วารสารปันสุข ฉบับที่ 06

Page 1

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ฉบับที่ 06 กันยายน 2555

ปันสุข


www.punsook.org

จัดท�ำโดย

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปันสุข : เลขที่ 3 รามค�ำแหง 44 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 Email : editor@punsook.org โทร : 08 1710 0456

ปันสุข

facebook > ค้นหา


า > ปันสุข

สถานี 3

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เราอาจไม่ต้องมีอะไรเลย มีคนมานั่งแล้วมาพูดบรรยายให้จตาม จดบ้างไม่จดบ้าง แล้วก็กลับไป เอาไปประยุกต์ใช้บ้าง หรือไม่น�ำพาซึ่งผลลัพธ์ใดๆ เลย แต่ถ้า เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกเลย คือเราต้องเตรียมการ รวมถึงบุคลากรที่จะ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มาเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มต้นเลยคนที่มานั้น จะต้องรู้ว่าต�ำบลนั้นๆ เป็นอย่างไร ดังนั้นต�ำบลแม่ข่ายจะต้องส่ง ข้อมูลไปให้แก่ผู้ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนมา ซึ่งทางต�ำบลแม่ข่ายเองก็ต้องเตรียมการ ให้พร้อมเพื่อต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอแลกเปลี่ยนความรู้ โดยต�ำบลแม่ข่ายจะใช้พื้นที่จริงเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญคือ แม่ข่ายจะต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนที่เพื่อนจะมา ว่าเรามีหน้าที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราไม่ได้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉยๆ เรียนรู้ร่วมกันหมายความว่า เพื่อนเครือข่ายก็ต้องมีการเตรียม การ ชาวบ้านทุกคนคือฟันเฟืองที่ส�ำคัญต่อกระบวนการ ซึ่งพึงอย่าเพิกเฉยต่อพวกเขา เพราะการ ลงนาม MOU มิใช่การกระท�ำที่ส่งผลต่อคนเพียงบางกลุ่ม หากแต่เป็นทุกคนที่อยู่ร่วมกันใน ชุมชน การได้เห็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มา เยือนคือสิ่งที่ชุมชนแม่ข่ายควรตระหนักรู้ และเห็นเป็นความส�ำคัญต่อกระบวนการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกัน ค�ำถามที่ต้องน�ำไปขบคิดคือ จะท�ำอย่างไรให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น หรือรู้สึกว่าต�ำบลนี้น่าอยู่ กว่า เมื่อเทียบกับต�ำบลที่ตนพักพิง ให้เขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมที่บ้านเราไม่มี พราะแรงบันดาลใจ คือสิ่งส�ำคัญ เป็นพลังผลักดันให้เกิดสิ่งดี โดยสิ่งที่แม่ข่ายต้องยึดถือเป็นเป้าหมายอีกอย่างในการดึงชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน คือ การดึงสิ่งใหม่ๆ ออกมาจากกระบวนการ ซึ่งความคิดใหม่คือดอกผลที่การันตีกระบวนการที่ เรียกว่าการเรียนรู้ นอกจากนี้ แม่ข่ายจะต้องรู้ถึงจ�ำนวนแกนน�ำ ตลอดจนทักษะศักยภาพที่มีอยู่ของพวกเขา เพราะเมื่อมีเพื่อนมาเรียนรู้แล้ว4-5 รุ่น ก็จ�ำเป็นต้องมาสรุปกันครั้งหนึ่ง ว่าแกนน�ำคนนั้นๆ มี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสังเกตการณ์ถึงแรงบันดาลใจในตัวพวกเขา เพราะถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านี้มา นั่นบ่งบอกถึงการเป็นแม่ข่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องกลับมา ทบทวนตนเองใหม่ และพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมา ผ่านการเตีรยมตัวและการท�ำงานที่หนัก ขึ้น เพราะการท�ำหน้าที่เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันนั้นต้องมีความพร้อม เพื่อว่าจะผลักดัน ชุมชนที่เป็นลูกข่ายไปด้วยกัน ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3)


สารบัญ

เวทีประชาคม เคลือ่ น “กะปาง” อย่างยัง่ ยืน 6

‘ขามสะแกแสง’ โมเดลผูส้ งู อายุเข้มแข็ง 8

ปลูกผักกินแบบคนอุดมทรัพย์ 10

โรงพยาบาล 2 บาท & จิตอาสา ที่หนองแวง12

นักสืบสายน�ำ้ 14

เยาวชนจิตอาสา ‘โพนทอง’16

เปลีย่ นตาลให้เป็ นเงิน 18

ร�ำเหย่ย และการละเล่นพื้นบ้าน 20

สูตรไม่ลบั กับทองม้วนหนองโรง 22

อะกีดะฮ์-อิบาดะฮ์ พลังแห่งศรัทธา 24


บทบรรณาธิการ ปันสุขคือเว็บไซต์ข่าวชุมชน (www.punsook.org) ซึ่งมีความ พยายามน�ำเสนอให้เป็นศูนย์กลางของเรื่องราวดีๆ ที่ส่งออกมาจาก ชุมชนสู่โลกภายนอก เพื่อบอกให้รู้ถึงการพัฒนาที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่ อย่างมีนัยส�ำคัญ ทั้งนี้ก็เพื่อเปลี่ยนทัศนะการรับรู้ที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจเกี่ยวกับชนบท นอกจากนี้ยังท�ำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ชุมชนที่ อยู่ห่างไกลกันเสมือนได้ใกล้ชิดกันและกันมากขึ้น ผ่านเรื่องราวดีๆ ของแต่ละชุมชน ที่อาจเป็นตัวจุดประกายความคิดให้กับชุมชนอื่น นอกเหนือจากการน�ำเสนอเสนอข่าวสารและสื่ออื่นๆ ผ่านเว็บไซต์ แล้ว ปันสุขยังมีกิจกรรมการฝึกอบรมปฏิบัติการเชิงข่าว เพื่อฝึก ทักษะให้กับคนในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ร่วมเรียนรู้ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติงานจริง โดยงานข่าวที่เกิดขึ้นจากการท�ำกิจกรรม จะลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ punssok.org เพื่อเป็นความภาคภูมิใจของ ชุมชน ตลอดจนอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ในการ ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นบุคลากรด้านสื่อประจ�ำชุมชน โดยในต้นเดือนสิงหาคม เว็บไซต์ปันสุขจะลงไปฝึกพัฒนาคนใน ชุมชนสุขภาวะ เสริมทักษะความสามารถด้านงานข่าว เพื่อเป็นอีก แรงหนึ่งที่จะช่วยต่อยอดการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งรอบด้าน ส�ำหรับในฉบับนี้ ก็เป็นเรื่องราวที่น�ำมาสรุปให้เห็นภาพรวมของ เว็บไซต์ มีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และทางราเองก็ได้ร่วมเรียนรู้ ไปพร้อมกับทุกคน ซึ่งในแต่ละวันที่เราได้รู้มากขึ้น ก็ยิ่งเหมือนเราอยู่ ใกล้ชุมชนมากขึ้น คล้ายกับว่าแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่งอยู่ไม่ไกลเกิน เอื้อมมือเลย กองบรรณาธิการปันสุข

ปันสุข


การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

สมรม-ผสมผสาน ด้วยเวทีประชาคม เคลื่อน “กะปาง” อย่างยั่งยืน ในการท�ำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน “การมีส่วน ร่วม” คือพลังส�ำคัญในการขับเคลื่อนทุกแนวคิด ทุกนโยบายต่างๆ ให้เดินไปถึงเป้าหมายที่ชุมชนตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหา ต่างๆ ในชุมชน หรือการริเริ่มด�ำเนินการในเชิงสร้างสรรค์เพื่อ ท�ำให้ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่แม้จะทราบในหลักการ ทว่าใน ทางปฏิบัตินั้น การสร้าง “การมีส่วนร่วม” กลับไม่ง่ายเลย “ต�ำบลกะปาง” เป็นต�ำบลในพื้นที่รอยต่อระหว่าง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ อ.รัษฎา จ.ตรัง สิ่งที่น่าสนใจคือภายใน ต�ำบลมีการรวมกลุ่มต่างๆ อย่างคึกคักและเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มสวนยาง กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มออมทรัพย์ ตลอดจน กลุ่มย่อยอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนกะปาง ไปสู่การเป็นชุมชนพึ่งตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลไกทั้ง ระบบ ถูกขับเคลื่อนด้วย “กระบวนการประชาคม” อภิ นั น ท์ ชนะภั ย นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลกะปาง ยืนยันว่า กระบวนการประชาคมเป็นภาพสะท้อนถึงกระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชนที่เห็นผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจนที่สุดอย่าง 

ปันสุข

หนึ่ง “ชุมชนมีความพร้อม เพราะชุมชนคิดเอง แก้ปัญหาเอง” เขา ยื น ยั น “เวที ป ระชาคมท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการช่ ว ยจั ด ระเบียบความคิดของคนในชุมชนให้มองเห็นทั้งกระดาน” “การเปิดเวทีประชาคม ก็เพื่อเอาทุกปัญหามาอยู่ในเวทีแล้ว พูดคุย หาแนวทางในการแก้ปัญหา และพัฒนา หาแนวทางใน การเรียนรู้และพึ่งพาตนเอง รวมทั้งช่วยเหลือกันในชุมชนในการ ตัดสินใจ ซึ่งเราใช้ข้อมูล 3 ส่วน ส่วนแรกคือบัญชีครัวเรือน เพื่อ พิจารณาเรื่องความยากจนของคนในชุมชน ดูรายรับรายจ่าย ได้ มาจากไหน จ่ า ยอะไรบ้ า ง น� ำ ไปสู ่ การค้ นพบว่ า เราจะแก้ไข ปัญหาความยากจนได้อย่างไร ส่วนที่สอง แบบสอบถาม ให้ ประชาชนส่ ง ข้ อ มู ล มาให้ ท� ำ การวิ เ คราะห์ ส่ ว นสุ ด ท้ า ย เวที ประชาคมหมู่บ้าน และบอร์ดต�ำบล โดยทุกวันที่ 28 ของเดือน เป็นการประชุมเพื่อเอาทุกอย่างมาใช้ มาร่วมคิดร่วมตัดสินใจร่วม ท�ำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตรวจสอบ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของต�ำบล” เขาอธิบาย


นายก อบต. กะปาง ผลก็คือ การเกิดขึ้นของกลุ่มออมทรัพย์ที่ถือเป็นจุดเชื่อมใน การดึงผู้คนให้มารวมกัน ได้สร้างความรู้สึกร่วม ตอกย�้ำความเป็น พวกพ้ อ ง ต่ อ ยอดด้ ว ยการเกิ ด ขึ้ น ของธนาคารต� ำ บลเพื่ อ ปรั บ โครงสร้างหนี้ของชาวกะปางให้เข้ามาในระบบ ก่อนจะแตกกิ่ง ก้านกลายเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ อีกกว่า 36 กลุ่ม เพื่อช่วยพยุงและ ค่อยๆ แก้ปัญหาปากท้องของชุมชนไปพร้อมๆ กัน สามิตร อ่อนคง อาจารย์ประจ�ำคณะมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCTทุ่งสง) หนึ่งใน วิทยากรประจ�ำที่แวะเวียนมาให้ความรู้กับชาวกะปางเสริมว่า ที่ จริงชาวบ้านต่างรู้ปัญหาดีอยู่แล้ว เพียงแต่ในการแก้ไขต้องใช้ กระบวนการร่วมมือกัน “ง่ายๆ ก็คือ ปัญหาทุกปัญหาชาวบ้านรู้ดีอยู่แล้ว แต่เราใช้ จากกระบวนการคิดของชาวบ้านที่ท�ำ เพราะการกระท�ำของชาว บ้านโดยพฤตินัย คือพี่น้องไม่สามารถจัดกลุ่มปัญหาเป็นเรื่องเป็น ราวได้ ท้องถิ่นเพียงแต่เข้าไปต่อยอดจากสิ่งที่เขามี อย่างสวนสม รม (สวนยางปลูกพืชผสมผสาน) ก็ไม่ใช่ค�ำใหม่ส�ำหรับชาวกะปาง

เพียงแต่เป็นตัวกระตุ้น ความคิดอะไรที่มีประโยชน์ก็เอามาแบ่ง ปันกัน “ประชากรในหมู่บ้าน 100 ครัวเรือน เขาก็มีความคิด 100 ความคิด 100 ตัวอย่างการผลิต ซ�้ำกันก็ตก ไม่ซ�้ำก็เอามารวม ก็ กลายเป็นสมรม(ผสมผสาน)แบบง่ายๆ บ้านๆ ไม่ต้องตั้งหลัก วิชาการ บ้านผู้ใหญ่มีพันธุ์ไม้อย่างนี้อยู่แล้ว บ้านก�ำนันก็มี ก็เอา มารวมกัน ตัดส่วนที่เหมือนกันออก เอาส่วนที่ต่างกันมาแชร์กัน ก็ สร้าง แล้วช่วยกันดูแล แล้วรับประโยชน์ร่วมกัน “สิ่งไหนที่สามารถผลิตทดแทนได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องซื้อ ก็ให้ เขาผลิตเองเพราะของทุกอย่างเป็นวัสดุใช้ซ�้ำ แล้วชาวบ้านท�ำเอง ได้ ยาสระผม น�้ำยาล้างจาน สบู่ ท�ำใช้ได้ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ สามารถจ�ำหน่ายได้ เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนได้ ปลูก ไว้กิน เหลือกินขาย เหลือจ่ายเก็บ สามส่วนแค่นี้ที่คุยกัน ปลูกเพื่อ ประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน ถ้ามันเหลือ ขายให้หมด เหลือจ่าย ค่อยมาออมสัจจะวันละบาท ธนาคารต�ำบล ก็เก็บไว้เป็นทุนในกับ ตัวเรา” สามิตร กล่าว พยนต์ จันทรมาศ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้าน กะโสม ช่วยเสริมว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีที่มาจากกระบวนการ ประชาคม การร่วมกันท�ำ และช่วยกันแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง “กระบวนการเหล่านี้ เกิดจากการลองผิดลองถูก ท�ำมาเรื่อย สรุปกิจกรรมก็ท�ำต่อ ตรงไหนไม่ถูกก็ปรับปรุง อยากมีความรู้ก็ไป หาความรู้ อยากรู้เรื่องดิน ก็ไปคุยกับหมอดิน อยากรู้เรื่องพืชก็ไป เกษตร” ล่าสุด พยนต์และเพื่อนๆ ในชุมชน ยังได้ช่วยกันท�ำโครงการ “ลงแขกแลกงาน” ในช่วงเข้าพรรษา ร่วมกันเอาแรงไม่เอาเหล้า ท�ำให้หลายพื้นที่ในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน และมีผลลัพธ์ทางบวกอย่างน่าทึ่ง วั น นี้ กะปางได้ ก ลายเป็ น หนึ่ ง ในต� ำ บลสุ ข ภาวะ โดยมี ศั ก ยภาพเป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ซึ่ ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากส� ำ นั ก สนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ยิ่งเป็นการย�้ำชัดถึงประสิทธิภาพการขับ เคลื่อนโดยชุมชนเพื่อชุมชน ซึ่งนอกจากการผสานวิถีชุมชนให้ สอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้นแล้ว กระบวนการต่างๆ ของชุมชน ที่ผูกโยงกันไว้อย่างเหนียวแน่นด้วยสายสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ยัง สามารถสร้างสังคมอุดมคติที่พึ่งพิงกันอย่างอบอุ่น เข้มแข็ง และ ยั่งยืนได้อีกด้วย

ปันสุข


การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

‘ขามสะแกแสง’ โมเดลผู ส้ ูงอายุเข้มแข็ง การสร้างคุณค่าให้กับผู้สูงอายุเป็นแนวคิดหลักที่น�ำมาใช้ใน การพั ฒ นางานผู ้ สู ง อายุ ใ นพื้ น ที่ ต� ำ บลขามสะแกแสง อ� ำ เภอ ขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา หลายๆ กิจกรรมที่จัดท�ำขึ้น ล้วนแต่เป็นไปเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขให้กับผู้สูง อายุ ตั้ ง แต่ กิ จ กรรมง่ า ยๆ เพื่ อ สร้ า งรายได้ ไปจนถึ ง การท� ำ กิจกรรมสันทนาการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอ�ำเภอขามสะแกแสง ท�ำให้ต�ำบล ขามสะแกแสงครอบคลุมถึง11 หมู่บ้าน ส่งผลให้มีจ�ำนวนผู้สูง อายุในพื้นที่มากกว่า 1,000 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การ บริหารส่วนต�ำบลขามสะแกแสง (อบต.ขามสะแกแสง) แห่งนี้ นางดอกไม้ พากลาง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล ขามสะแกแสง บอกว่า การด�ำเนินงานผู้สูงอายุได้เริ่มต้นขึ้นอย่าง จริงจังเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการด�ำเนิน งานเกี่ยวกับผู้สูงอายุอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน แต่ภาย หลังเมื่อได้เดินทางไปดูงานการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ต่างๆ จึงได้ เกิดแนวคิดในการน�ำมาปรับใช้เพื่อดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่อย่าง เหมาะสม ขณะเดียวกันได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงในมนุษย์ ศูนย์ประชาสงเคราะห์ และงบประมาณของ อบต.เองส่วนหนึ่ง ท�ำให้สามารถด�ำเนิน 

ปันสุข

กิจกรรมผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง งานด้านผู้สูงอายุจึงมีความคืบ หน้าอย่างมาก ส่งผลให้ อบต.ขามสะแกแสงเป็นหนึ่งในพื้นที่ น�ำร่องงานด้านผู้สูงอายุนี้ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่เกษียณจากการท�ำงานแล้ว ส่วนใหญ่จะมี เวลาว่าง อยู่กับบ้านเฉยๆ ไม่ได้งานท�ำ ไม่มีรายได้ จึงต้องรอคอย เงินที่ลูกหลานให้มาเท่านั้น บางคนจึงรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า อยู่ไปวันๆ บางครั้งเกิดภาวะซึมเศร้า ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นโจทย์ ในการคิดงานด้านผู้สูงอายุที่นี่ เบื้องต้นจึงเน้นไปที่สร้างการรวมกลุ่ม พยายามดึงให้ผู้สูงอายุ ที่ส่วนใหญ่จะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้ออกมามีส่วนร่วมและท�ำ กิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้สูงอายุด้วยกัน เพื่อที่จะได้มีการพูดคุย ผ่ อ นคลาย โดยกิ จ กรรมที่ เ ลื อ กจั ด ท� ำ นี้ จะเป็ น รู ป แบบง่ า ยๆ เหมาะสมกับอายุที่มากขึ้น อย่างการออกก�ำลังกายด้วยไม้พลอง นอกจากผู้สูงอายุที่เข้าร่วมจะรู้สึกสนุกแล้ว ยังได้ยืดเส้นยืด สาย เป็นการเสริมสร้างสุขภาพไปในตัว การร่วมฟังธรรมะเพื่อให้ จิ ต ใจผ่ อ มแผ่ ว การจั ด กิ จ กรรมรดน�้ ำ ด� ำ หั ว ผู ้ สู ง อายุ ใ นวั น สงกรานต์ ท�ำให้ผู้สูอายุตะหนักต่อคุณค่าของตนเอง รวมถึงการ ประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ หากใครสุขภาพแข็งแรง ไม่มีเบาหวาน ความดัน หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ก็ให้เป็นผู้ชนะประกวดไป


กิจกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุที่สนใจส่วนหนึ่ง ถึง ค่าตอบแทนที่ได้รับจะไม่มากมาย แต่ก็ช่วยสร้างความภาคภูมิใจ ให้ผู้สูงอายุได้ ทั้งยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นงาน ง่ า ยๆ ใช้ วั ส ดุ ที่ มี ใ นท้ อ งถิ่ น อย่ า ง การท� ำ ดอกไม้ จั น การท� ำ ไม้กวาดทางมะพร้าว และการสานท่อเสื่อ เป็นต้น ในส่วนของดอกไม้จันเป็นกิจกรรมที่ได้จากการดูงานในพื้นที่ อื่น แล้วน�ำมาหัดให้กับผู้สูงอายุในภายหลัง ตอนแรกๆ ดอกไม้จัน ที่ได้ไม่ค่อยสวย แต่เมื่อค่อยฝึกค่อยหัดท�ำให้ดอกไม้จันที่ได้สวย ขึ้นและน�ำไปขายได้ “รายได้เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากิจกรรมเสริมเป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุข เพิ่มเติมรายได้เบื้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท ที่เป็นนโยบายรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นเงินไม่มาก แต่ก็ช่วยผู้สูง อายุได้มาก ท�ำให้มีเงินที่จะไปท�ำกิจกรรมต่างๆ ได้ ซึ่งทาง อบต. ขามสะแกแสงได้ดูแลเรื่องเบี้ยยังชีพนี้อย่างดี ท�ำให้ผู้สูงอายุได้รับ เงินเป็นประจ�ำทุกเดือนไม่ขาด” นายก อบต.ขามสะแกแสง กล่าว ไม่เพียงแต่กิจกรรมข้างต้น นางดอกไม้ บอกต่อว่า จากงบ ประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อดูแลผู้สูง อายุ ท�ำให้มีการจัดทัวร์เพื่อพาผู้สูงอายุไปยังสถานที่ต่างๆ อย่าง การจัดฟังธรรมะนอกสถานที่ ผู้สูงอายุจากเดิมที่เหงาอยู่บ้าน ต่าง รูส้ กึ ชอบใจ เพราะเหมือนกับได้ไปเทีย่ ว ได้เปลีย่ นแปลงบรรยากาศ ท�ำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า กิจกรรมผู้สูงอายุข้างตนนี้ เป็นกิจกรรมส�ำหรับผู้สูงอายุที่ยัง แข็งแรง มีสุขภาพดีพอที่จะเข้าร่วมได้ แต่ในส่วนของผู้สูงอายุที่มี

ปัญหาด้านสุขภาพต้องนอนติดเตียงอยู่กับบ้าน เดินทางไปไหน มาไหนไม่ได้นั้น นางดอกไม้ กล่าวว่า อบต.ขามสะแกแสงค�ำนึงถึงผู้สูงอายุ กลุ่มนี้เช่นกัน แม้ว่าจะมีจ�ำนวนไม่มาก เฉลี่ยแล้วมีหมู่บ้านละ 1-2 คนเท่ า นั้ น นอกจากจะมี แ พทย์ แ ละพยาบาลที่ ช ่ ว ยดู แ ล อาการแล้ว ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งภายหลังได้ แยกกลุ่มเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า อผส.ค่ อ ยติ ด ตามดู แ ลเยี่ ย มบ้ า นและให้ ก� ำ ลั ง ใจที่ เ ป็ น งานจิ ต อาสา โดยจะมีการอบรมเพื่อดูแลผู้สูงอายุเฉพาะ จากเดิมที่มี จ�ำนวนเพียงแค่ 10 คน แต่ขณะนี้ขยายไปถึงเกือบ 30 คนแล้ว จุดเด่นของการท�ำงานอาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุทขี่ ามสะแกแสง จะแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ จะไม่เน้นการมอบเงินหรือให้ของช่วย เหลือ เพราะนอกจากจะเป็นภาระงบประมาณในระยะยาวแล้ว ยังอาจส่งผลต่อตัวผู้สูงอายุ ญาติ และตัวอาสาสมัครดูแลผู้สูง อายุเอง เพราะจะท�ำให้เกิดความคาดหวังว่า ทุกครั้งที่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมาเยี่ยมหรือดูแลจะต้องมี ของมาให้ทุกครั้ง เกิดการรอคอยของเหล่านั้นด้วยความเคยชิน ขณะเดียวกันก็สร้างความกดดันให้กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะรู้สึกไม่ดีหากไม่มีของมอบให้ และจะเลิกท�ำงานนี้ไปในที่สุด ซึ่งงานดูแลผู้สูงอายุถือเป็นงานระยะยาวและต้องท�ำอย่างต่อ เนื่อง จึงเห็นว่า ควรตัดในเรื่องการมอบสิ่งของเหล่านี้ออกไป ยกเว้นกรณีที่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีน�้ำใจที่อยากจะมอบให้ เอง ซึ่งส่วนมากเป็นแค่ขอเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น “สิ่ ง ที่ ผู ้ สู ง อายุ ที่ น อนป่ ว ยติ ด เตี ย งหรื อ คนที่ เ ป็ น อั ม พฤต อัมพาตต้องการคือการคนดูแลและพูดคุย ซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุกลุ่ม นี้มีก�ำลังใจ ซึ่งมีจ�ำนวนหนึ่งที่ถูกทิ้งให้อยู่บ้าน เพราะลูกหลาน ต้องออกไปท�ำงาน ท�ำให้ไม่มีใครช่วยดูแล การท�ำงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งส�ำคัญอย่าง มาก เป็นก�ำลังส�ำคัญในการดูแลผู้ป่วย อย่างการเช็ดตัว การดูแล การกินยา เป็นต้น ประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้แต่เฉพาะตัวผู้ป่วย เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยลูกหลานในการดูแลด้วย ขณะเดียวกัน อาสาสมัครเองก็รู้สึกภูมใจที่ได้ช่วยเหลือ” นางดอกไม้ กล่าว งานผู้สูงอายุที่ขามสะแกแสงคงไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้ แต่จะ ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพื่อรองรับจ�ำนวนผู้สูงอายุที่ เพิ่มขึ้นจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ และในช่วงปลายปี 2555 นี้ จะ เริ่มโครงการกองทุนส�ำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มเก็บเงินออมวันละ 1 บาท พร้อมกันนี้จะมีงบ อบต.ส่วนหนึ่งในการสนับสนุน โดยเงินที่ รวบรวมได้จะน�ำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้สูงอายุเองอีกด้วย

ปันสุข


เกษตรกรรมยั่งยืน

ปลูกผักกินแบบคนอุดม ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ASTV

“เมื่อช่วงผักผลไม้มีราคาสูง บ้านผมก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรเพราะ ที่บ้านผมปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ไว้เยอะมีหลายประเภท ไม่ใช่เพียงแต่บ้านผมเท่านั้นนะ ผมยังปลูกผักเผื่อเพื่อนบ้านอีก ด้วย หากบ้านไหนต้องการอยากได้อะไร เขาก็มาขอ มาเอาไป เลย ไม่หวง บ้านผมไม่มีรั้วหรือที่กั้น ใครที่ไม่สะดวกจะออกไป ตลาดก็มาเอาที่นี่ได้” ลุงชัยภัทร ย่อมสระน้อย เจ้าของบ้านพืชผัก สวนครัวรั้วกินได้ ต�ำบลอุดรทรัพย์ อ�ำเภอวังน�้ำเขียว จังหวัด นครราชสีมา เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อข้าวของราคาแพง ไม่ใช่เพียงแต่การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่บ้านลุงชัยภัทรยังเป็น 1 ในบ้านตัวอย่างของชุมชนหรือต�ำบล ใกล้เคียงที่สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ถึงกระบวนการให้การผลิต

 ปันปัสุนขสุข

รวมถึงการดูแลรักษา นอกจากจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่างแก่ชุมชนต�ำบลใกล้ เคียงแล้ว ยังเป็นแหล่งการเรียนรู้กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนที่ส�ำคัญ อีกแหล่งหนึ่งส�ำหรับต�ำบลอุดมทรัพย์ ต�ำบลสุขภาวะ ภายใต้การ สนับสนุนของส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)อีกด้วย ลุงชัยภัทร เล่าว่า ตนมีอาชีพรับราชการ แต่ตนเป็นคนรักใน การปลูกพืชผักสวนครัว เมื่อบ้านหลังเก่าถูกน�้ำท่วมจึงย้ายมา ปลูกบ้านที่ใหม่หรือที่อยู่ปัจจุบัน ด้านหน้าบ้านมีที่ว่างจึงคิดน�ำ พืชผักสวนครัวมาปลูกไว้ เพื่อความสะดวก ใกล้มือ ง่ายต่อการ ดูแลรักษา


มทรัพย์จากครอบครัวสูช่ ุมชน

“อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการปลูกอะไร แล้วเราก็ไป หาเมล็ดพันธุ์มาปลูก ที่นี่ปลุกหลายอย่างแต่มีไม่มาก เน้นพืชผัก ที่เรากินหรือใช้ท�ำกับข้าวเป็นประจ�ำ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริก มะนาว ผักหวาน ใบมะกรูด เป็นต้น จะปลูกไว้อย่างมากก็ 2- 3 ต้น เพราะถ้าปลูกมากกว่านี้จะมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการปลูกพืช ชนิดอื่นและอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึงช่วงเช้าก่อนไปท�ำงานจะรดน�้ำ ต้นไม้ส�ำหรับพืชที่มีรากตื้นเพราะผักเหล่านี้ต้องการน�้ำมาก ส่วน พืชที่มีรากลึกประมาณ 1 อาทิตย์ถึงจะรดน�้ำ” ลุงชัยภัทร กล่าว แรงบันดาลใจหรือแนวความคิดจากการปลูกพืชผักสวนครัว ในสวน กลับยกมาปลูกถึงรั้วบ้าน ลุงชัยภัทร บอกว่า นับวันคนเรา ยิ่งแก่ตัวลงทุกที หากจะเดินเข้าไปในสวนไกลๆเพื่อเก็บพืชผักมา ประกอบอาหาร อาจจะไม่สะดวกอีกต่อไป แต่การที่เอาพืชผัก

สวนครัวเข้ามาไว้ในรั้วบ้าน ใกล้มือจะเด็ดผักมาประกอบอาหาร เมื่ อ ไรก็ ไ ด้ อี ก อย่ า งอยากให้ เ พื่ อ นบ้ า นเขาสะดวก หากเขา ต้องการอะไรก็มาเอาไปได้ ไม่จ�ำเป็นต้องไปซื้อไกลถึงตลาด “ที่นี่ผมเน้นปลูกไว้เพื่อการบริโภค ไม่เน้นขาย ใครอยากได้มา เอาไปเลย ไม่หวง ตรงนี้มันก็ดีอีกอย่างที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อ ไกลถึงตลาด อีกทั้งเรายังสบายใจกว่าเพราะไม่ได้ใช้สารเคมีใน การปลูก เราปลูกแบบธรรมชาติ อีกอย่างไม่ทราบแน่ชัดซื้อว่าที่ ตลาดมีสารเคมีปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด ที่ดีกว่านั้นมันช่วยลด รายจ่ายภายในครอบครัวไปได้เยอะ ประหยัดลงไปหลายบาท”ลุง ชัยภัทร กล่าว พืชผักสวนครัวกับการโยกย้ายจากสวน มาเพียงเอื้อมมือ ภายในบ้านลุงชัยภัทร ส่งผลให้ทุกคนภายในครอบครัวสะดวก สบาย ไม่จ�ำเป็นต้องออกไปจ่ายตลาด ในการซื้อพืชผักผลไม้มา ไว้รับประทาน อีกทั้งยังสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง และสามารถ แก้ปัญหาได้เมื่อราคาปุ๋ยมีราคาสูงกว่าเท่าตัว “เราไม่ได้เดือดร้อนอะไรมากมาย เพราะเราไม่ได้ปลูกพืชผัก ไว้ขายแต่ปลูกไว้เพื่อการบริโภค ตอนที่เกิดปัญหาราคาปุ๋ยแพง ก็ ปรับเปลี่ยนเอาขี้วัวขี้ควายท�ำเป็นปุ๋ยคอกแทน หรือใช้น�้ำยาที่ กวนจากต้นกล้ามปูมารดผักแทนไม่ได้เสียเงินสักบาท หรือเรา ก�ำจัดศัตรูพืชไม่ไหวก็ตัดพืชผักทิ้งแล้วปลูกใหม่ ก็ไม่เสียหาย อะไรมากนัก” ลุงชัยภัทร กล่าว ลุงชัยภัทร ยังบอกอีกว่า “นอกจากความสุขที่ได้จากการอยู่ กับครอบครัวแล้ว อีกอย่างมาจากความสุขที่ได้อยู่กับสิ่งที่รัก รวม ถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีสิ่งนี้จะท�ำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้น สุขที่ ได้เห็นในผลิตผลที่เราสร้างมากับมือ สุขที่เห็นชาวบ้านเขาได้รับ สิ่งที่ดีๆจากเราอีกอย่างที่ส�ำนวนเขาบอกว่าเราซื้อเสื้อผ้ามาใหม่ก็ ใส่ได้ 2-3 วันก็เก่าแล้ว แต่การปลูกต้นไม้หรือพืชผักสวนครัวสิ่ง เหล่านี้จะอยู่กับเราตลอดไป เพราะหากต้นไหนตายก็สามารถ ปลูกต้นใหม่เพื่อน�ำมาทดแทนกันได้” นอกจากจะแบ่งปันพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ให้กับเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงแล้ว ลุงชัยภัทรยังท�ำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชนอื่น ที่ต้องการน�ำความรู้หรือทฤษฎีการปลูกพืชผักสวนครัวไปใช้อีก ด้วย “มีชาวบ้านเขามาขอค�ำปรึกษาหรือค�ำแนะน�ำเราก็บอกเขาได้ บ้างเพียงเล็กน้อย แต่บอกอย่างเดียวคงไม่ได้หรอก ผมลงมือ ปฏิบัติให้เขาเห็นได้เลย เพราะการท�ำให้เขาดูจะดีกว่าการพูด ด้วยปากเพียงอย่างเดียว”ลุงชัยภัทร กล่าว

ปันสุข




การดูแลสุขภาพชุมชน

โรงพยาบาล 2 บาท & จิตอาสา ทีห่ นองแวง อาชี พ หลั ก ของชาวต� ำ บลหนองแวง อ� ำ เภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ คือการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะยางพารา มัน ส�ำปะหลัง และยูคาลิปตัส รวมถึงพืชผักผลไม้อื่นๆ ซึ่งมีการใช้ สารเคมีในการผลิตมาช้านาน เกษตรกรก็ป่วยด้วยสารเคมีที่ลอย อยู่ในอากาศ และฝังแน่นบนผืนดิน ด้วยความที่พื้นที่ของเทศบาลต�ำบลหนองแวงเป็นพื้นที่ที่อยู่ ห่างไกลสาธารณูปโภค แม้ในพื้นที่จะมีสถานอนามัยถึง 6 แห่ง แต่ยังมีข้อจ�ำกัดบางประการที่ยังไม่อาจท�ำให้การบริการด้าน สาธารณสุขในพื้นที่ครอบคลมและทั่วถึง สถานีอนามัยในพื้นที่สามารถให้บริการเพียงเพื่อรักษาอาการ เบื้องต้นเท่านั้น ที่ผ่านมาหากเจ็บไข้ได้ป่วย ประชากรในพื้นที่ต้อง เดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลละหานทราย ซึ่งในแต่ละวัน มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นจ�ำนวนมาก ประกอบกับระยะทาง ร่วม 30 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าห่างไกล เทศบาลต�ำบลหนองแวงได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในท้องถิ่นมาตั้งแต่ปี 2549 ผลักดันแนวคิดพัฒนาสถานีอนามัย ในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการให้บริการ และแนวทางในการดูแล ด้านสุขภาพให้ทั่วถึงประชากรในเทศบาลต�ำบลหนองแวง โดยมี  ปันปัสุนขสุข

กรอบภารกิจในการด�ำเนินงานด้านสาธารณสุข 4 ด้าน 1 ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยบริการสาธารณสุข 2 จัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ 3 สนับสนุนส่งเสริมสุขภาพชุมชน 4 การบริหารจัดการกองทุน โรงพยาบาล 2 บาท แนวทางหนึ่งจึงเกิดขึ้นเป็น ‘โรงพยาบาลต�ำบลหนองแวง’ แนวคิ ด การด� ำ เนิ น งานโรงพยาบาลต� ำ บลคื อ การน� ำ ประชาคมในต�ำบลร่วมกันจัดตั้งเป็นกองทุนโรงพยาบาลต�ำบล มี การระดมทุนจากประชาชน และการสนับสนุนงบประมาณจาก เทศบาล ด�ำเนินการในรูปของคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน ช่วงสายเรามายืนอยู่หน้าโรงพยาบาลต�ำบลหนองแวง โรง พยาบาลระดับต�ำบลที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง “ไม่มีใครสามารถเลือกได้หรอกครับว่า ฉันอยากจะป่วยตอน กลางวันตามเวลาราชการ” เป็นค�ำบอกเล่าจาก ประสิทธิ์ บรรเทา นายกเทศมนตรี ต� ำ บลหนองแวง เขาพยายามอุ ด รอยรั่ ว ด้ า น สาธารณสุขในพื้นที่เทศบาลต�ำบลหนองแวง ด้วยการจัดตั้ง ‘กองทุนโรงพยาบาลต�ำบลหนองแวง’ ซึ่งถ้า


เรียกแบบชาวบ้านที่นี่ก็ต้องว่า ‘โรงพยาบาล 2 บาท’ “ผมอยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม เงิน 2 บาทที่เขาจ่ายเข้า กองทุนจะท�ำให้เขารู้สึกว่า โรงพยาบาลเป็นของพวกเขาจริงๆ” นายกเทศมนตรีต�ำบลหนองแวง กล่าว นอกจากงบประมาณจากเทศบาลต�ำบลหนองแวงอันเป็นงบ ประมาณหลักของการให้การบริการของโรงพยาบาลต�ำบลหนอง แวง เงินจากกองทุนโรงพยาบาลต�ำบลแหงนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ ท� ำ ให้ ก ารบริ ห ารจั ด การในโรงพยาบาลสามารถเป็ น ที่ พึ่ ง แก่ ประชาชนในพื้นที่และข้างเคียง ให้การรักษาอย่างเท่าเทียมไม่แบ่งบ้านฝานต�ำบล เช่นเดียว กันกับที่ไม่แบ่งความเจ็บป่วยให้อยู่เฉพาะช่วงกลางวัน ใน 1 ปี สมาชิกใหม่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนปีละ 24 บาท เฉลี่ย เดือนละ 2 บาท สมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษจากการเป็นสมาชิก กองทุนต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สมาชิกคลอดบุตรจะได้รับ ของรับขวัญ 500 บาท หรือสมาชิกที่ป่วยนอนโรงพยาบาลจะได้ รับเงินคืนที่พักรักษาคืนละ 100 บาท แต่ใน 1 ปี จะได้รับสิทธิไม่ เกินปีละ 5 คืน ในกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือจาก กองทุน นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลต�ำบลที่นี่ยังมีบริการรับ-ส่งผู้ป่วย จากหัวกระไดบ้านถึงชานเรือนพยาบาลด้วยรถ EMS เมือคืนนี้, ก่อนเข้านอนผมเห็นรถ EMS มารับผู้ป่วยฉุกเฉิน บริเวณหน้าโฮมสเตย์ที่พัก ในตอนนั้นได้แต่สงสัยว่ารถ EMS คง วิ่งมาจากตัวอ�ำเภอละหานทรายซึ่งอยู่ใกล้เขตเทศบาลต�ำบล หนองแวงที่สุด ซึ่งก็ห่างกัน 30 กิโลเมตร ความมาแจ้งเอาตอนนี้นี่แหละ สวาท เครื่องพาที เจ้าพนักงานสาธารณสุขช�ำนาญงาน หรือ หมอหวาน เล่าให้ฟังว่า โรงพยาบาลต�ำบลให้บริการ 24 ชั่วโมง และเป็นแม่ข่ายแก่สถานีอนามัยข้างเคียงทั้งหมด โรงพยาบาลต�ำบลช่วยย่นระยะทางจากผู้ป่วยกับการรักษา อุดรอยโหว่ด้านศักยภาพของสถานีอนามัย ในกรณีโรคร้ายแรงที่ ต้องพึ่งโรงพยาบาลที่พร้อมกว่า ก็มีระบบส่งต่อและประสานงาน เชื่อมข้อมูลกับแพทย์ที่โรงพยาบาลละหานทราย หมอหวานบอกว่า แม้เจ้าหน้าที่ที่ประจ�ำโรงพยาบาลจะมีน้อย กว่าหากเทียบเคียงบริการที่ทางโรงพยาบาลมีให้ 24 ชั่วโมง แต่ บุคลากรทุกคนก็ตระหนักในภาระรับผิดชอบที่เหงาแต่ยิ่งใหญ่นี้ “ช่วงกลางคืนจะมีเจ้าหน้าที่ 1 คน และลูกจ้างที่มีความรู้พื้น ฐานเรื่องการรักษาพยาบาลอีก 2 คน ก็อยู่กันจนสว่าง บางทีก็

เหงาเพราะกลางคืนมันเงียบ แต่ถ้าเลือกได้เราก็อยากจะนั่งกัน เหงาๆ แบบนี้ไปจนถึงเช้า” หมอหวานเล่า ไม่ใช่ความเกียจคร้าน แต่ใครๆ ก็รู้ว่า ความเจ็บป่วยเป็น เพื่อนสนิทของความทุกข์ จิตอาสา ด้วยเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากตัวอ�ำเภอละหานทราย การเดิน ทางไปรับการรักษาจึงต้องถึงขั้นคิดวางแผน ขนาดเดินทางไป รักษาให้หายป่วยยังยากขนาดนี้ ประเภทจะเดินทางไปตรวจ สุขภาพประจ�ำตัวซึ่งน้อยคนนักที่จะเอาใจใส่สิ่งนี้ก็คงต้องว่ากัน นานทีปีหน นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่สามารถเข้า ถึงโอกาสต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโอกาสในการเข้ารับการ รักษาพยาบาล นอกจากกองทุนโรงพยาบาลต�ำบลที่ได้ไปเยี่ยมชมเมื่อช่วง สายไปแล้ ว กองทุ น ระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพเทศบาลต� ำ บล หนองแวงยังจัดตั้ง ‘กลุ่มจิตอาสาสุขภาพดีวิถีไทย’ จัดเจ้าหน้าที่ที่ มีจิตอาสาเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติตัวเพื่อดูแล สุขภาพร่างกาย สอบถามสารทุกข์สุกดิบต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ การให้ก�ำลงใจ ความจริงผมพยายามหลีก เลี่ยงค�ำว่า ‘ก�ำลงใจ’ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นค�ำที่ดูกว้างเกินไปจน ไม่ ชั ดเจน แต่ หากมี โ อกาสได้ สัมผั สเข้ า กั บสี ห น้ า สี ตาของคน ท�ำงานจิตอาสา เราก็ไม่ควรไปสงสยกับค�ำว่า ‘การให้ก�ำลังใจ’ เพราะมันไม่มีค�ำไหนเหมาะกว่า ในการออกเยี่ยมบ้านแต่ละครั้งจะมีหมอนวดแผนไทย หรือ พนักงานนวดแผนไทยที่ผ่านการฝึกอบรมท�ำหน้าที่บริการนวด คลายอาการปวดเมื่อยให้กลุ่มเป้าหมาย ความเจ็บไข้ของประชาชนในเทศบาลต�ำบลหนองแวงเกิด จากพฤติ ก รรมด้ า นสุ ข ภาพที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง โดยเฉพาะโรคเรื้ อ รั ง อย่างโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯลฯ เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ ต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้ง ร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ที่จะมาคอยเติมเต็มช่องว่างตรงนี้ เป็นใครก็ได้ที่มีใจ อาสา พวกเขาและเธอคงคิดว่า ตาแดง ยายเหลือง เหมือนคนใน ครอบครัว ที่ไม่ต้องมีแรงจูงใจใดๆ

ปันสุข




จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

นักสืบสายน�้ำ เยียวยาแม่วัง ฟื้นคุณภาพชีว

เกาะคาอาศัยสายน�้ำจากแม่น�้ำวังเป็นที่หล่อเลี้ยงเกษตรกรรม ตลอดจนวิถีชีวิตโดยทั่วไป แต่จากการเพิ่มขึ้นของ ประชากร การขยายตัวของชุมชน การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ท�ำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้น เปลืองในด้านต่างๆ เช่น การบุกรุกท�ำลายพื้นที่ป่าต้นน�้ำล�ำธาร การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ เพาะปลูก และที่อยู่อาศัย ท�ำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในด้านทรัพยากรน�้ำ ได้แก่ ปัญหาน�้ำท่วม ปัญหาขาดแคลนน�้ำ และปัญหาน�้ำเสียโดยสรุปภาพรวมปัญหาด้านทรัพยากรน�้ำในลุ่มน�้ำวังในปัจจุบัน ดังนี้ การขาดแคลนน�้ำมีความวิกฤติสูงสุดในฤดูแล้ง ลุ่มน�้ำสาขาแม่น�้ำตุ๋ย แม่น�้ำวังตอนกลาง แม่น�้ำจาง แม่น�้ำต�๋ำ แม่น�้ำวังตอนล่าง การขาดแคลนน�้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค มีปัญหาปานกลางในจังหวัดล�ำปาง และจังหวัดตาก พื้นที่เกษตร ขยายตัวไปจนเกินศักยภาพของทรัพยากรน�้ำในลุ่มน�้ำ โดยเฉพาะมีการเพาะปลูกที่มีการใช้น�้ำในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นเป็น  ปันปันสุสุข ข


วิต

ปริมาณมาก ท�ำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน�้ำ เพื่อการเกษตร มาก ทั้งในพื้นที่จังหวัดล�ำปาง จังหวัดตาก น�้ำท่วมในเขตลุ่มน�้ำวังซึ่งมีโอกาสน�้ำท่วมสูง ได้แก่แม่น�้ำวัง ตอนล่าง คือ จังหวัดตาก ด้านการบริหารจัดการน�้ำในลุ่มน�้ำวังมีปัญหาการขาดแคลน น�้ำต้นทุน เนื่องจากเขื่อนกิ่วลมที่กั้นล�ำน�้ำวัง มีพื้นที่เก็บกักน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการด้านคุณภาพน�้ำ มีปัญหาสูงที่สุดใน จังหวัดล�ำปาง รองลงมาเกิดขึ้นในจังหวัดตาก ด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในลุ่มน�้ำเช่น ป่าไม้ถูกท�ำลายอย่าง มาก และดิ น ริ ม ฝั ่ ง ตลิ่ ง ถู ก กั ด เซาะอาสาสมั ค ร นั ก สื บ สายน�้ ำ แสงเดือน สุริยงค์ ชี้ไปที่แม่น�้ำวังซึ่งก�ำลังไหลเอื่อยๆ ก่อนบอกว่า

“เรามีหน้าที่ส�ำรวจคุณภาพของน�้ำ มีเครื่องมือ น�้ำยา 3 ตัว คือ ดู ค่ า ออกซิ เ จนในน�้ ำ ส� ำ รวจกั น ทุ ก เดื อ น แล้ ว ส่ ง ผลให้ กั บ ทาง เทศบาลเอาเยาวชน ชาวบ้านมาช่วยกันท�ำ เพราะก่อนหน้านี้ น�้ำ เสีย ปลาตาย เราไปอบรมแล้วก็กลับมาท�ำเลย” เป็ นการช่ ว ยกั นระหว่ า งคนในชุ มชนกั บทางเทศบาล เพื่อ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความหมายของน�้ำเสียตาม พ.ร.บ.ส่งเสริม และรักษาสิ่ง แวดล้อมแห่งชาติ หมายถึง ของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมวลสารที่ปะปน หรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น โดย ลักษณะของน�้ำเสียแบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้าน เคมี และด้านชีวภาพ การตรวจสอบความเน่ า เสี ย ของน�้ ำ หรื อ การวั ด ปริ ม าณ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน�้ำนิยมหาได้ 2 แบบ คือ 1. หาปริมาณออกซิเจนที่ใช้ท�ำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในน�้ำ เสีย ทั้งจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายได้และไม่ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทางเคมี 2. หาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ต่างๆ ในน�้ำเสีย วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีทางชีววิทยา ส่วนอีก 2 แบบ คือการหาปริมาณจุลินทรีย์ในน�้ำ และการวัดความเข้มข้นของ สารต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน�้ำ อีกทั้งคนในชุมชนยังมีการปลูกหญ้า แฝก เพื่อลดปัญหาการกัดเซาะของตลิ่ง ซึ่งท�ำติดต่อกันมา 3 ปี แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้น�้ำซัดบ้านพังมา 1 หลัง

ปันสุข




การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

เยาวชนจิตอาสา ‘โพนทอง’ เรียนรู้ สุขใจ ทัง้ ผูใ้ ห้และผูร้ บั ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

 ปันปัสุนขสุข


การขยายตั ว ของความเป็ น เมื อ ง ได้ ท� ำ ให้ สั ง คมชนบทใน หลายพื้นที่ มีสภาพไม่ต่างจากสังคมคนเมืองเท่าใดนัก นั่นคือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีใครสนใจใคร ชนบทในวันนี้จึงค่อยๆ กลาย เป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบทไปโดยปริยาย ส�ำหรับชาวบ้านใน ต.โพนทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ สามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยังปรากฏชัดและ เหนียวแน่น เป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้ชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้ การน�ำของนายศานิต กล้าแท้ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล ซึ่งได้พัฒนาชุมชนโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย จนกลาย เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอื่นๆ ในหลายมิติ อาทิ ระบบอาสา พัฒนาสุขภาพ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นต้น โดยการสนับสนุนจากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ (สปสช.) และส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชาวต�ำบลโพนทอง ไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ใหญ่ที่คอยช่วยเหลือดูแล ซึ่งกันและกันเท่านั้น ธารน�้ำใจไมตรียังได้รับการถ่ายทอดไปสู่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ จนก่อเกิดกลุ่มเยาวชนจิตอาสาหลายกลุ่ม อาทิ อาสาสมัครดูแลผู้ป่วย ผู้พิการ อาสาสมัครเครือข่ายเอดส์ หรือ CTW น้อย (Community Team Work) ฯลฯ “ทุกคนเหมือนญาติผู้ใหญ่ของเรา การเข้าไปดูแลท่านเป็น เรื่ อ งเล็ ก น้ อ ย ไม่ ไ ด้ ล� ำ บากอะไรเลย หนูใ ช้เวลาว่างวันเสาร์ อาทิตย์ หรือไม่ก็ตอนเย็น ก็จะไปกับเพื่อนๆ ไปนั่งคุยกับท่านบ้าง เพื่อไม่ให้เหงา ไปบีบนวดเล็กๆ น้อยๆ บ้าง อย่างผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะคอยดูแลสุขภาพเบื้องต้น ซึ่งก็จะได้รับการอบรมความรู้เรื่อง เบื้องต้นของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากผู้ใหญ่ทีม อสม.ของโรง พยาบาลส่งเสริมต�ำบลอีกทีค่ะ” น้องจูนน.ส.แพรวพรรณ เมือง นาค นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ หนึ่งในเยาวชนจิตอาสา โพนทอง เล่าให้ฟังขณะก�ำลังปฏิบัติการ “เช็คความรู้สึกฝ่าเท้า” ด้วยการใช้วัสดุแข็งๆ ขีดไปบนฝ่าเท้าของผู้ป่วยเบาหวานรายหนึ่ง “เมื่อขีดลงไปบนฝ่าเท้าแล้ว เราจะคอยถามผู้ป่วยว่ารู้สึกไหม ถ้ายังมีความรู้สึกก็ไม่น่าห่วง แต่ถ้าไม่รู้สึกเมื่อไหร่ต้องรีบแจ้งทาง อาสาสมัครผู้ใหญ่อีกที เพื่อจะได้รีบด�ำเนินการรักษาในขั้นต่อไป เพราะถ้าเราเพิกเฉยผู้ป่วยมีโอกาสเกิดแผลได้โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ ซึ่งอาจจะอันตรายถึงขั้นตัดขาได้ ถ้าไม่รีบดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ” น้องอาย-น.ส.พิชชาพร ตาปราบ อีกหนึ่งอาสาสมัคร กล่าวเสริม ด้วยรอยยิ้ม

เยาวชนจิตอาสาในกลุ่มของน้องจูนและน้องอาย ยังประกอบ ด้วย น้องพิม-น.ส.พิมผกา พวงจันทร์, น้องดาว-น.ส.กัลยา แมน สถิตย์ และน้องแนน-น.ส.พิจิตรา ภูนากาย ซึ่งกล่าวเป็นเสียง เดียวกันว่าไม่เคยรู้สึกเหนื่อยหรือเบื่อเลยในการมาดูแลผู้ป่วย เหล่านี้ เพราะทุกคนในต�ำบลเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ โดยกิจกรรม ที่ท�ำเป็นประจ�ำในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้คือ นวดเท้า จี้ จุดเท้า นวดฝ่ามือ นวดตัว บ่า ไหล่ หรือแม้กระทั่งฟ้อนร�ำวงกับ คุณยาย คุณป้า คุณน้าทั้งหลายเพื่อสร้างความบันเทิง ช่วยคลาย ความเครียดและการซึมเศร้าจากอาการเจ็บป่วย “สนุกค่ะ ไม่เบื่อเลย เห็นคุณยาย คุณป้า น้า อา ยิ้ม หัวเราะ เห็นคนที่เราดูแลเค้าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เขามี ความสุข หนูก็สุขใจ ที่ส�ำคัญหนูยังได้น�ำความรู้ที่ได้รับจากการ เป็นอาสาสมัครกลับไปดูแลคุณยายที่บ้านซึ่งก็ป่วยเป็นโรคเบา หวานเหมือนกัน” น้องแนน กล่าว ด้านนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลโพนทอง กล่าวเสริมว่า ในการท�ำงานเราจะให้เยาวชนมีส่วนร่วมในเกือบทุกกิจกรรม เพื่อ สร้างจิตส�ำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นให้กับเยาวชนของเรา โดยมี ผู้ใหญ่เป็นแกนน�ำในทุกเรื่อง ทุกกิจกรรม ทั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มอาสาสมัครและจิตอาสาดูแลผู้ พิการ (นอนติดเตียง) กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายเอดส์ และ CTW (Community Team WorK) น้อย รวมทั้งกลุ่มเยาวชนอาสาสมัคร ช่วยน้องอ่านหนังสือในห้องสมุดกลางของต�ำบล “อย่างอาสาสมัครเครือข่ายเอดส์ ก็จะให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องเอดส์ โดยมีตัวแทนหมู่บ้านละ 2 คน มาให้ความรู้แก่เยาวชน สร้างแกนน�ำเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการติดต่อของเชื้อ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เพื่อนๆ เยาวชนด้วยกันได้ ท�ำให้เกิดเครือข่ายการท�ำงานด้านเอดส์ หรือแม้กระทั่งเรื่องเพศ สัมพันธ์ ก็ต้องให้ความรู้เพื่อป้องกันการท้องไม่พร้อมด้วย” นายก อบต. กล่าว ภาพการท�ำงานเป็นทีมทั้งระดับผู้น�ำ แกนน�ำระดับหมู่บ้าน รวมทั้งเยาวชน เกิดเป็นเครือข่ายการท�ำงานที่เข้มแข็ง ท�ำให้วันนี้ คนในต�ำบลโพนทองไม่เดียวดาย เพราะมีทั้งคนในต�ำบลที่มา เยี่ยมเยียนดูแล และมีทั้งคนจากชุมชนอื่นที่มาเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้”แนวทางในการดูแลซึ่งกันและกัน” ของต�ำบลโพนทอง อย่างไม่ขาดสายนั่นเอง

ปันสุข




เศรษฐกิจชุมชน

เปลี่ยนตาลให้เป็ นเงิน



ปันสุข


ที่ต�ำบลหนองโรงแห่งนี้มีต้นตาลอยู่มาก และออกผลดีทั้งปี จึง ท�ำให้เกิดกลุ่มแปรรูปผลผลิตจากตาลขึ้น น�ำขบวนโดยครอบครัว ของสุนัน บุณยปรีดี หรือเจ๊นัน ที่ต่อยอดธุรกิจครอบครัว น�ำเอา วัตถุดิบที่มีดกดื่นในพื้นที่อย่างลูกตาลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ได้มากชนิดอย่างน่าทึ่ง นอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้ตาลแล้ว ยังเป็นการกระจายรายได้ ให้ชุมชน ด้วยการรับซื้อลูกตาลสุกไม่จ�ำกัด และจะเอาเนื้อตาลมา เข้าเครื่องปั่น คั้นให้ได้น�้ำสีเหลืองแจ่มหอมเข้มข้น กรองด้วยผ้า ขาวบางพร้อมส�ำหรับการน�ำไปแปรรูปโดยขายให้กับกลุ่มแม่บ้าน หรือร้านค้าที่ต้องการน�ำไปท�ำขนมตาล หรือขนมอื่นๆ ขาย ใคร ผ่านมาชุมชนนี้ จะได้กลิ่นหอมของขนมตาลโชยตามทาง ในส่วนของเม็ดตาล จะน�ำตากแดด เพาะให้งอก แล้วเลือก เม็ดตาลเฉพาะเม็ดที่งอกต้นอ่อน น�ำมาตอนตามกรรมวิธีเฉพาะ จนได้เม็ดตาลที่งอกสมบูรณ์ (ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนค่อนข้างยาก และกว่าจะครบกระบวนการใช้เวลาราว 2 เดือน) เมื่อผ่าด้านใน ออกมา จะได้จาวตาลเปลือกบางๆ สีขาว ฝานออกมาจะเห็นเนื้อ อวบใสน่ารับประทาน กินสดก็ได้ เอาไปเชื่อมหรือต้มท�ำขนม หวาน หรือน�้ำหวานก็อร่อยรสนุ่มชุ่มคอ ส่วนเม็ดตาลที่ไม่งอก ก็สามารถเอาไปใช้ชุบตัว ขัดผิว ทาแชล แล็ค เขียนหน้าเขียนตา ตกแต่งกลายเป็นเครื่องประดับ ที่เสียบ ปากกา หรือโมบายล์ ไว้ขายให้นักท่องเที่ยว หรือเอาเข้าเตาเผา ในความร้อนที่พอเหมาะ และเวลาที่พอดี บวกความอดทนของผู้ ควบคุมการเผา ก็จะได้ถ่านลูกตาลไว้ใช้ดับกลิ่นในตู้เย็น นอกจากนี้ ข นตาลฝอย เอามาตากแห้ง แล้วเอามาย้ อมสี สวยๆ ใช้เป็นหญ้าเทียม จัดสวน ถาดท�ำรังนกเทียม ประดับตอไม้

ได้สวยงามสมจริง หรือสร้างสรรค์กว่านั้นก็เอามายัดไส้หมอน นอนหนุนสบาย กลุ่มแปรรูปผลผลิตจากตาลยังมีการประดิษฐ์ตอไม้ประดับ สวน ด้วยการน�ำกิ่งไม้ตอไม้ที่ตายแล้วจากป่าชุมชนมาคัดเลือก เฉพาะที่ รู ป ร่ า งหน้ า ตาดู มี อ นาคต เอามาขั ด สี ฉ วี ว รรณใหม่ ตกแต่ ง ด้ ว ยนกและดอกไม้ ป ระดิ ษ ฐ์ และจั ด วางจนได้ เ ครื่ อ ง ประดับสวนแนวธรรมชาติ โดยที่ ม าของกลุ ่ ม ตอไม้ ป ระดั บ เกิ ด จากแกนน� ำ ซึ่ ง เป็ น กรรมการป่าชุมชนเห็นตอไม้ที่ตายแล้วในป่าจ�ำนวนมาก และไม่ ได้ ถู ก น� ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ประกอบกั บ มี โ อกาสได้ ไ ปเห็ น ดอก กล้วยไม้ประดิษฐ์ที่ท�ำจากดินปั้นญี่ปุ่น ซึ่งมีความสวยงามจึงหา ข้อมูลการท�ำดอกไม้ประดิษฐ์ และได้ข้อมูลว่ามีการเปิดสอนใน จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ไปสมัครเรียน และน�ำกลับมาท�ำโดยปั้น เป็นดอกกล้วยไม้ และน�ำไปติดกับตอไม้ ซึ่งเก็บมาจากป่าชุมชน ในช่วงแรก ท�ำตั้งโชว์เป็นของประดับสวยงาม เพิ่มสีสันให้ร้าน เมื่อมีคนเห็นก็อยากได้ จึงสั่งท�ำเพื่อไปใช้ในเทศกาลต่างๆ แทน ดอกกล้วยไม้จริง เนื่องจากอยู่ได้นาน และดูแลรักษาง่าย ขณะ เดียวกัน แกนน�ำคนอื่นๆ ก็เห็นว่าการน�ำตอไม้ที่ตายแล้วมาใช้ให้ เกิดประโยชน์น่าจะเป็นช่องทางการพัฒนาให้เป็นอาชีพเสริมของ คนในชุมชนได้ จึงชักชวนให้ก่อตั้งเป็นกลุ่ม มีสมาชิกกลุ่ม 15 คน และได้ประสานงานกับ กศน. ให้เข้ามาเป็นวิทยากรฝึกอบรม และ สมาชิกแต่ละคนได้กลับไปท�ำ เมื่อมีผลิตภัณฑ์ก็น�ำมาขายรวมกัน สมาชิกบางคนก็ท�ำไว้ประดับบ้าน และเป็นของขวัญให้กับญาติพี่ น้อง เพื่อนมิตรในเทศกาลต่างๆ

ปันสุข

 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ร�ำเหย่ย และการละเล่นพื้นบ้าน ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า โอกาสที่จะได้ชมการละเล่นโบราณ ที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นถิ่นนั้นหาดูได้ยากเต็มที แต่การมาเยือน ต�ำบลหนองโรง อ�ำเภอพนมทวนครั้งนี้ เราได้พบกับการละเล่น โบราณ ที่ได้ยินชื่อแล้วไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไร นั่นคือ ‘ร�ำเหย่ย’ ร�ำเหย่ยเป็นประเพณีดั้งเดิมของคนต�ำบลหนองโรง โดยนิยม ละเล่นในช่วงเทศกาล หรืองานรื่นเริงต่างๆ เพื่อผ่อนคลาย สร้าง ความสนุกสนาน หนุ่มสาวมีโอกาสได้ร้องเกี้ยวกัน การละเล่นร�ำ เหย่ยได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ค่อยมีการละเล่นที่เล่นในเวลา กลางคืน ประกอบกับเป็นการละเล่นที่ไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีที่ยุ่ง ยาก อาจใช้เพียงแค่กลองยาวเพื่อเพิ่มความครึกครื้น สนุกสนาน หรือใช้เครื่องก�ำกับจังหวะเพียงชิ้นเดียว หรืออาจใช้วิธีปรบมือ แทนก็ได้ สมัยก่อนจะเป็นการเล่นสด (ด้นกลอนสด) ปัจจุบันมักต้องเต รียมบทไว้ก่อน ทั้งนี้ชาวต�ำบลหนองโรงให้ความส�ำคัญกับการละ เล่ น ร� ำ เหย่ ย โดยสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารถ่ า ยทอดสู ่ ก ลุ ่ ม เด็ ก และ เยาวชน รวมถึงให้มีการฝึกซ้อมเพื่อเล่นในเทศกาลต่างๆ ตลอด จนส่งเข้าประกวด จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย การเล่นร�ำเหย่ยนี้สามารถร้องเล่นด้วยกันได้ไม่จ�ำกัดเพศและ  ปันปัสุนขสุข

วัย อย่างคืนนี้ ก็มีเด็กสาวร้องเล่นกับคุณตา ดูท่าทางสนุกสนาน ดูไปยิ้มไปข�ำไป เพลินดี สาเหตุที่ร�ำเหย่ยยังคงอยู่ได้ถึงทุกวันนี้ ก็ด้วยการอนุรักษ์ และ สนับสนุนจากสภาวัฒนธรรม ต�ำบลหนองโรง ซึ่งมีนายเสริม ไคล มี เป็นประธานสภา สภาวั ฒ นธรรมฯ จะท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น กลไกหลั ก ในการฟื ้ น ฟู รักษาประเพณีวัฒนธรรมอันดีของต�ำบลหนองโรง โดยจะมีการ ประชุมต่อเนื่อง และรับผิดชอบการจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณี และการละเล่นต่างๆ อย่างสม�่ำเสมอ โดยได้รับการสนับสนุนการ ด� ำ เนิ น งานจากองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลหนองโรง และ วัฒนธรรมจังหวัด ยั ง มี วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น อี ก หลายรายการที่ ส ภาวั ฒ นธรรม ต�ำบลได้อนุรักษ์ไว้ดังนี้ ประเพณีร่อยพรรษา เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพื่อเป็นการเชิญชวน และกระตุ้นให้คนในต�ำบลมาร่วมกันท�ำบุญ โดยจะมีการรวมตัว กันเดินไปบอกบุญตามบ้าน และมีการร้องเพลงเพื่อเชิญชวนให้ คนท�ำบุญไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของ โดยไม่ใช้เครื่องดนตรี แต่


จะใช้การปรบมือเพื่อให้จังหวะ ทั้งนี้ประเพณีร่อยพรรษาจะเริ่ม ตั้งแต่ขึ้น 1 ค�่ำ เดือน 11 จนถึง ขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 11 และเมื่อถึง วันออกพรรษาก็จะน�ำเงิน และสิ่งของทั้งหมดที่ได้ไปท�ำบุญที่วัด การท�ำขวัญข้าว ขวัญยุ้ง ขวัญลาน เป็นประเพณีส�ำคัญของชาวนาที่สืบทอดมาแต่โบราณซึ่งจะ กระท�ำกันในช่วงที่ข้าวตั้งท้อง เพื่อเป็นการขอบคุณแม่โพสพที่ให้ ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา มีความเชื่อว่า ถ้าได้มีการท�ำขวัญ ข้าว จะไม่ท�ำให้เมล็ดข้าวล้ม ไม่มีหนอน และสัตว์ต่างๆ มากัดกิน ต้นข้าว ท�ำให้ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ เมื่อข้าวสุกดีแล้วก็น�ำไปไว้ ที่ลาน เพื่อรอการนวด ซึ่งก็จะมีการขวัญลาน และเมื่อนวดข้าว เสร็จแล้ว ก็จะก�ำหนดวันน�ำข้าวขึ้นยุ้งซึ่งชาวบ้านก็จะมาร่วม ท�ำขวัญข้าว ร้องเพลงท�ำขวัญแม่โพสพเรียกว่า ‘ขวัญ ยุ้ง’ การร�ำกลองยาว เป็นประเพณีที่นิยมเล่นกันเนื่องจากจังหวะสนุกสนาน เล่น ง่าย นิยมน�ำไปแสดงในงานรื่นเริง เช่น ขบวนแห่นาค แห่ผ้าป่า กฐิน งานฉลองขบวนขันหมาก มีเครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลอง ยาวหลายขนาด ซึ่งจะให้เสียงต่างกันออกไป มีเครื่องประกอบจัง หวะอื่นๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และปี่ชวา การโห่ร้อง การร�ำ

กลองยาวก่อนจะเริ่มบรรเลงจะมีการโห่สามลา โดยผู้น�ำวงจะโห่ ยาว และลูกคู่จะต้องรับด้วยค�ำว่า ฮิ้ว เพลงเต้นก�ำร�ำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เก่าแก่ของชาวบ้าน ซึ่งมีอาชีพท�ำนา เป็นหลัก และด้วยนิสัยรักสนุก กับการเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน จึงได้ เกิดการเต้นก�ำร�ำเคียว ในเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นสภาพความ เป็นอยู่ของชาวบ้าน โดยในมือของผู้ร�ำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีก ข้างหนึ่งถือข้าวที่เกี่ยวแล้ว และจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะมีผู้ เล่นประมาณ 5 คู่ แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อ เพลง ฝ่ายหญิงเรียกว่า แม่เพลง เพลงพวงมาลัย มีการสืบทอดหลายชั่วอายุคน โดยเป็นเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามาจากความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย ซึ่ง นิยมพูดให้คล้องจองกัน มักนิยมเล่นงานประเพณีตรุษสงกรานต์ ซึ่งบรรดาหนุ่มสาวผู้ใหญ่และเด็ก ต่ างมาร่วมสนุก เพลงพวง มาลัยยังนิยมขับร้องกันในนาข้าว ไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มหว่านไถ จนถึงการเก็บเกี่ยว โดยนิยมขับร้องเพื่อเป็นการผ่อนคลายความ ตึงเครียดจากการท�ำงาน

ปันสุข




อาหาร

สูตรไม่ลับ กับทองม้วนหนองโรง



ปันสุข


เรื่องของตาลแห่งต�ำบลหนองโรง อ�ำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรียังไม่หมด เพราะยังไม่ได้พูดถึงการแปรรูปอย่างหนึ่ง ที่เป็นจุดขายสร้างรายได้ให้กับชาวหนองโรง เพราะเมื่อตาลเป็น วัตถุดิบหนึ่งซึ่งสามารถน�ำไปใช้ท�ำขนมได้หลากหลายชนิด และ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นคือ ทองม้วน ทองพับเนื้อตาล คงเป็นเรื่องประหลาดทีเดียว ถ้าจะแปรรูปตาลแล้วไม่เอามา ท�ำเป็นขนม โดยวนิดา เข็มทอง หรือน้าหนู ได้เอาเนื้อลูกตาลสุก มาผสมกะทิใส่แป้ง แล้วเอาไปใส่เตาปิ้ง ผลออกมาเป็นขนมกลิ่น หอม กรอบ รสชาติอร่อย แถมยังเก็บรักษาไว้ได้นานอีกด้วย ภายหลังจากชิมกันหลายปาก ก็น�ำไปสู่กระบวนการจับกลุ่ม และพัฒนาสูตรให้ออกมาอร่อย ถูกใจทุกคน จนกลายเป็นสินค้าที่ สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชน ทั้งด้วยการขายลูกตาล สดให้กลุ่ม และขายทองม้วนทองพับให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านมาที่นี่ โดยรสชาติ ท องม้ ว นและทองพั บ ของที่ นี่ ไ ม่ เ หมื อ นที่ อื่ น แน่นอน เพราะผสมเนื้อตาลสุกแท้ๆ ลงไปด้วย ช่วยให้มีกลิ่นรส จากตาล ซึ่งหอมหวานเวลาเคี้ยว นอกจากนี้ยังมีสูตรผสมสมุนไพ รอื่นๆ เช่น ดอกอัญชัญ ใบเตย ตะไคร้ และผลไม้อื่นๆ เช่น กล้วย หอม แตงโม องุ่น เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และรสชาติที่หลาก หลาย ใครได้ชิมแล้วต้องติดใจ ซื้อกลับบ้านกันคนละหลายถุง กิน เอง ก็อร่อย ซื้อเป็นของฝากก็ดี น้าหนูไม่หวงสูตร บอกว่าเชิญ เอาความรู้มาแบ่งปันให้ผู้ที่ สนใจลองเอาไปท�ำได้ตามสบาย พร้อมจะจดกันหรือยัง

ส่วนผสม 1. แป้ง มัน 1 ก.ก. 3 ขีด 2. แป้ง สาลี 2 ขีด 3. น�้ำตาล ทราย 5 ขีด 4. น�้ำตาล ปี๊บ 5 ขีด 5. มะพร้าว ขูด 1 ก.ก. 5 ขีด 6. เกลือ ป่น 1 ช้อน โต๊ะ 7. ไข่ ไก่ 3 ฟอง 8. งา ด�ำ+ ผล ไม้/เนื้อ ลูก ตาล ตาม ความ เหมาะ สม ขั้นตอนการท�ำ 1. น�ำมะพร้าวขูดมาคั้นกะทิ แยกหัวกับหางออกจากกัน น�ำ หัวกะทิมานวดกับแป้ง น�้ำตาล ไข่ เกลือป่น นวดจนได้ที่ 2. แบ่งแป้งเท่าๆ กัน น�ำสมุนไพรหรือผลไม้ใส่ลงไปกรองด้วย ผ้าขาวบาง 3. ผสมเนื้อตาลสุก ยีผลไม้ ผงรสผลไม้ 4. หั่นใบมะกรูดอ่อนใส่ลงไป 5. น�ำแป้งที่ผสมแล้วมาใส่เตาปิ้งจนสุก แล้วออกมาพับดอก ให้สวยงาม 6. รอจนแห้งพร้อมรับประทาน หรือบรรจุถุง ทองม้วนทองพับของที่นี่ขายดีมีร้านค้ามารับถึงที่ และยังมี ลูกค้าประจ�ำจากทั่วประเทศ แถมยังได้ออกร้านตามงานที่หน่วย ราชการจัดขึ้น งานโอท็อป หรือวางขายตามกลุ่มสตรี และองค์กร ต่างๆ อีกด้วย

ปันสุข




วัฒนธรรม

อะกีดะฮ์-อิ บาดะฮ์ พลังแห่งศรัทธา ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ศรัทธาก่อให้เกิดได้ทั้งผลดี…ผลร้าย ที่จะกล่าวถึงคือศรัทธา ในมุมดี ศานติสุขบังเกิดจากศรัทธา… “มะนังดาล�ำ” ชุมชนน่าอยู่ แห่งปัตตานี …ท่วงท�ำนองของเสียง “อาซาน” ที่ลอยมาตามสายลมก่อน อรุณจะเบิกฟ้าถือเป็นสัญญาณแรกของวันในการท�ำละหมาด “ซุบฮิ” เพื่อแสดงออกถึงศรัทธา และเป็นการสื่อสารกับพระเจ้า ซึ่งเป็นวิถีที่ศาสนิกชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือปฏิบัติ มาช้านาน ทุ ก ใบหน้ า สงบนิ่ ง นั ย น์ ต าทุ ก คู ่ เ ปล่ ง ประกาย ท� ำ ให้ บรรยากาศภายในอาคารไม้หลังใหญ่ของสถาบันศึกษาปอเนาะ “มะฮัดดารุลเราะห์มะห์” ต�ำบลมะนังดาล�ำ อ�ำเภอสายบุรี จังหวัด ปัตตานีแห่งนี้ ขรึมขลังขึ้นทันที ปี 2547 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบว่าด้วยสถาบัน ศึ ก ษาปอเนาะ เพื่ อ ให้ ป อเนาะมาจดทะเบี ย นให้ ถู ก ต้ อ งตาม กฎหมาย ปอเนาะที่ จ ดทะเบี ย นแล้ ว จะเรี ย กว่ า สถาบั น ศึ ก ษา ปอเนาะ (pondok institute) ไม่ใช่โรงเรียนปอเนาะ ส�ำหรับ ด๊ะอารี ยูโซ๊ะ และ อาสอารี ลาเต๊ะ สถาบันศึกษา ปอเนาะ…มะฮัดดารุลเราะห์มะห์ ไม่ได้เป็นเพียงสถานศึกษาเล่า 

ปันสุข

เรียนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเสมือนบ้านหลังที่สอง เป็นแหล่งสรรพ วิชาทางจิตวิญญาณที่เติมเต็มวิถีมุสลิมของพวกเขาให้กระจ่าง ชัดและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แน่นอน ความรู้สึกนี้ย่อมเป็นความรู้สึกเดียวกับนักศึกษาร่วม สถาบันอีกกว่า 250 ชีวิต การเรียนการสอนอัลกุรอาน วิถีปฏิบัติ กฎระเบียบในการอยู่ ร่วมกันอย่างน้อย 7 ปีเพื่อซึมซับหลักปฏิบัติตามที่พระคัมภีร์ได้ ชี้น�ำเอาไว้ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยในการดูแลซึ่งกันและกัน ของเหล่านักศึกษาท�ำให้สถาบันศึกษาปอเนาะมะฮัดดารุลเราะห์ มะห์มีเอกลักษณ์และแตกต่างจากปอเนาะอื่นๆอย่างสิ้นเชิง “เห็นเครื่องแบบ เห็นการปฏิบัติตัว คนอื่นจะรู้ว่าเราเป็นคน ของที่นี่ทันที” ด๊ะอารียืนยัน ไม่เฉพาะหลักศาสนาที่ถูกถ่ายทอดเรียนรู้ ที่นี่ยังเป็นแหล่งฝึก ทักษะอาชีพส�ำหรับผู้คนในชุมชนที่ต้องการมีความรู้ไว้เลี้ยงชีพอีก ด้วย หลักสูตรการกัดกระจก การท�ำยาสมุนไพร การสกรีนเสื้อเป็น ลวดลายต่างๆ เป็นหลักสูตรเสริมที่การศึกษานอกโรงเรียนได้เข้า มาช่วยจัดการเรียนการสอน ท�ำให้หลักปฏิบัติตามวิถีมุสลิมและ


การด�ำรงชีพ ได้ร่วมด�ำเนินไปในทางเดียวกัน “การด�ำเนินการเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ค�ำสอน ตามหลักศาสนา” มหามัติ มะจะ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล มะนังดาล�ำ กล่าวถึงความเชื่อมโยง เพราะการสร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ “อาชีพ สังคม และ สุขภาพ” ที่ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ตามแนวคิดสุขภาวะองค์รวม ท�ำให้ต�ำบลมะนังดาล�ำ หรือ “บือแนดาแล” ที่แปลว่า “นาลึก” สามารถปรับตัว…ด�ำเนินชีวิตตามหลักศาสนาซึ่งถือเป็นวิถีชีวิต ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ที่ยังไม่รู้ว่าปลายทาง จะไปจบลงตรงไหน ตลอดเวลาที่ ผ ่ า นมา นี่คือ พื้นที่สีแดง ที่ผู้ก ่อ ความไม่ สงบ ลงมือก่อเหตุรุนแรง สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ของชาวบ้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กลายเป็นรอยแผลเป็นที่เด่นชัดใน ความรู้สึกของชาวมะนังดาล�ำที่มีอยู่ทั้งหมด 1,425 ครัวเรือน แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกลับไม่สามารถสั่นคลอน วิถีแห่งศรัทธาและแนวทางตามพระประสงค์ของพระเจ้าของผู้คน ที่นี่ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้างสมดุลให้กับชีวิตตาม “หลักอะ กีดะฮ์” …หลักการศรัทธาและความเชื่อในศาสนาอิสลาม และ “หลักอิบาดะฮ์”…หลักการปฏิบัติหรือด�ำรงตนบนวิถี อิสลาม หรือสุขภาพองค์รวมที่นายก อบต.มะนังดาล�ำ น�ำมาปรับ ใช้กับชุมชนของเขา เพื่อขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ความสอดคล้อง ระหว่างค�ำว่า “สันติวิถี” และ “ความพอเพียง” มหามัติ มะจะ นายก อบต.มะนังดาล�ำ ย�้ำว่า การขับเคลื่อน เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาจ�ำเป็นต้องใช้คนในการขับเคลื่อน เราก็ ต้องสร้างปัญญาให้กับคนของเรารู้จักจัดการท้องถิ่นตนเอง ที่ผ่านมา…ปัญหาที่ท�ำให้ชุมชนไม่สามารถพัฒนาได้มากเท่า ที่ ค วรก็ คื อ ภาวะการมี ส ่ ว นร่ ว มต�่ ำ ซึ่ ง มหามั ติ รู ้ สึ ก ว่ า นั่ น เป็ น “ประชาธิปไตยแบบสั่งการ” ไม่ใช่… “การมีส่วนร่วม” เพราะการ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนก็ต้องเริ่มแก้ที่คนในชุมชนก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีความเป็นมุสลิมที่เกี่ยวดองระหว่างการ ด�ำเนินชีวิตกับศาสนกิจเอาไว้ตั้งแต่เกิดจนตาย การร้อยเรียงหลัก คิดและท�ำความเข้าใจ จึงเป็นการด�ำเนินการเพื่อเปลี่ยนทัศนคติ ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วทุกเรื่องในสังคมล้วนเชื่อมโยงกัน อั น เป็ น ที่ ม าของระบบการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น

จัดการตนเอง 7 ระบบ ที่ประกอบด้วย ระบบการบริหารจัดการ ต�ำบล ระบบการศึกษา ระบบดูแลสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจพอ เพียงและส่งเสริมสัมมาชีพ ระบบสวัสดิการชุมชน ระบบพัฒนา ศักยภาพเด็กและเยาวชน และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและ พลังงานทดแทน “เรื่องการบริหารจัดการต�ำบล วันนี้เราพยายามที่จะท�ำเป็น ศูนย์กลางการพัฒนาทุกอย่าง ซึ่งการจัดการต�ำบลมีฐานจัดการ คื อ มั ส ยิ ด ซึ่ ง ท� ำ เป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ทั้ ง หมด ไม่ ว ่ า จะการศึ ก ษา เยาวชน สังคม หรือเรื่องต่างๆ…” ส�ำหรับคนมุสลิมนั้นการศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด คนในพื้นที่จะมี โอกาสทางการศึกษาตั้งแต่เยาวชน ประถมปีที่ 1 เป็นต้นไป มี ค่ายภาษา โรงเรียนเพื่อท้องถิ่นโดยท้องถิ่น โดยใช้หลักสูตร IBS หรือ Islamic Based management School เริ่มเรียนตั้งแต่ 06.30 น. เลิกเรียน 13.30 น. เพราะวิถีอิสลามจริงๆนั้น ต้องตื่น แต่เช้า “อะกีดะฮ์”…คือเรื่องของจิตใจ ความเชื่อ ขณะที่ “อิบาดะฮ์” …คือการกระท�ำที่จะต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ไม่ใช่เพียงหลัก ศาสนาที่ยึดถือปฏิบัติในแง่มุมเดียวเท่านั้น หากแต่ ใ นทุ ก มิ ติ สั ง คมนั บ ตั้ ง แต่ ศ าสนา การเมื อ ง สั ง คม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิต ทุกอย่างต้องสมดุลซึ่งกัน และกัน ในวันนี้ชุมชนมะนังดาล�ำก�ำลังผลักดันตัวเองเข้าสู่โครงการ ต� ำ บลสุ ข ภาวะ หรื อ ชุ ม ชนน่ า อยู ่ แ ห่ ง แรกในพื้ น ที่ 3 จั ง หวั ด ชายแดนใต้ โดยการสนับสนุนของ สสส. ด้วยหวังว่าจะเป็นก้าว เล็กๆ ก้าวหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อน น�ำความสงบอย่างยั่งยืนมาสู่พื้นที่ ในอนาคต มหามัติมีความเชื่อมั่นว่า การด�ำเนินการตามแนวคิดนี้จะน�ำ ไปสู่การสร้างสังคมพึงประสงค์ที่ทุกคนปรารถนา “เมื่อชุมชนอยู่ได้ ชุมชนช่วยเหลือตัวเองได้ บ้านก็สงบ ทุกคน ก็จะมีความสุขที่เป็นรูปธรรม เช่น เรื่องยาเสพติด การลักเล็ก ขโมยน้อย ก็จะช่วยแบ่งเบาได้…ความขัดแย้งในพื้นที่น้อยลงและ สามารถเข้าไปพัฒนาเรื่องอื่นๆต่อไปได้” แน่นอนว่า ทุกคนก็คงมีความคาดหวังไม่ต่างจาก มหามัติ มะ จะ นายก อบต.มะนังดาล�ำ ที่วาดหวังให้สันติสุขบังเกิด และหวัง ให้ความรุนแรงในพื้นที่สูญสลายไปตลอดกาล.

ปันสุข




เตรียมพบกับ Gallery Punsook ได้ที่ gallery.punsook.org เร็วๆ นี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.