื่อมประสาน เร่งเร้า และกระตุ้นให้ชุมชน ครัวเรือนเกิดการตื่นตัว ตระหนักรู้ต่อปัญหาการจัดการ ขยะในแต่ละระดับ มุ่งให้เกิดกิจกรรมที่ครอบคลุมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจนกระทั่งถึงปลายทาง และสามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการจัดสวัสดิการของชุมชนโดยอาศัยรายได้จากการจัดการขยะ อย่างถูกวิธี

เอกสารอ้างอิง

กิ่งกาญจน์ บุญมา. 2544. ความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในบ้านใหม่ หลังมอ ตำบลสุ เทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พรพิมล วิกรัยพัฒน์. 2550. การจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมทาง วิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 ระหว่าง 30 ม.ค. - 2 ก.พ. 2550 ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ วรพล ภูภักดี. 2554. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหาร ส่วนตาบลบึงวิชัยอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พ.ค.-ส.ค. 2554. หน้า 39-44.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 97


ข้อเสนอที่ 2

ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างรู้คุณค่า รวมทั้งปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ป่าเดิม

จากการศึกษาความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมกับการจัดการป่าสมุนไพรชุมชนปลักไม้ลาย ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยวรวุฒิ โรมรัตนพันธ์ (2546) พบว่า เดิมทีใน พื้นที่ของชุมชนดังกล่าว ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้ใช้ไม้ในป่าไปทำฟืน เผาถ่าน หาหน่อไม้และ

นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าทำให้ชาวบ้านมีปากเสียงและทำร้ายร่างกาย กัน จนกระทั่งชมรมแพทย์แผนไทยได้นำโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองเข้ามาเป็นเครื่องมือในการ อนุรักษ์ โดยใช้พื้นที่วัดเป็นสถานที่อบรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหมอยาโบราณและผู้สนใจ มีการ ติดป้ายชื่อต้นไม้ แจกเอกสารยาสมุนไพร รวมทั้งเล่านิทานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของยาสมุนไพร

ซึ่งสร้างความสนใจให้กับเด็กๆ เป็นอย่างดี จากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านทราบประโยชน์ และเกิดความภูมิใจที่มีป่าสมุนไพรแห่งนี้ ส่งผลให้ปัญหาลักลอบตัดไม้หมดไป นอกจากนี้ วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์ (2546) ยังได้ศึกษาชุมชนทุ่งกระจูด ตำบลท่าสะท้อน จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยพบว่า พรุกระจูดหรือทุ่งกระจูดเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นแหล่งอาหารและรายได้ ให้กับชาวบ้านและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งใช้ประโยชน์จากการจับสัตว์น้ำ เก็บเห็ดเสม็ด รวมทั้งเป็นแหล่ง วัตถุดิบในการทำหัตถกรรมพื้นบ้านจากกระจูด นอกจากนี้การเป็นแหล่งอาศัยของนกและสัตว์ป่า นานาพันธุ์ ชาวบ้านจึงเกิดความคิดในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพของพรุให้ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2550) ที่ได้ศึกษาโครงการพื้นที่สีเขียวของ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์ไม้

ท้องถิ่น การจัดตั้งสวนอนุรักษ์ การจัดทำเส้นทางจักรยานเชิงนิเวศ การสร้างเสริมสุขภาพ การสร้าง สวนไม้ในวัดทั้ง 5 วัดของชุมชน โดยจากผลการดำเนินงานก่อให้เกิดการกำหนดพื้นที่สีเขียวอย่าง ชัดเจน

98 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เป็นเรื่องที่ไม่เกินขีดความสามารถ ของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้คนในชุมชนท้องถิ่น ที่จะหันหน้าเข้าหากัน รวมพลังกัน แล้วร่วมมือกันสร้างความเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน

จากผลงานทางวิชาการข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน ชุมชน และทรัพยากร ป่าไม้ และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ของคนใน ชุมชนแบบเดิมๆ ซึง่ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศ มาเป็นการอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ ดังนัน้ จึงไม่ใช่เรือ่ งทีเ่ กินขีดความสามารถของผูน้ ำองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และผูค้ น

ในชุมชนท้องถิ่น ในการที่จะสร้างให้ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความรัก หวงแหน และทำกิจกรรมในการ ปลูกป่าทดแทน รวมทั้งปลูกเสริมเพิ่มเติมตามที่ดินสาธารณประโยชน์ และยกระดับการเชื่อมโยงไปยัง ภาคีหนุนเสริมภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าและบริหารจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. 2546. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาทุนทางสังคมในฐานะปัจจัยการผลิต ของเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สถาบั น วิ จั ย และให้ ค ำปรึ ก ษาแห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ . 2550. รายงานฉบั บ สมบู ร ณ์ โครงการ

ธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่น ศึกษาการริเริ่มของท้องถิ่น กระบวนการ นโยบาย และปัจจัยสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : MisterKopy. นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 99


ข้อเสนอที่ 3

การทำข้อตกลงหรือออกข้อบัญญัติ การดูแลรักษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทุกประเภท จากการศึกษาชุมชนกับการรักษาคลองแสนแสบโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2548) พบว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 น้ำในคลองแสนแสบเน่าเสียและมีวัชพืชเต็มคลอง ซึ่งเกิดจากการทำมาหากินที่ สร้างมลภาวะให้แก่น้ำ การขาดความเข้มแข็งของการจัดการทรัพยากรน้ำในคลอง โครงสร้างอำนาจ และภาวะผู ้ น ำไม่ ช ่ ว ยให้ เ กิ ด การรั ก ษาคลอง รวมทั ้ ง ปั จ จั ย ภายนอก อาทิ นโยบายการพั ฒ นา

ความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม การสร้างถนน การทิ้งของเสียลงในคลองจากชุมชนและโรงงาน อุตสาหกรรม จนกระทั่งปี พ.ศ.2537 อิหม่ามวินัย สะมะอุน ผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งมัสยิดกมาลุล อิสลาม ร่วมมือกับชาวบ้านตั้งกลุ่มรักษาคลองแสนแสบขึ้นมา มีการกำหนดกติการ่วมกันในการรักษา คลองแสนแสบ ดำเนินงานตามแผนคืนชีวิตแก่คลองแสนแสบ จัดเรือเก็บขยะทุกวัน กำหนดให้หน้า มัสยิดและหน้าวัดเป็นเขตอภัยทาน เป็นต้น สอดคล้องกับสุทธิธรรม เลขวิวัฒน์ (2549) ซึ่งได้ศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนบ้านเปร็ด

ในตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด พบว่า หลังจากมีการให้สัมปทาน ต้นไม้ได้ถูกตัด

ไปมาก ไม่มีการทำตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ชาวบ้านจึงรวมตัวกันแก้ไขปัญหา โดยร้องเรียนไปยัง

นายอำเภอ ป่าไม้จงั หวัด ผูว้ า่ ราชการจังหวัด รวมทัง้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซง่ึ ได้สง่ เจ้าหน้าทีเ่ ข้ามา พูดคุยกับชาวบ้าน และทำการสำรวจป่าร่วมกับผูน้ ำชุมชน นอกจากนัน้ ชาวบ้านยังได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ ป่าชายเลนและพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดในขึ้น มีการจัดแบ่งพื้นที่ให้ชาวบ้านดูแลป่ากันเอง โดยมี สัดส่วน 20 หลังคาเรือนต่อ 1 แปลง มีการกำหนดแผนการจัดการที่เป็นรูปธรรมในการดำเนินงานคือ แผนการฟื้นฟู/บำรุงรักษา การคุ้มครองป้องกัน การประชาสัมพันธ์ การกำหนดข้อตกลง กฎเกณฑ์ใน การจัดการป่าและทรัพยากรชายเลน กฎระเบียบการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำและป่าไม้ และ

บทลงโทษ จากผลการดำเนินงานดังกล่าวพบว่า การลักลอบตัดต้นไม้ลดลง ป่าไม้มีความอุดม

100 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท. มีบทบาทเป็นหน่วยงานที่จะต้องรับผิดชอบ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ร่วมกับหน่วยราชการอื่นๆ และเป็นกลไกในระดับพื้นที่ที่สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ ผ่านการเห็นชอบของชุมชน สมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยังได้รับการประสานจากองค์กรภายนอกเข้ามาเรียนรู้ และหนุนเสริมให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งและร่วมกันอนุรกั ษ์ปา่ เพิม่ มากขึน้ การทำข้อตกลงหรือออกข้อบัญญัติการดูแลรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทุกประเภท ต้องอาศัยกิจกรรมและกระบวนการสร้างความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับ ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดข้อตกลงเกิดขึ้นบนฐานของ การเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนัก ที่จะต้องเข้ามามีบทบาทเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบดูแล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ร่วมกับหน่วยราชการอื่นๆ รวมทั้งเป็นกลไกในระดับพื้นที่

ที่สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งผ่านการเห็นชอบของประชาชนในชุมชนนั้นๆ

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2548. ภูมิปัญญากับการสร้างพลังชุมชน. กรุงเทพ โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์. สุทธิธรรม เลขวิวัฒน์. 2549. เครือข่ายชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 101


ข้อเสนอที่ 4

สนับสนุนการจัดตั้งกลไกคณะทำงาน และส่งเสริมการพัฒนาอาสาสมัครดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการศึกษาเรือ่ งการจัดการสิง่ แวดล้อมเมืองเชียงใหม่อย่างยัง่ ยืน พบว่า การจัดการสิง่ แวดล้อม ที่ยั่งยืนขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนที่จะร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้จัดตั้ง

คณะทำงาน และมีวิธีการพัฒนาแบบพหุภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน โดยทุกฝ่ายมีบทบาทในการบริหารแบบธรรมรัฐซึง่ มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบ ได้ (อุดร วงษ์ทับทิม, 2541) สอดคล้องกับการศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของเครือข่ายลุ่มน้ำแม่แรก ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชุมชนมีรูปแบบการจัดการโดยองค์กรชาวบ้านในระดับลุ่มน้ำ ดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานในลักษณะไตรภาคี มีการจัดการตั้งองค์กรชาวบ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการเครือข่ายวางแผนป้องกันฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบขององค์กรชุมชน (ดิเรก เครือจินลิ, 2543) เช่นเดียวกับการจัดตั้งประชาคมอนุรักษ์เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติรว่ มกัน (ชลดรงค์ ทองสง, 2546) ในขณะที่ความอ่อนแอของชุมชนประมงทะเลน้อย ซึ่งประชาชนขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง

มีจิตสำนึกต่อปัญหาสาธารณะน้อย ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณทะเลน้อยเกิด ภาวะวิกฤต (ยุคล เหมบัณฑิต, 2544) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบริบทการทำงานที่เน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นฐาน และเป็นทุนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากและแปลกใหม่ประการใด สำหรับการมีกลไกคณะทำงานที่มีองค์ประกอบจากผู้แทนขององค์กรชุมชนหรือกลุ่มต่างๆ ทั้งที่

102 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท. ทำงานเน้นการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากและแปลกใหม่สำหรับการมีกลไกของคณะทำงาน ที่มีผู้แทนจากองค์กรชุมชนกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยตรงและโดยอ้อม และการเพิ่มอาสาสมัครในรูปของ

จิตอาสาเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชน อันมีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของชุมชน

เอกสารอ้างอิง

ชลดรงค์ ทองสง. 2546. พัฒนาการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประชาคมอนุรักษ์เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ดิเรก เครือจินลิ. 2543. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของเครือข่ายลุ่มน้ำแม่แรก ตำบลท่าผา อำเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ยุคล เหมบัณฑิต. 2544. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนประมงทะเลน้อย อำเภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อุดร วงษ์ทับทิม. 2541. แนวคิดนครนิเวศกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่อย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 103


ข้อเสนอที่ 5

หนุนเสริมการบริหารจัดการแหล่งน้ำ หรือจัดทำธนาคารน้ำโดยชุมชน จากการศึกษาการจัดการน้ำแบบรัฐและแบบชาวบ้านในพืน้ ทีต่ ำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า ชุมชนกาเยาะมาตีมีการบริหารจัดการน้ำผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของ คนในชุมชนมานานกว่า 50 ปี โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ น้ำ ด้วยการจัดระบบการลงทุน การก่อสร้างฝายทดน้ำ การจัดสรรผลประโยชน์และการบำรุงดูแล รักษาฝายดังกล่าว ทำให้สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ชุมชนมาจนถึงทุกวันนี้โดยปราศจากความ

ขัดแย้งใดๆ ในขณะที่ผลการศึกษาเปรียบเทียบ กรณีการขุดคลองบาเจาะเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ในตัวเมืองบาเจาะโดยหน่วยงานราชการ ซึง่ ไม่ได้ศกึ ษาผลกระทบหรือสอบถามความคิดเห็นจากชาวบ้าน ได้สร้างความเดือดร้อนเสียหาย ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยน้ำเพื่อการปลูกข้าว (ณชพงศ จันจุฬา, 2553) เช่นเดียวกับการศึกษาโครงการบริหารจัดการและจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วมโดย การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง จังหวัดพิจิตร ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่ลุ่มและขาดน้ำที่ดอน ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ให้สามารถใช้ได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง

มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ซึ่งทำหน้าที่กำหนดระเบียบข้อบังคับของกลุ่มให้มีการจัดสรรน้ำ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลภายในกลุ่ม (กัญญาภัค อยู่เมือง, 2552) นอกจากนี้ จากการศึกษาทุนทางสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน กรณีศกึ ษา สภาลานวัดตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ของชยุต อินพรหม (2547) ยังพบว่า ชาวบ้านมี การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำธนาคารน้ำ โดยสร้างทำนบขนาดเล็กจากไม้ไผ่สานและนำ กระสอบทรายมากั้นลำห้วยทุกสายที่ไหลลงคลองเพื่อกักเก็บและชะลอน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ข้อเสนอที่ 5 ‘หนุนเสริมการบริหารจัดการแหล่งน้ำหรือจัดทำธนาคารน้ำโดยชุมชน’ เป็นเรื่อง ที่เคยมีคนทำและประสบผลสำเร็จมาแล้ว ดังกรณีตัวอย่างจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข้างต้น ซึ่งได้พิสูจน์

104 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การที่ผู้บริหาร อปท. นำเอาแนวคิดในการทำงานแบบหนุนเสริม เรื่องการบริหารจัดการน้ำ มาใช้ในการขับเคลื่อนงานในชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตามบทบาทหน้าที่ ในฐานะผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ให้เห็นถึงความสามารถของ อปท.และคนในชุมชนที่ได้ร่วมมือกันจัดการทรัพยากรน้ำในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ของตนเองนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การที่ผู้บริหาร อปท. นำเอาแนวคิดในการทำงานแบบหนุนเสริมเรื่อง การบริหารจัดการน้ำมาใช้ในการขับเคลื่อนงานในชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตาม บทบาทหน้าที่ในฐานะผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ การ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในรูปแบบต่างๆ ของชุมชนท้องถิ่นนั้น อปท.ก็สามารถที่จะทำหน้าที่ใน บทบาทตัวกลางเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการหนุนเสริมแบบบูรณาการ และเกิดการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงระบบ รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้

เอกสารอ้างอิง

กัญญาภัค อยู่เมือง. 2552. เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่นบทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า’51. กรุงเทพฯ : ส เจริญการพิมพ์. ชยุต อินพรหม. 2547. ทุนทางสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน กรณีศึกษา: สภาลาน วัดตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. ณชพงศ จันจุฬา. 2553. “การจัดการน้ำแบบรัฐและแบบชาวบ้านในพื้นที่ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอ บาเจาะ จังหวัดนราธิวาส”. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 6 (มกราคม-มิถุนายน). หน้า 28-41. นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 105


ข้อเสนอที่ 6

ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก ในระดับครอบครัวและชุมชน และมีศูนย์เรียนรู้ จากกรอบแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2555-2564 พบว่า กระทรวงพลังงานได้กำหนดให้มสี ดั ส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกคิดเป็นร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานรวมทั้งหมด โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทาง เลือกที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้พลังงานดังกล่าวอย่างกว้างกวาง โดยเฉพาะ การส่งเสริมสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนในชุมชนชนบทเพือ่ ใช้เอง รวมทัง้ การส่งเสริม สนับสนุนการผลิตพลังงานจากขยะใน อปท. ชุมชน โรงเรียน วัด หรือหน่วยงานต่างๆ เร่งรัดในการ ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 เพื่อเอื้อให้เอกชนสามารถเข้าร่วมทุนกับ อปท. ในการผลิต พลังงานจากขยะทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในการจัดการขยะเพื่อ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเชิงลึกระดับพื้นที่ (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2554) ในขณะที่ เสริมสุข บัวเจริญและคณะ (2553) พบว่า ปัจจัยสำคัญทีส่ ง่ ผลต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานทางเลือก คือชุมชนจะต้อง นำเอาศักยภาพในพื้นที่ที่มีอยู่ของตนเองมาใช้โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องพยายามสร้างพื้นที่ ต้นแบบที่ผสมผสานวิถีชีวิตชุมชนและพลังงานทางเลือกอย่างเหมาะสม ดำเนินชีวิตหรือประกอบ อาชีพโดยใช้พื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยหันกลับมาใช้พลังงานทางเลือก นอกจากนั้นแล้ว ยัง ต้องส่งเสริมให้องค์กรชุมชนและท้องถิ่นสร้างกองทุนสำหรับจัดการเรื่องพลังงานทางเลือกด้วย ข้อเสนอที่ 6 ‘ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกในระดับครอบครัวและชุมชน และมีศูนย์เรียนรู้’ มีงานวิชากาสนับสนุนให้เห็นถึงแนวโน้มของนโยบายส่วนกลาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความจำเป็นทีท่ อ้ งถิน่ ต้องยอมรับและปรับตัวในเรือ่ งพลังงานทางเลือก และย่อมแสดงให้เห็นว่าพลังงาน ทางเลือกเป็นเรื่องที่สามารถสร้างได้ในระดับชุมชนท้องถิ่น นับเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่นได้เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาระบบพลังงานทางเลือกในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมตามศักยภาพ

106 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ผู้บริหาร อปท.และภาคประชาสังคม สามารถที่จะนำเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ จากพลังงานทดแทน ไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ หรือนโยบายให้กับชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน ด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมได้ และทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังนั้น อปท.ในฐานะที่เป็นองค์กรใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากที่สุด องค์ ก รหนึ ่ ง จึ ง ควรแสดงบทบาทการเป็ น ผู ้ น ำการเปลี ่ ย นแปลง ทั ้ ง นี ้ เพื ่ อ ให้ ช ุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น มี

ความพร้อมในการรองรับกับวิกฤติพลังงานซึ่งกำลังคืบคลานเข้ามาในเร็ววันนี้ โดยผู้บริหาร อปท.และ ภาคประชาสังคม สามารถที่จะนำเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทางเลือก ไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือนโยบายท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาพลังงานทาง เลือกเอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมได้

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาพลังานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2554. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564). แหล่งที่มา http://www.dede.go.th/dede/images/stories/aedp25.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555. เสริมสุข บัวเจริญ และคณะ. 2553. โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและ พลังงานทางเลือกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ตามแนวชายแดน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 107


ข้อเสนอที่ 7

กำหนดตัวชี้วัด เพื่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ตามบริบทของพื้นที่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 วรรคสอง กำหนดให้การ ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพ สิง่ แวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มกี ระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผูม้ สี ว่ นได้เสียก่อน รวมทัง้ ได้ให้องค์การอิสระซึง่ ประกอบด้วยผูแ้ ทนองค์การเอกชนด้านสิง่ แวดล้อม และสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือ ด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว ประกอบกับพระราชบัญญัติสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้รับรองถึงสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ปรากฏตามมาตรา 5 ว่า บุคคลมีสิทธิใน การดำรงชีวติ ในสิง่ แวดล้อมและสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อสุขภาพ รวมทัง้ มีหน้าทีร่ ว่ มกับหน่วยงานของรัฐ ในการดำเนินการให้เกิดสิง่ แวดล้อมและสภาพแวดล้อม และปรากฏตามมาตรา 11 ว่า บุคคลหรือคณะ บุคคล มีสทิ ธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจาก นโยบายสาธารณะ รวมทั้งมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการ อนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดทีอ่ าจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชน และ แสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว โดยมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (5) กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบ สุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับ ปฏิบัติการ (ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, 2552) สอดคล้องกับสมัชชาแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งเสนอแนวทางปฏิรูปโครงสร้างและระบบการ

วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งพยายามผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้

108 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การที่ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถนำกระบวนการ HIA มาใช้ เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือ สามารถลดความขัดแย้งในชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นข้อมูลหลักสำคัญในกระบวนการพิจารณา อนุมัติหรืออนุญาตการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงาน

การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2555.) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นได้เริ่มให้ความสนใจและตระหนักในการ กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ อย่างเช่นกรณีศึกษา เทศบาลตำบลปริก จังหวัดสงขลา ซึง่ ได้กำหนดตัวชีว้ ดั เมืองน่าอยู่ ได้แก่ 1) น้ำ โดยดูจากจำนวนสัตว์นำ้ (การรอดชีวติ ของปลาในกระชังทีเ่ ลีย้ งไว้ในแหล่งน้ำในพืน้ ที)่ สภาพทางกายภาพของคลอง (ลักษณะน้ำ) ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และ 2) ขยะ ดูจากจำนวนถังขยะ ปริมาณขยะลดลง พฤติกรรมการจัดการ ขยะของประชาชน ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับความสะอาด มีกิจกรรม เกีย่ วกับขยะ (ทำปุย๋ หมัก เด็กเก็บขยะไปขาย) เป็นต้น (ชนิษฎา ชูสขุ , 2553) นอกจากนี้ จากการศึกษา ของ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง และคณะ (2552) ยังสะท้อนให้เห็นความสามารถของชุมชนในการกำหนด

ตัวชีว้ ดั และแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ซึง่ ทำให้ชมุ ชนมีคำตอบและมาตรการในการป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพ และแนวทางการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงงานอุตสาหกรรม ข้อเสนอที่ 7 ‘กำหนดตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพตามบริบทของพื้นที่’ เป็นประเด็นที่มีงานวิจัยข้างต้นได้ชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้บริหารท้องถิ่น สามารถนำกระบวนการทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ (HIA) มาใช้เป็นกลยุทธ์ ในการสร้างความร่วมมือ และลดความขัดแย้งในชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี จึงเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งที่ จะเพิ่มเครื่องมือเฝ้าระวัง ติดตามและตรวจสอบผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะมีต่อ

ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างพลังของชุมชนท้องถิ่นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น

เฝ้าระวังเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคี

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 109


ภาคส่วนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งกระบวนการต่างๆ รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดทาง HIA จึงเหมาะแก่ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำไปใช้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายของชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีมาตรการในการเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติจากบุคคลหรือ ผู้ประกอบการภายนอก ที่อาจจะส่งผลต่อการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่คนในชุมชนได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

ชนิษฎา ชูสุข. 2553. กลไกการขับเคลื่อนนโยบายเมืองน่าอยู่: กรณีศึกษาเทศบาลนครสงขลา และเทศบาล ตำบลปริกจังหวัดสงขลา. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ. 2552. หลักเกณฑ์และวิธี การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บริษัท คุณาไทย จำกัด (วนิดาการพิมพ์). สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 2555. (ร่าง) แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ. อุไรวรรณ อินทร์ม่วง และคณะ. 2552. “การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนตําบลท่าพระ อําเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น”. วารสารวิจัย มข. 6 (กรกฎาคม-สิงหาคม). 110 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 8

สนับสนุนให้มกี ารจัดทำและการนำใช้ฐานข้อมูล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาเรือ่ งทุนทางสังคมกับการอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูปา่ ชายเลนในพืน้ ทีช่ มุ ชนคลองยาง หมูท่ ่ี 2 อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พบว่า ชุมชนคลองยางมีการนำทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรม ทุนทรัพย์ ทุนแรงงาน ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน ความเป็นกลุม่ ก้อนของชุมชนเข้ามาใช้ในการอนุรกั ษ์ปา่ ชายเลน โดยพัฒนาการของการดำเนินงานและฟื้นฟูป่าชายเลนของชุมชนเกิดขึ้น เกิดจากความเสื่อมโทรมของ ป่าชายเลนซึง่ ส่งผลกระทบต่อการยังชีพของคนในชุมชน ชาวบ้านจึงได้รวมกลุม่ พูดคุยถึงปัญหาทีเ่ กิดขึน้ มีการนำปัญหาดังกล่าวไปปรึกษาผู้นำชุมชน โดยในเบื้องต้นมีการดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหากันเอง ส่วนความรูใ้ นการอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูปา่ ชายเลนได้ขอความร่วมมือจากสถานีพฒ ั นาทรัพยากรป่าชายเลน

ที่ 24 จังหวัดกระบีใ่ ห้เข้ามาให้ความรูแ้ ก่ชมุ ชน และจัดตัง้ กลุม่ ราษฎรอาสาสมัครพิทกั ษ์ทะเล และชายฝัง่ เพื่อดูแลพื้นที่ป่าชายเลนในชุมชน ซึ่งสะท้อนผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนและหน่วยงาน ภายนอกได้จัดขึ้น โดยคนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์และ รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ส่วนผู้นำชุมชนมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานทั้งภายในชุมชนและองค์กรภายนอก ชุมชน การเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนสำหรับการดำเนินกิจกรรม ผู้นำของชุมชนพักอาศัย อยู่ในชุมชนมานานและมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้ทำให้คนในชุมชนเกิด ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความไว้วางใจต่อกันและอยากเข้าร่วมกิจกรรม โดยผู้นำชุมชนที่ได้รับ การยอมรับจากชาวบ้านเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในชุมชนเข้าร่วมทำกิจกรรม นอกจากนี้หลักศาสนาก็มี ผลต่อระบบคิดของคนในชุมชน อันได้แก่ หน้าทีห่ ลักของมุสลิมและการแก้ไขในสิง่ ทีผ่ ดิ พลาด ซึง่ คนใน ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่แบ่งแยกศาสนาและไม่มีความขัดแย้งระหว่างศาสนา ทั้งนี้การจัดทำและ นำใช้ข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน และการมีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น ส่งผลให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวและต่อเนื่อง (กาญจนากร สามเมือง; 2551)

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 111


การใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยให้การวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น และ อปท.ตรงเป้า

ถูกประเด็น และแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้การประยุกต์เทคนิคการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเฝ้า ระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งตั้งแต่แหลมโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จนถึงปากน้ำตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมเป็นระยะทาง 154 กิโลเมตร ด้วยวัสดุอุปกรณ์ ที่สำคัญคือ ข้อมูลภาพเชิงตัวเลข ของดาวเทียม LANDSAT-5 ระบบTM จำนวน 2 ช่วงเวลา (ปีพ.ศ.2531 และปี พ.ศ.2540-2541) ด้วย การประมวลผลภาพเชิงตัวเลขจากภาพสีผสมช่วงคลื่น 1.5 และ 4 (น้ำเงิน-เขียว-แดง) ที่ผ่านเทคนิค การยึดภาพโดยวิธีการยึดภาพแบบชี้กำลัง พบว่า ขอบเขตแนวชายฝัง่ มีความชัดเจนกว่าภาพสีผสมอืน่ ๆ จากนัน้ จำแนกประเภทข้อมูลแบบไม่กำกับด้วยวิธี Isodata Clustering และ K-mean Clustering และเพิ่ม ความถูกต้องของขอบแนวชายฝั่งด้วยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับ ซึ่งวิธี Maximum Likelihood Classification เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดสำหรับการคำนวณพื้นที่การเปลี่ยนแปลง ด้วยการเปลี่ยนแปลงข้อมูล แนวชายฝั่งในรูปของข้อมูลเชิงภาพเป็นข้อมูลเชิงทิศทาง โดยการเปรียบเทียบแนวชายฝั่งจากภาพถ่าย ดาวเทียมระหว่างปี 2531 กับปี 2540-2541 พบพื้นที่การเปลี่ยนแปลงคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.64 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะสันดอนงอยทรายแหลมโพธิท์ ย่ี น่ื ออกมาในอัตราประมาณ 50 เมตรต่อปี และ บริเวณพืน้ ทีแ่ นวชายฝัง่ อืน่ ๆ ได้รับการรบกวนจากสภาวะทางสมุทรศาสตร์ สาเหตุหลักของการเปลี่ยน

แปลงแนวชายฝัง่ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประการ คือ 1. จากสิง่ ก่อสร้างของมนุษย์ 2. สภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ เช่น กระแสน้ำเลียบชายฝั่ง กระแสลม คลื่น ตลอดจนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น (จักรกริส กสิสุวรรณ, ดนุพล ตันนุโยภาส, เชาวน์ ยงเฉลิมชัย.2545.)

112 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 8 ‘สนับสนุนให้มีการจัดทำและการนำใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม’ กับงานสนับสนุนทางวิชาการดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นการยืนยันว่า การใช้ข้อมูลเพื่อ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและสามารถช่วยให้ เป็นการนำใช้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญต่อการวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนท้องถิ่น และ อปท. ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้บริหาร อปท.สามารถสร้างเครือข่ายการจัดทำระบบฐาน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นสถาบันทางการศึกษา องค์กร หน่วยงาน และ

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งที่จะเพิ่มแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของชุมชนบนฐานข้อมูลและการจัดการความรู้อย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

กาญจนากร สามเมือง. 2551. ทุนทางสังคมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่ชุมชนบ้าน

คลองยาง หมู่ 2 อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จักรกริส กสิสุวรรณ, ดนุพล ตันนุโยภาส, เชาวน์ ยงเฉลิมชัย. 2545. การประยุกต์ข้อมูลการรับรู้จากระยะ ไกลเพื่อเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งในภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย (ปัตตานีและ นราธิวาส) งานวิจัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 113


ข้อเสนอที่ 9

ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ จากการศึกษาศักยภาพของชุมชนเกาะศรีบอยาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณ พื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติปากแม่น้ำกระบี่ พบว่า ชุมชนเกาะศรีบอยาเลือกใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็น เครื่องมือสำคัญในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองอย่างชาญฉลาด

โดยปัจจัยทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ทีแ่ สดงถึงศักยภาพในการจัดการการท่องเทีย่ วคือ ความสามารถของชุมชนในการ จัดการท่องเที่ยวด้วยตนเอง ในขณะที่ชุมชนเกาะศรีบอยามีศักยภาพสูงสุดด้านความโดดเด่นของ กิจกรรมท่องเที่ยวในรอบปี จากการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดว่า หากชุมชนใด ต้องการใช้การ เที่ยวเชิงนิเวศเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่าของชุมชนไว้ให้ได้นั้น จำเป็นต้องใช้จุดแข็ง หรือข้อได้เปรียบต่างๆ สร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนในการสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน (ณชพงศ จันจุฬา, 2548) สอดคล้องกับผลการศึกษาของสุทิตย์ อบอุ่น (2540) ซึ่งศึกษาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นใน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีเส้นทางสายลำน้ำกก ได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่งเสริมให้ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร ท่องเที่ยวในชุมชน โดยจะต้องมุ่งเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ข่าวสารและการฝึกอบรมในเรื่องเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นและการจัดตั้งกลุ่ม/ชมรมท่องเที่ยวหรือ การจัดตั้งธุรกิจชุมชนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ปรับปรุงและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรท่องเที่ยวใน ชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ปิยวรรณ คงประเสริฐ (2551) ยังได้เสนอแนะแนวทางการวางแผนเพื่อพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการ กล่าวคือ ควรพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อปลุกจิตสํานึกด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนสามารถ พัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

114 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ควรส่งเสริมให้ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชน โดยจะต้องมุ่งเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ข่าวสาร และการฝึกอบรมในเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ข้อเสนอที่ 9 ‘ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ’ และจาก ข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการที่เป็นการวิจัยในพื้นที่ที่ดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังกล่าวข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นต่อการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเพือ่ ให้เกิดการอนุรกั ษ์ การฟืน้ ฟู และการใช้ประโยชน์ ของชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และเป็นตัวอย่างของการจัดการที่ อปท.สามารถนำไปเป็นแบบอย่าง ของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการพื้นที่ทางด้านการส่งเสริม การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของคนในชุมชนท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพ และการสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นได้อีกช่องทางหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น นี่จึงเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งที่จะ เพิ่มทางเลือกและทางออกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืนตาม ศักยภาพของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น เอกสารอ้างอิง ณชพงศ จันจุฬา. 2548. ศักยภาพของชุมชนเกาะศรีบอยาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณพื้นที่ ชุ่มน้ำนานาชาติปากแม่น้ำกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปิยวรรณ คงประเสริฐ. 2551. การทองเทีย่ วเชิงนิเวศแบบูรณาการเพือ่ การวางแผนพัฒนาการท่องเทีย่ วอย่าง ยั่งยืน เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญาโทร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุทิตย์ อบอุ่น. 2540. ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาเฉพาะกรณี: เส้นทางสายลำน้ำกก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 115


ข้อเสนอที่ 10

สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นจัดทำ แผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนอัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม พบว่า การจัดทำยุทธศาสตร์และการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชน จากผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารเทศบาลตำบลอัมพวา ตัวแทนชุมชนและประชาชนในเทศบาล ตำบลอัมพวาในฐานะเจ้าของพื้นที่และผู้ที่ได้รับผลโดยตรง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในฐานะผู้วิจัยและที่ปรึกษาด้านวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายแห่ง ทำให้ เกิดการดำเนินการอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูชมุ ชนอัมพวาอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ทำให้ชมุ ชนอัมพวามีการเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็วจากชุมชนเล็กๆ ที่เกือบจะไม่มีใครรู้จัก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แห่งหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน (วรรณศิลป์ พีรพันธุ์และศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์; 2553) ในส่วนความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านทรัพยากรธรรมชาตินน้ั จากการศึกษา วิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า แนวคิดการมีส่วนร่วม เน้นการปกครองท้องถิ่นที่ ประชาชน ประชาคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมคิด วางแผน ตัดสินใจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ ร่วมกันในท้องถิ่น และให้ความสำคัญกับระบบปกครองที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาทในการกำกับ ธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ได้อย่างเต็มที่ และแนวคิด ท้องถิ่นนิยมก็ได้ให้ความสำคัญกับการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมกับรัฐ ส่วนกลาง/ ภูมิภาคในการตัดสินใจจัดสรรและอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น (มิ่งสรรพ์

ขาวสอาด และคณะ. 2555) กรณีศึกษาทรัพยากรประมงและชายฝั่งในภาคตะวันออกพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ความพร้อมเพราะได้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง 6 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลอ่ า วใหญ่ ตำบลห้ ว งน้ ำ ขาว ตำบลหนองเสม็ ด ตำบลน้ ำ เชี ่ ย ว ตำบลหนองโสน ตำบล

หนองคันทรง เพื่อปรึกษาหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีปัญหาร่วมกันในเรื่องการบุกรุกทำลาย

116 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องบูรณาการเข้ากับแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งต้องครอบคลุมทุกมิติที่เป็นองค์ประกอบ ของการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

ป่าชายเลน การตัดไม้ การทำประมงชายฝั่งผิดกฎหมาย และทรัพยากรสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง เพื่อ

ร่วมกันคิดหาแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างยั่งยืนของทั้ง 6 ตำบล (มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. 2555) ในการดำเนินภารกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และการจัดการไฟป่า มีองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยที่ร่วมกับชุมชนในการกำหนดกติกาการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรป่าไม้ และบางแห่งได้ยกระดับกติกาชุมชนขึ้นเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น (กอบกุล รายะนาคร และคณะ. 2555.) ในด้านการบริหารจัดการน้ำจะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำที่กำหนด โครงสร้างการบริหารจัดการน้ำโดยยึดลุม่ น้ำเป็นหลัก จึงยังเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งดำเนินการต่อไป โดยพัฒนา กลไกการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการในระดับ 25 ลุ่มน้ำหลัก 254 ลุ่มน้ำสาขา และอีกกว่า 5,000 ลุ่มน้ำย่อย พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุม่ ผูใ้ ช้นำ้ ซึง่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะมี ความสำคัญในทุกระดับ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดและมีศักยภาพสูงในการ จัดการปัญหาความขัดแย้งเรือ่ งน้ำ ซึง่ หลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ก็ทำหน้าทีเ่ หล่านีไ้ ด้เป็นอย่างดี

อยู่แล้วในปัจจุบัน (กอบกุล รายะนาคร และคณะ. 2555.) ดังนั้น ข้อเสนอที่ 10 ‘สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม’ และงานสนับสนุนทางวิชาการข้างต้น ทำให้เห็นภาพรวมของประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน ท้องถิ่นในการบริหารจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะกำหนดแนวทางและทิศทางการพัฒนาด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างยัง่ ยืนขึน้ รวมทัง้ เป็นการสร้างกลไกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ที่มาจากการนำใช้แผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการคิดที่มาจากการมีส่วนร่วมของ

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 117


ภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้ อันนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ การจัดทำแผนพัฒนา ท้องถิน่ ซึง่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะต้องจัดทำให้มคี วามครอบคลุมในมิตติ า่ งๆ ทีเ่ ป็นองค์ประกอบ ของการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้น ประเด็นทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ามิติอื่น ดังนั้น ข้อเสนอดังกล่าวนี้ จึงเป็นเรื่อง สำคัญยิง่ ทีจ่ ะทำให้ชมุ ชนท้องถิน่ มีเครือ่ งมือในการบริหารจัดการ ควบคุม และติดตามผลการดำเนินงาน

ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับการดำเนินงานทางด้านการ พัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิน่ ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านสังคม เข้ากับการอนุรกั ษ์ การฟืน้ ฟู และการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของชุมชนท้องถิน่ และเป็นเครือ่ งมือในการสร้างวาระ พลเมืองทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ และศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์. 2553. เอกสารประกอบปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน “ชุด เศรษฐกิจพอเพียง” เรื่อง “การอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม” วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. 2555. การศึกษานโยบายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขับเคลื่อนการกระจาย อำนาจสู่ อปท. และชุมชน. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. 2555. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: อำนาจ ปัญหาและข้อเสนอนโยบาย. เชียงใหม่: มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ. มิงสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. 2555. กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น. เชียงใหม่ : มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ. กอบกุล รายะนาคร และคณะ. 2555. การปฏิรูปกฏหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและนวัตกรรมการ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของ อปท. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


นโยบายสาธารณะ

ด้านการเรียนรู้ของเด็ก และเยาวชน


ข้อเสนอที่ 1

สนับสนุนและจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบล หรือกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชน เพื่อให้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมของชุมชน

ปัญหากระแสหลักในสังคมปัจจุบันด้านเด็กและเยาวชนทั้งในพื้นที่ชนบทและพื้นที่เมืองที่

ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ มักจะเป็นเรื่องของยาเสพติดและการทะเลาะวิวาท เพราะความสัมพันธ์และ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกันของเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่ลดน้อยลง ดังนั้นการ ขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนจึงเป็นแนวทางสำคัญในการลดผลกระทบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว สภาเด็กและเยาวชนเป็นเสมือนกลไกขับเคลื่อนงานและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งระดับตำบล ระดับ อำเภอ และระดับจังหวัด ที่มีความหลากหลายทั้งกระบวนการสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการทำกิจกรรม จากรายงานผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่า สภาเด็กและเยาวชนมีบทบาทในการ ช่วยเหลือกลุม่ เด็กและเยาวชนในชุมชนในเรือ่ งต่างๆ อาทิ การต่อต้านยาเสพติด บทบาทในการร่วมกัน

แก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในทักษะ

การดำเนินชีวิตที่สามารถไปลดผลกระทบต่อภาวะคุกคามด้านต่างๆ ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง (สมพร

ดวงคำฟู, 2549, สุปราณี ไวมงคุณ, 2550, สุภาพร นกเจริญ, 2551) จากแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ที่มีจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพเด็ก และเยาวชนตามช่วงวัย การคุ้มครองและพัฒนาเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของสภาเด็กและเยาวชนและภาคีเครือข่าย เพือ่ ให้ทกุ ภาคส่วนมีสว่ นร่วมในการพัฒนาเด็ก และเยาวชน รวมทัง้ การพัฒนาระบบบริหารจัดการในการคุม้ ครองและเด็กและเยาวชน (คณะกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554) ทั้งนี้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสภาเด็ก

และเยาวชน จำเป็นต้องให้เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้จากการมีส่วนร่วมไปปรับใช้ให้ได้มาก ที่สุด ทั้งการสร้างภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดย โดยเฉพาะจากการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน

120 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบล หรือกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชน เพื่อให้มีส่วนร่วมทำกิจกรรม ของชุมชน เป็นกลไกสำคัญเชิงพื้นที่ในการพัฒนา และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับชุมชน โดยเฉพาะการรวมตัวอย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มเด็กและเยาวชน ในการทำกิจกรรมเพื่อคนอื่น ประสาน และสร้างความเข้าใจต่อการปฏิบัติงานของสภาเด็กและเยาวชน รวมไปถึงการอำนวยความ สะดวกในการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนให้เกิดความต่อเนื่อง (ขวัญจิตร สิงค์คำ, 2552) นอกจากนี้ สภาเด็กและเยาวชนยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะและสร้างความรู้ที่ เป็นฐานการศึกษา ซึง่ เป็นจุดมุง่ หมายในชีวติ เด็กและเยาวชนทีจ่ ำเป็นต้องศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายถึงการประกอบอาชีพที่มั่นคงในอนาคต และสภาเด็กและเยาวชนยังมีส่วนใน การพัฒนาตนเอง ทั้งด้านอาชีพ ด้านสังคม ด้านการทำประโยชน์ทางการเมือง และด้านความเป็นอยู่ ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้เกิดครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และความเป็นพลเมืองทีจ่ ะสามารถพัฒนา บ้านเมืองให้เจริญได้ (สมเอก หอมเกษร, 2550) การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบลหรือกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชน เพื่อให้มี

ส่วนร่วมทำกิจกรรมของชุมชน เป็นกลไกสำคัญเชิงพื้นที่ในการพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับ ชุมชน โดยเฉพาะการรวมตัวอย่างสร้างสรรค์ของกลุม่ เด็กและเยาวชนในการทำกิจกรรมเพือ่ คนอืน่ เช่น

ผู้เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ หรือในช่วงเวลาที่จะช่วยกันสร้างความปรองดอง ภายหลังจากที่ประเทศ ประสบกับความวุน่ วาย การแตกแยกทางความคิดทางการเมือง เช่น กลุม่ เยาวชนการเมืองใหม่ กลุม่ เยาวชนประชาธิปไตย กลุ่มเยาวชนจากเหตุการณ์สึนามิ กลุ่มเด็กและเยาวชนในสังคมเครือข่าย

ออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ซึ่งต่างมีความพึงพอใจ และมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554)

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 121


ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เกิดความเข้มแข๋็ง และสามารถดำเนินกิจกรรมสรา้งสรรค์ในพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะ

การสนับสนุนข้อมูล บุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเสริมพลังให้สภาเด็กและ เยาวชนสามารถเป็นกลไกเชื่อมประสาน และดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ขวัญจิตร สิงค์คำ. (2552). ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง. รายงาน การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัย

การปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สมพร ดวงคำฟู. (2549). การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สมเอก หอมเกษร. (2550). การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายในชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย ศึกษาเฉพาะกรณี สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. รายงานการศึกษา อิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครอง ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุปราณี ไวมงคุณ. (2550). ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเครือข่าย กรณีศึกษา โครงการสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดระนอง. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุภาพร นกเจริญ. (2551). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านการเผชิญกับอารมณ์ของเยาวชน ในศู น ย์ ฝ ึ ก และอบรมเด็ ก และเยาวชนตำบลบ้ า นบึ ง จั ง หวั ด ชลบุ ร ี . วิ ท ยานิ พ นธ์ ศ ึ ก ษาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 122 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 2

ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณ ให้เด็กและเยาวชนมีเวทีในการจัดกิจกรรม เชิงสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนกิจกรรมของเด็กและเยาวชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบสนับสนุนหรือ กลไกส่งเสริมที่เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เกิดความคล่องตัวของการพัฒนา การหารือผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายเพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติกิจกรรม เป็นสิ่งที่ช่วยหนุนเสริมการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก และเยาวชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเชิงบวกให้กับเด็กและเยาวชน ในการดำเนินกิจกรรมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (ดวงจันทร์ ขันธวิทย์, 2538) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับชาติลงไปถึงระดับจังหวัด และอำเภอ แล้วก็ตาม แต่ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสภาเด็กและเยาวชนต้องการได้รับการ สนับสนุนด้านงบประมาณ องค์ความรู้ และพี่เลี้ยง ประกอบกับคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน และ สมาชิกสภาฯ ยังขาดความสามัคคีและความพร้อมในการร่วมงาน (สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ, 2552) ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรธุรกิจ เป็นองค์กรที่ มีความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ซึ่งสอดคล้องกับความ ต้องการของเด็กและเยาวชนที่เป็นข้อสรุปจากเวทีสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (2552)

ที่ตอ้ งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพืน้ ทีแ่ ละจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกัน แก้ไข และพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง (สมพงษ์

จิตระดับ และคณะ, 2552) รวมทั้งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่กำหนดให้ส่งเสริมบทบาทขององค์กรเอกชน และองค์กรชุมชนในการพัฒนาเด็กและ เยาวชน โดยให้องค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและ เยาวชน และมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการเมืองหรือมุ่งค้ากำไรจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าว

มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน และมีสิทธิรับ เงินอุดหนุนความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากรัฐ

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 123


อปท.ควรบรรจุแผนงบประมาณ และสนับสนุนการเชื่อมเครือข่ายการทำงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อให้มีกิจกรรมสร้างสรรค์เกิดขึ้น ทำให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งผลให้เด็กเกิดการลด ละ เลิก การดื่มสุรา ส่งเสียงดัง การทะเลาะวิวาท และปัญหาด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ นงบประมาณให้ เด็ ก และเยาวชน มี เวที ในการจั ด กิ จ กรรมเชิ ง สร้างสรรค์ ต้องมีระบบการสนับสนุนทั้งภายในและภายนอก เพื่อหนุนเสริมและต่อยอดกระบวนการ ทำงาน ตลอดจนการเปิดใจยอมรับฟังเด็กและเยาวชนในการแสดงออกเชิงความคิด ในรูปแบบของ การส่งเสริมสนับสนุนควบคู่กับการแก้ปัญหาร่วมกับเด็กและเยาวชน (สมพร ดวงคำฟู, 2549) และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรบรรจุแผนงบประมาณ และอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรม รวมถึง สนับสนุนการเชื่อมเครือข่ายการทำงานด้านเด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรวมตัวกัน ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่งผลให้เด็กเกิดการลด ละ เลิก การดื่มสุรา ส่งเสียงดัง การทะเลาะวิวาท และปัญหาด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ (สมัชชาการพัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ, 2552) ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ องค์ความรู้ และบุคลากร ในการ ดำเนินกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนหรือกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จะสามารถเป็นกลไกกลาง ในการประสานพลังของกลุ่มเด็กและเยาวชน ในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ของเด็ก ให้มีความต่อเนื่อง ของกิจกรรม รวมไปถึงมีพื้นที่เรียนรู้ ที่จะสามารถสร้างให้เด็กมีพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วม กันในชุมชน (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554)

124 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ดวงจันทร์ ขันธวิทย์. (2538). ปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรม เด็กและเยาวชนของเทศบาล เขตการศึกษา 12. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550. สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ. (2552). รายงานสภาวการณ์เด็กและเยาวชน กรุงเทพฯ และปริมณฑล : โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชน (Child Watch) กรุงเทพฯ และปริมณฑล. รายงานการ วิจัยสถาบันรามจิตติ. สมพร ดวงคำฟู. (2549). การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2552) อ้างถึงใน แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 125


ข้อเสนอที่ 3

กำหนดกฎเกณฑ์ให้ทุกกลุ่มกิจกรรม มีสมาชิกกลุ่มเป็นเด็กและเยาวชนร่วมอยู่ด้วย ในกลุ่มต่างๆ ในตำบล

การกำหนดกฎเกณฑ์ให้ทุกกลุ่มกิจกรรมมีสมาชิกกลุ่มเป็นเด็กและเยาวชน รวมอยู่ด้วยในกลุ่ม ต่างๆ ในตำบลนั้น เป็นการสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้และพัฒนา ตนเอง การร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมสาธารณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน จะเป็นการช่วยเตรียมพร้อมให้เด็กและเยาวชนเติบโตขึน้ เป็นพลเมืองทีม่ คี ณ ุ ภาพ โดยชุมชนและหน่วยงาน ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วัด หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิของเด็กและเยาวชน และต้องมีส่วนร่วมในการจัดบริการที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนเข้าถึง แหล่งเรียนรู้และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม หรือแม้แต่กลุ่มต่างๆ ในชุมชนก็สามารถให้ เด็กเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากความต้องการของเด็กและเยาวชน ในเวทีสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (2552) ที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมตลอดทุกกระบวนการในการ จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน และต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง กำหนด เรื่องการพัฒนาเด็กเยาวชนในแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยให้มกี ารจัดสภาพแวดล้อมทีเ่ ป็น มิตร และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ส่งผลให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน นโยบายและเสนอแนวปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่วมพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน ด้านกิจกรรม พัฒนาเด็กและเยาวชน และการส่งเสริมกิจกรรมกีฬาของส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดย ให้เด็กและเยาวชนทุกกลุ่ม ทั้งเด็กหญิงและชาย เด็กที่มีภาวะเสี่ยง เช่น วัยรุ่นที่ไม่ได้เรียน เด็กใน ครอบครัวยากจน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน (สุทัศน์ ภักดีการ, 2554) รวมถึงมีการ

ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเด็กและเยาวชน ในการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อ

126 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมสาธารณะ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน จะเป็นการช่วยเตรียมพร้อมให้เด็กและเยาวชนเติบโตขึ้น เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล อันจะเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและสังคมต่อไป (สุปราณี ไวมงคุณ, 2550) กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนนั้น ควรมาจากการร่วมคิดของเด็กและเยาวชนเอง โดยมีผู้ใหญ่คอยสนับสนุนในฐานะพี่เลี้ยง ซึ่งการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในทุกขั้นตอนของ กิจกรรมหรือโครงการ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะเด็กและเยาวชนรู้ว่าจะต้องสื่อสาร อย่างไร เพื่อให้เข้าถึงเพื่อนในวัยเดียวกัน เด็กสามารถสื่อสารกันในเรื่องที่มีความอ่อนไหวได้ดี เช่น การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งการสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเด็กและ เยาวชน กับกลุ่มสตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม คนยากจน ซึ่งการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนจะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้น มีส่วนเป็นเจ้าของโครงการหรือ

กิจกรรมนั้นๆ ได้อย่างแท้จริง (สุปราณี แก้วเพชร, 2542) ดังนั้น การกำหนดให้ทุกกลุ่มกิจกรรมของชุมชนมีเด็กและเยาวชนรวมอยู่ด้วย ในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของชุมชน จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ ตนเอง รับรู้บทบาทความสัมพันธ์เชิงสังคม รวมถึงเกิดการปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ และสร้างความ เป็นผู้นำให้กับเด็กและเยาวชน อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างพลังทางสังคมให้เด็กและเยาวชนแสดงออก ทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบตั หิ น้าที่ ความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองทีด่ ี ของประเทศ สร้างค่านิยมไม่ยอมรับการกระทำผิดและการคอร์รัปชั่น ส่งเสริมการเปิดพื้นที่ในการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างในทางสร้างสรรค์และการเข้ามีส่วนร่วมในองค์กร เพื่อการพัฒนาในระดับต่างๆ ร่วมกระบวนการพัฒนาประเทศตั้งแต่ร่วมคิด และร่วมตัดสินใจ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554)

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 127


เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ , สำนั ก งาน สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี . (2554).

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. สมัชชาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2552. อ้างถึงใน แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.25552559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สุทัศน์ ภักดีการ. (2554). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านแผนงานและวิชาการและด้านกิจกรรมพัฒนา เด็กและเยาวชน และส่งเสริมกีฬาของส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร. สุปราณี แก้วเพชร. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ : ศึกษากรณี ชุมชนตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร-

มหาบัณฑิต สาขาการจัดการ โครงการสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สุปราณี ไวมงคุณ. (2550). ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเครือข่าย กรณีศึกษา โครงการสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

128 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 4

มีนโยบายร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงวัยรุ่น

การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตและสังคม และจัดเป็น ยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดในการปฏิรูประบบสุขภาพ (ประเวศ วะสี, 2542) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะช่วย ให้บคุ คลเพิม่ ความสามารถในการควบคุมสภาวะเป็นอยูท่ ด่ี ไี ว้ และปรับปรุงสุขภาพให้ดขี น้ึ ซึง่ กล่าวได้วา่ ภาวะสุขภาพเมื่อแรกเกิดและวัยแรกเริ่มของชีวิตจะมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและโรคเรื้อรังใน

วัยผู้ใหญ่ ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพที่ดีควรเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา เพราะนอกจากจะเป็นการช่วย เสริมสร้างพัฒนาการที่สมวัย และทำให้มีระบบภูมิคุ้มที่ดีช่วยป้องกันสุขภาพ (อุมาพร ฉัตรวิโรจน์, 2551) จากนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กตามแนวทาง ‘โลกที่เหมาะสม สำหรับเด็ก (พ.ศ.2550-2549) ของประเทศไทย’ ได้กำหนดมาตรการสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ด้านคุณภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไว้ว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมให้

เด็กทุกคนต้องได้รับความรู้และการฝึกทักษะให้มีร่างกายแข็งแรง วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องอนามัย

เจริญพันธุ์ ครอบครัวศึกษา และเพศศึกษา โดยรัฐจัดบริการที่เด็กเข้าถึงได้สะดวก มารดาหลังคลอด ได้รับการดูแล รวมถึงมาตรการด้านเด็กกับผลกระทบจากโรคเอดส์ ผูเ้ กีย่ วข้องกับเด็กต้องเข้าใจปัญหา เกีย่ วกับเอชไอวี/เอดส์ ที่ถูกต้อง ไม่รังเกียจผู้ที่ติดเชื้อหรือเป็นเอดส์ โดยเฉพาะที่เป็นเด็ก นอกจากนี้

ยังได้มุ่งเน้นการเสริมสร้างครอบครัวให้มีเวลาในการเลี้ยงดูบุตรที่ได้คุณภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความ ปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดยการเร่งให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ชุมชน และ องค์กรต่างๆ เข้าใจวิธีการเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กทุกประเภท (คณะ กรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554) จะเห็นได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพเด็กและวางรากฐานสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กอย่างมีแบบแผนนั้น ควรจะต้องได้รบั คำแนะนำทีถ่ กู ต้องเหมาะสมจากเจ้าหน้าทีใ่ นหน่วยบริการสุขภาพ รวมถึงความร่วมมือ จากภาคชุมชน โดยต้องเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา เนื่องจากเป็นวัยแรกเริ่มของชีวิต และเป็นการวาง รากฐานทางสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กที่จะกลายไปเป็นเยาวชนรุ่นต่อไป (ราตรี ธนูศิลป์, 2548) โดยต้อง นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 129


ภาวะสุขภาพเมื่อแรกเกิดและวัยแรกเริ่มของชีวิต จะมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ และโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพที่ดีควรเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา อาศัยความร่วมมือจากครอบครัวที่เป็นปราการด่านแรกของการส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีสุขภาวะที่ สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การเลี้ยงดูของผู้ปกครองจึงมีบทบาท สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ได้รับการกระตุ้นให้ เกิดพัฒนาการ ตลอดจนได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัย คุณธรรม จริยธรรม รวมถึงการจัดกิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ จากผู้เลี้ยงดูอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างมีแบบแผนก็จะทำให้เด็กมี การเจริญเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ (อมลวรรณ วีระธรรมโม, 2548) ดังนั้น การกำหนดแนวทางและนโยบายร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ ครอบครัว และชุมชนใน การส่งเสริมสุขภาพเด็ก จะช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับ วัยและพัฒนาการทุกด้าน ซึ่งหากเด็กได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้องจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนา

ทุกด้านต่อเนื่องไปจนกระทั่งเติบโตเป็นเยาวชนและก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และ กลายเป็นกำลังที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติต่อไป างอิง เอกสารอ้ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. เอกสารอ้พ.ศ.2555-2559. างอิง ประเวศ วะสี. (2542). การส่งเสริมสุขภาพ แนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยและ พัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. ราตรี ธนูศิลป์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อมาตรฐานเกณฑ์การประเมินคุณภาพการส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ

0-5 ปี ของศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อมลวรรณ วีระธรรมโม. (2548). การส่งเสริมสุขภาพเด็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2, หน้า 2-13. อุมาพร ฉัตรวิโรจน์. (2551). สุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในเขตชุมชนเมืองกำแพงเพชร. รายงานการวิจัยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

130 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 5

สร้างพื้นที่สร้างสรรค์หรือลานกิจกรรม อย่างน้อย 1 พื้นที่ในตำบล เด็กและเยาวชนเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และวัยเจริญทางด้านทักษะ แต่สภาพแวดล้อมใน ปัจจุบัน กลับเต็มไปด้วยความเสี่ยงและพิษภัย จากสื่อ สังคมเครือข่ายออนไลน์ และจากสังคม การ จะนำพาเด็กและเยาวชนออกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพื้นที่เสี่ยง จำเป็นต้องมีการผลักดันและขับ เคลื่อน ‘พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน’ เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักในปัญหา ช่วย ขจัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาต่อเด็ก โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างรอบด้าน ทำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์และลานกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งจะ เป็นพื้นที่สร้างมิตรภาพ สร้างการเรียนรู้ และสร้างสุขภาวะของเด็กและเยาวชน รวมไปถึงสร้าง กระบวนการมีสว่ นร่วมของชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมเพือ่ ส่งเสริมจิตสำนึกการรักษาสิง่ แวดล้อมในชุมชน ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว การจัดหาและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นลานกิจกรรมของชุมชน เป็นต้น (สุนารี ระดมกิจ, 2553) สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 1 และ 2 (2552-2553) เสนอว่า เด็กและ เยาวชนต้องการโอกาสในการมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้ผู้ใหญ่ส่งเสริมให้เกิดเวทีและพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเด็กกับเด็ก และเด็กกับผู้ใหญ่ เพื่อให้ เด็กและเยาวชนค้นพบตนเอง เติบโตเป็นพลเมืองที่มีจิตอาสาในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ซึ่ง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ได้ระบุมาตรการเสริมสร้างสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชนไว้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเพิ่มบทบาทในการจัด พื้นที่และกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างเพื่อแสดงออกทางความคิดและศักยภาพใน เชิงสร้างสรรค์ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กและเยาวชน รวมทั้งต้องจัดให้มีระบบเฝ้าระวังและ

เตือนภัยทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่มีผลกระทบ ต่อพัฒนาการที่ไม่พึงประสงค์ (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554)

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 131


พื้นที่สร้างสรรค์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็น ‘ข้อต่อ’ สำคัญในการเชื่อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาสนับสนุน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเด็กและ เยาวชน ทั้งในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ สถานที่ และอุปกรณ์ที่จำเป็น โดยต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์

ลานกิจกรรม หรือแหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบต่างๆ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์กีฬา ศูนย์วัฒนธรรมและศิลปะ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554) นอกจากนี้ การสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์ ยังหมายรวมถึง การพัฒนาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จนเกิดเป็นพื้นที่ในการแสดงออกที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านการผลิตและเผยแพร่สาระสร้างสรรค์ต่างๆ โดยเด็กเยาวชนต้องมีส่วนร่วมในการผลิตและเผยแพร่ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วย (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554) ดังนั้น พื้นที่สร้างสรรค์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน ระดับพื้นที่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็น ‘ข้อต่อ’ สำคัญในการเชื่อมหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้เข้ามาสนับสนุนและประชาสัมพันธ์กิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนให้สังคมได้รับรู้ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนกลยุทธ์ในการสร้างต้นแบบและสร้างแกนนำเยาวชนที่จะร่วมขับเคลื่อน งานประเด็นด้านต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศต่อไป

132 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ , สำนั ก งาน สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี . (2554).

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สมัชชาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 1 และ 2 (พ.ศ.2552-2553). อ้างถึงใน แผนพัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สุนารี ระดมกิจ. (2553). เมืองเพื่อนเด็ก CHILD FRIENDLY CITIES ตามทรรศนะของเด็ก กรณีศึกษา นักเรียนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สิง่ แวดล้อม) มหาวิทยาลัย มหิดล.

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 133


ข้อเสนอที่ 6

จัดตั้งศูนย์คลายทุกข์เพื่อยุติความรุนแรง แก่เด็กและครอบครัว และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังความรุนแรง โดยมีทีมสหวิชาชีพระดับตำบลร่วมด้วย ปัญหาความรุนแรงย่อมก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมา อาทิ ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้ ล้วนแต่ทำให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นบุคคลที่ด้อย คุณค่า และไม่สามารถพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมได้ หรือไม่ก็อาจต้องเสียงบประมาณจำนวน มากในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาเหล่านี้ (อัถธิพงษ์ หนากลาง, 2553) จากการศึกษา

เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พบว่า สาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่ ครอบครัวแตกแยก ขาดความรักความอบอุ่น พ่อแม่ใช้ความรุนแรง ไม่เข้าใจเด็ก เด็กผู้หญิงถูกล่อลวง และผู้สูงอายุถูกกระทำจากลูกและสมาชิกในครอบครัว (บุญเสริม หุตะแพทย์, 2546) การสะท้อนความเห็นจากเวทีสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (2552) พบว่า ปัจจุบันการปฏิสัมพันธ์กันภายในครอบครัวลดลง ทำให้เด็กและเยาวชนหันไปหาอบายมุข สิ่งมอมเมา และประพฤติตนตามความต้องการของตัวเองมากขึ้น ล้วนส่งผลสืบเนื่องต่อปัญหาความรุนแรงภายใน สังคมต่อไป และจากการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาเด็กและเยาวชน เกี่ยวกับความอยู่ รอดปลอดภัยในสังคม โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2552) พบว่า เด็กและ เยาวชนไทยมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 โดยอายุเฉลี่ยของเด็กที่ใช้ความรุนแรงและ กระทำผิดกฎหมายมีอายุลดน้อยลงกว่าการสำรวจในปี 2551 ทีผ่ า่ นมา จากสถานการณ์ดงั กล่าวข้างต้น มีหน่วยงานจำนวนมากที่ได้พยายามใช้แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงดังกล่าว เช่น การสนับสนุน การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในการจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน การจัดกิจกรรมเฝ้าระวังและยุติการใช้ความรุนแรง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และค่านิยมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนให้ เหมาะสมตามช่วงอายุ ตามกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

134 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในตำบลในการจัดหาทีมสหวิชาชีพ เพื่อร่วมคลี่คลายปัญหาด้านความรุนแรงในพื้นที่ จะเป็นการสร้างรากฐานชุมชนที่เข้มแข็ง สร้างความมั่นคง และความอยู่รอดปลอดภัยในสังคมอย่างยั่งยืน

(พ.ศ.2555-2559) กล่าวไว้ว่าถึงแนวทางการเสริมสร้างบทบาทครอบครัว ชุมชน ศาสนสถานให้เข้มแข็ง และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนัก นายกรัฐมนตรี, 2554) การแก้ปัญหาและยุติความรุนแรงแก่เด็กและครอบครัวจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในการแก้ปญ ั หา เนือ่ งจากเป็นเรือ่ งทีล่ ะเอียดอ่อนซับซ้อน จากการศึกษาการบริการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่อผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พบว่า การบริการที่ผู้รับบริการได้รับสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักกฎหมายเป็นผู้ให้บริการ (บุญเสริม หุตะแพทย์, 2546) ดังนั้น การมี มาตรการทางสังคมที่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง รวมถึงสร้างการมี ส่วนร่วมและความเข้มแข็งแก่เครือข่ายระดับองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยของสังคมที่ใกล้ชิดกับปัญหา รับรู้ปัญหามากที่สุด สามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเบือ้ งต้น และป้องกันการลุกลาม ของปัญหา (ลักษณ์นารา จรัณยานนท์, 2549) เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติ หากเด็กและเยาวชนเป็น

คนที่มีคุณภาพ ย่อมมีโอกาสสร้างความเจริญให้กับสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต (อัถธิพงษ์ หนากลาง, 2553) ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์คลายทุกข์เพื่อยุติความรุนแรงแก่เด็กและครอบครัวในระดับ ตำบล รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการเฝ้าระวัง จึงควรเกิดขึน้ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในตำบลโดยการจัดหาทีมสหวิชาชีพเพื่อร่วมคลี่คลายปัญหาด้านความรุนแรงในพื้นที่ อันจะเป็นการ สร้างรากฐานพลังชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 135


เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ , สำนั ก งาน สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี . (2554).

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. บุญเสริม หุตะแพทย์. (2546). ลักษณะการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว. รายงานการวิจัยสาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ลักษณ์นารา จรัณยานนท์. (2549). การใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวใน ชุ ม ชนแออั ด เขตกรุ ง เทพมหานคร. วิ ท ยานิ พ นธ์ ส ั ง คมสงเคราะห์ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช า สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2552). ความอยู่รอดปลอดภัยในสังคม. รายงานการวิจัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. สมัชชาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2552. อ้างถึงใน แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.25552559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. อัถธิพงษ์ หนากลาง. (2553). การส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนด้านการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย ในเขตเทศบาลตำบลสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รฐั ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

136 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 7

สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ รวมถึงการจัดระบบการศึกษารูปแบบบูรณาการ สังคม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพตามบริบทพื้นที่ สำหรั บเด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งเด็กพิเศษ

‘การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ’ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษามีบทบาทสำคัญใน การพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ เพื่อที่จะยกระดับตนเองให้เป็น บุคคลที่มีคุณภาพ แต่การศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่และต่อ ตัวของเด็กเองได้ เมื่อเทียบกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพเศรษฐกิจและสังคม หากระบบ การศึกษามีความหลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีช่องทางที่ง่ายต่อการเข้าถึง และครอบคลุม กับกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ก็จะนำไปสู่การประกอบอาชีพที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง จากแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ได้ระบุมาตรการพัฒนาคุณภาพ

เด็กและเยาวชนไว้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาทางเลือกทุกระดับ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และส่งเสริมอาชีพนอกระบบการศึกษาที่หลากหลายตามความต้องการ ของสังคมและเศรษฐกิจ และมีการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ รวมถึงการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต อาทิ การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมที่มีความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมแก่เด็กและเยาวชนตาม บริบทของพื้นที่ การปลูกฝังคุณค่าการรักษาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เช่น โครงการยุวเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องมีการจัดบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กที่ต้องการ การคุ้มครองพิเศษ เด็กที่มีความสามารถหรือความถนัดพิเศษ เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ อย่างต่อเนือ่ งและเต็มตามศักยภาพของตน (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554)

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 137


การประยุกต์แนวคิดทางศาสนา หลักปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนนั้นๆ เข้ากับระบบการศึกษา จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างการเรียนรู้รูปแบบใหม่

อนึ่ง การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ ไม่มีรูปแบบสำเร็จรูปที่ลงตัว ดังนั้นการประยุกต์แนวคิดทางศาสนา หลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนนั้นๆ เข้ากับระบบ

การศึกษา จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างการเรียนรู้รูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์ศึกษาพระศาสนา

วันอาทิตย์ ที่ฝึกสั่งสอนอบรมให้เยาวชนมีจิตสำนึกที่ดีงาม รู้จักการรับผิดชอบตนเองและสังคม ให้มี ความรู้และเข้าใจหลักปฏิบัติของศาสนา ซึ่งเด็กและเยาวชนสามารถนำหลักการดังกล่าว ไปปรับใช้ เป็นแนวทางการประพฤติและปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้ (สุพัตรา ศรีสุพรรณ, 2548) รวมทั้งการ แทรกวิชาชีพและการอนุรักษ์ เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเคลื่อนไหวอย่างสมดุลของ สังคมและชุมชน ที่ช่วยเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการพัฒนา (สมคิด เขียวรจนา, 2540) ดังนั้น การสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ รวมถึง การจัดระบบการศึกษารูปแบบบูรณาการสังคม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ ตามบริบทพื้นที่ สำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งเด็กพิเศษ จึงเป็นการพัฒนาให้ เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเป็นกลไกสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานรัฐและเอกชน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ใน การค้นหาศักยภาพและขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน (ภู่พงศ์ ภู่อาภรณ์, 2541) เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ทั้งสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต จนนำไปสู่ความยั่งยืนและมั่นคงในอาชีพต่อไป

138 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สมคิด เขียวรจนา. (2540). การดำเนินงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนของโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดน : กรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่ ตำบลนาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ภู่พงศ์ ภู่อาภรณ์. (2541). การบูรณาการกิจกรรมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการ ศึกษาตามอัธยาศัยในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการศึกษานอกระบบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุพัตรา ศรีสุพรรณ. (2548). การฝึกอบรมวิชาชีพกับพุทธศาสนาวันอาทิตย์. สำนักส่งเสริมและอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 139


ข้อเสนอที่ 8

สร้างภาคีเครือข่ายและจัดตั้งกลไกขับเคลื่อน

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ในการเพิ่มสมรรถนะเด็กและเยาวชนทุกด้าน

การขับเคลือ่ นการพัฒนาและแก้ปญ ั หาด้านเด็กและเยาวชนในปัจจุบนั นัน้ สถานการณ์ทเ่ี กิดขึน้ หรือศักยภาพในการแก้ปัญหามีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่ ฉะนั้นกลไก การขับเคลื่อนงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนจึงไม่สามารถทำได้โดย ‘ลำพัง’ การ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการทำงาน จึงเป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนและพัฒนางานด้านเด็กและเยาวชนในชุมชน ที่มุ่งเน้นกระบวนการสำคัญในการสร้างการ เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของเด็กและเยาวชนในทุกมิติ (คณะกรรมการส่งเสริม

การพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554) การขับเคลื่อนงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะเด็กและเยาวชน จะต้องมีกลไกเชื่อมประสานการทำงาน ที่มีความหลากหลาย ทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน โดยมีกลไกหลักที่สำคัญ คือ กลไกทางสังคม ที่มาจากวิถีชาวบ้าน หรือผู้คนในชุมชน เพราะความสนิทสนมคุ้นเคยกันแบบเครือญาติ จะทำให้เกิด การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งกลไกด้านครอบครัว ในการอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่ และการปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (อุบล หมุดธรรม, 2544) ในการสร้างภาคีเครือข่ายและกลไกขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการสร้างการเรียนรู้ของเด็กและ เยาวชนในพื้นที่นั้น เป็นการประสานความร่วมมือให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และธุรกิจ

ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้อาสาสมัครมีบทบาทต่อ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพืน้ ที่ โดยท้องถิน่ จะต้องเป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือ เชือ่ มโยง และหลอมรวมให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงาน เช่น สถานศึกษา ต้องส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามี

ส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนและโรงเรียนก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนเช่นเดียวกัน (เจียมพดล ไชยยาลักษณ์, 2542)

140 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ท้องถิ่นจะต้องเป็นแกนหลักในการประสานความร่วมมือ เชื่อมโยง และหลอมรวม ให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงาน

ดังนั้น ‘ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา’ จึงเป็นกลไกหลักที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อน กระบวนการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มสมรรถนะของเด็กและเยาวชนในทุกด้าน ซึ่งการสนับสนุนให้ ชุมชน สังคม ภาคีเครือข่ายเข้าถึงปัญหาและความต้องการของเด็ก ก็จะสามารถแก้ปัญหา หรือจัด บริการสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กและเยาวชนได้อย่างสร้างสรรค์ (สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554) ดังนั้น ชุมชน

ท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ของตนเอง โดยการให้ ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนพัฒนาสมรรถนะเด็กและเยาวชนในทุกด้านอย่างเป็นรูปธรรม

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. เจียมพดล ไชยยาลักษณ์. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฎิรูปโรงเรียน และสถานศึกษา. การ ค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. อุบล หมุดธรรม. (2544). กลไกทางสังคมที่มีศักยภาพในการป้องกัน การแพร่ระบาดของยาเสพติดใน ชุมชน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 141


ข้อเสนอที่ 9

จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษาที่ทุกฝ่ายในชุมชน ทั้งครอบครัว วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ของตนเองร่วมกัน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยมุ่งปลูกฝังให้เด็กและ เยาวชนมีความผูกพันกับครอบครัว มีภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสำนึกรักบ้านเกิด มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในหลักคำสอนทางศาสนา มีความพอเพียง มีสำนึกความเป็นพลเมือง มีวิถี ประชาธิปไตย เคารพสิทธิผู้อื่น รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีจิตสาธารณะ รักสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนิน ชีวิตได้อย่างปลอดภัย การปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนหรือเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) สร้างความตื่นตัวและ ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชุมชนมากขึ้น ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ต่างๆ เริ่มได้รับความสนใจ และมีการศึกษาค้นคว้า เพื่อนำมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ทั้งในและ

นอกระบบ โดยเฉพาะการจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิน่ ศึกษา ทีเ่ ป็นการ ‘จัดการ’ เพือ่ ให้เกิดการเรียนรูอ้ ย่าง ต่อเนื่องและยกระดับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนร่วมกับครอบครัวและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ

ข้อเสนอของสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 ที่เสนอให้องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นต้องพัฒนาระบบการเรียนรู้และระบบการศึกษาในท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการจัด ทำหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน ชุมชน และการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาศักยภาพคนของท้องถิ่น (สมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2552) รวมถึง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ที่ให้มีการ จัดการศึกษาที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้บคุ คล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอืน่ มีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา การพัฒนาสาระและกระบวนการให้เป็นไปอย่างต่อเนือ่ ง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)

142 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นศึกษา ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นบนฐานทางวัฒนธรรม ของตน จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นอันเป็นรากเหง้าของชุมชนของตนต่อไปในอนาค การสร้างหลักสูตรท้องถิน่ ศึกษาทีเ่ กิดจากการมีสว่ นร่วมของชุมชนท้องถิน่ บนฐานทางวัฒนธรรม ของตน จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นรากเหง้าของชุมชน ของตนต่อไปในอนาคต โดยชุมชนต้องเข้าใจและมีบทบาทหน้าที่ในด้านการจัดการศึกษาให้มากขึ้น และต้องเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนด้วยความเต็มใจและเสียสละ รวมทั้งต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง (เจียมพดล ไชยยาลักษณ์, 2542) ดังนั้น การนำหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยให้ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ หรือปราชญ์ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้ จัดเป็นกระบวนการ

ส่งเสริม และถ่ายทอดภูมิปัญญาให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา การละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมคุณค่าอันดีงามของศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันมีค่ายิ่งของชุมชนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการศึกษาตาม หลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2544 ทีใ่ ห้ทอ้ งถิน่ ได้มโี อกาสในการจัดการศึกษาเพือ่ ให้มคี วาม สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา และสภาพความต้องการของพืน้ ที่ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2544) างอิง เอกสารอ้

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุ สภาลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. เจียมพดล ไชยยาลักษณ์. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สมัชชาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน 2552. อ้างถึงใน แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.25552559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 143


ข้อเสนอที่ 10

จัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน

กระบวนการจัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษาวิจยั ระบบ ข้อมูลสารสนเทศด้านเด็กและเยาวชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ โดยเฉพาะฐาน ข้อมูลด้านโครงสร้าง สถานการณ์เด็กและเยาวชน ฐานข้อมูลต้นทุนชีวิต แหล่งบริการและบุคลากรที่ เป็นคลังปัญญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จากข้อมูลดังกล่าวนี้ ทำให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงและความ จำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามความเสี่ยง 6 อันดับปัญหา คือ ปัญหาแรงงานเด็ก ปัญหาความรุนแรงในฐานะเหยื่อและผู้กระทำ ปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหา

สิ่งเสพติด บุหรี่ และสุรา ปัญหาสุขภาพเด็กด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา และปัญหาด้านการ ศึกษา ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน (สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549) การจัดทำระบบฐานข้อมูลต้องมีความครอบคลุมไปถึงการสืบค้นและจัดระบบข้อมูลของกลุ่ม เด็กและเยาวชนในทุกพื้นที่และทุกด้าน ทั้งที่อยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ และไม่ได้อยู่ในระบบ ภาคบังคับ (รวมถึงเด็กที่ออกจากระบบการศึกษากลางคัน) ตลอดจนทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กและ เยาวชนในท้องถิ่น เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรทางธรรมชาติ แหล่งทุนสนับสนุน เพื่อนำสู่การ กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนประจำตำบล และใช้ในการออกแบบการดำเนินงานและ

แก้ปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ (สุจินดา เพชรแก้ว และคณะ, 2554) ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการจัดทำ ฐานข้อมูล คือ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ควบคู่กับการสนับสนุนความช่วยเหลือตาม จำเป็นอย่างทั่วถึง เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการคุ้มครองและพัฒนาอย่างแท้จริง อาทิ การจัดศึกษา นอกระบบ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การมีงานทำทัง้ ระบบ (ฝึกอาชีพ พัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหา งาน คุ้มครองแรงงาน การประกอบอาชีพอิสระ) เป็นต้น (สุทัศน์ ภักดีการ, 2554) ดังนั้น การจัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชน ควรเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์

ร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่ทิศทางของการแก้ปัญหา จากนั้นจึงมองหาเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมทั้ง

หน่วยงานภาคีผู้เก็บและผู้ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแลกเปลี่ยนและจัดทำข้อมูลที่ตอบโจทย์

144 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดทำระบบฐานข้อมูลต้องมีความครอบคลุมไปถึงการสืบค้น และจัดระบบข้อมูลของกลุ่มเด็กและเยาวชนในทุกพื้นที่ ทั้งที่อยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ และไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ

เป้าหมาย ทั้งนี้ นอกจากการเชื่อมโยงการไหลเวียนของข้อมูลอย่างมีเป้าหมายแล้ว ยังต้องมองหา

เจ้าภาพในการทำงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในระยะยาว เช่น การติดตามข้อมูลสุขภาพและ พัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็ก ตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงวัยเรียน โดยความร่วมมือร่วมระหว่าง

หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่มาตรการพัฒนาระบบ และกลไกป้องกันเด็กและเยาวชนจาก ปัจจัยเสีย่ งและภาวะคุกคาม อาทิ ยาเสพติด พฤติกรรมทางเพศ สถานบริการ ร้านเกม หอพัก การเข้า ถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, 2554)

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549). ระบบเฝ้าระวังการคุ้มครองและห่วงใยเด็ก ภายใต้ความ ร่วมมือระหว่างสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. เอกสารอัด สำเนา. สุจินดา เพชรแก้ว และคณะ. (2554). ฐานข้อมูลระบบการเฝ้าระวังการคุ้มครองเด็กและเยาวชน (CPMS) ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา. เอกสารอัดสำเนา. สุทัศน์ ภักดีการ. (2554). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านแผนงานและวิชาการและด้านกิจกรรมพัฒนา เด็กและเยาวชน และส่งเสริมกีฬาของส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกำแพงเพชร. นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน | 145



นโยบายสาธารณะ

ด้านการดูแลสุขภาพชุมชน โดยชุมชน


ข้อเสนอที่ 1

จัดทำและใช้ ‘ฐานข้อมูลชุมชน’ ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล เพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือ ร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ กลุ่มอาสาสมัคร และแหล่งเรียนรู้

สุขภาวะของคนในชุมชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรักษาโรคเพียงส่วนเดียว แต่สัมพันธ์กับสภาพ แวดล้อมที่เป็นปัจจัยกำหนดภาวะสุขภาพด้วย เช่น ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวิถีชีวิต การที่จะสร้างชุดกิจกรรม หรืองานการดูแลสุขภาพและความช่วยเหลือให้เป็นการเพิ่มสุขภาวะให้กับ คนในชุมชน จึงต้องการข้อมูลที่แสดงสถานการณ์ของภาวะสุขภาพและสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวิถีชีวิตดังกล่าวอย่างครอบคลุม (Marmot, 2005) หากจุดยืนของการสร้างระบบการดูแล สุขภาพชุมชนโดยชุมชน อยู่ที่การนำใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนให้สูงสุด ข้อมูลที่สำคัญ จึงควรประกอบด้วยอย่างน้อย 4 ส่วน (ขนิษฐา นันทบุตร, 2551) คือ ส่วนที่ 1 แสดงให้เห็นทุนทาง สังคม แหล่งประโยชน์ และศักยภาพของชุมชนที่สามารถนำมาเกี่ยวข้องกับการสร้างชุดกิจกรรมและ งานการดูแลสุขภาพและความช่วยเหลือ ส่วนที่ 2 แสดงปัญหา สภาพที่ก่อให้เกิดปัญหา หรือโอกาส ของการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและสุขภาวะของคนในพื้นที่ (ดวงพร คำนูณวัฒน์; นิยะนันท์ สำเภาเงิน; สุนิดา ศิวปฐมชัย, ม.ป.ป.; Monsen & Westra, 2011) ส่วนที่ 3 แสดงชุดกิจกรรม กระบวนการทำงานของทุกฝ่ายทีส่ ง่ ผลกระทบต่อโรคและสุขภาวะและการดูแลช่วยเหลือกัน และส่วนที่ 4 แสดงให้เห็นผลกระทบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการดูแลช่วยเหลือกันของชุมชน การจั ด ทำข้ อ มู ล ชุ ม ชนให้ ส ามารถสร้ า งชุ ด กิ จ กรรมหรื อ งานการดู แ ลสุ ข ภาพและความ

ช่วยเหลือสำหรับผู้ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการการทำงานอย่างน้อย 2 มิติ คือ มิติความ ครอบคลุมของข้อมูลทุกส่วน และมิติกระบวนการจัดทำและนำใช้ข้อมูลในการวางแผนและออกแบบ การทำงานการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน การจัดทำข้อมูลชุมชนจึงไม่เป็นเพียงการประเมินชุมชนเป็น

148 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ระบบข้อมูลชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินการตามภารกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ครั้งคราวของนักวิชาการ หรือเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการบริการสุขภาพของหน่วยบริการหน่วยใด หน่วยหนึ่ง แต่ควรเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ไป ในตัว (Effken & Abbott, 2009; ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2553) ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นปัญหาและความต้องการ การดูแลสุขภาพโดยชุมชนหรือโอกาส ของกลุ่มทางสังคม แหล่งเรียนรู้ หน่วยงาน องค์กร ในการต่อยอดงานเพื่อประสานให้เกิดการดูแลและ ช่วยเหลือให้ครอบคลุมหลายด้าน และการจัดทำแผนชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือกัน สอดคล้องกับผลการวิจยั และการพัฒนาการดูแลสุขภาพในชุมชนทีเ่ น้นมิตขิ องความครอบคลุม ของข้อมูลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล เช่น ความสำคัญของการจัดการระบบฐานข้อมูลการเกิด การตาย การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เพื่อใช้ในการทำแผนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในคนกลุ่ม ต่างๆ (ดวงพร คำนูณวัฒน์, นิยะนันท์ สำเภาเงิน และสุนิดา ศิวปฐมชัย, 2550) กระบวนการพัฒนา ระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการคาดการณ์และการออกแบบการดูแลผู้สูงอายุ (Monsen & Westra, 2011) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม การประกอบอาชีพ การพักผ่อนหย่อนใจ พฤติกรรมการบริโภคและ พฤติกรรมสุขภาพอันนำไปสู่การกำหนดแผนการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี (ดวงพร คำนูณวัฒน์, นิยะนันท์ สำเภาเงิน และสุนิดา ศิวปฐมชัย, 2550; ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ และคณะ, 2546; แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2545-2564) การให้ ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน (สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ, 2555) และการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการเตือนภัยผู้สูงอายุในฟินแลนด์ (Melkas, 2010) เป็นต้น ส่วน การนำใช้ข้อมูลสนับสนุนการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีประสิทธิภาพถือเป็นการ เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้คนด้วย เช่นในกรณีการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและในชุมชน (Koch & Hagglund, 2009) การใช้สารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (Zwijsen &

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 149


Niemeijer, 2011) การนำข้อมูลจากการประเมินผลลัพธ์การบริการสุขภาพผู้สูงอายุมาใช้ในการตัดสิน ใจวางแผนงบประมาณ (Olve & Vimarlund, 2005) เป็นต้น และในมิติของกระบวนการจัดทำและนำใช้ ข้อมูลเพื่อทำแผนชุมชนนั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหากจะบรรลุผลในการสร้างการมีส่วนร่วมและความ รู้สึกเป็นเจ้าของแผนสุขภาพชุมชนได้ คนในชุมชนต้องเข้าร่วมเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลทุกด้านข้างต้น ซึ่งกระบวนการจัดทำข้อมูลอาจมีความแตกต่างกันไป แต่ใช้แนวคิดเดียวกัน เช่น การจัดทำแผนแม่บท ชุมชน (เสรี พงศ์พิศ และยงยุทธ ตรีนุชกร, 2554) การออกแบบการดูแลสุขภาพชุมชน (ขนิษฐา

นันทบุตร, 2551) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนด้วยโปรแกรม Thailand Community Network Appraisal Program (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2553) เป็นต้น ระบบข้อมูลชุมชนจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนการดำเนินการตามภารกิจขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในหลายกรณีของการดูแลและช่วยเหลือ

ผู้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การมีข้อมูลผู้สูงอายุทุกด้าน ทำให้สามารถจัดการการดูแลได้อย่าง ครอบคลุมนอกเหนือจากการแจกเบี้ยยังชีพ (สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ, 2555) การนำข้อมูล ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่มาร่วมวางแผนในการปรับการบริการสุขภาพสำหรับผู้ด้อยโอกาสใน ชุมชนชนบท (Effken & Abbott, 2009) การนำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพประเภท ต่างๆ ฐานข้อมูลคนพิการ ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการ สังคมในชุมชน เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ, กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2550) เป็นต้น

150 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร. (2551). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน : แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์. ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุดพื้นฐาน 7 ด้านที่แสดงศักยภาพของ ตำบล. กรุงเทพฯ : ทีคิวพี จำกัด. ดวงพร คำนูณวัฒน์, นิยะนันท์ สำเภาเงิน และสุนิดา ศิวปฐมชัย. (2550). วิจัยและพัฒนาการสื่อสาร สุขภาพของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. มหาวิทยาลัย มหิดล ปรีดาทัศน์ ประดิษฐ์, เกื้อวงศ์ บุญสิน, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, สุวาณี สุรเสียงสังข์ และแกมทอง อินทรัตน์. (2546). การทำวิจัยเพื่อกำหนดตัวชี้วัดของกรดำเนินการของระบบสุขภาพของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสรี พงศ์พศิ และยงยุทธ ตรีนชุ กร. (2554). การพึง่ ตนเองด้านสุขภาพของชุมชน : โครงการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.). สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2544 – 2564. สืบค้นเมื่อวัน ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www.thaicentenarian.mahidol.ac.th/TECIC/index.php/for-elderly/ policy/49-2-2545-2564. Effken, J. A., & Abbott, P. (2009). Health IT-enabled care for underserved rural populations: the role of nursing. JAMIA, 16(4): 439-445. Kaye, M. (2009). Health literacy and informatics in the geriatric population: the challenges and opportunities. Journal of Nursing Informatics. 13(3): 1-19. Koch, S. and M. Hagglund (2009). Health informatics and the delivery of care to older people. Maturitas. 63(3), 195-199 Marmot,M. (2005). Social determinants of health inequalities. Lancet, 365: 1099–104. Melkas, H. (2010). Informational ecology and care workers: Safety alarm systems in Finnish elderly-care organizations. Work. 37(1): 87-97. Monsen, K. A., B. L. Westra, et al. (2011). Linking home care interventions and hospitalization outcomes for frail and non-frail elderly patients. Research in Nursing & Health. 34(2): 160-168. Olve, N.-G.and V. Vimarlund (2005). Locating ICT’s benefits in elderly care. Medical informatics & the Internet in Medicine. 30(4), 297-308. Zwijsen, S. A., A. R. Niemeijer, et al. (2011). Ethics of using assistive technology in the care for community-dwelling elderly people: An overview of the literature. Aging & Mental Health. 15(4): 419-427.

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 151


ข้อเสนอที่ 2

จัดให้มีศูนย์ประสานงานอาสาสมัครของชุมชน เพื่อเพิ่มทักษะและวางแผนจัดบริการ ให้การดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือ ตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกสภาวะสุขภาพ

อาสาสมัคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครสาธารณสุข ถือเป็นกำลังคนของภาคประชาชนที่ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนมายาวนาน (Witmer, Seifer, Finocchio, Leslie&O’Neil, 1995) จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของระบบการดูแลสุขภาพ ชุมชน ที่แสดงให้เห็นการเชื่อมต่อกันของสามภาคส่วน กล่าวคือ ส่วนของหน่วยบริการสุขภาพ เช่น รพ.สต. รพช. ส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นการจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัย กำหนดภาวะสุขภาพของประชาชน และส่วนของการช่วยเหลือดูแลกันของคนในชุมชน องค์กรชุมชน ซึง่ มักปรากฏในรูปแบบของ ‘อาสาสมัคร’ ทัง้ ในชือ่ ของอาสาสมัครต่างๆ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข อาสานมแม่ อาสาสมัครดูแลคนพิการ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ อสม.น้อย อปพร. เป็นต้น และใน ส่วนของกลุ่มช่วยเหลือกันทางสังคมด้วย ในตำบลที่มีประชากรประมาณ 4,000 คน อาจมีอาสาสมัคร อย่างน้อย 150 คนขึน้ ไป ทัง้ นีอ้ าสาสมัครเหล่านีต้ า่ งมีทกั ษะและความเชีย่ วชาญในการดูแลและช่วยเหลือ ผู้ต้องการความช่วยเหลือที่ต่างกัน มีโอกาสไม่เท่ากันในการทำงานให้การดูแลและช่วยเหลือผู้อื่น

(โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และปารณัฐ สุขสุทธ, 2550, Kauffman&Hicks 1997) ดั ง นั ้ น หากมี

ศูนย์ประสานงานของอาสาสมัครจะทำให้ศักยภาพของอาสาสมัคร ถูกนำมาใช้ได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ต้อง มีการจัดทำฐานข้อมูลของอาสาสมัคร พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้มีส่วนร่วมจัดทำแผนการ ทำงานเพื่อให้กลุ่มผู้ต้องการการดูแลและช่วยเหลือได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากอาสาสมัครที่มี ความสนใจและมีความเชีย่ วชาญเฉพาะด้านด้วย (อัมพร แก้วหนู, 2555; วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, 2553) อาสาสมัครที่มีปฏิบัติการให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชนมานาน และได้รับการเพิ่มทักษะมาอย่างต่อเนื่องจะทำบทบาทในการเชื่อมต่อกิจกรรมการดูแลกับ รพ.สต. รพช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดี (รุจา ภู่ไพบูลย์ และคณะ, 2555) ดังนั้น การปฏิบัติการของ อาสาสมัครจึงถือเป็นทั้งการสั่งสมประสบการณ์และการเพิ่มศักยภาพไปในตัว การขับเคลื่อนให้

152 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


หากมีศูนย์ประสานงานของอาสาสมัคร จะทำให้ศักยภาพของอาสาสมัคร ถูกนำมาใช้ได้อย่างทั่วถึง

ศูนย์ประสานงานของอาสาสมัครทำงานให้ได้ จะมีส่วนในการเพิ่มอายุการทำงานและเพิ่มความ เชี่ยวชาญของอาสาสมัครได้เป็นอย่างดี อีกประการคือมีการจัดส่งอาสาสมัครเพื่อให้การดูแลและ

ช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์และทันเวลาด้วย เช่น อปพร. ให้การช่วยเหลือเมื่อ เกิดอัคคีภัย อุทกภัย อาสากู้ชีพกรณีอุบัติเหตุทางถนน เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และปารณัฐ สุขสุทธ. (2550). อสม. ศักยภาพและยุทธศาสตร์ในสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลง. หมออนามัย พฤศจิกายน – ธันวาคม, 17(3): 7-20. รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรีและคณะ. (2555). กระบวนการพัฒนาสุขภาพพอ เพียงในชุมชน :Development process for sufficiency health in community. วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ. 35(1): 28-38. วรรณธรรม กาณจนสุวรรณ. (2550). กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสาร รัฐประศาสนศาสตร์. 8(2): 119-152. อัมพร แก้วหนู. ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง. Kauffman, KS, Hicks Myers D. (1997). The changing role of village health volunteers in Northeast Thailand: an ethnographic field study. Int. J. Nurs. Stud; 34(4): 249-255. Witmer A, Seifer S, Finocchio L, Leslie J, O’Neil E. (1995). Community health workers: Integral members of the health care work force. Am J Public Health; 85:1055-1058. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 153


ข้อเสนอที่ 3

สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม การช่วยเหลือดูแลของอาสาสมัคร

อาสาสมัครถือเป็นแกนนำในพื้นที่ที่มีใจและมีปฏิบัติการในการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่ต้องการ การช่วยเหลือในชุมชน อาจปรากฏในรูปแบบของตำแหน่งหรือชื่อเรียกต่างๆ หรือเป็นคนอาสาโดยไม่มี ชื่อเรียก (ขนิษฐา นันทบุตร, 2553ก) อาสาสมัครเป็นทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนที่สามารถ สร้างปฏิบัติการทางสังคมในการดูแลช่วยเหลือคนในพื้นที่ได้หากได้รับโอกาส การสนับสนุนกิจกรรม ของอาสาสมัคร โดยการเปิดโอกาสให้อาสาสมัครทำบทบาทต่างๆ ในการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการ ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครได้เป็นอย่างดี ชุมชน

ท้องถิ่นใด มีคนอาสา มีการอาสามาก โอกาสการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชนย่อมมีมากขึ้น (ขนิษฐา นันทบุตร, 2553ข) โอกาสในการทำบทบาทอาสาสมัครอาจมี 2 ลักษณะคือ การได้รับกา

รส่งเสริมสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เช่น อสม. อผส. อพมก. เป็นต้น และจากปัญหาหรือความ ต้องการของผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน ซึ่งอาสาสมัครที่มาจากนโยบายส่วนใหญ่จะเป็น ประเภทอาสาสมัครที่มีตำแหน่ง ซึ่งมีวิธีการคัดเลือกและการทำงานเหมือนกันทั่วประเทศ แต่

อาสาสมัครที่มาจากปัญหาหรือความต้องการของชุมชนมักจะขึ้นอยู่กับบริบทสถานการณ์ปัญหา

ตลอดจนการสร้างโอกาสในการผลักดันหนุนเสริมและหล่อเลี้ยงการทำงานของอาสาสมัครด้วย ซึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มอาสาสมัครที่สามารถตอบสนองปัญหาและ ความต้องการของชุมชนด้วยกระบวนการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลของอาสาสมัครนี้ ด้วย ตัวอย่างการทำงานของอาสาสมัครที่ส่งเสริมโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น อสม. รพ.สต. และ

โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชน

การให้ ก ารดู แ ลและส่ ง ต่ อ เพื ่ อ การรั ก ษาการป้ อ งกั น โรคด้ ว ยการรณรงค์ ผ ่ า นสื ่ อ ต่ า งๆ และการ

สร้างเสริมสุขภาพโดยเป็นผู้นำในการออกกำลังกายเป็นต้น (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2555) ส่วนอาสาสมัครที่ส่งเสริมโดยภาคประชาชนหรือเอกชน เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

154 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ชุมชนท้องถิ่นใด มีคนอาสา มีการอาสามาก โอกาสการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชนย่อมมีมากขึ้น

งานอาสาสมัครของมูลนิธิกระจกเงา เป็นต้น โดยรับบุคคลซึ่งมีความตั้งใจที่จะทำเพื่อประโยชน์

ส่วนรวมมีโอกาสทำงานเป็นอาสาสมัครในโครงการพัฒนาสังคมต่างๆ ขององค์กรพัฒนาเอกชน โดยสรุปการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือการดูแลของอาสาสมัครอาจแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเช่นการอบรม (ฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการจาก รพ.สต. การอบรมทักษะการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพิ่มทักษะการประเมินภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ การนวดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ) การศึกษาดูงาน การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่และ ข้ามพื้นที่ เป็นต้น 2) การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือดูแลผู้ต้องการ ความช่วยเหลือ เช่น กองทุนสุขภาพชุมชนให้งบประมาณสนับสนุนการเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครเพื่อ ดูแลสุขภาพของคนพิการ อปท.จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในยามพิบัติภัย เป็นต้น 3) การสนับสนุนเพื่อหล่อเลี้ยงอาสาสมัครในรูปแบบเงินตอบแทนสวัสดิการ การยกย่องชื่นชม จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น (ข้อมูลบันทึกภาคสนามตำบลโพนทอง, 2555)

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ก). ปฏิบัติการระบบย่อยในระบบสุขภาพชุมชน. นนทบุรี : บริษัท เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด. ขนิษฐา นันทบุตร. (2553ข). ระบบสุขภาพชุมชน : กระบวนการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบใหญ่ในชุมชน. นนทบุรี : บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือการดำเนินงานภายใต้กองทุนฟื้นสมรรถนะด้าน

การแพทย์ปี 2555. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และ หทัยชนก สุมาลี. (2553). บทบาทองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริม

สุขภาพ. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 155


ข้อเสนอที่ 4

สร้างและพัฒนาอาสาสมัครให้การดูแล กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเฉพาะด้าน

(เช่น แรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น)

การดูแลสุขภาพโดยชุมชนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและนำสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด ต้อง อาศัยองค์ประกอบหลายส่วนตั้งแต่ข้อมูล กิจกรรมและงาน เงิน และคน โดยอาสาสมัครเป็นส่วนหนึ่ง ของกำลังคนในการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการการช่วยเหลือและเป็นอัตลักษณ์ของการช่วยเหลือดูแลกัน ของคนในชุมชน ที่สามารถเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชนและ

อาสาสมัครเป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้มากที่สุด ทำให้เรียนรู้ปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่มคนได้ดี ทำให้การดูแลช่วยเหลือตรงกับปัญหาและความต้องการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี อาสาสมัครเป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้มาก ที่สุด ทำให้เรียนรู้ปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุม่ คนได้ดี (กรมพัฒนาชุมชน, (ม.ป.ป.), สำนัก ธรรมนูญตำบลชะแล้, 2555; สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2555; Tung, Chen & Lee, 2005, รุจา ภู่ไพบูลย์ และคณะ, 2555, วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, 2553) ทำให้การดูแลช่วยเหลือตรงกับ

156 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ปัญหาและความต้องการ การเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครให้สามารถให้การดูแลกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหา เฉพาะด้านในพื้นที่ เช่น แรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น จะทำให้ปัญหาได้รับการ แก้ไขได้ รูปธรรมอาจได้แก่ แกนนำพระสงฆ์อาสาช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจิตเวชในตำบล โดยใช้วัดเป็น ศูนย์รวมในการดูแลช่วยเหลือเพื่อลดภาระครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช อาสาสมัครในร้านค้า ชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังช่วยสอดส่องการซื้อขายยาเสพติดริมลำแม่น้ำโขง ยุวชนจิตอาสาเพื่อ

ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อสม.ในแคมป์ที่พักแรงงานต่างด้าว แม่และพ่ออาสาในการดูแลเด็กติดเชื้อ

เอชไอวี CTW น้อยที่รณรงค์เพื่อป้องกันเอดส์ในชุมชน อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น การมี

อาสมัครดูแลประชากรเฉพาะ ยังเป็นการเพิ่มจำนวนอาสาสมัครให้ชุมชนด้วย ทั้งนี้ชุมชนท้องถิ่นควร ร่วมมือกันค้นหาและเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสำหรับดูแลประชากรกลุ่มเฉพาะเหล่านี้ โดยนอกจาก การสร้างอาสาสมัครกลุ่มใหม่แล้ว อาจเพิ่มทักษะให้กับอาสาสมัครกลุ่มที่มีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญใน การให้การช่วยเหลือดูแลกลุ่มประชากรนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). ดัชนีชี้วัดความ ‘อยู่เย็นเป็นสุข’ ของชุมชนหรือความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness). ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www3.cdd.go.th/plaiphraya/gvh54.doc รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรีและคณะ. (2555). กระบวนการพัฒนาสุขภาพพอ เพียงในชุมชน.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35(1): 29-38. วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสาร รัฐประศาสนศาสตร์. 8(2): 119-152. สำนักธรรมนูญตำบลชะแล้. (2555). ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://chalaehealthycharter.com/ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือการดำเนินงานภายใต้กองทุนฟื้นฟูสมรรถนะด้าน

การแพทย์ปี 2555. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www.photharam.com/intraptrh/ attachments/article/54 Tung C-J, Chen C-M, and Lee P-H Z. (2005). A Correlational Study on Health Training Program Participation and Influences Upon Communities Volunteers in Taipei City. Journal of Nursing Research. 13(4): 245-252. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 157


ข้อเสนอที่ 5

ผลักดันให้กองทุนมีแผนการทำงาน ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มประชากรเป้าหมาย ตั้งแต่เด็กในครรภ์จนตาย รวมทั้งการจัดการ กับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

การผลักดันให้ชุมชนได้รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการลงทุน เพื่อการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการ ความช่วยเหลือตั้งแต่เด็กในครรภ์จนตาย เป็นอีกหนึ่งกลวิธีในการทำให้เกิดความครอบคลุมของชุด กิจกรรมและงานตามปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่หน่วยบริการ สุขภาพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งเป็นการผลักดันให้กองทุนต่างๆ ใน ชุมชนที่มีการจัดสวัสดิการให้สมาชิกได้จัดการช่วยเหลือดูแลเพิ่มขึ้น แสดงถึงการสร้างจิตสำนึกในการ ช่วยเหลือดูแลกันและความรับผิดชอบต่อชุมชน ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาและความจำเป็นของผู้ต้องการ ความช่วยเหลือด้วย ทั้งนี้แผนการทำงานในการช่วยเหลือต้องมีความเหมาะสมกับปัญหาและความ ต้องการของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในแต่ละกลุ่มประชากรเป้าหมาย โดยนอกเหนือจากสวัสดิการ และความช่วยเหลือที่ให้กับสมาชิกในกลุ่มในกรณีเจ็บป่วยแล้วควรมีการจัดสรรทุนเพิ่มด้านอื่น เช่น การจัดสวัสดิการเมื่อเกิด การช่วยเหลือเมื่อตาย (รวมทั้งฌาปนกิจสงเคราะห์) การส่งเสริมอาชีพและ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ การปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการหรือผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้ปลูก ผักกินเอง การส่งเสริมการปลูกป่า การจัดหากายอุปกรณ์และเครื่องมือช่วยดำเนินชีวิตสำหรับคน พิการ เป็นต้น ทั้งนี้กองทุนในชุมชนมีหลายประเภท เช่น กองทุนโรงพยาบาล 2 บาท กองทุนผู้พิการ กองทุนจากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนชุมชน กองทุนร้านค้าสวัสดิการ กองทุนผู้สูงอายุ เป็นต้น (ขนิษฐา นันทบุตรและคณะ, 2553 ก; 2553ข; ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ, 2552) โดยหากต้องการให้กองทุนในชุมชนได้มีการจัดสวัสดิการครอบคลุมทุกเพศทุกวัยและคนด้อยโอกาสตั้ง แต่เกิดจนตาย ควรมีแนวทางในการขยายงานของกองทุนด้วย เช่น 1) การจัดให้คนในครัวเรือนอย่าง น้อย 1 คนเป็นสมาชิกกลุ่ม สมาชิกกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเฉพาะกิจหรือสมาชิกองค์กรที่จัดตั้งขึ้น ในหมู ่ บ ้ า นหรือตำบลอย่างใดอย่างหนึ่งหรื อ หลายอย่ า งตามข้ อ มู ล ความจำเป็ น พื ้ นฐาน (จปฐ.)

(กรมพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป.) 2) การผลักดันให้ชุมชนมีกองทุนหรือองค์กรการเงินเป็นของตนเองและมี

158 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


นอกเหนือจากสวัสดิการและความช่วยเหลือ ที่ให้กับสมาชิกในกลุ่มในกรณีเจ็บป่วยแล้ว ควรมีการจัดสรรทุนเพิ่มด้านอื่น เช่น การจัดสวัสดิการเมื่อเกิด การช่วยเหลือเมื่อตาย

การเชื่อมโยงกองทุนต่างๆเพื่อผนึกกำลังในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น กำไรขององค์กรการเงินนำมา ใช้เพื่อสวัสดิการชุมชนหรือสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ (อัมพร แก้วหนู, 2555) 3) การสนับสนุนให้มี กองทุนในรูปแบบสวัสดิการอย่างน้อย 1 กองทุน และสมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้รับบริการจากกองทุน ครบทุกคน (กระทรวงมหาดไทย, 2555) รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมอาชีพที่เอื้อ ต่อการมีสุขภาพดีด้วย (เสรี พงศ์พิศ และยงยุทธ ตรีนุชกร, 2554) เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงมหาดไทย. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง(ศกพ.) ต้นแบบ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555. ค้นจาก www3.cdd.go.th/.../ สมุดบันทึกกิจกรรมเอกสารเศรษฐกิจพอเพียง 2 กรมพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). ดัชนีชี้วัดความ ‘อยู่เย็นเป็นสุข’ ของชุมชนหรือความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness). ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www3.cdd.go.th/plaiphraya/gvh54.doc ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ก). ปฏิบัติการระบบย่อยในระบบสุขภาพชุมชน. นนทบุรี : บริษัท เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด. ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ข). ชุดความรู้การพัฒนากลไกและการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดย ชุมชนเพื่อชุมชน.นนทบุรี : บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด. ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ. (2552). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เสรี พงศ์พิศ. (2548). ตัวชี้วัดสุขภาพชุมชน. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www. phongphit.com/content/view/195/62/ อัมพร แก้วหนู. ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง: เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่นจัดการ ตนเอง. Tung C-J, Chen C-M, and Lee P-H Z. (2005). A Correlational Study on Health Training Program Participation and Influences Upon Communities Volunteers in Taipei City. Journal of Nursing Research. 13(4): 245-252. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 159


ข้อเสนอที่ 6

ส่งเสริมสนับสนุนหรือสร้างมาตรการ ในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสุขภาพ แม่และเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ ในชุมชน

สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีการดำเนินชีวิตและมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนทั้ง ทางตรงและทางอ้อม การมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมมีผลต่อภาวะสุขภาพที่ดีของผู้ที่อยู่ใน

สิ่งแวดล้อมนั้น ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการดูแล สุขภาพชุมชน การสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนในชุมชน เน้นการสร้างความเข้าใจร่วม กันให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติได้เนื่องจากทุกองค์กร หน่วยงาน กลุ่มทางสังคมมีส่วนในการสร้าง

ผลกระทบต่อสุขภาวะประชาชน (WHO, 2000) จึงต้องการข้อตกลงข้อกำหนด กฎ กติกา ที่เป็นที่

ยอมรับกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในหลายระดับ (เสรี พงศ์พิศ, 2548; วรรณธรรม

กาญจนสุวรรณ, 2553; Minkler, M., 2004; International HIV/AIDS Alliance/ICASO, 2010) โดยต้องมี การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น การตั้งกฎชุมชนในการ

จัดระเบียบของการจัดการขยะ (ธรรมรงค์ เรืองโสภณ, วรรณี เรืองโสภณ และเพ็ญพร พุ่มกุมาร, 2551) การจัดการขยะทำให้เกิดรายได้ การจัดสวัสดิการจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมโดยชุมชนทำให้มีแหล่งอาหาร ลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจนเกิดเป็นกองทุนที่คืนมา เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม

การจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2550) การจัด

หน่วยบริการทีไ่ ด้มาตรฐาน การพัฒนาศูนย์พฒ ั นาเด็กให้ได้มาตรฐานเพือ่ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การป้องกันและควบคุมการเกิดโรคและความเจ็บป่วยในเด็ก การจัดให้มีร้านอาหารปลอดภัย การใช้ มาตรการควบคุมการใช้เสียงในชุมชน การรณรงค์การลดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ การออกข้อบัญญัติเกี่ยวกับการกำจัดขยะในครัวเรือนและชุมชน การ จัดการแหล่งน้ำ ป่าไม้ชุมชน และจัดสรรพื้นที่สาธารณะในชุมชนเป็นลานกิจกรรม การจัดให้มีลาน ออกกำลังกาย หรือสวนสาธารณะ หรือที่ทำกินสำหรับผู้ยากไร้ ที่พักสำหรับคนไร้ที่อยู่อาศัย การจัดให้

160 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการดูแลสุขภาพชุมชน มีระบบขนส่งสำหรับแม่และเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ ในชุมชน ในการใช้บริการสุขภาพ การจัดโครงสร้างกายภาพที่สนับสนุนการดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การจัดให้มีทางลาดสำหรับผู้พิการ การปรับปรุงห้องน้ำเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในคนพิการ ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การจัดให้เกิดกองทุน สวัสดิการ การส่งเสริมอาชีพที่เอื้อต่อสุขภาพ หรือการจัดหาผู้ช่วยเหลือดูแลหรืออาสาสมัครในการ ช่วยเหลือดูแล เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สิทธิประโยชน์ของเด็กตามพระราชบัญญัติ คุ ้ ม ครองเด็ ก พ.ศ. 2546 ค้ น เมื ่ อ 14 ตุ ล าคม 2555; ค้ น จาก http://www.m-society.go.th/ msoservice.php ธรรมรงค์ เรืองโสภณ, วรรณี เรืองโสภณ และเพ็ญพร พุ่มกุมาร. (2551). การบริหารจัดการขยะและ เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาอบต. ไร่ส้มจังหวัดเพชรบุรี. สมาคม พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสารรัฐประ ศาสนศาสตร์ปีที่ 8 ฉบับที่2/2553 (119-152). ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจากhttp://www.deep southwatch.org/sites/default/files/Wannatham%20-%20StrongCom.pdf เสรี พงศ์พิศ. (2548). ตัวชี้วัดสุขภาพชุมชน. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www. phongphit.com/content/view/195/62/ Minkler, M. (2004). Community Organizing and Community Building for Health; Rutgers University.Presshttp://rutgerspress. rutgers.edu/acatalog/__Community_Organizing_and_Community_ Building_ for__664.html International HIV/AIDS Alliance/ICASO (2010). Community Systems Strengthening – Civil Society Consultation. Presss http://www.aidsalliance.org/Pagedetails.aspx?id=407 World Health Organization. (2000). World Health Report: Health Systems - improving performance. Geneva, World Health Organization.

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 161


ข้อเสนอที่ 7

สนับสนุนให้หน่วยบริการสุขภาพ หรือศูนย์บริการสุขภาพสามารถประสาน และให้บริการครอบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมาย ตามปัญหาในพื้นที่ และส่งเสริม สนับสนุน การรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน

การดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเกิดขึ้นได้จากการทำงานของหลายฝ่ายทั้งหน่วยบริการ สุขภาพ กลุ่มทางสังคมและองค์กรชุมชนที่เป็นแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมของชุมชน และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิน่ หากมีการเชือ่ มต่องานกันโดยมีประชากรเป้าหมายของการช่วยเหลือดูแลเป็นตัวตัง้ จะทำให้เกิดความครอบคลุมได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในฐานะองค์กรหลักในการเสริมสร้างสุขภาวะ ให้กับทุกคนในพื้นที่ ต้องสนับสนุนทั้งข้อมูลและงบประมาณให้กับฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มทางสังคม และองค์กรชุมชนที่เป็นแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมของชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพให้สามารถ สร้างชุดกิจกรรมทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการดูแลและช่วยเหลือผูต้ อ้ งการความช่วยเหลือในชุมชนได้ครอบคลุม มากขึ้นทำให้ได้ประโยชน์สองทาง คือ ทางหนึ่งเป็นการเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งให้กลุ่มทาง สังคมและองค์กรชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพ และอีกทางหนึง่ ก่อผลกระทบต่อการดูแลและช่วยเหลือ ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ทั้งนี้โอกาสของการทำงานเชื่อมประสานกันของสามฝ่ายหลักนี้ ขึ้นอยู่กับ หลายปัจจัย รวมทัง้ การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ การจัดการการเงินของชุมชน และ ศักยภาพของแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมของชุมชนด้วย (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2553ค) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องผลักดันให้หน่วยบริการทางสุขภาพปรับรูปแบบของการทำงาน ให้มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับกลุ่มทางสังคมและองค์กรชุมชนที่เป็นแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคม ของชุมชนและกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยรูปธรรมกลไกที่อาจนำมาใช้ในการสร้างการ ทำงานที่ประสานให้เกิดการเชื่อมต่อการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน ได้แก่ กองทุนสุขภาพชุมชน แผนสุขภาพชุมชน แผนแม่บทชุมชน แผนชุมชนพึ่งตนเอง เป็นต้น โดยประกอบ ด้วยการหนุนเสริมหลายด้าน (รุจา ภู่ไพบูลย์ และคณะ, 2555; ดุษฎี อายุวัฒนะ และภัทระ แสนไชย

162 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.ในฐานะองค์กรหลักในการเสริมสร้างสุขภาวะ ต้องสนับสนุนทั้งข้อมูลและงบประมาณให้กับฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มทางสังคมและองค์กรชุมชน ที่เป็นแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมของชุมชน

สุริยา, 2550; ศรีสุดา รัศมีพงศ์, 2547) ได้แก่ 1) มีการหนุนเสริมกิจกรรมที่นำใช้ภูมิปัญญาของการ ดูแลรักษาพื้นบ้านมากขึ้น (ดวงพร คำนูณวัฒน์, นิยะนันท์ สำเภาเงิน และสุนิดา ศิวปฐมชัย, 2550; อัมพร แก้วหนู, 2555; เสรี พงศ์พิศ, 2548) เช่น การรักษาโดยหมองูแก้พิษงู การนวดแผนโบราณ การ ใช้พืชสมุนไพรในการรักษา การฝังเข็ม การจัดทำอาหารสุขภาพ เป็นต้น 2) มีการเชื่อมต่อกับบริการ สุขภาพที่เกินศักยภาพหน่วยงานในพื้นที่ เช่น เมื่อเจ็บป่วยวิกฤต ฉุกเฉินต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลด้วย การเสริมทักษะให้กลุ่มอาสากู้ชีพและกลุ่มอาสาสมัครในการส่งต่อ การสร้างระบบขนส่งสำหรับส่งต่อ ผู้ป่วย เป็นต้น 3) มีการเพิ่มศักยภาพให้อาสาสมัคร ครอบครัวและผู้ช่วยบริบาล และร่วมออกแบบ ระบบการจัดการบริการสำหรับผูอ้ ยูใ่ นระยะพึง่ พิง เช่น ผูส้ งู อายุ คนพิการ ผูป้ ว่ ยเรือ้ รังทีเ่ คลือ่ นไหวไม่ได้ ผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เป็นต้น ทั้งนี้อาจทำได้ด้วยการปรับบทบาท อาสาสมัครและครอบครัว (อาสา) จัดระบบสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของอาสาสมัคร หรือเพิ่ม บุคลากรที่สามารถให้การดูแลช่วยเหลือในกรณีที่ปัญหาการเจ็บป่วยเกินความสามารถของอาสาสมัคร 4) มีการเพิ่มทักษะให้กับอาสาสมัคร และผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามการทำงานของอาสา สมัครและผูช้ ว่ ยบริบาล ให้สามารถปฏิบตั ไิ ด้อย่างถูกหลักการมากขึน้ เช่น การช่วยเหลือและฝึกผูส้ งู อายุ คนพิการให้สามารถเดิน นั่ง ได้อย่างถูกต้อง การฝึกการดูแลแผลที่บ้าน การประเมินสุขภาพจิตของ คนในชุมชน การส่งเสริมพัฒนาการและการป้องกันการเจ็บป่วยในเด็กสำหรับครูและผู้ดูแลเด็กของ ศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นต้น 5) มีการสร้างอาสาสมัครเพิ่ม เช่น การสร้างเยาวชนจิตอาสาช่วยดูแลผู้ป่วย

ผู้สูงอายุและคนพิการ การสร้าง อสม.น้อยเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม กลุ่มแม่อาสา ในการช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดและช่วยให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการ การสร้างอาสาสมัครนำออกกำลังกาย ครอบครัวอาสาในการให้บริการรถรับส่งผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 163


เป็นต้น และ 6) มีการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันในชุมชนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปได้สองทาง คือ การสนับสนุนให้กลุ่มทางสังคมที่มีอยู่แล้วให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งให้เกิดการช่วยเหลือดูแลกัน อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกเหนือจากกิจกรรมเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมาชิกและคนใน ชุมชน และการสนับสนุนให้เกิดกลุ่มใหม่ที่มุ่งกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน เช่น กลุ่มช่วยเหลือกันของ

ผู้ป่วย กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2550ค). กรณีศึกษานวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ) : การจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน. นนทบุรี : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. ดุษฎี อายุวัฒนะ และภัทระ แสนไชยสุริยา. (2550). สถานการณ์และประเด็นสุขภาพ ‘แรงงานอีสาน’. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1(2) : 193-200. ดวงพร คำนูณวัฒน์, นิยะนันท์ สำเภาเงิน และสุนิดา ศิวปฐมชัย. (2550). วิจัยและพัฒนาการสื่อสาร สุขภาพของท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. รุจา ภู่ไพบูลย์, สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และคณะ. (2555). กระบวนการพัฒนาสุขภาพ พอเพียงในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35(1): 29-38. ศรีสุดารัศมีพงศ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์สาขา วิชาสุขภาพสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. เสรี พงศ์พิศ. (2548). ปร55/ตัวชี้วัดสุขภาพชุมชน. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http:// www.phongphit.com/content/view/195/62/ อัมพร แก้วหนู. (2554). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง: เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการ ทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง. 164 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 8

จัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการความช่วยเหลือดูแล โดยเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ และทุนทางสังคมของพื้นที่ การมีแผนที่กลุ่มเป้าหมายผู้ต้องการความช่วยเหลือดูแล ที่แสดงให้เห็นแหล่งทรัพยากรและ ทุนทางสังคมของพื้นที่ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมและงานที่ส่งผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพและการลด ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จะทำให้เห็นหลายมิติของการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย คือ

1) การระบุและจำแนกผู้ต้องการความช่วยเหลือดูแลได้ชัดเจนถูกต้องตามปัญหาสุขภาพและปัญหาใน การดูแลสุขภาพ (กนกพร หมู่พยัคฆ์, ดวงใจ รัตนธัญญา, สุภาพ ฟุ้งฟู. 2554) 2) ความครอบคลุมของ การดูแลช่วยเหลือตามปัญหาและความต้องการในการดูแลหากวิเคราะห์จากชุดกิจกรรมของแหล่ง ต่างๆ ที่มีการดำเนินการในพื้นที่ 3) โอกาสในการเชื่อมต่อแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมในพื้นที่ให้ ขยายและเพิ่มกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือไปกลุ่มเป้าหมายอื่น และ 4) โอกาสการเพิ่มศักยภาพและ ทักษะให้กับแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมให้สามารถทำกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือคนหลายกลุ่ม ได้มากขึ้น ซึ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์และจัดทำหมวดหมู่โดยให้กลุ่ม

เป้าหมายผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นที่ตั้ง อันจะนำไปสู่การทำแผนสุขภาพชุมชนที่มีการใช้ทุน

และศักยภาพของชุมชนต่อไป (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553; สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2554; สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน, 2555) การจัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมายทำให้สามารถแสดงความครอบคลุมของการดูแลและมีความ สอดคล้องกับการดำเนินงานของแหล่งทรัพยากรหรือทุนทางสังคมได้ต้องอาศัย 3 แนวทาง คือ การ จัดการข้อมูลชุมชนด้วยตนเอง การกำหนดบทบาทตนเองของแหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมในการ ร่วมสร้างกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือ และการเรียนรู้ผลกระทบต่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายอันเกิดจากกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้แหล่งทรัพยากรและทุนทาง สังคมเกิดพลังอํานาจและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไปได้ (ชนวนทอง ธนสุกาญจน์,

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 165


การนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์และจัดทำหมวดหมู่ โดยให้กลุ่มเป้าหมายผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นที่ตั้ง จะนำไปสู่การทำแผนสุขภาพชุมชนที่มีการใช้ทุน และศักยภาพของชุมชนต่อไป

ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ และลักขณา, เติมศิริกุลชัย. ม.ป.ป.) ดังนั้นการจัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมายจึงเป็น แนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพให้ถูกจุด ถูกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นๆ ด้วย การใช้ทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนให้มากที่สุด ซึ่งการมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันจะ

ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถจัดการกับปัญหาได้ตรงประเด็นและสามารถวางแผนการดูแลได้ดี (สำนัก นโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2554) อีกทั้งการให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน การดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน โดยอาศัยทรัพยากรและทุนทางสังคมที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่ดีต่อการพัฒนา สุขภาพ (สุริยะ วงศ์คงคาเทพ, ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ และชาญชัย พิณเมืองงาม. 2553) ตัวอย่างแหล่ง ทรัพยากรและทุนทางสังคมที่มีในชุมชนจัดเป็น 2 ประเภท คือ ที่กิจกรรมและงานส่งผลกระทบต่อ สุขภาพโดยตรง และที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2553ข) ตัวอย่างประเภทแรก ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครอื่นๆ กลุ่มหมอนวดแผนโบราณ กลุ่มผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน

แพทย์แผนไทย คลินิกเอกชน เป็นต้น ส่วนประเภทหลัง ได้แก่ ครัวเรือนปลูกสมุนไพรและผักปลอดสาร กลุม่ ส่งเสริมไบโอดีเซล กลุม่ อาสาพิทกั ษ์ปา่ ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ กลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆ กองทุน ต่างๆ สถาบันการเงิน กลุ่มออมทรัพย์ หรือสหกรณ์ ป่าชุมชน นักสืบสายน้ำ ธนาคารขยะ เป็นต้น

166 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

กนกพร หมู่พยัคฆ์, ดวงใจ รัตนธัญญา และสุภาพ ฟุ้งฟู. (2554). พัฒนาสุขภาพชุมชน : บทเรียนจาก ประสบการณ์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน. Journal of Nursing Science. 28(3): 69-77. กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวทางการดำเนินงาน ‘โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใย สุขภาพประชาชน’ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสที่จะทรง เจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553ข). ชุดความรู้การพัฒนากลไกและการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดย ชุมชนเพื่อชุมชน. นนทบุรี : บริษัทเดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด. ชนวน ทองธนสุกาญจน์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์ และลักขณา เติมศิริกุลชัย. (ม.ป.ป.). โครงการวิจัยระบบ สุขภาพชุมชน. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. เสรี พงศ์ พ ิ ศ . (2548). ตั ว ชี ้ ว ั ด สุ ข ภาพชุ ม ชน. ค้ น เมื ่ อ 12 กุ ม ภาพั น ธ์ 2556, ค้ น จาก http:// www.phongphit.com/content/view/195/62/ สุริยะวงศ์ คงคาเทพ, ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ และชาญชัย พิณเมืองงาม. (2553). สถานการณ์และ ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทย พ.ศ. 2545 – 2553. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2555). การวิเคราะห์เครื่องมือและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินสุขภาพชุมชน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). กรอบยุทธศาสตร์งานสร้าง เสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี 2554–2558. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). รายงานผลกรณีศึกษา16 พื้นที่โครงการพัฒนานโยบายการ สนับสนุนศักยภาพ อสม.สู่การบริการระบบสุขภาพชุมชนปี 2553. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข.

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 167


ข้อเสนอที่ 9

จัดทำคู่มือหรือแนวทางการดูแลสุขภาพตนเอง และการช่วยเหลือดูแลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

การเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมาย สำคัญของการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง การดูแลสุขภาพตนเองได้ดีต้องได้รับการหนุนเสริมด้านข้อมูล และการเพิ่มทักษะ ซึ่งต้องสอดรับกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ ประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นวิถีการ ดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล คู่มือหรือแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองจึงเป็นทั้งข้อมูลและวิธีการ ดูแลตนเองที่จำเป็นที่คนในพื้นที่แต่ละกลุ่มสามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี การสร้างคู่มือหรือ แนวทางดังกล่าวจึงต้องให้ใกล้เคียงกับประสบการณ์ หรือสถานการณ์ในพื้นที่และเป็นรูปธรรมเห็น ชัดเจนมากที่สุด รวมทั้งต้องมีการผสมผสานความรู้ทางวิชาการด้วย ซึ่งอาจทำได้หลายทาง ทั้งจัดทำ โดยบุคลากรสุขภาพในระบบบริการสุขภาพและจากการถอดบทเรียนของตนเอง (อัมพร แก้วหนู, 2555) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การดูแลตนเองของผู้ป่วย และยังเพิ่มทักษะในการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ทั้งนี้ คู่มือหรือแนวทางการช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือยังเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัคร

ผู้ทำหน้าที่บริบาลในครอบครัวที่มีผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และคนพิการ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นต้น คนในชุมชนอาจต้องมีคู่มือทั้ง 2 ส่วน คือ คู่มือการดูแลตนเองและแนวทางการช่วยเหลือคนอื่น ได้แก่ คู่มือการส่งต่อและการเฝ้าระวังโรคทางจิตเวช ที่มีทั้งแนวทางการดูแลตนเอง และการช่วยเหลือผู้อื่น เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตและการประเมินสุขภาพจิต (สำนักสุขภาพจิตสังคม, 2554) หรือแนวทาง การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน (ดุษฎี อายุวัฒนะ และภัทระ แสนไชยสุริยา, 2550) หรือ คู่มือการฝึกทักษะการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ คนพิการผู้สูงอายุ ในกิจกรรมการดูแล ตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การฝึกนั่ง การยกของ การเดิน การนอน เป็นต้น หรือคูม่ อื การจัดการอาหารปลอดภัยในชุมชน การจัดสิง่ แวดล้อมทีป่ ลอดภัย คูม่ อื อสม. แม่อาสา เยาวชนจิตอาสา เป็นต้น รวมทั้งการจัดทำคู่มือของผู้ให้การดูแลที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน เช่น คู่มือที่ เกี่ยวข้องได้ใช้ในการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ การจัดทำคู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วไป คู่มือการกู้ชีวิตขั้นสูงสำหรับผู้ใหญ่ (มูลนิธิสอนช่วยชีวิต, 2553) เป็นต้น

168 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


คู่มือหรือแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเอง จึงเป็นทั้งข้อมูล และวิธีการดูแลตนเองที่จำเป็น ที่คนในพื้นที่แต่ละกลุ่มสามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องผลักดันและสนับสนุนให้เกิดคู่มือดังกล่าว โดยอาจเลือก แนวทางการจัดทำคู่มือตามความเหมาะสม ทั้งจากการถอดบทเรียนผู้เกี่ยวข้องและจากการผสมผสาน ข้อมูลความรู้ทางวิชาการร่วมด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการทำงานเชื่อมประสานกันอย่างน้อย 4 ฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ป่วยหรือผู้ต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ได้คู่มือที่สามารถปฏิบัติได้ใกล้เคียงวิถีการดำเนินชีวิต ฝ่ายหน่วยบริการสุขภาพเพื่อให้เพิ่มข้อมูลความรู้ด้านหลักสุขภาพให้เป็นคู่มือหรือแนวทางที่หลักวิชา ยอมรับได้ด้วย ฝ่ายผู้ให้การช่วยเหลือดูแลเพื่อให้สามารถเข้าใจและสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือได้ ครอบคลุม และฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกลุ่ม

อาสาสมัคร ทุนทางสังคมและแหล่งทรัพยากรต่างๆ ได้พัฒนาศักยภาพและทักษะตนเองในการดูแล

ผู้ต้องการความช่วยเหลือ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และถอดบทเรียน รวมทั้งสร้างโอกาสใน การให้การช่วยเหลือดูแลกันขึ้นในชุมชน เช่น การจัดให้มีกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือที่บ้านสำหรับคน พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จัดกิจกรรมวันกตัญญูผู้สูงอายุ สนับสนุนบริการนวดแผนไทย สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและคนพิการ บริการตรวจสุขภาพและประเมินพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นต้น เพื่อให้ได้คู่มือที่ปฏิบัติได้จริงและถูกต้องตามหลักสังคมและวิชาการ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สิทธิประโยชน์ของเด็กตามพระราชบัญญัติ คุ ้ ม ครองเด็ ก พ.ศ. 2546. ค้ น เมื ่ อ 14 ตุ ล าคม 2555, ค้ น จาก http://www.m-society.go.th/ msoservice.php ดุษฎี อายุวัฒนะ และภัทระ แสนไชยสุริยา. (2550). สถานการณ์และประเด็นสุขภาพ ‘แรงงานอีสาน’. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1(2): 193-200. มูลนิธิสอนช่วยชีวิต. (2553). คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป (2011) และคู่มือการกู้ชีวิต ขั้นสูงสำหรับผู้ใหญ่ (2010). ค้นจาก http://www.thaicpr.com/index.php?q=node/237 อัมพร แก้วหนู. (2554). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการ ทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 169


ข้อเสนอที่ 10

จัดให้มีร้านอาหารปลอดภัย หรือแหล่งจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการผลิตอาหาร ในปัจจุบันพบว่าโรคและการเจ็บป่วยส่วนใหญ่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและอาหารที่บริโภค การจัดการใดๆ เพื่อให้คนใน ชุมชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพจึงเป็นการสนับสนุนการดูแลสุขภาพของประชาชน ด้วย (กิติศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ, 2554; พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการ, 2546) โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในการป้องกันโรคเรือ้ รัง การดูแลผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง การดูแลผูส้ งู อายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

มีศักยภาพและหน้าที่ในการผลักดันให้มีแหล่งอาหารปลอดภัย และแหล่งอาหารสุขภาพได้หลาย แนวทาง เช่น การสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อบริโภคอาหารเองในครัวเรือน เช่น กลุ่มผักสมุนไพร

รั้วกินได้ ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์การสนับสนุนแหล่งผลิตและจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพในชุมชน เช่น ตลาดสีเขียว ผลผลิตจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การสนับสนุนร้านค้าร้านอาหารในการจำหน่าย อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น clean food good taste ร้านอาหารปลอดภัย การเพิ่มทักษะและวิธีการ ประกอบอาหารเพื่อสุขภาพให้กับผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ เช่น สาธิตการทำอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วย เบาหวานความดันโลหิตสูง เป็นต้น ทั้งนี้อาจใช้การมีอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในชุมชนเป็นหนึ่งใน ตัวชี้วัดสุขภาพชุมชนเพื่อเป็นเงื่อนไขการพัฒนาแผนสุขภาพชุมชนต่อไปได้ เช่น มีการผลิตอาหาร ปลอดสารเคมีไว้บริโภคเพียงพอตลอดปี มีการใช้สารเคมีในการผลิตลดลง ทำให้ระดับสารเคมีตกค้างใน เลือดลดลง มีการลดปัจจัยในอาหารที่ทำลายสุขภาพ เช่น เหล้า ผงชูรส น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น (เสรี พงศ์พิศ, 2548; ปรีดา ทัศนประดิษฐ์, เกื้อวงศ์ บุญสิน, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, สุวาณี

สุรเสียงสังข์และแกมทอง อินทรัตน์, 2546, คณะทำงานจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, 2553) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถหนุนเสริมให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย ได้ (ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวนและหทัยชนก สุมาลี, 2553) ด้วยการใช้กลไกชุมชนที่ได้ ผลดี เช่น การกำหนดให้มีตลาดสีเขียวจำหน่ายผักและอาหารสุขภาพ การนำแนวทางการผลิตเพื่อ

170 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.มีศักยภาพและหน้าที่ในการผลักดัน ให้มีแหล่งอาหารปลอดภัย และแหล่งอาหารสุขภาพได้หลายแนวทาง เช่น การสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อบริโภคอาหารเองในครัวเรือน การบริโภคเองในครัวเรือนมาเป็นเงื่อนไขของการจัดสวัสดิการของกองทุนและกลุ่มต่างๆ เช่น สมาชิก ต้องปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน การมีกติกาให้ร้านค้าในโรงเรียนลดการขายน้ำอัดลม ขนม

กรุบกรอบ การกำหนดให้มีการสาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพในโครงการสำหรับผู้ต้องการ ความช่วยเหลือที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือกองทุนสุขภาพ ชุมชน การพัฒนาอาสาสมัครเพื่อส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย หรือเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคใน ชุมชนให้ทำหน้าที่กระจายข้อมูลการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในชุมชนได้ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

กิติศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ. (2554). ชุมชนร่วมสร้างสุขภาพเด็ก 0-12 ปี บ้านน้ำคาหมู่ที่ 1 ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปรีดาทัศน ประดิษฐ์, เกื้อวงศ์ บุญสิน, สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, สุวาณี สุรเสียงสังข์ และแกมทอง อินทรัตน์. (2546). ในการทำวิจยั เพือ่ กำหนดตัวชีว้ ดั ของการดำเนินการของระบบสุขภาพของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสรี พงศ์ พ ิ ศ . (2548). ตั ว ชี ้ ว ั ด สุ ข ภาพชุ ม ชน. ค้ น เมื ่ อ 12 กุ ม ภาพั น ธ์ 2556, ค้ น จาก http:// www.phongphit.com/content/view/195/62/ พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546, (2550). มาตรา 3. แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975457&Ntype=1 คณะทำงานจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2553). แนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักงานแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส). กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย : อุษาการพิมพ์ ศิรวิ รรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และหทัย ชนกสุมาลี. (2553). บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ใน การสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการกระจายอํานาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 171


ข้อเสนอที่ 11

สร้างช่องทางการสื่อสาร และกระจายข่าวสารด้านสุขภาพ

การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้ต้อง เผชิญกับการหลั่งไหลของข้อมูลต่างๆ มาถึงผู้คนได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูล ที่ขาดหลักวิชาการ ประชาชนจึงต้องมีศักยภาพพอเพียงในการคัดเลือกข้อมูล โดยเฉพาะในการนำมา ชี้นำการดูแลสุขภาพตนเองและการช่วยเหลือดูแลผู้อื่น ประกอบกับเพื่อให้ข้อมูลการทำงานของแหล่ง ทรัพยากรและทุนทางสังคมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดูแลสุขภาพของคนในพื้นที่ได้ กระจายไปอย่างทั่วถึงและทันสถานการณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรสร้างช่องทางการสื่อสาร และกระจายข่าวสารด้านสุขภาพ โดยเน้นหลักการสำคัญ คือ การคัดเลือกข้อมูลทีถ่ กู ต้องตามหลักการ ทางวิชาการและหลักสังคมวัฒนธรรมที่ดีและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารแต่ละกลุ่ม การเปิดช่องทางการสื่อสารและการสร้างการเข้าถึงข้อมูลให้ทุกกลุ่มประชากร ตลอดจนการสร้าง

ช่องทางการสื่อสารสองทาง ทั้งนี้การสื่อสารเป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่สร้างสังคมระดับต่างๆ

ตั้งแต่ระดับกลุ่มคน ครอบครัวและชุมชนทำให้กลุ่มองค์กรเครือข่ายและสมาชิกในชุมชนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ทั้งในและนอกพื้นที่ได้ (วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, 2555) ซึ่ง ส่งผลให้ชุมชนนอกจากจะมีช่องทางในการสื่อสารแล้วยังเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ได้ด้วย (กรมพัฒนาชุมชน (ม.ป.ป.); อัมพร แก้วหนู, 2555) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจให้การ สนับสนุนแหล่งทรัพยากรที่ทำภารกิจการสื่อสารอยู่ในชุมชนให้ทำหน้าที่ร่วมด้วย เช่น วิทยุชุมชน หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี หอกระจายข่าว เวทีประชาคมหมู่บ้าน การประชุมแกนนำองค์กร กลุ่ม หน่ ว ยงานต่ างๆ การสื่อสารผ่านกิจกรรมของพระและผู ้ น ำศาสนา กลุ ่ ม นวดแผนโบราณ กลุ ่ ม

หมอพื้นบ้าน หรือกลุ่มน้ำสมุนไพร ต่างๆ เป็นต้น ส่วนกระบวนการในการคัดเลือกข้อมูลที่ถูกต้องนั้น อาจต้องสนับสนุนให้มีการเรียนรู้และตรวจสอบข้อมูลข่าวสารร่วมกันระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอาจ ผสมผสานกับงานอื่น เช่น การจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพตนเองและการช่วยเหลือดูแลผู้ต้องการ ความช่วยเหลือในชุมชน การบริการสุขภาพแบบบูรณาการ การเพิ่มทักษะอาสาสมัคร เป็นต้น 172 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


หลักการสำคัญ คือ การคัดเลือกข้อมูลที่ถูกต้อง ตามหลักการทางวิชาการและหลักสังคมวัฒนธรรมที่ดี และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารแต่ละกลุ่ม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจสนับสนุนให้แหล่งทรัพยากรและทุนทางสังคมเพิ่มศักยภาพ และสรุปบทเรียนตนเองเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในกิจกรรมและงานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและ การดูแลสุขภาพจนเกิดเป็นแหล่งเรียนรูใ้ นชุมชนได้ ซึง่ ถือเป็นช่องทางการสือ่ สารสองทางทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สูง เพราะก่อให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลความรูจ้ ากคนสูค่ นได้มากทีส่ ดุ พร้อมทัง้ เห็นรูปธรรมทีเ่ กิดขึน้ จริง อย่างชัดเจนด้วย (กระทรวงมหาดไทย, 2555, กรมการพัฒนาชุมชน, 2555) เนือ่ งจากทุกภาคส่วนตั้งแต่ ทุนทางสังคม องค์กรชุมชนและแหล่งทรัพยากรต่างๆ หน่วยบริการสุขภาพ และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีบทบาททำให้เกิดความครอบคลุมของการดูแลสุขภาพชุมชน ดังนั้น 1) การใช้ช่องทางการ สื่อสารที่มีอยู่ในชุมชนทั้งช่องทางการสื่อสารทั่วไป 2) การสร้างอาสาสมัครหรือผู้มีจิตอาสาในการเข้า มามีบทบาทในการกระจายข่าวสารทางสุขภาพและความสำคัญของสื่อสารสุขภาพชุมชน และ 3) การ พัฒนาให้ทุนทางสังคม องค์กรชุมชนและแหล่งทรัพยากรต่างๆ หน่วยบริการสุขภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ เพิ่มขึ้นจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันอย่าง เกื้อกูลในการดูแลสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 10 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพข้อ 89 ประชาชนได้รับการคุ้มครองเพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้องและเพียงพอ และข้อ 90 มีระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ดีมีเครือข่ายครอบคลุมทั้งประเทศ และเชื่อมประสานกับนานาชาติได้

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงมหาดไทย. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (ศกพ.) ต้นแบบ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555. ค้นจาก www3.cdd.go.th/.../สมุดบันทึกกิจกรรมเอกสารเศรษฐกิจพอเพียง 2 กรมพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). ดัชนีชี้วัดความ ‘อยู่เย็นเป็นสุข’ ของชุมชนหรือความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness). ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www3.cdd.go.th/plaiphraya/gvh54.doc วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553) กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสาร รัฐประศาสนศาสตร์. 8(2): 119-152. อัมพร แก้วหนู. (2554). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการ ทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเอง. นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 173


ข้อเสนอที่ 12

สร้างเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วย ฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครในพื้นที่ และเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ ปัจจุบันการเจ็บป่วยในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ

และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยฉุกเฉินเกิดได้อย่างน้อยสามกลุ่ม คือ อุบัติเหตุทุกรูปแบบโดยเฉพาะ อย่างยิ่งอุบัติเหตุบนถนน ภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติ และภาวะฉุกเฉินจากการเจ็บป่วย เช่น ภาวะ วิกฤตจากโรคเรื้อรังหรือความพิการ การเจ็บครรภ์คลอด การล้มในผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งหากได้รับการ ช่วยเหลือที่ถูกต้องทันท่วงทีอาจทําให้ลดโอกาสการเจ็บป่วย ความพิการและการสูญเสียอวัยวะหรือ ชีวิตได้มาก การช่วยเหลือดูแลกันในกรณีเช่นนี้ มุ่งให้ชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ 1) เพิ่มศักยภาพการช่วยเหลือด้วยการเพิ่มจำนวนและทักษะอาสาสมัครและผู้เกี่ยวข้อง 2) สร้างกลไกการทำงานที่เกิดจากความร่วมมือของฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามฝ่าย คือ หน่วยบริการสุขภาพ อาสาสมัคร เช่น หน่วยอาสาสมัครดูแลฉุกเฉิน หน่วยอาสากู้ชีพกู้ภัยชุมชน เป็นต้น และผู้นำและแกนนำชุมชน 3) ใช้ระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ 4) สร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายกับหน่วยกู้ชีพกู้ภัยอื่นและโรงพยาบาลระดับต่างๆ และ 5) สร้างคู่มือหรือแนวทางการทำตามบทบาทของแต่ละฝ่ายเพื่อใช้ในการฝึกทักษะเพิ่มความ เข้าใจในการทำงานร่วมมือกัน การดูแลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องมุง่ ให้ ‘ประชาชนได้รบั บริการทีไ่ ด้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม’ (สงครามชัย ลีทองดี. ม.ป.ป.; สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ม.ป.ป.) โดยประชาชนต้องได้รับการเพิ่มทักษะทั้งในการประเมินสถานการณ์การเจ็บป่วยฉุกเฉิน การช่วยเหลือ เบื้องต้น และการติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือ อาจเปิดโอกาสให้สมาชิกในครัวเรือนได้เข้าร่วมเป็น อาสาสมัครช่วยเหลือฉุกเฉินได้ด้วย เช่น เป็นอาสากู้ชีพ เป็นรถอาสาในยามขาดแคลนรถส่งต่อ ซึ่ง ล้วนแล้วต้องได้รับการเพิ่มสมรรถนะทั้งสิ้น จึงจะทำให้ระบบการส่งต่อได้มาตรฐานอันจะช่วยให้กลุ่ม

174 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การเป็นอาสากู้ชีพ เป็นรถอาสาในยามขาดแคลนรถส่งต่อ ล้วนแล้วต้องได้รับการเพิ่มสมรรถนะทั้งสิ้น จึงจะทำให้ระบบการส่งต่อได้มาตรฐาน อันจะช่วยให้กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสรอดชีวิต หรือหายเจ็บป่วยในอัตราสูง ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสรอดชีวิตหรือหายเจ็บป่วยในอัตราสูง (รัญชนา สินธวาลัย และคณะ. 2551; นิพนธ์ จันทเวทย์ศิริ, 2550; วิทยา ชาติบัญชาชัย และคณะ. 2547; นวนันทน์ กิจทวี และสุนิสา สุวรรณรักษ์, ม.ป.ป.)

เอกสารอ้างอิง

นิพนธ์ จันทรเวทย์ศิริ. (2550). ผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัด อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นวนันทน์ กิจทวีและสุนิสา สุวรรณรักษ์. (ม.ป.ป.) คู่มือครูอาสาฉุกเฉินชุมชน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่ง ชาติ. รัญชนา สินธวาลัยและคณะ. (2551). โครงการการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการระบบบริการการ แพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสู่ระบบต้นแบบ และการพัฒนาระบบดัชนีชี้วัดหลักของระบบ. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาชาติบัญชาชัยและคณะ. (2547). คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น : สํานักงานบริหารโครงการวิจัยและตําราโรงพยาบาลขอนแก่น. สงครามชัย ลีทองดี. (ม.ป.ป.). การประเมินผลแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติปี 2553-2555. สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) และ เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แนวทางการปฏิบัติสำหรับอาสาฉุกเฉินชุมชน. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://ws.emit.go.th/Volunteer/document/tutorial.pdf นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 175


ข้อเสนอที่ 13

สร้างเยาวชนอาสาสมัคร ร่วมให้การดูแลสุขภาพ

เยาวชนเป็นทุนทางสังคมสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนา เพื่อให้สามารถดูแลตนเอง ดูแลคนใน ครอบครัวและคนในชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือได้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชน โดยมีแผนปฏิบัติการพัฒนาเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องจากปี 2555 ถึง 2559 ที่มุ่งให้เด็กและ เยาวชนมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมีความแข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มี ความเป็นพลเมือง (civic mind) กล้าคิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามวิถีประชาธิปไตย (คณะ อนุกรรมการพัฒนานโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน, 2554) แนวทางการสร้างเยาวชนให้เป็นอาสาสมัครร่วมให้การดูแลสุขภาพโดยชุมชน เน้นการสร้าง โอกาสในการเรียนรู้ให้กับเยาวชน ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการจริงในพื้นที่เป็น

ตัวตั้ง โดยเปิดช่องทางหรือกำหนดเป็นแนวทางหรือข้อตกลงให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มทาง สังคม แหล่งทรัพยากร หน่วยงานเปิดให้เยาวชนเข้าร่วมปฏิบัติการและเรียนรู้ จนสามารถสร้างความ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพชุมชนด้วย (เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอ, 2553; ปิยะ นาถสรวิสูตร. 2552; วิไลรัตน์ แย้มจอหอ, เยาวนิจ กิตติธรกุล และชนิษฎา ชูสุข, 2553) รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมการอาสาช่วยเหลือดูแลผู้ต้องการความช่วยเหลือใน ชุมชนให้เยาวชนได้มีปฏิบัติการจริงและเรียนรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้ที่ได้รับความ ช่วยเหลือดูแล (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2555) ทั้งนี้โดยอาจนำใช้กลไกของ เยาวชน เช่น สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มเยาวชน แกนนำเยาวชน เครือข่ายเยาวชน สภานักเรียน เป็นต้น มาร่วมในการขับเคลื่อนกับกลุ่มทางสังคม แหล่งทรัพยากร และหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีบทบาทตั้งแต่การสนับสนุนงบประมาณ ร่วมจัดกระบวนการ เรียนรู้ ติดตามเพิ่มทักษะการช่วยเหลือดูแลซึ่งอาจมากไปกว่าการดูแลเมื่อเจ็บป่วย แต่รวมถึงการ

ช่วยเหลือด้านอื่นด้วย เช่น การเป็นผู้ให้คำปรึกษาเพื่อน การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การ เฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัวและชุมชน การร่วมกิจกรรมกับกลุ่มทางสังคม หน่วยงานหรือแหล่ง ปฏิบัติการในชุมชน เป็นต้น (สำนักงานส่งเสริมสุขภาพเด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ, ม.ป.ป.;

176 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีบทบาท ตั้งแต่การสนับสนุนงบประมาณ ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ ติดตามเพิ่มทักษะการช่วยเหลือดูแล ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และหทัยชนก สุมาลี, 2553) ตัวอย่าง เยาวชนอาสาร่วม ให้การดูแลสุขภาพชุมชน ได้แก่ การสร้างยุววิจัย เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลในชุมชนตนเอง มองเห็น ปัญหาความต้องการ ทุนและศักยภาพของชุมชนเพื่อให้สามารถนำใช้ข้อมูลในการแก้ไขปัญหาของ ชุมชนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ได้ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สิทธิประโยชน์ของเด็กตามพระราชบัญญัต ิ คุม้ ครองเด็กพ.ศ. 2546.ค้นเมือ่ 14 ตุลาคม 2555; ค้นจาก http://www.m-society.go.th/msoservice.php คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน. (2554). แผนปฏิบัติการพัฒนาเด็กและ เยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2556; ค้นจากhttp://www.opp.go.th/ library/plan_child_27_01_55.pdf ปิยะ นาถสรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม : กรณีศึกษา สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอ. (2553). โครงการเยาวชนไทยร่วมสร้างเจตคติอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสุข. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556; ค้นจาก http://hdl.handle.net/ 123456789/3364 วิไลรัตน์ แย้มจอหอ, เยาวนิจ กิตติธรกุล และชนิษฎา ชูสุข. (2553). กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิตและสังคมของกลุ่มแกนนําเยาวชนตําบลลําสินธุ์ กิ่งอําเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วารสาร สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 16(3): 489-511. สำนักงานส่งเสริมสุขภาพเด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.). คู่มือสภาเด็กและเยาวชน. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศิรวิ รรณ พิทยรังสฤษฏ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และหทัยชนก สุมาลี, (2553). บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ใน การสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน | 177



นโยบายสาธารณะ

ด้านการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชน


ข้อเสนอที่ 1

สนับสนุนและสร้าง ‘อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ’ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ทำการศึกษาเบือ้ งต้น (In-House Report) เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติกรณีต่างๆ ในหลายประเทศ เพื่อเปรียบเทียบ

ขั้นตอนและแนวทางการจัดการเตือนภัย การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะ หลังการเกิดภัย พบว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทุกกรณีแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐไม่ สามารถทีจ่ ะรับมือกับสถานการณ์ภยั พิบตั ไิ ด้เพียงลำพัง ขณะทีอ่ งค์กรสาธารณประโยชน์และอาสาสมัคร เป็นกำลังสำคัญและมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การระดมความช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจาก หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่โดยตรง แม้จะมีอำนาจบังคับบัญชาชัดเจน แต่ความเป็นทางการทำให้เกิด ความล่าช้า ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดระบบอาสาสมัคร ได้แก่ เหตุการณ์ภัยพิบัติที่รุนแรงและระบบสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกร่วมและต้องการมีส่วนร่วมในการ

ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนก่อให้เกิดความตื่นตัวในการทำงานอาสาสมัครอย่างมาก ปัญหาและอุปสรรคของงานอาสาสมัครในเหตุการณ์ภัยพิบัติ มักพบว่า มีอาสาสมัครจำนวน มากเข้าไปในพื้นที่ประสบภัยโดยไม่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพรองรับ ขาดระบบประสานงาน และการสื่อสารข้อมูล ไม่มีผู้มอบหมายงานหลัก ทำให้อาสาสมัครไม่ทราบว่าควรจะทำหน้าที่อะไร หรือช่วยเหลือใคร ในขณะเดียวกันอาสาสมัครแต่ละคนอาจไม่ได้รับการฝึกฝนเตรียมตัวมาก่อน จากการศึกษางานวิจัยมีข้อเสนอแนะพ้องกันว่า แนวทางการพัฒนาระบบอาสาสมัครเพื่อการ จัดการภัยพิบัติ รัฐควรให้การสนับสนุนทั้งอาสาสมัครที่มีการจัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐ และอาสาสมัครภาคประชาชนซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้อาสาสมัครสามารถมีบทบาทในทุก

ขั้นตอนของการจัดการภัยพิบัติ จึงทำให้เห็นความสำคัญของการสร้างอาสาสมัครในพื้นที่มากขึ้น แม้ว่าเหตุการณ์พิบัติภัยที่ เกิดขึน้ ในประเทศไทยทีผ่ า่ นมา อาสาสมัครภาคประชาชน รวมทัง้ หน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ มีบทบาท

180 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญเมื่อเกิดภัยพิบัติ ดังนั้นการส่งเสริมให้พนักงานที่มีจิตอาสาเข้าร่วม ในการจัดการยามเกิดภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ จึงควรเป็นนโยบายขององค์กร ที่สำคัญในการกู้ภัย การช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน การค้นหาผู้รอดชีวิต และการช่วยเหลือสงเคราะห์

ผู้ประสบภัย โดยเป็นกำลังหนุนให้กับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีกำลังเจ้าหน้าที่จำกัด อย่างไรก็ตาม ใน ภาวะฉุกเฉินที่เกิดความวุ่นวาย ขาดการสั่งการอย่างเป็นระบบการให้ความช่วยเหลือและประสานงาน จึงเป็นไปโดยขาดการบูรณาการ ซึ่งรัฐบาลควรวางระบบเพื่อพัฒนางานอาสาสมัครให้มีศักยภาพอย่าง เต็มที่ และมีมาตรฐานตามหลักสากล สภาทีป่ รึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จดั ทำยุทธศาสตร์การป้องกันภัยพิบตั แิ ละอุบตั ภิ ยั โดยเสนอให้รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับ ประสบการณ์จากภาคธุรกิจในการช่วยเหลือสังคม พบว่า ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญเมื่อเกิด ภัยพิบัติ ดังนั้น การส่งเสริมให้พนักงานที่มีจิตอาสาเข้าร่วมในการจัดการเกิดภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ จึงควรเป็นนโยบายขององค์กร (ไมตรี สุนทรวรรณ, 2554)

เอกสารอ้างอิง

ไมตรี สุนทรวรรณ. 2554. CSR กับการจัดการสาธารณภัยบทเรียนเล่มใหญ่จากภัยพิบัติในอาเชียน. กรุงเทพฯ. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548. ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อยุทธศาสตร์การป้องกัน

ภัยพิบัติและอุบัติภัย. http://www.ryt9.com/s/ryt9/27989. สืบค้น ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. รายงานเบื้องต้นการจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟู บูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 181


ข้อเสนอที่ 2

จัดตั้ง ‘ศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล’ แบบบูรณาการ ภายใต้การมีสว่ นร่วมของท้องที่ ท้องถิ่น ชุมชน และภาคเอกชน กระบวนการจัดการภัยพิบัติประกอบด้วย การจัดการก่อนการเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และ ภายหลังเกิดภัย โดยคุณลักษณะพิเศษของภัยพิบัติ มีดังนี้ 1. ภัยหลักก่อให้เกิดภัยอื่นที่ตามมา

2. ภัยพิบัติสามารถเพิ่มความรุนแรงได้หากระดับของความอ่อนไหวของชุมชนมีสูง 3. ภัยพิบัติสามารถ ขยายผลสู่พื้นที่ต่างๆ ในวงกว้าง และเป็นพื้นที่ที่ข้ามเขตการปกครองของหน่วยงาน 4. ภัยพิบัติไม่มี ความแน่นอน 5. ภัยพิบัติจะก่อให้เกิดความโกลาหล จากลักษณะพิเศษของภัยพิบัตินี้ต้องอาศัย ศักยภาพในด้านต่างๆ ทั้งความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ ทักษะความชำนาญ ความเข้าใจสถานการณ์ กำลังคน และความร่วมมือ ตลอดจนการติดตามประเมินผลมาตรการรับมือต่างๆ จากหน่วยงานท้องถิ่นในการ ช่วยรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น (ทวิดา กมลเวชช, 2554) จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การจัดการภัยพิบัติและการช่วยเหลือ โดยมาก จะมาจากส่วนกลางหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางแผนจัดการ การจัดการโดย

ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติแล้ว ขาดแผนการบริหารจัดการ ขาดการซักซ้อมหรือวางแผนล่วงหน้าร่วมกับชุมชน และยังมีการจัดการช่วยเหลือที่ล่าช้าเมื่อเกิดเหตุ ขึ้นจึงทำให้เกิดผลเสียหายมาก แต่จากการศึกษาพบว่า การจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพเกิดขึน้ ได้ จากการทีป่ ระชาชนในพืน้ ทีป่ ระสบปัญหาภัยพิบตั ใิ ช้ประสบการณ์ของตนเองมาทบทวนภายหลังที่ชุมชน ได้จัดตั้งกลุ่มภายในตำบล มีการใช้กระบวนการจัดการแบบมีส่วนร่วม มีองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลเข้ามาสนับสนุน ทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งในการวางแผนแก้ไขปัญหา การเตรียม พร้อม การฝึกซ้อม ดังนั้นหากเกิดภัยพิบัติขึ้นในชุมชน ประชาชนในพื้นที่สามารถแก้ไชปัญหาได้อย่าง รวดเร็ว มีการนำประสบการณ์ของตนเองมาวางแผนในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภัยพิบัติ มีการ ซักซ้อมแผนในการปฏิบตั กิ าร เพือ่ ให้เกิดความชำนาญในการเฝ้าระวัง การจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

182 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


มี อปท.เข้ามาสนับสนุน ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการวางแผนแก้ไขปัญหา หากเกิดภัยพิบัติขึ้น ประชาชนในพื้นที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และฟื้นฟูพื้นที่หลังเกิดภัยพิบัติด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดรูปธรรมของการจัดการตนเองและนำไปสู่การ พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน (ศรีวัฒนา บุรวิศิษฐ์, 2552) ผลจากการศึกษายืนยันว่า การจัดการภัยพิบัติส่วนใหญ่เป็นการรอรับความช่วยเหลือจาก หน่วยงานภาครัฐ และขอกำลังสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทำให้ได้ข้อสรุปจากประสบการณ์การ จัดการภัยพิบัติว่า การจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึง การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทั้งยังต้องคำนึงถึงเครือข่าย ชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการปฏิบัติการ หากตัวแทนและอาสาสมัครจากชุมชนเป็น เจ้าหน้าทีท่ อ้ งถิน่ ยิง่ ทำให้สามารถหนุนเสริมปฏิบตั กิ ารได้ดขี น้ึ เนือ่ งจากได้รบั การยอมรับจากประชาชนใน พื้นที่ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น ประชาชนจะสามารถอพยพและจัดการควบคุมสถานการณ์ ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาบริหารจัดการ จะทำให้การเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถจัดการได้ด้วยทีมอาสาสมัครในพื้นที่ การเผชิญ สถานการณ์ฉุกเฉินก็สามารถมอบให้ตัวแทนและอาสาสมัครชุมชนเป็นผู้ดูแลได้ (ทวิดา กมลเวชช, 2554, กิตติพงศ์ อุบลสะอาด และคณะ, 2550) ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 16 ได้มีการกำหนดให้ จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น โดยในระยะก่อนเกิดภัย การป้องกันและลด

ผลกระทบนั้นจะทำการจัดตั้งกองอำนวยการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น เพื่อเตรียมความ พร้อมเผชิญเหตุเมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้เริ่มดำเนินขึ้น และการแต่งตั้งกำลังพล (มาตรา 39 (4) และ มาตรา 41) ได้มีการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยโดยอาศัยกำลังพลจาก ‘เจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่’ และกำลังพลจาก ‘อาสาสมัครใน

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 183


พื้นที่’ ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและปฏิบัติการ ด้านอื่นๆ ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์การจัดการภัยพิบัติควรมุ่งเน้นการรวบรวมพลังของชุมชน แม้ว่าภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นจะเกินขีดความสามารถในการรับมือโดยชุมชน และจากศึกษายังพบว่า ชุมชนที่มีความ

เข้มแข็งและผู้ที่รอดชีวิตจากภัยพิบัติจำนวนหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพจากผู้ประสบภัยมาเป็น

ผู้ร่วมกอบกู้วิกฤตและเป็นอาสาสมัครในการช่วยเหลือยามเมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ เนื่องจากเคยผ่าน ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาต่างๆ และทราบลักษณะพื้นที่ทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมในการ

ช่วยเหลือได้ดีที่สุด นอกจากนั้น การสร้างโอกาสในการจัดการเพื่อช่วยเหลือกันเองยังสามารถจัดการ ให้เกิดศูนย์พักพิงชั่วคราวและมองเห็นแนวทางการฟื้นฟูบูรณะชุมชนได้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่จะทำให้เกิดพลังในการพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคต (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554)

เอกสารอ้างอิง

กิตติพงศ์ อุบลสะอาด และคณะ. 2550. บทเรียนการบรรเทาภัยพิบัติ สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมโคลน ถล่มอำเภอลับแล และการพัฒนาแผนบรรเทาภัยพิบัติทีมสาธารณสุขอำเภอลับแล. วารสารวิจัยระบบ สาธารณสุข.ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ก.ย.) ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า ศรีวัฒนา บุรวิศิษฐ์. 2552. ความพึงพอใจและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการ จัดการภัยพิบตั ิ กรณีศกึ ษาโครงการหนึง่ ตำบลหนึง่ ทีมกูช้ พี กูภ้ ยั จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. รายงานเบื้องต้นการจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟู บูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ.

184 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 3

จัดทำฐานข้อมูลชุมชนแบบบูรณาการ และข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อพัฒนาแผนที่ การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล งานวิจัยและงานทบทวนวรรณกรรมโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘ข้อมูล’ การจัดการ ภัยพิบัติโดยชุมชนจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องมีการจัดทำข้อมูลชุมชนและข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อนำไปจัดทำ “แผนที่การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล” ซึ่งการจัดทำข้อมูลชุมชนควรมีการจัดทำ ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่แสดงความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (Hazard Map) แผนที่มนุษย์ (Human Map) ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ (หรือทุนทางสังคมที่เป็นบุคคลรวบรวมองค์ความรู้ทั้งหมด) มารวบรวม จำแนกให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผลิตสื่อจากองค์ความรู้เหล่านั้น ในรูปแบบที่ เหมาะสมกับผู้รับทุกรูปแบบและถ่ายทอดองค์ความรู้ออกไป การเตรียมความพร้อมรองรับกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ต้องมีการจัดทำแผนที่และจัด ลำดับพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและจังหวัด ยกระดับการจัดการภัยพิบัติให้มี ประสิทธิภาพ พัฒนาระบบฐานข้อมูล การสื่อสารโทรคมนาคม ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีด้านการจัดการภัยพิบัติ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, 2555) การเตรียมความพร้อม (preparedness) รวมถึง ‘แผนที่การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล’ (Ronald John Hy and William L. Waugh, Jr., 1990) เป็นข้อมูลหนึ่งที่งานวิจัยกล่าวถึงพร้อมแนะนำถึง กระบวนการจัดการข้อมูลว่า ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ แสดงข้อมูลทีจ่ ำเป็น เช่น ในกรณีอทุ กภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการสำรวจปริมาณน้ำในเขื่อน ทราบความเร็วของกระแสน้ำ รวมถึง ต้องมีการจัดทำแผนทีอ่ พยพหลบภัยทีเ่ ข้าใจง่าย ระบุสถานทีส่ ำคัญ สถานทีห่ ลบภัย ระบุเส้นทางหลัก และเส้นทางรอง ซึ่งกระบวนการจัดทำแผนที่นั้นต้องมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย (ทวิดา กมลเวชช, 2554) นอกจากนั้น การพัฒนาระบบฐานข้อมูล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เป็นการ พัฒนาขีดความสามารถในการปรับตัวและช่วยลดผลกระทบของชุมชนได้ ช่วยให้ชมุ ชนมีความเข้มแข็ง นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 185


การพัฒนาระบบฐานข้อมูล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการปรับตัว และช่วยลดผลกระทบของชุมชนได้ และมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554) ในด้านการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยควรดำเนินการให้แต่ละจังหวัดมีแผนที่เสี่ยงภัย จากภัย ประเภทต่างๆ และให้นำระบบดาวเทียมมาร่วมในการวิเคราะห์และเชือ่ มโยงข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในแผนการเฝ้าระวัง และแผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่สมบูรณ์ (สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2548)

เอกสารอ้างอิง

ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548. ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อยุทธศาสตร์การป้องกันภัย พิบัติและอุบัติภัย. http://www.ryt9.com/s/ryt9/27989. สืบค้น ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศtรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. รายงานเบื้องต้นการจัดการภัย พิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยกรณีศึกษาไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11. Ronald John Hy and William L.Waugh, Jr. 1990. ‘The Function of Emergency Management’ in Handbook of Emergency Management Programs and Policies Dealing with Major Hazards, eds. William L. Waugh, S.R. and Ronald John Hy. New York: Greenwood Press. 186 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 4

จัดตั้ง ‘กองทุน’ การจัดการภัยพิบัติประจำตำบล จากสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นจำนวนมาก สาเหตุประการหนึ่งเกิด จากการที ่ ช ุ ม ชนยั ง ไม่ ม ี ก ารเตรี ย มความพร้ อ มในการจั ด การภั ย ทั ้ ง ก่ อ นเกิ ด ภั ย ขณะเกิ ด ภั ย

และหลังเกิดภัย แนวทางในการลดความสูญเสียดังกล่าวควรมีระบบการพัฒนาศักยภาพคน สร้างวิธคี ดิ ให้ชุมชนเกิดการจัดการตนเอง มีการระดมพลังในการแก้ไขปัญหาโดยการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนที่ สอดคล้องกับภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และพัฒนาผูน้ ำให้มคี วามสามารถในการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงของสังคม และประเทศต่อไป การจัดตั้งกองทุนการจัดการภัยพิบัติประจำตำบล จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการระดมพลังและ ทรัพยากรในชุมชน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการวางแผนป้องกันและ เตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติและอุบัติภัยในท้องถิ่นของตนเอง (สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ, 2548) ทัง้ นี้ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้เสนอให้รฐั บาลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องสนับสนุนการจัดตัง้ และพัฒนากองทุน และกลไกการประสานความร่วมมือจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตำบล/ภูมินิเวศ โดย อาจจะจัดตั้งขึ้นมาใหม่หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่มีอยู่แล้วในชุมชนท้องถิ่น เพื่อจัดการแก้ปัญหา เฉพาะหน้าและฟื้นฟูภายหลังประสบภัยพิบัติ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณสมทบกองทุนภัยพิบัติ

ที่ชุมชนท้องถิ่นริเริ่มดำเนินการ (มติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 4 มติ 3 การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดย ชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง)

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ. 2555. เอกสารมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2555 มติ 3 การจัดการ ภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548. ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อยุทธศาสตร์การป้องกันภัย พิบัติและอุบัติภัย. http://www.ryt9.com/s/ryt9/27989. สืบค้น ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 187


ข้อเสนอที่ 5

จัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติ ความพร้อมและการตื่นตัวของประชาชนเป็นสิ่งที่มีสำคัญต่อการจัดการภัยพิบัติ เพราะช่วยใน การลดผลกระทบจากเหตุการณ์และช่วยให้สังคมกลับสู่สถานการณ์ปกติได้ โดยหนึ่งในการสร้าง

ความพร้อมและความตื่นตัว คือ การจัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช (2554) กล่าวว่า คู่มือเป็นการรวบรวมความรู้ ความเข้าใจ และประยุกต์หลักการต่างๆ ใน การเตรียมพร้อมสำหรับรับมือ เผชิญหน้ากับภัยพิบัติ และจัดการในช่วงก่อนเกิดเหตุ ในระหว่างเกิด เหตุ และสร้างความสามารถในการฟื้นคืนจากภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว และรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตไว้ได้อย่างสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับสภากาชาดไทย (2553) ระบุว่า การจัดทำคู่มือทำให้ การดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพ และเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ทัง้ นี้ กระบวนการจัดทำคูม่ อื ต้องอาศัยการมีสว่ นร่วมของหลายภาคส่วน ประกอบด้วย ตัวแทน ของหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน องค์กรที่มีภารกิจด้านป้องกัน บรรเทา ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนนักวิชาการและประชาชนที่สนใจด้านภัยพิบัติธรรมชาติ

แต่ทง้ั นีแ้ รงจูงใจเบือ้ งต้นทีท่ ำให้เกิดการช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบตั นิ น้ั ต้องเริม่ ต้นจากผูบ้ ริหารระดับสูง เพือ่ ให้แผนงานสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรืน่ จำเป็นต้องได้รบั การเห็นชอบจากผูบ้ ริหารระดับ สูงขององค์กร (บุญสม ศิริบำรุงสุข, 2554) ส่วนความรู้ที่นำมาบรรจุในคู่มือจะต้องประกอบด้วย

(1) ความรู้ที่เป็นสากล เช่น ชนิด/ประเภทของภัยพิบัติ สาเหตุของภัยพิบัติ หลักการในการตั้งรับและ ป้องกัน บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน (2) องค์ความรู้ ประสบการณ์ และบทเรียนในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือเฉพาะพืน้ ที่ เช่น จุดอพยพ พืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย ทัง้ นี้ การจัดทำคูม่ อื จำเป็นทีจ่ ะต้องดำเนินการแบบคูข่ นานทัง้ ในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิน่ ด้วย โดยกระบวนการจัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติในระดับท้องถิ่นด้วยการสำรวจและดึงความรู้จาก ชุมชน เช่น การร่วมกันสำรวจเส้นทางน้ำ สำรวจจำนวนและลักษณะกลุ่มประชากรที่ต้องได้รับการ

188 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การจัดทำคู่มือทำให้การดำเนินงาน ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดูแล ลักษณะในการตั้งบ้านเรือน ฯลฯ จะนำไปสู่การพลิกฟื้นความสัมพันธ์ภายในชุมชนและทำให้ ประชาชนในท้องถิ่นรู้สึกเป็นผู้รับผิดชอบและลงมือปฏิบัติการ (ชาคริต โภชะเรื่อง เครือข่ายสมัชชา สุขภาพจังหวัดสงขลา. 2554) สำหรับการนำใช้คู่มือการจัดการภัยพิบัติ นอกจากการนำมาเผยแพร่แก่ประชาชนชนทั่วไป เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทราบถึงแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งในแง่การป้องกันและในขณะ เกิดภัยพิบัติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554) เสนอให้มีการฝึก ซ้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้อย่างปลอดภัย สอดคล้องกับ ข้อเสนอของ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2554) และ ดร.นฤกมล จันทร์จิราวุฒิกุล (2545) เนื่องจากการ

ฝึกซ้อมเป็นระยะๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเตรียมความพร้อม และความสามารถในการ เผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติฉุกเฉิน สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและเพิ่มขีดความสามารถของ ประชาชนให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข (2554) เสนอให้นำคู่มือไปต่อยอดเป็นแบบเรียนหรือหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 189


เอกสารอ้างอิง

ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบัน

พระปกเกล้า. ทวิดา กมลเวชช. 2555, 25 กรกฎาคม. ‘ดร.ทวิดา กมลเวชช’ นักจัดการภัยพิบัติ ประเมินความพร้อม ประเทศไทย ต้องหยุด ‘บูรณาการ’ แบบงานวัดงานกฐิน. http://thaipublica.org/2012/07/disastermanagement. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 นฤกมล จันทร์จิราวุฒิกุล. 2545. การบริหารจัดการอุทกภัยของประเทศไทย: บทสรุปและประเด็นเพื่อ พิจารณา (กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เรียบเรียงและเขียนจากรายงานการวิจัย ‘โครงการวิจัยการพัฒนาแผนหลักการจัดการภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำ : น้ำท่วม น้ำแล้ง และ แผ่นดินถล่ม’ ของ ธวัชชัย ติงสัญชลี และคณะ นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ และโกเมศร์ ทองบุญชู. 2553. คู่มือการจัดการภัยพิบัติจากธรรมชาติโดยภาคประชาชน. เครือข่ายการจัดการพิบัติภัยจากธรรมชาติจังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : โครงการขับเคลื่อนเมืองนครสู่จังหวัดน่าอยู่ (คิดดี ทำดีเพื่อเมืองนคร). ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. จัดการภัยพิบัติแบบมีส่วนร่วม บูรณาการ ครบวงจร. http://www.codi.or.th/ index.php/news/documentary-communities-news/42-2009-09-22-05-47-57/1760-2011-11-14-10-46-46. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 สภากาชาดไทย. 2553. คู่มืออาสาสมัคร สภากาชาดไทย. สภากาชาดไทย : กรุงเทพฯ. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟู บูรณะหลังการเกิดภัย : กรณีศึกษาประเทศไทยและต่างประเทศ. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ไอดิน กลิ่นใต้. 2555, 13 - 15 มกราคม. 14 จังหวัดภาคใต้ ถกมติขาเคลื่อนเร่งหาเสียงร่วมชงสมัชชาฯ ชาติ ชูวาระหลัก ‘จัดการภัยพิบัติ’. www.healthstation.in.th/news/news.php?newsid=181. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 2554, 9 ตุลาคม. ม.อ. ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติ ผุดคู่มือรับวิกฤต ลดการ สูญเสีย. http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000128501. สืบค้นเมื่อวัน ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556

190 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 6

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนระบบการสื่อสาร ในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การสื่อสารเป็นปัญหาสำคัญของการรับมือภัยพิบัติ เมื่อ เกิดเหตุภัยพิบัติย่อมมีความยากลำบากในการเข้าถึงเพื่อขอความช่วยเหลือและให้การช่วยเหลือ

ซึ่งต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันระบบการสื่อสารเพื่อจัดการภาวะฉุกเฉินไม่มีประสิทธิภาพ ระบบการ บริหารแจ้งเตือนและระบบการบัญชาการเหตุการณ์ทั้งในต่างประเทศและในประเทศล้วนแต่ประสบ ปัญหาทั้งสิ้น จากประสบการณ์ทำงานของ Gerald E.Galloway (2003: 27), Ronald John Hy and William L. Waugh, Jr., (1990: 19) พบว่า การจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดการภัยพิบัติที่ดีนั้น ควรมีการวาง ระบบจัดเก็บ การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยง สถานที่ปลอดภัย แหล่งสนับสนุนต่างๆ เพื่อนำไปใช้ใน การวางระบบสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือในพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การ สื่อสารและเครื่องมือสื่อสารของหน่วยงานต่างๆ และต้องจัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการ สื่อสาร จัดให้มีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อการประสานงานเหตุฉุกเฉิน (emergency call center) หมายเลข 192 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มีเหตุฉุกเฉินในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างข่ายสื่อสารสำรองหรือข่ายสื่อสารคู่ขนาน (ศูนย์บริหารจัดการวิกฤตการณ์ด้านการ สื่อสาร: Communication Crisis Management Center) ทัง้ นีก้ ารทีจ่ ะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ วางแผนสนับสนุนการสือ่ สารให้มปี ระสิทธิภาพนัน้ ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวางแผนศึกษาข้อมูลภัยพิบัติที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วย งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะส่วนราชการและภาคเอกชนต้องมีส่วนร่วม หากจะ ทำให้ประสบความสำเร็จต้องมีการวางนโยบายพร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับการดำเนินงาน ภายใต้ ‘พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2550’ และแผนการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติโดยคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ซึง่ ทางหน่วยงาน ต้องมีการพิจารณาเพือ่ ให้เกิดบูรณาการในภาพรวมรวม พร้อมทัง้ มีแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็น นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 191


การจัดการภัยพิบัติควรเน้นการรวมพลังของชุมชน โดยสร้างโอกาสให้ชุมชนจัดการด้วยตนเอง จะเป็นมาตรการที่ช่วยทำให้ชุมชนเข้มแข็งและมีภูมิต้านทาน อุปสรรคให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้น (Gerald E.Galloway (2003: 27),Ronald John Hy and William L. Waugh, Jr., (1990: 19) จากการสรุปบทเรียนของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (2554) ยืนยันได้ว่า การจัดการภัยพิบัติควรเน้นการรวมพลังของชุมชน โดยสร้างโอกาส ให้ชุมชนจัดการด้วยตนเอง จะเป็นมาตรการที่ช่วยทำให้ชุมชนเข้มแข็งและมีภูมิต้านทานจะช่วยพัฒนา ขีดความสามารถในการปรับตัวและช่วยลดผลกระทบต่างๆ ได้ โดยเฉพาะประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการเรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และการระบบการสื่อสาร ซึ่งทำให้สนับสนุนข้อเสนอที่ 6

ว่าด้วยการให้ อปท. สนับสนุนระบบการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นสามารถทำได้ และหากมี

การดำเนินการจริงจะช่วยส่งผลลัพธ์ให้ตำบลเกิดการจัดการตนเองได้ในที่สุด

เอกสารอ้างอิง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย. 2552. แผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่น สึนามิ (ระยะ 5 ปี). กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. การจัดการภัยพิบัติและการบูรณะ หลังฟื้นฟูการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอื่นๆ. กรุงเทพฯ Ronald John Hy and William L.Waugh, Jr. 1990. ‘The Function of Emergency Management’ in Handbook of Emergency Management Programs and Policies Dealing with Major Hazards, eds. William L. Waugh, S.R. and Ronald John Hy. New York: Greenwood Press. Gould, Charls W. 2009.The Right of Housing Recovery After Natural Disaster. Harvard HumanRights Journal.Vol.22. 192 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 7

จัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงาน’ เครือข่ายท้องถิ่น กับพื้นที่ใกล้เคียง/ภูมิภาค เพื่อการจัดการภัยพิบัติ จากการทบทวนวรรณกรรมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554) พบว่า การจัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงาน’ เครือข่ายท้องถิ่นกับพื้นที่ใกล้เคียง/ภูมิภาคเพื่อการจัดการ ภัยพิบัติ มีฐานคิดมาจากประสบการณ์ที่ต้องมีทีมสั่งการ มีทีมบัญชาการ และมีทีมงานในการช่วย ดำเนินการประสานงานเพื่อจัดการภัยพิบัติโดยท้องถิ่น (ทวิดา กมลเวชช, 2554) ผ่านกระบวนการจัด ตั้งศูนย์กลางเพื่อสร้างความร่วมมือในการประสานความช่วยเหลือตลอดจนการรับมือและการจัดการ ในเรื่องภัยพิบัติอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้จากการทบทวนวรรณกรรมและการทำงานของศูนย์การจัดการภัยพิบัติต่างๆ พบว่า ใน ต่างประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานรับผิดชอบระดับประเทศคือ Federal Emergency Management Agency (FEMA) ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการเฝ้าระวังการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและ การฟื้นฟูความเสียหาย โดยประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้อำนวยการ และมีการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานกลางและหน่วยงานท้องถิน่ เมือ่ เกิดภาวะฉุกเฉินหรือภัยพิบตั ิ หน่วยงานท้องถิน่ ของรัฐ (State) จะเข้ารับผิดชอบดำเนินการเป็นอันดับแรก โดยผู้ว่าการรัฐจะพิจารณาประกาศเขตภัยพิบัติ หากหน่วยงานท้องถิ่นระดับรัฐไม่สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาได้ รัฐบาลกลาง (Federal) จะเข้าควบคุม สถานการณ์ ประธานาธิบดีจะประกาศให้พื้นที่นั้นๆ เป็นพื้นเขตภัยพิบัติและรัฐบาลกลางจะจัดสรรงบ ประมาณสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาโดยมีระบบการจัดการเรียกว่า National Incident Management System (NIMS) มีผู้ที่รับผิดชอบสั่งการอย่างมีเอกภาพ (unified command) เรียกว่า Incident Commander (IC) โดยประสานการสนับสนุนและนโยบายจากหน่วยงานระดับชาติทุกแห่งที่เกี่ยวข้องไป สู่หน่วยงานในพื้นที่ตามระบบการสั่งการ (Incident Command System) ให้สามารถร่วมกันปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ (ปรเมศวร์ มินศิริ, 2554)

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 193


การจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคประชาชน ควรมีการทำความเข้าใจเรื่องการจัดทำคู่มือ เพื่อสามารถจัดการภัยพิบัติได้

การจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคประชาชนจะสำเร็จและมีประสิทธิภาพได้ควรมีการทำความ เข้าใจเรื่องการจัดทำคู่มือเพื่อสามารถจัดการภัยพิบัติ ดังเช่นตัวอย่างของกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (2552) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 ที่จัดทำโดย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550

ได้มีการจัดทำคู่มือการจัดการภัยพิบัติโดยประชาชน เนื่องจากเชื่อว่า ประชาชนควรช่วยเหลือตนเอง ก่อน และยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้กับศูนย์ประสานงานให้ทำหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้ ว ย 4 ยุ ท ธศาสตร์ ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยยุ ท ธศาสตร์ ท ี ่ 1 การป้ อ งกั น และลดผลกระทบ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเตรียมความพร้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการหลังเกิดภัย ดังนั้นจากบทเรียนศูนย์ประสานงานเพื่อจัดการภัยพิบัติในต่างประเทศและในประเทศนั้น ทำให้ชี้ชัดได้ว่า การจัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานเครือข่ายท้องถิ่นกับพื้นที่ใกล้เคียง/ภูมิภาคเพื่อการ จัดการภัยพิบัติ’ ควรดำเนินการเพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง อีกทั้งการหนุนเสริมด้าน วิชาการในลักษณะของการจัดทำคู่มือการประสานงานหรือคู่มือการจัดการภัยพิบัติของเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ย่อมช่วยทำให้การจัดการภัยพิบัติสามารถจัดการได้อย่างทันท่วงที

194 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2552. แผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ (ระยะ 5 ปี). กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพ. คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. 2553. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่ง ชาติ พ.ศ. 2553-2557. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพ. ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส. ปรเมศวร์ มินศิริ. 2554, 29 ตุลาคม. ‘Thai Flood’ สับเละ ‘ศปภ.’ โดย ASTV ผู้จัดการรายวัน. http:// astvmanager.com/Daily/ViewNews.aspx? NewsID=9540000137690&CommentPage=1&TabID=1&. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2556. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. การจัดการภัยพิบัติและการบูรณะ หลังฟื้นฟูการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอื่นๆ. Asian Disaster Preparedness Center. Post-Disaster Damage Assessment and Need Analysis. Beck, Tony. 2005. Learning Lessons from Disaster Recovery: The Case of Bangladesh. Disaster Risk Management. World Bank Working Paper. Series No.11, April. Gould, Charls W. 2009. The Right of Housing Recovery After Natural Disaster. Harvard Human Rights Journal. Vol.22.

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 195


ข้อเสนอที่ 8

ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติประจำภาค เครือข่าย คือการเชื่อมโยงของกลุ่มของคนหรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสาร ร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการเชื่อมโยงในลักษณะของเครือข่ายเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันด้วย (วัลย์ลดา วรกานตศิริ, 2547) และแนวคิดที่อาศัยความสัมพันธ์ ระหว่างทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมาร่วมปฏิสัมพันธ์ เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่ช่วยให้ บรรลุผลสำเร็จ (ศิริรักษ์ สิงหเสม, ม.ป.ป.) นอกจากเรื่องความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และทุกภาคส่วนที่มีประสิทธิภาพแล้ว เครือข่ายชุมชนเป็นองค์ประกอบของเครือข่ายการปฏิบัติการที่สำคัญมาก เพราะหากคนในท้องถิ่นได้ รับการให้ความรู้ ความเข้าใจ และฝึกอบรมอย่างดี ก็สามารถเผชิญสถานการณ์ฉกุ เฉินทีอ่ ยูแ่ นวหน้าได้ เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้อยู่ติดกับพื้นที่ รวมทั้งมีประสบการณ์ความชำนาญในพื้นที่ ดังนั้นการเผชิญ ต่อภาวการณ์ฉุกเฉินโดยได้รับข้อมูลที่ดีจะทำให้เครือข่ายชุมชนดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการ ช่วยเหลือบรรเทาความเสียหายในเบื้องต้น และลดระดับความรุนแรงได้ด้วย ทั้งนี้ข้อดีของการใช้

เครือข่ายในการจัดการภัยพิบตั คิ อื ทำให้เกิดการสร้างทีมช่วยเหลือทีม่ คี วามสามารถหลากหลาย ในการ ช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ มีผู้ประสานงานที่มีประสบการณ์การทำงานเป็นทีมและเชื่อตามคำสั่งของ

ผูบ้ งั คับบัญชา เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประสานงานจะสามารถช่วยสื่อสารกับหน่วยอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชนได้อีกด้วย แต่

ผู ้ ป ระสานงานนี ้ ต ้ อ งเข้ า ใจในปฏิ บ ั ต ิ ก ารทั ้ ง หมดเป็ น อย่ า งดี และทำงานเข้ากันกับผู้บัญชาการ สถานการณ์ได้อย่างราบรืน่ มิฉะนัน้ จะเกิดการซ้ำซ้อน หรือข้อขัดแย้งในเอกภาพของการประสานงานได้ ซึ่งในบางกรณีที่สถานการณ์ไม่ซับซ้อน ขอบเขตพื้นที่ไม่กว้างมากเกินกำลังของท้องถิ่น ผู้บัญชาการ สถานการณ์สามารถเป็นผู้ประสานงานเองได้ (ทวิดา กมลเวชช, 2554) ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2555 มีมติเรื่อง การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดย ชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ข้อที่ 2 ได้ ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในทุกพืน้ ที่ โดยเฉพาะพืน้ ทีเ่ สีย่ งจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเครือข่าย 196 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เครือข่ายชุมชน เป็นองค์ประกอบของเครือข่ายการปฏิบัติการที่สำคัญมาก เพราะหากคนในท้องถิ่นได้รับความรู้ ความเข้าใจ จากการฝึกอบรม ก็สามารถเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินได้

ชุมชนท้องถิ่น เพื่อรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ และที่เกิดจากโครงสร้างการพัฒนาในท้องถิ่น โดยเน้น กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น การประสานเครื อ ข่ า ย ยั ง เป็ นกระบวนการหนึ ่ ง ที ่ ส ำคั ญ ในขั ้ นการเตรี ย มความพร้ อ ม (preparedness) ของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ (Ronald John Hy and William L. Waugh, Jr., (1990: 19)) ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (2548) (Asian Disaster Preparedness Center ADPC) เน้นกระบวนการจัดการแบบเครือข่ายโดยใช้กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยที่เกี่ยวข้องกับ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 6 ด้าน รวมถึงการจะสร้างเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนต้องมีการกำหนดการเจรจา ต่อรองและการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 3-5 ปี ดังตัวอย่างเช่น การจัดตั้งศูนย์ลด

ภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Reduction Centre ADRC (ไมตรี สุนทรวรรณ, 2554)

เอกสารอ้างอิง

ทวิดา กมลเวชช. 2554. คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า ไมตรี สุนทรวรรณ. 2554. CSR กับการจัดการสาธารณภัยบทเรียนเล่มใหญ่จากภัยพิบัติในอาเซียน. กรุงเทพฯ วัลย์ลดา วรกานตศิริ. 2547. สถานการณ์เครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ ปี 2547. กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย, สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อย โอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ. 2555. เอกสารมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ปี 2555 มติ 3 การจัดการ ภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ ศิริรักษ์ สิงหเสม. ม.ป.ป. เครือข่ายนโยบายและการจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัย กรณีศึกษาเฉพาะจังหวัด นครราชสีมาและชัยภูมิ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 Ronald John Hy and William L.Waugh, Jr. 1990. ‘The Function of Emergency Management’ in Handbook of Emergency Management Programs and Policies Dealing with Major Hazards, eds. William L. Waugh, S.R. and Ronald John Hy. New York: Greenwood Press. นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน | 197



นโยบายสาธารณะ

ด้านการลงทุน ด้านสุขภาพชุมชน โดยชุมชน


ข้อเสนอที่ 1

ทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุน ผลิตและสร้างบุคลากรด้านสุขภาพ การผลักดันให้ทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคลากรด้านสุขภาพเป็นยุทธศาสตร์ การสร้างการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพให้กับชุมชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของการเพิ่ม

ผู้ให้บริการสุขภาพที่มีสมรรถนะมากขึ้น ทำให้ประชาชนได้ใช้บริการสุขภาพครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งอาจ เป็นบุคลากรวิชาชีพต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด เป็นผู้ให้บริการสุขภาพทางเลือก เช่น หมอนวดแผนไทย ตลอดจนเป็นผู้ช่วยบริบาล เป็นต้น อย่างไรก็ดี หลายประเทศให้ความสำคัญ กับอาสาสมัครที่ได้รับการเพิ่มสมรรถนะจนมีความชำนาญในการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือผู้ ต้องการความช่วยเหลือตามบทบาท ว่าเป็นหนึ่งในบุคลากรด้านสุขภาพด้วย การร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคลากรด้านสุขภาพอาศัยสามหลักการสำคัญจึงจะทำให้การ ร่วมผลิตบุคลากรด้านสุขภาพก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพชุมชนได้ ซึ่งได้แก่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการร่วมผลิตตั้งแต่การคัดเลือกผู้เรียนที่มาจาก ชุมชนท้องถิ่น การร่วมสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ในหลักสูตร การร่วมออกแบบการทำงานตาม บทบาทของบุคลากรแต่ละวิชาชีพในการบริการและดูแลสุขภาพชุมชน การร่วมวางแผนการบริหาร จัดการระบบการดูแลสุขภาพชุมชนรองรับผู้สำเร็จการศึกษากลับมาทำงานตลอดจนการติดตามการ ทำงานหลังสำเร็จการศึกษาด้วย 2) การเพิ ่ ม ศั ก ยภาพเพื ่ อ ให้ ก ารร่ ว มสมทบทุ น ผลิ ต บุ ค ลากรด้ า นสุ ข ภาพเป็ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้รับการเพิ่มทักษะและความ สามารถในกระบวนการร่วมผลิตและกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน ทั้งนี้ในรูปแบบที่ แตกต่างกันไปตามบทบาทของแต่ละฝ่าย เช่น การฝึกอบรม การสร้างคู่มือและแนวทางการดำเนินการ การศึกษาจากบทเรียนในพื้นที่อื่นเป็นต้น และ

200 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การสร้างบุคลากรด้านสุขภาพถือเป็นการลงทุน สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการสุขภาพ

3) การสร้างความรูส้ กึ เป็นเจ้าของเน้นทีก่ ระบวนการสร้างการมีสว่ นร่วม เช่น การคัดเลือกผูเ้ รียน ที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพิจารณา การสร้างความสัมพันธ์ความผูกพันของผู้เรียนกับชุมชนท้องถิ่น ในระหว่างกระบวนการเรียนในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร กับโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการ สุขภาพที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติของผู้เรียน ตลอดจนกับอาจารย์และสถาบันการศึกษา ทั้งนี้อาศัย กระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการจริงมาเป็นกลวิธีในการดำเนินการภายใต้ 3 หลักการดังกล่าว (Nuntaboot, 2006, 2007.; ขนิษฐา นันทบุตร, 2550 ก, 2550 ข) ตัวอย่างการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมสมทบทุนผลิตและสร้าง บุคลากรด้านสุขภาพ ได้แก่ โครงการสร้างพยาบาลของชุมชน ตั้งแต่ปี 2544 จนปัจจุบัน ที่มีสถาบัน การศึกษาพยาบาล 28 แห่งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 300 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนกว่า 200 แห่งกระจายทั่วประเทศ ผลิตพยาบาลที่เรียกว่าพยาบาลของชุมชน เนื่องจากเป็นพยาบาลที่เป็น คนท้องถิ่นได้รับการคัดเลือกจากชุมชนท้องถิ่นให้เข้าเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้รับ การเสริมสมรรถนะด้านการดูแลสุขภาพชุมชนทั้งในการเรียนตามหลักสูตรและจากกิจกรรมเสริม หลักสูตร และเมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาทำงานดูแลสุขภาพคนในท้องถิ่นตน ด้วยการจ้างงานหลาย รูปแบบตามความเหมาะสม ก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อระบบการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การมีพยาบาลชุมชน 1 คนให้การดูแล 2 หมู่บ้าน

การออกแบบระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุและคนพิการในภาวะพึ่งพิง ในโครงการโรงพยาบาล 1,500 เตียงที่มีพยาบาลของชุมชนให้บริการเต็มเวลา การเพิ่มพยาบาลให้กับโรงพยาบาลชุมชน

โรงพยาบาลทั่วไปที่มีการทำงานเป็นเครือข่ายกับชุมชนท้องถิ่น และ รพ.สต. ในการดูแลสุขภาพกลุ่มที่ ต้องการความช่วยเหลือ (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยเอดส์) เป็นต้น

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 201


ผลกระทบต่อระบบการดูแลสุขภาพอาจแบ่งเป็นสองทางคือ การเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพจากการมีพยาบาลในชุมชนเพิ่มขึ้น ทั้งในการคัดกรองด้านสุขภาพและการบริการสุขภาพ ตามปั ญ หา การเพิ ่ ม ความพึ ง พอใจของประชาชนในการแก้ ป ั ญ หาจากการที ่ พ ยาบาลเข้ า ใจ

สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยกระทบต่อภาวะสุขภาพคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีและความสนิทสนมจาก การเป็นคนในชุมชนเดียวกันหรือเป็นญาติกัน (Nuntaboot, 2006) การสร้างบุคลากรด้านสุขภาพถือเป็นการลงทุนสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ สุขภาพและเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังด้านสุขภาพ (Inter-American Development Bank, 2013 ; (Halliday, He and Zhang, 2009) และเป็นไปตามธรรมนูญ สุขภาพ พ.ศ.2552 ข้อ 100 ที่มีเจตนารมณ์ให้ทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคลากรด้าน สุขภาพ โดยระบุให้หน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการผลิตที่ให้บุคคลจากชุมชน ท้องถิ่นต่างๆ ได้มี โอกาสเข้าศึกษาพัฒนาเพื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นตนเอง โดย เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด (สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ, 2552) สอดคล้องกับมติของสมัชชาสุขภาพ พ.ศ.2555 ที่เรียกร้องให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ สนับสนุนการคัดเลือกบุคคลในพืน้ ทีเ่ ข้าศึกษาหลักสูตรด้านสุขภาพร่วมกับสถาบันการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและกำหนดกรอบอัตรากำลังและกลไกรองรับให้กลับไปปฏิบัติงานใน พืน้ ทีข่ ององค์กร (สมัชชาสุขภาพครัง้ ที่ 5, 2555) อีกทัง้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็น องค์รวมด้วยการสร้าง การมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะให้กับครอบครัว ชุมชน โดยมีมาตรการสำคัญคือให้

ทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้เหมาะสมทั้งการผลิตและการกระจาย (สำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2555) นอกจากนี้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพสำคัญประการหนึ่งที่ระบุไว้ใน จุลสาร HSRI Forum: เคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ คือการไขลาน ‘กลไก’ ระดับพื้นที่

ปลดปัญหาการขาดแคลน-การกระจายตัว โดยมีกรอบนโยบาย ทิศทางและเป้าหมายหลักเพื่อขยาย บริบทการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้กว้างกว่าวิชาชีพหลักโดยครอบคลุมถึงผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวางแผนและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับระบบบริการ สุขภาพและตอบสนองกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ มีการกระจายบทบาทการวางแผน พัฒนาและจัดการกำลังคนลงไปในระดับพื้นที่ รวมไปถึงการสร้าง การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น และภาคประชาชนในทุกระดับ (สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข, 2555) 202 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร. (2550ก). 3 ประสาน อปท - รพ – สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (ดวงพร เฮงบุณยพันธ์. บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล. ขนิษฐา นันทบุตร. (2550ข). 6 ระบบหลักเพือ่ สร้างพยาบาลชุมชน. กรุงเทพฯ : ห้างหุน้ ส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555 – 2559. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2556 ; ค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ. จุลสาร HSRI-FORUM

ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. ค้นเมือ่ กุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th สมัชชาสุขภาพ (Health Assembly).(2555). มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th Halliday, J. T, He.H, and Zhang.H.(2009). Health Investment over the life –cycle.. Retrieved Feb,

9 2013.Available from ww2.hawaii.edu/.../appendix_cje_r1.pdf Inter-American Development Bank. Investment of Human Capital need to happen throughout the life cycle. Retrieved Feb, 9 2013. Available from http://www.iadb.org/en/topics/human-development/idband-human-development, 4258.html Nuntaboot, K. (2006). Nurses of the Community, by the Community, and for the Community in Thailand. Regional Health forum, 10(1). Nuntaboot, K. (2007). A Framework on Community Health Nursing Education. Presented as policy paper at the First Meeting of the South East Asia Nursing and Midwifery Education Institutions Network, 7-10 May 2007, Chandigarh, India.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 203


ข้อเสนอที่ 2

ตั้งศูนย์หรือหน่วยบริการสุขภาพแบบบูรณาการ ที่เกิดจากการร่วมสมทบทุนของทุกภาคส่วน เพื่อจัดหรือเสริมให้บริการสุขภาพ ครอบคลุมการดูแลกลุม่ เป้าหมายตามปัญหาในพืน้ ที่

ศูนย์บริการสุขภาพหรือหน่วยบริการสุขภาพแบบบูรณาการที่เกิดจากการร่วมสมทบทุนของ ทุกภาคส่วน เพือ่ จัดหรือเสริมให้บริการสุขภาพครอบคลุมการดูแลกลุม่ เป้าหมายตามปัญหาในพืน้ ทีน่ น้ั ถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างชุดกิจกรรมการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เป็นการรวมเอา บริการทุกด้านทั้งที่เกี่ยวกับการจัดการกับโรค การเจ็บป่วย และการเพิ่มทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง ด้านต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การเดิน การนัง่ การฝึกสมอง การดูแลผิวหนัง และเท้า เป็นต้น การช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2555) หน่วยบริการสุขภาพ กลุ่มอาสาสมัคร หมอนวดแผนไทย หมอยาสมุนไพร และพระสงฆ์ มีรูปธรรมให้เห็นในหลายลักษณะ เช่น การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการและ

ผู้สูงอายุของ อบต.ดอนแก้ว ที่สำนักสงฆ์สันเหมืองประชาราม โดยมีกิจกรรมกายภาพบำบัดให้กับ

ผู้สูงอายุและคนพิการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้แก่คนพิการทางปัญญา การบริการสุขภาพของ อบต.บักได ร่วมกับ รพ.สต. โดยการผสมผสานภูมิปัญญาพิษงูจากปราชญ์ชาวบ้านในการรักษาผู้ป่วย ที่ถูกงูพิษกัดในท้องถิ่น เป็นต้น (องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว, 2552; องค์การบริหารส่วนตำบล บักได, 2553) ข้อเสนอนี้สอดรับกับธรรมนูญสุขภาพ พ.ศ.2552 ที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการสุขภาพ แบบบูรณาการ โดยรายละเอียดของสาระปรากฏในข้อ 53 คือ ให้ชุมชนและท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของชุมชน และชุมชนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และที่สำคัญทำให้เกิดกลไกการจัดการการเงินเพื่อการดูแลสุขภาพ ชุมชนคือการกำหนดไว้ในหมวดที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ ข้อ 29 ให้รัฐและภาคส่วนต่างๆ พัฒนา

204 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.ควรผลักดันให้หน่วยบริการสุขภาพ เช่น รพ.สต. กลุ่มอาสาสมัคร และหมอแผนโบราณได้ทำงานร่วมมือกัน

มาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในสังคม (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่ง ชาติ, 2552) โดยเน้นการจัดการในระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน กองทุนชุมชนและกิจกรรมชุมชนต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม (Proser, M. and Shin, M., 2008; MkNelly, B., Nishio S., Peshek, C., and Oppen, M., 2011) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรสนับสนุนงบประมาณให้ศูนย์บริการสุขภาพ มีการนำใช้ ศักยภาพและทุนทางสังคมในพื้นที่มาจัดบริการและชุดกิจกรรมการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือ

กลุ่มเป้าหมายต่างๆ และผลักดันให้หน่วยบริการสุขภาพ เช่น รพ.สต. กลุ่มอาสาสมัคร และ

หมอแผนโบราณได้ทำงานร่วมมือกัน โดยอาจมีการนำใช้กลไกการจัดการการเงินที่แสดงว่าเป็นการ

สมทบทุนจากหลายภาคส่วนด้วย เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนสวัสดิการ กองทุนใน ลักษณะอื่น เป็นต้น

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 205


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2555). คู่มือการสำรวจศักยภาพตำบลเพื่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารอัดสำเนา. มูลนิธิสุขภาพไทย (Thai Holistic Health Foundation). แผนงานสร้างเสริมระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพ มูลนิธิสุขภาพไทย. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.thaihof.org/ knowledge/project-detail องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว. (2552). ถอดบทเรียนศักยภาพชุมชน.(ม.ป.ท.) องค์การบริหารส่วนตำบลบักได. (2553). ถอดบทเรียนศักยภาพชุมชน.(ม.ป.ท.) ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน : กลไกการดำเนินงานเพื่อความ ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552.

ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th Michelle Proser, and Peter Shin, (2008). The role of community health centers in responding to disparities in visual health. Optometry (2008) 79, 564-575 Smith, M. Brewster; Hobbs, Nicholas. (2000) The community and the community mental health center. American Psychologist, Vol 21(6), :499-509 MkNelly B, Nishio S, Peshek C, and Oppen M. (2011). Community Health Centers: A Promising Venue for Supplemental Nutrition Assistance Program Education in the Central Valley. Journal of Nutrition Education and Behavior; 43: 137-S144..

206 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 3

ตั้งศูนย์ประสานงานให้การช่วยเหลือประชาชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน ศูนย์ประสานงานเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทำหน้าที่ทั้งในภาวะปกติและในยามฉุกเฉิน และพิบตั ภิ ยั ใช้การสือ่ สารทำความเข้าใจให้การช่วยเหลือทีต่ รงจุดและตรงกลุม่ เป้าหมาย มีการเชือ่ มร้อย ทุนทางสังคมและแหล่งประโยชน์ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ให้ระดมการช่วยเหลือได้สอดรับกับปัญหา ในภาวะปกติ เช่น ปัญหาการประกอบอาชีพ ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัญหายาเสพติด การกระทำ

อปท.ควรเป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนงบประมาณ ให้กับศูนย์ประสานงานฯ ซึ่งถือเป็นการลงทุน ในการสร้างกลไกการช่วยเหลือคนในชุมชน

รุนแรงในครอบครัว ปัญหาในภาวะฉุกเฉินเช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นต้น องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่ในฐานะองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่และมีศักยภาพ ควรเป็นเจ้าภาพในการ สนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์ประสานงานฯ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในการสร้างกลไกการช่วยเหลือ คนในชุมชนอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีส่วนทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งร่วมแรงร่วมใจ และการเพิ่มศักยภาพ

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 207


ของชุมชนให้สามารถร่วมมือกันด้วย และผลกระทบที่สำคัญคือการลดอัตราตายได้ (Holder, H D., 2000; Roussos, S.T, and Fawcett, S. B., 2000; Minkler.M., Thompson.M, Bell.J, and Rose K, 2001; สุพัตรา ศรีวณิชชากร และ คณะ, 2552; ทวิดา กมลเวชช, 2554) ทั้งนี้ การสนับสนุนอาจมีหลายรูปแบบที่สะท้อนแนวทางการจัดการช่วยเหลือทั้งกรณีปกติและ ในยามฉุกเฉิน เช่น 1) การจัดทำแผนการช่วยเหลือที่มีการสนับสนุนด้วยระบบข้อมูลที่ดี 2) การจัดทำ ข้อมูลแหล่งประโยชน์และเครือข่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ที่แสดงให้เห็นโอกาสการเข้าถึงความ

ช่วยเหลือและแนวทางในการให้การช่วยเหลือ 3) การจัดทำข้อมูลผลกระทบจากปัญหาและภัยพิบัติ

ที่พบบ่อยที่แสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประชากรกลุ่มเปราะบาง 4) การพัฒนาเครือข่ายระบบ การสื่อสาร 5) การพัฒนาระบบอาสาสมัคร และ 6) การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติของครัวเรือน ผู้ให้การ ช่วยเหลือและหน่วยงาน องค์กร กลุ่มที่เกี่ยวข้องและการซักซ้อมให้การดำเนินการเป็นไปตามคู่มือและ แนวทาง เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด. สงครามชัย ลีทองดี. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์การประเมินแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 25532555. ม.ป.ท. สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2552). สถานการณ์ ศักยภาพ และความพร้อมของไตรภาคีในการพัฒนา ระบบสุขภาพชุมชนในพื้นที่ 12 ตำบล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 3(3). Holder, H D.(2000). Community Prevention of Alcohol Problems.Addictive Behaviors, Vol. 25, No. 6, pp. 843–859. Minkler.M., Thompson.M, Bell.J, and Rose K.(2001).Contributions of Community Involvement to Organizational-Level Empowerment : The Federal Healthy Start Experience. Health Education & Behavior. vol.28(6) :783-807 Roussos, S.T, and Fawcett, S. B.(2000). A review of collaborative partnerships as A Strategy for improving community health. Annu. Rev. Public Health. 21:369–402 208 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 4

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดหาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ จัดจ้างบุคลากร เพื่อจัดหรือเสริมบริการสุขภาพครอบคลุมการดูแล กลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่

การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์

จัดจ้างบุคลากร เพื่อจัดหรือเสริมบริการสุขภาพครอบคลุมการดูแลกลุ่มเป้าหมายตามปัญหาในพื้นที่ อาจเป็นการนำใช้งบประมาณจากหลายส่วนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสร้างความเข้าใจและข้อตกลงร่วม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนสวัสดิการ งบประมาณของท้องถิ่น

การดำเนินกิจกรรมเพื่อการดูแลช่วยเหลือ ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพของทุนทางสังคมเหล่านั้นด้วย หรือกองทุนในลักษณะอื่น ตัวอย่างในหลายพื้นที่ (ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์, 2555). แสดงให้เห็นความจำเป็นของการลงทุนส่วนนี้ เช่น การจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อตรวจคัดกรองโรคอ้วน ภาวะกระดูกบาง เครื่องออกกำลังกาย เป็นต้น การจ้างพยาบาลเพื่อเสริมการให้บริการสุขภาพ

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย การจัดสถานที่ให้คำปรึกษาสุขภาพแก่กลุ่มวัยรุ่น คนพิการ และ

การฝึกอบรมเพิ่มทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อาสาสมัครและผู้ช่วยเหลือดูแล กิจกรรมตามข้อเสนอนี้เป็นการดำเนินงานในฐานะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงาน ของรัฐที่มีความสำคัญในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนตามที่กฏหมายกำหนดไว้ซึ่งรวมทั้ง นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 209


การดูแลสุขภาพร่วมกับอาสาสมัคร ประชาชนและหน่วยบริการสุขภาพในพืน้ ที่ (ขนิษฐา นันทบุตร, 2551, 2555) ทั้งนี้การจัดหาสถานที่ พื้นที่ เพื่อให้แหล่งประโยชน์ กลุ่มทางสังคม ทุนทางสังคม หน่วยงาน องค์กรชุมชน ได้ใช้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือ ถือเป็นการเพิ่ม ศักยภาพของทุนทางสังคมเหล่านั้นด้วย เพราะเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้มาพบปะ หารือ และทำกิจกรรมร่วมกันได้อันเป็นการหนุนเสริมให้เกิดชุดกิจกรรมการดูแลและช่วยเหลือที่ครอบคลุมได้ ด้วย (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, 2550; สุภัทร์ ไชยกุล และคณะ, 2554; Skinner, M W., Joseph, A. E..& Kuhn, R. G., 2003; Roussos, S.T, and Fawcett, S. B., 2000)

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร. (2551). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. พิมพ์ที่ อุษาการ พิมพ์. ขนิษฐา นันทบุตร.(2555). ข้อเสนอการสังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน. เอกสาร ประกอบการบรรยาย. การประชุมเพื่อสร้างกรอบและทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล (สวพ.) สภาการพยาบาล. ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์. (2555). ธนาคารความคิด: 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, และลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2554). โครงการวิจัยระบบ สุขภาพชุมชน. ภาควิชาการสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล. สุภัทร์ ไชยกุล และคณะ. (2554). การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กลไกการดำเนินงานเพื่อความยั่ง ยืน. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) อัมพร แก้วหนู. ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง: เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, ค้นจาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่นจัดการ ตนเอง. Roussos, S.T, and Fawcett, S. B.(2000). A review of collaborative partnerships as A Strategy for improving community health. Annu. Rev. Public Health. 21:369–402 Skinner, M W., Joseph, A. E..& Kuhn, R. G. (2003). Social and environmental regulation in rural China: bringing the changing role of local government into focus. Geoforum 34 2647-281 210 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 5

สนับสนุนกระบวนการค้นหาแกนนำ จิตอาสาและพัฒนาศักยภาพ ให้สามารถเข้าร่วมให้บริการสุขภาพได้ แกนนำจิตอาสา เป็นหนึ่งในทุนทางสังคมของชุมชน หากมีการนำใช้และพัฒนาทักษะอย่าง ต่อเนื่องจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพของชุมชนได้ด้วย (Kawachi, I., 2006; Mitchell, C. U., and M. LaGory., 2002.; ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, และลักขณา เติมศิริกุลชัย, 2554; อัมพร แก้วหนู, 2555) ชุมชนท้องถิ่นแม้มีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ แหล่งประโยชน์ ทรัพยากรบุคคลมาก แต่หากไม่สามารถสนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการช่วยเหลือดูแลผู้ต้องการความ

ช่วยเหลือหรือกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาในชุมชนแล้ว ก็ถือว่าไม่ใช่ทุนทางสังคม การนำใช้ทุนทางสังคม

ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับการพัฒนาศักยภาพทุนทางสังคมด้วย

ดังนั้นชุมชนท้องถิ่นจึงควรร่วมมือกันนำทุนทางสังคมมาทำงานให้การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆ อันจะนับว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพไปในตัว ซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบตั้งแต่การฝึกอบรมเพิ่ม ทักษะ การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานทั้งในงานตนเองและจากประสบการณ์

ผู้อื่น การมีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นต้น (บุญเลิศ สื่อเฉย และคณะ, 2555) การค้นหาแกนนำ และจิตอาสาอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลคือวิธีที่คนในชุมชนท้องถิ่นดำเนินการเอง เช่น การวิจัย ชุมชนแบบชาติพันธุ์วรรณาหรือ Rapid Ethnography Community Assessment Program (RECAP) การ ประเมินชุมชนโดยชุมชนด้วยการจัดทำและใช้ฐานข้อมูลตำบลตามโปรแกรม Thailand Community Network Appraisal Program (TCNAP) เพื่อให้ชุมชนได้เห็นกลุ่มทุนทางสังคมที่มีศักยภาพในการร่วมให้ บริการสุขภาพได้ (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2552, 2553 ก, 2553 ข, 2553 ค) ตัวอย่างการใช้เครื่องมือในการค้นหาแกนนำ จิตอาสาของชุมชนท้องถิ่นด้วย RECAP อาจ ทำให้พบแกนนำกับจิตอาสามากกว่า 250 คนในชุมชนท้องถิ่นที่มีประชากรกว่า 4,000 คน แกนนำมัก เป็นผู้นำกลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน ผู้รู้ ผู้ตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ส่วน

จิตอาสามักปรากฏในยามที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนต้องการความช่วยเหลือ ทำให้ต้องระดมคนและ

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 211


แกนนำจิตอาสา เป็นหนึ่งในทุนทางสังคมของชุมชน หากมีการนำใช้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพของชุมชนได้ด้วย

ทรัพยากรมาเพิ่มเติม ดังนั้นหากทำการศึกษาค้นหาไว้ก่อน การประสานการช่วยเหลือในยามที่ ต้องการจะเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการดำรงไว้ซึ่งจิตอาสาและแกนนำใน ฐานะทุนทางสังคมของชุมชนท้องถิน่ ด้วย ตัวอย่างแกนนำและจิตอาสาในชุมชน ได้แก่ กลุม่ อาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานช่วยดูแลเพื่อนผู้ป่วยเบาหวานในการปรับพฤติกรรมการรับประทาน อาหาร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงเรียนดูแลเพือ่ นนักเรียนทีม่ ปี ญ ั หาสุขภาพฟัน ทำแผลให้เพือ่ น เมือ่ บาดเจ็บ ทำน้ำยาสมุนไพรเพื่อกำจัดเหา พระสงฆ์เป็นแกนนำในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชใน ชุมชน พระสงฆ์จัดกิจกรรมบำบัดจิตด้วยธรรมะ เป็นต้น

212 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2552). หลักสูตรการศึกษาและถอดบทเรียนชุมชน. สำนักสนับสนุนการสร้าง สุขภาวะในพื้นที่และชุมชน (สำนัก 3), สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ (สำนัก 7); สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพชุมชน (ศวช.) และ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553 ก). กรอบกระบวนการวิจัยชุมชนสู่ตำบลสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : บริษัท

ทีคิวพี จำกัด ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2553 ข). ปฏิบัติการระบบย่อยในระบบสุขภาพชุมชน. นนทบุรี : บริษัท

เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด. ขนิษฐา นันทบุตรและคณะ. (2553 ค). ชุดความรู้การพัฒนากลไกและการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดย ชุมชนเพื่อชุมชน. นนทบุรี : บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด. ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, และลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2554). โครงการวิจัยระบบ สุขภาพชุมชน. ภาควิชาการสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล. บุญเลิศ สื่อเฉย และคณะ.(2555). บทบาทขององคกรปกครองทองถิ่น (อปท.) และอาสาสมัครสาธารสุข ประจําหมูบาน (อสม.) ในการแกไขปญหาการดื่มสุราในชุมชน โดยการใชแนวคิดการสื่อสารเพื่อการ พัฒนา กรณีศึกษา : จังหวัดเชียงใหมและลําพูน.การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำ ปี 2555 ‘ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555 อัมพร แก้วหนู. ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, จากhttp://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง. Kawachi, I. (2006). ‘Commentary: Social Capital and Health—Making the Connections One Step at

a Time.’ International Journal of Epidemiology 35(4): 989–93. Mitchell, C. U., and M. LaGory. (2002). ‘Social Capital and Mental Distress in an Impoverished Community.’ City and Community 1:195–215.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 213


ข้อเสนอที่ 6

จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อลงทุนด้านสุขภาพ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ ในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ

การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อลงทุนด้านสุขภาพ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการ มีตัวอย่างจริงให้เห็นในหลายพื้นที่ เช่น กองทุนโรงพยาบาล 2 บาทของตำบลศรีฐานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำเงินไปปรับปรุงสถานีอนามัยให้ยก ระดับเป็นโรงพยาบาลตำบล พัฒนาสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มศักยภาพบุคลากรและจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ ต่างๆ มาช่วยให้การบริการและการดูแลสุขภาพประชาชนมีความครอบคลุมมากขึ้น โดยมีการลงทุน แบบสามขา คือประชาชนลงขันกันคนละ 2 บาทต่อเดือน อบต.ศรีฐานสนับสนุนงบประมาณปีละ

300,000 บาท หน่วยงานอื่นร่วมลงทุนด้วยได้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และศูนย์สุขภาพ ชุมชนศรีฐานสมทบทุนปีละ 200,000 บาท การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในรูปแบบของกองทุนโรงพยาบาล 2 บาทดังกล่าวสร้าง

ผลกระทบต่อสุขภาพและการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพได้อย่างชัดเจน ได้แก่ การบริการสุขภาพและ การดูแลที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไกลไปโรงพยาบาลในอำเภอ การลดค่าใช้จ่ายทางอ้อม เช่น

ค่าเดินทาง กองทุนยังส่งเสริมการรวมกลุ่มกันของผู้สูงอายุกว่า 500 คนในการทำกิจกรรมการส่งเสริม

สุขภาพ การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารทีด่ ตี อ่ สุขภาพด้วย นอกจากนี้ กองทุนได้สนับสนุน การสร้างบุคลากรด้านสุขภาพด้วยการให้ทุนการศึกษาคนในตำบลไปเรียนเป็นพยาบาล นักวิชาการ สาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรมและทันตาภิบาล เพื่อให้กลับมาทำงานในโรงพยาบาล 2 บาทและ เป็นกำลังสำคัญในการดูแลคนในชุมชนถือเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้แบบยั่งยืน ทั้งนี้ ทุกฝ่ายในตำบลศรีฐานได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงพยาบาลตำบลอย่างเต็มที่ มีความรู้สึกของ ความเป็นเจ้าของเพราะมาจากการร่วมแรงร่วมใจและร่วมลงทุน (ถอดบทเรียนศักยภาพพื้นที่ตำบล

ศรีฐาน, 2552) 214 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


การลงทุนร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน ถือเป็นการผลักดันให้กลไกการจัดการการเงินของชุมชนได้ ทำหน้าที่บูรณาการ เอาการดูแลสุขภาพมาเป็นสวัสดิการได้

การลงทุนร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชนถือเป็นการผลักดันให้กลไกการจัดการการเงินของ ชุมชนได้ทำหน้าที่บูรณาการเอาการดูแลสุขภาพมาเป็นสวัสดิการได้ (วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล และ ธีระพงษ์ มาลัยทอง, 2550; สมเกียรติ สุนทรอำไพ, 2555; ศิวโรจน์ จิตนิยม, 2555) หากต้องการขยาย กิจกรรมให้ครอบคลุมการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชนและเพิ่มศักยภาพของการ บริการสุขภาพในชุมชนให้สูงขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสร้างความร่วมมือกับองค์กรชุมชนอื่น ในการร่วมลงทุนและใช้ประโยชน์จากกองทุนสวัสดิการชุมชนนี้ให้เกิดกับผู้ต้องการการดูแลช่วยเหลือ ในชุมชนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ทั้งนี้ด้วยการขยายประเภทสวัสดิการให้ครอบคลุม

กว้างขวางตามปัญหาและความจำเป็นของชุมชนทีน่ อกเหนือจากสวัสดิการชุมชนว่าด้วยการเกิด แก่ เจ็บ ตาย (อัมพร แก้วหนู, 2555) แต่เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีการลงทุนทางสุขภาพ ด้วยกิจกรรม

ที่เป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือด้านสุขภาพ เช่น การสร้างบุคลากรด้าน สุขภาพที่เป็นคนในชุมชน นำไปลงทุนด้านการจัดการขยะ การให้เงินกู้ไม่มีดอกเบี้ยกรณีลงทุนทำ อาชีพที่ ‘ไม่เอาเปรียบสังคมหรือทำลายสิ่งแวดล้อม’ โดยผลผลิตต้องขายให้สมาชิกในราคาต่ำกว่า ท้องตลาด หรือแม้แต่การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อลดสารเคมีในอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการสนับสนุนการดำเนินการตามข้อเสนอนี้ได้

ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แนวทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงานและ สมทบงบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งการสมทบงบประมาณโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแก่กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นการยึดหลัก ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา โดยประชาชนออม 1 ส่วน อปท.สมทบงบประมาณ 1 ส่วน และรัฐบาล 1 ส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พิจารณาสมทบงบประมาณได้ตามฐานะการคลังของแต่ละแห่ง และ

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 215


องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สามารถให้การสนับสนุนงบประมาณให้กับเทศบาล อบต. เพื่อการ สมทบงบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชนได้โดยปฏิบัติตามระเบียบ หนังสือสั่งการ ตามประกาศ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี, 2553) หากชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ นต้ อ งการดำเนิ นการตามข้ อ เสนอนี ้ ชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ นควร 1) สนั บ สนุ น กระบวนการจัดตั้งและพัฒนาการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องการให้คำแนะนำ การประสานงานกับหน่วยงานงบประมาณ 2) เรียนรู้และเชื่อมโยงการจัดสวัสดิการชุมชนกับการจัด สวัสดิการและการพัฒนาอื่นๆ ของกลุ่มต่างๆ ที่มีการจัดสวัสดิการในชุมชนกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ 3) จัดสรรงบประมาณ บุคลากรและทรัพยากรในการบริหารอืน่ ๆ สนับสนุนในการจัดสวัสดิการ ชุมชนของกองทุนสวัสดิการชุมชนและกลุ่มต่างๆ ที่มีการจัดสวัสดิการ 4) สร้างกระบวนการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาองค์กรสวัสดิการชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง (สลิลทิพย์ เชียงทอง และอินทิรา

วิทยสมบูรณ์; 2552, ริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และหทัยชนก สุมาลี; 2553) เอกสารอ้างอิง สมเกียรติ สุนทรอำไพ. (2555). การจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ: กรณีศึกษาที่ 2 ในเวทีเวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 6. สำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). มติ ครม.แนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบงบ ประมาณแก่ ก องทุ น สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชน. ค้ น เมื ่ อ 11 กุ ม ภาพั น ธ์ 2556 ค้ น จาก http:// www.cabinet.soc.go.th สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). คู่มือการดำเนินงานภายใต้กองทุนฟื้นฟูสมรรถนะด้านการ แพทย์ปี 2555. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556, ค้นจาก http://www.photharam.com/intraptrh/ attachments/article/54 ศิวโรจน์ จิตนิยม. (2555).การจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองสาหร่าย: กรณีศึกษาที่ 2 ในเวที เวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 6. วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล และ ธีระพงษ์ มาลัยทอง.(2550) การพัฒนาดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน.วารสาร เศรษฐกิจและสังคม 1, 44 (ม.ค.-มี.ค. 2550) : 40-47. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และหทัยชนก สุมาลี. (2553). บทบาทองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริม สุขภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน.(2552). ถอดบทเรียนศักยภาพชุมชน. ม.ป.ป. อัมพร แก้วหนู. (2555). ออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชน: กรณีศึกษาจากภาคใต้. พัทลุง : สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้, 2546.

216 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 7

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดต้นทุนการดูแลสุขภาพ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพชุมชน ร่วมกับกลุ่มทางสังคม อาสาสมัคร องค์กรชุมชน และหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ ให้ครอบคลุมกลุ่ม ประชากรเป้าหมายตัง้ แต่กอ่ นเกิดจนเสียชีวติ ทุกกลุม่ วัย ทัง้ กลุม่ ทีม่ ภี าวะสุขภาพปกติ เสีย่ ง และเจ็บป่วย และการทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สามารถกำหนดนโยบายเพือ่ ใช้งบประมาณในท้องถิน่ ของตนเองได้ ทำให้สามารถเชื่อมโยง ส่งเสริมและให้งบประมาณสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องใน พื้นที่หันมาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการดูแลสุขภาพได้ เช่น การสนับสนุนให้ใช้การแพทย์

พื้นบ้าน การใช้สมุนไพรท้องถิ่นที่เน้นการเสริมภูมิต้านทาน และการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาด้วย การแพทย์แผนปัจจุบันเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น เนื่องด้วยงานการดูแลสุขภาพชุมชนเป็นงานที่ต้องอาศัย การบริหารจัดการร่วมกันทั้งชุมชน (ขนิษฐา นันทบุตร, 2551; สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ, 2552) การพัฒนาระบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้บรรลุเป้าหมายนั้น ขึ้นอยู่กับการประสานการ ทำงานร่วมมือกันระหว่างกลุ่มทางสังคม อาสาสมัคร องค์กรชุมชน และหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันเช่นนี้ได้ ประเทศไทยให้ความสำคัญ และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ โดย กำหนดคำว่า ‘ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ’ ไว้ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552

ว่าหมายถึง องค์ความรู้ ความคิด ความเชื่อ และความชำนาญในการดูแลสุขภาพโดยอาศัยความรู้

ที่ได้สั่งสมถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมาในท้องถิ่นซึ่งรวมถึง การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่ประชาชนและชุมชนใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างสอดคล้องกับท้องถิ่น นั้นๆ และกำหนดเป้าหมายให้รัฐมีมาตรการสร้างเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและ ชุมชนท้องถิ่น ในการฟื้นฟู สืบสานและใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และการ ประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบททางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 217


การแพทย์พื้นบ้าน ไม่ได้แยกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเด็ดขาด แต่ดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านสุขภาพในระดับชุมชน (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ, 2552) เพื่อให้ประชาชนสามารถ ‘พึ่งตนเอง’ ได้โดยการดูแลสุขภาพก่อนการเจ็บป่วย และแสวงหาแนวทางการเยียวยารักษาเมื่อ

เจ็บป่วยแล้ว (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ, 2547) เนื่องจากการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่าง เดียวไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้ทั้งหมด เพราะเป็นระบบการแพทย์ที่มีราคาสูง ต้องพึ่งพิง

เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ และมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถให้ บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมได้ อีกทั้งการดูแลช่วยเหลือด้านสังคมและการจัด

สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีนั้นเป็นบริการที่เกินความสามารถของระบบการแพทย์ ดังนั้น

การส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพเพื่อลดต้นทุน โดยการดึงสิ่งที่ยังเหมาะสมกับ ยุคสมัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์จริงของชุมชนย่อมเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เพราะ ในทัศนะของชาวบ้านนั้น การแพทย์พื้นบ้านไม่ได้แยกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเด็ดขาด แต่ดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (ดารณี อ่อนชมจันทร์, ม.ป.ป.) หลั ก การในการส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ นการใช้ แ ละการพั ฒ นาภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ นด้ า นสุ ข ภาพ ประกอบด้วย 1) มีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน วัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเชื่อและศาสนา และ นำไปสู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2) ให้การส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเสริม สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลสุขภาพ 3) ให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกใช้และเข้าถึงการ แพทย์ระบบต่างๆ อย่างเท่าเทียม เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว มีความรู้เท่าทันและ ได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้บริโภค โดยมีระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นกลางและเข้า ถึงได้ 4) ใช้ปัญญา ความรู้ ความมีเหตุผลในการพัฒนาวิชาการและองค์ความรู้จากฐานเดิมอย่าง

ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า มีประสิทธิผลและปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน

218 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


และท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนการใช้ และการพัฒนา

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลสุขภาพของชุมชนอย่างเหมาะสม (ธรรมนูญว่าด้วยระบบ สุขภาพแห่งชาติ, 2552) สอดคล้องกับการสรุปผลเสวนาสวัสดิการสำหรับคนไทยในอนาคต ด้าน สวัสดิการการรักษาพยาบาลที่เสนอว่าควรพัฒนาแพทย์แผนไทย สนับสนุนบทบาทหมอชาวบ้าน

(สมชัย จิตสุชน และคณะ, 2554) เพราะการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนองค์กรชุมชนและ

เครือข่าย ในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นให้พึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด จะนำไปสู่การ สร้างชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน (วนิดา วิระกุล, 2548) นำมาสู่การกำหนดหนึ่งในตัวชี้วัดชุมชนท้องถิ่น จัดการตนเองไว้ว่า ให้มีระบบการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองโดยอาศัยหมอพื้นบ้าน พืชสมุนไพรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (อัมพร แก้วหนู, 2555) ดังนั้นหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมการใช้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพจะสามารถลดต้นทุนการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และ ส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนได้มากขึ้น างอิง เอกสารอ้ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ. (2547). พลวัตสุขภาพกับการพึ่งตนเอง: ภาคชนบท. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.]. ขนิษฐา นันทบุตร. (2551). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชน แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. พิมพ์ที่ อุษาการ พิมพ์. ดารณี อ่อนชมจันทร์. (ม.ป.ป.). สถานการณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพและการแพทย์พื้นบ้านไทย.กลุ่ม งานการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สืบค้นจาก www.moph.go.th เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 วนิดา วิระกุล. (2548). รายงานการประเมินระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนา หมู่บ้านจัดการสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2548. ขอนแก่น : ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพ ภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. ค้น เมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th สมชัย จิตสุชน และคณะ. (2554). สู่ระบบสวัสดิการสังคมถ้วนหน้าภายในปี พ.ศ.2560. สถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย. สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2552). สถานการณ์ ศักยภาพ และความพร้อมของไตรภาคีในการพัฒนา ระบบสุขภาพชุมชนในพื้นที่ 12 ตำบล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3(3). อัมพร แก้วหนู. (2555). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง: เหตุผล ความหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัดและ กระบวนการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, จากhttp://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชน ท้องถิ่นจัดการตนเอง.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 219


ข้อเสนอที่ 8

การลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูล กำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล และออกแบบการลงทุนจัดบริการสุขภาพ แก่ประชาชนในพื้นที่

การลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล และออกแบบการ ลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพืน้ ที่ มีตวั อย่างในพืน้ ทีจ่ ริงคือ การทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สนับสนุนงบประมาณร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กลุ่ม องค์กรชุมชนและภาค ประชาชนในกระบวนการจัดทำข้อมูลชุมชน ตั้งแต่การจัดเก็บ บันทึก วิเคราะห์ และนำใช้ข้อมูลเพื่อ กำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล ร่วมกันออกแบบการลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชน จนทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของข้อมูล และนำใช้ข้อมูลจนเป็นวิถีของการทำงานในการทำแผนชุมชนต่อไปได้

ซึ่งการลงทุนนี้แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญกับข้อมูลชุมชนในการชี้เป้าหมายการลงทุนสร้างบริการ สุขภาพและกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อไปด้วย เช่น ข้อมูลชี้ให้เห็นจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่ม มากขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสมทบทุนกับกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อขยายสวัสดิการที่เป็นบริการดูแลส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มก่อนสูงอายุมากขึ้น อันจะช่วยลดค่าใช้ จ่ายในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือได้จากการที่กลุ่มก่อนสูงอายุมีการดูแล สุขภาพตนเองเป็นอย่างดีสามารถลดการเจ็บป่วยได้ หรือหากข้อมูลบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุในสัดส่วนสูง

มีความพิการที่ป้องกันได้จากโรคเรื้อรัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจต้องร่วมมือกับหน่วยบริการ สุขภาพและอาสาสมัคร ให้มีการฝึกทักษะเพิ่มเติมในการดูแลเพื่อลดโอกาสการเกิดความพิการลง เป็นต้น การลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล และออกแบบการ ลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ มีความสำคัญต่อการจัดระบบการดูแลสุขภาพของชุมชน ท้องถิ่น เนื่องจากถ้าชุมชนได้มีการลงทุนจัดทำข้อมูล และนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแล จะช่วยให้ 1) ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ เช่น การศึกษาของ Koch &

220 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


หากมีการนำใช้ข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ ไปวางแผนกิจกรรมและแนวทางการพัฒนาต่อเนื่องได้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดูแลช่วยเหลือกันได้ อย่างครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย Hagglund พบว่าการนำใช้ข้อมูลเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยใน การดูแลตนเองเพิ่มขึ้น (Koch & Hagglund, 2009) ช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและใช้ ข้อมูลในการดูแลตนเองได้ (Kaye, 2009) ช่วยให้ผสู้ งู อายุทเ่ี ปราะบางได้รบั การดูแลทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพิม่ (Koch, 2010) และช่วยให้ผู้สูงอายุที่ภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ (Zwijsen & Niemeijer, 2011) เป็นต้น 2) ช่วยให้การจัดระบบการบริการของระบบบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น เช่น การนำใช้ข้อมูลเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและ การดูแลสุขภาพที่บ้านให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันตามสภาพ ของผู้สูงอายุ (Koch & Hagglund, 2009) ระบบฐานข้อมูลเตือนภัยผู้สูงอายุในฟินแลนด์ช่วยให้มี รายงานการใช้โทรศัพท์เพื่อความปลอดภัยและรายงานสัญญาณชีพเพื่อตรวจสอบคุณภาพชีวิตจาก สายรัดข้อมือไฮเทคให้ในหน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุได้ใช้วางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม (Melkas, 2010) การใช้ชุดข้อมูลมาตรฐานช่วยให้สามารถคาดการณ์การดูแลผู้สูงอายุได้ (Monsen & Westra, 2011) และระบบข้อมูลช่วยในการประเมินผลลัพธ์การบริการผู้สูงอายุเพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนงบ ประมาณ (Olve & Vimarlund, 2005) สอดคล้องกับข้อเสนอของ เสรี พงศ์พิศ และยงยุทธิ์ ตรีนุชกร ที่ เสนอให้จัดทำแผนแม่บทสุขภาพชุมชนอยู่บนฐานข้อมูล (เสรี พงศ์พิศ และยงยุทธิ์ ตรีนุชกร, 2554)

3) ช่วยให้ชุมชนร่วมกันออกแบบการจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ เช่น ระบบข้อมูลสุขภาพ ชุมชนที่ช่วยให้กลุ่มผู้บริหาร บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพและอาสาสมัครในชุมชน ใช้ข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจวางแผนหรือกำหนดนโยบายเพื่อดูแล คนในชุมชน เป็นต้น ความสำคัญของการลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูล อยู่ที่การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การดูแลและการกำหนดเป้าหมายการลงทุนเพื่อการดูแล นำมาสู่การกำหนดนโยบายและแนวทางการ

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 221


ทำงานของหลายองค์กร เช่น สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา

องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุว่าควรมีการพัฒนาระบบข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนให้ถูกต้องทันสมัย สามารถ นำมาใช้ในการวางแผนการให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ โดยผู้เกี่ยวข้อง สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้ด้วย และเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลผู้สูงอายุ เพื่อการให้เบี้ยยังชีพเป็นไปอย่างครอบคลุม (สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ, 2555) สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ระบุตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการทำข้อมูลชุมชนว่า ควรมีฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ เช่น

ฐานข้อมูลผู้มีสิทธิต่างๆ และมีระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อบันทึกข้อมูลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม แห่งชาติ, 2550) สอดคล้องกับ อัมพร แก้วหนู (2555) ที่ศึกษาตัวชี้วัดชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองด้าน แผนการพัฒนาและการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ว่าชุมชนต้องมีฐานข้อมูลระดับครัวเรือน ชุมชน ตำบล ประกอบการวิเคราะห์ จัดทำและติดตามผลการพัฒนาคนในชุมชนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม ในกระบวนการจัดทำ ดำเนินการ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และหากมีการนำใช้ ข้อมูลสถานการณ์ของพื้นที่ไปวางแผนกิจกรรมและแนวทางการพัฒนาต่อเนือ่ งได้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้เกิดการดูแลช่วยเหลือกันได้อย่างครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการลงทุนจัดทำข้อมูลชุมชนและนำใช้ข้อมูลกำหนดกลุ่ม

เป้าหมายการดูแลและออกแบบการลงทุนจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ มีความสำคัญจนถูก กำหนดเป็นนโยบายของหลายหน่วยงาน และเห็นผลลัพธ์ที่ได้ จึงเสนอให้ชุมชนท้องถิ่นได้นำใช้เป็น นโยบายเพื่อสร้างสุขภาวะให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

222 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


เอกสารอ้างอิง

เสรี พงศ์พิศ และยงยุทธ ตรีนุชกร. (2554). การพึ่งตนเองด้านสุขภาพของชุมชน : โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติ การ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2544 – 2564. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. (2550). โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ ภาพรวม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. อัมพร แก้วหนู. ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง: เหตุผลความหมายเป้าหมายตัวชี้วัดและกระบวนการทำงาน. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2555, จาก http://www.codi.or.th/reform/dmdocuments/ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง. Koch, S. and M. Hagglund (2009). Health informatics and the delivery of care to older people. Maturitas 63(3): 195-199 Kaye, M. (2009). Health literacy and informatics in the geriatric population: the challenges and opportunities. Online Journal of Nursing Informatics 13(3): 1-19. Melkas, H. (2010). Informational ecology and care workers: Safety alarm systems in Finnish elderly-care organizations. Work 37(1): 87-97. Monsen, K. A., B. L. Westra, et al. (2011). Linking home care interventions and hospitalization outcomes for frail and non-frail elderly patients. Research in Nursing & Health 34(2): 160-168. Olve, N.-G. and V. Vimarlund (2005). Locating ICT’s benefits in elderly care. Medical informatics& the Internet in Medicine 30(4): 297-308. Zwijsen, S. A., A. R. Niemeijer, et al. (2011). Ethics of using assistive technology in the care for community-dwelling elderly people: An overview of the literature. Aging & Mental Health 15(4): 419-427.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 223


ข้อเสนอที่ 9

การสนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้ที่มีรายได้ จัดสรรทุนเพื่อการดูแลสุขภาพ โดยใช้การมีสุขภาพดีเป็นเงื่อนไข ของการจัดสวัสดิการ

การสนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้ที่มีรายได้จัดสรรทุนเพื่อการดูแลสุขภาพ โดยใช้การมี สุขภาพดีเป็นเงื่อนไขของการจัดสวัสดิการ เป็นแนวทางให้ชุมชนท้องถิ่นสร้างสวัสดิการสำหรับคนใน ชุมชนได้กว้างขวางและครอบคลุมความต้องการและความจำเป็นด้านสุขภาพมากที่สุด โดยมีการ กระจายไปตามสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ที่มีรายได้ให้มากที่สุดและมีรูปแบบสวัสดิการที่สอดรับกับวิถี การผลิตของชุมชนด้วย การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้กลุ่มหรือ แหล่งที่มีรายได้ เช่น กองทุนสวัสดิการ สถาบันการเงิน กลุ่มรักษ์สุขภาพ กลุ่มอาชีพ ได้จัดสวัสดิการ ให้กับสมาชิก โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับสวัสดิการเหล่านั้นได้ปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เน้นการดูแล ตนเองเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทาน ลดการเจ็บป่วยและลดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ จะเป็นการเพิ่ม ศั ก ยภาพการดูแลสุขภาพให้กับชุมชนอีก ทางหนึ ่ ง เช่ น กำหนดให้ ผู ้ ร ั บ สวั ส ดิ ก ารของกลุ ่ ม ต้ อ ง

ออกกำลังกาย ปลูกผักปลอดสารพิษ เพิ่มบำนาญชีวิตให้กับคนที่ไม่เจ็บป่วยในรอบปี ลดการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ คือ แหล่งหรือกลุ่มปฏิบัติการที่คนในชุมชน กลุ่มต่างๆ หรือองค์กรชุมชน มีการ ดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาวะและการดำเนินชีวิตจนสามารถให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้ได้ โดยมีผู้นำ กลุ่มที่สามารถบอกเล่าแนวทางและวิธีการดำเนินกิจกรรมได้เป็นวิทยากร ในตำบลมักมีหลายกลุ่ม ปฏิบัติการที่มีศักยภาพจนเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ซึ่งหากวิเคราะห์จำแนกกลุ่มปฏิบัติการหรือแหล่งเรียนรู้ ตามความใกล้เคียงกันของกิจกรรม และผลกระทบของกิจกรรมอาจแบ่งได้หลายชุด (ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ, 2552) ทัง้ ชุดทีเ่ กีย่ วข้องกับการดูแลสุขภาพโดยตรง และชุดทีเ่ ป็นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อันประกอบด้วย กลุ่มอาชีพและสร้างรายได้ กลุ่มเชิงประเด็น เช่น กลุ่มจัดการ ภัยพิบัติ กลุ่มการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน กลุ่มจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้

224 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ลักษณะสวัสดิการที่จัดให้กับสมาชิก ตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงเสียชีวิต สามารถขยายให้ครอบคลุมความจำเป็นด้านต่างๆ ของการดูแลสุขภาพได้

ลักษณะสวัสดิการที่จัดให้กับสมาชิกตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงเสียชีวิต สามารถขยายให้ครอบคลุมความ จำเป็นด้านต่างๆ ของการดูแลสุขภาพได้ (ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์, 2555; Halliday, He & Zhang, 2000; Inter-American Development Bank, 2012) อาจได้แก่ จัดสรรเป็น

เงินขวัญถุงเมื่อคลอด ให้การช่วยเหลือเมื่อยามเจ็บป่วย ช่วยค่าเดินทางไปพบแพทย์ หรือจัดให้มี

รถรับส่งและผูช้ ว่ ยเหลือเมือ่ ไปรับการรักษาทีโ่ รงพยาบาล จัดสวัสดิการบำนาญชีวติ จัดสรรเงินช่วยเหลือ

ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และช่วยเหลืองานศพเมื่อเสียชีวิต เป็นต้น (วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล และ ธีระพงษ์ มาลัยทอง, 2550; ศิวโรจน์ จิตนิยม, 2555; สมเกียรติ สุนทรอำไพ, 2555; อัมพร แก้วหนู, 2555) หากชุมชนท้องถิ่นมีการสนับสนุนและผลักดันให้แหล่งเรียนรู้ที่มีรายได้จัดสรรทุนเพื่อการดูแล สุขภาพ โดยใช้การมีสุขภาพดีเป็นเงื่อนไขของการจัดสวัสดิการแล้ว โอกาสที่จะสร้างผลลัพธ์ให้มีการ พัฒนาระบบสวัสดิการสังคมแบบก้าวกระโดดจะมีมากขึ้น ซึ่งเดิมมีไว้เพื่อช่วยเหลือสมาชิกและผู้อยู่ใน ภาวะยากลำบากและถูกทอดทิ้ง เช่น ผู้สูงอายุ คนจน ผู้ป่วย คนพิการ เด็กกำพร้า เมื่อได้ส่งเสริมให้มี การเชื่อมโยงสวัสดิการให้กับกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ ที่มีรายได้จะทำให้สวัสดิการขยายวงกว้างมากขึ้น ครอบคลุมประชาชนมากขึ้น (วิจิตร ศรีสุพรรณ, ขนิษฐา นันทบุตร, ดวงพร เฮงบุณยพันธ์, 2552;

ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ และคณะ, 2555; Boonyabancha, S., 2004) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึง ควรสนับสนุนงบประมาณตามแนวทางข้อเสนอนี้เพื่อใช้การจัดสวัสดิการสังคมเป็นเงื่อนไขของการดูแล และการช่วยเหลือด้านสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นต่อไป นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 225


เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2552). หลักสูตรการศึกษาและถอดบทเรียนชุมชน. สำนักสนับสนุนการสร้าง สุขภาวะในพื้นที่และชุมชน (สำนัก 3), สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ (สำนัก 7); สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพชุมชน (ศวช.) และ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์. (2555). ธนาคารความคิด: 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิจิตร ศรีสุพรรณ, ขนิษฐา นันทบุตร, ดวงพร เฮงบุณยพันธ์. (2552). แลปากพูน เมืองนครฯ : ดู อบต.สร้าง ระบบการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ แผนงานการสร้างพยาบาลของชุมชนโยชุมชนเพื่อชุมชน. ธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ และคณะ. (2555). ตำหรา วิชชาปากพูน. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล และ ธีระพงษ์ มาลัยทอง. (2550).การพัฒนาดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. ค้น เมื่อกุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th สมเกียรติ สุนทรอำไพ. (2555). การจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ : กรณีศึกษาที่ 2 ในเวทีเวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 6. ศิวโรจน์ จิตนิยม. (2555). การจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลหนองสาหร่าย : กรณีศึกษาที่ 2 ในเวที เวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 6. อัมพร แก้วหนู. (2555). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผล ความหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัดและ กระบวนการทำงาน. Boonyabancha. S.(2004). Deepening Community Welfare in Thailand. Retrieved Feb, 9, 2013.Available from http://www.codi.or.th/.../.pdf Halliday, J. T, He.H, and Zhang.H.(2009). Health Investment over the life –cycle.. Retrieved Feb, 9 2013. Available from ww2.hawaii.edu/.../appendix_cje_r1.pdf Inter-American Development Bank. Investment of Human Capital need to happen throughout the life cycle. Retrieved Feb, 9 2013.Available from http://www.iadb.org/en/topics/human- development/idband-human-development, 4258.html

226 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


ข้อเสนอที่ 10

สนับสนุนให้จัดตั้งแหล่งอาหารปลอดภัย (เช่น การทำเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สมุนไพรใกล้ตัว เป็นต้น)

อาหารเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ปัจจุบันพบว่าประชาชนได้รับอาหารที่ไม่ปลอดภัยจากสอง ทางคือ การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลจนทำให้เกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น อาหารที่มี ไขมันสูง อาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือและน้ำตาลสูง อาหารที่มีโปรตีนสูง มีสารปรุงแต่งและ ตกค้างต่างๆ เป็นต้น และการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษตั้งแต่การปลูกพืชผักโดยใช้ สารเคมี การถนอมอาหารโดยใช้สารฟอกสีหรือสารกันบูด การซื้ออาหารที่ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพ ตลอดจนการรับประทานยาเกินกว่าความจำเป็น มีอาการแพ้ยา เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2555) ทั้งนี้ สิ่งที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยของอาหารมีหลายประเภท คือ 1) เชื้อโรคประเภทต่างๆ ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ซึ่งอาจติดมาตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงการเก็บรักษา และกระบวนการ ผลิตเพื่อการแปรรูปต่างๆ ตลอดจนจากการขนส่ง 2) สารตกค้างของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิด ต่างๆ ซึ่งเกษตรกรมีการใช้ในกระบวนการปลูกและเก็บรักษาผลผลิต 3) สารตกค้างของแอนตี้ไบโอติก และฮอร์โมนต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมโรคและเร่งการเจริญเติบโต 4) สารปนเปื้อนอื่นๆ 5) อาหาร

ฉายรังสี ในกรณีที่มีการตกค้างของสารกัมมันตรังสีต่างๆ 6) อาหารที่มาจากกระบวนการของ เทคโนโลยีชีวภาพหรือการตัดต่อยีนส์ Gene Modify Organism (GMO) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มีความเป็น ห่วงว่าอาจจะเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ได้ในอนาคต ปัญหาสารปนเปื้อนในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศ เกษตรกรรม คือ การปนเปือ้ นของสารเคมีทใ่ี ช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพชื (กระทรวงเกษตรและสหกรณ,์ 2556; พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงษ์ และ นิธยิ า รัตนปนนท์, 2555; Amagliani, Brandi, Schiavano, 2012; Kleter, Hans, Marvin, 2009) การพัฒนาระบบอาหารปลอดภัยของชุมชนจึงไม่ใช่การทำงานมุ่งไปเฉพาะเรื่องอาหาร แต่ เป็นการออกแบบทั้งระบบให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองด้านต่างๆ ที่เป็นฐานของการพัฒนา

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 227


เป็นการออกแบบทั้งระบบให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถจัดการตนเองด้านต่างๆ ที่เป็นฐานของการพัฒนาแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชนได้

แหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชนได้ เช่น ด้านสุขภาพ คือการทำให้ครัวเรือนมีอาหารที่มีคุณภาพ บริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี ทำให้คนมีสุขภาพดีขึ้น จำนวนคนป่วยด้วยโรคร้ายแรงลดลง ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม คือมีแหล่งอาหาร แหล่งผลิตพลังงาน ทีเ่ พียงพอต่อการบริโภคและ การดำรงชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการเกษตร คือชุมชนมีกองทุนหรือ องค์กรการเงินเป็นของตนเองและมีการเชือ่ มโยงกองทุนต่างๆ เพือ่ ผนึกกำลังในการแก้ปญ ั หาของชุมชน กำไรขององค์กรการเงินนำมาใช้เพื่อสวัสดิการชุมชนหรือสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น (อัมพร แก้วหนู, 2555; Kehlbacher, Bennett, Balcombe, 2012; Kleter, Hans, Marvin, 2009) ดังนั้น การสนับสนุนให้จัดตั้งแหล่งอาหารปลอดภัยในชุมชน เช่น การทำเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สมุนไพรใกล้ตัว จึงต้องคิดออกแบบชุดกิจกรรมที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบ โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มทางสังคมและองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กลุ่มรักษ์สุขภาพ กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นต้น ได้ร่วมกัน คิดและออกแบบกิจกรรมที่ส่งผลกระทบให้มีแหล่งอาหารปลอดภัย อาหารเพื่อสุขภาพในชุมชน นำไป สู่การหวังผลเกี่ยวกับการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพได้ด้วย นอกเหนือจากมีอาหารทางเลือกเพิ่มขึ้นใน ชุมชนเท่านั้น โดยอาจจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะที่เกิดจากข้อตกลงในการร่วมมือกันของผู้เกี่ยวข้อง หลายฝ่ายโดยเฉพาะกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัย กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่ม สวัสดิการ ทั้งนี้อาจนำใช้กลไกที่มีในชุมชนมาจัดการร่วมด้วยเช่น กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนอื่น กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาเด็ก และตลาด โดยอาจมีการปรับกิจกรรมการดูแล

ช่วยเหลือที่เชื่อมกับกลุ่มที่มีการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนดังกล่าวข้างต้น และกลุ่มที่เป็นตลาด ของอาหารปลอดภัย เช่น พ่อค้า แม่ค้า โรงเรียน โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล รพ.สต. และ

ศูนย์พัฒนาเด็ก เป็นต้น

228 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายพื้นที่ได้หนุนเสริมภาคประชาชนและองค์กรภาครัฐ องค์กร ชุมชนให้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งอาหารปลอดภัย เช่น การทำเกษตรปลอดสาร การส่งเสริมการทำอาหาร ปลอดภัยกินเอง การปลูกผักสมุนไพรใกล้ตวั จนได้รบั การยอมรับให้เป็นแหล่งเรียนรูท้ ง้ั ในและนอกตำบล (ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์, 2555; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550) ด้วยหลักการ ของการผลิตเพื่อชุมชน การใช้วัตถุดิบในชุมชน และการกระจายเพื่อบริโภคให้เพียงพอในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). ปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร. ค้นจาก http://fs.doae.go.th/ old/prob.htm. ขนิษฐา นันทบุตร และดวงพร เฮงบุณยพันธ์. (2555). ธนาคารความคิด: 7 ประเด็นนโยบายสาธารณะสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). โครงการนโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารปลอดภัยและ เศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพ (สสส.) พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงษ์ และนิธิยา รัตนปนนท์. (2555). ความปลอดภัยทางอาหาร. ค้นจาก http:// www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0334/food-safety สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2556; ค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf อัมพร แก้วหนู. (2555). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : เหตุผล ความหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัดและ กระบวนการทำงาน. G. Amagliani, G. Brandi, G.F. Schiavano. (2012). Incidence and role of Salmonella in seafood safety. Food Research International, 5 (2); 780-788. A. Kehlbacher, R. Bennett, K. Balcombe. (2012). Measuring the consumer benefits of improving farm animal welfare to inform welfare labeling. Food Policy, 77(6); 627-633. Gijs A. Kleter, Hans J.P. Marvin. (2009). Indicators of emerging hazards and risks to food safety. Food and Chemical Toxicology, 47(5); 1022-1039.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 229


ข้อเสนอที่ 11

ผลักดันให้มีการสมทบทุนจากทุกภาคส่วน ในการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขภาวะชุมชน 4 มิติ (กาย ใจ ปัญญา และสังคม)

การผลักดันให้มีการสมทบทุนจากทุกภาคส่วนในการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขภาวะชุมชนสี่มิติ เป็นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณสนับสนุนประชาชน กลุ่มทางสังคมต่างๆ และ องค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กลุ่มรักษ์สุขภาพ กองทุน สวัสดิการชุมชน ฯลฯ ได้ร่วมกันลงทุนจัดหาพื้นที่ให้ประชาชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ลานกีฬา สถานที่ปฏิบัติธรรม หอสืบสานลานศิลป์ สวนสาธารณะ ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ เป็นต้น เพื่อสร้าง ความรู้สึกความเป็นเจ้าของให้กับทุกฝ่าย เพราะการสร้างสุขภาวะเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องร่วมกันลด ปัจจัยเสี่ยงทางสังคมซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพ ทั้งนี้อาจมีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพให้ กับประชาชนครอบคลุมมากที่สุดด้วย (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2552; สุภัทร์ ไชยกุล และคณะ, 2554; Michael, Jessica, Ruth, Ellen, Peter, 2012) ชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วยชุมชนคือประชาชน ส่วนท้องถิ่นคือองค์กรของรัฐ ที่ใกล้ชิด ประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องทำงานร่วมกับประชาชน ต้อง สนับสนุนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง (ประเวศ วะสี, 2555) เพื่อให้เกิดสุขภาวะชุมชนทั้งสี่มิติ คือกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ตามที่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้รัฐและ ภาคส่วนต่างๆ พัฒนามาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพ ชีวิตที่ดีของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยเน้น การจัดการในระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบ สวัสดิการชุมชน กองทุนชุมชนและกิจกรรมชุมชนต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการสร้างเสริม

สุขภาพอย่างเป็นองค์รวม (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2552) หากต้องการให้เกิดการ รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมการบริการสุขภาพ การดูแลตนเอง และการช่วยเหลือดูแลผู้อื่นได้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายและสุขภาวะชุมชนทั้งสี่มิติมากที่สุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจต้องจัดตั้งศูนย์

230 | 7+1 นโยบายสาธารณะ 88 ข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่


อปท.อาจต้องจัดตั้งศูนย์สร้างสุขภาวะชุมชน 4 มิติขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่การรวมตัวกันทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ บริการสุขภาพ และการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน รวมทั้งสวัสดิการด้วย สร้างสุขภาวะชุมชนสี่มิติขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่การรวมตัวกันทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ บริการสุขภาพ และการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน รวมทั้งสวัสดิการด้วย (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, 2550; สุภัทร์ ใชยกุล และคณะ, 2554; สลิลทิพย์ เชียงทอง และอินทิรา วิทยสมบูรณ์, 2552) โดยเน้นที่การให้ทุกฝ่ายใช้ พื้นที่กลางของศูนย์ในการสร้างกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสี่มิติ เช่น การสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลตนเอง และการช่วยเหลือคนอื่นด้านเศรษฐกิจ สังคมด้วย

เอกสารอ้างอิง

ประเวศ วะสี (2555). เวทีเวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 6. ค้นจาก http://www. hso.go.th ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กลไกการดำเนินงานเพื่อความ

ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) สลิลทิพย์ เชียงทอง และอินทิรา วิทยสมบูรณ์. (2552). คนเล็กในเมืองใหญ่. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน สุภัทร์ ไชยกุล และคณะ. (2554). การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. ค้น เมื่อกุมภาพันธ์ 2556 ค้นจาก http://www.nhso.go.th Michael, M., Jessica, A., Ruth, B., Ellen, B., Peter, G. (2012). WHO European review of social determinants of health and the health divide. The Lancet, 380; 1011-1029 Smith, M. Brewster., Hobbs, Nicholas. (1966). The community and the community mental health center. American Psychologist, 21(6); 499-509.

นโยบายสาธารณะการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน | 231




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.