วารสารปันสุข ฉบับที่ 07

Page 1

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ฉบับที่ 07 ตุลาคม 2555

ปันสุข


www.punsook.org

จัดท�ำโดย

»˜¹ÊØ¢ ẋ§»˜¹ ÊÃä ÊÌҧ à¾×èͪØÁª¹¹‹ÒÍÂÙ‹

ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน ส�ำนักงงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปันสุข : เลขที่ 3 รามค�ำแหง 44 ถนนรามค�ำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ 10240 Email : editor@punsook.org โทร : 08 1710 0456

ปันสุข

facebook > ค้นหา


า > ปันสุข

สถานี 3

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เราอาจไม่ต้องมีอะไรเลย มีคนมานั่งแล้วมาพูดบรรยายให้จตาม จดบ้างไม่จดบ้าง แล้วก็กลับไป เอาไปประยุกต์ใช้บ้าง หรือไม่น�ำพาซึ่งผลลัพธ์ใดๆ เลย แต่ถ้า เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งแรกเลย คือเราต้องเตรียมการ รวมถึงบุคลากรที่จะ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มาเรียนรู้ร่วมกัน เริ่มต้นเลยคนที่มานั้น จะต้องรู้ว่าต�ำบลนั้นๆ เป็นอย่างไร ดังนั้นต�ำบลแม่ข่ายจะต้องส่ง ข้อมูลไปให้แก่ผู้ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนมา ซึ่งทางต�ำบลแม่ข่ายเองก็ต้องเตรียมการ ให้พร้อมเพื่อต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอแลกเปลี่ยนความรู้ โดยต�ำบลแม่ข่ายจะใช้พื้นที่จริงเป็นตัวกระตุ้นในการเรียนรู้ร่วมกัน เพราะฉะนั้นสิ่งส�ำคัญคือ แม่ข่ายจะต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนที่เพื่อนจะมา ว่าเรามีหน้าที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราไม่ได้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉยๆ เรียนรู้ร่วมกันหมายความว่า เพื่อนเครือข่ายก็ต้องมีการเตรียม การ ชาวบ้านทุกคนคือฟันเฟืองที่ส�ำคัญต่อกระบวนการ ซึ่งพึงอย่าเพิกเฉยต่อพวกเขา เพราะการ ลงนาม MOU มิใช่การกระท�ำที่ส่งผลต่อคนเพียงบางกลุ่ม หากแต่เป็นทุกคนที่อยู่ร่วมกันใน ชุมชน การได้เห็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มา เยือนคือสิ่งที่ชุมชนแม่ข่ายควรตระหนักรู้ และเห็นเป็นความส�ำคัญต่อกระบวนการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกัน ค�ำถามที่ต้องน�ำไปขบคิดคือ จะท�ำอย่างไรให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น หรือรู้สึกว่าต�ำบลนี้น่าอยู่ กว่า เมื่อเทียบกับต�ำบลที่ตนพักพิง ให้เขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมที่บ้านเราไม่มี พราะแรงบันดาลใจ คือสิ่งส�ำคัญ เป็นพลังผลักดันให้เกิดสิ่งดี โดยสิ่งที่แม่ข่ายต้องยึดถือเป็นเป้าหมายอีกอย่างในการดึงชุมชนอื่นเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน คือ การดึงสิ่งใหม่ๆ ออกมาจากกระบวนการ ซึ่งความคิดใหม่คือดอกผลที่การันตีกระบวนการที่ เรียกว่าการเรียนรู้ นอกจากนี้ แม่ข่ายจะต้องรู้ถึงจ�ำนวนแกนน�ำ ตลอดจนทักษะศักยภาพที่มีอยู่ของพวกเขา เพราะเมื่อมีเพื่อนมาเรียนรู้แล้ว4-5 รุ่น ก็จ�ำเป็นต้องมาสรุปกันครั้งหนึ่ง ว่าแกนน�ำคนนั้นๆ มี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสังเกตการณ์ถึงแรงบันดาลใจในตัวพวกเขา เพราะถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านี้มา นั่นบ่งบอกถึงการเป็นแม่ข่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ต้องกลับมา ทบทวนตนเองใหม่ และพยายามผลักดันตัวเองขึ้นมา ผ่านการเตีรยมตัวและการท�ำงานที่หนัก ขึ้น เพราะการท�ำหน้าที่เป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันนั้นต้องมีความพร้อม เพื่อว่าจะผลักดัน ชุมชนที่เป็นลูกข่ายไปด้วยกัน ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3)


สารบัญ

ปฏิญญาชุมชน ข้อตกลงร่วมใจ 6

ธนาคารขุนทะเล การเงินเพื่อชุมชน 8

ศูนย์ผลิตพันธุข์ า้ วชุมชน 10

ปั น่ ทุกวันยกเว้นวันพระ กับนักปั น่ เก้าเลีย้ ว12

ไส้เดือนดิน หนึง่ ตัวช่วย แก้ปัญหาขยะล้น 14

ฐานรากที่สำ� คัญ สูอ่ นาคตสดใส16

มังคุดนอกฤดูกาล รางวัลของโกเด็ก18

ตลาดนัดชุมชน “บางปิ ด” 22

ผ้ามัดย้อม วิถีโบราณ สูท่ างปั จจุบนั 20

ฟื้ นชีพเรือพาย ฟื้ นพลังแห่งความสามัคคี 24


บทบรรณาธิการ เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเวลานี้ เริ่มมีชาวชุมชนสุขภาวะรู้จักเรา มากขึ้น และแนวโน้มจากการเก็บสถิติ ก็แลดูสดใส ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้การเข้ามาเยือน ทั้งทางหน้าเว็บไซต์ และแฟนเพจของ ‘ปันสุข’ แผนงานต่อไปของเรา คือกิจกรรมเพื่อพัฒนาชาวชุมชนสุขภาวะ ด้านทักษะการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน หรือแม้กระทั่งการถ่าย ภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบของการประกวด เพื่อให้ชาวชุมชนสุขภาวะ ได้มีพื้นที่ในการแสดงตัวตนของตัวเอง และเพื่อฉายศักยภาพที่ซ่อนอยู่ ออกมา ส�ำหรับการอบรมการเขียนข่าวนั้น ทางเรายังมีความพร้อมให้การ สนับสนุนต่อไป ตามตารางกิจกรรมที่เอื้ออ�ำนวย ซึ่งจะบอกกล่าวให้ ทราบต่อไป ส�ำหรับในฉบับนี้ ก็เป็นเรื่องราวที่น�ำมาสรุปให้เห็นภาพรวมของ เว็บไซต์ มีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และทางราเองก็ได้ร่วมเรียนรู้ไป พร้อมกับทุกคน ซึ่งในแต่ละวันที่เราได้รู้มากขึ้น ก็ยิ่งเหมือนเราอยู่ใกล้ ชุมชนมากขึ้น คล้ายกับว่าแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่งอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมมือ เลย นอกจากนี้ยังมีในส่วนของแกลลอรี่ที่ได้จัดท�ำขึ้นใหม่ เพื่อเป็นช่อง ทางในการสื่อสารกับชาวชุมชนสุขภาวะ และจะใช้เป็นสถานที่ใน การน�ำเสนอผลงานประกวดด้วย อดใจรอนะครับ อีกไม่นานเกินรอ

บรรณาธิการ

ปันสุข


การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

ปฏิญญาชุมชน ข้อตกลงร่วมใจ

หลักของการบริหารบ้านเมืองนั้น แบบไหนดีที่สุด คงเป็นเรื่องที่ตอบยาก ไม่ว่าจะถามนักรัฐศาสตร์ท่านไหน ก็คงไม่มีใครมีค�ำตอบส�ำเร็จรูปให้อย่างแน่นอน ต่อปัญหาเรื่องกฎระเบียบ การบริหารงานราชการต่างๆ ชุมชนก็อยากให้รัฐส่วนกลางฟังชุมชน รัฐส่วนกลาง ก็อยากให้ชุมชนเชื่อฟังตนเอง เป็นปัญหาโลกแตกที่ไม่ว่าผ่านไปกี่ยุคสมัย ก็ยังเถียงไม่จบเสียที หากที่ต�ำบลต้นยวน อ�ำเภอพนม จังหวัดสุราษฎ์ธานี ที่นี่ท�ำกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับสุภาษิต โบราณที่ว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่” ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านควนใหม่ หมู่ที่ 3 อันเป็นที่ท�ำการของศูนย์เรียนรู้กฎระเบียบหมู่บ้าน ผู้ใหญ่วิสาร มุกดา เป็นเสมือนวิทยากรประจ�ำศูนย์ “ช่วงหนึ่งสมัยหนึ่ง ต้นยวนมีปัญหาต่างๆ มาก ทั้งจากคนภายในจนภายนอก เช่น ป่าไม้ถูกท�ำลาย ปัญหา



ปันสุข


ยาเสพติด และแกนน�ำท้องถิ่นคิดว่าน่าจะจัดการเองได้ โดยไม่ ต้องพึ่งกฎระเบียบส่วนกลาง จึงจัดตั้งคณะกรรมการในการ ประสานงานความมั่นคง และออกกฎระเบียบในชุมชน เพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว ซึ่งผมก็ได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาโดยชุมชน มี ข้อดีมากกว่าข้อเสีย พอตัวเองได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามาเป็น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ก็เลยน�ำแนวคิดนั้นมาสานต่อ” ผู้ใหญ่วิสารเปิด เรื่อง อันที่จริงเรื่องการจัดการท้องถิ่นโดยท้องถิ่น จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่อง ใหม่ แต่เมืองไทยถูกยึดอ�ำนาจการตัดสินใจไปให้ส่วนกลางมา

นานเสียจนท้องถิ่นเกือบจะลืมวิธีการดั้งเดิมของตนเอง ชาวต้นยวนมีความกล้าหาญ และความสามารถ ที่ออกกฎ ระเบียบควบคุมดูแลชุมชน โดยที่ไม่ขัดกฎหมายในระดับประเทศ คน บ้านเดียวกันขึ้นศาลเสร็จก็ต้องเจอหน้ากัน เช่นนั้นแล้วคุย กันเองไม่ดีกว่าหรือ “ก่อนที่จะใช้กฎระเบียบหมู่บ้าน เวลาเกิดข้อพิพาทในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ ถ้าไม่ไปจบที่โรงพักก็ต้องให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนเข้า มาจัดการ ทีนี้พอคุยกันไม่จบ ก็ต้องกลายเป็นคดีความ ขึ้นโรงขึ้น ศาล หลักการของเราคือ เราจะคิดว่า คนบ้านเดียวกัน ถ้าขึ้นศาล เสร็จก็ต้องกลับมาอยู่ที่หมู่บ้านเดียวกัน คือไม่อยากให้หักกันไป เลย หลังประกาศใช้กฎระเบียบหมู่บ้าน เวลาใครท�ำผิด เราก็จะ พยายามไม่ให้ถึงต�ำรวจ พูดคุยกันเองก่อน โดยมีคณะกรรมการ หมู่บ้านเป็นผู้ตัดสิน ส่วนเรื่องร้ายแรง เช่น ฆ่ากันตาย หรือเรื่อง ยาเสพติดอะไรก็ตามที่เกินอ�ำนาจ อันนี้ต้องส่งต่อให้ต�ำรวจ หรือ ส่วนกลางเป็นคนจัดการ”ผู้ใหญ่ฯ ขยายความ ผู้ใหญ่ฯ เพิ่มเติมมาอีกอย่างว่า “อย่างไรก็ดี เราก็ต้องถามลูกบ้าน ทั้งสองฝ่ายว่า จะยอมให้คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นคนตัดสินหรือ ไม่ ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอม เราก็ต้องปล่อยไป ที่ผ่านมารู้สึก จะมีเรื่องที่ดินอยู่สองสามเรื่อง” มิใช่แค่เพียงความยินยอมพร้อมใจในตอนใช้งานเท่านั้น หากแต่ ในกระบวนการร่าง ชาวบ้านก็มีสิทธิ์ในการรับรู้ และเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการด้วยเช่นกัน “ผมจะเป็นคนร่างกฎร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ในขั้นตอนก็ จะปรึกษาคนเก่าคนแก่บ้าง ปรึกษาผู้ใหญ่บ้านคนเก่าบ้าง แต่ว่า ร่างเสร็จแล้ว จะยังไม่ประกาศใช้เลย ต้องส่งร่างให้ชาวบ้านอ่าน ใครจะแก้ก็จะไปเสนอเวลาประชุมหมู่บ้าน เวลาจะออกกฎ ระเบียบอะไรเพิ่มเติม ชาวบ้านก็ต้องเห็นพ้องด้วยกัน หรือบาง ครั้งก็จะมีการยกเว้นระเบียบในบางข้อที่เห็นว่า กระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคลของคนในหมู่บ้าน” ผู้ใหญ่ฯ เล่าต่อ แม้ประชามติทางตรงแบบนี้ อาจจะไม่เหมาะในระดับประเทศ แต่ ในระดับหมู่บ้าน วิธีการนี้อาจเป็นอีกแนวทางให้ประชาชนใน หมู่บ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบได้

ปันสุข


การจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน

ธนาคารขุนทะเล การเงินเพือ่ ชุมชน



ปันสุข


หากใครผ่านมา ก็จะเห็นว่า พนักงานธนาคารหมูบ่ า้ น หมูท่ ี่ 10 บ้านนาทอน ต�ำบลขุนทะเล อ�ำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช นั่งเรียงแถวหน้ากระดานให้บริการสมาชิกธนาคารหมู่บ้านเอาเงิน มาฝาก โดยไม่ต้องมีบัตรคิว ไม่มีพนักงานต้อนรับ ทั้งธนาคาร แห่งนี้ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ที่กล่าวกันว่า เงินไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต แม้บางแง่มุมจะเห็น เป็นจริง แต่อีกหลายมิติ ถ้าไม่มีก็คงล�ำบาก ฉะนั้นอย่างน้อย ก็ ควรมีสภาพคล่อง แรกเริ่มกลุ่มแกนน�ำในชุมชนมีแนวคิดในการจัดตั้งแหล่งเงิน ทุนที่เป็นของชุมชนเอง จึงจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา โดยมีการ ระดมทุนด้วยการฝากหุ้นแบบสัจจะออมทรัพย์ เพื่อเป็นกองทุน ระยะแรก ต่อมามีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเงินทุนบาง ส่วน ตลอดจนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นสถาบันการ เงินของชุมชน มีกิจกรรมการออมทรัพย์ เพื่อเป็นสวัสดิการ ตลอด จนจั ด ตั้ ง กองทุ น สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชนต� ำ บล (สั จ จะวั น ละบาท) กิจกรรมการกู้ยืม และการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก และผู้ด้อย โอกาสในชุมชน จวบจนถึงปัจจุบัน กลายมาเป็นสถาบันการเงิน ของชุมชน

“สถาบันการเงินท�ำงานเหมือนธนาคารทั่วไป ปรับใช้ในชุมชน เมื่อในชุมชนมีองค์กรการเงิน คนในชุมชนก็สามารถพึ่งพาสถาบัน ทางการเงินในชุมชนได้ เอาเงินมาฝากในชุมชน เป็นการออม อย่างหนึ่ง” สอนไชยา ไกด์น�ำทางเล่าให้ฟัง สถาบันการเงินชุมชนบ้านนาทอน ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียน ในชุมชน สมาชิกที่กู้เงินกับสถาบันฯ เมื่อถึงนัดช�ำระ มีหรือไม่มีก็ มาบอกกัน โดยธนาคารหมู่บ้าน หมู่ที่ 10 แห่งนี้ ก่อตั้งปี 2542 โดยรวมมีจุดมุ่งหมายให้เป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นแหล่งน�้ำใจเพื่อชีวิต หากเป็นสมาชิกธนาคารหมูบ่ า้ นจะต้องฝากเงินทุกเดือน ขัน้ ต�ำ่ 20 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ยสมาชิกรายที่กู้ร้อยละ 1 บาท 50 สตางค์ วงเงินกู้ไม่เกิน 2 หมื่นบาท โดยเปิดท�ำการในวันเสาร์ด้วย ซึ่งถ้าได้มาลองสังเกตการณ์จะพบชาวชุมชนเข้ามาท�ำธุรกรรมกับ ทางธนาคารหมู่บ้านไม่ขาดสาย บุปผา เชาวลิต พนักงานอบต.ขุนทะเล เล่าว่า “สภาพคล่องที่ ดี ถือเป็นความสุขอย่างหนึ่ง เพราะถ้าภายในครอบครัวมีสิ่งนี้ มัน สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้อย่าง เพียงพอ ซึ่งส�ำคัญมากต่อการด�ำรงชีวิต”

ปันสุข


เกษตรกรรมยั่งยืน

ศูนย์ผลิตพันธุ ข์ า้ วชุมชน วิถีเกษตรยัง่ ยืน’ยโสธร’ เริ่มต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา หลายภูมิภาคในโลกต้อง ประสบกับวิกฤติด้านอาหาร อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่ทวี ความรุนแรงเกินจะคาดคิด ภัยแล้ง น�้ำท่วม โรคระบาด อากาศ แปรปรวน ล้วนส่งผลต่อการผลิตอาหารทั้งระบบใหญ่และระบบ ย่ อ ย ขณะที่ ก ารผลิ ต ลดน้ อ ยลงเพราะภั ย ธรรมชาติ แ ต่ ค วาม ต้องการกลับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้าว” อาหารหลัก ของมนุษย์ส่วนใหญ่ ทราบกันดีว่า ข้าวเกือบจะทั้งหมดที่คนบริโภค เป็นข้าวที่ผลิต ในระบบเคมีเป็นหลัก ส่วนแนวคิด “เกษตรอินทรีย์” นั้น เป็นกระ แสที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและต้านทานกระแสเกษตรเคมี ซึ่งได้ช่วย ฟื้นฟูวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลับมา แม้ปริมาณจะไม่อาจ เทียบได้กับข้าวที่ผลิตในระบบเคมี แต่การด�ำเนินไปโดยมุ่งขยาย ในเชิงคุณภาพอย่างช้าๆ ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ก็ได้สร้างทาง เลือกให้แก่อนาคตด้านอาหารของสังคมมนุษย์ ที่จังหวัดยโสธร ชาวนากลุ่มเล็กๆ ในต�ำบลก�ำแมด อ�ำเภอ กุดชุม ได้เข้าร่วมในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มานานกว่ายี่สิบปี  ปันปัสุนขสุข

และร่วมกันท�ำในสิ่งที่พวกเขาเล็งเห็นว่า สิ่งนี้ต่างหากคือหนทาง รอดของชาวนา สิ่งนี้ต่างหากคือวิถีที่การเกษตรควรจะเป็น ดาวเรือง พืชผล ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทาง เลือกยโสธร กล่าวว่า การท�ำงานด้านเกษตรอินทรีย์ได้ด�ำเนินการ มากว่ายี่สิบปีแล้ว งานหลักที่ด�ำเนินการมาตลอดคือการขยาย พื้นที่ กับการขยายแนวคิด เรื่องรองคือการจัดการผลผลิตและการ ขยายตลาด ส่วนเรื่องที่ทางกลุ่มถือว่าเป็นหัวใจของการท�ำเกษตร ยั่งยืนและก�ำลังด�ำเนินการคือเรื่องของการอนุรักษ์และพัฒนา พันธุกรรมพื้นบ้าน “ เรื่องเกษตรยั่งยืนมันเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่พอท�ำไป ท�ำมาก็มีการสรุปว่า ถ้าเกษตรกรจะท�ำเกษตรยั่งยืนได้จะพึ่งตัว เองได้ ถ้าไม่มีพันธุกรรมของตนเองมันจะใช่หรือไม่ คือคุณจะท�ำ เกษตรอินทรีย์ จะท�ำเกษตรผสมผสาน แต่เอาพันธุ์มาจากข้าง นอก ซื้อเขามา มันจะยั่งยืนมั้ย ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในเครือ ข่ายเมื่อสิบกว่าปีก่อน” ดาวเรือง เล่าว่า ในช่วงนั้นเริ่มมีกระแสที่ท�ำให้เกิดแนวคิด


เรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นเมืองอยู่ 2-3 เรื่อง คือ หนึ่ง เรื่อง ความปลอดภัยของพืชตัดต่อพันธุกรรมหรือพืช GMOs สอง กรณี การจดสิทธิบัติชื่อ “ข้าวหอมมะลิ” โดยบริษัทต่างชาติ และสาม การที่ธุรกิจการเกษตรที่ค้าเมล็ดพันธุ์ ได้ขยายตัวกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น กับพันธุกรรมพื้นเมือง ทางกลุ่มจึงได้เริ่มต้นรวบรวมพันธุ์ข้าวที่ เคยปลู ก ในพื้ น ที่ ประกอบกั บ ในช่ ว งปี 2550-2551 ได้ มี ก าร สนับสนุนจาก สกว.ให้ท�ำการวิจัยในท้องถิ่น จึงได้มีการด�ำเนิน การค้นคว้าในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จนกระทั่งได้ทราบว่า ใน อดีต ชุมชนแถบนี้เคยมีการปลูกข้าวพื้นเมืองถึง 62 สายพันธุ์ และยังมีการศึกษาลงลึกว่า แต่ละท้องถิ่น ปลูกข้าวแตกต่างกัน ออกไป ซึ่งความแตกต่างนี้ มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับระบบ นิเวศน์ พร้อมๆ ไปกับการรวบรวมพันธุ์ข้าว ทางกลุ่มได้เริ่มด�ำเนินการ พั ฒ นาพั น ธุ ์ โ ดยทดลองปลู ก ในพื้ น ที่ ที่ ไ ด้ รั บ บริ จ าคจ� ำ นวน 2 แปลง ซึ่งรายละเอียดในการด�ำเนินการนั้น มีความซับซ้อน ต้อง ใช้เวลา และความอดทนมาก เนื่องจากต้องขยายพันธุ์ทีละรวง และท�ำการตรวจสอบเป็นเวลานานสามปี จึงจะมั่นใจว่าเป็นพันธุ์ แท้ นอกจากนี้ ยังต้องดูศักยภาพของแต่ละพันธุ์ โดยการน�ำมา ปลูกในพื้นที่เดียวกันเพื่อดูว่า พันธ์ไหนจะให้ผลผลิตสูงที่สุด หาก ได้ผลชัดเจน ก็น�ำไปขยายพันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งตอนนี้ก็บางตัว ที่เริ่ม ได้รับความนิยมในพื้นที่ เช่น ข้าวเหนียวแดง ซึ่งให้ผลผลิตสูงและ เมล็ดอ่อนนิ่ม ดาวเรือง กล่าวว่า จนถึงตอนนี้ ตลาดของข้าวพันธุ์พื้นเมืองก็ ยังคงแคบมาก ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นของชาวนาที่เคยชิน กับการปลูกข้าวมะลิ และข้าวพันธุ์ กข. และอีกส่วนหนึ่งคือ กรอบ ข้อก�ำหนดของกรมส่งเสริมการเกษตรไม่สนับสนุนการผลิตของ ชาวนารายย่อย แนวคิดล่าสุดของทางกลุ่มจึงต้องการสร้าง “ศูนย์ ผลิ ต พั น ธุ ์ ข ้ า วชุ ม ชน” เพื่ อ ผลิ ต พั น ธุ ์ ข ้ า วชุ ม ชนจ� ำ หน่ า ยให้ แ ก่ ชาวนา ทั้งเพื่อให้พันธุ์พื้นเมืองยังด�ำรงอยู่ต่อไป ทั้งเพื่อร่วมแก้ ปัญหาพันธุ์ข้าวปลูกขาดแคลน “ การขยายตลาดเรื่องข้าวพื้นเมืองก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะมี ข้อจ�ำกัดหลายอย่าง ตอนนี้เราก�ำลังขยับไปเป็น ศูนย์ผลิตพันธุ์ ข้าวชุมชน คือเราจะท�ำพันธุ์เพื่อจ�ำหน่าย เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกวันนี้ มันไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทางกรมส่งเสริมฯ เองก็ยังผลิตได้ ไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาเราก็ท�ำ แล้วก็ส่งขายพันธุ์ที่เขาปลูกทั่วไปคือ ข้าวมะลิ ข้าว กข.6 แต่ถ้าท�ำแบบนี้ต่อไปมันก็จะมีปัญหาตาม กฎหมาย เราจึงต้องมาท�ำเรื่องศูนย์ผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเพื่อให้มี

การรับรองที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดนี้เราผลิตในระบบอินทรีย์ทั้งหมด เราปฏิเสธสารเคมีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่ต้องเตรียมการต่อไปคือ เรื่องมาตรฐานในการประเมินข้าวพื้นเมืองแต่ละพันธุ์ของกรม การข้าว แล้วก็เรื่องการจัดการทางธุรกิจที่มีความเสี่ยงอยู่เหมือน กัน” ดาวเรื อ ง มองว่ า สถานการณ์ ป ั จ จุ บั น สภาพอากาศ เปลี่ยนแปลงไปมาก เขาสังเกตว่า ในพื้นที่เองก็มีฝนตกน้อยลง สามปีติดต่อกันมาแล้ว ทั้งยังเลื่อนไปจนเกือบสิ้นสุดฤดูกาลท�ำ นา ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไป ข้าวพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ คือ กข.6 หรือ ข้าวมะลิ ซึ่งมีช่วงอายุเดียว จะเหมาะสมหรือไม่ หากน�้ำน้อยหรือ มากไป ผลผลิตย่อมไม่ได้เท่าที่ควร ฉะนั้น จึงควรจะมีความ หลากหลายของพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นทางเลือกในการผลิต เช่น ข้าว เบาอาจจะเหมาะกับการที่ฝนตกเป็นระยะสั้นๆ มากกว่า หรือ ข้าวไร่อาจจะเหมาะกับพื้นที่น�้ำน้อยมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเก็บพันธุ์ข้าวไว้เพื่อปลูกเอง หรือที่เรียกกัน ว่า “ข้าวปลูก” เป็นปัญหาส�ำคัญที่ดาวเรืองเห็นว่า น่าเป็นห่วง มาก เพราะทุกวันนี้ ชาวนาเก็บข้าวปลูกกันน้อยลง และซื้อมาก ขึ้น วิถีการผลิตที่เปลี่ยนไปนี้ก�ำลังจะท�ำให้ชาวนาสูญสิ้นศักดิ์ศรี และอิสรภาพของตัวเอง “ชาวนาควรจะฟื้นการเก็บพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง ชาวนาจึงจะมี ศักยภาพในการผลิต พันธุ์ข้าว ถือว่าเป็นหัวใจของชาวนานะ ถ้า ชาวนาไม่รักษาพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเอง ต้องไปซื้อเขามาปลูก ชาวนา ก็สูญสิ้นศักดิ์ศรี ไม่มีที่เหยียบที่ยืนแล้ว เพราะถ้าหากเขาไม่ขาย ให้เราล่ะ เราจะท�ำยังไง หรือถ้าเขาบอกว่า ถ้าไม่ได้ราคานี้เขาไม่ ขายล่ะ ชาวนาจะท�ำยังไง ถ้ามันเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นมา ชาวนารายย่อยก็จะค่อยๆ หมดไป เหลือแต่ชาวนารายใหญ่ที่ ลงทุ น ท� ำ นาเยอะๆ ได้ ข ้ า วเยอะๆ เพื่ อ ส่ ง ขาย ใช่ ห รื อ ไม่ ” ผู ้ ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกยโสธร ทิ้งค�ำถามที่ น่าคิดไว้ ด้วยความกล้าหาญและมุ่งมั่นในสิ่งที่พวกเขาศรัทธา การ ด�ำเนินงานของกลุ่มชาวนาบ้านก�ำแมด อ�ำเภอกุดชุม จังหวัด ยโสธร ก�ำลังจะกลายเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่น โดยการเป็น แหล่งเรียนรู้ในโครงการ “ขับเคลื่อนจังหวัดยโสธรสู่จังหวัดน่าอยู่ ที่ สุ ด ” ด้ ว ยการสนั บ สนุ น จากส� ำ นั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แม้จะเป็นเพียงเสียงที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยิน แต่ชาวนากลุ่ม เล็กๆ กลุ่มนี้ ยังยืนหยัดที่จะสร้างทางเลือกและทางรอดให้แก่การ ปลูกข้าวของสังคมไทย

ปันสุข




การดูแลสุขภาพชุมชน

ปั่ นทุกวันยกเว้นวันพระ กับนักปั่ น “เก้าเลี้ยว” สุขภาพเป็นสิ่งส�ำคัญใครๆ ก็รู้ แต่จะมีสักกี่คนที่ตระหนักและ เอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง บางคนกว่าจะรู้ตัวก็เมื่อ ย่างเข้าวัยกลางคน และล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัยด้วยร่างกายที่อ่อนล้า โรคภัยมากมายเข้ารุมเร้า ทั้งเบาหวาน ความดัน โรคไต ข้อเข่า เสื่อม ฯลฯ กระทั่งดูเหมือนว่า คนในวัยกลางคนขึ้นไป จะต้องมี โรคประจ�ำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งจนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แต่การประเมินว่าโรคภัยไข้เจ็บและความอ่อนล้าจะต้องเป็น ของคู่วัยชรา คงจะใช้ไม่ได้กับบรรดาสมาชิกผู้สูงอายุแห่ง “ชมรม ปั่นจักรยานอ�ำเภอเก้าเลี้ยว” ซึ่งเป็นชมรมจักรยานที่ก่อตั้งโดย สมาชิกชุมชนและด�ำเนินการมานานกว่า 10 ปี เพราะสมาชิกผู้สูง วัยทุกคนในชมรมล้วนมีสุขภาพแข็งแรงอย่างน่าทึ่ง นอกจากเดิน เหินคล่องแคล่ว ปฏิบัติภารกิจการงานได้อย่างกระฉับกระเฉงแล้ว ยังแทบไม่เคยเจ็บป่วยจากโรคภัยใดๆ ซึ่งทุกคนยืนยันตรงกันว่า เป็นผลมาจากการปั่นจักรยานทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานหลาย ปี “ตีห้ามารวมกันที่จุดนัดหมาย พอตีห้าครึ่งก็เริ่มต้นปั่นไปตาม เส้นทาง ใครไม่มาก็แล้วแต่ ใครมาก็ปั่นกันไปเรื่อยๆ ไปข้าม สะพานที่ข้ามแม่น�้ำปิง สะพานแรก ปั่นมาที่ต�ำบลเขาดิน แล้วก็ ปั่นข้ามสะพานแม่น�้ำปิงสะพานที่สอง ไปที่ต�ำบลมหาโพธิ แล้วก็  ปันปัสุนขสุข

กลับมาที่เดิม ระยะทางก็ประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมง ยี่สิบนาที ก็จะได้สูดอากาศบริสุทธิ์ ได้ออกก�ำลังกาย ทุกวัน ยกเว้นวันพระ เพราะต้องไปท�ำบุญที่วัดกัน” สง่า ภู่พันธุ์ ประธานชมรมฯ วัยเจ็บสิบกว่าปีกล่าว “ชมรมเราก่อตั้งเมื่อประมาณปี 2545 โดยนายประเสริฐ ศักดิ์ ดี รวบรวมสมาชิกมาได้จ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มีโรคประจ�ำตัว ไม่ค่อยแข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเยอะ เราก็เลยมารวมกลุ่มปั่น จักรยานกันโดยตั้งใจว่า อยากจะให้ทุกคนมีสุขภาพดี แล้วก็ให้ เกิดความรักความสามัคคีของคนในชุมชน เมื่อไปตรวจสุขภาพใน แต่ ล ะปี ก็ พ บว่ า โรคเบาหวาน ความดั น สามารถควบคุ ม ได้ สุ ข ภาพดี ขึ้ น เป็ น ล� ำ ดั บ เราก็ ด� ำ เนิ น การมาเรื่ อ ยๆ มี กิ จ กรรม สม�่ำเสมอโดยเน้นเรื่องจิตอาสา ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือทรัพย์ กันตามสมควร เวลาท�ำกิจกรรมเราเปิดรับทุกเพศทุกวัย จะปั่น จักรยานแบบไหนมาร่วมกิจกรรมก็ได้ ตอนนี้เราก็มีสมาชิก 118 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ แล้วก็ชอบการปั่นจักรยาน ชอบที่จะ มาร่วมกันท�ำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ คือมีจิตอาสาน่ะ สมาชิก เราจะสุขภาพดีกันทุกคนนะ เพราะได้ออกก�ำลังกายทุกวัน” ด้าน บุญเพลง ตั้งประเสริฐ สมาชิกชมรมฯ วัย 85 ปี เล่าว่า ปั่นจักรยานมาตลอด ไปไหนมาไหนก็จะใช้จักรยาน ทุกวันนี้ก็จะ


ปั่นจักรยานทุกเช้าเป็นการออกก�ำลัง ที่ผ่านมาก็รู้สึกว่า ร่างกาย แข็งแรง ไม่ป่วยไข้แต่อย่างใด “ผมจะปั่นจักรยานทุกเช้ากับชมรม ปั่นมาตั้งนานแล้วครับ ไป ไหนมาไหนผมก็ใช้จักรยาน มีกิจกรรมอะไรก็ไปด้วย ปั่นไปไกลๆ ไปอ�ำเภอชุมแสง ไปบึงบอระเพ็ด ก็ไปนะ สนุก แล้วสุขภาพเราก็ แข็งแรงด้วย” สง่า ภู่พันธุ์ ประธานชมรมจักรยานฯ ยังกล่าวว่า กิจกรรมของ ทางชมรมจะมี อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอตลอดทั้ ง ปี นอกจากการปั ่ น จักรยานทุกเช้ายกเว้นวันพระแล้ว ยังมีการปั่นทางไกล ,การไป ร่วมขบวนรณรงค์ต่างๆ ที่ทางจังหวัดประสานมา ,การน�ำสิ่งของ ไปมอบให้ผู้ป่วยติดเตียง,การไปร่วมปั่นรับขบวนนักปั่นจักรยาน ชมรมอื่นๆ ที่มาจากต่างจังหวัด,การไปท�ำบุญต่างจังหวัด รวมถึง การปั่นจักรยานร่วมในขบวนเทิดพระเกียรติฯ วันที่ 5 ธันวาคม และวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งสมาชิกชมรมหลายคนเคยมี โรคประจ�ำตัว แต่เมื่อมาร่วมปั่นจักรยานเป็นประจ�ำ ท�ำให้สุขภาพ ดี ขึ้น มาก ล่ าสุ ด ทางกลุ ่ ม ยั ง ได้ ริ เริ่ ม ให้ มีการฝึกร� ำกระบองส่ ง เสริมสุขภาพโดยมีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 40 คน “ทางชมรมเราก็มีแนวคิดว่า อยากจะขยายกลุ่มออกไปเรื่อยๆ พยายามจะชักชวนคนอื่นๆ ทุกเพศทุกวัยให้มาร่วมกิจกรรม ร่วม ปั่นจักรยานกัน ทุกวันนี้ก็มีเด็กๆ นักเรียนมาปั่นจักรยานกันเยอะ ขึ้นนะ เวลามีกิจกรรมเขาก็มาเข้าร่วม แต่ส�ำหรับบางคนที่เขาไม่ สนใจเลยก็ยังมี อาจจะท�ำมาค้าขายอย่างเดียว แต่สุขภาพเขาก็ จะไม่ค่อยดีเหมือนเรา” ประธานชมรมฯ กล่าว ด้าน กิตติวัฒน์ เลิศพรตสมบัติ นายกเทศบาลต�ำบลเก้าเลี้ยว กล่าวว่า ชมรมจักรยานผู้สูงอายุเก้าเลี้ยว เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจาก

การรวมตัวของชาวบ้านและด�ำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและ เข้มแข็งมากกว่า 10 ปี มีการเชื่อมโยงงานกับส่วนอื่นๆ เช่น จิต อาสาเยี่ยมเยียนผู้ป่วยติดเตียง ,การสร้างเสริมสุขภาพด้วยการ ออกก� ำ ลั ง กาย, การใช้ ง านและการเผยแพร่ ค วามรู ้ ใ นการใช้ สมุนไพร ฯลฯ จึงนับได้ว่า ชมรมจักรยานฯ เป็นกลุ่มแกนหลักที่ ส�ำคัญยิ่งของต�ำบลเก้าเลี้ยว ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกิดจากการที่ เราไปส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มองเห็นศักยภาพและเกิดความภาค ภูมิใจในตนเอง “เมื่อก่อนชาวบ้านเขาจะคาดหวังว่า เราจะเป็นหัวขบวนใน การดูแลพัฒนา และชาวบ้านไม่ต้องมาเกี่ยวข้องอะไร ซึ่งวิธีนี้ ท�ำให้ทุกอย่างกลายเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารทั้งหมด เราก็ พยายามจะเปลี่ยนแนวคิดนี้ ให้เป็นการด�ำเนินการโดยชุมชน เพื่อชุมชน ต้องดึงเอาชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ให้เขาเห็นว่า การมีส่วนร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปด้วยกัน ผมคิ ด ว่ า อั น นี้ เ ป็ น หั ว ใจส� ำ คั ญ นะ และเมื่ อ มี ก ารเช็ ค ทุ น เช็ ค ศักยภาพในพื้นที่ เราก็จะรู้ว่าเราพร้อมแค่ไหน จากการเปิดเวที ประชาคม พบว่ า มี ช าวบ้ า นที่ ไ ม่ ไ ด้ ส นใจในการมี ส ่ ว นร่ ว ม ประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ แต่ชาวบ้านอีกเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เห็น ด้วย เราก็โอเค เพราะไม่ได้คาดหวังร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราคาด หวังที่การเรียงร้อยแหล่งเรียนรู้และการขับเคลื่อนในอีก 3-4 ปี ข้างหน้า ที่จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตลอดเวลาสองปีที่ ด�ำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อจะขึ้นเป็นต�ำบลสุขภาวะ ท�ำให้ ได้เห็นว่า ชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลงมาก มีการพัฒนา มีการ เรียนรู้ เมื่อเราให้คุณค่ากับเขา เขาก็เกิดความภาคภูมิใจในตัว เอง” วันนี้ เทศบาลต�ำบลเก้าเลี้ยวได้ก้าวขึ้นมาเป็น “ต�ำบลสุข ภาวะ” เป็นศูนย์เรียนรู้ จากการสนับสนุนของส�ำนักสนับสนุนสุข ภาวะชุมชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการยกระดับชุมชนให้เข้มแข็งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ทั้งยังมุ่งมั่น ที่จะก้าวสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยมีกลุ่มแกนน�ำส�ำคัญคือ ชมรมจักรยานผู้สูงอายุ ซึ่งสมาชิกแต่ละท่านแม้จะสูงวัย แต่ยัง แข็งแรง และยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพและ ต้นแบบของจิตอาสาที่ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หากใครได้มาเยือน“เก้าเลี้ยว” จะได้พบกับสมาชิกชมรมฯ ที่มารวมตัวกันทุกเช้า เพื่อปั่นจักรยานออกก�ำลังเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร ชนิดที่แรงดีไม่มีตก และหนุ่มๆ สาวๆ ที่ไม่ค่อยได้ ออกก�ำลังอาจจะต้องหมดแรง ยอมแพ้ไปก่อน ขอย�้ำ ว่าผู้สูงอายุเหล่านี้ปั่นจักรยานกันวันละ 15 กิโลเมตร ทุกวัน ยกเว้นแค่ “วันพระ” เท่านั้น

ปันสุข




จัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

ไส้เดือนดิน หนึ่งตัวช่วย แก้ปัญหาขยะล้น

ปั ญหาขยะล้ น เมื อ งคือ ปัญหาหลัก ของชาวเทศบาลต� ำ บล เกาะคา อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง และเพื่อจัดการกับปัญหา ดังกล่าว จึงได้มีการเลี้ยงไส้เดือน วิธีทางธรรมชาติที่ช่วยจัดการ ปัญหาขยะอิทรีย์ของครัวเรือน แรกเริ่ม ทางกลุ่มอาสาสมัครบ้านผึ้งได้รวมตัวน�ำขยะจาก บ้านตัวเองมาทดลองเลี้ยงไส้เดือน และมีการเก็บปุ๋ยจากไส้เดือน เพื่อไปจ�ำหน่ายหารายได้น�ำมาพัฒนาขอบเขตการเลี้ยงไส้เดือน ให้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่เน้นเรื่องการหารายได้ แต่เน้นให้สมาชิกได้ ปฏิบัติจริง ในต่างประเทศนั้น ระยะเริ่มแรกมีการวิจัยที่สถานีทดลอง โรธาม์ส ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1980 ซึ่งขยะอินทรีย์ที่ใช้ไส้เดือน ดินย่อยสลายประกอบด้วยมูลสุกร มูลวัว มูลม้า มูลกระต่าย ของ เสียจากการเลี้ยงไก่ไข่ ไก่กระทง ไก่งวงเป็ด และกากเหลือทิ้งจาก อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ต่อมาภายหลังได้มีการวิจัย ใช้ไส้เดือนดินก�ำจัดเศษเหลือทิ้ง จากการผลิตผักด้วย โดยเฉพาะเศษเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการ ผลิตเห็ด อุตสาหกรรมมันฝรั่ง อุตสาหกรรมการผลิตเหล้าและ  ปันปันสุสุข ข

เบียร์ และเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ในระยะเริ่มต้นได้ทดลองในห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก แต่ต่อ มาได้พัฒนาและขยายไปทดลองในระดับพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น เช่นใน ฟาร์ม และในที่สุดก็พัฒนาระบบต่างๆ ให้เหมาะสมส�ำหรับใช้ใน เชิงพาณิชย์ ขั้ น ตอนการเลี้ ย งไส้ เ ดื อ นของชาวเกาะคา เริ่ ม ต้ น โดยการ เตรียมที่อยู่ให้ไส้เดือน คือการน�ำมูลสัตว์มาผสมกับดินร่วนใน อัตราส่วนเท่าๆ กัน รดน�้ำให้เปียกชุ่ม เพื่อให้มูลสัตว์คลายความ ร้อน ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ วัดอุณหภูมิต�่ำกว่า 30 องศา เซลเซียส จึงสามารถเลี้ยงได้ ต่อมาน�ำไส้เดือนลงปล่อยในบ่อเลี้ยงใช้พื้นที่ 1 ตารางเมตร ต่อไส้เดือน 1 กรัม ในกระบวนการจัดการขยะเหลือทิ้งต่างๆ เหล่า นี้ โดยใช้ไส้เดือน มีวัตถุประสงค์ 2 หัวข้อหลัก คือ 1. เพื่อน�ำเศษเหลือใช้ หรือขยะอินทรีย์ทางการเกษตรมาให้ ไส้เดือนดินย่อยสลาย แล้วน�ำผลผลิตจากการย่อยสลายขยะ อินทรีย์เหล่านั้นมาใช้เป็นปุ๋ยใส่เข้าไปในพื้นดินที่ท�ำการเกษตร เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน และเพิ่มแร่ธาตุอาหารแก่พืช น�ำ มาใช้กับ การผลิตพืชสวนประดับ เช่น การใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า


หรือใช้ผสมกับวัสดุปลูกอื่นๆ ส�ำหรับปลูกไม้กระถางทางการค้า เพื่อลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี 2. เพื่อน�ำผลผลิตของตัวไส้เดือนดินที่ขยายได้จากขบวนการ ก�ำจัดขยะน�ำมาผ่านขบวนการที่เหมาะสมเพื่อผลิตเป็นอาหาร โปรตีนสูงส�ำหรับสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ ปลา หมู และสัตว์ชนิดอื่นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรตีนอาหารสัตว์ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่าใช้จ่ายในการก�ำจัดขยะ และสิ่ง ปฏิกูลที่เกิดจากบ้านเรือนสูงมาก ประกอบกับนโยบายด้านการ พัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด และจิตส�ำนึกในการรักษาสิ่ง แวดล้อมของประชาชน ส่งผลให้การก�ำจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดจาก ครัวเรือนมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งการใช้ไส้เดือนดินย่อยสลายขยะ อินทรีย์ในครัวเรือนก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก และสามารถลดประมาณขยะอินทรีย์จากครัวเรือนได้ ภายในบ้านเรือนที่มักมีกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดขยะอินทรีย์ หลายชนิด โดยเฉพาะกิจกรรมการประกอบอาหารของครอบครัว ในแต่ละวัน จะมีขยะอินทรีย์จ�ำพวกเศษผัก เปลือก ผลไม้ หรือ เศษอาหารเหลือทิ้งเป็นประจ�ำ ซึ่งในแต่ละครัวเรือนโดยเฉลี่ย จะ ทิ้งขยะอินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้อย่างน้อยประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม

ทุกวัน หากเป็นชุมชนที่ใหญ่กว่านี้ ย่อมมีขยะอินทรีย์ที่มากกว่า หลายร้อยเท่า ขยะอิ น ทรี ย ์ เ หล่ า นี้ จ ะถู ก ใส่ ถุ ง ขยะแล้ ว ทิ้ ง ทุ ก วั น โดยรถ เทศบาลจะมารับแล้วน�ำไปก�ำจัดต่อไป ขยะที่ทิ้งออกจากบ้าน เรือนเป็นจ�ำนวนมากก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิด กลิ่นเหม็นเป็นแหล่งสะสม และแหล่งก่อโรค และแพร่กระจายโรค โดยแมลงวัน หรือแมลงสาบ รวมทั้งก่อให้เกิดน�้ำเสียในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เหล่านี้ปีละหลายล้านบาท ดังนั้น หากแต่ละบ้านเลี้ยงไส้เดือนภายในบ้าน และก�ำจัด ขยะอินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้ ก็จะสามารถลดปริมาณขยะลงได้เป็น จ�ำนวนมาก ซึ่งสามารถเลี้ยงไส้เดือนดินภายในภาชนะต่างๆ เช่น อ่างพลาสติก ลิ้นชักพลาสติกบ่อซีเมนต์ หรือกระถางต้นไม้ไว้ ภายในบริเวณบ้าน หรือภายในห้องครัว เมื่อประกอบอาหารและ มี เ ศษผั ก เศษผลไม้ หรื อ เศษอาหารเหลื อ ก็ ส ามารถน� ำ ไปใส่ ภายในภาชนะต่างๆ ที่เลี้ยงไส้เดือนดินดังกล่าว ให้ไส้เดือนดิน ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป โดยสามารถใส่เศษขยะอินทรีย์ได้ทุกวัน และเมื่อครบ 30-60 วัน ก็สามารถแยกน�ำมูลไส้เดือนดินภายในภาชนะ หรือน�้ำหมักที่ รองได้ ไ ปใช้ ป ลู ก ต้ น ไม้ ใ นบ้ า นได้ ไส้ เ ดื อ นที่ ข ยายเพิ่ ม ขึ้ น ก็ สามารถน�ำไปใช้เลี้ยงในภาชนะอื่นๆ ต่อไป หรือใช้จ�ำหน่ายให้บ่อ ตกปลา หรือใช้เป็นอาหารเลี้ยงไก่เลี้ยงปลา เพื่อเป็นโปรตีนเสริม ได้ ปั จ จั ย การเลี้ ย งไส้ เ ดื อ นที่ ส� ำ คั ญ คื อ ความชื้ น 80-90 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง เป็น 7 แหล่งอาหาร และการระบายอากาศ ความมืด รวมถึงการ ดูแลเอาใจใส่ ผลที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน คือ ปุ๋ยมูลไส้เดือน 100 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณ์เป็นเม็ดร่วนละเอียด สีด�ำออกน�้ำตาล โปร่ง เบา มีความพรุน ระบายน�้ำ และอากาศได้ดี ส่วนปุ๋ยน�้ำ หรือฉี่ของไส้เดือนผสมน�้ำ 1 ต่อ 20 ใช้พ่นรดต้นไม้ไม่มีกลิ่นเหม็น กรรณิการ์ ขาวละมูล ประธานกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนยอมรับว่า แรกๆ เธอก็กลัวไส้เดือนไม่ต่างจากผู้หญิงทั่วๆ ไป “เลี้ยงไปเรื่อยๆ เราก็ชิน เห็นถึงความน่ารัก และประโยชน์ ปุ๋ยที่ได้ก็ดีกว่าปุ๋ยหมัก ทั่วไป มีคุณภาพกว่า มีจุลินทรีย์เยอะ ฉี่ของมันดีกว่าอีเอ็มเสียอีก ราดห้องน�้ำที่เต็มได้ด้วย ร้านดอกไม้ก็มาซื้อไส้เดือนไปท�ำเอง” ในอนาคตเธอคาดหวัง อยากให้ทุกครัวเรือนสามารถเลี้ยง ไส้เดือนดินเองได้

ปันสุข




การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

ฐานรากที่สำ� คัญ สูอ่ นาคตสดใส งานอะไรก็ตามแต่ หากผู้คนในชุมชนให้ความร่วมมือกัน ท�ำงานร่วมกันอย่างจริงจัง งานนั้นย่อมพุ่งตรงไปสู่ความส�ำเร็จ อย่างไม่ต้องสงสัย เฉกเช่นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลต�ำบล เขมราฐ อ�ำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้แสดงให้เห็น การ ร่วมมือกันเกิดขึ้นได้อย่างไร หากถามค�ำถามนี้ ผู้ที่ชี้แจงได้ชัดเจน ที่สุดคือ นายกเทศมนตรีต�ำบลเขมราฐ นายวชิระ วิเศษชาติ ผู้ ก�ำหนดนโยบาย 4 ปี 3 สร้างขึ้น อันก่อให้เกิดการพัฒนาโครงการ ต่างๆ ในชุมชนต�ำบลเขมราฐขึ้นมากมาย โดยชุมชนเพื่อชุมชน ดังที่นายวชิระ กล่าวไว้สั้นๆ แต่ได้ใจความว่า “แนวคิดส�ำคัญของ นโยบายนี้คือ การสร้างคน สร้างงาน และสร้างเมือง” นโยบาย 4 ปี 3 สร้าง น�ำมาสู่การท�ำประชาคมร่วมกันระหว่าง เทศบาลต�ำบลเขมราฐ พระสงฆ์ ประชาชน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ โครงการต่างๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เพื่อท�ำให้ชุมชน ผู้คนในชุมชน มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขในการ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการต�ำบลของเทศบาลต�ำบลเขมราฐ จึงเป็นการด�ำเนินการที่มีระบบมีทิศทาง มีเป้าหมาย และเป็นการ ด�ำเนินกิจการกิจกรรมที่เป็นที่ต้องการของชุมชน ได้รับความเห็น ชอบร่วมกันจากทุกภาคส่วน น�ำไปสู่การร่วมกันท�ำงานของทั้ง ภาครัฐและประชาชนในชุมชนอย่างจริงจัง และยังน�ำไปสู่การ ท�ำงานร่วมกับองค์กรหน่วยงานนอกชุมชนด้วย ผลลัพธ์หนึ่งที่ชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรม คือ การสร้างคน เพื่อ เป็นฟันเฟืองในการสร้างสังคมให้น่าอยู่ ดังนั้น เทศบาลต�ำบล เขมราฐจึงได้ปลูกฝังและสร้างกันตั้งแต่เด็ก เพื่อความสัมฤิทธิ์ผล ในระยะยาว ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลต�ำบลเขมราฐ เป็นหนึ่ง ในแหล่ ง เรี ย นรู ้ ส� ำ คั ญ ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดอยู่  ปันปัสุนขสุข

ในหมวดของการสร้างคน ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างสูง มิเพียง สามารถดู แ ลเด็ ก ขั้ น ปฐมวั ย ซึ่ ง ถื อ เป็ น ช่ ว งวั ย ที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ของ ประชากรรุ ่ น ใหม่ ใ นชุ ม ชน ให้ ไ ด้ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ทั้ ง สุ ข ภาพ ร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการทางด้านสมอง นอกไปจากนั้นยัง ประสบความส�ำเร็จบนเวทีระดับชาติ ในการเป็นตัวอย่างสถาน เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีการด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นแบบให้กับแหล่งเรียนรู้ก่อนวัยเรียนอีกมากมายหลายแห่ง แรกเริ่มเดิมทีนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลต�ำบลเขมราฐ ตั้งอยู่ภายในวัด และมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม ทางเทศบาลเห็น ว่าน่าจะได้มีการปรับปรุงพัฒนาศูนย์เด็กเล็กฯ ขึ้นใหม่ เนื่อด้วย เห็ น ว่ า เด็ ก ในขั้ น ก่ อ นปฐมวั ย ถื อ เป็ น ช่ ว งเวลาส� ำ คั ญ ของการ พัฒนาควรที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างดี จึงได้มีการท�ำประชามติ ร่วมกัน ลงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้คนในชุมชน ได้ผลลัพธ์ที่ส�ำคัญอันน�ำมาสู่การเปลี่ยนแปลง สร้างศูนย์พัฒนา เด็กเล็กต�ำบลเขมราฐขึ้นมาใหม่ โดยย้ายออกมาตั้งที่นอกวัด นางสาวเจียระไน สุตเศวต รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กเทศบาลต�ำบลเขมราฐ และเป็นหนึ่งในครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนา เด็กเล็กต�ำบลเขมราฐ เล่าให้ฟังว่า “ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต�ำบลเขมราฐ มีขีดความสามารถในการรองรับเด็ก 150 คน วันนี้ เราประสบความส�ำเร็จได้เพราะการท�ำงานของเรานั้น เป็นการ ท�ำงานร่วมกันในทุกฝ่ายอย่างแท้จริง เรามีการวางกรอบนโยบาย ในการท� ำ งาน การดู แ ลเด็ ก โดยทางศู น ย์ ท� ำ งานร่ ว มกั บ ทาง เทศบาล และชุมชน รวมทั้งผู้ปกครองของเด็กอย่างใกล้ชิด มีการ ประเมินการท�ำงานและติดตามผลการท�ำงานอยู่ตลอด นอกไป จากนั้นคุณครูของเรายังได้รับการสนับสนุนให้ได้ออกไปเรียนรู้ นอกที่ท�ำงานอยู่เสมอ เพื่อน�ำความรู้กลับมาพัฒนาปรับใช้กับ ศูนย์” ทว่าการท�ำงานร่วมกันนั้นคงไม่ใช่ปัจจัยหลักในการน�ำพา


ศูนย์พํมนาเด็กเล็กฯ ไปสู่ความส�ำเร็จ ลักษณะของเทศบาลต�ำบล เขมราฐถือ ได้ว่าเป็ นเทศบาลตัวอย่างที่ชุม ชนมีความเข้ม แข็ง เทศบาลมีความตั้งใจอย่างจริงจังในการท�ำงานและเปิดรับความรู้ ใหม่ เพื่ อ น� ำ มาบู ร ณาการ อย่ า งการน� ำ เอาข้ อ มู ล จากศู น ย์ TCNAP (Thailand Community Network) มาใช้ในการด�ำเนิน งาน พัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งตัวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เองก็มี การน�ำมาใช้เชื่อมโยงข้อมูล การใช้ ป ระโยชน์ จ ากระบบ TCNAP ท�ำให้เทศบาลต� ำ บล เขมราฐ และผู้ท�ำงานสามารถรู้ได้ว่าในต�ำบลของตนเองมีศูนย์ เรียนรู้อยู่กี่แห่ง และจะน�ำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใดได้บ้าง อาทิ การใช้ประโยชน์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากชมรมผู้สูงอายุ และ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้ เห็นได้อย่างชัดเจน จากการรวมรวมแหล่งข้อมูลต่างของ TCNAP นอกจากการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ต่างๆ ในแง่วิชาการ ที่ทาง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ใช้ในการดูแล ถ่ ายทอดทักษะความรู้ที่ จ�ำเป็นต่อการพัฒนาเด็กเล็กแล้ว ทางศูนย์ยังได้ท�ำงานร่วมกับ โครงการต่างๆ ของชุมชนด้วย อาทิ โครงการคุณตาเผื่อแผ่คุณ ยายเอื้อเฟื้อ ซึ่งเป็นการท�ำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุแห่งต�ำบล เขมราฐ โดยผู้สูงอายุในชุมชนจะท�ำงานด้านจิตอาสา เข้ามาช่วย ดูแลเด็กๆ ท�ำกิจกรรมร่วมกับเด็ก โดยน�ำประสบการณ์ชีวิตมา ปรับใช้ สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ท�ำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และ คุณครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ซึ่งนอกจากเด็กๆ จะได้รับการ ดูแลจากผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนอย่างใกล้ชิดด้วยความรักแล้ว บรรดาผู ้ สู ง อายุ ใ นชุ ม ชนยั ง ได้ ใ ช้ เ วลาที่ มี ข องตนเองให้ เ กิ ด ประโยชน์ ท�ำให้ตัวผู้สูงอายุเองก็มีความสุขด้วย มิเพียงแต่เด็กๆ เท่านั้นที่จะได้รับความรักความอบอุ่น ผู้สูงอายุเองก็ได้รับความ อบอุ่นความรักคืนจากเด็กๆ ด้วยเช่นกัน ส� ำ หรั บ ตั ว ชมรมผู ้ สู ง อายุ นั้ น การเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการ สนับสนุนช่วยเหลือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ นั้นทางชมรมผู้สูงอายุได้ มีการประชุมร่วมกันว่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างไรดี คุณอัญ ชลา พรหมศรีใหม่ อายุ 57 ปี ที่ปรึกษาของชมรมผู้สูงอายุกล่าว ว่า “เรามาร่วมกิจกรรมนี้ เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดี บรรดาผู้ สูงอายุอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ให้กับเด็กๆ เราพร้อมที่จะ เอาประสบการณ์ของเรามาช่วยเด็กๆ ให้เขามีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตัวผู้สูงอายุก็มรความสุขด้วยที่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์” โครงการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกหนึ่งโครงการที่ผู้คนใน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ โดยน�ำผู้มีความรู้ ในชุมชนเข้ามาถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เก็บเด็ก ไม่ เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น รักษาการหัวหน้าศูนย์ นางสาวเจียระไน

เล่าเสริมว่า “คุณพ่อของนักเรียนท่านหนึ่งที่มีความสามารถเกี่ยว กับการวาดรูป ยังท�ำงานจิตอาสาเข้ามาเป็นครูสอนศิลปะให้กับ เด็กๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณตาที่ไปอยู่ในอเมริกามานานหลาย สิบปี ตอนนี้กลับมา ก็มาสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ” ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก เทศบาลต� ำ บลเขมราฐแห่ ง ใหม่ นี้ เ ปิ ด ด�ำเนินการมาได้สองปีแล้ว เป็นการรวมสามศูนย์อบรมเด็กเล็ก สามศูนย์เข้าไว้ด้วยกัน คือศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดชัยภูมิกา ราม ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดประชาเกษม ศูนย์อบรมเด็ก ก่อนเกณฑ์วัดเหนือ วันนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต�ำบลเขมราฐได้ส่ง เสริม สร้างสรรค์ ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปีซึ่งเป็น ช่วงวัยที่ส�ำคัญให้ได้รับพัฒนาการครบทั้งสี่ด้าน คือ การส่งเสริม พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคมด้านสติ ปัญญา โดยสองปีที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต�ำบลเขมราฐ มีโอกาส ต้อนหน่วยงานจากที่ต่างๆ มากมายที่แวะมาศึกษาดูงาน มิเพียง ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับมาสู่ผู้อื่น เจ้าหน้าที่และผู้ที่มีส่วน ร่วมกับศูนย์เด็กเล็กฯ ยังเปิดรับข้อคิดค�ำแนะน�ำ จากผู้ที่เข้ามา ศึกษาดูงานด้วย เป็นการเพิ่มพูนวิสัยทัศน์และแนวความคิดใหม่ ในการท�ำงานไปในตัวด้วย เพราะทุกคนทราบดีว่าความส�ำเร็จ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เกิดขึ้นจากการร่วมมือในการท�ำงาน การแสวงหาความรู้ใหม่ การท�ำงานอย่างทุ่มเทและใส่ใจ ในวันท�ำการ เมื่อแดดยามบ่ายอ่อนแรงลง เด็กๆ รวมกลุ่มกัน อยู่ที่สนามหญ้าหน้าอาคารหลังเล็ก เสียงหัวเราะ เสียงพูดคุยของ บรรดาคุณตาคุณยายดังอยู่รอบๆ สนาม บางคนก�ำลังอธิบายให้ เด็กๆ ฟังว่ากิจกรรมนี้ต้องเล่นอย่างไร บางคนก�ำลังจัดแบ่งเด็กๆ ออกเป็นกลุ่ม แม้จะไม่ทุกวันที่บรรดาผู้สูงอายุในชุมชนจะมาพบ กับเด็กๆ แต่ทุกครั้งที่มีการท�ำกิจกรรมร่วมกัน ความอบอุ่นความ สนุกสนานก็จะอบอวลอยู่โดยรอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ แห่งนี้ การท�ำงานร่วมกันของชุมชน ตั้งแต่หน่วยงานราชการ องค์กร ส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ประชาชน ไปจนถึงพระสงฆ์ โดยมีหน่วยงาน ราชการเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงเข้าหากัน บริหารน�ำข้อมูลต่างๆ ที่ มีอยู่ทั้งในและนอกชุมชนมาใช้ โดยใช้เครื่องมือและระบบที่มีอยู่ เข้ามาใช้ท�ำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคประชาชน สังคม อย่ า งจริ ง จั ง โครงสร้ า งพื้ นฐานต่ า งๆ นี่ เ องท� ำ ให้ การบริห าร จัดการ เกิดประสิทธิภาพ ท�ำให้เทศบาลต�ำบลเขมราฐ และชุมชน ชาวเขมราฐ สามารถสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต�ำบลเขมราฐ ให้ เป็นศูนย์เรียนรู้เด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เกิดประโยชน์กับชุมชน อย่างแท้จริง

ปันสุข




เศรษฐกิจชุมชน

มั งคุดนอกฤดูกาล รางวั ลของโกเด็ก



ปันสุข


“เท่ า ไหร่ ” คื อ ค� ำ ทั ก ทายของชาวต� ำ บลขุ น ทะเล อ� ำ เภอ ลานสกา จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช เมื่ อ อยู ่ ใ นช่ ว งฤดู มั ง คุ ด เนื่องจากราคามังคุดมิได้ต่างจากราคาทองค�ำ ในช่วงติดกระแส ต้องติดตามกันนาทีต่อนาที ชั่วโมงต่อชั่วโมง วันต่อวัน ฤดูกาลของมังคุดท�ำให้ราคาขึ้นลงราวหุ้นบนกระดาน การ ค้าขายของพ่อค้าคนกลางกดราคามังคุดบางที ก็เป็นไปอย่างไม่มี เหตุผล สวนมังคุดของโกเด็ก เป็นที่รู้จักของคนแถบนั้น และเป็นที่รู้จัก ไกลถึงต่างประเทศ ที่ดินรอบๆ บ้านของโกเป็นสวนมังคุด 27 ไร่ มี ล�ำห้วยผ่ากลาง มีต้นมังคุด 350 ต้น เมื่อก่อนเป็นสวนสมรมที่มี ผลไม้ มียางพารา ปี 2516 โกเด็กเริ่มดัดแปลงจากสวนสมรมมา เป็นสวนมะนาว ปี 2530 ได้แนวทางปลูกมังคุดในสวนมะนาว โดยคิดวางแผนปลูกมังคุดโดยไม่โค่นมะนาว หากชายหนุ่มจะจีบ หญิงสาว แต่ไม่เข้าใจธรรมชาติแห่งเธอยากนักจะได้ใจสาวเจ้ามา ครอง จนถึงปัจจุบัน โกเด็กใช้เวลาเรียนรู้ธรรมชาติของมังคุด ศึกษานิสัยใจคอของมัน เจ้ามังคุดชอบอะไรไม่ชอบอะไร จนวันนี้ มังคุดจากสวนของโกเด็กมีมาตรฐานต้องตาต้องใจตลาดต่าง ประเทศ มังคุดของโกเด็กส่งขายจีน ที่ส�ำคัญมังคุดของโกออกผลนอก ฤดูกาลได้ นั่นหมายถึงราคาต่อกิโลกรัมที่พุ่งสูง ใครไปใครมาก็ตื่น ตาตื่นใจกับเทคนิคการปลูกของโก อย่างต้นมันส�ำปะหลังที่ปลูก ไว้คานกิ่งก้านของมังคุด ก็ถือเป็นภูมิปัญญาของแท้ เคล็ดลับจาก

โกเด็กคือการเรียนรู้อย่างเปิดกว้าง “การศึกษาของนักวิชาการ เขาก็ศึกษาบนฐานของความรู้ เขา ก็ให้เรามา 100 เปอร์เซ็นต์ เราก็เอามา 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะ บางที ทฤษฎีกับปฏิบัติมันไม่ตรงกัน แต่เราจะไปคนเดียวก็ไม่ได้ เพราะนักวิจัยเขาก็ค�ำนวณมาดี โดยเราก็เอาประสบการณ์เข้าไป ด้วยต้องแชร์กัน” โกเด็กบอก ตามกลไกของตลาด ผลไม้นอกฤดูย่อมมีราคาแพง ในฐานะ เกษตรกร ผลไม้นอกฤดูคือรายได้แสนงาม เป็นรางวัลของความ พยายาม โกเด็กเป็นเกษตรกรชาวสวนที่ลองผิดลองถูกในสวนมา ยาวนาน ในที่สุดก็เข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ รู้นิสัยของมังคุด และเข้าใจข้อจ�ำกัดในพื้นที่ของตัวเอง จนสามารถบังคับมังคุดให้ ออกผลนอกฤดูกาลได้ มังคุดนอกฤดู ราคากิโลร่วมร้อย โกเด็กเรียนจบ ป.4 ที่ข้างฝา บ้ า นมี เ กี ย รติ บั ต รแปะราวปริ ญ ญาบั ต รของมหาบั ณ ฑิ ต มี ทั้ ง ใบรับรองมาตรฐานของมังคุดที่สามารถเข้าเกณฑ์ส่งออกต่าง ประเทศ ได้ ใ บประกาศนี ย บั ต รจากผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช เพื่อแสดงว่า โกเด็กเป็นผู้บ�ำเพ็ญประโยชน์ให้ แผ่นดินด้านผู้น�ำเกษตรเมื่อปี 2548 ในโลกที่มีการแข่งขันสูง โอกาสทางการศึกษาเป็นเหมือน ใบเบิกทางเพื่อเป็นเครื่องค�้ำยันชั้นต้นของชีวิต แต่โกเด็กสาธิตให้ เห็นแล้วว่า บนโลกการค้าไร้พรมแดน คนจบ ป.4 ก็สามารถท�ำได้ หากเราใส่ใจเรียนรู้ธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา

ปันสุข

 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ผ้ามัดย้อม วิถีโบราณ สูท่ างปัจจุบนั เทศบาลต�ำบลเกาะคา อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง มีแหล่ง เรียนรู้อีกแห่งที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการรวมตัวของคนในชุมชน เรียก ง่ายได้ใจความว่า ‘กลุ่มผ้ามัดย้อม’ กลุ่มผ้ามัดย้อมนั้นมีสมาชิกราว 20 คน โดยทั้งหมดได้ใช้แรง กายและใจแปรเปลี่ยนวัตถุเป็นผลผลิตที่ท�ำให้ชาวเกาะคาภูมิใจ มีทั้งเสื้อ กางเกง กระโปรง ชุดนอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้า คลุมผม ซึ่งนอกจากขายให้กับผู้คนในชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่ง ของฝากส�ำหรับผู้มาเที่ยวชม ตลอดจนศึกษาดูงาน แก้วปวน ทิพย์เนตร ประธานกลุ่มผ้ามัดย้อม ซึ่งมีสมาชิก 20 คน เล่าว่า “นอกจากอาชีพเสริม เราต้องการใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ โดยสร้างกลุ่มให้เข้มแข็ง เพราะที่นี่มีผู้พิการทางการ ได้ยินมาอยู่กับเราด้วย ซึ่งดีกว่าเป็นไหนๆ ถ้าปล่อยให้เขาต้องทน เหงาอย่างโดดเดี่ยว”

 ปันปัสุนขสุข


โดยกลุ่มนี้ใข้เวลาว่างจากการท�ำนามารวมกลุ่มกัน ส่วนใน สีแดง ได้จากรากยอ แก่นฝาง เปลือกสมอ ครั่ง เรื่องขององค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการน�ำผ้ามาย้อมด้วยสีที่ได้ สีคราม ได้จาก ต้นคราม จากธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งแปลก หรือเพิ่งจะค้นพบนวัตกรรมใหม่แต่ สีเหลือง ได้จาก แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น ดอกดาวเรือง อย่างใด แต่ความรู้ ภูมิปัญญาดังกล่าว ได้ถูกค้นพบ ปฏิบัติ และ สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกผลทับทิม ต้นคราม ใบหูกวาง ถ่ า ยทอดมาจากรุ ่ น สู ่ รุ ่ น ตั้ ง แต่ ส มั ย พุ ท ธกาล ดั ง เห็ น ได้ ว ่ า เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค ใบ พระพุทธเจ้าพร้อมสาวกทั้งหลายก็ใช้ผ้าบังสุกุลสีขาว ที่ใช้ส�ำหรับ สับปะรดอ่อน ห่อศพมาซัก แล้วก็ย้อมด้วยสีธรรมชาติเพื่อเป็นผ้าจีวรนุ่งห่ม สีด�ำ ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ การท�ำผ้ามัดย้อมใช้เองเป็นความภาคภูมิใจของคนท�ำ และ สีส้ม ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็น คนสวมใส่ด้วย เพราะผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นศิลปะหนึ่งเดียวใน หลอดสีส้ม) โลกที่ ไ ม่ เ หมื อ นใคร และไม่ มี ใ ครเหมื อ น สี ต ่ า งๆ ที่ ไ ด้ จ าก สีเหลืองอมส้ม ได้จาก ดอกค�ำฝอย ธรรมชาติ ได้แก่ รากแก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ ซึ่งต้นไม้ สีม่วงอ่อน ได้จาก ลูกหว้า แต่ละชนิดให้โทนสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของต้นไม้นั้นๆ สีชมพู ได้จาก ต้นฝาง อาทิ สีน�้ำตาล ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด สีเขียว ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ

ปันสุข




อาหาร

ตลาดนัดชุ มชน “บางปิ ด”

คนซื้อพอใจ คนขายมีความสุข ที่ตลาดนัดชุมชน ของคน “บางปิด” “ตลาด”หมายถึงสถานที่ส�ำหรับการค้าขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายได้มาพบกัน แม้โดยความหมายคือสถานที่ แลกเปลี่ยนสินค้ากับเงินตรา แต่โดยนัยยะทางสังคม ตลาดกลับมีความหมายมากกว่านั้น ตลาดนัดชุมชนของต�ำบลบางปิด อ�ำเภอแหลมงอม จังหวัดตราด เป็นตลาดที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางปิด โดยในช่วงแรกนั้น มีลักษณะเป็นเพียงเพิงเล็กๆ และมีผู้มาค้าขายเพียงไม่กี่ ราย แต่ในเวลาต่อมา เมื่อมีการส่งเสริมให้ชาวบ้านน�ำสินค้ามาขายอย่างจริงจัง และได้รับงบประมาณ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตลาดชุมชนของต�ำบลบางปิดจึงได้พัฒนามาจนเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ ที่เปิดสัปดาห์ ละ 3 วันคือ วันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ กลายเป็นตลาดที่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ จรัญ ทองปาน ผู้จัดการตลาดนัดชุมชน เล่าว่า การด�ำเนินการของตลาดนัดชุมชน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ



ปันสุข


ส่งเสริมให้คนในต�ำบลบางปิดได้มีสถานที่ส�ำหรับขายสินค้า โดย ตนเองพยายามจะส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มาค้าขายที่ตลาดเพื่อ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว “ผมจะดูว่าตลาดยังขาดอะไร และชาวบ้านคนไหนมีของอะไร ที่เอามาขายได้ อย่างบางคนปลูกผักไว้ที่บ้านหลายอย่าง ผมก็จะ ชวนให้มาขายที่ตลาด บางคนอาจจะเลี้ยงปลาส่งขายที่อื่น ผมก็ จะชวนให้มาขายที่ตลาดนัดชุมชน เขาก็จะได้ขายเอง ไม่ผ่าน พ่อค้าคนกลาง สินค้าก็จะมีราคาไม่แพง มีผู้สูงอายุหลายคนที่ อยู่บ้านเฉยๆ ผมก็จะชวนเขามาขายของ คือไม่ใช่แค่มีรายได้เพิ่ม แต่จะได้มีกิจกรรมท�ำ ได้เจอผู้คน เขาก็จะสนุกสนานด้วย แต่ถ้า

เป็นคนที่อื่นมาขอเช่าที่ขายของ ผมก็จะต้องพิจารณาหลายๆ อย่าง ดูสินค้าว่าเป็นของปลูกเอง ท�ำเองมั้ย มีสารเคมีที่เป็นอันต รายมั้ย ดูว่าเป็นใครมาจากไหน คือถ้าไม่เหมาะผมก็จะไม่ให้ขาย นะ เพราะอยากให้ตลาดของชุมชน ด�ำเนินงานไปด้วยดี ” ผู้จัดการตลาดนัดชุมชน ยังกล่าวเสริมว่า แม่ค้าที่เป็นผู้สูง อายุบางคน มีฐานะดี ไม่ต้องท�ำอะไรเลยก็อยู่ได้สบายๆ แต่เลือก ที่จะมาค้าขายของเพราะว่าไม่ต้องการอยู่บ้านเฉยๆ และการมา ขายของก็ท�ำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีคุณค่า รัง พรติโพธิ์ แม่ค้าวัย 73 ปี เล่าว่า ที่บ้านก็ปลูกผักไว้หลาย อย่าง ตนเองไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเบื่อ เมื่อได้มาขายของ แล้วมีความสุข ได้เจอเพื่อนฝูงได้คุยกับผู้คน ท�ำให้ไม่เหงา รวมทั้ง ยังได้มีรายได้ในวันที่มาขายของ “ป้าก็ขายมาหลายปีแล้วล่ะ ขายมาตั้งแต่ลุงยังอยู่ เมื่อก่อนก็ ท�ำสวนยางแล้วก็ปลูกผัก พอลุงเสียไปก็ไม่รู้จะไปไหน อยู่บ้านก็ เบื่อๆ ก็ปลูกผักคะน้า ผักกวางตุ้งอะไรไป พอทาง อบต.เขามาส่ง เสริม ผู้จัดการตลาดเขาชวนมา ก็เลยเอาผักมาขาย ผักที่เอามา ขายส่วนใหญ่ก็จะปลูกเองนะ อยากปลูกอะไรเราก็ปลูกไป อย่าง ละนิดอย่างละหน่อย อะไรออกก็เอามาขาย บางอย่างก็ซื้อมา เพื่อนบ้านเขาจะมาขายให้…คืออยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้น่ะ ต้องท�ำนู่น ท�ำนี่ไปเรื่อย ลูกๆ หลานๆ เขาก็บอกว่า ไม่ต้องท�ำแล้ว อยู่เฉยๆ เถอะ เราก็บอกว่า ให้อยู่เฉยๆ ไม่ได้หรอก ร�ำคาญ ก็อยากท�ำน่ะ ได้ อ อกก� ำ ลั ง กายด้ ว ย ได้ เ งิ น ใช้ ด ้ ว ย บางที ลู ก ก็ ม ายื ม ตั ง ค์ นะ(หัวเราะ) เราก็ให้ไป ไม่ได้ว่าอะไร…เรายังมีแรงอยู่ ก็อยากจะ ท�ำไปเรื่อยๆ น่ะ ไม่ไหวค่อยหยุด มาขายนี่ก็สนุกนะ ได้คุยได้เจอ คน ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ แล้วมันเงียบ เพราะบ้านอยู่ในซอยลึก วัน ไหนหยุดก็ท�ำสวน วันไหนมีตลาดนัดเราก็มาขาย ได้วันสองร้อย สามร้อยมันก็ดีกว่าอยู่เฉยๆ นะ…” แม้ตลาดส่วนใหญ่จะมุ่งที่การค้าขายเป็นหลัก แต่ตลาดนัด ชุมชนบางปิดกลับยึดหลักว่า ความเป็นอยู่และความสุขของผู้คน ในชุมชนต้องมาก่อน ด้วยรูปแบบการจัดการที่น่าสนใจนี้ ตลาด นั ด ชุ ม ชนบางปิ ด ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ให้ เ ป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ข อง ต� ำ บลบางปิ ด โดยส� ำ นั ก สนั บ สนุ น สุ ข ภาวะชุ ม ชน ส� ำ นั ก งาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตลาดนัดชุมชนแห่งนี้ นอกจากจะเต็มไปด้วยสินค้าที่ชาวบ้าน ท�ำเอง ขายเองแล้ว ยังเต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขของชาว ชุมชนบางปิดอีกด้วย

ปันสุข




วัฒนธรรม

ฟ้ ื นชีพเรือพาย ฟื้ นพลังแห่งความสามัคคี สภาวัฒนธรรมต�ำบลจัดเป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู่คู่ต�ำบลบ้านควน อ�ำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ในวัดชลธารวดี ครูประชา ดึงสุวรรณ วิทยากรประจ�ำแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ เล่าให้ฟังว่า บ้านควนเป็นชุมชนเก่าแก่ แต่กลับมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ ต�ำบลบ้านควนไม่มีกิจกรรมที่จะท�ำร่วมกัน “ผมก็ไม่อยากให้เด็กนักเรียนคิดว่า ท�ำไมบ้านเราถึงขาดความสามัคคีอย่างนี้ พวกเราครูโรงเรียนวัดชลธารฯ จึงได้ร่วม กันรื้อฟื้นงานประเพณีลอยกระทงขึ้นมา ต่อมาในปี 2540 ผมได้น�ำแนวคิด และรูปธรรมการจัดงานลอยกระทงของ โรงเรียนวัดชลธารวดีไปปรึกษากับแกนน�ำชุมชนในเวทีประชุมสัญจร จนในที่สุด มีมติให้จัดประเพณีลอยกระทง และ แข่งขันเรือยาว 4 ฝีพายเป็นงานประจ�ำปีของต�ำบลบ้านควน ณ คลองวังโบสถ์ หรือคลองชั่ง” ครูประชาเล่า ถึงตรงนี้ คงเริ่มสงสัยว่า งานแข่งเรือยาวนั้นเชื่อมโยงกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมอย่างไร ซึ่งครูประชาอธิบายว่า ในลุ่มน�้ำ หลังสวน มีประเพณีการแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงที่ไม่เหมือนใคร และเมื่อไปศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว ก็พบว่า การแข่งขัน เรือยาวของชาวหลังสวน มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงคิดว่า ถ้าน�ำเรื่องนี้มาเป็นจุดขายในชุมชน คนในชุมชนก็น่าจะให้ ความสนใจเข้าร่วกิจกรรม การแข่งเรือยาวแบบขึ้นโขนชิงธงมีที่เดียวในประเทศไทย ปกติจะจัดในวัน แรม 1 ค�่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา 

ปันสุข


ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ในพื้นที่อื่น เขาจะวัดกันที่หัวเรือ ของใครเข้าเส้นชัยก่อน จะเป็นฝ่ายชนะชนะ แต่ที่นี่วัดกันที่หัวเรือ ไหนคว้าธงก่อนโดยที่ไม่ตกน�้ำ เรือล�ำนั้นถึงจะชนะ แม้จะเพิ่งฟื้นฟูประเพณีมาไม่กี่ปี แต่กลับมีถ้วยรางวัลประดับ จ�ำนวนมาก ครูประชาเล่าอย่างภูมิใจว่า “จากที่เคยแข่งเพียง 4 ฝีพาย เราก็พัฒนาเป็นการแข่งขัน 8 ฝีพาย มีการขยายการสร้าง เรือยาว 8 ฝีพาย หมู่บ้านละ 1 ล�ำ ท�ำให้เกิดการรวมคน เกิดความ สามัคคีในชุมชน จนปี 2549 อบต. และกองทุนก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สนับสนุนงบเพื่อสร้างเรือ 32 ฝีพาย เกิดการสร้างเรือมัจฉานุ เพื่อ ใช้ในการแข่งขันงานประเพณีที่หลังสวน” ความพิเศษของเรือ 32 ฝีพายแห่งบ้านควนนี้ คือความเรียบ ง่ายอย่างที่สุด หาได้ใช่เรื่องของรางวัลไม่ เพราะหลายพื้นที่อาจ

จะคิดถึงรางวัลเป็นที่ตั้ง มีการไปจัดจ้างฝีพายจากที่อื่น หากที่ บ้านควนนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็น หลัก ฝีพายทั้ง 32 จึงได้รับการคัดเลือกมาจากแต่ละหมู่บ้าน โดย จะพิจารณาจากการแข่งเรือยาวประจ�ำต�ำบล มิใช่ความภาคภูมิใจเพียงอย่างเดียวที่ชาวบ้านควนได้รับถ้วย พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2550-2554 สิ่งนี้คือหลักฐานที่ยืนยันพลังความสามัคคีกันของ คนในชุมชนอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะแม้รางวัลที่ได้จะสร้างชื่อเสียงเพียงไร หากในเบื้องลึก ของจิตใจ สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านควนตระหนักร่วมกันนั้น อยู่ตรงที่ ความภาคภูมิใจที่ตนเองมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้ กลับมาสู่ชุมชนอีกครั้ง

ปันสุข




พบกับ Gallery Punsook ได้ที่ gallery.punsook.org หรือ www.punsook.org หัวเรื่อง “แกลลอรี่”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.